วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสภาพแวดล้อมกับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ตอนที่ 1)



ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสภาพแวดล้อมกับพฤติกรรมเชิงจริยธรรม
ด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
สังกัดกรุงเทพมหานคร
นายโวหาร ยะสารวรรณ
วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
ปีการศึกษา 2546
ISBN : 974-373-275-6
ลิขสิทธิ์ของสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
The Relationship Between Environmental Factors and Self-Discipline
Behavior of Matthayom 3 Students in Bangkok Metropolitan
Administration Jurisdiction
MR. VOHARN YASARAWAN
A thesis Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements
for the Master of Arts (Social Sciences for Development)
At Rajabhat Institute Bansomdejchaopraya
Academic Year 2003
ISBN : 974-373-275-6
วิทยานิพนธ์ ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสภาพแวดล้อมกับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้าน
ความมีวินัยในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 สังกัดกรุงเทพมหานคร
โดย นายโวหาร ยะสารวรรณ
สาขา สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
ประธานกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ รศ.ดร.สัญญา สัญญาวิวัฒน์
กรรมการ รศ.หรรษา ศิวรักษ์
กรรมการ ผศ.สุพิศวง ธรรมพันทา
บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา อนุมัติให้วิทยานิพนธ์นี้เป็น
ส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
..…………………………………………… คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
(ดร.สรายุทธ์ เศรษฐขจร)
คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์
……………………….………………….….. ประธานกรรมการ
(ศาสตราจารย์ ดร.สายหยุด จำปาทอง)
………………………………………………. กรรมการ
(รองศาสตราจารย์ ดร.สัญญา สัญญาวิวัฒน์)
………………………………………………. กรรมการ
(รองศาสตราจารย์หรรษา ศิวรักษ์)
………………………………………...…….. กรรมการ
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุพิศวง ธรรมพันทา)
………………………………………………. กรรมการ
(ดร.ทวิช บุญธิรัศมี)
… ………………………………………….… กรรมการและเลขานุการ
(รองศาสตราจารย์สมชาย พรหมสุวรรณ)
ลิขสิทธิ์ของสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

โวหาร ยะสารวรรณ. (2546). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสภาพแวดล้อมกับพฤติกรรมเชิงจริยธรรม
ด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดกรุงเทพมหานคร.
วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต.กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จ
เจ้าพระยา. คณะกรรมการควบคุม รศ.ดร.สัญญา สัญญาวิวัฒน์ รศ.หรรษา ศิวรักษ์
ผศ.สุพิศวง ธรรมพันทา
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเอง
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวด
ล้อมทางบ้าน สภาพแวดล้อมทางโรงเรียน และสภาพแวดล้อมทางสังคมกับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้าน
ความมีวินัยในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาแนวทาง
การพัฒนาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 สังกัด
กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัด
กรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2546 จำนวน 372 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการ
เก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์
เพื่อหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้น (Stepwise
Regression Analysis) ใช้ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 เป็นเกณฑ์ในการยอมรับหรือปฏิเสธสมมติฐาน
การวิจัย
ผลการวิจัยพบว่า
1. พฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมาก
(mean = 3.89 , S.D. = 0.38) พฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองที่มีการปฏิบัติมากที่สุด
คือ นักเรียนปฏิบัติตามกฎ ระเบียบของโรงเรียนอย่างเคร่งครัด (mean = 4.87 , S.D. = 0.34) ที่มีการ
ปฏิบัติน้อยที่สุด คือ นักเรียนชอบคุยหรือเล่นกับเพื่อนในขณะกำลังเรียน (mean = 2.92 , S.D. = 1.30)
2. จากการทดสอบสมมติฐานข้อ 1 พบว่า สภาพแวดล้อมทางบ้านมีความสัมพันธ์ทางบวกกับ
พฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน (r = 0.221) สมมติฐานข้อ 2 พบว่า สภาพ
แวดล้อมทางโรงเรียนมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของ
นักเรียน (r = 0.468) สมมติฐานข้อ 3 พบว่า สภาพแวดล้อมทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติ
กรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน (r = 0.437) และสมมติฐานข้อ 4 พบว่า ตัวแปร
สภาพแวดล้อมที่ส่งผลกระทบเชิงเส้นตรงกับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยใน



ตนเองของนักเรียน มีจำนวน 5 ตัว ได้แก่ การเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนประเภทหนังสือพิมพ์ การ
เปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนประเภทอินเทอร์เน็ต การเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนประเภทโทรทัศน์
การเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนประเภทนิตยสาร และการจัดการเรียนการสอนจริยศึกษาใน
คาบเรียน ตัวแปรทั้ง 5 ตัวนี้ สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมเชิงจริยธรรม
ด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียนได้ร้อยละ 76.00 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ
เท่ากับ 0.872 และมีความคลาดเคลื่อนของการพยากรณ์เท่ากับ 0.189 ซึ่งสามารถเขียนเป็นสมการ
แสดงความสัมพันธ์ ได้ดังนี้
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ
Y = 5.905 + 2.461 X10 + 0.406 X15 -1.182 X13 + 1.130 X11 + 0.105X7
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน
Z = 10.286Z10 + 4.100Z15 -10.773Z13 + 3.996Z11+ 0.105Z7
3. แนวทางการพัฒนาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียนที่มีลำดับ
แนวทางสูงสุด 3 ลำดับแรก คือ สื่อมวลชนเสนอข่าวที่ส่งเสริมความมีระเบียบวินัย (mean = 4.85 , S.D.
= 0.36) บิดามารดาให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการกำหนดกฎเกณฑ์ภายในบ้าน (mean = 4.76 , S.D. =
0.43) และครูประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักเรียน (mean = 4.74 , S.D. = 0.44)

Voharn Yasarawan. (2003). The Relationship Between Environmental Factors and Self-Discipline
Behavior of Matthayom 3 Students in Bangkok Metropolitan Administration Jurisdiction.
Master thesis. Bangkok : Graduate School , Rajabhat Institute Bansomdejchaopraya.
Advisor committee : Associate Professor Dr.Sunya Sunyavivat ; Associate Professor
Hunsa Sivaraksa ; Assistant Professor Supitsawong Tampunta
The purpose of the study were 1) to study self-discipline behavior of matthayom 3 students in
Bangkok Metropolitan Administration Jurisdiction 2) to study the relationship between environmental
factors and self-discipline behavior of matthayom 3 students in Bangkok Metropolitan Administration
Jurisdiction 3) to study strategies for developing self-discipline behavior of matthayom 3 students in
Bangkok Metropolitan Administration Jurisdiction.
