วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ความต้องการและแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานของโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา (ตอนที่ 1)



ความต้องการและแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง
ในการบริหารงานของโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา
นางสาวสุจิตรา เรืองวุฒิชนะพืช
วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาการบริหารการศึกษา
ปีการศึกษา 2545
ISBN : 974 - 373 - 199 - 7
ลิขสิทธิ์ของสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
Needs and Guidelines of Parents' Participation
in the Administration of Assumption Suksa School
Miss. Sujitra Ruangwutchanapeach
A Thesis Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements
for the Master of Education (Educational Administration)
at Rajabhat Institute Bansomdejchaopraya
Academic Year 2002
ISBN : 974 - 373 - 199 - 7
หัวข้อวิทยานิพนธ์ ความต้องการและแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง
ในการบริหารงานของโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา
โดย นางสาวสุจิตรา เรืองวุฒิชนะพืช
สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
อาจารย์ที่ปรึกษา ดร.สรายุทธ์ เศรษฐขจร
ดร.เปรมสุรีย์ เชื่อมทอง
อ.ทวีศักดิ์ จงประดับเกียรติ
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------
บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา อนุมัติให้วิทยานิพนธ์นี้เป็น
ส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต
................................................................................คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
(รองศาสตราจารย์ ดร.นันทา วิทวุฒิศักดิ์)
คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์
................................................................................ประธานกรรมการ
(ศาสตราจารย์ ดร. สายหยุด จำปาทอง)
................................................................................อาจารย์ที่ปรึกษา
(ดร.สรายุทธ์ เศรษฐขจร)
.................................................................................กรรมการ
(ดร.เปรมสุรีย์ เชื่อมทอง)
.................................................................................กรรมการ
(อาจารย์ทวีศักดิ์ จงประดับเกียรติ)
. …………………………………………………………...กรรมการ
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์อินทิรา บุณยาทร)
.................................................................................กรรมการและเลขานุการ
(รองศาสตราจารย์ ดร.นันทา วิทวุฒิศักดิ์)
ลิขสิทธ์ของสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
สุจิตรา เรืองชนะพืช. (2545) ความต้องการและแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการ
บริหารงานของโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา. วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ :
บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. คณะกรรมการควบคุม
ดร.สรายุทธ์ เศรษฐขจร ดร.เปรมสุรีย์ เชื่อมทอง อ.ทวีศักดิ์ จงประดับเกียรติ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองใน
การบริหารงานของโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษาใน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านวิชาการ ด้านบุคลากร ด้าน
กิจการนักเรียน ด้านสภาพแวดล้อมและบรรยากาศของโรงเรียน และด้านความสัมพันธ์กับ
ชุมชน เพื่อเปรียบเทียบความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานของโรงเรียน
อัสสัมชัญศึกษา จำแนกตามระดับชั้นของนักเรียน และเพื่อศึกษาแนวทางการมีส่วนร่วมของ
ผู้ปกครองในการบริหารงานของโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้ปกครองของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง
นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 334 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่
แบบสอบถาม ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่
2 ความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานของโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา และ
ตอนที่ 3 แนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานของโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา
การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ F-test
ผลการวิจัยพบว่า
1. ความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานโรงเรียนโดยภาพรวม อยู่ใน
ระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองใน
การบริหารโรงเรียน อยู่ในระดับมาก 1 ด้าน ได้แก่ ด้านกิจการนักเรียน และอยู่ในระดับ
ปานกลาง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านความสัมพันธ์กับชุมชน ด้านสภาพแวดล้อมและบรรยากาศของ
โรงเรียน ด้านวิชาการ และด้านบุคลากร ตามลำดับ
2. แนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานโรงเรียนมากที่สุด ในแต่ละ
ด้านพบว่า ด้านวิชาการ คือมีส่วนร่วมให้ข้อมูลแก่ทางโรงเรียน เมื่อพบปัญหาเกี่ยวกับด้าน
วิชาการ ด้านบุคลากร คือมีส่วนร่วมให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากร ด้านกิจการ
นักเรียน คือมีส่วนร่วมให้ความร่วมมือ สอดส่องดูแลความประพฤติของบุตรหลานอย่างใกล้ชิด
ด้านสภาพแวดล้อมและบรรยากาศโรงเรียน คือมีส่วนร่วมสอดส่องดูแลและให้ข้อมูลแก่ทาง
โรงเรียน เมื่อพบปัญหาด้านสภาพแวดล้อมและบรรยากาศของโรงเรียน และความสัมพันธ์กับ
ชุมชน คือมีส่วนร่วมบริจาคเงินและสิ่งของต่างๆเพื่อสนับสนุนกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อสังคม
3. ผลการเปรียบเทียบความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานโรงเรียน
โดยจำแนกตามระดับชั้น พบว่า ด้านวิชาการมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่
ระดับ 0.05 โดยผู้ปกครองของนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลายมีความต้องการมีส่วนร่วม
ในการบริหารงานโรงเรียนสูงกว่าผู้ปกครองนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยม
ศึกษาตอนต้น ส่วนด้านอื่น ๆ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
Sujittra Ruangwutchanapeach.(2002) Needs and Guidelines of Parents' Participation in the
Administration of Assumption Suksa School : Graduate School, Rajabhat Institute
Bansomdejchopraya. Advisor Committee: Dr.Sarayuth Sethakhajorn ; Dr.Pramsuree
Chuamthong ; Mr.Thaweesak Jongpradubgiat.
The purpose of this research were to study the needs of participation in the administration
of Assumption Suksa School five areas : academic affairs, personal affairs, student activities affairs,
environment and building affairs and the relation with community affairs ; to compare the needs of
parental participation in the administration of Assumption Suksa School classified by level of the
students’ class; and to study guideline for participation in the administration of Assumption Suksa
School.
The sample consisted of 334 parents whose children were studying in one of the classes
from Prathomsuksa One( Primary level) to the lower secondary level. The instrument used in this
study was a questionnaire containing three sections: Section one, dealt with the respondents’
status; Section two, dealt with the needs of parental in participate in the administration of
Assumptionsuksa School, and Section three, dealt with the guideline for participation in the
administration. The data obtained were analysed by percentage, mean, standard deviation, and
F - test
The results indicated the following:
1. The needs of parents' level participate in the administration were at middle level.
When considered as individual aspects, their needs were found high level in one of the aspects, i.e.
the aspect of student activities, and midle level in four aspects, i.e. the relationship with community,
the school environment and school atmosphere, the academic, and the personnel, respectively.
2. The guideline for participation in the administration when considered as an individual
discrete aspect, the academic aspect, was involved with supplying information for the school,
especially when an academic problem came about, the personnel aspect was involved with giving
the school suggestions about personnel development, the student activities aspect was involved with
a full cooperation particularly keeping an eye on them, taking good care of them, and making efforts
to regulate the kid’s conduct, in the aspect of school environment and atmosphere a close watch
and information concerned were given, and the relationship with community was involved with giving
a generous donation in the form of money or things at least as an encouragement of beneficial
activities for society.
3. The comparative results of their participatory needs showed that in the academic aspect
each class demonstrated statistically significant difference at the level of .05. The upper primary
level students’ parents had higher requirement than the lower primary level students’ parents and
the lower secondary level students’ parents. The other aspects showed no statistical significant
differences.
ประกาศคุณูปการ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้สำเร็จลุล่วงได้ด้วยความเรียบร้อย สมบูรณ์ทุกประการโดยได้รับ
ความกรุณาอย่างยิ่งจาก ศาสตราจารย์ ดร.สายหยุด จำปาทอง ที่กรุณาเป็นประธาน
คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ ดร.สรายุทธ์ เศรษฐขจร ประธานกรรมการที่ปรึกษา
วิทยานิพนธ์ ดร.เปรมสุรีย์ เชื่อมทอง อาจารย์ทวีศักดิ์ จงประดับเกียรติ กรรมการที่ปรึกษา
วิทยานิพนธ์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์อินทิรา บุณยาทร ที่กรุณาให้คำแนะนำและตรวจแก้ไข
วิทยานิพนธ์ให้ถูกต้อง และสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ผู้วิจัยขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูง
ขอขอบพระคุณ รองศาสตราจารย์ ดร.นันทา วิทวุฒิศักดิ์ ที่ได้อำนวยความสะดวกใน
การสอบวิทยานิพนธ์ ผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่านที่ได้กรุณาเป็นผู้เชี่ยวชาญในการตรวจแก้ไขและให้
คำแนะนำในการสร้างแบบสอบถามทำให้การวิจัยดำเนินไปได้ด้วยความเรียบร้อย
ขอขอบพระคุณผู้บริหาร คณาจารย์ และผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา ที่
