วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสโรงเรียนกทม (ตอนที่ 1)



คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส
สังกัดกรุงเทพมหานคร
DESIRABLE CHARACTERISTICS OF THE
OPPORTUNITY EXPANSION SCHOOLS
ADMINISTRATORS UNDER THE JURISDICTION
OF THE BANGKOK METROPOLITAN ADMINISTRATION
วิทยานิพนธ์
ของ
นายธวัชชัย กลิ่นดี
เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา
พ.ศ. 2545
ISBN : 974-373-153-9
ลิขสิทธิ์เป็นของสถาบันราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

วิทยานิพนธ์
เรื่อง
คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส
สังกัดกรุงเทพมหานคร
ของ
นายธวัชชัย กลิ่นดี
ได้รับอนุมัติจากบัญฑิตวิทยาลัยให้นับเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร
ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
…………………………………………คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
(รองศาสตราจารย์นันทา วิทวุฒิศักดิ์)
วันที่…….เดือน………………..พ.ศ. …………
คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์
…………………………………………ประธานกรรมการ
(ศาสตราจารย์ ดร. สายหยุด จำปาทอง)
…………………………………………กรรมการ
(ดร. สรายุทธ์ เศรษฐขจร)
…………………………………………กรรมการ
(ดร. เปรมสุรีย์ เชื่อมทอง)
…………………………………………กรรมการและเลขานุการ
(รองศาสตราจารย์นันทา วิทวุฒิศักดิ์)

กิตติกรรมประกาศ
การวิจัยในครั้งนี้สำเร็จได้ด้วยดี ผู้วิจัยได้รับความอนุเคราะห์ กรุณา เป็นอย่างดียิ่งจากอาจารย์ที่
ปรึกษาวิทยานิพนธ์คือ อาจารย์ ดร.สรายุทธ์ เศรษฐขจร ประธานที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ดร.เปรมสุรีย์ เชื่อมทอง
และ ศาสตราจารย์ ดร.สายหยุด จำปาทอง กรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ที่ได้ให้ความช่วยเหลือในการตรวจแก้
ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ และแนะนำตั้งแต่ต้นจนสำเร็จเรียบร้อย ผู้วิจัยขอกราบขอบพระคุณอาจารย์ทุกท่านที่เป็น
กรรมการสอบวิทยานิพนธ์ในครั้งนี้ด้วยความเคารพอย่างสูง
ขอขอบพระคุณท่านผู้เชี่ยวชาญทุกท่านที่ได้กรุณาตรวจสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหาของ
เครื่องมือและให้คำแนะนำในการทำวิทยานิพนธ์
ขอขอบคุณผู้ตอบแบบสอบถามทุกท่านที่กรุณาให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถามอย่าง
ดียิ่ง
คุณค่า ประโยชน์ตลอดจนความดีของวิทยานิพนธ์เล่มนี้ ผู้วิจัยขอมอบแด่คุณพ่อ คุณแม่ และ
ครอบครัวตลอดจน ครู – อาจารย์ และผู้มีพระคุณทุกท่าน
นายธวัชชัย กลิ่นดี

คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหาร
โรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร
DESIRABLE CHARACTERISTICS OF THE OPPORTUNITY EXPANSION
SCHOOLS ADMINISTRATORS UNDER THE JURISDICTION
OF THE BANGKOK METROPOLITAN ADMINISTRATION
บทคัดย่อ
ของ
นายธวัชชัย กลิ่นดี
เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัยสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา
ตามหลักสูตรครุศาตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา
พ.ศ. 2545

ธวัชชัย กลิ่นดี (2544) คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร
บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
คณะกรรมการควบคุม ดร.สรายุทธ์ เศรษฐขจร
ดร.เปรมสุรีย์ เชื่อมทอง
ศ.ดร.สายหยุด จำปาทอง
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความต้องการเกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์
ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยทำการศึกษา 5 ด้าน คือ ด้านความรู้ความสามารถ
ในการบริหาร ด้านมนุษยสัมพันธ์ ด้านการสื่อสาร ด้านคุณธรรม และด้านวิสัยทัศน์ และเพื่อเปรียบเทียบคุณ
ลักษณะที่พึงประสงค์ตามความต้องการของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และครู – อาจารย์ในโรง
เรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และครู –
อาจารย์ ที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงเรียนปีการศึกษา 2544 จำนวน 329 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคุณลักษณะผู้
บริหารเป็นแบบสอบถามครอบคลุมทั้ง 5 ด้าน จำนวน 60 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีหาค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ค่า
เบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบการเปรียบเทียบโดยใช้ค่าเอฟ F – test
ผลการวิจัยพบว่าความต้องการของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และครู– อาจารย์
เกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมากทั้ง
5 ด้าน ได้แก่ ด้านคุณธรรม ด้านวิสัยทัศน์ ด้านมนุษยสัมพันธ์ ด้านความรู้ความสามารถในการบริหาร และด้าน
การสื่อสาร ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบความต้องการของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และ
ครู – อาจารย์ เกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร ทั้ง
5 ด้าน พบว่า ความต้องการด้านคุณธรรม ด้านวิสัยทัศน์ ด้านความรู้ความสามารถในการบริหาร และด้านการสื่อ
สาร มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนความต้องการด้านมนุษยสัมพันธ์ ไม่แตกต่าง
กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

DESIRABLE CHARACTERISTICS OF THE
OPPORTUNITY EXPANSION SCHOOLS
ADMINISTRATORS UNDER THE JURISDICTION
OF THE BANGKOK METROPOLITAN ADMINISTRATION
AN ABSTRACT
BY
TAWATCHAI KLINDEE
Presented in partial fulfillment of the requirements
For the Master of Education (Educational Administration)
At Rajabhat Institute Bansomdejchaopraya
2002

Tawatchai klindee (2002) Desirable Characteristics of the Opportunity Expansion schools
Administrators Under the Jurisdiction of the Bangkok Metropolitan Administration
Advisor Committee : Ph.D Sarayuth Sethkhajorn
Ph.D Premsuree Cheumtong
Prof.Ph.D Saiyuth Jumpatong
The aim of this research study was (1)to find out desirable characteristics of the
opportunity expansion schools administrators under the jurisdiction of the Bangkok
metropolitan administration and (2) to compare the characteristics as seen by three groups
of respondents : the administrators, the division heads and the division teacher. Five
characteristics were selected from studies and research works for this study. Questionnaires
were used to collect data and means , percentage , standard deviation and F - test were
employed to analyze the data.
Results of the study were found as follows :
1. Five desirable characteristics of the administrator were found at high level :
morality, vision , human relation , administrative skills and communication skills.
2. In comparison of these five characteristics , it was found that human relations was
not a significantly different at the .05 level. Where as morality , vision , administrative skills
and communication skills were significantly different at the .05 level.

สารบัญ
หน้า
กิตติกรรมประกาศ………………………………………………………………………………… ค
บทคัดย่อภาษาไทย………………………………………………………………………………… จ
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ…………………………………………………………………………….. ช
สารบัญเรื่อง………………………………………………………………………………………. ซ-ฌ
สารบัญตาราง…………………………………………………………………………………….. ญ
บทที่ 1 บทนำ………………………………………………………………………………………. 1
1.1 ภูมิหลัง ความเป็นมา และความสำคัญของปัญหา………………………………………. 1
1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย……………………………………………………………….. 3
1.3 ความสำคัญของการวิจัย…………………………………………………………………. 3
1.4 ขอบเขตของการวิจัย……………………………………………………………………. 3
1.5 นิยามศัพท์เฉพาะ……………………………………………………………………….. 4
1.6 กรอบความคิดในการวิจัย………………………………………………………………. 5
1.7 สมมุติฐานในการวิจัย…………………………………………………………………… 6
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง…………………………………………………………….. 8
2.1 การจัดการศึกษาโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร…………………………. 8
2.2 การบริหารการศึกษา……………………………………………………………………. 11
2.3 บทบาทและภารกิจผู้บริหารโรงเรียน…………………………………………………… 12
2.4 แนวความคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับคุณลักษณะผู้นำ………………………………………. 18
2.5 คุณลักษณะของผู้บริหารโรงเรียนที่พึงประสงค์……………………………………….. 23
2.6 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง……………………………………………………………………… 44
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย…………………………………………………………………………… 50
3.1 ประชากรกลุ่มตัวอย่าง…………………………………………………………………… 50

สารบัญ (ต่อ)
หน้า
3.2 ขั้นตอนในการสร้างเครื่องมือในการวิจัย………………………………………………... 50
3.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล…………………………………………………………………… 52
3.4 การจัดกระทำและการวิเคราะห์ข้อมูล……………………………………………………. 52
3.5 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล………………………………………………………….. 53
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล………………………………………………………………………. 55
4.1 ข้อมูลส่วนตัวของกลุ่มตัวอย่างและจำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม………………………… 55
4.2 ผลการศึกษาและเปรียบเทียบคุณลักษณะผู้บริหารที่พึงประสงค์……………………….. 56
บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ ……………………………………………………….. 83
5.1 สรุปผลการวิจัย…………………………………………………………………………. 85
5.2 อภิปรายผล……………………………………………………………………………… 87
5.3 ข้อเสนอแนะ……………………………………………………………………………. 100
บรรณานุกรม………………………………………………………………………………………. 102
ภาคผนวก………………………………………………………………………………………….. 107
รายนามผู้เชี่ยวชาญที่ตรวจสอบเครื่องมือการวิจัย…………………………………………… 108
แบบสอบถามเพื่อการวิจัย………………………………………………………………….. 109
หนังสือขอความอนุเคราะห์ในการเก็บข้อมูล……………………………………………….. 118
รายชื่อโรงเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย……………………………………………….. 119
ประวัติผู้วิจัย………………………………………………………………………………… 121

สารบัญตาราง
ลำดับตาราง หน้า
ตารางที่ 1 แสดงข้อมูลสถานภาพของกลุ่มตัวอย่าง………………………………………………………… 54
ตารางที่ 2 แสดงระดับความต้องการของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา
และครู – อาจารย์ เกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์รวม 5 ด้าน………………………………… 55
ตารางที่ 3 แสดงค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์
ด้านความรู้ความสามารถในการบริหาร……………………………………………………….. 56
ตารางที่ 4 แสดงค่าสถิติ F คุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านความรู้ความสามารถในการบริหาร……………. 58
ตารางที่ 5 แสดงการเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ คุณลักษณะที่พึงประสงค์
ด้านมนุษยสัมพันธ์…………………………………………………………………………….. 59
ตารางที่ 6 แสดงค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านมนุษยสัมพันธ์………… 60
ตารางที่ 7 แสดงค่าสถิติ F คุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านมนุษยสัมพันธ์……………………………….. 61
ตารางที่ 8 แสดงค่าเฉลี่ยและค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์
ด้านการสื่อสาร……………………………………………………………………………….. 62
ตารางที่ 9 แสดงค่าสถิติ F คุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านการสื่อสาร…………………………………….. 64
ตารางที่ 10 แสดงการเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่คุณลักษณะที่พึงประสงค์
ด้านการสื่อสาร…………….………………………………………………………………….. 64
ตารางที่ 11 แสดงค่าเฉลี่ยและค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านคุณธรรม………… 65
ตารางที่ 12 แสดงค่าสถิติ F คุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านคุณธรรม………………………………………. 66
ตารางที่ 13 แสดงการเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่คุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านคุณธรรม……….. 67
ตารางที่ 14 แสดงค่าเฉลี่ยและค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านวิสัยทัศน์……….. 68
ตารางที่ 15 แสดงค่าสถิติ F คุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านวิสัยทัศน์……………………………………… 70
ตารางที่ 16 แสดงการเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่คุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านวิสัยทัศน์……….. 71
ตารางที่ 17 แสดงข้อเสนอแนะคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านความรู้ความสามารถในการบริหาร………… 72
ตารางที่ 18 แสดงข้อเสนอแนะคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านมนุษยสัมพันธ์……………………………… 73
ตารางที่ 19 แสดงข้อเสนอแนะคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านการสื่อสาร…………………………………. 74
ตารางที่ 20 แสดงข้อเสนอแนะคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านคุณธรรม…………………………………… 75
ตารางที่ 21 แสดงข้อเสนอแนะคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านวิสัยทัศน์…………………………………… 76
บทที่ 1
บทนำ
ภูมิหลัง
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มีเป้าหมายให้โรงเรียนจัดการศึกษาเพื่อ
พัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา มีความรู้คู่คุณธรรม จริยธรรม
และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขดังนั้น โรงเรียนซึ่งเป็น
สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน จะต้องมีรูปแบบการบริหาร การจัดการ และดำเนินการจัดการ
ศึกษา โดยโรงเรียนจะมีบทบาทในเรื่องของหลักสูตรเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำสาระของ
หลักสูตรที่สอดคล้องกับหลักการใหม่ คือ การเรียนรู้จะไม่เกิดขึ้นเฉพาะในห้องเรียน แต่จะเกิดได้
ทุกเวลา ทุกสถานที่ กระบวนการจัดการศึกษาต้องยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ ให้ทุกคน
ได้เรียนรู้ตามความถนัด และตามศักยภาพของแต่ละคนที่แตกต่างกัน นักเรียนทุกคนจึงเรียนรู้ได้ไม่
เหมือนกัน ดังนั้น การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะสำเร็จมากน้อยเพียงใด ย่อมขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพ
และคุณภาพของกระบวนการที่ใช้ในการจัดการศึกษาเป็นสำคัญ (ประเวศ วะสี 2532 : 61)
การจัดการศึกษาให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาต ิ พ.ศ. 2542 นนั้ ผบู้ รหิ าร
โรงเรียนจะมีบทบาทที่สำคัญมาก เพราะเป็นผู้นำสูงสุดในโรงเรียนซึ่งการบริหารและการตัดสินใจ
สูงสุดแต่เพียงผู้เดียว ดังนั้น ผู้บริหารจึงต้องเป็นผู้ที่มีความเป็นผู้นำ วิสัยทัศน์ การประนีประนอม
ความคิดสร้างสรรค์ มนุษยสัมพันธ์ และมีความสามารถให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติงานได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ
ในปัจจุบันสภาพทางการศึกษา และบทบาทของผู้บริหารการศึกษาเปลี่ยนไป จึงต้องอาศัย
