ศึกษาและโหลดฟรีเป็นตัวอย่างเกี่ยวกับงานวิจัย all free download research
วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
พฤติกรรมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของวัยรุ่น (ตอนที่ 2)
ส่วนที่ 4 คำถามที่วัดเจตคติเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ลักษณะข้อความเป็นแบบปลายปิดมีทั้งเชิงบวกเชิงลบคละกัน โดยข้อความทั้งหมดใช้แบบวัดที่มีการประเมิน 3 ระดับ ดังนี้
คำถามเชิงบวก คำถามเชิงลบ
ไม่เห็นด้วย 1 3 คะแนน
ไม่แน่ใจ 2 2 คะแนน
เห็นด้วย 3 1 คะแนน
ส่วนที่ 5 คำถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ลักษณะคำถามเป็นแบบปลายปิด มีทั้งเชิงบวกและเชิงลบคละกัน โดยข้อความทั้งหมดใช้แบบวัดที่มีการประเมิน 3 ระดับ
และใช้เป็นเกณฑ์ในการวัดการปฏิบัติดังนี้
63
คำถามเชิงบวก คำถามเชิงลบ
ไม่ปฏิบัติ 1 3
ปฏิบัติบางครั้ง 2 2
ปฏิบัติทุกครั้ง 3 1
โดยเกณฑ์ในการพิจารณาขอบเขตของคะแนนเฉลี่ยเพื่อใช้ในการแปลผลตามความหมาย
ของข้อมูลในคำถามส่วนที่ 2 ส่วนที่ 4 และส่วนที่ 5 ได้ทำการกำหนดไว้ 3 ระดับ โดยมีเกณฑ์ในการพิจารณา ดังนี้
2.00 - 3.00 หมายถึง ระดับสูง
1.00 - 1.99 หมายถึง ระดับกลาง
0.00 - 0.99 หมายถึง ระดับต่ำ
ส่วนที่ 6 เป็นคำถามแบบปลายเปิด เพื่อให้ผู้ตอบแบบสอบถามได้แสดงความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
3. การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ในการสร้างและพัฒนาแบบสอบถามให้มีคุณภาพ ผู้วิจัยได้ทำการพัฒนาเครื่องมือด้วยตนเอง โดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยต่าง ๆ แล้วนำข้อมูลทั้งหมดมาเป็นแนวทางในการสร้างแบบสอบถาม
เมื่อสร้างแบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่จะใช้ในการวิจัยแล้ว ผู้วิจัยได้ทำการตรวจสอบ
คุณภาพของเครื่องมือและดำเนินการปรับปรุงแก้ไข โดยมีรายละเอียดและขั้นตอนดังนี้
1. การตรวจสอบความตรงของเครื่องมือ (Validity)
แบบสอบถามที่สร้างขึ้น ผู้วิจัยได้นำไปให้อาจารย์ผู้ควบคุมวิทยานิพนธ์และผู้เชี่ยวชาญอีกจำนวน 3 ท่าน ตรวจสอบความชัดเจน ความถูกต้อง และความครอบคลุมของเนื้อหา (Content
64
Validity) ทั้งนี้ เพื่อตรวจสอบความสมบูรณ์ของเครื่องมือในด้านคำถาม เพื่อให้เกิดความครอบคลุมและวัดได้ตรงตามความต้องการ รวมทั้งตรวจสอบความเป็นปรนัย (Objectivity) ของคำถามและคำตอบแต่ละข้อเพื่อให้ได้ข้อคำถามที่ชัดเจนถูกต้อง และเมื่อผ่านการพิจารณาจากผู้ควบคุมวิทยานิพนธ์ และผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่านแล้ว ผู้วิจัยได้นำแบบสอบถามมาทำการปรับแก้ให้เกิด
ความเหมาะสมทั้งในด้านเนื้อหาและด้านภาษา ตามความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้ควบคุมวิทยานิพนธ์และผู้เชี่ยวชาญ ก่อนนำไปทำการตรวจสอบคุณภาพด้านอำนาจการจำแนกข้อคำถามและความเที่ยงตรงของเครื่องมือ เพื่อนำไปใช้จริง
2. การทดลองใช้แบบสอบถาม (Try Out)
นำแบบสอบถามที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วไปทดลองใช้กับประชากรที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งไม่ได้ถูกจัดเป็นกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ จำนวน 30 ตัวอย่าง เพื่อตรวจสอบภาษาที่ใช้ให้เป็นที่เข้าใจ เมื่อนำแบบสอบถามไปใช้จริง
3. การตรวจสอบอำนาจจำแนกรายข้อของแบบสอบถาม (Discrimination)
นำข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามมาตรวจสอบคุณภาพ ด้วยอำนาจจำแนกรายข้อของ
ข้อคำถามด้วยการทดสอบหาความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ย (X) ระหว่างกลุ่มสูงและกลุ่มต่ำตามเทคน ิค 25 % ของลิเคอร์ต (Likert) โดยเรียงคะแนนจากมากไปหาน้อย แบ่งเป็นกลุ่มสูง 25 % และกลุ่มต่ำ 25 % แล้วนำมาเปรียบเทียบกันด้วยสูตร t-test คัดเลือกเฉพาะข้อที่มีค่า t-test ตั้งแต่ 2.0 ขึ้นไปเพื่อนำไปใช้จริง โดยถือว่าเป็นอำนาจจำแนกที่ใช้ได้ การคำนวณหาคะแนนเฉลี่ยและความเบี่ยงเบนมาตรฐานรายข้อของแต่ละกลุ่ม นำมาแทนค่าในสูตร t-distribution ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ α =.05
สูตร t-distribution
t = X H X L
s 2H s 2L
n H n L
65
เมื่อ t หมายถึง ค่าอำนาจจำแนกของข้อทดสอบ
X H หมายถึง คะแนนเฉลี่ยของกลุ่มสูง
X L หมายถึง คะแนนเฉลี่ยของกลุ่มต่ำ
S 2H หมายถึง คะแนนความแปรปรวนของกลุ่มสูง
S 2L หมายถึง คะแนนความแปรปรวนของกลุ่มต่ำ
N H หมายถึง จำนวนของกลุ่มตัวอย่างในกลุ่มสูง
N L หมายถึง จำนวนของกลุ่มตัวอย่างในกลุ่มต่ำ
4. การตรวจสอบความเที่ยงของเครื่องมือ (Reliability)
ดำเนินการตรวจสอบความเที่ยงของเครื่องมือด้วยการวัดความคงที่ภายใน (Internal Consistency) ด้วยวิธี Coefficient Alpha ของ Cronbach ด้วยสูตร
α = K 1 S 12
K - 1 S X2
α = ค่าสัมประสิทธิ์ของความเชื่อมั่น
K = จำนวนข้อของแบบสอบถาม
S X2 = ผลรวมของค่าความแปรปรวนของคะแนนรวมจากแบบสอบถาม
S 12 = ค่าความแปรปรวนของคะแนนรวมทั้งหมดของผู้ตอบแบบสอบถามแต่ละคน
ภายหลังการคำนวณหาค่าความเชื่อมั่นจากปัจจัยภายนอก ผลการคำนวณได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.7475
5. ทำการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องของแบบสอบถามขั้นสุดท้าย
แก้ไขข้อบกพร่องที่ค้นพบจากการตรวจสอบทั้งหมด ในด้านการใช้สำนวนภาษาใน
ข้อคำถามให้เข้าใจง่ายและเข้าใจตรงกัน มีความสมบูรณ์ในเนื้อหาที่ต้องการทราบ มีความสามารถในการจำแนกและมีความเที่ยงตรง มีความเหมาะสมในการนำไปใช้ แล้วจึงนำไปทำการสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจริง
66
4. การเก็บรวบรวมข้อมูล
ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. ผู้วิจัยขอหนังสือแนะนำตัวจากคณบดี บัณฑิตวิทยาลัย เพื่อขอความอนุเคราะห์อำนวยความสะดวกในการเข้าเก็บข้อมูลในโรงเรียนมัธยมในสังกัดกรมสามัญศึกษา
2. รับหนังสือขอความอนุเคราะห์ในการอำนวยความสะดวก เพื่อเก็บข้อมูลจากคณบดี บัณฑิตวิทยาลัยไปยังผู้อำนวยการและอาจารย์ใหญ่ของโรงเรียนกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้ง 6 โรงเรียน ที่ผู้วิจัยได้ติดต่อขอความอนุเคราะห์ไว้
3. ผู้วิจัยแจกแบบสอบถามไปยังโรงเรียนกลุ่มตัวอย่างทั้ง 6 โรงเรียน โดยผู้วิจัยได้นำ
แบบสอบถามไปมอบแก่ทางโรงเรียนด้วยตนเอง และขอความอนุเคราะห์จากอาจารย์ในการแจกแบบสอบถามแก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างในโรงเรียนดังกล่าว โดยในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้พยายามเก็บแบบสอบถามกลับมาให้ได้มากที่สุดด้วยการมีหนังสือปะหน้าเพื่อชี้แจงรายละเอียดในการตอบแบบสอบถามทุกชุด ซึ่งผู้ตอบแบบสอบถามไม่ต้องระบุชื่อ-สกุล โดยทำการเสนอผลการวิจัยในภาพรวม ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์แก่การวิจัยอย่างสูงสุด โดยใช้เวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประมาณ 1 เดือน
5. การวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัยได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างนำมาวิเคราะห์ทำการลงรหัส จากนั้นนำไปวิเคราะห์ค่าสถิติด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC+(Statistical Package for Social Science/PC Plus) และในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาความสัมพันธ์ทางสถิติในการวิจัยครั้งนี้ใช้ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (α = 0.05) เป็นเกณฑ์ในการยอมรับหรือปฏิเสธสมมติฐานในการวิจัย
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
1. วิเคราะห์ค่าสถิติเชิงพรรณา (Descriptive Statistics) โดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ
ค่าเฉลี่ยของคะแนนตัวแปรทุกตัวในกลุ่มตัวอย่างตัวแปรอิสระ เพื่ออธิบายตัวแปรทุกตัวที่ใช้ในการ
67
วิจัยครั้งนี้ ตัวแปรที่มีระดับการวัดแบบอัตราส่วน (Ratio Scale) และแบบช่วง (Interval Scale) ใช้ค่ามัชฌิมเลขคณิต (Arithmetic Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Diviation) ในการอธิบายตัวแปร
2. ทำการทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของปัจจัยภายนอก โดยนำมาพิจารณาผลกระทบต่อพฤติกรรมของวัยรุ่นที่มีต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
การทดสอบสมมติฐาน
ผู้วิจัยได้กำหนดสมมติฐานจากตัวแปรทุกตัวในกลุ่มปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยภายนอก โดยผู้วิจัยได้ตั้งสมมติฐานไว้ดังนี้
สมมติฐานที่ 1 นักเรียนเพศชายมีพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมน้อยกว่าเพศหญิง
สมมติฐานที่ 2 นักเรียนที่มีความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมีพฤติกรรมของวัยรุ่น
ที่มีต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมากกว่านักเรียนที่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
สมมติฐานที่ 3 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในระดับที่สูง
มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมของวัยรุ่นในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
สมมติฐานที่ 4 การรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในระดับมาก
มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมของวัยรุ่นในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
สมมติฐานที่ 5 เจตคติเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ดี
มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมของวัยรุ่นในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์สมมติฐาน ข้อที่ 1 และ 2 คือ t-test
ใช้ทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของตัวแปร 2 กลุ่ม
ส่วนสมมติฐาน ข้อที่ 3-5 ใช้การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
(Pearson Product Moment Correlation Coefficient)
บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
การวิจัยเรื่อง “พฤติกรรมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของวัยรุ่น : กรณีศึกษานักเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มสหวิทยาเขตบรมราชชนนี 1” นั้น ผู้วิจัยได้ดำเนินการศึกษากับกลุ่ม
ตัวอย่าง โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม จำนวนทั้งสิ้น 271 ชุด และ นำเข้าสู่กระบวนการวิเคราะห์ข้อมูล
ที่สามารถนำเสนอผลการวิเคราะห์ได้ดังนี้
ข้อมูลทั่วไป 1.
