วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุข เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร (ตอนที่ 2)



บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามจำนวน 176 ชุด เป็นการวิจัยเชิงสำรวจที่ทำการศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุข เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร เพื่อศึกษาปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุข ความสัมพันธ์ของปัจจัยในการทำงานกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุข รวมถึงปัญหา อุปสรรคในการทำงานของอาสาสมัครสาธารณสุข และแนวทางแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานของอาสาสมัคร
สาธารณสุข ดังจะนำเสนอผลการวิจัยตามลำดับดังนี้
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป
ตอนที่ 1 ผลการวิเคราะห์ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม
ตารางที่ 4 แสดงจำนวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถามจำแนกตาม
เพศ
เพศ
จำนวน
ร้อยละ
ชาย
หญิง
รวม
42
132
176
23.90
76.10
100.0
อาสาสมัครสาธารณสุขที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 76.10 รองลงมาเป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 23.90
67
ตารางที่ 5 แสดงจำนวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม
จำแนกตามอายุ
อายุ ( ปี )
จำนวน(คน)
ร้อยละ
20-35ปี
36-45ปี
46-55ปี
สูงกว่า 55 ปี
รวม
10
28
59
79
176
5.70
15.90
33.50
44.90
100.0
อาสาสมัครสาธารณสุขที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีอายุสูงกว่า 55 ปี คิดเป็นร้อยละ 44.90 รองลงมามีอายุระหว่าง 46 – 55 ปี คิดเป็นร้อยละ 33.5
ตารางที่ 6 แสดงจำนวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม
จำแนกตามระดับการศึกษา
ระดับการศึกษา
จำนวน(คน)
ร้อยละ
ประถมศึกษา
มัธยมศึกษา-ปวส.
ปริญญาตรี
สูงกว่าปริญญาตรี
รวม
98
67
10
1
176
55.70
38.10
5.70
0.60
100.0
อาสาสมัครสาธารณสุขที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาชั้นประถมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 55.70 รองลงมามีระดับการศึกษามัธยมศึกษา – ปวส. คิดเป็นร้อยละ 38.10
68
ตารางที่ 7 แสดงจำนวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม
จำแนกตามสถานภาพการสมรส
สถานภาพการสมรส
จำนวน(คน)
ร้อยละ
โสด
สมรส
หย่า/ม่าย/แยกกันอยู่
รวม
26
103
47
176
14.80
58.50
26.70
100.0
อาสาสมัครสาธารณสุขที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส คิดเป็นร้อยละ 58.50 รองลงมามีสถานภาพ หย่า/ม่าย/แยกกันอยู่ คิดเป็นร้อยละ 26.70
ตารางที่ 8 แสดงจำนวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถามจำแนกตามภาระในครอบครัวที่ต้องรับผิดชอบ
ภาระในครอบครัวที่รับผิดชอบ
จำนวน(คน)
ร้อยละ
ธุรกิจในครอบครัว
ดูแลผู้สูงอายุ
ดูแลบุตรหลาน
อื่นๆ
รวม
62
27
75
12
176
35.20
15.30
42.60
6.80
100.0
อาสาสมัครสาธารณสุขที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีภาระในครอบครัวที่ต้องรับผิดชอบคือดูแลบุตรหลาน คิดเป็นร้อยละ 42.60 รองลงมาต้องดูแลธุรกิจในครอบครัว คิดเป็นร้อยละ 35.20
69
ตารางที่ 9 แสดงจำนวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถามจำแนกตามจำนวนบุคคลในครอบครัวที่ต้องดูแล/รับผิดชอบ
จำนวนบุคคลในครอบครัวที่ต้องดูแล / รับผิดชอบ
จำนวน(คน)
ร้อยละ
1-3 คน
4-6 คน
มากกว่า 6 คน
รวม
106
48
22
176
60.20
27.30
12.50
100.0
อาสาสมัครสาธารณสุขที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีจำนวนบุคคลที่ต้องดูแล/รับผิดชอบ จำนวน 1 – 3 คน คิดเป็นร้อยละ 60.20 รองลงมาต้องดูแล/รับผิดชอบ จำนวน 4 – 6 คน คิดเป็นร้อยละ 27.30
ตารางที่ 10 แสดงจำนวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถามจำแนกตามการมีรายได้ของอาสาสมัครสาธารณสุขว่ามีรายได้หรือไม่
รายได้ของท่าน
จำนวน(คน)
ร้อยละ
มีรายได้
ไม่มีรายได้
รวม
139
37
176
79.0
21.0
100.0
อาสาสมัครสาธารณสุขที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีรายได้ คิดเป็นร้อยละ 79.0
รองลงมาไม่มีรายได้ คิดเป็นร้อยละ 21.0
70
ตารางที่ 11 แสดงจำนวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถามจำแนกตามสถานภาพทางเศรษฐกิจ
สถานภาพทางเศรษฐกิจ
จำนวน(คน)
ร้อยละ
รายได้เพียงพอกับรายจ่าย
รายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่ายแต่ไม่มีหนี้สิน
รายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่ายและมีหนี้สิน
รวม
81
57
38
176
46.00
32.40
21.60
100.0
อาสาสมัครสาธารณสุขที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีสถานภาพทางเศรษฐกิจคือมี
รายได้เพียงพอกับรายจ่าย คิดเป็นร้อยละ 46.0 รองลงมารายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่ายแต่ไม่มีหนี้สิน คิดเป็นร้อยละ 32.4
ตารางที่ 12 แสดงจำนวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถามจำแนกตามการดำรงตำแหน่งหน้าที่ทางสังคมที่ช่วยเหลือในชุมชนในปัจจุบัน
การดำรงตำแหน่งหน้าที่ทางสังคมปัจจุบันมีหรือไม่
จำนวน(คน)
ร้อยละ
มี (เลือกได้หลายข้อ)
กรรมการชุมชน
กรรมการกองทุนชุมชน
ตำรวจบ้าน
อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน
กต.ตร.สน. / กต.ตร.ชุมชน
อื่นๆ
ไม่มี
รวม
114
54
36
48
50
27
16
62
176
64.80
35.20
100.0
อาสาสมัครสาธารณสุขที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีตำแหน่งหน้าที่ทางสังคมที่ช่วยเหลือในชุมชนอยู่ในปัจจุบัน โดยค่าเฉลี่ยส่วนมากเป็นกรรมการชุมชน รองลงมาเป็นอาสาสมัคร
ป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) ตำรวจบ้านและกรรมการกองทุนชุมชน ตามลำดับ ซึ่งอาสาสมัครสาธารณสุขบางคนก็มีการดำรงตำแหน่งทางสังคมหลายหน้าที่ด้วยกัน
71
ตารางที่ 13 แสดงจำนวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถามจำแนกตามประสบการณ์การทำงานในตำแหน่งต่างๆทางสังคม
เคยมีประสบการณ์การทำงานในตำแหน่งต่างๆทางสังคมหรือไม่
จำนวน(คน)
ร้อยละ
มี
กรรมการชุมชน
กรรมการกองทุนชุมชน
ตำรวจบ้าน
อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน
กต.ตร.สน. / กต.ตร.ชุมชน
อื่นๆ
ไม่มี
รวม
124
80
45
45
49
24
10
52
176
70.50
29.50
100.0
อาสาสมัครสาธารณสุขที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เคยมีประสบการณ์การทำงานในตำแหน่งต่างๆทางสังคม คิดเป็นร้อยละ 70.5 ซึ่งโดยเฉลี่ยส่วนใหญ่เคยเป็นกรรมการชุมชน
รองลงมาเป็นอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.)
ตารางที่ 14 แสดงจำนวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถามจำแนกตามบุคคลที่ชักชวนให้เป็นอาสาสมัครสาธารณสุข
บุคคลที่ชักชวนให้เป็นอาสาสมัครสาธารณสุข
จำนวน(คน)
ร้อยละ
สมัครด้วยตนเอง
เพื่อนที่เป็น อสม.
เจ้าหน้าที่สาธารณสุข
อื่นๆ
รวม
57
72
42
5
176
32.40
40.90
23.90
2.80
100.0
อาสาสมัครสาธารณสุขที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีบุคคลที่ชักชวนให้เป็นอาสาสมัครสาธารณสุขคือเพื่อนที่เป็น อสม. ด้วยกัน คิดเป็นร้อยละ 40.9 รองลงมาคือสมัครด้วยตนเอง คิดเป็นร้อยละ 32.4 ลำดับต่อมาคือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ประธานกรรมการชุมชนตามลำดับ
72
ตารางที่ 15 แสดงจำนวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถามจำแนกตามประสบการณ์ในการรักษาช่วยเหลือคนอื่นทางด้านสุขภาพ ก่อนที่จะมาเป็น
อาสาสมัครสาธารณสุข
ประสบการณ์ในการรักษาช่วยเหลือคนอื่นทางด้านสุขภาพก่อนที่ท่านจะมาเป็นอาสาสมัครสาธารณสุข
จำนวน(คน)
ร้อยละ
มี (ตอบได้หลายข้อ)
เคยให้คำแนะนำแก่เพื่อนบ้านหรือคนอื่นทางด้านสุขภาพ
เคยให้การพยาบาลดูแลผู้ป่วย
เคยให้การรักษาแผนปัจจุบันหรือแผนโบราณ
อื่นๆ
ไม่มี
รวม
160
112
27
5
2
16
176
90.90
9.10
100.0
อาสาสมัครสาธารณสุขที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีประสบการณ์ในการรักษาช่วยเหลือคนอื่นทางด้านสุขภาพก่อนที่จะมาเป็นอาสาสมัครสาธารณสุข โดยที่ส่วนมากเคยให้คำแนะนำแก่เพื่อนบ้านหรือคนอื่นทางด้านสุขภาพ รองลงมาคือเคยให้การพยาบาลดูแลผู้ป่วย เคยให้การรักษาแผนปัจจุบันหรือแผนโบราณ ตามลำดับ
ตารางที่ 16 แสดงจำนวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถามจำแนกตามเหตุจูงใจที่ทำให้เข้ามาเป็นอาสาสมัครสาธารณสุข
เหตุจูงใจที่ทำให้เข้ามาเป็นอาสาสมัครสาธารณสุข
(เลือกตอบได้หลายข้อ)
จำนวน
(คน)
สมัครใจและมีใจรัก
ต้องการหาประสบการณ์
ต้องการช่วยเหลือสังคมและเป็นงานที่เหมาะสมกับนิสัยตนเอง
ต้องการมีความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนบ้านและผู้อื่น
ต้องการการยอมรับ นับถือในสังคม
ต้องการได้รับสิทธิพิเศษ สวัสดิการ ประโยชน์เกื้อกูลต่างๆจากทางการ
เกรงใจเจ้าหน้าที่
อื่นๆ
143
127
151
130
82
62
37
22
73
เหตุจูงใจที่ทำให้เข้ามาเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขส่วนใหญ่คือ ต้องการช่วยเหลือสังคมและเป็นงานที่เหมาะสมกับนิสัยตนเอง สมัครใจและมีใจรัก ต้องการมีความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนบ้านและผู้อื่น ต้องการการยอมรับ นับถือ ต้องการได้รับสิทธิพิเศษ สวัสดิการ ประโยชน์เกื้อกูลต่างๆจากทางการ เกรงใจเจ้าหน้าที่ และเหตุผลอื่นคือประธานกรรมการชุมชน/ผู้นำชุมชนให้เข้ามาเป็น อสม. เป็นงานที่ทำแล้วได้บุญ กุศล ทำให้สังคมได้รับการพัฒนาและทำให้ตนเองมีความรู้เพิ่มขึ้น ตามลำดับ
ตารางที่ 17 แสดงจำนวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถามจำแนกตามความคิดที่เคยคิดจะลาออกจากการเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขหรือไม่
ท่านเคยคิดที่จะลาออกจากการเป็นอาสาสมัครสาธารณสุข
จำนวน(คน)
ร้อยละ
เคย
ไม่เคย
รวม
27
149
176
15.30
84.70
100.0
อาสาสมัครสาธารณสุขที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ไม่เคยคิดจะลาออกจากการเป็นอาสาสมัครสาธารณสุข โดยให้เหตุผลส่วนมากว่ามีใจรัก ต้องการใช้เวลาว่างช่วยเหลือผู้อื่น เป็นการทำประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม เมื่อได้ทำงานแล้วรู้สึกสนุกกับงานที่ทำและเพิ่มพูนทักษะ ความสามารถกับตนเอง ในส่วนของอาสาสมัครสาธารณสุขที่เคยคิดจะลาออกจากการเป็นอาสาสมัครสาธารณสุข เพราะไม่มีเวลาเนื่องจากในบางครั้งได้รับมอบหมายงานที่มากเกินไปภายในระยะเวลาไม่มากนัก บางส่วนคิดว่าตนเองมีอายุมากเกินไป คิดว่าตนเองมีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ไม่พอ ในขณะที่บางส่วนเบื่อเพื่อนร่วมงาน เบื่อชาวบ้านพูดจาบั่นทอนกำลังใจทำให้ท้อแท้ น้อยใจ
74
ตอนที่ 2 ผลการวิเคราะห์ปัจจัยในการทำงานในด้านต่างๆต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของ
อาสาสมัครสาธารณสุข
ตารางที่ 18 แสดงค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของผู้ตอบแบบ สอบถามเกี่ยวกับปัจจัยในการทำงานด้านต่างๆ
ข้อความ
ไม่เห็นด้วย
อย่างยิ่ง
ไม่เห็นด้วย
ไม่แน่ใจ
เห็นด้วย
เห็นด้วยอย่างยิ่ง
Mean
S.D.
ระดับ
คำถามเกี่ยวกับการได้รับ
การยอมรับนับถือ
1. ในชุมชนที่ท่านรับผิดชอบอยู่ ชาวบ้านส่วนมากจะรับบริการสาธารณสุขขั้นแรกจากท่าน
2.30
8.50
41.50
36.90
10.80
3.45
0.88
ปานกลาง
2. ชาวบ้านในชุมชนยินดีที่จะรับ
คำแนะนำทางด้านสุขภาพจากท่าน
1.10
6.30
35.80
47.70
9.10
3.57
0.79
ปานกลาง
3. ชาวบ้านในชุมชนท่าน ให้การยกย่อง ชมเชยท่านเมื่อท่านสามารถให้ความช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหา
สุขภาพ
2.30
4.50
38.10
48.30
6.80
3.53
0.79
ปานกลาง
4. ผู้นำชุมชนให้ความร่วมมือกับท่านในการปฏิบัติงานเป็นอย่างดี เมื่อท่านได้เป็นผู้นำจัดการประชุมเกี่ยวกับงานสาธารณสุข
6.30
5.70
27.30
46.00
14.80
3.57
1.02
ปานกลาง
5.ท่านได้รับการยกย่อง และให้
กำลังจากผู้นำชุมชน เมื่อท่านปฏิบัติงาน อสม.บรรลุผลสำเร็จ
5.10
6.30
31.30
44.30
13.10
3.54
0.97
ปานกลาง
6. เมื่อท่านมีปัญหาในการปฏิบัติงาน อสม. เพื่อน อสม.ของท่านจะคอยให้กำลังใจกับท่าน
4.50
4.00
26.10
54.50
10.80
3.63
0.90
ปานกลาง
7. เพื่อน อสม. ของท่านชมเชยและแสดงความยินดีกับท่าน เมื่อท่านปฏิบัติงาน อสม. บรรลุผลสำเร็จ
2.30
3.40
53.40
29.50
11.40
3.68
0.81
มาก
8. เจ้าหน้าที่สาธารณสุขยกย่อง
ชมเชยในการปฏิบัติ อสม.ของท่าน
4.00
4.00
29.50
47.70
14.80
3.65
0.92
ปานกลาง
9.การที่ท่านได้รับประกาศนียบัตร หรือเข็มชิดชูเกียรติในการทำงาน เป็นสิ่งที่น่าภูมิใจสำหรับท่านและผู้อื่น
1.10
1.70
26.10
53.40
17.60
3.85
0.77
มาก
10.ท่านรู้สึกภูมิใจที่ได้เป็น อสม. เพราะเป็นงานที่มีเกียรติและมีชื่อเสียง
1.10
5.70
19.30
48.30
25.60
3.91
0.88
มาก
รวม
3.64
0.59
ปานกลาง
75
ข้อความ
ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง
ไม่เห็นด้วย
ไม่แน่ใจ
เห็นด้วย
เห็นด้วยอย่างยิ่ง
Mean
S.D.
ระดับ
คำถามเกี่ยวกับความสัมพันธ์
ระหว่างอสม.กับเจ้าหน้าที่
สาธารณสุข และอสม.กับอสม.
