ศึกษาและโหลดฟรีเป็นตัวอย่างเกี่ยวกับงานวิจัย all free download research
วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
ความต้องการและแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานของโรงเรียนประถมสาธิต
ความต้องการและแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง
ในการบริหารงานของโรงเรียนประถมสาธิต
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
นางอัมพร เลิศณรงค์
วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาการบริหารการศึกษา
ปีการศึกษา 2545
ISBN : 974 - 373 - 200 - 4
ลิขสิทธิ์ของสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
Needs and Guidelines of Parents' Participation
in the Administration of Rajabhat Institute
Bansomdejchaopraya Demonstration School
Mrs. Amporn Lertnaronk
A Thesis Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements
for the Master of Education (Educational Administration)
at Rajabhat Institute Bansomdejchaopraya
Academic Year 2002
ISBN : 974 - 373 - 200 - 4
หัวข้อวิทยานิพนธ์ ความต้องการและแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง
ในการบริหารงานของโรงเรียนประถมสาธิต สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จ
เจ้าพระยา
โดย นางอัมพร เลิศณรงค์
สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
อาจารย์ที่ปรึกษา ดร.สรายุทธ์ เศรษฐขจร
ดร.เปรมสุรีย์ เชื่อมทอง
อ.ทวีศักดิ์ จงประดับเกียรติ
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------
บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา อนุมัติให้วิทยานิพนธ์นี้เป็น
ส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต
................................................................................คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
(รองศาสตราจารย์ ดร.นันทา วิทวุฒิศักดิ์)
คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์
................................................................................ประธานกรรมการ
(ศาสตราจารย์ ดร. สายหยุด จำปาทอง)
................................................................................อาจารย์ที่ปรึกษา
(ดร.สรายุทธ์ เศรษฐขจร)
.................................................................................กรรมการ
(ดร.เปรมสุรีย์ เชื่อมทอง)
.................................................................................กรรมการ
(อาจารย์ทวีศักดิ์ จงประดับเกียรติ)
………………………………………………………….กรรมการ
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์อินทิรา บุณยาทร)
.................................................................................กรรมการและเลขานุการ
(รองศาสตราจารย์ ดร.นันทา วิทวุฒิศักดิ์)
ลิขสิทธิ์ของสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
อัมพร เลิศณรงค์.(2545) ความต้องการและแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหาร
งานของโรงเรียนประถมสาธิต สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. วิทยานิพนธ์ระดับ
มหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. คณะ
กรรมการควบคุม ดร.สรายุทธ์ เศรษฐขจร ดร.เปรมสุรีย์ เชื่อมทอง อาจารย์ทวีศักดิ์
จงประดับเกียรติ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการและแนวทางการมีส่วนร่วมของ
ผู้ปกครองในการบริหารงานของโรงเรียนประถมสาธิต สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนประถมสาธิต สถาบัน
ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำนวน 300 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม
ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 ความ
ต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานของโรงเรียนประถมสาธิตสถาบันราชภัฏ
บ้านสมเด็จเจ้าพระยา และตอนที่ 3 แนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานของ
โรงเรียนประถมสาธิต สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่า
ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานโรงเรียนโดย
ภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ความต้องการมีส่วนร่วมของ
ผู้ปกครองในการบริหารโรงเรียน อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน คือด้านกิจการนักเรียน ด้าน
วิชาการ ด้านอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
และด้านบุคลากร ตามลำดับ
แนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานโรงเรียน ในแต่ละด้าน พบว่า
ด้านวิชาการ คือร่วมเป็นตัวแทนผู้ปกครองในระดับชั้น ด้านบุคลากร คือร่วมเป็นคณะกรรมการ
ชมรมผู้ปกครอง ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน คือร่วมกิจกรรมที่โรงเรียนจัดขึ้น
อย่างต่อเนื่อง ด้านอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม คือร่วมให้ข้อมูลเมื่อพบปัญหาด้านอาคาร
สถานที่และสภาพแวดล้อม และด้านกิจการนักเรียน คือร่วมแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
ในการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของนักเรียน
Amporn Letnaronk.(2002) Needs and Guidelines of Parents' Participation in the
Administration of Rajabhat Institute Bansomdejchaopraya Demonstration School
: Graduate School, Rajabhat Institute Bansomdejchaopraya. Advisor Committee
: Dr.Sarayuth Sethakhajorn ; Dr.Pramsuree Chuamthong ; Mr.Thaweesak
Jongpradubgiat
The purpose of this research was to study needs and guidelines of parents'
Participation in the administration of Rajabhat Institute Bansomdejchapraya
Demonstration School .
The population of the study were 300 students’ parents. The research
instrument was a set of questionnaires containing three sections: Section one, dealt
with the respondents’ status; section two, dealt with the needs of parents' participation
in the administration of Rajabhat Institute Bansomdejchapraya Demonstration School,
and Section three, dealt with the guideline for participation in the administration. The
statistical devices employed in the study were percentage, mean and standard
deviation , which were applied to analyze the data obtained.
Results of the research were as follows ;
The needs of parents' participation in the school administration were at middle
level in five areas ; student activity affairs, academic affairs , environmental and building
affairs, relations between community and school affairs and personnel affairs
respectively.
Guidelines for parents' participation were : participation in academic affairs by a
representative of parents ; participation in personnel affairs by a committee of parents ;
participation in school community activities ; information of environment and building
affairs and involvement and participation in student activity affairs
ประกาศคุณูปการ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้สำเร็จด้วยดี เพราะได้รับความกรุณาอย่างดียิ่งจาก ดร.สรายุทธ์
เศรษฐขจร ประธานที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ดร.เปรมสุรีย์ เชื่อมทอง และอาจารย์ทวีศักดิ์
จงประดับเกียรติ กรรมการวิทยานิพนธ์ ที่ได้ให้ความช่วยเหลือ ให้คำแนะนำ และผู้ช่วย
ศาสตราจารย์อินทิรา บุณยาทร ที่กรุณาตรวจ แก้ไข เพื่อให้วิทยานิพนธ์มีความสมบูรณ์และ
ถูกต้อง ผู้วิจัยขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่ง
ขอกราบขอบพระคุณ ศาสตราจารย์ ดร.สายหยุด จำปาทอง ประธานกรรมการสอบ
วิทยานิพนธ์ และรองศาสตราจารย์ ดร.นันทา วิทวุฒิศักดิ์ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย สถาบัน
ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และคณาจารย์สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาทุกท่านที่ได้
ให้ความรู้แก่ผู้วิจัย
ขอขอบพระคุณท่านผู้เชี่ยวชาญทุกท่าน ที่ได้กรุณาตรวจสอบแบบสอบถาม ปรับปรุง
แก้ไข จนสมบูรณ์ และให้คำแนะนำในการวิจัยเป็นอย่างดียิ่ง
ขอขอบพระคุณท่านผู้อำนวยการ คณาจารย์ และผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนประถม
สาธิต สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ทุกคน ที่ได้ให้ความอนุเคราะห์ตอบแบบสอบถาม
และช่วยเหลือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นอย่างดี
ประโยชน์และคุณค่าอันพึงมีจากวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ผู้วิจัยมอบแด่ คุณพ่อ คุณแม่ ครู-
อาจารย์ และผู้มีพระคุณทุกท่าน
อัมพร เลิศณรงค์
สารบัญ
หน้า
บทคัดย่อภาษาไทย................................................................................... ข
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ.............................................................................. ค
ประกาศคุณูปการ..................................................................................... ง
สารบัญ.................................................................................................... จ
สารบัญตาราง.......................................................................................... ช
บทที่ 1 บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา......................................... 1
วัตถุประสงค์ของการวิจัย.............................................................. 2
ขอบเขตการวิจัย........................................................................... 2
คำนิยามศัพท์เฉพาะ...................................................................... 3
กรอบแนวคิดในการวิจัย................................................................. 5
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ............................................................. 6
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง......................................................... 7
แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารงานโรงเรียน............................................ 7
ความหมายของการบริหารงานโรงเรียน.............................. 7
ขอบข่ายของการบริหารงานโรงเรียน.................................. 8
ด้านวิชาการ....................................................................... 9
ด้านบุคลากร...................................................................... 12
ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน....................... 15
ด้านอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม................................ 17
ด้านกิจการนักเรียน 18
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ................................. 20
การบริหารแบบมีส่วนร่วม................................................................. 21
ความหมายของการบริหารแบบมีส่วนร่วม............................ 21
ความหมายของการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง......................... 22
ลักษณะการบริหารแบบมีส่วนร่วม........................................ 23
รูปแบบของการบริหารแบบมีส่วนร่วม.................................. 25
ระบบการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม.................................... 26
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง.......................................................................... 27
งานวิจัยภายในประเทศ.....................................................………… 27
งานวิจัยต่างประเทศ.........................................................………… 31
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย........................................................................… 33
ประชากร....................................................................................... 33
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย................................................................. 33
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล................................................................ 35
การวิเคราะห์ข้อมูล......................................................................... 35
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์.............................................................................. 36
ตอนที่ 1 สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม................................. 36
ตอนที่ 2 ความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง
ในการบริหารงานโรงเรียน............................................... 38
ตอนที่ 3 แนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง
ในการบริหารงานโรงเรียน............................................... 44
บทที่ 5 สรุปและอภิปรายผลและข้อเสนอแนะ............................................... 50
สรุปผลการวิจัย............................................................................... 51
อภิปรายผลการวิจัย........................................................................ 55
ข้อเสนอแนะ................................................................................... 58
บรรณานุกรม............................................................................................... 60
ภาคผนวก................................................................................................... 67
ภาคผนวก ก................................................................................... 68
ภาคผนวก ข................................................................................... 74
ประวัติผู้วิจัย............................................................................................... 82
บทที่ 1
บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
โรงเรียนประถมสาธิตสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เป็นโรงเรียนระดับ
ประถมศึกษาเปิดสอนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามหลักสูตร
พ.ศ.2521(ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2533) และจะเปลี่ยนเป็นหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544
ในปีการศึกษา 2546 เพื่อให้สอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษา
แห่งชาติ พ.ศ.2542 โดยมุ่งปลูกฝังให้นักเรียนทุกคนมีความสามารถพัฒนาตนเองเพื่อเป็นคนดี
คนเก่ง มีความกล้าในด้านการคิด การพูด และการปฏิบัติ ทั้งนี้เพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์ของ
หลักสูตร และจัดการเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยมีเป้าหมาย 3 ประการคือ
1.เป็นไปตามเป้าหมายของหลักสูตรที่กำหนดให้นักเรียน คิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาเป็น
2.สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายเดิมของการจัดตั้งโรงเรียนสาธิตขึ้นเพื่อเป็นแหล่งทดลองสอนและ
รูปแบบการสอนที่ครูอาจารย์ของสถาบันคิดค้นขึ้นเป็นลักษณะห้องปฏิบัติการทางการศึกษา
3.ใช้เป็นห้องปฏิบัติการของนักศึกษาสายการศึกษาที่พร้อมจะออกไปเป็นครูที่ดีได้สังเกต
ได้ทดลองและมีส่วนร่วมปฏิบัติงานธุรการ งานประจำของครูประจำชั้น ได้สอนในสถานการณ์
จริง และสุดท้ายได้ฝึกปฏิบัติการเป็นครูเต็มรูป
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม
2542 ได้กำหนดยุทธศาสตร์สำคัญคือ ให้มีการปฏิรูปการศึกษา โดยมีสาระซึ่งเป็นโครงสร้าง
6 ประการคือ มีเอกภาพด้านนโยบายและมีความหลากหลายในการปฏิบัติ มีการกระจายอำนาจ
สู่ท้องถิ่น มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษา และการประกันคุณภาพการศึกษา มีการพัฒนา
มาตรฐานวิชาชีพครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง มีการระดมทรัพยากร
มาใช้ในการจัดการศึกษา และการมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว และสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ได้เน้นให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้แก่บุตรหลานด้วย (กระทรวงศึกษา-
ธิการ 2542 : 5) ซึ่งการจัดการศึกษาและการบริหารงานของโรงเรียนประถมสาธิตสถาบันราช
ภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้เริ่มให้ผู้ปกครองเข้ามามีบทบาทช่วยเหลือบุตรหลานของตนตั้งแต่
พ.ศ. 2532 โดยก่อตั้งชมรมผู้ปกครองขึ้นเพื่อให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงาน
เป็นกรรมการโรงเรียน ให้แนวคิดที่โรงเรียนควรจัดทำเพื่อให้การเรียนการสอนเป็นไปตามความ
ต้องการ และความคาดหวังของผู้ปกครอง ทั้งนี้ต้องไม่ขัดแย้งกับหลักการบริหารของโรงเรียน
การเข้ามามีส่วนร่วมของผู้ปกครองดังกล่าว สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2542 มาตรา 9 (6) ที่กำหนดให้มีการจัดโครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษายึด
2
หลักการมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองท้องถิ่น เอกชน
องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น เพื่อเป็น
การระดมกำลังทุกส่วนของสังคมร่วมกันจัดการศึกษาที่ดีที่สุดให้แก่ประชาชนทุกเพศทุกวัย
(พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 : 6)
การจัดการศึกษาและการบริหารงานโรงเรียนประถมสาธิตสถาบันราชภัฏ
บ้านสมเด็จเจ้าพระยา ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา และ
บริหารงานของโรงเรียนเท่าที่ทำอยู่ในปัจจุบัน ยังไม่มีตัวบ่งชี้ว่าการเข้ามามีส่วนร่วมของ
ผู้ปกครองนั้นสอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริงของผู้ปกครองหรือไม่ ดังนั้นโรงเรียนควรที่จะ
ได้มีการศึกษาความต้องการของผู้ปกครองในการเข้ามามีส่วนร่วมในเรื่องใดมากน้อยเพียงใด
ด้วยเหตุผลดังกล่าวมาข้างต้นนี้ ทำให้ผู้วิจัยในฐานะบุคลากรคนหนึ่งของโรงเรียนประถมสาธิต
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สนใจที่จะทำการศึกษาความต้องการและแนวทางการ
มีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารของโรงเรียน 5 ด้าน คือ ด้านวิชาการ ด้านบุคลากร ด้าน
ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ด้านอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม และด้านกิจการ
นักเรียน ซึ่งผลการศึกษาที่ได้จะเป็นแนวทางในการปรับปรุงการบริหารโรงเรียน เพื่อนำมาซึ่ง
คุณภาพของการจัดการศึกษาให้บรรลุวัตถุประสงค์ต่อไป
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานของโรงเรียน
ประถมสาธิต สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
2. เพื่อศึกษาแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานของโรงเรียน
ประถมสาธิต สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ขอบเขตของการวิจัย
1. ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