ได้ให้ความอนุเคราะห์ตอบแบบสอบถามและช่วยเหลือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นอย่างดี
สุจิตรา เรืองวุฒิชนะพืช
สารบัญ
หน้า
บทคัดย่อภาษาไทย..................................................................................... ข
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ................................................................................ ค
ประกาศคุณูปการ....................................................................................... ง
สารบัญ….................................................................................................. จ
สารบัญตาราง............................................................................................. ช
บทที่ 1 บทนำ............................................................................................. 1
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา............................................ 1
วัตถุประสงค์ของการวิจัย.................................................................. 3
ขอบเขตการวิจัย.............................................................................. 3
สมมติฐานการวิจัย........................................................................... 3
กรอบแนวคิดในการวิจัย.................................................................. 4
คำนิยามศัพท์เฉพาะ........................................................................ 5
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ............................................................... 6
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง........................................................ 7
แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวกับการบริหารโรงเรียน.................................... 7
ความหมายของการบริหารโรงเรียน.................................... 7
ขอบข่ายของการบริหารโรงเรียน......................................... 8
การบริหารงานวิชาการ....................................................... 9
การบริหารงานบุคลากร...................................................... 13
การบริหารงานสภาพแวดล้อมและบรรยากาศของโรงเรียน.... 18
การบริหารงานความสัมพันธ์กับชุมชน.................................. 20
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความต้องการ.................................................. 22
ทฤษฎีแรงจูงใจของมาสโลว์................................................ 23
ทฤษฎี 2 องค์ประกอบของเฮิซเบอร์ก................................. 23
ทฤษฎีอีอาร์จีของอัลเดอเฟอร์............................................. 24
ทฤษฎีความต้องการของแมคคลีแลนด์................................ 24
แนวคิดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการบริหารงาน.............................. 25
ความหมายของการมีส่วนร่วม............................................. 25
ลักษณะของการมีส่วนร่วม.................................................. 26
รูปแบบของการบริหารแบบมีส่วนร่วม................................. 29
ระบบของการบริหารแบบมีส่วนรวม.................................... 31
สารบัญ (ต่อ)
หน้า
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 กับการมีส่วนร่วม...... 32
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง......................................................................... 32
งานวิจัยภายในประเทศ...................................................... 32
งานวิจัยต่างประเทศ........................................................... 36
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย.......................................................................... 38
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง.............................................................. 38
เครื่องมือที่ใช้ในเก็บรวบรวมข้อมูล.................................................. 39
การเก็บรวบรวมข้อมูล.................................................................... 40
การวิเคราะห์ข้อมูล........................................................................ 41
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์............................................................................ 42
ตอนที่ 1 สถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม........................ 42
ตอนที่ 2 ความต้องมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานโรงเรียน 44
ตอนที่ 3 การปรียบเทียบความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง
ในการบริหารงานโรงเรียน............................................... 50
ตอนที่ 4 แนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง
ในการบริหารงานโรงเรียน................................................ 52
บทที่ 5 สรุปและอภิปรายผลและข้อเสนอแนะ............................................... 58
สรุปผลการวิจัย.............................................................................. 59
อภิปรายผลการวิจัย....................................................................... 63
ข้อเสนอแนะ................................................................................... 66
บรรณานุกรม.............................................................................................. 69
ภาคผนวก................................................................................................. 76
ภาคผนวก ก................................................................................. 77
ภาคผนวก ข................................................................................. 84
ประวัติผู้วิจัย............................................................................................ 92
สารบัญตาราง
หน้า
ตารางที่ 1 แสดงจำนวนประชากรและกลุ่มตัวอย่าง........................................... 38
ตารางที่ 2 แสดงคุณภาพของเครื่องมือ จำแนกเป็นภาพรวมและรายด้าน.......... 40
ตารางที่ 3 จำนวนและร้อยละของสถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม....... 42
ตารางที่ 4 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความต้องการมีส่วนร่วม
ของผู้ปกครองในการบริหารโรงเรียน รายด้านและภาพรวม.............. 44
ตารางที่ 5 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความต้องการมีส่วนร่วม
ของผู้ปกครองในการบริหารโรงเรียน ด้านวิชาการ............................ 45
ตารางที่ 6 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความต้องการมีส่วนร่วม
ของผู้ปกครองในการบริหารโรงเรียน ด้านบุคลากร........................... 46
ตารางที่ 7 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความต้องการมีส่วนร่วม
ของผู้ปกครองในการบริหารโรงเรียน ด้านกิจการนักเรียน................. 47
ตารางที่ 8 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความต้องการมีส่วนร่วม
ของผู้ปกครองในการบริหารโรงเรียน ด้านสภาพแวดล้อมและ
บรรยากาศของโรงเรียน................................................................. 48
ตารางที่ 9 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความต้องการมีส่วนร่วม
ของผู้ปกครองในการบริหารโรงเรียน ด้านความสัมพันธ์กับชุมชน ... 49
ตารางที่ 10 การวิเคราะห์ความแปรปรวนของความต้องการมีส่วนร่วมของ
ผู้ปกครองในการบริหารงานโรงเรียน จำแนกตามระดับชั้น................ 50
ตารางที่ 11 การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง
ในการบริหารงานวิชาการ จำแนกผู้ปกครองนักเรียนแต่ละระดับชั้น. 51
ตารางที่ 12 จำนวนและร้อยละของแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการ
บริหารโรงเรียนด้านวิชาการ............................................................. 52
ตารางที่ 13 จำนวนและร้อยละของแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการ
บริหารโรงเรียนด้านบุคลากร............................................................. 53
ตารางที่ 14 จำนวนและร้อยละของแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการ
บริหารโรงเรียนด้านกิจการนักเรียน.................................................. 54
สารบัญตาราง(ต่อ)
หน้า
ตารางที่ 15 จำนวนและร้อยละของแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการ
บริหารโรงเรียนด้านสภาพแวดล้อมและบรรยากาศโรงเรียน................55
ตารางที่ 16 จำนวนและร้อยละของแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการ
บริหารโรงเรียนด้านความสัมพันธ์กับชุมชน....................................... 56
ตารางที่ 17 จำนวนและร้อยละของแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการ
บริหารโรงเรียนด้านอื่น ๆ ............................................................... 57
บทที่ 1
บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ในอดีตที่ผ่านมาการจัดการศึกษาของไทยนับว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง แต่
ก็ยังมีปัญหาในเรื่องของความสอดคล้องระหว่างการจัดการศึกษากับความต้องการตามความ
เป็นจริงและวิถีชีวิตของคนในสังคมเท่าที่ควรจะเป็น จุดใหญ่ของปัญหาการศึกษาไทยคือ การที่
ไม่สามารถเตรียมคนในสังคมให้สามารถเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงแห่งยุคสมัยในหลายๆ ด้าน
ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีซึ่งกระทบต่อสังคมไทยอย่าง
หลีกเลี่ยงไม่ได้ จะเห็นได้จากผลการสำรวจของกระทรวงศึกษาธิการที่ผ่านมา พบว่า การศึกษา
นั้นไม่สอดคล้องกับชีวิตและสังคมทำให้เด็กไทยไม่เกิดทักษะด้านการคิดวิเคราะห์มุ่งเน้นเพียง
แค่ท่องจำตามตำราเท่านั้น จึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดการทบทวนบทบาทของการจัดระบบ
การศึกษาใหม่ให้สอดคล้องกับสภาวะของโลกปัจจุบัน (วิทยากร เชียงกูล 2542 : 5) จาก
ปัญหา
ทางการศึกษาดังกล่าวกฏหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 จึงกำหนดให้มี
กฎหมายทางการศึกษา คือ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ประกาศใช้เมื่อ
วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2542 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2545 เป็นต้นไป
จากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 นำมาสู่การปฏิรูปการศึกษา ซึ่งได้กำหนด
ปรัชญาและทิศทางการจัดการศึกษาที่ต้องการเห็นความมีส่วนร่วมทุกส่วนของสังคมในการจัด
