วันอาทิตย์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2552

ระบบการรับสมัครนักศึกษาผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตกรณีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม



บทที่ 1 บทนำ 1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา จากการเปลี่ยนแปลงสถานภาพของสถาบันราชภัฏเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏ ตามการ ประกาศการใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2547 ทำให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงและเกิดผลกระทบต่อหน่วยงาน และองค์กรภายในของมหาวิทยาลัยราชภัฏ- จันทรเกษมโดยทั่วไป การปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารจัดการ เพื่อให้สามารถตอบสนอง ความต้องการของสังคมและให้เกิด ความพร้อมต่อการแข่งขันกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ รวมถึงการ กำหนดเป้าหมายและทิศทางในการพัฒนามหาวิทยาลัย ให้สามารถตอบสนองต่อสภาพของสังคม ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วให้เกิดความชัดเจนและมีเอกลักษณ์ หรือมีจุดขายที่เด่นชัด จึงมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วน นอกจากนั้นการสร้างองค์กรทั้งระบบให้มีความยืดหยุ่นเป็น องค์กรแห่งความเรียนรู้ สามารถปรับเปลี่ยนตนเองให้เข้าได้กับสถานการณ์ทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองที่มีความอ่อนไหวและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้ทันท่วงที ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นอีก ประการที่สำคัญในสถานการณ์ปัจจุบัน การเป็นนิติบุคคลของแต่ละมหาวิทยาลัยราชภัฏ ถือเป็นโอกาสที่ดีอันหนึ่งที่จะทำให้การ บริหารจัดการของสถาบันราชภัฏเดิม หลุดจากพันธนาการของการบริหารงานแบบรวมศูนย์จาก สภาสถาบันราชภัฏเดิมที่บริหารงานและการวางนโยบายในด้านต่าง ๆ จากส่วนกลาง ทำให้ สถาบันราชภัฏเดิมไม่สามารถบริหารจัดการองค์กรไปในทิศทางที่ต้องการ หรือสามารถดำเนิน พันธ์กิจต่างๆให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมตามสภาพความเป็นจริงของแต่ละสถาบันได้ อย่างไรก็ ตามการปรับเปลี่ยนสถานภาพมีผลโดยตรง ที่ต้องทำให้สถาบันราชภัฏมีการปรับเปลี่ยนตนเอง อย่างเร่งด่วน เพื่อทำให้ตนเองเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏที่มีความสามารถในการบริหารจัดการใน เรื่องต่างๆได้ด้วยตนเอง สามารถยกระดับตนเองและศักยภาพในด้านต่างๆให้สูงขึ้น สามารถ เทียบเคียงกับมหาวิทยาลัยอื่นได้ มีความพร้อม สามารถพึ่งพาตนเองตามรูปแบบการเป็น มหาวิทยาลัยที่อยู่ในกำกับของภาครัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความพร้อมต่อการแข่งขัน ในด้านต่าง ๆ กับสถาบันและมหาวิทยาลัยระบบอุดมศึกษาอีกกว่าร้อยแห่งของประเทศไทย สำหรับการปรับรูปแบบองค์กรของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ตามรูปแบบการบริหารของการ เป็นนิติบุคคลจำเป็นต้องมีการทำการศึกษาข้อมูลด้านต่าง ๆ มากมาย เพื่อการปรับรูปแบบ องค์กรและการวางยุทธ์ศาสตร์การบริหารจัดการให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการ บริหาร หัวใจในการบริหารที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การศึกษาความต้องการของผู้เรียนที่จะ 2 เข้ามาสู่ระบบการจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยราชภัฏรวมถึงพฤติกรรมการตัดสินใจในการเข้าสมัครเข้า เรียนว่ามีกระบวนการรับนักศึกษา และปรับรูปแบบการรับนักศึกษา วางปรับหลักสูตรและการบริหารจัดการใน ฝ่ายต่าง ๆ ให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างเหมาะสม ภาวะการแข่งขันในการรับนักศึกษาเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษา ได้มีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากการ ปฏิรูประบบราชการเมื่อปี 2545 รวมถึง พ.ร.บ.การปฏิรูปการศึกษา พ.ศ. 2542 ทำให้รูปแบบขององค์กรของ การศึกษาเปลี่ยนไป ส่งผลให้สถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาสามารถเปิดการสอนระดับปริญญาตรี รวมถึง ระดับบัณฑิตศึกษา อาทิ สถาบันเทคโนโลยี ราชมงคล วิทยาลัยเทคนิคของอาชีวศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเอง ก็มีการเปิดศูนย์การศึกษาและขยายวิทยาเขตเพื่อสนองตอบความต้องการของผู้เรียนมากขึ้น มหาวิทยาลัยภาครัฐที่ เปิดอยู่เดิมก็เพิ่มและขยายวิทยาเขตไปสู่ภูมิภาคมากขึ้น มหาวิยาลัยของภาคเอกชนที่มีอยู่ได้มีการพัฒนาให้มี ศักยภาพสูงขึ้น มีการเปิดสาขาวิชาที่เป็นที่ต้องการและได้รับความนิยม รวมถึงมีการเปิดมหาวิทยาลัยใหม่ๆ เพิ่มขึ้นมากมาย การขยายตัวขององค์กรทางการศึกษาดังกล่าวแล้ว ถือเป็นภัยคุกคามที่สำคัญต่อการเปิดรับ นักศึกษาในอนาคต ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเป็นอย่างมาก แต่การแข่งขันในการรับนักศึกษาเข้าเรียนที่มีความ รุนแรงมากขึ้นซึ่งจะเป็นผลดีต่อตัวผู้ ที่จะเข้าเรียนที่เพราะเป็นขยายโอกาส และเพิ่มทางเลือกของผู้ที่จะจบจาก ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญ หรือสายอาชีพเพิ่มมากขึ้น ซึ่งแตกต่างจากการจัดการศึกษาของ สถาบันการศึกษาต่าง ๆ เมื่อ 5 ถึง 10 ปีที่ผ่านมา ที่ผู้เรียนไม่มีทางเลือกในการเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา มากนัก อย่างไรก็ตามภาระที่หนักได้ถูกขับเคลื่อนมาที่ตัวสถาบันการศึกษาสูงขึ้น คือจำเป็นที่จะต้องปรับระบบ และทิศทางการจัดการการศึกษาให้สามารถตอบสนองกับความต้องการของผู้เรียนและความต้องการทางสังคมให้ ทันกับความต้องการ ในเรื่องระบบการรับนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา ได้มีทำการศึกษาและวิจัยเพื่อปรับปรุงให้เกิด ประสิทธิภาพและสามารถตอบสนองของผู้เรียนมากขึ้น ระบบการรับนักศึกษาเข้าเรียนโดยตรง ณ มหาวิทยาลัย (Admission System) ซึ่งพบว่าเป็นวิธีที่จะสามารถสนองตอบความต้องการของผู้เรียนได้ดี จะถูก นำมาใช้ใน ปี 2549 ในระบบนี้จะเป็นการเพิ่มการแข่งขันให้กับสถาบันการศึกษาต่างๆมากขึ้น และน่าจะ ส่งผลในทางลบต่อสถาบันการศึกษาที่ขนาดกลางและเล็กที่บุคคลส่วนใหญ่ยังไม่เป็นที่รู้จัก เนื่องจากผู้สมัครส่วน ใหญ่จะสนใจที่จะสมัครเข้าเรียนใน มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงก่อน ดังนั้นมหาวิทยาลัยเหล่านั้นก็จะมีสิทธิ์ที่จะได้ คัดสรร คนเข้าสู่ระบบได้ดีกว่า ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ในจุดนี้เองมหาวิทยาลัยราชภัฏ จึงมีความจำเป็น อย่างยิ่งที่จะต้องปรับปรุงและพัฒนาระบบการรับนักศึกษา ระบบการจัดการข้อมูลสารสนเทศ (Management of Information System) ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technological System) ระบบการประชาสัมพันธ์ และการให้ข้อมูลข่าวสาร ต่อบุคคลทั่วไป โรงเรียน และองค์กรการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถปรับเปลี่ยนเป็นองค์กรให้เป็นที่ต้องการ เป็นที่ สนใจและมีจุดขายที่สามารถดึงดูดให้บุคคลมาสมัครเข้าเรียน รวมถึงสามารถสร้างระบบการให้ข้อมูลข่าวสารของ มหาวิทยาลัย ที่ทำให้ผู้สนใจได้เข้าถึงข้อมูลได้สะดวก รวดเร็ว และง่ายต่อการติดต่อสื่อสาร ในการสร้าง 3 กระบวนการดังกล่าวแล้ว จำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยเพื่อการวางแผนทางในการพัฒนาระบบฐานข้อมูล และ การสร้างเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพให้เกิดขึ้น ในการศึกษาพฤติกรรมการตัดสินใจของผู้บริโภค ฮอว์คินส์ เบสท์ และคูนี่ย์ (Hawkins, Best, Coney, 1995) ได้กล่าวว่าพฤติกรรมของผู้บริโภคเป็นตัวกำหนดและตัวบ่งชี้ที่สำคัญในการตัดสินใจการ ตัดสินใจ หากนักการตลาดสามารถเข้าใจและตีความตามความต้องการของลูกค้าของตนได้ชัดเจนแล้ว การสร้าง ยุทธ์ศาสตร์ทางการตลาดในรูปแบบต่าง ๆ การวางนโยบายและทิศทางการบริหารในเรื่องต่าง ๆ อาทิ การพัฒนา ผลผลิตขององค์กรเพื่อการแข่งขัน และการสร้างคุณภาพของผลผลิตให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าก็จะง่ายขึ้น รวมถึงการวางแผนในการประชาสัมพันธ์และการสร้างภาพลักษณ์ของผลผลิตและขององค์กรให้กับลูกค้าได้เกิด ความเชื่อมั่นและไว้วางใจที่จะเกิดขึ้นได้โดยง่าย ดังนั้นการศึกษาวิจัยพฤติกรรมในการตัดสินใจของบุคคล จึงมี ความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาองค์กร เพื่อการปรับตัวองค์กรเองสู่การแข่งขัน และให้สามารถตอบสนองต่อ ความต้องการและความสนใจของสังคมปัจจุบัน 1.2 วัตถุประสงค์ของสารนิพนธ์ เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อรองรับการรับสมัครนักศึกษาผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยมี ลักษณะการทำงานที่รองรับระบบงานในปัจจุบันและเป็นโปรแกรมที่ยืดหยุ่นใช้งานง่าย และได้ข้อมูลครบถ้วน และการทำงานให้สามารถรองรับการสมัครจากต่างจังหวัดได้สะดวกยิ่งขึ้น 1.3 ขอบเขตของสารนิพนธ์ ในการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อรองรับการการรับสมัครนักศึกษาผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ประกอบด้วย 1.3.1 สามารถเลือกสมัครในแต่ละศูนย์การศึกษาได้ โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมมีศูนย์การศึกษา ทั้งหมด 3 ศูนย์การศึกษา ศูนย์การศึกษาสหะพาณิช ศูนย์การศึกษามีนบุรีโปรี-เทคนิค ศูนย์การศึกษาเทคนิค ชัยนาท 1.3.2 การตรวจสอบการสมัครว่า วุฒิที่ใช้สมัครสามารถสมัครในวิชาเอกที่ต้องการได้หรือไม่ การ ตรวจสอบสามารถตรวจสอบจากวุฒิที่ใช้ในการสมัครถ้าเป็น มัธยมศึกษาปีที่ 