วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียน (ตอนที่ 1)



ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียน
อนุบาลเอกชน ในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
นางสาวอิสรานุช กิจสมใจ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาการบริหารการศึกษา
ปีการศึกษา 2546
ISBN :
ลิขสิทธิ์ของสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

NEED OF CHILDREN’S PARENTS TOWARD EDUCATIONAL
MANAGEMENT IN KINDERGARTEN SCHOOL IN
THONBURI DISTRICT, BANGKOK METROPOLIS.
MISS ISSARANUCH GITSOMCHAI
A Thesis Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements
for the Master of Education (Educational Administration)
at Rajabhat Institute Bansomdejchopraya
Academic Year 2003
ISBN :

วิทยานิพนธ์ ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียน
อนุบาลเอกชน ในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
โดย นางสาวอิสรานุช กิจสมใจ
สาขา การบริหารการศึกษา
ประธานกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ ดร.อรรณพ จีนะวัฒน์
กรรมการ ดร.เปรมสุรีย์ เชื่อมทอง
บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา อนุมัติให้วิทยานิพนธ์นี้เป็น ส่วนหนึ่ง
ของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญา ครุศาสตรมหาบัณฑิต
……………………………………………… คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
(ดร.สรายุทธ์ เศรษฐขจร)
คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์
……………………………………………… ประธานกรรมการ
(ศาสตราจารย์ ดร.สายหยุด จำปาทอง)
……………………………………………… กรรมการ
(ดร.อรรณพ จีนะวัฒน์)
……………………………………………… กรรมการ
(ดร.เปรมสุรีย์ เชื่อมทอง)
……………………………………………… กรรมการ
(นายทวีศักดิ์ จงประดับเกียรติ)
……………………………………………… กรรมการและเลขานุการ
(รองศาสตราจารย์ ดร.นันทา วิทวุฒิศักดิ์)
ลิขสิทธิ์ของสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

อิสรานุช กิจสมใจ. (2546) ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียน
อนุบาลเอกชนในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต.
กรุงเทพมหานคร : บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
กรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ : ดร.อรรณพ จีนะวัฒน์ , ดร.เปรมสุรีย์
เชื่อมทอง.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการจัด
การศึกษาของโรงเรียนอนุบาลเอกชนในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร และเพื่อเปรียบเทียบความ
ต้องการของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนอนุบาลเอกชนในเขตธนบุรี
กรุงเทพมหานคร จำแนกตามระดับการศึกษา และรายได้รวมของครอบครัว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน
การวิจัย ได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนอนุบาลเอกชนในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร จำนวน
350 คน ค่าสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (X) และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
(S.D.) และค่าสถิติ ที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนอนุบาลเอกชนในเขตธนบุรี
กรุงเทพมหานคร มีความต้องการเกี่ยวกับการจัดการศึกษาอยู่ในระดับมาก 4 ด้าน เรียงตามลำดับ
คือ ด้านการพัฒนาการของเด็ก ด้านบุคลากร ด้านการส่งเสริมสุขภาพอนามัย และด้านการ
จัดประสบการณ์ ส่วนด้านการจัดสภาพแวดล้อม และด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับ
ผู้ปกครองมีความต้องการ อยู่ในระดับปานกลาง โดยมีความต้องการในเรื่องการฝึกเด็กให้สามารถ
ช่วยตัวเองได้เหมาะสมกับวัย อยู่ในระดับสูงสุด รองลงมาได้แก่ ครูมีบุคลิกภาพที่ดีเป็นแบบอย่าง
ของนักเรียน และ ฝึกให้เด็กรู้จักรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตัวเอง ส่วนการเปรียบเทียบพบว่า
ผู้ปกครองที่มีระดับการศึกษาและรายได้รวมของครอบครัวแตกต่างกันมีความต้องการต่อการ
จัดการศึกษาแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญที่ระดับ .05

MISS. ISSARANUCH GITSOMCHAI. (2003) NEED OF CHILDREN’S PARENTS
TOWARD EDUCATION MANAGEMENT IN KINDERGARTEN
SCHOOL IN THONBURI DISTRICT, BANGKOK METROPOLIS.
RAJABHAT INSTITUTE BANSOMDEJCHOAPRAYA. ADVISOR
COMMITTEE : DR. UNNOP JEENAWATHANA, DR. PREAMSUREE
CHEARMTHONG.
The purposes of the study were (1) to study the need of children’s parents toward
educational management of the kindergarten school in Thonburi district, Bangkok Metropolis and
(2) to compare the need of Children’s parents toward educational management classified by the
parents’ education and the total in come.
350 parents were used for the study. The datas were analyed by percentage, mean,
standard deviation and t-test.
The finding of the study were as following :
1) The need of children’s parents toward educational management of kindergarten
school in thonburi district Bangkok Metropolis, in four aspects ; the children development, the
personnel, the health development and the experience management were in high level. The
enviromental management and the relationship between school and parents were in the medium
level.
2) The need of children’s parents who had different in education and the total in
come were not significant difference at the 0.05 level.

ประกาศคุณูปการ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้สำเร็จได้ด้วยดี เพราะได้รับความกรุณาอย่างสูงจาก ดร.อรรณพ
จนี ะวฒั น  ประธานกรรมการทปี่ รกึ ษาวทิ ยานพิ นธ  ดร.เปรมสุรยี ์ เชอื่ มทอง กรรมการที่ปรึกษา
วิทยานิพนธ์ รศ. ดร.นันทา วิทวุฒิศักดิ์ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนาสถาบันราชภัฏ
บ้านสมเด็จเจ้าพระยา และอาจารย์ทวีศักดิ์ จงประดับเกียรติ รองผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมสาธิต
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ที่กรุณาให้คำแนะนำ ตรวจสอบ ตลอดจนแก้ไขข้อบกพร่อง
ต่าง ๆ ด้วยความเมตตาอย่างดียิ่ง ผู้วิจัยขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูง
ขอขอบพระคุณผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่านที่ได้กรุณาตรวจสอบ เครื่องมือในการวิจัย ซึ่งประกอบ
ด้วย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.รัตนา ศิริพานิช คณะครุศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
พระนครเหนือ ผศ.ขวัญฟ้า รังสิยานนท์ คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏสวนดุสิต นายอารย์
ปาลเดชพงศ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลเด่นหล้า นางวีณา สุนทรรัตน์ ผู้อำนวยการโรงเรียน
ราชบพิธ เขตพระนคร นางจิดาภา เหมะธุลิน อาจารย์ใหญ่โรงเรียนวัดขุนจันทร์ เขตธนบุรี โดยเฉพาะ
อย่างยิ่ง นางกมลจิตร ดวงศรี นักวิชาการศึกษา 8ว สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
และนางอรุณี ไชยบุตร ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนวัดเวฬุราชิณ กรุงเทพมหานคร ที่คอยให้คำแนะนำ
ปรึกษาอย่างใกล้ชิด นายวรวัลลภ แช่มชื่น น้องดิว น้องแดน ผู้เป็นกำลังใจมาโดยตลอด
ขอขอบพระคุณผู้บริหารโรงเรียนอนุบาล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน
ในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ที่ให้ความอนุเคราะห์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
คุณประโยชน์และแนวทางอันพึงมีจากวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ขอมอบแด่บุพการี ตลอดทั้ง
ผู้มีพระคุณที่ช่วยเหลือสนับสนุนแก่ผู้วิจัยทุกท่าน
อิสรานุช กิจสมใจ

สารบัญ
หน้า
บทคัดย่อภาษาไทย ง
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ จ
ประกาศคุณูปการ ฉ
สารบัญ ช
สารบัญตาราง ญ
บทที่ 1 บทนำ 1
1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา 1
1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย 4
1.3 ประโยชน์ของการวิจัย 4
1.4 ขอบเขตของการวิจัย 4
1.5 นิยามศัพท์เฉพาะ 5
1.6 กรอบความคิดในการวิจัย 6
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 7
2.1 ความสำคัญของการจัดการศึกษาในระดับก่อนประถมศึกษา 7
2.2 แนวคิดการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา 8
2.3 หลักสูตรก่อนประถมศึกษา พุทธศักราช 2540 9
2.4 ปัจจัยการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา 12
2.4.1 ด้านบุคลากร 12
2.4.2 ด้านการจัดสภาพแวดล้อม 16
2.4.3 ด้านการจัดประสบการณ์ 20
2.4.4 ด้านการส่งเสริมสุขภาพอนามัย 22
2.5.5 ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง 26
2.4.6 ด้านพัฒนาการเด็ก 28
2.5 ทฤษฎีที่เกี่ยวกับความต้องการ 37
2.6 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 43

สารบัญ (ต่อ)
หน้า
บทที่ 3 วิธีการดำเนินการวิจัย 50
3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 50
3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 51
3.3 ขั้นตอนในการสร้างเครื่องมือ 52
3.4 การเก็บรวบรวมข้อมูล 52
3.5 การวิเคราะห์ข้อมูลและค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ 52
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 54
4.1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม 55
4.2 ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนจำแนกรายด้านและรวมทุกด้าน 57
4.3 ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนด้านบุคลากร 58
4.4 ด้านการจัดสภาพแวดล้อม 59
4.5 ด้านการจัดประสบการณ์ 60
4.6 ด้านการส่งเสริมสุขภาพอนามัย 62
4.7 ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง 63
4.8 ด้านพัฒนาการของเด็ก 64
4.9 เปรียบเทียบความต้องการของนักเรียนต่อการจัดการศึกษา
จำแนกตามระดับการศึกษา 65
4.10 เปรียบเทียบความต้องการของนักเรียนต่อการจัดการศึกษา
จำแนกตามรายได้ของครอบครัว 66
บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ 67
5.1 วัตถุประสงค์ของการวิจัย 67
5.2 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 67
5.3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 68
5.4 การเก็บรวบรวมข้อมูล 68
5.5 การวิเคราะห์ข้อมูล 68

สารบัญ (ต่อ)
หน้า
5.6 สรุปผลการวิจัย 69
5.7 อภิปรายผล 70
5.8 ข้อเสนอแนะ 75
บรรณานุกรม 76
ภาคผนวก 80
ภาคผนวก ก แบบสอบถามเพื่อการวิจัย 81
ภาคผนวก ข รายชื่อผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเครื่องมือ 90
ภาคผนวก ค หนังสือราชการที่เกี่ยวข้อง 92
ภาคผนวก ง ประวัติผู้วิจัย 94

สารบัญตาราง
หน้า
ตารางที่ 1 จำนวนประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 41
ตารางที่ 2 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม 55
ตารางที่ 3 ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนจำแนกเป็นรายด้านและรวมทุกด้าน 57
ตารางที่ 4 ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนด้านบุคลากร 58
ตารางที่ 5 ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนด้านการจัดสภาพแวดล้อม 59
ตารางที่ 6 ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนด้านการจัดประสบการณ์ 60
ตารางที่ 7 ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนด้านการส่งเสริมสุขภาพอนามัย 61
ตารางที่ 8 ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนด้านความสัมพันธ์
ระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง 63
ตารางที่ 9 ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนด้านการพัฒนาการของเด็ก 64
ตารางที่ 10 เปรียบเทียบความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนจำแนกตามระดับการศึกษา 65
ตารางที่ 11 เปรียบเทียบความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนจำแนกตาม
รายได้รวมของครอบครัว 66
บทที่ 1
บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่สำคัญที่สุดในการพัฒนา เพราะทั้งร่างกาย จิตใจ สมอง และอุปนิสัย
ของบุคคลจะสร้างและหล่อหลอมได้ดีในเด็กวัยนี้…เด็กปฐมวัยจะมีธรรมชาติและลักษณะเฉพาะที่
แตกต่างไปจากวัยอื่น ๆ ซึ่งหากผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถสร้างแบบแผนทางพฤติกรรม และเจตคติที่ดี
ให้แก่เด็กปฐมวัยได้แล้ว เด็กปฐมวัยจะสามารถเติบโต และมีชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข
ดังนั้น ผู้ที่เกี่ยวข้องจึงควรจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติ และลักษณะของเด็กปฐมวัย เพื่อที่
จะได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กมีพัฒนาการไปในทิศทางที่ถูกต้องอันจะเป็นประโยชน์
ทั้งต่อตัวเด็กเอง สังคม และประเทศชาติต่อไป (พัชรี สวนแก้ว, 2536 : 3) ดังพระราชดำริของ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ความว่า “การศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา
และการอบรมเลี้ยงดูเด็กมีความสำคัญมาก เนื่องจากพัฒนาการทุกด้านที่เจริญเติบโตสมวัยจะเป็น
พื้นฐานที่ดีของบุคคล ครอบครัว และสังคม (สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ,
2538 : 7)
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ( พ.ศ.2540 – 2544 ) ได้มุ่งเน้นในการ
พัฒนาคนโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของทุกคน ทั้งทางด้านร่างกายและสติปัญญา
ให้มีสุขภาพพลานามัยแข็งแรง มีความรู้ความสามารถ มีทักษะในการประกอบอาชีพ มีความ
สามารถในการปรับตัวให้ทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงในด้านเศรษฐกิจ สังคมและการปกครอง
จึงได้กำหนดเป้าหมาย ที่เป็นเครื่องชี้วัดผลการพัฒนา โดยการเพิ่มปริมาณการเตรียมความพร้อม
ของเด็กปฐมวัย (0 - 5 ปี) อย่างมีคุณภาพ เพื่อเพิ่มคุณภาพการจัดการศึกษาทุกระดับ (สำนักงาน
คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2540 : 12 - 13) โดยรัฐมีหลักความเชื่อมั่นพื้นฐาน
ว่าการศึกษาเป็นกระบวนการที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาคนให้มีคุณภาพ สามารถสร้างสรรค์ความ
เจริญก้าวหน้าแก่สังคมไทย ( สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาต.ิ 2534 : คำนำ ) รฐั จงึ ได้
ส่งเสริมให้การจัดการศึกษาระดับปฐมวัยในปัจจุบัน เป็นการจัดการศึกษาในลักษณะการอบรม
เลี้ยงดูให้การศึกษาแก่เด็กทุกด้านโดยให้ครอบคลุมเด็กทุกประเภท และส่งเสริมให้หน่วยงานต่าง ๆ
มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาระดับนี้ (กรมวิชาการ 2540 : 31 ) ดังเห็นได้จากพระราชบัญญัติ
2
การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ในมาตราที่ 7 ข้อ 6 มาตราที่ 18 และมาตราที่ 41 ที่ระบุให้ครอบครัว
ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา
สถานประกอบการและสถาบันอื่น ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้
สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น (กรมวิชาการ. 2542 ข : 8 , 15 , 32 )
สภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน และสังคมที่เปลี่ยนไป ทำให้พ่อแม่และญาติผู้ใหญ่ของเด็ก
ต้องออกไปทำงานนอกบ้าน เด็กขาดการอบรมเลี้ยงดูที่ดี รัฐบาลตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว และ
เห็นความสำคัญของการจัดการศึกษาและการอบรมเลี้ยงดูเด็กในระดับปฐมวัยเป็นอย่างยิ่ง จึงได้
กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ให้มีการจัดการศึกษาในระดับนี้ไว้ใน
หน่วยงานต่าง ๆ ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว ซึ่งแต่ละหน่วยงานที่รับผิดชอบการจัดการศึกษาและอบรม
เลี้ยงดูเด็กปฐมวัย จะมีรูปแบบการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กที่แตกต่างกันไปทำให้มีปัญหาในเรื่อง
การให้บริการวิชาการ โดยเฉพาะหลักสูตรที่ใช้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการพัฒนาการ การเตรียมความ
พร้อมทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา ของเด็กโดยตรง ดังที่แผนพัฒนาการศึกษา