ผู้วิจัยได้เริ่มทำการแจกแบบสอบถามแก่กลุ่มตัวอย่างเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2545 และ
ได้รับกลับคืนมาทั้งสิ้น 271 ชุด จากจำนวนแบบสอบถามทั้งสิ้น 287 ชุด คิดเป็นร้อยละ 94.43
โดยสามารถจำแนกรายละเอียดการเก็บแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญ
ศึกษาในกลุ่มสหวิทยาเขตบรมราชชนนี 1 ทั้ง 6 โรงเรียน ได้ดังนี้
ตารางที่ 5 จำนวนแบบสอบถามที่ได้รับคืนจากแต่ละสถานศึกษา
สถานศึกษา จำนวน จำนวน ร้อยละ (%)
แบบสอบถามที่แจก แบบสอบถามที่ได้รับคืน
1. โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม 62 ชุด 62 ชุด 100.00
2. โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง 10 ชุด 10 ชุด 100.00
3. โรงเรียนวัดบวรมงคล 27 ชุด 27 ชุด 100.00
4. โรงเรียนสตรีวัดระฆัง 59 ชุด 59 ชุด 100.00
5. โรงเรียนมัธยมวัดดุสิตาราม 69 ชุด 69 ชุด 100.00
6. โรงเรียนวิมุตยารามพิทยากร 60 ชุด 44 ชุด 73.33
โดยข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง ประกอบไปด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ ผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียน และการเข้าร่วมกิจกรรมและเป็นสมาชิกในชมรมที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งสามารถ
นำเสนอแจกแจงเป็นตารางความถี่และร้อยละ ได้ดังนี้
69
แสดงข้อมูลทั่วไป 6 ตารางที่
ตัวแปร
จำนวน (N=271 คน)
ร้อยละ (%)
1. เพศ
- ชาย
73
26.9
- หญิง
198
73.1
รวม
271
100.00
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
- เกรด 1.00-1.99
34
12.5
- เกรด 2.00-2.99
142
52.4
- เกรด 3.00-4.00
95
35.1
รวม
271
100.00
3. การเข้าร่วมกิจกรรมและเข้าเป็นสมาชิก
ในชมรมเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
1. กิจกรรมการประหยัดพลังงานไฟฟ้าและ
น้ำประปา
- เข้าร่วม
44
16.2
- ไม่เข้าร่วม
227
83.8
รวม
271
100.00
2. กิจกรรม “ห้องเรียนสีเขียว” (ห้องเรียน -
ประหยัดพลังงาน)
- เข้าร่วม
61
22.5
- ไม่เข้าร่วม
210
77.5
รวม
271
100.00
ตัวแปร
จำนวน (N=271 คน)
ร้อยละ (%)
3. กิจกรรม “5 ส”
- เข้าร่วม
117
43.2
- ไม่เข้าร่วม
154
56.8
รวม
271
100.00
4. กิจกรรม “รีไซเคิล” (การนำกลับมาใช้ใหม่)
- เข้าร่วม
53
- ไม่เข้าร่วม
218
19.6
80.4
69
70
รวม
271
100.00
5. กิจกรรมการประกวดห้องเรียนและพื้นที่ -
รับผิดชอบให้สะอาด
- เข้าร่วม
135
49.8
- ไม่เข้าร่วม
136
50.2
รวม
271
100.00
6. ชมรมเปเปอร์มาเช่ (การนำกระดาษที่ -
เหลือใช้มาสร้างสิ่งของ เช่น รูปสัตว์/ผลไม้)
- เข้าร่วม
16
5.9
- ไม่เข้าร่วม
255
94.1
รวม
271
100.00
7. อื่น ๆ
- เข้าร่วม
2
0.7
- ไม่เข้าร่วม
269
99.3
รวม
271
100.00
จากตารางที่ 6 แสดงข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง ผลจากการวิเคราะห์พบว่าลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างจากจำนวน 271 คน มีลักษณะดังนี้
เพศ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงกล่าวคือ มีเป็นจำนวนถึง 198 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 73.1 และเป็นเพศชาย จำนวน 73 คน คิดเป็นร้อยละ 26.9
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อยู่ในระดับ
ปานกลาง กล่าวคือ มีจำนวน 142 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 52.4 รองลงมามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
อยู่ในระดับสูง จำนวน 95 คน คิดเป็นร้อยละ 35.1 และอันดับสุดท้าย มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับต่ำ
จำนวน 34 คน คิดเป็นร้อยละ 12.5
การเข้าร่วมกิจกรรมและเป็นสมาชิกในชมรมที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ในส่วนของ
70
71
การเข้าร่วมกิจกรรมและเป็นสมาชิกในชมรมที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สามารถสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ได้ดังนี้
1. กิจกรรมการประหยัดพลังงานไฟฟ้าและน้ำประปา มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 44 คน
คิดเป็นร้อยละ 16.2 และมีผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 227 คน คิดเป็นร้อยละ 83.8
2. กิจกรรม “ห้องเรียนสีเขียว” (ห้องเรียนประหยัดพลังงาน) มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 61 คน คิด
เป็นร้อยละ 22.5 และมีผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 210 คน คิดเป็นร้อยละ 77.5
3. กิจกรรม “5 ส” มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 117 คน คิดเป็นร้อยละ 43.2 และมีผู้ที่
ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 154 คน คิดเป็นร้อยละ 56.8
4. กิจกรรม “รีไซเคิล” (การนำวัสดุที่ใช้แล้วหรือเหลือใช้กลับมาใช้ใหม่) มีผู้ร่วมกิจกรรม
จำนวน 53 คน คิดเป็นร้อยละ 19.6 และมีผู้ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 218 คน คิดเป็นร้อยละ 80.4
5. กิจกรรมการประกวดห้องเรียนและพื้นที่รับผิดชอบให้สะอาด มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม
จำนวน 135 คน คิดเป็นร้อยละ 49.8 และมีผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 136 คน คิดเป็นร้อยละ 50.2
6. ชมรมเปเปอร์มาเช่ (การนำกระดาษที่เหลือใช้มาทำเป็นรูปสัตว์หรือผลไม้) มีผู้เข้าร่วม
กิจกรรม จำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 5.9 และมีผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 255 คน คิดเป็นร้อยละ 94.1
7. อื่น ๆ โปรดระบุ ………….… มีกลุ่มตัวอย่างตอบว่า ได้เข้าร่วมกิจกรรมอื่น ๆ โดยกิจกรรม
อื่น ๆ ที่กลุ่มตัวอย่างได้เข้าร่วมและตอบมาคือ ชมรมเรารักโรงเรียน
2. การหาค่าระดับของตัวแปร
ตารางที่ 7 แสดงค่าระดับของตัวแปรพฤติกรรมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของวัยรุ่น
N
⎯X
S.D.
ตัวแปร ระดับ
1. การรับรู้ข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับ
การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
271
1.9578
0.2378
ปานกลาง
2. ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์
สิ่งแวดล้อม
271
1.5649
0.1503
ปานกลาง
3. เจตคติเกี่ยวกับการอนุรักษ์
สิ่งแวดล้อม
271
2.6225
0.3362
สูง
4. พฤติกรรมเกี่ยวกับการอนุรักษ์
สิ่งแวดล้อม
271
2.2970
0.2518
สูง
71
72
ผลการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยตัวแปร พบว่า การรับรู้ข่าวสารที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และความรู้
เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนเจตคติเกี่ยวกับ
การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง
3. การทดสอบสมมติฐาน
ตารางที่ 8 แสดงค่าความแตกต่างของตัวแปรเพศนักเรียนกับพฤติกรรมในการอนุรักษ์
สิ่งแวดล้อม
⎯X
S.D.
t
Sig.
ตัวแปร
2.2370
เพศ
- ชาย
0.2643
-2.405
0.631
2.3192
0.2440 - หญิง
ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์
สิ่งแวดล้อม
- ไม่ใช่ 2.5750
0.3304
3.746 0.007
- ใช่
1.9200
0.1924
การทดสอบสมมติฐานที่ 1 นักเรียนเพศชายมีพฤติกรรมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
น้อยกว่าเพศหญิง
ผลการวิเคราะห์จากตารางที่ 8 พบว่า นักเรียนทั้งเพศชายและเพศหญิงมีพฤติกรรมใน
การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งไม่สอดคล้องกับ
สมมติฐานที่ตั้งไว้
การทดสอบสมมติฐานที่ 2 นักเรียนที่มีความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมี
พฤติกรรมของวัยรุ่นที่มีต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมากกว่า นักเรียนที่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
72
73
ผลการวิเคราะห์จากตารางที่ 8 พบว่า นักเรียนที่มีความรู้และไม่มีความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่ง
แวดล้อมมีพฤติกรรมของวัยรุ่นที่มีต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
4. การหาความสัมพันธ์ของตัวแปรต่างๆ กับพฤติกรรมของวัยรุ่นที่มีต่อ
การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
การวิเคราะห์หาค่าความสัมพันธ์ของตัวแปรต่าง ๆ ผู้วิจัยขอนำเสนอตามสมมติฐานที่ได้ตั้งไว้ โดยมี
รายละเอียดดังนี้
ค่าสหสัมพั9 นธ์ของตัวแปรพฤติกรรมในการอนุรักษ์สงิ่ แวดล้อมของวัยรุ่น ตารางที่
พฤติกรรมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของวัยรุ่น
ตัวแปร
N
⎯X
S.D.
P value
Sig.
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
271
2.23
0.65
0.164**
.003
**
2. การรับรู้ข่าวสารที่เกี่ยวข้อง
กับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
271 1.9578
0.2378
0.145
.009
3. เจตคติเกี่ยวกับ
การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
271
2.6225
304**
0.3362
0.
.000
*** มีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01
การทดสอบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในระดับที่สูง สมมติฐานที่ 3
มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมของวัยรุ่นที่มีต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ผลการวิเคราะห์จากตารางที่ 9 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในระดับที่สูง
มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมของวัยรุ่นที่มีต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องกับ
สมมติฐานที่ตั้งไว้ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05
การทดสอบสมมติฐานที่ 4 การรับรู้ข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมใน
ระดับมากมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมของวัยรุ่นที่มีต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
73
74
ผลการวิเคราะห์จากตารางที่ 9 พบว่า การรับรู้ข่าวสารที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ในระดับมากมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมของวัยรุ่นที่มีต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สอดคล้อง
กับสมมติฐานที่ตั้งไว้ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05
การทดสอบสมมติฐานที่ 5 เจตคติเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ดีมีความสัมพันธ์
เชิงบวกกับพฤติกรรมของวัยรุ่นที่มีต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ผลการวิเคราะห์จากตารางที่ 9 พบว่า เจตคติเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ดีมีความ
สัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมของวัยรุ่นที่มีต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่
ตั้งไว้ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05
5. ข้อเสนอแนะจากแบบสอบถาม
ตามที่ในส่วนที่ 1 และ ส่วนที่ 6 ของแบบสอบถาม ผู้วิจัยได้กำหนดข้อคำถามให้เป็น
คำถามแบบปลายเปิด เพื่อสอบถามกลุ่มตัวอย่าง จำนวนทั้งสิ้น 271 คน ถึงการมีบทบาทความเป็น
ผู้นำในตำแหน่งที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รวมถึงให้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางในการ
อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในประเด็นการประหยัดพลังงานด้านการใช้ไฟฟ้าและน้ำประปา และประเด็นการ
รักษาความสะอาดด้านการไม่ทิ้งสิ่งปฏิกูลและการดูแลรักษาสภาพแวดล้อมของที่อยู่อาศัยและ
สถานศึกษานั้น สามารถสรุปรายละเอียดข้อมูลและข้อเสนอแนะทั้งหมดก่อนนำไปสรุปอภิปรายผล
ในบทที่ 5 ได้ดังนี้
ส่วนที่ 1 ของแบบสอบถาม ในคำถามข้อที่ 3. ที่ถามว่า “ท่านมีบทบาทความเป็นผู้นำใน
ตำแหน่งใดที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม” ในข้อคำถามเกี่ยวกับการมีบทบาทความเป็นผู้นำ
มีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 4 คน ตอบถึงบทบาทความเป็นผู้นำที่มีเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ดังนี้
1. วิทยากร “ห้องเรียนสีเขียว” ของโรงเรียน มีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ
0.74 ตอบว่า มีบทบาทเป็นผู้นำคือ เป็นวิทยากร “ห้องเรียนสีเขียว” ของโรงเรียน
2. กรรมการการประกวดห้องเรียนและพื้นที่รับผิดชอบให้สะอาด มีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน
2 คน คิดเป็นร้อยละ 0.74 ตอบว่า มีบทบาทเป็นผู้นำคือ เป็นกรรมการในการประกวดห้องเรียนและ
พื้นที่รับผิดชอบให้สะอาดของโรงเรียน
74
75
ส่วนที่ 6 ของแบบสอบถาม ในข้อคำถามที่ได้ให้กลุ่มตัวอย่างให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ
แนวทางในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ตามแนวคิดของกลุ่มตัวอย่างนั้น สามารถสรุปแยกข้อเสนอแนะที่
กลุ่มตัวอย่างได้ตอบมา ตามประเด็นที่ได้กำหนดไว้ 2 ประเด็นใหญ่ ๆ ดังนี้
- ประเด็นการประหยัดพลังงานด้านการใช้ไฟฟ้าและน้ำประปา ได้มีผู้ให้ข้อเสนอแนะ
เกี่ยวกับการประหยัดพลังงานไฟฟ้าและน้ำประปา เรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้
1. ปิดเมื่อเลิกใช้ มีผู้ตอบ จำนวน 158 คน คิดเป็นร้อยละ 58.30
2. นำน้ำที่เหลือจากการล้างจานและซักผ้าไปรดต้นไม้ มีผู้ตอบ จำนวน 8 คน คิดเป็น
ร้อยละ 2.95
3. ส่งเสริมให้ประชาชนรับรู้และทราบถึงวิธีในการประหยัดพลังงาน มีผู้ตอบ จำนวน
6 คน คิดเป็นร้อยละ 2.21
4. ติดป้ายรณรงค์การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ มีผู้ตอบ จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ
1.48
5. ใช้พลังงานอย่างประหยัดและถูกวิธี มีผู้ตอบ จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 1.11
6. ใช้พลังงานแสงอาทิตย์แทนพลังงานน้ำและถ่านหิน มีผู้ตอบ จำนวน 1 คน คิดเป็น
ร้อยละ 0.37
- ประเด็นการรักษาความสะอาดด้านการไม่ทิ้งสิ่งปฏิกูลและการดูแลสภาพแวดล้อมของ
ที่อยู่อาศัยและสถานศึกษา ได้มีผู้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดเกี่ยวกับการไม่ทิ้ง
ขยะสิ่งปฏิกูลและการดูแลสภาพแวดล้อมของที่อยู่อาศัยและสถานศึกษา เรียงตามลำดับจากมาก
ไปหาน้อย ได้ดังนี้
1. ทิ้งขยะลงในที่รองรับทุกครั้ง มีผู้ตอบ จำนวน 73 คน คิดเป็นร้อยละ 26.94
2. ไม่ทิ้งขยะสิ่งปฏิกูลลงแม่น้ำ มีผู้ตอบ จำนวน 59 คน คิดเป็นร้อยละ 21.77
3. แยกประเภทและชนิดของขยะก่อนทิ้ง เพื่อสามารถคัดแยกสิ่งที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้
(Recycle) มีผู้ตอบ จำนวน 37 คน คิดเป็นร้อยละ 13.65
4. หมั่นดูแลทำความสะอาดบริเวณที่อยู่อาศัยและสถานศึกษา มีผู้ตอบ จำนวน 21 คน
คิดเป็นร้อยละ 7.75
75
76
5. จัดให้มีจำนวนถังขยะเปียกและขยะแห้งให้มากยิ่งขึ้น มีผู้ตอบ จำนวน 9 คน คิดเป็น
ร้อยละ 3.32
6. จัดให้มีกิจกรรมเกี่ยวกับการดูแลสภาพแวดล้อมของที่อยู่อาศัยและสถานศึกษา เช่น
การประกวดความสะอาดของห้องเรียน มีผู้ตอบ จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 2.95
7. ติดป้ายรณรงค์ห้ามทิ้งขยะ มีผู้ตอบ จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 2.21
8. กำหนดหรือออกกฎหมายในด้านการรักษาความสะอาดให้มีความเข้มงวดมากยิ่งขึ้น
ดังเช่น การปรับเงินผู้ที่ทิ้งขยะลงในที่สาธารณะของกรุงเทพมหานคร มีผู้ตอบ จำนวน 4 คน คิดเป็น
ร้อยละ 1.48
76
93
ตารางผนวกที่ 1 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ยของการตอบแบบสอบถามในส่วนที่ 2 การรับรู้ข่าวสารที่
เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
แหล่งข่าวสารที่ได้รับ
X
S.D.
