วันเสาร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2554

ผู้นำำํ กับการมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุน หมู่บ้้า้น และชุมุมชนเมือง (ตอนที่ 2)



4.1.2.1 ชุมชนวดั เทพากร เลขที่ 477 ซอยจรัญสนิทวงศ  68 ถนนจรัญสนิทวงศ  แขวง
บางพลัด เขตบางพลัด
ชุมชนวัดเทพากร มีลักษณะทางกายภาพของชุมชนเป็นพื้นที่บริเวณชุมชนเป็นที่ราบลุ่มอยู่ติด
แม่น้ำเจ้าพระยา มีเนื้อที่ประมาณ 36 ไร่ ประกอบด้วยจำนวนครัวเรือน 276 ครัวเรือน มีประชากร
รวมทั้งสิ้น 1,350 คน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง ค้าขาย รับราชการ ระดับการศึกษาสูงสุด
ปริญญาตรี ส่วนมากจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาและนับถือศาสนาพุทธ ชุมชนวัดเทพากร เป็น
ชุมชนที่มีประชากรหนาแน่น ส่วนใหญ่ปัญหาที่พบคือเรื่องของความสะอาด ไฟฟ้ามีไม่เพียงพอ และ
ปัญหายุงชุม สังคมของประชากรในชุมชนได้พึ่งพาอาศัยกัน ประชาชนจะมีรายได้จากงานประจำแล้ว
ในชุมชนยังมีอาชีพเสริมสำหรับผู้ที่มีรายได้น้อยคือการทำหัวโขนภูมิปัญญาชุมชนวัดเทพากรที่เด่นคือ
การทำหัวโขน มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป ทั้งในประเทศและต่างประเทศและยังช่วยให้ประชาชน
มีงานทำ มีรายได้ และยังช่วยให้เศรษฐกิจของชุมชนมีสภาพคล่องตัวด้วยองค์กรชุมชนวัดเทพากรมี
หลายโครงการ แต่ละโครงการจัดตั้งขึ้นเพื่อให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการใช้บริการ ได้แก่
โครงการ สหกรณ์ออมทรัพย์ ศูนย์สุขภาพชุมชนและผู้สูงอายุ และโครงการรณรงค์ด้านภัยยาเสพติด
วัฒนธรรมชุมชน ชุมชนจะมีกิจกรรมตามประเพณีและวัฒนธรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาให้มี
การทำบุญตักบาตรและฟังธรรมที่วัดเทพากร ส่วนวันสำคัญตามประเพณีนิยม สมาชิกจะเข้ามามีส่วน
ร่วมในการรับประทานอาหารร่วมกัน การสนับสนุนของรัฐในด้านการจัดตั้งกองทุนนั้นคือ ตาม
นโยบายของรัฐต้องการให้ชุมชนบริหารจัดการกันเอง เริ่มตั้งแต่เปิดเวทีชาวบ้าน การเลือกคณะ
กรรมการ และการขออนุมัติเงิน ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ของรัฐ ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนของ
สำนักงานเขต ผู้อำนวยการเขตจะเข้ามากำกับดูแลและเป็นสักขีพยาน
49
4.1.2.2 ชุมชนวัดบางขุนนนท์ เลขที่ 99/22 ซอยวัดบางขุนนนท์ ถนนบางขุนนนท์
แขวง บางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย
ชุมชนวัดบางขุนนนท ์ มลี กั ษณะทวั่ ไปของชมุ ชน อดีตชุมชนวัดบางขุนนนท์มีสภาพเป็นสวน
ผลไม้ที่ขึ้นชื่อมากที่สุดคือทุเรียนประชาชนในชุมชนส่วนมากเป็นคนในพื้นที่ซึ่งเข้ามาตั้งถิ่นฐาน
ประมาณปีพ.ศ.2400ต่อมาจึงมีประชากรต่างถิ่นเข้ามาทำมาหากินและอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก
ปัจจุบันชุมชนวัดบางขุนนนท ์ ประกอบด้วยจำนวนครัวเรือน 315 ครัวเรือน มีประชากรรวมทั้งสิ้น
932 คน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง ค้าขาย รับราชการ รายได้ของประชากรไม่สูงมากนักเมื่อมี
ความจำเป็นจึงต้องหยิบยืมเงินนอกระบบ สมาชิกในชุมชนมีความเป็นอยู่แบบพี่น้อง ได้พึ่งพาอาศัย
กัน มีการสนับสนุนสิ่งต่าง ๆ ของชุมชนในด้านประเพณีวัฒนธรรมที่บรรพบุรุษได้สืบทอดต่อกันมา
ภูมิปัญญาชุมชนเป็นภูมิปัญญาที่ต้องใช้ความสามารถเฉพาะบุคคลและมีใจรัก ได้แก่ การเลี้ยงนกสวย
งาม การตัดเย็บเสื้อผ้า การทำอาหารและขนมต่าง ๆ ซึ่งสามารถถ่ายทอดให้กับผู้อื่นได้ ทำให้มีงานทำ
และมีรายได้เพิ่มมากขึ้น องค์กรชุมชนเป็นการรวมกลุ่มของสมาชิกเพื่อดำเนินกิจกรรมอันเป็น
ประโยชน์แก่ชุมชน ได้แก่ กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มฌาปนกิจ กลุ่มแอโรบิค และกลุ่มรับ
เหมาน้อย แต่ละกลุ่มมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันในการสมัครเป็นสมาชิกแล้วแต่ความสมัครใจของ
สมาชิกในชุมชน วัฒนธรรมชุมชน ชุมชนจะมีกิจกรรมทางด้านวัฒนธรรมและประเพณีเป็นสิ่งที่บรรพ
บุรุษได้ปฏิบัติสืบต่อกันมาเพื่อเป็นมรดกให้กับลูกหลานได้ภาค ภูมิใจ ได้แก่ โบราณสถานวิหารหลวง
พ่อดำวัดบางขุนนนท  รัฐเป็นผู้สนับสนุนนโยบายกองทุน ชุมชนเป็นผู้ดำเนินการ มีคณะกรรมการ
กองทุนบริหารจัดการกันเองโดยประชาชนจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด ได้แก่ ค่าวัสดุต่าง ๆ โชค
ดีที่ประธานกองทุนมีฐานะดี และเป็นผู้เสียสละพร้อมที่จะช่วยกัน แก้ไขปัญหาและพัฒนาท้องถิ่นของ
ตนเอง จึงเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการของประธานกองทุน ประชาชนโดยเป็นผู้วางแผนการ
ดำเนินงานและร่วมบริหารการทุกขั้นตอนโดยเริ่มจากการประสานงานกับภาครัฐเพื่อให้ทราบถึงขั้น
50
ตอนการดำเนินงาน จึงนำมาประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ให้ประชาชนทราบโดยขอความร่วมมือจาก
สภากาแฟ ซึ่งในแต่ละกิจกรรมประชาชนจะเข้าไปร่วมคิด ร่วมประชุมและร่วมตัด สินใจเพื่อความ
สำเร็จของชุมชน
4.1.2.3 ชุมชนซอยสุดสาคร เลขที่ 1078/122 ถนนพรานนก แขวงบ้านช่างหล่อ เขต
บางกอกน้อย
ชุมชนซอยสุดสาคร มีลักษณะทั่วไปของชุมชนสภาพชุมชนเดิมเป็นสวนผลไม้ที่มีคลองล้อม
รอบต่อมาได้มีการพัฒนาและจัดตั้งเป็นชุมชนเมื่อปี พ.ศ. 2538 ปัจจุบันมีจำนวนครัวเรือน 248 ครัว
เรือน มีประชากรรวมทั้งสิ้น 1,103 คน ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมและประกอบอาชีพรับจ้าง
ค้าขาย รับราชการ นับถือศาสนาพุทธ ประชาชนมีความซื่อสัตย์ ร่วมมือร่วมใจ มีความสามัคคี พึ่งพา
อาศัยซึ่งกันและกัน ประกอบอาชีพสุจริตไม่ฟุ้งเฟ้อ อยู่อย่างพอเพียง มีรายได้อยู่ในระดับปานกลาง
ภูมิปัญญาชุมชนจะประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์พร้อมให้คำแนะนำและปรึกษาเพื่อนำไป
ประกอบอาชีพได้ และยังสร้างชื่อเสียงให้กับชุมชนได้แก่ด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และ
หัตถกรรม ด้านกองทุนและธุรกิจชุมชน ด้านศิลปกรรม ด้านปรัชญา ด้านโภชนาการ โดยมีองค์กรชุม
ชนแต่ละองค์กรจะมีวัตถุประสงค์และกระบวนการเพื่อสนองความต้องการของประชาชนในชุมชน ได้
แก่ กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ กลุ่มฌาปนกิจสงเคราะห์ และชมรมผู้สูงอายุ วัฒนธรรมชุมชน จะมีกิจกรรม
ตามประเพณีและวัฒนธรรมที่ได้รับการสืบทอดมาตั้งแต่บรรพบุรุษ คือ การสร้างคุณธรรมให้กับ
ประชาชนโดยการเชิญชวนให้ ประชาชนมาฟังเทศน์ในวันสำคัญทางพุทธศาสนาและกิจกรรมรักษาสิ่ง
แวดล้อมในชุมชนซึ่งมีลักษณะเด่นของวัฒนธรรม ชุมชนแห่งนี้คือการยกย่องคนทำความดี มีความ
ซื่อสัตย์และความสามัคคี การสนับสนุนของรัฐในเรื่องการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านพบว่า กองทุนหมุ่บ้าน
และชุมชนเมืองเป็นของใหม่ที่รัฐมีนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและให้มีเงินหมุนเวียนในชุมชน
โดยในเบื้องต้นเจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาชุมชนจากสำนักงานเขตบางกอกน้อยได้มาให้ความรู้เกี่ยวกับขั้น
ตอนและระบบในการดำเนินการ พร้อมทั้งสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาได้จัดอบรมเกี่ยวกับ
ระบบการจัดทำบัญชีซึ่งนำมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติได้จริง ในด้านของการมีส่วนร่วม ได้เป็นแกน
51
นำที่ต้องการให้เกิดกองทุน จึงได้พยายามศึกษา รายละเอียดจากเพื่อนๆ ผู้ที่มีประสบการณ์กองทุน
เพื่อสังคมจนมีความรู้ความเข้าใจแล้วจึงนำมาประชาสัมพันธ์ในชุมชน โดยเป็นวิทยากรบรรยายธรรม
ประจำโดยไม่ได้รับเงินค่าตอบแทน เรียกได้ว่าเป็นผู้ที่มีอาชีพสาธารณกุศล
4.1.2.4 ชุมชนวัดนาคกลาง แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่
ชุมชนวัดนาคกลาง มีลักษณะทั่วไปเป็นวัดโบราณที่ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวง
ในสมัยธนบุรีพื้นที่และอาณาเขตของวัดมีเนื้อที่ประมาณ 40 ไร่ เป็นที่ดินของกรมการศาสนาประชาชน
จะเช่าที่ดินปลูกบ้านอยู่อาศัย สภาพชุมชนแออัด มีประชากร 294 ครัวเรือนมีจำนวนประชากรรวมทั้ง
สิ้น 1,077 คน ส่วนใหญ่มีการศึกษาในระดับสูงคือปริญญาโท ปริญญาตรี และมัธยมศึกษาและอยู่ใน
วัยแรงงาน ประกอบอาชีพรับจ้าง ปัญหาที่พบคือปัญหาการว่างงานและปัญหายาเสพติด ภูมิปัญญาชุม
ชน ทางด้านความสามารถในด้านต่าง ๆ ของชุมชนไม่มี แต่ชุมชนวัดนาคกลางมีปราชญ์ชุมชนทางด้าน
กฎมายโดยประธานกองทุนได้เปิดโอกาสให้สำหรับผู้ที่มีปัญหาทางด้านกฎหมายปรึกษาได้ และมีองค์
กรชุมชน เป็นกลุ่มองค์กรที่ประชาชนในชุมชนร่วมกันก่อตั้งซึ่งแต่ละองค์กร จะมีวัตถุประสงค์ที่แตก
ต่างกันเพื่อให้ประชาชนเป็นสมาชิกและได้รับประโยชน์จากองค์กร ได้แก่กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ ศูนย์
สุขภาพชุมชนวัดนาคกลาง และอาสาสมัครสาธารณสุข ในการจัดตั้งกลุ่มองค์กรต้องอาศัยความสมัคร
ใจและความพร้อมของประชาชนเพื่อให้ประชาชนได้เรียนรู้และเข้าใจถึงประโยชน์ที่ตนจะได้รับ
วัฒนธรรมชุมชนในชุมชนมีวัดนาคกลางเป็นศูนย์รวมจิตใจประชาชนในชุมชนจะไปทำบุญตักบาตร
หรือประกอบพิธีกรรมทางศาสนาเพื่อสืบทอดวัฒนธรรมเดิมและเพื่อให้คนรุ่นหลัง เกิดความผูกพันรู้
รักสามัคคีและมีจิตสำนึกรักชุมชน ในด้านการสนับสนุนการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านของรัฐ ใน
การคัดเลือกประธานและกรรมการกองทุนของชุมชนวัดนาคกลางได้เชิญเจ้าหน้าที่ของรัฐมาร่วม
ประชุมรวม 11 คนได้แก่ผู้อำนวยการเขตบางกอกใหญ่ คณะอนุกรรมการระดับเขต เจ้าหน้าที่ฝ่าย
พัฒนาชุมชน เจ้าหน้าที่ฝ่ายทะเบียน เจ้าหน้าที่ฝ่ายเทศกิจ และคณะกรรมการชุมชน ซึ่งทุกสิ้นเดือน
สำนักงานเขตจะจัดให้มีการประชุมเมื่อมีข้อสงสัยที่ยากต่อการปฏิบัติก็ให้สอบถามได้ การมีส่วนร่วม
52
ประธานกองทุนตั้งใจสืบทอดวัฒนธรรมเดิมคือทอดผ้าป่าแล้วนำเงินมา สร้างวัตถุให้กับวัดเพื่อให้คน
รุ่นหลังเกิดความผูกพัน รู้รักสามัคคีและมีจิตสำนึกรักชุมชน วิธีการจูงใจประชาชนให้เข้าสมัครเป็น
สมาชิก โดยในขั้นต้นประธานจะจัดประชุมสำหรับประชาชนทุกคนก่อนเพื่อให้รับทราบในเบื้องต้น ต่อ
จากนั้นจึงเริ่มประชาสัมพันธ์โดยใช้เสียงตามสายภายในชุมชน วิธีพูดคุยแบบปากต่อปากใช้โปสเตอร์
ปิดประกาศมีข้อความว่า “เงินกำลังจะหมุนไปกำลังจะหมุนไปให้ชุมชน” และให้กรรมการทุกคนช่วย
กันประชาสัมพันธ์
4.1.2.5 ชุมชนวัดหงส์รัตนาราม เลขที่ 247/1 ถนนวังเดิม แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่
ชุมชนวัดหงส์รัตนาราม มีจำนวนครัวเรือน 342 ครัวเรือน มีจำนวนประชากรรวมทั้งสิ้น
1,284 คน ระดับการศึกษาของประชากรส่วนใหญ่ศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปริญญา
ตรี และมัธยมศึกษา ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง ข้าราชการและค้าขาย รายได้โดยเฉลี่ยของ
ประชากรอยู่ในระดับกลาง ค่อนข้างต่ำ ชุมชนวัดหงส์เป็นชุมชนใหญ่มีประชากรอาศัยอยู่เป็นจำนวน
มาก เมื่อมีประชาชนอพยพเข้ามาเพื่อหางานทำ ทำให้เกิดปัญหาการว่างงานและปัญหาสังคมเกิดขึ้น
ตามมาได้แก่ปัญหายาเสพติด ชุมชนวัดหงส์รัตนารามเคยเป็นวัดพัฒนาและได้รับรางวัลชนะเลิศชุมชน
สะอาดประจำป  2527 ภูมิปัญญา ชุมชนที่มีอยู่ไม่ค่อยรู้จักกันแพร่หลาย มีอยู่ประปรายเพราะไม่ได้รับ
การสืบทอดอย่าง ชัดเจน ในชุมชนจะมีปราชญ์ชุมชนที่มีความรู้ ความสามารถและความชำนาญด้าน
การเกษตรเป็นอย่างดีพร้อมที่จะให้ความรู้คำแนะนำแก่ประชาชนในชุมชนและบุคคลทั่วไปที่สนใจเพื่อ
นำไปปฏิบัติได้โดยประธานกองทุนนายปรัชญา ธัญญาดี องค์กรชุมชน ในชุมชนจะมีหลายกลุ่มองค์กร
ซึ่งแต่ละกลุ่มจะมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน จัดตั้งขึ้นโดยสมาชิกและเพื่อสมาชิกของชุมชน ได้แก่กลุ่ม
ออมทรัพย์ กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข กลุ่มอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน และกลุ่มปราบปราม
ยาเสพติด การสนับสนุนของรัฐ การดำเนินงานกองทุนของชุมชนวัดหงส์ คณะกรรมการได้พยายาม
ศึกษาหาข้อมูลและขั้นตอนการดำเนินงานในการจัดตั้ง โดยขอความร่วมมือจากสำนักงานเขตบางกอก
ใหญ่ และได้รับความร่วมมือในด้าน ต่างๆ ได้แก่ จัดประชุมคณะกรรมการในการสรรหาสมาชิก จัด
อบรมการทำบัญชีสำหรับกรรมการ จัดประชุมคณะกรรมการเพื่อทราบถึงปัญหาและพาไปดูกองทุนอื่น
53
ที่ประสบความสำเร็จและไม่ประสบผลสำเร็จ สำนักงานเขตจัดให้มีการประชุมทุกวันสิ้นเดือน เพื่อ
ต้องการทราบปัญหาและความก้าวหน้าของแต่ละกองทุน กองทุนใดมีปัญหาก็สอบถามได้เพื่อเป็นแนว
ทางในการปฏิบัติ และมีส่วนร่วมในการวางแผนการดำเนินงานการจัดตั้งกองทุนอย่างเป็นระบบและ
อย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความสำเร็จในการจัดตั้ง พร้อมทั้งมีส่วนร่วมในการประชุมและแสดงความคิด
เห็น มีส่วนร่วมในการคิดและแก้ไขปัญหา
จากการศึกษาทั้ง 10 ชุมชนภายใต้องค์ประกอบบริบทชุมชน การการค้นหาคุณลักษณะเฉพาะ
เพื่อแสดงให้เห็นถึงคุณลักษณะเฉพาะได้อย่างชัดเจนในแต่ละกลุ่มดังต่อไปนี้
กลุ่มสมาชิกกองทุนร้อยละ 60 และกลุ่มสมาชิกกองทุนร้อยละ 30 มีบริบทชุมชนที่เหมือนกัน
ด้านโภชนาการ ได้แก่ชุมชนคลองสวนพริก มีชื่อเสียงด้านการทำข้าวเหนียวมูน วัดบางขุนนนท์ทำขนม
ไทย ด้านเกษตรกรรม ชุมชนชวนชื่น มีชื่อเสียงด้านการเพาะพันธุ์พืช การปลูกไม้ดอกไม้ประดับ การ
เลี้ยงสัตว์เลี้ยง ชุมชนบางขุนนนท์เลี้ยงนกสวยงาม การเพาะเห็ด ชุมชนสุดสาคร เพาะพันธุ์สุนัข เลี้ยง
ปลา ทางด้านหัตถกรรม ชุมชนวัดอมรทายิการาม และชุมชนบางขุนนนท์มีชื่อเสียงด้านตัดเย็บเสื้อผ้า
ส่งตลาดโบ๊เบ้ และตลาดจตุจักร ชุมชนวัดหงส์รัตนารามมีชื่อเสียงด้าน การทำบายศรี ด้านศิลปกรรม
ชุมชนพัฒนาซอย 79 มีชื่อเสียงด้านการหล่อตุ๊กตาและเขาสัตว์เลซิ่น ชุมชนวัดเทพากร มีชื่อเสียง
ด้านการหล่อหัวโขน และตุ๊กตา ชุมชนสุดสาครมีชื่อด้านการหล่อพระ ซึ่งมีรายละเอียดดังตารางท ี่ 2
ตารางที่ 2 การค้นหาบริบทชุมชนที่มีสมาชิกกองทุนร้อยละ 60 และร้อยละ30
ชุมชนที่มีสมาชิกกองทุน ร้อยละ 60 ของครัวเรือน ชุมชนที่มีสมาชิกกองทุน ร้อยละ 30 ของครัวเรือน
ภูมิปัญญา
1.การแพทย์แผนไทย
2.โภชนาการ
3.เกษตรกรรม
4.หัตถกรรม
5.ศิลปกรรม
องค์กรชุมชน
1.กลุ่มออมทรัพย์
2.กลุ่มต่อต้านยาเสพติด
3.กลุ่มออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
4.กลุ่มป้องกันภัย
5.กลุ่มสาธารณสุข
6.กลุ่มปราบยุงลาย
วัฒนธรรมชุมชน
1.ทำบุญตักบาตร
2.ทำบุญประจำปี
3.ฟังพระธรรมเทศนาทุกวันอาทิตย์ วันพระ
ภูมิปัญญา
1.โภชนาการ
2.เกษตรกรรม
3.หัตถกรรม
4.ศิลปกรรม
องค์กรชุมชน
1.กลุ่มออมทรัพย์
2.กลุ่มต่อต้านยาเสพติด
3.กลุ่มออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
4.กลุ่มสาธารณสุข
5.กลุ่มผู้สูงอายุ
วัฒนธรรมชุมชน
1.ทำบุญตักบาตร
2.ทำบุญประจำปี
3.ฟังพระธรรมเทศนาทุกวันอาทิตย์และวันพระ
54
4.2 คุณลักษณะผู้นำรายบุคคล
ผู้นำที่นำมาศึกษาในครั้งนี้ เป็นผู้นำกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่ได้รับการแต่งตั้งของ 10
ชุมชน เป็นผู้ที่มีอิทธิพลต่อการชักจูง โน้มน้าวให้ประชาชนในชุมชนสมัครเป็นสมาชิกกองทุนและมี
ส่วนร่วมจนสามารถก่อตั้งกองทุนหมู่บ้านได้สำเร็จ จากความสำคัญดังกล่าว การวิจัยครั้งนี้จึงมุ่งศึกษา
ถึงคุณลักษณะผู้นำกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในด้านต่างๆ ที่มีผลให้การกองทุนหมู่บ้านประสบ
ความสำเร็จ การมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุน และเปรียบเทียบลักษณะผู้นำ 2 กลุ่มซึ่งประกอบด้วย
คุณลักษณะด้านการศึกษา ประสบการณ์ บุคลิกภาพ ฐานะทางเศรษฐกิจ ภาวะ ผู้นำ เทคนิคการจูงใจ
และการบริหารจัดการกองทุน และอื่น ๆ ภายใต้ประเด็นที่สำคัญได้แก่ บุคลิกภาพของผู้นำ ปัจจัยที่
เอื้ออำนวยต่อการเป็นผู้นำ และภาวะผู้นำกองทุน โดยนำเสนอเป็นรายบุคคลและแบ่งกลุ่มตามเกณฑ์
เพื่อใช้ในการค้นหาคุณลักษณะเฉพาะผู้นำทั้งสองกลุ่ม ตามลำดับดังต่อไปนี้
4.2.1 ผู้นำกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองกลุ่มชุมชนที่มีสมาชิกกองทุน ร้อยละ 60
กรณีศึกษาที่ 1 นายอนนั ต ์ อ่วมฉิม กองทนุ ชมุ ชนพฒั นา ซอย 79 หลังโรงเรียน วัดบาง
พลัด แขวงบางพลัด กรุงเทพมหานคร มีอายุ 69 ปี
นายอนันต์ อ่วมฉิม เข้ามาศึกษาในกรุงเทพตั้งแต่ปี 2494 และเข้ารับราชการกรมชลประทาน
ตำแหน่งสุดท้ายก่อนเกษียณ ดำรงตำแหน่งหัวหน้าการเงินและบัญชี แต่งงานมีครอบครัวและมีบุตร
ด้วยกัน 2 คน จบการศึกษาในระดับอนุปริญญา เคยได้รับตำแหน่งหัวหน้าในระบบราชการ ปัจจุบันมี
รายได้จากเงินบำเหน็จ มีบุคลิกภาพเป็นคนที่ให้เกียรติผู้อื่น ไม่ถือตัว เป็นกันเอง มีความจริงใจ
เอื้ออาทร และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น จากการสัมภาษณ์ท่านได้กล่าวว่า
“ผมอยากเห็นคนในชุมชนมีความรักสามัคคีกัน เพราะผมเห็นว่าความมั่นคงของชุมชน
ความเจริญก้าวหน้า และการมีชีวิต ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นได้นั้น ต้องมาจากพวกเราทุกคน ผมดีใจที่
รัฐบาลกำหนดนโยบายนี้ออกมาช่วยประชาชนเพราะไม่เคยมีมาก่อน ให้ประโยชน์หลายอย่างที
เดียว และยังช่วยสอนประชาชนได้เรียนรู้ที่จะพึ่งตนเอง และชุมชนก็จะมีความแข็งแกร่งทาง
เศรษฐกิจต่อเมื่อทุกคนมีฐานะดีกว่าที่เป็นอยู่” (อนันต์ อ่วมฉิม, 2545,ตุลาคม 2)
นายอนันต์ อ่วมฉิม เป็นผู้ที่มีความเชื่อมั่น กล้าคิด กล้าตัดสินใจ จากการสัมภาษณ์
นางพรรณิภา อุ่นแจ่ม อายุ 42 ปี มีอาชีพค้าขายชาวบ้านในชุมชนแห่งนี้ได้เล่าให้ฟังว่า
“คุณลุงมีความเป็นประชาธิปไตยในตนเอง ยกตัวอย่างเช่น “คุณลุงจะเปิดโอกาสให้ผู้เข้า
ร่วมประชุม ได้แสดงความคิดเห็นทุกครั้งที่มีการประชุมกัน” (พรรณิภา อุ่นแจ่ม,2545,ตุลาคม 5)
จากการที่รัฐเป็นผู้กำหนดนโยบายการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง โดยให้ชุมชนเป็น
ผู้ดำเนินการเองและสำนักงานเขตประกอบด้วยผู้อำนวยการเขต คณะอนุกรรมการ เจ้าหน้าที่ฝ่าย
55
พัฒนา ชุมชนและเจ้าหน้าที่ฝ่ายทะเบียนจะเป็นผู้ควบคุมดูแลให้ความรู้และสังเกตการณ์ จากการ
ศึกษาชุมชนพบว่าการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานดังกล่าวมีต่อชุมชนค่อนข้างน้อย ประธานกองทุนคือ
ผู้ดำเนินการนำนโยบายของรัฐมาสู่ชุมชนและสร้างความรู้ความเข้าใจในการกู้เงินเพื่อเป็นทุนหมุน
เวียนในการประกอบอาชีพและบรรเทาเหตุฉุกเฉินในยามจำเป็นเร่งด่วนให้ประชาชนได้เรียนรู้และเข้า
ใจมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งเป็นผู้สร้างความเข้มแข็งสนับสนุน ดำเนินกิจกรรมกองทุนให้เกิดขึ้นในชุมชน
นอกจากนี้นายธีรภพ วรรณประเสริฐ อายุ 40 ปี มีอาชีพรับจ้างได้เล่าให้ฟังว่า
“ลุงอนันต์เป็นคนที่ไม่เคยถือตัวและทำงานทุกอย่างเท่าที่แกสามารถทำได้ซึ่งในการ
พัฒนาและปรับปรุงที่ดินที่ต่ำเป็นร่องสวน ทำให้มีน้ำท่วมขังนั้นแกได้เป็นแกนนำและร่วมลงมือทำ
ด้วยตนเองพร้อมกับชาวบ้านคนอื่นๆ ในการปรับพื้นที่ครั้งนั้น จนได้รับการแต่งตั้งให้เป็น
กรรมการชุมชนจนถึงปัจจุบันรวม 3 สมัย นับเป็นเวลา 11 ปี” (ธีรภพ วรรณประเสริฐ, 2545,
ตุลาคม 7)
ในเช้าวันอาทิตย์ทุกต้นเดือน ประธานชุมชนจะเป็นผู้ประกาศออกเสียงตามสายเชิญชวนให้
ประชาชนนำของมาใส่บาตร ในการดำเนินการจัดตั้งกองทุน จะเป็นแกนนำตั้งแต่เริ่มต้นโดยการเข้า
ร่วมประชุมกับภาครัฐเพื่อศึกษารายละเอียดและขั้นตอนการดำเนินงานแล้วจึงนำมาวางแผนเพื่อ
ดำเนินการจัดตั้ง กองทุนในชุมชน
นายเมฆินทร์ จิตแผ้ว อายุ 70 ปี มีความเชี่ยวชาญด้านผลิตยาสมุนไพร อดีตเป็นรองประธาน
