วันเสาร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2554

ผู้นำำํ กับการมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุน หมู่บ้้า้น และชุมุมชนเมือง (ตอนที่ 1)



ผู้นำำํ กับการมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุน หมู่บ้้า้น และชุมุมชนเมือง
นางสุปัญญา เสนะวีณิน
วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
ปีการศึกษา 2546
ISBN 974-373-310-8
ลิขสิทธิ์ของสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

LEADERS AND MEMBERS’ PARTICIPATION OF
THE NATIONAL VILLAGE AND URBAN COMMUNITY FUND
MRS. SUPUNYA SENAWEENIN
A Thesis Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements
for the Master of Arts (Social Sciences Development)
at Rajabhat Institute Bansomdejchaopraya
Academic Year 2003
ISBN : 974-373-310-8

วิทยานิพนธ์ ผู้นำกับการมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
โดย นางสุปัญญา เสนะวีณิน
สาขาวิชา สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
ประธานกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ รศ.ดร.สมศักดิ์ ศรีสันติสุข
กรรมการ ดร.ทวิช บุญธิรัศมี
กรรมการ ดร.วราภรณ์ พันธุ์วงศ์กล่อม
บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา อนุมัติให้วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่ง
ของการศึกษาตามหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
………………………………………………………………………….คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
(ดร. สรายุทธ์ เศรษฐขจร)
คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์
……………………….………………….……………………………. ประธานกรรมการ
(ศาสตราจารย์ ดร.สายหยุด จำปาทอง)
…………………………………………………………………………. กรรมการ
(รองศาสตราจารย์ ดร. สมศักดิ์ ศรีสันติสุข)
………………………………………………………………………….. กรรมการ
(ดร.ทวิช บุญธิรัศมี)
………………………………………...……………………………... กรรมการ
( ดร.วราภรณ์ พันธุ์วงศ์กล่อม)
……………………………………………………………………….... กรรมการและเลขานุการ
(รองศาสตราจารย์ ดร.นันทา วิทวุฒิศักดิ์)
ลิขสิทธิ์ของสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

สุปัญญา เสนะวีณิน. (2546) ผู้นำกับการมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต กรุงเทพมหานคร : บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏ
บ้านสมเด็จเจ้าพระยา คณะกรรมการควบคุม : รองศาสตราจารย์ ดร. สมศักดิ์
ศรีสันติสุข ดร.ทวิช บญุ ธริ ศั มี ดร. วราภรณ ์ พันธุ์วงศ์กล่อม
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เรื่อง ผู้นำกับการมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุน
หมู่บ้านและชุมชนเมือง กรณีศึกษาชุมชนที่อยู่ในเขตบางพลัด เขตบางกอกน้อยและเขตบางกอกใหญ่
รวม 10 ชุมชน โดยศึกษาชุมชนที่มีสมาชิกกองทุนมากกว่าร้อยละ 60 ของจำนวนครัวเรือน และ
ชุมชนที่มีสมาชิกต่ำกว่าร้อยละ 30 ของจำนวนครัวเรือนในชุมชน ได้แก่ชุมชนพัฒนาซอย 79 ชุมชน
คลองสวนพริก ชุมชนชวนชื่น ชุมชนวัดอมรทายิการาม ชุมชนปรกอรุณ ชุมชนวัดเทพากร ชุมชน
วัดบางขุนนนท ์ ชุมชนซอยสุดสาคร ชุมชนวัดนาคกลาง และ ชุมชนวัดหงส์รัตนาราม เป็นการศึกษา
ถึงคุณลักษณะของประธานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ลักษณะการมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุน
และเพื่อค้นหา คุณลักษณะเฉพาะของชุมชนที่มีสมาชิกกองทุนมากกว่าร้อยละ 60 และต่ำกว่าร้อยละ
30 ของจำนวนครัวเรือนในชุมชน โดยการสัมภาษณ์และสังเกตการณ์ประธานกองทุนหมู่บ้านและ
ชุมชนเมือง
ผลการวิจัยพบว่า คุณลักษณะประธานกองทุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองของชุมชนเป็น
ผู้มีบทบาทและมีอิทธิพลสำคัญในการเชิญชวน จูงใจ โน้มน้าวใจให้ประชาชนในชุมชนเข้าร่วมและ
สมัครเป็นสมาชิกกองทุน ซึ่งต้องอาศัยคุณลักษณะเฉพาะตัวของผู้นำในด้านต่างๆ ได้แก่ การศึกษา
ประสบการณ์ บุคลิกภาพ ฐานะทางเศรษฐกิจ ภาวะผู้นำ เทคนิคการจูงใจและการบริหารจัดการ
เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของประชาชนในชุมชน ประชาชนจึงเกิดศรัทธา ความเชื่อมั่นและเข้ามามีส่วนร่วม
สำหรับลักษณะการมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุนนั้น สมาชิกกองทุนจะต้องมี ส่วนร่วมตั้งแต่
ต้น โดยร่วมตัดสินใจ ร่วมทำ ร่วมรับผลประโยชน์ และร่วมตรวจสอบเพื่อความสำเร็จในการดำเนิน
การจัดตั้งกองทุนได้ตามวัตถุประสงค์ และสามารถมีเงินทุนหมุนเวียนภายในชุมชนเพื่อแก้ไขปัญหา
ความยากจนของประชาชนในท้องถิ่นและชุมชนได้
การค้นหาคุณลักษณะผู้นำและการมีส่วนร่วมของกองทุนที่มีสมาชิกมากกับกองทุนที่มีสมาชิก
น้อย พบว่า ผู้นำกองทุนมีคุณลักษณะและมีกระบวนการในการบริหารมีคุณลักษณะเฉพาะของแต่ละ
กลุ่มและบุคคล กองทุนที่มีสมาชิกน้อยมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาด้วยการศึกษาปัญหาที่แท้จริงของ
สมาชิกและใช้กองทุนเป็นแกนในการแก้ไขปัญหา การสมัครเข้าเป็นสมาชิกกองทุนขึ้นอยู่กับความ
ต้องการของประชาชนในแต่ละชุมชนและขอกู้ยืมเงินกองทุนเพื่อนำเงินไปประกอบอาชีพสร้างงาน
เพื่อสร้างรายได้ หรือเพื่อแก้ไขปัญหาในกรณีมีความจำเป็นเร่งด่วน โดยผู้นำกองทุนจะเป็นผู้ชักจูง
และโน้มน้าวใจประชาชนในชุมชนให้เข้าสมัครเป็นสมาชิกและมีส่วนร่วม

Supunya Senaveenin .(2003). Leaders and Members’ Participation in The Village and
Urban Community Fund. Bangkok : Graduate School, R.I.B. Advisor committee:
Assoc.prof.Dr.Somsak Srisaontisok Dr.Tawit Bunthirasmi Dr.Waraporn
PanwongKlom
The purposes of the study were to examine Leaders and Members’ Participation in
the village and urban community Fund , Motivation, Village structure and fund management
method. This study was a qualitative research. The sample were 10 Leaders of the village
and urban community fund in 10 villages in Thonburi-nuae area by study the community who
had membership more than 60% and lower than 30% of household number as Soi 79 Patana,
Saounprik, Chouan Chuen, Wat Amorntayikaram, Prok Arun, Wat Tapakorn, Wat
bangkunnont, Soi Susakorn, Wat Narkklang and Wat Hoong Rattanaram community. These
purposes were study the character of leaders and members’ participation in the village and
urban community fund one million and compare the community with membership more than
60% and lower than 30% of household number . The instrument used for data collection
were participation observation and indept interview .
Results of the study were found the train of leadership of the village and urban
community fund had power to convince the people to be membership of the village and urban
community fund. And the leaders must had the train of leadership as Leaders’s life story,
personality, character, education background, leadership, economy status, communication
method, relationship management and convince to the people believe and follow up.
The factors affecting member’s participation were shared think, shared make decision,
shared doing, shared benefit ,share evaluation and share implementation the process
,management and successful with the goal of village and urban community fund and the fund
could solve people problem.
The specialist of leader’s personality of membership more than 60% and lower than
30% of household number of community were depend on specialist of personality. And found
the participation of membership lower than 30% were used the urban community fund to be
the core for solve the problem. The application of membership on behalf of people need to load
the money from urban community fund to increase income, to solve the problem urgently by
the leaders were motivated the people participated in village and urban community fund.

ประกาศคุณูปการ
ความสำเร็จของวิทยานิพนธ์เล่มนี้ข้าพเจ้าใช้วิชาความรู้ที่ได้เรียนมาตามหลักสูตรปริญญาโท
ของสาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ซึ่งต้องใช้ความเพียร
พยายาม ความอุตสาหะ ความอดทนและกำลังใจเป็นอย่างมาก รวมทั้งได้รับความอนุเคราะห์และ
ความช่วยเหลือเป็นอย่างดีจากผู้มีพระคุณหลายท่านเป็นอย่างยิ่ง
ขอกราบขอบพระคุณผู้มีพระคุณเป็นอย่างสูง รองศาสตราจารย์ ดร. สมศักดิ์ ศรีสันติสุข
ดร.ทวิช บุญธิรัศมี และ ดร.วราภรณ์ พันธุ์วงศ์กล่อม ซึ่งเป็นประธานและอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยา
นิพนธ์ ที่ได้กรุณาให้คำปรึกษา แนะนำแนวคิด ข้อคิดอันเป็นประโยชน์และข้อบกพร่องต่าง ๆ ที่เป็น
ประโยชน์ในการทำวิทยานิพนธ์มาโดยตลอด คณาจารย์สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาทุกท่านที่
ได้ประสิทธิประสาทวิชาความรู้จนประสบความสำเร็จได้ตามที่มุ่งหวัง ฝ่ายพัฒนาชุมชนเขตบางพลัด
เขตบางกอกน้อย และเขตบางกอกใหญ่ ประธานชุมชน ประธานกองทุน กรรมการชุมชน กรรมการ
กองทุนของชุมชน รวมทั้งสมาชิกชุมชนทุกท่านที่อยู่ในกลุ่มกรุงธนเหนือที่มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูล
เกี่ยวกับการทำวิทยานิพนธ์ครั้งนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาโดยรอง
ศาสตราจารย์สันต์ ธรรมบำรุง อธิการบดีที่ได้ให้โอกาสและสนับสนุนเงินทุนในการศึกษาครั้งนี้
ขอกราบขอบพระคุณอีกหลาย ๆ ท่านที่คอยให้ความช่วยเหลือ ให้กำลังใจ ห่วงใยและให้การ
สนับสนุนมาโดยตลอดประกอบด้วย พ่อ แม่ ญาติพี่น้อง สามีและลูก เพื่อนร่วมงาน รวมทั้งพี่ๆ
และน้องๆ เพื่อนร่วมรุ่นปริญญาโทด้วยกันและอีกหลายท่าน ซึ่งไม่สามารถกล่าวนามไว้ ณ ที่นี้
ขอกราบคารวะเจ้าพ่อ “สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์” (ช่วง บุนนาค) พระองค์ท่านทรงเป็น
ที่พึ่งทางใจมาโดยตลอด
วิทยานิพนธ์เล่มนี้จัดได้ว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่าสูงสุด ความดีของวิทยานิพนธ์นี้ข้าพเจ้าขอน้อม
รำลึกถึงพระคุณของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒบางแสน สถาบันราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
บุพการี ครูอาจารย์ ผู้มีอุปการะคุณตลอดจนผู้มีพระคุณทุกท่าน ที่ได้ประสิทธิประสาทวิชาความรู้
ขอตอบแทนพระคุณด้วยความรู้สึกที่ดีและการประพฤติปฏิบัติตนที่เหมาะสมด้วยความเคารพอย่างสูง
สุปัญญา เสนะวีณิน

สารบัญ
หน้า
บทคัดย่อภาษาไทย ....................................................................................... ง
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ ................................................................................... จ
ประกาศคุณูปการ …………………………………………………..............................……………………. ฉ
สารบัญ ....................................................................................................... ช
สารบัญตาราง ............................................................................................... ญ
สารบัญแผนภาพ ……………………………………………………………………………………………………………… ฎ
บทที่ 1 บทนำ………………………………………………………………………………………………………………….. 1
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ……………………………………………… 1
วัตถุประสงค์ …………………………………………..……………………………………………… 3
ประโยชน์ที่ได้รับ ……….…………………………………...……………………………………. 3
ขอบเขตการวิจัย ………………………………………………..………………………………….. 3
นิยามศัพท์เฉพาะ ………………………………………………………..………………………… 4
กรอบแนวคิดในการวิจัย ............................................................ 6
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ……………………………………………………………………… 8
แนวคิดเกี่ยวกับผู้นำ…………………………………………………………….……………………………… 9
ความหมายของผู้นำ….…………. ……………………………………………………………… 10
ทฤษฎีผู้นำตามธรรมชาติ……....................................................... 11
ทฤษฎีผู้นำโดยกำเนิด ………………………………………………………………………….. 13
ทฤษฎีคุณลักษณะผู้นำ…….......................................................... 14
คุณสมบัติผู้นำ………………….......................................................... 15
ลักษณะการเป็นผู้นำ …………………………………………………………………………….. 16
ภาวะการเป็นผู้นำ……………………….………………………………………………………… 17
บทบาทของผู้นำชุมชน……………….………………………………………………………… 18
ปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่อการเป็นผู้นำ……….……………………………………………… 20

สารบัญ (ต่อ)
หน้า
แนวคิดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชน............................................ 21
ความหมาย………………………………… ..........................................….. 21
ลักษณะการมีส่วนร่วม………………..…............................................. 23
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชน……………………. 24
ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน…………………………….……….. 25
เงื่อนไขพื้นฐานการมีส่วนร่วมของประชาชน...............................…. 26
ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ......................................................................... 32
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย …………………………………………………………………………………………….. 36
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง .................................................................. 36
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ..................................................................... 38
แนวทางในการสัมภาษณ์………………………………….......................................... 35
การเก็บรวบรวมข้อมูล ....................................................................…… 39
การวิเคราะห์ข้อมูล ............................................................................. 40
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล …………………………………………………………………………………….. 41
บริบทชุมชน……………………………………………………………………………………………………… 41
คุณลักษณะผู้นำรายบุคคล………………………………………..……………….…..……………… 54
ลักษณะผู้นำกับการมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุน……….………………………………… 76
การค้นหาคุณลักษณะผู้นำกองทุน …………………………….…………………………………… 88
การสนับสนุนจากรัฐ ……………………………………………………………………………………….. 94
ข้อค้นพบการวิจัย ……………………………………………………………………………………………. 95

สารบัญ (ต่อ)
หน้า
บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ …………………………………………………………….. 97
วัตถุประสงค์ ……………………………………………………………………………………………………… 97
ประชากรที่ใช้ในการวิจัย …………………………………………………………………………………… 97
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ……………………………………………….…………………………… 98
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย …………………………………………………………………………………… 98
การเก็บรวบรวมข้อมูล ……………………………………………………………………………………… 98
การวิเคราะห์ข้อมูล …………………………………………………………………………………………… 99
สรุปผลการวิจัย ………………………………………………………………………………………………… 98
อภิปรายผลการวิจัย ………………………………………………………………………………………… 102
ข้อเสนอแนะจากการวิจัย ………………………………………………………………………………… 110
ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยต่อไป ……………………………………………………………………… 111
บรรณานุกรม ............................................................................................ 112
ภาคผนวก ……………………………………………………………………………………………………………………… 119
ภาคผนวก ก แนวทางการเก็บข้อมูล……………………………………………………..............… 120
ภาคผนวก ข ที่มาของผู้นำกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง…………………………………… 122
ภาคผนวก ค แสดงระยะเวลาในการสัมภาษณ์และการจัดเก็บข้อมูล……..……………. 124
ภาคผนวก ง ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติว่าด้วย
การจัดตั้งและบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
พ.ศ.2544 ………………………………………………………………………………………….. 126
ภาคผนวก จ ตารางสรุปกรณีศึกษาและองค์ประกอบชุมชน …………………………………... 142
ภาคผนวก ฉ ข้อมูลทั่วไปของสำนักงานเขตบางพลัดปี พ.ศ. 2541………………………… 153
ภาคผนวก ช สรุปข้อมูลเขตบางกอกน้อย…………………………………………………………………. 160
ภาคผนวก ซ ประวัติสำนักงานเขตบางกอกใหญ่………………………………………………………… 164
ประวัติผู้วิจัย……………………………………………………………………………………………………………………… 174

สารบัญตาราง
ตารางที่ หน้า
1 แสดงรายนามผู้นำกองทุนแต่ละชุมชน………………………………………………………………. 37
2 การค้นหาบริบทชุมชนที่มีสมาชิกกองทุนร้อยละ 60 และร้อยละ 30 …..……… 53
3 แสดงคุณลักษณะผู้นำกองทุนที่มีสมาชิกร้อยละ 60 กับสมาชิกร้อยละ 30
ของจำนวนครัวเรือน ………………………………………………………………………………………… 69