ผู้บริหารที่มีคุณลักษณะที่เหมาะสม สอดคล้องกับสภาพที่เกิดขึ้น จึงจะเอื้ออำนวยต่อการบริหารงาน
และพัฒนาการศึกษา ซึ่งจะทำให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความราบรื่นและบรรลุผลตามที่ต้องการ
ผู้บริหารที่มีคุณลักษณะไม่เหมาะสมจะทำให้เกิดปัญหาในการปฏิบัติงานและจะทำให้การดำเนิน
งานไม่ประสบความสำเร็จ ดังนั้น การมีคุณลักษณะหรือมีคุณสมบัติที่เหมาะสมของผู้บริหาร จึง
เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ผู้บริหารสามารถปฏิบัติภารกิจในตำแหน่งที่ตนดำรงอยู่ได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ
2
สำหรับโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร มีวิธีคัดเลือกผู้บริหารโรงเรียนตาม
หลักเกณฑ์ของสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร โดยกำหนดเกณฑ์ว่า ผู้มีสิทธิสมัครสอบผู้ช่วยผู้
บริหารต้องอยู่ในตำแหน่งอาจารย์ 1 ระดับ 5 โดยมีเงินเดือน 10,560 บาทขึ้นไป เมื่อสอบได้จะ
ได้เข้ารับการอบรมหลักสูตรผู้บริหารสถานศึกษา (ผบศ.) ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ และจะ
เข้าอบรมหลักสูตรผู้บริหารสถานศึกษาระดับสูง (ผบศ.ส.) ในลำดับต่อมา ในระยะเวลาหนึ่งแล้ว
สำนักการศึกษากรุงเทพมหานครแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียน และเลื่อนเป็น
อาจารย์ใหญ่ และผู้อำนวยการโรงเรียนตามลำดับ
ตามที่กรุงเทพมหานครได้ดำเนินการเกี่ยวกับโครงการขยายโอกาสทางการศึกษา
เพื่อสนองนโยบายของรัฐบาล ในการเตรียมการขยายการศึกษาภาคบังคับต่ออีก 3 ปีเปิดสอนใน
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนประถมศึกษามาตั้งแต่ปีการศึกษา 2535 จนถึง ปีการศึกษา
2543 มีโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษารวม 55 โรงเรียน มีนักเรียนทั้งสิ้น 15,083 คน (กองวิชา
การ สำนักการศึกษา 2543) ซึ่งสภาพปัจจุบันการบริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษามีความ
แตกต่างกันในด้านปัญหา อุปสรรค ในการบรหิ ารงานโรงเรยี นทาํ ใหห้ นว่ ยศกึ ษานเิ ทศก ์ สำนักการ
ศึกษา กรุงเทพมหานคร ต้องจัดสัมมนาเรื่องปัญหาอุปสรรค และแนวทางแก้ไขการจัดการศึกษาโรง
เรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร ในวันที่ 6 –7 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 ณ
โรงแรม เอส ดี อเวนิว พบปัญหาในการบริหารงานของโรงเรียนขยายโอกาส สังกัด
กรุงเทพมหานครว่า ผู้บริหารโรงเรียนขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องโครงสร้างของหลักสูตรระเบียบ
กฎเกณฑ์ต่าง ๆของโรงเรียนมัธยมที่เปิดขยายโอกาส ปัญหาด้านบุคคลากร ปัญหาการวัดผล
ประเมินผล
ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาเกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียน
ขยายโอกาสสังกัดกรุงเทพมหานครว่าควรมีคุณลักษณะอย่างไร เพื่อนำผลการวิจัย เป็นแนวทางใน
การพัฒนาและปรับปรุงงานของผู้บริหารโรงเรียนและนำเป็นข้อเสนอส่วนหนึ่งของหลักเกณฑ์การ
พิจารณาการแต่งตั้งผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสสังกัดกรุงเทพมหานครเพื่อให้ผู้บริหารโรงเรียน
บริหารองค์กรของตนให้สอดคล้องกับนโยบายการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษา
แห่งชาติ พ.ศ.2542 มีเป้าหมายการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย
จิตใจ สติปัญญา มีความรู้คู่คุณธรรม จริยธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมี
ความสุข
3
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาระดับความต้องการเกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียน
ขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร
2. เพื่อเปรียบเทียบความต้องการของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และ
ครู – อาจารย์ เกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัด
กรุงเทพมหานคร
ความสำคัญของการวิจัย
1. ผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร ได้นำผลการวิจัยไปใช้ในการ
พัฒนาหรือปรับปรุงตนเอง ให้เหมาะสม
2. ทำให้ทราบความแตกต่าง ด้านความต้องการของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยม
ศึกษา และครู-อาจารย์ เกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัด
กรุงเทพมหานคร และเป็นข้อเสนอส่วนหนึ่งของหลักเกณฑ์การพิจารณาการแต่งตั้งผู้บริหารโรงเรียน
ขอบเขตของการวิจัย
1. ตัวแปรที่ศึกษา
1.1 ตัวแปรอิสระ ได้แก่ สถานภาพของข้าราชการครูของโรงเรียนขยายโอกาส
สังกัดกรุงเทพมหานคร จำแนกเป็นตำแหน่งหน้าที่ดังนี้
1.1.1 ผู้บริหารโรงเรียน
1.1.2 หัวหน้าสายมัธยมศึกษา
1.1.3 ครู – อาจารย์
1.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยาย
โอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย
1.2.1 ด้านความรู้ความสามารถในการบริหาร
1.2.2 ด้านมนุษยสัมพันธ์
1.2.3 ด้านการสื่อสาร
1.2.4 ด้านคุณธรรม
1.2.5 ด้านวิสัยทัศน์
4
2. ประชากร
ประชากรของการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา
และครู - อาจารย์ ของโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2544
3. กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยม
ศึกษา และครู-อาจารย์ ของโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร ในปีการศึกษา 2544
นิยามศัพท์เฉพาะ
1. ผู้บริหารโรงเรียน หมายถึง ผู้ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ ผู้อำนวยการโรง
เรียน ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียน รวมทั้งผู้รักษาการในตำแหน่งนั้น ๆ โดยรับคำ
สั่งแต่งตั้งจากสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร
2. หัวหน้าสายมัธยมศึกษา หมายถึง ข้าราชการครูที่ดำรงตำแหน่งหัวหน้าสายมัธยมศึกษา
ตอนต้น ปฏิบัติหน้าที่ราชการอยู่ในโรงเรียนขยายโอกาสสังกัดกรุงเทพมหานคร
3. ครู - อาจารย์ หมายถึง ข้าราชการครูที่ปฏิบัติหน้าที่ราชการอยู่ในโรงเรียนขยายโอกาส
สังกัดกรุงเทพมหานคร
4. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ หมายถึง คุณลักษณะของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัด
กรุงเทพมหานคร ที่ทำให้ผู้บริหารแสดงพฤติกรรมต่างๆ ตามความต้องการของผู้บริหารโรงเรียน
หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และครู – อาจารย์ ของโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร แบ่ง
ออกเป็น 5 คุณลักษณะ ประกอบด้วย
4.1 ความรู้ความสามารถในการบริหาร หมายถึง ความสามารถในการประยุกต์
ความเชี่ยวชาญหรือความสามารถในการใช้ความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการบริหารโรงเรียน
ทั้ง 6 ด้าน คือ ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและชุมชน งานวิชาการ งานกิจการนักเรียน การ
บริหารงานบุคคล งานอาคารสถานที่ และวัสดุ ครุภัณฑ์ งานธุรการและการเงิน ให้เกิดผลดี
4.2 มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง พฤติกรรมที่ปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ได้แก่ ความ
ยิ้มแย้มแจ่มใส การรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น การให้ความเป็นกันเอง และการยกย่องชมเชย
4.3 การสื่อสาร หมายถึง กระบวนการที่เกี่ยวกับการส่งสาร และรับสารที่ใช้สื่อ
ความหมาย โดยผู้ส่งสาร และผู้รับสารมีความหมายตามกัน
5
4.4 คุณธรรม หมายถึง พฤติกรรมที่แสดงออกมาทางด้านร่างกาย ด้านวาจา
ด้านจิตใจ ได้แก่ การไม่เห็นแก่ตัว ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความซื่อสัตย์สุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่
การงาน
4.5 วิสัยทัศน์ หมายถึง คุณสมบัติของผู้บริหารที่สามารถมองเห็นภาพในอนาคต
ของโรงเรียนที่ต้องการเป็นไปได้อย่างชัดเจน
5. โรงเรียนขยายโอกาส หมายถึง โรงเรียนประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร ที่เข้า
โครงการขยายโอกาสทางการศึกษา ซึ่งเปลี่ยนจากระบบการศึกษาเดิม คือศึกษาภาคบังคับ 6 ปี
เป็น 9 ปี หรือจากการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที 6 เป็นการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตาม
มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2535
กรอบความคิดในการวิจัย
การวจิ ยั เรอื่ งนี้ มีกรอบความคิดว่า ผบู้ รหิ ารโรงเรยี นเปน็ ผนู้ าํ สงู สดุ ในโรงเรยี น มอี าํ นาจ
ในการตัดสินใจ สั่งการ และการจัดการศึกษาในโรงเรียน จึงเป็นบุคคลที่มีความสำคัญ และคุณ
ลักษณะต่าง ๆ ของผู้บริหาร จึงมีอิทธิพลในการบริหารงานทุก ๆ ด้านในโรงเรียน ที่เกี่ยวข้องกับ
บุคลากร และนักเรียนในโรงเรียน ดังนั้น การบริหารงานใด ๆ ย่อมมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้งานบรรลุ
เป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดจึงจำเป็นต้องมีผู้บริหารที่มีความรู้ความ
สามารถมีคุณธรรมเป็นที่พึงประสงค์ของผู้ร่วมงานเป็นส่วนใหญ่ คุณลักษณะของผู้บริหารนี้ย่อมมี
ความสัมพันธ์กับปริมาณคุณภาพและประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานในหน่วยงานดังนั้นจึงมีผู้
ศึกษาคุณลักษณะที่เอื้อต่อการบริหารงานของผู้บริหารไว้มากผู้วิจัยจึงเลือกลักษณะที่พึงประสงค์
ของผู้บริหาร 5 ด้าน คือ ด้านความรู้ความสามารถในการบริหาร มนุษยสัมพันธ์ การสื่อสาร
คุณธรรม และด้านวิสัยทัศน์ ซึ่งสอดคล้องตามแนวคิดของ สต๊อกดิลล์ (Stogdill. 1974 : 74-75)
วีระวัฒน์ ปันนิตามัย (2537 : 13-16) ลัทธิ ยศปัญญา (2533 : 82-93) ทองอิน วงศ์โสธร และคน
อื่น ๆ (2523 : 8-16) บุญมา กัมปนาทพงษ์ (2532 : 13) สุนีย์ บุญทิม (2542 : 104-105) ประถม
แสงสว่าง (2524 : 9)
6
แผนภาพแสดงกรอบความความคิดในการวิจัย
มนุษยสัมพันธ์ ความรู้ความรู้สามารถในการบริหาร
คุณลักษณะของผู้บริหาร
สมมติฐานในการวิจัย
1. ผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา ครู – อาจารย์ มีความต้องการเกี่ยวกับ
คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร ด้านความรู้
ความสามารถในการบริหารแตกต่างกัน
2. ผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา ครู – อาจารย์ มีความต้องการเกี่ยวกับ คุณ
ลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร ด้านมนุษยสัมพันธ์
แตกต่างกัน
3. ผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา ครู – อาจารย์ มีความต้องการเกี่ยวกับคุณ
ลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร ด้านการสื่อสาร
แตกต่างกัน
วิสัยทัศน์
คุณธรรม
การสื่อสาร
7
4. ผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา ครู – อาจารย์ มีความต้องการเกี่ยวกับคุณ
ลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร ด้านคุณธรรม
แตกต่างกัน
5. ผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา ครู – อาจารย์ มีความต้องการเกี่ยวกับคุณ
ลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร ด้านวิสัยทัศน์
แตกต่างกัน
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนสังกัด
กรุงเทพมหานคร ดังนั้น จึงได้ศึกษาเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องตามลำดับ ต่อไปนี้
1. การจัดการศึกษาโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร
2. การบริหารการศึกษา
3. บทบาทและภารกิจของผู้บริหารโรงเรียน
4. แนวความคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับคุณลักษณะของผู้นำ
5. คุณลักษณะของผู้บริหารโรงเรียนที่พึงประสงค์
5.1 ด้านความรู้ ความสามารถในการบริหาร
5.2 ด้านมนุษยสัมพันธ์
5.3 ด้านการสื่อสาร
5.4 ด้านคุณธรรม
5.5 ด้านวิสัยทัศน์
6. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การจัดการศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสสังกัดกรุงเทพมหานคร
การขยายโอกาสทางการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เป็นนโยบายสำคัญประการหนึ่ง
ของรัฐบาลที่ต้องการให้ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้เรียนจนจบมัธยมศึกษาตอนต้น เพื่อเป็นพื้น
ฐานในการปรับตัวให้ทันต่อสภาพความเปลี่ยนแปลงทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของ
ประเทศที่กำลังพัฒนา จากสภาพสังคมการเกษตร ไปสู่สภาพกึ่งอุตสาหกรรมและบริการที่มีผล
กระทบต่อการดำเนินชีวิตของคนไทยในปัจจุบันและอนาคต ดังนั้นในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติระยะที่ 7 (พ.ศ.2535-2539) ได้กำหนดเป้าหมายทางด้านการจัดการศึกษาไว้ว่า ใน
ปี พ.ศ.2539 จะเพิ่มอัตราการเรียนต่อ ม.1 ในระบบโรงเรียนให้ได้ถึงประมาณร้อยละ 73 ของนัก
เรียนชั้น ป.6 ทั้งหมดและสามารถจัดการศึกษาภาคบังคับจาก 6 ปีเป็น 9 ปี ได้ภายในปี
พ.ศ.2544
9
จากนโยบายดังกล่าว คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
ดำเนินการขยายการศึกษาภาคบังคับออกไปอีก 3 ปี ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลและเมืองพัทยา และ
วันที่ 3 มีนาคม 2535 ได้อนุมัติการขยายโอกาสทางการศึกษาในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร
โดยจัดบริการแก่นักเรียนที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แล้วให้เรียนเพิ่มขึ้นอีก 3 ปี ซึ่ง
กรุงเทพมหานครได้ดำเนินการเปิดโรงเรียนขยายโอกาสต่อไปทุกปีจนสิ้นสุดแผนการศึกษา
กรุงเทพมหานครฉบับที่ 4 (พ.ศ.2536-2539) หลังจากนั้นอาจพิจารณาตามความจำเป็น และความ
เหมาะสม โดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้มอบหมายงานให้สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร
รับผิดชอบโดยตรง (สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. 2541 : 1-2)
รูปแบบและวิธีการดำเนินงานตามโครงการขยายโอกาสทางการศึกษากรุงเทพมหานคร
กรุงเทพมหานคร สรุปแบบการดำเนินงานตามโครงการขยายโอกาสทางการศึกษา โดย
แบ่งออกเป็น 4 รูปแบบ คือ (สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร 2536 : 3)
1. การจัดให้เปล่า คือ ผู้เรียนไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน การดำเนินงานจะใช้งบ
ประมาณของรัฐ และงบประมาณของกรุงเทพมหานครสมบท
2. จัดระบบการศึกษาขยายต่อจากโรงเรียนประถมศึกษาเดิมที่มีอยู่ และต่อไปใน
อนาคตอาจดำเนินการเป็นโรงเรียนมัธยมเฉพาะได้
3. ด้านหลักสูตรการเรียนการสอน ใช้หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น กรมสามัญ
ศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ โดยเน้นให้ผู้เรียนได้เลือกกลุ่มวิชาการงานและอาชีพที่สอดคล้องกับ
ความต้องการด้านเศรษฐกิจ สังคม และแรงงานท้องถิ่น
4. ระยะเวลาการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการศึกษากรุงเทพมหานคร
4.1 ปีการศึกษา 2535 เริ่มดำเนินการ 4 โรงเรียน (เป็นโรงเรียนนำร่อง)
4.2 ปีการศึกษา 2536 ขยายโรงเรียนเพิ่มอีก 12 โรงเรียน รวมเป็น 16
โรงเรียน
4.3 ปีการศึกษา 2537-2539 ขยายโรงเรียนเพิ่มขึ้นปีละ 15 โรงเรียน
การดำเนินงาน
สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร ได้แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานประกอบด้วยผู้แทน
จากทุกกองของสำนักสำนักการศึกษา ทำหน้าที่วางแผนการเปิดในแต่ละปีการศึกษา วางหลัก
เกณฑ์การคัดเลือกโรงเรียนทำหน้าที่พิจารณาคัดเลือกโรงเรียนที่มีความเหมาะสม โดยมีขั้นตอน
การดำเนินงาน ดังนี้
10
1. เดือนตุลาคมของแต่ละปี สำนักการศึกษาแจ้งสำนักงานเขตทุกเขตให้ทำการสำรวจ
โรงเรียนที่มีความพร้อมตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ส่งรายชื่อไปยังสำนักการศึกษา
2. สำนักการศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการออกไปสำรวจ และพิจารณาความพร้อมดังกล่าว
และคัดเลือกโรงเรียนที่จะเปิดดำเนินการเป็นปี ๆ ไป
3. แจ้งชื่อโรงเรียนที่เปิดดำเนินการในแต่ละปีไปยังกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อจัดเข้ากลุ่ม
โรงเรียนมัธยมศึกษา ตามระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยกลุ่มโรงเรียนมัธยมศึกษา
พ.ศ.2534 โดยกระทรวงศึกษาธิการ จะออกเป็นประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
4. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีหน้าที่รับผิดชอบภารกิจเกี่ยวกับโครงการขยายโอกาส ดังนี้
4.1 สำนักเลขานุการสำนัก โดยฝ่ายช่างและบริการทำหน้าที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง
อาคารเรียน ตลอดจนซ่อมแซมอาคารสถานที่ เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอน วางแผนเกี่ยวกับ
การของบประมาณดำเนินการดังกล่าว
4.2 กองการเจ้าหน้าที่ ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดสรรครูและลูกจ้าง วางแผนใน
การจัดสรรอัตราครู การจัดทำของบประมาณเกี่ยวกับเงินเดือนค่าจ้างต่าง ๆ
4.3 กองโรงเรียนดำเนินการจัดซื้อ การจัดหาวัสดุครุภัณฑ์ จัดสรรงบประมาณ
ค่าใช้จ่ายแก่โรงเรียน จัดทำคำของบประมาณเกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการขยายโอกาสทางการ
ศึกษา
4.4 กองวิชาการดำเนินการเกี่ยวกับการจัดซื้อ หาเอกสารคู่มือหลักสูตร หนังสือ
เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนและเข้าห้องสมุดของโรงเรียน ตลอดจนควบคุมตรวจสอบ
คุณภาพทางการศึกษา จัดทำงบประมาณเกี่ยวกับการดำเนินงานดังกล่าว
4.5 หน่วยศึกษานิเทศก์ ดำเนินเกี่ยวกับการอบรมพัฒนาผู้บริหารโรงเรียน ครู
และผู้เกี่ยวข้องให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบริหาร การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การวัดผล
ประเมินผลได้ตามแนวทางของหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น การจัดหาสื่ออุปกรณ์ หลักสูตร คู่มือ
ประกอบการอบรมนิเทศ ติดตามผลกการดำเนินงานของโรงเรียน รายงาน การดำเนินงานของ
โครงการขยายโอกาสทางการศึกษา จัดทำแผนงานโครงการเพื่อของบประมาณ เพื่อดำเนินงาน
การวางแผนพัฒนาครู
4.6 กองคลัง ดำเนินการเกี่ยวกับการรวบรวมแผนงานโครงการของหน่วยงานต่าง
ๆ จัดทำแผนงานรวมเพื่อของบประมาณจากสำนักงบประมาณ และกรุงเทพมหานคร จัดทำตรวจ
11
สอบเกี่ยวกับการเบิกจ่ายงบประมาณตามโครงการแนะนำเกี่ยวกับการจัดซื้อ จัดจ้าง เกี่ยวกับงบ
ประมาณในโครงการให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
4.7 สำนักงานเขต ดำเนินการควบคุม ประสานงาน สนับสนุนการดำเนินงาน
ของโรงเรียน ดำเนินการเบิกจ่ายงบประมาณตามโครงการตรวจเยี่ยมให้ขวัญกำลังใจ ติดตามช่วย
เหลือโรงเรียน
หลักเกณฑ์การคัดเลือกโรงเรียน
1. เป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในชุมชน ซึ่งนักเรียนส่วนใหญ่ต้องการศึกษาต่อ แต่มีจำกัดด้าน
ฐานะ การเดินทางเข้าศึกษาต่อในสังกัดอื่นไม่ได้
2. มีอาคารสถานที่เพื่อใช้เป็นห้องเรียนประมาณ 6 ห้องเรียน ( สำหรับชั้น ม. 1 – ม. 3 )
ชั้นละ 2 ห้องเรียน มีห้องพิเศษ เช่น ห้องวิทยาศาสตร์ ห้องแนะแนว ห้องฝึกอาชีพ รวมทั้งมีสนาม
พื้นที่ทำการเกษตร และประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ตามหลักสูตรอย่างเพียงพอ
3. ผู้บริหารและครูในโรงเรียนมีความเข้าใจ สนใจและเต็มใจส่งเสริมสนันสนุนการปฏิบัติ
งานตามโครงการให้บรรลุผลสำเร็จอย่างต่อเนื่อง
4. มีครูผู้สอนที่มีความรู้ความสามารถ ตลอดจนวุฒิการศึกษาสาขาวิชาเอกในรายวิชาที่เปิด
สอน
5. ผู้ปกครองนักเรียน ชุมชน ให้การสนับสนุนกิจกรรมของโรงเรียน
ผลการดำเนินงาน
สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร ได้ดำเนินการคัดเลือกโรงเรียนเข้าร่วมโครงการตั้งแต่ปี
2523 โดยปีการศึกษา 2523 คัดเลือกจำนวน 4 โรงเรียน ปีการศึกษา 2536 เพิ่ม 12 โรงเรียน ปี
การศึกษา 2537 เพิ่ม 6 โรงเรียนปีการศึกษา 2538 เพิ่ม 7 โรงเรียน ปีการศึกษา 2539 เพิ่ม 15
โรงเรียน ปีการศึกษา 2540 เพิ่ม 4 โรงเรียน และปัจจุบัน ปีการศึกษา 2543 มีจำนวนโรงเรียน
ขยายโอกาสสังกัดกรุงเทพมหานคร ทั้งหมด 55 โรงเรียน
การบริหารการศึกษา
นักการศึกษาได้อธิบายความหมายของคำว่า “การบริหารการศึกษา” ไว้หลายท่าน ดังนี้
จรัส โพธิศิริ (2523 : 7) อธิบายไว้ว่า การบริหารการศึกษา คือ กิจกรรมต่าง ๆ ที่กลุ่ม
บุคคลร่วมมือกันจัดการ เพื่อพัฒนาสมาชิกของสังคม ซึ่งได้แก่ เด็ก เยาวชน ประชาชน เพื่อให้
12
เป็นกำลังคน (Manpower) ที่มีประสิทธิภาพ เพียบพร้อมด้วยคุณค่าความเป็นมนุษย์ (Manhood)
ด้วยกระบวนการต่าง ๆ ทั้งที่เป็นระเบียบ แบบแผน และไม่เป็นระเบียบแบบแผน ทั้งในและนอก
ระบบอย่างต่อเนื่องกันตลอดชีวิต
วิจิตร ศรีสะอ้าน (2525 : 15) ให้ความเห็นเกี่ยวกับการบริหารการศึกษาว่า เป็นกิจกรรมที่
สำคัญของสังคม มีลักษณะและวิธีการเฉพาะ แตกต่างจากกิจการอื่น เป็นกิจกรรมที่มีขอบข่าย
และวิธีการของตนโดยเฉพาะ ซึ่งจำเป็นต้องมีการบริหารเฉพาะเกิดขึ้น เพราะการศึกษาเป็นกิจ
กรรมที่เกี่ยวกับคน จะต้องใช้ทรัพยากรทุกด้านมากกว่ากิจกรรมอื่นทั้งหมดของสังคม
นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์ (2525 : 4) การบริหารการศึกษา หมายถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่บุคคล
หลายคนร่วมมือกันดำเนินการ เพื่อพัฒนาสมาชิกของสังคมทุก ๆ ด้าน โดยกระบวนการต่าง ๆ ที่
อาศัยการควบคุมสิ่งแวดล้อมให้มีผลต่อบุคคล และอาศัยทรัพยากร ตลอดจนเทคนิคต่าง ๆ อย่าง
เหมาะสม เพื่อให้บุคคลพัฒนาไปตามเป้าหมายของสังคมที่ตนดำเนินชีวิตอยู่
กู๊ด วี คาร์เตอร์ (Good, 1973 : 14) กล่าวว่า การบริหารการศึกษา หมายถึง การวินิจฉัย
สั่งการ การควบคุม และการจัดการทุกสิ่งทุกอย่าง เพื่อดำเนินงานของโรงเรียนด้านต่าง ๆ รวมทั้ง
ด้านธุรการด้วย ให้บังเกิดผลตามวัตถุประสงค์
จากคำอธิบายของคำว่า การบริหารการศึกษา จึงสรุปได้ว่า การบริหารการศึกษา
หมายถึง กระบวนต่าง ๆ ที่ใช้ศาสตร์และศิลป์ ทำกิจกรรมที่พัฒนาทุก ๆ ด้านของเยาวชน
หรือประชาชนให้มีความรู้ ความสามารถ และเป็นสมาชิกที่มีคุณภาพของสังคม
บทบาทและภารกิจของผู้บริหารโรงเรียน
ผู้บริหารโรงเรียน หมายถึง ผู้ที่ได้รับคำสั่งแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่
และผู้อำนวยการโรงเรียนซึ่งเป็นบุคคลที่มีความสำคัญในการนำนโยบายของรัฐที่เกียวกับการจัด
การศึกษามาสู่การปฏิบัติ ให้บรรลุผลตามความมุ่งหมาย
แคมพ์เบลล์ และคนอื่น ๆ (Campbell and Others 1978 : 116-149) ได้เสนอแนะภารกิจ
ของผู้บริหารโรงเรียนมี 6 ด้าน คือ
1. งานด้านวิชาการ เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับการวางแผนการดำเนินการ และการประเมิน
ผลการศึกษา บทบาทของผู้บริหารในด้านที่เกี่ยวกับการวางจุดมุ่งหมายเฉพาะของสถานที่ การวาง
โครงการของการเรียนการสอน หลักสูตรและการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร การจัดและคัดเลือกใช้สื่อ
การเรียน และอุปกรณ์การสอน และการประเมินผลการสอน
13
2. งานธุรการและการเงิน งานด้านนี้เป็นส่วนสำคัญยิ่งในการส่งเสริมการเรียนการสอน
สิ่งที่ผู้บริหารควรจะให้ความสนใจ ได้แก่ งบประมาณ ค่าใช้จ่ายตามแผนของทางราชการ งาน
สารบรรณ งานพัสดุ – ครุภัณฑ์
3. การบริหารงานบุคคล ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของสถานศึกษาส่วนใหญ่ขึ้นกับ
การบริหารงานบุคคลไม่น้อยเลย ผู้บริหารควรพิจารณางานบริหารบุคคลในเรื่องนโยบายของการ
บริหารบุคคล การคัดเลือกบุคคลเข้าทำงาน การนิเทศงานและการประเมินผลประสิทธิภาพ
4. ความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับโรงเรียน งานด้านนี้ผู้บริหารต้องศึกษาเกี่ยวกับคุณ
ลักษณะของชุมชน ความต้องการของชุมชน การให้ข้อมูลของโรงเรียนแก่ชุมชน บทบาทของโรง
เรียนต่อชุมชน และบทบาทขององค์การต่าง ๆ ในชุมชน
5. อาคารสถานที่ และวัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆ การจัดโปรแกรมการเรียนการสอน การบริการ
นักเรียน จำเป็นต้องใช้สถานที่และวัสดุอุปกรณ์ งานด้านนี้มีความหมายรวมถึง อาคาร สถานที่
สนาม วัสดุ อุปกรณ์ เพื่อการศึกษา ผู้บริหารควรสนใจในเรื่องการวางแผน อาคาร สถานที่ การ
พัฒนาและบำรุงรักษาอาคารสถานที่ และวัสดุ อุปกรณ์ เพื่อช่วยในการเรียนการสอน
6. งานกิจการนักเรียน หัวหน้าสถานศึกษาจะต้องจัดการเกี่ยวกับนักเรียน ในเรื่องกิจการ
นักเรียนและจัดรูปองค์การนักเรียน ระเบียบและทะเบียนต่าง ๆ การจัดบริการให้แก่นักเรียน ควบ
คุมความประพฤติ และระเบียบวินัยนักเรียน
เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์ (2522 : 179 – 183) มีความเห็นเกี่ยวกับบทบาทของหัวหน้าสถาน
ศึกษา มีดังนี้
1. เป็นผู้นำทางการศึกษา ซึ่งอาจกระทำในลักษณะ ดังต่อไปนี้
1.1 รับผิดชอบในความก้าวหน้าทางวิชาชีพของตน
1.2 ร่วมเป็นสมาชิก สมาคม วิชาชีพของตน
1.3 รู้จักผลิตและใช้งานวิจัยเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
1.4 ถือว่าจุดมุ่งหมายของโรงเรียนอยู่เหนือกว่าจุดมุ่งหมายของตน
1.5 รู้จักใช้คนให้ถูกกับงาน
1.6 เป็นผู้มีจริยธรรม
1.7 มีความเชื่อมั่นและเชื่อในศักดิ์ศรีของเพื่อนร่วมงาน
1.8 รู้จักวิธีที่จะขอคำปรึกษาจากผู้อื่น
1.9 ห่วงใยในสวัสดิภาพของเพื่อนร่วมงาน
14
1.10 ศรัทธาในอาชีพของตน
2. สร้างความสัมพันธ์อันดีกับชุมชน เพราะโรงเรียนเป็นสถาบันส่วนหนึ่งของสังคม
ผู้บริหารโรงเรียนซึ่งเป็นหัวหน้าสถานศึกษา จึงต้องจัดและให้บริการแก่สังคม เพื่อสังคมจะได้ใน
การสนับสนุนและช่วยเหลือโรงเรียน
3. เป็นผู้นำในการจัดหาสื่อการเรียนการสอน และงานวิจัย หัวหน้าสถานศึกษาจะต้องจัด
หา จัดให้มี สิ่งซึ่งเอื้อประโยชน์ต่อกระบวนการการเรียนการสอน รวมทั้งสนใจในงานวิจัยใหม่ ๆ
เพื่อประยุกต์ใช้กับการพัฒนาการเรียนการสอน
4. รู้จักประเมินผลงานของตนเอง หัวหน้าสถานศึกษาที่ชาญฉลาดจะหมั่นวิเคราะห์ตนเอง
ว่า ขณะนี้ตนเองมีจุดเด่น จุดด้อยอะไรบ้าง และเมื่อทราบแล้วจะต้องคอยปรับปรุงเพิ่มส่วนที่บก
พร่อง เสริมจุดเด่นให้เข้มแข็งขึ้น
นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์ (2534 : 18 ) ได้กล่าวถึงภารกิจของผู้บริหารการศึกษาว่า ครูใหญ่
หรืออาจารย์ใหญ่ในฐานะดำรงตำแหน่งสูงสุดในการบริหารงานการศึกษาภายในโรงเรียน มีภารกิจ
ที่จะต้องปฏิบัติทั้งภายในและภายนอกโรงเรียนมากมาย ซึ่งอาจสรุปหน้าที่ของครูใหญ  ได  5
ประการ คือ
1. การให้โอกาสทางการศึกษา และปรับปรุงการศึกษาในโรงเรียนหรืองานบริหารงานวิชา
การ
2. บริหารงานบุคลากรในโรงเรียน
3. บริหารที่เกี่ยวกับชุมชนและการประชาสัมพันธ์โรงเรียน
4. บริหารงานเกี่ยวกับอาคาร สถานที่ ธุรการ การเงินและการให้บริการ
5. การบริหารกิจการนักเรียน
จากแนวคิดบทบาทและภารกิจของผู้บริหารโรงเรียนจะเห็นได้ว่าผู้บริหารมีบทบาทและ
ภารกิจมากทุกด้านด้านวิชาการ ธุรการการเงิน การบริหารงานบุคคล ความสัมพันธ์ระหว่างโรง
เรียนและชุมชน อาคารสถานที่วัสดุอุปกรณ์ งานกิจการนักเรียน ดังนั้นผู้บริหารต้องมีความรู้ความ
สามารถบริหารงานทุกด้านตามบทบาทและภารกิจของผู้บริหารให้บรรลุเป้าหมายและพัฒนาโรง
เรียนไปสู่ความสำเร็จ
15
1. การให้โอกาสทางการศึกษา และปรับปรุงการศึกษาในโรงเรียน
หรืองานบริหารงานวิชาการ
สมเกียรติ เจริญฉิม (2533 : 22 – 28) มีความเห็นว่า “การบริหารงานวิชากร หมายถึง
การบริหารกิจกรรมทุกชนิดในโรงเรียน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการปรับปรุงพัฒนาการสอนนักเรียนให้ได้
ผลดี และมีประสิทธิภาพที่สุด ที่ผู้บริหารโรงเรียนจะต้องเป็นผู้นำในด้านวิชาการ โดยการทำงาน
ร่วมกับครู”
งานวิชาการของโรงเรียน ผู้บริหารจะต้องดำเนินงานเกี่ยวข้องกับการที่ต้องแสวงหา เขียน
ปรัชญา และจุดประสงค์ของการจัดการศึกษาของโรงเรียนออกมาให้ชัดเจน จะต้องมีความรู้ความ
เข้าใจหลักสูตรเป็นอย่างดี รู้จักแนะนำให้ครูรู้จักใช้และทำประมวลการสอน โครงการสอน หรือ
บันทึกการสอน รู้หลักในการทำตารางสอน จัดวิชาต่าง ๆ ให้เหมาะสม เป็นผู้ให้การนิเทศหรือ
แสวงหาผู้เชี่ยวชาญมาให้การนิเทศแก่ครู ได้รู้จักเลือกและแสวงหาวัสดุ อุปกรณ์ และแนะนำให้
ครูใช้ตามกำลังความสามารถของโรงเรียนให้ครูรู้จักการเลือก และจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร จัด
ห้องสมุดให้ครูและนักเรียนได้ค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม ส่งเสริมให้ครูรู้จักวิธีการประเมินผลการ
เรียนการสอน และรู้จักนำผลการสอนมาปรับปรุงครูในด้านการสอน
ในทางบริหารงานวิชาการนั้น ผู้บริหารควรจะกระจายอำนาจ (Delegate the authority)
และความรับผิดชอบ (Responsibility) ไปให้ครูทุกคน ความเป็นผู้นำของผู้บริหารการศึกษาอยู่ที่
ความสามารถที่จะใช้คนอื่นให้ทำงาน โดยไม่ต้องใช้วิธีการขู่บังคับ แต่อยู่ที่เทคนิคในการกระตุ้น
เตือน (Motivate) ให้ครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการสอนนักเรียนทุกคน ขยันขันแข็งทำงานอย่างเต็ม
ใจ และอดทน จะเห็นได้ว่าภารกิจทางด้านงานวิชาการนั้น ผู้บริหารจะรับผิดชอบเพียงผู้เดียวไม่
ได้ หน้าที่ของผู้บริหารจึงต้องคอยกระตุ้นและส่งเสริมให้ครูร่วมมือกันทุกคน ในการที่จะปรับปรุง
งานวิชาการของโรงเรียนให้ดีขึ้น
2. การบริหารงานบุคลากรในโรงเรียน
การบริหารงานที่ดีย่อมต้องอาศัยบุคคลที่ดี มีความรู้ มีความสามารถ และการที่จะได้
บุคคลที่ดีเข้ามาปฏิบัติงานและธำรงรักษาไว้ก็จำต้องมีการบริหารงานบุคคลที่ดีด้วย นักบริหารที่ดี
และสามารถจึงควรได้ส่งเสริมดูแลเอาใจใส่ทำนุบำรุงรักษาให้ทรัพยากรบุคคลอยู่ในสภาพที่
สามารถปฏิบัติงานได้อย่างดี มีประสิทธิภาพ และมีจำนวนเพียงพออยู่เสมอ
16
จะเห็นได้ว่างานบริหารงานบุคลากรที่สำคัญมาก ผู้บริหารจะทำงานแต่ลำพังให้สำเร็จนั้น
ต้องการทีม (Team) ของคนที่จะมาร่วมงาน เช่น ผู้ช่วยผู้บริหาร คณะครู คนงาน ภารโรง ซึ่งอยู่
ใต้บังคับบัญชาของตน จะต้องได้รับการเอาใจใส่ดูแลเป็นอย่างดี เพื่อก่อให้เกิดขวัญและกำลังใจ
ในการทำงานแก่ผู้ร่วมงานทุกคน ดังนั้น ผู้บริหารจะต้องมีความรอบรู้ในเรื่องการบริหารงานบุคคล
เป็นอย่างดีด้วย
3. การบริหารที่เกี่ยวกับชุมชุน และการประชาสัมพันธ์โรงเรียน
โรงเรียนถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน เป็นสถาบันที่ชุมชนจะต้องให้ความร่วมมือจัด
ตั้งและดำเนินการศึกษา โรงเรียนและชุมชนจะต้องเป็นของคู่กันอยู่เสมอ เพราะโรงเรียนจะต้องทำ
หน้าที่ถ่ายทอดความรู้ และศิลปวัฒนธรรมของชาติ เพื่อให้เยาวชนรุ่นหลัง ๆ ได้ศึกษาและสืบต่อ
เพื่อความเจริญก้าวหน้าของสังคม โรงเรียนจึงเป็นรูปแบบหนึ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อให้มีการ
ถ่ายทอดความรู้อย่างเป็นระบบ โรงเรียนได้รับการสนับสนุนด้านการเงินจากชุมชนในรูปของภาษี
และความช่วยเหลือพิเศษ ดังนั้น โรงเรียนจึงมีข้อผูกพันทางกฎหมาย ศีลธรรม และความรับผิด
ชอบร่วมกับชุมชน ประชาชนมีส่วนเป็นเจ้าของและอุปถัมภ์โรงเรียน ความสัมพันธ์ระหว่างโรง
เรียนและชุมชนจึงจำเป็นต้องเป็นกระบวนการสองทางคือ โรงเรียนต้องมีส่วนร่วมพัฒนาชุมชน
ให้ข่าวสารกับชุมชน ชุมชนต้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาสนับสนุนโรงเรียนในเวลาเดียวกัน
ภิญโญ สาธร (2523 :18) ได้ให้ข้อสังเกตในการบริหารโรงเรียนเกี่ยวกับการสร้าง มนุษย
สัมพันธ์กับชุมชน สำหรับสังคมไทย ซึ่งผู้บริหารการศึกษาไทยควรได้พิจารณาในการบริหารงาน
ไว้ 6 ประการ คือ
1. ผู้บริหารการศึกษาทุกระดับควรถือว่าโรงเรียนเป็นของประชาชน รัฐจัดโรงเรียนขึ้นเพื่อ
ประโยชน์ของประชาชน
