วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

พฤติกรรมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของวัยรุ่น (ตอนที่ 1)



พฤติกรรมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของวัยรุ่น : กรณีศึกษา
นักเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษา
ในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มสหวิทยาเขตบรมราชชนนี 1
BEHAVIOUR OF ADOLESCENTS TOWARD ENVIRONMENTAL
PRESERVATION : A CASE STUDY OF STUDENTS IN
BAROMRACHCHONNANEE 1 GROUP UNDER THE DEPARTMENT OF GENERAL EDUCATION IN BANGKOK
วิทยานิพนธ์
ของ
นายเจริญจิต ลีภัทรพณิชย์
เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตาม
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
ปีการศึกษา 2545
ISBN : 974-373-191-1
ลิขสิทธิ์เป็นของสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ตามหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
ปีการศึกษา 2545
วิทยานิพนธ์ พฤติกรรมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของวัยรุ่น :
กรณีศึกษานักเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร
กลุ่มสหวิทยาเขตบรมราชชนนี 1
โดย นายเจริญจิต ลีภัทรพณิชย์
สาขาวิชา สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
อาจารย์ที่ปรึกษา รศ.ดร.สิทธิชัย ตันธนะสฤษดิ์
อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม รศ.ดร.นงลักษณ์ เทพสวัสดิ์
อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม ผศ.บุปผา แช่มประเสริฐ
บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา อนุมัติให้วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของ
การศึกษาตามหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
………………………………………………………. คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
(รองศาสตราจารย์ นันทา วิทวุฒิศักดิ์)
วันที่ …… เดือน ……………… พ.ศ. ………
คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์
……………………………………………………….. ประธานกรรมการ
(ศาสตราจารย์ ดร.สายหยุด จำปาทอง)
…………………………………………………..…… กรรมการ
(รองศาสตราจารย์ ดร.สิทธิชัย ตันธนะสฤษดิ์)
…………………………………………………..…… กรรมการ
(รองศาสตราจารย์ ดร.นงลักษณ์ เทพสวัสดิ์)
…………………………………………………..…… กรรมการ
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บุปผา แช่มประเสริฐ)
…………………………………………………..…... กรรมการ
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุพิศวง ธรรมพันทา)
…………………………………………………..…… กรรมการและเลขานุการ
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สมชาย พรหมสุวรรณ)
ลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

เจริญจิต ลีภัทรพณิชย์. (2545). พฤติกรรมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของวัยรุ่น : กรณีศึกษานักเรียน
มัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มสหวิทยาเขตบรมราชชนนี 1

วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต. กรุงเทพ : บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.คณะกรรมการควบคุม รศ.ดร.สิทธิชัย ตันธนะสฤษดิ์
รศ.ดร.นงลักษณ์ เทพสวัสดิ์
ผศ.บุปผา แช่มประเสริฐ
การศึกษาพฤติกรรมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของวัยรุ่น : กรณีศึกษานักเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มสหวิทยาเขตบรมราชชนนี 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของวัยรุ่นและปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของวัยรุ่น
กลุ่มตัวอย่างที่ทำการศึกษาเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดกรมสามัญศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มสหวิทยาเขตบรมราชชนนี 1 จำนวน 271 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และการหาค่าสหสัมประสิทธิ์สัมพันธ์ของเพียร์สัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC+ ในการประมวลผล
ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของวัยรุ่นที่พบว่ามีค่าอยู่ในระดับ
ปานกลาง ได้แก่ การรับรู้ข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของวัยรุ่นที่พบว่ามีค่าอยู่ในระดับสูง ได้แก่ เจตคติเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยผลจากการทดสอบสมมติฐานพบว่า ตัวแปรเพศของนักเรียนที่มีความแตกต่างกันไม่มีผลทำให้พฤติกรรมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแตกต่างกัน ส่วนตัวแปรความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่มีความแตกต่างกันมีผลทำให้พฤติกรรมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแตกต่างกัน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในระดับที่สูง การรับรู้ข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในระดับมาก และเจตคติเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ดี ล้วนแล้วแต่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมของวัยรุ่นที่มีต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

Charoenchit Leepattarapanich. (2002). Behaviour of Adolescents toward Environmental
Preservation : A case study of students in Baromrachchonnanee 1 group under
the Department of General Education in Bangkok.
Advisor committee:
Associate Professor Dr.Sittichai Tantanasarit
Associate Professor Dr.Nongluksana Thepsawasdi
Assistant Professor Boobpha Champrasert
The aim is to study the behaviour of adolescents toward environmental preservation and the factors that influenced their behaviour.
The samples were 271 students in six schools in the department of General Education. The instrument used for data collection was questionnaires and analysed by statistical method including the use of Percentage , Mean , Standard Diviation , t-test , Pearson Correlation and SPSS/PC Plus. The hypothesis was tested at a level significant of 0.05.
1 ) Students’ exposure to environmental preservation news media and their
preservation understanding are at medium.
2 ) Students’ preservation attitude and behaviour are at high level.
3 ) There is no significant difference in male or female’s respond.
4 ) There is a difference in students’ preservation knowledge and behaviour.
5 ) There is a positive correlation among students’ high degree of academic
learning , exposure to preservation news media and preservation behaviour.
กิตติกรรมประกาศ

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้สำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ได้ด้วยความกรุณาเป็นอย่างยิ่งจากอาจารย์ที่ปรึกษา
วิทยานิพนธ์คือ รศ.ดร.สิทธิชัย ตันธนะสฤษดิ์ รศ.ดร.นงลักษณ์ เทพสวัสดิ์ และผศ.บุปผา แช่มประเสริฐ ที่ได้
กรุณาให้คำแนะนำ ข้อคิด ตลอดจนการตรวจทานแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ
จนทำให้งานวิจัยชิ้นนี้สำเร็จสมบูรณ์ ผู้วิจัยรู้สึกซาบซึ้งในพระคุณและความกรุณาที่ทุกท่านได้มอบให้เป็นอย่างยิ่ง
อีกทั้งใคร่ขอกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการในการสอบวิทยานิพนธ์ในครั้งนี้
คือ ศ.ดร.สายหยุด จำปาทอง ผศ.สุพิศวง ธรรมพันทา และผศ.สมชาย พรหมสุวรรณ ด้วยความเคารพอย่างสูง
ขอกราบขอบพระคุณ ดร.ทวิช บุญธิรัศมี (ประธานหลักสูตร) และคณาจารย์ในสาขาสังคมศาสตร์เพื่อ
การพัฒนาทุกท่านที่ได้อบรมกล่อมเกลาและประสิทธิประสาทวิชาให้แก่ผู้วิจัย อันนำมาซึ่งองค์รวมของความคิดที่
เป็นระบบ ดังคำกล่าวที่ว่า “การพัฒนาต้องเริ่มจากที่ตัวคนเป็นหลัก และเมื่อ
คนพัฒนาแล้วส่วนอื่น ๆ ก็จะดีขึ้นตามมา” โดยผู้วิจัยขอสัญญาว่า จะนำความรู้ที่ได้รับมาพัฒนาและต่อยอด เพื่อ
ประโยชน์แก่มวลรวมและประเทศชาติต่อไป
ขอขอบพระคุณท่านผู้อำนวยการ อาจารย์ใหญ่ และคณาจารย์ของโรงเรียนกลุ่มตัวอย่างในสังกัดกรม
สามัญศึกษาทุกท่านที่กรุณาให้ความอนุเคราะห์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล และขอขอบคุณนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
3 ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างทุกท่านที่ได้ให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถามเป็นอย่างดี
ขอขอบพระคุณ คุณธวัชชัย จรณะกรัณย์ (ประธานคณะกรรมการบริหาร) ผู้บังคับบัญชา ผู้ซึ่งให้ความ
รักความเมตตาและให้การสนับสนุนผู้วิจัยทั้งในด้านหน้าที่การงานและด้านการศึกษามาโดยตลอด และขอ
ขอบพระคุณ คุณศุภนัฐ หาญเลิศประเสริฐ คุณวิยะดา เรืองฤทธิ์ และคุณเยาวลักษณ์ ทองอุ่มใหญ่ รวมทั้งเพื่อน
ๆ สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา รุ่นที่ 2 ที่เป็นกำลังใจและให้คำแนะนำในการศึกษาและการทำวิจัยจนสำเร็จลุล่วง
ด้วยดี
ขอขอบพระคุณ คุณยาย คุณลุง คุณป้า บิดา มารดา และน้องสาวอันเป็นที่รักทั้ง 2 คน ที่ให้ความเอื้อ
อาทรและเป็นกำลังใจให้แก่ผู้วิจัยตลอดมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คุณยายและคุณป้า ผู้ซึ่งเป็นผู้จุดประกายและ
สร้างความฝันแก่ผู้วิจัยที่จะได้มีโอกาสเข้าได้รับการศึกษาในระดับปริญญาโทนับตั้งแต่วัยเยาว์

ท้ายสุดนี้ คุณค่าและประโยชน์ที่เกิดจากวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ผู้วิจัยขอมอบแด่บุพการี ครู อาจารย์ ผู้
บังคับบัญชา ตลอดจนผู้มีพระคุณทุก ๆ ท่านที่มิได้กล่าวถึงในที่นี้ ด้วยความเคารพยิ่ง
เจริญจิต ลีภัทรพณิชย์

สารบัญ
หน้า
กิตติกรรมประกาศ…………………………………………………………………………... ค
บทคัดย่อภาษาไทย…………………………………………………………………………. จ
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ……………………………………………………………………… ฉ
สารบัญเรื่อง………………………………………………………………………………… ช
สารบัญตาราง………………………………………………………………………………. ฌ
สารบัญแผนภาพ……………………………………………………………………………. ญ
บทที่ 1 บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา………………………………………… 1
วัตถุประสงค์ของการวิจัย…………………………………………………………. 4
ขอบเขตของการวิจัย……………………………………………………………… 4
นิยามศัพท์เฉพาะ…………………………………………………………………. 5
ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย…………………………………………………………….. 6
สมมติฐานการวิจัย………………………………………………………………... 6
กรอบแนวคิดในการวิจัย…………………………………………………………... 7
ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย…………………………………………………….. 10
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
แนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรม………………………………………………………... 11
แนวคิดเกี่ยวกับวัยรุ่น……………………………………………………………... 20
แนวคิดเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม………………………………………….. 34
แนวคิดทฤษฎีการสื่อสาร…………………………………………………………. 46
แนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้………………………………………………………….. 50
แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ…………………………………. 51
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง………………………………………………….. 54

สารบัญ (ต่อ)
หน้า
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
การกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง…………………………………………... 60
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย………………………………………………………….. 61
การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย………………………………………………… 63
การเก็บรวบรวมข้อมูล……………………………………………………………. 65
การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์………………………………… 66
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ข้อมูลทั่วไป……………………………………………………………………….. 68
การหาค่าระดับตัวแปร…………………………………………………………… 72
การทดสอบสมมติฐาน…………………………………………………………… 73
การหาความสัมพันธ์ของตัวแปรต่าง ๆ กับพฤติกรรมของวัยรุ่นที่มีต่อ
การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม…………………………………………………………... 74
ข้อเสนอแนะจากแบบสอบถาม…………………………………………………... 75
บทที่ 5 สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
สรุปผลการวิจัย………………………………………………………………….. 78
อภิปรายผลการวิจัย…………………………………………………………….. 79
ข้อเสนอแนะ…………………………………………………………………….. 84
บรรณานุกรม………………………………………………………………………………………… 87
ภาคผนวก
ภาคผนวก ก…………………………………………………………………….. 93
ภาคผนวก ข……………………………………………………………………… 98
ประวัติผู้วิจัย………………………………………………………………………………. 106

สารบัญตาราง
หน้า
ตารางที่ 1 แสดงสถิติการผลิตพลังไฟฟ้าและพลังงานไฟฟ้าของ
ประเทศไทย ปีงบประมาณ 2538-2544………………………………... 42
ตารางที่ 2 แสดงการพยากรณ์การผลิตพลังไฟฟ้าและพลังงานไฟฟ้าของ
ประเทศไทย ปีงบประมาณ 2545-2549…………………………….….. 43
ตารางที่ 3 แสดงสถิติการผลิตน้ำประปาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ปีงบประมาณ 2536-2540……………………………………………… 44. ตารางที่ 4 แสดงจำนวนประชากรที่เป็นกลุ่มตัวอย่างในแต่ละสถานศึกษา………... 61
ตารางที่ 5 แสดงจำนวนแบบสอบถามที่ได้รับคืนจากแต่ละสถานศึกษา…………… 68ตารางที่ 6 แสดงข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง……………………………………… 69
ตารางที่ 7 แสดงค่าระดับตัวแปรพฤติกรรมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของวัยรุ่น…... 72
ตารางที่ 8 แสดงค่าความแตกต่างของตัวแปรเพศนักเรียนกับพฤติกรรม
ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม……………………………………………….. 73
ตารางที่ 9 แสดงค่าสหสัมพันธ์ของตัวแปรพฤติกรรมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ของวัยรุ่น………………………………………………………………… 74
ตารางผนวกที่ 1 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ยของการตอบแบบสอบถามในส่วนที่ 2
การรับรู้ข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม..……………………………. 93ตารางผนวกที่ 2 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ยของการตอบแบบสอบถามในส่วนที่ 3
ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม…………………………………. 94ตารางผนวกที่ 3 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ยของการตอบแบบสอบถามในส่วนที่ 4
ทัศนคติเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม………………………………… 95ตารางผนวกที่ 4 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ยของการตอบแบบสอบถามในส่วนที่ 5
พฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม……………………………………….. 97

สารบัญแผนภาพ
หน้า
ภาพที่ 1 กรอบแนวคิดในการวิจัย…………………………………………………….. 9
ภาพที่ 2 แผนภูมิแสดงสิ่งที่กำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ของณรงค์ สินสวัสดิ์……… 17
ภาพที่ 3 แบบจำลองการสื่อสารของเบอร์โล………………………………………….. 50
ภาพที่ 4 แบบจำลองทฤษฎีเกี่ยวกับความขัดแย้งทางความคิดของเฟสทินเกอร์…….. 52

ประวัติผู้วิจัย
ชื่อ – นามสกุล นายเจริญจิต ลีภัทรพณิชย์
วัน/เดือน/ปีเกิด 2 พฤษภาคม 2514
สถานที่เกิด กรุงเทพมหานครฯ
ประวัติการศึกษา
พ.ศ.2531-2533 อนุปริญญา ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาธุรกิจการท่องเที่ยว
วิทยาลัยครูธนบุรี
พ.ศ.2533-2535 ปริญญาตรี ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป
วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
พ.ศ.2542-2545 ปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ประวัติการทำงาน
พ.ศ.2532-2535 หัวหน้ามัคคุเทศก์
บริษัท ซีทราน ทราเวิล จำกัด
ถนนเชื้อเพลิง เขตคลองเตย กรุงเทพฯ
พ.ศ.2535-2536 ผู้ช่วยผู้จัดการ
นิติบุคคลอาคารชุด เพรสทีจ ทาวเวอร์ส คอนโดมิเนียม
ถนนสุขุมวิท เขตคลองเตย กรุงเทพฯ
พ.ศ.2536-2537 ผู้จัดการ
นิติบุคคลอาคารชุด เดอะ วอเตอร์ฟอร์ด รอยัล สูท
ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ
พ.ศ.2542-2543 ที่ปรึกษาด้านการบริหารการจัดการอาคาร
บริษัท ซี.บี.โฮลดิ้ง จำกัด (ในกลุ่มบริษัท บุญรอด บริวเวอรี่ จำกัด)
ถนนอำนวยสงคราม เขดดุสิต กรุงเทพฯ
พ.ศ.2537-ปัจจุบัน ผู้จัดการ
นิติบุคคลอาคารชุด รัตนโกสินทร์ วิว แมนชั่น
ถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า เขตบางพลัด กรุงเทพฯ


บทที่ 1
บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
มนุษย์กับสิ่งแวดล้อมนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่นนับตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน
ในอดีตปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมยังไม่ปรากฏมากนัก เนื่องจากผู้คนในสมัยนั้นมีชีวิตอยู่ภายใต้อิทธิพลของธรรมชาติ ความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมจึงเป็นไปในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป และธรรมชาติสามารถปรับดุลยภาพของมันเองได้ (โกสินทร์ รังสยาพันธ์, 2521 : 1) แต่นับจากหลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจแบบทุนนิยมได้แพร่กระจายเข้าไปในประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศในโลกที่สาม ส่งผลให้ประเทศต่าง ๆ เหล่านั้นใช้ยุทธศาสตร์การพัฒนาแนวเดียวกันกับสังคมอุตสาหกรรมตะวันตก ยังผลให้เกิดความสำเร็จในการขยายตัวทางเศรษฐกิจขึ้นในระดับหนึ่งทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยของแต่ละประเทศ แต่ปรากฏว่า ในการขยายตัวทางเศรษฐกิจดังกล่าว คุณภาพชีวิตของประชาชนส่วนใหญ่กลับไม่ได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นเท่าที่ควร ความยากจนของประชาชนยังคงดำรงอยู่อย่างกว้างขวาง ที่สำคัญคือ คุณภาพของสิ่งแวดล้อมได้ตกอยู่ในสภาพที่ค่อนข้างเลวร้าย เนื่องจากได้ถูกทำลายเพื่อนำมาเป็นวัตถุดิบสนองความต้องการในการบริโภคอย่างฟุ่มเฟือยและรวดเร็ว เทคโนโลยีต่าง ๆ ได้ถูกประดิษฐ์และค้นคิดขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ (โกวิทย์ พวงงาม, 2541 : 21) สำหรับประเทศไทย การพัฒนาเศรษฐกิจแบบอุตสาหกรรมก็ได้คืบคลานเข้ามาในสังคมของเราเช่นกัน วัตถุประสงค์หลักก็คือ เพื่อต้องการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้มีความเจริญทางด้านวัตถุและทันสมัยบริโภคนิยมตามแบบตะวันตก เจตคติของชาวพุทธที่เน้นในเรื่องความรักและความห่วงใยในธรรมชาติได้ถูกผลักดันให้หลุดออกไปจากโครงสร้างจิตสำนึก ความคิดและวิธีคิดที่จะเอาเปรียบหรือทำลายธรรมชาติเพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจได้เข้ามาแทนที่ การทำลายล้างเผาผลาญธรรมชาติในนามของ “การพัฒนา” ได้ขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว (ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์ และคณะ, 2542 : 2)
2
การพัฒนาเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา ได้สร้างความเจริญทางวัตถุให้แก่ประเทศไทยเป็นอย่างมาก อาทิ ความเจริญก้าวหน้า ความทันสมัยสะดวกสบาย ความรวดเร็วในการรับข่าวสาร
และความรู้เท่าทันของคนในชาติ ซึ่งส่งผลให้ประเทศได้รับการพัฒนาให้ทัดเทียมกับประเทศต่าง ๆ
แต่ในขณะเดียวกันคุณภาพของชีวิตและสิ่งแวดล้อมก็ได้ถูกทำลายลงไปอย่างมากเช่นเดียวกัน โดย เฉพาะอย่างยิ่งในระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา การพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรมและการพัฒนาเมืองได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติได้ถูกใช้ไปอย่างขาดความตระหนัก ดังที่
ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์ และคณะ (2542 : 3-4) ได้กล่าวถึงระบบการพัฒนาของประเทศไทยในช่วงเกือบ 4 ทศวรรษที่ผ่านมาว่า มีการประเมินค่าของธรรมชาติต่ำมาก มนุษย์มีอำนาจเหนือธรรมชาติ
โดยธรรมชาติมีไว้เพื่อประโยชน์ทางการผลิตและธุรกิจ และความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมีความสำคัญกว่าการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การใช้ทรัพยากรธรรมชาติจึงเป็นไปในลักษณะที่
สิ้นเปลืองเป็นอย่างมาก ปัจจัยต่าง ๆ ดังกล่าวมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมให้มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจไม่ใช่เพียงเฉพาะประเทศไทย แต่กระบวนการเหล่านี้ได้เกิดขึ้นทั่วโลกอย่างไม่มีขีดจำกัด เป็นเหตุให้เมื่อเวลาผ่านไป “ยิ่งพัฒนาสิ่งแวดล้อมยิ่งถูกทำลาย ทรัพยากรธรรมชาติยิ่งเสื่อมโทรม” ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ก็ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ส่วนปัญหาที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนก็ได้ปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัด อาทิ ปรากฏการณ์เอลนิโญ่ หรือปรากฏการณ์ “ธรรมชาติผิดปกติ” ที่มีผลทำให้สภาวะอากาศวิปริตแปรปรวนอย่างรุนแรง ซึ่งจากการศึกษาของ มิเชล คอฟลัน (องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก) (“7 วันรอบโลก” 2545, ออนไลน์) พบว่า ในปี พ.ศ.2540 - 2541 ปรากฏการณ์เอลนิโญ่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่เศรษฐกิจโลกถึง 1,496,000 ล้านบาท ผู้คนล้มตายกว่า 24,000 คน และไร้ที่อยู่อาศัยอีกกว่า 6 ล้านคน รวมถึงคาดการณ์ว่าในปี พ.ศ.2545 ปรากฏการณ์เอลนิโญ่จะรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่ พ.ศ.2540 ทั้งนี้เนื่องจากน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิกแถบเส้นศูนย์สูตรได้มีอุณหภูมิสูงขึ้นนับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2544 ซึ่งสอดคล้องกับที่ ประพันธ์ศักดิ์ บูรณะประภา ได้กล่าวถึงปัญหาภาวะอุณหภูมิของโลกที่ร้อนขึ้นว่า อุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิกได้สูงขึ้นกว่าเดิมถึง 6 องศาเซลเซียส อันมีผลทำให้เกิดปรากฏการณ์น้ำแข็งที่ขั้วโลกใต้ละลายอย่างเป็นวงกว้าง ซึ่งปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนมีผลกระทบและจะก่อให้เกิดภัยพิบัติแก่มนุษย์ ดังที่ ปรีชา
เปี่ยมพงศ์สานต์ และคณะ (2542 : 2) ได้กล่าวถึงความรุนแรงของปัญหาสิ่งแวดล้อมของโลกว่า มีความเป็นห่วง และกังวลกันเป็นอย่างมากว่าในอนาคตภาวะการณ์สิ่งแวดล้อมของโลกจะเลวร้ายลงกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เพราะการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมกำลังอยู่ในภาวะเข้าสู่ขั้นวิกฤติ และการที่เป็นเช่นนี้ นอกจากมนุษย์เองที่จะได้รับอันตรายหรือภัยพิบัติต่าง ๆ แล้ว มนุษย์ยังอาจต้องสูญเสียวัฒนธรรมในรูปต่าง ๆ ที่ได้สั่งสมมาเป็นเวลานับล้าน ๆ ปี หรือแม้กระทั่งเผ่าพันธุ์ที่อาจต้องดับสูญไปจากโลกนี้
3
เมื่อได้ศึกษาและทราบถึงสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมแล้ว ซึ่งสาเหตุสำคัญของการเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมนั้นก็เนื่องมาจากพฤติกรรมของมนุษย์ ดังที่ เย็นใจ เลาหวณิช(2520 : 3) ได้กล่าวไว้ว่า “สาเหตุการเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมของมนุษย์”และ เกษม จันทร์แก้ว (2524 : 11) “ได้กล่าวเน้นถึงพฤติกรรมของมนุษย์ว่า มีความสำคัญต่อ
สิ่งแวดล้อม ฉะนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องศึกษาถึงบทบาทของมนุษย์และการแสดงออกทางพฤติกรรม
ของมนุษย์เป็นสำคัญ” ซึ่งในเรื่องพฤติกรรมของมนุษย์นี้ โกสินทร์ รังสยาพันธ์ (2521 : 8)
ได้แสดงความเห็นว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมอาจเกิดจากการขาดความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง หรือไม่ก็อาจเกิดจากการขาดเจตคติและค่านิยมที่เอื้อต่อสิ่งแวดล้อม การขาดสิ่งดังกล่าวแม้จะเป็นเพียงด้านเดียวก็อาจส่งผลกระทบให้มนุษย์กระทำการต่าง ๆ อันจะก่อหรือเพิ่มปัญหา
สิ่งแวดล้อมเป็นรายคนหรือเป็นหมู่คณะได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนั้น จึงน่าจะไม่มีข้อสงสัย ถ้าจะกล่าวว่า กลยุทธ์ในการแก้ปัญหาที่ต้องการผลระยะยาวไม่มีอะไรดีไปกว่าการพัฒนาคุณภาพของมนุษย์ ดังนั้น เมื่อสาเหตุของปัญหาสิ่งแวดล้อมเกิดจากการกระทำของมนุษย์ การแก้ปัญหาจึงควรเริ่มแก้จากต้นเหตุนั่นก็คือ มนุษย์ แต่การแก้ปัญหาในปัจจุบันหรือส่วนใหญ่ที่ผ่านมาเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าหรือการแก้ไขที่ปลายเหตุ ซึ่งการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุดังกล่าวมีผลทำให้ตองสูญเสียเวลาและค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก ยิ่งไปกว่านั้นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุยังเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่มีวันสิ้นสุด วิธีแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่น่าจะได้ผลดีคือ การแก้ปัญหาทั้งที่ต้นเหตุและปลายเหตุหรือทั้งระยะสั้นและระยะยาว ตัวอย่างการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ได้แก่ การวางแผนการใช้ที่ดิน การใช้มาตรการทางกฎหมาย หรือการฝึกอบรมผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาในด้านการควบคุมมลพิษ เป็นต้น ส่วนการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุซึ่งเป็นแนวทางที่มีความสำคัญคือ การแก้ปัญหาที่ คนและสังคม ด้วยการปลูกฝังค่านิยมและพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ถูกต้องให้เกิดขึ้นกับทุกคนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยรุ่น ดังที่ สุชา จันทน์เอม และสุรางค์ จันทน์เอม (2518 : 3-6) ได้กล่าวถึงสาเหตุสำคัญที่เราจำเป็นต้องศึกษาวัยรุ่นเป็นกรณีพิเศษ เนื่องจากวัยรุ่นเป็นวัยที่หัวเลี้ยวหัวต่อจากวัยเด็กมาสู่วัยผู้ใหญ่ มีความสับสนเกี่ยวกับการปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับวัย เป็นวัยที่ยึดมั่นในอุดมการณ์และปรัชญาชีวิตของตนเอง เป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจเป็นอย่างมาก อารมณ์เปลี่ยนแปลงได้ง่าย ความสนใจในการสมาคมมีมากขึ้น เริ่มรู้จักรับผิดชอบและต้องการเป็นอิสระ สติปัญญาความคิดเจริญก้าวหน้า มีความต้องการและความปรารถนาใหม่ ๆ เกิดขึ้นและเป็นไปอย่างรุนแรง และเป็นสังคมที่มีลักษณะเฉพาะไม่เหมือนกับวัยอื่น ๆ ดังนั้น วัยรุ่นจึงเป็นวัยที่จำเป็นต้องศึกษา ทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ เพื่อประโยชน์ในการช่วยแนะนำแนวทางให้มีการพัฒนาและปรับตัวได้อย่างเหมาะสม เป็นประโยชน์แก่ตนเองและสังคมต่อไป
4
จากที่กล่าวมาข้างต้นสรุปได้ว่า วัยรุ่นเป็นช่วงวัยที่มีความสำคัญ เป็นวัยที่มุ่งเสาะแสวงหาการเรียนรู้ ช่างคิดช่างสังเกต อยากรู้อยากลอง มีพัฒนาการ เป็นระยะที่เริ่มเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ ยึดมั่นใน
อุดมการณ์ อยู่บนฐานของความเป็นจริงและเหตุผลอย่างรุนแรง ดังนั้น หากเราสามารถปลูกฝังวัยรุ่นให้มีพฤติกรรมที่ดีต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเสียแต่เนิ่น ๆ วัยรุ่นจะเป็นกระบอกเสียงและพลังขบเคลื่อนที่สำคัญที่จะทำให้สังคม ประเทศชาติ รวมถึงโลก มีการอนุรักษ์และรักษาสิ่งแวดล้อมให้คงอยู่อย่างยั่งยืนเพื่อสนองความต้องการของชนรุ่นหลังสืบไป
ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาถึง “พฤติกรรมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของวัยรุ่น :กรณีศึกษานักเรียน มัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มสหวิทยาเขต
บรมราชชนนี 1” ซึ่งผลการวิจัยที่ได้นอกจากจะทำให้ทราบถึงพฤติกรรมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของวัยรุ่นแล้ว ขอมูลที่ได้ยังจะช่วยขยายฐานความรู้ ความเข้าใจ และความชัดเจนต่อปัจจัยทั้งในระดับปัจเจกบุคคล ครอบครัว และสังคมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของวัยรุ่น รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินนโยบาย ให้ความรู้ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์หรือจัดทำมาตรการและโครงการที่เหมาะสม เพื่อปรับปรุงแก้ไขพฤติกรรมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของวัยรุ่นให้เป็นไปในแนวทางที่ถูกต้องเหมาะสม มีสำนึกและความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมต่อไป
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของวัยรุ่น
2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของวัยรุ่น
ขอบเขตของการวิจัย
การศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการศึกษาเฉพาะกลุ่มนักเรียนที่กำลังศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งสังกัดกรมสามัญศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มสหวิทยาเขตบรมราชชนนี 1 ประจำปีการศึกษา 2545
5
นิยามศัพท์เฉพาะ
1. พฤติกรรมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หมายถึง การกระทำที่วัยรุ่นแสดงออกมา โดยมีความรู้ความเข้าใจ เจตคติ และการปฏิบัติเป็นตัวก่อให้เกิดการแสดงการกระทำที่มีต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม อาทิ การประหยัดพลังงาน และการรักษาความสะอาด โดยในการศึกษาครั้งนี้ศึกษาเฉพาะพฤติกรรมของนักเรียนที่มีต่อด้านการประหยัดพลังงาน เช่น การใช้ไฟฟ้า และน้ำประปา และในด้านการรักษาความสะอาด เช่น การทิ้งขยะสิ่งปฏิกูล และการดูแลสภาพแวดล้อมของที่อยู่อาศัยและสถานศึกษา
2. วัยรุ่น หมายถึง บุคคลที่มีอายุระหว่าง 13-18 ปี โดยในงานวิจัยนี้ หมายถึง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งมีอายุระหว่าง 13-18 ปี และกำลังศึกษาในโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มสหวิทยาเขตบรมราชชนนี 1 ประจำปีการศึกษา 2545
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ความรู้ ความเข้าใจ และความสำเร็จในการเรียน ซึ่งแสดงออกมาในรูปของคะแนนเฉลี่ยสะสมในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2
4. การรับรู้ข่าวสาร หมายถึง ความถี่และแหล่งที่ได้รับข่าวสารข้อมูล รวมทั้งความรู้ที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจากสื่อต่าง ๆ ทั้งสื่อมวลชน สื่อบุคคล และสื่อเฉพาะกิจ อาทิ
โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ เป็นต้น
5. ความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม หมายถึง ข้อเท็จจริง ข้อมูลหรือกฎเกณฑ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในด้านการประหยัดพลังงาน ได้แก่ การใช้ไฟฟ้าและน้ำประปา และในด้าน
การรักษาความสะอาด ได้แก่ การทิ้งขยะสิ่งปฏิกูลและการดูแลสภาพแวดล้อมของที่อยู่อาศัยและสถานศึกษา
6. เจตคติเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หมายถึง ความรู้สึกนึกคิดทั้งในด้านบวกและด้านลบที่มีต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
6
ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย
ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย ตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม ดังนี้
1. ตัวแปรอิสระ (Independent Variables) ได้แก่
1.1 ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
1.2 ปัจจัยภายนอก ได้แก่ การรับรู้ข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เจตคติเกี่ยวกับอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
2. ตัวแปรตาม (Dependent Variables) ได้แก่ พฤติกรรมของวัยรุ่นที่มีต่อการอนุรักษ์
สิ่งแวดล้อม
สมมติฐานการวิจัย
สมมติฐานที่ 1 นักเรียนเพศชายมีพฤติกรรมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมน้อยกว่าเพศหญิง
สมมติฐานที่ 2 นักเรียนที่มีความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมีพฤติกรรมของวัยรุ่น
ที่มีต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมากกว่านักเรียนที่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
สมมติฐานที่ 3 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในระดับที่สูงมีความสัมพันธ์
เชิงบวกกับพฤติกรรมของวัยรุ่นที่มีต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
สมมติฐานที่ 4 การรับรู้ข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในระดับมาก
มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมของวัยรุ่นที่มีต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
สมมติฐานที่ 5 เจตคติเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ดีมีความสัมพันธ์
เชิงบวกกับพฤติกรรมของวัยรุ่นที่มีต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
7
กรอบแนวคิดในการวิจัย
การศึกษาในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาภายใต้แนวคิดและทฤษฎีต่าง ๆ ร่วมกับงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของวัยรุ่น โดยได้นำแนวคิด ทฤษฎีต่าง ๆ และหลักฐานเชิงประจักษ์จากงานวิจัยที่ผ่านมามาใช้ในการศึกษา ซึ่งประกอบไปด้วย
1. แนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมของ พัฒน์ สุจำนงค์ (2522 : 80-82) ที่ได้ชี้ให้เห็นถึง
องค์ประกอบต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลและเป็นตัวกำหนดการเกิดพฤติกรรมและการกระทำของมนุษย์ เช่น กลุ่มสังคม บุคคลที่เป็นแบบอย่าง สถานภาพทางสังคม ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี กฎหมาย ศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี สิ่งแวดล้อม เจตคติ และการเรียนรู้ทางจิตวิทยา ซึ่งแนวคิดดังกล่าวสอดคล้องกับผลการศึกษาวิจัยของ อมรรัตน์ รีกิจติศิริกุล (2530 : บทคัดย่อ) ที่ศึกษาเรื่องพฤติกรรมเกี่ยวกับการส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งพบว่า นักเรียนที่มารดามีอาชีพแตกต่างกันมีพฤติกรรมเกี่ยวกับการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนแตกต่างกัน และนักเรียนที่บิดามารดามีระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีพฤติกรรมเกี่ยวกับการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนแตกต่างกัน รวมถึงการศึกษาเรื่องพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในจังหวัดสงขลาของ วิชาญ มณีโชติ (2535 : บทคัดย่อ) ซึ่งพบว่า นักเรียนที่มีเพศ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อาชีพบิดามารดา การได้รับข่าวสารจากวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ วารสาร และสิ่งพิมพ์อื่น ๆ แตกต่างกัน มีพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทั้งพฤติกรรมจริงและพฤติกรรมที่คาดหวังแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
2. แนวคิดเกี่ยวกับวัยรุ่นของ โยธิน ศันสรยุทธ (2533 : 192-195) ที่ชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของวัยรุ่นที่มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการในด้านต่าง ๆ อาทิ พัฒนาการทางร่างกายที่มีการเปลี่ยน- แปลงและพัฒนาอย่างรวดเร็ว พัฒนาการทางบุคลิกภาพและสังคมที่วัยรุ่นมีการเกาะกลุ่มในหมู่เพื่อนมาก มีการทำกิจกรรมร่วมกันและต้องการเป็นส่วนหนึ่งของสังคม โดยผู้ใหญ่และเพื่อนเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลต่อวัยรุ่น และพัฒนาการทางด้านสติปัญญาที่มีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วทำให้วัยรุ่นมีความสามารถในการเรียนรู้และคิดแก้ปัญหาได้อย่างมีระบบ
8
3. แนวคิดเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของ วิทย์ วิศทเวทย์ (2520 : 24) ที่ชี้ให้เห็นถึง
พฤติกรรมมนุษย์ที่กระทำต่อสิ่งแวดล้อม 3 ลักษณะคือ พฤติกรรมที่แสดงถึงการกระทำ พฤติกรรม
ที่แสดงถึงความรู้สึก ความรัก ความผูกพัน เมตตา และพฤติกรรมที่แสดงถึงความเชื่อ เนื่องจากมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด มนุษย์จึงต้องตระหนักถึงพฤติกรรมที่ปฏิบัติต่อสิ่งแวดล้อม โดยหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ไม่อำนวยต่อสิ่งแวดล้อมเพราะมนุษย์ไม่ได้มีอำนาจเหนือธรรมชาติดังที่เข้าใจกันมา ควรมีพฤติกรรมที่สอดคล้องและกลมกลืนกับธรรมชาติมากที่สุด
4. ทฤษฎีการสื่อสารของ เค เบอร์โล (อ้างใน กิติมา สุรสนธิ, 2541 : 53-58) ที่ได้อธิบายถึงปัจจัยสำคัญในกระบวนการสื่อสารว่าประกอบไปด้วย ผู้ส่งสาร สาร ช่องสารและผู้รับสาร โดยใน กระบวนการสื่อสารหรือการรับรู้ข่าวสารจะขาดปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งไม่ได้เพราะจะทำให้กระบวนการในการรับรู้ข่าวสารที่จะก่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนเจตคติและพฤติกรรมต่อสิ่งแวดล้อมของบุคคลนั้น
ไม่อาจเกิดขึ้น ซึ่งแนวคิดในทฤษฎีดังกล่าวสอดคล้องกับงานวิจัยของ สมชาย อำพันทอง (2532 : บทคัดย่อ) ที่ได้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครต่อปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งพบว่า การได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารมีผลต่อพฤติกรรมของผู้บริหาร รวมถึงการศึกษาวิจัยเรื่องการศึกษาเจตคติและลักษณะพฤติกรรมการตอบสนองต่อการใช้โฟมของผู้บริโภคในห้างสรรพสินค้าในเขตกรุงเทพมหานครของ อรสา ประยูรวงษ์ (2536 : 104-113) ซึ่งพบว่า พฤติกรรมการตอบสนองต่อการใช้ภาชนะโฟมของผู้บริโภคในห้างสรรพสินค้าเขตกรุงเทพมหานครขึ้นอยู่กับระดับในการรับข้อมูลข่าวสารระหว่างสื่อมวลชนประเภทหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ วิทยุ โทรสาร และสื่อบุคคลประเภทญาติ พี่น้อง บุตรหลาน
5. แนวคิดทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงทัศนคติทั้งทฤษฏีความตรงกันของความคิดของไฮเดอร์ และทฤษฎีความขัดแย้งทางความคิดของเพสทินเกอร์ ที่ได้ชี้ให้เห็นถึงอิทธิพลที่ทำให้บุคคลเกิดการเปลี่ยนแปลงทัศนคติในอันที่จะเห็นคล้อยตาม หรือขจัดความขัดแย้งที่เกิดจากความแตกต่างจาก
การรับรู้ข่าวสารใหม่กับความคิดที่มีอยู่แล้ววินิจฉัย เพื่อเลือกทางเลือกใดทางเลือกหนึ่งเพื่อปฏิบัติ รวมถึงแนวคิดของ ประภาเพ็ญ สุวรรณ (อ้างในดนัย ดำรงสกุล, 2534 : 40-41) ที่ได้ชี้ให้เห็นว่า
ทัศนคติจะเป็นตัวชี้ให้เห็นถึงการนำไปปฏิบัติของบุคคล ถ้าบุคคลมีทัศนคติที่ดีรวมทั้งองค์ประกอบอื่น ๆ ที่กระตุ้นต่อการปฏิบัติก็จะมีผลทำให้บุคคลมีแนวโน้มที่จะกระทำหรือปฏิบัติมากกว่าบุคคลที่มีทัศนคติที่ไม่ดี ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ กาเดอร์ ลินเจย์ (Garder Lindjey) และอิลเลียต อาร์สัน (Elliot Arson) ที่เชื่อว่าทัศนคติเป็นพลังสำคัญทำให้คนเราแสดงพฤติกรรมออกมา (Garder Lindjey and Elliot Arson, 1989 : 271)
9
6. ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้ที่ สนธยา พลศรี (2533 : 159) ได้ชี้ให้เห็นว่า กระบวนการ
เรียนรู้ทำให้มนุษย์เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง หยั่งเห็นถึงสถานการณ์ของปัญหา อันนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคล ซึ่งแนวคิดทฤษฎีดังกล่าวสอดคล้องกับงานวิจัยของ โกสินทร์รังสยาพันธ์ (2521 : 90) ที่ได้วิจัยปัญหาความสกปรกเป็นพิษของสิ่งแวดล้อมในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 7 ซึ่งพบว่าความรู้ความเข้าใจในความรุนแรงและอันตรายของปัญหา ความรู้ความเข้าใจ
สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหา ความรู้ความเข้าใจวิธีแก้ปัญหา มีความสัมพันธ์กับการประพฤติปฏิบัติในการเพิ่มหรือลดปัญหาสิ่งแวดล้อม รวมถึงการศึกษาวิจัยเรื่องพฤติกรรมการกำจัดขยะมูลฝอยของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองนครปฐมของ วิรัช ชมชื่น (2536 : 142) ซึ่งพบว่า ความรู้เกี่ยวกับการกำจัดขยะมูลฝอยต่างกัน ก่อให้เกิดความแตกต่างในเรื่องพฤติกรรมการกำจัดขยะมูลฝอย
จากแนวคิดและทฤษฎีดังกล่าวร่วมกับหลักฐานเชิงประจักษ์จากงานวิจัยที่ผ่านมาได้ชี้ให้เห็นถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของวัยรุ่น ซึ่งผู้วิจัยนำมาวิเคราะห์และสังเคราะห์เป็นกรอบแนวความคิดในการวิจัยในครั้งนี้ ซึ่งประกอบไปด้วย ตัวแปรอิสระ ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อตัวแปรตามนั่นคือ พฤติกรรมของวัยรุ่นที่มีต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ดังแสดงรายละเอียดไว้ในภาพที่ 1
ตัวแปรอิสระ ตัวแปรตาม
ปัจจัยส่วนบุคคล
- เพศ
- ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
พฤติกรรมของวัยรุ่นที่มีต่อ
การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ปัจจัยภายนอก
- การรับรู้ข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
- ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
- เจตคติเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ภาพที่ 1 กรอบแนวคิดการวิจัย
10
ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย
1. ทำให้ทราบถึงพฤติกรรมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของวัยรุ่น
2. ทำให้ทราบถึงปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมของวัยรุ่นในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
3. เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนและพัฒนากระบวนการในการให้การศึกษา
เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
4. ผลการวิจัยที่ได้สามารถนำไปใช้ประโยชน์แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้รวบรวมแนวคิด ทฤษฎี เอกสาร และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาเป็นพื้นฐานและเป็นแนวทางในการวิจัย โดยแบ่งเนื้อหาเป็น 7 ส่วน ดังนี้
2.1 แนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรม
2.2 แนวคิดเกี่ยวกับวัยรุ่น
2.3 แนวคิดเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
2.4 ทฤษฎีการสื่อสาร
2.5 ทฤษฎีการเรียนรู้
2.6 ทฤษฎีเกี่ยวกับเจตคติ
2.7 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2.1 แนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรม
2.1.1 ความหมายของพฤติกรรม
ได้มีผู้ศึกษาพฤติกรรมมนุษย์และให้ความหมายเกี่ยวกับพฤติกรรมไว้ เช่น พจนานุกรมของลองแมน (Longman) ได้ให้คำจำกัดความว่า พฤติกรรมเป็นการกระทำเพื่อการตอบสนองการกระทำทางจิตวิทยาของแต่ละบุคคลและเป็นปฏิสัมพันธ์ในการตอบสนองสิ่งกระตุ้นภายในหรือภายนอก รวมทั้งเป็นกิจกรรมการกระทำต่าง ๆ ที่เป็นไปอย่างมีจุดมุ่งหมาย สังเกตเห็นได้ หรือเป็นกิจกรรมการกระทำต่าง ๆ ที่ได้ผ่านการใคร่ครวญมาแล้ว หรือเป็นไปอย่างไม่รู้สึกตัว (Goldenson,
1984 : 90)
ประภาเพ็ญ สุวรรณ (2526 : 15) ให้ความหมายของพฤติกรรมว่าหมายถึง การกระทำ
โดยรู้สึกตัวและไม่รู้สึกตัว ทั้งสังเกตได้ด้วยตนเองหรือผู้อื่น รวมทั้งการกระทำที่ไม่อาจสังเกตเห็นได้หรือใช้เครื่องมือสังเกต
12
ชุดา จิตพิทักษ์ (2525 : 2) ได้กล่าวว่า พฤติกรรมหรือการกระทำของบุคคลนั้นไม่รวมเฉพาะสิ่งที่ปรากฏออกมาภายนอกเท่านั้น แต่ยังรวมถึงสิ่งที่อยู่ในใจ ซึ่งคนภายนอกไม่สามารถสังเกตเห็นได้โดยตรง เช่น คุณค่า (Value) ที่เขายึดถือเป็นหลักในการประเมินสิ่งต่าง ๆ เจตคติ
(Attitude) ที่เขามีต่อสิ่งต่าง ๆ ความคิดเห็น (Opinion) ความเชื่อ (Belief) รสนิยม (Taste) และสภาพจิตใจ ซึ่งถือได้ว่าเป็นลักษณะของบุคลิกภาพของบุคคลเป็นเหตุปัจจัยที่กำหนดพฤติกรรม
ชัยพร วิชชาวุธ (2523 : 1) ได้ให้คำจำกัดความในการวิจัยเชิงจิตวิทยาว่า พฤติกรรม หมายถึง กิจกรรมหรือการกระทำของมนุษย์ ไม่ว่าการกระทำนั้นผู้กระทำโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวและ
ไม่ว่าคนอื่นจะสังเกตการกระทำได้หรือไม่ก็ตาม เช่น การพูด การเดิน การกระพริบตา การได้ยิน การเข้าใจ การรู้สึกโกรธ การคิด การทำงานของหัวใจ การทำงานของกล้ามเนื้อ เป็นต้น
จากความหมายของพฤติกรรมดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยสรุปความหมายของพฤติกรรมในการวิจัยครั้งนี้ไว้ว่า พฤติกรรม หมายถึง การปฏิบัติหรือการกระทำที่มนุษย์แสดงออกมาโดยมีความรู้ ความเข้าใจ เจตคติ และการปฏิบัติ เป็นตัวก่อให้บุคคลนั้นแสดงพฤติกรรมออกมา อาจเป็นพฤติกรรมที่ถูกหรือผิดก็ได้ ทั้งนี้พฤติกรรมดังกล่าวแบ่งเป็นพฤติกรรมที่สังเกตได้และพฤติกรรมที่สังเกตไม่ได้ โดยในการศึกษาครั้งนี้ศึกษาเฉพาะพฤติกรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่มีต่อด้าน
การอนุรักษ์พลังงาน เช่น การใช้ไฟฟ้าและน้ำประปา และในด้านการรักษาความสะอาด เช่น การทิ้งขยะสิ่งปฏิกูลและการดูแลสภาพแวดล้อมของที่อยู่อาศัยและสถานศึกษา
2.1.2 ประเภทของพฤติกรรม
ในการจำแนกพฤติกรรมของบุคคลอาจจำแนกออกได้หลายลักษณะ ซึ่ง มล.ตุ้ย ชุมสาย (2508 : 123) ได้แบ่งพฤติกรรมตามการเรียนรู้ออกเป็น 2 ประการคือ
1. พฤติกรรมที่ติดตัวมาแต่กำเนิด (Unlearned Behavior) หมายถึง พฤติกรรมที่อินทรีย์ทำเองได้โดยที่อินทรีย์มิได้มีโอกาสเรียนรู้มาก่อนเลย
2. พฤติกรรมที่เป็นผลของการเรียนรู้ (Learned Behavior) หมายถึง พฤติกรรมที่อินทรีย์ทำขึ้นหลังจากที่ได้มีการเรียนรู้หรือเลียนแบบจากบุคคลอื่นในสังคม พฤติกรรมประเภทนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พฤติกรรมทางสังคม
13
เบนจามิน เอส.บลูม (Benjamin S.Bloom, 1964 : 245) ได้จำแนกลักษณะพฤติกรรม
ออกเป็น 3 ส่วนคือ
1.พฤติกรรมด้านพุทธิปัญญา (Cognitive Domain) พฤติกรรมด้านนี้เกี่ยวข้องกับ
การรับรู้ การจำ ข้อเท็จจริงต่าง ๆ รวมทั้งการพัฒนาความสามารถและทักษะทางสติปัญญา การใช้วิจารณญาณเพื่อประกอบการตัดสินใจ พฤติกรรมด้านนี้ประกอบด้วย ความสามารถระดับต่าง ๆ คือ ความรู้ (Knowledge) ความเข้าใจ (Comprehension) การประยุกต์หรือการนำความรู้
ไปใช้ (Application) การวิเคราะห์ (Analysis) การสังเคราะห์ (Synthesis) และการประเมินผล
(Evaluation)
2. พฤติกรรมด้านเจตคติ ค่านิยม ความรู้สึกชอบ (Affective Domain) พฤติกรรมด้านนี้ หมายถึง ความสนใจ ความคิดเห็น ความรู้สึก ท่าที ความชอบ ไม่ชอบ การให้คุณค่า การรับ การเปลี่ยนหรือปรับปรุงค่านิยมที่ยึดถืออยู่ เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นภายในจิตของบุคคลยากแก่การอธิบาย พฤติกรรมด้านนี้ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนคือ การรับรู้หรือการให้ความสนใจ
(Receiving or Attending) การตอบสนอง (Responding) การให้ค่าหรือการเกิดค่านิยม (Valuing)
การจัดระเบียบ (Organizing) และการแสดงลักษณะตามค่านิยมที่ยึดถือ (Characteriation by a Value)
3. พฤติกรรมด้านการปฏิบัติ (Psychomotor Domain) เป็นพฤติกรรมที่ใช้
ความสามารถทางร่างกายแสดงออก ซึ่งรวมทั้งการปฏิบัติ หรือพฤติกรรมที่แสดงออกและสังเกตได้ในสถานการณ์หนึ่ง ๆ หรืออาจจะเป็นพฤติกรรมที่ล่าช้า คือ บุคคลไม่ได้ปฏิบัติทันทีแต่คาดคะเนว่าอาจปฏิบัติในโอกาสต่อไป พฤติกรรมการแสดงออกนี้เป็นพฤติกรรมขั้นสุดท้ายที่เป็นเป้าหมายของการศึกษา ซึ่งต้องอาศัยพฤติกรรมระดับต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วเป็นส่วนประกอบ (พฤติกรรมด้านพุทธิปัญญาและด้านเจตคติ) พฤติกรรมด้านนี้เมื่อแสดงออกมาจะสามารถประเมินผลได้ง่าย แต่กระบวนการที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมนี้ต้องอาศัยเวลาและการตัดสินใจหลายขั้นตอน
สำหรับการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมในครั้งนี้ ผู้วิจัยจะมุ่งศึกษาพฤติกรรมในด้านการปฏิบัติเท่านั้น เนื่องจากพฤติกรรมดังกล่าวเป็นสิ่งที่บุคคลแสดงออกมาให้เห็นอย่างเปิดเผยและเป็นผลมาจากการเรียนรู้ ไม่ใช่พฤติกรรมที่ติดตัวมาแต่กำเนิด
14
2.1.3 องค์ประกอบของพฤติกรรม
พฤติกรรมของบุคคลนั้นเป็นผลมาจากพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั่งปัจจุบัน โดยมีพัฒนาการมาเป็นระยะ ๆ จนกลายเป็นลักษณะรวมที่แสดงออกมาเป็นพฤติกรรมในรูปต่าง ๆ โดย ครอนบาค (Cronbach, 1972 : 14) ได้อธิบายถึงพฤติกรรมมนุษย์ว่า มีองค์ประกอบอยู่ด้วยกันทั้งสิ้น 7 ประการ (Seven Element in Behavior) คือ
1. ความมุ่งหมาย (Goal) เป็นความต้องการหรือวัตถุประสงค์ที่ทำให้เกิดกิจกรรม
คนเราต้องทำกิจกรรมเพื่อสนองตอบความต้องการที่เกิดขึ้น กิจกรรมบางอย่างก็ให้ความพอใจหรือ
สนองความต้องการที่เกิดขึ้น กิจกรรมบางอย่างให้ความพอใจหรือสนองตอบความต้องการได้ทันที แต่ความต้องการ หรือวัตถุประสงค์บางอย่างก็ต้องใช้เวลานานจึงจะสามารถบรรลุความต้องการได้ คนเราจะมีความต้องการหลายอย่างในเวลาเดียวกัน และมักจะต้องเลือกสนองความต้องการที่รีบด่วนก่อน และสนองความต้องการที่ห่างออกไปในภายหลัง
2. ความพร้อม (Readiness) หมายถึง ระดับวุฒิภาวะหรือความสามารถที่จำเป็นในการทำกิจกรรมเพื่อสนองความต้องการได้หมดทุกอย่าง ความต้องการบางอย่างก็อยู่นอกเหนือความสามารถของเขา ในกรณีนี้กล่าวได้ว่าเขาขาดความพร้อม
3. สถานการณ์ (Situation) เป็นเหตุการณ์ที่เปิดโอกาสให้เลือกทำกิจกรรมเพื่อสนองความต้องการ
4. การแปลความหมาย (Interpretation) ก่อนที่คนเราจะทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งลงไปนั้น เขาจะต้องพิจารณาสถานการณ์เสียก่อนแล้วตัดสินใจเลือกวิธีที่คาดว่าจะทำให้เกิดความพอใจมากที่สุด
5. การตอบสนอง (Response) เป็นการทำกิจกรรมเพื่อสนองความต้องการโดยวิธีการเลือกแล้วในขั้นการแปลความหมาย
6. ผลที่ได้รับหรือผลตามมา (Consequence) เมื่อทำกิจกรรมแล้วย่อมได้รับผลจากการกระทำนั้น ผลที่ได้รับอาจจะตรงตามที่คิดไว้ (confirm) หรืออาจตรงกันข้ามกับความคาดหมาย (conflict) ก็ได้
7. ปฏิกิริยาต่อความผิดหวัง (Reaction to Thwarting) หากคนเราไม่สามารถตอบสนองความต้องการได้ก็กล่าวได้ว่าเขาประสบความผิดหวัง ในกรณีเช่นนี้เขาอาจย้อนกลับไปแปลความหมายของสถานการณ์เสียใหม่ และเลือกวิธีการตอบสนองใหม่ก็ได้
15
2.1.4 กระบวนการเกิดพฤติกรรม
วิมลสิทธิ์ หรยางกูร (2526 : 7-9) ได้กล่าวถึงกระบวนการเกิดของพฤติกรรมว่ามีขั้นตอนของการเกิดอยู่ด้วยกัน 3 กระบวนการคือ
1. กระบวนการรับรู้ (Perception) คือ กระบวนการที่รับข่าวสารจากสภาพแวดล้อมโดยผ่านทางระบบประสาทสัมผัส กระบวนการจึงรวมการรู้สึกด้วย (Sensation)
2. กระบวนการรู้ (Cognition) คือ กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางจิตที่รวมการเรียนรู้ การจำ การคิด กระบวนการทางจิตดังกล่าวย่อมรวมถึงการพัฒนาด้วย กระบวนการรู้จึงเป็นกระบวนการทางปัญญา พร้อมกันในกระบวนการรับรู้ และกระบวนการรู้นี้เกิดการตอบสนองทางด้านอารมณ์ เกิดกระบวนการทางด้านอารมณ์ ทั้งกระบวนการรู้และกระบวนการทางอารมณ์ เป็นพฤติกรรมภายใน
3. กระบวนการเกิดพฤติกรรมในสภาพแวดล้อม (Spatial Behavior) คือ กระบวนการที่บุคคลมีพฤติกรรมเกิดขึ้นในสภาพแวดล้อม มีความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมผ่านการกระทำ สังเกตได้จากภายนอก เป็นพฤติกรรมภายนอก
2.1.5 สิ่งกำหนดพฤติกรรมมนุษย์
ในการแสดงพฤติกรรมออกมาครั้งหนึ่งของมนุษย์นั้น มีคนเป็นจำนวนมากสงสัยว่าอะไรที่ทำให้การแสดงออกซึ่งพฤติกรรมเป็นไปอย่างนั้น โดยอะไรในที่นี้ก็คือ เครื่องกำหนดพฤติกรรม ซึ่ง บุคคลจะมีพฤติกรรมออกมาในรูปใดก็ตามย่อมจะต้องมีสิ่งกำหนดพฤติกรรม พฤติกรรมบางอย่าง เช่น การนอน การกิน การเจ็บไข้ อาจเป็นพฤติกรรมที่อธิบายเข้าใจได้โดยง่าย เพราะเป็นธรรมชาติของมนุษย์ แต่ยังมีพฤติกรรมอีกมากมายที่ไม่ได้เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ดังนั้น การเข้าใจถึงสิ่งกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ จะทำให้เราสามารถเข้าใจถึงพฤติกรรมของมนุษย์ได้ดียิ่งขึ้น
ณรงค์ สินสวัสดิ์ (2518 : 24) ได้อธิบายถึงสิ่งที่กำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ว่าอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ
16
1. ลักษณะนิสัยส่วนตัวของมนุษย์แต่ละคน ได้แก่
- ความเชื่อ (Belief) หมายถึง การที่บุคคลคิดว่าการกระทำบางอย่าง ปรากฏการณ์บางอย่าง หรือสิ่งของบางอย่าง หรือคุณสมบัติของสิ่งของ หรือบุคคลบางอย่างมีอยู่จริง หรือเกิดขึ้น
จริง ๆ หรือหมายถึง การที่บุคคลหนึ่งคิดถึงอะไรก็ได้ในแง่ข้อเท็จจริงคือ เขาคิดว่าข้อเท็จจริงเป็นเช่นนั้น ความคิดของเขาอาจไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงก็ได้ แต่เขาคิดว่าความจริงเป็นเช่นนั้นแล้ว ความเชื่ออาจจะได้มาโดยการเห็น ได้สัมผัส ได้ยินกับหู หรือได้รับคำบอกเล่า อ่านภาพเขียน
สิ่งตีพิมพ์ รวมทั้งการคิดขึ้นมาเอง
- ค่านิยม (Value) พัทยา สายหู (2526 : 52) ได้กล่าวไว้ในหนังสือโลกสมมติว่า
ค่านิยมคือ สิ่งที่คนนิยมยึดถือประจำใจ ที่ช่วยตัดสินใจในการเลือก และไคลด์คลัคคอน (Clyde Kluckhohn, 1956 : 395) ได้อธิบายว่า ค่านิยมคือ แนวความคิดทั้งที่เห็นได้เด่นชัดและไม่เด่นชัด
ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษของบุคคลหนึ่ง หรือกลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่งเกี่ยวกับว่าอะไรเป็นสิ่งที่ดี ซึ่งเป็นความคิดที่มีอิทธิพลให้บุคคลเลือกกระทำอันใดอันหนึ่งจากวิธีการที่มีอยู่หลาย ๆ วิธี หรือเลือกเป้าหมายอันใดอันหนึ่งจากหลาย ๆ อันที่มีอยู่ ค่านิยมอาจได้มาโดยการอ่าน จากคำบอกเล่าหรือคิดขึ้นเอง
- เจตคติ (Attitude) ทฤษฎีที่ใช้อธิบายโครงสร้างของเจตคติหลายทฤษฎีเห็นพ้อง
กันว่า เจตคติมีความเกี่ยวข้องกันกับพฤติกรรมของบุคคลกล่าวคือ เจตคติเป็นแนวโน้มหรือขั้นเตรียมพร้อมของพฤติกรรม หรือเจตคติเป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าทางจิตใจ ซึ่งคล้ายกับการตอบสนองทางร่างกาย ต่างกันแต่ว่าไม่ได้ออกกำลังกายไปเท่านั้น
- บุคลิกภาพ (Personality) เรย์มอน แคทเทล (Reymon Cattel, 1966 : 25) ได้ให้
คำจำกัดความว่า บุคลิกภาพคือ สิ่งที่บอกว่าบุคคลหนึ่งจะทำอะไรถ้าเขาอยู่ในสถานการณ์หนึ่ง
2. กระบวนการอื่น ๆ ทางสังคม ซึ่งไม่เกี่ยวกับลักษณะนิสัยส่วนตัวของมนุษย์ สามารถ
แยกได้เป็น 2 ประเด็นคือ
- สิ่งกระตุ้นพฤติกรรม (Stimulus Object) และความเข้มข้นของสิ่งกระตุ้นพฤติกรรม (strength of stimulus object) ลักษณะนิสัยของบุคคลคือ ความเชื่อ ค่านิยม เจตคติ และบุคลิกภาพนั้นมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมก็จริง แต่พฤติกรรมจะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าไม่มีสิ่งกระตุ้นพฤติกรรม สิ่งกระตุ้นพฤติกรรมนี้จะเป็นอะไรก็ได้ แต่จะต้องมีพลังและความเข้มข้น (strong) ด้วย ซึ่งจะทำให้พฤติกรรมของแต่ละคนแตกต่างกันไป
17
- สถานการณ์ (Situation) หมายถึง สิ่งแวดล้อมทั้งที่เป็นบุคคลและไม่ใช่บุคคล ซึ่งอยู่ในสภาวะที่บุคคลกำลังจะมีพฤติกรรม บางครั้งถ้าสถานการณ์เปิดช่องให้แล้วพฤติกรรมของคนเราก็อาจแตกต่างกันไปตามแต่ลักษณะของเขา
สรุปแล้วสิ่งกำหนดพฤติกรรมตามคำอธิบายของ ณรงค์ สินสวัสดิ์ เขียนเป็นแผนภูมิได้ดัง
ภาพที่ 2
ความเชื่อ สิ่งกระตุ้นพฤติกรรม
ค่านิยม และความเข้มแข็ง พฤติกรรม
บุคลิกภาพ ของสิ่งกระตุ้น สถานการณ์
ภาพที่ 2 แผนภูมิแสดงสิ่งที่กำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ของณรงค์ สินสวัสดิ์
นอกจากนั้น พัฒน์ สุจำนงค์ (2522 : 80-82) ได้กล่าวถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของมนุษย์ว่าประกอบไปด้วย
1. กลุ่มสังคม (Social Group) ได้แก่ กลุ่มเพื่อนบ้าน กลุ่มเพื่อนโรงเรียน และกลุ่ม
เพื่อนสถาบันเดียวกัน เป็นต้น
2. บุคคลที่เป็นแบบอย่าง (Identification Figure) ได้แก่ พ่อแม่พี่น้อง ผู้มีชื่อเสียงในสังคม เป็นต้น
3. สถานภาพ (Status) อาจเป็นสถานภาพที่สังคมกำหนดให้ เช่น เพศ อายุ ศาสนา ฯลฯ หรืออาจเป็นสถานภาพที่บุคคลนั้นหามาได้ด้วยตนเอง เช่น ยศ ตำแหน่ง ฯลฯ เมื่อบุคคลมี
สถานภาพแตกต่างกันไป พฤติกรรมก็ย่อมแตกต่างกันด้วย
4. ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เช่น ในปัจจุบันมนุษย์นิยมใช้เครื่องทุ่นแรงต่าง ๆ ในการทำงานแทนการใช้แรงงานเหมือนอย่างแต่ก่อน ทำให้พฤติกรรมมนุษย์เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
5. กฎหมาย พฤติกรรมบางส่วนของมนุษย์จะถูกควบคุมโดยกฎหมาย เช่น การสูบบุหรี่บนรถประจำทางในเขตกรุงเทพมหานครถือว่าผิดกฎหมาย ดังนั้น พฤติกรรมการสูบบุหรี่บนรถประจำทางก็น้อยลงไป
18
6. ศาสนา แต่ละศาสนามีกฎเกณฑ์ ข้อห้ามที่แตกต่างกัน ดังนั้น ในสถานการณ์อย่างเดียวกัน คนที่นับถือศาสนาต่างกันก็อาจแสดงพฤติกรรมที่ต่างกันได้ ทั้งนี้เนื่องมาจากอิทธิพลของศาสนานั่นเอง
7. ขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อต่าง ๆ ล้วนมีอิทธิพลต่อการปฏิบัติตนของบุคคลทั้งสิ้น เช่น ประเพณีในการเลี้ยงเด็กในแต่ละสังคม ก็แตกต่างกันออกไปตามความเชื่อ เป็นต้น
8. สิ่งแวดล้อม คนที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมต่างกันออกไป พฤติกรรมก็ต่างกันด้วย เช่น คนในชนบทกับในเมือง
9. เจตคติ มีอิทธิพลต่อการแสดงออกของมนุษย์ เช่น นักเรียนที่มีเจตคติที่ไม่ดีต่อ
ครูผู้สอนก็มักจะแสดงพฤติกรรมแปลก ๆ ออกมา เช่น ไม่ตั้งใจเรียนหรือขาดเรียนเมื่อถึงชั่วโมงที่ครูคนนี้สอน เป็นต้น
10. การเรียนรู้ในทางจิตวิทยา ถือว่าพฤติกรรมส่วนมากของมนุษย์เกิดจากการเรียนรู้ การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยตลอดตั้งแต่เด็กจนโต เช่น เด็กเรียนรู้การปฏิบัติตนจากการที่ได้ดูตัวอย่างจากผู้ใหญ่ เป็นต้น
สำหรับการศึกษาและวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยเห็นว่าแนวคิดของพัฒน์ สุจำนงค์ (2522 : 80-82) ที่ได้ชี้ให้เห็นว่า พฤติกรรมและการกระทำของมนุษย์นั้น มีผลหรือมีอิทธิพลมาจากองค์ประกอบต่าง ๆ อันได้แก่ กลุ่มสังคม สิ่งแวดล้อม เจตคติ และการเรียนรู้นั้น สอดคล้องกับการศึกษาในครั้งนี้ ผู้วิจัยจึงได้นำแนวคิดดังกล่าวมาเป็นกรอบในการศึกษา
2.1.6 การวัดพฤติกรรม
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า พฤติกรรมของบุคคลนั้นมีทั้งพฤติกรรมภายนอก และพฤติกรรมภายใน การที่จะศึกษาถึงพฤติกรรมนั้นสามารถทำได้หลายวิธี ถ้าเป็นพฤติกรรมภายนอกที่บุคคลแสดงออกมาให้บุคคลอื่นเห็นได้จะทำการศึกษาได้คือ ใช้การสังเกตโดยตรงและโดยอ้อม แต่ถ้าเป็น พฤติกรรมภายในที่ไม่สามารถสังเกตได้ต้องใช้วิธีการทางอ้อม เช่น การสัมภาษณ์ การทดสอบด้วยแบบทดสอบ หรือการทดลองทั้งในห้องปฏิบัติการและในชุมชน ดังนั้น เครื่องมือที่ใช้วัดพฤติกรรมอาจทำได้โดยการสร้างเป็นแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต และประกอบการสัมภาษณ์ หรือใช้เครื่องมืออื่นประกอบ เช่น เครื่องวัดความดันโลหิต เครื่องฟังการเต้นของหัวใจ ซึ่งสอดคล้อง
กับที่ สมจิตต์ สุพรรณทัศน์ (2526 : 131-136) ได้กล่าวถึงวิธีการศึกษาพฤติกรรมว่ามี 2 วิธี คือ
19
1. การศึกษาพฤติกรรมโดยทางตรง ทำได้โดย
1.1 การสังเกตแบบให้ผู้ถูกสังเกตรู้ตัว (Direct Observation) เช่น ครูสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในห้องเรียน โดยบอกให้นักเรียนในชั้นได้ทราบว่าครูจะสังเกตดูว่าใครทำกิจกรรมอะไรบ้างในห้องเรียน การสังเกตแบบนี้บางคนอาจไม่แสดงพฤติกรรมที่แท้จริงออกมาก็ได้
1.2 การสังเกตแบบธรรมชาติ (Naturalistic Observation) เช่น การที่บุคคลผู้ต้องการสังเกตพฤติกรรมไม่ได้กระทำตนเป็นที่รบกวนพฤติกรรมของบุคคลผู้ถูกสังเกต และเป็นไปในลักษณะที่ทำให้ผู้ถูกสังเกตไม่ทราบว่าถูกสังเกตพฤติกรรม การสังเกตแบบนี้จะได้พฤติกรรมที่แท้จริงมาก และจะทำให้สามารถนำผลที่ได้ไปอธิบายพฤติกรรมที่ใกล้เคียงหรือเหมือนกัน ข้อจำกัด