แห่งชาติ ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2540 – 2544 ได้เสนอสภาพ และปัญหาการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย
ว่าเด็กมีพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาตามเกณฑ์สอดคล้องกับหลัก
จิตวิทยาพัฒนาการเพียงร้อยละ 60 ร้อยละ 93.2 ผ่านเกณฑ์พัฒนาการทางด้านร่างกาย ร้อยละ 55.7
ผ่านเกณฑ์การพัฒนาทางด้านอารมณ์ จิตใจ สังคม และร้อยละ 30.1 ผ่านเกณฑ์ทางด้านสติปัญญา
(สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. 2538 : 38 ) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเด็กได้รับ
การพัฒนาการเตรียมความพร้อมด้านสติปัญญาน้อยกว่าด้านอื่น ๆ และรองลงมา คือ ด้านอารมณ์
จิตใจ และร่างกาย จากปัญหาดังที่กล่าวมาแล้ว รัฐบาลจึงได้มีนโยบายเร่งรัดและสนับสนุนการ
จัดการศึกษาสำหรับเด็กก่อนวัยเรียนไว้ในแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ( 2540 – 2544 )
โดยเร่งส่งเสริมการเตรียมความพร้อมทุกด้านของเด็กปฐมวัย (0-5 ปี) รวมทั้งสนับสนุนภาคเอกชน
ให้จัดการศึกษาระดับนี้ให้มากที่สุด โดยโรงเรียนอนุบาลตามความมุ่งหมายในการจัดการศึกษา
ขั้นอนุบาลศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการ คือ สถาบันการศึกษาแรกของชีวิต เป็นสถานที่ที่มี
ผู้ชำนาญในการเลี้ยงดูเด็ก เป็นแหล่งให้ความรู้ขั้นพื้นฐานแก่เด็กในด้านสติปัญญา ร่างกาย อารมณ์
สังคม เพราะเซลล์สมองของเด็กประมาณ 70 - 80 เปอร์เซ็นต์จะพัฒนาอย่างเต็มที่ในช่วงอายุ 3 ปี
แรกของชีวิต และการศึกษาระดับอนุบาลยังเป็นจุดต่อเนื่องระหว่างบ้านกับสถาบันการศึกษา
เพราะเป็นภาวะที่เด็กต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมจากบ้าน จากพ่อแม่หรือคนที่
3
คุ้นเคยไปสู่สถานที่แปลกใหม่ ผู้คนแปลกหน้า รวมทั้งกิจวัตรประจำวันที่ไม่เหมือนเดิม
ในสังคมปัจจุบันเด็กเกือบทุกคน โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานคร หรือจังหวัดใหญ่ ๆ หรือ อำเภอ
เมืองของทุกจังหวัด เด็กต้องเข้าโรงเรียนอนุบาลตั้งแต่เล็ก ๆ โดยเฉลี่ยแล้วตั้งแต่อายุ 3 ปี เป็นต้น
ไปจนถึง 6 ปี ผู้ปกครองจึงควรมีการเตรียมการหลายด้านเพื่อให้การไปโรงเรียนของเด็ก ๆ ราบรื่น
และได้ผลตามที่ผู้ปกครองคาดหวัง
ในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า ในปี 2543 มีโรงเรียนเอกชนที่เปิดสอนระดับอนุบาล
ทั้งหมด 719 โรงเรียน มีจำนวนนักเรียนระดับอนุบาลรวม 117,220 คน เป็นโรงเรียนที่เปิดสอน
เฉพาะระดับอนุบาล 418 โรงเรียน (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน. 2543: 15 - 16)
โรงเรียนที่เปิดสอนระดับอนุบาลแต่ละโรงเรียนมีจำนวนนักเรียนมากน้อยแตกต่างกัน ซึ่งน่าจะเป็น
เพราะผู้ปกครองต่างมีเจตคติที่แตกต่างกันในการพิจารณาข้อปัจจัยด้านต่าง ๆ เพื่อตัดสินใจเลือก
โรงเรียนให้บุตรหลาน ซึ่งได้แก่ ปัจจัยส่วนตัวของผู้ปกครองในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านรายได้ อาชีพ
ระดับการศึกษา ด้านค่านิยมของผู้ปกครองที่เห็นผู้อื่นส่งบุตรหลานไปโรงเรียนก็ส่งตามด้าน
ความต้องการให้บุตรหลานได้เรียนหนังสือตั้งแต่เล็ก ๆ และด้านเหตุผลที่บ้านไม่มีผู้ดูแล เป็นต้น
และปัจจัยของแต่ละโรงเรียนในด้านต่าง ๆ เช่น โรงเรียนที่เปิดสอนสูงกว่าระดับอนุบาล โรงเรียน
นั้น ๆ บุตรหลานสามารถจะสอบเข้าชั้นประถมปีที่ 1 ของโรงเรียนที่มีชื่อเสียง โรงเรียนที่มีการเรียน
การสอน เน้นการอ่านเขียนได้ การคิดคำนวณ หรือเน้นด้านอื่น ๆ ด้านคุณภาพบุคลากร ด้านที่ตั้ง
และอาคารสถานที่ ด้านบุคลากรและด้านการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง
เป็นต้น
ผู้วิจัยจึงมีความต้องการที่จะพัฒนาและยกระดับคุณภาพการเรียนการสอนของโรงเรียน
ให้มีคุณภาพ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการประกันคุณภาพการศึกษาตาม พระราชบัญญัติการศึกษา
แห่งชาติ พ.ศ. 2542 และเพื่อเป็นที่ไว้วางใจของผู้ปกครอง จึงมีความประสงค์ที่จะศึกษาถึง
ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนอนุบาลเอกชน ในเขตธนบุรี
กรุงเทพมหานคร เพื่อนำผลของการวิจัยไปใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนา
การดำเนินงานจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนอนุบาลของโรงเรียน ให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่ระบุไว้ว่า การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนา
คนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและ
วัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ซึ่งจะต้องปลูกฝังทุกสิ่ง
4
ทุกอย่างตั้งแต่ชั้นอนุบาล ทั้งนี้ผลงานวิจัยอาจจะนำไปสู่แนวคิดใหม่ ๆ ในการพัฒนาการจัด
การศึกษาระดับอนุบาลศึกษาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาความต้องการของผู้ปกครองต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนอนุบาลเอกชน
ในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
2. เพื่อเปรียบเทียบความต้องการของผู้ปกครองต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนอนุบาล
เอกชนในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร จำแนกตามระดับการศึกษาและรายได้รวมของครอบครัว
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ผลของการวิจัยสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาการจัดการศึกษา
ของโรงเรียนอนุบาลเอกชน ในเขตธนบุรี จังหวัดกรุงเทพมหานคร ให้สอดคล้องกับความต้องการ
ของผู้ปกครองและชุมชน
2. ผลของการวิจัยสามารถนำมาเป็นแนวทางสำหรับหน่วยงานที่จัดการศึกษาระดับ
อนุบาลศึกษา ในการกำหนดนโยบาย หลักสูตร รูปแบบการศึกษาที่เหมาะสมต่อไป
ขอบเขตของการวิจัย
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1.1 ประชากร ได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนอนุบาลเอกชนในเขตธนบุรี
กรุงเทพมหานคร ในปีการศึกษา 2546 จำนวน 22 โรงเรียน 2,517 คน
1.2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนอนุบาลเอกชนในเขตธนบุรี
กรุงเทพมหานคร ในปีการศึกษา 2546 จำนวน 22 โรงเรียน 350 คน ตามเกณฑ์ของแครซี่และ
มอร์แกน ( Krejcie and Morgan. 1970: 608P) และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random
Sampling)
2. ตัวแปรที่ศึกษา
2.1 ตัวแปรต้น ได้แก่ ระดับการศึกษา และรายได้รวมของครอบครัว
5
2.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ ความต้องการของผู้ปกครองต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียน
อนุบาลเอกชนในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ในปีการศึกษา 2546 จำนวน 6 ด้าน ได้แก่
2.2.1 ด้านบุคลากร
2.2.2 ด้านการจัดสภาพแวดล้อม
2.2.3 ด้านการจัดประสบการณ์
2.2.4 ด้านการส่งเสริมสุขภาพอนามัย
2.2.5 ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง
2.2.6 ด้านการพัฒนาการของเด็ก
นิยามศัพท์เฉพาะ
ความต้องการ หมายถึง ความปรารถนาของผู้ปกครองที่จะให้โรงเรียนอนุบาลเอกชนจัด
หรือดำเนินการในโรงเรียนอนุบาลเอกชน ซึ่งประกอบด้วย 6 ด้าน ดังนี้
1. ด้านบุคลากร หมายถึง ความรู้ ประสบการณ์ เจตคติและคุณลักษณะใน
การปฏิบัติงานของครูผู้สอนระดับก่อนประถมศึกษา
2. ด้านการจัดสภาพแวดล้อม หมายถึง การจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อมที่ดี
การใช้สื่อปลอดภัย เหมาะสม เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน
3. ด้านการจัดประสบการณ์ หมายถึง การจัดประสบการณ์ที่ตอบสนอง
ความแตกต่าง ความต้องการ ความสนใจและความสามารถตามระดับพัฒนาการ
4. ด้านการส่งเสริมสุขภาพอนามัย หมายถึง การจัดบริการอาหารกลางวัน
อาหารเสริม การปฐมพยาบาลและการบริการด้านสุขภาพอื่น ๆ
5. ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง หมายถึง บุคลากรใน
โรงเรียนและผู้ปกครองร่วมมือในการจัดทำกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก
6. ด้านการพัฒนาการของเด็ก หมายถึง เด็กมีพัฒนาการทางด้านร่างกาย
อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญาตามศักยภาพ
6
ผู้ปกครอง หมายถึง ผู้ที่ทำหน้าที่เลี้ยงดู อุปการะ และอบรมสั่งสอนเด็กอย่างใกล้ชิดที่บ้าน
ซึ่งผู้ปกครองอาจจะเป็นบิดา มารดา หรือผู้ที่บิดามารดาไว้วางใจจนฝากบุตร - ธิดามาอยู่ด้วย และมี
อำนาจในการตัดสินใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็กในการเลือกให้เรียน กำหนดให้นักเรียน
1 คน มีผู้ปกครอง 1 คน
โรงเรียนอนุบาล หมายถึง สถานศึกษาที่ดำเนินการสอนระดับก่อนปฐมศึกษา ซึ่งรวมถึง
โรงเรียนที่อาจเปิดสอนในระดับประถมศึกษา หรือ มัธยมศึกษาควบคู่ไปด้วย
โรงเรียนอนุบาลเอกชน หมายถึง สถานศึกษาที่จัดตั้งขึ้นโดยบุคคลหรือคณะบุคคล
เพื่อดำเนินการจัดการศึกษาให้กับเด็กที่มีอายุระหว่าง 3-5 ปี และอยู่ในความดูแลของ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
กรอบแนวคิดในการวิจัย
การศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้เกณฑ์มาตรฐานการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา
โดยเฉพาะหลักการ นโยบาย และแนวการจัดประสบการณ์ระดับก่อนประถมศึกษา ตามหลักสูตร
ก่อนประถมศึกษา พุทธศักราช 2540 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กระทรวง
ศึกษาธิการ 6 ด้าน คือ ด้านบุคลากร ด้านการจัดสภาพแวดล้อม ด้านการจัดประสบการณ์ ด้านการ
ส่งเสริมสุขภาพอนามัย ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง และด้านการพัฒนาการ
ของเด็ก ดังนี้
กรอบแนวคิดในการวิจัย
(Conceptual Framework)
ผู้ปกครอง
- ระดับการศึกษา
- รายได้รวมของครอบครัว
ความต้องการ 6 ด้าน
1. ด้านบุคลากร
2. ด้านการจัดสภาพแวดล้อม
3. ด้านการจัดประสบการณ์
4. ด้านการส่งเสริมสุขภาพอนามัย
5. ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียน
กับผู้ปกครอง
6. ด้านการพัฒนาการของเด็ก
คุณภาพการพัฒนาการ
ของเด็ก
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การวิจัยเรื่อง ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนอนุบาล
เอกชนในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1. ความสำคัญของการจัดการศึกษาในระดับก่อนประถมศึกษา
2. แนวคิดการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา
3. หลักสูตรก่อนประถมศึกษา พุทธศักราช 2540
4. ปัจจัยด้านการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา
4.1 ด้านบุคลากร
4.2 ด้านการจัดสภาพแวดล้อม
4.3 ด้านการจัดประสบการณ์
4.4 ด้านการส่งเสริมสุขภาพอนามัย
4.5 ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง
4.6 ด้านพัฒนาการเด็ก
5. ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความต้องการ
6. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
1. ความสำคัญของการจัดการศึกษาในระดับก่อนประถมศึกษา
เด็กถือเป็นหัวใจสำคัญของประเทศ เพราะต่อไปในอนาคตจะต้องเติบใหญ่ และกลายเป็น
กำลังสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้ชาติเจริญก้าวหน้าได้อย่างทัดเทียมกับนานาประเทศ จะเห็นได้จาก
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช พ.ศ. 2542 มาตรา 10 ระบุไว้ว่า “การจัดการศึกษา
ต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐ
ต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย” ซึ่งการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานนั้น
จุดแรกเริ่มอันเป็นรากฐานสำคัญต้องมาจากการศึกษาระดับอนุบาลหรือการศึกษาปฐมวัย โดยจะฝึก
ให้เด็กคิดเป็น ทำเป็น มีทักษะในการสังเกต รู้จักเปรียบเทียบและทดลองค้นคว้าหาความรู้ต่าง ๆ
จากธรรมชาติ และประมวลสิ่งที่ได้รับจากการจัดทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้มีพัฒนาการทางอารมณ์
และความคิด
8
การจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา เป็นการจัดให้กับเด็กในกลุ่มอายุ 4-6 ปี ให้ได้
พัฒนาและเตรียมความพร้อมทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา โดยมีเป้าหมาย
ที่มุ่งให้มีความพร้อมที่จะเรียนในระดับประถมศึกษาได้ดี การพัฒนาเด็กจึงเป็นเรื่องของบุคคล
และสถาบันต่าง ๆ ต้องร่วมมือกันตั้งแต่ครอบครัว โรงเรียน ชุมชน สื่อมวลชนและสิ่งแวดล้อม
ตลอดจนองค์กรที่จัดบริการพื้นฐานต้องจัดบริการการศึกษาในระดับก่อนประถมศึกษาให้ทั่วถึง
จึงถือว่าการประสานความร่วมมือจากทุกฝ่ายนั้นเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินงานการศึกษาใน
ระดับก่อนประถมศึกษาเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติและเด็กไทยทุกคน
แฮมมอนด์และคณะ (Hammond et al : 1963) เน้นถึงความสำคัญของการศึกษาระดับนี้ว่า
ความรับผิดชอบอันใหญ่หลวงที่โรงเรียนควรมีต่อเด็กนั้น ย่อมนำไปสู่ความหวังในอนาคต (พัฒนา
ชัยพงษ์ .2532) ได้กล่าวย้ำให้เห็นความสำคัญของเด็กวัยอนุบาลไว้อีกว่าวัยของเด็กที่เรียนในระดับ
อนุบาล อายุ 3-6 ขวบ นั้น เป็นช่วงระยะที่สำคัญของชีวิต ทั้งนี้เพราะร้อยละ 70-80 ของเซลล์
สมองของมนุษย์จะเจริญเติบโตและพัฒนาในวัยนี้ ฉะนั้นการได้รับการศึกษาที่ถูกต้องจึงนับได้ว่า
เป็นการกระตุ้นอันจะช่วยสนับสนุนและส่งเสริมให้เด็กได้เจริญเติบโตเป็นทรัพยากรที่สำคัญใน
การพัฒนาประเทศชาติต่อไป
สรุปได้ว่า เด็กวัยอนุบาลศึกษาหรือปฐมวัยเป็นวัยที่สำคัญที่สุดต่อการเรียนรู้ และควร
ได้รับการพัฒนาในทุกด้าน เพราะเป็นวัยที่ต้องรับการวางพื้นฐานการพัฒนาให้เกิดขึ้นในตัวบุคคล
ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา ดังนั้น การจัดการศึกษาในระดับนี้จึงควรเน้น
พัฒนาการดังกล่าว
2. แนวคิดการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา
แนวคิดการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (2540 : 3-5) ได้ให้
แนวคิดการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา ดังนี้
1. แนวคิดเกี่ยวกับพัฒนาการอยู่บนพื้นฐานที่ว่า พัฒนาการของมนุษย์เริ่มตั้งแต่ปฏิสนธิ
ต่อเนื่องไปจนตลอดชีวิต พัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญา จะมี
ความสัมพันธ์และพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง เป็นขั้นตอนไปพร้อมกันทุกด้าน เด็กแต่ละคนจะเติบโต
และมีลักษณะพัฒนาการแตกต่างกันไป
9
2. แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ การเรียนรู้ของมนุษย์เรามีผลสืบเนื่องมาจากประสบการณ์
ต่าง ๆ ที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเกิดขึ้นจากกระบวนการที่ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล
และสิ่งแวดล้อมรอบตัว โดยผู้เรียนจะต้องเป็นผู้กระทำให้เกิดขึ้นด้วยตนเองและการเรียนรู้จะไป
ได้ดีถ้าผู้เรียนได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าได้เคลื่อนไหว มีโอกาสริเริ่มตามความต้องการและ
ความสนใจของตนเอง
3. แนวคิดเกี่ยวกับการเล่นของเด็ก การเล่นถือว่าเป็นกิจกรรมที่สำคัญในชีวิตของเด็ก
ทุกคนเด็กจะรู้สึกสนุกสนาน เพลิดเพลิน ได้สังเกต มีโอกาสทำการทดลอง สร้างสรรค์
คิดแก้ปัญหาและค้นพบด้วยตนเอง การเล่นจะมีอิทธิพลและมีผลต่อการเจริญเติบโต ช่วยพัฒนา
ร่างกาย สติปัญญา อารมณ์-จิตใจ และสังคม
4. แนวคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรมและสังคม วัฒนธรรมและสังคมที่แวดล้อมทำให้เด็กแต่ละคน
แตกต่างกันไป ครูก่อนประถมศึกษาจำเป็นต้องเข้าใจและยอมรับว่าวัฒนธรรมและสังคมที่แวดล้อม
เด็กมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้เด็ก พัฒนาศักยภาพและพัฒนการของเด็กแต่ละคน ครูผู้สอนต้องเรียนรู้
วัฒนธรรมของเด็กที่ตนรับผิดชอบ เพื่อช่วยให้เด็กได้พัฒนาเกิดการเรียนรู้และอยู่ในกลุ่มคนที่
มาจากพื้นฐานที่เหมือนหรือต่างกันได้อย่างราบรื่น
สรุป การจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริหารโรงเรียน
จะต้องมีความรู้ความเข้าใจ พัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็ก การจัดประสบการณ์ต้องเน้นให้เด็กเป็น
ผู้กระทำ มีความสนุกสนานในการเล่น ตลอดทั้งการปรับกิจกรรมต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับ
สิ่งแวดล้อมในด้านสังคมและวัฒนธรรม เด็กที่มีอายุระหว่าง 3-6 ปี เป็นวัยที่มีความสำคัญ
อย่างยิ่งที่ทุกฝ่ายจะต้องร่วมมือกันในการจัดการศึกษาให้กับเด็ก
3. หลักสูตรก่อนประถมศึกษา พุทธศักราช 2540
หลักสูตรก่อนประถมศึกษา พุทธศักราช 2540 มีสาระสำคัญ ดังนี้ ( กระทรวงศึกษาธิการ.