6(ม.6) หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จะไม่สามารถสมัครในระดับ ปริญญาตรี 2 ปีหลังได้ 1.3.3 มีส่วนตรวจสอบการชำระค่าสมัครที่ชำระด้วยธนาณัติ เมื่อธนาณัติมาถึงส่วนกลาง 1.3.4 มีรายงาน จำนวนผู้สมัครในแต่ละโปรแกรม 1.3.5 สามารถจัดผู้สมัครเข้าห้องสอบตามวิชาเอกและระดับของ ผู้สมัครได้ 1.3.6 ส่วนของการแสดงผลการจัดห้องสอบผ่านทางจอภาพและส่งผลออกทางเครื่องพิมพ์ได้ 1.3.7 สามารถประกาศที่นั่งสอบผ่านทาง อินเตอร์เน็ตได้ 4 1.3.8 สามารถรายงาน ผู้เข้าสอบผู้ขาดสอบ และคะแนนสอบจากมากไปหาน้อยได้ 1.3.9 สามารถประกาศผลการสอบผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้ 1.3.10 สามารถส่งแฟ้มข้อมูลออกเป็น text file เพื่อไปนำเข้ายังฐานข้อมูลหลักของสถาบันได้ 1.4 การพัฒนาระบบ 1.4.1 การศึกษาและรวบรวมข้อมูลของระบบ 1.4.1.1 ศึกษาปัญหาและความต้องการของระบบ เป็นการศึกษา ปัญหาการดำเนินงานการรับสมัครแบบที่นักศึกษาที่ต้องการสมัครต้องซื้อใบสมัครและนำใบสมัคร ที่กรอกครบถ้วนมาสมัครในสถานที่และวันเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนดโดยแต่ละศูนย์การศึกษา จะต้องมีเจ้าหน้าที่ ที่คอย รับใบสมัครและตรวจสอบวุฒิทางการศึกษาเบื้องต้นแล้วก็มาในขั้นตอน ที่ชำระเงินค่าสมัคร และออกหลักฐานการรับเงิน แล้วก็มาออกบัตรประจำตัวผู้สอบ ถึงจะเสร็จ ขั้นตอนการสมัคร จากนั้นมหาวิทยาลัยก็ทำการประกาศผังที่นั่งสอบและวันเวลาสอบ ต่อจากนั้นก็ ตัดคะแนนสอบโดยมีเกณฑ์ต่อไปนี้ ถ้าจำนวนนักศึกษามากกว่าจำนวนผู้สมัครให้ตัดจำนวนตามที่ ประกาศรับโดยเรียงคะแนนจากมากไปหาน้อยและจะต้องมีคะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30 ของ คะแนนเต็มถ้าจำนวนคนที่รับของเอกใดมีคะแนนเท่ากับคนสุดท้ายให้ขยายจำนวนรับไปในช่วง คะแนนที่เท่ากันด้วย ถ้าจำนวนที่รับ มากกว่าผู้สมัครให้ตัดผู้ที่มีคะแนนต่ำกว่าร้อยละ 30 ของ คะแนนเต็มออก แล้วจึงนำข้อมูลของผู้ที่ผ่านการคัดเลือก นำไปประกาศผลสอบ และส่งข้อมูลการ สมัครออกเป็นแฟ้มเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป 1.4.1.2 ศึกษาเครื่องมือในการพัฒนาระบบ เป็นการศึกษา วิธีการใช้เครื่องมือต่างๆ ที่จะนำไปใช้ในการพัฒนาระบบ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ โพรโตคอลที่ ใช้รับส่งข้อมูลบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โปรแกรมภาษา และโปรแกรมจัดการฐานข้อมูล เพื่อทำการเปรียบเทียบเครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับใช้ในการพัฒนาระบบต่อไป 1.4.1.3 ศึกษาข้อจำกัดและความเป็นไปได้ของระบบ เป็น การศึกษาเกี่ยวกับ กฎ ระเบียบข้อบังคับ ข้อบกพร่องและข้อจำกัดต่างๆ ของเครื่องมือที่ใช้ในการ พัฒนา เช่น สถาปัตยกรรมของระบบ โปรแกรมภาษา โปรแกรมจัดการฐานข้อมูลและโพรโตคอล ที่ใช้รับส่งข้อมูลบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต 5 1.4.2 การวิเคราะห์และออกแบบระบบ 1.4.2.1 การวิเคราะห์ระบบงานเดิม เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลที่ มีอยู่แล้วจาก ระบบงานเดิม โดยจะวิเคราะห์เกี่ยวกับขั้นตอนการดำเนินงานที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน 1.4.2.2 การวิเคราะห์ระบบงานใหม่ เกี่ยวกับโครงสร้างของ ระบบงานใหม่ที่นำเอาระบบคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้กับการดำเนินงาน และ และผลกระทบที่ เกิดจากการนำระบบใหม่มาใช้สนับสนุนการทำงานของระบบเดิมที่มีอยู่แล้ว 1.4.2.3 การออกแบบระบบ เป็นการนำเอาข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ระบบงานเดิมมาทำการออกแบบระบบ เพื่อสร้างเป็นระบบงานใหม่ โดยเริ่มออกแบบโครงสร้างโดยรวมของระบบ โครงสร้าง ฐานข้อมูล รูปแบบการอินพุทข้อมูล การแสดงผลข้อมูล ขั้นตอนการเข้าสู่ระบบ หน้าจอที่ติดต่อกับผู้ใช้ และ วิธีการทดสอบระบบ 1.4.3 การพัฒนาระบบ เป็นขั้นตอนการพัฒนาระบบโดยจะเป็นการนำเอาความสามารถ ของเทคโนโลยี ทางด้านคอมพิวเตอร์เข้ามาประยุกต์ใช้ร่วมกับโปรแกรมจัดการฐานข้อมูล และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องเข้ามาใช้ใน การสนับสนุนการพัฒนาระบบ ซึ่งประกอบด้วย 1.4.3.1 เขียนโปรแกรม 1.4.3.2 ทดสอบโปรแกรม ตรวจสอบข้อผิดพลาดของโปรแกรม 1.4.3.3 จัดทำเอกสารประกอบโปรแกรม 1.4.4 การทดสอบระบบ กระบวนการทดสอบระบบ จะใช้การทดสอบแบบแบล็คบล๊อก (Black Box) เพื่อทดสอบกระบวนการทำงานของระบบโดยรวม โดยอินพุทข้อมูลเข้าไปในระบบเพื่อให้ โปรแกรมทำการประมวลผลและแสดงผลลัพธ์ออกมา จากนั้นนำผลลัพธ์ที่ได้มาทำการตรวจสอบว่าถูกต้อง หรือไม่ 1.4.5 การประเมินประสิทธิภาพของระบบ กระบวนการประเมินประสิทธิภาพของระบบจะดำเนินการ โดยใช้ผู้เชี่ยวชาญคือเจ้าหน้าที่ฝ่ายคอมพิวเตอร์ของสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยราชภัฏ จันทรเกษม 1.4.6 การสรุปผลและข้อเสนอแนะ เป็นการสรุปผลเกี่ยวกับความสามารถของระบบ อุปสรรคและข้อจำกัดของระบบ รวมถึงข้อเสนอแนะสำหรับการจัดทำวิทยานิพนธ์ในครั้งต่อไป 1.5 เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาระบบ ภาษาและเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาระบบ แบ่งออกเป็นดังนี้ 1.5.1 ด้านฮาร์ดแวร์ (Hardware) ที่ใช้ในการพัฒนาระบบ 6 1.5.1.1 เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ Pentium III 450 Mhz และอุปกรณ์ครบชุด 1.5.1.2 เครื่องพิมพ์เลเซอร์ HP2100 1.5.1.3 เครื่องสแกนเนอร์ 1.5.1.4 เครื่องเขียนแผ่น CD 1.5.1.5 อุปกรณ์เชื่อมต่อระบบเครือข่ายต่างๆ เช่น การ์ดเชื่อมต่อเครือข่าย 1.5.2 ด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์(Software) ที่ใช้ในการพัฒนาระบบ 1.5.2.1 ระบบปฏิบัติการ(Linux) 1.5.2.2 บราวเซอร์ (Browser) ใช้ Internet Explorer 5.0 ขึ้นไป 1.5.2.3 โปรแกรม Web Server ใช้ Internet Information Server (IIS) 1.5.2.4 โปรแกรมสร้าง WebPages ใช้ Macromedia Dreamweaver4 1.5.2.5 โปรแกรมที่ใช้ในการออกแบบ ER-Diagram ใช้ Microsoft Visio 2000 1.5.2.6 โปรแกรม Text Editor ใช้ EditPlus2 1.5.2.7 ระบบจัดการฐานข้อมูล MySql 1.5.3 ด้านภาษาคอมพิวเตอร์(Computer Language) ที่ใช้ในการพัฒนาระบบ 1.5.3.1 ภาษาเอชทีเอ็มแอล (HTML) 1.5.3.2 ภาษา ASP (Active Server Page) 1.5.3.3 ภาษา PHP (Personal Home Page) 1.5.3.4 ภาษาสคริปต์ ได้แก่ Java Script 1.6 กลุ่มเป้าหมาย 1.6.1 ผู้สมัครที่ต้องการสอบเข้าเป็นภาคสมทบมหาวิทยาลัยราชัฏจันทรเกษม 1.6.2 เจ้าหน้าที่สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม 1.7 ประโยชน์ที่จะได้รับ 1.7.1 สำหรับสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน 1.7.1.1 สามารถประหยัดงบประมาณในการโฆษณาและเผยแพร่ 1.7.1.2 การจัดเก็บข้อมูลของผู้สมัครมีความถูกต้องเพราะตัวผู้สมัครเป็นคนกรอกเอง 7 1.7.1.3 เจ้าหน้าที่สามารถจัดเก็บรายละเอียดของผู้สมัครได้ 1.7.1.4 เจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบแก้ไขข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว 1.7.1.5 เจ้าหน้าที่ประกาศผังที่นั่งสอบได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง 1.7.1.6 เจ้าหน้าที่ประกาศผลการสอบได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง 1.7.2 สำหรับกลุ่มผู้สมัคร 1.7.2.1 ไม่ต้องเดินทางมาดูสถานที่สอบสามารถดูสถานที่สอบผ่านระบบเครือข่าย 1.7.2.2 ไม่ต้องเดินทางมาดูผลสอบสามารถดูรายชื่อผู้ที่สอบผ่านได้ 1.8 แผนการดำเนินงาน การพัฒนาระบบสารสนเทศระบบการรับสมัครนักศึกษาผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต มีระยะเวลา ตั้งแต่ 1 กันยายน 2545 ถึง 29 มกราคม 2546 รวมทั้งสิ้น 5 เดือน ซึ่งมีรายละเอียดดังตารางที่ 1-1 ตารางที่ 1-1 ตารางระยะเวลาการพัฒนาระบบการรับสมัครนักศึกษาผ่านระบบเครือข่าย ตารางที่ 1-1 แสดงระยะเวลาการพัฒนาระบบการรับสมัครนักศึกษาผ่านระบบเครือข่าย กิจกรรม เม.ย.- ก.ย.45 ต.ค.45- ก.พ.46 มี.ค.- ก.ย.46 ต.ค.46- ก.พ.47 มี.ค.- ก.ย.47 ต.ค.47- เม.ย.48 1.rศึกษาและรวบรวม ข้อมูลของระบบงานเดิม 2.kวิเคราะห์ระบบงานเดิม และระบบงานใหม่ 3. ออกแบบระบบงานใหม่ 4. พัฒนาระบบ 5. ทดสอบระบบ 6. แก้ไขระบบ 7. จัดทำสารนิพนธ์ บทที่ 2 ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2.1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต (สัลยุทธ์, 2542) อินเตอร์เน็ต (Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อกันทั่วโลก โดยมาตรฐานการรับส่งข้อมูลที่เหมือนกัน ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นอาจจะอยู่ในรูปของตัวอักษร ภาพเคลื่อนไหว ภาพนิ่งหรือเสียงก็ได้ อินเตอร์เน็ตมีองค์ประกอบอยู่ 2 ส่วนด้วยกัน คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ และข้อมูลที่เก็บอยู่ในคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถแสดงได้ดังภาพที่ 2-1 Internet ภาพที่ 2-1 แสดงการเชื่อมโยงเครือข่ายอินเตอร์เน็ต(Internet) 2.1.1 ประวัติความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต อินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่มีพัฒนาการมาจาก อาร์พาเน็ต (ARPAnet) จัดตั้งขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2512 ซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายใต้ความรับผิดชอบของหน่วยงาน โครงการวิจัยขั้นสูงสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา อาร์พาเน็ตในชั้นต้นเป็นเพียง เครือข่ายทดลองที่ตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนงานวิจัยทางด้านการทหารเท่านั้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2515 ได้มีการปรับปรุงหน่วยงานและเปลี่ยนชื่อใหม่เรียกว่า ดาร์พา (DAPRA: Defense Advanced Research Project Agency) ต่อมาในปี พ.