ศึกษาและโหลดฟรีเป็นตัวอย่างเกี่ยวกับงานวิจัย all free download research
วันเสาร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2554
ผู้นำำํ กับการมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุน หมู่บ้้า้น และชุมุมชนเมือง (ตอนที่ 3)
2. จากการศึกษาลักษณะการมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองพบว่า
สมาชิกมีส่วนร่วมในด้านการจัดตั้งและบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนมีจำนวนทั้งหมด 6 ด้าน ได้
แก่ การมีส่วนร่วมในด้านร่วมจัดตั้งกองทุน, ร่วมคัดเลือกคณะกรรมการ, ร่วมร่างระเบียบกองทุน,
ร่วมจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์และองค์กรชุมชน และ ร่วมแก้ไขปัญหาด้วยการศึกษาปัญหาที่แท้จริงของ
สมาชิกและใช้กองทุนเป็นแกนในการแก้ไขปัญหา
3. จากการค้นหาคุณลักษณะของผู้นำกองทุน และลักษณะการมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุน
ของชุมชนที่มีสมาชิกกองทุนเป็นสัดส่วนร้อยละ 60 ของจำนวนครัวเรือนในชุมชน กับชุมชนที่มี
สมาชิกกองทุนเป็นสัดส่วนร้อยละ 30 ของจำนวนครัวเรือนในชุมชน ผู้นำกองทุนในกลุ่มที่มีสมาชิก
กองทุนเป็นสัดส่วนร้อยละ 60 ของจำนวนครัวเรือนในชุมชนพบว่าบุคลิกภาพของผู้นำกองทุนมี
ลักษณะเฉพาะระหว่างกลุ่มร้อยละ60 และกลุ่มร้อยละ 30 คือ กลุ่มร้อยละ 60 มีจำนวนผู้นำกองทุน
มากกว่าผู้นำกองทุนในกลุ่มร้อยละ 30 ในด้าน การตัดสินใจดี, ตื่นตัว กระตือรือร้น พูดจริงทำจริง
แสวงหาความรู้ใหม่, มีความเชื่อมั่นในตนเอง, ขยัน อดทน เข้มแข็ง,เสียสละ เห็นแก่ประโยชน์ส่วน
รวม ซึ่งแสดงให้เห็นว่า บุคลิกภาพของผู้นำในด้านดังกล่าวมีผลทำให้กองทุนในชุมชนนั้นมีสมาชิกมาก
ถึงร้อยละ 60 ของจำนวนครัวเรือนในชุมชน บุคลิกภาพของผู้นำกองทุนในกลุ่มร้อยละ 30 ซึ่งไม่มีผล
ต่อการมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุนโดยทำให้มีปริมาณจำนวนสมาชิกถึงร้อยละ 60 ของจำนวนครัว
เรือนในชุมชน ได้แก่ การควบคุมอารมณ์ได้ มีจิตใจที่เข้มแข็ง อารมณ์ดี ใจเย็น, การเข้าสังคมได้ดี มี
ความอ่อนน้อมถ่อมตน มีอัธยาศัยดี เป็นที่ยอมรับของสมาชิก รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และ การมี
ความยุติธรรม มีเหตุผล และมีคุณธรรม
คุณสมบัติบุคลิกภาพร่วมหรือมีลักษณะเหมือนกันของผู้นำกองทุนทั้ง 2 กลุ่ม คือ การมี
ร่างกายแข็งแรง มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด มีความสามารถในการติดต่อสื่อสาร มีความคิดริเริ่มสร้าง
สรรค์ มีความรับผิดชอบ มีความปรารถนาที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่น และมีความน่าเกรงขาม กล่าวคือเป็น
บุคคลิกของผู้นำที่ทำให้เกิดการก่อตั้งกองทุนและการมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุน
ส่วนปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่อการเป็นผู้นำที่เป็นองค์ประกอบทั้ง 2 กลุ่ม ได้แก่ มีการศึกษาใน
ระดับปริญญาตรี มีประสบการณ์ความชำนาญเฉพาะด้านหรือจากอาชีพ, มีฐานะทางเศรษฐกิจดี, เป็น
คนในพื้นที่ตั้งแต่เกิดหรือตั้งแต่บรรพบุรุษ, มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับคนในชุมชน,ติดต่อประสานงาน
และติดตามผล, ร่วมกันพัฒนาชุมชน, มีวิสัยทัศน์ในการพัฒนา และการเปิดโอกาสให้ทุกคนแสดง
ความคิดเห็น
สำหรับองค์ประกอบด้านภาวะผู้นำของทั้ง 2 กลุ่มได้แก่ กระบวนการกลุ่ม คือการก่อตั้ง
กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองจนประสบผลสำเร็จ, การใช้ศิลปโน้มน้าวใจในด้านการพูดแบบปาก
ต่อปาก การเดินตามบ้าน การใช้แผ่นพับและป้ายประกาศ, มีอิทธิพลในการเปลี่ยนพฤติกรรมของคน
ในชุมชนหันมาสนใจและสมัครเป็นสมาชิกกองทุนและมีส่วนร่วมในการจัดการบริหารกองทุน และ
ภาวะผู้นำในด้านการเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายโดยการยึดมั่นการบริหาร
งานตามกฎระเบียบ ถูกต้อง มีความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้
101
ผลการศึกษาค้นหาการมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง พบว่า
สมาชิกมีส่วนร่วมในด้านการจัดตั้งและบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองมีจำนวนทั้งหมด 5 ด้าน
ได้แก่การมีส่วน ร่วมในด้านร่วมจัดตั้งกองทุน, ร่วมคัดเลือกคณะกรรมการ, ร่วมร่างระเบียบกองทุน,
ร่วมจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ และองค์กรชุมชน และลักษณะการมีส่วนร่วมที่มีลักษณะเฉพาะระหว่าง
กลุ่มคือ กองทุนร้อยละ 30 มีส่วนร่วมในแก้ไข ปัญหาด้วยการศึกษาปัญหาที่แท้จริงของสมาชิก
และใช้กองทุนเป็นแกนในการแก้ไขปัญหาประกอบกับความสมัครใจของประชาชนในแต่ละชุมชน เมื่อ
ประชาชนมีความสนใจ มีความรู้ความเข้าใจและเห็นประโยชน์ที่จะได้รับจึงมีการตัดสินใจเข้ามาสมัคร
เป็นสมาชิกกองทุน และทั้งนี้ผลจากการวิจัยยังพบว่ากลุ่มที่มีสมาชิกกองทุนเพียงร้อยละ 30 มีสาเหตุ
มาจาก
1. บุคลิกภาพของผู้นำ โดยเฉพาะกลุ่มร้อยละ 30 ผู้นำกองทุนเคยเป็นผู้บริหาร เป็นนักกฎหมาย
ได้แก่ ชุมชนวัดหงส์ วัดนาคกลาง และ ชุมชนวัดบางขุนนนท์ จึงทำให้เกิดความใกล้ชิด และมีความ
สัมพันธ์ระหว่างผู้นำกับประชาชนมีน้อย ขณะเดียวกันผู้นำที่เป็นนักกฎหมายเป็นประธานกองทุนที่
เคร่งครัดในเรื่องของระเบียบเป็นอย่างมาก ได้แก่ชุมชนวัดนาคกลาง
2. การอพยพย้ายถิ่นของประชาชน พบว่า แม้ว่าเป็นชุมชนใหญ่ใช้สิทธิน้อย เพราะประชาชนที่
ย้ายถิ่นเข้ามาประกอบอาชีพและทำมาหากินจะเข้ามาเป็นผู้อยู่อาศัยเท่านั้น ไม่ได้เข้ามาอยู่ในทะเบียน
บ้านตามกฎหมายจึงไม่มีสิทธิสมัครเป็นสมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ได้แก่ ชุมชนวัดหงส์
3. เศรษฐกิจชุมชน ในชุมชนที่ประชาชนมีการศึกษาดี มีหน้าที่การงานดี มีรายได้ดี จึงทำให้
เศรษฐกิจชุมชนมีความคล่องตัว มีปัญหาในด้านค่าครองชีพ เงินกู้นอกระบบ และอื่น ๆ ค่อนข้างน้อย
ประชาชนจึงมีความรู้สึกว่า การกู้ยืมเงินจากกองทุนเป็นการผูกพัน มีความยุ่งยากหลายขั้นตอน และมี
สิทธิ์ขอกู้ได้เพียง 20,000 บาทเท่านั้น ได้แก่ ชุมชนสุดสาคร และอีกลักษณะหนึ่งคือในชุมชนนั้น
ประชาชนมีรายได้จากงานประจำและรายได้ที่เกิดจากอาชีพเสริม จึงไม่คิดจะใช้สิทธิกู้ยืมเงินกองทุน
ซึ่งได้แก่ ชุมชนปรกอรุณ ชุมชนสุดสาคร
4. กฎระเบียบของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ปี 2544 ในระยะเริ่มต้นการมี
กฎระเบียบและขั้นตอนในการจัดตั้งกองทุนและการปล่อยเงินกู้อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการ
กำหนดสมาชิกกองทุนจะต้องมีอย่างน้อยไม่เกินร้อยละ 70 ของจำนวนครัวเรือนในชุมชนจึงส่งผลให้
กองทุนที่ก่อตั้งในระยะเริ่มแรกมีจำนวนสมาชิกตามกฎระเบียบกองทุนเป็นหลักมิได้ขึ้นอยู่กับ
คุณลักษณะของผู้นำดังกล่าว ได้แก่ ชุมชนพัฒนาซอย 79 ชุมชนคลองสวนพริก ชุมชนวัดเทพากร
102
อภิปรายผล
5.1 คุณลักษณะผู้นำกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
ผลจากการศึกษาคุณลักษณะผู้นำกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองจากการวิเคราะห์บริบท
ของชุมชนทั้ง 10 ชุมชน มีบริบทของชุมชนใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการศึกษาประกอบกับคุณลักษณะ
ของผู้นำและการมีส่วนร่วมสรุปในภาพรวมได้ดังนี้
5.1.1 บริบทชุมชน ผลการศึกษา 10 ชุมชนพบว่า ชุมชนส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในที่ราบลุ่ม
มีน้ำท่วมขัง มลี กั ษณะทางกายภาพเป็นสวนผลไม้ ประชาชนส่วนใหญ ่ มอี าชพี ทาํ สวน และรับราชการ
ฐานะทางเศรษฐกิจของทั้ง 10 ชุมชนไม่ดีนัก สภาพทั่วไปของการตั้งบ้านเรือนอยู่ในสภาพแออัด มี
ผู้ย้ายถิ่นเข้ามาอยู่จำนวนมาก บางชุมชนมีสาธารณูปโภคไม่เพียงพอ ได้แก่ ชุมชนวัดเทพากร ชุมชน
คลองสวนพริก ชุมชนซอยพัฒนา 79 ปัญหาที่พบ ได้แก่ การรักษาความสะอาด การว่างงาน ยา
เสพติด ยุงลาย ความยากจน ศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาชาวบ้านที่พบ จัดออกเป็นกลุ่มต่างๆ ได้
ดังนี้
ภูมิปัญญาท้องถิ่น จากการศึกษาพบว่ามีประเพณีวัฒนธรรมสรุปได้ดังนี้
ด้านการแพทย์แผนไทย และการผลิตยาสมุนไพร ได้แก่ ชุมชนพัฒนาซอย 79
ชุมชนคลองสวนพริก
ด้านศิลปกรรม ได้แก่ ชุมชนพัฒนาซอย 79 มีการหล่อตุ๊กตาเลซิล ชุมชนวัดเทพากร
มีการทำหัวโขน ชุมชนสุดสาคร การขับร้องเพลงไทยเดิม
ด้านโภชนาการ ได้แก่ ชุมชนคลองสวนพริก มีการทำข้าวเหนียวมูน ชุมชนบางขุนนนท์
มีการทำขนมไทยโบราณ ชุมชนสุดสาคร มีการทำอาหาร ไทย จีน และขนมต่างๆ
ด้านเกษตรกรรมและการเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ ชุมชนชวนชื่น มีการเพาะชำไม้ดอก
ไม้ประดับ ชุมชนบางขุนนนท์ มีการเลี้ยงนกสวยงาม ชุมชนสุดสาคร มีการเพาะพันธุ์สุนัข ขยายพันธุ์
พืช เลี้ยงไก่ ปลา
ดา้ นหตั ถกรรม ได้แก ่ ชุมชนวัดอมรทายิการาม ชุมชนบางขุนนนท ์ มกี ารตดั เยบ็ เสอื้ ผา้
สำเร็จรูป ชุมชนสุดสาคร มีการปั้นพระ หล่อรูปพระ การลงรักปิดทองจักสานภาชนะโดยใช้ไม้ไผ่
103
องค์กรชุมชน จากการศึกษาพบว่า มีกลุ่มองค์กรชุมชนดังนี้
กลุ่มออมทรัพย์ ได้แก่ ชุมชนพัฒนาซอย 79 ชุมชนคลองสวนพริก ชุมชนชวนชื่น
ชมุ ชนวดั อมร ชุมชนวัดเทพากร ชุมชนวัดบางขุนนนท ์ ชุมชนสุดสาคร ชุมชนนาคกลาง ชุมชนวัดหงส์
กลุ่มต้านภัยยาเสพติด ได้แก่ ชุมชนพัฒนาซอย 79 ชุมชนเทพากร ชุมชนวัดหงส์
ชุมชนชวนชื่น
กลุ่มแอโรบิคออกกำลังกายเพื่อสุขภาพชุมชน ชุมชนพัฒนาซอย 79 ชุมชนบาง
ขุนนนท ชุมชนวัดเทพากร ชุมชนวัดอมร ชุมชนนาคกลาง
กลุ่มปราบยุงลาย ได้แก่ ชุมชนสวนพริก
กลุ่มอาสาสมัครป้องกันภัย ได้แก่ ชุมชนพัฒนาซอย 79 ชุมชนสวนพริก และชุมชน
ชวนชื่น
กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข ได้แก่ ชุมชนวัดหงส์ ชุมชนวัดอมร ชุมชนวัดนาคกลาง
กลุ่มผู้สูงอาย ุ ได้แก ่ ชุมชนวัดหงส ชุมชนบางขุนนนท ์ ชุมชนวัดเทพากร
ด้านประเพณีวัฒนธรรม จากการศึกษาพบว่ามีประเพณีวัฒนธรรมสรุปได้ดังนี้
ทำบุญตักบาตร ได้แก่ ชุมชนพัฒนาซอย 79 ชุมชนชวนชื่น ชุมชนวัดเทพากร
ชุมชนวัดนาคกลาง
ทำบุญประจำปี ได้แก่ ชุมชนคลองสวนพริก และมีการไหว้ศาลเจ้าพ่อเสือ
พระธรรมเทศนา ได้แก ่ ชุมชนสุดสาคร มที กุ วนั อาทติ ย ์ และ สวดมนต์ทุกวันพระ
ของชุมชนวัดอมรทายิการาม
5.1.2 คุณลักษณะผู้นำกองทุน
ผลการศึกษาคุณลักษณะผู้นำกองทุนสามารถแบ่งคุณลักษณะผู้นำออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
5.1.2.1 ผู้นำตามธรรมชาติ หรือ ผู้นำตามสถานการณ์ เป็นผู้นำที่มีลักษณะ ฉลาด
เห็นแก่ส่วนรวม สามารถติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นรู้เรื่อง เป็นที่ยอมรับของสมาชิกโดยอัตโนมัติ เป็นผู้ยึด
ถือหลักการ มีความรู้มีวิสัยทัศน์ที่ดี เป็นนักปฏิบัติ และเป็นผู้สร้างวัฒนธรรมใหม่ในการทำงาน นอก
จากนี้แล้วยังต้องมีความผูกพันอยู่ในชุมชนมานาน ทำงานด้วยความเสียสละโดยไม่คำนึงถึงผล
ประโยชน์ส่วนตัว ทำแล้วสบายใจ ภูมิใจที่ได้ทำและเสียสละรับใช้ชุมชนได้อย่างเต็มที่ ทั้งต่อสู้และ
พัฒนาเพราะอยากเห็นชุมชนมีความเจริญและพัฒนา (ไพบูลย์ วัฒนธรรม 2540: 93, 96) จากการ
ศึกษาครั้งนี้ดูได้จาก กรณีศึกษาที่ 1, 2, 6 และ 8 ซึ่งสอดคล้องประเวศ วะสี (2540:18-20) ที่
กล่าวว่าผู้นำตามธรรมชาติในกระบวนการชุมชนที่สมาชิกร่วมคิดร่วมทำจะเกิดผู้นำตามธรรมชาติเกิด
ขึ้นเสมอ เรียกว่าเกิดขึ้นร้อยละ 100 ผู้นำตามธรรมชาติจะมีลักษณะดังนี้คือ ฉลาด ผู้นำตามธรรม
ชาติจะเป็นคนฉลาดเสมอแต่ผู้นำ (ผู้ดำรงตำแหน่งประธานกองทุน) ที่ได้มาจากการแต่งตั้งหรือโดย
104
การเลือกตั้งไม่แน่ว่าจะเป็นคนฉลาด เพราะการแต่งตั้งและการเลือกตั้งมีเหตุปัจจัยที่ทำให้ไม่ได้ของ
แท้ แต่ในกระบวนการการร่วมคิดร่วมทำ ของแท้จะปรากฏตัวให้สมาชิกได้รับรู้เสมอ การเป็นคนเห็น
แก่ส่วนรวม ทำให้ส่วนรวมมีกำลัง ในกระบวนการทำงานร่วมกันความคิดเห็นแก่ตัวหรือความเห็นแก่
ส่วนรวมจะปรากฎให้ผู้คนรับรู้ เป็นคนติดต่อสื่อสารกับผู้คนรู้เรื่อง และ เป็นที่ยอมรับของสมาชิก
โดยอัตโนมัติ ทำให้องค์การราบรื่น มีความสุข และมีประสิทธิภาพซึ่งต่างจากการได้ผู้นำโดยวิธีอื่น
คนที่มีศักยภาพที่จะเป็นผู้นำ และผ่านกระบวนการทำงานร่วมกันจะทำให้ความเป็นผู้นำเกิดขึ้น หรือที่
เรียกว่า สถานการณ์สร้างผู้นำ กุญแจเรื่องนี้คือกระบวนการทำงานร่วมกันอันจักก่อให้เกิดผู้นำตาม
ธรรมชาติปรากฏตัวขึ้น
5.1.2.2 ผู้นำโดยกำเนิด เป็นผู้นำที่เกิดจากสภาพแวดล้อม ทัศนคติและแนวความคิด
ของบุคคล รวมทั้งความคาดหวังและการสนองตอบของผู้ตามตลอดจนถึงขึ้นอยู่กับเวลาและการมี
ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานของผู้นำ และจะได้รับการคัดเลือกจากคนอื่น ๆ ในกลุ่มเป็นผู้ที่มีความ
สามารถช่วยเหลือผู้อื่นในสิ่งที่ผู้อื่นร้องขอ สามารถชี้นำหนทางให้ผู้อื่นทำตามโดยผู้ตามให้ความเชื่อ
ฟัง ส่วนมากผู้นำประเภทนี้จะเป็นผู้มีฐานะทางเศรษฐกิจดี และมีการศึกษาดี (Fieldler 1967 :
38) จากการศึกษาครั้งนี้ดูได้จาก กรณีศึกษาที่ 3, 4, 5, 7, 9 และ 10 ผู้นำเช่นนี้สามารถก่อให้เกิด
ความ ก้าวหน้าและความเป็นกลุ่มก้อนในแต่ละด้านที่ผู้นำมีทักษะ ลักษณะของผู้นำเช่นนี้จะมี
ลักษณะที่บุคคลในสังคมให้การยอมรับไม่ว่าจะเป็นข้าราชการ นักการเมือง เจ้านาย หรือบุคคลต่าง ๆ
ที่คนในสังคมนั้นยอมรับนับถือ พูดจามีคนฟังและปฏิบัติตาม ประเวศ วะสี (2540 : 21) เช่น
ประธานกองทุนชุมชนปรกอรุณ ซึ่งเป็นผู้ที่มีคนยอมรับนับถือมาตั้งแต่สมัยบิดาซึ่งมีชื่อเสียงและเป็น
ครูสอนทางด้านศิลป จนกระทั่งตัวประธานเองประชาชนในชุมชนก็รู้จักกันเมื่อคนในชุมชนที่มีชะตา
กรรมร่วมกันมีจุดมุ่งหมายร่วมกันจึงกำหนดพฤติกรรมและกระบวนการคัดเลือกบุคคลที่มีภาวะผู้นำ
เข้ามาดำรงตำแหน่งประธานกองทุน คนในชุมชนให้ความสนใจและยอมรับการนำของผู้นำที่ดีเพราะ
เป็นปัจจัยต่อการก่อตั้งกองทุนให้ประสบผลสำเร็จและสามารถตอบสนองความต้องการของตนเอง
และความต้องการของกลุ่ม
ผลการศึกษาผู้นำกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองสรุปเป็นรายกรณีศึกษาได้ดังต่อไปนี้
กรณีศึกษาที่ 1 เป็นผู้นำกองทุนทำงานด้วยใจ มีจิตสำนึกรักชุมชนพร้อมทั้งทำทุกอย่างเพื่อ