1. วิทยุ เช่น รายการวิทยุเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
2.08
.45
2. โทรทัศน์ เช่น รายการสารคดีอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
หรือโฆษณาเชิญชวนให้ช่วยกันประหยัดพลังงาน
และรักษาความสะอาด
2.51
.53
3. หนังสือพิมพ์ เช่น บทความ คอลัมน์ที่เกี่ยวกับการ
อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
2.12
.50
4. นิตยสาร/วารสาร เช่น บทความที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ
การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
2.02
.47
5. อินเตอร์เน็ต เช่น เว็บไซต์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
1.86
.66
6. บุคคล เช่น ครอบครัว ญาติ เพื่อน และเพื่อนบ้าน
2.11
.54
7. อื่น ๆ โปรดระบุ ……………………
1.00
.07
97
ตารางผนวกที่ 2 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ยของการตอบแบบสอบถามในส่วนที่ 3 ความรู้เกี่ยวกับ
การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ข้อความ
X
S.D.
1. การเพิ่มขึ้นของประชากรอย่างรวดเร็วไม่ได้มีผลทำให้ความต้องการใน
การใช้ไฟฟ้าและน้ำประปาของประเทศเพิ่มขึ้นด้วย
2. การอนุรักษ์ทรัพยากรและพลังงานจะอนุรักษ์เฉพาะทรัพยากรและพลังงาน
ที่ใช้แล้วหมดไปเท่านั้น
3. การทิ้งขยะและสิ่งปฏิกูลลงในแม่น้ำลำคลอง เป็นการทำลายแหล่งน้ำที่
ใช้ในการอุปโภคและบริโภคอย่างรุนแรง
4. สถานการณ์สิ่งแวดล้อมที่สำคัญอย่างหนึ่งที่แสดงได้ว่า ควรจะต้องมี
การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมคือ ภาวะวิกฤติของแหล่งน้ำในแม่น้ำลำคลอง
5. สาเหตุสำคัญของการสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าและน้ำประปาเกิดจาก
การละเลยไม่ใส่ใจที่จะช่วยกันประหยัดทรัพยากรและพลังงานของชาติ
6. การลดการทิ้งขยะที่ย่อยสลายยาก เช่น โลหะ ถุงพลาสติกฯ ลงในแหล่งน้ำ
เป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำทางหนึ่ง
7. ปัญหาการขาดแคลนและความสกปรกของแหล่งน้ำไม่ได้เป็นปัญหาใหญ่ของชาติเพราะอนาคตมนุษย์สามารถผลิตเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาแก้ไขได้
8. การใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างประหยัดจะทำให้เรามีทรัพยากรและ
พลังงานใช้อย่างยั่งยืนตลอดไป
9. การเลือกซื้อสินค้าที่มีชนิดเติม (Refill) ไม่ได้เป็นการช่วยลดปริมาณขยะ
10. การปิดน้ำทันทีเมื่อเลิกใช้ ไม่ได้เป็นการช่วยประหยัดน้ำประปา
1.28
1.24
1.94
1.95
1.91
1.81
1.24
1.87
1.28
1.14
.45
.43
.24
.22
.28
.39
.43
.34
.45
.34
97
ตารางผนวกที่ 4 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ยของการตอบแบบสอบถามในส่วนที่ 5 พฤติกรรม
การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ข้อความ
1. ท่านไม่ทิ้งขยะสิ่งปฏิกูลที่ย่อยสลายยาก เช่น ถุงพลาสติก
ลงในแหล่งน้ำ
2. ท่านปิดไฟฟ้าและน้ำประปาทันทีเมื่อเลิกใช้
3. ท่านจะเตือนเมื่อเห็นเพื่อนหรือบุคคลที่รู้จักทิ้งขยะ
สิ่งปฏิกูลลงในแหล่งน้ำ
4. ท่านทิ้งเศษอาหารลงท่อระบายน้ำเมื่อท่านล้างจาน
5. ท่านมักเปิดโทรทัศน์ทิ้งไว้แม้ไม่มีคนดู เช่น เปิดโทรทัศน์
ทิ้งไว้ขณะรอดูรายการในช่วงอื่น
6. ในการทิ้งขยะท่านไม่แยกประเภทขยะเปียกและขยะแห้ง
ก่อนการจัดทิ้ง
7. ท่านปิดไฟแสงสว่างภายในห้องเรียนหรือทางเดิน
เมื่อพบว่าถูกเปิดทิ้งไว้
8. ท่านมักหลีกเลี่ยงเมื่อต้องมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม
โครงการต่าง ๆ ของโรงเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการ
ที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
9. หากโรงเรียนจัดให้มีโครงการอบรมให้ความรู้เรื่อง
การอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าและน้ำประปา รวมถึงการทิ้ง
สิ่งปฏิกูลและการจัดการสภาพแวดล้อมที่ถูกวิธี
ท่านจะเข้ามีส่วนร่วมในการอบรม
10. หากโรงเรียนจัดทำโครงการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าและ
น้ำประปา และโครงการแยกประเภทของสิ่งปฏิกูลก่อนทิ้ง
ท่านจะเข้ามีส่วนร่วมในการปฏิบัติ
X
2.35
2.62
2.19
2.34
2.13
2.01
2.30
2.31
2.34
2.38
S.D.
.72
.52
.53
.68
.60
.60
.57
.64
.56
.52
97
96
ตารางผนวกที่ 3 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ยของการตอบแบบสอบถาม ในส่วนที่ 4 เจตคติ
เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ข้อความ
X
S.D.
1. การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทั้งในด้านการประหยัด
พลังงานและการรักษาความสะอาดไม่ใช่
หน้าที่ของพวกเราทุกคน แต่เป็นหน้าที่ของ
หน่วยงานรัฐบาลเท่านั้น
2.59
.74
2. การเปิดน้ำประปาทิ้งไว้ไม่ได้ก่อให้เกิด
การสูญเปล่ามากเท่าใด เพราะประเทศไทยมี
แหล่งน้ำอยู่เป็นจำนวนมากที่สามารถนำมาใช้
ในการอุปโภคบริโภค
2.64
.70
3. ธรรมชาติสามารถสร้างสิ่งต่าง ๆ ให้สมดุลอยู่
เสมอ โดยจะบำบัดหรือฟื้นฟูส่วนที่เสื่อมสภาพ
ด้วยตนเอง ดังนั้น การทิ้งขยะสิ่งปฏิกูลลง
แม่น้ำหรือสภาพแวดล้อมไปบ้างจึงไม่เป็นการ
ทำลายสิ่งแวดล้อม
2.59
.72
4. ปัจจุบันการให้ความรู้เรื่องการอนุรักษ์พลังงาน
ไฟฟ้าและน้ำประปา รวมถึงการทิ้งสิ่งปฏิกูล
และการจัดการสภาพแวดล้อมที่ถูกวิธีใน
ชั้นเรียนน้อยเกินไป
2.35
.60
5. โรงเรียนควรจัดให้มีโครงการให้ความรู้ในเรื่อง
การอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าและน้ำประปา
รวมถึงการทิ้งสิ่งปฏิกูลและการจัดการ
สภาพแวดล้อมที่ถูกวิธีแก่นักเรียน
2.77
.48
96
ตารางผนวกที่ 3 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ยของการตอบแบบสอบถาม ในส่วนที่ 4 เจตคติ
เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ( ต่อ )
ข้อความ
X
S.D.