4 คุณลักษณะผู้นำตามธรรมชาติและผู้นำโดยกำเนิด…………………………………………. 76
5 สรุปผลการศึกษาการมีส่วนร่วมและการจูงใจ………………………………………………….. 85
6 การค้นหาคุณลักษณะเฉพาะด้านบุคลิกผู้นำกองทุนระหว่างกลุ่ม….………………… 88
7 การค้นหาคุณลักษณะด้านปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่อการเป็นผู้นำระหว่างกลุ่ม……… 89
8 การค้นหาคุณลักษณะด้านภาวะผู้นำระหว่างกลุ่ม…………………………………………….. 91
9 การค้นหาคุณลักษณะเฉพาะการมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุน………………………… 93

สารบัญแผนภาพ
แผนภาพที่ หน้า
1 กรอบแนวคิดในการวิจัย .........................................................…………….. 7
2 แผนภาพชุมชนพัฒนาซอย 79…………………………………………………….……………………. 42
3 แผนภาพชุมชนคลองสวนพริก…………………………………………………………………………… 43
4 แผนภาพชุมชนชวนชื่น………………………………………………………………………………………. 44
5 แผนภาพชุมชนวัดอมรทายิการาม……………………………………………………………………. 45
6 แผนภาพชุมชนปรกอรุณ…………………………………………………………………………………… 46
7 แผนภาพชุมชนวัดเทพากร……………………………………………………………..………………… 48
8 แผนภาพชุมชนวัดบางขุนนนท… ………………………………………………………………………. 49
9 แผนภาพชุมชนซอยสุดสาคร……………………………………………………………………………. 50
10 แผนภาพชุมชนวัดนาคกลาง…………………………………………………………………………….. 51
11 แผนภาพชุมชนวัดหงส์รัตนาราม……………………………………………………………………… 52
12 แผนที่แสดงที่ตั้งเขตบางพลัด………………………………………………………………………… 159
13 แผนที่แสดงที่ตั้งเขตบางกอกน้อย…………………………………………………………………. 163
14 แผนที่แสดงที่ตั้งเขตบางกอกใหญ่…………………………………………………………………... 167
15 ภาพแสดงกิจกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด……………………………… 168
16 ภาพแสดงกิจกรรมการเสริมสร้างสุขภาพในชุมชน………………………………………… 169
17 ภาพแสดงกิจกรรมผู้สูงอายุในชุมชน………………………………………………………………. 170
18 ภาพแสดงกิจกรรมวัฒนธรรมในชุมชน………………………………………………………………. 171
19 ภาพแสดงการมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน…………………………………………. 172
20 ภาพแสดงการนำเงินจากกองทุนเพื่อการสร้างรายได้……………………………………………….. 173
บทที่ 1
บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
จากการที่ประเทศไทยต้องเผชิญกับภาวะวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ ในช่วงไตรมาสแรกของ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 ทำให้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างรุนแรงรัฐไม่
สามารถกระจายรายได้ไปสู่ประชาชนได้อย่างเป็นธรรม ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างมากมายเช่น เกิด
ค่านิยมด้านวัตถุเพิ่มขึ้น สังคมไทยกลายเป็นสังคม “บริโภคนิยม” ทุกคนมุ่งหาแต่เงินเพื่อความสุข
ของตนเองทำให้ปัญหายาเสพติดแพร่หลายอย่างรวดเร็วปัญหาสิ่งแวดล้อมปัญหาทรัพยากรธรรมชาติ
และปัญหาอาชญากรรม ปัญหาดังกล่าวเมื่อนำมาวิเคราะห์พบว่าแนวคิดในการพัฒนาที่มุ่งเฉพาะด้าน
เศรษฐกิจให้มีความเติบโตอย่างรวดเร็วนั้นไม่เพียงพอต่อความจำเป็นต้องพิจารณาด้านสังคม
การเมือง การศึกษา วัฒนธรรมและที่สำคัญคือ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้ประชาชนในชาติคิด
เป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาได้ ดังนั้น แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 จึงได้ปรับ
ปรัชญาเป้าหมายการพัฒนามาเป็น “เศรษฐกิจพอเพียง” ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัว เป็นปรัชญาที่ชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่
ระดับครอบครัว ชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทาง
สายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ทันต่อยุคโลกาภิวัฒน์
กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เป็นนโยบายของรัฐบาลซึ่งมี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็น
นายกรัฐมนตรี มีเจตนารมย์ที่จะแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชนในชนบทและชุมชนเมือง โดย
ได้กำหนดนโยบายเร่งด่วนในการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ สำหรับเป็นแหล่ง
เงินทุนหมุนเวียนในหมู่บ้านและชุมชนเมือง ใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม อีกทั้งเพื่อให้
ท้องถิ่นมีขีดความสามารถในการจัดระบบและบริหารจัดการเงินกองทุนของตนเองเพื่อสร้างศักยภาพ
ในการสร้างเสริมความเข้มแข็งด้านสังคม และด้านเศรษฐกิจของประชาชนในหมู่บ้านและชุมชนเมือง
สู่การพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน อันเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากของประเทศรวมทั้งเสริมสร้าง
ภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในอนาคต (สำนักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน
และชุมชนเมืองแห่งชาติ 2544: บทนำ)
ในการแก้ปัญหาความยากจนตามแนวนโยบาย “คิดเอง บริหารจัดการกันเองโดยประชาชน
เพื่อประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชนเมือง” ดังนั้นโครงการจะดำเนินไปได้และประสบผลสำเร็จได้นั้น
ต้องอาศัยประชาชนในชุมชนร่วมกันคัดเลือกคนดี และมีคุณสมบัติเข้ามาเป็นคณะกรรมการกองทุน
เพื่อบริหารกองทุนของประชาชน ความสำเร็จของกลุ่มและของชุมชนจึงขึ้นอยู่กับผู้นำที่มีความ
สามารถในการบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผล รวมทั้งสามารถชักจูงหรือโน้ม
2
น้าวให้คนอื่นปฏิบัติตามด้วยความเต็มใจ ทำให้ผู้อื่นมีความเชื่อมั่นในตนเองสามารถที่จะช่วยคลี่คลาย
ความตึงเครียดในด้านต่างๆ ลงได้ เพื่อที่จะนำกลุ่มให้บรรลุวัตถุประสงค์ หรือเป้าหมายที่ได้ตั้งเอา
ไว้รวมทั้งประชาชนในชุมชนต้องเข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มต้นและควรจะร่วมอย่างเต็มที่ การมีส่วน
ร่วมของประชาชนมีความหมายอย่างมหาศาล เพราะแสดงถึงการยอมรับในความรู้ความสามารถและ
ศักดิ์ศรีของตนในความสำเร็จของกลุ่มและของชุมชน ดังตัวอย่างกลุ่มออมทรัพย์ที่เข้มแข็งของสมาคม
ฟื้นฟู หมู่บ้านชนบทสงขลา สงขลาเป็นจังหวัดที่มีชื่อเสียงว่ามีกลุ่มออมทรัพย์เข้มแข็งมีความสามารถ
ในการพึ่งตนเอง เป็นชุมชนเข้มแข็ง หลายคนคุ้นกับชื่อกลุ่มออมทรัพย์คลองเปียะ นาหว้า น้ำขาว
และคุ้นกับชื่อครูซบ ยอดแก้ว กำนันอัมพร ด้วงปาน นายเคล้า แก้วเพชร และนายลัภย์ หนูประดิษฐ์
เรียกได้ว่าเป็น “สี่ทหารเสือ” เป็นผู้นำชุมชน ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดให้ความไว้วางใจมอบหมายให้เป็น
วิทยากรประจำจังหวัดส่งเสริมชุมชนเข้มแข็ง โดยเฉพาะเรื่องกลุ่มออมทรัพย์ (เสรี พงศ์พิศ 2544 :
17) ในความสำเร็จของกลุ่มพบว่า ผู้นำชุมชนเป็นแกนนำที่สำคัญในการประสานเชื่อมโยงและผลักดัน
การเชื่อมพลังภายในท้องถิ่น โดยเริ่มต้นให้ความสำคัญที่คนต้องพัฒนาคนให้ได้เพื่อเป็นการสร้าง
รากฐานสำคัญให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน และให้การเรียนรู้จากแบบฝึกหัดการปฏิบัติจริงเป็นแบบ
ฝึกหัดที่ดีที่สุด เป็นการปลูกฝังให้คนมีวินัยและการจัดการชีวิตของตนเอง ที่สำคัญคือผู้นำทำงาน
ด้วยใจโดยไม่รับเงินเดือน ค่าจ้างตอบแทนแต่อย่างใด เป็นผู้เสียสละและมีอุดมคติในการทำงาน
แสดงภูมิปัญญาของตนที่ได้เรียนรู้จากชีวิตจริงโดยการปฏิบัติร่วมกับชุมชนมาโดยตลอด เพื่อให้
ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมเพราะอยากเห็นชาวบ้านแก้ไขปัญหาและพึ่งพาตนเองได้รวมทั้งเป็น
การสร้างวินัย สร้างประชาธิปไตยในการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นยังเป็นการสร้างค่านิยมและ
แนวทางชีวิตที่ดี ด้วยแนวคิด แนวปฏิบัติ ประสบการณ์ และแนวทางการบริหารจัดการของผู้นำทำ
ให้คนในชุมชนมีความเป็นพี่เป็นน้องช่วยเหลือเกื้อกูลกันได้สัมพันธ์กันมากขึ้นและให้ความร่วมมือใน
ทุกๆ กิจกรรมเพื่อความเข้มแข็งของประชาชน
สาเหตุของการทำวิจัยครั้งนี้สืบเนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจและสังคม ตามแผนนโยบายการ
พัฒนาประเทศทางเศรษฐกิจที่ผ่านมาส่งผลให้เกิดการกำหนดนโยบายของรัฐบาลในการจัดตั้งกองทุน
หมู่บ้านและชุมชนเมือง ทั้งในชุมชนเมืองและชนบท เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชนโดย
ชุมชนเป็นผู้คิดเอง ทำเอง และแก้ปัญหาเอง เป็นการสร้างสำนึกความเป็นชุมชนท้องถิ่น ชุมชนเป็น
ผู้กำหนดอนาคตและจัดการหมู่บ้านด้วยคุณค่าและภูมิปัญญาของตนเอง นั้นคือการพัฒนาครอบครัว
ชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อม การดำเนินการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองจะประสบผลสำเร็จ
ได้ตามวัตถุประสงค์หรือไม่ขึ้นอยู่กับผู้นำคือประธานกองทุน ความสำคัญนี้จึงทำให้ผู้วิจัยสนใจที่จะ
ศึกษาถึงคุณลักษณะของผู้นำกองทุน ที่มีต่อการมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุนโดยผู้วิจัยเข้าไปศึกษา
ชุมชนที่ประสบความสำเร็จในการจัดตั้งกองทุน ที่อยู่ในกลุ่มกรุงธนเหนือและอยู่ในเขตความรับผิด
ชอบของศูนย์ศึกษาการพัฒนาการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จ
เจ้าพระยาประกอบด้วยเขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย และเขตบางกอกใหญ่ ด้วยวิธีการเข้าไป
พูดคุยสอบถาม สังเกตการณ์ โดยใช้แนวทางการสัมภาษณ์ เพื่อที่นำผลการวิจัยที่ได้ไปเป็นแนวทาง
3
และประยุกต์ใช้กับหมู่บ้านและชุมชนอื่นให้ประสบผลสำเร็จตามโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชน
เมือง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาประเทศได้อย่างมั่นคงตลอดไป
วัตถุประสงค์การวิจัย
1. เพื่อศึกษาคุณลักษณะของผู้นำกองทุนหมู่บ้านในเขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย และ
เขตบางกอกใหญ่
2. เพื่อศึกษาลักษณะการมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุน กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
3. เพื่อค้นหาคุณลักษณะเฉพาะของผู้นำกองทุน และลักษณะการมีส่วนร่วมของ
สมาชิกกองทุนของชุมชนที่มีสมาชิกกองทุนเป็นสัดส่วนร้อยละ 60 ของจำนวนครัวเรือนในชุมชน
กับชุมชนที่มีสมาชิกกองทุนเป็นสัดส่วนร้อยละ 30 ของจำนวนครัวเรือนในชุมชน
ประโยชน์ที่ได้รับ
1. ทราบถึงคุณลักษณะผู้นำในการชักจูง โน้มน้าวใจ ให้สมาชิกในชุมชนมีส่วนร่วม
2. ทราบถึงลักษณะการมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชนในการพัฒนากองทุนหมู่บ้านและ
ชุมชนเมือง
3. สามารถนำไปประกอบการวางแผนการพัฒนาเสริมสร้างสมาชิกในชุมชนให้มีความ
เข้มแข็ง อันเป็นรากฐานความเจริญของสังคมและประเทศชาติ
4. สามารถนำไปเป็นแนวทางในการเลือกผู้นำในองค์กรและหน่วยงานต่าง ๆ ได้
ขอบเขตในการวิจัย
ในการศึกษาเรื่องผู้นำกับการมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุนและชุมชนเมือง 1 ล้านบาท เป็น
การศึกษาถึงคุณลักษณะของผู้นำกองทุนที่มีต่อการมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุนที่อยู่ในเขตบางพลัด
เขตบางกอกน้อย และเขตบางกอกใหญ่ ดังนี้
1. เขตบางพลัด ประกอบด้วย
1.1 ประธานกองทุนชุมชนวัดเทพากร
1.2 ประธานกองทุนชุมชนคลองสวนพริก
1.3 ประธานกองทุนชุมชนพัฒนาซอย 79
2. เขตบางกอกน้อย ประกอบด้วย
2.1 ประธานกองทุนชุมชนวัดบางขุนนนท์
2.2 ประธานกองทุนชุมชนชวนชื่น
4
2.3 ประธานกองทุนชุมชนวัดอมรทายิการาม
2.4 ประธานกองทุนชุมชนซอยสุดสาคร
3. เขตบางกอกใหญ่ ประกอบด้วย
3.1 ประธานกองทุนชุมชนปรกอรุณ
3.2 ประธานกองทุนชุมชนวัดนาคกลาง
3.3 ประธานกองทุนชุมชนวัดหงส์รัตนาราม
โดยผู้วิจัยได้คัดเลือกชุมชนที่สามารถจัดตั้งกองทุนได้สำเร็จโดยมีลักษณะความสอดคล้องกับ
เงื่อนไขที่ได้กำหนดในกรอบการวิจัย จำนวน 10 ชุมชน แล้วนำมาแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ
5 ชุมชน ตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้โดยกำหนดให้กลุ่มที่หนึ่งเป็นกองทุนชุมชนที่มีสมาชิกร้อยละ 60 ของ
จำนวนครัวเรือนในชุมชน และกองทุนชุมชนที่สองมีสมาชิกร้อยละ 30 ของจำนวนครัวเรือนในชุมชน
ผู้วิจัยใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ และสังเกตการณ์ในการศึกษา
นิยามศัพท์เฉพาะ
บริบทชุมชน หมายถึง สภาพแวดล้อมของชุมชนที่มีความพร้อมในด้านต่าง ๆ และสามารถ
จัดตั้งกองทุนหมู่บ้านได้สำเร็จ ได้แก่ กายภาพชุมชน ภูมิปัญญา องค์กรชุมชน และ วัฒนธรรมชุมชน
ผู้นำ หมายถึง บุคคลที่สามารถชักจูงหรือโน้มน้าวให้ผู้อื่นปฏิบัติตามด้วยความเต็มใจ ทำให้
ผู้อื่นมีความเชื่อมั่นในตัวเอง สามารถแก้ไขปัญหาในกลุ่มได้และนำกลุ่มให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ใน
ที่นี้ผู้นำหมายถึง ประธานกองทุน กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง 1 ล้านบาท โดยจะศึกษาถึง
คุณลักษณะของผู้นำทางด้านการศึกษา ประสบการณ์ บุคลิกภาพ ฐานะทางเศรษฐกิจ ภาวะผู้นำ
เทคนิคการจูงใจ และการบริหารจัดการเกี่ยวกับกองทุน
ผู้นำตามธรรมชาติ หมายถึง ผู้นำที่มีความผูกพันอยู่ในชุมชนมานานทำงานด้วยความเสีย
สละโดยไม่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนตัว ทำแล้วสบายใจ ภูมิใจที่ได้ทำและรับใช้ชุมชนได้อย่างเต็มที่ทั้งต่อ
สู้และพัฒนาเพราะอยากเห็นชุมชนมีความเจริญและพัฒนาเป็นที่ยอมรับของสมาชิกโดยอัตโนมัติ
ยึดถือหลักการ มีความรู้ มีวิสัยทัศน์ เป็นนักปฏิบัติ และเป็นผู้สร้างวัฒนธรรมใหม่ในการทำงาน
ผู้นำโดยกำเนิด หมายถึง ผู้นำที่เกิดขึ้นภายใต้คุณลักษณะที่มีมาแต่เดิม ได้แก่ บรรพบุรุษอยู่
ในชุมชนมานาน มีฐานะทางเศรษฐกิจที่มั่นคง มีการศึกษาดี มีความสามารถ ประสบความสำเร็จใน
หน้าที่การงาน มีบารมี และมีการสืบทอดมาจากครอบครัว จึงเป็นที่ยอมรับของคนในชุมชน สามารถ
นำประสบการณ์ที่ได้มาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการกองทุนอย่างมีประสิทธิภาพตามความคาดหวัง
5
กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง หมายถึง กองทุนที่เกิดขึ้นตามนโยบายของรัฐบาลโดย
รัฐบาลได้จัดสรรเงินอุดหนุนให้แก่หมู่บ้านและชุมชนเมือง เพื่อทำหน้าที่เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียน
ภายในหมู่บ้านและชุมชนเมืองชุมชนละ 1 ล้านบาท
การมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุน หมายถึง การที่สมาชิกของกองทุนชุมชนได้เข้ามาร่วมกัน
ปรึกษาหารือในการดำเนินการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง 1 ล้านบาท และการมีส่วนร่วมใน
กระบวนการ 5 ร่วม คือ ร่วมคิด หนึ่งล้านจะใช้ทำอะไรดีที่สุด ร่วมตัดสินใจ ช่วยกันตัดสินใจเลือก
ทางที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมมากที่สุด ร่วมทำ เมื่อคิดตัดสินใจแล้วก็จะต้องช่วยลงมือทำ ร่วมรับ
ผลประโยชน์ ผู้ที่ทำควรเป็นผู้ได้รับประโยชน์และแบ่งปันให้คนที่ด้อยโอกาส ร่วมตรวจสอบ เพื่อ
ความโปร่งใสควรให้มีการตรวจสอบในสิ่งที่ได้ทำ
ภูมิปัญญา หมายถึง สิ่งที่ประชาชนได้สร้างขึ้นหรือนำมาพัฒนาจากทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน
แล้วนำมาแปรรูปโดยใช้ความรู้ ความสามารถและแรงงานของประชาชนเองเพื่อผลิตสินค้าสำเร็จรูป
และจำหน่าย เป็นการสร้างงาน สร้างรายได้ สร้างอาชีพสำหรับประชาชนและเศรษฐกิจของ ชุมชนด้วย
ได้แก่ การทำหัวโขน การผลิตยาสมุนไพร การเพาะพันธุ์ไม้ การเพาะพันธุ์สัตว์เลี้ยง
องค์กรชุมชน หมายถึง องค์กรที่มีอยู่ในชุมชนที่ชาวบ้านได้รวมกลุ่มกันสร้างขึ้นโดยการ
ประสานความรว่ มมอื ร่วมแรง ร่วมใจ ดำเนินกิจกรรมตามวัตถุประสงค ์ เพื่อพัฒนาและแก้ปัญหา
อย่างมีประสิทธิภาพและตรงกับความต้องการของทุกคน ได้แก่ กลุ่มออมทรัพย์
วัฒนธรรม หมายถึง สิ่งที่ดีงามในวิถีชีวิตของชุมชนที่ได้รับการสืบทอดมาแต่บรรพบุรุษ ซึ่ง
ได้รับการยอมรับและเป็นแบบอย่างที่ดีของชุมชน ได้แก่ ประเพณีการทำบุญตักบาตรในวันสำคัญ
ต่าง ๆ
การศึกษา หมายถึง ระดับการศึกษาของผู้นำกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองทุกชุมชน ตั้งแต่
ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา ปริญญาตรี ปริญญาโท โรงเรียนชุมพลทหารเรือ และ
อื่น ๆ
ประสบการณ์ หมายถึง ตำแหน่งหน้าที่การงานที่ได้รับและปฏิบัติก่อนมาเป็นผู้นำกองทุน ซึ่ง
สามารถนำมาใช้ในการบริหารจัดการและการดำเนินงานของกองทุนของผู้นำกองทุนทุกชุมชน ได้แก่
หัวหน้าการเงินและบัญชี หัวหน้างานฝ่ายเร่งรัดหนี้สิน การทำหน้าที่ทนายความ และอื่น ๆ
บุคลิกภาพ หมายถึง คุณลักษณะเฉพาะอย่างของแต่ละบุคคลที่ปรากฎออกมาและแสดงให้
บุคคลอื่นเห็นของผู้นำกองทุนทุกชุมชน ได้แก่ น่าเกรงขาม กล้าคิด กล้าพูด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ
6
ฐานะทางเศรษฐกิจ หมายถึง สิ่งที่บอกถึงรายได้ที่เกิดจากการประกอบอาชีพที่สุจริตบน
พื้นฐานความสามารถของตนเอง และพื้นฐานความเป็นอยู่ของครอบครัว ได้แก่ ฐานะปานกลาง
และฐานะดี
ภาวะผู้นำ หมายถึง ลักษณะของบุคคลหรือผู้นำในการที่ทำให้บุคคลอื่นคล้อยตามไปใน
ทิศทางและวิธีการซึ่งผู้นำกำหนดขึ้นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้
เทคนิคการจูงใจ หมายถึง วิธีการที่ผู้นำกองทุนนำมาใช้เพื่อจูงใจ โน้มน้าวใจ ประชาชน
ในชุมชนให้สมัครเป็นสมาชิกกองทุนในลักษณะของการติดต่อสื่อสาร เช่น หอกระจายข่าว ป้าย
ประชาสัมพันธ์ เดินไปพบตามบ้านเพื่อเชิญชวนและบอกถึงประโยชน์ที่สมาชิกจะได้รับ
การบริหารจัดการ หมายถึง วิธีการดำเนินการตามขั้นตอนการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านของ
