วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ความตั้งใจย้ายถิ่นกลับสู่ภูมิลำเนาเดิมของนักศึกษา (ตอนที่ 1)



ความตั้งใจย้ายถิ่นกลับสู่ภูมิลำเนาเดิมของนักศึกษา
กรณีศึกษา : นักศึกษาสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
นางสาวณัฐพร รอดดารา
วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
ปีการศึกษา 2545
ISBN : 974-373-190-3
ลิขสิทธิ์ของสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
Student’s Intention to Migrate to Hometown
: A Case Study of Rajabhat Institute
Bansomdejchaopraya Students
Ms.Nattaporn Roddara
A Thesis Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements
For the Master of Arts (Social Sciences for Development)
At Rajabhat Institute Bansomdejchaopraya
Academic Year 2002
ISBN : 974-373-190-3

ณัฐพร รอดดารา.(2545).ความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาเดิมของนักศึกษา กรณีศึกษา
: นักศึกษาสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต.กรุงเทพฯ
: บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. คณะกรรมการควบคุม
รศ.ดร.นงลักษณ์ เทพสวัสดิ์ ผศ.สุพิศวง ธรรมพันทา ผศ.บุปผา แช่มประเสริฐ
การศึกษาครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาเดิมของนักศึกษา ชั้นปีที่ 4 สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาเดิมของนักศึกษา ชั้นปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักศึกษาภาคปกติ ชั้นปีที่ 4 ของสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำนวน 300 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดระดับความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนา และแบบวัดความคาดหวังของปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนา การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความสัมพันธ์ (Correlation) และวิเคราะห์หา สมการถดถอยพหุคูณ (Regression)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ลักษณะส่วนบุคคลของนักศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาอยู่ในภาคกลาง (ร้อยละ 51.3) รองลงมาได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันตก ภาคตะวันออก และภาคเหนือตามลำดับ และส่วนใหญ่เป็นผู้มีภูมิลำเนาอยู่นอกเขตอำเภอเมือง (ร้อยละ 71.0) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีคะแนนสะสมอยู่ในช่วง 2.50-2.99 (ร้อยละ41.3) มีระดับความสามารถพิเศษปานกลาง (X = 2.23)
2. กลุ่มตัวอย่างมีความคาดหวังโอกาสประกอบอาชีพในภูมิลำเนาในระดับปานกลาง (X = 3.19) ความคาดหวังระดับรายได้ที่น่าพึงพอใจในภูมิลาเนาในระดับปานกลาง (X = 3.15) ความคาดหวังโอกาสการได้รับการยอมรับสถานภาพทางสังคมในภูมิลำเนาในระดับปานกลาง (X=3.40) มีความผูกพันต่อครอบครัวและชุมชนในระดับสูง (X=3.86) และมีโอกาสทาง การศึกษาต่อในกรุงเทพมหานครในระดับสูง (X=3.38) จากเกณฑ์ระดับการวัดของลิเคิร์ต (Likert Scale)
3. จากการทดสอบสมมติฐาน ข้อ 1 พบว่า นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ภาคปกติ ของสถาบันราชภัฏ-บ้านสมเด็จเจ้าพระยา มีระดับความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาหลังสำเร็จการศึกษาอยู่ในเกณฑ์สูง สมมติฐานข้อที่ 2 พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางลบต่อความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาเดิม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ได้แก่ โอกาสทางการศึกษาต่อในกรุงเทพมหานคร (X7) สมมติฐานข้อที่ 3 พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกต่อความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาเดิม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ได้แก่ ความคาดหวังระดับรายได้ที่น่าพึงพอใจในภูมิลำเนา

(X4) และความผูกพันต่อครอบครัวและชุมชน (X6) ตัวแปรทั้งสามสามารถร่วมกันพยากรณ์ความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนา ได้ร้อยละ 38.00 โดยมีสมการพยากรณ์ ดังนี้
Y = 2.127+0.692(X4) + 0.497 (X6) –0.353 (X7)
วิทยานิพนธ์ ความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาเดิมของนักศึกษา
กรณีศึกษา : นักศึกษาสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
โดย นางสาวณัฐพร รอดดารา
สาขาวิชา สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
ประธานที่ปรึกษา รศ.ดร.นงลักษณ์ เทพสวัสดิ์
กรรมการที่ปรึกษา ผศ.สุพิศวง ธรรมพันทา
กรรมการที่ปรึกษา ผศ.บุปผา แช่มประเสริฐ
บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา อนุมัติให้วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
………………………………………………………………….……. คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
(รองศาสตราจารย์ นันทา วิทวุฒิศักดิ์)
วันที่ เดือน พ.ศ. 2545
คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์
………………………………………………………………….……………. ประธานกรรมการ
(ศาสตราจารย์ ดร.สายหยุด จำปาทอง)
………………………………………………………………….……………. กรรมการที่ปรึกษา
(รองศาสตราจารย์ ดร.นงลักษณ์ เทพสวัสดิ์)
……………………………………………………………………………. กรรมการที่ปรึกษาร่วม
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุพิศวง ธรรมพันทา)
…………………………………………………………….……………. กรรมการที่ปรึกษาร่วม
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บุปผา แช่มประเสริฐ)
…………………………………………………………………………. กรรมการและเลขานุการ
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สมชาย พรหมสุวรรณ)
ลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ความตั้งใจย้ายถิ่นกลับสู่ภูมิลำเนาเดิมของนักศึกษา
กรณีศึกษา : นักศึกษาสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
บทคัดย่อ
ของ
นางสาวณัฐพร รอดดารา
เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัยสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา
ตามหลักสูตรวิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
ปีการศึกษา 2545

Nattaporn Roddara. (2002). Student’s Intention to Migrate to Hometown: A Case Study of Rajabhat Institute Bansomdejchaopraya Students. Master thesis. Bangkok : Graduate School, Rajabhat Institute Bansomdejchaopraya.
Advisor committee: Associate Professor Dr. Nongluksana Thepsawasdi ; Assistant Professor Boobpha Champresert ; Assistant Professor Supitsawong Tampunta
The purpose is to study the senior student’s intentions and factors to go back to their hometown after graduation. 300 questionnaires were analyzed by SPSS/PC+, percentages, arithmetic means, standard deviation, test correlation and regression analysis.
The findings were as follows :
1. According to the personal backgrounds, the students were in the Central part (51.3%), North East, South, West, East and North respectively. 71.0% were outside districts. The major samplings were at 2.50-2.99 (41.3%). The mean of special skills were 2.23.
2. According to the working expectation : The means of 3.19 earn a living at home, the earning satisfaction were at average by the means of 3.15 and the status acceptation were also at average by the means of 3.40. Most of them still keep good in touch with family and society (means=3.86) and have a lot of study opportunity in Bangkok. (Likert Scale)
3. According to the hypothesis test, 1. Most day-class senior students wanted to go back home after graduation. 2. Study opportunity in Bangkok was in negative at the level 0.01 . 3. There were 0.01 level of positive influence factors of moving back to home place, earning satisfaction (X4) and good relationship with family and society (X6). These three variables were at 38.00% with the following predicted :
equation : Y=2.127+0.692 (X4)+0.497(X6)-0.353(X7)
STUDENT’S INTENTION TO MIGRATE TO HOMETOWN
: A CASE STUDY OF RAJABHAT INSTITUTE
BANSOMDEJCHAOPRAYA STUDENTS.
AN ABSTRACT
BY
MISS NATTAPORN RODDARA
Presented in partial fulfillment of the requirements
For the Master of Arts (Social Sciences for Development)
At Rajabhat Institute Bansomdejchaopraya.
2002

Nattaporn Roddara. (2002). Student’s Intention to Migrate to Hometown
: A Case Studies of Rajabhat Institute Bansomdejchaopraya Students.
Advisor committee:
Associate Professor Dr. Nongluksana Thepsawasdi
Assistant Professor Boobpha Champresert
Assistant Professor Supitsawong Tampunta
The purpose is to study the senior student’s intentions and factors to go back to their hometown after graduation. 300 questionnaires were analyzed by SPSS/PC+, percentages, arithmetic means, standard deviation, test correlation and regression analysis.
The findings was as follows :
1. According to personal backgrounds, The students were in the Central part (51.3%), North East, South, West, East and North respectively. 71.0% were outside districts. The major samplings were at 2.50-2.99 (41.3%). The mean of special skills were 2.23.
2. According to the working expectation : The means of 3.19 earn a living at home, the earning satisfaction were at average by the means of 3.15 and the status acceptation were also at average by the means of 3.40. Most of them still keep good in touch with family and society (means=3.86) and have a lot of study opportunity in Bangkok. (Likert Scale)
3. According to the hypothesis test, 1. Most day-class senior students wanted to go back home after graduation. 2. Study opportunity in Bangkok was negative at the level 0.01 . 3. There were 0.01 level of positive influence factors of moving back to home place, earning satisfaction (X4) and good relationship with family and society (X6). These three variables were at 38.00% with the following predicted :
equation : Y=2.127+0.692 (X4)+0.497(X6)-0.353(X7)

ประกาศคุณูปการ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้สำเร็จลงได้ด้วยความรู้ที่ผู้ศึกษาได้รับประสิทธิประสาทจากคณาจารย์ สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา และอาจารย์จากภายนอก ขอกราบขอบพระคุณอาจารย์ทุกท่าน
ขอกราบขอบพระคุณคณะกรรมการวิทยานิพนธ์ รศ.ดร.นงลักษณ์ เทพสวัสดิ์ ประธานกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ ผศ.สุพิศวง ธรรมพันทา กรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ ผศ.บุปผา แช่มประเสริฐ กรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ ที่ให้ความกรุณารับเป็นคณะกรรมการวิทยานิพนธ์ ตลอดระยะเวลาที่ทำการศึกษาได้ให้คำแนะนำแนวทางในการศึกษาและเป็นผู้มอบกำลังใจให้กับ ผู้ศึกษามาตลอดระยะเวลาของการศึกษา ขอขอบคุณ ดร.รัชนี คุโณปการ ดร.เปรมสุรีย์ เชื่อมทอง และอาจารย์ทวีศักดิ์ จงประดับเกียรติ ที่กรุณาตรวจและให้คำแนะนำในการสร้างเครื่องมือวิจัย รวมถึงคำชี้แนะต่างๆ ทำให้วิทยานิพนธ์ฉบับนี้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ขอขอบพระคุณอาจารย์ที่ปรึกษานักศึกษาภาคปกติและอาจารย์ประจำวิชาทุกท่านที่กรุณาให้ความอนุเคราะห์ในการเก็บข้อมูลและนักศึกษาภาคปกติ ชั้นปีที่ 4 สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จ-เจ้าพระยา ทุกคนที่ให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถามที่นำมาประกอบการศึกษาครั้งนี้
ขอขอบคุณพี่ๆ เพื่อนๆ สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ให้คำแนะนำและให้การช่วยเหลือ ซึ่งถือเป็นน้ำใจแห่งมิตรภาพอันดีงาม ความมีน้ำใจและกำลังใจที่ได้รับเสมือนเป็นพลังใจในการทำงานให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
ที่สำคัญที่สุด ผู้ศึกษาขอกราบขอพระคุณคุณแม่ที่คอยให้กำลังใจและความอบอุ่น รวมทั้งทุนทรัพย์สนับสนุนตลอดการศึกษา จนทำให้วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เสร็จสมบูรณ์
ณัฐพร รอดดารา
สารบัญ
หน้า
ประกาศคุณูปการ …….……………………………………………………………………………………… ค
บทคัดย่อภาษาไทย ……………………………………….……………………………………..…………... ง
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ …………………………………….……………………………………..…………...ฉ
สารบัญ …………………………………………………………………………………………….…………… ซ
สารบัญตาราง ………………………………………………………………………………………….………. ญ
สารบัญแผนภาพ ………………………………………………………………………………………….…. ฎ
บทที่ 1 บทนำ
1.1 ความเป็นมาของปัญหา ………………………………………………………………………1
1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย …………………………………………………………………… 4
1.3 สมมติฐานการวิจัย …………………………………………………………………………… 4
1.4 ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย ……………………………………………………………… 4
1.5 ขอบเขตของการวิจัย ………………………………………………………………………… 5
1.6 ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย …………………………………………………………….………… 5
1.7 กรอบแนวคิดในการวิจัย ……………………………………..………………….………….. 6
1.8 นิยามศัพท์ ………………………………………………………………….……….………… 7
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2.1 แนวคิดเกี่ยวกับการย้ายถิ่น
2.1.1 แนวคิดของฟลูเลอร์ ………………………………………………………….……… 9
2.1.2 แนวคิดเกี่ยวกับค่านิยม ……………………………………….……………………10
2.1.3 แนวคิดเรื่องการย้ายถิ่นแบบ “วกกลับ” …………………….……….………… 11