ศ. 2518 ดาร์พาได้โอนหน้าที่การดูแลรับผิดชอบ โดยตรงให้แก่ หน่วยงานการสื่อสารของกองทัพ (DCA: Defense Communications Agency) เนื่องจากอาร์พาเน็ตได้แปลสภาพจากที่ปฏิบัติงานได้อย่างแท้จริงแล้ว ในปี พ.ศ. 2526 อาร์พาเน็ตได้แบ่งออกเป็น 2 เครือข่าย คือ เครือข่ายด้านการวิจัยใช้ชื่อว่า อาร์พาเน็ตเหมือนเดิมและเครือข่ายของกองทัพใช้ชื่อว่า มิลเน็ต (MILNET: MILitary NETwork) ซึ่งใช้การเชื่อมต่อโดยใช้โพรโตคอล TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) ขึ้นเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2528 มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติของอเมริกา (NSF) ได้ ออกทุนเพื่อจัดสร้างศูนย์ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ 6 แห่ง และได้ใช้ชื่อว่าเอ็นเอสเอฟเอ็นอีที (NSFNET) เมื่อถึงปี พ.ศ. 2533 อาร์พาเน็ตรองรับการเป็นแบคโบน (Backbone) ไม่ไหวจึงยุบ บทบาทและเปลี่ยนไปใช้เอ็นเอสเอฟเอ็นอีที (NSFNET) และได้มีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายมากขึ้น จนกลายเป็นเครือข่ายอินเตอร์เน็ต สำหรับประเทศไทยอินเตอร์เน็ตเริ่มเข้ามามีบทบาทในช่วงปี พ.ศ. 2530-2535 ซึ่งช่วงนั้น เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในระดับมหาวิทยาลัย (Campus Network) ในปี พ.ศ. 2535 การ เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตมีความสมบูรณ์มากขึ้น และได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลายมาจนถึง ปัจจุบัน 2.1.2 รูปแบบการให้บริการของอินเตอร์เน็ต สำหรับรูปแบบการให้บริการของอินเตอร์เน็ตมีอยู่หลายรูปแบบ แต่ที่เป็นที่ นิยมกันทั่วไปสามารถสรุปได้ ดังนี้ 2.1.2.1 จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) เป็นรูปแบบการ ให้บริการใน การรับส่งข้อมูลที่เป็นข้อความไปยังผู้อื่นโดยผ่านทางอินเตอร์เน็ต 2.1.2.2 เครือข่ายใยแมงมุม (World Wide Web) เป็นรูปแบบการ ให้บริการข้อมูลที่เป็นแบบมัลติมีเดีย เช่น ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ซึ่งมีการ เรียกใช้ข้อมูลผ่านทางเว็บบราวเซอร์ (Web Browser) โดยผู้ใช้งานจะต้องทำการระบุเอ็ดเดรส (Address) ที่เรียกว่ายูอาร์แอล (http://www.blogger.com/Uniform Resource Locator) ที่ต้องการ 2.1.2.3 การรับส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ (File Transfer Protocol) เป็นรูปแบบการให้บริการที่ผู้ใช้งานสามารถรับส่งข้อมูลจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่อง หนึ่ง 2.1.2.4 การค้นหาข้อมูลในเครือข่าย (Gopher) เป็นรูปแบบการ ให้บริการแบบไฮเปอร์ลิงค์ เพื่อช่วยให้ผู้ใช้ค้นหาข้อมูลหรือเอกสารที่ต้องการบนอินเตอร์เน็ต 2.1.2.5 การใช้งานคอมพิวเตอร์ระยะไกล (Telnet) เป็นรูปแบบการใช้ บริการ คอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกลกัน ในลักษณะการควบคุมระยะไกล 2.1.2.6 ยูสเน็ต (Usenet)เป็นรูปแบบการให้บริการที่คล้ายกับบอร์ดแจ้ง ข่าวสาร โดยมีเซิฟเวอร์ที่เรียกว่านิวส์เซิฟเวอร์ (News Server) เป็นตัวเก็บข้อมูลข่าวสาร 2.2 ระบบเครือข่ายใยแมงมุม สำหรับการบริการของระบบเครือข่ายใยแมงมุม ได้แบ่งส่วนการบริการเป็น 2 ส่วน คือส่วน ของเครื่องแม่ข่าย ซึ่งเป็นส่วนของผู้ให้บริการที่ใช้เก็บข้อมูลเพื่อการให้บริการแก่เครื่อง ลูกข่าย อีกส่วนหนึ่งก็คือ เครื่องลูกข่าย ซึ่งจะมีบราวเซอร์ (Browser) เป็นผู้ทำหน้าที่เป็นเว็บไคลเอนต์ (Web Client) เพื่อให้สามารถที่จะรับข้อมูลจากเครื่องผู้ให้บริการได้ และใช้ในการสืบค้นดู ข้อมูลที่ส่งมาจากเว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) ซึ่งสามารถแสดงได้ดังภาพที่ 2-2 ภาพที่ 2-2 แสดงรูปแบบการทำงานของบริการแบบเครือข่ายใยแมงมุม การจัดรูปแบบของเอกสารในเครือข่ายใยแมงมุม จะมีแท็ก (Tag) เพื่อใช้ในการการแสดงผล และนำเสนอเอกสารบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีการดัดแปลงมาจากภาษาเอสจีเอ็มแอล (SGML) ทำให้สามารถที่จะแสดงผลภาพและข้อมูลบนบราวเซอร์ โดยมีการจัดวางรูปแบบตาม ข้อกำหนดที่มีการกำหนดไว้แล้ว และในความสามารถที่กล่าวมาแล้วนี้ จะสามารถทำได้ก็โดย อาศัยข้อกำหนดของภาษาเอชทีเอ็มแอล (HTML) เป็นหลัก องค์ประกอบของเครือข่ายใยแมง มุม ประกอบด้วย 2.2.1 บราวเซอร์ เป็นแอพพลิเคชั่นที่นำผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตไปสู่แหล่งข้อมูลต่าง ๆ โดย บราวเซอร์จะทำหน้าที่แสดงเอกสารตามที่ผู้ใช้ต้องการ นอกจากนี้ยังเพิ่มความสามารถในการ บันทึกชื่อของแหล่งข้อมูลที่เคยค้นหามาก่อนหน้านี้ หรือแนะนำแหล่งข้อมูลที่น่าสนใจให้กับ ผู้ใช้งาน บราวเซอร์มีให้เลือกใช้มากมาย เช่น Internet Explorer, Netscape Navigator เป็นต้น ซึ่งบราวเซอร์แต่ละตัวก็มีความสามารถที่จะเข้าใจข้อมูลทั้งที่เป็นข้อความ (Text), Database Request HTML Document Web Client Web Server Server ภาพนิ่ง (Image), ภาพเคลื่อนไหว (Video) หรือเสียง (Sound) ได้ นอกจากนี้ยังมีโปรแกรม ย่อย ๆ ขนาดเล็กเข้ามาเสริมความสามารถอีกมากมาย (ActiveX Control, Java Applet) 2.2.2 เว็บเซิร์ฟเวอร์ เป็นแอพพลิเคชั่นที่คอยรับการร้องขอจากบราวเซอร์ ซึ่งการร้องขอ จากบราวเซอร์ อาจจะต้องการดูเอกสาร เรียกค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลหรือทำการคำนวณ ซึ่งเว็บ เซิร์ฟเวอร์จะดำเนินการตามที่ต้องการแล้วส่งผลลัพธ์ไปแสดงที่บราวเซอร์ 2.2.3 เอชทีเอ็มแอล (HTML) ย่อมาจาก HyperText Markup Language เป็น ภาษาที่ใช้ในการแสดงผลเอกสารชนิดพิเศษ ซึ่งมีความสามารถเชื่อมโยงเอกสารอื่น ๆ หรือ แหล่งข้อมูล ๆ ที่สัมพันธ์กันได้ โดยเอชทีเอ็มแอล ได้ถูกนำมาเป็นภาษาสำหรับเอกสารที่ใช้ใน เครือข่ายใยแมงมุม 2.2.4 เอชทีทีพี (HTTP) ย่อมาจาก HyperText Transfer Protocol เป็นโปรโตคอล (Protocal) ชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่เป็นตัวควบคุมการรับและการส่งข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ ระหว่าง เครื่องแม่ข่ายกับเครื่องลูกข่ายหรือบราวเซอร์ ข้อมูลที่ส่งมีหลายรูปแบบ เช่น เอกสารธรรมดา เอกสารไฮเปอร์เท็กซ์ ภาพ เสียง หรือแม้แต่ไฟล์ที่มีรูปแบบเฉพาะของโปรแกรมใดโปรแกรม หนึ่ง เช่น ไฟล์ของโปรแกรม Adobe Acrobat เป็นต้น แต่ทั้งนี้จะต้องถูกกำหนดอยู่ในชนิด ของMIME (Multipurpose Internet Mail Exchange) เอชทีทีพี จะทำงานครอบคลุมระบบ อินเตอร์เน็ตทั้งหมด ซึ่งการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เกิดขึ้นนั้น เป็นผลงานมาจาก การทำงานของโปรโตคอลทีซีพีไอพี ซึ่งเป็นโปแกรมที่สร้างขึ้นบนพื้นฐานของการติดต่อสื่อสาร ระหว่างคอมพิวเตอร์ 2.2.5 แม่ข่ายฐานข้อมูล (Database Server) เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ ให้บริการเรียกค้น และจัดการฐานข้อมูลในอินเตอร์เน็ต แม่ข่ายฐานข้อมูลจะถูกเรียกใช้งานจากเว็บ เซิร์ฟเวอร์อีกต่อหนึ่ง หลังจากที่เว็บเซิร์ฟเวอร์ได้รับการร้องขอจากบราวเซอร์ให้ค้นหาข้อมูลจาก ฐานข้อมูล 2.3 ภาษาที่ใช้ในการพัฒนาระบบ 2.3.1 ภาษาสอบถามเชิงโครงสร้าง (Structured Query Language) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า เอสคิวแอล (SQL) (ศิริลักษณ์, 2543) ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ในการจัดการข้อมูลของฐานข้อมูลเชิง สัมพันธ์ ที่สามารถใช้ในเรื่องของการนิยามข้อมูล การเรียกใช้ หรือการควบคุม คำสั่งเหล่านี้จะ ช่วยประหยัดเวลาในการพัฒนาระบบงาน หรือนำไปใช้ในส่วนของการสร้างฟอร์ม การทำ รายงานของระบบงานต่าง ๆ ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น และลักษณะของการใช้ภาษาสอบถามเชิง โครงสร้างประกอบด้วยประเภทของคำสั่ง SQL ดังนี้ 2.3.1.1 ภาษาสำหรับนิยามข้อมูล (Data Definition Language : DDL) ประกอบด้วยคำสั่งที่ใช้ในการกำหนดโครงสร้างข้อมูลว่ามีคอลัมน์อะไร แต่ละคอลัมน์เก็บข้อมูล ประเภทใด รวมถึงการเพิ่มคอลัมน์ การกำหนดดัชนี การกำหนดวิวของผู้ใช้ เป็นต้น 2.3.1.2 ภาษาสำหรับการจัดดำเนินการข้อมูล (Data Manipulation Language : DML) ประกอบด้วยคำสั่งที่ใช้ในการเรียกใช้ข้อมูล การเปลี่ยนแปลง การเพิ่มหรือ ลบข้อมูล 2.3.1.3 ภาษาที่ใช้ในการควบคุมข้อมูล (Data Control Language :DCL) ประกอบด้วยคำสั่งที่ใช้ในการควบคุม การเกิดภาวะพร้อมกันหรือป้องกันการเกิด เหตุการณ์ที่ผู้ใช้หลายคนเรียกใช้ข้อมูลพร้อมกัน โดยที่ข้อมูลนั้น ๆ อยู่ในระหว่างการปรับปรุง แก้ไข ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับที่ผู้ใช้อีกคนหนึ่งก็เรียกใช้ข้อมูลนี้ ทำให้ข้อมูลที่ผู้ใช้ที่สองได้ไปเป็น ค่าที่ไม่ถูกต้อง นอกจากนี้ ยังประกอบด้วยคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมความปลอดภัยของ ข้อมูลด้วยการให้สิทธิ์ผู้ใช้ที่แตกต่างกัน เป็นต้น 2.3.2 ภาษาเอชทีเอ็มแอล (ไพศาล, 2538) คำว่า HTML มาจากคำว่า Hyper Text Markup Language ซึ่งเป็นรูปแบบของภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมในเว็บเพจเพื่อแสดงผล บนเว็บบราวเซอร์ ลักษณะของเอกสารเอชทีเอ็มแอล จะเป็นเท็กซ์ไฟล์ธรรมดา ที่ต้องอาศัยการ แปลความจากเว็บบราวเซอร์ ในสมัยก่อน จุดประสงค์ของเอกสารเอชทีเอ็มแอล ก็เพื่อที่จะ แสดงผลที่เป็นข้อความเป็นส่วนใหญ่ แต่ในปัจจุบันภาษาเอชทีเอ็มแอลได้พัฒนามาจนถึงเวอร์ชั่น 5 แล้วในเวอร์ชันนี้มีความสามารถเพิ่มเติมมากมายที่รวมทั้งความสามารถในด้านมิลติมีเดีย ส่วน คำสั่งของภาษาเอชทีเอ็มแอล เรียกว่า แท็ก (Tag) ซึ่งแท็กนี้โดยทั่วไปจะอยู่ในรูปแบบ <..