1.เมื่อท่านมีปัญหาทางสุขภาพที่ไม่
สามารถช่วยตนเองได้ ท่านไปรับบริการที่ศูนย์สาธารณสุข
11.90
5.70
29.00
40.90
12.50
3.36
1.15
ปานกลาง
2. เมื่อท่านไปรับบริการที่ศูนย์
สาธารณสุข เจ้าหน้าที่สาธารณสุข
ไม่มีความกระตือรือร้นให้ความช่วยเหลือให้ท่านได้รับความสะดวก
13.10
18.80
26.10
19.90
22.20
3.19
1.33
ปานกลาง
3. เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเป็นมิตร ทักทายและเป็นกันเองกับท่าน เมื่อพบท่านในระหว่างที่ไม่ได้เข้ามานิเทศงานหรือติดตามเยี่ยมบ้าน
2.30
4.00
24.40
45.50
23.90
3.85
0.91
มาก
4. เมื่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุขนำเรื่องต่างๆมาขอความร่วมมือจากท่าน ท่านเต็มใจและให้ความช่วยเหลือทุกอย่าง
-
2.30
12.50
49.40
35.80
4.16
0.81
มาก
5. ท่านรู้จักกับ อสม. ในชุมชนเดียวกับท่านทุกคนเป็นอย่างดี
1.70
1.10
14.20
51.10
31.80
4.10
0.81
มาก
6. ท่านรู้จักกับอสม. ในชุมชนใกล้เคียงกับท่านเป็นส่วนมากอย่างดี
7.40
4.50
22.20
50.00
15.90
3.62
1.05
ปานกลาง
7. ระหว่างท่านกับ อสม.คนอื่นในชุมชน ไม่เคยพูดคุยและช่วยเหลือกันเลยในปัญหาทางสาธารณสุข
13.10
26.10
18.80
18.20
23.90
3.14
1.38
ปานกลาง
8. ท่านเข้าร่วมกิจกรรมของ อสม. เสมอ
6.30
2.80
19.30
50.00
21.60
3.78
1.02
มาก
9. ท่านมีเพื่อน อสม. มากขึ้น
6.80
6.80
20.50
42.60
23.30
3.69
1.11
มาก
10. เพื่อน อสม. ทำให้ท่านรู้สึกเบื่อหน่ายเมื่อต้องเข้าร่วมปฏิบัติงาน
23.30
20.50
27.80
22.70
5.70
2.67
1.22
ปานกลาง
11. ท่านและเพื่อน อสม. พบปะสังสรรค์ในงานสังคมต่างๆนอกเหนือจากงาน อสม.
6.80
10.80
34.70
39.20
8.50
3.32
1.01
ปานกลาง
รวม
3.53
0.45
ปานกลาง
76
ข้อความ
ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง
ไม่เห็นด้วย
ไม่แน่ใจ
เห็นด้วย
เห็นด้วยอย่างยิ่ง
Mean
S.D.
ระดับ
คำถามเกี่ยวกับ
ผลประโยชน์ตอบแทน
1. ท่านได้นำความรู้ในการเป็น อสม. มาใช้กับตนเองและครอบครัว
1.70
9.10
20.50
47.20
21.60
3.78
0.95
มาก
2. ท่านเป็นที่ยอมรับเชื่อถือของชาวบ้านและได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ทำประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม
1.70
2.30
25.60
55.10
15.30
3.80
0.79
มาก
3. การได้รับสิทธิรักษาพยาบาลฟรี ทำให้ท่านมั่นใจ และรู้สึกปลอดภัยว่าเมื่อเกิดการเจ็บป่วยจะได้รับการรักษาพยาบาลเป็นอย่างดี
2.80
6.30
25.60
50.00
15.30
3.69
0.91
มาก
4. บัตรประจำตัว อสม. มีประโยชน์สำหรับท่านในการติดต่อหน่วยงานทางด้านสุขภาพอนามัย
1.70
7.40
23.30
48.90
18.80
3.76
0.90
มาก
5. การเป็น อสม. จะช่วยให้ได้รับความสะดวกในการไปรับบริการรักษาพยาบาลจากเจ้าหน้าที่ในสถานพยาบาล
0.60
7.40
22.20
54.50
15.30
3.77
0.82
มาก
6. ประกาศบียบัตร อสม. และบัตรประจำตัว อสม.ที่ท่านได้รับเป็นสิ่งจำเป็นในการปฏิบัติงาน อสม.
2.30
5.10
19.90
56.80
15.90
3.79
0.85
มาก
7. เข็มเชิดชูเกียรติในการทำงาน อสม. มีคุณค่าสำหรับท่าน
3.40
6.30
17.00
52.30
21.00
3.81
0.95
มาก
8. อสม. ควรได้รับเงินเดือนหรือเบี้ยเลี้ยงตอบแทนในการปฏิบัติงาน
2.80
8.00
21.60
47.70
19.90
3.74
0.96
มาก
9. ท่านภูมิใจที่เป็น อสม. เพราะได้ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์
-
1.10
10.20
55.70
33.00
4.20
0.66
มาก
10. หน่วยงานภาครัฐควรเพิ่มผลประโยชน์ตอบแทน เช่นสิทธิการรักษาพยาบาลสมาชิกในครอบครัว เบี้ยเลี้ยงเพื่อเป็นกำลังใจในการทำงาน
3.40
5.10
16.50
48.30
26.70
3.90
0.97
มาก
11. อสม. ควรทำงานต่อไปถึงแม้ว่าจะไม่ได้รับสิ่งตอบแทนจากหน่วยงานภาครัฐ
1.10
1.70
15.30
52.80
29.00
4.07
0.78
มาก
รวม
3.84
0.49
มาก
77
ข้อความ
ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง
ไม่เห็นด้วย
ไม่แน่ใจ
เห็นด้วย
เห็นด้วยอย่างยิ่ง
Mean
S.D.
ระดับ
คำถามเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน
1. ท่านสามารถเดินทางไปปฏิบัติงานที่ศูนย์สุขภาพชุมชนของท่านได้อย่างสะดวก
1.10
2.80
15.30
47.20
33.50
4.09
0.84
มาก
2. ศูนย์สุขภาพชุมชนของท่านมีบรรยากาศที่ดี เช่น แสง อากาศ
ถ่ายเทสะดวก เหมาะสำหรับการเข้าเวรปฏิบัติงาน
0.60
1.10
20.50
54.50
23.30
3.99
0.73
มาก
3.การเข้าเวรปฏิบัติงานที่ศูนย์สุขภาพชุมชนระยะเวลา 4 ชม. / วัน
( 09.00 น. – 13.00 น. ) เป็นระยะเวลาที่เพียงพอ
2.80
1.70
27.30
50.00
18.20
3.79
0.86
มาก
4. ท่านได้ใช้ยาในกระเป๋ายา – ตู้ยา และเวชภัณฑ์อื่นๆ เช่น ปรอท อุปกรณ์ทำแผล ที่ชั่งน้ำหนัก เครื่องวัดความดัน ในการปฏิบัติงานที่ศูนย์สุขภาพชุมชนของท่าน
2.30
6.30
28.40
51.70
11.40
3.64
0.85
ปานกลาง
5. ท่านสามารถหาสิ่งของ อุปกรณ์เครื่องใช้ในการปฏิบัติงานในศูนย์สุขภาพชุมชนของได้เป็นอย่างดี เนื่องจากได้จัดไว้อย่างเป็นระเบียบ
3.40
6.80
28.40
51.10
10.20
3.58
0.89
ปานกลาง
6. ท่านได้ออกไปปฏิบัติงาน อสม. นอกศูนย์สุขภาพชุมชนของท่านอยู่เสมอ
4.50
12.50
45.50
30.10
7.40
3.23
0.92
ปานกลาง
7.การเดินทางออกไปปฏิบัติงาน อสม.
ภายนอกศูนย์สุขภาพชุมชน เช่นการติดตามดูแล เยี่ยมไข้ผู้ป่วยในชุมชนที่ท่านรับผิดชอบ ทำให้ท่านรู้สึกไม่สะดวกที่จะเดินทาง
15.30
40.90
35.20
6.80
1.70
2.39
0.89
ปานกลาง
8. การเดินทางไปร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวกับงาน อสม. นอกเหนือจากการปฏิบัติงานในชุมชน เช่นการประชุม อบรมสัมมนาต่างๆ ทำให้ท่านรู้สึกสิ้น เปลืองค่าใช้จ่ายและเสียเวลาเดินทาง
13.10
30.10
33.00
17.60
6.30
2.74
1.09
ปานกลาง
รวม
3.43
0.43
ปานกลาง
78
ข้อความ
ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง
ไม่เห็นด้วย
ไม่แน่ใจ
เห็นด้วย
เห็นด้วยอย่างยิ่ง
Mean
S.D.
ระดับ
คำถามเกี่ยวกับการ
ดำเนินงานด้านสาธารณสุข
1. ความรู้ที่ท่านได้รับจากการอบรมปฐมนิเทศทำให้ท่านปฏิบัติงานได้อย่างมั่นใจ
3.40
6.80
22.70
48.30
18.80
3.72
0.96
มาก
2. ความรู้ที่ท่านได้รับจากการอบรมปฐมนิเทศ ในเรื่องต่างๆที่จัดให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับการปฏิบัติงาน อสม.
4.00
3.40
24.40
55.10
13.10
3.70
0.88
มาก
3. ท่านคิดว่าระยะเวลาที่ใช้ในการ
อบรมปฐมนิเทศ เมื่อพิจารณาร่วมกับเนื้อหาที่ได้รับมีความเหมาะสมดี
2.30
6.30
30.10
50.00
11.40
3.62
0.85
ปานกลาง
4. การอบรมฟื้นฟูสามารถช่วยท่านในการปฏิบัติงานได้
2.80
4.00
18.20
58.00
17.00
3.82
0.86
มาก
5. เจ้าหน้าที่สาธารณสุขมาให้คำแนะนำ เสนอแนะหรือแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานแก่ท่านอยู่เสมอ
1.10
3.40
33.00
49.40
13.10
3.70
0.78
มาก
6. ท่านได้รับความรู้เพิ่มขึ้นจากการเยี่ยมนิเทศงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
1.10
4.00
28.40
53.40
13.10
3.73
0.78
มาก
7. การที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขมาเยี่ยมและให้คำแนะนำ เสนอแนะหรือแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานแก่ท่าน ท่านสามารถนำไปใช้ปฏิบัติงานตามหน้าที่อสม.ได้
1.70
1.10
27.30
51.10
18.80
3.84
0.80
มาก
8. ในการมานิเทศงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เมื่อท่านได้เสนอแนะบางสิ่ง หรือแสดงความคิดเห็นในการปฏิบัติงาน เจ้าหน้าที่รับฟังและยอมรับท่าน
6.80
8.50
32.40
43.20
9.10
3.39
1.00
ปานกลาง
9. การติดตามนิเทศงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขไม่มีประโยชน์และเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นสำหรับท่าน
6.80
16.50
31.30
27.80
17.60
3.33
1.15
ปานกลาง
10. การติดตามนิเทศงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอย่างสม่ำเสมอจะทำให้การปฏิบัติงาน อสม.ของท่านประสบผลสำเร็จ
3.40
10.20
19.90
51.10
15.30
3.65
0.97
ปานกลาง
79
ข้อความ
ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง
ไม่เห็นด้วย
ไม่แน่ใจ
เห็นด้วย
เห็นด้วยอย่างยิ่ง
Mean
S.D.
ระดับ
11.เมื่อท่านเกิดปัญหาในการปฏิบัติงาน อสม. ท่านได้อ่านคู่มือประกอบตลอด
4.50
15.30
30.70
43.80
5.70
3.31
0.95
ปานกลาง
12. คู่มือประกอบการปฏิบัติงานที่ได้รับแจก เมื่อท่านอ่านแล้วท่านรู้สึกว่ายาก อ่านแล้วไม่ค่อยเข้าใจ
9.70
21.00
31.30
34.10
4.00
3.02
1.05
ปานกลาง
13. ยาและเวชภัณฑ์ประจำศูนย์สุขภาพชุมชนที่ท่านได้รับมาเพื่อการปฏิบัติงาน อสม.นั้นมีใช้ในยามจำเป็นเพียงพอ
5.70
6.30
29.50
51.70
6.80
3.48
0.93
ปานกลาง
14. ท่านเห็นสมควรที่จะต้องบันทึกรายงานการปฏิบัติงาน อสม.ลงในสมุดบันทึกรายงานการปฏิบัติงานทุกครั้งที่ท่านปฏิบัติงาน
4.00
9.70
26.10
50.00
10.20
3.53
0.94
ปานกลาง
15. การบันทึกผลการปฏิบัติงานตามแบบบันทึกผลการปฏิบัติงานเป็นการยุ่งยากสำหรับท่าน
16.50
24.40
22.70
30.70
5.70
2.85
1.19
ปานกลาง
รวม
3.51
0.44
ปานกลาง
คำถามเกี่ยวกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานอาสาสมัครสาธารณสุข
1. ท่านทำงานอสม.เพราะมีใจรัก
2.30
4.50
38.10
48.30
6.80
3.53
0.79
มาก
2. งานอสม.ทำให้มีความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น
2.30
3.40
29.50
53.40
11.40
3.68
0.81
มาก
3. งานอสม.เป็นงานที่มีประโยชน์ต่อส่วนรวม
4.00
4.00
29.50
47.70
14.80
3.65
0.92
ปานกลาง
4. งานอสม.ทำให้ท่านได้รับการยกย่องชื่นชมจากบุคคลอื่น
5.10
6.30
31.30
44.30
13.10
3.54
0.97
ปานกลาง
5. งานอสม.ทำให้ท่านรู้สึกมีคุณค่า
1.70
2.30
25.60
55.10
15.30
3.80
0.79
มาก
รวม
3.64
0.62
ปานกลาง
80
ผลการวิเคราะห์ตารางที่ 18 พบว่า ในภาพรวม ปัจจัยการได้รับการยอมรับนับถือ มีค่าอยู่ในระดับปานกลาง (⎯X = 3.64, S.D. = 0.59) ความสัมพันธ์ระหว่าง อสม.กับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และระหว่าง อสม.กับอสม. มีค่าอยู่ในระดับปานกลาง (⎯X = 3.53, S.D. = 0.45) ผลประโยชน์ตอบแทน มีค่าอยู่ในระดับมาก (⎯X = 3.84, S.D. = 0.49) สภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานมีค่าอยู่ในระดับปานกลาง (⎯X = 3.43, S.D. = 0.43) การดำเนินงานด้านสาธารณสุขมีค่าอยู่ในระดับปานกลาง (⎯X = 3.51, SD. = 0.44) และปัจจัยแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขมีค่าอยู่ในระดับปานกลาง (⎯X = 3.64, S.D. = 0.62)
ตอนที่ 3 ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุข
ตารางที่ 19 แสดงปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานอาสาสมัครสาธารณสุข
ปัญหาและอุปสรรค
จำนวน
ร้อยละ
เจ้าหน้าที่สาธารณสุขขาดการประสาน นิเทศติดตามให้ความรู้เพิ่มเติม
เจ้าหน้าที่สาธารณสุขมอบหมายงานให้มากเกินไปโดยจำกัดระยะเวลา
ทำให้ได้งานไม่ค่อยมีคุณภาพเท่าที่ควร
จำนวนของผู้เข้าร่วมอบรม อสม.ใหม่มากเกินไป ทำให้ไม่ได้รับความรู้เท่าใดนัก (เน้นแต่ปริมาณ ไม่เน้นคุณภาพ)
สิ่งสนับสนุนบางอย่างเช่น เวชภัณฑ์ วัสดุ อุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการปฏิบัติงานได้รับไม่สม่ำเสมอ ไม่ต่อเนื่องเมื่อจำเป็นต้องใช้จึงไม่เพียงพอ
การเบิกยาจากศูนย์สาธารณสุขใช้ระยะเวลาหลายวัน ทำให้ยาไม่พอจ่าย
เมื่อต้องการใช้สิทธิในการรักษาพยาบาลไม่ได้รับการดูแลอย่างดีพอ
ผู้นำชุมชน – ชาวบ้านไม่ให้ความร่วมมือ ขาดความเชื่อถือในตัว อสม. ทำให้ อสม.ขาดความมั่นใจและท้อแท้ในการปฏิบัติงาน
รวม
13
10
7
4
29
3
20
86
15.12
11.63
8.14
4.65
33.72
3.49
23.26
100.0
อาสาสมัครสาธารณสุขที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานอาสาสมัครสาธารณสุข ในเรื่องของการเบิกยาจากศูนย์สาธารณสุขใช้ระยะเวลาหลายวัน ทำให้ยาไม่พอจ่าย คิดเป็นร้อยละ 33.72 และผู้นำชุมชน - ชาวบ้านไม่ให้ความร่วมมือ ขาดความเชื่อถือในตัว อสม. ทำให้ อสม.ขาดความมั่นใจและท้อแท้ในการปฏิบัติงาน คิดเป็นร้อยละ 23.26 ของผู้ตอบตามลำดับ
81
ตารางที่ 20 แสดงข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานอาสาสมัครสาธารณสุข
ข้อเสนอแนะ
จำนวน
ร้อยละ
ควรลดขั้นตอนความยุ่งยากในการเบิกยา และเวชภัณฑ์ที่จ่ายจาก
ศูนย์สาธารณสุข
ให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเข้ามาให้ความรู้ คำปรึกษา แนะนำ ดูแลการทำงานของ อสม. อย่างใกล้ชิด สม่ำเสมอ
ให้หน่วยงานของรัฐสนับสนุนสิ่งของสนับสนุน สิทธิ ผลประโยชน์ที่ อสม. ควรได้รับอย่างเต็มที่ เป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง
รวม
20
13
15
48
41.67
27.08
31.25
100.0
อาสาสมัครสาธารณสุขที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานอาสาสมัครสาธารณสุข คือเห็นว่าควรลดขั้นตอนความยุ่งยากในการเบิกจ่ายยา และเวชภัณฑ์จากศูนย์สาธารณสุข คิดเป็นร้อยละ 41.67 ให้หน่วยงานของรัฐสนับสนุนสิ่งของสนับสนุน สิทธิ
ผลประโยชน์ที่ อสม. ควรได้รับอย่างเต็มที่ เป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง คิดเป็นร้อยละ 31.25 และเห็นว่าควรให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเข้ามาให้ความรู้ คำปรึกษา แนะนำ ดูแลการทำงานของ อสม. อย่างใกล้ชิด สม่ำเสมอ คิดเป็นร้อยละ 27.08 ของผู้ตอบ
ผลการวิเคราะห์การทดสอบสมมติฐาน
ผลการวิเคราะห์การทดสอบสมมติฐานมีรายละเอียดดังนี้
สมมติฐานข้อที่ 1 อาสาสมัครสาธารณสุขที่มีปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขที่แตกต่างกัน
1.1 อาสาสมัครสาธารณสุขที่มีเพศแตกต่างกันมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขที่แตกต่างกัน
ตารางที่ 21 แสดงการทดสอบการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขกับตัวแปรเพศ
82
แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน
ของอาสาสมัครสาธารณสุข
N ⎯X t Sig.
