วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ความต้องการด้านวิชาการของครูโรงเรียนประถมศึกษา (ตอนที่ 1)



ความต้องการด้านวิชาการของครูโรงเรียนประถมศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
นางสาววันเพ็ญ คชนิล
วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาการบริหารศึกษา
ปีการศึกษา 2546
ISBN : 974-373-284-5
ลิขสิทธิ์ของสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ความต้องการด้านวิชาการของครูโรงเรียนประถมศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
ACADEMIC NEEDS OF PRIMARY SCHOOL TEACHERS IN
THONBURI DISTRICT, BANGKOK
วิทยานิพนธ์
ของ
นางสาววันเพ็ญ คชนิล
เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตาม
หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา
พ.ศ.2546
ISBN : xxx – xxx- xxx- x
ลิขสิทธิ์เป็นของสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
Academic Needs of Primary School Teachers in Thonburi District, Bangkok
MISS WANPHEN KOTCHANIL
A Thesis Submitted in Partial of the Requirements
for the Master of Education (Education Administration)
at Rajabhat Institute Bansomdejchaopraya
Academic Year 2003
ISBN : 974-373-284-5
วิทยานิพนธ์ ความต้องการด้านวิชาการของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขต
ธนบุรี กรุงเทพมหานคร
โดย นางสาววันเพ็ญ คชนิล
สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ประธานกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บำรุง ปานสุนทร
กรรมการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุภรณ์ ลิ้มบริบูรณ์
กรรมการ อาจารย์ทวีศักดิ์ จงประดับเกียรติ
บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา อนุมัติให้วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของ
การศึกษาตามหลักสูตรปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต
...........................................................คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
( ดร.สรายุทธ์ เศรษฐขจร )
คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์
..........................................................ประธานกรรมการ
(ศาสตราจารย์ ดร.สายหยุด จำปาทอง)
..........................................................กรรมการ
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บำรุง ปานสุนทร)
............................................................กรรมการ
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุภรณ์ ลิ้มบริบูรณ์)
............................................................กรรมการ
( นายทวีศักดิ์ จงประดับเกียรติ )
............................................................กรรมการและเลขานุการ
(รองศาสตราจารย์ ดร.นันทา วิทวุฒิศักดิ์)
นางสาววันเพ็ญ คชนิล.(2546). ความต้องการด้านวิชาการของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงาน
เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, คณะกรรมการควบคุม : ผศ.ดร.บำรุง ปานสุนทร,
ผศ.สุภรณ์ ลิ้มบริบูรณ์ , และอาจารย์ทวีศักดิ์ จงประดับเกียรติ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความต้องการด้านวิชาการของครูโรง
เรียนประถมศึกษา 7 ด้าน คือ ด้านหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้ ด้านการจัดการเรียนการสอน
ด้านนิเทศภายใน ด้านวัดผลและประเมินผล ด้านวัสดุและสื่อการเรียนการสอน ด้านประชุมอบรมทาง
วิชาการและ ด้านห้องสมุด เทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้อื่นๆในโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ข้า
ราชการครูโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร จำนวน 204 คน ซึ่งได้มา
จากการสุ่มแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความต้องการด้าน
วิชาการของครู มีลักษณะเป็นแบบมาตรประมาณค่า และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่า
กับ 0.98 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบความแตกต่างด้วย
t-test และ F-test
ผลการศึกษาพบว่า
1. ความต้องการด้านวิชาการของครูโรงเรียนประถมศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับ
มาก ความต้องการขั้นสูงสุดของแต่ละด้านปรากฎ ดังนี้ ด้านที่ (1) ใช้หลักสูตรเป็นหลักในการจัด
ประสบการณ์การเรียนการสอน ด้านที่ (2) จัดหาสื่อการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียน
การสอนของนักเรียนอย่างเพียงพอ ด้านที่ (3) สร้างความเข้าใจและชี้แจงถึงวัตถุประสงค์ของการนิเทศ
ภายในโรงเรียน ด้านที่ (4) ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูใช้วิธีการวัดผลประเมินผลอย่างหลากหลาย
ด้านที่ (5) สำรวจความต้องการด้านสื่อและวัสดุประกอบการเรียนการสอนของครูในแต่ละกลุ่มประสบ
การณ์ ด้านที่ (6) จัดอบรมเกี่ยวกับวิธีสอนแบบต่าง ๆ เช่น การสอนแบบบูรณาการและการสอนแบบ
ซิปปา โมเดล (CIPPA Model) เป็นต้น ด้านที่ (7) ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานการใช้ห้อง
สมุดและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี สารสนเทศ สำหรับแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ ในโรงเรียน ความต้องการ
ขั้นสูงสุดของครู คือ ห้องวิทยาศาสตร์และห้องปฏิบัติการทางภาษา
2. ผลการเปรียบเทียบความต้องการด้านวิชาการของครู พบว่า
(1) ครูเพศชายและเพศหญิง มีความต้องการทางวิชาการ โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัย
สำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยครูหญิงมีความต้องการสูงกว่าครูชาย เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า
ครูมีความต้องการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ในด้านหลักสูตรและการนำหลักสูตร
ไปใช้ ด้านการจัดการเรียนการสอน และมีความต้องการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
0.05 ในด้านวัสดุและสื่อการเรียนการสอน ส่วนด้านอื่น ๆ ไม่พบความแตกต่าง
(2) ครูที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกันโดยภาพรวมมีความต้องการไม่แตกต่างกันอย่างมีนัย
สำคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าครูมีความต้องการด้านวิชาการ ด้านวัดผลและประเมินผล
แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และมีความต้องการในด้านหลักสูตรและการนำหลัก
สูตรไปใช้ ด้านการจัดการเรียนการสอนและด้านประชุมอบรมทางวิชาการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนด้านอื่น ๆ ไม่พบความแตกต่าง
(3) ครูซึ่งทำการสอนในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน โดยภาพรวมมีความต้องการไม่แตกต่าง
กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าครูมีความต้องการด้านหลักสูตรและการนำ
หลักสูตรไปใช้และ ด้านวัดผลและประเมินผล แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Kotchanil, Wanphen (2003) The Academic Needs of Primary School Teachers in Thonburi District,
Bangkok, Graduate School, Rajabhat Institute Bansomdej Chao Praya. Advisor Committee
: Asst.Prof.Dr.Bamroong Parnsoonthorn, Asst.Prof.Suporn Limboriboon, Mr.Thaveesak
Jongpradabgeard
The purposes of this research were to study and compare the acadmemic needs of primary
school teachers in seven aspects: 1) curriculum management and application; 2) instructional
management; 3) In - school academic supervision ; 4) measurement and evaluation; 5) instructional
media and materials; 6) academic training courses and conferences; and 7) library ,
information technology, and other learning resource facilities. The sampling design of this study
was 204 teachers in primary schools in Thonburi district, Bangkok. Samples were drawn by utilizing
stratified random sampling. The instrument used in this research was a rating scale
questionnaire with reliability of 0.98. The data was analyzed by percentage, mean, standard
deviation, t-test and F-test of significance.
The findings of this research were as follows:
1. The overall academic needs of primary school teachers and academic needs in each
aspect were at high level. The needs in each aspect at the highest level were as follows:
1) utilization of curriculum in the provision of learning experiences; 2) provision of appropriate
instructional media to complement students’ activities; 3) indication of objectives and making of
the process internal supervision clear to the teachers; 4) promotion and encouragement of
teachers to use a variety of measurement and evaluation techniques; 5) the need to survey
instructional media and materials of teachers in each group of experiences; 6) organization of
in-service training courses on various methods of teaching such as integrated instruction, and
CIPPA Model, ect.; and 7) follow-up and evaluation of library operations, and the progress of
information technology. For other learning resource facilities , the topmost needs of teachers
were science room and language laboratory.
2. The results of comparing academic needs of teachers were as follows:
1) The overall academic needs of male and female teachers were significantly
different at the 0.05 significance level, but the needs of female teachers were higher than the
needs of male teachers. In considering each aspect, the academic needs of male and female
teachers were significantly different at the 0.01 significance level in curriculum
management and application, and instructional management. In the aspect of instructional media
and materials, there was significant difference at the 0.05 significance level. The other aspects
were not significantly different.
2) The overall academic needs of teachers with different teaching experiences were
not significantly different. In considering each aspect, the academic needs of teachers were
significantly different at the 0.01 significance level in measurement and evaluation, and at the
0.05 significance level in curriculum management and application, instructional management, and
academic training courses and conferences. There was no significant difference of academic
needs in the other aspects.
3) The teachers’ overall academic needs in different schools of different sizes were not
significantly different. In considering each aspect, the academic needs of teachers were
significantly different at the 0.05 significance level in curriculum management and application,
and measurement and evaluation.
ประกาศคุณูปการ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้สำเร็จลุล่วงด้วยความกรุณาของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บำรุง ปานสุนทร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุภรณ์ ลิ้มบริบูรณ์ และอาจารย์ทวีศักดิ์ จงประดับเกียรติ ซึ่งเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ได้ทำการตรวจสอบ เสนอแนะและแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ ตลอดระยะเวลาในการ
จัดทำด้วยความเอาใจใส่ดียิ่ง และผู้เชี่ยวชาญทั้ง 5 ท่านที่ให้ความกรุณาตรวจสอบ แก้ไขและให้ข้อเสนอ
แนะอันเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยขอกราบขอบพระคุณ
เป็นอย่างสูงไว้ ณ โอกาสนี้
ขอขอบพระคุณผู้บริหารโรงเรียนและคณะครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี
กรุงเทพมหานคร ทุกท่านที่อำนวยความสะดวก สนับสนุนและให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถาม
และเก็บรวบรวมข้อมูล รวมทั้งครู อาจารย์ พี่ น้อง เพื่อนและผู้ร่วมงานที่คอยสนับสนุน ให้กำลังใจ
และช่วยเหลือในทุก ๆ ด้านจนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
คุณประโยชน์อันใดอันเกิดจากวิทยานิพนธ์เล่มนี้ ผู้วิจัยขอน้อมรำลึกถึงพระคุณของคุณพ่อ
ดอกรัก คชนิล ที่คอยให้ความสนับสนุนและให้กำลังใจด้วยดีตลอดมา และขอน้อมรำลึกถึงพระคุณ
ของคุณแม่พรรณี คชนิล ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
วันเพ็ญ คชนิล
สารบัญ
บทคัดย่อภาษาไทย……………………………………………………………………………….. ก
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ…………………………………………………………………………….. ค
ประกาศคุณูปการ…………………………………………………………………………………. จ
สารบัญ……………………………………………………………………………………………. ฉ
สารบัญตาราง……………………………………………………………………………………... ฌ
บทที่ หน้า
1 บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา………………………………………………. 1
วัตถุประสงค์………………………………………………………………………….. 2
ขอบเขตของการวิจัย….………………………………………………………………. 3
นิยามศัพท์เฉพาะ……………………………………………………………………… 3
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ…………………………………………………………… 5
กรอบแนวคิดในการวิจัย……………………………………………………………… 5
สมมติฐานการวิจัย……………………………………………………………………. 6
2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การบริหารโรงเรียนประถมศึกษา…………………………………………………….. 7
แนวคิดในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา……………………………………………….. 9
การบริหารงานวิชาการ……………………………………………………………….. 11
ความหมายของการบริหารงานวิชาการ..…………………………………………… 11
วัตถุประสงค์การบริหารงานวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร.. 11
ขอบข่ายการบริหารงานวิชาการ……………………………………………………. 12
งานด้านหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้…………………………………… 15
งานด้านการจัดการเรียนการสอน……………………………………………… 18
งานด้านนิเทศภายใน……………………………………………………………. 23
สารบัญ (ต่อ)
บทที่ หน้า
งานด้านวัดผลและประเมินผล………………………………………………….. 27
งานด้านวัสดุและสื่อการเรียนการสอน…………………………………………. 33
งานด้านประชุมอบรมทางวิชาการ……………………………………………… 35
งานด้านห้องสมุด เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ ในโรงเรียน…. 36
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง……………………………………………………………………. 45
งานวิจัยในประเทศ…………………………………………………………………. 45
งานวิจัยต่างประเทศ………………………………………………………………... 49
3 วิธีดำเนินการวิจัย
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง……………………………………………………………. 53
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ……………………………………………………………... 54
การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย……………………………………………………. 55
การเก็บรวบรวมข้อมูล………………………………………………………………... 56
การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล……………………………… 56
4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล………………………………………………………………… 59
ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม…………………………………………………. 60
ข้อมูลความต้องการด้านวิชาการของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขต
ธนบุรี กรุงเทพมหานคร……………………………………………………………... 61
เปรียบเทียบความต้องการด้านวิชาการของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงาน
เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร………………………………………………………….. 73
ข้อเสนอแนะความต้องการด้านวิชาการของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนัก
งานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร……………………………………………………… 83
5 สรุปผล อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
วัตถุประสงค์ของการวิจัย……………………………………………………………... 90
สารบัญ (ต่อ)
บทที่ หน้า
สมมติฐานการวิจัย……………………………………………………………………. 90
วิธีดำเนินการวิจัย……………………………………………………………………... 90
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย……………………………………………………………… 91
การเก็บรวบรวมข้อมูล………………………………………………………………... 91
การวิเคราะห์ข้อมูล……………………………………………………………………. 91
สรุปผลการวิจัย……………………………………………………………………….. 91
การอภิปรายผล……………………………………………………………………….. 93
ข้อเสนอแนะในการวิจัย………………………………………………………………. 99
บรรณานุกรม……………………………………………………………………………………… 101
ภาคผนวก ก………………………………………………………………………….. 109
ภาคผนวก ข………………………………………………………………………….. 124
ภาคผนวก ค………………………………………………………………………….. 132
ประวัติของผู้วิจัย………………………………………………………………………………….. 133
สารบัญตาราง
ตารางที่ หน้า
1 จำนวนประชากรและกลุ่มตัวอย่าง………………………………………………….. 54
2 สถานภาพของครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี
กรุงเทพมหานคร……………………………………………………………………. 60
3 ความต้องการด้านวิชาการของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี
กรุงเทพมหานคร จำแนกตามรายข้อและรวมทุกด้าน………………………………. 61
4 ความต้องการด้านวิชาการของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี
กรุงเทพมหานคร ด้านหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้………………………… 62
5 ความต้องการด้านวิชาการของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี
กรุงเทพมหานคร ด้านการจัดการเรียนการสอน……………………………………. 63
6 ความต้องการด้านวิชาการของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี
กรุงเทพมหานคร ด้านการนิเทศภายใน…………………………………………….. 64
7 ความต้องการด้านวิชาการของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี
กรุงเทพมหานคร ด้านวัดผลและประเมินผล……………………………………….. 66
8 ความต้องการด้านวิชาการของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี
กรุงเทพมหานคร ด้านวัสดุและสื่อการเรียนการสอน………………………………. 68
9 ความต้องการด้านวิชาการของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี
กรุงเทพมหานคร ด้านประชุมอบรมทางวิชาการ…………………………………... 69
10 ความต้องการด้านวิชาการของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี
กรุงเทพมหานคร ด้านห้องสมุด เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ ใน
โรงเรียน…………………………………………………………………………….. 71
11 เปรียบเทียบความต้องการด้านวิชาการของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนัก
งานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร จำแนกตามเพศ…………………………………... 73
12 เปรียบเทียบความต้องการด้านวิชาการของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนัก
งานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน…………….. 75
สารบัญตาราง (ต่อ)
ตารางที่ หน้า
13 การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยความต้องการด้านวิชาการของครูโรงเรียน
ประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ด้านหลักสูตรและการ
นำหลักสูตรไปใช้ จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน……………………………. 77
14 การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยความต้องการด้านวิชาการของครูโรงเรียน
ประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ด้านการจัดการเรียน
การสอน จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน……………………………………... 78
15 การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยความต้องการด้านวิชาการของครูโรงเรียน
ประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ด้านวัดผลและประเมิน
ผล จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน……………………………………………. 78
16 การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยความต้องการด้านวิชาการของครูโรงเรียน
ประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ด้านประชุมอบรมทาง
วิชาการ จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน………………………………………. 79
17 เปรียบเทียบความต้องการด้านวิชาการของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนัก
งานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร จำแนกตามขนาดโรงเรียน………………………. 80
18 การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยความต้องการด้านวิชาการของครูโรงเรียน
ประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ด้านหลักสูตรและการ
นำหลักสูตรไปใช้ จำแนกตามขนาดโรงเรียน……………………………………… 81
19 การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยความต้องการด้านวิชาการของครูโรงเรียน
ประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ด้านวัดผลและ
ประเมินผล จำแนกตามขนาดโรงเรียน……………………………………………... 82
20 การศึกษาข้อเสนอแนะความต้องการด้านวิชาการของครูโรงเรียนประถมศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ด้านหลักสูตรและการนำหลักสูตร
ไปใช้………………………………………………………………………………... 83