ผู้นำกองทุนให้เป็นไปอย่างมีระบบ และเป็นไปตามระเบียบของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองเพื่อ
ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
การสนับสนุนจากรัฐ หมายถึง การปฏิบัติงานของพัฒนากรชุมชนประจำสำนักงานเขตซึ่งมี
หน้าที่เกี่ยวข้องกับกองทุน ได้แก่ ประเมินความพร้อม สนับสนุนการเตรียมความพร้อม สร้างความ
เข้มแข็งของหมู่บ้านและชุมชนเมือง สนับสนุนและติดตามการดำเนินกิจกรรมของกองทุน และปฏิบัติ
หน้าที่ตามที่คณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับจังหวัดมอบหมาย
กรอบแนวความคิดในการวิจัย (Conceptual Framework)
ในการศึกษาวิจัย เรื่องผู้นำกับการมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
กรณีศึกษากองทุนที่อยู่ในเขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย และเขตบางกอกใหญ่ รวมทั้งสิ้น 10
กองทุน คือ กองทุนชุมชนวัดเทพากร กองทุนชุมชนคลองสวนพริก กองทุนชุมชนพัฒนาซอย 79
กองทุนชุมชนวัดบางขุนนนท  กองทุนชุมชนชวนชื่น กองทุนชุมชนวัดอมรทายิการาม กองทุนชุมชน
ซอยสุดสาคร กองทุนชุมชนปรกอรุณ กองทุนชุมชนวัดนาคกลาง และกองทุนชุมชนวัดหงส์รัตนาราม ผู้วิจัย
ได้นำแนวคิดทฤษฎีมาพิจารณาร่วมกับหลักฐานเชิงประจักษ์ และนำมาวิเคราะห์เป็นกรอบ แนวคิด
ประกอบด้วยตัวแปรอิสระ และตัวแปรตาม ดังนี้
7
กรอบแนวความคิดการวิจัย
การมีส่วนร่วม
ของสมาชิก
กองทุน
บริบทชุมชน
ภูมิปัญญา
องค์กรชุมชน
วัฒนธรรม
คุณลักษณะผู้นำกองทุน
การศึกษา
ประสบการณ์
บุคลิกภาพ
ฐานะทางเศรษฐกิจ
ภาวะผู้นำ
เทคนิคการจูงใจ
การบริหารจัดการ
การสนับสนุนจากรัฐ
การจัดตั้งกองทุน
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาเรื่องผู้นำกับการมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุน กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
กรณีศึกษากองทุนชุมชนวัดเทพากร กองทุนชุมชนคลองสวนพริก กองทุนชุมชนพัฒนาซอย 79
กองทุนชุมชนวัดบางขุนนนท  กองทุนชุมชนชวนชื่น กองทุนชุมชนวัดอมรทายิการาม กองทุนชุมชน
ซอยสุดสาคร กองทุนชุมชนปรกอรุณ กองทุนชุมชนวัดนาคกลาง และกองทุนชุมชนวัดหงส์รัตนา
ราม เพื่อศึกษาถึงคุณลักษณะของผู้นำกองทุนที่มีต่อการมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุน ตามกรอบแนว
คิดการวิจัยประกอบด้วย บริบทชุมชน การสนับสนุนจากรัฐ คุณลักษณะผู้นำกองทุน ซึ่งมีความ
สัมพันธ์กันและส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุน การศึกษาวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้นำแนวคิด
ทฤษฎีและผลงานวิจัยที่ เกี่ยวข้องมาประกอบการวิจัยเพื่อประโยชน์ในการศึกษาคือ
1. แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับผู้นำและบทบาทผู้นำกองทุน
2. แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการมีส่วนร่วม
3. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ความสำคัญและความจำเป็นของผู้นำ
ความมุ่งหวังที่ต้องการพัฒนาประเทศชาติให้มีความมั่นคงได้นั้น จำเป็นต้องสร้างความ
เข้มแข็งให้เกิดขึ้นกับพลเมืองส่วนใหญ่ของประเทศก่อนด้วยการส่งเสริม และสนับสนุนการพัฒนาให้
ประชากรสามารถช่วยตนเองและพึ่งตนเองได้ เนื่องจากสังคมเป็นการอยู่ร่วมกันมีการกระทำต่อกัน
การดำเนินกิจกรรมหรือการกระทำงานต่าง ๆ ร่วมกันซึ่งเป็นปัจจัยที่ดีต่อการเป็นชุมชนเข้มแข็ง ได้
แก่ ความสมานสามัคคี และจำเป็นจะต้องมีผู้นำเกิดขึ้นในกลุ่มสมาชิกนั้นเพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปใน
ทิศทางเดียวกัน ผู้นำจึงเป็นสิ่งสำคัญในการที่จะเป็นผู้จูงใจให้ประชาชน หรือชาวบ้านทำงานด้วยความ
เต็มใจ ผู้นำจะเป็นผู้ที่ก่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจความสมัครสมานสามัคคี ความเป็นปึกแผ่นของ
สังคม ผู้นำจึงมีความจำเป็นในการนำหมู่บ้านหรือชุมชนไปสู่เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์
การศึกษาเกี่ยวกับผู้นำหรือแบบของผู้นำมีการศึกษาไว้มากพอสมควรอย่างไรก็ตามการ
ศึกษาเกือบทั้งหมดเป็นการศึกษาโดยใช้ทฤษฎีอื่น เช่น ทฤษฎีผู้นำตามลักษณะการใช้อำนาจของเลวิน
ลิปิท และไวท์ (Lewin, Lippit and White) ทฤษฎีผู้นำตามสถานะการณ์ของ แทนเนนเบาม์ และ
ชมิดท์ (Tannenbaum and Schmidt) ทฤษฎีทั้ง 4 ระบบของ ไลเคิร์ด (Likert) ทฤษฎีผู้นำสองมิติ
ของมหาวิทยาลัยโอไฮโอ (Ohio University) มหาวิทยาลัยมิชิแกน (Michigan University) และ
ทฤษฎีข่ายการบริหารของเบลคและมูตัน เป็นต้น (Blake and Mouton) เป็นต้น ส่วนการศึกษาแบบผู้
นำหรือแบบการบริหารของผู้นำ โดยใช้ทฤษฎีสามมิติของเรดดิน (Reddin’s 3 – Dimension
Theory) ซึ่งมีลักษณะรวมหรือประมวลทฤษฎีผู้นำอื่น ๆ เข้าด้วยกันมากกว่า ยังมีน้อย และยังไม่ปรา
9
กฎว่ามีการใช้ทฤษฎีดังกล่าวนี้ศึกษาพฤติกรรมผู้นำหรือแบบผู้นำของผู้บริหารในองค์การธุรกิจภาค
เอกชน ตามที่วอล และฮอกินส์ คือผู้ที่ทำการรวบรวมดังที่กล่าวมาข้างต้น (Wall and Howkins 1964
: 396 อ้างใน นิพนธ์ อุทก 2535 : 3) ในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยได้นำแนวคิดทฤษฎี สามมิติของ
เรดดิน (Reddin’s 3 – Dimension Theory) ซึ่งมีลักษณะรวมหรือประมวลทฤษฎีผู้นำอื่น ๆ
ประกอบกับแนวความคิดของ วอล และฮอกินส์ โดยมีรายละเอียดที่สำคัญและสอดคล้องกับกรอบ
การวิจัยตามลำดับดังนี้
แนวคิดเกี่ยวกับผู้นำ (Leadership)
จากครอบครัวมาสู่สังคมภายนอก การรวมกลุ่มของมนุษย์และสัตว์สังคมจะต้องมีผู้ที่มี
อำนาจและอิทธิพลที่ทำให้สมาชิกในกลุ่มปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ที่มีความสำคัญและมีความสามารถใน
การนำพา กลุ่มไปสู่ทิศทางและเป้าหมายที่กลุ่มต้องการ ด้วยวิธีโน้มน้าว จูงใจ จากผู้นำหรือเกิดผู้ตาม
มีความเคารพศรัทธาต่อศักยภาพในตัวผู้นำเอง ดังนั้นในกระบวนการประสานสายใยของกลุ่ม องค์กร
ชุมชน สังคม มีความสัมพันธ์กับผู้นำคือผู้สร้างจุดมุ่งหมาย พลังความร่วมมือจากสมาชิกทุกคนใน
กลุ่ม
ผู้นำมีหน้าที่หลายประการ แต่พอจะสรุปตามแนวความคิดของ วอล และฮอกินส์ (Wall
and Howkins อ้างใน นิพนธ์ อุทก 2535 : 4) ดังนี้
1. เป็นนักบริหารที่ดี
2. เป็นผู้วางนโยบาย
3. เป็นผู้วางแผน
4. เป็นผู้เชี่ยวชาญ
5. เป็นตัวอย่าง
6. เป็นสัญลักษณ์ของกลุ่ม
7. เป็นผู้แทนของกลุ่มในการติดต่อภายนอก
8. เป็นผู้ให้คุณให้โทษ
9. เป็นผู้ตัดสินหรือวินิจฉัยสั่งการ
10. เป็นผู้รับผิดชอบองค์การหรือหน่วยงาน
11. เป็นผู้รักษาสัมพันธภาพระหว่างผู้ใต้บังคับบัญชากับผู้บังคับบัญชา
12. เป็นนักอุดมคติหรือเป็นผู้มีอุดมการณ์
10
ความหมายของผู้นำ
นักวิชาการหลายท่านให้ความหมายเกี่ยวกับผู้นำ ผู้วิจัยนำมาเพื่อศึกษาและทำความเข้าใจ
ดังนี้นอกจากแนวคิดดังกล่าวแล้วยังมีแนวคิดว่าผู้นาํ ควรมีหน้าที่เป็นผู้สอนและแนะนาํ หรอื นิเทศการ
ทำงานให้กับผู้ร่วมงาน หรือผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา ตลอดจนเป็นผู้สั่งและผู้ควบคุมงาน
ฟิดเลอร์ (Fiedler 1967 : 78 – 79) ให้ความเห็นว่า ผู้นำจะต้องมีลักษณะอย่างใดอย่าง
หนึ่งตามเกณฑ์ต่อไปนี้ (1) ได้รับการแต่งตั้งดำรงตำแหน่งผู้นำ ผู้นิเทศก์ ประธาน ฯลฯ โดยเป็นตัว
แทนของกลุ่ม (2) เป็นผู้ได้รับการเลือกจากกลุ่ม (3) เป็นผู้แสดงออกให้เห็นว่ามีอิทธิพลมากที่สุด
โดยใช้สังคมมิติ
เบอร์บี (Burby 1972 : 43 – 46 อ้างใน นิพนธ์ อุทก 2535 : 9) กล่าวว่า ผู้นำคือบุคคล
ที่สามารถชักจูงให้คนอื่นปฏิบัติตามความตั้งใจทำให้ผู้ตามมีความเชื่อมั่นในตัวเขา สามารถช่วยคลี่
คลายความตึงเครียดต่าง ๆ ลงได้ สามารถนำกลุ่มให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายที่ตั้งเอาไว้
ดัน (Dunn 1973 : 173 อ้างในนิพนธ์ อุทก 2535 : 9) กล่าวว่า ผู้นำคือผู้ที่มีอิทธิพล
เหนือคนอื่น โดยชักชวนให้คนอื่นเหล่านั้นช่วยปฏิบัติภารกิจให้สำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
อรุณ รักธรรม (2522 : 18 ) ได้ให้ความหมายผู้นำว่าหมายถึงบุคคลซึ่งได้รับการ แต่งตั้ง
ขึ้น หรือได้รับคำยกย่องขึ้นให้เป็นหัวหน้าผู้ตัดสินใจ เพราะมีความสามารถในการปกครองบังคับ
บัญชาและจะพาผู้ใต้บังคับบัญชาหรือหมู่ชนไปในทางที่ดีหรือชั่วได้
บุญธัน ดอกไธสง (2520 : 6) มองว่า ผู้นำคือ ผู้ก้าวไปข้างหน้าผู้แสดงตนเป็น คนนำ
ผู้มีอำนาจบังคับมีภาวะเป็นผู้นำ มีตำแหน่งบทบาทผู้นำ ความสามารถในการแนะนำ ความสามารถ
ในการนำ
สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ (2520 : 2) มองว่า ผู้นำคือ ผู้ที่มีคนเดินตามหรือทำตามในสิ่งที่
ผู้นำสั่งให้ทำ ผู้นำเป็นผู้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่ “ผล” สำเร็จซึ่งผู้นำที่แท้จริงไม่จำเป็น
ต้องเป็นผู้ที่มีตำแหน่ง
ทีเอ็นไวท์เฮค (T.N.Whitehead 1963 : 68) กล่าวว่า ผู้นำ คือบุคคลที่ได้รับการ
คัดเลือกจากคนอื่น ๆ ในกลุ่มเป็นผู้ที่มีความสามารถช่วยเหลือผู้อื่นในสิ่งที่ผู้อื่นร้องขอ สามารถชี้นำ
หนทางให้ผู้อื่นทำตามโดยผู้ตามให้ความเชื่อฟัง
เรมัน เจเบอร์บี้ (Raymond J. Burby 1972 : 43) กล่าวว่า ผู้นำคือ บุคคลที่สามารถ
จูงใจคนให้ปฏิบัติตามด้วยความเข้าใจ ทำให้ผู้ตามมีความเชื่อมั่นในตัวเธอ สามารถช่วยคลี่คลาย
ความตึงเครียดต่าง ๆ ลงได้และนำกลุ่มให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้
จากความหมายของผู้นำกล่าวรวมในการวิจัยครั้งนี้ได้ว่า ผู้นำ คือ ผู้ที่ได้รับการยอมรับ
จากประชาชนในชุมชนและใช้อำนาจหน้าที่ตามสถานภาพและบทบาทที่ตนดำรงอย ู่ และเป็นผู้สามารถ
จูงใจและโน้มน้าวใจให้สมาชิกทำงานด้วยความเต็มใจ ก่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจ ความสมัคร
11
สมานสามัคคีในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้ไปสู่เป้าหมายและวัตถุประสงค์ร่วมกัน ผู้นำจึงเป็น
บุคคลที่ดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าหน่วยงาน โดยการแต่งตั้ง เลือกตั้งหรือได้รับการยกย่องและเป็น
บุคคลที่มีอิทธิพลเหนือจิตใจผู้อื่นในการที่จะชักชวนให้เขาปฏิบัติตามคำสั่ง สามารถนำไปกล่าวได้ว่าผู้
นำหรือประธานกองทุนหมู่บ้าน คือ ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการโน้มน้าวหรือจูงใจประชาชนให้ปฏิบัติ
ตามด้วยความเต็มใจในการสมัครเป็นสมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองได้สำเร็จ
ทฤษฎีเกี่ยวกับผู้นำ
สำหรับทฤษฎีเกี่ยวกับผู้นำหรือภาวะผู้นำที่รู้จักกันแพร่หลายมีมากมายหลายทฤษฎี และมี
ทฤษฎีที่สนใจและเหมาะสมกับบริบทของการศึกษาผู้นำกับการมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุนนำเสนอ
มีดังนี้คือ
1. ทฤษฎีผู้นำตามธรรมชาติ (Situational or Contingency Theory)
2. ทฤษฎีผู้นำโดยกำเนิด
3. ทฤษฎีคุณลักษณะผู้นำ (Trait Theory of Leadership)
ซึ่งในที่นี้ผู้วิจัยขอกล่าวรายละเอียดเฉพาะทฤษฎีที่สำคัญ ดังต่อไปนี้
1. ทฤษฎีผู้นำตามธรรมชาติ (Situational or Contingency Theory)
สาระสำคัญของทฤษฎีนี้ก็คือ แนวคิดที่ว่าการที่ผู้นำคนใดจะแสดงภาวะผู้นำหรือพฤติกรรม
ผู้นำอย่างไรนั้นมีปัจจัยหลายประการ และเห็นว่าปัจจัยหนึ่งที่สำคัญที่สุดก็คือสถานการณ์
นิพนธ์ อุทก (2535 : 11) ได้รวบรวมนักทฤษฎีผู้นำตามสถานการณ์หรือที่เห็นว่าพฤติ
กรรมผู้นำเกี่ยวกับสถานการณ์ ของ เฮลริเกล และสโลคัม (Don Hellriegel and Slocum) แทนเนน
เบาม์ และ ชมิดท์ (Tannenbaum and Shmidt.) และ เคส (Case) ซึ่งสรุปสาระสำคัญของนักทฤษฎี
ผู้นำตามสถานการณ์ได้ดังนี้
เคส (Case) กล่าวว่า องค์ประกอบสำคัญของภาวะผู้นำ ได้แก่บุคลิกลักษณะของผู้นำเอง
ได้แก่
1. ธรรมชาติของกลุ่มและสมาชิกภายในกลุ่ม
2. เหตุการณ์หรือปัญหาที่เผชิญหน้ากลุ่มอยู่
เฮลริเกล และสโลคัม (Don Hellriegel and Slocum) กล่าวว่าองค์ประกอบของภาวะผู้นำ
หรือพฤติกรรมผู้นำมา 3 ส่วนคือ
1. สถานการณ์
12
2. กลุ่มคน
3. ค่านิยมส่วนตัวของผู้บริหาร
แทนเนนเบาม ์ และชมิดท  (Tannenbaum and Shmidt.) ได้ชี้ให้เห็นว่าปัจจัยต่าง ๆ โดยมี
อิทธิพลต่อการเลือกแบบเป็นผู้นำมีหลายประการ กล่าวคือ
1. แรงกดดันจากผู้บริหารระดับเหนือ
2. แรงกดดันจากผู้ใต้บังคับบัญชา
3. แรงกดดันจากสถานการณ์
นอกจากนั้นแทนเนนเบาว์และชมิดท์ยังเห็นว่าลักษณะของปัญหาและแรงกดดันของเวลาก็
เป็นปัจจัยที่ส่งผลหรือมีอิทธิพลต่อการกำหนดแบบผู้นำของผู้บริหารอีกด้วย
ประเวศ วะสี (2542 : 18-22) กล่าวถึงผู้นำตามธรรมชาติในกระบวนการชุมชน ที่สมาชิก
ร่วมคิด ร่วมทำ จะเกิดผู้นำตามธรรมชาติเสมอ เรียกว่าเกิดขึ้น 100 เปอร์เซ็นต์ ผู้นำตามธรรมชาติจะ
มีลักษณะดังนี้คือ
1. ฉลาด ผู้นำตามธรรมชาติ แต่ผู้นำ (ดำรงตำแหน่ง) ที่ได้มากจากการแต่งตั้งหรือ
โดยการเลือกตั้งไม่แน่ว่าจะเป็นคนฉลาด เพราะการแต่งตั้งและการเลือกตั้งมีเหตุปัจจัยที่ทำให้ไม่ได้
ของแท้ แต่ในกระบวนการร่วมคิดร่วมทำ ของแท้จะปรากฏตัวให้สมาชิกได้รับรู้เสมอ
2. เป็นคนเห็นแก่ส่วนรวม ทำให้ส่วนรวมมีกำลัง คนเห็นแก่ตัวทำให้ส่วนรวมอ่อน
กำลัง ในกระบวนการทำงานร่วมกันความเห็นแก่ตัวหรือความเห็นแก่ส่วนรวมจะปรากฎให้ผู้คนได้รับ
รู้ แต่ในการแต่งตั้งและเลือกตั้งคุณสมบัติเหล่านี้อาจยังไม่เป็นที่ปรากฎ
3. เป็นคนติดต่อสื่อสารกับผู้คนรู้เรื่อง คนฉลาดและเห็นแก่ส่วนรวม แต่เป็นคนไม่
ติดต่อสื่อสารหรือติดต่อสื่อสารไม่รู้เรื่องก็เป็นผู้นำไม่ได้
4. เป็นที่ยอมรับของสมาชิกโดยอัตโนมัติ ผู้นำตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นในกระบวนการ
ชุมชนจะมีหลายคนและมีทั้งหญิงและชาย ตามธรรมชาติของความเหมาะสม การมีผู้นำหลายคนช่วย
ประกันความยั่งยืนและต่อเนื่อง ต่างจากผู้นำเดี่ยวที่แม้ดีก็มีความเป็นอนิจังไม่ยั่งยืน
คนที่มีศักยภาพที่จะเป็นผู้นำหากไม่ได้ผ่านกระบวนการทำงานร่วมกันก็ไม่ทราบว่าตัวเองมี
ความเป็นผู้นำและคนอื่นก็ไม่ทราบ ฉะนั้น ถ้าคนไม่เคยทำงานร่วมกันมาก่อน อยู่ดี ๆ ก็ให้เลือกตั้งก็
จะเลือกไม่ถูกตัว แต่กระบวนการทำงานร่วมกัน จะทำให้ความเป็นผู้นำปรากฏออกมา นี้ก็เป็นเช่น
เดียวกับคำกล่าวที่ว่า “สถานการณ์สร้างผู้นำ” กุญแจของเรื่องนี้ คือกระบวนการทำงานร่วมกันอันจะ
ก่อให้ ผู้นำตามธรรมชาติปรากฏตัวขึ้น
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต) (2542 : 9-24) ได้กล่าวถึงภาวะผู้นำที่มีความสัมพันธ์
สอดคล้องกับลักษณะผู้นำตามธรรมชาติโดยมีหลักสำคัญดังนี้
13
1. ผู้นำประสานคนภายในดุลยภาพแห่งธรรม นั้นคือ พรหมวิหาร 4 ประการเป็น
ธรรมประจำใจของคนที่มีจิตใจยิ่งใหญ่ เป็นผู้ประเสริฐ อันแสดงถึงความเป็นบุคคลที่มีการศึกษาได้
พัฒนาตนแล้ว ได้แก่ การมีความเมตตา ความเป็นมิตรไมตรี ความมีนำใจปรารถนาดี ต้องการให้เขา
มีความสุข มีความต้องการสร้างความสุขความเจริญให้แก่บุคคลอื่นทั่วไป กรุณา ความรู้สึกไวต่อความ
ทุกข์ความเดือดร้อนของผู้อื่น มุทิตา มีความรู้สึกยินดี ช่วยส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้อื่นเจริญรุ่งเรือง
อุเบกขา คือการรักษาความเป็นกลาง ไม่ลำเอียง ไม่เข้าข้าง
2. ผู้นำที่ดีได้ทั้งคนได้ทั้งงาน ไม่เสียหลักการ
3. ผู้นำที่แท้เป็นสื่อที่แสดงตัวของธรรม การที่เป็นคนมีจิตใจที่ตั้งมั่น ไม่มีความรู้สึก
ทุกข์ยากลำบาก ไม่หวั่นไหวไปตามความรู้สึกที่เรียกว่าเป็นอารมณ์
4. ผู้นำสื่อสารให้ผู้โดยสารเห็นทางสว่างตาสว่างใจไปด้วยกัน ผู้นำที่ได้ศึกษาและ
พัฒนาตน เป็นผู้มีสติปัญญา มีความรู้ความสามารถ มีคุณธรรมดีงาม เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความศรัทธา
และร่วมมือด้วยดี
5. ผู้นำรู้ทั้ง 7 ด้านซึ่งทำให้พร้อมที่จะจัดการ คือ รู้หลักการ รู้จุดมุ่งหมาย รู้ตน
รู้ประมาณ รู้กาล รู้ชุมชน และรู้บุคคล
6. ผู้นำที่ยิ่งใหญ่ มองกว้าง คือการมองที่กว้างไกล ทั่วทั้งหมด เพื่อเห็นหนทางแก้ไข
และโอกาสช่องทางที่จะนำไปสู่จุดหมาย คิดไกล คิดในเชิงปัจจัยทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลัง ภาวะ
การณ์ในอดีตและอนาคตเพื่อการวางแผนให้บรรลุจุดหมาย และใฝ่สูง คือใฝ่ปรารถนาที่ดีงามที่
ประเสริฐและสูงส่ง เป็นประโยชน์สุขของสังคม ความร่มเย็นและน่าอยู่ของโลกทั้งหมด
2. ทฤษฎีผู้นำโดยกำเนิด
ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม (2542 : 93-100) กล่าวว่า การกำเนิดของผู้นำโดยทั่ว ๆ ไปมีอยู่
หลายช่องทาง ในกลุ่มคน ในสถานการณ์หนึ่งโดยธรรมชาติอาจจะสร้างผู้นำขึ้นมาคนหนึ่ง แต่เมื่อ
สถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป ผู้นำอีกคนหนึ่งอาจจะเหมาะสมมากกว่า เช่นนี้เรียกว่า “ผู้นำตามธรรม
ชาติ” ส่วนผู้นำที่ไม่เป็นตามธรรมชาติ คือผู้นำโดยกำเนิด ผู้นำโดยการแต่งตั้ง ในอนาคต จำนวนผู้นำ
ที่เป็นไปตามธรรมชาติจะมีมากขึ้น พร้อมกันนั้นยังเป็นผู้นำตามสถานการณ์ หรือจะเป็นผู้นำที่ต้อง
สะท้อนสถานการณ์ ขณะเดียวกันต้องช่วยกันส่งเสริมการเป็นผู้นำโดยกลุ่มให้มากขึ้นกว่าการเป็นผู้นำ
โดยบุคคล ควรส่งเสริม สร้าง ฝึกฝนให้คนในองค์การพยายามช่วยเหลือตัวเอง ฝึกคนให้เป็นผู้นำได้
เมื่อสถานการณ์มา
การเป็นผู้นำที่ไม่เหมาะสมในลักษณะของการจัดการ เป็นผู้นำที่ไม่ตลอดกาล ผู้นำตาม
สถานการณ์เป็นผู้นำที่อยู่ภายใต้ระบบที่คนไม่ใช่หวังพึ่งแต่ผู้นำ แต่พยายามพึ่งตนเอง หรือพึ่งพาซึ่ง
กันและกัน
14
3. ทฤษฎีคุณลักษณะผู้นำ (Trait Theory of Leadership)
สต็อคดิลล์ (Stogdill 1974 : 24) ได้สร้างทฤษฎีคุณลักษณะผู้นำ คือ ทฤษฎีที่แสวงหา
คุณลักษณะด้านบุคลิกภาพ ด้านสังคม ด้านร่างกาย หรือด้านสติปัญญา ซึ่งแยกให้เห็นความแตก
ต่างของคนที่เป็นผู้นำออกจากคนที่ไม่ได้เป็นผู้นำ มีคุณลักษณะ 6 ประการคือ