การศึกษา เพื่อให้เกิดผลต่อการพัฒนาผู้เรียนอย่างสูงสุด จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่โรงเรียนและทุกฝ่าย
ต้อง ร่วมมือกันสนับสนุนทั้งบุคคลและงบประมาณตามแนวคิดการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็น
ฐาน สำหรับหัวใจสำคัญของการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน คือ การบริหารจัดการตามความ
ต้องการและจำเป็นของสถานศึกษาโดยคณะกรรมการสถานศึกษา ซึ่งประกอบด้วยผู้ปกครองและชุม
ชนที่เข้าใจในบทบาทและหน้าที่ของการมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาอย่างใกล้ชิด
ผู้ปกครองนักเรียน และชุมชนถือเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการศึกษาโดยตรง จึงต้องมี
หน้าที่ร่วมวางแผน ร่วมตัดสินใจ ร่วมทำ และร่วมประเมิน โดยมุ่งหวังเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
การจัดการเรียนการสอนเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เรียน ผู้ปกครอง และชุมชนให้มาก
ที่สุด (จำนง แจ่มจันทรวงศ์ และคณะ 2543 : 250) นอกจากนี้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2542 ได้กำหนดสาระสำคัญเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมดังที่ปรากฎในมาตรา 24 (6) ที่ระบุ
ไว้ว่า การจัดการเรียนรู้ให้เกิดได้ทุกเวลาทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับบิดามารดา
2
ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ (พระราชบัญญัติ
การศึกษาแห่งชาติ 2542 : 20)
ผู้ปกครองมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กทั้งที่บ้านและโรงเรียน
ดังที่ เบอเกอร์ (Berger 1989 : 49) ได้กล่าวถึงความสำคัญของผู้ปกครองและครูว่าสามารถมี
ส่วนช่วยในการเสริมสร้างเด็กให้ประสบความสำเร็จในชีวิตและช่วยให้เด็กเป็นคนเรียนเก่งและ
สุขภาพจิตดี เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ โดยที่ผู้ปกครองและครูต้องร่วมมือกันในหลายๆ
ด้านสำหรับการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองตามแนวคิดดังกล่าว ผู้ปกครองและโรงเรียนต้องร่วมมือ
กันโดยผู้ปกครองจะเป็นแหล่งข้อมูลให้แก่ครูและนักเรียน นอกจากนั้นยังต้องมีส่วนร่วมในการ
วางแผนหลักสูตรการเรียนการสอนและงานบริหารโรงเรียนในด้านต่างๆ ได้แก่ การบริหารด้านวิชา
การ การบริหารด้านงบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารงานทั่วไป และที่สำคัญ
อีกประการหนึ่งคือ การสนับสนุนกิจกรรมที่โรงเรียนจัดขึ้น
โรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา กรุงเทพมหานคร เป็นสถานศึกษาที่ทำหน้าที่ในการจัด
การศึกษาให้กับเยาวชนของชาติ โดยพยายามจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษา
ที่เน้นการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน กล่าวคือ พยายามส่งเสริมให้ผู้ปกครองและชุมชน
ได้เข้ามามีส่วนในกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียนให้มากที่สุด แต่ความพยายามดังกล่าว จัดขึ้น
บนพื้นฐานความเชื่อของโรงเรียนฝ่ายเดียว ยังไม่ได้ศึกษาวิจัยความต้องการที่แท้จริงของ
ผู้ปกครองนักเรียนว่าต้องการเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมใดของโรงเรียน ทำให้ไม่สามารถ
ประเมินผลการจัดกิจกรรมเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงาน
โรงเรียนนั้นประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด หรือมีข้อบกพร่องที่จะต้องปรับปรุงในด้านใด
กิจกรรมที่จัดขึ้นสอดคล้องกับความต้องการของผู้ปกครองหรือไม่ การที่โรงเรียนยังขาดข้อมูล
ดังกล่าวจึงเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการวางแผนและปรับปรุงการบริหารงานของโรงเรียนเป็น
อย่างมาก ผู้วิจัยเห็นว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องทำการศึกษาความต้องการและแนวทาง
การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียน เพื่อให้ได้ข้อมูลพื้นฐานที่จะเป็น
แนวทางในการวางแผนและปรับปรุงการบริหารงานในด้านต่าง ๆ รวมทั้งการจัดกิจกรรมเพื่อ
ส่งเสริมให้ผู้ปกครองได้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างสอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริงและนำมาซึ่ง
ประสิทธิภาพของการจัดการศึกษาต่อไป
ด้วยเหตุผลดังกล่าวมาข้างต้นเป็นสาเหตุให้ผู้วิจัยในฐานะที่เป็นบุคลากรคนหนึ่งใน
โรงเรียนอัสสัมชัญศึกษาเห็นสมควรอย่างยิ่งที่จะได้ทำการศึกษาความต้องการและแนวทางการ
มีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานของโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา สำหรับการวิจัยครั้งนี้
ผู้วิจัยจะทำการศึกษาการบริหารโรงเรียน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านวิชาการ ด้านบุคลากร ด้าน
สภาพแวดล้อมและบรรยากาศโรงเรียน ด้านความสัมพันธ์กับชุมชน ด้านกิจการนักเรียน ทั้งนี้
เนื่องจากลักษณะการบริหารงานของโรงเรียนอัสสัมชัญนั้น ได้นำงานธุรการและการเงินนั้นจะ
ไปรวมอยู่ในงานด้านบุคลากร จึงทำให้ขอบข่ายการบริหารงานมีเพียง 5 ด้าน จากผล
3
จะนำไปสู่การวางแผนและพัฒนาการบริหารงานโรงเรียน
ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อันจะนำมาซึ่งคุณภาพของการจัดการศึกษาในอนาคต
4
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาระดับความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานของ โรงเรียนอัส
สัมชัญศึกษาใน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านวิชาการ ด้านบุคลากร ด้านกิจการนักเรียน ด้านสภาพแวดล้อมและ
บรรยากาศของโรงเรียน และด้านความสัมพันธ์กับชุมชน
2. เพื่อเปรียบเทียบความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานของโรงเรียน อัส
สัมชัญศึกษา จำแนกตามระดับชั้นของนักเรียน
3. เพื่อศึกษาแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานของโรงเรียน
อัสสัมชัญศึกษา
ขอบเขตของการวิจัย
1.การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาความต้องการและแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองใน
การบริหารงานของโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา 5 ด้าน ได้แก่ ด้านวิชาการ ด้านบุคลากร ด้านกิจการ
นักเรียน ด้านสภาพแวดล้อม และบรรยากาศของโรงเรียน และด้านความสัมพันธ์กับชุมชน
2. ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
2.1 ประชากร ได้แก่ ผู้ปกครองของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - ระดับชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา ปีการศึกษา 2545 จำนวน 1,965 คน
2.2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ปกครองของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - ชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา ปีการศึกษา 2545 จำนวน 334 คน
3. ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย
3.1 ตัวแปรอิสระ ได้แก่ ผู้ปกครองของนักเรียนแต่ละระดับชั้น
3.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ ความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานของ โรง
เรียนอัสสัมชัญศึกษา 5 ด้าน คือ
1. ด้านวิชาการ
2. ด้านบุคลากร
3. ด้านกิจการนักเรียน
4. ด้านสภาพแวดล้อมและบรรยากาศของโรงเรียน
5. ด้านความสัมพันธ์กับชุมชน
สมมุติฐานการวิจัย
5
ผู้ปกครองของนักเรียนที่เรียนอยู่ในระดับชั้นต่างกันมีความต้องการในการมีส่วนร่วม
บริหารงานของโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษาแตกต่างกัน
กรอบแนวคิดในการวิจัย
แนวคิดในการบริหารงานโรงเรียน
1. ด้านวิชาการ
2. ด้านบุคลากร
3. ด้านกิจการนักเรียน
4. ด้านสภาพแวดล้อม
และบรรยากาศของโรงเรียน
5. ด้านสัมพันธ์ชุมชน
6. ความต้องการด้านความ สมหวังของชีวิต
แนวคิดเกี่ยวกับความต้องการมีส่วนร่วม
1. การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน
2. การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์
3. การมีส่วนร่วมในการประเมินผล
ความต้องการและแนวทางการมีส่วน
ร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงาน
ของโรงเรียน 5 ด้าน
-----------------------------------
1. ด้านวิชาการ
2. ด้านบุคลากร
3. ด้านกิจการนักเรียน
4. ด้านสภาพแวดล้อม
และบรรยากาศของโรงเรียน
5. ด้านความสัมพันธ์กับชุมชน
5. ความต้องการด้านเกียรติยศ ชื่อเสียง
4. ความต้องการด้านสังคม
6
คำนิยามศัพท์เฉพาะ
ความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง หมายถึง ระดับความรู้สึกและการลงความ
เห็น ข้อคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนต่อปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของโรงเรียนอัสสัมชัญ
ศึกษา 5 ด้าน คือ ด้านวิชาการ ด้านบุคลากร ด้านกิจการนักเรียน ด้านสภาพแวดล้อมและบรรยากาศ
โรงเรียน และด้านสัมพันธ์ชุมชน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการพัฒนา ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงและความเจริญ
งอกงามของนักเรียน
การบริหารงานโรงเรียน หมายถึง การดำเนินการเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ จาก
บุคคลหลายฝ่ายร่วมมือเพื่อให้การจัดการศึกษาของโรงเรียนเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ตามที่รัฐกำหนดไว้โดยจะต้อง
พัฒนานักเรียนในทุกด้านตั้งแต่ร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา ตลอดจนคุณธรรม จริยธรรม เพื่อให้นักเรียนเป็น
สมาชิกที่ดีของสังคมและสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
การบริหารงานด้านวิชาการ หมายถึง การดำเนินกิจกรรมทุกอย่าง ทั้งในและ นอกสถาน
ศึกษาที่เกี่ยวข้องและสนับสนุนกระบวนการเรียนการสอนของครูและนักเรียน ตลอดจนการพัฒนานักเรียนให้มีความรู้
และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
การบริหารงานด้านบุคลากร หมายถึง การบริหารงานบุคลากรเป็นการดำเนินงานซึ่งเกี่ยวกับ
บุคลากรในองค์การ ตั้งแต่การหาบุคลากรมาปฏิบัติงานการบำรุง รักษาบุคลากร การพัฒนาบุคลากร และการให้
บุคลากรพ้นจากงาน เพื่อให้บุคลากรได้รับความพึงพอใจที่จะทำงานให้มีประสิทธิภาพและให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
การบริหารงานด้านกิจการนักเรียน หมายถึง การบริหารงานที่เกี่ยวข้อง
กับ นักเรียนครอบคลุมงานตั้งแต่การรับนักเรียน การแบ่งชั้น การแบ่งกลุ่มนักเรียน การ
จัดสวัสดิการต่าง ๆ ให้กับนักเรียน และการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนานักเรียน
การบริหารงานด้านสภาพแวดล้อม และบรรยากาศของโรงเรียน หมายถึง
สถานที่ที่ใช้จัดการเรียนการสอน และกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง อันได้แก่ อาคารเรียน ห้องเรียน ห้อง
ปฏิบัติการ ห้องสมุด ห้องพักครู รวมทั้งสภาพแวดล้อมภายในบริเวณโรงเรียนที่ใช้เป็นที่พักผ่อน เล่น
กีฬา สุขลักษณะของสภาพแวดล้อม และสาธารณูปโภคที่จัดบริการภายในโรงเรียน รวมถึงความ
สะดวกปลอดภัยรอบๆ โรงเรียน
การบริหารงานด้านสัมพันธ์ชุมชน หมายถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่าง โรงเรียนกับ
ชุมชน เพื่อเป็นการช่วยเหลือและสร้างความสามัคคีของคนในชุมชน
แนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง หมายถึง วิธีการให้ผู้เกี่ยวข้องเข้ามา
สนับสนุนในการบริหารงานของโรงเรียน
7