6. ควรเชิญผู้เชี่ยวชาญเรื่องการอนุรักษ์พลังงาน
ไฟฟ้าและน้ำประปา รวมถึงการทิ้งสิ่งปฏิกูล
และการจัดการสภาพแวดล้อมที่ถูกวิธี
มาบรรยายให้นักเรียนฟังเสมอ ๆ
2.69
.53
7. ท่านเห็นด้วยหรือไม่ หากโรงเรียนกำหนดให้
นักเรียนเข้ามีส่วนร่วมกับโรงเรียนในการทำ
กิจกรรมโครงการอนุรักษ์พลังงานและ
โครงการแยกประเภทสิ่งปฏิกูลก่อนทิ้ง
2.83
.40
8. ถ้าทุกคนในประเทศช่วยกันปิดไฟฟ้าและ
น้ำประปาทันทีเมื่อเลิกใช้ จะทำให้ประเทศ
ประหยัดค่าใช้จ่ายลงเป็นจำนวนมาก
2.85
.45
9. การดูแลสภาพแวดล้อมและความสะอาดของ
ที่อยู่อาศัยอยู่เสมอไม่ได้มีส่วนช่วยเสริมสร้าง
บรรยากาศในการเรียนและการอยู่อาศัย
2.39
.82
10. ในการทิ้งขยะไม่จำเป็นต้องแยกประเภท
ขยะเปียกและขยะแห้งก่อนทิ้ง
2.53
.77
96
บทที่ 5
สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
การวิจัยเรื่อง “พฤติกรรมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของวัยรุ่น : กรณีศึกษานักเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มสหวิทยาเขตบรมราชชนนี 1” ในครั้งนี้นั้น
มีวัตถุประสงค์หลักในการวิจัยคือ เพื่อศึกษาพฤติกรรมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของวัยรุ่น และเพื่อ
ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของวัยรุ่น
สรุปผลการวิจัย
ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ เพื่อศึกษาพฤติกรรมในการอนุรักษ์
สิ่งแวดล้อมของวัยรุ่น โดยประชากรที่นำมาศึกษาเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดกรมสามัญ
ศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มสหวิทยาเขตบรมราชชนนี 1 จำนวน 271 คน ซึ่งประกอบไปด้วยโรงเรียน
จำนวนทั้งสิ้น 6 โรงเรียน สำหรับสถิติที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่า t-test และ
ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ใช้ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มตัว
อย่างอย่างง่าย โดยใช้สัดส่วนในอัตราร้อยละ15 ของประชากรกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นเกณฑ์ต่ำสุดตาม หลักการ
คำนวณของ บุญชม ศรีสะอาด (2543 : 24-27) สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยในครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม ซึ่งสามารถแบ่งรายละเอียดออกเป็น 6 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 คำถามเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคล จำนวน 4 ข้อ ได้แก่ ปัจจัยเกี่ยวกับเพศ
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน บทบาทความเป็นผู้นำ และการเข้าร่วมกิจกรรมและเป็นสมาชิกในชมรมที่เกี่ยวกับการ
อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นเอง
ส่วนที่ 2 คำถามที่วัดการรับรู้ข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จำนวน 7 ข้อ
ใช้แบบการประเมินวัดค่า 3 ระดับคือ
1 - ไม่ได้รับข่าวสาร 2 - ได้รับข่าวสารปานกลาง 3 - ได้รับข่าวสารมาก
ส่วนที่ 3 คำถามที่วัดความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จำนวน 10 ข้อ คำถามเป็นแบบปลายปิด
มีทั้งในเชิงบวกและเชิงลบคละกัน ใช้แบบการประเมินวัดค่า 2 ระดับคือ
1 – ไม่ใช่ 2 - ใช่
ส่วนที่ 4 คำถามที่วัดทัศนคติเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จำนวน 10 ข้อ คำถามเป็นแบบปลายปิด
มีทั้งในเชิงบวกและเชิงลบคละกัน ใช้แบบการประเมินวัดค่า 3 ระดับคือ
79
คำถามเชิงบวก คำถามเชิงลบ
ไม่เห็นด้วย 1 3
ไม่แน่ใจ 2 2
เห็นด้วย 3 1
ส่วนที่ 5 คำถามที่วัดพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จำนวน 10 ข้อ คำถามเป็นแบบปลายปิด มีทั้ง
ในเชิงบวกและเชิงลบคละกัน ใช้แบบการประเมินวัดค่า 3 ระดับคือ
คำถามเชิงบวก คำถามเชิงลบ
ไม่ปฏิบัติ 1 3
ปฏิบัติบางครั้ง 2 2
ปฏิบัติทุกครั้ง 3 1
ส่วนที่ 6 คำถามปลายเปิด จำนวน 2 ข้อ เพื่อให้ผู้ตอบแบบสอบถามแสดงความคิดเห็น และข้อเสนอ
แนะเกี่ยวกับแนวทางการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในด้านการประหยัดพลังงาน ได้แก่ การใช้ไฟฟ้าและน้ำประปา
และในด้านการรักษาความสะอาด ได้แก่ การไม่ทิ้งสิ่งปฏิกูลและการดูแลสภาพแวดล้อมของที่อยู่อาศัยและสถาน
ศึกษา
สำหรับการสร้างและพัฒนาแบบสอบถามให้มีคุณภาพ ผู้วิจัยได้ทำการพัฒนาเครื่องมือโดยทำการ
ศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และนำข้อมูลทั้งหมดมาเป็นแนวทางในการ
พัฒนาแบบสอบถาม โดยได้นำแบบสอบถามไปทำการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ และทำการแก้ไขปรับปรุง
ตามคำแนะนำของอาจารย์ผู้ควบคุมวิทยานิพนธ์และผู้เชี่ยวชาญอีกจำนวน 3 ท่าน เพื่อตรวจความสมบูรณ์ของ
เครื่องมือในด้านคำถามให้เกิดความครอบคลุมและวัดได้ตามความต้องการ รวมทั้งตรวจความเป็นปรนัยของคำ
ถามและคำตอบเพื่อให้ได้ความชัดเจนที่ถูกต้องแล้วนำไปทดลองใช้กับประชากรที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มตัว
อย่างจำนวน 30 ชุด พร้อมคำนวณหาค่าระดับความเชื่อมั่นจากปัจจัยภายนอกซึ่งภายหลังการคำนวณได้ค่าระดับ
ความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.7475
การเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง โดยได้ขอ
หนังสือแนะนำตัวจากท่านคณบดี บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เพื่อส่งไปยังผู้อำนวยการ
และอาจารย์ใหญ่ของโรงเรียนมัธยมทั้ง 6 แห่ง เพื่อขอความอนุเคราะห์ในการเข้าเก็บข้อมูล โดยให้นักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยทำการตอบแบบสอบถาม ซึ่งข้อมูลที่ได้รับอยู่ในสภาพสมบูรณ์
พอที่จะนำมาวิเคราะห์ข้อมูลได้ทั้งหมด 271 ชุด จากจำนวนทั้งสิ้น 287 ชุด คิดเป็นร้อยละ 91.87 ซึ่งถือว่า
สามารถเก็บรวมรวมข้อมูลได้ตามขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่ได้กำหนดไว้ในเบื้องต้น
ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างนำมาวิเคราะห์และทำการลงรหัส
หลังจากนั้นได้นำไปวิเคราะห์ค่าทางสถิติด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC+ (Statistical Package for Science/PC Plus) ใช้ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 เป็นเกณฑ์ในการยอมรับหรือปฏิเสธสมมติฐาน
79
80
สถิติเชิงพรรณา โดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยของคะแนนตัวแปรทุกตัวในกลุ่มตัวอย่างตัวแปรอิสระ เพื่ออธิบายตัวแปรทุกตัวที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้
ตัวแปรที่มีระดับการวัดแบบอัตราส่วนและแบบช่วงใช้ค่ามัชฌิมเลขคณิต และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานในการอธิบาย
ตัวแปรและทำการทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของปัจจัยภายนอก โดยนำมาพิจารณาผลกระทบต่อพฤติกรรมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วยการหาค่า t-test และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient)
สรุปและอภิปรายผลการวิจัย
การสรุปและอภิปรายผลการวิจัยสามารถสรุปและนำเสนอผลการวิจัยประเด็นสำคัญที่พบในการวิจัย
ได้ดังนี้
จากการวิเคราะห์หาค่าระดับของตัวแปรในการวิจัยเรื่อง 1. ค่าระดับของตัวแปร
พฤติกรรมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของวัยรุ่น กรณีศึกษา : นักเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มสหวิทยาเขตบรมราชชนนี 1 ผลจากการศึกษาพบว่า
การรับรู้ข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนมัธยมศึกษาสังกัด 1.1
กรมสามัญศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มสหวิทยาเขตบรมราชชนนี 1 มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง
ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญ 1.2
ศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มสหวิทยาเขตบรมราชชนนี 1 มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง
1.3 ทัศนคติเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญ
80
81
ศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มสหวิทยาเขตบรมราชชนนี 1 มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง
1.4 พฤติกรรมเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญ
ศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มสหวิทยาเขตบรมราชชนนี 1 มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง
ผลจากการศึกษากล่าวได้ว่า นักเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษาในเขตกรุงเทพ
มหานคร กลุ่มสหวิทยาเขตบรมราชชนนี 1 มีทัศนคติเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมเกี่ยวกับการ
อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับที่สูง แต่มีความรู้เกี่ยวการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการรับรู้ข่าวสารที่เกี่ยวกับการ
อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับปานกลาง
2. การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของวัยรุ่น
กรณีศึกษา : นักเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร
กลุ่มสหวิทยาเขตบรมราชชนนี 1
จากการตั้งสมมติฐานเพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของวัยรุ่น กรณี
ศึกษา : นักเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มสหวิทยาเขต
สามารถนำเสนอผลการวิจัยตามลำดับดังนี้ บรมราชชนนี 1
สมมติฐานที่ 1 นักเรียนเพศชายมีพฤติกรรมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมน้อยกว่าเพศหญิง
ผลจากการศึกษาในครั้งนี้พบว่า นักเรียนเพศชายและเพศหญิงมีพฤติกรรมในการอนุรักษ์
สิ่งแวดล้อมไม่แตกต่างกัน ซึ่งปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ เนื่องจากจากการนำค่าเฉลี่ยจำแนกตามเพศมาหาค่า
ความแตกต่างของกลุ่ม 2 กลุ่ม (t-test) คือ เพศชายและเพศหญิง ผลการวิเคราะห์พบว่านักเรียนทั้งเพศชาย
และเพศหญิงไม่มีความแตกต่างกันในพฤติกรรมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ซึ่ง
สามารถอธิบายผลได้ดังนี้ ในกระบวนการศึกษา โรงเรียนหรือสถานศึกษานั้นมีหน้าที่ให้ความรู้และการศึกษาใน
ศาสตร์วิชาสาขาต่าง ๆ รวมถึงความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแก่กลุ่มเป้าหมาย นั่นก็คือ นักเรียนทั้งเพศ
ชายและเพศหญิงซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างการวิจัยในครั้งนี้ โดยกระบวนการในการให้ความรู้หรือการศึกษาดังกล่าว
ทำให้นักเรียนทั้งเพศชายและเพศหญิงเกิดการเรียนรู้ หยั่งรู้ถึงสภาพของปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น และเห็นความ
สำคัญของพฤติกรรมในการอนุรักษ์และรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ที่ สนธยา
81
82
: 159) ได้อธิบายถึงความหมายของการเรียนรู้ว่า หมายถึง การที่มนุษย์ได้รับรู้เรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยว
กับสิ่งนั้นในจำนวนที่มากพอ และสามารถรวบรวมสิ่งที่รู้ทั้งหมดเข้าเป็นระบบ ทำให้เกิดความเข้าใจต่อสิ่งนั้นอย่าง
ถ่องแท้ เกิดการหยั่งเห็นในการแก้ปัญหา และมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมทั้งในด้านความรู้
ความเข้าใจ การทำงาน ทักษะ การคิด และทัศนคติ สรุปเป็นรูปธรรมคือ กระบวนการเรียนรู้ทำให้มนุษย์เกิดความ
รู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง หยั่งเห็นสถานการณ์ของปัญหาและนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคล แม้
ว่ากลุ่มตัวอย่างจะมีความแตกต่างของตัวแปรในด้านเพศ ดังที่ ศุภนิตย์ วัฒนธาดา (2516 : 102) ได้กล่าวถึง
ความแตกต่างของตัวแปรในด้านเพศว่า เป็นตัวแปรหนึ่งที่น่าจะมีผลต่อพฤติกรรม เนื่องจากโดยธรรมชาติเพศชาย
และหญิงมีลักษณะซึ่งแตกต่างกันทั้งทางโครงสร้างทางร่างกายและจิตใจ แบบแผนแห่งการพัฒนาทางร่างกาย
และจิตใจจึงเป็นไปโดยเฉพาะแตกต่างกัน โดยแนวคิดในทฤษฎีการเรียนรู้ดังกล่าวสอดคล้องกับผลการศึกษา
ของ โกสินทร์ รังสยาพันธ์ (2521 : 90) ที่ได้ทำการศึกษาถึงปัญหาความสกปรกเป็นพิษของสิ่งแวดล้อมในนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 7 ซึ่งพบว่า ความรู้ความเข้าใจในความรุนแรงและอันตรายของปัญหา ความรู้ความเข้าใจ
สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาและความรู้ความเข้าใจวิธีแก้ปัญหา มีความสัมพันธ์กับการประพฤติปฏิบัติในการเพิ่มหรือ
ลดปัญหาสิ่งแวดล้อม และยังสอดคล้องกับผลการศึกษาของ นันทนิตย์ ยิ้มวาสนา (2526 : 118) ที่ศึกษาเรื่อง
ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติเพื่อบริโภคผัก : ศึกษากรณีแม่บ้านในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งพบว่า ความรู้เรื่อง
วัตถุมีพิษฆ่าแมลงในผักมีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติเพื่อบริโภคผัก และนอกจากกระบวนการเรียนรู้ดังกล่าว
แล้ว การจัดให้มีการฝึกอบรม และเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของสถานศึกษา
เพื่อพัฒนา และปลูกฝังจิตสำนึกของนักเรียนทั้งในเพศชายและเพศหญิงอย่างเท่าเทียมกันสม่ำเสมอ เป็นอีก
ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ตัวแปรในด้านเพศของนักเรียนไม่มีผลทำให้เกิดความแตกต่างต่อพฤติกรรมในการอนุรักษ์สิ่งแวด
ล้อม เนื่องจากนักเรียนได้รับการอบรมและขัดเกลาทำให้รับรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์สิ่งแวด
ล้อม ดังที่ อมร รักษาสัตย์ และโสรัจ สุจริตกุล (อ้างในกุลนภา ประสงค์พร, 2543 : 16) ได้กล่าวถึงประโยชน์
ของการฝึกอบรมไว้ว่า การฝึกอบรมเป็นกรรมวิธีที่จะเพิ่มพูนสมรรถภาพของบุคคลทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดย
การพัฒนานิสัยแห่งความคิด การกระทำ ความรู้ ความชำนาญ และท่าทีต่าง ๆ จากเหตุผลดังกล่าว จึงกล่าวได้
ว่า ตัวแปรในเพศไม่มีผลต่อการแบ่งแยกพฤติกรรมในด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของวัยรุ่น
สมมติฐานที่ 2 นักเรียนที่มีความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมีพฤติกรรมของ
วัยรุ่นที่มีต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมากกว่านักเรียนที่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ผลการวิเคราะห์พบว่านักเรียนที่มีความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมีพฤติกรรม
ของวัยรุ่นที่มีต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแตกต่างกับนักเรียนที่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวด
ล้อม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ซึ่งสอดคล้องกับผลการ
ศึกษาของวิรัช ชมชื่น (2536 : 142) ที่ศึกษาเรื่องพฤติกรรมการกำจัดขยะมูลฝอยของประชา
ชนในเขตเทศบาลเมืองนครปฐม ที่พบว่า ความรู้เกี่ยวกับการกำจัดขยะมูลฝอยต่างกันก่อให้เกิด
82
83
สมมติฐานที่ 3 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในระดับที่สูงมีความสัมพันธ์
เชิงบวกกับพฤติกรรมของวัยรุ่นที่มีต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ผลจากการวิเคราะห์พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในระดับที่สูงมีความสัมพันธ์เชิงบวก
กับพฤติกรรมของวัยรุ่นที่มีต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษา
ของ โจนส์ (Jones, 1977) ที่ทำการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นปีที่ 3 ซึ่งพบว่า
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจะส่งผลต่อการประพฤติปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อมของนักเรียน นอกจากนั้น ยังสอด
คล้องกับผลการศึกษาของ ปาริชาติ นาคอิ่ม (2524 : 119) ที่ศึกษาพฤติกรรมทางจริยธรรมของนักเรียนชั้นมัธยม
ศึกษาปีที่ 1 จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งพบว่า นักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง มีพฤติกรรมทางจริยธรรมในด้าน
ความรับผิดชอบสูงกว่านักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปานกลาง จากการศึกษาดังกล่าวสรุปได้ว่า ผล
สัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในระดับที่สูงมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมของวัยรุ่นที่มีต่อการอนุรักษ์สิ่ง
แวดล้อม
สมมติฐานที่ 4 การรับรู้ข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในระดับมาก
มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมของวัยรุ่นที่มีต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ผลจากการศึกษาในครั้งนี้ พบว่า การรับรู้ข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในระดับมากมี
ความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมของวัยรุ่นที่มีต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ซึ่ง
สอดคล้องกับการศึกษาของ อรสา ประยูรหงษ์ (2536 : 104-113) ที่ศึกษาเจตคติและลักษณะพฤติกรรมการตอบ
สนองต่อการใช้ภาชนะโฟมของผู้บริโภคในห้างสรรพสินค้าเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งพบว่า พฤติกรรมการตอบสนอง
ต่อการใช้ภาชนะโฟมของผู้บริโภคขึ้นอยู่กับระดับในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารสื่อมวลชน ประเภท โทรทัศน์ วิทยุ
หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร และสื่อบุคคล ประเภท ญาติ พี่น้อง บุตรหลาน นอกจากนั้น ยังสอดคล้องกับ
ผลการศึกษาของ
วิชาญ มณีโชติ (2535 : บทคัดย่อ) ที่ศึกษาพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ซึ่งพบว่า การได้รับรู้ข่าวสารจากวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ วารสาร และสิ่งพิมพ์อื่น ๆ ต่างกัน ทำให้มีพฤติกรรมใน
การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมต่างกัน จากการศึกษาดังกล่าวจึงสรุปได้ว่า การรับรู้ข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์สิ่ง
แวดล้อมในระดับมากมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมของวัยรุ่นที่มีต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
สมมติฐานที่ 5 ทัศนคติเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ดีมีความสัมพันธ์เชิงบวก
กับพฤติกรรมของวัยรุ่นที่มีต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
83
84
ผลจากการศึกษาครั้งนี้พบว่า ทัศนคติเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ดีมีความสัมพันธ์
เชิงบวกกับพฤติกรรมของวัยรุ่นที่มีต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ซึ่งตรง
กับแนวคิดของดนัย ดำรงสกุล (2534 : 40-41) ที่เชื่อว่าทัศนคติจะเป็นตัวชี้ให้เห็นถึงการนำไปปฏิบัติของตัวบุคคล
ถ้าบุคคลมีทัศนคติที่ดีรวมทั้งองค์ประกอบอื่น ๆ ที่กระตุ้นต่อการปฏิบัติ ก็จะมีผลทำให้บุคคลมีแนวโน้มที่จะกระทำ
หรือปฏิบัติมากกว่าบุคคลที่มีทัศนคติไม่ดี สอดคล้องกับแนวคิดของ กาเดอร์ ลินเจย์ (Garder Lindjey) และ
อิลเลียต อาร์สัน (Elliot Arson) ที่เชื่อว่าทัศนคติเป็นพลังสำคัญทำให้คนเราแสดงพฤติกรรมออกมา (Garder Lindjey and Elliot Arson, 1989 : 271) รวมถึงยังสอดคล้องกับผลการศึกษาของ ยุวดี อิ่มใจ (2539 : 94) ที่ศึกษา
ถึงปัจจัยทางสังคมจิตวิทยาที่มีความสัมพันธ์ต่อความตั้งใจในการรักษาความสะอาดของบ้านเมืองของเยาวชน
ระดับมัธยมปลายในกรุงเทพมหานคร ซึ่งพบอีกว่า ทัศนคติต่อพฤติกรรมในการรักษาความสะอาดของบ้านเมืองมี
ความสัมพันธ์กับความตั้งใจในการรักษาความสะอาดบ้านเมืองของเยาวชน กล่าวคือ เยาวชนที่มีทัศนคติ
ที่ดีต่อพฤติกรรมในการรักษาความสะอาดของบ้านเมืองมากจะมีความตั้งใจในการรักษาความสะอาดของบ้าน
เมืองมาก และเยาวชนที่มีทัศนคติที่ดีต่อพฤติกรรมในการรักษาความสะอาดของบ้านเมืองน้อยก็จะมีความตั้งใจใน
การรักษาความสะอาดของบ้านเมืองน้อย จากการศึกษาดังกล่าว จึงสรุปได้ว่า ทัศนคติเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่ง
แวดล้อมที่ดีมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมของ
วัยรุ่นที่มีต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ข้อเสนอแนะจากการวิจัย
จากการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ เมื่อนำผลการวิจัยมาพิจารณาในภาพรวมจะพบว่า ผลที่ได้จากการ
วิเคราะห์กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ปานกลางถึงสูง ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มตัวอย่างที่
จำนวน 142 คน จากในจำนวน 271 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 52.4 อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง และจำนวน 95 คน
หรือร้อยละ 35.1 อยู่ในเกณฑ์สูง มีเพียงจำนวน 34 คน หรือร้อยละ 12.5 ที่อยู่ในเกณฑ์ต่ำ และมีค่าระดับตัว
แปรทัศนคติและพฤติกรรมเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับสูง รวมถึงมีการรับรู้ข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับ
84
85
พิจารณา จะพบว่า มีกลุ่มตัวอย่าง จำนวนเพียง 4 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 1.48 ที่ได้ตอบถึงบทบาทความเป็นผู้นำ
ในตำแหน่งที่มีเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมคือ เป็นวิทยากร “ห้องเรียนสีเขียว” ของโรงเรียน จำนวน 2 คน และ
อีกจำนวน 2 คน เป็นกรรมการการประกวดห้องเรียนและพื้นที่รับผิดชอบให้สะอาด ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้วจะพบว่า
การมีบทบาทความเป็นผู้นำของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในเกณฑ์ที่น้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนของกลุ่มตัวอย่าง
ทั้งหมด ทั้งนี้มีสาเหตุเนื่องมาจากการขาดการสนับสนุนอย่างจริงจังจากทางโรงเรียนในการจัดกิจกรรมและสร้างผู้
นำ ซึ่งจะเห็นได้จากผลของการเข้าร่วมกิจกรรมและเป็นสมาชิกของกลุ่มตัวอย่างในชมรมเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่ง
แวดล้อมที่โรงเรียนได้จัดให้มีขึ้น จำนวน 6 กิจกรรม ซึ่งพบว่า ทุกกิจกรรมมีจำนวนนักเรียนที่เข้าร่วมค่อนข้างน้อย
โดยมีเพียง 2 ใน 6 กิจกรรม ที่มีจำนวนนักเรียนเข้าร่วมเกือบครึ่งหนึ่งจากจำนวนนักเรียนทั้งหมด ได้แก่ กิจ
กรรม “5ส” ที่มีจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 117 คน คิดเป็นร้อยละ 43.2 และกิจกรรมการประกวดห้องเรียนและพื้น
ที่รับผิดชอบให้สะอาดที่มีจำนวนผู้เข้าร่วม 135 คน คิดเป็นร้อยละ 49.8 นอกนั้นอีก 4 กิจกรรม มีจำนวนผู้เข้าร่วม
เพียงร้อยละ 5.9 16.2 19.6 และ 22.5 ตามลำดับ โดยเหตุผลที่ 2 กิจกรรมดังกล่าวมีนักเรียนเข้ามีส่วนร่วม
มากกว่ากิจกรรมอื่น ๆ แม้จะไม่ถึงครึ่งหนึ่งของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด สามารถอภิปรายผลที่ได้พบจากการเข้าศึกษา
ดังนี้คือ
ส่วนที่ 1 ส่วนของกิจกรรม “5ส” เนื่องจากกิจกรรม “5ส” เป็นกิจกรรมที่อาจารย์ที่ปรึกษาได้เข้ามีส่วน
ร่วมในการรณรงค์แนะนำให้นักเรียนได้เข้าร่วมทำกิจกรรมมากกว่ากิจกรรมอื่น ๆ ซึ่งโดยเนื้อแท้หรือวัตถุประสงค์
หลักในการจัดกิจกรรม “5ส” ของสถานศึกษา ได้มุ่งเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมไปที่อาจารย์
และบุคลากรเป็นหลัก จากเหตุผลดังกล่าวจึงทำให้อาจารย์ที่ปรึกษาได้มีส่วนร่วมหรือบทบาทโดยตรงในการ
กระตุ้นและชักชวนให้นักเรียนเข้าร่วมทำกิจกรรม โดยตัวอาจารย์ที่ปรึกษาเองเป็นส่วนหนึ่งของผู้ที่รับผิดชอบและ
ร่วมทำกิจกรรม โดยมีอาจารย์ที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการฯ คอยเป็นผู้ดูแลประสานงานและติดตามผล
ยังผลให้กิจกรรมดังกล่าวมีจำนวนนักเรียนเข้าร่วมในการทำกิจกรรมมากกว่ากิจกรรมอื่น ๆ หลายกิจกรรม ซึ่งแนว
คิดในการดำเนินกิจกรรมดังกล่าวสอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎีการมีส่วนร่วม (Active Participation Theory) ที่
สนธยา พลศรี (2533 : 163) ได้กล่าวถึงแนวคิดของทฤษฎีไว้ว่า ผลการวิจัยทางจิตวิทยาสังคมบางเรื่องเกี่ยวกับ
การเปลี่ยนแปลงทัศนคติได้พบว่า การเปลี่ยนทัศนคติและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลทำให้เกิดขึ้นได้โดย
การสร้างสถานการณ์ให้เกิดการมีส่วนร่วมในกลุ่มบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการมีส่วนร่วมของกลุ่มบุคคล
ตามแนวคิดทฤษฎีในที่นี้ก็คือ การมีส่วนร่วมของอาจารย์ที่ปรึกษาและนักเรียนในการร่วมทำกิจกรรม รวมไปถึง
สอดคล้องกับแนวคิดภาวะผู้นำที่ ยงยุทธ เกษสาคร (2541 : 36-37) ได้กล่าวว่า ภาวะผู้นำ หมายถึง ความมีอิทธิ
พลในการนำผู้อื่นในสถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อมุ่งสู่ความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติงานขององค์กร
โดยความเป็นผู้นำมีผลกระทบต่อสิ่งอื่น ๆ หลายอย่าง ผู้นำเป็นตัวการแห่งการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร
พฤติกรรมความเป็นผู้นำจึงมีผลไปถึงเป้าหมายขององค์กร ความพึงพอใจ ขวัญและกำลังใจ ความกระตือรือล้น
และความภักดีต่อองค์กรของผู้ร่วมงานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยภาวะผู้นำตาม
85
86
แนวคิดดังกล่าวก็คือ ภาวะผู้นำของอาจารย์ที่ปรึกษาในการรณรงค์นำให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรม
ส่วนที่ 2 ส่วนของกิจกรรมการประกวดห้องเรียนและพื้นที่รับผิดชอบให้สะอาด จากการศึกษาพบว่า
สาเหตุที่กิจกรรมการประกวดห้องเรียนและพื้นที่รับผิดชอบให้สะอาดมีนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมมากที่สุดพบว่า มี
สาเหตุเนื่องมาจาก ในแต่ละเดือนโรงเรียนได้กำหนดนโยบายให้จัดให้มีการแข่งขันประกวดห้องเรียนและพื้นที่รับ
ผิดชอบให้สะอาดขึ้นเพื่อให้นักเรียนได้เข้าร่วมกิจกรรม และมอบเกียรติบัตรให้แก่ห้องเรียนที่ชนะเลิศ โดยมีนัก
เรียนที่ได้รับการแต่งตั้งจากทางโรงเรียนให้เป็นคณะกรรมการฯ คอยประสานงานติดตามประเมินผลในทุก ๆ
สัปดาห์ ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงทำให้กิจกรรมดังกล่าวเป็นกิจกรรมที่มีนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมมากที่สุด เนื่อง
จากกลยุทธ์ที่ได้จัดให้มีการแข่งขันและการมอบรางวัลเป็นแรงเสริมทำให้นักเรียนเกิดแรงจูงใจในการเข้าร่วมกิจ
กรรม รวมไปถึงการได้รับแรงผลักดันจากเพื่อนในห้องเรียนให้ทุกคนร่วมกันรับผิดชอบต่อกิจกรรม ทั้งนี้เพื่อเป้า
หมาย นั่นคือ รางวัล เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้นักเรียนต้องเข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งแนวคิดดังกล่าวสอดคล้องกับแนว
คิดแรงจูงใจ (Motivation) ที่ ยงยุทธ เกษสาคร (2541 : 61) ได้กล่าวว่า แรงจูงใจหมายถึง ภาวะอินทรีย์ภายในร่าง
กายของบุคคลที่ถูกกระตุ้นจากสิ่งเร้าก่อให้เกิดความต้องการอันจะนำไปสู่แรงขับภายในที่จะแสดงพฤติกรรมที่มี
คุณค่าในทิศทางที่ถูกต้องตรงตามเป้าหมายขององค์กร ดังนั้น แรงจูงใจจึงเป็นการกระทำทุกวิถีทางที่จะกระตุ้น
ให้บุคคลประพฤติปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ตามเป้าหมายขององค์กร ซึ่งพื้นฐานสำคัญของการกระตุ้นบุคคลให้แสดง
พฤติกรรมที่องค์กรคาดหวังไว้ก็ด้วยการสร้างอินทรีย์ของบุคคลเหล่านั้นให้เกิดความต้องการขึ้นมาก่อนเป็นอันดับ
แรก จากนั้นบุคคลก็จะเกิดความพยายามสืบเสาะหาสิ่งที่ต้องการนั่นคือ เกิดแรงขับขึ้นภายใน หากมีสิ่งจูงใจที่
เหมาะสม บุคคลก็จะสนองตอบด้วยการกระทำหรือแสดงพฤติกรรมทุกอย่างให้ได้มาซึ่งความสำเร็จอันเป็นเป้า
หมาย นอกจากนั้น ยังสอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎีการควบคุมสังคม (Social Control Theory) อ้างในสนธยา
พลศรี (2533 : 137-138) ที่สาระสำคัญของทฤษฎีมุ่งเน้นการควบคุมสังคมโดยมุ่งให้แต่ละบุคคลประพฤติปฏิบัติ
ตามระเบียบข้อบังคับของสังคม โดยวิธีหรือกระบวนการต่าง ๆ ในการควบคุมสังคมจะแสดงออกในรูปกลไกที่
สมาชิกในสังคมใช้ป้องกันพฤติกรรมฝืนสังคมหรือพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนไปจากปกติไม่ให้เกิดขึ้น โดยวิธีการควบ
คุมมีทั้งการให้รางวัล (Rewards) และการลงโทษ (Punishments) ซึ่งในทั้งแนวคิดแรงจูงใจและทฤษฎีการ
ควบคุมสังคมที่ได้นำมาใช้ในที่นี้ก็คือ การให้รางวัลเพื่อเป็นกำลังใจหรือแรงเสริม ในทางกลับกันก็เป็นการควบคุม
สังคมเพื่อให้นักเรียนเข้ามีส่วนร่วมต่อกิจกรรม โดยนักเรียนที่ไม่เข้ามีส่วนร่วมต่อกิจกรรมหรือมีพฤติกรรมที่ฝืน
สังคมก็จะได้รับการลงโทษด้วยการได้รับการตำหนิหรือไม่ได้รับการยอมรับจากสังคม และจากการศึกษาวิจัยทั้ง
หมดในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้พบข้อเสนอแนะจากการวิจัย ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
1. ผู้บริหารสถานศึกษาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเน้นหรือส่งเสริมให้นักเรียนมีการรับรู้
ข่าวสารที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในช่องทางต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น เช่น การเสริมเนื้อหาของการ
อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเข้าไปในบทเรียนหรือหลักสูตรการศึกษา การประชาสัมพันธ์ข่าวสารที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่ง
แวดล้อมในช่วงเวลาเปิดเสียงตามสายภายในโรงเรียน การจัดบอร์ดประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมทุก ๆ
สัปดาห์ จัดให้มีกิจกรรมเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมขึ้นเป็นประจำภายในโรงเรียน จัดให้มีวารสารหรือ
บทความเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไว้ในห้องสมุด หรือการจัดงานวันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมขึ้นภายในโรงเรียน
86
87
สิ่งนั้นอย่างถ่องแท้ เกิดการหยั่งเห็นในการแก้ปัญหา และมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
ทั้งในด้านความรู้ ความเข้าใจ การทำงาน ทักษะ การคิด และทัศนคติ
2. ผู้บริหารสถานศึกษา หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญและความจริงจังต่อ
การจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแก่นักเรียน เพราะการจัดกิจกรรมดังกล่าวแก่นักเรียนเป็น
ส่วนหนึ่งของกระบวนการในการเรียนรู้ แต่เมื่อพิจารณาจากจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่โรงเรียนได้จัดให้มีขึ้นทั้ง 6
กิจกรรม ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นกิจกรรมที่ดีให้ความรู้และสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ดีแก่นักเรียน กลับ
พบว่า มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมน้อยมาก ดังนั้น ผู้บริหารสถานศึกษาหรือผู้ที่เกี่ยวข้องจึงควรให้ความสำคัญต่อการ
จัดกิจกรรม มีการกำหนดเป้าหมายและติดตามประเมินผลอย่างจริงจังและต่อเนื่อง รวมไปถึงควรมีการนำ
ปัญหาหรือข้อบกพร่องที่ได้พบมาทำการปรับปรุงแก้ไข ทั้งนี้ เพื่อให้ผลที่ได้สำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์หรือเป้า
หมายที่ได้กำหนดไว้
3. นอกจากการให้ความสำคัญ และความจริงจังต่อการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์
สิ่งแวดล้อมแล้ว ผู้บริหารสถานศึกษาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการนำแนวคิดทฤษฎีหรือกลยุทธ์ต่าง ๆ
เข้ามาประยุกต์ใช้ในการดำเนินกิจกรรมทุก ๆ กิจกรรม ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการจัดกิจ
กรรม ดังเช่นกรณี การให้อาจารย์ที่ปรึกษาเป็นผู้รณรงค์และนำนักเรียนให้เข้ามีส่วนร่วมในกิจกรรม “5ส” ซึ่งการ
ดำเนินการดังกล่าวเป็นไปตามแนวคิดการมีส่วนร่วม (People
Participation) และภาวะผู้นำ (Leadership) โดยอาจารย์ที่ปรึกษาอาจเสริมแรงจูงใจด้วยการแบ่งนักเรียนออก
เป็นกลุ่ม ๆ เพื่อทำกิจกรรมแล้วมีการติดตามประเมินผล เพื่อให้รางวัลหรือคำชมเชยแก่ผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมหรือ
กลุ่มที่ชนะเลิศ คล้ายกับแนวคิดการมอบเกียรติบัตรแก่ห้องเรียนที่ชนะเลิศในกิจกรรมการประกวดห้องเรียนและ
พื้นที่รับผิดชอบให้สะอาด ในทางกลับกัน อาจมีการกำหนดบทลงโทษแก่ผู้ที่ละเมิดหรือผู้ที่กระทำผิด เช่น ผู้ที่
ทิ้งขยะหรือไม่รักษาความสะอาดภายในโรงเรียนฯ ด้วยการตัดคะแนนกิจกรรมหรือคะแนนความประพฤติ เพื่อเป็น
การควบคุมไม่ให้บุคคลมีพฤติกรรมที่ฝืนสังคม ซึ่งแนวคิดหรือกลยุทธ์ดังกล่าวสอดคล้องกับข้อเสนอแนะของกลุ่ม
ตัวอย่างในประเด็นการรักษาความสะอาด ข้อที่ 7. และ 8. ที่ได้ให้ข้อเสนอแนะว่า ควรมีการติดป้ายรณรงค์ห้าม
ทิ้งขยะ
87
88
ที่มีผู้ตอบ จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 2.21 และควรกำหนดหรือออกกฎหมายในด้านการรักษาความสะอาดให้
มีความเข้มงวดมากยิ่งขึ้น ดังเช่น กรณีการปรับเงินผู้ที่ทิ้งขยะลงในที่สาธารณะของกรุงเทพมหานครที่ทำให้
ประชาชนเกรงกลัวไม่กล้าที่จะทิ้งขยะลงในที่สาธารณะ ซึ่งมีผู้ตอบ จำนวน 4 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 1.48
ข้อเสนอแนะสำหรับงานวิจัยครั้งต่อไป
การศึกษาวิจัยเรื่อง “พฤติกรรมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของวัยรุ่น ศึกษากรณี : นักเรียนมัธยมศึกษา
สังกัดกรมสามัญศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มสหวิทยาเขตบรมราชชนนี 1” นั้น พบข้อเสนอแนะสำหรับ
งานวิจัยในครั้งต่อไปดังนี้
1. ควรมีการศึกษาปัจจัยอื่นที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของวัยรุ่นที่มีต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
เพื่อเป็นการเปรียบเทียบ
2. ควรดำเนินการศึกษาพฤติกรรมของนักเรียนในกลุ่มอื่น ๆ เช่น นักเรียนในระดับประถม
ศึกษาตอนต้น นักเรียนในระดับประถมศึกษาตอนปลาย นักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
และนักเรียนในระดับอุดมศึกษา ทั้งนี้ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบกับกลุ่มตัวอย่างนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น
โดยผลที่ได้จากการวิจัยจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแนวทางและพัฒนาพฤติกรรมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนัก
เรียน ทำให้ผู้บริหารสถานศึกษาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถกำหนดแนวทางในการพัฒนาได้อย่างถูกทิศทาง
3. ควรมีการศึกษาพฤติกรรมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนในพื้นที่ต่างจังหวัด
หรือชนบทเปรียบเทียบกับนักเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร
88
บรรณานุกรม
ควบคุมมลพิษ, กรม. (2541). รายงานการจัดเก็บสิ่งปฏิกูลในเขตกรุงเทพมหานคร.
กรุงเทพมหานคร: กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม.
กรุงเทพมหานคร. (2524). เอกสารเผยแพร่กิจการกรุงเทพมหานคร 2522-2523.
กรุงเทพมหานคร: เทคนิค 19.
การประปานครหลวง. (2545). รายงานสถิติการผลิตน้ำประปาในเขตกรุงเทพมหานครและ
ปริมณฑล. กรุงเทพมหานคร: ฝ่ายประชาสัมพันธ์ การประปานครหลวง.
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. (2545). รายงานสถิติการผลิตพลังงานไฟฟ้าของ
ประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: ฝ่ายข้อมูล การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย.
กิติมา สุรสนธิ. (2541). ความรู้ทางการสื่อสาร. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เกษม จันทร์แก้ว. (2524). วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร: คณะกรรมการบัณฑิต
ศึกษา สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
----------------. (2525). วิทยาศาสตร์กับสิ่งแวดล้อม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร:
อักษรสยามการพิมพ์.
----------------. (2536). สิ่งแวดล้อมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: อักษรสยามการพิมพ์.
เกษม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา. (2529). การอนุรักษ์ธรรมชาติในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร:
สยามสมาคม.
โกวิทย์ พวงงาม. (2541). ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนา ความหมาย เครื่องชี้วัดและ
ทฤษฎีการพัฒนา. เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาทฤษฎีการพัฒนาสังคม.
กรุงเทพมหานคร: สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
โกสินทร์ รังสยาพันธ์. (2521). การศึกษากับปัญหาความสกปรกเป็นพิษของสิ่งแวดล้อม.
ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์
วิโรฒประสานมิตร.
งามเฉิด หอรัตนชัย. (2528). “ขยะอีกปัญหาหนึ่งของกรุงเทพมหานคร.” สมาคมไทยอเมริกัน.
7 (กรกฎาคม 2528): 8-17.
88
จิราพร ลิปวาณิชย์. (2540). การศึกษาสมรรถนะรถจักรยานสามล้อสำหรับการรองรับและ
การขนย้ายขยะที่มีมูลค่าในครัวเรือน. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อการพัฒนาทรัพยากร. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
มหิดล.
จุฑาภรณ์ สกุลศักดิ์. (2523). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้น้ำอย่างประหยัดในครัวเรือนของแม่บ้าน
ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาสิ่งแวดล้อมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
“7 วันรอบโลก.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http: //www.thairath.co.th
ชนิตา รักษ์พลเมือง. (2528). บทความคัดสารเรื่องเด็กและเยาวชนไทย : ฉายภาพสู่อนาคต.
กรุงเทพมหานคร: โครงการตำราและเอกสารทางวิชาการ คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชัยพร วิชชาวุธ. (2523). การวิจัยเชิงจิตวิทยา. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.
ชุดา จิตพิทักษ์. (2525). พฤติกรรมศาสตร์เบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สารมวลชน.