2.1.4 แนวคิดกระแสไปและกระแสกลับ ……………………………….……….……… 13
2.1.5 แนวคิดเกี่ยวกับความผูกพันต่อพื้นที่ ……………………………………….……13
2.2 ทฤษฎีเกี่ยวกับการย้ายถิ่น
2.1.1 ทฤษฎีการตัดสินใจย้ายถิ่นในระดับจุลภาค ………………..….……………… 14
2.1.2 ทฤษฎีการย้ายถิ่นของราเวนสไตน์ ……………………………………………… 15
2.1.3 ทฤษฎีการย้ายถิ่นของลี ……………………………………………………...…… 16
2.1.4 ทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผล …………………………………………….……… 16
2.1.5 ทฤษฎีการเลือกเชิงเหตุผล ………………………………………..………………19

2.1.6 ทฤษฎีแรงจูงใจของมาสโลว์ ………………..…….…………...…………….……20
2.1.7 ทฤษฎีความคาดหวัง ……………………………..………………………….…… 20
2.3 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ………………………………………………………………….……… 21
สารบัญ (ต่อ)
หน้า
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง …………………………………..…………………………… 32
3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย …………………………………..……….………………………34
3.3 การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ …………………………………..…….….…………… 35
3.4 การเก็บรวบรวมข้อมูล …………………………………..……….…………………………36
3.5 การวิเคราะห์ข้อมูล …………………………………..……….…………………………..…37
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
4.1 การวิเคราะห์ข้อมูล …………………………………..……….……………………………..38
4.2 ผลการศึกษาข้อมูล
4.2.1 การวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคล …………………………………..…………………39
4.2.2 การวิเคราะห์ระดับความคาดหวังของปัจจัย ……………………..……..……… 42
4.2.3 การวิเคราะห์ระดับความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนา ……….…..……..……… 43
4.2.4 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับ
ความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนา ……………………..……..…………………… 44
บทที่ 5 สรุปและอภิปรายผล
5.1 ความมุ่งหมายของการศึกษา ……………………………………………….……..……… 48
5.2 วิธีดำเนินการวิจัย ……………………………………………………….…….……..………48
5.3 สรุปผลการศึกษาค้นคว้า …………………………………………………….……..………50
5.4 อภิปรายผล …………………………………………………………………….……..………51
5.5 ข้อเสนอแนะจากการวิจัย…………………………………………………….……..……… 56
5.6 ข้อเสนอแนะการทำวิจัยครั้งต่อไป ………………………………………….……..………57
บรรณานุกรม ……………………………………………………………………….………….……..………58
ภาคผนวก ……………………………………………………………………….……………..……..………65


สารบัญตาราง
หน้า
ตารางที่ 1 จำนวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่าง จำแนกตาม
สาขา ภูมิลำเนาเดิม อำเภอ คะแนนสะสม ………………………………………… 39
ตารางที่ 2 ค่าเฉลี่ยของระดับความสามารถพิเศษของนักศึกษา ……………………..……… 41
ตารางที่ 3 ค่าเฉลี่ยของระดับคาดหวังของปัจจัยที่ศึกษา ………………………………………42
ตารางที่ 4 ค่าเฉลี่ยของระดับความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาของนักศึกษา ………………43
ตารางที่ 5 วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัย
กับความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนา …………………………………………………44
ตารางที่ 6 ตารางก่อนปรับ วิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
ความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนา …………………………..…………………………45
ตารางที่ 7 ตารางวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
ความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนา …………………………………..…………………46

สารบัญแผนภาพ
หน้า
แผนภาพที่ 1 กรอบแนวคิดในการวิจัย ……………………………………………………..……….…6
แผนภาพที่ 2 แผนภูมิแสดงความสัมพันธ์ของตัวแปรตาม
ทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผล ………………………………………….……..……… 17
แผนภาพที่ 3 แผนภูมิแสดงกระบวนการของการตัดสินใจย้ายถิ่น ………………………..…… 26
บทที่ 1
บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
สืบเนื่องจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 และฉบับที่ 9 ที่มุ่งเน้นการให้ความสำคัญกับการพัฒนา “คน” ให้คนเป็น “ศูนย์กลางของการพัฒนา” คนไทยทุกคนมีโอกาสพัฒนาศักยภาพของตนเองทั้งทางร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา ให้มีความพร้อมที่จะรับกระแสการเปลี่ยนแปลงจากเศรษฐกิจยุคใหม่ได้อย่างรู้เท่าทันบนพื้นฐานความเป็นไทย ด้วยการให้โอกาสทางการศึกษาและลดช่องว่างด้านศักยภาพการจัดระบบการเรียนการสอนระหว่างในเมืองและในชนบท เพราะได้นำมาซึ่งเหตุและผลของการย้ายถิ่นที่สำคัญ ทั้งนี้ เนื่องจากสถานศึกษาชั้นสูงที่มีมาตรฐานดีรวมอยู่แต่ในกรุงเทพมหานคร และตามหัวเมืองใหญ่ๆ เยาวชนจำนวนไม่น้อยที่ต้องการความ กาวหน้าทางการศึกษาต้องย้ายถิ่นเข้ามาศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันส่วนกลาง ในแต่ะปีจะมีเด็กรุ่นหนุ่มสาวเป็นจำนวนมากที่อพยพออกจากภูมิลำเนาเดิมของตนเข้ามาในจังหวัดกรุงเทพมหานคร ด้วยเหตุที่ในภูมิลำเนานั้นไม่มีสาขาศึกษาที่จะสามารถสนองต่อความต้องการของตนได้ จึงทำการย้ายถิ่นเพื่อหาสถานศึกษาที่มีระดับสูงกว่าในเขตที่ตนอาศัยอยู่ ซึ่ง วิศิษฐ์ ประจวบเหมาะ (2527:26) ได้ทำการศึกษาเรื่อง “การย้ายถิ่นจากชนบทเข้าสู่เมืองของประเทศไทย” พบว่า การกระจายการศึกษาที่ไม่ได้สัดส่วนกันของประเทศ ทำให้ผู้ที่ต้องการจะได้รับการศึกษาที่ดีกว่าและสูงกว่าย้ายไปยังบริเวณที่มีสถานศึกษาสูงหรือดีกว่าถิ่นเดิมของตน และมักพบว่าบุคคลเหล่านี้ไม่ค่อยจะกลับถิ่นเดิมอันเป็นภูมิลำเนาของตนเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ที่มีโอกาสได้รับการศึกษาสูงส่งผลให้มีความต้องการย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาน้อยลง
อย่างไรก็ตาม ปรากฎการณ์การย้ายถิ่นเพื่อการศึกษาดังกล่าว ได้มีผู้ศึกษาถึงปัจจัยมูลเหตุ รวมถึงองค์ประกอบของการตัดสินใจย้ายถิ่น ดังเช่น แนวคิดของ เดอจองและฟอว์เซท (Dejong & Fawcett) มุคเฮอจี (Mukherji) (อ้างใน ณัฐจิรา รุจิตระการโชติกุล 2538:27-28) ได้นำปัจจัยทางจิตวิทยาเข้ามาเกี่ยวข้องในทฤษฎี “The mobility field theory of human spatial behavior” โดยอธิบายว่าการย้ายถิ่นต้องพิจารณาปัจจัย 3 ประการคือ คุณลักษณะประจำตัวของผู้ย้ายถิ่น การรับรู้ในความแตกต่างของอรรถประโยชน์ระหว่างแหล่งต้นทางและแหล่งปลางทาง และลักษณะการย้ายถิ่นซึ่งอาจจะเป็นการย้ายแบบไป-กลับ หรือย้ายถาวร สรุปได้ว่าพฤติกรรมการย้ายถิ่นจะปรากฎออกมาใน
2
ลักษณะใดนั้น ขึ้นอยู่กับความต้องการของครัวเรือน และขึ้นอยู่กับการรับรู้ในอรรถประโยชน์ทางสถานที่นั่นเอง และสอดคล้องกับแนวคิดของ โบกก์ (Bogue 1959) ที่เสนอว่า “โอกาสที่จะได้รับการศึกษาสูงตามที่คาดหวังนั้น ถือเป็นปัจจัยดึงดูดให้เกิดการย้ายถิ่น ซึ่ง ซูซาน โมวัท (Susan Mowat 1977:29) ได้ทำการศึกษาในปี พ.ศ.2520 เรื่องการศึกษากับการย้ายถิ่นเข้าสู่เมือง พบว่าสำหรับประเทศไทยนั้น ผู้ย้ายถิ่นใหม่ที่เข้าสู่กรุงเทพมหานคร มีการศึกษาระดับวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย ผู้ย้ายถิ่นที่มีพื้นฐานทางการศึกษาดีมีแนวโน้มที่จะย้ายถิ่นด้วยเหตุผล เพื่อการศึกษามากกว่าเหตุผลทางเศรษฐกิจหรือเหตุผลส่วนตัวอื่น และนอกจากนั้นยังพบว่าผู้ย้ายถิ่นเพื่อการศึกษามีทัศนคติที่ว่า “ผู้มีการศึกษาไม่ควรทำงานทุ่งนา” ถึงร้อยละ 60 กว่าครึ่งไม่ยอมรับความคิดที่ว่า “ผู้มีการศึกษาควรจะกลับท้องถิ่นเดิม” แต่กลับมีความคิดเห็นที่ว่าผู้มีการศึกษาควรจะย้ายถิ่นเข้าสู่เมือง และมีผู้ย้ายถิ่นถึงร้อยละ 90 ที่ตอบว่าในหมู่บ้านนั้นมีงานมากเพียงพอที่จะให้ผู้ได้รับการศกษาทำ ในที่สุดครึ่งต่อครึ่งของผู้ย้ายถิ่นเพื่อการศึกษา ยืนยันว่า “การศึกษาได้ทำให้พวกเขาไม่ใช่คนของท้องถิ่นอีกต่อไปแล้ว” สอดคล้องกับผลการศึกษาของ ชมภูนุช บุณยเนตร (2535:66) ที่ศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจในการย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาของ นักศึกษาปีสุดท้ายของมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปีการศึกษา 2531 พบว่ามีถึงร้อยละ 52.2 ที่ไม่ตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาเดิมหลังสำเร็จการศึกษา
จากแนวคิดและงานวิจัยของผู้ที่เคลื่อนย้ายดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่า การย้ายถิ่นจะมีอัตราการขยายตัวสูงในกลุ่มของผู้มีการศึกษาสูง และการย้ายถิ่นของบัณฑิตที่เคลื่อนย้ายเข้ามายังถิ่นที่มีโอกาสในการทำงานสูงกว่า ได้ค่าจ้างแรงงานที่ดีขึ้น และมีรายได้ดีกว่า ดังที่ อุทัย ดุลยเกษม (ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์) ได้กล่าวว่า “ถ้าหากมนุษย์มีทางเลือกหรือมีโอกาสในการเลือกก็จะเลือกทำงานที่ให้ผลตอบแทน “ที่มีค่า” สูงสุดในสังคมนั้นเสมอ” และการที่บัณฑิตส่วนใหญ่ไม่ยอมกลับภูมิลำเนาเดิม จึงเท่ากับเป็นการเคลื่อนย้ายทรัพยากรมนุษย์ที่มีการศึกษาออกไป ทำให้คุณภาพของประชากรที่เหลืออยู่ด้อยกว่าถิ่นอื่น ทำให้แหล่งต้นทาง ซึ่งหมายถึงภูมิลำเนาของบัณฑิตนั้นๆ อ่อนแอ ขาดกำลังคนที่มีความรู้/ความสามารถ ขาดผู้นำในการพัฒนาชนบทที่สำคัญไป เพราะหากผู้ย้ายถิ่นที่อยู่ในวัยหนุ่มสาว ไม่ประสงค์จะกลับ ภูมิลำเนาหลังสำเร็จการศึกษาแล้ว จะทำให้ท้องถิ่นต้นทางเหลือแต่ผู้สูงอายุ จากการประเมินของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2544:9) ที่ได้คาดการณ์ว่า โครงสร้างสังคมไทยจะเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและสังคมเมืองมากขึ้น กลุ่ม ผู้สูงอายุจะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 9.8 ในปี 2545 เป็น 10.7 ในปี 2549 ทำให้ประเทศไทยจะก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุอีก 15 ปีข้างหน้า ซึ่งจะส่งผลให้ด้อยประสิทธิภาพในการพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสังคมชนบทที่ต้องการพลังความสร้างสรรค์พลังของวัยหนุ่มสาวมาช่วยพัฒนาท้องถนชนบทให้สามารถช่วยตนเองได้
3
เป็นที่ทราบกันดีว่า ผู้นำชุมชนระดับหมู่บ้าน ผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ปรึกษากรรมการฝ่ายต่างๆ ในระดับหมู่บ้าน รวมถึงผู้นำกลุ่มส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาภาคบังคับ แม้จะบริหารจัดการสาธารณ-ประโยชน์ในหมู่บ้านได้ด้วยแรงศรัทธาของชาวบ้าน แต่ก็ยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่สลับ ซับซ้อนมากๆ รวมถึงความสามารถในการประสานงานของผู้นำชุมชนเหล่านี้กับภาครัฐบาลมีขอบเขตจำกัด จึงไม่สามารถใช้ระบบของสังคมให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาชุมชนได้อย่างเต็มที่ (ชมภูนุช บุณยเนตร 2535:2)
อย่างไรก็ตามการที่บัณฑิตส่วนใหญ่ไม่ยอมกลับภูมิลำเนาเดิมนั้น ทำให้ท้องถิ่นเดิมขาดกำลังคนที่มีความรู้ ความสามารถ ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาท้องถิ่นนั้น เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่ากำลังสมอง (Bran power) คือปัจจัยสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาในทุกๆ ด้าน ในทุกๆ ระดับของชุมชน ไม่ว่าจะเป็นในระดับประเทศ จังหวัด อำเภอ และระดับหมู่บ้าน (สมหมาย วันสอน 2531:4) ซึ่งในประเทศไทยยังมีพื้นที่ที่พัฒนาอยู่ในระดับล้าหลังอีกมาก แต่ก็ยังมีผู้ย้ายถิ่นออกจากหมู่บ้านด้วยความแห้งแล้งและการขาดแคลนทรัพยากรท้องถิ่น โดยเฉพาะพวกที่สำเร็จการศึกษาสูงที่ไม่กลับภูมิลำเนาของตน ทำให้ชนบทขาดทั้งกำลังคนและกาลังสมองในการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยิ่ง จากสภาพปัญหาดังกล่าวจึงมี ความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อการแสวงหาแนวทางหรือกำหนดมาตรการเพื่อจูงใจให้กลุ่มนักศึกษาให้ย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาเดิมของตนภายหลังสำเร็จการศึกษา
การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาของนักศึกษาในระยะที่ผ่านมาเป็นการศึกษาในสภาวะการณ์ปกติ หากเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ที่ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวาง หลังจากภาวะค่าเงินบาทลอยตัว ผู้ประกอบการประสบปัญหาด้านธุรกิจอย่างรุนแรงจนไม่สามารถปรับตัวรับสถานการณ์ได้ทันท่วงที ส่งผลถึงการเลิกจ้างแรงงานหรือปิดกิจการในวงกว้าง (วงจันทร์ ตั้งทรงศักดิ์ 2545:4) ซึ่งมีผลทำให้สภาวะการณ์ของประเทศเปลี่ยนแปลงไป เกิดการว่างงาน และการคืนถิ่นของแรงงาน และจากการสำรวจผลการดำเนินธุรกิจในปี 2544 เปรียบเทียบกับก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ โดยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยและหอ-การค้าไทย พบว่าธุรกิจส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 58.4 มีผลการดำเนินธุรกิจเลวลง (ยาใจ ชูวิชา 2545:19) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่อาจจะส่งผลให้นักศึกษาอาจจะมีความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาเปลี่ยนไปจากเดิม รวมถึงตัวแปรต่างๆ ที่สัมพันธ์กับความตั้งใจ อาจมีการเปลี่ยนแปลงจากการวิจัยเดิม ผู้วิจัยจึงมีความสนใจและต้องการศึกษาความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาของนักศึกษาภายหลังเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจของประเทศ
ทั้งนี้ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาเป็นสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ที่ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิตในสาขาต่างๆ ตลอดจนทำหน้าที่พัฒนาท้องถิ่น ให้การศึกษาวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง ทำการวิจัย ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม โดยมีเป้าหมายหลักในการมุ่งผลิตบัณฑิตที่มีศักยภาพ
4
ออกไปประกอบอาชีพต่างๆ ดังนี้ บัณฑิตจึงถูกคาดหวังให้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาภูมิลำเนาของตน ผู้วิจัยจึงเกิดความสนใจศึกษาความตั้งใจกลับภูมิลำเนาของนักศึกษาสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จ-เจ้าพระยาและปัจจัยสนับสนุนให้นักศึกษากลับภูมิลำเนาเดิม ตลอดจนแนวทางเพิ่มแรงจูงใจที่สามารถดึงดูดให้นักศึกษากลับภูมิลำเนามากขึ้น
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ตั้งความมุ่งหมายไว้ดังนี้
1. ศึกษาความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาของนักศึกษา ภาคปกติ ชั้นปีที่ 4 สถาบันราชภัฏ-บ้านสมเด็จเจ้าพระยา
2. ศึกษาถึงปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาของนักศึกษา ภาคปกติ ชั้นปีที่ 4 สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
สมมุติฐานของการวิจัย
1. นักศึกษาภาคปกติ ชั้นปีที่ 4 สถาบันราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยามีระดับความตั้งใจ ย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาต่ำ
2. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางลบต่อความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาของนักศึกษา ได้แก่
2.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา
2.2 ความสามารถพิเศษ
2.3 โอกาสทางการศึกษาต่อในกรุงเทพฯ
3. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกต่อความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาของนักศึกษา ได้แก่
3.1 โอกาสในการประกอบอาชีพในภูมิลำเนา
3.2 ระดับรายได้ที่น่าพอใจในภูมิลำเนา
3.3 การได้รับการยอมรับสถานภาพทางสังคมในภูมิลำเนา
3.4 ความผูกพันต่อครอบครัวและชุมชน
ประโยชน์ที่จะได้รับจากการวิจัย
5
1. เป็นข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับระดับความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนา และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาของนักศึกษาภาคปกติ ชั้นปีที่4 สถาบันราชภัฏ- บ้านสมเด็จเจ้าพระยา มาใช้เป็นแนวทางให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำไปศึกษาหนทางเพิ่มแรงจูงใจในท้องถิ่นที่สามารถดึงดูดให้นักศึกษากลับภูมิลำเนา
2. ใช้เป็นแนวทางในการศึกษาวิจัยด้านอื่น หรือกลุ่มอื่นๆ เกี่ยวกับความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 และระดับอื่นๆ ต่อไป
ขอบเขตของการวิจัย
ผู้วิจัยจะดำเนินการศึกษากลุ่มประชากรที่เป็นนักศึกษาภาคปกติชั้นปีที่ 4 ซึ่งเป็นผู้มีภูมิลำเนาอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่กำลังศึกษาในปีการศึกษา 2545 ของสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย
ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย
1. ตัวแปรต้น แบ่งออกได้ดังนี้
1.1 ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่
1.1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา
1.1.2 ความสามารถพิเศษ
1.2 ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ได้แก่
1.2.1 โอกาสในการประกอบอาชีพในภูมิลำเนา
1.2.2 ระดับรายได้ที่น่าพอใจในภูมิลำเนา
1.2.3 การได้รับการยอมรับสถานภาพทางสังคมในภูมิลำเนา
1.2.4 โอกาสทางการศึกษาต่อในกรุงเทพฯ
1.3 ปัจจัยทางสังคม
1.3.1 ความผูกพันต่อครอบครัวและชุมชน
2. ตัวแปรตาม คือ ความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนา
3. ตัวแปรควบคุม ได้แก่
3.1 ระดับการศึกษา
3.2 การมีภูมิลำเนานอกเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล
จึงกำหนดกรอบแนวคิดการวิจัย ดังต่อไปนี้
กรอบแนวคิดการวิจัย
ตัวแปรต้น
ปัจจัยส่วนบุคคล
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา
2. ความสามารถพิเศษ
ปัจจัยเศรษฐกิจ
3. โอกาสในการประกอบอาชีพในภูมิลำเนา
4. ระดับรายได้ที่น่าพอใจในภูมิลำเนา
5. การได้รับการยอมรับสถานภาพทางสังคมในภูมิลำนา
6. โอกาสทางการศึกษาต่อในกรุงเทพฯ
ความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนา
ปัจจัยทางสังคม
7. ความผูกพันต่อครอบครัวและชุมชน
ตัวแปรตาม
แผนภาพที่ 1 กรอบแนวคิดการวิจัย
2
นิยามศัพท์
นักศึกษา หมายถึง นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ภาคปกติ ปีการศึกษา 2545 ของสถาบันราชภัฏ- บ้านสมเด็จเจ้าพระยาที่มีภูมิลำเนาอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานครและปริมลฑล
ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา หมายถึง คะแนนเฉลี่ยสะสมที่นักศึกษาได้รับตั้งแต่เริ่มศึกษาจนถึงปัจจุบัน
ความสามารถพิเศษ หมายถึง ความสามารถอื่นๆ ที่เอื้อประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพที่นอกเหนือจากหลักสูตรในสถาบันการศึกษา
โอกาสในการประกอบอาชีพในภูมิลำเนา หมายถึง ความคาดหวังของนักศึกษาที่ปรารถนาจะมีแหล่งงานหรืออาชีพรองรับในภูมิลำเนา
ระดับรายได้ที่น่าพอใจในภูมิลำเนา หมายถึง ความคาดหวังของนักศึกษาที่จะได้รับรายได้ที่พึงพอใจจากการประกอบอาชีพในภูมิลำเนา
การได้รับการยอมรับสถานภาพทางสังคมในภูมิลำเนา หมายถึง ความคาดหวังของนักศึกษาที่จะได้รับการยอมรับการยกย่อง ชื่นชม และเป็นที่ยอมรับนับถือจากคนในชุมชมในภูมิลำเนา
โอกาสทางการศึกษาต่อในกรุงเทพฯ หมายถึง โอกาสของนักศึกษาที่จะเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้นในกรุงเทพฯ
ความผูกพันต่อครอบครัวและชุมชน หมายถึง ความรู้สึกอยากใกล้ชิดและอยากเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวและชุมชนในถิ่นภูมิลำเนา
ความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนา หมายถึง ความตั้งใจจดจ่อหรือแนวโน้มในอนาคตที่ นักศึกษาจะย้ายถิ่นกลับไปดำรงชีวิตในภูมิลำเนาเดิมของนักศึกษา
นิยามเชิงปฏิบัติการ
ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา หมายถึง ระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมที่นักศึกษาได้รับตั้งแต่เริ่มศึกษาจนถึงปีการศึกษา 2545
ความสามารถพิเศษ หมายถึง ระดับคะแนนที่วัดความสามารถอื่นๆ ที่เอื้อประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพ ที่นอกเหนือจากหลักสูตรในสถาบันการศึกษา
ภูมิลำเนาเดิมของศึกษา หมายถึง สถานที่ที่นักศึกษาอยู่ก่อนจะย้ายถิ่นเข้ามาศึกษาต่อในกรุงเทพฯ ซึ่งจำแนกออกเป็น 6 ภาค ดังนี้
1. ภาคกลาง ประกอบด้วยจังหวัด กำแพงเพชร ชัยนาท นครปฐม นครนายก นครสวรรค์ พระนครศรีอยุธยา พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ ลพบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระบุรี สิงห์บุรี สุโขทัย สุพรรณบุรี อ่างทอง อุทัยธานี
2. ภาคตะวันตก ประกอบด้วยจังหวัด กาญจนบุรี ตาก ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี
3
3. ภาคตะวันออก ประกอบด้วยจังหวัด จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด ปราจีนบุรี ระยอง สระแก้ว
4. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วยจังหวัด กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ อุดรธานี อุบลราชธานี
5. ภาคใต้ ประกอบด้วยจังหวัด กระบี่ ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส ปัตตานี พังงา พัทลุง ภูเก็ต ยะลา ระนอง สงขลา สตูล สุราษฎร์ธานี
6. ภาคเหนือ ประกอบด้วยจังหวัด เชียงราย เชียงใหม่ น่าน พะเยา แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน อุตรดิตถ์
โอกาสในการประกอบอาชีพในภูมิลำเนา หมายถึง ค่าคะแนนที่วัดความคาดหวังของนักศึกษาที่จะมีโอกาสได ้รับงานที่ตรงตามความต้องการของนักศึกษาในภูมิลำเนา
ระดับรายได้ที่น่าพอใจในภูมิลำเนา หมายถึง ระดับความคาดหวังที่จะได้รับระดับรายได้ พึงพอใจจากการประกอบอาชีพในภูมิลำเนา
การได้รับการยอมรับสถานภาพทางสังคมในภูมิลำเนา หมายถึง ค่าคะแนนที่วัดความคาดหวังของนักศึกษาที่จะได้รับการยอมรับนับถือจากคนในชุมชม เมื่อกลับไปอยู่ในภูมิลำเนา
โอกาสทางการศึกษาต่อในกรุงเทพฯ หมายถึง ค่าคะแนนที่วัดความคาดหวังของนักศึกษาที่จะศึกษาต่อในโอกาสข้างหน้า
ความผูกพันต่อครอบครัวและชุมชน หมายถึง ค่าคะแนนที่วัดความรัก ความเอาใจใส่ใกล้ชิด และสำนึกดูแลช่วยเหลือครอบครัวและชุมชนของนักศึกษา
ความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนา หมายถึง ค่าคะแนนที่วัดความเอาใจใส่จดจ่อที่จะไปดำรงชีวิตในภูมิลำเนาเดิมของนักศึกษา
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และได้นำเสนอตามหัวข้อ ดังต่อไปนี้
ส่วนที่ 1 แนวคิดเกี่ยวกับการย้ายถิ่น
ส่วนที่ 2 ทฤษฎีเกี่ยวกับการย้ายถิ่น
ส่วนที่ 3 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ส่วนที่ 1 แนวคิดเกี่ยวกับการย้ายถิ่น
การย้ายถิ่นโดยทั่วไปแล้ว หมายถึง การที่บุคคลที่อยู่อาศัยจากถิ่นเดิมที่เคยอยู่ไปอาศัยอยู่ในถิ่นใหม่ ได้มีผู้ให้คำจำกัดความของการย้ายถิ่นไว้มากมาย ดังนี้
ไอเซนสเตท (Eisanstadt 1953:1 อ้างใน เนาวรัตน์ พลายน้อย 2529:41) กล่าวถึง การย้ายถิ่นว่าเป็นการเคลื่อนย้ายทางกายภาพของบุคคล หรือกลุ่มบุคคลจากสังคมหนึ่ง ไปสู่อีกสังคมหนึ่ง การเคลื่อนย้ายนี้มักจะทำให้บุคคลต้องทิ้งสภาพสังคมแบบหนึ่งเข้าไปสู่สังคมอีกแบบหนึ่ง
เอฟเวร์เวท เอส ลี (Lee 1966:44 อ้างใน ปราโมทย์ ประสาทกุล 2522: 165) กล่าวว่า การย้ายถิ่นเป็นการเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัยอย่างถาวรหรือกึ่งถาวร ไม่มีข้อจำกัดอื่นใด เกี่ยวกับลักษณะของความสมัครใจหรือไม่สมัครใจในการเคลื่อนย้ายนั้น
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ (2535:74) ให้ความหมายทางการย้ายถิ่นว่า คือการโยกย้ายที่อยู่อาศัยของบุคคลจากท้องถิ่นหนึ่งไปสู่อีกท้องถิ่นหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นการย้ายในลักษณะที่ถาวร คือย้ายไปเพื่อทำมาหากินตลอดชีพหรือย้ายไปอยู่ในลักษณะกึ่งถาวร หรืออาจมีการย้ายต่อไปอีกก็ได้ การย้ายถิ่นอาจจะเป็นไปด้วยความสมัครใจหรือความจำเป็นก็ได้
จากความหมายการย้ายถิ่นที่กล่าวมา พอสรุปได้ว่า การย้ายถิ่นคือ การเคลื่อนย้าย ที่อยู่อาศัยข้ามเขตการปกครองหนึ่งไปสู่เขตการปกครองหนึ่ง ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง โดยอาจจะใช้ระยะทาง ระยะเวลา หรือวัตถุประสงค์ของการเคลื่อนย้ายเป็นเกณฑ์ในการกำหนด และจากความหมายดังกล่าวนี้เอง ทำให้สามารถให้คำจำกัดความ การย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาเดิม คือ การตัดสินใจเคลื่อนย้ายของประชากรกลับภูมิลำเนาเดิม โดยมีการเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัยจากเดิม และการเปลี่ยนแปลงนี้ต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อการประกอบอาชีพ และเป็นไปด้วยความสมัครใจเป็นสำคัญ
แนวคิดของฟูลเลอร์ (Fuller)
10
ฟูลเลอร์ และผู้ร่วมงาน (Fuller et al 1983:92-122 อ้างใน สุกัญญา ทองทรง 2531:24) ได้ร่วมกันเสนอรูปแบบของการเลือกในกระบวนการตัดสินใจ (alternative model of the processes) เพื่ออธิบายถึงความคาดหวังของผู้ย้ายถิ่นที่มีแรงกระตุ้นจากความปรารถนาในการที่จะปรับปรุงตนเองในด้านสวัสดิการทางวัตถุให้ดีขึ้น จุดเน้นของรูปแบบดังกล่าว ได้แก่ ความแตกต่างทางด้านวัตถุระหว่างเมืองกับชนบท อันเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความปรารถนาที่จะย้ายถิ่น
แนวคิดเกี่ยวกับค่านิยม
สมเกียรติ ชอบผล (2529:45) กล่าวว่า โดยทางทฤษฎีแล้วค่านิยม หมายถึง แนวคิด แนวทางปฏิบัติต่างๆ ที่คนในสังคมมีความรับผิดชอบ เลือกหรือยึดถือกันเอามาเป็นเครื่องกำหนดพฤติกรรมทางสังคม ทฤษฎีนี้อธิบายผลของการเข้าสู่กำลังแรงงานในรูปของการว่างงานว่าเนื่องมาจาก ลักษณะความช่างเลือกของบุคคล ค่านิยมต่องานและสภาพแวดล้อมในสังคมสิ่งเหล่านี้บุคคลมีเงื่อนไขในการทำงาน โดยที่มักมุ่งหวังทำงานที่ถือว่าสบาย และมีเกียรติ
มายดาล (Myrdal 1968:962 อ้างใน ชมภูนุช บุณยเนตร 2535:17) ได้กล่าววิจารณ์ว่า เหตุผลอนหนึ่งที่ทำให้ชาวเอเซียเรียนกันในระดับสูงๆ แล้วยังว่างงานกันอยู่อีก เพราะเขามัวแต่คิดเรื่องศักดิ์ศรี คือต้องเรียนให้จบมหาวิทยาลัยเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นด้านกฎหมาย ศิลป หรือรัฐศาสตร์ โดยไม่คำนึงถึงว่าจะมีงานทำหรือไม่ หลังจากที่เขาได้รับปริญญาไปแล้วก็จะเลือกงานทำที่สะดวกสบาย ไม่ต้องทำงานที่ใช้แรงกาย
สมเกียรติ ชอบผล (2529:56) กล่าวว่า ในประเทศไทยนั้นการศึกษาในโรงเรียน เป็นการศึกษาที่สร้างให้คนเป็นคนดี มีศีลธรรม มีความคิด และมักถูกมองว่าเป็นแนวทางไปสู่การทำงานที่มีรายได้ดี นอกจากนั้นยังมีสาเหตุอีกประการหนึ่ง คือทัศนคติและค่านิยมในทางสังคมต้องการให้บุตรหลานได้รับการศึกษา เพื่อเชิดชูหน้าตาวงศ์ตระกูล ผู้ปกครองจึงพยายามหาโรงเรียนที่มีชื่อเสียงให้ลูกเรียนและพยายามให้เรียนสูงๆ โดยไม่คำนึงถึงความสามารถและความถนัด โดยเฉพาะผู้ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมสูงบางกลุ่มนิยมส่งบุตรหลานไปเรียนต่อต่างประเทศ เมื่อสอบเข้าเรียนภายในประเทศไม่ได้ นับเป็นการเน้นศักดิ์ศรีกันมากกว่ามุ่งหวังถึงการมีงานทำ ส่วนผู้ปกครองที่อาศัยอยู่ในชนบทก็นิยมส่งบุตรหลานเข้าเรียนโรงเรียนชั้นสูงในเมือง เพื่อจะได้มีความก้าวหน้าได้เลื่อนฐานะทางสังคม มีลูกน้อยมากที่จะดำเนินงานต่อจากบิดามารดา เมื่อจบการศึกษาแล้ว
จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่า การปลูกฝังค่านิยมทั้งจากพ่อแม่ ผู้ปกครอง รวมทั้งการศึกษาที่เด็กๆ ได้รับอยู่นั้น ย่อมมีอิทธิพลต่อการเลือกงานหรือเลือกอาชีพอย่างมาก แนวคิดเช่นนี้จึงสามารถให้คำตอบได้ว่า เพราะเหตุใดบุตรหลานนายทุนและเจ้าของกิจการธุรกิจขนาดใหญ่ กลับมานิยมรับราชการทั้งๆที่ต้องการวุฒิทางการศึกษาสูงแต่มีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจต่ำ คำตอบในกรณีนี้เป็นเรื่องที่ชัดเจนว่าเป็นแรงจูงใจ และค่านิยมทางสังคมที่จะช่วยให้บุคคลเหล่านี้ได้รับการยอมรับนับถือในสังคมมากขึ้นไปอีก (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ 2527:86) ซึ่งแนวคิดเกี่ยวกับอาชีพรับราชการนั้นเป็นสิ่งที่พึงปรารถนาของตน เพราะเป็นเครื่องมือที่ดีที่สุดที่จะนำไปสู่สิ่งที่ดีของชีวิต แต่ต่อมานานๆ เข้า อาชีพรับราชการได้เปลี่ยนฐานะจากเป็น
11