พัฒนาชุมชนอย่างแท้จริงและมีความคิดว่าชุมชนเปรียบเสมือนบ้านของตนเอง กรณีศึกษาที่ 2 เป็น
ผู้นำที่มีบุคลิกภาพมีความเชื่อมั่นในตนเองสูง กล้าแสดงออก มีความคล่องตัว เป็นคนใจเย็น มีเหตุผล
ในการตัดสินใจ แก้ไขปัญหา และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ยิ้มรับกับปัญหาที่เกิดขึ้น รู้สึกภูมิใจที่
เสียสละรับใช้ชุมชนได้เต็มที่พร้อมที่จะทำอะไรก็ได้ที่ตนรักและถนัด ภาวะผู้นำสูง กรณีศึกษาที่ 3 ผู้
นำคือเป็นคนพูดจริงทำจริง มีความเชื่อมั่นในตนเองสูง มีความอดทนและเสียสละ และมีภาวะผู้นำใน
105
การเป็นแกนนำในการดำเนินการโครงการต่างๆ กรณีศึกษาที่ 4 มีความเข้มแข็ง มีความเชื่อมั่นตน
เองสูง มีความเด็ดเดี่ยว เมื่อตั้งใจแล้วต้องทำให้ได้ เป็นคนมีเหตุผลและกล้าแสดงออก มีภาวะผู้นำ ใช้
ครอบครัวเป็นต้นแบบในการประกอบอาชีพตัดเย็บเสื้อผ้าในรูปของอุตสาหกรรมในครัวเรือนมาแต่
บรรพบุรุษ เทคนิคการจูงใจโดยวิธีพูดแบบปากต่อปากและตัวต่อตัวเพื่อให้เห็นและเข้าใจประโยชน์
จากกองทุน กรณีศึกษาที่ 5 ผู้นำเป็นทหารมีความหนักแน่น มีความเข้มแข็งและอดทน มคี วามเปน็
ประชาธิปไตย มีภาวะผู้นำ เป็นแกนนำในการดำเนินการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เทคนิค
ในการจูงใจคือ การประชาสัมพันธ์ตามบ้าน กรณีศึกษาที่ 6 เป็นผู้นำที่มีอัธยาศัยดี ยอมรับฟังความ
คิดเห็นของผู้อื่น อ่อนน้อมถ่อมตน ยกย่องคนทำความดี มีความสามารถในการเจรจา เข้ากับเจ้าหน้าที่
ของราชการได้ดี ตัดสินใจแก้ไขปัญหาและแก้ไขสถานการณ์ได้ดี เป็นผู้ที่มีบุคลิกพิเศษ พูดเก่ง มีความ
คล่องตัว เข้ากับคนได้ง่ายและเป็นนักประชาสัมพันธ์ที่ดี เป็นตัวแทนกลุ่มเรียกร้องให้เข้ามาช่วยเหลือ
จัดตั้งชุมชนให้มีสภาพที่ดีขึ้น เทคนิคจูงใจ การประชาสัมพันธ์โดยใช้เสียงตามสาย แบบปากต่อปาก
ประกบแบบตัวต่อตัว และป้ายประกาศสื่อสิ่งพิมพ์ กรณีศึกษาที่ 7 เป็นผู้นำที่มีลักษณะน่าเกรงขาม มี
คุณธรรมให้เกียรติผู้ร่วมงาน ร่วมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีกระบวนการคิดและทำอย่างมีเหตุผล
มีภาวะผู้นำแบบผู้วางแผน การดำเนินงาน และบริหารจัดการทุกขั้นตอนในการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้าน
และชุมชนเมือง เทคนิคการจูงใจ โดยการติดป้ายประกาศ ใช้สภากาแฟเป็นศูนย์กลาง เป็นผู้ที่มีการ
ศึกษาสูง มีหน้าที่การงานที่ดี มีประสบการณ์ มีฐานะดี กรณีศึกษาที่ 8 เป็นผู้นำกองทุน เป็นผู้ให้
และเสียสละเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม มีความกระตือรือร้นในการทำงาน มีความรับผิดชอบ มีความ
เชื่อมั่น มีความคิดริเริ่มและสร้างสรรค์และมีมนุษยสัมพันธ์ มีความเป็นมิตรกับบุคคลทั่วไป จะเป็นผู้
นำที่มีความน่านับถือและศรัทธาของประชาชน กรณีศึกษาที่ 9 เป็นผู้มีศักยภาพในการแสดงความคิด
เห็น มีคุณธรรม มีความยุติธรรม ตัดสินใจและแก้ไขปัญหาอย่างมีเหตุผล มีจิตสำนึกที่จะพัฒนาชุมชน
โดยให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วม ภาวะผู้นำ เป็นวิทยากรบรรยายพิเศษทางด้านกฎหมาย การสืบทอด
วัฒนธรรมเดิมเพื่อให้คนรุ่นหลังมีจิตสำนึกรักชุมชน เทคนิคการจูงใจ ประชาสัมพันธ์โดยใช้เสียงตาม
สาย พูดคุยแบบปากต่อปาก โปสเตอร์ ปิดประกาศ จะเห็นได้ว่าเป็นผู้นำกองทุนที่มีการศึกษา มี
ความรู ้ มปี ระสบการณ ์ และหน้าที่การงานด ี กรณีศึกษาที่ 10 เป็นผู้มีอัธยาศัยดี มคี วามสงา่
อารมณ์ดี มีความคิดริเริ่มดีมีวิสัยทัศน์ ภาวะผู้นำมีการวางแผน การดำเนินงาน การจัดตั้งกองทุน
อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เทคนิคการจูงใจ ใช้วิธีการพูดคุยกับชาวบ้านตามบ้านเกี่ยวกับรายได้
ความคิดเห็นและความสนใจเกี่ยวกับกองทุน เป็นผู้นำกองทุนมีความเชื่อมั่นในตนเองสูง มีหน้าที่การ
งานดี มีประสบการณ์ การศึกษาให้ข้อสนับสนุนลักษณะผู้นำตามแนวคิดของ สุนทร โตรอด (2536 :
15) ที่กล่าวไว้ว่า ผู้นำมีความสัมพันธ์กับการกระทำของสมาชิก ด้วยการใช้กรรมวิธีต่างๆ สร้างความ
สนใจ จูงใจให้เกิดผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ และยังช่วยอธิบายลักษณะการใช้อิทธิพลจูงใจผู้
อื่น การเคารพยำเกรงบารมี การมีทรัพยากร และฐานะทางเศรษฐกิจที่เหนือกว่า ปรัชญา เวสารัชช์
(2526 : 333) ที่กล่าวว่าผู้นำสามารถทำให้ผู้อื่นส่วนมากซึ่งเป็นผู้ตามดำเนินไปในทิศทางและวิธีการ
ที่ผู้นำกำหนดหรือต้องการ อันที่จะทำให้กิจกรรมของกลุ่มดำเนินไปสู่เป้าหมายและความสำเร็จ อ๊อดเว
106
ทีด (Ordway Tead 1935 : 36) การที่กองทุนประสบความสำเร็จได้นั้นเพราะผู้นำเป็นปัจจัยสำคัญ
ในการก่อเกิดการเปลี่ยแปลงในการปฏิบัติงานและความก้าวหน้าแก่ผู้ร่วมปฏิบัติงานหรือสมาชิก รวม
ทั้งการเสริมสร้างองค์กรหรือกองทุนหมู่บ้านให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น คีธ เดวิส ( Keith Davis 1990 :
22)
5.2 ลักษณะการมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุน
ผลการศึกษาการมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุนพบว่า ในการดำเนินการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้าน
และชุมชนเมือง เป็นการดำเนินการที่ชุมชนเป็นผู้บริหารจัดการเองเพื่อให้การดำเนินงานประสบผล
สำเร็จ ซึ่งความสำเร็จของชุมชนจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยประชาชนในชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมกัน
ปรึกษาหารือในการดำเนินการจัดตั้งกองทุนเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนภายในชุมชน และเข้าร่วมสมัคร
เป็นสมาชิกกองทุน ซึ่งเป็นเป้าหมายของกองทุนหมู่บ้านในการมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุน การ
ดำเนินการจัดตั้งกองทุนตามโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองต้องอาศัยความพร้อม ความสน
ใจ และการมีส่วนร่วมของประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชนเมือง จากการศึกษากองทุนของทั้ง 10 ชุม
ชนซึ่งเป็นกองทุนที่ประสบความสำเร็จในการจัดตั้งกองทุนซึ่งต้องอาศัยอิทธิพลของผู้นำที่เข้ามามีบท
บาทและก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุน การมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุม
ชนเมืองของสมาชิกเกิดจากแรงจูงใจโน้มน้าวใจของผู้นำกองทุนจะเชิญชวนให้ประชาชนในชุมชนเกิด
ความเข้าใจ เกิดความสนใจ เห็นถึงประโยชน์ที่จะได้รับซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนที่
มีปัญหา เช่น มีรายได้น้อย ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย เช่นค่าเล่าเรียนของบุตร ค่ารักษาพยาบาล ทำให้
เกิดภาระเป็นหนี้นอกระบบจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนในชุมชนตัดสินใจเข้าร่วมเป็นสมาชิกกองทุน
หมู่บ้าน ด้านการพัฒนาชุมชนสมาชิกในชุมชนช่วยกันพัฒนาและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นร่วมกัน แก้ไข
ปัญหาที่เกิดขึ้นและร่วมมือกับชุมชนในกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน ผลจากการศึกษาการมีส่วนร่วม
ของสมาชิกกองทุนในส่วนนี้ให้ข้อสนับสนุนว่า การมีส่วนร่วมของสมาชิกตามความหมายขององค์กา
รสหประชาชาติที่ว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการพัฒนา ได้
แก่ การเข้าร่วมกิจกรรมอย่างกระตือรือร้น และมีพลังของประชาชน จะก่อให้เกิดการบรรลุเป้าหมาย
ของสังคม และการจัดสรรทรัพยากรต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม พร้อมทั้งการปฏิบัติตามแผนการหรือ
โครงการในรูปแบบต่างๆ ด้วยความสมัครใจจะก่อให้เกิดประสิทธิภาพ ซึ่งสอดคล้องกับผลงานวิจัย
ของ สุจินต์ ดาววีระกุล (2537 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน
ในโครงการพัฒนาหมู่บ้าน พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนได้แก่ ตำแหน่งทาง
สังคมในหมู่บ้าน การรู้สึกต่อความสำคัญต่อหมู่บ้าน ความกระตือรือร้นที่จะเข้าร่วมในการพัฒนากิจ
กรรมการพัฒนาหมู่บ้าน การได้รับการชักจูงจากกรรมการหมู่บ้าน และ สนิท ขาวสะอาด (2539 :
48) ได้ศึกษาบทบาทงานพัฒนา ชุมชนในการส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น พบว่า การพัฒนาบทบาท
ของผู้นำท้องถิ่นและการปูพื้นให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน ในลักษณะโครงการ
107
พัฒนาชุมชนต่าง ๆ ในพื้นที่ชนบท จะเป็นสิ่งสำคัญในการส่งเสริมให้ประชาชนได้เรียนรู้การปกครอง
ตนเองและรู้จักการเข้ามามีส่วนร่วมในการทำงาน รู้จักการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มเป็นทีม เพื่อช่วยกัน
ปรับปรุงพัฒนาให้ท้องถิ่นหมู่บ้านมีความเจริญขึ้นไป
ผลจากการศึกษาการมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุนยังพบว่า วิธีการจูงใจประชาชนให้เข้ามา
สมัครเป็นสมาชิก มีวิธีการจูงใจของผู้นำกองทุนเป็นปัจจัยที่สำคัญ และมีบทบาทในการจูงใจ โน้มน้าว
ใจประชาชนในชุมชนให้สมัครเข้าเป็นสมาชิกกองทุน ซึ่งเป็นลักษณะของการติดต่อสื่อสาร ซึ่งมีวิธีการ
ในการสื่อสาร หอกระจายข่าว ป้ายประชาสัมพันธ์ สื่อบุคคล
ผลจากการศึกษาด้านการสื่อสารประชาสัมพันธ์ พบว่า การสื่อสารแบบตัวต่อตัวเป็นวิธีการที่
ดีที่สุด ประหยัด รวมเร็วและมีประสิทธิภาพ มีความใกล้ชิดและเข้าถึงประชาชนและเป็นการสื่อสาร
แบบสองทางซึ่งพบได้จาก กรณีศึกษาที่ 1 และ กรณีศึกษาที่ 2 ที่ใช้การประชาสัมพันธ์แบบปากต่อ
ปาก กรณีศึกษาที่ 3 และกรณีศึกษาที่ 10 ใช้วิธีพูดคุยกับชาวบ้านทุกวัน กรณีศึกษาที่ 4 ทำความ
คุ้นเคยกับสมาชิก และเปิดเวทีชาวบ้าน กรณีศึกษาที่ 5 ผู้นำและกรรมการ จัดการแบ่งหน้าที่ความรับ
ผิดชอบเพื่อไปประชาสัมพันธ์ตามบ้านอย่างครอบคลุมและทั่วถึง กรณีศึกษาที่ 6 ใช้วิธีสร้างแกนนำ
เครือข่ายและขยายแกนนำเพื่อประชาสัมพันธ ์ กรณีศึกษาที่ 7 ใช้สภากาแฟเป็นศูนย์รวมในการพูดคุย
แบบปากต่อปาก กรณีศึกษาที่ 8 ใช้วิธีออกเสียงตามสายและให้คณะกรรมการกองทุนออกเชิญชวน
ตามบ้านทุกบ้าน
5.3 การค้นหาคุณลักษณะของผู้นำกับการมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุม
ชนเมือง
ผลการวิเคราะห ์ ค้นหาคุณลักษณะผู้นำกองทุน พบว่า คุณลักษณะเฉพาะผู้นำของผู้นำกอง
ทุน ในชุมชนที่มีสมาชิกร้อยละ 30 มีการศึกษาดี และอยู่ในระดับที่สูงกว่าผู้นำกองทุนที่มีสมาชิกร้อย
ละ 60 ประสบการณ์ของผู้นำอยู่ในระดับใกล้เคียงกัน บุคลิกภาพของผู้นำกองทุนมีลักษณะที่ดีเหมาะ
สมกับการเป็นผู้นำทุกชุมชน ฐานะทางด้านเศรษฐกิจของผู้นำชุมชนที่มีสมาชิกร้อยละ 30 มีฐานะที่ดี
มากกว่า ผู้นำกองทุนที่มีสมาชิกร้อยละ 60 ส่วนภาวะผู้นำกองทุนที่มีสมาชิกร้อยละ 30 ส่วนใหญ่เป็น
ผู้ที่มีวิสัยทัศน์ และมีวิธีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ และผู้นำกองทุนที่มีสมาชิกร้อยละ 60 ของ
จำนวนครัวเรือนในชุมชน เป็นผู้มีภาวะผู้นำสูงในด้านกล้าคิด กล้าทำ และกล้าตัดสินใจ และมีหลักใน
การบริหารเช่นเดียวกัน
ผลจากการวิเคราะห์เพื่อค้นหาคุณลักษณะเฉพาะการมีส่วนร่วมของผู้นำกับสมาชิกชุมชนที่มี
สมาชิกกองทุนร้อยละ 60 และ ร้อยละ 30 พบว่า ทั้ง 2 กลุ่มมีคุณลักษณะการมีส่วนร่วมของสมาชิก
กองทุนโดยรวมที่มีลักษณะเช่นเดียวกัน ได้แก่ การจัดตั้งกองทุน การคัดเลือกคณะกรรมการ ร่วมร่าง
108
ระเบียบกองทุน ร่วมบริหารกองทุน และร่วมจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์และองค์กรชุมชน นอกจากนี้ ยังพบ
คุณลักษณะเฉพาะการมีส่วนร่วมของกองทุนกลุ่มที่มีสมาชิกกองทุน ร้อยละ 30 คือ การมีส่วนร่วมใน
การแก้ไขปัญหาของสมาชิกโดยการสำรวจปัญหาที่แท้จริง และใช้กองทุนเป็นแกนหลักในการแก้ไข
ปัญหา
บุคลิกภาพของผู้นำกองทุนมีความคุณลักษณะเฉพาะระหว่างกลุ่มร้อยละ60 และกลุ่มร้อยละ 30
คือ กลุ่มร้อยละ 60 มีจำนวนผู้นำกองทุนมากกว่าผู้นำกองทุนในกลุ่มร้อยละ 30 ในด้าน การตัดสินใจ
ดี, ตื่นตัว กระตือรือร้น พูดจริงทำจริง แสวงหาความรู้ใหม่, มีความเชื่อมั่นในตนเอง, ขยัน อดทน
เข้มแข็ง,เสียสละ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม ซึ่งแสดงให้เห็นว่า บุคลิกภาพของผู้นำในด้านดังกล่าวมี
ผลทำให้กองทุนในชุมชนนั้นมีสมาชิกมากถึงร้อยละ 60 ของจำนวนครัวเรือนในชุมชน
บุคลิกภาพของผู้นำกองทุนในกลุ่มร้อยละ 30 ซึ่งไม่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุน
ให้มีปริมาณจำนวนสมาชิกถึงร้อยละ 60 ของจำนวนครัวเรือนในชุมชน ได้แก่ การควบคุมอารมณ์ได้
มีจิตใจที่เข้มแข็ง อารมณ์ดี ใจเย็น, การเข้าสังคมได้ดี มีความอ่อนน้อมถ่อมตน มีอัธยาศัยดี เป็นที่
ยอมรับของสมาชิก รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และ การมีความยุติธรรม มีเหตุผล มีคุณธรรม
จากการวิจัยครั้งนี้พบว่า มีความแตกต่างของจำนวนสมาชิกในกองทุนระหว่างชุมชนที่มีสมาชิก
ร้อยละ 60 ของจำนวนครัวเรือนในชุมชน กับ ชุมชนที่มีสมาชิกร้อยละ 30 ของจำนวนครัวเรือนใน
ชุมชน จากการวิเคราะห์และสังเคราะห์ในด้านบริบทชุมชน ซึ่งในการวิจัยครั้งนี้ได้ทำการศึกษาบริบท
ชุมชนเพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นและเพื่อการครอบคลุมเนื้อหาในส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องซึ่งทำให้เกิดการ
ค้นพบประเด็นสำคัญที่นอกเหนือจากกรอบที่กำหนดไว้และสามารถใช้วิเคราะห์เพื่อเป็นข้อมูล
สนับสนุนในการตอบปัญหาการวิจัยครั้งนี้ได้อีกประเด็นหนึ่งนั้นคือ จำนวนสมาชิกในชุมชนที่มีสมาชิก
ร้อยละ 30 ของจำนวนครัวเรือนในชุมชน นั้นมีจำนวนประชากรและจำนวนครัวเรือนในปริมาณที่มาก
กว่า นั้นคือมีจำนวนประชากรตั้งแต่ 932 ขึ้นไป ในขณะที่กลุ่มกองทุนชุมชนที่มีสมาชิกร้อยละ 60 ของ
จำนวนครัวเรือนในชุมชน มีจำนวนประชากรตั้งแต่ 593 คนขึ้นไป ในขณะเดียวกันยังพบว่า รายได้
ชุมชนที่มีสมาชิกร้อยละ 30 ของจำนวนครัวเรือนในชุมชนอยู่ในระดับพออยู่พอกินทั้งนี้เพราะหลาย
ชุมชนมีรายได้ประจำและมีอาชีพเสริม ได้แก ่ ชุมชนวัดบางขุนนนท ์ ชมุ ชนสดุ สาคร ชุมชนวัดเทพากร
มีการใช้จ่ายอย่างประหยัด ไม่ฟุ่มเฟือย ได้แก่ ชุมชนสุดสาคร ในขณะที่ ร้อยละ 60 พึ่งการกู้เงินนอก