เพศ ชาย 72 3.748
หญิง 134 3.607
1.287 .200
ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
ผลการวิเคราะห์การทดสอบสมมติฐานจากตารางที่ 21 พบว่า อาสาสมัครสาธารณสุขที่มี
เพศแตกต่างกันมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณไม่สุขแตกต่างกัน ซึ่งไม่ยอม
รับสมมติฐานที่ตั้งไว้ นั่นคือเพศของอาสาสมัครสาธารณสุขไม่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน
ของอาสาสมัครสาธารณสุข
1.2 อาสาสมัครสาธารณสุขที่มีอายุแตกต่างกันมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสา
สมัครสาธารณสุขที่แตกต่างกัน
ตารางที่ 22 แสดงการวิเคราะห์ความแปรปรวนของแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของ
อาสาสมัครสาธารณสุขจำแนกตามตัวแปรอายุ
ตัวแปร แหล่งความแปรปรวน SS Df MS F Sig.
Between Groups 0.513 3 0.171
Within Groups 66.073 172 0.384
อายุ
Total 66.585 175
0.445 .721
ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลจากการวิเคราะห์การทดสอบจากตารางที่ 22 พบว่า อาสาสมัครสาธารณสุขที่มีอายุ
แตกต่างกันมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่ยอมรับ
สมมติฐานที่ตั้งไว้ นั่นคืออายุของอาสาสมัครสาธารณสุขไม่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของ
อาสาสมัครสาธารณสุข
1.3 อาสาสมัครสาธารณสุขที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกันมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน
ของอาสาสมัครสาธารณสุขที่แตกต่างกัน
83
ตารางที่ 23 แสดงการวิเคราะห์ความแปรปรวนของแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของ
อาสาสมัครสาธารณสุขจำแนกตามตัวแปรระดับการศึกษา
ตัวแปร
แหล่งความแปรปรวน
SS
df
MS
F
Sig.
Between Groups
0.731
3
0.244
Within Groups
65.854
172
0.383
ระดับการศึกษา
Total
66.585
175
0.637
.592
ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการวิเคราะห์การทดสอบจากตาราง 23 พบว่า อาสาสมัครสาธารณที่มีสุขระดับการศึกษาที่แตกต่างกันมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่
ยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ นั่นคือระดับการศึกษาของอาสาสมัครสาธารณสุขไม่มีผลต่อแรงจูงใจ
ในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุข
1.4 อาสาสมัครสาธารณสุขที่มีสถานภาพสมรสแตกต่างกันมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขที่แตกต่างกัน
ตารางที่ 24 แสดงการวิเคราะห์ความแปรปรวนของแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของ
อาสาสมัครสาธารณสุขจำแนกตามตัวแปรสถานภาพสมรส
ตัวแปร
แหล่งความแปรปรวน
SS
df
MS
F
Sig.
Between Groups
0.697
3
0.348
Within Groups
65.889
172
0.381
สถานภาพสมรส
Total
66.585
175
0.915
.402
ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการวิเคราะห์การทดสอบจากตาราง 24 พบว่า อาสาสมัครสาธารณสุขที่มีสถานภาพสมรสแตกต่างกันมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่ยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ นั่นคือสถานภาพสมรสของอาสาสมัครสาธาณสุขไม่มีผลต่อแรงจูงใจ
ในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุข
84
1.5 อาสาสมัครสาธารณสุขที่มีการดำรงตำแหน่งทางสังคมแตกต่างกันมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขที่แตกต่างกัน
ตารางที่ 25 แสดงการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัคร
สาธารณสุขกับตัวแปรการดำรงตำแหน่งทางสังคม
แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของ
อาสาสมัครสาธารณสุข
N
⎯X
t
Sig.
มี
114
3.789
การดำรงตำแหน่งทางสังคม
ไม่มี
62
3.367
4.480
.000
ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
ผลการวิเคราะห์การทดสอบจากตารางที่ 25 พบว่า อาสาสมัครสาธารณสุขที่มีการดำรงตำแหน่งทางสังคมที่แตกต่างกันมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ นั่นคืออาสาสมัครสาธารณสุขที่มีการดำรงตำแหน่งหน้าที่ในองค์กรทางสังคมในการช่วยเหลือสังคมจะเป็นแรงจูงใจที่จะปฏิบัติงานอาสาสมัครสาธารณสุข
1.6 อาสาสมัครสาธารณสุขที่มีสถานภาพทางเศรษฐกิจแตกต่างกันมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขที่แตกต่างกัน
ตารางที่ 26 แสดงการวิเคราะห์ความแปรปรวนของแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของ
อาสาสมัครสาธารณสุขจำแนกตามตัวแปรสถานภาพทางเศรษฐกิจ
ตัวแปร
แหล่งความแปรปรวน
SS
df
MS
F
Sig.
Between Groups
0.352
3
0.176
Within Groups
66.233
172
0.383
สถานภาพทางเศรษฐกิจ
Total
66.585
175
0.460
.632
ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
85
ผลการวิเคราะห์การทดสอบจากตารางที่ 26 พบว่าอาสาสมัครสาธารณสุขที่มีสถานภาพทางเศรษฐกิจแตกต่างกันมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่ยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ นั่นคือสถานภาพทางเศรษฐกิจของอาสาสมัครสาธารณสุข
ไม่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุข
สมมติฐานข้อที่ 2 ปัจจัยจูงใจในการทำงานมีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุข
2.1 การได้รับการยอมรับนับถือมีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของ
อาสาสมัครสาธารณสุข
ตารางที่ 27 แสดงค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรแรงจูงใจการปฏิบัติงานของอาสาสมัคร
สาธารณสุขกับตัวแปรปัจจัยในการทำงานจำแนกตามตัวแปรการได้รับการยอมรับนับถือ
ตัวแปร
⎯X
S.D.
r
Sig.
แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของ
อาสาสมัครสาธารณสุข
3.639
0.617
การได้รับการยอมรับนับถือ
3.641
0.588
0.992
.000
มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลการวิเคราะห์การทดสอบความสัมพันธ์จากตารางที่ 27 พบว่า ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขกับตัวแปรการได้รับการยอมรับนับถือ มีความสัมพันธ์กันในระดับสูง (r = 0.992) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้โดยแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (⎯X = 3.639, S.D. = 0.617) และการได้รับการยอมรับนับถือมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (⎯X = 3.641, S.D. = 0.588) นั่นคือการได้รับการยอมรับนับถือจากบุคคลอื่นมีผลให้เกิดแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุข
86
2.2 ความสัมพันธ์ระหว่าง อสม. กับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และระหว่าง อสม.กับ อสม.มี
ความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุข
ตารางที่ 28 แสดงค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรแรงจูงใจการปฏิบัติงานของอาสาสมัคร
สาธารณสุขกับตัวแปรปัจจัยในการทำงานจำแนกตามตัวแปรความสัมพันธ์ระหว่าง อสม.กับ
เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และระหว่าง อสม. กับอสม.
ตัวแปร
⎯X
S.D.
r
Sig.
แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุข
3.639
0.617
ความสัมพันธ์ระหว่าง อสม.กับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และระหว่าง อสม.กับอสม.
3.535
0.453
0.442
.000
มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลการวิเคราะห์การทดสอบความสัมพันธ์จากตารางที่ 28 พบว่าค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขกับตัวแปรความสัมพันธ์ระหว่าง อสม.กับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และระหว่าง อสม. กับ อสม. มีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลาง (r = 0.442) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ โดยแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (⎯X = 3.639, S.D. = 0.617) และความสัมพันธ์ระหว่าง อสม.กับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และระหว่าง อสม. กับ อสม.มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (⎯X = 3.535, S.D. = 0.453) นั่นคือความสัมพันธ์ระหว่าง อสม. กับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และระหว่างอสม.กับอสม. มีผลทำให้เกิดแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุข
2.3 ผลประโยชน์ตอบแทนมีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัคร
สาธารณสุข
87
ตารางที่ 29 แสดงค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรแรงจูงใจการปฏิบัติงานของอาสาสมัคร
สาธารณสุขกับตัวแปรปัจจัยในการทำงานจำแนกตามตัวแปรผลประโยชน์ตอบแทน
ตัวแปร
⎯X
S.D.
R
Sig.
แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุข
3.639
0.617
ผลประโยชน์ตอบแทน
3.846
0.487
0.617
.000
มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลการวิเคราะห์การทดสอบความสัมพันธ์จากตารางที่ 29 พบว่า ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขกับตัวแปรผลประโยชน์ตอบแทน มีความสัมพันธ์กันในระดับค่อนข้างสูง (r = 0.617) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ โดยแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (⎯X = 3.639, S.D. = 0.617) และผลประโยชน์ตอบแทนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (⎯X = 3.846, SD. = 0.487) นั่นคือผลประโยชน์ตอบแทน มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุข
2.4 สภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของ
อาสาสมัครสาธารณสุข
ตารางที่ 30 ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรแรงจูงใจการปฏิบัติงานของอาสาสมัคร
สาธารณสุขกับตัวแปรปัจจัยในการทำงานจำแนกตามตัวแปรสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน
ตัวแปร
⎯X
S.D.
R
Sig.
แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุข
3.639
0.617
สภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน
3.430
0.431
0.515
.000
มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลการวิเคราะห์การทดสอบความสัมพันธ์ จากตารางที่ 30 พบว่า ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขกับตัวแปรสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน มีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลาง (r = 0.515) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
88
0.05 ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ โดยแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (⎯X = 3.639, S.D. = 0.617) และสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (⎯X = 3.430, S.D. = 0.431) นั่นคือสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานมีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุข
2.5 การดำเนินงานด้านสาธารณสุขมีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสา
สมัครสาธารณสุข
ตารางที่ 31 ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรแรงจูงใจการปฏิบัติงานของอาสาสมัคร
สาธารณสุขกับตัวแปรปัจจัยในการทำงานจำแนกตามตัวแปรการดำเนินงานด้านสาธารณสุข
ตัวแปร
⎯X
S.D.
R
Sig.
แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุข
3.639
0.617
การดำเนินงานด้านสาธารณสุข
3.430
0.431
0.515
.000
มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลการวิเคราะห์การทดสอบความสัมพันธ์จากตารางที่ 31 พบว่า ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขกับตัวแปรการดำเนินงานด้าน
สาธารณสุขมีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลาง (r = 0.515) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ โดยแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขมี
ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (⎯X = 3.639, S.D. = 0.617) และการดำเนินงานด้านสาธารณสุขมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (⎯X = 3.430, S.D. = 0.431) นั่นคือการดำเนินงานด้านสาธารณสุขมีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุข
ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้
1. ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรสและสถานภาพ
ทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกันมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานอาสาสมัครสาธารณสุขไม่แตกต่างกัน ส่วนปัจจัยด้านการดำรงตำแหน่งทางสังคมที่แตกต่างกันมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานอาสาสมัครสาธารณสุขที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
89
2. ปัจจัยในการทำงานประกอบด้วย ปัจจัยการได้รับการยอมรับนับถือ ปัจจัยความ
สัมพันธ์ระหว่าง อสม.กับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และระหว่าง อสม. กับ อสม. ปัจจัยผลประโยชน์ตอบแทน ปัจจัยสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน และปัจจัยการดำเนินงานด้านสาธารณสุข มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุข อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลจากการศึกษาครั้งนี้ได้ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุข สรุปได้ดังนี้
1. การเบิกจ่ายสิ่งของสนับสนุนจากศูนย์บริการสาธารณสุข เช่นยา เวชภัณฑ์ วัสดุ
อุปกรณ์ที่ต้องใช้ในศูนย์สุขภาพชุมชน ต้องใช้ระยะเวลาหลายวันทำให้ศูนย์สุขภาพชุมชนมียา เวชภัณฑ์ และสิ่งของสนับสนุนไม่เพียงพอและทันกับความต้องการของประชาชนผู้มาขอรับการบริการ จึงควรให้ลดขั้นตอนความยุ่งยากในการเบิกจ่ายสิ่งของสนับสนุนจากศูนย์บริการสาธารณสุขลง
2. สิทธิ ผลประโยชน์ที่ อสม. ควรได้รับ เช่นสิทธิในการรักษาพยาบาล สิ่งของสนับสนุน
จากภาครัฐยังไม่ได้รับการดูแลจากหน่วยงานภาครัฐดีพอ จึงควรให้หน่วยงานของรัฐเข้ามาดูแลสิทธิ ประโยชน์เหล่านี้อย่างเต็มที่ เป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง
3. เจ้าหน้าที่สาธารณสุขขาดการประสาน ติดตามนิเทศให้ความรู้ คำแนะนำ – ปรึกษา
และเข้ามามีส่วนร่วมกับ อสม. ในการปฏิบัติงานน้อยเกินไป ทำให้ อสม. บางส่วนไม่มีความรู้ ความชำนาญในการถ่ายทอดข้อมูลด้านสาธารณสุขให้กับชาวบ้านดีพอ จึงควรให้เจ้าหน้าที่
สาธารณสุขเข้ามาให้ความรู้ คำแนะนำ – ปรึกษา ดูแลการทำงานของ อสม. อย่างใกล้ชิด สม่ำเสมอ
4. ชาวบ้านยังไม่ให้ความร่วมมือและยังขาดความเชื่อถือในตัวของ อสม. เท่าที่ควร ทำ
ให้ อสม. ขาดความมั่นใจ ท้อแท้ในการปฏิบัติงาน จึงควรให้มีการประชาสัมพันธ์การทำงาน อสม. ให้มากกว่านี้
5. การอบรม อสม. ใหม่มีจำนวนของผู้เข้าร่วมอบรมมากเกินไป ทำให้ไม่ได้รับความรู้
เท่าใดนัก อีกทั้งเมื่อเป็น อสม. แล้วเจ้าหน้าที่สาธารณสุขมอบหมายงานให้มากเกินไปโดยจำกัดระยะเวลา ทำให้เห็นได้ว่าเป็นการปฏิบัติที่เน้นแต่ปริมาณแต่ไม่มีคุณภาพเท่าที่ควร จึงควรปฏิบัติให้งานมีคุณภาพมากกว่านี้
บทที่ 5
สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
การศึกษาวิจัยเรื่องแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุข มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุข ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานของอาสาสมัครและสภาพปัญหา อุปสรรคในการทำงานของอาสาสมัครสาธารณสุข ใน
การหาแนวทางแก้ไข ปรับปรุงงานอาสาสมัครสาธารณสุข ให้เกิดความสอดคล้องในงานอาสาสมัครสาธารณสุข ในฐานะที่อาสาสมัครสาธารณสุขเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่นับว่ามีความสำคัญต่องาน
สาธารณสุข โดยเฉพาะการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางสุขภาพ อนามัยของประชาชน
วิธีการดำเนินการวิจัย เป็นรูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลในเชิงปริมาณ ประชากรกลุ่มเป้าหมายที่ใช้คืออาสาสมัครสาธารณสุขในเขตธนบุรีที่ผ่านการอบรมและปฏิบัติงานเป็นระยะเวลาตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป มีจำนวน 176 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.9252 ในส่วนของการวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงปริมาณ ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Window ค่าสถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t – test ,
F – test , ANOVA และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน
สรุปผลการวิจัย
สรุปผลจากการวิจัยแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขเขตธนบุรีพบว่า
1. ลักษณะทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นอาสาสมัครสาธารณสุข เขตธนบุรีส่วนใหญ่
เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 76.10 อายุสูงกว่า 55 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 44.90 ระดับการศึกษาประถมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 55.70 สถานภาพสมรส คิดเป็นร้อยละ 58.50 มีภาระในครอบครัวที่ต้องรับผิดชอบ คือธุรกิจในครอบครัว คิดเป็นร้อยละ 35.20 จำนวนบุคคลในครอบครัวที่ต้องดูแล /รับผิดชอบจำนวน 1 – 3 คน คิดเป็นร้อยละ 60.20 มีรายได้ คิดเป็นร้อยละ 79.0 สถานภาพทางเศรษฐกิจรายได้เพียงพอกับรายจ่าย คิดเป็นร้อยละ 46.0 ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง หน้าที่ทางสังคม คิดเป็นร้อยละ 64.80 โดยส่วนมากเป็นกรรมการชุมชน เคยมีประสบการณ์ในการดำรงตำแหน่งหน้าที่ทางสังคม คิดเป็นร้อยละ 70.50 โดยส่วนมากเคยเป็นกรรมการชุมชน บุคคลที่ชักชวนให้เป็นอาสาสมัครสาธารณสุขคือเพื่อนที่เป็น อสม. ด้วยกัน คิดเป็นร้อยละ 40.90 ก่อนที่จะมาเป็นอาสาสมัคร
สาธารณสุขเคยมีประสบการณ์ในการช่วยเหลือคนอื่นทางด้านสุขภาพ คิดเป็นร้อยละ 90.90 เหตุจูงใจที่ทำให้เข้ามาเป็นอาสาสมัครสาธารณสุข คือต้องการช่วยเหลือสังคมเห็นว่าเป็นงานที่เหมาะสมกับนิสัยตนเอง และไม่เคยคิดจะลาออกจากการเป็นอาสาสมัครสาธารณสุข คิดเป็นร้อยละ 84.70
94
2. ผลการวิเคราะห์ปัจจัยจูงใจและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน
ของอาสาสมัครสาธารณสุข พบว่า
2.1 ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส และ
สถานภาพทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกันมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขไม่แตกต่างกัน และปัจจัยด้านการดำรงตำแหน่งทางสังคมที่แตกต่างกันมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
2.2 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัคร
สาธารณสุขคือ ปัจจัยในการทำงานประกอบด้วย ปัจจัยการได้รับการยอมรับนับถือ ปัจจัยความสัมพันธ์ระหว่าง อสม.กับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และระหว่าง อสม.กับอสม. ปัจจัยผลประโยชน์ตอบแทน ปัจจัยสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน และปัจจัยการดำเนินงานด้านสาธารณสุขมีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุข อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
3. ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขพบว่า
3.1 ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานอาสาสมัครสาธารณสุข ได้แก่
1)เจ้าหน้าที่สาธารณสุขขาดการประสาน ติดตามนิเทศให้ความรู้เพิ่มเติม
2)เจ้าหน้าที่สาธารณสุขมอบหมายงานให้มากเกินไป โดยจำกัดระยะเวลา
3)จำนวนของผู้เข้ารับการอบรม อสม. ใหม่มากเกินไป ทำให้ไม่ได้รับ
ความรู้เท่าที่ควร
4)สิ่งสนับสนุน เช่นยา เวชภัณฑ์ วัสดุ อุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการปฏิบัติ
งานได้รับไม่สม่ำเสมอ ไม่เพียงพอกับความต้องการ
5)การเบิกจ่ายยา เวชภัณฑ์ ฯลฯ จากศูนย์บริการสาธารณสุขใช้ระยะ
เวลาหลายวัน
6)สิทธิในการรักษาพยาบาลไม่ได้รับการดูแลอย่างดีพอ
7)ผู้นำชุมชน – ชาวบ้านไม่ให้ความร่วมมือ ขาดความเชื่อถือในตัว อสม.