ชุมชนได้ให้เหตุผลสนับสนุนถึงการที่ประชาชนในชุมชนให้ความเคารพนับถือและแสดงให้เห็นถึง
ความรักเอาใจใส่ดูแลชุมชนที่มีมาตลอดโดยซึ่งเป็นคุณลักษณะที่สำคัญของผู้นำตามธรรมชาติโดยเล่า
ให้ฟังว่า
“ประธานกองทุนปกติจะตื่นแต่เช้าเพื่อเดินสำรวจชุมชน และจะประกาศออกเสียงตาม
สายด้วยตนเอง จนทุกคนในชุมชนจำได้คือสวัสดีครับพี่น้องชาวชุมชน ชาวบ้านทุกคนให้ความรัก
ความศรัทธาและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี” (เมฆินทร์ จิตแผ้ว,2545,ตุลาคม 10)
กรณีศึกษาที่ 2 นายสำรวย ลาภขจร ชุมชนคลองสวนพริก เลขที่ 1130 ซอยจรัญ 79
ถนนจรัญสนิทวงศ  แขวงบางพลัด กรุงเทพมหานคร มอี าย ุ 62 ปี
ประธานกองทุนท่านเป็นชาวจังหวัดสุพรรณบุรี เข้ามาอยู่กรุงเทพเมื่อปี 2500 เพื่อศึกษาต่อ
อดีตเป็นพนักงานองค์การโทรศัพท์เป็นหัวหน้าฝ่ายเร่งรัดหนี้สินและมีความรู้ด้านสหกรณ์เป็นอย่างดี
แต่งงานมีครอบครัวและมีบุตรด้วยกัน 2 คน จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 8 ปัจจุบันมีรายได้
จากเงินบำเหน็จ นายสำรวย ลาภขจร เป็นผู้เสียสละและช่วยงานชุมชนมาตลอดตั้งแต่ปี 2523 ในการ
เป็นแกนนำเพื่อแก้ไขปัญหาลำคลองของชุมชนซึ่งใช้สัญจรไปมากลายเป็นทางระบายน้ำเน่าเสียและ
กลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ประธานกองทุนกล่าวว่า ผมอยากเห็นชุมชนเจริญ ประชาชนในชุมชนจะ
ได้รับความสะดวกสบายและมีความเป็นอยู่ที่ดี ชุมชนก่อตั้งมาได้ 22 ปี
56
“ผมเป็นประธานชุมชนเป็นปีที่ 5 ก็ได้พยายามต่อสู้และพัฒนามาโดยตลอดจนกระทั่งรัฐ
มีนโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เพื่อให้ชุมชนมีเงินหมุนเวียนและแก้ปัญหาความยากจน
ของประชาชนนั้นเป็นงานที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากประชาชนในชุมชน จึงจะสามารถจัดตั้ง
กองทุนได้ แต่ก็จัดตั้งได้สำเร็จจึงต้องอาศัยทีมงานที่มีความสามารถ มีความรับผิดชอบ รวมทั้ง
ชาวบ้านที่ดีด้วย” (สำรวย ลาภขจร,2545,ตุลาคม 16)
ประธานกองทุนได้นำประสบการณ์ที่ได้จากการทำงานอยู่องค์การโทรศัพท์และเคยทำอยู่ด้าน
การเงินมาเป็นเวลา 32 ปี 4 เดือน โดยไม่มีวันลาพักร้อนเลย ซึ่งขณะนั้นมีตำแหน่งเป็นหัวหน้างาน
ฝ่ายเร่งรัดหนี้สินและมีความรู้เกี่ยวกับสหกรณ์ออมทรัพย์ด้วย ตลอดเวลาที่ทำงานเพื่อส่วนรวมท่านจะ
ให้ความสำคัญในการทำงานต้องมีความรับผิดชอบ ท่านได้กล่าวว่า
“การทำงานทุกอย่างที่เกี่ยวกับเงินถือคติว่าชุมชนเป็นผู้ทำเอง ทำด้วยความมั่นใจ ทำแล้ว
ตรวจสอบได้ เงินคือเศษกระดาษ ถ้าขาดคือเงินเรา” (สำรวย ลาภขจร,2545,ตุลาคม 17)
บุคลิกภาพนิสัยส่วนตัว เป็นผู้ที่มีความเชื่อมั่นในตนเองสูง เสียงดังฟังชัด กล้าแสดงออก มี
ความคล่องตัว เป็นคนใจเย็น เสียสละ มีเหตุผลในการตัดสินใจ แก้ไขปัญหาและฟังความคิดเห็นของ
ผู้อื่นพร้อมยิ้มรับกับปัญหาที่เกิดขึ้น และมีความสัมพันธ์สนิทสนมกับชาวบ้านในชุมชนเป็นอย่างมาก
จากการสัมภาษณ์นายสมพงษ์ ตุ้มทอง อายุ 64 ปี อาชีพค้าขายได้เล่าให้ฟังว่า
“ท่านเป็นคนที่เห็นความสำคัญของชาวบ้านให้เป็นอันดับแรก โดยจะไปร่วมงานชาวบ้าน
ในชุมชนทุกครั้งทุกบ้านที่มีงาน ถึงแม้ว่าในบางครั้งท่านจะต้องมีภาระกิจที่สำคัญจนไม่มีเวลาเป็น
ของตนเองท่านก็ยังพยายามที่จะไปร่วมงานชาวบ้านให้ได” (สมพงษ์ ตมุ้ ทอง, 2545,ตลุ าคม 18)
จากการสัมภาษณ์นางรุ่งรัตน์ กะปัตถา อายุ 28 ปี อาชีพธุรกิจส่วนตัว ซึ่งเป็นกรรมการท่าน
หนึ่งในกองทุนหมู่บ้านได้เล่าให้ฟังว่า
“ท่านประธานชุมชนนั้นเป็นคนใจดี และเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่จริง ๆ บ่อยครั้งที่ท่านจะออกเงิน
ส่วนตัวให้ก่อนในกรณีการกู้เงินฉุกเฉินของสมาชิกกองทุนต้องใช้เวลานานในการอนุมัติเงินกู้ซึ่งจะ
ไม่ทันกับความเดือนร้อนของชาวบ้านโดยที่ท่านไม่เคยสนใจว่าตรงนี้เป็นเงินส่วนตัวของท่านเลย”
(รุ่งรัตน์ กะปัตถา, 2545,ตุลาคม 21)
ประเด็นดังกล่าวแสดงให้เห็นว่ากรรมการกองทุนและสมาชิกต่างให้การยอมรับและสนับสนุน
ท่านประธานดำรงตำแหน่งนี้ และให้มีอำนาจในการตัดสินใจในการดำเนินการเพราะท่านมีความจริง
ใจให้กับชาวบ้านและเป็นประเด็นสำคัญที่ทำให้ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมเป็นจำนวนมาก
การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานในขณะนั้นการดำเนินการกองทุนเป็นไปอย่างมีระบบในการ
บริหารจัดการ ทางสำนักงานเขตจึงได้เข้ามาช่วยแนะนำเกี่ยวกับคู่มือและระเบียบของสำนักนายกรัฐ
มนตรี เมื่อชุมชนเริ่มดำเนินการคัดเลือกคณะกรรมการได้เชิญเจ้าหน้าที่ของสำนักงานเขตฝ่ายพัฒนา
ชุมชนมาเป็นประธาน นอกจากนั้นยังได้รับการสนับสนุนจากสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาที่ได้
จัดการอบรมการทำบัญชี และให้นักศึกษาโครงการกองทุนมาช่วยงานในชุมชน
57
กรณีศึกษาที่ 3 นายชัยยงค์ บรรเจิดศิลป์ กองทุนชุมชนชวนชื่น แขวงบางขุนนท ์ เขตบาง
กอกน้อย กรุงเทพมหานคร อายุ 46 ปี
นายชัยยงค์ บรรเจิดศิลป์ จบการศึกษาระดับประโยคอาชีวศึกษาชั้นสูง ภรรยารับราชการมี
บุตรด้วยกัน 2 คน ย้ายเข้ามาอยู่ในชุมชนนี้เป็นเวลาทั้งสิ้น 28 ปี ปัจจุบันมีอาชีพประกอบธุรกิจส่วน
ตัว เปิดร้านขายอาหารและรับงานก่อสร้างทั่วไป อดีตเป็นพนักงานธนาคารกรุงเทพจำกัด มีฐานะดี
เพราะทำธุรกิจส่วนตัวและมีเวลาให้กับชุมชนมากขึ้น บุคลิกภาพและอุปนิสัยส่วนตัวเป็นคนพูดจริงทำ
จริง มีความเชื่อมั่นในตนเองสูง มีความอดทนและเสียสละ จากลักษณะดังกล่าวกอปรกับลักษณะความ
สัมพันธ์ของคนในชุมชนที่แบ่งกันเป็นกลุ่ม ๆ และมีอาชีพทางด้านเกษตรกรรม การศึกษาอยู่ในระดับ
ประถมศึกษาและไม่มีบุคคลใดในชุมชนที่มีความรู้ความสามารถและเข้าใจในเรื่องของการบริหารการ
กู้ยืมเงินดีเท่ากับคุณชัยยงค์ซึ่งมีความสามารถในการประกอบธุรกิจส่วนตัวได้จนประสบความสำเร็จ
เหมือนกับคุณชัยยงค์ ในขณะเดียวกันก็มีภรรยารับราชการซึ่งชาวบ้านมีความเห็นว่าเป็นบุคคลที่
เหมาะสมที่จะเลือกให้เป็นประธาน กองทุน ซึ่งคุณชัยยงค์เองก็มีความภาคภูมิใจในตำแหน่งที่ได้รับ
เป็นอย่างยิ่งและเต็มใจรับผิดชอบในการบริหารดำเนินการจัดตั้งกองทุน ขั้นแรกผู้นำกองทุนรับ
นโยบาย หลักการจากสำนักงานเขตพร้อมหนังสือ คู่มือระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี หลังจากนั้นต้อง
ติดตามงานด้วยตนเอง เช่น การไปรับหนังสือแต่งตั้งกรรมการ ติดตามผลการอนุมัติเงินล้าน ซึ่งต้อง
เอาใจใส่คอยสอบถามกับธนาคาร เอกสารต่าง ๆ และได้ไปรับด้วยตนเองที่สำนักงานเขตทุกครั้ง ซึ่ง
แสดงให้เห็นว่าเจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐให้ความสำคัญและเอาใจใส่ดูแลค่อนข้างน้อยซึ่งปล่อยให้
เป็นไปตามความสามารถของประธานกองทุนดำเนินงานเองทุกอย่างและทุกขั้นตอน
ประธานกองทุนเป็นบุคคลที่ทุ่มเททั้งแรงกายแรงใจและเวลาว่างให้กับส่วนร่วม โดยไม่เห็นแก่
ประโยชน์ส่วนตัวและมีความตระหนักถึงความต้องการและความเดือดร้อนของชาวบ้านเป็นสิ่งสำคัญ
ดังที่ท่านได้ให้สัมภาษณ์ไว้ว่า
“ชาวบ้านให้ความสำคัญและเลือกผมเป็นประธาน ผมดีใจที่ชาวบ้านเห็นความสำคัญผม
ก็พยายามทำให้ดีที่สุด โดยผมได้นำประสบการณ์ที่มีอยู่จากการผ่านงานมา 20 กว่าปีมาใช้ใน
การบริหาร การเป็นประธานกองทุนไม่ใช่งานที่น่าหนักใจ แต่ต้องมีเวลาให้และเสียสละ จากที่
ผ่านมาผมเป็นผู้ร่างระเบียบเอง จัดพิมพ์เอกสารเอง เมื่อเวลามีการประชุมจะเป็นผู้บันทึกราย
งานการประชุมและจัดพิมพ์รายงานเอง แล้วจึงให้เลขาเซ็นชื่อ เพราะขอร้องให้เขามาเป็น สำหรับ
ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ได้แก่กระดาษ แฟ้ม สมุดใช้เงินส่วนตัวของประธานเอง ประธานกองทุน : ผม
พยายามทำทุกสิ่ง ทุกอย่างเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม เพราะอยากเห็นความสำเร็จของงานและ
ประชาชนในชุมชนจะได้มีความเป็นอยู่ที่ดีมีเศรษฐกิจที่คล่องตัว ผมจึงต้องทุ่มเทแรงกายแรงใจ
และเวลาว่างให้กับส่วนร่วม”
นอกจากนี้คุณชัยยงค์ ได้พูดถึงวิธีบริหารจัดการว่า
58
“การทำงานต้องมีหลักการ ต้องใช้เวลาและต้องเสียสละทุนทรัพย์” และได้พูดเสริมว่า “แนว
ปฏิบัติควรชัดเจน ง่ายต่อการปฏิบัติ การเลือกสรรด้วยวิธีที่ดีมาก ไม่งั้นไม่มีวันนี้” (ชัยยงค์
บรรเจิดศิลป์ , 2545,ตุลาคม 25)
ในระยะแรกประธานกองทุน ต้องออกไปทำงานนอกบ้านจึงไม่ค่อยมีเวลาให้กับชุมชนมากนัก
ได้รับการคัดเลือกให้เป็นเลขาชุมชน ในปัจจุบันทำธุรกิจส่วนตัว ทำให้มีเวลาสำหรับงานชุมชนมากกว่า
เดิมและเข้ามามีส่วนร่วมงานของชุมชนเพิ่มขึ้น
กรณีศึกษาที่ 4 นายรัตนชัย บุญศรี กองทุนชุมชนวัดอมรทายิการาม เลขที่ 683 ศูนย์พัฒนา
เด็กก่อนวัยเรียนพิทักษา วัดอมรทายิการาม ถนนอิสรภาพ แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย
กรุงเทพมหานคร อายุ 40 ปี
นายรัตนชัยมีครอบครัวและมีบุตร 2 คนเป็นคนในพื้นที่โดยกำเนิด ครอบครัวประกอบอาชีพ
ตัดเย็บเสื้อผ้าซึ่งเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ขณะนี้นายรัตนชัยกำลังศึกษาต่อใน
ระดับปริญญาโท ทำธุรกิจส่วนตัวอุปนิสัยส่วนตัวเป็นผู้มีเหตุผล กล้าแสดงออก มีบุคลิกภาพที่เข้มแข็ง
เชื่อมั่นในตนเองสูง และมีความเด็ดเดี่ยวเมื่อตั้งใจทำแล้วต้องทำให้ได้ เช่นกรณีที่ในการประชุมเวที
ชาวบ้านเกี่ยวกับการรับสมัครสมาชิกของชุมชนจะเปิดกว้างทั้งคนในชุมชนและนอกชุมชนโดยต้องนำผู้
ที่มาเป็นหลักประกันซึ่งเป็นผู้ที่อยู่ในชุมชนมานานและคนในชุมชนรู้จักดี แต่ชาวบ้านอ้างเหตุผลว่าตน
อยู่นอกชุมชนนั้นไม่สามารถทำได้ ขณะเดียวกัน "ประธานกองทุนได้ชี้แจงถึงเหตุผลที่จะต้องเป็น
คนที่อยู่ในชุมชนมานาน เพราะถ้าสมาชิกไม่นำเงินมาชำระหนี้คืนตามกำหนดไว้ กองทุนของเรา
จะไม่สามารถติดตามได้" (รัตนชัย บุญศรี,2545,ตุลาคม 27)
เมื่อรัฐบาลได้มอบหมายนโยบายให้กับชุมชนแล้ว ชุมชนต้องเป็นผู้บริหารจัดการเองแต่ทำให้
เกิดปัญหาเพราะกรรมการที่ได้รับการคัดเลือกมีหลายระดับ บางคนมีความรู้ บางคนไม่มีความรู้ ผู้นำ
กองทุนจึงใช้เวลาเป็นเครื่องตัดสินในการแก้ไขปัญหาได้รับการสนับสนุนจากสถาบันราชภัฎบ้าน
สมเด็จเจ้าพระยา ได้มีการจัดอบรมเกี่ยวกับการจัดทำบัญชีกองทุนและจัดส่งนักศึกษาบัณฑิตกองทุน
หมู่บ้านเข้ามาช่วยงานในชุมชน จากการที่นายรัตนชัย ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว และกำลังศึกษา
โดยส่วนตัวจึงไม่ค่อยมีเวลาให้กับการทำงานของชุมชน แต่ได้มอบหมายให้รองประธานกองทุนดำเนิน
การแทน คือคุณกรรณิการ์ เกิดศรีพันธุ์ ซึ่งเป็นคนสู้งานและสนุกกับงาน ชอบทำอะไรที่ท้าทาย เธอรับ
หน้าที่ 2 ตำแหน่งคือรองประธานกองทุน และเหรัญญิก ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาเด็กก่อน
วัยเรียนพิทักษาของชุมชน แต่เธอไม่ได้รับการเลือกให้เป็นประธานเพราะเนื่องจากว่าประชาชนในชุม
ชนไม่ค่อยคุ้นเคยกับคุณกรรณิการ์ เท่าคุณรัตนชัยซึ่งเป็นคนในพื้นที่มาตั้งแต่กำเนิด จากการสัมภาษณ์
พออ.ชด แดงมณี อายุ 63 ปีประธานชุมชนวัดอมรทายิการามคนปัจจุบันได้แสดงความคิดเห็นถึง
สาเหตุที่ท่านได้ร่วมกับชาวบ้านคนอื่น ๆ สนับสนุนให้คุณรัตนชัยได้เป็นประธานกองทุนว่า
59
“เห็นนายรัตนชัยมาตั้งแต่สมัยยังเป็นเด็ก ๆ จนกระทั่งเติบโตเป็นผู้ใหญ่และมีความรับ
ผิดชอบต่อตนเองและครอบครัวและมีความรู้สึกชื่นชอบโดยส่วนตัวที่เขายังสามารถสืบทอดอาชีพ
ของบรรพบุรุษมาจนถึงปัจจุบันและยังเผยแพร่กระจายรายได้ให้กับคนใน ชุมชนโดยไม่เห็นแก่
ตัวเมื่อใครมาเป็นลูกจ้างตัดเย็บจนมีความชำนาญแล้วก็สามารถออกไปตั้งตัวได้พร้อมทั้งยังให้
การสนับสนุนอีกด้วย “ (พออ.ชด แดงมณี, 2545,ตุลาคม 29)
นายเจริญ สมบุญ อายุ 62 ปี อาชีพค้าขาย กล่าวถึงประธานกองทุนว่า
“เขาเป็นคนดี มีเหตุผล มีความเข้มแข็งและเด็ดเดี่ยว ซึ่งเป็นเพราะความเป็นหัวหน้าครอบครัว
และการเป็นเจ้าของธุรกิจส่วนตัว จึงทำให้เขาเป็นคนจริงจังต่อหน้าที่การงาน และการดำเนินชีวิต
ซึ่งสมควรจะเอามาเป็นหลักในการดำรงชีวิตให้ประสบความสำเร็จ” (เจริญ สมบุญ , 2545,
ตุลาคม 31)
จากลักษณะแห่งภาวะผู้นำการเป็นเจ้าของธุรกิจต้นแบบในชุมชนในด้านการประกอบ
อุตสาหกรรมในครัวเรือนตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่มีฐานะอย่างมั่นคงซึ่งเป็นแบบอย่างที่ดีและเป็นส่วน
หนึ่งที่ทำให้คนในชุมชนนั้นมีรายได้ กอปรกับเป็นคนในพื้นที่โดยกำเนิดจึงทำให้คุณชัยยงค์ได้รับการ
ยอมรับจากคนในชุมชนและได้รับการเลือกให้เป็นประธานโดยมีคุณกรรณิการ์เป็นผู้ช่วยคนสำคัญใน
การดำเนินการบริหารกองทุนให้ประสบความสำเร็จในปัจจุบันนี้
กรณีศึกษาที่ 5 นาวาเอกพิเศษโชตติรัตน์ อภัยพลชาญ กองทุนชุมชน ปรกอรุณ เลขที่
345/30 ถนนอรุณอัมรินทร์ แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร อายุ 67 ปี
นาวาเอกพิเศษโชตติรัตน์ อภัยพลชาญ เป็นข้าราชการบำนาญของกองทัพเรือ จบการศึกษา
จากโรงเรียนชุมพลทหารเรือ แล้วเข้ารับราชการในกองทัพเรือตลอดมา ปัจจุบันรับเงินบำนาญ
ประมาณเดือนละ 20,000 บาท มีครอบครัว แต่ไม่มีบุตร ภูมิลำเนาเป็นคนพื้นที่โดยกำเนิด คุณพ่อ
เป็นอาจารย์ด้านศิลปะที่มีชื่อเสียง ในชุมชนจะรู้จักกันดีว่าเป็นลูกใคร บ้านอยู่ตรงไหน มีหน้าที่การงาน
อะไร และมี ประสบการณ์การเป็นนักเรียนทหารเรือ จึงมีบุคลิกภาพเป็นผู้มีความอดทนหนักแน่น
และต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับซึ่งเป็นผลดีจึงได้นาํ หลักการนี้มาใช้ในการทำงานของชุม
ชน จากการสัมภาษณ์ถึงเหตุผลที่ท่านรับตำแหน่งประธานกองทุนซึ่งต้องเสียสละและต้องทำงานอย่าง
หนักเพื่อก่อตั้งกองทุนให้สำเร็จให้ได้นั้นเพราะเหตุใด ซึ่งได้รับคำตอบจากท่านว่า
“ผมมีเวลาให้เต็มที่เพราะไม่มีภาระทางด้านหน้าที่การงานประจำ คิดว่าเป็นบ้านเกิดของ
เราอยู่ด้วยกันต้องช่วยกัน” (โชตติรัตน์ อภัยพลชาญ , 2545,พฤศจิกายน 6)
60
จากคำตอบแสดงให้เห็นว่าท่านมีจิตสำนึกรักบ้านเกิด และเห็นประโยชน์ส่วนรวมและมีความ
เอื้ออาทรต่อคนที่ยังมีความต้องการโอกาสเพื่อสร้างฐานะเศรษฐกิจของครอบครัวให้มีความมั่นคงมาก
ขึ้น
จากคำบอกเล่าของนายบุญชู ลับเหลี่ยม อดีตประธานชุมชน อายุ 63 ปี กล่าวว่า
“นาวาเอกพิเศษโชตติรัตน์เป็นบุคคลที่เหมาะสมในการเป็นประธานกองทุน ทั้งนี้เพราะ
ท่านเป็นที่รู้จักเคารพและศรัทธาของทุกคนในชุมชนเพราะเป็นคนในพื้นที่ตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายาย
วงศ์ตระกูลมีชื่อเสียง และมีความพร้อมในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นฐานะที่มีความมั่นคง มีประสบ
การณ์รับราชการมีตำแหน่งถึงผู้บริหารระดับสูง มีความโปร่งใส มีระเบียบวินัย จากลักษณะดังนี้
ชาวชุมชนจึงพร้อมใจกันเลือกท่านให้เป็นประธานกองทุน” (บุญชู ลับเหลี่ยม , 2545,พฤศจิกายน
10)
บทบาทหน้าที่ของประธานกองทุนได้แก่ การเป็นผู้ร่างระเบียบการ แผนงานการบริหารกอง
ทุน การกำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการกองทุน กำหนดระเบียบวาระการ
ประชุม เป็นประธานในการประชุมย่อย และกำหนดอัตราดอกเบี้ยให้กับสมาชิก นอกจากนี้ยังมีการ
จัดการและบริหารทีมงานอย่างเป็นระบบ โดยมีการแบ่งงานและกระจายหน้าที่ให้กรรมการและร่วมกัน
เป็นผู้ ประชาสัมพันธ์ตามบ้านทุกบ้าน ทำให้คนในชุมชนได้รับข้อมูลอย่างทั่วถึงและรวดเร็ว อันเป็น
การแสดงให้เห็นการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและจริงจังเข้มแข็งของคณะกรรมการก่อตั้งกองทุนจน
ทำให้มีคนมาสมัครเป็นสมาชิกถึง ร้อยละ 60 ของจำนวนครัวเรือนในชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำ
เงินที่กู้ยืมมาใช้หนี้เงินนอกระบบ ซื้อของมาเพิ่มเพื่อขายให้ได้มากขึ้น และนำมาซื้ออุปกรณ์การ
เสริมสวยเพิ่มมากขึ้นและปรับเปลี่ยนสถานที่ให้มีความสวยงามเหมาะสมเพื่อเพิ่มจำนวนผู้มาใช้บริการ
มากขึ้น สำหรับผู้ที่ไม่มาร่วมสมัครเป็นสมาชิกเพราะมีฐานะมั่นคงดีแล้ว
4.2.2 ผู้นำกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองกลุ่มชุมชนที่มีสมาชิกกองทุน ร้อยละ 30
กรณีศึกษาที่ 6 นายสุวัฒน์ชัย สมเนตร กองทุนชุมชน วัดเทพากร เลขที่ 477 ซอยจรัญ
สนทิ วงศ์ 68 ถนนจรัญสนิทวงศ  แขวงบางพลัด เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร อายุ 65 ปี
นายสุวัฒน์ชัย สมเนตร จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีภรรยาและบุตรรวม 4 คน มี
หน้าที่การงานทำแล้ว ปัจจุบันประธานกองทุนประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว มีบ้านให้เช่า มีรถปิกอัพให้
นักการเมืองเช่า รับจ้างโฆษณา เดิมเป็นชาวอำเภอบัวทอง จ.อ่างทอง เข้ามาอยู่กรุงเทพฯ พร้อมครอบ
ครัว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2492 เพื่อเรียนหนังสือแต่ทางบ้านมีปัญหาเศรษฐกิจ จึงหมดโอกาสศึกษาต่อ
ปัจจุบันเป็นหัวหน้าชุมชนเป็นวาระที่ 2 หลังจากที่ได้รับการอบรมแล้วได้ไปเป็นวิทยากรให้ความรู้แล้ว
61
นำมาช่วยสังคมในปี 2529 โดยการนำของพี่ชาย พี่สาว อาจารย์ใหญ่ ร.ร.วัดเทพากร ร่วมกันเป็นตัว
แทนกลุ่มในการเรียกร้องให้รัฐเข้ามาช่วยเหลือเพื่อดำเนินการจัดตั้งชุมชนให้มีสภาพที่ดีขึ้น ในขณะนั้น
พื้นที่เดิมของชุมชนวัดเทพากร พื้นที่ต่ำและน้ำท่วมมาก คุณลุงสุวัฒน์ชัย ได้เคยปฏิญาณไว้กับรัชกาลที่
9 ว่า
“ผมจะต้องช่วยให้พื้นที่ตรงนี้เจริญขึ้นให้ได้” จึงตั้งใจที่จะพัฒนาชุมชนแห่งนี้ตั้งแต่นั้นมา
โดยได้เป็นตัวแทนกลุ่มเรียกร้องให้รัฐเข้ามาช่วยเหลือจัดตั้ง ชุมชนให้มีสภาพดีขึ้น ซึ่งท่านได้กล่าวว่า
“ผมพยายามทำทุกอย่างเพื่อให้ชาวบ้านมีความสุข” “ผมเป็นคนหนึ่งของชุมชน เมื่อผม
สุขสบาย ชาวบ้านก็สุขสบายด้วย” ท่านประธานเป็นผู้ที่ไม่ยึดติดกับตำแหน่งลาภ ยศ สรรเสริญ
เช่น “ผมก็เป็นชาวบ้านธรรมดา ผมพยายามหาวิธีที่จะนำความรู้ แนวคิดที่ได้จากการฝึกอบรม
มาใช้พัฒนาในชุมชน เกี่ยวกับกองทุนหมู่บ้านผมเป็นสมาชิกกองทุนและใช้สิทธิกู้เพื่อเป็นตัวอย่าง
กับชาวบ้าน”
นอกจากนี้แล้วคุณลุงได้ให้ข้อคิดหลายอย่างที่แสดงให้เห็นถึงประสบการณ์ในการทำงานและ
คุณลักษณะที่สำคัญของผู้นำ เช่น
“การทำงานอย่าเอาเงินเป็นตัวตั้ง เอาการช่วยเหลือเป็นตัวตั้ง การเป็นผู้นำต้องหนักแน่น
ไม่สะทกสะท้านและไม่หวั่นไหว” (สุวัฒน์ชัย สมเนตร, 2545,พฤศจิกายน 15)
เมื่อได้เป็นผู้ริเริ่มล่ารายชื่อเพื่อจัดตั้งชุมชน ประชาชนให้ความร่วมมือดี ด้านนิสัยส่วนตัวชอบ
แสวงหาความรู้โดยการเข้ารับการอบรมความมั่นคงภายในที่สวนรื่น แสวงหาวิทยาการใหม่ ๆ จาก
คอมพิวเตอร์ ด้านบุคลิกภาพและนิสัย เป็นผู้ที่มีอัธยาศัยดี ยอมรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น อ่อนน้อม
ถ่อมตน ยกย่องคนทำความดี มีความสามารถเข้ากับเจ้าหน้าที่ของทางราชการได้ดี ในด้านการตัดสิน
ใจแก้ไขปัญหาประธานกองทุนเป็นคนฉลาด สามารถแก้ไขสถานการณ์ได้ บุคลิกภาพพิเศษคือพูดเก่ง
มีความคล่องตัว เข้ากับคนได้ง่าย และเป็นนักประชาสัมพันธ์ที่ดีด้วย นางจินตนา หิรัญวงศ์ อายุ 45 ปี
อาชีพ ค้าขาย และนางปรารถนา พ่วงบุญ อายุ 39 ปี อาชีพค้าขายเช่นเดียวกันเล่าให้ฟังว่า
”นายสุวัฒน์ชัย เป็นผู้ที่สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดีมากคนหนึ่ง มีสมาชิกคนหนึ่งกู้
เงินไปแล้วไม่สามารถชำระคืนได้ แกก็เลยให้ผู้กู้คนนั้นมากวาดถนนในชุมชนทุกวันแล้วก็คิดเป็น
ค่าแรงวันละเท่าไรซึ่งจะหักกับหนี้ที่กู้ไปจนกว่าจะหมด นอกจากนี้แล้วแกยังเป็นคนฉลาดเป็นคน
เข้าใจคนอื่น และเข้ากับคนง่าย ไม่ถือตัวและมีนิสัยชอบช่วยเหลือคนอื่นโดยที่แกจะมาอุดหนุนซื้อ
ของจากคนทั้งสองเสมอ เมื่อโครงการกองทุนหมู่บ้านเริ่มเข้ามาสู่ชุมชน นางทั้งสองเห็นประธาน