โรงเรียน หมายถึง โรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา กรุงเทพมหานคร
ผู้ปกครอง หมายถึง ผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1- ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา ปีการศึกษา 2545
สถานภาพของผู้ปกครอง หมายถึง เพศ อายุ อาชีพ วุฒิการศึกษา รายได้ของผู้ปกครอง
และระดับชั้นของบุตรหลานที่กำลังเรียนอยู่
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ทำให้ทราบระดับความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานโรงเรียน
อัสสัมชัญศึกษาในด้านวิชาการ ด้านบุคลากร ด้านกิจการนักเรียน ด้านสภาพแวดล้อม และบรรยากาศ
โรงเรียน และด้านความสัมพันธ์กับชุมชน
2. ทำให้ทราบความแตกต่างของความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองที่มีสถานภาพ
ต่างกันเกี่ยวกับการบริหารงานโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษาในด้านต่าง ๆ
3. ได้แนวทางในการส่งเสริมให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงานโรงเรียน
อัสสัมชัญศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ปกครอง
4. ได้ข้อมูลพื้นฐานเพื่อใช้ในการวางนโยบายของโรงเรียนเพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองเข้ามา
มีส่วนร่วมในการบริหารและพัฒนาโรงเรียน
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การวิจัยในครั้งนี้มุ่งศึกษาความต้องการและแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองใน
การบริหารงานของโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา ผู้วิจัยศึกษาเอกสาร ทฤษฎี และผลงานวิจัยที่
เกี่ยวข้องตามลำดับดังนี้
1. แนวคิดทฤษฎีการบริหารงานโรงเรียน
1.1 ความหมายของการบริหารโรงเรียน
1.2 ขอบข่ายของการบริหารโรงเรียน 5 ด้าน ได้แก่
1.2.1 ด้านวิชาการ
1.2.2 ด้านบุคลากร
1.2.3 ด้านกิจการนักเรียน
1.2.4 ด้านสภาพแวดล้อมและบรรยากาศโรงเรียน
1.2.5 ด้านความสัมพันธ์กับชุมชน
2. ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความต้องการ
3. แนวคิดเกี่ยวกับความต้องการมีส่วนร่วมในการบริหารงาน
4. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 กับการมีส่วนร่วม
5. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
แนวคิดทฤษฎีการบริหารงานโรงเรียน
1.1 ความหมายของการบริหารโรงเรียน
มีผู้ให้ความหมายของการบริหารโรงเรียนไว้ดังต่อไปนี้
นิพนธ์ กินาวงศ์ (2533 : 12) ให้ความหมายของการบริหารโรงเรียนว่า
หมายถึง กระบวนการต่าง ๆ ในการดำเนินงานของกลุ่มบุคคลซึ่งเรียกว่าผู้บริหาร โดยมี
วัตถุประสงค์เพื่อบริการการศึกษาแก่สมาชิกในสังคม
นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์ (2534 : 3-4) ให้ความหมายของการบริหารโรงเรียนว่า
หมายถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่บุคคลหลายคนร่วมกันดำเนินการเพื่อพัฒนาสมาชิกของสังคมใน
ด้านต่าง ๆ นับตั้งแต่บุคลิกภาพ ความรู้ ความสามารถ พฤติกรรมและคุณธรรมเพื่อให้ตรงกับ
ความต้องการของสังคม
8
มนัส พลายชุ่ม (2540 : 8) ให้ความหมายของการบริหารโรงเรียนว่า หมายถึง
การดำเนินงานต่าง ๆ เพื่อให้นักเรียนเกิดการพัฒนาร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม และ
สามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
สรุป การบริหารโรงเรียน หมายถึง การดำเนินการเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ จาก
บุคคลหลายฝ่ายร่วมมือเพื่อให้การจัดการศึกษาของโรงเรียนเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ตามที่รัฐ
กำหนดไว้โดยจะต้องพัฒนานักเรียนในทุกด้านตั้งแต่ร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา
ตลอดจนคุณธรรม จริยธรรม เพื่อให้นักเรียนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมและสามารถอยู่ในสังคม
ได้อย่างมีความสุข
1.2 ขอบข่ายของการบริหารโรงเรียน
นักการศึกษาและหน่วยงานทางการศึกษาได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับขอบข่ายของ
การบริหารโรงเรียนไว้ ดังนี้
กิติมา ปรีดีดิลก (2532 : 41) ได้จำแนกขอบข่ายของการบริหารโรงเรียนเป็น
6 ประเภท ดังนี้
1. การบริหารงานวิชาการ
2. การบริหารงานธุรการและการเงิน
3. การบริหารงานบุคคล
4. การบริหารงานอาคารสถานที่
5. การบริหารงานกิจการนักเรียน
6. การสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2536 : 4) ได้สรุปขอบข่าย
การบริหารโรงเรียนเป็น 6 ด้าน คือ
1. งานวิชาการ
2. งานบุคลากร
3. งานกิจการนักเรียน
4. งานธุรการ การเงินและการพัสดุ
5. งานอาคารสถานที่
6. งานความสัมพันธ์กับชุมชน
9
แคมเบล และคณะ (Cambell and others.1971 : 116 - 144) ได้แบ่งขอบข่าย
การบริหารงานโรงเรียนออกเป็น 6 ด้าน ได้แก่ งานวิชาการ งานบริหารบุคคล งานกิจการ
นักเรียน งานอาคารสถานที่ งานสัมพันธ์กับชุมชน และงานงบประมาณธุรการ
สรุป ขอบข่ายการบริหารโรงเรียนส่วนใหญ่ประกอบด้วย 6 ด้าน คือ งาน
วิชาการ งานบุคลากร งานกิจการนักเรียน งานธุรการและการเงิน งานอาคารสถานที่และสภาพ
แวดล้อม และงานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
1.2.1 การบริหารงานวิชาการ
ในการจัดการศึกษาทุกระดับ การบริหารงานวิชาการเป็นหัวใจของการบริหาร
โรงเรียนโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างนักเรียนให้มีคุณภาพทั้งด้านความรู้ คุณธรรม รวมถึง
ลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
ความหมายของการบริหารงานวิชาการ
ชัยวัฒน์ ไทยเกรียงไกรยศ (2536 : 6) ให้ความหมายของการบริหารงานวิชาการ
ว่า หมายถึง การจัดเก็บบำรุงรักษาสื่อการเรียนการสอน การนิเทศภายใน การกำกับ ดูแล การ
วัดผล การใช้ห้องสมุด การใช้เทคนิคการสอน การเตรียมการสอน การจัดห้องเรียน การจัด
กิจกรรมการเรียนการสอน
เกสิณี ชิวปรีชา (2530 : 8) ให้ความหมายของการบริหารงานวิชาการว่า
หมายถึง กิจกรรมทางการศึกษาที่จัดขึ้นทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้รับ
ประสบการณแ์ ละเกดิ การเรยี นรู้ ทั้งด้านความร ู้ คุณสมบัติและทักษะความสามารถตามที่กำหนด
ไว้ในจุดมุ่งหมายของการศึกษา
สมศรี มธุรสสุวรรณ (2541 : 14) ให้ความหมายของการบริหารงาน วิชาการว่า
หมายถึง กิจกรรมทุก ๆ ด้านที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และเกิดการพัฒนา
ในตัวเด็กตามจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษา
เรณู ครุธไทย (2542 : 9) ให้ความหมายของการบริหารงานวิชาการว่า หมายถึง
การจัดกิจกรรมทุกชนิดในโรงเรียนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการ
เรียนรู้และได้รับประสบการณ์อย่างมีประสิทธิภาพตามจุดมุ่งหมายของการศึกษา
10
สุวรรณา รุทธนานุรักษ์ (2540 : 9) ให้ความหมายของการบริหารงานวิชาการว่า
หมายถึง การที่ผู้บริหารโรงเรียนวางแผนการจัดระบบการใช้เวลาในการปฏิบัติงานให้ได้ประโยชน์
สูงสุด เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพด้านงานวิชาการในสถานศึกษา เช่น การดำเนินงานที่เกี่ยวกับ
หลักสูตร และกระบวนการจัดการเรียนการสอน การผลิตสื่อ และอุปกรณ์การศึกษา การนิเทศ
ภายในสถานศึกษา และการประเมินผลการเรียนการสอน
สรุปการบริหารวิชาการ หมายถึง การดำเนินกิจกรรมทุกอย่าง ทั้งในและนอก
สถานศึกษาที่เกี่ยวข้องและสนับสนุนกระบวนการเรียนการสอนของครูและนักเรียน ตลอดจนการ
พัฒนานักเรียนให้มีความรู้ และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ขอบข่ายของการบริหารงานวิชาการ
จรัล สังข์ขาว (2542 : 29) ได้กล่าวว่างานบริหารวิชาการที่ผู้บริหารจะต้อง
รับผิดชอบมีดังนี้
1. วัตถุประสงค์ นโยบาย และวิธีบริหารทางวิชาการ
2. หลักสูตร และประมวลการสอน
3. ตารางสอน
4. อุปกรณ์การศึกษา
5. แบบเรียนและหนังสืออ่านประกอบ
6. การจัดแบ่งหมู่นักเรียน
7. การนิเทศการสอน
8. การจัดห้องสมุด
9. การวัดผลและประเมินผล
อาคม จันทสุนทร (2537 : 2 - 28) ได้กล่าวว่า การบริหารด้านวิชาการเป็น
งานที่สำคัญของผู้บริหารสถานศึกษา เนื่องจากการบริหารงานวิชาการเกี่ยวข้องกับกิจกรรมทุก
ชนิดในสถานศึกษา โดยเฉพาะเกี่ยวกับการปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอน ซึ่งเป็นจุดมุ่ง
หมายหลักของการจัดการศึกษา เป็นภารกิจของผู้บริหารสถานศึกษาต้องให้ความสนใจเป็น
พิเศษ โดยมีขอบข่ายการบริหารงานวิชาการ ดังนี้
1. การวางแผนเกี่ยวกับงานวิชาการ เป็นการวางแผนเกี่ยวกับการพัฒนา
หลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้ในการจัดการล่วงหน้าเกี่ยวกับการเรียนการสอน ดังนี้
11
1.1 แผนการปฏิบัติงานวิชาการ ได้แก่ งานเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร
และงานการจัดปฏิทินการศึกษา งานเกี่ยวกับความรับผิดชอบตามภาระ หน้าที่ และงานการจัด
ขั้นตอนและจัดเวลาในการทำงาน
1.2 โครงการสอน เป็นการจัดรายละเอียดเกี่ยวกับวิชาที่ต้องสอนตามกรอบ
และทิศทางของหลักสูตร
1.3 แผนการสอน เป็นการแสดงรายละเอียดของการกำหนดเนื้อหาที่จะสอน
ในแต่ละคาบเวลาของแต่ละวันหรือสัปดาห์โดยการวางแผนไว้ล่วงหน้าและยึดโครงการสอนเป็น
หลัก
2. การจัดดำเนินการเกี่ยวกับการเรียนการสอน ได้แก่
2.1 จัดตารางสอนซึ่งถือเป็นการกำหนดวิชา เวลา ครูผู้สอน สถานที่ ตลอด
จนผู้เรียนในแต่ละรายวิชา
2.2 จัดชั้นเรียน รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวก ต่าง ๆ ตลอดจนการใช้สื่อ
อุปกรณ์ต่าง ๆ ในการเรียนการสอน
2.3 จัดครูเข้าสอนโดยพิจารณาถึงความพร้อมของบุคลากร รวมทั้งเชิญ
วิทยากรภายนอกมาช่วยสอน
2.4 จัดแบบเรียน ใช้แบบเรียนที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด นอกจากนั้นครู
อาจใช้หนังสือประกอบหรือเอกสารที่ครูเตรียมเอง
2.5 การปรับปรุงการเรียนการสอน เป็นการพัฒนาครูผู้สอนให้ทันวิทยาการ
เทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการความก้าวหน้าของ
สังคมในด้านต่าง ๆ
2.6 การฝึกงาน เป็นการให้ผู้เรียนได้ทดลองเอาทฤษฎีความรู้ที่ได้เรียนมา
ประยุกต์ใช้กับชีวิตจริงและให้ผู้เรียนได้เห็นปัญหาที่แท้จริงในสาขาวิชาชีพนั้น ๆ
3. การบริหารเกี่ยวกับการเรียนการสอนเป็นการจัดสิ่งอำนวย ความสะดวก การ
ส่งเสริมการจัดหลักสูตรการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ ได้แก่
3.1 การจัดสื่อการเรียนการสอน เป็นสื่อที่เอื้อต่อการเรียนของผู้เรียนเน้น
เครื่องมือ กิจกรรมให้ครูได้เลือกใช้ในการสอน
3.2 การจัดห้องสมุดเป็นแหล่งวิทยาการ เป็นที่รวมหนังสือ เอกสาร สิ่งพิมพ์
และวัสดุอุปกรณ์เพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้ค้นคว้าเพิ่มเติม
3.3 การนิเทศการสอน เป็นการช่วยเหลือแนะแนวครูให้เกิดการปรับปรุง
แก้ไขปัญหาในการเรียนการสอน
4. การวัดและประเมินผล เป็นกระบวนการเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการตรวจสอบ
และวิเคราะห์ผลการเรียน
12
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ (2535 : 17) กำหนดขอบข่ายครอบคลุม ตั้งแต่การ
วางแผนเกี่ยวกับงานวิชาการ การดำเนินงานเกี่ยวกับการเรียนการสอน การจัดบริการการเรียน
การสอนและการวัดและประเมินผล รวมทั้งการติดตามผล
บุญมี เณรยอด (2534 : 11) กำหนดขอบข่ายของงานวิชาการไว้ 10 ประการ ดังนี้
1. หลักสูตรและเอกสารการใช้หลักสูตร
2. ตารางสอนและวิธีสอน
3. วัสดุอุปกรณ์และการใช้แหล่งทรัพยากรท้องถิ่น