21 การศึกษาข้อเสนอแนะความต้องการด้านวิชาการของครูโรงเรียนประถมศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ด้านการจัดการเรียนการสอน……….. 84
สารบัญตาราง (ต่อ)
ตารางที่ หน้า
22 การศึกษาข้อเสนอแนะความต้องการด้านวิชาการของครูโรงเรียนประถมศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ด้านการนิเทศภายใน………………... 85
23 การศึกษาข้อเสนอแนะความต้องการด้านวิชาการของครูโรงเรียนประถมศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ด้านวัดผลและประเมินผล…………... 86
24 การศึกษาข้อเสนอแนะความต้องการด้านวิชาการของครูโรงเรียนประถมศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ด้านวัสดุและสื่อการเรียนการสอน….. 87
25 การศึกษาข้อเสนอแนะความต้องการด้านวิชาการของครูโรงเรียนประถมศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ด้านประชุมอบรมทางวิชาการ……… 88
26 การศึกษาข้อเสนอแนะความต้องการด้านวิชาการของครูโรงเรียนประถมศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ด้านห้องสมุด เทคโนโลยีสารสนเทศ
และแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ ในโรงเรียน………………………………………………….. 89
บทที่ 1
บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
มนุษยชาติมีบทบาทสำคัญในการพลิกโฉมสังคมโลกด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า “เทคโนโลยี”
การปฏิวัติสังคมโลกครั้งแรกเริ่มมากว่าหนึ่งพันปีที่แล้ว โดยที่มนุษย์ใช้เทคโนโลยีการเกษตรในการ
ผลิตทำให้มนุษย์เปลี่ยนจากมนุษย์ป่าเป็นมนุษย์มีวัฒนธรรมซึ่งกลายเป็นสัตว์ประเสริฐที่ก้าวหน้ากว่า
สัตว์ทั้งหลาย ต่อมาเมื่อประมาณ 300 ปีที่ผ่านมา มนุษย์ได้พัฒนาเทคโนโลยีทางการผลิตแบบใหม่
เริ่มจากพลังงานไอน้ำไปเป็นเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม ประกอบกับได้อาศัยหลักการแบ่ง
งานตามความชำนาญของการจัดการตามหลักของ อดัม สมิธ และการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ของ
เทเลอร์ ทำให้สังคมพลิกโฉมไปเป็นสังคมอุตสาหกรรม การพัฒนาเทคโนโลยีการโทรเลขและการ
พัฒนาเทคโนโลยีการโทรศัพท์ทำให้สังคมพลิกผันเป็นยุคของการติดต่อสื่อสารที่รวดเร็ว โดยเฉพาะ
เมื่อเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้รับการพัฒนาให้ก้าวหน้าไปมาก ทำให้เกิดยุคโลกาภิวัฒน์ที่มนุษย์
สามารถติดต่อกันได้อย่างรวดเร็วโดยผ่านสื่อด้านโทรคมนาคม ซึ่งเป็นการส่งข้อมูล เอกสาร ภาพ
เสียงไปยังที่ต่าง ๆ ทำให้มนุษย์สามารถประกอบกิจกรรมที่สัมพันธ์กันได้ง่าย สะดวกและรวดเร็ว
โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า IT อาจกล่าวได้ว่า
เครื่องมือการดำรงชีพของคนยุคสารสนเทศก็คือ IT ซึ่งเป็นเครื่องมือแทนจอบ เสียมในยุคเกษตร
กรรม และแทนเครื่องจักรกลในยุคอุตสาหกรรม การใช้ IT จะเป็นการทำให้มีการเก็บ การใช้
การวิเคราะห์ข้อมูลกันอย่างจริงจังกว้างขวาง และสะดวกรวดเร็วทำให้เกิดฐานข้อมูล (Data Base)
และฐานความรู้ (Knowledge Base) ซึ่งนำไปสู่ยุคอัจฉริยะที่มีการนำเอาระบบเทคโนโลยีไปใช้ใน
การทำงานแทนมนุษย์ เช่น ระบบการค้าระหว่างประเทศ ระบบโทรเวช หรือระบบทนายความ ตัว
อย่างซึ่งระบบเทคโนโลยีสามารถปฏิบัติการหลายอย่างแทนมนุษย์ได้มีอาทิเช่น การโอนเงิน การวาง
แผนการส่งสินค้า การให้คำปรึกษาเรื่องกฎหมาย เป็นต้น (ดำรง วัฒนา,2539 : 9-10)
จากที่กล่าวมาแล้วข้างต้นจะเห็นได้ว่าโลกของเราพลิกโฉมไปเป็นอันมาก เนื่องมาจากความ
ก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นการประกอบการด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและวัฒนธรรม
บนโลกของเรานี้ เป็นแรงผลักดันให้การบริหารการศึกษาตกอยู่ภายใต้การกดดันให้ต้องมีการปฏิรูป
การศึกษา เพื่อให้การศึกษามีความทันสมัยตอบสนองความต้องการของภาคธุรกิจได้ การบริหารโรง
เรียนเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารการศึกษาทั้งหมด และประเด็นสำคัญของการบริหารโรงเรียนก็คือ
การบริหารงานวิชาการ การบริหารงานวิชาการจะมีการพัฒนาและปรับปรุงให้สมบูรณ์ทันต่อสถาน
2
การณ์ของโลกได้ก็ต่อเมื่อเราทราบความต้องการของครูในโรงเรียน ดังนั้นวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมี
วัตถุประสงค์ที่จะศึกษาและค้นหาความต้องการด้านวิชาการของครูโรงเรียนประถมศึกษามาประกอบ
การพิจารณา เพื่อปฏิรูปการเรียนการสอนด้วย
สำนักงานเขตธนบุรีเป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีบทบาทในการจัดการศึกษา ปัจจุบันมีโรงเรียนที่
อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานเขต จาํ นวน 17 โรงเรยี น ซึ่งมีขนาดแตกต่างกันไป จาํ นวนคร ู
342 คน และจำนวนนักเรียน 9,175 คน (ข้อมูลสถิติปี 2544 ) โรงเรียนส่วนใหญ่เป็นโรงเรียน
ประถมศึกษา ในแต่ละโรงเรียนได้ให้ความสำคัญต่องานวิชาการ เพราะในปัจจุบันโรงเรียนแต่ละ
แห่งจะต้องเตรียมตัวเข้าสู่การประกันคุณภาพการศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ.2542 ตามมาตราที่ 47 (พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 : 24) และเป็นการมุ่งหวังให้
เด็กที่จบออกไปแล้วสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุขและประกอบอาชีพด้วยความสุจริต
ในการจัดการเรียนการสอนที่ผ่านมาพบว่าในสถานศึกษาได้จัดการเรียนการสอนตามหลัก
สูตรประถมศึกษา พ.ศ.2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2533) ปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการ
ด้านต่าง ๆ ของโลกยุคโลกาภิวัฒน์มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจของประเทศชาติ
ซึ่งถือว่าเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อสร้างบุคคลากรหรือทรัพยากรมนุษย์ให้
เป็นคนดี มีปัญญาและมีความสุข (หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2544 : 1) จึงได้มีการปรับเปลี่ยน
หลักสูตรการศึกษาจากหลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ.2521 (ฉบับปรุงปรุง พ.ศ.2533) มาเป็นหลักสูตร
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 เพื่อเป็นการสนองนโยบายของรัฐบาลตามพระราชบัญญัติการศึกษา
แห่งชาติ พ.ศ.2542 ที่ต้องการให้มีการจัดการเรียนการสอนให้เกิดประสิทธิ์ภาพและเน้นด้านวิชาการ
เป็นหลัก ซึ่งครูเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการจัดการเรียนการสอนให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์และ
เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่อยู่ในระดับมาตรฐาน จากเหตุผลดังกล่าวทำให้ผู้วิจัยมีความประสงค์ที่
จะทราบถึงความต้องการของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
ว่ามีความต้องการทางวิชาการในด้านใด และเรื่องใดบ้าง ที่จะทำให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้
สูงขึ้น หรือให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้น และมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ เพื่อจะใช้
ข้อมูลดังกล่าวเสนอต่อผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องจะได้นำไปปรับปรุงงานด้านวิชาการต่อไป
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาความต้องการด้านวิชาการของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงาน
เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
2. เพื่อเปรียบเทียบความต้องการด้านวิชาการของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงาน
เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร จำแนกตามเพศ ประสบการณ์การทำงาน และขนาดของโรงเรียน
3
3. เพื่อนำผลการศึกษาวิจัยมาพัฒนางานด้านวิชาการของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัด
สำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
ขอบเขตของการวิจัย
1. ประชากร ได้แก่ ครูที่สอนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี
กรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2545 17 โรงเรียน จำนวน 342 คน
2. กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี
กรุงเทพมหานคร จำนวน 204 คน โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของ เครซี่และมอร์แกน
(R.C. Krejcie and D.W. Morgan อ้างใน พวงรัตน์ ทวีรัตน์,2540 : 303)ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบ่ง
ชั้น (Stratified Random Sampling)
3. ตัวแปรที่ศึกษา
3.1 ตัวแปรต้น ได้แก่ เพศ ประสบการณ์ทำงาน และขนาดของโรงเรียน
3.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ ความต้องการด้านวิชาการของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัด
สำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ใน 7 ด้าน คือ ด้านหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้
ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านนิเทศภายใน ด้านวัดผลประเมินผล ด้านวัสดุและสื่อการเรียน
การสอน ด้านประชุมอบรมทางวิชาการและด้านห้องสมุด เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่ง
เรียนรู้อื่น ๆ ในโรงเรียน
นิยามศัพท์เฉพาะ
โรงเรียน หมายถึง โรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
ครู หมายถึง ผู้ที่ทำการสอนระดับชั้นประถมศึกษา ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนัก
งานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ในปีการศึกษา 2545
ขนาดโรงเรียน หมายถึง การใช้จำนวนนักเรียนเป็นเกณฑ์ในการแบ่งขนาดโรงเรียนประถม
ศึกษา สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร มี 3 ขนาด (สำนักการศึกษา,2543 : 25) คือ
1. โรงเรียนขนาดเล็ก หมายถึง โรงเรียนที่มีนักเรียนตั้งแต่ 1 – 400 คน
2. โรงเรียนขนาดกลาง หมายถึง โรงเรียนที่มีนักเรียนตั้งแต่ 401 – 800 คน
3. โรงเรียนขนาดใหญ่ หมายถึง โรงเรียนที่มีนักเรียนตั้งแต่ 801 คนขึ้นไป
ความต้องการด้านวิชาการ หมายถึง ความต้องการที่จะได้รับการสนับสนุน หรือตอบสนอง
สิ่งต่าง ๆ เพื่อเอื้อหรือมีประโยชน์ต่อกระบวนการจัดการเรียนการสอน ได้แก่ ความต้องการด้านหลัก
สูตรและการนำไปใช้ ด้านการเรียนการสอน ด้านนิเทศภายใน ด้านวัดผลและประเมินผล ด้านวัสดุ
4
และสื่อการเรียนการสอน ด้านประชุมอบรมทางวิชาการ และด้านห้องสมุด เทคโนโลยีสารสนเทศ
และแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ ในโรงเรียน
หลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้ หมายถึง การจัดหาหลักสูตรและเอกสารประกอบหลัก
สูตร การจัดประชุมชี้แจงและให้คำแนะนำ การวางแผนและการใช้หลักสูตรของครูในโรงเรียน
ประถมศึกษา เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจและสามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้บรรลุตาม
วัตถุประสงค์
การจัดการเรียนการสอน หมายถึง การดำเนินการของครูและบุคคลที่เกี่ยวข้องในการจัด
ประชุมครู การจัดครูเข้าสอน การจัดทำกำหนดการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมส่งเสริมและ
สนับสนุนการเรียนการสอน รวมทั้งจัดหาสื่อการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนการ
สอน
การนิเทศภายใน หมายถึง การสำรวจข้อมูลด้านวิชาการ การสร้างความเข้าใจ การมีส่วน
ร่วม การส่งเสริมสนับสนุน การให้คำปรึกษา การชี้แนะ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความ
คิดเห็น ติดตามและประเมินผลการจัดการเรียนการสอนของครู เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดคุณลักษณะ
ที่พึงประสงค์ ถือเป็นการให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างผู้บริหารกับครูและครูกับครูด้วย
กันในโรงเรียน
การวัดผลประเมินผล หมายถึง การชี้แจงวัตถุประสงค์ การมีส่วนร่วมในการวางแผน การ
กำหนดวัน เวลา การแต่งตั้งบุคลากรผู้รับผิดชอบ ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูผู้สอนนำผลจากการ
วัดผลและประเมินผลมาใช้เป็นแนวทางในการจัดการศึกษา
วัสดุและสื่อการเรียนการสอน หมายถึง การสำรวจ การจัดเตรียม จัดหา ผลิต อบรมจัด
เก็บและบำรุงรักษาวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุ
ประสงค์
การประชุมอบรมทางวิชาการ หมายถึง การสำรวจความต้องการ ส่งเสริมและสนับสนุน
การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ของบุคลากรและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อให้มีความรู้ความสามารถ มี
ประสบการณ์ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และนำมาปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพ
ห้องสมุด หมายถึง สถานที่ที่มีหนังสือ เอกสาร วารสาร สิ่งตีพิมพ์ต่าง ๆ เครื่องมือ
โสตทศั นอปุ กรณต์ า่ ง ๆ แผนที่ ลูกโลก เข็มทิศ วดี ที ศั น ์ แผนภมู ิ ภาพยนตร์ โทรทศั น์ ฟิลม์สตริป
รูปภาพ ภาพถ่าย สไลด์และคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ไว้สำหรับให้นักเรียนและผู้ที่สนใจได้เข้าไป
ศึกษาหาความรู้ตามความสนใจโดยมีบรรรณารักษ์หรือบุคคลที่รับผิดชอบให้คำแนะนำ
เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง อุปกรณ์ทางคอมพิวเตอร์หรืออิเล็คทรอนิกส์ที่ช่วยในการ
ทำงานเกี่ยวกับสารสนเทศและสนับสนุนให้การนำสารสนเทศมาตอบสนองความต้องการขององค์กร
5
สรุปว่าเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือการดำรงชีพและการทำงานของคนนั่นเอง เทคโนโลยีสาร
สนเทศสามารถเปลี่ยนแปลงลักษณะการทำงานของธุรกิจ เปลี่ยนแปลงรูปแบบของการศึกษา การ
เมืองและวัฒนธรรม ดังนั้นเทคโนโลยีสารสนเทศจึงเป็นเรื่องที่มนุษย์ทุกคนในยุคนี้จะต้องรู้จัก
แหล่งเรียนรู้อื่น ๆ ในโรงเรียน หมายถึง นอกจากห้องสมุดแล้วยังมีห้องเรียนและพื้นที่อื่น ๆ
ที่เป็นส่วนประกอบของการจัดการเรียนการสอนอีก เช่น ห้องคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต ห้อง
วิทยาศาสตร์ ห้องดนตรี ห้องปฏิบัติการทางภาษา โรงฝึกงาน แปลงหรือโรงเรือนเกษตรกรรม
ห้องปฏิบัติการทางวัฒนธรรมและจริยศึกษา เป็นต้น
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ทำให้ทราบความต้องการด้านวิชาการของครู เพื่อใช้เป็นแนวทางการวางแผน ปรับปรุง
งานด้านวิชาการโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร และให้ผู้ที่เกี่ยว
ข้องกับงานด้านวิชาการปฏิบัติงานได้ดียิ่งขึ้น
2. ผลการวิจัยจะเป็นข้อมูลให้ผู้บริหารโรงเรียนและผู้ที่เกี่ยวข้องนำไปพัฒนางานวิชาการใน
โรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตธนบุรี สำนักงานเขตอื่น ๆ และโรงเรียนสังกัดอื่นต่อไป
กรอบแนวคิดในการวิจัย
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาขอบข่ายงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษา ของ
นักวิชาการหลายท่าน และเอกสารทางวิชาต่าง ๆ โดยเฉพาะได้ใช้ขอบข่ายงานวิชาการของสำนักงาน
คณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ เอกสารทางวิชาการของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
แห่งชาติและกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศของสำนักงานเลขานุการ คณะกรรมการเทคโนโลยี
สารสนเทศแห่งชาติเป็นพื้นฐาน จึงสรุปเป็นกรอบแนวคิดที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของตัวแปร ที่
สำคัญในการวิจัย 7 ด้าน ดังแสดงไว้ในแผนภาพ
6
ตัวแปรอิสระ ตัวแปรตาม
ตัวแปรตาม
สมมติฐานการวิจัย
ครูโรงเรียนประถมศึกษาซึ่งมีเพศ ประสบการณ์การทำงาน และสอนในโรงเรียนที่มีขนาด
โรงเรียนต่างกันมีความต้องการด้านวิชาการแตกต่างกัน
ครูโรงเรียนประถมศึกษา
เพศ
- ชาย
- หญิง
ประสบการณ์การทำงาน
- 1 – 10 ปี
- 11 – 20 ปี
- 21 ปีขึ้นไป
ขนาดโรงเรียน
- ขนาดใหญ่
- ขนาดกลาง
- ขนาดเล็ก
ความต้องการด้านวิชาการ 7 ด้าน
1. ด้านหลักสูตรและการนำหลักสูตร
ไปใช้
2. ด้านการจัดการเรียนการสอน
3. ด้านนิเทศภายใน
4. ด้านวัดผลและประเมินผล
5. ด้านวัสดุและสื่อการเรียนการสอน
6. ด้านประชุมอบรมทางวิชาการ
7. ด้านห้องสมุด เทคโนโลยี -
สารสนเทศและแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ
ในโรงเรียน
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาความต้องการด้านวิชาการของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัด
สำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยขอเสนอเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตามลำดับดังนี้
1. การบริหารงานโรงเรียนประถมศึกษา
1.1 แนวคิดในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
2. การบริหารงานวิชาการ
2.1 ความหมายของงานวิชาการ
2.2 วัตถุประสงค์การบริหารงานวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร
2.3 ขอบข่ายของงานวิชาการ
2.3.1 งานด้านหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้
2.3.2 งานด้านการจัดการเรียนการสอน
2.3.3 งานด้านนิเทศภายใน
2.3.4 งานด้านวัดผลประเมินผล
2.3.5 งานด้านวัสดุและสื่อการเรียนการสอน
2.3.6 งานด้านประชุมอบรมทางวิชาการ
2.3.7 งานด้านห้องสมุด เทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ ในโรงเรียน
3. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
3.1 งานวิจัยในประเทศ
3.2 งานวิจัยต่างประเทศ
1. การบริหารงานโรงเรียนประถมศึกษา
ในการทำงานใด ๆ ก็ตามผู้รับผิดชอบจะต้องเป็นบุคคลที่มีความรู้ ความเข้าใจ หรือแนวคิด
ของงานนั้น ๆ เป็นอย่างดี จึงจะทำงานให้ได้ตรงตามเป้าหมาย เพราะแนวคิดจะนำมากำหนดเป็น
กรอบความคิดในการดำเนินงาน การบริหารโรงเรียนก็เช่นเดียวกัน ผู้บริหารโรงเรียนจะต้องเข้าใจ
แนวคิดหลักของการบริหารโรงเรียน เพื่อที่จะสามารถปฏิบัติงานได้ตรงเป้าหมาย ไม่เสียเวลาและสิ้น
เปลืองทรัพยากรโดยเปล่าประโยชน์ สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2528 : 2-5 )
ได้กำหนดแนวคิดหลักในการบริหารโรงเรียนประถมศึกษา ไว้ดังนี้
โรงเรียนเป็นหน่วยงานทางการศึกษาที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นหน่วยปฏิบัติและผลการจัดการ
ศึกษาจะเป็นเช่นใดขึ้นอยู่กับโรงเรียน ซึ่งภารกิจหลักของโรงเรียนคือการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้
8
นักเรียนบรรลุจุดหมายที่ทำหนดไว้ในหลักสูตร ดังนั้นการบริหารโรงเรียนจะประสบผลสำเร็จจะต้อง
อาศัยผู้บริหารที่มีความรู้ความสามารถ มีคุณลักษณะที่ดีและมีคุณธรรม เพราะปัจจัยที่มีผลกระทบต่อ
การบริหารงานมีหลายประการ เช่น ระบบบริหาร ผู้ปกครอง นักเรียน การจัดการเรียนการสอน
เป็นต้น แต่สิ่งที่ผู้บริหารต้องตระหนักให้มากที่สุดคือนักเรียน
งานบริหารโรงเรียนประถมศึกษามีหลายงานถ้าจะกล่าวให้ครอบคลุมจะมี 6 งานด้วยกันคือ
งานวิชาการ งานบุคลากร งานกิจการนักเรียน งานธุรการ การเงินและพัสดุ งานอาคารสถานที่และ
งานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและชุมชน แต่จะให้ความสำคัญกับงานวิชาการมากที่สุด ส่วนงาน
อื่น ๆ จะเป็นงานสนับสนุนให้งานวิชาการประสบผลสำเร็จ ส่วนการบริหารงานโรงเรียนประถม
ศึกษาที่จะประสบผลสำเร็จนั้นผู้บริหารจะต้องใช้กระบวนการในการบริหารคือ ศึกษาสภาพปัจจุบัน
ปัญหาและความต้องการของโรงเรียน การวางแผน การดำเนินการและการประเมินผล และจะต้อง
บริหารทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์โดยการใช้ทักษะด้านต่าง ๆ เข้ามาช่วย เช่นทักษะด้านเทคนิค
วิธี ทักษะด้านมนุษย์สัมพันธ์และทักษะด้านความคิดรวบยอดของหน่วยงาน
ทั้งนี้การดำเนินการดังกล่าวจะสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีจะต้องอาศัย
1. คุณธรรมที่ดีและการเป็นผู้นำของผู้บริหาร
2. การใช้เทคนิคการนิเทศ การควบคุมกำกับ ติดตาม และประเมินผลอย่างเหมาะสมของผู้
บริหาร
3. บุคลากรที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมทุกขั้นตอนของกระบวนการบริหาร คือ การใช้กระบวน
การกลุ่ม
4. การสร้างมนุษย์สัมพันธ์ในโรงเรียน
5. การใช้ภาวะผู้นำในโรงเรียน
6. การตัดสินใจแก้ปัญหาอย่างมีระบบ
7. การสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงาน
8. เทคนิคการนำการประชุม
9. การประชาสัมพันธ์โรงเรียน
ไพโรจน์ โตเทศ (2545 : 16-17) ได้กล่าวว่าการบริหารโรงเรียนจะต้องมีความสัมพันธ์สอด
รับกับแนวคิดทางสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงขับเคลื่อนอยู่ตลอดเวลา ความทันสมัย กับการแปรสภาพ
ใหม่ซึ่งรัฐได้กำหนดแนวคิดไว้ 6 ประการ คือ
1. หลักนิติธรรม หมายถึงการออกกฎ ระเบียบ ข้อบังคับและเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ถูกต้องเป็น
ธรรม การบังคับบัญชาเป็นไปตามกติกาที่กำหนด
2. หลักคุณธรรม หมายถึง การยึดมั่นในความถูกต้อง การส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาตนเอง
ไปพร้อมกันในความซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบ
9
3. หลักความโปร่งใส หมายถึงการสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกัน
4. หลักความมีส่วนร่วม หมายถึง การเปิดโอกาสให้บุคคลอื่น ๆ ที่มิใช่สมาชิกมีส่วนรับรู้
และเสนอความคิดเห็นในการตัดสินใจในปัญหาที่สำคัญขององค์กร
5. หลักความรับผิดชอบ หมายถึง การตระหนักถึงในสิทธิหน้าที่ ความสำนึกในความรับผิด
ชอบ การใส่ใจในปัญหาขององค์กร การกระตือรือร้นในการแก้ปัญหา
6. หลักความคุ้มค่า หมายถึง การบริหารจัดการและการใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดให้เกิด
ประโยชน์สูงสุด
จากแนวคิดของการบริหารโรงเรียนประถมศึกษา จะเห็นได้ว่าผู้ที่มีบทบาทในการพัฒนาคุณ
ภาพของโรงเรียน คือผู้บริหารไม่ว่าจะเป็นครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่และผู้อำนวยการ เพราะผู้บริหารจะ
ต้องเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ รู้จักใช้ทรัพยากรทั้งหมดที่มีอยู่ มีคุณธรรมจริยธรรมและจะ
