วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การพัฒนาบทเรียน e-Learning วิชาการสื่อสารข้อมูล สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล



Title การพัฒนาบทเรียน e-Learning วิชาการสื่อสารข้อมูล สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาเทคนิคคอมพิวเตอร์ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล
Title Alternative Development of e-Learning instruction for the course Data communication diploma in computer technology Rajamangala Institute of Technology
Creator Name: เอกรินทร์ วิจิตต์พันธ์
Subject ThaSH: ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
keyword: E-Learning
ThaSH: การเรียนการสอนผ่านเว็บ -- การศึกษาและการสอน (อาชีวศึกษา)
ThaSH: การเรียนการสอนผ่านเว็บ -- การประเมิน
Publisher สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. สำนักหอสมุดกลาง
Address: กรุงเทพมหานคร (Bangkok)
Email: pkp@kmitnb.ac.th
Contributor Name: ราชันย์ บุญธิมา
Role: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
Email : rap@kmitnb.ac.th

Name: จรัญ แสนราช
Role: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
Email : jsr@kmitnb.ac.th
Date Created: 2547
Issued: 2548-05-25
Modified: 2006-05-17
Type วิทยานิพนธ์/Thesis
ISBN: 9746238043
Source CallNumber: วพ MTCT อ881ว
Language tha
Thesis DegreeName: ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต

Level: ปริญญาโท

Descipline: เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

Grantor: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
Rights ?copyrights มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

การพัฒนาบทเรียน e-Learning แบบปฏิสัมพันธ์ วิชาการวิเคราะห์ระบบและการออกแบบ สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง



Title การพัฒนาบทเรียน e-Learning แบบปฏิสัมพันธ์ วิชาการวิเคราะห์ระบบและการออกแบบ สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สำหรับวิทยาลัยชุมชน พ.ศ. 2538
Title Alternative The development of interactive e-Learning on system analysis and design for diploma students majoring computer in Community College
Creator Name: กรรณิกา ทองพันธ์
Subject ThaSH: การเรียนการสอนผ่านเว็บ -- การศึกษาและการสอน (อาชีวศึกษา)
ThaSH: การเรียนการสอนผ่านเว็บ -- การประเมิน
Publisher สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. สำนักหอสมุดกลาง
Address: กรุงเทพมหานคร (Bangkok)
Email: pkp@kmitnb.ac.th
Contributor Name: ราชันย์ บุญธิมา
Role: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
Email : rap@kmitnb.ac.th

Name: จรัญ แสนราช
Role: ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
Email : jsr@kmitnb.ac.th
Date Created: 2547
Issued: 2548-05-24
Modified: 2006-05-10
Type วิทยานิพนธ์/Thesis
ISBN: 9741900562
Source CallNumber: วพ MTCT ก172ท
Language tha
Thesis DegreeName: ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต

Level: ปริญญาโท

Descipline: เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

Grantor: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
Rights ?copyrights มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การเปรียบเทียบโปรแกรมตรวจหาการบุกรุกเครือข่ายระหว่างโปรแกรมสนอร์ทและเรียลซีเคียวภายใต้ปัจจัยการโจมตี



Title การเปรียบเทียบโปรแกรมตรวจหาการบุกรุกเครือข่ายระหว่างโปรแกรมสนอร์ทและเรียลซีเคียวภายใต้ปัจจัยการโจมตี
Title Alternative comparison of network intrusion detection system between SNORT and RealSecure under attack
Creator Name: กาญจนา ศิลาวราเวทย์
Subject ThaSH: เครือข่ายคอมพิวเตอร์ -- มาตรการความปลอดภัย
ThaSH: สนอร์ท (โปรแกรมคอมพิวเตอร์)
ThaSH: เรียลซีเคียว (โปรแกรมคอมพิวเตอร์)
ThaSH: โปรแกรมคอมพิวเตอร์
Description Abstract: ระบบตรวจหาการบุกรุกถูกนำมาใช้ค้นหาสัญญาณที่บ่งบอกถึงการบุกรุกหรือการโจม ตีที่เกิดขึ้น จากการศึกษาค้นคว้างานวิจัยด้านการทดสอบการตรวจหาการบุกรุกพบว่างานวิจัย ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับวิธีการสร้างเกณฑ์เปรียบเทียบ การปรับปรุงและทดสอบการทำงานของอัลกอริทึมที่ใช้ในการค้นหารูปแบบการบุกรุก ซึ่งงานวิจัยเหล่านั้นเป็นการทดสอบในเชิงทฤษฎีและยังไม่พบการทดสอบการทำงาน ของระบบตรวจหาการบุกรุกเครือข่ายในสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยด้าน การโจมตี ในงานวิจัยนี้เป็นการทดสอบเพื่อเปรียบเทียบการทำงานของโปรแกรมตรวจหาการ บุกรุกเครือข่ายระหว่างโปรแกรมสนอร์ทและเรียลซีเคียวภายใต้ปัจจัยการโจมตีใน เครือข่ายปิด โดยทำการทดสอบในหลายสภาพแวดล้อมและใช้การโจมตีที่พบบ่อยในปัจจุบัน จากการทดสอบและเปรียบเทียบพบว่าโปรแกรมตรวจหาการบุกรุกทั้งสองมีพฤติกรรมใน การทำงาน ความสามารถในการตรวจวิเคราะห์และการใช้งานซีพียูใกล้เคียงกัน จะมีความแตกต่างกันเล็กน้อยในเรื่องของเวลาที่ใช้ในการตรวจวิเคราะห์และความ ผิดพลาดในการแจ้งเตือนที่โปรแกรมสนอร์ททำงานได้ดีกว่า ส่วนโปรแกรมเรียลซีเคียวมีความถูกต้องของการแจ้งเตือนมากกว่า นอกจากนี้ยังพบว่าการโจมตีและข้อมูลปะปนส่งผลกระทบทำให้ความสามารถในการทำ งานของทั้งสองโปรแกรมลดลง ความผิดพลาดในการแจ้งเตือนจึงสูงขึ้น ซึ่งผลจากงานวิจัยนี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการทดสอบโปรแกรมตรวจหาการบุกรุก อื่นได้
Abstract: Network intrusion detection system has been used to find the signal that reflects intrusion or attack. According to our studies in existing intrusion detection research, we found that most studies focus in comparing, improving, and testing the intrusion detection algorithms. These researches are theoretical and usually ignore the study in the environment with actual attack. This research is to compare performance of intrusion detection software between SNORT and RealSecure under actual attacks in isolated local area network. Our studies have been conducted in various environments using attacks commonly found in the real world. The results of our experiments indicated that both software share similar performances and characteristics, as well as, CPU utilization. There are slightly differences in response time and accuracy. SNORT can detect faster but RealSecure is more accurate. Moreover, the performances of both systems decrease when being used in environments with multiple attacks and background data. Fault alerts become higher. The results from our studies can be used as a guideline for testing other intrusion detection systems in the future.
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Address: กรุงเทพมหานคร (Bangkok)
Email: webmaster@car.chula.ac.th
Contributor Name: ณัฐวุฒิ หนูไพโรจน์
Role: ที่ปรึกษา
Date Created: 2545
Issued: 2008-01-14
Modified: 2008-01-14
Type วิทยานิพนธ์/Thesis
ISBN: 9741723865
Language tha
Thesis DegreeName: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Level: ปริญญาโท

Descipline: วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์

Grantor: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Rights ?copyrights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


การเปรียบเทียบบทเรียนคอมพิวเตอร์ สุขศึกษา การใช้ถนน

การเปรียบเทียบบทเรียนคอมพิวเตอร์ สุขศึกษา การใช้ถนน

การประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการบริหารงานให้บริการซ่อมบำรุงและสอบ เทียบมาตรวัดน้ำมัน กรณีศึกษา บริษัทแห่งหนึ่งในธุรกิจซ่อมบำรุงมาตรวัดน้ำมัน



Title การ ประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการบริหารงานให้บริการซ่อมบำรุงและสอบเทียบ มาตรวัดน้ำมัน : กรณีศึกษา บริษัทแห่งหนึ่งในธุรกิจซ่อมบำรุงมาตรวัดน้ำมัน
Title Alternative The design of a Database system for Meter Calibration and Maintenance
Creator Name: ธนวรรธน์ ปุนนะรา
Subject ThaSH: มาตรอัตราการไหล -- การบำรุงรักษาและการซ่อมแซม -- โปรแกรมคอมพิวเตอร์
Publisher มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. สำนักหอสมุดกลาง
Address: กรุงเทพมหานคร
Email: pkp@kmutnb.ac.th
Contributor Name: อรรถกร เก่งพล
Role: ที่ปรึกษาสารนิพนธ์
Email : athakorn@kmutnb.ac.th
Date Issued: 2551-02-16
Modified: 2551-06-16
Created: 2550
Type วิทยานิพนธ์/Thesis
Format application/pdf
Language tha
Thesis DegreeName: วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต

Level: ปริญญาโท

Descipline: วิศวกรรมการจัดการอุตสาหกรรม

Grantor: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
Rights ?copyrights มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การบำรุงรักษาและเพิ่มประสิทธิภาพระบบฐานข้อมูล ORACLE ของกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์



Title การบำรุงรักษาและเพิ่มประสิทธิภาพระบบฐานข้อมูล ORACLE ของกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
Title Alternative Database Maintenance and Performance Tuning Oracle of Department of Business Economics
Creator Name: สมศรี หอกันยา
Organization : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ. สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
Subject keyword: ออราเคิล
; การจัดการฐานข้อมูล
; Oracle [Computer file]
; กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
Description Abstract: The Oracle Database System of the Department of Business Economics was rectified to increase its efficiency, Applying the calculation of dataspeace theory. Tables existing in the system were restructened. More tables were also added up. Softwere was used to manage database. The special project consists of three steps. All existing problems were first analysed to identify the information required. The second step is to study the calculation of database theory and the application of softwere,known as Oracle Context Option. The final step is to calculate the total amount of tablespace required for the system in order to help reduce the unneccessary use of space, thereby increasing the efficiency of the system.
Publisher มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. สำนักหอสมุด
Address: กรุงเทพมหานคร (Bangkok)
Email: info@lib.kmutt.ac.th
Contributor Name: จินต์ วรมหาภูติ
Role: อาจารย์ที่ปรึกษา
Date Created: 2541
Issued: 2008-01-30
Modified: 2008-01-30
Type วิทยานิพนธ์/Thesis
Source CallNumber: INT209
Language tha
Thesis DegreeName: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Level: ปริญญาโท

Descipline: เทคโนโลยีสารสนเทศ

Grantor: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
Rights ?copyrights มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

การบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนบนอินเทอร์เน็ต ของสถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร (ตอนที่ 1)



การบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนบนอินเทอร์เน็ต
ของสถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร
นายสมพงษ์ บุษราคัมมณี
วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร
ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
พ.ศ. 2548
ISBN 974-184-749-1
oC:to QI 'j) d ~ fie:::'
fll1lJ1'1111'i!~fl11~ l'U fl11t1uufl11nnuu'U tJ'Um tJ1 ~'U I9l
'1JtJ~ffmU'U t;l\9l:IJfYfl1J 11l-J~'1J\9lfl~ ~~'Vl'Vl:IJ'I11'Um
D'1t1.1WlmfflffI9l1tJl9lffl'11m 1:IJ:IJ'111UWcVll9l ffl'1Jl1'lflf1tJ:lJVl1~l9ltJ1m'I~~'Vlflil-J I r1Vffl1ffl-Jl'Vli'l' t.I u q q
f1W~'fl1i•'l'lffI9l1t•Jl9lffl'11m1:IJllrl~~'Vl'fli'U irlv
'Vl.i'l'.2548
(~1.wnW ~fl1Jfl:IJrI)
;L..... ~G1-t/(Yl.,. (1..(/ .......................... 1' .......
QI d~fI fI
('H'l.~1.mW1W 'i!19l19lfl11WtI) q
.j.~.y..~~.Jk ....
(1ff.~'j.i'Vll.J.rl6 ~fitl1~ifl:IJrI)
~SBN 974-184-749-1
~'1Jff'Vli-i'1JtJ~:IJ'I11i'Vltl1~tlmflil-J I rIV'W1~lltJ:lJtfl~11il-J lJ1 q
fhi!flYlfJ'l:f~1f!l
"'1-'l11'VW1-ft'tIl'VlflL'UlTIV'lN.':i~tlf)1J1f!~11iu'ij1

หัวข้อวิทยานิพนธ์ การบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนบนอินเทอร์เน็ต
ของสถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร
หน่วยกิต 6
ผู้เขียน นายสมพงษ์ บุษราคัมมณี
อาจารย์ที่ปรึกษา รศ.ดร. กัลยาณี จิตต์การุณย์
รศ.ดร. ไพบูลย์ เกียรติโกมล
หลักสูตร ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต
สาขาวิชา คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
คณะ ครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี
พ.ศ. 2548
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอน
บนอินเทอร์เน็ตของสถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา
ประกอบด้วย ผู้ดูแลระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยในเขต
กรุงเทพมหานคร จำนวน 23 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
เป็นแบบสอบถาม วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการสร้างแผนผัง
การทำงานของระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนบนอินเทอร์เน็ต
ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ดังนี้ คือ การบริหารจัดการด้านการเรียนการสอน (Learning Management
System: LMS) บนอินเทอร์เน็ตของสถาบันอุดมศึกษาในเขต กรุงเทพมหานคร ส่วนมากจะใช้
เครื่องมือที่นำต้นแบบมาปรับร่วมกับการพัฒนาระบบขึ้นเองโดยใช้ภาษา PHP กับฐานข้อมูล MySQL
ระยะเวลาการเปิดให้บริการเป็นเวลา 1-2 ปี และมากกว่า 4 ปีขึ้นไป จำนวนวิชาที่เปิดให้บริการ
ในปัจจุบันมากกว่า 10 วิชา และมีระบบย่อยสำหรับการทำงานบริหารจัดการด้านการเรียนการสอน
แบ่งได้เป็น 5 ระบบย่อย คือ (1) ระบบการจัดการผู้ใช้และการจัดการรายวิชา (2) ระบบการสื่อสาร
(3) ระบบติดตามการเรียนการสอน (4) ระบบการวัดผลประเมินผล และ (5) ระบบการจัดการเนื้อหา
รายวิชา ซึ่งในปัจจุบันมีสถาบันอุดมศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานครที่ใช้ระบบการบริหารจัดการด้าน
การเรียนการสอน ทั้งในส่วนของผู้เรียนและผู้สอน ซึ่งมีความสมบูรณ์มากที่สุด ได้แก่ มหาวิทยาลัย
ราชภัฏพระนคร และ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สำหรับ
ความคาดหวังในอนาคตที่เพิ่มขึ้นของระบบ LMS ทั้งของผู้สอนและผู้เรียน ได้แก่ (1) ระบบ
การจัดการเนื้อหารายวิชา ประกอบด้วย การเชื่อมต่อกับ Courseware จากเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และ

(2) ระบบติดตามการเรียนการสอน ประกอบด้วย ตรวจสอบเวลาเข้าเรียนตามหัวข้อการเรียน
หรือ บทเรียน และ สรุปการตรวจสอบ การเข้าเรียน ในทางตรงข้ามผู้สอนมีความคาดหวัง
ในระบบ LMS ได้แก่ (1) ระบบการจัดการเนื้อหารายวิชา ได้แก่ ผู้สอนสามารถโอนย้ายเนื้อหา
บทเรียนที่ทำไว้แล้วได้เอง เช่น ย้ายจาก LMS ตัวหนึ่งไปยัง LMS อีกตัวหนึ่ง (2) ระบบการจัดการ
ผู้ใช้และการจัดการรายวิชา ประกอบด้วย การเชื่อมต่อระบบบริหารจัดการด้านการเรียนการสอน
เข้ากับระบบทะเบียน/ประเมินผลของสถาบัน และระบบ Web Service สำหรับให้บริการ
Download/Upload Software ได้ไม่จำกัด (3) ระบบการสื่อสาร ประกอบด้วย การ สร้าง Post Board
ต่าง ๆ และการเปิดห้อง Chat ภายในรายวิชา ในทางตรงข้ามสำหรับความคาดหวังในระบบ LMS
ของผู้เรียน ได้แก่ ระบบการสื่อสาร ประกอบด้วย การเข้าใช้ Post Board ต่าง ๆ และ การเข้าใช้
ห้อง Chat ภายในรายวิชา
คำสำคัญ : ระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอน / อินเทอร์เน็ต

Thesis Title Learning Management System on Internet of Higher Education Institutes
in Bangkok Metropolitan Area
Thesis Credits 6
Candidate Mr. Somphong Bussarakummanee
Thesis Advisors Assoc. Prof. Dr. Kalayanee Jitgarun
Assoc. Prof. Dr. Paiboon Kiattikomol
Program Master of Science in Industrial Education
Field of Study Computer and Information Technology
Faculty Industrial Education and Technology
B.E. 2548
ABSTRACT
Purpose of this research was to study Learning Management System (LMS) on internet of higher
education institutes in Bangkok Metropolitan area. Sample chosen for this study, using random
sampling, were 23 administrators of the Learning Management System at the universities in
Bangkok Metropolitan area. Instrument for data collection was a questionnaire. Methods for
analyzing the data were analysis, synthesis, and work flow of LMS.
Results revealed that most universities in Bangkok Metropolitan area used prototype tools adjusted
with an existing system which was self developed by PHP with MySQL for their LMS. A duration
of LMS service was 1-2 years and/or more than 4 years. At present, there were more than 10
subjects which were online. Subsystems of LMS were as follows: (1) user and course
management,
(2) communication system, (3) course tracking system, (4) assessment system, and (5) content
management system. Then, nowadays the most completed LMS of universities in Bangkok
Metropolitan area, in terms of students and instructors were placed at Phranakhon Rajabhat
University and King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang. Expectations for more
subsystems on the LMS in the future for both the instructors and the students were: (1) the content
management system in connection with the internet, and (2) the course tracking system for checking
class attending on each topic or lesson and then summarizing. On the other hand, the instructors’
expectations on the LMS were: (1) the content management system on lesson transfer should


constructed by itself; for example, the transfer from one LMS to another LMS, (2) the user and
course management system consisted of registration/ evaluation to be connected with the LMS and
Web Service system for download/ upload software without limitation, and (3) the communication
system by opening post board/ chat room within each subject. On the other hand, the students’
expectations on the LMS was that the communication system could access in different post board as
well as chat room in each subject.
Keywords : Learning Management System / Internet


กิตติกรรมประกาศ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีเพราะได้รับความกรุณาของ รศ.ดร.กัลยาณี จิตต์การุณย์
ซึ่งเป็นประธานที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และ และ รศ.ดร. ไพบูลย์ เกรียติโกมล ประธานที่ปรึกษา
วิทยานิพนธ์ร่วม ที่กรุณาให้คำปรึกษา และเสนอแนะแนวทางในการดำเนินการวิจัย รวบรวมแก้ไข
และตรวจสอบข้อบกพร่อง ที่เป็นประโยชน์มาโดยตลอด อีกทั้งอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิที่มิได้เอ่ยนามใน
ที่นี้ ในการนี้ผู้วิจัยขอกราบขอบพระคุณในความอนุเคราะห์เป็นอย่างสูงมา ณ โอกาสนี้ ผู้วิจัยขอกราบ
ขอบพระคุณผู้เชี่ยวชาญทุกท่านที่ได้กรุณาให้ความอนุเคราะห์ในการตรวจ แก้ไข ข้อบกพร่องเพื่อให้
แบบสอบถามมีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา เพื่อนำไปใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย
สุดท้ายผู้วิจัยขอกราบขอบพระคุณ พระพี่ชาย คุณพ่อ คุณแม่ คุณครูบาอาจารย์ทุกท่าน พระคุณพี่สาว
พี่ชาย ซึ่งมีส่วนในการให้การสนับสนุนสำหรับการศึกษาในครั้งนี้ รวมถึงเพื่อน ๆ และบุคคลที่มิได้
กล่าวถึง ขอขอบคุณ ที่คอยให้ความช่วยเหลือและให้กำลังใจเสมอมา


สารบัญ
หน้า
บทคัดย่อภาษาไทย ข
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ ง
กิตติกรรมประกาศ ช
สารบัญ ซ
รายการตาราง ญ
รายการรูปประกอบ ฎ
บทที่
1. บทนำ 1
1.1 ความสำคัญและที่มาของงานวิจัย 1
1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย 2
1.3 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 2
1.4 ขอบเขตของการวิจัย 3
1.5 นิยามศัพท์ที่ใช้ในการวิจัย 3
2. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 6
2.1 แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545-2549) 6
2.2 การจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-Based Instruction: WBI) 9
2.3 การเรียนการสอนบนอินเทอร์เน็ต (e-Learning) 18
2.4 การจัดการบริหารด้านการเรียนการสอน(Learning Management System: LMS) 38
2.5 มาตรฐาน SCROM (Sharable Content Object Reference Model) 46
2.6 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 48
2.7 บทสรุป 52
3. วิธีดำเนินการวิจัย 56
3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 56
3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 57
3.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล 58


สารบัญ (ต่อ)
หน้า
3.4 การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ 59
4. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 61
4.1 ลักษณะทั่วไปของระบบการจัดการบริหารการเรียนการสอนบนอินเทอร์เน็ต 61
ของสถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร
4.2 การบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนบนอินเทอร์เน็ตของสถาบันอุดมศึกษา 63
ในเขตกรุงเทพมหานคร
4.3 การศึกษาการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนบนอินเทอร์เน็ต 116
ของสถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร
4.4 ผลการวิเคราะห์ขั้นตอนการทำงานของระบบการบริหารจัดการด้าน 149
การเรียนการสอนบนอินเทอร์เน็ตของสถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร
5. สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ 159
5.1 วัตถุประสงค์ของการวิจัย 159
5.2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย 159
5.3 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล 159
5.4 สรุปผลการวิจัย 160
5.5 อภิปรายผลการวิจัย 166
5.6 ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป 172
เอกสารอ้างอิง 173
ภาคผนวก 179
ก แบบสอบถามเพื่อการวิจัย 179
ข ตารางการวิเคราะห์ข้อมูล 188
ค หนังสือราชการ 205
ประวัติผู้วิจัย 229


รายการตาราง
ตาราง หน้า
2.1 แสดงลักษณะของการจัดการเรียนการสอนแบบปกติและการจัดการเรียน 22
การสอน e-Learning
3.1 แสดงจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยจำแนกตามประเภทสถานศึกษา 57
4.1 แสดงจำนวน และค่าร้อยละ ของสถาบันการศึกษา/มหาวิทยาลัยที่ใช้ 61
เครื่องมือสำหรับการพัฒนาระบบการจัดการบริหารการเรียนการสอน
4.2 แสดงจำนวน และค่าร้อยละ ของระยะเวลา (ปี) ที่สถาบันการศึกษา/มหาวิทยาลัย 62
เปิดให้บริการระบบการจัดการบริหารการเรียนการสอน
4.3 แสดงจำนวน และค่าร้อยละ ของวิชาที่สถาบันการศึกษา/มหาวิทยาลัยเปิดให้ 63
บริการระบบการจัดการบริหารการเรียนการสอน
4.4 แสดงสภาพปัจจุบันเกี่ยวกับระบบการจัดการบริหารการเรียนการสอนของ 122
สถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครส่วนของผู้สอน
4.5 แสดงสภาพปัจจุบันเกี่ยวกับระบบการจัดการบริหารการเรียนการสอนของ 130
สถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครส่วนของผู้เรียน
4.6 แสดงความคาดหวังในอนาคตเกี่ยวกับระบบการจัดการบริหารการเรียนการสอน 139
ของสถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครส่วนของผู้สอน
4.7 แสดงความคาดหวังในอนาคตเกี่ยวกับระบบการจัดการบริหารการเรียนการสอน 148
ของสถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครส่วนของผู้เรียน


รายการรูปประกอบ
รูป หน้า
4.1 แสดงการ Login เข้าสู่ระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอน 64
ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
4.2 แสดงการหน้าจอหลักของการทำงานระบบการบริหารจัดการ 65
ด้านการเรียนการสอนส่วนของผู้สอน
4.3 แสดงการหน้าจอหลักของการทำงานระบบการบริหารจัดการ 66
ด้านการเรียนการสอนส่วนของผู้เรียน
4.4 แสดงการ Login เข้าสู่ระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอน 67
ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
4.5 แสดงหน้าจอหลักการทำงานในส่วนของผู้เรียนระบบการบริหารจัดการ 68
ด้านการเรียนการสอนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
4.6 แสดงหน้าจอหลักการ Login เข้าสู่ระบบการบริหารจัดการ 69
ด้านการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยรามคำแหง
4.7 แสดงการลงทะเบียนผู้ใช้ใหม่สำหรับการ Login เข้าสู่ระบบการบริหารจัดการ 69
ด้านการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยรามคำแหง
4.8 แสดงหน้าจอการกรอกข้อมูลรายละเอียดการลงทะเบียนผู้ใช้งานใหม่สำหรับ 70
การ Login เข้าสู่ระบบ LMS ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง
4.9 แสดงการ Login เข้าสู่ระบบ LMS ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 71
4.10 แสดงหน้าจอหลักของการทำงานระบบ LMS ของมหาวิทยาลัย 72
ศรีนครินทรวิโรฒในส่วนของผู้สอน
4.11 แสดงหน้าจอหลักของการทำงานระบบ LMS ของมหาวิทยาลัย 72
ศรีนครินทรวิโรฒในส่วนของผู้เรียน
4.12 แสดงการ Login เข้าสู่ระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอน 74
ส่วนของสอนและผู้ดูแลระบบของมหาวิทยาลัยศิลปากร
4.13 แสดงหน้าจอหลักของการทำงานระบบ LMS ของมหาวิทยาลัยศิลปากร 74
ส่วนของผู้สอน