1.1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนประถมสาธิต
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ปีการศึกษา 2545 จำนวน 300 คน
2. ตัวแปรที่ศึกษา ได้แก่
2.1 ความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานของโรงเรียนประถม
สาธิตสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 5 ด้าน คือ
2.1.1 ด้านวิชาการ
2.1.2 ด้านบุคลากร
2.1.3 ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
3
2.1.4 ด้านอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม
2.1.5 ด้านกิจการนักเรียน
2.2 แนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานของโรงเรียนประถม
สาธิตสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 5 ด้าน คือ
2.2.1 ด้านวิชาการ
2.2.2 ด้านบุคลากร
2.2.3 ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
2.2.4 ด้านอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม
2.2.5 ด้านกิจการนักเรียน
นิยามศัพท์เฉพาะ
ความต้องการมีส่วนร่วมในการบริหารงาน หมายถึง การปรารถนาเข้ามา
ร่วมคิด ร่วมวางแผนและดำเนินการต่างๆ เกี่ยวกับการจัดการศึกษาของโรงเรียนเพื่อให้เกิดการ
พัฒนา ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และความเจริญงอกงามในตัวนักเรียน
การบริหารงานโรงเรียน หมายถึง การดำเนินการ การจัดบริการเกี่ยวกับ
กิจกรรมต่างๆ จากบุคลากรหลายฝ่ายร่วมมือ เพื่อให้การจัดการศึกษาของโรงเรียนเป็นไปตาม
วัตถุประสงค์ซึ่งการจัดการศึกษาของโรงเรียนประถมสาธิตสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ ด้านวิชาการ ด้านบุคลากร ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียน
กับชุมชน ด้านอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม และด้านกิจการนักเรียน
ด้านวิชาการ หมายถึง กิจกรรมทุกชนิดที่โรงเรียนประถมสาธิตสถาบัน
ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาจัดขึ้นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการเรียนการ
สอนให้เกิดประสิทธิภาพ ทั้งกระบวนการจัดเนื้อหาวิชาความรู้ และประสบการณ์ตลอดจนกิจกรรม
ต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการจัดการศึกษาของประเทศ เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้
และพัฒนาทั้งทางด้านอารมณ์ สังคม สติปัญญา
ด้านบุคลากร หมายถึง กระบวนการดำเนินงานเกี่ยวกับบุคคลที่ปฏิบัติงานสอน
และทำหน้าที่อื่นๆ ภายในโรงเรียนประถมสาธิตสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้แก่
การจัดหาบุคลากรมาปฏิบัติงาน การธำรงรักษาบุคลากร การพัฒนาบุคลากร และการให้บุคลากร
พ้นจากงาน เพื่อให้บุคลากรได้รับความพึงพอใจที่จะทำงานให้มีประสิทธิภาพและให้เกิดประสิทธิ
ภาพสูงสุด
4
ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน หมายถึง การดำเนินการระหว่าง
โรงเรียนกับชุมชนในด้านการตดิ ตอ่ ประสานงานการรว่ มกจิ กรรมตา่ งๆ การให้ข้อเสนอแนะและการ
ให้ความช่วยเหลือร่วมมือกันระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง / ชุมชนเพื่อประสานสัมพันธ์ให้เกิด
ผลดีทั้งสองฝ่าย
ด้านอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม หมายถึง การดำเนินการเกี่ยวกับ
สถานที่ที่ใช้จัดการเรียนการสอน และจัดกิจกรรมต่างๆ ซึ่งได้แก่ อาคารเรียน ห้องเรียน ห้อง
ปฏิบัติการ ห้องสมุด ห้องพักครู รวมทั้งสภาพแวดล้อมภายในบริเวณโรงเรียนที่ใช้เป็นที่
พักผ่อน เล่นกีฬา สุขลักษณะของสภาพแวดล้อมและสาธารณูปโภคที่จัดบริการภายในโรงเรียน
รวมถึงความสะดวกปลอดภัยรอบๆ โรงเรียน
ด้านกิจการนักเรียน หมายถึง การบริหารงานที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
กับนักเรียนโดยเฉพาะนอกเหนือจากการเรียนการสอนในห้องเรียนเพื่อช่วยส่งเสริมการเรียน
การสอนที่จัดขึ้นในสถานศึกษา
แนวทางการมีส่วนร่วมในการบริหารงาน หมายถึง วิธีการให้ผู้ปกครอง
นักเรียน เข้ามาสนับสนุนในการบริหารงานของโรงเรียน
ผู้ปกครอง หมายถึง บิดา มารดา หรือ ผู้อุปการะเลี้ยงดูนักเรียนโรงเรียน
ประถมสาธิตสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ปีการศึกษา 2545
5
กรอบแนวคิดในการวิจัย
ผู้วิจัยจะทำการศึกษาความต้องการและแนวทางมีส่วนร่วมของผู้ปกครองใน
การบริหารงานของโรงเรียนประถมสาธิตสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โดยใช้กรอบ
แนวคิด ดังนี้
ความต้องการและแนวทางการมีส่วน
ร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงาน
ของโรงเรียนประถมสาธิต สถาบัน
ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
***************************
- ด้านวิชาการ
- ด้านบุคลากร
- ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียน
กับชุมชน
- ด้านอาคารสถานที่และสภาพ
แวดล้อม
การบริหารงานโรงเรียนประถมศึกษา
1. ด้านงานวิชาการ
2. ด้านงานธุรการและการเงิน
3. ด้านงานบุคลากร
4. ด้านงานกิจการนักเรียน
5. ด้านงานบริการ
6. ด้านงานความสัมพันธ์ระหว่าง
โรงเรียนกับชุมชน
7. ด้านงานอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม
พระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 254
เกี่ยวกับการมีส่วนร่วม (มาตรา29)
ให้สถานศึกษาร่วมกับบุคคล ครอบครัว ชุมชน
องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน
องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา
สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น ส่งเสริม
ความเข้มแข็งของชุมชนโดยจัดกระบวนการเรียนรู้
ภายในชุมชน เพื่อให้ชุมชนมีการจัดการศึกษาอบ
รม มีการแสวงหาความรู้ ข้อมูลข่าวสาร และรู้จัก
เลือกสรรภูมิปัญญาและวิทยาการต่าง ๆ เพื่อพัฒนา
ชุมชนให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา และความ
ต้องการ รวมทั้งหาวิธีการสนับสนุนให้มีการแลก
เปลี่ยนประสบการณ์การพัฒนาระหว่างชุมชน
รูปแบบของการมีส่วนร่วม
- การมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่
- การมีส่วนร่วมบางส่วน
- การมีส่วนร่วมแบบชายขอบ
6
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.ทำให้ทราบความต้องการของผู้ปกครองในการมีส่วนร่วมในการบริหารงานของ
โรงเรียนประถมสาธิตสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 5 ด้าน ได้แก่ ด้านวิชาการ ด้าน
บุคลากร ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ด้านอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม
และด้านกิจการนักเรียน
2.ได้ทราบแนวทางการพัฒนา ปรับปรุง และสนับสนุนให้ผู้ปกครองและชุมชน
มีส่วนร่วมและมีบทบาทในการบริหารและจัดการศึกษาที่เหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการ
ของผู้ปกครองในแต่ละด้าน
3.ใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการกำหนดนโยบายของโรงเรียนเพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครอง
เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารและพัฒนาโรงเรียน
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาความต้องการและแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองใน
การบริหารงานของโรงเรียนประถมสาธิตสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ผู้วิจัยได้ทำการ
ศึกษาเอกสาร ทฤษฎี และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาใช้ประกอบการศึกษาครั้งนี้ โดย
นำเสนอเนื้อหาตามลำดับ ดังนี้
1. แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารงานโรงเรียน
1.1 ด้านวิชาการ
1.2 ด้านบุคลากร
1.3 ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
1.4 ด้านอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม
1.5 ด้านกิจการนักเรียน
2. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
3. การบริหารแบบมีส่วนร่วม
3.1 ความหมายของการบริหารแบบมีส่วนร่วม
3.2 ความหมายของการมีส่วนร่วมในการบริหารงานโรงเรียนของผู้ปกครอง
3.3 ลักษณะของการบริหารแบบมีส่วนร่วม
3.4 รูปแบบของการบริหารแบบมีส่วนร่วม
3.5 ระบบของการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม
4. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
1. แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารงานโรงเรียน
1.1 ความหมายของการบริหารโรงเรียน
นิพนธ์ กินาวงศ์ (2533 : 12) ให้ความหมายของการบริหารโรงเรียนว่า
หมายถึง กระบวนการต่าง ๆ ในการดำเนินงานของกลุ่มบุคลากรซึ่งเรียกว่าผู้บริหาร โดยมี
วัตถุประสงค์เพื่อบริการการจัดการศึกษาแก่สมาชิกในสังคม
8
นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์ (2534 : 3 - 4) ให้ความหมายของการบริหารโรงเรียน
หมายถึง กิจกรรมต่างๆ ที่บุคลากรหลายคนร่วมกันดำเนินการเพื่อพัฒนาสมาชิกของสังคมใน
ด้านต่างๆ นับตั้งแต่บุคลิกภาพ ความรู้ ความสามารถ พฤติกรรมและคุณธรรมเพื่อให้ตรงกับ
ความต้องการของสังคม
มนัส พลายชุ่ม (2540 : 8) ให้ความหมายของการบริหารโรงเรียน หมายถึง
การดำเนินงานต่าง ๆ เพื่อให้นักเรียนเกิดการพัฒนาร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม และ
สามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
สรุปการบริหารโรงเรียน หมายถึง การดำเนินการ การจัดบริการเกี่ยวกับ
กิจกรรมต่างๆ จากบุคลากรหลายฝ่ายร่วมมือกัน เพื่อให้การจัดการศึกษาของโรงเรียน
เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ตามที่รัฐกำหนดไว้โดยจะต้องพัฒนานักเรียนในทุกด้านตั้งแต่ร่างกาย
อารมณ์ สังคม สติปัญญา ตลอดจนคุณธรรม จริยธรรม เพื่อให้นักเรียนเป็นสมาชิกที่ดีของ
สังคมและสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ดังนั้นงานบริหารการศึกษาในโรงเรียน
จึงเป็นกิจกรรมต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลและรับผิดชอบของหัวหน้าสถานศึกษา ซึ่งมี
หน้าที่บริหารภายในโรงเรียนเพื่อพัฒนานักเรียนให้เป็นไปตามเป้าหมาย
1.2 ขอบข่ายของการบริหารงานโรงเรียน
กิติมา ปรีดีดิลก (2532 : 41) ได้กำหนดขอบข่ายของการบริหารโรงเรียนเป็น 6
ด้าน ได้แก่ การบริหารงานวิชาการ การบริหารงานธุรการและการเงิน. การบริหารงานบุคลากร
การบริหารงานอาคารสถานที่ การบริหารงานกิจการนักเรียน และการสร้างความสัมพันธ์กับ
ชุมชน
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2536 : 4) ได้กำหนดขอบข่าย
การบริหารโรงเรียนเป็น 6 ด้านได้แก่ งานวิชาการ งานบุคลากร งานกิจการนักเรียน งานธุรการ
การเงินและการพัสดุ งานอาคารสถานที่ และงานความสัมพันธ์กับชุมชน
กรมสามัญศึกษา (2540 : 3 - 10) กำหนดขอบข่ายการบริหารงานโรงเรียนไว้ 7
งาน ได้แก่ การบริหารงานทั่วไป งานธุรการ งานวิชาการ งานปกครองนักเรียน งานบริการ งาน
โรงเรียนกับชุมชน และงานการบริหารอาคารสถานที่
แคมเบล และคณะ (Cambell and others.1971 : 116 - 144) ได้แบ่งขอบข่าย
การบริหารงานโรงเรียนออกเป็น 6 ด้าน ได้แก่ งานวิชาการ งานบริหารบุคคล งานกิจการ
นักเรียน งานอาคารสถานที่ งานสัมพันธ์กับชุมชน และงานงบประมาณธุรการ
9
สรุปขอบข่ายการบริหารงานโรงเรียนครอบคลุมงาน 6 ด้าน คือ การบริหารงาน
วิชาการ การบริหารงานธุรการและการเงิน. การบริหารงานบุคลากร การบริหารงานอาคาร
สถานที่ การบริหารงานกิจการนักเรียน และการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน
สำหรับการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้พิจารณาการบริหารงานโรงเรียนสาธิตเพียง 5 ด้าน
ได้แก่ ด้านวิชาการ ด้านบุคลากร ด้านอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม ด้านความสัมพันธ์
ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน และด้านกิจการนักเรียน เพราะว่างานทั้ง 5 ด้านนี้ สามารถ
ครอบคลุมงานบริหารโรงเรียน และสอดคล้องกับนโยบายและวัตถุประสงค์ของโรงเรียนประถม
สาธิต โดยการบริหารงานโรงเรียนในแต่ละด้านมีรายละเอียด ดังนี้
1.3 ด้านวิชาการ
1.3.1 ความหมายของการบริหารงานวิชาการ
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ (2535 : 16) ให้ความหมายของการบริหารงาน
วิชาการว่า หมายถึง การจัดกิจกรรมทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับการปรับปรุงพัฒนาการเรียน
การสอนให้ได้ผลดีและมีประสิทธิภาพให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ชัยวัฒน์ ไทยเกรียงไกรยศ (2536 : 6) ให้ความหมายของการบริหารงาน
วิชาการว่า หมายถึง การจัดเก็บบำรุงรักษาสื่อการเรียนการสอน การนิเทศภายใน การกำกับ
ดูแล การวัดผล การใช้ห้องสมุด การใช้เทคนิคการสอน การเตรียมการสอน การจัดห้องเรียน
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
เกสิณี ชิวปรีชา (2530 : 8) ให้ความหมายของการบริหารงานวิชาการว่า
หมายถึง กิจกรรมทางการศึกษาที่จัดขึ้นทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้รับ
ประสบการณแ์ ละเกดิ การเรยี นรู้ ทั้งด้านความร ู้ คุณสมบัติและทักษะความสามารถตามที่
กำหนดไว้ในจุดมุ่งหมายของการศึกษา
ปนัดดา พรพิฆเนส (2540 : 7) ให้ความหมายของการบริหารงานวิชาการว่า
หมายถึง กิจกรรมทุกชนิดในสถานศึกษาที่ดำเนินไป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการเรียน
การสอน
สมศรี มธุรสสุวรรณ (2541 : 14) ให้ความหมายของการบริหารงานวิชาการว่า
หมายถึง กิจกรรมทุก ๆ ด้านที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และเกิดการ
พัฒนาในตัวเด็กตามจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษา
10
เรณู ครุธไทย (2542 : 9) ให้ความหมายของการบริหารงานวิชาการว่า หมายถึง
การจัดกิจกรรมทุกชนิดในโรงเรียนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิด
การเรียนรู้และได้รับประสบการณ์อย่างมีประสิทธิภาพตามจุดมุ่งหมายของการศึกษา
นาวี ยั่งยืน (2544 : 10) สรุปความหมายของการบริหารงานวิชาการว่า หมายถึง
การบริหารงานวิชาการเป็นกิจกรรมทุกชนิดในสถานศึกษา โดยเฉพาะกิจกรรมที่ เกี่ยวกับการ
ปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอน
สุวรรณา รุทธนานุรักษ์ (2540 : 9) สรุปความหมายของการบริหารงานวิชาการ
หมายถึง การที่ผู้บริหารโรงเรียนวางแผนการจัดระบบการใช้เวลาในการปฏิบัติงานให้ได้
ประโยชน์สูงสุด เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพด้านงานวิชาการในสถานศึกษา เช่น การดำเนินงานที่
เกี่ยวกับหลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนการสอน การผลิตสื่อ และอุปกรณ์การศึกษา
การนิเทศภายในสถานศึกษา และการประเมินผลการเรียนการสอน
สรุปการบริหารวิชาการ หมายถึง กิจกรรมทุกชนิดในสถานศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการ
พัฒนาและปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนให้เกิดประสิทธิภาพ
1.3.2 ขอบข่ายของการบริหารงานวิชาการ
จรัล สังข์ขาว (2542 : 29) ได้กล่าวว่างานบริหารวิชาการที่ ผู้บริหารจะต้อง
เข้าใจขอบข่ายของการบริหารงานวิชาการ คือ 1) วัตถุประสงค์ นโยบาย และวิธีบริหารทาง
วิชาการ 2) หลักสูตร และประมวลการสอน 3) ตารางสอน 4) อุปกรณ์การศึกษา 5) แบบเรียน
และหนังสืออ่านประกอบ 6) การจัดแบ่งหมู่นักเรียน 7) การนิเทศการสอน 8) การจัดห้องสมุด
9) การวัดผลและประเมินผล
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2536 : 6-7) กำหนดให้งาน
วิชาการเป็นงานหลักของโรงเรียน สำหรับขอบข่ายของงานวิชาการสำหรับโรงเรียนประถม
ศึกษาเสนอไว้ ดังนี้
1. งานด้านหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้
2. งานการเรียนการสอน
3. งานสื่อการเรียนการสอน
4. งานวัดผลและประเมินผล
5. งานห้องสมุด
6. งานนิเทศการศึกษา
11
7. งานด้านการวางแผนและกำหนดวิธีดำเนินงาน
8. งานส่งเสริมการสอน
9. งานประชุมอบรมทางวิชาการ
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ (2535 : 17) กำหนดขอบข่ายครอบคลุมตั้งแต่การวางแผน
เกี่ยวกับงานวิชาการ การดำเนินงานเกี่ยวกับการเรียนการสอน การจัดบริการ การเรียนการสอน
และการวัดและประเมินผล รวมทั้งการติดตามผล
บุญมี เณรยอด (2534 : 11) กำหนดขอบข่ายของงานวิชาการไว้ 10 ประการ ดังนี้
1. หลักสูตรและเอกสารการใช้หลักสูตร
2. ตารางสอนและวิธีสอน
3. วัสดุอุปกรณ์และการใช้แหล่งทรัพยากรท้องถิ่น
4. งานห้องสมุด
5. งานกิจกรรมนักเรียน
6. การนิเทศงานวิชาการในโรงเรียน
7. การกำหนดให้ครูอาจารย์ปฏิบัติงานวันวิชาการ
8. การแนะแนว
9. การวัดและประเมินผล
10. การวางแผนปรับปรุงงานวิชาการ
อาคม จันทสุนทร (2537 : 2-28) ได้กล่าวว่า ขอบข่ายการบริหารงานวิชาการ
ได้แก่ การวางแผนเกี่ยวกับงานวิชาการ การจัดดำเนินการเกี่ยวกับการเรียนการสอน การจัด
บริหารเกี่ยวกับการเรียนการสอนเป็นการจัดสิ่งอำนวยความสะดวก การส่งเสริมการจัดหลักสูตร
การศึกษาให้มีประสิทธิภาพ และการวัดและประเมินผล
สรุป ขอบข่ายของการบริหารงานด้านวิชาการครอบคลุมงานต่าง ๆ ได้แก่
การวางแผนเกี่ยวกับงานวิชาการ การจัดดำเนินการเกี่ยวกับการเรียนการสอน การส่งเสริม
การจัดหลักสูตร และการวัดและประเมินผล
12
1.4 ด้านบุคลากร
1.4.1 ความหมายของการบริหารงานบุคลากร
คนเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุด เพราะคนที่มีความรู้ความสามารถจะเป็นทางที่
นำไปสู่ความสำเร็จและประสิทธิผลของการบริหารกิจการต่าง ๆ เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญแก่
หน่วยงานอย่างยิ่ง และต้องเป็นระบบที่สามารถดึงดูดบุคลากรที่มีความสามารถอยู่ใน
หน่วยงานให้นานที่สุดดังที่ วิจิตร ศรีสะอ้าน (2530 : 2) ได้กล่าวไว้ในการบริหารทาง
การศึกษาว่า “บุคลากรเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งโดยนับเป็นกุญแจแห่งสัมฤทธิ์ผลทางการศึกษา
เชื่อกันว่าครูดี คือจุดเริ่มต้นของการพัฒนาการศึกษา สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่ง ผู้บริหาร
โรงเรียนควรจะต้องบริหารบุคลากรให้ได้ผลดีและได้รับความสำเร็จในการทำให้บุคลากรทุกฝ่าย
ในหน่วยงานร่วมมือกันทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
ธีรวุฒิ ประทุมนพรัตน์ (2536 : 5) ได้ให้ความหมายของการบริหารงานบุคลากร
หมายถึง ภารกิจอย่างหนึ่งของผู้บริหารการศึกษา ที่กระทำไปตามขั้นตอนต่อไปนี้ คือการ
วางแผนให้ได้มาซึ่งบุคลากร การสรรหา การบรรจุแต่งตั้ง การพัฒนา การบำรุงขวัญ การจูงใจ
การให้ค่าตอบแทน และการให้พ้นจากงาน ทั้งนี้เพื่อให้ทรัพยากรการบริหาร คือบุคลากรปฏิบัติ
งานเต็มความรู้ ความสามารถและเต็มเวลา จนบรรลุวัตถุประสงค์ที่องค์การการศึกษาวางไว้
เสน่ห์ ผดุงญาติ (2535 : 9) ให้ความหมายของการบริหารงานบุคลากรว่า
หมายถึง การบริหารหรือจัดการงานด้านที่เกี่ยวกับตัวบุคลากรผู้ปฏิบัติงานในองค์การใดองค์การ
หนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเลือกสรรผู้มีความรู้ความสามารถเข้ามาทำงานให้มีจำนวนเพียงพอ
เพื่อให้การใช้กำลังคนเกิดประโยชน์เต็มที่ เพื่อรักษากำลังแรงงาน บำรุงส่งเสริมสมรรถภาพและ
กำลังใจของผู้ปฏิบัติงาน เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้ดีมีประสิทธิภาพ และบรรลุผลสำเร็จ
สมความมุ่งหมายขององค์การ
สมาน รังสิโยกฤษฎ์ (2531 : 92) ให้ความหมายของการบริหารงานบุคลากรว่า
หมายถึง ดำเนินการเกี่ยวกับตัวบุคลากรในองค์กรหรือหน่วยงาน นับตั้งแต่การสรรหาบุคลากร
มาปฏิบัติงาน การบรรจุและแต่งตั้ง การพัฒนาบุคลากร การประเมินผลการปฏิบัติงาน ไป
จนถึงการพิจารณาบุคลากรให้พ้นจากงาน
13
อุทัย หิรัญโต (2531 : 2) ได้ให้ความหมายของการบริหารงานบุคลากรว่า
หมายถึง การปฏิบัติการที่เกี่ยวกับตัวบุคลากรหรือตัวเจ้าหน้าที่ในองค์การใดองค์การหนึ่ง นับ
ตั้งแต่การสรรหาคนเข้าทำงาน การคัดเลือก การบรรจุแต่งตั้ง การโอน การย้าย การฝึกอบรม
การพิจารณาความดีความชอบ การเลื่อนขั้นเงินเดือน การปกครองบังคับบัญชา การดำเนินการ
ทางวินัย การให้พ้นจากงาน ตลอดจนการจ่ายค่าบำเหน็จบำนาญ เมื่อออกจากราชการไปแล้ว