ต้องสร้างความสมดุลให้เกิดขึ้นระหว่างภารกิจของโรงเรียนกับคณะทำงาน ในขณะเดียวกันผู้ทำงาน
จะต้องมีความสุขไปด้วย นั่นหมายถึงว่าทำงานแล้วได้ทั้งงานและน้ำใจของผู้ร่วมงานนั่นเอง และที่
สำคัญอีกประการหนึ่งคือจะต้องได้คุณภาพของนักเรียนออกมาด้วย
1.1 แนวคิดในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
กรุงเทพมหานครและสำนักการศึกษาได้จัดทำแผนพัฒนาการศึกษาในระยะแผนพัฒนา
ฉบับที่ 6 (พ.ศ.2540-2544) เพื่อใช้เป็นกรอบและแนวทางในการดำเนินงานตามภารกิจของโรงเรียน
ในแต่ละสำนักงานเขต เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของผู้เรียน รวมถึงบุคลากรที่อยู่ใน
ความรับผิดชอบ จึงกำหนดแนวคิดในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา คือ (สำนักการศึกษา , 2540 : 25 )
1. เด็กทุกคนควรได้รับการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าเรียนชั้นประถมศึกษา
2. เด็กทุกคนควรได้รับการรับศึกษาขั้นพื้นฐานจนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3
3. เด็กทุกคนควรได้รับความเสมอภาคทางการศึกษา
4. การพัฒนาให้เด็กมีคุณธรรม จริยธรรม มีความซาบซึ้งในวัฒนธรรมไทย มีความสำคัญไม่
ยิ่งหย่อนกว่าการพัฒนาในด้านอื่น ๆ
5. ครู คือกลไกในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์หรือพัฒนาคุณภาพการศึกษา
6. ระบบบริหารการจัดการศึกษา เป็นปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพของ
การบริหารและการบรรลุเป้าหมาย
7. สังคมและชุมชน เป็นพลังสำคัญที่จะต้องพัฒนาให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษา
เพื่อการดำเนินงานและพัฒนางานตามภารกิจให้บรรลุวัตถปุ ระสงค์ที่กำหนดไว  สำนักการ
ศึกษา กรุงเทพมหานคร ได้กำหนดนโยบายและมาตรการในการดำเนินงานสู่ความสำเร็จไว้ดังนี้
(สำนักการศึกษา 2540ข : 26-31 )
10
ด้านการจัดการศึกษา แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ
1. ระดับก่อนประถมศึกษา เร่งขยายบริการเตรียมความพร้อมแก่เด็กก่อนวัยเรียนให้กว้าง
ขวางขึ้นเพื่อเตรียมความพร้อมในทุกด้าน คือ ด้านร่างกาย อารมณ์ สภาพสังคม-จิตใจ และ
สติปัญญา
2. การศึกษาขั้นพื้นฐาน ส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานถึง
ระดับมัธยมศึกษาอย่างมีคุณภาพ โดยการรณรงค์ให้ผู้ปกครองนำเด็กที่ถึงเกณฑ์การศึกษาเข้าเรียนใน
การศึกษาภาคบังคับ จัดตั้งกองทุนส่งเสริมการเรียนต่อในระดับสูงขึ้น
ด้านคุณภาพการศึกษา การพัฒนาการศึกษาของกรุงเทพมหานครให้มีคุณภาพเหมาะสมกับ
สภาพสังคมกรุงเทพมหานคร ที่มีการเปลี่ยนแปลงและมีความเจริญกว้าหน้าทางเทคโนโลยีและการ
สื่อสาร เพื่อให้นักเรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีระเบียบวินัย มีคุณธรรมและได้รับการพัฒนา
เต็มศักยภาพ โดยการจัดการเรียนการสอนให้มีสัดส่วนที่เหมาะสมระหว่างวิชาทักษะพื้นฐานที่จำเป็น
และการพัฒนา เร่งปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม พัฒนาสื่อให้มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ
ด้านพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มี
ความรู้ ความสามารถ ทักษะและประสบการณ์ในวิชาชีพโดยจัดให้ได้มีการพัฒนาในหลักสูตรที่เกี่ยว
ข้องกับการสอน ส่งเสริมให้มีวิสัยทัศน์และเสริมสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน
ด้านปรับปรุงการบริหารจัดการและการจัดการศึกษา ปรับปรุงระบบการบริหารจัดการศึกษา
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการให้มีคุณภาพและเป็นธรรม โดยให้มีศูนย์วิชาการเขต จัดสรรบุคคล
ให้ดำรงตำแหน่งอย่างเหมาะสม ปรับปรุงระบบข้อมูล ระบบวางแผนการนิเทศ การติดตามประเมิน
ผล และจัดให้มีการร่วมมือกับชุมชนในการจัดการศึกษา โดยนำคณะกรรมการการศึกษาเข้ามามีบท
บาทในการจัดการศึกษาด้วย
ด้านการช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาส ช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาสกลุ่มต่าง ๆ ให้ได้รับการศึกษาขั้น
พื้นฐานในหลายรูปแบบอย่างกว้างขวางและเพียงพอ โดยการช่วยให้เด็กที่ขาดหลักฐานตามกฎหมาย
ว่าด้วยทะเบียนราษฎร์ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง ให้การสงเคราะห์ด้านอาหารกลางวัน เสื้อผ้า
เครื่องเขียนแบบเรียน ให้ทุนการศึกษา มีการเตรียมความพร้อมสำหรับนักเรียนที่บกพร่องทางสติ
ปัญญา
จากนโยบายการพัฒนาการศึกษาดังกล่าวจะเห็นได้ว่าโรงเรียนประถมศึกษาต้องการจะเน้น
ให้นักเรียนได้พัฒนาในทุกระดับชั้นให้มีความรู้ มีคุณธรรมและสุขภาพอนามัยที่ดี โรงเรียนจึงต้องยึด
และปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าวให้ครอบคลุมทั้ง 6 งาน คือ งานวิชาการ งานกิจการนักเรียน งาน
อาคารสถานที่ งานบุคลากร งานธุรการ การเงินและพัสดุ และงานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับ
ชุมชน งานทั้ง 6 งานดังกล่าว จะเห็นได้ว่างานวิชาการเป็นงานที่สำคัญที่สุด ซึ่งผลสำเร็จของการ
บริหารงานวิชาการ คือการจัดการเรียนการสอนให้มีคุณภาพตามความมุ่งหมายของหลักสูตรนั่นเอง
11
2. การบริหารงานวิชาการ
2.1 ความหมายของการบริหารงานวิชาการ
การบริหารงานวิชาการ ได้มีผู้ให้ความหมายไว้หลายคนซึ่งสามารถนำมาประมวลได้ คือ
อุทัย ธรรมเตโช ( 2531 : 76 ) ได้ให้ความหมายของการบริหารงานวิชาการไว้ว่า หมายถึง
การบริหารกิจกรรมวิชาการที่เกี่ยวกับการพัฒนาและปรับปรุงการเรียนการสอนให้ได้ผลดีและมีประ
สิทธิภาพสูงสุด หรือการบริหารงานวิชาการที่ให้พลเมืองมีความรู้ มีคุณธรรม สามารถประกอบ
สัมมาชีพ ดาํ รงตนเปน็ พลเมืองด ี และช่วยกันพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไป
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ( 2533 : 393 ) กล่าวถึงการบริหารงาน
วิชาการ หมายถึง กิจกรรมทุกชนิดในโรงเรียนซึ่งเกี่ยวข้องกับการปรับปรุง พัฒนาการเรียนการสอน
ให้ได้ผลดี
อมรา นิสะโสกะ ( 2539 : 15 ) ได้ให้ความหมายไว้ว่า การบริหารงานวิชาการหมายถึง การ
บริหารกิจกรรมทุกด้านของโรงเรียนที่ครอบคลุมการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้นักเรียนได้เกิดการ
เรียนรู้ รวมถึงการอบรมให้นักเรียนมีคุณธรรมและการปลูกฝังให้เป็นพลเมืองดี
สุภาพ หงษ์ทอง ( 2540 : 12 ) ได้ให้ความหมายการบริหารงานวิชาการไว้ว่า การ
บริหารงานวิชาการหมายถึง กิจกรรมทุกชนิดภายในโรงเรียนที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ และการศึกษา
ของผู้เรียน ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมาก ในการส่งเสริมงานวิชาการ
ของโรงเรียน คือผู้บริหารและครูผู้สอน โดยมีผู้บริหารเป็นผู้นำทางวิชาการที่ทำงานร่วมกับครู มีการ
ประสานงานให้ทุกคนทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
วิจิตรา ลีสี ( 2542 : 17 ) ได้ให้ความหมายของการบริหารงานวิชาการไว้ว่า การบริหารงาน
วิชาการ หมายถึง การบริหารกิจกรรมทุกชนิดของโรงเรียนที่จัดขึ้นเพื่อการปรับปรุง พัฒนาและส่ง
เสริมการเรียนการสอนให้ได้ผลดีมีประสิทธิภาพมากที่สุด
จากความหมายของการบริหารงานวิชาการที่กล่าวมาแล้ว สรุปได้ว่า การบริหารงานวิชาการ
หมายถึง การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทั้งภายในห้องเรียน นอกห้องเรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้
ความสามารถ มีคุณธรรม จริยธรรมและมีพฤติกรรมที่ดีในอนาคต สามารถประกอบอาชีพและดำรง
ตนให้เป็นพลเมืองที่ดีได้
2.2 วัตถุประสงค์การบริหารงานวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร
1. เพื่อให้งานของโรงเรียนดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยและบรรลุเป้าหมาย
2. เพื่อให้บุคลากรในโรงเรียนสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. เพื่อแก้ปัญหาในการดำเนินงานต่าง ๆ ของโรงเรียนระดับสูง
12
4. เพื่อเป็นการสนองนโยบายที่รับจากกรุงเทพมหานคร
5. เพื่อเป็นการเตรียมรับความเปลี่ยนแปลงของแนวคิดใหม่ในการจัดการศึกษา
จากกรอบการบริหารงานวิชาการสามารถสรุปเป็นแผนภูมิการบริหารงานวิชาการได้ดังนี้
งานกิจการนักเรียน
งานธุรการ การเงินและพัสดุ
งานบุคลากร
งานอาคารสถานที่ บริเวณโรง
เรียนและสิ่งแวดล้อม
งานความสัมพันธ์ระหว่าง
โรงเรียนกับชุมชน
แผนภูมิที่ 1 การบริหารงานวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร
ที่มา : สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร (2540ค : 30)
2.3 ขอบข่ายการบริหารงานวิชาการ
ภารกิจหลักของโรงเรียน คือ งานวิชาการ (นิทัศน์ ปลัดพรม,2542 : 2) ดังนั้นผู้บริหารต้องเข้า
ใจขอบข่ายงานวิชาการ เพื่อที่จะบริหารงานวิชาการได้ครอบคลุม นักวิชาการได้กล่าวถึงขอบข่ายงาน
วิชาการไว้ดังนี้
กิติมา ปรีดีดิลก (2532 : 58 ) กำหนดขอบข่ายงานด้านวิชาการไว้ 6 ประการคือ
1. แผนปฏิบัติงานด้านวิชาการ
2. หลักสูตรการเรียนการสอน
3. การจัดการเรียนการสอน
4. สื่อการสอน
5. การปรับปรุงการเรียนการสอน
6. วัดและประเมินผล
งานหลัก งานวิชาการ
งานบริหารโรงเรียน
งานสนับสนุน
13
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ได้กำหนดขอบข่ายงานวิชาการไว้ 7
ด้าน คือ (สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ 2534ก : 4)
1. ด้านหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้
2. ด้านการเรียนการสอน
3. ด้านวัสดุประกอบหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอน
4. ด้านวัดผลและประเมินผล
5. ด้านห้องสมุด
6. ด้านนิเทศภายใน
7. ด้านประชุมอบรมทางวิชาการ
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน  (2535 : 17-18) กล่าวว่า ขอบข่ายงานวิชาการจะครอบคลุมงาน
ดังนี้ คือ
1. การวางแผนเกี่ยวกับงานวิชาการ เป็นการวางแผนเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรและการนำ
หลักสูตรไปใช้ การจัดการล่วงหน้าเกี่ยวกับการเรียนการสอน แผนปฏิบัติงานวิชาการ โครงการสอน
และบันทึกการสอน
2. จัดดำเนินการเกี่ยวกับการเรียนการสอน เพื่อให้การสอนในสถานศึกษาดำเนินไปด้วยดี
และสามารถปฏิบัติได้ จึงต้องมีการจัดการเรียนการสอน คือ การจัดตารางสอน การจัดชั้นเรียน การ
จัดครูเข้าสอน การจัดแบบเรียน การปรับปรุงการเรียนการสอนและการฝึกงาน
3. การจัดบริการเกี่ยวกับการเรียนการสอน เป็นการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกและการส่ง
เสริมการจัดหลักสูตและโปรแกรมศึกษาให้มีประสิทธิภาพและคุณภาพ ได้แก่งาน การจัดสื่อการเรียน
การสอน การจัดห้องสมุดและการนิเทศการสอน
4. การวัดผลและประเมินผล เป็นกระบวนการเพื่อใช้เป็นเครื่องมื่อในด้านการตรวจสอบและ
วิเคราะห์ผลการเรียน
หวน พินธุพันธ์ (2528 : 45-56) ได้กล่าวถึงขอบข่ายของการบริหารงานวิชาการไว้ว่า การ
บริหารงานวิชาการเป็นการดำเนินการเกี่ยวกับการเรียนการสอนโดยตรง ครอบคลุมการดำเนินงาน 8
ด้านด้วยกันคือ
1. หลักสูตร ได้แก่ การศึกษาความมุ่งหมายของหลักสูตร ศึกษาโครงสร้างและเนื้อหาสาระ
ของหลักสูตร การนำเอาหลักสูตรไปปฏิบัติให้เกิดผล การประเมินหลักสูตรและการปรับปรุงหลัก
สูตร
2. แผนการสอน
3. การจัดตารางสอน
14
4. การปรับปรุงการเรียนการสอน ได้แก่ การสอนที่ยึดผู้สอนเป็นศูนย์กลางและการสอนที่
ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
5. การใช้เทคโนโลยีทางการสอนและสื่อการสอน
6. การจัดแบบเรียน
7. ห้องสมุดโรงเรียน
8. การวัดผลและประเมินผลการศึกษา
สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร (2535 : 3) ได้แบ่งขอบข่ายการบริหารงานวิชาการออก
เป็น การจัดทำแผนงานและโครงการงานวิชาการ เอกสารการปฏิบัติงานวิชาการ การจัดครู
ปฏิบัติการสอน การเตรียมการสอน สื่อการเรียนการสอน การนิเทศงานวิชาการภายในโรงเรียน
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การประเมินการใช้หลักสูตรด้วยตนเอง การจัดกิจกรรมการเรียน
การสอน และข้อมูลสารสนเทศทางวิชาการ
จากแนวคิดของนักการศึกษาที่ได้ให้ขอบข่ายการบริหารงานวิชาการ ซึ่งพอจะสรุปเป็นตาราง
ได้ดังนี้
ตารางสรุปแนวคิดของนักวิชาการ
ลำดับ ขอบข่ายงานวิชาการ กิติมา
ปรีดีดิลก
สำนักงานการ
ประถมศึกษาแห่ง
ชาติ
ปรียาพร
วงศ์อนุตรโรจน์
หวน
พินธุพันธ์
สำนักการศึกษา
กรุงเทพมหานคร
1. งานด้านหลักสูตรและการนำ
หลักสูตรไปใช้

2. งานด้านการจัดการเรียนการ
สอน

3. งานด้านวัสดุอุปกรณ์และสื่อ
การเรียนการสอน

4. งานวัดผลและประเมินผล
5. งานด้านห้องสมุด
6. งานด้านนิเทศการศึกษา
7. งานด้านการประชุมอบรมทาง
วิชาการ

จากขอบข่ายการบริหารงานวิชาการดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่า งานวิชาการมักมีขอบข่ายที่
มีลักษณะคล้ายคลึงกันอาจแตกต่างกันที่รายละเอียดเท่านั้น ทั้งนี้ผู้วิจัยได้นำขอบข่ายการบริหารงาน
วิชาการจากกรอบแนวคิดในการวิจัยที่ได้นำเสนอไว้แล้วในบทที่ 1 มาเป็นขอบข่ายในการศึกษา คือ
1. ด้านหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้
2. ด้านการจัดการเรียนการสอน
15
3. ด้านนิเทศภายใน
4. ด้านวัดผลและประเมินผล
5. ด้านวัสดุและสื่อการเรียนการสอน
6. ด้านประชุมอบรมทางวิชาการ
7. ด้านห้องสมุด เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ ในโรงเรียน
2.3.1 งานด้านหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้
หลักสูตรนับว่ามีความสาํ คัญอย่างยิ่งต่อการจัดการศึกษา เพราะหลักสูตรเป็นมวลประสบ
การณ์ต่าง ๆ ที่โรงเรียนและครูผู้สอนจัดขึ้นเพื่อให้เด็กนักเรียนมีการพัฒนาไปตามลักษณะที่ตั้งจุดมุ่ง
หมายไว้ ซึ่งมีผู้ให้ความหมายของหลักสูตรไว้ดังนี้
อำนาจ จันทร์แป้น (2532 : 3 ) ได้ให้ความหมายของหลักสูตรไว้ดังนี้
1. หลักสูตรในฐานะที่เป็นวิชาและเนื้อหาเป็นการมองหลักสูตรว่า เป็นวิชาและเนื้อหาวิชาที่
ครูจะต้องสอนนักเรียนและนักเรียนจะต้องเรียน
2. หลักสูตรในฐานะที่เป็นประสบการณ์ ซึ่งหมายถึงประสบการณ์ทั้งมวลที่ผู้เรียนได้รับภาย
ใต้การแนะแนวของโรงเรียนทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน
3. หลักสูตรในฐานะที่เป็นโอกาสของการเรียนรู้ (แผนประสบการณ์) หลักสูตรที่สมบูรณ์
ควรจะประกอบด้วยแผนการหรือเจตนารมย์ ซึ่งจุดเน้นจะไม่จำกัดอยู่เฉพาะที่จุดมุ่งหมายและวัตถุ
ประสงค์แต่ยังรวมถึงองค์ประกอบอื่น ๆ ของหลักสูตร อันได้แก่ การนำหลักสูตรไปใช้ หรือการสอน
และการประเมินผล
4. หลักสูตรเป็นศาสตร์สาขาหนึ่ง ซึ่งการนำหลักสูตรไปใช้ต้องดำเนินเป็นกระบวนการโดย
ตระหนักในความสำคัญของผู้เรียนและให้สอดคล้องกับสภาพท้องถิ่นให้มากที่สุด
ธำรง บัวศรี ( 2532 : 6 ) กล่าวว่า หลักสูตรคือแผนซึ่งได้ออกแบบจัดทำขึ้นเพื่อแสดงจุด
หมาย การจัดเนื้อหาสาระ กิจกรรมและมวลประสบการณ์ในแต่ละโปรแกรมการศึกษา เพื่อให้ผู้
เรียนมีพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ตามจุดหมายที่กำหนดไว้
มนัส สายโกสุม (2541 : 12) ได้ให้ความหมายของการนำหลักสูตรไปใช้ ว่า หมายถึง การ
จัดประสบการณ์ต่างๆ ขึ้นในโรงเรียน โดยครูและผู้บริหารโรงเรียน เพื่อพัฒนาศักยภาพของนักเรียน
ให้สูงขึ้น โดยใช้เอกสารหลักสูตรเป็นแม่บท การนำหลักสูตรไปใช้จึงเป็นหน้าที่โดยตรงของโรง
เรียน ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคนจึงควรอย่างยิ่งที่จะต้องทราบและให้ความสำคัญในการนำหลักสูตรไป
ใช้ เพื่อที่จะนำหลักสูตรไปแปลงเป็นการปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
จากความหมายดังกล่าว สรุปได้ว่า หลักสูตรหมายถึงมวลประสบการณ์ที่โรงเรียนได้จัดขึ้น
ในโรงเรียน ทั้งภายในห้องเรียนและนอกห้องเรียน โดยมีวัตถุประสงค์ เนื้อหา กิจกรรม รวมทั้งการ
16
วัดผลประเมินผล ซึ่งการจัดประสบการณ์เหล่านี้จะจัดให้แตกต่างกันตามระดับชั้น ตามความสนใจ
ของนักเรียนแต่ละคน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ และเพื่อ
พัฒนาศักยภาพของนักเรียนให้สูงขึ้น
นอกจากนี้ กรมวิชาการ (2534 : คำนำ) ได้คาดหวังผู้เรียนตามหลักสูตรให้คิดเป็น ทำเป็น
แก้ปัญหาเป็น และทำงานอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตให้พร้อมที่จะทำ
ประโยชน์กับสังคมตามบทบาทหน้าที่ของตน และเน้นให้เกิดคุณลักษณะในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. การพัฒนาคน ให้มีความรู้พื้นฐาน มีสุขภาพกายและใจสมบูรณ  แก้ปัญหาเป็น เสียสละ
และมุ่งพัฒนา
2. การพัฒนาอาชีพ ได้แก่ การทำงานร่วมกับผู้อื่น รักการทำงานและทำงานเป็น
3. การพัฒนาสังคม ได้แก่ การปฏิบัติหน้าที่ของตนต่อบ้าน ชุมชน ประเทศและโลก
ในส่วนของการนำหลักสูตรไปใช้ สงัด อุทรานันท์ (2532 : 4) กล่าวไว้ว่า เป็นขั้นตอนของ
การนำหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติ หรือนำไปสู่การเรียนการสอนในโรงเรียน การนำหลักสูตรไปใช้
อย่างมีประสิทธิภาพ จะต้องอาศัยกิจกรรมและกระบวนการต่าง ๆ หลายประเภท ได้แก่ การจัดทำ
เอกสาร แผนการสอน โครงการสอน การเตรียมบุคลากร การบริหารหลักสูตร การดำเนินการสอน
ตามหลักสูตร การนิเทศและติดตามประเมินผล เพื่อจะให้การนำหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติ การจัดการ
เรียนการสอน การจัดโครงการหรือกิจกรรมต่าง ๆ ในบรรลุจุดมุ่งหมายของหลักสูตรอย่างมีประสิทธิ
ภาพ
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2541ก : 113-114) กล่าวถึงการบริหาร
หลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้ไว้ดังนี้ หลักสูตรเป็นหัวใจของการจัดการศึกษาที่เป็นเครื่องชี้บ่ง
ว่าเยาวชนไทยในอนาคตควรจะเป็นพลเมืองอย่างไรที่สังคมไทยต้องการ และสามารถดำเนินชีวิตของ
ตนได้อย่างมีความสุข ถึงแม้ว่าหลักสูตรนั้นไม่มีการนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพก็ยากที่การใช้หลัก
สูตรจะบรรลุเป้าหมาย การบริหารหลักสูตรจึงเป็นขั้นตอนสำคัญที่ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้ที่เกี่ยว
ข้องทุกระดับจะต้องช่วยกันดำเนินการตามขั้นตอนสำคัญในการบริหารหลักสูตรที่กรมวิชาการกำหนด
ไว้คือ กำหนดปรัชญาและอุดมการณ์ วัตถุประสงค์ นโยบายของโรงเรียน สำรวจปัญหาความ
ต้องการและสภาพท้องถิ่น ปัญหาความต้องการของนักเรียนและผู้ปกครอง ความถนัดและความ
สามารถเฉพาะของนักเรียน การจัดแบ่งกลุ่มนักเรียนตามความต้องการ ความถนัดและความสามารถ
เลือกสรร พัฒนา จัดทำหลักสูตรท้องถิ่นและหลักสูตรหรือรายวิชาที่สอดคล้องกับสภาพชีวิต อาชีพ
เศรษฐกิจและสังคมท้องถิ่น แนะแนวทางการศึกษา ให้นักเรียนรู้จักตนเอง รู้จักสภาพชีวิต เศรษฐกิจ
และสังคม และสิ่งแวดล้อม การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนของครู ใช้ทรัพยากรภาย การจัด
แผนการสอน เนื้อหาสาระ รายละเอียด เทคนิคการสอน อุปกรณ์ สื่อ ทำความเข้าใจและประชา
17
สัมพันธ์ให้ผู้ปกครอง ทราบถึงวัตถุประสงค์ของการจัดการศึกษา การจัดกิจกรรมเสริม เช่น การ
ประกวดแข่งขัน การจัดนิทรรศการ การสาธิต เป็นต้น
ส่วนสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2541ก : 80) ได้กล่าวถึงการนำหลัก
สูตรไปใช้ว่าในปัจจุบัน ได้มีการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรประถมศึกษา 2521 (ฉบับปรับ
ปรุง พ.ศ.2533) และได้ส่งเสริมให้จัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น
ซึ่งได้กำหนดหลักการที่สำคัญของหลักสูตร คือ
1. เป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อประชาชน
2. เป็นการศึกษาที่มุ่งให้ผู้เรียนนำประสบการณ์ที่ได้จากการเรียนไปใชป้ ระโยชน์ ในการ
ดำรงชีวิต
3. เป็นการศึกษาที่มุ่งสร้างเอกภาพของชาติโดยมีเป้าหมายหลักรวมกัน แต่ต้องให้ท้องถิ่น
มีโอกาสพัฒนาหลักสูตรบางส่วนให้เหมาะสมกับสภาพและความต้องการ ซึ่งสอดคล้องกับกรมวิชา
การ (2534ก:1) ที่มีความคาดหวังว่าให้ผู้เรียนคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็นและทำงานเป็นระบบ
เพื่อให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตให้พร้อมที่จะทำประโยชน์แก่สังคมตามบทบาทหน้าที่ของ
ตน ซึ่งจะต้องปลูกฝังให้ผู้เรียนเกิดคุณลักษณะในด้านต่าง ๆ คือ การพัฒนาตน การพัฒนาอาชีพและ
การพัฒนาสังคม
จากแนวคิดดังกล่าว พอจะสรุปได้ว่า การนำหลักสูตรไปใช้นั้นเป็นการนำเอาหลักสูตรไป
ปฏิบัติจริงในโรงเรียน ซึ่งก่อนจะนำไปใช้นั้นครูผู้สอนจะต้องทำความเข้าใจถึงจุดมุ่งหมายของหลัก
สูตรให้เข้าใจก่อนว่า มีจุดประสงค์อย่างไร เพื่อที่จะได้จัดทำแผนการสอน การจัดกิจกรรมการเรียน
การสอน สื่อและอุปกรณ์การสอน การวัดผลประเมินผลให้ถูกต้อง และเกิดผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุ
ประสงค์ที่ตั้งไว้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล นอกจากนี้การนำหลักสูตรไปใช้จะต้องคำนึงถึง
ตัวผู้เรียนว่าเมื่อเรียนไปแล้วจะต้องมีการพัฒนาตนเองให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น นำความรู้ที่ได้รับนำ
ไปใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันได้
ส่วนการนำหลักสูตรไปใช้จะเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลนั้น อำนาจ จันทร์แป้น
(2532 : 108-109) กล่าวว่า ผู้บริหารโรงเรียนเป็นบุคคลที่สำคัญมากต่อการบริหารหลักสูตรและได้
เสนอว่าผู้บริหารควรมีบทบาท คือ ศึกษาวิเคราะห์เจตนารมย์ (นโยบาย) การจัดการศึกษาของชาติและ
ท้องถิ่น กำหนดนโยบายและแผนปฏิบัติ ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติอย่างทั่ว
ถึงและต่อเนื่อง ส่งเสริม สนับสนุนปัจจัยที่จำเป็นในการใช้หลักสูตรให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
เป็นผู้นำทางความคิดในการพัฒนาหลักสูตร กำหนดโครงการกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการจัดกิจกรรมการ
เรียนการสอน กำหนดโครงการพัฒนาบุคลากรและส่งเสริมบรรยากาศทางวิชาการและประเมินการ
ใช้หลักสูตร
18
นอกจากนี้ อาภา บุญช่วย (2537 : 244-245) กล่าวว่าในการนำหลักสูตรไปใช้จะให้บังเกิดผล