รายการรูปประกอบ (ต่อ)
รูป หน้า
4.14 แสดงหน้าจอหลักของการทำงานระบบ LMS ของมหาวิทยาลัยศิลปากร 75
ส่วนของผู้เรียน
4.15 แสดงการ Login เข้าสู่ระบบ LMS ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 76
4.16 แสดงหน้าจอการลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ LMS ของมหาวิทยาลัย 77
ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ในส่วนของผู้เรียน
4.17 แสดงหน้าจอหลักหลังการ Login เข้าใช้งานระบบ LMS ของ 77
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาในส่วนของผู้เรียน
4.18 แสดงการ Login เข้าสู่ระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอน 78
ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
4.19 แสดงรายวิชาที่เปิดสอนแบบออนไลน์ที่มีในระบบ LMS ของ 79
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
4.20 แสดงหน้าจอการกรอกข้อมูลเพื่อลงทะเบียนผู้ใช้งานใหม่ เพื่อใช้ Login 80
เข้าสู่ระบบ LMS ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
4.21 แสดงหน้าจอหลักการทำงานในส่วนของผู้เรียนของ 81
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
4.22 แสดงการ Login เข้าสู่ระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอน 82
ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
4.23 แสดงหน้าจอหลังจากทำการเลือก Available Courses ในส่วนของผู้เรียน 83
ระบบ LMS ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
4.24 แสดงหน้าจอหลักการ Login เข้าสู่ระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอน 84
ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
4.25 แสดงหน้าจอหลักการ Login เข้าสู่ระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอน 85
ของมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
4.26 แสดงหน้าจอหลักการทำงานในส่วนของผู้ใช้งานระบบการบริหารจัดการ 86
ด้านการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
4.27 แสดงหน้าจอหลักการ Login เข้าสู่ระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอน 87
ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ


รายการรูปประกอบ (ต่อ)
รูป หน้า
4.28 แสดงหน้าจอหลักการทำงานในส่วนของผู้สอนระบบการบริหารจัดการ 88
ด้านการเรียนการสอนของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
4.29 แสดงหน้าจอการจัดการรายวิชาในส่วนของผู้สอนระบบการบริหารจัดการ 88
ด้านการเรียนการสอนของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
4.30 แสดงหน้าจอหลักการทำงานในส่วนของผู้เรียนระบบการบริหารจัดการ 89
ด้านการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
วิทยาเขตพระนครใต้
4.31 แสดงหน้าจอหลักการ Login เข้าสู่ระบบการบริหารจัดการด้านการเรียน 90
การสอนของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
4.32 แสดงหน้าจอหลักการทำงานในส่วนของผู้เรียนระบบการบริหารจัดการ 91
ด้านการเรียนการสอนมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
4.33 แสดงการ Login เข้าสู่ระบบ LCMS ของผู้สอนและผู้เรียน 92
ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
4.34 แสดงหน้าจอหลักการทำงานระบบ LCMS ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ 93
4.35 แสดงหน้าจอหลักการ Login เข้าสู่ระบบ LMS ของผู้สอน 94
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
4.36 แสดงหน้าจอหลักการทำงานในส่วนของผู้สอนระบบ LMS 94
ของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
4.37 แสดงหน้าจอหลักการ Login เข้าสู่ระบบ LMS ของผู้เรียน 95
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
4.38 แสดงหน้าจอหลักการทำงานในส่วนของผู้เรียนระบบ LMS 95
ของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
4.39 แสดงหน้าจอหลักการ Login เข้าสู่ระบบ LMS ของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย 96
4.40 แสดงการลงทะเบียนผู้สอนสำหรับการ Login เข้าสู่ระบบ LMS 97
ของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
4.41 แสดงการลงทะเบียนผู้เรียนสำหรับการ Login เข้าสู่ระบบ LMS 98
ของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย


รายการรูปประกอบ (ต่อ)
รูป หน้า
4.42 แสดงหน้าจอหลักการทำงานในส่วนของผู้ใช้งานระบบ LMS 98
ของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
4.43 แสดงหน้าจอ Courses for Study ในส่วนของผู้สอนระบบ LMS 99
ของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
4.44 แสดงหน้าจอ Web Board (All your Question) ในส่วนของผู้สอน 100
ระบบ LMS ของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
4.45 แสดงหน้าจอ Modify User Information ในส่วนของผู้สอนระบบ 100
LMS ของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
4.46 แสดงหน้าจอ Change Password ในส่วนของผู้ใช้งานระบบ LMS 101
ของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
4.47 แสดงหน้าจอ Check Login Date ในส่วนของผู้สอนระบบ LMS 101
ของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
4.48 แสดงหน้าจอหลักการ Login เข้าสู่ระบบ LMS 102
ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
4.49 แสดงหน้าจอรายละเอียดแต่ละรายวิชาระบบ LMS 103
ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
4.50 แสดงหน้าจอหลักการ Login เข้าสู่ระบบ LMS ของมหาวิทยาลัยศรีปทุม 104
4.51 แสดงหน้าจอการกรอกข้อมูลรายละเอียดการลงทะเบียนผู้ใช้งานใหม่ 105
สำหรับการ Login เข้าสู่ระบบ LMS ของมหาวิทยาลัยศรีปทุม
4.52 แสดงหน้าจอหลักการทำงานในส่วนของผู้ใช้งานระบบ LMS 106
ของมหาวิทยาลัยศรีปทุม
4.53 แสดงหน้าจอการเข้าสู่บทเรียนในส่วนของผู้ใช้งานระบบ LMS 107
ของมหาวิทยาลัยศรีปทุม
4.54 แสดงหน้าจอการเข้าเรียนรายวิชาในส่วนของผู้ใช้งานระบบ LMS 107
ของมหาวิทยาลัยศรีปทุม
4.55 แสดงหน้าจอหลักการ Login เข้าสู่ระบบ LMS ของมหาวิทยาลัยสยาม 108


รายการรูปประกอบ (ต่อ)
รูป หน้า
4.56 แสดงหน้าจอการกรอกข้อมูลรายละเอียดการลงทะเบียนผู้เรียนสำหรับ 109
การ Login เข้าสู่ระบบ LMS ของมหาวิทยาลัยสยาม
4.57 แสดงหน้าจอการกรอกข้อมูลรายละเอียดการลงทะเบียนผู้สอนสำหรับ 110
การ Login เข้าสู่ระบบ LMS ของมหาวิทยาลัยสยาม
4.58 แสดงหน้าจอหลักการทำงานในส่วนของผู้เรียนระบบ LMS 111
ของมหาวิทยาลัยสยาม
4.59 แสดงการเข้าสู่ระบบ LMS ของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 112
4.60 แสดงหน้าจอรายการวิชาที่เปิดสอนของระบบ LMS 112
ของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
4.61 แสดงหน้าจอหลักการ Login เข้าสู่ระบบ LMS ของมหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ 113
4.62 แสดงหน้าจอการกรอกข้อมูลลงทะเบียนผู้ใช้งานใหม่สำหรับการ Login 114
เข้าสู่ระบบ LMS ของมหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
4.63 แสดงหน้าจอวิชาที่ผู้เรียนได้ลงทะเบียนเรียนแล้วของระบบ LMS 115
ของมหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
4.64 แสดงองค์ประกอบการทำงานภายในระบบย่อยที่ 1 ระบบการจัดการเนื้อหา 116
รายวิชา (Content Management System) ของระบบการจัดการบริหาร
การเรียนการสอนส่วนของผู้สอน
4.65 แสดงองค์ประกอบการทำงานภายในระบบย่อยที่ 2 ระบบการจัดการผู้ใช้ 117
และการจัดการรายวิชา (User and Course Management System) ของ
ระบบการจัดการบริหารการเรียนการสอนส่วนของผู้สอน
4.66 แสดงองค์ประกอบการทำงานภายในระบบย่อยที่ 3 ระบบติดตาม 118
การเรียนการสอน (Course Tracking System) ของระบบการจัดการ
บริหารการเรียนการสอนส่วนของผู้สอน
4.67 แสดงองค์ประกอบการทำงานภายในระบบย่อยที่ 4 ระบบ 119
การวัดผลประเมินผล (Assessments System) ของระบบการจัดการ
บริหารการเรียนการสอนส่วนของผู้สอน


รายการรูปประกอบ (ต่อ)
รูป หน้า
4.68 แสดงองค์ประกอบการทำงานภายในระบบย่อยที่ 5 ระบบการสื่อสาร 119
(Communication System) ของระบบการจัดการบริหารการเรียนการสอน
ส่วนของผู้สอน
4.69 แสดงองค์ประกอบการทำงานภายในระบบย่อยรวมทั้ง 5 ระบบของระบบ 120
การจัดการบริหารการเรียนการสอน (Learning Management System)
ส่วนของผู้สอน
4.70 แสดงองค์ประกอบการทำงานภายในระบบย่อยที่ 1 ระบบ 124
การจัดการเนื้อหารายวิชา (Content Management System) ของระบบ
การจัดการบริหารการเรียนการสอนส่วนของผู้เรียน
4.71 แสดงองค์ประกอบการทำงานภายในระบบย่อยที่ 2 ระบบการจัดการผู้ใช้และ 125
การจัดการรายวิชา (User and Course Management System) ของระบบ
การจัดการบริหารการเรียนการสอนส่วนของผู้เรียน
4.72 แสดงองค์ประกอบการทำงานภายในระบบย่อยที่ 3 ระบบติดตามการเรียน 126
การสอน (Course Tracking System) ของระบบการจัดการบริหารการเรียน
การสอนส่วนของผู้เรียน
4.73 แสดงองค์ประกอบการทำงานภายในระบบย่อยที่ 4 ระบบการวัดผลประเมินผล 126
(Assessments System) ของระบบการจัดการบริหารการเรียนการสอนส่วน
ของผู้เรียน
4.74 แสดงองค์ประกอบการทำงานภายในระบบย่อยที่ 5 ระบบการสื่อสาร 127
(Communication System) ของระบบการจัดการบริหารการเรียน
การสอนส่วนของผู้เรียน
4.75 แสดงองค์ประกอบการทำงานภายในระบบย่อยรวมทั้ง 5 ระบบของระบบ 128
การจัดการบริหารการเรียนการสอน (Learning Management System)
ส่วนของผู้เรียน
4.76 แสดงองค์ประกอบการทำงานภายในระบบย่อยที่ 1 ระบบการจัดการ 132
เนื้อหารายวิชา (Content Management System) ของระบบการจัดการ
บริหารการเรียนการสอนส่วนของผู้สอน
4.77 แสดงองค์ประกอบการทำงานภายในระบบย่อยที่ 2 ระบบการจัดการผู้ใช้ 133
และการจัดการรายวิชา (User and Course Management System) ของระบบ
การจัดการบริหารการเรียนการสอนส่วนของผู้สอน


รายการรูปประกอบ (ต่อ)
รูป หน้า
4.78 แสดงองค์ประกอบการทำงานภายในระบบย่อยที่ 3 ระบบติดตาม 134
การเรียนการสอน (Course Tracking System) ของระบบการจัดการ
บริหารการเรียนการสอนส่วนของผู้สอน
4.79 แสดงองค์ประกอบการทำงานภายในระบบย่อยที่ 4 ระบบ 135
การวัดผลประเมินผล (Assessments System) ของระบบการจัดการ
บริหารการเรียนการสอนส่วนของผู้สอน
4.80 แสดงองค์ประกอบการทำงานภายในระบบย่อยที่ 5 ระบบการสื่อสาร 135
(Communication System) ของระบบการจัดการบริหารการเรียนการสอน
ส่วนของผู้สอน
4.81 แสดงองค์ประกอบการทำงานภายในระบบย่อยรวมทั้ง 5 ระบบของระบบ 137
การจัดการบริหารการเรียนการสอน (Learning Management System)
ส่วนของผู้สอน
4.82 แสดงองค์ประกอบการทำงานภายในระบบย่อยที่ 1 ระบบ 141
การจัดการเนื้อหารายวิชา (Content Management System) ของระบบ
การจัดการบริหารการเรียนการสอนส่วนของผู้เรียน
4.83 แสดงองค์ประกอบการทำงานภายในระบบย่อยที่ 2 ระบบการจัดการผู้ใช้ 142
และการจัดการรายวิชา (User and Course Management System) ของระบบ
การจัดการบริหารการเรียนการสอนส่วนของผู้เรียน
4.84 แสดงองค์ประกอบการทำงานภายในระบบย่อยที่ 3 ระบบติดตาม 143
การเรียนการสอน (Course Tracking System) ของระบบการจัดการบริหาร
การเรียนการสอนส่วนของผู้เรียน
4.85 แสดงองค์ประกอบการทำงานภายในระบบย่อยที่ 4 ระบบ 144
การวัดผลประเมินผล (Assessments System) ของระบบการจัดการ
บริหารการเรียนการสอนส่วนของผู้เรียน
4.86 แสดงองค์ประกอบการทำงานภายในระบบย่อยที่ 5 ระบบการสื่อสาร 145
(Communication System) ของระบบการจัดการบริหารการเรียนการสอน
ส่วนของผู้เรียน


รายการรูปประกอบ (ต่อ)
รูป หน้า
4.87 แสดงองค์ประกอบการทำงานภายในระบบย่อยรวมทั้ง 5 ระบบของระบบ 146
การจัดการบริหารการเรียนการสอน (Learning Management System)
ส่วนของผู้เรียน
4.88 แสดงแผนผังขั้นตอนการทำงานของระบบ LMS ในปัจจุบันส่วนของผู้สอน 150
4.89 แสดงแผนผังขั้นตอนการทำงานของระบบ LMS ในปัจจุบันส่วนของผู้เรียน 151
4.90 แสดงแผนผังขั้นตอนการทำงานของระบบ LMS ตามความคาดหวัง 153
ในอนาคตส่วนของผู้สอน
4.91 แสดงแผนผังขั้นตอนการทำงานของระบบ LMS ตามความคาดหวัง 154
ในอนาคตส่วนของผู้เรียน
4.92 แสดงการออกแบบ Context Diagram ของระบบ LMS ตามความคาดหวัง 155
ในอนาคต
4.93 แสดงการออกแบบ Data Flow Diagram Level 1 ของระบบ LMS 156
ตามความคาดหวังที่ต้องการในอนาคต
4.94 แสดงการออกแบบ Data Flow Diagram Level 1.1 ของระบบ LMS 157