เครื่องมือมาเป็นสัญลักษณ์ ดังที่ วิทย์ วิศทเวทย์ (2526:28) กล่าวว่า การรับราชการได้กลายเป็นเครื่องหมายของความสูงส่ง ในสังคมกสิกรรมชนชั้นกลางจะไม่มี มีแต่ชนชั้นสูงกับชนชั้นต่ำ คนชั้นสูงประกอบด้วยข้าราชการและนายจ้าง คนชั้นต่ำได้แก่ ไพร่และทาส พวกหลังใช้แรงงาน พวกแรกใช้สมอง พวกหลังทำตามคำสั่งในขณะที่พวกแรกเป็น ผู้ออกคำสั่ง จึงมิใช่ของแปลกอะไรที่คนจะฝังใจว่า ราชการเป็นสิ่งสูงส่ง ดังนั้น อาชีพรับราชการนอกจากจะมีค่าทางคุณธรรม คือ ให้ความคิดกินดีอยู่ดีแล้ว ยังมีค่าทางนามธรรมอีกด้วย แม้ปัจจุบันก็ยังมีคนเป็นจำนวนไม่น้อยที่ยังยึดค่าทางนามธรรมของอาชีพอยู่ เขาเลือกที่จะรับราชการแม้ว่าจะมีรายได้น้อยกว่าอาชีพอื่น แต่คนที่คิด เช่นนี้จะน้อยลงถ้าสังคมมีงานอื่นที่ให้ผลตอบแทนกว่าทางรูปธรรม
จากที่กล่าวมาแสดงให้เห็นว่าการย้ายถิ่นเพื่อการศึกษาของนักศึกษามีผลทำให้นักศึกษาเปลี่ยนแปลงค่านิยมของตนเองแทบทุกๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านความคาดหวังในการประกอบอาชีพรับราชการ และควรมีสถานภาพทางเศรษฐกิจดี ดังนั้นจึงมีผลให้นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาแล้วมีการย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาน้อยมาก ส่วนใหญ่จะหางานทำอยู่ในสังคมเมือง
แนวคิดเรื่องการย้ายถิ่นแบบ “วกกลับ” (The turnaround migration)
วิยุทธ์ จำรัสพันธ์ (2531:20-26 อ้าง ในประชา ตังควัฒนา 2536:27) ได้อธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศอเมริกา ซึ่งมีความคล้ายคลึงกันในเรื่องการย้ายเข้าสู่ชุมชนเมืองอย่างมากมายของผู้คนจากชนบท แต่เมื่อปี ค.ศ. 1970 เป็นต้นมาได้เกิดปรากฏการณ์ในลักษณะตรงกันข้ามกล่าวคือ มีลักษณะที่ประชากรจากชุมชนเมืองย้ายเข้าสู่ชนบทเพิ่มมากกว่าจำนวนของ ผู้ย้ายถิ่นเข้าสู่ตัวเมือง ซึ่งการย้ายถิ่นในลักษณะนี้อาจจะถือว่าเป็นการย้ายถิ่นแบบ “วกกลับ” ในขณะที่งานศึกษาวิจัยของ Beale (1975:6) ได้แสดงให้เห็นว่าในช่วงปี ค.ศ. 1970-1973 จำนวนประชากรที่เคาตี้ (county) (county เป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นระดับรองจาก มลรัฐนั่นคือ ในมลรัฐหนึ่งๆ จะแบ่งเป็นหลายเคาตี้ที่อยู่นอกเขตนครหลวง) ได้เพิ่มจำนวนขึ้นเนื่องจากการย้ายเข้าถึงร้อยละ 2.9 เป็นที่สังเกตว่าเคาตี้ที่อยู่ห่างไกลจากเขตนครหลวงกลับมีอัตราเพิ่มร้อยละ 3.7 นอกจากนี้ โพสตันและโคล์แมน (Poston and Coleman 1983:436-446) พบว่าในบรรดาเคาตี้ จำนวน 1,896 เคาตี้ ที่สูญเสียประชากรอันเนื่องมาจากการย้ายถิ่นออกจากซึ่งปี ค.ศ. 1960-1970 นั้นมีจำนวนถึง 1,073 เคาตี้ ที่มีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นอันเนื่องจากอิทธิพลของการย้ายถิ่นแบบวกกลับ ในช่วงปี ค.ศ. 1970-1973
อย่างไรก็ตามนับแต่ปี ค.ศ. 1980 เป็นต้นมา แนวโน้มการย้ายถิ่นเริ่มหันเหเข้าสู่กระแสเดิมอีก กล่าวคือ จำนวนประชากรของเขตเมืองหลวงเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงกว่าอัตราเพิ่มทาง ประชากรในเขตนอกนครหลวงเล็กน้อย
ในขณะที่นักประชากรศาสตร์หลายท่านให้ความสนใจเกี่ยวกับปัจจัยทางเศรษฐกิจสังคม ที่เป็นตัวดึงดูดและผลักดันให้เกิดการย้ายถิ่นเข้าสู่เขตเมือง เหตุผลใหญ่ได้แก่ เหตุผลทางเศรษฐกิจเป็นหลัก เช่น ภาวะการว่างงาน การมีตำแหน่งที่มากกว่าในเขตเมือง การมีโอกาสได้งานมากกว่า ซึ่งเมื่ออธิบายถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดการย้ายถิ่นแบบ “วกกลับ” ก็เช่นเดียวกัน แต่แตกต่าง
12
กันตรงที่ปัจจัยทางเศรษฐกิจมิใช่ปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์ โดยพอที่จะสรุปได้ดังนี้ (ประชา ตังควัฒนา 2536:27)
1) การปรับปรุงระบบคมนาคมขนส่งภายในประเทศที่สะดวกสบายขึ้น ทำให้ประชาชนโยกย้ายได้สะดวกง่ายขึ้นแม้จะเป็นเขตที่อยู่ห่างไกลจากเมืองหลวง การติดต่อหรือการเดินทางตลอดจน การบริการด้านต่างๆก็ไม่แตกต่างกับที่ประชาชนที่อยู่ในเขตนครหลวงได้รับ ดังนั้น เพื่อความสะดวกสบายในเรื่องดังกล่าวนี้เป็นปัจจัยที่เอื้ออำนวยให้เกิดการย้ายถิ่นแบบ “วกกลับ” ในแง่นี้ คล้ายคลึงกับ Anderson (1974:27) ที่เสนอแนวคิดเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมซึ่งประกอบด้วยปัจจัยภายนอก เช่น การปรับปรุงระบบคมนาคมขนส่ง การปรับปรุงด้านเทคโนโลยีจะทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายทางประชากรสะดวกและง่ายขึ้น
2) เหตุผลทางเศรษฐกิจยังคงความสำคัญในการตัดสินใจย้ายถิ่นจากตัวเมือง เข้าสู่ชนบท ทั้งนี้ เป็นผลจากการที่มีการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมเข้าไปในเขตชนบท ทำให้เกิดเป็นแหล่งหนึ่งนอกเขตตัวเมือง จึงเป็นแรงดึงดูดในประชาชนย้ายถิ่นเข้าสู่ชนบทเพื่อหางานทำ (Browles 1987:15-22) และจากการศึกษาของ sofranko และ Williams (1980:45-66) พบว่าร้อยละ 35 ของผู้ย้ายถิ่นจากตัวเมืองเข้าสู่ชนบทจะให้เหตุผลที่เกี่ยวข้องกับการหางานทำในการตัดสินใจย้ายถิ่น
3) เหตุผลที่เกี่ยวกับคุณภาพชีวิต กล่าวคือ สภาวะทางสภาพแวดล้อมของเขตเมือง เช่น มลภาวะเป็นพิษ การจราจรที่ติดขัด ความแออัด ภาระค่าครองชีพที่สูง ปัญหาอาชญากรรม ฯลฯ ซึ่งนับวันจะทวีขึ้นเป็นจำนวนมากในเขตเมือง จะเป็นปัจจัยผลักดันในประชากร โดยเฉพาะผู้ที่ตระหนักถึงในเรื่องคุณภาพชีวิตย้ายถิ่นออกจากตัวเมืองสู่ชนบทเนื่องจากสภาพสิ่งแวดล้อมของชนบทที่เรียบง่ายจะเป็นปัจจัยที่ดึงดูดให้มีการย้ายถิ่นเข้า และเป็นสิ่งที่ให้ผู้ย้ายถิ่นพึงปรารถนา (Safranko and Williams, 1986:46) นอกจากนี้ การมีทัศนคติที่ต่อต้านภาวะความเป็นเมือง จะเป็นตัวเร่งให้ผู้ที่ย้ายถิ่นออกจากสังคมเมืองเพื่อไปตั้งถิ่นฐานในเขตสังคมชนบท จากการศกษาของ Dillman (1973) Beale (1975) และ Ilvinto กับ Luloff (1982 อ้างใน ณัฐจิรา รุจิ-ตระการโชติกุล 2538:30) ได้ข้อสรุปตรงกันว่าถ้าสามารถเลือกได้ประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองมีแนวโน้มที่จะชอบการอาศัยในเขตสังคมชนบทมากกว่า อย่างไรก็ตามปัจจัยนี้จะมีผลต่อการตัดสินใจย้ายถิ่นออกไปสู่สงคมชนบทมากน้อยเพียงไร ขึ้นอยู่กับการที่ประชากรจะมีความอดทนต่อความบีบคั้นของสภาพแวดล้อมในตัวเมืองได้มากน้อยเพียงใด และการมองเห็นว่าจะได้ สภาพแวดล้อมและการดำเนินชีวิตที่ดีกว่าถ้าย้ายถิ่นไปสู่ชนบท
4) การเกษียณอายุจากการทำงาน เงินสวัสดิการที่ได้รับน้อยลงภายหลังจากการเกษียณอายุการทำงาน ดังนั้นการย้ายถนไปยังสังคมชนบทจึงเป็นทางออกที่เหมาะสมเพราะการครองชีพต่ำกว่า นอกจากนี้ผู้ย้ายถิ่นที่เป็นผู้เกษียณอายุบางส่วนที่ยังมิได้มีปัญหาจากการที่มีรายได้ลดลง จะย้ายถิ่นเข้าสู่ชนบทเพราะต้องการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่สงบในบั้นปลายชีวิต ประชากรส่วนนี้มักจะมีฐานะที่ดี และอาจชื่นชอบชุมชนชนบทแห่งหนึ่งแห่งใดเป็นพิเศษ ซึ่งมีการตระเตรียมที่อยู่อาศัยไว้ก่อนแล้ว
13
5) การย้ายถิ่นกลับถิ่นฐานเดิม เป็นอีกส่วนหนึ่งของสาเหตุที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์การย้ายถิ่น “วกกลับ” ได้แก่ ประชากรที่ย้ายถิ่นเข้าสู่ตัวเมือง เพื่อหางานทำ แต่อาจเป็นด้วยเหตุผลหนึ่งใดที่บุคคลเหล่านี้อาจถูกปลดออกจากงาน ถูกพักงาน หรือหางานทำไม่ได้ จึงย้ายถิ่นกลับสู่ถิ่นฐานเดิม
6) เหตุผลทางจิตวิทยา วิเคราะห์การย้ายแบบ “วกกลับ” เป็นพฤติกรรมร่วมกับการมองเห็นนี้เสนอโดย แคมเพล และการ์โควิคดร์ (Campell and Garkovich 1984:89-105) ซึ่งเห็นว่าการย้ายถิ่นแบบวกกลับนี้ เป็นขบวนการสังคมที่เป็นขั้นตอนและความต่อเนื่องกัน ได้แก่
6.1) ภาวะโครงสร้างที่เอื้ออำนวย เช่น ระบบคมนาคมการขนส่ง การติดต่อสื่อสารที่สะดวกสบายและการมองเห็นลู่ทางที่จะหางานทำในที่นั้นๆ ด้วย
6.2) ชั้นประเมินอุปสรรคทางโครงสร้าง ซึ่งบุคคลจะเริ่มประเมินผลดีและผลเสียของการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมเมืองและชนบท แต่ในชั้นนี้มีความคิดเกี่ยวกับชีวิตในสังคมทั้งสองยังไม่กระจ่างชัด
6.3) การแพร่กระจายของความเชื่อเกี่ยวกับวิถีชีวิตในสังคมชนบท โดยผ่านทาง สื่อสารมวลชน
6.4) ประชากรเริ่มรวบรวมความคิดและเห็นว่าวิถีชีวิตในสังคมชนบทเป็นทางเลือกที่เป็นความจริง ชั้นนี้เรียกว่า การหลอมตัวเพื่อกระทำ
แนวคิดกระแสไปและกระแสกลับ (Stream and Counterstream)
จากทฤษฎีการย้ายถิ่นของลี (Lee 1966 อ้างใน ประชา ตังควัฒนา 2536:30-31) ซึ่งได้พัฒนาแนวคิดต่อเนื่อง จากแนวคิดของราเวนสไตน์ และมีส่วนเพิ่มเติมใหม่ สรุปสาระที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1) การย้ายถิ่นน่าจะเกิดขึ้นอย่างมากมายในกระแสที่กำหนดไว้ชัดเจน เช่น จากชนบทเข้าสู่เมืองหลัก แล้วจึงเข้าสู่เมืองใหญ่หรือเมืองหลวง
2) กระแสการย้ายถิ่นที่สำคัญทุกกระแสจะเกิดกระแสกลับขึ้น เช่น จะมีผู้ย้ายถิ่นกลับ เมื่อไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ หรือการกลับเพราะปัจจัยที่เป็นข้อดีของจุดหมายที่สำคัญน้องลงหรือหมดไป
3) การย้ายถิ่นสุทธิจะสัมพันธ์โดยตรงกับปัจจัยลบที่อยู่ในถิ่นต้นทาง นั่นคือ ปัจจัยผลักดันในต้นทางจะมีความสนใจกว่าปัจจัยดึงดูดปลายทาง
แนวคิดเกี่ยวกับความผูกพันต่อพื้นที่
ปัจจัยที่ผูกพันที่ส่งผลให้ครัวเรือนมีพฤติกรรมย้ายถิ่นที่แตกต่างกัน หากครัวเรือนมีความผูกพันกันอยู่ในที่หนึ่งมากๆ ก็มักไม่ย้ายไปจากที่นั่น หรือหากจำเป็นต้องย้ายไปก็มักต้องย้ายกลับมา เพราะหากย้ายไปนานสิ่งที่มีอยู่เดิมในที่นั้น เช่น ความมีชื่อเสียงจะเสื่อมค่าลง (Bowman and Myers 1976:116 อ้างใน ประชา ตังควัฒนา 2536:27)
14
ดาเวนโซและมอริสัน (Davenzo and Morrison 1983:447-453 อ้างใน ณัฐจิรา รุจิ-ตระการโชติกุล 2538:28) ได้ชี้ให้เห็นว่าการที่บุคคลมักย้ายถิ่นไปยังที่มีเพื่อน ญาติ อาศัยอยู่หรือย้ายไปในที่ที่ตนเคยมีประสบการณ์ในการย้ายมาก่อนนั้น เป็นเพราะเขามีความผูกพันกับพื้นที่ระหว่าง ต้นทางและปลายทาง ผู้ที่มีสิ่งผูกพัน เช่น ทรัพย์สมบัติที่ต้นทางน้อยจะย้ายมากกว่าผู้ที่มีความผูกพันมากกว่า
ซึ่งแนวคิดนี้กล่าวถึงปัจจัยที่เรียกว่า “ความผูกพันของบุคคลต่อพื้นที่” โดยอธิบายถึงผลประโยชน์ที่จับต้องไม่ได้ ซึ่งบุคคลอาจสูญเสียไปหรือเสื่อมค่าลงถ้าบุคคลนั้นย้ายถิ่นไปอาศัยอยู่ในท้องถิ่นอื่น เช่น การสูญเสียลูกค้า การเป็นเจ้าของที่ดิน การเป็นที่ยอมรับของคนในพื้นที่ และความผูกพันกับชุมชนและญาติสนิทมิตรสหาย เป็นต้น แนวคิดนี้อธิบายการย้ายถิ่นกลับของบุคคลไว้ดังนี้
1) บุคคลที่มีความผูกพันต่อพื้นที่สูงจะไม่ย้ายถิ่นออกจากพื้นที่ที่ตนอาศัยอยู่ แต่บุคคลที่มีความผูกพันต่อพื้นที่ต่ำจะย้ายถิ่นออกจากพื้นที่นั้น
2) เมื่อผู้ย้ายถิ่นคิดจะย้ายถิ่นอีกครั้ง ผู้ย้ายถิ่นมักจะพิจารณาถึงท้องถิ่นเดิมที่ตนเคยอาศัยอยู่มาก่อนเป็นท้องถิ่นปลายทางของการย้ายถิ่นครั้งใหม่ เพราะผู้ย้ายถิ่นมีความผูกพันกับท้องถิ่นเดิม ซึ่งหากผู้ย้ายถิ่นมีความผูกพันกับท้องถิ่นเดิมมากก็มีโอกาสที่จะย้ายถิ่นกลับท้องถิ่นเดิมมาก แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ผู้ย้ายถิ่นออกจากท้องถิ่นเดิมด้วย
การย้ายถิ่นออกจากท้องถิ่นเดิมเป็นระยะเวลานานจะทำให้ความผูกพันต่อท้องถิ่นเดิมลดลง เนื่องจากทรัพย์สมบัติหรือผลประโยชน์ในท้องถิ่นเดิมได้เสื่อมค่าลงตามระยะเวลาที่ผ่านไปนั้นด้วย เช่น การสูญเสียลูกค้าเดิม หรือญาติสนิทมิตรสหายอาจเสียชีวิตหรือย้ายถิ่นออกจากท้องถิ่นนั้นไปแล้ว ในกรณีเช่นนี้ ผู้ย้ายถิ่นจะมีความคิดที่จะย้ายถิ่นกลับลดลง แต่สำหรับผู้ย้ายถิ่นที่คิดว่าตนจะย้ายถิ่นกลับท้องถิ่นเดิมอย่างแน่นอน ผู้ย้ายถิ่นจะรักษาความผูกพันกับท้องถิ่นเดิมไว้ โดยการกลับไปเยี่ยมเยียนท้องถิ่นเดิมมากขึ้น หรือรักษาสมบัติในท้องถิ่นเดิมของตนไว้
ส่วนที่ 2 ทฤษฎีเกี่ยวกับการย้ายถิ่น
ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยได้นำแนวคิดเชิงทฤษฎีที่เชื่อมโยงกับการย้ายถิ่นเข้ามาปรับใช้ในการศึกษา ดังนี้
ทฤษฎีการตัดสินใจการย้ายถิ่นในระดับจุลภาค(Micro-level decision making framework)
ทฤษฎีของเดอจองและฟอว์เซท (Dejong & Fawcett 1981 อ้างใน ณัฐจิรา รุจิตระการโชติกุล 2538:27-28) ทฤษฎีนี้ใช้ปัจจัยทางสังคมและจิตวิทยาประชากรมาอธิบายปรากฏการณ์ย้ายถิ่นโดยมีสมมติฐานว่ามีแนวโน้มที่ครัวเรือนจะย้ายถิ่นหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับความคาดหวังที่ได้มีผลต่อการมีพฤติกรรมการย้ายถิ่น โดยปกติแล้วครัวเรือนจะมีเป้าหมายหลายๆ ด้าน เช่น ในด้านความมั่นคง ด้านฐานะทางสังคม ด้านความสะดวกสบาย และด้านความเป็นตัวของตัวเอง ซึ่งการ
15
ย้ายถิ่นจึงขึ้นอยู่กับปัจจัย 2 ประการคือ คุณค่าที่ครัวเรือนให้กับเป้าหมาย (แต่ละบุคคลจะให้คุณค่าเป้าหมายแตกต่างกันไป) และระดับความคาดหวังว่าจะบรรลุเป้าหมายนั้น โดยการย้ายถิ่นหรือไม่นั่นเอง ซึ่งปัจจัยทั้ง 2 ประการนี้มีระดับสูง โอกาสที่ครัวเรือนจะย้ายถิ่นก็มีมาก
นอกจากแนวคิดของเดอจองและฟอว์เซท (Dejong&Fawcett) แล้ว มุคเฮอจี (Mukherji) ได้พยายามนำปัจจัยทางจิตวิทยาเข้ามาเกี่ยวข้องในทฤษฎี “The mobility field theory of human spatial behavior” ที่เขาตั้งขึ้นโดยอธิบายว่าการย้ายถิ่นของครัวเรือนนั้นต้องพิจารณาปัจจัย 3 ประการคือ
1) คุณลักษณะประจำตัวของผู้ย้ายถิ่น
2) การรับรู้ในความแตกต่างของอรรถประโยชน์ระหว่างแหล่งต้นทางและแหล่งย้ายถาวรก็ได้
3) ลักษณะการย้ายถิ่นซึ่งอาจจะเป็นการย้ายแบบไป-กลับ ย้ายตามฤดูกาลหรือย้ายถาวรก็ได้
สรุปได้ว่าพฤติกรรมการย้ายถิ่นจะปรากฏออกมาในลักษณะใดนั้น ขึ้นอยู่กับลักษณะครัวเรือน มีความต้องการอย่างไร และขึ้นอยู่กับการรับรู้ในอรรถประโยชน์ทางสถานที่นั่นเอง (Mukherji, 1975 อ้างใน เนาวรัตน์ พลายน้อย, 2529:61)
ทฤษฎีการย้ายถิ่นของราเวนสไตน์ (Ravenstine’s “laws” of migration)
ทฤษฎีการย้ายถิ่นของราเวนสไตน์ นับได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของทฤษฎีการย้ายถิ่นในระยะต่อๆมา สาระสำคัญของทฤษฎีมีดังนี้ (ประชา ตังควัฒนา 2536:28)
ราเวนสไตน์ ได้ตั้งกฎแห่งการย้ายถิ่นไว้ 8 ประการ คือ
1) ระยะทางและทิศทางของการย้ายถิ่น ผู้ย้ายถิ่นส่วนมากจะย้ายในช่วงระยะทางใกล้ๆ สำหรับผู้ที่ย้ายในระยะทางที่ไกลออกไปนั้น โดยทั่วไปจะมุ่งสู่ศูนย์กลางของแหล่งการค้าและ อุตสาหกรรม
2) การย้ายถิ่นมักจะดำเนินไปอย่างเป็นขั้นตอน ผู้ที่อยู่อาศัยบริเวณใกล้ๆเมืองที่มีความเติบโตรวดเร็วจะย้ายเข้าสู่เขตเมืองนั้น เมื่อย้ายออกไป ผู้ที่อาศัยในเขตชนบทที่ห่างไกลต่อๆ ไปจะย้ายมาอยู่แทนที่ และในที่สุดก็จะถูกดึงเข้าไปสู่เมืองใหญ่ด้วย