4. งานห้องสมุด
5. งานกิจกรรมนักเรียน
6. การนิเทศงานวิชาการในโรงเรียน
7. การกำหนดให้ครูอาจารย์ปฏิบัติงานวันวิชาการ
8. การแนะแนว
9. การวัดและประเมินผล
10.การวางแผนปรับปรุงงานวิชาการ
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2536 : 6 - 7) กำหนดให้งาน
วิชาการเป็นงานหลักของโรงเรียน สำหรับขอบข่ายของงานวิชาการสำหรับโรงเรียน
ประถมศึกษาเสนอไว้ ดังนี้
1. งานด้านหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้
2. งานการเรียนการสอน
3. งานสื่อการเรียนการสอน
4. งานวัดผลและประเมินผล
5. งานห้องสมุด
6. งานนิเทศการศึกษา
7. งานด้านการวางแผนและกำหนดวิะดำเนินงาน
8. งานส่งเสริมการสอน
9. งานประชุมอบรมทางวิชาการ
สรุป ขอบข่ายการบริหารงานวิชาการ ประกอบด้วย การวางแผน เกี่ยวกับงาน
วิชาการ การดำเนินการเกี่ยวกับการเรียนการสอน การบริหารจัดการเกี่ยวกับการเรียนการ
สอน และการวัดและประเมินผล
13
1.2.2 การบริหารงานบุคลากร
คนเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุด เพราะคนที่มีความรู้ความสามารถจะเป็นทาง
ก้าวไปสู่ความสำเร็จและประสิทธิผลของการบริหารกิจการต่างๆ เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อ
หน่วย-งานอย่างยิ่ง การทำงานที่เป็นระบบจะสามารถดึงดูดบุคลากรที่มีความสามารถให้อยู่ใน
หน่วย-งานได้นานที่สุดดังที่ วิจิตร ศรีสะอ้าน (2532 : 18) ได้กล่าวไว้ในการบริหารทางการ
ศึกษา “บุคลากรเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งโดยนับเป็นกุญแจแห่งสัมฤทธิ์ผลทางการศึกษา" เชื่อกันว่า
ครูดี คือจุดเริ่มต้นของการพัฒนาการศึกษา สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่ง ผู้บริหาร โรงเรียนควร
จะต้องบริหารบุคลากรให้ได้ผลดีและได้รับความสำเร็จในการทำให้บุคลากรทุกฝ่ายในหน่วยงาน
ร่วมมือกันทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
ความหมายของการบริหารงานด้านบุคลากร
เสน่ห์ ผดุงญาติ (2535 : 9) ให้ความหมายของการบริหารงานบุคลากรว่า
หมายถึง การบริหารหรือจัดการงานด้านที่เกี่ยวกับตัวบุคลากรผู้ปฏิบัติงานใน องค์การใด
องค์การหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเลือกสรรผู้มีความรู้ความสามารถเข้ามาทำงานให้มีจำนวน
เพียงพอ เพื่อให้การใช้กำลังคนเกิดประโยชน์เต็มที่ เพื่อรักษากำลังแรงงาน บำรุง ส่งเสริม
สมรรถภาพและกำลังใจของผู้ปฏิบัติงาน เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้ดีมีประสิทธิภาพและบรรลุ
ผลสำเร็จ สมความมุ่งหมายขององค์การ
อุทัย หิรัญโต (2531 : 2) ได้ให้ความหมายของการบริหารงานบุคลากร คือ
การปฏิบัติการที่เกี่ยวกับตัวบุคลากรหรือตัวเจ้าหน้าที่ในองค์การใดองค์การหนึ่ง นับตั้งแต่การ
สรรหาคนเข้าทำงาน การคัดเลือก การบรรจุแต่งตั้ง การโอน การย้าย การฝึกอบรม การ
พิจารณาความดีความชอบ การเลื่อนขั้นเงินเดือน การปกครองบังคับบัญชา การดำเนินการ
ทางวินัย การให้พ้นจากงาน ตลอดจนการจ่ายค่าบำเหน็จบำนาญ เมื่อออกจากราชการไปแล้ว
สุรัฐ ศิลปอนันต์ (2530 : 16) ให้ความหมายของการบริหารงานบุคลากรว่า
หมายถึง กระบวนการวางนโยบาย กำหนดความต้องการบุคลากร การสรรหา การใช้ การพัฒนา
การจูงใจ การจัดสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูล การเลื่อนตำแหน่ง การโอนย้ายและการพ้นจาก
ราชการ
สเตล (Stahl 1971 : 113) ได้ให้ความหมายของการบริหารงานบุคลากรไว้ว่า
หมายถึง ผลรวมของความเกี่ยวข้องของทรัพยากรบุคลากรในราชการ ซึ่งให้ประโยชน์กับราชการ
ได้มากที่สุด เพราะการบริหารเป็นวิธีปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมาย
14
สุวรรณา รุทธานุรักษ์ (2540 : 9) ได้กล่าวไว้ว่า การที่ผู้บริหารโรงเรียนวางแผน
การจัดระบบการใช้เวลาในการปฏิบัติงานให้ได้ประโยชน์สูงสุด เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพด้านงาน
บุคลากร เช่น การควบคุม กำกับ ติดตาม แนะนำ ให้คำปรึกษา ส่งเสริม สนับสนุนการปฏิบัติงาน
ของบุคลากรนิเทศ และประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรในสถานศึกษา
สรุปการบริหารบุคลากร หมายถึง การบริหารงานบุคลากรเป็นการดำเนินงานซึ่ง
เกี่ยวกับบุคลากรในองค์การ ตั้งแต่การหาบุคลากรมาปฏิบัติงานการบำรุง รักษาบุคลากร
การพัฒนาบุคลากร และการให้บุคลากรพ้นจากงาน เพื่อให้บุคลากรได้รับความพึงพอใจที่จะ
ทำงานให้มีประสิทธิภาพและให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ขอบข่ายของการบริหารงานด้านบุคลากร
พนัส หันนาคินทร์ (2530 : 22 - 23) กล่าวว่า ภารกิจหลักในการบริหารงาน
บุคลากรในสถานศึกษา มีอยู่ 8 ประการ คือ
1. การวางแผนกำลังคน หรือ การจัดอัตรากำลัง
2. การสรรหา หรือ การรับสมัครบุคคลเข้าทำงาน
3. การคัดเลือกบุคคลเข้าทำงาน
4. การนำเข้าสู่งาน
5. การประเมินบุคลากร
6. การพัฒนาบุคลากร
7. การตอบแทนบุคลากร
8. การสร้างสภาพความมั่นคงในการทำงานของบุคลากร
สุรัฐ ศิลปอนันต์ (2530 : 19) เสนอแนวคิดว่า กระบวนการบริหารงานบุคคล
สำหรับข้าราชการครูน่าจะประกอบด้วย
1. การวางแผน
2. การกำหนดตำแหน่ง
3. การสรรหา
4. การบรรจุแต่งตั้ง
5. การย้ายโอน
6. การพัฒนา
7. การพิจารณาความดีความชอบ
8. การเลื่อนตำแหน่ง
15
9. การดำเนินการทางวินัย
10.การจัดสวัสดิการ
11.การทะเบียนประวัติ
12.การพ้นจากราชการ
เวนน์ และ โน (Wayne and Noe 1990 : 8 - 10) เสนอขอบข่ายของการบริหาร
งานบุคลากรไว้ 6 ประการ คือ
1) การวางแผนและคัดเลือกบุคลากร
2) การพัฒนาบุคลากร
3) การจัดผลประโยชน์ตอบแทน
4) การจัดสวัสดิการเกี่ยวกับความปลอดภัยและสุขภาพอนามัย
5) การสร้างแรงงานสัมพันธ์
6) การวิจัยทรัพยากรบุคลากร
แคสเทตเตอร์ (Castetter, 1976 : 42 – 43) มีความเห็นว่าการบริหารบุคลากร
มีขอบข่ายที่เกี่ยวข้องกับการวางแผน การจัดองค์การ การวินิจฉัย สั่งการและการควบคุม ซึ่ง
เริ่มตั้งแต่การวางแผน การสรรหา การบรรจุ การประเมินผล การพัฒนา การให้ค่าตอบแทน ให้
ความมั่นคงปลอดภัย
สรุป ขอบข่ายการบริหารด้านบุคลากร ประกอบด้วย การวางแผน การสรรหา
และการบรรจุแต่งตั้ง การโอนย้าย การพิจารณาความดีความชอบ การพัฒนาบุคลากร การจัด
สวัสดิการ และการประเมินบุคลากร
1.2.3 การบริหารงานกิจการนักเรียน
ความหมายของการบริหารงานด้านกิจการนักเรียน
งานด้านกิจการนักเรียน ถือได้ว่าเป็นงานสำคัญอีกอย่างหนึ่งของผู้บริหาร
การศึกษา เพื่อให้กิจการนักเรียนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้โดยยึดหลักการว่า
โรงเรียนพยายามให้เด็กที่อยู่ในวัยเรียนทุกคนมีโอกาสเป็นนักเรียนอย่างเสมอภาคและ
ยุติธรรม เพราะการศึกษาช่วยให้เด็กเติบโตขึ้นมาเป็นพลเมืองของชาติการศึกษาช่วยให้บุคคล
มีความรอบรู้และความฉลาดมีไหวพริบ รู้จักแก้ปัญหาต่างๆ ของตนเอง รู้จักปรับตัวให้
เหมาะกับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์เพื่อช่วยให้ประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิต
(จรัล สังข์ขาว 2542 : 27)
16
ธีรวุฒิ ประทุมนพรัตน์ (2534 : 4) ได้ให้ความหมายของกิจการนักเรียน
หมายถึง การจัดกิจกรรมนอกห้องเรียนปกติขึ้น เพื่อบริการให้นักเรียนได้มีโอกาสพัฒนาการ
ด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านอารมณ์ สังคม และจิตใจ ตลอดจนสามารถปรับตนเข้ากับ
คนอื่นได้ดี
สุวรรณา รุทธานุรักษ์ (2540 : 9) ได้ให้ความหมายของกิจการนักเรียน
หมายถึง การที่ผู้บริหารโรงเรียนวางแผนการจัดระบบการใช้เวลาในการปฏิบัติงานให้ได้
ประโยชน์สูงสุด เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพด้านงานกิจการนักเรียนในสถานศึกษา เช่น
การปกครองนักเรียน การแนะแนว การบริการสุขภาพการอนามัย การจัดหาน้ำดื่มน้ำใช้
ตลอดจนการบริการด้านอาหารกลางวันให้แก่นักเรียนในสถานศึกษา
จรัล สังข์ขาว (2542 : 30) สรุปว่างานด้านกิจการนักเรียน เป็นงานโรงเรียน
ต้องพยายามให้เด็กที่อยู่ในวัยเรียนทุกคนมีโอกาสเป็นนักเรียนอย่างเสมอภาคและยุติธรรม
เพราะการศึกษาช่วยให้เด็กเติบโตขึ้นมาเป็นพลเมืองที่ดีของชาติช่วยให้บุคลากรมีความรอบรู้
และความฉลาดมีไหวพริบ รู้จักแก้ปัญหาต่างๆ ของตนเอง รู้จักปรับตัวให้เหมาะกับสภาพ-
แวดล้อมและสถานการณ์ เพื่อช่วยให้ประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิต
สรุปงานด้านกิจการนักเรียน หมายถึง การบริหารงานที่เกี่ยวข้องกับนักเรียน
ครอบคลุมงานตั้งแต่การรับนักเรียน การแบ่งชั้น การแบ่งกลุ่มนักเรียน การจัดสวัสดิการต่าง ๆ
ให้กับนักเรียน และการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนานักเรียน
ขอบข่ายของการบริหารงานด้านกิจการนักเรียน
วัลลภา เทพหัสดิน ณ อยุธยา (2530 : 146 - 147) ได้กล่าวไว้ว่า จุดมุ่งหมาย
ของกิจกรรมนักเรียนนักศึกษาในสถานศึกษา โดยทั่วไปมีดังนี้
1. เพื่อพัฒนาความเหมาะสมด้านบุคลิกภาพ
2. เพื่อพัฒนาความสามารถในความสัมพันธ์และทำงานร่วมกับผู้อื่น
3. เพื่อทำให้นักศึกษามีความสนใจกว้างขวางขึ้น
4. เพื่อฝึกให้มีความรับผิดชอบ
5. เพื่อฝึกความคิด และการตัดสินใจ
6. เพื่อพัฒนาสติปัญญา
7. เพื่อให้รักศิลปวัฒนธรรมและประเพณีไทย
8. เพื่อให้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
17
9. เพื่อให้รู้จักทักษะทางสังคม เช่น มารยาทในการเข้าสังคม
10. เพื่อให้รู้จักการเสียสละ
11. เพื่อให้เพิ่มพูนความรู้ในด้านอาชีพในอนาคต
12. เพื่อให้พัฒนาลักษณะนิสัยและความคิดที่ดี
13. เพื่อให้มีความสามัคคี
14. เพื่อให้พัฒนาความกตัญญูต่อสถาบัน
แคมเบล และคณะ (Campbell and others 1977 : 149 - 155) ได้ให้ความเห็น
ว่า ภารกิจที่สำคัญในการบริหารกิจการนักเรียน มี 4 ประการ คือ
1) การสำรวจนักเรียน
2) งานทะเบียนและบัญชีนักเรียน
3) งานบริการนักเรียน ได้แก่ การแนะแนว การตรวจสุขภาพ เป็นต้น
4) วินัยและการควบคุมความประพฤติ
กองนโยบายและแผน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (2535 : 19)
ได้ให้แนวทางในการบริหารกิจการนักเรียนในโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษา ตามเกณฑ์
รับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษาไว้ดังนี้
1) การบริการเกี่ยวกับสุขภาพอนามัย ทั้งร่างกายและจิตใจที่เหมาะสมกับวัย
และความต้องการของนักเรียน
2) จัดการรักษาความปลอดภัยให้แก่นักเรียนโดยทั่วถึงและสม่ำเสมอทั้งใน
โรงเรียนและระหว่างการเดินทาง
3) จัดบริการแนะแนวนักเรียนครบทุกด้าน
4) จัดกิจกรรมนักเรียนที่สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนการสอน และ
ความสนใจ ความต้องการเพื่อพัฒนาด้านต่าง ๆ ของนักเรียนแต่ละบุคคล
5) จัดความช่วยเหลือและสวัสดิการต่าง ๆ ให้แก่นักเรียนที่มีความจำเป็น เพื่อ
ส่งเสริมโอกาสทางการศึกษา
6) เป้าหมายหลักอื่น ๆ ของโรงเรียนที่เน้นเกี่ยวกับการบริการและ กิจกรรม
นักเรียน
สรุปขอบข่ายของการบริหารกิจการนักเรียน ประกอบด้วย งานทะเบียน
นักเรียน งานบริการนักเรียน และงานวินัยและควบคุมความประพฤติ
18
1.2.4 การบริหารงานสภาพแวดล้อมและบรรยากาศโรงเรียน
ความหมายของการบริหารงานด้านสภาพแวดล้อมและบรรยากาศ
โรงเรียน
สภาพแวดล้อมและบรรยากาศของโรงเรียนหรืออาคารสถานที่ การบริหาร
อาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม หมายถึงการที่ผู้บริหารรู้จักบริหารอาคารสถานที่ได้อย่าง
เหมาะสม และคุ้มค่าเกิดประโยชน์ ตลอดการควบคุมดูแลรักษา พร้อมทั้งให้บริการแก่ชุมชน