2. ผู้บริหารการศึกษาควรอยู่ใกล้ชิดประชาชน มีงานทางวัฒนธรรมและศาสนาที่ไหน พอ
จะไปร่วมกับเขาได้ก็ควรไปไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่เราเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ทั้งนี้เพื่อรักษามนุษย-
สัมพันธ์ และความร่วมมือที่ดีกับประชาชน
3. ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนมารู้เห็นกิจการของโรงเรียนตามสมควร หรือทุก
โอกาสที่ทำได้
4. แนะนำให้ครูออกไปพบปะผู้ปกครอง หรือเยี่ยมเยียนนักเรียนที่บ้าน ถ้าพอจะทำได้
และสถานการณ์อำนวย เพื่อสร้างความสัมพันธ์ส่วนตัว ตามแบบวัฒนธรรมไทย
17
5. มีทางใดที่โรงเรียนพอจะช่วยพัฒนาชาวบ้าน ด้วยการให้การศึกษา ทั้งด้านวิชาสามัญ
และวิชาชีพ ผู้บริหารไม่ควรเพิกเฉย แต่ควรจัดให้ทุกโอกาสที่พอจะทำได้
6. การรับความช่วยเหลือทางการเงิน ซึ่งนำมาบำรุงโรงเรียน โดยการให้เกียรติแก่ผู้ให้
ด้วยวิธีการอย่างดี และเอิกเกริก ก็ควรให้เป็นไปด้วยความรอบคอบและคำนึงถึงความรู้สึกของ
ประชาชน อันจะเป็นผลดีแก่ทางโรงเรียน
การประชาสัมพันธ์โรงเรียน
โรงเรียนในฐานะเป็นสังคมหน่วยหนึ่ง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสังคมใหญ่ มีหน้าที่ให้ความรู้
ส่งเสริมและพัฒนาสมาชิกที่ดี มีประสิทธิภาพให้กับสังคมได้รับเงินสนับสนุนจากภาษีของราษฎร
และได้รับความไว้วางใจจากผู้ปกครองส่งกุลบุตร กุลธิดา เข้ามาศึกษาหาความรู้ ดังนั้น ความ
เคลื่อนไหวทางการจัดการศึกษาของโรงเรียน ประชาชนจึงควรมีสิทธิที่จะต้องทราบ จะต้องเข้าใจ
และให้ความร่วมมือสนับสนุนทั้งทางด้านกำลังเงิน กำลังกาย และกำลังปัญญา ดังนั้น กระบวน
การสื่อสารติดต่อสัมพันธ์สองทาง คือ โรงเรียนแจ้งข่าวสารความเคลื่อนไหวทางการดำเนินงานให้
ประชาชนทราบ และให้ประชาชนให้ข้อคิดเห็นเสนอแนะ และให้ความสนับสนุนต่อโรงเรียนใน
ด้านต่าง ๆ จึงเป็นภารกิจที่ทั้งสองฝ่ายพึงมีต่อกัน เพื่อให้เกิดภาพพจน์ที่ดี ความเชื่อถือศรัทธา และ
การสนับสนุนร่วมมือให้การศึกษาของชาติก้าวหน้าและมีคุณภาพประสิทธิภาพสูงขึ้น(นพพงษ์ บุญ
จิตกาดุลย์ : 2527)
การประชาสัมพันธ์โรงเรียนจะเน้นในด้านความสัมพันธ์ของบุคคลต่าง ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
กับโรงเรียน การปฏิบัติตนต่อกันและกัน ตลอดจนกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะจัดดำเนินงานมุ่งความเข้าใจ
เชื่อถือศรัทธาและความผูกพันโดยไม่หวังผลกำไร หรือการโฆษณาชวนเชื่อ
4. การบริหารงานเกี่ยวกับธุรการ การเงิน อาคารสถานที่การให้บริการ
การบริหารงานธุรการเป็นงานบริหารโรงเรียนส่วนหนึ่งที่นับว่าสำคัญ อันเกี่ยวกับการจัด
หา การใช้จ่าย การบัญชี การบำรุงรักษา การจัดหน่วยงาน และการดูแลเกี่ยวกับการเงิน และวัสดุ
อุปกรณ์ ให้มีประสิทธิภาพที่จะช่วยสนับสนุนให้บุคลากรของโรงเรียนใช้ความพยายามในการ
ทำงานได้อย่างสูงสุด เพื่อช่วยให้บรรลุตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้
18
งานธุรการของโรงเรียน การเงิน งบประมาณ อาคารสถานที่บริเวณและบริการต่าง ๆ
ของโรงเรียนนั้นเป็นงานสำคัญที่ผู้บริหารการศึกษาต้องทำเป็นประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ช่วย
บริหารการศึกษาระดับโรงเรียน
5. การบริหารกิจการนักเรียน
การบริหารกิจการนักเรียนเป็นงานที่สำคัญยิ่งอย่างหนึ่งที่จะต้องดำเนินไปอย่างฉลาดรอบ
คอบ ความสำเร็จในการบริหารงานโรงเรียนของผู้บริหารจะมีมากน้อยเพียงใด ย่อมขึ้นอยู่กับการ
บริหารกิจการนักเรียนส่วนหนึ่งด้วย ทั้งนี้เพราะการบริหารงานดังกล่าวเป็นเรื่องที่มีผลโดยตรงต่อ
นักเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์ชีวิต ที่ทางโรงเรียนจะต้องพยายาม
จัดให้อย่างเหมาะสมทันต่อเหตุการณ์ และความเปลี่ยนแปลงทางสังคมปัจจุบันอยู่เสมอ โรงเรียน
ควรพยายามให้เด็กที่อยู่ในวัยเรียนทุกคนได้มีโอกาสเป็นนักเรียนอย่างอย่างเสมอภาคและยุติธรรม
เพราะการศึกษาช่วยทำให้เด็กเติบโตขึ้นมาเป็นพลเมืองดีของชาติ การศึกษาช่วยให้บุคคลมีความ
รอบรู้ และฉลาดมีไหวพริบ รู้จักแก้ปัญหาต่าง ๆ ด้วยตนเอง และช่วยให้ประสบผลสำเร็จในทาง
ดำเนินชีวิต (ภิญโญ สาธร : 2523)
แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับคุณลักษณะของผู้นำ
การเป็นผู้บริหารโรงเรียนที่จะประสบความสำเร็จในด้านการบริหารนั้น จึงมีความจำเป็น
มากที่ผู้บริหารต้องมีความรู้เกี่ยวกับผู้นำ เพื่อประยุกต์ใช้ในโรงเรียน ในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิด
ขึ้น
จอห์นสัน และคนอื่น ๆ (Johnson and others. 1974 : 255-259) ได้สรุปทฤษฎีเกี่ยวกับ
การเป็นผู้นำอยู่ 4 แบบ คือ
1. ทฤษฎีคุณลักษณะของผู้นำ (The Traitist Theory) ทฤษฎีนี้ตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ว่า
ผู้นำที่ประสบความสำเร็จจะมีคุณลักษณะของบุคลิกภาพ หรือคุณสมบัติพิเศษเกื้อกูลให้ประสบ
ความสำเร็จ เป็นผู้นำที่ประสบความสำเร็จมักมีร่างกายสูง
2. ทฤษฎีตามสถานการณ์ (The Situationist Theory) ทฤษฎีนี้ตั้งอยู่สมมุติฐานที่ว่า
บุคคลที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้นำที่เหมาะสมที่สุดในสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง ก็เพราะ
เกิดจากลักษณะของกลุ่มที่เขาเป็นผู้นำ
19
3. ทฤษฎีการเป็นผู้ตาม (The Followship Theory) ทฤษฎีนี้เป็นการขยายทฤษฎีของคุณ
ลักษณะของผู้นำโดยถือว่า การศึกษาการเป็นผู้ตามเป็นการศึกษาการเป็นผู้นำทางอ้อม ทฤษฎีนี้ตั้ง
อยู่สมมุติฐานที่ว่า เครื่องชี้บ่งคุณภาพของผู้นำก็คือคุณภาพของผู้ตาม ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดที่จะ
ประเมินผลคุณค่าของผู้นำก็คือ การวิเคราะห์ผู้ตาม
4. ทฤษฎีผลรวม (The Eclectic Theory) ทฤษฎีนี้เป็นผลรวมของทฤษฎีทั้งหลาย เป็น
การนำเอาคำอธิบายจากทฤษฎีต่าง ๆ มารวมกัน เพื่อที่จะพยายามอธิบายการเป็นผู้นำ เช่น ความ
สามารถในการตัดสินใจอย่างมีเหตุผล เป็นคุณสมบัติที่สำคัญยิ่งสำหรับผู้บริหารโรงเรียน ดังนั้น
ผู้บริหารโรงเรียนจำต้องรู้จัดโครงสร้างของตนเป็นอย่างดี
จากการสรุปงานวิจัยต่าง ๆ เกี่ยวกับการเป็นผู้นำของ สต็อกดิลล์ (Stogdill. 1974 : 74-75)
มีความเห็นว่า ลักษณะของผู้นำที่ดีมีดังนี้
1. ลักษณะทางกาย ผู้นำเป็นผู้แข็งแรง มีร่างกายเป็นสง่า
2. ภูมิหลังทางสังคม ผู้นำเป็นผู้มีการศึกษา และมีสถานะทางสังคมดี
3. สติปัญญา ผู้นำเป็นผู้มีสติปัญญาสูง มีการตัดสินใจดีและมีทักษะในการสื่อความหมาย
4. บุคลิกภาพ ผู้นำเป็นผู้ที่มีความตื่นตัวอยู่เสมอควบคุมอารมณ์ได้ มีความคิดมิเริ่มสร้าง
สรรค์ มีจริยธรรมมีความเชื่อมั่นในตนเอง
5. ลักษณะที่เกี่ยวข้องกับงาน ผู้นำเป็นผู้มีความปรารถนาจะทำดีที่สุด ปรารถนาที่จะรับ
ผิดชอบไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค
6. ลักษณะทางสังคม ผู้นำเป็นผู้ที่ปรารถนาจะร่วมมือกับคนอื่น มีเกียรติและเป็นที่ยอม
รับของสมาชิกและคนอื่น ๆ เข้าสังคมได้เก่ง มีความเฉลียวฉลาดในการสังคม
เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์ (2525 : 23-24) ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้นำที่จะ
ประสบผลสำเร็จไว้ดังนี้
1. ผู้ใต้บังคับบัญชาจะเป็นผู้มาขอคำแนะนำปรึกษามากกว่าที่หัวหน้าจะเป็นผู้สั่งการ
2. ผู้นำสามารถเสนอแนะผู้ใต้บังคับบัญชา โดยผู้ใต้บังคับบัญชาไม่รู้สึกว่านั้นเป็นคำสั่ง
3. ผู้นำสามารถไปในที่ใด ๆ ในหน่วยงานโดยผู้ใต้บังคับบัญชาไม่รู้สึกว่าเป็นการไปตรวจ
งานหรือจับผิด
4. ผู้นำจะไม่ค่อยได้ยินการนินทาเกี่ยวกับชีวิตส่วนตัวของสมาชิก แต่ถ้าหากหน่วยงาน
หรือสถานศึกษามีปัญหาเกิดขึ้น เขาควรจะได้ฟังเป็นคนแรก
20
5. ผู้ใต้บังคับบัญชาจะเสนอเรื่องเพื่อการตัดสินใจ เฉพาะในสิ่งที่นอกเหนืออำนาจของผู้
ใต้บังคับบัญชา
6. เมื่อผู้นำไปราชการที่อื่น เขากลับมาโดยไม่หวังว่าจะต้องพบกับปัญหาหรือความยุ่งยาก
ในหน่วยงานของเขา
7. ถ้าผู้ใต้บังคับบัญชาไม่เห็นด้วยกับนโยบายของหน่วยงาน สิ่งนี้จะนำไปสู่การทะเลาะ
วิวาทเป็นการส่วนตัว
8. เมื่อผู้นำเป็นประธานในที่ประชุม สมาชิกก็จะยินดีอภิปรายจากความคิดเห็น และเสนอ
แนะโดยไม่นั่งเฉย ถ้าเกิดมีความคิดเห็นไม่ตรงกันก็จะถกเถียงเฉพาะในห้องประชุม
9. เมื่อมีผู้นำเข้าร่วมประชุมโดยผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นประธาน การประชุมนั้นจะดำเนิน
ไปตามปกติ
10. ถ้าหากผู้นำจะปรึกษาผู้อื่นเกี่ยวกับการเลื่อนตำแหน่งการแต่งตั้งหรืออื่น ๆ เขาควรจะ
ปรึกษากับบุคคลตามสายบังคับบัญชา
11. การย้าย เปลี่ยนงาน หรือลาออกของผู้ใต้บังคับบัญชามีน้อย
12. เมื่อผู้นำไม่อยู่หน่วยงานนั้น สามารถดำเนินไปได้ตามปกติ
13. การแตกเป็นก๊กเป็นเหล่าของผู้ใต้บังคับบัญชามีน้อยมาก
14. ผู้ใต้บังคับบัญชาร่วมทำงานเป็นคณะเพื่อความสำเร็จของงานมากกว่า เพื่อหวังผล
ประโยชน์อย่างอื่น
ทองอินทร์ วงศ์โสธร และคนอื่น ๆ (2523 : 8-16) ได้เสนอแนะผลสรุปว่า แนวคิดเกี่ยว
กับภาวะผู้นำนั้น มี 5 ทฤษฎี ดังนี้
1. ทฤษฎีพันธุกรรม (Genetic Theories) เชื่อว่าการเป็นผู้นำเป็นเรื่องของความสามารถที่
เกิดขึ้นเฉพาะหรือเฉพาะตระกูล และสืบเชื้อสายกินได้จากพ่อไปยังลูกจากลูกไปยังหลาน เพราะ
บุคลิกภาพหรือลักษณะของการเป็นผู้นำตามแนวคิดนี้เป็นของที่มีมาแต่กำเนิด และคุณสมบัติเหล่า
นี้เป็นคุณสมบัติเฉพาะตัวที่สืบเชื้อสายกันไว้ภายในตระกูล
2. ทฤษฎีคุณลักษณะผู้นำ (Trait Theories) เมื่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ในโลกเปลี่ยนแปลง
ทฤษฎีพันธุกรรมก็ได้รับการปรับปรุงแก้ไข กล่าวคือผู้นำในยุคต่อมาไม่ได้จำกัดเฉพาะชนชั้นสูง
หรือเฉพาะบางตระกูลเท่านั้น หากแต่ว่าสามารถเกิดขึ้นได้จากคนทุกระดับ ขอให้มีคุณสมบัติผู้นำ
(Leaderahip trait) คุณสมบัติเหล่านี้อาจมีมาแต่กำเนิดตามทฤษฎีพันธุกรรมหรืออาจได้มาจาก
ประสบการณ์ การศึกษาเล่าเรียน หรือการฝึกฝน
21
3. ทฤษฎีผลกระทบระหว่างบุคคลและสถานการณ์ (Personal Situatonal Theories)
ทฤษฎีนี้ถือว่าภาวะผู้นำนั้นเกิดขึ้นจากผลกระทบจากปัจจัย คือ
3.1 คุณลักษณะของผู้นำ
3.2 เหตุการณ์ที่เผชิญหน้ากลุ่ม
ปัจจัยทั้งสองอย่างสำคัญมากตามแนวคิดของนักวิชาการกลุ่มนี้ ผู้นำจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมี
คุณลักษณะที่สอดคล้องกับสถานการณ์ เหตุการณ์อย่างหนึ่ง อาจจะต้องการผู้นำแบบหนึ่ง เมื่อเหตุ
การณ์เปลี่ยนแปลง ภาวะผู้นำก็ย่อมเปลี่นแปลงผู้ที่ไม่มีตำแหน่งหน้าเลยก็อาจจะเป็นผู้นำได้แล้วแต่
สถานการณ์
4. ทฤษฎีการปฏิสัมพันธ์และความคาดหวัง (Interaction expectation Theories) แนวคิด
เกี่ยวกับภาวะผู้นำของแนวคิดกลุ่มนี้คือกลุ่มบุคคล (Groups) มีหลักการว่า สมาชิกของกลุ่มคนใด
คนหนึ่งสามารถเป็นผู้นำได้ ถ้าหากว่าบุคคลนั้นเป็นผู้ริเริ่มบทบาทในกลุ่ม และบทบาททเหล่านี้
ย่อมขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของกลุ่ม
5. ทฤษฎีมนุษยนิยม (Humanistic Theories) นักทฤษฎีกลุ่มนี้ได้แก่ อาร์กิริส (Argyris)
แบลค และ มูตัน (Blake and Mouton) และเมคเกรเกอร์ (Magragor) นักวิชาการกลุ่มนี้มองบท
บาทของผู้นำโดยถือหลักต่อไปนี้
5.1 เน้นธรรมชาติของมนุษย์เป็นหลัก มนุษย์รักอิสระ มีความต้องการ ความหวัง
ความตั้งใจ และแรงจูงใจที่จะทำงน
5.2 มนุษย์ทำงานในกลุ่มหรือองค์การ ธรรมชาติขององค์การย่อมมีการควบคุม
ให้เป็นระบบระเบียบ
5.3 การกิจของผู้นำคือการจัดปรับปรุงสภาพแวดล้อม หรือบรรยากาศขององค์
การเอื้ออำนวยต่อธรรมชาติของมนุษย์ เพื่อให้ทำงานได้อย่างเต็มที่ ตอบสนองความต้องการส่วน
บุคคล และบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ
สุรพล ศรแพลง (2540 :16-19) แบบผู้นำตามทฤษฎีของเรดดิน แบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ
1. แบบหลักในการบริหาร (Dominant Styles) คือ ลักษณะของแบบการบริหารใช้อยู่
เป็นประจำ แบบหลักที่ใช้ในการบริหารนี้ จะเป็นสิ่งบ่งชี้ให้เห็นว่านักบริหารผู้นั้นมีวิธีการทำงาน
แบบเน้นภารกิจงานหรือเน้นสัมพันธ์มากน้อยเพียงไร ซึ่งผู้บริหารอาจจะมีแบบหลักในการบริหาร
หลายลักษณะ หรืออาจไม่มีเลยก็ได้
22
2. แบบสนับสนุนในการบริหาร (Supporting Styles) คือ ลักษณะของแบบการบริหารที่
มีนักบริหารมักจะใช้บ่อย รองลงมาจากแบบหลัก ลักษณะการบริหารทุกลักษณะมีโอกาสเป็นแบบ
สนับสนุนได้ และนักบริหารอาจจะมีแบบสนับสนุนหลายลักษณะ ในขณะเดียวกันอาจจะไม่มีเลย
ก็ได้
3. แบบรวมในการบริหาร (Synthesis Styles) คือ ลักษณะการบริหารที่เกิดจากพฤติ
กรรมรวมของนักบริหารต่อภาวะการณ์ต่าง ๆ ทั้งหมดที่ได้ประสบในการทำงานโดยคิดแยกเป็น
คะแนน การเน้นด้านงาน ด้านคน และด้านประสิทธิผล แล้วจึงออกมาเป็นแบบรวมเพียงแบบ
เดียว แม้ว่าจะไม่เห็นได้ละเอียดเท่ากับหลัก แต่เนื่องจากแบบรวมเป็นผลมาจากพฤติกรรมรวมทั้ง
หมด จึงสามารถบอกพฤติกรรมสำคัญบางประการที่แอบแฝงอยู่ในตัวของนักบริหารได้ และโดย
เฉพาะอย่างยิ่งสามารถบอกลักษณะการบริหารโดยส่วนรวมของนักบริหารทั้งหมดในองค์การอีก
ด้วย
พฤติกรรมผู้นำเสนอตามทฤษฎี 3 มิติของเรดดิน
1. มิติมุ่งงาน เป็นพฤติกรรมกระตุ้นผู้นำระหว่างความสัมพันธ์และกับผู้นำสมาชิกใน
หน่วยงานที่มุ่งงานเป็นหลัก โดยที่ผู้นำสามารถสร้างรูปแบบทัศนะในการจัดหน่วยงานสร้างช่อง
ทางในการติดต่อสื่อสาร และกระบวนการที่ดีเพื่อความสำเร็จของงาน
2. มิติมุ่งสัมพันธ์ เป็นพฤติกรรมผู้นำที่มุ่งเน้นความสัมพันธ์ภายในกลุ่มสนใจความแตก
ต่างระหว่างบุคคลและความต้องการของมนุษย์ มุ่งรักษาขวัญและกำลังใจเพื่อให้มีความสัมพันธ์กัน
อย่างดี
3. มิติมุ่งประสิทธิผล เป็นพฤติกรรมผู้นำที่ยึดสถานการณ์เป็นหลักเพื่อให้การบริหารงาน
บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ ผู้นำมุ่งประสิทธิผลจะสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปตามสถาน
การณ์ ถ้าสถานการณ์เหมาะสม พฤติกรรมการบริหารจะมีประสิทธิภาพสูง ถ้าสถานการณ์ไม่
เหมาะสม ผู้นำจะมีพฤติกรรมการบริหารที่มีประสิทธิภาพต่ำ ผู้นำที่มุ่งประสิทธิภาพสูงจึงควร
ปรับเปลี่ยนสถานการณ์ในการบริหารงานที่เหมาะสม โดยให้ได้ทั้งงาน และความสัมพันธ์ภายใน
หน่วยงานเพื่อนำไปสู่ประสิทธิผลขององค์การ
วิรัช ธีรประยูร (2532 : 19 – 20) ได้เสนอแนวความคิดรูปแบบของผู้นำว่า พิจารณาจาก
แหล่งที่มาของอำนาจแล้วแบ่งผู้นำได้ 2 ประเภท ผู้นำแบบกฎหมาย (Legal Leader) เป็นผู้นำที่มี
อำนาจตามกฎหมายติดตัวมาเพราะบุคลิกดี การศึกษาสูง ฐานะและตระกูลดี พวกนี้ไม่จำเป็นต้อง
ใช้อำนาจทางกฎหมายในการโน้มน้าวจิตใจคน ผู้นำแบบสัญลักษณ์ (Symbolic Leader) ผู้นำ
23
ประเภทนี้เป็นสัญลักษณ์ของกลุ่มที่ทุกคนยอมรับและยกย่องเทิดทูนให้ ทำนองเดียวกันกับพระ
มหากษัตริย์ ซึ่งเป็นผู้นำของประเทศ และผู้นำนี้ก็จะรักและยึดกลุ่มของตนเป็นหลัก ผู้นำประเภท
นี้จึงมีอำนาจบารมีมาก
ในเรื่องเดียวกันนี้ นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์ (2527 : 96-97 ) ยังได้ให้แนวความคิดจากวิธีการ
ใช้อำนาจของผู้นำว่าแบ่งได้ 3 ประการ คือ
1. ผู้นำแบบเผด็จการ (Autocratic) ผู้นำประเภทนี้เป็นผู้สั่งการงานเฉียบขาด ไม่คำนึงถึง
คนอื่น ไม่มีการแบ่งงาน รวมอำนาจเผด็จการ จะตัดสินใจด้วยตนเอง ยึดมั่นในความคิดของตน
เองเป็นใหญ่ สร้างบรรยากาศแห่งความเกรงกลัวให้เกิดขึ้นในหน่วยงาน
2. ผู้นำแบบเสรี (Laissez - faire) ผู้นำประเภทนี้มักปล่อยให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทำงานกัน
ไปตามชอบใจ ตามบุญตามกรรม ไม่มีการนิเทศตรวจตราติดตามผล การตัดสินใจขึ้นอยู่กับผู้ใต้
บังคับบัญชาที่เห็นชอบกันไป จะทำอย่างไรก็ได้ตามใจชอบ ถ้าลูกน้องดีงานที่ได้ก็จะออกมาดี ถ้า
ลูกน้องไม่ดี งานก็เสีย และทำงานกันไปวันหนึ่ง ๆ
3. ผู้นำแบบประชาธิปไตย (Democratic) ผู้นำประเภทนี้จะใช้อำนาจตามวิถีทาง