3) กระบวนการย้ายถิ่นที่กระจายออกไปจะมีแรงดึงน้อยลงตามลำดับ
4) กระแสการย้ายถิ่นที่สำคัญทุกสายจะมีกระแสตรงและกระแสกลับของการย้ายถิ่น เช่น เมื่อมีกระแสการย้ายถิ่นจากชนบทไปสู่เมืองก็จะมีกระแสการย้ายถิ่นกลับจากเมืองไปสู่ชนบทด้วย
5) ผู้ย้ายถิ่นที่มีระยะทางการย้ายถิ่นไกลทั่วไปจะมุ่งไปยังศูนย์การค้าและอุตสาหกรรม
16
6) แนวโน้มในการย้ายถิ่นของผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองจะย้ายถิ่นน้อยกว่าผู้ที่อาศัยในเขตชนบท
7) สตรีย้ายถิ่นมากกว่าบุรุษในระยะทางใกล้ๆ
8) แรงจูงใจทางเศรษฐกิจนับว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดการย้ายถิ่น กล่าวคือ มีความสำคัญกว่าปัจจัยด้านภูมิภาค ภาษี และภาวะแวดล้อมทางสังคมอื่นๆ
จากทฤษฎีนี้จะเห็นว่า เมื่อมีกระแสการย้ายถิ่นจากชนบทไปสู่เมือง ก็จะมีกระแสการย้ายถิ่นจากเมืองไปสู่ชนบทด้วย ดังที่ สุกัญญา ทองทรง (2531:22)กล่าวว่า ผู้ย้ายถิ่นจะย้ายถิ่นจากที่ด้อยไปยังถิ่นที่ให้โอกาสสูงกว่า ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่สุดทำให้บุคคลเหล่านั้นตัดสินใจย้ายถิ่น ก็คือ แรงจูงใจทางเศรษฐกิจในถิ่นใหม่นั้นเอง
ทฤษฎีการย้ายถิ่นของลี (Lee’s theory of migration)
ลี (1966 อ้างใน วรรณา ขอบอรัญ 2542:3) ได้พัฒนาแนวความคิดของตนต่อเนื่องมาจากราเวนสไตน์ ที่ได้กล่าวถึงกระแสการย้ายถิ่น และกระแสการย้ายถิ่นย้อน สรุปได้ดังนี้
1) การย้ายถิ่นน่าจะเกิดขึ้นอย่างมาก ภายในกระแสที่กำหนดไว้ชัดเจน เช่น ถ้ามีข่าวสารจากท้องถิ่นปลายทางแพร่ไปยังท้องถิ่นต้นทางก็จะเกิดการย้ายถิ่นจากท้องถิ่นต้นทางไปยังท้องถิ่นปลายทาง ในระยะแรกๆ จะมีจำนวนการย้ายถิ่นไม่มากนัก เนื่องจากมีการเลือกสรรหรือคัดเลือกผู้ย้ายถิ่น ในเวลาต่อมาเมื่ออุปสรรคที่แทรกอยู่ระหว่างกลางถูกทำลายลง จะมีจำนวนการย้ายถิ่นเพิ่มมากขึ้น
2) กระแสการย้ายถิ่นที่สำคัญทุกกระแสจะเกิดกระแสการย้ายถิ่นย้อน เช่น ผู้ย้ายถิ่นอาจจะย้ายถิ่นย้อนกลับไปยังถิ่นเดิม เมื่อไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ หรืออาจจะเป็นเพราะปัจจัยที่เป็นข้อดีของจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้มีความสำคัญน้อยลงหรือหมดไป
3) ประสิทธิภาพของกระแสการย้ายถิ่นจะสูงถ้าปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิดกระแสการย้ายถิ่นนั้นเป็นปัจจัยลบในท้องถิ่นต้นทาง เช่น ความยากจน และไม่มีที่ดินทำกิน จะทำให้ผู้ย้ายถิ่นในท้องถนปลายทางคิดที่จะย้ายถิ่นกลับน้อยลง
4) ประสิทธิภาพของกระแสการย้ายถิ่นและกระแสการย้ายถิ่นย้อนน่าจะต่ำ ถ้าท้องถิ่น ต้นทางและท้องถิ่นปลายทางมีลักษณะด้านประชากร สังคม และเศรษฐกิจคล้ายคลึงกัน
5) ประสิทธิภาพของการย้ายถิ่นน่าจะสูงถ้าอุปสรรคที่อยู่ระหว่างกลางมีอยู่มาก
6) ประสิทธิภาพของกระแสการย้ายถิ่นกระแสหนึ่งจะผันแปรไปตามเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะสูงในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจกำลังเติบโต ท้องถิ่นปลายทางซึ่งเป็นศูนย์กลางการพาณิชย์และอุตสาหกรรมจะขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้ย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาเดิมและผู้ย้ายถิ่นอื่นๆ ที่ย้ายถิ่นสวนทางออกไปจากท้องถิ่นนั้นมีจำนวนน้อย แต่ในช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำ จะมีผู้ย้ายถิ่นจำนวนมากย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาเดิม และผู้ย้ายถิ่นอีกจำนวนมากจะย้ายถิ่นไปยังท้องถิ่นที่ไม่ใช่เขตอุตสาหกรรม ซึ่งในสถานการณ์เช่นนี้อาจทำให้ผู้ย้ายถิ่นมีทิศทางการย้ายถิ่นตรงข้ามกัน
17
ทฤษฎี การกระทำด้วยเหตุผล (A theory of reason action)
ทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผลของ มาติน ฟิสเบน และ ไอเซคก์ อัจเซน (Martin Fishbein & Iseck Ajzen) เป็นทฤษฎีที่มีฐานคติที่ว่า มนุษย์เป็นผู้ที่มีเหตุผลและใช้ข้อมูลที่ตนมีอย่างมีระบบและมนุษย์จะพิจารณาถึงผลของการกระทำพฤติกรรมทั้งหลายก่อนที่จะกระทำหรือไม่กระทำนั้น (Ajzen and Fishbein 1980:80-91 อ้างใน ฉวีวรรณ จันทรัตน์ 2540: 51) ฟิชเบน และอัจเชน เสนอแนวคิดทฤษฎีนี้ที่สำคัญอีกว่าการที่บุคคลจะประกอบพฤติกรรมนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับความ ตั้งใจกระทำพฤติกรรมของเขาเป็นสำคัญ ถ้าสามารถทำนายความตั้งใจกระทำพฤติกรรมของเขาได้ ก็สามารถทำนายพฤติกรรมของเขาได้แม่นยำขึ้น ดังนั้น ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาความตั้งใจที่นำไปสู่การตัดสินใจย้ายถิ่นหลังสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาก็จะมีโอกาสเป็นไปได้มากที่จะกลับภูมิลำเนาหลังสำเร็จการศึกษาแน่นอน
จากทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผล ความตั้งใจกระทำพฤติกรรมขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 2 ประการ คือ ทัศนคติหรือความรู้สึกที่มีต่อการกระทำหรือไม่กระทำพฤติกรรมและปทัสถานทางสังคมหรือการรับรู้ปทัสถานทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการกระทำหรือไม่กระทำนั้นๆ
องค์ประกอบแรกนั้นเป็นการรับรู้ และการตัดสินใจของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำพฤติกรรมของตนเอง ส่วนองค์ประกอบที่สองขึ้นอยู่กับสถานการณ์เชิงสังคม กล่าวคือขึ้นอยู่กับความคิดของคนทั้งหลายที่เขาใกล้ชิดและเกี่ยวข้องด้วย เช่น พ่อแม่ พี่น้อง ญาติๆ เพื่อนๆ เป็นต้น บุคคลเหล่านี้เห็นว่าเขาควรกระทำพฤติกรรมนั้นหรือไม่และแรง จูงใจที่จะคล้อยตามคนที่เขาใกล้ชิดเกี่ยวข้องด้วยแต่ละคนมีมากน้อยเพียงใด ดังนั้นสององค์ประกอบนี้เองที่ทำให้การทำนายพฤติกรรมจากความตั้งใจมีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การกระทำพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งในที่สุด
แผนภูมิ แสดงความสัมพันธ์ของตัวแปรตามทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผล
ความเชื่อเกี่ยวกับผลของการกระทำ
(b1)
ทัศนคติต่อ
พฤติกรรม (AB)
การประเมินเกี่ยวกับผลที่ได้รับ
(e1)
ความตั้งใจในการ
ความสัมพันธ์ของทัศนคติและปทัสถาน ำพฤติกรรม (I)
พฤติกรรม
(B)
18
ปทัสถานทางสังคม (SN)
ความเชื่อเกี่ยวกับกลุ่มใกล้ชิด
(NB1)
ตารางแผนภูมิที่ 2
ที่มา (Fishbein & Ajzen 1980:84 อ้างใน ฉวีวรรณ จันทรัตน์ 2540:53)
ดังนั้นทฤษฎีกระทำด้วยเหตุผล ทัศนคติต่อพฤติกรรมและปทัสถานทางสังคม จะเป็นตัวร่วมกำหนดความตั้งใจที่จะแสดงพฤติกรรม โดยพฤติกรรมบางพฤติกรรมอาจจะได้รับปัจจัยทั้งสองเท่าๆ กัน แต่บางพฤติกรรมองค์ประกอบทางด้านทัศนคติอาจเป็นตัวกำหนดมากกว่าปทัสถานทางสังคมของนักศึกษาและในบางพฤติกรรม ปทัสถานของกลุ่มอ้างอิงอาจมีอิทธิพลมากกว่าทัศนคติต่อพฤติกรรม ซึ่งความสำคัญของปัจจัยทั้งสองนี้อาจแตกต่างกันของแต่ละบุคคล
นอกจากปัจจัยทั้ง 2 ตัว ที่กล่าวมาแล้ว Fishbein & Ajzen ยังได้กล่าวถึงปัจจัยที่เป็นตัวแปรอื่นๆ ที่เรียกว่า “ตัวแปรภายนอก” (external variables) ปัจจัยต่างๆ ที่ถือเป็นตัวแทนภายนอกตามทฤษฎีได้แก่
1.) บุคลิกภาพ เช่น เป็นคนประเภทอัตตนิยม เป็นพวกชอบเก็บตัว หรือแสดงตัว
2.) ตัวแปรด้านประชากร เช่น เพศ อายุ เชื้อชาติ ชนชั้นในสังคม
3.) องค์ประกอบอื่นๆ เช่น บทบาทในสังคม สถานะทางสังคม การเรียนรู้ทางสังคม เชาว์ปัญญา รูปแบบความเกี่ยวข้องหรือรูปแบบความสัมพันธ์ในหมู่เครือญาติ
ตัวแปรภายนอกเหล่านี้ ตามทฤษฎีนี้เชื่อว่า ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรภายนอกกับ พฤติกรรมเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นหรือไม่มีความสัมพันธ์ แต่จะมีผลโดยอ้อมกับพฤติกรรม กล่าวคือ ตัวแปรภายนอกจะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเฉพาะ เมื่อมันมีความสัมพันธ์กับตัวแปรที่อยู่ในกรอบของทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผล ผลของตัวแปรภายนอกจะถูกเชื่อมโดยความเชื่อ เช่น ระดับการศึกษามีอิทธิพลต่อความเชื่อที่บุคคลยึดถือกระทำให้มีอิทธิพลต่อทัศนคติและบรรทัดฐานของกลุ่มอ้างอิง ซึ่งจะมีผลต่อความตั้งใจที่จะกระทำพฤติกรรมและส่งผลไป ถึงพฤติกรรมในที่สุด
อย่างไรก็ตามถึงแม้จะเป็นที่ยอมรับว่าความตั้งใจของบุคคลสามารถที่จะทำนาย พฤติกรรมได้ แต่ในบางกรณีอาจจะมีองค์ประกอบอื่นๆ ที่จะมีผลให้บุคคลมีความตั้งใจเปลี่ยนไปได้ (Jaccard 1975:179 อ้างใน ชมภูนุช บุณยเนตร 2535: 29)
19
1.) ช่วงระยะเวลาระหว่างการจัดความตั้งใจที่จะกระทำพฤติกรรมและการสังเกต พฤติกรรม ถ้าเว้นช่วงระยะเวลาหนึ่งนานขึ้นอาจจะมีผลให้ความตั้งใจที่จะปฏิบัติเปลี่ยนแปลงไป พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป หรืออาจถูกคาดหวังว่าต่ำลงได้
2.) การได้รับข้อมูลข่าวสารใหม่ ตัวบุคคลได้รับทราบรายละเอียดหรือข้อมูลใหม่ที่ผิดไปจากความรู้เดิมที่มีอยู่ ทำให้ความเชื่อเปลี่ยนแปลงไป ความตั้งใจที่จะปฏิบัติก็เปลี่ยนไปเช่นกัน
3.) จำนวนหรือลำดับขั้นของพฤติกรรม แต่หากการแสดงพฤติกรรมหรือการปฏิบัตินั้น ต้องผ่านขั้นตอนมากมาย หรือต้องอาศัยบุคคลอื่นหรือสิ่งอื่นช่วย จะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างความตั้งใจที่จะกระทำพฤติกรรมและพฤติกรรมจะถูกคาดหวังลดลงอีก ทำให้บุคคลนั้นเปลี่ยนความตั้งใจ และล้มเลิกไม่ปฏิบัติได้
4.) ความสามารถของบุคคล เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่จะเป็นอุปสรรค ความตั้งใจของบุคคลเป็นเพียงการตัดสินที่จะกระทำพฤติกรรมแต่ถ้าบุคคลไม่มีความสามารถที่จะปฏิบัติได้ ก็ไม่มีทางที่พฤติกรรมนั้นๆ จะออกมาได้
5.) ความจำ แม้ว่าบุคคลจะมีความตั้งใจที่จะกระทำพฤติกรรม แต่เมื่อถึงเวลาจริงๆ กลับจำไม่ได้ว่าจะต้องทำหรือลืม พฤติกรรมก็จะไม่เกิดขึ้น
6.) อุปนิสัย ความตั้งใจของบุคคลที่จะแสดงพฤติกรรมหนึ่งพฤติกรรมใด บางครั้งขึ้นอยู่กับนิสัย บางคนชอบละเลยในสิ่งที่ควรจะกระทำ หรือผลัดวันประกันพรุ่งถึงแม้ตั้งใจจะทำแต่ก้อไม่ได้ทำเสียที ทำให้ไม่ตรงกับพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจริง
โดยสรุปจากทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผลแสดงให้เห็นว่าความตั้งใจในการแสดงพฤติกรรมมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับพฤติกรรมของบุคคลโดยที่เจตคติต่อพฤติกรรมและปทัสถานทางสังคม เป็นปัจจัยที่สำคัญในการอธิบายความตั้งใจในการแสดงพฤติกรรม ในการวิจัยครั้งนี้ ได้นำทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผลมาอธิบายได้ว่า ความตั้งใจในการย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาของนักศึกษาสามารถอธิบายและนำนายพฤติกรรมการย้ายถิ่นกลับของนักศึกษาและปทัสถานทางสังคม มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาเดิมของนักศึกษา
ทฤษฎีการเลือกเชิงเหตุผล
ฉวีวรรณ จันทรัตน์ (2540:54) กล่าวว่า พฤติกรรมเชิงเหตุผล (rational behavior) เราสามารถอธิบายได้ว่ามนุษย์มีพฤติกรรมที่จะเลือกวิถีทางที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ดีในเป้าหมายสุดท้ายของตน โดยมีเหตุผลเป็นบรรทัดฐานของความคิดดังกล่าว (Barry 1988:11) ดังนั้นความสามารถที่จะล่วงรู้ความคิดเชิงเหตุผลของบุคคลจึงเป็นประโยชน์ต่อการจะอธิบาย ทำนาย และพรรณา ถึงพฤติกรรมการเลือกเชิงเหตุผลของมนุษย์ได้ (Harsanyi 1986:60-107 ) ทั้งนี้การเลือกเชิงเหตุผลของปัจเจกของบุคคลจะมีพื้นฐานอยู่บนความสัมพันธ์ระหว่างการเลือกและการแสดงออกอยู่ 2 ประการ คือ การแสดงออกถึงทางเลือกอันเป็นผลมาจากความเป็นเหตุเป็นผล ซึ่งเรียกว่าการอ้างเหตุผลกับสภาวะทางจิตใจ หรือคุณลักษณะของปัจเจกบุคคลดังกล่าว (Macdonald and Pettit 1981 อ้างใน Hindess 1988:42) การเลือกเชิงเหตุผลนี้จะผูกพัน
20
อยู่กับการคาดคะเน 2 ประการ ได้แก่ การคาดคะเนผลที่จะตามมาในอนาคตอันสืบเนื่องมาจากกระทำของตนในปัจจุบัน กล่าวคือ บุคคลได้จินตนาการว่าอะไรจะเกิดขึ้นในอนาคต (March 1986: 144 ; Heibroner 1974) ดังนั้นก่อนที่บุคคลจะตัดสินใจเลือกกระทำสิ่งที่จะต้องลงทุนเพื่ออนาคตของตนหรือครอบครัวแล้ว เขามักจะมีเหตุผลที่มีการวินิจฉัยถึงการได้รับตอบแทนสูงสุดในอนาคต ก่อนที่จะมีการลงทุนในกิจกรรมนั้นๆ (Sehnerider 1974:9-10 ; Easton and Fass 1989:177, Hindess 1988:44)
ในทัศนะของนักสังคมวิทยา ฉวีวรรณ จันทรัตน์ (2540:54) กล่าวว่า มิเชล เฮคเตอร์ (Michael Hechter อ้างใน Ritzer 1988:376) ได้อธิบายถึงความเชื่อมโยงระหว่างทฤษฎีการเลือกเชิงเหตุผลในปรากฎการณ์ทางสังคมในแง่มหภาคและจุลภาค ว่าโดยทั่วไปแล้วการเลือกเชิงเหตุผลในระดับมหภาคจะยืนยันบรรทัดฐาน และโครงสร้างของสังคมเป็นหลักซึ่งเป็นการจำกัดทางเลือกของปัจเจกบุคคล แต่เฮคเตอร์ (Hechter) เห็นว่าบรรทัดฐานหรือข้อจำกัดทางโครงสร้างไม่ใช่สิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อความตั้งใจจะกำหนดทางเลือกของบุคคล แต่เป็นข้อจำกัดภายใต้เงื่อนไขของการปฏิบัติแต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่า คุณลักษณะเฉพาะตัวของบุคคลจะมีความสำคัญมากกว่าคุณลักษณะทางโครงสร้างของสังคมแต่อย่างใด ส่วนในระดับจุลภาคนี้ ทฤษฎีการเลือกเชิงเหตุผลเป็นเรื่องของปัจเจกบุคคลที่กำหนดทางเลือกสุดท้ายที่ตนเองพึงพอใจไว้แล้ว ผู้กระทำ จึงต้องเลือกระหว่างการเลือกที่จะต้องปฏิบัติให้ไปถึงจุดหมายและการกระทำที่จะมีผลตอบแทนเชิงเหตุผลมากกว่า ซึ่ง ฮาร์ดีน (Barry 1988:11, Hardir n.d) กล่าวว่าการเลือกเชิงเหตุผลนั้นเป็นการกระทำ ของแต่ละบุคคลอันมาจากแรงจูงใจจากผลประโยชน์ของตนเอง
สรุปจากทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผล และทฤษีการเลือกเชิงเหตุผลสามารถอธิบายการเลือกย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาของนักศึกษา ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจ โอกาส การได้รับผลประโยชน์สูงสุด ซึ่งเป็นตัวแปรภายนอกของทัศนคติต่อพฤติกรรม และการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง
ทฤษฎีแรงจูงใจของมาสโลว์ (มาสโลว์ 1970, ออนไลน์)