เดินคุยกับคนในชุมชนมาตลอด และเห็นแกเป็นผู้ติดป้ายประกาศด้วยตนเอง เพราะแกมุ่งมั่นที่
จะก่อตั้งกองทุนหมู่บ้านให้สำเร็จและมีความมั่นคงยั่งยืนตลอดเพราะแกจะพูดให้ฟังทุกครั้งว่าแก
รู้สึกดีใจที่รัฐมองเห็นความสำคัญและความทุกข์ยากของคนยากจนในชุมชน และแกต้องการให้
ความยากจนของคนในชุมชนที่แกอยู่ให้หมดไปจากที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ แกจึงทำทุกอย่างโดยไม่เห็น
ความยากลำบากเลย” (ปรารถนา พ่วงบุญ,2545,พฤศจิกายน 22)
62
กรณีศึกษาที่ 7 นายพยุงศักดิ ์ ปัทมานนท ์ กองทุนชุมชน วัดบางขุนนนท ์ เลขที่ 99/22 ซอย
วัดบางขุนนนท ์ ถนนบางขุนนนท  แขวงบางขุนนนท ์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร อายุ 62 ปี
นายพยุงศักด ิ์ ปัทมานนท ์ เป็นข้าราชการบำนาญ อดีตเป็นพนักงานไฟฟ้าฝ่ายผลิตยันฮี
และมีรายได้ 250,000 บาท/ปี มีภรรยาและบุตร 1 คน ภูมิลำเนาอยู่ในชุมชนตั้งแต่เกิดและได้รับการ
สบื ทอดมาตงั้ แตส่ มยั ปู ่ ยา่ ตา ยาย บ้านอยู่ติดวัดบางขุนนนท ์ มคี วามเปน็ อยอู่ ยา่ งงา่ ย ๆ และมีบ้าน
หลังใหญ่สมกับเป็นตระกูลเก่าแก่ของชุมชน การศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี มีประสบการณ์และ
ความสามารถพิเศษทางด้านสถาปัตยกรรมและงานก่อสร้าง มีความเป็นกันเองกับชาวบ้าน มีบุคลิก
ภาพที่น่าเกรงขาม มีบารมีที่สะสมมาแต่บรรพบุรุษ โดยนิสัยส่วนตัวเป็นผู้มีคุณธรรมให้เกียรติผู้ร่วม
งานรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น คิดและทำอย่างมีเหตุผล จากการสัมภาษณ์ นายณรงค์ ศรีคร้าม อายุ
56 ปีมีอาชีพเพาะเห็ดขายซึ่งเป็นคนเก่าแก่ของชุมชนและเป็นกรรมการคนหนึ่งของกองทุน ได้เล่าให้
ฟังว่า
“ประธานเป็นคนที่ชาวชุมชนให้ความเคารพและยอมรับนับถือมากคนหนึ่งในชุมชน
เพราะเป็นคนมีความรู้สูง มีฐานะ แต่ไม่มีความเป็นคนเจ้ายศเจ้าอย่างเหมือนคนรวยทั่วๆ ไปที่
ชอบแบ่งแยกคนรวยกับคนจน และจะไม่คบหาสมาคมคนอื่นที่ยากจนกว่า แต่แกกลับมานั่งกิน
กาแฟและพูดคุยกับชาวบ้านเท่าที่แกจะมีโอกาส ซึ่งส่วนใหญ่แล้วก็จะพูดคุยเกี่ยวกับข่าวสารบ้าน
เมือง โดยเฉพาะเรื่องการบริหารงานของรัฐบาลปัจจุบัน และความเป็นไปของกิจกรรมต่าง ๆ ใน
ชุมชน จนกระทั่งมีเรื่องกองทุนหมู่บ้านเข้ามา ประธานกองทุนกองทุนก็เป็นผู้ริเริ่มและจุดประกาย
การก่อตั้งกองทุนหมู่บ้านขึ้นมา พวกเราสมาชิกสภากาแฟและคนอื่นในชุมชนก็มีความเห็นตรงกัน
ว่าควรจะเลือกท่านให้เป็นประธานกองทุนเพราะท่านมีความพร้อมและเสียสละที่จะช่วยแก้ไข
ปัญหาและพัฒนาท้องถิ่นของตนซึ่งเป็นผู้ที่เหมาะสมที่สุด” (พยุงศักดิ์ ปัทมานนท  , 2545,
ธันวาคม 1)
นอกจากนี้คุณณรงค์ยังได้เล่าให้ฟังถึงความเสียสละของประธานกองทุนว่า
“กองทุนของเรามีเงินน้อยไม่เพียงพอที่จะนำมาเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ ได้ เพราะในการ
สมัครเป็นสมาชิกกองทุนและการขอกู้เงินกองทุนนั้นต้องอาศัยหลักฐานและวัสดุต่าง ๆ ในการ
ปฏิบัติงาน ได้แก่ แฟ้มเก็บเอกสาร สมุดบัญชี กระดาษ รวมถึงค่าจ้างพิมพ์แบบฟอร์มต่าง ๆ
และค่าถ่ายเอกสารที่เป็นกฎ ระเบียบ ใบสมัครสมาชิก ใบคำร้องขอกู้เงิน ใบคำร้องชำระหนี้กอง
ทุน แต่ที่ผ่านมาเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ประธานจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเอง โชคดีที่ประธานกอง
ทุนมีฐานะดีและเป็นผู้เสียสละ จึงสามารถบอกได้ว่ารัฐไม่ได้ให้การสนับสนุนในด้านต่าง ๆ เลย
ไมว่ า่ จะเปน็ วสั ดอุ ปุ กรณ ์ ซึ่งคณะกรรมการกองทุนทุกคนต่างก็มีภาระหน้าที่และต้องเสียสละเพื่อ
ช่วยกันแก้ไขปัญหาและพัฒนาท้องถิ่นของเราเอง” (ณรงค์ ศรีคร้าม , 2545, ธันวาคม 4)
63
วิธีการจูงใจประชาชน ในการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้าน สิ่งสำคัญที่จะทำให้สมาชิกในชุมชนมีความ
เข้าใจและตัดสินใจสมัครเป็นสมาชิกกองทุนในเบื้องต้นจะต้องมีการประชาสัมพันธ์โดยใช้วิธีติด
ป้ายประกาศตามจุดต่าง ๆ ใช้สภากาแฟในชุมชนเป็นศูนย์กลางได้พูดคุยกันแบบปากต่อปากเพื่อให้
ทราบถึงประโยชน์ที่จะได้รับ โดยมีวิธีการบริหารจัดการกองทุน คือในปี พ.ศ.2545 กำหนดให้มีการ
เปิดรับสมาชิก มีการรับฝากเงินสัจจะของสมาชิกให้มีการประชุมพิจารณาอนุมัติเงินกู้ทุกวันอาทิตย์สุด
ท้ายของเดือนและกำหนดวันทำสัญญาเงินกู้และสัญญาค้ำประกันในวันอาทิตย์แรกของเดือนในการ
ประชุมทุกครั้งจะต้องมีรายงานการประชุมส่งเขตและให้มีการตรวจสอบติดตามผลการชำระเงินคืน
ของสมาชิกพร้อมแจ้งยอดเงินกองทุนเพื่อความถูกต้องโปร่งใสและตรวจสอบได้ จากการสัมภาษณ์
นายสมบูรณ์ แซ่โค้ว อายุ 32 ปี นักศึกษากองทุนหมู่บ้านซึ่งเป็นผู้เข้าร่วมในการดำเนินงานการจัดตั้ง
กองทุนของชุมชนได้เล่าให้ฟังถึงการจัดตั้งกองทุนว่า
“ประธานกองทุนเป็นผู้ร่างระเบียบและแผนงานการบริหารพร้อมทั้งกำหนดบท
บาทและหน้าที่ของคณะกรรมการภายใต้แผนแม่แบบของกองทุนหมู่บ้านนำร่อง แต่มีการนำมา
ปรับให้เข้ากับสภาพและความต้องการของชุมชนวัดบางขุนนนท์ บางข้อที่เห็นว่าไม่จำเป็นและไม่
มีประโยชน์อะไรกับทางชุมชนก็จะตัดทิ้งไป พร้อมกันนั้นท่านก็ได้อธิบายถึงขั้นตอน วิธีการ ความ
จำเป็นในข้อปฏิบัติอย่างละเอียดและรอบคอบเพื่อให้คณะกรรมการมีความแจ่มชัดในการอธิบาย
ให้คนในชุมชนได้เข้าใจอย่างลึกซึ้ง” (สมบูรณ์ แซ่โค้ว , 2545, ธันวาคม 8)
การมีส่วนร่วมของสมาชิกในกองทุนมีลักษณะของการมีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มต้นในการเปิดเวที
ชาวบ้านเพื่อจัดตั้งคณะกรรมการกองทุนและสมัครเป็นสมาชิกกองทุน การเข้าฟังเรื่องผลประโยชน์ที่
จะได้รับจากการตั้งกองทุนนั้นคือช่วยให้มีเงินหมุนเวียนในชุมชน และช่วยชาวบ้านได้มีโอกาสสร้างงาน
สร้าง รายได้ สิ่งที่เป็นข้อดีสำหรับสมาชิกคือทำให้เป็นคนซื่อสัตย์และมีความรับผิดชอบมากขึ้น นอก
จากนั้นสมาชิกยังมีส่วนร่วมในการรับทราบขั้นตอนการปฏิบัติในการกู้ยืมเงินพร้อมทั้งวิธีการคืนเงิน
โดยที่ทุกคนจะต้องส่งคืนเงินที่ธนาคารออมสินด้วยตนเองแต่จะต้องมาบอกเลขาหรือประธานให้จดชื่อ
หรือลงบันทึกการคืนเงินทุกครั้งก่อนที่จะนำไปส่งที่ธนาคาร ปัจจุบันมีสมาชิกกองทุน 94 คน สำหรับ
ชาวชุมชนที่ไม่เข้าร่วมเป็นสมาชิกกองทุนเพราะมีความคิดเห็นขัดแย้งทางด้านการเมือง เป็นฝ่ายตรง
ข้ามกับพรรคไทย รักไทย มีความยุ่งยากในเรื่องของการกู้ยืมเงิน
กรณีศึกษาที่ 8 นายคล่อง กล่อมเกลี้ยง กองทุนชุมชน ซอยสุดสาคร เลขที่ 1078/122
ถนนพรานนก แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร อายุ 65 ปี
นายคล่อง กล่อมเกลี้ยง เป็นข้าราชการบำนาญ อดีตเป็นผู้อำนวยการ โรงเรียนวัดมะลิ เดิม
เป็นชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช จบการศึกษาระดับชั้นปริญญาตรีและเปรียญ 9 ประโยค ภรรยา
เกษียณอายุราชการมีบุตร 2 คนทำงานแล้ว มีรายได้จากเงินบำนาญประมาณ 240,000 บาท/ปี
64
ปัจจุบันเป็นเลขา ชุมชน เป็นวิทยากรบรรยายธรรมให้กับพนักงานบริษัทที่อยู่ในชุมชน และสอน
พระธรรมชุมชนตรอกข้าวเม่า ซึ่งเป็นอาชีพสาธารณกุศล เป็นการบรรยายโดยไม่ได้รับค่าตอบแทน
ท่านบอกถึงสาเหตุที่ได้รับเลือกให้เป็นประธานกองทุนว่า
“ชาวบ้านคงเห็นว่าผมเป็นคนเก่าแก่ของชุมชน รวมทั้งมีความรู้ด้านกฎหมายชาวชุมชนจึง
เลือกผมเป็นประธานกองทุนด้วย” (คล่อง กล่อมเกลี้ยง , 2545, ธันวาคม 12)
บุคลิกลักษณะประธานเป็นคนใจดี เสียงดังฟังชัด มีความเชื่อมั่นในตนเองสูง จากการ
สัมภาษณ์ นายสมบัติ เพ็งมารี อายุ 39 ปี มีอาชีพรับจ้าง บอกว่า
“นายคล่องมีลักษณะนิสัยเป็นคนตั้งใจทำงานโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน มีจิตสำนึกรักชุมชน
และชอบแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ ประกอบกับเป็นผู้มีความพร้อมทั้งความเป็นผู้รู้ ทุกครั้งที่ได้พูด
คุยกับท่านประธานท่านมักจะให้ข้อคิดในการปฏิบัติและการดำรงชีวิตตามแนวพระพุทธศาสนา
พร้อมทั้งยกตัวอย่างให้เห็นได้อย่างลึกซึ้ง และยังบอกกับผมด้วยว่าหากมีความเดือนร้อนอะไรก็
ให้ไปหาได้ตลอดเวลา” (สมบัติ เพ็งมารี, 2545, ธันวาคม 18)
นางฉลวย ลอยถาดทอง อายุ 50 ปี มีอาชีพรับจ้างได้เล่าให้ฟังว่า
“ท่านประธานเป็นคนที่รู้จักคำว่าพอไม่อยากได้อะไรของใครอีกเลยและแกก็ยังมีความ
เป็นห่วงเป็นใยคนในชุมชน จะนึกจะพูดอะไรก็มักจะเอาผลประโยชน์ชุมชนของเราเอาเป็นที่ตั้งไว้
ก่อนเสมอ อะไรที่แกทำได้เพื่อชุมชนและส่วนรวมแกก็จะทุ่มเททำงานให้อย่างเต็มที่ไม่เคยรับค่า
ตอบแทน แกอยากให้ชุมชนของเรามีความเป็นระเบียบเรียบร้อย มีความสะอาดน่าอยู่ และมีการ
พัฒนาเหมือนกับชุมชนอื่นๆ ที่แกไปพบเห็นมา แกมักจะบอกให้ทุกคนในชุมชนหันมาประพฤติ
ปฏิบัติตามตามคำสอนของพระพุทธเจ้าอยู่เสมอ เพราะแกอยากให้ทุกคนเป็นคนดี มีความสุข
และชุมชนของเราก็จะดีและมีแต่ความสงบสุขด้วย” (ฉลวย ลอยถาดทอง, 2545, ธันวาคม 24)
นอกจากนี้ประธานกองทุนยังเป็นผู้นำที่ทำงานเป็นทีมและตระหนักในความสำคัญแก่คนใน
ชุมชนที่เข้ามามีส่วนร่วมและช่วยงานต่างๆให้ประสบผลสำเร็จโดยไม่นำตัวเองและความสามารถมาตั้ง
เป็นเกณฑ์ในการทำงาน เป็นนักประชาสัมพันธ์ เป็นผู้มีความสามารถโน้มน้าวใจให้คนช่วยกันทำงาน
ประเด็นดังกล่าวเป็นสิ่งที่ทำให้ชาวชุมชนยินดีให้ความร่วมมือและสนับสนุนในการทำงาน ดังเช่นคำ
กล่าวของประธานกองทุนว่า
“ผมจึงมีความตั้งใจต้องทำให้ได้โดยเป็นแกนนำเพราะทำคนเดียวไม่ได้ ถ้ามีผู้ไม่เห็น
ด้วยยิ่งต้องสู้แล้วทำให้สำเร็จ “ชนะด้วยเหตุผลและสติปัญญา” พยายามศึกษารายละเอียดจาก
เพื่อน ๆ กองทุนเพื่อสังคมจนมีความรู้ความเข้าใจจึงนำมาประชาสัมพันธ์ใน ชุมชนโดยวิธีพูด
ออกเสียงตามสาย ในงานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ พูดทุกครั้ง ทุกที่ ซึ่งต้องอาศัยความรู้ ต้องตอบคำ
65
ถามได้ และต้องสร้างศรัทธาให้ได้ตามทฤษฎี 3 ช คือ เชื่อ ชอบ ช่วย จึงจะประสบความสำเร็จใน
ขณะที่รัฐบาลได้ช่วยแล้วเฉพาะบันไดขั้นแรก ขั้นต่อไปต้องทำเอง พึ่งตนเองเป็นการวัดความ
สามารถของชุมชน ถ้าไม่ก้าวต่อเลยเปรียบเสมือน “ปากขวดไม่เปิด” จะสำเร็จได้อย่างไร”
(คล่อง กล่อมเกลี้ยง , 2545, ธันวาคม 12)
นอกจากนี้แล้วประธานกองทุนยังเป็นผู้สืบทอดและสานต่อประเพณีของท้องถิ่นเพื่อเป็น
เครื่องยึดเหนี่ยวและสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นในชุมชน ดังเช่น
“ผมยังยึดแนวปฏิบัติดั้งเดิมเกี่ยวกับประเพณีและวัฒนธรรมของชุมชนเพื่อเป็นการสืบ
ทอดวัฒนธรรมเดิมรวมทั้งคนรุ่นหลังจะได้เกิดความผูกพันและความสามัคคี เพราะทุกวันนี้บอก
ได้ว่าคนรุ่นเก่าของชุมชนย้ายไปอยู่ที่อื่นและคนรุ่นใหม่เข้ามาอยู่ จึงไม่ค่อยให้ความร่วมมือและ
เห็นแก่ตัวเกี่ยวกับกองทุนก็เช่นเดียวกันเริ่มแรกรู้สึกหนักใจและรู้สึกเป็นกังวล ทำอย่างไรจึงจะให้
ชาวบ้านใช้สิทธิกู้อยากปล่อยกู้ให้มากที่สุด แต่ต้องถูกต้องตามระบบ ผมอยากให้ชุมชนพัฒนา
ตามโครงการทุกแบบ ทุกด้าน ปัญหาของชุมชนเกี่ยวกับความเป็นอยู่ของชุมชนถือเป็นเรื่องเล็ก
สามารถแก้ไขได้ ทีมงานของผมคือกรรมการส่วนใหญ่เป็นคนที่ชาวบ้านรู้จักและให้การยอมรับใน
ความรู้ ความสามารถ” (คล่อง กล่อมเกลี้ยง , 2545, ธันวาคม 12)
ด้วยเหตุดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าท่านเป็นคนมีความจริงใจและไม่เห็นแก่ตัว และยึดถือ
ระเบียบกฎเกณฑ์โดยให้ความสำคัญของทีมงานในขณะเดียวกันก็ต้องการช่วยเหลือชาวบ้านที่เดือด
ร้อนไปได้ด้วยดี
กรณีศึกษาที่ 9 นายพิชิต บุษปาคม กองทุนชุมชน วัดนาคกลาง แขวงวัดอรุณ เขต
บางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร อายุ 62 ปี
นายพิชิต บุษปาคม จบการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์ อาชีพทนายความเป็นอาชีพหลักของครอบครัว ซึ่งสืบทอดมาตั้งแต่บรรพบุรุษ และยัง
เป็น
ข้าราชการบำนาญโดยได้รับบำนาญเดือนละสองหมื่นกว่าบาท ภูมิลำเนาอยู่ในชุมชนนี้มาตั้งแต่สมัยปู่
ย่า ตา ยาย ด้านครอบครัวมีภรรยาและบุตร 3 คน มีหน้าที่การงานแล้ว ด้านประสบการณ์ได้นำความรู้
ด้านกฎหมายจากการเป็นทนายความและการปฏิบัติในหน้าที่การงานมาใช้ในการร่างระเบียบกองทุน
และเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษให้แก่นักเรียนโรงเรียนวัดนาคกลาง ด้านบุคลิกลักษณะและนิสัยส่วน
ตัวเป็นผู้มีศักยภาพในการแสดงความคิดเห็น มีบุคลิกที่บ่งบอกถึงเป็นผู้มีคุณธรรมมีความยุติธรรม
สามารถตัดสินใจและแก้ไขปัญหาอย่างมีเหตุผล มีจิตสำนึกที่จะพัฒนาชุมชนของตนโดยให้ทุกคนมี
ส่วนร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมดำเนินงาน ร่วมติดตามและประเมินผล เพื่อประโยชน์ต่อชุมชนและ
สมาชิกของชุมชน และ นายปรีชา อำพันหอม อายุ 39 ปี อาชีพค้าขาย กล่าวถึงประธานกองทุนว่า
66
“ประธานเป็นคนที่ยึดถือความยุติธรรมความถูกต้องและยึดมั่นต่อกฎระเบียบอย่างเคร่ง
ครัด ถ้าหากว่าใครมีหลักฐานไม่ครบตามที่กำหนดไว้ ท่านจะไม่อนุมัติการกู้ยืมเงินโดยเด็ดขาด
เคยมีบางคนที่ส่งเงินคืนช้ากว่าที่กำหนดท่านประธานได้เข้าไปพูดคุยถามถึงปัญหาและหาทางแก้
ไขโดยบอกให้สมาชิกคนนั้นนำค่าแรงที่ได้ไปชำระหนี้กองทุนก่อนเพราะเลยเวลามากแล้ว และได้
หางานรับจ้างให้ทำเพื่อจะได้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น” (ปรีชา อำพันหอม, 2546, มกราคม 11)
นายไพศาล ตราชูวณิช อายุ 42 ปี มีอาชีพรับจ้าง กล่าวถึงบุคลิกลักษณะของประธานกองทุน
ให้ฟังว่า
“ประธานกองทุนท่านนี้เป็นคนเคร่งครัดและมีความเข้มงวดต่อระเบียบในการกู้ยืมมาก
เพราะท่านจะไม่ยอมให้มีการค้ำประกันกันเองโดยเด็ดขาดเท่าที่รู้มาชุมชนอื่นเขาให้ผู้กู้สามารถ
ค้ำประกันกันเองได้ ก็อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนในชุมชนบางส่วนไม่เข้าร่วมเป็นสมาชิกกอง
ทุนเพราะหาคนค้ำประกันให้กับตนเองไม่ได้” (ไพศาล ตราชูวณิช, 2546, มกราคม 20)
จากคำบอกเล่าดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าประธานกองทุนเป็นผู้ที่เคร่งครัดต่อระเบียบวินัยจาก
ประสบการณ์หน้าที่การงานที่ท่านประสบมาจึงนำมาใช้ในการบริหารงานกองทุนเพื่อความถูกต้อง
โปร่งใส และเป็นการป้องกันปัญหาความผิดพลาดต่าง ๆ ที่จะตามมาทั้งในด้านกองทุนเองและตัวผู้กู้
เองก็ตาม
กรณีศึกษาที่ 10 นายปรัชญา ธัญญาดี กองทุนชุมชน วัดหงส์รัตนาราม เลขที่ 247/1
ถนนวังเดิม แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร อายุ 65 ปี
นายปรัชญา ธัญญาดี จบการศึกษาปริญญาโทด้านการเกษตร อดีตเป็นผู้เชี่ยวชาญระดับ 9
กรมป่าไม้ กระทรวงเกษตร ภรรยาเป็นอาจารย์อยู่กรุงเทพการบัญชี มีบุตร 2 คน ทำงานแล้ว ภูมิ
ลำเนาเป็นคนจังหวัดอ่างทอง ย้ายเข้ามาอยู่กรุงเทพ 50 กว่าปีมาแล้ว ปัจจุบันเป็นวิทยากรพิเศษเกี่ยว
กับชมรมคนรักต้นไม้ทางทีวีและวิทยุกระจายเสียงเป็นประจำทุกวัน จะมีเวลาให้กับชุมชนเฉพาะวัน
เสาร์และวันอาทิตย์เท่านั้น ซึ่งท่านได้กล่าวว่า
“ในระยะแรกก็กลัวว่าจะทำไม่ได้ เพราะไม่ค่อยมีเวลาและต้องอาศัยทีมทำงานที่รับผิด
ชอบและเสียสละ ชุมชนวัดหงส์เป็นชุมชนใหญ่มี่สมาชิกถึง 1,200 กว่าคน การที่จะทำให้ทุกคน
เป็นคนดีและมีคุณภาพได้ทั้งหมดนั้น คงทำได้ยากและต้องใช้เวลาอยู่นชุมชนมานานพอที่จะรู้ได้
ว่าใครเป็นใครและเป็นอย่างไร ในความคิดส่วนตัวอยากให้ทุกคนได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีโดยให้มีสิ่ง
แวดล้อมที่ดี”
(ปรัชญา ธัญญาดี, 2546, มกราคม 25)
67
ในการบริหารงานได้นำประสบการณ์จากการทำงานอยู่กระทรวงเกษตรมาใช้ในการบริหารงาน
กองทุนครั้งนี้ด้วย ด้านนิสัยส่วนตัวเป็นผู้มีอัธยาศัยดี ร่าเริง ยิ้มแย้มแจ่มใส ไม่ถือตัว ซึ่งเข้ากับทีมงาน
และชาวบ้านได้ดี ด้านบุคลิภาพมีความสง่า อารมณ์ดี พูดหวาน เป็นผู้มีความคิด ริเริ่มดี มีวิสัยทัศน์
ทำงานด้วยใจไม่ใช่เพื่อผลประโยชน์ นอกจากนี้ยังเป็นผู้มีความพร้อมในการ เตรียมการ คิด ทำ และ
วางแผนอย่างมีระบบ มีขั้นตอน รวมทั้งจากการสังเกตในการเข้าร่วมประชุมจะเป็นผู้มีศักยภาพในการ
แสดงความคิดเห็นและตัดสินใจได้รวดเร็ว พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้คณะกรรมการได้แสดงความคิดเห็น
โดยเสนอทางเลือกให้ว่าจะเลือกหนึ่งหรือสอง แล้วโหวตเสียงข้างมาก ถือมติที่ประชุมเสร็จแล้วแจ้งให้
สมาชิกที่ประชุมทราบ คุณสุพิชชา อุ่นเรือน อายุ 40 ปี พนักงานบริษัท ซึ่งมีความสนิทสนมกับ
ประธานกองทุนได้พูดให้ฟังว่า
“เวลาที่คุณลุงปรัชญาทำงานให้กับชุมชน แกทำงานด้วยความสนุกสนานร่าเริง มีแต่รอย
ยิ้ม เห็นใครทำอะไรอยู่ตรงไหนแกก็จะลงไปทำด้วยและช่วยจนกว่าจะเสร็จจึงจะหยุดพักพร้อม ๆ
กัน ทำให้คนที่ทำงานกับแกด้วยไม่มีความรู้สึกเหนื่อย หรือเบื่อหน่ายกับการทำงานเลย กลับมีแต่
ความเต็มใจและกระตือรือร้นที่จะทำงานให้เสร็จไปด้วยดีเสมอ” (สุพิชชา อุ่นเรือน, 2546,
กุมภาพันธ์ 5)
คุณป้ามะลิ ศรีรัตน์ อายุ 58 ปี มีอาชีพขายของชำ ซึ่งเป็นสมาชิกกองทุนคนหนึ่งได้กล่าวถึง
ประธานกองทุนว่า
“ประธานกองทุนเป็นคนจริงใจ เปิดเผย และชอบเผยแพร่ความรู้ให้กับคนอื่น แกไม่เคย
หวงวิชาความรู้ที่มีอยู่ในตัวของแกเลย มีภูมิอยู่เท่าไรก็ให้คนอื่นเขาหมดโดยไม่ปิดบัง และพร้อม
ที่จะให้ความช่วยเหลือหรือถ่ายทอดความรู้ที่มีให้ มีบางคนเคยเล่าให้ฟังว่าถ้าคนไหนไม่พยายาม
ช่วยตัวเอง แกก็จะพูดจาเปรียบเทียบให้รู้สึกระอายใจได้เหมือนกัน” (มะลิ ศรีรัตน์, 2546,
กุมภาพันธ์ 12)
ปัจจัยที่สนับสนุนให้สมาชิกเข้าร่วมกองทุนหมู่บ้านนั้นเกิดจากมีประชาชนอพยพเข้ามาเพื่อหา
งานทำ ซึ่งมีคนว่างงานในชุมชนค่อนข้างมากจึงทำให้คนที่ต้องการเงินทุนเพื่อนำมา สร้างงานสร้าง
อาชีพให้กับตนมีความต้องการอยู่มากจำนวนหนึ่ง กอปรกับชาวชุมชนมีความรู้ความเข้าใจถึงระเบียบ
วิธีการและคุณประโยชน์ของกองทุนหมู่บ้านเป็นอย่างดีจากการที่ประธานกองทุนใช้วิธีพูดคุยถึงความ
เป็นอยู่และปัญหาต่าง ๆ เช่น รายได้ ความเข้าใจและความสนใจเกี่ยวกับกองทุนหมู่บ้านพร้อมทั้งให้
คำตอบข้อซักถามของชาวบ้านได้อย่างชัดเจน ในขณะเดียวกันก็ได้ชี้ให้เห็นประโยชน์ที่จะได้รับพร้อม
กับการเชิญชวนและโน้มน้าวไปในคราวเดียวกันจึงทำให้ประชาชนสนใจและสมัครเป็นสมาชิกจน
สามารถจัดตั้งกองทุน หมู่บ้านได้ประสบความสำเร็จ และสมาชิกได้กู้ยืมเงินมาสร้างอาชีพให้กับคนใน
ชุมชนที่ว่างงาน และผู้ที่มีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย ทำให้ผู้ที่มีฐานะยากจนในชุมชนมีสภาพความ
เป็นอยู่ดีขึ้นกว่าเดิม บทบาทของสมาชิกที่เข้ามามีส่วนร่วมในกองทุนนั้นคือการมีส่วนร่วมในการรับฟัง
68
เพื่อทำความเข้าใจและซักถามถึงระบบระเบียบการกู้ยืมและวิธีการส่งคืนเงินกู้ พร้อมทั้งสอบถามถึง
หากไม่ส่งคืนเงินกู้จะถูกดำเนินการอย่างไรบ้าง สำหรับผู้ที่ไม่สมัครเป็นสมาชิกเพราะมีฐานะมั่นคงดี
แล้ว และเห็นว่ามีความยุ่งยากกับระบบการกู้ยืมเงินกองทุน
จากผลการศึกษาผู้นำกับการมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุน กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ใน
ครั้งนี้ผลการวิจัยพบว่าคุณลักษณะผู้นำสามารถแบ่งลักษณะผู้นำตามทฤษฎีที่แสวงหาคุณลักษณะด้าน
บุคลิกภาพ ด้านสังคม ด้านร่างกาย ด้านสติปัญญา ซึ่งแยกให้เห็นความแตกต่างของคนที่เป็นผู้นำโดย
มี คุณลักษณะที่สำคัญ ๆ 6 ประการคือ 1. มีร่างกายแข็งแรง 2. มีภูมิหลังการศึกษาดีและสถาน
ภาพทางสังคมดี 3. มีสติปัญญาฉลาด ตัดสินใจดี มีความสามารถในการติดต่อสื่อสาร 4. มีบุคลิกภาพ
เป็นผู้นำที่มีความตื่นตัวและควบคุมอารมณ์ได้ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความเชื่อมั่นในตนเอง 5.