ระบบ ซึ่งได้แก่ ชุมชนพัฒนา ซอย 79 และ ชุมชนคลองสวนพริก ชุมชนชวนชื่น ประชากรส่วนใหญ่
เป็นผู้อพยพย้ายถิ่น ไม่มีที่ทำกินเป็นของตนเอง จึงไม่มีรายได้ หรือมีรายได้ค่อนข้างน้อย หรือไม่พอ
กับรายจ่าย มีอาชีพรับจ้างทั่วไป
บุคลิกภาพของผู้นำ ที่เป็นคุณลักษณะเฉพาะของผู้นำกองทุนกลุ่มร้อยละ 30 นั้นคือ ผู้นำกอง
ทุนเคยเป็นผู้บริหาร เป็นนักกฎหมาย ได้แก่ ชุมชนวัดหงส์ วัดนาคกลาง และ ชุมชนวัดบางขุนนนท์
จึงทำให้เกิดความใกล้ชิดและความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำ กับประชาชนมีน้อย ขณะเดียวกัน ผู้นำที่
109
เป็นนักกฎหมายจะเป็นประธานกองทุนที่เคร่งครัดในเรื่องของระเบียบ เป็นอย่างมาก ได้แก่ ชุมชน
วัดนาคกลาง
การอพยพย้ายถิ่นของประชาชน พบว่า แม้ว่าเป็นชุมชนใหญ่ใช้สิทธิน้อย เพราะประชาชนที่
ย้ายถิ่นเข้ามาประกอบอาชีพและทำมาหากินจะเข้ามาเป็นผู้อยู่อาศัยเท่านั้น ไม่ได้เข้ามาอยู่ในทะเบียน
บ้านตามกฎหมายจึงไม่มีสิทธิสมัครเป็นสมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ได้แก่ ชุมชนวัดหงส์
เศรษฐกิจชุมชน ในชุมชนที่ประชาชนทีการศึกษาดี มีหน้าที่การงานดี มีรายได้ดี จึงทำให้
เศรษฐกิจชุมชนมีความคล่องตัว มีปัญหาในด้านค่าครองชีพ เงินกู้นอกระบบ และอื่น ๆ ค่อนข้างน้อย
ประชาชนจึงมีความรู้สึกว่าการกู้ยืมเงินจากกองทุนเป็นการผูกพัน มีความยุ่งยากหลายขั้นตอน และมี
สิทธิ์ขอกู้ได้เพียง 20,000 เท่านั้น ซึ่งได้แก่ ชุมชนสุดสาคร และอีกลักษณะหนึ่งที่สำคัญคือในชุมชน
นั้นประชาชนมีรายได้จากงานประจำและรายได้ที่เกิดจากอาชีพเสริม จึงไม่คิดจะใช้สิทธิกู้ยืมเงินกอง
ทุน ได้แก่ ชุมชนปรกอรุณ ชุมชนสุดสาคร
กฎระเบียบของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ปี 2544 ในระยะเริ่มต้นมีกฎระเบียบ
และขั้นตอนในการจัดตั้งกองทุนและการปล่อยเงินกู้อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำหนด
สมาชิกกองทุนจะต้องมีอย่างน้อยไม่เกินร้อยละ 70 ของจำนวนครัวเรือนในชุมชนจึงส่งผลให้กองทุนที่
ก่อตั้งในระยะเริ่มแรกมีจำนวนสมาชิกตามกฎระเบียบกองทุนเป็นหลักมิได้ขึ้นอยู่กับคุณลักษณะของ
ผู้นำดังกล่าว ได้แก่ ชุมชนพัฒนาซอย 79 ชุมชนคลองสวนพริก ชุมชนวัดเทพากร
จากประเด็นดังกล่าวที่นำเสนอข้างต้น แสดงให้เห็นว่า สาเหตุหนึ่งที่ทำให้การสมัครเข้าเป็น
สมาชิกมีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มชุมชนที่มีสมาชิกร้อยละ 30 ของจำนวนครัวเรือนในชุมชน
สมาชิกร้อยละ 60 ของจำนวนครัวเรือนในชุมชน นั้นคือ จำนวนประชากรในชุมชนทั้งสองกลุ่มมีความ
แตกต่างกัน ทำให้การสมัครเข้าเป็นสมาชิกกองทุนแตกต่างกัน โดย จำนวนประชากรในชุมชนของ
กลุ่มกองทุนที่มีสมาชิกร้อยละ 30 ของจำนวนครัวเรือนมีจำนวนประชากรในชุมชนมากกว่า แต่มี
จำนวนสมาชิกกองทุนเพียงร้อยละ 30 ของจำนวนครัวเรือน ชุมชนที่มีรายได้ประจำและมีอาชีพเสริม
มีการใช้จ่ายอย่างประหยัด ไม่ฟุ่มเฟือย จะเข้าร่วมในการเป็นสมาชิกกองทุนน้อยกว่า นอกจากนี้ยังพบ
ว่า ชุมชนที่มีประชากรในชุมชนส่วนใหญ่เป็นผู้อพยพย้ายถิ่น ไม่มีที่ทำกินเป็นของตนเอง ไม่มีรายได้
หรือมีรายได้ค่อยข้างน้อย มีการพึ่งพาเงินกู้นอกระบบ ประชากรในชุมชนนั้น ๆ จะเข้าร่วมในการเป็น
สมาชิกกองทุนมากกว่า
ในการวิจัยครั้งนี้จึงสรุปได้ว่า การที่ชุมชนมีจำนวนสมาชิกร้อยละ 30 และร้อยละ 60 ของ
จำนวนครัวเรือนในชุมชนนั้นขึ้นอยู่กับความต้องการของประชาชนในแต่ละชุมชนและขอกู้ยืมเงินกอง
ทุนเพื่อนำเงินไปประกอบอาชีพสร้างงาน สร้างรายได้ หรือเพื่อแก้ไขปัญหาในกรณีมีความจำเป็น
เร่งด่วน โดยผู้นำกองทุนจะเป็นผู้ชักจูงหรือโน้มน้าวใจประชาชนในชุมชนให้เข้าสมัครเป็นสมาชิก
และมีส่วนร่วม
110
การสนับสนุนจากรัฐ ผลจากการศึกษา การสนับสนุนจากรัฐ พบว่า ภาครัฐให้การสนับสนุน
ตามระเบียบของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง โดยมีเป้าหมายให้ประชาชนบริหารจัดการกองทุน
ด้วยตนเอง ภาครัฐให้การสนับสนุนด้านความรู้ และข้อมูลด้านต่างๆ เพื่อให้ชุมชนสามารถดำเนินการ
ได้ด้วยตนเอง และมีสถาบันราชภัฎที่รับผิดชอบในพื้นที่ให้การสนับสนุนด้านความรู้แก่ชุมชน จากการ
ศึกษาพบว่า สถาบันราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบพื้นที่โซนกรุงธนเหนือได้เข้าไป
ให้ความรู้และมีส่วนร่วมในการปฎิบัติร่วมกับคณะกรรมการกองทุน
ข้อเสนอแนะ
ผลจากการศึกษาครั้งนี้พบว่า ผู้นำกองทุนเป็นผู้มีความสำคัญ และมีบทบาทในการจูงใจ
โน้มน้าวใจประชาชนในชุมชนให้เข้าสมัครเป็นสมาชิกกองทุน ผู้นำกองทุนต้องสามารถติดต่อสื่อสาร
กับสมาชิกในชุมชน หน่วยงานของรัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการหรือนโยบาย
ที่ส่งผ่านไปยังคนในชุมชนให้ปฏิบัติตามหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนั้นจะต้องมีความสอดคล้องกับ
ความต้องการของคนในชุมชนเป็นอันดับแรกและเป็นสิ่งสำคัญที่สุด จากการศึกษาด้านการสื่อสารและ
การประชาสัมพันธ์พบว่า ชุมชนและผู้นำในด้านการมีส่วนร่วม ควรไดัรับการเผยแพร่ทั้งแบบทางการ
และไม่เป็นทางการ เพื่อให้เป็นแบบอย่างสำหรับชุมชนอื่น
ผลจากการศึกษาด้านวิธีการจูงใจ พบว่า ผู้นำกองทุนใช้วิธีการจูงใจต่างๆ เช่น การประชา
สัมพันธ์ผ่านหอกระจายข่าว ป้ายประชาสัมพันธ์ การเยี่ยมเยี่ยนสมาชิก สื่อบุคคลด้วยตัวต่อตัว ซึ่งเป็น
วิธีการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด เนื่องจากธรรมชาติของคนไทยต้องการติดต่อสื่อสารด้วยการพูดคุย
โดยตรง ทั้งนี้เพราะต้องการความรู้สึกจริงใจ การแสดงออกทั้งความปรารถนาทั้งกริยา ท่าทาง และ
การแสดงออกทางแววตา มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดและเป็นการสื่อสารได้ สองทางมากกว่ากรณีอื่น
ดังนั้นในการโน้มน้าวและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทัศนคติ และความเชื่อควรใช้วิธีการพูดคุยโดยตรงจึง
จะมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด
กองทุนหมู่บ้านเป็นนโยบายที่มีประสิทธิภาพต่อการแก้ไขปัญหาของคนในท้องถิ่นได้ดีใน
ระดับหนึ่ง ดังนั้นในหน่วยงานภาครัฐควรให้ความสำคัญในการให้ความรู้ในการศึกษาและดำเนินงาน
เช่น การฝึกอบรมเกี่ยวกับการบริหารจัดการ ด้านการบัญชี และส่งเสริมให้ผู้นำกองทุนสามารถปฏิบัติ
งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและสร้างความมั่นคงให้กับกองทุนและพัฒนาให้มีความเจริญก้าวหน้าต่อ
ไป
111
ผลจากการศึกษาด้านคุณลักษณะของผู้นำพบว่า คุณลักษณะของผู้นำมีผลต่อการมีส่วนร่วม
ของสมาชิก และส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ด้วยคุณลักษณะที่
สำคัญของผู้นำตามธรรมชาติและโดยกำเนิดในด้าน ความเชื่อมั่นในตนเอง ความเสียสละ และความมี
เหตุผลในการตัดสินใจ
ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรมีการศึกษาการมีส่วนร่วมของผู้นำกองทุนในเชิงปริมาณ เพื่อหาปัจจัยที่มีความ
สัมพันธ์ต่อการเข้าเป็นสมาชิกกองทุน
2. ควรมีการศึกษาเกี่ยวกับปัญหาการบริหารจัดการกองทุนที่ไม่ประสบผลสำเร็จ
3. ควรมีการศึกษาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกองทุนหมู่บ้านของชุมชนอื่น ในด้าน
ผู้นำ การบริหารจัดการ ยุทธศาสตร์การจูงใจในการเข้าเป็นสมาชิกกองทุน
4. ควรมีการศึกษาทัศนคติของผู้นำที่มีต่อกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
5. ควรทำการศึกษาการก่อเกิดผู้นำในลักษณะต่างๆเพื่อหาแนวทางในการสร้างและ
ส่งเสริมภาวะผู้นำให้มีศักยภาพและนำไปสู่การสร้างยุทธศาสตร์ในการพัฒนาต่อไป
บรรณานุกรม
กรมการฝึกหัดครู. (2528). รายงานประจำปีโครงการเสริมบทบาทผู้นำท้องถิ่นเพื่อการพัฒนา
ชนบทยากจน. กรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ.
กรรณิการ์ ชมดี. (2524). การมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ. ศึกษา
เฉพาะกรณีโครงการสารภี ต.ท่าช้าง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี วิทยานิพนธ์ปริญญา
สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและพลังงาน. (2526). รายงานการวิจัยเรื่องบทบาทของผู้นำ
ท้องถิ่นโครงการการสร้างงานในชนบท. เอกสารวิชาการ, กรุงเทพฯ : กรมวิชาการ.
เกรียงไกร จงเจริญ. (2535). ผู้นำกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของชุมชน. วิทยานิพนธ์ปริญญา
รัฐศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
คล่อง กล่อมเกลี้ยง. (2545, ธันวาคม 12). ประธานกองทุน, ชุมชนซอยสุดสาคร. สัมภาษณ์.
จิระวรรณ ตันภุรานันท. (2542). การมีส่วนร่วมและบทบาทผู้นำชุมชนไทยภูเขาในการจัดการ
วิทยุชุมชนจังหวัดแม่ฮ่องสอน. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญา นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขา
วิชานิเทศศาสตร์พัฒนาการ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จินตนา หิรัญวงศ์. (2545,พฤศจิกายน 18). ชุมชนวัดเทพากร. สัมภาษณ์.
เจริญ สมบุญ. (2545,ตุลาคม 31). ชุมชนวัดอมรทายิการาม. สัมภาษณ์.
ฉลวย ลอยถาดทอง. (2545, ธันวาคม 24). ชุมชนซอยสุดสาคร. สัมภาษณ์.
ชด แดงมณี. (2545,ตุลาคม 29). ชุมชนวัดอมรทายิการาม. สัมภาษณ์.
ชมนาด แก้วนิมิตร. (2542). บทบาทผู้นำชุมชนในการพัฒนาเศรษฐกิจและชุมชน. วิทยานิพนธ์
ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ชัยยงค์ บรรเจิดศิลป์. (2545,ตุลาคม 25). ประธานกองทุน, ชุมชนชวนชื่น . สัมภาษณ์.
โชติรัตน์ อภัยพลชาญ. (2545,พฤศจิกายน 6). ประธานกองทุน, ชุมชนปรกอรุณ. สัมภาษณ์.
ณรงค์ ศรีคร้าม. (2545, ธันวาคม 4). ชุมชนวัดบางขุนนนท์. สัมภาษณ์.
ทวีทอง หงษ์วิวัฒน์. บรรณาธิการ. (2527). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา. รายงานการ
ประชุมการมีส่วนร่วมของชุมชน นโยบาย และกลวิธี ณ โรงแรมสวนสามพราน 10-12
กุมภาพันธ์ 2527, นครปฐม : (อัดสำเนา).
ธีรภพ วรรณประเสริฐ. (2545, ตุลาคม 7). ชุมชนพัฒนาซอย 79. สัมภาษณ์.
ธงชัย สันติวงษ์. (2537). องค์การและการบริหาร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพาณิช.
ธรรมรส โชติกุญชร. (2519). มนุษยสัมพันธ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พิฆเนศ.
113
ธวัช เบญจาธิกุล. (2529). “ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเข้ามามีส่วนร่วมของชาวบ้านในการศึกษา :
หมู่บ้านชาวเขาชนะเลิศการประกวดหมู่บ้านพัฒนาตัวอย่างของศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์
ชาวเขา จังหวัดเชียงใหม่ ประจำปี พ.ศ. 2527”. วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตร
มหาบัณฑิต คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ธันยพร พงษ์โสภณ. (2539). บทบาทของพระสงฆ์ สื่อบุคคลในการชี้นำและปลุกจิตสำนึกประชา
ชนชนบทเพื่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น : ศึกษากรณี พระสังฆาธิการระดับเจ้า
อาวาส จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวารสารศาสตรมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นพรัตน์ มณีรัตน์. (2541). การสื่อสารในการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของชุมชนคีรีวง อ.ลานสกา
จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ปริญญาวารสารศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิพนธ์ อุทก. (2535). แบบผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาในเขต
กรุงเทพมหานครตามทฤษฎีสามมิติของเรดดิน. วิทยานิพนธ์การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
นิรติ ไชยกุล. (2522). การพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ไทยอนุเคราะห์ไทย.
บังอร ฤทธิ์ภักดี. (2528). การมีส่วนร่วมของประชาชนในงานสาธารณสุขมูลฐาน : กรณีศึกษา
ระดับปานกลาง. วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
บุญธัน ดอกไธสง. (2520). จิตวิทยาผู้นำและมนุษยสัมพันธ์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์
บุญชู ลับเหลี่ยม. (2545,พฤศจิกายน 10). ชุมชนปรกอรุณ. สัมภาษณ์.
ประเวศ วะสี. (2542). ผู้นำ พิมพ์ครั้งที่ 4 กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน.
ปรัชญา ธัญญาดี. (2546, มกราคม 25). ประธานกองทุน, ชุมชนวัดหงส์รัตนาราม. สัมภาษณ์.
ปรัชญา เวสารัชช์. (2528). รายงานการวิจัยการมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมเพื่อพัฒนา
ชนบท. กรุงเทพฯ: สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปรารถนา พ่วงบุญ. (2545,พฤศจิกายน 22). ชุมชนวัดเทพากร. สัมภาษณ์.
ปราณี พันธุมสินชัย ในสมฤดี นิโครวัฒนยิ่งยงและคณะ (บก.). (2536). “การรับฟังความคิดเห็น
ของประชาชน”. สิ่งแวดล้อม 36. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
ปรานี หมอนทองแดง. (2533). ทิศทางการพึ่งตนเองในสังคมที่กำลังเปลี่ยนไป. วิทยานิพนธ์
ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปรีชา อำพันหอม. (2546, มกราคม 11). ชุมชนวัดนาคกลาง. สัมภาษณ์.
114
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต). (2542). ผู้นำ พิมพ์ครั้งที่ 4 กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน.
พิชิต บุษปาคม. (2546, มกราคม 3). ประธานกองทุน, ชุมชนวัดนาคกลาง. สัมภาษณ์.
พรรณิภา อุ่นแจ่ม. (2545, ตุลาคม 5). ชุมชนพัฒนาซอย 79. สัมภาษณ์.
พยงุ ศกั ด์ิ ปัทมานนท. (2545, ธันวาคม 1). ประธานกองทุน, ชุมชนวัดบางขุนนนท. สัมภาษณ.์
ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม. (2542). ผู้นำ พิมพ์ครั้งที่ 4 กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน.
ไพรัตน์ เตชะรินทร์. (2527). นโยบายและกลวิธีการมีส่วนร่วมของชุมชนในยุทธศาสตร์การพัฒนา
ปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.
ไพศาล ตราชูวณิช. (2546, มกราคม 20). ชุมชนวัดนาคกลาง. สัมภาษณ์.
มะลิ ศรีรัตน์ (2546,กุมภาพันธ์ 12). ชุมชนวัดหงส์รัตนาราม. สัมภาษณ์.
เมฆินทร์ จิตแผ้ว. (2545,ตุลาคม 10). ชุมชนพัฒนาซอย 79. สัมภาษณ์.