The samples were matthayom 3 students in Bangkok Metropolitan Administration
Jurisdiction of the academic years 2003 amount 372 students.
The instrument used for data collection was questionnaire and the data were analyzed by
means , standard deviation , percentage , pearson correlation and stepwise multiple regression
analysis. The hypothesis was tested at a level significant of 0.05.
Findings of the study revealed the following :
1. Their self-discipline behavior was at high level , mostly in following to school regulation
(mean = 4.87 , S.D. = 0.34) and lowest in talkative in classroom (mean = 2.92 , S.D. = 1.30).
2. According to the hypothesis test, 1) The home environments were related to self-discipline
behavior of students (r = 0.221). 2) The school environments were related to self-discipline behavior
of students (r = 0.468). 3) The social environments were related to self-discipline behavior of
students (r = 0.437). and 4) Five significant predictors of self-discipline behavior were mass media
exposure in newspaper , internet , T.V. , magazine , and moral education instruction in combination
accounted for 76.00 % of total variance , R = 0.872 and the error of estimate was 0.189. The
prediction equation were :



Y = 5.905 + 2.461 X10 + 0.406 X15 -1.182 X13 + 1.130 X11 + 0.105X7
Z = 10.286Z10 + 4.100Z15 -10.773Z13 + 3.996Z11+ 0.105Z7
3. The most three strategies for developing self-discipline behavior of students were mass
media presents to promoted the discipline (mean = 4.85 , S.D. = 0.36) , parents accept the
participation of students for regulations (mean = 4.76 , S.D. = 0.43) and teachers behave to good
model (mean = 4.74 , S.D. = 0.44).

ประกาศคุณูปการ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้สำเร็จได้ด้วยความกรุณาอย่างยิ่งจากคณาจารย์หลายท่าน ขอขอบพระคุณ
ศาสตราจารย ์ ดร.สายหยดุ จาํ ปาทอง ประธานกรรมการสอบวิทยานิพนธ ์ รองศาสตราจารย์ ดร.สัญญา
สัญญาวิวัฒน์ รองศาสตราจารย์หรรษา ศิวรักษ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุพิศวง ธรรมพันทา อาจารย์ดร.ทวิช
บุญธิรัศมี และรองศาสตราจารย์สมชาย พรหมสุวรรณ กรรมการสอบวิทยานิพนธ์ ที่ได้กรุณาให้คำแนะ
นำและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ และตรวจแก้ไขวิทยานิพนธ์ให้ถูกต้องสมบูรณ์ยิ่งขึ้น รวมทั้งผู้ช่วย
ศาสตราจารย ์ ดร.จันทร์วิภา ดิลกสัมพันธ  อาจารย์ ดร.วโิ รจน์ วฒั นานมิ ติ กลู ผชู้ ว่ ยศาสตราจารย์
บปุ ผา แช่มประเสริฐ ผชู้ ว่ ยศาสตราจารยส์ ภุ รณ์ ลิ้มบริบูรณ  และอาจารยอ์ ดุ มศกั ด ์ิ นาดี ผเู้ ชยี่ วชาญ
ในการตรวจสอบเครื่องมือทุกท่าน ที่ได้กรุณาให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะในการสร้างเครื่องมือในการ
วิจัย
ขอขอบพระคุณบุคคลซึ่งอยู่เบื้องหลังที่สนับสนุนให้การทำวิทยานิพนธ์ครั้งนี้สำเร็จลุล่วงด้วยดี
โวหาร ยะสารวรรณ

สารบัญ
หน้า
บทคัดย่อภาษาไทย................................................................................................................... ง
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ.............................................................................................................. ฉ
ประกาศคุณูปการ..................................................................................................................... ญ
สารบัญ.................................................................................................................................... ฎ
สารบัญตาราง........................................................................................................................... ฑ
สารบัญแผนภาพ...................................................................................................................... ณ
บทที่ 1 บทนำ........................................................................................................................... 1
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา..................................................................... 1
วัตถุประสงค์ของการวิจัย........................................................................................... 3
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ........................................................................................ 3
สมมติฐานในการวิจัย................................................................................................. 4
นิยามศัพท์เชิงปฏิบัติการ............................................................................................ 5
ขอบเขตของการวิจัย.................................................................................................. 6
ตัวแปรในการวิจัย...................................................................................................... 7
กรอบแนวความคิดในการวิจัย................................................................................... 8
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง................................................................................... 9
แนวความคิด และทฤษฎีเกี่ยวกับจริยธรรมและพฤติกรรมเชิงจริยธรรม................... 9
แนวความคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความมีวินัยในตนเอง.............................................. 12
แนวความคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการอบรมให้รู้ระเบียบสังคม (Socialization)และ
กลุ่มตัวแทนที่ให้การอบรมให้รู้ระเบียบสังคม (Agencies of Socialization….….…. 22
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง..................................................................................................... 27
สรุป............................................................................................................................ 34
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย......................................................................................................... 36
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง......................................................................................... 36
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย............................................................................................. 38
การเก็บรวบรวมข้อมูล................................................................................................ 45
การวิเคราะห์ข้อมูล...................................................................................................... 45

สารบัญ (ต่อ)
หน้า
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล.................................................................................................. 46
ผลวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของนักเรียน......................................................................... 46
ผลการวิเคราะห์พฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน......... 49
ผลการวิเคราะห์ปัจจัยสภาพแวดล้อมที่คาดว่าจะมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม
เชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน................................................... 50
ผลการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างกันของปัจจัยสภาพแวดล้อม
และพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน............................ 60
ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสภาพแวดล้อมทางบ้านกับ
พฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน...........…………....... 64
ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสภาพแวดล้อมทางโรงเรียนกับ
พฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน................................. 65
ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสภาพแวดล้อมทางสังคมกับ
พฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน................…….…… 67
ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสภาพแวดล้อมโดยรวมกับ
พฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน……………….…… 69
ผลการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณระหว่างปัจจัยสภาพแวดล้อม
กับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน..........……….…. 69
ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณของปัจจัยสภาพแวดล้อมต่อพฤติกรรม
เชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน....................................………. 70
ผลการวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยใน
ตนเองของนักเรียน……………………………………………………………..….. 72
บทที่ 5 สรุปและอภิปรายผล.................................................................................................... 75
สรุปผลการวิจัย.......................................................................................................... 75
อภิปรายผลการวิจัย.................................................................................................... 77
ข้อเสนอแนะจากการวิจัย........................................................................................... 87
ข้อเสนอแนะด้านการปฏิบัติ...................................................................................... 88

สารบัญ (ต่อ)
หน้า
บรรณานุกรม............................................................................................................................. 89
ภาคผนวก................................................................................................................................. 96
แบบสอบถามที่ใช้ในการวิจัย.................................................................................................... 97
หนังสือราชการที่เกี่ยวข้อง........................................................................................................ 111
ประวัติผู้วิจัย.............................................................................................................................. 120

สารบัญตาราง
ตารางที่ หน้า
1 รายชื่อโรงเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง............................................................................. 37
2 จำนวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่าง จำแนกตาม เพศ อายุ
บุคคลที่นักเรียนอาศัยอยู่ ระดับการศึกษาของบิดา
ระดับการศึกษาของมารดา อาชีพของบิดา อาชีพของมารดา
และรายได้ของครอบครัวต่อเดือน…………………………………………..……… 46
3 ค่าเฉลี่ยของพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน............... 49
4 ค่าเฉลี่ยของระดับสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของครอบครัว.......................... 51