2540 : 12)
1. หลักการ เป็นการจัดโดยยึดหลักการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่เด็กอายุ 3-6 ปี
ทุกคน ทั้งเด็กปกติ เด็กด้อยโอกาสและเด็กพิเศษ เพื่อให้เด็กได้พัฒนาการทั้งทางร่างกาย อารมณ์
จิตใจ สังคมและสติปัญญา ผ่านกิจกรรมการเล่นที่เหมาะสมกับวัย และความแตกต่างระหว่าง
10
บุคคลโดยบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจในการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา และเป็น
การร่วมมือกันระหว่างบ้าน สถาบันการศึกษาและชุมชน
2. จุดมุ่งหมาย มุ่งให้เด็กมีพัฒนาการที่เหมาะสมกับวัย และความแตกต่างของแต่ละบุคคล
ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา โดยแบ่งออกเป็นคุณลักษณะ
ที่พึงประสงค์และคุณลักษณะตามวัยคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ดังนี้
2.1 มีสุขภาพดี เจริญเติบโตตามวัยและมีพฤติกรรมอนามัยที่เหมาะสม
2.2 ใช้กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กได้อย่างคล่องแคล่ว และประสานสัมพันธ์กัน
2.3 ร่าเริง แจ่มใส มีความสุขและความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น
2.4 มีคุณธรรม จริยธรรม มีวินัยในตนเองและมีความรับผิดชอบ
2.5 อยู่ร่วมกันกับผู้อื่นอย่างมีความสุขและเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมในระบอบ
ประชาธิปไตย
2.6 ช่วยเหลือตนเองได้เหมาะสมกับสภาพและวัย
2.7 รักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมในท้องถิ่น และความเป็นไทย
2.8 ใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย
2.9 มีความสามารถในการคิด การแก้ปัญหาได้เหมาะสมกับวัย และมีเจตคติที่ดีต่อการ
เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ
2.10 มีจินตนาการและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
3. การจัดชั้นหรือกลุ่มเด็ก ให้ยึดอายุเป็นหลัก และอาจจะเรียกชื่อแตกต่างกันไปตาม
หน่วยงานที่รับผิดชอบดูแล
4. ระยะเวลาเรียนใช้เวลาในการจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก 1-3 ปีการศึกษา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ
อายุของเด็กที่เริ่มเข้ารับการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษา
5. แนวการจัดประสบการณ์กำหนดแนวทางสำคัญในการจัดประสบการณ์ คือ ยึดเด็กเป็น
ศูนย์กลาง จัดให้สอดคล้องเหมาะสมกับวัย ความสนใจ ความต้องการ และความแตกต่างระหว่าง
บุคคล ในบรรยากาศที่อบอุ่นเอื้อเฟื้อต่อการเรียนรู้ โดยใช้กิจกรรมในรูปแบบบูรณาการผ่าน
การเล่นอย่างหลากหลาย เป็นประสบการณ์ตรงที่ให้เด็กได้ปฏิสัมพันธ์กับวัตถุ สิ่งของ เด็กและ
ผู้ใหญ่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม วัฒนธรรมท้องถิ่น รวมทั้งเปิดโอกาสให้พ่อแม่ผู้ปกครอง
และชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนา
11
6. กิจกรรมประจำวัน ให้จัดกิจกรรมในแต่ละวันให้ครอบคลุม
6.1 การพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่
6.2 การพัฒนากล้ามเนื้อเล็ก
6.3 การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
6.4 การพัฒนาการคิด
6.5 การส่งเสริมการเลือกและตัดสินใจ
6.6 การส่งเสริมลักษณะนิสัยและทักษะพื้นฐานในชีวิตประจำวัน
7. ลักษณะการจัดให้จัดในรูปของกิจกรรมผ่านการเล่น กิจกรรมที่จัดอาจเรียกชื่อแตกต่าง
กันไป เชน่ กิจกรรมเสร ี กิจกรรมสร้างสรรค  กิจกรรมเสรมิ ประสบการณ์ กิจกรรมการเล่น
กลางแจ้งเกมการศึกษาและกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
8. เนื้อหา เนื้อหาที่ใช้ในการจัดกิจกรรมได้กำหนดไว้ 2 ส่วน คือ
8.1 ส่วนที่เป็นประสบการณ์สำคัญ เด็กทุกคนควรได้รับเพราะจะช่วยให้พัฒนาทั้งด้าน
ร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา เด็กได้มีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับสื่อ วัตถุสิ่งของกับ
เพื่อนและบุคคลอื่น ๆ ประสบการณ์สำคัญ มี 9 ประการ คือ การสื่อความคิดที่เป็นการกระทำ
การใช้ภาษา การเรียนรู้ทางสังคม การเคลื่อนไหว ดนตรี การจำแนก และเปรียบเทียบจำนวนมิติ
สัมพันธ์และเวลา
8.2 ส่วนที่เป็นเนื้อหาและแนวคิด มี 9 ข้อ คือ ตัวเรา ครอบครัว โรงเรียนของเรา
บุคคล วันสำคัญ ธรรมชาติ รอบตัว การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การคมนาคม และการสื่อสาร
สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเรา
สรุป การประเมินพัฒนาการกำหนดให้ใช้วิธีการสังเกตพฤติกรรมของเด็กเป็นรายบุคคล
ขณะทำกิจกรรมต่าง ๆ ในแต่ละวัน และมีการรวบรวมผลงานความก้าวหน้าของเด็กเป็นรายบุคคล
รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับการเจริญเติบโต น้ำหนัก ส่วนสูง และสุขภาพของเด็ก และนำผลที่ได้มา
วางแผนปรับปรุง การจัดประสบการณ์และกิจกรรมเพื่อพัฒนาเด็กให้บรรลุตามจุดประสงค์
ของหลักสูตร
12
4. ปัจจัยการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา
4.1 ด้านบุคลากร
การจัดการศึกษาของโรงเรียนอนุบาลให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ต้องให้
สอดคล้องกับความต้องการของเด็ก ผู้ปกครองและบุคลากร กระทรวงศึกษาธิการ (2533 : 18)
ดังนั้น จะเห็นได้ว่า การบริหารที่มีประสิทธิภาพจะสร้างสรรค์ให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย
ต่อการจัดดูแลเด็กให้มีคุณภาพดี
4.1.1 บุคลากร
จันทรวรรณ เทวรักษ์ (2526: 46) ได้กล่าวสรุปในแง่จิตวิทยาพัฒนาการวัยแรกเกิด
ถึง 5 ขวบ เป็นวัยที่การให้การศึกษาอบรมมีผลลึกซึ้งแน่นแฟ้นต่อบุคลิกภาพ และความรู้สึกนึกคิด
ที่สุด คือ ประสบการณ์ใด ทั้งในทางที่ปรารถนา และไม่ปรารถนา ในช่วงอายุนี้จะติดฝังแน่น
เป็นรากฐานต่อ ๆ มา การให้การศึกษาอบรมและเลี้ยงดูเด็กในวัยต้นจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก
สังคมทั่วไปทุกแห่งทั้งในอดีตและปัจจุบันได้ให้ความเอาใจใส่ต่อประสบการณ์ และการเรียนรู้
ของเด็กวัยนี้มากมายนัก ด้วยถือกันตามสามัญสำนึกว่าเด็กยังไม่รู้ประสีประสา การเลี้ยงดูแลอบรม
ก็แล้วแต่บิดา มารดา และสิ่งแวดล้อมในเยาว์วัยจะชักจูงโน้มนำไปแต่ในสังคมที่ก้าวหน้าไปไกล
แล้วได้มีการเอาใจใส่ต่อการศึกษาอบรมของเด็กวัยนี้มากขึ้นทุกที วัยต่อ ๆ มาสิ่งที่ผ่านเข้ามา
ให้เรียนรู้เป็นประสบการณ์ แม้จะสำคัญแต่ก็เป็นรองวัยต้น เมื่อใดที่ความจริงข้อนี้เป็นที่ยอมรับ
กันมากขึ้นก็พอจะหวังได้ว่า จะมีการให้การศึกษาอบรมแก่เด็กวัยนี้ดียิ่งขึ้น จากข้อความนี้แสดงให้
เห็นถึงบทบาทสำคัญของผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กวัยเรียน นั่นคือ บิดามารดา ญาติผู้ใกล้ชิด คนเลี้ยง
และท้ายที่สุด ครูหรือผู้ดูแลในโรงเรียนอนุบาลนั่นเอง ซึ่งในเรื่องนี้ ราศี ทองสวัสดิ์ (2528 : 670)
ได้ให้ข้อคิดเห็นโดยสรุปว่า ผู้ที่ช่วยให้การศึกษาแก่เด็กระดับนี้เป็นไปแบบไหน ผลจะบังเกิด
อย่างไรย่อมขึ้นอยู่กับบุคคลที่แวดล้อมอยู่ดังจะได้กล่าวต่อไปนี้
4.1.2 ผู้บริหาร
ผู้บริหารสถานศึกษามีส่วนส่งเสริมการจัดสภาพแวดล้อม เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์
ชีวิตในทุก ๆ ด้านให้แก่ เด็ก ผู้บริหารโรงเรียนระดับต่าง ๆ ย่อมมีความสำคัญต่อการจัดสภาพ
แวดล้อมแก่เด็กปฐมวัย การจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนจะเป็นอย่างไรย่อมขึ้นอยู่กับ
ความเอาใจใส่ในหลักการจัดการศึกษาดังที่มักจะมีผู้กล่าวเสมอว่า เมื่อก้าวเข้าไปในโรงเรียนอนุบาล
ก็จะบอกได้ทันทีว่า ผู้บริหารโรงเรียนมีความรู้ความสนใจด้านการปฐมวัยศึกษาหรือไม่ ในทำนอง
เดียวกัน เพียงแต่มองไปในห้องเรียนอนุบาล ลักษณะการจัดโต๊ะเก้าอี้ จะบอกได้ทันทีว่าการให้
13
การศึกษาเป็นไป ในลักษณะเตรียมความพร้อมหรือสอนหนังสือแบบประถมศึกษา ดังนั้น การจัด
การศึกษาให้เป็นประโยชน์กับเด็กวัยปฐมวัยเต็มที่นั้นผู้บริหารสถานศึกษาก็น่าจะมีคุณลักษณะ
ที่ช่วยจัดสภาพแวดล้อมของเด็กดังนี้
1. เป็นผู้มีความรู้ในหลักการจัดปฐมวัยศึกษา
2. สามารถพิจารณาตัวผู้ทำงานได้เหมาะสม
3. เป็นผู้ใฝ่หาความรู้อยู่เสมอ
4. เป็นผู้ที่มีใจกว้างไม่หวงวิชา
4.1.3 ครู
ครูอนุบาลมีบทบาทและหน้าที่สำคัญอย่างยิ่งในการให้คำแนะนำ ดูแล เลี้ยงดู ตลอดจน
จัดกิจกรรมและประสบการณ์ต่าง ๆ ที่จะช่วยให้เด็กเจริญเติบโต สามารถช่วยเหลือตนเองและ
ปรับตัวเข้ากับสังคมได้ ซึ่งเตรียมความพร้อมแก่เด็กในการเรียนชั้นสูงขึ้น และเป็นกำลังสำคัญ
ของชาติต่อไป ครูอนุบาลจะต้องทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง เป็นครู เป็นตัวแทนพ่อแม่ ตลอดจนเป็น
เพื่อนของเด็กไปในขณะเดียวกัน การที่ครูอนุบาลจะสามารถดำเนินการสอนให้มีประสิทธิภาพและ
ประสิทธิผลตามบทบาทและหน้าที่ดังกล่าวได้มากเพียงใดนั้น จะต้องขึ้นอยู่กับสมรรถภาพใน
ตัวของครูเอง
ครูอนุบาลนอกจากจะต้องรู้บทบาทของตนเองแล้วยังจะต้องรู้ถึงหน้าที่ตนเองด้วย
(น้อมฤดี จงพยุหะ . 2518 : 230) ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของครูอนุบาลว่า ครูควร
จะได้รู้จักและเข้าใจเด็กแต่ละคน ได้รู้จักชื่อ นามสกุล และประวัติสั้น ๆ เกี่ยวกับครอบครัวของเด็ก
เพื่อจะช่วยให้เด็กรู้สึกว่าตนมีความสำคัญและความอบอุ่นใจยิ่งขึ้นที่ครูแสดงว่าครูสนใจเรื่อง
ส่วนตัวของตน ครูควรเอาใจใส่เด็กทุกคน และให้ความสนใจแต่ละคนเท่า ๆ กัน จัดที่นั่งให้
เหมาะสมและแนะนำให้รู้จักกัน มีการปฐมนิเทศเกี่ยวกับสถานที่ ข้อบังคับ กฎบางข้อที่เด็กพอจะ
ทำได้ โดยไม่คับข้องใจในระยะแรก รวมทั้งแนะนำเกี่ยวกับการใช้ชีวิตในโรงเรียนด้วย
พะยอม อิงคตานุวัฒน์ (2521 : 81) ได้กล่าวถึงบทบาทและหน้าที่ของครูอนุบาลว่า
“เด็กจะเทิดทูนความสามารถของครู ถ้าครูเป็นคนยุติธรรม เห็นอกเห็นใจและมีความเข้าใจใน
นักเรียน ครูจะเป็นภาพพจน์ของค่านิยมในสังคมที่นักเรียนจะพยายามเลียนแบบ นอกจากนั้นแล้ว
ครูยังสามารถควบคุมและปลูกฝังพฤติกรรมที่ดีงามให้กับนักเรียนอีกด้วย”
ครูอนุบาลสำคัญยิ่งในสถานศึกษา ซึ่งเปรียบเสมือนสมองที่ต้องใช้ความรู้ สติปัญญา
ความสามารถ ช่วยส่งเสริมให้การปฏิบัติงานในหน้าที่บรรลุวัตถุประสงค์ ได้แก่
14
1. การสอน ได้แก่ การเตรียมและจัดกิจกรรม สื่อการเรียนการสอนสำหรับเด็กเทคนิค
การสอน ควบคุมดูแลเด็ก เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก
2. การอบรมเลี้ยงดูเด็กเพื่อฝึกอบรมส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้เด็กสามารถช่วยตนเองได้
และปรับตนเองได้ด้วย มุ่งหมายเพื่อเตรียมความพร้อมให้เด็กมีประสบการณ์ขั้นพื้นฐาน ส่งเสริม
ให้เด็กคิดเป็น ทำเป็น และช่วยตนเองได้
3. ความสัมพันธ์อันดีต่อเพื่อนร่วมงาน และพ่อแม่ผู้ปกครองเด็ก ครูอนุบาลต้องเป็น
บุคคลที่มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ทั้งต่อเพื่อนร่วมงานและพ่อแม่ ผู้ปกครอง เด็ก เพื่อให้การปฏิบัติงาน
เกี่ยวกับเด็ก มีความเชื่อมโยงและสอดคล้องกันภายในสถานศึกษาและทางบ้านช่วยให้เกิด
ความรักใคร่ นับถือและไว้วางใจซึ่งกันและกัน
ประดินันท์ อุปรมัย และอรสา กุมารีปุกหุต (2524: 158) ได้กล่าวถึงบุคลิกภาพของ
ครูอนุบาลไว้ “ครูควรจะแต่งกายสะอาด สุภาพ มีใบหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใส เป็นกันเองกับทุกคน
พูดจาไพเราะอ่อนหวาน เพื่อให้เด็กเกิดความสนใจและไว้วางใจในตัวครู
เบญจา แสงมะลิ และคณะ (2516: 12 – 14) ได้กล่าวถึง บุคลิกลักษณะของครูอนุบาล
พอสรุปได้ดังนี้
1. รักเด็ก ครูอนุบาลหรือผู้ทำหน้าที่เกี่ยวกับเด็กจะต้องมีนิสัยรักเด็กอย่างแท้จริง
เป็นความรู้สึกที่ละเอียดอ่อน ลึกซึ้ง มีเฉพาะบุคคล
2. ยิ้มแย้มแจ่มใส ครูอนุบาลควรจะเป็นบุคคลที่ยิ้มแย้มง่าย ดูร่าเริง แจ่มใส ทำให้ผู้ที่
ใกล้ชิดรู้สึกอบอุ่น
3. เมตตากรุณา ผู้ที่อยู่กับเด็กจะต้องเป็นผู้ที่เต็มไปด้วยความเมตตากรุณา จะทำให้เด็ก