มีความรับ ผิดชอบ ขยัน อดทน 6. มีลักษณะทางสังคม ปรารถนาที่จะร่วมงานกับผู้อื่น มีเกียรติและ
เป็นที่ยอมรับของบุคคลอื่นและเข้าสังคมได้ดี
สรุป ลักษณะผู้นำกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่มีสมาชิกกองทุน ร้อยละ 60 ของจำนวนครัว
เรือนและชุมชนเมืองที่มีสมาชิกกองทุน ร้อยละ 30 ของจำนวนครัวเรือนในชุมชน โดยศึกษาจาก
คุณลักษณะของผู้นำในแต่ละด้าน ได้แก่ การศึกษา ประสบการณ์ บุคลิกภาพ ฐานะทางเศรษฐกิจ
ภาวะผู้นำ เทคนิคการจูงใจ และการบริหารจัดการ จากการศึกษาพบว่า ด้านการศึกษาผู้นำมีการศึกษา
อยู่ในระดับสูง เป็นหัวหน้างานที่ดี เช่น หัวหน้าฝ่ายการเงิน หัวฝ่ายเร่งรัดหนี้สิน ซึ่งได้นำประสบการณ์
เหล่านี้มาใช้ในการบริหารกองทุน เช่น นายอนันต์ อ่วมฉิม นายสำรวย ลาภขจร และนายพิชิต บุษปา
คม ผู้เป็นทนายความ มีความรู้ความเข้าใจกฎหมาย ซึ่งผู้นำเหล่านี้ มีหน้าที่การงานดี จึงสามารถนำ
ประสบการณ์ที่ได้รับจากการทำงานมาใช้ในการดำเนินการจัดตั้งกองทุนได้ ด้านบุคลิกภาพของผู้นำ
กองทุนแต่ละชุมชนล้วนมีเอกลักษณ์เป็นของตนเองได้แก่มีความจริงใจเป็นกันเอง รับฟังความคิดเห็น
ของผู้อื่น มีความเชื่อมั่นตนเองสูง เสียงดังฟังชัด กล้าแสดงออก คล่องตัว มีคุณธรรม อดทน เสียสละ
ชอบแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ มีความเข้มแข็งเด็ดเดี่ยว น่าเกรงขาม คิดและทำอย่างมีเหตุผล ฐานะทาง
เศรษฐกิจ ส่วนใหญ่มีฐานะทางเศรษฐกิจดี และอยู่ในระดับปานกลาง มีรายได้ประมาณ 20,000 ต่อ
เดือน ด้านภาวะผู้นำ ผู้นำ กองทุนจะเป็นผู้ติดต่อประสานงาน และติดตามผลการดำเนินงานการจัด
ตั้งกองทุน เป็นแกนนำที่ก่อให้เกิดกองทุน ทางด้านเทคนิคการจูงใจในแต่ละชุมชนใช้เทคนิคด้วยการ
เชิญชวนตามบ้านด้วยตัวผู้นำเอง เพื่อให้ประชาชนเข้าใจถึงนโยบาย วัตถุประสงค์ และประโยชน์ที่
สมาชิกจะได้รับจากกองทุนโดยการพูดคุยแบบต่อปากต่อคำใช้สภากาแฟ และร้านค้าในชุมชนเป็น
ศูนย์กลาง ในด้านการบริหารจัดการ สามารถบริหารงานอย่างเป็นระบบ เป็นขั้นตอน มีความถูกต้อง
โปร่งใสและตรวจสอบได้ ซึ่งในการค้นหาคุณลักษณะดังกล่าวยังพบว่า คุณลักษณะผู้นำกองทุนของชุม
ชนที่มีสมาชิกกองทุนร้อยละ 60 และ ร้อยละ 30 ของจำนวนครัวเรือนในชุมชนขึ้นอยู่กับความสมัคร
ใจของประชาชนในชุมชนของแต่ละชุมชนเมื่อประชาชนให้ความสนใจ และมีความรู้ความเข้าใจ รวม
69
ทั้งมองเห็นถึงประโยชน์จึงตัดสินใจสมัครเป็นสมาชิกกองทุน และเข้ามามีส่วนร่วมโดยเริ่มจากร่วมรับรู้
ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมทำ ร่วมตรวจสอบและร่วมรับผลประโยชน์ รายละเอียดแสดงได้ดังตารางที่
3
ตารางที่ 3 แสดงคุณลักษณะผู้นำชุมชนกองทุนที่มีสมาชิกร้อยละ 60 กับสมาชิกร้อยละ 30 ของ
จำนวนครัวเรือน
ชุมชนที่มีสมาชิกกองทุน ร้อยละ 60 ของครัวเรือน ชุมชนที่มีสมาชิกกองทุน ร้อยละ 30 ของครัวเรือน
ชุมชนพัฒนาซอย 79
นายอนันท ์ อ่วมฉิม อายุ 69 ปี
คุณลักษณะ
-การศึกษา ระดับอนุปริญญา
-ประสบการณ์ หัวหน้าการเงินและบัญชี
-บุคลิกภาพ มีความจริงใจเป็นกันเอง
รับฟังความคิดเห็นผู้อื่น
-ฐานะทางเศรษฐกิจ ปานกลาง
-ภาวะผู้นำ มีความเชื่อมั่น กล้าคิด
กล้าตัดสินใจ
-เทคนิคการจูงใจ ให้เห็นประโยชน์ที่
ประชาชน จะได้รับจาก
การเป็นสมาชิก
การบริหารจัดการ แบ่งหน้าที่ความรับผิด
ชอบอย่างเหมาะสมโดย
พิจารณาจากความรู้
ความสามารถ และ
ประสบการณ์
ชุมชนวัดหงส์รัตนาราม
นายปรัชญา ธัญญาดี อายุ 65 ปี
คุณลักษณะ
-การศึกษา ระดับปริญญาโท
-ประสบการณ์ ผู้เชี่ยวชาญระดับ 9
-บุคลิกภาพ อารมณ์ดี มีความสง่า
มีวิสัยทัศน์
-ฐานะทางเศรษฐกิจ
-ภาวะผู้นำ มีวิสัยทัศน์ คิดทำ
วางแผนอย่างมีระบบ
-เทคนิคการจูงใจ สำรวจปัญหาชาวบ้าน
ให้เห็นประโยชน์ที่จะได้รับ
-การบริหารจัดการ มีระบบและขั้นตอน
ให้มีการกระจายผลประโยชน์
อย่างทั่วถึง
70
ชุมชนที่มีสมาชิกกองทุน ร้อยละ 60 ของครัวเรือน ชุมชนที่มีสมาชิกกองทุน ร้อยละ 30 ของครัวเรือน
ชุมชนคลองสวนพริก
นายสำรวย ลาภขจร อายุ 62 ปี
คุณลักษณะ
-การศึกษา ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 8
-ประสบการณ์ หัวหน้างานฝ่ายเร่งรัดหนี้
มีความรู้ด้านสหกรณ์ออม
ทรัพย์
-บุคลิกภาพ มีความเชื่อมั่น เสียงดัง
ฟังชัด กล้าแสดงออก
คล่องตัว ใจเย็น รับฟัง
ความคิดเห็นผู้อื่น
-ฐานะทางเศรษฐกิจ ดี
-ภาวะผู้นำ เสียสละ และช่วยงาน
ชุมชนมาโดยตลอด
-เทคนิคการจูงใจ ประชาสัมพันธ์แบบปาก
ต่อปาก
-การบริหารจัดการ เป็นระบบและมี
ประสิทธิภาพ
ชุมชนชวนชื่น
นายชัยยงค์ บรรเจิดศิลป์ อายุ 46 ปี
คุณลักษณะ
-การศึกษา ระดับอาชีวศึกษาชั้นสูง
-ประสบการณ์ พนักงานธนาคาร
-บุคลิกภาพ พูดจริงทำจริง เชื่อมั่น
ตนเองอดทนและเสียสละ
ชุมชนวัดนาคกลาง
นายพิชิต บุษปาคม อายุ 62 ปี
คุณลักษณะ
-การศึกษา ระดับปริญญาตรีด้าน
กฎหมาย
-ประสบการณ์ เป็นทนายความ
-บุคลิกภาพ มีคุณธรรม มีความ
ยุติธรรม
-ฐานะทางเศรษฐกิจ ดี
-ภาวะผู้นำ ตัดสินใจและแก้ไขปัญหา
อย่างมีเหตุผล
-เทคนิคการจูงใจ ใช้ร้านค้าเป็นศูนย์กลาง
-การบริหารจัดการ มีความเข้มงวดในเรื่องของ
ระเบียบ
ชุมชนสุดสาคร
นายคล่อง กล่อมเกลี้ยง อายุ 65 ปี
คุณลักษณะ
-การศึกษา ปริญญาตรีและเปรียญ 9
ประโยค
-ประสบการณ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ
ร.ร.วัดมะลิ
-บุคลิกภาพ ใจดี เสียงดัง ฟังชัด หาความ
รู้ใหม่ ๆและมีคุณธรรม
71
ชุมชนที่มีสมาชิกกองทุน ร้อยละ 60 ของครัวเรือน ชุมชนที่มีสมาชิกกองทุน ร้อยละ 30 ของครัวเรือน
-ฐานะทางเศรษฐกิจ ดี
-ภาวะผู้นำ ติดต่อประสานงานและติด
ตามผลการดำเนินการจัดตั้ง
-เทคนิคการจูงใจ เดินตามบ้านทุกบ้าน ทำ
จดหมาย เชิญประชุม ให้
เห็น ประโยชน์ที่
ประชาชนจะได้รับ
-การบริหารจัดการ มีความเป็นระบบหลายขั้น
ตอนมีการวาแผนที่ดี
ชุมชนวัดอมรทายิการาม
นายรัตนชัย บุญศรี อายุ 40 ปี
คุณลักษณะ
-การศึกษา ระดับปริญญาตรี
-ประสบการณ์ การบริหารงานอุตสาหกรรม
ในครัวเรือน
-บุคลิกภาพ มีความเชื่อมั่นในตนเองสูง
เข้มแข็ง มีความอดทน
เด็ดเดี่ยวเมื่อตั้งใจทำแล้ว
ต้องทำให้ได้
-ฐานะทางเศรษฐกิจ ดี
-ภาวะผู้นำ กล้าแสดงออก มีเหตุผล
-เทคนิคการจูงใจ พูดคุยแบบปากต่อปาก
ตัวต่อตัว ให้เป็นประโยชน์
กองทุน
-การบริหารจัดการ การรับสมัครสมาชิกเปิดกว้าง
ทั้งคนในชุมชนและนอกชุมชน
-ฐานะทางเศรษฐกิจ ดี
-ภาวะผู้นำ เป็นแกนนำที่ทำให้เกิด
กองทุน
เป็นวิทยากรบรรยาธรรม
-เทคนิคการจูงใจ เชิญชวนตามบ้าน ให้
ประชาชน เข้าใจถึง
นโยบาย วัตถุประสงค์
และประโยชน์ที่จะได้รับ
-การบริหารจัดการ มีความยืดหยุ่นเกี่ยวกับ
ระเบียบ
ชุมชนวัดเทพากร
นายสุวัฒน์ชัย สมเนตร อายุ 65 ปี
คุณลักษณะ
-การศึกษา มัธยมศึกษาปีที่ 2
-ประสบการณ์ การเข้ารับการฝึกอบรม
-บุคลิกภาพ อัธยาศัยดี อ่อนน้อมถ่อมตน
พูดเก่ง เข้ากับคนง่าย ยกย่อง
คนทำความดี
-ฐานะทางเศรษฐกิจ ดี
-ภาวะผู้นำ เป็นตัวแทนกลุ่มในการ
จัดตั้งชุมชน
-เทคนิคการจูงใจ เป็นแกนนำเครือข่าย
เสียงตามสายประกบแบบตัว
ต่อตัว ติดประกาศ และใช้
สื่อสิ่งพิมพ์
-การบริหารจัดการ เป็นระบบ มีความยุติธรรม
มีความถูกต้องและโปร่งใส
72
ชุมชนที่มีสมาชิกกองทุน ร้อยละ 60 ของครัวเรือน ชุมชนที่มีสมาชิกกองทุน ร้อยละ 30 ของครัวเรือน
ชุมชนปรกอรุณ
นาวาเอกพิเศษโชติรัตน์ อภัยพลชาญ อายุ 67 ปี
คุณลักษณะ
-การศึกษา ร.ร.ชุมพลทหารเรือ
-ประสบการณ์ การเป็นนักเรียนทหารเรือและ
และรับราชการ
-บุคลิกภาพ อดทน หนักแน่น
ยึดมั่นต่อกฎระเบียบข้อบังคับ
-ฐานะทางเศรษฐกิจ ดี
-ภาวะผู้นำ เข้มแข็ง เด็ดเดี่ยว
กล้าตัดสินใจ
-เทคนิคการจูงใจ ประชาสัมพันธ์ตามบ้านให้เห็น
ประโยชน์ที่สมาชิกกองทุน
จะได้รับ
-การบริหารจัดการ ดำเนินการตามระเบียบ
ชุมชนวัดบางขุนนนท์
นายพยุงศักด ิ์ ปัทมานนท ์ อายุ 62 ปี
คุณลักษณะ
-การศึกษา ระดับปริญญาตรี
-ประสบการณ์ พนักงานไฟฟ้าฝ่ายผลิต
-บุคลิกภาพ น่าเกรงขาม คิดและทำ
อย่างมีเหตุผล
-ฐานะทางเศรษฐกิจ ดี
-ภาวะผู้นำ มีคุณธรรมให้เกียรติและ
รับฟังความคิดเห็นผู้อื่น
-เทคนิคการจูงใจ มีป้ายประชาสัมพันธ์
ปากต่อปากโดยใช้สภากาแฟ
-การบริหารจัดการ บริหารงานอย่างเป็นระบบ
มีความถูกต้อง โปร่งใสและ
ตรวจสอบได้
ผลการศึกษาครั้งนี้ค้นพบว่าในกระบวนการชุมชนที่สมาชิกร่วมคิดร่วมทำจะเกิด ผู้นำตาม
ธรรมชาติหรือผู้นำตามสภาวการณ์ เป็นผู้มีความเสียสละ ฉลาด เป็นคนเห็นแก่ส่วนรวม เป็นคนติด
ต่อสื่อสารกับผู้อื่นรู้เรื่อง นักประชาสัมพันธ์ เป็นที่ยอมรับของสมาชิกโดยอัตโนมัติ เป็นผู้ยึดถือหลัก
การ มีความรู้มีวิสัยทัศน์ที่ดี เป็นนักปฏิบัติ และเป็นผู้สร้างวัฒนธรรมใหม่ในการทำงาน นอกจากนี้
แล้วยังต้องมีความผูกพันอยู่ในชุมชนมานาน ทำงานด้วยความเสียสละโดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์
ส่วนตัว ทำแล้วสบายใจ ภูมิใจที่ได้ทำและเสียสละรับใช้ชุมชนได้อย่างเต็มที่ ทั้งต่อสู้และพัฒนาเพราะ
อยากเห็นชุมชนมีความเจริญและพัฒนา ซึ่งพบได้จาก
กรณีศึกษาที่ 1 ผู้นำกองทุนชุมชนพัฒนา ซอย 79 ด้านบุคลิกภาพเป็นบุคคลที่มีจิตใจ
เข้มแข็ง อดทน มีความเชื่อมั่น มีความเป็นประชาธิปไตยในการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มี
ความกระตือรือร้นในการทำงาน มีความรับผิดชอบ มีความคิดริเริ่มและสร้างสรรค์ และมีมนุษย
73
สัมพันธ์กับบุคคลทั่วไป ด้านภาวะผู้นำเป็นแกนนำในการประสานสัมพันธ์ระหว่างชาวบ้านกับรัฐและ
หน่วยงานอื่น ๆ เพื่อศึกษาหารายละเอียด และขั้นตอนการดำเนินงานในการจัดตั้งกองทุน เป็นแกนนำ
ในการพัฒนาและปรับปรุงพื้นดินที่ตั้งเป็นร่องสวน และมีน้ำท่วมขัง ทุก ๆ เช้าวันอาทิตย์ต้นเดือน
ประธานชุมชนจะเป็น ผู้ประกาศออกเสียงตามสายเชิญชวนประชาชนนำของมาใส่บาตร เทคนิคใน
การจูงใจก็คือการชักนำ โน้มน้าวใจให้เข้าใจถึงประโยชน์ที่จะได้รับอย่างแท้จริงในการสมัครเข้าเป็น
สมาชิกกองทุน
“ผมเดินตามบ้านทุกวันเพื่อพูดคุยกับชาวบ้านให้เข้าใจและมองเห็นถึงประโยชน์ที่
ประชาชนจะได้รับ” (อนันต์ อ่วมฉิม, 2545,ตุลาคม 2)
จะเห็นได้ว่าผู้นำกองทุนทำงานด้วยใจ มีจิตสำนึกรักชุมชนพร้อมทั้งทำทุกอย่างเพื่อพัฒนาชุม
ชนอย่างแท้จริง และมีความคิดว่าชุมชนเปรียบเสมือนบ้านของตนเอง
กรณีศึกษาที่ 2 ผู้นำกองทุนชุมชนคลองสวนพริก ด้านบุคลิกภาพมีความเชื่อมั่นในตนเอง
สูง กล้าแสดงออก มีความคล่องตัว เป็นคนใจเย็น มีเหตุผลในการตัดสินใจ แก้ไขปัญหา และรับ
ฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ยิ้มรับกับปัญหาที่เกิดขึ้น รู้สึกภูมิใจที่เสียสละรับใช้ชุมชนได้เต็มที่พร้อม
ที่จะทำอะไรก็ได้ที่ตนรักและถนัด ภาวะผู้นำ ได้แก่การเป็นแกนนำเพื่อแก้ไขปัญหาลำคลองของชุมชน
ซึ่งใช้สัญจรไปมากลายเป็นทางระบายน้ำเน่าเสียและเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง เป็นรองประธานชุมชนตั้ง
แต่ปี 2523 และเป็นประธานชุมชนในปี 2540 จนถึงปัจจุบัน ได้พยายามต่อสู้และพัฒนาชุมชนแห่ง
นี้มาโดยตลอด เทคนิคในการจูงใจให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมคือ การพบปะพูดคุยชี้แจงถึงผลประโยชน์
ที่ทุกคนพึงได้รับจากการสมัครเป็นสมาชิกกองทุนพร้อมทั้งเดินแจกหนังสือเชิญประชุมตามบ้านทุก
หลังคาเรือนด้วยตนเอง รวมทั้งได้สอบถามถึงความสมัครใจของประชาชนด้วย จากที่กล่าวมาจะพบว่า
ผู้นำกองทุนได้ทุ่มเทและเสียสละมาโดยตลอด ทำได้ทุกอย่างแม้จะมีอุปสรรคและต้องเหนื่อยยากสัก
เพียงใดก็ตาม
กรณีศึกษาที่ 6 ผู้นำกองทุนชุมชนวัดเทพากร ด้านบุคลิกภาพ เป็นผู้ที่มีอัธยาศัยดี ยอมรับ
ฟังความคิดเห็นของผู้อื่น อ่อนน้อมถ่อมตน ยกย่องคนทำความด ี มีความสามารถในการเจรจา
เข้ากับเจ้าหน้าที่ของราชการได้ดี ในด้านการตัดสินใจแก้ไขปัญหาสามารถแก้ไขสถานการณ์ได้ดีมี
บุคลิกที่พิเศษคือพูดเก่ง มีความคล่องตัว เข้ากับคนได้ง่ายและเป็นนักประชาสัมพันธ์ที่ดีด้วย ภาวะผู้
นำเป็นตัวแทนกลุ่มเรียกร้องให้เข้ามาช่วยเหลือจัดตั้งชุมชนให้มีสภาพที่ดีขึ้น เทคนิคจูงใจ คือการ
ประชาสัมพันธ์โดยใช้เสียงตามสาย แบบปากต่อปาก ประกบแบบตัวต่อตัว และป้ายประกาศสื่อสิ่ง
พิมพ์ ซึ่งจะเห็นได้ว่าผู้นำกองทุนเป็นผู้มีความรับผิดชอบ ขยัน อดทน มีความสามารถในการติดต่อ
สื่อสารที่จะร่วมงานกับผู้อื่น มีความคล่องตัว มีประสบการณ์และเป็นที่ยอมรับของชาวบ้าน
กรณีศึกษาที่ 8 ผู้นำกองทุนชุมชนสุดสาคร ด้านบุคลิกภาพ ผู้นำกองทุนเป็นคนใจดี เสียง
ดัง ฟังชัด มีความเชื่อมั่นในตนเองสูง ลักษณะนิสัยตั้งใจทำงานโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน มีจิตสำนึก
รัก ชุมชน และชอบแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ ภาวะผู้นำเป็นวิทยากรบรรยาธรรมโดยไม่ได้รับเงินค่า
74
ตอบแทนให้กับพนักงานบริษัท และสอนพระธรรมให้กับชุมชนตรอกข้าวเม่า เป็นแกนนำเพื่อต้องการ
ให้เกิดกองทุน เทคนิคที่นำมาใช้ในการโน้มน้าวใจคือการประชาสัมพันธ์โดยออกเสียงตามสาย แผ่น
ป้ายประกาศ และออกเชิญชวนตามบ้านทุกบ้าน แบบปากต่อปาก เพื่อให้ทุกคนเข้าใจถึงนโยบาย วัตถุ
ประสงค์ และประโยชน์ของกองทุน ซึ่งจะเห็นได้ว่า ผู้นำกองทุน เป็นผู้ให้และเสียสละเห็นแก่ประโยชน์
ส่วนรวม มีความกระตือรือร้นในการทำงาน มีความรับผิดชอบ มีความเชื่อมั่น มีความคิดริเริ่มและ
สร้างสรรค์และการมีมนุษยสัมพันธ์ มีความเป็นมิตรกับบุคคลทั่วไป จะเป็นผู้นำที่มีความน่านับถือและ
ศรัทธาของประชาชน
นอกจากลักษณะของผู้นำตามธรรมชาติ ที่กล่าวมาแล้วข้างต้นยังมีผู้นำที่เกิดขึ้นโดยกำเนิด มี
สิ่งที่เอื้ออำนวยที่สนับสนุนส่งเสริมให้มีอำนาจในการชักจูงโน้มน้าวให้กลุ่มมีพฤติกรรมและปฏิบัติตาม
วัตถุประสงค์ ในการวิจัยครั้งนี้พบว่ามีผู้นำกองทุนหลายกรณีศึกษาที่มีลักษณะผู้นำดังที่กล่าวมา ซึ่ง
ส่วนใหญ่แล้วผู้นาํ กองทุนเหล่านั้นมักจะเกิดขึ้นภายใต้คุณลักษณะที่มีมาเพื่อการเป็นผู้นำอยู่ในตนเอง
อธิเช่น ครอบครัวมีฐานะทางเศรษฐกิจมั่นคง มีการศึกษาดี พื้นเพของตนเองและบรรพบุรุษอยู่ใน
ชุมชนมานาน และมีการสืบทอดบารมีมาจนถึงตนเอง มีความสามารถและประสบความสำเร็จในด้าน
หน้าที่การงาน และสามารถนำประสบการณ์ที่ได้มาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการกองทุนได้อย่างมี
ประสิทธิภาพได้ตามความคาดหวัง ทัศนคติและแนวความคิดของบุคคลในกลุ่มแกนนำจัดตั้งกองทุน
ประกอบกับผู้นำกองทุนบุคคลนั้นมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานที่ต้องใช้ความสามารถที่เหนือกว่า
บุคคลอื่น ๆ ในชุมชน เช่น หัวหน้าฝ่ายการเงินและบัญชี หัวหน้าฝ่ายงานเร่งรัดหนี้สินของธนาคาร
ทนายความ เป็นต้น บุคคลนั้นจึงได้รับการคัดเลือกจากกลุ่มให้เป็นผู้ที่มีอำนาจ สามารถชี้นำให้ผู้อื่น
ทำตามและเชื่อฟัง นอกจากนี้แล้ว จากการศึกษาครั้งนี้จึงพบผู้นำโดยกำเนิด ได้แก่ผู้นำในกรณี
ศึกษาดังต่อไปนี้
กรณีศึกษาที่ 3 กองทุนชุมชนชวนชื่น ด้านบุคลิกภาพของผู้นำคือเป็นคนพูดจริงทำจริง มี
ความเชื่อมั่นในตนเองสูง มีความอดทนและเสียสละ มีความรู้สึก ภูมิใจที่ชาวบ้านเห็นความสำคัญ
ที่เลือกเป็นประธานกองทุนจะพยายามทำให้ดีที่สุด โดยนำประสบการณ์ที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์
ในการบริหาร ภาวะผู้นำเป็นเลขาชุมชนมาตลอด เป็นแกนนำในการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชน
เมือง เทคนิคการจูงใจ ผู้นำกองทุนจะเดินตามบ้านทุกบ้าน เดินทุกวันจนคุ้นเคยเพื่อให้เขาสนใจ เข้า
ใจเรื่องเกี่ยวกับกองทุนและทำจดหมายเชิญเข้าประชุมโดยให้เห็นประโยชน์จากการเป็นสมาชิก จะเห็น
ได้ว่าผู้นำกองทุน เป็นคนพูดจริงทำจริง มีความเชื่อมั่น มีความอดทน มีความเสียสละ และมีประสบ
การณ์ ประกอบกับมีญาติพี่น้องอาศัยอยู่ในชุมชนมาแต่เดิมและได้รับเกียรติจากสมาชิกในชุมชน จึง
เป็นแรง ผลักดันให้การดำเนินงานการจัดตั้งกองทุนได้สำเร็จ
กรณีศึกษาที่ 4 กองทุนชุมชนวัดอมรทายิการาม ด้านบุคลิกภาพ มีความเข้มแข็งมีความ
เชื่อมั่นตนเองสูง มีความเด็ดเดี่ยว เมื่อตั้งใจแล้วต้องทำให้ได้ เป็นคนมีเหตุผลและกล้าแสดงออก
75
ภาวะผู้นำ มีครอบครัวเป็นต้นแบบในการประกอบอาชีพตัดเย็บเสื้อผ้าในรูปของอุตสาหกรรมในครัว
เรือนมาแต่บรรพบุรุษ เทคนิคการจูงใจ โดยการพูดคุยแบบปากต่อปาก ตัวต่อตัว เพื่อให้เข้าใจถึง
ประโยชน์ของกองทุนที่สมาชิกจะได้รับ จะเห็นได้ว่า ประธานกองทุนเป็นผู้มีบารมีมาจากครอบครัวที่มี
ฐานะทางเศรษฐกิจดี จึงเป็นที่ยอมรับในระดับหนึ่ง ประกอบกับเป็นผู้ที่มีความเด็ดเดียวเมื่อตั้งใจแล้ว
ต้องทำให้สำเร็จ
กรณีศึกษาที่ 5 กองทุนชุมชนปรกอรุณ ด้านบุคลิกภาพเป็นทหารมีความหนักแน่น มีความ
เข้มแข็งและอดทน มีความเป็นประชาธิปไตย มีภาวะผู้นำ เป็นแกนนำในการดำเนินการจัดตั้ง
กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เทคนิคในการจูงใจคือ การประชาสัมพันธ์ตามบ้านทุกบ้านเพื่อนัดวัน
ประชุม และคัดเลือกคณะกรรมการ กรรมการสามารถชี้แจงบอกถึงประโยชน์รวมทั้งขั้นตอน การ
สมัครเป็นสมาชิกและการชำระเงินคืน จะเห็นได้ว่า ผู้นำกองทุนได้รับบารมีจากครอบครัวซึ่งคุณพ่อ
เป็นผู้มีชื่อเสียง มีการศึกษาดี มียศและตำแหน่ง รวมทั้งมีประสบการณ์ที่ดีเป็นที่รู้จักและยอมรับของ
ประชาชนในชุมชน
กรณีศึกษาที่ 7 ประธานกองทุนชุมชนวัดบางขุนนนท  ด้านบุคลิกภาพเป็นที่น่าเกรงขาม
เป็นผู้มีคุณธรรมให้เกียรติผู้ร่วมงาน รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น คิดและทำอย่างมีเหตุผล ภาวะ
ผู้นำที่ปรากฏได้แก่ การเป็นผู้วางแผน การดำเนินงาน และบริหารจัดการทุกขั้นตอนในการจัดตั้งกอง
ทุน หมู่บ้านและชุมชนเมือง เทคนิคการจูงใจ โดยการติดป้ายประกาศ ใช้สภากาแฟเป็นศูนย์กลาง
พูดคุยกันแบบปากต่อปาก เพื่อให้ทราบถึงประโยชน์ที่สมาชิกจะได้รับ จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า
ประธานกองทุนเป็นผู้ที่มีการศึกษาสูง มีหน้าที่การงานที่ดี มีประสบการณ์ มีฐานะดี อาศัยอยู่ในชุมชน
มาตั้งแต่เกิด เป็นผู้ที่มีความพร้อมและบารมี จึงเป็นที่ยอมรับและศรัทธาของคนในชุมชน
กรณีศึกษาที่ 9 ประธานกองทุนชุมชนวัดนาคกลาง มีบุคลิกภาพเป็นผู้มีศักยภาพในการ
แสดงความคิดเห็น มีคุณธรรม มีความยุติธรรม ตัดสินใจและแก้ไขปัญหาอย่างมีเหตุผล มีจิต
สำนึกที่จะพัฒนาชุมชน โดยให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วม ภาวะผู้นำ เป็นวิทยากรบรรยายพิเศษทางด้าน
กฎหมาย เป็นผู้สืบทอดวัฒนธรรมเดิมเพื่อให้คนรุ่นหลังมีจิตสำนึกรักชุมชน เทคนิคการจูงใจ โดยจัด
ประชุมสำหรับ ประชาชนทุกคนประชาสัมพันธ์โดยใช้เสียงตามสาย พูดคุยแบบปากต่อปาก โปสเตอร์
ปิดประกาศ จะเห็นได้ว่าเป็นผู้นำกองทุนที่มีการศึกษา มีความรู้ มีประสบการณ์ และหน้าที่การงานดี