ของวิธีสังเกตแบบธรรมชาติก็คือ ต้องใช้เวลามากถึงจะสังเกตพฤติกรรมที่ต้องการได้และการสังเกตต้องทำเป็นเวลาติดต่อกันเป็นจำนวนหลายครั้ง พฤติกรรมบางอย่างอาจต้องใช้เวลาสังเกตถึง 50 ปี
2. การศึกษาพฤติกรรมโดยอ้อม แบ่งออกได้หลายวิธีคือ
2.1 การสัมภาษณ์ เป็นวิธีที่ผู้ศึกษาต้องการซักถามข้อมูลจากบุคคลหรือกลุ่มของบุคคล ซึ่งทำได้โดยการซักถามเผชิญหน้ากันโดยตรง หรือมีคนกลางทำหน้าที่ซักถามให้ก็ได้ เช่น ใช้ล่ามสัมภาษณ์คนที่พูดกันคนละภาษา การสัมภาษณ์เพื่อต้องการทราบถึงพฤติกรรมของบุคคล แบ่งออกเป็นเรื่อง ๆ ตามที่ได้ตั้งจุดมุ่งหมายเอาไว้ อีกประเภทหนึ่งคือ การสัมภาษณ์โดยอ้อมหรือไม่เป็นทางการ ผู้ถูกสัมภาษณ์จะไม่ทราบว่า ผู้สัมภาษณ์ต้องการอะไร ผู้สัมภาษณ์จะคุยไปเรื่อย ๆ โดยสอดแทรกเรื่องที่จะสัมภาษณ์เมื่อมีโอกาส ซึ่งผู้ตอบจะไม่รู้ตัวว่าเป็นสิ่งที่ผู้สัมภาษณ์เจาะจงที่จะทราบถึงพฤติกรรม การสัมภาษณ์ทำให้ได้ข้อมูลมาก แต่ก็มีข้อจำกัดคือ บางเรื่องผู้ถูกสัมภาษณ์
ไม่ต้องการเปิดเผย
2.2 การใช้แบบสอบถาม เป็นวิธีการที่เหมาะสมสำหรับการศึกษาพฤติกรรมของบุคคลเป็นจำนวนมากและเป็นผู้ที่อ่านออกเขียนได้หรือสอบถามกับบุคคลที่อยู่ห่างไกลอยู่กระจัดกระจาย นอกจากนี้ ยังสามารถถามพฤติกรรมในอดีต หรือต้องการทราบแนวโน้มพฤติกรรมในอนาคตได้
ข้อดีอีกประการหนึ่งคือ ผู้ถูกศึกษาสามารถที่จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ปกปิด หรือพฤติกรรมต่าง ๆ ที่ไม่ยอมแสดงให้บุคคลอื่นทราบได้โดยวิธีอื่น ซึ่งผู้ถูกศึกษาแน่ใจว่าเป็นความลับ และการใช้แบบสอบถามจะใช้ศึกษาเวลาใดก็ได้
20
2.3 การทดลอง เป็นการศึกษาพฤติกรรมโดยผู้ถูกศึกษาจะอยู่ในสภาพการควบคุมตามที่ผู้ศึกษาต้องการ โดยสภาพแท้จริงการควบคุมจะทำได้ในห้องทดลอง แต่การศึกษาพฤติกรรมของคนในชุมชน โดยควบคุมตัวแปรต่าง ๆ คงเป็นไปได้น้อยมาก การทดลองในห้องปฏิบัติการ
จะทำให้ข้อมูลได้จำกัด ซึ่งบางครั้งอาจนำไปใช้ในสภาพความเป็นจริงได้ไม่เสมอไป แต่วิธีนี้มีประโยชน์มากในการศึกษาพฤติกรรมของบุคคลทางการแพทย์
2.4 การบันทึก วิธีนี้ทำให้ทราบพฤติกรรมของบุคคล โดยให้บุคคลแต่ละคนทำบันทึกพฤติกรรมของตนเอง ซึ่งอาจเป็นบันทึกประจำวันหรือศึกษาพฤติกรรมแต่ละประเภท เช่น พฤติกรรมการกิน พฤติกรรมการทำงาน พฤติกรรมทางสุขภาพ พฤติกรรมทางสิ่งแวดล้อม
สำหรับการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมในครั้งนี้เป็นการศึกษาพฤติกรรมโดยอ้อม ผู้วิจัยจึงได้เลือกใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษาถึงพฤติกรรมของกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักเรียนเนื่องจากขนาดและจำนวนของกลุ่มตัวอย่างมีความสอดคล้องเหมาะสมกับวิธีการใช้แบบสอบถามกล่าวคือ กลุ่มตัวอย่างมีจำนวนมากและสามารถอ่านเขียนหนังสือได้ อีกทั้งวิธีการใช้แบบสอบถามสามารถสอบถามถึงพฤติกรรมในอดีตและแนวโน้มของพฤติกรรมในอนาคตได้ รวมทั้งยังสามารถศึกษาถึงข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ปกปิดไม่แสดงออกให้ผู้อื่นทราบได้อีกด้วย
2.2 แนวคิดเกี่ยวกับวัยรุ่น
2.2.1 คำจำกัดความของ “วัยรุ่น”
มีผู้ให้คำจำกัดความของคำว่า “วัยรุ่น” ในหลาย ๆ ความหมาย ได้แก่
อดัมส์ และคณะ (Adams and other, 1994 : 6-10) ได้ให้ความหมายของคำว่าวัยรุ่นว่า
หมายถึง ผู้ที่อยู่ในช่วงอายุ 13-19 ปี หรือแบ่งแยกตามชั้นเรียนก็จะนึกถึงผู้ที่เรียนอยู่ในชั้นประถม
ศึกษาตอนปลาย มัธยมศึกษา จนไปถึงอุดมศึกษาปีต้น ๆ โดยแบ่งคำนิยามของวัยรุ่นออกเป็น 5
แนวคิดคือ ด้านสรีระวิทยา ปัญญานิยม สังคมนิยม จิตวิทยาพัฒนาการ และมนุษยะนิยม
สุชา จันทน์เอม (2529 : 2) ได้ให้ความหมายว่า วัยรุ่นเป็นวัยที่สิ้นสุดความเป็นเด็ก เป็นวัยที่เป็นสะพานไปสู่ความเป็นผู้ใหญ่
21
ราศรี ธรรมนิยม (2525 : 20) ได้อธิบายความหมายของวัยรุ่นไว้ว่า วัยรุ่นเป็นเวลาของการเจริญเติบโตทางกาย เป็นช่วงเวลาที่มีความสัมพันธ์กับกลุ่มเพื่อน เป็นเวลาที่เด็กจะแสวงหาเอกลักษณ์ของตน เป็นช่วงเวลาแห่งสติปัญญา พัฒนาการ และประสบการณ์ทางวิทยาการต่าง ๆ และเป็นช่วงเวลาของพัฒนาการประเมินค่านิยมต่าง ๆ จะเห็นได้ว่าวัยรุ่นนี้เป็นวัยแห่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่
ประสาร ทิพย์ธารา (2521 : 4) ได้ให้ความหมายว่า วัยรุ่นเป็นวัยที่อยู่ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นวัยที่มีความเป็นผู้ใหญ่
เฮอร์ล็อค (Hurlock, 1973 : 13) ได้ให้ความหมายของคำว่าวัยรุ่นเพิ่มเติมว่า วัยรุ่นเป็นวัยหัวเลี้ยวหัวต่อ เป็นวัยแห่งการปรับตัวทางสังคม เป็นวัยแห่งปัญหา เป็นวัยที่มีความเคร่งเครียดทางอารมณ์ ตัดสินใจรวดเร็วและรุนแรง ทัศนคติในการมองโลกและทางสังคมของวัยรุ่นอาจมีความขัดแย้งกับผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่อาจจะไม่เข้าใจความรู้สึกของวัยรุ่นซึ่งก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา
นอกจากมุมมองในเรื่องอายุแล้ว อลิซาเบธ บี เฮฟล็อค (Elizabeth B.Hevelock) ได้ให้คำจำกัดความของวัยรุ่นว่า เริ่มต้นเมื่อเด็กมีความเปลี่ยนแปลงทางร่างกายไปในทางที่แสดงให้เห็นชัดว่าเป็นชายหนุ่มหรือหญิงสาว มีสมองเจริญเติบโตเต็มที่ ส่วนพัฒนาการทางด้านธรรมชาติและสังคมนั้นมีความสำคัญมากในสภาพของสังคมและเศรษฐกิจในปัจจุบันนี้ และวัยรุ่นจะสิ้นสุดลงก็ต่อเมื่อบุคคลนั้นบรรลุนิติภาวะ มีความสามารถพอที่จะดำรงชีวิตอย่างอิสระ ไม่ต้องอยู่ภายใต้การคุ้มครองของบิดามารดา สามารถรับผิดชอบในชีวิตของตนเอง และมีพฤติกรรมเป็นที่ยอมรับของมาตรการทางสังคมหรือมิฉะนั้นก็บรรลุภาวะเป็นอย่างน้อย
จากความหมายต่าง ๆ ของวัยรุ่นดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยได้สรุปความหมายของวัยรุ่นในการศึกษาครั้งนี้ว่า วัยรุ่น หมายถึง บุคคลที่มีอายุระหว่าง 13-18 ปี ซึ่งในที่นี้หมายถึง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีอายุระหว่าง 13-18 ปี และกำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มสหวิทยาเขตบรมราชชนนี 1 ประจำปีการศึกษา 2545
22
2.2.2 การแบ่งช่วงอายุของวัยรุ่น
สุชา จันทน์เอม (2529 : 3-4) ได้แบ่งช่วงอายุของวัยรุ่นเป็น 3 ระยะ ดังนี้คือ
1. วัยรุ่นตอนต้น (Early Adolescence) อายุ 13-15 ปี ช่วงนี้ร่างกายจะมีการเจริญเติบโตทางเพศอย่างสมบูรณ์ทั้งเพศชายและเพศหญิง
2. วัยรุ่นตอนกลาง (Middle Adolescence) อายุ 15-18 ปี ในระยะนี้การพัฒนาใน
ด้านร่างกาย จิตใจและความรู้สึกนึกคิด มีลักษณะแบบค่อยเป็นค่อยไป
3. วัยรุ่นตอนปลาย (Late Adolescence) อายุ 18-21 ปี ในระยะนี้การพัฒนาการของวัยรุ่นเริ่มสู่วุฒิภาวะอย่างสมบูรณ์แบบ จึงมักมีพัฒนาการด้านจิตใจมากกว่าร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านเกี่ยวกับความรู้สึกนึกคิดและปรัชญาชีวิต
ลูเอลล่า โคล์ (อ้างในสมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต, 2526 : 15) นักจิตวิทยาชาวอเมริกันได้แบ่ง
ช่วงอายุของวัยรุ่นไว้ ดังนี้
1. วัยเตรียมเข้าสู่วัยรุ่น (Pre-Adolescence) 10-13 ปี (ชาย 13-15 ปี)
2. วัยรุ่นตอนต้น (Early Adolescence) 13-15 ปี (ชาย 15-17 ปี)
3. วัยรุ่นตอนกลาง (Middle Adolescence) 15-18 ปี (ชาย 17-19 ปี)
4. วัยรุ่นตอนปลาย (Late Adolescence) 18-21 ปี (ชาย 19-21 ปี)
เฮอร์ล็อค (Hurlock, 1978 : 27-28) ได้แบ่งช่วงอายุของวัยรุ่น ดังนี้
1. วัยก่อนวัยรุ่น (Pre-Adolescence) อายุ 10-12 ปี
2. วัยรุ่นตอนต้น (Early Adolescence) อายุ 13-16 ปี
3. วัยรุ่นตอนปลาย (Late Adolescence) อายุ 17-20 ปี
สำหรับประเทศไทยนั้น วัยรุ่นที่อยู่ในช่วงอายุ 15-17 ปี เป็นวัยรุ่นที่อยู่ในช่วงที่กำลังจะ
ตัดสินใจเลือกทางเดินในอนาคตของตนเอง เพราะอยู่ในช่วงที่ต้องเลือกแบบแผนการเรียนว่า จะไปในทิศทางใด รวมถึงการเลือกอยากที่จะเป็นอะไรและประกอบอาชีพอะไรต่อไปในอนาคต
23
2.2.3 พัฒนาการของวัยรุ่น
พัฒนาการของวัยรุ่นนั้นสามารถแบ่งออกเป็น 4 ด้าน ดังนี้คือ (สุชา จันทน์เอม, 2529 : 20)
1. พัฒนาการทางร่างกาย หรือมีการเปลี่ยนแปลงทางขนาดในน้ำหนัก ส่วนสูง และการทำงานของฮอร์โมน
2. พัฒนาการทางอารมณ์และจิตใจ มีการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์อย่างรวดเร็วและรุนแรง จนเรียกว่าวัย “พายุบุแคม” คือ มีความรู้สึกรุนแรง เปิดเผยตรงไปตรงมา มีความเชื่อมั่นในตนเอง ต้องการเป็นอิสระ ไม่ชอบกฎเกณฑ์และการบังคับ เริ่มมีความรู้สึกทางเพศ สนใจเพศ
ตรงข้ามและการคบหาสมาคมกับคนอื่น ๆ
3. พัฒนาการทางสติปัญญา รู้จักการคิดเป็นระบบ คิดเป็นเหตุเป็นผล คิดเป็นวิทยาศาสตร์ คิดวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ คิดอย่างมีระเบียบแบบแผน และมีจินตนาการสูง
4. พัฒนาการทางสังคม เริ่มคบหาเพื่อนฝูงและได้รับอิทธิพลจากเพื่อนเป็นอย่างมาก บางคนอาจชอบเรียกร้องความสนใจด้วยการมีพฤติกรรม การแต่งกาย กิริยาวาจา ภาษาแปลง ๆ รวมทั้งมีความคิดเห็นคล้องตามกับกลุ่มเพื่อน
อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า ระยะของการเจริญเติบโตไปสู่การมีวุฒิภาวะหรือกระบวนการของความเจริญเติบโต เป็นระยะของความเจริญเติบโตจากวัยเด็กตอนปลายไปสู่การมีวุฒิภาวะ เป็นผลิตผลของเวลาและวัฒนธรรม แต่มีรากฐานอย่างมั่นคงมาจากความเจริญเติบโตทางกาย โดยวัยรุ่นเป็นวัยหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างความเป็นเด็กกับผู้ใหญ่ที่มีการเปลี่ยนแปลงในทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และด้านสติปัญญา
2.2.4 ลักษณะและพฤติกรรมของวัยรุ่น
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาพฤติกรรมของวัยรุ่น ซึ่งวัยรุ่นในที่นี้หมายถึง นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งถือได้ว่าอยู่ในช่วงของวัยรุ่นและเป็นวัยที่มีลักษณะแตกต่างไปจากบุคคลในวัยอื่น ๆ ดังที่ได้มีผู้กล่าวถึงลักษณะและพฤติกรรมของวัยรุ่นไว้ดังนี้
24
โยธิน ศันสรยุทธ (2533 : 191) กล่าวว่า วัยรุ่นจะเริ่มที่ช่วงอายุ 12-13 ปี และจะสิ้นสุดระยะอายุประมาณ 20 ปี วัยรุ่นเป็นวัยที่เด็กมีพัฒนาการที่รวดเร็วมีการเปลี่ยนแปลงทางสติปัญญา
การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วนี้ทำให้เด็กจำเป็นต้องปรับตัว ซึ่งการปรับตัวนำมาซึ่งความวิตกกังวล ความเครียดทางอารมณ์ ความโกรธ เป็นต้น นักจิตวิทยาแสตนลี่ ฮอล (Standly Hall) เรียกระยะวัยรุ่นว่า เป็นวัยพายุบุแคม (Storm and Stress) นั่นคือ เด็กวัยรุ่นจะไม่มีความมั่นคงในอารมณ์ มีความผันผวนของอารมณ์ และอารมณ์ก็มักจะเป็นอารมณ์ที่แรง มีความกดดันสูง และในสายตาของคนทั่วไปก็เรียก วัยรุ่นเป็นวัยของปัญหา วัยอลวน เพราะฉะนั้นวัยรุ่นจัดเป็นวัยหนึ่งที่บุคคลในสังคมให้ความสนใจ และคิดว่าปัญหาพฤติกรรมส่วนหนึ่งของสังคมมาจากวัยรุ่นและพฤติกรรมของวัยรุ่นจะมีความสัมพันธ์กับพัฒนาการด้านต่าง ๆ ด้วย
นอกจากนั้น โยธิน ศันสรยุทธ (2533 : 192-195) ยังได้กล่าวถึงพฤติกรรมของวัยรุ่นว่ามีความสัมพันธ์กับพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. พัฒนาการทางร่างกาย เด็กวัยรุ่นจะมีพัฒนาการทางร่างกายอย่างรวดเร็ว รวมถึงมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายที่เกิดขึ้นในวัยรุ่นนำมาซึ่งความวิตกกังวล โดยเฉพาะในช่วงที่เด็กมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายใหม่ ๆ เด็กวัยรุ่นส่วนใหญ่จึงมุ่งความสนใจไปที่ตัวเองและพิจารณารูปร่างของตนที่เปลี่ยนไป ถ้าการเปลี่ยนแปลงเป็นไปในทางที่ดีสังคมยอมรับ เด็กก็สบายใจ ถ้าการเปลี่ยนแปลงนั้นไม่เป็นที่พอใจของวัยรุ่น เด็กวัยรุ่นจะเกิดความวิตกกังวลและแสดงพฤติกรรมแปลก ๆ และอาจเป็นปัญหาต่อไป
2. พัฒนาการทางบุคลิกภาพและสังคม เด็กวัยรุ่นมีการเกาะกลุ่มในหมู่เพื่อนมาก ในกลุ่มประกอบด้วยทั้งเพศชายและเพศหญิง มีกิจกรรมร่วมกันทางสังคมและต้องการเป็นส่วนหนึ่ง
ของสังคม ผู้ใหญ่ เพื่อนจะมีอิทธิพลต่อวัยรุ่นมาก อีริค อีริคสัน (Erik Erikson) กล่าวว่า วัยรุ่นเป็น
วัยของการพยายามหาเอกลักษณ์ของตนเอง (Identity crisis) โดยจะพยายามค้นหาความสามารถ
ความต้องการที่แท้จริงของตนในอนาคต การที่วัยรุ่นพยายามค้นหาเอกลักษณ์แห่งตนทำให้วัยรุ่นมีลักษณะนิสัยชอบความอิสระ ชอบทดลอง ต้องการเป็นตัวของตัวเอง ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจก่อให้เกิด
พฤติกรรมของการชอบแสวงหาประสบการณ์ ซึ่งผู้ใหญ่หรือบุคคลใกล้ชิดสามารถให้คำแนะนำชี้แนะให้เด็กหาประสบการณ์ในทางที่ถูกได้
3. พัฒนาการด้านสติปัญญา วัยรุ่นมีการพัฒนาการสติปัญญาที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เมื่อสิ้นสุดระยะวัยรุ่น เด็กจะมีระดับความสามารถทางสติปัญญาเหมือนผู้ใหญ่ แต่แตกต่างกันในด้านความสุขุมและประสบการณ์ วัยรุ่นสามารถคิดแก้ปัญหาได้อย่างมีระบบ มีความสามารถใน
25
การจำและมีความสามารถในการคิดเชิงนามธรรม ความสามารถนี้นำมาซึ่งความสามารถในการเรียนรู้ ความมีเหตุผล และการแก้ปัญหา ซึ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตในวัยผู้ใหญ่ต่อไป
การครองตนในวัยรุ่นเป็นเรื่องสำคัญมาก ชีวิตในวัยรุ่นเป็นช่วงที่นักจิตวิทยาเชื่อว่ามีความสำคัญต่อลักษณะการดำเนินชีวิตต่อไป วัยรุ่นเป็นวัยแห่งการปรับตัวและการเปลี่ยนแปลงอย่างมากทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์และความคิด มีปัญหาความเครียดทางอารมณ์ ดังนั้น วัยรุ่นที่ปรับตัวไม่ได้จึงมีผลทำให้เกิดการแสดงพฤติกรรมที่เป็นปัญหา ก่อให้เกิดพฤติกรรมที่ฝืนระเบียบและฝืนกฎเกณฑ์ของสังคม
อีริค อีริคสัน (อ้างในพรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์, 2527 : 163-164) ซึ่งเป็นผู้คิดทฤษฎีพัฒนาทางบุคลิกภาพต่อจากทฤษฎีของฟรอยด์ เรียกว่า ฟรอยด์ใหม่ (Neo’Freudian) ได้แบ่งระยะพัฒนาการของเด็กออกเป็น 8 ขั้น โดยเด็กที่อยู่ในวัยรุ่นจะอยู่ในขั้นที่ 5 คือ ขั้นการรู้จักตนเอง หรือการไม่รู้จักตนเอง (Sense of Identity V.S. Sense of Identityhim Diffusion)
อีริคสัน ยังได้เปรียบเทียบระยะวัยรุ่นนี้ว่าคล้ายกับเป็นระยะที่เปิดโอกาสให้เด็กได้ทดลอง
บทบาทต่าง ๆ ก่อนที่จะเริ่มเป็นผู้ใหญ่อย่างจริงจัง (Morotorium) ซึ่งสิ่งที่เด็กได้ควรรู้จักและทดลองปฏิบัติ รวมถึงปรับตัวก่อนก้าวเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ ประกอบไปด้วยสิ่งต่าง ๆ ดังนี้
1. การรู้จักใช้เวลาให้ถูกต้องและมีประโยชน์และจะต้องปฏิบัติตนให้เหมาะสม
2. สร้างความมั่นใจให้ตนเอง กล้าที่จะทำตามความสามารถของตนและกล้าเผชิญ
ปัญหาและแก้ปัญหาให้ลุล่วงโดยไม่ปล่อยปัญหาให้ล่วงเลยไป
3. ทดลองบทบาทต่าง ๆ ที่สังคมกำหนดให้
4. การทำงานต้องมีความหวังและตั้งระดับความสำเร็จในการทำงาน
5. พัฒนาบทบาททางเพศให้เหมาะสมตามกฎเกณฑ์และค่านิยมของสังคม
6. การรู้จักเป็นผู้นำหรือผู้ตาม
7. สร้างอุดมคติเป็นของตนเอง และรู้จักพิจารณาเปรียบเทียบศึกษาอุดมคติบุคคลอื่น
ศรีเรือน แก้วกังวาล (2518 : 17-18) ได้กล่าวถึงพฤติกรรมของวัยรุ่นไว้ว่า ระยะวัยรุ่น
เป็นช่วงคาบเกี่ยวระหว่างวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ ในด้านของอารมณ์และสัมพันธภาพกับเพื่อร่วมวัยร่วมเพศ ต่างเพศ จึงแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เห็นชัดจากวัยอื่น โดยเด็กพยายามเสาะแสวงหาทาง
26
ประพฤติปฏิบัติที่เหมาะสมกับตัวเองในแง่การดำรงและดำเนินชีวิต ความใฝ่ฝันปรารถนา การรู้จักตนเอง การแสวงหาอาชีพ การถึงจุดมุ่งหมายหรือเป้าประสงค์ของการมีชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคม
ระยะวัยรุ่นเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อ การสลัดทิ้งนิสัยความรู้สึกนึกคิดจากแบบเด็กไปสู่แบบผู้ใหญ่ทำให้เด็กมีอารมณ์สับสน ลังเลใจวุ่นวายใจ ไม่สนใจตนเองหรือในทางกลับกันคือแน่ใจตนเองมากเกินไปลักษณะอารมณ์และสภาพของวัยทำให้ตัดสินใจผิดพลาดได้ง่าย
ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยเห็นว่าแนวคิดของโยธิน ศันสรยุทธ (2533 : 192-195) ที่ได้ชี้
ให้เห็นถึงพฤติกรรมของวัยรุ่นที่มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ซึ่งมีผลทำให้วัยรุ่นมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอย่างรวดเร็ว มีความต้องการเป็นส่วนหนึ่งของสังคม มีศักยภาพในการคิดและเรียนรู้อันนำมาซึ่งความมีเหตุผลและความสามารถในการแก้ปัญหา ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาในครั้งนี้ ผู้วิจัยจึงได้นำมาเป็นกรอบในการศึกษา
2.2.5 แนวคิดเกี่ยวกับความต้องการและความสนใจของวัยรุ่น
วัยรุ่นเป็นวัยที่มีความต้องการเข้ามีส่วนร่วมในสังคมที่กว้างออกไปมากกว่าครอบครัวและ เพื่อนเล่น นอกจากนั้นวัยรุ่นยังมีความต้องการและความสนใจต่าง ๆ ตามแบบฉบับของตัวเอง โดย ที่มีความต้องการเป็นอิสระและเป็นตัวของตัวเองสูงมาก ซึ่งความต้องการของวัยรุ่นนั้นมีเรื่องที่ควรศึกษาและทำความเข้าใจ ดังนี้
ความต้องการของวัยรุ่น
เนื่องจากวัยรุ่นเป็นวัยที่อยู่ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อที่อยู่ระหว่างวัยเด็กกับวัยผู้ใหญ่ จึงมีลักษณะทั่ว ๆ ไปที่พอสรุปได้ดังนี้ (ประสาร ทิพย์ธารา, 2523 : 14)
1. เป็นวัยแห่งการเปลี่ยนแปลง กล่าวคือ เปลี่ยนแปลงทั้งด้านอารมณ์ ความคิดเห็น
2. เป็นวัยแห่งการเสริมสร้าง จะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะทางร่างกาย เช่น
ด้านสมองและน้ำหนัก
3. เป็นวัยที่ต้องการความเป็นอิสระ ต้องการพึ่งตนเองและมีแนวความคิดต่อต้านผู้ใหญ่ บางครั้งถึงกับมีการโต้เถียงกันอย่างรุนแรง
27
4. เป็นวัยที่ต้องการแสวงหาความรู้ อยากรู้อยากเห็นจะทดลองทำในสิ่งแปลก ๆ ใหม่ ๆ ที่ตนยังไม่เคยทำ
5. ต้องการปรัชญาชีวิตและแนวทางชีวิตของตน
6. เป็นวัยที่ต้องเผชิญปัญหามาก เพราะเป็นวัยหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญยิ่ง เป็นวัยแห่งความยุ่งยากสับสนและการปรับตัว
7. เป็นวัยที่ต้องการความเข้าใจ ความเห็นอกเห็นใจจากผู้ใหญ่ ไม่ชอบการลงโทษ
แมคคินนี่ (Mckinney, 1976 : 59) ได้อธิบายถึงความต้องการพื้นฐานของวัยรุ่นไว้ว่าประกอบไปด้วยลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
1. ต้องการเป็นอิสระ วัยรุ่นส่วนมากปรารถนาการเป็นตัวของตัวเอง เมื่อเติบโตต้องการสิทธิและความเป็นผู้ใหญ่
2. ต้องการเป็นที่ยอมรับนับถือของสมาชิกในกลุ่ม (ของเพศตรงข้าม)
3. ต้องการเป็นส่วนหนึ่งในกลุ่ม เป็นที่รู้จักและเป็นที่ต้องการของบุคคลอื่น ๆ
4. ต้องการความมั่นคงในอารมณ์ รวมทั้งความรู้สึกปลอดภัย ต้องการความสำเร็จ ความพอใจ และการประสบความสำเร็จในขอบเขต เช่น ด้านกีฬา การละคร การเขียน การโต้วาที ฯลฯ ความสำเร็จเหล่านี้นำมาซึ่งรางวัลและทำให้บุคคลพบความก้าวหน้าและความสำเร็จ
สำหรับนักจิตวิทยาไทยได้มีความเห็นต่อลักษณะความต้องการเฉพาะบางประการของวัยรุ่นที่มีผลไปสู่พฤติกรรมการแสดงออกของวัยรุ่นว่า ประกอบไปด้วยลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
1. วัยรุ่นต้องการความรักทั้งในฐานะผู้ให้และผู้รับ
2. วัยรุ่นต้องการเสรีภาพในการคิดและการกระทำ ต้องการสิทธิในการปกครองตนเอง
3. วัยรุ่นต้องการความเสมอภาคทัดเทียมกับผู้อื่นในทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นสถานภาพทางเศรษฐกิจ สังคม รูปร่างหน้าตา เสื้อผ้าเครื่องใช้ ฯลฯ
4. วัยรุ่นต้องการมีประสบการณ์ในเรื่องต่าง ๆ อยากรู้อยากเห็น อยากลอง
5. วัยรุ่นต้องการทำให้ตนเองเป็นที่ประทับใจผู้อื่น จึงชอบส่องกระจกเพื่อปรับปรุงบุคลิกภาพของตนเอง และสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง นอกจากนี้ สื่อมวลชนแขนงต่าง ๆ ก็เป็นเสมือนกระจกส่องทำให้เด็กพยายามที่จะปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลงตนเองตามตัวอย่างที่ได้เห็น สื่อมวลชนจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อความต้องการของวัยรุ่น