ว่าง่ายและเป็นคนดี
4. อารมณ์ดี ผู้ที่อยู่กับเด็กจะต้องเป็นผู้ที่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ ไม่โกรธง่าย
ไม่โมโหง่าย ไม่ตกใจและตื่นเต้นจนเกินไป และมีอารมณ์ร่วมกับเด็กด้วย
5. ใจเย็น ครูอนุบาลจะต้องเป็นคนใจเย็น เนื่องจากอยู่กับเด็กเล็ก ปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับ
เด็กจะมีอยู่เสมอ บางครั้งเกี่ยวโยงไปถึงผู้ใหญ่ด้วย จึงต้องหัดให้เป็นคนใจเย็น รู้จักรับฟัง พิจารณา
เรื่องราวและชี้แจงอย่างมีเหตุผล
6. อดทน การอบรมดูแลเด็กนั้น ครูจะต้องฝึกตนเองให้มีความอดทน เพราะเด็ก
ยังไม่สามารถเข้าใจและทำอะไรได้เท่าผู้ใหญ ่ จึงต้องใช้เวลาและความอดทนอย่างมากในการฝึกฝน
อบรมเด็ก
15
7. ขยัน ต้องเป็นผู้ที่เอาใจใส่ต่อหน้าที่ไม่เบื่อหน่ายในการทำงาน ปฏิบัติงานอย่าง
สม่ำเสมอไม่ดูดาย ขยันทำงานให้สำเร็จไปด้วยดี
8. ซื่อสัตย์ ครูอนุบาลต้องเป็นผู้ที่มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความซื่อตรงต่อหน้าที่
ของตนซื่อตรงต่อผู้อื่น ซึ่งจะเป็นแบบอย่างให้เด็กประพฤติตาม
9. คติธรรม ผู้ที่สอนเด็ก ๆ ควรจะต้องเป็นผู้ที่มีความยุติธรรมอย่างยิ่ง การอยู่กับเด็กนั้น
จะพบปัญหาซึ่งเด็กกระทำอยู่เสมอ จึงควรพิจารณาอย่างรอบคอบ ตัดสินตามเหตุผลโดยวางตน
เป็นกลาง
10. ตัดสินใจดี ผู้ที่อบรมดูแลเด็กนั้นต้องเป็นผู้รู้จักเหตุและผล มีความรอบคอบ
เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น สามารถตัดสินใจกระทำการสิ่งใดสิ่งหนึ่งและแก้ปัญหาได้
บุคลากรเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในการพัฒนางานโรงเรียน การดำเนินงานหรือ
การจัดการศึกษาจะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวย่อมขึ้นอยู่กับบุคลากร ถ้าบุคลากรมีการพัฒนา
อยู่เสมอ งานนั้นย่อมดำเนินไปอย่างราบรื่นในการจัดการศึกษาระดับอนุบาลศึกษาจำเป็นอย่างยิ่ง
ที่จะต้องใกล้ชิดให้คำแนะนำ ดูแลเด็ก และมีจิตใจรักเด็กอย่างแท้จริง การพัฒนาบุคลากรเป็นงาน
สำคัญยิ่งของผู้บริหารโรงเรียน เพราะการได้คนที่มีความรู้ความสามารถมาทำงานร่วมกัน เมื่อเวลา
ผ่านไปวิทยาการต่าง ๆ เจริญมากขึ้น จึงจำเป็นต้องพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถกับ
เหตุการณ์ปัจจุบัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้สูงขึ้น
คณะกรรมการผลิตและบริหารชุดวิชาการบริหารสถานศึกษาปฐมวัย (2536 : 57–58)
กล่าวว่า การพัฒนาครูในสถานศึกษาระดับอนุบาล อาจจัดได้ 4 รูปแบบ ดังนี้
1. การฝึกอบรม เป็นการให้ความรู้ ความเข้าใจ และแนวความคิดเฉพาะเรื่องอาจทำได้
โดยโรงเรียนจัดเอง ร่วมกับกลุ่มโรงเรียนอื่น ร่วมกับหน่วยงานอื่น และวิทยากรจะต้องมีความรู้
ความสามารถ
2. การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เป็นการให้ความรู้และแนวคิดควบคู่ไปกับการให้ครู
ผู้สอนได้ลงมือปฏิบัติ
3. การศึกษาดูงาน เป็นการเปิดโอกาสให้ครูผู้สอน ได้ศึกษาและดูเทคนิคของบุคลากร
ในสถานศึกษาอื่น ๆ ที่มีผลงานดีเด่น และเป็นที่ยอมรับของบุคคลในวงวิชาการปฐมวัยศึกษา
4. การศึกษาต่อ เป็นการพัฒนาให้ครูผู้สอนได้รับทั้งความรู้ ความสามารถ และ
แนวความคิดใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น
16
จะเห็นได้ว่าครูเป็นบุคคลสำคัญที่สุดในการสร้างเด็กระดับอนุบาล ครูจะต้องให้เด็ก
มีความเชื่อมั่นได้ว่าจะเป็นผู้นำของเด็กได้โดยจะต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการสอน
และมีคุณลักษณะที่ดีของความเป็นคร ู ตลอดจนตระหนักในบทบาทและหน้าที่ของการเป็นครูและ
ที่สำคัญที่สุดก็คือ ครูควรมีการพัฒนาตนเองในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อที่จะได้รับความรู้และ
ประสบการณ์ใหม่ ๆ เพื่อนำไปถ่ายทอดให้แก่เด็กอันจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่เด็ก ซึ่งถือเป็น
อนาคตของชาติในโอกาสต่อไป
4.1.4 พี่เลี้ยง
พี่เลี้ยง ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยครูมีส่วนส่งเสริมการจัดสภาพแวดล้อม ในสถานศึกษา
ของรัฐและเอกชนส่วนมากจะมีผู้ทำหน้าที่ช่วยครูด้วย เนื่องจากปริมาณของเด็กต่อห้องเรียนสูง
ครูไม่อาจทำหน้าที่ตามลำพังได้เต็มที่ พี่เลี้ยงจึงเป็นบุคคลหนึ่งที่จะช่วยเตรียมงานได้ เช่น เริ่มตั้งแต่
การเตรียมน้ำสำหรับเด็กใช้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ให้ตั้งแต่เช้า หากวันไหนจะมีการวาดภาพด้วยนิ้วมือ
พี่เลี้ยงก็อาจทำหน้าที่ในการเคี่ยวแป้งไว้ให้ตลอดจนเตรียมวัสดุอื่น ๆ ให้หากมีเวลาว่างในตอนบ่าย
ก็อาจช่วยเตรียมวัสดุอุปกรณ์ เช่น การผนึกกระดาษสำหรับทำเกมการศึกษา เมื่อเลิกเรียนแล้วก็จะ
เป็นผู้ที่ช่วยทำความสะอาดเครื่องเล่น ที่วางของ เติมน้ำแจกันไม้ใบประเภทพลูด่าง หรือไม้ในร่ม
อื่น ๆ ให้เจริญงอกงาม คอยลิดใบที่เหลืองออกทิ้ง การจัดห้องให้เรียบร้อยน่าอยู่นี้จะเป็นผลดี
ต่อเด็ก เพราะในวันรุ่งขึ้นเมื่อเด็กมาโรงเรียนจะเริ่มต้นวันใหม่ด้วยความสดชื่น ได้พบกับสภาพ
แวดล้อมที่สดชื่นมีระเบียบเป็นการปลูกฝังค่านิยมที่ดีแก่เด็ก
การจัดผู้เข้าทำหน้าที่พี่เลี้ยงจึงต้องพิจารณาจัดผู้ที่มีความละเอียดอ่อน รักเด็ก จะต้อง
คอยช่วยเหลือเด็กยามจำเป็นด้วย จะต้องเป็นคนที่รักความสะอาด เพราะจะเท่ากับเป็นการส่งเสริม
ให้มีการจัดสภาพแวดล้อมที่ดีแก่เด็กด้วย (โสภิตอนงค์ บุญช่วย, 2530 : 43)
สรุป บุคลากรไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร ครูหรือพี่เลี้ยงเด็กจะต้องรู้จักและเข้าใจเด็ก
ต้องเอาใจใส่และสนใจเด็กทุกคน ต้องมีความยุติธรรม เห็นอกเห็นใจ รักเด็ก ยิ้มแย้มแจ่มใส
มีเมตตากรุณาแก่เด็กทุกคน
4.2 ด้านการจัดสภาพแวดล้อม
การจัดสภาพแวดล้อม
สภาพแวดล้อม เป็นสภาพที่ผู้บริหารโรงเรียนจัดอาคารสถานที่ อุปกรณ์การเรียน
การสอน ตลอดจนบรรยากาศการเรียนเพื่อพัฒนาด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญาแก่
17
ผู้เรียน เช่น อุปกรณ์การเรียน เครื่องเล่นต่าง ๆ ได้แก่ บล็อก บ่อทราย อุปกรณ์อื่น ๆ ตลอดจน
กิจกรรมต่าง ๆ ในการพัฒนาการเรียน
บุญเสริม พูลสงวน (2530 : 5) กล่าวว่า “สิ่งใดก็ตามไม่ว่าจะเกิดขึ้นได้เองใน
ธรรมชาติหรือเกิดจากการกระทำของมนุษย์แล้วมีผลเกี่ยวกับตัวเราไม่ทางตรงหรือทางอ้อม ถือว่า
สิ่งนั้นเป็นสิ่งแวดล้อมทั้งสิ้น” สิ่งแวดล้อมแบ่งออกเป็น 2 พวก คือ สิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและ
มนุษย์สร้างขึ้น
พรรณี ชูทัยเจนจิต (2529 : 173) ได้กล่าวว่าพัฒนาการทางสติปัญญาเป็นปฏิสัมพันธ์
ระหว่างพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม พันธุกรรมจะเป็นตัวกำหนดความสามารถทางสติปัญญา และ
สิ่งแวดล้อม จะมีอิทธิพลต่อการพัฒนาระดับสติปัญญาต่อไป ภายในขอบเขตที่พันธุกรรมวางไว้
การจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมในวัยเด็กจะสามารถช่วยให้เด็กมีพัฒนาการทางสติปัญญาถึงขีด
ความสามารถที่แต่ละคนมีอยู่
การจัดสภาพแวดล้อม กรมวิชาการ (2540 ด : 101) กล่าวถึงการจัดสภาพแวดล้อม
ในโรงเรียนระดับก่อนประถมศึกษาว่า มีความสำคัญต่อเด็กเนื่องจากธรรมชาติของเด็กในวัยนี้
สนใจที่จะเรียนรู้ ค้นคว้า ทดลอง และต้องการสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว ดังนั้นการจัดเตรียม
สิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสมตามความต้องการของเด็ก มีความสาํ คัญที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและ
การเรียนรู้ของเด็กมาก เด็กสามารถเรียนรู้จากการเล่นที่เป็นประสบการณ์ตรงที่เกิดจากการรับรู้ด้วย
ประสาทสัมผัสทั้ง 5 จึงจำเป็นต้องจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้สอดคล้องกับสภาพ และ
ความต้องการของหลักสูตร เพื่อส่งผลให้บรรลุจุดมุ่งหมายในการพัฒนาเด็ก
การจัดสภาพแวดล้อมจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
1. ความสะอาด ความปลอดภัย
2. ความมีอิสระอย่างมีขอบเขตในการเล่น
3. ความสะดวกในการทำกิจกรรม
4. ความพร้อมของอาคารสถานที่ เช่น ห้องเรียน ห้องน้ำ ห้องส้วม สนามเด็กเล่น ฯลฯ
5. ความเพียงพอเหมาะสมในเรื่อง ขนาด น้ำหนัก จำนวน สีของสื่อ และ เครื่องเล่น
6. บรรยากาศในการเรียนรู้ การจัดที่เล่นและมุมประสบการณ์ต่าง ๆ
18
สภาพแวดล้อมภายในห้องเรียน
หลักสำคัญในการจัดต้องคำนึงถึงความปลอดภัย ความสะอาด เป้าหมายการพัฒนาเด็ก
ความเป็นระเบียบ ความเป็นตัวของเด็กเอง ให้เด็กเกิดความรู้สึกอบอุ่น มั่นใจและมีความสุข ซึ่งอาจ
จัดแบ่งพื้นที่ให้เหมาะสมกับการประกอบกิจกรรมตามหลักสูตร ดังนี้
1. พื้นที่อำนวยความสะดวกเพื่อเด็กและครู
1.1 ที่แสดงผลงานของเด็ก อาจจัดเป็นแผ่นป้าย หรือที่แขวนผลงาน
1.2 ที่เก็บแฟ้มผลงานของเด็ก อาจจัดทำเป็นกล่อง หรือจัดใส่แฟ้มรายบุคคล
1.3 ที่เก็บเครื่องใช้ส่วนตัวของเด็ก อาจทำเป็นช่องตามจำนวนเด็ก
1.4 ทเี่ กบ็ เครอื่ งใชข้ องครู เชน่ อปุ กรณก์ ารสอน ของสว่ นตวั คร ู ฯลฯ
1.5 ป้ายนิเทศตามหน่วยการสอนหรือสิ่งที่เด็กสนใจ
2. พื้นที่ปฏิบัติกิจกรรมและการเคลื่อนไหว ต้องกำหนดให้ชัดเจน ควรมีพื้นที่ที่เด็ก
สามารถจะทำงานได้ด้วยตนเอง และทำกิจกรรมด้วยกันในกลุ่มเล็กหรือกลุ่มใหญ่ เด็กสามารถ
เคลื่อนไหวได้อย่างอิสระจากกิจกรรมหนึ่งไปยังกิจกรรมหนึ่งโดยไม่รบกวนผู้อื่น
3. พื้นที่จัดมุมประสบการณ์หรือมุมเล่น สามารถจัดได้ตามความเหมาะสมขึ้นอยู่กับ
สภาพของห้องเรียน จัดแยกส่วนที่ใช้เสียงดังและเงียบออกจากกัน เช่น มุมบล็อกอยู่ห่างจาก
มุมหนังสือ มุมบทบาทสมมุติอยู่ติดกับมุมบล็อก มุมวิทยาศาสตร์อยู่ใกล้มุมศิลปะ ฯลฯ ที่สำคัญ
จะต้องมีของเล่น วัสดุอุปกรณ์ในมุมอย่างเพียงพอต่อการเรียนรู้ของเด็ก การเล่นในมุมประสบการณ์
อย่างเสรีมักถูกกำหนดไว้ในตารางกิจกรรมประจำวัน เพื่อให้โอกาสเด็กได้เล่นอย่างเสรีประมาณ
วันละ 60 นาที การจัดมุมประสบการณ์ต่าง ๆ ครูควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
3.1 ในห้องเรียนควรมีมุมประสบการณ์อย่างน้อย 3-5 มุม
3.2 ควรได้มีการผลัดเปลี่ยนสื่อของเล่นตามมุมบ้าง ตามความสนใจเด็ก
3.3 ควรจัดให้มีประสบการณ์ที่เด็กได้เรียนรู้ไปแล้วปรากฏอยู่ในมุม ประสบการณ์
เชน่ เด็กเรียนรู้เรื่องผีเสื้อ ครอู าจจดั ใหม้ กี ารเลยี้ งตวั หนอน หรือผีเสื้อสต๊าฟใส่กล่องไว้ให้เด็กด ู
ในมุมธรรมชาติศึกษาหรือมุมวิทยาศาสตร์ ฯลฯ
3.4 ควรเสริมสร้างวินัยให้กับเด็ก โดยมีข้อตกลงร่วมกันว่าเมื่อเล่นเสร็จแล้วจะ
ต้องจัดเก็บอุปกรณ์ทุกอย่างเข้าที่ให้เรียบร้อย
19
สภาพแวดล้อมภายนอกห้องเรียน
สภาพแวดล้อมภายนอกห้องเรียน คือ การจัดสภาพแวดล้อมบริเวณรอบ ๆ โรงเรียน
รวมทั้งจัดสนามเด็กเล่นพร้อมเครื่องเล่นสนาม จัดระวังรักษาความปลอดภัยภายในบริเวณโรงเรียน
และบริเวณรอบนอกโรงเรียน ดูแลรักษาความสะอาด ต้นไม้ให้ความร่มรื่นรอบ ๆ บริเวณโรงเรียน
จัดที่ติดข่าวประชาสัมพันธ์ผู้ปกครอง สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลต่อการเรียนรู้และ
พัฒนาการของเด็ก
บริเวณสนามเด็กเล่น
ต้องจัดให้สอดคล้องกับหลักสูตร ดังนี้
สนามเด็กเล่น ควรมีพื้นผิวหลายประเภท เช่น ดิน ทราย หญ้า พื้นที่สำหรับเล่นของเด็กที่มีล้อ
รวมทั้งที่ร่ม ที่โล่งแจ้ง พื้นดินสำหรับขุด ที่เล่นน้ำ บ่อทรายพร้อมอุปกรณ์ประกอบการเล่น
เครื่องเล่นสนามสำหรับปีนป่าย ทรงตัว ฯลฯ ทั้งนี้ต้องไม่ติดกับบริเวณที่มีอันตราย ต้องหมั่น
ตรวจตราเครื่องเล่นให้อยู่ในสภาพแข็งแรงปลอดภัยอยู่เสมอ และหมั่นดูเรื่องความสะอาด
ที่นั่งเล่นพักผ่อน จัดที่นั่งไว้ใต้ต้นไม้มีร่มเงา อาจใช้กิจกรรมกลุ่มย่อย ๆ หรือกิจกรรม
ที่ต้องการความสงบ หรืออาจจัดเป็นลานนิทรรศการให้ความรู้แก่เด็กและผู้ปกครอง
บริเวณธรรมชาติ
ปลูกไม้ดอก ไม้ประดับ พืชผักสวนครัว หากบริเวณโรงเรียนมีไม่มากนักอาจปลูกพืช
ในกระบะหรือกระถาง