อยู่ในชุมชนมานานจนได้รับความไว้วางใจ ซึ่งสมาชิกในชุมชนเห็นผลงานและให้การยอมรับมาโดย
ตลอด
กรณีศึกษาที่ 10 กองทุนชุมชนวัดหงส์รัตนาราม ด้านบุคลิกภาพเป็นผู้มีอัธยาศัยดี ร่าเริง
ยิ้มแย้มแจ่มใส ไม่ถือตัว มีความสง่า อารมณ์ดี พูดหวาน เป็นผู้มีความคิดริเริ่มดีมีวิสัยทัศน์ ภาวะ
ผู้นำ มีการวางแผน การดำเนินงาน การจัดตั้งกองทุน อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เทคนิคการจูงใจ ใช้
วิธีการพูดคุยกับชาวบ้านตามบ้านเกี่ยวกับรายได้ ความคิดเห็นและความสนใจเกี่ยวกับกองทุนพร้อม
ทั้งชี้แจงถึงประโยชน์ที่สมาชิกพึงจะได้รับ จะเห็นได้ว่า ผู้นำกองทุนมีความเชื่อมั่นในตนเองสูง มีหน้าที่
การงานดี มีประสบการณ์ มีความสามารถ ซึ่งเป็นที่ยอมรับของคนในชุมชน
76
ลักษณะผู้นำตามธรรมชาติและผู้นำโดยกำเนิด มีคุณสมบัติที่สามารถนำไปสู่การก่อตั้งกองทุน
ให้ประสบความสำเร็จด้วยกันทั้งสิ้นถึงแม้ว่าจะมีความแตกต่างและความเหมือนกันอันเป็นสภาพรวม
หรือตัวแทนที่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลได้นั้น คือ การมีความเชื่อมั่นในตนเอง มีความ
เสียสละ มีเหตุผลในการในการตัดสินใจและทำงาน จึงกล่าวได้ว่าเป็นคุณลักษณะสำคัญของผู้นำที่ทำ
ให้กองทุนหมู่บ้านประสบความสำเร็จทั้ง 10 ชุมชน และแสดงรายละเอียดลักษณะผู้นำทั้ง 2 แบบ ได้
ดังตารางท ี่ 4
ตารางที่ 4 คุณลักษณะผู้นำตามธรรมชาติและผู้นำโดยกำเนิด
ผู้นำตามธรรมชาติ ผู้นำโดยกำเนิด
1. มีจิตใจเข้มแข็ง มีความเชื่อมั่นในตนเอง
2. มีความรับผิดชอบ
3. มีความเสียสละ
4. เป็นแกนนำในการแก้ปัญหา
5. มีอัธยาศัยดี
6. มีความอ่อนน้อมถ่อมตน
7. มีความคิดริเริ่มและสร้างสรรค์
8. มีเหตุผล
1. พูดจริง ทำจริง
2. เชื่อมั่นในตนเอง
3. เสียสละ
4. มีความภาคภูมิใจในตนเอง
5. มีความเด็ดเดี่ยวกล้าแสดงออก
6. มีบารมี น่าเกรงขาม
7. มีเหตุผล
8. มีความรู้เฉพาะด้าน
4.3 ลักษณะผู้นำกับการมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุน
ลักษณะผู้นำกับการมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุน ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นการมีส่วนร่วมของ
สมาชิกในกระบวนการสร้างและการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองให้ประสบผลสำเร็จ
อย่างมีประสิทธิภาพ องค์ประกอบของการมีส่วนร่วมประกอบด้วย 5 กระบวนการได้แก่ การร่วมคิด
ร่วมตัดสินใจ ร่วมทำ ร่วมรับผลประโยชน์และร่วมตรวจสอบ โดยมีลักษณะการมีส่วนร่วมดังราย
ละเอียดสรุปได้ดังต่อไปนี้
4.3.1 ลักษณะทั่วไปของการมีส่วนร่วมและการจูงใจ
การจูงใจเป็นสิ่งที่ผู้นำใช้ในการโน้มน้าวให้สมาชิกมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่างๆ และมี
ผลทางด้านพฤติกรรมของบุคคล จากการสังเกตและสัมภาษณ์สรุปได้ดังนี้
4.3.1.1 ลักษณะทั่วไปของการมีส่วนร่วมและการจูงใจของชุมชนที่มีสมาชิก
ร้อยละ 60 ของจำนวนครัวเรือนในชุมชน
77
กรณีศึกษาที่ 1 อนันต์ อ่วมฉิม มีวิธีการจูงใจประชาชนให้สมัครเป็นสมาชิก โดยประธาน
กองทุนใช้วิธีเชิญชวนผ่านหอกระจายข่าวและแบบปากต่อปาก สื่อบอร์ด สื่อสิ่งพิมพ์ และประกบตัวต่อ
ตัวเพื่อคุยกับชาวบ้านให้เข้าใจและมองเห็นถึงประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับพร้อมให้เหตุผลคือเจ้า
ของบ้านเป็นเจ้าของเงินโดยพฤตินัยเป็นสมาชิกแล้วมีสิทธิได้รับสวัสดิการจะกู้ก็ได้ไม่กู้ก็ได้ มีสิทธิได้
รับการคัดเลือกสมัครเป็นกรรมการกองทุนและเป็นสมาชิกออมทรัพย์แล้วถ้าไม่ถอนจะรวยจนถึงวัน
ตาย ในวันแรกมีประชาชนเข้าสมัครเป็นสมาชิกจำนวน 93 คน วิธีการบริหารจัดการกองทุน ในการ
ดำเนินการร่วมกัน โดยประชาชนเพื่อประชาชนในชุมชนอย่างแท้จริง โดยสมาชิกทุกคนได้เข้ามามีส่วน
ร่วมในการคัดเลือก และจัดตั้งคณะกรรมการกองทุน จำนวน 15 คน คณะกรรมการร่วมกันร่าง
ระเบียบกองทุนชุมชนของตนเอง มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างเหมาะสมโดยพิจารณาจาก
ความรู้ความสามารถและประสบการณ์ จัดให้มีการประชุมกรรมการกองทุนเดือนละ 1 ครั้งเพื่อ
พิจารณา อนุมัติเงินกู้ของสมาชิกและกำหนดวันเวลาในการรับชำระหนี้คืนจากสมาชิกรวมทั้งมีการราย
งานร่วมในประโยชน์ที่ได้รับอย่างทั่วถึง จึงส่งผลให้ประชาชนรู้จักเข้ากลุ่ม รู้จักคิด และรู้จักแก้ไข
ปัญหา ได้เรียนรู้ ร่วมกันอย่างเป็นกระบวนการ ช่วยให้ประชาชนได้เรียนรู้ที่จะพึ่งตนเองและเพื่อความ
แข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของชุมชนด้วย ในส่วนของสมาชิกเองก็ได้รับประโยชน์หลายอย่างได้แก่ การ
กู้ยืมเงินนอกระบบลดลง สามารถนำเงินไปขยายกิจการร้านค้า นำไปเป็นค่ารักษาพยาบาล นำไปศึกษา
เล่าเรียน และเป็นผลดีต่อสังคมในชุมชนอย่างมากคือ ช่วย ลดอัตราการว่างงานของประชาชนใน
ชุมชนด้วย การมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุน คือการที่ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบาย
เงินกองทุนของรัฐบาลที่ได้รับจากสื่อทางโทรทัศน์และจากการ ประชาสัมพันธ์ภายในชุมชน จึง
พร้อมที่จะเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อประโยชน์ของตนเอง โดยการเข้าร่วมประชุมร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วม
คัดเลือกคณะกรรมการ ร่วมสมัครเป็นสมาชิก ร่วมรับผลประโยชน์ และร่วมตรวจสอบ ปัจจุบันมี
สมาชิกกองทุน 120 คน
คนที่ไม่สมัครเป็นสมาชิกเพราะเห็นว่าระบบการกู้ยืมและส่งคืนมีความยุ่งยาก มีระเบียบกฎ
เกณฑ์ ต้องมีผู้ค้ำประกัน แต่เงินกู้นอกระบบมีความสะดวกสบายเพราะ มีคนมาเก็บเงินถึงที่ทุกวันถึง
แม้ว่าดอกเบี้ยจะสูงกว่าก็ตาม บางคนให้เหตุผลว่าประธานกองทุนไม่ค่อยเผยแพร่ข่าวสารเท่าที่ควร
ไม่สามารถสรุปประเด็นได้ชัดเจนทำให้สมาชิกในชุมชนไม่รู้เรื่องและไม่ค่อยเข้าใจอย่างชัดแจ้ง จึงตัด
สินใจไม่เข้าร่วมสมัครเป็นสมาชิกกองทุน
กรณีศึกษาที่ 2 นายสำรวย ลาภขจร มีวิธีการจูงใจประชาชน ให้สมัครเป็นสมาชิกของผู้นำ
กองทุนดำเนินการด้วยความมั่นใจ ขั้นแรกจะเริ่มประชาสัมพันธ์โดยผ่านหอกระจายข่าวทุกวัน พร้อม
ทั้งติดป้ายประกาศตามจุดต่าง ๆ ในชุมชนขณะเดียวกันจะพบและพูดคุยกับประชาชนเพื่อบอกถึง
ประโยชน์ที่ทุกคนพึงจะได้รับจาการสมัครเป็นสมาชิกองทุนพร้อมทั้งเดินแจกหนังสือเชิญประชุมตาม
บ้านทุก หลังคาเรือนด้วยตนเองและสอบถามถึงความสมัครใจมีมากน้อยแค่ไหน ครั้งแรกมีประชาชน
78
เข้าสมัครเป็นสมาชิกจำนวน 102 ราย วิธีการบริหารการจัดการกองทุน มีการจัดการอย่างเป็นระบบ
และมีประสิทธิภาพโดยให้มีการกระจายผลประโยชน์อย่างทั่วถึง คือให้สมาชิกหมุนเวียนกันกู้ ดอกผล
ที่ได้ให้แบ่งตามอัตราส่วนที่กำหนดไว้ การบริหารคณะกรรมการ ประกอบด้วยประธาน รองประธาน
และกรรมการ ได้แก่ บัญชี เหรัญญิก ประชาสัมพันธ์ ติดตามผล ตรวจสอบและทะเบียน โดยจะจัดให้
มีการประชุมทุกวันเสาร์ต้นเดือนเกี่ยวกับการจัดทำทะเบียน การจัดทำบัญชี พิจารณาคัดเลือกผู้กู้ การ
ชำระหนี้สิน ในการดำเนินงานนั้นสนับสนุนและช่วยแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนมากกว่า
ยึดกฏระเบียบตายตัว ประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดตั้งกองทุน คือ ผู้นำเห็นด้วยอย่างยิ่งกับนโยบายของ
รัฐที่ช่วยให้คนในชุมชนได้มีโอกาสพัฒนาอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ และแก้ไขปัญหาความเดือด
ร้อนได้ระดับหนึ่ง ประโยชน์ที่เป็นจุดเด่นสำหรับประชาชนคือผู้กู้ได้กู้เงินในอัตราดอกเบี้ยต่ำสามารถ
นำเงินไปแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนต่าง ๆ ได้ ในส่วนขอชุมชนจะได้ร้บการพัฒนาได้แก่ด้าน
เศรษฐกิจชุมชนมีความคล่องตัวทางด้านสังคมของชุมชนได้รู้จักคุ้นเคย ได้พึ่งพาอาศัยกัน มีความเอื้อ
อาทรซึ่งกันและกัน มีความสามัคคีกัน เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชนมากขึ้น ทางด้านความ
สามารถในการบริหารการจัดการส่วนมากมีความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการขั้นตอนในการขอกู้ นอก
จากนี้ยังปลุกจิตสำนึกให้มีความรับผิดชอบและมีวินัยให้กับคนในชุมชน การมีส่วนร่วมของสมาชิกอง
ทุน ได้แก่ การเข้าร่วมรับทราบผลการดำเนินงานของคณะกรรมกมการกองทุนหมู่บ้านว่าดำเนินการไป
แล้วมียอดกู้ และยอดเงินเหลือมีจำนวนเท่าไร พร้อมจำนวนของเงินปันผลที่จะได้ตนเองจะได้เท่าไร
พร้อมทั้งให้ความเห็นชอบกับวิธีการกระจายเงินกู้ให้ทั่วถึงโดยพลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป สมาชิกใน
กองทุนทุกคนล้วนแต่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายกองทุนและจากแรงจูงใจทำให้เกิดความมั่น
ใจที่จะเข้ามามีส่วนร่วมและแสดงความรู้สึกเป็นเจ้าของกองทุน โดยเข้ามามีส่วนร่วมในการประชุมเพื่อ
คัดเลือกคณะกรรมการ มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น มีส่วนร่วมในการสมัครเป็นสมาชิกและมี
ส่วนร่วมรับผลประโยชน์จากกิจกรรมของกองทุนและยังมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชนในโครงการ
ต่าง ๆ ด้วย ปัจจุบันมีสมาชิกกองทุนจำนวน 135 คน
ดังนั้นการมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุนในชุมชนดังกล่าวเกิดขึ้นจากความต้องการที่จะสร้าง
รายได้เพื่อให้ฐานะและความเป็นอยู่ของครอบครัวดีและตนเองดีขึ้น เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่า
เงินกู้นอกระบบและสามารถช่วยแก้ปัญหาเรื่องหนี้สินได้ กอปรกับประธานกองทุนเป็นผู้ที่มีความเป็น
กันเองและเอื้ออาทรให้กับคนในชุมชนทุกคน อัตราเสี่ยงไม่มีและมีแต่ประโยชน์ให้กับสมาชิก ส่วนผู้ที่
ไม่เข้าร่วมเพราะฐานะทางครอบครัวพออยู่พอกิน พอช่วยเหลือตัวเองได้จึงไม่อย่างกู้หนี้ยืมสินใคร
บางคนขอเป็นสมาชิกกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ก็พอแล้ว
กรณีศึกษาที่ 3 นายชัยยงค์ บรรเจิดศิลป์ มีวิธีการจูงใจประชาชน ให้เข้าสมัครเป็นสมาชิก
โดยผู้นำกองทุนจะเป็นจะเป็นผู้เดินถามชาวบ้านทุกบ้าน เดินถามทุกวัน ทำให้ประชาชนเห็นเดิน
บ่อย ๆ จนเกิด ความคุ้นเคย เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับรู้และเข้าใจเรื่องของกองทุน และ
79
ได้ทำเป็นจดหมายเชิญประชุมพร้อมให้เหตุผลของการสมัครเป็นสมาชิกให้เห็นถึงผลประโยชน์ที่
ประชาชนควรจะได้รับ การดำเนินการเพื่อจูงใจประชาชนของประธานกองทุน เป็นการสร้างความเป็น
กันเองเพื่อให้การสื่อสารสามารถสร้างความเข้าใจได้ง่ายขึ้น ในวันแรกมีประชาชนสมัครเป็นสมาชิก
จำนวน 54 คน วิธีการบริหารจัดการกองทุน ประกอบด้วยประธาน รองประธาน บัญชีและการเงิน
สินเชื่อ เลขา และประชาสัมพันธ์ จัดให้มีการประชุมชองคณะกรรมการทุกวันอาทิตย์ของสัปดาห์และมี
การประชุมสมาชิกเดือนละครั้งโดยทำเป็นจดหมายเชิญประชุมและมีการจัดเก็บจากคณะกรรมการกอง
ทุนกองละ 50 บาท ต่อเดือนเพื่อไว้เป็นค่าใช้จ่ายต่าง ๆ กรณีทำบุญ เจ็บไข้ได้ป่วย ประโยชน์ที่ได้
รับจากการจัดตั้งกองทุน คุณชัยยงค์เห็นด้วยกับนโยบายของรัฐบาล ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อชุมชนและ
ประชาชนอย่างแท้จริง ชุมชนสามารถบริหารจัดการให้สมาชิกเกิดความเข้าใจและสมัครเป็นสมาชิก
พร้อมทั้งสามารถกู้เพื่อประกอบอาชีพที่ต้องการโดยไม่ต้องกู้เงินนอกระบบที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงและยัง
ช่วยให้เศรษฐกิจและสังคมของชุมชนเข้มแข็งด้วย นายธเนศ ประชาบาล อายุ 31 ปี อาชีพรับจ้าง ได้
ยืนยันว่า
“นายชัยยงค์เป็นคนมีความขยันอดทนเห็นทำงานตั้งแต่เช้ายันค่ำ และไม่เคยเห็นว่าแกมี
เวลาว่างหรือวันหยุดเลย ถึงแม้ว่าได้รับเลือกให้เป็นประธานแล้วแกก็ยังมีส่วนทำให้การมีส่วนร่วม
ของสมาชิกกองทุนเกิดขึ้นเนื่องจากประธานกองทุนได้ประชาสัมพันธ์ตามบ้านด้วยตนเองทำให้
ประชาชนให้ความสนใจและตื่นตัวมากขึ้นรวมทั้งตนเอง” (ชัยยงค์ บรรเจิดศิลป์,2545,ตุลาคม
25)
สังเกตได้จากการที่ประชาชนมาเข้าร่วมประชุม 85 ครัวเรือน จากประชาชน 100 ครัวเรือน
ประชาชนเข้ามาสมัครเป็นสมาชิกอย่างต่อเนื่องและเข้ามามีส่วนร่วมเป็นที่น่าพอใจตั้งแต่กระบวนการ
ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมเป็นสมาชิก ร่วมติดตามการดำเนินการ คอยให้ความช่วยเหลือผู้ที่ร่วมกู้ด้วยกัน
และร่วมพัฒนาชุมชนให้มีศักยภาพทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนโดยมีเงิน 1 ล้านบาท
เป็นจุดเริ่มต้นให้เกิดการขับเคลื่อนในการสร้างโอกาส สร้างอาชีพและรายได้ให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง
สามารถ พึ่งพาตนเองได้อย่างสมบูรณ์ ปัจจุบันมีสมาชิก 64 คน
กรณีศึกษาที่ 4 นายรัตนชัย บุญศรี มีวิธีการจูงใจประชาชนให้เข้าสมัครเป็นสมาชิก ผู้นำกอง
ทุนมีวิธีการประชาสัมพันธ์และโน้มน้าวใจประชาชนโดยใช้ปากต่อปาก และตัวต่อตัว เพื่อให้เข้าใจถึง
ประโยชน์ของกองทุน เป็นการเตรียมความพร้อมในการเปิดเวทีชาวบ้าน ซึ่งได้รับความสนใจจาก
ประชาชนโดยมีผู้เข้าร่วมประชุม 101 ครัวเรือน และเข้าสมัครเป็นสมาชิก 95 คน วิธีการบริหารจัด
การกองทุน ในขั้นต้นประธานกองทุนทำการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานเพื่อหาคำตอบและทำ
การศึกษาร่วมกันว่าควรทำอย่างไร มีแนวทางการปฏิบัติอย่างไร ในส่วนของคณะกรรมการได้ตกลง
ร่วมกันว่าให้มีการประชุมกรรมการทุกวันอาทิตย์ต้นเดือนเพื่อรับคำขอกู้และใบสมัครขณะเดียวกัน
ประธานกองทุนร่วมกับกรรมการออกสัมภาษณ์ความเห็นว่าขอกู้เพื่อไปทำอะไร การรับสมาชิกของ
80
ชุมชนเปิดกว้างทั้งคนในชุมชนและนอกชุมชน กรณีมีปัญหากรรมการจะช่วยกันพิจารณาความเป็นไป
ได้ มีการจัดทำบัญชี ทำทะเบียนอย่างเป็นระบบ สามารถตรวจสอบได้ นอกจากนี้จัดให้มีการประชุม
ชาวบ้านโดยให้สมาชิกได้มีโอกาสร่วมตรวจสอบ เมื่อมีการประชุมสมาชิกสามัญ ประโยชน์ที่ได้รับ
จากการจัดตั้งกองทุนครั้งนี้ สมาชิกสามารถนำเงินกู้ไปขยายกิจการการตัดเย็บเสื้อผ้า เปิดกิจการร้าน
ค้าใหม่ นำไปซื้ออุปกรณ์ในการประอบอาชีพและที่สำคัญคือสมาชิกสามารถกู้ยืมเงินในอัตราดอกเบี้ย
ที่ไม่แพงและนั้นคือปัจจัยสนับสนุนให้เกิดการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนมาสมาชิกเป็นสมาชิกจน
สามารถก่อตั้งกองทุนชุมชนจนประสบความสำเร็จและมีสมาชิกถึง ร้อยละ 60 ของจำนวนครัวเรือนใน
ชุมชน นอกจากนี้ประชาชนในชุมชนยังมีประสบการณ์ในการดำเนินการที่จะขอกู้ในส่วนของชุมชนเอง
ช่วยให้ชุมชนมีศักยภาพและมีความเข้มแข็งมากขึ้น มีการพบปะกัน มีความร่วมมือกันในการทำงาน
ในการทำกิจกรรมของกองทุนและยังช่วยให้เกิดเครือข่ายการเรียนรู้ จากการประชุมร่วมกันและแลก
เปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน การมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุน ประชาชนในชุมชนเห็นความ
สำคัญและให้ความสนใจตั้งแต่เริ่มดำเนินการและให้ความร่วมมือ ได้แก่รับฟังการประชาสัมพันธ์เกี่ยว
กับกองทุน ร่วมประชุมเพื่อแสดงความคิดเห็น ร่วมคัดเลือกคณะกรรมการกองทุน ร่วมสมัครเป็น
สมาชิกกองทุนจนกระทั่งมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ นอกจากนี้ยังมีส่วนร่วมในการสนับสนุนกิจ
กรรมต่าง ๆ ของชุมชน ก่อให้เกิดความสามัคคีเป็นที่น่าพอใจ ปัจจุบันมีสมาชิก 182 คน สำหรับ
ประชาชนที่ไม่ได้เข้าร่วมสมาชิกนั้นเพราะมีฐานะทางครอบครัวมั่นคงดีแล้ว และมีลักษณะนิสัยไม่ชอบ
ยุ่งเกี่ยวกับใครต่างคนต่างอยู่จึงไม่เข้าร่วมในกิจกรรมกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองซึ่งเห็นว่ามีข้อ
จำกัดมากมายและจำนวนเงินที่กู้ได้ไม่เพียงพอกับความต้องการที่แท้จริง
กรณีศึกษาที่ 5 นาวาเอกพิเศษ โชติรัตน ์ อภัยพลชาญ มีวิธีการจูงใจประชาชนให้เข้าสมัคร
เป็นสมาชิก ในการดำเนินการจูงใจชุมชนปรกอรุณ ใช้เวลาไม่นานโดยกรรมการเป็นผู้ประชาสัมพันธ์
ตามบ้านทุกบ้านเพื่อนัดวันประชุมและคัดเลือกคณะกรรมการ คณะกรรมการจะจัดแบ่งความรับผิด
ชอบเป็นซอยที่อยู่ในชุมชนโดยกรรมการทุกคนจะต้องชี้แจงและบอกถึงประโยชน์ที่ทุกคนจะได้รับว่า
สมัครแล้วได้อะไร ค่าหุ้นเท่าไร มีสิทธิกู้ไปทำอะไรได้บ้างรวมทั้งการชำระเงินคืนจะปฏิบัติอย่างไร
คณะกรรมการได้จัดเตรียมตั้งสำนักงานเพื่อเตรียมความพร้อมและเอกสารต่าง ๆ ได้รับความสนใจ
จากประชาชนและเข้าสมัครเป็นสมาชิกจำนวน 122 คน ต่อมาได้รับความสนใจจากประชาชนมากขึ้น
เพราะมีความเข้าใจและได้เห็นตัวอย่างจากสมาชิกกองทุนที่กู้ยืมไปแล้ว โดยมีวิธีการบริหารจัดการกอง
ทุนคือ การบริหารที่มีโครงสร้างในการจัดแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบด้านตำแหน่ง ได้แก่ประธาน รอง
ประธาน เลขานุการ เหรัญญิก ผู้ตรวจสอบภายใน และเร่งรัดหนี้สิน นายทะเบียน ประชาสัมพันธ์ และ
ที่ปรึกษากองทุน โดยกำหนดให้มีการประชุมกรรมการทุกวันเสาร์ที่ 3 ของเดือน เพื่อสรุปจำนวน
สมาชิกกองทุนและรายงานยอดเงินกองทุน และจัดให้มีการประชุมย่อยทุกสัปดาห์ของบ่ายวันอาทิตย์
เพื่อรับคำขอกู้และพิจารณาคำขอกู้ของสมาชิกรวมทั้งปัญหาต่าง ๆ ด้วย นอกจากนี้ชุมชนยังได้กำหนด
จำนวนเงินที่ให้กู้ยืมไว้อย่างรัดกุม พร้อมทั้งจัดทำทะเบียนการกู้ยืมและการชำระหนี้เพื่อเป็นการควบ
81
คุมและติดตาม ประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านให้ประโยชน์และเห็นเป็นรูปธรรมชัด
เจน ได้แก่ ดอกเบี้ยที่ได้รับจากการชำระเงินคืน จากสมาชิกในอัตราร้อยละ 1 บาท ประชาชนสามารถ
นำเงินไปขยายกิจการภายในร้าน ได้เห็นถึงความแตกต่างของดอกเบี้ยในการยืมเงินนอกระบบ เสีย
ดอกเบี้ยร้อยละ 20 บาท นอกจากนี้ยังเป็นการฝึกสมาชิกให้เป็นผู้มีวินัยและตรงต่อเวลา ในด้านการมี
ส่วนร่วมของสมาชิกกองทุน การดำเนินงานของกองทุนมีส่วนทำให้เกิดการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน
คณะกรรมการชุมชน คณะกรรมการกองทุนได้ร่วมกันแก้ไขปัญหาและมีความสัมพันธ์ของสมาชิก
เหนียวแน่นขึ้น สมาชิกมีโอกาสได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกันไว้เนื้อเชื่อใจกันในการค้ำประกันเงินกู้ใน
ส่วนของสมาชิกเองจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มต้นได้แก่ร่วมประชุมและแสดงความคิดเห็นร่วม
คิดเลือกคณะกรรมการกองทุน ร่วมสมัครเป็นสมาชิกกองทุนและร่วมรับผลประโยชน์จากกองทุน
ปัจจัยที่สนับสนุนให้สมาชิกมีส่วนร่วมคือ การทำงานที่เป็นระบบ มีความเข้มแข็งของทีมงาน
การชี้แจงของคณะกรรมการที่สามารถสร้างความเข้าใจให้กับชาวชุมชนได้อย่างชัดแจ้งจนทำให้ทุกคน
ต้องปฏิบัติตามและสนใจในการเข้ารับฟังข่าวสารการดำเนินงานของกองทุน ประกอบกับสมาชิกในชุม