บทที่ 1 บทนำ
1.1 ความสำคัญและที่มาของการวิจัย
ระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอน หรือ LMS (Learning Management System) เป็น
นวัตกรรมใหม่ ที่เข้ามาช่วยจัดระบบการเรียนการสอนให้เป็นระบบมากขึ้นแบบครบวงจร
โดยอาศัยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีการสื่อสารเป็นเครื่องมือสำคัญของการเรียนรู้ อีกทั้ง
ยังเป็นเครื่องมือที่สนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ได้ในทุกที่ทุกเวลาตามหลักการของ e-Learning [21, 23]
นอกจากนี้ ระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนยังเป็นซอฟท์แวร์สำหรับการบริหาร
จัดการรายวิชาที่รวบรวมเครื่องมือซึ่งออกแบบไว้เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งานในการจัด
การเรียนการสอนออนไลน์ [1] ซึ่งประกอบไปด้วยส่วนต่าง ๆ ที่เป็นกลไกทำให้กระบวน
การเรียนการสอนสามารถดำเนินไปได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างเช่น ผู้สอนสามารถร้องขอไปยังระบบ
เพื่อขอทำการเปิดวิชาที่ต้องการ จากนั้นผู้สอนจะทำการจัดเตรียมเนื้อหาโดยการอัพโหลด และ
ดาวน์โหลดข้อมูล กำหนดสิทธิ์ให้กับผู้เรียนเพื่อเข้ามาศึกษาเนื้อหาที่สร้างขึ้น ติดตามการเข้าใช้งาน
ของผู้เรียน สร้างแบบทดสอบ พร้อมทั้งกำหนดเวลาในการสอบ มีการเก็บสถิติผลการสอบของ
ผู้เรียน ส่วนด้านผู้เรียนนั้นจะมีระบบรองรับมากมาย เช่น การตรวจสอบตารางเรียนและผลการสอบ
การติดตามประกาศ การส่งงาน การเรียนแบบออฟไลน์ และด้านผู้ดูแลระบบจะมีเครื่องมือที่คอย
สนับสนุน หรือปรับปรุงระบบได้ง่าย มีการติดตามสถิติการเข้าใช้งานทั้งผู้เรียนและผู้สอน อีกทั้ง
มีเครื่องมือติดต่อสื่อสารระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียนด้วยกัน หรือผู้เรียนกับผู้สอนโดยใช้กระดานประกาศ
(Webboard) การสนทนาออนไลน์ (Chat) และการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-Mail) เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม การนำระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนมาใช้ในระบบการศึกษาของ
ประเทศนั้นนับว่ายังเป็นสิ่งใหม่และไม่คุ้นเคย ต่อผู้สอน และผู้เรียน อีกทั้งยังส่งผลกระทบโดยตรงต่อ
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน เช่น ปัญหาการมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน
ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน และระหว่างผู้เรียน/ผู้สอนกับผู้ดูแลระบบ ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยของ
สุวิชัย พรรษา [2] ที่พบว่า ทัศนคติต่อการยอมรับนวัตกรรมใหม่ ๆ การทำแบบทดสอบออนไลน์ได้
ตลอดเวลา รวมทั้งการเรียนและทำงานร่วมกัน ล้วนส่งผลกระทบเป็นปัญหาต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
อย่างมีนัยสำ คัญ นอกจากนี้ผลการวิจัยของ หทัยชนก ผลาวรรณ์ [3] ยังพบว่า ระบบ
การติดต่อสื่อสาร ความรู้ความสามารถของบุคลากร การบริหารจัดการของผู้ใช้ รูปแบบของสื่อ และ
การจัดการรายวิชา ล้วนมีส่วนสำคัญต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน สำหรับปัญหาอื่น ๆ เช่น โครงสร้าง
พื้นฐานของสถานศึกษา ดังนี้เป็นต้น
1
2
จากความสำคัญและปัญหาระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยจึงมี
ความสนใจที่จะทำการศึกษา เรื่อง การศึกษารูปแบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอน
(Learning Management System: LMS) ของสถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครซึ่งข้อมูลที่ได้
จากการวิจัยในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้สอน ผู้เรียน และสถานศึกษา ที่จะนำผลการวิจัยนี้ไปใช้
ปรับปรุงระบบการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อไปในอนาคต
1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย
วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนบนอินเทอร์เน็ต
(Learning Management System: LMS) ของสถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร
1.3 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัยมีดังนี้ คือ
1.3.1 สถานศึกษาสามารถนำผลงานวิจัยไปพัฒนา ปรับปรุง ระบบการบริหารจัดการด้านการเรียน
การสอน (Learning Management System: LMS) ให้ทันสมัยและมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น อีกทั้ง
ยังสามารถใช้เป็นระบบต้นแบบให้กับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ที่มีความสนใจต่อไป
1.3.2 ผู้สอนสามารถนำผลการวิจัยไปปรับปรุงพัฒนาการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบ
การบริหารจัดการด้านการเรียนการสอน (Learning Management System: LMS) ให้สอดคล้องกับ
ความต้องการของผู้เรียนเช่น การจัดทำ เนื้อหารายวิชา การจัดกิจกรรม การมีปฏิสัมพันธ์
การออกแบบข้อสอบ เกณฑ์ในการให้คะแนน เกณฑ์การบันทึกเวลาการเข้าออกระบบและการออก
รายงาน
1.3.3 ผู้ดูแลระบบสามารถนำผลการวิจัยไปปรับปรุงตัวระบบให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ เช่น
ความปลอดภัยในการเข้าใช้งาน ความเร็วในการใช้งาน ความเร็วในการประมวลผล การออกแบบ
หน้าจอให้สื่อความหมายและสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน
1.3.4 ผู้เรียนได้ระบบที่มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับความต้องการของตนเองมากขึ้น เช่น
ความเสถียรและความยืดหยุ่นของระบบมากกว่าเดิมทำให้การเรียนสามารถทำได้ตลอดเวลาไม่ติดขัด
2
3
1.4 ขอบเขตของการวิจัย
ขอบเขตของการวิจัยมีดังนี้ คือ
1.4.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1) ประชากร หมายถึง ผู้ดูแลระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอน (Learning
Management System: LMS) ของสถาบันอุดมศึกษา
2) กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้ดูแลระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอน
(Learning Management System: LMS) ของสถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร
1.4.2 ตัวแปรที่ศึกษา ประกอบด้วย
1) ลักษณะทั่วไปของระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอน
2) องค์ประกอบของระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอน (Learning Management
System: LMS) ซึ่งประกอบไปด้วย
2.1 ระบบการจัดการผู้ใช้และการจัดการรายวิชา (User and Course Management System)
2.2 ระบบการสื่อสาร (Communication System)
2.3 ระบบติดตามการเรียนการสอน (Course Tracking System)
2.4 ระบบการวัดผลประเมินผล (Assessments System)
2.5 ระบบการจัดการเนื้อหารายวิชา (Content Management System)
1.5 นิยามศัพท์ที่ใช้ในการวิจัย
นิยามศัพท์ที่ใช้ในการวิจัยมีดังนี้ คือ
1.5.1 การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากเดิมไม่รู้เป็นรู้ของนักศึกษาจากการเรียน
ผ่านระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอน (Learning Management System: LMS)
1.5.2 ผู้เรียน หมายถึง นักศึกษาระดับอุดมศึกษาที่กำ ลังศึกษากับมหาวิทยาลัยในเขต
กรุงเทพมหานครที่มีการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอน
(Learning Management System: LMS)
3
4
1.5.3 ผู้สอน หรือ อาจารย์ หมายถึง อาจารย์หรือคณะอาจารย์ที่ทำการจัดการเรียนการสอน
รายวิชาให้กับนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร ผ่านระบบการบริหารจัดการ
ด้านการเรียนการสอน (Learning Management System: LMS)
1.5.4 ผู้ดูแลระบบ/ผู้บริหารระบบ หมายถึง ผู้ที่ทำหน้าดูแล บริหาร และจัดการระบบการบริหาร
จัดการด้านการเรียนการสอน (Learning Management System: LMS) ให้สามารถใช้งานได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ
1.5.5 ผู้ใช้งาน หมายถึง อาจารย์ หรือ คณะอาจารย์ หรือ นักศึกษาระดับอุดมศึกษา ที่ทำการใช้งาน
ระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอน (Learning Management System: LMS) ของ
สถานศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร
1.5.6 ระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอน (Learning Management System: LMS)
หมายถึง ซอฟท์แวร์ ที่ใช้ในการบริการจัดการเรียนการสอนแบบครบวงจร โดยอาศัยระบบเครือข่าย
คอมพิวเตอร์เป็นสื่อกลาง โดยระบบจะครอบคลุมกระบวนการเรียนรู้ทั้งหมดแบบครบวงจร ประกอบ
ไปด้วยส่วนต่าง ๆ ที่เป็นกลไกลทำให้กระบวนการเรียนการสอนสามารถดำเนินไปได้
1.5.7 ระบบการจัดการผู้ใช้และการจัดการรายวิชา (User and Course Management System)
หมายถึง ระบบการจัดการกลุ่มผู้ใช้งานแบ่งเป็น 3 ระดับคือ ผู้เรียน ผู้สอน และผู้บริหารระบบ โดย
สามารถเข้าสู่ระบบจากที่ไหน เวลาใดก็ได้ โดยผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ระบบสามารถรองรับ
จำนวนผู้ใช้และจำนวนบทเรียนได้ ไม่จำกัด ซึ่งจะขึ้นอยู่กับ Hardware/Software ที่ใช้ และระบบ
สามารถรองรับการใช้งานภาษาไทยอย่างเต็มรูปแบบ
1.5.8 ระบบการสื่อสาร (Communication System) หมายถึง ระบบและเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้สื่อสาร
ระหว่าง ผู้เรียน-ผู้สอน และ ผู้เรียน-ผู้เรียน ได้แก่ กระดานข่าว (Web board) และ ห้องสนทนา
(Chat Room) โดยสามารถเก็บข้อมูลเหล่านี้เป็นประวัติการเข้าใช้ของผู้ใช้แต่ละคนได้
1.5.9 ระบบติดตามการเรียนการสอน (Course Tracking System) หมายถึง ระบบที่มีความสามารถ
ในการติดตามความคืบหน้าในการเรียน เช่น การบันทึกเวลาการเข้าใช้งานระบบอย่างละเอียด
4
5
1.5.10 ระบบการวัดผลประเมินผล (Assessment System) หมายถึง ระบบคลังข้อสอบ ซึ่งเป็นระบบ
การสุ่มข้อสอบที่สามารถจำกัดเวลาในการทำข้อสอบและการสามารถตรวจข้อสอบได้โดยอัตโนมัติ
มีการรายงานผลคะแนน และเกรด รวมทั้งมีระบบการรายงานสถิติการเข้าเรียนและเข้าทำข้อสอบ
ของผู้เรียนด้วย
1.5.11 ระบบการจัดการเนื้อหารายวิชา (Content Management System) หมายถึง ระบบการสร้าง
การจัดทำเนื้อหาของผู้สอนเอง และ/หรือมีการเชื่อมโยงเนื้อหารายวิชาจากแหล่งต่าง ๆ มาใช้งาน
ในระบบได้
1.5.12 สถาบันการศึกษา/มหาวิทยาลัย หมายถึง สถาบันอุดมศึกษาทั้งเอกชนและรัฐบาลในเขต
กรุงเทพมหานครที่มีการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอน
(Learning Management System: LMS)
5
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
สำหรับการศึกษารูปแบบการจัดการบริหารด้านการเรียนการสอน (Learning Management System:
LMS) ในสถาบันอุดมศึกษา เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างแท้จริงจึงได้ทำการศึกษาเอกสาร ทฤษฎี และ
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
2.1 แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549)
2.2 การจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-Based Instruction: WBI)
2.3 การเรียนการสอนบนอินเทอร์เน็ต (e-Learning)
2.4 การจัดการบริหารด้านการเรียนการสอน (Learning Management System: LMS)
2.5 มาตรฐาน SCROM (Sharable Content Object Reference Model)
2.6 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2.7 บทสรุป
2.1 แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549)
แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาฉบับที่ 9 [7] คือ แผนพัฒนาการศึกษาที่ใช้ในระดับอุดมศึกษา
โดยมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชนจะต้องนำแผนดังกล่าวไปปรับใช้เพื่อให้ผลการดำเนินการเป็น
ไปอย่างมีประสิทธิภาพทันต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม เทคโนโลยีและ
วัฒนธรรม สอดคล้องกับช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ การวางแผนการพัฒนาฉบับนี้
จะเน้นให้ประชาชนและผู้เกี่ยวข้องต่าง ๆได้มีส่วนร่วมในการกำหนด เสนอความคิดเห็น ทำให้ได้
ความคิดเห็นที่หลากหลายครอบคลุม ดังมีรายละเอียดดังนี้
2.1.1 วิสัยทัศน์แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549) มีดังนี้
1) สถาบันอุดมศึกษาผลิตบัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรม มีความเป็นผู้นำ มีจิตสำนึก
ในการสร้างงานของตนเอง มีความคิดและวิจารณญาณ มีความริเริ่มสร้างสรรค์ มีวินัยมี
ความรับผิดชอบ นำไปสู่การพัฒนาประเทศได้
2) อุดมศึกษาไทยเป็นการศึกษาของปวงชน กระจายโอกาสสู่ปวงชนทุกระดับทุกอาชีพ
ให้สามารถเข้าศึกษาในหลักสูตร ทั้งเพื่อรับปริญญาและ ไม่รับปริญญา จากการจัด การศึกษา
ในระบบการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
3) อุดมศึกษาไทยมีเอกภาพเชิงนโยบายและมาตรฐาน สถาบันอุดมศึกษาระดับปริญญา
เป็นนิติบุคคล สามารถพัฒนาระบบบริหาร และการจัดการที่เป็นของตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ และ
6
7
สามารถตรวจสอบได้ ภายใต้กลไกการประกันคุณภาพ ภายในที่เหมาะสม และสามารถพัฒนา
ยกระดับให้ทัดเทียมกับสากล และเป็นศูนย์การศึกษาในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน
4) สถาบันอุดมศึกษาระดับปริญญา มีพันธกิจในการให้การศึกษาชั้นสูงทางวิชาการและ
วิชาชีพ จัดฝึกอบรม และพัฒนาทักษะ ที่เป็นความต้องการในการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน และ
ประเทศชาติ มีการวิจัย และพัฒนา องค์ความรู้ที่ก่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคม พัฒนา และ
ถายทอดเทคโนโลย ่ ี จัดบริการวิชาการและทำนุบาํ รุง ศิลปวัฒนธรรม
โดยสรุปพบว่า วิสัยทัศน์ของแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาฉบับที่ 9 เป็นการสรุปความคิดเห็น
ข้อเสนอแนะ จากบุคคลหลายฝ่าย ทั้งจากประชาชน บุคคลที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานต่าง ๆ เพื่อมุ่งเน้นให้
อุดมศึกษาไทย เป็นสถานที่ผลิตบุคลากรเพื่อให้ได้คนที่ดีมีคุณภาพ อีกทั้งมุ่งเน้นการกระจายการศึกษา
ให้ทั่วถึงคนทุกระดับในสังคม นอกจากนี้ตัวองค์กรอุดมศึกสามารถดำเนินการบริหารจัดการภายใต้
การควบคุมด้วยตัวขององค์กรเองและต้องพร้อมสำหรับการตรวจสอบได้ตลอดเวลา พร้อมด้วย
การประกันคุณภาพ เป็นศูนย์กลางแห่งการศึกษาให้กับประเทศใกล้เคียง เพื่อพัฒนาประเทศได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ
2.1.2 วัตถุประสงค์ของแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549)
มีดังนี้
1) เพื่อสร้างคนไทยให้มีคุณภาพทั้งในด้านวิชาการและวิชาชีพ มีความรู้ และทักษะที่เป็น
ประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ ชุมชน และท้องถิ่น มีสติปัญญา มีคุณธรรมจริยธรรม มีวินัย
มีจิตสำนึกในการสร้างงานของตนเอง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถเรียนรู้อย่างต่อเนื่องด้วย
ตนเองตลอดชีวิต
2) เพื่อสร้างสรรค์องค์ความรู้และภูมิปัญญาไทย มีการศึกษาวิจัย และนวัตกรรมที่ก่อให้เกิด
ประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ ชุมชน และท้องถิ่น สร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ สังคม และ
สิ่งแวดล้อม ช่วยแก้ไขปัญหาวิกฤติของชาติ และส่งเสริมบทบาทของประเทศในการเป็นศูนย์กลาง
การศึกษาในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน
3) เพื่อสร้างรากฐานการพัฒนาให้เกิดความมั่นคงของชุมชนและท้องถิ่นให้มีความสามารถ
รับผิดชอบตนเอง สามารถพึ่งพาตนเองได้ รู้ทันความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและมีการศึกษาที่พอเพียง
4) เพื่อปรับปรุงระบบบริหาร และการจัดการอุดมศึกษาทั้งในระดับรัฐบาล และระดับสถาบัน
ให้มีความอิสระคล่องตัว เกิดประสิทธิภาพและคุณภาพทันต่อความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม
การเมือง และเทคโนโลยี โดยให้ภาคเอกชน ชุมชน และสังคมมีส่วนร่วมรับผิดชอบอุดมศึกษาเพิ่ม
มากขึ้น
7
8
โดยสรุปพบว่า วัตถุประสงค์ของแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาฉบับที่ 9 เป็นไปเพื่อการพัฒนา
ระบบการศึกษาระดับอุดมศึกษาของประเทศเพื่อให้เป็นเลิศในกลุ่มประเทศใกล้เคียง โดยเริ่มจาก
พัฒนาคนให้มีความรู้ความสามารถ มีความรู้ควบคู่คุณธรรม จริยธรรม สามารถพึ่งตนเองได้ ดังนั้น
ย่อมต้องส่งผลต่อ ชุมชน สังคม และประเทศ ก็ย่อมมีความเข้มแข็งเป็นปรึกแผ่นปัญหาต่าง ๆ ย่อม
ถูกแก้ไขได้อย่างง่ายดาย นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นในเรื่องความคล่องตัวในการบริหารจัดการทุกองค์กร
ต่างมีอิสระในการปกครองตนเองทั้งนี้เพื่อให้ทันต่อ เหตุการณ์ของสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และ
เทคโนโลยี
2.1.3 ยุทธศาสตร์
ภายใต้วัตถุประสงค์และเป้าหมาย จึงได้มีการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนา อุดมศึกษาในช่วง
แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549) ดังต่อไปนี้
1) การเสริมสร้างขีดความสามารถของสถาบันอุดมศึกษาให้มีคุณภาพระดับสากลที่สามารถ
พึ่งพาตนเองได้จากรากฐานของภูมิปัญญาไทย โดยมุ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา
ให้เป็นมันสมองของประเทศ ให้สามารถแข่งขันในระดับเศรษฐกิจยุคใหม่ได้ เป็น
การสร้างพลังทางปัญญาให้แก่ประเทศในการคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหา โดยอิงจากภูมิปัญญา
ไทยเป็นหลัก พร้อมประยุกต์ใช้เทคโนโลยีต่างประเทศอย่างเท่าทัน เพื่อให้สามารถพึ่งพาตนเองได้
ในระยะยาว ด้วยการจัดการให้มีการบริหารและการจัดการเพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการ
บนพื้นฐานของการแข่งขัน การจัดการทรัพย์สินทางปัญญา การประเมินคุณภาพระดับนานาชาติ
มีการวิจัยและพัฒนาที่สมดุลทั้งการวิจัยพื้นฐาน และการวิจัยประยุกต์ การสร้างองค์ความรู้ใหม่
มีการสร้างนักวิจัยที่เพียงพอและมีคุณภาพสูง มีการปฏิรูปการบริหารการวิจัยในระดับชาติ
สร้างสรรค์ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2) การเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางวิชาการที่ยั่งยืนให้กับระบบอุดมศึกษา โดยมุ่งให้
ความสำคัญกับการวางระบบโครงสร้างพื้นฐานในการจัดการศึกษาให้เพียงพอต่อการรักษาคุณภาพ
การจัดการศึกษา และการก่อให้เกิดผลผลิตที่เหมาะสมสอดคล้อง และตรงตามความต้องการ
ด้วยการเพิ่มอาจารย์รุ่นใหม่ที่มีคุณภาพเข้าสู่ระบบอุดมศึกษาให้มากยิ่งขึ้น ปรับโครงสร้างพื้นฐาน
การจัดการโดยเฉพาะโครงสร้างเทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสาร และโทรคมนาคม การจัดการ
ครุภัณฑ์ อุปกรณ์การศึกษา ตลอดจนการเตรียมความพร้อมของการศึกษา ขั้นพื้นฐานก่อนที่จะส่งต่อ
ให้อุดมศึกษา แนวทางหลัก คือ การปฏิรูปการเรียนการสอนตามแนว พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2542 รวมทั้งการจัดกิจการนักศึกษา ตลอดจนการส่งเสริมสถาบันการศึกษาเฉพาะทาง
3) การปฏิรูปการบริหารและการจัดการอุดมศึกษาเพื่อการยกระดับคุณภาพ และประสิทธิภาพ
โดยมุ่งหมายให้มีระบบการบริหารจัดการที่ดี มีความโปร่งใส และการมีส่วนร่วม มีการกระจายอำนาจ
และจัดระบบการตรวจสอบระบบการเงินงบประมาณอุดมศึกษา มีเสถียรภาพ และสถาบันอุดมศึกษา
8
9
มีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ คุ้มค่าคุ้มประโยชน์ ด้วยการส่งเสริม การบริหารจัดการที่ดี
(Good Governance) การปรับบทบาทของหน่วยงานของรัฐในการกำกับสถาบันอุดมศึกษา การระดม
ทรัพยากร และการปรับปรุงระบบการบริหารงานของสถาบันอุดมศึกษาให้มีประสิทธิภาพ และ
ทันสมัย
4) การเสริมสร้างศักยภาพการศึกษาให้เกิดความมั่นคงแก่ชุมชนและท้องถิ่น โดยมุ่งให้
ความสำคัญกับการนำชุมชนและท้องถิ่นเป็นศูนย์กลาง ของการสร้างแนวคิดในการปรับปรุงบทบาท
และ วิธีการจัดการให้สถาบันอุดมศึกษาให้ตอบสนองตามความต้องการในการพัฒนาชุมชน และ
ท้องถิ่น จึงเป็นการปรับวิธีการปฏิบัติของสถาบันอุดมศึกษาทั้งในเชิงวิชาการ การจัดการศึกษา
การกระจายโอกาส และความเสมอภาค กิจกรรมการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม รวมทั้งการร่วมมือ
และเรียนรู้ซึ่งกันและกันในการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น
โดยสรุปพบว่า ยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาฉบับที่ 9 ได้มุ่งเน้นให้
สถาบันอุดมศึกษามีความพร้อมที่จะเป็นศูนย์กลาง ในการพัฒนาประเทศ เป็นที่พึ่งของชุมชน และ
ของประเทศ โดยให้ความสำคัญในด้าน ต่างๆดังนี้ มุ่งเน้นการพึ่งพาตนเองเป็นสำคัญ ใช้ทรัพยากรที่มี
อยู่อย่างประหยัดสุด ประโยชน์สูง ใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ อย่างรู้เท่าทัน มุ่งสร้างพัฒนา บุคลากรให้มี
คุณภาพ ในสาขาอาชีพต่าง ๆ อย่างเพียงพอ ต่อความต้องการ รู้จักใช้ภูมิปัญญา ไทยในการคิดค้น
พัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ ไปพร้อมกับการ ปกป้องสิทธิทรัพย์สินทางปัญญา มีการบริหารจัดการที่ดี
พร้อมที่จะปรับเปลี่ยนตามสภาพการณ์
2.2 การจัดการเรียนการสอนผ่านการเรียนการสอนผ่านเว็บ
การเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-Based Instruction: WBI) เป็นการผสมผสานกันระหว่างเทคโนโลยี
ปัจจุบันกับกระบวนการออกแบบการเรียนการสอน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการเรียนรู้และ
แก้ปัญหาในเรื่อง ข้อจำกัดทางด้านสถานที่และเวลา โดยการสอนบนเว็บจะประยุกต์ใช้คุณสมบัติและ