5 ค่าเฉลี่ยของระดับการอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย........................................... 52
6 ค่าเฉลี่ยของระดับการอบรมเลี้ยงดูแบบเข้มงวดกวดขัน……………….……………. 53
7 ค่าเฉลี่ยของระดับการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย................................................ 54
8 ค่าเฉลี่ยของระดับพฤติกรรมของครู............................................................................ 55
9 ค่าเฉลี่ยของระดับกลุ่มเพื่อน........................................................................................ 55
10 ค่าเฉลี่ยของระดับการจัดการเรียนการสอนจริยศึกษาในคาบเรียน.............................. 56
11 ค่าเฉลี่ยของระดับการจัดกิจกรรมจริยศึกษา................................................................ 57
12 ค่าเฉลี่ยของระดับการจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมจริยศึกษา...................................... 58
13 ค่าเฉลี่ยของระดับการเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชน 6 ประเภท................................. 59
14 ค่าเฉลี่ยของระดับปัจจัยสภาพแวดล้อมโดยรวมกับพฤติกรรมเชิง
จริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน........................................................ 59
15 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างกันของปัจจัยสภาพแวดล้อมและ
พฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน.................................. 62
16 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสภาพแวดล้อมทางบ้าน
กับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน............................. 65
17 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสภาพแวดล้อมทางโรงเรียน
กับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน…………………. 66
18 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสภาพแวดล้อมทางสังคม
กับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน…………..……… 67

สารบัญตาราง (ต่อ)
ต า ร า ง ทีี่ี่ี่่
หน้้้้ า
19 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสภาพแวดล้อมโดยรวม
กับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน…………………. 69
20 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) ค่าดัชนีการพยากรณ์ (R2)
ค่าดัชนีการพยากรณ์ที่เพิ่มขึ้น (R2 Change) และค่าความคลาดเคลื่อน
ของการพยากรณ์ (S.E.est ).......................................................................................... 70
21 ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณของปัจจัยสภาพแวดล้อมทั้ง 5 ตัวต่อ
พฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน................................. 70
22 การถดถอยพหุคูณของปัจจัยสภาพแวดล้อมทั้ง 5 ตัว ต่อพฤติกรรมเชิง
จริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน........................................................ 71
23 ค่าเฉลี่ยของระดับแนวทางการพัฒนาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมี
วินัยในตนเองของนักเรียนด้านสภาพแวดล้อมทางบ้าน............................................. 72
24 ค่าเฉลี่ยของระดับแนวทางการพัฒนาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมี
วินัยในตนเองของนักเรียนด้านสภาพแวดล้อมทางโรงเรียน....................................... 73
25 ค่าเฉลี่ยของระดับแนวทางการพัฒนาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมี
วินัยในตนเองของนักเรียนด้านสภาพแวดล้อมทางสังคม............................................ 74

สารบัญแผนภาพ
หน้า
แผนภาพที่ 1 กรอบแนวความคิดในการวิจัย..................................................................... 8
บทที่1
บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ทศวรรษที่ผ่านมา สภาพแวดล้อมต่างๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม
เทคโนโลยีและการสื่อสาร ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วได้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อคุณภาพชีวิตและ
จิตใจของประชาชนโดยส่วนรวม ทั้งในทางบวกและทางลบ กล่าวคือ แม้ว่าการพัฒนาเศรษฐกิจจะทำ
ให้รายได้ประชาชาติสูงขึ้น แต่ในขณะเดียวกันช่องว่างทางเศรษฐกิจระหว่างคนรวยกับคนจนก็มีมากขึ้น
ด้วย ซึ่งมีผลทำให้คนยากจนหรือผู้ด้อยโอกาสไม่อาจมีคุณภาพชีวิตที่ได้ นอกจากนี้ สภาพแวดล้อมที่
เน้นวัตถุนิยมยังได้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงค่านิยม มาตรฐานทางคุณธรรม จริยธรรมของคน และทำ
ให้เกิดปัญหาทางด้านศีลธรรมและปัญหาสังคมต่างๆ ตามมา การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ได้ส่งผลต่อ
ทุกส่วนของสังคม นับตั้งแต่ครอบครัวซึ่งเป็นหน่วยสังคมที่เล็กที่สุด โครงสร้างและวิถีการดำเนินชีวิต
ในครอบครัวเปลี่ยนไป บิดามารดาและผู้ปกครองจะต้องดิ้นรน แข่งขันกันทำงานเพื่อหารายได้มาจุนเจือ
ครอบครัวโดยการออกไปทำงานนอกบ้านมากขึ้น โอกาสที่จะมีเวลาเอาใจใส่อบรมเลี้ยงดูบุตรหลาน
น้อยลง ส่วนเด็กและเยาวชนต้องพบกับสภาพแวดล้อมในสังคมที่มีสิ่งกระตุ้น สิ่งเร้า มอมเมาหรือผลัก
ดันให้เด็กประพฤติตนไปในทางที่เสื่อมเสีย จะเห็นได้ว่าในสังคมปัจจุบัน เด็กและเยาวชนส่วนใหญ่โดย
เฉพาะในสังคมกรุงเทพมหานคร จะต้องเติบโตขึ้นมาท่ามกลางบรรยากาศและสภาพแวดล้อมต่างๆ เช่น
มีศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า แหล่งบันเทิงเริงรมย์ต่างๆ เป็นต้น สภาพดังกล่าวส่งผลกระทบต่อเด็กและ
เยาวชนในกรุงเทพมหานครซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในวัยศึกษาเล่าเรียน ทำให้มีนักเรียนบางส่วนมีความ
ประพฤติที่ไม่เรียบร้อย ประพฤติตนไม่เหมาะสมกับสถานภาพของนักเรียนและประพฤติผิดระเบียบ