ชนมีความสัมพันธ์กันอย่างเหนียวแน่นการดำเนินการของกองทุนจึงประสบความสำเร็จอย่างดียิ่งและ
มีสมาชิกถึง 205 คนในปัจจุบัน
4.3.1.2 ลักษณะทั่วไปของการมีส่วนร่วมและการจูงใจของชุมชนที่มีสมาชิก
ร้อยละ 30 ของจำนวนครัวเรือนในชุมชน
กรณีศึกษาที่ 6 นายสุวัฒน์ชัย สมเนตร วิธีการจูงใจประชาชนให้เข้าสมัครเป็นสมาชิก ในขั้น
แรกใช้วิธีประชุมคนในชุมชนเพื่อขยายแกนผู้นำเครือข่าย คือเป็นผู้ที่คนในซอยนับถือ ได้แก่ผู้เกษียณ
อายุ ราชการ ผู้ที่ทำงานธนาคารโดยประธานเป็นผู้ประชาสัมพันธ์เอง ใช้เสียงตามสายเป็นรอบ ๆ
และให้กรรมการประชาสัมพันธ์แบบปากต่อปาก ประกบแบบตัวต่อตัว สงสัยอะไรให้ถาม และติดป้าย
ประกาศสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ประชาชนให้ความสนใจดี โดยครั้งแรกมีผู้สมัครเป็นสมาชิกกองทุนรวม
83 คน วิธีการบริหาร จัดการกองทุน ประธานกองทุนได้มีการจัดโครงสร้างองค์กรขึ้นอย่างชัดเจน
โดยคัดเลือกกรรมการบริหารกองทุนที่มีคุณสมบัติ มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์รวมทั้งมี
จิตสาธารณะที่ต้องการเห็นกองทุนมีความเจริญก้าวหน้าและยั่งยืน ประกอบด้วยคณะกรรมการบริหาร
กองทุน กรรมการที่ปรึกษาและบุคลากรที่ทำหน้าที่ดูแลด้านบัญชี เอกสารและทะเบียน มีการวางแผน
ปฏิบัติงานโดยกำหนดให้มีการประชุมคณะกรรมการเดือนละ 1 ครั้ง แต่ถ้ามีความจำเป็นประธานอาจ
เรียกประชุมได้มากกว่า 1 ครั้ง ให้คณะกรรมการกองทุนเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีและรายงานผลเพื่อ
ความถูกต้องและโปร่งใส รวมทั้งการปฏิบัติงานจะต้องยุติธรรมสำหรับสมาชิกทุกคน ประโยชน์ที่ได้รับ
จากการจัดตั้งกองทุน ประธานกองทุนดีใจและเห็นด้วยที่รัฐได้มองเห็นความสำคัญในระดับรากหญ้า
เพื่อแก้ปัญหาความยากจนของ ประชาชนในส่วนของกองทุนช่วยให้การบริหารจัดการกองทุนมี
82
ระบบในการทำงานและการชำระหนี้เงินกองทุนของสมาชิกเป็นการสร้างนิสัยและความรับผิดชอบของ
คนในชุมชน รวมทั้งสะท้อนให้เห็นถึงความสามัคคี ความร่วมมือของคนในชุมชนที่พร้อมจะช่วยกันแก้
ไขปัญหาของชุมชน การมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุน ประชาชนในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจ
เกี่ยวกับกองทุนมีความต้องการอยากให้มีกองทุนจึงพร้อมใจกันเข้าร่วมประชุมจำนวน 190 หลังคา
เรือน เพื่อคัดเลือกคณะกรรมการ ซึ่งประชาชนได้เข้ามีส่วนร่วมตั้งแต่ร่วมประชุม ร่วมแสดงความคิด
เห็น ร่วมคิดเลือกคณะกรรมการ ร่วมสมัครเป็นสมาชิก กองทุนและร่วมรับผลประโยชน์จากกองทุน
ปัจจุบันมีสมาชิก 116 คน ปัจจัยที่ทำให้มีสมาชิกเข้ามามีส่วนร่วมดังกล่าวได้แก่ บุคลิกลักษณะ คุณ
สมบัติ และภาวะผู้นำของประธานกองทุนที่สามารถบริหารโครงการพัฒนาในทุก ๆ ด้านจนประสบ
ความสำเร็จถึง 11 โครงการ ซึ่งเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถที่ แท้จริงของประธานกองทุน
แล้วยังมีปัจจัยทางด้านการประชาสัมพันธ์ที่ดีและการขยายเครือข่ายได้อย่างเหมาะสมกับชาวชุมชน
ประกอบกับสภาพทางเศรษฐกิจของคนในชุมชนที่มีอาชีพรับจ้าง และการมีอาชีพเสริมของคนในชุม
ชนที่จำเป็นจะต้องนำเงินจำนวนหนึ่งมาสนับสนุนส่งเสริมให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็
มีครอบครัวที่มีฐานะค่อนข้างดี เช่น ประกอบอาชีพค้าขาย รับราชการซึ่งมีรายได้ที่มั่นคงเพียงพอแล้ว
กอปรกับทางชุมชนมีโครงการที่คอยให้บริการในด้านความสุขภาพอนามัยของคนในชุมชนและผู้สูง
อายุซึ่งเป็นสิ่งที่ช่วยเหลือความเดือดร้อนของผู้ยากจนได้ในระดับหนึ่ง ไม่ต้องหันไปพึ่งเงินนอกระบบ
เพื่อนำมาใช้ในเรื่องการรักษาพยาบาลเหมือนชุมชนอื่น ทำให้คนในชุมชนอีกส่วนหนึ่งไม่ได้เข้าร่วม
เป็นสมาชิกกองทุนหมู่บ้านเพราะเห็นว่าไม่มีความจำเป็นสำหรับตน
กรณีศึกษาที่ 7 นายพยุงศักดิ์ ปัทมานนท ์ มีวิธีการจูงใจประชาชน ในการจัดตั้งกองทุนหมู่
บ้าน สิ่งสำคัญที่จะทำให้สมาชิกในชุมชนมีความเข้าใจและตัดสินใจสมัครเป็นสมาชิกกองทุนในเบื้อง
ต้นจะต้องมีการประชาสัมพันธ์โดยใช้วิธีติดป้ายประกาศตามจุดต่าง ๆ ใช้สภากาแฟในชุมชนเป็นศูนย์
กลางได้พูดคุยกันแบบปากต่อปากเพื่อให้ทราบถึงประโยชน์ที่จะได้รับ โดยมีวิธีการบริหารจัดการกอง
ทุน คือในปี พ.ศ.2545 กำหนดให้มีการเปิดรับสมาชิก มีการรับฝากเงินสัจจะของสมาชิกให้มีการ
ประชุมพิจารณาอนุมัติเงินกู้ทุกวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนและกำหนดวันทำสัญญาเงินกู้และสัญญาค้ำ
ประกันในวันอาทิตย์แรกของเดือนในการประชุมทุกครั้งจะต้องมีรายงานการประชุมส่งเขตและให้มี
การตรวจสอบติดตามผลการชำระเงินคืนของสมาชิกพร้อมแจ้งยอดเงินกองทุนเพื่อความถูกต้องโปร่ง
ใสและตรวจสอบได้ จากการสัมภาษณ์นายสมบูรณ์ แซ่โค้ว อายุ 32 ปี นักศึกษากองทุนหมู่บ้านซึ่งเป็น
ผู้เข้าร่วมในการดำเนินงานการจัดตั้งกองทุนของชุมชนได้เล่าให้ฟังถึงการจัดตั้งกองทุนว่า
“ประธานกองทุนเป็นผู้ร่างระเบียบและแผนงานการบริหารพร้อมทั้งกำหนดบทบาทและ
หน้าที่ของคณะกรรมการภายใต้แผนแม่แบบของกองทุนหมู่บ้านนำร่อง แต่มีการนำมาปรับให้เข้า
กับสภาพและความต้องการของชุมชนวัดบางขุนนนท ์ บางข้อที่เห็นว่าไม่จำเป็นและไม่มีประโยชน์
อะไรกับทางชุมชนก็จะตัดทิ้งไป พร้อมกันนั้นท่านก็ได้อธิบายถึงขั้นตอน วิธีการ ความจำเป็นใน
83
ข้อปฏิบัติอย่างละเอียดและรอบคอบเพื่อให้คณะกรรมการมีความแจ่มชัดในการอธิบายให้คนใน
ชุมชนได้เข้าใจอย่างลึกซึ้ง” (สมบูรณ์ แซ่โค้ว,2545,ธันวาคม 8)
การมีส่วนร่วมของสมาชิกในกองทุนมีลักษณะของมีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มต้นในการเปิดเวทีชาว
บ้านเพื่อจัดตั้งคณะกรรมการกองทุนและสมัครเป็นสมาชิกกองทุนการเข้าฟังเรื่องผลประโยชน์ที่จะได้
รับจากการตั้งกองทุนนั้นคือช่วยให้มีเงินหมุนเวียนในชุมชน และช่วยชาวบ้านได้มีโอกาสสร้างงาน
สร้างมีรายได้ สิ่งที่เป็นข้อดีสำหรับสมาชิกคือทำให้เป็นคนซื่อสัตย์และมีความรับผิดชอบมากขึ้น นอก
จากนั้นสมาชิกยังมีส่วนร่วมในการรับทราบขั้นตอนการปฏิบัติในการกู้ยืมเงินพร้อมทั้งวิธีการคืนเงิน
โดยที่ทุกคนจะต้องส่งคืนเงินที่ธนาคารออมสินด้วยตนเองแต่จะต้องมาบอกเลขาหรือประธานให้จดชื่อ
หรือลงบันทึกการคืนเงินทุกครั้งก่อนที่จะนำไปส่งที่ธนาคาร ปัจจุบันมีสมาชิกกองทุน 94 คน สำหรับ
ชาวชุมชนที่ไม่เข้าร่วมเป็น
สมาชิกกองทุนเพราะมีความคิดเห็นขัดแย้งทางด้านการเมือง เป็นฝ่ายตรงข้ามกับพรรคไทยรักไทย
กล่าวว่ามีความยุ่งยากในเรื่องของการกู้ยืมเงิน
กรณีศึกษาที่ 8 นายคล่อง กล่อมเกลี้ยง มีวิธีการจูงใจประชาชนสมัครเป็นสมาชิก ขั้นแรก
ประธานกองทุนประชาสัมพันธ์โดยประกาศออกเสียงตามสายต่อมาคณะกรรมการกองทุนออกเชิญ
ชวนตามบ้านทุกบ้านแบบปากต่อปากเพื่อให้ประชาชนได้เข้าใจถึงนโยบายและวัตถุประสงค์กองทุน
รวมทั้งประโยชน์ที่จะได้รับขณะเดียวกันได้จัดทำแผ่นป้ายประกาศตามซอยต่าง ๆ ให้เวลาการ
ประชาสัมพันธ์ผ่านไปสักระยะหนึ่งจึงนัดประชุมเพื่อเปิดเวทีชาวบ้านให้โอกาสทุกคนได้ซักถามแล้วจึง
เริ่มรับสมชิก ปรากฏว่ามีประชาชนให้ความสนใจสมัครเป็นสมาชิกในวันแรก 20 กว่าราย วิธีการ
บริหารจัดการกองทุน คณะกรรมการจะจัดให้มีการประชุมของกรรมการเพื่อพิจารณาคำข้อกู้ เมื่อมี
คำขอกู้ก็เรียกประชุมได้เลย แต่ถ้าไม่คำขอกู้ก็จะประชุมเดือนละ 1 ครั้ง ทุกครั้งที่ประชุมจะต้องมี
บันทึกการประชุมและหลักฐานพร้อมเพื่อความโปร่งใสและตรวจสอบได้ การชำระเงินกู้คืนของสมาชิก
ให้เป็นไปตามวัน เวลาและระเบียบที่กำหนดไว้ ถ้ามีปัญหาเกิดขึ้นจะนำเข้าที่ประชุมเพื่อกรรมการ
พิจารณาต่อไป ประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดตั้งกองทุน สิ่งที่เป็นประโยชน์ที่ได้รับที่สำคัญ คือ ปัญหากู้
หนี้ยืมสินของคนในชุมชนลดน้อยลง ประชาชนใน ชุมชนสามารถที่จะพึ่งพาตนเองได้ ช่วยลดปัญหา
การว่างงานและปัญหายาเสพติดได้ ในส่วนของคณะกรรมการกองทุนจะต้องมีความรับผิดชอบ มี
ความซื่อสัตย์ สามารถบริหารเงินทุนได้อย่างต่อเนื่อง มีความโปร่งใส ยุติธรรม และตรวจสอบได้ การ
มีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุน กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเกิดขึ้นได้เพราะประชาชนสนับสนุนให้เกิด
สมาชิกในชุมชนต้องมีความรู้ความเข้าใจ และมีความรู้สึกเป็นเจ้าของ และมีส่วนร่วมในการบริหารจัด
การ ร่วมรับผิดชอบ และร่วมรับผลประโยชน์ เข้าไปมีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มต้น ร่วมแสดงความคิดเห็น
ในการเปิดเวทีชาวบ้าน ร่วมประชุมในการคัดเลือกคณะกรรมการกองทุน และร่วมรับผลประโยชน์จาก
กองทุน ปัจจุบันมีสมาชิกกองทุน 87 คน ปัจจัยที่ทำให้มีคนเข้าร่วมในกองทุนก็คือ ความเคารพเชื่อ
ถือในตัวประธานกองทุนในด้านของการเสียสละ การเป็นคนยึดมั่นและปฏิบัติตาม คำสอนของพระ
84
พุทธศาสนา เป็นตัวอย่างที่ดีของคนในชุมชน และความตั้งใจจริงที่จะก่อตั้งกองทุนให้เกิดขึ้นให้ได้ใน
ชุมชน ประกอบกับท่านได้พยายามช่วยเหลือแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของชาวบ้านด้วยความจริงใจ ทำให้
ทุกคนเลือกให้ท่านเป็นประธานและเข้าร่วมเป็นสมาชิกกองทุนกันอย่างต่อเนื่องจนสามารถก่อตั้งกอง
ทุนได้สำเร็จ และสมาชิกเหล่านั้นได้นำเงินจากการกู้เงินของกองทุนมาใช้หนี้คืนเงินนอกระบบ มาเป็น
ค่าเล่าเรียนของลูก บางรายก็ต้องนำเงินนั้นมาซ่อมแซมบ้านที่อยู่อาศัยให้ดีขึ้นกว่าสภาพที่ย่ำแย่
สำหรับคนอื่น ๆ ที่ไม่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกกองทุนเป็นเพราะมีฐานะที่มั่นคง บางคนไม่เข้าใจเรื่องกอง
ทุนหมู่บ้านเท่าที่ควร คนที่ต้องการเข้าร่วมเป็นสมาชิกแต่เป็นไม่ได้เพราะขาดหลักฐานสำคัญที่ใช้
ประกอบในการกู้ยืม ได้แก่สำเนาทะเบียนบ้านฉบับจริง เพราะเป็นคนต่างถิ่นไม่ได้อยู่ในพื้นที่นี้ก็ไม่
สามารถกู้ยืมได้
กรณีศึกษาที่ 9 นายพิชิต บุษปาคม มีวิธีการบริหารจัดการกองทุน กำหนดให้กรรมการ
กองทุนมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 2 ปี เรียกประชุมคณะกรรมการเดือนละ 1 ครั้ง ขั้นตอนการ
รับสมัครสมาชิกจะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่คณะกรรมการพิจารณา และให้สอดคล้องกับโครง
การที่ผู้ขอกู้เสนอมา ให้ตรงกับความเป็นจริงมากที่สุด โดยมีผู้ค้ำประกัน 2 คน ไม่ให้ผู้กู้ค้ำกันเอง
คณะกรรมการเป็นผู้พิจารณาโดยใช้วิธีการสังเกตพิจารณาดูว่ามีความสามารถที่จะใช้คืนได้หรือไม่
กรณีที่ผู้กู้ไม่ใช้คืนคณะกรรมการจะออกหนังสือเป็นทางการเพื่อให้มีหลักฐาน ดูภาวะที่สมควรจะ
ดำเนินการหรือต้องฟ้อง เวลาส่งคืนเงินกู้กรรมการจะส่งคนไปเตือนและให้ส่งกับเหรัญญิกเป็นผู้รวบ
รวมเพื่อนำไปเข้าบัญชี ประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดตั้งกองทุน ผู้กู้สามารถนำเงินไปใช้ตามวัตถุ
ประสงค์ได้เป็นส่วนใหญ่ ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น ชาวบ้านมีความรับผิดชอบมากขึ้น และรู้หน้าที่ของตน
เอง ในส่วนของสมาชิกกองทุนได้พึ่งพาอาศัยกันก่อให้เกิดความสามัคคีในกลุ่มสมาชิกด้วยกัน สำหรับ
ประชาชนที่ว่างงานสามารถนำเงินไปลงทุนและนำไปขยายกิจการร้านค้าที่มีอยู่ การมีส่วนร่วมของ
สมาชิก กองทุน ประชาชนเห็นความสำคัญและมีความเข้าใจ จึงเข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มดำเนิน
การ ได้แก่ร่วมประชุม ร่วมแสดงความคิดเห็น ร่วมคัดเลือกคณะกรรมการกองทุน ร่วมสมัครเป็น
สมาชิกและร่วมรับผลประโยชน์ที่เกิดจากกองทุน ปัจจุบันมีสมาชิกกองทุน 78 คน สิ่งที่สนับสนุนให้
ชาวชุมชนเข้าร่วมเป็นสมาชิกกองทุนเพราะว่าระเบียบและวิธีการบริหารจัดการกองทุนมีความโปร่งใส
เพราะตัวประธานเองมีความมั่นคงเด็ดขาดในการบริหารงานกองทุน กอปรกับเงินที่กู้ยืมมาได้นั้น
สามารถนำมาใช้ในการบรรเทาความเดือดร้อนในยามจำเป็นได้ มีอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าเงินนอกระบบ
เป็นอย่างมาก และสามารถนำมาเพื่อการเริ่มต้นในการพัฒนาอาชีพสำหรับคนว่างงานในชุมชนได้
ระดับหนึ่ง ส่วนผู้ที่ไม่เข้าร่วมสมัครเป็นสมาชิกเพราะขาดคุณสมบัติตามที่ได้กำหนดไว้
กรณีศึกษาที่ 10 นายปรัชญา ธัญญาดี มีวิธีการจูงใจประชาชนให้เข้าสมัครเป็นสมาชิก ใน
เบื้องต้นประธานและคณะกรรมการใช้วิธีพูดคุยกับชาวบ้านตามบ้านแล้วถามถึงความเป็นอยู่และ
ปัญหาต่าง ๆ โดยทั่วไปถามเกี่ยวกับ รายได้ในครอบครัวเป็นอย่างไรมีความเข้าใจและสนใจเกี่ยวกับ
85
กองทุนมากหรือน้อยอย่างไร ขณะเดียวกันประธานได้ชี้แจงถึงประโยชน์ของกองทุนที่สมาชิกพึงจะได้
รับ ต่อมาจึงเปิดเวทีชาวบ้านเพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนในชุมชนได้ซักถาม ขณะเดียวกันประธานจึง
ได้ชี้แจงให้เห็นถึงประโยชน์ของกองทุนและได้เชิญชวนให้ประชาชนสมัครเป็นสมาชิกกองทุนจากการ
ประชุมมีประชาชนสนใจและเข้าสมัครเป็นสมาชิกกองทุน 57 คน วิธีการบริหารจัดการกองทุน ใน
การบริหารจัดการกองทุนของชุมชนวัดหงส์ ประธานมีบทบาทในการกำหนดแนวนโยบายการบริหาร
ตามระเบียบที่ร่างขึ้นโดยคณะกรรมการกองทุนเพื่อให้มีการกระจายผลประโยชน์อย่างทั่วถึง ในการ
ประชุมของคณะกรรมการให้มีการประชุมเดือนละหนึ่งครั้งเพื่อพิจารณาคำขอกู้ของสมาชิกเพื่อแจ้ง
สถานะภาพทางการเงินของกองทุนและเพื่อตรวจสอบจำนวนสมาชิกที่ขอกู้และชำระหนี้คืน รวมทั้ง
เรื่องอื่น ๆ ที่มีผลการประชุมทุกครั้งเลขาฯ จะจดบันทึกการประชุมเพื่อทราบในการประชุมครั้งต่อไป
การมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุนและการจูงใจของผู้นำกองทุนทั้ง 10 ชุมชน สรุปราย
ละเอียดได้ดังตารางที่ 5
ตารางที่ 5 สรุปผลการศึกษาการมีส่วนร่วมและการจูงใจ
ชุมชน การมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุน วิธีการจูงใจ
ชุมชนที่มีสมาชิกกองทุน
ร้อยละ 60
ชุมชนพัฒนาซอย79 -ร่วมจัดตั้งกองทุนและนโยบาย
-ร่วมบริหารงานกองทุน
-ร่วมแก้ปัญหา
-จัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์
-ใช้วิธีการให้ความรู้ ความ
เข้าใจ
-การประชามพันธ์ โดยใช้แผ่นป้าย
และแผ่นพับ
ชุมชนคลองสวนพริก -ร่วมจัดตั้งกองทุนและนโยบาย
-ร่วมบริหารงานกองทุน
โดยการแบ่งหน้าที่
-จัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์
-การประชาสัมพันธ์โดยใช้ปากต่อ
ปาก
ชุมชนชวนชื่น -ร่วมจัดตั้งกองทุนและนโยบาย
-ร่วมบริหารงานกองทุน
-จัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์
-การประชาสัมพันธ์โดยการออก
เสียงตามสาย
-เดินตามบ้านเพื่อให้ความรู้
ความเข้าใจและเห็นผลประโยชน์
86
ชุมชน การมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุน วิธีการจูงใจ
ชุมชนวัดอมรทายิการาม -ร่วมจัดตั้งกองทุนและนโยบาย
-ร่วมบริหารงานกองทุน
-จัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์
-ให้ความรู้ความเข้าใจ
-มีความยืดหยุ่นให้กับสมาชิก
-มีนโยบายเปิดกว้าง
-มีประชาชนทั้งในและนอกชุมชน
ชุมชนวัดปรกอรุณ -ร่วมจัดตั้งกองทุนและนโยบาย
-ร่วมบริหารงานกองทุน
-การประชุมย่อยเพื่อแก้ปัญหาอย่าง
มีระบบ
-จัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์
-ประชาสัมพันธ์เพื่อให้มีการ
ประชุมย่อยเพื่อให้ความรู้ ความเข้า
ใจต่างๆ
ชุมชนที่มีสมาชิกกองทุน
ร้อยละ30
ชุมชนวัดบางขุนนนท์ -ร่วมจัดตั้งกองทุนและนโยบาย
-ร่วมบริหารงานกองทุน
-จัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์
-สร้างสภากาแฟเพื่อการรวมกลุ่ม
-มีป้ายประชาสัมพันธ์
-ใช้ปากต่อปากโดยใช้สภากาแฟ
ชุมชนวัดเทพากร -ร่วมจัดตั้งกองทุนและนโยบาย
-ร่วมบริหารงานกองทุน
-จัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์
-แก้ไขปัญหา
-สร้างเครือข่าย
-ใช้เครือข่ายประชาสัมพันธ์ให้
ความรู้
-ประกบตัวต่อตัวเพื่อให้ความรู้
ชุมชนซอยสุดสาคร -ร่วมจัดตั้งกองทุนและนโยบาย
-ร่วมบริหารงานกองทุน
-จัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์
-เดินตามบ้านเพื่อชักชวน
-นัดวันประชุมเพื่อให้ความรู้
ชุมชนวัดนาคกลาง -ร่วมจัดตั้งกองทุนและนโยบาย
-ร่วมบริหารงานกองทุน
-จัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์
-ที่ปรึกษาทางกฎหมาย
-แก้ไขปัญหา
-ใช้ร้านค้าเป็นศูนย์กลาง
-ให้ความรู้ตัวต่อตัวและเป็นกลุ่ม
ชุมชนวัดหงส์รัตนาราม -ร่วมจัดตั้งกองทุนและนโยบาย
-ร่วมบริหารงานกองทุน
-จัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์
-ร่วมแก้ไขปัญหา
-ใช้วิธีสำรวจปัญหาและหาแนวทาง
แก้ไขให้ชาวบ้านโดยใช้กองทุนเป็น
แกนกลางในการแก้ไข
87
จากตารางที่ 5 แสดงให้เห็นว่า ทั้ง 2 กลุ่ม ผู้นำกองทุนจากทั้ง 2 กลุ่ม กลุ่มที่มีสมาชิกร้อยละ
60 พบว่าการให้ความรู้ความเข้าใจ การประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย การให้ความยืดหยุ่นแก่สมาชิก
การมีนโยบายเปิดกว้างให้มีสมาชิกทั้งในและนอกชุมชน ผู้นำกลุ่มร้อยละ 30 มีวิธีการจูงใจที่แตกต่าง
กับกลุ่มร้อยละ 60 คือ การใช้สภากาแฟ การหากลุ่มแนวร่วมและสร้างคนในกลุ่มเป็นเครือข่ายในการ
ประชาสัมพันธ์ การใช้ร้านค้าเป็นศูนย์กลางในการติดต่อสื่อสารเรื่องกองทุนหมู่บ้านชุมชนเมือง และ
ใช้วิธีสำรวจปัญหาและแนวทางในการแก้ไขปัญหาโดยใช้กองทุนเป็นหลัก และลักษณะการจูงใจที่
เหมือนกันทั้ง 2 กลุ่ม ได้แก่ การใช้สื่อที่เป็นแบบทางการได้แก่ แผ่นพับ และแผ่นป้ายประกาศ การ
พูดคุยแบบปากต่อปาก หรือตัวต่อตัว ซึ่งแสดงให้ให้เห็นว่า วิธีการจูงใจโดยวิธีนี้ก่อให้เกิดการมีส่วน
ร่วมในการสมัครเป็นสมาชิกของคนในชุมชน ส่วนการให้ความรู้ความเข้าใจ การประชาสัมพันธ์เสียง
ตามสาย การให้ความยืดหยุ่นแก่สมาชิก การมีนโยบายเปิดกว้างให้มีสมาชิกทั้งในและนอกชุมชน เป็น
สิ่งที่ทำให้กองทุนนั้นมีจำนวนสมาชิกในกองทุนได้จำนวนมากถึงร้อยละ 60 ของจำนวนครัวเรือนในชุม
ชน ในขณะที่ การใช้สภากาแฟ การหา กลุ่มแนวร่วมและสร้างคนในกลุ่มเป็นเครือข่ายในการประชา
สัมพันธ์ การใช้ร้านค้าเป็นศูนย์กลางในการติดต่อสื่อสารเรื่องกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ใช้วิธี
สำรวจปัญหาและแนวทางในการแก้ไขปัญหาโดยใช้กองทุนเป็นหลักไม่ส่ามารถจูงใจให้ประชาชนในชุม
ชนสมัครเป็นสมาชิกให้มีจำนวนมากถึงร้อยละ 60 ของจำนวนครัวเรือนในชุมชนได้
4.3.2 การวิเคราะห์การมีส่วนร่วมสมาชิกกองทุน
จากตารางที่ 5 พบว่า การมีส่วนร่วมของสมาชิก ทั้ง 10 ชุมชน มีการร่วมกันจัดตั้งกองทุนและ
กำหนดนโยบายกองทุน ร่วมกันบริหารงานกองทุน ร่วมกันแก้ไขปัญหา และจัดตั้งกองทุนออมทรัพย์
ลักษณะอื่นที่พบ ได้แก่ มีการจัดประชุมย่อยเพื่อแก้ไขปัญหา ของชุมชนปรกอรุณ สภากาแฟเพื่อการ