ทรัพยากรของเวิลด์ ไวด์ เว็บ ในการจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่ง
การเรียนการสอนที่จัดขึ้นผ่านเว็บนี้ อาจเป็นบางส่วนหรือทั้งหมดของกระบวนการเรียนการสอนก็ได้
2.2.1 ความหมายของ Web-Based Instruction (WBI)
การใช้เว็บเพื่อการเรียนการสอนเป็นการนำเอาคุณสมบัติของอินเทอร์เน็ต มาออกแบบเพื่อใช้
ในการศึกษา การจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-Based Instruction) มีชื่อเรียกหลายลักษณะ เช่น
การจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ(Web-Based Instruction) เว็บการเรียน(Web-Based Learning)
เว็บฝึกอบรม (Web-Based Training) อินเทอร์เน็ตฝึกอบรม (Internet-Based Training) อินเทอร์เน็ต
9
10
ช่วยสอน(Internet-Based Instruction) เวิลด์ไวด์เว็บฝึกอบรม (WWW-Based Training) และ
เวิลด์ไวด์เว็บช่วยสอน (WWW-Based Instruction) [11] ทั้งนี้มีผู้นิยามและให้ความหมายของการเรียน
การสอนผ่านเว็บเอาไว้หลายนิยาม ได้แก่
กิดานันท์ มลิทอง [12] ให้ความหมายว่า การเรียนการสอนผ่านเว็บเป็นการใช้เว็บในการเรียน
การสอน โดยอาจใช้เว็บเพื่อนำเสนอบทเรียนในลักษณะสื่อหลายมิติของวิชาทั้งหมดตามหลักสูตร
หรือใช้เพียงการเสนอข้อมูลบางอย่างเพื่อประกอบการสอนก็ได้ รวมทั้งใช้ประโยชน์จากคุณลักษณะ
ต่าง ๆ ของการสื่อสารที่มีอยู่ในระบบอินเทอร์เน็ต เช่น การเขียนโต้ตอบกันทางไปรษณีย์
อิเล็กทรอนิกส์และการพูดคุยสดด้วยข้อความและเสียงมาใช้ประกอบด้วยเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ
สูงสุด
ถนอมพร เลาจรัสแสง [13] ให้ความหมายว่า การสอนบนเว็บ (Web-Based Instruction) เป็น
การผสมผสานกันระหว่างเทคโนโลยีปัจจุบันกับกระบวนการออกแบบการเรียนการสอน เพื่อเพิ่ม
ประสิทธิภาพทางการเรียนรู้ และแก้ปัญหาในเรื่องข้อจำกัดทางด้านสถานที่และเวลา โดยการสอน
บนเว็บจะประยุกต์ใช้ คุณสมบัติ และทรัพยากรของเวิลด์ไวด์เว็บ ในการจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริม
และสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งการเรียนการสอนที่จัดขึ้นผ่านเว็บนี้อาจเป็นบางส่วนหรือทั้งหมด
ของกระบวนการเรียนการสอนก็ได้
ใจทิพย์ ณ สงขลา [14] ได้ให้ความหมายการเรียนการสอนผ่านเว็บว่าหมายถึง การผนวก คุณสมบัติ
ไฮเปอร์มีเดียเข้ากับคุณสมบัติของเครือข่ายเวิลด์ไวด์เว็บ เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมแห่งการเรียนในมิติ
ที่ไม่มี ขอบเขตจำกัดด้วยระยะทาง และเวลาที่แตกต่างกันของผู้เรียน (Learning without Boundary)
วิชุดา รัตนเพียร [15] กล่าวว่าการเรียนการสอนผ่านเว็บ เป็นการนำเสนอโปรแกรมบทเรียน
บนเว็บเพจโดยนำเสนอผ่านบริการเวิลด์ไวด์เว็บในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งผู้ออกแบบ และสร้าง
โปรแกรมการสอนผ่านเว็บจะต้องคำนึงถึงความสามารถและบริการที่หลากหลายของอินเทอร์เน็ต
และนำคุณสมบัติต่าง ๆ เหล่านั้นมาใช้เพื่อประโยชน์ในการเรียนการสอนให้มากที่สุด
คาร์ลสัน และคณะ [16] กล่าวว่าการเรียนการสอนผ่านเว็บเป็นภาพที่ชัดเจนของการผสมผสาน
ระหว่างเทคโนโลยี กับกระบวนการออกแบบการเรียนการสอน (Instructional Design) ซึ่งก่อให้เกิด
โอกาสที่ชัดเจนในการนำการศึกษาไปสู่ที่ด้อยโอกาส เป็นการจัดหาเครื่องมือใหม่ ๆ สำหรับส่งเสริม
การเรียนรู้ และเพิ่มเครื่องมืออำนวยความสะดวกที่ช่วยขจัดปัญหา เรื่องสถานที่ และเวลา
10
11
แคมเพลส และแคมเพลส [17] ให้ความหมายของการเรียนการสอนผ่านเว็บว่าเป็นการจัดการเรียน
การสอนทั้งกระบวนการ หรือบางส่วน โดยใช้เวิลด์ไวด์เว็บ เป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดความรู้
แลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลระหว่างกัน เนื่องจากเวิลด์ไวด์เว็บมีความสามารถในการถ่ายทอดข้อมูลได้
หลายประเภทไม่ว่าจะเป็น ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง จึงเหมาะแก่การเป็นสื่อกลาง
ในการถ่ายทอดเนื้อหาการเรียนการสอน
ลานเพียร์ [18] ได้ให้นิยามของการเรียนการสอนผ่านเว็บว่า เป็นการจัดการเรียนการสอนผ่าน
สภาพแวดล้อมของเวิลด์ไวด์เว็บ ซึ่งอาจเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนในหลักสูตร
มหาวิทยาลัย เป็นส่วนประกอบการบรรยายในชั้นเรียน การสัมมนาโครงการกลุ่มหรือการสื่อสาร
ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนหรืออาจเป็นลักษณะของหลักสูตรที่เรียนผ่านเวิลด์ไวด์เว็บโดยตรงทั้ง
กระบวนการเลยก็ได้ การเรียนการสอนผ่านเว็บนี้เป็นการรวมกันระหว่างการศึกษา และการฝึกอบรม
เข้าไว้ด้วยกัน โดยให้ความสนใจต่อการใช้ในระดับ การเรียนที่สูงกว่าระดับมัธยมศึกษา
โดยสรุปพบว่า การเรียนการสอนผ่านเวิลด์ไวด์เว็บนั้นเป็นความพยายาม ในการถ่ายทอดความรู้
จากต้นทางสู่ปลายทางโดยอาศัยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร ข้ามพ้น
ข้อจำ กัดด้านเวลา สถานที่ อีกทั้งการจัดการเรียนการสอนรูปแบบนี้ยังเป็นต้นแบบให้
การจัดการเรียนการสอนในอนาคตอีกด้วย
2.2.2 ประเภทของการเรียนการสอนผ่านเว็บ
การเรียนการสอนผ่านเว็บสามารถทำได้ในหลายลักษณะ โดยแต่ละเนื้อหาของหลักสูตรก็มีวิธี
การจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งในประเด็นนี้ มีนักการศึกษาหลายท่าน
ได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับประเภทของการเรียนการสอนผ่านเว็บ ดังต่อไปนี้
เจมส์ [19] ได้อธิบายอีกแนวคิดหนึ่งของเว็บช่วยสอนซึ่งแยกตามโครงสร้าง และประโยชน์การใช้งาน
สามารถแบ่งได้ 3 ลักษณะใหญ่ ๆ คือ
1) โครงสร้างแบบค้นหา (Eclectic Structures) ลักษณะของโครงสร้างเว็บไซต์แบบนี้
เป็นแหล่งของเว็บไซต์ที่ใช้ในการค้นหาไม่มีการกำหนดขนาด รูปแบบ ไม่มีโครงสร้างที่ผู้เรียน
ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับเว็บ ลักษณะของเว็บไซต์แบบนี้จะมีแต่การให้ใช้เครื่องมือในการสืบค้นหรือ
เพื่อบางสิ่งที่ต้องการค้นหาตามที่กำหนด หรือโดยผู้เขียนเว็บไซต์ต้องการ โครงสร้างแบบนี้จะเป็น
แบบเปิดให้ผู้เรียนได้เข้ามาค้นคว้าในเนื้อหาในบริบท โดยไม่มีโครงสร้างข้อมูลเฉพาะให้เลือก
แต่โครงสร้างแบบนี้จะมีปัญหากับผู้เรียนเพราะผู้เรียนอาจจะไม่สนใจข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง
โดยไม่กำหนดแนวทางในการสืบค้น
11
12
2) โครงสร้างแบบสารานุกรม (Encyclopaedic Structures) ถ้าเราควบคุมโครงสร้างของเว็บ
ที่เราสร้างขึ้นเองได้ เราก็จะใช้โครงสร้างข้อมูลในแบบต้นไม้ในการเข้าสู่ข้อมูล ซึ่งเหมือนกับหนังสือ
ที่มีเนื้อหาและมีการจัดเป็นบทเป็นตอน ซึ่งจะกำหนดให้ผู้เรียนหรือผู้ใช้ได้ผ่านเข้าไปหาข้อมูลหรือ
เครื่องมือที่อยู่ในพื้นที่ของเว็บหรืออยู่ภายใน และนอกเว็บ เว็บไซต์จำนวนมากมีโครงสร้างใน
ลักษณะดังกล่าวนี้ โดยเฉพาะเว็บไซต์ทางการศึกษาที่ไม่ได้กำหนดทางการค้า องค์กร ซึ่งอาจจะต้องมี
ลักษณะที่ดูมีมากกว่านี้ แต่ในเว็บไซต์ทางการศึกษาต้องรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน กลวิธี
ด้านโครงสร้างจึงมีผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
3) โครงสร้างแบบการเรียนการสอน (Pedagogic Structures) มีรูปแบบโครงสร้างหลายอย่าง
ในการนำมาสอนตามต้องการ ทั้งหมดเป็นที่รู้จักดีในบทบาทของการออกแบบทางการศึกษาสำหรับ
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือเครื่องมือมัลติมีเดีย ซึ่งความจริงมีหลักการแตกต่างกันระหว่าง
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนกับเว็บช่วยสอนนั้นคือความสามารถของ HTML ในการที่จะจัดทำในแบบ
ไฮเปอร์เท็กซ์กับการเข้าถึงข้อมูลหน้าจอโดยผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
โดเฮอร์ตี้ [20] แนะนำว่าการเรียนการสอนผ่านเว็บ มีวิธีการใช้ใน 3 ลักษณะ คือ
1) การนำเสนอ (Presentation) ในลักษณะของเว็บไซต์ที่ประกอบไปด้วยข้อความ ภาพกราฟิก
โดยมีวิธีการนำเสนอ คือ
1.1 การนำเสนอแบบสื่อเดี่ยว เช่น ข้อความ หรือ รูปภาพ
1.2 การนำเสนอแบบสื่อคู่ เช่น ข้อความกับรูปภาพ
1.3 การนำเสนอแบบมัลติมีเดีย คือ ประกอบด้วยข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง
2) การสื่อสาร (Communication) การสื่อสารเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องใช้ทุกวันในชีวิตซึ่งเป็น
ลักษณะสำคัญของอินเทอร์เน็ต โดยมีการสื่อสารบนอินเทอร์เน็ตหลายแบบ เช่น
2.1 การสื่อสารทางเดียว เช่น การดูข้อมูลจากเว็บเพจ
2.2 การสื่อสารสองทาง เช่น การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์โต้ตอบกัน
2.3 การสื่อสารแบบหนึ่งแหล่งไปหลายที่ เป็นการส่งข้อความจากแหล่งเดียว
แพร่กระจายไปหลายแหล่ง เช่น การอภิปรายจากคนเดียวให้คนอื่น ๆ ได้รับฟังด้วยหรือการประชุม
ผ่านคอมพิวเตอร์ (Computer Conferencing)
2.4 การสื่อสารหลายแหล่งไปสู่หลายแหล่ง เช่น การใช้กระบวนการกลุ่มในการสื่อสาร
บนเว็บ โดยมีคนใช้หลายคนและคนรับหลายคนเช่นกัน
3) การทำให้เกิดความสัมพันธ์ (Dynamic Interaction) เป็นคุณลักษณะที่สำคัญของ
อินเทอร์เน็ตและสำคัญที่สุด ซึ่งมี 3 ลักษณะคือ
3.1 การสืบค้นข้อมูล
3.2 การหาวิธีการเข้าสู่เว็บ
12
13
3.3 การตอบสนองของมนุษย์ต่อการใช้เว็บ
แฮนนัม [21] ได้แบ่งประเภทของการเรียนการสอนผ่านเว็บ ออกเป็น 4 ลักษณะใหญ่ ๆ คือ
1) รูปแบบการเผยแพร่ รูปแบบนี้สามารถแบ่งได้ออกเป็น 3 ชนิด คือ
1.1 รูปแบบห้องสมุด (Library Model) เป็นรูปแบบที่ใช้ประโยชน์จากความสามารถ
ในการเข้าไปยังแหล่งทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์ที่มีอยู่หลากหลาย โดยวิธีการจัดหาเนื้อหาให้ผู้เรียน
ผ่านการเชื่อมโยงไปยังแหล่งเสริมต่าง ๆ เช่นสารานุกรม วารสาร หรือหนังสือออนไลน์ทั้งหลาย
ซึ่งถือได้ว่า เป็นการนำเอาลักษณะทางกายภาพของห้องสมุดที่มีทรัพยากรจำนวนมหาศาล
มาประยุกต์ใช้ ส่วน ประกอบของรูปแบบนี้ ได้แก่ สารานุกรมออนไลน์ วารสารออนไลน์ หนังสือ
ออนไลน์ สารบัญการอ่านออนไลน์ (Online Reading List) เว็บห้องสมุด เว็บงานวิจัย รวมทั้ง
การรวบรวมรายชื่อเว็บที่สัมพันธ์กับวิชาต่าง ๆ
1.2 รูปแบบหนังสือเรียน (Textbook Model) การเรียนการสอนผ่านเว็บรูปแบบนี้
เป็นการจัดเนื้อหาของหลักสูตรในลักษณะออนไลน์ให้แก่ผู้เรียน เช่น คำบรรยาย สไลด์ นิยาม คำศัพท์
และส่วนเสริมผู้สอนสามารถเตรียมเนื้อหาออนไลน์ที่ใช้เหมือนกับที่ใช้ในการเรียนในชั้นเรียนปกติ
และสามารถทำสำเนาเอกสารให้กับผู้เรียนได้ รูปแบบนี้ต่างจากรูปแบบห้องสมุดคือรูปแบบนี้
จะเตรียมเนื้อหาสำหรับการเรียนการสอนโดยเฉพาะ ขณะที่รูปแบบห้องสมุดช่วยให้ผู้เรียนเข้าถึง
เนื้อหาที่ต้องการจากการเชื่อมโยงที่ได้เตรียมเอาไว้ ส่วนประกอบของรูปแบบหนังสือเรียนนี้
ประกอบด้วยบันทึกของหลักสูตร บันทึกคำบรรยาย ข้อแนะนำของห้องเรียน สไลด์ที่นำเสนอ วิดีโอ
และภาพ ที่ใช้ในชั้นเรียน เอกสารอื่นที่มีความสัมพันธ์กับชั้นเรียน เช่น ประมวลรายวิชา รายชื่อในชั้น
กฎเกณฑ์ข้อตกลงต่าง ๆ ตารางการสอบและตัวอย่างการสอบครั้งที่แล้ว ความคาดหวังของชั้นเรียน
งานที่มอบหมาย เป็นต้น
1.3 รูปแบบการสอนที่มีปฏิสัมพันธ์ (Interactive Instruction Model) รูปแบบนี้จัดให้
ผู้เรียนได้รับประสบการณ์การเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับเนื้อหาที่ได้รับ โดยนำลักษณะ
ของบทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) มาประยุกต์ใช้เป็นการสอนแบบออนไลน์ที่เน้น
การมีปฏิสัมพันธ์ มีการให้ คำแนะนำ การปฏิบัติ การให้ผลย้อนกลับ รวมทั้งการให้สถานการณ์จำลอง
2) รูปแบบการสื่อสาร (Communication Model) การเรียนการสอนผ่านเว็บรูปแบบนี้เป็น
รูปแบบที่อาศัยคอมพิวเตอร์มาเป็นสื่อเพื่อการสื่อสาร (Computer-Mediated Communications Model)
ผู้เรียนสามารถที่จะสื่อสารกับผู้เรียนคนอื่น ๆ ผู้สอนหรือกับผู้เชี่ยวชาญได้ โดยรูปแบบ
การสื่อสารที่หลากหลายในอินเทอร์เน็ต ซึ่งได้แก่ จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มอภิปรายการสนทนา
และการอภิปรายและการประชุมผ่านคอมพิวเตอร์ เหมาะสำหรับการเรียนการสอนที่ต้องการส่งเสริม
การสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ที่มีส่วนร่วมในการเรียนการสอน
13
14
3) รูปแบบผสม (Hybrid Model) รูปแบบการเรียนการสอนผ่านเว็บรูปแบบนี้เป็นการนำเอา
รูปแบบ 2 ชนิด คือ รูปแบบการเผยแพร่กับรูปแบบการสื่อสารมารวมเข้าไว้ด้วยกัน เช่น เว็บไซต์ที่รวม
เอารูปแบบห้องสมุดกับรูปแบบหนังสือเรียนไว้ด้วยกัน เว็บไซต์ที่รวบรวมเอาบันทึกของหลักสูตร
รวมทั้งคำบรรยายไว้กับกลุ่มอภิปรายหรือเว็บไซต์ที่รวมเอารายการแหล่งเสริมความรู้ต่าง ๆ และ
ความสามารถของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ไว้ด้วยกัน เป็นต้นรูปแบบนี้มีประโยชน์เป็นอย่างมาก
กับผู้เรียนเพราะผู้เรียนจะได้ใช้ประโยชน์ของทรัพยากรที่มีในอินเทอร์เน็ตในลักษณะที่หลากหลาย
4) รูปแบบห้องเรียนเสมือน (Virtual classroom model) รูปแบบห้องเรียนเสมือนเป็น
การนำเอาลักษณะเด่นหลาย ๆ ประการของแต่ละรูปแบบที่กล่าวมาแล้วข้างต้นมาใช้ ฮิลทซ์ (Hiltz,
1993) ได้นิยามว่าห้องเรียนเสมือนเป็นสภาพแวดล้อมการเรียนการสอนที่นำแหล่งทรัพยากรออนไลน์
มาใช้ในลักษณะการเรียนการสอนแบบร่วมมือ โดยการร่วมมือระหว่างนักเรียนด้วยกัน นักเรียนกับ
ผู้สอน ชั้นเรียนกับสถาบันการศึกษาอื่น และกับชุมชนที่ไม่เป็นเชิงวิชาการ (Khan, 1997) ส่วน
เทอรอฟฟ์ (Turoff, 1995) กล่าวถึงห้องเรียนเสมือนว่า เป็นสภาพแวดล้อมการเรียน การสอนที่ตั้งขึ้น
ภายใต้ระบบการสื่อสารผ่านคอมพิวเตอร์ในลักษณะของการเรียนแบบร่วมมือ ซึ่งเป็นกระบวนการที่
เน้นความสำคัญของกลุ่มที่จะร่วมมือทำกิจกรรมร่วมกัน นักเรียนและผู้สอนจะได้รับความรู้ใหม่ ๆ
จากกิจกรรมการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อมูล ลักษณะเด่นของการเรียนการสอน
รูปแบบนี้ก็คือความสามารถในการลอกเลียนลักษณะของห้องเรียนปกติมาใช้ในการออกแบบ
การเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยอาศัยความสามารถต่างๆ ของอินเทอร์เน็ต โดยมี
ส่วนประกอบคือ ประมวลรายวิชา เนื้อหาในหลักสูตร รายชื่อแหล่งเนื้อหาเสริมกิจกรรมระหว่าง
ผู้เรียนผู้สอน คำแนะนำและการให้ผลป้อนกลับ การนำเสนอในลักษณะมัลติมีเดีย การเรียน
แบบร่วมมือ รวมทั้งการสื่อสารระหว่างกัน รูปแบบนี้จะช่วยให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์จากการเรียน
โดยไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของเวลาและสถานที่
สรุปได้ว่า ประเภทของการเรียนการสอนผ่านเว็บนั้น สามารถจัดแบ่งได้หลากหลายลักษณะขึ้นอยู่กับ
รูปแบบของการนำเสนอ การสื่อสารข้อมูล วัตถุประสงค์การใช้งาน รูปแบบการออกแบบการเรียน
การสอน โดยอาศัยข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว สไลด์ วิดีโอเป็นสื่อ ไม่ว่าการเรียนการสอน
ผ่านเว็บจะถูกจัดแบ่งเป็นกี่ประเภท วัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดความรู้ อำนวยความสะดวกให้การเรียน
การสอนเป็นไปได้ไม่ติดขัด ช่วยให้การเรียนรู้ของผู้เรียนเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากกว่า
การเรียนการสอนแบบเดิม
14
15
2.2.3 ประโยชน์ของการเรียนการสอนผ่านเว็บ
ประโยชน์ของการเรียนการสอนผ่านเว็บมีมากมายหลายประการ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์
ของการนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งเป็นมิติใหม่ของเครื่องมือและกระบวนการ
ในการเรียนการสอน โดยมีผู้กล่าวถึงประโยชน์ของการเรียนการสอนผ่านเว็บไว้ดังนี้
ถนอมพร เลาหจรัสแสง [13] ได้กล่าวถึงการสอนบนเว็บมีข้อดีอยู่หลายประการ กล่าวคือ
1) การสอนบนเว็บเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนที่อยู่ห่างไกล หรือไม่มีเวลาในการมาเข้า
ชั้นเรียนได้เรียนในเวลาและสถานที่ ๆ ต้องการ ซึ่งอาจเป็นที่บ้าน ที่ทำงาน หรือสถานศึกษาใกล้เคียง
ที่ผู้เรียนสามารถเข้าไปใช้บริการทางอินเทอร์เน็ตได้ การที่ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องเดินทางมายัง
สถานศึกษาที่กำหนดไว้จึงสามารถช่วยแก้ปัญหาในด้านของข้อจำกัดเกี่ยวกับเวลา และสถานที่ศึกษา
ของผู้เรียนเป็นอย่างดี
2) การสอนบนเว็บยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดความเท่าเทียมกันทางการศึกษา ผู้เรียนที่ศึกษาอยู่
ในสถาบัน การศึกษาในภูมิภาคหรือในประเทศหนึ่งสามารถที่จะศึกษา ถกเถียง อภิปราย
กับอาจารย์ ครูผู้สอนซึ่งสอน อยู่ที่สถาบันการศึกษาในนครหลวงหรือในต่างประเทศก็ตาม
3) การสอนบนเว็บนี้ ยังช่วยส่งเสริมแนวคิดในเรื่องของการเรียนรู้ตลอดชีวิต เนื่องจากเว็บ
เป็นแหล่งความรู้ที่เปิดกว้างให้ผู้ที่ต้องการศึกษาในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง สามารถเข้ามาค้นคว้าหาความรู้
ได้อย่างต่อเนื่องและ ตลอดเวลาการสอนบนเว็บ สามารถตอบสนองต่อผู้เรียนที่มีความใฝ่รู้รวมทั้งมี
ทักษะในการตรวจสอบการ เรียนรู้ด้วยตนเอง (Meta-cognitive Skills) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4) การสอนบนเว็บ ช่วยทลายกำแพงของห้องเรียนและเปลี่ยนจากห้องเรียน 4 เหลี่ยมไปสู่โลก
กว้างแห่งการเรียนรู้ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกและมี
ประสิทธิภาพสนับสนุน สิ่งแวดล้อมทางการเรียนที่เชื่อมโยงสิ่งที่เรียนกับปัญหาที่พบในความเป็นจริง
โดยเน้นให้เกิดการเรียนรู้ตาม บริบทในโลกแห่งความเป็นจริง (Contextualization) และการเรียนรู้
จากปัญหา (Problem-based Learning) ตามแนวคิดแบบ Constructivism
5) การสอนบนเว็บเป็นวิธีการเรียนการสอนที่มีศักยภาพ เนื่องจากที่เว็บได้กลายเป็นแหล่ง
ค้นคว้าข้อมูลทางวิชาการรูปแบบใหม่ครอบคลุมสารสนเทศทั่วโลกโดยไม่จำกัดภาษา การสอน
บนเว็บช่วยแก้ปัญหาของ ข้อจำกัดของแหล่งค้นคว้าแบบเดิมจากห้องสมุดอันได้แก่ ปัญหาทรัพยากร
การศึกษาที่มีอยู่จำกัดและเวลา ที่ใช้ในการค้นหาข้อมูล เนื่องจากเว็บมีข้อมูลที่หลากหลายและ
เป็นจำนวนมาก รวมทั้งการที่เว็บใช้การ เชื่อมโยงในลักษณะของไฮเปอร์มิเดีย (สื่อหลายมิติ) ซึ่งทำให้
การค้นหาทำได้สะดวกและง่ายดายกว่าการ ค้นหาข้อมูลแบบเดิม
6) การสอนบนเว็บจะช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ที่กระตือรือร้น ทั้งนี้เนื่องจากคุณลักษณะของ
เว็บที่เอื้ออำนวยให้เกิดการศึกษา ในลักษณะที่ผู้เรียนถูกกระตุ้นให้แสดงความคิดเห็นได้อยู่ตลอดเวลา
โดยไม่จำเป็นต้องเปิดเผยตัวตนที่แท้จริง ตัวอย่างเช่น การให้ผู้เรียนร่วมมือกันในการทำกิจกรรม
15
16
ต่าง ๆ บนเครือข่ายการให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นและแสดงไว้บนเว็บบอร์ดหรือการให้
ผู้เรียนมีโอกาสเข้ามาพบปะกับผู้เรียนคนอื่น ๆ อาจารย์ หรือผู้เชี่ยวชาญในเวลาเดียวกันที่ห้องสนทนา
เป็นต้น
7) การสอนบนเว็บเอื้อให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ ซึ่งการเปิดปฏิสัมพันธ์นี้อาจทำได้ 2 รูปแบบ คือ
ปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนด้วยกันและ/หรือผู้สอน ปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนในเนื้อหาหรือสื่อการสอนบน
เว็บ ซึ่งลักษณะแรกนี้จะอยู่ในรูปของการเข้าไปพูดคุย พบปะ แลกเปลี่ยน ความคิดเห็นกัน ส่วนใน
ลักษณะหลังนั้นจะอยู่ในรูปแบบของการเรียนการสอน แบบฝึกหัดหรือแบบทดสอบที่ผู้สอนได้จัดหา
ไว้ให้แก่ผู้เรียน
8) การสอนบนเว็บยังเป็นการเปิดโอกาสสำหรับผู้เรียนในการเข้าถึงผู้เชี่ยวชาญสาขาต่าง ๆ ทั้ง
ในและนอกสถาบันจากในประเทศและต่างประเทศทั่วโลก โดยผู้เรียนสามารถติดต่อสอบถามปัญหา
ขอข้อมูลต่าง ๆ ที่ต้องการศึกษาจากผู้เชี่ยวชาญจริงโดยตรงซึ่งไม่สามารถทำได้ในการเรียน
การสอนแบบดั้งเดิม นอกจากนี้ ยังประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายเมื่อเปรียบเทียบกับการติดต่อสื่อสาร
ในลักษณะเดิม ๆ
9) การสอนบนเว็บเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแสดงผลงานของตน สู่สายตาผู้อื่น
อย่างง่ายดาย ทั้งนี้ไม่ได้จำกัดเฉพาะเพื่อน ๆ ในชั้นเรียนหากแต่เป็นบุคคลทั่วไปทั่วโลกได้ ดังนั้น
จึงถือเป็นการสร้างแรงจูงใจภายนอกในการเรียนอย่างหนึ่งสำหรับผู้เรียน ผู้เรียนจะพยายามผลิตผล
งานที่ดีเพื่อไม่ให้เสียชื่อเสียงตนเองนอกจากนี้ผู้เรียนยังมีโอกาสได้เห็นผลงานของผู้อื่นเพื่อนำมา
พัฒนางานของตนเองให้ดียิ่งขึ้น
10) การสอนบนเว็บเปิดโอกาสให้ผู้สอนสามารถปรับปรุงเนื้อหาหลักสูตร ให้ทันสมัย
ได้อย่าง สะดวกสบายเนื่องจากข้อมูลบนเว็บมีลักษณะเป็นพลวัตร (Dynamic) ดังนั้น ผู้สอนสามารถ
อัพเดตเนื้อหาหลักสูตรที่ทันสมัยแก่ผู้เรียนได้ตลอดเวลา นอกจากนี้การให้ผู้เรียนได้สื่อสารและแสดง
ความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา ทำให้เนื้อหาการเรียนมีความยืดหยุ่นมากกว่าการเรียนการสอน
แบบเดิมและเปลี่ยนแปลงไปตามความต้องการของผู้เรียนเป็นสำคัญ การสอนบนเว็บสามารถนำเสนอ
เนื้อหาในรูปของมัลติมีเดีย ได้แก่ ข้อความ ภาพนิ่ง เสียง ภาพเคลื่อนไหว วีดีทัศน์ ภาพ 3 มิติ โดย
ผู้สอนและผู้เรียนสามารถเลือกรูปแบบของการนำเสนอเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดทางการเรียน
ปรัชญนันท์ นิลสุข [19] ได้กล่าวถึงคุณลักษณะสำคัญของเว็บซึ่งเอื้อประโยชน์ต่อการจัด
การเรียนการสอน มีอยู่ 8 ประการ ได้แก่
1) การที่เว็บเปิดโอกาสให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ (Interactive) ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนและ
ผู้เรียนกับผู้เรียนหรือผู้เรียนกับเนื้อหาบทเรียน
2) การที่เว็บสามารถนำเสนอเนื้อหาในรูปแบบของสื่อประสม (Multimedia)
16
17
3) การที่เว็บเป็นระบบเปิด (Open System) ซึ่งอนุญาตให้ผู้ใช้มีอิสระในการเข้าถึงข้อมูลได้
ทั่วโลก
4) การที่เว็บอุดมไปด้วยทรัพยากร เพื่อการสืบค้นออนไลน์ (Online Search/Resource)
5) ความไม่มีข้อจำกัดทางสถานที่และเวลาของการสอนบนเว็บ (Device, Distance and Time
Independent) ผู้เรียนที่มีคอมพิวเตอร์ในระบบใดก็ได้ ซึ่งต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตจะสามารถเข้าเรียนจาก
ที่ใดก็ได้ในเวลาใดก็ได้
6) การที่เว็บอนุญาตให้ผู้เรียนเป็นผู้ควบคุม (Learner Controlled) ผู้เรียนสามารถเรียน
ตามความพร้อม ความถนัดและความสนใจของตน
7) การที่เว็บมีความสมบูรณ์ในตนเอง (Self-contained) ทำให้เราสามารถจัดกระบวน
การเรียนการสอนทั้งหมดผ่านเว็บได้
8) การที่เว็บอนุญาตให้มีการติดต่อสื่อสารทั้งแบบเวลาเดียว (Synchronous Communication)
เช่น Chat และต่างเวลากัน (Asynchronous Communication) เช่น Webboard เป็นต้น
สรุปได้ว่า ประโยชน์ของการเรียนการสอน ผ่านเว็บนั้นเป็นการรวบรวมเอาข้อดีของ ระบบเครือข่าย
อินเทอร์เน็ตผนวกเข้ากับแนวคิดรูปแบบใหม่ของการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบัน ทำให้การเรียน
การสอนเกิดความคล่องตัว ซึ่งแตกต่างไปการการเรียนการสอนแบบเดิมเป็นอย่างมาก การเรียน
การสอนผ่านเว็บนั้นเป็นคำตอบในความพยายาม ของการเรียนรู้ตลอดชีวิต ข้ามข้อจำกัดด้านเวลา และ
สถานที่ ลดช่องว่างทางการศึกษา เกิดการถ่ายทอดความรู้ประสบการณ์ต่าง ๆ จากทั่วทุกมุมโลก
อย่างทั่วถึงและง่ายดาย เป็นแรงการกระตุ้นให้ทั้งผู้สอนและ ผู้เรียนเกิดการตื่นตัวและใช้ประโยชน์
จากการเรียนการสอนรูปแบบใหม่นี้ได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ
2.2.4 ส่วนประกอบของ WBI
ภาสกร เรืองรอง [20] ได้แยกประเภทตามลักษณะการใช้งานการสื่อสารใน WBI ดังนี้
1) e-Mail ใช้ติดต่อสื่อสารระหว่างเฉพาะ ผู้ที่เป็นสมาชิกอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ผู้อื่นจะไม่
สามารถอ่านได้ (Two Way) ใช้ติดต่อสื่อสารระหว่างอาจารย์ หรือเพื่อนร่วมชั้นเรียนด้วยกัน โดยใช้
ส่งการบ้านหรืองานที่ได้รับมอบหมาย
2) Webboard ใช้ติดต่อสื่อสารระหว่าง ผู้เรียน อาจารย์ และผู้เรียน (Three Way) ใช้กำหนด
ประเด็นหรือกระทู้ ตามที่อาจารย์กำหนด หรือตามแต่นักเรียนจะกำหนด เพื่อช่วยกันอภิปรายตอบ
ประเด็น หรือกระทู้นั้น ทั้งอาจารย์และผู้เรียน
3) Chat ใช้ติดต่อสื่อสารระหว่าง ผู้เรียน อาจารย์ และผู้เรียน (Three Way) โดยการสนทนา
แบบ Real Time มีทั้ง Text Chat และ Voice Chat โดย ใช้สนทนา ระหว่างผู้เรียนและอาจารย์
ในห้องเรียนหรือชั่วโมงเรียน นั้น ๆ เสมือนว่ากำลังคุยกันอยู่ในห้องเรียนจริง ๆ
17
18
4) ICQ ใช้ติดต่อสื่อสารระหว่าง ผู้เรียน อาจารย์ และผู้เรียน (Three Way) โดยการสนทนา
แบบ Real Time และ Past Time โดยใช้สนทนา ระหว่างผู้เรียนและอาจารย์ในห้องเรียนเสมือนว่า
กำลังคุยกันอยู่ในห้องเรียนจริง ๆ โดยที่ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องอยู่ในเวลานั้น ๆ ICQ จะเก็บข้อความไว้
ให้ และยังทราบด้วยว่า ในขณะนั้นผู้เรียนอยู่หน้าเครื่องหรือไม่
5) Conference ใช้ติดต่อสื่อสารระหว่าง ผู้เรียน อาจารย์ และผู้เรียน (Three Way) แบบ
Real Time โดยที่ผู้เรียนและอาจารย์ สามารถเห็นหน้ากันได้ โดยผ่านทางกล้องโทรทัศน์ที่ติดอยู่กับ
เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งสองฝ่าย โดย ใช้บรรยายให้ผู้เรียนกับที่อยู่หน้าเครื่องเสมือนว่ากำลังนั่งเรียนอยู่
ในห้องเรียนจริง ๆ
6) Electronic Home Work ใช้ติดต่อสื่อสารระหว่าง ผู้เรียน อาจารย์เป็นเสมือสมุด
ประจำตัวนักเรียน โดยที่นักเรียนไม่ต้องถือสมุดการบ้านจริง ๆ เป็นสมุดการบ้านที่ติดตัวตลอดเวลา
ใช้ส่งงานตามที่อาจารย์กำหนด เช่นให้เขียนรายงาน โดยที่อาจารย์สามารถเปิดดู Electronic Home
Work ของนักเรียนและเขียนบันทึกเพื่อตรวจงานและให้คะแนนได้ แต่นักเรียนด้วยกันจะเปิดดูไม่ได้
สรุปได้ว่า ส่วนประกอบของ WBI นั้นเป็นการนำเอาเครื่องมือชนิดต่าง ๆ ที่มีอยู่แล้วหรือที่กำลังจะมี
ในอนาคต ในอินเทอร์เน็ต มาใช้เพื่อให้เกิดการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่าย ภายในการเรียน
การสอน มีการกำหนดการทำกิจกรรมทั้งแบบประสานเวลา หรือแบบไม่ประสานเวลาระหว่างกัน
ขึ้นอยู่กับรูปแบบของเครื่องมือ และความต้องการของผู้สอน โดยมีส่วนประกอบคือ ประมวลรายวิชา
เนื้อหาในหลักสูตร รายชื่อแหล่งเนื้อหาเสริม กิจกรรมระหว่าง ผู้เรียนผู้สอน คำแนะนำและการให้ผล
ป้อนกลับ การนำเสนอในลักษณะมัลติมีเดีย รูปแบบนี้จะช่วยให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์จากการเรียน
โดยไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของเวลาและสถานที่
2.3 การเรียนการสอนบนอินเทอร์เน็ต (e-Learning)
ประเทศไทยได้มีการนำคอมพิวเตอร์ มาใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างสื่อการเรียน การถ่ายทอดความรู้
เป็นระยะเวลานานพอสมควร โดยอาจจะนับได้ว่า จุดเริ่มต้นตั้งแต่การใช้คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมือ
ในการเรียนการสอน วิชาคอมพิวเตอร์ จากนั้นก็มีการสร้างสื่อการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ แทนที่
เอกสารหนังสือ ที่เรียกว่า สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือ CAI (Computer Aided Instruction) ซึ่งมี
ซอฟต์แวร์ที่เป็นเครื่องมือให้เลือกใช้งานได้หลากหลาย ทั้งที่ทำงานบนระบบปฏิบัติการดอส เช่น
โปรแกรมจุฬาซีเอไอ (Chula CAI) ที่พัฒนาโดยแพทย์จากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โปรแกรม ThaiTas ได้รับการสนับสนุนจาก ศูนย์เทคโนโลยีเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
รวมถึงซอฟต์แวร์สำเร็จรูปจากต่างประเทศ เช่น ShowPartnet F/X, ToolBook, Authorware
18
19
ในปัจจุบันเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ตได้พัฒนาเติบโตอย่างรวดเร็ว และได้ก้าวมาเป็น
เครื่องมือชิ้นสำคัญ ที่เปลี่ยนแปลงรูปแบบการเรียนการสอน การฝึกอบรม รวมทั้งการถ่ายทอดความรู้
โดยพัฒนา CAI เดิม ๆ ให้เป็น WBI (Web Based Instruction) หรือการเรียนการสอนผ่านบริการ
เว็บเพจ ส่งผลให้ข้อมูลในรูปแบบ WBI สามารถเผยแพร่ได้รวดเร็ว และกว้างไกลกว่าสื่อ CAI ปกติ
ทั้งนี้ก็มาจากประเด็นสำคัญอีก 2 ประการ
1) ประเด็นแรกได้แก่ สามารถประหยัดเงินที่ต้องลงทุนในการจัดหาซอฟต์แวร์สร้างสื่อ
(Authoring Tools) ไม่จำเป็นต้องซื้อโปรแกรมราคาแพง ๆ มาใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างสื่อการเรียน
การสอน เพราะสามารถใช้ NotePad ที่มาพร้อมกับ Microsoft Windows ทุกรุ่น หรือ Text Editor ใด ๆ
ก็ได้ลงรหัส HTML (Hyper Text Markup Language) สร้างเอกสาร HTML ที่มีลักษณะการถ่ายทอด
ความรู้ด้านการศึกษา
2) ประเด็นที่สองเนื่องจากคุณสมบัติของเอกสาร HTML ที่สามารถนำเสนอข้อมูลได้ทั้ง
ข้อความ ภาพ เสียง VDO และสามารถสร้างจุดเชื่อมโยงไปตำแหน่งต่าง ๆ ได้ตามความต้องการของ
ผู้พัฒนา
สรุป ผลให้การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนในรูปแบบ WBI เป็นที่นิยมอย่างสูง และได้รับการพัฒนา
ปรับปรุงรูปแบบมาเป็นสื่อการเรียนการสอนในรูปแบบ e-Learning (Electronics Learning) ซึ่งกำลัง
ได้รับความนิยมอย่างสูงในปัจจุบัน
2.3.1 ความหมายของ e-Learning
e-Learning หรือ Electronic Learning คือการส่งความรู้ไปสู่ผู้เรียนโดยใช้ สื่ออิเล็กทรอนิกส์
(Electronic Media) เช่น Computer ที่เชื่อมต่อเครือข่าย Internet หรือ Intranet ในหลักการที่ว่าด้วย
"การเรียนการสอนทางไกล" การเรียนการสอนแบบ e-Learning นี้สามารถเรียนได้จาก Web, CD ด้วย
เครื่องคอมพิวเตอร์ และผู้สอนกับผู้เรียนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยทาง e-Mail, Webboard
และ Chatroom
e-Learning หมายถึง การเรียนรู้โดยอาศัยอินเทอร์เน็ต ซึ่งประกอบด้วยการจัดทำสื่อ การเรียนการสอน
ในรูปแบบต่าง ๆ การบริหารประสบการณ์การเรียนรู้ กลุ่มผู้เรียน ผู้สร้างบทเรียน ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญ
ทั้งหลาย e-Learning สามารถทำให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างรวดเร็วขึ้นในขณะที่ค่าใช้จ่ายถูกลง รวมทั้ง
เปิดโอกาสให้ผู้ใฝ่เรียนให้สามารถเลือกเรียนได้มากขึ้น จะเห็นได้ว่าทุกวันนี้มีองค์กรหลายแห่ง
ได้นำเอา e-Learning มาใช้ในองค์กรเพื่อ "เปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส"
19
20
การเรียนรู้แบบออนไลน์ หรือ e-Learning การศึกษา เรียนรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต
(Internet) หรืออินทราเนต (Intranet) เป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ผู้เรียนจะได้เรียนตามความสามารถ
และความสนใจของตน โดยเนื้อหาของบทเรียนซึ่งประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพ เสียงวิดีโอและ
มัลติมีเดียอื่น ๆ จะถูกส่งไปยังผู้เรียนผ่าน Web Browser โดยผู้เรียน ผู้สอนและเพื่อนร่วมชั้นเรียน
ทุกคน สามารถ ติดต่อปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้เช่นเดียวกับการเรียน ในชั้นเรียน
ปกติ โดยอาศัยเครื่องมือการติดต่อ สื่อสารที่ทันสมัย(e-Mail, Webboard, Chat) จึงเป็นการเรียน
สำหรับทุกคน เรียนได้ ทุกเวลา และทุกสถานที่ (Learn for all : anyone, anywhere and anytime)
ผศ.ดร.ถนอมพร เลาหจรัสแสง [25] ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า คำว่า e-Learning โดยทั่ว ๆ ไปจะ
ครอบคลุมความหมายที่กว้างมาก กล่าวคือ จะหมายถึง การเรียนในลักษณะใดก็ได้ ซึ่งใช้การถ่ายทอด
เนื้อหาผ่านทางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต
เอ็กทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม (Satellite) ก็ได้ ซึ่งเนื้อหาสารสนเทศ
อาจอยู่ในรูปแบบการเรียนที่เราคุ้นเคย กันมาพอสมควร เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer
Assisted Instruction) การสอนบนเว็บ (Web-Based Instruction) การเรียนออนไลน์ (On-line
Learning) การเรียนทางไกลผ่าน ดาวเทียม หรืออาจอยู่ในลักษณะที่ยังไม่ค่อยเป็นที่แพร่หลายนัก เช่น
การเรียนจากวิดีทัศน ์ตามอัธยาศัย (Video On-Demand) เป็นต้น
ดร. สุรสิทธิ์ วรรณไกรโรจน์ [21] ผู้อำนวยการโครงการการเรียนรู้แบบออนไลน์แห่ง สวทช. ได้ให้คำ
จำกัดความของ e-Learning ดังนี้ "การเรียนรู้แบบออนไลน์ หรือ e-Learning การศึกษา เรียนรู้ผ่าน
เครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet) หรือ อินทราเน็ต (Intranet) เป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ผู้เรียนจะได้
เรียนตามความสามารถและความสนใจของตน โดยเนื้อหาของบทเรียนซึ่งประกอบด้วย ข้อความ
รูปภาพ เสียง วิดีโอและมัลติมีเดียอื่น ๆ จะถูกส่งไปยังผู้เรียนผ่าน Web Browser โดยผู้เรียน ผู้สอน
และเพื่อนร่วมชั้นเรียนทุกคน สามารถติดต่อ ปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้
เช่นเดียวกับการเรียนในชั้นเรียนปกติ โดยอาศัยเครื่องมือการติดต่อ สื่อสารที่ทันสมัย (e-Mail,
Webboard, Chat) จึงเป็นการเรียนสำหรับทุกคน เรียนได้ทุกเวลา และทุกสถานที่ (Learn for all :
anyone, anywhere and anytime)"
อุทัยรัตน์ [22] ได้ให้ความหมาย ของ e-Learning ว่าหมายถึง การศึกษาที่เรียนรู้ ผ่านเครือข่าย
อินเตอร์เน็ต โดยผู้เรียนรู้จะเรียนรู้ ด้วยตัวเอง การเรียนรู้จะเป็นไปตามปัจจัยภายใต้ทฤษฎีแห่ง
การเรียนรู้สองประการ คือ เรียนตามความรู้ความสามารถของผู้เรียนเอง และ การตอบสนองใน
ความแตกต่างระหว่างบุคคล (เวลาที่แต่ละบุคคลใช้ในการเรียนรู้) การเรียนจะกระทำผ่านสื่อบน
เครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยผู้สอนจะนำเสนอข้อมูลความรู้ให้ผู้เรียนได้ทำการศึกษาผ่านบริการ World
20
21
Wide Web หรือเว็บไซด์ โดยอาจให้มีปฏิสัมพัธ์ (สนทนา โต้ตอบ ส่งข่าวสาร) ระหว่างกัน จะที่มี
การเรียนรู้ ในสามรูปแบบคือ ผู้สอนกับ ผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้เรียนอีกคนหนึ่ง หรือผู้เรียนหนึ่งคนกับ
กลุ่มของผู้เรียน ปฏิสัมพันธ์นี้สามารถกระทำผ่านเครื่องมือสองลักษณะคือ
1) แบบ Real-time ได้แก่การสนทนาในลักษณะของการพิมพ์ข้อความแลกเปลี่ยนข่าวสารกัน
หรือ ส่งในลักษณะของเสียง จากบริการของ Chatroom
2) แบบ Non Real-time ได้แก่การส่งข้อความถึงกันผ่านทางบริการ อิเล็กทรอนิกส์เมลล์
Webboard News-group เป็นต้น
ดร. ชุณหพงศ์ ไทยอุปถัมภ์ [23] ได้ให้ความหมายของ e-Learning ไว้ว่า e-Learning หมายถึง
รูปแบบการเรียนการสอนแบบใหม่ ที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสื่ออิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่
มีวัตถุประสงค์ที่เอื้ออำนวยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้องค์ความรู้ (Knowledge) ได้โดยไม่จำกัดเวลาและ
สถานที่ (Anywhere-Anytime Learning) เพื่อให้ระบบการเรียนการสอนเป็นไปได้อย่างมี
ประสิทธิภาพมากขึ้น และเพื่อให้ผู้เรียนสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของกระบวนวิชาที่เรียนนั้นๆ
สรุปได้ว่า e-Learning เป็นการถ่ายทอดความรู้จากผู้สอนไปสู่ผู้เรียน โดยอาศัยสื่ออิเล็กทรอนิกส์
ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์ ดาวเทียม คอมพิวเตอร์ หรือบทเรียนในรูปแผ่น ซีดี แต่ในปัจจุบัน
คนทั่วไปจะนึกถึง e-Learning การถ่ายทอดเนื้อหาโดยอาศัยคอมพิวเตอร์เป็นหลักโดยมีคอมพิวเตอร์
เป็นเครื่องมือในการสร้างสรรค์เนื้อหาบทเรียนและเทคโนโลยีการสื่อสารเป็นตัวช่วยในการส่งผ่าน
ข้อมูล การส่งผ่านเนื้อหานั้นสามารถทำได้หลากหลายช่องทาง ทั้งทางด้าน ออฟไลน์ เช่นบันทึกลง
แผ่นซีดี เพื่อทำการแจกจ่าย หรือจะเป็นทางด้าน ออนไลน์ โดยอาศัยเทคโนโลยี เครือข่ายเป็นตัวกลาง
ในการส่งผ่านเนื้อหา ในปัจจุบันการถ่ายทอดเนื้อหาผ่านการสื่อสารแบบ ออนไลน์ จะเป็นที่นิยม
แพร่หลายมากกว่า กล่าวคือ การถ่ายทอดเนื้อหาแบบ ออนไลน์ นั้นมีความคล่องตัว สามารถแก้ไข
เนื้อหาที่มีความทันสมัยทันต่อเหตุการณ์ได้ทันที ตอบสนองต่อกระแสการเรียนรู้ตลอดชีวิตและ
ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางได้เป็นอย่างดี นอกจากเนื้อหาที่ต้องการส่งถึงผู้เรียนแล้ว การเรียนผ่าน
e-Learning ยังมีเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร ระหว่างผู้เรียน ผู้สอน ทั้งแบบประสานเวลา
และไม่ประสานเวลา ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้งาน ทั้งนี้วัตถุประสงค์เป็นไปเพื่อการเรียนการสอนที่มี
ประสิทธิภาพ พร้อมกับการกระจายการศึกษาให้เป็นไปอย่างทั่วถึง
2.3.2 ลักษณะของ e-Learning
e-Learning เป็นระบบการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเว็บ และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
มีสภาวะแวดล้อมที่สนับสนุนการเรียนรู้อย่างมีชีวิตชีวา (Active Learning) และการเรียนที่เน้นผู้เรียน
เป็นศูนย์กลาง (Child Center Learning) ผู้เรียนเป็นผู้คิด ตัดสินใจเรียน โดยการสร้างความรู้ และ
21
22
ความเข้าใจใหม่ ๆ ด้วยตนเอง สามารถเชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้ให้เข้ากับชีวิตจริง ครอบคลุม
การเรียนทุกรูปแบบ ทั้งการเรียนทางไกล และการเรียนผ่านเครือข่ายระบบต่าง ๆ โดยมีลักษณะ
ดังต่อไปนี้ คือ
1) Anywhere Anytime หมายถึง e-Learning ที่ผู้เรียนสามารถเรียกดูเนื้อหาตามความสะดวก
ของผู้เรียน
2) Multimedia หมายถึง e-Learning ควรต้องมีการนำเสนอเนื้อหา โดยใช้ประโยชน์จาก
สื่อประสมเพื่อช่วยในการประมวลผลสารสนเทศ ของผู้เรียน เพื่อให้เกิดความคงทนในการเรียนรู้ได้
ดีขึ้น
3) Non-linear หมายถึง e-Learning ควรต้องมีการนำเสนอเนื้อหาในลักษณะที่ไม่เป็น
เชิงเส้นตรง กล่าวคือ ผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาตามความต้องการ โดย e-Learning จะต้องจัดหา
การเชื่อมโยงที่ยืดหยุ่นแก่ผู้เรียน
4) Interaction หมายถึง e-Learning ควรต้องมีการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนโต้ตอบกับเนื้อหาหรือ
กับผู้อื่นได้
5) Immediate Response หมายถึง e-Learning ควรมีการออกแบบให้มีการทดสอบ การวัดผล
และประเมินผล ซึ่งให้ผลย้อนกลับโดยทันทีแก่ผู้เรียน ไม่ว่าจะอยู่ในลักษณะของแบบทดสอบ
ก่อนเรียน (Pre-test) หรือแบบทดสอบหลังเรียน (Post-test)
ตารางที่ 2.1 แสดงลักษณะของการจัดการเรียนการสอนแบบปกติและการจัดการเรียนการสอน
e-Learning [24]
ลักษณะ ห้องเรียนปกติ e-Learning
สถานที่เรียน ต้องมีสถานที่สำหรับทำการเรียน
การสอน ซึ่งอาจจะเป็นที่โรงเรียน
หรือสถานที่ที่จัดไว้ก็ได้
จะมีห้องเรียนหรือไม่มีก็ได้ แต่โดยปกติ
มักจะไม่อาศัย ห้องเรียน ซึ่งเป็นจุดเด่น
อย่างหนึ่งในการเรียนแบบ e-Learning
(เพียงขอให้ผู้เรียนมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่
สามารถต่อระบบเครือข่ายได้)
22
23
ตารางที่ 2.1 (ต่อ)
ลักษณะ ห้องเรียนปกติ e-Learning
การเตรียม
การสอน
การเตรียมการสอนในห้องเรียน
ปกติจะง่ายกว่าการ เตรียมการสอน
ของ e-Learning เพราะอาจารย์
เตรียมการสอนตามปกติ เช่น
เอกสารประกอบ การสอน แผ่นใส
วีดิทัศน์ เทปเสียง หรือการใช้
PowerPoint ก็ได้
สำหรับe-Learning จะมีการเตรียมการสอน
ที่ยากกว่า เพราะเมื่อ อาจารย์เตรียมการสอน
สำหรับสอนในห้องเรียนปกติแล้ว ก็ต้องนำ
ทุกอย่าง มาแปลงให้อยู่ในรูปของไฟล์
คอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถนำไป เปิดใช้งาน
โดยโปรแกรมเบราเซอร์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น
IE หรือ Netscape
ผู้สอน ผู้เรียน
เห็นหน้ากัน
เห็นหน้ากันหมด ซึ่งเป็นข้อดีอย่าง
หนึ่งของการเรียนใน ห้องเรียน
ปกติ เพราะผู้เรียนสามารถพบปะ
พูดคุยกัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
อย่างอิสระ(คุยกันในห้องเรียน)
และอาจมีข้อจำกัดบ้างในเรื่องของ
การถามตอบเพราะ ผู้เรียนจะเขิน
อายกันเองหากตอบคำถามไม่ได้
หรือ จะถามในส่วนใดส่วนหนึ่ง
ของเนื้อหาที่ไม่เข้าใจ
จะขึ้นอยู่กับการออกแบบว่าเป็นอย่างไร ซึ่ง
อาจจะมีการเก็บภาพวีดิทัศน์ ของอาจารย์ไว้
แล้วให้ผู้เรียนเปิดดูพร้อมเนื้อหาโดยผ่าน
ระบบเครือข่าย หรือจะเป็นการเรียน
การสอนโดยอาจารย์สอนผ่านกล้องที่ต่อ
คอมพิวเตอร์ ผ่านในระบบเครือข่าย ผู้เรียน
ก็จะสามารถเรียนกับผู้สอนได้โดยทันที
(Live) แต่ในเวลานี้ยังอยู่ในระดับที่พอใช้ได้
เทคโนโลยียังคงต้องรอการพัฒนา เพื่อให้
อยู่ในระดับดี และดีมากในอนาคตต่อไป
ต้องมาเรียน
พร้อมกัน
มีความจำเป็นมากที่ต้องมาเรียน
พร้อมๆกันในการเรียน ใน
ห้องเรียนปกติ ถ้าใครไม่มาก็มี
โอกาสตามไม่ทัน พอมาเรียนอีก
วันก็ไม่สามารถเรียนในเนื้อหา
ต่อไปได้ และอาจารย์จะต้อง
มาสอนทุกวันแม้ว่าจะมีผู้เรียนมา
เรียนกี่คนก็ตาม
แต่ถ้าเป็นการเรียนแบบ e-Learning ใครจะ
มาเรียนเมื่อไรก็ได้ เวลาไหนก็ได้ ที่ไหน
ก็ได้ (ที่มีคอมพิวเตอร์ต่อกับระบบเครือข่าย)
อาจารย์ ผู้สอนก็ไม่จำเป็น ต้องมานั่งเฝ้า
สอนอีกต่อไป โดย e-Learning จะเปิด
โอกาสให้ผู้เรียนที่เรียนไม่ทันสามารถ
ทบทวนบทเรียนที่เรียนมาแล้วได้ อีกทั้งใช้
เวลาศึกษาได้นานซ้ำ ไปซ้ำมาได้ไม่จำกัด
เวลาในการเรียนรู้
23
24
ตารางที่ 2.1 (ต่อ)
ลักษณะ ห้องเรียนปกติ e-Learning
คุณภาพใน
การสอน
คุณภาพในการเรียนการสอนจะขึ้นอยู่
กับอาจารย์ผู้สอน เป็นหลักถึงแม้ว่าจะ
เป็นเนื้อหาวิชาเดียวกัน หนังสือเล่มเดียว
กันแต่ก็ใช่ว่าผู้เรียนจะได้รับเนื้อหาที่
สมบูรณ์หรือ เข้าใจในเนื้อหาที่
เหมือนกัน เพราะอาจารย์แต่ละท่าน จะมี
เทคนิคในการถ่ายทอดความรู้ที่แตกต่าง
กันไปตามประสบการณ์ และการที่
อาจารย์ต้องสอนในเรื่องเดียวกันซ้ำ ๆ
บ่อย ๆ จะทำให้เกิดความเบื่อหน่ายและ
ไม่อยากอธิบายซ้ำ ๆ จึงทำให้ผู้เรียนไม่
เข้าใจในบางส่วนและไม่กล้าที่จะถาม
ซ้ำอีก
การเรียน e-Learning คุณภาพการเรียน
การสอนจะเท่ากัน คำว่าเท่ากันนี้
หมายความว่า เนื้อหาในบทเรียนนี้เป็น
เนื้อหาบทเรียนเดียวกัน ผู้เรียนสามารถ
เปิดดูซ้ำกี่ครั้งก็ได้ ไม่เข้าใจสามารถดูซ้ำ
จนเข้าใจได้ ถ้ายังไม่เข้าใจอีกก็สามารถ
e-Mail มาถามอาจารย์หรือ เข้า Web
board เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
ระหว่างผู้เรียนกันเอง
เรียนไป
พร้อม ๆ กัน
เท่า ๆ กัน
การเรียนในห้องเรียนปกติผู้เรียนจะต้อง
ตั้งใจฟังเนื้อหาไป พร้อม ๆ กันและต้อง
เข้าใจเนื้อหาที่อาจารย์สอนในเวลาที่
รวดเร็ว เพราะถ้าไม่เข้าใจแล้วให้
อาจารย์อธิบายซ้ำบ่อย ๆ จะทำให้ผู้เรียน
อื่น เสียเวลาในการเรียนเนื้อหาถัดไป
หรือเบื่อหน่ายได้
เรียนกับ e-Learningไม่ต้องรอกันใคร
เข้าใจก่อนก็สามารถเรียนในเนื้อหา
ถัดไปได้เลย ส่วนใครที่ไม่สามารถเข้าใจ
ในเนื้อหานั้น ๆ ก็สามารถใช้เวลา ทำ
ความเข้าใจในเนื้อหานั้นได้มากขึ้นโดย
ไม่ต้องกังวลว่าจะทำให้คนอื่น ช้าไปด้วย
การวัดผล
การเรียน
ในห้องเรียนการวัดผลการเรียนต้องทำ
การสอบ มีการเก็บข้อสอบ อาจารย์ต้อง
มาตัดเกรดเองและประกาศผลเอง
e-Learning สามารถวัดผลการเรียนรู้ของ
ผู้เรียนได้โดยทันที คือถ้าทำข้อใดผิด ก็
จะแจ้งผลย้อนกลับทันที(Feedback) ซึ่ง