3.2 ข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานอาสาสมัครสาธารณสุข ได้แก่
1)ควรลดขั้นตอนความยุ่งยากในการเบิกจ่ายยา เวชภัณฑ์ สิ่งสนับสนุน
จากศูนย์บริการสาธารณสุข
2)ให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเข้ามาให้ความรู้ คำปรึกษา แนะนำ ดูแลการ
ทำงานของอสม. อย่างใกล้ชิด สม่ำเสมอ
3)ให้หน่วยงานของรัฐสนับสนุนสิ่งของ สิทธิ ผลประโยชน์ที่ อสม. ควร
ได้รับอย่างเต็มที่ เป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง
95
การอภิปรายผลการวิจัย
ผลการวิจัยในครั้งนี้จะนำเสนอประเด็นที่พบในการวิจัยดังนี้
1. ลักษณะทั่วไปของอาสาสมัครสาธารณสุข เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
ผลการวิจัยพบว่า อสม. ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 76.10 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเพศหญิงมีเวลาว่างที่จะเข้าร่วมกิจกรรมได้มากกว่าเพศชาย เพราะผู้ชายส่วนใหญ่ต้องออกไปทำงานนอกบ้าน ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ กังสดาล สุวรรณรงศ์ ( 2539 ) เรื่องการมีส่วนร่วมของอาสาสมัคร
สาธารณสุขในโครงการศูนย์สาธารณสุขมูลฐาน
อายุของ อสม. ส่วนใหญ่มีอายุมากกว่า 55 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 44.90 ทั้งนี้พบว่า อสม.ที่มีอายุสูงส่วนใหญ่ เป็นผู้ปลดเกษียณจากการประกอบอาชีพการงาน จึงมีเวลาว่างพอในการปฏิบัติงานและถือว่าเป็นช่วงอายุที่มีความรับผิดชอบสูงและมีโอกาสมากที่จะเข้าร่วมกิจกรรม
ระดับการศึกษา อสม. ส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 55.70 สอดคล้องกับการศึกษาของสุภรณ์ ชุมพลวงศ์ และอัญชนา วงศ์ภักดี ( 2538 ) ที่ศึกษาเปรียบเทียบความรู้
ทัศนคติ และการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของ อสม. ในจังหวัดบุรีรัมย์ เพราะว่า อสม. มีอายุเฉลี่ยส่วนใหญ่ค่อนข้างสูง ซึ่งในอดีตจะไม่นิยมที่จะศึกษากันในระดับสูงๆ อีกทั้งผู้ปฏิบัติงานอสม.ไม่จำเป็นต้องมีการศึกษาในระดับสูง เนื่องจากการปฏิบัติงาน อสม. ขอเป็นเพียงผู้มีความรู้อ่านออกเขียนได้ก็สามารถปฏิบัติงานได้เพราะการที่จะเข้ามาเป็น อสม.ต้องเข้ารับการอบรมจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเหมือนๆกันก่อนการปฏิบัติงาน
สถานภาพการสมรส อสม.ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส คิดเป็นร้อยละ 58.50 เนื่องจากอายุ อสม. ส่วนใหญ่เป็นช่วงอายุในระหว่างการมีครอบครัว สอดคล้องกับผลการศึกษาของ วชิระ
สิงหะคชนท์และคณะ (2528) ที่พบว่า อสม.ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรสคู่
อสม.ส่วนใหญ่มีภาระที่ต้องรับผิดชอบในครอบครัวคือ ดูแลบุตรหลาน ร้อยละ 42.60 และจำนวนบุคคลที่ต้องดูแลมีจำนวน 1 – 3 คน เป็นส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 60.20 เนื่องจาก อสม.ในช่วงอายุนี้เป็นช่วงที่ต้องอยู่กับบ้านจึงต้องดูแลบุตรหลาน ไม่ต้องออกไปประกอบอาชีพนอกบ้านจึงต้องดูแลลูกให้บุตรของตนเอง ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของกองสุขศึกษา กระทรวงสาธารณสุข ในการประเมินผลการดำเนินงาน ผสส./ อสม. ในเขตอำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ที่พบว่า อสม.ที่ต้องรับผิดชอบสมาชิกจำนวนน้อยๆ จะทำให้ อสม.สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ดีกว่า อสม.ที่ต้องรับผิดชอบภาระในครอบครัวมากๆ
สถานภาพทางเศรษฐกิจ อสม.ส่วนใหญ่มีรายได้ คิดเป็นร้อยละ 79.0 และรายได้เพียงพอกับรายจ่าย ร้อยละ 46.0 จากการตอบแบบสอบถามของ อสม. พบว่ารายได้ที่มีนั้นมาจากที่บุตรหลาน
96
เป็นผู้ให้ไว้ใช้จ่ายในแต่ละเดือน เห็นได้ว่าเมื่อมีรายได้พอแล้วก็ไม่ต้องมีภาระในการประกอบอาชีพทำให้มีเวลาที่จะมาปฏิบัติงาน อสม. ได้ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของกองสุขศึกษา กระทรวง
สาธารณสุข (2521) ในการประเมินผลการดำเนินงาน ผสส./ อสม. ในเขตอำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ที่พบว่า อสม.ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดีจะสละเวลาปฏิบัติงานของ อสม.ได้ดีกว่า อสม. ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจต่ำ
ประสบการณ์การดำรงตำแหน่งทางสังคมและการดำรงตำแหน่งทางสังคมในปัจจุบันในชุมชนของ อสม. พบว่าส่วนใหญ่ อสม.มีและเคยมีตำแหน่งหน้าที่ทางสังคม ที่ต้องช่วยเหลือในชุมชน / สังคมโดยพบว่าส่วนใหญ่แล้วเป็นหรือเคยเป็นกรรมการชุมชนมาก่อน นอกจากนั้นยังเป็นอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรรมการกองทุนชุมชน ตำรวจบ้าน ลูกเสือชาวบ้าน ฯลฯ โดยที่บางคนมีตำแหน่งหน้าที่ทางสังคมหลายอย่างด้วยกัน ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยเพื่อประเมินผลการดำเนินงาน ผสส./ อสม. ในเขตอำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ของกองสุขศึกษา กระทรวงสาธารณสุข (2521) ที่พบว่า อสม. ที่ทำประโยชน์ต่อส่วนรวมจะได้รับการยอมรับนับถือจากชาวบ้าน ทำให้สามารถปฏิบัติงานได้ดีกว่าพวกนักเลง พวกนักเล่นการพนัน
บุคคลที่ชักชวนให้เป็น อสม.ส่วนใหญ่มีเพื่อนที่เป็น อสม.ชักชวนให้เป็น อสม. คิดเป็นร้อยละ 40.90 ทั้งนี้เพราะผู้ที่เป็น อสม.อยู่เดิมจะรู้ว่า อสม.คืออะไร มีบทบาท กิจกรรมอย่างไรจึงชักชวนเพื่อนที่ยังไม่เป็น อสม.ให้เข้ามาเป็น อสม.เหมือนตนเอง
ประสบการณ์ในการช่วยเหลือคนอื่นทางด้านสุขภาพ อสม. ส่วนใหญ่มีประสบการณ์ทางด้านนี้มาก่อน ร้อยละ 90.90 โดยส่วนหนึ่งก็จะคำนึงถึงประสบการณ์ที่ใกล้เคียงกับงานที่จะปฏิบัติด้วย สำหรับประสบการณ์ด้านสุขภาพอันดับแรกคือ ให้คำแนะนำแก่เพื่อนบ้านทางด้านสุขภาพ รองลงมาคือเคยให้การพยาบาลดูแลผู้ป่วยและเคยให้การรักษาโรคแผนปัจจุบันหรือแผนโบราณตามลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของเบญจา ยอดดำเนิน (2522) จากการประเมินผลการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขโครงการลำปาง อำเภอห้าง จังหวัดลำปางที่พบว่า อสม.เคยมีประสบการณ์การปฐมพยาบาลแบบพื้นบ้านมาก่อน และงานวิจัยของสุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ และคณะ (2523) ได้ประเมินผลเรื่องการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น ที่พบว่า อสม. ส่วนมากเคยมีประสบการณ์การเป็นหมอพื้นบ้านมาก่อน
2. ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า
2.1 ปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันมีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัคร
สาธารณสุขที่แตกต่างกันในบางปัจจัย ซึ่งยอมรับสมมติฐานและไม่ยอมรับสมมติฐาน จากการศึกษาพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรสและสถานภาพทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกันมีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติของอาสาสมัครสาธารณสุขไม่แตกต่างกัน ส่วนปัจจัยการ
97
ดำรงตำแหน่งทางสังคมที่แตกต่างกันมีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลการศึกษาที่ยอมรับสมมติฐานและไม่ยอมรับสมมติฐานอธิบายได้ว่า ปัจจัยส่วนบุคคล
ซึ่งประกอบด้วยเพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรสและสถานภาพทางเศรษฐกิจเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของบุคคลที่ไม่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุข ทั้งนี้เพราะ แรงจูงใจเกิดจากความต้องการของบุคคลที่จะได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการ จึงทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของสุชา จันทร์เอม (2539) ที่ได้กล่าวไว้ว่า แรงจูงใจเป็นแรงปรารถนาที่จะทำให้ได้มาเป้าประสงค์หรือจุดหมาย ซึ่งจะมีมากหรือน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับการเรียนรู้วิธีการต่างๆที่ได้รับการตอบสนอง บุคคลซึ่งมีปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษาที่ต่างกันแต่ก็ย่อมมีความต้องการในสิ่งที่ต้องการเช่นเดียวกันกับ อาสาสมัครสาธารณสุขที่มีความต้องการที่จะได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการ ซึ่งเห็นงานด้านอาสาสมัครสาธารณสุขเป็นการทำงานเพื่อส่วนรวม จะได้รับการยอมรับและยกย่องจากสังคมว่า เป็นผู้ที่ทำประโยชน์ให้กับสังคม ชุมชน ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ วิชัย โถสุวรรณจินดา ( 2535 : 57 – 58) ที่อธิบายว่าการจูงใจคือ องค์ประกอบทางด้านร่างกายและจิตใจ ได้แก่ เหตุจูงใจ ( Motive ) เป็นสิ่งเร้าที่มีพลังมากพอที่จะชักนำให้บุคคลเกิดความรู้สึกตั้งใจกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้สำเร็จ การรับรู้ ( Recognition ) เป็นสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้มาหรือมีประสบการณ์จากสภาพแวดล้อมในอันที่จะปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมเหล่านั้น ความต้องการ
( Needs) ได้แก่ ความต้องการทางด้านกายภาพ ความมั่นคง การเข้าสังคม การยกย่องและความประสงค์ที่จะทำอะไรให้สำเร็จด้วยตัวเององค์ประกอบทางด้านชีววิทย องค์ประกอบทางด้านเป้าหมาย องค์ประกอบทางด้านสภาวะแวดล้อม นอกจากนี้ แฮกแมนและโอลแฮม ( Hackman and Oldham 1980 ) ยังให้การสนับสนุนว่าภาวะทางจิตใจ ( Psychological State ) ถือว่าสำคัญและจำเป็นในการที่จะทำให้บุคคลมีแรงจูงใจที่จะทำงานมีอยู่ 3 ภาวะคือ ประสบการณ์รับรู้ว่างานนั้นมีความหมาย บุคคลจะต้องรับรู้ว่างานของตนเป็นสิ่งที่มีค่าและมีความสำคัญตามค่านิยมของแต่ละบุคคล ประสบการณ์รับผิดชอบต่อผลลัพธ์ของงาน บุคคลจะต้องเชื่อว่าตนเองเป็นผู้มีความรับผิดชอบกับผลที่เกิดขึ้นและความพยายามของเขาจะส่งผลกับผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น และ การรับรู้เกี่ยวกับผลการกระทำ ซึ่งเป็นสิ่งที่บุคคลจะต้องสามารถที่จะตีผลการปฏิบัติงานของเขาว่าเป็นที่พึงพอใจหรือไม่ เมื่อใดที่ภาวะทางจิตใจทั้งสามนี้เกิดขึ้นกับบุคคลจะก่อให้เกิดผลดังนี้คือ แรงจูงใจภายในในการทำงานสูง การปฏิบัติงานที่มีคุณภาพสูง ความพึงพอใจในการทำงานสูง การขาดงานและการลาออกจากงานต่ำ
ดังนั้นผลการศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส และสถานภาพทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกันมีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานอาสาสมัครสาธารณสุขไม่แตกต่างกันซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมติฐาน และสอดคล้องกับการศึกษาของจินตนา จันทร์ธาราม (2534) ได้ศึกษาเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขต่อภาวะทุพโภชนาการของเด็ก
98
ก่อนวัยเรียนในชุมชนแออัดของกรุงเทพมหานคร ที่พบว่าเพศ อายุ รายได้ ระดับการศึกษาไม่มีผลต่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุข กังสดาล สุวรรณรงศ์ (2539) ศึกษาการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขในกิจกรรมศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน จังหวัดขอนแก่น พบว่า เพศ อายุ รายได้ สถานภาพสมรสไม่มีผลต่อการเข้าร่วมกิจกรรมอาสาสมัครสาธารณสุข
ส่วนผลการศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลด้านการดำรงตำแหน่งทางสังคมที่แตกต่างกันมีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสามัครสาธารณสุขที่แตกต่างกัน แสดงให้เห็นว่าประสบการณ์การทำงานของบุคคลมีผลต่อความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติงานทำให้เกิดแรงจูงใจที่ปฏิบัติงานที่ตนมีความ