สุรัฐ ศิลปอนันต์ (2530 : 16) ให้ความหมายของการบริหารงานบุคลากรว่า
หมายถึง กระบวนการวางนโยบาย กำหนดความต้องการบุคลากร การสรรหา การใช้
การพัฒนา การจูงใจ การจัดสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูล การเลื่อนตำแหน่ง การโอนย้าย
และการพ้นจากราชการ
ฟลิปโป (Flippo 1971 : 72) ได้ให้ความหมายของการบริหารงานบุคลากรไว้ว่า
หมายถึง การวางแผน การจัดการองค์การ การอำนวยการ การควบคุม การสรรหา การพัฒนา
อัตราเงินเดือน ค่าตอบแทน ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และการทำนุบำรุงรักษาไว้ซึ่ง
บุคลากรขององค์การเพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ขององค์การ
สเตห์ล (Stahl 1971 : 113) ได้ให้ความหมายของการบริหารงานบุคลากรไว้ว่า
หมายถึง ผลรวมของความเกี่ยวข้องของทรัพยากรบุคลากรในราชการ ซึ่งให้ประโยชน์กับ
ราชการได้มากที่สุด เพราะการบริหารเป็นวิธีปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมาย
สุวรรณา รุทธานุรักษ์ (2540 : 9) ได้กล่าวไว้ว่า การที่ผู้บริหารโรงเรียนวางแผน
การจัดระบบการใช้เวลาในการปฏิบัติงานให้ได้ประโยชน์สูงสุด เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพด้านงาน
บุคลากร เช่น การควบคุม กำกับ ติดตาม แนะนำ ให้คำปรึกษา ส่งเสริม สนับสนุนการ
ปฏิบัติงานของบุคลากรนิเทศ และประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรในสถานศึกษา
สรุปการบริหารบุคลากร หมายถึง การบริหารงานบุคลากรเป็นการดำเนินงาน
ซึ่งเกี่ยวกับบุคลากรในองค์การ ตั้งแต่การจัดหาบุคลากรมาปฏิบัติงานการธำรงรักษาบุคลากร
การพัฒนาบุคลากร และการให้บุคลากรพ้นจากงาน เพื่อให้บุคลากรได้รับความพึงพอใจที่จะ
ทำงานให้มีประสิทธิภาพและให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
14
1.4.2 ขอบข่ายการบริหารงานบุคลากร
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ (2532 : 1)
กล่าวถึงภารกิจของการบริหารงานบุคลากรในโรงเรียนเอกชนว่ามีขอบข่าย ดังนี้
1) งานบุคลากรในโรงเรียน
2) การดำเนินงานก่อนเข้าสู่ตำแหน่ง
3) การวางโครงการเสริมประสิทธิภาพบุคลากร
4) การคุ้มครองสิทธิของบุคลากร
5) การดำเนินงานเมื่อบุคลากรพ้นจากตำแหน่ง
พนัส หันนาคินทร์ (2530 : 46) กล่าวว่าขอบข่ายของการบริหารงานบุคลากร
ในสถานศึกษา มีอยู่ 8 ประการคือ
1) การวางแผนกำลังหรือ การจัดอัตรากำลัง
2) การสรรหา หรือ การรับสมัครบุคลากรเข้าทำงาน
3) การคัดเลือกบุคลากรเข้าทำงาน
4) การนำเข้าสู่งาน
5) การประเมินบุคลากร
6) การพัฒนาบุคลากร
7) การตอบแทนบุคลากร
8) การสร้างสภาพความมั่นคงในการทำงานของบุคลากร
เวนน์ และ โน (Wayne and Noe 1990 : 8 - 10) เสนอขอบข่ายของการบริหาร
งานบุคลากรไว้ 6 ประการ คือ
1) การวางแผนและคัดเลือกบุคลากร
2) การพัฒนาบุคลากร
3) การจัดผลประโยชน์ตอบแทน
4) การจัดสวัสดิการเกี่ยวกับความปลอดภัยและสุขภาพอนามัย
5) การสร้างแรงงานสัมพันธ์
6) การวิจัยทรัพยากรบุคลากร
15
แคสเทตเตอร์ (Castetter, 1976 : 42 - 43) มีความเห็นว่าการบริหารบุคลากร
มีขอบข่ายที่เกี่ยวข้องกับการวางแผน การจัดองค์การ การวินิจฉัย สั่งการและการควบคุมซึ่งเริ่ม
ตั้งแต่การวางแผน การสรรหา การบรรจุ การประเมินผล การพัฒนา การให้ค่าตอบแทน และ
การให้ความมั่นคงปลอดภัย
สรุปขอบข่ายของการบริหารบุคลากร เป็นการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการ
สรรหาและบรรจุแต่งตั้ง การบำรุงรักษาบุคลากร การพัฒนาบุคลากร และการให้พ้นจากงาน
1.5 ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
1.5.1 ความหมายของการบริหารงานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับ
ชุมชน
สุวรรณา รุทธนานุรักษ์ (2540 : 9) ได้ให้ความหมายของงานสัมพันธ์ระหว่าง
โรงเรียนและชุมชนว่า หมายถึง การที่ผู้บริหารโรงเรียนวางแผนการจัดระบบการใช้เวลาใน
การปฏิบัติงานให้ได้ประโยชน์สุงสด เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพด้านงานสัมพันธ์ชุมชนใน
สถานศึกษา เช่น การดำเนินงานที่เกี่ยวกับสมาคม ผู้ปกครองและครู การจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่
เป็นประโยชน์ต่อชุมชน การเยี่ยมเยียนผู้ปกครอง และชุมชน การให้บริการแก่ชุมชนทั้งในด้าน
ความรู้ สุขภาพ อนามัย งานอาชีพ ตลอดจนการ ส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนได้เข้ามามี
ส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมของโรงเรียน
มนัส พลายชุ่ม (2540 : 8) ได้ให้ความหมายของงานสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียน
และชุมชนว่า หมายถึง การดำเนินการระหว่างโรงเรียนกับชุมชนในด้านการใช้ข้อมูลข่าวสาร
การรับฟังความคิดเห็น การให้ข้อเสนอแนะ การให้และรับความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ เพื่อให้
เกิดความเข้าใจอันดีและเพื่อความร่วมมือในการพัฒนาการเรียนของนักเรียน และการจัดการ
ศึกษาของโรงเรียน
นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์ (2534 : 32) ได้ให้ความหมายของงานสัมพันธ์ระหว่าง
โรงเรียนและชุมชนว่า หมายถึง กิจกรรมที่ควรดำเนินงานในด้านความสัมพันธ์กับผู้ปกครอง
คือ
1. ครูออกเยี่ยมเยียนผู้ปกครองเมื่อมีโอกาส
2. รายงานความก้าวหน้าทางการศึกษาของนักเรียนให้ผู้ปกครองทราบ
เชิญผู้ปกครองมาเยี่ยมเยียนโรงเรียนในโอกาสที่มีกิจกรรมต่าง ๆ ของนักเรียนและโรงเรียน
3. จัดการประชุมผู้ปกครองในโอกาสอันควรเป็นครั้งคราว
16
4. ส่งข่าวสาร จดหมายข่าว แจ้งความเคลื่อนไหวก้าวหน้าหรือเปลี่ยนแปลง
ของโรงเรียนให้ทราบ
5. จัดนิทรรศการผลงานของนักเรียนและเชิญผู้ปกครองมาเยี่ยมชม
6. เชิญผู้ปกครองที่มีความเชี่ยวชาญมาให้ความรู้แก่เด็ก
7. เชิญผู้ปกครองมาเยี่ยมเยียนกิจกรรมพิเศษของโรงเรียน เช่น กีฬา ละคร
หรือดนตรี
8. จัดให้มีวัน “คุยกับครู” โดยเชิญผู้ปกครองมาสนทนากับครูประจำชั้นอย่าง
น้อยภาคเรียนละครั้ง
9. ผลักดันให้เกิดสมาคมผู้ปกครองและครู
สรุปการบริหารงานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน หมายถึง
การดำเนินการระหว่างโรงเรียนกับชุมชนในด้านการติดต่อ ประสานงาน การร่วมกิจกรรมต่าง ๆ
การให้ข้อเสนอแนะ และการให้ความช่วยเหลือร่วมมือกันระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง / ชุมชน
เพื่อประสานสัมพันธ์ให้เกิดผลดีทั้งสองฝ่าย
1.5.2 ขอบข่ายการบริหารงานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (2532 : 91) เสนอแนวคิดว่า
โรงเรียนกับชุมชนไม่สามารถแยกออกจากกันได้ เพราะโรงเรียนและชุมชนมีบทบาทเป็นทั้งผู้ให้
และผู้รับ สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนมีขอบข่ายครอบคลุม 5 รายการ ได้แก่
การประชาสัมพันธ์โรงเรียน การให้บริการแก่ชุมชน การร่วมกิจกรรมชุมชน การให้ชุมชน
มีส่วนร่วมในกิจกรรมของโรงเรียน และการสร้างเสริมความสัมพันธ์กับชุมชน
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2536 : 12) ได้สรุป
ขอบข่ายของการบริหารงานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนไว้ดังนี้
1. การประชาสัมพันธ์โรงเรียน
2. การให้ความช่วยเหลือและให้บริการแก่ชุมชน
3. การเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน
4. การให้ชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมของโรงเรียน
5. การสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน
17
รวีวรรณ ธุมชัย (2536 : 272) ได้กล่าวถึงขอบข่ายของความสัมพันธ์ระหว่าง
โรงเรียนกับชุมชนไว้ดังนี้
1. ส่งเสริมให้มีคณะกรรมการและสมาคม หรือชมรมผู้ปกครอง
2. สนับสนุนการปฏิบัติงานของสมาคมหรือชมรมผู้ปกครองและครู
3. ให้ผู้ปกครองมีส่วนช่วยเหลือ และให้ความร่วมมือในด้านต่าง ๆ เช่น งาน
วิชาการ อาคารสถานที่ การจัดหาอุปกรณ์ การให้ทุนการศึกษา การให้สวัสดิการครู ภารโรงและ
นักเรียน การแนะแนวการศึกษา ความร่วมมือในการควบคุมความประพฤติ และการพัฒนา
จิตใจของนักเรียน การส่งเสริมและการสร้างสรรค์ความเจริญให้แก่โรงเรียน
สรุป ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและชุมชนมีลักษณะความสัมพันธ์เป็นแบบ
2 ทาง คือ มีบทบาททั้งผู้ให้และผู้รับ การดำเนินงานด้านนี้ประกอบด้วยงาน 5 ลักษณะ คือ
การประชาสัมพันธ์โรงเรียน การให้บริการแก่ชุมชน การร่วมกิจกรรมชุมชน การให้ชุมชน
มีส่วนร่วมในกิจกรรมของโรงเรียน และการสร้างเสริมความสัมพันธ์กับชุมชน
1.6 ด้านอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม
1.6.1 ความหมายของการบริหารงานอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม
กิติมา ปรีดีดิลก (2532 : 197) ให้ความหมายของการบริหารอาคารสถานที่
และสภาพแวดล้อมว่า หมายถึง การรู้จักจัดหา รู้จักใช้อาคารให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้ง
การควบคุมดูแลรักษา การให้บริการแก่ชุมชน และการรู้จักส่งเสริมทำนุบำรุงอาคารสถานที่ที่มี
อยู่ให้คงสภาพดี และสนองความต้องการได้อย่างเพียงพอ
อรทิพย อารยะทรงศักด์ิ (2536 : 38) ใหค้ วามหมายของการบรหิ ารอาคาร
สถานที่และสภาพแวดล้อมว่า หมายถึง การจัดอาคารสถานที่ซึ่งประกอบด้วย ตัวอาคาร
สถานที่ และบริเวณที่ใช้ในการจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพและให้ได้ผลตามที่ได้ตั้ง
เป้าหมายไว้
อรัญญา อุดมศรี (2539 : 46) ให้ความหมายของการบริหารอาคารสถานที่และ
สภาพแวดล้อมว่า หมายถึง การที่ผู้บริหารรู้จักบริหารอาคารสถานที่ได้อย่างเหมาะสมและ
คุ้มค่าเกิดประโยชน์ ตลอดจนการควบคุมดูแลรักษา พร้อมทั้งให้บริการแก่ชุมชน
สุวรรณา รุทธานุรักษ์ (2540 : 9) ให้ความหมายของการบริหารอาคารสถานที่
และสภาพแวดล้อมว่า หมายถึง การที่ผู้บริหารโรงเรียนวางแผนการจัดระบบการใช้เวลาใน
18
การปฏิบัติงานให้ได้ประโยชน์สูงสุด เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพด้านงานอาคารสถานที่ในสถาน
ศึกษา เช่น การวางแผนการใช้อาคารสถานที่ห้องเรียน ห้องประชุม การปรับปรุงอาคารสถานที่
การจัดตกแต่ง และบำรุงรักษาอาคารสถานที่ในโรงเรียน
สรุป การบริหารอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม หมายถึงการดำเนินการ
เกี่ยวกับสถานที่ที่ใช้จัดการเรียนการสอน และจัดกิจกรรมต่างๆ ซึ่งได้แก่ อาคารเรียน
ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ ห้องสมุด ห้องพักครู รวมทั้งสภาพแวดล้อมภายในบริเวณโรงเรียน
ที่ใช้เป็นที่พักผ่อน เล่นกีฬา สุขลักษณะของสภาพแวดล้อม และสาธารณูปโภคที่จัดบริการ
ภายในโรงเรียน รวมถึงความสะดวกปลอดภัยรอบๆ โรงเรียน
1.6.2 ขอบข่ายของการบริหารงานอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (2535 : 49) ได้ให้แนวทางใน
การบริหารงานอาคารสถานที่ในโรงเรียนเอกชน ระดับประถมศึกษา ตามเกณฑ์การรับรอง
มาตรฐานคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา ไว้ดังนี้
1) จัดอาคารสถานที่และบริเวณโรงเรียนให้เหมาะสมกับการใช้งานและให้เกิด
ประโยชน์สูงสุด
2) เป้าหมายหลักอื่น ๆ ที่โรงเรียนเน้นเกี่ยวกับการบริหารงานอาคารสถานที่
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2536 : 503) ได้กำหนด
ขอบข่ายของงานอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อมว่า ประกอบด้วย การจัดสร้างอาคารสถานที่
การใช้และบำรุงอาคารสถานที่ รวมทั้งการควบคุมดูแลและประเมินผลการใช้อาคารสถานที่
สรุป การบริหารงานอาคารสถานที่เป็นการบริหารงานที่เกี่ยวข้องกับการจัด
สร้างอาคารสถานที่ การใช้และบำรุงอาคารสถานที่ การควบคุมดูแลและประเมินผลการใช้อาคาร
สถานที่
19
1.7 ด้านกิจการนักเรียน
1.7.1 ความหมายของการบริหารงานกิจการนักเรียน
กิติมา ปรีดีดิลก (2532 : 165) ได้ให้ความหมายของกิจการนักเรียน หมายถึง
การจัดดำเนินกิจการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับนักเรียนทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียน ตั้งแต่ก่อน
การที่นักเรียนจะเข้าเรียน ระหว่างเรียนจนกระทั่งจบการศึกษา
ธีรวุฒิ ประทุมนพรัตน์ (2534 : 4) ได้ให้ความหมายของกิจการนักเรียน
หมายถึง การจัดกิจกรรมนอกห้องเรียนปกติขึ้น เพื่อบริการให้นักเรียนได้มีโอกาสพัฒนาการ
ด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านอารมณ์ สังคม และจิตใจ ตลอดจนสามารถปรับตนเข้ากับ
คนอื่นได้ดี
สุวรรณา รุทธานุรักษ์ (2540 : 9) ได้ให้ความหมายของกิจการนักเรียน
หมายถึง การที่ผู้บริหารโรงเรียนวางแผนการจัดระบบการใช้เวลาในการปฏิบัติงานให้ได้
ประโยชน์สูงสุด เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพด้านงานกิจการนักเรียนในสถานศึกษา เช่น การ
ปกครองนักเรียน การแนะแนว การบริการสุขภาพการอนามัย การจัดหาน้ำดื่มน้ำใช้ ตลอดจน
การบริการด้านอาหารกลางวันให้แก่นักเรียนในสถานศึกษา
จรัล สังข์ขาว (2542 : 30) กล่าวว่างานด้านกิจการนักเรียน เป็นงานโรงเรียน
ต้องพยายามให้เด็กที่อยู่ในวัยเรียนทุกคนมีโอกาสเป็นนักเรียนอย่างเสมอภาคและยุติธรรม
เพราะการศึกษาช่วยให้เด็กเติบโตขึ้นมาเป็นพลเมืองของชาติการศึกษาช่วยให้บุคลากรมีความ
รอบรู้และความฉลาดมีไหวพริบ รู้จักแก้ปัญหาต่างๆ ของตนเอง รู้จักปรับตัวให้เหมาะกับ
สภาพแวดล้อมและสถานการณ์ เพื่อช่วยให้ประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิต
สรุปการบริหารงานด้านกิจการนักเรียน หมายถึง การบริหารงานที่เกี่ยวข้องกับ
กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับนักเรียนโดยเฉพาะนอกเหนือจากการเรียนการสอนในห้องเรียนเพื่อช่วย
ส่งเสริมการเรียนการสอนที่จัดขึ้นในสถานศึกษา
1.7.2 ขอบข่ายการบริหารงานกิจการนักเรียน
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2536 : 11) กล่าวว่า
งานกิจการนักเรียนเป็นงานช่วยสนับสนุนงานวิชาการ ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมที่สำคัญ 4
กิจกรรม คือ 1) กิจกรรมที่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ 2) กิจกรรมบริการนักเรียน 3) กิจกรรมที่
ส่งเสริมให้มีขึ้นในโรงเรียน 4) กิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับศิษย์เก่า
20
กองนโยบายและแผน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (2535 : 19)
ได้ให้แนวทางในการบริหารกิจการนักเรียนในโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษา ตามเกณฑ์
รับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษาไว้ดังนี้
1) การบริการเกี่ยวกับสุขภาพอนามัย ทั้งร่างกายและจิตใจที่เหมาะสมกับวัย
และความต้องการของนักเรียน
2) จัดการรักษาความปลอดภัยให้แก่นักเรียนโดยทั่วถึงและสม่ำเสมอทั้งใน
โรงเรียนและระหว่างการเดินทาง
3) จัดบริการแนะแนวนักเรียนครบทุกด้าน
4) จัดกิจกรรมนักเรียนที่สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนการสอน และความ
สนใจ ความต้องการเพื่อพัฒนาด้านต่าง ๆ ของนักเรียนแต่ละบุคคล
5) จัดความช่วยเหลือและสวัสดิการต่าง ๆ ให้แก่นักเรียนที่มีความจำเป็น เพื่อ
ส่งเสริมโอกาสทางการศึกษา
6) เป้าหมายหลักอื่น ๆ ของโรงเรียนที่เน้นเกี่ยวกับการบริการและกิจกรรม
นักเรียน
แคมเบล และคณะ (Campbell and others 1977 : 149 - 155) ได้ให้ความเห็น
ว่า ภารกิจที่สำคัญในการบริหารกิจการนักเรียน มี 4 ประการ คือ
1) การสำรวจนักเรียน
2) งานทะเบียนและบัญชีนักเรียน
3) งานบริการนักเรียน ได้แก่ การแนะแนว การตรวจสุขภาพ เป็นต้น
4) วินัยและการควบคุมความประพฤติ
สรุปขอบข่ายงานกิจการนักเรียนนั้น ประกอบด้วย งานทะเบียนนักเรียน
งานบริการนักเรียนในด้านต่าง ๆ และงานวินัยและควบคุมความประพฤติ
2. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้กล่าวถึง เรื่องการมีส่วนร่วม
ในการศึกษาของชุมชนไว้ดังนี้
มาตรา 8 (2) การจัดการศึกษาให้ยึดหลักให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
มาตรา 9 การจัดระบบ โครงสร้างและกระบวนการจัดการศึกษาให้ยึดหลักดังนี้
(2) มีการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น
(5) ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่าง ๆ มาใช้ในการจัดการศึกษา และ
21
(6) การมีส่วนร่วมของบุคลากร ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการและ
สถาบันสังคมอื่น ๆ
มาตรา 24 (6) จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ มีการประสานความ
ร่วมมือกับบิดามารดา ผู้ปกครอง และบุคลากรในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตาม
ศักยภาพ
มาตรา 29 ให้สถานศึกษาร่วมกับบุคลากร ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา
สถานประกอบการและสถาบันสังคมอื่น ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนโดยจัดกระบวนการ
เรียนรู้ภายในชุมชน เพื่อให้ชุมชนมีการจัดการศึกษาอบรม มีการแสวงหาความรู้ ข้อมูลข่าว
สารและรู้จักเลือกสรรภูมิปัญญาและวิทยาการต่างๆ เพื่อพัฒนาชุมชนให้สอดคล้องกับ
สภาพปัญหา และความต้องการ รวมทั้งหาวิธีการสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์
การพัฒนาระหว่างชุมชน
สรุป พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้ให้ความสำคัญต่อการ
มีส่วนร่วมของชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประชาชน เอกชนและภูมิปัญญาท้องถิ่น
เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540
3. การบริหารงานแบบมีส่วนร่วม
3.1 ความหมายของการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม
การมีส่วนร่วมเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะส่งผลให้การปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ประสบความ
สำเร็จได้โดยง่าย การมีส่วนร่วมจึงมีความสำคัญต่อหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ อย่างยิ่ง
ในเรื่องความหมายของการมีส่วนร่วมนั้น ได้มีนักวิชาการศึกษาหลายท่านได้ให้ความหมายของ
การบริหารงานแบบมีส่วนร่วมไว้แตกต่างกันดังนี้
สัมพันธ์ อุปลา (2541 : 13) ให้ความหมายของการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมว่า
หมายถึง กระบวนการที่ผู้บริหารให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการตัดสินใจ
เป็นการมีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งของบุคลากร เป็นการใช้ความคิดสร้างสรรค์และความเชี่ยวชาญ
ในการแก้ปัญหาการบริหาร
22
ชาญชัย อาจินสมาจาร (2534 : 9) ได้ให้ความหมายของการมีส่วนร่วม หมายถึง
กระบวนการที่ทุกให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับการแก้ปัญหาที่กระทบกระเทือนองค์การและงาน
ของเขา การเข้ามาเกี่ยวข้องในงานของแต่ละบุคลากรหรือกลุ่ม ไม่ใช่เข้ามาเกี่ยวข้องทางด้าน
ร่างกายเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องทางด้านสติปัญญาและอารมณ์ในกิจการขององค์การนั้นด้วย
ชูศักดิ์ อินทร์รักษ์ (2534 : 44) ได้ให้ความหมายของการมีส่วนร่วม หมายถึง
การให้สมาชิกทุกคนในองค์การหรือ หน่วยงานเดียวกันได้กระทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อให้งาน
บรรลุเป้าหมายที่ทุกคนคาดหวังและประสบผลสำเร็จ บุคลากรทุกระดับในหน่วยงานร่วมมือกัน
รับผิดชอบ มีความรู้สึกผูกพันในฐานะเป็นส่วนหนึ่งขององค์การด้วยการปฏิบัติงานอย่างมี
เป้าหมายและทิศทาง
พูนชัย มหาวงศนันท์ (2540 : 10) ได้ให้ความหมายของการมีส่วนร่วมว่า หมายถึง
การที่บุคลากรในหน่วยงานทุกคนได้มีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมาย ทิศทางการดำเนินงาน
ต่าง ๆ และมีความร่วมมือรับผิดชอบ มีความรัก ความผูกพันต่อกัน เพื่อให้การปฏิบัติงานให้เกิด
ผลสำเร็จบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
โคเฮน และ อัพฮอฟ (Cohen and Uphop, 1977 : 6) ให้ความหมายของ
การบริหารงานแบบมีส่วนร่วมว่า หมายถึง การมีส่วนร่วม 4 ประการ คือ 1) การมีส่วนร่วมใน
การตัดสินใจว่าจะทำอะไร ทำด้วยวิธีใด 2) มีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการ 3) มีส่วนร่วม