ผู้สอนอาจจะมีคำอธิบายที่ให้ผู้เรียนได้
เข้าใจว่าที่ถูกเป็นเช่นไร ทำให้ผู้เรียน
เข้าใจ และจดจำในวิชานั้น ๆ ได้ดียิ่งขึ้น
ข้อควรคำนึง
24
25
ตารางที่ 2.1 (ต่อ)
ลักษณะ ห้องเรียนปกติ e-Learning
ที่อาจจะดูว่ายุ่งยากก็คือ จะต้องมีการออก
ข้อสอบให้มากกว่าที่ใช้สอบจริง 2- 3 เท่า
ให้มีข้อสอบมาก ๆ ในอยู่ในลักษณะของ
คลังข้อสอบ e-Learning จะทำการเลือก
ข้อสอบแบบสุ่ม ให้ตามจำนวนข้อที่
ต้องการใช้สอบ ถ้าคิดกันให้ดีการทำ
อย่างนี้จะช่วยให้ สามารถประหยัดเวลา
ในการออกข้อสอบบ่อย ๆ และคลัง
ข้อสอบจะช่วยให้ ผู้เรียนไม่สามารถลอก
ข้อสอบกันได้เพราะจะได้ข้อสอบที่มี
ข้อแตกต่างกัน
ต้นทุน
การเตรียม
การสอน
ต่ำกว่า เพราะแผ่นใส ปากกาเขียนแผ่นใส
(ฟรี) สื่ออื่น ๆ ก็สามารถยืมได้ (ที่กอง
เทคโนโลยีการศึกษา)
สูงกว่า เพราะทางมหาวิทยาลัยต้องมี
การลงทุนในด้านต่าง ๆ เพื่อให้มีระบบ
e-Learning
ต้นทุน
เมื่อทำ
การสอน
สูงกว่า เพราะมหาวิทยาลัยต้องซื้ออุปกรณ์
การสอนและสื่อต่าง ๆ และต้องบำรุง
รักษาให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานตลอด
ต่ำกว่า เพราะลงทุนไปแล้ว เวลาสอนก็
จะไม่ต้องลงทุนซ้ำอีก เพียงแต่เพิ่มหรือ
ปรับเนื้อหาให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา
จำนวน
ผู้เรียนใน
ห้องเรียน
ต้องมีการจำกัดจำนวนผู้เรียน หากมีผู้เรียน
จำนวนมาก ก็ต้องแบ่งกลุ่มเข้าเรียน ทำให้
ผู้สอนเหนื่อยซ้ำหลายครั้ง
e-Learning สามารถเข้าเรียนได้โดยไม่
จำกัดจำนวนผู้เรียน และไม่มีการเข้าเรียน
สาย (แล้วโดดเรียน)
ผู้เรียน
สามารถ
ค้นคว้า
เพิ่มเติมได้
มีโอกาสไปศึกษาด้วยตนเองน้อย เพราะ
เมื่อเรียนเสร็จ ก็จะกลับบ้าน ห้องสมุดเอง
ก็เปิดในเวลาหลังเลิกเรียนได้ไม่นาน ก็
ต้องปิด
ผู้เรียนสามารถค้นคว้าเพิ่มเติมในขณะ
เรียนได้เลยเพราะมี Link ที่ให้ค้นคว้าได้
ทันที แล้ว กลับมาศึกษาต่อหรือควบคู่กัน
ไปก็ยังได้
25
26
ตารางที่ 2.1 (ต่อ)
ลักษณะ ห้องเรียนปกติ e-Learning
ความ
เป็น
ส่วนตัว
มีน้อยกว่า เพราะอยู่รวมกันหลายคน จะไอ จะจาม
ก็คงลำบาก หรือทานขนมขบเคี้ยวไปด้วยก็ทำ
ไม่ได้ (เดี๋ยวอาจารย์จะขอด้วย)
อันนี้คงไม่ต้องบรรยายมาก หาก
อยู่ที่บ้านใส่ชุดนอนเข้าเรียนก็ได้
ไม่มีใครห้าม หรือกินข้าวเช้าไป
ด้วยก็ได้ (โปรดระวังข้าวหกใส่
แป้นพิมพ์ด้วย)
สรุปได้ว่า ลักษณะของ e-Learning เป็นการผนวกความสามารถทางเครือข่าย อินเทอร์เน็ต เข้ากับ
ระบบการเรียนการสอน ผู้สอนมีความคล่องตัวในการปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัย การออกข้อสอบ
และวัดผลสามารถทำได้ง่าย ผู้เรียนมีความเป็นส่วนตัว มีอิสระทางการเรียน เนื้อหาการเรียนการสอน
มีประกอบไปด้วย มัลติมีเดีย มีส่วนกระตุ้นให้ผู้เรียน ไม่เกิดความเบื่อหน่าย เกิดความใฝ่รู้อยากเรียน
มากขึ้น
2.3.3 ประโยชน์ของ e-Learning
ประโยชน์ของการนำระบบ e-Learning มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนมีดังนี้ คือ
ศุภชัย สุขะนินทร์ [28] ได้กล่าวถึงประโยชน์ของ e-Learning ไว้ 8 ข้อไว้ดังนี้
1) เพิ่มความยืดหยุ่นในด้านเวลาผู้เรียนที่อยู่ในวัยทำงานและนักเรียน นักศึกษาที่เรียนใน
ชั้นเรียนปกติอยู่แล้ว การเรียนแบบ e-Learning จะช่วยให้ผู้เรียนทุกคนสามารถศึกษาหาความรู้
เพิ่มเติมได้ โดยสามารถเลือกเวลาเรียนได้เองตามความเหมาะสมของแต่ละคน กล่าวคือในเวลา
กลางวันพวกเขาก็ทำงานหรือเรียนตามปกติ แต่หลังจากนั้นหรือในวันหยุดการใช้เวลาว่างให้เป็น
ประโยชน์ด้วยการเรียนรู้เพิ่มเติมก็สามารถเรียนออนไลน์แบบ e-Learning กับ www.Thai2Learn.com
ได้ในทุกเวลาที่พวกเขาต้องการ
2) เลือกสถานที่เรียนได้เอง สำหรับผู้ที่อยู่ในเมืองใหญ่ก็ต้องพบกับสภาพการจราจรที่ติดขัด
โดยเฉพาะช่วงเช้าและช่วงเย็น ส่วนผู้ที่อยู่ในชนบทห่างไกลก็ต้องเดินทางจากบ้านไปยังสถานศึกษา
ที่อยู่ไกลออกไป จึงสรุปได้ว่าการเดินทางไปยังสถานศึกษาเป็นข้อจำกัดของการเรียนปกติแต่ด้วย
การเรียนแบบ e-Learning ทุกท่านสามารถเข้าสู่บทเรียนได้จากทุกที่ (ที่สามารถเชื่อมต่อกับ
อินเทอร์เน็ตได้) อาจใช้เวลาหลังเลิกงานหรือหลังรับประทานอาหารเย็น ด้วยเวลาเพียงวันละประมาณ
1-2 ชั่วโมงท่านก็สามารถเพิ่มพูนความรู้ ข้อมูล ข่าวสารต่าง ๆ ซึ่งเป็นการพัฒนาตัวเองเพื่อเพิ่มโอกาส
การหางานทำหรือเพิ่มโอกาสในหน้าที่การงานที่ดีขึ้น
26
27
3) ประหยัดค่าใช้จ่ายการเรียนภาคปกติหรือภาคค่ำในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ นั้นจะมี
ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ มากมาย ตั้งแต่ค่าใช้จ่ายสำหรับผู้สอน ผู้บรรยาย ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ค่าอุปกรณ์
การเรียน และอื่น ๆ ด้วยการเรียนแบบ e-Learning จะช่วยลดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ได้ประมาณ 30-50
เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับการเรียนปกติ
4) เลือกเรียนในวิชาที่สนใจ ในอดีตผู้ที่จะได้เรียนวิชาต่าง ๆ ที่เปิดสอนในภาคปกติ
ของสถาบันการศึกษาแห่งใดนั้น ก็คือนักศึกษาของสถาบันแห่งนั้นบุคคลภายนอกก็ไม่มีโอกาส
ได้เรียน ดังนั้นทางโครงการ ฯ จึงได้มุ่งที่จะสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ขึ้นมาเพื่อให้เป็นศูนย์กลางของ
ความรู้เนื้อหา บทเรียนในสาขาวิชาต่าง ๆ ทำให้ผู้เรียนทุกคนได้เลือกเรียนในวิชาต่าง ๆ ตามความ
สนใจ ศักยภาพ ความพร้อมและโอกาส ซึ่งถือได้ว่าเป็นการเรียนตามอัธยาศัยดังที่ได้ระบุไว้ใน
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
5) ได้รับการถ่ายทอดอย่างถูกต้อง การเรียนแบบ e-Learning เป็นการเรียนที่ผู้เรียน
แต่ละคนได้รับเนื้อหาของบทเรียนที่มีความเหมือนกับต้นฉบับทุกประการ นั่นคือไม่เกิดการบิดเบือน
ในกระบวนการถ่ายทอด เนื่องจากทุกครั้งที่ผู้เรียนแต่ละคนเรียกดูเนื้อหาของบทเรียนเดียวกัน ระบบ
ก็จะไปดึงเอาข้อมูลนั้น ๆ มาแสดงให้กับทุกคนเหมือนกัน ผู้เรียนจึงมั่นใจได้ว่าเนื้อหาของบทเรียน
ที่ได้รับนั้นมีความน่าเชื่อถือสูงสุด
6) ขยายโอกาสในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ในชุมชนแห่งการเรียนรู้แบบออนไลน์
(Virtual Learning Community) มีลักษณะพิเศษคือแม้ว่าผู้เรียนแต่ละคนจะไม่ได้อยู่ที่เดียวกัน
ก็สามารถใช้เครื่องมือในการติดต่อสื่อสารต่าง ๆ ที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้ติดต่อ สอบถาม ปรึกษาหารือ
และ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างตัวผู้เรียนกับครู อาจารย์สอน และระหว่างผู้เรียนกับเพื่อนร่วม
ชั้นเรียนคนอื่น ๆ ได้อย่างอิสระ ทำให้เกิดกระบวนการถ่ายทอดความรู้ที่สมบูรณ์แบบ
7) การติดตามความก้าวหน้าของผู้เรียน โครงการได้พัฒนาระบบคอมพิวเตอร์และระบบ
บริหารการเรียน (LMS: e-Learning Management System) ระบบจะบันทึก ติดตาม ตรวจสอบ และ
ประเมินผลการเรียนของผู้เรียนได้อย่างครบถ้วน ถือได้ว่าเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้ผู้เรียนและผู้สอน
สามารถพัฒนาการเรียนการสอนให้มีความสมบูรณ์และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการเรียนที่ได้
กำหนดไว้
8) การได้เรียนรู้เทคโนโลยีควบคู่ไปกับการเรียนในบทเรียนเนื่องจาก e-Learning
เป็นการเรียนผ่านWeb browser ที่ต้องอาศัยทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมทั้งอุปกรณ์อื่น ๆ (Hardware)
และโปรแกรมสำเร็จรูปต่าง ๆ ที่จำ เป็นต่อการเรียนแบบนี้ (Software) ซึ่งก็จะทำ ให้ผู้เรียน
เกิดความคุ้นเคยกับเทคโนโลยี กลายเป็นคนที่พร้อมที่จะรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ไม่กลัว
การเปลี่ยนแปลง เพราะเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ทั้งด้าน (Hardware) และ (Software) นั้นเปลี่ยนแปลง
อยู่ตลอดเวลา
27
28
ชฎิล เกษมสันต์ [26] การเรียนแบบ e-Learning มีจุดเด่นและประโยชน์ที่เห็นอย่างชัดเจนที่สุดได้แก่
1) ความสะดวกสบาย ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา เพราะระบบการเรียนการสอน
แบบ e-Learning จะไม่ผูกติดกับชั้นเรียน ในตัวระบบจะทำการจำลองห้องเรียนเสมือนเพื่อให้ผู้เรียน
เข้าไปเรียนเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ได้ ผู้เรียนจะสามารถเข้าชั้นเรียนที่ไหนก็ได้ เวลาไหนก็ได้ ขึ้นอยู่กับ
สถานที่นั้นมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถต่อ Internet ได้หรือไม่ นอกจากนี้ผู้เรียนยังกำหนด
ระยะเวลาการเรียนได้อย่างอิสระ ตามความสามารถของแต่ละบุคคล
2) ความทันสมัยของเนื้อหา นี่คือจุดเด่นอีกประการของการเรียนการสอนแบบ e-Learning
เพราะการผลิตบทเรียนได้เน้นการผลิตในรูปแบบของเว็บไซต์เป็นประการสำคัญ ดังนั้นการปรับปรุง
และเปลี่ยนแปลงเนื้อหาสามารถทำได้ง่าย และใช้เวลาไม่มาก นอกจากนี้ยังไม่จบแค่เนื้อหา
ในบทเรียนที่นำเสนอ ยังสามารถเสริมเนื้อหากว้างไกลด้วย Link ที่เกี่ยวข้องได้อีก
3) ง่ายต่อการใช้งานระบบ เนื่องด้วยการทำงานของระบบ e-Learning นั้นเป็นวิธีการทำงาน
แบบเว็บไซต์ จึงทำให้ใช้งานได้ง่าย ผู้เรียนเพียง แค่คลิกเมาส์หรือพิมพ์แป้นคีย์บอร์ดก็สามารถใช้งาน
ได้แล้ว
4) ความเป็นเลิศของระบบ ระบบสามารถติดตามบันทึกข้อมูลของผู้เรียน อาทิ เวลาเข้าเรียน
คะแนนเก็บ คะแนนสอบ ดังนั้นผู้เรียนสามารถตรวจสอบตัวเองได้ตลอดเวลา ส่วนทางด้านผู้สอน
ผู้สอนสามารถติดตามความเคลื่อนไหวของผู้เรียนได้อย่างละเอียดตามความต้องการ การเรียนแบบ
e-Learning นั้น มีการติดต่อสื่อสารกันระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนได้ทั้งแบบเป็นกลุ่ม และรายบุคคล
สามารถรวมคะแนนและแสดงผลการเรียนให้ Feed Back อย่างทันทีทันใด ผ่านระบบได้
5) ประหยัดค่าใช้จ่าย ผู้เรียนสามารถเรียนที่บ้านหรือที่ไหนก็ได้ จะช่วยประหยัดค่าเดินทาง
และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่จะตามมา
6) ใช้เป็นสื่อหลัก หรือสื่อเสริมก็ได้ การใช้ระบบ e-Learning เป็นสื่อหลักนั้นหมายถึง
การนำมาใช้ในการเรียนการสอนอย่างเต็มรูปแบบ คือผู้เรียนจะเข้าเรียน ส่งงาน ติดต่อสื่อสารกับ
ผู้สอนผ่านระบบ โดยไม่ต้องเข้าเรียนในชั้นเรียน แต่ในกรณีที่นำมาใช้เป็นสื่อเสริมนั้นหมายถึง ผู้เรียน
ได้เข้าเรียนในชั้นเรียนตามปกติ แล้วสามารถใช้ระบบ e-Learning เป็นตัวเสริมเพื่อทบทวนเนื้อหาวิชา
ต่าง ๆ ก่อนหรือหลังการเข้าเรียนในชั้นเรียนปกติได้
สรุปได้ว่า ประโยชน์ของ e-Learning นั้นมีมากมายหลายประการ คือ ความยืดหยุ่นสำหรับผู้เรียน
กล่าวคือ ผู้เรียนสามารถเลือกวันเวลา สถานที่เองได้ สามารถเรียนซ้ำๆในเนื้อหาที่ต้องการ ประหยัด
ค่าใช้จ่ายในด้านต่างๆ สำหรับผู้สอนจะได้ประโยชน์ในด้าน ไม่เกิดความซ้ำซากจำเจ ในการสอน
เนื้อหาซ้ำๆ มีความคล่องตัวสูงทั้งในด้านการจัดทำเนื้อหา ข้อสอบ ใช้เวลาในการประมวลผลสอบ
น้อยลง ทั้งผู้เรียน และผู้สอนมีเครื่องมือที่หลากหลายในการอำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสาร
ทั้งที่เป็นแบบ ประสานเวลา และแบบไม่ประสานเวลา
28
29
2.3.4 ส่วนประกอบของ e-Learning
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) [29] ได้กำหนดส่วนประกอบของ
ระบบ e-Learning ไว้ว่า องค์ประกอบของการเรียนรู้แบบออนไลน์ มีส่วนสำคัญ 4 ส่วน โดยแต่ละ
ส่วนต้องได้รับการออกแบบอย่างเหมาะสม เมื่อนำมาประกอบเข้าด้วยกันแล้วทำให้ระบบทั้งหมด
สามารถทำงาน ประสานกันได้เป็นอย่างดี
1) Content Delivery in Multiple Formats ส่วนประกอบแรกของ e-Learning ก็คือ เนื้อหาวิชา
ที่จะนำมาสร้างเป็น e-Content ซึ่งจะได้มาจากอาจารย์ผู้แต่ง/อาจารย์ผู้สอนในเนื้อหานั้น ๆ โดยต้องนำ
เนื้อหาดังกล่าวมาสร้างให้อยู่ในรูปแบบของมัลติมีเดียสื่อผสมเพื่อที่จะสามารถเรียนรู้จากคอมพิวเตอร์
ผ่านทางระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้
2) Management of Learning Experience ส่วนนี้จะเป็นส่วนของระบบการจัดการอีเลิร์นนิ่ง
หรือ LMS (Learning Management System) เป็นซอฟต์แวร์ที่เป็นโปรแกรมฐานข้อมูลเพื่อทำหน้าที่
ช่วยในการจัดการระบบการเรียน (Database Application Software) หน้าที่หลัก ๆ ได้แก่ การวางแผน
การเรียน การลงทะเบียนผู้เรียน การเผยแพร่การเรียนผ่านทางอินเทอร์เน็ต การติดตาม ผลการเรียน
ของผู้เรียน การวัดผลซึ่งซอฟต์แวร์ดังกล่าวจะเข้ามาช่วยในระบบการจัดการของระบบการเรียน
3) Networked Community of Learners การสร้างชุมชมของการเรียนรู้ เนื่องจากเรียนรู้
ในระบบอีเลิร์นนิ่งเป็นการเรียนรู้โดยการ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
4) Content Developers and Experts ส่วนสุดท้ายก็คือ ส่วนของผู้เชี่ยวชาญหรือผู้พัฒนา
เนื้อหาวิชา
ดร.ศุภชัย สุขะนินทร์ และกรกนก วงศ์พานิช [24] ได้กล่าวถึงองค์ประกอบของe-Learning ไว้ดังนี้
e-Learning มีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ส่วน โดยแต่ละส่วนจะต้องได้รับการออกแบบมาเป็นอย่างดี
เพราะเมื่อนำมาประกอบเข้าด้วยกันแล้วระบบทั้งหมดจะต้องทำงานประสานกันอย่างลงตัว
1) เนื้อหาของบทเรียน อย่างไรก็ตามขึ้นชื่อว่าเป็นการศึกษาแล้ว เนื้อหาก็ต้องถือว่าสำคัญ
ที่สุด ดังนั้น แม้ว่าจะพัฒนาให้เป็นแบบ e-Learning ก็จะต้องให้ความสำคัญกับเนื้อหาเป็นอันดับแรก
2) ระบบบริหารการเรียน หรือ LMS ซึ่งย่อมาจาก e-Learning Management System
ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการติดต่อสื่อสารและการกำหนดลำดับของเนื้อหาในบทเรียน แล้วส่งผ่าน
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปยังผู้เรียน ซึ่งรวมไปถึงขั้นตอนการประเมินผลในแต่ละบทเรียน ควบคุม และ
สนับสนุนการให้บริการแก่ผู้เรียน LMS จะทำหน้าที่ตั้งแต่เริ่มเข้าเรียน จัดหลักสูตร เมื่อผู้เรียนเริ่มต้น
บทเรียน ระบบจะเริ่มทำงาน โดยส่งบทเรียนผ่านทางระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นได้ทั้งระบบ
เครือข่ายอินเตอร์เน็ต หรือเครือข่ายอินทราเน็ตในองค์กร หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ไปแสดงที่
Web Browser ของผู้เรียน จากนั้นผู้เรียนก็จะเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และระบบก็จะติดตามและบันทึก
29
30
ความก้าวหน้า รวมทั้งสามารถจัดทำรายงานกิจกรรม และผลการเรียนของผู้เรียนในทุกหน่วยการเรียน
อย่างละเอียดจนกระทั่งจบหลักสูตร
3) การติดต่อสื่อสาร ความโดดเด่นและความแตกต่างของ e-Learning กับการเรียนทางไกล
แบบทั่ว ๆ ไป ก็คือการนำรูปแบบการติดต่อสื่อสารแบบ 2 ทาง (Two-way Communication) มาใช้
ประกอบในการเรียนเพื่อสร้างความน่าสนใจ และความตื่นตัวของผู้เรียนให้มากยิ่งขึ้น เช่น ในระหว่าง
บทเรียน ก็อาจจะมีแบบฝึดหัดเป็นคำถาม เพื่อเป็นการทดสอบในบทเรียนที่ผ่านมา และผู้เรียน
ก็จะต้องเลือกคำตอบและส่งคำตอบกลับมายังระบบในทันที ลักษณะแบบนี้จะทำให้การเรียนรักษา
ระบบความน่าสนใจในการเรียนได้เป็นระยะเวลามากขึ้น นอกจากนี้วัตถุประสงค์สำคัญอีกประการ
ของการติดต่อแบบ 2 ทางก็คือ ใช้เป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้ติดต่อสอบถาม ปรึกษาหารือ
และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างตัวผู้เรียนกับผู้สอน และระหว่างผู้เรียนกับเพื่อนร่วมชั้นเรียนคน
อื่น ๆ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารอาจแบ่งได้ เป็น 2 ประเภทดังนี้
3.1 ประเภท Synchronous ได้แก่ Chat (Message, Voice), White board/Text Slide,
Real-time Annotations, Interactive Poll, Conferencing และ อื่นๆ
3.2 ประเภท Asynchronous ได้แก่ กระดานข่าว อีเมล์ เป็นต้น
4) การสอบ/วัดผลการเรียน เป็นส่วนประกอบสำคัญที่จะทำให้ การเรียนแบบ e-Learning เป็น
การเรียนที่สมบูรณ์ โดยทั่วไปแล้วการเรียนไม่ว่า จะเป็นการเรียนในระดับใด หรือเรียนวิธีใด
ก็ย่อมต้องมีการสอบ/การวัดผลการเรียนเป็นส่วนหนึ่งอยู่เสมอ แต่รูปแบบก็อาจจะแตกต่างกันไป
กล่าวคือ ในบางวิชาต้องมีการวัดระดับความรู้ (Pre-Test) ก่อนสมัครเข้าเรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้เลือก
เรียนในบทเรียน หลักสูตรที่เหมาะสมมากที่สุด ซึ่งจะทำให้การเรียนที่จะเกิดขึ้นเป็นการเรียนที่มี
ประสิทธิภาพสูงสุด เมื่อเข้าสู่บทเรียน ในแต่ละหลักสูตรแล้วควรก็จะมีการสอบย่อยท้ายบท และ
การสอบใหญ่ ก่อนที่จะจบหลักสูตรเพื่อเป็นการวัดประสิทธิภาพในการเรียน ซึ่งการสอบใหญ่นี้
ระบบบริหารการเรียนจะใช้ข้อสอบที่มาจากระบบบริหารคลังข้อสอบ (Test Bank System) ซึ่งเป็น
ส่วนย่อยที่รวมอยู่ในระบบบริหารการเรียน (LMS : e-Learning Management System) สำหรับระบบ
บริหารคลังข้อสอบนั้น ควรมีลักษณะดังนี้ เป็นตัวอย่าง
4.1 สามารถทำการสอบออนไลน์ผ่าน Web Browser ได้ เพื่ออำนวยความสะดวก
ในการประเมินผลและสามารถในบริการได้อย่างครบวงจร
4.2 สามารถใช้สื่อมัลติมีเดียมาประกอบในการสร้างข้อสอบ เพื่อให้มีลักษณะเดียวกันกับ
บทเรียนที่ผู้เรียนสามารถทำความเข้าใจลักษณะการใช้งานรวมถึงการตอบโต้ในรูปแบบต่าง ๆ ผ่าน
ทางหน้าจอ
4.3 การรักษาความปลอดภัยทั้งในด้านการรับ-ส่งข้อสอบ เนื่องจากการดำเนินการต่าง ๆ
รวมถึงขั้นตอนการสอบเป็นข้อมูลส่วนตัวสำหรับบุคคล
30
31
สรุปได้ว่า ส่วนประกอบของ e-Learning นั้นประกอบไปด้วยส่วนสำคัญหลักดังต่อไปนี้ 1) เนื้อหา
ของบทเรียนนับได้ว่าเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดที่จะสามารถสื่อไปถึงตัวผู้เรียน 2) ระบบบริหารจัดการ
เรียน หรือ LMS (Learning Management System) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่บริหารจัดการเชื่อมต่อ
ส่วนประกอบอื่น ๆ ให้ทำงานประสานกันอย่างเป็นระบบ นับตั้งแต่ระบบการลงทะเบียนของผู้เรียน
การวางแผนจัดสร้างรายวิชาของผู้สอน ระบบการติดตามการเรียนและวัดผลของผู้เรียน 3) ระบบ
การติดต่อสื่อสาร เป็นส่วนที่คอยอำนวยความสะดวกในด้านข่าวสาร การติดต่อมีปฏิสัมพันธ์กัน
ระหว่าง ผู้เรียนกับ ผู้เรียน และผู้เรียนกับผู้สอน 4) ด้านการทดสอบและวัดผล เป็นส่วนที่คอยอำนวย
ความสะดวกในด้านการออกแบบคลังข้อสอบให้เกิดความหลากหลายเกิดการทุจริตได้ยาก ด้าน
การรายงานผลสามารถทำได้รวดเร็วในเวลาอันสั้น สามารถเก็บเป็นสถิติการเข้าใช้ระบบของผู้เรียนได้
หลายรูปแบบ
2.3.5 ใครเกี่ยวข้องกับ e-Learning
ดร.ศุภชัย สุขะนินทร์ และกรกนก วงศ์พานิช [24] ได้กล่าวไว้ดังนี้ บุคคลที่เกี่ยวข้องกับ e-Learning
ประกอบด้วยกลุ่มคน 3 กลุ่ม ได้แก่
1) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วยบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาต่าง ๆ รวมถึงการใช้สื่อ
เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพผู้เรียน ซึ่งทำหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านต่าง ๆ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญนี้
จะประกอบด้วย
1.1 ผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรและเนื้อหา คือผู้ที่มีความรู้ด้านเนื้อหาของบทเรียน หลักสูตร
ที่เกี่ยวข้อง ทำหน้าที่รับผิดชอบ ในการกำหนดเป้าหมาย และทิศทางของหลักสูตร
1.2 ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอน เป็นผู้ที่มีประสบการณ์ทางการสอนในรายวิชานั้น ๆ ควรจะมี
ความสามารถในการจัดลำดับความสัมพันธ์ และความต่อเนื่องของเนื้อหาวิชา รู้เทคนิค และวิธีการใน
การนำเสนอ การสร้างบทเรียนให้สอดคล้องกับเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร รวมถึง
การวัดผล
1.3 ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อ ทำ หน้าที่ให้คำ ปรึกษาการออกแบบบทเรียน จัดรูปแบบ
การแสดงผลการเลือกใช้กราฟิก หรือสื่อต่าง ๆ ที่จะช่วยกระตุ้น และดึงดูดความสนใจของผู้เรียน
1.4 ผู้เชี่ยวชาญด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นผู้ให้คำแนะนำการใช้โปรแกรมเกี่ยวกับ
การผลิตสื่อที่เหมาะสมกับ เนื้อหาที่จะนำเสนอ จากผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อที่ออกแบบไว้ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญ
ด้านหลักสูตรและเนื้อหา กับผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนอาจจะเป็นคนเดียวกันได้ เพราะอาจารย์จะมี
ความเข้าใจในเนื้อหาที่สอนเป็นอย่างดีอีกทั้งยังสอนอยู่เป็นประจำมีเทคนิคการสอนที่ดีอยู่แล้วและ
ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อกับผู้เชี่ยวชาญด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์อาจเป็นคนเดียวกันได้ เพราะผู้เชี่ยวชาญ
ด้านสื่อหรือนักเทคโนโลยีการศึกษาจะมีความรู้ในด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วยก็ได้
31
32
2) กลุ่มผู้ออกแบบและสร้างบทเรียน เป็นผู้ที่ออกแบบและสร้างบทเรียนโดยตรง โดยเริ่ม
ตั้งแต่การวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์กิจกรรม ซึ่งกลุ่ม ดังกล่าวนี้ จะวิเคราะห์ถึงความเหมาะสม
และความสัมพันธ์กันระหว่างเนื้อหาที่ออกแบบกับวุฒิภาวะของผู้เรียน กลุ่มดังกล่าวนี้จะเป็น
ผู้เชี่ยวชาญในด้านสื่อ และผู้เชี่ยวชาญด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือรวมกันในตัวคนเดียวกัน เป็น
นักเทคโนโลยีการศึกษาก็ได้เช่นกัน
3) ผู้บริหารโครงการ ทำหน้าที่จัดการ และบริหารงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการสร้างบทเรียน
จัดหาอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ ตลอดจน ควบคุมงบประมาณและระยะเวลาที่ใช้ในแต่ละ