1. มีร่างกายแข็งแรง
2. มีภูมิหลังการศึกษาดีและสถานภาพทางสังคมดี
3. มีสติปัญญาฉลาด ตัดสินใจดี มีความสามารถในการติดต่อสื่อสาร
4. บุคลิกภาพเป็นผู้นำที่มีความตื่นตัวและควบคุมอารมณ์ได้ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
และมีความเชื่อมั่นในตนเอง
5. มีความรับผิดชอบ ขยัน อดทน
6. มีลักษณะทางสังคม ปรารถนาที่จะร่วมงานกับผู้อื่น มีเกียรติและเป็นที่ยอมรับของ
บุคคลอื่นและเข้าสังคมได้ดี
ทฤษฎีคุณลักษณะผู้นำ เป็นทฤษฎีที่ศึกษาเกี่ยวกับผู้นำโดยพิจารณาถึงคุณลักษณะ (Trait)
ของผู้นำทั้งทางกายภาพและจิตใจ ทฤษฎีคุณลักษณะผู้นำเป็นความพยายามของนักจิตวิทยา และนัก
วิจัยที่ทำการศึกษาอย่างเป็นระบบ เพื่อศึกษาถึงลักษณะผู้บริหารหรือผู้นำใช้เป็นปัจจัยในการสร้าง
อำนาจและอิทธิพลเหนือจิตใจของผู้ตามหรือผู้ใต้บังคับบัญชาให้ปฏิบัติตามที่ผู้นำต้องการ ในการค้น
หาคุณลักษณะของผู้นำ นักวิจัยได้ใช้วิธีการสองอย่างคือ (มยุรี รังษีสมบัติศิริ 2530 : 13)
1. เปรียบเทียบคุณลักษณะของผู้นำกับคุณลักษณะของบุคคลที่ไม่ได้เป็นผู้นำ
2.เปรียบเทียบคุณลักษณะของผู้นำที่มีประสิทธิภาพกับคุณลักษณะของผู้นำที่ไม่มีประสิทธิ
ภาพ
การศึกษาส่วนใหญ่ใช้วิธีการแรก ทั้งนี้เพื่อค้นหาคุณลักษณะของผู้นำที่มีลักษณะเป็นสากล
(Universal Trait) ซึ่งสามารถนำไปใช้บ่งชี้ผู้นำได้โดยทั่วไป แต่ก็ไม่สามารถค้นหาได้ ดังที่กูลเนอร์
(Goulner อ้างใน นิพนธ์ อุทก 2535 : 10) ได้สรุปว่าการศึกษาที่ผ่านมายังไม่มีหลักฐานใดที่น่าเชื่อ
ได้เกี่ยวกับสิ่งที่เรียกว่าคุณลักษณะผู้นำที่เป็นสากล เช่นเดียวกันวรูม (Vroom 1975 : 15 – 27)
กล่าวว่าการศึกษาเพื่อค้นหาคุณลักษณะของผู้นำไม่ประสบความสำเร็จ เพราะไม่อาจชี้ให้เห็นคุณ
ลักษณะ ใด ๆ ที่ทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างผู้นำหรือผู้บริหารกับผู้ตามหรือผู้ใต้บังคับบัญชาได้
อย่างชัดเจน และแน่นอน ซึ่งเรดดิน (Reddin 1970 : 204) ได้สรุปว่าแนวการศึกษาผู้นำโดยการค้น
หาคุณลักษณะของผู้นำมีจุดอ่อนตรงที่ไม่สามารถหาคุณลักษณะที่ดีที่สุดจะนำไปใช้ให้เหมาะสมกับทุก
สถานการณ์ได้
ส่วนการศึกษาแบบที่สองมีไม่มากนัก ซึ่งผลการศึกษาต่างก็ประสบความล้มเหลวเพราะไม่
สามารถชี้ให้เห็นคุณลักษณะของผู้นำที่ประสบความสำเร็จเช่นกัน การศึกษาในขอบเขตดังกล่าวพบว่า
ความเป็นผู้นำที่มีประสิทธิผลไม่ได้ขึ้นอยู่กับลักษณะเฉพาะอย่าง แต่ขึ้นอยู่กับความสามารถในการ
15
บังคับบัญชา และขึ้นอยู่กับว่าคุณลักษณะของผู้นำมีความเหมาะสมกับสถานการณ์ที่กำลังเผชิญอยู่
เพียงใด
คุณสมบัติของผู้นำ
ผู้นำจำเป็นต้องมีคุณสมบัติอะไรบางอย่างที่คนธรรมดาทั่วไปไม่มี เช่น ผู้นำนั้นจะต้องพูด
เก่ง ต้องเป็นคนใจคอกว้างขวางอย่างที่เรียกว่าใจถึง ต้องเป็นนักฉวยโอกาส ต้องกล้าใช้อำนาจเด็ดขาด
และผู้นำจะต้องมีโชคค่อนข้างดี เป็นต้น (ณรงค์ สินสวัสดิ์ 2537 : 48)
ธงชัย สันติวงษ์ (2537 : 24) ได้กล่าวว่า คุณสมบัติของผู้นำมีหลายประการคือ
1. คุณลักษณะทางร่างกาย (Ahysical Traits) ได้แก่ รูปร่าง หน้าตา สุขภาพสมบูรณ์
แข็งแรง
2. คุณลักษณะด้านบุคลิกภาพ (Personal Traits) ได้แก่ความกระตือรือร้นในหน้าที่การ
งาน มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ อดทน มานะพยายาม สามารถปรับตัวและมีความมั่นคงทางอารมณ์
3. คุณลักษณะนิสัยส่วนตัว (Personal Traits) ได้แก่ความฉลาด ความรับผิดชอบ การ
ชอบและรักงาน มีความรู้ ประสบการณ์ สามารถสื่อสารกับบุคคลอื่นได้
4. คุณลักษณะทางสังคม (Social Traits) มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นประนีประนอม มี
มนุษยสัมพันธ์เป็นที่ไว้วางใจได้ เป็นที่นิยมชมชอบของบุคคลทั่วไป ยิ้มแย้มแจ่มใส
โอดเวย์ ทีค (Ordway Tead 193 :48) ได้รวบรวมคุณสมบัติที่สำคัญที่ผู้นำควรจะต้องมีคือ
1. มีพลังกายและประสาทที่เข้มแข็ง กล่าวคือ การทำงานจะประสบความสำเร็จและมี
ประสิทธิภาพในการทำงานจะมีมากน้อยเพียงใด ต้องขึ้นอยู่กับความเข้มแข็งของร่างกายและความ
เข้มแข็งของประสาท เพราะจะทำให้เขามีความกระตือรือร้นที่จะทำงานอย่างไม่หยุดยั้ง ซึ่งจะทำให้ผู้
ตามมีความเข้มแข็งและกระตือรือร้นตามไปด้วย
2. รู้จุดมุ่งหมายและแนวทาง คือ ผู้นำจะต้องมีเป้าหมายและวิธีการที่แน่นอนคนอื่น
สามารถเข้าใจหรืออธิบายให้คนอื่นเข้าใจได้ เป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่เห็นดีเห็นชอบกับเป้าหมาย และวิธี
การที่ผู้นำมีอยู่ และผู้นำจะต้องยึดมั่นอย่างแข็งขันอย่างจริงจังและพยายามกระทำให้เป้าหมายและวิธี
การไปสู่เป้าหมายนั้นได้เป็นจริงขึ้นมา
3. ความเป็นมิตรและความรัก คือ ผู้นำควรจะทำให้ผู้ตามโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนใกล้ชิดมี
ความรู้สึกว่านอกจากเขาจะเป็นผู้นำแล้ว เขายังเป็นเพื่อนที่มีความผูกพันกับผู้ตามให้ความรักใคร่
สนิทสนม ซึ่งก็ย่อมอาจจะเพิ่มความรักใคร่นับถืออย่างจริงใจของบริการที่มีต่อผู้นำมากขึ้น
16
4. ความน่าเชื่อถือ คือ ผู้นำต้องเป็นผู้ที่ผู้ตามมีความรู้สึกไว้ใจผู้นำของตนและเชื่อมั่นว่า
ผลประโยชน์ของพวกเขาจะปลอดภัยภายใต้การดำเนินการของผู้นำ ผู้ตามจะมีความรู้สึกว่าผู้นำนั้นไว้
ใจได้และเป็นคนที่สัญญาอะไรแล้วต้องทำให้สำเร็จ
5. ความกล้าตัดสินใจ คือ ผู้นำจะต้องเป็นคนกล้าตัดสินใจมิฉะนั้นปัญหาต่าง ๆ ก็ไม่มีวัน
ได้รับการแก้ไข ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อผลที่ตามมามีความเชื่อมั่น และไม่หวาดกลัวปัญหาที่จะเกิด
ขึ้นด้วยประการใด ๆ ทั้งสิ้น และต้องเป็นผู้มีความรับผิดชอบ
6. ศรัทธาและความเชื่อมั่น คือ ผู้นำจะต้องเสริมศรัทธาและความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ตามของ
เขาจนยอมใช้พลังงานที่พวกเขามีอยู่ กระทำการใด ๆ โดยเชื่อว่าสิ่งที่เขากระทำนั้น ย่อมจะเป็นผล
ประโยชน์อย่างยิ่งต่อพวกเขาเอง กล่าวคือ การที่จะเป็นผู้นำที่ดีได้นั้นจะต้องเป็นผู้ที่มี บุคลิก
ลักษณะที่สมบูรณ์แข็งแรง มีความกระตือรือร้นในการทำงาน มีความรับผิดชอบ มีความเชื่อมั่นและมี
ความคิด ริเริ่มสร้างสรรค์รวมทั้งมีมนุษยสัมพันธ์และความเป็นมิตรกับบุคคลทั่วไป บุคคลที่มีคุณ
สมบัติดังกล่าวมักเป็นผู้นำที่มีความน่านับถือ และเป็นที่ศรัทธาของประชาชนเปรียบเสมือนผู้นำกอง
ทุนกับสมาชิกในชุมชน
ลักษณะของผู้นำ
ไพบูลย์ วัฒนธรรม (2540 : 93-96) กล่าวว่าในลักษณะหนึ่งโดยธรรมชาติจะสร้างผู้
นำขึ้นมาคนหนึ่งเรียกว่า “ผู้นำตามธรรมชาติ” และเมื่อสภาพการเปลี่ยนไปผู้นำอีกคนหนึ่งอาจจะ
เหมาะสมกว่า ผู้นำที่ไม่เป็นธรรมชาติคือผู้นำโดยการแต่งตั้ง เช่นเดียวกับประเวศวะสี (2540 :
27-28) กล่าวว่า ในกระบวนการชุมชนที่สมาชิกร่วมคิด ร่วมทำจะเกิดผู้นำตามธรรมชาติและผู้นำ
ตามธรรมชาติมีลักษณะ คือ ฉลาด เป็นคนเห็นแก่ส่วนรวม เป็นคนติดต่อสื่อสารกับคนรู้เรื่อง เป็นที่
ยอมรับของสมาชิกโดยอัตโนมัติ สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ (2540 : 85-89) ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า
ผู้นำจะต้องมีหลายส่วนในตัวคนเดียวกันประกอบด้วย ผู้นำผู้ยึดหลักการ ผู้นำผู้มีความรู้และวิสัยทัศน์
ดี ผู้นำที่เป็นนักปฏิบัติ ผู้นำที่เป็นผู้สร้าง วัฒนธรรมใหม่ในการทำงาน เป็นต้น
ฟิลเลอร์, เฟรด อี. (Fred E. Fiedler 1967 : 38) กล่าวว่า ลักษณะของผู้นำขึ้นอยู่กับ
สถานการณ์ สภาพแวดล้อม ทัศนคติและแนวความคิดของบุคคล รวมทั้งความคาดหวังและการ
สนองตอบของผู้ตามตลอดจนขึ้นอยู่กับเวลาและประสบการณ์ในการปฏิบัติงานของผู้นำ
ดังนั้นลักษณะของผู้นำจึงเป็นปัจจัยให้ผู้นำสามารถปฏิบัติงานในหน้าที่ด้านต่าง ๆ ได้สำเร็จ
สำหรับคุณลักษณะผู้นำที่สามารถนำมาใช้ในกรณีของการศึกษาวิจัย เรื่อง ผู้นำกับการมีส่วนร่วม
ของสมาชิกกองทุนตามความคิดเห็นของประเวศวะสี (2542 : 27-28) ได้กล่าวในกระบวนการชุม
ชนที่สมาชิกมีส่วนร่วม ร่วมคิด ร่วมทำ จะเกิดจากผู้นำ ดังนั้น ผู้นำจะต้องเป็นผู้ที่ฉลาด มีวิสัยทัศน์
เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมและเป็นที่ยอมรับของสมาชิก
17
ภาวะการเป็นผู้นำ
ความสำเร็จของการเป็นผู้นำขึ้นอยู่กับภาวะการเป็นผู้นำ ซึ่งได้มีผู้ให้ความหมายของภาวะ
การเป็นผู้นำไว้หลายท่าน ซึ่งจะนำมากล่าวในที่นี้คือ
ปรัชญา เวสารัชช์ (2526 : 333) ได้ให้คำนิยามของภาวะผู้นำว่า ภาวะผู้นำเป็นลักษณะ
ความสัมพันธ์รูปหนึ่งระหว่างคนในกลุ่ม เป็นความสัมพันธ์ที่บุคคลหนึ่งหรือหลายบุคคลซึ่งเราเรียก
ว่าผู้นำสามารถทำให้คนอื่นส่วนมากซึ่งเป็นผู้ตามดำเนินการไปในทิศทางและวิธีการที่ผู้นำกำหนดหรือ
ต้องการ
ทีด (Tead 1935 : 36) ได้ให้ความหมายของภาวะผู้นำ คือ การใช้อิทธิพลจูงใจให้ผู้อื่น
ร่วมมือร่วมใจในการปฏิบัติงาน เพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมาย กล่าวโดยสรุป ผู้นำคือลักษณะส่วน
ตัวของบุคคลที่แสดงออกมาเมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มในระหว่างทำงานหรือผู้ร่วมงานในสถานการณ์
เดียวกัน ในอันที่จะทำให้กิจกรรมของกลุ่มดำเนินไปสู่เป้าหมายและความสำเร็จ
เดวิส (Davis 2533 : 22) เห็นว่าภาวะผู้นำเป็นปัจจัยสำคัญในการรวมกลุ่มคนและจูงใจ
คนไปยังเป้าหมายประการใดประการหนึ่ง ภาวะผู้นำทำให้ศักยภาพเป็นจริงขึ้นมาเพราะถือว่าเป็น
ภาวะแห่งการปฏิบัติ การที่ทำให้ศักยภาพในตัวคนบังเกิดความสำเร็จภาวะผู้นำจึงเป็นปัจจัยสำคัญใน
การเป็นผู้นำ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการปฏิบัติงาน และความก้าวหน้าแก่ผู้ร่วมปฏิบัติงาน
เสริมสร้างองค์การหรือหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
สตอคดิลล์ (Stogdill 1974 : 24-75) ได้กำหนดคุณลักษณะของภาวะผู้นำดังนี้
1. ภาวะผู้นำในฐานะที่มีการเน้นถึงกระบวนการของกลุ่มกล่าวคือ ความมีอำนาจของ
บุคคลหนึ่ง หรือ 2-3 คน เหนือคนอื่น ๆ ภายในกลุ่มที่สามารถควบคุมกระบวนการและปรากฏ
การณ์ต่าง ๆ ทางสังคม
2. ภาวะผู้นำในฐานะที่เป็นบุคลิกภาพ (Personality) อัตลักษณ์ (Character) และ
คุณลักษณะที่มีลักษณะที่พึงประสงค์มากกว่าอื่น ๆ
3. ภาวะผู้นำในฐานะที่เป็นศิลปของการโน้มน้าวจิตใจของผู้อื่นให้คล้อยตามความประสงค์
ของตน สามารถทำให้ผู้ตามตระหนักถึงความประสงค์ของตน ตลอดจนทำให้ผู้ตามเชื่อฟังมี
ความจงรักภักดีและให้ความร่วมมือ
18
4. ภาวะผู้นำในฐานะที่เป็นการใช้อิทธิพล เช่น การใช้อิทธิพลเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
ของผู้อื่น
5. ภาวะผู้นำในฐานะเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เช่น ภาวะผู้นำ
หมายถึง พลังพลศาสตร์ซึ่งกระตุ้น (Dynamic Force) จูงใจและประสานงานของการจัดระเบียบการ
ปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมาย
6. ภาวะผู้นำในฐานะที่เป็นความคิดริเริ่มในการงาน เช่น การริเริ่มและการบำรุงรักษาเกี่ยว
กับโครงสร้างของความคาดหวังและปฏิกริยาตอบโต้ระหว่างกัน
ในการวิจัยครั้งนี้สรุปได้ว่า ภาวะผู้นำเป็นลักษณะของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า ผู้นำ
ในการที่จะทำให้บุคคลอื่นคล้อยตามไปในทิศทางและวิธีการซึ่งผู้นำกำหนดขึ้น เพื่อให้บรรลุวัตถุ
ประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ ดังนั้นผู้นำกองทุนใช้ความเป็นผู้นำเข้าไปมีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วม
ของสมาชิกกองทุนซึ่งคุณสมบัติเฉพาะตัวนี้จะเป็นปัจจัยให้ผู้นำสามารถปฏิบัติหน้าที่ด้านต่าง ๆ ได้
อย่างดี ทฤษฎีคุณลักษณะผู้นำ เป็นคุณลักษณะที่ผู้นำพึงมีและเป็นความต้องการของสังคม สามารถ
นำไปเป็นแนวทางในการเลือกผู้นำในองค์กร และหน่วยงานต่าง ๆ ได้ ดังนั้น ในการดำเนินกิจกรรม
ของกลุ่มจึงต้องอาศัยผู้นำที่มีคุณลักษณะผู้นำดังกล่าว เพื่อความเข้มแข็งและความสำเร็จของกลุ่ม
บทบาทของผู้นำชุมชน (Leader’s Role)
บทบาท คือ หน้าที่ของฐานะตำแหน่ง เมื่อบุคคลหนึ่งได้ดำรงตำแหน่งใดสิ่งที่ตามมากับ
ตำแหน่งนั้นก็คือ การมีปฏิสัมพันธ์กับตำแหน่งอื่น ๆ ทั้งที่สูงกว่าและต่ำกว่า สิ่งที่ตามมากับตำแหน่ง
อันเป็นเครื่องกำหนดสำหรับการดำรงฐานะตำแหน่งนั้น เรียกว่า บทบาท (Young and mack อ้างใน
ธันยพร พงษ์โสภณ 2539 : 41)
บทบาทของผู้นำท้องถิ่น ประกอบด้วย (วิรัตน์ สมตน 2527 : 81-83)
1.ให้ความรู้แก่เพื่อนบ้าน หรือการรับความรู้จากเจ้าหน้าที่แล้วเป็นผู้ถ่ายทอดต่อให้แก่ชาว
บ้าน เป็นการเชื่อมโยงความต้องการและความสนใจร่วมกัน ช่วยให้เกิดการพัฒนาทั้งด้านเศรษฐกิจ
และพัฒนาทางด้านสังคม ความเป็นอยู่ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
2. สร้างสามัคคีในหมู่บ้าน การประสานประโยชน์ระหว่างชาวบ้าน สร้างพลังกลุ่มขึ้นมาใน
การพัฒนา
3. การวางแผนพัฒนาในหมู่บ้าน ในรูปคณะกรรมการที่เกิดจากการรวมตัวกันของผู้นำใน
ท้องถิ่น หรือเป็นการวางแผนร่วมกับเจ้าหน้าที่ทางราชการที่มีหน้าที่ในการพัฒนา
4. สร้างพื้นฐานรับการพัฒนา คือ ประชาชนที่อยู่ในหมู่บ้านนั่นเอง
5. สร้างผู้นำรุ่นใหม่ขึ้นมาทดแทนผู้นำรุ่นเก่า โดยเน้นที่เยาวชนในหมู่บ้าน
19
6. แก้ปัญหาของท้องถิ่นด้วยการระดมความคิดเห็น
ผู้นำจะต้องมีบทบาทและหน้าที่ในการทำให้กลุ่มบุคคล หน่วยงานหรือองค์กรประสบความ
สำเร็จและเจริญก้าวหน้า เกรียงไกร จงเจริญ (2535 : 28) ได้กำหนดหน้าที่ของผู้นำ
1. ทำหน้าที่เป็นผู้แนะแนวทาง (Guide) ผู้นำต้องเป็นผู้ให้คำแนะนำผู้ตามในการปฏิบัติ
กิจกรรมต่าง ๆ โดยจะต้องเป็นผู้คอยช่วยเหลือแก้ไขปัญหาและความต้องการ ซึ่งบุคคลบางคนใน
กลุ่มอาจจะพอใจกับสถานการณ์ที่เป็นอยู่ และอาจต้องการสิ่งแปลกใหม่บ้าง ผู้นำจะเป็นตัวกระตุ้นให้
ประชาชนเห็นถึงความต้องการของเขาและนำทางให้เขารู้จักเลือกความต้องการเหล่านี้ และจะเป็นผู้
คอยให้ข่าวสารและแนะนำผู้ตาม คำแนะนำของผู้นำจะเป็นที่ยอมรับของสมาชิกในกลุ่ม ทั้งนี้เพราะเขา
เชื่อในความสามารถของผู้นำ ในการที่จะนำไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้
2. ทำหน้าที่เป็นนักหนุนนำสิ่งใหม่ (Initiator) กล่าวคือ ผู้นำต้องมีบทบาทในการริเริ่มทำ
สิ่งใหม่ซึ่งจะช่วยให้กลุ่มบรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ผู้นำต้องเป็นคนแรกที่มองเห็นความต้องการของ
ประชาชนรวมทั้งต้องตระหนักถึงความต้องการ และควรริเริ่มกิจกรรมในกลุ่มภายหลังที่ได้ก่อตั้งกลุ่ม
แล้ว ผู้นำจะต้องคอยกระตุ้นให้กิจกรรมดำเนินไปสู่เป้าหมายซึ่งจะต้องทำด้วยความรอบคอบ ด้วย
ความรู้ที่มีอยู่และมองเห็นการณ์ไกล หน้าที่ของผู้นำในลักษณะนี้อาจจะวัดได้ด้วยการสังเกตการ
ปฏิบัติของเขา ในการริเริ่มความคิดใหม่มีมากน้อยครั้งเท่าใด
3. ทำหน้าที่เป็นผู้จัดกิจกรรมของกลุ่ม ผู้นำจะมีหน้าที่ในการก่อตั้งสนับสนุนและรักษาให้
กลุ่มคงอยู่ถาวรตลอดไปมากกว่าสมาชิกคนอื่นในกลุ่ม เช่น เป็นผู้สร้างความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิก
ภายในกลุ่มให้การสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ของสมาชิก เป็นตัวกลางในการแก้ไขข้อขัดแย้งระหว่าง
สมาชิก เป็นผู้ให้รางวัลหรือลงโทษแก่สมาชิก และเป็นผู้ประสานงานกับสมาชิกเพื่อทำให้งานดำเนิน
ไปด้วยความราบรื่น หน้าที่ของผู้นำในลักษณะนี้จะช่วยทำให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ซึ่งเป็น
สิ่งสำคัญในการคงไว้ซึ่งความมั่นคงของกลุ่มและเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของกลุ่ม
4. ทำหน้าที่เป็นสัญลักษณ์ ผู้นำจะเป็นผู้ที่มีความเห็นอกเห็นใจผู้ตามและอุทิศตนในการ
ทำงานกับกลุ่ม เมื่อผู้นำได้กระทำดังนี้จะเป็นที่ชื่นชอบของบรรดาผู้ตาม และถือว่าผู้นำเป็น
สัญลักษณ์ของกลุ่ม โดยผู้นำจะเพิ่มความกระตือรือร้นและกระตุ้นให้ผู้ตามปฏิบัติตามแผนงาน ผู้
นำจะต้องทำตัวให้เป็นที่สนใจของกลุ่มอย่างสม่ำเสมอ และเมื่อผู้นำปล่อยปละละเลยความสนใจ
ของกลุ่มหันไปสนใจตัวเองมากกว่าผู้ตามก็จะเสื่อมความนิยมในตัวของผู้นำ และไม่ได้เป็นสัญลักษณ์
ของกลุ่มอีกต่อไป
สุนทร โตรอด (2536 : 15) กล่าวว่า หน้าที่ของผู้นำเป็นความสัมพันธ์ของการกระทำ
ระหว่างผู้นำและผู้ตามหรือผู้ใต้บังคับบัญชา ผู้นำมีหน้าที่ที่จะต้องใช้กรรมวิธีต่าง ๆ สร้างความสนใจ
จูงใจให้เกิดผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ดังนั้นกรรมวิธีต่าง ๆ ของผู้นำจึงเป็นสิ่งที่จะช่วย
อธิบายลักษณะการใช้อิทธิพลจูงใจผู้อื่น เช่น กฎข้อบังคับ ความเคารพยำเกรง บารมีและการมี
ทรัพยากรทางการเมืองที่เหนือกว่าจะเป็นปัจจัยต่อการใช้กรรมวิธีต่าง ๆ ของผู้นำ
20
ในการวิจัยครั้งนี้กล่าวโดยสรุปได้ว่า บทบาทหน้าที่ของผู้นำในการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการ
ทำหน้าที่ให้กลุ่มบรรลุตามวัตถุประสงค์อันพึงปรารถนาของกลุ่มที่วางไว้ การปฏิบัติหน้าที่ของผู้นำ
กลุ่มจึงเป็นหน้าที่อันสำคัญที่สุดของผู้นำ โดยเฉพาะการเป็นประธานกองทุน กองทุนหมู่บ้านและชุม
ชนเมือง 1 ล้านบาท ซึ่งจะต้องสามารถจูงใจและโน้มน้าวใจประชาชนในชุมชนให้เข้ามามีส่วนร่วมใน
ทุกขั้นตอน เริ่มตั้งแต่การวางแผน การปฏิบัติงานตามโครงการ และการติดตามประเมินผล บทบาท
หน้าที่ของผู้นำจึงเป็นส่วนสำคัญเพราะเป็นเป้าหมายหลักของงานพัฒนา
ปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่อการเป็นผู้นำของผู้นำชุมชน
ในการที่จะเป็นผู้นำหมู่บ้านหรือชุมชนนั้น จะต้องมีปัจจัยที่เอื้ออำนวยหลายด้าน คือ
1. ทางด้านเศรษฐกิจ เป็นผู้ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดีพอสมควร มีอาชีพหรือประกอบ
ธุรกิจและเป็นที่รู้จักของบุคคลทั่วไป