ในการแบ่งปันผลประโยชน์ และ 4) มีส่วนร่วมในการประเมินผล
สรุป การมีส่วนร่วมเป็นกระบวนการอย่างหนึ่งที่เกิดจากการที่บุคลากร
กลุ่มบุคลากร หรือองค์การ ในการคิดริเริ่ม ตัดสินใจ วางแผนปฏิบัติ ตลอดจนติดตามและ
ประเมินผลในกิจกรรมต่าง ๆ ของการบริหาร
3.2 ความหมายของการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง
การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในโรงเรียนเป็นกระบวนการที่ผู้ปกครอง ครูและ
บุคลากรในชุมชนทำงานร่วมกันเพื่อช่วยให้การจัดการศึกษาประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่
ตั้งไว้ สำหรับความหมายของการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ได้มีนักวิชาการศึกษาหลายท่านได้
ให้ความหมายของการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมไว้แตกต่างกันดังนี้
ธีรภัทร์ เจริญดี (2542 : 15) ให้ความหมายของการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองว่า
หมายถึง กระบวนการทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบระหว่างผู้ปกครองและครูใน
การจัดการศึกษา
23
ฉันทนา ภาคบงกช (2537 : 22) ให้ความหมายของการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองว่า
หมายถึง การที่ผู้ปกครองให้ความร่วมมือในการช่วยให้เด็กได้รับการพัฒนาอย่างถูกต้องและ
สอดคล้องกับทางโรงเรียน
อรุณี หรดาล (2536 : 19) ให้ความหมายของการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองว่า
หมายถึง การที่ผู้ปกครองได้เข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาการและเตรียมความพร้อมให้
กับเด็กด้วยการใช้เทคนิคและวิธีการต่าง ๆ
หรรษา นิลวิเชียร (2535 : 12) ให้ความหมายของการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง
หมายถึง กระบวนการที่ผู้ปกครอง ครูและชุมชนทำงานร่วมกัน นับตั้งแต่การวางแผน
การทำงาน การเรียนรู้ และการตัดสินใจ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษาของเด็ก
สรุป การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง หมายถึง กระบวนการที่ผู้ปกครองได้เข้ามามี
ส่วนร่วมกับครูในการวางแผนการทำงาน การเรียนรู้ การตัดสินใจ การประเมินผลการจัด
การศึกษาให้กับเด็กอย่างเป็นระบบ
3.3 ลักษณะการบริหารแบบมีส่วนร่วม
ลักษณะการบริหารแบบมีส่วนร่วม ได้มีการจำแนกลักษณะหรือประเภทของ
การมีส่วนร่วมที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งนักวิชาการได้กล่าวถึงลักษณะการบริหารแบบ
มีส่วนร่วมดังนี้
ชูชาติ พ่วงสมจิตร์ (2540 : 19) ได้จำแนกขั้นตอนในการมีส่วนร่วมออกเป็น 4
ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 การมีส่วนร่วมในขั้นริเริ่มโครงการ เป็นขั้นของการค้นหาปัญหาและสาเหตุ
ตลอดจนการตัดสินใจกำหนดความต้องการและจัดลำดับความสำคัญของความต้องการ
ขั้นที่ 2 การมีส่วนร่วมในขั้นวางแผน เป็นขั้นของการเข้ามามีส่วนร่วมในการ
กำหนดนโยบายและวัตถุประสงค์ของโครงการ กำหนดวิธีการ แนวทางการดำเนินงานและ
กำหนดทรัพยากรที่จะใช้ในโครงการ
ขั้นที่ 3 การมีส่วนร่วมในขั้นดำเนินการ เป็นการเข้ามามีส่วนร่วมในการทำ
ประโยชน์ให้แก่โครงการ โดยการร่วมช่วยเหลือด้านทุนทรัพย์ วัสดุอุปกรณ์และแรงงาน หรือโดย
การบริหารงานและประสานงาน ตลอดจนดำเนินการขอความช่วยเหลือจากภายนอก
24
ขั้นที่ 4 การมีส่วนร่วมในขั้นประเมินผล เป็นขั้นของการเข้ามามีส่วนร่วมในการ
ประเมินว่าการดำเนินงานบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ อาจเป็นการประเมินผล
ย่อยเพื่อดูความก้าวหน้าของการดำเนินงาน หรือการประเมินผลรวมสรุปรวบยอด
ดุสเซลดอร์ฟ (Dusseldorp, 1981 : 35 - 53) ได้รวบรวมแนวคิดในการจำแนก
ประเภทของการมีส่วนร่วมของนักวิชาการต่าง ๆ และใช้คุณลักษณะ 9 ประการมาจำแนกการ
มีส่วนร่วมออกเป็น 9 กลุ่มดังต่อไปนี้
1. การจำแนกตามระดับความสมัครใจ
2. วิธีการมีส่วนร่วม
3. ความเข้มของการมีส่วนร่วม
4. ความถี่ของการมีส่วนร่วม
5. ระดับของประสิทธิผล
6. พิสัยของการมีส่วนร่วม
7. ระดับขององค์การ
8. ผู้เข้าร่วม
9. ลักษณะของการวางแผน
ชาดิด และคณะ (Shadid and others, 1982 : 356) ได้จำแนกขั้นตอนหรือประเภท
ของการมีส่วนร่วมออกเป็นเรื่องของการตัดสินใจ การดำเนินการ ผลประโยชน์ และการประเมิน
ผล ดังมีรายละเอียดดังนี้
ขั้นที่ 1 การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ในกระบวนการของการตัดสินใจนั้น ประการ
แรกที่สุดที่จะต้องกระทำก็คือ การกำหนดความต้องการและการจัดลำดับความสำคัญ ต่อจาก
นั้นก็เลือกนโยบายและประชากรที่เกี่ยวข้อง การตัดสินใจในช่วงเริ่มต้น การตัดสินใจช่วงดำเนิน
การวางแผนและการตัดสินใจในช่วงการปฏิบัติตามแผนที่วางไว้
ขั้นที่ 2 การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ในส่วนที่เป็นองค์ประกอบของการ ดำเนิน
งานโครงการนั้นจะได้คำถามที่ว่า ใครจะทำประโยชน์ให้แก่โครงการได้บ้าง และจะทำประโยชน์
ได้โดยวิธีใด เช่น การช่วยเหลือด้านทรัพยากร การบริหารงานและประสานงาน และการขอ
ความช่วยเหลือ เป็นต้น
ขั้นที่ 3 การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ในส่วนที่เกี่ยวกับผลประโยชน์นั้น
นอกจากความสำคัญของผลประโยชน์ในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพแล้ว ยังจะต้องพิจารณาถึง
การกระจายผลประโยชน์ภายในกลุ่มด้วย ผลประโยชน์ของโครงการนี้รวมทั้งผลประโยชน์ใน
ทางบวกและผลที่เกิดขึ้นในทางลบ ที่เป็นผลเสียของโครงการ ซึ่งจะเป็นประโยชน์และเป็นโทษ
ต่อบุคลากรและสังคมด้วย
25
ขั้นที่ 4 การมีส่วนร่วมในการประเมินผล การมีส่วนร่วมในการประเมินผลนั้น
สิ่งสำคัญที่จะต้องสังเกตก็คือ ความเห็น ความชอบ และความคาดหวัง ซึ่งจะมีอิทธิพลสามารถ
แปรเปลี่ยนพฤติกรรมของบุคลากรในกลุ่มต่าง ๆ ได้
อาร์สไตน์ (Arnstein 1991 : 203) กล่าวว่า ลักษณะการมีส่วนร่วมในส่วนที่เกี่ยว
ข้องกับการเข้าไปมีอำนาจและควบคุมไว้ 8 ประการด้วยกันคือ
1. กุศโลบาย เป็นการเข้ามาเพียงเพื่อประชาสัมพันธ์ตนเองไม่ได้มุ่งหวังการมีส่วน
ร่วม
2. การรักษา คล้าย ๆ กับกุศโลบาย แต่เป็นการเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อให้ทุกคนอยู่
ร่วมกันและมีพฤติกรรมตามที่ผู้นำต้องการเท่านั้น
3. การบอกกล่าว เป็นการที่ผู้นำให้ผู้ตามเข้ามามีส่วนร่วมเพียงเล็กน้อย
4. การให้คำปรึกษา เป็นการที่ผู้นำให้ผู้ตามคอยพิจารณาถึงข้อคิดเห็นต่าง ๆ แต่
ไม่ได้บังคับให้ผู้นำต้องทำตามการมีส่วนร่วมของผู้ตาม
5. การปลอบโยน มีลักษณะเหมือนกับการเห็นอกเห็นใจคล้อยตาม แต่ในใจนั้นไม่
ได้มีการยอมรับที่จะปฏิบัติตามเลย
6. การเป็นหุ้นส่วน หมายถึงการมีส่วนร่วมนั้น จะมีลักษณะการร่วมกันคิดร่วมกัน
ทำและร่วมกันตัดสินใจมากขึ้น
7. การมอบอำนาจ เป็นการที่ผู้นำมอบอำนาจให้ผู้ตามปฏิบัติแทนซึ่งเป็นการเข้า
มามีบทบาทในกิจกรรมของผู้ตามมากขึ้น
8. อำนาจและการควบคุมอยู่ในมือของผู้ตาม เป็นการที่ผู้ตามเข้ามามีส่วนร่วมและ
กำหนดบทบาทอย่างแท้จริง
สรุป การบริหารงานแบบมีส่วนร่วมจะประกอบด้วยกระบวนมีส่วนร่วมใน
การตัดสินใจ กระบวนการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน กระบวนการในการมีส่วนร่วมรับ
ผลประโยชน์ และกระบวนการมีส่วนร่วมในการประเมินผล
3.4 รูปแบบของการบริหารแบบมีส่วนร่วม
ศิริกาญจน์ โกสุมภ์ (2542 : 215 - 219) ได้แบ่งรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม
แบบเหลื่อมล้ำตามคุณสมบัติของการมีส่วนร่วมเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
1. การมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ เป็นแบบแผนการมีส่วนร่วมของกลุ่มบุคลากรผู้มี
อำนาจและมีทรัพยากรมากที่สุดในชุมชน ได้แก่ผู้บริหารโรงเรียน ประธานและคณะกรรมการ
โรงเรียน เจ้าอาวาส และหัวหน้าโครงการ
26
1.1 บทบาทที่แสดงในการมีส่วนร่วม ได้แก่ ริเริ่มงาน คิดงาน ร่วมดำเนินการ
ร่วมสนับสนุน ร่วมงาน ร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างหนักแน่นจริง
จัง มีอำนาจตัดสินใจที่เปลี่ยนแปลงกิจกรรมที่ดำเนินงานได้
1.2 คุณสมบัติของผู้มีส่วนร่วม ได้แก่ มีอำนาจตามระบบราชการ มีบารมีได้รับ
การยอมรับในชุมชน มีทรัพยากรมาก เช่น มีความรู้ มีเงิน
2. การมีส่วนร่วมเป็นบางส่วน เป็นแบบแผนการมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้มีอำนาจและ
ทรัพยากรปานกลางในชุมชน ได้แก่ กลุ่มผู้นำชุมชน กลุ่มคณะครู คณะกรรมการโรงเรียน
กิจกรรมที่มีส่วนร่วม ได้แก่ กิจกรรมตามประเพณี การประชุมต่าง ๆ การปรับปรุงอาคารสถานที่
2.1 บทบาทที่แสดงในการมีส่วนร่วม ได้แก่ ร่วมงาน ร่วมมือ ร่วมสนับสนุน
ร่วมริเริ่มงาน ริเริ่มกิจกรรม บริจาคเงิน สิ่งของ เป็นผู้ร่วมดำเนินการ แสดงความคิดเห็นอย่าง
มั่นใจ มีอำนาจในการตัดสินใจบ้าง
2.2 คุณสมบัติของผู้มีส่วนร่วม ได้แก่ เป็นคณะทำงานของผู้มีอำนาจใน
การปกครอง มีความรู้ ต้องการทำงานเพื่อชุมชน
3. การมีส่วนร่วมแบบชายขอบ เป็นแบบแผนการมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้ที่ไม่มีอำนาจ
และทรัพยากรในชุมชน ได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียน และประชาชนทั่วไป โดยกิจกรรมที่มีส่วนร่วม
คือ กิจกรรมของโรงเรียน งานตามประเพณี งานพิเศษ และการประชุม
3.1 บทบาทที่แสดงในการมีส่วนร่วม ได้แก่ เป็นผู้มาร่วมงาน เป็นผู้ให้
ความร่วมมือ เป็นผู้ให้การสนับสนุน บริจาคเงินและสิ่งของ ร่วมดำเนินการและแสดงความ
คิดเห็นบ้าง ไม่มีอำนาจในการตัดสินใจ
สรุป รูปแบบการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมมี 3 รูปแบบ คือ การมีส่วนร่วม
อย่างเต็มที่ การมีส่วนร่วมเป็นบางส่วน และการมีส่วนร่วมแบบชายขอบ ในแต่ละแบบจะมีความ
แตกต่างกันที่อำนาจและทรัพยากร บทบาทหน้าที่ก็แตกต่างกันออกไป
3.5 ระบบของการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม
ระบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ใช้อยู่ในปัจจุบันและเป็นที่ยอมรับว่าได้ผลใน
เชิงปฏิบัติมากมี 4 แบบ ดังนี้ (อุทัย บุญประเสริฐ 2542 : 15 - 17)
1. ระบบการปรึกษาหารือ เป็นการบริหารแบบเปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติงานได้มีส่วน
ร่วมปฏิบัติงานในรูปคณะกรรมการต่าง ๆ รูปแบบนี้เป็นการกระจายอำนาจการบริหารและการ
ตัดสินใจให้ผู้ที่สีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบ
2. ระบบกลุ่มคุณภาพ เป็นการบริหารที่เปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติงานได้มีส่วนร่วมใน
รูปกลุ่มทำงาน ระบบคุณภาพแบบนี้เหมาะสำหรับใช้กับพนักงานระดับปฏิบัติหรือระดับหัวหน้า
27
งานเป็นการฝึกฝน และเปิดโอกาสให้ทำงานร่วมกันเพื่อค้นหาปัญหา วิเคราะห์ปัญหา หาสาเหตุ
ของปัญหาตลอดแนวทางแก้ปัญหาด้วยตนเอง
3. ระบบข้อเสนอแนะ หลักการปฏิบัติทุกคนได้กรอกแบบแสดงความคิดเห็นตามที่
กำหนดและมีคณะกรรมการพิจารณาข้อเสนอแนะตามแบบฟอร์มที่กำหนดหากมีข้อเสนอแนะใด
ที่ดีและนำไปปฏิบัติจะได้รับรางวัลตอบแทนแก่ผู้เสนอความคิดเห็น
4. ระบบส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติงานมีส่วนเป็นเจ้าของกิจการและรู้สึกผูกพันในการ
ปฏิบัติงานเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน
สรุป การบริหารงานแบบมีส่วนร่วมบุคลากรสำคัญที่จะเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมงานหรือ
ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการบริหารงานมากหรือน้อยคือผู้บริหาร ส่วนระดับของการมี
ส่วนร่วมจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบของผู้ร่วมงานและคสวามสามารถใน
การวิเคราะห์สถานการณ์ของผู้บริหารนั่นเองไม่ว่าจะใช้ระบบการบริหารแบบใดก็ตาม
4. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
งานวิจัยภายในประเทศ
สุนีย์ ภู่พันธ์ (2531 : 217 – 218) ได้ทำการศึกษาวิจัยปัญหาการใช้อาคาร สถานที่
พบว่า ส่วนใหญ่มีปัญหาเกี่ยวกับห้องเรียน ห้องปฏิบัติการและโรงฝึกงานไม่เพียงพอ สถานศึกษา
ควรมีการขยายสถานที่ให้เพียงพอกับจำนวนนักเรียน นักศึกษา เพื่อให้เหมาะสมกับการจัดแผน
การเรียน การจัดตารางสอน เพื่อให้มีห้องเรียน ห้องปฏิบัติการและโรงฝึกงานที่เหมาะสมเอื้ออำนวย
ต่อการจัดการเรียนการสอน
ศริยา สุขพานิช (2532 : 131 - 135) ได้ทำการศึกษาเรื่อง ความคิดเห็นของ
ผู้ปกครองต่อโรงเรียนและการศึกษาของบุตรในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ใน
เขตอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม พบว่า ความคิดเห็นของผู้ปกครองต่อโรงเรียนและ
การศึกษาของบุตรในด้านการปกครองนักเรียน ด้านการเรียนการสอน และด้านการบริการของ
โรงเรียน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ความแตกต่างในความคิดเห็นของ
ผู้ปกครองต่อโรงเรียนและการศึกษาบุตรมีความสัมพันธ์กับอาชีพและระดับการศึกษาของ
ผู้ปกครองนักเรียน ผู้ปกครองที่มีอาชีพรับราชการจะมีความคิดเห็นหรือเห็นด้วยอย่างแข็งแรง
หรือเอาใจใส่ดูแลห่วงใยการดำเนินงานของโรงเรียนมากกว่าผู้ปกครองที่มีอาชีพเอกชนและ
อาชีพอิสระ
28
สุนี จั่นสกุล (2538 : 134) ได้ศึกษาเกี่ยวกับบทบาทและความช่วยเหลือของ
ผู้ปกครองที่ให้แก่โรงเรียน พบว่า ผู้ปกครองที่อาศัยอยู่ในเมืองจะให้การสนับสนุนด้านทุนทรัพย์
หรือการนำอาหารมาร่วมในกิจกรรมวันสำคัญต่าง ๆ เช่น กิจกรรมวันเด็ก วันแข่งขันกีฬา หรือ
กิจกรรมอื่น ๆ ที่โรงเรียนขอความร่วมมือไป ส่วนผู้ปกครองที่อยู่ห่างไกลออกไปที่ประกอบ
อาชีพด้านเกษตรกรรม จะสละแรงกายมาช่วยพัฒนาหรือร่วมกิจกรรมของโรงเรียน และยังให้
การสนับสนุนเรื่องอาหารและทุนทรัพย์ตามกำลังอีกด้วย
พิมพา ตามี่ (2540 : บทคัดย่อ) ได้ทำการศึกษาเรื่อง ความต้องการของ
ผู้ปกครองในการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของโรงเรียนประถมศึกษา อำเภออมก๋อย จังหวัด
เชียงใหม่ พบว่า
1. ผู้ปกครองต้องการให้โรงเรียนวางแผนปรับปรุงเกี่ยวกับการจัดการเรียน
การสอนการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ปกครอง การปรับปรุงอาคารเรียน การเอาใจใส่ของครู
และอาจารย์ใหญ่ วัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอน การจัดกิจกรรมกีฬา การจัดสภาพแวดล้อม
และต้องการมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นต่อการดำเนินงาน ร่วมเป็นคณะกรรมการโรงเรียน
ร่วมกำหนดนโยบายและวางแผนการปฏิบัติงานประจำปีของโรงเรียน และร่วมประเมินผล
การทำงานของโรงเรียน
2. ผู้ปกครองต้องการร่วมเป็นวิทยากรพิเศษ สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์การสอน แหล่ง
ความรู้ สถานประกอบการ กิจกรรมแข่งขันทางวิชาการและต้องการเยี่ยมชมการแสดงผลงาน
ของนักเรียน ต้องการทราบความก้าวหน้าของนักเรียน ต้องการให้ครูแนะนำการสอนการบ้าน
การสอนอ่าน การสอนเขียน การสอนเลขคณิต และชี้แจงเกี่ยวกับการวัดผลประเมินผลให้
ผู้ปกครองเข้าใจ
3. ผู้ปกครองต้องการให้โรงเรียนปรับปรุงห้องน้ำ ก๊อกน้ำ การกำจัดขยะ
การปลูกไม้ดอกไม้ประดับ ปรับปรุงสนามกีฬา สนามเด็กเล่นและถนนในโรงเรียน โดย
ผู้ปกครองต้องการมีส่วนร่วมสนับสนุนด้านแรงงาน แสดงความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะ
ประสานงานให้ผู้อื่นมาช่วย ร่วมบริจาคเงินและบริจาควัสดุ
4. ผู้ปกครองต้องการให้ครูเยี่ยมบ้านนักเรียนและติดต่อกับครูโดยตรง ต้องการ
ร่วมประชุม ปรึกษาหารือเกี่ยวกับความประพฤติของนักเรียน การปรับปรุง ระเบียบข้อปฏิบัติ
ของโรงเรียน การลงโทษและการยกย่องนักเรียน
5. ผู้ปกครองต้องการมีส่วนร่วมในกิจกรรมเกี่ยวกับอาหารกลางวัน งานประเพณี
กิจกรรมกีฬา การดูแลสุขภาพอนามัยของนักเรียนและต้องการได้รับบริการเกี่ยวกับการพัฒนา
ชุมชน การจัดกิจกรรมสร้างความสามัคคี การจัดการศึกษาผู้ใหญ่ การฝึกอบรมวิชาชีพ
การใช้วัสดุอุปกรณ์ อาคารสถานที่ บริการด้านสุขภาพอนามัยและข่าวสารความรู้
29
วรรณวิไล วรวิกโฆษิต (2540 : บทคัดย่อ) ได้ทำการศึกษาเรื่อง การมีส่วนร่วม
ของกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในการจัดกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียนใน
ภาคกลาง พบว่า กรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการ
ศึกษานอก โรงเรียนโดยรวมและรายกิจกรรมอยู่ในระดับปานกลาง การเปรียบเทียบการมี
ส่วนร่วมของกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลกับตัวแปรต้น พบว่า กรรมการบริหาร
องค์การบริหารส่วนตำบลที่มีอายุ รายได้ ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในท้องถิ่น และระดับการศึกษา
ที่มาของการดำรงตำแหน่งและอาชีพแตกต่างกัน มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการศึกษานอก
โรงเรียน โดยรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
เมตต์ เมตต์การุณ์จิต (2541 : 87 - 88) ได้ทำการศึกษาเรื่อง การมีส่วนร่วมใน
การบริหารโรงเรียนของกรรมการศึกษาประจำโรงเรียนเทศบาลในจังหวัดนครราชสีมา พบว่า
กรรมการมีส่วนร่วมในแต่ละด้านมากที่สุด ดังนี้
1. ด้านการวางแผน ได้แก่ การร่วมกำหนดความต้องการในการพัฒนาโรงเรียน
2. ด้านการจัดหาและจัดสรรทรัพยากร ได้แก่ การจัดหาเงิน และจัดหากำลังคน
/ แรงงานให้โรงเรียน
3. ด้านการประสานงาน ได้แก่ การประสานงานกับคนในท้องถิ่นและหน่วยงาน
ของราชการ
4. ด้านการประเมินแผน / การปฏิบัติ ได้แก่ การร่วมประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน
ทราบเมื่อผลการปฏิบัติงานเสร็จสิ้น
นอกจากนี้ยังพบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเข้าไป
ร่วมประชุมแสดงความคิดเห็น ร่วมประสานงาน ร่วมบริจาคเงินและทรัพย์สิน ตลอดจนในด้าน
การเสียสละแรงงาน และกล่าวอีกว่า ประชาชนส่วนใหญ่มีภารกิจส่วนตัว และจะต้องประกอบ
อาชีพจึงมักไม่มีเวลาที่จะร่วมมือในกิจกรรมต่าง ๆ
สัมพันธ์ อุปลา (2541 : บทคัดย่อ) ได้ทำการศึกษาเรื่อง การมีส่วนร่วมของชุมชน
ในการจัดการศึกษาโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษา อำเภอชนบท
จังหวัดขอนแก่น ในส่วนของชุมชนโดยตรง พบว่า ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาอยู่ใน
ระดับปานกลาง โดยมีส่วนร่วมในกิจการนักเรียนมากกว่าด้านอื่น ๆ ปัญหาที่สำคัญ คือ ชุมชน
เข้าใจว่าภารกิจการจัดการศึกษาเป็นหน้าที่ของโรงเรียนเท่านั้น ข้อเสนอแนะที่สำคัญ คือ
บุคลากรในโรงเรียนควรมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน และชุมชนควรมีส่วนร่วมรับรู้การตัดสินใจ
กำหนดนโยบายโรงเรียน และการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการโรงเรียนพบว่าอยู่ในระดับมาก
โดยมีส่วนร่วมในเรื่องให้ความเห็นชอบต่อแผนปฏิบัติการประจำปีของโรงเรียนมากกว่าด้าน
30
อื่น ๆ ปัญหาที่สำคัญ คือ เมื่อมีการประชุมคณะกรรมการโรงเรียนมักไม่แสดงความคิดเห็น
ส่วนใหญ่จะคล้อยตามประธานในที่ประชุม ข้อเสนอแนะที่สำคัญ คือ โรงเรียนต้องยอมรับใน
ความสามารถในการตัดสินใจของคณะกรรมการโรงเรียนให้มากขึ้น
ธีรภัทร์ เจริญดี (2542 : บทคัดย่อ) ได้ทำการศึกษา เรื่องการมีส่วนร่วมของ
ผู้ปกครองในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ
เขตการศึกษา 11 พบว่า
1. ด้านงานวิชาการของโรงเรียน ผู้ปกครองมีการปฏิบัติในการมีส่วนร่วมใน
โรงเรียนในระดับปานกลาง และมีความคาดหวังที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในโรงเรียนในระดับมาก
2. ด้านงานบริหารของโรงเรียน ผู้ปกครองมีการปฏิบัติในการมีส่วนร่วมใน
โรงเรียนในระดับปานกลาง และมีความคาดหวังที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในโรงเรียนในระดับมาก
3. ด้านการพัฒนานักเรียน ผู้ปกครองมีการปฏิบัติในการมีส่วนร่วมในโรงเรียนใน
ระดับปานกลาง และมีความคาดหวังที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในโรงเรียนในระดับมาก
4. ด้านการติดต่อสื่อสาร ผู้ปกครองมีการปฏิบัติในการมีส่วนร่วมในโรงเรียนใน