ณรงค์ สินสวัสดิ์. (2518). การวิจัยเชิงจิตวิทยา. กรุงเทพมหานคร:
โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ดนัย ดำรงสกุล. (2534). ความรู้และเจตคติของนักศึกษาเกษตรกรรมสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล.
วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสิ่งแวดล้อมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยมหิดล.
ตุ้ย ชุมสาย. (2508). จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.
ทวี ทองสว่าง และทัศนีย์ ทองสว่าง. (2523). การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.
เทียนฉาย กีรนันท์. (2525). พฤติกรรมการใช้พลังงานในครัวเรือนของชาวกรุงเทพมหานคร:
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิรมล กลับชุ่ม. (2534). ความรู้และพฤติกรรมของนักศึกษาวิทยาลัยครูเกี่ยวกับมลพิษสิ่งแวดล้อม
ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาสิ่งแวดล้อมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
นิวัติ เรืองพานิช. (2517). ภูมิศาสตร์มนุษย์และสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์ธรรมชาติ.
กรุงเทพมหานคร: อักษรสยามการพิมพ์.
89
นันทนิตย์ ยิ้มวาสนา. (2526). ความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติเพื่อบริโภคผัก : ศึกษากรณีแม่บ้าน
ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาสิ่งแวดล้อมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
บุญชม ศรีสะอาด. (2543). สถิติและการวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
ประภาเพ็ญ สุวรรณ. (2526). ทัศนคติ : การเปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรมอนามัย.
กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.
ประสาร พิทย์ธารา. (2521). พัฒนาการและการปรับตัวของวัยรุ่น. กรุงเทพมหานคร:
แพร่พิทยา.
----------------. (2523). พัฒนาการและการปรับตัวของวัยรุ่น. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชา
การแนะแนวและจิตวิทยาการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒประสานมิตร.
ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์ , กนก แก้วเทพ และกาญจนา แก้วเทพ. (2542). บทวิเคราะห์ทาง
นิเวศวิทยาการเมือง : การพัฒนาแบบยั่งยืนสำหรับสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร:
ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมสิ่งแวดล้อม.
ปัทมาวดี วงษ์ศิลป์. (2526). ความรู้และความตั้งใจในการปฏิบัติเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ปริญญา
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสิ่งแวดล้อมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
ปาริชาติ นาคอิ่ม. (2524). การศึกษาพฤติกรรมทางจริยธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการจัดการศึกษา
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พัฒน์ สุจำนงค์. (2522). สุขศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.
พัทยา สายหู. (2526). โลกสมมติ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ศึกษาสยาม.
พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์. (2527). มนุษย์สัมพันธ์. กรุงเทพมหานคร: รุ่งเรืองสาส์นการพิมพ์.
ยงยุทธ เกษสาคร. (2541). ภาวะผู้นำและแรงจูงใจ. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์เอกสารและตำรา
สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.
ยุวดี อิ่มใจ. (2529). ปัจจัยทางสังคมและจิตวิทยาที่มีความสัมพันธ์ต่อความตั้งใจในการรักษา
ความสะอาดของบ้านเมืองของเยาวชนระดับชั้นมัธยมปลายในกรุงเทพมหานคร.
วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสิ่งแวดล้อมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยมหิดล.
90
เย็นใจ เลาหวณิช. (2520). “ค่านิยมกับปัญหาสิ่งแวดล้อม.” สารสิ่งแวดล้อม.
3 (มิถุนายน-กรกฎาคม).
โยธิน ศันสรยุทธ. (2533). จิตวิทยา. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.
ราศรี ธรรมนิยม. (2525). สุขภาพจิต. พระนครศรีอยุธยา: วิทยาลัยพระศรีอยุธยา.
วิชาญ มณีโชติ. (2535). พฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ในจังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาสิ่งแวดล้อมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
วิทย์ วิศทเวทย์. (2520). ปรัชญาทั่วไป มนุษย์โลก และความหมายของชีวิต.
กรุงเทพมหานคร: อักษรเจริญทัศน์.
วิจิตร คงพูล. (2519). “สิ่งแวดล้อมศึกษา.” สารสิ่งแวดล้อม. ปีที่ 2 (เมษายน 2519).
วินัย วีระวัฒนานนท์. (2530). สิ่งแวดล้อมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.
วิมลสิทธิ์ หรยางกูร. (2526). พฤติกรรมกับสภาพแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร:
โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิรัช ชมชื่น. (2536). พฤติกรรมการกำจัดขยะมูลฝอยของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองนครปฐม.
วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสิ่งแวดล้อมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยมหิดล.
วีระวัฒน์ เนียมสุวรรณ. (2527). เจตคติของนักศึกษาวิทยาลัยเกษตรกรรมที่มีต่อการอนุรักษ์
ทรัพยากรป่าไม้. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสิ่งแวดล้อมศึกษา.
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2518). จิตวิทยาพัฒนาการ. กรุงเทพมหานคร: แพร่พิทยา.
----------------. (2540). จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร:
สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศิริพรต ผลสินธุ์. (2531). ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร:
วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สหวิทยาลัยรัตนโกสินทร์.
ศุภนิตย์ วัฒนธาดา. (2516). จิตวิทยาการศึกษา. พระนครศรีอยุธยา: เทียนวัฒนา.
สนธยา พลศรี. (2533). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพมหานคร:
โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์.
91
สมจิตต์ ตรีวิเชียร. (2527). “การรักษาความสะอาดของกรุงเทพมหานคร.” กรุงเทพมหานคร
2527. สำนักงานนโยบายและแผนกรุงเทพมหานคร.
สมจิตต์ สุพรรณทัศน์. (2526). “ความหมายของพฤติกรรม.” เอกสารการสอนชุดวิชาสุขศึกษา
หน่วยที่ 1-7 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. กรุงเทพมหานคร: อรุณการพิมพ์.
สมชาย อำพันทอง. (2532). ความรู้ เจตคติและพฤติกรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขต
กรุงเทพมหานครที่มีต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญา
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสิ่งแวดล้อมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. (2526). การปรับพฤติกรรม. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.
สมิทธ์ สระอุบล. (2534). มนุษยวิทยาเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.
สาคร ถือเจริญ. (2531). การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและปัญหาการอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติ. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ มหาสารคาม.
สุชา จันทน์เอม. (2511). “ความแตกต่างระหว่างหญิงกับชาย.” กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ศึกษา.
----------------. (2529). จิตวิทยาวัยรุ่น. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.
สุชา จันทน์เอม และสุรางค์ จันทน์เอม. (2518). จิตวิทยาวัยรุ่น. กรุงเทพมหานคร: แพร่พิทยา.
สุวรรณี ยุวชาติ. (2532). การศึกษาพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนอาชีวศึกษา
สังกัดกรมอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร
มหาบัณฑิต สาขาสิ่งแวดล้อมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
อมรรัตน์ รีกิจติศิริกุล. (2530). พฤติกรรมเกี่ยวกับการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมของ
นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญา
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสิ่งแวดล้อมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
อรสา ประยูรหงษ์. (2536). การศึกษาเจตคติและลักษณะพฤติกรรมการตอบสนองต่อการใช้
ภาชนะโฟมของผู้บริโภคในห้างสรรพสินค้าเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญา
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสิ่งแวดล้อมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
Adams, R.A., and others. (1994). Adolescent Life Experiences. Pacific Grove, California :
Brooks/Cole Publishing Company.
Alaimo, Samiul Joseph. (1969). A Study of Factors Influencing Value Preference in
Environmental Problems of Seventh Through Twelfth Grade Students.
Dissertation Abstracts International 39. (March, 1969) : 5427 A.
92
Benjamin S.Bloom. (1964). Characters and Characteristics Genetic Psychology.
New York : John Willey.
Cattel, Raymon. (1966). The Scientific Analysis of Personality. Chicago : Aldine.
Clyde, Kluckhohn. (1956). Personality in nature,society and culture. New York : Knopf.
Cronbach, Lee Joseph. (1972). The dependability of behavioral measurement : theory
of generality for scares and profiles. By Lee J. Cronbach and others.
New York : Willey.
Crow, Lester D. (1967). Child Development and Adjustment : A Study of Child
Psychology. New York : Macmillan.
E.F.Schumacher. (1974). Small is beautiful. (London : ABACUS edition Published,
Spher Books Ltd.) , p.84.
Elizabeth F.Hurlock. (1973). Adolescent Development. 4th Edition. New York :
McGraw-Hill.
---------------. (1978). Child Development. 6th Edition. Tokyo : McGraw-Hill International
Kogakusha.
Goldenson M. Robert. (1984). Longman Dictionary of Psychology and Psychiatry.
(New York, Longman Inc) , p.90.
Guskin, Alan E. (1964). Changing Values of Thai college Students, a research report by
Alan E. Buskin and Tusaance Sookthawee. Bangkok : Faculty of Education,
Chulalongkorn University.
Jones, Virginia A. (1954). “Character Development in Children : An Objective Approach.”
In L.Carmichael (ed), in Manual of Child Psychology. New York: John–Willey.
----------------. (1977). “A Comparative Study of Environmental Education : Competencies
of third Grade Students and their Teacher.” Dissertation Abstracts
International.
Mckinney, Fred. (1976). Effective behaviour and human development. New York:
Macmillan.
Munn, Norman L. (1962). Introduction to Psychology. Bostan: Houghton Mifflin Co.
93
98
หน้า 1/8
หมายเลขแบบสอบถาม
แบบสอบถามเรื่อง
พฤติกรรมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของวัยรุ่น :
กรณีศึกษานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร
กลุ่มสหวิทยาเขตบรมราชชนนี 1
เรียน ท่านผู้ตอบแบบสอบถามทุกท่าน
แบบสอบถามชุดนี้สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการเก็บข้อมูลประกอบการทำวิทยานิพนธ์เรื่อง “พฤติกรรม
ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของวัยรุ่น : กรณีศึกษานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดกรมสามัญศึกษา
ในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มสหวิทยาเขตบรมราชชนนี 1” ตามหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โดยมีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดกรมสามัญศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มสหวิทยาเขตบรมราชชนนี 1 ปีการศึกษา 2545
เป็นประชากรเป้าหมาย ในการตอบแบบสอบถามครั้งนี้ ผู้วิจัยต้องการข้อมูลที่เป็นความจริงจากท่าน และขอรับรองว่าข้อมูลที่ได้รับจะถูกเก็บเป็นความลับ โดยจะนำไปใช้เพื่อประโยชน์ในการวิจัยเท่านั้น
ผู้วิจัยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า คงจะได้รับความร่วมมือจากท่านด้วยดีและขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้
ขอแสดงความนับถือ
นายเจริญจิต ลีภัทรพณิชย์
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ส่วนประกอบของแบบสอบถามเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมนี้ แบ่งออกเป็น 6 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนตัวของผู้ตอบแบบสอบถาม
ส่วนที่ 2 การรับรู้ข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ส่วนที่ 3 ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ส่วนที่ 4 เจตคติเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ส่วนที่ 5 พฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ส่วนที่ 6 ความคิดเห็นเพิ่มเติมและข้อเสนอแนะ
99
หน้า 2/8
ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนตัวของผู้ตอบแบบสอบถาม
คำชี้แจง กรุณาใส่เครื่องหมาย / ลงในวงเล็บหน้าข้อที่ท่านเลือกและเติมข้อความลงในช่องว่าง
ตามความเป็นจริง
ข้อ 1. เพศ
( ) 1. ชาย ( ) 2. หญิง
ข้อ 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
(คะแนนเฉลี่ยสะสมในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2) ………………… (โปรดระบุ)
ข้อ 3. ท่านมีบทบาทความเป็นผู้นำในตำแหน่งใดที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
…………………………………………………………………………………………………….
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ข้อ 4. ท่านได้เข้าร่วมกิจกรรมและเป็นสมาชิกในชมรมที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมใดบ้าง
( ) 1. กิจกรรมการประหยัดพลังงานไฟฟ้าและน้ำประปา
( ) 2. กิจกรรม “ห้องเรียนสีเขียว” (ห้องเรียนประหยัดพลังงาน)
( ) 3. กิจกรรม “5 ส” (สะสาง สะดวก สะอาด สุขลักษณะ สร้างนิสัย)
( ) 4. กิจกรรม “รีไซเคิล” (การนำวัสดุที่ใช้แล้วหรือเหลือใช้กลับมาใช้ใหม่)
( ) 5. กิจกรรมการประกวดห้องเรียนและพื้นที่รับผิดชอบให้สะอาด
( ) 6. ชมรมเปเปอร์มาเช่ (การนำกระดาษที่เหลือใช้มาทำเป็นรูปสัตว์หรือผลไม้)
( ) 7. อื่น ๆ โปรดระบุ ……………………………………………………………
100
หน้า 3/8
ส่วนที่ 2 การรับรู้ข่าวสารที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
คำชี้แจง กรุณาใส่เครื่องหมาย / ลงในช่องระดับการรับข่าวสารที่ตรงกับความเป็นจริงมากที่สุด
และกรุณาตอบทุกข้อ
คำถาม : ท่านเคยได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจากสื่อต่าง ๆ ต่อไปนี้
มากน้อยเพียงใด
ความถี่ในการได้รับข่าวสาร
แหล่งข่าวสารที่ได้รับ
ได้รับ
ข่าวสาร
มาก
ได้รับ
ข่าวสาร
ปานกลาง
ไม่ได้รับ
ข่าวสาร
1. วิทยุ เช่น รายการวิทยุเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
2. โทรทัศน์ เช่น รายการสารคดีอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
หรือโฆษณาเชิญชวนให้ช่วยกันประหยัดพลังงาน
และรักษาความสะอาด
3. หนังสือพิมพ์ เช่น บทความ คอลัมน์ที่เกี่ยวกับการ
อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
4. นิตยสาร/วารสาร เช่น บทความที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ
การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
5. อินเตอร์เน็ต เช่น เว็บไซต์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
6. บุคคล เช่น ครอบครัว ญาติ เพื่อน และเพื่อนบ้าน
7. อื่น ๆ โปรดระบุ ………………………………….