> …. ซึ่งเว็บบราวเซอร์จะแปลงแท็กนี้แล้วแสดงผลให้เห็น โดยทั่วไปการสร้างเว็บเพจด้วยภาษา เอชทีเอ็มแอล โดยใช้อีดิเตอร์ต่าง ๆ เช่น NotePad ของวินโดวส์ (Windows) ซึ่งถือเป็น เครื่องมือที่ดีและจะทำให้ผู้เขียนโปรแกรมเข้าใจโครงสร้างโดยรวมทั้งหมด แต่ผู้เขียนโปรแกรมที่ดี จะต้องเข้าใจรูปแบบคำสั่งหรือแท็กของเอชทีเอ็มแอลทั้งหมด ซึ่งเป็นการยากและเสียเวลามาก ใน ปัจจุบันจึงได้มีเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนการเขียนโปรแกรมบนเว็บเพจในลักษณะ WYSIWYSG (What You See Is What You Get) เช่น Microsoft Word หรือ Microsoft Front Page เป็น ต้น โปรแกรมสำเร็จรูปในลักษณะนี้จะทำให้ผู้เขียนโปรแกรมสามารถประหยัดเวลาในการสร้าง เว็บเพจ (Web Page) เพราะสามารถใช้งานเหมือนกับที่สร้างเอกสารทั่วไป คือคีย์ข้อความแล้ว เปลี่ยนรูปแบบอื่น ๆ ตามต้องการ หลังจากนั้นเมื่อมีการจัดเก็บเอกสารแค่เพียงเลือกรูปแบบ เอกสารที่ต้องการจัดเก็บให้เป็นแบบเอชทีเอ็มแอล เพียงแค่นี้ก็สามารถนำไปแสดงผลบนเว็บ บราวเซอร์ได้ทันที โดยโปรแกรมสำเร็จรูปเหล่านี้จะช่วยสร้างโค้ดเอชทีเอ็มแอล ให้โดยอัตโนมัติ เอกสารเอชทีเอ็มแอล มีองค์ประกอบ 2 ส่วนคือส่วนที่เป็นเนื้อหาและส่วนที่เป็นคำสั่งหรือ แท็ก รูปแบบพื้นฐานโครงสร้างของเอกสารเอชทีเอ็มแอล แสดงดังภาพที่ 2-3 และภาพที่ 2-4 รูปแบบ ความหมาย เป็นคำสั่งเริ่มต้นและสิ้นสุดของเอกสาร HTML เหมือนคำสั่ง Begin และ End ใน Pascal ใช้กำหนดข้อความ ในส่วนที่เป็น ชื่อ เรื่อง ภาย ในคำสั่งนี้จะมีคำสั่งย่อยอีกหนึ่งคำสั่งคือ เป็นส่วนแสดงชื่อของเอกสารโดยจะ แสดงที่ ไตเติลบาร์ของวินโดว์ที่เปิดเอกสารนี้อยู่ เท่านั้น ส่วนเนื้อหาของโปรแกรมจะเริ่มต้นด้วย คำสั่ง และสิ้นสุดด้วย ใน ระหว่าง 2 คำสั่งนี้ จะประกอบด้วยแท็ก มากมาย ภาพที่ 2-3 แสดงคำสั่งของภาษา HTML ชื่อแสดงบนไตเติลบาร์ของเว็บบราวเซอร์ …………………………. คำสั่งหรือข้อความที่ต้องการแสดงบนเว็บบราวเซอร์ …………………………. ภาพที่ 2-4 แสดงตัวอย่างโค้ดของภาษา HTML 2.3.3 ภาษาจาวาสคริปต์ (JavaScript Language) เป็นลักษณะของการเขียนโปรแกรม บนระบบอินเตอร์เน็ตโดยการทำให้เว็บเพจมีชีวิตชีวามีลูกเล่นแพรวพราวมากขึ้น เช่น ทำให้เกิด ภาพเคลื่อนไหว พร้อมกับระบบมัลติมีเดียช่วยในการติดต่อและโต้ตอบระหว่างผู้เข้าชมเว็บเพจกับ เจ้าของเว็บเพจได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังผสมผสานร่วมทำงานกับเอกสารเอชทีเอ็มแอล ได้เป็นอย่าง ดี จาวาสคริปต์จะมองสิ่งต่าง ๆ บนเว็บเพจเป็นวัตถุหรือเรียกว่า ออบเจ็กต์ (Object) มาเขียนเป็น รหัสคำสั่ง จึงเป็นภาษาที่เหมาะสมกับการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์เครือข่าย (Network) อย่าง อินเตอร์เน็ตได้เป็นอย่างดียิ่ง ภาษาจาวาสคริปต์ (JavaScript) เป็นภาษายุคใหม่สำหรับการ ออกแบบเขียนโปรแกรมบนระบบอินเตอร์เน็ต ช่วยเพิ่มลูกเล่นแพรวพราวให้กับเว็บเพจ สร้าง จินตนาการและจุดประกายความคิดให้กับผู้สร้างเว็บเพจ นอกจากนี้ยังมีความสามารถในงานด้าน การคำนวณ, การเปรียบเทียบ, การแสดงผลทั้งทางข้อความ, รูปภาพ, เสียงในระบบมัลติมีเดีย, การ สร้างแบบฟอร์มให้สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ทันที, การสร้างปุ่มคำสั่ง, การตอบสนองต่อ เหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เช่น วันที่ เวลา จำนวนผู้เข้าชมเว็บเพจ นอกจากนี้แล้วยัง สามารถสนับสนุนคุณสมบัติและพื้นฐานของภาษาจาวาได้เป็นอย่างดี ภาษาจาวาสคริปต์ถูกพัฒนา โดย เน็ตสเคปคอมมิวนิเคชันส์ (Netscape Communications Corporation) โดยใช้ชื่อว่า “Live Script” ออกมาพร้อมกับ เน็ตสเคปเนวิกเกเตอร์ 2.0 (Netscape Navigator 2.0) เพื่อใช้สร้าง เว็บเพจโดยติดต่อกับเครื่องแม่ข่ายแบบ Live Wire ต่อมาเน็ตสเคป จึงได้ร่วมมือกับบริษัทซันไมโค รซิสเต็มส์ปรับปรุงระบบของบราวเซอร์เพื่อให้สามารถติดต่อใช้งานกับภาษาจาวาได้และได้ ปรับปรุงรูปแบบการใช้งาน LiveScript ใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2538 แล้วตั้งชื่อใหม่ว่า JavaScript โดย มีลักษณะการทำงานดังนี้ 2.3.3.1 เนวิกเกเตอร์ จาวาสคริปต์ (Navigator JavaScript) เป็นภาษา จาวาสคริปต์ที่ถูกแปลทางฝั่งเครื่องลูกข่าย 2.3.3.2 ไร้วาย จาวาสคริปต์ (LiveWire Javascript) เป็นภาษาจาวา สคริปต์ที่ถูกแปลทางฝั่งเครื่องแม่ข่าย 2.3.3.3 ด้วยลักษณะการทำงานของภาษาจาวาสคริปต์ ซึ่งฝังตัวอยู่ใน รูปแบบของเอกสารเอชทีเอ็มแอล จึงสามารถสั่งทำงานได้เลยในฝั่งเครื่องลูกข่ายโดยไม่ต้อง แปลภาษา กล่าวคือภาษาจาวาสคริปต์จะทำงานไปพร้อมกันกับเอกสารเอชทีเอ็มแอล ในแบบ อินเตอร์- พรีเตอร์(Interpreter) คือแปลไปทีละบรรทัด จึงเป็นภาษาที่ง่ายต่อการเข้าใจและง่าย ต่อการใช้งานสำหรับผู้ที่มีความรู้ภาษาเอชทีเอ็มแอล มาบ้างแล้ว 2.3.4 ภาษาพีเอชพี (PHP:Professional Homepage) เป็นภาษาสคริปต์ (Script language) อีกประเภทหนึ่งที่กำลังได้รับความนิยมจากผู้พัฒนาเว็บไซต์ (Web Site) ต่าง ๆ ทั่วโลก เนื่องจากว่า ภาษาพีเอชพี ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อการพัฒนาเว็บไซต์โดยเฉพาะ และพีเอชพี ยังเป็นภาษาที่เรียกว่า Server-Side Include(SSI) หรือ HTML-embedded scripting language ซึ่งเป็นเครื่องมือที่สำคัญทำให้สามารถใส่สคริปต์ของภาษาพีเอชพี ไว้ในเอกสารเอชทีเอ็มแอลได้ เลย หลังจากที่เอกสารแบบเอชทีเอ็มแอล นั้นถูกเรียกขึ้นมาเว็บเซิร์ฟเวอร์ ในปัจจุบันนี้เว็บไซต์ ต่าง ๆ ได้มีการพัฒนาในด้านต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว อาทิเช่น เรื่องของ ความสวยงามและแปลกใหม่, การบริการข่าวสารข้อมูลที่ทันสมัย เป็นสื่อกลางในการติดต่อและ สิ่งหนึ่งที่กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ซึ่งถือได้ว่าเป็นการปฏิวัติรูปแบบการขายของก็คือ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเจ้าของสินค้าต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีร้านค้าจริงและไม่จำเป็นต้องจ้าง คนขายของอีกต่อไป ร้านค้าและตัวสินค้านั้นจะไปปรากฏอยู่บนเว็บไซต์แทน และการซื้อขายก็ เกิดขึ้นบนโลกของอินเตอร์เน็ต และภาษาพีเอชพีก็เป็นภาษาสคริปต์ที่มีความสามารถสูงสำหรับ การพัฒนาเว็บไซต์ และความสามารถที่โดดเด่นอีกประการหนึ่งของภาษาพีเอชพี นั้นคือ database-enabled web page ทำให้เอกสารของเอชทีเอ็มแอล สามารถที่จะเชื่อมต่อกับ ฐานข้อมูล (Databases) ได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว จึงทำให้ความต้องการในเรื่องการ จัดรายการสินค้าและรับรายการสั่งของตลอดจนการจัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ ที่สำคัญผ่านทาง อินเตอร์เน็ตเป็นไปได้อย่างง่ายดาย สำหรับความเป็นมาของภาษาพีเอชพีนั้น ผู้สร้างก็คือคุณราสมัส เลอร์ดอร์ฟ (Rasmus Lerdorf) เป็นผู้สร้างภาษาพีเอชพี ภาษานี้เขียนด้วยภาษาซี และมีขีดความสามารถในการ ต่อเชื่อมกับฐานข้อมูล ซึ่งปรากฏว่ามีคนขอใช้โปรแกรมนี้มากมาย ราสมัสจึงเขียนคู่มือการใช้ และเรียกภาษานี้ PHP V.1.0 และหลังจากมีผู้ใช้มากขึ้น ก็มีกลุ่มผู้เขียนโปรแกรมได้แก่ คุณซีฟ สุราสกี้และแอนดี้ กัดมัน เขียนเพิ่มเติมทำให้ภาษาพีเอชพี เก่งขึ้น ต่อมาทางกลุ่มราสมัส ก็เขียน พีเอชพี ขึ้นใหม่ทั้งหมดและเผยแพร่เป็นรุ่น3.0 ใจปัจจุบันเป็นรุ่น4.2 โดยการเขียนคำสั่งของ ภาษาพีเอชพีนั้นสามารถที่จะแทรกคำสั่งลงบนคำสั่งเอชทีเอ็มแอลได้ โดยใช้เครื่องหมาย ตัวอย่างแสดงดังภาพที่ 2-5 ตัวอย่างการแทรกคำสั่ง PHP สวัสดีค่ะ ภาพที่ 2-5 แสดงตัวอย่างการแทรกคำสั่งภาษา PHP ในแท็กของ HTML จากภาพที่ 2-5 เมื่อพิมพ์คำสั่งเรียบร้อยแล้วจะต้องมีการจัดเก็บชื่อไฟล์ให้มีนามสกุลเป็น .php3 หรือ .php เช่น test.php และแสดงผลการรันโปรแกรมดังภาพที่ 2-5 ถ้าต้องการที่จะ เขียนหมายเหตุ ในภาษาพีเอชพีนี้จะใช้เครื่องหมาย // จะคล้ายกับภาษาซี ซึ่งเป็นการเขียน หมายเหตุเพียงครั้งละ 1 บรรทัด แต่ถ้าต้องการที่จะเขียนหมายเหตุหลาย ๆ บรรทัดให้ใช้ เครื่องหมาย /*…*/ ส่วนคำสั่งที่แสดงข้อความออกมาทางจอภาพจะใช้คำสั่ง echo หรือคำสั่ง print ก็ได้ ซึ่งมีอีกหลายคำสั่งที่สามารถจะศึกษาได้ ภาพที่ 2-6 แสดงผลการรันโปรแกรมจากคำสั่งในภาพที่ 2-4 2.4 ภาษาพีเอชพี กับการเชื่อมต่อฐานข้อมูล MySQL (สงกรานต์, 2544) สำหรับภาษาพีเอชพีนั้นจะมีฟังก์ชั่นที่สามารถจะติดต่อกับแม่ข่ายฐานข้อมูลได้ ซึ่งก็คือ การใช้คำสั่ง mysql_connect() ซึ่งจะทำการติดต่อกับฐานข้อมูลที่ได้สร้างไว้ ตามรูปแบบต่อไปนี้ รูปแบบ mysql_connect(hostname, username, password); จากรูปแบบการใช้งานคำสั่งดังกล่าว เราจะต้องทราบถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ ชื่อแม่ข่าย ฐานข้อมูล (Host Name), รหัสผู้ใช้ (User name) และ รหัสผ่าน (Password) ซึ่งแสดงตัวอย่าง ดังภาพที่ 2-7 ภาพที่ 2-7 แสดงการติดต่อฐานข้อมูล MySQL ด้วยภาษา PHP 2.5 กระบวนการทดสอบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ กระบวนการทดสอบและยืนยันความถูกต้องของระบบ ไม่ได้เป็นเพียงขั้นตอนหนึ่งในการ ผลิตระบบงานแล้วเสร็จสิ้นในทันทีที่ระบบงานถูกส่งต่อไปยังผู้ใช้ระบบงาน หากแต่เป็น กระบวนการที่ต้องเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในตลอดช่วงระยะเวลาพัฒนาระบบ จนถึงการติดตั้งและ ใช้ระบบได้จริงในสภาพการทำงานที่เป็นจริง