28
ความต้องการของวัยรุ่นโดยที่ในแต่ละวัยมีความต้องการเด่น ๆ ประจำวัย เช่น วัยรุ่นในตอนต้นและตอนกลางมีความต้องการเล่นสนุก โดยความต้องการเด่น ๆ ของวัยรุ่น สามารถสรุปได้ดังนี้ (ศรีเรือน แก้วกังวาล, 2540 : 360)
1. ต้องการความเป็นอิสระเป็นตัวของตัวเอง ไม่ต้องการอยู่ใต้คำสั่งคำบังคับบัญชาใคร
2. ต้องการมีตำแหน่ง รวมทั้งต้องการความสนับสนุนทั้งจากผู้ใหญ่และเพื่อนร่วมรุ่น
3. ต้องการแสวงหาประสบการณ์แปลก ๆ ใหม่ ๆ บางครั้งต้องการความท้าทายตื่นเต้น หลีกหนีความจำเจ ชอบทดลอง ยิ่งห้ามยิ่งอยากทำ
4. ความต้องการรวมพวกพ้อง มีกลุ่มก้อน เป็นความต้องการค่อนข้างสูงเพราะการรวมพวกพ้องเป็นวิถีทางที่ให้ตนเองได้รับสนองความต้องการหลายประการ เช่น ความรู้สึกอบอุ่นใจ การได้รับการยกย่อง ความรู้สึกว่ามีผู้ที่เข้าใจตน
5. ความต้องการความรู้สึกมั่นคง อุ่นใจและปลอดภัย เพราะเด็กมีอารมณ์หวั่นไหวง่าย
6. ต้องการความถูกต้อง ความยุติธรรม โดยที่ถือว่าความยุติธรรมเป็นส่วนหนึ่งของความเป็นผู้ใหญ่
7. ความต้องการความงดงามทางร่างกาย ไม่ว่าวัยรุ่นชายหรือหญิงต้องการให้คนรู้สึกชื่นชมเกี่ยวกับรูปร่างลักษณะของตนทั้งสิ้น เพราะคิดว่าความงามทางกายเป็นแรงจูงใจให้เข้ากลุ่มได้ง่าย เป็นที่ยอมรับของสังคมและดึงดูดเพศตรงข้าม
8. ความต้องการประพฤติตนตามบทบาททางเพศของตน เป้าประสงค์เหล่านี้ลึกซึ้งมาก ในระยะนี้ ผู้ที่มีความรู้สึกว่าตนเอง “ไม่สมชายชาตรี” หรือ “ไม่สมเป็นหญิงสาว” จะรู้สึกไม่แน่ใจและไม่สบายใจเกี่ยวกับตนเอง ความสำนึกเช่นนี้ถ้าบังเกิดกับคนใดแล้ว ผู้นั้นย่อมพยายามแก้ไขทุกวิถีทาง ส่วนผู้ที่รู้ตัวดีว่าบทบาททางเพศแบบลักเพศก็มักรวมกลุ่มกับผู้ที่มีลักษณะคล้ายกัน ยิ่งสังคมปัจจุบันยอมรับสิ่งเหล่านี้อย่างเปิดเผย การรวมกลุ่มของพวกนี้ในสังคมเพศของตัวเองก็ยิ่งเกาะกลุ่มกันแน่นแฟ้นและเปิดเผยยิ่งขึ้น
9. การเลือกอาชีพ วัยรุ่นโตพอที่จะมองเห็นความสำคัญของอาชีพ และเข้าใจว่าอาชีพนำมาซึ่งสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคม อาชีพเป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึงความเป็นผู้ใหญ่
สรุปแล้ววัยรุ่นที่มีความสุขคือ ผู้ที่ได้รับสิ่งสนองสมความต้องการ การตั้งเป้าระดับของความต้องการ ลักษณะของความต้องการ จึงเป็นเรื่องที่วัยรุ่นต้องคำนึงให้อยู่ในขอบเขตที่จะทำได้สำเร็จเพื่อประกันความไม่สมปรารถนา เพราะหากไม่สมปรารถนาในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างรุนแรง ย่อมมีความรู้สึกผิดหวังที่ลึกซึ้งและยาวนาน
29
ความสนใจของวัยรุ่น
ลักษณะความสนใจของวัยรุ่นนั้นมีขอบข่ายกว้างขวาง มีความสนใจในหลาย ๆ ด้านและยังไม่มีความสนใจที่ลึกซึ้ง เพราะยังไม่เข้าใจในตนเอง เป็นช่วงที่แสวงหาเอกลักษณ์ของตนเอง
เป็นระยะที่ลองผิดลองถูก เป็นระยะที่เปลี่ยนแปลงบทบาทของชีวิต ความสนใจของวัยรุ่นจะเป็นไปอย่างไรยังคงต้องขึ้นอยู่กับองค์ประกอบอื่น ๆ อีกหลายประการ เช่น เพศ ฐานะทางสังคมและเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมรอบตัว
ความสนใจ (Interest) หมายถึง แนวโน้มทางด้านจิตใจหรือความรู้สึกของบุคคลที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งมีอิทธิพลทำให้บุคคลนั้นเอาใจใส่และรู้สึกในการกระทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งนั้น ถึงแม้เด็กวัยรุ่นจะมีความสนใจในเรื่องต่าง ๆ แตกต่างกัน เนื่องมาจากลักษณะทางบุคลิกภาพ การศึกษา สถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคม ความสามารถ ความถนัด ฯลฯ แต่จะมีลักษณะร่วมกันของความสนใจ นั่นคือ ความสนใจที่แคบเข้ามาในเฉพาะเรื่อง ซึ่งในแนวคิดของCrow and Corw (1967 : 204) ได้สรุปความสนใจของวัยรุ่นไว้ดังนี้
1. ความสนใจเกี่ยวกับตนเอง เช่น รูปร่าง หน้าตา การแต่งกาย และการวางตัว ทั้งนี้เพื่อปรับปรุงตัวเองให้เป็นที่สนใจและดึงดูดใจของผู้อื่นและเพื่อนต่างเพศ
2. ความสนใจเกี่ยวกับสังคม ในระยะแรกจะมีความสนใจเพื่อนเพศเดียวกัน ให้ความสำคัญและเวลากับเพื่อนมาก ต่อมาจะเริ่มสนใจเพศตรงข้าม สนใจที่เข้ารวมกลุ่มหรือมีส่วนร่วมในสังคม รวมถึงสนใจในบทบาททางสังคมของบุคคล
3. ให้ความสนใจในการเลือกอาชีพและวิถีชีวิต เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเป็นผู้ใหญ่
ส่วน เฮอร์ล็อค (Hurlock, 1978 : 102) ได้แบ่งความสนใจของวัยรุ่นไว้ดังนี้คือ
1. ความสนใจทางสังคม (Social Interest)
ในระยะวัยรุ่นตอนต้น เพศหญิงมีความสนใจในการพบปะสนทนากันมากกว่าเพศชายเพราะเพศหญิงจะเข้าสู่วัยรุ่นเร็วกว่าเพศชาย 1-2 ปีเพศหญิงชอบคุยเกี่ยวกับงานเลี้ยง เพศตรงข้าม เรื่องตลกขบขัน หนังสือ ภาพยนตร์ ดนตรี กีฬา ครูอาจารย์และเพื่อน ๆ ที่โรงเรียน ส่วนวัยรุ่นชาย ชอบคุยเรื่องกีฬา ภาพยนตร์ เพศตรงข้ามและเรื่องการเมือง นอกจากนี้ ทั้งวัยรุ่นชายหญิงยังสนใจในชีวิตความเป็นอยู่ของบุคคลในสังคมด้วย
30
2. ความสนใจส่วนบุคคล (Personal Interest)
- ความสนใจในการแต่งกาย เช่น การรักสวยรักงามของวัยรุ่นหญิง การแต่งตัว
- ความสนใจในสุขภาพ ได้แก่ การออกกำลังกาย การทานอาหารเสริมความงาม
การทานอาหารฟาสต์ฟู๊ด
- ความสนใจในเพศตรงข้าม เช่น การปรับปรุงตัวให้เข้ากับเพศตรงข้าม การวางตัวให้เหมาะสม การออกไปเที่ยวกับเพศตรงข้าม
- ความสนใจในการอาชีพ เพื่อวางแผนในอนาคต เช่น การอ่านหนังสือที่เกี่ยวกับอาชีพที่ตนสนใจ เลือกแบบแผนการเรียน
- ความสนใจในศาสนา เช่น การรู้ดีรู้ชั่ว การทำบุญทำทานไปวัด ใส่บาตร เมตตากรุณา การให้อภัย
- ความสนใจในการพักผ่อนหย่อนใจ เช่น เกมส์กีฬา อ่านหนังสือ ชมภาพยนตร์
ฟังวิทยุ และดูโทรทัศน์ เป็นต้น
ลักษณะความสนใจของวัยรุ่นยังคงมีขอบข่ายกว้างขวาง สนใจหลาย ๆ อย่าง และยังไม่ลึกซึ้งมาก เพราะเด็กยังไม่เข้าใจตัวเอง ยังเป็นระยะลองผิดลองถูก ระยะเปลี่ยนแปลงบทบาท
ของชีวิต ความสนใจของเด็กจะเป็นเช่นไรยังขึ้นอยู่กับองค์ประกอบอื่น ๆ อีกหลายประการ เช่น ลักษณะบุคลิกภาพ ฐานะทางสังคมและเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมรอบตัว บุคคลที่เด็กนิยมชื่นชม ฯลฯ
อย่างไรก็ตาม ความสนใจของวัยรุ่นส่วนใหญ่ (ศรีเรือน แก้วกังวาล, 2540 : 364) ได้แก่
1. สนใจการศึกษา สภาพเศรษฐกิจสังคมสมัยปัจจุบันกระตุ้นให้เด็กเข้าใจและเห็นความสำคัญของการศึกษาซึ่งเกี่ยวโยงกับอาชีพ เกี่ยวกับฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม ความสนใจการศึกษามากน้อยเพียงใด และแนวที่แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคลขึ้นอยู่กับว่า ครอบครัวอุดหนุนได้เพียงไร นอกจากนี้ เพศ ระดับสติปัญญา และโอกาสเข้ากลุ่มก็เป็นส่วนช่วยนำความสนใจด้วย
2. สนใจช่วยเหลือบุคคลอื่น วัยรุ่นมักสนใจช่วยเหลือบุคคลอื่นที่เขาเห็นว่าได้รับความลำบากและไม่ได้รับความยุติธรรม เพราะบ่อยครั้งเคยรู้สึกว่าตนเองก็อยู่ในฐานะเช่นนั้น และเคยสะเทือนอารมณ์เพียงไร จึงสามารถเข้าถึงอารมณ์แบบเดียวกันของบุคคลอื่นได้ง่าย
3. สนใจกิจกรรมสร้างสรรค์ กิจกรรมที่เป็นของใหม่และมีประโยชน์ ช่วยระบายความเคร่งเครียดอารมณ์ วัยรุ่นมักให้ความร่วมมือ กิจกรรมสร้างสรรค์อาจเป็นแง่ส่วนตัวและแง่สังคม
31
4. สนใจวัฒนธรรมประเพณี ระยะนี้เด็กเริ่มสามารถเข้าใจและมองเห็นคุณค่าของวัฒนธรรมว่ามีความสำคัญต่อบุคคลและต่อสังคมส่วนรวมอย่างไร การให้ความรู้ ความเข้าใจ และชักจูงเด็กให้สนใจอย่างถูกทาง จะสร้างให้เด็กเป็นบุคคลที่รู้จักและสงวนวัฒนธรรมประเพณี
5. สนใจศาสนา ปรัชญา อุดมคติ วัยรุ่นกำลังเสาะแสวงหาหลักการแก้ความทุกข์ร้อนทางจิตใจและแนวทางดำเนินชีวิตอย่างผู้ใหญ่ จึงเพ่งเล็งให้ความสำคัญแก่ศาสนา ปรัชญา อุดมคติและค่านิยมต่าง ๆ แต่จะติดใจวัยรุ่นมากน้อยหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับว่าศาสนาและปรัชญาให้ความ
กระจ่างแก่จิตใจอย่างสมเหตุสมผล อีกทั้งสิ่งแวดล้อม กลุ่มและผู้ใหญ่ที่เด็กนิยมได้มีอิทธิพลต่อตัวเขาเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไร
6. สนใจมีเพื่อนสนิทต่างเพศ ความสนใจนี้สืบเนื่องมาจากทางกายบรรลุวุฒิภาวะทางเพศและความต้องการที่ดำเนินชีวิตอย่างผู้ใหญ่
จากที่กล่าวมาข้างต้นถึงลักษณะทั่วไปและความต้องการของวัยรุ่นพบว่า วัยรุ่นมักจะมีความต้องการหรือความปรารถนาที่แตกต่างไปจากวัยอื่น ๆ บางครั้งเป็นความต้องการที่ขาดความพอดีจะมากเกินไปหรือน้อยเกินไป ลักษณะของความสนใจของวัยรุ่นยังคงมีขอบข่ายที่กว้างขวางสนใจหลาย ๆ อย่าง และยังไม่ลึกซึ้งมาก เพราะเด็กยังไม่เข้าใจตนเอง เป็นระยะที่ลองผิดลองถูก ระยะเปลี่ยนแปลงบทบาทของชีวิต ความสนใจของเด็กจะเป็นไปในแนวทางใดจึงยังขึ้นอยู่กับองค์ประกอบอื่น ๆ อีกหลายอย่าง เช่น ฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว สิ่งแวดล้อมรอบตัว บุคคลที่เด็กนิยมชื่นชม โดยที่พฤติกรรมตามความสนใจของวัยรุ่นนั้นแบ่งได้ออกเป็นด้านใหญ่ได้ 7 ด้านคือ พฤติกรรมตามความสนใจด้านสุขภาพ พฤติกรรมตามความสนใจด้านการแต่งกาย
พฤติกรรมตามความสนใจด้านเพศตรงข้าม พฤติกรรมตามความสนใจด้านการแสวงหาอิสระ พฤติกรรมตามความสนใจด้านอาชีพ พฤติกรรมตามความสนใจด้านศาสนา และพฤติกรรมตามความสนใจด้านการพักผ่อนหย่อนใจ จึงเป็นสิ่งที่ครอบครัวและสังคมให้ความสนใจเอาใจใส่ดูแล ชี้แนะแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสมให้แก่วัยรุ่น เพื่อให้วัยรุ่นสามารถเจริญเติบโตขึ้นอย่างมีความภาคภูมิใจในตัวเองและมีการพัฒนาบุคลิกภาพอย่างมั่นคง
2.2.6 ความสำคัญของเยาวชนหรือวัยรุ่น และการพัฒนา
ชนิตา รักษ์พลเมือง (2528 : 11) ได้กล่าวว่า รัฐบาลทั่วโลกต่างตระหนักถึงความสำคัญของเยาวชนในฐานะทรัพยากรมนุษย์ เพราะกลุ่มเยาวชนนั้นมีอยู่เป็นจำนวนมาก และอยู่ในวัยที่เต็มไปด้วยพลังทั้งทางกาย ทางความคิด และศักยภาพในการเรียนรู้ ฯลฯ จนกระทั่งมีคำกล่าวว่า
32
“เยาวชนเป็นความหวังของชาติ” ซึ่งหมายความว่า เยาวชนเป็นผู้มีพลังในการผลิต การดำรงสืบต่อวัฒนธรรมของธรรมเนียมประเพณีตลอดจนปกป้องและรักษาความเป็นชาติ รวมทั้งทำให้สังคมพัฒนาสืบเนื่องต่อ ๆ ไป เพื่อให้ความคาดหวังดังกล่าวบรรลุได้จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการเตรียมตัวและพัฒนาเยาวชนไปในทิศทางที่เหมาะสมต่อไป การพัฒนา “ทรัพยากรมนุษย์” นั้น หมายถึง การพัฒนาผลรวมของความรู้ ความสามารถ ความถนัด ตลอดจนความคิดริเริ่ม ความคิดถูกต้อง ความสนใจ เจตคติที่ดี และคุณสมบัติต่าง ๆ
เมื่อพิจารณาตามช่วงที่กำหนดตามความหมายคือ อายุระหว่าง 15-25 ปี เรียกว่า
เยาวชนหรือวัยรุ่นแล้ว นับว่าเยาวชนหรือวัยรุ่นเป็นวัยที่สำคัญ ซึ่งแยกได้เป็น 3 ด้าน คือ
1. ความสำคัญด้านครอบครัว
2. ความสำคัญต่อชุมชน
3. ความสำคัญต่อรัฐ
นอกจากนี้ หากจะพิจารณาความสำคัญของเยาวชนในแง่ของการพัฒนาแล้ว สามารถแยกกล่าวได้ดังต่อไปนี้
1. เยาวชนเป็นแรงงานแฝง
2. เยาวชนเป็นปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคม
3. เยาวชนเป็นภาระต่อการพัฒนา
4. เยาวชนเป็นความหวังของสังคมใหม่
นอกจากเยาวชนจะอยู่ในวัยหัวเลี้ยวหัวต่อของการเปลี่ยนแปลงแห่งชีวิตแล้ว เยาวชนยังถูกจัดว่าเป็นจุดเริ่มต้นแห่งความก้าวหน้าและการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ฉะนั้น เยาวชนอาจเป็นทั้งแรงงานแฝงของสังคม ปัญหาภาระและเครื่องมือในการพัฒนา ประเด็นสำคัญในกระบวนการพัฒนาประเทศจึงอยู่ที่การทำให้เยาวชนเป็นความหวังของสังคมใหม่ เป็นอนาคตของชาติ เป็นผู้ใช้ความสามารถอย่างเต็มความสามารถ เป็นผู้ไม่สร้างปัญหา ไม่ทำตนเป็นภาระ นอกจากนี้เป็น
ผู้ตระหนักในสังคมส่วนรวม เป็นสมาชิกที่แข็งขัน กระตือรือล้นเข้าร่วมในกระบวนการพัฒนาประเทศอีกด้วย (สมิทธ์ สระอุบล, 2534 : 5-7)
33
โดยเหตุที่เยาวชนเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่ายิ่ง เป็นกำลังสำคัญและเป็นผู้สืบทอดการพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต และเยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี มีจำนวนมากกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งประเทศ ดังนั้น เยาวชนทุกคนจึงสมควรจะได้รับการพัฒนาให้เป็นไปตามสภาวะความต้องการพื้นฐาน และบริการสำหรับเด็กและเยาวชน และให้เต็มศักยภาพ ตามนัยแห่งมาตรา 69 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 ที่ได้ระบุไว้ว่า “รัฐพึงสนับสนุนและ
สงเสริมการพัฒนาพลเมืองของชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและเยาวชนให้เป็นผู้มีความสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย สติปัญญา และจริยธรรม”
ดังนั้น คณะรัฐมนตรีจึงได้กำหนดนโยบายเยาวชนแห่งชาติ เพื่อเป็นแนวทางหลักให้หน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชนนำไปใช้ในการดำเนินงานเพื่อพัฒนาเยาวชนอย่างสอดคล้องและบรรลุจุดมุ่งหมายร่วมกัน ดังนี้
1. ปลูกฝังเยาวชนให้ตระหนักในความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และมีความสำนึกนิยม ภาคภูมิใจในความเป็นไทยร่วมกัน ตลอดจนรักษาและส่งเสริมค่านิยมและวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ
2. เร่งเร้าความปราถนาอันบริสุทธิ์ใจของเยาวชนให้มีความสำนึกในหน้าที่ มีโอกาสแสดงความคิดเห็น และมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการพัฒนาสังคมให้บังเกิดประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวม
ลดความขัดแย้งในกลุ่มเยาวชน เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยความสมานฉันท์ เคารพในความคิดเห็น ไม่ละเมิดในเกียรติ์และศักดิ์ศรีของผู้อื่น แก้ไขปัญหาด้วยสติปัญญาอย่างสันติโดยยึดทางสายกลางและการประสานประโยชน์
3. ส่งเสริมสุขภาพพลานามัยทั้งทางกาย จิตใจ และสติปัญญา ให้การป้องกันโรคติดต่อและไม่ติดต่อ อุบัติภัย และสารพิษ
4. ปลูกฝังให้เยาวชนมีบุคลิกภาพดี มีจิตใจเข้มแข็ง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รักเหตุผลยึดมั่นในระเบียบวินัยและความสามัคคี มีน้ำใจนักกีฬา อดทน เสียสละเกื้อกูลซึ่งกันและกัน รู้จักการทำงานร่วมกัน ขยันหมั่นเพียร ประหยัด สำนึกในสิทธิหน้าที่และมีความรับผิดชอบต่อสังคม
5. ส่งเสริมการดำเนินชีวิตประจำวันของเยาวชนให้อยู่ในศีลธรรม มีคุณธรรมและ
จริยธรรมขั้นพื้นฐานตามหลักศาสนาที่ตนนับถือ มีความสุจริต ยุติธรรม ประพฤติตนตามควรแก่วัย เพื่อเป็นรากฐานแห่งความร่มเย็นเป็นสุขในสังคม
6. กระตุ้นให้เยาวชนเป็นผู้ใฝ่หาความรู้อยู่เสมอ เร่งรัดให้เยาวชนได้รับการศึกษาขั้น
พื้นฐานเป็นอย่างน้อย ซาบซึ้งและสร้างสรรค์ศิลปะ ส่งเสริมการฝึกอบรมวิชาชีพเพื่อประกอบ
34
สัมมาชีพตามสภาพของท้องถิ่นและความต้องการของตลาดแรงงาน รู้จักใช้และสงวนทรัพยากร
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รู้จักระบบเศรษฐกิจของตนเอง
7. สนับสนุนให้เยาวชนรู้จักคุ้มครองป้องกันตนเองจากอบายมุข และสิ่งที่ไม่เหมาะสมต่อชีวิตและที่เป็นภัยต่อสังคม พร้อมที่จะเผชิญปัญหาสังคมในการเสริมสร้างบรรยากาศสิ่งแวดล้อม
และสถานพักผ่อนหย่อนใจอันเหมาะสม การลดปัญหาความตึงเครียดทางจิตใจ ตลอดจนส่งเสริมให้มีการวิจัยเพื่อแก้ไขเยาวชนด้านต่าง ๆ
8. ให้การส่งเคราะห์ ฟื้นฟู พัฒนา และพิทักษ์สิทธิแก่เด็กในสภาวะยากจนทุกกลุ่ม ซึ่งมีทั้งเด็กที่ถูกละเมิดสิทธิ โสเภณีเด็ก เด็กถูกปล่อยปละละเลย กำพร้า อนาถาไร้ที่พึ่ง เด็กประพฤติตนไม่สมควร ติดยาเสพติด เด็กพิการ ทุพพลภาพไร้หรือเสมือนไร้ความสามารถให้สามารถเป็นที่พึ่ง
ตนเองได้และเป็นพลเมืองที่ดี ให้การอบรมสงเคราะห์และเกื้อกูลในสิ่งที่จำเป็นในการดำรงชีวิตแก่เยาวชนที่ขาดแคลน คุ้มครองการใช้แรงงานเด็กและเยาวชน สตรี ชุมชนเมือง ชนบท และชายแดนให้เกิดผลอย่างจริงจัง
9. ส่งเสริมมิตรภาพ และความเข้าใจอันดีระหว่างเยาวชนในประเทศกับต่างประเทศ
ตามนโยบายแห่งรัฐเพื่อความมั่นคงและก้าวหน้าของภูมิภาคและสร้างสันติสุขของโลก
2.3 แนวคิดเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ในสมัยที่มนุษย์ยังมีความเป็นอยู่ตามธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมถูกทำลายน้อยที่สุด ทั้งนี้
เนื่องจากจำนวนประชากรยังมีน้อย สิ่งแวดล้อมหรือระบบนิเวศที่ถูกทำลายไปมีโอกาสฟื้นตัวได้ทัน
และมนุษย์ยังขาดความรู้ที่จะนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ วินัย วีระวัฒนานนท์ (2530 : 54) ได้
กล่าวถึงจุดเริ่มต้นของแนวความคิดในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของมนุษย์คือเริ่มเมื่อมนุษย์รู้จักใช้ไฟ เริ่มมีการเผาป่าและถางป่าเพื่อใช้ในการเพาะปลูก สิ่งแวดล้อมได้ถูกทำลายมากยิ่งขึ้น ประกอบกับจำนวนประชากรเริ่มทวีจำนวนมากขึ้น ความต้องการใช้ที่ดินก็เพิ่มขึ้นด้วย ต่อมามนุษย์รู้จักการใช้พลังงานต่าง ๆ ได้แก่ พลังงานจากถ่านหิน พลังงานไอน้ำ พลังงานน้ำมัน แก๊ส ตลอดจนพลังงานนิวเคลียร์ ทำให้สิ่งแวดล้อมยิ่งถูกทำลายมากขึ้นจนถึงขนาดที่เป็นอันตรายต่อชีวิตมนุษย์เอง
แนวความคิดในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้เกิดขึ้นในยุโรปและอเมริกา โดยได้มีกฎหมายห้ามการเผาทำลายป่า ในปี ค.ศ.1872 มีการประกาศอุทยานแห่งชาติขึ้นเป็นครั้งแรกที่เยลโล่สโตน
ในสหรัฐอเมริกา และมีการตั้งป่าสงวนแห่งชาติขึ้นในหลาย ๆ รัฐ หลังจากนั้นก็เริ่มมีความคิดและค่านิยมในการอนุรักษ์สัตว์ป่าเกิดขึ้น (วินัย วีระวัฒนานนท์, 2530 : 55)
35
ต่อมาเมื่อเกิดปัญหาด้านวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อมขึ้นทั่วโลก ประกอบไปด้วย วิกฤตการณ์อาหาร วิกฤตการณ์พลังงาน วิกฤตการณ์ประชากร วิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อมเป็นพิษและอื่น ๆ ซึ่งจะ
ส่งผลสะท้อนถึงคนทั้งหมดทั่วโลก องค์การสหประชาชาติได้ให้ความสนใจในเรื่องนี้จึงได้มีมติให้จัดการประชุมใหญ่ เรียกว่า การประชุมสหประชาชาติ เรื่องสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ที่กรุงสต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน เป็นเวลา 2 สัปดาห์ ระหว่างวันที่ 5 - 16 มิถุนายน ค.ศ.1972 มีผู้เข้าร่วมประชุม ได้แก่ ผู้สังเกตการณ์ นักหนังสือพิมพ์ และตัวแทนจากที่ต่าง ๆ ประมาณว่าไม่น้อยกว่า 3 หมื่นคน ซึ่งตามข้อตกลงร่วมกันจากที่ประชุมมีผลทำให้เกิดโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ และได้มีการจัดตั้งกองทุนสิ่งแวดล้อมสหประชาชาติขึ้นโดยการบริจาคจากประเทศสมาชิก ซึ่งจะนำเงินทุนนี้ไปใช้ในการดำเนินโครงการต่าง ๆ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของโลก หลังจากนั้นก็ได้มีการประชุมด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นอีกหลายครั้ง ทั้งนี้เพื่อที่จะหามาตรการในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
2.3.1 ความหมายของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ได้มีผู้ให้ความหมายของคำว่าการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไว้ เช่น เกษม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
(2529 : 9) ได้ให้ความหมายของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไว้ว่า หมายถึง การจัดการของมนุษย์ในการใช้ชีวบริเวณเพื่อจะให้ผลประโยชน์ที่ดีที่สุด
เกษม จันทร์แก้ว (2525 : 45) ได้ให้ความหมายของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมว่า หมายถึง
“การใช้สิ่งแวดล้อมอย่างมีเหตุผล เพื่อที่จะอำนวยให้คุณภาพของการมีชีวิตอยู่อย่างดีตลอดไป
สำหรับมนุษย์”
ทวี ทองสว่าง และทัศนีย์ ทองสว่าง (2523 : 1) ได้ให้ความหมายการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมว่าหมายถึง การรักษาสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่รอบตัวเรา ทั้งทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมให้คงสภาพไว้ มิให้
เกิดการเปลี่ยนแปลง การสูญเสีย และการทำลายเกิดขึ้น
นิวัติ เรืองพานิช (2517 : 3) ได้ให้คำจำกัดความของการอนุรักษ์ทรัพยากรและ