ยุวัฒน์ วุฒิเมธี. (2534). การพัฒนาชุมชนจากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ :
สำนักพิมพ์ห้างหุ้นส่วนจำกัด.
_______.(2534). การพัฒนาชุมชนจากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด
บางกอกบล็อก.
รุ่งรัตน์ กะปัตถา. (2545,ตุลาคม 21). ชุมชนคลองสวนพริก. สัมภาษณ์.
รัตนชัย บุญศรี. (2545,ตุลาคม 27). ประธานกองทุน, ชุมชนวัดอมรทายิการาม. สัมภาษณ์.
วารี เจริญสกุลไชย. (2537). การมีส่วนร่วมของสตรีระดับผู้บริหารในการประกอบการธุรกิจขนาด
ย่อม. วิทยานิพนธ์หลักสูตรพัฒนาบริหารศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาสังคม) สถาบันบัณฑิต
พัฒนาบริหารศาสตร์.
วิรัตน์ สมตน. (2523). งานส่งเสริมการเกษตรและการพัฒนาชนบท. ม.ป.ท. (เอกสารอัดสำเนา).
สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ และคณะ. (2540). ภาวะผู้นำความสำคัญต่ออนาคตไทย. กรุงเทพฯ : สำนัก
พิมพ์ห้างหุ้นส่วนจำกัด.
สนธยา พลศรี. (2533). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
สมบูรณ์ แซโ่ คว้ . (2545, ธันวาคม 8). ชุมชนวัดบางขุนนนท. สัมภาษณ.์
สนิท ขาวสอาด. (2539). ปัจจัยสำคัญต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในระดับท้องถิ่น : ศึกษา
กรณีโครงการประเมินหมู่บ้านอำเภอเมืองนครพนมและอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม.
วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาการปกครอง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมบัติ เพ็งมารี. (2545, ธันวาคม 18). ชุมชนซอยสุดสาคร. สัมภาษณ์.
สมบัติ เสาร์แก้ว. (2536). บทบาทของคณะกรรมการหมู่บ้านในการบริหารและจัดการแหล่งน้ำ
ขนาดเล็ก. (อัดสำเนา). ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น .
สมพร เจริญพงศ์ (2544). พจนานุกรมไทยฉบับพิสดาร. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ธรรมสภาและ
สถาบันบันลือธรรม.
สมพงษ์ ตุ้มทอง. (2545,ตุลาคม 18). ชุมชนคลองสวนพริก. สัมภาษณ์.
115
สมยศ นาวีการ. (2525). การบริหารแบบมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์.
สมศักดิ์ ศรีสันติสุข. (2538). ระเบียบวีธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2 ขอนแก่น :
หจก.ขอนแก่นการพิมพ์.
สัญญา ศิวิโรจน์. (2541). ภาวะผู้นำเชิงการบริหารของปลัดกระทรวงมหาดไทย : ศึกษากรณีนาย
อนันต์ อนันตกูล. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2539 (ก). ทฤษฎีและกลยุทธการพัฒนาสังคม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬา
ลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
_______. (2543). ทฤษฎีสังคมวิทยาเนื้อหาและแนวทางการใช้ประโยชน์เบื้องต้น. กรุงเทพฯ :
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สันติสุข เทศประสิทธิ์. (2534). บทบาทองค์กรประชาชนในการพัฒนาเศรษฐกิจชนบท.
วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สำนักงานกองทุนเพื่อสังคม. (2544). กองทุนหมู่บ้าน : เป้าหมาย ยุทธศาสตร์ การบริหารจัดการ
ชุดความรู้เพื่อชุมชนลำดับท ี่ 1. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
สำนักงานกองทุนเพื่อสังคม. (2544). กองทุนหมู่บ้าน : เป้าหมาย ยุทธศาสตร์ การบริหารจัดการ.
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
แห่งชาติ. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ. สำนัก
งานเลขาธิการ นายกรัฐมนตรี.
สำนักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ. สำนักงานเลขาธิการ นายกรัฐมนตรี.
(2544). คู่มือสำหรับประชาชนเพื่อเตรียมการจัดตั้งและดำเนิน. กรุงเทพฯ : งานกองทุน
หมู่บ้านและชุมชนเมือง.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. สำนักนายกรัฐมนตรี. .(2544). แผน
พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8,9 พ.ศ. 2537-2544 กรุงเทพฯ: สำนัก
งานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ สำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ สำนักพัฒนาการฝึกหัดครู. (2544). วิจัยเชิงปฏิบัติการติดตามส่งเสริม
การบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ. กรุงเทพฯ : สำนักงานสภา
สถาบันราชภัฎ.
สำรวย ลาภขจร. (2545,ตุลาคม 16). ประธานกองทุน, ชุมชนคลองสวนพริก. สัมภาษณ์.
สิน สื่อสวน. (2530). ปัจจัยส่งเสริมการพัฒนาองค์กรประชาชนเมือง : ศึกษาเฉพาะกรณีสหกรณ์
เครดิตยูเนียน ชุมชนหลังบ้านมนังคศิลา เขตดุสิต. วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมสงเคราะห์
ศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ .
116
สุจินต์ ดาววีระกุล (2537). ปัจจัยที่มีผลการมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการพัฒนาหมูบ้าน :
ศึกษากรณีหมู่บ้านชนะเลิศการประกวดหมู่บ้านดีเด่น ระดับจังหวัดของจังหวัดนครสวรรค์
ประจำปี 2537. วิทยานิพนธ์หลักสูตร สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต คณะสังคม
สงเคราะห์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุนทร โตรอด.(2536). ความเป็นผู้นำทางการเมืองของพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ. วิทยานิพนธ์
ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุพิชชา อุ่นเรือน. (2546, กุมภาพันธ์ 5) ชุมชนวัดหงส์รัตนาราม. สัมภาษณ์.
สุภางค์ จันทวานิช. (2542). วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 8 กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวัฒน์ ศิริโภคาภิรมย์. (2540). อิทธิพลของผู้นำชุมชนที่มีต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของ
ประชาชน : ศึกษากรณีผู้นำชุมชนในเขตเทศบาลตำบลหัวหิน. วิทยานิพนธ์ปริญญา
รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวัฒน์ชัย สมเนตร. (2545,พฤศจิกายน 15). ประธานกองทุน, ชุมชนวัดเทพากร. สัมภาษณ์.
เสน่ห์ จามริก. (2527). นโยบาย กลวิธี การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน.
กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.
เสรี พงศ์พิศ. (2544). แนวคิด แนวปฏบิ ตั ิ ประสบการณ ์ กองทนุ หมบู่ า้ นสวสั ดกิ ารชมุ ชน.
กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ภูมิปัญญาไท.
อนันต์ อ่วมฉิม. (2545,ตุลาคม 2). ประธานกองทุน,ชุมชนพัฒนาซอย 79. สัมภาษณ์.
อนุภาพ ถิรลาภ. (2528). การวิเคราะห์เชิงสมมติฐาน การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา
ชนบท : ศึกษาเฉพาะกรณีอำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี. สารนิพนธ์
มหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อรุณ รักธรรม. (2523). การพัฒนาองค์การเพื่อการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
อรุณ สงผอม.(2533). กรรมวิธีของผู้นำท้องถิ่นในการพัฒนาชนบท. วิทยานิพนธ์ปริญญา
รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อาภรณ์พันธ์ จันทร์สว่าง. (2525). การพัฒนาบุคคล กลุ่มและชุมชน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อารมณ์ พาพันธ์. (2529). ภาวะผู้นำกับการพัฒนาหมู่บ้าน. สารนิพนธ์หลักสูตร ประกาศนียบัตร
บัณฑิต กรุงเทพฯ: สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน.
อำนาจ อนันตชัย. (2526) การพัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ : ฝ่ายการพิมพ์มหาวิทยาลัย
สุโขทัยธรรมาธิราช.
อุษณีย์ ศิริสุนทรไพบูลย์. (2538). แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการพัฒนาขนาด
ใหญ่ของรัฐ : ศึกษาเฉพาะโครงการเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำ. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศ
ศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
117
Alastair, While. (1982). “Why Community Participation? A Discussion of the Argument
Community Participation : Current Issue and lesson Learned”. New York : United
Nations Children’s Fund.
Burby. Raymend J. (1972). Fundamental of Leadership. Reading, Massachusetts Addison :
Wesley Pubishing Co.,.
Carter, J.M. and Uphoff Norman, Y. (1980) . Rural Development participation : for Project
Design Implementation and Evaluation. New York : The Rural Development Committee
Center International Studies : Cornell University.
Carter V. Crrd. (1959). Dictionary of Education P.167. New York : MC Craw Hill Book Cr.,
Ervin William. (1976). Participation Management : Concept Thery and Implementation.
United State of America : State University.
Fiedler, Fred E. (1967). A Theory of Leadership Effective ness. New York : McGraw Hill
Book Co.
Stogdill, Ralph M. (1974). Hand Book of Leadership. New York : Free Press.
Tead, Ordway. (1935) . The Art of Leadership. New York : McGraw Hill.
United Nation. (1981). Popaler Participation In Decision Making For Development, New York
: United Notwess Publication.
Whitehead T.N. (1963). Leadership in Free Society. Cambride : Harvard University Press.
ภาคผนวก ก
แนวทางการเก็บข้อมูล
แนวทางการเก็บข้อมูล
แนวทางการสัมภาษณ์
ผู้วิจัยใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก โดยการเข้าไปสร้างความคุ้นเคย ความเป็นกันเอง พูดคุย
แบบไม่เป็นทางการ คุยเรื่องทั่ว ๆ ไปกับกลุ่มตัวอย่างหลายครั้ง เข้าไปร่วมสังสรรค์และรับประทาน
อาหาร เพื่อให้กลุ่มตัวอย่างเกิดความไว้วางใจ ผู้วิจัยใช้แนวทางการสัมภาษณ์ ดังนี้
1. กลุ่มตัวอย่างเล่าถึงประวัติส่วนตัวเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ ภูมิลำเนาการศึกษา อาชีพ รายได้
สถานภาพการสมรส และประสบการณ์ของผู้นำ
2. ให้กลุ่มตัวอย่างเล่าถึงสภาพความเป็นอยู่โดยทั่วไป ได้แก่ บริบทของชุมชนทางด้านเศรษฐกิจ
สังคม วัฒนธรรม การเมือง ภูมิปัญญา และองค์การในชุมชน
3. แนวคำถามที่เกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุน กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง 1 ล้านบาทของชุมชน
- มีวิธีการอย่างไรในการจูงใจหรือโน้มน้าวใจประชาชนในชุมชนให้สมัครเข้าร่วมเป็นสมาชิก
กองทุน
- มีวิธีการบริหารจัดการกองทุนอย่างไร
- ประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดตั้งกองทุนมีอะไรบ้าง
- การได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐเป็นอย่างไร
- การมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุนในชุมชนเป็นอย่างไร
การสังเกตการณ์
1. การสังเกตแบบมีส่วนร่วม โดยผู้วิจัยเข้าไปสังเกตการณ์ในการเข้าร่วมประชุมกับชุมชน
อย่างเป็นทางการในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชน เพื่อสังเกตพฤติกรรมของผู้นำกองทุนเกี่ยว
กับ บุคลิกภาพการเป็นผู้นำ ภาวะผู้นำในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาของผู้นำกองทุน
2. การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม โดยผู้วิจัยเข้าไปศึกษาชุมชนโดยการสังเกตการณ์เกี่ยวกับ
บริบทชุมชน วิถีชีวิตของประธานในชุมชนทั้งเข้าไปพูดคุยแบบไม่เป็นทางการกับผู้นำกองทุน
กรรมการกองทุน สมาชิกกองทุน และประธานในชุมชนเพื่อเก็บข้อมูลผู้นำกองทุนเกี่ยวกับสภาพความ
เป็นอยู่ วิถีการดำเนินชีวิต ที่อยู่อาศัย ฐานะทางเศรษฐกิจ การได้รับการยอมรับจากประชาชน
ภาคผนวก ข
ที่มาของผู้นำกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
ที่มาของผู้นำกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
ในการดำเนินการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง จะประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ได้
ตองอาศัยผู้นำ เพราะผู้นำกองทุนสามารถใช้ความเป็นผู้นำเข้าไปมีอิทธิพลในการเชิญชวน โน้มน้าว จูง
ใจประชาชนในชุมชนให้เข้าสมัครเป็นสมาชิก ดังนั้น ผู้นำกองทุนจึงมีบทบาทที่สำคัญซึ่งประชาชนใน
ชุมชนทุกคนจะต้องมามีส่วนร่วมในเวทีชาวบ้านเพื่อการจัดตั้งกองทุน
จากระเบียบข้อบังคับว่าด้วยการคัดเลือกคณะกรรมการกองทุน ซึ่งประกอบด้วย ประธาน
กรรมการกองทุน รองประธานกรรมการกองทุน เลขานุการ เหรัญญิก ผู้ตรวจสอบภายใน และประชา
สัมพันธ์ โดยผ่านกระบวนการเลือกสรรคณะกรรมการกองทุน ตามระเบียบของคณะกรรมการกองทุน
หมู่บ้านและชุมชนเมือง ดังนี้
√ องค์ประชุมของเวทีชาวบ้าน คือจำนวนสามในสี่ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมดของหมู่บ้าน หรือ
ชุมชนเมือง
√ ร่วมกันกำหนดวิธีการและดำเนินการเลือกกันเอง
√ เลือกคณะกรรมการกองทุน ในช่วงระยะเวลาที่คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
กำหนด
√ เลือกคนดีมีความรู้ ประสบการณ์ อีกทั้งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ตามที่คณะ
กรรมการ
กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติกำหนด
คุณสมบัติคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
√ ประชาชนร่วมกันคัดเลือกคนดีและมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ เป็นคณะกรรมการกองทุนเพื่อบริหาร
กองทุนของประชาชน
√ เป็นผู้ที่อยู่อาศัยในหมู่บ้านหรือชุมชนไม่น้อยกว่า 2 ปี
√ เป็นผู้ที่มีอายุ 20 ปีบริบูรณ์
√ เป็นผู้ปฏิบัติตนอยู่ในหลักศาสนา มีความรับผิดชอบ เสียสละ มีส่วนร่วมในกิจกรรมของหมู่บ้าน
และชุมชนเมือง ไม่ติดการพนัน ไม่ยุ่งเกี่ยวยาเสพติด ไม่มีประวัติเสียด้านการเงินและยึดมั่นระบอบ
ประชาธิปไตย
√ ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย หรือไร้ความสามารถ
√ ไม่เคยรับโทษจำคุก เว้นแต่โทษที่กระทำโดยประมาท
√ ไม่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ หรือไม่เคยกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพย์
เว้น
แต่ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์และความผิดฐานบุกรุก
√ ไม่เคยถูกไล่ออก หรือให้ออกจากราชการหรือรัฐวิสาหกิจ
√ ไม่เป็นผู้ไม่ไปใช้สิทธิ์ในการเลือกตั้ง
Π ไม่เคยถูกให้ออกจากคณะกรรมการกองทุน ด้วยมติของคณะกรรมการหรือมติของสมาชิก
ประวัติสำนักงานเขตบางกอกใหญ่
พื้นที่เขตบางกอกใหญ่เดิมเป็นที่ราบลุ่ม ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก เป็นเขตหัวเมืองฝ่ายใต้ขึ้น
ตรงต่อกรุงศรีอยุธยา พ.ศ.2310 เมื่อพม่ายึดกรุงศรีอยุธยาได้แล้ว ได้ใช้เมืองธนบุรีเป็นที่มั่นทางทะเล
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รวบรวมคนไทยตีเมืองธนบุรีคืนจากพม่า เมื่อประกาศอิสรภาพแล้วจึงจัด
ตั้งเมืองธนบุรีเป็นเมืองหลวง ซึ่งอยู่ในเขตท้องที่แขวงวัดอรุณในปัจจุบัน พ.ศ. 2535 สมเด็จพระพุทธ
ยอดฟ้าจุฬาโลก ขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ทรงเห็นว่ากรุงธนบุรีไม่เหมาะสมที่เป็นเมือง
หลวง จึงทรงตั้งเมืองใหม่และขนานนามว่ากรุงเทพมหานคร กรุงธนบุรี จึงมีสภาพเป็นเมืองหลวงเก่า
อันมีพระราชวังเดิม กำแพงเมือง ป้อมวิชัยประสิทธิ์ และวัดวาอารามต่าง ๆ เหลืออยู่เป็นอนุสรณ์จนถึง
ทุกวันนี้
พ.ศ. 2458 อำเภอบางกอกใหญ่มีฐานะเป็นอำเภอตามประกาศของกรมนครบาล ลงวันที่ 15
ตุลาคม 2458 ชื่อว่าอำเภอหงสาราม ริมคลองบางกอกใหญ่ฝั่งเหนือ พ.ศ. 2459 เปลี่ยนชื่ออำเภอหงสา
รามเป็นอำเภอบางกอกใหญ่ พ.ศ. 2481 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้ายุบอำเภอบางกอกใหญ่ เป็นกิ่ง
อำเภอบางกอกใหญ่อยู่ในการปกครองของอำเภอบางยี่ขัน จังหวัดธนบุรี พ.ศ. 2501 มีพระราชกฤษฎีกา
ตั้งกิ่งอำเภอบางกอกใหญ่ เป็นอำเภอบางกอกใหญ่
พ.ศ. 2515 มีประกาศคณะปฏิวัต ิ ฉบับที่ 335 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ให้อำเภอมีฐานะเป็น
เขต อำเภอบางกอกใหญ่จึงมีฐานะเป็นเขตบางกอกใหญ่ และสำนักงานเขตบางกอกใหญ่ ตามพระราช
บัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ตามลำดับ
สำนักงานเขตบางกอกใหญ่ เดิมตั้งอยู่ในที่ดินของวัดหงส์รัตนาราม ริมคลองบางกอกใหญ่ฝั่ง
เหนือ ซึ่งเป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอเดิมตั้งแต่ พ.ศ. 2458 มีเนื้อที่ประมาณ 275.22 ตารางวา ในปี พ.ศ.