วินัยของโรงเรียน คอยสร้างปัญหาให้ผู้ปกครองและครูตามแก้ไขอยู่ตลอดเวลาและยังสร้างปัญหาให้แก่
สังคมอีกด้วย
ผลการศึกษาของกรมวิชาการ (2534 : 140) เรื่อง การจัดการศึกษาระดับประถมศึกษา มัธยม
ศึกษา และอาชีวศึกษาของไทยในทศวรรษที่สอดคล้องกับลักษณะการเปลี่ยนแปลงสังคม พบว่านักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมีค่านิยมและจริยธรรมที่ไม่พึงประสงค์ในบางเรื่อง เช่น การปฏิบัติตนในเรื่อง
สิทธิหน้าที่ การทำงานเป็นหมู่คณะ ความซื่อสัตย์ ความมีวินัยในตนเอง การเคารพกฎเกณฑ์ของสังคม
ความศรัทธาต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย การรู้จักแก้ปัญหา เป็นต้น
นอกจากนี้ กอร์ตัน (Gorton) (อ้างในจันทพร โรจนพิทักษ์ 2543 : 326 - 327) ได้กล่าวว่า
โรงเรียนต่างๆ มักประสบปัญหาด้านวินัยในชั้นเรียน ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ลักษณะ คือ
2
1. ปัญหาการผิดวินัยในชั้นเรียน ได้แก่ การตอบโต้กับครู การไม่ตั้งใจเรียน การรบกวนคนอื่นๆ
การกินขนมในชั้นเรียน การชอบทำลายของ การพูดหยาบคาย การพูดปด และการทำร้ายคนอื่น
2. ความประพฤติผิดนอกชั้นเรียน (แต่อยู่ภายในโรงเรียน) ได้แก่ การชกต่อยกัน การทำลาย
สิ่งของ การสูบบุหรี่ การใช้ยาเสพติด การแต่งกายผิดระเบียบ การขโมย การเล่นการพนัน การทำบริเวณ
โรงเรียนสกปรก ต่อต้านครู โรงเรียนและการเข้าไปในบริเวณที่หวงห้าม
3. การหนีโรงเรียน ได้แก่ การไม่เข้าชั้นเรียน การขาดโรงเรียน
4. ความเฉื่อยชา ได้แก่ การเข้าชั้นเรียนช้าบ่อยๆ และการมาโรงเรียนสายบ่อยๆ
สาเหตุของการขาดระเบียบวินัยเกิดจากสาเหตุ ดังต่อไปนี้ (กรมสามัญศึกษา อ้างในบุญเทิง
สายยศ 2543 : 11 - 12)
1. สาเหตุมาจากสภาพครอบครัว ครอบครัวจัดเป็นสิ่งแวดล้อมแรกที่มีอิทธิพลที่สุดต่อลักษณะ
พฤติกรรมของเด็ก เด็กที่มาจากครอบครัวที่มีความรักความอบอุ่นมักจะเป็นคนที่มีอารมณ์มั่นคงสูง
สามารถปรับตัวได้ดีในสังคมทั่วไป เด็กที่มาจากครอบครัวแตกแยก เด็กมักจะมีพฤติกรรมก้าวร้าว
อารมณ์ไม่มั่นคง ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมได้อย่างเหมาะสม เด็กที่มาจากครอบครัวที่บิดามารดา
ดุว่าทุกครั้งที่เด็กถาม เด็กจะถดถอยหนีไม่กล้าแสดงออก นอกจากนี้แล้ว ปัญหาที่เกิดจากการเลี้ยงดู
ที่บิดามารดาไม่เข้าใจถึงธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงตามวัยที่เจริญเติบโตของลูกๆ โดยลืมนึกไปว่า
ไม่เคยสอนระเบียบวินัยอะไรให้ลูกจะทำให้ลูกรู้สึกอึดอัด มีพฤติกรรมตอบโต้ ไม่ยอมเชื่อฟัง แสดง
ความก้าวร้าว อารมณ์ฉุนเฉียว ดื้อด้าน และเด็กบางคนเมื่อโตขึ้นจะกลายเป็นเด็กขี้อาย ขี้ขลาด ยอมแพ้
ต่ออุปสรรค บิดามารดาที่ใช้อำนาจสั่งโน่นสั่งนี่อยู่ตลอดเวลาจะทำให้เด็กมีความคิดต่อต้าน และมี
อารมณ์โมโหร้ายต่อไปในอนาคต
2. สาเหตุมาจากสภาพในโรงเรียน โรงเรียนมีบทบาทสำคัญในการหล่อหลอมและพัฒนา
พฤติกรรมที่พึงประสงค์ให้เกิดในตัวของนักเรียน โรงเรียนจึงต้องไม่เป็นสถานที่ให้เด็กสร้างพฤติกรรม
ที่เป็นปัญหา แต่ถ้าพิจารณาให้ดีอาจพบว่า นักเรียนที่แสดงพฤติกรรมที่เป็นปัญหาเป็นผลเนื่องมาจาก
สภาพในโรงเรียนนั่นเองที่ให้สิ่งที่ไม่พึงพอใจแก่เด็กตลอดเวลา เช่น การแข่งขันในเรื่องของวิชาการ
การจัดการเรียนการสอนที่มุ่งแต่เนื้อหา จำนวนนักเรียนที่มากเกินไปทำให้ครูดูแลไม่ทั่วถึงความ
สัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนส่วนใหญ่ที่เป็นไปอย่างผิวเผิน ทำให้เด็กเรียนรู้ที่จะหนีออกจากสภาพที่
ไม่พึงพอใจเหล่านี้นั้นเท่ากับว่า โรงเรียนเป็นสาเหตุทำให้เด็กมีพฤติกรรมที่เป็นปัญหานั่นเอง
3. สาเหตุมาจากสภาพสังคม สภาพเทคโนโลยีที่เจริญขึ้นอย่างมากในปัจจุบัน ทำให้สังคม
ภายนอกมีอิทธิพลอย่างมากต่อพฤติกรรมของเด็ก เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ซึ่งเป็นตัวกลางที่
เสนอตัวแบบพฤติกรรม หากสื่อเหล่านี้ขาดความรับผิดชอบเสนอตัวแบบที่ไม่เหมาะสม จะทำให้เกิด
การเลียนแบบพฤติกรรมที่เป็นปัญหา และการที่เด็กได้ตัวแบบที่ไม่เหมาะสมอยู่บ่อยๆเสมอๆ ย่อมเกิด
การซึมซับอยู่ในความรู้สึกนึกคิด ดังนั้น สังคมควรเข้ามามีบทบาทในการเสนอสิ่งต่างๆ ผ่านสื่อใน
3
รูปแบบพฤติกรรมที่เหมาะสม เป็นประโยชน์ต่อเด็กและสังคม จะมีผลทำให้การลอกเลียนแบบ
พฤติกรรมที่เป็นปัญหาลดน้อยลง
จากสาเหตุดังกล่าว ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาถึงปัจจัยสภาพแวดล้อมด้านต่างๆ ได้แก่ สภาพแวด
ล้อมทางบ้าน สภาพแวดล้อมทางโรงเรียน และสภาพแวดล้อมทางสังคม ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมเชิงจริย
ธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดกรุงเทพมหานคร เนื่องจากผล
การศึกษาของสุรชัย เจ็ดพี่น้องร่วมใจ (2544 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาเรื่อง ปัจจัยดึงดูดที่มีผลต่อการตัดสิน
ใจหนีเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร : ศึกษาเฉพาะกรณีนักเรียนหนีเรียน ซึ่งถูกนำ
ตัวมาที่กองกำกับการสวัสดิภาพเด็กและเยาวชน พบว่า นักเรียนหนีเรียนส่วนมากเป็นเพศชายและกำลัง
ศึกษาอยู่ในสถานศึกษาของรัฐ มีอายุระหว่าง 14 – 17 ปี และเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มากที่สุด
ผลการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองนี้ จะเป็นประโยชน์ใน
การนำมาใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมเพื่อปลูกฝังจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองแก่นักเรียน
และให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการของสังคม
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
สังกัดกรุงเทพมหานคร
2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมทางบ้าน สภาพแวดล้อมทางโรงเรียน และ
สภาพแวดล้อมทางสังคมกับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยม
ศึกษาปีที่ 3 สังกัดกรุงเทพมหานคร
3. เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดกรุงเทพมหานคร
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ผลการวิจัยครั้งนี้จะทำให้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเอง
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดกรุงเทพมหานคร เพื่อนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ ดังนี้
1. ได้ข้อมูลพื้นฐานเพื่อเป็นแนวทางในการประสานความสัมพันธ์ระหว่างบ้าน โรงเรียนและ
สังคมในการที่จะส่งเสริมและพัฒนาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดกรุงเทพมหานคร
4
2. ได้ข้อมูลพื้นฐานเพื่อเป็นแนวทางในการปรับสภาพแวดล้อมทางบ้านเพื่อช่วยเสริมสร้าง
พฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัด
กรุงเทพมหานคร
3. ได้ข้อมูลพื้นฐานเพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนอันจะ
เป็นการสนับสนุนส่งเสริมให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดกรุงเทพมหานคร มีพฤติกรรมเชิง
จริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเอง
4. ได้ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาสภาพแวดล้อมทางสังคม เพื่อช่วยสร้างเสริมพฤติกรรม
เชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองให้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดกรุงเทพมหานคร
ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
สมมติฐานในการวิจัย
จากการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ตลอดจนผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (รายละเอียดดังปรากฏใน
บทที่ 2) ผู้วิจัยได้นำมาตั้งสมมติฐาน ดังนี้
1. สภาพแวดล้อมทางบ้านมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยใน
ตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดกรุงเทพมหานคร
สภาพแวดล้อมต่างๆ ในครอบครัว ได้แก่ สถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของครอบครัว
และการอบรมเลี้ยงดูของบิดามารดาหรือผู้ปกครองที่ดี มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้าน
ความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ตามทฤษฎีของ Mower , Peck และ Havighurst (อ้างในดวงเดือน
พันธุมนาวิน 2527 : 62 - 64) และผลงานวิจัยของสมพิต โฉมงาม (2534)
2. สภาพแวดล้อมทางโรงเรียนมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยใน
ตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดกรุงเทพมหานคร
สภาพแวดล้อมต่างๆ ในโรงเรียน ประกอบด้วย พฤติกรรมของครู กลุ่มเพื่อน และ
การจัดการเรียนการสอนจริยศึกษาที่ดี มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยใน
ตนเองของนักเรียน ตามทฤษฎีของ Piaget และ Kohlberg (อ้างในดวงเดือน พันธุมนาวิน และ
เพ็ญแข ประจนปัจจนึก 2520 : 6 - 13) และผลงานวิจัยของพเยาว์ เกาทัณฑ์ทอง (2534)
3. สภาพแวดล้อมทางสังคมมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยใน
ตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดกรุงเทพมหานคร
สภาพแวดล้อมต่างๆ ทางสังคม มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยใน
ตนเองของนักเรียน ซึ่งการวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาเฉพาะการเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชน 6 ประเภท
ได้แก่ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ และอินเทอร์เน็ต ตามทฤษฎีของ
5
ดวงเดือน พันธุมนาวิน และเพ็ญแข ประจนปัจจนึก (2520) และผลงานวิจัยของธีรนง เกิดสุคนธ์
(2525)
4. สภาพแวดล้อมทางบ้าน สภาพแวดล้อมทางโรงเรียน และสภาพแวดล้อมทางสังคมมีความ
สัมพันธ์แบบพหุคูณกับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี
ที่ 3 สังกัดกรุงเทพมหานคร
สภาพแวดล้อมทางบ้าน สภาพแวดล้อมทางโรงเรียน และสภาพแวดล้อมทางสังคมสามารถ
ร่วมกันส่งผลต่อพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ตามทฤษฎีของ Zanden
(อ้างในสุพิศวง ธรรมพันทา 2543) และผลงานวิจัยของสมพิต โฉมงาม (2534) , พเยาว์ เกาทัณฑ์ทอง
(2534) และจรัส บุญชัย (2531)
นิยามศัพท์เฉพาะ
พฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเอง หมายถึง การประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องและ
เหมาะสมด้วยการคิด ตัดสินใจ และเลือกกระทำโดยความสมัครใจเพราะเกิดจากการรับรู้และตระหนัก
ถึงคุณค่าของจรรยามารยาท ระเบียบข้อบังคับ ข้อตกลงภายในบ้าน โรงเรียน ชุมชน สังคม กฎหมายและ
ศีลธรรมที่ตนควรปฏิบัติเพื่อการอยู่ร่วมกัน
สภาพแวดล้อมทางบ้าน หมายถึง สภาพแวดล้อมต่างๆ ในครอบครัวที่มีความสัมพันธ์กับ
พฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ซึ่งการวิจัยครั้งนี้จะศึกษาสภาพแวดล้อม
ทางบ้าน 2 ด้าน คือ สถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของครอบครัว และการอบรมเลี้ยงดูของบิดา
มารดาหรือผู้ปกครอง
สถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของครอบครัว หมายถึง การประกอบอาชีพของบิดามารดา
หรือผู้ปกครอง การเงินสำหรับใช้ภายในครอบครัว รายได้ของครอบครัว การช่วยเหลือผู้อื่นของครอบ
ครัว และการได้รับการยอมรับนับถือจากผู้อื่น
การอบรมเลี้ยงดูของบิดามารดาหรือผู้ปกครอง หมายถึง วิธีการที่บิดามารดาหรือ
ผู้ปกครองปฏิบัติต่อเด็กทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งทางวาจาและการกระทำ ทำให้เด็กรับรู้ทั้งความรู้สึก
และการกระทำดังกล่าว แบ่งออกเป็น 3 แบบ ได้แก่ 1) การอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย 2) กา
รอบรมเลี้ยงดูแบบเข้มงวดกวดขัน และ3) การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย
สภาพแวดล้อมทางโรงเรียน หมายถึง สภาพแวดล้อมในโรงเรียนที่มีความสัมพันธ์กับพฤติ
กรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน 3 ด้าน คือ พฤติกรรมของครู กลุ่มเพื่อน และ
การจัดการเรียนการสอนจริยศึกษา
6
พฤติกรรมของครู หมายถึง ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อครูในด้านบุคลิกภาพ ด้านความ
ประพฤติ และด้านการปกครอง