2. ทางด้านสังคม เป็นผู้ที่ได้รับการสนับสนุนจากพรรคพวก เพื่อนฝูง ญาติพี่น้อง หรือ
แม้แต่ทางราชการและต้องเป็นคนกว้างขวางในสังคม
3. คล่องตัว เป็นผู้ที่มีความคล่องตัว สามารถติดต่อประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้ง
ภาครัฐและเอกชน แม้กระทั่งบุคคล กลุ่มคนเพื่อช่วยเหลือสมาชิกภายในกลุ่มจนบรรลุผลสำเร็จและ
เป็นที่ยอมรับของบุคคลในกลุ่มนั้น
4. ได้รับการสนับสนุนจากทางราชการและเป็นกลไกของทางราชการเนื่องจากมีความใกล้
ชิดกับทางราชการ มีการติดต่อประสานงานจนเกิดความคุ้นเคยและคอยช่วยสอดส่องดูแลความเรียบ
ร้อยภายในชุมชนและให้การสนับสนุนทางราชการมาตลอด
5. เป็นผู้ไกล่เกลี่ยกรณีพิพาทของสมาชิกในชุมชน เมื่อสมาชิกมีปัญหาพิพาทกันในชุมชน
ก็จะช่วยไกล่เกลี่ยให้ยุติต่อกัน จนเป็นที่ยอมรับในหมู่สมาชิกและเกิดความเชื่อถือ
6. นำชุมชนพัฒนา โดยใช้ความร่วมมือร่วมใจกันพัฒนาและนำความเจริญมาสู่กลุ่มชุมชน
ของตน เป็นผู้มองการณ์ไกลหวังผลการพัฒนาในอนาคต
จะเห็นได้ว่าการเป็นผู้นำของบุคคล กลุ่มคน หรือชุมชนนั้นมีปัจจัยหลายด้านที่จะนำไปสู่
การเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาในทางที่ดีซึ่งต้องอาศัยการมีบุคลิกภาพที่คล่องตัวและเหมาะสมเป็นที่
ยอมรับของประชาชน เป็นผู้ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดีพอสมควร มีอาชีพ และเป็นที่รู้จักของบุคคล
ทั่วไปได้รับการสนับสนุนจากทุกฝ่าย สามารถติดต่อประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ได้ เป็นผู้ที่เห็น
แก่ประโยชน์ส่วนรวม สามารถไกล่เกลี่ยกรณีพิพาทในชุมชนได้ รวมทั้งเป็นผู้นำที่มองการณ์ไกล
สามารถนำชุมชนพัฒนาและความเจริญมาสู่ชุมชนได้
21
จากการศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับผู้นำดังกล่าวแล้ว สามารถนำมาปรับใช้กับงานวิจัยได้เพราะ
ผู้นำชุมชนนั้นมีความสำคัญต่อการพัฒนาชุมชนเป็นอย่างยิ่ง ทั้งผู้นำตามธรรมชาติและผู้นำโดยกำเนิด
ผู้นำเหล่านี้จะเกิดภาวะผู้นำโดยอัตโนมัติ โดยจะเป็นผู้ประสานสัมพันธ์ระหว่างชาวบ้าน รัฐและ
หน่วยงาน อื่น ๆ นอกจากจะเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ มีประสบการณ์ และผู้นำยังเป็นบุคคลที่
ชาวบ้านยอมรับนับถือ เป็นที่พึ่งของชาวบ้านอีกด้วย ดังที่ ธรรมรส โชติกุญชร (2524 : 154) ได้
กล่าวว่า ผู้นำจะปฏิบัติงานและบริหารงานให้ประสบผลสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับความ
สามารถและทักษะของแต่ละคนที่รู้จักใช้วิชาความรู้ ประสบการณ์บวกกับปฏิภาณไหวพริบซึ่งเป็นคุณ
ลักษณะที่สำคัญของผู้นำกองทุนที่มีอิทธิพลต่อการชักจูง โน้มน้าวให้ประชาชนในชุมชนปฏิบัติตาม
ด้วยความเต็มใจ ทำให้ผู้อื่นมีความเชื่อมั่นในตนเอง สามารถช่วยคลี่คลายปัญหาและความตึงเครียด
ต่าง ๆ ลงไปได้ และนำกลุ่มไปสู่การบรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว ้ นั้นคือการที่ประชาชนใน
ชุมชนมีส่วนร่วมในการเป็นสมาชิกกองทุนและร่วมกันการบริหารจัดการกองทุนจนประสบผลสำเร็จ
ดำเนินการมาจนถึงปัจจุบัน
แนวคิดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชน (Public Participation)
ความสำคัญ ของการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนา
อุษณีย์ ศิริสุนทรไพบูลย์ (2528 : 27) กล่าวถึงความสำคัญของการให้ประชาชนมีส่วน
ร่วมในการพัฒนาโดยเฉพาะในโครงการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชนดังนี้
1. เนื่องจากโครงการพัฒนาชนบททุกโครงการ มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ประชาชนมีความเป็น
อยู่ที่ดีขึ้น ดังนั้นหากประชาชนที่เป็นเป้าหมายของการพัฒนา เข้าใจและยอมรับต่อการพัฒนาแล้ว
โครงการเหล่านั้นย่อมมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จ
2. บนสมมติฐานที่ว่าประชาชนในท้องถิ่นจะรู้และเข้าใจถึงสภาพปัญหาความต้องการของ
ท้องถิ่นเป็นอย่างดี เพราะเป็นผู้อาศัยอยู่ในพื้นที่มานาน ดังนั้น การที่จะให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม
ในขั้นตอนต่าง ๆ ของการพัฒนาจึงน่าจะเป็นสิ่งที่ดีเพื่อจะได้สร้างความรู้สึกความเป็นเจ้าของ และ
แก้ปัญหาของท้องถิ่นได้ตรงกับความต้องการมากขึ้น
3. ในแต่ละท้องถิ่นมีสภาพแตกต่างกันออกไป การที่จะใช้รูปแบบการพัฒนารูปแบบ
เดียวกันทั้งประเทศ อาจจะเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ตรงจุด
4. ในประเทศที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย รัฐบาลสามารถใช้แนวคิดเกี่ยวกับการ
พัฒนาชนบท ที่ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นและชนบทของตนมาเป็นแนวทาง
ในการปูพื้นฐานเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย ให้แก่ประชาชนในท้องถิ่นและชนบท
22
ความหมาย
องค์กรสหประชาชาติ ได้ให้ความหมายของการมีส่วนร่วมของประชาชนในฐานะที่เป็น
ส่วนหนึ่งของกระบวนการพัฒนาไว้ว่า การเข้าร่วมกิจกรรมอย่างกระตือรือร้นและมีพลังของประชาชน
ในระดับต่าง ๆ (United Nation อ้างในปรียานุช ปัญจวงศ์, 2540 : 30) คือ
1. ในกระบวนการคิดตัดสินใจเพื่อกำหนดเป้าหมายของสังคม และจัดสรรทรัพยากร
ต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
3. ในการเข้าร่วมปฏิบัติตามแผนการหรือโครงการในรูปแบบต่าง ๆ ด้วยความสมัครใจ
อุษณีย์ ศิริสุนทรไพบูลย์ (2538 : 28) ได้รวบรวมผู้ให้ความหมายของการมีส่วนร่วมของ
ประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชนและนำเสนอไว้ว่า หมายถึง การที่ประชาชนหรือชุมชนหรือ
องค์กรประชาชน ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานพัฒนาท้องถิ่นและชนบทในขั้นตอนใดขั้นตอน
หนึ่ง หรือทุกขั้นตอนในรูปแบบของการตัดสินใจในการกำหนดชีวิตของตนโดยการมุ่งหมายเพื่อที่จะ
พัฒนา หรือยกระดับขีดความสามารถของคน ในการจัดการเกี่ยวกับทรัพยากรและปัจจัยการผลิตที่มี
อยู่ในสังคมเพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตในทุกๆ ด้านของคนจากที่เป็นอยู่ให้ดีขึ้นกว่าเดิม
เสน่ห์ จามริกและคณะ (2527 : 8) ที่ได้ให้ความหมายโดยมองถึงผลของการมีส่วนร่วม
ของประชาชนว่า ในกระบวนการเรียนรู้ซึ่งกันและกันของทุกฝ่าย และยังอาจเป็นการปูพื้นฐานที่มั่นคง
สำหรับวิวัฒนาการไปสู่การปกครองตนเองของท้องถิ่นได้ในบั้นปลายและได้กล่าวถึงจุดเริ่มต้นในการ
มีส่วนร่วมของประชาชนว่า เริ่มจากการเข้าร่วมกิจกรรมที่แต่ละคนมีผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้องและสนใจ
เช่น ในเรื่องการสร้างแหล่งกักกันน้ำฝน การศึกษา การสาธารณสุข ข้อสำคัญกิจกรรมเหล่านี้จะต้อง
สัมพันธ์กับปัญหาและความต้องการของประชาชน
กรรณิกา ชมดี (2524 : 11) ให้ความหมายการมีส่วนร่วมของประชาชน หมายถึงความ
ร่วมมือของประชาชน ไม่ว่าจะเป็นปัจเจกบุคคลหรือกลุ่มคนที่เห็นพ้องกัน และเข้าร่วมรับผิดชอบ
เพื่อดำเนินการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ต้องการ โดยกระทำผ่านกลุ่มองค์กรเพื่อให้
บรรลุถึงการเปลี่ยนแปลงที่พึงประสงค์
ยุวัฒน์ วุฒิเมธี (2534 : 67-69) กล่าวว่า การมีส่วนร่วมของประชาชน หมายถึง การ
เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการคิดริเริ่ม การพิจารณา ตัดสินใจในการร่วมปฏิบัติ
และร่วมรับผิดชอบในเรื่องต่าง ๆอันมีผลกระทบถึงตัวประชาชน การที่ประชาชนได้เข้าร่วมรับผิด
ชอบในกิจกรรมแทนรัฐทำให้เกิดการพึงพอใจและเป็นการลดความขัดแย้งระหว่างรัฐกับประชาชน
23
เออวิน (Erwin 1976 : 138) ให้แนวคิดเกี่ยวกับความหมายของการมีส่วนร่วมว่าการ
พัฒนาระบบแบบมีส่วนร่วม คือ กระบวนการให้บุคคลเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานพัฒนา
ร่วมคิด ตัดสินใจ แก้ปัญหาด้วยตนเอง เน้นการมีส่วนร่วมเกี่ยวข้องอย่างแข็งขันของบุคคล ใช้ความ
คิดสร้างสรรค์และความชำนาญของบุคคล แก้ไขปัญหาพร้อมกับการใช้วิทยาการที่เหมาะสมและ
สนับสนุนติดตามผลการปฏิบัติงานขององค์การ และบุคคลที่เกี่ยวข้อง
จากความหมายต่าง ๆ ดังกล่าว พอสรุปในการวิจัยครั้งนี้ได้ว่า “การมีส่วนร่วมของบุคคล
หมายถึง กระบวนการที่บุคคลเข้าไปมีส่วนร่วมมือเกี่ยวข้องในการดำเนินงานพัฒนา ทั้งนี้เพื่อที่จะตอบ
สนองความต้องการส่วนบุคคลของพวกเขา โดยที่บุคคลเหล่านั้นจะมีส่วนร่วมคิด ตัดสินใจและแก้ไข
ปัญหาในงานพัฒนา ซึ่งเป็นการใช้ความคิดสร้างสรรค์และความชำนาญของบุคคลในการแก้ไขปัญหา
ร่วมกับการใช้วิทยาการที่เหมาะสมในการดำเนินงาน เพื่อดำเนินการพัฒนาและก่อให้เกิดการเปลี่ยน
แปลงในทิศทางที่ต้องการและพึงประสงค์ของกลุ่ม
ลักษณะการมีส่วนร่วม
ลักษณะของการมีส่วนร่วมของประชาชนในงานพัฒนานั้น ได้มีผู้ศึกษาและมีผู้ให้ความ
คิดเห็นดังนี้
ไพรัตน์ เตชะรินทร์ (2527 : 6-7) ได้แบ่งลักษณะของการมีส่วนร่วมของประชาชนใน
การพัฒนาเป็น 8 ลักษณะ ดังนี้
1. ร่วมทำการศึกษา ค้นคว้าปัญหาและสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนตลอดจนความ
ต้องการของชุมชน
2. ร่วมคิดปัญหาและสร้างรูปแบบและวิธีพัฒนาเพื่อแก้ไขและลดปัญหาของชุมชนหรือ
เพื่อสร้างสรรสิ่งใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน หรือสนองความต้องการของชุมชน
3. ร่วมวางนโยบายหรือแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมเพื่อขจัดและแก้ไขปัญหาและ
สนองความต้องการของชุมชน
4. ร่วมการตัดสินใจในการใช้ทรัพยากรที่จำกัดให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
5. ร่วมจัดหรือปรับปรุงระบบการบริหารงานพัฒนาให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
6. ร่วมการลงทุนในกิจกรรม โครงการของชุมชนตามขีดความสามารถของตนเอง
7. ร่วมปฏิบัติตามนโยบาย แผนงาน โครงการ และกิจกรรมให้บรรลุตามเป้าหมาย
8. ร่วมควบคุม ติดตาม ประเมินผล และร่วมบำรุงรักษาโครงการ และกิจกรรม
ที่ได้ทำไว้โดยเอกชนและรัฐบาลให้ใช้ประโยชน์ได้ตลอดไป
24
โคเฮน และ อัฟฮอฟฟ์ (Cohen and Uphoff 1980 : 213-214) ได้สร้างกรอบพื้นฐาน
เพื่อการอธิบายและวิเคราะห์ลักษณะการมีส่วนร่วม 4 ลักษณะ คือ
1. การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (Decision Making) ซึ่งอาจจะเป็นการตัดสินใจตั้ง
แต่ในระยะเริ่ม การตัดสินใจในช่วงของกิจกรรมและการตัดสินใจในการดำเนินกิจกรรม
2. การมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม (Implementation) ซึ่งอาจเป็นไปในรูปแบบของ
การเข้าร่วมโดยให้มีการสนับสนุนทางด้านทรัพยากร การเข้าร่วมในการบริหารและการร่วมมือ ร่วม
แรง ร่วมใจ
3. การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ (Benefits) ซึ่งอาจเป็นผลประโยชน์ทางวัตถุ
สังคม และโดยส่วนรวม
4. การมีส่วนร่วมในการประเมินผล (Evaluation) ซึ่งนับเป็นการควบคุมและตรวจสอบ
การดำเนินกิจกรรมทั้งหมด และเป็นการแสดงถึงการปรับตัวในการมีส่วนร่วมต่อไป
อาลาสแท (Alastair 1982 : 18) ได้ให้คำจำกัดความว่าการมีส่วนร่วมประกอบด้วย
มิติที่ 1 คือ การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจว่าอะไรควร
มิติที่ 2 คือ มีส่วนร่วมเสียสละในการพัฒนาการลงมือปฏิบัติตามที่ได้ตัดสินใจ
มิติที่ 3 คือ มีส่วนร่วมในการแข่งขันผลประโยชน์ที่เกิดจากการดำเนินงาน
มิติที่ 4 คือ การมีส่วนร่วมในการประเมินผล
บังอร ฤทธิ์ภักดี (2528 : 19) ได้กล่าวถึงลักษณะในการมีส่วนร่วมไว้ 3 ลักษณะใหญ่ ๆ
คือ
1. การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ซึ่งประกอบด้วยการริเริ่มและวางแผน
2. การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน
3. การมีส่วนร่วมในการใช้ประโยชน์จากโครงการ
จากลักษณะการมีส่วนร่วมต่าง ๆ ที่มีผู้ศึกษาไว้นั้น ในการวิจัยครั้งนี้ผู้ศึกษาได้ใช้ลักษณะ
การมีส่วนร่วมของ Cohen & Uphoff เป็นหลักในการพิจารณา ซึ่งสอดคล้องกับการมีส่วนร่วมของ
สมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ประกอบด้วยกระบวนการ 5 ร่วม คือ ร่วมคิด ร่วม ตัดสินใจ
ร่วมทำ ร่วมรับผลประโยชน์ และร่วมตรวจสอบ ดังนั้น ลักษณะการมีส่วนร่วมของประชาชนจะต้อง
เข้ามามีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องและครบกระบวนการเพื่อความสำเร็จของการดำเนินงานตาม
วัตถุประสงค์และเพื่อประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวม
25
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชน
การพัฒนาไม่ว่าจะจัดขึ้นในรูปแบบหนึ่งรูปแบบใดก็ตาม สิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึงคือประชา
ชนสามารถพึ่งตนเองได้ โดยมีรัฐบาลคอยให้การสนับสนุนช่วยเหลือในสิ่งที่เกินความสามารถของ
ประชาชน ดังนั้น การพึ่งตนเองจะเกิดขึ้นไม่ได้หากประชาชนไม่ให้ความร่วมมือในการเข้ามามีส่วน
ร่วมในกิจกรรมการพัฒนาต่าง ๆ ของชุมชน การที่ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมพัฒนาย่อม
ต้องเกี่ยวข้องกับปัจจัยหลายประการคือ
อำนาจ อนันตชัย (2528 : 138) กล่าวว่า ความสำเร็จของการพัฒนาแบบระดมความ
ร่วมมือขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญ 3 ประการ คือ
1. การเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจของประชาชนตั้งแต่เริ่มต้นว่ามีปัญหาสาเหตุของ
ปัญหา การแก้ไขปัญหาด้านการคิดว่าจะทำโครงการอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนโดยใช้ประโยชน์
จากแรงงานและทรัพยากรท้องถิ่นอย่างเต็มที่
2. การผสมผสานแผนงานและโครงการของส่วนราชการ ด้วยการพัฒนาความรู้ ทักษะ
ความสามารถด้านประชาชนและคุณภาพของเจ้าหน้าที่เพื่อแก้ไขปัญหาเดือดร้อนสนองผลประโยชน์ได้
ถูกต้องตามเวลาและสถานที่
3. การสร้างองค์กรท้องถิ่น กลไกการประสานงาน งบประมาณ ปัจจัยดำเนินงานทั้งภาครัฐ
และเอกชน ตามความต้องการอันจำเป็นของประชาชน
ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน
ในการศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยจูงใจที่ทำให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมนั้นได้มีผู้ทำการวิจัยไว้ดัง
นี้
วิคเตอร์ เอช รูม (Victor H. Room อ้างใน Erviu Williamx 1976 : 94) ได้กล่าวถึง
ปัจจัยที่มีต่ออิทธิพลต่อการตัดสินใจประกอบด้วย
1. ความตั้งใจที่จะมีส่วนร่วมในการทำงาน
2. ทัศนคติต่องาน
3. ความมีอิสระในการตัดสินใจในการทำงาน
4. ความมีอำนาจตามหน้าที่
4. ลักษณะของการทำงาน
แฮนตัน, ซัมเมอร์ และ เว็บเบอร์ (Hamhton, Summer and Webber อ้างใน สมยศ
นาวีการ 2525 : 25) ได้กล่าวว่าเงินเป็นแนวทางอย่างหนึ่งที่บุคคลมีแรงจูงใจในด้านความสำเร็จใน
การเข้ามาปฏิบัติงาน ซึ่งผู้ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงมาจากแรงจูงใจทางด้านการเงินด้วย
26
เฮอร์สเบิร์ก, เมซัว และไซเดอร์แมน (Herzberg Mausuer and Snyderman อ้างใน สมยศ
นาวีการ 2525 : 19) ได้กล่าวถึงปัจจัยที่จูงใจบุคคลในการทำงานซึ่งจะก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของ
ประชาชนได้นั้น คือ
1. การได้รับความสำเร็จ
2. ได้รับการยกย่อง
3. มีความก้าวหน้าในงาน
4. ลักษณะงาน
5. ความรับผิดชอบ
4. ความเจริญเติบโตส่วนบุคคล
อนุภาพ ถิรลาภ (2528 : 25-26) ได้กล่าวถึงปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของ
ประชาชนมีดังนี้
1. ความเกรงใจผู้มีสถานภาพที่สูงกว่า
2. ความต้องการเป็นกลุ่มพวก
3. ความเชื่อถือในตัวผู้นำ
4. ความใกล้ชิดกับเจ้าหน้าที่รัฐ
5. การคำนึงถึงผลประโยชน์ตอบแทน
6. การยอมรับแบบอย่าง
7. ความไม่พอใจต่อสภาพแวดล้อม
8. การยอมรับในอำนาจรัฐ
9. ฐานะเศรษฐกิจ
สุจินต์ ดาววีระกุล (2527 : 1) ได้ศึกษาปัจจัยการเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนา พบว่า
ปัจจัยด้านบุคคล ได้แก่ สถานภาพในครอบครัว ตำแหน่งทางสังคมในหมู่บ้าน การรู้สึกว่าตนเองมี
ความสำคัญต่อหมู่บ้าน และการมีความกระตือรือร้นที่จะเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาหมู่บ้าน ปัจจัยด้าน
เศรษฐกิจ ได้แก่ อาชีพ รายได้
ธวัช เบญจาธิกุล (2529 : 25-26) กล่าวถึงผลสรุปปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วม
ของประชาชนในการพัฒนาไว้ 5 ประการ คือ ปัจจัยด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านการเมือง ด้าน
วัฒนธรรม และด้านจิตวิทยาสังคม
27
กล่าวโดยสรุป ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา ควรเน้นหลักการ
ผสมผสานการพัฒนาการเมือง เศรษฐกิจและสังคมพร้อมกันโดยยึดหลักการพึ่งตนเองของประชาชน
เป็นหลัก
เงื่อนไขพื้นฐานของการมีส่วนร่วมของประชาชน
เงื่อนไขในเบื้องต้นของการมีส่วนร่วม 5 ประการคือ (Untied Nations 1981 : 11)
1. รัฐบาลจะต้องมีการยอมรับในแนวความคิดของการมีส่วนร่วมของประชาชนก่อนใน
เบื้องต้น และได้บรรจุหลักการนี้ไว้ในแผนหรือนโยบายในระดับต่าง ๆ ด้วย
2. ประชาชนต้องมีพื้นฐานองค์กรประชาชน ที่สามารถเป็นตัวแทนในการเจรจาต่อรองกับ
กลุ่มผลประโยชน์และบุคคลอื่นได้
3. ประชาชนต้องมีความอิสระในความคิดริเริ่ม และในการตัดสินใจในระดับท้องถิ่น เพื่อ
กำหนดกิจกรรมของตนเอง
4. ชุมชนต้องมีการไหลเวียนของข่าวสารและความรู้ใหม่ ๆ โดยเฉพาะหลักการและ
ปรัชญาของการพัฒนาเทคนิควิธีการในการจัดสรรทรัพยากร และความรู้ทางการบริหาร
5. ชุมชนจะต้องได้รับการสนับสนุนทางด้านสิ่งของและความคิด เทคนิคที่จำเป็นโดย
เฉพาะในระยะแรก
อนุภาพ ถิรลาภ (2528 : 76) กล่าวถึงเงื่อนไขพื้นฐานของการมีส่วนร่วมของประชาชน
เกิดจากพื้นฐานของประชาชน 4 ประการ คือ
1. ประชาชนต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และความสามารถที่จะมีส่วนร่วม กล่าวคือ ประชา