อาคารสถานที่และสภาพแวดล้อมของโรงเรียนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่จะ
ช่วยให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และส่งผลต่อการพัฒนา คุณภาพของ
นักเรียนด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ดังนั้น การจัดอาคารเรียนและสภาพ
แวดล้อม จำเป็นต้องจัดให้เหมาะสม เอื้อประโยชน์ในการใช้สอยมากที่สุด และมี สิ่งอำนวย
ความสะดวกเพียงพอ และมีความประหยัด
โรงเรียนที่ดีจะต้องมีอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อมให้ดูสวยงามสะอาด
มีระเบียบ เพื่อดึงดูดความสนใจของนักเรียนและผู้พบเห็นเกิดความนิยมและชื่นชอบเพราะ
บรรยากาศในโรงเรียนมีผลต่อจิตใจของนักเรียนและครูอย่างยิ่ง ดังนั้นการวางแผนเกี่ยวกับ
อาคารสถานที่และสภาพแวดล้อมเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งต้องมีการวางแผนทั้งระยะสั้น และ
แผนระยะยาว เพื่อจะได้โรงเรียนที่มีลักษณะที่ดีทั้งทำเล ขนาด ตลอดจนบรรยากาศ และ
การจัดตกแต่งที่เหมาะสม นักการศึกษาได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม
ไว้ดังนี้
กิติมา ปรีดีดิลก (2532 : 197) กล่าวว่า การบริหารอาคารสถานที่และ
สภาพแวดล้อม หมายถึง การรู้จักจัดหา รู้จักใช้อาคารให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งการควบคุม
ดูแลรักษา การให้บริการแก่ชุมชน และการรู้จักส่งเสริมทำนุบำรุงอาคารสถานที่ที่มีอยู่ให้คง
สภาพดี และสนองความต้องการได้อย่างเพียงพอ
อรทิพย  อารยะทรงศักด์ิ (2536 : 38) กล่าวว่า การบรหิ ารอาคารสถานทแี่ ละ
สภาพแวดล้อม หมายถึง การจัดอาคารสถานที่ซึ่งประกอบด้วย ตัวอาคาร สถานที่ และบริเวณที่ใช้
ในการจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพและให้ได้ผลตามที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้
อรัญญา อุดมศรี (2539 : 46) กล่าวว่า การบริหารอาคารสถานที่และ
สภาพแวดล้อม หมายถึง การที่ผู้บริหารรู้จักบริหารอาคารสถานที่ได้อย่างเหมาะสมและคุ้มค่า
เกิดประโยชน์ ตลอดจนการควบคุมดูแลรักษา พร้อมทั้งให้บริการแก่ชุมชน
19
สรุปการบริหารอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม หมายถึง การบริหารอาคาร
สถานที่ที่ใช้จัดการเรียนการสอน และกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง อันได้แก่ อาคารเรียน ห้องเรียน ห้อง
ปฏิบัติการ ห้องสมุด ห้องพักครู รวมทั้งสภาพแวดล้อมภายในบริเวณโรงเรียนที่ใช้เป็น
ที่พักผ่อน เล่นกีฬา สุขลักษณะของ สภาพแวดล้อม และสาธารณูปโภคที่จัดบริการภายใน
โรงเรียน รวมถึงความสะดวกปลอดภัยรอบๆ โรงเรียน
ขอบข่ายการบริหารงานด้านสภาพแวดล้อมและบรรยากาศโรงเรียน
สุนีย์ ภู่พันธ์ (2531 : 217 - 218) ได้ทำการศึกษาวิจัยปัญหาการใช้อาคารสถานที่พบ
ว่า ส่วนใหญ่มีปัญหาเกี่ยวกับห้องเรียน ห้องปฏิบัติการและโรงฝึกงานไม่เพียงพอ สถาน
ศึกษาควรมีการขยายสถานที่ ให้เพียงพอกับจำนวนนักเรียน นักศึกษา เพื่อให้เหมาะสมกับ
การจัดแผนการเรียน การจัดตารางสอน เพื่อให้มีห้องเรียน ห้องปฏิบัติการและโรงฝึกงานที่
เหมาะสมเอื้ออำนวยต่อการจัดการเรียนการสอน
จรัล สังข์ขาว (2542 : 39) ได้กล่าวถึง อาคารสถานที่ในเรื่องของประโยชน์
ใช้สอย ความเป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงาม และความปลอดภัย มีการควบคุมดูแลรักษา และ
ส่งเสริมการทำนุบำรุงอาคารสถานที่มีอยู่ให้คงสภาพดี และสนองความต้องการอย่างเพียงพอ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (2535 : 49) ได้ให้แนวทางใน
การบริหารงานอาคารสถานที่ในโรงเรียนเอกชน ระดับประถมศึกษา ตามเกณฑ์การรับรอง
มาตรฐานคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา ไว้ดังนี้
1) จัดอาคารสถานที่และบริเวณโรงเรียนให้เหมาะสมกับการใช้งานและให้เกิด
ประโยชน์สูงสุด
2) เป้าหมายหลักอื่น ๆ ที่โรงเรียนเน้นเกี่ยวกับการบริหารงานอาคารสถานที่
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2536 : 503) ได้กำหนด
ขอบข่ายของงานอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อมว่า ประกอบด้วย การจัดสร้างอาคารสถานที่
การใช้และบำรุงอาคารสถานที่ รวมทั้งการควบคุมดูแลและประเมินผลการใช้อาคารสถานที่
สรุปขอบข่ายการบริหารงานอาคารสถานที่เป็นการบริหารงานที่เกี่ยวข้องกับ
การจัดสร้างอาคารสถานที่ การใช้และบำรุงอาคารสถานที่ การควบคุมดูแลและประเมินผลการใช้
อาคารสถานที่
20
1.2.5 การบริหารงานความสัมพันธ์กับชุมชน
ความหมายของการบริหารงานด้านความสัมพันธ์กับชุมชน
สุวรรณา รุทธนานุรักษ์ (2540 : 9) ได้ให้ความหมายของงานสัมพันธ์ระหว่าง
โรงเรียนและชุมชนว่า หมายถึง การที่ผู้บริหารโรงเรียนวางแผนการจัดระบบการใช้เวลาในการ
ปฏิบัติงานให้ได้ประโยชน์สุงสด เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพด้านงานสัมพันธ์ชุมชนใน
สถานศึกษา เช่น การดำเนินงานที่เกี่ยวกับสมาคม ผู้ปกครองและครู การจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่
เป็นประโยชน์ต่อชุมชน การเยี่ยมเยียนผู้ปกครอง และชุมชน การให้บริการแก่ชุมชนทั้งในด้าน
ความรู้ สุขภาพ อนามัย งานอาชีพ ตลอดจนการส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนได้เข้ามามี
ส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมของโรงเรียน
มนัส พลายชุ่ม (2540 : 8) ได้ให้ความหมายของงานสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียน
และชุมชนว่า หมายถึง การดำเนินการระหว่างโรงเรียนกับชุมชนในด้านการให้ข้อมูลข่าวสาร
การรับฟังความคิดเห็น การให้ข้อเสนอแนะ การให้และรับความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ เพื่อให้
เกิดความเข้าใจอันดีและเพื่อความร่วมมือในการพัฒนาการเรียนของนักเรียน และการจัดการ
ศึกษาของโรงเรียน
นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์ (2534 : 32) ได้ให้ความหมายของงานสัมพันธ์ระหว่าง
โรงเรียนและชุมชนว่า หมายถึง กิจกรรมที่ควรดำเนินงานในด้านความสัมพันธ์กับผู้ปกครอง คือ
1. ครูออกเยี่ยมเยียนผู้ปกครองเมื่อมีโอกาส
2. รายงานความก้าวหน้าทางการศึกษาของนักเรียนให้ผู้ปกครองทราบ
3. เชิญผู้ปกครองมาเยี่ยมเยียนโรงเรียนในโอกาสที่มีกิจกรรมต่าง ๆ ของนักเรียน
และโรงเรียน
4. จัดการประชุมผู้ปกครองในโอกาสอันควรเป็นครั้งคราว
5. ส่งข่าวสาร จดหมายข่าว แจ้งความเคลื่อนไหวก้าวหน้าหรือเปลี่ยนแปลงของ
โรงเรียนให้ทราบ
6. จัดนิทรรศการผลงานของนักเรียนและเชิญผู้ปกครองมาเยี่ยมชม
7. เชิญผู้ปกครองที่มีความเชี่ยวชาญมาให้ความรู้แก่เด็ก
8. เชิญผู้ปกครองมาเยี่ยมเยียนกิจกรรมพิเศษของโรงเรียน เช่น กีฬา ละครหรือ
ดนตรี
9. จัดให้มีวัน “คุยกับครู” โดยเชิญผู้ปกครองมาสนทนากับครูประจำชั้นอย่างน้อย
ภาคเรียนละครั้ง
10.ผลักดันให้เกิดสมาคมผู้ปกครองและครู
21
สรุปความสัมพันธ์กับชุมชนหมายถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างโรงเรียน
กับชุมชน เพื่อเป็นการช่วยเหลือและสร้างความสามัคคีของคนในชุมชน
ขอบข่ายของการบริหารงานด้านความสัมพันธ์
สำหรับบทบาทของผู้ปกครองนักเรียนกับความสัมพันธ์ของชุมชนที่มีต่อการ
บริหารงานของโรงเรียน มีนักการศึกษาเสนอแนวคิดไว้ต่าง ๆ กันดังนี้
มนัส พลายชุ่ม (2540 : 32 - 33) ได้กล่าวไว้ว่า การพัฒนาการศึกษาของ
ประเทศในปัจจุบันกำลังได้รับการปรับปรุงเป็นอย่างมากทั้งทางด้านหลักสูตร วิธีสอน อุปกรณ์
การสอน แบบเรียน รวมถึง คุณภาพของครูที่ได้รับการปรับปรุงส่งเสริมให้สอดคล้องกับการ
เปลี่ยนแปลงดังกล่าว โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญคือ ความต้องการให้เด็กได้รับการศึกษาโดย
สมบูรณ์ แต่เป็นที่ทราบกันดีในวงการศึกษาว่าองค์ประกอบของการเรียนการสอนที่จะทำให้เด็ก
ได้รับการศึกษาสมบูรณ์มีอิทธิพลมาจากหลายด้านด้วยกัน เช่น สภาวะแวดล้อมของชุมชน
สิ่งแวดล้อมภายในบ้าน กลุ่มเพื่อน ผู้ปกครอง ฯลฯ เป็นต้น การปรับปรุงและการพัฒนาการ
ศึกษาจึงไม่อาจละเลยกับสภาพแวดล้อมต่างๆ รวมทั้งบุคคลที่มีส่วนใกล้ชิดกับเด็ก เมื่อเด็กอยู่ที่
บ้านจะมีบิดามารดาหรือผู้ปกครองเป็นฝ่ายสนับสนุนช่วยเหลือทั้งทางด้านการศึกษา
การสั่งสอนอบรมจึงเห็นได้ว่าบทบาทของบิดามารดาหรือผู้ปกครองมีความสำคัญยิ่งต่อ
การศึกษาของเด็ก
นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์ (2534 : 32) ได้อธิบายว่า กิจกรรมที่ควรดำเนินงาน
ในด้านความสัมพันธ์กับผู้ปกครองคือ
1. ครูออกเยี่ยมเยียนผู้ปกครองเมื่อมีโอกาส
2. รายงานความก้าวหน้าทางการศึกษาของนักเรียนให้ผู้ปกครองทราบ
3. เชิญผู้ปกครองมาเยี่ยมเยียนโรงเรียนในโอกาสที่มีกิจกรรมต่างๆ ของ
นักเรียนและโรงเรียน
4. จัดการประชุมผู้ปกครองในโอกาสอันควรเป็นครั้งคราว
5. ส่งข่าวสาร จดหมายข่าว แจ้งความเคลื่อนไหวก้าวหน้าหรือการเปลี่ยนแปลง
ของโรงเรียนให้ทราบ
6. จัดนิทรรศการผลงานของนักเรียนและเชิญผู้ปกครองมาเยี่ยมชม
7. เชิญผู้ปกครองที่มีความเชี่ยวชาญมาให้ความรู้แก่เด็ก
22
8. เชิญผู้ปกครองมาเยี่ยมเยียนกิจกรรมพิเศษของโรงเรียน เช่น กีฬา ละคร
หรือดนตรี
9. จัดให้มีวัน “คุยกับครู” โดยเชิญผู้ปกครองมาสนทนากับครูประจำชั้นอย่าง
น้อยเทอมละครั้ง
10. ผลักดันให้เกิดสมาคมผู้ปกครองและครู
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2536 : 12) ได้สรุปขอบข่าย
ของการบริหารงานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนไว้ดังนี้
1. การประชาสัมพันธ์โรงเรียน
2. การให้ความช่วยเหลือและให้บริการแก่ชุมชน
3. การเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน
4. การให้ชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมของโรงเรียน
5. การสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน
สรุป ขอบข่ายการบริหารงานสัมพันธ์ชุมชน ประกอบด้วย การสร้างความ
สัมพันธ์กับชุมชน การเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน การให้ชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมของ
โรงเรียน และการให้ความช่วยเหลือและให้บริการแก่ชุมชน
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความต้องการ
ความต้องการเป็นรากฐานสำคัญของการจูงใจภายใน เนื่องจากความต้องการของ
มนุษย์อยู่ภายในตัวเอง แรงจูงใจให้กระทำของคนได้มาจากพลังที่อยู่ภายในตัว ความต้องการ
ทางด้านร่างกาย ความต้องการทางชีวภาพ เป็นความต้องการเบื้องต้น ต้องการตอบสนอง
เพื่อความอยู่รอดของชีวิต ความต้องการทางสังคม และความต้องการทางด้านจิตใจจะแตกต่าง
กันระหว่างบุคคล ความต้องการทางด้านสังคมจะปรากฎขึ้นมาภายหลังจากความต้องการทาง
ด้านชีวภาพได้รับการตอบสนองแล้ว ความต้องการเหล่านี้ได้แก่ความต้องการรับผิดชอบ
การยอมรับทางสังคม การยกย่อง ความสำเร็จ อำนาจ และความสมหวังของชีวิต (สมยศ
นาวีการ 2539: 127)
ความต้องการเป็นแรงจูงใจอย่างหนึ่งที่ทำให้มนุษย์ถูกกระตุ้นให้เกิดความปรารถนา
ที่จะสนองตอบต่อความต้องการของตน ทฤษฎีเกี่ยวกับความต้องการที่เป็นที่แพร่หลายมีอยู่ 4
ทฤษฎี คือ
23
1. ทฤษฎีแรงจูงใจของมาสโลว์ (Maslow's Theory of Motivation)
แคสตาลโล (Castallo, 1992 : 273) ได้กล่าวถึงทฤษฎีของมาสโลว์ไว้ว่า
มาสโลว์ ได้อธิบายถึงความต้องการของมนุษย์ไว้ 5 ลำดับขั้นของความต้องการ
1.1 ความต้องการทางด้านร่างกาย ความต้องการในขั้นนี้เป็นความต้องการ
ที่เกิดมาจากแรงขับพื้นฐาน เช่น ความหิว ความง่วง ความกระหาย ถ้าความต้องการในขั้นแรก