ระดับปานกลาง และมีความคาดหวังที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในโรงเรียนในระดับมาก
นาวี ยั่งยืน (2542 : บทคัดย่อ) ได้ทำการศึกษาเรื่อง การศึกษาความต้องการของ
ชุมชนในการมีส่วนร่วมบริหารจัดการศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา
ส่วนกลาง สหวิทยาเขตรัตนโกสินทร์ 1 โดยทำการศึกษาจากตัวแทนชุมชน ผู้ปกครอง
นักเรียน ผู้แทน องค์กรภาครัฐ ผู้แทนองค์กรเอกชน ผู้แทนสถานประกอบการ ผู้แทนสถาบัน
ศาสนา ตัวแทนครู ผู้แทนสถาบันสังคมอื่น ๆ และคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานพบว่า
ชุมชนของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ส่วนกลางสหวิทยาเขตรัตนโกสินทร์ 1
ต้องการมีส่วนร่วมบริหารจัดการศึกษาอยู่ในระดับมากทุกด้าน คือ ด้านวิชาการ ด้านการบริหาร
ทั่วไป ด้านการบริหารงานบุคลากร ด้านงบประมาณ ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน
พบว่า ผู้แทนชุมชนต้องการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษาอยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่
ด้านวิชาการ ด้านการบริหารงานบุคลากร ด้านการบริหารทั่วไป และด้านงบประมาณ ตาม
ลำดับ ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต้องการมีส่วนร่วมบริหารจัดการศึกษาอยู่ใน
ระดับมากทุกด้าน ได้แก่ ด้านวิชาการ ด้านการบริหารทั่วไป ด้านการบริหารงานบุคลากร
และด้านงบประมาณ ตามลำดับ
31
งานวิจัยต่างประเทศ
ไวท์ (White 1986 : 2886 - A) ได้ศึกษาการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของครู
โรงเรียนมัธยมศึกษาและความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ลักษณะผู้นำของอาจารย์ใหญ่กับ
ประสิทธิผลในการทำงาน ผลการวิจัยพบว่า ครูมีส่วนร่วมในการตัดสินใจด้านหลักสูตรการเรียน
การสอน แต่ขาดการมีส่วนร่วมทางด้านการบริหาร ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะผู้นำของ
อาจารย์ใหญ่กับประสิทธิผลของการทำงานเป็นไปในเชิงบวก แต่ไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างระดับ
การมีส่วนร่วมของครูกับลักษณะการมุ่งงานของอาจารย์ใหญ่
วิทเทคเคอร์ (Whitaker 1987 : 66 - 67) ได้ศึกษาทัศนะของผู้ปกครองและผู้บริหาร
ที่มีต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนของโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในเมือง เกี่ยวกับการวินิจฉัย สั่งการ
หรือการตัดสินใจด้านการศึกษา พบว่า ผู้ปกครองไม่มีความสะดวกในการรับข้อมูล หรือประกาศ
เกี่ยวกับโรงเรียนเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการมีส่วนร่วมในเรื่องนโยบายการตัดสินใจทาง
การศึกษา ส่วนผู้บริหารเห็นว่าผู้ปกครองมีบทบาทสำคัญต่อโรงเรียนในการมีส่วนร่วมในการ
ปรับปรุงโรงเรียน และบุคลากรในโรงเรียนควรตระหนักและจัดโครงการให้ชุมชนได้เข้ามามี
ส่วนร่วม
ซาโพสกา (Shaposka 1997 : 101 - 120) ทำการศึกษาเรื่อง การมีส่วนร่วมใน
ชุมชน สถานภาพทางเศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิตในโรงเรียน กรณีศึกษาในกลุ่มโรงเรียนในส่วน
การศึกษาโมนแวลลี่ โดยศึกษาชุมชนที่มีโรงเรียน 4 ชุมชน อันมีลักษณะพิเศษ คือ 1) ชุมชนที่
มีสภาพทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับดี และมีความร่วมมือจากชุมชนสูง 2) ชุมชนที่มีสภาพทาง
เศรษฐกิจสูงแต่ความร่วมมือจากชุมชนต่ำ 3) สภาพทางเศรษฐกิจต่ำแต่ความร่วมมือทางสังคม
สูง 4) สภาพทางเศรษฐกิจและความร่วมมมือทางสังคมต่ำ
ผลการศึกษา พบว่า โครงสร้างทางครอบครัว สถานะทางเศรษฐกิจและเชื้อชาติอาจ
จะสะท้อนให้เห็นถึงระดับความร่วมมือของชุมชนที่มีให้โรงเรียน โดยมีลักษณะที่เด่นชัด คือ
กลุ่มโรงเรียนที่มีคุณภาพชีวิตในโรงเรียนสูงจะมีความร่วมมือต่อชุมชนน้อยแต่กลุ่มโรงเรียนที่มี
คุณภาพชีวิตในโรงเรียนต่ำ จะมีความร่วมมือต่อชุมชนสูง ลักษณะดังกล่าว คือ 1) ความสัมพันธ์
ในทางบวกกับชุมชน 2) มีความร่วมมือกับเอกชนภาคเอกชนที่มีอิทธิพลต่อบรรยากาศ และ
คุณภาพทางการศึกษาของโรงเรียน รวมทั้งจัดหาบุคลากรและงบประมาณให้กลุ่มโรงเรียนด้วย
3) มีความกระตือรือร้นในการเรียนการสอน 4) มีคณะกรรมการโรงเรียนที่มีความคล่องแคล่ว
ฉับไว
สรุป จากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่า ส่วนใหญ่ที่ผ่านมามุ่งศึกษาความ
คิดเห็นต่อการดำเนินงานของโรงเรียน และการศึกษาความต้องของผู้ปกครองและชุมชนในการ
32
เข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียน ส่วนกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเข้าไปมี
ส่วนร่วมในการบริหารโรงเรียน ได้แก่ การวางแผน การจัดหาทรัพยากร การประสานงาน และ
การประเมินผลการปฏิบัติงาน เป็นต้น ผู้วิจัยเห็นว่าน่าจะมีการศึกษาถึงความต้องการและ
แนวทางในการมีส่วนร่วมในการบริหารงานโรงเรียนโดยศึกษาให้ครอบคลุมกับขอบข่ายของ
การบริหารงานโรงเรียนเพื่อเป็นแนวทางในการบริหารจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจที่จะทำการศึกษาความต้องการและแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองใน
การบริหารงานของโรงเรียนประถมสาธิตสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาในครั้งนี้
โดยศึกษาถึงความต้องการและแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานโรงเรียน
5 ด้าน ได้แก่ ด้านวิชาการ ด้านบุคลากร ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนด้านสถาน
ที่และสภาพแวดล้อม และด้านกิจการนักเรียน
บทที่ 3
วิธีดำเนินงานวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ มุ่งศึกษาความต้องการและแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองใน
การบริหารงานของโรงเรียนประถมสาธิตสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาใน 5 ด้าน ได้แก่
ด้านวิชาการ ด้านบุคลากร ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ด้านอาคารสถานที่และ
สภาพแวดล้อม และด้านกิจการนักเรียน โดยผู้วิจัยกำหนดขั้นตอนในการวิจัยตามลำดับ ดังนี้
1. ประชากร
2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
3. วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
4. การวิเคราะห์ข้อมูล
ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนประถมสาธิต
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำนวน 300 คน ซึ่งในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยทำการศึกษากับ
ประชากรทั้งหมด
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ลักษณะของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง โครงสร้างของ
แบบสอบถามแบ่งออกเป็น 3 ตอน คือ
ตอนที่ 1 คำถามเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถามเป็นแบบเลือกตอบ
ตอนที่ 2 คำถามเกี่ยวกับความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงาน
ของโรงเรียนประถมสาธิตสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จพระยา 5 ด้าน ลักษณะของแบบสอบถาม
เป็นแบบมาตรประมาณค่าชนิด 5 ระดับ จำนวน 30 ข้อ
34
โดยมีเกณฑ์การให้ระดับค่าคะแนนความต้องการดังนี้
5 หมายถึง ต้องการมีส่วนร่วมมากที่สุด
4 หมายถึง ต้องการมีส่วนร่วมมาก
3 หมายถึง ต้องการมีส่วนร่วมปานกลาง
2 หมายถึง ต้องการมีส่วนร่วมน้อย
1 หมายถึง ต้องการมีส่วนร่วมน้อยที่สุด
สำหรับเกณฑ์ในการแปลความหมายของแต่ละระดับความต้องการ ผู้วิจัยใช้เกณฑ์
ดังนี้ (ประคอง กรรณสูตร, 2542 : 204)
4.50 – 5.00 หมายถึง ต้องการมีส่วนร่วมมากที่สุด
3.50 – 4.49 หมายถึง ต้องการมีส่วนร่วมมาก
2.50 – 3.49 หมายถึง ต้องการมีส่วนร่วมปานกลาง
1.50 – 2.49 หมายถึง ต้องการมีส่วนร่วมน้อย
1.00 – 1.49 หมายถึง ต้องการมีส่วนร่วมน้อยที่สุด
ตอนที่ 3 คำถามเกี่ยวกับแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงาน
ของโรงเรียนประถมสาธิต สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ลักษณะของแบบสอบถามเป็นแบบ
เลือกตอบ
ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ในการสร้างเครื่องมือผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
1. ศึกษาทฤษฎี และ ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง กับความต้องการและแนว
ทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานโรงเรียนจากเอกสารทางวิชาการต่าง ๆ
2. กำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย และนิยามปฏิบัติการ โดยแยกประเด็นหัวข้อ
ต่างๆ ได้แก่ ด้านวิชาการ ด้านบุคลากร ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
ด้านอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม และด้านกิจการนักเรียน
3. สร้างเครื่องมือในการวิจัย เป็นแบบสอบถามความต้องการและแนวทางการมี
ส่วนร่วมของผู้ปกครองในกาบริหารงานโรงเรียน ตามนิยามปฏิบัติการที่สร้างขึ้น
4. นำแบบสอบถามที่ได้ไปปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ทรงคุณวุฒิ
จำนวน 5 ท่าน (รายละเอียดในภาคผนวก ข ) เพื่อตรวจสอบและให้คำแนะนำต่างๆ และนำมา
ปรับปรุง เพื่อให้แบบสอบถามมีความชัดเจน ถูกต้อง สมบูรณ์ และ ตรงตามวัตถุประสงค์มากที่สุด
35
5. นำแบบสอบถามไปทดลองใช้กับกลุ่มผู้ปกครองนักเรียนของโรงเรียนประถม
สาธิตสถาบันราชภัฏสวนสุนันทา จำนวน 30 ราย แล้วนำแบบสอบถามมาหาคุณภาพของเครื่องมือ
ด้านความเชื่อมั่น (Reliability) โดยวิธีหาสัมประสิทธิ์แอลฟา (Coefficient Alpha Cronbach
Method) ซึ่งผลการหาคุณภาพเครื่องมือ ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามชั้นตอน ดังนี้
1. ขอหนังสือจากบัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ถึงผู้อำนวยการโรงเรียนประถมสาธิต เพื่อขอความอนุเคราะห์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อทำ
วิทยานิพนธ์
2. ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ปกครองของนักเรียนโรงเรียนประถมสาธิต
โดยใช้แบบสอบถามส่งให้ผู้ปกครองด้วยตนเอง ใช้เวลาในการเก็บรวบรวม 1 – 2 สัปดาห์ และได้รับ
แบบสอบถามกลับคืน จำนวน 300 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100.00 จากนั้นผู้วิจัยได้นำแบบสอบถาม
มาตรวจสอบความสมบูรณ์ก่อนนำข้อมูลไปวิเคราะห์ ตามขั้นตอนทางสถิติต่อไป
การวิเคราะห์ข้อมูล
ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยนำแบบสอบถามจากกลุ่ม
ประชากรที่ได้รับกลับคืนมาทั้งหมดมาวิเคราะห์ และประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรม
สำเร็จรูป SPSS ( Statistical Package for Social Sciences ) ผู้วิจัยดำเนินการดังนี้
1. วิเคราะห์สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม โดยใช้สถิติร้อยละ
2. วิเคราะห์ความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานโรงเรียน
ประถมสาธิตสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ( ℵ ) และส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน (∅ )
3. วิเคราะห์แนวทางในการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานของ
โรงเรียนประถมสาธิตสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โดยใช้สถิติร้อยละและใช้การวิเคราะห์
เนื้อหา สำหรับคำถามแบบปลายเปิด
บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ในบทนี้เป็นการนำเสนอผลการวิจัย ซึ่งผู้วิจัยแบ่งออกเป็น 3 ตอนดังนี้
ตอนที่ 1 สถานภาพของผู้ปกครองนักเรียน
ตอนที่ 2 ความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานโรงเรียน
ตอนที่ 3 แนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานโรงเรียน
ตอนที่ 1 สถานภาพของผู้ปกครองนักเรียน
ผลการวิเคราะห์สถานภาพของผู้ปกครองนักเรียนประกอบด้วย เพศ อายุ
วุฒิการศึกษาสูงสุด อาชีพ รายได้ต่อเดือนและผู้ปกครองในแต่ละระดับชั้น รายละเอียดดัง
ตารางที่ 1
ตารางที่ 1 จำนวนและร้อยละของสถานภาพของผู้ปกครองนักเรียน
สถานภาพ
จำนวน
ร้อยละ
ชาย 114 38.00
เพศ หญิง 186 62.00
รวม 300 100.00
ต่ำกว่า 30 ปี 10 3.30
30 – 39 ปี 126 42.00
40 – 49 ปี 149 49.70
50 – 59 ปี 13 4.30
60 ปีขึ้นไป 2 0.70
อายุ
รวม 300 100.00
ต่ำกว่าปริญญาตรี 124 41.34
ปริญญาตรี 150 50.00
ปริญญาโท 24 8.00
ปริญญาเอก 1 0.33
ไม่ระบุ 1 0.33
วุฒิการศึกษาสูงสุด
รวม 300 100.00
ตารางที่ 1 (ต่อ)
37
ตัวแปร
จำนวน
ร้อยละ
รับราชาการ 71 23.70
พนักงานบริษัท/รัฐวิสาหกิจ 72 24.00
รับจ้าง 38 12.70
ประกอบธุรกิจส่วนตัว 96 32.00
อื่นๆ 22 7.30
ไม่ระบุ 1 0.30
อาชีพ
รวม 300 100.00
ต่ำกว่า 5,000 บาท 3 1.00
5,000 – 10,000 บาท 68 22.70
10,001 – 20,000 บาท 112 37.30
มากกว่า 20,000 บาท 113 37.70
ไม่ระบุ 4 1.30
รายได้ต่อเดือน
รวม 300 100.00
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 39 13.00
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 50 16.67
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 59 19.67
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 56 18.67
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 60 20.00
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 28 9.33
ไม่ระบุ 8 2.67
ผู้ปกครองนักเรียน
รวม 300 100.00
จากตารางที่ 1 พบว่า ผู้ปกครองที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน
186 คน คิดเป็นร้อยละ 62.00 มีอายุอยู่ระหว่าง 40-49 ปี จำนวน 149 คน คิดเป็นร้อยละ
49.70 มีวุฒิการศึกษาสูงสุดระดับปริญญาตรี จำนวน 150 คน คิดเป็นร้อยละ 50.00 ประกอบ
อาชีพธุรกิจส่วนตัว จำนวน 96 คน คิดเป็นร้อยละ 32.00 มีรายได้ต่อเดือนมากกว่า 20,000
บาท จำนวน 113 คน คิดเป็นร้อยละ 37.70 และเป็นผู้ปกครองของนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 5 จำนวน 60 คน คิดเป็นร้อยละ 20.00
ตอนที่ 2 ความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานโรงเรียน
38
ผลการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความต้องการของ
ผู้ปกครองในการบริหารโรงเรียน โดยภาพรวม และเป็นรายด้าน ซึ่งประกอบด้วย ด้านวิชาการ
ด้านบุคลากร ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ด้านอาคารสถานที่และสภาพ
แวดล้อม และด้านกิจการนักเรียน รายละเอียดดังตารางที่ 2 - 7
ตารางที่ 2 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความต้องการมีส่วนร่วมของ
ผู้ปกครองในการบริหารโรงเรียน รายด้านและภาพรวม
ความต้องการในการมีส่วนร่วม
μ σ ระดับความต้องการ
1. ด้านวิชาการ 3.22 0.94 ปานกลาง
2. ด้านบุคลากร 2.97 0.87 ปานกลาง
3. ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน 3.11 0.79 ปานกลาง
4. ด้านอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม 3.19 0.77 ปานกลาง
5. ด้านกิจการนักเรียน 3.26 0.77 ปานกลาง
รวมทุกด้าน 3.13 0.86 ปานกลาง
จากตารางที่ 2 พบว่า ความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานโรงเรียน
ภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง (μ = 3.13)
เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหาร
โรงเรียน อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน คือด้านกิจการนักเรียน (μ = 3.26) รองลงมาคือด้าน
วิชาการ (μ = 3.22) ด้านอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม (μ = 3.19) ด้านความสัมพันธ์
ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน (μ = 3.11) และด้านบุคลากร (μ = 2.97) ตามลำดับ
39
ตารางที่ 3 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความต้องการมีส่วนร่วมของ
ผู้ปกครองในการบริหารโรงเรียน ด้านวิชาการ
ความต้องการในการมีส่วนร่วม
μ σ ระดับความต้องการ
1.มีส่วนร่วมวางแผนกำหนดนโยบายและทิศทางการ
จัดกิจกรรมการเรียนการสอนของโรงเรียน
3.15 0.81 ปานกลาง
2.มีส่วนร่วมวางแผนการรับนักเรียน 3.08 0.93 ปานกลาง
3.มีส่วนร่วมในกิจกรรมปฐมนิเทศนักเรียนใหม่ 3.12 0.85 ปานกลาง
4.มีส่วนร่วมสนับสนุนการใช้เทคโนลียีใหม่ ๆ มา
พัฒนาการเรียนการสอน
3.59 0.97 มาก
5.มีส่วนร่วมปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร 3.15 0.98 ปานกลาง
6.มีส่วนร่วมจัดหาวิทยากรให้ความรู้แก่นักเรียน 2.98 0.97 ปานกลาง
7.มีส่วนร่วมเป็นวิทยากรให้ความรู้แก่นักเรียน 2.70 0.93 ปานกลาง
รวม 3.22 0.94 ปานกลาง
จากตารางที่ 3 พบว่า ความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานโรงเรียน
ด้านวิชาการในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง (μ = 3.22)
เมื่อพิจารณาในแต่ละข้อรายการ พบว่า ความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการ
บริหารโรงเรียน อยู่ในระดับมาก 1 ข้อรายการ คือ มีส่วนร่วมสนับสนุนการใช้เทคโนลียีใหม่ๆ
มาพัฒนาการเรียนการสอน (μ = 3.59) และอยู่ในระดับปานกลาง 6 ข้อรายการ คือมีส่วน
ร่วมวางแผนกำหนดนโยบายและทิศทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของโรงเรียน (μ =
3.15) มีส่วนร่วมปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร (μ = 3.15) มีส่วนร่วมในกิจกรรมการปฐม
นิเทศ นักเรียนใหม่ (μ = 3.12) มีส่วนร่วมวางแผนการรับนักเรียน (μ = 3.08) มี
ส่วนร่วมจัดหาวิทยากรให้ความรู้แก่นักเรียน (μ = 2.98) และมีส่วนร่วมเป็นวิทยากรให้ความรู้
แก่นักเรียน (μ = 2.70) ตามลำดับ
40
ตารางที่ 4 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความต้องการมีส่วนร่วมของ
ผู้ปกครองในการบริหารโรงเรียน ด้านบุคลากร
ความต้องการในการมีส่วนร่วม
μ σ ระดับความต้องการ
1.มีส่วนร่วมวางแผนสรรหาบุคลากรของโรงเรียน 2.76 0.89 ปานกลาง
2.มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในการคัดเลือกบุคลากร
ของโรงเรียน
2.92 0.95 ปานกลาง
3.มีส่วนร่วมสนับสนุนการจัดสวัสดิการเพื่อเป็นขวัญและ
กำลังใจแก่บุคลากร
3.05 0.89 ปานกลาง
4.มีส่วนร่วมในการประเมินผลการปฏิบัติงานของ
บุคลากรในโรงเรียน
2.96 0.95 ปานกลาง
5.มีส่วนร่วมวางแผนพัฒนา ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม
และวินัยของบุคลากรในโรงเรียน
3.16 0.98 ปานกลาง
6.มีส่วนร่วมเสนอแนะแนวทางในการพิจารณาความดี
ความชอบของบุคลากรในโรงเรียน
2.93 0.96 ปานกลาง
รวม 2.97 0.87 ปานกลาง
จากตารางที่ 4 พบว่า ความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานโรงเรียน
ด้านบุคลากรในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง (μ = 2.97)
เมื่อพิจารณาในแต่ละข้อรายการ พบว่า ความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการ
บริหารโรงเรียน อยู่ในระดับปานกลางทุกข้อรายการ คือมีส่วนร่วมวางแผนพัฒนา ส่งเสริม
คุณธรรม จริยธรรมและวินัยของบุคลากรในโรงเรียน (μ = 3.16) มีส่วนร่วมสนับสนุนการจัด
สวัสดิการเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่บุคลากร (μ = 3.05) มีส่วนร่วมในการประเมินผลการ
ปฏิบัติงานของบุคลากรในโรงเรียน (μ = 2.96) มีส่วนร่วมเสนอแนะแนวทางในการพิจารณา
ความดีความชอบของบุคลากรในโรงเรียน (μ = 2.93) มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในการ
คัดเลือกบุคลากรของโรงเรียน (μ = 2.92) และมีส่วนร่วมวางแผนสรรหาบุคลากรของโรงเรียน
(μ = 2.76) ตามลำดับ
41
ตารางที่ 5 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความต้องการมีส่วนร่วมของ
ผู้ปกครองในการบริหารโรงเรียน ดา้ นความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียน
กับชุมชน
ความต้องการในการมีส่วนร่วม
μ σ ระดับความต้องการ
1.มีส่วนร่วมกำหนดนโยบายในการสร้างความสัมพันธ์
ระหว่างผู้ปกครองโรงเรียนและชุมชน
3.22 0.81 ปานกลาง
2.มีส่วนร่วมสนับสนุนโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้แก่
ชุมชนในท้องถิ่น
3.29 0.84 ปานกลาง
3.มีส่วนร่วมเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาความสัมพันธ์
ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
3.14 0.84 ปานกลาง
4.มีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่าง
โรงเรียนกับชุมชน
3.16 0.83 ปานกลาง
5.มีส่วนร่วมเป็นคณะกรรมการบริหารงานด้านความ
สัมพันธ์กับชุมชน
2.90 0.85 ปานกลาง
6.มีส่วนร่วมเป็นสื่อกลางในการประชาสัมพันธ์ กิจกรรม
ต่าง ๆ ของโรงเรียนให้ชุมชนทราบ
3.05 0.88 ปานกลาง
รวม 3.11 0.79 ปานกลาง
จากตารางที่ 5 พบว่า ความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานโรงเรียน
ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน อยู่ในระดับปานกลาง (μ = 3.11)
เมื่อพิจารณาในแต่ละข้อรายการ พบว่า ความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการ
บริหารโรงเรียน อยู่ในระดับปานกลางทุกข้อรายการ คือ มีส่วนร่วมสนับสนุนโรงเรียนให้เป็น
แหล่งเรียนรู้แก่ชุมชนในท้องถิ่น (μ = 3.29) มีส่วนร่วมกำหนดนโยบายในการสร้างความ
สัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองโรงเรียนและชุมชน (μ = 3.22) มีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ส่งเสริมความ
สัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน (μ = 3.16) มีส่วนร่วมเสนอแนะแนวทางในการพัฒนา
ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน (μ = 3.14) มีส่วนร่วมเป็นสื่อกลางในการประชา
สัมพันธ์ กิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียนให้ชุมชนทราบ (μ = 3.05) และมีส่วนร่วมเป็นคณะ
กรรมการบริหารงานด้านความสัมพันธ์กับชุมชน (μ = 2.90) ตามลำดับ
42
ตารางที่ 6 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความต้องการมีส่วนร่วมของ
ผู้ปกครองในการบริหารโรงเรียน ดา้ นอาคารสถานที่และสภาพแวดลอ้ ม
ความต้องการในการมีส่วนร่วม
μ σ ระดับความต้องการ
1.สนับสนุน ด้านวัสดุ อุปกรณ์ ยานพาหนะ อาคาร
สถานที่ และสาธารณูปโภคของโรงเรียน
3.19 0.81 ปานกลาง
2.เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาสภาพแวดล้อมของ
โรงเรียน
3.28 0.83 ปานกลาง
3.ประสานงานและสอดส่องดูแลด้านความปลอดภัยให้
แก่นักเรียน ครู และบุคากรในโรงเรียน
3.53 0.91 มาก
4.จัดหา/บริจาคเงินในการปรับปรุง ซ่อมแซม อาคาร
สถานที่และสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ของโรงเรียน
3.08 0.79 ปานกลาง
5.ให้ความร่วมมือกับโรงเรียนในการพัฒนาอาคาร
สถานที่และสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ของโรงเรียน
3.31 0.76 ปานกลาง
6.กำหนดหลักเกณฑ์ให้บริการอาคารสถานที่ของ
โรงเรียนในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ
2.97 0.74 ปานกลาง
รวม 3.19 0.77 ปานกลาง
จากตารางที่ 6 พบว่า ความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานโรงเรียน
ด้านอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อมในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง (μ = 3.19)
เมื่อพิจารณาในแต่ละข้อรายการ พบว่า ความต้องมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการ
บริหารโรงเรียน อยู่ในระดับมาก 1 ข้อรายการ คือ ประสานงานและสอดส่องดูแลด้านความ
ปลอดภัยให้แก่นักเรียน ครู และบุคลากรในโรงเรียน (μ = 3.53) และอยู่ในระดับปานกลาง 5
ข้อรายการ คือ ให้ความร่วมมือกับโรงเรียนในการพัฒนาอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม
ต่าง ๆ ของโรงเรียน (μ = 3.31) และเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาสภาพแวดล้อมของ
โรงเรียน (μ = 3.28) สนับสนุนด้านวัสดุ อุปกรณ์ ยานพาหนะ อาคารสถานที่และ
สาธารณูปโภคของโรงเรียน (μ = 3.19) จัดหา/บริจาคเงินในการปรับปรุง ซ่อมแซม อาคาร
สถานที่และสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ของโรงเรียน (μ = 3.08) และ กำหนดหลักเกณฑ์ให้บริการ
อาคารสถานที่ของโรงเรียนในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ (μ = 2.97) ตามลำดับ
43
ตารางที่ 7 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความต้องการมีส่วนร่วมของ
ผู้ปกครองในการบริหารโรงเรียน ด้านกิจการนักเรียน
ความต้องการในการมีส่วนร่วม
μ σ ระดับความต้องการ
1.มีส่วนร่วมประชุมเพื่อหาแนวทางในการพัฒนา
นักเรียน
3.48 0.88 ปานกลาง
2.มีส่วนร่วมกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความรู้ความสามารถ
ของนักเรียน
3.56 0.80 มาก
3.เสนอแนะแนวทางในการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการ
พัฒนานักเรียน
3.35 0.81 ปานกลาง
4.มีส่วนร่วมเป็นกรรมการให้การควบคุม ดูแลนักเรียน
ในกิจกรรมที่โรงเรียนจัดขึ้น
3.11 0.83 ปานกลาง
5.สนับสนุนด้านเงินทุนในการจัดกิจกรรมพัฒนานัก
เรียน
3.15 0.74 ปานกลาง
6.จัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นเพื่อนำมาใช้ในการจัด
กิจกรรมพัฒนานักเรียน
3.18 0.79 ปานกลาง
รวม 3.26 0.77 ปานกลาง
จากตารางที่ 7 พบว่า ความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานโรงเรียน
ด้านกิจการนักเรียนในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง (μ = 3.26)
เมื่อพิจารณาในแต่ละข้อรายการ พบว่า ความต้องมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการ
บริหารโรงเรียน อยู่ในระดับมาก 1 ข้อรายการ คือ มีส่วนร่วมกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความรู้ความ
สามารถของนักเรียน (μ = 3.56) และอยู่ในระดับปานกลาง 5 ข้อรายการ คือ มีส่วนร่วม
ประชุมเพื่อหาแนวทางในการพัฒนานักเรียน (μ = 3.48) เสนอแนะแนวทางในการจัดกิจกรรม
เกี่ยวกับการพัฒนานักเรียน (μ = 3.35) จัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นเพื่อนำมาใช้ในการจัด
กิจกรรมพัฒนานักเรียน (μ = 3.18) สนับสนุนด้านเงินทุนในการจัดกิจกรรมพัฒนานักเรียน
(μ = 3.15) และมีส่วนร่วมเป็นกรรมการให้การควบคุมดูแลนักเรียนในกิจกรรมที่โรงเรียนจัด
ขึ้น (μ = 3.11) ตามลำดับ
44
ตอนที่ 3 แนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานโรงเรียน
ผลการวิเคราะห์ค่าร้อยละแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหาร
โรงเรียน ในแต่ละด้าน ซึ่งประกอบด้วย ด้านวิชาการ ด้านบุคลากร ด้านความสัมพันธ์ระหว่าง
โรงเรียนกับชุมชน ด้านอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม ด้านกิจการนักเรียน และด้านอื่นๆ
รายละเอียดดังตารางที่ 8-13
ตารางที่ 8 จำนวนและร้อยละของแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองใน
การบริหารงานโรงเรียนด้านวิชาการ
แนวทางการมีส่วนร่วม
จำนวน
ร้อยละ
1.ร่วมเป็นตัวแทนผู้ปกครองในระดับชั้น 136 35.60
2.ร่วมนิเทศการสอนของครูเป็นครั้งคราว 69 18.06
3.ร่วมวางแผนพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา 59 15.45
4.ร่วมเป็นตัวแทนผู้ปกครองในการกำหนดหลักสูตรขั้นพื้นฐาน 59 15.45
5.ร่วมเป็นวิทยากรในบางวิชา 39 10.21
6.ร่วมเป็นคณะกรรมการบริหารวิชาการ 20 5.24
จากตารางที่ 8 พบว่า แนวทางที่ผู้ปกครองต้องการมีส่วนร่วมในการบริหารงานโรงเรียนด้านวิชา
การมากที่สุด คือ ร่วมเป็นตัวแทนผ ู ้ปกครองในระดับชั้น (ร้อยละ 35.60) รองลงมาคือ ร่วมนิเทศการสอนเป็น
ครั้งคราว (ร้อยละ 18.06) และร่วมวางแผนพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา (ร้อยละ 15.45) ตามลำดับ
45
ตารางที่ 9 จำนวนและร้อยละของแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหาร
งานโรงเรียนด้านบุคลากร
แนวทางการมีส่วนร่วม
จำนวน
ร้อยละ
1.ร่วมเป็นคณะกรรมการชมรมผู้ปกครอง 103 26.82
2.ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานบุคากร 98 25.52
3.ร่วมประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร 95 24.74
4.เข้าร่วมประชุมกับบุคลากรของโรงเรียนเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาบุคลากร 55 14.32
5.ร่วมกำหนดนโยบายการบริหารงานบุคคล 20 5.21
6.ร่วมแสดงความคิดเห็นในการคัดเลือกบุคลากรที่จะรับเข้ามาปฏิบัติงาน 13 3.39
จากตารางที่ 9 พบว่า แนวทางที่ผู้ปกครองต้องการมีส่วนร่วมในการบริหารงานโรงเรียน
ด้านบุคลากรมากที่สุด คือ ร่วมเป็นคณะกรรมการชมรมผู้ปกครอง (ร้อยละ 26.82) รองลงมาคือ ร่วม
แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานบุคลากร (ร้อยละ 25.52) และร่วมประเมินผลการปฏิบัติ
งานของบุคลากร (ร้อยละ 24.74) ตามลำดับ
46
ตารางที่ 10 จำนวนและร้อยละของแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองใน
การบริหารงานโรงเรียนด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
แนวทางการมีส่วนร่วม
จำนวน
ร้อยละ
1.ร่วมกิจกรรมที่โรงเรียนจัดขึ้นอย่างต่อเนื่อง 207 43.22
2.ร่วมในการจัดให้มีเครือข่ายผู้ปกครองทุกระดับชั้น 84 17.54
3.ร่วมเป็นตัวแทนผู้ปกครองมาร่วมบริหารงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับ
ชุมชน 75 15.66
4.ร่วมจัดตั้งคณะกรรมการหรือกลุ่มผู้ปกครองในการจัดหาทุนทรัพย์ไปบริจาคให้กับ
ชุมชนที่ขาดแคลน 46 9.60
5.ร่วมจัดทำแผนปฏิบัติการด้านความสัมพันธ์กับชุมชน 44 9.19
ร่วมเป็นคณะกรรมการบริหารงานด้านความสัมพันธ์กับชุมชน 23 4.80
จากตารางที่ 10 พบว่า แนวทางที่ผู้ปกครองต้องการมีส่วนร่วมในการบริหารงาน
โรงเรียนด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนมากที่สุด คือ ร่วมกิจกรรมที่โรงเรียนจัดขึ้น
อย่างต่อเนื่อง (ร้อยละ 43.22) รองลงมาคือ ร่วมในการให้มีเครือข่ายผู้ปกครองทุกระดับชั้น
(ร้อยละ 17.54) และร่วมเป็นตัวแทนผู้ปกครองมาร่วมบริหารงานด้านความสัมพันธ์ระหว่าง
โรงเรียนกับชุมชน (ร้อยละ 15.66) ตามลำดับ
47
ตารางที่ 11 จำนวนและร้อยละของแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองใน
การบริหารงานโรงเรียนด้านอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม
แนวทางการมีส่วนร่วม
จำนวน
ร้อยละ
1.ร่วมให้ข้อมูลเมื่อพบปัญหาด้านอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม 147 29.46
2.ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อมของ
โรงเรียน 131 26.25
3.ร่วมกิจกรรมปรับปรุงสภาพแวดล้อมของโรงเรียน 104 20.84
4.ร่วมจัดหา/บริจาคเงินทุนในการปรับปรุง อาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม 71 14.23
5.ร่วมเป็นตัวแทนผู้ปกครองบริหารงานอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม 35 7.01
6.ร่วมเป็นคณะกรรมการบริหารงานด้านอาคารสถานที่ 11 2.20
จากตารางที่ 11 พบว่า แนวทางที่ผู้ปกครองต้องการมีส่วนร่วมในการบริหารงาน โรงเรียนด้าน
อาคารสถานที่และสภาพแวดล้อมมากที่สุด คือ ร่วมให้ข้อมูลเมื่อพบปัญหาด้านอาคารสถานที่และสภาพแวด
ล้อม (ร้อยละ 29.46) รองลงมาคือ ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม
ของโรงเรียน (ร้อยละ 26.25) และร่วมกิจกรรมปรับปรุงสภาพแวดล้อมของโรงเรียน (ร้อยละ 20.84) ตาม
ลำดับ
48
ตารางที่ 12 จำนวนและร้อยละของแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองใน
การบริหารงานโรงเรียนด้านกิจการนักเรียน
แนวทางการมีส่วนร่วม
จำนวน
ร้อยละ
1.ร่วมแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริม
พัฒนาการของนักเรียน 168 34.64
2.ร่วมจัดกิจกรรมในลักษณะให้นักเรียนและผู้ปกครองทำร่วมกัน เช่น การแข่งขัน
กีฬา 163 33.61
3.ร่วมเป็นคณะกรรมการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนานักเรียนของโรงเรียน 59 12.16
4.ร่วมเป็นตัวแทนผู้ปกครองมาช่วยบริหารงานด้านกิจการนักเรียน 49 10.10
5.ร่วมเป็นวิทยากรในการจัดกิจกรรมพัฒนานักเรียน 25 5.15
6.ร่วมในการร่างระเบียบกิจการนักเรียน 21 4.33
จากตารางที่ 12 พบว่า แนวทางที่ผู้ปกครองต้องการมีส่วนร่วมในการบริหารงาน
โรงเรียนด้านกิจการนักเรียนมากที่สุด คือ ร่วมแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการจัด
กิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของนักเรียน (ร้อยละ 34.64) รองลงมาคือ ร่วมกิจกรรมใน
ลักษณะให้นักเรียนและผู้ปกครองทำร่วมกัน เช่น การแข่งขันกีฬา (ร้อยละ 33.61) และร่วมเป็น
คณะกรรมการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนานักเรียนของโรงเรียน (ร้อยละ 12.16) ตามลำดับ
49
ตารางที่ 13 จำนวนและร้อยละของแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองใน
การบริหารงานโรงเรียนด้านอื่น ๆ
แนวทางการมีส่วนร่วม
จำนวน
ร้อยละ
1.ร่วมให้ข้อมูลด้านปัญหาการเรียนของนักเรียนในปกครอง 14 32.56
2.ร่วมกิจกรรมทางวิชาการที่โรงเรียนจัดขึ้น 10 23.26
3.ร่วมจัดหาทุน / บริจาควัสุอุปกรณ์ที่ใช้ในกิจกรรมการพัฒนานักเรียน 7 16.28
4.ร่วมเป็นสื่อกลางในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมของโรงเรียนและชุมชนที่จัดขึ้น 7 16.28
5.ร่วมสอดส่องดูแลด้านความปลอดภัยแก่นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน 5 11.63
จากตารางที่ 13 พบว่า แนวทางที่ผู้ปกครองต้องการมีส่วนร่วมในการบริหารงาน
โรงเรียนด้านอื่น ๆ มากที่สุด คือ ร่วมให้ข้อมูลด้านปัญหาการเรียนของนักเรียนในปกครอง
(ร้อยละ 32.56) รองลงมาคือ ร่วมกิจกรรมทางวิชาการที่โรงเรียนจัดขึ้น (ร้อยละ 23.26) และ
ร่วมจัดหาทุน / บริจาควัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในกิจกรรมการพัฒนานักเรียน (ร้อยละ 16.28) ตาม
ลำดับ
บทที่ 5
สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
การวิจัยเรื่อง ความต้องการและแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงาน
ของโรงเรียนประถมสาธิต สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานของ
โรงเรียนประถมสาธิตสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
2. เพื่อศึกษาแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานของ
โรงเรียนประถมสาธิตสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนประถมสาธิตสถาบัน
ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำนวน 300 คน ซึ่งในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยทำการศึกษากับประชากร
ทั้งหมด
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง แบ่งออกเป็น
3 ตอน คือ ตอนที่ 1 ถามเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถามเป็นแบบเลือกตอบ ตอนที่ 2
ถามเกี่ยวกับความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานของโรงเรียนประถมสาธิต
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จพระยา 5 ด้าน ลักษณะของแบบสอบถามเป็นแบบมาตรประมาณค่า
จำนวน 30 ข้อ และ ตอนที่ 3 ถามเกี่ยวกับแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงาน
ของโรงเรียนประถมสาธิต สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ลักษณะของแบบสอบถามเป็นแบบ
เลือกตอบ ผู้วิจัยสร้างแบบสอบถามขึ้นแล้วนำแบบสอบถามที่ได้ไปปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษา และ
ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน เพื่อตรวจสอบ ให้คำแนะนำต่างๆ และนำมาปรับปรุง เพื่อให้แบบ
สอบถามมีความ ชัดเจน ถูกต้อง สมบูรณ์ และ ตรงตามวัตถุประสงค์มากที่สุด และนำแบบสอบถาม
ไปทดลองใช้กับกลุ่มผู้ปกครองนักเรียนของโรงเรียนประถมสาธิตสถาบันราชภัฏสวนสุนันทา
51
จำนวน 30 คน แล้วนำแบบสอบถามมาหาคุณภาพของเครื่องมือด้านความเชื่อมั่น (Reliability) โดย
วิธีหาสัมประสิทธิ์แอลฟา (Coefficient Alpha Cronbach Method) ซึ่งผลการหาคุณภาพเครื่องมือ
ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามชั้นตอน ดังนี้
1. ขอหนังสือจากบัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ถึง
ผู้อำนวยการโรงเรียนประถมสาธิต เพื่อขอความอนุเคราะห์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อทำ
วิทยานิพนธ์
2. ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ปกครองของนักเรียนโรงเรียนประถมสาธิต
โดยใช้แบบสอบถามส่งให้ผู้ปกครองด้วยตนเอง ใช้เวลาในการเก็บรวบรวม 1 – 2 สัปดาห์ และได้รับ
แบบสอบถามกลับคืน จำนวน 300 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100.00 จากนั้นผู้วิจัยได้นำแบบสอบถาม
มาตรวจสอบความสมบูรณ์ก่อนนำข้อมูลไปวิเคราะห์ ตามขั้นตอนทางสถิติต่อไป
การวิเคราะห์ข้อมูล
ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS
(Statistical Package for Social Sciences) ผู้วิจัยทำการวิเคราะห์ข้อมูลสถานภาพของผู้ตอบแบบ
สอบถาม โดยการคำนวณหาค่าร้อยละ วิเคราะห์ความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการ
บริหารงานโรงเรียนประถมสาธิตสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วน
เบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์แนวทางในการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานของ
โรงเรียนประถมสาธิตสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โดยการคำนวณหาค่าร้อยละและใช้การ
วิเคราะห์เนื้อหาสำหรับคำถามแบบปลายเปิด
สรุปผลการวิจัย
1. ความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานโรงเรียน
ความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานโรงเรียนภาพรวม อยู่ใน
ระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการ
52
บริหารโรงเรียนอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน คือด้านกิจการนักเรียน รองลงมาคือด้าน วิชาการ
ด้านอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน และด้าน
บุคลากร ตามลำดับ
1.1 ด้านวิชาการ
ความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานโรงเรียนด้านวิชาการใน
ภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาในแต่ละข้อรายการ พบว่า ความต้องมีส่วนร่วมของ
ผู้ปกครองในการบริหารโรงเรียน อยู่ในระดับมาก 1 ข้อรายการ คือ มีส่วนร่วมสนับสนุนการใช้
เทคโนลียีใหม่ ๆ มาพัฒนาการเรียนการสอน และอยู่ในระดับปานกลาง 6 ข้อรายการ คือมีส่วนร่วม
วางแผนกำหนดนโยบายและทิศทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของโรงเรียน มีส่วนร่วม
ปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร มีส่วนร่วมในกิจกรรมการปฐมนิเทศนักเรียนใหม่ มีส่วนร่วมวางแผน
การรับนักเรียน มีส่วนร่วมจัดหาวิทยากรให้ความรู้แก่นักเรียน และมีส่วนร่วมเป็นวิทยากรให้ความรู้
แก่นักเรียน ตามลำดับ
1.2 ด้านบุคลากร
ความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานโรงเรียนด้านบุคลากรใน
ภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาในแต่ละข้อรายการ พบว่า ความต้องมีส่วนร่วมของ
ผู้ปกครองในการบริหารโรงเรียน อยู่ในระดับปานกลางทุกข้อรายการ คือมีส่วนร่วมวางแผนพัฒนา
ส่งเสริม คุณธรรม จริยธรรมและวินัยของบุคลากรในโรงเรียน มีส่วนร่วมสนับสนุนการจัดสวัสดิการ
เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่บุคลากร มีส่วนร่วมในการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรใน
โรงเรียน มีส่วนร่วมเสนอแนะแนวทางในการพิจารณาความดีความชอบของบุคลากรในโรงเรียน
มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในการคัดเลือกบุคลากรของโรงเรียน และมีส่วนร่วมวางแผนสรรหา
บุคลากรของโรงเรียน ตามลำดับ
1.3 ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
ความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานโรงเรียนด้านความสัมพันธ์
ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาในแต่ละข้อรายการ พบว่า ความ
ต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารโรงเรียน อยู่ในระดับปานกลางทุกข้อรายการ คือ
53
มีส่วนร่วมสนับสนุนโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้แก่ชุมชนในท้องถิ่น มีส่วนร่วมกำหนดนโยบายใน
การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองโรงเรียนและชุมชน มีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ส่งเสริมความ
สัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน มีส่วนร่วมเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่าง
โรงเรียนกับชุมชน มีส่วนร่วมเป็นสื่อกลางในการประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียนให้
ชุมชนทราบ และมีส่วนร่วมเป็นคณะกรรมการบริหารงานด้านความสัมพันธ์กับชุมชน ตามลำดับ
1.4 ด้านอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม
ความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานโรงเรียนด้านอาคาร
สถานที่และสภาพแวดล้อมในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาในแต่ละข้อรายการ
พบว่า ความต้องมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารโรงเรียน อยู่ในระดับมาก 1 ข้อรายการ คือ
ประสานงานและสอดส่องดูแลด้านความปลอดภัยให้แก่นักเรียน ครู และบุคลากรในโรงเรียน และอยู่
ในระดับปานกลาง 5 ข้อรายการ คือ ให้ความร่วมมือกับโรงเรียนในการพัฒนาอาคารสถานที่และ
สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ของโรงเรียน และเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาสภาพแวดล้อมของโรงเรียน
สนับสนุนด้านวัสดุ อุปกรณ์ ยานพาหนะ อาคารสถานที่และสาธารณูปโภคของโรงเรียนจัดหา /
บริจาคเงินในการปรับปรุง ซ่อมแซม อาคารสถานที่และสภาพ แวดล้อมต่างๆ ของโรงเรียนและ
กำหนดหลักเกณฑ์ให้บริการอาคารสถานที่ของโรงเรียนในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ตามลำดับ
1.5 ด้านกิจการนักเรียน
ความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานโรงเรียนด้านกิจการ
นักเรียนในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาในแต่ละข้อรายการ พบว่า ความต้องมี
ส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารโรงเรียน อยู่ในระดับมาก 1 ข้อรายการ คือ มีส่วนร่วมกิจกรรม
เพื่อส่งเสริมความรู้ความสามารถของนักเรียน และอยู่ในระดับปานกลาง 5 ข้อรายการ คือ
มีส่วนร่วมประชุมเพื่อหาแนวทางในการพัฒนานักเรียน เสนอแนะแนวทางในการจัดกิจกรรม
เกี่ยวกับการพัฒนานักเรียน จัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นเพื่อนำมาใช้ในการจัดกิจกรรมพัฒนา
นักเรียน สนับสนุนด้านเงินทุนในการจัดกิจกรรมพัฒนานักเรียน และมีส่วนร่วมเป็นกรรมการให้การ
ควบคุม ดูแล นักเรียนในกิจกรรมที่โรงเรียนจัดขึ้น ตามลำดับ
54
2. แนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานโรงเรียน
2.1 ด้านวิชาการ
แนวทางที่ผู้ปกครองต้องการมีส่วนร่วมในการบริหารงานโรงเรียนด้านวิชาการ 3
อันดับแรกคือ ร่วมเป็นตัวแทนผู้ปกครองในระดับชั้น ร่วมนิเทศการสอนเป็นครั้งคราวและร่วม
วางแผนพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา ตามลำดับ
2.2 ด้านบุคลากร
แนวทางที่ผู้ปกครองต้องการมีส่วนร่วมในการบริหารงานโรงเรียนด้านบุคลากร 3
อันดับแรกคือ ร่วมเป็นคณะกรรมการชมรมผู้ปกครอง ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหาร
งานบุคลากร และร่วมประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร ตามลำดับ
2.3 ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
แนวทางที่ผู้ปกครองต้องการมีส่วนร่วมในการบริหารงานโรงเรียนด้านความ
สัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน 3 อันดับแรกคือ ร่วมกิจกรรมที่โรงเรียนจัดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ร่วม
ในการให้มีเครือข่ายผู้ปกครองทุกระดับชั้น และร่วมเป็นตัวแทนผู้ปกครองมาร่วมบริหารงานด้าน
ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ตามลำดับ
2.4 ด้านอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม
แนวทางที่ผู้ปกครองต้องการมีส่วนร่วมในการบริหารงานโรงเรียนด้านอาคาร
สถานที่และสภาพแวดล้อม 3 อันดับแรกคือ ร่วมให้ข้อมูลเมื่อพบปัญหาด้านอาคารสถานที่และ
สภาพแวดล้อม ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อมของ
โรงเรียน และร่วมกิจกรรมปรับปรุงสภาพแวดล้อมของโรงเรียน ตามลำดับ
2.5 ด้านกิจการนักเรียน
แนวทางที่ผู้ปกครองต้องการมีส่วนร่วมในการบริหารงานโรงเรียนด้านกิจการ
นักเรียน 3 อันดับแรก คือ ร่วมแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมเพื่อ
ส่งเสริมพัฒนาการของนักเรียน ร่วมกิจกรรมในลักษณะให้นักเรียนและผู้ปกครองทำร่วมกัน เช่น
55
การแข่งขันกีฬา และร่วมเป็นคณะกรรมการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนานักเรียนของโรงเรียน
ตามลำดับ
2.6 ด้านอื่นๆ
แนวทางที่ผู้ปกครองต้องการมีส่วนร่วมในการบริหารงานโรงเรียนด้านอื่นๆ 3
อันดับแรก คือ ร่วมให้ข้อมูลด้านปัญหาการเรียนของนักเรียนในปกครอง ร่วมกิจกรรมทางวิชาการ
ที่โรงเรียนจัดขึ้น และร่วมจัดหาทุน / บริจาควัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในกิจกรรมการพัฒนานักเรียน ตาม
ลำดับ
อภิปรายผลการวิจัย
จากผลการศึกษาความต้องการและแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการ
บริหารงานโรงเรียนประถมสาธิต สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มีประเด็นที่นำมาอภิปราย
ดังนี้
1. ด้านวิชาการ จากผลการวิจัย พบว่าความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองใน
การบริหารโรงเรียนด้านวิชาการอยู่ในระดับปานกลาง สำหรับกิจกรรมที่ผู้ปกครองต้องการมี
ส่วนร่วมมากที่สุด คือ มีส่วนร่วมสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ มาพัฒนาการเรียนการสอน
แสดงว่าผู้ปกครองให้ความสำคัญกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อ
พัฒนานักเรียน ซึ่งจะเห็นว่าในปัจจุบันนี้เป็นยุคของเทคโนโลยี การจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้อง
กับสภาวะปัจจุบันจำเป็นอย่างยิ่งที่โรงเรียนจะต้องมีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยและเพียงพอต่อ
ความต้องการของผู้เรียนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการจัดการเรียนการสอนอันจะนำมาสู่
คุณภาพทางวิชาการ ซึ่งงานวิชาการนั้นเป็นงานหลักของโรงเรียนจึงมีความสำคัญมากที่สุดเมื่อ
เปรียบเทียบกับงานในด้านอื่นๆ เพราะเป็นงานที่มีขอบข่ายครอบคลุมกิจกรรมทุกอย่างใน
สถานศึกษา ดังนั้นโรงเรียนจะต้องมีการบริหารจัดการที่ดี เนื่องจากคุณภาพวิชาการนั้นเป็นสิ่งที่นัก
เรียนและผู้ปกครองมีความคาดหวังจากโรงเรียน ความสำคัญของงานวิชาการนี้สอดคล้องกับแนว
คิดของอาคม จันทสุนทร (2537 : 2-28) ที่ว่างานวิชาการเป็นงานที่สำคัญ เนื่องจากการบริหารงาน
วิชาการเกี่ยวข้องกับกิจกรรมทุกชนิดของสถานศึกษา โดยเฉพาะเกี่ยวกับการปรับปรุงคุณภาพ
การเรียนการสอน ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายหลักของการจัดการศึกษา เป็นภารกิจของผู้บริหารสถาน
ศึกษาต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ ซึ่งผู้บริหารต้องเข้าโดยขอบข่ายของงานวิชาการไม่ว่าจะเป็นการ
56
วางแผนเกี่ยวกับงานวิชาการ การจัดดำเนินการเกี่ยวกับการเรียนการสอน การจัดบริหารเกี่ยวกับ
การเรียนการสอน การจัดสิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียนการสอน การส่งเสริมการจัดหลักสูตร
การศึกษาให้มีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการวัดและประเมินผล
สำหรับแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานโรงเรียนด้าน
วิชาการที่ผู้ปกครองต้องการมีส่วนร่วมมากที่สุด คือ มีส่วนร่วมเป็นตัวแทนผู้ปกครองในระดับชั้น
ร่วมนิเทศการสอนเป็นครั้งคราว และร่วมวางแผนพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา ดังนั้นโรงเรียนจึง
ควรส่งเสริมให้มีกิจกรรมดังกล่าวมากขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้เข้ามามีส่วนร่วมในการ
บริหารงานวิชาการมากยิ่งขึ้น
2. ด้านบุคลากร จากผลการวิจัย พบว่าความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองใน
การบริหารโรงเรียนด้านบุคลากรอยู่ในระดับปานกลาง สำหรับกิจกรรมที่ผู้ปกครองต้องการเข้าร่วม
มากที่สุดด้านบุคลากร คือ มีส่วนร่วมวางแผนพัฒนา ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและวินัยของ
บุคลากรในโรงเรียน ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ระยะที่ 9 (2545
-2549) ที่เน้นการมีส่วนร่วมพัฒนาบุคลากร ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและวินัยของบุคลากรใน
โรงเรียน (สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ 2544 : 30) จากผลการวิจัยนี้สะท้อนให้เห็นว่าผู้
ปกครองให้ความสำคัญกับคุณธรรมและจริยธรรมของครูซึ่งเป็นผู้ที่ผู้ปกครองให้ความไว้วางใจใน
การดูแลบุตรหลาน หากครูขาดคุณธรรม จริยธรรมและวินัยย่อมจะมีความเสียหายเกิดขึ้นตามมา
โดยผลเสียที่จะเกิดขึ้นก็จะกระทบต่อตัวนักเรียนโดยตรง จะเห็นว่าในปัจจุบันปัญหาในเรื่องนี้ยังมีอยู่
มากในสังคมไทย ดังนั้นการที่ผู้ปกครองต้องการเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนา ส่งเสริม
คุณธรรมและจริยธรรมของครู จึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญที่โรงเรียนจะต้องตระหนักในเรื่องนี้ให้มาก
สำหรับแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานโรงเรียนด้าน
บุคลากรที่ผู้ปกครองอยากมีส่วนร่วมมากที่สุด คือ ร่วมเป็นคณะกรรมการชมรมผู้ปกครอง ร่วม
แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานบุคลากร และร่วมประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร
ซึ่งสอดคล้องกับ แผนพัฒนาการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ระยะที่ 9 (2545 - 2549) ที่มีแนวทาง
ในการส่งเสริมสมรรถนะและประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรโดยให้ชุมชนและท้องถิ่นมี
ส่วนร่วมในการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรด้วย (สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
2544 : 30)
3. ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน จากผลการวิจัย พบว่าความ
ต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารโรงเรียนด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
57
อยู่ในระดับปานกลาง สำหรับกิจกรรมที่ผู้ปกครองต้องการมีส่วนร่วมมากที่สุด คือ ร่วมสนับสนุน
โรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้แก่ชุมชน จะเห็นว่าเป็นกิจกรรมที่จะทำให้โรงเรียนและชุมชนมีความ
ใกล้ชิดกันมากขึ้น ต่างฝ่ายต่างเอื้อประโยชน์ให้แก่กัน โรงเรียนก็เป็นแหล่งการเรียนให้แก่ชุมชนใน
ขณะเดียวกันชุมชนก็เป็นแหล่งการเรียนรู้สำหรับนักเรียนได้เช่นกัน เช่น แหล่งการเรียนรู้ภูมิปัญญา
ท้องถิ่น เป็นต้น ซี่งสอดคล้องกับแนวคิดของคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (2532 : 91) ที่ว่า
โรงเรียนกับชุมชนไม่สามารถแยกขาดจากกัน เพราะโรงเรียนและชุมชนมีบทบาทเป็นทั้งผู้ให้และ
ผู้รับ ซึ่งขอบข่ายของการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ได้แก่ การประชาสัมพันธ์
โรงเรียน การให้บริการแก่ชุมชน การร่วมกิจกรรมชุมชน การให้ชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมของ
โรงเรียน และการสร้างเสริมความสัมพันธ์กับชุมชน
สำหรับแนวทางที่ผู้ปกครองอยากมีส่วนร่วมในงานด้านความสัมพันธ์กับชุมชนมาก
ที่สุด คือ ร่วมกิจกรรมที่โรงเรียนจัดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ร่วมในการจัดให้มีเครือข่ายผู้ปกครองทุกระดับ
ชั้น และร่วมเป็นตัวแทนผู้ปกครองมาร่วมบริหารงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
จะเห็นว่ากิจกรรมที่ผู้ปกครองอยากเข้าร่วมเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนนั้น
เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อโรงเรียนที่ผู้ปกครองจะเป็นสื่อกลางในการประสานระหว่างโรงเรียนและ
ชุมชนเพราะถ้าผู้ปกครองได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมที่โรงเรียนจัดขึ้นมากเท่าไรก็ย่อมเป็นการสร้าง
ความสัมพันธ์กับชุมชนไปด้วยเพราะผู้ปกครองก็เป็นส่วนหนึ่งของชุมชน
4. ด้านอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อมของโรงเรียน จากผลการวิจัย พบว่า
ความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารโรงเรียนด้านอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม
โรงเรียนอยู่ในระดับปานกลาง สำหรับกิจกรรมที่ผู้ปกครองต้องการมีส่วนร่วมมากที่สุดในด้านนี้ คือ
ประสานงานและสอดส่องด้านความปลอดภัยให้แก่นักเรียน ครูและบุคลากรของโรงเรียน แสดงว่า
ผู้ปกครองต้องการที่จะสร้างความมั่นใจในเรื่องของความปลอดภัยให้กับบุตรหลานของตนขณะที่อยู่
โรงเรียน ดังนั้นแนวทางที่จะทำให้ผู้ปกครองมั่นใจว่าโรงเรียนมีความปลอดภัยก็คือ การได้มี
ส่วนร่วมในการประสานและสอดส่องดูแลในด้านความปลอดภัยด้วยตนเอง ดังนั้นการจัดอาคาร
สถานที่และสภาพแวดล้อมโรงเรียนที่ดีนั้นนอกจากจะต้องจัดให้มีสภาพที่ดูงดูดความสนใจและ
เอื้อต่อการเรียนรู้แล้วย่อมจะต้องคำนึงถึงเรื่องของความปลอดภัยด้วย ดังที่จรัล สังข์ขาว (2542 :
39) ได้กล่าวว่า การจัดอาคารสถานที่ต้องเอื้อประโยชน์ใช้สอย มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย
สวยงาม และปลอดภัย มีการควบคุมดูแลรักษา และส่งเสริมให้มีการบำรุงอาคารสถานที่มีอยู่ให้คง
สภาพดี และสนองความต้องการของผู้ใช้อย่างเพียงพอ
58
สำหรับแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานโรงเรียนด้านสภาพ
แวดล้อมและบรรยากาศ โรงเรียนที่ผู้ปกครองอยากมีส่วนร่วมมากที่สุด คือ มีส่วนร่วมให้ข้อมูลแก่
ทางโรงเรียนเมื่อพบปัญหาด้านอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม รวมทั้งแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ
การจัดอาคารสถานที่ และสภาพแวดล้อมของโรงเรียนและร่วมกิจกรรมปรับปรุงสภาพแวดล้อมของ
โรงเรียน ดังนั้นโรงเรียนจึงควรเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมดังกล่าวให้
มาก
5. ด้านกิจการนักเรียน จากผลการวิจัย พบว่าความต้องการมีส่วนร่วมของ
ผู้ปกครองในการบริหารโรงเรียนด้านกิจการนักเรียนอยู่ในระดับปานกลาง สำหรับกิจกรรมที่
ผู้ปกครองต้องการมี ส่วนร่วมในการบริหารงานด้านกิจการนักเรียนมากที่สุด คือ มีส่วนร่วมกิจกรรม
เพื่อส่งเสริมความรู้ความสามารถของนักเรียน ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง
ในการบริหารงานโรงเรียนด้านกิจการนักเรียนที่ผู้ปกครองต้องการมีส่วนร่วมมากที่สุด คือ ร่วม
แสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของนักเรียน รวมทั้ง
ร่วมกิจกรรมในลักษณะให้นักเรียนและผู้ปกครองทำร่วมกัน เช่นการแข่งขันกีฬา และร่วมเป็น
คณะกรรมการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนานักเรียนของโรงเรียน จะเห็นว่าเป็นแนวทางที่จะทำให้
ผู้ปกครองสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้มากที่สุดและทำให้ผู้ปกครองมั่นใจว่าโรงเรียนได้จัด
กิจกรรมการพัฒนานักเรียนที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ปกครองและนักเรียนซึ่งข้อเสนอแนะ
และความคิดเห็นของผู้ปกครองจะเป็นแนวทางให้โรงเรียนจัดกิจกรรมการพัฒนานักเรียนได้อย่างมี
ประสิทธิภาพเนื่องจากผู้ปกครองเป็นผู้ที่ใกล้ชิดกับเด็ก
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะสำหรับการนำผลการวิจัยไปใช้
จากผลการวิจัย พบว่าความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานของ
โรงเรียนประถมสาธิต สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน ดังนั้น
โรงเรียนควรหาแนวทางในการส่งเสริมให้ผู้ปกครองได้เข้ามามีส่วนร่วมกับโรงเรียนให้เพิ่มมากขึ้น
ทุกด้าน ดังนี้
1.1 ด้านวิชาการ โรงเรียนควรเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการสนับสนุน
การใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ มาพัฒนาการเรียนการสอนของนักเรียน เช่น มีการเชิญผู้ปกครองร่วมเป็น
59
คณะกรรมการในการพิจารณาเกี่ยวกับจัดซื้อจัดหาเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ในการเรียนการสอน
ตลอดจนการพัฒนาครู อาจารย์ในการใช้เทคโนโลยีต่างๆ ให้มีความคุ้มค่า สามารถนำมาใช้ในการ
เรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพด้วย
1.2 ด้านบุคลากร โรงเรียนควรเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้เข้ามีส่วนร่วมในการ
วางแผน พัฒนา ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและวินัยของบุคลากรในโรงเรียน เพราะเนื่องจากว่า
บุคคลเหล่านี้เป็นผู้ที่บทบาทสำคัญในการอบรมสั่งสอนนักเรียน ดังนั้นผู้ปกครองควรได้มีส่วนร่วมใน
การพัฒนา และคัดเลือกบุคคลเหล่านี้ด้วย
1.3 ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน โรงเรียนควรเป็นแหล่ง ความรู้
ต่าง ๆ ให้กับชุมชน เปรียบเสมือนห้องสมุดของชุมชน ที่ทุกคนในชุมชนสามารถเข้าไปศึกษาหา
ความรู้ได้ และโรงเรียนควรเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชน ตลอดจนให้ความช่วยเหลือและให้
บริการแก่ชุมชนด้วยเพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างโรงเรียนและชุมชน. เช่น
บริการห้องสมุด ให้สถานที่ฝึกซ้อมกีฬา เป็นต้น
1.4 ด้านอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อมของโรงเรียน โรงเรียนควรเปิดโอกาสให้
ผู้ปกครองได้เข้ามามีส่วนร่วมในการสอดส่องดูแลความปลอดภัยให้แก่ครู นักเรียน และบุคลากรใน
โรงเรียน เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรักและหวงแหนโรงเรียน
1.5 ด้านกิจการนักเรียน โรงเรียนควรเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้เข้ามามีส่วนร่วมใน
การจัดกิจกรรมเพื่อเป็นการพัฒนาความรู้ความสามารถของนักเรียน โดยการแต่งตั้งเป็น
คณะกรรมการหรือให้ผู้ปกครองได้เสนอและจัดกิจกรรมที่คิดว่าเป็นประโยชน์กับนักเรียนด้วย
2. ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัย
2.1 ควรมีการศึกษาเปรียบเทียบความต้องการมีส่วนร่วมในการบริหารงาน
โรงเรียนของผู้ปกครองที่มีสถานภาพต่างกัน
2.2 ควรมีการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการบริหารงานโรงเรียนของ
ผู้ปกครอง
2.3 ควรมีการศึกษาความคาดหวังและการปฏิบัติจริงในการบริหารงานในด้าน
ต่างๆ ของโรงเรียนตามทัศนะของนักเรียนและผู้ปกครอง
2.4 ควรมีการศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคที่ส่งผลต่อการบริหารงานแบบ
มีส่วนร่วม
บรรณานุกรม
61
บรรณานุกรม
กรมสามัญศึกษา. (2540). เกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนมัธยมศึกษา พ.ศ.2539.
กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภา.
กัลยา เชื้อพลากิจ. (2530). ความต้องการของผู้ปกครองที่มีต่อการบริหารงานของ
โรงเรียนประถมสาธิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทร
วิโรฒ ประสานมิตร.
กิติมา ปรีดีดิลก. (2532). การบริหารและการนิเทศเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์
อักษราพิพัฒน์
เกสิณี ชิวปรีชา.(2530). การศึกษาการดำเนินงานทางวิชาการในสถานศึกษาที่ได้รับ
รางวัลพระราชทาน สังกัดกรมอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จรัล สังข์ขาว. (2542). ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน-นักศึกษาต่อการบริหารงาน
โรงเรียนสุราษฎร์เทคโนโลยีช่างอุตสาหกรรม. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร
อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการบริหารอาชีวศึกษา), บัณฑิตวิทยาลัย
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
จำนง แจ่มจันทรวงศ์ และคณะ. (2543). คมู่ อื การสอบ : การปฏิบัติราชการยุคใหม.่
กรุงเทพมหานคร : สำนักงานสามัญศึกษากรุงเทพมหานคร.