95
ตารางที่ 12 ตารางแสดงค่าคะแนนเฉลี่ยของการตอบแบบสอบถาม ในส่วนที่ 4 เจตคติเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ข้อความ
X
S.D.
1. การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทั้งในด้านการประหยัด
พลังงานและการรักษาความสะอาดไม่ใช่
หน้าที่ของพวกเราทุกคน แต่เป็นหน้าที่ของ
หน่วยงานรัฐบาลเท่านั้น
2.59
.74
2. การเปิดน้ำประปาทิ้งไว้ไม่ได้ก่อให้เกิด
การสูญเปล่ามากเท่าใด เพราะประเทศไทยมี
แหล่งน้ำอยู่เป็นจำนวนมากที่สามารถนำมาใช้
ในการอุปโภคบริโภค
2.64
.70
3. ธรรมชาติสามารถสร้างสิ่งต่าง ๆ ให้สมดุลอยู่
เสมอ โดยจะบำบัดหรือฟื้นฟูส่วนที่เสื่อมสภาพ
ด้วยตนเอง ดังนั้น การทิ้งขยะสิ่งปฏิกูลลง
แม่น้ำหรือสภาพแวดล้อมไปบ้างจึงไม่เป็นการ
ทำลายสิ่งแวดล้อม
2.59
.72
4. ปัจจุบันการให้ความรู้เรื่องการอนุรักษ์พลังงาน
ไฟฟ้าและน้ำประปา รวมถึงการทิ้งสิ่งปฏิกูล
และการจัดการสภาพแวดล้อมที่ถูกวิธีใน
ชั้นเรียนน้อยเกินไป
2.35
.60
5. โรงเรียนควรจัดให้มีโครงการให้ความรู้ในเรื่อง
การอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าและน้ำประปา
รวมถึงการทิ้งสิ่งปฏิกูลและการจัดการ
สภาพแวดล้อมที่ถูกวิธีแก่นักเรียน
2.77
.48
ข้อความ
X
S.D.
95
6. ควรเชิญผู้เชี่ยวชาญเรื่องการอนุรักษ์พลังงาน
ไฟฟ้าและน้ำประปา รวมถึงการทิ้งสิ่งปฏิกูล
และการจัดการสภาพแวดล้อมที่ถูกวิธี
มาบรรยายให้นักเรียนฟังเสมอ ๆ
2.69
.53
7. ท่านเห็นด้วยหรือไม่ หากโรงเรียนกำหนดให้
นักเรียนเข้ามีส่วนร่วมกับโรงเรียนในการทำ
กิจกรรมโครงการอนุรักษ์พลังงานและ
โครงการแยกประเภทสิ่งปฏิกูลก่อนทิ้ง
2.83
.40
8. ถ้าทุกคนในประเทศช่วยกันปิดไฟฟ้าและ
น้ำประปาทันทีเมื่อเลิกใช้ จะทำให้ประเทศ
ประหยัดค่าใช้จ่ายลงเป็นจำนวนมาก
2.85
.45
9. การดูแลสภาพแวดล้อมและความสะอาดของ
ที่อยู่อาศัยอยู่เสมอไม่ได้มีส่วนช่วยเสริมสร้าง
บรรยากาศในการเรียนและการอยู่อาศัย
2.39
.82
10. ในการทิ้งขยะไม่จำเป็นต้องแยกประเภท
ขยะเปียกและขยะแห้งก่อนทิ้ง
2.53
.77
105
หน้า 4/8
ส่วนที่ 3 ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
คำชี้แจง กรุณาใส่เครื่องหมาย / ลงในช่องว่างที่ตรงกับคำตอบของท่าน
ข้อความ
ใช่
ไม่ใช่
1. การเพิ่มขึ้นของประชากรอย่างรวดเร็วไม่ได้มีผลทำให้ความต้องการใน
การใช้ไฟฟ้าและน้ำประปาของประเทศเพิ่มขึ้นด้วย
2. การอนุรักษ์ทรัพยากรและพลังงานจะอนุรักษ์เฉพาะทรัพยากรและพลังงาน
ที่ใช้แล้วหมดไปเท่านั้น
3. การทิ้งขยะและสิ่งปฏิกูลลงในแม่น้ำลำคลอง เป็นการทำลายแหล่งน้ำที่
ใช้ในการอุปโภคและบริโภคอย่างรุนแรง
4. สถานการณ์สิ่งแวดล้อมที่สำคัญอย่างหนึ่งที่แสดงได้ว่า ควรจะต้องมี
การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมคือ ภาวะวิกฤติของแหล่งน้ำในแม่น้ำลำคลอง
5. สาเหตุสำคัญของการสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าและน้ำประปาเกิดจาก
การละเลยไม่ใส่ใจที่จะช่วยกันประหยัดทรัพยากรและพลังงานของชาติ
6. การลดการทิ้งขยะที่ย่อยสลายยาก เช่น โลหะ ถุงพลาสติกฯ ลงในแหล่งน้ำ
เป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำทางหนึ่ง
7. ปัญหาการขาดแคลนและความสกปรกของแหล่งน้ำไม่ได้เป็นปัญหาใหญ่ของชาติเพราะอนาคตมนุษย์สามารถผลิตเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาแก้ไขได้
8. การใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างประหยัดจะทำให้เรามีทรัพยากรและ
พลังงานใช้อย่างยั่งยืนตลอดไป
9. การเลือกซื้อสินค้าที่มีชนิดเติม (Refill) ไม่ได้เป็นการช่วยลดปริมาณขยะ
10. การปิดน้ำทันทีเมื่อเลิกใช้ ไม่ได้เป็นการช่วยประหยัดน้ำประปา
105
หน้า 7/8
ส่วนที่ 5 พฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
คำชี้แจง กรุณาใส่เครื่องหมาย / ลงในช่องว่างที่ท่านเห็นว่าตรงกับความเป็นจริงมากที่สุด
ปฏิบัติ
ข้อความ
ทุกครั้ง
บางครั้ง
ไม่ปฏิบัติ
1. ท่านไม่ทิ้งขยะสิ่งปฏิกูลที่ย่อยสลายยาก เช่น ถุงพลาสติก
ลงในแหล่งน้ำ
2. ท่านปิดไฟฟ้าและน้ำประปาทันทีเมื่อเลิกใช้
3. ท่านจะเตือนเมื่อเห็นเพื่อนหรือบุคคลที่รู้จักทิ้งขยะ
สิ่งปฏิกูลลงในแหล่งน้ำ
4. ท่านทิ้งเศษอาหารลงท่อระบายน้ำเมื่อท่านล้างจาน
5. ท่านมักเปิดโทรทัศน์ทิ้งไว้แม้ไม่มีคนดู เช่น เปิดโทรทัศน์
ทิ้งไว้ขณะรอดูรายการในช่วงอื่น
6. ในการทิ้งขยะท่านไม่แยกประเภทขยะเปียกและขยะแห้ง
ก่อนการจัดทิ้ง
7. ท่านปิดไฟแสงสว่างภายในห้องเรียนหรือทางเดิน
เมื่อพบว่าถูกเปิดทิ้งไว้
8. ท่านมักหลีกเลี่ยงเมื่อต้องมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม
โครงการต่าง ๆ ของโรงเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการ
ที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
9. หากโรงเรียนจัดให้มีโครงการอบรมให้ความรู้เรื่อง
การอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าและน้ำประปา รวมถึงการทิ้ง
สิ่งปฏิกูลและการจัดการสภาพแวดล้อมที่ถูกวิธี
ท่านจะเข้ามีส่วนร่วมในการอบรม
10. หากโรงเรียนจัดทำโครงการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าและ
น้ำประปา และโครงการแยกประเภทของสิ่งปฏิกูลก่อนทิ้ง
ท่านจะเข้ามีส่วนร่วมในการปฏิบัติ
105
หน้า 8/8
ส่วนที่ 6 กรุณาให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมต่อไปนี้ ตามแนวคิด
ของท่าน
- การประหยัดพลังงานด้านการใช้ไฟฟ้าและน้ำประปา …………………………….
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………….
- การรักษาความสะอาดด้านการไม่ทิ้งสิ่งปฏิกูล และการดูแลสภาพแวดล้อมของที่อยู่
อาศัยและสถานศึกษา …………………………………………………………………………..
…………………………………………………………………………………………………….…………………………………………………………………………………………………….
…………………………………………………………………………………………………….
.…………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………………..
ขอขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง
ในความกรุณาให้ความร่วมมือตอบแบบสอบถาม
นายเจริญจิต ลีภัทรพณิชย์
103
หน้า 5/8
ส่วนที่ 4 เจตคติเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
คำชี้แจง กรุณาใส่เครื่องหมาย / ลงในช่องว่างที่ท่านเห็นด้วย
ข้อความ
เห็นด้วย
ไม่แน่ใจ
ไม่เห็นด้วย
1. การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทั้งในด้านการประหยัด
พลังงานและการรักษาความสะอาดไม่ใช่
หน้าที่ของพวกเราทุกคน แต่เป็นหน้าที่ของ
หน่วยงานรัฐบาลเท่านั้น
2. การเปิดน้ำประปาทิ้งไว้ไม่ได้ก่อให้เกิด
การสูญเปล่ามากเท่าใด เพราะประเทศไทยมี
แหล่งน้ำอยู่เป็นจำนวนมากที่สามารถนำมาใช้
ในการอุปโภคบริโภค
3. ธรรมชาติสามารถสร้างสิ่งต่าง ๆ ให้สมดุลอยู่
เสมอ โดยจะบำบัดหรือฟื้นฟูส่วนที่เสื่อมสภาพ
ด้วยตนเอง ดังนั้น การทิ้งขยะสิ่งปฏิกูลลง
แม่น้ำหรือสภาพแวดล้อมไปบ้างจึงไม่เป็นการ
ทำลายสิ่งแวดล้อม
4. ปัจจุบันการให้ความรู้เรื่องการอนุรักษ์พลังงาน
ไฟฟ้าและน้ำประปา รวมถึงการทิ้งสิ่งปฏิกูล
และการจัดการสภาพแวดล้อมที่ถูกวิธีใน
ชั้นเรียนน้อยเกินไป
5. โรงเรียนควรจัดให้มีโครงการให้ความรู้ในเรื่อง
การอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าและน้ำประปา
รวมถึงการทิ้งสิ่งปฏิกูลและการจัดการ
สภาพแวดล้อมที่ถูกวิธีแก่นักเรียน
103
หน้า 6/8
ข้อความ
เห็นด้วย
ไม่แน่ใจ
ไม่เห็นด้วย
6. ควรเชิญผู้เชี่ยวชาญเรื่องการอนุรักษ์พลังงาน
ไฟฟ้าและน้ำประปา รวมถึงการทิ้งสิ่งปฏิกูล
และการจัดการสภาพแวดล้อมที่ถูกวิธี
มาบรรยายให้นักเรียนฟังเสมอ ๆ
7. ท่านเห็นด้วยหรือไม่ หากโรงเรียนกำหนดให้
นักเรียนเข้ามีส่วนร่วมกับโรงเรียนในการทำ
กิจกรรมโครงการอนุรักษ์พลังงานและ
โครงการแยกประเภทสิ่งปฏิกูลก่อนทิ้ง
8. ถ้าทุกคนในประเทศช่วยกันปิดไฟฟ้าและ
น้ำประปาทันทีเมื่อเลิกใช้ จะทำให้ประเทศ
ประหยัดค่าใช้จ่ายลงเป็นจำนวนมาก
9. การดูแลสภาพแวดล้อมและความสะอาดของ
ที่อยู่อาศัยอยู่เสมอไม่ได้มีส่วนช่วยเสริมสร้าง
บรรยากาศในการเรียนและการอยู่อาศัย
10. ในการทิ้งขยะไม่จำเป็นต้องแยกประเภท
ขยะเปียกและขยะแห้งก่อนทิ้ง
พฤติกรรมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของวัยรุ่น (ตอนที่ 1)
พฤติกรรมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของวัยรุ่น (ตอนที่ 2)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น