พึงพอใจได้ ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาของ เบอร์นาร์ด (Barnard 1972) ที่พบว่าสิ่งจูงใจที่เป็นเครื่องกระตุ้นให้คนปฏิบัติงานประกอบด้วย สิ่งจูงใจที่เป็นวัตถุ ได้แก่ เงิน สิ่งของ สิ่งตอบแทนที่ให้แก่ผู้ปฏิบัติงานเป็นการชดเชย หรือเป็นรางวัลที่เขาได้ปฏิบัติงานให้แก่หน่วยงานมาแล้วเป็นอย่างดี สิ่งจูงใจที่เป็นโอกาสของบุคคล เป็นสิ่งจูงใจที่สำคัญที่ช่วยเสริมความร่วมมือในการทำงานมากกว่ารางวัลที่เป็นวัตถุ เพราะสิ่งจูงใจที่เป็นโอกาสนี้บุคลากรได้รับแตกต่างจากคนอื่น เช่นชื่อเสียง เกียรติภูมิ อำนาจพิเศษส่วนตัว หรือโอกาสที่จะได้รับตำแหน่งดีๆ สถานภาพทางกายที่พึงปรารถนา ได้แก่สภาพแวดล้อมในสถานที่ทำงานเป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวกในการทำงาน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอันอาจก่อให้เกิดความสุขทางกายในการทำงาน ผลประโยชน์ทางอุดมคติ ซึ่งหมายถึงสมรรถภาพของหน่วยงานที่สนองความต้องการของบุคคลในด้านความภูมิใจที่ได้แสดงฝีมือ ความรู้สึกพอใจที่ได้ทำงานอย่างเต็มที่ การได้มีโอกาสช่วยเหลือครอบครัวตนเองและผู้อื่นรวมถึงการได้แสดงความจงรักภักดีต่อหน่วยงาน ความดึงดูดใจในทางสังคม เป็นความสัมพันธ์ฉันท์มิตรในหมู่ผู้ร่วมงาน การยกย่องยอมรับนับถือซึ่งกันและกัน ถ้าความสัมพันธ์เป็นไปด้วยดีจะทำให้เกิดความผูกพันและความพอใจในการทำงาน การปรับสภาพการทำงานให้เหมาะสมกับวิธีการและทัศนคติของบุคคล ซึ่งเป็นการปรับปรุงตำแหน่งงาน วิธีการทำงานให้สอดคล้องกับความรู้ ความสามารถและทัศนคติของแต่ละบุคคล โอกาสที่จะมีส่วนร่วมในการทำงาน เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติงานได้แสดง ความคิดเห็นและรู้สึกร่วมในงานทุกชนิด ช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานมีความรู้สึกว่าตนเป็นบุคคลที่สำคัญของหน่วยงานมีความรู้สึกเท่าเทียมกันในหมู่ผู้ร่วมงานและมีกำลังใจในการปฏิบัติงาน และสภาพของการอยู่ร่วมกัน หมายถึงความพอใจของผู้ปฏิบัติงานในด้านสังคมหรือความมั่นคงในทางสังคม ซึ่งจะทำให้คนมีความรู้สึกว่ามีหลักประกันและเกิดความร่วมมือเป็นอย่างดีในการทำงาน
ผลการศึกษาดังกล่าวจึงสรุปได้ว่า การดำรงตำแหน่งทางสังคมที่แตกต่างกันส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขที่แตกต่างกัน ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้และสอดคล้องกับการศึกษา เบญจา ยอดดำเนิน ( 2522 ) ได้ประเมินผลการปฏิบัติงานของอาสาสมัคร
สาธารณสุข จังหวัดลำปาง พบว่าผู้ที่เคยช่วยเหลืองานส่วนรวมอยู่เป็นประจำ เช่นเป็นกรรมการหมู่บ้าน มักเป็นแม่แบบหรือผู้นำทางความคิดในสังคมจึงมีผลต่อการปฏิบัติงานอาสาสมัครสาธารณสุข
99
กังสดาล สุวรรณรงศ์ ( 2539 ) ศึกษาการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุข ในกิจกรรมศูนย์ สาธารณสุขชุมชน จังหวัดขอนแก่น พบว่าสถานภาพในสังคมมีผลต่อการเข้าร่วมปฏิบัติงานสาธารณสุขในกิจกรรมศูนย์สาธารณสุขชุมชน
2.2 ปัจจัยในการทำงานมีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัคร
สาธารณสุข
การได้รับการยอมรับ ผลการศึกษาพบว่า ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขกับตัวแปรการได้รับการยอมรับนับถือ มีความสัมพันธ์กันในระดับสูง ( r = 0.992 ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้โดยแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุข มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( X = 3.639, S.D. = 0.617 ) และการได้รับการยอมรับนับถือมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( X = 3.641, S.D. = 0.588 )
ผลการศึกษาที่สอดคล้องนี้ เพราะอสม.มีความพึงพอใจในการได้รับการยอมรับจากบุคคลอื่นมีผลให้เกิดแรงจูงใจในการปฏิบัติงานอสม. การปฏิบัติงานอสม. ทำให้ได้รับคำยกย่องว่าเป็นคนที่บำเพ็ญประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์ และทำให้รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของมาสโลว์ ( Maslow 1960 ) ที่กล่าวถึงความต้องการความเคารพยกย่อง ( Esteem Needs ) ว่าเป็นความต้องการให้เกิดความเคารพตนเอง ( Self – respect ) ความรู้สึกว่าตนเองเป็นผู้ประสบความสำเร็จและได้รับการยอมรับเช่นนั้นจากผู้อื่น ความต้องการสถานภาพ ( Status ) ความมีชื่อเสียงเกียรติยศ
( Prestige ) เป็นส่วนสำคัญของความต้องการเคารพยกย่องในความสามารถ และรู้สึกว่าตนเป็นผู้ที่มีประโยชน์และมีความสำคัญในสังคม เช่นได้รับความไว้วางใจจากผู้บังคับบัญชาให้ทำงานสำคัญ การให้มีอิสระในการทำงานหรือการยกย่องชมเชยให้กำลังใจต่อสาธารณะ การขอคำปรึกษาในเรื่องสำคัญๆ หรือการให้ได้รับตำแหน่งระดับที่สูงขึ้น เป็นต้น
ผลการศึกษาดังกล่าวจึงสรุปได้ว่าตัวแปรการได้รับการยอมรับนับถือมีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานอาสาสมัครสาธารณสุข ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
ความสัมพันธ์ระหว่างอสม.กับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและระหว่างอสม.กับอสม. ผลการศึกษาพบว่า ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขกับตัวแปรความสัมพันธ์ระหว่าง อสม.กับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และระหว่าง อสม.กับ อสม.มีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลาง ( r = 0.442 ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ โดยแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (X = 3.639, S.D. = 0.617 ) และความสัมพันธ์ระหว่าง อสม.กับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และระหว่าง อสม. กับอสม.มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( X = 3.535, S.D. = 0.453 )
100
ผลการศึกษาที่สอดคล้องกับสมมติฐานแสดงให้เห็นว่า ความสัมพันธ์ระหว่างอสม.และ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขมีความสำคัญต่อการปฏิบัติงาน ทั้งนี้เพราะอสม.ส่วนใหญ่ยังไม่มีความรู้ในด้านสาธารณสุขดีพอ ดังนั้นจึงต้องการคำแนะนำและข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงาน และด้วยเหตุที่ อสม.จะต้องไปรับบริการที่ศูนย์บริการสาธารณสุขในบางครั้ง เมื่อมีปัญหาสุขภาพทำให้ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข แต่จากการศึกษาพบว่าเมื่อ อสม. เข้ารับบริการที่ศูนย์บริการสาธารณสุข เจ้าหน้าที่สาธารณสุขกลับไม่มีความกระตือรือร้นที่จะให้บริการที่ดีพอ ในขณะที่อสม.ด้วยกันก็มีความจำเป็นต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เพื่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจกันทำงานให้บรรลุเป้าหมายในการช่วยเหลือสังคม และเพื่อนมนุษย์ ดังนั้นตัวแปรความสัมพันธ์ระหว่าง อสม.กับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และระหว่าง อสม.กับอสม.จึงมีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอสม.ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของมาสโลว์ ( Maslow 1960 ) ที่กล่าวถึง ความต้องการทางด้านความรักหรือทางสังคม ( Love or Social Needs ) คือความต้องการ ที่จะให้ผู้อื่นชอบตนเป็นผู้ที่มีความสำคัญต่อผู้อื่น ภายหลังจากที่ได้รับการตอบสนองในสองขั้นข้างต้นแล้ว ความต้องการทางด้านสังคมและความรักซึ่งเป็นความต้องการในระดับที่สูงขึ้นจะเข้ามามีบทบาทเป็นความต้องการการยอมรับจากเพื่อนร่วมองค์กร ต้องการการยอมรับจากเพื่อนร่วมงานในฐานะสมาชิกของกลุ่ม ต้องการความรักความเอื้ออาทรน้ำใจไมตรีจากเพื่อนร่วมงานหรือจากสมาชิกขององค์กรคนอื่น ความต้องการทางด้านสังคมนี้มักจะเป็นไปในรูปของความต้องการที่ก่อให้เกิดความรู้สึกว่าตนเองเป็นผู้มีความสำคัญต่อสังคมกลุ่มนั้น รวมทั้งต้องการที่จะมีสถานภาพทางสังคมที่สูงขึ้น ซึ่งเป็นความต้องการทางด้านจิตใจ และแนวคิดของ อัลเดอร์เฟอร์ ( Alderfer : 1969 ) ความต้องการความสัมพันธ์ ( Relatedness needs ) เป็นความต้องการที่เกี่ยวกับด้านสังคมทั้งหมดเช่นเดียวกับความต้องการขั้นที่ 3 ของมาสโลว์ เป็นความต้องการมีส่วนร่วมมีเพื่อนและต้องการการยอมรับ นอกจากนี้ผลการศึกษายังพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างอสม.และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเกิดจากการที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขมาขอความร่วมมือเรื่องต่างๆจาก อสม. อสม.เป็นที่รู้จักของคนในชุมชน และมีการร่วมกันทำกิจกรรมต่างๆ ทำให้มีเพื่อน อสม.มากขึ้น และสอดคล้องกับผลการศึกษาของชมชื่น สมประเสริฐ ( 2544 : บทคัดย่อ ) ที่พบว่ารูปแบบการเสริมสร้างแรงจูงใจในการทำงาน ประกอบด้วยปัจจัยด้านลักษณะงาน ระบบการบริการ ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงานและปัจจัยส่วนบุคคล
จากผลการศึกษาดังกล่าวจึงสรุปได้ว่า แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัคร
สาธารณสุขกับตัวแปรความสัมพันธ์ระหว่าง อสม.กับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และระหว่าง อสม.กับ อสม. ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
ผลประโยชน์ตอบแทน ผลการศึกษาพบว่า ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขกับตัวแปรผลประโยชน์ตอบแทน มีความสัมพันธ์กันในระดับค่อนข้างสูง ( r = 0.617 ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ โดยแรง
101
จูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( X = 3.639, S.D. = 0.617 ) และผลประโยชน์ตอบแทนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( X = 3.846, S.D. = 0.487 )
ผลการศึกษาที่สอดคล้องกับสมมติฐานแสดงให้เห็นว่า ผลประโยชน์ตอบแทนเป็นสิ่งจูงใจเป็นเครื่องกระตุ้นให้คนปฏิบัติงาน ทั้งนี้ผลประโยชน์ตอบแทนประกอบด้วยสิ่งจูงใจที่เป็นวัตถุ ได้แก่ เงิน สิ่งของ สิ่งตอบแทนที่ให้แก่ผู้ปฏิบัติงานเป็นการชดเชย หรือเป็นรางวัลที่เขาได้ปฏิบัติงานให้แก่หน่วยงานมาแล้วเป็นอย่างดี สิ่งจูงใจที่เป็นโอกาสของบุคคล เป็นสิ่งจูงใจที่สำคัญที่ช่วยเสริมความร่วมมือในการทำงานมากกว่ารางวัลที่เป็นวัตถุ เพราะสิ่งจูงใจที่เป็นโอกาสนี้บุคลากรจะได้รับแตกต่างจากคนอื่น เช่นชื่อเสียง เกียรติภูมิ อำนาจพิเศษส่วนตัว หรือโอกาสที่จะได้รับตำแหน่งงานที่สนองความต้องการของบุคคลในด้านความภูมิใจที่ได้แสดงฝีมือ ความรู้สึกพอใจที่ได้ทำงานอย่างเต็มที่ การได้มีโอกาสช่วยเหลือครอบครัวตนเองและผู้อื่นรวมถึงการได้แสดงความจงรักภักดีต่อหน่วยงาน ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของเชสเตอร์ ไอ เบอร์นาร์ด (Barnard 1972) ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าตัวแปรผลประโยชน์ตอบแทน จึงมีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอสม. การที่บุคคลปฏิบัติหน้าที่เป็นอสม.จึงเกิดความภาคภูมิใจที่ได้ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ และเป็นที่เชื่อถือของชาวบ้าน ทั้งได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ที่ทำประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม สามารถนำความรู้มาใช้กับตนเองและครอบครัว สามารถนำบัตรประจำตัวไปติดต่อกับหน่วยงานด้านสุขภาพอนามัยและได้รับความสะดวกในการไปขอรับบริการ ทั้งยังมีความเห็นว่า อสม.ควรเพิ่มผลประโยชน์ตอบแทนในเรื่องสิทธิการรักษาพยาบาลสมาชิกในครอบครัว หรือมีเบี้ยเลี้ยงเพื่อเป็นกำลังใจในการทำงาน แม้นในขณะนี้จะไม่ได้รับค่าตอบแทนจากภาครัฐก็ยังคงทำงานเพื่อสังคมต่อไป นอกจากนี้แนวคิดของ วรูม ( Vroom 1970 ) ให้ข้อสนับสนุนว่าแรงจูงใจเป็นเสมือนผลิตผลของความคาดหวังที่มีอยู่ล่วงหน้าของแต่ละบุคคลในการที่จะกระทำ หรือยอมรับในความเป็นไปได้ที่ว่า วัตถุประสงค์ของเขานั้นสามารถจะถึงจุดหมายปลายทางได้ วรูม ศึกษาจิตวิทยาของบุคคลในองค์กรพบว่า การที่บุคคลจะกระทำสิ่งใดก็ตามจะขึ้นอยู่กับตัวแปร 4 ตัวได้แก่ ผลตอบแทนที่เขาจะได้รับนั้นเหมาะสมกับบทบาทที่เขามีอยู่เพียงใด ความพอใจหรือไม่พอใจต่อผลที่เขาจะได้รับเมื่อเปรียบเทียบกับผู้อื่นแล้ว เขาเชื่อว่าเขาจะต้องเป็นผู้ได้รับผลอันนั้น เขามีโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนตามความคาดหวังหรือได้รับล่วงหน้า และความพอใจต่อสิ่งเหล่านี้จะเพิ่มขึ้นหากเขาได้รับผลตอบแทนเพิ่มขึ้นและจะลดลง หากเขาได้รับผลตอบแทนลดลง แต่ถ้าบุคคลใดไม่สนใจต่อผลตอบแทนต่างๆความสัมพันธ์ทั้งหมดนี้จะหายไปและถ้าบุคคลไม่พอใจต่อผลลัพธ์ที่ได้ความสัมพันธ์ จะเป็นไปในทางตรงกันข้าม และสอดคล้องกับการศึกษาของบุญเลิศ สิริภัทรวณิช ( 2541 ) ที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยจูงใจในการทำงานและคุณภาพชีวิต โดยเปรียบเทียบระหว่างบุคลากรในองค์กรที่ทำงานกับคนพิการของราชการและเอกชน พบว่าบุคลากรที่ทำงานให้ความสำคัญกับปัจจัยจูงใจในด้านผลประโยชน์ตอบแทน ประภาส ศิลปรัศมี ( 2531 ) ศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน
102
ได้แก่ การได้รับการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่ โอกาสที่จะแสดงความสามารถ การมีความรู้ ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่การที่ทราบว่าการทำงานจะมีค่าตอบแทน นาถเฉลียว ยังนันทวัฒนา และวิมลชัย คำปุ้ย (2536) ได้ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการศูนย์เยาวชนตำบล พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงาน ได้แก่ความคาดหวังในผลประโยชน์ การได้รับการสนับสนุนจากผู้นำท้องถิ่น การปะทะสังสรรค์กันอย่างสม่ำเสมอของกรรมการศูนย์เยาวชน