ชนจะต้องมีศักยภาพที่จะเข้าร่วมในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ประชาชนต้องมีความสามารถใน
การค้นหาความต้องการ วางแผน จัดการและบริหารองค์กร และการใช้ทรัพยากร
2. ประชาชนจะต้องมีความพร้อมที่จะเข้ามีส่วนร่วม กล่าวคือ ประชาชนต้องมีสภาพทาง
เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และกายภาพที่เปิดโอกาสให้เข้ามามีส่วนร่วม
3. ประชาชนจะต้องมีความประสงค์ที่จะเข้าร่วม กล่าวคือ ประชาชนจะต้องมีความเต็มใจ
เห็นประโยชน์ในการเข้าร่วม จะต้องมิใช่เป็นการบังคับหรือผลักดันให้เข้าร่วมโดยที่ประชาชนมิได้
ประสงค์จะเข้าร่วมในนัยหนึ่งนัยใด
4. ประชาชนจะต้องมีความเป็นไปได้ที่จะเข้าร่วม กล่าวคือ ประชาชนจะต้องมีโอกาสที่จะ
เข้าร่วม ซึ่งเป็นการกระจายอำนาจให้แก่ประชาชนในการตัดสินใจ และกำหนดกิจกรรมที่ตนต้องการ
ในระดับที่เหมาะสม ประชาชนจะต้องมีโอกาสและมีความเป็นไปได้ที่จะจัดการด้วยตนเองในระบบ
พื้นฐานทางการเมือง เป็นสำคัญ
28
การที่ประชาชนจะมีโอกาสเข้าร่วมในกิจกรรมการพัฒนานั้น ต้องมีเงื่อนไขที่สำคัญอย่าง
น้อย 3 ประการ คือ (อุษณีย์ ศิริสุนทรไพบูลย์ 2538 : 320)
1. ประชาชนจะต้องมีอิสรภาพที่จะมีส่วนร่วม
2. ประชาชนจะต้องสามารถที่จะมีส่วนร่วม
3. ประชาชนต้องเต็มใจที่จะมีส่วนร่วม
ความสำเร็จของการมีส่วนร่วม ก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขต่อไปนี้
1. ประชาชนจะต้องมีเวลาที่จะมีส่วนร่วมก่อนเริ่มกิจกรรม การมีส่วนร่วมไม่เหมาะสมใน
สถานการณ์ฉุกเฉิน
2. ประชาชนต้องไม่เสียเงินทองค่าใช้จ่าย ในการมีส่วนร่วมมากเกินกว่าที่เขาประเมินผล
ตอบแทนที่จะได้รับ
3. ประชาชนจะต้องมีความสนใจที่สัมพันธ์สอดคล้องกับการมีส่วนร่วมนั้น
4. ประชาชนจะต้องสามารถสื่อสารรู้เรื่องกันทั้ง 2 ฝ่าย
5. ประชาชนจะต้องไม่รู้สึกกระทบกระเทือนต่อตำแหน่งหน้าที่หรือสถานภาพทางสังคม
หากจะมีส่วนร่วม
กล่าวได้ว่าเงื่อนไขของการมีส่วนร่วมของประชาชนนั้น ประชาชนจะต้องมีอิสระในการ
เข้าร่วมด้วยความเต็มใจและต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และความสามารถที่จะเข้าร่วมในกิจกรรม รวม
ทั้งต้องมีอิสระในความคิดและการตัดสินใจด้วย
ระดับของการมีส่วนร่วม
การมีส่วนร่วมของประชาชนสามารถทำได้หลายระดับ ขึ้นอยู่กับประชาชนจะมีความสนใจ
เพียงใดและรัฐบาลผู้บริหารประเทศให้ความสำคัญกับประชาชนอย่างไร (ปราณี พันธุมสินชัย 2536
: 408-410) โดยมีระดับต่าง ๆ ดังนี้
1. ประชาชนใช้อำนาจ โดยการที่ประชาชนเข้าจัดการหรือดำเนินการโดยพลการ ไม่มีการ
ติดต่อกับรัฐบาลก่อน ซึ่งอาจจะมีการโต้ตอบจากรัฐบาลได้ เช่น การเดินขบวนเพื่อเรียกร้องความ
เป็นธรรม
2. ประชาชนมีส่วนร่วม โดยทั้งประชาชนและรัฐบาลต่างเข้าช่วยกันแก้ไขปัญหาอย่างเสมอ
ภาคเท่าเทียมกัน เช่น โครงการสร้างบ่อน้ำในหมู่บ้าน
3. ประชาชนเป็นที่ปรึกษา โดยรัฐบาลขอความคิดเห็นจากประชาชน และตั้งใจที่จะกระทำ
การตามความคิดเห็นนั้น แต่รัฐบาลก็มีอำนาจที่จะไม่รับความคิดเห็นนั้นไปปฏิบัติ เช่น การตั้ง
คณะกรรมการร่วมระหว่างประชาชนและส่วนราชการ คณะที่ปรึกษา การประชุมเพื่อรับฟังความคิด
เห็นจากประชาชน
29
4. ประชาชนแสดงความคิดเห็น โดยรัฐบาลให้โอกาสประชาชนแสดงความคิดเห็นใน
บางเรื่อง แต่ไม่ค่อยอยากนำความคิดเห็นนั้นไปปฏิบัติตาม และยังมีอำนาจที่จะยังไม่รับฟังความ
คิดเห็นนั้น เช่น การประชุมที่ให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นต่อกฎหรือระเบียบที่กำลังจะประกาศใช้
5. ประชาชนรับทราบ โดยรัฐบาลแถลงข่าวสารและมติของรัฐบาล ประชาชนได้แต่รับฟัง
ซึ่งก็อาจจะมีปฏิกิริยาโต้ตอบบ้าง เช่น การแถลงถึงโครงการที่รัฐบาลมีมติให้ดำเนินการไปแล้ว
กฎหมาย ต่าง ๆ การเวนคืนที่ดิน
6. รัฐบาลใช้อำนาจ คือการที่รัฐบาลใช้อำนาจจัดการโดยไม่แจ้งให้ประชาชนทราบล่วง
หน้าเช่น การจับกุมผู้บุกรุก
ส่วนระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการพัฒนาต่างๆ สามารถแบ่งได้ดังนี้
(สมฤดี นิโครวัฒนยิ่งยง และ อ้างในอุษณีย์ ศิริสุนทรไพบูลย์ 2538 : 32)
1. การโน้มน้าวจิตใจ เพื่อเปลี่ยนแปลงทัศนคติของประชาชน แต่ไม่ให้ประชาชนเข้า
ร่วมในการวางแผนหรือในกระบวนการตัดสินใจ
2. การให้การศึกษา การให้ข้อมูลข่าวสาร เพื่อสร้างความเข้าใจในโครงการ
3. การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ด้วยการที่เจ้าหน้าที่แจ้งจุดยืนของตนในโครง
การนั้น ๆ ให้ประชาชนทราบ และให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นนั้น ๆ
4. การปรึกษาหารือ ทั้งฝ่ายเจ้าหน้าที่ และประชาชนหันมาปรึกษาหารือกัน
5. การร่วมมือ ประชาชนมีตัวแทนคณะกรรมการอยู่และมีสิทธิออกเสียงขั้นการตัดสินใจ
ประเด็นจะต้องเข้าใจได้โดยตัวแทนประชาชนจากพื้นที่นั้น ๆ
6. การมอบหมายอำนาจหน้าท ี่ การส่งมอบความรับผิดชอบให้กับสาธารณชน หรอื รัฐบาล
ท้องถิ่นที่มีความชำนาญเฉพาะเรื่องนั้น ๆ
7. การให้ประชาชนตัดสินใจ
รูปแบบและขั้นตอนการมีส่วนร่วม
รูปแบบการมีส่วนร่วม มี 4 รูปแบบ (ปราณี หมอนทองแดง 2533 : 33) คือ
1. ร่วมแสดงความคิดเห็น ในรูปของการเขียน การพูด หรือการสื่อความในรูปอื่น ๆ เพื่อ
แสดงความคิดเห็นของตน การแสดงความคิดเห็นเช่นนี้อาจเกิดขึ้นในขั้นตอนใดของกิจกรรมการ
พัฒนาก็ได้
2. ร่วมสละทรัพยากรวัตถุ โดยการให้ยืมหรือให้เงิน วัสดุ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน การใช้
ประโยชน์จากสถานที่และอุปกรณ์ต่าง ๆ
3. การร่วมสละแรงกายในกิจกรรมพัฒนานั้น
4. ร่วมสละเวลา เช่น ร่วมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เข้าร่วมประชุม (แม้จะไม่แสดง
ความคิดเห็นส่วนตัวก็ตาม)
30
นอร์แมน อัพฮอฟ (Norman Uphoff 1981 อ้างใน อคิน รพีพัฒน์ 2527 :53) ที่แบ่ง
การมีส่วนร่วมออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ
1. การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (Decision Making)
2. การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ (Implementation)
3. การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ (Benefits)
4. การมีส่วนร่วมในการประเมินผล (Evaluation)
โดยอัพฮอฟได้แบ่งการพิจารณาการมีส่วนร่วมเป็น 2 นัย คือ
1. มิติของการมีส่วนร่วม แบ่งเป็น 3 ประเด็น คือ
(1) ขั้นตอนของการมีส่วนร่วม ได้แก่ การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ในการปฏิบัติ
งาน ในการรับผลของกิจกรรม และในการประเมินผล
(2) ผู้มีส่วนร่วม โดยพิจารณาถึงสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม
(3) วิธีการเข้าร่วม พิจารณาจากสาเหตุจูงใจ ลักษณะการร่วม ขอบเขต ระยะเวลา
หรือลักษณะกิจกรรมที่ร่วม
2. บริบทหรือสภาพเงื่อนไขสถานการณ์ซึ่งแวดล้อมการมีส่วนร่วม พิจารณา 2 ส่วน
(1) สภาพแวดล้อมของโครงการ ได้แก่ รูปแบบของโครงการ ประโยชน์ที่ได้รับ
(2) สภาพแวดล้อมอื่นซึ่งกระทบกิจกรรม เช่น สภาพแวดล้อมในอดีต ประสบการณ์
ผู้เกี่ยวข้อง สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคม
มิติในการพิจารณาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา
สไตเฟล และ เพียร์ส (Stidfel and Pearse อ้างใน ปรัชญา เวสารัชช์ 2528) เสนอการ
พิจารณาการมีส่วนร่วมนั้น สามารถมองได้ 5 มิติ คือ
1. การมีส่วนร่วมเป็นการประจันหน้า โดยถือว่าการมีส่วนร่วมสะท้อนลักษณะการแจกแจง
แบ่งสรรอำนาจในการตัดสินใจที่ผิดแปลกไปจากเดิม จึงอาจมองได้ว่าเป็นการประจันหน้าระหว่าง
กลุ่มผลประโยชน์ กลุ่มสังคม กลุ่มชนชั้นต่าง ๆ เป็นการปะทะกัน (confronatation) ระหว่างผล
ประโยชน์ของชนบทกับผลประโยชน์ของคนในเมือง หรือเป็นการเผชิญหน้าระหว่างสมาชิกองค์การ
อาสาสมัครกับหน่วยงานที่ตั้งขึ้นมั่นคง แล้วจะไม่ยอมเปลี่ยนแปลง (immobile establishments) ซึ่ง
โดยทั่วไปหมายถึงหน่วยงานราชการ
การมองการมีส่วนร่วมในมิติของการประจันหน้าเช่นนี้ ชี้ให้เกิดความสนใจลักษณะการ
เปลี่ยนแปลงสถาบันซึ่งนำไปสู่การต่อต้าน การมีส่วนร่วมโดยองค์กรเก่า แสดงการเปลี่ยนแปลงหรือ
31
ปรับโครงสร้างทางอำนาจ รวมทั้งช่วยให้สนใจประเมินผลได้ผลเสียที่เกิดจากการประจันหน้า (ซึ่งขึ้น
กับทัศนะของแต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้อง)
2. การมีส่วนร่วมเป็นเรื่องของกลุ่มและขบวนการในการเข้าร่วมมิตินี้พิจารณาการมีส่วน
ร่วมจากการวิเคราะห์โครงสร้าง วิธีดำเนินการตลอดจนสภาพแวดล้อมของกลุ่มและขบวนการที่เกี่ยว
ข้องในการเข้าร่วม โดยเน้นองค์ประกอบสำคัญที่ก่อให้เกิดพลัง เช่น โครงสร้างและการจัดรูปองค์กร
ภายในกลุ่มหรือภายในขบวนการ องค์กรที่มีประสิทธิภาพและเปลี่ยนคนแต่ละคนที่ปราศจากอำนาจ
ให้เป็นพลังสังคม และเกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในขั้นตอนการประจันหน้า
อีกองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญจากมิติของกลุ่ม คือ รูปแบบและลักษณะของภาวะผู้นำทั้งสัม
พันธภาพระหว่าง “ผู้นำ” กับ “ผู้ตาม” ในขบวนการมิติเกี่ยวกับกลุ่มหรือขบวนการ ยังมีความสำคัญ
ขอบข่ายของการร่วมเป็นพันธมิตรระหว่างกลุ่มและขบวนการต่าง ๆ ซึ่งอาจมีผลต่อเนื่องถึงการ
ประสานขบวนการต่าง ๆ เข้าด้วยกันเพื่อปกป้องและเผยแพร่ผลประโยชน์ของกลุ่มและขบวนการที่
เข้าร่วม
3. การมีส่วนร่วมเป็นประสบการณ์เฉพาะบุคคลตามนิยามทั่วไป การมีส่วนร่วมเป็นเรื่อง
ของพฤติกรรมกลุ่ม แต่ขณะเดียวกันการตัดสินใจเข้าร่วมกับกลุ่มเป็นการตัดสินใจเฉพาะบุคคลซึ่งผู้
สนใจอาจศึกษาได้จากประสบการณ์ในชีวิตของแต่ละคน ในแง่นี้อาจกล่าวถึงการทำความเข้าใจการมี
ส่วนร่วมจากการศึกษาประวัติส่วนตัว และการทำความเข้าใจแนวคิดสำคัญบางอย่าง เช่น “การตัด
สินใจ” “ความสำนึกในชนชั้น” “การสร้างสำนึก” “การจูงใจ” และ “ความรู้สึกแปลกแยก” ทั้งนี้
เพราะแนวคิดดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของประชาชน แต่ขณะเดียวกันก็เป็นเรื่องเฉพาะตัว
บุคคลด้วย
4. การมีส่วนร่วมโครงการ (Programme or Project) ซึ่งในวงศ์ราชการและองค์การ
ระหว่างประเทศ การมีส่วนร่วมของประชาชนมักหมายความถึงโครงการซึ่งถูกกำหนดขึ้นเพื่อส่งเสริม
การพัฒนาเฉพาะด้าน และเป็นโครงการที่มุ่งให้ผู้รับประโยชน์มีส่วนร่วมด้วยบางระดับนักวิจัยที่สน
ใจมิตินี้ อาจศึกษาระบบการจูงใจซึ่งทำให้ข้าราชการ นักปฏิบัติภาคสนามหรือผู้นำโครงการมีส่วนเผย
แพร่โครงการ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับเป้าหมายในโครงการ รวมทั้ง
ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมซึ่งมักขึ้นกับลักษณะโครงการ
การพิจารณาการมีส่วนร่วมจากมิติของโครงการนี้อาศัยข้อสมมติฐานที่ว่า แม้โครงการจะ
ถูกกำหนดขึ้นจากแหล่งใดก็ตาม โดยเฉพาะการกำหนดจากเบื้องต้น แต่ก็เชื่อว่าถ้ากลุ่มเป้าหมาย
มีส่วนร่วมแล้วโครงการจะเกิดผล และการเข้าร่วมของกลุ่มเป้าหมายย่อมเกิดขึ้นได้ ถ้าใช้วิธีการเข้า
ถึงปัญหาที่ถูกต้อง
5. การมีส่วนร่วมเป็นนโยบายตามความหมายกว้างเราอาจมองประเด็นการมีส่วนร่วมของ
ประชาชนว่าเป็นเรื่องเดียวกับประชาธิปไตย ทั้งนี้ เพราะในปัจจุบันแทบไม่มีรัฐบาลใดกล้าคัดค้าน
หลักการประชาธิปไตยอย่างเปิดเผย ดังที่ เชอรี่ อาร์นสไตย์ (Sherry Arnstin อ้างใน อุษณีย์ ศิริ
สุนทรไพบูลย์ 2538 : 32) เขียนไว้ว่า “โดยหลักการ ไม่มีใครคัดค้านการมีส่วนร่วมของประชาชน
32
ทั้งนี้เพราะการมีส่วนร่วมเป็นสิ่งที่ดีของผู้ได้ปกครองในการปกครองนั้น เป็นหลักหินแห่ง
ประชาธิปไตย”
จากแนวคิดและคำจำกัดความของ “การมีส่วนร่วมของประชาชน” ในการมีส่วนร่วมจะต้อง
อาศัยองค์ประกอบหลายอย่างได้แก่ ลักษณะการมีส่วนร่วม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเข้ามามีส่วนร่วม
เงื่อนไขของการมีส่วนร่วม ระดับการมีส่วนร่วม รูปแบบและขั้นตอนการมีส่วนร่วม เพื่อให้การดำเนิน
กิจกรรมการพัฒนาประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ ประชาชนในชุมชนจะต้องมีส่วนร่วม หรือมี
โอกาสเข้าร่วมได้ทุกขั้นตอน ประชาชนมีอำนาจตัดสินใจ ตั้งแต่เริ่มคิด วางแผน ร่วมดำเนินการและ
รับผลประโยชน์ ผู้วิจัยได้นำมาเป็นแนวทางในการศึกษา การมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุน กองทุน
หมู่บ้านและชุมชนเมือง 1 ล้านบาท เพื่อให้ทราบถึงการมีส่วนร่วมของสมาชิกมากน้อยเพียงใด
กล่าวโดยสรุปจะเห็นได้ว่า ผู้นำและการมีส่วนร่วมของประชาชนจะต้องมีความสัมพันธ์ซึ่ง
กันและกัน ซึ่งผู้นำเป็นเรื่องของบุคคลที่ได้รับการคัดเลือกจากกลุ่มหรือชุมชนให้ขึ้นมาเป็นผู้ดูแล
บริหารงานภายในกลุ่มหรือชุมชน ซึ่งผู้นำจะต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้ในสิ่งที่ร้อง
ขอ จะต้องมีจุดมุ่งหมายแนวทางในการทำงาน ต้องมีความเป็นมิตรและให้ความรักกับคนในชุมชน มี
ความน่านับถือ กล้าตัดสินใจ และสร้างศรัทธาความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้น สามารถปกครองบังคับบัญชา
คนในกลุ่มหรือชุมชนได  ซึ่งในสังคมหรือชุมชนจะต้องมีปัจจัยเอื้ออำนวย เช่น เป็นผู้มีฐานะทาง
เศรษฐกิจดีพอควร เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป เป็นผู้ที่มีความกว้างขวางในสังคมมีความคล่องตัว
สามารถติดต่อประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชน เพื่อช่วยเหลือสมาชิก
ในกลุ่มให้บรรลุผลสำเร็จ เป็นผู้ได้รับการสนับสนุนจากทางราชการ เป็นผู้ไกล่เกลี่ยกรณีเกิดการ
พิพาทของสมาชิกในชุมชน เป็นผู้นำการพัฒนามาสู่ชุมชนหรือสังคม เป็นผู้มองการณ์ไกล ซึ่งจะช่วย
ทำให้ผู้นำได้รับการยอมรับและมีอิทธิพลขึ้นมาได้
สำหรับการวิจัยครั้งนี้การมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุน กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
เป็นกิจกรรมที่กระทำโดยสมัครใจของสมาชิกในชุมชน เพื่อเลือกผู้นำของตนและกำหนดนโยบายใน
การดำเนินการจัดตั้งส่วนหนึ่ง จะขึ้นอยู่กับผู้นำว่าจะมีความสามารถชักจูง ชักนำหรือโน้มน้าวให้เข้า
มามีส่วนร่วมได้มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับคุณสมบัติคุณลักษณะของผู้นำ และความเชื่อถือไว้วางใจใน
ตัว ผู้นำ ทำให้เห็นได้ว่าผู้นำกับการมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุนจะต้องมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
อย่างแน่นอน
ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
จากการตรวจสอบบทคัดย่อวิทยานิพนธ์ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง พบว่ายังไม่มีผู้วิจัยท่านใดที่
ได้ศึกษาเกี่ยวกับประเด็นปัญหาที่ผู้วิจัยต้องการศึกษา และมีงานวิจัยที่ใกล้เคียงดังต่อไปนี้
33
กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงาน (2526 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาวิจัยบท
บาทของผู้นำท้องถิ่นโครงการการสร้างงานในชนบท และผลการศึกษาวิจัยพบว่า รัฐบาลได้ให้
ความสำคัญแก่ผู้นำท้องถิ่นเป็นอย่างมาก เพราะผู้นำท้องถิ่นเป็นสื่อกลางระหว่างรัฐบาลกับประชาชน
เป็นผู้ถ่ายทอดนโยบายของรัฐบาลให้ประชาชนรับทราบ และถือปฏิบัติเป็นผู้ได้รับความไว้วางใจจาก
ประชาชนในด้านเศรษฐกิจ สามารถรวมกลุ่มราษฎรในด้านการส่งเสริมอาชีพและเพิ่มผลผลิต เป็นผู้
ชี้นำให้ราษฎรประกอบอาชีพด้วยความอดทนเพื่อเพิ่มพูนรายได้ ในด้านสังคมเป็นผู้นำให้ประชาชน
เห็นคุณค่าของสังคมในการอยู่ร่วมกันและพึ่งพาอาศัยกัน และด้านวัฒนธรรมเป็นผู้ชี้นำให้มีการบำรุง
รักษาศิลปประเพณีประจำชาติ
กรมการฝึกหัดครู (2528 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาวิจัยประเมินผลโครงการเสริมบทบาทผู้
นำท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาชนบทยากจนปีงบประมาณ 2528 และผลการศึกษาวิจัยพบว่า บุคลากรใน
ท้องถิ่นที่ประชาชนให้ความศรัทธาเชื่อถือในความสามารถ ซึ่งเป็นทรัพยากรสำคัญต่อการพัฒนา
ชนบทนั้นมีอยู่ทุกหมู่บ้าน แต่ยังไม่ได้ถูกนำมาเข้าร่วมกิจกรรมของรัฐ ขาดการชี้นำและการกระตุ้น
ตลอดจนขาดการกำหนดบทบาทเพื่อให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาชนบทอย่างเป็นระบบ หาก
บุคลากรเหล่านี้ให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วมจะทำให้การพัฒนาในพื้นที่ได้รับความสำเร็จ เกิดผล
ต่อเนื่องและมั่นคงถาวร
สมบัติ เสาร์แก้ว (2536 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง บทบาทของคณะกรรมการ
หมู่บ้านในการบริหารและจัดการแหล่งน้ำเล็ก ผลการวิจัยสรุปได้ว่าคณะกรรมการหมู่บ้านทุกแห่งมี
บทบาทในการบริหารและจัดการแหล่งน้ำขนาดเล็กอยู่ในระดับมาก ในด้านการดำเนินการจัดทำแผน
งานด้านมาตรการในการบำรุงรักษาด้านการควบคุมการใช้ประโยชน์ของน้ำ ด้านการประชาสัมพันธ์
และการประเมินผลในเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อบทบาทในการบริหารและการจัดการ พบว่าการได้รับ
การแนะนำสนับสนุนจากเจ้าหน้าท ี่ การรับรู้ข่าวสารการเป็นผู้นำกลุ่มทางสังคม และความรู้ความเข้า
ใจในบทบาทหน้าที่มีความสัมพันธ์ต่อบทบาทในการบริหารและจัดการ
อารมณ์ พาพันธ์ (2529 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาสาระนิพนธ์เรื่อง ภาวะผู้นำกับการพัฒนา
หมู่บ้านและจากการศึกษา พบว่า กำนันมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาหมู่บ้านในทุกด้าน ได้แก่ ด้าน
การให้ความรู้ การอาชีพ การดำรงชีวิตประจำวัน การอบรมชาวบ้าน เช่น ด้านสุขภาพอนามัย ด้านการ
จัดหาวิทยากรหลาย ๆ อาชีพมาอบรมชาวบ้าน เช่น อบรมกลุ่มแม่บ้าน พ่อบ้าน นำชาวบ้านจัดทำ
โครงการต่าง ๆ หลังฤดูการเก็บเกี่ยวที่เป็นการทำงานเพื่อส่วนรวม และเมื่อหมู่บ้านมีปัญหาเกิด