ดังนั้นการจัดประสบการณ์ และกิจกรรมระดับอนุบาลศึกษา เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้
อย่างมีประสิทธิภาพนั้น นอกจากครูจะต้องสามารถนำแนวการจัดประสบการณ์มาวางแผน
การจัดอย่างดีแล้ว ยังต้องมีความสามารถในการจัดสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนให้เอื้อต่อ
การเรียนรู้ของเด็กด้วย
สรุป ด้านการจัดสภาพแวดล้อมต้องเหมาะสมกับวัยและพัฒนาการและความต้องการ
ของเด็กและหลักสูตร โดยเน้นความปลอดภัย สะอาด ความเป็นระเบียบ ความเป็นตัวเองของเด็ก
เด็กต้องรู้สึกอบอุ่น มั่นใจ ปลอดภัยและมีความสุข
20
4.3 ด้านการจัดประสบการณ์
ความสำคัญในการจัดประสบการณ์ เป็นการเน้นให้เด็กได้รู้จักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม
ที่เด็กได้พบเห็นและปฏิบัติเป็นประจำได้เขียนไว้เป็นแผนการใช้ตามตารางปฏิบัติและในการจัด
กิจกรรมสำหรับเด็กก่อนวัยเรียนนั้น ครูควรคำนึงถึงลักษณะวิชา สภาพของผู้เรียน ความต้องการ
ของผู้เรียน ฯลฯ เป็นหลักในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
แนวการจัดประสบการณ์ชั้นอนุบาล สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (2534 : 1)
ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
1. ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา
2. อบรมเลี้ยงดูและปลูกฝังให้เด็กสามารถช่วยตนเองและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมี
ความสุข
3. ปลูกฝังให้มีคุณธรรม จริยธรรม และมีความรักในศิลปวัฒนธรรมประเพณีดีงาม
4. เตรียมเด็กให้มีทักษะพื้นฐานที่จะเรียนในระดับประถมศึกษาต่อไป
หลักสูตรอนุบาล พุทธศักราช 2540 ได้กำหนดปรัชญาการจัดการศึกษา และอบรม
เลี้ยงดูเด็กแรกเกิด – 6 ปี บนพื้นฐานของการให้ความรัก ความอบอุ่น ความเข้าใจ และความจำเป็น
ที่ต้องพัฒนาเด็กให้ครบทุกด้านทั้งทางร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ให้เหมาะสม
กับวัย ความแตกต่างระหว่างบุคคล และสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและสังคมที่เด็กอาศัยอยู่
(กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. 2540 : 10)
เบญจา แสงมะลิ (2527 : 5) ได้ให้แนวคิดถึงการจัดการศึกษาระดับอนุบาลเกี่ยวกับ
บทบาทครูกับการศึกษาอนุบาลว่า “ธรรมชาติของเด็กไม่เปลี่ยนแปลง แต่สังคมเป็นสิ่งที่
เปลี่ยนแปลง ครูต้องเข้าใจพร้อมให้ความรักความอบอุ่นและช่วยเหลือเด็ก คิดเป็น มีเหตุผล และ
เป็นคนที่มี คุณภาพของสังคม”
เยาวพา เดชะคุปต์ (2528 : 1) ได้กล่าวว่า การจัดกิจกรรมสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน
ควรจัดในลักษณะของ “การเล่นปนเรียน” ซึ่งจะสอดคล้องกับธรรมชาติของเด็กในวัยนี้มากที่สุด
และในการสอนก็ควรจัดในรูปของการเตรียมความพร้อม หรือการจัดกิจกรรม เพื่อให้เด็กเกิด
ความคิดรวบยอดจากการเล่น การกระทำ และการลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเองในการจัด
กิจกรรมไม่ควรเน้นการอ่านออกเขียนได้เป็นสำคัญ แต่ควรให้เด็กได้รับการฝึกการเตรียม
ความพร้อมเพื่อพัฒนาตนเอง ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาไปพร้อม ๆ กัน
21
แคทซ์ (Katz . 1987 : 104) ได้เสนอหลักในการจัดการศึกษา ควรยึดขอบข่ายต่อคำถาม
ที่ว่า “เด็กต้องการอะไร” Katz เห็นว่าพื้นฐานความต้องการของเด็กเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ใหญ่ต้องรู้ว่ามี
อะไรบ้างและจะตอบสนองอย่างไรจึงจะพัฒนาเด็กอย่างได้ผล ควรใช้กฎแห่งการตอบสนองเด็ก
โดยยึดถือตัวเด็กเป็นกฎแห่งผลดีที่สุด โดยการให้คิดว่าการให้ประสบการณ์ต่าง ๆ แก่เด็ก
ในด้านความเอาใจใส่ ความรัก การกระตุ้น ความเป็นอิสระ ความแปลกใหม่และการมีสิทธิ์
เลือกทำกิจกรรม สิ่งเหล่านี้ควรให้จำนวนตอบสนองที่เพียงพอ และความถี่ในการทำ ควรตั้งคำถาม
ถามว่า สิ่งที่เด็กต้องการนั้นมีอะไรบ้างและสามารถพัฒนาทุกส่วนนี้ได้ทั้งหมด ขอบข่ายการจัด
ประสบการณ์ให้กับเด็กควรครอบคลุมและตอบสนองต่อความต้องการของเด็กให้เด็กพัฒนาไปสู่
จุดหมายปลายทางได้ ซึ่งสรุปได้ว่า
1. เด็กต้องการความรู้สึกปลอดภัยอย่างแท้จริง ไม่ใช่เพียงแต่ผู้ใหญ่ให้ความอบอุ่น
เท่านั้น แต่ต้องให้ความปลอดภัยหรือความมั่นคงแก่เด็ก
2. เด็กทุกคนต้องการความเพียงพอ หรือความสามารถที่จะทำ ควรสร้างเสริมเด็ก
ให้มีความคิดเกี่ยวกับตนเองว่าเป็นคนดี โดยความคิดคำนึงนั้นให้อยู่ในขอบเขตที่เพียงพอไม่ใช่ว่า
ตนเองดีเกินความจริง
3. เด็กทุกคนควรมีความรู้สึกหรือประสบการณ์เกี่ยวกับชีวิตของเขาในทางที่ดีว่าชีวิต
มีคุณค่า ความพอใจอย่างมีเหตุผล ความสนใจ และความแท้จริง ดังนั้นควรทำในสิ่งที่เด็กรู้สึกว่า
ชีวิตของเขาเป็นของจริง
4. เด็กมีความต้องการให้ผู้ใหญ่หรือเพื่อนเด็กอื่น ๆ ให้เขาร่วมตัดสินใจด้วยประสบการณ์
ตนเอง ปล่อยให้เรียนรู้และตัดสินใจที่จะกระทำกิจกรรมอะไรด้วยตนเอง
5. เด็กต้องการให้ผู้ใหญ่ยอมรับเด็กว่ามีอำนาจในตัวเขาเองในเรื่องของการมี
ประสบการณ์ที่กว้างขึ้น
6. เด็กต้องการผลที่ดีที่สุดจากการสนองตอบกลับจากผู้ใหญ่และเพื่อน ๆ ซึ่งมี
คุณสมบัติที่ควรแก่เด็ก ได้แก่ ความสามารถ ความซื่อสัตย์ ความใจดี เมตตา การยอมรับความ
แตกต่างของผู้อื่น
ความต้องการทั้ง 6 ประการนี้ ควรเป็นหลักของความคิดรับผิดชอบที่ผู้ใหญ่ควรจัด
ให้เด็กสำหรับชีวิตที่มีคุณค่าแก่เด็กทุกคน การจัดแนวประสบการณ์สำหรับเด็กอนุบาล ถือเป็น
หัวใจหลักในการจัดการศึกษาให้กับเด็ก แคทซ์ (Katz) กล่าวเพิ่มเติมว่าการจัดแนวประสบการณ์
ให้สำหรับเด็กอนุบาลเพื่อตอบสนองต่อความต้องการพื้นฐานของเด็กนั้น ควรมีแนวทางการพัฒนา
22
สติปัญญาโดยการที่เด็กค่อยเรียนรู้ในกลุ่มเล็กทำกิจกรรมร่วมกันในโครงการต่าง ๆ เพื่อที่
สนองตอบประสบการณ์ที่จัดให้กับเด็ก ควรให้เด็กมีโอกาสสังเกต ทดลอง สอบถาม และเรียนรู้
สิ่งแวดล้อมในแง่มุมต่าง ๆ รู้จักปรับตัวเข้ากับสังคม ไม่เน้นให้สอนเนื้อหาทางวิชาการ
แนวการจัดประสบการณ์และกิจกรรมสำหรับเด็กอนุบาล กองแผนงาน กระทรวง
ศึกษาธิการ (2536 : 18 – 19) ประกอบด้วย การจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
ให้เด็กพัฒนาผ่านจากการเล่น การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 และให้เด็กเกิดการเรียนรู้ตามธรรมชาติ
จัดให้มีบรรยากาศใกล้เคียงกับบ้านและชุมชน สร้างความสัมพันธ์และปฏิสัมพันธ์ในระบบ
การเรียนรู้ของเด็กให้อบอุ่นอย่างฉันท์พี่น้อง ในการจัดประสบการณ์และกิจกรรมต้องให้เด็กมี
ส่วนร่วมในการคิดริเริ่ม ตัดสินใจ ให้เด็กมีโอกาสลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง กิจกรรมที่จัดให้เด็ก
สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันทันต่อเหตุการณ์ โดยเปิดโอกาสให้เด็กได้ตัดสินใจได้คิดด้วย
ตนเอง อย่างเหมาะสมกับวัย ส่งเสริมให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ และส่งเสริมให้ผู้ปกครอง หรือ
ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้เด็ก
สรุป ในการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กอนุบาลควรยึดเด็กเป็นศูนย์กลางในการจัดแนว
ประสบการณ์ให้เหมาะสมกับวัย ความสนใจ ความต้องการ จัดบรรยากาศที่อบอุ่นเอื้อต่อการเรียนรู้
โดยจัดกิจกรรมอย่างหลากหลายเป็นประสบการณ์ตรงให้เด็กมีโอกาสลงมือปฏิบัติสอดคล้องกับ
สภาพแวดล้อม เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้แก่เด็กด้วย
4.4 ด้านการส่งเสริมสุขภาพอนามัย
ด้านการส่งเสริมสุขภาพอนามัย สุขภาพอนามัยสำหรับเด็กก่อนประถมศึกษา ที่โรงเรียน
สามารถปฏิบัติได้ มีดังนี้ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2540 : 99-107)
ความปลอดภัย
1. ต้องมุ่งป้องกันการเจ็บป่วย หรืออุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นกับเด็กได้ตลอดเวลา
2. เตรียมการสำหรับเหตุฉุกเฉินที่เกิดกับเด็กในกรณีเกิดอุบัติเหตุ
3. ตรวจสอบดูแลอาคารสถานที่ให้อยู่ในความปลอดภัย
4. ตรวจสอบคนที่อยู่รอบข้างเด็ก (ครู พี่เลี้ยง คนงาน) ต้องมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี
ควรตรวจสอบสุขภาพเป็นระยะอย่างน้อยควรกระทำทุก 2 ปี
5. มีข้อจำกัดไม่ให้เด็กเจ็บป่วยร่วมกิจกรรม ต้องแยกเด็กไว้ห้องพยาบาล
23
6. ดูแลการรับส่งเด็กตรงตามเวลา จัดให้มีบัตรประจำตัวหรือสมุดเซ็นชื่อรับเด็ก
ป้องกันการลักพาเด็ก
7. จัดสภาพห้องเรียน บริเวณอาคารถูกสุขลักษณะ มีแสงสว่างเพียงพอ อากาศ
ถ่ายเทได้ดี พื้นห้องต้องใช้วัสดุที่ไม่ลื่น ทำความสะอาดง่าย
8. จัดระบบป้องกันอุบัติเหตุจากไฟฟ้า ปลั๊กไฟควรติดไว้ในที่มิดชิด พ้นมือเด็ก
9. จัดติดตั้งเครื่องเล่นสนาม ให้เด็กได้เล่นอย่างปลอดภัย
10 .จัดเก็บยา สารเคมี ของมีคม สิ่งอันตรายอื่น ๆ ควรมีฉลากระบุไว้และจัดเก็บให้มิดชิด
11. ควรมีการทดลองการป้องกันเหตุฉุกเฉินที่จะเกิดกับเด็กและจดหมายเลขโทรศัพท์
ที่จะแจ้งเหตุฉุกเฉินติดไว้
12. ของใช้ส่วนตัวเด็ก ต้องแยกเก็บของแต่ละคนอย่างมีระเบียบ (หมอน ที่นอน แปรง
กระบอกน้ำ ฯลฯ) และทำความสะอาดสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
13. จัดห้องน้ำห้องส้วม และที่ล้างมือไว้ในสถานที่เหมาะสมกับตัวเด็ก ถูกสุขลักษณะ และ
มีขนาดสัดส่วนเหมาะกับเด็ก
14. จัดให้มีน้ำสะอาดสำหรับดื่มให้เด็กได้รอง/ตักดื่มได้ด้วยตนเอง
การส่งเสริมให้เด็กมีนิสัยที่ดีในการรับประทานอาหาร
1. ให้เด็กมีความรู้สึกที่ดีต่ออาหารว่าอาหารมีประโยชน์ โดยสนทนา ชักชวน เล่านิทาน
ร้องเพลงหรือให้เด็กช่วยประกอบอาหารอย่างง่าย เช่น ล้างผัก เด็ดผัก เป็นต้น
2. ชมเชย เสริมแรง ให้กำลังใจ ยิ้ม แสดงความพอใจเมื่อเด็กรับประทานอาหาร
3. ไม่บังคับเด็กให้รับประทานอาหาร หรือเร่งเด็กให้รับประทานอาหารหมดเร็ว ๆ
บรรยากาศในการรับประทานอาหารไม่ตึงเครียด
4. ไม่ควรกังวลกับเด็กเกี่ยวกับพฤติกรรมการรับประทานอาหารมากเกินไป
5. ครูและผู้ปกครองเป็นตัวอย่างที่ดีในการรับประทานอาหาร
6. ขอความร่วมมือกับผู้ปกครองไม่ให้เด็กรับประทานอาหารของขบเคี้ยว จุบจิบ น้ำอัดลม
ของหมักดอง
7. ไม่ให้เด็กเล่นหรือออกแรงมากเกินไปก่อนรับประทานอาหาร
8. ก่อนและหลังรับประทานอาหารให้เด็กล้างมือเช็ดมือให้สะอาด
9. หลังรับประทานอาหารต้องให้เด็กบ้วนปาก แปรงฟัน
24
การบริการด้านสุขภาพอนามัย (การสร้างภูมิคุ้มกัน)
เด็กควรได้รับภูมิคุ้มกันที่ตรงตามเวลาที่แพทย์กำหนดเป็นระยะ ครูควรให้ตรวจสอบ
ดูแล แนะนำให้ผู้ปกครองถือปฏิบัติในการนำเด็กไปรับการฉีดวัคซีนอย่างเคร่งครัด โดยการสร้าง
ภูมิคุ้มกันโรค ดังตาราง
อายุ การให้วัคซีนป้องกันโรค
แรกเกิด - วัคซีน บีซีจี ป้องกันวัณโรค
- ตับอักเสบบี ครั้งที่ 1
2 เดือน - คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ครั้งที่ 1
- โปลิโอ ครั้งที่ 1
- ตับอักเสบบี ครั้งที่ 2
4 เดือน - คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ครั้งที่ 2
- โปลิโอ ครั้งที่ 2
6 เดือน - คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ครั้งที่ 3
- โปลิโอ ครั้งที่ 3
9-12 - หัด คางทูม หัดเยอรมัน ครั้งที่ 1
1 ปี 6 เดือน - คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ครั้งที่ 4
- โปลิโอ ครั้งที่ 4
- ไข้สมองอักเสบ ครั้งที่ 1
- ไข้สมองอักเสบ ครั้งที่ 2 (ห่างจากครั้งแรก 1-2 สัปดาห์)
2 ปี 6 เดือน - ไข้สมองอักเสบ ครั้งที่ 3
4-6 ปี - คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ครั้งที่ 5
- โปลิโอ ครั้งที่ 5
- วัคซีน บีซีจี ป้องกันวัณโรค
12-16 ปี - หัด คางทูม หัดเยอรมัน ครั้งที่ 2
- คอตีบ บาดทะยัก
25
การดูแลเรื่องสุขภาพอนามัยสำหรับเด็กระดับก่อนประถมศึกษา นับว่ามีความสำคัญ
อย่างยิ่งที่ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนจะต้องดำเนินการ โดยการประสานความร่วมมือ