ผลการศึกษาจึงสรุปได้ว่าผลประโยชน์ตอบแทนมีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุข สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
สภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน พบว่า ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขกับตัวแปรสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน มีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลาง ( r = 0.515 ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ โดยแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( X = 3.639, S.D. = 0.617 ) และสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( X = 3.430, S.D. = 0.431 )
ผลการศึกษาที่สอดคล้องกับสมมติฐานนี้เพราะ การปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพต้องมีสถานที่ปฏิบัติงานที่มีบรรยากาศในการทำงานที่ดี สภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานมีความสำคัญต่อการปฏิบัติงาน ทั้งนี้เพราะอสม.ต้องปฏิบัติงานที่ศูนย์สุขภาพ ซึ่งควรมีบรรยากาศที่เหมาะสม สะอาด มีระเบียบเรียบร้อย มีแสงสว่างที่เหมาะสม และมีการถ่ายเทอากาศได้ดี ทำให้น่าทำงาน การปฏิบัติงานในด้านสุขภาพอนามัยให้บริการต่อชุมชนควรคำนึงถึงด้านความสะอาดของสถานที่ทำงานที่ใช้บริการเป็นหลัก ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาของบุญเลิศ สิริภัทรวณิช ( 2540: บทคัดย่อ ) ที่พบว่าปัจจัยจูงใจในการทำงานและคุณภาพชีวิต ที่สำคัญได้แก่สวัสดิการ สภาพแวดล้อมของที่ทำงาน โอกาสในการพัฒนาตนเอง โอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ความมั่นคงในงาน ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ร่วมงาน ลักษณะการปกครองบังคับบัญชา ลักษณะงาน และความมีชื่อเสียงของหน่วยงาน นอกจากนี้ผลการศึกษายังพบว่า อสม. มีความเห็นว่าการเดินทางไปปฏิบัติงานที่สะดวก ศูนย์สุขภาพชุมชนมีบรรยากาศที่ดี เหมาะแก่การปฏิบัติงาน และมีระยะเวลาในการปฏิบัติงานประจำที่ศูนย์สุขภาพเหมาะสม แต่การเดินทางไปปฏิบัติงานนอกสถานที่ไม่สะดวกและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย
จากผลการศึกษาดังกล่าวจึงสรุปได้ว่า สภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานมีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุข
ปัจจัยการดำเนินงานด้านสาธารณสุข ผลการศึกษาพบว่าค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรแรง จูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุข กับตัวแปรการดำเนินงานด้านสาธารณสุขมีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลาง ( r = 0.515 ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ โดยแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง
103
( X = 3.639, S.D. = 0.617 ) และการดำเนินงานด้านสาธารณสุขมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( X = 3.430, S.D. = 0.431 )
ผลการศึกษาที่สอดคล้องกับสมมติฐานเพราะ การดำเนินงานด้านสาธารณสุขเป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานสำหรับประชาชน เป็นการนำเอาสาธารณสุขมูลฐานมาให้บริการด้านสาธารณสุข กับในชุมชนเพื่อบรรเทาความทุกข์ โดยมีอาสาสมัครสาธารณสุขเข้ามาอาสาสมัครปฏิบัติการด้านการสาธารณสุขมูลฐานให้กับชุมชนของตน โดยมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขให้ความรู้ และแนะนำให้ปฏิบัติงานได้ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของมอร์ริส ( Marry 1969 ) ที่ได้อธิบายถึงแรงจูงใจหลักๆที่ทำให้คนเข้ามามีส่วนร่วมในงานอาสาสมัครว่า มี 3 กลุ่ม คือ คนที่มีความปรารถนาอย่างแท้จริงที่จะช่วยเหลือผู้อื่นเพื่อบรรเทาความทุกข์ และเพื่อความสุขที่จะเกิดแก่ผู้รับ เป็นการกระตุ้นส่วนเสริมเหตุเพื่อปรับปรุงและ แก้ไขสถานการณ์ ความต้องการสมปรารถนาในการมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่นอกเหนือจากครอบครัวและการทำงาน อีกนัยหนึ่งอาสาสมัครบางคนทำให้ตนเองเป็นที่รู้จัก และเป็นบุคคลสำคัญในหมู่เพื่อนบ้านหรือในชุมชน เพราะต้องการมีอิทธิพลและความไว้วางใจจากหน่วยงานราชการ อาสาสมัครบางคนต้องการใช้ทักษะพิเศษ และความฉลาดที่เป็นประโยชน์ส่วนตัวอย่างเต็มที่ในการทำงาน การดำเนินงานอาสาสมัครสาธารณสุขซึ่งงานอาสาสมัครนั้นมีปรัชญาตามแนวคิดที่ว่า ทุกคนมีคุณค่าในตัวเองและมีสิทธิที่จะให้ความช่วยเหลือผู้อื่นโดยอิสระ ควรมีการเตรียมเครื่องมือของรัฐที่เป็นสิ่งใหม่เพื่ออธิบายการมีส่วนร่วมในสวัสดิการรัฐ และเพื่อสร้างอาสาสมัคร การปฏิบัติงานอาสาสมัครนั้นต้องอาศัยความร่วมมือทั้งในระดับเจ้าหน้าที่ ประชาชนในชุมชน และผู้รับบริการ ทั้งนี้เพราะการมีส่วนร่วมของประชาชนนั้นอยู่บนพื้นฐานแนวคิดของการช่วยเหลือกัน ดังนั้นความสำเร็จของคณะผู้ร่วมทำงานและประชาชนจึงขึ้นอยู่กับการสนับสนุนที่เข้มแข็งของทุกฝ่าย และสอดคล้องกับหลักการของการสาธารณสุขมูลฐาน ซึ่งเป็นการดำเนินการในลักษณะของการบริการสุขภาพที่จำเป็น ซึ่งบุคคลและครอบครัวสามารถที่จะหาได้ในชุมชน โดยเป็นสิ่งที่บุคคลยอมรับและมีส่วนร่วมเต็มที่ในการดำเนินงาน รวมทั้งเป็นบริการที่ชุมชนและประเทศสามารถจัดให้มีได้ การสาธารณสุขมูลฐานจะเป็นส่วนที่ผสมผสานอยู่ในทั้งระบบบริการสาธารณสุขของรัฐ โดยเป็นศูนย์กลางของระบบ และเป็นส่วนผสมอยู่ในกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมทั้งหมดของชุมชน แนวคิดสาธารณสุขมูลฐานจึงเป็นระบบบริการสาธารณสุขที่เพิ่มเติมหรือเสริมจากระบบสาธารณสุขของรัฐ ซึ่งจัดบริการในระดับตำบลและ
หมู่บ้าน โดยประชาชนและความร่วมมือของชุมชนเอง เป็นการพัฒนาชุมชนให้มีความสามารถที่จะแก้ไขปัญหาของชุมชนได้ด้วยตนเอง และชุมชนต้องรับรู้ถึงปัญหาของชุมชน เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขเจ้าหน้าที่ต้องรู้บทบาทหน้าที่ของตนเองและของชุมชน ว่าจะต้องทำงานร่วมกันโดยให้ประชาชนมีความรู้สึกเป็นเจ้าของ ทำโดยประชาชนเพื่อชุมชน หัวใจของงานสาธารณสุขมูลฐาน คือ “ ความร่วมมือของชุมชน ” อาจจะมีส่วนร่วมในรูปของแรงงาน แรงเงินและความร่วมมือ การปฏิบัติงานต้องทำด้วยความสมัครใจและไม่หวังผลตอบแทน สุขภาพอนามัยที่ดีมีความสัมพันธ์กับฐานะความเป็นอยู่
104
และการดำรงชีวิต เพราะฉะนั้นงานบริการสาธารณสุขต้องผสมผสานกับงานพัฒนาด้านอื่นๆ ด้วย เช่น การศึกษา การพัฒนาชุมชน ที่ต้องใช้เทคนิคและวิธีการง่ายๆ ไม่เกินขอบเขตและกำลังที่ชุมชนจะ เข้าใจและนำมาใช้ประโยชน์ โดยมีเทคนิคที่เหมาะสม ประหยัด ราคาถูก เหมาะกับสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อม และสามารถแก้ไขปัญหาได้ จะต้องสอดคล้องกับวิถีชีวิตประจำวันของชุมชนนั้นๆ มีความยืดหยุ่นในการแก้ไขปัญหา ประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับปัญหาในแต่ละพื้นที่ ต้องมีความเชื่อมโยงกับบริการของรัฐเพื่อได้การสนับสนุนระบบส่งต่อ ( Referal System ) การให้การศึกษาต่อเนื่อง ข้อมูลข่าวสาร จึงเป็นการดำเนินการจะมีเจ้าหน้าที่ของรัฐเปลี่ยนบทบาทใหม่ จากเดิมเป็นผู้บริการประชาชนมาเป็นผู้กระตุ้นให้คำแนะนำและผู้สนับสนุนให้กับประชาชน แล้วให้ประชาชนเป็นผู้ริเริ่มบริการด้วยตัวเอง ทั้งในระดับครอบครัวและชุมชนและบุคลากรผู้ให้ความช่วยเหลือหรือบริการก็คือประชาชนในชุมชนเอง ทั้งในระดับครอบครัวและชุมชน ที่ได้รับการพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถ ในเรื่องการดูแลสุขภาพอนามัยขั้นพื้นฐาน จากแนวคิดดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าการดำเนินงานด้านสาธารณสุขมีความสำคัญต่อการปฏิบัติงาน ทั้งนี้เพราะการบริการจัดการงานด้านสาธารณสุข เป็นปัจจัยพื้นฐานของความต้องการของบุคคล ศูนย์สุขภาพเป็นหน่วยที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการพื้นฐานด้านอนามัยแก่คนในชุมชนในเรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ที่ชาวบ้านสามารถมาใช้บริการได้ทันที ดังนั้นการบริหารจัดการที่ดีย่อมนำไปสู่การดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพและทำให้เกิดความพึงพอใจแก่สมาชิกในชุมชน ซึ่งทำให้บรรลุเป้าหมายของการทำประโยชน์เพื่อสังคม นอกจากนี้ผลการศึกษายังพบว่า เจ้าหน้าที่
สาธารณสุขมาเยี่ยมและให้คำแนะนำ เสนอแนะการแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานทำให้สามารถปฏิบัติงานในหน้าที่อสม.ได้ดี มีการอบรมฟื้นฟูช่วยให้การทำงาน และสามารถนำความรู้ที่ได้จากการอบรมหรือปฐมนิเทศในเรื่องราวต่างๆ มาใช้ได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับการปฏิบัติงาน
ดังนั้นการดำเนินงานด้านสาธารณสุขจึงมีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอสม.ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
3. ปัญหา อุปสรรคในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุข มีดังนี้
ผู้วิจัยแบ่งปัญหา อุปสรรคเป็น 3 ลักษณะคือ
1) ปัญหาอุปสรรคจากตัวอาสาสมัครสาธารณสุข
ได้แก่การไม่มีเวลาพอที่จะปฏิบัติงาน อสม. เวลาที่จะต้องปฏิบัติงานส่วนใหญ่
ตรงกับเวลาที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขต้องทำงาน คือตรงกับเวลาราชการ (เวลาทำงาน) ซึ่งเป็นเวลาที่ตรงกับ อสม.ส่วนใหญ่ต้องประกอบอาชีพเหมือนกัน นอกจากนี้ยังพบว่า อสม.มีการแบ่งพรรค แบ่งพวกกันเมื่อ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขฝากงานไว้ทำให้ไม่ได้รับข้อมูลหรือการนัดหมายอย่างทั่วถึง สำหรับ อสม.บางคนมีปัญหาทางด้านสุขภาพทำให้ไม่สามารถปฏิบัติงานได้
2) ปัญหาอุปสรรคจากสังคม – ชุมชน
ได้แก่ ชาวบ้านไม่ให้ความร่วมมือที่ดีพอ ทั้งยังไม่มีความเชื่อถือ ศรัทราตัว อสม.
105
ทำให้ชาวบ้านไม่ให้ความสำคัญกับการปฏิบัติงานของ อสม. ไม่ยอมรับการทำงานของ อสม. ชาวบ้านบางคนบางคนก็พูดจาดูถูก อสม.จึงไม่มีกำลัง ท้อแท้ที่จะปฏิบัติงาน นอกจากนี้สังคมชุมชนในกรุงเทพมหานครนั้นเป็นสังคมเมืองที่ต่างคนต่างอยู่ ต่างคนต่างดิ้นรนที่จะทำมาหากิน ขาดความสัมพันธ์เช่นในสังคมชนบท มีการช่วยเหลือ เอื้ออาทรกันน้อย และวิถีชีวิตของคนในเมืองก็ได้รับความสะดวกจากสถานพยาบาลที่ดีและพร้อมกว่าศูนย์สุขภาพชุมชน เช่นร้านขายยา คลีนิกจึงเป็นเหตุให้ชาวบ้านเลือกที่จะรับบริการจากสถานพยาบาลเหล่านี้เพราะเข้าถึงได้ไม่ลำบาก ดังนั้นก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ชาวบ้านไม่เห็นความสำคัญของการมี อสม. ในชุมชน
3) ปัญหาอุปสรรคจากการดำเนินงานสาธารณสุขของหน่วยงานภาครัฐ
ได้แก่การขาดแคลนบุคลากรที่รับผิดชอบในการอบรม อสม.ใหม่โดยตรง การ
ทำงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ไม่ต่อเนื่อง เช่นการติดตามนิเทศ ประเมินผลการปฏิบัติงาน อสม.เป็นระยะ การเขียนรายงาน การให้ความรู้ใหม่ๆแก่ อสม. การประสานงานระหว่างเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในเรื่องของการให้สิทธิรักษาพยาบาลของ อสม.กับสถานพยาบาล เจ้าหน้าที่สถานพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานครให้ความสำคัญกับ อสม.น้อย ทำให้ อสม.รู้สึกน้อยใจเมื่อไปขอรับบริการ การขาดแคลนยา เวชภัณฑ์ วัสดุ อุปกรณ์ที่จะต้องใช้ในการปฏิบัติงาน อสม. ความเป็นรูปธรรมในเรื่องของผลประโยชน์ตอบแทนที่ อสม.ควรได้รับจากหน่วยงานภาครัฐ
ข้อเสนอแนะจากการวิจัย
จากการศึกษาพบว่า อาสาสมัครสาธารณสุขปฏิบัติงานตามบทบาท หน้าที่ด้วยใจรัก เป็นการทำงานเพื่อสังคม เห็นประโยชน์ที่จะช่วยเหลือสังคม และเพื่อนมนุษย์ในด้านความจำเป็นพื้นฐาน ที่สามารถจะให้ความช่วยเหลือพึ่งพากันได้ ซึ่งส่งผลต่อจิตใจให้เกิดความภาคภูมิใจและคุณค่าของตนอง อีกทั้งยังได้รับการพัฒนาความรู้ทางด้านสุขภาพ อนามัยที่ได้จากการปฏิบัติงาน อสม. ซึ่งสามารถนำความรู้ที่ได้นี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว ชุมชนและสังคม ทั้งนี้หน่วยงานภาครัฐควรให้ความสำคัญกับการปฏิบัติงานของ อสม. อย่างจริงจังโดยเห็นว่า
1. ควรให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเข้าร่วมประสาน ปฏิบัติงานกับ อสม.อย่างสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง พร้อมทั้งติดตามการปฏิบัติงานของ อสม. แล้วให้ความรู้ คำปรึกษา ขณะปฏิบัติงาน จะทำให้ อสม.มีความมั่นใจในการปฏิบัติงานและสร้างความเชื่อถือให้กับชาวบ้านต่อ อสม.ได้
2. การอบรม อสม. ไม่ว่าจะเป็นการอบรม อสม.ใหม่หรือ การอบรมต่อเนื่องให้กับ อสม.