ประชาธิปไตย การตัดสินใจจะถือความเห็นส่วนใหญ  มกี ารประชมุ ปรกึ ษาหารอื กอ่ นตดั สนิ ใจ มี
การกระจายอำนาจ รับฟังความคิดเห็น ไม่ใช้อำนาจกดขี่ การแก้ปัญหาก็เปิดโอกาสให้ทุกคน ได้
ร่วมพิจารณา เคารพในสิทธิและหน้าที่แต่ละบุคคล
จากแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับคุณลักษณะของผู้นำดังกล่าว จะเห็นได้ว่า ผู้นำเป็นผู้ที่
สำคัญที่จะพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จต้องมีคุณลักษณะต่าง ๆ บางคุณลักษณะเกิดขึ้นเฉพาะบุคคล
เฉพาะตระกูล โดยการสืบเชื้อสายเป็นทฤษฎีพันธุกรรม บางคุณลักษณะเกิดขึ้นจากการเรียนรู้และ
ประสบการณ์สามารถปรับปรุงและพัฒนาได้ เช่น ทฤษฎีตามสถานการณ์ ทฤษฎีผู้ตาม ทฤษฎีคุณ
ลักษณะ ทฤษฎีปฏิสัมพันธ์ และทฤษฎีอื่น ๆ ที่ผู้นำต้องมีเพราะในการบริหารงานให้ประสบความ
สำเร็จและนำทฤษฎีมาใช้ ต้องให้เหมาะสมกับสถานการณ์
คุณลักษณะของผู้บริหารโรงเรียนที่พึงประสงค์
คุณลักษณะของผู้บริหาร หมายถึง ศักยภาพทางความรู้หรือทักษะที่ช่วยให้ผู้บริหารปฏิบัติ
งานได้สำเร็จ และคุณลักษณะของผู้บริหารคือสิ่งต่าง ๆ ในตัวผู้บริหารที่มีมาแต่กำเนิดและเกิดจาก
การเรียนรู้ ได้แก่ ความรู้ทั่วไป แรงจูงใจ ลักษณะนิสัย ภาพพจน์ที่มองตนเอง บทบาททางสังคม
24
หรือความชำนาญเฉพาะของผู้บริหาร ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานให้สำเร็จผลดีเยี่ยม
(บุญมา กัมปนาทพงษ์ 2532 : 13)
สต๊อคดิลล์ (Stogdill 1974 : 74 – 75) ได้สรุปผลการวิจัยคุณลักษณะของผู้นำไว้ 6 ด้าน
ประกอบด้วย
1. ลักษณะทางกาย
2. ลักษณะทางสังคม
3. ลักษณะทางสติปัญญา
4. ลักษณะทางบุคลิกภาพ
5. ลักษณะที่เกี่ยวกับงาน
6. ลักษณะภูมิหลังทางสังคม
ประถม แสงสว่าง (2524 : 9) ได้จัดแบ่งคุณลักษณะของผู้บริหารเป็น 7 ประการ คือ
1. ด้านคุณธรรม
2. ด้านความประพฤติและความรับผิดชอบ
3. ด้านการดำเนินงานการปกครองบังคับบัญชา
4. ด้านความรู้ทางวิชาการ
5. ด้านมนุษยสัมพันธ์
6. ด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และวิสัยทัศน์การบริหาร
7. ด้านบุคลิกภาพ
สุนีย์ บุญทิม (2542 : 30 – 31) ได้กล่าวถึงคุณลักษณะพึงประสงค์ของการเป็นผู้นำที่ดีไว้
ดังนี้
1. แสดงความเป็นของแท้ หมายถึง ผู้นำต้องแสดงความเชื่อมั่นศรัทธาในสิ่งที่
ตนยึดถือค่านิยมเชิงสร้างสรรค์อย่างแท้จริง กระตุ้นและก่อให้เกิดความทะเยอทะยาน สามารถเป็น
แบบอย่างที่ดีขององค์การได้ สนับสนุนศรัทธาคำพูดของตนด้วยการกระทำ
2. การมีวิสัยทัศน์ หมายถึง ผู้นำมีความสามารถพินิจพิเคราะห์ สภาพแวดล้อม
ทั้งในและนอกองค์การในแง่มุมของอดีตและปัจจุบันคาดคะเนพยากรณ์และสร้างภาพพจน์ (Image)
ฉายไปในอนาคตได้ ว่าจะมีความเปลี่ยนแปลงอะไร แล้วทำการสื่อสาร (Communication) ภาพ
ดังกล่าวให้แก่ผู้เกี่ยวข้องทราบ
25
3. ต้องมีความกล้าตัดสินใจ คือต้องทำการตัดสินใจที่เหมาะสมทันกาล และต้อง
ตัดสินใจภายใต้ข้อมูล และทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด นอกจากนี้ผู้นำที่ดีต้องกล้ารับผิดชอบต่อผล
การตัดสินใจใด ๆ ที่เกิดขึ้น
4. แสดงความใส่ใจ ผู้นำต้องเลือกที่จะใส่ใจและสนใจในบางเรือง ไม่ควรใส่ใจ
เสียเวลาในทุกเรื่อง หรือให้ความสำคัญในบางเรื่องเท่าเทียมกันหมด การจัดลำดับความสำคัญ
ความเร่งด่วน ของงานที่ทำจึงมีความหมายมาก
5. สร้างความรู้สึกประทับใจเป็นส่วนตัว ผู้นำที่ดีต้องสามารถสร้างศรัทธาและ
ความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ใต้บังคับบัญชา รู้จักการใช้ช่องทางการสื่อสารอย่างไม่เป็นทางการได้อย่าง
ถูกกาลเทศะ สอบถามทุกข์สุข ของผู้ใต้บังคับบัญชา รู้จักสร้างขวัญและกำลังใจ
6. มีทักษะในการสื่อสาร ทักษะการพูด ฟัง เขียน อ่าน ของผู้นำจะสะท้อนให้
เห็นความสามารถของสมองผู้นำไม่สามารถจะทำงานทุกอย่างได้ด้วยตนเองภายในเวลาที่จำกัด
ความสามารถสื่อสารและอาศัยการเก่งคนการมีเครือข่ายมนุษยสัมพันธ์ที่ดีจะสามารถทำให้ผู้นำ
สามารถร้องขอความช่วยเหลือ กระตุ้นแรงจูงใจและใช้ “คน” ทำงานได้สำเร็จตามที่ผู้นำต้องการ
7. การพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ผู้นำจะต้องพัฒนาลักษณะการทำงานให้ดีอยู่เสมอ
เพื่อนำมาปรับปรุงการทำงานให้ดียิ่งขึ้น
จากแนวความคิดของนักวิชาการหลายแนวความคิด เพื่อพิจารณาคุณลักษณะของผู้บริหาร
โรงเรียน มีหลายลักษณะด้วยกัน พบว่า คุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่เอื้อให้ผู้บริหารโรงเรียน
สามารถบริหารงานให้ประสบความสำเร็จตามกรอบแนวความคิดมี 5 คุณลักษณะ คือ
1. ความรู้ความสามารถในการบริหาร
2. มนุษยสัมพันธ์ในการบริหาร
3. การสื่อสารในการบริหาร
4. คุณธรรมของผู้บริหาร
5. วิสัยทัศน์ของผู้บริหาร
คุณลักษณะด้านความรู้ความสามารถในการบริหาร
ความรู้ความสามารถในทางการบริหารเป็นความสามารถในการนำเอาหลักการ ความรู้
ทฤษฎี มาประยุกต์ใช้ในการทำงานให้ประสบความสำเร็จ (ลัทธิ ยศปัญญา 2533 : 26)
26
ผู้บริหารที่มีความสามารถในการแก้ไขปัญหาสูงมีความรู้ความเข้าใจในนโยบายและวัตถุ
ประสงค์ของการปฏบัติงานอย่างชัดเจน (ประพนธ์ ไผลคำ 2537 : 73-75)
ผู้บริหารมีความรู้ในการบริหารดี รู้จักมอบหมายงานที่มีการวางแผนและจัดหน่วยงานดี
สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ มีความสามารถในการตัดสินใจ มีความสามารถติดต่อกับผู้อื่นรู้จักใช้
อำนาจอย่างเหมาะสม แมกนูสัน (Magnuson 1971 : 133)
ผู้บริหารงานชาญฉลาดจำเป็นยิ่งสำหรับผู้บริหารโรงเรียนต้องมีความสามารถในการแก้
ปัญหาเพราะว่าผู้บริหารต้องเป็นผู้ที่สามารถจะแก้ปัญหาต่างๆได้เช่นด้านบุคลากร ด้านนักเรียน
ด้านการจัดกระบวนการเรียนการสอนเพราะปัญหาต่างๆย่อมเป็นอุปสรรคต่อผลสำเร็จของงานจึง
เป็นหน้าที่ของผู้บริหารที่จะต้องแก้ไขด้วนวิธีการที่แยบยลและนิ่มนวลให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี เอด
มอนสัน และคนอื่นๆ (Ednonson and others 1955 : 78-81)
ผู้บริหารจะต้องรู้จักฟังและเลือกความคิดเห็นที่ดี ผู้บริหารโรงเรียนควรมีความรอบรู้ในบท
บาทหน้าที่ กล่าวคือ ความสามารถของผู้บริหารโรงเรียนที่รู้จักรวบงาน งานหลัก งานรอง งานที่ได้
รับมอบหมายไปแล้วรู้ว่างานใดเร่งด่วนและรวดเร็วในการทำงาน (นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์ 2534 :
216-217)
เซอร์จิโอวันนี กับคนอื่น ๆ (Sergiovanni and others 1987 : 384 – 391) มีความเห็นสอด
คล้องกันและได้พิมพ์เผยแพร่เพื่อเสนอให้ผู้บริหารการศึกษาใช้เป็นปทัสถาน (Norm) สำหรับการ
สำรวจความสามารถในการบริหารของตนเอง และได้อธิบายความหมายของความสามารถในการ
บริหารทั้ง 7 ประการ ดังนี้
1. ความสามารถในการสั่งการ หมายถึง ความสามารถที่จะชี้แนะงานของคนอื่น
และความสามารถที่จะจัดองค์การและบูรณาการกลุ่มกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะช่วยส่งเสริมให้บรรลุจุด
มุ่งหมายของกลุ่มได้ง่ายขึ้น
2. ความรอบรู้งาน หมายถึง ความสามารถที่จะตัดสินให้เหตุผลและความ
สามารถเกี่ยวกับความคิด นามธรรม และมโนภาพ ความสามารถจะเรียนรู้ หยั่งเห็น สังเคราะห์
และวิเคราะห์ได้
3. ความสามารถในการตัดสินใจ หมายถึง ความพร้อมที่จะตัดสินใจอย่างฉับพลัน
ด้วยความเชื่อมั่น ไม่ลังเลในการตัดสินใจ เพราะอาจทำให้ปัญหาเล็กเป็นปัญหาใหญ่ในภายหลังได้
27
4. ความมั่นใจในตนเอง หมายถึง ขอบเขตที่บุคคลรับรู้ตนเองว่ามีประสิทธิภาพ
ในการแก้ปัญหา การตัดสินความถูกต้อง และเชื่อมั่นในตนเองว่า มีความสามารถพอที่จะต่อสู้กับ
ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้
5. ความต้องการความสำเร็จในอาชีพ หมายถึง ขอบเขตที่บุคคลแสวงหาความ
รับผิดชอบและเกียรติศักดิ์เกี่ยวกับตำแหน่งที่สูงขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ ความต้องการนี้เป็นความต้องการ
ความสำเร็จในอาชีพนั่นเอง
6. ความต้องการความสำเร็จในชีวิต หมายถึง ขอบเขตที่บุคคลแสวงหาโอกาส
ต่าง ๆ ที่จะใช้ปัญญาหรือความสามารถของตนให้เต็มที่อย่างอิสระ ในการทำกิจกรรมที่สำคัญ โดย
ที่ความสำเร็จนั้นจะส่งผลถึงสังคมส่วนรวมด้วย
7. ความไม่ผูกติดกับตำแหน่ง คุณลักษณะนี้หมายถึง การที่บุคคลทั้งหลายยึดถือ
เอาการทำงานเพื่อตำแหน่ง ทำการปกป้องงานและสถานภาพเป็นสำคัญ พยายามแสวงหาการมอบ
หมายงานที่ตนเองปลอดภัย พยายามหลีกเลี่ยงเรื่องที่ตนคุ้นเคยเป็นอย่างดี ส่วนสิ่งที่ไม่คุ้นเคยเป็น
ของเลว สำหรับคนที่ไม่ผูกติดกับตำแหน่ง และการประเมินผลประสิทธิภาพของการสอน
แคทซ์และแชรอน (Katz Faber and Shearron 1955 : 224-230 ) พบว่าทักษะจำเป็นใน
การบริหารงานของผู้บริหารมี 3 ประการ คือ ทักษะเชิงเทคนิค (Technical Skill) ทักษะเชิง
มโนคติ (Conceptual Skill) และทักษะเชิงมนุษยสัมพันธ์ (Human Skill)
ทักษะเชิงเทคนิค หมายถึง ความสามารถในการใช้เทคนิควิธีการที่เหมาะสมในการ
บริหารงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ ทักษะเชิงเทคนิคที่สำคัญที่ผู้บริหารจะต้องมีประกอบด้วย
1. ทักษะทางด้านการวางแผน
2. ทักษะทางด้านกระบวนการกลุ่มและการติดต่อสื่อสาร
3. ทักษะทางด้านการจัดการ
ทักษะเชิงมโนคติ หมายถึง ความสามารถของผู้บริหารในการเข้าใจหน่วยงานทุกลักษณะ
เห็นความสำคัญระหว่างส่วนของงานและกิจกรรมต่าง ๆ ของหน่วยงานทั้งความสัมพันธ์ระหว่าง
หน่วยงานที่ตนบริหารกับหน่วยงานอื่น ๆ ในการบริหารงาน มีกิจกรรมอย่างน้อย 2 อย่างที่ผู้
บริหารต้องใช้มโนคติเป็นอย่างมากคือ การตัดสินใจและการขจัดความขัดแย้ง
ทักษะเชิงมนุษยสัมพันธ์ หมายถึง ความสามารถของผู้บริหารในการทำงาน ในฐานะ
สมาชิกของกลุ่ม และความสามารถในการเสริมสร้างความร่วมมือของกลุ่ม ที่สำคัญคือผู้บริหารจะ
28
ต้องรู้จักตนเอง มีความมั่นใจ มีความมั่นคงในอารมณ์ จะต้องรู้จักและพยายามเข้าใจคนอื่น มีใจ
กว้าง และรับฟังความคิดของผู้ร่วมงาน
จากแนวคิดเกี่ยวกับทักษะในการบริหารงานทั้ง 3 ประการ คือ ทักษะเชิงเทคนิค ทักษะ
เชิงมโนคติ และทักษะเชิงมนุษยสัมพันธ์ จึงควรพิจารณาถึงความสามารถในการปฏิบัติงานของผู้
บริหารในโรงเรียนในเรื่องดังนี้
1. ผู้บริหารเป็นผู้มีความรู้ในเรื่องการวางแผน เช่น การวางแผนด้านงบประมาณ
ซ่อมแซมอาคารเรียน
2. การสอนให้คนรู้จักทำงานเป็นทีม
3. การใช้ความสามารถในการติดต่อสื่อสารภายในและภายนอกโรงเรียน
4. การจัดการ
5. การตัดสินใจที่ถูกต้องรวดเร็ว
6. การแก้ปัญหาและการขจัดความขัดแย้ง
7. การเสริมสร้างพลังความร่วมมือ
8. การรู้จักเข้าใจคนอื่น มีใจกว้าง รับฟังความคิดเห็นของผู้ร่วมงาน
มินท์เบอร์ก (Mintberg 1973 : 37 – 38 อ้างใน จักรพรรดิ วะทา, 2538 : 35) มีแนวคิด
เกี่ยวกับทักษะในการบริหารที่จำเป็นสำหรับผู้บริหารควรประกอบด้วย
1. ทักษะกระบวนการกลุ่ม
2. ทักษะความเป็นผู้นำ
3. ทักษะการแก้ปัญหาความขัดแย้ง
4. ทักษะการจัดข้อมูลข่าวสาร
5. ทักษะการตัดสินใจ
6. ทักษะการแสวงหาและใช้ทรัพยากร
7. ทักษะการเป็นผู้ริเริ่ม
8. ทักษะความเข้าใจในบทบาทหน้าที่
จากแนวคิดที่กล่าวมาแล้วข้าวต้น สรุปได้ว่า ผู้บริหารต้องมีคุณลักษณะด้านความรู้ความ
สามารถ และทักษะในการบริหาร ดังนี้
1. ความรอบรู้งานในหน้าที่ความรับผิดชอบ
2. ความรอบรู้ในการแสวงหาข้อมูลและความรู้ใหม่ ๆ
29
3. ความรอบรู้เกี่ยวกับศาสตร์ในการบริหาร
4. ความรอบรู้บุคลากรในองค์กรและชุมชน
5. ความสามารถในการวางแผนงานและการจัดองค์การ
6. ความสามารถในการบริหารงานบุคคลและการทำงานเป็นทีม
7. ความสามารถในการสั่งการและการบังคับบัญชา
8. ความสามารถในการส่งเสริมให้ผู้ใต้บังคับบัญชาใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยใน
การปฏิบัติงาน
9. ทักษะการแก้ปัญหาความขัดแย้ง
10. ทักษะในเชิงคิดริเริ่มพัฒนาปรับปรุงงาน
11. ทักษะการตัดสินใจ
12. ทักษะการควบคุมกรใช้จ่ายเงิน
13. ทักษะการติดต่อสื่อสาร การประชาสัมพันธ์
คุณลักษณะด้านมนุษยสัมพันธ์
ความมุ่งหวังในการทำงานของผู้บริหารในเบื้องสูงจริง ๆ ก็คือ การทำงานให้สำเร็จและให้
คนปฏิบัติงานพอใจ วิธีการอย่างหนึ่งของการบริหารจึงเป็นการทำให้เกิดความร่วมมือในการทำงาน
เพื่อจะให้เกิดผลตามความมุ่งหมายของหน่วยงานและเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกว่า “มนุษย-สัมพันธ์”
ช่วยให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน ลำพังแต่ความรู้ความสามารถของคนนั้น จะมีผลสำเร็จใน
งานเพียงร้อยละ 20 –30 แต่ถ้าหากสภาพมนุษยสัมพันธ์ของแต่ละคน แต่ละกลุ่มภายในหน่วยงาน
ดี จะก่อให้เกิดผลสำเร็จในงานถึงร้อยละ 80 – 90 แสดงให้เห็นว่า มนุษยสัมพันธ์เพิ่มประสิทธิ
ภาพของการปฏิบัติงานให้ถึงร้อยละ 60 – 70 เพราะเหตุนี้จึงเชื่อกันว่าผู้บริหารที่ได้รับความสำเร็จ
ในชีวิตบริหาร จึงต้องเก่ง 2 ด้าน คือ
1. เก่งงาน ต้องมีความสามารถทางการงาน
2. เก่งคน ต้องมีความสามารถทางสังคม
การมีมนุษยสัมพันธ์ ที่ดี มีประสิทธ์ภาพ ต้องเข้าใจความหมายของความไม่เหมือนกันเอง
คน ต้องเข้าใจว่า เขากับเรานั้นอาจแตกต่างกันเพราะกรรมพันธุ์ ของเราแตกต่างกันเพราะสิ่งแวด
ล้อม ของเราแตกต่างกัน และต้องเข้าใจว่าคนเรามักไม่ เหมือนกัน และไม่ควรไปกะเกณฑ์ว่าทุก
คนต้องเหมือนกันหรือ คนอื่นต้องเหมือนเรา หรือเราต้องเหมือนคนอื่นแต่ผู้บริหารต้องพยายาม
30
หาลู่ ทางว่าเราจะประพฤติกับคนประเทศใด ด้วยวิธีการอย่างไร จึงเหมาะสมกับงานและสามารถ
ทำงานบรรลุเป้าหมาย
ผู้บริหารต้องเป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์สูง และมีความสามารถในการจูงใจตามพระราชบัญญัติ
การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ได้กำหนดให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของโรงเรียน
เพราะฉะนั้นเพื่อให้การศึกษาของโรงเรียนเป็นตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542
กำหนดไว้ ผู้บริหารต้องประสานงาน และร่วมมือดำเนินการจัดการศึกษาของโรงเรียนกับหน่วยงาน
ท้องถิ่นและชุมชนรวมทั้ง ครู – อาจารย์ ผู้นำท้องถิ่นและเอกชนเป็นจำนวนมาก ผู้บริหารโรงเรียน
จะสามารถบริหารและจัดการศึกษาได้สำเร็จนั้น ผู้บริหารต้องมีทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์สูงจะทำ
ให้ได้รับการยอมรับจากผู้ที่เกี่ยวข้องและทำให้ได้รับความร่วมมือในการปฏิบัติงานตามบทบาท
หน้าที่การสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดีในการทำงานร่วมกันจึงเปรียบเสมือนพลังแอบแฝงในการทำงาน
ซึ่งจะช่วยให้งานบรรลุเป้าหมายตามต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ (สุนีย์ บุญทิม 2542 : 30-31)
โรงเรียนกับชุมชนต้องมีความสัมพันธ์กันและช่วยเหลือเกื้อกูลกันและทำให้เกิดความเข้าใจ
และความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ชุมชนให้ความร่วมมือเพียงใดก็ยิ่งเป็นผลดีต่อโรงเรียนเพียงนั้น (ณรงค์
โพธิ์มี 2535 : 92 )
ความยืดหยุ่นเป็นคุณลักษณะด้านมนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารโรงเรียน ผู้บริหารโรงเรียน
ควรมีการทักทายผู้ร่วมงานเป็นประจำเพราะเป็นการให้โอกาสแก่ผู้ร่วมงานที่จะขอคำปรึกษาหรือ
หวังที่จะแนะนำรวมทั้งได้ความอบอุ่นเนื่องจากมีความรู้สึกว่าไม่ถูกทอดทิ้งเกิดความรู้สึกว่าโรง
เรียนมีความน่าอยู่ เป็นการสร้างบรรยากาศที่ดีในโรงเรียนของผู้บริหารโรงเรียนโดยไม่ต้องลงทุน
(ทิวา จักรกร 2526 : 149)
การสร้างมนุษยสัมพันธืที่สำคัญยิ่งของผู้บริหารโรงเรียนคือความยิ้มแย้มแจ่มใส ผู้บริหาร
โรงเรียนควรมีการวางตัวที่สม่ำเสมอเพื่อสร้างความมั่นใจและความไว้วางใจให้กับผู้ร่วมงาน พฤติ
กรรมที่แสดงให้เห็นว่ามีความคงเส้นคงวา ผู้บริหารต้องมีความยืดหยุ่นเพราะภาระหน้าที่ของผู้ร่วม
งานมีมากมายโดยเฉพาะโรงเรียนที่ขาดคร-ู อาจารย ์ บางครั้งการทำงานอาจล่าช้าไปบ้างโดยไม่
เจตนาโดยรู้เท่าไม่ถึงการย่อมหวังการอนุโลมผ่อนสั้น ผ่อนยาวจากผู้บริหารโรงเรียน (วิจิตร วรุต