กับผู้ปกครองนักเรียน เพื่อให้นักเรียนมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง มีความปลอดภัยทั้งอยู่ใน
โรงเรียนและที่บ้าน ตลอดจนรู้จักเลือกอาหารให้เด็กรับประทานที่เหมาะสมกับวัย
การจัดบริการพิเศษและกิจกรรมส่งเสริมความสามารถพิเศษและกิจกรรมส่งเสริมความ
สามารถพิเศษในโรงเรียนอนุบาลเป็นสิ่งจำเป็น และมีประโยชน์ต่อทั้งเด็กและผู้ปกครอง ได้แก่
การจัดบริการด้านโภชนาการ
งานด้านอาหารเป็นงานที่สถานศึกษาปฐมวัยต้องจัดบริการให้แก่เด็ก การให้บริการจัดได้
ทั้งช่วงเวลาเช้า กลางวัน และบ่าย โดยสามารถจัดได้หลายรูปแบบโดยเลือกจัดตามความเหมาะสม
ของสภาพการณ์ของโรงเรียน อาหารที่จัดอาจเป็นแบบเต็มรูปแบบ หรืออาหารเสริม โดยมี
วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมสุขภาพ บริการด้านความสะดวก สร้างนิสัยการกินที่ดีและให้เด็ก
รับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ โรงเรียนจะจัดบริการอาหารแก่เด็กได้มีประสิทธิภาพจำเป็น
ต้องวางแผนการจัดบริการ ควบคุมดูแลเรื่องต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด และมีการปรับปรุงหลังจากที่ได้
ประเมินผลการจัด (อารมณ์ สุวรรณปาล . 2537 : 234)
การบริการอาหารให้กับเด็กนั้น เป็นหน้าที่โดยตรงของโรงเรียน แต่ถ้าหากโรงเรียน
ไม่สะดวกในการจัดบริการด้านอาหารให้แก่นักเรียนเอง สามารถเปิดโอกาสให้บุคลากรภายนอก
เข้ามาดำเนินการ โดยโรงเรียนจักต้องมีการตรวจสอบคุณภาพอยู่เสมอ เพื่อให้นักเรียนได้รับอาหาร
ที่ถูกสุขลักษณะและมีคุณค่าทางโภชนาการ
การจัดบริการด้านสุขภาพ
งานบริการด้านสุขภาพ เป็นงานกิจการนักเรียนงานหนึ่ง ที่สถานศึกษาปฐมวัยควรจัด
บริการ ให้แก่เด็กเพื่อขจัดความเจ็บป่วย ส่งเสริมให้เด็กมีสุขภาพดี การบริการด้านสุขอนามัย
ที่สถานศึกษาควรจัดมีห้องพยาบาล การตรวจสุขภาพ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง บริการน้ำสะอาด
หรือการบริการด้านทันตกรรม งานด้านสุขอนามัยเป็นงานบริการที่ช่วยเด็กปฐมวัยให้บรรเทาเรื่อง
โรคภัย เจ็บป่วย ช่วยป้องกันและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้น ตลอดจนให้ประสบการณ์ที่ดีแก่
เด็กในด้านสุขภาพอนามัย เป็นการปลูกฝังเจตคติที่ดีต่อการรักษาสุขภาพของเด็ก เพื่อจะได้นำ
ความรู้และประสบการณ์ ด้านการรักษาสุขภาพอนามัยไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้
งานสุขอนามัยในสถานศึกษาปฐมวัยที่สำคัญควรมีการตรวจสุขภาพ การบริการน้ำสะอาด
จัดห้องพยาบาล ป้องกันโรคติดต่อ และการจัดสภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษาให้ถูกสุขลักษณะ
26
ซึ่งงานทั้งหมดสถานศึกษาต้องมีการวางแผน ประสานงาน จัดองค์กร ตารางกิจกรรม การให้บริการ
มีการประชาสัมพันธ์ และประเมินผลเพื่อปรับปรุงแก้ไข (อารมณ์ สุวรรณปาล . 2537 : 235)
สรุป ด้านการส่งเสริมสุขภาพอนามัย สุขภาพอนามัยเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเด็กวัยนี้
เป็นอย่างมาก ดังนั้นการส่งเสริมสุขภาพอนามัยจึงจำเป็นต้องเน้นความสะดวก ปลอดภัย การสร้าง
สุขนิสัยที่ดี การเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน รวมถึงการจัดบริการด้านสุขภาพต่าง ๆ ให้กับเด็ก
4.5 ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง
ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง ถือว่าเป็นปัจจัยพื้นฐานของการจัดการศึกษา
ระดับก่อนประถมศึกษา เพราะพ่อแม่คือครูคนแรกของเด็ก การดำเนินงานเพื่อส่งเสริม
การประสานสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง จะมุ่งเน้นที่การให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง
เป็นสำคัญ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการให้สาระความรู้เกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูในเรื่องพัฒนาการ
โภชนาการ การดูแลสุขภาพอนามัยมากกว่าการเสริมสร้างทักษะและเจตคติ จึงได้เกิดการจัด
การศึกษาแบบให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วม ตัวอย่างของการให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการศึกษา อาทิ
การเข้ามาเป็นอาสาสมัครในโรงเรียน เช่น ช่วยจัดทำของเล่นผลิตสื่อ ซ่อมแซมเครื่องเล่นสนาม
ช่วยประกอบอาหารว่างและอาหารกลางวัน ซึ่งหลักการและวิธีการในการสร้างความสัมพันธ์
ระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครองมีดังนี้ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2540 : 20-24)
หลักการสร้างความสัมพันธ์
หลักการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง มีดังนี้
1. การประสานสัมพันธ์ ต้องดำเนินการประสานสัมพันธ์อย่างเป็นระบบ มีการกำหนด
เป้าหมายครอบคลุมทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ มียุทธวิธีที่ชัดเจนไม่ว่าจะใช้สื่อประเภทใดก็ตาม
เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อกิจกรรม สื่ออิเลคทรอนิกส์ หรือสื่อบุคคล ซึ่งมีโครงการและระยะเวลาที่
แน่นอน ประการสำคัญต้องสามารถดำเนินการได้อย่างสม่ำเสมอ
2. โรงเรียนจะต้องเป็นผู้ริเริ่มประสานสัมพันธ์กับผู้ปกครอง ไม่ควรรอให้ผู้ปกครอง
หรือชุมชนเป็นฝ่ายริเริ่ม
3. การประสานสัมพันธ์ระหว่างบ้านและโรงเรียนต้องดำเนินการสื่อสารสองทาง และ
มีการปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เพราะรากฐานของการสื่อสารและการปฏิสัมพันธ์จะสร้างความเข้าใจ
ซึ่งกันและกัน
27
4. การนิเทศ ติดตาม กำกับและประเมินผล ควรเน้นให้ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วม
ในรูปแบบของคณะกรรมการการศึกษาสมาคมผู้ปกครองและครูหรืออาสาสมัครดำเนินการอย่างใด
อย่างหนึ่ง โดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกัน
วิธีสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง
1. สื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ แผ่นพับประชาสัมพันธ์ ป้ายนิเทศ จดหมายข่าวหรือสื่อสิ่งพิมพ์
อื่น ๆ
2. สื่อกิจกรรม ได้แก่ จัดการประชุม ปฐมนิเทศก่อนเด็กมาโรงเรียน ประชุมผู้ปกครอง
ทุกภาคเรียน เยี่ยมบ้านเด็ก จัดกิจกรรมให้ผู้ปกครองมาเยี่ยมห้องเรียน
3. สื่ออิเลคทรอนิกส์ ได้แก่ โทรศัพท์ โทรสารหรือสื่ออื่น ๆ ที่เหมาะสมกับสภาพ
ของโรงเรียน
4. สื่อบุคคล ได้แก่ เด็กและบุคลากรทุกฝ่ายทั้งในและนอกโรงเรียนใช้หลักการ
สื่อสารสองทาง และการปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
นอกจากการประสานสัมพันธ์ด้วยสื่อต่าง ๆ ดังกล่าวแล้ว โรงเรียนควรมีเทคนิคใน
การให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมและให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ดังนี้
1. ให้ข่าวสารข้อมูลที่ชัดเจน ซึ่งจะช่วยให้ผู้ปกครองเข้าใจปรัชญาและหลักการของ
โรงเรียน และสามารถสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาการเด็กให้สอดค้องกับทางโรงเรียน
2. ครูสามารถใช้เทคนิควิธีต่าง ๆ ในการให้ข่าวสารข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพและ
สอดคล้องกับสถานการณ์ เช่น การประชุมเชิงปฏิบัติการ การสัมมนาแสดงความคิดเห็น การส่ง
จดหมายข่าวสารสองทาง จุลสาร โทรศัพท์ การสนทนาพูดคุย การเยี่ยมบ้าน โดยมีขั้นตอน
การทำงานร่วมกับผู้ปกครอง ดังนี้
2.1 มีการเตรียมการ
2.2 มีการประเมินความต้องการของผู้ปกครอง
2.3 มีการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทของผู้ปกครอง
2.4 มีการเสนอแนะให้ผู้ปกครองมีส่วนช่วยเหลือโรงเรียนตามความสมัครใจและ
ความสามารถ
3. โรงเรียนควรคำนึงถึงหลักจิตวิทยาในการขอความร่วมมือจากผู้ปกครองดังนี้ กำลัง
ในการพัฒนาเด็ก
28
3.1 ให้การยอมรับและให้เกียรติแก่ผู้ปกครองทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน
3.2 ผู้ปกครองจะให้ความร่วมมืออย่างดี หากกิจกรรมนั้นมีประโยชน์ต่อเด็กและ
เป็นกิจกรรมที่ง่ายไม่เสียเวลา
การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง นับว่ามีความสำคัญต่อการ
จัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา เพราะจะทำให้โรงเรียนและผู้ปกครองนักเรียนมีความเข้าใจ
ในกิจกรรมต่าง ๆ ที่โรงเรียนจัดขึ้น ซึ่งการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีนั้นจะต้องประสานสัมพันธ์กัน
สองทางโดยใช้กลยุทธวิธีที่หลากหลาย เช่น การประชุมร่วมกัน การใช้สื่อประชาสัมพันธ์
การเยี่ยมผู้ปกครองนักเรียนและการจัดกิจกรรมร่วมกัน
สรุป การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง โดยให้ผู้ปกครองเข้ามามี
ส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ พร้อมทั้งร่วมประเมินผลเพื่อรับรู้และแก้ปัญหาต่าง ๆ ร่วมกัน เพื่อให้
เกิดประโยชน์สูงสุดต่อนักเรียน
4.6 ด้านพัฒนาการของเด็ก
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (2531 ก : 4) กล่าวถึง พัฒนาการของเด็กระดับ
ก่อนประถมศึกษาว่า เด็กวัยแรกเกิดถึง 6 ปี มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการทางร่างกาย
สังคม อารมณ์ จิตใจ และสติปัญญาไปพร้อม ๆ กัน และเป็นระยะที่พัฒนาการทุกด้านเป็นไป
อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งพัฒนาการทางสติปัญญา ฉะนั้นเด็กที่ไม่ได้รับการอบรมเลี้ยงด ู
และถ่ายทอดประสบการณ์ที่เหมาะสม จึงเป็นเด็กที่ด้อยโอกาสและมีผลทำให้การเรียนรู้ในระยะ
ต่อมา ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร พ่อแม่และครูจะต้องเข้าใจว่าการเรียนรู้และความสามารถ
ในการกระทำสิ่งต่าง ๆ นั้นถึงแม้จะเกิดขึ้นเองบ้างได้ตามสภาพแวดล้อมของเด็กแต่ละคน แต่จะ
เกิดขึ้นได้ดีที่สุดเมื่อมีสิ่งกระตุ้นเร้าให้เด็กได้สังเกต สัมผัส ทดลอง ค้นหา แก้ปัญหา และใช้ภาษา
เพื่อให้มีการพัฒนาด้านต่าง ๆ สอดคล้องไปกับระดับการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก
4.6.1 การเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก
การเจริญเติบโตและพัฒนาการเป็นกระบวนการต่อเนื่อง ขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญ ได้แก่
สิ่งติดตัวเด็กมาตั้งแต่เกิดและสิ่งแวดล้อมของเด็ก (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน . 2531
ก : 5)
29
การเจริญเติบโตและการพัฒนาการมีความหมายต่างกัน การเจริญเติบโต หมายถึง การเพิ่ม
ขนาดของร่างกาย หรือส่วนหนึ่งของร่างกาย ซึ่งสามารถวัดได้ เช่น ความสูง น้ำหนักตัว เป็นต้น
พัฒนาการ หมายถึง ความสามารถของบุคคลในการกระทำสิ่งต่าง ๆ ได้มากขึ้นและดีขึ้นตามช่วง
วัยของชีวิต เช่น เด็กอายุ 2 เดือน เมื่อจับนอนในท่าคว่ำจะสามารถยกหัวพ้นพื้นได้มองตามสิ่งของ
เคลื่อนที่เคลื่อนไหวในระยะสั้น ๆ ได้ เด็กอายุ 12 – 18 เดือน เดินได้ พูดได้ รู้จักคำ และความหมาย
ของสิ่งของ เป็นต้น
4.6.2 ปัจจัยที่ส่งเสริมพัฒนาการ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (2531ก : 7) กล่าวว่า การที่เด็กแต่ละคน
มีพัฒนาการตามปกติหรือช้ากว่าปกติ นอกจากจะขึ้นอยู่กับพันธุกรรมหรือทุนเดิมของเด็กแล้ว
ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ อีกหลายประการ ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะปัจจัยที่สำคัญ 5 ประการ คือ
1. อาหาร อาหารมีความสำคัญต่อชีวิตตั้งแต่เด็กอยู่ในท้องแม่ เด็กจำนวนมากขาดสาร
อาหารตั้งแต่อยู่ในท้องแม่และมีน้ำหนักแรกคลอดต่ำกว่า 2,500 กรัม ระยะหลังคลอดถึง 6 เดือน
เป็นระยะที่เด็กควรได้รับอาหารมากที่สุด คือนมแม่ ซึ่งมีคุณค่าทุกอย่างพร้อม เมื่อเด็กอายุ 3 เดือน
ควรเริ่มให้อาหารเสริมโดยเริ่มทีละอย่างและทีละน้อยจนเด็กได้รับอาหารเสริมครบ 5 หมู่ คือ
เนื้อสัตว์ ข้าว ผักและผลไม้ และไขมัน เด็กต้องการอาหารในปริมาณและคุณภาพที่พอเพียงกับ
ความต้องการของร่างกาย เรื่องของอาหารและโภชนาการมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโต
ของร่างกายและสมอง เมื่อเซลล์สมองมีการเจริญเติบโตดี และเด็กได้รับสิ่งกระตุ้นเร้าทางสติปัญญา
ความรัก ความเอาใจใส่ในการเลี้ยงดู เด็กก็จะมีพัฒนาการสติปัญญา และพัฒนาการด้านอื่น ๆ
ดีตามไปด้วย
2. ความรักและความเอาใจใส่ เป็นรากฐานที่สำคัญมาก ถ้าพ่อแม่และครูมีความเข้าใจ
เด็กรู้จักตอบสนองความต้องการของเด็กอย่างเหมาะสมและสามารถสร้างความผูกพันทางใจกับ
เด็กได้ อย่างดีแล้ว เด็กจะมีอารมณ์แจ่มใส เจริญเติบโตไว ร่าเริงน่ารัก เมื่อโตขึ้นจะมีความเชื่อมั่น
ตัวเองและมองโลกในแง่ดี รู้จักปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่นได้อย่างดีด้วย ฉะนั้นถ้าเราต้องการให้เด็ก
สมองดี เรียนดี มีน้ำใจดีงาม เราต้องปูพื้นฐานทางด้านจิตใจกับเด็ก ด้วยการอยู่ใกล้ชิดดูแลเด็ก
รู้จักชื่นชมความสามารถต่าง ๆ ที่เด็กทำได้ ทารกที่กินนมแม่จะได้รับสัมผัสทางกายและความ
อบอุ่นทางจิตใจในขณะที่แม่อุ้มลูกมองหน้าลูก ยิ้มกับลูก ความใกล้ชิดสนิทสนมนี้ มีส่วนช่วย
กระตุ้นการเรียนรู้ของเด็กอีกทางหนึ่งด้วย เมื่อเด็กโตขึ้นควรให้โอกาสเด็กทำอะไรด้วยตัวเองบ้าง
เช่น ให้เด็กกินเอง ให้รู้จักรับประทานอาหารเอง แม้จะหกเลอะเทอะบ้างในระยะแรก การให้เด็ก
30
รู้จักช่วยตัวเองในเรื่องต่าง ๆ จะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านดีขึ้นซึ่งทำให้เด็กมีความพร้อมที่จะ
เรียนรู้สิ่งอื่น ๆ ต่อไปได้ดีด้วย พ่อแม่และครูจึงจำเป็นต้องเข้าใจให้แน่ชัดว่าความรัก ความเอาใจใส่
เด็กไม่ได้หมายถึงการคอยดูแลช่วยเหลือเด็กตลอดเวลา จนเด็กแทบไม่มีโอกาสเป็นตัวของตัวเอง
ไม่มีความภูมิใจในตัวเอง เด็กที่อยู่ในวัย 3 ขวบขึ้นไป เป็นเด็กที่มีความคิดริเริ่ม และอยากใช้
ความคิดของเขาเอง การใช้ภาษาจะดีขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงเป็นวัยที่ผู้ใหญ่ต้องสนใจในสิ่งที่เขาพูด
และเต็มใจที่จะอธิบายและตอบคำถามเด็ก ซึ่งจะทำให้เด็กมีกำลังใจมีความกล้าและเชื่อมั่นในตัวเอง
เมื่อโตขึ้น
3. การเล่น การเล่นเป็นกิจกรรมที่ทำให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้าน ในขณะที่เด็กเล่นเด็กจะ
ใช้ประสาทสัมผัสต่าง ๆ ฝึกการใช้ภาษา ฝึกการแก้ปัญหา เรียนรู้การปรับตัว และได้ผ่อนคลาย
ความตึงเครียด พ่อแม่และครูจึงควรเข้าใจในคุณค่าของการเล่น เตรียมอุปกรณ์และกิจกรรม
การเล่นให้เหมาะสมเพื่อให้การเล่นเกิดประโยชน์แก่เด็กมากที่สุด
4. การฝึกทางภาษา ประสบการณ์ทางภาษาโดยเฉพาะการฟังและการพูดเป็นสิ่งที่มี
ความสำคัญต่อพัฒนาการด้านสติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคมของเด็กมาก การที่พ่อแม่พูดคุย
กับลูกตั้งแต่ลูกยังพูดไม่ได้ ดูผิวเผินเหมือนเป็นสิ่งเหลวไหล แต่ที่จริงแล้วเป็นสิ่งที่ควรกระทำ
อย่างยิ่ง เมื่อเด็กโตขึ้นเด็กควรได้รับประสบการณ์ทางภาษาจากการรู้จักชื่อ สิ่งของ บุคคล สิ่งที่
ทำในชีวิตประจำวัน เช่น ฟังเพลง ร้องเพลง ฟังนิทาน และเรื่องราวต่าง ๆ เมื่อเด็กอยู่ในวัย 3-6 ขวบ
เด็กจะมีความสนใจในการฟังและพูดมากขึ้น ฉะนั้นผู้ใหญ่ควรฟังเด็กเล่าเรื่องที่เขาสนใจ
ตอบคำถามของเด็กรับฟังความคิดเห็นของเด็กเสมอ ควรหาหนังสือนิทานมาอ่านให้เด็กฟัง หาภาพ
ให้เด็กดูและชวนเด็กพูดคุย การตอบและถามคำถามเด็ก การเล่นเกมที่เด็กต้องใช้ภาษา เป็นสิ่งที่
พ่อแม่และครูควรนำมาใช้กับเด็กในวัยนี้มากที่สุด การที่เด็กมีพัฒนาการด้านภาษาดีเป็นสิ่งสาํ คัญ
มากเพราะเด็กจะสามารถบอกความรู้สึกนึกคิดและความต้องการของตนได้ ผู้ใหญ่ก็จะสามารถ
สอนสิ่งต่าง ๆ ตามเหตุและผลเป็นการวางพื้นฐานของการใช้ภาษาและความคิดอย่างมีเหตุผล
ซึ่งมีความสำคัญต่อการเรียนรู้ของเด็กในด้านอื่น ๆ อย่างยิ่ง
5. ภาวะแวดล้อม สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่ส่งเสริม หรือสกัดกั้นพัฒนาการเด็ก คือ
สิ่งแวดล้อมของเด็กทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน สิ่งแวดล้อมที่สาํ คัญต่อเด็กอย่างยิ่งคือตัวบุคคลซึ่ง
ได้แก่ พ่อแม่และครู ครอบครัวมีความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูกอบอุ่นราบรื่น พ่อแม่ยอมรับสภาพ
และความสามารถของลูก มีความขัดแย้งในการอบรมลูกน้อยที่สุด สุขภาพจิตและกายของพ่อแม่
เป็นปกติ จะช่วยให้พัฒนาการของเด็กดำเนินไปได้ดี เมื่อเด็กมาโรงเรียนความสัมพันธ์อันดีระหว่าง
31
ครูกับเด็กและเด็กกับเด็กมีความสำคัญต่อการพัฒนาการทางสังคม อารมณ์ และจิตใจของเด็กมาก
ครูจึงเป็นผู้ที่มีความรักความเข้าใจเด็ก เป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็กเพื่อให้เด็กเกิดความรู้สึกอบอุ่นใจ
และวางใจในตัวครู กล้าพูด กล้าแสดง สิ่งแวดล้อมที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กคือ ตัวบุคคลที่เด็ก
ยึดเป็นตัวแบบ การสอนเด็กให้เก่งให้ดีนั้นวิธีที่ดีก็คือการเป็นตัวอย่างที่ดีแก่เด็ก กิริยาท่าทาง
การกระทำทุกอย่างของ ผู้ใหญ่เป็นสื่อให้เด็กเลียนแบบ ฉะนั้นเมื่อเด็กทำผิด สิ่งแรกที่ผู้ใหญ่
ควรพิจารณาคือ สิ่งแวดล้อมของเด็ก การแก้ปัญหาจึงต้องแก้ที่สิ่งแวดล้อมหรือตัวผู้ใหญ่ด้วย ไม่ใช่
ที่ตัวเด็กเพียงอย่างเดียว
4.6.3 การส่งเสริมพัฒนาการด้านต่าง ๆ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (2531 ก : 12 – 24) กล่าวไว้ว่า พัฒนาการเด็ก
อาจแบ่งเป็นสี่ด้าน คือ ด้านร่างกาย สังคม อารมณ์ – จิตใจ และ สติปัญญา ด้านที่สังเกตเห็น
ได้ชัดเจน คือ ด้านร่างกาย ซึ่งหมายถึงความสามารถในการทำงานของกล้ามเนื้อใหญ่ที่ใช้ใน
การเคลื่อนไหว ทรงตัว ยืน วิ่ง รวมทั้งความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็ก ประสาทสัมผัส
พัฒนาการด้านสังคม ได้แก่ ความสามารถของเด็กในการช่วยตนเอง และปรับตัวในการเล่นหรือ
อยู่กับผู้อื่นได้อย่างมี ความสุข พัฒนาการด้านอารมณ์ เป็นเรื่องของการที่เด็กมีความรู้สึกต่าง ๆ
เช่น รัก สนใจ เกลียด ไม่พอใจ โดยที่เด็กรู้จักควบคุมการแสดงออกอย่างเหมาะสมกับวัย
และสถานการณ์ พัฒนาการด้านสติปัญญา หมายถึง ความสามารถของเด็กในการรับรู้ การเข้าใจ
สิ่งต่าง ๆ การใช้เหตุผล การแก้ปัญหา ซึ่งแสดงออกโดยการใช้ภาษาในการสื่อความหมายเป็น
ส่วนใหญ่
4.6.4 การส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกาย
พื้นฐานของการมีพัฒนาการด้านร่างกายที่ดีนั้น คือ การได้รับปริมาณสารอาหารครบถ้วน
ตามความต้องการของร่างกาย เพื่ออวัยวะทุกส่วนโดยเฉพาะสมองได้เจริญเติบโตอย่างปกติ อาหาร
จึงเป็นเรื่องที่เด็กควรได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างดี เพราะถ้าเด็กได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ
ในระยะนี้การเจริญเติบโตของสมองจะเป็นไปอย่างล่าช้า เด็กที่สมองเจริญเติบโตช้า จะเรียนรู้เข้าใจ
จดจำสิ่งต่าง ๆ ได้น้อยกว่าเด็กที่สมองเจริญเติบโตตามปกติ นอกจากนี้เราจะสังเกตได้ว่า เด็กที่
ขาดอาหารจะมีอาการหิวโหย อ่อนเพลีย กระวนกระวาย ทำให้ไม่มีสมาธิที่ดี ไม่มีความสนใจ
ขาดความกระตือรือร้น ซึ่งเป็นเหตุที่ทำให้เด็กเรียนไม่ทันเพื่อน เกิดความท้อถอยและขาด
ความเชื่อมั่นในตนเอง
32
เมื่อเด็กมาโรงเรียน อาหารกลางวันเป็นมื้อสำคัญของเด็ก โรงเรียนควรจะจัดให้มีโครงการ
อาหารกลางวันหรือช่วยเหลือแนะนำให้ผู้ปกครองตระหนักถึงการจัดหาอาหารให้เด็กมา
รับประทาน เนื่องจากเด็กวัยนี้ใช้พลังในการเล่นและเคลื่อนไหวอยู่เสมอ การจัดอาหารว่างระหว่าง
มื้อ เช่น ผลไม้ หรือนม จะทำให้เด็กได้รับสารอาหารเพิ่มขึ้น และมีการเจริญเติบโตแข็งแรงดีขึ้น
นอกจากอาหารแล้ว เด็กที่ร่างกายเจริญเติบโตแข็งแรงดี จำเป็นต้องมีการออกกำลังกายและ
การพักผ่อนอย่างเหมาะสมด้วยการให้โอกาสแก่เด็กได้เล่นด้วยการวิ่ง กระโดด ปีนป่าย
โดยจัดเตรียมเครื่องเล่น ที่ปลอดภัย เป็นการส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายอย่างดี
การเอาใจใส่ดูแลเมื่อเด็กเจ็บป่วยก็เป็นเรื่องที่สำคัญเช่นกัน เพราะเป็นเหตุให้
การเจริญเติบโตของเด็กชะงักได้ ฉะนั้นการดูแลเด็กให้มีสุขภาพดีอยู่เสมอจะช่วยให้เด็กมีความ
ต้านทานโรคได้ดี
อนึ่ง เรื่องของการป้องกันอันตรายอุบัติเหตุเป็นเรื่องที่ผู้ปกครองและครูจะต้องเอาใจใส่
อุบัติเหตุบางอย่างอาจทำให้เด็กเจ็บป่วยพิการหรือเสียชีวิตได้ อุบัติเหตุที่เด็กวัย 3 – 6 ขวบได้รับ
มักเป็นอุบัติเหตุจากสารเคมี พิษ ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก การพลัดตกจากที่สูง ของมีคม เครื่องไฟฟ้า
ยา สถานที่ลับตา บ่อน้ำ ตุ่มน้ำ เป็นต้น
การที่ทราบว่าเด็กเจริญเติบโตสมวัยหรือไม่ทำได้โดยการชั่งน้ำหนักมาตรฐานของ
กรมอนามัย สามารถใช้เป็นเกณฑ์เทียบได้ว่าเด็กที่มีอายุใด ควรจะมีน้ำหนักเท่าไร จะถือว่าปกติ
ถ้าเด็กมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ แสดงว่ามีปัญหาซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของการขาดอาหารหรือ
จากโรคภัยไข้เจ็บ ถ้าหากทิ้งไว้จนถึงขั้นรุนแรงพัฒนาการด้านต่าง ๆ จะชะงักไปด้วย
4.6.5 การส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา
พัฒนาการด้านสติปัญญา หมายถึง ความสามารถในการจำ การรู้สึก การรู้คิด การใช้เหตุผล
และการแก้ปัญหา การที่เด็กมีความสามารถดังกล่าวได้จำเป็นต้องมีการพัฒนาไปตามขั้นตอน
ซึ่งเริ่มด้วยการรับรู้สิ่งต่าง ๆ ด้วยการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือการจับต้อง การเห็น การได้ยิน
การรู้รส และการได้กลิ่น เด็กที่ได้รับสิ่งกระตุ้นเร้าประสาทสัมผัสทั้ง 5 มาก จะมีความสามารถ
ทางสติปัญญาสูงกว่าเด็กปกติที่ได้รับสิ่งกระตุ้นเร้าน้อย
ตามธรรมชาติแล้วเด็กมีสัญชาติญาณที่จะเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา หากผู้ใหญ่ไม่ไป
ขัดขวางหรือทำให้เด็กเกิดความเบื่อหน่ายเสียก่อน เด็กจะมีการพัฒนาการทางสติปัญญาอย่าง
รวดเร็ว การกระตุ้นเร้าประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของเด็กเพื่อให้เกิดการพัฒนาทางสติปัญญานั้นแตกต่าง
กันตามวัยของเด็ก เช่น เด็กแรกเกิดถึง 6 เดือน การกระตุ้นเร้าทางการสัมผัสจับต้องการเห็นและ
33
การได้ยินเป็นสิ่งสำคัญมาก พ่อแม่จึงควรหาของที่มีสีสันมาห้อยแขวนให้เด็กดู โอบอุ้มพูดกับลูก
ด้วยความรัก จะทำให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสหลาย ๆ ด้านอยู่เสมอ
เด็กอายุ 3-6 ขวบ เป็นเด็กที่อยู่ในวัยที่มีความสามารถในการใช้ภาษาดีขึ้นมาก เด็กจะรู้จักคำ
และความหมายของคำมากขึ้น รู้จักเล่าเรื่องสั้น ๆ และสามารถเขียนภาพที่มีรายละเอียดเพิ่มขึ้น
ถ้าเราสังเกตการเล่นของเด็กวัยนี้จะเห็นว่าเด็กมีความคิดริเริ่มในสิ่งที่เขาทำ เช่น การต่อบล็อกเป็น
รูปต่าง ๆ การใช้คำพูดตามจินตนาการ และการเล่นสมมติ เป็นต้น เด็กจะมีความคิดริเริ่ม
สร้างสรรค์มากขึ้นหรือน้อยลง ขึ้นอยู่กับการเปิดโอกาสให้เด็กเป็นตัวของตัวเองให้มีอิสระ
ในการเล่น การจัดหาสิ่งแวดล้อม และอุปกรณ์บางอย่างไว้ให้เด็ก เช่น ขวดพลาสติก กล่องกระดาษ
ของเหล่านี้เป็นของเล่นที่ส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กได้อย่างดี ของเล่น
ที่ส่งเสริมสติปัญญาให้เด็กควรเป็นสิ่งที่เด็กเล่นแล้วมีโอกาสเรียนรู้ในเรื่อง ขนาด สี น้ำหนัก รูปร่าง
เพื่อให้เด็กมีโอกาสเรียนรู้และสังเกตมากขึ้น อันเป็นพื้นฐานในการเรียนภาษา คณิตศาสตร์ และ
วิทยาศาสตร์เมื่อ เด็กโตขึ้น
4.6.6 การส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม
พื้นฐานของการมีพัฒนาการด้านสังคมที่ดีเริ่มต้นที่การอบรมเลี้ยงดูเด็กตั้งแต่เด็กอยู่ใน
วัยทารก วัยนี้เป็นวัยที่เด็กต้องการความรัก ความอบอุ่น และความปลอดภัย เมื่อเด็กอายุ 1-3 ขวบ
เด็กจะต้องการโอกาสแสดงความสามารถต่าง ๆ ด้วยตนเอง เช่น การเดิน วิ่ง แต่งตัว รับประทาน
อาหาร เป็นต้น การที่ผู้ใหญ่ให้โอกาสเด็กช่วยตัวเอง จะทำให้เด็กมีความรู้สึกที่ดีต่อตัวเอง ฉะนั้น