กลุ่มเพื่อน หมายถึง ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อความสัมพันธ์กับเพื่อน ทั้งเพื่อนร่วมชั้น
และเพื่อนร่วมโรงเรียน
การจัดการเรียนการสอนจริยศึกษา หมายถึง การจัดการศึกษาเพื่อให้นักเรียนได้รับการเปลี่ยน
แปลงด้านพฤติกรรมในการปฏิบัติคุณธรรม จริยธรรม โดยแบ่งออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการจัดการ
เรียนการสอนจริยศึกษาในคาบเรียน ด้านการจัดกิจกรรมจริยศึกษา และด้านการจัดสภาพแวดล้อมที่ส่ง
เสริมจริยศึกษา
สภาพแวดล้อมทางสังคม หมายถึง สภาพแวดล้อมทางสังคมของนักเรียนที่มีความสัมพันธ์กับ
พฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ซึ่งการวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาเฉพาะการเปิด
รับข่าวสารจากสื่อมวลชน 6 ประเภท ได้แก่ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ และอิน
เทอร์เน็ต โดยวัดจากความบ่อยและระยะเวลาโดยเฉลี่ยที่ใช้ไปในการเปิดรับแต่ละวัน
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หมายถึง นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2546 สังกัดกรุงเทพมหานคร
ขอบเขตของการวิจัย
1) ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาเฉพาะนักเรียนซึ่งกำลังศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัด
กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2546 จำนวน 4,568 คน
2) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
ผู้วิจัยได้เลือกโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครที่มีการจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตามโครง
การขยายโอกาสทางการศึกษา แล้วจึงสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) ตามการแบ่ง
กลุ่มของกรุงเทพมหานคร จำนวน 6 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มรัตนโกสินทร์ กลุ่มบูรพา กลุ่มศรีนครินทร์
กลุ่มเจ้าพระยา กลุ่มกรุงธนเหนือ และกลุ่มกรุงธนใต้ กลุ่มละ 2 โรงเรียน ได้จำนวน 12 โรงเรียน
โดยให้นักเรียนแต่ละโรงเรียนมีโอกาสเป็นตัวแทนเท่าๆ กัน จำนวนโรงเรียนละ 31 คน รวมเป็น
กลุ่มตัวอย่าง 372 คน
3) ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย
ผู้วิจัยมุ่งศึกษาตัวแปรสภาพแวดล้อมทางบ้าน ได้แก่ สถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของ
ครอบครัว และการอบรมเลี้ยงดูของบิดามารดาหรือผู้ปกครอง สภาพแวดล้อมทางโรงเรียน ได้แก่
พฤติกรรมของครู กลุ่มเพื่อน และการจัดการเรียนการสอนจริยศึกษา และสภาพแวดล้อมทางสังคม
มุ่งศึกษาเฉพาะการเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชน
7
ตัวแปรในการวิจัย
ตัวแปรอิสระ ได้แก่
1. สภาพแวดล้อมทางบ้าน ได้แก่
1) สถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของครอบครัว
2) การอบรมเลี้ยงดูของบิดามารดาหรือผู้ปกครอง
2. สภาพแวดล้อมทางโรงเรียน ได้แก่
1) พฤติกรรมของครู
2) กลุ่มเพื่อน
3) การจัดการเรียนการสอนจริยศึกษา
3. สภาพแวดล้อมทางสังคม ได้แก่
1) การเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชน
ตัวแปรตาม ได้แก่ พฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยม
ศึกษาปีที่ 3 สังกัดกรุงเทพมหานคร
8
กรอบแนวความคิดในการวิจัย
ตัวแปรอิสระ (Independent Variables) ตัวแปรตาม (Dependent Variables)
ปัจจัยสภาพแวดล้อมทางบ้าน ได้แก่
1. สถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของครอบครัว
2. การอบรมเลี้ยงดูของบิดามารดาหรือผู้ปกครอง
พฤติกรรมเชิงจริยธรรม
ปัจจัยสภาพแวดล้อมทางโรงเรียน ได้แก่ ด้านความมีวินัยในตนเอง
1. พฤติกรรมของครู ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
2. กลุ่มเพื่อน ปีที่ 3 สังกัดกรุงเทพมหานคร
3. การจัดการเรียนการสอนจริยศึกษา
ปัจจัยสภาพแวดล้อมทางสังคม ได้แก่
1. การเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชน
แผนภาพที่ 1 กรอบแนวความคิดในการวิจัย เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสภาพแวดล้อมกับ
พฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3
สังกัดกรุงเทพมหานคร
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การวิจัย เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสภาพแวดล้อมกับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความ
มีวินัยในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดกรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยได้ศึกษาจากเอกสาร
ตำราและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้
1. แนวความคิด และทฤษฎีเกี่ยวกับจริยธรรมและพฤติกรรมเชิงจริยธรรม
2. แนวความคิด และทฤษฎีเกี่ยวกับความมีวินัยในตนเอง
3. แนวความคิด และทฤษฎีเกี่ยวกับการอบรมให้รู้ระเบียบสังคม (Socialization) และกลุ่ม
ตัวแทนที่ให้การอบรมให้รู้ระเบียบสังคม (Agencies of Socialization)
4. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
5. สรุป
แนวความคิด และทฤษฎีเกี่ยวกับจริยธรรมและพฤติกรรมเชิงจริยธรรม
1) ความหมายของจริยธรรม
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 (2531 : 217) ได้ให้ความหมายของจริยธรรมว่า
หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม
ดวงเดือน พันธุมนาวิน (2543 : 113) ให้ความหมายว่า จริยธรรม หมายถึง ระบบการทำความดี
ละเว้นความชั่ว คำที่ยังมีความหมายไม่ชัดเจนคือคำว่า “ระบบ” ซึ่งหมายถึงทั้งสาเหตุที่บุคคลจะกระทำ
หรือไม่กระทำ และผลของการกระทำหรือไม่กระทำนั้น ตลอดจนกระบวนการเกิดและการเปลี่ยนแปลง
พฤติกรรมเหล่านี้ด้วย การที่คนเราจะทำความดีหรือไม่ มากน้อยเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับสาเหตุทั้งภายใน
และภายนอกตัวบุคคล สาเหตุภายใน คือ ลักษณะทางจิตใจต่างๆ เช่น ไม่เห็นแก่ตัว แต่เห็นแก่ส่วนรวม
การมุ่งอนาคตและความสามารถควบคุมตนเอง ความเชื่อว่าทำดีจะนำไปสู่ผล และการทำชั่วต้องโดนลง