ไม่ได้รับการตอบสนอง ความต้องการในลำดับขั้นต่อไป จะไม่ได้รับการพัฒนา
1.2 ความต้องการเกี่ยวกับความปลอดภัย เมื่อความต้องการขั้นแรกบรรลุ
ผล มนุษย์จะต้องการมีความปลอดภัยในชีวิตซึ่งรวมถึงความปลอดภัยทางร่างกาย ความ
ต้องการที่จะอยู่ในระเบียบแบบแผนและสามารถที่จะคาดการณ์ได้ถึงความปลอดภัยในระยะ
เวลาต่อไปในอนาคต
1.3 ความต้องการเกี่ยวกับความรัก ความต้องการในขั้นที่สามนี้ ก่อให้เกิด
ความต้องการ ซึ่งนอกจากความรักความเสน่หาแล้วยังรวมถึงความรู้สึกเป็นเจ้าของ ความ
พึงพอใจ การมีส่วนร่วมในงานและกลุ่มสังคม
1.4 ความต้องการที่จะได้รับความนิยมยกย่อง ความต้องการที่จะได้รับการ
ยกย่องมี 2 อย่าง อย่างแรกเกี่ยวกับการตัดสินใจของตนเองในเรื่องของความมั่นคง ความสำเร็จ
ความสามารถที่เพียงพอ และการมอบความไว้วางใจ อย่างที่สองเกี่ยวข้องกับสิ่งอื่น ๆ เช่น
การยอมรับ ความสนใจ และการรู้ซึ้งถึงคุณค่า
1.5 ความต้องการที่จะรู้ถึงความสามารถที่แท้จริง ขั้นสูงสุดลำดับขั้นของ
ความต้องการของมาสโลว์ คือ ความต้องการที่จะรู้ถึงความสามารถที่แท้จริง ถ้าหากมนุษย์
ประสบความสำเร็จในความต้องการสี่ขั้นแล้วจะทำให้รู้สึกคับข้องใจ บุคคลนั้นจะต้องหาโอกาส
ทำกิจกรรมที่ตนพอใจสำหรับการพัฒนาที่จะนำไปสู่ความสามารถที่แท้จริงนั้นจะเกิดขึ้นได้เมื่อ
การสร้างความสามารถนั้นทำให้เกิดความก้าวหน้าจนถึงขีดสูงสุด
2. ทฤษฎี 2 องค์ประกอบของเฮิซเบอร์ก(Herzberg's Two Factor Theory)
แฮนสัน (Hanson, 1985 : 233) ได้กล่าวถึงทฤษฎี 2 องค์ประกอบของ
เฮิซเบอร์กไว้ว่า ความต้องการของมนุษย์ตามหลักทฤษฎีของเฮิซเบอร์กขึ้นอยู่กับความแตกต่าง
ของความต้องการ 2 ด้าน คือ พื้นฐานทางชีววิทยา และความต้องการทางด้านจิตใจ เฮิซเบอร์ก
พบว่า เมื่อมนุษย์พูดถึงความรู้สึกที่ดีหรือความพึงพอใจ ย่อมหมายถึงลักษณะโดยตรงของงาน
เฮิซเบอร์กเรียกองค์ประกอบนี้ว่า ตัวจูงใจ ซึ่งรวมถึง ความรู้สึกสัมฤทธิผลการยอมรับในความ
สำเร็จจากลักษณะของงาน ความรู้สึกรับผิดชอบ ความเจริญก้าวหน้าและการพัฒนา
เมื่อผู้ใต้บังคับบัญชาพูดถึงความไม่น่าพึงพอใจในการทำงานย่อมหมายถึง
องค์ประกอบภายนอกของงานที่มีส่วนสัมพันธ์กัน สิ่งเหล่านี้เรียกว่า องค์ประกอบทางด้าน
24
อนามัย ซึ่งรวมถึงนโยบายของหน่วยงาน และการบริหารการนิเทศงาน ความสัมพันธ์ของ
พนักงานกับผู้นิเทศ สภาวะในการทำงาน เงินเดือน ความสัมพันธ์ระหว่างกันภายในกลุ่ม
พนักงาน การดำเนินการของฝ่ายบุคคล ความสัมพันธ์กับผู้มต้บังคับบัญชา ตำแหน่งและความ
ปลอดภัย
3. ทฤษฎีอีอาร์จีของอัลเดอเฟอร์ (Alderfer's Erg Theory)
มันดี้ (Mondy, 1993 :305-307) ได้กล่าวถึงทฤษฎี ERG ของอัลเดอเฟอร์
และทฤษฎีความต้องการของแมคคลีแลนด์ ไว้ดังนี้
อัลเดอเฟอร์ ได้เสนอแนวคิดจากการปรับทฤษฎีของมาสโลว์เสียใหม่ เป็น
ความต้องการ 3 ระดับ คือ
3.1 ความต้องการเพื่อความอยู่รอดของชีวิต เป็นความรู้สึกที่ดีทาง
ร่างกาย ใกล้เคียงกับความต้องการทางด้านร่างกายและความต้องการเกี่ยวกับความปลอดภัย
ของมาสโลว์
3.2 ความต้องการความสัมพันธ์ เกี่ยวข้องกับความต้องการเป็นเจ้าของ
ของมาสโลว์
3.3 ความต้องการความก้าวหน้า เป็นความต้องการร่วมกันที่จะได้รับ
ความนิยมยกย่องและความต้องการที่จะรู้ถึงความสามารถที่แท้จริง ซึ่งเป็นความต้องการในขั้น
สูงของมาสโลว์
อัลเดอร์เฟอร์เห็นว่าความต้องการของแต่ละคนย่อมจะเป็นไปตามลำดับขั้น
แต่ในกรณีที่พยายามแล้วเกิดความล้มเหลวในความต้องการด้านอื่น ก็อาจจะหันกลับไปสู่ความ
ต้องการในระดับต่ำขึ้นมาอีก เช่น พนักงานที่ล้มเหลวในความก้าวหน้าอาจจะทำให้เกิดแรงจูงใจ
ที่ต้องการด้านความสัมพันธ์ขึ้นมาอีก เป็นต้น
4. ทฤษฏีความต้องการของแมคคลีแลนด์ (Macclelland's Need Theory)
ทฤษฎีความต้องการของแมคคลีแลนด์เป็นเรื่องส่วนประกอบของ
สิ่งแวดล้อมรวมกันกับความต้องการของแต่ละบุคคลอย่างไรจึงทำให้กลายเป็นแรงขั้นพื้นฐาน
ของมนุษย์ 3 ประการ คือ
4.1 ความต้องการเพื่อประสบความสำเร็จ ผู้ที่มีความต้องการในด้านนี้สูง
จะเป็นผู้ที่มีความสามารถในการแก้ปัญหา มีพลังงานสูงและพอใจที่จะทำงานหนัก และเห็น
คุณค่าของความสำเร็จจากการได้ทำงานที่ท้าทายความสามารถ
4.2 ความต้องการมีพลังความสามารถ เป็นความต้องการที่จะมีอำนาจ
หรืออิทธิพลเหนือผู้อื่น ผู้ที่มีความต้องการด้านนี้สูงจะเป็นคนที่ชอบการแข่งขันการเผชิญหน้า
ถ้าเป็นการใช้ความสามารถในทางบวก จะทำให้บุคคลนั้นเกิดความพยายามที่จะปฏิบัติงานจน
25
เป็นผลสำเร็จ แต่ถ้าใช้ความสามารถในด้านลบก็จะหาวิธีปฏิบัติที่เกิดประโยชน์ต่อตนเองแต่
เป็นผลเสียหายต่อองค์กร
4.3 ความต้องการที่จะผูกพันกับผู้อื่น จะเป็นผู้ที่พยายามสร้างและรักษา
ความสัมพันธ์ไว้ อยากให้ผู้อื่นชอบ ชอบงานสังสรรค์และกิจกรรมทางสังคม
แต่ละความต้องการของแมคคลีแลนด์ แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของ
ความพึงพอใจแต่ละแบบ การปฏิบัติงานให้ได้ผลและมีประสิทธิภาพขึ้นอยู่กับการรวมกันของ
น้ำหนักของความต้องการที่สัมพันธ์กับความต้องการอย่างอื่น คุณค่าสาเหตุจากการกระทำ และ
ความเป็นไปได้ที่จะทำงานให้ประสบความสำเร็จ
สรุป ความต้องการของมนุษย์เป็นพลังที่อยู่ภายในตัวบุคคล ซึ่งเป็นแรงจูงใจให้
คนแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ เพื่อให้ได้รับการตอบสนอง ความต้องการขั้นต้นของมนุษย์คือ ความ
ต้องการทางชีวภาพ เช่น ความต้องการทางร่างกาย ความต้องการความปลอดภัย เป็นต้น จาก
นั้นความต้องการทางสังคมจึงจะเกิดขึ้นตามมา เช่น ความต้องการเกียรติยศชื่อเสียง
แนวคิดเกี่ยวกับความต้องการมีส่วนร่วมในการบริหารงาน
การมีส่วนร่วมเป็นเหมือนจุดศูนย์กลางของการพัฒนา และถือว่าเป็นการเปิดโอกาส
ให้บุคคลเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาที่ว่า การมีส่วนร่วมเป็นการนำคนในท้องถิ่นที่รู้จักสังคม
และสิ่งแวดล้อมทางกายภาพของชุมชนอย่างแท้จริง ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาและ
ตัดสินใจได้อย่างถูกต้องมีประสิทธิผล ทำให้คนในท้องถิ่นมีความรู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของ
การพัฒนาและทำให้ประชาชนมีโอกาสใช้ความสามารถของตนเองในการร่วมกันทำงาน ทั้งใน
รูปของความคิด การตัดสินใจอย่างเต็มที่ อันจะส่งผลต่อวิถีชีวิตของตน ซึ่งผู้วิจัยได้ศึกษา
ความหมายของการมีส่วนร่วม ลักษณะการมีส่วนร่วมและบทบาทต่าง ๆ ในการมีส่วนร่วมกับ
ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมไว้ดังนี้
ความหมายของการมีส่วนร่วม
การมีส่วนร่วม เป็นกระบวนการทำงานที่บุคลากรในองค์การมีส่วนเกี่ยวข้องกับการ
ดำเนินงานขององค์การทุกขั้นตอน ด้วยความตั้งใจ เต็มใจ และสบายใจ เพื่อให้งานบรรลุ
จุดมุ่งหมายตามที่กลุ่มต้องการ และทำให้บุคลากรเหล่านั้นเกิดความรู้สึกร่วมรับผิดชอบกับกลุ่ม
การมีส่วนร่วมเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะส่งผลให้การปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ประสบความสำเร็จได้โดย
ง่าย การมีส่วนร่วมจึงมีความสำคัญต่อหน่วยงานและองค์กรต่างๆ อย่างยิ่ง ในเรื่องความหมาย
ของการมีส่วนร่วมนั้น ได้มีนักวิชาการศึกษาหลายท่านได้ให้ความหมายของการมีส่วนร่วมไว้
แตกต่างกันดังนี้
26
สัมพันธ์ อุปลา (2541 : 13) ให้ความหมายของการมีส่วนร่วมว่า หมายถึง
กระบวนการที่ผู้บริหารให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการตัดสินใจ เป็นการมี
ส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งของบุคคล เป็นการใช้ความคิดสร้างสรรค์และความเชี่ยวชาญในการ
แก้ปัญหาการบริหาร
ชาญชัย อาจินสมาจาร (2534 : 9) ได้ให้ความหมายของการมีส่วนร่วม หมายถึง
กระบวนการที่ทุกให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับการแก้ปัญหาที่กระทบกระเทือนองค์การและงาน
ของเขา การเข้ามาเกี่ยวข้องในงานของแต่ละบุคคลหรือกลุ่ม ไม่ใช่เข้ามาเกี่ยวข้องทางด้าน
ร่างกายเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องทางด้านสติปัญญาและอารมณ์ในกิจการขององค์การนั้นด้วย
ชูศักดิ์ อินทร์รักษ์ (2534 : 44) ได้กล่าวว่า การมีส่วนร่วมหมายถึง การให้สมาชิก
ทุกคนในองค์การหรือหน่วยงานเดียวกันได้กระทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อให้งานบรรลุเป้าหมายที่
ทุกคนคาดหวังและประสบผลสำเร็จ บุคคลทุกระดับในหน่วยงานร่วมมือกันรับผิดชอบ มีความ
รู้สึกผูกพันในฐานะเป็นส่วนหนึ่งขององค์การด้วยการปฏิบัติงานอย่างมีเป้าหมายและทิศทาง
พูนชัย มหาวงศนันท์ (2540 : 10) กล่าวว่า การมีส่วนร่วม หมายถึง การที่บุคคล
ในหน่วยงานทุกคนได้มีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมาย ทิศทางการดำเนินงานต่างๆ และ
มีความร่วมมือรับผิดชอบ มีความรัก ความผูกพันต่อกัน เพื่อให้การปฏิบัติงานให้เกิดผลสำเร็จ
บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
สรุป การมีส่วนร่วมเป็นกระบวนการที่เกิดจากการเกี่ยวข้องของบุคคล กลุ่มบุคคล
หรือองค์การในการคิดริเริ่ม การตัดสินใจ วางแผนปฏิบัติ ตลอดจนติดตามและประเมินผล
เพื่อให้ชุมชนตระหนักว่าตนเองเป็นเจ้าของโครงการ หรือได้มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ จะได้ให้
ความร่วมมือในการดำเนินงานต่าง ๆ ด้วยดี ทั้งนี้ก็ย่อมขึ้นอยู่กับสภาพความคิด ความเชื่อ
พื้นฐานของแต่ละบุคคล แต่ละหน่วยงาน และองค์การรวมทั้งขึ้นอยู่กับกาลเวลาและยุคสมัยอีก
ด้วย
ลักษณะของการมีส่วนร่วม
ลักษณะของการมีส่วนร่วม ได้มีการจำแนกลักษณะหรือประเภทของการมีส่วนร่วม
ที่แตกต่างกัน ซึ่งนักวิชาการได้กล่าวถึงลักษณะของการมีส่วนร่วมที่แตกต่างกันออกไปดังนี้
กาญจนา แก้วเทพ (2538 : 129) ได้วิเคราะห์ลักษณะของการมีส่วนร่วมแบบ
ความสัมพันธ์ระหว่างนักพัฒนาและประชาชนในการทำงานร่วมกันตามแนววัฒนธรรมว่าความ
สัมพันธ์ในการทำงานร่วมกันของนักพัฒนาและประชาชนต้องมีลักษณะเฉพาะตัว คือ มีความ
27
สัมพันธ์แบบความสัมพันธ์ (Partnership) อันมีองค์ประกอบย่อย 3 ลักษณะ คือ ลักษณะแรก
เป็นลักษณะที่ต้องพึ่งพาอาศัยกัน รับผิดชอบร่วมกัน เพราะฉนั้นผลงานไม่ดีออกมาต้องร่วมกันรับ
ผิดชอบทั้งสองฝ่าย ลักษณะที่สอง เป็นความสัมพันธ์ที่เท่าเทียมกัน เสมอภาคกัน และ
ลักษณะที่สาม เป็นลักษณะความสัมพันธ์ที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน ผลประโยชน์ไม่ขัดแย้งกันหาก
แต่สนับสนุนซึ่งกันและกัน
ชูชาติ พ่วงสมจิตร์ (2540 : 19) ได้จำแนกขั้นตอนในการมีส่วนร่วมออกเป็น 4
ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 การมีส่วนร่วมในขั้นริเริ่มโครงการ เป็นขั้นของการค้นหาปัญหาและสาเหตุ
ตลอดจนการตัดสินใจกำหนดความต้องการและจัดลำดับความสำคัญของความต้องการ
ขั้นที่ 2 การมีส่วนร่วมในขั้นวางแผน เป็นขั้นของการเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนด
นโยบายและวัตถุประสงค์ของโครงการ กำหนดวิธีการ แนวทางการดำเนินงานและกำหนด
ทรัพยากรที่จะใช้ในโครงการ
ขั้นที่ 3 การมีส่วนร่วมในขั้นดำเนินการ เป็นการเข้ามามีส่วนร่วมในการทำประโยชน์
ให้แก่โครงการ โดยการร่วมช่วยเหลือด้านทุนทรัพย์ วัสดุอุปกรณ์และแรงงาน หรือโดยการบริหาร
งานและประสานงาน ตลอดจนดำเนินการขอความช่วยเหลือจากภายนอก
ขั้นที่ 4 การมีส่วนร่วมในขั้นประเมินผล เป็นขั้นของการเข้ามามีส่วนร่วมในการ
ประเมินว่าการดำเนินงานบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ อาจเป็นการประเมินผลย่อย