เมื่อเด็กทำอะไรได้ ผู้ใหญ่ต้องชมเด็กเพื่อให้เด็กมีกำลังใจ มีความกล้าและภาคภูมิใจในตัวเอง
เมื่อเด็กอยู่ในวัย 3 – 6 ขวบ เด็กจะอยู่ในวัยเริ่มอยากรู้อยากเห็นโดยการซักถาม สำรวจ
ทดลอง การเปิดโอกาสให้เด็กมีอิสระในการใช้ความคิด และแสดงความรู้สึกนึกคิดของเขาจะ
ทำให้เขาเห็นว่าตัวเขามีความสำคัญ และมีความหมายต่อผู้อื่น เช่น ช่วยแม่ถูบ้าน ซักผ้า ช่วยพ่อ
รดน้ำต้นไม้ สิ่งนี้จะช่วยให้เด็กมีนิสัยส่วนตัว และสังคมที่ดี คือสนใจและชอบช่วยเหลือผู้อื่น
ขยันไม่นิ่ง ดูดาย และรู้ว่าตนเองมีประโยชน์การเรียนรู้ทางสังคมของเด็กวัยนี้ คือ การดูแบบอย่าง
จากผู้อื่นที่อยู่ใกล้ชิด ฉะนั้น ผู้ใหญ่จำเป็นต้องทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดี มีเหตุผล และ
ความสม่ำเสมอในการอบรม เด็กวัย 5 – 6 ขวบ จะได้รับประสบการณ์ทางสังคมในการเล่น
กับเพื่อน เพื่อเรียนรู้ในเรื่องการ แบ่งปัน แลกเปลี่ยน รอคอย ช่วยเหลือผู้อื่นตามสมควร อีกทั้งยัง
เป็นการรู้จักปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ และกติกาง่าย ๆ นอกจากนี้เด็กควรจะได้เรียนรู้บทบาท และ
หน้าที่ของสมาชิกในครอบครัว และบุคคลที่เกี่ยวข้องด้วย
34
4.6.7 การส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ – จิตใจ
การส่งเสริมเด็กให้มีพัฒนาการทางอารมณ์ตามปกตินั้น ผู้ใหญ่ต้องมีความเข้าใจที่ถูกต้อง
และปฏิบัติต่อเด็กอย่างเหมาะสมตามโอกาส การที่เด็กแสดงความก้าวร้าวรุนแรงมักจะเกิดจาก
ความโกรธของเด็ก บางครั้งเราจะต้องยอมรับว่าเด็กก็มีความรู้สึกต่าง ๆ ได้ เช่น พอใจ รัก ชอบ
เกลียด โกรธ จึงต้องพิจารณาดูว่าพฤติกรรมบางอย่างเป็นพฤติกรรมปกติที่อาจเกิดขึ้นกับเด็ก
เปน็ ครงั้ คราวได  การด่วนตัดสินว่าเด็กผิดและลงโทษเด็กด้วยอารมณ  โดยไม่ศึกษาสาเหตุจึงเป็น
ผลเสียต่อเด็กอย่างมาก ทำให้เด็กรู้สึกเก็บกดและหาทางออกกับบุคคลอื่น ๆ และสิ่งต่าง ๆ เช่น
รังแกน้อง ทำลายของ ทำร้ายสัตว์ เป็นต้น อารมณ์ที่มั่นคงของผู้ใหญ่เป็นสิ่งจำเป็นในการที่จะ
ทำให้เด็กประพฤติปฏิบัติอย่างถูกต้อง ผู้ใหญ่ไม่ควรวางระเบียบไว้มากเกินไป เมื่อเด็กทำดี
ควรสนับสนุนด้วยการยกย่องชมเชย เมื่อต้องการให้เด็กทำอะไรควรใช้วิธีบอกอย่างดี ๆ ด้วยถ้อยคำ
สุภาพ ไม่ควรออกคำสั่งด้วยอารมณ์เพราะจะทำให้เด็กไม่พอใจและต่อต้านได้
ที่โรงเรียนครูควรเป็นผู้มีบทบาทต่อเด็กมากในเรื่องนี้ ความเข้าใจของครูจึงมีความสำคัญ
อย่างยิ่งต่อการส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจของเด็ก ๆ ที่มีปัญหาจากทางบ้าน เมื่อมา
โรงเรียนครูไม่ทราบและไม่สนใจเด็ก จะทำให้ปัญหาของเด็กลุกลามใหญ่โต และเป็นปัญหาติดตัว
ที่แก้ไขได้ยาก หรือหมดทางแก้ไข
ดังนั้นโรงเรียนจึงเป็นสถาบันที่มีผลต่อพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน เพราะเด็กที่อยู่ในวัยนี้จะใช้
เวลาส่วนใหญ่อยู่ที่โรงเรียน การดำเนินการของโรงเรียนทั้งสิ่งแวดล้อม บุคลากร การเรียน
การสอนและอื่น ๆ ย่อมมีอิทธิพลโดยตรงต่อการพัฒนาการของเด็กในทุกด้าน
สุรางค์ โค้วตระกูล (2533 : 57 – 61) ได้กล่าวถึง ลักษณะพัฒนาการของเด็กอนุบาล
(อายุ 3 – 6 ปี) ไว้ดังนี้
1. พัฒนาการทางร่างกาย
พัฒนาการทางด้านร่างกายของเด็กวัยนี้มีความก้าวหน้ามาก ทั้งทางด้านรูปร่างโดยทั่วไป
ทั้งกล้ามเนื้อ และกระดูก ซึ่งสรุปได้ทั่ว ๆ ไปดังนี้
1.1 เด็กวัยนี้สามารถที่จะบังคับการเคลื่อนไหวของร่างกายได้ดี เดินได้อย่างคล่องแคล่ว
และสามารถวิ่งและกระโดดได้ ฉะนั้น เด็กวัยนี้จะไม่ค่อยอยู่นิ่ง จึงจำเป็นที่ครูจะต้องจัดกิจกรรม
ที่เปิดโอกาสให้เด็กได้วิ่ง ปีนป่าย และกระโดด แต่ไม่ควรจะให้อิสระมาก ครูควรจะจัดกิจกรรม
ที่ครูสามารถควบคุมดูแลได้อย่างทั่วถึง และเนื่องจากเด็กวัยนี้ใช้พลังงานมากในการกระโดด ปีน
ป่าย และวิ่ง ครูจึงจำเป็นที่จะต้องจัดตารางสอนให้เด็กพักผ่อนด้วย
35
1.2 พัฒนาการของกล้ามเนื้อใหญ่ มีความก้าวหน้ามากกว่าพัฒนาการกล้ามเนื้อย่อย
ฉะนั้น จะเห็นได้จากเด็กเล็กที่อายุราว ๆ 3 – 4 ปี จะจับดินสอไม่ถนัด แต่ก็ยังสามารถที่จะวาด
วงกลม หรือรูปทรงเรขาคณิตบางอย่างได้แต่ไม่เรียบนัก แต่ยิ่งเด็กอายุมากขึ้น ก็จะสามารถทำได้ดี
ขึ้นตามลำดับ ความแตกต่างระหว่างบุคคลจะเห็นได้ชัดในทักษะบางอย่าง เช่น ผูกเชือกรองเท้า
หรือติดกระดุมเสื้อ ครูควรจะพยายามที่จะหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่เด็กจะต้องใช้กล้ามเนื้อย่อย
1.3 ความสัมพันธ์ระหว่างตาและมือยังไม่สมบูรณ์นัก เด็กวัยนี้ยังมีความลำบาก
ในการที่จะโฟกัสสายตา หรือเพ่งดูวัตถุที่เล็ก ๆ การจัดกิจกรรมสำหรับเด็กวัยนี้จึงควรจะพยายาม
หลีกเลี่ยงงานที่ต้องการความละเอียด ประณีตตัวหนังสือที่เขียนให้เด็กวัยนี้อ่านควรจะเขียนตัวโต ๆ
1.4 ความแตกต่างระหว่างเพศ เกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านร่างกาย จะเห็นได้ช้า
โดยทั่วไปเด็กชายจะมีรูปร่างโตกว่าเด็กหญิง แต่เด็กหญิงมีความก้าวหน้าทางพัฒนาการ
ทางด้านร่างกาย มากกว่าทุกด้าน เป็นต้นว่า พัฒนาการทางกล้ามเนื้อย่อย สามารถจับของเล็ก
ได้ดีกว่าเด็กชายมาก ครูควรจะระวังไม่ให้มีการแข่งขันระหว่างเด็กชายและเด็กหญิง เกี่ยวกับทักษะ
ที่จะต้องใช้กล้ามเนื้อย่อย
1.5 แม้ว่าเด็กวัยนี้จะสามารถใช้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ดีขึ้นตามอายุ เช่น ในการ
โยนลูกบอล เด็ก 3 ขวบจะยังทำไม่ได้ แต่ประมาณร้อยละ 20 ของเด็กอายุ 4 ขวบ จะทำได้ดี และ
เมื่ออายุ 5 ขวบ จะทำได้ราว ๆ ร้อยละ 74 ความสามารถในการปีนและกระโดดก็จะเป็นไปตาม
อายุ แต่สิ่งที่ควรจะระวังในวัยนี้ก็คือ ศีรษะ เพราะกระดูกกระโหลกศีรษะของเด็กยังอ่อน เวลา
ศีรษะกระทบของแข็งหรือในการสู้กันโดยให้ส่วนศีรษะกระทบกัน ก็อาจจะเป็นอันตรายด้วย
ครูจะต้องอธิบายให้เด็กในวัยนี้ฟังเพื่อเด็กเองก็จะได้รู้จักระวังตนเอง
1.6 ความถนัดในการใช้มือของเด็ก จะเห็นได้ชัดในวัยนี้ เด็กที่ถนัดมือซ้ายมักจะ
ถูกล้อเลียน หรืออาจจะถูกพ่อแม่บังคับให้ใช้มือขวา ครูควรจะสังเกตความถนัดของเด็กและควรจะ
อธิบายให้เด็กที่ถนัดซ้ายและเพื่อน ๆ ทราบว่าการถนัดซ้ายเป็นของธรรมดา คนถนัดซ้ายไม่ได้
ผิดปกติด้วยการยกตัวอย่างบุคคลที่เก่งและมีชื่อเสียง เช่น ไมเคิล แอนเจโล ศิลปินของ อิตาเลียน
ที่มีชื่อเสียงของโลก
2. พัฒนาการทางเชาวน์ปัญญา
พัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาโดยทั่วไปขอให้อ่านทฤษฎีของพีอาเจต์ สำหรับลักษณะ
เฉพาะของพัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาในวัยนี้ มีดังต่อไปนี้
36
2.1 เด็กวัยอนุบาลเป็นวัยที่ใช้สัญลักษณ์ได้ สามารถที่จะใช้สัญลักษณ์แทนสิ่งของ
วัตถุ และสถานที่ได้ มีทักษะในการใช้ภาษาอธิบายสิ่งต่าง ๆ ได้ สามารถที่จะอธิบายประสบการณ์
ของตนได้ ฉะนั้น การจัดกิจกรรมให้เด็กมีโอกาสออกมาหน้าชั้นเล่าประสบการณ์ให้เพื่อนร่วมชั้น
ฟัง แต่ครูควรจะพยายามส่งเสริมให้ทุกคนมีโอกาสเท่ากัน
2.2 เด็กวัยนี้สามารถที่จะวาดภาพพจน์ในใจได้ การใช้ความคิดคำนึงหรือการสร้าง
จินตนาการและการประดิษฐ์ เป็นลักษณะพิเศษของเด็กในวัยนี้ ถ้าครูจะส่งเสริมให้เด็กใช้การคิด
ประดิษฐ์ในการเล่าเรื่อง หรือการวาดภาพ ก็จะช่วยพัฒนาการด้านนี้ของเด็ก แต่บางครั้งเด็กอาจจะ
ไม่สามารถแยกสิ่งที่ตนสร้างจากความคิดคำนึงจากความจริง ครูจะต้องพยายามช่วยแต่ไม่ควรจะใช้
การลงโทษเด็กว่าไม่พูดความจริง เพราะจะทำให้เป็นการทำลายความคิดคำนึงของเด็กโดยทางอ้อม
2.3 เด็กในวัยนี้เป็นวัยที่มีความตั้งใจทีละอย่าง หรือยังไม่มีความสามารถที่จะพิจารณา
หลาย ๆ อย่างผสมกัน ซึ่ง พีอาเจต์ กล่าวว่า เด็กจะไม่สามารถที่จะแบ่งกลุ่มโดยใช้เกณฑ์หลาย ๆ
อย่างปนกัน ยกตัวอย่างการแบ่งกลุ่มของวัตถุที่มีรูปร่างทรงเรขาคณิตต่าง ๆ กัน เช่น สามเหลี่ยม
วงกลม ฯลฯ จะต้องแบ่งโดยใช้รูปร่างอย่างเดียว เช่น สามเหลี่ยมอยู่ด้วยกัน และวงกลมอยู่กลุ่ม
เดียวกัน ถ้าผู้ใหญ่จะรวมวงกลมและสามเหลี่ยมผสมกัน โดยยึดสีเดียวกัน เป็นเกณฑ์ เด็กวัยนี้
จะไม่เห็นด้วย
2.4 ความเข้าใจของเด็กเกี่ยวกับการเปรียบเทียบน้ำหนัก ปริมาตร และความยาว
ยังค่อนข้างสับสน ดังที่ พีอาเจต์ (1989 : 824-A) กล่าวว่า เด็กยังไม่มีความเข้าใจเกี่ยวกับความคงตัว
ของสสาร (Conservation) และความสามารถในการจัดลำดับ (Seriation) การตัดสินใจของเด็กใน
วัยนี้ขึ้นกับการรับรู้ ยังไม่รู้จักใช้เหตุผล
ครูที่สอนเด็กในวัยนี้จะสามารถช่วยให้เด็กมีพัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาส่งเสริมให้เด็กมี
สมรรถภาพ โดยพยายามเปิดโอกาสให้เด็กวัยนี้มีประสบการณ์ค้นคว้า สำรวจสิ่งแวดล้อมและ
สนับสนุนให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับครู และเพื่อนวัยเดียวกัน และพยายามให้ข้อมูลย้อนกลับเวลาที่
เด็กทำถูกหรือประสบความสำเร็จ และพยายามตั้งความคาดหวังในสัมฤทธิผลให้เหมาะสม
กับความสามารถของเด็กแต่ละคน
3. พัฒนาการทางบุคลิกภาพ
เด็กวัยนี้เป็นวัยที่นักจิตวิทยาพัฒนาการอีริคสัน (Erikson) เรียกว่า เป็นวัยการเป็นผู้คิด
ริเริ่ม – การรู้สึกผิด (Initiative vs Guilt) เป็นวัยที่เต็มไปด้วยพลังงานที่จะเริ่มงาน มีความคิดริเริ่ม
ที่จะทำสิ่งใหม่ ๆ ชอบประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเองอย่างอิสระ ผู้ใหญ่ เช่น บิดา มารดา
37
หรือครู ควรจะพยายามช่วยเหลือสนับสนุนมากกว่าดุหรือห้าม เพราะการดุและห้ามอาจจะทำให้
เด็กมีความขัดแย้งในใจและรู้สึกผิด ทำให้เด็กเก็บกดความคิดริเริ่ม ฟรอยด์ ได้กล่าวว่า เป็นวัยที่
เด็กมีปมเอ็ดดิปุส และพยายามที่จะหาวิธีแก้ปัญหาความขัดแย้งในใจ โดยการเลียนแบบพฤติกรรม
พ่อหรือแม่ที่มีเพศเดียวกับตน ฉะนั้น ในระยะสุดท้ายของวัยอนุบาลราว ๆ 5 ขวบ เด็กชายและ
หญิงจะเริ่มแสดงพฤติกรรมที่บ่งถึงความแตกต่างระหว่างเพศ
สรุป พัฒนาการเด็กจะเกิดขึ้นได้ดีต้องอาศัยสิ่งเร้า เพื่อให้การเจริญเติบโตสัมพันธ์
ไปกับพัฒนาการของเด็กด้วย โดยมีปัจจัย คือ อาหาร ความรักความเอาใจใส่ การเล่น การฝึก
ทางภาษา ภาวะแวดล้อม
ทฤษฎีเกี่ยวกับความต้องการ
แมคคอมิค (McCormick และคณะ 1980: อ้างถึงใน กชกร เบ้าสุวรรณ) กล่าวว่า ความ
ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของทัศนคติที่เกิดจากสมาชิกในองค์กร เป็นทัศนคติของบุคคลที่มีต่องาน
หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าเป็นความรักต่องานที่ตนปฏิบัติ
ฮอยและมิสเกล (Hoy และ Miskel : 1997) กล่าวว่า ความต้องการในความรู้สึกที่ดีต่องาน
ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับคุณค่าและความต้องการของแต่ละบุคคลด้วย และ มาลี บะวงษ์ (2534 : 12)
ได้สรุปความเห็นว่าความต้องการนั้น หมายถึง ความรู้สึกชอบและเต็มใจที่จะปฏิบัติงานให้บรรลุ
วัตถุประสงค์ขององค์การมีความสุขที่ได้ทำงานและไม่อยากลาออกจากหน้าที่การงานนี้ รวมทั้ง
พอใจในผลประโยชน์ตอบแทนที่จะได้รับจากการปฏิบัติงานนี้ ดังนั้น ความต้องการจึงเป็น
ความรู้สึกที่ดีมีต่องานที่ทำอยู่นั่นเอง
กู้ด (Good อ้างถึงใน ปราณี ศรีใส, 2524) ได้ให้ความหมายของความต้องการไว้ว่า
1. ทัศนคติและความรู้สึกของครูที่เกี่ยวกับหน้าที่ ความรับผิดชอบ เป้าหมาย ผู้บังคับบัญชา
และเพื่อนร่วมงาน
2. สถานภาพทางจิตใจของครูที่มีต่องาน ซึ่งอาจได้รับอิทธิพลจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น ปัจจัย
ในความเพียงพอของรายได้ สถานภาพให้ออกจากงาน การลาป่วย การให้บำเหน็จบำนาญ การมี
ส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและการบริหาร โอกาสก้าวหน้าและสติปัญญาการสร้างสรรค์
ที่เกิดจากการควบคุมการปฏิบัติงาน

ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียน (ตอนที่ 1)
ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียน (ตอนที่ 2)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น