เวอร์ลิฟิเคชั่น (Verification) เป็นการตรวจสอบ และประเมินว่าโปรแกรม หรือระบบงานที่เราได้สร้างขึ้นมานั้นตรงตามข้อกำหนดที่ตกลงกัน หรือไม่ ในขณะที่ วาลิเดชั่น (Validation) เป็นการตรวจสอบว่า โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมานั้นตรง กับความคาดหวังของผู้จัดการหรือผู้ใช้ระบบงานนั้นหรือไม่ ดังนั้นผู้ออกแบบจึงต้องทำการ ทดสอบระบบ 2 ประการคือ 2.5.1 การทดสอบเชิงสถิติ (Statistical Testing) เป็นการทดสอบเพื่อประเมินผลความถี่ ของการใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของระบบ และยังเป็นการประเมินความเชื่อถือได้ (Reliability) ของ ระบบอีกด้วย 2.5.2 การทดสอบข้อบกพร่อง (Defect Testing) เป็นการทดสอบเพื่อตรวจสอบว่าระบบ มีข้อบกพร่องผิดพลาดที่จุดใดบ้าง กระบวนการทดสอบระบบ โดยปกติแล้วระบบงานขนาดใหญ่มักจะประกอบขึ้นมาจาก ระบบงานขนาดย่อย ๆ (Sub-system) แต่ละระบบงานย่อยจะประกอบขึ้นมาจากหน่วยย่อย ๆ ของระบบ(Module) ซึ่งประกอบด้วยวิธีดำเนินการต่าง ๆ กัน นิยมแบ่งกระบวนการทสอบระบบ เป็น 5 ขั้นตอนดังนี้ 1. ทดสอบหน่วยย่อย เป็นการทดสอบส่วนย่อย ๆ แต่ละส่วนของโปรแกรมว่า สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องหรือไม่ โดยปกติแล้วเรามักถือว่าแต่ละส่วนเป็นอิสระสมบูรณ์ใน ตัวอง ในขั้นนี้เราจึงไม่จำเป็นต้องทดสอบโดยคำนึงถึงส่วนสัมพันธ์กับหน่วยอื่น ๆ 2. ทดสอบชุดของหน่วยย่อย โดยปกติแล้วโมดูล(Module) จะหมายถึง ชุดของหน่วย ย่อยต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวเนื่องกันอยู่ ดังนั้นในขั้นนี้จึงเป็นการทดสอบการทำงานร่วมกันของ หน่วยย่อยในระดับต่าง ๆ 3. ทดสอบการทำงานร่วมกัน การทดสอบในขั้นนี้เป็นการทดสอบการทงานร่วมกันของ โมดูลย่อย ๆ แต่ละระบบงานย่อยนี้อาจจะถูกพัฒนามาอย่างเป็นอิสระต่อกันและอาจนำมาติดตั้ง ใช้งานโดยอิสระไม่เกี่ยวข้อกันก็ได้ ดังนั้นปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบงานใหญ่คือการทำงานไม่สอบ ประสานกันระหว่างระบบงานย่อย ๆ ดังกล่าว ในขั้นตอนนี้ยังเป็นการตรวจสอบด้วยว่า ระบบ ทั้งหมดทำงานได้ตรงตามข้อกำหนดหรือตามต้องการของผู้ใช้อย่างแท้จริงหรือไม่ 4. ทดสอบระบบใหญ่ ระบบงานย่อย ๆ จะรวมกันทำให้เกิดเป็นระบบใหญ่ทั้งหมด การทดสอบการทำงานของระบบจึงเป็นการค้นหาข้อผิดพลาดที่คาดไม่ถึงมาก่อน โดยที่เป็น ข้อผิดพลาดซึ่งเกิดจากการขัดแย้งกันระหว่างระบบย่อยต่าง ๆ นอกจากนี้ยังเป็นการตรวจสอบ ด้วยว่าระบบทั้งหมดทำงานได้ตรงตามข้อกำหนดหรือความต้องการของผู้ใช้อย่างแท้จริงหรือไม่ 5. ทดสอบก่อนนำไปใช้งานจริง ในขั้นตอนสุดท้ายนี้เป็นการทดสอบก่อนที่ระบบจะ ถูกยอมรับได้ว่าสามารถใช้งานได้จริง การทดสอบอาจกระทำได้โดยการใช้ข้อมูลจริงป้อนเข้าสู่ ระบบแทนที่จะใช้ข้อมูลตัวอย่างการทดลอง การทดสอบเพื่อการยอมรับ 2.6 เว็บเซิฟเวอร์ เว็บเซิฟเวอร์ หมายถึง แอปพิเคชันที่ทำหน้าที่รับและประมวลผลข้อมูลที่ได้รับการร้อง ขอจากผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตโดยผ่านทางเว็บบราวเซอร์ (Web browser) เมื่อเว็บบราวเซอร์ ได้รับคำร้องขอก็จะทำการประมวลข้อมูล โดยการประมวลผลอาจจะอยู่ในรูปของการค้นหา การ คำนวณและการวิเคราะห์ข้อมูลก็ได้ ผลลัพธ์ที่ได้จะถูกส่งไปยังผู้ใช้บริการโดยผ่านทางเว็บ บราวเซอร์ ในยุคก่อนเว็บเซิฟเวอร์จะถูกติดตั้งอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ UNIX ที่มี ประสิทธิภาพสูงเพื่อรองรับการใช้งานจากผู้ใช้จำนวนมาก และที่สำคัญมีราคาค่อนข้างแพง ต่อมาเมื่ออินเตอร์เน็ตเข้ามามีบทบาท และได้รับนิยมกันมากขึ้นทำให้มีการพัฒนาซอฟแวร์ (Software) เพื่อใช้เป็นเว็บเซิฟเวอร์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) กัน มากขึ้น และในปัจจุบันก็มีระบบปฏิบัติการหลายระบบที่ทำหน้าที่เป็นเว็บเซิฟเวอร์ได้ เช่น Windows 95/98 และ Windows NT Server/Workstation เป็นต้น 2.7 โพรโตคอลเอชทีทีพี (สัลยุทธ์, 2542) HTTP ย่อมาจากคำว่า HyperText Transfer Protocol เป็นโพรโตคอลที่พัฒนาขึ้นโดย นายเบอร์เนอร์ ลี (Berners-Lee) แห่ง CERN ในช่วงปี ค.ศ. 1990-1991 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ใช้สนับสนุนการให้บริการที่เรียกว่าเครือข่ายใยแมงมุม ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ลักษณะการ ทำงานของโพรโตคอลนี้จะมีการกำหนดวิธีการรับ-ส่งข้อมูล ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็น ไคลเอนต์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นเซิฟเวอร์ และกำหนดกฎระเบียบในการติดต่อสื่อสารกัน ด้วยวิธีการติดต่อของโพรโตคอลเอชทีทีพี ลักษณะการทำงานของโพรโตคอล HTTP เป็นการ ทำงานแบบไคลเอนต์/เซิฟเวอร์ (Client/Server) ดังนั้น การติดต่อสื่อสารที่ผ่านโพรโตคอลนี้ จำเป็นต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นลูกข่าย และเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นแม่ข่ายการ ติดต่อสื่อสารถึงจะสมบูรณ์ได้ ซึ่งมีขั้นตอนการติดต่อสื่อสารกันสามารถแสดงได้ ดังภาพที่ 2-8 ภาพที่ 2-8 แสดงการติดต่อระหว่างไคลเอนต์กับเซิฟเวอร์ โครงสร้างของโพรโตคอลเอชทีทีพี อยู่บนพื้นฐานของการทำงานแบบไคลเอนต์/เซิฟเวอร์ ที่ต้องมีการร้องขอข้อมูลและการตอบสนองต่อกัน การเชื่อมต่อของโพรโตคอลจะอาศัยการ เชื่อมต่อผ่านทางโพรโตคอลทีซีพี/ไอพีอีกทีหนึ่งโดยใช้พอร์ตหมายเลข 80 ซึ่งเป็นพอร์ต มาตรฐานในการติดต่อสื่อสาร การร้องขอข้อมูลจากลูกข่ายและการตอบสนองจากแม่ข่ายในแต่ ละครั้งจะมีส่วนที่เรียกว่า เฮ็ดเดอร์เอชทีทีพี (HTTP Header) แทรกอยู่ในส่วนหัวของข้อมูลด้วย เฮ็ดเดอร์เอชทีทีพี จะเป็นตัวที่บอกว่าข้อมูลที่ส่งหลังจากนี้ ประกอบด้วยอะไรบ้าง เป็นรูปแบบ การร้องขอข้อมูลหรือการตอบสนอง ซึ่งสามารถแสดงลักษณะการรับ-ส่งข้อมูลได้ ดังภาพที่ 2-9 ภาพที่ 2-9 แสดงลักษณะการรับ-ส่งข้อมูลระหว่างลูกข่ายกับแม่ข่าย 2.7.1 ข้อความร้องขอข้อมูลจากแม่ข่าย เมื่อฝ่ายลูกข่ายเชื่อมต่อเข้ากับแม่ข่ายเสร็จเรียบร้อย ทางฝ่ายลูกข่ายจะต้องเป็นฝ่ายเริ่มต้นการสื่อสารก่อน โดยการส่งข้อมูลไปยังแม่ข่ายเพื่อบอกการ ร้องขอข้อมูล การร้องขอข้อมูลจากแม่ข่ายสามารถทำได้หลายรูปแบบ แต่ที่นิยมกันทั่วไปสามารถ สรุปได้ ดังนี้ 2.7.1.1 การร้องขอแบบเมธอด GET จะใช้เมื่อเว็บบราวเซอร์ต้องการ ร้องขอเปิดเอกสารเอชทีเอ็มแอลจากแม่ข่ายจะเป็นการร้องขอแบบ GET เมื่อเว็บบราวเซอร์ สร้างซ็อกเก็ตเชื่อมต่อกับแม่ข่ายได้แล้ว ก็จะทำการสร้างข้อความร้องขอข้อมูลขึ้นมาเพื่อส่งไป ให้แม่ข่าย ซึ่งจะเขียนข้อความลงในบรรทัดแรกสุดของเฮ็ดเดอร์เอชทีทีพี โดยที่ GET จะเป็น ส่วนที่บอกประเภทการร้องขอข้อมูลจากแม่ข่ายว่าเป็นการร้องขอข้อมูลโดยใช้แบบเมธอด GET 2.7.1.2 การร้องขอแบบเมธอด POST สำหรับการร้องขอข้อมูลแบบ POST จะใช้ในกรณีที่ต้องการส่งข้อมูลจากลูกข่ายไปยังแม่ข่าย โดยที่ไม่ได้เป็นการขอไฟล์จาก แม่ข่าย แต่จะเป็นการส่งข้อมูลไปให้กับแม่ข่ายรับไปทำงาน เมื่อแม่ข่ายได้รับข้อความร้องขอ จากลูกข่ายแล้วก็จะทำการเขียนข้อความร้องขอลงในบรรทัดแรกของเฮ็ดเดอร์เอชทีทีพี โดยที่ POST จะเป็นส่วนที่บอกประเภทการร้องขอจากแม่ข่ายว่าเป็นการร้องขอข้อมูลแบบเมธอด POST 2.7.1.3 ข้อความตอบสนองจากแม่ข่าย เมื่อมีการติดสื่อสารระหว่าง ลูกข่ายกับแม่ข่ายนั้นจะต้องมีการตอบสนองกันเกิดขึ้น ถึงแม้ว่าแม่ข่ายจะไม่ได้รับข้อมูลที่ลูก ข่ายร้องขอมาก็ตาม แม่ข่ายจะต้องตอบสนองกลับไปให้ลูกข่ายอยู่เสมอ โดยการตอบสนองจาก แม่ข่ายจะมีบรรทัดสถานะแสดงข้อความตอบสนองและรุ่นของเอชทีทีพี ให้กับฝั่งลูกข่ายรู้จักว่า แม่ข่ายแจ้งข้อความตอบสนองอย่างไร และใช้ เอชทีทีพีรุ่นไหน 2.8 การสร้างและรักษาความปลอดภัย เว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นธุรกิจประเภทใหม่ที่เกิดขึ้นบนโลกอินเตอร์เน็ต โดย วัตถุประสงค์ของการสร้างเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของแต่ละเว็บไซต์นั้น อาจจะแตกต่าง กันออกไป เช่น สร้างเพื่อนำเสนอข้อมูลของธุรกิจตลอดจนเอกสารออนไลน์ เพื่อทำธุรกรรมบน อินเตอร์เน็ต เพื่อรับส่งสินค้า และบริการแบบออนไลน์ หรือเพื่อช่วยลดค่าใช้จ่าย ในการลงทุนธุรกิจบนเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์นั้น ควรมีการป้องกันข้อผิดพลาดที่ อาจจะเกิดขึ้น รวมถึงผลกระทบและความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากบุคคลและเหตุการณ์ต่างๆ เช่น ผู้ บุกรุกหรือ คู่แข่ง และการขนส่ง รวมทั้งการรักษาความปลอดภัยให้กับธุรกิจพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากการรักษาความปลอดภัยในการทำธุรกิจเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ถือเป็นสิ่งสำคัญมาก ที่จะช่วยทำให้ผู้ใช้เชื่อถือได้ว่า ข้อมูลผู้ใช้ไม่รั่วไหลหรือถูกลักลอบนำไปใช้ โดยผู้ไม่ประสงค์ดี โดยวิธีในการรักษาความปลอดภัยนั้นจะเป็นการนำเทคโนโลยีที่มีความ ทันสมัยมาช่วยในการจัดการป้องกันข้อมูลที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็น การเข้ารหัส (Encryption) การ ตรวจสอบความถูกต้อง(Authentication) ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Signatures) ใบรับรอง ดิจิตอล (Digital Certificates) เป็นต้น 2.8.1 กฏการตรวจสอบความถูกต้อง การตรวจสอบความถูกต้อง (Authentication) คือ การพยายามพิสูจน์ว่าบุคคลที่ทำการติดต่ออยู่นั้นเป็นใคร ถูกต้องหรือไม่ ซึ่งมีหลายวิธีในการ พิสูจน์ความถูกต้อง แต่หากมีวิธีการตรวจสอบมากขึ้น ความยุ่งยากในการใช้งานจะมากขึ้น เช่นกัน เทคนิคการตรวจสอบความถูกต้องประกอบด้วย การใช้รหัสผ่าน (Password) ลายเซ็น ดิจิตอล(Digital Signatures) การตรวจสอบทางชีวะภาพ เช่น การตรวจสอบลายนิ้วมือและการ ตรวจสอบด้วยเครื่องมือ เช่น Smart Card แต่ที่นิยมใช้กันบนเว็บคือ รหัสผ่านและลายเซ็น ดิจิตอล รหัสผ่าน เป็นวิธีที่ธรรมดาที่สุดง่ายต่อการใช้งานและไม่ต้องการอุปกรณ์พิเศษ โดยจะ สร้างการตรวจสอบได้ในระดับหนึ่ง แต่ไม่เหมาะกับระบบที่ต้องการรักษาความปลอดภัยระดับสูง หลักการของรหัสผ่าน คือ ผู้ใช้และระบบเท่านั้นที่รู้รหัสผ่าน แต่วิธีการใช้รหัสผ่านมีข้อด้อยคือ ถ้าหากมีใครก็ตามที่ไม่ใช่เจ้าของรหัสผ่านรู้รหัสผ่านแล้วนำรหัสนั้นไปใช้งาน ระบบจะคิดว่า ขณะนั้นเจ้าของรหัสเข้ามาใช้งานอยู่ รหัสผ่านมีข้อด้อยในตัวเอง รหัสผ่านจำนวนมากง่ายต่อการเดา ประมาณร้อยละ 50 จะใช้ คำที่มีอยู่ในพจนานุกรมหรือ รายชื่อผู้ใช้ของรหัสผ่านเอง ดังนั้น จึงควรมีกฏในการตั้งรหัสผ่าน และให้ผู้ใช้กรอกรหัสผ่านใหม่เมื่อระบบตรวจสอบว่าเป็นรหัสผ่านที่ง่ายต่อการเดา ถึงแม้จะมี การแนะนำให้ใช้ตัวเลขหรือเครื่องหมาวรรคตอน แต่ผลที่ตามมาคือ ผู้ใช้ระบบลืมรหัสผ่าน ถึงแม้ว่ารหัสผ่านจะถูกนำส่งผ่านเครือข่ายแล้ว แต่ก็อาจจะถูกลักลอบขโมยได้ ดังนั้น จึงควรมี การเข้ารหัสรหัสผ่านเหล่านั้นด้วยเสมอ 2.9 สถิติสำหรับการวิจัย (ชูศรี, 2541) สำหรับสถิติที่ใช้ก็คือ การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง (Measures of central tendency) ซึ่งมีวิธีการหาได้หลายวิธีด้วยดังนี้ ตัวกลางเลขคณิต (Arithmetic mean), มัธยฐาน (Median), ฐานนิยม (Mode), ตัวกลางเรขาคณิต (Geometric mean), ตัวกลางฮาร์โมนิค (Harmonic mean) แต่ละวิธีนั้นก็จะมีทั้งข้อดีและข้อเสีย และความถูกต้องเหมาะสมในการนำไปใช้ไม่ เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะของข้อมูลและวัตถุประสงค์ของผู้ใช้ข้อมูลชนิดนั้น ๆ ซึ่งในการทำสารนิพนธ์ในครั้งนี้ได้ใช้การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง ด้วยวิธีการหาตัวกลางเลขคณิต (Arithmetic mean) หรือค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่าเฉลี่ย คือ การนำผลรวมของข้อมูลทั้งหมดหารด้วยจำนวนข้อมูลทั้งหมด เขียนเป็นสูตร ได้ดังนี้ สูตรหาค่าเฉลี่ย N X = . X เมื่อกำหนดให้ X แทน ค่าเฉลี่ย . x แทน ผลรวมของข้อมูลทั้งหมด N แทน จำนวนข้อมูลทั้งหมด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คือ ค่าเฉลี่ยของความแตกต่างระหว่างข้อมูลแต่ละตัวจาก ค่าเฉลี่ยเลขคณิต เป็นค่าที่แสดงถึงการกระจายของข้อมูลแต่ละตัวที่เบี่ยงเบนไปจากค่าเฉลี่ย ซึ่ง ทำให้ทราบว่า โดยเฉลี่ยแล้วข้อมูลแต่ละตัวเบี่ยงเบนไปจากค่าเฉลี่ยเลขคณิตเท่าใด คำนวณได้ จากสูตร เมื่อกำหนดให้ SD แทน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน X แทน ค่าเฉลี่ยเลขคณิต X แทน ค่าของข้อมูล N แทน จำนวนข้อมูลทั้งหมด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จะบอกให้ทราบถึงความแตกต่างระหว่างข้อมูลในกลุ่มว่ามีข้อมูล มากน้อยเพียงใด ถ้าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่ามาก แสดงว่าข้อมูลนั้นมีค่าที่แตกต่างกันมาก ไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ มีทั้งค่าต่ำและค่าสูง ถ้าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าน้อย แสดงว่าข้อมูลมีค่าใกล้เคียงกันเป็นส่วนมาก และถ้าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเป็นศูนย์ แสดงว่าข้อมูลทุกตัวมีค่าเท่ากัน บทที่ 3 ขั้นตอนและการดำเนินงาน ในการพัฒนาและออกแบบระบบสารสนเทศการรับสมัครนักศึกษาผ่านระบบเครือข่าย อินเตอร์เน็ตผู้วิจัยได้แบ่งขั้นตอนในการดำเนินงานออกเป็น 7 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้ 1. การศึกษาและรวบรวมข้อมูลของระบบ 2. การวิเคราะห์และออกแบบระบบ 3. พัฒนาระบบ 4. การทดสอบและปรับปรุงระบบ 5. การประเมินประสิทธิภาพระบบ 6. สรุปผลการดำเนินการและข้อเสนอแนะ 7. การจัดทำเอกสารประกอบการวิจัย 3.1 การศึกษาและรวบรวมข้อมูลของระบบ 3.1.1 ศึกษาปัญหาและความต้องการระบบ เป็นการศึกษาปัญหาการดำเนินงานระบบ การรับสมัครนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ที่ใช้เจ้าหน้าที่มานั่งรับสมัครตามวัน และเวลาที่มหาวิทยาลัยประกาศ และสอบถามความต้องการของระบบที่จะนำมาใช้สนับสนุน การทำงาน เพื่อนำไปเป็นข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์และออกแบบระบบในขั้นตอนต่อไป 3.1.2 ศึกษาขั้นตอนการทำงาน เป็นการศึกษาขั้นตอนการดำเนินงานระบบการรับสมัคร นักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบัน อาทิ การจัดเก็บข้อมูล คณะกรรมการดำเนินงาน การจัดเก็บข้อมูล ข้อมูลผู้สมัครขั้นพื้นฐาน รูปแบบของการสมัคร รูปแบบของการสอบ การประกาศผลการสอบ การนำข้อมูลไปประมวลผลในขั้นตอน ต่อๆไป การประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการสมัครเพื่อนำไปใช้ในวิเคราะห์และออกแบบระบบขั้นตอนต่อไป 3.1.3 ศึกษาเครื่องมือในการพัฒนาระบบ เป็นการศึกษาวิธีการใช้เครื่องมือต่างๆ ที่จะ นำไปใช้ในการพัฒนาระบบ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ โพรโตคอลที่ใช้รับส่งข้อมูลบนเครือข่าย อินเตอร์เน็ต โปรแกรมภาษา และโปรแกรมจัดการฐานข้อมูล เพื่อทำการเปรียบเทียบเครื่องมือที่ เหมาะสมสำหรับใช้ในการพัฒนาระบบต่อไป 3.1.4 ศึกษาข้อจำกัดและความเป็นได้ของระบบ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับ กฎระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบกพร่องและข้อจำกัดต่างๆ ของเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา เช่น สถาปัตยกรรม ของระบบ โปรแกรมภาษา โปรแกรมจัดการฐานข้อมูลและโพรโตคอลที่ใช้รับส่งข้อมูลบน เครือข่ายอินเตอร์เน็ต 3.2 การวิเคราะห์และออกแบบระบบ 3.2.1 การวิเคราะห์ระบบงานเดิม เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่แล้วจากระบบงานเดิม โดยจะวิเคราะห์เกี่ยวกับ ขั้นตอนการดำเนินงานระบบการรับสมัครนักศึกษาของมหาวิทยาลัย ราชภัฏจันทรเกษม ที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบัน จากการวิเคราะห์ระบบงานเดิม ของระบบการรับสมัครนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏ จันทรเกษม ที่เป็นแบบตั้งโต๊ะรับสมัคร โดยการสอบถามความต้องการของเจ้าหน้าที่ของทาง มหาวิทยาลัย และศึกษารายละเอียดการทำงานของระบบเดิม เช่น การจัดเก็บข้อมูล คณะกรรมการดำเนินงาน การจัดเก็บข้อมูลของผู้สมัคร การประกาศผังที่นั่งสอบ การจัดห้อง สอบ การอ่านคะแนน จาก OMR แล้วนำคะแนนเข้าแฟ้มข้อมูล การตัดผู้สอบได้จากค่าคะแนน สอบที่ได้ การประกาศผลการสอบ และสุดท้ายก็นำข้อมูลของผู้สมัครทั้งหมดที่สอบผ่าน ส่งออก เป็นแฟ้มข้อมูลที่สามารถนำเข้าระบบ ข้อมูลนักศึกษาต่อไป พบว่าระบบการรับสมัครนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมเดิมที่เกิดจาก การ ฝนใบสมัครไม่ครบถ้วน ระบุโปรแกรมที่สมัครไม่ชัดเจน การรับสมัครที่ศูนย์การศึกษายังมี ปัญญาการเดินทาง การลงทุนในการตั้งเจ้าหน้าที่ในช่วงเวลาของการรับสมัคร บางครั้งช่วงเวลา ยังตรงกันทำให้ไม่สามารถแบ่งเจ้าหน้าที่ไปดำเนินการรับสมัครที่ศูนย์การศึกษาได้ รูปแบบการรับสมัครของเดิม 1. ซื้อระเบียบการรับสมัครนักศึกษา 2. กรอกใบสมัครและฝนข้อมูลลงในใบสมัคร 3. เตรียมเอกสารการสมัคร 3.1 ใบวุฒิการศึกษาตัวจริง + สำเนา 3.2 รูปถ่าย 2 รูป (ติดในใบสมัคร 1 รูป) 3.3 เงินค่าธรรมเนียมการสมัคร 200 บาท 4. ตรวจเอกสารการสมัคร เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ 4.1 วุฒิตรงหรือไม่ 5. ชำระค่าธรรมเนียมการสมัคร 6. เก็บหลักฐานการสมัครออกบัตรสอบ 7. สรุปจำนวนนักศึกษาที่สมัครแต่ละวัน และจำนวนรวม 8. จัดห้องสอบ 9. ประกาศที่นั่งสอบ 10. เข้าสอบตามวันเวลาที่กำหนด 11. ตรวจข้อสอบ (OMR) 12. นำคะแนนสอบเข้า 13. เรียงรายชื่อพร้อมคะแนนจากมากไปหาน้อย ตามวิชาเอก 14. ตัดผู้สอบไม่ผ่าน และผู้ขาดสอบ 15. ประกาศรายชื่อผู้สอบผ่าน 16. ส่งข้อมูลให้ฝ่ายประวัตินักศึกษา เพื่อใช้ในการรายงานตัวต่อไป 3.2.2 การวิเคราะห์ระบบงานใหม่ หลังจากที่ได้ทำการวิเคราะห์และศึกษาระบบงานเดิม แล้ว ขั้นตอนต่อมา คือ การวิเคราะห์เกี่ยวกับโครงสร้างของระบบงานใหม่ที่นำเอาระบบ คอมพิวเตอร์อ่านระเบียบการจากอินเตอร์เน็ต 1. กรอกข้อมูลการสมัคร 2. เลือกวิชาเอก 3. แสดงผลข้อมูลที่กรอกพร้อมรหัสอ้างอิงและช่องที่ติดรูปถ่าย 4. พิมพ์ออกกระดาษ ติดรูปถ่าย ส่งกับ ธนาณัติค่าสมัคร และใบวุฒิการศึกษา ทาง ไปรษณีย์ 5. ออกเลขที่นั่งสอบพร้อมติดรูปถ่ายประทับตราสถาบัน 6. ส่งกำหนดการสอบ ห้องสอบ ที่นั่งสอบ และบัตรประจำตัวสอบ 7. เข้าสอบตามวันเวลาที่กำหนด 8. ตรวจข้อสอบ(OMR) 9. นำคะแนนสอบเข้า 10. เรียงรายชื่อพร้อมคะแนนจากมากไปหาน้อย ตามวิชาเอก 11. ตัดผู้สอบไม่ผ่าน และผู้ขาดสอบ 12. ประกาศรายชื่อผู้สอบผ่าน 13. ส่งข้อมูลให้ฝ่ายประวัตินักศึกษา เพื่อใช้ในการรายงานตัวต่อไป หลังจากที่ได้ขั้นตอนในการพัฒนาระบบใหม่ ขั้นต่อไปจะเป็นการแสดงสถาปัตยกรรมของ การออกแบบระบบที่จะมารองรับระบบใหม่โดยมีการนำเอาระบบสารสนเทศเข้ามาประยุกต์ใช้ ใน แบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆคือ ส่วนของผู้สมัครหรือบุคคลทั่วไป ส่วนของเจ้าหน้าที่ มีหน้าที่ ในการ เปลี่ยนสถานะข้อมูลของการสมัคและเจ้าหน้าที่ประมวลผล และส่วนของผู้ดูแลระบบ 3.2.3 การออกแบบระบบ เป็นการนำเอาข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ระบบงานเดิมมา ทำการออกแบบระบบ เพื่อสร้างเป็นระบบงานใหม่ โดยเริ่มออกแบบโครงสร้างโดยรวมของ ระบบ แผนภาพกระแสข้อมูล แผนภาพความสัมพันธ์ของข้อมูล (E-R Diagram) และโครงสร้าง ของฐานข้อมูล ซึ่งแสดงรายละเอียดดังนี้ แผนภาพบริบท เป็นแผนภาพการไหลของข้อมูลในระดับสูงสุดที่แสดงถึงขอบเขตของระบบ สารสนเทศเพื่อรองรับระบบการรับสมัครนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม บน อินเตอร์เน็ต โดยแสดงถึงข้อมูลเข้าสู่ระบบและข้อมูลที่ออกจากระบบมีอะไรบ้าง มีอะไรบ้างที่เป็น สิ่งที่อยู่ภายนอกระบบที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งแสดงดังภาพที่ 3-1 แผนภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 1 (Data Flow Diagram Level 1) ซึ่งแสดงให้ เห็นถึงการไหลของข้อมูลทั้งหมดในระบบและประกอบด้วย 5 กระบวนการหลักของระบบคือ การจัดการข้อมูลระบบ การสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ การประมูลราคาผลิตภัณฑ์ การรับสมัครสมาชิกและ พิมพ์รายงาน ซึ่งแสดงดังภาพที่ 3-2 แผนภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 2 (Data Flow Diagram Level 2) ซึ่งแสดงให้ เห็นถึงการไหลของข้อมูลในกระบวนการย่อยของระบบต่าง ๆ ซึ่งแสดงดังภาพที่ 3-3 ถึงภาพที่ 3-7 แผนภาพความสัมพันธ์ของข้อมูล (ER Diagram) แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของ แฟ้มข้อมูลต่าง ๆ ในระบบ แสดงดังภาพที่ 3-8 ภาพที่ 3-1 แผนภาพบริบท (Context Diagram) ภาพที่ 3-2 แผนภาพการไหลของข้อมูลระดับที่ 1 (Data Flow Diagram Level 1) ภาพที่ 3-3 แผนภาพการไหลของข้อมูลระดับที่ 2 (กระบวนการที่ 1 รับสมัคร) ผู้สมัคร 1.1 กรอกประวัติ วิชาเอก 1 ระดับการศึกษา 5 ศูนย์การศึกษา 6 ใบสมัคร 7 ห้องสอบ 2 4 ตารางสอบ ข้อมูลส่วนตัวผู้สมัคร,ข้อมูลการสมัครเข้าเรียน, หลักฐานการสมัคร เลขที่ผู้สมัคร,เลขที่นั่งสอบ, หมายเลขห้องสอบ,รหัสวิชา ที่ต้องสอบ 1.2 ชำระเงิน เอกสารการชำระเงิน เอกสารการชำระเงิน ใบเสร็จรับเงิน 1.3 พิมพ์บัตรประจำตัว สอบ ภาพที่ 3-4 แผนภาพการไหลของข้อมูลระดับที่ 2 (กระบวนการที่ 2 จัดการข้อมูล) ภาพที่ 3-5 แผนภาพการไหลของข้อมูลระดับที่ 2 (กระบวนการที่ 3 ประเมินคุณสมบัติ) OMR 4.1 ตรวจข้อสอบ ใบสมัคร 7 เลขที่ผู้สมัคร,วิชาที่สอบ 4.2 ประเมินผล ผลการตรวจข้อสอบ ผลการสอบ, ใบนัดหมายรายงานตัว ผู้สมัคร เลขที่ผู้สมัคร,วิชาที่สอบ, คะแนนสอบ 4.3 ประกาศผล ผลการประเมินผล ภาพที่ 3-6 แผนภาพการไหลของข้อมูลระดับที่ 2 (กระบวนการที่ 4 ประเมินผลการสอบ) ภาพที่ 3-7 แผนภาพการไหลของข้อมูลระดับที่ 2 (กระบวนการที่ 5 บันทึกประวัติ) in has ภาพที่ 3-8 แผนภาพแสดงความสัมพันธ์ของฐานข้อมูล (ER Diagram) การออกแบบฐานข้อมูลจะประกอบไปด้วยตารางดังต่อไปนี้ ตารางที่ 3-1 แฟ้มข้อมูลวิชาเอก ชื่อแฟ้มข้อมูล Major ลำดับที่ ชื่อ ชนิดข้อมูล ความกว้าง คำอธิบาย 1 Major_Code Char 5 รหัสโปรแกรมวิชาเอก 2 Major_Name Char 50 ชื่อโปรแกรมวิชาเอก 3 Major_Level Char 1 ระดับการศึกษา 4 Major_Field Char 1 สาขาวิชา 5 Major_MaxAccept Number 4 จำนวนรับแต่ละโปรแรกม 6 Major_CampusCode Char 1 รหัสศูนย์การศึกษา 7 LastID Number 4 จำนวนผู้สมัครแต่ละ โปรแกรม ตารางที่ 3-2 แฟ้มข้อมูลห้องสอบ ชื่อแฟ้มข้อมูล Room ลำดับที่ ชื่อ ชนิดข้อมูล ความกว้าง คำอธิบาย 1 Room_Code Char 5 รหัสห้องสอบ 2 Room_Name Char 30 ชื่อห้อง 3 Room_Location Char 25 ตำแหน่งห้องหรืออาคาร 4 Room_MaxExam Number 4 จำนวนผู้เข้าสอบสูงสุด ตารางที่ 3-3 แฟ้มข้อมูลใบสมัคร ชื่อแฟ้มข้อมูล Applicant ลำดับที่ ชื่อ ชนิดข้อมูล ความกว้าง คำอธิบาย 1 App_Code Char 8 รหัสอ้างอิงการสมัคร 2 App_Name Char 50 ชื่อ + นามสกุล 3 App_Address Char 60 ที่อยู่ 4 App_Tel Char 30 เบอร์โทรที่สามารถติดต่อได้ 5 App_Major Char 5 รหัสวิชาเอก CFLNN = รหัสศูนย์+สาขา+ ระดับ+ลำดับที่ของวิชาเอก รหัสแทนศูนย์การศึกษา 1. รัชดาภิเษก 2. สหะพาณิช 3. มีนบุรีโปลีเทคนิค 4. ชัยนาท ระดับการศึกษา 1. ปริญญาตรี 4 ปี 2. ปริญญาตรี 2 ปี 3. อนุปริญญา รหัสสาขา 1. ครุศาสตร์ 2. วิทยาศาสตร์ 3. ศิลปะศาสตร์ 4. บริหารธุรกิจ ตารางที่ 3-3 (ต่อ) ชื่อแฟ้มข้อมูล Applicant ลำดับที่ ชื่อ ชนิดข้อมูล ความกว้าง คำอธิบาย 6 App_Date Date 8 วันที่สมัคร 7 App_Time Char 8 เวลาที่สมัคร 8 App_IPNo Char 15 IP Address ของผู้สมัคร 9 App_BirthDate Date 8 วันเดือนปีเกิด ของผู้สมัคร 10 App_ExRoom Char 6 ห้องสอบ 11 App_ExDate Date 8 วันสอบ 12 App_ExTime Char 8 เวลาสอบ 13 App_Status Char 1 สถานะของข้อมูล 0 = Cancel - ยกเลิกรายการ 1 = Applicant - กรอกใบ สมัครผ่านอินเตอร์เน็ต 2 = Paid - ชำระเงินมาถึง การเงินแล้ว 3 = Exam - เข้าสอบ 4 = Incomplete - หลักฐานไม่ครบ 5 = Failed- สอบไม่ผ่าน เกณฑ์ 6 = Exam Problem- ไม่เข้า สอบ/ทุจริต 7 = Pass- สอบผ่าน 8 = Pass in Conditions - สอบผ่านได้/ภายใต้เงื่อนไข 9 = Transferred- ทำการโอน ไฟล์ ตารางที่ 3-3 (ต่อ) ชื่อแฟ้มข้อมูล Applicant ลำดับที่ ชื่อ ชนิดข้อมูล ความกว้าง คำอธิบาย 14 App_PIDNo Char 13 เลขที่บัตรประชาชน 15 App_P_GradCode Char 1 16 App_P_GradLevel Char 1 ระดับการศึกษาที่จบมา 0= ยังไม่สำเร็จการศึกษา / ต่ำกว่า ปวช. ม.6 1= ปวช. ม.6 หรือเทียบเท่า2 2= ปวส. อนุปริญญา หรือ เทียบเท่า 3= ปริญญาตรี 4= ปริญญาโท 5 = ปริญญาเอก 17 App_P_GradSchool Char 50 โรงเรียนเดิม 18 App_GradProvince Char 50 จังหวัดที่ตั้งของโรงเรียนเดิม ตารางที่ 3-4 แฟ้มข้อมูลผู้ใช้งาน ชื่อแฟ้มข้อมูล User ลำดับที่ ชื่อ ชนิดข้อมูล ความกว้าง คำอธิบาย 1 User _Code Char 12 รหัสผู้ใช้งานระบบ 2 User _Name Char 30 ชื่อผู้ใช้งาน 3 User _Description Char 30 รายละเอียดเกี่ยวกับผู้ใช้ 4 User_Level Char 1 ระดับการทำงาน ตารางที่ 3-5 แฟ้มข้อมูลตารางสอบ ชื่อแฟ้มข้อมูล Schedule ลำดับที่ ชื่อ ชนิดข้อมูล ความกว้าง คำอธิบาย 1 Sch_Date Date 8 วันที่ของกำหนดการสอบ 2 Sch_Time Char 8 เวลาของกำหนดการต่างๆ 3 Sch_Detail Char 50 รายละเอียดของกำหนดการ 4 Sch_Status Char 1 สถานะของระบบ ตารางที่ 3-6 แฟ้มข้อมูลระดับการศึกษา ชื่อแฟ้มข้อมูล P_Degree ลำดับที่ ชื่อ ชนิดข้อมูล ความกว้าง คำอธิบาย 1 P_DegreeCode Char 2 รหัสของวุฒิเดิม 2 P_DegreeName Char 50 ชื่อของวุฒิการศึกษา 3 P_DegreeLevel Char 1 ระดับการศึกษา ตารางที่ 3-7 แฟ้มข้อมูลศูนย์การศึกษา ชื่อแฟ้มข้อมูล Campus ลำดับที่ ชื่อ ชนิดข้อมูล ความกว้าง คำอธิบาย 1 Campus_Code Char 2 รหัสศูนย์การศึกษา 2 Campus_Location Char 50 ที่ตั้งศูนย์การศึกษา 3 Campus_Contact Char 30 เบอร์โทรที่ศูนย์การศึกษา 4 Campus_Detail Char 30 รายละเอียดเพิ่มเติม 3.4 การออกแบบหน้าจอ หลังจากที่ได้ทำการวิเคราะห์ระบบ โดยใช้ Data Flow Diagram และ ER-Diagram แล้ว นั้น จะทำให้ทราบถึงการไหลของข้อมูลที่มีอยู่ในระบบทั้งหมด ขั้นตอนต่อมาเป็นขั้นตอนการ ออกแบบหน้าจอของโปรแกรม ซึ่งจะทำให้ทราบถึงการทำงานของโปรแกรม ก่อนที่จะนำไปสู่ การพัฒนาระบบต่อไป ภาพที่ 3-9 แสดงหน้าจอแรก ตรา มหาวิทยาลัย เมนูหลัก ส่วนแสดงผล ส่วนเข้า ระบบ สำหรับ เจ้าหน้าที่ ภาพที่ 3-10 แสดงหน้าจอเจ้าหน้าที่ 3.5 การพัฒนาระบบ ในการพัฒนาระบบนี้เป็นขั้นตอนการเขียนโปรแกรม ซึ่งโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นนี้จะเขียน โปรแกรมด้วยภาษา PHP ซึ่งเราจะต้องเขียนโปรแกรมให้สามารถทำงานตามที่เราได้ทำการ ออกแบบไว้ โดยโครงสร้างของฐานข้อมูลของระบบคือ ระบบฐานข้อมูล MySQL 3.6 การทดสอบระบบ หลังจากได้ทำการพัฒนาระบบเรียบร้อยแล้ว ในหาประสิทธิภาพการทำงานของระบบว่า สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องแม่นยำ และตรงตามความต้องการของผู้ใช้ ผู้พัฒนาจึงได้จัดทำแบบประเมินหาประสิทธิภาพ โดยแบ่งการทดสอบการหาประสิทธิภาพของระบบออกเป็น 4 ด้าน คือ 3.6.1 Functional Requirement Test เป็นการทดสอบเพื่อที่จะตรวจสอบระบบว่า สามารถทำงานได้ตามความต้องการมากน้อยเพียงใด ตรา มหาวิทยาลัย เมนู เจ้าหน้าที่ ส่วนแสดงผล 3.6.2 Functional Test เป็นการทดสอบเพื่อที่จะตรวจสอบความเร็วในการทำงาน ต่างๆ ของ ฟังก์ชั่นต่างๆ ที่มีในระบบ 3.6.3 Usability Test เป็นการทดสอบความง่ายในการใช้งานของระบบ ตรวจสอบ ความซ้ำซ้อนของระบบ 3.6.4 Security Test เป็นการทดสอบการรักษาความปลอดภัยของระบบ ผู้ทำแบบประเมินจะต้องทำการทดสอบระบบ โดยทดสอบระบบที่ได้พัฒนาขึ้นและทำแบบ ประเมินที่ได้ทำการออกแบบไว้ ผู้ที่ทำแบบประเมิน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1. ผู้ที่มีความรู้ความชำนาญในการใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 2. ผู้ที่มีความรู้ความชำนาญในด้านการจัดการรับสมัครนักศึกษา ผลที่ได้จากการทำแบบประเมิน นำมาสรุปผลเพื่อประเมินว่าระบบที่ได้พัฒนามานี้มี ประสิทธิภาพในด้านต่างๆ อยู่ในระดับใด สำหรับผลการทดสอบ อยู่ในบทที่ 4 สถิติที่ใช้ในการประเมิน คือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน บทที่ 4 การทดสอบระบบ กระบวนการทดสอบระบบ เป็นวิธีการทดสอบระบบเพื่อค้นหาข้อผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นกับ ระบบงาน ซึ่งการทดสอบระบบในการทำโครงงานในครั้งนี้ได้ใช้วิธีการทดสอบแบบ Black Box Testing ซึ่งการทดสอบโดยวิธีนี้ เป็นการทดสอบเพื่อค้นหาข้อผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นกับระบบ โดยจะทำการทดสอบระบบโดยรวม ผลการทดสอบระบบในครั้งนี้ ได้นำข้อมูลจากการประเมินประสิทธิภาพของระบบมา วิเคราะห์หาค่าสถิติด้วยการหาค่าเฉลี่ย (X) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) 