เพื่อดูความก้าวหน้าของการดำเนินงาน หรือการประเมินผลรวมสรุปรวบยอด
อุทัย บุญประเสริฐ (2542 : 1-4) ได้วิเคราะห์ถึงลักษณะการมีส่วนร่วมในการจัด
การศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน คือ ในการปฏิรูประบบบริหารการศึกษาในประเทศไทย
ปัจจุบันนั้น พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า
“ให้กระทรวงกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาทั้งด้านวิชาการ งบประมาณ
การบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไป ไปยังคณะกรรมการและสำนักงานการศึกษา
ศาสนา และวัฒนธรรมเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาโดยตรง”การ
ดำเนินงานตามนัยดังกล่าวจะเป็นการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา จากส่วน-
กลางไปยังสถานศึกษา ไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชน โดยมุ่งหวังให้เป็นการเพิ่ม
ประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการบริหารจัดการสถานศึกษา ให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วม
ในการบริหารโรงเรียนให้สอดคล้องและเป็นไปตามความต้องการของผู้เรียนตอบสนองความ
ต้องการของผู้ปกครองและชุมชนมากที่สุด"
28
ดุสเซลดอร์ฟ (Dusseldorp 1981 : 35-53) ได้รวบรวมแนวคิดในการจำแนก
ประเภทของการมีส่วนร่วมของนักวิชาการต่างๆ และใช้คุณลักษณะ 9 ประการมาจำแนกการมี
ส่วนร่วมออกเป็น 9 กลุ่มดังต่อไปนี้
1. การจำแนกตามระดับความสมัครใจ
2. วิธีการมีส่วนร่วม
3. ความเข้มของการมีส่วนร่วม
4. ความถี่ของการมีส่วนร่วม
5. ระดับของประสิทธิผล
6. พิสัยของการมีส่วนร่วม
7. ระดับขององค์การ
8. ผู้เข้าร่วม
9. ลักษณะของการวางแผน
ชาดิด และคณะ (Shadid and others, 1982 : 356) ได้จำแนกขั้นตอนหรือ
ประเภทของการมีส่วนร่วมออกเป็นเรื่องของการตัดสินใจ การดำเนินการ ผลประโยชน์ และการ
ประเมินผล ดังมีรายละเอียดดังนี้
ขั้นที่ 1 การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ในกระบวนการของการตัดสินใจนั้น ประการ
แรกที่สุดที่จะต้องกระทำก็คือ การกำหนดความต้องการและการจัดลำดับความสำคัญต่อจากนั้น
ก็เลือกนโยบาย และประชากรที่เกี่ยวข้อง การตัดสินใจในช่วงเริ่มต้น การตัดสินใจช่วง
ดำเนินการวางแผน และการตัดสินใจในช่วงการปฏิบัติตามแผนที่วางไว้
ขั้นที่ 2 การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ในส่วนที่เป็นองค์ประกอบของการดำเนิน-
งานโครงการนั้นจะได้คำถามที่ว่าใครจะทำประโยชน์ให้แก่โครงการได้บ้าง และจะทำประโยชน์
ได้โดย วิธีใด เช่น การช่วยเหลือด้านทรัพยากร การบริหารงานและประสานงาน และการ
ขอความช่วยเหลือ เป็นต้น
ขั้นที่ 3 การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ในส่วนที่เกี่ยวกับผลประโยชน์นั้น
นอกจากความสำคัญของผลประโยชน์ในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพแล้ว ยังจะต้องพิจารณาถึง
การกระจายผลประโยชน์ภายในกลุ่มด้วยผลประโยชน์ของโครงการนี้รวมทั้งผลประโยชน์ในทาง
บวก และผลที่เกิดขึ้นในทางลบที่เป็นผลเสียของโครงการ ซึ่งจะเป็นประโยชน์และเป็นโทษต่อ
ตัวบุคคลและสังคมด้วย
ขั้นที่ 4 การมีส่วนร่วมในการประเมินผล การมีส่วนร่วมในการประเมินผลนั้น
สิ่งสำคัญที่จะต้องสังเกตก็คือ ความเห็น ความชอบ และความคาดหวัง ซึ่งจะมีอิทธิพล
สามารถแปรเปลี่ยนพฤติกรรมของบุคคลในกลุ่มต่างๆ ได้
29
อาร์สไตน์ (Arnstein 1991 : 203) กล่าวว่า ลักษณะการมีส่วนร่วมในส่วนที่
เกี่ยวข้องกับการเข้าไปมีอำนาจและควบคุมไว้ 8 ประการด้วยกันคือ
1. กุศโลบาย เป็นการเข้ามาเพียงเพื่อประชาสัมพันธ์ตนเองไม่ได้มุ่งหวังการมี
ส่วนร่วม
2. การรักษา คล้าย ๆ กับกุศโลบาย แต่เป็นการเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อให้ทุกคนอยู่
ร่วมกันและมีพฤติกรรมตามที่ผู้นำต้องการเท่านั้น
3. การบอกกล่าว เป็นการที่ผู้นำให้ผู้ตามเข้ามามีส่วนร่วมเพียงเล็กน้อย
4. การให้คำปรึกษา เป็นการที่ผู้นำให้ผู้ตามคอยพิจารณาถึงข้อคิดเห็นต่าง ๆ แต่
ไม่ได้บังคับให้ผู้นำต้องทำตามการมีส่วนร่วมของผู้ตาม
5. การปลอบโยน มีลักษณะเหมือนกับการเห็นอกเห็นใจคล้อยตาม แต่ในใจนั้นไม่
ได้มีการยอมรับที่จะปฏิบัติตามเลย
6. การเป็นหุ้นส่วน หมายถึงการมีส่วนร่วมนั้น จะมีลักษณะการร่วมกันคิดร่วมกัน
ทำและร่วมกันตัดสินใจมากขึ้น
7. การมอบอำนาจ เป็นการที่ผู้นำมอบอำนาจให้ผู้ตามปฏิบัติแทนซึ่งเป็นการเข้า
มามีบทบาทในกิจกรรมของผู้ตามมากขึ้น
8. อำนาจและการควบคุมอยู่ในมือของผู้ตาม เป็นการที่ผู้ตามเข้ามามีส่วนร่วมและ
กำหนดบทบาทอย่างแท้จริง
สรุป ลักษณะการมีส่วนร่วมนั้นมีหลายระดับสามารถจำแนกได้ 5 ลักษณะ คือ
ระดับที่หนึ่ง คือ การไม่มีส่วนร่วมหรือมีส่วนร่วมน้อยที่สุด ระดับที่สอง คือมีส่วนร่วมรับรู้ใน
กิจกรรมแต่อาจไม่มีส่วนร่วมในการปฏิบัติ / มีส่วนร่วมน้อย ระดับที่สาม คือมีส่วนร่วมทำกิจ
กรรม / มีส่วนร่วมปานกลาง ระดับที่สี่ คือมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น หรือตัดสินใจ แต่ไม่ได้
ร่วมปฏิบัติ/มีส่วนร่วมมาก และระดับที่ห้า คือมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น หรือตัดสินใจ
และร่วมปฏิบัติกิจกรรม / มีส่วนร่วมมากที่สุด
รูปแบบของการบริหารแบบมีส่วนร่วม
ชินรัตน์ สมสืบ (2539 : 71 -74) ได้กล่าวถึงรูปแบบของการมีส่วนร่วมแบบยุทธวิธี
ที่สำคัญก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของหน่วยงานละบุคคล โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม
ใหญ่ คือ
1. การมีส่วนร่วมแบบยุทธวิธีทางตรง เป็นวิธีที่ดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ที่เข้าไป
ติดต่อโดยตรงกับบุคคลหรือกลุ่มต่าง ๆในลักษณะพูดคุยตัวต่อตัว
30
2. การมีส่วนร่วมแบบยุทธวิธีทางอ้อม เป็นลักษณะที่เจ้าหน้าที่ไม่ได้ติดต่อโดยตรง
กับบุคคลหรือกลุ่มต่าง ๆ เช่น การโฆษณา การส่งข่าวผ่านสื่อทันสมัยทุกชนิด เป็นต้น
3. การมีส่วนร่วมแบบยุทธวิธีการแทรกแซง เป็นยุทธวิธีที่ไม่ได้มุ่งที่บุคคลหรือกลุ่ม
แต่มุ่งพิจารณาที่กระบวนการ และโครงสร้างในพื้นที่เป้าหมาย เช่น การพัฒนาองค์การที่จะทำ
ให้มีการเอื้ออำนวยต่อการมีส่วนร่วมของบุคคลหรือกลุ่ม
อุทัย บุญประเสริฐ (2542 : 1 - 4) ได้ศึกษา พบว่า รูปแบบของการมีส่วนร่วมใน
การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน แบ่งเป็น 4 รูปแบบ ดังนี้
1. รูปแบบที่มีผู้บริหารโรงเรียนเป็นหลัก (administrative control) ผู้บริหารโรงเรียน
จะเป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจขั้นสุดท้ายส่วนคณะกรรมการจะมีบทบาทให้ข้อคิดและเสนอแนะใน
การบริหารเท่านั้น
2. รูปแบบที่มีครูเป็นหลัก (professional control) รูปแบบนี้คณะกรรมการโรงเรียน
จะมีตัวแทนคณะครูในสัดส่วนที่มากที่สุด โดยมีบทบาทเป็นทั้งกรรมการที่ปรึกษาและกรรมการ
บริหาร
3. รูปแบบที่ชุมชนมีบทบาทเป็นหลัก (community control) รูปแบบนี้การบริหารจะ
ควบคุมโดยชุมชน คณะกรรมการโรงเรียนจะมีสัดส่วนจำนวนตัวแทนผู้ปกครองชุมชนมากที่สุด
ศิริกาญจน์ โกสุมภ์ (2542 : 215 –219) ได้แบ่งรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม
แบบเหลื่อมล้ำตามคุณสมบัติของการมีส่วนร่วมเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
1. การมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ เป็นแบบแผนการมีส่วนร่วมของกลุ่มบุคลากรผู้มี
อำนาจและมีทรัพยากรมากที่สุดในชุมชน ได้แก่ผู้บริหารโรงเรียน ประธานและคณะกรรมการ
โรงเรียน เจ้าอาวาส และหัวหน้าโครงการ
1.1 บทบาทที่แสดงในการมีส่วนร่วม ได้แก่ ริเริ่มงาน คิดงาน ร่วมดำเนินการ
ร่วมสนับสนุน ร่วมงาน ร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างหนักแน่นจริงจัง
มีอำนาจตัดสินใจที่เปลี่ยนแปลงกิจกรรมที่ดำเนินงานได้
1.2 คุณสมบัติของผู้มีส่วนร่วม ได้แก่ มีอำนาจตามระบบราชการ มีบารมีได้รับ
การยอมรับในชุมชน มีทรัพยากรมาก เช่น มีความรู้ มีเงิน
2. การมีส่วนร่วมเป็นบางส่วน เป็นแบบแผนการมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้มีอำนาจและ
ทรัพยากรปานกลางในชุมชน ได้แก่ กลุ่มผู้นำชุมชน กลุ่มคณะครู คณะกรรมการโรงเรียน
กิจกรรมที่มีส่วนร่วม ได้แก่ กิจกรรมตามประเพณี การประชุมต่าง ๆ การปรับปรุงอาคารสถานที่
2.1 บทบาทที่แสดงในการมีส่วนร่วม ได้แก่ ร่วมงาน ร่วมมือ ร่วมสนับสนุน
ร่วมริเริ่มงาน ริเริ่มกิจกรรม บริจาคเงิน สิ่งของ เป็นผู้ร่วมดำเนินการ แสดงความคิดเห็นอย่าง
มั่นใจ มีอำนาจในการตัดสินใจบ้าง
31
2.2 คุณสมบัติของผู้มีส่วนร่วม ได้แก่ เป็นคณะทำงานของผู้มีอำนาจใน
การปกครอง มีความรู้ ต้องการทำงานเพื่อชุมชน
3. การมีส่วนร่วมแบบชายขอบ เป็นแบบแผนการมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้ที่ไม่มีอำนาจ
และทรัพยากรในชุมชน ได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียน และประชาชนทั่วไป โดยกิจกรรมที่มีส่วนร่วม
คือ กิจกรรมของโรงเรียน งานตามประเพณี งานพิเศษ และการประชุม
3.1 บทบาทที่แสดงในการมีส่วนร่วม ได้แก่ เป็นผู้มาร่วมงาน เป็นผู้ให้
ความร่วมมือ เป็นผู้ให้การสนับสนุน บริจาคเงินและสิ่งของ ร่วมดำเนินการและแสดงความ
คิดเห็นบ้าง ไม่มีอำนาจในการตัดสินใจ
สรุป รูปแบบการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมมี 3 รูปแบบ คือ การมีส่วนร่วม
อย่างเต็มที่ การมีส่วนร่วมเป็นบางส่วน และการมีส่วนร่วมแบบชายขอบ ในแต่ละแบบจะมี
ความแตกต่างกันที่อำนาจและทรัพยากร บทบาทหน้าที่ก็แตกต่างกันออกไป
ระบบของการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม
ระบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ใช้อยู่ในปัจจุบันและเป็นที่ยอมรับว่าได้ผลใน
เชิงปฏิบัติมากมี 4 แบบ ดังนี้ (อุทัย บุญประเสริฐ 2542 : 15 - 17)
1. ระบบการปรึกษาหารือ เป็นการบริหารแบบเปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติงานได้มีส่วน-
ร่วมปฏิบัติงานในรูปคณะกรรมการต่าง ๆ รูปแบบนี้เป็นการกระจายอำนาจการบริหารและการ
ตัดสินใจให้ผู้ที่สีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบ
2. ระบบกลุ่มคุณภาพ เป็นการบริหารที่เปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติงานได้มีส่วนร่วมใน
รูปกลุ่มทำงาน ระบบคุณภาพแบบนี้เหมาะสำหรับใช้กับพนักงานระดับปฏิบัติหรือระดับหัวหน้า
งานเป็นการฝึกฝน และเปิดโอกาสให้ทำงานร่วมกันเพื่อค้นหาปัญหา วิเคราะห์ปัญหา หาสาเหตุ
ของปัญหาตลอดแนวทางแก้ปัญหาด้วยตนเอง
3. ระบบข้อเสนอแนะ หลักการปฏิบัติทุกคนได้กรอกแบบแสดงความคิดเห็นตามที่
กำหนดและมีคณะกรรมการพิจารณาข้อเสนอแนะตามแบบฟอร์มที่กำหนดหากมีข้อเสนอแนะใด
ที่ดีและนำไปปฏิบัติจะได้รับรางวัลตอบแทนแก่ผู้เสนอความคิดเห็น
4. ระบบส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติงานมีส่วนเป็นเจ้าของกิจการและรู้สึกผูกพันในการ
ปฏิบัติงานเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน

ความต้องการและแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานของโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา (ตอนที่ 1)
ความต้องการและแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานของโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา (ตอนที่ 2)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น