ขั้นตอนให้เป็นไปตามที่ได้กำหนดไว้
สรุปได้ว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องกับ e-Learning นั้นประกอบได้ด้วยบุคคลหลายฝ่ายอีกทั้งบุคคลเหล่านั้นยัง
จะต้องเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านที่ตนเองรับผิดชอบจึงจะสามารถผลิตบทเรียนที่ตรงตาม
ความต้องการและสามารถสื่อสารไปสื่อผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นไปตามวัตถุประสงค์ แต่
ปัจจุบัน เรายังประสบปัญหาขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้านเป็นจำนวนมากอีกทั้งในการผลิต
บทเรียนที่มีคุณภาพนั้นต้องใช้เวลาความละเอียดประณีตทำให้บางครั้งบทเรียนที่ผลิตออกมา
เกิดความล้าสมัยไม่ทันต่อเหตุการณ์ หรือใช้ได้ไม่นานทำให้เกิดความเบื่อหน่ายต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง
หลายแห่งพบว่า อาจมีเจ้าหน้าที่หรืออาจารย์อยู่เพียงท่านเดียวแต่ต้องรับหน้าที่ทั้ง เป็นผู้เชี่ยวชาญ
หลักสูตร เนื้อหา ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอน ด้านสื่อ ด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ในคน ๆ เดียวกัน
ปัญหานี้ต้องการการแก้ไขอย่างเร่งด่วนจากสถาบันการศึกษา รัฐในการให้ความสนับสนุน ผลิต
บุคลากรที่มีความชำนาญในด้านนี้ออกสู่สังคมให้ทันต่อความต้องการ
2.3.6 ระดับการนำ e-Learning ไปใช้
ดร. ชุณหพงศ์ ไทยอุปถัมภ์ [23] การนำ e-Learning ไปใช้ประกอบกับการเรียนการสอน สามารถทำ
ได้ 3 ระดับ ดังนี้
ระดับที่ 1 เป็นส่วนเสริม (Supplementary) ระดับนี้ ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ที่ถูกนำเสนอ
ออนไลน์สามารถถูกค้นพบได้ในรูปแบบอื่นๆ หน้าที่ของสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ออนไลน์ คือ เป็นทางเลือก
ทางการศึกษาแก่ผู้เรียนอีกทางหนึ่ง หรือเป็นการขยายโอกาสให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์เพิ่มเติม
ระดับที่ 2 เป็นองค์ประกอบ (Complementary) ระดับนี้เป็นการเพิ่มสื่ออออนไลน์เข้าไปกับวิธี
นำเสนออื่น ๆ เช่น ในชั้นเรียนปกติสื่อที่เป็นออนไลน์จัดว่าเป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งที่ผู้เรียนจะต้อง
เข้าไปเรียนรู้ หน้าที่ของสื่อชนิดนี้ คือการให้ประสบการณ์การเรียนแก่ผู้เรียนซึ่งประสิทธิภาพ
ขึ้นอยู่กับประเภทของสื่อที่ใช้
32
33
ระดับที่ 3 เป็นการทดแทนสมบูรณ์แบบ (Comprehensive Replacement) ระดับนี้ การนำเสนอ
แบบออนไลน์จัดว่าเป็นรูปแบบหลักของการนำเสนอ หรือถูกนำมาใช้ตั้งแต่ต้นของกระบวนการเรียน
การสอน อย่างไรก็ตาม อาจมีการนำเสนอรูปแบบอื่นที่ไม่ใช่คอมพิวเตอร์เข้ามาเกี่ยวข้องร่วมด้วยได้
เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ หรือปฏิบัติการ เป็นต้น หน้าที่ของสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ออนไลน์คือเป็นการให้สิ่งแวดล้อม
การเรียนอย่างสมบูรณ์ของเนื้อหากระบวนวิชานั้น ๆ
ปัทมา นพรัตน์ [27] เนื้อหาของ e-Learning สามารถแบ่งเป็น 3 ลักษณะดังนี้
1) ระดับเน้นข้อความออนไลน์ (Text Online) เนื้อหาจะอยู่ในรูปของข้อความเป็นหลัก ซึ่งมี
ข้อดีคือเป็นการประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการผลิตเนื้อหาและการบริหารจัดการรายวิชาโดยผู้สอน
หรือผู้เชี่ยวชาญเนื้อหาสามารถผลิตได้ด้วยตนเอง
2) ระดับรายวิชาออนไลน์เชิงโต้ตอบและประหยัด (Low Cost Interactive Online Course)
เนื้อหาจะอยู่ในรูปตัวอักษร ภาพ เสียง และวีดีทัศน์ ที่ผลิตขึ้นมาอย่างง่าย ๆ ซึ่งควรมีการพัฒนา LMS
ที่ดี เพื่อช่วยผู้สอนหรือผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาในการสร้างและปรับเนื้อหาให้ทันสมัยได้ด้วยตนเอง
3) ระดับรายวิชาออนไลน์คุณภาพสูง (High Quality Online Course) เนื้อหาจะอยู่ในรูปของ
มัลติมีเดียที่มีลักษณะมืออาชีพ การผลิตต้องใช้ทีมงานในการผลิตที่ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้าน
เนื้อหา (Content Experts) ผู้เชี่ยวชาญการออกแบบการสอน (Instructional Designers) และผู้เชี่ยวชาญ
การผลิตมัลติมีเดีย (Multimedia Experts) เนื้อหาในระดับนี้ต้องมีการใช้เครื่องมือหรือโปรแกรม
เฉพาะสำหรับการผลิตและเรียกดู เช่น Macromedia Flash หรือ Flash Player เป็นต้น
ผศ.ดร.ถนอมพร เลาหจรัสแสง [30] การนำ e-Learning ไปใช้ประกอบการเรียนการสอน สามารถทำ
ได้ 3 ระดับ ดังนี้
1) สื่อเสริม (Supplementary)หมายถึงการนำ e-Learning ไปใช้ในลักษณะสื่อเสริม กล่าวคือ
นอกจากเนื้อหาที่ ปรากฏในลักษณะ e-Learning แล้ว ผู้เรียนยังสามารถศึกษาเนื้อหาเดียวกันนี้ใน
ลักษณะอื่น ๆ เช่น จากเอกสารประกอบ การสอน จากวีดิทัศน์ ฯลฯ การใช้ e-Learning ในลักษณะนี้
เท่ากับว่าผู้สอนเพียงต้องการจัดหาทางเลือกใหม่อีกทางหนึ่ง สำหรับผู้เรียนในการเข้าถึงเนื้อหา
เพื่อให้ประสบการณ์พิเศษเพิ่มเติมแก่ผู้เรียนเท่านั้น
2) สื่อเพิ่มเติม (Complementary) หมายถึงการนำ e-Learning ไปใช้ในลักษณะเพิ่มเติมจาก
วิธีการสอนใน ลักษณะอื่นๆ เช่น นอกจากการบรรยายในห้องเรียนแล้ว ผู้สอนยังออกแบบเนื้อหา
ให้ผู้เรียนเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมจาก e-Learning ในความคิดของผู้เขียนแล้ว ในประเทศไทย
หากสถาบันใดต้องการที่จะลงทุนในการนำ e-Learning ไปใช้กับการเรียนการสอนตามปกติ (ที่ไม่ใช่
ทางไกล) แล้ว อย่างน้อยควรตั้งวัตถุประสงค์ในลักษณะของสื่อเพิ่มเติมมากกว่า แค่เป็นสื่อเสริม เช่น
ผู้สอนจะต้องให้ผู้เรียนศึกษาเนื้อหาจาก e-Learning เพื่อวัตถุประสงค์ใดวัตถุประสงค์หนึ่ง เป็นต้น
33
34
ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะของผู้เรียนในบ้านเรา ซึ่งยังต้องการคำแนะนำจากครูผู้สอน รวมทั้ง
การที่ผู้เรียนส่วนใหญ่ ยังขาดการปลูกฝังให้มีความใฝ่รู้โดยธรรมชาติ
3) สื่อหลัก (Comprehensive Replacement) หมายถึงการนำ e-Learning ไปใช้ในลักษณะ
แทนที่การบรรยายในห้องเรียน ผู้เรียนจะต้องศึกษาเนื้อหาทั้งหมดออนไลน์ ในปัจจุบัน e-Learning
ส่วนใหญ่ในต่างประเทศจะได้ รับการพัฒนาขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการใช้เป็นสื่อหลักแทนครู
เพื่อสอนทางไกล ด้วยแนวคิดที่ว่ามัลติมีเดียที่นำเสนอทาง e-Learning สามารถช่วยในการถ่ายทอด
เนื้อหาได้ใกล้เคียงกับการสอนจริงของครูผู้สอน
สรุปได้ว่า ระดับการนำ e-Learning ไปใช้นั้นสามารถแบ่งได้เป็น สามระดับดังต่อไปนี้ 1) ระดับ
สื่อเสริม เป็นการทำสื่อออกมาอย่างง่าย ๆ โดยเน้นข้อมูลที่เป็นตัวอักษรเป็นหลัก ให้ผู้เรียนไปทำ
การ Download เพื่อมาอ่านเพิ่มเติมจากการเรียนการสอนปกติ ผู้เรียนจะได้ประสบการณ์ใหม่จาก
การเข้าไปศึกษาในส่วนนี้ ซึ่งอาจทำให้ผู้เรียนมีความสนใจค้นคว้าเพิ่มเติมด้วยตนเองต่อไปได้
2) ระดับสื่อเพิ่มเติม เป็นการเพิ่มเติมสื่อในส่วนของรูปภาพ ตัวอักษร ภาพเคลื่อนไหว การผลิตจะ
ซับซ้อนมากกว่าวิธีแรกส่วนมากผู้สอนจะมีการตกลงกับผู้เรียนในการให้เข้าไปทำแบบฝึกหัดบ้างเป็น
ครั้งคราว หรือเข้าไปทำการเรียนเนื้อหาในบางส่วนที่ได้จัดเตรียมไว้ 3) ระดับสื่อหลัก หรือแบบ
ทดแทนโดยสมบูรณ์ ระดับนี้ผู้เรียนกับผู้สอนไม่จำเป็นต้องเจอหน้ากัน การเรียนการสอนทั้งหมด
รวมทั้งการสอบจะกระทำออนไลน์ทั้งหมด การใช้งานในระดับนี้ สำหรับประเทศไทยนับได้ว่า
ยังเป็นของใหม่และยังไม่เป็นที่ยอมรับจากสังคม ทั้งนี้เนื่องจากโดยธรรมชาติของผู้เรียนเอง
ยังไม่สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเองยังต้องมีการชี้แนะจากผู้สอน เป็นส่วนใหญ่ อีกทั้งประเด็นการทุจริต
การสอบนั้นเป็นเรื่องที่แก้ได้ยากในสังคมบ้านเรา แต่ในปัจจุบันได้มีมหาวิทยาลัยเอกชน บางแห่งได้
เปิดหลักสูตร ปริญญาโท และเอก เป็นการเรียนการสอนแบบสื่อหลัก ซึ่งเป็นความพยายามที่ต้องการ
พิสูจน์กันต่อไปว่าจะสำเร็จมากน้อยเพียงใด
2.3.7 ข้อดี และข้อพึงระวังเกี่ยวกับ e-Learning
ผศ.ดร.ถนอมพร เลาหจรัสแสง [30] ได้กล่าวถึงประโยชน์ของ e-Learning ไว้ว่า e-Learning ถือได้ว่า
เป็นการปรับกระบวนทัศน์ใหม่ (New Paradigm Shift) ทางการศึกษา เพราะ e-Learning สามารถ
นำไปใช้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น ประโยชน์ของ
e-Learning มีอยู่ด้วยกันหลายประการ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1) e-Learning ช่วยให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น งานวิจัยหลายชิ้น
สนับสนุน เนื้อหาการเรียนซึ่งถูกถ่ายทอดผ่านทางมัลติมีเดียซึ่งสามารถทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้
ดีกว่าการเรียนจากสื่อข้อความแต่เพียงอย่างเดียว ดังนั้นหากจะเปรียบ e-Learning กับการสอนที่เน้น
การบรรยายในลักษณะ Chalk and Talk ซึ่งผู้สอนในปัจจุบันยังคงใช้กันอยู่นั้น e-Learning ที่ได้รับ
34
35
การออกแบบและผลิต อย่างมีระบบจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า
นอกจากในด้านของประสิทธิภาพทางการเรียนอันเกิดจากสื่อแล้ว ในด้านของระบบ e-Learning
ยังมีการจัดหาเครื่องมือ ซึ่งทำให้ผู้สอนสามารถตรวจสอบความก้าวหน้าของพฤติกรรมการเรียน ของ
ผู้เรียนได้อย่างละเอียดและตลอดเวลา
2) e-Learning จะมีการใช้เทคโนโลยีสื่อหลายมิติ (Hypermedia) ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงข้อมูลไม่
ว่าจะเป็นในรูปของข้อความ ภาพนิ่ง เสียง กราฟฟิก วีดิทัศน์ ภาพเคลื่อนไหว ที่เกี่ยวเนื่องกันเข้าไว้
ด้วยกันในลักษณะที่ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลในลักษณะที่เป็นอิสระ (Non-Linear) เพื่อความสะดวก
ในการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้ การประยุกต์ใช้สื่อหลายมิติ นี้ก็เพื่อให้สามารถใช้เป็นวิธี การนำเสนอ
ความรู้สำหรับสื่อการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้เนื่องจากการใช้สื่อหลายมิติ สามารถ
นำเสนอเนื้อหาในลักษณะของกรอบความคิดแบบใยแมงมุม (Web Framework) ซึ่งเป็น
กรอบ ความคิดที่เชื่อว่าจะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันกับวิธีที่มนุษย์จัดระบบความคิดภายในจิตใจ ดังนั้น
ผู้เรียนที่เรียนจาก e-Learning จะสามารถควบคุมการเรียนของตนได้และย่อมจะได้รับความรู้และมี
การจดจำได้ดีขึ้น
3) e-Learning ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามจังหวะของตน ผู้เรียนสามารถควบคุม
การเรียนของตนในด้านของลำดับการเรียน ตามพื้นฐานความรู้ ความถนัดและความสนใจของตน
ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนเฉพาะเนื้อหาส่วนที่ต้องการทบทวน โดยไม่ต้องเรียนในส่วนที่เข้าใจแล้ว ซึ่ง
ในลักษณะนี้ ถือเป็นการให้อิสระแก่ผู้เรียนในการควบคุมการเรียนของตน
4) e-Learning เอื้อให้การโต้ตอบ (Interaction) ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการโต้ตอบกับ
เนื้อหา การโต้ตอบกับครูผู้สอนและเพื่อน หลักสูตรที่ได้รับการออกแบบมา อย่างดีนั้นจะเอื้อให้เกิด
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับเนื้อหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างเช่น การออกแบบเนื้อหา
ในลักษณะเกม หรือ การจำลอง เป็นต้น เราทราบกันดีว่า การเรียน การสอนที่ดีที่สุดคือ การเรียน
การสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้โต้ตอบกับผู้สอน หรือกับ ผู้เรียนอื่น ๆ มากที่สุด เพราะการเรียน
ในลักษณะนี้ผู้สอนจะสามารถตอบปัญหา และคำถามต่าง ๆ ของผู้เรียนได้ทันที นั่นคือ e-Learning
ให้โอกาสผู้เรียนในการโต้ตอบกับครูผู้สอน และ/หรือการได้รับผลป้อนกลับทั้งในเวลาเดียวกัน
(Synchronous) เช่น การสนทนา (Chat) การออกอากาศสด และต่างเวลากัน (Asynchronous) เช่น
การทิ้งข้อความไว้บนกระดานข่าว
5) e-Learning ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ รวมทั้งเนื้อหาที่มีความทันสมัย และ
ตอบสนองต่อเรื่องราวต่าง ๆ ในปัจจุบันได้อย่างทันท่วงที เพราะการที่เนื้อหาการเรียนอยู่ในรูปของ
ข้อความอิเล็กทรอนิกส์ (e-Text) ซึ่งได้แก่ข้อความที่ได้รับการจัดเก็บ ประมวลผล นำเสนอ และ
เผยแพร่ทางคอมพิวเตอร์ ทำให้มีข้อได้เปรียบสื่ออื่น ๆ หลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านของ
ความสามารถในการปรับปรุงเนื้อหาสารสนเทศให้ทันสมัยได้ตลอดเวลา การเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการ
ด้วยความสะดวกและรวดเร็ว และความคงทนของข้อมูล
35
36
6) e-Learning ถือเป็นรูปแบบการเรียนที่สามารถจัดการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนใน
วงกว้างขึ้น เพราะผู้เรียนที่ใช้การเรียนลักษณะ e-Learning จะไม่มีข้อจำกัดในด้านการที่จะต้อง
เดินทางมาศึกษาในเวลาใดเวลาหนึ่งและสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง ดังนั้น e-Learning จึงสามารถ
นำไปใช้เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตได้ด้วยและยิ่งไปกว่านั้น เราสามารถนำ e-Learning ไปใช้
เพื่อเปิดโอกาสสำหรับผู้เรียนที่ขาดโอกาสในการศึกษาในระดับอุดมศึกษาได้เป็นอย่างดี ซึ่งจาก
งานวิจัยในประเทศไทย พบว่า ยังมีผู้เรียนที่ขาดโอกาสในการศึกษาขั้นอุดมศึกษา อันเนื่องมาจาก
ข้อจำกัดของสถาบันการศึกษาที่จำกัดจำนวนในการรับผู้เรียนอยู่อีกเป็นจำนวนมาก และมีแนวโน้มที่
จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในอีกทศวรรษข้างหน้า ซึ่งการจัดการเรียนการสอนสำหรับผู้เรียนจำนวนที่มากขึ้น
โดยมีค่าใช้จ่ายเท่าเดิม ก็เท่ากับเป็นการลดต้นทุนในการจัดการศึกษานั้น ๆ
ดร.ศุภชัย สุขะนินทร์ และกรกนก วงศ์พานิช [24 ] ได้กล่าวไว้เกี่ยวกับข้อควรระวังในการออกแบบ
บทเรียน e-Learning ไว้ว่าการสร้างสถานการณ์นั้นเป็นเรื่องสำคัญในการดึงดูดความสนในของผู้เรียน
และส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนไว้ 6 ประการ ดังนี้
1) จัดแบ่งเนื้อหาออกเป็นตอน ๆ ให้มีความยาวเหมาะสมกับวุฒิภาวะ ทางการรับรู้ของผู้เรียน
(Gradual Approximation) ด้วย e-Learning ผู้เรียนจะสามารถจัดแบ่งเวลาและเนื้อหา และการเรียกดู
ข้อมูลเนื้อหาวิชาทีละตอนตามความต้องการของ ตนเองได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว มีลักษณะ
การนำเสนอเป็นตอน ตอนสั้น ๆ ที่เรียกว่า เฟรม หรือ กรอบ เรียงลำดับไปเรื่อย ๆ เพื่อให้ผู้เรียน
สามารถรับรู้ และพัฒนาการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ
2) ผู้เรียนสามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง (Self Learning) ในe-Learning ควรจะทำปุ่มควบคุม
หรือรายการควบคุมการทำงานให้ผู้เรียนสามารถโต้ตอบกับคอมพิวเตอร์ได้ เช่น มีส่วนที่เป็น
บททบทวน หรือแบบฝึกปฏิบัติ แบบทดสอบ ให้ทำเพื่อ เป็นการประเมินการเรียนรู้ของตนเองได้
3) เนื่องจากผู้สอนและผู้เรียนไม่ได้ติดต่อกันโดยตรง ผู้เรียนอาจเกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย
ฉะนั้นในการออกแบบ e-Learning จึงควรสร้างบรรยากาศการเรียนที่เป็น Interactive เพื่อทำให้ผู้เรียน
ได้มีส่วนร่วมอยู่ตลอดเวลา
4) เตรียมระบบที่ผู้เรียนสามารถรับทราบผลการเรียนรู้และกิจกรรมที่ทำโดยทันทีที่งานเสร็จ
จากการเฉลยคำตอบ จากการประเมินผล Online ซึ่งจะมีส่วนกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความตั้งใจมากขึ้น
5) เตรียมการนำเข้าสู่บทเรียนหรือกิจกรรมการเรียนที่ดี และมีการทดสอบก่อนเรียนและหลัง
เรียน เพื่อประเมินความสามารถและทักษะของผู้เรียน เพื่อเลือกระดับของเนื้อหาและกิจกรรมที่
เหมาะสมกับผู้เรียน
6) เตรียมแรงเสริมในทางบวก (Positive Reinforcement) ให้กับผู้เรียนด้วยการแสดงข้อความ
หรือเสียงชมเชย และหลีกเลี่ยงการตำหนิ การลงโทษ อันจะทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย
ท้อแท้ ซึ่งจะทำให้กระบวนการเรียนรู้ล้มเหลว
36
37
ผศ.ดร.ถนอมพร เลาหจรัสแสง [30] ได้ให้ข้อคิดเกี่ยวกับสิ่งที่ควรพึงระวังของ e-Learning ไว้ดังนี้
1) การไม่ทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ถึงความหมาย วิธีการ รวมไปถึงรูปแบบ ระดับการใช้งาน
และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ e-Learning และนำไปใช้ (Implement) ตามกระแสความนิยม ก็อาจ
ส่งผลทางลบแทนที่จะมีข้อได้เปรียบ
2) ผู้สอนที่นำ e-Learning ไปใช้ในลักษณะของสื่อเสริม โดยไม่ปรับเปลี่ยนวิธีการสอนเลย
กล่าวคือ ผู้สอนใช้แต่วิธีบรรยายในทุกเนื้อหาและสั่งให้ผู้เรียนไปทบทวนจาก e-Learning
หาก e-Learning ไม่ได้ออกแบบให้จูงใจผู้เรียนแล้ว ผู้เรียนก็คงใช้อยู่พักเดียวก็เลิกไปเพราะไม่มี
แรงจูงใจใด ๆ ในการไปใช้ e-Learning ก็จะกลายเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่าแต่อย่างใด
3) การลงทุนในด้าน e-Learning จะต้องครอบคลุมถึงการจัดการให้ผู้สอนและผู้เรียนสามารถ
เข้าถึงเนื้อหา หรือการติดต่อสื่อสารออนไลน์ได้สะดวก สำหรับ e-Learning แล้ว ผู้สอนและ
ผู้เรียนที่ใช้รูปแบบการเรียนในลักษณะนี้ต้องมีสิ่ง อำนวยความสะดวก (Facilities) ต่าง ๆ ในการเรียน
ที่พร้อมเพรียงและมีประสิทธิภาพ เช่น ผู้สอนและผู้เรียนสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นได้ และ
สามารถเรียกดูเนื้อหาโดยเฉพาะอย่าง ยิ่งในลักษณะมัลติมีเดีย ได้ครบถ้วน ด้วยความเร็วพอสมควร
เพราะหากปราศจากข้อได้เปรียบ ในการติดต่อสื่อสารและการเข้าถึงแหล่งเนื้อหาได้สะดวก รวมทั้ง
ข้อได้เปรียบสื่ออื่น ๆ ในด้านลักษณะของการนำเสนอเนื้อหา เช่น มัลติมีเดียแล้ว ผู้เรียนและผู้สอน
ก็อาจไม่เห็นความจำเป็นใด ๆ ที่จะต้องใช้ e-Learning
4) การออกแบบ e-Learning ที่ไม่เหมาะสมกับลักษณะของผู้เรียน เช่น ผู้เรียนระดับ
อุดมศึกษา ในบ้านเรา ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในวัยรุ่น e-Learning จะต้องได้รับการออกแบบตามหลัก
จิตวิทยาการศึกษา กล่าวคือ ต้องเน้นการออกแบบให้มีกิจกรรมการโต้ตอบอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะอยู่
กับเนื้อหาเอง กับผู้เรียนอื่น ๆ หรือกับผู้สอนก็ตาม นอกจากนั้นแล้ว การออกแบบการนำเสนอเนื้อหา
ทางคอมพิวเตอร์ นอกจะต้องเน้นให้เนื้อหามีความถูกต้อง และชัดเจน ยังคงต้องเน้นให้มีความน่า
สนใจ สามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียนได้ เช่น การออกแบบการนำเสนอโดยใช้มัลติมีเดีย รวมทั้ง
การนำเสนอเนื้อหาในลักษณะ (Non-Linear) ซึ่งผู้เรียนสามารถเลือกที่จะเรียนเนื้อหาใดก่อนหรือหลัง
ได้ตามความต้องการ
ปัทมา นพรัตน์ [27] ได้กล่าวถึงข้อที่ควรคำนึงของ e-Learning ไว้ว่า
1) ความสำคัญของ e-Learning อยู่ที่การออกแบบ ดังนั้นแม้ว่าเนื้อหา วิธีการ ที่มีอยู่จะส่งผ่าน
ระบบเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพอย่างไรก็ตาม แต่ถ้ารูปแบบไม่น่าสนใจ ไม่สามารถดึงความสนใจ
ของผู้เรียนไว้ได้ ก็ทำให้ผู้เรียนไม่อยากเรียน ก็จะไม่บรรลุวัตถุประสงค์ในการศึกษาหาความรู้ การนำ
e-Learning ไปใช้ นอกจากจะไม่ประสบความสำเร็จแล้วยังทำให้เพิ่มค่าใช้จ่ายและเสียเวลาอีกด้วย
37
38
2) การใช้ e-Learning ต้องมีการลงทุนในเรื่องเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เครื่อง
คอมพิวเตอร์ที่พร้อมด้วยอุปกรณ์มัลติมีเดีย และประสิทธิภาพของอุปกรณ์ที่ต้องเข้ากันได้ดี และต้อง
คำนึงถึงการเตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อการติดต่อสื่อสารทั้งระหว่างผู้เรียน ผู้สอนอีกด้วย
สรุปได้ว่า ข้อดีของ e-Learning นั้นได้เปรียบการเรียนการสอนในรูปแบบอื่นอยู่หลายประการและ
นับวันจะส่งผลให้การเรียนการสอนในรูปแบบอื่นๆ ล้าสมัยและหมดความนิยมไปในที่สุด กล่าวคือ
e-Learning นั้นมีโครงสร้างเป็นเครือข่ายใยแมงมุม ซึ่งคล้ายกับวิธีที่มนุษย์จัดระบบความคิด ซึ่งทำให้
ผู้เรียนมีการคิดและจดจำได้ดีกว่า สื่อในการจัดสร้างนั้นประกอบด้วยเทคโนโลยีหลายมิติ ทำให้ผู้เรียน
เกิดความกระตือรือร้นในการเรียน ก่อเกิดให้การเรียนมีประสิทธิภาพมากกว่า ผู้เรียนสามารถควบคุม
จังหวะการเรียนตามที่ตัวเองต้องการไม่จำเป็นต้องรอคนอื่นอยากเรียนซ้ำเนื้อหาเดิมได้ตามต้องการ
นอกจากนี้ e-Learning ยังมีจุดเด่นอีกประการหนึ่งคือเป็นสื่อการสอนที่มีความคล่องตัวสูงสามารถ
ทำการ แก้ไขได้ง่ายทำให้เนื้อหานั้นทันต่อเหตุการณ์ในปัจจุบัน นอกจากนี้ e-Learning ยังนับได้ว่า
เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าใช้ทุนน้อยเมื่อเปรียบเทียบในระยะยาว เป็นการเปิดโอกาสให้กับผู้เรียน
ที่อยู่ห่างไกล หรือมีปัญหาเรื่องเวลา และการเดินทาง อีกทั้งเป็นการรองรับผู้เรียนจำนวนมากขณะที่มี
ค่าใช้จ่ายเท่าเดิม ส่วนในด้านข้อควรระวังในการนำ e-Learning มาใช้นั้น คือผู้จัดสร้างบทเรียนหรือ
ทีมงานควรทำการศึกษาถึงความหมาย วัตถุประสงค์ รูปแบบให้เข้าใจอย่างถ่องแท้เสียก่อน ไม่ควรทำ
ไปเพื่อตามกระแสเพราะนอกจากจะสิ้นเปลืองงบประมาณแล้วยังทำให้ผู้เรียนเกิดภาพในแง่ลบ
เกี่ยวกับ e-Learning อีกด้วย การสร้างเนื้อหานั้นควรต้องคำนึงถึงวุฒิภาวะของผู้เรียน ซึ่งจะไปสัมพันธ์
กับระยะเวลาที่ใช้ในแต่ละตอนของบทเรียน ผู้เรียนสามารถรับรู้ผลของการเรียนได้ทันทีหลังการมี
การประเมินผลจากระบบ ทำให้เกิดความท้าทาย ไม่ควรใช้ข้อความตำหนิ ลงโทษ ควรให้ผู้เรียนมี
ปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนตลอดเวลา
2.4 การจัดการบริหารด้านการเรียนการสอน (Learning Management System:
LMS)
2.4.1 ความหมายของระบบบริหารการเรียนการสอน
ความหมายของระบบบริหารการเรียนการสอนนั้น ได้มีนักวิชาการกล่าวไว้ดังนี้ คือ