2529 พลตรีจำลอง ศรีเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้เดินทางมาตรวจเยี่ยมสำนักงานเขตบางกอก
ใหญ่และได้เห็นสภาพถนน ทางเข้าออกสำนักงานซึ่งคับแคบ รถยนต์ผ่านเข้าออกไม่สะดวก ประกอบ
กับอาคารสำนักงานเขตมีพื้นที่ใช้สอยไม่เพียงพอ ทำให้ประชาชนไม่ได้รับความสะดวกในการติดต่อ
ราชการ จึงได้ให้นโยบายแก่ผู้อำนวยการเขตบางกอกใหญ่ ในสมัยนั้น ( นายสุทธิชัย ทรรศนสฤษดิ์ )
จัดหาสถานที่เพื่อก่อสร้างสำนักงานเขตแห่งใหม่ ซึ่งจากการตรวจสอบที่ดินในพื้นที่เขตพบว่ามีที่ดิน
ของกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ซึ่งอยู่บริเวณริมคลองบางกอกใหญ่ใกล้กับสี่แยกท่าพระ มีทำเลดี
เหมาะสมสำหรับเป็นที่ตั้งสำนักงานเขต จึงได้หารือผู้บังคับบัญชาเพื่อขออนุญาตใช้ที่ดินบริเวณดังกล่าว
จากกรมธนารักษ์
กรมธนารักษ์แจ้งว่าที่ดินบริเวณดังกล่าวได้อนุญาตให้สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่ง
ชาติ กรมศิลปากร ใช้ก่อสร้างสำนักงานไปก่อนหน้านี้แล้ว แต่ยังไม่ได้ดำเนินการใด ๆ เนื่องจากอยู่
ระหว่างการพิจารณาเลือกทำเลอื่นที่ดีกว่า ดังนั้น จึงได้มีการประสานและเจรจาตกลงกับสำนักงานคณะ
กรรมการวฒั นธรรมแหง่ ชาตแิ ละกรมธนารกั ษ์ จนในที่สุดสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาต ิ
ยินยอมส่งคืนที่ดินให้แก่กรมธนารักษ์ และกรมธนารักษ์อนุญาตให้กรุงเทพมหานครใช้ที่ดินดังกล่าวได้
ซึ่งการดำเนินการเจรจาขอใช้ที่ดินในครั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(ร้อยโทหญิงหรรษา แก้ว
บัณฑิต) และคุณพิพัฒน์ พิชิตพล สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ในสมัยนั้น เป็นผู้มีส่วนสำคัญในการ
ช่วยเจรจาประสานงานกับกรมธนารักษ์มาโดยตลอด และรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (พ.อ.บวร
งามเกษม) เป็นผู้ให้การสนับสนุนและขอจัดสรรเงินงบประมาณให้สำนักงานเขต โดยใช้เงินในการก่อ
สร้าง 19,657,480 บาท สร้างเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2531สำนักงานเขตบางกอกใหญ่ มีเนื้อที่ประมาร 2
ไร่ 21 ตารางวา สร้างเป็นอาคาร 4 ชั้น จำนวน 1 หลัง อาคาร 2 ชั้น จำนวน 1 หลัง และทำพิธีเปิดที่ทำ
การแห่งใหม่อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2532 และต่อมาอาคารทั้ง 2 หลัง ได้ขยายเพิ่มขึ้น
อีกหลังละ 1 ชั้น สำหรับสำนักงานเขต(เดิม) ปัจจุบันเป็นที่ทำการของศูนย์บริการ
ภาคผนวก ค
แสดงระยะเวลาในการสัมภาษณ์และการจัดเก็บข้อมูล
แสดงระยะเวลาในการสัมภาษณ์และการจัดเก็บข้อมูล
ลำดับที่ บุคคล อายุ/ปี วัน/เดือน/ ปี
1 นายอนันต์ อ่วมฉิม 69 2 ตค.45
2 นางพรรณิภา อุ่นแจ่ม 42 5 ตค.45
3 นายธีรภพ วรรณประเสริฐ 40 7 ตค.45
4 นายเมฆินทร์ จิตแผ้ว 70 10 ตค.45
5 นายสำรวย ลาภขจร 62 16 ตค.45
6 นายสมพงษ์ ตุ้มทอง 64 18 ตค.45
7 นางรุ่งรัตน์ กะปัตถา 28 21 ตค.45
8 นายชัยยงค์ บรรเจิดศิลป์ 46 25 ตค.45
9 นายรัตนชัย บุญศรี 40 27 ตค.45
10 พ.อ.อ.ชด แดงมณี 63 29 ตค.45
11 นายเจริญ สมบุญ 62 31 ตค.45
12 นาวาเอกพิเศษ โชติรัตน์ อภัยพลชาญ 67 6 พย.45
13 นายบุญชู ลับเหลี่ยม 63 10 พย.45
14 นายสุวัฒน์ชัย สมเนตร 65 15 พย.45
15 นางจินตนา หิรัญวงศ์ 45 18 พย.45
16 นางปรารถนา พ่วงบุญ 39 22 พย.45
17 นายพยุงศักดิ์ ปัทมานนท์ 62 1 ธค.45
18 นายณรงค์ ศรีคร้าม 56 4 ธค.45
19 นายสมบูรณ์ แซ่โค้ว 32 8 ธค.45
20 นายคล่อง กล่อมเกลี้ยง 65 12 ธค.45
21 นายสมบัติ เพ็งมารี 39 18 ธค.45
22 นางฉลวย ลอยถาดทอง 50 24 ธค.45
23 นายพิชิต บุษปาคม 62 3 มค.46
24 นายปรีชา อำพันหอม 39 11 มค.46
25 นายไพศาล ตราขูวณิช 42 20 มค.46
26 นายปรัชญา ธัญญาดี 65 25 มค.46
27 นางสุพิชชา อุ่นเรือน 40 5 กพ.46
28 นางมะลิ ศรีรัตน์ 58 12 กพ.46
ภาคผนวก ง
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ว่าด้วยการจัดตั้งและบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
แห่งชาติ พ.ศ.2544
(สำเนา)
ตราครุฑ
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ว่าด้วยการจัดตั้งและบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๔
โดยที่รัฐบาลมีนโยบายเร่งด่วนในการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติสำหรับ
เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนในหมู่บ้านและชุมชนเมืองใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม อีกทั้งเพื่อ
ให้ท้องถิ่นมีขีดความสามารถในการจัดการระบบและบริหารจัดการเงินกองทุนของตนเอง เพื่อสร้าง
ศักยภาพในการสร้างเสริมความเข้มแข็งด้านสังคมและด้านเศรษฐกิจของประชาชนในหมู่บ้านและชุม
ชนเมืองสู่การพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน อันเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ รวมทั้งเสริม
สร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในอนาคต
เพื่อให้การดำเนินงานตามนโยบายเร่งด่วนดังกล่าวเป็นไปย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพและ
สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ได้แถลงต่อรัฐสภา อาศัยอำนาจตามความใน ข้อ ๑๐ (๘) แห่ง
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ.
๒๕๔๔ คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ จึงออกระเบียบไว้ ดังนี้
หมวดที่ ๑
ข้อความทั่วไป
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ว่าด้วยการจัดตั้งและบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ๒๕๔๔“
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในระเบียบนี้
“กองทุน” หมายความว่า กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการ
กำหนดให้เป็นหมู่บ้านตามระเบียบนี้
“หมู่บ้าน” หมายความว่า หมู่บ้านที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่
“ชุมชนเมือง” หมายความว่า ชุมชนซึ่งตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา เทศบาลใน
เขตปกครองท้องที่พิเศษและชุมชนอื่น ทั้งนี้ การจะกำหนดว่าชุมชนใดเป็นชุมชนเมือง ให้เป็นไปตาม
เงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านชุมชนเมืองแห่งชาติ
“คณะอนุกรรมการสนับสนุน” หมายความว่า คณะอนุกรรมการสนับสนุนการดำเนินงานกอง
ทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
“คณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับจังหวัด” หมายความว่า คณะอนุกรรมการสนับสนุนและ
ติดตามการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านระดับจังหวัดหรือกรุงเทพมหานคร
“คณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับอำเภอ” หมายความว่า คณะอนุกรรมการสนับสนุนและ
ติดตามการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านระดับอำเภอหรือเขต
“คณะกรรมการกองทุน” หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านหรือคณะกรรมการ
กองทุนชุมชนเมืองต่าง ๆ ตามระเบียบที่คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
กำหนด
“กรรมการกองทุน” หมายความว่า กรรมการในคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านหรือกรรมการ
ในคณะกรรมการกองทุนชุมชนเมือง
“สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
“ธนาคาร” หมายความว่า ธนาคารที่คณะกรรมการกำหนดให้บริหารจัดการกองทุน
“ครัวเรือน” หมายความว่า ครอบครัวตามทะเบียนบ้าน อันประกอบด้วยบิดา มารดา สามี
ภรรยา บุตร ญาติพี่น้อง เป็นต้น อยู่รวมกัน
“หัวหน้าครัวเรือน” หมายความว่า ผู้มีชื่อเป็นเจ้าบ้านตามทะเบียนบ้าน
“ตัวแทนครัวเรือน” หมายความว่า หัวหน้าครัวเรือนหรือบุคคลในครัวเรือน ซึ่งหัวหน้าครัว
เรือนมอบหมายเป็นหนังสือให้เป็นผู้แทนครัวเรือน
“หุ้น” หมายความว่า การออมทรัพย์ในรูปแบบหนึ่ง โดยมูลค่าของหุ้นให้เป็นไปตามที่กองทุน
กำหนด
“เงินฝากสัจจะ” หมายความว่า เงินที่สมาชิกตกลงที่จะฝากหรือออมไว้กับกองทุนตามแต่จะ
ตกลงกัน โดยให้ถือว่าเงินออมเป็นเงินสะสม และจะถอนหรือปิดบัญชีได้ก็ต่อเมื่อพ้นสภาพจากการ
เป็นสมาชิกตามระเบียบหรือข้อบังคับที่กองทุนกำหนด
“เงินรับฝาก” หมายความว่า เงินรับฝากประเภทต่าง ๆ นอกเหนือจากเงินออมตามที่กองทุน
กำหนด
“สมาชิก” หมายความว่า สมาชิกกองทุน
“ที่ประชุมสมาชิก” หมายความว่า ที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปีหรือที่ประชุมใหญ่วิสามัญ
ข้อที่ ๔ ให้ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติรักษาการ ตามระเบียบนี้
หมวดที่ ๒
กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ข้อ ๕ ปรัชญาหรือหลักการสำคัญของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ คือ
(๑) เสริมสร้างสำนึกความเป็นชุมชนและท้องถิ่น
(๒) ชุมชนเป็นผู้กำหนดอนาคต และจัดการหมู่บ้านและชุมชนด้วยคุณค่าและภูมิปัญญาของ
ตนเอง
(๓) เกื้อกูลประโยชน์ต่อผู้ด้อยโอกาสในหมู่บ้านและชุมชน
(๔) เชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างชุมชน ราชการ เอกชน และประชาสังคม
(๕) กระจายอำนาจให้ท้องถิ่นและพัฒนาประชาธิปไตยพื้นฐาน
ข้อ ๖ กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินการดังนี้
(๑) เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนในหมู่บ้านและชุมชนเมือง สำหรับการลงทุนเพื่อพัฒนาอาชีพ
สร้างงาน สร้างรายได้หรือเพิ่มรายได้ การลดรายจ่าย การบรรเทาเหตุฉุกเฉินและจำเป็นเร่งด่วน และ
สำหรับการนำไปสู่การสร้างกองทุนสวัสดิภาพที่ดีแก่ประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชน
(๒)ส่งเสริมและพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนเมืองให้มีชีดความสามารถในการจัดระบบและ
บริหารจัดการเงินทุนของตนเอง
(๓) เสริมสร้างกระบวนการพึ่งพาตนเองของหมู่บ้านและชุมชนเมืองในด้านการเรียนรู้ การ
สร้างและพัฒนาความคิดริเริ่ม เพื่อการแก้ไขปัญหา และเสริมสร้างศักยภาพ และ ส่งเสริมเศรษฐกิจ
พอเพียงในหมู่บ้านและชุมชนเมือง
(๔) กระตุ้นเศรษฐกิจในระดับฐานรากของประเทศ รวมทั้งเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจ
และสังคมของประเทศในอนาคต
(๕) เสริมสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนในหมู่บ้าน
หรือชุมชนเมือง
ข้อ ๗ กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ประกอบด้วยเงินและทรัพย์สิน ดังนี้
(๑) เงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดสรรให้
(๒) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้
(๓) เงินกู้ยืม
(๔) ดอกผลหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่เกิดจากกองทุน
(๕) เงินหรือทรัพย์สินอื่น ๆ ที่กองทุนได้รับ โดยไม่มีเงื่อนไขผูกพันหรือภาระติดพันอื่นใด
ข้อ ๘ ให้คณะกรรมการเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ “กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
แห่งชาติ” กับ ธนาคาร เพื่อสำรองจ่ายและเตรียมจัดสรรให้แก่กองทุนหมู่บ้านและกองทุนชุมชนเมือง
ให้ธนาคารโอนเงินจาก “บัญชีกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ” เข้าบัญชีกองทุน
หมู่บ้านหรือกองทุนชุมชนเมืองตามคำสั่งจ่ายของคณะกรรมการ
ข้อ ๙ ให้คณะกรรมการจัดสรรเงินจากกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ไปยังบัญชี
กองทุนหมู่บ้านและบัญชีกองทุนเมืองตามหมวด ๙ แห่งระเบียบนี้ บัญชีละหนึ่งล้านบาท ภายในระยะ
เวลาสามสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากคณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับจังหวัด
ในกรณีที่คณะกรรมการไม่สามารถจัดสรรเงินให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาที่กำหนดตามวรรค
หนึ่ง ให้ขยายระยะเวลาต่อได้อีกไม่เกินสิบห้าวัน
ข้อที่ ๑๐ ในการอนุมัติให้คณะกรรมการกองทุนเริ่มเข้าบริหารจัดการและเบิกจ่ายเงินจาก
บัญชีกองทุนหมู่บ้านหรือบัญชีกองทุนชุมชนเมือง ให้คณะกรรมการพิจารณาในหลักการ ดังนี้
(๑) ความพร้อม ความสนใจ และการมีส่วนร่วมของประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชนเมือง
รวมทั้งการแสดงออกอย่างชัดเจนซึ่งความพร้อมในการเข้าร่วมบริหารจัดการกองทุน และการควบคุม
ดูแลกันเองในการใช้ประโยชน์จากกองทุนของประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชนเมือง
(๒) ความพร้อมของคณะกรรมการกองทุนที่เป็นความพร้อมของบุคคล ด้านความรู้ และ
ประสบการณ์ในการบริหารจัดการกองทุนสังคมของหมู่บ้านหรือชุมชนเมือง เช่น กลุ่มออมทรัพย์
ธนาคารหมู่บ้าน กองทุนอาชีพ และกองทุนสวัสดิการ และความพร้อมในการเข้าบริหารจัดการกองทุน
(๓) การบริหารจัดการกองทุนที่สอดรับและเกื้อกูลกันในส่วนเงินอุดหนุนจากกองทุนหมู่บ้าน
และชุมชนเมืองแห่งชาติ และกองทุนทางสังคมหรือกองทุนที่หน่วยงานราชการจัดตั้งขึ้น
(๔) การมีระบบการตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานของคณะกรรมการกองทุนโดย
สมาชิก และมีตัวชี้วัดประสิทธิภาพการดำเนินกิจกรรมของกองทุนทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและการ
พึ่งพาตนเอง เพื่อความโปร่งใสและมีประสิทธิภาพสูงสุด
ภายใต้บังคับแห่งข้อ ๑๑ และบทบัญญัติในหมวด ๘ แห่งระเบียบนี้ เมื่อคณะกรรมการได้
อนุมัติให้คณะกรรมการกองทุนเริ่มเข้าบริหารจัดการและเบิกจ่ายเงินจากบัญชีกองทุนหมู่บ้านหรือ
บัญชีกองทุนเมืองแล้ว คณะกรรมการย่อมหมดอำนาจในการบริหารจัดการเงินกองทุน และจะเข้า
แทรกแซงการบริหารจัดการเงินกองทุนของคณะกรรมการกองทุนมิได้
ข้อ ๑๑ คณะกรรมการมีอำนาจระงับการจ่ายเงินจากบัญชีกองทุนหรือให้กองทุนชดใช้หรือให้
ส่งคืนเงินในกรณีที่กองทุนเบิกจ่ายไปแล้ว อันเนื่องจากมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าคณะกรรมการ
กองทุนไม่ปฏิบัติตามระเบียบหรือข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด หรือกระทำการอันอาจก่อให้เกิด
ความเสียหายต่อกองทุน
หมวด ๓
คณะอนุกรรมการสนับสนุนการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
ข้อ ๑๒ ให้มีคณะอนุกรรมการสนับสนุน ประกอบด้วย ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน
เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นรองประธานคนที่หนึ่ง เลขาธิการ
คณะกรรมากรข้าราชการพลเรือน เป็นรองประธานคนที่สองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ปลัด
กระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวง
อุตสาหกรรม ปลัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดทบวง
มหาวิทยาลัย ปลัดกระทรวงสาธารณสุขอธิบดีกรมการปกครอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร อธิบดี
กรมบัญชีกลาง อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน
ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ผู้ทรงคุณวุฒิจากองค์กรประชาชนจำนวนห้า
คน และผู้ทรงคุณวุฒิอื่นจำนวนห้าคน ซึ่งแต่งตั้งโดยประธานกรรมการ เป็นอนุกรรมการ ผู้แทนจาก
สำนักนายกรัฐมนตรี ที่ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ และผู้
แทนจากสำนักงาน เป็นอนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
ข้อ ๑๓ คณะอนุกรรมการสนับสนุนมีอำนาจหน้าท ี่ ดงั นี้
(๑) กำหนดแผนปฏิรูปการบริหารจัดการเงินกองทุนหมู่บ้านของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับ
การพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนเมืองให้เป็นไปตามแนวทางให้หมู่บ้านและชุมชนเมืองให้เป็นไปตามแนว
ทางให้หมู่บ้านและชุมชนเมืองเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา
(๒) สนับสนุนและพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถของคณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับ
จังหวัด ในการทำหน้าที่ให้การสนับสนุนด้านวิชาการและการจัดการแก่กองทุนอย่างมีประสิทธิภาพ
(๓) บูรณาการแผนงาน โครงการ กิจกรรม และงบประมาณ เพื่อสนับสนุนการดำเนินการ
กองทุน
(๔) ปรับปรุง แก้ไข ระเบียบ ข้อบังคับกองทุนตามแผนงานโครงการของรัฐซึ่งมีวัตถุประสงค์
ใกล้เคียงกับกองทุน เพื่อเอื้ออำนวยให้กลุ่มหรือองค์การในหมู่บ้าน สามารถรวมกองทุนอื่นหรือกอง
ทุนได้ตามวัตถุประสงค์
(๕) แต่งตั้งคณะทำงาน เพื่อช่วยดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการสนับสนุน
(๖) ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
หมวด ๔
คณะอนุกรรมการสนับสนุนและติดตามการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านระดับจังหวัด