มาสโลว์ มีความเชื่อพื้นฐานอยู่ว่า มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความต้องการ และถูกจูงใจให้กระทำการเพื่อตอบสนองความต้องการเหล่านั้น ความต้องการในลำดับขั้นดังแผนภาพต่อไปนี้
1. ความต้องการทางกายภาพ (physical needs) เป็นความต้องการระดับต่ำสุดหรือเป็นสิ่งจำเป็นต่อการอยู่รอดของมนุษย์ เช่น ความต้องการอาหาร น้ำ อากาศ ที่อยู่อาศัย การพักผ่อนนอนหลับ ความต้องการทางเพศ เป็นต้น ความต้องการเหล่านี้ เป็นความต้องการพื้นฐานที่คนจะถกจูงใจให้ทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อที่จะได้สิ่งจำเป็นเหล่านี้ แต่เมื่อได้มาแล้วความต้องการเหล่านี้ก็จะยุติที่จะเป็นตัวจูงใจหลักอีกต่อไป
2. ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย (safety – security needs) ประกอบด้วยความต้องการความปลอดภัย ปรารถนาที่จะได้รับความคุ้มครองจากภยันตรายต่างๆ นอกจากนี้ยังหมายถึง ความต้องการที่จะมีความมั่นคงในงาน และบำเหน็จบำนาญ เมื่อความต้องการระดับต่ำสุดได้รับการตอบสนองแล้วคนจะถูกชักจูงให้มีการตอบสนองระดับนี้
21
3. ความต้องการความรักหรือสังคม (love or social needs) หมายถึงความต้องการที่จะให้ผู้อื่นชอบตน เป็นผู้มีความสำคัญต่อผู้อื่น และเป็นสมาชิกของกลุ่มสมาชิกกลุ่มคนอื่นๆ ยอมรับ
4. ความต้องการความเคารพยกย่อง (self- esteem needs) หมายถึง ความต้องการให้ความเคารพตนเอง ความรู้สึกต่อตนเองว่าเป็นผู้ประสบความสำเร็จ และได้รับความยอมรับเช่นนั้นจากผู้อื่น ความต้องการสถานภาพและความมีชื่อเสียงเกียรติยศ เป็นส่วนหนึ่งของความต้องการความเคารพยกย่อง การที่มีความต้องการนี้ การตอบสนองจะนำมาสู่ความรู้สึกเชื่อมั่นในตนเองในความสามารถ และรู้สึกว่าตนมีประโยชน์และมีความสำคัญในสังคม
5. ความต้องการความสำเร็จในชีวิต (self – actualization needs) เป็นระดับความต้องการสูงสุด ซึ่งหมายถึงการที่บุคคลผู้นั้นได้ใช้ความสามารถของตนในทุกๆ ด้าน และเป็นทุกอย่างที่ตัวเขาอยากจะเป็น ซึ่งในแต่ละคนก็จะไม่เหมือนกันสุดแต่ความสามารถและความต้องการของแต่ละบุคคล
ทฤษฎีความคาดหวัง (The expectancy theory)
ทฤษฎีแรงจูงใจของวรูม Vroom (1970:91-103 อ้างใน ฉวีวรรณ จันทรัตน์ 2540:75) ทฤษฎีนี้ได้มาจากการศึกษาด้านจิตวิทยาของบุคคลในองค์กร พบว่า บุคคลจะกระทำสิ่งใดก็ตามมักขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่อไปนี้ คือ
1.) ผลตอบแทนที่ได้รับ
2.) ความพอใจและความไม่พอใจต่อผลตอบแทนที่ได้รับ
3.) ผลตอบแทนที่ได้รับเมื่อเทียบกับผู้อื่น
4.) โอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนความคาดหวัง
ในทฤษฎีของ วรูม การที่มนุษย์จะเลือกหรือตัดสินใจกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดนั้น มีสาเหตุหรือแรงจูงใจ โดยอาศัยเหตุผลและปัจจัยหลายๆ อย่างประกอบกัน มิได้เกิดจากปัจจัยหนึ่งปัจจัยเดียว
ส่วนที่ 3 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาเรื่องความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาเดิมยังมีไม่มากนัก ส่วนใหญ่เป็นการศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการย้ายถิ่น และเกี่ยวกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความต้องการย้ายถิ่น ซึ่งปัจจัยเหล่านี้เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาเดิมเช่นกัน ดังนั้น การทบทวนผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องในครั้งนี้ จึงทบทวนทั้งปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาเดิม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความต้องการย้ายถิ่น และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการย้ายถิ่น ควบคู่กันไป
การทบทวนผลการวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับความตั้งใจกลับภูมิลำเนาเดิม เช่น การศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาเดิมของนักศึกษาปีสุดท้าย ของมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปีการศึกษา 2531 โดยชมภูนุช บุณยเนตร (2535:66)ที่พบว่ามีเพียงร้อยละ 27.7 เท่านั้นที่ตั้งใจจะย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาเดิมหลังสำเร็จการ
22
ศึกษา ส่วนนักศึกษาที่ไม่ตั้งใจจะย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาเดิมมีถึงร้อยละ 52.2 ที่เป็นเช่นนี้ เพราะนักศึกษาที่กำลังจะสำเร็จการศึกษาในระดับสูง ต้องการหางานทำในจังหวัดอื่นๆที่นักศึกษาคิดว่าน่าจะมีโอกาสที่หางานทำได้มากกว่า และสอดคล้องกับการศึกษาของเติมศักดิ์ สุวรรณประเทศ (2521:98-100) ศึกษาเรื่องการย้ายถิ่นเพื่อการศึกษาของนักเรียนฝึกหัดครูในภาคเหนือ พบว่านักเรียนส่วนมากในภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดภาคเหนือและมีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดอันเป็นที่ตั้งของสถาบันฝึกหัดครู สาเหตุที่ต้องย้ายถิ่นเพื่อการศึกษาของนักเรียนส่วนมาก เพราะภูมิลำเนาไม่มีสถานศกษาฝึกหัดครูตั้งอยู่ เมื่อเรียนสำเร็จแล้วเกือบทั้งหมดคิดว่าจะกลับไปประกอบอาชีพที่ภูมิลำเนาเดิมของตน ส่วนผู้ที่ไม่กลับภูมิลำเนาส่วนใหญ่จะไปประกอบอาชีพในจังหวัดภาคเหนือ และสาเหตุที่ไม่กลับภูมิลำเนา เพราะภูมิลำเนาของนักเรียนหางานยาก ซึ่งแตกต่างจากผลการศึกษาของทัศนีย์ เพชรจรัส (2525:137) ศึกษาความคาดหวังเกี่ยวกับท้องถิ่นนิสิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ ในกรุงเทพมหานคร จะไปประกอบอาชีพ เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว ปรากฏว่านิสิตส่วนใหญ่มีความคาดหวังจะประกอบอาชีพในภูมิลำเนาของตนมีอัตราส่วนสูงสุด คือ คิดเป็นร้อยละ 53.3 ของผู้ย้ายถิ่นทั้งหมด และผลการศึกษาของ ณัฐจิรา รุจิตระการโชติกุล (2538:64,75) ที่ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาเดิมของประชาชนชุมชนแออัดและอีกร้อยละ 21.3 ที่ไม่ตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาเดิม ทั้งนี้ เป็นเพราะประชากรในชุมชนแออัดในกรุงเทพมหานครมีความผูกพันกับครอบครัวในภูมิลำเนาเดิมของตนมาก จึงมีแนวโน้มที่จะกลับภูมิลำเนาเดิมสูง
จากการศึกษาทฤษฎี ตลอดจนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องพบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการย้ายถิ่นกลับมีรายละเอียดปรากฏดังนี้
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา
จากทฤษฎีการจัดลำดับและการคัดเลือก ได้อธิบายการเข้าสู่แรงงานที่เกี่ยวกับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการมีงานทำและการว่างงานว่า ภายในองค์กรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชนก็ตาม ย่อมจะมีตำแหน่งหน้าที่ต่างๆ อยู่จำนวนหนึ่ง ตำแหน่งหน้าที่เหล่านี้นายจ้างจะต้องพิจารณาว่าเหมาะสมที่จะบรรจุบุคคลที่จบการศึกษาระดับไหน สาขาใด และจากที่ใด ตำแหน่งงานบางตำแหน่งอาจมีทางเลือกบรรจุผู้ที่จบจากสาขาต่างๆ น้อย หรือไม่มีเลย เช่น ตำแหน่งแพทย์ ในขณะที่งานบางตำแหน่ง เช่น พนักงานอาจมีการคัดเลือกบรรจุผู้จบสาขาต่างๆ ได้มาก เป็นต้น นอกจากนี้ การคัดเลือกผู้สมัครนั้นยังขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ลักษณะของงาน, นโยบายของหน่วยงาน การฝึกงาน เงินเดือนและรายได้อื่นๆ ที่นายจ้างยินดีจะเสนอให้ ถ้านายจ้างต้องการผู้มีความสามารถสูงก็ต้องมีสิ่งจูงใจดีๆ สิ่งจูงใจนั้นไม่จำเป็นว่าจะเป็นเงินเดือนสูงอย่างเดียว อาจะเป็นบรรยากาศของที่ทำงาน โอกาสของความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน เป็นต้น โดยปกติภายหลังที่ตัดสินใจว่าจะเลือกผู้จบการศึกษาระดับใดและสาขาใดแล้ว นายจ้างก็จะคัดเลือกผู้ที่มาสมัครเพื่อให้ได้บุคคลที่ดีที่สุด แต่ถ้ายังไม่ได้บุคคลที่ต้องการนายจ้างก็จะเพิ่มสิ่งจูงใจ หรือไม่ก็ต้องลดหรือเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของผู้สมัคร (พิชัย จรรย์ศุภรินทร์ 2526:31)
23
ในการจัดลำดับคนเข้าทำงาน นายจ้างหรือผู้มีหน้าที่คัดเลือกจะเลือกบุคคลที่มีทักษะทางวุฒิปัญญาสูง (Cognitive skills) เพื่อจะได้เพิ่มผลผลิตของตนให้สูงขึ้น ทักษะเหล่านี้ได้มาจากการฝึกอบรมอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ทฤษฎีการจัดลำดับและการคัดเลือกนี้ถือว่าการศึกษาไม่ได้ช่วยเพิ่มผลผลิตของแรงงานโดยตรง แต่เป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวกให้แก่นายจ้าง เพื่อพิจารณาว่าผู้ใดที่สามารถนำมาฝึกฝนได้ง่ายกว่าคนอื่น และถือว่าการศึกษาในโรงเรียนยิ่งสูงเท่าใด จะทำให้การฝึกฝนทำได้ง่ายยิ่งขึ้น (Carnoy 1977:255)
จากทฤษฎีนี้จะเห็นได้ว่า ในการรับคนเข้าทำงานนั้น นายจ้างจะพิจารณาถึงลักษณะที่สำคัญหลายประการด้วยกัน เช่น ระดับการศึกษา สถาบันการศึกษาทสำเร็จ สาขาวิชา ความสามารถ ตลอดจนลักษณะอื่นๆ เช่น การง่ายต่อการฝึกหัด เชื้อชาติ เพศ อายุ ผลการทดสอบทางจิตวิทยา และประสบการณ์เดิม เป็นต้น ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับงานแต่ละประเภทด้วย จุดเน้นของทฤษฎีนี้คือ การตัดสินใจของหน่วยจางงาน โดยพิจารณาจากคุณลักษณะของบัณฑิตที่มาสมัครงานนั้น สมเกียรติ ชอบผล (2529:49) กล่าวว่า นายจ้างส่วนใหญ่จะคัดเลือกเอาผู้ที่มีการเรียนดี มีความรู้กว้างขวาง เพราะเชื่อว่าเป็นผู้มีความสามารถ และจะทำงานได้ดีด้วย ทำให้มีผลต่อการย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาของบัณฑิต
เพอรุคซี (Perucci 1970:451-463 อ้างในหิรัญ ลิ้มสุวรรณ 2523:28) ได้ศึกษา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่มีต่อการย้ายถิ่นอันเกี่ยวกับความต้องการเลื่อนอาชีพ พบว่า ผู้ที่มี ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงมีการย้ายถิ่นมากกว่าผู้ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ
จากการศึกษาของมาบรี (Mabry 1967:143 อ้างใน สุกัญญา ทองทรง 2531:56) ได้ศึกษาเปรียบเทียบองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจประกอบอาชีพครู ระหว่างนักศึกษาครูที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงจะเลือกเรียนต่อ และยังไม่มีความแน่ใจว่าจะยึดอาชีพครูตลอดไป อาจหันไปประกอบอาชีพอื่นหากมีโอกาสที่ดีกว่า แม้อาชีพนั้นๆ จะต้องย้ายไปทำงานในถิ่นอื่นก็ตาม ซึ่งตรงกันข้ามกับนักศึกษาครูที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ นักศึกษาครูกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะมีความมุ่งมั่น และสนใจที่จะประกอบอาชีพครูสูงกว่ากลุ่มแรก แต่การศึกษาของ สุกัญญา ทอง-ทรง พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่มีความสัมพันธ์กับความปรารถนาที่จะย้ายถิ่นเพื่อหางานทำของนักศึกษาวิทยาลัยครูปีสุดท้าย สังกัดสหวิทยาลัยอีสานใต้
และผลการศึกษาของหลายท่านที่พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาไม่มีความสัมพันธ์กับการย้ายถิ่นกลับ เช่นผลการศึกษา ของธีระพร พิไลวงศ์ (2543:117) ที่พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักศึกษา ชั้นปีที่ 4 ในสถาบันราชภัฏเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจเลือกประกอบอาช ภายใต้ภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ และได้ผลสอดคล้องกับ อรอนงค์ แจ่มผล (2525:69) ที่ศึกษาพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกอาชีพของนักศึกษา และผลการศึกษาของ สุมาลี จุลจิม (2540:124) ที่พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในการเลือกประกอบอาชีพของนักศึกษา
24
2. ความสามารถพิเศษ
การศึกษาของกองวางแผนประชากรและกำลังคนร่วมกับกรมแรงงาน ได้ทำการประเมินวันนัดพบแรงงานแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2527 พบว่า หน่วยจ้างงานให้ความสำคัญกับบุคคลที่มีความสามารถพิเศษมากขึ้นกว่าในอดีต เนื่องจากสภาพปัจจุบันความต้องการงานมีมากกว่าตำแหน่งงาน จึงเป็นโอกาสของหน่วยจ้างงานที่จะคัดเลือกบุคคลที่มีคุณสมบัติซึ่งเอื้อต่อประโยชน์ของตนมากที่สุด (กองวางแผนประชากรและกำลังคน และกรมแรงงาน เอกสารอัดสำเนา:ไม่ปรากฏหน้าที่พิมพ์)
การศึกษาของสถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่อง ผลการสำรวจความต้องการกำลังคนจากตลาดหนังสือพิมพ์ พบว่า ตลาดแรงงานมีความต้องการแรงงานโดยพิจารณาจากคุณสมบัติทั่วไป เช่น เพศ อายุ วุฒิทางการศึกษา สายการศึกษาที่สำเร็จ ฯลฯ และนอกจากนี้ในการพิจารณาคัดเลือกจากประสบการณ์และคุณสมบัติพิเศษของแรงงานก็นับเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งในการเลือกเฟ้นบุคคลเข้ารับตำแหน่งงานของตน (สถาบันทรัพยากรมนุษย์ 2527:17-23)
สมเกยรติ ชอบผล (2529:44) กล่าวว่า นายจ้างหรือผู้ที่มีหน้าที่คัดเลือกจะคัดเลือกบุคคลที่มีทักษะทางวุฒิปัญญาสูง เพื่อจะได้เพิ่มผลผลิตของตนให้สูงขึ้น ดังนั้นแรงงานจึงจำเป็นต้องปรับตัวให้มีคุณสมบัติ เหมาะสมกับตำแหน่งงานที่ตนต้องการ คุณสมบัติพิเศษ เช่นความสามารถทางกีฬา ดนตรี ภาษาต่างประเทศ ฯลฯ เป็นส่วนหนึ่งที่นายจ้างจะนำมาเป็นข้อพิจารณาในการคัดเลือกบุคคลเข้าทำงาน นั่นคือการตัดสินใจของหน่วยจ้างงาน จะพิจารณาจากคุณลักษณะของบัณฑิตที่มาสมัครงานนั้นว่ามีความเหมาะสมกับงานของตนเพียงใด โอกาสของนักศึกษาที่มีความสามารถพิเศษจะได้งานที่ถึงพอใจในเมือง ย่อมมีผลต่อความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนา
หากแต่มีผลงานวิจัยของบางท่านที่พบว่า ความสามารถพิเศษไม่มีผลกับความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนา ได้แก่ สุกัญญา ทองทรง (2531:153) พบว่า ความสามารถพิเศษไม่มีความสัมพันธ์กับความปรารถนาที่จะย้ายถิ่นเพื่อหางานทำของของนักศึกษาวิทยาลัยครูปีสุดท้าย สังกัด สหวิทยาลัยอีสานใต้ และผลการศึกษาของ ธีระพร พิไลวงศ์ (ธีระพร พิไลวงศ์ 2543:119) พบว่า ความสามารถพิเศษของนักศึกษา ชั้นปีที่ 4 ในสถาบันราชภัฏเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจเลือกประกอบอาชีพ ภายใต้ภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ
3. โอกาสในการประกอบอาชีพในภูมิลำเนา