ประกอบ คุปรัตน์ [31] ได้ให้ความหมายของ LMS ว่าเป็นระบบจัดการการเรียนการสอนออนไลน์
หรือ e-Learning และ/หรือ เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในระบบจัดการห้องเรียนเสมือนจริง ทำให้
สถาบันการศึกษาหรือแหล่งจัดการเรียนการสอนสามารถให้ผู้เรียนได้มี Login และ Password เพื่อมี
38
39
สิทธิเข้าเรียน รวมทั้ง การให้ผู้เรียนจัดการเลือกสรรรายวิชาที่จะเรียน บันทึกเวลาและข้อมูลการเข้า
เรียน และการรายงานผลการเรียนให้กับระบบการศึกษาหรือการฝึกอบรมนั้น ๆ
กิตติพงษ์ พุ่มพวง [32] ได้ให้ความหมายของ LMS ว่าเป็นระบบการจัดการเรียนผ่านเครือข่ายมี
เครื่องมือและส่วนประกอบที่สำ คัญ สำ หรับผู้สอน ผู้เรียน และผู้ดูแลระบบ ได้แก่ ระบบ
การจัดการรายวิชา ระบบการจัดการสร้างเนื้อหา ระบบบริหารจัดการผู้เรียน ระบบการจัดการข้อมูล
และ/หรือ บทเรียน รวมทั้ง ระบบเครื่องมือช่วยจัดการสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ และจัดกระบวน
การเรียนรู้ ได้แก่ การสื่อสาร Chat, e-Mail, Web board การเข้าใช้ การเก็บข้อมูลและการรายงานผล
เป็นต้น
ชัยวรัตน์ ไชยพจน์พานิช [1] ได้ให้ความหมายของ LMS ว่าเป็นซอฟท์แวร์สำหรับการบริหารจัดการ
รายวิชาที่รวบรวมเครื่องมือซึ่งออกแบบไว้เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งานในการจัดการเรียน
การสอนออนไลน์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อช่วยสนับสนุนผู้ใช้งาน 4 กลุ่ม คือ ผู้เรียน (Student) ผู้สอน
(Instructor) เจ้าหน้าที่ทะเบียน (Registration) และผู้ดูแลระบบ (Administrator) ซึ่งเครื่องมือและ
ระดับของสิทธิในการเข้าใช้ที่จัดหาไว้ให้จะมีความแตกต่างกันไปตามแต่การใช้งานของแต่ละกลุ่ม
ปัทมาภรณ์ พิมพ์หานาม [33] ได้ให้ความหมายของ LMS ว่า เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นสำหรับ
กิจกรรมในการเรียนการสอน การประเมินผล การทดสอบ การมีบอร์ดแสดงความคิดเห็นในแต่ละ
รายวิชา รวมทั้ง ระบบการติดตามผลการเรียน และอื่น ๆ
ดร.ศุภชัย สุขะนินทร์ และกรกนก วงศ์พานิช [24] ได้ให้ความหมายของ LMS ว่าเป็นคอมพิวเตอร์
โปรแกรมที่ออกแบบมาเพื่อบันทึก และจัดข้อมูลการเรียนการสอน โดยโปรแกรมจะทำหน้าที่
ตรวจสอบการเข้ามาใช้บทเรียน และออกจากบทเรียนของผู้เรียน ตรวจสอบความก้าวหน้าของผู้เรียน
ในแต่ละบท รวมทั้งการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์คะแนนสอบของผู้เรียนแต่ละคน
สรุป ระบบบริหารการเรียนการสอน (Learning Management System) เป็นระบบจัดการการเรียน
การสอนออนไลน์ซึ่งมีซอฟท์แวร์บริหารจัดการรายวิชา และ/หรือ เป็นระบบที่รวบรวมเครื่องมือ
ซึ่งออกแบบไว้เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งาน 4 กลุ่ม คือ ผู้เรียน (Student) ผู้สอน (Instructor)
เจ้าหน้าที่ทะเบียน (Registration) และผู้ดูแลระบบ (Administrator) ซอฟท์แวร์นี้พัฒนาขึ้นเพื่อ
กิจกรรมในการเรียนการสอน การประเมินผล การทดสอบ การติดตามผลการเรียน และ เว็บบอร์ด
แสดงความคิดเห็นต่อรายวิชาและอื่น ๆ ดังนี้เป็นต้น
39
40
2.4.2 องค์ประกอบของระบบบริหารการเรียนการสอน
องค์ประกอบของ LMS ประกอบดว้ ย 5 สว่ น [34] ดังนี้ คือ
1) ระบบจัดการหลักสูตร (Course Management) ของกลุ่มผู้ใช้งานแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ
ผู้เรียน ผู้สอน และผู้ดูแลระบบ ที่สามารถเข้าสู่ระบบจากที่ไหน เวลาใดก็ได้ โดยผ่านเครือข่าย
อินเทอร์เน็ต นอกจากนี้ ระบบสามารถรองรับจำนวน ผู้ใช้ และจำนวนบทเรียนได้ไม่จำกัด ขึ้นอยู่กับ
ฮาร์ดแวร์และ /หรือซอฟท์แวร์ที่ใช้ อีกทั้งระบบสามารถรองรับการใช้งานภาษาไทยได้อย่าง
เต็มรูปแบบ
2) ระบบการสร้างบทเรียน (Content Management) ประกอบด้วย เครื่องมือในการช่วยสร้าง
เนื้อหา ระบบนี้สามารถใช้งานได้ดีทั้งกับบทเรียนในรูป Text-Based และบทเรียนใน รูปแบบ
Streaming Media
3) ระบบการทดสอบและประเมินผล (Test and Evaluation System) เป็นระบบคลังข้อสอบ
ที่สามารถสุ่มข้อสอบ จับเวลาการทำข้อสอบ และตรวจข้อสอบได้อย่างอัตโนมัติ พร้อมเฉลย
มีการรายงานสถิติ คะแนน และสถิติการเข้าเรียนของผู้เรียน
4) ระบบส่งเสริมการเรียน (Course Tools) ประกอบด้วย เครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้สื่อสารระหว่าง
ผู้เรียนกับผู้สอน และผู้เรียนกับผู้เรียน ได้แก่ เว็บบอร์ด (Webboard) และ ห้องสนทนา (Chatroom)
ที่สามารถเก็บข้อมูลเหล่านี้ได้
5) ระบบจัดการข้อมูล (Data Management System) ประกอบด้วย ระบบจัดการไฟล์และ
โฟลเดอร์ ที่มีเนื้อที่เก็บข้อมูลบทเรียนเป็นของผู้สอนด้วยตนเอง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเนื้อที่ตามที่ผู้ดูแลระบบ
กำหนดให้
สุณี รักษาเกียรติศักดิ์ [35] ได้ยกตัวอย่างองค์ประกอบของระบบที่ได้จากระบบ A-Tutor ไว้ดังนี้
องค์ประกอบที่สำคัญของระบบจัดการเรียนแบบออนไลน์ที่เป็นมาตรฐานขั้นต่ำทั่วไปที่จะต้องมี โดย
ยกตัวอย่างของระบบ “ATutor” ประกอบด้วย
1) ระบบจัดการรายวิชา (Course Management)
1.1 การแสดงรายการวิชาทั้งหมดที่อยู่ในระบบ (Browse Courses)
1.2 การลงทะเบียนเพื่อใช้ระบบ (Register) ซึ่งจะได้สถานะเป็นผู้เรียนเท่านั้น
1.3 การเข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ (Login/Log-out)
1.4 การขอเปลี่ยนสถานะเป็นผู้สอน (Request Instructor Account)
1.5 การสร้างวิชาใหม่ (Create a New Course) และการเปิดสิทธิ์การเข้าดูเนื้อหาวิชาเป็น
Public, Protected, และ Private (วิชาที่เป็น Public ผู้ใดสามารถเข้ามาดูก็ได้ ไม่ต้อง Login, วิชา
Protected ผู้ที่ Login เข้าระบบเท่านั้นจึงจะดูเนื้อหาวิชาได้ วิชา Private ต้องลงทะเบียนเรียนและจะดู
เนื้อหาวิชาได้ก็ต่อเมื่อผู้สอนอนุมัติการลงทะเบียนเรียน)
40
41
1.6 การลงทะเบียนเรียนวิชาต่าง ๆ ของผู้เรียน (Enroll)
1.7 การอนุมัติการลงทะเบียนเรียนแต่ละวิชาของผู้สอน (Approval)
2) ระบบจัดการเนื้อหารายวิชา (Content Management) สำหรับผู้เรียนจะต้องรู้จักการอ่าน
เนื้อหาบทเรียนอย่างเดียว โดยเมื่อเลือกวิชาที่ต้องการแล้ว ก็เข้าไปดูเนื้อหาได้ สำหรับผู้สอนระบบ
จะมีเครื่องมือที่เรียกว่า Content Editor ให้ใช้ ซึ่งผู้สอนจะต้องเรียนรู้การจัดรูปแบบด้วยภาษา HTML
เล็กน้อย และยังมีเครื่องมือ File Manager (ในเมนู Tools) ให้ผู้สอนนำเอกสารประกอบการสอน
ในรูปแบบอื่น ๆ เช่น PowerPoint, Word Document, PDF, หรือไฟล์รูปภาพต่าง ๆ ขึ้นระบบด้วย
นอกจากนั้นแล้วยังมีระบบการประกาศข้อมูลข่าวสาร (Announcement) ในหน้า Home ของวิชา
เพื่อให้ผู้เรียนได้ทราบแบบออนไลน์ด้วย ระบบการสื่อสาร (Communication หรือ Discussions)
ATutor มีระบบการสื่อสารทั้งแบบ Asynchronous (ผู้ส่งกับผู้รับไม่ต้องสื่อสารในเวลาเดียวกัน) ได้แก่
Forums (ซึ่งก็คือ Webboard นั่นเอง), Inbox (ซึ่งก็คือ e-Mail นั่นเอง) และแบบ Synchronous (ผู้ส่งกับ
ผู้รับต้องอยู่เวลาเดียวกัน) ได้แก่ Chat ซึ่งยังไม่เปิดบริการผู้สอนจะเป็นผู้สร้าง Forums ได้เท่านั้น (Add
Forum) โดยผู้สอนจะเป็นคนกำหนดว่าจะมีโต๊ะสนทนา (Forum) หัวข้ออะไรบ้าง เมื่อเข้าไปในแต่ละ
Forum ทั้งผู้สอนและผู้เรียนสามารถที่สร้างกระทู้ (New Thread) ได้ ถ้าต้องการแสดงความคิดเห็น
เกี่ยวกับกระทู้นั้น ๆ ก็เข้าไปในกระทู้นั้นแล้วแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม (Add Post) ได้
3) ระบบการสื่อสาร (Communication หรือ Discussions) ATutor มีระบบการสื่อสารทั้งแบบ
Asynchronous (ผู้ส่งกับผู้รับไม่ต้องสื่อสารในเวลาเดียวกัน) ได้แก่ Forums (ซึ่งก็คือ Webboard
นั่นเอง), Inbox (ซึ่งก็คือ e-Mail นั่นเอง) และแบบ Synchronous (ผู้ส่งกับผู้รับต้องอยู่เวลาเดียวกัน)
ได้แก่ Chat ซึ่งยังไม่เปิดบริการผู้สอนจะเป็นผู้สร้าง Forums ได้เท่านั้น (Add Forum) โดยผู้สอนจะ
เป็นคนกำหนดว่าจะมีโต๊ะสนทนา (Forum) หัวข้ออะไรบ้าง เมื่อเข้าไปในแต่ละ Forum ทั้งผู้สอนและ
ผู้เรียนสามารถที่สร้างกระทู้ (New Thread) ได้ ถ้าต้องการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกระทู้นั้น ๆ ก็เข้า
ไปในกระทู้นั้นแล้วแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม (Add Post) ได้
4) ระบบการทดสอบ (Testing System) ผู้สอนสามารถที่จะสร้างแบบทดสอบออนไลน์ของแต่
ละวิชาได้โดยเลือกเมนู Tools > Test Manager ซึ่งมีรูปแบบข้อคำถามให้เลือก 3 แบบ คือ Multiple
Choice, True or False, Open Ended ระบบจะมีการตั้งค่าว่าจะให้สอบได้ตั้งแต่ วัน-เวลาใด ถึงเวลาใด
เมื่อผู้เรียนทำข้อสอบแล้วผู้สอนสามารถเข้าไปตรวจข้อสอบได้ โดยถ้าเป็นแบบ Multiple Choice หรือ
True or False ระบบจะตรวจให้อัตโนมัติผู้เรียนสามารถเข้ามาทำแบบทดสอบออนไลน์ได้เมื่อถึงเวลา
ที่กำหนด โดยเลือกเมนู Tools > My Test และเมื่อผู้สอนตรวจข้อสอบแล้ว ผู้เรียนก็สามารถเข้ามาดูผล
สอบได้ที่เดียวกัน
5) ระบบสถิติการใช้งานของผู้ใช้ระบบ (Course Tracking) ระบบ ATutor จะมีระบบสถิติ
การใช้งานของผู้ใช้ระบบมากมายโดยมีการนำเสนอทั้งตัวเลขสถิติและนำเสนอด้วยกราฟ โดยเลือก
เมนู Tools > My Tracker สำหรับผู้เรียน และ Tools > Course Tracker สำหรับผู้สอน กล่าวโดยรวม
41
42
ระบบ ATutor มีองค์ประกอบที่ครบถ้วนที่ระบบการจัดการเรียนแบบออนไลน์ทั่วไปควรจะมี และมี
ศักยภาพไม่ด้อยไปกว่าระบบ LMS ในเชิงพาณิชย์ที่มีราคานับล้านบาท นอกจากนี้แล้วระบบยังได้
พัฒนาให้มีมาตรฐานสากล SCORM ด้วย
สรุป องค์ประกอบของระบบบริหารการเรียนการสอน ประกอบด้วย 5 ส่วน คือ 1) ระบบจัดการ
หลักสูตร (Course Management) 2) ระบบการสร้างบทเรียน (Content Management) 3) ระบบ
การทดสอบและประเมินผล 4) ระบบส่งเสริมการเรียน และ 5) ระบบจัดการข้อมูล
2.4.3 ลักษณะทั่วไปของระบบบริหารการเรียนการสอน
ลักษณะทั่วไปของระบบบริหารการเรียนการสอน [36] มีดังนี้ คือ
1) ระบบงานเป็นแบบ Client/Server หรือสูงกว่าสามารถใช้งานได้โดยไม่จำกัดจำนวนผู้ใช้
2) ระบบสามารถแสดงผลส่วนเมนูได้หลายภาษา โดยเฉพาะสามารถแสดงผลภาษาไทยได้
3) ผู้สอนสามารถสร้างแหล่งความรู้หรือเนื้อหาวิชาได้ โดยผ่านฟังก์ชั่นต่าง ๆ ที่ระบบกำหนด
ไว้ให้ และสามารถสร้างจุดเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ของแหล่งข้อมูลภายนอกได้ด้วยเช่นกัน
4) ระบบรองรับมาตรฐาน SCORM (Sharable Content Object Reference Module)
ขั้นพื้นฐาน (Basic Support for Standard Learning Objects) โดยใช้ SCORM Content Packages ได้
5) ผู้เรียนสามารถเลือกดูส่วนที่สนใจของรายวิชาได้ เช่น ประกาศของรายวิชา ตารางงานและ
งานที่ได้รับมอบหมายจากผู้สอน
6) ผู้ใช้ระดับผู้ดูแลระบบ ผู้สอน และผู้เรียน สามารถล็อกอินเข้าระบบด้วย LDAP, POP3,
และ IMAP4 ได้
7) ส่วนการจัดการกับเนื้อหา ได้แก่ ตารางการสอน (Schedule Plan) การจัดการเว็บไซต์
(Website Management) การบริหารจัดการของผู้ใช้ (User Management) การจัดการโมดูล (Module
Management) และการจัดการกลุ่มผู้เรียน (Class Management)
8) ระบบ ประกอบด้วย
8.1 การจัดการรายวิชา (Course Management)
8.2 ห้องสนทนา (Chat room) เป็นการสนับสนุนการเรียนรู้แบบปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน
กับผู้สอน และผู้เรียนกับผู้เรียน สามารถเปิดดูเนื้อหาเพื่อเรียนรู้และสื่อสารกันได้ตลอดเวลา
8.3 หัวข้อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น (Discussion Forum)
8.4 ระบบเก็บคำศัพท์ (Glossary)
8.5 พื้นที่เก็บสื่อประกอบการเรียนการสอน (Workshop Area) ในรูปแบบของมัลติมีเดีย
ได้แก่ Multimedia Video Clip หรือ Audio Files
8.6 ระบบจัดการตัวเลือก (Choice)
42
43
8.7 ระบบประเมินผล (Assessments) ที่สามารถเข้ามาทดสอบ วัดความรู้ ดูผลอย่าง
ละเอียดได้
8.8 สถิติการเข้ามาใช้งาน (Course Statistics) เพื่อดูความสนใจของผู้เรียนได้
9) การมีคำอธิบายช่วยเหลือการใช้งาน (Help) ของผู้สอนและผู้เรียนเป็นภาษาไทยในระบบ
พร้อมทั้งคู่มือประกอบการใช้งาน
สรุป ลักษณะทั่วไปของระบบบริหารการเรียนการสอน คือ 1) การใช้งานได้โดยไม่จำกัดจำนวน
ผู้ใช้ 2) การแสดงผลภาษาไทย 3) การสร้างแหล่งความรู้หรือเนื้อหาวิชาและสร้างจุดเชื่อมโยงไปยัง
เว็บไซต์ของแหล่งข้อมูลภายนอกได้ 4) ระบบรองรับมาตรฐาน SCORM 5) การเลือกดูส่วนที่สนใจ
ของรายวิชา และ 6) การจัดการกับเนื้อหา การจัดการเว็บไซต์ การบริหารจัดการของผู้ใช้ และ
การประเมินผล
2.4.4 ลักษณะเฉพาะส่วนของโปรแกรมระบบบริหารการเรียนการสอน
ลักษณะเฉพาะส่วนของโปรแกรมระบบบริหารการเรียนการสอน [36] มีดังต่อไปนี้
1) การจัดการรายวิชา (Course Management) สามารถรองรับการอัพโหลดและดาวน์โหลด
โดยไม่จำกัดจำนวนรูปแบบของไฟล์ (Multimedia File) เช่น Microsoft Office, Adobe Acrobat PDF,
HTML, Image, Audio, และ Video
2) ระบบการสื่อสาร (Communication System) ประกอบด้วย
2.1 ห้องสนทนา (Chat room) เพื่อให้ผู้เรียนผู้สอนสามารถติดต่อกันได้ในเวลาเดียวกัน
2.2 การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ผู้เรียนผู้สอนสามารถติดต่อกันได้ต่างเวลากัน
2.3 กระดานแสดงความคิดเห็น (Discussion Forum) การรับและส่งงานระหว่างผู้สอน
และผู้เรียน
2.4 การติดต่อสื่อสารหรือทำงานกลุ่มภายในวิชาเรียน
3) ระบบการวัดผลและประเมินผล (Assessments)
3.1 การเปรียบเทียบ ทดสอบและวัดผล พัฒนาการของผู้เรียนได้ โดยสร้างและกำหนด
ระเบียบของแบบทดสอบ
3.2 การสร้างและออกแบบทดสอบได้ง่าย
3.3 การสร้างคำถามโดยผู้สอนได้หลากหลายทั้งปรนัยและอัตนัยภายในข้อสอบ
ชุดเดียวกัน เช่น แบบเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว (Multiple Choice) แบบเลือกคำตอบ
ที่ถูกต้องมากกว่าหนึ่งข้อ (Multiple Response) แบบเลือกถูกผิด (True or False) และแบบเขียน
บรรยาย (Essay) เป็นต้น
3.4 การมีพื้นที่สำหรับเป็นแหล่งเก็บข้อสอบทั้งหมด
43
44
3.5 การมีโปรแกรมที่สามารถระบุช่วงวัน เวลา ที่อนุญาตให้ผู้เรียนเข้าไปทำข้อสอบได้
รวมทั้งสามารถกำหนดผลตอบรับ (Feedback) การทำข้อสอบ
3.6 การสร้างและเก็บรายงานสถิติของคำตอบ ในการทำข้อสอบของผู้เรียน
4) ระบบการควบคุม (Control)
4.1 โปรแกรมสามารถควบคุม และจัดการกับรายวิชาที่เปิดสอนโดยผู้สอน (Lecturer)
และผู้ดูแลระบบ (Administrator) โดยในส่วนของผู้สอนจะมีฟังก์ชันที่ใช้สำหรับควบคุมและจัดการ
ภายในรายวิชานั้น ๆ และในส่วนของผู้ดูแลระบบจะมีฟังก์ชั่นเพื่อควบคุมทั้งระบบของโปรแกรม
สื่อการเรียนการสอนทางไกล
4.2 โปรแกรมสามารถตรวจสอบการใช้งานระบบของผู้ใช้แต่ละคนได้ เช่น การตรวจสอบ
ผลการทำข้อสอบ การเข้าไปสืบค้นข้อมูลผู้ใช้ เช่น ผู้สอน ผู้เรียน และผู้เข้ามาเยี่ยมชมระบบ
5) การจัดการเว็บไซต์ (Website Management)
5.1 ซอฟต์แวร์สามารถให้ผู้ดูแลระบบกำหนดการติดตั้งเว็บไซต์ ได้
5.2 การปรับปรุงและเพิ่มโมดูลเข้าสู่ระบบได้
5.3 การกำหนดให้ระบบแสดงผลได้หลายภาษา
สรุป ลักษณะเฉพาะส่วนของโปรแกรมระบบบริหารการเรียนการสอน ประกอบด้วย 5 ส่วน คือ
1) การจัดการรายวิชา 2) ระบบการสื่อสาร 3) ระบบการวัดผลและประเมินผล 4) ระบบการควบคุม
และ 5) การจัดการเว็บไซต์
2.4.5 ลักษณะของโปรแกรมในส่วนของผู้ใช้
ลักษณะของโปรแกรมในส่วนของผู้ใช้ [36] มีดังนี้
1) ผู้เรียน (Student)
1.1 การเข้าไปอ่านประกาศของทุกรายวิชาที่ลงทะเบียนเรียน
1.2 การขอดูข้อมูลผู้สอนที่สอนในรายวิชานั้น ๆ
1.3 การดาวน์โหลดงานที่ผู้สอนมอบหมายแต่ละครั้งได้ ทั้งที่เป็นงานปัจจุบันและ
ย้อนหลัง
1.4 การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ไปยังทุกคน ทุกกลุ่ม ทั้งผู้สอน และผู้ช่วยสอนภายใน
รายวิชานั้น ๆ ได้พร้อมกัน
1.5 การแสดงความคิดเห็นหรือตั้งกระทู้ ระหว่างผู้เรียนด้วยกัน หรือระหว่างผู้เรียนกับ
ผู้สอน ภายในรายวิชานั้น ๆ ซึ่งมีทั้งแบบกระดานแสดงความคิดเห็น (Discussion Forum) และห้อง
สนทนา (Chatroom)
1.6 การเชื่อมโยงออกสู่เว็บไซต์ภายนอก
44
45
1.7 การส่งงานและการบ้าน
1.8 การตรวจสอบผลการทำแบบทดสอบ เฉพาะรายวิชา
1.9 การทำข้อสอบของแต่ละรายวิชาที่ลงทะเบียนเรียน
2) ผู้สอน (Lecturer) จะมีฟังก์ชั่นที่เพิ่มเติมจากระดับของผู้เรียน ซึ่งใช้สำหรับการจัดการ
การสร้าง และการควบคุมภายในรายวิชานั้น ได้แก่
2.1 การสร้างแบบทดสอบด้วยตนเอง
2.2 การมีแหล่งข้อสอบ เพื่อให้ผู้สอนสามารถสืบค้นข้อสอบมาใช้งานได้
2.3 การตรวจสอบคะแนนของผู้เรียนที่ลงเรียนในรายวิชาที่ผู้สอนสอนได้
2.4 การตรวจสอบสถิติการใช้งานของผู้เรียนแต่ละรายวิชา
2.5 การมีอำนาจในการกำหนดสิทธิในการทำงานภายในวิชาของผู้เรียน
2.6 การเขียนคำประกาศ นัดหมาย หรือ มอบหมายพร้อมคำอธิบายเนื้อหาในแต่ละ
รายวิชา และสามารถแก้ไขข้อมูลต่าง ๆ ได้ตลอดเวลา
2.7 การบรรจุเนื้อหาของรายวิชาได้ โดยป้อนผ่านแบบฟอร์มของระบบหรืออาจทำ
การดาวน์โหลดไฟล์มาเก็บไว้ได้ และการรองรับสื่อประสมได้
3) ผู้ดูแลระบบ (Administrator) จะมีฟังก์ชั่นการจัดการการใช้งานของผู้ใช้และในส่วนของ
การบริหารจัดการและการควบคุมระบบ ดังนี้
3.1 การกำหนดสถานะของผู้ใช้
3.2 การเพิ่ม ลบ และแก้ไขข้อมูลของผู้ใช้
3.3 การกำหนดขีดความสามารถการใช้งานของผู้ใช้
3.4 การเปลี่ยนแปลงชื่อและสัญลักษณ์บนเว็บไซต์
3.5 การเรียกดูสถิติ และการเข้าใช้งานของผู้ใช้ทั้งระบบ
3.6 การจัดการกับทุกรายวิชาที่อยู่บนระบบ
สรุป ลักษณะของโปรแกรมในส่วนของผู้ใช้ ประกอบด้วย 1) ผู้เรียนที่สามารถเข้าไปอ่านประกาศ
ดาวน์โหลดงานที่ผู้สอนมอบหมาย แสดงความคิดเห็นและ/หรือตั้งกระทู้ ส่งงานและการบ้าน
ทำแบบทดสอบและตรวจสอบผลได้ 2) ผู้สอนสามารถสร้างแบบทดสอบ และตรวจสอบคะแนน
ผู้เรียน ตรวจสอบสถิติการใช้งานของผู้เรียน เขียนคำประกาศ นัดหมายหรือมอบหมายงาน บรรจุ
เนื้อหาของรายวิชาลงระบบได้ โดยป้อนผ่านแบบฟอร์มของระบบหรืออาจทำการดาวน์โหลดไฟล์
มาเก็บไว้ได้ และสามารถรองรับสื่อประสมได้ และ 3) ผู้ดูแลระบบ สามารถกำหนดสถานะ เพิ่ม ลบ
และแก้ไขข้อมูล กำ หนดขีดความสามารถการใช้งาน เรียกดูสถิติ การเข้าใช้งานของผู้ใช้
เปลี่ยนแปลงชื่อและสัญลักษณ์บนเว็บไซต์ และจัดการกับทุกรายวิชาที่อยู่บนระบบได้
45
46
2.5 มาตรฐาน SCROM (Sharable Content Object Reference Model) [43]
2.5.1 ความเป็นมาของมาตรฐาน SCORM
SCORM ย่อมาจาก Shareable Content Object Reference Model เริ่มต้นพัฒนามาจากระทรวงกลาโหม
(The Department of Defense-DoD) ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อศึกษาปัญหาของความไม่เข้ากัน
(Incompatibility) ของระบบ e-Learning และเนื้อหาวิชาที่พัฒนาบนเพลตฟอร์มที่แตกต่างกันทำให้
ไม่สามารถใช้งานร่วมกันได้ ดังนั้น DoD จึงรวบรวมข้อกำหนดที่พัฒนาขึ้นมาก่อนแล้วเข้าด้วยกัน
ได้แก่ ระบบ EDUCAUSE Institutional Management System Project-IMS และ Activation Industry
CBT Committee-AICC เพื่อที่จะออกมาเป็นข้อกำหนดกลาง ผลจากความพยายามจึงมีการตั้ง
หน่วยงานความร่วมมือกันระหว่าง DoD รัฐบาล ภาคเอกชาและภาคการศึกษา จัดตั้งสถาบัน
Advanced Distributed Learning-ADL เมื่อปี 1997 และได้ออกข้อกำหนดแรกเวอร์ชั่น 1.0 เมื่อปี 2000
แต่เวอร์ชั่นที่ประสบความสำเร็จเป็นที่ยอมรับกันคือ ข้อกำหนด SCORM version 1.2 ซึ่งออกเมื่อ
เดือนตุลาคม ปี 2001 ปัจจุบันมีการพัฒนาถึงเวอร์ชั่น 2004
2.5.2 การกำหนดมาตรฐาน e-Learning
e-Learning มีการกำหนดมาตรฐานด้านต่าง ๆ เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกันในด้านต่าง ๆ ได้โดย
แบ่งเป็น 3 ด้าน คือ
1) การกำหนดคำอธิบายข้อมูลที่ใช้ในการสร้างเนื้อหา เรียกว่า Meta-data ปัจจุบัน Institute of
Electrical and Electronic Engineers-IEEE ได้ออกประกาศเป็นมาตรฐานแล้วคือมาตรฐาน Learning
Object Metadata-LOM หรือ IEEE 1484.12.1 และข้อกำหนด SCORM ได้นำมาตรฐาน LOM มาใช้
2) การบรรจุหีบห่อเนื้อหา (Content Packaging) เพื่อความสะดวกในการย้ายเนื้อหาจากระบบ
หนึ่งไปสู่อีกระบบหนึ่ง โดยอ้างอิงการทำ Packaging ตามข้อกำหนด IMS และ SCORM ใช้
ข้อกำหนดนี้เช่นกันในการทำ Packaging
3) ข้อกำหนดของวิธีติดต่อสื่อสารกันระหว่างเนื้อหาและระบบการจัดการ (Learning
Management System-LMS) ซึ่ง SCORM ได้ปรับปรุงข้อกำหนดดังกล่าวจากข้อกำหนดของ AICC
2.5.3 ข้อกำหนดมาตรฐาน SCORM
SCORM เป็นมาตรฐานที่มีข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดเก็บเนื้อหา (SCORM Content Aggregation
Model-CAM) และการติดต่อระหว่างระบบการจัดการและเนื้อหาการเรียน (SCORM run-time
Environment) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1) การจัดการเนื้อหา จุดประสงค์ของข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดการเนื้อหา เพื่อกำหนดวิธี
การรวมเนื้อหาการเรียน และการใช้งานระหว่างสิ่งแวดล้อมที่ต่างกัน โดย SCORM มองทรัพยากร
46
47
การบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนบนอินเทอร์เน็ต ของสถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร (ตอนที่ 1)
การบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนบนอินเทอร์เน็ต ของสถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร (ตอนที่ 2)
การบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนบนอินเทอร์เน็ต ของสถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร (ตอนที่ 3)