ข้อ ๑๔ ให้มีคณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับจังหวัด ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็น
ประธาน ปลัดจังหวัด เป็นรองประธาน ผู้แทนคณะกรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งจากประธานกรรมการ
และผู้แทนหน่วยงานระดับจังหวัด ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุต
สาหกรรม กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อ
การเกษตรและสหกรณ์ สาธารณสุขจังหวัด เร่งรัดพัฒนาชนบทจังหวัด ประชาสัมพันธ์จังหวัด หัวหน้า
สำนักงานจังหวัด ผู้ทรงคุณวุฒิจากองค์กรประชาชนจำนวนห้าคน และผู้ทรงคุณวุฒิอื่นจำนวนห้าคน
ซึ่งแต่งตั้งโดยประธานกรรมการเป็นอนุกรรมการ และพัฒนาการจังหวัด เป็นอนุกรรมการและเลขานุ
การ
คณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับจังหวัดอาจจัดตั้งศูนย์ประสานงานคณะอนุกรรมการ
สนับสนุนระดับจังหวัด เพื่อทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของอนุกรรมการ
สำหรับกรุงเทพมหานคร ให้คณะอนุกรรมการดังกล่าวตามวรรคแรก ประกอบด้วย ปลัด
กรุงเทพมหานคร เป็นประธาน ผู้แทนการเคหะแห่งชาติ ผู้แทนคณะกรรมการซึ่งได้รับการแต่งตั้งจาก
ประธานกรรมการ ผู้แทนหน่วยงานระดับจังหวัด ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์
กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม กรมประชา
สัมพันธ์ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ ผู้ทรงคุณวุฒิจากองค์กรประชาชน
จำนวนห้าคน ผู้ทรงคุณวุฒิอื่นจำนวนห้าคนเป็นอนุกรรมการ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาชุมชน เป็น
อนุกรรมการและเลขานุการ
ข้อ ๑๕ ให้คณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับจังหวัดมีอำนาจหน้าท ี่ ดังนี้
(๑) รับขึ้นทะเบียนกองทุนตามระเบียบและวิธีปฎิบัติที่คณะกรรมการกำหนด
(๒) ให้ความเห็นผลการประเมินความพร้อมของกองทุน ซึ่งผ่านการประเมินของคณะ
อนุกรรมการสนับสนุนระดับอำเภอร่วมกับชุมชนตามระเบียบหรือวิธีปฏิบัติที่คณะกรรมการกำหนด
(๓) สนับสนุนให้เกิดการเตรียมความพร้อมของหมู่บ้านและชุมชนเมือง
(๔) ติดตาม ตรวจสอบการดำเนินงานของกองทุนในจังหวัด ให้เป็นไปตามระเบียบหรือวิธี
ปฏิบัติที่คณะกรรมการกำหนดเพื่อให้เกิดความโปร่งใสและบรรลุตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์
(๕) ประสานความร่วมมือเพื่อสนับสนุนด้านวิชาการและการจัดการให้สอดคล้องกับสภาพ
ปัญหาและความต้องการของกองทุนในจังหวัด
(๖) จัดทำระบบข้อมูลเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนต่าง ๆ ในจังหวัดเพื่อเผย
แพร่ ประชาสัมพันธ์แก่ประชาชนและส่วนที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ทราบ
(๗) รายงานผลการดำเนินงานของกองทุนในจังหวัดให้คณะกรรมการทราบตามระเบียบหรือ
วิธีปฏิบัติที่คณะกรรมการกำหนด
(๘) แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อช่วยดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการสนับสนุน
ระดับจังหวัด
(๙) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะอนุกรรมการสนับสนุนมอบหมาย
ให้คณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับจังหวัดแต่งตั้งคณะอนุกรรมการสนับสนุน ระดับอำเภอ
ประกอบด้วย นายอำเภอหรือผู้อำนวยการเขต เป็นประธานแล้วแต่กรณี ปลัดเทศบาล หรือปลัดเมือง
พัทยาแล้วแต่กรณี ปลัดอำเภอฝ่ายปกครองและพัฒนาหรือผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตแล้วแต่กรณี ผู้ทรง
คุณวุฒิจากองค์กรประชาชนและอื่น ๆ จำนวนไม่น้อยกว่าเจ็ดคนแต่ไม่เกินเก้าคน เป็นอนุกรรมการ
และพัฒนาการอำเภอ หรือหัวหน้าฝ่ายพัฒนาชุมชนแล้วแต่กรณี เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
คณะกรรมการสนับสนุนระดับอำเภอมีหน้าที่ประเมินความพร้อม สนับสนุนการเตรียมความ
พร้อม สร้างความเข้มแข็งของหมู่บ้านและชุมชนเมือง สนับสนุนและติดตามการดำเนินกิจกรรมของ
กองทุน และปฏิบัติหน้าที่ตามที่คณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับจังหวัดมอบหมาย
เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนกลไกของท้องถิ่นในการดำเนินการพัฒนา การเรียนรู้ร่วมกันในการ
บริหารการจัดการกองทุนด้วยความสมัครใจ ให้คณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับจังหวัดแต่งตั้งคณะ
ทำงานเครือข่ายชุมชนระดับอำเภอซึ่งประกอบด้วย ผู้แทนกลุ่มหรือองค์กรประชาชน เครือข่ายชุมชน
ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำธรรมชาติในท้องถิ่นที่มีความรู้หรือมีประสบการณ์ ด้านการพัฒนากองทุนหรือ
พัฒนาชุมชนท้องถิ่น ในจำนวนตามความเหมาะสมของพื้นท ี่ โดยให้มีบทบาทในการสนับสนุนการ
ปฏิบัติงานของคณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับอำเภอ
หมวด ๕
คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
ข้อ ๑๖ ให้กองทุนแต่ละกองทุนมีคณะกรรมการกองทุน จำนวนสิบห้าคน ประกอบด้วย
กรรมการซึ่งมาจากการคัดเลือกกันเองโดยสมาชิกซึ่งกรรมการดังกล่าวเป็บุคคลที่มีความรู้ ความ
สามารถ มีประสบการณ์ และมีความรับผิดชอบ ที่จะบริการจัดการกองทุน ซึ่งเป็นที่ยอมรับของประชา
ชนในหมู่บ้านและชุมชนเมือง และต้องมีคุณสมบัติตามข้อ ๑๗
หลักเกณฑ์และวิธีการในการคัดเลือกกรรมการกองทุนนั้นให้คณะกรรมการกองทุนออกข้อ
บังคับกองทุนตามมติของที่ประชุมสมาชิก
ข้อ ๑๗ กรรมการกองทุนต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะที่ต้องห้ามดังนี้
(๑) เป็นผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านและอาศัยอยู่ในหมู่บ้านติดต่อกันเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า
สองปี ก่อนวันที่ได้รับคัดเลือกเป็นกรรมการกองทุน
(๒) เป็นผู้บรรลุนิติภาวะโดยมีอายุยี่สิบปีบริบูรณ์
(๓) ปฏิบัติตนอยู่ในหลักศาสนา มีความรับผิดชอบ เสียสละ มีส่วนร่วมในกิจกรรมชุมชน ไม่
ติดการพนัน ไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งเสพติด และไม่มีประวัติเสียทางด้านการเงิน ตลอดจนยึดมั่นในการปก
ครองระบอบประชาธิปไตย
(๔) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๕) ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่
ได้กระทำโดยประมาท
(๖) ไม่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่ามีความผิดแต่รอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษใน
ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่หรือความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ยกเว้นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์และความ
ผิดฐานทำให้เสียทรัพย์และความผิดฐานบุกรุก
(๗) ไม่เคยถูกให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากราชการ องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ เพราะทุจริตต่อหน้าที่หรือสร้างความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่
ทางราชการ องค์กร หรือหน่วยงานที่สังกัด
(๘) ไม่เป็นผู้ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งที่เสียสิทธิตามมาตร ๖๘ วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐
(๙) ไม่เป็นผู้ที่เคยพ้นจากตำแหน่งคณะกรรมการกองทุนตามข้อ ๒๐ (๓) และ (๔)
ข้อ ๑๘ คณะกรรมการกองทุนมีอำนาจหน้าท ี่ ดงั นี้
(๑) บริหารจัดการกองทุน รวมทั้งตรวจสอบ กำกับ ดูแล จัดสรรผลประโยชน์ของเงินกองทุน
เพื่อสอดคล้องและเกื้อกูลกับกองทุนอื่น ๆ ที่มีอยู่แล้วในหมู่บ้าน
(๒) ออกระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์หรือวิธีการเกี่ยวกับการบริหารกองทุนที่ไม่ขัดแย้งกับ
ระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด และต้องได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมสมาชิก
(๓) รับสมาชิกและจัดทำทะเบียนสมาชิก ทั้งที่เป็นกลุ่ม องค์กรชุมชน หรือปัจเจกบุคคลใน
หมู่บ้านหรือชุมชนเมือง
(๔) สำรวจและจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ อุตสาหกรรมครัวเรือนและวิสาหกิจ
ชุมชนในเขตท้องที่หมู่บ้านหรือชุมชนเมืองนั้น ตลอดจนสำรวจและจัดทำข้อมูลดังกล่าวของกองทุน
อื่น ๆ ที่มีอยู่แล้วในหมู่บ้านหรือชุมชนเมือง
(๕) พิจารณาการให้กู้เงินตามระเบียบ หลักเกณฑ์และวิธีการที่กองทุนกำหนด
(๖) ทำนิติกรรมสัญญา หรือ ดำเนินการกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับภาระผูกพันของกองทุน
(๗) จัดหรือเรียกประชุมสมาชิกตามที่กำหนดหรือได้ตกลงกัน หรือตามที่สมาชิกจำนวนไม่
น้อยกว่าหนึ่งในห้าของสมาชิกทั้งหมดลงลายมือชื่อทำหนังสือร้องขอ และจะต้องดำเนินการให้แล้ว
เสร็จภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่รับคำร้อง
(๘) จัดทำบัญชีและส่งมอบเงินที่ได้รับการจัดสรร ดอกผล ผลตอบแทน หรือ รายได้ที่เกิดขึ้น
จากเงินที่ได้รับการจัดสรรจากคณะกรรมการคือให้แก่กองทุนให้ครบเต็มตามจำนวนที่ได้รับอนุมัติให้
เบิกจ่าย ในกรณีที่คณะกรรมการมีหนังสือหรือคำสั่งเป็นที่สุดเนื่องจากคณะกรรมการกองทุนไม่ปฏิบัติ
ตามหรือบริหารจัดการกองทุนให้เป็นไปตามระเบียบหรือข้อบังคับ ที่กองทุนกำหนด
(๙) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการกำหนดหรือมอบหมาย
ข้อ ๑๙ กรรมการกองทุนมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสองปี
ในกรณีที่กรรมการกองทุนพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ให้คณะกรรมการกองทุนประกอบด้วย
กรรมการกองทุนทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ และให้คณะกรรมการกองทุนจัดให้มีการคัดเลือกบุคคลเข้าดำรง
ตำแหน่งแทนกรรมการกองทุนซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำนหดไว้ใน
ข้อ ๑๖ ภายในระยะเวลาสามสิบวัน
กรรมการกองทุนซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับคัดเลือกอีกได้ แต่จะดำรงตำแหน่ง
เกินสองวาระติดต่อกันมิได้
ข้อ ๒๐ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระแล้ว กรรมการกองทุนพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓)คณะกรรมการกองทุนมีมติให้ออกด้วยคะแนนเสียงเกินกว่าสองในสามของจำนวน
กรรมการกองทุนทั้งหมดเท่าที่มีอยู่
(๔)ที่ประชุมสมาชิกมีมติให้ออกด้วยคะแนนเสียงเกินกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกทั้ง
หมด
(๕) มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ ๑๗ (๔)(๕)(๖) และ (๗)
(๖) คณะกรรมการให้ออก เนื่องจากมีหลักฐานอันควรรชื่อได้ว่าขาดคุณสมบัติและมีลักษณะ
ต้องห้ามตามข้อ ๑๗
ในกรณีที่กรรมการกองทุนพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ คณะกรรมการกองทุนอาจแต่งตั้งบุคคล
จากสมาชิกเข้าดำรงตำแหน่งกรรมการกองทุนแทนก็ได้ และให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งแทนอยู่ในตำแหน่งเท่า
กับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนเแทน
ให้นำบทบัญญัติในข้อ ๑๙ วรรคสาม มาใช้บังคับกับกรรมการกองทุนซึ่งพ้นจากตำแหน่งตาม
(๒) และ (๓)
ข้อ ๒๑ ให้คณะกรรมการกองทุนเลือกกรรมการด้วยกันเป็นประธานกรรมการกองทุนรอง
ประธานกรรมการกองทุน เหรัญญิกกองทุน และเลขานุการกองทุน
ข้อ ๒๒ การประชุมคณะกรรมการกองทุนต้องมีกรรมการมาประชุมเกินกึ่งหนึ่งของจำนวน
กรรมการกองทุนทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ในขณะนั้นจึงจะเป็นองค์ประชุมได้
ถ้าประธานกรรมการกองทุนไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานกรรมการ
กองทุนทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม ถ้าประธานกรรมการกองทุนและรองประธานกรรมการกองทุนไม่
มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่
ประชุม
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลง
คะแนนเสียง ถ้าคะแนนเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
กรรมการกองทุนผู้ใดมีส่วนได้ส่วนเสียเป็นส่วนตัวในเรื่องใด ห้ามมิให้เข้าร่วมประชุมในเรื่อง
นั้น
หมวด ๖
กองทุนและสมาชิกกองทุน
ข้อ ๒๓ กองทุนหมู่บ้านและกองทุนชุมชนเมือง อาจประกอบด้วยเงินและทรัพย์สิน ดังนี้
(๑) เงินที่ได้รับจัดสรรจากคณะกรรมการ
(๒) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้โดยปราศจากภาระผูกพัน
(๓) เงินกู้ยืม
(๔) ดอกผลหรือผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากกองทุน
(๕) เงินฝากสัจจะและเงินรับฝาก
(๖) เงินค่าหุ้น
(๗) เงินสมทบจากกลุ่มหรือองค์กรสมาชิก
(๘) เงินและทรัพย์สินอื่น ๆ ตามระเบียบที่กองทุนกำหนด
ข้อ ๒๔ สมาชิกกองทุน ประกอบด้วยบุคคลธรรมดาที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านนั้นและมีคุณสมบัติ
และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อกำหนดบังคับกองทุน
การรับสมัครสมาชิกและการขาดจากสมาชิกภาพของสมาชิก ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อน
ไข และวิธีการที่กองทุนกำหนด ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงความต้องการและการมีส่วนร่วมของประชาชนใน
หมู่บ้านหรือชุมชนเมืองเป็นหลัก
ข้อ ๒๕ คณะกรรมการกองทุนสามารถกำหนดระเบียบเกี่ยวกับการส่งเสริมสนับสนุน ให้
สมาชิกถือหุ้นของกองทุนหรือมีเงินฝากสัจจะไว้ที่กองทุน
ในการชำระค่าหุ้น สมาชิกอาจชำระเป็นเงิน ทรัพย์สิน หรือแรงงานตามหลักเกณฑ์และวิธีการ
ที่กองทุนกำหนด
ข้อ ๒๖ ให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปีผู้ถือหุ้นอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งภายในกำหนด
ระยะเวลาสิบห้าวัน นับจากวันที่กรรมการกองทุนพ้นจากตำแหน่งตามวาระ เพื่อพิจารณาผลการ
ดำเนินงานของคณะกรรมการกองทุนและรับรองคณะกรรมการกองทุนที่ได้รับเลือกใหม่
วิธีการในการเรียกประชุมให้เป็นไปตามที่กองทุนกำหนด โดยคำนึงถึงจารีตประเพณีของแต่
ละหมู่บ้านหรือชุมชนเมือง
ข้อ ๒๗ นอกจากการประชุมใหญ่สามัญประจำปีแล้ว คณะกรรมการกองทุน อาจเรียก
ประชุมวิสามัญเมื่อใดก็ได้เมื่อมีเหตุที่ต้องขอมติหรือขอความเห็นชอบจากที่ประชุมสมาชิกตาม
ระเบียบนี้ หรือเมื่อคณะกรรมการกองทุนจะเห็นสมควร
นอกจากนี้ตามวรรคหนึ่ง ให้คณะกรรมการกองทุนเรียกประชุมใหญ่วิสามัญภายในระยะเวลา
สิบห้าวัน นับแต่วันที่ไดรับการร้องขอเป็นหนังสือจากสมาชิกซึ่งเข้าชื่อกันมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งใน
ห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมด
ข้อ ๒๘ ในการประชุมสมาชิกต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้ง
หมด จึงจะเป็นองค์ประชุม
สมาชิกจะมอบอำนาจเป็นหนังสือให้บุคคลอื่นมาประชุมแทนตนก็ได้ แต่ผู้รับมอบอำนาจนั้น
จะรับมอบอำนาจจากสมาชิกเกินกว่าหนึ่งรายมิได้
การประชุมคราวใดมีสมาชิกมาประชุมไม่ครบองค์ประชุม ให้นัดประชุมอีกครั้งหนึ่งภายใน
สิบห้าวันนับแต่วันนัดประชุมครั้งแรก ในการประชุมครั้งหลังถ้ามิใช่เป็นการประชุมใหญ่สามัญประ
จำปี เมื่อมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดก็ให้ถือเป็นองค์ประชุม
ข้อ ๒๙ สมาชิกคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการออกเสียงลงคะแนน
ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก
หมวดที่ ๗
การกู้ยืมเงินกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
ข้อ ๓๐ สมาชิกตามข้อ ๑๘ (๓) ที่ประสงค์จะขอกู้เงินจากกองทุนต้องจัดทำคำขอกู้โดยระบุวัตถุ
ประสงค์ในการกู้ยืมเงินอย่างชัดเจน โดยให้ยื่นคำขอกู้ดังกล่าวต่อคณะกรรมการกองทุนให้คณะ
กรรมการกองทุนพิจารณาเงินกู้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กองทุนกำหนด
ข้อ ๓๑ คณะกรรมการกองทุนมีอำนาจในการอนุมัติเงินกู้รายหนึ่งไม่เกินจำนวนสองหมื่นบาท
ในกรณีที่คณะกรรมการกองทุนมีมติเห็นควรอนุมัติเงินกู้รายใดเกินกว่าจำนวนที่กำหนดไว้
ตามวรรคหนึ่งให้คณะกรรมการกองทุนเรียกประชุมสมาชิกเพื่อให้สมาชิกพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดต่อไป
แต่ทั้งนี้การอนุมัติเงินกู้รายหนึ่งต้องไม่เกินจำนวนห้าหมื่นบาท
การอนุมัติเงินกู้ฉุกเฉิน ให้คณะกรรมการกองทุนพิจารณาตามความเหมาะสมและจำเป็น
ข้อ ๓๒ ในกรณีที่คณะกรรมการกองทุนมีมติอนุมัติเงินกู้ยืมตามคำข้อทั้งหมด หรือบางส่วน
ให้บันทึกความเห็นในแบบคำขอกู้ยืมเงิน พร้อมทั้งส่งสำเนาแบบคำข้อกู้ยืมเงินตลอดจนเงื่อนไขและ
รายละเอียดในการอนุมัติเงินกู้ แจ้งให้ผู้ขอกู้และธนาคารรับทราบโดยเร็ว
ให้คณะกรรมการกองทุนแต่งตั้งผู้แทนกรรมการกองทุนอย่างน้อยสองคน เป็นผู้แทนคณะ
กรรมการกองทุนในการทำสัญญากู้ยืมเงินกับผู้ขอกู้ที่ได้รับอนุมัติเงินกู้