ที่มีประสิทธิภาพนั้นต้องดำเนินการคือ การกำหนดปรัชญาและอุดมการณ์ วัตถุประสงค์ นโยบาย
โรงเรียน สำรวจปัญหาความต้องการและสภาพของท้องถิ่น สำรวจปัญหาความต้องการของนักเรียน
และผู้ปกครอง สำรวจความสามารถเฉพาะนักเรียน แบ่งกลุ่มนักเรียนตามความต้องการตามความ
ถนัด จัดทำหลักสูตรท้องถิ่นและหลักสูตรรายวิชา บริการแนะแนวทางการศึกษา พัฒนากระบวน
การเรียนการสอนของครูอาจารย์ ให้นักเรียนรู้จักคิด รู้จักแก้ปัญหา ใช้ทรัพยากรภายนอกเข้ามามีส่วน
ร่วมในการเรียนการสอน การจัดทำแผนการสอน เนื้อหาสาระ เทคนิคการสอน อุปกรณ์การสอน สื่อ
โดยให้นักเรียนได้มีประสบการณ์ตรง การเตรียมสถานที่ อุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องใช้ ทำความ
เข้าใจและประชาสัมพันธ์ให้ผู้ปกครองทราบวัตถุประสงค์ของการศึกษา การจัดกิจกรรมเสริม เช่น
การประกวดแข่งขัน จัดนิทรรศการและสาธิต การติดตามช่วยและให้ขวัญกำลังใจในการดำเนินงาน
ตามหลักสูตร วัดและประเมินผลเพื่อการพัฒนา การพัฒนาผู้บริหารโรงเรียน ครู อาจารย์
กล่าวโดยสรุปแล้ว การนำหลักสูตรไปใช้จะให้เกิดประสิทธิภาพประสิทธิผลนั้น จำเป็นอย่าง
ยิ่งที่ผู้บริหารจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของหลักสูตรเป็นอย่างดี สามารถถ่ายทอด อธิบาย
หรือแนะนำให้ครูในโรงเรียนเข้าใจได้ เพื่อให้ครูสามารถปฏิบัติงานด้านหลักสูตรได้เป็นอย่างดีและ
ส่งผลให้นักเรียนเป็นผู้ที่มีคุณภาพตามความต้องการของหลักสูตร
2.3.2 งานด้านการจัดการเรียนการสอน
การจัดการเรียนการสอน ถือเป็นหัวใจสำคัญของการนำหลักสูตรไปใช้ เพราะการเรียน
รู้ของเด็กจะเกิดผลมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับกระบวนการเรียนการสอนเป็นส่วนสำคัญ และผู้ที่มีบท
บาทมากที่สุดในการจัดการเรียนการสอนคือครูผู้สอน ซึ่งเป็นบุคคลที่จัดประสบการณ์ให้เด็ก และ
การจัดประสบการณ์นั้นครูควรคำนึงถึงบรรยากาศ ความเหมาะสมและวุฒิภาวะของเด็กแต่ละคนด้วย
ในการจัดการเรียนการสอน มีผู้ให้ความหมายของการจัดการเรียนการสอนไว้หลายท่าน
กรมวิชาการ (2528 : 11-12) ได้กล่าวถึง แนวทางในการจัดการเรียนการสอนในชั้นประถม
ศึกษาไว้คือ การจัดกระบวนการเรียนให้สำคัญพอกับเนื้อหา โดยให้นักเรียนเป็นผู้แสดง รู้จักคิดหาคำ
ตอบด้วยตนเอง โดยครูเป็นผู้กำกับการเรียนการสอน ชี้แนะแนวทางให้โดยเน้นให้นักเรียนฝึกปฏิบัติ
ควบคู่ไปกับทฤษฎีและครูควรใช้วิธีการสอนแบบหลากหลาย เน้นการทำงานเป็นกลุ่ม เพื่อฝึก
นักเรียนร่วมคิด ร่วมกันทำ ร่วมกันแก้ปัญหาและเป็นการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน
บุญชม ศรีสะอาด (2534 : 1-2) กล่าวว่าการเรียนการสอนต้องอาศัยการสอน ซึ่งเป็นกิจ
กรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ส่วนการเรียนหมายถึง การจัดดำเนินการของผู้เรียน เพื่อให้ผู้
เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยที่ผู้เรียนจะต้องทำกิจกรรมด้วยตนเอง
19
ในขณะเดียวกัน สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2534 ข : 19) ได้ชี้จุด
เน้นในการจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เอื้อต่อหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 (ฉบับ
ปรับปรุง พ.ศ.2533) คือ ครูเป็นบุคคลสำคัญที่สุดในการจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์
กลาง ครูต้องวิเคราะห์จุดประสงค์การสอน ค้นคว้า วิธีการใหม่ ๆ มาใช้จัดการเรียนการสอนโดย
เน้นสิ่งที่มุ่งให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติจนเป็นนิสัย และสามารถนำไปเป็นเครื่องมือแสวงหาความรู้ต่อไป
กรมวิชาการ (2534 : 3) ได้เน้นการจัดการเรียนการสอนโดยการฝึกนักเรียนให้มีนิสัยในการ
ใช้ทักษะกระบวนการในการแสดงออกทุก ๆ ด้าน 9 ขั้นตอน ดังนี้
1. ตระหนักในปัญหาและความจำเป็น
2. คิดวิเคราะห์วิจารณ์
3. สร้างทางเลือกอย่างหลากหลาย
4. ประเมินและเลือกทางเลือก
5. กำหนดและลำดับขั้นตอนการปฏิบัติ
6. ปฏิบัติด้วยความชื่นชม
7. ประเมินผลระหว่างปฏิบัติ
8. ปรับปรุงให้ดีขึ้นอยู่เสมอ
9. ประเมินผลรวมเพื่อให้เกิดความภูมิใจ
สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร (2540ค : 2) ให้ความหมายของการสอนและปัจจัยที่เกี่ยว
ข้องกับการสอนที่ดีดังต่อไปนี้
1. การสอน หมายถึง กระบวนการที่ใช้ชักนำหรือทำให้ผู้เรียนเกิดคุณลักษณะต่าง ๆ
ตามที่หลักสูตรกำหนดไว้ เพื่อจะได้บรรลุปรัชญาการศึกษา การสอนจึงเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ
อย่างยิ่งของการศึกษา เพราะเป็นกระบวนการนำหลักสูตรไปใช้ปฏิบัติต่อผู้เรียนโดยตรง โดยมีครูผู้
สอนเป็นตัวจักรสำคัญ ความสำเร็จในการจัดการศึกษาจึงขึ้นอยู่กับคุณภาพการสอน และมีปัจจัยหลัก
4 ประการ คือ จุดมุ่งหมายของการสอน วิธีสอนและสื่อการเรียน ซึ่ง วิโรจน  ศรโี ภคา (2536 :
406) ได้กล่าวว่า การเรียนการสอนเป็นกิจกรรมที่ครูและเด็กร่วมกันทำ ถ้าจะแยกออกเป็น 2 ส่วน
คือการเรียน หมายถึง กิจกรรมที่เด็กทำและการสอน หมายถึง กิจกรรมที่ครูทำแต่ในทางปฏิบัติแล้ว
ทั้งสองอย่างต้องทำไปพร้อม ๆ กัน จึงจะเรียกว่าการเรียนการสอน ซึ่งสอดคล้องกับ พงษ์ศักดิ์
อินทรามะ (2536 : 25) ที่กล่าวไว้ว่า การสอนคือ กระบวนการจัดให้เกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์
ที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพ การสอนเป็นพฤติกรรมของผู้สอน การเรียนเป็นพฤติกรรมของผู้เรียน
การเรียนอาจจะเกิดขึ้นโดยไม่มีการสอนก็ได้ และการสอนอาจเกิดขึ้นโดยไม่มีการเรียนก็ได้ ดังนั้น
จึงอาจกล่าวได้ว่า การเรียนการสอนเป็นกระบวนการที่ครูผู้สอนจัดเพื่อให้นักเรียนมีผลการเรียนบรรลุ
จุดมุ่งหมายของการเรียนที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
20
2. การเตรียมการสอน
วิเชียร นพพลกรัง (2532 : 24) กล่าวว่า การเตรียมการสอนของครูทำให้ครูทราบล่วง
หน้าว่าจะให้เด็กเรียนรู้อะไร มากน้อยเพียงใด และให้เขาเรียนรู้สิ่งต้องการโดยวิธีการใดบ้าง ซึ่งการ
เตรียมการสอนแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ
2.1 การเตรียมการสอนระยะสั้น ประกอบด้วยเตรียมจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน
เนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอน การวัดผล ประเมินผลและตัวผู้เรียน
2.2 การเตรียมการสอนระยะยาว สิ่งที่ต้องเตรียม คือ ศึกษาหลักสูตร ศึกษาเอกสารอื่น ๆ
ที่ประกอบหลักสูตร เช่น คู่มือครู แผนการสอน ฯลฯ และศึกษาวิธีการวัดผลและประเมินผล
3. แผนการสอน
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2536ก : 32) กล่าวถึงแผนการสอน
ตามเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนประถมศึกษา พ.ศ.2536 ว่า แผนการสอนในที่นี้รวมถึงบันทึกการสอน
ด้วยซึ่งประกอบด้วย จุดประสงค์ เนื้อหาสาระสำคัญ กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการเรียนการ
สอน การวัดผลประเมินผล ซึ่งทั้งหมดนี้มีความสัมพันธ์กันและสอดคล้องกับนักเรียนในด้านต่าง ๆ
คือ ด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัยและทักษะพิสัย ด้านประสบการณ์ ด้านความสนใจ ความเอาใจใส่
ความมานะอดทนและความขยันในการเรียน ด้านความสามารถในการเรียนรู้หรือเข้าใจและด้านความ
ต้องการของนักเรียน
4. บันทึกการสอน
กิติมา ปรีดีดิลก (2532 : 61) กล่าวว่า บันทึกการสอนเป็นการแสดงรายละเอียดของการ
กำหนดเนื้อหาที่จะสอนในแต่ละคาบ ของแต่ละวันหรือสัปดาห์ โดยวางแผนไว้ล่วงหน้าและยึดโครง
การสอนเป็นหลัก ซึ่งผู้สอนจะทำบันทึกไว้เป็นวันหรือสัปดาห์ก็ได้ จุดมุ่งหมายเพื่อเป็นคู่มือในการ
สอนแต่ละวัน แต่ละสัปดาห์ให้เป็นไปในแนวทางที่กำหนด ส่วนรายละเอียดของบันทึกการสอน
ประกอบด้วยจุดมุ่งหมาย เนื้อหาวิชา กิจกรรม วัสดุอุปกรณ์และการวัดผลประเมินผล
5. การจัดตารางสอน
กิติมา ปรีดีดิลก (2532 : 62) กล่าวว่า การจัดตารางสอนเป็นตารางกำหนดกิจกรรมต่าง ๆ
ที่เกี่ยวกับการเรียนการสอน ในระยะหนึ่งสัปดาห์ ซึ่งจะต้องสัมพันธ์กับเวลา หลักสูตรและหลักการ
พัฒนาผู้เรียน ซึ่งสอดคล้องกับ ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน  (2535 : 186-187) ซึ่งกล่าวว่า ตาราง
สอนเป็นการกำหนดวิชาและเวลาที่จะเรียนโดยละเอียดประจำวัน ตลอดสัปดาห์ ซึ่งหลักในการจัด
ตารางสอนคือ จัดให้ครบตามโครงสร้างของหลักสูตร พิจารณาการจัดตารางสอนตามธรรมชาติของ
แต่ละรายวิชา จัดให้มีเวลาที่นักเรียนสามารถศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จัดวิชาที่เป็นทฤษฎีและมีการ
คำนวนไว้ในภาคเช้ามากกว่าภาคบ่ายและควรพิจารณาถึงครู อาจารย์ เช่น ความสะดวกที่จะเข้าสอน
การมีเวลาว่างตรงกัน เพื่อการประชุมหารือ
21
6. การจัดครูเข้าสอน
กิติมา ปรีดีดิลก (2532 : 65) กล่าวว่า การจัดครูเข้าสอน เป็นหน้าที่อันสำคัญอย่างยิ่งของ
ผู้บริหารที่จะคัดเลือกครูผู้สอนให้เหมาะสมกับวิชาที่สอน ระดับชั้น และความสามารถของผู้เรียน
นอกจากครูผู้สอนจะมีความรู้ความสามารถในวิชาที่สอนแล้ว เทคนิควิธีการสอนก็จำเป็นอย่างยิ่ง
การจัดครูเข้าสอนผู้บริหารควรใช้หลักการดังต่อไปนี้
1. หลักการเลือกครูเข้าสอน
วิเชียร นพพลกรัง (2532 :32-22) ได้เสนอแนะให้ผู้บริหารยึดหลักการพิจารณาการจัด
ครูเข้าสอน โดยยึดหลัก 4 ถึง ดังต่อไปนี้
1.1 ต้องเป็นผู้ใจถึง คือ สมัครใจสอน เชื่อมั่นว่าสอนได้ดี รักเด็กอย่างทั่วถึง ให้ยุติธรรม
กับนักเรียนโดยเท่าเทียมกัน อดทนต่อความยากลำบาก เสียสละและมีความรับผิดชอบสูง
1.2 ต้องเป็นผู้มีฝีมือถึง กล่าวคือ ต้องเป็นผู้มีความรู้ดี มีความสามารถในการสอนดี
สามารถปรับตัวเองได้และมีความรู้ความเข้าใจจิตวิทยาเด็ก มีความสามารถในการปกครองนักเรียน
เป็นต้น
1.3 ต้องเป็นผู้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ( สุขภาพถึง ) คือต้องเป็นผู้ที่มีร่างกาย
สมบูรณ์แข็งแรงไม่เจ็บป่วยบ่อย สุขภาพจิตดี มีอารมณ์ขันอยู่เสมอ ไม่โกรธง่าย มีอารมณ์เยือกเย็น
ยิ้มเสมอ บุคลิกลักษณะดี และมีมนุษย์สัมพันธ์ดี
1.4 ถึงหลักสูตร คือ ต้องเป็นผู้ที่เข้าใจจุดมุ่งหมาย หลักการและโครงสร้างของหลักสูตร
เข้าใจแผนการสอน กำหนดการเรียนการสอน กระบวนการเรียนการสอน วัดผลประเมินผล และ
พร้อมจะปรับปรุงวิธีการสอนให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น
2. วิธีจัดครูเข้าสอน
สันต์ ธรรมบำรุง (2537 : 162) กล่าวว่า การจัดครูเข้าชั้นเป็นการจัดเพื่อการเรียนการสอน
รับผิดชอบในการสอน ซึ่งแบ่งเป็น 3 แบบใหญ่ ๆ คือ การจัดแบบครูประจำชั้น ครูประจำวิชาและ
สอนแบบเป็นคณะ
ส่วนสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2529 : 41-42) เสนอวิธีการจัดครูเข้า
สอนคือ สอบถามความสมัครใจ คณะกรรมการหรือโรงเรียนใช้วิธีการขอร้อง ขอความร่วมมือโดย
ตรง วิธีขอร้องแกมบังคับ จัดสอนโดยไม่ถามความสมัครใจและการจับฉลาก
7. วิธีการสอน
คู่มือหลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ.2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2533) (กรมวิชาการ 2534 :
3-4) ระบุว่า เพื่อให้ผู้เรียนเกิดคุณลักษณะตามความคาดหวังของหลักสูตรในการจัดการเรียนการสอน
ต้องคำนึงจุดเน้นดังต่อไปนี้
1) จัดการเรียนการสอนเน้นกระบวนการ
22
2) การส่งเสริมให้ท้องถิ่นพัฒนาหลักสูตร
3) จัดการเรียนการสอนตามแนวดำเนินการ
ส่วนคู่มือหลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ.2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2533) (กรมวิชาการ 2534 :
64) ระบุว่า พฤติกรรมของครูในชั้นเรียนเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุดในการเรียนการสอนและส่งผล
ถึงคุณภาพการศึกษาโดยตรง ครูต้องเลือกใช้วิธีสอนต่าง ๆ อย่างตรงจุดมุ่งหมายและเหมาะสมกับ
สภาพการเรียน ยุทธศาสตร์สำคัญในการปฏิบัติงานของครู คือ ค้นหาข้อบกพร่องของผู้เรียน หาวิธี
ใหม่ ๆ ในการพัฒนาและใช้วิธีการนั้น ๆ จนเกิดผลดี
นอกจากนี้ สุมิตร คุณานุกร (2533 : 136-146) ระบุว่า การสอนของครูเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด
ที่จะทำให้ผู้เรียนได้รับความรู้ ได้มีคุณสมบัติและทัศนคติตามที่ผู้สร้างหลักสูตรมุ่งหวังไว้ โดยที่ครู
ต้องรู้จักนำวิธีการสอนแบบต่าง ๆ มาใช้ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการสอน โดย
เสนอวิธีการสอน ที่นำไปประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนในชั้นเรียนคือ การบรรยาย การอภิปราย
และซักถาม การฝึกปฏิบัติ การสอนโดยใช้โสตทัศนูปกรณ์ การแก้ปัญหาและการค้นพบด้วยตน
เอง การใช้ห้องทดลองและวิธีสืบสวน วิธีการสอนเพื่อพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และสอนโดย
ใช้บทบาทและสถานการณ์จำลอง
8. การสอนซ่อมเสริม
การสอนซ่อมเสริม หมายถึง การสอนพิเศษ นอกเหนือจากการสอนตามแบบแผนการ
สอนเพื่อแก้ไขส่วนบกพร่องที่พบในตัวนักเรียน ช่วยให้นักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ไม่ดีเรียนดีขึ้น ส่วน
นักเรียนที่เรียนดีอยู่แล้ว มีความเฉลียวฉลาด มีโอกาสเสริมความรู้เพิ่มมากขึ้น
วิธีการจัดสอนซ่อมเสริม
วิเชียร นพพลกรัง (2532 : 25-30) ได้ระบุวิธีการสอนไว้คือ การสอนแบบตัวต่อตัว การ
สอนแบบเป็นกลุ่มย่อย นักเรียนสอนกันเอง ใช้บทเรียนสำเร็จรูป ใช้สุมดแบบฝึกหัดเรียนด้วยตน
เอง ให้ทำกิจกรรมเพิ่มและการเฉลยคำตอบของแบบฝึกหัดหรือแบบทดสอบ
ดังนั้น การที่จะให้นักเรียนประสบผลสำเร็จทางการเรียนแบบซ่อมเสริม ครูควรจะยึดหลัก
และหาวิธีสอนที่เหมาะสม
ห้องเรียนแต่ละห้องย่อมมีลักษณะเฉพาะตัวตามสภาพของแต่ละห้อง ถึงแม้จะมีการกำหนด
รูปแบบแต่ละห้องแต่ละโรงเรียนจะไม่ค่อยเหมือนกันนัก ห้องเรียนที่คาดว่าจะเอื้อต่อหลักสูตรนั้น คู่
มือหลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ.2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2533) (กระทรวงศึกษาธิการ 2534 : 89-93)
ระบุว่าควรคำนึงถึงเรื่องต่อไปนี้
1) การจัดบรรยากาศในห้องเรียนให้เอื้อต่อหลักสูตร สภาพแวดล้อมในห้องเรียนเป็นปัจจัย
สำคัญอย่างหนึ่งที่มีผลต่อการเรียนการสอนของครู สภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยจะช่วยให้การเรียนรู้มี
ผลดี
23
2) การจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียน ได้แก่การจัดและตกแต่งห้องเรียน การจัดที่นั่ง วัสดุ
อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ การจัดมุมเสริมความรู้และอื่น ๆ
โดยสรุปแล้ว การจัดการเรียนการสอนนั้นนับว่าเป็นกระบวนการที่สำคัญอย่างหนึ่ง เพราะ
การจัดการเรียนการสอนที่ดีนั้นจะต้องมีการเตรียมการสอนเป็นอย่างดี การนำเทคนิคต่าง ๆ เข้ามาเป็น
ส่วนประกอบ เช่น การจัดกิจกรรมหลาย ๆ รูปแบบ มีสื่อประกอบการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียน
บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่หลักสูตรกำหนดไว้ เพื่อเป็นการพัฒนาผู้เรียน นอกจากนี้การจัดการเรียน
การสอนยังสามารถให้เด็กออกไปศึกษาหาความรู้นอกห้องเรียน เพื่อลดความจำเจหรือความเบื่อหน่าย
ของการเรียนได้ และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนค้นหาในสิ่งที่ตนเองสนใจและต้องการจะหาความรู้เพิ่มเติม
ได้อีกด้วย
2.3.3 งานด้านนิเทศภายใน
ก่อนที่จะกล่าวถึงการนิเทศภายใน จะขอกล่าวถึงการนิเทศการศึกษา ซึ่งการนิเทศการ
ศึกษาเป็นกระบวนการที่จะทำให้เกิดการปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนของครู โดยทำงานร่วม
กับบุคคลที่เกี่ยวข้อง เป็นกระบวนการกระตุ้นความก้าวหน้าของครู มุ่งช่วยเหลือครูเพื่อให้ครูช่วย
เหลือตนเองได้
มีนักการศึกษาหลายท่าน ได้ให้ความหมายของการนิเทศการศึกษาไว้ดังนี้
สนอง เครือมาก และวิสิฐ วงศ์จิตราทร (2532 : 276) ได้ให้ความหมายของการนิเทศการ
ศึกษาว่า หมายถึง การร่วมมือกับของบุคลากรในโรงเรียน ในอันที่จะปรับปรุงแก้ไขหรือพัฒนาการ
สอนของครู เพื่อให้การเรียนการสอนมีคุณภาพ ซึ่งสอดคล้องกับ สำนักงานคณะกรรมการการ
ประถมศึกษาแห่งชาติ (2536ก : 527) ให้ความหมายของการนิเทศภายในว่าหมายถึง การปฏิบัติงาน
ร่วมกันระหว่างผู้บริหารโรงเรียนกับบุคลากรในโรงเรียน ในการแก้ไขปรับปรุงพัฒนาการทำงานของ
ครูให้มีประสิทธิภาพและส่งผลต่อคุณภาพของนักเรียน
สนั่น มีสัตย์ธรรม (2538 : 198) ให้ความหมายว่า การนิเทศการศึกษา หมายถึง กระบวน
การทำงานร่วมกันระหว่างผู้นิเทศกับผู้รับการนิเทศ เพื่อพัฒนาคุณภาพของนักเรียน โดยผ่านตัวกลาง
คือครูและบุคลากรทางการศึกษา
กู๊ด (Good,1973 : 539) ให้เหตุผลว่า การนิเทศการศึกษา คือ ความพยายามทุกชนิดของเจ้า
หน้าที่ฝ่ายการศึกษาที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่นิเทศการศึกษา ในการแนะนำครูหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง
กับการศึกษาให้สามารถปรับปรุงการสอนของตนให้ดีขึ้น ช่วยให้เกิดความเจริญงอกงามในด้านวิชา
ชีพ และช่วยพัฒนาความสามารถของครู
คลิกแมน, กอร์ดอนและโรส กอร์ดอน (Clickman, Gordon and Ross Gordon,1998 : 295)
ได้ให้ความหมายของการนิเทศการศึกษาว่า หมายถึง หน้าที่ของทางโรงเรียนที่จะต้องปรับปรุงการ
24
สอน รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือแก่ครูโดยตรง การพัฒนาหลักสูตร การเสริมสร้างประสบการณ์
ทางวิชาชีพ การพัฒนาทักษะการทำงานกลุ่ม การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน เพื่อนำข้อมูลมาปรับ
ปรุงการสอนให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
จากความหมายดังกล่าว พอจะสรุปได้ว่า การนิเทศการศึกษาหมายถึง การดำเนินงานและ
การช่วยเหลือกันระหว่างผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาในการสร้างสรรค์และพัฒนาคุณภาพ
ทางการเรียนการสอนโดยยึดจุดมุ่งหมายของหลักสูตรเป็นหลัก และเป็นการปรับปรุงแก้ไขส่วนที่
บกพร่องในการจัดการเรียนการสอนของคร ู และปรับปรุงงานด้านต่าง ๆ เพื่อให้นักเรียนมีการพัฒนา
และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
การนิเทศภายในซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการนิเทศการศึกษา โดยมีนักการศึกษาได้ให้ความหมาย
ของการนิเทศภายในไว้หลายท่าน คือ
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2532 : 1) ได้ให้ความหมายของการ
นิเทศภายในไว้ว่า เป็นกระบวนการทำงานร่วมกันของผู้นิเทศ ผู้รับการนิเทศ ซึ่งเป็นบุคลากรภายใน
โรงเรียนให้พัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้นักเรียนมีสัมฤทธิ์ผลทางการ
เรียน และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่หลักสูตรต้องการ
ประภาพรรณ เส็งวงศ์ (2534 : 5) กล่าวไว้ว่า การนิเทศภายในโรงเรียน หมายถึง การ
ปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างผู้บริหารกับครูในโรงเรียน ในการแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาการทำงานของ
ครูให้มีประสิทธิภาพและส่งผลต่อคุณภาพของนักเรียน ซึ่งสอดคล้องกับสำนักงานคณะกรรมการการ
ประถมศึกษาแห่งชาติ (2534ข : 10) ที่ให้ความหมายของการนิเทศว่า หมายถึง ความพยามทุกชนิดที่
ผู้อาศัยอยู่ในโรงเรียน ตั้งแต่ผู้บริหารลงมาในการที่จะปรับปรุงส่งเสริมประสิทธิภาพการเรียนการ
สอนภายในโรงเรียนให้ดีขึ้น ซึ่งเป็นการพัฒนาครูผู้สอนให้ปฏิบัติหน้าที่ในการจัดประสบการณ์การ
เรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร (2540ข : 7) ได้ให้ความหมายของการนิเทศการศึกษาใน
โรงเรียนว่า หมายถึง กระบวนการในการปฏิบัติงานที่ผู้บริหารและอาจารย์ในโรงเรียน ร่วมมือกันจัด
ขึ้น โดยมีจุดประสงค์เพื่อปรับปรุงงานต่าง ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการเรียนการสอน ใน
ทางที่จะทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้น และมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์
จุลมาศ จำปา (2542 : 16) ได้ให้ความหมายการนิเทศภายในโรงเรียนว่า หมายถึง กระบวน
การทำงานร่วมกันระหว่างผู้บริหารโรงเรียนและคณะครูทุกคนในโรงเรียนในการพัฒนาการเรียนการ
สอนให้เกิดประสิทธิภาพอันจะส่งผลต่อคุณภาพของนักเรียน
จากความหมายดังกล่าว สรุปได้ว่า การนิเทศภายในโรงเรียน หมายถึง การช่วยเหลือซึ่งกัน
และกันระหว่างผู้บริหารและครูในโรงเรียนเพื่อหาข้อบกพร่องในการฏิบัติงานของแต่ละคน เพื่อจะหา
25
ทางแก้ไขปรับปรุงให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลแก่นักเรียนมากที่
สุด
หลักการและความจำเป็นในการนิเทศภายใน
บันลือ พฤกษวัน (2536 : 63) ชี้ว่าหลักการนิเทศกับแผนการบริหารงานวิชาการ เพื่อวาง
แผนปฏิบัติงานด้านวิชาการคือ การนิเทศเพื่อการป้องกัน การนิเทศเพื่อก่อ การนิเทศเพื่อสร้าง
สรรค์และการนิเทศเพื่อแก้ไข
ส่วนสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2541ข : 52-53) กล่าวว่าการนิเทศ
ภายในมีหลักเกณฑ์ที่จะนำไปสู่ความสำเร็จดังนี้
1. การนิเทศภายในโรงเรียน จะต้องดำเนินไปอย่างมีระบบและต่อเนื่องตามขั้นตอนการนิเทศ
2. บุคลากรที่เป็นหลักสำคัญในการดำเนินงานพัฒนาระบบนิเทศภายในโรงเรียน คือผู้บริหาร
ต้องดำเนินการโดยเปิดโอกาสให้คณะครูมีส่วนร่วมในการดำเนินการ
3. การนิเทศภายในโรงเรียนจะต้องสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาครู ของ
โรงเรียนและสอดคล้องกับระดับพัฒนาการของครู
4. เป็นหมายสำคัญในการนิเทศ ส่งเสริมพัฒนาครูเพื่อให้เป็นครูระดับมืออาชีพ
กิติมา ปรีดีดิลก (2532 : 306-317) กล่าวว่า การนิเทศภายในโรงเรียนเป็นเรื่องที่มีความจำ
เป็น และต้องจัดให้มีขึ้นภายในโรงเรียน จะช่วยให้เกิดผลดีในการดำเนินงานหลายประการคือ
1. เป็นการช่วยเหลือส่งเสริมกำลังของศึกษานิเทศก์และผู้บริหาร
2. การนิเทศโดยบุคลากรในโรงเรียน ทำให้บรรยากาศในการนิเทศเป็นไปแบบกันเอง
3. สามารถรับรู้ปัญหา และแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดกว่าคนภายนอกมานิเทศ
4. สามารถติดตามการปฏิบัติงานหรือผลการนิเทศได้ตลอดเวลาอีกด้วย