ขึ้นก็จะต้องจัดให้มีการร่วมประชุมเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกัน และนำไปปฏิบัติ
ปรัชญา เวสารัชช์ (2528 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรม
เพื่อพัฒนาชนบท สรุปได้ว่า การมีส่วนร่วมเป็นการที่ประชาชนเข้ามาเกี่ยวข้องโดยใช้ความพยายาม
หรือใช้ทรัพยากรบางส่วนร่วมต้องยึดหลัก หรือองค์ประกอบดังต่อไปนี้ คือ การที่ประชาชนเข้ามา
34
เกี่ยวข้องในกิจกรรมการพัฒนาและผู้เข้าร่วมได้ใช้ความพยายามส่วนตัว เช่น ความรู้ ความคิด
ความสามารถ แรงงาน หรือทรัพยากรบางอย่าง เช่น เงิน วัสดุ ในกิจกรรมการพัฒนา
สุจินต์ ดาววีระกุล (2527 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของ
ประชาชนในโครงการพัฒนาหมู่บ้าน ศึกษาเฉพาะกรณีหมู่บ้านชนะเลิศการประกวดหมู่บ้านดีเด่น
ระดับจังหวัดนครสวรรค์ปี 2527 ได้ศึกษาถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน
หมู่บ้าน พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน ได้แก่ ตำแหน่งทางสังคมในหมู่บ้าน การ
รู้สึกมีความสำคัญต่อหมู่บ้าน ความกระตือรือร้นที่จะเข้าร่วมในการพัฒนาในกิจกรรมการพัฒนาหมู่
บ้าน ความต้องการเกียรติ การได้รับการชักจูงจากกรรมการหมู่บ้าน เพื่อนบ้าน และพัฒนาการอำเภอ
สิน สื่อสวน (2530: บทคัดย่อ) ปัจจัยที่ส่งเสริมการพัฒนาองค์กรประชาชนในเมือง
ศึกษาเฉพาะกรณีสหกรณ์เครดิตยูเนียนชุมชนหลังบ้านมนังคศิลา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร พบว่า
มีปัจจัยที่ใหญ่ที่มีผลต่อการพัฒนาสหกรณ์ คือ ปัจจัยด้านกรรมการหรือผู้นำ ได้แก่ ผู้นำที่มีลักษณะที่
ดี คือได้รับการยอมรับจากสมาชิก มีความเสียสละ ความซื่อสัตย์ เอางานเอาการ มีบทบาทใน
การช่วยเหลือสมาชิกแก้ปัญหา ชักชวนสมาชิกให้เข้ามาร่วมกันแก้ไขปัญหา เปิดโอกาสให้สมาชิกตัด
สินใจให้บริการอย่างเสมอภาคและปกป้องผลประโยชน์ของสมาชิก ผู้นำมีความสามารถในการเข้าใจ
ปัญหาผลักดันให้งานสำเร็จ ระดมความร่วมมือจากสมาชิกทำงานเป็นกลุ่ม ประสานงานกับภายนอก
สนิท ขาวสอาด ( 2539 : 48) ได้นำเสนอผลการศึกษาบทบาทงานพัฒนาชุมชนในการส่ง
เสริมการปกครองท้องถิ่น พบว่า การพัฒนาบทบาทของผู้นำในท้องถิ่นและการปูพื้นให้ประชาชนได้
เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน ในลักษณะโครงการพัฒนาชุมชนต่าง ๆ ในพื้นที่ชนบท จะเป็น
สิ่งสำคัญในการส่งเสริมให้ประชาชนได้เรียนรู้วิธีการปกครองตนเอง และรู้จักการเข้ามามีส่วนร่วมใน
การทำงาน รู้จักการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มเป็นทีม เพื่อช่วยกันปรับปรุงพัฒนาให้ท้องถิ่นหมู่บ้านมี
ความเจริญขึ้นไป การศึกษาดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าการดำเนินการโครงการพัฒนาท้องถิ่นชนบทโดยใช้
หลักการพัฒนาชุมชนในหลักการที่ว่า ให้ประชาชนมีส่วนร่วมช่วยเหลือตนเอง พึ่งตนเอง ร่วมกัน
คิด ร่วมกันดำเนินการ ร่วมกันแก้ปัญหา จะเป็นการช่วยส่งเสริมให้ประชาชนได้เรียนรู้ รู้จัก และคุ้น
เคยต่อการปกครองตนเอง ในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนมีความรู้สึกที่จะเข้าไปมี
ส่วนร่วมในทางการเมือง การปกครองของท้องถิ่น ประกอบกับการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคม
ของชุมชนมีความเจริญขึ้น ด้วยความเอาใจใส่และความกระตือรือร้นของประชาชนแล้ว ท้องถิ่นนั้นก็
พร้อมจะยกฐานะกลายเป็นองค์กรปกครองท้องถิ่นได้ง่าย และเร็วขึ้น
จากการศึกษาและทบทวนวรรณกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง แนวคิด ทฤษฎีและผลงานวิจัยทั้ง
ในประเทศและต่างประเทศที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับ คุณลักษณะผู้นำกับการมีส่วนร่วมของ
35
สมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง สรุปได้ว่า ผู้นำมีความสำคัญต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของ
บุคคลและนำไปสู่สร้างพลังการรวมกลุ่มไปสู่การบรรลุเป้าหมายอย่างเป็นพลวัตร ในขณะเดียวกันผู้นำ
ยังมีองค์ประกอบและมีคุณสมบัติต่าง ๆ ที่สนับสนุนส่งเสริมให้ผู้นำนั้นมีอำนาจต่อผู้ตามมีความ
สัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นอย่างมาก ได้แก่แนวคิดทฤษฎีผู้นำตามธรรมชาติ ของ เค
ส (Case) โดยการรวบรวมของ นิพนธ์ อุทก (2530) คุณลักษณะภาวะผู้นำของ สต็อคดิลล์ (Stogdill
1974) คุณสมบัติผู้นำของ ธงชัย สันติวงษ์ (2537) ลักษณะผู้นำ ของ ไพบูลย์ วัฒนธรรม (2540)
แนวคิดการมีส่วนร่วมของประชาชนของ United Nation เสน่ห์ จามริกและคณะ (2538) และ ไพรัตน์
เตชะรินทร์ (2527) ซึ่งบุคคลเหล่านี้คือผู้ที่ให้ความสนใจศึกษาเรื่องผู้นำและการมีส่วนร่วมของ
ประชาชนในการพัฒนาชุมชนมากพอสมควร กอปรกับเอกสารคู่มือสำหรับประชาชนเพื่อเตรียมการ
จัดตั้งและดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง (2544) การหยิบยกผลงานทางการวิจัยดังกล่าว
มาเสนอในรายงานฉบับนี้ เนื่องจากผู้วิจัยได้พิจารณาว่ามีความเกี่ยวข้องกับการศึกษาวิจัยใน
ประเด็นที่กำลังสนใจ เพราะผู้นำเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญที่จะจูงใจ โน้มน้าวใจให้ประชาชนเข้ามามีส่วน
ร่วมเพื่อเป็นการพัฒนาบทบาทผู้นำในท้องถิ่นหรือชุมชน เป็นการปูพื้นฐานให้ประชาชนได้เข้ามามี
ส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน จะเป็นสิ่งสำคัญในการส่งเสริมให้ประชาชนได้เรียนรู้วิธีการปกครองตน
เอง รู้จักการเข้ามามีส่วนร่วมในการทำงาน รู้จักการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มเป็นทีม เพื่อให้ประชาชนมี
ส่วนร่วมช่วยเหลือตนเอง พึ่งตนเอง ร่วมกันคิด ร่วมกันดำเนินการและร่วมกันแก้ปัญหา ผู้วิจัยจึง
นำมาเป็นแนวทางในการศึกษาวิจัยเรื่อง ผู้นำกับการมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชน
เมือง ซึ่งต้องอาศัยผู้นำ เพราะผู้นำคือสื่อกลางในการประสานงานระหว่างรัฐบาลกับประชาชนได้
ขณะเดียวกันผู้นำก็จะต้องมีลักษณะที่ดีคือได้รับการยอมรับจากสมาชิก มีความเสียสละ ความซื่อ
สัตย์ เอางาน เอาการ มีบทบาทในการช่วยเหลือสมาชิกแก้ปัญหา ชักชวนโน้มน้าว และการใช้กล
ยุทธ์ต่าง ๆ ในการ จูงใจสมาชิกให้เข้ามาร่วมกันแก้ไขปัญหา เปิดโอกาสให้สมาชิกตัดสินใจ ให้
บริการอย่างเสมอภาคและปกป้องผลประโยชน์ของสมาชิก รวมทั้งผู้นำสามารถเข้าใจปัญหาและผลัก
ดันให้งานสำเร็จ
จากปัจจัยต่าง ๆ ทั้งหลายที่กล่าวมานี้จึงนำไปสู่การสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัยโดยมี
วัตถุประสงค์ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาคุณลักษณะของผู้นำกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองทั้ง
10 ชุมชนว่ามีลักษณะเช่นไร ลักษณะการมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านทั้ง 10 ชุมชน และ
ต้องการค้นหาคุณลักษณะผู้นำกองทุนและการมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุนระหว่างกลุ่มกองทุนที่มี
สมาชิกจำนวนมากและกลุ่มกองทุนที่มีสมาชิกจำนวนน้อย ภายใต้แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับผู้นำ การมี
ส่วนร่วมและ ระเบียบการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
บทที่ 3
วิธีดำเนินการวิจัย
การศึกษาวิจัยเรื่องผู้นำกับการมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุน กองทุนหมู่บ้านและชุมชน
เมือง กรณีศึกษากองทุนชุมชนในเขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย และเขตบางกอกใหญ่รวม 10 กอง
ทุน มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาถึงคุณลักษณะของประธานกองทุนที่มีต่อการมีส่วนร่วมของสมาชิกกอง
ทุนในการดำเนินการจัดตั้งกองทุนได้สำเร็จ งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยภาคสนาม เพื่อศึกษาข้อมูล
ในระดับลึกจึงใช้วิธีการสัมภาษณ์และสังเกตการณ์ เป็นเครื่องมือซึ่งเป็นการแสวงหาความรู้การ
พิจารณาปรากฏการณ์สังคมจากสภาพแวดล้อมตามความเป็นจริง ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามแนวทาง
ในการศึกษาวิจัย ดังนี้
3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
3.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล
3.4 การวิเคราะห์ข้อมูล
3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ ประธานกองทุน กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง 1 ล้าน
บาท ของชุมชนที่อยู่ในกลุ่มกรุงธนเหนือ ประกอบด้วย 7 เขตปกครอง ได้แก่ เขตบางพลัด มี 33
ชุมชน เขตบางกอกน้อย 32 ชุมชน เขตบางกอกใหญ่ 22 ชุมชน เขตตลิ่งชัน มี 22 ชุมชน เขต
ภาษีเจริญ มี 30 ชุมชน เขตหนองแขม มี 24 ชุมชน และเขตทวีวัฒนา มี 3 ชุมชน รวมจำนวนชุมชน
ทั้งสิ้น 166 ชุมชน
กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาวิจัยนี้ ใช้วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบมีเกณฑ์ (Criterion
Sampling) เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างที่ผู้วิจัยได้กำหนดเงื่อนไขหรือหลักเกณฑ์ขึ้นด้วยตนเอง
(สุภางค์ จันทวานิช 2542 : 65) ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้กำหนดเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ในการคัด
เลือกชุมชนที่มีลักษณะความสอดคล้องกับเงื่อนไขที่ได้กำหนดในกรอบการวิจัยนี้ได้แก่
(1) ชุมชนที่สามารถจัดตั้งกองทุนได้สำเร็จ, (2) มีองค์ประกอบครบถ้วนตามกรอบการ
วิจัยทั้ง 4 ด้าน คือ บริบทชุมชน การมีส่วนร่วม การสนับสนุนจากรัฐ และลักษณะผู้นำ, (3) ผู้นำกอง
ทุนมีการปฏิบัติงานในการบริหารกองทุนอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา, (4) และสมาชิกมีส่วนร่วมในกิจ
กรรมวาระและระเบียบของกองทุนอย่างต่อเนื่อง
37
ในขณะที่ทำการวิจัยพบว่ามีชุมชนที่สามารถจัดตั้งกองทุนได้สำเร็จจากและมีลักษณะ
สอดคล้องกับเงื่อนไขที่กำหนดพบว่ามี 3 เขต ได้แก่ เขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย และเขต
บางกอกใหญ่ เมื่อทำการคัดเลือกชุมชนที่สามารถจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านได้สำเร็จดัวยวิธีการสุ่มตัวอย่าง
แบบเจาะจง (Purposive Sampling) จากจำนวน 87 ชุมชน ได้ชุมชนที่ก่อตั้งกองทุนหมู่บ้านประสบ
ความสำเร็จจาก เขตบางพลัด มี 3 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนวัดเทพากร ชุมชนคลองสวนพริก ชุมชน
พัฒนาซอย 79 เขตบางกอกน้อย มี 4 ชุมชน ได้แก ่ ชุมชนวัดบางขุนนนท  ชุมชนชวนชื่น ชมุ ชน
วัดอมรทายิการาม ชุมชนซอยสุดสาคร และเขตบางกอกใหญ่ มี 3 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนปรกอรุณ
ชุมชนวัดนาคกลาง ชุมชนวัดหงส์รัตนาราม
จากนั้นนำทั้ง 10 ชุมชนมาแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 5 ชุมชน โดยกำหนดให้กลุ่มแรกเป็น
ชุมชนที่มีสมาชิกกองทุนเป็นสัดส่วนร้อยละ 60 ของจำนวนครัวเรือนในชุมชน และกลุ่มที่สองเป็น
กลุ่มที่ชุมชนมีสมาชิกกองทุนร้อย 30 ของจำนวนครัวเรือนในชุมชนมีดังนี้เพื่อให้สอดคล้องกับ
วัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อค้นหาคุณลักษณะของผู้นำเฉพาะกลุ่ม
ผู้วิจัยใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ สังเกตการณ์และการมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่
เกี่ยวข้องกับกองทุนหมู่บ้านร่วมกับประธานกองทุนและสมาชิกในชุมชนที่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นใน
การศึกษา โดยมีประธานกองทุนที่ผ่านการคัดเลือกจำนวน 10 กรณี ดังตารางท ี่ 1
ตารางที่ 1 แสดงรายนามผู้นำกองทุนแต่ละชุมชนที่ทำการวิจัย
ชุมชนที่มีสมาชิกกองทุน 60%
ของจำนวนครัวเรือน
ชุมชนที่มีสมาชิกกองทุน 30%
ของจำนวนครัวเรือน
1. นายอนันต์ อ่วมฉิม
ประธานกองทุนชุมชนพัฒนา ซอย 79
2. นายสำรวย ลาภขจร
ประธานกองทุนชุมชนคลองสวนพริก
3. นายชัยยงค์ บรรเจิดศิลป์
ประธานกองทุนชุมชนชวนชื่น
4. นายรัตนชัย บุญศรี
ประธานกองทุนชุมชนอมรทายิการาม
5. น.อ.โชติรัตน์ อภัยพลชาญ ร.น.
ประธานกองทุนชุมชนปรกอรุณ
1. นายสุวัฒน์ชัย สมเนตร
ประธานกองทุนชุมชนวัดเทพากร
2. นายพยุงศักดิ์ ปัทมานนท์
ประธานกองทุนชุมชนวัดบางขุนนนท์
3. นายคล่อง กล่อมเกลี้ยง
ประธานกองทุนชุมชนซอยสุดสาคร
4. นายพิชิต บุษปาคม
ประธานกองทุนชุมชนวัดนาคกลาง
5. นายปรัชญา ธัญญาดี
ประธานกองทุนชุมชนวัดหงส์รัตนาราม
38
3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ การใช้แนวทางการสัมภาษณ์ (Interview Guide)
และการสังเกตการณ์ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามกรอบแนวความคิดที่เกี่ยวข้องกับตัวแปร
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ โดยเน้นคำถามปลายเปิดที่สามารถปรับได้ตามสถานการณ์ของผู้
ถูกสัมภาษณ์ ประกอบด้วย
แนวทางการสัมภาษณ์
ผู้วิจัยใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก โดยการเข้าไปสร้างความคุ้นเคย ความเป็นกันเอง
พูดคุยแบบไม่เป็นทางการ คุยเรื่องทั่ว ๆ ไปกับกลุ่มตัวอย่างหลายครั้ง เข้าไปร่วมสังสรรค์และรับ
ประทานอาหาร เพื่อให้กลุ่มตัวอย่างเกิดความไว้วางใจ ผู้วิจัยใช้แนวทางการสัมภาษณ์ ดังนี้
1. ให้กลุ่มตัวอย่างเล่าถึงประวัติส่วนตัวเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ ภูมิลำเนา การศึกษา
อาชีพ รายได้ สถานภาพการสมรสและประสบการณ์ของผู้นำ
2. ให้กลุ่มตัวอย่างเล่าถึงสภาพความเป็นอยู่โดยทั่วไป ได้แก่ บริบทของชุมชนทางด้าน
เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การเมือง ภูมิปัญญาของชุมชน และองค์กรในชุมชน
3. แนวคำถามที่เกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุน กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง 1 ล้านบาทของ
ชุมชน
(1)วิธีการอย่างไรในการจูงใจหรือโน้มน้าวใจประชาชนในชุมชนให้สมัครเข้าร่วมเป็น
สมาชิกกองทุน
(2) วิธีการบริหารจัดการกองทุนอย่างไร
(3) ประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดตั้งกองทุน มีอะไรบ้าง
(4) การได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐเป็นอย่างไร
(5) การมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุนในชุมชนเป็นอย่างไร
การสังเกตการณ์
1. การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม โดยผู้วิจัยเข้าไปสังเกตการณ์ในการเข้าร่วมประชุมกับ
ชุมชนอย่างเป็นทางการในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชน เพื่อสังเกตพฤติกรรมของผู้นำกอง
ทุนเกี่ยวกับ บุคลิกภาพการเป็นผู้นำ ภาวะผู้นำในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาของผู้นำกองทุน
2. การสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม โดยผู้วิจัยเข้าไปศึกษาชุมชนโดยการสังเกตการณ์
เกี่ยวกับบริบทชุมชน วิถีชีวิตของประชาชนในชุมชนรวมทั้งเข้าไปพูดคุยแบบไม่เป็นทางการกับผู้นำ
กองทุน กรรมการกองทุน สมาชิกกองทุน และประธานในชุมชน เพื่อเก็บข้อมูลผู้นำกองทุนเกี่ยวกับ
สภาพความเป็นอยู่ วิถีการดำเนินชีวิต ที่อยู่อาศัย ฐานะทางเศรษฐกิจ การได้รับการยอมรับจาก
ประชาชน
39
3.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล
1. การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์กับกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาจริงผู้วิจัยเป็นผู้รวบรวม
ข้อมูลด้วยตนเอง โดยใช้การพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการ พูดคุยกับประธานกองทุน สมาชิกกองทุน
รวมทั้งประชาชนในชุมชนที่ไม่ได้เป็นสมาชิกพูดคุยหลายครั้งจนคุ้นเคย ผู้วิจัยจึงเริ่มสัมภาษณ์จาก
แนวทางการสัมภาษณ์ที่กำหนดไว้ในเครื่องมือ ขณะสัมภาษณ์ผู้วิจัยใช้วิธีการจดบันทึกและบันทึกเทป
2. การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม และไม่มีส่วนร่วม
(1) สังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม ผู้วิจัยเข้าร่วมสังเกตโดยเข้าร่วมประชุมกับกองทุน
ทุกกองทุน ๆ ละ 1 ครั้ง ผู้วิจัยจดบันทึกและบันทึกเทป
(2) สังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม โดยผู้วิจัยเข้าสังเกตการณ์ในชุมชนเกี่ยวกับ
บริบทชุมชน วิถีชีวิตชุมชนของผู้นำกองทุนและประธานในชุมชน ผู้วิจัยเข้าไปสังเกตหลายครั้งอย่าง
ต่อเนื่องและนำมาจดบันทึก และตรวจสอบความสมบูรณ์ของข้อมูลเพื่อนำไปวิเคราะห์ข้อมูล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล
เนื่องด้วยสถาบันราชภัฏทุกแห่งเป็นสถาบันการศึกษาท้องถิ่นที่ต้องมีบทบาทหน้าที่ดูแล
และพัฒนาท้องถิ่นภายใต้ศูนย์ประสานชุมชนเข้มแข็งของสถาบัน ผู้วิจัยเป็นบุคลากรผู้หนึ่งที่ต้องดูแล
รับผิดชอบในการลงพื้นที่ร่วมกับนักศึกษาในชุมชนเขตกรุงธนเหนือ และได้สัมผัสรับรู้ความเป็นไป
ของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองตั้งแต่เริ่มมีนโยบายกองทุนหมู่บ้านในเดือนพฤษภาคม 2544
เป็นต้นมา โดยเข้าไปมีส่วนร่วมในเรื่องการให้ความรู้ความเข้าใจพื้นฐานและแนวทางการทำบัญชีร่วม
กันระหว่างชาวบ้านและบัณฑิตอาสากองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองตามลำดับ จนกระทั่งชุมชน
สามารถจัดตั้งกองทุนได้สำเร็จ ภายหลังจากการเสนอโครงร่างผู้วิจัยได้ทำการเก็บข้อมูลแบบมีส่วน
ร่วม การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก พร้อมทั้งสังเกตการณ์ภายในกรอบและขอบเขตที่กำหนดไว้ตั้งแต่
เดือน กรกฎาคม 2545 จนถึงเดือน กุมภาพันธ์ 2546 ทั้ง 10 ชุมชน และการสัมภาษณ์บุคคลอื่นที่
เกี่ยวข้องจำนวน 18 คน โดยใช้ระยะเวลาในการเก็บข้อมูลประมาณ 8 เดือน และได้นำเสนอราย