4.1 การทดสอบระบบ ในส่วนของการทดสอบระบบ จะใช้กระบวนการทดสอบระบบแบบ Black Box Testing ซึ่งเป็นการทดสอบการทำงานของระบบโดยรวม ดูว่าผลลัพธ์ที่ได้ถูกต้องตามความต้องการ หรือไม่ ซึ่งในการทดสอบระบบผู้พัฒนาระบบเป็นผู้ที่ทำการทดสอบระบบด้วยตนเอง พบว่า ระบบที่ได้ทำการพัฒนาขึ้นให้ผลลัพธ์ตรงกับความต้องการ 4.2 ผลการทดสอบ จากการประเมินประสิทธิภาพระบบจากผู้ดูแลระบบและเจ้าหน้าที่ทะเบียน จำนวน คน (ภาคผนวก ค) โดยใช้แบบประเมินและใช้เกณฑ์ในการประเมิน ที่กำหนดค่าความหมายดังนี้ 9.00-10.00 หมายถึง ระบบที่พัฒนามีประสิทธิภาพในระดับดีมาก 7.00-8.99 หมายถึง ระบบที่พัฒนามีประสิทธิภาพในระดับดี 5.00-6.99 หมายถึง ระบบที่พัฒนามีประสิทธิภาพในระดับที่พอใช้ 3.00-4.99 หมายถึง ระบบที่พัฒนาต้องปรับปรุงแก้ไข 1.00-2.99 หมายถึง ระบบที่พัฒนาไม่สามารถนำไปใช้งานได้ ผลลัพธ์จากการทดสอบระบบและประเมินระบบได้ผลลัพธ์ตามลำดับ ดังต่อไปนี้ ภาพที่ 4-1 แสดงหน้าแรกของระบบ ภาพที่ 4-2 แสดงจำนวนที่รับของแต่ละโปรแกรมวิชาเอก ภาพที่ 4-3 หน้าตาของใบสมัครที่มีเลขที่อ้างอิงที่จะส่งกลับมายังมหาวิทยาลัย ภาพที่ 4-4 แสดงแผนที่ของมหาวิทยาลัยที่ส่วนกลาง ภาพที่ 4-5 แสดงการกำหนดสถานะของข้อมูลการสมัคร ภาพที่ 4-6 แสดงการนำข้อมูลคะแนนสอบจากเครื่อง OMR เข้าระบบ ภาพที่ 4-7 แสดงรายงานการจัดห้องสอบเป็นโปรแกรมวิชาเอก ภาพที่ 4-8 แสดงผลเมื่อส่งข้อมูลออกจากระบบเรียบร้อยแล้ว ตารางที่ 4-1 ความคิดเห็นด้านความเหมาะสมในหน้าที่การทำงานของโปรแกรม จากผู้ดูแลระบบ และเจ้าหน้าที่ทะเบียน (Functional Requirement Test) ระดับความคิดเห็นของผู้ดูแลระบบและเจ้าหน้าที่พัสดุ X SD ความหมาย 1. ความสามารถของโปรแกรมในการจัดการฐานข้อมูล 7.28 0.45 ดี 2. ความสามารถของโปรแกรมในการค้นหาข้อมูล 7.42 0.49 ดี 3. ความสามารถในการแสดงรายละเอียดข้อมูล 7.00 0.75 ดี 4. ความสามารถในการจัดการข้อมูล 6.57 0.72 พอใช้ รวม 7.07 0.60 ดี ตารางที่ 4-2 ความคิดเห็นด้านความเร็วในการทำงานของโปรแกรม จากผู้ดูแลระบบ และเจ้าหน้าที่ทะเบียน (Functional Test) ระดับความคิดเห็นผู้ดูแลระบบและเจ้าหน้าที่พัสดุ X SD ความหมาย 1. ความเร็วของโปรแกรมในการจัดการข้อมูล 7.85 0.63 ดี 2. ความเร็วของโปรแกรมค้นหาข้อมูล 7.28 0.70 ดี 3. ความเร็วในการบันทึกข้อมูล 7.14 0.83 ดี 4. ความเร็วในการแก้ไขข้อมูล 7.57 0.49 ดี 5. ความเร็วของโปรแกรมในการแสดงข้อมูล 6.42 0.49 พอใช้ 6. ความเร็วของการรายงานผล 7.28 0.45 ดี 7. ความเร็วในการทำงานของโปรแกรมทั้งหมด 7.14 0.63 ดี รวม 7.24 0.60 ดี ตารางที่ 4-3 ความคิดเห็นด้านความสะดวกและง่ายต่อการใช้โปรแกรม ของผู้ดูและบบ และเจ้าหน้าที่ทะเบียน (Usability Test) ระดับความคิดเห็นผู้ดูแลระบบและเจ้าหน้าที่พัสดุ X SD ความหมาย 1. ความง่ายในการใช้โปรแกรม 7.28 0.70 ดี 2. ความสวยงามในการออกแบบหน้าจอ 7.57 0.49 ดี 3. ความชัดเจนของข้อความที่แสดงบนจอภาพ 7.42 0.72 ดี 4. ความเหมาะสมของการใช้สีโดยภาพรวม 7.28 0.70 ดี 5. ความเหมาะสมของรูปแบบตัวอักษรที่เลือกใช้ 7.57 0.49 ดี 6. ความน่าใช้ของโปรแกรมในทางปฏิบัติจริง 6.57 0.49 ดี รวม 7.28 0.59 ดี ตารางที่ 4-4 ความคิดเห็นด้านการรักษาความปลอดภัยของโปรแกรม จากผู้ดูแลระบบ และเจ้าหน้าที่ทะเบียน (Security Test) ระดับความคิดเห็นผู้ดูแลระบบและเจ้าหน้าที่พัสดุ X SD ความหมาย 1. การถูกต้องในการป้อนข้อมูลนำเข้าโปรแกรม 6.85 0.35 พอใช้ 2. ความเหมาะสมของการกำหนดสิทธิ์ผู้ใช้โปรแกรม ออกเป็นระดับต่างๆ 6.57 0.72 พอใช้ 3. การรักษาความปลอดภัยของผู้ดูแลระบบ 6.85 0.35 พอใช้ รวม 6.76 0.47 พอใช้ สรุปผลการทดสอบ 1. ผลการทดสอบด้าน Functional Requirement Test ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 7.07 SD=0.60 2. ผลการทดสอบด้าน Functional Test ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 7.24 SD = 0.60 3. ผลการทดสอบด้าน Usability Test ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 7.28 SD = 0.59 4. ผลการทดสอบด้าน Security Test ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 6.76 SD = 0.47 เมื่อได้ผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบแต่ละด้านแล้ว จึงนำเอาผลการประเมินในแต่ ละด้านมาหาค่าเฉลี่ยพบว่าได้ค่าเฉลี่ยของกลุ่มผู้ดูแลระบบและเจ้าหน้าที่ทะเบียนอยู่ระดับ 7.08 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 0.56 ดังนั้นแสดงให้เห็นว่าระบบที่พัฒนาขึ้นนี้มีประสิทธิภาพ ในระดับดี สามารถนำไปใช้งานได้ บทที่ 5 สรุปผลและข้อเสนอแนะ 5.1 สรุปผลการดำเนินงาน ในการพัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อรองรับการรับสมัครนักศึกษาผ่านระบบเครือข่าย อินเตอร์เน็ตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยนำเอาเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์และ เครือข่ายอินเตอร์เน็ตเข้ามาประยุกต์ใช้งานกับการพัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อรองรับการรับ สมัครนักศึกษาผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งสามารถที่จะสรุปความสามารถของระบบได้ ดังนี้ 5.1.1 สามารถเลือกสมัครในแต่ละศูนย์การศึกษาได้ ทั้ง 3 ศูนย์การศึกษา ได้แก่ ศูนย์ การศึกษาสหะพาณิช ศูนย์การศึกษามีนบุรีโปรี-เทคนิค ศูนย์การศึกษาเทคนิคชัยนาท 5.1.2 สามารถตรวจสอบการสมัครว่า วุฒิที่ใช้สมัครสามารถสมัครในวิชาเอกที่ต้องการ ได้และสามารถตรวจสอบจากวุฒิที่ใช้ในการสมัครถ้าเป็นมัธยมศึกษาปีที่6 หรือประกาศนียบัตร วิชาชีพ(ปวช.) จะไม่สามารถสมัครในระดับ ปริญญาตรี 2 ปีหลังได้ 5.1.3 สามารถตรวจสอบการชำระค่าสมัครที่ชำระด้วยธนาณัติ เมื่อธนาณัติมาถึง ส่วนกลาง 5.1.4 สามารถออกรายงานจำนวนผู้สมัครในแต่ละโปรแกรม 5.1.5 สามารถจัดผู้สมัครเข้าห้องสอบตามวิชาเอกและระดับของผู้สมัครได้ 5.1.6 สามารถแสดงผลการจัดห้องสอบผ่านทางจอภาพและส่งผลออกทางเครื่องพิมพ์ ได้ 5.1.7 สามารถประกาศที่นั่งสอบผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้ 5.1.8 สามารถรายงาน ผู้เข้าสอบผู้ขาดสอบ และคะแนนสอบจากมากไปหาน้อยได 5.1.9 สามารถประกาศผลการสอบผ่านทางอินเตอร์เน็ตได 5.1.10 สามารถส่งแฟ้มข้อมูลออกเป็น Text File เพื่อไปนำเข้ายังฐานข้อมูลหลักของ สถาบันได้ 5.2 ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำสารนิพนธ์ 5.2.1 ข้อมูลของการสมัครมีความถูกต้องน่าเชื่อถือและสืบค้นได้อย่างรวดเร็ว เพราะ ข้อมูลที่มีการยืนยันแล้วเท่านั้นถึงจะสามารถเปลี่ยนสถานะจาก ยังไม่ยืนยันไปเป็นหลักฐาน สมบูรณ์ 5.2.2 เจ้าหน้าที่สามารถเปลี่ยนสภานะของข้อมูลได้ได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว 5.2.3 ลดรายจ่ายในการจัดเจ้าหน้าที่ที่ต้องออกไปปฏิบัติงานทั้งที่ ศูนย์การศึกษาและ ส่วนกลาง 5.2.4 ทำให้มีการขยายของเขตของการสมัครให้มากขึ้น 5.2.5 สามารถเปิดรับสมัครนักศึกษาเป็นระยะเวลามากขึ้นโดยค่าใช้จ่ายในการดำเนิน งานน้อยลง 5.2.6 สามารถนำเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตมารองรับการสมัครได้ และสามารถรับสมัครในโครงการความร่วมมือกับทางต่างประเทศได้ 5.3 สรุปผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบ เมื่อได้นำระบบสารสนเทศที่ได้พัฒนาขึ้นมา ไปทดสอบเพื่อหาประสิทธิภาพของระบบ สามารถสรุปผลการประเมินในแต่ละด้านในเชิงคุณภาพได้ดังนี้ 5.3.1 ผลการประเมินด้าน Functional Requirement Test ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 7.07 มี ประสิทธิภาพอยู่ในระดับดี 5.3.2 ผลการประเมินด้าน Functional Test ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 7.34 มีประสิทธิภาพอยู่ ในระดับดี 5.3.3 ผลการประเมินด้าน Usability Test ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 7.28 มีประสิทธิภาพอยู่ใน ระดับดี 5.3.4 ผลการประเมินด้าน Security Test ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 6.76 มีประสิทธิภาพอยู่ใน ระดับพอใช้ หลังจากทราบผลการประเมินหาประสิทธิภาพเชิงคุณภาพของการพัฒนาระบบ สารสนเทศเพื่อรองรับการรับสมัครนักศึกษาผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ของแต่ละด้านแล้ว จึงได้นำเอาผลการประเมินเชิงคุณภาพในแต่ละด้านมาผ่านระเบียบวิธีการทางสถิติ เพื่อหา ค่าเฉลี่ยอีกครั้ง พบว่าได้ค่าเฉลี่ย 7.116 สามารถสรุปผลการประเมินประสิทธิภาพเชิงคุณภาพ โดยรวมของระบบได้ว่า การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อรองรับการรับสมัครนักศึกษาผ่านระบบ เครือข่ายอินเตอร์เน็ตนี้ มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับดี 5.4 ข้อเสนอแนะ 5.4.1 เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้สมัครมากยิ่งขึ้น ในการพัฒนาระบบครั้งต่อไป ควรเพิ่มช่องทางในการชำระเงินทางอินเตอร์เน็ตให้รองรับการการชำระเงินโดยใช้บัตรเครดิตได้ ทุกประเภท 5.4.2 เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับรับผู้สมัครมากยิ่งขึ้น ในการพัฒนาระบบครั้งต่อไป ควรเพิ่ม รหัสแถบ (Barcode) ไว้ในเอกสารการสมัครที่สั่งพิมพ์ เวลาเจ้าหน้าที่ได้รับใบสมัคร ทางไปรษณีย์ ก็จะได้สามารถยิง Barcode ได้เลยโดยไม่ต้องคีย์ เพื่อยืนยันการสมัครและการส่ง เอกสารมายัง สำนักส่งเสริมวิชาการ 5.4.3 เพิ่มระดับการเข้าถึงของข้อมูลโดยแบ่งเป็นระดับผู้บริหารระบบและ ผู้ที่ทำหน้าที่ เปลี่ยนสถานะของข้อมูลการสมัครก็ควรมีก็ควรเป็นระดับเจ้าหน้าที่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น