5. สภาพปัจจุบัน ความเข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศการศึกษา และเจตคติหรือท่าทีต่อการนิเทศ
ของบุคคลต่าง ๆ อยู่ในระดับดีขึ้น
หลักการนิเทศภายในโรงเรียน
ชรัตน์ สินธุสอาด (2526 : 21) ได้เสนอแนะหลักการนิเทศภายในโรงเรียนว่าต้องเน้นหลัก
ประชาธิปไตย 3 ประการ
1. การเคารพและการยอมรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
2. การกำหนดหน้าที่ของแต่ละฝ่ายให้ชัดเจน
3. การแบ่งงานควรคำนึงถึงความสามารถและความพอใจของแต่ละบุคคล
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2539 : 2-3) กล่าวว่า การนิเทศภายใน
โรงเรียนประถมศึกษามีหลักการสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ ดังนี้
26
1. การนิเทศภายในโรงเรียนจะต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องตามขั้นตอน
กระบวนการนิเทศ
2. บุคลากรที่เป็นหลักสำคัญในการดำเนินการพัฒนาระบบนิเทศภายในโรงเรียน คือผู้บริหาร
3. การนิเทศภายในโรงเรียนจะต้องสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาของครู
และของโรงเรียนและสอดคล้องกับการพัฒนาของครู
4. เป้าหมายสำคัญในการนิเทศ คือการส่งเสริม สนับสนุนหรือให้ความช่วยเหลือครูในโรง
เรียนให้ประสบความสำเร็จในการปฏิบัติภารกิจหลัก คือการสอนหรือการเสริมสร้างพัฒนาการของ
นักเรียนในทุกด้านให้เต็มตามวัยและเต็มตามศักยภาพ
ไฉน ยังละออ (2540 : 18) ได้กล่าวว่า การนิเทศภายในโรงเรียนมีหลักการ คือต้องยึดหลัก
ความถูกต้องตามหลักวิชาการ มีหลักการวางแผนในการดำเนินงานอย่างเป็นลำดับขั้นตอน มุ่ง
บรรยากาศที่เป็นกันเองตามหลักประชาธิปไตย ให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานโดยส่งเสริม
บำรุงขวัญให้บุคลากรมีความก้าวหน้าในอาชีพและเกิดความเชื่อมั่นในการปฏิบัติงาน
นัฎฐกร แก่นดี (2535 : 16) กล่าวว่า การนิเทศภายในโรงเรียนมีความจำเป็นต่อการพัฒนา
ปรับปรุงการเรียนการสอนภายในโรงเรียนเป็นอย่างมาก เพราะเป็นการดำเนินการของผู้ที่อยู่ในโรง
เรียน โดยเฉพาะผู้บริหารโรงเรียนที่เป็นตัวดำเนินการนิเทศผู้สอน เพื่อให้สามารถปรับปรุงหรือ
พัฒนางานให้มีประสิทธิภาพ เนื่องจากผู้บริหารโรงเรียนเป็นผู้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันกับครูต้อง
ร่วมมือกันทำงาน เพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนให้บรรลุตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร ซึ่งการ
ดำเนินการดังกล่าวจึงจำเป็นต้องมีขั้นตอนหรือกระบวนการ
วไลรัตน์ บุญสวัสดิ์ (2536 : 72-73) กล่าวว่า ความจำเป็นของการนิเทศการศึกษาภายในโรง
เรียน มีดังนี้
1. การนิเทศเป็นการส่งเสริมคุณภาพด้านการเรียนการสอนภายในโรงเรียน
2. ครูควรได้รับการนิเทศ เพื่อพัฒนาความเจริญด้านการสอนและทางวิชาการ
3. โรงเรียนต้องมีการนิเทศ เพราะโครงการนิเทศประกอบด้วยข้อมูลจากการนิเทศจะช่วย
ในการจำแนกคุณภาพของครูและยังสามารถช่วยในการตัดสินใจปัญหาบางอย่างในโรงเรียนได้
4. การนิเทศสามารถกระตุ้นนำทางความคิดใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นกับครูภายในโรงเรียน โดยนำ
เอาเทคนิคและวิธีการใหม่ ๆ ตลอดจนการวิจัยมาใช้ในการเก็บข้อมูลในการนิเทศการศึกษา ได้อย่างมี
ประสิทธิภาพและน่าเชื่อถือ
5. โรงเรียนมีความจำเป็นที่จะต้องให้ครูทำต่อเนื่องกัน
6. เพื่อเป็นการให้ครูเข้าใจวัตถุประสงค์ของการศึกษาโดยทั่ว ๆ ไปปรัชญาของโรงเรียน
วัตถุประสงค์ของโรงเรียน
27
7. เพื่อเป็นการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจของคณะครูและก่อให้เกิดความรู้สึกปลอดภัยใน
การทำงาน
จากหลักการและความจำเป็นในการนิเทศการศึกษาพอจะสรุปได้ว่าการนิเทศการศึกษาจะต้อง
ดำเนินงานอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง โดยอาศัยความร่วมมือกันระหว่างผู้บริหารและครูรวมทั้ง
บุคลากรที่เกี่ยวข้อง ส่วนความจำเป็นของการนิเทศนั้นจะเห็นได้ว่าระบบการศึกษาได้มีการเปลี่ยน
แปลงตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นหลักสูตร เนื้อหาหรือวิธีการสอน ดังนั้นจึงควรให้ครูได้มีการปรับปรุง
การเรียนการสอนของตนเองให้เหมาะสมกับความเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา โดยมีผู้คอยชี้แนะหรือ
บอกส่วนที่ยังบกพร่องของแต่ละคน
โดยสรุปแล้วการนิเทศการภายในนั้น เป็นการให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างผู้
บริหารกับครู ครูกับครูด้วยกันเอง โดยจะเป็นไปในรูปแบบของการให้คำปรึกษา ชี้แนะ แนะนำ
ท้วงติง ในจุดที่ยังเห็นว่ายังบกพร่องอยู่ นอกจากนี้การนิเทศการศึกษาจะต้องอาศัยความร่วมมือร่วม
กัน เพื่อจะให้ได้ผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
2.3.4 งานด้านวัดผลและประเมินผล
การวัดผลประเมินผลเป็นกระบวนการและปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งของการจัดการเรียน
การสอน เพราะในการจัดการเรียนการสอนในแต่ละครั้งผู้สอนไม่สามารถทราบได้ว่าผู้เรียนเกิดการ
เรียนรู้ในเรื่องใดบ้าง มากน้อยเพียงใด และไม่สามารถเรียนรู้ในหัวข้อใดบ้าง เพราะเหตุใด ดังนั้นผู้
สอนจึงต้องนำสาเหตุดังกล่าวนี้มาวิเคราะห์หาเหตุผล เพื่อปรับปรุงให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ตามจุด
ประสงค์ของหลักสูตรที่กำหนดไว้ ซึ่งนักการศึกษาได้กำหนดคำที่ใช้ในการวัดผลประเมินผลไว้ 2
คำ คือ การวัดผล (Measurement) และการประเมินผล (Evaluation) และได้ให้ความหมายไว้แตก
ต่างกันดังนี้
ไพศาล หวังพานิช (2545 : 3) ให้ความหมายว่า การวัดผล ว่าเป็นกระบวนการสืบค้นหาราย
ละเอียดหรือจำนวน ปริมาณ เกี่ยวกับสมบัติหรือคุณลักษณะ ของสิ่งหนึ่งสิ่งใด ซึ่งอาจเป็นวัตถุสิ่งของ
สภาพต่าง ๆ หรือของบุคคลโดยอาศัยวิธีการหรือเครื่องมือเป็นหลักในการวัด ส่วนการประเมินผล
เป็นกระบวนการพิจารณาตัดสิน ลงสรุปเกี่ยวกับสมบัติหรือคุณลักษณะของสิ่งต่าง ๆ หรือของบุคคล
โดยใช้ผลที่ได้จากการวัดและอาศัยเกณฑ์ในการตัดสินพิจารณา
สมนึก ภัททิยธนี (2541 : 3) ให้ความหมายของการวัดผลว่า หมายถึง กระบวนการหา
ปริมาณความสามารถเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ต้องการอันสืบเนื่องจากการเรียนการสอน โดยใช้เครื่องมือ
ทางการศึกษาอย่างใดอย่างหนึ่งมาวัด ผลจากการวัดจะออกมาเป็นจำนวน (คะแนน) หรือสัญลักษณ์
หรือข้อมูล ส่วนการประเมินผล หมายถึงการตัดสินหรือวินิจฉัยสิ่งต่าง ๆ ที่ได้จากการวัดผลโดย
อาศัยเกณฑ์การพิจารณาอย่างใดอย่างหนึ่ง
28
ทวีศักดิ์ จงประดับเกียรติ (2544 : 18) ได้ให้ความหมายของการวัดผล ว่าหมายถึง กระบวน
การในการกำหนดตัวเลขแทนปริมาณของสิ่งที่ต้องการวัด หรือคุณลักษณะที่ต้องการวัดอย่างมีกฎ
เกณฑ์ โดยต้องมีเครื่องมือประกอบการวัดและผลการวัดจะต้องตอบคำถามได้ว่ามีจำนวนมากน้อยเท่า
ไร (How Much)ส่วนการประเมินผล หมายถึง กระบวนการในการตัดสินคุณค่าของสิ่งต่าง ๆ ว่ามี
ความเหมาะสมหรือไม่เพียงใด โดยนำผลที่ได้จากการวัดมาพิจารณาตัดสินหรือเทียบเกณฑ์ หรือ
มาตรฐานที่ตั้งไว้
สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร (2540ก : 3) ให้ความหมายการวัดผลว่า หมายถึงกระบวน
การที่ใช้ในการติดตาม ตรวจสอบผลการจัดการเรียนการสอน บรรลุผลตามวัตถุประสงค์เพียงใด
กล่าวคือ ผู้เรียนเกิดคุณลักษณะหรือพฤติกรรมต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้มากน้อยเพียงใด ซึ่งการวัดผลนี้
จะต้องยอมรับถึงความแตกต่างของผู้เรียน แต่ละคนว่ามีการเรียนรู้ไม่เท่ากัน ซึ่งอาจแยกได้ 2
ลักษณะ คือ เชื่อว่า คนเราเรียนรู้ได้ไม่เท่ากัน ในเวลาที่เท่ากันและ เชื่อว่า คนเราเรียนรู้ได้เท่ากัน ใน
เวลาที่ไม่เท่ากัน
ดังนั้น การวัดผลการศึกษามีบทบาทหรือต้องทำหน้าที่ 2 ลักษณะด้วยกันคือ
1. วัดผลเพื่อประเมินผลการเรียน เป็นการวัดผลเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบหรือพิจารณาผลการ
เรียน โดยสรุปว่าผู้เรียนแต่ละคน เก่งหรืออ่อน มีคุณลักษณะตามที่หลักสูตรกำหนดไว้มากน้อยเพียง
ใด
2. วัดผลเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน เป็นการวัดผลเพื่อหาข้อบกพร่องในการเรียนรู้ของผู้
เรียน เพื่อจะได้หาทางแก้ไข หรือซ่อมเสริมข้อบกพร่องเหล่านั้น
ส่วนการประเมินผลนั้น สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร (2540 ก : 8) ได้ให้ความหมายว่า
หมายถึง กระบวนการในการตัดสิน ตีราคา สรุป เพื่อพิจารณาความเหมาะสมหรือหาค่าของลักษณะ
และพฤติกรรม เช่น ผลการเรียน ผลการปฏิบัติงานโดยอาศัยข้อมูลหรือรายละเอียดที่ได้จากการวัด
ผลเป็นหลัก และใช้วิจารณญาณประกอบการพิจารณา การประเมินผลจะต้องมีองค์ประกอบหลัก 3
ประการ ดังนี้
(1) ผลการวัด (measurement) ทำให้ทราบสภาพความจริงของสิ่งที่จะประเมินว่ามีปริมาณ
เท่าไร มีคุณสมบัติอย่างไร เพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับนำไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์
(2) เกณฑ์ (criteria) เป็นหลักหรือบรรทัดฐานที่ต้องการหรือกำหนดไว้ เนื่องจากที่จะตัดสิน
ว่าสิ่งใดดีเลว ใช้ได้หรือไม่ได้ ซึ่งจะต้องนำมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดจึงหมายถึงจุด
มุ่งหมายของการศึกษานั่นเอง
(3) การตัดสินใจ (decision) เป็นการชี้ขาดหรือสรุปการเปรียบเทียบระหว่างผลการปฏิบัติซึ่ง
ได้จากการวัดผลกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ว่าสูงหรือต่ำกว่ากันขนาดไหน ซึ่งต้องอาศัยการตัดสินใจที่ดี
29
และพิจารณาอย่างถี่ถ้วน ทุกแง่ทุกมุมและกระทำอย่างยุติธรรม โดยอาศัยสภาพและความเหมาะสม
ต่าง ๆ ประกอบด้วย
ดังนั้น การวัดผลประเมินผลการศึกษาจึงมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการซึ่ง อาภา บุญช่วย
(2537 : 141-142) ได้กล่าวถึงความจำเป็นที่ต้องการมีการวัดและประเมินผลไว้ดังนี้
1. เพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนของครู ซึ่งทำให้ครูผู้สอนได้ทราบว่า ผลการจัดกิจกรรม
การเรียนการสอนเป็นอย่างไร จะได้หาทางแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้น
2. เพื่อผู้เรียนจะได้พัฒนา ปรับปรุงตนเอง
3. เพื่อปรับปรุงระบบการบริหารงานในสถานศึกษา ทำให้ทราบสภาพที่แท้จริงของหลัก
สูตร แผนการสอน แนวทางดำเนินงานว่าประสบปัญหาอะไร จะแก้ไขปรับปรุงอย่างไร
4. เพื่อเป็นข้อมูลทางการศึกษาทั่วไป เช่น ผลการศึกษา เมื่อสำเร็จตามหลักสูตร เพื่อใช้เป็น
แนวทางในการดำเนินงานและศึกษาต่อ
5. เป็นหลักฐานการศึกษาของสถานศึกษา เพื่อจะได้วางแผนดำเนินงานต่อไป
6. เพื่อได้ข้อมูลมาประชาสัมพันธ์ในด้านการเรียนการสอนของโรงเรียน
จากความหมายดังกล่าว จะเห็นได้ว่าการวัดผลประเมินผลการศึกษา เป็นงานที่สำคัญประการ
หนึ่งที่ครูผู้สอนจะต้องให้ความสำคัญ และการวัดผลประเมินผลนี้มุ่งที่จะวัดผลประเมินผลการเรียน
ของผู้เรียน ว่าผ่านจุดประสงค์มากน้อยเพียงใด และเป็นการปรับปรุงพัฒนาการจัดการเรียนการสอน
ของครูให้ดีขึ้น โดยดูจากความแตกต่างของนักเรียนแต่ละคนเป็นสำคัญ
การวัดผลประเมินผลการศึกษาควรมีจุดมุ่งหมายคือ
1. วัดผลเพื่อค้นและพัฒนาสมรรถภาพของนักเรียน หมายถึง การวัดผลเพื่อดูว่านักเรียนบก
พร่องหรือไม่เข้าใจในเรื่องใด อย่างไร
2. วัดผลเพื่อวินิจฉัย (Dignosis) หมายถึงการวัดผลเพื่อค้นหาจุดบกพร่องของนักเรียนว่าที่มี
ปัญหายังไม่เกิดการเรียนรู้ตรงจุดใด เพื่อหาทางช่วยเหลือ
3. การวัดผลเพื่อจัดอันดับหรือจัดตำแหน่ง (Placement) หมายถึง การวัดผลเพื่อจัดอันดับ
ความสามารถของนักเรียนในกลุ่มเดียวกันว่าใครเก่งกว่า ใครควรได้อันดับที่ 1, 2, 3 หรือควรได้เกรด
A, B, C ใครสอบได้-สอบตก หรือสอบผ่าน ไม่ผ่าน เป็นต้น
4. วัดผลเพื่อเปรียบเทียบหรือเพื่อทราบพัฒนาการของนักเรียน (Assessment) หมายถึงผล
การวัดเพื่อเปรียบเทียบความสามารถของนักเรียนว่าเจริญงอกงามขึ้นมากกว่าเดิมมากน้อยเพียงใด
5. วัดผลเพื่อพยากรณ์ (Prediction) หมายถึงการวัดเพื่อนำผลที่ได้ไปคาดคะเนหรือทำนาย
เหตุการณ์ในอนาคต
30
6. วัดผลเพื่อประเมิน (Evaluation) หมายถึง การวัดเพื่อนำผลที่ได้มาตัดสินหรือสรุปคุณ
ภาพของการจัดการศึกษาว่ามีประสิทธิภาพสูงหรือต่ำ หลักสูตรเหมาะสมหรือไม่ ควรปรับปรุงแก้ไข
อย่างไร รวมทั้งนำไปวิเคราะห์ผลบางอย่าง
หลักการการวัดและประเมินผลการศึกษา
ในการดำเนินการวัดและประเมินผลให้เกิดคุณภาพและสามารถนำผลไปใช้ได้ตามหน้าที่อย่าง
มั่นใจต้องมีหลักการคือ
1. วัดและประเมินผลสอดคล้องกับความเป็นจริง (Relevance) เพื่อป้องกันการวิพากษ์
วิจารณ์ ผลการวัดและประเมินผลในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ไม่เห็นจริงเลย ไม่น่าเชื่อเลย น่าสงสัย จึง
ควรยึดหลักการคือ
1.1 ต้องสอดคล้องวัตถุประสงค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามวัตถุประสงค์ของการวัดและวัตถุ
ประสงค์ของหลักสูตร ดังนั้นจึงต้องเริ่มต้นด้วยความชัดเจนว่าต้องการวัดอะไร มีลักษณะอย่างไร
และมีขอบข่ายอย่างไร เพื่อให้การวัดและประเมินผลสามารถดำเนินการได้ตรงจุด ตรงเป้าหมายอย่าง
ครบถ้วน
1.2 ต้องสอดคล้องกับหลักสูตร ไม่เกินวัยหรือระดับของผู้เรียนหรือออกนอกขอบข่ายเนื้อ
หาวิชา
1.3 ต้องสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง ซึ่งวัดและประเมินในสิ่งที่ใกล้ตัว ทั้งนี้ควรมุ่ง
เน้นกับสภาพชีวิตในท้องถิ่นในสังคมให้มากที่สุด
2. วัดและประเมินผลอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดความชัดเจนและเป็นธรรมแก่ผู้เรียนมากที่
สุด ผู้สอนต้องกำหนดวัตถุประสงค์ของการวัด กำหนดสิ่งที่จะวัด ประเภทของเครื่องมือและวิธีการ
ดำเนินการต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนได้รับความยุติธรรมเสมอภาคกัน คือ ต้องดำเนินการวัดภายใต้สถาน
การณ์เดียวกันด้วยเงื่อนไขต่าง ๆ เหมือนกัน
3. วัดและประเมินผลด้วยเครื่องมือที่ดีมีคุณภาพซึ่งประกอบด้วย
3.1 ความเที่ยงตรง (Validity) คือจะต้องวัดคุณลักษณะหรือพฤติกรรมได้จริง (Construct
Validity) วัดประสบการณ์การเรียนรู้ได้จริง (Content Validity)
3.2 ความเชื่อมั่น (Reliability) ต้องสะท้อนศักยภาพหรือความสามารถที่แท้จริงของผู้เรียน
ได้มากที่สุด
3.3 มีความเป็นปรนัย (Objectivity) คือ มีความชัดเจน สื่อความหมายให้เข้าใจได้ตรงกัน
ไม่วกวนหรือกำกวม
3.4 การจำแนก (Disrimination) คือต้องสามารถจำแนกหรือแยกผู้เรียนได้ถูกต้องตาม
ระดับความสามารถและคะแนนที่ได้ก็จะแตกต่างลดหลั่นกันตามระดับการเรียนรู้ของผู้เรียน
31
3.5 ระดับความยาก (Difficulty) คือจะต้องมีระดับความยากง่ายปานกลาง ไม่ยากหรือง่าย
จนเกินไป
การวัดผลและประเมินผลนั้นจะวัดในส่วนกระบวนการเรียนการสอนเพียงอย่างเดียวไม่ได้แต่
จะต้องวัดถึงพฤติกรรมการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาให้เกิดกับผู้เรียนและใช้เป็นคุณลักษณะที่จะวัด ซึ่ง
ประกอบด้วยพฤติกรรม 3 ด้าน คือ
1. ด้านพุทธพิสัย (Cognitive Domain) เป็นพฤติกรรมการเรียนรู้ด้านสติปัญญาหรือด้าน
สมอง จำแนกตามระดับความซับซ้อนจากน้อยไปหามากได้ 6 ระดับ คือ ความรู้ความจำ ความเข้า
ใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์และการประเมินค่า
2. ด้านจิตพิสัย (Affective Domain) เป็นพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับความรู้สึกทางจิตใจ
อารมณ์ของบุคคล จำแนกออกเป็น 5 ระดับ คือ การรับรู้ การตอบสนอง การเห็นคุณค่า การจัด
ระบบคุณค่าและการพัฒนาลักษณะนิสัย
3. ด้านทักษะพิสัย (Phychomotor Domain) เป็นพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับความ
สามารถและทักษะในการใช้กล้ามเนื้อและกิจกรรมที่ต้องอาศัยการประสานงานกับประสาทที่ควบคุม
กล้ามเนื้อจำแนกออกเป็น 6 ระดับ คือการรับรู้ เตรียมพร้อมที่จะปฏิบัติ การปฏิบัติตามแบบหรือ
แนวทางที่กำหนดให้ การปฏิบัติด้วยตนเอง การปฏิบัติอย่างชำนาญและการปฏิบัติอย่างสร้างสรรค์
นอกเหนือจากการประเมินผลการเรียนด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัยและทักษะพิสัยแล้ว ควรจะ
เน้นการประเมินด้านกระบวนการ ซึ่งสามารถทำได้ 3 ส่วน คือ ส่วนความรู้ความคิด ส่วนการ
ปฏิบัติ และส่วนความรู้สึก
นอกจากการวัดผลประเมินผลที่มุ่งศึกษาพัฒนาบุคคลในด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัยและทักษะ
พิสัยครูควรจะทำการวัดผลสิ่งที่เป็นจริงนั้นคือ การวัดผลประเมินผลในกลุ่มวิชาทักษะ ซึ่งวิธีการที่
เหมาะสมที่สุดคือการวัดผลประเมินผลภาคปฏิบัติ (Preformance Assessment) ซึ่งการประเมินผล
ภาคปฏิบัติบางลักษณะจะเป็นการประเมินผลจากสภาพจริง (Authentic Assessment) แต่การ
ประเมินผลจากสภาพจริงทุกแบบจะครอบคลุมการประเมินผลภาคปฏิบัติ
การประเมินผลจากสภาพจริง เป็นการประเมินผลที่กำหนดให้นักเรียนได้แสดงถึงกระบวน
การ (Process) และ /หรือผลงาน (product) หรือความสามารถที่จะเป็นซึ่งสอดคล้องกับชีวิตจริงมาก
ที่สุด ส่วนที่กล่าวว่า แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) เป็นการประเมินผลจากสภาพจริง ซึ่งอันที่จริง
แฟ้มสะสมงาน นอกจากที่จะเก็บผลผลิตของการประเมินจากสภาพจริงเป็นส่วนประกอบแล้วยังมี
ส่วนอื่น ๆ อีก เช่น การเขียนบันทึกประจำวัน (Journal) การสะท้อนความคิด (Reflection) เป็นต้น
การประเมินผลจากสภาพจริง สมนึก ภัททิยธนี (2541 : 48) ได้ให้ความหมายว่า หมายถึง กระบวน
การสังเกต การบันทึก และรวบรวมข้อมูลจากงานและวิธีการที่นักเรียนทำ เพื่อเป็นพื้นฐานของการ
ตัดสินใจในการศึกษาถึงผลกระทบต่อนักเรียนเหล่านั้น การประเมินผลจากสภาพจริงจะไม่เน้นการ
32
ประเมินผลเฉพาะทักษะพื้นฐาน แต่จะเน้นการประเมินทักษะจากการปฏิบัติในสภาพจริงในการเรียน
การเสนอที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง เป็นผู้ค้นพบและผู้ผลิตความรู้ นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติจริง การ
วัดผลประเมินผลตามสภาพจริงจะทำให้ครูได้รู้จักเด็กเป็นรายบุคคล และจะรู้ว่าเด็กคนใดมีความ
สามารถในด้านใด และด้านใดที่ยังด้อยและต้องได้รับการพัฒนา เพื่อจะได้หาทางพัฒนาการเรียนรู้
ของเด็กคนนั้นได้อย่างถูกต้อง
นอกจากนี้ ถ้าจะให้ผลการประเมินออกมาได้ผลดี มีความยุติธรรม ครูไม่ควรจะเป็นฝ่าย
ประเมินแต่เพียงผู้เดียว ควรให้มีผู้ประเมิน 3 ฝ่าย (จิราภรณ์ ศิริทวี,2545 : 21) คือ
1. ประเมินตนเอง นักเรียนเจ้าของผลงานจะต้องประเมินตนเองว่าในแต่ละรายการ แต่ละ
เรื่องจะให้เท่าไร
2. ประเมินโดยเพื่อน ว่าควรจะให้คะแนนผลงานของเพื่อนว่าควรจะได้เท่าไร
3. ประเมินโดยครู เพื่อไม่ให้นักเรียนรู้สึกว่าการประเมินอาจขาดความยุติธรรมเพราะเพื่อน
อาจจะไม่มีระดับวุฒิภาวะในการให้คะแนน
ประโยชน์ของการวัดผลประเมินผล
กระบวนการวัดผลประเมินผลต้องอาศัยงบประมาณ เวลา แรงกาย และพลังความคิดทั้งใน
ส่วนของครูผู้สอนและนักเรียนในฐานะผู้ถูกวัดแล้ว ประโยชน์ที่พึงได้รับจากการดำเนินงานจะคุ้มค่า
พียงใด ผู้ที่เกี่ยวข้องต้องคำนึงถึงประโยชน์ คือ
1. ประโยชน์ต่อนักเรียน ทำให้นักเรียนทราบว่าตนเองถนัดด้านใด ความรู้ความสามารถมาก
น้อยเพียงใด และช่วยให้เกิดแรงจูงใจในการเรียนและเข้าใจบทเรียนเพิ่มขึ้น
2. ประโยชน์ต่อครู ทำให้ครูทราบข้อมูลเพื่อเตรียมการเรียนการสอน รู้จักนักเรียนในด้าน
ต่าง ๆ และรายงานผลการศึกษาให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ
3. ประโยชน์ต่อฝ่ายแนะแนว เพื่อจะนำผลไปประกอบการแก้ไขปัญหาที่ที่จะเกิดขึ้นกับนัก
เรียน และแนะแนวทางในการเรียนต่อให้นักเรียนได้
4. ประโยชน์ต่อฝ่ายบริหาร เพื่อนำผลไปใช้ในการวางแผนการเรียนการสอนและการบริหาร
งานโรงเรียน
โดยสรุปแล้ว การวัดผลประเมินผลจะเป็นสิ่งที่สำคัญมากต่อการจัดการเรียนการสอน เพราะ
การวัดผลประเมินผลจะทำให้ครูผู้สอนทราบว่าเด็กนักเรียนแต่ละคนมีจุดเด่น จุดด้อยในด้านใด เพื่อ
นำผลที่ได้ไปปรับปรุงวีธีการจัดการเรียนการสอนให้ดีขึ้นและเหมาะสม นอกจากนี้ยังนำผลของการ
วัดผลประเมินผลยังเป็นส่วนประกอบการตัดสินใจในการวางแผนการบริหารงานของผู้บริหารโรง
เรียนได้อีกด้วย
33
2.2.5 งานด้านวัสดุและสื่อการเรียนการสอน
ในการจัดการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอนนับว่าเป็นเครื่องมือที่สำคัญประการหนึ่ง
เพราะไม่มีครูคนใดประสบผลสำเร็จในการจัดการเรียนการสอนโดยไม่มีสื่อประกอบ เพราะการใช้สื่อ
จะทำให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ มีทักษะ มีเจตคติและเข้าใจในกระบวนการเรียนการสอน นอก
จากนี้สื่อยังเป็นเครื่องกระตุ้นให้เด็กเกิดความรู้ความเข้าใจ ได้รวดเร็วขึ้น ซึ่งสื่อการสอนได้มีผู้ให้
ความหมายไว้หลายท่าน ดังนี้
กิดานันท์ มลิทอง (2531 : 76) ได้สรุปสื่อการสอน หมายถึง สิ่งที่ช่วยนำและถ่ายทอดความ
รู้จากครูผู้สอนหรือจากแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถบรรลุถึงวัตถุประสงค์การเรียน
ที่ตั้งไว้
ธำรง บัวศรี (2532 : 217) ให้ความหมายว่า สื่อการเรียนการสอน หมายถึง สิ่งที่เป็นพาหะ
หรือสื่อที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาความรู้ ทักษะ เจตคติ ตามจุดประสงค์การเรียนการสอนและ
ตามจุดหมายของหลักสูตร
ส่วน กิติมา ปรดี ดี ลิ ก (2532 : 68) กล่าวว่า สอื่ การสอน หมายถึงวัตถ ุ อปุ กรณ  สิ่งของ
ภาพ เครื่องมือเครื่องใช้ ตลอดจนหมายถึงตัวบุคคล วิธีการ สถานที่ต่าง ๆ ที่ใช้ประกอบการเรียนการ
สอน เพื่อให้การเรียนการสอนบังเกิดผลดี
จากความหมายดังกล่าว พอจะสรุปได้ว่า สื่อการเรียนการสอน หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ วิธี
การ หรือเทคนิคการสอนต่าง ๆ ที่สามารถทำให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในบทเรียนได้ง่าย รวด
เร็ว เกิดทักษะและเจตคติที่ดีต่อการเรียนการสอน
ประเภทของสื่อการสอน
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2532 : 355) ได้จำแนกลักษณะของสื่อไว้ดังนี้ ภาพนิ่ง