สิ่งแวดล้อม (Conservation) ไว้ว่า หมายถึง การรู้จักใช้ทรัพยากรให้เป็นประโยชน์ต่อมหาชนมากที่สุด และใช้ได้เป็นเวลานานที่สุด ทั้งนี้จะต้องให้สูญเสียทรัพยากรโดยเปล่าประโยชน์น้อยที่สุด
36
2.3.2 แนวทางการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
เกษม จันทร์แก้ว (2525 : 66) ได้กล่าวถึงแนวความคิดทางอนุรักษ์วิทยาในการที่จะอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ไว้ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1. ในการที่จะใช้ทรัพยากรธรรมชาติในสิ่งแวดล้อม จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรู้
ในการรักษาทรัพยากรธรรมชาติที่จะให้ประโยชน์ต่อมนุษย์ทุกแง่มุม และที่จะมีผลกระทบต่อ
สิ่งแวดล้อมอย่างน้อยที่สุด ต้องคำนึงถึงความสูญเปล่า อันอาจเกิดจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ
2. รักษาทรัพยากรธรรมชาติที่จำเป็น และหายากด้วยความระมัดระวัง รวมทั้งจะต้องตระหนักเสมอว่า การใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มากเกินไปนั้นจะไม่ปลอดภัยต่อสภาวะแวดล้อม
3. ต้องรักษาทรัพยากรธรรมชาติที่ทดแทนได้นั้น โดยให้มีอัตราผลิต (เพิ่มพูน) เท่ากับอัตราใช้ หรืออัตราเกิดเท่ากับอัตราตายเป็นอย่างน้อย
4. ประชากรเป็นปัจจัยอันสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ดังนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องประมาณอัตราเกิดและการเปลี่ยนแปลงของพลเมืองตลอดเวลา โดยพิจารณาจากความต้องการในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเป็นสำคัญ
5. หาทางปรับปรุงวิธีการใหม่ ๆ ในการที่จะผลิต และใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งพยายามค้นคว้าสิ่งใหม่ ๆ เพื่อให้ประชากรได้มีใช้อย่างพอเพียง
6. ให้การศึกษาแก่ประชาชนให้เข้าใจถึง ความสำคัญในการรักษาสมดุลตามธรรมชาติ ซึ่งจะมีผลต่อการทำให้สิ่งแวดล้อมอยู่ในสภาพที่ดี การให้การศึกษาอาจเป็นทั้งในและนอกโรงเรียน เพื่อให้ประชาชนเข้าใจหลักการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ ผลการศึกษานี้จะเป็นหนทางไปสู่ความหวังในอนาคตว่า สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์อาศัยจะสดสวยและน่าอยู่ในอนาคต
ศิริพรต ผลสินธุ์ (2531 : 196-197) ได้กล่าวว่า การป้องกันไม่ให้สภาพแวดล้อมเกิดการเสื่อมโทรมลง การดำเนินการต้องอาศัยการร่วมมือจากทุกฝ่ายอย่างเคร่งครัด ทั้งฝ่ายรัฐบาลซึ่งเป็นผู้วางนโยบายและประชาชนที่จะต้องร่วมมือกันปฏิบัติตามมาตรการนั้น ๆ
แนวคิดเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่ามนุษย์มีส่วนสำคัญในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไว้ไม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสูญเสียและถูกทำลาย เพื่อที่จะเอื้ออำนวยประโยชน์ให้มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม
37
2.3.3 แนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม
วิทย์ วิศทเวทย์ (2520 : 24) จำแนกความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมออกเป็น 2 ลักษณะคือ
1. ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติที่เป็นไปในลักษณะนายกับบ่าวโดยเห็นว่าธรรมชาติเป็นฐานะต่ำกว่ามนุษย์ มีไว้เพื่อมนุษย์ มนุษย์มีสิทธิอันชอบธรรมที่จะดัดแปลงบังคับและตักตวงผลประโยชน์จากธรรมชาติได้เต็มที่ และควรทำอย่างนั้นให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
2. ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติที่เป็นไปในลักษณะมิตรกับมิตรโดยเห็นว่าธรรมชาติมีศักดิ์ศรีเสมอมนุษย์ ควรดำรงชีวิตให้กลมกลืนกับธรรมชาติ ควรเสพสุขจากธรรมชาติในลักษณะดื่มด่ำในความงาม ความยิ่งใหญ่ และความลับของธรรมชาติมากกว่าที่จะดัดแปลงและบังคับ และต้องอาศัยธรรมชาติเพื่อดำรงชีวิต จึงควรจะใช้แต่น้อยที่สุด
นอกจากนี้ วิทย์ วิศทเวทย์ (2520 : 24) ยังได้กล่าวถึง พฤติกรรมของบุคคลที่กระทำต่อ
สิ่งแวดล้อมว่าแบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะคือ
1. พฤติกรรมที่แสดงถึงการกระทำ เช่น การบำรุงรักษา การปรับปรุง การเปลี่ยนแปลง
การสร้างขึ้นใหม่ ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้จัดเป็นพฤติกรรมควบคุมอนุรักษ์และทำลายสิ่งแวดล้อม
2. พฤติกรรมที่แสดงถึงความรู้สึก ความรัก ความผูกพัน และเมตตาสงสารในรูป
พฤติกรรมการเลี้ยงดู เอาใจใส่พืชและสัตว์ การซาบซึ้งในความงามของศิลปะและธรรมชาติ เป็นต้น พฤติกรรมนี้จัดเป็นพฤติกรรมที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อม
3. พฤติกรรมที่แสดงถึงความเชื่อ เช่น การกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ การเชื่อโชคลาง พฤติกรรมประเภทนี้จัดว่าเป็นความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งที่เหนือธรรมชาติ
เนื่องจากมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด มนุษย์จึงจำเป็นที่จะต้องตระหนักถึงพฤติกรรมของตนเองที่จะประพฤติปฏิบัติต่อธรรมชาติสิ่งแวดล้อม นอกจากนั้นจะต้องคำนึงถึงความอยู่รอดของตนเองและส่วนรวมในอนาคต พฤติกรรมที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมควรมีการเปลี่ยนแปลง เพราะมนุษย์ไม่ได้มีอำนาจเหนือธรรมชาติอย่างที่ได้เข้าใจกันมา หากแต่มนุษย์เป็นเพียงส่วนหนึ่งของธรรมชาติเท่านั้น ดังนั้น พฤติกรรมต่าง ๆ ควรที่จะได้มีการปรับปรุงเพื่อให้สอดคล้องและกลมกลืนกับธรรมชาติมากที่สุด
38
สำหรับการประพฤติปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อมนั้นมีข้อควรคำนึงถึงดังต่อไปนี้ (Schumacher, 1974 : 84)
1. มนุษย์ทุกคนมีบางสิ่งบางอย่างที่ได้รับจากสังคม และมีบางสิ่งบางอย่างที่ต้องให้แก่สังคม
2. ทุกคนควรจะต้องช่วยกันรักษาและเสริมสร้างธรรมชาติเอาไว้ เพื่อประโยชน์แก่ตนเอง และรักษาสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ให้ดำรงอยู่ต่อไปได้อย่างมีคุณภาพ
3. การตักตวงผลประโยชน์จากธรรมชาติโดยไม่ระมัดระวัง ย่อมก่อให้เกิดผลเสียต่อการดำรงชีวิตอยู่ของสิ่งมีชีวิต
4. ถ้าเราต้องการจะดำรงชีวิตอย่างมีความสุข เราจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขแนวคิด
ความรู้สึกที่จะอยู่ในสิ่งแวดล้อมอย่างกลมกลืนและพอเหมาะ
5. ทรัพยากรทั้งหมดในโลกเป็นของสิ่งมีชีวิตทั้งมวล ไม่ใช่ของมนุษย์เท่านั้น
6. การดำรงชีวิตของมนุษย์ต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการใช้ทรัพยากรและการทำกิจกรรมอื่น ๆ
7. ในการทำกิจกรรมใด ๆ ที่กระทำต่อสิ่งแวดล้อม จะต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่าง ๆ ในสิ่งแวดล้อมที่มีความเกี่ยวข้องกันอย่างเป็นระบบ
8. การดำรงชีวิตอย่างมัธยัสถ์เท่านั้น จะทำให้คนมีชีวิตกลมกลืนกับสิ่งแวดล้อมอย่างมีความสุข
9. ในการกระทำใด ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จะต้องคำนึงถึงผลที่เกิดขึ้นในระยะยาวที่จะกระทบกระเทือนอนุชนรุ่นต่อไป
10. ปัญหาสิ่งแวดล้อมทั้งมวลเกิดจากคน ดังนั้น ในการแก้ไขและป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อม จึงจำเป็นต้องแก้ที่ตัวคนโดยแต่ละคนสำนึกปฏิบัติเอง และร่วมกันแก้ปัญหาสังคม
ในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยเห็นว่าแนวความคิดเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ได้กล่าวถึงพฤติกรรมของมนุษย์ที่กระทำต่อสิ่งแวดล้อมของวิทย์ วิศทเวทย์ (2520 : 24) ที่ได้ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดทำให้มนุษย์จึงควรตระหนักถึงพฤติกรรมในด้านต่าง ๆ ที่ได้แสดงและกระทำต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งแนวคิดดังกล่าวมีความสอดคล้องกับการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยจึงได้นำมาเป็นกรอบในการศึกษา
39
2.3.4 หลักการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
เกษม จันทร์แก้ว (2536 : 14-16) ได้กล่าวถึงหลักหรือวิธีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อให้เอื้อประโยชน์ต่อการนำมาใช้ในลักษณะต่าง ๆ ของมนุษย์อย่างยั่งยืน ซึ่งการที่จะให้เกิดสิ่งดังกล่าวได้ต้องอาศัยหลักหรือวิธีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ดังนี้
1. การใช้แบบยั่งยืน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทุกชนิดทุกประเภทในโลกนี้ มนุษย์สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งสิ้น แต่ในการใช้ต้องเป็นการใช้ที่ยั่งยืน ซึ่งหมายถึง การมีใช้ ตลอดเวลาที่มนุษย์ต้องการ ในทางการจัดการสิ่งแวดล้อม การสร้างศักยภาพของสิ่งแวดล้อมให้สามารถมีได้ เช่น การกำหนดชนิด ปริมาณ สัดส่วน และการกระจายการใช้ สามารถนำไปสู่ความสำเร็จได้ โดยในการใช้แบบยั่งยืน นอกจากจะต้องคำนึงถึงการสร้างศักยภาพของสิ่งแวดล้อมแล้ว
จะต้องคำนึงถึงการควบคุมกิจกรรมมนุษย์ด้วย หมายถึง การควบคุมหลักการและวิธีการปฏิบัติในการใช้ การนำเครื่องมือ และอุปกรณ์มาใช้ รวมถึงการควบคุมเวลา สถานที่ และพลังงานที่ใช้ให้เกิดการปฏิบัติการด้วยจึงจะได้ผลแบบยั่งยืน
2. การเก็บกัก หมายถึง การเก็บทรัพยากรหรือสิ่งแวดล้อมที่มีเหลือใช้ (Surplus) เอาไว้ใช้ในคราวจำเป็นหรือเมื่อมีภาวะขาดแคลน บางกรณีอาจเก็บกักไว้เพื่อเป็นพันธุ์หรือสต็อก เช่น การเก็บน้ำในอ่างเก็บน้ำ การสร้างสวนพันธุ์ไม้ หรือการเก็บเมล็ดพันธุ์
3. การรักษา/ซ่อมแซม ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ มักมีปรากฏเสมอว่า สึกหรอ เปลี่ยนสภาพหรือสูญหายไปจึงจำเป็นต้องมีการรักษาหรือซ่อมแซมเพื่อให้สิ่งแวดล้อมอยู่ในสภาวะปกติ ทั้งโครงสร้างและการทำงาน หน้าที่ของตนเองและระบบ
4. การฟื้นฟู หมายถึง การทำให้สิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรมแล้วให้แปรสภาพเป็นปกติทั้งโครงสร้างและบทบาท ซึ่งการดำเนินการอาจจะให้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ (การฟื้นฟูด้วยตนเอง)
หรือการใช้เทคโนโลยีช่วยให้เกิดการฟื้นฟู เช่น ป่าเสื่อมโทรมอาจทิ้งไว้ให้ฟื้นตัว แหล่งน้ำเสื่อมโทรมอาจขุดลอกตะกอนหรือใช้เทคโนโลยีระบบบำบัดน้ำเสียเข้าช่วย
5. การพัฒนา เป็นการดำเนินการที่อาศัยภาวะปกติเป็นฐานแล้วใช้เทคโนโลยีช่วยให้เกิดการทำงานของสิ่งแวดล้อมหรือของทั้งระบบให้ดีกว่าเดิม
6. การป้องกัน การป้องกันภัยอันตรายที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและบทบาทของโครงสร้างทั้งระบบเป็นเรื่องสำคัญ ทั้งนี้เป็นเพราะหากโครงสร้างเปลี่ยนแปลงไปในทางลบแล้ว
จะทำให้การทำงานของระบบเปลี่ยนไปด้วย
40
7. การสงวน เป็นสิ่งที่กระทำเมื่อแน่ชัดว่ามีการสูญเสียแบบสมบูรณ์เกิดขึ้นของสิ่งแวดล้อม การสงวนจะเน้น “ประเภท” และ “พื้นที่” ก็ได้
8. การแบ่งเขต เป็นการกำหนดพื้นที่ที่สงวนเอาไว้เพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ อาทิเช่น
ป่าสงวน เขตปลอดฝุ่น เขตอุทยานแห่งชาติฯ การแบ่งเขตนี้เป็นมาตรการหนึ่งที่นิยมในการจัดการสิ่งแวดล้อม การดำเนินงานในลักษณะนี้เป็นเพราะว่า การสงวนแต่ละชนิดและแต่ละประเภทอาจ
ไม่ให้ประสิทธิภาพมากนักหรือมีความต้องการให้พื้นที่ตรงนั้นเพื่อกิจการเฉพาะดังกล่าว เป็นต้น
หลักการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทั้ง 8 วิธีดังกล่าว อาจนำมาใช้เพียงหนึ่งหรือมากกว่านั้นหรือทุก ๆ ตัว ในการนำไปสู่การวางแผนในการจัดการสิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องกับหลักในการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของสาคร ถือเจริญ (2524 : 7-10) คือ
1. การอนุรักษ์ทางตรงหรือมาตรการทางตรง
2. การอนุรักษ์ทางอ้อมหรือมาตรการทางอ้อม
การอนุรักษ์ทางตรงหรือมาตรการทางตรง ประกอบไปด้วย
1. การปกปักรักษา การคุ้มครอง (Reservation) หมายถึง การรักษาทรัพยากรนั้นไว้ให้
คงสภาพเดิมตามธรรมชาติ มีการจำกัดการใช้ ป้องกันไม่ให้ถูกทำลาย เช่น การเขียนป้ายห้าม วิธีการคุ้มครองหรือปกปักษ์รักษานี้จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับในอนาคต ทรัพยากรที่เหมาะสมแก่การอนุรักษ์โดยวิธีนี้ ได้แก่ ทิวทัศน์ สิ่งมีค่าทางประวัติศาสตร์
2. การบูรณะปฏิสังขรณ์ การซ่อมแซมหรือการสร้างขึ้นใหม่ (Restoration) เป็นวิธีที่ใช้อย่างกว้างขวางกับทรัพยากรทุกชนิดยกเว้นแร่ธาตุ รวมถึงทรัพยากรดิน ป่าไม้ สัตว์ป่าสามารถบูรณะให้คืนสู่สภาพเดิมหรือสภาพที่เหมาะสมได้
3. การปรับปรุงให้ดีกว่าสภาพธรรมชาติ (Benefication) ถือหลักการให้ผลผลิตสูงกว่าระดับธรรมชาติ เช่น การปรับปรุงหาดทรายให้ปลูกพืชได้
4. การผลิตและการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีใช้ในระยะเวลานานและสำหรับคนจำนวนมากที่สุดด้วย
5. การนำกลับมาใหม่ (Re-use) เป็นการนำทรัพยากรที่หมดสภาพมาดัดแปลงแก้ไขหรือนำมาทำใหม่
41
6. นำสิ่งอื่นมาใช้ทดแทน (Substitution) วิธีการนี้ใช้หลักที่ว่า
ใช้ทรัพยากรที่บูรณะได้ แทนทรัพยากรที่บูรณะไม่ได้
ใช้ทรัพยากรที่มีมาก แทนทรัพยากรที่มีน้อย
ใช้ทรัพยากรที่หาง่าย แทนทรัพยากรที่หายาก
7. การตรวจสอบปริมาณและคุณภาพของทรัพยากร การใช้ทรัพยากรอย่างฉลาด รู้จักทรัพยากรนั้น ๆ ก่อนกล่าวคือ ต้องรู้จักธรรมชาติ ต้นกำเนิด ปริมาณ ความสำคัญและคุณภาพก่อน เพื่อจะใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
การอนุรักษ์ทางอ้อมหรือมาตรการทางสังคม ประกอบไปด้วย
1. สาธารณชนให้ความร่วมมือ เช่น การดำเนินงานในรูปขององค์การ สมาคม ชมรม เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากร
2. การใช้กฎหมายควบคุม กฎหมายเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้การอนุรักษ์ทรัพยากรเกิดผลดี ในเรื่องกฎหมายนี้ รัฐบาลต้องทำให้รัดกุมหรือต้องพิจารณาออกกฎหมายที่ไม่เปิดโอกาสให้ผู้เห็นแก่ตัวใช้เป็นเครื่องมือทำลายประโยชน์ของส่วนรวมได้ รวมทั้งกฎหมายนั้นต้องทันต่อเหตุการณ์ด้วย
3. การศึกษา วิธีนี้จำเป็นอย่างยิ่งเพราะการทำให้คนมีความรู้ย่อมช่วยให้การอนุรักษ์
ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมเกิดผลดีแม้จะต้องใช้เวลานานก็ตาม คนทุกคนในสังคมควรได้รับรู้และเข้าใจในเรื่องของทรัพยากร ตระหนักถึงปัญหาสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับทรัพยากร และเห็นคุณค่าของทรัพยากร โดยสอดแทรกความรู้เรื่องนี้ในหลักสูตรการศึกษาทุกระดับ ตลอดจนการให้ความรู้แก่ประชาชนโดยทั่วไปให้ทั่วถึงโดยการแนะนำชักชวนทางสื่อมวลชน การฝึกอบรมนอกหลักสูตรต่าง ๆ อันจะเป็นการที่จะทำให้ประชากรทั่วไปสนใจในการอนุรักษ์ ช่วยทำให้การอนุรักษ์ทรัพยากรและ
สิ่งแวดล้อมบรรลุเป้าหมาย
สำหรับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีขอบข่ายเนื้อหาแบ่งออกเป็น 2 ด้านคือ
1. การประหยัดพลังงาน
2. การรักษาความสะอาด
42
การประหยัดพลังงาน
ในปัจจุบันสถานการณ์ของโลกกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีการขยายตัวอย่าง
รวดเร็วของประชากร มีการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาใช้อย่างแพร่หลาย มีการแข่งขันการผลิตและใช้ทรัพยากรต่าง ๆ อย่างไม่มีขอบเขต อันเป็นผลทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมขึ้นอย่างมากมาย (วิจิตร คงพูล, 2519 : 42) ผลกระทบจากปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญอันหนึ่งที่มนุษย์ทั่วโลกกำลัง
เผชิญอยู่ในขณะนี้คือ ปัญหาเรื่องพลังงานประเภทที่ใช้แล้วหมดเปลืองไป (Non-renewable) เช่น
น้ำมัน ถ่านหินและก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นวัตถุดิบและปัจจัยสำคัญในการผลิตกระแสไฟฟ้า สิ่งเหล่านี้เป็นทรัพยากรที่มีอยู่จำนวนจำกัดทั้งราคาก็มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากภาวะการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรซึ่งมีผลทำให้ปริมาณความต้องการพลังงานมีเพิ่มขึ้น ดังจะเห็นได้จาก ตารางที่ 1 ตารางสถิติการผลิตพลังไฟฟ้าและพลังงานไฟฟ้าของประเทศไทย ในปีงบประมาณ 2538-2544 และตารางที่ 2 ตารางพยากรณ์การผลิตพลังไฟฟ้าและพลังงานไฟฟ้าของประเทศไทย ในปีงบประมาณ 2545-2549 (การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 2545) ดังนี้
ตารางที่ 1 ตารางสถิติการผลิตพลังไฟฟ้าและพลังงานไฟฟ้าของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2538-2544
การผลิตพลังไฟฟ้าสูงสุด
การผลิตพลังงานไฟฟ้าสูงสุด
เพิ่ม
เพิ่ม
ปีงบประมาณ
เมกะวัตต์
เมกะวัตต์
%
ล้านหน่วย
ล้านหน่วย
%
2538
12,267.90
1,559.10
14.56
78,880.37
9,229.23
13.25
2539
13,310.90
1,043.00
8.50
85,924.13
7,043.76
8.93
2540
14,506.30
1,195.40
8.98
92,724.66
6,800.53
7.91
2541
14,179.90
-326.40
-2.25
92,134.44
-590.22
-0.64
2542
13,712.40
-467.50
-3.30
90,413.99
-1,720.45
-1.87
2543
14,918.30
1,205.90
8.79
96,780.72
6,366.73
7.04
2544
16,126.00
1,208.10
8.10
103,165.20
6,384.48
6.60
43
ตารางที่ 2 ตารางพยากรณ์การผลิตพลังไฟฟ้าและพลังงานไฟฟ้าของประเทศไทย ปีงบประมาณ 2545-2549
การผลิตพลังไฟฟ้าสูงสุด
การผลิตพลังงานไฟฟ้าสูงสุด
เพิ่ม
เพิ่ม
ปีงบประมาณ
เมกะวัตต์
เมกะวัตต์
%
ล้านหน่วย
ล้านหน่วย
%
พยากรณ์
2545
17,388.00
1,262.00
7.83
110,945.00
7,779.80
7.54
2546
18,587.00
1,199.00
6.90
118,540.00
7,595.00
6.85
2547
19,193.00
1,326.00
7.13
126,449.00
7,909.00
6.67
2548
21,222.00
1,309.00
6.57
134,794.00
8,345.00
6.6
2549
22,552.00
1,330.00
6.27
143,748.00
8,954.00
6.64
จากตารางสถิติการผลิตไฟฟ้าและพลังงานไฟฟ้าดังกล่าว (ตารางที่ 1) จะเห็นได้ว่านับจาก
ปีงบประมาณ 2538 ประเทศไทยมีจำนวนการผลิตพลังไฟฟ้าและพลังงานไฟฟ้าสูงสุดเพิ่มขึ้นอย่าง
ต่อเนื่องและเป็นจำนวนมาก เว้นในปีงบประมาณ 2541 และ 2542 ที่มีจำนวนการผลิตลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนการผลิตที่เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากในแต่ละปี โดยหากเปรียบเทียบผลต่างจำนวนการผลิตพลังงานไฟฟ้าสูงสุดที่เพิ่มขึ้นระหว่างปีงบประมาณ 2538 กับปีงบประมาณ 2544 จะพบว่ามีจำนวนการผลิตที่เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนถึง 24,284.83 ลานหน่วย รวมถึงเมื่อพิจารณาจากตารางที่ 2 ตารางพยากรณ์การผลิตพลังงานไฟฟ้าในอนาคตคือ ในปีงบประมาณ 2545 - 2549 จำนวนเวลา 5 ปีจะพบว่ามีการพยากรณ์จำนวนการผลิตที่เพิ่มขึ้นทุกปี โดยในปีงบประมาณ 2549 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ ได้พยากรณ์การผลิตพลังงานไฟฟ้าสูงสุดเพื่อรองรับความต้องการของประเทศไว้สูงถึง 143,748 ล้านหน่วย หรือเพิ่มขึ้นเกือบ 100 % เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนการผลิตสูงสุดในปีงบประมาณ 2538 ซึ่งมีจำนวนเพียง 78,880.37 ล้านหน่วย
จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่า ปริมาณความต้องการในการใช้ไฟฟ้าของประเทศมีจำนวนที่เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก เช่นเดียวกันกับปริมาณน้ำผลิตจ่ายของการประปานครหลวงที่ได้นำมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตเป็นน้ำประปา เพื่อรองรับความต้องการในการใช้และบริโภคแก่ผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลอีก 2 จังหวัดคือ จังหวัดนนทบุรีและสมุทรปราการ ในปีงบประมาณ 2536-2540 (การประปานครหลวง 2545) ในตารางที่ 3 ตารางสถิติการผลิตน้ำประปา จะพบว่ามีปริมาณน้ำผลิตจ่าย จำนวนผู้ใช้น้ำ ราคาค่าน้ำเฉลี่ย และต้นทุนน้ำขายเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นทั้งหมด ดังนี้
44
ตารางที่ 3 ตารางสถิติการผลิตน้ำประปาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ปีงบประมาณ 2536-2540
ปีงบประมาณ
รายการ
หน่วย
2536
2537
2538
2539
2540
Description
Unit
1993
1994
1995
1996
1997
1. ปริมาณน้ำ
ผลิตจ่าย
ล้าน ลบ.ม.