รวมกลุ่มของชุมชนบางขุนนนท  การสร้างเครือข่ายเพื่อแก้ไขปัญหา ของชมุ ชนวดั เทพากร มที ปี่ รกึ ษา
ทางกฎหมายของชุมชนวัดนาคกลาง ในด้านวิธีการจูงใจเพื่อก่อให้เกิดการมีส่วนรวมของสมาชิกกอง
ทุน พบว่า ผู้นำกองทุนมีวิธีการให้ความรู้ความเข้าใจ โดยทำการประชาสัมพันธ์ ของชุมชนพัฒนา
ซอย 79 การประชาสัมพันธ์แบบปากต่อปาก ของชุมชน คลองสวนพริก การประชาสัมพันธ์โดยวิธี
ออกเสียงตามสาย และเดินตามบ้านเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจของชุมชนชวนชื่น ให้ความรู้ความเข้าใจ
กองทุน และให้ความยืดหยุ่นกับสมาชิก ด้นนโยบายเปิดกว้างทั้งสมาชิกในชุมชนและประชาชนนอกชุม
ชน ของชุมชนวัดอมรทายิการาม ประชาสัมพันธ์เพื่อให้มีการประชุมย่อยเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจ
ของชุมชนปรกอรุณ ใช้การประชาสัมพันธ์แบบปากต่อปากของชุมชนบางขุนนนท  ใช้เครือข่าย
ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แบบประกบตัวต่อตัว เดินตามบ้านเพื่อชักชวน และนัดวันประชุมเพื่อให้
ความรู้ของชุมชนสุดสาคร ใช้ร้านค้าเป็นศูนย์กลางให้ความรู้แบบตัวต่อตัวและแบบกลุ่ม และใช้วิธี
สำรวจปัญหาและหาแนวทางแก้ไขให้ชาวบ้านโดยใช้กองทุนหมู่บ้านเป็นแกนกลางในการแก้ไขปัญหา
ของวัดหงส์รัตนาราม
88
4.4 การค้นหาคุณลักษณะผู้นำกองทุน
4.4.1 การค้นหาคุณลักษณะผู้นำกองทุน คุณลักษณะผู้นำมีอิทธิต่อสมาชิกในด้านการจูง
ใจให้สมาชิกมีส่วนร่วมในกองทุน จากการศึกษาพบว่า คุณลักษณะด้านต่างๆ ของผู้นำกองทุนที่มี
สมาชิกร้อยละ 60 และ 30 ของจำนวนสมาชิกในครัวเรือน มีความแตกต่างกันทั้ง 3 ด้าน ได้แก่
บุคลิกของผู้นำ ปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่อการเป็นผู้นำ และ ภาวะผู้นำ ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ นอกจากต้องการ
ศึกษาคุณลักษณะผู้นำที่มีผลต่อการจัดตั้งกองทุนให้ประสบความสำเร็จแล้ว ผู้วิจัยต้องการศึกษาคุณ
ลักษณะผู้นำเฉพาะกลุ่มเช่นใดที่ก่อให้เกิดการก่อตั้งกองทุนที่มีจำนวนสมาชิกระหว่างกลุ่มที่มีสมาชิก
รัอยละ 60 กับกลุ่มที่มีสมาชิกร้อยละ 30 ของจำนวนครัวเรือนในชุมชน ผู้วิจัยจึงได้ศึกษาให้ครบองค์
ประกอบที่สำคัญต่อการเป็นผู้นำดังที่ได้กล่าวมา ซึ่งแสดงคุณลักษณะผู้นำเฉพาะของ 2 กลุ่มเพื่อให้
แสดงให้เห็นเด่นชัดดังแสดงไว้ในตารางที่ 6 ถึง 8 ตามลำดับต่อไปนี้
ตารางที่ 6 การค้นหาคุณลักษณะเฉพาะด้านบุคลิกผู้นำกองทุนระหว่างกลุ่ม
ลักษณะบุคลิกภาพผู้นำร้อยละ 60
กรณีศึกษา
จำนวน/คน ร้อยละ 30
กรณีศึกษา
จำนวน/คน
1.ร่างกายแข็งแรง 1-5 5 6-10 5
2.สติปัญญาเฉลียวฉลาด,มีความรู้เฉพาะด้าน 1,2 2 6,8 2
3.ตัดสินใจดี 1,4 2 7 1
4.มีความสามารถในการติดต่อสื่อสาร 1-5 5 6-10 5
5.ตื่นตัว,กระตือรือร้น,แสวงหาความรู้ 3,4 2 8 1
6.ควบคุมอารมณ์ได้,อารมณ์ดี,ใจเย็น 2 1 6,8 2
7.มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 1,2 2 6,8 2
8.มีความเชื่อมั่นในตนเอง 1,2,4 3 6,8 2
9.มีความรับผิดชอบ 1-5 5 6-10 5
10.มีความขยัน, อดทน, เข้มแข็ง 3,4,5 3 6 1
11.ปรารถนาที่จะร่วมงานผู้อื่น 1,2 2 9,10 2
12.เข้าสังคมได้ดี,อ่อนน้อมถ่อมตน,อัธยาศัยดี 1,2 2 6,8,9 3
13.เสียสละ, เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม 1,2,3 3 6,8 2
14.น่าเกรงขาม,เด็ดเดี่ยว,กล้าแสดงออก,สง่า 2,4 2 7,10 2
15.ยุติธรรม,มีเหตุผล,มีคุณธรรม 4 1 6,7,8,10 4
89
ผลการวิเคราะห ์ การค้นหาคุณลักษณะผู้นำกองทุนด้านบุคลิกภาพของผู้นำกองทุน จาก
ตารางที่ 6 พบว่า คุณลักษณะผู้นำของผู้นำกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองด้าน บุคลิกภาพ ในกองทุน
ที่มีสมาชิกร้อยละ 30 และกองทุนที่มีสมาชิกร้อยละ 60 มีบุคลิกภาพเหมือนกันทั้ง 15 ข้อ ซึ่งแสดงให้
เห็นว่าบุคลิกภาพทั้ง 15 ข้อนี้มีผลให้ผู้นำกองทุนสามารถก่อตั้งกองทุนจนประสบผลสำเร็จ และพบว่า
บุคลิกภาพของผู้นำกองทุนมีความแตกต่างระหว่างกลุ่มร้อยละ60 และกลุ่มร้อยละ 30 คือ กลุ่มร้อย
ละ 60 มีจำนวนผู้นำกองทุนมากกว่าผู้นำกองทุนในกลุ่มร้อยละ 30 ในด้าน การตัดสินใจดี, ตื่นตัว
กระตือรือร้น พูดจริงทำจริง แสวงหาความรู้ใหม่, มีความเชื่อมั่นในตนเอง, ขยัน อดทน เข้มแข็ง,
เสียสละ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม ซึ่งแสดงให้เห็นว่า บุคลิกภาพของผู้นำในด้านดังกล่าวมีผลทำให้
กองทุนในชุมชนนั้นมีสมาชิกมากถึงร้อยละ 60 ของจำนวนครัวเรือนในชุมชน
บุคลิกภาพของผู้นำกองทุนในกลุ่มร้อยละ 30 ซึ่งไม่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุน
ให้มีปริมาณจำนวนสมาชิกถึงร้อยละ 60 ของจำนวนครัวเรือนในชุมชน ได้แก่ การควบคุมอารมณ์ได้
มีจิตใจที่เข้มแข็ง อารมณ์ดี ใจเย็น, การเข้าสังคมได้ดี มีความอ่อนน้อมถ่อมตน มีอัธยาศัยดี เป็นที่
ยอมรับของสมาชิก รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และ การมีความยุติธรรม มีเหตุผล และมีคุณธรรม
คุณสมบัติบุคลิกภาพร่วมหรือมีลักษณะเหมือนกันและจำนวนำผู้นำกองทุนทั้ง 2 กลุ่ม มีเท่ากัน
คือ การมีร่างกายแข็งแรง มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด มีความสามารถในการติดต่อสื่อสาร มีความคิด
ริเริ่มสร้างสรรค์ มีความรับผิดชอบ มีความปรารถนาที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่น และมีความน่าเกรงขาม
กล่าวคือเป็นบุคคลิกของผู้นำที่ทำให้เกิดการก่อตั้งกองทุนและการมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุนหมู่
บ้านและชุมชนเมือง
ตารางที่ 7 การค้นหาคุณลักษณะด้านปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่อการเป็นผู้นำระหว่างกลุ่ม
ปัจจัยที่เอื้ออำนวย กลุ่มร้อยละ 60/กรณีศึกษา กลุ่มร้อยละ 30/กรณีศึกษา
ภู มิ ห ลั ง ด้ า น ก า ร
ศึกษา
1.อนุปริญญา
2.มัธยมศึกษาปีที่ 8
3.อาชีวศึกษาชั้นสูง
4.ปริญญาตรี
5.ชุมพลทหารเรือ
6.ปริญญาโท
7.ปริญญาตรีด้านกฎหมาย
8.ปริญญาตรีและเปรียญ 9 ประโยค
9.มัธยมศึกษาปีที่ 3
10.ปริญญาตรี
ประสบการณ์ 1.หัวหน้าการเงินและบัญชี
2.หัวหน้าฝ่ายเร่งรัดหนี้สิน
3.พนักงานธนาคาร
4.การบริหารงานธุรกิจส่วนตัว
5.ข้าราชการพลเรือนชั้นสัญญาบัตร
6.ผู้เชี่ยวชาญระดับ 9
7.เป็นทนายความ
8.ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียน
9.ความชำนาญด้านสถาปัตย์
10.พนักงานไฟฟ้าฝ่ายผลิต
90
ปัจจัยที่เอื้ออำนวย กลุ่มร้อยละ 60/กรณีศึกษา กลุ่มร้อยละ 30/กรณีศึกษา
เศรษฐกิจ 1.ปานกลาง 2-5 ดี 6-10 ดี
สังคมสนับสนุน
พรรคพวก,เพื่อนฝูง
1.เข้าได้กับทุกคนทุกอาชีพ
2.ให้ความสำคัญกับชาวบ้าน
4.เป็นคนในพื้นที่มาแต่กำเนิด
5.เป็นคนในพื้นที่มาแต่กำเนิด
6.พี่ชาย พี่สาว เป็นที่รู้จักให้การสนับสนุน
7.เป็นคนในชุมชนโดยกำเนิด ไม่ถือตัว
8.เป็นคนเก่าแก่ในชุมชน มีเพื่อนมาก
9.เป็นคนในชุมชนมาตั้งแต่บรรพบุรุษ
กว้างขวางในสังคม 1.มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับคนใน
ชุมชนมาก
2.ชาวบ้านให้การยอมรับสนับสนุน
4.เป็นนักธุรกิจ ติดต่อค้าขาย
5.บิดารมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของคน
ทั่วไป และเป็นที่เคารพศรัทธา
6.ประกอบธุรกิจส่วนตัว เป็นวิทยากรนำ
ความรู้สู่สังคม
7.มีบารมีสะสมมาตั้งแต่บรรพบุรุษ
8.เป็นวิทยากรบรรยายเชิงธรรม
9.เป็นวิทยากรพิเศษ
10.วิทยากรพิเศษชมรมรักต้นไม้
ความคล่องตัว ติด
ต่อได้ทั้ง รัฐ เอกชน
บุคคลและกลุ่ม
2.สร้างทีมงานที่มีความสามารถ
3.ติดต่อประสานงาน ติดตามผล
ด้วยตัวเอง
8.เป็นวิทยากร อดีตผู้อำนวยการโรงเรียน
มีความรู้ด้านกฎหมาย
9.ติดตาม ร่วมประเมินผลกับชุมชน
สั ม พั น ธ์ ใ ก ล้ ชิ ด
สอดส่องดูแลชุมชน
1.ปรับพื้นร่วมกับชาวชุมชน
2.แก้ไขปัญหาลำคลองของชุมชน
6.รวมตัวเพื่อเรียกร้องการตั้งชุมชน
8.มีความห่วงใยคนในชุมชน
9.ร่วมพัฒนาชุมชนอย่างพร้อมเพียงกัน
มองการณ์ไกล หวัง
ผลการพัฒนาใน
อนาคต
1.อยากเห็นชุมชนมีความเจริญก้าว
หน้ามั่นคง
2.พยามต่อสู้และพัฒนามาตลอด
6.มีวิสัยทัศน์ และวางแผนการทำงาน
อย่างมีระบบ
ไกล่เกลี่ยให้ยุติต่อ
กัน สร้างความยุติ
ธรรม ความเสมอ
ภาคเพื่อความสงบ
สุข
1.เปิดโอกาสให้ทุกคนได้แสดงความ
คิดเห็นอย่างเท่าเทียมกัน
6.ใช้แรงงานเพื่อหักหนี้เงินกู้
8.ยกย่องให้ความสำคัญทุกคนในทีม ไม่
เอาตนเองเป็นที่ตั้ง
9.ให้แสดงความคิดเห็นแล้วโวตเสียงข้าง
มาก
หมายเหตุ ตัวเลขนำหน้า คือ ผู้นำกองทุนแต่ละชุมชน
หมายเลข 1 หมายถึง ชุมชนพัฒนาซอย 79 หมายเลข 6 หมายถึง ชุมชนวัดหงส์รัตนาราม
หมายเลข 2 หมายถึง ชุมชนคลองสวนพริก หมายเลข 7 หมายถึง ชุมชนวัดนาคกลาง
หมายเลข 3 หมายถึง ชุมชนชวนชื่น หมายเลข 8 หมายถึง ชุมชนซอยสุดสาคร
หมายเลข 4 หมายถึง ชุมชนวัดอมรทายิการาม หมายเลข 9 หมายถึง ชุมชนวัดเทพากร
หมายเลข 5 หมายถึง ชุมชนปรกอรุณ หมายเลข 10 หมายถึง ชุมชนวัดบางขุนนนท์
91
จากตารางค้นหาคุณลักษณะด้านปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่อการเป็นผู้นำ พบว่าผู้นำทั้งสองกลุ่มมี
ปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่อการเป็นผู้นำมีครบทุกด้าน และพบว่าจำนวนผู้นำกองทุนกลุ่มร้อยละ 30 มี
จำนวนมากกว่ากลุ่มร้อยละ 60 ในด้าน ภูมิหลังการศึกษา คือ อยู่ในระดับปริญญาโทและมีระดับ
ปริญญาตรีมีถึง 3 คน และผู้นำทั้ง 5 กรณีศึกษา มีฐานะทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับดี ในขณะที่กลุ่ม
ร้อยละ 60 มีฐานะทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับปานกลาง ถึง ระดับดี นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้นำกลุ่มร้อย
ละ 30 มีปัจจัยเอื้อต่อการเป็นผู้นำด้านความกว้างขวางในสังคมนั้นมีจำนวนถึง 5 คน ซึ่งเป็นวิทยากร
ได้ติดต่อพบปะผู้คนมากมายในสังคมทั้งภายในและภายนอกชุมชน ในขณะที่กลุ่มร้อยละ 60 มีผู้นำที่
มีความกว้างขวางทางสังคมอยู่ภายในสังคมภายในชุมชน และสังคมธุรกิจเดียวกัน ปัจจัยที่เอื้ออำนวย
ต่อการเป็นผู้นำด้านความสัมพันธ์ใกล้ชิดสอดส่องดูแลชุมชน พบว่ากลุ่มร้อยละ 30 มีจำนวนผู้นำที่มี
ปัจจัยด้านนี้มากกว่ากลุ่มร้อยละ 60 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ปัจจัยที่กล่าวมาทั้งหลายนี้ไม่มีผลต่อการมี
ส่วนร่วมของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองระหว่างกลุ่มร้อยละ 60 และกลุ่มร้อยละ 30 ส่วน
ปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่อการเป็นผู้นำที่เป็นองค์ประกอบร่วมทั้ง 2 กลุ่ม ได้แก่ มีการศึกษาในระดับ
ปริญญาตรี มีประสบการณ์ความชำนาญเฉพาะด้านหรือจากอาชีพ, มีฐานะทางเศรษฐกิจ ดี, เป็นคน
ในพื้นที่ตั้งแต่เกิดหรือตั้งแต่บรรพบุรุษ, มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับคนในชุมชน,ติดต่อประสานงาน
และติดตามผล, ร่วมกันพัฒนาชุมชน, มีวิสัยทัศน์ในการพัฒนา และการเปิดโอกาสให้ทุกคนแสดง
ความคิดเห็น
ตารางที่ 8 การค้นหาคุณลักษณะด้านภาวะผู้นำระหว่างกลุ่ม
ภาวะผู้นำกลุ่มร้อยละ 60 กลุ่มร้อยละ 30
กระบวนการกลุ่ม มีอำนาจ
เหนือบุคคลอื่น สามารถควบ
คุมกระบวนการและปรากฏ
การณ์ต่าง ๆ ในสังคม
กระบวนการก่อตั้งกองทุนหมู่บ้าน
ในชุมชนจนประสบผลสำเร็จ
กระบวนการก่อตั้งกองทุนหมู่บ้าน
ในชุมชนจนประสบผลสำเร็จ
ศิลปโน้มน้าวใจ -การประชาสัมพันธ์ทางการโดยใช้
แผ่นป้ายและแผ่นพับ
-การใช้ประชาสัมพันธ์แบบปากต่อ
ปาก
-การประชาสัมพันธ์โดยออกเสียง
ตามสาย
-การเดินตามบ้านเพื่อให้ความรู้
ความเข้าใจและเห็นถึงประโยชน์
ของกองทุน
-การประชาสัมพันธ์แบบทางการ
-สภากาแฟเพื่อการรวมกลุ่มและ
ประชาสัมพันธ์
-สร้างเครือข่ายโดยรวบรวมผู้ที่
เห็นด้วยเป็นแกนนำในการประชา
สัมพันธ์ให้ความรู้ความเข้าใจแก่
ประชาชน
-ประชาสัมพันธ์แบบปากต่อปาก
-ประกบตัวต่อตัว
92
ภาวะผู้นำกลุ่มร้อยละ 60 กลุ่มร้อยละ 30
-การให้ความยืดหยุ่นแก่สมาชิก
-มีนโยบายเปิดกว้าง
-มีประชาชนทั้งในและนอกชุมชน
-มีการประชุมย่อยเพื่อ
ประชาสัมพันธ์
-เดินตามบ้านเพื่อชักชวน
-นัดประชุมเพื่อให้ความรู้
-ใช้ร้านค้าเป็นศูนย์กลาง
-ให้ความรู้เป็นกลุ่ม
-ใช้วิธีสำรวจปัญหาและแนวทาง
แก้ไขโดยใช้กองทุนเป็นหลักใน
การแก้ไขปัญหาให้แก่ชาวบ้าน
มีอิทธิพลเพื่อปรับเปลี่ยน
พฤติกรรมผู้อื่น
สามารถชักจูงโน้มน้าวให้ประชาชน
สมัครเป็นสมาชิกจนสามารถก่อตั้ง
กองทุนจนประสบผลสำเร็จ
-สามารถชักจูงโน้มน้าวให้ประชา
ชนสมัครเป็นสมาชิกจนสามารถ
ก่อตั้งกองทุนจนประสบผลสำเร็จ
-เป็นแกนนำและเป็นตัวแทนกลุ่ม
ในการจัดตั้งกองทุน
เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติ
งานเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
การประสานงานของจัด
ระเบียบ วิธีปฏิบัติงานให้
บรรลุเป้าหมายเป็นแกนนำ
ในการแก้ปัญหา
1.แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบอย่าง
เหมาะสมโดยพิจารณาความรู้
ความสามารถและประสบการณ์
2.สร้างระบบที่มีประสิทธิภาพ
3.มีระบบหลายขั้นตอน และมีการ
วางแผนที่ดี
4.การรับสมาชิกแบบเปิดกว้างทั้ง
คนในชุมชนและนอกชุมชน
5.ดำเนินการตามกฎระเบียบที่
กำหนดให้
6.มีระบบ เป็นขั้นเป็นตอนและ
กระจายผลประโยชน์ได้อย่างทั่วถึง
7.เข้มงวดในเรื่องกฎระเบียบ
8.มีความยืดหยุ่นเกี่ยวกับกฎ
ระเบียบ
9.เป็นระบบ มีความยุติธรรม มี
ความถูกต้องและโปร่งใส
10.บริหารงานอย่างเป็นระบบ มี
ความถูกต้องตามกฎระเบียบ
โปร่งใสและตรวจสอบได้
หมายเหตุ ตัวเลขนำหน้า คือ ผู้นำกองทุนแต่ละชุมชน
หมายเลข 1 หมายถึง ชุมชนพัฒนาซอย 79 หมายเลข 6 หมายถึง ชุมชนวัดหงส์รัตนาราม
หมายเลข 2 หมายถึง ชุมชนคลองสวนพริก หมายเลข 7 หมายถึง ชุมชนวัดนาคกลาง
หมายเลข 3 หมายถึง ชุมชนชวนชื่น หมายเลข 8 หมายถึง ชุมชนซอยสุดสาคร
หมายเลข 4 หมายถึง ชุมชนวัดอมรทายิการาม หมายเลข 9 หมายถึง ชุมชนวัดเทพากร
หมายเลข 5 หมายถึง ชุมชนปรกอรุณ หมายเลข 10 หมายถึง ชุมชนวัดบางขุนนนท์
93
ตารางที่ 8 พบว่า คุณลักษณะด้านภาวะผู้นำของทั้ง 2 กลุ่มมีคุณลักษณะเฉพาะในด้าน ศิลป
โน้มน้าวใจ การมีอิทธิพลเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้อื่น และ การเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงาน
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการประสานงานของการจัดระเบียบ วิธีปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมาย และเป็น
แกนนำในการแก้ปัญหา ผลการวิเคราะห์พบว่าศิลปการโน้มน้าวใจของผู้นำกองทุนในกลุ่มร้อยละ 30
มีลักษณะเป็นการเข้าถึงชาวบ้านและเป็นแบบตัวต่อตัวและมีกลยุทธ์ในการประชาสัมพันธ์ เช่น การ
สร้างกลุ่มเครือข่าย การใช้สภากาแฟ และร้านค้าเป็นศูนย์กลางในการประชาสัมพันธ์มากกว่าผู้นำกอง
ทุนกลุ่มร้อยละ 60 ด้านการมีอิทธิพลเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้อื่นพบว่าผู้นำกองทุนร้อยละ 30
นอกจากจะมีความสามารถในการชักจูงให้ประชาชนประชาชนหันมาสมัครเป็นสมาชิกกองทุนเหมือน
กลุ่มร้อยละ 60 ผู้นำกองทุนกลุ่มร้อยละ 30 ยังมีความสามารถในการเป็นแกนนำที่ทำให้เกิดความ
เป็นตัวแทนกลุ่มในการจัดตั้งกองทุน ส่วนองค์ประกอบรวมด้านภาวะผู้นำของทั้ง 2 กลุ่มได้แก่
กระบวนการกลุ่ม คือการก่อตั้ง กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองจนประสบผลสำเร็จ, การใช้ศิลปโน้ม
น้าวใจในด้านการพูดแบบปากต่อปาก การเดินตามบ้าน การใช้แผ่นพับและป้ายประกาศ, มีอิทธิพลใน
การเปลี่ยนพฤติกรรมของคนในชุมชนหันมาสนใจและสมัครเป็นสมาชิกกองทุนและมีส่วนร่วมในการ
จัดการบริหารกองทุน และเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายโดยการยึดมั่นการ
บริหารงานตามกฎระเบียบ ถูกต้อง มีความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้
4.4.1 การค้นหาลักษณะการมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุน
การมีส่วนร่วมเป็นสิ่งสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ และบรรลุเป้าหมายของกองทุน จากการ
ศึกษาลักษณะการมีส่วนร่วมของผู้นำกองทุน สรุปได้ดังตารางที่ 9
ตารางที่ 9 การค้นหาคุณลักษณะเฉพาะการมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุน
คุณลักษณะการมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุน
ชุมชนที่มีสมาชิกชุมชน
ร้อยละ 60
คุณลักษณะการมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุน
ชุมชนที่มีสมาชิกชุมชน
ร้อยละ 30
-ร่วมจัดตั้งกองทุน -ร่วมจัดตั้งกองทุน
-ร่วมคัดเลือกคณะกรรมการ -ร่วมคัดเลือกคณะกรรมการ
-ร่วมร่างระเบียบกองทุน -ร่วมร่างระเบียบกองทุน
-ร่วมบริหารกองทุน -ร่วมบริหารกองทุน
-ร่วมจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์และองค์กรชุมชน -ร่วมจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์และองค์กรชุมชน
-ร่วมแก้ไขปัญหาด้วยการศึกษาปัญหาที่แท้จริง
ของสมาชิก และใช้กองทุนเป็นแกนในการแก้ไข
ปัญหา
94
ผลจากการวิเคราะห์คุณลักษณะเฉพาะการมีส่วนร่วมของผู้นำกับสมาชิกชุมชนที่มี
สมาชิกกองทุนร้อยละ 60 และ ร้อยละ 30 จากตารางที่ 7 พบว่า ทั้ง 2 กลุ่มมีคุณลักษณะการมีส่วน
ร่วมของผู้นำกับสมาชิกกองทุนส่วนใหญ่เหมือนกัน ได้แก่ การจัดตั้งกองทุน การคัดเลือกคณะ
กรรมการ ร่วมร่างระเบียบกองทุน ร่วมบริหารกองทุน และร่วมจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์และองค์กรชุมชน
นอกจากนี้ ยังพบคุณลักษณะการมีส่วนร่วมของกองทุนกลุ่มที่มีสมาชิกกองทุน ร้อยละ 30 ในเรื่องการ
มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของสมาชิกโดยการสำรวจปัญหาที่แท้จริง และใช้กองทุนเป็นแกนหลักใน
การแก้ไขปัญหา ลักษณะการมีส่วนร่วมที่มีลักษณะเฉพาะกลุ่มคือ สมาชิกกองทุนร้อยละ 30 มีส่วน
ร่วมในแก้ไขปัญหาด้วยการศึกษาปัญหาที่แท้จริงของสมาชิกและใช้กองทุนเป็นแกนในการแก้ไขปัญหา
4.5 การสนับสนุนจากรัฐ
ผลจากการศึกษา การสนับสนุนจากรัฐ พบว่า ภาครัฐให้การสนับสนุนตามระเบียบของกองทุน
หมู่บ้านและชุมชนเมือง โดยมีเป้าหมายให้ประชาชนบริหารจัดการกองทุนด้วยตนเอง ภาครัฐให้การ
สนับสนุนด้านความรู้ และข้อมูลด้านต่างๆ เพื่อให้ชุมชนสามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง และมี
สถาบันราชภัฎที่รับผิดชอบในพื้นที่ให้การสนับสนุนด้านความรู้แก่ชุมชน จากการศึกษาพบว่า สถาบัน
ราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบพื้นที่ โซนกรุงธนเหนือ ได้เข้าไปให้ความรู้และมีส่วน
ร่วมในการปฎิบัติร่วมกับคณะกรรมการกองทุน
ผลจากการศึกษาวิเคราะห์ผู้นำกับการมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองภาย
ใต้กรอบคุณลักษณะผู้นำและลักษณะการมีส่วนร่วมของสมาชิกตามกฎระเบียบของกองทุนหมู่บ้านโดย