เสียง ภาพยนตร์ โทรทัศน์ ของจริง ของจำลอง สถานการณ์จำลอง การสอนแบบโปรแกรมโดยใช้
คอมพิวเตอร์
ธำรง บัวศรี (2532 : 218) ได้แบ่งสื่อการเรียนการสอนออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. ประเภทวัสดุ ได้แก่ ชอล์ค สี แผ่นภาพ แผนภูมิ ภาพถ่าย สไลด์ ฯลฯ
2. ประเภทอุปกรณ์ ได้แก่ กล้องถ่ายรูป เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ (Overhead) ฯลฯ
3. ประเภทระบบ กระบวนการและวิธีการ ได้แก่ ระบบการสอนแบบโปรแกรม การสอน
เป็นคณะ การสอนแบบจุลภาค เป็นต้น
ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2533 : 90-94) ได้แบ่งประเภทตามลักษณะของสื่อการเรียนการสอนไว้
ดังนี้
1. ของจริง เช่น วิทยากร ผู้ชำนาญการ วัตถุสิ่งของและเครื่องมือต่าง ๆ เป็นต้น
34
2. สื่อประเภทไม่ต้องฉาย เช่น สิ่งพิมพ์ แผ่นป้ายต่าง วัสดุกราฟฟิกส์ เป็นต้น
3. สื่อประเภทเสียง เช่น เทปบันทึกเสียงทั้งม้วนและตลับ แผ่นเสียง และวิทยุ เป็นต้น
4. สื่อภาพนิ่งประเภทฉาย เช่น สไลด์ ฟิลม์สตริปและแผ่นใส
5. สื่อภาพเคลื่อนไหว เช่น ภาพยนตร์ วีดีทัศน์และโทรทัศน์
6. สื่อประสม เช่น สิ่งพิมพ์ เทปเสียง สไลด์หรือฟิลม์สตริป เทปเสียง บทเรียนหรือสื่อ
โปรแกรม
7. คอมพิวเตอร์ เกมและการจำลองสถานการณ์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
7.1 คอมพิวเตอร์ เป็นสื่อที่นำมาใช้เพื่อการศึกษาและการเรียนการสอนส่วนใหญ่จะนำมา
ใช้ประโยชน์ในการศึกษา 2 ลักษณะ คือ เป็นการใช้เพื่อช่วยจัดการหรือบริหารการเรียนการสอน
(Computer Managed Intrurction : CMI) และเป็นการใช้เพื่อช่วยสอน (Computer Assisted
Instruction : CAI)
7.2 เกมและการจำลองสถานการณ์
8. สื่อกิจกรรม เช่น การจัดแสดงและนิทรรศการ การสาธิต การศึกษานอกสถานที่และนาฎ
การ
การเลือกสื่อการเรียนการสอน
พงษ์ศักดิ์ อินทรามะ (2536 : 40-41) ระบุว่าหลักการเลือกพิจารณาลักษณะเนื้อหา จุด
ประสงค์ของบทเรียน ลักษณะประเภทของสื่อโดยมีการเลือก คือต้องสัมพันธ์กับจุดมุ่งหมายและเรื่อง
ที่จะสอน เหมาะสมกับความรู้ ประสบการณ์ของผู้เรียน วัย ระดับชั้นของผู้เรียนและสภาพแวดล้อม
ส่วน กิดานันท์ มลิทอง (2532 : 33) ได้เสนอหลักการเพื่อประกอบการพิจารณาเลือกสื่อ คือ
สื่อนั้นต้องสัมพันธ์กับเนื้อหาบทเรียนและจุดมุ่งหมายที่จะสอน ทันสมัย น่าสนใจ เหมาะสมกับวัย
ระดับชั้น ความรู้และประสบการณ์ของผู้เรียน สะดวกในการใช้ วิธีใช้ไม่ซับซ้อน มีคุณภาพเทคนิค
การ ราคาไม่แพงจนเกินไปและควรเป็นสื่อที่ผลิตเอง
จากหลักการเลือกสื่อการเรียนการสอนดังกล่าว จะเห็นได้ว่าสื่อการสอนนั้นจะต้องมีความ
สอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย เหมาะสมกับวัย ไม่ยากหรือง่ายจนเกินไป น่าสนใจ ทันสมัย เหมาะสมกับ
สภาพแวดล้อม หาง่าย สะดวกต่อการใช้และไม่ควรมีราคาแพงจนเกินไป ซึ่งสื่อนั้นผู้สอนอาจจะผลิต
ขึ้นมาใช้เองได้
การเก็บรักษาและบริการสื่อการเรียนการสอน
พงษ์ศักดิ์ อินทรามะ (2536 : 43) เสนอวิธีการเก็บรักษาและบริการสื่อการเรียนการสอนไว้
ดังนี้
35
1. การเก็บรักษาสื่อการเรียนการสอน จะต้องเก็บรักษาตามประเภทของสื่อนั้น เมื่อใช้แล้ว
ต้องเก็บรักษาให้พร้อมที่จะใช้ได้ในครั้งต่อไป
2. การจัดและบริการสื่อการเรียนการสอน จะต้องจัดสื่อแต่ละประเภทให้เป็นระเบียบ ทำ
สัญลักษณ์ของสื่อแต่ละประเภท วางระเบียบเรื่องการใช้สื่อ ทำคู่มือการใช้สื่อแต่ละประเภท ทำบัตร
รายการสื่อทุกชั้น สื่อประเภทอุปกรณ์ควรให้บริการประจำที่และจัดตารางบริการ
โดยสรุปแล้ว สื่อการเรียนการสอนนั้นนับว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งของครูที่จะช่วยส่งเสริม
ให้การจัดการเรียนการสอนบรรลุตามวัตถุประสงค์ของเนื้อหาในแต่ละบทเรียน และเป็นสิ่งที่ช่วยให้
นักเรียนสามารถเข้าใจบทเรียนได้ง่ายขึ้น เรว็ ขนึ้ ประหยัดเวลาในการสอนของคร ู และสามารถ
ดำเนินไปด้วยดี ดังนั้นผู้สอนจึงพยายามจัดหาสื่อที่แปลก ๆ ใหม่ ทันสมัยเพื่อดึงดูดความสนใจของ
นักเรียน ให้หันเข้ามาร่วมกิจกรรมของครูให้มากที่สุด
2.3.6 งานด้านประชุมอบรมทางวิชาการ
การประชุมอบรมทางวิชาการมีผู้ให้ความหมายไว้หลายท่านด้วยกัน คือ
รุ่ง แก้วแดง และคณะ (2528 : 210) กล่าวว่า การประชุมเป็นการพบปะกับระหว่าง
ครูในโรงเรียนกับผู้บริหาร เพื่อพิจารณาเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง การประชุมอาจเป็นไปได้ใน
ลักษณะตัวต่อตัว เช่น ผู้บริหารพบปะครู เพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับการเรียนการสอน หรือการ
ประชุมระหว่างผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับวิชาการของโรงเรียน เพื่อหาทางปรับปรุงการสอน ส่วนการ
อบรมทางวิชาการเป็นกระบวนการให้การศึกษา ให้ความรู้แก่ผู้บังคับบัญชา เพื่อจะให้มีความรู้ความ
สามารถที่จะทำงานให้ได้ดีที่สุด หรือเพื่อที่จะให้เขามีความรู้ ความสามารถที่จะทำงานในตำแหน่งที่มี
ความรับผิดชอบสูงขึ้น และมีความยุ่งยากเพิ่มขึ้นได้
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2528 ก : 107) ได้ให้ความหมายของการ
ประชุมไว้ว่า หมายถึง การที่บุคคลกลุ่มหนึ่งนัดหมายพบปะเพื่อปรึกษาหารือหรือถ่ายทอดเรื่องราว
ข่าวสาร พิจารณาคำตอบร่วมกัน ค้นหาวิธีแก้ไขปัญหาร่วมกันหรือปรับความคิดเห็นของบุคคลหลาย
ๆ คนให้เข้ากัน เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามเป้าหมายด้วยความเรียบร้อยถูกต้องรัดกุม
จากความหมายดังกล่าวพอสรุปได้ว่า การประชุมอบรมทางวิชาการ หมายถึง การพบปะของ
บุคคลกลุ่มหนึ่ง เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น การปรึกษาหารือ การปรับปรุงการเรียนการ
สอนของบุคคลร่วมกัน เพื่อให้มีความคิดเห็นที่สอดคล้องกันและไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อสะดวก
และง่ายต่อการปฏิบัติงาน
ส่วนแนวทางในการประชุมอบรมทางวิชาการนั้น สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษา
แห่งชาติ (2528ข : 5) ได้ให้แนวทางไว้ว่า ผู้บริหารโรงเรียนจะต้องดำเนินการวางแผนประชุม จัด
สถานที่และอำนวยความสะดวก เตรียมเอกสารให้พร้อมและเตรียมบุคลากรให้พร้อมในการประชุม
36
จากความหมายและแนวทางของการประชุมอบรมทางวิชาการดังกล่าว จะเห็นได้ว่าการ
ประชุมอบรมทางวิชาการมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการปฏิบัติงานในโรงเรียน ดังนั้นจึงควรจัดให้มีการ
ประชุมอบรมทางวิชาการอยู่เสมอ เพื่อจะเป็นการช่วยกันปรับปรุงพัฒนาการเรียนการสอน พัฒนา
บุคลากรและแก้ไขปัญหาอย่างหนึ่งอย่างใดที่อาจจะเกิดขึ้น สำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ
(2528 ก:107) ได้ให้ความสำคัญพอสรุปได้ดังนี้
1. เป็นการถ่ายทอดความรู้และความเข้าใจระหว่างผู้เข้าร่วมประชุมด้วยกัน
2. เป็นการให้ข่าวสารและแจ้งข้อราชการแก่ผู้ร่วมงาน
3. เป็นการตัดสินปัญหา แก้ปัญหาและกำหนดนโยบายในการทำงานร่วมกัน
4. ทำให้ผู้ร่วมงานและผู้บริหารโรงเรียนได้มีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน ได้รู้จักและเข้าใจกัน
5. การประชุมเป็นการบริหารงานตามหลักประชาธิปไตย เป็นลักษณะของการทำงานเป็นคณะ
จากขอบข่ายของการบริหารงานวิชาการดังกล่าวจะเห็นได้ว่า การบริหารงานวิชาการใน
โรงเรียนประถมศึกษามีหลายอย่าง ซึ่งแต่ละอย่างมีความสำคัญเท่า ๆ กัน เพราะถ้าภายในโรงเรียนมี
การบริหารงานวิชาการได้ดีและประสบผลสำเร็จแล้ว งานด้านวิชาการไม่ว่าจะเป็นการจัดการเรียน
การสอน การวัดผลประเมินผลก็ย่อมจะประสบผลสำเร็จไปด้วย
2.3.7 ด้านห้องสมุด เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ ในโรงเรียน
2.3.7.1 ห้องสมุด
ห้องสมุดนับว่าเป็นสิ่งสาํ คัญประการหนึ่งของการบริหารงานวิชาการในโรง
เรียนประถมศึกษา ซึ่งมีนักวิชาการได้ให้ความหมายของห้องสมุดไว้หลายท่านดังนี้
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน  (2535 : 98) กล่าวถึงห้องสมุด ว่าห้องสมุดคือสถานที่เก็บรวบ
รวมหนังสือประเภทต่าง ๆ รวมทงั้ โสตทศั นวสั ดุ เชน่ แผนที่ แผนภมู ิ วดี ที ศั น ์ แถบเสียงวิทยุไว้อย่าง
มีระบบเพื่อให้ผู้ใช้ได้รับความสะดวก
อมรา นิสะโสกะ (2539 : 25) ได้ให้ความหมายของห้องสมุด คือ การจัดศูนย์วิชาการที่เปิด
โอกาสให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้า เพิ่มเติมด้วยตนเอง ผู้บริหารโรงเรียนควรสนับสนุน ส่งเสริมให้
คณะครูมองเห็นความสำคัญของห้องสมุด และสะดวกในการใช้บริการห้องสมุด ตลอดจนการให้
บริการต่าง ๆ อีกด้วย
อาคม จันทสุนทร (2538 : 18) กล่าวว่าห้องสมุดเป็นแหล่งวิชาการที่รวมหนังสือ เอกสาร
สิ่งพิมพ์และวัสดุอุปกรณ์ เพื่อให้ผู้ศึกษาได้ใช้ค้นคว้าเพิ่มเติม
สนอง เครือมาก (2539 : 1225) กล่าวว่า ห้องสมุด หมายถึง ห้องสมุดของสถาบันทางการ
ศึกษาทุกระดับ มีเพื่อเป็นการส่งเสริมการเรียนการสอนให้บรรลุเป้าหมายของการศึกษา โดยใช้ห้อง
สมุดเป็นศูนย์กลาง
37
ส่วนสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2541ข : 121) กล่าวว่า ห้องสมุด
หรือมุมหนังสือในโรงเรียนควรให้มีหนังสือเพียงพอ เพื่อมุ่งเน้นให้นักเรียนได้มีหนังสือค้นคว้าความ
รู้เพิ่มเติมด้วยตนเอง อันจะเป็นประโยชน์สำหรับครูในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้บรรลุเป้า
หมายของหลักสูตรประถมศึกษาและส่งเสริมให้นักเรียนและครูทุกคนมาใช้บริการ เพื่อก่อให้เกิด
ประโยชน์ต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน รวมทั้งดูแลการจัดระบบวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายใน
ห้องสมุดและเอื้อต่อการใช้บริการด้วย
วราณี เผ่าหอม (2543 : 41) กล่าวว่า ห้องสมุดเป็นศูนย์รวมแหล่งวิทยาการ เอกสารที่
เกี่ยวกับการเรียนการสอน ซึ่งมีการบริการเป็นการส่งเสริมและอำนวยความสะดวก แก่ผู้ใช้ห้องสมุด
หรือผู้รับบริการ โดยมีบรรณารักษ์เป็นผู้รับผิดชอบ
จากความหมายดังกล่าว พอจะสรุปได้ว่า ห้องสมุด หมายถึง สถานที่เก็บรวบรวมหนังสือ
เอกสาร สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ และวัสดุอุปกรณ์ เชน่ แผนที่ ลูกโลก สไลด  แผนภมู ิ วดี ที ศั น  สำหรับให้
นักเรียน ครู และผู้ที่สนใจเข้ามาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเอง โดยมีบรรณารักษ์ประจำห้อง
สมุดเป็นผู้คอยให้คำแนะนำและความช่วยเหลือ
วัตถุประสงค์ของการจัดห้องสมุด
ในการจัดห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษานั้น แต่ละโรงเรียนควรจะจัดให้มีบรรณารักษ์
ประจำห้องสมุดอย่างน้อย 1 คน และควรมีเวลาให้กับห้องสมุดเพราะบรรณารักษ์จะเป็นผู้ที่มีส่วน
การปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้กับเด็ก คอยแนะนำ กระตุ้น ช่วยเหลือให้นักเรียนสนใจ เข้าใจและเข้า
ร่วมกิจกรรมให้มากที่สุด ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2534ก : 9) ได้
กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ คือ เพื่อให้บริการทางการศึกษา ให้ความรู้และข่าวสาร เป็นแหล่งศึกษาค้น
คว้า พักผ่อนหย่อนใจและความรื่นรมย์
วาณี ฐานปนวงศ์ศานติ (2531 : 119) ได้กำหนดวัตถุประสงค์ในการจัดห้องสมุดไว้ดังนี้
1. บริการแก่นักเรียนทุกคนไม่ว่าจะมีสติปัญญาระดับใด
2. บริการวัสดุประกอบการเรียนการสอนทุกสาขาวิชาตามหลักสูตร
3. ส่งเสริมให้นักเรียนมีประสิทธิภาพการอ่านสูงขึ้น
4. จัดหาหนังสืออ่านประกอบให้กว้างขวางเป็นการสนับสนุนการอ่าน
5. สอนให้นักเรียนเกิดทักษะในการใช้ห้องสมุด เพื่อสามารถศึกษาค้นคว้าได้ด้วยตนเอง
ประทีป จรัสรุ่งรวีการ (2535 : 11) ได้กำหนดวัตถุประสงค์ของการจัดห้องสมุดไว้คือ
1. เพื่อการศึกษา (Education) เป็นสถานที่สำหรับศึกษาค้นคว้า เปิดโอกาสให้ทุกคนค้นคว้า
อย่างเต็มที่ตามความสนใจ
38
2. เพื่อให้ความรู้และข่าวสาร (Information) เพื่อให้เป็นบุคคลที่ทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์
มีความเฉลียวฉลาด มีความริเริ่มสร้างสรรค์
3. เพื่อการค้นคว้าวิจัย (Research) เพื่อความก้าวหน้าทางวิชาการ โดยเป็นแหล่งรวบรวมข้อ
มูลต่าง ๆ เพื่อให้บริการแก่ผู้ค้นคว้า สร้างความรู้ใหม่ให้กับสังคม
4. เพื่อความจรรโลงใจ (Inspiration) เพราะการอ่านหนังสือก่อให้เกิดความสุขทางจิตใจ
ซาบซึ้งในความคิดดีงามของผู้อื่น ความงดงามในศิลปะ การเขียน
5. เพื่อความพักผ่อนหย่อนใจ (Recreation) ก่อให้เกิดความเพลิดเพลิน คลายความเครียด รู้
จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน
ดังนั้น พอจะสรุปได้ว่าวัตถุประสงค์ในการจัดห้องสมุด เพื่อให้บริการทางการศึกษาสำหรับ
นักเรียนทุกคนไม่ว่าจะมีสติปัญญาระดับใด เข้าไปหาความรู้ ข่าวสารเพื่อนำความรู้ไปใช้ประกอบการ
เรียนการสอนให้เกิดประสิทธิภาพ และเพื่อความรื่นรมย์และพักผ่อนหย่อนใจ
ขอบข่ายงานห้องสมุด
1. งานด้านการจัดหาและบริการ เป็นงานที่จัดหาหนังสือ เอกสาร สิ่งพิมพ์ วัสด ุ อปุ กรณ ์
ไว้ให้บริการแก่ผู้สนใจ ทั้งในและนอกเวลา
2. งานด้านบริการ ครูบรรณารักษ์ที่มีความรู้ในเรื่องการใช้ การให้บริการแก่ผู้ใช้ห้องสมุด
จะต้องบริหารงานห้องสมุดให้ถูกต้องเป็นระบบสามารถให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง
3. งานด้านเทคนิค ได้แก่ การนำเครื่องมือต่าง ๆ มาใช้เพื่อแบ่งเบาภาระการทำงาน และช่วย
ในด้านห้องสมุด เช่นวัสด ุ อปุ กรณ  ทางดา้ นคอมพวิ เตอร์ มาช่วยบริหารงานให้สะดวกและเร็วขึ้น
4. งานด้านการประชาสัมพันธ์ เป็นการเผยแพร่ผลงานและกิจกรรมที่โรงเรียนได้ดำเนินการ
ให้ครู นักเรียน ผู้ปกครอง หรือผู้สนใจได้ทราบและเข้าใจความก้าวหน้าของงานให้บริการห้องสมุด
ดังนั้น เพื่อการดำเนินกิจกรรมห้องสมุดให้เป็นไปด้วยดี ควรให้มีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของ
ห้องสมุดซึ่งกิจกรรมที่จัดขั้นนั้นใครให้มีความเหมาะสมกับนักเรียน ซึ่งกิจกรรมดังกล่าว ได้แก่
1. กิจกรรมที่จัดในห้องสมุด เช่น ป้ายนิเทศ การแนะแนว การอ่าน การเล่านิทาน การ
ตอบคำถาม ควรจัดเป็นมุมเฉพาะ และจัดอย่างสม่ำเสมอ
2. กิจกรรมที่เกี่ยวกับวิชาในหลักสูตร เช่น ปฐมนิเทศการใช้ห้องสมุด การวาดภาพประกอบ
การเล่าเรื่อง และการประดิษฐ์วัสดุจากการอ่าน
3. กิจกรรมที่จัดบนเวที เช่นการเล่านิทานประกอบหุ่น การเล่านิทานประเภทต่าง ๆ การ
แสดงละคร การโต้วาที การเล่าเรื่องจากภาพและจากหนังสือ
4. กิจกรรมประเภทแข่งขันหรือประกวดต่าง ๆ เช่น การตอบปัญหา การประกวดเล่านิทาน
วาดภาพ ประกวดเรียงความ
5. กิจกรรมที่จัดในรูปชุมนุม เช่น ชุมนุมนักอ่าน ชุมนุมห้องสมุด
39
6. การแสดงหุ่น
7. การแสดงความคิดเห็นเชิงวิจารณ์เกี่ยวกับหนังสือ
8. เกมการศึกษา
นอกจากกิจกรรมต่าง ๆ ที่ห้องสมุดได้จัดขึ้นแล้ว ยังต้องมีแนวทางการบริหารงานห้องสมุด
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2536 ก : 10-11) ได้กำหนดไว้คือ
1. จัดให้มีห้องสมุดหรือมุมหนังสือที่เหมาะสมและสอดคล้องกับจำนวนนักเรียน
2. จัดหาวัสดุครุภัณฑ์ที่จำเป็นสำหรับห้องสมุดให้เพียงพอ เช่น ตู้หรือชั้นวางหนังสือ ตู้บัตร
รายการ โต๊ะอ่านหนังสือ เป็นต้น
3. จัดให้มีบรรณารักษ์หรือเจ้าหน้าที่ห้องสมุดและคณะกรรมการห้องสมุด เป็นผู้รับผิดชอบ
งานห้องสมุด
4. จัดหาหนังสือสำหรับห้องสมุดให้เพียงพอ
5. จัดทำทะเบียนหนังสือ สถิติการใช้บริการและยืมหนังสืออย่างมีระบบและเป็นปัจจุบัน
6. แสวงหาทรัพยากรเพื่อนำมาพัฒนาและปรับปรุงห้องสมุด
7. สนับสนุนครูผู้สอนให้ใช้ห้องสมุดในการพัฒนาการเรียนการสอน
8. ติดตามและดูแลการดำเนินงานของห้องสมุด เมื่อพบปัญหาให้หาทางช่วยเหลือแก้ไข
9. จัดกิจกรรมห้องสมุดเพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอน เช่น กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
กิจกรรมวันสำคัญต่าง ๆ
ในสภาพการณ์ปัจจุบัน โรงเรียนประถมศึกษาแต่ละแห่งได้ให้ความสนใจและให้ความสำคัญ
ในเรื่องการจัดการเรียนการสอน จึงได้เน้นเรื่องการใช้ห้องสมุดเป็นอย่างมาก เพราะต่างก็ถือว่าห้อง
สมุดมีคุณค่าและเป็นแหล่งวิชาการทั้งปวง ซึ่งกองพัฒนาบุคคลสำนักงานคณะกรรมการการประถม
ศึกษาแห่งชาติ (2537ก : 7) ได้กำหนดลักษณะการจัดห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษาไว้ดังนี้
1. ห้องสมุดควรตั้งไว้ชั้นล่างสุด ซึ่งผู้ใช้สามารถใช้บริการได้สะดวกที่สุด
2. จัดให้มีมุมหนังสือที่เหมาะสมและสอดคล้องเพียงพอกับจำนวนนักเรียน
3. จัดให้มีวัสดุครุภัณฑ์ที่จำเป็นสำหรับห้องสมุดให้เพียงพอ เช่น ตู้ หรือชั้นวางหนังสือ ตู้
บัตรรายการ โต๊ะอ่านหนังสือ เป็นต้น
4. จัดให้มีเจ้าหน้าที่บรรณารักษ์ หรือคณะกรรมการห้องสมุดเป็นผู้รับผิดชอบ
5. จัดหาหนังสือเข้าห้องสมุดให้เพียงพอ
6. จัดทะเบียน สถิติการใช้บริการ การยืม – ส่งหนังสือ อย่างเป็นระเบียบและปัจจุบัน
7. แสวงหาแหล่งทรัพยากรเพื่อนำมาปรับปรุงห้องสมุด
8. สนับสนุนให้ครูผู้สอนใช้ห้องสมุดเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
40
9. จัดกิจกรรมห้องสมุดเพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอน เช่น จัดกิจกรรมส่งเสริมการ
อ่าน กิจกรรมวันสำคัญต่าง ๆ
อนึ่ง ห้องสมุดยังได้มีการพัฒนาการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเฉลียว พันธุ์สีดา (2539 : 13-14)
ได้กล่าวไว้ดังต่อไปนี้
1. ส่งเสริมการเรียนการสอนในระบบโรงเรียน การจัดการศึกษาทุกระดับมีวัตถุประสงค์หลัก
ที่สำคัญสรุปได้ว่า
1.1 ระดับอนุบาล เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับเด็ก
1.2 ระดับประถมศึกษามุ่งพัฒนาร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา ให้มีความพร้อมที่จะ
ศึกษาต่อในระดับสูงขึ้น
1.3 ระดับมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษา เพื่อเตรียมคนเข้าสู่อุดมศึกษาและสร้างนักวิชาชีพ
ระดับกลางให้แก่ประเทศชาติ
1.4 ระดับอุดมศึกษา เพื่อสร้างนักวิชาการและนักวิชาการชั้นสูง
2. ด้านส่งเสริมการเรียนการสอนตลอดชีวิต เน้นให้ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานที่สำคัญในสาขา
วิชาต่าง ๆ และรู้วิธีศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากแหล่งความรู้หลากหลายให้กว้างขวางและลึกซึ้งด้วยตน
เองต่อไป
3. ส่งเสริมนิสัยรักการอ่านและการศึกษาค้นคว้าเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญที่สุด สำหรับการ
เรียนรู้ทั้งในและนอกระบบโรงเรียน การอ่านจึงเป็นพื้นฐานสำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จ
การที่จะให้การศึกษาของเด็กนักเรียนมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องนั้น จะต้องมีการปลูกฝังนิสัย
ที่ดีให้กับเด็ก โดยฝึกฝนในเรื่องของการรักการอ่านจนเกิดเป็นนิสัยและจัดเป็นกิจกรรมการรักการอ่าน
หรือโรงเรียนรักการอ่านขึ้นมา ซึ่งสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร (2545ข : 10) ได้ให้ความหมาย
คือกิจกรรมรักการอ่านหมายถึง การกระทำต่าง ๆ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความสนใจอ่าน พัฒนาการ
อ่านและอ่านจนเป็นนิสัย
ในส่วนของกิจกรรมรักการอ่านนั้น วัลลภ สวัสดิวัลลภ (2533 : 16) ได้กล่าวว่า เป็นกิจ
กรรมที่มีจุดมุ่งหมายปลายทาง โดยคำนึงถึงวัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมาย ความมุ่งหมายของกิจกรรม
หรือวิชาการ การเตรียมการการวัดผล ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของกระทรวงศึกษาธิการ (2534ข : 18)
ที่กล่าวว่า ห้องสมุดช่วยส่งเสริมความรู้และความนึกคิดทางสร้างสรรค์นำประสบการณ์ที่ได้จากห้อง
สมุดไปใช้ได้ตลอดชีวิต เห็นคุณค่าการเรียนรู้ และสามารถนำความรู้ไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำ
วันได้ ซึ่งกิจกรรมที่ห้องสมุดอาจจัดได้ คือ
1. การจัดนิทรรศการ เป็นการเสนอเรื่องที่น่าสนใจ กระตุ้นให้นักเรียนเกิดความใฝ่รู้และเชิญ
ชวนให้มีผู้ใช้ห้องสมุดมากขึ้น
2. การเล่านิทาน เป็นวิธีแนะนำหนังสือที่ดีอีกวิธีหนึ่งและกระตุ้นให้ผู้อ่านที่เป็นเด็กรู้จัก
41
วรรณคดีประจำชาติ นอกจากนั้นนิทานยังสร้างความสนุกสนานพอใจ ให้เด็กพัฒนาการพูดและการ
อ่านอีกด้วย
3. การแนะนำหนังสือใหม่ มีจุดมุ่งหมายที่สำคัญคือ บรรณารักษ์ต้องแนะนำหนังสือที่เลือก
เฟ้นแล้วว่าเหมาะสมให้ผู้ใช้ได้รู้จัก เพื่อจะได้ติดตามอ่านต่อไป
4. การแข่งขันตอบปัญหา มุ่งสร้างเสริมการอ่าน การค้นคว้าและเข้าใช้ห้องสมุด
5. การรวบรวมผลงานเขียน จะทำให้ผู้ใช้เกิดความภาคภูมิใจในความสามารถของตน มี
ความเชื่อมั่นสูงขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มปริมาณหนังสือในห้องสมุดและเป็นการประหยัดงบ
ประมาณในการจัดซื้อหนังสืออีกด้วย
ส่วนสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร (2545 : 10) กล่าวว่าการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
ควรมีลักษณะสำคัญคือ
1. เร้าใจ ทำให้เกิดความอยากอ่านหนังสือ กิจกรรมจะชี้ให้เห็นว่าการอ่านเป็นสิ่งจำเป็น มี
ความสำคัญ มีประโยชน์ต่อตนเองและสังคม
2. จูงใจ ทำให้เกิดความพยามยามที่จะอ่านให้แตกฉาน เพื่อจะได้เรื่องราวอันน่าสนใจ น่า
สนุก ที่มีอยู่ในหนังสือ เห็นความจำเป็นที่จะต้องฝึกฝนการอ่านและการใช้คู่มือช่วยการอ่าน เช่น
พจนานุกรม
3. กระตุ้น แนะนำให้อยากรู้อยากเห็นเรื่องราวต่าง ๆ ที่มีอยู่ในหนังสือมากมายหลายอย่าง
เมื่ออ่านเรื่องหนึ่งแล้วก็อยากอ่านอีกเรื่องหนึ่งต่อไป มีความรู้สึกว่าการอ่านเป็นกิจกรรมประจำวันที่จะ
ขาดเสียมิได้ เกิดความรู้สึกว่าหนังสือท้าทายให้อ่าน ให้วิจารณ์ ให้ประเมินค่า อยากนำเอาความรู้ที่
ได้รับไปใช้ อยากเขียนหนังสือทำนองเดียวกันให้ดีเหมือนเล่มที่ได้อ่าน
จากที่กล่าวมาแล้ว พอจะสรุปได้ว่า ห้องสมุดเป็นแหล่งรวมเอกสาร ตำรา วารสารและสิ่ง
พิมพ์ต่างๆ ที่จะช่วยพัฒนาเด็ก เยาวชนและผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษาค้นคว้า หาความรู้เพิ่มเติม หรือหา
ความรู้ในสิ่งที่ตนเองยังไม่เข้าใจ หรือค้นหาความรู้ในสิ่งที่ตนเองถนัดหรือสนใจ โรงเรียนควรจัด