1,224.9
1,234.3
1,405.2
1,549.4
1,632.8
2. จำนวน
ผู้ใช้น้ำ
ราย
1,139,299
1,194,161
1,241,380
1,289,168
1,341,838
3. ราคา
ค่าน้ำเฉลี่ย
บาท/ลบ.ม.
7.17
7.14
7.18
7.22
8.35
4. ต้นทุนน้ำ
ขายเฉลี่ย
บาท/ลบ.ม.
5.38
5.84
7.08
7.33
7.64
สถิติและข้อมูลที่กล่าวมาทั้งหมดได้บ่งชี้ให้เห็นถึงความต้องการในการบริโภคทรัพยากร
และพลังงานที่นับวันมีแต่จะทวีจำนวนมากยิ่งขึ้น แต่ในทางกลับกันทรัพยากรและพลังงานที่มีอยู่ในปัจจุบันมีแต่จะร่อยหรอและลดจำนวนลง ไม่ได้มีจำนวนที่เพิ่มมากขึ้นตามความต้องการ ดังนั้น การประหยัดทรัพยากรและพลังงาน จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยบรรเทาหรือแก้ปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรและพลังงานของประเทศทั้งในปัจจุบันและในอนาคต และวิธีการประหยัดที่เราทุกคนสามารถกระทำได้โดยง่ายก็คือ การช่วยกันใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างประหยัดและเท่าที่จำเป็น รวมถึงแสวงหาทรัพยากรและพลังงานอื่น ๆ ทดแทนทรัพยากรและพลังงานที่ใช้แล้วหมดสิ้นไป เช่น การใช้พลังงานแสงอาทิตย์แทนพลังงานจากไฟฟ้า หรือการใช้น้ำทะเลทำน้ำจืด เป็นต้น
การรักษาความสะอาด
ความสะอาดเป็นสิ่งหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความเจริญก้าวหน้า ความมีระเบียบวินัยของประเทศและช่วยให้ประชาชนดำรงชีวิตอยู่อย่างปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ การรักษาความสะอาดของบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ถนนหนทาง แม่น้ำ คูคลอง รวมทั้งสถานที่สาธารณะต่าง ๆ เป็นสิ่งสำคัญ และเป็นสิ่งที่ประชาชนคนไทยซึ่งอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครทุกคนต้องช่วยกันคนละไม้คนละมือ การรักษาความสะอาดทำได้โดยการไม่ทิ้งขยะมูลฝอย ตั๋วรถเมล์ ปฏิกูล ดินเลน กิ่งไม้ หรือบ้วนน้ำลายลงบนถนน คูคลอง แม่น้ำ และสถานที่สาธารณะ รวมทั้งหมั่นปัดกวาดเช็ดถูบ้านเรือน ตลอดจนรักษาบริเวณที่อยู่อาศัยของตนให้สะอาดอยู่เสมอ (กรุงเทพมหานคร, 2524 : 18) ทั้งนี้เพราะถ้าเราไม่รักษาความสะอาดจะเกิดผลกระทบต่อมนุษย์ และสิ่งแวดล้อมอันจะนำไปสู่อันตรายต่อสุขภาพ
45
เกิดความสกปรกกลายเป็นปัญหาด้านมลพิษ และแสดงให้เห็นถึงความเสื่อมโทรมทางวัฒนธรรม ขยะที่ถูกทิ้งเกลื่อนกลาดกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และแมลงนำโรค อันเป็นพาหะแพร่เชื้อโรคสู่ประชาชนและส่งกลิ่นเหม็นน่ารำคาญ (งามเฉิด หอรัตนชัย, 2528 : 16) นอกจากนี้ ยังเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำท่วมขังตามถนนสายต่าง ๆ เนื่องจากขยะไปอุดตันท่อระบายน้ำ (สมจิตต์ ตรีวิเชียร, 2527 : 153) ก่อให้เกิดความเดือดร้อนและความเสียหายต่อเศรษฐกิจและสุขภาพของบุคคลรวมทั้งชุมชนขาดความเป็นระเบียบเรียบร้อยและความสง่างามอีกด้วย
จิราพร ลิปวาณิชย์ ( 2540 : 53) ได้กล่าวถึงจำนวนขยะจากแหล่งกำเนิดต่าง ๆ ว่า มีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จากแหล่งชุมชนทั่วประเทศพบว่า ในปี พ.ศ.2535 และปี พ.ศ.2539 มีปริมาณขยะเกิดขึ้นทั่วประเทศ 25,940 และ 39,827 ตันต่อวัน หรือเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 65.13 ในช่วงเวลา 5 ปี และคาดการณ์ว่าปริมาณขยะทั่วประเทศจะเกิดขึ้นในปี พ.ศ.2540 , 2545 , 2550 , 2555 และ 2560 มีมากถึง 41,792 , 50,817 , 60,149 , 67,306 และ 75,481 ตันต่อวัน ตามลำดับ
สำหรับประชาชนที่อยู่อาศัยในกรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ.2539 พบว่าผลิตขยะมูลฝอยออกมาวันละกว่า 8,000 ตัน หรือเดือนละ 240,000 ตัน คิดเป็นอัตราการผลิตขยะมูลฝอยของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1 กิโลกรัม/คน/วัน แต่กรุงเทพมหานครสามารถจัดเก็บได้เพียง 7,650 ตันต่อวัน หรือ 92% ของปริมาณขยะทั้งหมด (กรมควบคุมมลพิษ 2541) จะเห็นได้ว่ามีปริมาณขยะที่เหลือจากการเก็บขนประมาณ 600 ตันต่อวัน ซึ่งย่อมมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้สถานที่ทั่วไปของกรุงเทพมหานครเกลื่อนกลาดไปด้วยขยะและสิ่งปฏิกูลน้ำในคลองเน่าเหม็น ทำให้รัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายและงบประมาณเพิ่มขึ้นในการจัดหาพนักงานเก็บกวาด จัดหาเจ้าหน้าที่และรถบริการขนขยะจึงจะจัดเก็บขยะได้ทั้งหมด เป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณของรัฐในการทำให้กรุงเทพมหานครสะอาด (โกสินทร์ รังสยาพันธ์, 2521 : 6)
จะเห็นได้ว่าปัญหาขยะที่เกิดขึ้นมาจากกิจกรรมของมนุษย์ จะโดยตั้งใจ ไม่ตั้งใจ หรือประมาทก็ตาม กลายเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่จะทำลายตัวมนุษย์เอง ฉะนั้น วิธีจะแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมได้อย่างถาวรจะต้องเกิดจากการสร้างจริยธรรมทางสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการพัฒนาเพื่อยกมาตรฐานชีวิตของบุคคลและของสังคมโดยส่วนรวม (วินัย วีระวัฒนานนท์, 2530 : 6) ซึ่งวิธีการป้องกันและแก้ไขปัญหาเรื่องความสะอาดนี้ สามารถกระทำได้โดยการให้ความรู้แก่ประชาชนถึงวิธีการกำจัดขยะ ปลูกฝังค่านิยมให้ช่วยกันรักษาความสะอาด ร่วมมือกันในการกำจัดขยะให้ถูกหลักสุขาภิบาล ลดปริมาณในการบริโภคทรัพยากรที่ก่อให้เกิดขยะที่เป็นพิษ เช่น พลาสติก
46
กระป๋อง ใช้เทคโนโลยีในการนำขยะกลับมาใช้ใหม่ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และพยายามใช้วัสดุสิ่งของที่เป็นธรรมชาติเพื่อที่จะป้องกันมลพิษ
จากที่ได้กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น สรุปได้ว่าการที่จะให้บุคคลอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้นั้น สิ่งสำคัญที่มีความจำเป็นสิ่งแรกคือ จะต้องให้ความรู้และค่านิยมที่ถูกต้อง ซึ่งจะส่งผลต่อกิจกรรมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การให้ความรู้และค่านิยมแก่บุคคลที่จะได้ผลจริงจังนั้นจะต้องเน้นย้ำให้บุคคลเห็นคุณค่าของทรัพยากรทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง ลดความเห็นแก่ตัว
ไม่เอาเปรียบต่อธรรมชาติ รวมถึงต้องร่วมกันช่วยเหลือเกื้อกูลธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ดีที่สุด
2.4 ทฤษฎีการสื่อสาร (Communication Theory)
จอร์จ เอมิลเลอร์ (อ้างใน กิติมา สุรสนธิ, 2541 : 2) ได้กล่าวไว้ว่า “การสื่อสาร” หมายถึง
การถ่ายทอดข่าวสารจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
- องค์ประกอบของการสื่อสาร
การสื่อสารจะต้องประกอบไปด้วยองค์ประกอบสำคัญ 4 ส่วนคือ
1. ผู้ส่งสาร หมายถึง บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มีความคิด มีความต้องการ มีความตั้งใจ
ที่จะส่งข่าวสาร ความรู้สึกนึกคิด ความคิดเห็น ความเชื่อและอื่น ๆ ไปยังผู้รับสาร ผู้ส่งสารจึงเป็นองค์ประกอบที่สัมพันธ์กับองค์ประกอบอื่น โดยสามารถแยกผู้ส่งสารออกเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้
- พิจารณาตามจำนวน ได้แก่ ผู้ส่งสารที่เป็นบุคคลเดียวหรือกลุ่มคน
- พิจารณาตามความตั้งใจ แบ่งเป็น ผู้ส่งสารโดยเจตนาที่จะส่งสารไปยังผู้รับสารและ
ผู้ส่งสารที่ไม่เจตนาจะส่งสารไปยังผู้รับสาร อาจเป็นการส่งสารโดยบังเอิญ
- ลักษณะความเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ผู้ส่งสารแบบเป็นทางการ ได้แก่ ผู้ส่งสารในลักษณะที่เป็นทางการ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการสื่อสารในองค์การ และผู้ส่งสารที่ไม่เป็นทางการ ได้แก่ ผู้ส่งสารที่ส่งข้อมูล ข่าวสารที่มีเนื้อหาส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ และความรู้สึกมากกว่าข้อมูลที่เป็นทางการ
47
2. สาร (Message)
สารเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สำคัญอีกสิ่งหนึ่งในกระบวนการสื่อสาร “สาร” หมายถึง ข่าว (News) และอื่น ๆ ซึ่งมีความหมายที่แสดงออกโดยอาศัยภาษาหรือสัญลักษณ์ใด ๆ ที่สามารถทำให้เกิดการรับรู้ร่วมกันได้ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร ซึ่งสารจะเป็นตัวเร้าให้ผู้รับสารรับรู้ถึงความหมายและมีปฏิกิริยาตอบสนอง โดยสารมีส่วนสำคัญ 3 ส่วนคือ
- รหัสสาร (Message Code) คือ ภาษาหรือสัญลักษณ์ที่มนุษย์คิดขึ้น
- เนื้อหาของสาร (Message Content) คือ เรื่องราวสิ่งต่าง ๆ ที่ผู้ส่งต้องการจะถ่ายทอดหรือส่งไปยังผู้รับสารในรูปต่าง ๆ เช่น เนื้อหาทั่วไป เนื้อหาเฉพาะ เนื้อหาเชิงวิชาการ และไม่เชิงวิชาการ เนื้อหาประเภทความคิดเห็น และเนื้อหาประเภทชักจูงใจ
- การจัดเรียงลำดับสาร (Message Treatment) หมายถึง รูปแบบวิธีในการนำรหัสสารมาเรียบเรียงเพื่อให้ได้ใจความตามเนื้อหาที่ต้องการ ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะโครงสร้างของภาษาและบุคลิกลักษณะของแต่ละบุคคล
3. ช่องทางการสื่อสารหรือสื่อ (Channel or Media)
ช่องทางการสื่อสารหรือสื่อเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการสื่อสาร ซึ่งอาจหมายถึง พาหนะที่จะนำพาข่าวสารจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร
หลักเกณฑ์ในการพิจารณาสื่อที่เป็นมนุษย์และสื่อที่ไม่เป็นมนุษย์ แบ่งได้ 2 ประเภทคือ
3.1 สื่อที่เป็นมนุษย์หรือสื่อบุคคล (Personal Media) ได้แก่ บุคคลที่เป็นผู้นำสารไปยังผู้รับสารหรือคือ ผู้ส่งสารนั่นเอง เป็นผู้ที่ทำการเข้ารหัส (Endcode) ไปยังผู้รับ
3.2 สื่อที่ไม่ใช่มนุษย์ หมายถึง สื่อธรรมชาติหรือสื่อที่ถูกประดิษฐ์ขึ้น ได้แก่ สื่อมวลชน (Mass Media) และสื่อระยะไกล (Telecommunication) สำหรับสื่อที่เป็นมวลชนนั้นแบ่งออกได้ 2 ประเภทคือ สื่อสิ่งพิมพ์ (Printed Media) อันได้แก่ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หนังสือ แผ่นพับ และสื่ออิเล็คทรอนิคส์ (Electronic Media) ได้แก่ วิทยุ โทรทัศน์ และภาพยนตร์ เป็นต้น
48
วิธีการใช้สื่อ
การใช้สื่อมีหลายลักษณะซึ่งสามารถสรุปวิธีต่าง ๆ ได้ดังนี้
- การใช้สื่อทางเดียว เป็นการใช้สื่อหนึ่งในการส่งข้อมูลข่าวสารไปยังผู้รับสาร เช่น ผู้ส่งอาจใช้สื่อบุคคลในการไปบอกเล่าเรื่องราวให้ชาวบ้านฟัง สื่อประเภทนี้มักไม่มีสิ่งเร้าให้แก่ผู้รับสาร
- การใช้สื่อผสม เป็นการนำเสนอข่าวสารโดยใช้สื่อหลาย ๆ ประเภทหรือหลายสื่อ
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและให้สามารถเข้าถึงผู้รับได้อย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง สื่อที่ใช้ ได้แก่ วิทยุและสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เป็นต้น
4. ผู้รับสาร
ผู้รับสารเป็นบุคคลที่สำคัญมากในการสื่อสาร การสื่อสารจะประสบความสำเร็จหรือไม่ขึ้นอยู่กับผู้รับสาร โดยผู้รับสารแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทคือ
1. ผู้รับสารแบบคนเดียว เป็นผู้รับสารที่มีจำนวนน้อยที่สุด ผู้ส่งสารสามารถควบคุมการรับข่าวสารได้ง่าย
2. ผู้รับสารแบบกลุ่มเล็ก เป็นผู้รับสารที่มีจำนวนมากขึ้น การควบคุมการเปิดรับข่าวยังทำได้ง่าย
3. ผู้รับสารแบบกลุ่มใหญ่ เป็นผู้รับสารที่มีจำนวนมาก การควบคุมความสนใจในการเปิดรับข่าวสารเป็นไปได้ยาก ผู้ส่งสารต้องใช้เทคนิค รูปแบบวิธีที่น่าสนใจในการทำให้ผู้คนจำนวนมากสนใจเรื่องราวที่นำเสนอ
4. ผู้รับสารมวลชนหรือผู้รับสารสาธารณะ มักเกิดในรูปการสื่อสารมวลชน การควบคุมทำได้ยากหรือไม่ได้เลย เนื่องจากมีคุณลักษณะแตกต่างกันทางด้านประชากร
วัตถุประสงค์ทั่วไปของการสื่อสาร สามารถแยกจุดมุ่งหมายออกได้ 2 ลักษณะคือ
ผู้ส่งสาร
1. เพื่อแจ้งให้ทราบ เป็นการบอกให้รู้หรือแจ้งเหตุการณ์ต่าง ๆ
2. เพื่อให้การศึกษา ต้องการให้ผู้รับสารได้รับความรู้ ความเข้าใจในบางเรื่อง
3. เพื่อชักจูง เป็นการเน้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องความรู้เจตคติ
4. เพื่อสร้างความพอใจ เป็นความต้องการให้ผู้รับสารเกิดความสนุกสนานมีอารมณ์
แจ่มใส
49
ผู้รับสาร
1. เพื่อทราบ เพื่อให้ผู้รับสารทราบเรื่องราว
2. เพื่อเรียนรู้ เกิดความเข้าใจในเรื่องราวหรือวิชาการต่าง ๆ
3. เพื่อตัดสินใจ เพื่อให้เกิดความคิดหรือเพื่อปรับเปลี่ยนความคิด เป็นการแสวงหาข้อมูลเพื่อให้เกิดการตัดสินใจ
4. เพื่อสนุกสนาน เป็นการเสริมสร้างความสุข
แบบจำลองการสื่อสาร
การสื่อสารเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ไม่มีจุดเริ่มต้นและไม่มีจุดสิ้นสุด ไม่สามารถไหลย้อนกลับมากระทำใหม่ได้ และองค์ประกอบทุกตัวในกระบวนการต่างมีอิทธิพลซึ่งกันและกัน คุณลักษณะของการสื่อสารจึงสร้างเป็นแบบจำลองได้ โดย
กระบวนการสร้างแบบจำลองการสื่อสารมีหลายแบบที่น่าสนใจ แต่ที่จะนำเสนอในการศึกษาครั้งนี้คือ แบบจำลองการสื่อสารของเบอร์โล (The Berlo Model หรือ SMCR Model)
เค เบอร์โล (David K.Berlo อ้างใน กิติมา สุรสนธิ, 2541 : 53-58) ได้อธิบายถึงปัจจัยในกระบวนการสื่อสารไว้ 6 ประการคือ
1. ผู้ส่งสาร (Communication Source) หมายถึง บุคคลที่ถ่ายทอดข้อมูล ข่าวสาร อารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด โดยการเข้ารหัส (Endcode) ออกไปเป็นสัญญาณ สัญลักษณ์ ท่าทาง โดยผู้ส่งสารจำเป็นต้องมีคุณลักษณะที่เอื้ออำนวยต่อความสำเร็จและประสิทธิผลของการสื่อสาร
2. ผู้เข้ารหัส (Endcode) หมายถึง แหล่งสารทำการเข้ารหัสเพื่อส่งเป็นสัญญาณไปยังจุดหมายปลายทาง
3. เนื้อหาข่าวสาร (Message) หมายถึง สาระที่ผู้ส่งตั้งใจและต้องการที่จะสื่อออกไปยังผู้รับ
4. ช่องสาร (Channel) ได้แก่ ช่องทางหรือตัวกลางในการส่งหรือถ่ายทอดสาร ซึ่งมนุษย์สามารถใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ การมองเห็น การได้ยิน การดมกลิ่น การลิ้มรส และการสัมผัสในการส่งและถ่ายทอดข้อมูลข่าวสาร
5. ผู้ถอดรหัสสาร (Decoder) หมายถึง ผู้ที่ทำการถอดรหัสสารที่ได้รับมา
50
6. ผู้รับสาร (Communication Receiver) หมายถึง บุคคลที่เป็นผู้รับข่าวสารจากผู้ส่งสาร ซึ่งในการส่งสารจะสำเร็จหรือไม่นั้น ผู้รับสารจะต้องมีความสามารถความชำนาญในการรับสาร มีความรู้ที่ได้มาจากประสบการณ์และเจตคติ
ในกระบวนการส่งและรับข่าวสารของผู้ส่งสาร แหล่งสารกับผู้เข้ารหัสอาจอยู่รวมในตัวบุคคลเดียวกัน เรียกว่า ผู้ส่งสาร (Source) และผู้ถอดรหัสกับผู้รับสาร อาจรวมเรียกว่า ผู้รับสาร (Receiver) ซึ่งเบอร์โล ได้อธิบายแบบจำลองไว้ดังในภาพที่ 3 ดังนี้
COM-SKILLS Seeing COM-SKILLS Knowledges Code Element Hearing Knowledges Attitude Treatment Touching Attitude Soc.&Cul.Sys. Content Structure Smelling Soc.&Cul.Sys. Tasting
ภาพที่ 3 แบบจำลองการสื่อสารของเบอร์โล
จากแบบจำลองการสื่อสารของเบอร์โลที่ได้นำเสนอนี้ สามารถใช้อธิบายกระบวนการในการรับรับรู้ข่าวสารหรือความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้ว่า ในกระบวนการสื่อสารจะต้องประกอบไปด้วยปัจจัยหลักสำคัญคือ ผู้ส่งสาร เนื้อหาข่าวสาร ช่องสาร และผู้รับสาร จึงจะทำให้กระบวนการในการสื่อสารสำเร็จสมบูรณ์ตามวัตถุประสงค์ หากขาดปัจจัยใดปัจจัยหนึ่ง กระบวนการสื่อสารที่จะก่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนเจตคติและพฤติกรรมก็มิอาจจะเกิดขึ้นได้
2.5 ทฤษฎีการเรียนรู้ (Learning Theory)
สนธยา พลศรี (2533 : 159) ได้อธิบายถึงทฤษฎีการเรียนรู้ ซึ่งจำแนกได้ 2 กลุ่มคือ
2.5.1 กลุ่มทฤษฎีความรู้ความเข้าใจหรือทฤษฎีสนาม (Cognitive or Field Theories)
ซึ่งได้สรุปความหมายของการเรียนรู้ไว้ว่าหมายถึง “การที่มนุษย์รวบรวมการรับรู้และแนวความคิดต่าง ๆ เข้าเป็นระเบียบแบบแผนที่มีความหมาย ก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในลักษณะส่วนรวมของเหตุการณ์และเกิดการหยั่งเห็น (Insight) ในการแก้ปัญหา”
51
2.5.2 กลุ่มทฤษฎีความสัมพันธ์ (Associationistic Theory) ได้อธิบายความหมายของ
การเรียนรู้ว่าหมายถึง “กระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวร อันเป็นผลมาจากการฝึกฝนหรือประสบการณ์ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนี้หมายรวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางด้านความรู้ความเข้าใจ การเปลี่ยนแปลงด้านทักษะการคิด การทำงาน รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงทัศนคติด้วย”
ทฤษฎีในทั้ง 2 กลุ่มมีความเห็นว่า การเรียนรู้ของมนุษย์ต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้นหมายถึง การที่มนุษย์ได้รับรู้เรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับสิ่งนั้นในจำนวนที่มากพอ และสามารถรวบรวมสิ่งที่รู้ทั้งหมดเข้าเป็นระเบียบระบบ ทำให้เกิดความเข้าใจต่อสิ่งนั้นอย่างถ่องแท้ เกิดการหยั่งเห็นในการแก้ปัญหาและมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมทั้งในด้านความรู้ ความเข้าใจ การทำงาน ทักษะการคิดและทัศนคติ ดังนั้น การเรียนรู้จึงเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยต่าง ๆ มากมาย เช่น
ความพร้อมของบุคคล ความแตกต่างระหว่างบุคคล การฝึกหัด การเสริมแรง การจูงใจ และสิ่งเร้า
ตามทฤษฎีที่ได้กล่าวมาข้างต้นในทั้ง 2 กลุ่ม สามารถนำมาใช้อธิบายกระบวนการในการเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของวัยรุ่น ทั้งในด้านความรู้ ความเข้าใจ ความคิด และเจตคติ ซึ่งเป็นผลมาจากการเรียนรู้ทำให้มนุษย์เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง
หยั่งเห็นถึงสถานการณ์หรือวิกฤติของปัญหาและความจำเป็นในการแก้ไข ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยจึงได้นำมาใช้เป็นกรอบในการศึกษา
2.6 ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ (The Social Judgment Theory of Attitude
Change)
ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงทัศนคติประกอบไปด้วยทฤษฎีย่อยหลายทฤษฎี เช่น ทฤษฎีเกี่ยวกับความตรงกันของความคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับความขัดแย้งของความคิด เป็นต้น ซึ่งในแต่ละทฤษฎีประกอบไปด้วยแนวคิดและรายละเอียดต่าง ๆ ดังนี้
2.6.1 ทฤษฎีเกี่ยวกับความตรงกันของความคิด (Theory of Cognitive Consistency)
สนธยา พลศรี (2533 : 160) ได้กล่าวถึงทฤษฎีเกี่ยวกับความตรงกันของความคิดว่ามีนักทฤษฎีคนสำคัญคือ ไฮเดอร์ (Heider) ซึ่งได้อธิบายแนวคิดของทฤษฎีไว้ว่า เมื่อ ก ชอบ ข และ ข ชอบอะไร (ค) ก็จะมีแนวโน้มทำให้ ก ชอบสิ่งที่ ข ชอบด้วย (ค) ข้อสังเกตคือ ก ข และ ค จะมี
52
ความเกี่ยวข้องกันทั้งทางบวกและลบคือ ข อาจชอบ ค หรือ ข ไม่ชอบ ค แต่ภาวะความสมดุลจะเกิดขึ้นเมื่อความสัมพันธ์เป็นไปในทางบวกคือ ข ชอบ ค และ ก ชอบ ค หรือเมื่อความสัมพันธ์เป็นไปในทางลบคือ ก ไม่ชอบ ค ข ไม่ชอบ ค และ ก ชอบ ข ในทำนองเดียวกัน เมื่อความสัมพันธ์ระหว่างทั้ง 3 คู่ เป็นไปในทางลบจะทำให้เกิดสถานการณ์ไม่ปกติหรือภาวะขาดดุล ซึ่งจะทำให้มีแนวโน้มเกิดการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ เพื่อทำให้เกิดภาวะสมดุลต่อไป เช่น เมื่อ ก ชอบ ค และ ข ไม่ชอบ ค แต่ ก ชอบ ข ภาวะสมดุลจะเกิดขึ้นได้ถ้า ก พยายามที่จะไม่ชอบ หรือถ้า ก ชักชวนหรือจูงใจให้ ข ชอบ ค หรือถ้า ก เปลี่ยนความคิดเป็นไม่ชอบ ข ความสัมพันธ์เหล่านี้จะเปลี่ยนแปลงมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับขนาดของความสัมพันธ์ของแต่ละส่วน
โดยสรุป เมื่อบุคคลพบว่าเพื่อนที่เขาชอบมีความคิดเห็นต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดไม่ตรงกันกับเขาบุคคลนั้นก็จะเปลี่ยนเจตคติของเขาที่มีต่อสิ่งนั้น
2.6.2 ทฤษฎีเกี่ยวกับความขัดแย้งทางความคิด (Cognitive Dissonance Theory)
สนธยา พลศรี (2533 : 160-161) ได้กล่าวถึงแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับความขัดแย้งทางความคิดของเฟสทินเกอร์ (Leon Festinger) ไว้ว่า ปกติมนุษย์ไม่อาจทนต่อสิ่งเปลี่ยนแปลงขัดแย้ง
หรือไม่ลงรอยกันได้ โดยจะหาทางที่จะขจัดความขัดแย้งให้หมดไป ดังนั้น เมื่อมนุษย์มีภาวะจิตใจอยู่ในสภาพที่ขัดแย้งกันก็จะทำให้เกิดสิ่งสองสิ่งในตัวบุคคลคือ กระตุ้นให้บุคคลมีกิจกรรมอย่างใด
อย่างหนึ่งและนำทางให้บุคคลนั้นมีปฏิกิริยาไปในทางใดทางหนึ่ง ซึ่งจะทำให้ความไม่สบายใจหรือขัดแย้งภายในลดลงได้ ดังแบบจำลองที่แสดงในภาพที่ 4
ในตัวบุคคล
เพื่อลด
ความขัดแย้ง พฤติกรรม
กระตุ้นและนำทางบุคคล
ภาพที่ 4 แบบจำลองทฤษฎีเกี่ยวกับความขัดแย้งทางความคิดของเฟสทินเกอร์
53