บางกูรและสุพิชญา ธีรกุล 2523 : 75)
ความหมายของมนุษยสัมพันธ์
มีผู้ให้ความหมายของมนุษยสัมพันธ์ไว้หลายคน
31
เดวิส (Keith Davis 1972 :5) กล่าวว่า มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง การสร้างพลังของกลุ่มผู้
ทำงานด้วยกัน ให้ปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิผล และมีความพึงพอใจด้วย
ฟลิปโป (Edwin Flippo 1966 : 230) ให้คำจำกัดความหมาย มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง
การทำให้คนปฏิบัติงานร่วมกัน โดยมุ่งให้เกิดความร่วมมือ การประสานงานและความคิดริเริ่ม
สร้างสรรค์ เพื่อให้เกิดผลตามเป้าหมายของหน่วยงาน
แคลทซ์ (Klatz 1955 : 32 – 42) ซึ่งกล่าวไว้ว่า ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ หมายถึง ความ
สามารถและความชำนาญของผู้บริหารในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันได้แก่
ความสามารถในการประสานงานกับผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อให้ได้รับการสนับสนุนและการยอมรับ
ความสามารถในการประสานความร่วมมือจากผู้ร่วมงาน การติดต่อประสานงานกับหน่วยงาน
ตลอดจนการสร้างภาพพจน์ทีดีให้กับหน่วยงาน เพื่อให้เกิดคามศรัทธาเชื่อถือ และไว้วางใจกิจ
กรรมที่ผู้จะต้องใช้ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์นี้มีอาทิเช่น การพูดการสร้างขวัญและกำลังใจ การ
ประสานงานและการเผยแพร่ผลงานต่าง ๆ
ภิญโญ สาธร (2523 : 417) กล่าวไว้ว่า มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง บุคคลที่พูดจาดี
ถูกหูคน ให้กำลังใจแก่คน แสดงความยินดีเมื่อใครได้ดี มีความมั่นใจในความดีของผู้อื่น เห็นอก
เห็นใจคนและมีอารมณ์มั่นคง
ธรี วฒุ ิ ประทุมนพรัตน  (2530 : 191 – 192) ให้ทักษะว่า มนุษยสัมพันธ์หมายถึงพฤติ
กรรมที่ผู้บริหารแสดงออกในรูปของสัมพันธ์กับบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เข้าใจและเกิดความ
ร่วมมือร่วมใจในการทำงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีความพอใจและสบายใจในการทำงานร่วมกัน
บุญมา กัมปนาทพงษ์ (2532 : 16) มนุษยสัมพันธ์ที่ดี หมายถึง บุคคลทำงานร่วมกับ
บุคคลอื่นได้ดี ซึ่งประกอบไปด้วยลักษณะที่สำคัญ ๆ คือ ยิ้มแย้มแจ่มใส มีความเสมอต้น
เสมอปลาย ยกย่องชมเชย รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีความยืดหยุ่นเปิดเผย และเป็นกันเอง
เมธี ปิลันธนานนท์ (2525 : 249) เสนอการสร้างและการรักษามนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหาร
โรงเรียนไว้ดังนี้
1. ผู้บริหารโรงเรียนควรให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีโอกาสพบได้ง่าย ๆ ทั้งในเรื่องส่วนตัว และ
หน้าที่การงาน
2. ผู้บริหารต้องเป็นผู้ฟังที่ดี กระตุ้นหรือเร้าให้ผู้ใต้บังคับบัญชาพูดออกมาให้หมดสิ้น
3. ช่วยให้ผู้ใต้บังคับบัญชา ได้ตัดสินใจด้วยตนเองปราศจากการบงการ
4. ยกย่องและให้เกียรติผู้ใต้บังคับบัญชา โดยเฉพาะผู้ที่ปฏิบัติงานดีเด่น
32
5. ให้ความรู้และแนวทางความรู้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา
6. กระตุ้นให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเกิดความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทำงานด้วยเป้าหมาย
เดียวกัน และให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทราบถึงผลงานหรือความก้าวหน้าของงานอยู่เสมอ
7. ต้องหมั่นศึกษาและรู้จักผู้ใต้บังคับบัญชา เป็นรายบุคคล
8. ทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาสนใจงานมากขึ้น เน้นความสำคัญของงานแต่ละหน้าที่ ส่งเสริม
ให้แสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
9. ทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชารู้สึกว่าตนมีความสำคัญ และผู้บริหารเห็นตนเป็นสำคัญ แสดง
ความดีอกดีใจเมื่อกลับมาทำงาน จากการลาหยุดไป ถามทุกข์สุขผู้ใต้บังคับบัญชา
10. บริหารงานด้วยความเที่ยงธรรม เสมอต้นเสมอปลาย ปราศจากอคติ
วิทยา เทพยา (2520 : 159) มีความเห็นเกี่ยวกับการสร้างมนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารโรง
เรียนว่า
1. รู้จักทักทายปราศรัยกับบุคคลทั่วไป ไม่มีอะไรดีเท่ากับใช้คำพูดที่ไพเราะ อ่อนหวาน
2. รู้จักยิ้มแย้มกับบุคคลทั่วไป เพราะการยิ้มทำง่ายกว่าหน้าบึ้ง
3. ให้เรียกชื่อบุคคล เพราะว่าไม่มีคำใดไพเราะเท่ากับชื่อของเขาเอง
4. แสดงความเป็นกันเอง และให้ความช่วยเหลือกับบุคคลทั่วไป
5. พูดและทำด้วยความจริงใจ ไม่แสร้งทำ
6. พยายามชอบและให้ความสนใจกับบุคคลทั่วไป
7. มีความเมตตา กรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และเป็นที่ยกย่องของบุคคลทั่วไป
8. รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา
9. รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น อย่างมีเหตุผล
10. พร้อมที่จะให้บริการแก่ผู้อื่นเสมอสิ่งที่เราช่วยเหลือผู้อื่นนั้นเป็นสิ่งมีค่าที่สุดในชีวิตเรา
สรุปคุณลักษณะด้านมนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารมีดังนี้
1. มองผู้ใต้บังคับบัญชาในแง่ดีด้วยความจริงใจ
2. เต็มใจรับฟังผู้ใต้บังคับบัญชาสนทนาอย่างไม่เบื่อ
3. แสดงความเป็นกันเอง และให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยความจริงใจ
4. มีอารมณ์หนักแน่นและเก็บความรู้สึกได้
5. เป็นผู้ให้ ให้สิ่งของ ให้เกียรติ ให้อภัย ให้ความช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
6. พูดและทำกับผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยความจริงใจ
33
7. ยิ้มแย้มแจ่มใสกับผู้ใต้บังคับบัญชา
8. สร้างขวัญและกำลังใจแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา
9. เปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชาสนทนาปรึกษาเรื่องต่าง ๆ ได้
10. ทำงานร่วมกับบุคคลภายในและภายนอกโรงเรียน
คุณลักษณะด้านการสื่อสาร
การสื่อสาร เป็นขบวนการถ่ายทอดหรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่อยู่ในรูปคำพูด อักษร
และสัญลักษณ์ เป็นสะพานเชื่อมโยงความเข้าใจระหว่างกันและช่วยป้องกันความเข้าใจผิดระหว่าง
กัน และการสื่อสารในเชิงบริหาร เป็นศิลปะอย่างหนึ่ง ในการบริหารงานบุคคล ผู้บริหารที่มีทักษะ
การสื่อสารดี จะทำให้งานบรรลุเป้าหมายในการกลับกัน ผู้บริหารที่มีทักษะการสื่อสารไม่ดีก็มีผล
ทำให้งานไม่ประสบความสำเร็จ
ธงชัย สันติวงษ์ (2535 : 394) ข้อดีของการติดต่อสื่อสารอย่างไม่เป็นทางการจะมีความรวด
เร็วในการสื่อสารมากที่สุดแต่มีข้อเสียที่ว่า ข่าวสารแบบนี้ก็อาจแก้ไขให้ข้อเท็จจริงควบคู่กันไป
ฉะนั้นในการบริหารโรงเรียนของผู้บริหารอาจเริ่มต้นด้วยการติดต่อสื่อสารอย่างไม่เป็นทางการใน
ระยะแรกก่อนแล้วจึงตามด้วยการติดต่อสื่อสารอย่างเป็นทางการภายหลังหรือควบคู่กันไป
สมชาติ วัฒนถาวร (2541 : 165) พบว่าโรงเรียนโดยทั่วไปใช้วิธีติดต่อสื่อสารแบบที่เป็น
ทางการมากกว่าที่ไม่เป็นทางการ และเมื่อพิจารณาการติดต่อสื่อสารที่ไม่เป็นทางการในแต่ละเรื่อง
ของโรงเรียนผู้บริหารสนทนากับครูที่เข้าทาทักทายหรือติดต่อด้วยอยู่ในระดับมากทั้งนี้เพราะผู้
บริหารใช้เวลาแต่ละวันเกี่ยวข้องกับผู้อื่นร้อยละ 67
สัมฤทธิ์ แก้วอาจ (2527 : 17) การพบปะพูดคุยกับผู้ร่วมงานและบุคคลอื่นๆการสนทนานั้น
ถือเป็นการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลสามารถแลกเปลี่ยนสาระกันได้โดยตรงในทุกเรื่องที่ต้องการ
ฉะนั้นโรงเรียนขนาดเล็กครู-อาจารย์ไม่มาก ผู้บริหารสามารถสนทนาทักทาย ครู-อาจารย์ ทุกคนได้
อย่างทั่วถึงและยิ่งผู้บริหารที่มีความสามารถในการใช้ถ้อยคำในการสาทนากับครูแล้วโดยจะให้
ประหยัดเวลาและเกิดความเข้าใจง่ายการสนทนาระหว่างผู้บริหารกับครูในโรงเรียนจึงเป็นการติด
ต่อสื่อสารที่ผู้บริหารใช้ได้ผล
เชน (Shane 1975 : 517-519) ผู้บริหารย่อมสร้างความมั่นใจให้กับผู้ร่วมงาน ผู้บริหารโรง
เรียนย่อมมีทักษะในการใช้ภาษาสื่อสาร ผู้บริหารย่อมเป็นคนที่มีความสามารถในการสื่อสารทั้งทาง
วาจาและลายลักษณ์อักษรด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวดเร็ว ประหยัด เข้าใจได้ถูกต้องตรงกัน
34
ความหมายของการสื่อสาร
เสถียร เหลืองอร่าม (2527 : 243) การสื่อสาร หมายถึง ศิลป์ ในการบริหารงานบุคคล ที่
บุคคลพยายามหาช่องทางที่จะหยั่งความต้องการ ของอีกฝ่ายหนึ่งเพื่อแลกเปลี่ยนความคิด หรือสร้าง
ความเข้าใจระหว่างกัน โดยอาศัยการพูด การส่งสัญลักษณ์ หรือข้อความใด ๆ ก็ได้
สมิต สัชฌุกร (2527 : 18) การสื่อสาร หมายถึง ข่าวสารซึ่งผ่านจากที่หนึ่งไปยังอีกที่
หนึ่ง
เสนาะ ติเยาว์ (2537:22) การสื่อสาร หมายถึง กระบวนการที่เกี่ยวกับการส่งและรับ
สัญลักษณ์ ที่ก่อให้เกิดความหมาย ขึ้นในใจของผู้ที่เกี่ยวข้องโดยที่บุคคลเหล่านั้นมีประสบการณ์ใน
ชีวิตอย่างเดียวกัน
นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์ (2534 : 74) การสื่อสาร หมายถึง กระบวนการใดก็ตามที่กล่าวหรือ
ข้อคิดที่ที่ได้ตัดสินใจไปแล้วได้ถูกส่งผ่านจากบุคคลหนึ่งไปสู่อีกบุคคลหนึ่ง ในองค์การ
จากความหมายดังกล่าวพอสรุปได้ว่า การสื่อสารหมายถึง การส่งข้อความ อักษรและ
สัญลักษณ์ จากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง หรืออีกหลายคนเพื่อให้ทราบข้อความดังกล่าวแล้ว
เกิดความเข้าใจตรงกัน
ความสำคัญและประโยชน์ของการติดต่อสื่อสาร
การติดต่อสื่อสารเป็นกระบวนการที่สำคัญอันดับแรกขององค์การและเป็นสิ่งจำเป็นที่ช่วย
ให้บุคคลประสบความสำเร็จและได้รับประสิทธิผล ตามเป้าหมายขององค์การ ความสำคัญของการ
ติดต่อสื่อสารนั้น มีอยู่ 3 ประการคือ
1. ทำให้เกิดความหมาย
2. ทำให้คาดคะเนความคิดกันได้
3. ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน
แม้นมาส ชวลิต (2539 : 6-7) ได้กล่าวถึง ความสำคัญของการติดต่อสื่อสารระหว่างการติด
ต่อสื่อสารที่ดี จะช่วยเสริมให้เป้าหมายของสถาบันหรือโรงเรียนประสบความสำเร็จ และมีความ
สำคัญต่อคนทุกคน เพราะโดยทั่วไปการติดต่อสื่อสารทุกครั้ง ของมนุษย์ จะมีวัตถุประสงค์อย่างใด
อย่างหนึ่งเสมอ การติดต่อสื่อสารทำให้คนเราเข้าใจกัน อยู่ร่วมกันได้ และสามารถช่วยกันทำงาน
อย่างใดอย่างหนึ่งให้บรรลุเป้าหมาย
35
การติดต่อสื่อสารมีบทบาทต่อผู้บริหาร (สมยศ นาวีการ 2538 : 478-479)
1. บทบาททางด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลผู้บริหารจะต้องเป็นผู้นำของหน่วยงาน
เกี่ยวพันกับผู้ใต้บังคับบัญชา จะต้องติดต่อเพื่อร่วมงาน ภายในองค์การอีกด้วย ผู้บริหารจะใช้เวลา
ของการติดต่อประมาณร้อยละ 45 กับเพื่อนร่วมงาน ประมาณร้อยละ 45 กับบุคคลที่อยู่ภายนอก
หน่วยงาน และประมาณร้อยละ 10 กับผู้บังคับบัญชา
2. บทบาททางด้านข่าวสาร ผู้บริหารจะแสวงหาข่าวสาร จากเพื่อนร่วมงานผู้อยู่ใต้บังคับ
บัญชา และการติดต่อกับบุคคลอื่น ๆ เกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ที่อาจมีผลกระทบต่องาน และความรับผิด
ชอบและยังเป็นผู้เผยแพร่ข่าวสาร ที่ความสำคัญอีกด้วยนอกจากนี้ ยังจะให้ข่าวสารเกี่ยวกับหน่วย
งาน โดยส่วนรวมเพื่อนร่วมงาน และกลุ่มต่าง ๆ ที่อยู่ภายนอกองค์การที่เกี่ยวข้อง
สื่อและวิธีการติดต่อสื่อสาร ที่ใช้ในการบริหารโรงเรียน
นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์ (2534 : 65-67) แบ่งการสื่อสารที่ใช้ในการบริหารโรงเรียน ออก
เป็น 5 ประเภท ต่อไปนี้
1. ด้านวาจา เช่น การส่งงาน การรายงาน การประชุม
2. ด้านการเขียน เช่น การออกคำสั่ง เป็นลายลักษณ์อักษร ประกาศ จดหมายกับจด
หมายบันทึกการติดต่อ การเขียนที่เป็นสิ่งจำเป็นในวงราชการ เพราะต้องเก็บไว้เป็นหลักฐาน
3. อากัปกิริยา เช่น การแสดงสีหน้าซึ่งผู้บริหารโรงเรียนต้องหัดสังเกตสีหน้าของผู้
ร่วมงาน เพื่อจะได้ทราบบรรยากาศของการทำงานร่วมกัน
4. ด้านตัวเลข เช่น การลงทะเบียนด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ การใช้เลขรหัสประจำ
ตัว การใช้เลขรหัส แทนหน่วยงานต่าง ๆ
5. ด้วยรหัส การส่งสัญญาณทางทหาร การส่งโทรเลข สัญญาณนกหวีด สัญญาณ
ไฟ
การสื่อสารกับการบริหาร
เสนาะ ติเยาว์ (2537 : 23-24) การสื่อสารในองค์การจะต้องพิจารณาในแง่ที่ว่า องค์
ประกอบด้านระบบย่อยต่าง ๆ และระบบย่อยที่สำคัญที่สุด ก็คือ ตัวบุคคล ความสำเร็จและความล้ม
เหลวขององค์การจะเกิดขึ้น จากความมีประสิทธิภาพและความไม่มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน
ของบุคคลเหล่านี้ และการปฏิบัติงานจะมีประสิทธิภาพเพียงใด จะต้องอาศัยระบบการสื่อสาร ที่ดี
36
ซึ่งวิธีการที่สมาชิกในองค์การรับร ู้ ส่งข่าว และแปลความหมายของข่าว จะกระทบต่อขวัญและ
กำลังใจ ในการปฏิบัติงานโดยตรง ระบบการติดต่อสื่อสารหน่วยเล็กที่สุด ก็คือ การสื่อสาร ระหว่าง
บุคคล 2 คน สำหรับนำไปใช้ในการแก้ปัญหาและประสานงานกัน ต่อมาก็เป็นกลุ่มระหว่างบุคคล 3
คนขึ้นไป การติดต่อแบบพบหน้ากัน นับว่ามีความสำคัญมากสำหรับองค์กรซึ่งจะก่อให้เกิดผลดี ทั้ง
ในด้านผลงานและในการสร้างความเข้าใจ อันดีระหว่างกัน ระบบการติดต่อสื่อสารในองค์การ
ประเภทสุดท้าย ก็ได้แก่ ระบบสายการบังคับบัญชา ตลอดทั้งองค์การ และระบบการสื่อสาร
ประเภทนี้ ทำให้ประสานงานดำเนินไปด้วยดี ในทุกระดับขององค์การ จะมีช่องทางและข่ายงาน
เพื่อเชื่อมต่อระบบการติดต่อเหล่านี้เข้าด้วยกัน (เสนาะ ติเยาว์ 2537 : 23-24)
สายการบังคับบัญชา นับว่าเป็นระบบการสื่อสารที่มีความสำคัญที่สุด ขององค์การเป็น
ระบบการสื่อสารที่ติดต่อ จากข้างบนลงข้างล่าง ลักษณะของการสื่อสาร แบบนี้ก่อให้เกิดปัญหาขึ้น
อย่างหนึ่ง คือ เกิดการบิดเบือนของข่าวสารขึ้น ในแต่ละระดับ ของสายการบังคับบัญชา เพราะ
ลักษณะส่วนตัวของแต่ละคน ต้องการที่จะฟังข่าวในสิ่งที่ตน อยากจะฟังประการหนึ่ง อีกสาเหตุ
หนึ่ง เมื่อข่าวสารส่งต่อลงมา ในระดับการบิดเบือนของข่าว จะเกิดขึ้นด้วยความสามารถที่จะเข้าใจ
ในข่าวสาร การตีความและการส่งต่อข่าวสาร ที่แตกต่างกัน ดังนั้น ปรากฏการณ์ที่ข่าวสารตกหล่น
ในระหว่างการส่งข่าว จากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง หรือไปยังอีกกลุ่มบุคคลหนึ่ง จึงเกิดขึ้น
ความไม่เข้าใจที่จะเกิดขึ้นระหว่างผู้บริหาร กับผู้ปฏิบัติงาน ย่อมเกิดมาจากสาเหตุการบิดเบือนของ
ข่าวสาร
คุณลักษณะด้านคุณธรรม
มีนักวิชาการได้อธิบายความหมายของคำว่า คุณธรรม ไว้หลายท่านมีดังนี้
กู๊ด (Good. 1973 : 614) คุณธรรม หมายถึง คุณภาพที่บุคคลได้กระทำตามความคิดและ
มาตรฐานของสังคมซึ่งเกี่ยวกับความประพฤและศีลธรรม
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ.2525 ได้อธิบายความหมายคุณธรรม หมายถึง
สภาพคุณงามความดี ความประพฤติที่ดี การทำให้เกิดคุณงามความดี อุปนิสัยอันดีงามซึ่งเป็นคุณ
สมบัติที่อยู่ภายในจิตใจของบุคคล
สมจิต ชิวปรีชา (2524 : 12) คุณธรรม หมายถึง ความดีงามที่มีอยู่ในจิตใจของบุคคลได้
แก  ความเมตตากรุณา ความซื่อสัตย์สุจริต ความเสียสละ ความเอื้อเฟื้อ ความกตัญญ ู ความ
พากเพียร ความเห็นอกเห็นใจ
37
สงวน สุทธิเลิศอรุณ (2524 : 10) กล่าวว่า คุณธรรม หมายถึง คุณงามความดี ของบุคคล
ที่กระทำไปด้วยความสำนึกในจิตใจ โดยมีเป้าหมายว่าการกระทำหรือพฤติกรรมที่ดีซึ่งเป็นที่ยอม
รับของสังคม
ดงั นนั้ จงึ สรปุ วา่ คุณธรรม หมายถึง การทำดี คิดด ี และพูดดี เพื่อให้เกิดความสุขต่อตน
เองและผู้อื่น
ผู้บริหารที่มีคุณธรรมอยู่ในใจ พิจารณารอบคอบแล้วดำเนินงานไปตามที่ได้คิดวางแผนไว้
ไม่ต้องหวั่นไหว หรือระวังระแวงอะไร เพราะการระแวงทำให้เกิดกิเลสความอิจฉา ความไม่ไว้
วางใจ ส่วนระวังจะทำให้เกิดความรอบคอบ และไม่ให้เกิดความประมาท พยายามหาทางสร้าง
ความรู้ความสามารถ เพื่อว่าจะได้เป็นที่ศรัทธาและนับถือของบุคคลที่อยู่ใต้บังคับบัญชา