ห้องสมุดให้เป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ โดยผู้เรียนมีส่วนสำคัญและเป็นศูนย์กลางการเรียนการสอน
และเปิดโอกาสให้ครูได้ใช้วิธีสอนต่าง ๆ หลากหลายวิธี โดยมีบรรณารักษ์ประจำห้องสมุดเป็นผู้ให้
ความช่วยเหลือ ชี้แนะและแนะนำเอกสาร หนังสือ ตำราต่างๆ ให้กับผู้ที่สนใจ
2.3.7.2 ห้องสมุดสมัยใหม่
นับตั้งแต่ห้องสมุดโรงเรียน ได้มีความเจริญก้าวหน้า โดยดำเนินการให้มี
การจัดทำบัตรรายการ เพื่อความสะดวกในการค้นหา หนังสือและเอกสารต่าง ๆ ได้ง่ายและรวดเร็ว
จากสภาพการณ์ในปัจจุบันกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลง และความทันสมัยของเทคโนโลยีในยุค
โลกาภิวัฒน์เข้ามามีบทบาท ทำให้สภาพการของสังคมและเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไปด้วย รวมถึงการ
42
เรียนรู้ของข้อมูลข่าวสารก็มีความสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น โดยการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์มา
ใช้ ทำให้สามารถสืบค้นหาข้อมูลหรือเรื่องที่สนใจในระบบคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตได้
ดังนั้นในสถานศึกษาจึงส่งเสริมให้ห้องสมุดต่าง ๆ ได้มีการนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ใน
งานห้องสมุด ซึ่งจะพัฒนาได้ดีมาก โดยต้องใช้งบประมาณในการจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์และ
ระบบอัตโนมัติสูง แต่ระบบดังกล่าวจะสามารถทำงานของห้องสมุดได้ทุกระบบ นับแต่การจัดหา
ทรัพยากรห้องสมุด การวิเคราะห์สารนิเทศ การให้บริการยืม เมื่อมีการใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติก็
จะลดการทำบัตรรายการได้อย่างมาก เพราะเพียงแค่พิมพ์ข้อมูลรายการของหนังสือตามรูปแบบที่ถูก
ต้องเข้าเครื่องเพียงครั้งเดียวก็สามารถใช้เป็นแหล่งสืบค้นหาหนังสือเล่มนั้นในรูปแบบต่าง ๆ ได้หมด
แต่ระบบห้องสมุดอัตโนมัตินั้นเหมาะสำหรับห้องสมุดขนาดใหญ่ เช่นห้องสมุดระดับอุดมศึกษา
ส่วนห้องสมุดขนาดเล็ก เช่น ห้องสมุดโรงเรียน ซึ่งยังไม่มีงบประมาณมากพอที่จะซื้อเครื่อง
คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่มาใช้ทำเป็นห้องสมุดอัตโนมัติหรือห้องสมุดที่ทันสมัยได้ ก็อาจจะใช้เครื่อง
คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer - PC) มาใช้ และเลือกใช้โปรแกรมที่สามารถทำฐาน
ข้อมูลได้ คือนำคอมพิวเตอร์มาเก็บข้อมูลของหนังสือ เพื่อทำหน้าที่แทนบัตรรายการนั้นเอง และผู้
ใช้ก็สามารถสืบค้นหาหนังสือนั้นได้อย่างรวดเร็วและประหยัดเวลาของผู้ใช้ด้วย (พวา พันธุ์
เมฆา,2540 : 1-2)
2.3.7.3 เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)
ยืน ภู่วรวรรณ และสมชาย นำประเสริฐชัย (2546 : 20) ได้อธิบายคำว่า
เทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ การศึกษา
พัฒนาองค์ความรู้ต่าง ๆ ก็เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติ กฎเกณฑ์ของสิ่งต่าง ๆ และหาทางนำมาประยุกต์ให้
เกิดประโยชน์ เทคโนโลยีจึงเป็นการดำเนินชีวิตของมนุษย์ มนุษย์แต่ละคนตั้งแต่เกิดมาได้เรียนรู้สิ่ง
ต่าง ๆ จำนวนมาก เรียนรู้สภาพสังคม ความเป็นอยู่ กฎเกณฑ์และวิชาการ ลองจินตนาการดูว่าสมอง
ของเราเก็บข้อมูลอะไรบ้าง เราคงตอบไม่ได้ แต่สามารถเรียกเอาข้อมูลมาใช้ได้ ข้อมูลที่เก็บไว้ใน
สมองเป็นสิ่งที่สะสมกันมาเป็นเวลานานความรอบรู้ของเด็กแต่ละคนจึงขึ้นอยู่กับการเรียกใช้ข้อมูลนั้น
ดังนั้นจะเห็นได้ชัดว่าความรู้เกิดจากข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ทุกวันนี้มีข้อมูลรอบตัวเรามาก ข้อมูลเหล่านี้
มาจากสื่อ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือแม้แต่การสื่อสารระหว่าง
บุคคล จึงมีผู้กล่าวว่ายุคนี้เป็นยุคของสารสนเทศ เมื่อรวมคำว่าเทคโนโลยีและสารสนเทศเข้าด้วยกัน
จึงหมายถึงเทคโนโลยีซึ่งใช้ในการจัดสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การรวบรวมการจัด
เก็บข้อมูล การประมวลผล การพิมพ์ การสร้างรายงาน การสื่อสารข้อมูล ฯลฯ เทคโนโลยีสาร
สนเทศเป็นการรวมกันระหว่างเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิคส์และคอมพิวเตอร์กับเทคโนโลยีการสื่อสาร
43
รายละเอียดของเทคโนโลยีสารสนเทศมีดังนี้
เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนรู้
ประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่มีเทคโนโลยีชั้นสูงกำลังเปลี่ยนฐานทางด้านเศรษฐกิจของ
ประเทศจากฐานทางด้านอุตสาหกรรม (Industrail - based economy) ไปเป็นฐานด้านความรู้
(Knowledge- based economy) ส่วนที่สำคัญของประเทศเหล่านั้นก็คือ “การศึกษา” เป้าหมายที่
สำคัญของประเทศพัฒนาแล้วอยู่ที่การให้การศึกษาแก่ประชากรเข้าสู่โลกแห่งเทคโนโลยี โดยเน้น
ปัจจัยของประเทศอยู่ที่ความรอบรู้ของคนในชาติ การเรียนรู้ของคนในชาติกับการสร้างสังคมการ
เรียนรู้เป็นสิ่งที่ผู้บริหารประเทศต้องมีวิสัยทัศน์ ทั้งนี้เพราะการขยายตัวของขุมความรู้ได้กลายเป็น
แหล่งความรู้โลก (World Knowledge) การเรียนรู้ต้องทำได้มาก รวดเร็ว ใช้เวลาน้อย ต้นทุนต่ำ
และที่สำคัญก็คือ ความรู้ที่จะมีบทบาทที่สำคัญเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ และผูกพันกับการใช้เทคโนโลยีเพื่อ
การเรียนรู้ เมื่อเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มีบทบาทกับสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบการศึกษาได้มี
การพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอนหรือที่เรียกว่า “ซีเอไอ” (CAI-Computer Aided Instruction)
มีการผลิตซีดี (CD) เพื่อเก็บรวบรวมความรู้ต่าง ๆ เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาเล่าเรียนมีการสร้างเอกสาร
“ไฮเปอร์เท็กซ์” (Hypertext) ที่เชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ เป็นแหล่งค้นหาความรู้ได้อย่างรวดเร็ว ระบบ
การเรียนการสอนที่มีคอมพิวเตอร์ช่วยสอนทำให้นักเรียนมีอิสระในการเรียน เป็นการศึกษาหรือการ
เรียนรู้แบบเฉพาะตัว การเรียนในลักษณะนี้จึงมีลักษณะให้นักเรียนเป็นศูนย์กลาง (Student centric)
ครูเป็นผู้ช่วยเหลืออยู่ห่าง ๆ (ยืน ภู่วรวรรณ และสมชาย นำประเสริฐชัย , 2546 : 25)
วิชาคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต
โรงเรียนจะต้องหาวิธีการที่จะนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ในวิชาต่าง ๆ จะทำอย่างไรจึงจะให้เด็กมา
ใช้และเห็นความสำคัญของคอมพิวเตอร์ว่าเป็นสื่อในการเรียนรู้ไม่ใช่แต่จะเล่นเกมส์เพียงอย่างเดียว
การใช้คอมพิวเตอร์ในกระบวนการเรียนการสอนก็คือนักเรียนจะใช้คอมพิวเตอร์ในการสืบค้นข้อมูล
จากอินเตอร์เน็ต แล้วนำสิ่งที่ค้นคว้าได้มาสร้างงานที่สนใจ และอีกวิธีหนึ่งก็คือการจัดกลุ่มนักเรียน
แต่ต้องไม่จัดกลุ่มตามความเก่งหรือความอ่อน แต่จะจัดกลุ่มตามความชอบในแต่ละวิชา ฉะนั้นใน
กลุ่มหนึ่ง ๆ จะมีสิ่งที่เขาชอบไม่ใช่มองไปที่ความเก่งไม่เก่ง แต่จะมองว่าเด็กทุกคนมีศักยภาพ มีการ
แบ่งงานกันทำ มีการใช้กระบวนการกลุ่ม มีการระดมความคิดว่าจะจัดการกันอย่างไร จะไปค้นคว้า
ด้วยวิธีอะไร เมื่อค้นแล้วนำมาเสนอในกลุ่ม หลังจากนั้นก็สร้างงานโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย เมื่อสร้าง
ผลงานเสร็จแล้วก็มีการนำเสนอ ในกระบวนการของการนำเสนอนักเรียนทุกคนจะมีโอกาสนำเสนอ
งานของตนเองเท่าเทียมกัน และใช้ผลงานที่ได้นำเสนอมาประกอบการประเมินผลในวิชาคอมพิวเตอร์
ด้วย สิ่งที่สำคัญคือในห้องคอมพิวเตอร์จะไม่สอนเฉพาะคอมพิวเตอร์เพียงอย่างเดียว แต่จะมีการสอน
งานคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา งานทุกงานจะรวมอยู่ในห้องคอมพิวเตอร์และแบ่งเป็น
44
กลุ่ม ๆ เราจะไม่ทิ้งกระบวนการกลุ่ม ซึ่งจะนำไปสู่การวิจารณ์ การวิเคราะห์งาน แล้วสุดท้ายก็คือ
พัฒนางานเพื่อให้เขาคิดได้โดยตลอด ไม่มีการหยุดกั้นในเรื่องของกระบวนการคิด (สำนักงานคณะ
กรรมการการศึกษาแห่งชาติ,2545 : 28)
การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเสริมศึกษา
สิ่งแรกที่จะต้องจัดการคือให้ครูผู้สอนไปจัดหา Software ที่เหมาะสมกับเนื้อหาวิชาที่ตนเอง
สอน โดยมีคณะกรรมการศึกษามาร่วมพิจารณาการเลือกใช้สื่อว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ ตรงตาม
จุดมุ่งหมายหรือไม่ หลังจากนั้นทางโรงเรียนจะสนับสนุนโดยจัดซื้อให้ ถ้าจัดซื้อแล้วไม่มีเครื่องจะใช้
วิธีที่เรียกว่า คอมพิวเตอร์เคลื่อนที่ ซึ่งคอมพิวเตอร์จะอยู่ในตู้แล้วเข็นไปใช้ตามห้องเรียน ใครจะใช้
ห้องไหนก็สามารถนำไปใช้ได้ จะมีการใช้คอมพิวเตอร์ในกานำเสนอผลงานทุกวิชาและมีคะแนนใน
ส่วนนี้ด้วย นอกจากนั้นจะมีการให้เด็กทำงานนอกเวลาเรียน คือใช้คอมพวิเตอร์ในการทำงานนอก
เวลาเรียนโดยมีวิธีการจัดการคือการแจกบัตรคิว ใครจะใช้ต้องมาจองบัตรคิวก่อน แล้วจึงจะสามารถ
ใช้ได้ และสุดท้ายเมื่อนักเรียนสร้างงานทุกอย่างทั้ง autoware หรือ powerpoint ก็จะเก็บผลงานนั้น
บันทึกในรูปของซีดี (CD) แล้วใช้ซีดีเป็นผลงานของนักเรียน (portfolio) ซึ่งสามารถนำติดตัวไปและ
ใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ทุกเครื่อง รูปแบบนี้มีใช้อยู่ที่โรงเรียนจิตรลดา กรุงเทพมหานคร เป็น
ลักษณะคอมพิวเตอร์เสริมศึกษา (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2545: 29)
ตัวอย่างอีกโรงเรียนหนึ่งคือ โรงเรียนนารีนุกูล จังหวัดอุบลราชธานี มีผู้บริหารที่ให้ความ
สำคัญและสนับสนุนการดำเนินงานอย่างเต็มที่ เริ่มด้วยการติดตั้งอินเตอร์เน็ต คิดตั้งระบบเครือข่าย
นักเรียนในโรงเรียนช่วยกันติดตั้งเครือข่าย (network) ทั้งโรงเรียน ผู้อำนวยการสนับสนุนทุกอย่าง
อนุมัติโครงการและอนุมัติให้ใช้ใยแก้วนำแสงจากเดิมใช้ UPT กรมสามัญศึกษาอนุมัติงบประมาณให้
ทางโรงเรียนนารีนุกุลติดตั้งอินเตอร์เน็ตตลอด 24 ชั่วโมง โรงเรียนได้จัดอบรมให้กับครูอาจารย์ใน
โรงเรียนและชุมชนโดยไม่คิดค่าบริการ ฉะนั้นจึงขอเน้นว่าการสนับสนุนจากผู้บริหารถือว่าเป็นปัจจัย
สำคัญที่จะทำให้งานไอซีที (ICT) ของโรงเรียนมีความก้าวหน้าและพัฒนามากขึ้น (สำนักงานคณะ
กรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2545 : 27)
กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ
สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติได้กำหนดกรอบนโยบาย
เทคโนโลยีสารสนเทศระยะ พ.ศ.2544 - 2553 ของประเทศไทย ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนไว้ดังนี้
เป้าหมายสำหรับโรงเรียน
1. ในปี พ.ศ.2553 โรงเรียนทุกโรงเรียนสามารถเชื่อมต่อเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและ
ใช้ประโยชน์เพื่อการศึกษาได้อย่างทั่วถึงเท่าเทียมกัน มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ
45
2. ในปี พ.ศ.2549 ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 ของการเรียนการสอนในทุกระดับชั้น มีการใช้
คอมพิวเตอร์หรือเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อประกอบการเรียนการสอน และเพิ่มเป็นร้อยละ 30% ใน
ปี พ.ศ.2553 ( สำนักงานงานเลขานุการคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ, 2545 : 48)
2.3.7.4 แหล่งเรียนรู้อื่น ๆ ในโรงเรียน
ในสถานศึกษามีข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการบริหารการศึกษา ข้อ
มูลหลักสูตร ข้อมูลวิชาการ ตลอดจนห้องสมุด ความรู้ต่าง ๆ การจัดการความรู้จึงมิได้กำหนดเฉพาะ
การเป็นห้องสมุดแต่เพียงอย่างเดียว แต่เป็นแหล่งความรู้จากทุกรูปแบบ โรงเรียนและสถานศึกษา
จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ แหล่งความรู้ในโรงเรียนมาจากหลากหลายแห่ง ทั้งจากหนังสือ
บทความ รปู ภาพ วดี ที ศั น  สื่อ ข้อมูลข่าวสารจากผู้บริหาร ผู้เชี่ยวชาญ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งอาจ
ประกอบด้วยคำแนะนำ ประสบการณ์จากผู้รู้ จากหน่วยงานภายนอก จากตำรา จาการค้นคว้าวิจัย
ทั้งจากที่โรงเรียนหรือสถานศึกษา หรือจากภายนอก จากการเข้าถึงแหล่งความรู้ เช่น อินเตอร์เน็ต
เว็บเพ็จต่าง ๆ การดูงาน การประชุม ฯลฯ การทำงานของสถานศึกษาแนวใหม่จึงเกี่ยวข้องกับเครื่อง
มือทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อว่าจะเป็นเครื่องมือในการใช้ การจัดการความรู้
การเข้าถึง การเรียกค้นและการใช้ประโยชน์จากแหล่งความรู้เหล่านั้น (ยืน ภู่วรวรรณ และสมชาย
นำประเสริฐชัย, 2546 : 19)
นอกจากห้องสมุดที่ใช้เป็นแหล่งในการเรียนรู้แล้ว ยังมีห้องเรียนและพื้นที่อื่น ๆ ที่เป็นส่วน
ประกอบของการจัดการเรียนการสอน และใช้ร่วมกับห้องสมุด ได้แก่ ห้องคอมพิวเตอร์และ
อินเตอร์เน็ต ห้องวิทยาศาสตร์ ห้องดนตรี ห้องปฏิบัติการทางภาษา (Language Laboratory)
สถานที่ฝึกพลศึกษา ห้องคหกรรม โรงฝึกงาน แปลงหรือโรงเรือนเกษตรกรรม ห้องปฏิบัติการทาง
วัฒนธรรมและจริยศึกษา ห้องศิลปะและนาฎศิลป์ และลานเอนกประสงค์ เป็นต้น
3. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
3.1 งานวิจัยในประเทศ
จากการศึกษาค้นคว้ามีผลงานการศึกษาที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้
อัมพร ฟุ้งเฟื่อง (2541 : ง) ได้ศึกษาเรื่อง การบริหารงานวิชาการในโรงเรียนสังกัดเทศบาล
เมืองเชียงราย ผลการศึกษาพบว่า การบริหารงานวิชาการได้มีการกำหนดเป้าหมายและวางแผนไว้ชัด
เจน มีความพร้อมในเรื่องของหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้การจัดการเรียนการสอนตรงตาม
หลักสูตร มีสิ่งอำนวยความสะดวกในเรื่องวัสดุการเรียนการสอนตลอดจนส่งเสริมการนำไปใช้ มีห้อง
สมุดเป็นสัดส่วนและได้รับการสนับสนุนหนังสืออย่างเพียงพอ มีกิจกรรมการนิเทศเพื่อช่วยปรับปรุง
46
พัฒนาการเรียนการสอนของครู รวมทั้งมีการวัดผลประเมินผลสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายและเนื้อหา
ของหลักสูตร ส่วนปัญหาการบริหารงานวิชาการที่พบ ได้แก่ ครูมีภาระงานหลายด้านหรือสอนหลาย
วิชา ห้องสมุดขาดเจ้าหน้าที่บรรณารักษ์โดยเฉพาะ
สุนิษสา สุมโนจิตราภรณ์ (2539 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาเรื่อง ความต้องการของครูมัยธยม
ศึกษาเกี่ยวกับงานพัฒนาวิชาการของสำนักงานสามัญศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผลการศึกษาพบ
ว่า ครูมัธยมต้องการให้สำนักงานสามัญศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จัดหาให้ในระดับมาก คือ
ด้านหลักสูตร ต้องการให้จัดเอกสารประกอบหลักสูตร ด้านสื่อการเรียนการสอนและเอกสารทางวิชา
การ ต้องการให้ผลิตสื่อการสอนต้นแบบและให้บริการด้านสื่อการเรียนการสอน ด้านการประเมินผล
การศึกษาต้องการให้มีการสร้างข้อสอบมาตรฐานและจัดทำธนาคารข้อสอบของจังหวัด ด้านส่งเสริม
พัฒนาคุณธรรมจริยธรรมและศิลปวัฒนธรรม ต้องการให้มีการจัดประกวดมารยาทของนักเรียนระดับ
โรงเรียนและระดับจังหวัด ด้านนันทนาการและการกีฬา ต้องการให้คณะแพทย์จากโรงพยาบาลตรวจ
สุขภาพนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน ด้านการวิจัยต้องการให้มีการวิจัยสื่อการเรียนการสอน คุณ
ธรรมจริยธรรม ด้านการส่งเสริมกลุ่มโรงเรียนและศูนย์พัฒนาวิชาการ ต้องการให้บริการสื่อและวัสดุ
อุปกรณ์ด้านพัฒนาบุคลากร ต้องการส่งเสริมให้มีการลาศึกษาต่อ และจัดปฐมนิเทศครูใหม่
ทวี สิงหราช (2540 : ข-ค) ได้ศึกษาเรื่อง ความต้องการของครูเกี่ยวกับการนิเทศภายในเพื่อ
พัฒนาการเรียนการสอนในโรงเรียนคำเที่ยงอนุสสรณ์ จังหวัดเชียงใหม่ ผลการศึกษาพบว่า ครูมี
ความต้องการในด้านต่าง ๆ ดังนี้ คือ
1. จัดหาเอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับหลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตรให้เพียงพอกับจำนวน
ครูในโรงเรียน โดยจัดให้เป็นระบบและประชาสัมพันธ์เอกสารให้ครูทราบ
2. ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดทำแผนการสอน การนำเทคนิควิธี
สอนต่าง ๆ มาจัดกิจกรรมในแผนการสอน และให้มีการส่งเสริมการสอนซ่อมเสริมแก่นักเรียนที่มีข้อ
บกพร่องในการเรียน
3. จัดบริการสื่อการเรียนการสอน โดยใช้ศูนย์สื่อของโรงเรียน และจัดสื่อให้เป็นระบบ
สะดวกต่อการนำไปใช้ และควรให้ครูมีส่วนร่วมในการคัดเลือก และผลิตสื่อที่สอดคล้องกับแผนการ
สอน
4. ส่งเสริมให้ครูผู้สอนในกลุ่มประสบการณ์เดียวกัน ร่วมกันจัดทำเครื่องมือวัดและประเมิน
ผลการเรียนร่วมกัน และนำผลการประเมินมาพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิ
ภาพมากขึ้น
5. ศึกษาดูงานโรงเรียนที่ชนะการประกวดกิจกรรมดีเด่นด้านต่าง ๆ ประชุมครูผู้สอนเพื่อ
ระดมความคิดและนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาและจัดการเรียนการสอนให้มีคุณภาพ นอกจากนี้
47
ยังต้องการให้คำปรึกษาและเยี่ยมชั้นเรียนจากฝ่ายวิชาบริหาร ประกวดครูดีเด่นและประกาศเกียรติคุณ
ครูที่ทำชื่อเสียงให้โรงเรียน
ทองเบิ้ม มีชำนาญ (2540 : ก-ข) ได้ศึกษาเรื่อง การศึกษาการบริหารงานวิชาการในโรง
เรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ ผลการศึกษาพบว่า
1. สภาพปัจจุบันการบริหารงานวิชาการมีปัญหาการปฏิบัติอยู่ในระดับ “มาก” ยกเว้นด้าน
การนิเทศภายใน และด้านการจัดห้องสมุด มีการปฏิบัติอยู่ในระดับ “ปานกลาง”
2. ปัญหาการบริหารงานวิชาการ มีปัญหาการปฏิบัติอยู่ใน “ปานกลาง” ยกเว้นด้านการเงิน
และงบประมาณ และด้านวัสดุอุปกรณ์ มีปัญหาการปฏิบัติอยู่ในระดับ “มาก”
3. ข้อเสนอแนะแนวทางการบริหารงานวิชาการตามอันดับความสำคัญดังนี้
(1) ควรจัดตารางตามความรู้ความสามารถและความถนัด
(2) ควรจัดวัสดุอุปกรณ์ที่ทันสมัย เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องเสียง วีดีโอและโทรทัศน์
(3) ควรหาแนวทางพัฒนาครูโดยการอบรมระยะสั้น หรือหลักสูตรพิเศษ เช่น การผลิต
สื่อ คอมพิวเตอร์ เทคนิคการสอนแบบใหม่
(4) ผู้บริหารต้องเป็นผู้นำทางวิชาการ
(5) ควรสนับสนุนงบประมาณด้านการเรียนการสอนให้เพียงพอ
วิไลศิน เสาวกุล (2542 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาเรื่อง ปัญหาการบริหารงานวิชาการโรงเรียน
ประถมศึกษา สังกัดเทศบาลเมืองเมืองพล จังหวัดขอนแก่น ผลการศึกษาพบว่า
1. ปัญหาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดเทศบาลเมืองเมืองพล
จังหวัดขอนแก่น ตามความคิดเห็นของผู้กำหนดนโยบายและผู้ปฏิบัติโดยส่วนรวมอยู่ในระดับปาน
กลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่ามีปัญหาอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน เรียงตามลำดับคือ ด้าน
บริการห้องสมุด ด้านนิเทศการเรียนการสอน ด้านการจัดสื่อการสอน ด้านการวัดผลและประเมินผล
ด้านการวางแผนงานวิชาการและด้านการจัดการเรียนการสอน เมื่อพิจารณาจำแนกตามตัวแปรสถาน
ภาพตำแหน่ง พบว่าทั้งผู้กำหนดนโยบายและผู้ปฏิบัติ มีปัญหาการบริหารงานวิชาการอยู่ในระดับปาน
กลาง ทั้งโดยส่วนรวมและเป็นรายด้าน
2. ผลการเปรียบเทียบระดับปัญหาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดเทศ
บาลเมืองเมืองพล จังหวัดขอนแก่น ตามความคิดเห็นของผู้กำหนดนโยบายและผู้ปฏิบัติ พบว่า ผู้
กำหนดนโยบายมีระดับปัญหาสูงกว่าผู้ปฏิบัติโดยส่วนรวมทุกด้าน และด้านการบริการห้องสมุด การ
นิเทศการเรียนการสอน การวัดผลและประเมินผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนด้านอื่นมีระดับ
ปัญหาไม่แตกต่างกัน
จากผลการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ แสดงว่า การบริหารงานวิชาการโรงเรียนประถมศึกษา สังกัด
เทศบาลเมืองเมืองพล จังหวัดขอนแก่น ยังคงมีปัญหาผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งผู้กำหนดนโยบายและผู้
48
ปฏิบัติ ควรได้มีการประสานงานกัน เพื่อปรับปรุงและพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนให้
มีประสิทธิภาพสูง เพื่อลดระดับปัญหาการบริหารงานวิชาการนี้
ปิยะชัย ตุ่ยสิมา (2543 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาเรื่อง ปัญหาการดำเนินงานวิชาการโรงเรียน
ประถมศึกษา สังกัดเทศบาลเขตการศึกษา 10 ผลการศึกษาพบว่า พนักงานครูเทศบาลมีปัญหาการ
ดำเนินงานวิชาการโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดเทศบาลเขตการศึกษา 10 โดยรวมและเป็นรายด้าน
ทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงจากข้อที่มีปัญหาอยู่ในระดับปานกลางและมีค่าเฉลี่ยสูง
สุด คือการส่งเสริมการใช้แหล่งความรู้ที่หลากหลายและเชื่อมโยงประสบการณ์กับชีวิตของผู้เรียนมี
น้อย งบประมาณที่ได้รับจัดสรรเพื่อจัดซื้อสื่อและเทคโนโลยีทางการสอนไม่เพียงพอ โรงเรียนมีวัสดุ
ครุภัณฑ์หนังสือและสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ไว้บริการไม่เพียงพอ และโรงเรียนมีสื่อการเรียนการสอนไว้
บริการไม่เพียงพอ ขาดการส่งเสริมให้ครูยอมรับการนิเทศจากครูโรงเรียนเดียวกัน และขาดการ
วิเคราะห์ผลการประเมินผลงานวิชาการเพื่อนำไปใช้
นิทัศน์ ปลัดพรหม (2542 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาเรื่อง ความต้องการงานวิชาการโรงเรียน
ของครู สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ผลการศึกษาพบว่า
1. ความต้องการงานวิชาการโรงเรียนของครูโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก คือ
ด้านการนำหลักสูตรไปใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านการจัดครูเข้าสอน
ให้เหมาะสมกับชั้นและวิชาที่สอน ด้านการสำรวจความต้องการสื่อการเรียนการสอน ด้านมีจัดทำ
เอกสารการวัดผลและประเมินผลถูกต้องและเป็นปัจจุบัน ด้านจัดให้มีห้องสมุดเป็นเอกเทศ ด้านการ
แต่งตั้งคณะกรรมการนิเทศภายในโรงเรียน และด้านการจัดให้มีการประชุมภายในโรงเรียนอย่างน้อย
เดือนละ 1 ครั้ง
2. เมื่อพิจารณาตามเพศและขนาดของโรงเรียนพบว่า ความต้องการงานวิชาการ โรงเรียนของ
ครูเพศชาย เพศหญิง ครูที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนขนาดใหญ่ ขนาดกลางและขนาดเล็ก โดยภาพรวม