ชมพูนุช บุญยเนตร (2535:32) กล่าวว่า ความคาดหวังเกี่ยวกับอาชีพ หมายถึง การรับรู้เกี่ยวกับความคาดหวังของสังคมที่มีต่อการประกอบอาชีพของนักศึกษาภายหลังสำเร็จการศึกษาแล้วให้มีแนวความคิดว่า หากบุคคลสามารถคงสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของตนไว้ในระดับที่ตนพอใจหรือบุคคลมีโอกาสที่จะพัฒนาฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมของตนได้ง่ายตามความมุ่งหวังและประกอบอาชีพที่สังคมยอมรับว่าเป็นอาชีพที่มีเกียรติและรายได้ค่อนข้างดีแล้ว บุคคลย่อมไม่ละทิ้งถิ่นกำเนิดหรือท้องถิ่นที่อาศัยนั้นไป ในทางตรงข้ามหากโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมของถิ่นกำเนิดหรือท้องถิ่นที่อาศัยไม่เปิดโอกาสให้บุคคลพ้นฐานะทาง
25
เศรษฐกิจและสังคมของตนตามที่มุ่งหวัง หรือหากสภาวะทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และสภาวะด้านอื่นๆ เปลี่ยนแปลงไปในแนวทางที่เป็นผลให้บุคคลได้สามารถคงสถานภาพทางเศรษฐกิจ และสังคมไว้ในระดับที่ตนพอใจได้ บุคคลย่อมต้องการย้ายถิ่นไปอาศัยอยู่ในถิ่นที่อื่นที่คาดว่าสถานภาพของตนจะดีขึ้นกว่าเดิม ในกรณีที่ย้ายถิ่นโดยสมัครใจนั้น กระแสการย้ายถิ่นมักจะออกจากท้องถิ่นที่มีสภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมที่ด้อยกว่าเข้าสู่ท้องถิ่นที่มีสภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมที่ดีกว่า เนื่องจากบุคคลเปรียบเทียบสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของตนในท้องถิ่นที่อาศัยอยู่กับสถานภาพที่คาดว่าจะได้รับเมื่อย้ายถิ่นเข้าไปอาศัยอยู่ในท้องถิ่นอื่น หากเห็นว่าเมื่อย้ายถิ่นแล้วตนจะมีสถานภาพทุกด้านดีขึ้นกว่าเดิม บุคคลนั้นย่อมจะตัดสินใจย้ายถิ่น เนื่องจากพิจารณาแล้วเห็นว่าการย้ายถิ่นจะอำนวยประโยชน์ให้คุ้มค่ากับค่าใช้จ่ายที่ตนจะต้องเสียไป ในทางตรงกันข้ามหากพิจารณาเปรียบเทียบแล้วเห็นว่าประโยชน์ที่จะได้รับเมื่อย้ายถิ่นเข้าไปอาศัยอยู่ในถิ่นอื่นไม่คุ้มค่ากับค่าใช้จ่ายที่จะเสียไปบุคคลย่อมจะไปละทิ้งถิ่นฐานของตนไป ค่าใช้จ่ายเพื่อการย้ายถิ่นและประโยชน์จากการย้ายถิ่นที่กล่าวถึงในที่นี้ หมายถึงค่าใช้จ่ายและประโยชน์ทั้งที่เป็นตัวเงินและที่ไม่ใช่ตัวเงินจากที่กล่าวมาสามารถสรุปเป็นแนวคิดเพื่อการวิจัยในครั้งนี้ได้ว่า หากนักศึกษารบรู้ว่าตนเองสามารถประกอบอาชีพในชนบทหรือภูมิลำเนาของตนได้โดยเป็นอาชีพที่คนในชุมชนยอมรับว่าเป็นอาชีพที่มีรายได้ดีแล้ว นักศึกษาย่อมมีความตั้งใจและปรารถนาย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาเดิมของตนภายหลังสำเร็จการศึกษาแล้ว
และจากแบบจำลองของเลวิส-เฟ-เรนิส (Lewis-Fei-Ranis’s model อ้างใน ชัยวัฒน์ ปัญจพงษ์ 2521:102-103) กล่าวว่า ในภาคเกษตรกรรมจะก่อให้เกิดแรงงานส่วนเกิน (surplus labors) (Cherunilam 1984:38-40 อ้างใน ทองคำ พรมดี 2532:42) แล้วแรงงานส่วนเกินนี้ คือผู้ไม่มีงานทำอย่างเต็มที่และกลุ่มคนเหล่านี้ก็จะอพยพย้ายถิ่นเข้าสู่เขตอุตสาหกรรมหรือเขตเมือง เพื่อแสวงหางานทำและรายได้ที่ดีกว่า นอกจากนี้ความเป็นไปได้ในการที่จะได้รับงานที่มั่นคงทำในเมืองมีส่วนเกี่ยวข้องกับการย้ายถิ่น และจากหลักทฤษฎีผลักดันและดึงดูด (push-pull theory) ของปีเตอร์สัน (Petersen อ้างใน ชัยวัฒน์ ปัญจพงษ์ 2521:102-103) ที่กล่าวว่าการมีโอกาสสูงที่จะได้งานทำมีความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจย้ายถิ่น
1. ระดับรายได้ที่น่าพอใจในภูมิลำเนา
แบบจำลองความคาดหวังในรายได้ ผู้นำแนวคิดนี้ในระยะแรกคือ Sjaastad, Schultz และ Torado (อ้างใน ธนกร จาตะวงษ์ 2540:17) ได้สรุปแนวคิดของทั้งสามไว้ว่า บุคคลที่ปรารถนาจะย้ายถิ่นจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างรายได้ที่แท้จริงระหว่าง ถิ่นเดิมและถิ่นใหม่ ผลได้จากการย้ายถิ่นที่คาดว่าจะได้รับกับค่าใช้จ่ายในการย้ายถิ่นทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน เช่น ค่าเดินทาง ค่าที่พัก ค่านายหน้า ค่าอาหาร ค่าเสียโอกาสทางเศรษฐศาสตร์ การว่างงาน และการมีงานทำของถิ่นเดิมและถิ่นใหม่
26
ที่ดิน, หนี้สิน
การศึกษา
การส่งเงินกลับ ชนบท-เมือง
ระยะทาง
การศึกษา
ผลตอบแทนจากการย้ายถิ่น
การไหลเวียนของ
ข่าวสาร
รายได้ในเมือง
การติดต่อระหว่าง
เมือง-ชนบท
ผลตอบแทนทางด้านจิตใจ เช่น ความเจริญในเมือง
รายได้ในชนบท
การจัดเก็บภาษี
ระบบสังคม
ที่ค่าจ้างในเมือง
โอกาสในการทำงาน
มูลค่าที่รับรู้ได้จากการย้ายถิ่น
ผลตอบแทนสุทธิที่คาดว่าจะได้รับจากการย้ายถิ่น
รายได้จากการรับจ้าง
ตัดสินใจ
ย้ายถิ่น
ต้นทุนทางด้านจิตใจ เช่น ความเสียง
ต้นทุนค่าเดินทาง
ค่าใช้จ่ายในการครองชีพ
ต้นทุนค่าเสียโอกาส
ต้นทุนในการย้ายถิ่น
แผนภูมิที่ 3 แสดงกระบวนการของการตัดสินใจย้ายถิ่น
ที่มา : (Torado, 1994:266 อ้างใน ธนกร จาตะวงษ์ 2540:17)
27
จากภาพจะพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการย้ายถิ่น ได้แก่ ความแตกต่างระหว่างรายได้ใน ตัวเมืองและชนบท ตลอดจนโอกาสที่จะได้งานทำในเมือง ซึ่งรายได้จากการทำงานในชนบทจะขึ้นกับอุปสงค์และอุปทาน ขณะที่รายได้ในเมืองจะขึ้นอยู่กับสถาบันต่างๆ เช่น องค์กรแรงงาน การแทรกแซงของรัฐบาล ในกระบวนการตัดสินใจในการย้ายถิ่นนั้น ผู้ย้ายถิ่นจะทำการเปรียบเทียบระหว่างระดับรายได้ในชนบทและรายได้ในเมือง รวมทั้งค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดยที่รายได้จากอาชีพเดิม และปัจจัยที่มีผลกระทบอื่นๆ ที่มีอยู่ เช่น ภาระหนี้สิน จำนวนพื้นที่ที่ถือครองใน ครัวเรือน หรือการเลียนแบบในสังคม ส่วนรายได้ในเมืองนั้นจะขึ้นอยู่กับระดับค่าจ้างและโอกาสในการได้งานทำ โดยที่ผู้ย้ายถิ่นจะหักค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเช่น ต้นทุนค่าเสียโอกาส ค่าเดินทาง ค่าครองชีพ เป็นต้น เมื่อได้ระดับรายได้สุทธิจากการย้ายถิ่นแล้ว หากมีผลตอบแทนที่คุ่มค่าก็จะมีการตัดสินใจย้ายถิ่นเกิดขึ้น ซึ่งก็จะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ทั้งนี้ เนื่องจากยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่เข้ามาเป็นตัวกำหนดอีก เช่น ระดับการศึกษา ระยะทาง และการรับรู้ข่าวสารของแต่ละบุคคล
แบบจำลองการย้ายถิ่นของ โทราโด (Torado’s model 1979 อ้างใน ทองคำ พรมดี 2532:43) กล่าวว่า กระบวนการย้ายถิ่นเป็นผลของความแตกต่างของเมืองและชนบทในเรื่อง เงินได้ที่คาดหวังมากกว่าเงินได้ที่หาได้จริง รวมถึงทฤษฎีการเร้า (cur-stimulus theory) ที่ไพบูลย์ เทวรักษ์ (2529:39) ได้สรุปไว้ว่าความคาดหวังที่จะได้รับสิ่งที่ดีกว่าพื้นฐานของตน มีส่วนก่อให้เกิดการแสดงพฤติกรรม
จากทฤษฎีของโบก (Bogue 1959 อ้างใน พิมพ์ลักษณ์ ดีสวัสดิ์ 2541:44) กล่าวว่า บุคคลทั่วไปจะมีความผูกพันกับครอบครัว เครือญาติ สังคม และท้องถิ่นที่อาศัยอยู่หากบุคคล พอใจกับสภาวะทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และสภาวะด้านอื่นๆ ในท้องถิ่นที่ตนอาศัยอยู่ก็ย่อมจะไม่คิดหรือไม่ต้องการละทิ้งถิ่นฐาน ครอบครัว และญาติมิตรไปอาศัยอยู่ในถิ่นที่อื่นในทางตรงกันข้ามหากโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมของถิ่นกำเนิดหรือท้องถิ่นที่อาศัยไม่เปิดโอกาสให้บุคคลเขยิบฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมของตนได้ตามที่ตนมุ่งหวัง หรือหากสภาวะทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองหรือสภาวะด้านอื่นๆ เปลี่ยนแปลงไปในแนวทางที่เป็นผลให้บุคคลไม่สามารถคงสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมไว้ในระดับที่ตนพอใจได้ บุคคลย่อมต้องการย้ายถิ่นไปอาศัยอยู่ในถิ่นอื่นที่คาดว่าสถานภาพของตนจะดีขึ้นดีกว่าเดิม นั่นคือเมื่อประเมินแล้ว และเห็นว่าการย้ายถิ่นจะอำนวยประโยชน์ให้คุ้มค่ากับค่าใช้จ่ายที่ตนต้องเสียไป ค่าใช้จ่ายเพื่อการย้ายถิ่นและประโยชน์จากการย้ายถิ่นที่กล่าวถึงนี้หมายถึงค่าใช้จ่ายและประโยชน์ทั้งที่เป็นตัวเงินและที่ไม่เป็นตัวเงิน
การศึกษาของอาร์โนล (Arnold) และโคครานน์ (Cochrane) (Prenia 1984:17 อ้างใน ทองคำ พรมดี 2532:44) ที่ได้เสนอผลวิจัยยืนยันว่า ในประเทศไทยเรานั้นรายได้มีความ เกี่ยวข้องอย่างสำคัญต่อการย้ายถิ่น และการศึกษาของ อภิชาติ จำรัสฤทธิรงค์ (2526:44-46) ที่ศึกษาการย้ายถิ่นออกจากบ้านทางช้าง จังหวัดอยุธยา ก็พบว่าความคาดหวังในรายได้ที่ดีกว่า เกี่ยวข้องอย่างสำคัญที่สุดในการย้ายถิ่น
28
จักรกฤษณ์ นรนิติผดุงการ และคณะ (2523:41-54) พบว่ากลุ่มตัวอย่างร้อยละ 38.6 ไม่พอใจในความเป็นอยู่อันเนื่องมาจากความคับแคบในรายได้ การพ่ายแพ้ต่อธรรมขาติ และความยากลำบากในการขายผลผลิต และความไม่พอใจในความเป็นอยู่อยากจะเปลี่ยนอาชีพ ทำให้บางครอบครัวแก้ปัญหาโดยการย้ายถิ่น ข้อสังเกตเกี่ยวกับความต้องการในมาตรฐานความเป็นอยู่ของชาวชนบทไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จังหวัดขอนแก่น) มีความพึงพอใจในมาตรฐานความเป็นอยู่เพียงเพื่อให้ครอบครัวอยู่ดีกินดีก็เพียงพอแล้ว มิได้หวังจนถึงขั้นทัดเทียมผู้อื่นหรือหวังมีหน้ามีตาแต่อย่างใด และจากการศึกษาของ ไชยยงค์ มงคลกิจงาม (2526 :49) พบว่าการย้ายถิ่นเกิดขึ้นเพราะมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ขัดสนมิใช่เพราะความอยากร่ำรวย
อภิชาติ จำรัสฤทธิ์รงค์ (2522:5) ศึกษาเหตุผลของการย้ายถิ่นเข้าสู่กรุงเทพมหานคร พบว่ามีเหตุผลด้านการเชื่อและไม่พอใจมาตรฐานความเป็นอยู่อันแร้นเค้นในถิ่นต้นทางคือ ชนบทที่อาศัยอยู่
ดำรง ฐานดี (2530:35) ได้กล่าวถึงแนวคิดเกี่ยวกับการย้ายถิ่นตามทฤษฎีความคาดหวังในรายได้ไว้ว่า การตัดสินใจย้ายถิ่นมีสาเหตุมาจาก ความแตกต่างระหว่างรายได้ในเมืองกับรายได้ในชนบทและโอกาสที่จะได้งานทำในเมืองกับค่าจ้างในชนบท เป็นสิ่งจูงใจให้ชาวชนบทย้ายถิ่นเข้าไปหางานทำในเมือง แต่ทว่าประเทศที่กำลังพัฒนา ไม่สามารถสร้างงานอุตสาหกรรมได้มากพอ หรือไม่สามารถว่าจ้างแรงงานได้มาก เนื่องจากใช้เครื่องจักรในการผลิตแทน ชาวชนบทที่ย้ายถิ่นเข้ามาจึงไม่สามารถหางานทำในภาคอุตสาหกรรมได้ตามที่คาดหวัง อย่างไรก็ตามแทนที่ผู้ย้ายถิ่นเหล่านี้จะย้ายกลับถิ่นเดิม คนเหล่านี้กลับอาศัยอยู่ในเมืองต่อไป เพื่อรอคอยโอกาสที่จะได้งานทำ โดยระหว่างรอคอยนั้นก็อาจไม่ได้งานทำ แต่อยู่ได้โดยอาศัยเงินออมที่ติดตัวมาหรือโดยการพักอาศัยอยู่กับญาติมิตรที่อยู่ในเมืองมาก่อน หรือแม้กระทั่งการอาศัยเงินที่ครอบครัวในชนบทส่งมาให้ หรือบางรายขาดเงินสนับสนุนก็อาจหันไปหางานทำในภาคที่ไม่เป็นทางการแทน ซึ่งรายได้ต่ำกว่าหรือเทียบเท่ากับรายได้ที่ได้รับในชนบท การทำงานในภาคไม่เป็นทางการนี้ จะเป็นการทำงานในลักษณะชั่วคราว เพื่อหาโอกาสที่จะเข้าสู่การทำงานในภาคอุตสาหกรรมต่อไป โดยผู้ย้ายถิ่นมีความคาดหวังว่าหากได้เข้าทำงานในภาคอุตสาหกรรมเมื่อใด ก็จะมีรายได้ชดเชยสิ่งที่เสียไปในระหว่างรอคอย และระหว่างการทำงานในภาคที่ไม่เป็นทางการ
จากการศึกษาของสมพร วุฒิวิวัยการ (2522:67-70) ศึกษาถึงปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อความต้องการเคลื่อนย้ายของประชากรในเขตโครงการจัดการลุ่มแม่น้ำสา อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ พบว่าผู้มีรายได้สูงมีสัดส่วนของผู้ที่ต้องการย้ายถิ่นสูงกว่ากลุ่มผู้ที่รายได้ต่ำ คือร้อยละ 74.20 และ 60.00 ตามลำดับ
จากการศึกษาของไพศาล ขำยัง (2515:11-14) เรื่องการอพยพแรงงานในจังหวัดชลบุรี พบว่าผู้ย้ายถิ่นมีรายได้จากอาชีพเกษตรกรรม ณ ท้องถิ่นเดิมต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับคนในท้องถิ่นเดิมที่ไม่เคยย้ายถิ่น คือมีรายได้อยู่ระหว่างปีละ 1,000-3,000 บาทต่อปี จึงต้องย้ายไปทำงานในจังหวัดชลบุรี เพื่อหารายได้เพิ่มเติมให้แก่ครัวเรือน ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ เฉลิมศรี ธรรมบุตร และคณะ (2517:87) ที่ได้ศึกษาถึงการย้ายถิ่นระหว่างชนบทของผู้ที่มีอาชีพขุดพลอย
29
กิ่งอำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด ที่พบว่าสาเหตุสำคัญของการย้ายถิ่นจากเดิมประการหนึ่งก็คือ อาชีพการเกษตรเดิมมีรายได้น้อยและไม่แน่นอน เนื่องจากต้องอาศัยธรรมชาติ ทำให้เกิดการว่างงานในบางฤดูกาลจึงมีการย้ายเข้ามาเสี่ยงโชคเพื่อหางานทำ ส่วนการศึกษาของ ประดิษฐ์ ชาสมบัติ (2517:85) เรื่องการเคลื่อนย้ายแรงงานจากชนบทเข้าสู่เมืองและประโยชน์ที่มีต่ออุตสาหกรรม ก็ได้พบเช่นกันว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการอพยพแรงงานที่สำคัญประการหนึ่งคือรายได้ต่ำ นอกจากนั้นยังมีการศึกษาของ ชวรีย์ ยาวุฒิ (2518:85) พบว่าแรงงานอพยพมาจากอาชีพเกษตรเป็นส่วนใหญ่ และเป็นผู้ที่มีรายได้จากการประกอบอาชีพต่ำจึงมุ่งเข้าสู่ตัวเมืองเพื่อหารายได้ที่สูงกว่าเดิม และการศึกษาของ สุนิตย์ จีระพิษณุกุล (2527:ก) พบว่า ผู้มีรายได้น้อยต้องการย้ายถิ่นตามฤดูกาลมากกว่าผู้มีรายได้สูง
1. การได้รับการยอมรับสถานภาพทางสังคมในภูมิลำเนา
จากทฤษฎีของโบก (Bogue 1959 อ้างใน พิมพ์ลักษณ์ ดีสวัสดิ์ 2541:44) กล่าวว่า หากโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมของถิ่นกำเนิดหรือท้องถิ่นที่อาศัยไม่เปิดโอกาสให้บุคคลเขยิบฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมของตนได้ตามที่ตนมุ่งหวัง หรือหากสภาวะทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองหรือสภาวะด้านอื่นๆ เปลี่ยนแปลงไปในแนวทางที่เป็นผลให้บุคคลไม่สามารถคงสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมไว้ในระดับที่ตนพอใจได้ บุคคลย่อมต้องการย้ายถิ่นไปอาศัยอยู่ในถิ่นอื่นที่คาดว่าสถานภาพของตนจะดีขึ้นดีกว่าเดิม
ชมพูนุช บุญยเนตร (2535:32) กล่าวว่า บุคคลย่อมต้องการย้ายถิ่นไปอาศัยอยู่ในถิ่นที่อื่นที่คาดว่าสถานภาพของตนจะดีขึ้นกว่าเดิม ในกรณีที่ย้ายถิ่นโดยสมัครใจนั้น กระแสการย้ายถิ่นมักจะออกจากท้องถิ่นที่มีสภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมที่ด้อยกว่าเข้าสู่ท้องถิ่นที่มีสภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมที่ดีกว่า เนื่องจากบุคคลเปรียบเทียบสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของตนในท้องถิ่นที่อาศัยอยู่กับสถานภาพที่คาดว่าจะได้รับเมื่อย้ายถิ่นเข้าไปอาศัยอยู่ในท้องถิ่นอื่น หากเห็นว่าเมื่อย้ายถิ่นแล้วตนจะมีสถานภาพทุกด้านดีขึ้นกว่าเดิม บุคคลนั้นย่อมจะตัดสินใจย้ายถิ่น