เก่า ควรทำโดยเน้นให้ อสม.มีคุณภาพมากที่สุด เช่นไม่รับอบรมอสม. ใหม่ทีละจำนวนมากๆ การให้การอบรมกับ อสม.เก่าก็ควรนัดหมายเวลาให้แน่นอนและทำอย่างต่อเนื่อง จะทำให้ อสม.มีความรู้ ความเข้าใจทันต่อสถานการณ์ทางด้านสุขภาพที่เป็นปัจจุบัน
106
3. ควรมีการประสานกันในทุกภาคส่วน ทั้งตัว อสม.เอง เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้อง ผู้
นำชุมชนและชาวบ้าน ส่งเสริมความสัมพันธ์เพื่อให้เกิดความร่วมมือกันในการปฏิบัติงาน
4. การสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์ ยาและเวชภัณฑ์ ควรเร่งรัดให้ทันกับความต้องการที่แท้
จริงของชาวบ้านและ อสม.ในฐานะเป็นผู้ปฏิบัติงาน เพื่อประโยชน์ในการบริการทางด้านสุขภาพ และแก้ไขปัญหาสุขภาพได้ทันต่อสถานการณ์
5. ควรมีการประชาสัมพันธ์ ชี้แจงให้แก่ประชาชนได้ทราบถึงบทบาท หน้าที่ ความสามารถ
ความรู้ที่ อสม.มีและพร้อมที่จะให้การบริการแก่ประชาชน ชุมชน สังคม ทั้งให้เห็นถึงความสำคัญของการมี อสม.ในชุมชนนั้นๆ เพื่อให้ประชาชนเกิดความเข้าใจในบทบาทที่ อสม.เป็นผู้ให้คำแนะนำทางด้านสุขภาพ
6. อสม.ต้องรู้บทบาท หน้าที่ในการปฏิบัติงานของตนเอง อย่าท้อแท้กับอุปสรรคที่เกิด
ขึ้นง่ายๆ เนื่องจากเป็นที่ประจักษ์แล้วว่าผู้ที่เป็น อสม.นั้นเป็นผู้ที่มีใจรักในงานอาสาสมัคร ทำงานอย่างเสียสละด้วยความสมัครใจ เห็นความสำคัญของประโยชน์ส่วนรวม
7. การปฏิบัติงาน อสม. นั้นถึงแม้จะเป็นงานอาสาสมัครที่โดยปกติจะต้องไม่มีค่าตอบ
แทน แต่ในความเป็นจริงแล้วควรสนับสนุนให้มีผลประโยชน์ตอบแทนในการปฏิบัติงานให้กับ อสม.เพื่อเป็นแรงจูงใจให้ อสม.ซึ่งถือว่าเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ากับสังคม รักษาให้ อสม.ได้ปฏิบัติงานเพื่อสังคมอยู่ต่อไป โดยมีการเพิ่มค่าตอบแทน เบี้ยเลี้ยงในการปฏิบัติงาน มีเงินเดือนให้ เนื่องจากการปฏิบัติงาน อสม.ก็ต้องมีค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ เช่นค่าพาหนะเดินทางไปร่วมประชุม อบรม สัมมนานอกชุมชน ค่าอาหาร เครื่องดื่ม หรืออาจอยู่ในรูปของสวัสดิการในด้านสิทธิการรักษาพยาบาล ให้กับตัว อสม. และสมาชิกในครอบครัวของ อสม. หรือรางวัลประกาศเกียรติคุณการปฏิบัติงาน การเชิดชูเกียรติในการทำงานเพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจ สร้างความศรัทราให้เกิดกับประชาชนทั่วไปจะได้เป็นที่ยอมรับแก่สังคม ซึ่งจากการศึกษาพบว่า ปัจจัยด้านผลประโยชน์ตอบแทนเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานอาสาสมัครสาธารณสุขอยู่ในระดับสูง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญกับด้านนี้อย่างมาก
107
ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรศึกษาปัจจัยอื่นที่มีผลต่อแรงจูงใจในการทำงานด้านอาสาสมัครสาธารณสุข เช่น ด้านครอบครัว คุณธรรมจริยธรรม พฤติกรรมและสังคม เพื่อนำผลที่ได้มาเป็นแนวทางในการพัฒนางานด้านอาสาสมัครสาธารณสุขให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
2.ควรศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของประชาชนต่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัคร สาธารณสุข เพื่อนำผลที่ได้ไปปรับปรุงการให้บริการด้านอาสาสมัครสาธารณสุข
3. ควรศึกษาถึงบทบาทที่เป็นจริงและบทบาทที่คาดหวังของอาสาสมัครสาธารณสุขตามการปฏิบัติงานที่เหมาะสม
บรรณานุกรม
กังสดาล สุวรรณรงศ์. การมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขในกิจกรรมศูนย์สาธารณสุข
มูลฐานชุมชน อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น.วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น,2539.
กันตยา เพิ่มพล. การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน. กรุงเทพมหานคร: ฝ่ายเอกสารและตำรา
สถาบันราชภัฏสวนดุสิต, 2541.
กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการพัฒนาสาธารณสุขเพื่อบรรลุสุขภาพดีถ้วนหน้า.อุบลราชธานี:
ยงสวัสดิการพิมพ์, 2535.
กองส่งเสริมสุขภาพ สำนักอนามัย.วันอาสาสมัครสาธารณสุขแห่งชาติของกรุงเทพมหานครประ
จำปี 2547. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด,2547.
กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. แผนยุทธศาสตร์การดำเนิน
งานสุขภาพภาคประชาชน. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2546.
กองสุขศึกษา กระทรวงสาธารณสุข. โครงการศึกษาวิจัยเพื่อประเมินผลผสส. / อสม. พ.ศ. 2520
– 2521.รายงานการศึกษาเบื้องต้น.กรุงเทพมหานคร, 2521
ชัยรัตน์ พัฒนเจริญ. การศึกษาวิจัย เรื่องการพัฒนานโยบายและแผนสาธารณสุขมูลฐานใน
ประเทศไทย.ขอนแก่น : เพ็ญพริ้นติ้ง,2538.
ธงชัย สันติวงษ์ และ ชัยยศ สันติวงษ์. พฤติกรรมบุคคลในองค์การ. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนา
พานิช, 2526.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. จิตวิทยาการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพมหานคร: สหมิตรออฟเซท,
2535.
พยอม วงศ์สารศรี. การบริหารทรัพยากรมนุษย์. ภาควิชาการจัดการ สถาบันราชภัฏสวนดุสิต,
2537.
พรนพ พุกกะพันธ์. ภาวะการเป็นผู้นำ.พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : จามจุรีโปรดักท์, 2542.
พวงเพชร วัชรอยู่. แรงจูงใจกับการทำงาน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, 2537.
วรัมพร จันทรังษี. การดำเนินงานสาธารณสุขมูลฐานเพื่อบรรลุสุขภาพดีถ้วนหน้าของ
กรุงเทพมหานคร. มปท,2541.
สุชา จันทร์เอม. จิตวิทยาทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 9 . กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช, 2543.
สุนทร คงทอง. รายงานการวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของ
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดนครสวรรค์. 2527.
จินตนา จันทร์ธาราม. ปัจจัยที่มีผลต่อความแตกต่างในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครต่อ
109
สภาวะทุพโภชนาการของเด็กวัยก่อนเรียนในเขตชุมชนแออัดของกรุงเทพมหานคร
ศึกษากรณีอาสาสมัครสาธารณสุขในเขตความรับผิดชอบของศูนย์สาธารณสุข 47 คลองขวางและ 48 นาควัชระอุทิศ. วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตร์มหาบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2534.
ชมชื่น สมประเสริฐ. รูปแบบการเสริมสร้างแรงจูงใจในการทำงานของพยาบาล. วิทยานิพนธ์
มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2542.
นาถเฉลียว ยังนันทวัฒนาและวิมลชัย คำปุ้ย. รายงานการวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการ
ปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการศูนย์เยาวชนตำบล.กองวิชาการและ
แผนงาน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย.2536.
บุญเลิศ สิริภัทรวณิช. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยจูงใจและคุณภาพชีวิตในการ
ทำงานกับคนพิการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล.วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2541.
เบญจา ยอดกำเนิด.รายงานการประเมินผลการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขโครงการ
ลำปาง: การศึกษาทางมนุษยวิทยา. กรุงเทพมหานคร : สถาบันวิจัยประชากรและสังคม
มหาวิทยาลัยมหิดล, 2522.
ประภาส ศิลปรัศมี. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน. กองวิจัยและ
ประเมินผล กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย. 2531.
ทวีทอง หงษ์วิวัฒน์. “ บทสรุปการศึกษาประเมินผลโครงการสาธารณสุขมูลฐานของไทย ” การ
ประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการพัฒนางานสาธารณสุขมูลฐาน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์
ศรีอนันต์, 2524.
ทองศรี กำภู ณ อยุธยา. องค์การ เหตุผลและกลยุทธ์ในการอยู่รอด. กรุงเทพมหานคร:
สหายบล๊อคการพิมพ์, 2533.
ยงยุทธ พีรพงศ์พิพัฒน์. ปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการทำงานในองค์การ
เอกชนแห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2538.
รัชนีพร ภู่กร. ทัศนคติของประชาชนต่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่
บ้าน ( อสม. ) อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก.วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขา
พัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2523.
เรืองโรจน์ จอมสืบ. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานอาสาพัฒนาชุมขนของผู้นำอาสาพัฒนาชุม 109
110
ชนดีเด่น ปี 2531. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาพัฒนาชุมชน บัณฑิต
วิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล. 2534.
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ.หลักการพัฒนาชุมชน : การพัฒนาชุมชนประยุกต์. กรุงเทพมหานคร : โอ
เอส พริ้นติ้งเฮาส์.2532.
วัชระ สิงหคเชนทร์และคณะ. รายงานการวิจัยเรื่อง การศึกษาการดำเนินงานสาธารณสขมูลฐาน
ในเขตเมือง.คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล,2528.
สมพงษ์ เกษมสิน. การบริหารงานบุคคลแผนใหม่. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช, 2531.
สุชาติ ประสิทธิรัฐสินธุ์และคณะ. การปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของ อสม. จังหวัดขอนแก่น.
2523.
สุวารี สุขุมาลวรรณ์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขในโครง
การสาธารณสุขมูลฐาน:ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดนครนายก.วิทยานิพนธ์ปริญญาพัฒน
บริหารศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. 2533.
สุนทร ทองคง. รายงานการวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของ
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดนครสวรรค์.2527.
อภิชาต เกตุทัต. การศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกทำงานในองค์กร
พัฒนาเอกชน ระหว่างนักพัฒนารุ่นใหม่กับนักพัฒนารุ่นเก่า : ศึกษาเฉพาะกรณี
องค์กรพัฒนาเอกชนในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล.วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,2541.
อุทุมพร ถิระธรรม.การยอมรับบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขของประชาชน ในกรุงเทพฯ.
วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์2537.
อัญชนา วงศ์ภัทรภักดี.ความสามารถในการดำเนินงานของอาสาสมัครสาธารณสุขที่ปฏิบัติงาน
ในศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารสาธารณสุข บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล,2536.
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ( 2547 ). สุขภาพ และอนามัยของชาวบ้านในท้องถิ่น อำเภอ
บ้านฝาง . รายงานการศึกษาภาคสนามของกลุ่มที่ 5 สหสาขาศึกษาเพื่อการพัฒนาชนบท.
http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~vsuntare/report/korn5.html.
สาธารณสุข,กระทรวง. ( 2547 ). ระบบสุขภาพภาคประชาชน ประชาชนเป็นศูนย์กลาง.
http://www.e-san.org/people/people011.htm
ฌาณวงศ์ บุรพัฒน์. ( 2547 ). ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข ( ชมรม อสม.).
110
111
http://203.157.19.195/th/23/vhv_healthdistric.htm
Alderfer,Harold Freed. Public Administration in Newer Nations. New York, Praeger, 1969.
Barnard. Chester I.The Function of the executive. Massachusetts:Harvard University
Prress,1972.
Hardy Richard E. and Cull John G. Applied Volunteerism in Community Development.
U.S.A. : Charler C. Thomas, 1973.
Herzberg,Frederick; Mausner,Barnard;and Synderman, Babara B. The motivation to
Work. New York :John Wiley and Sons, 1959.
Leavitt,Harold J. Managerial Psychology. 2nd ed. Chicago:University of Chicago, 1964.
Maslow, A.H. Motivation and personality. 2nd ed. New York : Harper and Row, 1970.
Mc Gregor, Douglas M. The Human Side of Enterprise. New York :Mc Graw Hill, 1960.
Morris, Marry. Voluntary Work in the Walfare State. London : C. Tinling & Co. Ltd., 1969.
Mowday,R.T.,Steer,R.W. and Porters,L.W. Employee Organization Linkage:the Psychology
of Commitment Absenteeism and Turnover.New York:Acadamic Press,1982.
Porter,Alan L. Forecasting and Management of Technology. New York: Wiley, 1991.
Robbin,Stephen P. Organization Behavior : Concepts, Controversies and Applications.
Englewood Cliff : Prentice Hall, 1993.
Vroom,Victor H. Management and Motivation, Baltimore, Penguin, 1970.
111
ภาคผนวก
108
แบบสอบถาม
เรื่อง แรงจูงใจในการทำงานของอาสาสมัครสาธารณสุข
กรุงเทพมหานคร
………………………………………………………
วัตถุประสงค์การวิจัย
1. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุข
2. เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ของปัจจัยในการทำงานกับการปฏิบัติงานของอาสาสมัคร
สาธารณสุข
3. เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคในการทำงานของอาสาสมัครสาธารณสุข ในการหาแนวทางแก้ไข ปรับปรุงงานอาสาสมัครสาธารณสุขให้เกิดความสอดคล้องของงานอาสาสมัครสาธารณสุข
คำแนะนำในการตอบแบบสอบถาม
1. แบบสอบถามชุดนี้ไม่ต้องการทราบชื่อของผู้ให้ข้อมูล เนื่องจากผู้วิจัยต้องการได้ข้อมูล
และข้อคิดเห็นโดยอิสระเต็มที่ และตรงสภาพความเป็นจริงที่ปฏิบัติ
ข้อมูลของท่านจะเป็นประโยชน์ต่อการทำงานของ อสม.
2. ผู้วิจัยขอขอบคุณในความร่วมมือตอบแบบสอบถาม
แบบสอบถามแบ่งออกเป็น 3 ตอน ดังนี้
ตอนที่ 1 เป็นคำถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
ตอนที่ 2 เป็นคำถามเกี่ยวกับปัจจัยจูงใจในการทำงานและปัจจัยที่มีผลต่อการจูงใจในการปฏิบัติงาน
ตอนที่ 3 คำถามเกี่ยวกับปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุข
109
ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
โปรดทำเครื่องหมาย 􀀗 ลงใน 􀁢 􀁣 หน้าคำตอบที่ถูกต้องของท่าน
1. เพศ ( ) ชาย ( ) หญิง
2. ปัจจุบันท่านอายุ ……….. ปี
3. ระดับการศึกษา
( ) ประถมศึกษา ( ) มัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า
( ) ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ( ) สูงกว่าปริญญาตรีขึ้นไป
4. สถานภาพสมรส
( ) โสด ( ) สมรส
( ) หม้าย / หย่า / แยก
5. ภาระในครอบครัวที่ท่านต้องรับผิดชอบ
( ) ธุรกิจในครอบครัว ( ) ดูแลผู้สูงอายุ
( ) ดูแลบุตร- หลาน ( ) อื่นๆ ระบุ ……………………
6. จำนวนบุคคลในครอบครัวที่ท่านดูแล / รับผิดชอบ …………. คน
7. รายได้ของท่าน
( ) มี จำนวน ………… บาท / เดือน
( ) ไม่มี
8. สถานภาพทางเศรษฐกิจ
( ) รายได้เพียงพอกับรายจ่าย
( ) รายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่ายแต่ไม่มีหนี้สิน
( ) รายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่ายและมีหนี้สิน
110
9. ในปัจจุบันท่านดำรงตำแหน่งหน้าที่ทางสังคมที่ช่วยเหลือในชุมชนหรือไม่
( ) มี
( ) กรรมการชุมชน ( ) กรรมการกองทุนชุมชน
( ) ตำรวจบ้าน ( ) อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน
( ) กต.ตร.สน. / กต.ตร.ชุมชน ( ) อื่นๆ ระบุ ………………………..
( ) ไม่มี
10. ท่านเคยมีประสบการณ์การทำงานในตำแหน่งต่างๆทางสังคมหรือไม่
( ) มี
( ) กรรมการชุมชน ( ) กรรมการกองทุนชุมชน
( ) ตำรวจบ้าน ( ) อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน
( ) กต.ตร.สน. / กต.ตร.ชุมชน ( ) อื่นๆ ระบุ ………………………..