ศึกษา คุณลักษณะเฉพาะเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มกองทุนชุมชนที่มีสมาชิกกองทุนร้อยละ 60 ของจำนวน
ครัวเรือนในชุมชน กับกองทุนชุมชนที่มีสมาชิกร้อยละ 30 ของจำนวนครัวเรือนในชุมชน ในด้านคุณ
ลักษณะของผู้นำในแต่ละด้าน ได้แก่ บุคลิกภาพ 15 ด้าน ปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่อการเป็นผู้นำ 9 ด้าน
และ ภาวะผู้นำ 4 ด้าน ในภาพรวมผู้นำทั้ง 2 กลุ่มมีคุณสมบัติในแต่ละด้านเหมือนกัน แต่จำนวนของผู้
นำกองทุนและปริมาณเนื้อหามีความมากน้อยแตกต่างกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มร้อยละ 30 มีจำนวน
กรณีศึกษาและปริมาณของกิจกรรมที่กระทำมีจำนวนและความหลากหลายมากกว่าประธานกองทุนกลุ่ม
ร้อยละ 60 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ปัจจัยและคุณสมบัติของผู้นำกองทุนไม่ส่งผลต่อการทำให้ประชาชนใน
ชุมชนสมัครเป็นสมาชิกกองทุนได้ปริมาณจำนวนสมาชิกในกองทุนมีปริมาณมากหรือน้อย ทั้งนี้ขึ้นอยู่
กับความสมัครใจของประชาชนในแต่ละชุมชน เมื่อประชาชนมีความสนใจ มีความรู้ความเข้าใจและเห็น
ประโยชน์ที่จะได้รับจึงตัดสินใจเข้ามาสมัครเป็นสมาชิกกองทุน และทั้งนี้ผลจากการวิจัยยังพบว่ากลุ่มที่
มีสมาชิกกองทุนเพียงร้อยละ 30 มีสาเหตุมาจาก
1. บุคลิกภาพของผู้นำ โดยเฉพาะกลุ่มร้อยละ 30 ผู้นำกองทุนเคยเป็นผู้บริหาร เป็น
นักกฎหมาย ได้แก ่ ชุมชนวัดหงส ์ วัดนาคกลาง และ ชุมชนวัดบางขุนนนท ์ จึงทำให้เกิดความใกล้ชิด
95
และความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำกับประชาชนมีน้อย ขณะเดียวกันผู้นำที่เป็นนักกฎหมายจะเป็นประธาน
กองทุนที่เคร่งครัดในเรื่องของระเบียบเป็นอย่างมาก ได้แก่ชุมชนวัดนาคกลาง จากคำยืนยันของ
ประธานกองทุนที่กล่าวว่า “ผมยอมรับว่าชาวบ้านใช้สิทธิ์น้อยกว่าที่อื่น ที่จริงแล้วอยากปล่อยกู้ให้พอ
กับความต้องการ แต่ต้องถูกต้องตามระบบ แต่ถ้าผู้กู้ไม่สามารถหาผู้ค้ำได้ก็ไม่ผ่าน” (พิชิต บุษปา
คม,2546,มกราคม 3)
2. การอพยพย้ายถิ่นของประชาชน พบว่า แม้ว่าเป็นชุมชนใหญ่ใช้สิทธิน้อย เพราะประชาชนที่
ย้ายถิ่นเข้มาประกอบอาชีพและทำมาหากินจะเข้ามาเป็นผู้อยู่อาศัยเท่านั้น ไม่ได้เข้ามาอยู่เท่านั้น ไม่ได้
เข้ามาอยู่ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายจึงไม่มีสิทธิสมัครเป็นสมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ได้
แก่ ชุมชนวัดหงส์รัตนาราม
3. เศรษฐกิจชุมชน ในชุมชนที่ประชาชนทีการศึกษาดี มีหน้าที่การงานดี มีรายได้ดี จึงทำให้
เศรษฐกิจชุมชนมีความคล่องตัว มีปัญหาในด้านค่าครองชีพ เงินกู้นอกระบบ และอื่น ๆ ค่อนข้างน้อย
ประชาชนจึงมีความรู้สึกว่า การกู้ยืมเงินจากกองทุนเป็นการผูกพัน มีความยุ่งยากหลายขั้นตอน และมี
สิทธิ์ขอกู้ได้เพียง 20,000 บาทเท่านั้น ได้แก่ ชุมชนสุดสาคร และอีกลักษณะหนึ่งคือในชุมชนนั้น
ประชาชนมีรายได้จากงานประจำและรายได้ที่เกิดจากอาชีพเสริม จึงไม่คิดจะใช้สิทธิกู้ยืมเงินกองทุน ได้
แก่ ชุมชนปรกอรุณ ชุมชนสุดสาคร
4. กฎระเบียบของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ปี 2544 ในระยะเริ่มต้นมีกฎ
ระเบียบและขั้นตอนในการจัดตั้งกองทุนและการปล่อยเงินกู้อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการ
กำหนดสมาชิกกองทุนจะต้องมีอย่างน้อยไม่เกิดร้อยละ 70 ของจำนวนครัวเรือนในชุมชนจึงส่งผลให้
กองทุนที่ก่อตั้งในระยะเริ่มแรกมีจำนวนสมาชิกตามกฎระเบียบกองทุนเป็นหลักมิได้ขึ้นอยู่กับคุณ
ลักษณะของผู้นำดังกล่าว ได้แก่ ชุมชนพัฒนาซอย 79 ชุมชนคลองสวนพริก ชุมชนวัดเทพากร
ข้อค้นพบการวิจัย
ในข้อค้นพบจากการวิจัยในครั้งนี้ได้แก่ ภาวะผู้นำมีความสัมพันธ์หรือมีอิทธิพลที่ทำให้เกิด
การหล่อหลอมความสัมพันธ์ภายขบวนการทางขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมและกิจกรรมพื้น
ฐานขององค์การให้มีความเป็นหนึ่งเดียวกันเพื่อเสริมสร้างการมีจิตสำนึกรักบ้านเกิด หรือทิ้งถิ่นของ
ตนเอง ถึงแม้ว่าการร่วมมือจะเกิดขึ้นเฉพาะการณ์หรือเกิดขึ้นตามความต้องหรือความจำเป็นของคน
จำนวนมากในพื้นท ี่ เช่น การร่วมกันพัฒนาสิ่งแวดล้อมในชุมชนให้มีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และ
การร่วมกันก่อตั้งองค์การต่าง ๆ ในชุมชน และทำให้ความสัมพันธ์ภายในสังคมมีความผูกพันแน่น
แฟ้นมากยิ่งขึ้น ในกรณีที่มีคนต่างถิ่นย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานใหม่ก็จะรวมกลุ่มกันระหว่างกลุ่มดั้งเดิมและ
กลุ่มใหม่ โดยมีผู้นำประธานกองทุนเป็นผู้เชื่อมประสานการร่วมมือกันทั้งสองฝ่าย
96
จากการศึกษาวิจัยพบว่า กองทุนหมู่บ้านเกิดขึ้นภายใต้ความต้องการและความปรารถนาของ
คนในชุมชนจึงร่วมกันก่อตั้งขึ้น และผลกของการมีกองทุนหมู่บ้านได้มีส่วนช่วยในการแก้ไขปัญหา
ความยากจนของคนในชุมชนได้อย่างดีในระดับหนึ่ง ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดในการสนับสนุนส่งเสริม
นโยบายของรัฐบาลในเรื่องการทำโครงการกองทุนหมู่บ้านให้มีความเจริญก้าวหน้าและมีการพัฒนา
อย่างยั่งยืน นำเสนอผลงานวิจัย พร้อมทั้งจัดทำเอกสารเผยแพร่ความรู้ที่ได้โดยมีส่วนร่วมกับทาง
สถาบันราชภัฎ ซึ่งเป็นสถานการศึกษาท้องถิ่นพึงมีการสานต่อ และให้ความช่วยเหลือให้คำแนะนำ ติด
ตามผลการดำเนินงานการจัดการบริหารกองทุนหมู่บ้านในชุมชนที่อยู่ในเขตที่ต้องรับผิดชอบให้มีประ
สิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่ง ๆ ขึ้นไป ในขณะเดียวกันจะจัดให้มีการสอนและการแสวงหาความรู้แบบ
มีส่วนร่วมทั้งครูผู้สอน นักศึกษา และชาวชุมชนในการสำรวจปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการบริหาร
และนำเสนอข้อแนะนำและแนวทางแก้ไขเพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนนโยบายของรัฐในการพัฒนา
และเสริมสร้างความเข้มแข็งกองทุนหมู่บ้านและ ชุมชนเมือง อันเป็นรากฐานในการสร้างความเข้มแข็ง
ของชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต
สังคมไทย มีโครงสร้างที่เป็นระบบพึ่งพิงที่มีมาตั้งแต่อดีตสืบเนื่องจนถึงปัจจุบันที่มีการ
เปลี่ยนผ่านสังคมวัฒนธรรม การเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจที่มีอิทธิพลทำให้ฐานะของคนในสังคม
มีความแตกต่างกัน การแบ่งแยกชนชั้น ผู้คนจะถูกหล่อหลอมขึ้นมาเพื่อให้พึ่งพาตนเองได้และยังคง
อยู่ของระบบการพึ่งพิงผู้อื่น การพึ่งพิงหรือการพึ่งพาเกิดขึ้นภายใต้กระบวนการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การ
เอื้ออาทรระหว่างผู้ที่มีกับผู้ที่ไม่มีในทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านทักษะ ความรู้ ฐานะที่สามารถจะเกื้อหนุนด้วย
วิธีการให้เปล่าดังที่จะพบเห็นได้ในชุมชนที่ได้เข้าไปศึกษาครั้งนี้ ผู้นำส่วนใหญ่มีบทบาทหน้าที่สำคัญ
อันดับแรกก็คือการให้ความอนุเคราะห์ช่วยเหลือลูกบ้านที่มีฐานะค่อนข้างยากจน หรือไม่สามารถช่วย
เหลือตนเองได้ การก่อตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่เกิดขั้นนั้นก็คือการอนุเคราะห์เวลาและรับ
ผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ของประธานกองทุน บางครั้งตัดสินใช้เงินส่วนตัวเพื่อแก้ปัญหาความเดือด
ร้อนแก่สมาชิกในชุมชนของชุมชนสวนพริก เป็นต้น ตราบใดที่สังคมไทยยังไม่สามารถแก้ไขปัญหา
ความยากจนและความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคมและกระแสโลกาภิวัฒน์ที่มีแต่ความหลาก
หลายสลับซับซ้อนแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว กอปรการศึกษาที่ยังไม่สามารถสร้างความเสมอภาคใน
การเรียนรู้และการพัฒนาศักยภาพให้เท่าเทียมกันได้ วัฒนธรรมการพึ่งพาอาศัยก็ยังคงอยู่คู่กับสังคม
ของแต่ละประเทศและสังคมโลกตลอดไป
บทที่ 5
สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
ในการแก้ปัญหาความยากจนตามแนวนโยบาย“คิดเองบริหารจัดการกันเองโดยประชาชนเพื่อ
ประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชนเมือง” โดยเริ่มต้นให้ความสำคัญที่คนต้องพัฒนาคนให้ได้เพื่อเป็น
การสร้างรากฐานสำคัญให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน และให้การเรียนรู้จากแบบฝึกหัดการปฏิบัติจริง
เป็นแบบฝึกหัดที่ดีที่สุด เป็นการปลูกฝังให้คนมีวินัยและการจัดการชีวิตของตนเอง เพื่อให้ประชาชน
เข้ามามีส่วนร่วมเพราะอยากเห็นชาวบ้านแก้ไขปัญหาและพึ่งพาตนเองได้รวมทั้งเป็นการสร้างวินัย
สร้างประชาธิปไตยในการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นยังเป็นการสร้างค่านิยมและแนวทางชีวิตที่ดี
ด้วยแนวคิด แนวปฏิบัติ ประสบการณ์ และแนวทางการบริหารจัดการของผู้นำทำให้คนในชุมชนมี
ความเป็นพี่เป็นน้องช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ได้สัมพันธ์กันมากขึ้นและให้ความร่วมมือในทุกๆ กิจกรรม
เพื่อความเข้มแข็งของประชาชน
ตามแผนนโยบายการพัฒนาประเทศทางเศรษฐกิจที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดการกำหนดนโยบาย
ของรัฐบาลในการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ทั้งในชุมชนเมืองและชนบท เพื่อแก้ไขปัญหา
ความยากจนของประชาชนโดยชุมชนเป็นผู้คิดเอง ทำเองและแก้ปัญหาเอง อันนำไปสู่การพัฒนา
ครอบครัว ชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อม การดำเนินการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองจะ
ประสบผลสำเร็จได้ตามวัตถุประสงค์หรือไม่ขึ้นอยู่กับผู้นำคือประธานกองทุน คุณลักษณะของผู้นำ
กองทุนที่มีต่อการมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุน
วัตถุประสงค์ ในการวิจัยมีดังนี้ คือ
1. เพื่อศึกษาคุณลักษณะของผู้นำกองทุนหมู่บ้านในเขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย และ
เขตบางกอกใหญ่
2. เพื่อศึกษาลักษณะการมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุน กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
3. เพื่อค้นหาคุณลักษณะของผู้นำกองทุน และลักษณะการมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุนของ
ชุมชนที่มีสมาชิกกองทุนเป็นสัดส่วนร้อยละ 60 ของจำนวนครัวเรือนในชุมชน กับชุมชนที่มีสมาชิก
กองทุนเป็นสัดส่วนร้อยละ 30 ของจำนวนครัวเรือนในชุมชน
ประชากร ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ประธานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองของชุมชนที่
อยู่ในกลุ่มกรุงธนเหนือ ประกอบด้วย เขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย และเขตบางกอกใหญ่ รวมทั้งสิ้น
10 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนวัดเทพากร ชุมชนคลองสวนพริก ชุมชนพัฒนาซอย 79 ชุมชนวัดบางขุนนนท์
ชุมชนชวนชื่น ชุมชนวัดอมรทายิการาม ชุมชนซอยสุดสาคร ชุมชนปรกอรุณ ชุมชนวัดนาคกลาง
และชุมชนวัดหงส์รัตนาราม โดยทั้ง 10 ชุมชนเป็นชุมชนที่สามารถจัดตั้งกองทุนได้สำเร็จ เพื่อส่งเสริม
98
ให้ชุมชนต่าง ๆ ได้พัฒนาชุมชนของตนทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง เพื่อให้ประชาชนได้
มีส่วนร่วมและมีบทบาทในการร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมทำ ร่วมรับผลประโยชน์
กลุ่มตัวอย่าง ในการศึกษาวิจัยนี้ ใช้วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบ Criterion Sampling เป็นการ
เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบมีเกณฑ์ที่ผู้วิจัยกำหนดขึ้นเอง (สุภางค์ จันทวานิช, 2542) เกณฑ์ที่กำหนด
เป็นประธานกองทุนของชุมชนที่มีสมาชิกกองทุนเป็นสัดส่วน 60% ของจำนวนครัวเรือนและชุมชนที่มี
สมาชิกกองทุนเป็นสัดส่วน 30% ของจำนวนครัวเรือน ซึ่งเป็นชุมชนที่อยู่ในกลุ่มกรุงธนเหนือ
ประกอบด้วยเขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย และเขตบางกอกใหญ่ รวม 10 ชุมชน โดยแบ่งชุมชน
เป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 5 ชุมชน กลุ่มแรกเป็นชุมชนที่มีสมาชิกกองทุนเป็นสัดส่วน 60% ของจำนวน
ครัวเรือนในชุมชน และกลุ่มที่สองเป็นกลุ่มที่ชุมชนมีสมาชิกกองทุน 30% ของจำนวนครัวเรือนใน
ชุมชน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ครั้งนี้ คือ การใช้แนวทางการสัมภาษณ์ (Interview Guide) และ
การสังเกตการณ์ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามกรอบแนวความคิดที่เกี่ยวข้องกับตัวแปร เพื่อ
ให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ โดยเน้นคำถามปลายเปิดที่สามารถปรับได้ตามสถานการณ์ของผู้ถูก
สัมภาษณ์ แนวทางการสัมภาษณ์ ใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก โดยการเข้าไปสร้างความ
คุ้นเคย ความเป็นกันเอง พูดคุยแบบไม่เป็นทางการ คุยเรื่องทั่ว ๆ ไปกับกลุ่มตัวอย่างหลายครั้ง เข้า
ไปร่วมสังสรรค์และรับประทานอาหาร เพื่อให้กลุ่มตัวอย่างเกิดความไว้วางใจ โดยให้กลุ่มตัวอย่าง
เล่าถึงประวัติส่วนตัวเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ ภูมิลำเนา การศึกษา อาชีพ รายได้ สถานภาพการ
สมรสและประสบการณ์ของผู้นำให้กลุ่มตัวอย่างเล่าถึงสภาพความเป็นอยู่โดยทั่วไป ได้แก่ บริบทของ
ชุมชนทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การเมือง ภูมิปัญญา และองค์กรในชุมชน แนว
คำถามที่เกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุน กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองของชุมชน การสังเกตการณ์แบบมี
ส่วนร่วม โดยผู้วิจัยเข้าไปสังเกตการณ์ในการเข้าร่วมประชุมกับชุมชนอย่างเป็นทางการในการดำเนิน
กิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชน เพื่อสังเกตพฤติกรรมของผู้นำกองทุนเกี่ยวกับ บุคลิกภาพการเป็นผู้นำ
ภาวะผู้นำในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาของผู้นำกองทุน และการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม โดยผู้
วิจัยเข้าไปศึกษาชุมชนโดยการสังเกตการณ์เกี่ยวกับบริบทชุมชน วิถีชีวิตของประชาชนในชุมชนรวม
ทั้งเข้าไปพูดคุยแบบไม่เป็นทางการกับผู้นำกองทุน กรรมการกองทุน สมาชิกกองทุน และประธานใน
ชุมชน เพื่อเก็บข้อมูลผู้นำกองทุนเกี่ยวกับสภาพความเป็นอยู่ วิถีการดำเนินชีวิต ที่อยู่อาศัย ฐานะ
ทางเศรษฐกิจ การได้รับการยอมรับจากประชาชน
การเก็บรวบรวมข้อมูล ครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสังเกตการณ์แบบการมี
ส่วนร่วม และไม่มีส่วนร่วม ผู้วิจัยเข้าไปศึกษาและเก็บข้อมูลด้วยตนเองทั้ง 10 ชุมชน โดยจดบันทึก
และบันทึกเทปทุกครั้งจึงมารวบรวมและตรวจสอบความสมบูรณ์ของข้อมูลเพื่อนำไปวิเคราะห์ข้อมูล
99
และทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์กับกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาจริง ผู้วิจัยเป็นผู้รวบรวมข้อมูล
ด้วยตนเอง โดยใช้การพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการ พูดคุยกับประธานกองทุน สมาชิกกองทุน รวม
ทั้งประชาชนในชุมชนที่ไม่ได้เป็นสมาชิกพูดคุยหลายครั้งจนคุ้นเคย ผู้วิจัยจึงเริ่มสัมภาษณ์จากแนว
ทางการสัมภาษณ์ที่กำหนดไว้ในเครื่องมือ ขณะสัมภาษณ์ผู้วิจัยใช้วิธีการจดบันทึกและบันทึกเทป
การวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณา โดยบรรยายถึงลักษณะของบริบทชุมชน
การสนับสนุนจากรัฐ และคุณลักษณะผู้นำกองทุน โดยกำหนดให้เป็นตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ต่อกัน
และเป็นปัจจัยให้เกิดการมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุน หลักการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ข้อมูลจากการสังเกตุ
และการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์เชิงบรรยาย (Descriptive Analysis) มาวิเคราะห์เนื้อหาเป็นรายบุคคล
(Content Analysis)
สรุป
ผลการวิจัยจากการศึกษาครั้งนี้ จะนำเสนอตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยตามลำดับดังนี้
1. จากการศึกษาคุณลักษณะของผู้นำกองทุนหมู่บ้านในเขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย และ
เขตบางกอกใหญ่ ในผู้นำกองทุนจากจำนวน 10 กรณีศึกษา จากองค์ประกอบ 3 ด้าน คือ องค์
ประกอบด้านบุคลิกลักษณะ ด้านปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่อการเป็นผู้นำ และ ด้านภาวะผู้นำ ผลการศึกษา
พบว่า ผู้นำกองทุนหมู่โดยภาพรวมจาก 10 กรณีศึกษามีคุณสมบัติด้านบุคลิกภาพของผู้นำครบถ้วน
ทั้ง 15 ด้าน ได้แก ่ มรี ่างกายแขง็ แรง มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด, การตัดสินใจด ี มคี วามสามารถในการ
ติดต่อสื่อสาร, มีความตื่นตัว กระตือรือร้น, สามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้, มีความคิดริเริ่มสร้าง
สรรค์, มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีความภาคภูมิใจในตนเอง, มีความรับผิดชอบ, มีความขยันอดทน
เข้มแข็ง, ปรารถนาที่จะทำงานร่วมกับผู้อื่น, เข้าสังคมได้ดี, เสียสละ, น่าเกรงขาม และ มีเหตุผล มี
คุณธรรม ยุติธรรม นอกจากนี้ยังพบว่าผู้นำเหล่านั้นโดยภาพรวมมีองค์ประกอบด้านปัจจัยที่เอื้อ
อำนวยต่อการเป็นผู้นำ 9 ด้าน ได้แก่ ผู้นำกองทุนมีภูมิหลังทางด้านการศึกษาอยู่ในระดับสูง, มี
ประสบการณ์ทางด้านการประกอบอาชีพในระดับหัวหน้า, ครอบครัวมีเศรษฐกิจดี, สังคมสนับสนุนมี
พรรคพวกเพื่อนฝูง, มีความกว้างขวางในสังคม, มีความคล่องตัว, มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดคอยสอด
ส่องดูแลชุมชน, มองการณ์ไกล หวังผลสำเร็จในอนาคต และ มีความสามารถในการไกล่เกลี่ยให้ยุติ
ต่อกันเพื่อสร้างความยุติธรรมความเสมอภาคในสังคม ในขณะเดียวกันผู้นำกองทุนหมู่บ้านและชุมชน
เมืองโดยภาพรวมมีองค์ประกอบด้านภาวะผู้นำทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ การมีกระบวนการกลุ่ม มีอำนาจ
เหนือบุคคลอื่น ๆ สามารถควบคุมกระบวนการและปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในสังคม, มีศิลปโน้มน้าวใจ,
มีอิทธิพลเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้อื่น และ เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายโดย
เป็นแกนนำในการแก้ปัญหา
100




ผู้นำำํ กับการมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุน หมู่บ้้า้น และชุมุมชนเมือง (ตอนที่ 1)

ผู้นำำํ กับการมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุน หมู่บ้้า้น และชุมุมชนเมือง (ตอนที่ 2)
ผู้นำำํ กับการมีส่วนร่วมของสมาชิกกองทุน หมู่บ้้า้น และชุมุมชนเมือง (ตอนที่ 3)