และรายด้านอยู่ในระดับมาก ยกเว้นครูที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนขนาดเล็ก มีความต้องการด้านห้อง
สมุดและครูที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนขนาดกลาง มีความต้องการงานด้านการประชุมอบรมทางวิชาการ
อยู่ในระดับปานกลาง
3. ผลการเปรียบเทียบความต้องการงานวิชาการโรงเรียนของครูพบว่า ครูเพศชายและหญิงมี
ความต้องการไม่แตกต่างกัน ครูที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกันมีความต้องการงานวิชาการ
โรงเรียนแตกต่างกัน โดยภาพรวมและอีก 4 ด้าน คือ ด้านวัสดุประกอบหลักสูตรและสื่อการเรียน
การสอน ด้านวัดและประเมินผล ด้านห้องสมุดและด้านการประชุมอบรมทางวิชาการ ซึ่งครูที่ปฏิบัติ
งานในโรงเรียนขนาดใหญ่ มีความต้องการโดยภาพรวมและด้านวัสดุประกอบหลักสูตรและสื่อการ
เรียนการสอน ด้านวัดผลและประเมินผล ด้านห้องสมุดและด้านการประชุมอบรมทางวิชาการ มาก
กว่าครูที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนขนาดกลางและมากกว่าครูที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนขนาดเล็ก ด้านห้อง
49
สมุดและด้านการประชุมอบรมทางวิชาการ และไม่พบปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพศและขนาดของโรงเรียน
ต่อความต้องการงานวิชาการโรงเรียนของครู
สมยศ พงษ์ศิริพัฒน์ (2543 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาเรื่อง สภาพและปัญหาการบริหารงานวิชา
การของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน จังหวัดปทุมธานี ผล
การศึกษาพบว่า
1. ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดคณะกรรมการการศึกษาเอกชน จังหวัดปทุมธานี
ส่วนใหญ่ปฏิบัติงานด้านการบริหารงานวิชาการครบทั้ง 7 ด้าน คือ ใช้วิธีการประชุมเชิงปฏิบัติการ
เพื่อค้นหาปัญหาด้านการเรียนการสอนก่อนเปิดภาคเรียน จัดครูเข้าสอนในชั้นเรียนตรงตามความรู้
ความสามารถและความถนัดของแต่ละคน แนะนำให้ครูใช้วัสดุในท้องถิ่นมาประดิษฐ์เป็นสื่อการเรียน
การสอน ให้ครูมีส่วนร่วมในการกำหนดวิธีการวัดผลและประเมินผล จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการ
อ่านเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนเกิดแรงจูงใจเข้าไปใช้ห้องสมุด จัดมุมหนังสือในห้องเรียน จัดปฐมนิเทศ
ครูที่บรรจุใหม่ให้เข้าใจเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบในด้านการเรียนการสอน
สนับสนุนให้ครูเข้ารับการประชุมอบรมในด้านการเรียนการสอนอยู่เสมอ
2. ปัญหาในการปฏิบัติงานส่วนใหญ่ คือ การขาดบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญในการ
วิเคราะห์หลักสูตรของแต่ละกลุ่มประสบการณ์ ครูบางคนไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสอนให้สอด
คล้องกันทั้งหลักสูตร ครูไม่ได้ดัดแปลงวัสดุท้องถิ่นเพื่อมาใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน ขาดเครื่องมือ
ที่มีคุณภาพในการประเมินผลการเรียนการสอน สภาพห้องสมุดไม่เหมาะสมและไม่เอื้ออำนวยต่อการ
จัดการศึกษาค้นคว้า ครูขาดความกระตือรือร้นในการเพิ่มพูนความรู้เพื่อพัฒนาตนเอง และไม่ได้ทำ
แผนการประชุมอบรมทางวิชาการประจำปี
จากผลการศึกษาค้นคว้าแสดงให้เห็นว่า การบริหารงานวิชาการในโรงเรียนยังมีปัญหาอยู่ใน
หลายด้าน คือ ด้านหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้ การจัดการเรียนการสอนยังไม่ตรงตามหลัก
สูตร ขาดเอกสารทางวิชาการ วัสดุอุปกรณ์และสื่อการเรียนการสอน การวัดผลประเมินผล การนิเทศ
การศึกษา การประชุมอบรมทางวิชาการและงบประมาณที่ได้รับยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ
นอกจากนี้ยังพบว่าครูยังขาดความรู้ความสามารถ สอนไม่ตรงตามเนื้อหาวิชาที่ตัวเองถนัด
ขาดความศรัทธาในวิชาชีพ บุคลากรได้รับการพัฒนาไม่ต่อเนื่อง บุคลากรมีไม่เพียงพอต่อกรอบอัตรา
กำลังของโรงเรียน ขาดการวิเคราะห์วิจัยในเรื่องของการจัดการเรียนการสอน และการวัดผลประเมิน
ผล และครูยังมีภาระงานอื่นนอกเหนือจากการจัดการเรียนการสอนอีกมาก
3.2 งานวิจัยต่างประเทศ
ดีซอเทล (Desautel.1978 : 42-A) ได้ศึกษาเรื่อง การรับรู้บทบาทในการบริหารงานของผู้
บริหารโรงเรียน ในรัฐดาโกตาเหนือ ประเทศสหรัฐอเมริกา ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริหารโรงเรียนมี
50
ความเห็นว่าตนใช้เวลาส่วนใหญ่ในการจัดการเรียนการสอนและยังมีความเห็นต่อไปว่า ควรจะได้
ปฏิบัติหน้าที่ให้มากกว่าที่ปฏิบัติอยู่แล้ว และถือว่าเป็นบทบาทที่สำคัญที่สุดของผู้บริหารโรงเรียน
ฟรานซิส (Francis.1988 : 429-A) ได้ทำการศึกษาเรื่องเกี่ยวกับการวัดผลและการปรับปรุง
การสอนของครูโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 12 แห่ง โดยสัมภาษณ์จากครูผู้สอนและผู้บริหารโรง
เรียน ผลการศึกษาพบว่า ครูผู้สอนไม่ได้ทำการวัดผลบ่อยครั้งนัก และครูคิดว่าการวัดผลมีผลต่อการ
ปรับปรุงการสอนเพียงเล็กน้อย และในการปรับปรุงการเรียนการสอนนั้น ครูผู้สอนมีความเชื่อใจครู
ด้วยกันเองมากกว่ากว่าการวัดผล และครูมีความเห็นว่า การวัดผลด้วยตนเองจะนำไปสู่การพัฒนาสู่
เป้าหมายได้
มาร์เทลลาโร (Martwllaro.1984 : 1583) ได้ทำการศึกษาเรื่อง ความสัมพันธ์ของโรงเรียน
ที่มีผลสำเร็จทางวิชาการในรัฐแม็กซิโก โดยมุ่งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของโรงเรียนกับผล
สัมฤทธิ์ทางวิชาการจะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่าง ๆ ในการควบคุมการศึกษา และอิทธิพลที่เป็นไปได้
จากข้อมูลที่สามารถหามาได้ โดยใช้ตัวแปรจากผลการสรุปการทดสอบทักษะเบื้องต้นของนักเรียน
ระดับชั้นที่ 8,9 และ 11 ในปี 1979 และ 1981 ในโรงเรียนนิวแม็กซิโก ผลการศึกษาพบว่า มีความ
สัมพันธ์ในช่วงท้ายของการศึกษา พบว่า ถึงแม้สหสัมพันธ์ที่พบตามแบบเพียร์สันมีแนวโน้มจะบ่งชี้
ถึงความสัมพันธ์กับตัวแปรอื่น ๆ เช่น จำนวนร้อยละของนักเรียนได้เรียนมีศีลธรรมจรรยาของนัก
ศึกษาเบื้องต้น และตัวแปรอื่น ๆ จะถูกรวมในรูปแบบดังกล่าว ก็ไม่ปรากฎความสัมพันธ์และดู
เหมือนว่าจะไม่มีเหตุผลใดที่จะเชื่อถือหรือยอมรับว่าขนาดโรงเรียนจะมีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์
ทางวิชาการ
แอกที (Agthe.1980 : 3076-3077) ได้ศึกษาเรื่องการรับรู้ บทบาทและหน้าที่ของครูใหญ่
และครูในงานวิชาการ ผลการศึกษาพบว่า
1. ครูใหญ่และครูยอมรับว่างานปรับปรุงการเรียนการสอนต้องทำเป็นคณะ โดยให้ทุกคน
มีความรับผิดชอบร่วมกัน
2. ครูใหญ่ทำหน้าที่บริหารงานอื่น ๆ มากเกินไป ควรให้ความสำคัญในการนิเทศการ
ศึกษาให้มากยิ่งขึ้น
3. ครูใหญ่และครูมีความคิดเห็นว่าโครงการสอนของอำเภอมีอิทธิพลต่อ การใช้หลักสูตร
ในโรงเรียน
4. นวัตกรรมและเทคโนโลยี มีอิทธิพลในการเปลี่ยนบทบาทของครูใหญ่จากผู้สั่งการมา
เป็นผู้ประสานงาน และมีการทำงานเป็นคณะมากขึ้น
แมทท้อกซ์ (Mattox.1987 : 6061-A) ได้ศึกษาเรื่องความต้องการในการปฏิบัติงานของผู้
บริหารโรงเรียนประถมศึกษาในรัฐอิลินนอยส์ ผลการศึกษาพบว่าความต้องการที่อยู่ในระดับมากคือ
ความต้องการที่จะมีความสามารถในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการนิเทศ และการประเมินผล ตลอดจน
51
ความต้องการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนาหลักสูตร ปัญหาการบริหารงานวิชา
การโรงเรียนในงาน 6 ด้าน คือ การวางแผนงานวิชาการ การจัดการเรียนการสอน การจัดสื่อการ
สอน การบริการห้องสมุด การนิเทศการเรียนการสอน และการประเมินผล
ส่วนปัญหาการบริหารงานวิชาการ สรุปได้ดังนี้คือ
1. การวางแผนงานวิชาการ พบว่าครูส่วนมากไม่มีส่วนร่วมในการวางแผน ขาดงบ
ประมาณสนับสนุน ครูไม่ได้สอนตามสาขาวิชาเอกหรือความถนัด ข้อมูลไม่เพียงพอในการวางแผน
หรือมีก็ไม่เป็นปัจจุบัน
2. การจัดการเรียนการสอน พบว่า ครูไม่เข้าใจหลักสูตรเท่าที่ควร ครูยึดตำรา แบบเรียน
เป็นหลักเพียงอย่างเดียว ครูมีการสอนหลายวิชา มีชั่วโมงสอนมากเกินไป ครูไม่นำอุปกรณ์ไปใช้
ประกอบการสอนท่าที่ควร ครูมีไม่เพียงพอและไม่ได้รับการพัฒนาเกี่ยวกับการใช้หลักสูตร
3. การจัดสื่อการสอน พบว่า ขาดงบประมาณสนับสนุนอย่างเพียงพอ ครูไม่ให้ความ
สำคัญในการใช้สื่อการสอน สื่ออุปกรณ์การสอนมีน้อย ไม่เพียงพอและไม่ทันเวลาและขาดการซ่อม
แซมบำรุงอย่างต่อเนื่อง
4. การบริหารห้องสมุด พบว่า ขาดการวางแผนการใช้ห้องสมุดอย่างเป็นระบบ ไม่มี
บุคลากรรับผิดชอบโดยตรง ขาดการจัดกิจกรรมส่งเสริมการใช้ห้องสมุด หนังสือแบบเรียน หนังสือ
ต่าง ๆ มีน้อย ไม่เพียงพอและขาดงบประมาณสนับสนุน
5. งานนิเทศการเรียนการสอน พบว่า ผู้นิเทศขาดเทคนิคในการนิเทศ ไม่ค่อยได้ทำการ
นิเทศติดตาม เพื่อให้งานต่อเนื่องครบวงจร ผู้รับการนิเทศบางส่วนไม่ยอมรับการนิเทศจากผู้ให้การ
นิเทศ ขาดการทำงานเป็นทีมและขาดการวางแผนการนิเทศ ขาดสื่อประกอบการนิเทศ ครูทำงาน
นิเทศหลายหน้าที่และถือว่าการนิเทศเป็นการตรวจตราจับผิดการสอน
6. การวัดและประเมินผล พบว่า ขาดเครื่องมือการวัดผลที่มีคุณภาพและเป็นมาตรฐาน
เดียวกัน ขาดงบประมาณสนับสนุนในการจัดทำเครื่องมือวัดผลอย่างเพียงพอ ขาดทักษะ ความรู้
ความสามารถในการสร้างเครื่องมือ การให้บริการเครื่องมือ และการเก็บรักษาไม่เป็นระเบียบและ
สะดวกในการให้บริการ
จากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่า ผู้บริหารและครูต่างให้ความสำคัญต่อการจัดการ
เรียนการสอนและต้องอาศัยความร่วมมือกันเป็นหมู่คณะ แต่มีความคิดเห็นแตกต่างกันในเรื่องของ
การสังเกตการสอน การวัดผลประเมินผล ส่วนปัญหาการบริหารงานวิชาการที่พบ ได้แก่การจัดการ
เรียนการสอน การจัดสื่อการสอน การบริการห้องสมุด งานนิเทศการเรียนการสอนและการวัดผล
ประเมินผล เช่น ครูไม่มีส่วนร่วมในการวางแผน สอนไม่ตรงตามวิชาเอก มีชั่วโมงสอนมากเกินไป
ขาดงบประมาณสนับสนุนเพียงพอ อุปกรณ์มีน้อย มีบุคลากรที่รับผิดชอบห้องสมุด ขาดการนิเทศ
และครูขาดทักษะความรู้ ความสามารถในการวัดผลประเมินผล เป็นต้น ซึ่งปัญหาของงานวิชาการนี้
52
ไปสอดคล้องกับการบริหารงานวิชาการที่ผู้ศึกษาต้องการศึกษาว่าครูที่สอนในโรงเรียนประถมศึกษา
มีความต้องการทางด้านวิชาการในเรื่องใด และมากน้อยเพียงใด
บทที่ 3
วิธีดำเนินการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยที่มุ่งศึกษาความต้องการด้านวิชาการของครูโรงเรียนประถมศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามลำดับดังนี้
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
3. การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
4. การเก็บรวบรวมข้อมูล
5. การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1. ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ข้าราชการครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนัก
งานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2545 จำนวน 342 คน
2. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ข้าราชการครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัด
สำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2545 จำนวน 204 คน และกำหนดกลุ่มตัว
อย่างตามตารางของ เครซี่และมอร์แกน (R.C. Krejcie and D.W. Morgan อ้างในพวงรัตน์ ทวี
รัตน์,2540:303) ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) ดังนี้
2.1 สุ่มตามขนาดโรงเรียน
โรงเรียนขนาดใหญ่ จำนวน 66 คน
โรงเรียนขนาดกลาง จำนวน 97 คน
โรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน 41 คน
2.2 สุ่มครูชาย จำนวน 42 คน โดย
2.2.1 สุ่มครูชายที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนขนาดใหญ่ จำนวน 14 คน
2.2.2 สุ่มครูชายที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนขนาดกลาง จำนวน 21 คน
2.2.3 สุ่มครูชายที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน 7 คน
2.3 สุ่มครูหญิง จำนวน 162 คน โดย
2.3.1 สุ่มครูหญิงที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนขนาดใหญ่ จำนวน 52 คน
2.3.2 สุ่มครูหญิงที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนขนาดกลาง จำนวน 76 คน
2.3.3 สุ่มครูหญิงที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน 34 คน
54
ซึ่งมีจำนวนประชากรและกลุ่มตัวอย่างได้เสนอรายละเอียดในตาราง 1 ดังนี้
ตารางที่ 1 จำนวนประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ขนาด ประชากร กลุ่มตัวอย่าง
โรงเรียน
ชื่อโรงเรียน
ชาย หญิง ชาย หญิง
วัดโพธินิมิตร
วัดบางสะแกใน
วัดกระจับพินิจ
6
9
9
24
32
32
4
5
5
14
19
19
รวม 24 88 14 52
วัดเวฬุราชิน
วัดกัลยาณมิตร
วัดใหญ่ศรีสุพรรณ
กันตทาราราม
วัดราชคฤห์
วัดดาวคนอง
วัดบุคคโล
วัดราชวรินทร์
4
4
7
4
1
6
6
4
21
18
9
22
15
17
16
9
2
2
4
2
1
4
4
2
13
11
5
13
9
10
10
5
รวม 36 127 21 76
วัดประยุรวงศ์
วัดประดิษฐาราม
วัดบางสะแกนอก
วัดใหม่ยายนุ้ย
วัดขุนจันทร์
วัดบางน้ำชน
-
4
1
1
2
4
12
13
6
8
8
8
-
2
1
1
1
2
7
8
4
5
5
5
รวม 12 55 7 34
ใหญ่
กลาง
เล็ก
รวมทั้งสิ้น 72 270 42 162
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถาม ซึ่งเป็นแบบปลายปิด โดยแบ่งออกเป็น 2
ตอน คือ
55
ตอนที่ 1 สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบเลือกตอบ ซึ่งถามเกี่ยวกับ
เพศ ประสบการณ์การทำงาน และขนาดของโรงเรียน
ตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับความต้องการด้านวิชาการของครูโรงเรียนประถมศึกษา
สำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพหมานคร ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นตามขอบข่ายของงานวิชาการ โดยแบ่งออก
เป็น 7 ด้าน คือ
1. ด้านหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้
2. ด้านการจัดเรียนการสอน
3. ด้านนิเทศภายใน
4. ด้านวัดผลและประเมินผล
5. ด้านวัสดุและสื่อการเรียนการสอน
6. ด้านประชุมอบรมทางวิชาการ
7. ด้านห้องสมุด เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ ในโรงเรียน
ลักษณะของแบบสอบถามเป็นแบบมาตรประมาณค่า โดยแบ่งออกเป็น 5 ระดับ คือ
5 หมายถึง มีความต้องการมากที่สุด
4 หมายถึง มีความต้องการมาก
3 หมายถึง มีความต้องการปานกลาง
2 หมายถึง มีความต้องการน้อย
1 หมายถึง มีความต้องการน้อยที่สุด
การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามความต้องการด้านวิชาการของครู
โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร โดยได้ดำเนินการตามขั้นตอนดัง
นี้
1. ศึกษาแนวคิด ขอบเขตของงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษา ตัวแปรที่ต้องการ
ศึกษาและเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2. นำข้อมูลที่ศึกษามาสร้างเป็นแบบสอบถาม ให้ครอบคลุมเกี่ยวกับความต้องการด้านวิชา
การของครูทั้ง 7 ด้าน
3. นำแบบสอบถามเสนอคณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์เพื่อตรวจสอบเนื้อหา และ
ภาษาที่ใช้ในแบบสอบถาม แล้วนำมาแก้ไขตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการที่ปรึกษา
56
4. นำแบบสอบถามที่แก้ไขเรียบร้อยแล้วไปให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่านตรวจสอบความถูก
ต้องและเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาและความเหมาะสมของภาษา
5. นำแบบสอบถามที่ได้รับการปรับปรุงแล้วไปทดลองใช้ (Try Out) กับข้าราชการครูโรง
เรียนประถมศึกษาในเขตธนบุรีที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน เพื่อหาความเชื่อมั่นของแบบ
สอบถามโดยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า (Cronbach’s alpha coefficient ) และได้ค่าเชื่อมั่นของ
แบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.98
การเก็บรวบรวมข้อมูล
1. ผู้วิจัยได้ขอหนังสือจากบัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา แจ้งผู้
อำนวยการสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร เพื่อขออนุญาตในการส่งแบบสอบถามและเก็บรวบ
รวมข้อมูล
2. ขอหนังสืออนุญาตจากผู้อำนวยการสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร ไปยังผู้อำนวยการ
เขตธนบุรีและจากผู้อำนวยการเขตธนบุรีไปถึงผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาในสังกัด จำนวน 17
โรงเรียน เพื่อขออนุญาตและขอความร่วมมือในการตอบแบบสอบถามและการเก็บรวบรวมข้อมูล
3. ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์และการใช้โทรศัพท์ทวง
ถามในบางรายที่ยังไม่ส่งแบบสอบถามกลับคืน ได้รับแบบสอบถามกลับมาทั้งสิ้น 204 ฉบับ ถือว่า
เก็บรวบรวมข้อมูลครบ 100 %
การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้
1. นำแบบสอบถามที่ได้รับกลับคืนมาทั้งหมดมาตรวจสอบความสมบูรณ์
2. นำข้อมูลที่ได้รับไปวิเคราะห์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อวิเคราะห์หาสถิติตามจุดมุ่ง
หมายและสมมติฐานที่ตั้งไว้
3. การวิเคราะห์ข้อมูล
หาค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมติฐานด้วยการทดสอบ t-test
และ F-test ด้วยโปรแกรม SPSS/PC+ (Statistical package for the social science)
57
การแปลความค่าเฉลี่ยระดับความต้องการกำหนดเกณฑ์คะแนนเฉลี่ยไว้ดังนี้ (ประคอง
กรรณสูตร,2540 : 70)
ค่าเฉลี่ย ระดับความต้องการ
4.50 – 5.00 หมายถึง มีความต้องการมากที่สุด
3.50 – 4.49 หมายถึง มีความต้องการมาก
2.50 – 3.49 หมายถึง มีความต้องการปานกลาง
1.50 – 2.49 หมายถึง มีความต้องการน้อย
1.00 – 1.49 หมายถึง มีความต้องการน้อยที่สุด
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
1 สถิติพื้นฐาน
1.1 ค่าร้อยละ ( % ) โดยใช้สูตร
ร้อยละของแต่ละรายการ = 100
ความถี่ท้งั หมด
ความถขี่ องแต่ละรายการ 
1.2 ค่าเฉลี่ย X โดยใช้สูตร
N
X
X

[
X แทน คะแนนเฉลี่ย
x แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมด
n แทน จำนวนข้อมูล
1.3 ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D. ) โดยใช้สูตร
SS
S.D. แทน ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
X แทน คะแนนเฉลี่ย
X แทน คะแนนของผู้ตอบแบบสอบถาม
X แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมด
n แทน จำนวนผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด
Φ Γ
1
2
Κ
α Κ α
n
S.D. =
58
2. สถิติที่ใช้ใช้ในการทดสอบ
2.1 t-test
df n1 + n2 - 2
เมอื่ X1 แทนค่าคะแนนเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างเพศชาย
X2 แทนค่าคะแนนเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างเพศหญิง
S1
2 แทนความแปรปรวนของกลุ่มตัวอย่างเพศชาย
S2
2 แทน ความแปรปรวนของกลุ่มตัวออย่างเพศหญิง
n1 แทนจำนวนครูเพศชาย
n2 แทนจำนวนครูเพศหญิง
2.2 F-test
เมื่อ MSb แทนค่าเฉลี่ยของผลบวกกำลังสองภายในกลุ่ม
MSw แทนค่าเฉลี่ยของผลบวกกำลังสองระหว่างกลุ่ม
(ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ,2536 : 96)
Φ Γ Φ Γ
Φ Γ





Ι
Ι Κ
Κ Ι Κ
α Κ α
1 2 1 2
2
2 2
2
1 1
1 2
1 1
2
1 1
n n n n
t = n s n s
w
b
MS
F = MS
บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัยได้กำหนดสัญลักษณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อความเข้าใจตรงกันในการ
แปลความหมายของข้อมูล ดังต่อไปนี้
n แทน จำนวนคนในกลุ่มตัวอย่าง
X
__
แทน ค่าคะแนนเฉลี่ย
S.D. แทน ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
t แทน ค่าสถิติที่ใช้ในการพิจารณาใน t – distribution
F แทน ค่าสถิติที่ใช้ในการพิจารณาใน F – distribution
SS แทน ผลบวกกำลังสองของคะแนน (Sum of Squares)
MS แทน ค่าเฉลี่ยของผลบวกกำลังสองของคะแนน (Mean Squares)
df แทน ระดับชั้นแห่งความเป็นอิสระ (Degrees of Freedom)
* แทน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
** แทน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัยนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามลำดับ ดังนี้
ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม โดยเฉพาะประชากรและกลุ่มตัวอย่างและ
สถานภาพของครูโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
ตอนที่ 2 ความต้องการด้านวิชาการของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักเขตธนบุรี
กรุงเทพมหานคร จำแนกเป็นรายด้านและรวมทุกด้าน
ตอนที่ 3 การศึกษาเปรียบเทียบความต้องการด้านวิชาการของครูโรงเรียนประถมศึกษา
สังกัดสำนักเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร จำแนกตามเพศ ประสบการณ์การทำงาน และขนาด
โรงเรียน
ตอนที่ 4 การศึกษาข้อเสนอแนะความต้องการด้านวิชาการของครูโรงเรียนประถมศึกษา
สังกัดสำนักเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
60
ตอนที่ 1 สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม
ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามจำแนกตามเพศ ประสบการณ์การทำงาน ขนาดโรงเรียน
ระดับที่ทำการสอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ และนำเสนอข้อมูลในตารางประกอบการ
บรรยาย ดังนี้
ตารางที่ 2 สถานภาพของครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
ตัวแปรที่ศึกษา จำนวน ร้อยละ
1. เพศ
1.1 ชาย
1.2 หญิง
2. ประสบการณ์การทำงาน
2.1 1 - 10 ปี
2.2 11 - 20 ปี
2.3 21 ปีขึ้นไป
3. ขนาดโรงเรียนของท่าน
3.1 ขนาดใหญ่ (นักเรียน 801 คนขึ้นไป)
3.2 ขนาดกลาง (นักเรียน 401 - 800 คน)
3.3 ขนาดเล็ก (นักเรียน 1 - 400 คน)
4. ระดับที่ทำการสอน
4.1 ก่อนประถมศึกษา
4.2 ประถมศึกษา
42
162
96
61
47
66
97
41
65
139
20.59
79.41
47.06
29.90
23.04
32.35
47.55
20.10
31.86
68.14

ความต้องการด้านวิชาการของครูโรงเรียนประถมศึกษา (ตอนที่ 1)
ความต้องการด้านวิชาการของครูโรงเรียนประถมศึกษา (ตอนที่ 2)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น