( ) ไม่มี
11. บุคคลที่ชักชวนให้ท่านเป็นอาสาสมัครสาธารณสุข
( ) สมัครด้วยตนเอง ( ) เพื่อนที่เป็น อสม. ( ) เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ( ) อื่นๆ โปรดระบุ……………………
12. ก่อนที่ท่านจะมาเป็นอาสาสมัครสาธารณสุข ท่านเคยมีประสบการณ์ในการรักษาช่วยเหลือคนอื่น
( ) มี
( ) เคยให้คำแนะนำแก่เพื่อนบ้านหรือคนอื่นในการดูแลสุขภาพ
( ) เคยให้การพยาบาลดูแลคนป่วย
( ) เคยให้การรักษาโรคแผนปัจจุบันหรือแผนโบราณ
( ) อื่นๆ โปรดระบุ …………………………………
( ) ไม่มี
111
13. เหตุจูงใจที่ทำให้ท่านเข้ามาเป็นอาสาสมัครสาธารณสุข (ใส่ตัวเลขเรียงลำดับ)
( ) สมัครใจและมีใจรัก
( ) ต้องการหาประสบการณ์
( ) ต้องการช่วยเหลือสังคมและเป็นงานที่เหมาะสมกับนิสัยตนเอง
( ) ต้องการมีความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนบ้านและผู้อื่น
( ) ต้องการการยอมรับ นับถือในสังคม
( ) ต้องการได้รับสิทธิพิเศษ สวัสดิการ ประโยชน์เกื้อกูลต่างๆจากทางการ
( ) เกรงใจเจ้าหน้าที่
( ) อื่นๆ โปรดระบุ …………………………………………
14. ท่านเคยคิดที่จะลาออกจากการเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขหรือไม่
( ) เคย เพราะ …………………………………………………………
( ) ไม่เคย เพราะ ……………………………………………………...
112
ตอนที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยจูงใจในการทำงานและปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน
โปรดทำเครื่องหมาย 􀀗 ลงในช่องระดับความคิดเห็นเพียงคำตอบเดียวในแต่ละข้อ
ระดับความคิดเห็น
ข้อความ
มากที่สุ
มาก
ปานกลาง
น้อย
น้อยที่สุด
คำถามเกี่ยวกับการได้รับการยอมรับนับถือ
1. ในชุมชนที่ท่านรับผิดชอบอยู่ ชาวบ้านส่วนมากจะรับบริการสาธารณสุขขั้นแรกจากท่าน
2. ชาวบ้านในชุมชนยินดีที่จะรับคำแนะนำทางด้านสุขภาพจากท่าน
3. ชาวบ้านในชุมชนท่าน ให้การยกย่อง ชมเชยท่านเมื่อท่านสามารถให้ความช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหาสุขภาพ
4. ผู้นำชุมชนให้ความร่วมมือกับท่านในการปฏิบัติงานเป็นอย่างดี เมื่อท่านได้เป็นผู้นำจัดการประชุมเกี่ยวกับงานสาธารณสุข
5. ท่านได้รับการยกย่อง และให้กำลังจากผู้นำชุมชน เมื่อท่านปฏิบัติงาน อสม.บรรลุผลสำเร็จ
6. เมื่อท่านมีปัญหาในการปฏิบัติงาน อสม. เพื่อน อสม.ของท่านจะคอยให้กำลังใจกับท่าน
7. เพื่อน อสม. ของท่านชมเชยและแสดงความยินดีกับท่าน เมื่อท่านปฏิบัติงาน อสม. บรรลุผลสำเร็จ
8. เจ้าหน้าที่สาธารณสุขยกย่อง ชมเชยในการปฏิบัติ อสม.ของท่าน
113
ระดับคิดเห็น
ข้อความ
มากที่สุด
มาก
ปานกลาง
น้อย
น้อยที่สุด
9. การที่ท่านได้รับประกาศนียบัตร หรือ
เข็มชิดชูเกียรติในการทำงาน เป็นสิ่งที่น่าภูมิใจสำหรับท่านและผู้อื่น
10.ท่านรู้สึกภูมิใจที่ได้เป็น อสม. เพราะ
เป็นงานที่มีเกียรติและมีชื่อเสียง
คำถามเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างอสม.กับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และอสม.กับอสม.
1. เมื่อท่านมีปัญหาทางสุขภาพที่ไม่
สามารถช่วยตนเองได้ ท่านไปรับบริการที่ศูนย์สาธารณสุข
2. เมื่อท่านไปรับบริการที่ศูนย์สาธารณสุข เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ไม่มีความกระตือรือร้นให้ความช่วยเหลือให้ท่านได้รับความสะดวก
3. เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเป็นมิตร ทักทายและเป็นกันเองกับท่าน เมื่อพบท่านในระหว่างที่ไม่ได้เข้ามานิเทศงานหรือติดตามเยี่ยมบ้าน
4. เมื่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุขนำเรื่องต่างๆมาขอความร่วมมือจากท่าน ท่านเต็มใจและให้ความช่วยเหลือทุกอย่าง
5. ท่านรู้จักกับ อสม. ในชุมชนเดียวกับท่านทุกคนเป็นอย่างดี
6. ท่านรู้จักกับอสม. ในชุมชนใกล้เคียงกับท่านเป็นส่วนมากอย่างดี
114
ระดับคิดเห็น
ข้อความ
เห็นด้วยอย่างยิ่ง
เห็นด้วยมาก
เห็นด้วย
ปานกลาง
เห็นด้วยน้อย
ไม่เห็นด้วย
7. ระหว่างท่านกับ อสม.คนอื่นในชุมชน
ไม่เคยพูดคุยและช่วยเหลือกันเลยในปัญหาทางสาธารณสุข
8. ท่านเข้าร่วมกิจกรรมของ อสม. เสมอ
9. ท่านมีเพื่อน อสม. มากขึ้น
10. เพื่อน อสม. ทำให้ท่านรู้สึกเบื่อหน่ายเมื่อต้องเข้าร่วมปฏิบัติงาน
11. ท่านและเพื่อน อสม. พบปะสังสรรค์ในงานสังคมต่างๆนอกเหนือจากงาน อสม.
คำถามเกี่ยวกับผลประโยชน์ตอบแทน
1. ท่านได้นำความรู้ในการเป็น อสม. มาใช้กับตนเองและครอบครัว
2. ท่านเป็นที่ยอมรับเชื่อถือของชาวบ้านและได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ทำประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม
3. การได้รับสิทธิรักษาพยาบาลฟรี ทำให้ท่านมั่นใจ และรู้สึกปลอดภัยว่าเมื่อเกิดการเจ็บป่วยจะได้รับการรักษาพยาบาลเป็นอย่างดี
4. บัตรประจำตัว อสม. มีประโยชน์สำหรับท่านในการติดต่อหน่วยงานทางด้านสุขภาพอนามัย
5. การเป็น อสม. จะช่วยให้ได้รับความสะดวกในการไปรับบริการรักษาพยาบาลจากเจ้าหน้าที่ในสถานพยาบาล
115
ระดับความคิดเห็น
ข้อความ
เห็นด้วยอย่างยิ่ง
เห็นด้วยมาก
เห็นด้วย
ปานกลาง
เห็นด้วยน้อย
ไม่เห็นด้วย
6. ประกาศบียบัตร อสม. และบัตรประจำตัว อสม.ที่ท่านได้รับเป็นสิ่งจำเป็นในการปฏิบัติงาน อสม.
7. เข็มเชิดชูเกียรติในการทำงาน อสม. มีคุณค่าสำหรับท่าน
8. อสม. ควรได้รับเงินเดือนหรือเบี้ยเลี้ยงตอบแทนในการปฏิบัติงาน
9. ท่านภูมิใจที่เป็น อสม. เพราะได้ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์
10. หน่วยงานภาครัฐควรเพิ่มผลประโยชน์ตอบแทน เช่นสิทธิการรักษาพยาบาลสมาชิกในครอบครัว เบี้ยเลี้ยงเพื่อเป็นกำลังใจในการทำงาน
11. อสม. ควรทำงานต่อไปถึงแม้ว่าจะไม่ได้รับสิ่งตอบแทนจากหน่วยงานภาครัฐ
คำถามเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน
1. ท่านสามารถเดินทางไปปฏิบัติงานที่ศูนย์สุขภาพชุมชนของท่านได้อย่างสะดวก
2. ศูนย์สุขภาพชุมชนของท่านมีบรรยากาศที่ดี เช่น แสง อากาศถ่ายเทสะดวก เหมาะสำหรับการเข้าเวรปฏิบัติงาน
3. การเข้าเวรปฏิบัติงานที่ศูนย์สุขภาพชุมชนระยะเวลา 4 ชม. / วัน ( 09.00 น. – 13.00 น. ) เป็นระยะเวลาที่เพียงพอ
116
ระดับความคิดเห็น
ข้อความ
เห็นด้วยอย่างยิ่ง
เห็นด้วยมาก
เห็นด้วย
ปานกลาง
เห็นด้วยน้อย
ไม่เห็นด้วย
4. ท่านได้ใช้ยาในกระเป๋ายา – ตู้ยา และเวชภัณฑ์อื่นๆ เช่น ปรอท อุปกรณ์ทำแผล ที่ชั่งน้ำหนัก เครื่องวัดความดัน ในการปฏิบัติงานที่ศูนย์สุขภาพชุมชนของท่าน
5. ท่านสามารถหาสิ่งของ อุปกรณ์เครื่องใช้ในการปฏิบัติงานในศูนย์สุขภาพชุมชนของได้เป็นอย่างดี เนื่องจากได้จัดไว้อย่างเป็นระเบียบ
6. ท่านได้ออกไปปฏิบัติงาน อสม. นอกศูนย์สุขภาพชุมชนของท่านอยู่เสมอ
7. การเดินทางออกไปปฏิบัติงาน อสม.
ภายนอกศูนย์สุขภาพชุมชน เช่นการติดตามดูแล เยี่ยมไข้ผู้ป่วยในชุมชนที่ท่านรับผิดชอบ ทำให้ท่านรู้สึกไม่สะดวกที่จะเดินทาง
8. การเดินทางไปร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวกับงาน อสม. นอกเหนือจากการปฏิบัติงานในชุมชน เช่นการประชุม อบรมสัมมนาต่างๆ ทำให้ท่านรู้สึกสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายและเสียเวลาเดินทาง
117
ระดับความคิดเห็น
ข้อความ
เห็นด้วยอย่างยิ่ง
เห็นด้วยมาก
เห็นด้วย
ปานกลาง
เห็นด้วยน้อย
ไม่เห็นด้วย
คำถามเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านสาธารณสุข
1. ความรู้ที่ท่านได้รับจากการอบรมปฐมนิเทศทำให้ท่านปฏิบัติงานได้อย่างมั่นใจ
2. ความรู้ที่ท่านได้รับจากการอบรม
ปฐมนิเทศ ในเรื่องต่างๆที่จัดให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับการปฏิบัติงาน
อสม.
3. ท่านคิดว่าระยะเวลาที่ใช้ในการอบรมปฐมนิเทศ เมื่อพิจารณาร่วมกับเนื้อหาที่ได้รับมีความเหมาะสมดี
4. การอบรมฟื้นฟูสามารถช่วยท่านในการปฏิบัติงานได้
5. เจ้าหน้าที่สาธารณสุขมาให้คำแนะนำ เสนอแนะหรือแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานแก่ท่านอยู่เสมอ
6. ท่านได้รับความรู้เพิ่มขึ้นจากการเยี่ยมนิเทศงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
7. การที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขมาเยี่ยมและให้คำแนะนำ เสนอแนะหรือแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานแก่ท่าน ท่านสามารถนำไปใช้ปฏิบัติงานตามหน้าที่อสม.ได้
118
ระดับความคิดเห็น
ข้อความ
เห็นด้วยอย่างยิ่ง
เห็นด้วยมาก
เห็นด้วย
ปานกลาง
เห็นด้วยน้อย
ไม่เห็นด้วย
8. ในการมานิเทศงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เมื่อท่านได้เสนอแนะบางสิ่ง หรือแสดงความคิดเห็นในการปฏิบัติงาน เจ้าหน้าที่รับฟังและยอมรับท่าน
9. การติดตามนิเทศงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขไม่มีประโยชน์และเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นสำหรับท่าน
10. การติดตามนิเทศงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอย่างสม่ำเสมอจะทำให้การปฏิบัติงาน อสม.ของท่านประสบผลสำเร็จ
11.เมื่อท่านเกิดปัญหาในการปฏิบัติงาน อสม. ท่านได้อ่านคู่มือประกอบตลอด
12. คู่มือประกอบการปฏิบัติงานที่ได้รับแจก เมื่อท่านอ่านแล้วท่านรู้สึกว่ายาก อ่านแล้วไม่ค่อยเข้าใจ
13.ยาและเวชภัณฑ์ประจำศูนย์สุขภาพชุมชนที่ท่านได้รับมาเพื่อการปฏิบัติงาน อสม.นั้นมีใช้ในยามจำเป็นเพียงพอ
14. ท่านเห็นสมควรที่จะต้องบันทึกรายงานการปฏิบัติงาน อสม.ลงในสมุดบันทึกรายงานการปฏิบัติงานทุกครั้งที่ท่านปฏิบัติงาน
15. การบันทึกผลการปฏิบัติงานตามแบบบันทึกผลการปฏิบัติงานเป็นการยุ่งยากสำหรับท่าน
119
ระดับความคิดเห็น
ข้อความ
เห็นด้วยอย่างยิ่ง
เห็นด้วยมาก
เห็นด้วย
ปานกลาง
เห็นด้วยน้อย
ไม่เห็นด้วย
คำถามเกี่ยวกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานอาสาสมัครสาธารณสุข
1. ท่านทำงานอสม.เพราะมีใจรัก
2. งานอสม.ทำให้มีความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น
3. งานอสม.เป็นงานที่มีประโยชน์ต่อส่วนรวม
4. งานอสม.ทำให้ท่านได้รับการยกย่องชื่นชมจากบุคคลอื่น
5. งานอสม.ทำให้ท่านรู้สึกมีคุณค่า
ตอนที่ 3 ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุข
ในการปฏิบัติงานอาสาสมัครสาธารณสุข ท่านมีปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงาน คือ…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
ท่านมีข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหา อุปสรรคในการปฏิบัติงานอาสาสมัครสาธารณสุข คือ………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………
ขอขอบคุณในความร่วมมือ และเสียสละเวลาตอบแบบสอบถาม
นางสาวเอกมน โลหะญาณจารี
ผู้วิจัย
120
รายนามผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเครื่องมือ
1. ดร. มุกข์ดา ผดุงยาม
ปริญญาเอกจิตวิทยาการให้คำปรึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒน์
ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาพยาบาล
2. นายเกรียงศักดิ์ ศรีรัตน์
ครุศาสตร์มหาบัณฑิต บริหารอาชีวศึกษา
อาจารย์ 2 ระดับ 7 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพัทลุง
3. นางสาวเอกสุดา ธีรเนตร
พยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์ วชิรพยาบาล
พยาบาลวิชาชีพ 7 วช. รองหัวหน้าพยาบาลศูนย์สาธารณสุข
รับผิดชอบงานสาธารณสุขมูลฐานและอาสาสมัครสาธารณสุข
121
ประวัติผู้วิจัย
ชื่อ นางสาวเอกมน โลหะญาณจารี
วัน เดือน ปีเกิด 7 พฤศจิกายน 2514
สถานที่เกิด สุราษฎร์ธานี
ประวัติการศึกษา ศิลปศาสตรบัณฑิต
สถาบันราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ตำแหน่งและสถานที่ทำงาน
อสม.ศูนย์สาธารณสุขที่ 26 เจ้าคุณพระประยุรวงศ์ พ.ศ.2540-ปัจจุบัน
เลขานุการชุมชนโรงคราม พ.ศ.2540-ปัจจุบัน
วิทยากรกระบวนการ
แผนแม่บทชุมชนพึ่งตนเอง พ.ศ.2544-พ.ศ.2546
ประธานกองทุนชุมชนโรงคราม พ.ศ.2545-ปัจจุบัน
กต.ตร.สน.บุปผาราม พ.ศ.2547-ปัจจุบัน
129
ประวัติผู้วิจัย
ชื่อ นางสาวเอกมน โลหะญาณจารี
วัน เดือน ปีเกิด 7 พฤศจิกายน 2514
สถานที่เกิด สุราษฎร์ธานี
ประวัติการศึกษา ศิลปศาสตรบัณฑิต
สถาบันราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ตำแหน่งและสถานที่ทำงาน
อสม.ศูนย์สาธารณสุขที่ 26 เจ้าคุณพระประยุรวงศ์ พ.ศ.2540-ปัจจุบัน
เลขานุการชุมชนโรงคราม พ.ศ.2540-ปัจจุบัน
วิทยากรกระบวนการ
แผนแม่บทชุมชนพึ่งตนเอง พ.ศ.2544-พ.ศ.2546
ประธานกองทุนชุมชนโรงคราม พ.ศ.2545-ปัจจุบัน
กต.ตร.สน.บุปผาราม พ.ศ.2547-ปัจจุบัน

แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุข เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร (ตอนที่ 1)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น