รุ่งทิวา จักรกร (2526 :150) คุณธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของผู้บริหารนั้นประกอบ
ด้วยความยุติธรรมการที่ผู้บริหารโรงเรียนมีความซื่อสัตย์สุจริตย่อมหมายถึง ผู้บริหารโรงเรียนไม่ได้
อาศัยอำนาจและหน้าที่แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนในทางมิชอบทั้งทางทรัพย์สิน และเวลาราช
การซึ่งจะทำให้ผู้ร่วมงานให้ความเคารพนับถือ เอาเป็นแบบอย่างได้
โยธิน จารุภูมิ(2526 :134) ผู้บริหารโรงเรียนจำต้องมีความตั้งใจในการทำงาน กระตือรือร้น
ในการทำงาน การที่ผู้บริหารโรงเรียนเป็นคนมีน้ำใจ ย่อมทำให้ผู้ร่วมงานเกิดขวัญและกำลังใจ
เพราะได้รับความห่วงใย ความเอื้ออาทร ความสนใจ และการช่วยเหลือจากผู้บริหารโรงเรียน ย่อม
ทำให้มีการทำงานด้วยความรับผิดชอบและความตั้งใจ
เฉลิม รัชชนะกุล (2524 : 120-121) คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนต้อง
เป็นคนที่มีความเสียสละ ไม่เห็นแก่ตน การที่ผู้บริหารโรงเรียนทำตนให้เป็นที่พึ่งของคนอื่นได้ย่อม
ทำให้ผู้ร่วมงานได้รับการช่วยเหลือดูแลทำให้สภาพการทำงานและสุขภาพทางจิตของเขาดีขึ้น มี
ความมุมานะที่จะทำงานเพื่อผลสำเร็จของงานไม่มีความวิตกกังวลในการทำงาน ทำงานด้วยความ
มั่นใจ ซึ่งเป็นผลดีต่อโรงเรียน
การที่ผู้บริหารจะมีคุณธรรมได้นั้นก็ขึ้นอยู่กับการเอาชนะใจตนเองหมั่นพิจารณาใคร่ครวญ
อยู่เสมอ มีวิจารณญาณอย่างลึกซึ้ง รู้จักแยกแยะชั่วดี อะไรควร อะไรไม่ควร สิ่งไหนควรปฏิบัติ
หรือควรหลีกเลี่ยง อย่าคล้อยตามสภาพแวดล้อม พบดีทำดี พบชั่วทำชั่ว ขาดสติยั้งคิด ขาดความ
เข้มแข็งอดทน ไม่หนักแน่น การไม่หนักแน่นจะทำให้เขวไป ต้องเป็นคนยึดอุดมการณ์อย่างมั่น
คง เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม เห็นแก่ความเจริญของสังคมให้มาก ถ้าเห็นว่าทำสิ่งนั้นถูกต้องแล้ว
ควรทำต่อไปด้วยหนักแน่นมั่นคง แม้ไม่ร่ำรวยเหมือนคนคดโกง แต่ก็เชื่อว่าชีวิตคงไม่ตกต่ำ
38
เหมือนคนที่ทุจริตอย่างแน่นอน วัตถุสิ่งของต่าง ๆ นั้นเป็นของนอกกาย ตายแล้วก็เอาไปไม่ได้
บางครั้งสะสมไว้ก็ยังก่อให้เกิดความวุ่นวายแก่ลูกหลาน ญาติพี่น้องด้วยการแย่งสมบัติกัน สู้การ
กระทำความดี มีคุณธรรมไม่ได้ เพราะสิ่งนี้ไม่มีอันตราย มีแต่ก่อให้เกิดประโยชน์ และมีผู้กล่าว
ถึง แม้ว่าผู้กระทำความดีได้ล่วงลับไปแล้ว
การทำงานในหน่วยงานหรือองค์การนั้น สิ่งที่ผู้บริหารต้องการคือ การให้บุคลากรต่าง ๆ
ในหน่วยงานทำงานด้วยความสบายใจ อยู่ในระเบียบวินัย และสามารถทำงานไปสู่เป้าหมายที่
ต้องการ ถ้ามองดูเผินๆ แล้การทำงานด้วยสบายใจ กับการเร่งรัดให้งานไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ
นั้นเป็นเจตนารมณ์ที่ขัดกัน เพราะเมื่อผู้บริหารต้องการให้ได้งาน ความสุขสบายของผู้ทำงานก็ไม่
มี หรือถ้าตรงกันข้ามผู้ปฏิบัติงานมีความสุขสบายใจผลงานก็จะไม่ก้าวหน้า หรือบรรลุถึงจุดหมาย
ปลายทางได้ แต่ความจริงแล้วทั้งสองประการนั้น ไม่ได้ขัดแย้งกันเลย กลับเป็นสิ่งที่เกื้อกูลกัน
เพราะผู้ใต้บังคับบัญชามีความสบายใจ ก็จะขยันขันแข็งในการทำงาน สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือผลงานที่ได้
อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยสูงสุดเท่าใด ความสามารถของผู้ปฏิบัติงานหน่วยงานนั้น จะอำนวยให้เป็น
ไปได้ และการที่จะให้เป็นไปได้เช่นนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่า ผู้บริหารต้องรู้จักตนเอง มีความมั่นคงใน
อารมณ์ ต้องรู้จักพยายามเข้าใจผู้อื่น มีใจกว้าง รับฟังความคิดเห็นของผู้ร่วมงาน เป็นที่พึ่งพาของ
ผู้ใต้บังคับบัญชาได้ มีความอดทน กล้าหาญ มีความจริงใจต่อใต้บังคับบัญชา มีความยุติธรรม มี
ความซื่อสัตย์สุจริต และที่สำคัญที่สุดก็คือ ผู้บริหารต้องเป็นผู้มีคุณธรรมประจำใจ การที่ผู้บริหารมี
คุณธรรมประจำใจจะเป็นส่วนหนึ่งของบุคลิกภาพประจำตัวของผู้บริหาร
คุณลักษณะหรือส่วนบุคคลหรือบุคลิกภาพที่เด่น ๆ ผู้บริหารต้องใฝ่หาพัฒนาหรือเสริม
สร้างให้มีขึ้น เป็นคุณสมบัติประจำตัว ซึ่งช่วยให้การปฏิบัติงานได้ผล นับว่ามีค่าแก่ผู้บริหารมาก
ผู้บริหารที่มีลักษณะเหล่านี้ ย่อมทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเชื่อฟัง เคารพนับถือ เชื่อมั่น และร่วมมือ
ร่วมใจ ดังนั้นคุณธรรมของผู้นำหรือผู้ปกครองมีความจำเป็นอีกประการหนึ่ง ที่ผู้บริหารนำมาใช้
ฉลอง มาปรีดา (2537 : 33-34) ได้เสนอคุณธรรมสำหรับผู้นำ ดังนี้
1. ทาน ได้แก่ การให้ การเสียสละ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
2. ปริจาคะ ได้แก่ การเสียสละ เพื่อส่วนรวม เสียสละประโยชน์หรือความสุขส่วนตน
3. อวิโรธนะ ได้แก่ ความสงบเสงี่ยม และการมีสติควบคุมรักษามารยาทไม่ให้ผิดระเบียย
วินัย ประเพณี ตลอดจนกฎหมายและศีลธรรม ให้มีความสุภาพเมื่อจะเสียขันติ
4. มัททวะ ได้แก่ ความสุภาพอ่อนโยน ทั้งกายและวาจาไม่แข็งกระด้าง
39
5. ศีล ได้แก่ ความมีศีลธรรม สำรวม ควบคุมความประพฤติ ทางกาย วาจา ใจให้เรียบ
ร้อย
6. อาชชวะ ได้แก่ ความซื่อตรงต่อตนเอง ต่อการงาน ต่อบุคคลอื่น และมีความภักดีตั้ง
อยู่ในจริยธรรม ไม่ประพฤติหลอกลวง
7. ขันติ ได้แก่ ความอดทน อดกลั้น รู้จักข่มใจ และห้ามใจตนเอง
8. ตปะ ได้แก่ การมีอำนาจ หรือธรรมที่ทำลายหรือขจัดความชั่ว
9. อักโกธะ ได้แก่ ความไม่กริ้วโกรธโดยใช่วิสัย
10. อวิหิงสา ได้แก่ ความไม่เบียดเบียน มีความกรุณาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
11. ปกครองโดยยุติธรรมเว้นจากอคติ 4
12. สัปปุริสธรรม 7 ได้แก่ เป็นผู้รู้จักเหตุ รู้จักผล รู้จักตน รู้จักกาล รู้จักประมาณ รู้จัก
ประชาชน รู้จักเลือกบุคคล
13. อิทธิบาท 4 ได้แก่ คุณธรรมที่ทำให้สำเร็จความประสงค์ 4 ประการ คือ ความพอ
ใจรักใคร่ในสิ่งนั้น เพียรประกอบสิ่งนั้น หมั่นตริตรองพิจารณาเหตุผลสิ่งนั้น พร้อมที่จะ
กระตือรือร้นที่จะทำงานให้สำเร็จ
14. มรรค 8 ได้แก่ มีปัญญาชอบ ดำริชอบ วาจาชอบ เลี้ยงชีพชอบ ทำการงานชอบ
เพียรชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจไว้ชอบ
ภิญโญ สาธร (2523 : 352) ได้ให้ความเห็นไว้ว่า คุณธรรมของผู้บริหารในสังคมไทย
ควรมีดังนี้
1. มีพรหมวิหารสี่ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
2. มีความหนักแน่น ไม่หูเบา รับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่าย
3. มีความยุติธรรม และให้ความเสมอภาคแก่ทุกคน
4. มีความซื่อสัตย์สุจริต
5. อ่อนหวาน อ่อนน้อม สุภาพ
6. อดทนด้วยความเยือกเย็นต่อคำพูดที่ขัดแย้งหรือไม่เป็นมิตร
7. เป็นตัวอย่างที่ดีทุกด้านของผู้น้อย
8. ละเว้นจากการประพฤติชั่ว ซึ่งทำให้สังคมรังเกียจ ตามสภาพของวัฒนธรรมไทย
9. ไม่ดุด่าหรือกล่าวคำผรุสวาทใด ๆ ต่อผู้ใต้บังคับบัญชาต่อหน้าคนอื่น
40
10. รู้จักถนอมน้ำใจ
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร  (2530 : 4) ได้สรุปผลจากแบบสอบถามของผู้บริหาร จาก
การสัมมนาผู้บริหารโรงเรียน 42 คน มีความเห็นเกี่ยวกับคุณธรรมสำหรับผู้บริหาร เรียงลำดับ
ความจำเป็น ดังนี้
1. มีความเสียสละ
2. จริงจังกับงานและจริงใจกับผู้ร่วมงาน
3. มีความซื่อสัตย์สุจริต
4. ไม่เห็นประโยชน์ส่วนตน ถือประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก
5. จริงใจในการทำงาน และช่วยเหลือผู้ร่วมงาน
6. มีความตั้งใจในการทำงาน
7. มีความยุติธรรม
8. มีพรหมวิหารสี่
9. มีสัจธรรม
10. มีความเข้าใจตนเองและผู้อื่น
11. เป็นที่พึ่งของคนอื่นได้
จากแนวคิดที่กล่าวมาแล้ว ข้างต้น สรุปได้ว่าผู้บริหารต้องมีคุณลักษณะด้านคุณธรรม ดังนี้
1. มีความเมตตากรุณา เห็นอกเห็นใจผู้ใต้บังคับบัญชาเสมอ และปรารถนาให้ผู้ใต้บังคับ
บัญชามีความสุข มีความเจริญให้คำแนะนำในสิ่งที่เป็นประโยชน์
2. มีความเสียสละไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน และคือประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลักตั้งใจ
ทำงานด้วยความอดทน และใช้ความสามารถอย่างเต็มที่เพื่อพัฒนาหน่วยงาน
3. มีความยุติธรรม ซื่อตรง และซื่อสัตย์สุจริตต่อหน้าที่การงานต่อตนเองและต่อผู้อื่น
4. มีความอดทน อดกลั้น รู้จักข่มใจ และห้ามใจตนเองต่อกิเลสต่าง ๆ และมีความอดทนใน
การทำงาน
5. มีความอ่อนโยน สุภาพ ทั้งกายวาจา และใจ มีความเข้าใจผู้อื่น รู้จักถนอมน้ำใจไม่ดุด่า
ใช้คำผรุสวาทใด ๆ และเป็นที่พึ่งของคนอื่นได้
6. เป็นคนรู้จักเหตุผล รู้จักผล รู้จักตน รู้จักกาล รู้จักประมาณ รู้จักประชาชน รู้จักการเลือก
บุคคล
41
คุณลักษณะด้านวิสัยทัศน์ (Vision)
นักวิชาการได้ให้แนวความคิด และความหมายของคำว่า วิสัยทัศน์ (Vision) ไว้ดังนี้
ฮิคแมน และซิลวา (Hickman and Silva. 1984 : 151) ได้ให้ความหมายว่า วิสัยทัศน์
หมายถึง การเดินทางโดยใช้สมองจากสิ่งที่รู้ไปยังสิ่งทีไม่รู้ เป็นการสร้างสรรค์อนาคตจากข้อมูล
ในปัจจุบัน ความหวัง ความฝัน และโอกาสที่จะเป็นไปได้
บลูมเบิร์ก และกรีนฟิลด์ (Blumberg and Greenfield. 1986 : 227-228) ได้ให้ความ
หมายว่า วิสัยทัศน์ หมายถึง ความสามารถในการมองเห็นความแตกต่างระหว่างสิ่งที่เป็นอยู่ใน
ปัจจุบันกับสิ่งที่ต้องการให้เป็นในอนาคต และสามารถกระทำกิจกรรมเพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพที่
เป็นอยู่ในปัจจุบันไปสู่สภาพที่ต้องการในอนาคตได้สำเร็จ
วีระวัฒน์ ปันนิตามัย (2537 : 13-16) ได้ให้ความหมายว่า วิสัยทัศน์ หมายถึง ผู้นำที่มี
ความสามารถพินิจพิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งในและนอกองค์การ ในแง่มุมของอดีตและปัจจุบัน
คาดคะเนพยากรณ์ และสร้างภาพ (Image) ฉายไปในอนาคตได้ ว่าจะมีความเปลี่ยนแปลงอะไร
แล้วทำการสื่อสาร (Communication) ภาพดังกล่าวให้แก่ผู้เกี่ยวข้องทราบ
มารศรี สุธานิธิ (2540 : 31) ได้ให้ความหมายว่า วิสัยทัศน์ หมายถึง คุณสมบัติของ
บุคคลที่สามารถมองเห็นภาพในอนาคตขององค์การที่ต้องการให้เป็นได้อย่างชัดเจน โดยภาพนั้น
ตอ้ งสอดคล้องกับเปา้ หมายขององคก์ าร มีความเป็นไปได  และสามารถมองเห็นวิธีการปฏิบัติที่จะ
นำองค์การให้บรรลุความต้องการนั้น
จากที่กล่าวมา สามารถสรุปได้ว่า วิสัยทัศน์ หมายถึง ความคิดที่เกิดจากความสามารถ
เฉพาะบุคคลที่มองภาพออกไปในอนาคต บนพื้นฐานของความเป็นจริงโดยใช้ข้อมูลในปัจจุบัน
เป็นพื้นฐาน
ล้อกและคนอื่น ๆ (Lock and others. 1991 : 53-54) ได้เสนอแนวความคิดไว้ว่า การ
สร้างวิสัยทัศน์ของผู้นำได้มาจากวิธีการ ดังต่อไปนี้
1. โดยการเก็บรวมรวมข้อมูล หมายถึง การสนทนาพูดคุยและฟังความคิดเห็นจากบุคคล
ต่าง ๆ ทั้งในองค์การและนอกองค์การ
2. โดยกระบวนการจัดกระทำข้อมูล หมายถึง การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่
เพื่อนำไปกำหนดวิสัยทัศน์ของผู้นำซึ่งต้องอาศัยความรู้ความสามารถของผู้นำ ในเรื่องต่อไปนี้ คือ
การมีสายตายาวไกล ความเข้าใจในประเพณีและวัฒนธรรมขององค์การ ความเข้าใจถึงผลกระทบ
ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น การมีความพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนความคิดเห็นของตนเองได้ตลอดเวลา
42
3. โดยการถ่ายทอดวิสัยทัศน์ ของตนออกมาเป็นถ้อยคำได้อย่างชัดเจน มีพลังในการ
กระตุ้นในสมาชิกทุกคนทำงานเพื่อเป้าหมายขององค์การ ทั้งนี้ถ้อยคำที่แสดงวิสัยทัศน์นั้น การมี
ลักษณะย่นย่อชัดเจน ท้าทาย มุ่งอนาคต มั่นคง ปรารถนาที่จะบรรลุให้ได้
4. โดยการประเมินเป็นระยะ หมายถึง การทดสอบว่าวิสัยทัศน์นั้นสอดคล้องกับความรู้
ความสามารถของสมาชิกในองค์การหรือไม่ หากได้คำตอบปฏิเสธ ผู้นำก็ต้องนำวิสัยทัศน์มา
พิจารณาเพื่อปรับเปลี่ยนต่อไป
ผู้นำที่มีประสิทธิผลจะเพียงแต่มีวิสัยทัศน์เท่านั้นยังไม่พอเพียง แต่จะต้องเผยแพร่วิสัยทัศน์
นั้นให้สมาชิกเข้าใจอย่างชัดเจน โดยกำหนดภาพในอนาคตของโรงเรียน และศึกษาสภาพของโรง
เรียนในปัจจุบันว่ามีจุดเด่นจุดด้อยด้านใด โดยการรวบรวมข้อมูลจากสมาชิกทุกคนในโรงเรียน
เพื่อตัดสินใจว่าจะวางทิศทางการพัฒนาโรงเรียนไปทางใด เมื่อได้ทิศทางที่ชัดเจนแล้ว ก็หล่อ
หลอมวิสัยทัศน์นั้นลงสู่นโยบายแผนงาน และกิจวัตรประจำวันภายในองค์การได้เป็นผลสำเร็จ
เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์ (2538 : 4) มีความคิดเห็นว่า เมื่อผู้นำสร้างวิสัยทัศน์ขึ้นมาแล้วจำ
เป็นต้องบรรยาย อธิบายและทำให้สมาชิกขององค์การได้รับรู้ เข้าใจ และมองเห็นความเป็นไปได้
ผู้นำเมื่องสร้างวิสัยทัศน์ที่สร้างขึ้นนั่นคือเปลี่ยนสภาพของวิสัยทัศน์ส่วนบุคคล เป็นวิสัยทัศน์ของ
ส่วนรวม จุดมุ่งหมายของการเผยแพร่วิสัยทัศน์คือ การให้สมาชิกขององค์การยอมรับวิสัยทัศน์เป็น
ของตน ผู้นำจะต้องมีศิลป์ในการอธิบาย และโน้มน้าวให้สมาชิกขององค์การเข้าใจและยอมรับ
วิสัยทัศน์ที่สร้างขึ้น ผู้นำจะต้องมีอิทธิพลในการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ และค่านิยมของสมาชิก เพื่อ
ให้สมาชิกปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ที่ผู้บริหารสร้างขึ้น สู่การปฏิบัติจริง โดยความร่วมมือ ทุ่มเทกำลัง
กาย และความพยายามของสมาชิกภายในองค์การเพื่อให้วิสัยทัศน์ที่สร้างขึ้นนั้น ดำเนินไปเป็นผล
สำเร็จนั่นคือเป็นการรวมพลังเพื่อบรรลุสภาพการณ์ในอนาคตที่ปรารถนา ซึ่งเป็นการปรับปรุงองค์
การให้ดีหรือให้มีความเป็นเลิศ
ล้อกและคนอื่น ๆ (Lock and others. 1991 : 63-99) ได้เสนอแนวทางในการปฏิบัติตาม
วิสัยทัศน์ให้บรรลุไว้อย่างชัดเจน ดังนี้
1. ถ่ายทอดวิสัยทัศน์ออกมาเป็นบัญชีรายการที่จะต้องปฏิบัติจริง เพื่อให้ช่องว่างระหว่าง
สภาพขององค์การในปัจจุบันกับสภาพในอนาคตขององค์การที่ต้องการให้เป็น มีความใกล้ชิดกัน
เข้าไปทุกที จนกระทั่งสามารถบรรลุวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ได้ในที่สุด
2. จัดโครงสร้างขององค์การให้พร้อมที่จะรับการนำวิสัยทัศน์ไปปฏิบัติ
43
3. คัดเลือกบุคคลให้ทำงานเหมาะกับความรู้ความสามารถ และพัฒนาบุคคลให้มีความ
เต็มใจที่จะปฏิบัติงาน เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ที่กำหนด
4. สร้างความกระตือรือร้นในการทำงานให้เกิดแก่สมาขิก โดยการใช้อำนาจหน้าที่ตาม
ระเบียบกฎเกณฑ์ การทำให้ดูเป็นแบบอย่าง การสร้างให้เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง และการ
กระจายอำนาจ
5. เก็บรวบรวมและศึกษาข้อมูลเป็นอย่างดี เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจมิให้ผิดพลาด
6. สร้างทีมงานที่ดี ให้สมาชิกได้ร่วมมือและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
7. ริเริ่มให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และสนับสนุนให้มีการใช้นวัตกรรม เพื่อพัฒนาองค์การ
ไปสู่วิสัยทัศน์ที่กำหนด
ดนัย เทียนพุฒิ (2536 : 203-206) ผู้บริหารระดับสูงจะต้องมีคุณลักษณะสำคัญคือ การมอง
ไกลซึ่งเป็นความสามารถในการวาดภาพกฎเกณฑ์ในอนาคตให้สมจริง และมีการวางแผนและการ
เตรียมการสำหรับอนาคตได้อย่างเหมาะสม
เอกชัย กี่สุขพันธ์ (2518 : 19-20) ผู้บริหารควรมีคุณสมบัติมองกว้างไกลอย่างต่อเนื่องและ
พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ สามารถที่จะวิเคราะห์สถานการณืเพื่อกำหนดกลยุทธ์ใน
การบริหารได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆที่เปลี่ยนไป
ยูคล์ (Yukl 1989 : 221) ในการสร้างวิสัยทัศน์นั้นผู้นำจะต้องสร้างเครือข่ายงานที่จะได้พบ
ปะกับสมาชิกทั้งในองค์กรและนอกองค์กรทั้งเป็นแบบทางการและไม่เป็นทางการโดยผู้นำจะต้อง
สนใจในความคิดเห็นของผู้อื่น โดยเฉพาะความคิดเห็นใหม่ๆ หรือที่แตกต่างไปจากความคิดเห็น
ของตนเองและของคนอื่นๆเพื่อจะเลือกความคิดเห็นที่ดีมาใช้ประกอบการตัดสินใจ
เซอร์จิโอวานนี (Sergiovanni. 1987 : 7) ได้เสนอความคิดว่าผู้บริหารโรงเรียนที่จะจัดการ
ศึกษาในโรงเรียน สู่ความเป็นเลิศได้นั้นต้องมีวิสัยทัศน์ เพราะผู้บริหารโรงเรียนจะสามารถเลือก