ภาวะของจิตใจที่เกิดความขัดแย้งกันนี้เรียกว่า “Dissonance” ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อส่วนประกอบของการรับรู้ส่วนหนึ่งแตกต่างกับส่วนประกอบของการรับรู้ส่วนอื่น ส่วนประกอบเหล่านี้อาจจะเป็นส่วนหนึ่งของความรู้ เช่น ฝนกำลังตก หรือความคิดเห็น เช่น ฉันชอบฝน หรือความเชื่อ เช่น ฝนทำให้ดอกไม้ชุ่มชื่น ความรู้ ความคิดเห็นหรือความเชื่อเล่านี้ อาจจะเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม บุคคลอื่นหรือต่อตัวเอง เช่น บุคคลหนึ่งสูบบุหรี่ เป็นส่วนประกอบของความรู้อย่างหนึ่ง แต่ในขณะเดียวกันเขาก็เชื่อว่าการสูบบุหรี่จะทำให้เกิดโรคมะเร็งในปอด ความเชื่อและการรับรู้จะขัดแย้งกัน บุคคลก็จะมีภาวะ Dissonance ขึ้น ความสัมพันธ์ของส่วนประกอบของความรู้อาจจะมี 3 ลักษณะคือ ความขัดแย้ง (Conflict) ความสอดคล้อง (Consonance) และความไม่เกี่ยวข้องกัน (Irrele
vant)
จะเห็นได้ว่าส่วนประกอบของความคิดหรือการรับรู้ (Cognitive Element) จะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบ 2 ประการคือ พฤติกรรมของบุคคลและสิ่งแวดล้อม จึงสรุปได้ว่า การเปลี่ยนส่วนประกอบของการรับรู้ที่ขัดแย้งกัน กระทำได้โดยเปลี่ยนพฤติกรรมของบุคคลนั้น ถ้าพฤติกรรมนั้น ๆ
ประกอบด้วยส่วนประกอบที่ขัดแย้งกัน ทฤษฎีนี้สามารถสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้คือ
1. ความขัดแย้งของการรับรู้เกิดจากความแตกต่างระหว่างการรับรู้และความคิด ตั้งแต่ 2 อย่างขึ้นไป
2.ปริมาณความขัดแย้งขึ้นอยู่กับสัดส่วนระหว่างความเหมือนกันและความแตกต่างกันของความคิดเห็น
3. ถ้ามีความขัดแย้งมาก บุคคลก็จะมีแรงขับที่จะทำให้ความขัดแย้งหมดไปได้มาก
4. บุคคลสามารถลดความขัดแย้งโดยเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตนหรือเปลี่ยนสภาพแวดล้อมภายในคือ เจตคติและการรับรู้หรือเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมภายนอกตัวบุคคล
และทฤษฎีนี้มีความเชื่อว่า กระบวนการในการปรับตัวของบุคคลเกิดจากปฏิกิริยาของ
เจตคติของบุคคลกับสิ่งแวดล้อม โดยมีกระบวนการของการเปลี่ยนแปลงเจตคติ 2 ขั้นตอนคือ
สาระสำคัญของทฤษฎีที่กล่าวมาทั้งหมดในข้างต้น สามารถนำมาใช้อธิบายปรากฏการณ์
หรือกระบวนการอันนำไปสู่ การเปลี่ยนแปลงเจตคติของวัยรุ่นที่มีต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้ว่าทั้งทฤษฎีที่เกี่ยวกับความตรงกัน หรือความขัดแย้งของความคิดล้วนแล้วแต่มีอิทธิพลทำให้บุคคลเปลี่ยนแปลงเจตคติในอันที่จะเห็นคล้อย หรือปฏิบัติตามแนวคิด หรือบุคคลที่ได้รับการยอมรับใน
54
สังคมทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ ในกรณีที่มนุษย์เกิดความขัดแย้งในความคิด มนุษย์ก็จะหาทางขจัดความขัดแย้งที่เกิดจากความแตกต่างระหว่างการรับรู้ข่าวสารใหม่กับความคิดที่มีอยู่ และเลือกปฏิบัติตามทางเลือกใดทางเลือกหนึ่งหลังจากได้วินิจฉัยแล้ว โดยการเปลี่ยนแปลงเจตคติดังกล่าว
จะทำให้บุคคลเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยจึงได้นำมาใช้เป็นกรอบในการศึกษาวิจัย
2.7 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของวัยรุ่น:ศึกษากรณีนักเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มสหวิทยาเขตบรมราชชนนี 1 มีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องดังนี้
อมรรัตน์ รีกิจติศิริกุล (2530 : บทคัดย่อ) ศึกษาเรื่องพฤติกรรมเกี่ยวกับการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า นักเรียนชายและนักเรียนหญิงมีพฤติกรรมเกี่ยวกับการส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมใน
โรงเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.01 โดยนักเรียนหญิงมีพฤติกรรมการปฏิบัติต่อสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนดีกว่านักเรียนชาย นักเรียนที่มารดามีอาชีพแตกต่างกันมีพฤติกรรมเกี่ยวกับการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 และนักเรียนที่บิดามารดามีระดับการศึกษาแตกต่างกันมีพฤติกรรมเกี่ยวกับการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
สุวรรณี ยุวชาติ (2532 : บทคัดย่อ) ศึกษาเรื่องการศึกษาพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนอาชีวศึกษา สังกัดกรมอาชีวศึกษา ในกรุงเทพมหานคร พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มี
พฤติกรรมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในระดับปานกลาง และระดับพฤติกรรมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนขึ้นอยู่กับเพศและประเภทวิชาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ปัทมาวดี วงษ์ศิลป์ (2533 : บทคัดย่อ) ศึกษาเรื่องความรู้และความตั้งใจในการปฏิบัติเกี่ยวกับ ปัญหาสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
พบว่า นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย มีความตั้งใจในการปฏิบัติเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม
แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ตามตัวแปรระดับชั้นเรียนและแผนการเรียน
55
วิชาญ มณีโชติ (2535 : บทคัดย่อ) ศึกษาเรื่องพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในจังหวัดสงขลา พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีพฤติกรรมจริงและ
พฤติกรรมคาดหวังในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับพอใช้และดีตามลำดับ นักเรียนที่มีเพศ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อาชีพบิดา อาชีพมารดา การได้รับข่าวสารจากวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ วารสาร และสิ่งพิมพ์อื่น ๆ แตกต่างกัน มีพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทั้งพฤติกรรมจริงและพฤติกรรมที่คาดหวังแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
จากแนวความคิด ทฤษฎีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยนำมาสรุปเป็นกรอบแนวความคิดในการศึกษาพฤติกรรมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของวัยรุ่น :กรณีศึกษานักเรียน
มัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มสหวิทยาเขตบรมราชชนนี 1 โดยศึกษาถึงปัจจัยที่สอดคล้องกับปัญหาที่จะทำการวิจัยในครั้งนี้คือ ปัจจัยส่วนบุคคล อันได้แก่ เพศ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ปัจจัยภายนอก ได้แก่ การรับรู้ข่าวสารที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เจตคติเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งปัจจัยดังกล่าวนี้ได้นำมาเป็นตัวแปรที่นำมาในการศึกษาวิจัยครั้งนี้
งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับตัวแปร
- เพศ
เพศเป็นตัวแปรหนึ่งที่น่าจะมีผลต่อพฤติกรรมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของวัยรุ่น ทั้งนี้ เนื่องจากโดยธรรมชาติ เพศชายและเพศหญิงมีลักษณะซึ่งแตกต่างกันทั้งโครงสร้างทางร่างกายและจิตใจ แบบแผนแห่งการพัฒนาทางร่างกายและจิตใจจึงเป็นไปโดยเฉพาะแตกต่างกัน (ศุภนิตย์ วัฒนธาดา, 2516 : 102) นอกจากนี้ เพศหญิงและเพศชายยังมีความแตกต่างในด้านความคิดเห็นและการมองปัญหา (สุชา จันทน์เอม, 2511 : 46) และในเรื่องความแตกต่างระหว่างเพศของสังคมไทยนั้น กัสคิน (Guskin, 1964 : 84) ได้กล่าวว่า สังคมไทยมีลักษณะเป็นสองมาตรฐาน (Double Standard) คือ มีแนวโน้มที่จะอบรมเลี้ยงดูเพศหญิงให้อยู่ในระเบียบ สุภาพอ่อนโยน และรักสะอาด ส่วนเพศชายมักจะถูกอบรมเลี้ยงดูให้มีความเข้มแข็งและเชื่อมั่นในตนเอง ลักษณะดังกล่าวนี้ย่อมมีผลต่อบุคลิกภาพ แนวคิด และพฤติกรรม ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของโจนส์ (Jones, 1954 : 781-782) ที่พบว่า การที่สังคมอบรมเด็กแต่ละเพศให้แตกต่างกันนั้น ทำให้เด็กชายและเด็กหญิงมี
พฤติกรรมแตกต่างกัน
56
อมรรัตน์ รีกิจติศิริกุล (2530 : 72) ศึกษาเรื่องพฤติกรรมเกี่ยวกับการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในกรุงเทพมหานคร พบว่า นักเรียนชายและนักเรียนหญิง มีพฤติกรรมเกี่ยวกับการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยนักเรียนหญิงมีพฤติกรรมในทางบวกมากกว่าเพศชาย ซึ่งสอดคล้องกับ สุวรรณี ยุวชาติ (2532 : 88) ที่ได้ศึกษาเรื่องการศึกษาพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนอาชีวศึกษา สังกัดกรมอาชีวศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า ระดับพฤติกรรมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนอาชีวศึกษาขึ้นอยู่กับเพศ
วิชาญ มณีโชติ (2535 : บทคัดย่อ) ศึกษาเรื่องพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในจังหวัดสงขลา พบว่า นักเรียนที่มีเพศแตกต่างกันมีพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ดังนั้น ผู้วิจัยจึงตั้งสมมติฐานว่า นักเรียนชายมีระดับพฤติกรรมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
น้อยกว่านักเรียนหญิง
- ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นสิ่งที่ชี้วัดถึงระดับความรู้ของบุคคล ซึ่งจะส่งผลต่อการแสดงพฤติกรรมของบุคคลด้วย จากการศึกษาของโจนส์ (Jones, 1977) ซึ่งศึกษาผลสัมฤทธิ์ของการเรียนวิชาสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นปีที่ 3 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจะส่งผลต่อการประพฤติปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อมของนักเรียน
ปาริชาติ นาคอิ่ม (2524 : 119) ศึกษาเรื่องการศึกษาพฤติกรรมทางจริยธรรมของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จังหวัดนครสวรรค์ พบว่า นักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงมีพฤติกรรม
ทางจริยธรรมในด้านความรับผิดชอบสูงกว่านักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปานกลาง
นิรมล กลับชุ่ม (2534 : บทคัดย่อ) ศึกษาความรู้และพฤติกรรมของนักศึกษาวิทยาลัยครูเกี่ยวกับมลพิษทางสิ่งแวดล้อม พบว่า นักศึกษาวิทยาลัยครูที่มีคะแนนเฉลี่ยต่างกันจะมีพฤติกรรม
เกี่ยวกับมลพิษสิ่งแวดล้อมต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
57
ดังนั้น ผู้วิจัยจึงตั้งสมมติฐานว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่สูงมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมของวัยรุ่นที่มีต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
- การรับรู้ข่าวสารที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
สมชาย อำพันทอง (2532 : บทคัดย่อ) ศึกษาเกี่ยวกับความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมของ
ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครต่อปัญหาสิ่งแวดล้อม พบว่า การได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารมีผลต่อพฤติกรรมของผู้บริหาร
วิชาญ มณีโชติ (2535 : บทคัดย่อ) ศึกษาพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในจังหวัดสงขลา พบว่า การได้รับข่าวสารจากวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ วารสาร และสิ่งพิมพ์อื่น ๆ ต่างกัน ทำให้มีพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
อรสา ประยูรหงษ์ (2536 : 104-113) ศึกษาเรื่องการศึกษาเจตคติและลักษณะพฤติกรรม
การตอบสนองต่อการใช้ภาชนะโฟมของผู้บริโภคในห้างสรรพสินค้า เขตกรุงเทพมหานคร พบว่า พฤติกรรมการตอบสนองต่อการใช้ภาชนะโฟมขึ้นอยู่กับ ระดับในการรับข้อมูลข่าวสารระหว่างสื่อมวลชนประเภท โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร และสื่อบุคคลประเภทญาติ พี่น้องบุตรหลาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ดังนั้น ผู้วิจัยจึงตั้งสมมติฐานว่า การรับรู้ข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในระดับมากมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมของวัยรุ่นที่มีต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
- ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
โกสินทร์ รังสยาพันธ์ (2521 : 90) ได้วิจัยเกี่ยวกับปัญหาความสกปรกเป็นพิษของสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 7 พบว่า ความรู้ความเข้าใจในความรุนแรงและ
อันตรายของปัญหา ความรู้ความเข้าใจสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหา ความรู้ความเข้าใจวิธีแก้ปัญหามีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการประพฤติปฏิบัติในการเพิ่ม หรือลดปัญหา
สิ่งแวดล้อม
58
นันทนิตย์ ยิ้มวาสนา (2526 : 118) ศึกษาความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติเพื่อบริโภคผัก : ศึกษากรณีแม่บ้านในเขตกรุงเทพฯ พบว่า ความรู้เรื่องวัตถุมีพิษฆ่าแมลงในผักมีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติเมื่อบริโภคผักอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
วิรัช ชมชื่น (2536 : 142) ศึกษาพฤติกรรมการกำจัดขยะมูลฝอยของประชาชนในเขต
เทศบาลเมืองนครปฐมพบว่า ความรู้เกี่ยวกับการกำจัดขยะมูลฝอยต่างกัน ก่อให้เกิดความแตกต่างในเรื่องพฤติกรรมการกำจัดขยะมูลฝอยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001
ดังนั้น ผู้วิจัยจึงตั้งสมมติฐานว่า นักเรียนที่มีความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมีพฤติกรรมของวัยรุ่นที่มีต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมากกว่า นักเรียนที่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
- ทัศนคติเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ทัศนคติ คือ ความโน้มเอียงของความรู้สึกหรือความคิดเห็นที่พร้อมจะยอมรับหรือไม่ยอมรับต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อาจเป็นบุคคลสิ่งของหรืออื่น ๆ และทัศนคติยังมีส่วนอย่างมากที่จะส่งผลให้คนเราแสดงพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งออกมาด้วย (จุฑาภรณ์ สกุลศักดิ์, 2523 : 40) และกาเดอร์ ลินเจย์ (Garder Lindjey) และอิลเลียต อาร์สัน (Elliot Arson) เชื่อว่าทัศนคติเป็น
พลังสำคัญทำให้คนเราแสดงพฤติกรรมออกมา (Garder Lindjey and Elliot Arson, 1989 : 271) และดนัย ดำรงสกุล (2534 : 40-41) ได้กล่าวอีกว่า ความรู้อย่างเดียวไม่ใช่ข้อยืนยันว่าบุคคลจะปฏิบัติตามสิ่งที่ตนรู้เสมอไป แต่ทัศนคติจะเป็นตัวชี้ให้เห็นถึงการนำไปปฏิบัติ ถ้ามีทัศนคติที่ดีรวมทั้งองค์ประกอบอื่น ๆ ที่จะกระตุ้นในการปฏิบัติแล้ว บุคคลนั้นจะมีแนวโน้มที่จะกระทำหรือปฏิบัติมากกว่าบุคคลที่มีทัศนคติไม่ดี
เทียนฉาย กีรนันท์ (2525 : 97) ศึกษาพฤติกรรมการใช้พลังงานในครัวเรือนของชาวกรุงเทพมหานครพบว่า ประชาชนมีทัศนคติที่ดีต่อการประหยัดพลังงานก็จะยิ่งมีพฤติกรรมที่ดียิ่งขึ้นคือ มีการใช้พลังงานในครัวเรือนน้อยลง
59
ยุวดี อิ่มใจ (2529 : 94) ศึกษาปัจจัยทางสังคมจิตวิทยาที่มีความสัมพันธ์ต่อความตั้งใจในการรักษาความสะอาดของบ้านเมืองของเยาวชนระดับมัธยมปลายในกรุงเทพมหานคร พบว่า ทัศนคติต่อพฤติกรรมในการรักษาความสะอาดของบ้านเมือง มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจใน การรักษาความสะอาดของบ้านเมืองของเยาวชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 กล่าวคือ เยาวชนที่มีทัศนคติที่ดีต่อพฤติกรรมการรักษาความสะอาดบ้านเมืองมาก จะมีความตั้งใจในการรักษาความสะอาดของบ้านเมืองมาก และเยาวชนที่มีทัศนคติที่ดีต่อพฤติกรรมในการรักษาความสะอาดของบ้านเมืองน้อยก็จะมีความตั้งใจในการรักษาความสะอาดของบ้านเมืองน้อย
โกสินทร์ รังสยาพันธ์ (2521 : 90) ได้วิจัยเกี่ยวกับปัญหาความสกปรกเป็นพิษของสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 7 พบว่า เจตคติที่เอื้อต่อการแก้ปัญหาของนักเรียนมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการปฏิบัติในการเพิ่มหรือลดปัญหาสิ่งแวดล้อม
ดังนั้น ผู้วิจัยตั้งสมมติฐานว่า เจตคติเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ดีมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมของวัยรุ่นที่มีต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
บทที่ 3
วิธีดำเนินการวิจัย
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาพฤติกรรมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของวัยรุ่น : กรณีศึกษานักเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร สหวิทยาเขตบรมราชชนนี 1 ประจำปี 2545 โดยวิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ทั้งนี้ จากการศึกษาเอกสารและข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้กำหนดแนวทางในการ
ดำเนินการวิจัยดังต่อไปนี้
1. การกำหนดประชากรและการสุ่มตัวอย่าง
ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดกรมสามัญศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มสหวิทยาเขตบรมราชชนนี 1 โดยรวบรวมข้อมูลจากหน่วยประสานงานกลุ่มสหวิทยาเขตบรมราชชนนี 1 ซึ่งมีจำนวนโรงเรียนทั้งสิ้น 6 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง โรงเรียนวัดบวรมงคล โรงเรียนสตรีวัดระฆัง โรงเรียนมัธยมวัดดุสิตาราม และโรงเรียนวิมุตยารามพิทยากร
การเลือกกลุ่มตัวอย่าง
เลือกจากโรงเรียนมัธยมศึกษาในกลุ่มสหวิทยาเขตบรมราชชนนี 1 จำนวนทั้ง 6 โรงเรียน โดยเหตุผลที่เลือกโรงเรียนในกลุ่มสหวิทยาเขตบรมราชชนนี 1 เป็นประชากรในการศึกษา เนื่องจากโรงเรียนในกลุ่มสหวิทยาเขตบรมราชชนนี 1 มีจุดเด่นพิเศษกว่ากลุ่มอื่นคือ โรงเรียนในกลุ่มดังกล่าวทั้งหมดตั้งอยู่ใกล้กับแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักสำคัญของคนไทย และปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีว่า คุณภาพของน้ำในแม่น้ำสายดังกล่าวได้เริ่มเข้าสู่ภาวะวิกฤติ ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงทำให้ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาในด้านการรักษาความสะอาด มีความชัดเจนตรงกับพฤติกรรมความเป็นจริงมากที่สุด
61
การสุ่มกลุ่มตัวอย่าง
การสุ่มตัวอย่างนี้ใช้จำนวนกลุ่มตัวอย่างจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยทำการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้สัดส่วน 15% ของประชากรกลุ่มตัวอย่าง ตามหลักการคำนวณของ บุญชม ศรีสะอาด (2543 : 24-27) ที่ใช้หลักเกณฑ์ว่า ประชากรที่มีจำนวนหลักร้อย ใช้เกณฑ์ 15-30% ของจำนวนประชากรทั้งหมด ประชากรที่มีจำนวนหลักพัน ใช้เกณฑ์ 10-15% ของจำนวนประชากรทั้งหมด และประชากรที่มีจำนวนหลักหมื่น ใช้เกณฑ์ 5-10% ของจำนวนประชากรทั้งหมด สำหรับการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยเลือกใช้สัดส่วนในอัตราร้อยละ 15% ซึ่งเป็นเกณฑ์ขั้นต่ำในการทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง โดยมีรายละเอียดจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่นำมาศึกษา ปรากฏตามตารางที่ 4 ดังนี้
ตารางที่ 4 จำนวนประชากรในแต่ละสถานศึกษา
สถานศึกษา จำนวน จำนวนกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร ที่นำมาศึกษา
1. โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม 416 62
2. โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง 70 10
3. โรงเรียนวัดบวรมงคล 181 27
4. โรงเรียนสตรีวัดระฆัง 396 59
5. โรงเรียนมัธยมวัดดุสิตาราม 457 69
6. โรงเรียนวิมุตยารามพิทยากร 400 60
รวม 1,920 287
2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ โดยศึกษาข้อมูลจาก
ผลงานวิจัย ตำรา และเอกสารวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นแนวทางในการกำหนดขอบเขตเนื้อหาในการสร้างเครื่องมือ โดยแบบสอบถามประกอบด้วยรายละเอียดแบ่งเป็น 6 ส่วน ดังนี้
62
ส่วนที่ 1 คำถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน บทบาท
ความเป็นผู้นำ และการเข้าร่วมกิจกรรมเป็นสมาชิกในชมรม ซึ่งผู้วิจัยได้ทำการพัฒนาขึ้นเอง
ส่วนที่ 2 คำถามที่วัดการรับรู้ข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ลักษณะของ
แบบสอบถามเป็นแบบปลายปิด โดยใช้แบบวัดที่มีการประเมินค่า 3 ระดับ
ความถี่ในการรับข่าวสาร คะแนน
ไม่ได้รับข่าวสาร 1
ได้รับข่าวสารปานกลาง 2
ได้รับข่าวสารมาก 3
ส่วนที่ 3 คำถามที่วัดความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบปลายปิดมีทั้งเชิงบวกและเชิงลบคละกัน โดยคำถามใช้แบบวัดที่มีการประเมิน 2 ระดับ และใช้เป็นเกณฑ์ในการวัดความรู้ ดังนี้
1 – ไม่ใช่ 2 – ใช่




พฤติกรรมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของวัยรุ่น (ตอนที่ 1)
พฤติกรรมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของวัยรุ่น (ตอนที่ 2)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น