ให้ผู้ขอกู้ที่ได้รับอนุมัติเงินกู้ เปิดบัญชีออมทรัพย์กับธนาคาร และแจ้งหมายเลขบัญชีออม
ทรัพย์ให้คณะกรรมการกองทุนรับทราบโดยเร็ว
การโอนเงินเข้าบัญชีผู้กู้ตามวรรคสอง ธนาคารจะเป็นทำหน้าที่โอนเงินเข้าในบัญชีผู้กู้ที่ผ่าน
การพิจารณาอนุมัติจากคณะกรรมการกองทุน ตามคำสั่งและเงื่อนไขของคณะกรรมการกองทุน
ข้อ ๓๓ คณะกรรมการกองทุนอาจเรียกหลักประกันเงินกู้ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลหรือทรัพย์สิน
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กองทุนกำหนด
ข้อ ๓๔ ให้คณะกรรมการกองทุนกำหนดอัตราดอกเบี้ยหรือค่าตอบแทนเงินฝากและเงินกู้
เป็นอัตราที่แน่นอนตามความเห็นชอบจากที่ประชุมสมาชิก โดยคำนึงถึงจารีตประเพณี และสภาพ
เศรษฐกิจและสังคมในหมู่บ้านและชุมชนเมืองเป็นหลัก และปิดประกาศอัตราดอกเบี้ยหรือค่าตอบ
แทนดังกล่าวอย่างเปิดเผย
ข้อ ๓๕ การกำหนดระยะเวลาชำระคืนเงินกู้ ให้คณะกรรมการกองทุนพิจารณาตามความ
เหมาะสมแห่งสัญญาเงินกู้แต่ละราย การชำระคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยหรือค่าตอบแทนให้ผู้กู้ชำระให้
เสร็จสิ้นภายในกำหนดระยะเวลาไม่เกินหนึ่งปี นับแต่วันที่ทำสัญญา
การชำระคืนเงินกู้หรือเงินลงทุนทุกประเภท ผู้กู้หรือผู้ที่นำเงินไปลงทุนจะต้องนำเงินไปส่งคืน
ณ ธนาคาร และนำหลักฐานในการจัดทำบัญชีหรือดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๓๖ ในกรณีที่ผู้กู้ผิดสัญญาไม่ชำระคืนต้นเงินกู้พร้อมดอกเบี้ยหรือค่าตอบแทนตามเงื่อน
ไขที่กำหนดไว้ในสัญญากู้ยืมเงิน ให้ผู้กู้เสียเบี้ยปรับตามจำนวนที่ระเบียบหรือข้อบังคับที่กองทุน
กำหนดไว้อย่างแน่นอนสำหรับจำนวนที่ขาดหรือค้างชำระ เว้นแต่ผู้กู้ได้รับอนุญาตให้ผ่อนผันการชำระ
หนี้
คณะกรรมการกองทุนอาจพิจารณายกเลิกหรือปรับลดเบี้ยปรับให้แก่ผู้กู้รายหนึ่งรายใดก็ได้
เมื่อมีเหตุผลอันสมควร และด้วยความเห็นชอบจากที่ประชุมสมาชิกด้วยเสียงเกินกึ่งหนึ่ง หรือดำเนิน
การอื่น ๆ ตามระเบียบที่กองทุนกำหนด
ข้อ ๓๗ ในกรณีที่ผู้กู้มิได้เริ่มดำเนินการตามวัตถุประสงค์ในการขอกู้ยืมเงินหรือเมื่อมีหลัก
ฐานอันควรเชื่อได้ว่าผู้กู้นำเงินไปใช้นอกกรอบวัตถุประสงค์โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร ให้คณะ
กรรมการกองทุนมีอำนาจยกเลิกสัญญาและเรียกคืนเงินกู้พร้อมดอกเบี้ยหรือค่าตอบแทนที่ค้างชำระ
คืนเต็มจำนวนได้โดยทันที
ให้คณะกรรมการกองทุนเรียกประชุมสมาชิกเพื่อลงมติให้ผู้กู้ซึ่งนำเงินกู้ไปใช้นอกกรอบวัตถุ
ประสงค์ที่กำหนดไว้ในคำกู้ยืมเงินพ้นจากสมาชิกภาพในระยะเวลาสามสิบวันหลังจากวันยกเลิกสัญญา
สมาชิกซึ่งที่ประชุมสมาชิกมีมติให้พ้นจากสมาชิกภาพตามวรรคสอง ห้ามมิให้สมัครเข้าเป็น
สมาชิกของกองทุนเป็นระยะเวลาสองปี
หมวด ๘
การทำบัญชีและการตรวจสอบ
ข้อ ๓๘ ให้คณะกรรมการกองทุนจัดทำบัญชีของกองทุนตามหลักเกณฑ์และรายงานตามที่คณะ
กรรมการกำหนดอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง และแจ้งให้สมาชิกทราบ รวมทั้งให้จัดทำสรุปผลการ
ดำเนินงานประจำปีรายงานต่อคณะกรรมการอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
คณะกรรมการกองทุนต้องจัดให้มีระบบการตรวจสอบภายในเกี่ยวกับการบริหารจัดการ การ
เงิน การบัญชี และการพัสดุ โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบของสมาชิกเป็นหลัก
คณะกรรมการอาจแต่งตั้งบุคคลหรือคณะบุคคลที่เห็นสมควรเป็นผู้ตรวจสอบกองทุน เพื่อทำ
หน้าที่ตรวจสอบและประเมินผลการบริหารจัดการกองทุนและการดำเนินงานของคณะกรรมการกอง
ทุนได้ตามที่เห็นสมควร ในการนี้ให้คณะกรรมการกองทุนมีหน้าที่อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติ
งานของผู้ตรวจสอบกองทุน
ข้อ ๓๙ ให้คณะกรรมการกองทุนจัดทำงบรายงานการเงินตามแบบที่คณะกรรมการกำหนด
และส่งให้ผู้ตรวจสอบบัญชีที่คณะกรรมการกำหนดภายในระยะเวลาสามสิบวันนับแต่วันสิ้นปีทางบัญชี
ของทุกปี
ให้คณะกรรมการกองทุนแต่งตั้งผู้ตรวจสอบบัญชีกองทุน เพื่อทำหน้าที่ประเมินผลการใช้จ่ายเงิน
และทรพัย์สินของกองทุนโดยให้แสดงความคิดเห็นเป็นข้อวิเคราะห์ว่าการใช้จ่ายดังกล่าวเป็นไปตาม
วัตถุประสงค์ ประหยัด และได้ผลตามเป้าหมายเพียงใด และให้ทำบันทึกรายงานผลการสอบบัญชีต่อ
คณะกรรมการกองทุน พร้อมทั้งจัดพิมพ์เผยแพร่ต่อสมาชิกและสาธารณชน
ข้อ ๔๐ การจัดสรรกำไรสุทธิ เมื่อสิ้นปีทางบัญชีหากปรากฏว่าปีใดมีกำไรสุทธิคณะกรรมการ
กองทุนสามารถนำกำไรสุทธิมาจัดสรรตามระเบียบและหลักเกณฑ์ที่กองทุนกำหนด
หมวด ๙
บทเฉพาะกาล
ข้อ ๔๑ ในวาระเริ่มแรกในส่วนของหมู่บ้าน ให้ผู้ใหญ่บ้านเรียกประชุมหัวหน้าครัวเรือนในหมู่บ้าน
ครัวเรือนละหนึ่งคน เพื่อเปิดเวทีชาวบ้านในการดำเนินการเลือกคณะกรรมการกองทุนจากผู้ที่มีคุณ
สมบัติตามข้อ ๑๗ โดยมีคณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับอำเภอเป็นผู้ให้คำปรึกษาแนะนำ ตลอดจน
สนับสนุนให้การเลือกสรรดำเนินไปด้วยความโปร่งใส บริสุทธิ์ ยุติธรรม
การประชุมตามวรรคหนึ่ง (มาประชุมจะต้องมีหัวหน้าครัวเรือนจำนวนไม่น้อยกว่าสามในสี่
ของครัวเรือนทั้งหมดในหมู่บ้าน ทั้งนี้ หัวหน้าครัวเรือนอาจมอบหมายให้ผู้แทนครัวเรือนเข้าประชุม
แทนได้
เมื่อที่ประชุมกำหนดวิธีการเลือกแล้วเสร็จ ให้ผู้ใหญ่บ้านและประชาคมหมู่บ้านตลอดจนคณะ
อนุกรรมการสนับสนุนระดับอำเภอสนับสนุนให้การเลือกคณะกรรมการกองทุนเป็นไปตามมติของเวที
ชาวบ้าน
ในส่วนของชุมชนเมืองให้ประธานคณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับเภอเป็นผู้ทำหน้าที่แทนผู้
ใหญ่บ้านตามวรรคแรก
ข้อ ๔๒ เมื่อครบกำหนดระยะเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่กรรมการกองทุนตามข้อ ๔๑ เข้าดำรง
ตำแหน่ง ให้กรรมการกองทุนจับสลากออกจำนวนกึ่งหนึ่งของคณะกรรมการกองทุนทั้งหมด
ให้นำบทบัญญัติในข้อ ๑๙ วรรคสองและวรรคสาม มาใช้บังคับกับกรณีตามวรรคหนึ่งโดยอนุโลม
ข้อ ๔๓ คณะกรรมการกองทุนตามข้อ ๔๑ ต้องดำเนินการยื่นขอขึ้นทะเบียนจัดตั้งกองทุนต่อ
คณะกรรมการหรือหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการ และเปิดบัญชีเงินฝากของคณะ
กรรมการกองทุนให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันหลังจากได้รับเลือก
ข้อ ๔๔ ให้คณะกรรมการกองทุนตามข้อ ๔๑ เปิดบัญชีเงินฝากภายใต้ซื่อบัญชี
“กองทุนหมู่บ้าน (ชื่อบ้าน…………………..……………….หมู่ที่……………………ตำบล/แขวง……………………………….
อำเภอ/เขต…………………………………………………….จังหวัด…………………………………………….)” ไว้กับธนาคาร
เพื่อรับโอนเงินที่ได้รับจัดสรรจากคณะกรรมการ
ข้อ ๔๕ ภายในหนึ่งปีนับตั้งแต่วันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้คณะกรรมการประเมินผลการ
ดำเนินการตามระเบียบนี้ เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมต่อไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๔
ลงนาม สุวิทย์ คุณกิตติ
(นายสุวิทย คุณกิตติ)
รองนายกรัฐมนตรี
ประธานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘ ตอนพิเศษ ๔๘ง ลงวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๔๔
ภาคผนวก จ
ตารางสรุปกรณีศึกษาและองค์ประกอบชุมชน
ภาคผนวก ฉ
ข้อมูลทั่วไป ของสำนักงานเขตบางพลัด ปี 2541
154
ข้อมูลทั่วไป ของสำนักงานเขตบางพลัด ปี 2541
ประวัติความเป็นมา
“บางพลัด” เดิมมีฐานะเป็นเพียงตำบลหรือแขวงหนึ่ง อยู่ในพื้นที่เขตการปกครองของอำเภอ
บางกอกน้อย หรือสำนักงานเขตบางกอกน้อยในปัจจุบัน ตั้งแต่ พ.ศ. 2528 เป็นต้นมา
กรุงเทพมหานครได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงโดยตั้ง “บางพลัด” เป็นที่ทำการแขวง สำนักงานเขต
สาขา และสำนักงานเขตโดยลำดับ ดังนี้
วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2528 จัดตั้งที่ทำการแขวงบางพลัด โดยใช้อาคารเรียนของโรงเรียนวัด
บางพลัดซึ่งตั้งอยู่ในซอยจรัญสนิทวงศ 79 ถนนจรัญสนิทวงศ ์ แขวงบางพลัด เขตบางกอกน้อย
กรุงเทพมหานคร เป็นที่ทำการและเปิดให้บริการแก่ประชาชนเฉพาะงานบางประเภทเท่านั้น
วันที่ 16 มกราคม 2532 โดยมีประกาศกรุงเทพมหานคร จัดตั้งเป็น สำนักงานเขตบางกอก
น้อย สาขาบางพลัด รับผิดชอบในการบริหารการปกครองพื้นที่แขวงบางยี่ขัน แขวงบางบำหรุ แขวง
บางพลัด และแขวงบางอ้อ โดยมีอำนาจหน้าที่ในการบริการเช่นเดียวกับสำนักงานเขต ยกเว้นงาน
ทะเบียนครอบครัว นิติกรรม สัสดีและสรรพากร
วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตบาง
กอกน้อยและจัดตั้งสำนักงานเขตบางพลัด มีพื้นที่การบริหารการปกครอง รวม 4 แขวง คือ แขวงบาง
ยี่ขัน แขวงบางบำหรุ แขวงบางพลัด และแขวงบางอ้อ มีอำนาจหน้าที่ในการให้บริการแก่ประชาชนเต็ม
รูปแบบเช่นเดียวกับสำนักงานเขตทั่วไปทุกประการ
วันที่ 12 ธันวาคม 2534 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตและพื้นที่
แขวงใหม่ระหว่างเขตบางกอกน้อยกับเขตบางพลัดอีกครั้งหนึ่ง โดยให้บางส่วนของแขวงบางบำหรุ และ
บางส่วนของแขวงบางยี่ขัน จากแนวสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าฝั่งซ้ายทั้งหมด ไปขึ้นกับเขตบางกอก
น้อย
ที่ตั้ง
เดิม สถานที่ทำการสำนักงานเขตบางพลัดเป็นอาคารชั่วคราว โดยใช้อาคารเรียนของโรงเรียน
วัดบางพลัด ซึ่งตั้งอยู่ในซอยจรัญสนิทวงศ 79 ถนนจรัญสนิทวงศ ์ แขวงบางพลัด เป็นที่ทำการมีเนื้อที่
1 ไร่ 1 งาน 25 ตารางวา โดยเสียค่าเช่าที่ดินแก่วัดบางพลัดปีละ 3,000 บาท ค่าภาษี 321.56 บาท
ต่อมา เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2538 กรุงเทพมหานครได้อนุมัติเงินจำนวน 165 ล้านบาท
เพื่อให้สำนักงานเขตบางพลัดจัดซื้อที่ดินแห่งใหม่ ตั้งอยู่ริมถนนจรัญสนิทวงศ์ ติดคลองบางพระครู
แขวงบางอ้อ เขตบางพลัดมีเนื้อที่รวม 3 ไร่ 62 ตารางวา สภาพที่ดินหน้ากว้างติดถนน 30 เมตร มี
อาคารเดิม ค.ล.ส. 2 ชั้น 1 หลัง ขนาดประมาณ 21.00 x 60.00 เมตร ทำการปรับปรุงและต่อเติม
บางส่วนเป็นอาคาร 7 ชั้น เพื่อใช้เป็นที่ทำการสำนักงานเขตแห่งใหม่เป็นการถาวร มีพื้นที่ใช้สอยมาก
เพียงพอต่อการให้บริการและความสะดวกแก่ประชาชนที่มาติดต่อราชการ งบประมาณที่ใช้ในการ
155
ก่อสร้างโดยประมาณ 103,600,000 บาท ระยะเวลาดำเนินการก่อสร้าง ระหว่างปี พ.ศ. 2540
ถึงปี พ.ศ.2542
ปัจจุบัน สำนักงานแห่งใหม่ได้ก่อสร้างแล้วเสร็จสมบูรณ์ ตั้งอยู่ที่ 39 ถนนจรัญสนิทวงศ์
(ติดคลองบางพระครู) แขวงบางอ้อ เขตบางพลัด และเริ่มเปิดให้บริการแก่ประชาชนได้เมื่อวันที่
17 พฤษภาคม 2542
พื้นที่
เนื้อที่ 11.36 ตารางกิโลเมตร
ทิศเหนือ จรดทางรถไฟสายใต้
ทิศใต้ จรดถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า และถนนบรมราชชนนี
ทิศตะวันออก จรดแม่น้ำเจ้าพระยา
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี
แบ่งออกเป็น 4 แขวง ได้แก่
1. แขวงบางยี่ขัน พื้นที่ประมาณ 2,886 ตร.กม.
2. แขวงบางบำหรุ พื้นที่ประมาณ 2,332 ตร.กม.
3. แขวงบางพลัด พื้นที่ประมาณ 3,296 ตร.กม.
4. แขวงบางอ้อ พื้นที่ประมาณ 2,846 ตร.กม.
ประชากร (ข้อมูล ณ วันที่ 3 มีนาคม 2542)
รวมทั้งหมด 124,636 คน แยกเป็นชาย 60,085 คน และ 64,551 คน
แขวง จาํ นวนประชากร (คน)
ชาย หญิง
รวม
บางพลัด 16,054 17,490 33,544
บางอ้อ 15,060 16,113 31,163
บางบำหรุ 10,580 11,817 22,397
บางยี่ขัน 18,399 19,133 37,532
รวม 60,085 64,551 124,636
ประชากรมากที่สุดในแขวงบางยี่ขัน 37,532 คน
ประชากรน้อยที่สุดในแขวงบางบำหรุ 22,397 คน
ความหนาแน่นของประชากรโดยเฉลี่ย 10,971.48 คน/ตร.กม.
156
จำนวนประชากร ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และจำนวนบ้านของสำนักงานเขตบางพลัด
(ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2542-31 ธันวาคม 2542)
แขวง จาํ นวนประชากร (คน) จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (คน)
ชาย หญิง รวม ชาย หญิง รวม
รวม
บางพลัด 16,201 17,570 33,771 11,406 13,178 24,584 8,920
บางอ้อ 15,117 16,191 31,308 10,611 11,978 22,589 9,413
บางบำหรุ 10,635 11,865 22,500 7,540 8,924 16,464 8,181
บางยี่ขัน 18,557 19,315 37,872 13,078 14,361 27,439 9,866
รวม 60,510 64,941 125,451 42,635 48,441 91,076 36,380
การคมนาคม
ถนนสายหลัก
จำนวน 7 สาย คอื ถนนจรัญสนิทวงศ, ถนนราชวิถี, ถนนสิรินธร, ถนนรุ่งประชา, ถนนอรุณ
อมรินทร์, ถนนบรมราชชนนี (ฝั่งขาเข้า), ถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า
สะพาน
จำนวน 5 แห่ง คือ สะพานกรุงธน, สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า, สะพานพระรามหก, สะพาน
พระรามเจ็ด, สะพานต่างระดับบรมราชชนนี
ซอย
จำนวน 103 ซอย
ซอยสำคัญที่เป็นเส้นทางลัด ได้แก่ ซอยจรัญสนิทวงศ์ 40,44,46,67,69,75,66/1 และ 77
คลอง
จำนวน 24 คลอง
สถานการศึกษา
แยกเป็นดังนี้.-
1. สังกัด กรุงเทพมหานคร จำนวน 10 แห่ง
2. สังกัดกรมสามัญ กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 2 แห่ง
3. สังกัดกรมอาชีวศึกษา จำนวน 1 แห่ง
4. สังกัดเอกชน จำนวน 34 แห่ง
ระดับมัธยมศึกษา 8 แห่ง คือ ร.ร.วัดบวรมงคล, ร.ร.วัดวิมุตยารามพิทยากร, ร.ร.ทิวไผ่งาม,
ร.ร.บูรณวิทย์, ร.ร.เขมะสิริอนุสสรณ์, ร.ร.บางยี่ขันสงเคราะห์, ร.ร.บางอ้อศึกษา, ร.ร.สตรีบูรณวิทย์
157
ระดับประถมศึกษา 15 แห่ง คือ
- โรงเรียนเอกชน คือ ร.ร.พัฒนวิทย, ร.ร.ประมุขวิทยา, ร.ร.พิมลวิทย, ร.ร.ศิริมงคลศึกษา,
ร.ร.ศรีอุลัย
- โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร คือ ร.ร.วัดบางพลัด, ร.ร.วัดศิริไอยสวรรค์, ร.ร.วัดสามัคคี
สุทธาวาส, ร.ร.วัดเทพากร, ร.ร.วิมุตยาราม, ร.ร.วัดอาวุธวิกสิตาราม, ร.ร.วัดคฤหบดี,
ร.ร. วัดเปาโรหิตย์, ร.ร.วัดรวก, ร.ร. วัดฉัตรแก้วจงกลณี
อาชีวศึกษา 4 แห่ง คือ ร.ร.พาณิชยการสยาม, ร.ร.พาณิชยการบางอ้อ, ร.ร.เทคโนโลยีเลิศบุญ,
ร.ร.พระรามหกเทคโนโลยี
ศาสนสถาน
มีจำนวน 23 วัด มัสยิด 2 แห่ง และศาลเจ้า 2 แห่ง
วัดสังกัดมหานิกาย มี 20 วัด คือ วัดวิมุตยาราม วัดใหม่เทพนิมิตร วัดจตุรมิตรประดิษ
ฐาราม วัดเปาโรหิตย์ วัดน้อยนางหงษ์ วัดบางพลัด วัดอมรคีรี วัดสิงห์ วัดพระยาศิริไอยสวรรค์
วัดรวกบางบำรุ วัดภาณุรังษี วัดคฤหบดี วัดเทพนารี วัดทอง วัดฉัตรแก้วจงกลณี วัดดาวดึงษาราม
วัดเทพากร วัดภคนีนาถ วัดบางยี่เรือ วัดเพลง
วัดสังกัดธรรมยุตนิกาย มี 3 วัด คือ วัดบวรมงคล วัดอาวุธวิกสิตาราม วัดสามัคคีสุทธาวาส
มัสยิด มี 2 แห่ง คือ มัสยิดบางอ้อ มัสยิดดารุลอิหซาน
ศาลเจ้า มี 2 แห่ง คือ ศาลเจ้าพ่อเสือ ศาลเจ้าปุงเท่ากง (ซอยเจ้าพระยาสยาม)
ร.พ./ศูนย์บริการสาธารณสุข กทม. มี 4 แห่ง คือ
ร.พ.ยันฮี, ร.พ.ซังฮี้, ร.พ.ตาหูคอจมูก, ศูนย์บริการสาธารณสุข 31 (เอิบ-จิตร ทังสุบุตร)
สถานีตำรวจ มีจำนวน 4 สถานี คือ
1. สถานีตำรวจนครบาลบางพลัด
2. สถานีตำรวจนครบาลบางยี่ขัน
3. สถานีตำรวจนครบาลบวรมงคล
5. สถานีตำรวจนครบาลตลิ่งชัน
158
ชุมชน มีจำนวนทั้งสิ้นรวม 36 ชุมชน จำแนกตามรายแขวงได้ดังนี้
แขวงบางพลัด แขวงบางบำหรุ แขวงบางยี่ขัน แขวงบางอ้อ
ชุมชนดวงดี ชุมชนวัดรวกบางบำหรุ ชุมชนวัดพระยาศิริไอย
สวรรค์
ชุมชนแสงทอง
ชุมชนคลองสวนพริก ชุมชนโค้งมะขาม ชุมชนวัดบวรมงคล ชุมชนคลองมะนาว
ชุมชนซอยจรัญฯ 72 ชุมชนมะพร้าวคู่ ชุมชนบ้านปูน ชุมชนจรัญวิถี 74
ชุมชนวัดบางพลัด ชุมชนบ้านญวน ชุมชนวัดดาวดึงษาราม ชุมชนพัฒนาซอย 85
ชุมชนสะพานยาว ชุมชนวัดภคินีนาถ ชุมชนวัดวิมุตยาราม
ชุมชนเทพนารี ชุมชนวัดคฤหบดี ชุมชนวัดฉัตรแก้ว
จงกลณี
ชุมชนพัฒนาซอย 79 ชุมชนวัดสิงห์ ชุมชนสงวนทรัพย์
ชุมชนวัดเทพากร ชุมชนคลองเจ้าครุฑ ชุมชนริมคลอง
บางพลัด
ชุมชนวัดภาณุรังษี ชุมชนโค้งถ่าน ชุมชนคลองพระครู
ชุมชนสวนปรก ชุมชนศรีอุลัย
ชุมชนหลังสำนักงาน
เขตบางพลัด
ชุมชนเจ้าพระยาสยาม
ชุมชนวัดเพลง
หน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ มีจำนวน 11 แห่ง คือ
1. ศูนย์เยาวชนวัดฉัตรแก้วจงกลณี
2. สำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร สาขาบางกอกน้อย (ซอยจรัญฯ 57)
3. สำนักงานมหาวิทยาลัยมหิดล อยู่เชิงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า
4. สถานีย่อยบางยี่ขัน การไฟฟ้านครหลวง (ซอยจรัญฯ 56)
5. ที่ทำการโทรเลขเขตบางพลัด (ปากทางเข้าโรงเรียนเขมะสิริอนุสสรณ์ ถนนราชวิถี)
6. ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขบางอ้อ (ปากซอยจรัญฯ 92)
7. สำนักงานบริการโทรศัพท์ สาขาบางพลัด ถนนจรัญสนิทวงศ์
8. ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขพระปิ่นเกล้า
9. โรงเรียนวัดบวรมงคล
10. โรงเรียนวัดวิมุตยาราม
11. วิทยาลัยสารพัดช่างนครหลวง
159
แผนที่ตั้งเขตบางพลัด
160
ภาคผนวก ช
สรุปข้อมูลเขตบางกอกน้อย
161
สรุปข้อมูลเขตบางกอกน้อย
……………………………………………..