ฉันทนา ภาคบงกช. (2537). ผู้ปกครองกับเด็กปฐมวัย. นนทบุรี : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย
สุโขทัยธรรมาธิราช.
ชัยวัฒน์ ไทยเกรียงไกรยศ. (2536). รูปแบบการบริหารโรงเรียนเอกชน : ศึกษากรณี
ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ชาญชัย อาจินสมาจาร. (2534). "บริหารจะดำเนินการบริหารแบบทุกฝ่ายมีส่วนร่วมได้อย่างไร"
ประชากรศึกษา. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.
ชูชาติ พ่วงสมจิตร์. (2540). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งเสริมและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการ
มีส่วนร่วมของชุมชนกับโรงเรียนประถมศึกษาในเขตปริมณฑลกรุงเทพมหานคร.
วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชูศักดิ์ อรทร์รักษ์. (2536). การบริหารและการนิเทศภายในโรงเรียน. ปัตตานี : ฝ่าย
เทคโนโลยีทางการศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
62
ธีรภัทร์ เจริญดี. (2542). การศึกษาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในโรงเรียนประถมศึกษา
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ เขตการศึกษา 11. วิทยา
นิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
ธีรวุฒิ ประทุมนพรัตน์. (2536). การบริหารบุคคลทางการศึกษา. สงขลา : มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา.
นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์. (2534). หลักการบริหารการศึกษา. กรงเทพมหานคร : บพิธการพิมพ์.
นาวี ยั่งยืน. (2542). การศึกษาความต้องการของชุมชนในการมีส่วนร่วมบริหารจัดการ
ศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ส่วนกลาง สหวิทยาเขตรัตน
โกสินทร์1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏ
บ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
นิพนธ์ กินาวงศ์. (2533). หลักเบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหารโรงเรียนและนิเทศก์การ
ศึกษา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์พิฆเณศ.
บุญมี เณรยอด. (2534). “การบริหารงานวิชาการ.” เอกสารประกอบการสัมมนาผู้บริหาร
โรงเรียนระดับสูง รุ่นที่ 13. กรุงเทพมหานคร : ภาควิชาบริหารการศึกษา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปนัดดา พรพิฆเนส. (2540). สภาพและปัญหาการดำเนินงานวิชาการในโรงเรียน สังกัด
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน : กรณีศึกษาโรงเรียนที่ได้รับรางวัล
พระราชทานระดับประถมศึกษา ปีการศึกษา 2539. วิทยานิพนธ์ปริญญา
ครุศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประคอง กรรณสูตร. (2542). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย .
ประชุม รอดประเสริฐ. (2533). นโยบายและการวางแผน : หลักการและทฤษฎี.
พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : เนติกุลการพิมพ์.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2535). การบริหารวิชาการ. กรุงเทพมหานคร : สหมิตรออฟเซท.
พนัส หันนาคินทร์. (2530). การบริหารบุคลากรโรงเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร :
เนติกุลการพิมพ์.
พิมพา ตามี่. (2540). ความต้องการของผู้ปกครองในการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของ
โรงเรียนประถมศึกษา อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญา
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พูนชัย มหาวงศนันท์. (2540). ความต้องการของนักเรียนโรงเรียนดงเจนวิทยาคม ใน
การมีส่วนร่วมงานปกครองนักเรียน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
63
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2531). “บทบาทของโรงเรียนสาธิต.” สาระสาธิต. กรุงเทพมหานคร :
โครงการตำราและเอกสารวิชาการ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มนัส พลายชุ่ม. (2540). ความพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการบริหารงานโรงเรียน
มัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดอ่างทอง. วิทยานิพนธ์ปริญญา
การศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (2530). โครงการจัดตั้งภาควิชาโรงเรียนสาธิต. คณะ
ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เมตต์ เมตต์การุณ์จิต. (2540). การมีส่วนร่วมในการบริหารโรงเรียนของกรรมการศึกษา
ประจำโรงเรียนเทศบาลในจังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญา
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
รวีวรรณ ธุมชัย (2536). เอกสารประกอบการสอนวิชาการมัธยมศึกษา. กรุงเทพมหานคร :
ภาควิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ. (อัดสำเนา)
เรณู ครุธไทย. (2542). การศึกษาการดำเนินงานวิชาการของโรงเรียนในกลุ่มนวมินทราชู
ทิศสังกัดกรมสามัญศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรรณวิไล วรวิกโฆษิต. (2540). การศึกษาการมีส่วนร่วมของกรรมการบริหารองค์การ
บริหารส่วนตำบลในการจัดกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียนในภาคกลาง.
วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิจิตร ศรีสอ้าน. (2530). เอกสารการสอนวิชาการบริหารบุคลากรในโรงเรียน เล่ม 1.
นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ศริยา สุขพานิช . (2532). ความคิดเห็นของผู้ปกครองต่อโรงเรียนและการศึกษาของ
บุตรในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในเขตอำเภอเมือง
จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศิริกาญจน์ โกสุมภ์.(2532).การมีส่วนร่วมของชุมชนและโรงเรียนเพื่อการจัดการศึกษาขั้น
พื้นฐาน.วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทร
วิโรฒ ประสานมิตร.
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. (2539). 100 ปี บ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
กรุงเทพมหานคร : อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).
สมาน รังสิโยกฤษฎ์. (2531). เอกสารการสอนชุดวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ใน
องค์การ. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
64
สมศรี มธุรสสุวรรณ. (2541). การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการใน
โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาในจังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์
ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สัมพันธ์ อุปลา. (2541). การศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาโรงเรียน
ประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น.
วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2536). คู่มือการปฏิบัติงานสำหรับ
ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาแห่งชาติ (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพมหานคร :
โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน. (2532). คู่มือการวางแผน พัฒนาการศึกษา
เอกชนระดับจังหวัด ชุดฝึกอบรมเล่ม 1-6. กรุงเทพมหานคร : กองนโยบายและแผน
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน. (2535). แบบประเมินมาตรฐานคุณภาพการ
ศึกษาของโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษา เล่มที่ 4. กรุงเทพมหานคร :
โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว
สุนี จั่นสกุล. (2538). การสำรวจสภาพปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
โรงเรียนในโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงาน
การประถมศึกษาจังหวัดระนอง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุนีย์ ภู่พันธ์. (2531). สภาพและปัญหาการบริหารหลักสูตร ปวช. 2530 ประเภทวิชา
ศิลปกรรมในสถานศึกษากองวิทยาลัยอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญา
ครุศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรัฐ ศิลปอนันต์. (2530). ปฏิบัติการบริหารงานบุคคล : การบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการ
ครู. อุดรธานี : สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษา จังหวัดอุดรธานี .
สุวรรณา รุทธานุรักษ์. (2540). การบริหารเวลาของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาดีเด่น
สังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
เสน่ห์ ผดุงญาติ. (2535). สภาพปัญหาการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูในสถาน
ศึกษา สังกัดกรมการศึกษานอกโรงเรียน. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษา
มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
หรรษา นิลวิเชียร. (2535). ปฐมวัยศึกษา หลักสูตรและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร :
โอเดียนสโตร์.
65
อรทิพย อารยะทรงศักด์ิ. (2536). ความคาดหวังของผู้ปกครองที่มีต่อคุณภาพของ
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. ปัตตานี : มหาวิทยาลัยสงขลา
นครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
อรัญญา อุดมศรี. (2539). สภาพและปัญหาการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนประถม
ศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน จังหวัดนนทบุรี.
ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อรุณี หรดาล. (2536). ผู้ปกครองกับการจัดการศึกษาในประมวลสาระชุดวิชาหลักการ
และแนวคิดทางการศึกษาปฐมวัย. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อาคม จันทสุนทร และคณะ. (2537). การวางแผนการบริหารโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร :
โรงพิมพ์คุรุสภา.
อุทัย หิรัญโต. (2531). หลักการบริหารบุคคล. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.
Arnstein, S.R. (1991). “Ladder of Citizen Participation.” Journal of American Institute
of Planners. 35 (January) : 45.
Beach, Dale S. (1970). Personal : The Management of People at Work. New York :
The Macmillan Company.
Cambell, Ronald F. and others. (1971). Introduction to Educationed Administration.
New York : Allyn and Bacon,Inc.
Castetter, William B. (1976). The Personal Function on Educational Administration.
New York : The Macmillan publishing.
Cohen, J.M., and Uphoff, N.T. (1977). Rural development participation : Concept and
mesures for project design implementation and evaluation. Great Britain :
Rural development Commitee Center for International Studies, Cornell
University.
Dusseeldorp, D.B.W.M.V. (1981). “Participation in Planned Development Influenced by
Government of Developing Countries at local level in Rural Areas”. Essay in
Rural Sociology (In Honour of R.A.J. Van Lier.). Wageningen : Department of
Rural Sociology of the Tropics. Wageningen Agricultured University.
Flippo, E. B. (1971). Principles of Personnel Management. 3rd ed. Tokyo : McGraw –
Hill Kagaksusha, Ltd.
Shadid, W., Prins, W., and Nas, P.J.M. (1982). Access and Participation : A
theoretical Approach. In Participation of the poor in development . Edited
by Benno Galgart and Eieke Buijs. Leident : University of Leiden.
66
Shaposka, Harry Melvin. (1997). Community Involment Economic status, and The
quality of school life : A multi - site case study of school districts in The
Monvalley education consortium (Pennsylvania). Education Adiministration,
University of Pittsburgh.
Stahl, Glenn. (1971). Public Personnel Administration. 6th ed. New York : Harper & Row.
Wayne, Mondy R. and Robert M.Noe.(1990).Human Resource Management. 4th ed.
Boston : Allyn and Bacon.
Whitaker, B.I. (1987)."Citizen Participation in Educational Decision Making in an Urban
School District as Perceived by Parents and Administrators". Dissertation
Abstract International.38 (November 1987) : 389 A.
White, Norman Dean. (1986). “The Status and Potential of College Controlled
Laboratory Schools.” Dissertation Abstracts International. (August) : 102.
ภาคผนวก
ภาคผนวก ก
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
แบบสอบถามเพื่อการวิจัย
เรื่อง ความต้องการและแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงาน
ของโรงเรียนประถมสาธิตสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
คำชี้แจง แบบสอบถามฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการและแนวทางการมี
ส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานของโรงเรียนประถมสาธิตสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จ
เจ้าพระยา
ทั้งนี้เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากท่านไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนการบริหารของ
โรงเรียนเท่านั้น ไม่มีผลกระทบใด ๆ ต่อนักเรียนในปกครองของท่านทั้งสิ้น แบบสอบถามมี
ทั้งหมด 3 ตอน คือ
ตอนที่ 1 สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม
ตอนที่ 2 ความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานโรงเรียน
ตอนที่ 3 แนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานของ โรงเรียน
ตอนที่ 1 สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม
คำชี้แจง โปรดเขียนเครื่องหมาย ลงใน ❒ หน้าข้อความที่ตรงกับความเป็นจริงเกี่ยวกับตัวท่าน
1. เพศ
❒ 1) ชาย ❒ 2) หญิง
2. อายุ
❒ 1) ต่ำกว่า 30 ปี ❒ 2) 30 - 39 ปี
❒ 3) 40 - 49 ปี ❒ 4) 50 – 59 ปี ❒ 5) 60 ปีขึ้นไป
3. วุฒิการศึกษาสูงสุดหรือเทียบเท่า
❒ 1) ต่ำกว่าปริญญาตรี ❒ 2) ปริญญาตรี
❒ 3) ปริญญาโท ❒ 4) ปริญญาเอก
4. อาชีพ
❒ 1) รับราชการ ❒ 2) พนักงานบริษัท/ห้างร้าน/รัฐวิสาหกิจ
❒ 3) รับจ้าง ❒ 4) ประกอบธุรกิจส่วนตัว ❒ 5) อื่น ๆ (โปรดระบุ)……….
5. รายได้ต่อเดือน
❒ 1) ต่ำกว่า 5,000 บาท ❒ 2) 5,000 – 10,000 บาท
❒ 3) 10,001 – 20,000 บาท ❒ 4) มากกว่า 20,000 บาท
6. ท่านเป็นผู้ปกครองของนักเรียนชั้น………………………………….
70
คำชี้แจง โปรดทำเครื่องหมาย / ลงในช่องระดับความต้องการมีส่วนร่วมในการบริหารงานของโรงเรียน
ประถมสาธิตสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ที่ตรงกับความต้องการของท่าน
ระดับความต้องการ
ความต้องการมีส่วนร่วมในการบริหารงานโรงเรียน มาก
ที่สุด
มาก ปาน
กลาง
น้อย น้อย
ที่สุด
ด้านวิชาการ
1. มีส่วนร่วมวางแผนกำหนดนโยบายและทิศทางการจัด
กิจกรรมการเรียนการสอนของโรงเรียน
2. มีส่วนร่วมวางแผนการรับนักเรียน
3. มีส่วนร่วมในกิจกรรมปฐมนิเทศนักเรียนใหม่
4. มีส่วนร่วมสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ มาพัฒนา
การเรียนการสอน
5. มีส่วนร่วมปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร
6. มีส่วนร่วมจัดหาวิทยากรให้ความรู้แก่นักเรียน
7. มีส่วนร่วมเป็นวิทยากรให้ความรู้แก่นักเรียน
ด้านบุคลากร
1. มีส่วนร่วมวางแผนสรรหาบุคลากรของโรงเรียน
2. มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในการคัดเลือกบุคลากรของ
โรงเรียน
3. มีส่วนร่วมสนับสนุนการจัดสวัสดิการเพื่อเป็นขวัญและ
กำลังใจแก่บุคลากรในโรงเรียน
4. มีส่วนร่วมในการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรใน
โรงเรียน
5. มีส่วนร่วมวางแผนพัฒนา ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม
และวินัยของบุคลากรในโรงเรียน
6. มีสว่ นรว่ มเสนอแนะแนวทางในการพจิ ารณาความด ี ความ
ชอบของบุคลากรในโรงเรียน
ตอนที่ 2 ความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานโรงเรียน
71
ระดับความต้องการ
ความต้องการมีส่วนร่วมในการบริหารงานโรงเรียน มาก
ที่สุด
มาก ปาน
กลาง
น้อย น้อย
ที่สุด
ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
1. มีส่วนร่วมกำหนดนโยบาย ในการสร้างความสัมพันธ์
ระหว่างผู้ปกครอง โรงเรียนและชุมชน
2. มีส่วนร่วมสนับสนุนโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้แก่ชุมชน
ในท้องถิ่น
3. มีส่วนร่วมเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาความสัมพันธ์
ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
4. มีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างโรง
เรียนกับชุมชน
5. มีส่วนร่วมเป็นคณะกรรมการบริหารงานด้านความสัมพันธ์
กับชุมชน
6. มีส่วนร่วมเป็นสื่อกลางในการประชาสัมพันธ์กิจกรรม
ต่าง ๆ ของโรงเรียนให้ชุมชนทราบ
ด้านอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม
1. สนับสนุนด้านวัสดุ อุปกรณ์ ยานพาหนะ อาคารสถานที่
และสาธารณูปโภคของโรงเรียน
2. เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาสภาพแวดล้อมของ
โรงเรียน
3. ประสานงานและสอดส่องดูแลด้านความปลอดภัยให้แก่
นักเรียนครูและบุคลากรในโรงเรียน
4. จัดหา/บริจาคเงินทุนในการปรับปรุง ซ่อมแซม อาคาร
สถานที่ของโรงเรียน
5. ให้ความร่วมมือกับโรงเรียนในการพัฒนาด้านอาคาร
สถานที่และสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ของโรงเรียน
6. กำหนดหลักเกณฑ์ให้บริการอาคารสถานที่ของโรงเรียนใน
การจัดกิจกรรมต่าง ๆ
72
ระดับความต้องการ
ความต้องการมีส่วนร่วมในการบริหารงานโรงเรียน มาก
ที่สุด
มาก ปาน
กลาง
น้อย น้อย
ที่สุด
ด้านกิจการนักเรียน
1. มีส่วนร่วมประชุมเพื่อหาแนวทางในการพัฒนานักเรียน
2. มีส่วนร่วมกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความรู้ความสามารถของ
นักเรียน
3. เสนอแนะแนวทางในการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนา
นักเรียน
4. มีส่วนร่วมเป็นกรรมการให้การควบคุม ดูแลนักเรียนใน
กิจกรรมที่โรงเรียนจัดขึ้น
5. สนับสนุนด้านเงินทุนในการจัดกิจกรรมพัฒนานักเรียน
6. จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ที่จำเป็นเพื่อนำมาใช้ในการจัดกิจกรรม
พัฒนานักเรียน
3. แนวทางใดที่ท่านสามารถมีส่วนร่วมดำเนินการ สนับสนุนและส่งเสริมในการบริหารงานของ
โรงเรียนประถมสาธิตสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ในด้านต่างๆดังนี้
3.1 ด้านวิชาการ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
❒ 1. ร่วมเป็นคณะกรรมการบริหารวิชาการ
❒ 2. ร่วมนิเทศการสอนของครูเป็นครั้งคราว
❒ 3. ร่วมเป็นวิทยากรในบางวิชา
❒ 4. ร่วมวางแผนพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา
❒ 5. ร่วมเป็นตัวแทนผู้ปกครองในระดับชั้น
❒ 6. ร่วมเป็นตัวแทนผู้ปกครองในการกำหนดหลักสูตรขั้นพื้นฐาน
❒ 7. อื่น ๆ (โปรดระบุ)……………………………………………………………………….
3.2 ด้านบุคลากร (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
❒ 1. ร่วมกำหนดนโยบายการบริหารงานบุคคล
❒ 2. ร่วมเป็นคณะกรรมการชมรมผู้ปกครอง
❒ 3. ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานบุคลากร
❒ 4. เข้าร่วมประชุมกับบุคลากรของโรงเรียนเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาบุคลากร
❒ 5. ร่วมประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร
❒ 6. ร่วมแสดงความคิดเห็นในการคัดเลือกบุคลากรที่จะรับเข้ามาปฏิบัติงาน
❒ 7. อื่น ๆ (โปรดระบุ)…………………………………………………………………………..
ตอนที่ 3 แนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานโรงเรียน
73
3.3 ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
❒ 1. ร่วมกิจกรรมที่โรงเรียนจัดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
❒ 2. ร่วมจัดทำแผนปฏิบัติการด้านความสัมพันธ์กับชุมชน
❒ 3. ร่วมเป็นคณะกรรมการบริหารงานด้านความสัมพันธ์กับชุมชน
❒ 4. ร่วมในการจัดให้มีเครือข่ายผู้ปกครองทุกระดับชั้น
❒ 5. ร่วมเป็นตัวแทนผู้ปกครองมาร่วมบริหารงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
❒ 6. ร่วมจัดตั้งคณะกรรมการหรือกลุ่มผู้ปกครองในการจัดหาทุนทรัพย์ไปบริจาคให้กับ
ชุมชนที่ขาดแคลน
❒ 7. อื่น ๆ (โปรดระบุ)………………………………………………………………………….
3.4 ด้านอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
❒ 1. ร่วมเป็นคณะกรรมการบริหารงานด้านอาคารสถานที่
❒ 2. ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อมของโรงเรียน
❒ 3. ร่วมกิจกรรมปรับปรุงสภาพแวดล้อมของโรงเรียน
❒ 4. ร่วมเป็นตัวแทนผู้ปกครองบริหารงานอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม
❒ 5. ร่วมจัดหา/บริจาคเงินทุนในการปรับปรุง อาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม
❒ 6. ร่วมให้ข้อมูลเมื่อพบปัญหาด้านอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม
❒ 7. อื่น ๆ (โปรดระบุ)……………………………………………………………………….
3.5 ด้านกิจการนักเรียน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
❒ 1. ร่วมเป็นคณะกรรมการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนานักเรียนของโรงเรียน
❒ 2. ร่วมเป็นวิทยากรในการจัดกิจกรรมพัฒนานักเรียน
❒ 3. ร่วมแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของ
นักเรียน
❒ 4. ร่วมเป็นตัวแทนผู้ปกครองมาช่วยบริหารงาน ด้านกิจการนักเรียน
❒ 5. ร่วมจัดกิจกรรมในลักษณะให้นักเรียนและผู้ปกครองทำร่วมกัน เช่น การแข่งขันกีฬา
❒ 6. ร่วมในการร่างระเบียบกิจการนักเรียน
❒ 7. อื่น ๆ (โปรดระบุ)……………………………………………………………………….
ขอขอบพระคุณที่เสียสละเวลาในการตอบแบบสอบถาม
นางอัมพร เลิศณรงค์
นักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาบริหารการศึกษา
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ภาคผนวก ข
รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ
75
รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ
1. รองศาสตราจารย์ไพฑูรย์ ธรรมแสง อดีตอธิการ สถาบันราชภัฏลำปาง
2. รองศาสตราจารย์เกริก วยัคฆานนท์ คณบดีคณะวิทยาการจัดการ
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุภรณ์ ลิ้มบริบูรณ์ โปรแกรมวิชาการวัดผลการศึกษา
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
4. ดร.วิโรจน์ วัฒนานิมิตกูล ประธานบริหารหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต
(หลักสูตรและการสอน)
5. นายนิพัทธ์ เลิศณรงค์ ผู้อำนวยการโรงเรียนประถมสาธิต
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ดาวน์โหลดได้ไม่หมดค่ะอยากได้ส่วนที่ต้องลิงค์หน้าใหม่แต่เข้าไม่ได้ค่ะ
ตอบลบ