เน้นความสนใจในสิ่งที่เป็นความสำคัญและค่านิยมของโรงเรียน ซึ่งจะแสดงให้สมาชิกรับรู้โดย
การกระทำและคำพูด ดังนั้นสมาชิกในโรงเรียนจะมีความเข้าใจตรงกันว่าอะไรคือเป้าหมายสำคัญ
ของโรงเรียน และทุกคนจะปฏิบัติงานของตนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น
ในโรงเรียนที่มีผู้บริหารมีวิสัยทัศน์นั้น วิสัยทัศน์ของผู้บริหารโรงเรียนจะก่อให้เกิดความ
เชื่อ และปรัชญาของโรงเรียนซึ่งจะประสานทุกกิจกรรมของโรงเรียนเข้าไว้ด้วยกันทุกโปรแกรม
ทุกนโยบายจะสนองตอบเป้าหมายอันเป็นหนึ่งเดียวของโรงเรียน ส่วนโรงเรียนที่ผู้บริหารโรงเรียน
44
ไม่มีวิสัยทัศน์นั้น วิถีปฏิบัติภายในโรงเรียนจะไม่มีเป้าหมายชัดเจน โรงเรียนเหล่านั้นจะสนใจ
ปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ทุกอย่างภายในโรงเรียนทั่วถึงแต่โดยผิวเผิน
จากที่กล่าวมาแล้วแสดงให้เห็นว่า วิสัยทัศน์เป็นคุณสมบัติที่สำคัญประการหนึ่งของผู้
บริหารโรงเรียน โรงเรียนที่ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์และสมาชิกในโรงเรียนยอมรับวิสัยทัศน์ นำวิสัย
ของผู้บริหารโรงเรียนลงสู่การปฏิบัติ และกิจกรรมทุกกิจกรรมที่ทำมีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ที่
วางไว้ จะเกิดประสิทธิผลที่มีคุณค่าต่อโรงเรียนอย่างแท้จริง ซึ่งเป็นผลให้ผู้บริหารโรงเรียน
สามารถบริหารงานในโรงเรียนได้ประสบความสำเร็จ บรรลุเป้าหมายตามที่ได้วางวิสัยทัศน์ไว้
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
งานวิจัยในประเทศที่เกี่ยวข้องกับคุณลักษณะของผู้บริหาร มีดังนี้
บุญมา กัมปนาทพงษ์ (2532 : 90-92) ได้วิจัยเรื่องการศึกษาคุณลักษณะของผู้บริหารโรง
เรียนมัธยมศึกษาของรัฐ พบว่า คุณลักษณะที่พึงประสงค์ 4 ด้าน คือ คุณลักษณะด้านความเป็นผู้
นำ ด้านวิชาการ ด้านบุคลิกภาพ และด้านความสามารถในการบริหาร มีพฤติกรรมที่บ่งชี้ดังนี้ คือ
คุณลักษณะด้านความเป็นผู้นำ ได้แก่ ความรับผิดชอบสูง มีคุณธรรมเป็นตัวอย่างได้ เสียสละ
เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม มีความเชื่อมั่นในตนเอง และกล้าเผชิญปัญหาต่าง ๆ ได้ด้วยความมั่นใจ
คุณลักษณะด้านวิชาการ ได้แก่ การรู้หลักการการบริหาร และมีประสบการณ์ในการบริหารมา
ก่อน มีความรู้ความเข้าใจในหลักสูตร รู้นโยบายการศึกษาของชาติทุกระดับ และมีความสามารถ
ในการบริหารงานบุคคล คุณลักษณะด้านบุคลิกภาพ ได้แก่ การมีมนุษยสัมพันธ์ดี มีใจกว้างเป็น
ประชาธิปไตย ดำเนินบทบาทของตนได้อย่างเหมาะสม มีน้ำใจไมตรีต่อผู้ใต้บังคับบัญชา และใช้
กิริยาวาจาในความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้อย่างแนบเนียน คุณลักษณะด้านความสามารถในการบริหาร
งาน ได้แก่ มีความรู้ ความเข้าใจในนโยบายและวัตถุประสงค์ของการปฏิบัติงาน จนสามารถชี้
แจงตอ่ ผอู้ นื่ ได  มคี วามสามารถในการวางแผนและปรบั ปรงุ แผนอยเู่ สมอ มีความสามารถในการ
จัดสายบังคับบัญชาและระเบียบงาน รู้จักการมอบหมายอำนาจหน้าที่ละความรับผิดชอบให้ผู้อื่น
ลัทธิ ยศปัญญา (2533 : 82-93) ได้วิจัยเรื่องคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรง
เรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ตามทัศนะของครูอาจารย์ในจังหวัดพังงา พบว่า คุณ
ลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารมีความต้องการอยู่ในระดับมากทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านบุคลิก
ภาพด้านคุณธรรม ด้านมนุษยสัมพันธ์ ด้านความรู้ความสามารถในการบริหาร และด้านส่วนตัว
และครอบครัว ด้านบุคลิกภาพ พบว่า พฤติกรรมที่แสดงออกมาทั้งภายนอกภายในในร่างกาย
45
ตลอดจนทุกสิ่งทุกอย่างที่ประกอบขึ้นมาเป็นตัวของบุคคล ซึ่งเป็นทีพอใจหรือต้องการของผู้พบ
เห็น ได้แก่ อากัปกริยา ท่าทางและการแต่งกายดี ด้านคุณธรรม พบว่า เป็นพฤติกรรมที่แสดง
ออกทางด้านร่างกาย วาจา และจิตใจ ซึ่งเป็นที่พึงประสงค์ ได้แก่ การมีสัจธรรม มีความยุติธรรม
มีพรหมวิหารสี่ ด้านมนุษยสัมพันธ์ พบว่า มนุษยสัมพันธ์ เป็นพฤติกรรมที่ปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น
ทำให้คนที่มีปฏิสัมพันธ์นั้นพึงพอใจ เช่น มีความมั่นคงในอารมณ์ อดทน อดกลั้น ยิ้มแย้มแจ่มใส
ด้านความรู้ความสามารถในการบริหาร เป็นคามสามารถของผู้บริหารโรงเรียน ในการนำเอาหลัก
การ ความรู้ และทฤษฎี มาประยุกต์ในการทำงาน ให้ประสบความสำเร็จและด้านส่วนตัวและ
ครอบครัว พบว่า คุณลักษณะด้านส่วนตัวและครอบครัวเป็นการแสดงออกถึงความสัมพันธ์
ระหว่างบุคคลภายในครอบครัวและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ที่เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติงานให้
เป็นผลสำเร็จ
สุนีย์ จิตรเนื่อง (2526 : 87-90) ได้ทำการวิจัยเรื่อง “ความคิดเห็นของผู้บริหารและอาจารย์
เกี่ยวกับทักษะทางการบริหารที่พึงประสงค์ของผู้บริหาร โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญ
ศึกษา ในกรุงเทพมหานคร” สรุปผลการวิจัยดังนี้คือ
1. ทักษะทางด้านคตินิยม
- ผู้บริหาร และอาจารย์เห็นว่าผู้บริหารควรมีทักษะด้านคตินิยมอยู่ในเกณฑ์เห็น
ด้วย และเห็นด้วยอย่างยิ่งแสดงให้เห็นถึงทักษะทางด้านคตินิยมตามทฤษฎี 3 ทักษะของ โรเบิร์ต
แอล แคทซ์ (Robert L.Katz) เป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้บริหารควรมีให้มาก
- ผู้บริหารควรมีความรู้เกี่ยวกับหน่วยงานทั้งหมด ที่ตนเองปฏิบัติและรู้ว่าหน่วย
งานย่อยสัมพันธ์กันอย่างไร
- ผู้บริหารสามารถประเมินผลการปฏิบัติงาน เพื่อพิจารณาความดี ความชอบแก่
บุคลากรได้อย่างถูกต้องซึ่งเป็นคุณสมบัติของผู้นำที่จะต้องให้ความยุติธรรมในการพิจารณาความดี
ความชอบแก่บุคลากร เป็นจุดที่ผู้บริหารและอาจารย์ให้ความคิดเห็นในเกณฑ์เห็นด้วยอย่างยิ่ง
- ผู้บริหารจะต้องมีความรู้ในเรื่อง หลักสูตรทั่ว ๆ ไป ทุกระดับชั้นที่จัดในสถาน
ศึกษาของตนแสดงให้เห็นว่า ความคาดหวังของผู้บริหารมีความคิดเกี่ยวกับทักษะด้านนี้ มากแต่
ด้านอาจารย์เห็นว่าไม่จำเป็นมากนัก
2. ทักษะทางด้านมนุษยสัมพันธ์สรุปได้ดังนี้
- ผู้บริหารและอาจารย์เห็นว่าผู้บริหารควรมีทักษะทางด้านมนุษยสัมพันธ์อยู่ใน
เกณฑ์เห็นด้วยและเห็นด้วยอย่างยิ่ง
46
3. ทักษะทางด้านเทคนิค
- ผู้บริหาร และอาจารย์เห็นว่า ผู้บริหารควรมีทักษะด้านเทคนิคอยู่ในเกณฑ์เห็น
ด้วยตามแบบสอบถามทุกข้อ แต่ในข้อที่ว่าผู้บริหารสามารถพูดหรือเขียนคำสั่งให้ผู้ปฏิบัติเข้าใจ ได้
ถูกต้อง และชัดเจนนั้นทั้งผู้บริหารและอาจารย์มีความคิดเห็นอยู่ในเกณฑ์เห็นด้วยอย่างยิ่ง แสดงว่า
ทักษะเกี่ยวกับการพูดและเขียนคำสั่งให้เข้าใจอย่างชัดเจน เช่น สิ่งที่ทุกฝ่ายมีความประสงค์ร่วมกัน
ดังนั้น ผู้บริหารควรฝึกฝนในทักษะด้านการพูดการเขียน ให้เชี่ยวชาญ เมื่อถึงเวลาที่จะออกคำสั่ง
หรือชี้แจง ให้ผู้ใต้บังคับบัญชานำไปปฏิบัติจะได้ไม่เกิดปัญหาทางการสื่อสาร
จำรัส มาลัยทอง (2529 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียน
ประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดจันทบุรี ผลการศึกษาพบว่าครูโรงเรียน
ประถมศึกษา ประสงค์จะให้ผู้บริหารโรงเรียนมีพฤติกรรมด้านการติดต่อสื่อสาร ผู้บริหารโรงเรียน
ควรมีความสามารถในการติดต่อสื่อสารทั้งวาจาและด้วยลายลักษณ์อักษร ด้านมนุษย์สัมพันธ์ ผู้
บริหารโรงเรียนควรมีมนุษย์สัมพันธ์ ที่ดีต่อผู้บังคับบัญชา ผู้บริหารระดับเดียวกันและผู้ใต้บังคับ
บัญชา
ประพนธ์ ไพลคำ (2537 : 73-75) ได้ศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียน
มัธยมศึกษาตามทัศนะของครู และกรรมการศึกษาของโรงเรียนในจังหวัดปราจีนบุรี โดยทำการ
ศึกษาคุณลักษณะ 4 ด้าน คือ ด้านคุณลักษณะความเป็นผู้นำ ด้านความรอบร ู้ ด้านบุคลิกภาพ และ
ด้านความสามารถในการบริหาร ผลการวิจัยพบว่า
1. คุณลักษณะด้านความเป็นผู้นำ ทั้งครูและกรรมการศึกษาของโรงเรียนมีความ
คิดเห็นอยู่ในระดับมากทุกข้อ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ผู้บริหารมีความรับผิดชอบสูง ซื่อสัตย์
สุจริต มีเหตุผลสุขุมรอบคอบ มองการณ์ไกล มีความเชื่อมั่นในตนเอง
2. ดา้ นความรอบร ู้ เกี่ยวกับงานในหน้าที่ทั้งคร ู และกรรมการศกึ ษาของโรงเรยี นมี
ความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ทุกข้อเช่นกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ผู้บริหารมีความสามารถ
บริหารบุคคล เป็นผู้รู้หลักการบริหารมีประสบการณ์ ในการบริหารงาน
3. ด้านบุคลิกภาพ ทั้งครู และกรรมการศึกษาของโรงเรียนมีความคิดเห็นอยู่ใน
ระดับมากทุกข้อ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าผู้บริหารมีบุคลิกภาพ ด้านมนุษยสัมพันธ์ดี เข้ากับ
สังคมและชุมชนได้ดี มีน้ำใจไมตรี ให้ความอบอุ่นกับผู้ใต้บังคับบัญชา และมีสุขภาพจิตดี
47
4. ความสามารถในด้านการบริหาร ทั้งครู และกรรมการศึกษาของโรงเรียนมีความ
คิดเห็นอยู่ในระดับมากทุกข้อ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ผู้บริหารมีความสามารถในการแก้ไข
ปัญหาสูง มีความรู้ความเข้าใจนโยบาย และวัตถุประสงค์ของการปฏิบัติงานอย่างชัดเจน
เมื่อเปรียบเทียบลักษณะทั้ง 4 ด้าน พบว่า ด้านความเป็นผู้นำมีความแตกต่างกัน
ส่วนด้านอื่น ๆ และโดยรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05
งานวิจัยต่างประเทศ
เอดมอนสันและคนอื่น ๆ (Edmonson and others. 1953 : 79-81) ได้วิจัยเรื่องคุณลักษณะ
ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาควรมีคุณลักษณะ
ที่ดี คือเป็นผู้มีวัฒนธรรม มีความคิดและมองการณ์ไกล มีความสามารถในเชิงบริหาร มีความ
สามารถในการกระตุ้นบุคคลอื่น มีความเป็นนักวิชาการมีความรู้ ในวิชาชีพและมีอุดมการณ์ใน
อาชีพและการปฏิบัติงาน
บริดจ์ (Bridges. 1992 : 669) ได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิผลของโรงเรียน กับ
วิสัยทัศน์ของผู้บริหารโรงเรียนพบว่า ในโรงเรียนที่มีประสิทธิผลนั้น ผู้บริหารโรงเรียนเป็นผู้มีวิสัย
ทัศน์และยังพบว่าวิสัยทัศน์ของผู้บริหารโรงเรียนสามารถท้าทายประสิทธิผลของโรงเรียนได้
เอกกานท์ (Eckhant. 1978 : 562-563-A) ได้ศึกษาเกณฑ์คัดเลือกครูใหญ่ในโรงเรียนประถม
ศึกษา ที่มลรัฐอิลินนอยล ์ ประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่า มีเกณฑ์การคัดเลือกครูใหญ ่ ในโรงเรยี น
ประถมศึกษาและโรงเรียนมัธยมศึกษาไม่แตกต่างกัน และพบว่ามีความต้องการครูใหญ่ 10 ลักษณะ
แรกคือ
1. การรับรู้ในตำแหน่งหน้าที่
2. มีความมั่นคงทางอารมณ์
3. มีทักษะในการตัดสินใจ
4. มีทักษะในการสื่อสาร
5. มีความสัมพันธ์ในบุคลิกภาพ
6. มีการปรับตัวโดยรอบคอบ
7. มีลักษณะทางศีลธรรม
8. มีสติปัญญา
9. มีสุขภาพดี
48
10. มีมนุษยสัมพันธ์
แมกนูสัน (Magnuson, 1971 : 133-A) ได้ทำการศึกษาพบว่าคุณลักษณะของผู้บริหารโรง
เรียนที่ประสบความสำเร็จ ในการบริหารโรงเรียนนั้นประกอบด้วยคุณลักษณะทั้งด้านส่วนตัวและ
วิชาชีพดังนี้คือ
1. คุณลักษณะส่วนตัว ได้แก ่ มีความยุติธรรม มคี วามรอบร ู้ มอี ารมณม์ นั่ คง เปดิ
เผยเข้าใจง่าย มีความมั่นคงคือ คงเส้นคงวา มีความเห็นใจผู้อื่น
2. คุณลักษณะด้านวิชาชีพ ได้แก่ มีความรู้ในการบริหารดี รู้จักมอบหมายงาน มี
การวางแผนและจัดหน่วยงานดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ มีความสามารถตัดสินใจดี มีความ
สามารถในการติดต่อผู้อื่นได้ รู้จักใช้อำนาจอย่างเหมาะสม
ซตัดท์ และคนอื่น ๆ (Stadt and others. 1973 : 49-53) ได้สรุปว่า ลักษณะของผู้บริหารที่ดี
คือ ผู้บริหารจะต้องคำนึงถึงมาตรฐานในการทำงานเป็นที่พึ่งของคนอื่นได ้ มีความกล้าที่จะคิดกล้าที่
จะเสี่ยง และกล้าที่จะทำ มีความรับผิดชอบ มีความสามารถที่จะแบ่งงานให้ผู้อื่นช่วยปฏิบัติ มีวินัย
ในตนเอง มีมโนภาพ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีความสามารถในการสื่อความคิด แข็งแรงและมีสุขภาพ
ดี มีสติปัญญา มีความสามารถในการจัดรูปงาน และมีความสามารถในการตัดสินใจอย่างมีเหตุผล
จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องพบว่า ผู้บริหารโรงเรียนมีคุณลักษณะด้าน
ความรู้ ความสามารถในการบริหารงาน มีความเข้าใจในนโยบายและวัตถุประสงค์ของการปฏิบัติ
งานจนสามารถชี้แจงต่อผู้อื่นได้ มีความสามารถในการวางแผนและปรับปรุงแผนอยู่เสมอ มีความ
สามารถในการจัดสายงานการบังคับบัญชา และระเบียบงาน รู้จักมอบหมายอำนาจหน้าที่และความ
รับผิดชอบให้ผู้อื่น คุณลักษณะด้านมนุษยสัมพันธ์ พบว่ามนุษยสัมพันธ์เป็นพฤติกรรมที่ปฏิสัมพันธ์
กับคนอื่น ดังนั้นผู้บริหารต้องมีความอดทน อดกลั้น มั่นคงในอารมณ์ ยิ้มแย้มแจ่มใส ทำให้คนที่มี
ปฏิสัมพันธ์นั้นพึงพอใจ และยินดีปฏิบัติงานเต็มความสามารถเพื่อหน่วยงานของตน คุณลักษณะ
ด้านการสื่อสาร ผู้บริหารควรมีความสามารถในการติดต่อสื่อสาร ทั้งทางวาจาและลายลักษณ์อักษร
เพื่อสื่อความหมายให้เข้าใจตรงกันในการปฏิบัติงานและจะไม่เกิดความผิดพลาดทำให้เกิดประสิทธิ
ภาพและประสิทธิผลอันดี คุณลักษณะด้านคุณธรรม เป็นพฤติกรรมที่แสดงออกทางด้านร่างกาย
วาจา จิตใจ ผู้บริหารต้องมีสัจธรรม มีความยุติธรรม มีพรหมวิหารสี่ มีความเมตตากรุณา เสียสละ มี
ความเชื่อมั่นในตนเองกล้าเผชิญปัญหาต่างๆและเป็นตัวอย่างแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาได้และคุณลักษณะ
ด้านวิสัยทัศน์ พบว่าความสัมพันธ์ระหว่างสิทธิผลของโรงเรียนกับวิสัยทัศน์ของผู้บริหารโรงเรียน
นั้นมีความสัมพันธ์กันโดยผู้บริหารโรงเรียนที่มีวิสัยทัศน์สามารถทำนายประสิทธิผลของโรงเรียน
49
ได้ และผู้บริหารเมื่อมีวิสัยทัศน์แล้วต้องมีการถ่ายทอดวิสัยทัศน์ของตนออกมาอย่างชัดเจนเพื่อเป็น
การกระตุ้นให้สมาชิกทุกคนทำงานเพื่อเป้าหมายขององค์กร คุณลักษณะทั้ง 5 ข้อดังที่กล่าวมานั้น
เป็นคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนตามความต้องการของผู้บริหารโรงเรียน และครู
– อาจารย์ ที่คาดหวังคุณลักษณะของผู้บริหารที่พึงประสงค์
บทที่ 3
วิธีดำเนินการวิจัย
ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้
1. ประชากร และการสุ่มตัวอย่าง
2. การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการสุ่มตัวอย่าง
3. การเก็บรวบรวมข้อมูล
4. การจัดกระทำและการวิเคราะห์ข้อมูล
5. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรของการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และ
ครู-อาจารย์ ของโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 2,945 คน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา
และ ครู-อาจารย์ ของโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 329 คน ในปีการ
ศึกษา 2544 ได้มาจากการสุ่มตามระดับชั้น (Stratified Sampling) แล้วจึงทำการกลุ่มตัวอย่างแบบ
ง่าย (Simple random Sampling) ซึ่งกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางสัดส่วนของเครจซี
และมอร์แกน (Krejcie and Morgan 1970 : 610)
การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. ศึกษาจากเอกสารผลงานวิจัยที่เกี่ยวกับคุณลักษณะที่สำคัญ และจำเป็นที่ผู้บริหารจะพึง
มีแล้วนำมาสร้างเป็นแบบสอบถาม ได้ 5 ด้าน คือ ด้านความรู้ความสามารถในการบริหาร
ด้านมนุษยสัมพันธ์ ด้านการสื่อสาร ด้านคุณธรรม และด้านวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร
2. นำแบบสอบถามที่สร้างขึ้นเสนอต่อคณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์และให้คำแนะนำ
เพื่อปรับปรุงแก้ไข
51

คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสโรงเรียนกทม (ตอนที่ 1)
คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสโรงเรียนกทม (ตอนที่ 2)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น