ละเอียดเกี่ยวกับชื่อบุคคล วันเวลาที่เข้าไปเก็บข้อมูลและสัมภาษณ์ไว้ในภาคผนวก
40
3.4 การวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้จากการจดบันทึกและบันทึกเทปในการสัมภาษณ์ และสังเกตการณ์จากผู้
นำกองทุน กรรมการกองทุน สมาชิกกองทุน และประชาชนในชุมชนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างทั้ง 10 ชุมชน
นำมารวบรวมตรวจสอบความสมบูรณ์ของข้อมูล และนำมาวิเคราะห์สรุปผลข้อมูล เชิงพรรณา โดย
บรรยายถึงข้อมูลพื้นฐานทั้งบริบทชุมชน การสนับสนุนจากรัฐ คุณลักษณะผู้นำและความสัมพันธ์
ระหว่างตัวแปรดังกล่าวกับลักษณะการมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง หลักการ
วิเคราะห์ข้อมูลใช้ข้อมูลจากการสังเกตและการสัมภาษณ์แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงบรรยาย
(Descriptive Analysis) และวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) โดยใช้ทฤษฎีคุณลักษณะผู้นำและ
การมีส่วนร่วมเพื่อเป็นการสร้างข้อสรุปในการวิจัยครั้งนี้
บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการศึกษาเรื่อง “ผู้นำกับการมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง” ใน
เขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย และเขตบางกอกใหญ่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะของ
ผู้นำ ลักษณะการมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุน และเปรียบเทียบคุณลักษณะผู้นำ ลักษณะการมีส่วน
ร่วม ซึ่งศึกษาจากชุมชนที่มีสมาชิกกองทุนเป็นสัดส่วนร้อยละ 60 ของจำนวนครัวเรือนในชุมชน และ
ชุมชนที่มีสมาชิกกองทุนเป็นสัดส่วนร้อยละ 30 ของจำนวนครัวเรือนในชุมชน ในเขตบางพลัด
บางกอกน้อย และบางกอกใหญ่ โดยจะนำเสนอตามลำดับดังต่อไปนี้
4.1 บริบทชุมชน
การศึกษาในครั้งนี้ จำแนกชุมชนออกเป็น 2 กลุ่ม พิจารณาจาก จำนวนร้อยละของจำนวน
ครัวเรือนทั้งหมดในชุมชนที่เป็นสมาชิกของกองทุนโดยกำหนดให้กลุ่มแรกเป็นชุมชนที่มีสมาชิกกองทุน
จำนวนเป็นร้อยละ 60 ประกอบด้วย ชุมชนซอยพัฒนา 79 หลังโรงเรียนวัดบางพลัด แขวงบางพลัด,
ชุมชนคลองสวนพริก ชุมชนชวนชื่น แขวงบางขุนนนท ์ เขตบางกอกน้อย ชุมชนวัดอมรทายิการาม
วัดอมรทายิการาม ถนนอิสรภาพ แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย และชุมชนปรกอรุณ ถนนอรุณ
อัมรินทร์ แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กลุ่มที่สองเป็นชุมชนที่มีสมาชิกกองทุนจำนวนร้อยละ 30
ของจำนวนครัวเรือนในชุมชน ประกอบด้วย ชุมชนวัดเทพากร แขวงบางพลัด เขตบางพลัด ชุมชน
วัดบางขุนนนท ์ แขวงบางขุนนนท ์ เขตบางกอกน้อย ชุมชนซอยสุดสาคร แขวงบ้านช่างหล่อ
เขตบางกอกน้อย ชุมชนวัดนาคกลาง แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ ชุมชนวัดหงส์รัตนาราม
แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ โดยจะเสนอบริบทชุมชนต่างๆ ที่นำมาศึกษาตามลำดับดังนี้
4.1.1 ชุมชนที่มีสมาชิกกองทุน ร้อยละ 60 ของจำนวนครัวเรือนในชุมชน
ชุมชนที่มีสมาชิกกองทุนจำนวนเป็นร้อยละ 60 ได้แก่ ชุมชนซอยพัฒนา 79 ชุมชนคลอง
สวนพริก ชุมชนชวนชื่น ชุมชนวัดอมรทายิการาม ชุมชนปรกอรุณ ชุมชนทั้ง 5 ชุมชนมีบริบทชุมชนที่
สรุปได้ดังนี้
ลักษณะทางกายภาพของชุมชน จากการศึกษาพบว่า ชุมชนซอยพัฒนา 79 ดั้งเดิมเป็นสวน
ผลไม้ ชุมชนคลองสวนพริก และชุมชนบางขุนนนท ์ มีลักษณะดั้งเดิมเป็นสวนผลไม้ ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่ม
ส่วนชุมชนชวนชื่น ชุมชนวัดอมรทายิการาม ชุมชนปรกอรุณ เป็นที่ราบที่มีการสร้างชุมชนขึ้นมาใหม่
โดยชุมชนวัดปรกอรุณเป็นชุมชนที่ล้อมรอบด้วยคูคลอง
42
จำนวนประชากรในแต่ละชุมชนพบว่า ชุมชนซอยพัฒนา 79 มีประชากร 593 คน 161
ครัวเรือน ชุมชนคลองสวนพริก 1,312 คน 215 ครัวเรือน ชุมชนชวนชื่นมีประชากรจำนวน 471
คน 100 ครัวเรือน ชุมชนวัดอมรทายิการาม 613 คน 164 ครัวเรือน และชุมชนปรกอรุณมี 1,338
คน 253 ครัวเรือน
การนับถือศาสนา ประชากรใน 5 ชุมชน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และมีการศึกษาอยู่ใน
ระดับประถมศึกษา ถึงระดับปริญญาตรี
ลักษณะการประกอบอาชีพ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป ค้าขาย และรับราชการ มี
รายได้พอเลี้ยงตนเอง รองลงมาเป็นอาชีพตัดเย็บเสื้อผ้า ทั้งนี้เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่เป็นคนที่
ย้ายถิ่นมาจากที่อื่นมาตั้งบ้านเรือนอยู่ในชุมชนและไม่มีที่ทำกินเป็นของตนเอง จึงต้องประกอบอาชีพ
รับจ้างทั่วไป และค้าขาย ซึ่งมีรายได้พอเลี้ยงชีพได้ในระดับหนึ่ง ปัญหาที่พบได้แก่ ปัญหาการว่างงาน
ซึ่งนำไปสู่ปัญหาความยากจน ปัญหาสภาพแวดล้อม ปัญหาด้านสุขภาพ ปัญหาสาธารณูปโภค และ
ปัญหายาเสพติด อันเป็นปัญหาของทุกชุมชน
สภาพสังคมและวัฒนธรรม พบว่า สมาชิกของชุมชนมีการรวมกลุ่มกันในลักษณะ กลุ่มคน
ดั้งเดิม กลุ่มคนย้ายถิ่น กลุ่มคนที่ประกอบอาชีพเดียวกัน มีการจัดงานเพื่อรักษาวัฒนธรรมประเพณี
ท้องถิ่นของตน และพิธีกรรมทางศาสนา เช่น การทำบุญตามประเพณีและวันสำคัญทางพุทธศาสนา
การสวดมนต์ทุกวันพระ และมีพระธรรมเทศนาทุกวันอาทิตย์ในทุกชุมชน
ภูมิปัญญาท้องถิ่น อันเป็นวัฒนธรรมที่ถ่ายทอดกันมาของท้องถิ่นที่พบในทุกชุมชน ได้แก่
ภูมิปัญญาด้านแพทย์แผนไทย โภชนาการ การเกษตรกรรม หัตถกรรม และศิลปกรรม
จากปัญหาต่างๆ ของชุมชนนำไปสู่การรวมกลุ่มเพื่อแก้ไขปัญหา โดยการจัดตั้งองค์กร ชุมชน
ต่างๆ เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา พัฒนาความรู้ และสร้างความสามัคคี ได้แก่
กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มสาธารณสุข กลุ่มต้านภัยยาเสพติด กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ กลุ่มออกกำลังกายเพื่อ
สุขภาพ กลุ่มอาสาปราบยุงลาย เป็นต้น โดยมีรายละเอียดของแต่ละชุมชน ดังต่อไปนี้
4.1.1.1 ชุมชนพัฒนา ซอย 79 หลังโรงเรียนวัดบางพลัด แขวงบางพลัด
43
ชุมชนพัฒนา 79 สภาพเดิมของชุมชนมีลักษณะเป็นสวนผลไม้ มีประชากร 161 ครัวเรือน
รวมทั้งสิ้น 593 คน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ประกอบอาชีพรับ
จ้างทั่วไปและค้าขาย ในชุมชนมีปัญหายาเสพติด และการว่างงาน จึงกลายเป็นปัญหาครอบครัวตามมา
กล่าวคือ รายได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายจึงต้องหันหน้าไปพึ่งเงินกู้นอกระบบ ชุมชนมีภูมิปัญญาเป็นที่รู้
จักและยอมรับของคนทั่วไปได้แก่ ด้านการแพทย์แผนไทย การผลิตยาสมุนไพร และด้านศิลปกรรมได้
แก่ การหล่อตุ๊กตา ด้านองค์กรชุมชนมีการจัดตั้งกลุ่มองค์กรหลายกลุ่มเพื่อให้ประชาชนได้พัฒนา ได้
เรียนรู้ และสร้างความสามัคคี ได้แก่ กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มต่อต้านยาเสพติด และกลุ่มแอโรบิค ส่วน
ด้านวัฒนธรรม ชุมชนมีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา เช่น การทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ทุก
วันอาทิตย์ต้นเดือน และทำบุญในวันสำคัญตามประเพณี จากการที่รัฐเป็นผู้กำหนดนโยบายการจัดตั้ง
กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง โดยให้ ชุมชนเป็นผู้ดำเนินการเองและสำนักงานเขตประกอบด้วย
ผู้อำนวยการเขต คณะอนุกรรมการ เจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาชุมชน และเจ้าหน้าที่ฝ่ายทะเบียนจะเป็น
ผู้ควบคุมดูแลให้ความรู้และสังเกตการณ์
4.1.1.2 ชุมชนคลองสวนพริก เลขที่ 1130 ซอยจรัญ 79 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวง
บางพลัด
ชุมชนคลองสวนพริก สภาพเดิมของชุมชนเป็นสวนมีลักษณะเป็นที่ราบลุ่ม มีเนื้อที่ประมาณ
25 ไร่ และมีประชากร 1,312 คน รวมทั้งสิ้น 215 ครัวเรือน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ จบการ
ศึกษาระดับประถมศึกษาภาคบังคับ ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไปและค้าขาย รายได้พอเลี้ยงตัวได้
เพราะชุมชนอยู่ใกล้ตลาดบางพลัด แต่ยังมีหนี้สินกับเงินนอกระบบเพราะต้องเช่าที่ดินทำกินประชาชน
มีความเป็นอยู่ที่เรียบง่ายและอยู่กันอย่างพี่น้อง พึ่งพาอาศัยกัน ในชุมชนมีปัญหาเรื่องสาธารณูปโภค
ซึ่งเป็นความต้องการของคนในชุมชน ได้แก่แสงสว่างมีไม่เพียงพอ การปรับปรุงทางเดินเท้าภายใน
44
ชุมชนและมีปัญหาที่สำคัญคือ ปัญหายาเสพติด ด้านภูมิปัญญาชุมชนอันเป็นที่รู้จักและยอมรับของ
คนทั่วไปได้แก่ ด้านการแพทย์แผนไทย หรือหมอสมุนไพร และด้านโภชนาการ ได้แก่การทำ
ข้าวเหนียวมูนที่มีชื่อในตลาดวัดบางพลัด ด้านองค์กรชุมชนได้มีการจัดตั้งเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อ
ประชาชนอย่างแท้จริงได้แก่ กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ กลุ่มรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด และกลุ่มอาสาสมัคร
ปราบยุงลายโดยส่งสมาชิกเข้าไปรับการอบรม ส่วนด้านวัฒนธรรมชุมชน ชุมชนมีสิ่งที่เป็นศูนย์รวมจิต
ใจคือศาลเจ้าพ่อเสือที่เป็นจุดเด่นเมื่อถึงวันทำบุญประจำปี ชาวชุมชนจะร่วมกันทำบุญฉลองอย่าง
เหมาะสมตามประเพณีและวัฒนธรรมดั้งเดิมที่ได้รับการสืบทอดมา
4.1.1.3 ชุมชนชวนชื่น แขวงบางขุนนท์ เขตบางกอกน้อย
ชุมชนชวนชื่น มีลักษณะทางกายภาพเดิมของชุมชนเป็นชุมชนขนาดเล็กที่เกิดใหม่ เมื่อปี พ.ศ.
2543 มีประชากรรวมทั้งสิ้น 471 คน มีจำนวน 100 ครัวเรือน เดิมมีอาชีพทำสวน ต่อมามีคนจาก
ท้องถิ่นอื่นย้ายเข้ามาและไม่มีที่ทำกินเป็นของตนเอง จึงมีอาชีพรับจ้าง ค้าขาย และรับราชการ นับถือ
ศาสนาพุทธ มีชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย และมีความผูกพันเป็นกลุ่ม ๆ ตามแต่ลักษณะการประกอบ
อาชีพของแต่ละบุคคล เช่น กลุ่มที่มีอาชีพรับจ้าง กลุ่มอาชีพค้าขาย กลุ่มเพาะพันธุ์พืช ซึ่งการรวมกลุ่ม
ดังกล่าวเพื่อช่วยกันแบ่งปัน หรือช่วยกันในเรื่องของรายได้และค่าใช้จ่าย เช่น ผู้ที่มีอาชีพค้าขายก็จะไป
ซื้อของพร้อม ๆ กัน เพื่อช่วยกันเฉลี่ยค่ารถ เช่นเดียวกับกลุ่มเพาะพันธุ์พืชที่ซื้อปุ๋ยหรืออุปกรณ์ที่ใช้ใน
ครั้งเดียวกันเพื่อเป็นการเพิ่มปริมาณในการสั่งซื้อครั้งละมาก ๆ อันเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการขนส่ง
และราคาต้นทุนที่ต่ำกว่าการต่างคนต่างซื้อ ในชุมชนมีภูมิปัญญาทางด้านเกษตรกรรมคือการเพาะพันธุ์
พืช ซึ่งทำให้ชาวชุมชนมีงานทำ มีรายได้ แต่ไม่มากนัก ด้านองค์กรชุมชนมีการจัดตั้งเพื่อให้ประชาชน
มีความสามัคคีและมีส่วนร่วม ได้แก่ กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด กลุ่มออกกำลัง
45
กายเพื่อสุขภาพ วัฒนธรรมชุมชน ที่เป็นศูนย์รวมจิตใจนั้นไม่มี แต่มีงานประจำปีและงานประเพณีซึ่ง
จัดให้มีการรับประทานอาหารร่วมกัน พิธีทำบุญตักบาตร
4.1.1.4 ชุมชนวัดอมรทายิการาม เลขที่ 683 ศูนย์พัฒนาเด็กวัยก่อนเรียนพิทักษา วัด
อมรทายิการาม ถนนอิสรภาพ แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย
ชุมชนวัดอมรทายิการาม ลักษณะเดิมของชุมชน แต่เดิม”ยายมอญ”เป็นเจ้าของที่ดิน และได้
บริจาคเพื่อสร้างวัดและได้มีกลุ่มคนที่ย้ายเข้ามาอาศัย จึงก่อตัวเป็นชุมชน ปัจจุบันมีสภาพเป็นชุมชน
แออัด มีเนื้อที่ประมาณ 4 ไร่ มีประชากรรวมทั้งสิ้น 613 คน มีจำนวน 164 ครัวเรือน ส่วนใหญ่จบ
การศึกษาระดับประถมศึกษา ประกอบอาชีพตัดเย็บเสื้อผ้าส่งตลาดโบ้เบ้ ซึ่งประชาชนมีรายได้พอเลี้ยง
ตัวได้ ต่างประกอบอาชีพและทำมาหากินอย่างสุจริต ปัญหาที่พบในด้านต่าง ๆ จึงมีน้อย นอกจาก
ปัญหายาเสพติดและปัญหาเด็กก่อนวัยเรียนเพราะพ่อแม่ต้องทำงานไม่มีเวลาที่จะเลี้ยงดูเพื่อเป็นการ
แก้ปัญหาชุมชนจัดให้มีศูนย์เด็กก่อนวัยเรียนพิทักษา ซึ่งช่วยแบ่งเบาภาระในการเลี้ยงดู ภูมิปัญญาของ
ชุมชนมีน้อย ที่มีอยู่จะเป็นภูมิปัญญาทางด้านอุตสาหกรรมในครัวเรือนในการตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป
เป็นภูมิปัญญาที่สร้างรายได้ให้กับชุมชนและสร้างคนให้มีงานทำอีกด้วย องค์กรชุมชน ในชุมชนมี
หลายองค์กรซึ่งชาวบ้านได้ร่วมกันจัดตั้งขึ้นเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน ได้แก่ กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข
กลุ่มออมทรัพย์และกลุ่มอาสาสมัครป้องกันภัย ซึ่งแต่ละกลุ่มจะมีวัตถุประสงค์และการดำเนินการที่
แตกต่างกัน จะมีคณะกรรมการคอยควบคุมดูแล วัฒนธรรมชุมชน วัดใหม่ยายมอญ จะเป็นวัดที่คนใน
ละแวกใกล้เคียงให้ความเคารพ และกราบไว้ทำบุญกันเป็นประจำ โดยในวันพระจะมีการสวดมนต์ทำ
พิธีทางพระพุทธศาสนา ด้านประเพณีวัฒนธรรมประจำปีก็จะจัดขึ้นเป็นประจำ
46
4.1.1.5 ชุมชนปรกอรุณ เลขที่ 345/30 ถนนอรุณอัมรินทร์ แขวงวัดอรุณ เขตบางกอก
ใหญ่
ชุมชนปรกอรุณ ลักษณะทางกายภาพของชุมชน ตั้งอยู่บนพื้นที่ดินของกรมการศาสนา ให้
ชาวบ้านเช่าเพื่อปลูกบ้านอยู่อาศัย และอยู่ในความควบคุมดูแลของวัดอรุณราช วราราม พื้นที่โดยรอบ
ถูกล้อมรอบด้วยคูคลอง ปัจจุบันสภาพบ้านเรือนเป็นบ้านไม้มีระเบียบ ไม่แออัด เป็นชุมชนค่อนข้าง
ใหญ่ มีประชากร 253 ครัวเรือน จำนวนทั้งสิ้น 1,338 คน ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา
และประกอบอาชีพรับราชการมากที่สุด สังคมของชุมชนมีความสัมพันธ์กันใกล้ชิด เศรษฐกิจที่มีความ
คล่องตัวเพราะประชาชนมีอาชีพเสริมและมีรายได้ดี ปัญหาโดยทั่วไปไม่มี จะมีอยู่บ้างคือปัญหายา
เสพติด แต่จะมีน้อยมาก เพราะกรรมการชุมชนจะช่วยกันสอดส่องดูแล วัฒนธรรมชุมชนจะขึ้นอยู่กับ
ประเพณี งานประจำปี หรือ กิจกรรมพิเศษที่ภาครัฐจัดให้เกิดขึ้นกับวัดอรุณซึ่งเป็นโบราณสถานที่มี
ประวัติศาสตร์อันทรงคุณค่าที่สำคัญและเป็นศูนย์รวมทางด้านจิตใจของคนในชุมชนและคนไทยทั้ง
ประเทศ จากการที่ชุมชนเป็นผู้รับนโยบายในการดำเนินการจัดตั้งกองทุน สิ่งที่ได้รับจากรัฐจะเป็นคู่มือ
เกี่ยวกับกฎ ระเบียบในการดำเนินการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง จำนวน 4 เล่ม เพื่อเป็น
แนวปฏิบัติ และได้รับการแนะนำการทำบัญชีจากสถาบันราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยารวมทั้งนักศึกษา
ช่วยงานจากโครงการบัณฑิตกองทุนหมู่บ้าน
4.1.2 ชุมชนที่มีสมาชิกกองทุน ร้อยละ 30 ของจำนวนครัวเรือนในชุมชน
ชุมชนที่มีสมาชิกกองทุนจำนวนเป็นร้อยละ 30 ได้แก่ ชุมชนวัดเทพากร ชุมชนวัดบางขุนนนท์
ชุมชนซอยสุดสาคร ชุมชนวัดนาคกลาง ชุมชนวัดหงส์รัตนาราม ชุมชนทั้ง 5 ชุมชนมีโครงสร้าง ชุมชน
ที่สรุปได้ดังนี้
47
ลักษณะทางกายภาพของชุมชน จากการศึกษาพบว่า ชุมชนวัดเทพากร เป็นพื้นที่ราบลุ่มติด
แม่น้ำเจ้าพระยา มีเนื้อที่ประมาณ 36 ไร ่ ชุมชนวัดบางขุนนนท ์ มสี ภาพเปน็ สวนผลไมท้ มี่ ชี อื่ เสยี ง คอื
“ทุเรียนบางขุนนนท” ชมุ ชนสดุ สาคร สภาพเดิมเป็นสวนผลไม้ มีชื่อเสียงทางด้านเกษตรกรรม
ชุมชนวัดนาคกลาง เป็นชุมชนแออัดที่อยู่ในพื้นที่เช่าของวัดนาคกลางซึ่งเป็นวัดโบราณ และชุมชนวัด
หงส์ รัตนาราม เป็นชุมชนที่อยู่ติดวัดหงส์รัตนาราม
จำนวนประชากรในแต่ละชุมชนพบว่า ชุมชนวัดเทพากร มีประชาการ 1,350 คน 276 ครัว
เรือน ชุมชนวัดบางขุนนนท  932 คน 315 ครัวเรือน ชุมชนสุดสาครมีประชากรจำนวน 1,103คน
248 ครัวเรือน ชุมชนวัดนาคกลาง 1,077 คน 294 ครัวเรือนเรือน และชุมชนวัดหงส์รัตนา
รามมี 1,284 คน 342 ครัวเรือน
การนับถือศาสนา ประชากรใน 5 ชุมชน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และมีการศึกษาอยู่ใน
ระดับประถมศึกษา ถึงระดับปริญญาโท
ลักษณะการประกอบอาชีพ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป ค้าขาย และรับราชการ มีราย
ได้พอเลี้ยงตนเอง ธุรกิจส่วนตัว ทั้งนี้เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่เป็นคนที่ย้ายถิ่นมาจากที่อื่นมาตั้ง
บ้านเรือนอยู่ในชุมชน จึงต้องประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป และค้าขาย ซึ่งมีรายได้พอเลี้ยงตนเอง
ปัญหาที่พบได้แก่ ปัญหาการว่างงาน ซึ่งนำไปสู่ปัญหาความยากจน ปัญหาสภาพแวดล้อม ปัญหาด้าน
สุขภาพ ปัญหาสาธารณูปโภค และปัญหายาเสพติด ปัญหายุงชุม
สภาพสังคมและวัฒนธรรม พบว่า สมาชิกของชุมชนมีการรวมกลุ่มกันในลักษณะ แบบพึ่งพา
อาศัยกัน มีชีวิตแบบเรียบง่าย คนที่มีพื้นเพดั้งเดิมจะรักใคร่ช่วยเหลือกัน และกลุ่มคนที่ประกอบอาชีพ
เดียวกันจะมีการช่วยเหลือพึ่งพากัน ด้านศิลปวัฒนธรรมมีการจัดงานตามประเพณีของตน และพิธี
กรรมทางศาสนา เช่น การทำบุญตามประเพณี และวันสำคัญทางพุทธศาสนา การสวดมนต์ทุกวันพระ
และมีพระธรรมเทศนาทุกวันอาทิตย์ในทุกชุมชน
ภูมิปัญญาท้องถิ่น อันเป็นวัฒนธรรมที่ถ่ายทอดกันมาของท้องถิ่นที่พบในทุกชุมชน อันได้แก่
ภูมิปัญญาด้านแพทย์แผนไทย โภชนาการ การเกษตรกรรม หัตถกรรม และศิลปกรรม
จากปัญหาต่างๆ ของชุมชนนำไปสู่การรวมกลุ่มเพื่อแก้ไขปัญหา โดยการจัดตั้งองค์กรชุมชน
ต่างๆ เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและสร้างความสามัคคี ได้แก่ กลุ่มออมทรัพย์
กลุ่มสาธารณสุข กลุ่มต้านภัยยาเสพติด กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มป้องกันภัย กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มออก
กำลังกายเพื่อสุขภาพ กลุ่มอาสาปราบยุงลาย เป็นต้น โดยมีรายละเอียดของแต่ละชุมชนดังต่อไปนี้
48





ผู้นำำํ กับการมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุน หมู่บ้้า้น และชุมุมชนเมือง (ตอนที่ 1)

ผู้นำำํ กับการมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุน หมู่บ้้า้น และชุมุมชนเมือง (ตอนที่ 2)
ผู้นำำํ กับการมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุน หมู่บ้้า้น และชุมุมชนเมือง (ตอนที่ 3)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น