2. โอกาสทางการศึกษาต่อในเมืองใหญ่
ทฤษฎีของลี (Lee 1966 อ้างใน โรจนา ภักดีธรรม 2528:5) การศึกษาเป็นปัจจัยดึงดูดให้เกิดการย้ายถิ่น เพราะผู้ย้ายถิ่นคาดหวังจะได้รับโอกาสทางการศึกษาที่ดีกว่า
แนวคิดของโบกก์ (Bogue 1959:754 อ้างใน โรจนา ภักดีธรรม 2528:5) เสนอแนวคิดที่ว่าการศึกษานับเป็นปัจจัยสำคัญทำให้เกิดการตัดสินใจย้ายถิ่น เขากล่าวว่า “โอกาสที่จะได้รับการศึกษาสูงตามที่คาดหวังนั้น ถือเป็นปัจจัยดึงดูดให้เกิดการย้ายถิ่น
จากการศึกษาของบราวนิ่ง (Browning 1971อ้างใน โรจนา ภักดีธรรม 2528:5) ผู้ย้ายถิ่นไปเมืองใหญ่มีการศึกษาสูงกว่าและมีความสามารถในการใช้ภาษาได้ดีกว่าคนในถิ่นเดิม นอกจากนี้แล้วยังมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่จะย้ายถิ่น ระบบการศึกษากระตุ้นให้มีการย้ายออก เพราะเท่ากับบังคับให้คนหนุ่มสาวออกจากชุมชนถ้าต้องการเรียนให้สำเร็จ
30
จากการศึกษาของซูซาน โมวัท (Susan Mowat 1977) พบว่า สาเหตุการย้ายถิ่นเข้าสู่กรุงเทพมหานคร ผู้ย้ายถิ่นที่มีการศึกษาสูงมักจะย้ายถิ่นเพื่อให้มีโอกาสในการศึกษาสูงขึ้น และการย้ายถิ่นของผู้มีการศึกษาสูงเพื่อการศึกษาต่อมีอัตราส่วนสูงกว่าการย้ายถิ่นเพราะเหตุผลเดียวกันนี้สำหรับผู้มีการศึกษาต่ำ โดยผู้ย้ายถิ่นที่มีการศึกษาต่ำมักอ้างเหตุผลในการย้ายถิ่นเกี่ยวกับปัจจัยทางเศรษฐกิจเป็นส่วนใหญ่
ลัดดา สุวรรณเพิ่ม (2526:จ) ศึกษาเรื่องการย้ายถิ่นเพื่อการศึกษาในวิทยาลัยครูกลุ่มนครหลวง พบว่าสาเหตุที่นักศึกษาต้องย้ายถิ่น คือ ชอบที่จะศึกษาวิชาชีพครูและเชื่อว่าวิทยาลัยครูที่ตนย้ายเข้ามาเรียนมีคุณภาพมากกว่าวิทยาลัยครูในภูมิลำเนาเดิม ความคาดหวังของนักศึกษาที่ย้ายถิ่นเพื่อการศึกษานี้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีโครงการจะศึกษาต่อ อีกกลุ่มมีโครงการกลับไปทำงานที่ภูมิลำเนาเดิม โดยกลุ่มที่มีโครงการจะกลับไปทำงานที่ภูมิลำเนาเดิมมีเหตุผลว่าบรรยากาศในชนบทน่าอยู่ ชีวิตไม่ต้องดิ้นรน ค่าครองชีพสูงและเห็นว่าการศึกษาต่อต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง
3. ความผูกพันต่อครอบครัวและชุมชน
อภิชาติ จำรัสฤิทธิรงค์และเพียงใจ สมพงษ์ (2525:186) กล่าวว่า ความผูกพันกับครอบครัวและชุมชน หมายถึง ความรู้สึกอยากใกล้ชิดและอยากเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวและชุมชนเดิมที่นักศึกษา เคยอาศัยอยู่ก่อนการย้ายถิ่นเพื่อการศึกษา เนื่องจากคุณลักษณะส่วนตัวของนักศึกษาส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดที่ศึกษาเป็นคนวัยหนุ่มสาว มีความกระตือรือร้นและมีความทันสมัย ประกอบกับลักษณะความแตกต่างระหว่างเมืองกับชนบทมีความแตกต่างกันน้อย จึงทำให้ผู้ย้ายถิ่นเพื่อการศึกษาสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ได้ ความรู้สึกผูกพันกับ ครอบครัวและชุมชนจึงมีน้อยกว่าผู้สูงอายุ ดังนั้นกลุ่มนี้จึงมีการย้ายถิ่นสูงและโอกาสที่จะต้องย้ายกลับภูมิลำเนาเดิมจึงมีน้อยมาก
จากการศึกษาของสุชาดา ทวีสิทธิ์ (2529:30) เรื่องการเคลื่อนย้ายเชิงพื้นที่ของแรงงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ : ศึกษากรณีจังหวัดปัตตานีพบว่า การได้รับการสนับสนุนจากบุคคลในครัวเรือนเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญที่สุดในจังหวัดปัตตานีที่เสริมให้มีการย้ายถิ่นสูง
ยุทธดนัย สีดาหล้า (2540:5) กล่าวว่า ความผูกพันต่อครอบครัวเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจย้ายถิ่น เพราะความผูกพันต่อครอบครัวเป็นความต้องการที่จะรักษาสิ่งที่ตนเองมีอยู่ในครอบครัว เช่น สิทธิต่างๆ ในครอบครัว ความรักใคร่ ความคิดถึงที่คนในครอบครัวมีต่อตนเอง จึงต้องแสดงพฤติกรรมเพื่อรักษาสิ่งนั้นไว้ โดยการกลับมาเยี่ยมบ้านหรือย้ายถิ่นกลับมาอยู่กับครอบครัว
จากการศึกษาของอารี เพชรผุด (2517:45-87) ถึงสาเหตุที่นักศึกษาวิทยาลัยครูไม่ต้องการออกไปทำงานในชนบทโดยใช้กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับป.กศ.ต้น, ป.กศ.สูง และ ป.ป.ที่กำลังจะจบการศึกษา พบว่าเมื่อศึกษาถึงมูลเหตุจูงใจที่เกี่ยวกับภูมิลำเนา นักศึกษาวิทยาลัยครูทุกกลุ่มไม่ว่าจะอยู่ในชนบท ชานเมืองหรือในเมืองก็ต้องการทำงานในเมืองเท่าๆ กัน หรือไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญอันแสดงถึงทัศนคติของนักศึกษาบางกลุ่มที่มีภูมิลำเนาในชนบทว่า
31
นักศึกษาเหล่านี้ไม่ได้มีความรู้สึกรักหรือผูกพันกับถิ่นกำเนิดของตน และเมื่อได้เข้ามาศึกษาในวิทยาลัยครู ซึ่งอยู่ในเมืองก็ทำให้เกิดความคิดอยากอยู่ในเมืองตลอดไป เพราะมีความสะดวกสบายมากกว่า ยิ่งตนเองเคยได้รับความลำบากหรือความไม่สะดวกต่างๆ ก็ยิ่งคิดจะไม่กลับไปชนบทมากขึ้น จึงใช้โอกาสที่ตนได้เข้ามาศึกษาต่อในเมือง หางานทำแทนที่จะกลับไปพัฒนาถิ่นเดิมของตนให้เจริญขึ้น ความคิดที่ว่านักศึกษากลุ่มนี้ควรจะรักถิ่นกำเนิด ยังไม่เกิดขึ้นหรือเกิดขึ้นแต่เพียงเล็กน้อย ไม่เข้มข้นพอที่จะจูงใจให้ออกไปทำงานในชนบทได้ ทั้งนี้อาจเนื่องจากว่าวิทยาลัยครูตลอดจนครอบครัวไม่ได้ปลูกฝังค่านิยม และทัศนคติให้เกิดความผูกพันกับถิ่นกำเนิด จึงทำให้ชนบทขาดผู้นำในการพัฒนาที่สำคัญไป ทำให้ชนบทมีการพัฒนาได้ช้ามาก
อีกทั้งความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนในเมืองและในชุมชนมีความแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลให้เกิดระดับของความผูกพันระหว่างคนสองกลุ่มที่แตกต่างกัน ดังที่ Wirth (Wirth 1938:10-18 อ้างใน สุรัตน์ ชุ่มจิตต์ 2538:13) ยังได้เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างชีวิตในเมืองและชีวิตในชนบท จุดประสงค์ก็เพื่อจะได้เข้าใจ “วิถีชีวิตในเมือง” ได้ลึกซึ้งและชัดเจนยิ่งขึ้น คือ
1. ความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างผู้คนในเมืองจะต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับชาวชนบท
2. ความสัมพันธ์ทางสังคมของผู้คนในเมืองส่วนใหญ่จะเป็นความสัมพันธ์ที่ไม่มีความเป็นส่วนตัว มีความผิวเผิน ชั่วครั้งชั่วคราว และเป็นความสัมพันธ์เฉพาะด้านใดด้านหนงเท่านั้น ผู้คนมีความสัมพันธ์กับคนอื่นก็เพื่อเป็นแนวทางที่จะทำให้ตนเองบรรลุเป้าหมาย ผู้คนที่ไม่มีความผูกพันอย่างใกล้ชิดกันในทางด้านอารมณ์ ทำให้เกิดการแข่งขัน ส่วนผู้คนในชนบทจะมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันมีสัญชาตญาณของความร่วมมือกัน
3. เมื่อเทียบกับชาวชนบทแล้ว ผู้คนที่อยู่ในเมืองมักเป็นสมาชิกของหลายๆ กลุ่ม จึงทำให้ผู้คนขาดจิตสำนึกที่จะจงรักภักดีต่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ผู้คนจะมีการปฏิสังสรรค์ทางสังคมคบหาสมาคมกับบุคลอื่นมากกว่า
4. ประชากรในเมืองจะมีความหนาแน่นมากกว่าประชากรในชนบท ทำให้เกิดการแบ่งแรงงานขึ้นในเมือง
จากการศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องดังกล่าวมาแล้วข้างต้น ผู้วิจัยสนใจศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาของนักศึกษา สถาบันราชภัฏ-บ้านสมเด็จเจ้าพระยา
บทที่ 3
วิธีดำเนินการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงความตั้งใจในการย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาของนักศึกษา ภาคปกติ ชั้นปีที่ 4 สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ดังนี้
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร
ประชากรที่ศึกษาในครั้งนี้เป็น นักศึกษาที่กำลังศึกษาชั้นปีที่ 4 ภาคปกติ ปีการศึกษา 2545 มีประชากรเป็นกลุ่มเป้าหมายจำนวนทั้งสิ้น 1090 คน แยกตามโปรแกรมการศึกษา ดังนี้
คณะครุศาสตร์ จำนวน 299 คน
คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ จำนวน 160 คน
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 329 คน
คณะวิทยาการจัดการ จำนวน 302 คน
การสุ่มตัวอย่าง
ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการสุ่มตัวอย่างจากประชากร โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ (systematic random sampling) มีขั้นตอนดังนี้
1. คำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากประชากร โดยใช้สูตรของ ยามาเน่ จากจำนวนประชากร 1090 คน เมื่อกำหนดความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้เท่ากับ 0.05 ได้ขนาดตัวอย่าง 293 คน (เพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยจึงขอใช้ขนาดตัวอย่างจำนวน 300 คน) (Taro Yamane : 580-581 อ้างใน วิเชียร เกตุสิงห์ 2537:27) ดังสูตร
n = N
( 1 + N (e)2 )
เมื่อ n = คือ จำนวนตัวอย่าง หรือ ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง
N = คือ จำนวนหน่วยทั้งหมด หรือขนาดของประชากร
33
ซึ่งในการวิจัยครั้งนี้มี 853 คน
e = คือ ค่าความน่าจะเป็นของความผิดพลาดที่ยอมรับให้เกิดได้
มีค่าเท่ากับ 0.05
แทนค่า
n = 1,090
1+1,090 (.05)2
n = 292.6 = 293 คน (เพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยจึงขอใช้ขนาดตัวอย่างจำนวน n = 300 คน)
2. สุ่มตัวอย่างจากนักศึกษาภาคปกติ ชั้นปีที่ 4 สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ด้วยวิธีการสุ่มแบบมีระบบดังนี้
2.1 คำนวณสัดส่วนนักศึกษาภาคปกติ ชั้นปีที่ 4 เพื่อสุ่มตัวอย่างนักศึกษาจำนวน 300 คน แยกตามโปรแกรมการศึกษา ดังนี้
โปรแกรม ประชากร สุ่มตัวอย่าง
คณะครุศาสตร์ 299 คน 87 คน
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 160 คน 85 คน
คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ 329 คน 83 คน
คณะวิทยาการจัดการ 302 คน 45 คน
รวม 1090 คน 300 คน
2.2 สุ่มตัวอย่างนักศึกษาภาคปกติ ชั้นปีที่ 4 โดยนำรายชื่อนักศึกษามาเรียงตามรหัสนักศึกษาผู้วิจัยใช้สุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ คือ
2.2.1 คำนวณหาช่วงที่จะเลือกสมาชิก โดยเอาจำนวนประชากร = 1090 คน หารด้วย จำนวนสมาชิกกลุ่มตัวอย่างที่ต้องการจะเลือก = 300 คน =1090 ช่วงที่จะกำหนดสมาชิก = 3.6 = 4 โดยประมาณ 300
2.2.2 เลือกสมาชิกกลุ่มตัวอย่างคนแรก โดยสุ่มตัวอย่างแบบง่ายด้วยการจับสลากตามรหัสนักศึกษา ทั้งนี้จะคัดเลือกเฉพาะนักศึกษาที่มีภูมิลำเนาเดิมอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเท่านั้น หากจับสลากขึ้นมาแล้วพบว่านักศึกษามีภูมิลำเนาอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จะ
34
เลือกนักศึกษารหัสถัดไป และเลือกสมาชิกกลุ่มตัวอย่างคนต่อไป โดยการนำเอา 4 บวกกับสมาชิกคนแรกและคนต่อๆไป จนได้สมาชิกกลุ่มตัวอย่างตามจำนวนที่ต้องการ
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ในการวิจัยครั้งนี้ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยแบบสอบถามแบ่งออกเป็น 3 ตอน คือ
ตอนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคลของนักศึกษา
ตอนที่ 2 แบบวัดระดับความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนา
ตอนที่ 3 แบบวัดระดับความคาดหวังโอกาสในการประกอบอาชีพในภูมิลำเนา ระดับรายได้ที่น่าพอใจในภูมิลำเนา การได้รับการยอมรับสถานภาพทางสังคมในภูมิลำเนา ความผูกพันต่อครอบครัวและชุมชน และโอกาสทางการศึกษาต่อในกรุงเทพฯ
ตอนที่ 4 แบบวัดระดับเหตุผลของปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนา
ลักษณะของเครื่องมือประกอบด้วย
ส่วนที่ 1 เป็นข้อมูลส่วนบุคคลของนักศึกษา คือ ชั้นปีการศึกษา โปรแกรมการศึกษา ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา ภูมิลำเนาเดิม ความสามารถพิเศษ
ส่วนที่ 2 แบบวัดระดับความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนา เป็นแบบประเมินค่า 5 ระดับ ตามแนวคิดของลิเคิร์ต (Likert) ซึ่งกำหนดระดับคะแนนดังนี้
ระดับความตั้งใจ ข้อความเชิงบวก ข้อความเชิงลบ
กลับแน่ 5 1
ค่อนข้างแน่ 4 2
ไม่แน่ใจ 3 3
ไม่กลับ 2 4
ไม่กลับแน่ 1 5
35
ส่วนที่ 3 แบบวัดระดับความคาดหวังโอกาสในการประกอบอาชีพในภูมิลำเนา ระดับรายได้ที่น่าพอใจในภูมิลำเนา การได้รับการยอมรับสถานภาพทางสังคมในภูมิลำเนา โอกาสทางการศึกษาต่อในกรุงเทพฯ และระดับความผูกพันต่อครอบครัวและชุมชน เป็นแบบประเมินค่า 5 ระดับ ตามแนวคิดของลิเคิร์ต (Likert) ซึ่งกำหนดระดับคะแนนดังนี้
ระดับความคาดหวัง ข้อความเชิงบวก ข้อความเชิงลบ
มากที่สุด 5 1
มาก 4 2
ไม่แน่ใจ 3 3
น้อย 2 4
น้อยมาก 1 5
ส่วนที่ 4 แบบวัดระดับเหตุผลของปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนา เป็นแบบประเมินค่า 5 ระดับ ตามแนวคิดของลิเคิร์ต (Likert) ซึ่งกำหนดระดับคะแนนดังนี้
ระดับการตัดสินใจ ข้อความเชิงบวก ข้อความเชิงลบ
กลับแน่ 5 1
ค่อนข้างแน่ 4 2
ไม่แน่ใจ 3 3
โอการน้อยมาก 2 4
ไม่กลับแน่ 1 5
เกณฑ์ในการวัดผล
คะแนนสะสม ระดับ ต่ำกว่า 2.00 มีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาระดับน้อย
ระดับ 2.00-2.49 มีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาระดับปานกลาง
ระดับ 2.50-2.99 มีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาระดับค่อนข้างดี
ระดับ 3.00-4.00 มีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาระดับสูง
ความสามารถพิเศษ ระดับ 1.00 – 2.00 ความสามารถพิเศษน้อย
ระดับ 2.01 - 3.00 ความสามารถพิเศษปานกลาง
ระดับ 3.01 - 4.00 ความสามารถพิเศษอยู่ในเกณฑ์ดี
ความคาดหวังของปัจจัย 1.00 – 2.33 ระดับความคาดหวังต่ำ
3.68 – 5.00 ระดับความคาดหวังสูง
36
2.34 - 3.67 ระดับความคาดหวังปานกลาง
ระดับความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนา
3.68 – 5.00 ระดับความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาสูง
2.34 - 3.67 ระดับความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาปานกลาง
1.00 – 2.33 ระดับความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาต่ำ
การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ

ความตั้งใจย้ายถิ่นกลับสู่ภูมิลำเนาเดิมของนักศึกษา (ตอนที่ 1)
ความตั้งใจย้ายถิ่นกลับสู่ภูมิลำเนาเดิมของนักศึกษา (ตอนที่ 2)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น