1. ประวัติความเป็นมาโดยย่อ
เขตบางกอกน้อย แต่เดิมมีชื่อเรียกว่า “อำเภออมรินทร์” เป็นชื่อเรียกตามประกาศกระทรวง
นครบาล เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พุทธศักราช 2458 ลงนามโดยมหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยายมราช
เสนาบดีกระทรวงนครบาล ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่6 และในรัช
กาลต่อมา ทรงมีพระราชดำริว่า นามอำเภอบางแห่งยังไม่เหมาะสมแก่นามตำบลอันเป็นหลักฐานมาแต่
โบราณ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ มีประกาศให้เปลี่ยนนามอำเภออมรินทร์เรียกว่า “อำเภอบางกอก
น้อย” เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2459 ในสมัยนั้นอำเภอบางกอกน้อย แบ่งเขตการปกครอง ออกเป็น
8 ตำบล ได้แก่ ตำบลบางอ้อ ตำบลบางพลัด ตำบลบางบำหร ุ ตำบลบางยี่ขัน ตำบลบางขุนนนท ์ ตำบล
บางขุนศรี ตำบลศิริราช และตำบลบ้านช่างหล่อ
ตอ่ มาเมอื่ พ.ศ.2515 ได้มีประกาศคณะปฏิวัต ิ ฉบับที่ 335 ลงวันท ี่ 13 ธันวาคม 2515 ให้
ยกเลิกหน่วยการปกครองเดิม คือ จังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล ในเขตจังหวัดกรุงเทพมหานคร และ
จังหวัดธนบุรี เป็นหน่วยการปกครองเดียว เรียกว่า “กรุงเทพมหานคร” และได้เปลี่ยนจาก “อำเภอ
บางกอกน้อย” มาเป็น “เขตบางกอกน้อย” ตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม 2515
ในระหว่างนั้นเขตบางกอกน้อยได้ถูกแบ่งพื้นที่ออกไปหลายครั้ง จนครั้งล่าสุดได้มีประกาศ
กระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 12 ธันวาคม 2534 เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตบางกอกน้อยอีก โดยได้ตัดพื้น
ที่ของแขวงบางยี่ขันและแขวงบางบำหรุบางส่วน ไปเป็นพื้นที่ของเขตบางพลัด และได้กำหนดพื้นที่ที่
เหลือใหม่ที่แขวงอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อยจึงมีพื้นที่การปกครองเป็น 5 แขวง คือ แขวงศิริราช
แขวงบ้านช่างหล่อ แขวงบางขุนนนท ์ แขวงบางขุนศร ี และแขวงอรุณอมรนิ ทร์ ตั้งแต่วันที่ 12 ธันวาคม
2534 เป็นต้นมา
2. สภาพทางภูมิศาสตร์
อาณาเขต ทิศเหนือ จดเขตบางพลัด
ทิศตะวันออก จดแม่น้ำเจ้าพระยาและเขตพระนคร
ทิศตะวันตก จดคลองมอญและเขตบางกอกใหญ่
ทิศใต้ จดคลองชักพระและเขตตลิ่งชัน
3. สภาพพื้นที่โดยทั่วไป
เขตบางกอกน้อยมีพื้นที่ร่วม 11,944 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองเป็น 5 แขวง คือ
แขวงศิริราช มีพื้นที่ 1,258 ตร.กม.
แขวงบ้านช่างหล่อ มีพื้นที่ 2,076 ตร.กม.
แขวงบางขุนนนท์ มีพื้นที่ 1,492 ตร.กม.
แขวงบางขุนศรี มีพื้นที่ 4,360 ตร.กม.
แขวงอรุณอมรินทร์ มีพื้นที่ 2,758 ตร.กม.
162
√ พื้นที่ส่วนใหญ่ของเขตบางกอกน้อยเป็นที่ราบลุ่ม
√ มีคลอง 30 คลอง คลองที่สำคัญได้แก่ คลองบางกอกน้อย คลองชักพระ คลองมอญ
√ มีถนนสายสำคัญ 7 สาย ได้แก ่ ถนนจรัญสนิทวงศ ์ ถนนอิสรภาพ ถนนพรานนก ถนนบาง
กอกน้อย-ตลิ่งชัน ถนนอรุณอมรินทร์ ถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า และถนนบรมราชชนนี
(ถนนลอยฟ้าสามมิติตามโครงการพระราชดำริ)
√ มีสถานีรถไฟ 1 แห่ง ได้แก่ สถานีรถไฟธนบุรี
√ มีโรงเรียนสังกัดในกรุงเทพมหานคร 15 โรงเรียน
√ มีโรงเรียนกรมสามัญศึกษา 6 โรงเรียน
√ มีโรงเรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ 2 โรงเรียน
√ มีสถานศึกษาเอกชน 37 แห่ง
√ มีโรงพยาบาลของรัฐ 1 แห่ง คือ โรงพยาบาลศิริราช
√ มีโรงพยาบาลเอกชน 4 แห่ง
√ มีศูนย์การค้า 4 แห่ง ได้แก่ เมอร์รี่คิงส์ ตลาดนครหลวง เซ็นทรัล พรานนกพลาซ่า
√ มีศูนย์บริการสาธารณสุข 1 แห่ง
√ มีวัด 31 วัด วัดที่สำคัญและมีชื่อเสียง ได้แก่ วัดสุวรรณาราม วัดดุสิตาราม วัดระฆังโฆสิตาราม
วัดศรีสุดาราม วัดอมรินทราราม วัดชิโนรสาราม ฯลฯ
√ มีมัสยิส 2 แห่ง
√ มีศาลเจ้า 2 แห่ง
√ มีศาลาโรงธรรม 2 แห่ง
163
แผนที่ตั้งเขตบางกอกน้อย
164
ภาคผนวก ซ
ประวัติสำนักงานเขตบางกอกใหญ่
165
ประวัติสำนักงานเขตบางกอกใหญ่
พื้นที่เขตบางกอกใหญ่เดิมเป็นที่ราบลุ่ม ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก เป็นเขตหัวเมืองฝ่าย
ใต้ขึ้นตรงต่อกรุงศรีอยุธยา พ.ศ.2310 เมื่อพม่ายึดกรุงศรีอยุธยาได้แล้ว ได้ใช้เมืองธนบุรีเป็นที่มั่น
ทางทะเล สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รวบรวมคนไทยตีเมืองธนบุรีคืนจากพม่า เมื่อประกาศ
อิสรภาพแล้วจึงจัดตั้งเมืองธนบุรีเป็นเมืองหลวง ซึ่งอยู่ในเขตท้องที่แขวงวัดอรุณในปัจจุบัน พ.ศ.
2535 สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ทรงเห็นว่ากรุงธนบุรี
ไม่เหมาะสมที่เป็นเมืองหลวง จึงทรงตั้งเมืองใหม่และขนานนามว่ากรุงเทพมหานคร กรุงธนบุรี จึงมี
สภาพเป็นเมืองหลวงเก่า อันมีพระราชวังเดิม กำแพงเมือง ป้อมวิชัยประสิทธิ์ และวัดวาอารามต่าง ๆ
เหลืออยู่เป็นอนุสรณ์จนถึงทุกวันนี้
พ.ศ. 2458 อำเภอบางกอกใหญ่มีฐานะเป็นอำเภอตามประกาศของกรมนครบาล ลงวันท ี่ 15
ตุลาคม 2458 ชื่อว่าอำเภอหงสาราม ริมคลองบางกอกใหญ่ฝั่งเหนือ พ.ศ. 2459 เปลี่ยนชื่ออำเภอ
หงสารามเป็นอำเภอบางกอกใหญ่ พ.ศ. 2481 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้ายุบอำเภอบางกอก
ใหญ่ เป็นกิ่งอำเภอบางกอกใหญ่อยู่ในการปกครองของอำเภอบางยี่ขัน จังหวัดธนบุรี พ.ศ. 2501 มี
พระราชกฤษฎีกาตั้งกิ่งอำเภอบางกอกใหญ่ เป็นอำเภอบางกอกใหญ่
พ.ศ. 2515 มีประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 335 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ให้อำเภอมีฐานะ
เป็นเขต อำเภอบางกอกใหญ่จึงมีฐานะเป็นเขตบางกอกใหญ่ และสำนักงานเขตบางกอกใหญ่ ตามพระ
ราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ตามลำดับ
สำนักงานเขตบางกอกใหญ่ เดิมตั้งอยู่ในที่ดินของวัดหงส์รัตนาราม ริมคลองบางกอกใหญ่ฝั่ง
เหนือ ซึ่งเป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอเดิมตั้งแต่ พ.ศ. 2458 มีเนื้อที่ประมาณ 275.22 ตารางวา ในปี
พ.ศ. 2529 พลตรีจำลอง ศรีเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้เดินทางมาตรวจเยี่ยมสำนักงาน
เขตบางกอกใหญ่และได้เห็นสภาพถนน ทางเข้าออกสำนักงานซึ่งคับแคบ รถยนต์ผ่านเข้าออกไม่
สะดวก ประกอบกับอาคารสำนักงานเขตมีพื้นที่ใช้สอยไม่เพียงพอ ทำให้ประชาชนไม่ได้รับความ
สะดวกในการติดต่อราชการ จึงได้ให้นโยบายแก่ผู้อำนวยการเขตบางกอกใหญ่ ในสมัยนั้น(นายสุทธิชัย
ทรรศนสฤษดิ์ ) จัดหาสถานที่เพื่อก่อสร้างสำนักงานเขตแห่งใหม่ ซึ่งจากการตรวจสอบที่ดินในพื้นที่
เขตพบว่ามีที่ดินของกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ซึ่งอยู่บริเวณริมคลองบางกอกใหญ่ใกล้กับสี่แยก
ท่าพระ มีทำเลดีเหมาะสมสำหรับเป็นที่ตั้งสำนักงานเขต จึงได้หารือผู้บังคับบัญชาเพื่อขออนุญาตใช้ที่
ดินบริเวณดังกล่าวจากกรมธนารักษ์
166
กรมธนารักษ์แจ้งว่าที่ดินบริเวณดังกล่าวได้อนุญาตให้สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่ง
ชาติ กรมศิลปากร ใช้ก่อสร้างสำนักงานไปก่อนหน้านี้แล้ว แต่ยังไม่ได้ดำเนินการใด ๆ เนื่องจากอยู่
ระหว่างการพิจารณาเลือกทำเลอื่นที่ดีกว่า ดังนั้น จึงได้มีการประสานและเจรจาตกลงกับสำนักงานคณะ
กรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติและกรมธนารักษ์ จนในที่สุดสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
ยินยอมส่งคืนที่ดินให้แก่กรมธนารักษ์ และกรมธนารักษ์อนุญาตให้กรุงเทพมหานครใช้ที่ดินดังกล่าวได้
ซึ่งการดำเนินการเจรจาขอใช้ที่ดินในครั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(ร้อยโทหญิงหรรษา
แก้วบัณฑิต) และคุณพิพัฒน์ พิชิตพล สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ในสมัยนั้น เป็นผู้มีส่วนสำคัญใน
การช่วยเจรจาประสานงานกับกรมธนารักษ์มาโดยตลอด และรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(พ.อ.บวร งามเกษม) เป็นผู้ให้การสนับสนุนและขอจัดสรรเงินงบประมาณให้สำนักงานเขต โดยใช้
เงินในการก่อสร้าง 19,657,480 บาท สร้างเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2531
สำนักงานเขตบางกอกใหญ่ มีเนื้อที่ประมาร 2 ไร่ 21 ตารางวา สร้างเป็นอาคาร 4 ชั้น จำนวน
1 หลัง อาคาร 2 ชั้น จำนวน 1 หลัง และทำพิธีเปิดที่ทำการแห่งใหม่อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 8
พฤศจิกายน 2532 และต่อมาอาคารทั้ง 2 หลัง ได้ขยายเพิ่มขึ้นอีกหลังละ 1 ชั้น สำหรับสำนักงานเขต
(เดิม) ปัจจุบันเป็นที่ทำการของศูนย์บริการสาธารณ
167
แผนที่ตั้งเขตบางกอกใหญ่
168
ภาพแสดงกิจกรรมขององค์กรด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดในชุมชน
เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าตรวจเพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจ พร้อมทำกิจกรรมให้กับประชาชนและเยาวชนเพื่อ
ห่างไกลจากยาเสพติด
169
ภาพแสดงกิจกรรมการเสริมสร้างสุขภาพในชุมชน
นักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์เข้าตรวจเยี่ยมศูนย์สุขภาพชุมชน และการตั้งชมรมแอโรบิคเพื่อการออก
กำลังกายขึ้นภายในชุมชน
170
ภาพแสดงกิจกรรมองค์กรชุมชนชมรมผู้สูงอายุในชุมชน
การส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีกิจกรรมทำร่วมกันภายใต้การดำเนินงานชมรมผู้สูงอายุของชุมชน
171
ภาพแสดงกิจกรรมวัฒนธรรมในชุมชน
การนิมนต์พระสงฆ์เพื่อถวายภัตตาหารและเจริญพระพุทธมนต์เนื่องในวันขึ้นปีใหม่และการรดน้ำดำหัว
ผู้สูงอายุในวันสงกรานต์เพื่อการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามและเพื่อให้เกิดความเป็นศิริ
มงคลแก่คนและชุมชนในทุกๆ ปี
172
ภาพแสดงการมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง 1 ล้าน
ชาวบ้านได้ร่วมกันเปิดเวทีเพื่อสนับสนุนการก่อตั้งกองทุนหมู่บ้านและพร้อมใจกันเข้าร่วมคัดเลือกคณะ
กรรมการเพื่อเข้ามาบริหารกองทุน จากนั้นคณะกรรมการและสมาชิกเข้าประชุมเพื่อการฟังเจ้าหน้าที่
เขตให้ความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานร่วมกัน
173
ภาพแสดงการนำเงินจากกองทุนเพื่อการสร้างรายได้
กลุ่มแม่บ้านร่วมกันทำขนม และเข้าร่วมโครงการการฝึกอบรมการทำดอกไม้และกระดาษสาเพื่อสร้าง
อาชีพและเพิ่มรายได้ให้มากขึ้น ในขณะที่สมาชิกบางท่านนำเงินจากกองทุนมาเพิ่มทุนขยายผลิตภัณฑ์
จากเรซิ่นเพื่อฐานะและครอบครัวมีความมั่นคงยิ่งขึ้น
174
ประวัติผู้วิจัย
ประวัติส่วนตัว นางสุปัญญา เสนะวีณิน
เกิดเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2493
ที่บ้านเลขที่ 14 หมู่ 2 ตำบลบ้านแพน
อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ที่อยู่ 511/13 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 37 แขวงบางขุนศรี
ถนนจรัญสนิทวงศ เขตบางกอกน้อย
กรุงเทพมหานคร 10700
โทร. 0-2412-4024
0-6003-2218
ประวัติการศึกษา พ.ศ. 2509 ม.ศ. 3 โรงเรียนมัธยมผดุงวิทยา
อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา
พ.ศ. 2512 ปวช. โรงเรียนพณิชยการธนบุรี
พ.ศ. 2518 ป.กศ.สูง วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
พ.ศ. 2522 ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน
ประวัติการทำงาน พ.ศ. 2517 ครูจัตวาวิทยาลัยครูเพชรบุรี
พ.ศ. 2519 ครูตรีวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
พ.ศ. 2522 อาจารย์ 1 ระดับ 3 วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
พ.ศ. 2535 อาจารย์ 2 ระดับ 5 วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
พ.ศ. 2539 อาจารย์ 2 ระดับ 7 สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ปัจจุบัน อาจารย์ 2 ระดับ 7 โปรแกรมวิชาสังคมศึกษา
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ผู้นำำํ กับการมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุน หมู่บ้้า้น และชุมุมชนเมือง (ตอนที่ 1)
ผู้นำำํ กับการมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุน หมู่บ้้า้น และชุมุมชนเมือง (ตอนที่ 2)
ผู้นำำํ กับการมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุน หมู่บ้้า้น และชุมุมชนเมือง (ตอนที่ 3)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ชุมชนคลองสวนพริกผู้นำชุมชนไม่ค่อยช่วยเหลือชุมชนส่วนใหญ่เห็นแก่พวกคนรวย
ตอบลบมีประโยชน์มาครับกับผู้ศึกษาในด้านนี้ครับ
ตอบลบ