โทษ นอกจากนั้นยังเกี่ยวข้องกับลักษณะทางจิตใจทางด้านอื่นๆ คือความพอใจ และเห็นด้วยกับความดี
ต่างๆ และเห็นความสำคัญของความดีเหล่านั้น เช่น ความซื่อสัตย์ การเคารพกฎ ระเบียบและกฎหมาย
ความสามัคคี เป็นต้น
โคห์ลเบอร์ก (Kohlberg 1971 : 64 - 65) ได้ให้คำจำกัดความของจริยธรรมว่า จริยธรรม คือ
ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี เป็นกฎเกณฑ์และมาตรฐานของความประพฤติในสังคมซึ่งบุคคลจะพัฒนาขึ้น
จนกระทั่งเป็นจริยธรรมของตนเอง โดยอาศัยกฎเกณฑ์จากสังคมเป็นเครื่องตัดสินใจว่า การกระทำนั้น
ถูกหรือผิด นอกจากนั้นยังรวมถึงสิ่งที่ทุกคนเลือกกระทำในการตัดสินความขัดแย้งที่เกิดขึ้น
10
จากความหมายดังกล่าวข้างต้น สรุปได้ว่า จริยธรรม คือ สิ่งที่บุคคลแสดงออกหรือประพฤติ
ปฏิบัติในสิ่งที่ดีงามและเหมาะสม ทั้งกาย วาจา และใจ โดยใช้ความรู้ สติปัญญา เหตุผล รวมทั้งการปรับ
ตัวให้เข้ากับกฎเกณฑ์หรือมาตรฐานที่ถูกต้อง ทั้งนี้เพื่อทำให้เกิดความสงบสุขต่อตนเองและสังคม
2) องค์ประกอบของจริยธรรม
ดวงเดือน พันธุมนาวิน (2524 : 213) และจรรจา สุวรรณทัต (2533 : 99 – 100) ได้อธิบาย
เกี่ยวกับจริยธรรมของบุคคลว่ามีลักษณะสำคัญ ดังนี้
1. ความรู้เชิงจริยธรรม เป็นความรู้ที่ทราบว่าการกระทำชนิดใดในสังคมของตนถือว่าดี
ควรกระทำ และการกระทำชนิดใดถือว่าไม่ดีก็ควรละเว้นจากการกระทำ มีลักษณะพฤติกรรมใดที่มี
ความหมายเหมาะสมหรือไม่ เหมาะสมมากน้อยเพียงใดในสังคม ปริมาณความรู้นี้ขึ้นอยู่กับอายุ
การศึกษา และพัฒนาการทางสติปัญญาของคนด้วย
2. เจตคติเชิงจริยธรรม เป็นความรู้สึกนึกคิดของบุคคลเกี่ยวกับลักษณะหรือพฤติกรรมเชิง
จริยธรรมต่างๆ ทั้งในด้านบวกและด้านลบ เช่น การรู้สึกเห็นด้วยหรือรู้สึกไม่เห็นด้วยต่อการหนีโรง
เรียน
3. การใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม เป็นการที่บุคคลใช้เหตุผลในการเลือกกระทำหรือไม่เลือก
พฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น การกล่าวอ้างว่าไม่สบายเพื่อจะได้ไม่ต้องเรียนวิชาที่ไม่ชอบ
4. พฤติกรรมเชิงจริยธรรม เป็นการที่บุคคลแสดงพฤติกรรมที่สังคมเห็นชอบชื่นชมและ
สนับสนุน หรือการที่บุคคลงดเว้นจากการแสดงพฤติกรรมที่ฝ่าฝืนกฎเกณฑ์หรือค่านิยมในสังคม เช่น
ความเป็นผู้รักษาระเบียบวินัยในชั้นเรียน การตรงต่อเวลา และการถือสัจจะอย่างเคร่งครัด
องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาจริยธรรมของบุคคล
การศึกษาองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาจริยธรรมจะช่วยในการอธิบายว่า การที่บุคคล
มีคุณสมบัติทางจริยธรรมแตกต่างกันนั้น มีความเกี่ยวเนื่องมาจากปัจจัยใดบ้าง และจะเป็นแนวทางใน
การพัฒนาจริยธรรมให้สูงขึ้น โดยการพัฒนาองค์ประกอบต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กับจริยธรรม
(สุพล วังสินธ์ 2534 : 33) เป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. องค์ประกอบด้านกายภาพ ได้แก่ การศึกษา อายุ และเพศของบุคคล
2. องค์ประกอบทางบุคลิกภาพ ได้แก่
2.1 ลักษณะที่มุ่งอนาคต หมายถึง ความปรารถนาที่จะทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้สำเร็จลุล่วงไปด้วย
ดี แม้จะเผชิญอุปสรรคต่างๆ ก็ไม่ย่อท้อ ทั้งนี้โดยมุ่งที่จะให้เกิดผลสำเร็จที่ดีงามตามความปรารถนาใน
อนาคตเป็นหลัก
2.2 เจตคติต่อกฎหมาย ความเป็นระเบียบและศีล 5 หมายถึง ความคิดเห็น ความรู้สึกของ
บุคคลที่มีต่อกฎหมาย ความเป็นระเบียบเรียบร้อยและศีล 5
11
3. องค์ประกอบทางสภาพแวดล้อม ได้แก่ ฐานะทางครอบครัว ผู้เลี้ยงดู วิธีการอบรมเลี้ยงดู การ
ใช้สื่อมวลชน สภาพแวดล้อมที่โรงเรียนและอิทธิพลของตัวแบบ
3) ทฤษฎีเกี่ยวกับพัฒนาการทางจริยธรรม
ดวงเดือน พันธุมนาวิน และเพ็ญแข ประจนปัจจนึก (2520 : 6 – 13) ได้กล่าวถึงทฤษฎีที่
เกี่ยวข้องกับต้นเหตุและพัฒนาการของจริยธรรมไว้เป็น 3 ประเภท คือ
1. ทฤษฎีอิทธิพลของสังคมต่อพัฒนาการทางจริยธรรม ทฤษฎีนี้เกิดความเชื่อที่ว่า สังคมมีส่วน
ในการปั้นมนุษย์ให้มีลักษณะต่างๆกัน ตามแต่ว่ามนุษย์นั้นจะอยู่ในสังคมใด เด็กเล็กๆ จะเรียนรู้ว่าอะไร
ดีอะไรชั่วจากผู้อื่นที่อยู่ใกล้ชิด ซึ่งเป็นตัวแทนของสังคมด้วยขบวนการเทียบเคียง (Identification) เด็ก
จะใช้วิธีการเลียนแบบผู้ที่มีอำนาจและผู้ที่ตนรัก จนในที่สุดจะยอมรับกฎเกณฑ์ของสังคมมาเป็นหลัก
ปฏิบัติของตนโดยอัตโนมัติ
2. ทฤษฎีพัฒนาการลักษณะที่ส่งเสริมจริยธรรม ทฤษฎีนี้เกิดจากความเชื่อว่า การพัฒนาการทาง
สติปัญญาและอารมณ์เป็นรากฐานของพัฒนาการทางจริยธรรม จริยธรรมของเด็กจะเจริญขึ้นตามความ
เจริญของความสามารถทางการรับรู้ (Cognitive ability) สติปัญญาและอารมณ์ของเด็ก นักจิตวิทยา
กลุ่มนี้ คือ เพียเจท์ (Piaget) กับโคห์ลเบอร์ก (Kohlberg) โดยเฉพาะอย่างยิ่งโคห์ลเบอร์ก ได้ทำการ
ศึกษาและพบความสัมพันธ์ระหว่างจริยธรรมกับระดับสติปัญญา ลักษณะมุ่งอนาคต และความสามารถ
ในการควบคุมตนเองจากทฤษฎีที่ใช้จริยธรรมโดยสิ้นเชิง
3. ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม ทฤษฎีนี้ คือทฤษฎีที่อธิบายวิธีการและขบวนการที่บุคคลได้รับ
อิทธิพลจากสังคม ทำให้เกิดการยอมรับลักษณะและกฎเกณฑ์ทางสังคมมาเป็นลักษณะของตน ซึ่ง
ทฤษฎีนี้ได้นำเอาหลักการเสริมแรง (Principle of Reinforcement) และหลักการเชื่อมโยง (Principle of
Association) มาใช้อธิบายปรากฏการณ์ทางสังคม กล่าวคือ จริยธรรมกำหนดขึ้นหรือเปลี่ยนแปลงไป
จากเดิมเป็นผลสืบเนื่องมาจากการเรียนรู้โดยบังเอิญและการเลียนแบบ ทฤษฎีนี้ให้ความสำคัญแก่
ลักษณะของสถานการณ์ซึ่งจะเป็นเครื่องกระตุ้นให้บุคคลกระทำซ้ำจนกลายเป็นลักษณะนิสัยของเขาไป
ในที่สุด
4) พฤติกรรมเชิงจริยธรรม
ดวงเดือน พันธุมนาวิน (2522 : 3) ได้ให้ความหมายของพฤติกรรมเชิงจริยธรรมไว้ว่า หมายถึง
การที่บุคคลแสดงพฤติกรรมที่สังคมนิยมชมชอบ หรืองดเว้นการแสดงพฤติกรรมที่ฝ่าฝืนกฎเกณฑ์หรือ
ค่านิยมในสังคมนั้น พฤติกรรมเชิงจริยธรรมนี้เป็นสิ่งที่สังคมให้ความสำคัญมากกว่าด้านอื่นๆ ทั้งนี้
เพราะการกระทำในสิ่งที่ดีและเลวของบุคคลนั้นส่งผลโดยตรงต่อความผาสุกและความทุกข์ของสังคม
12
การศึกษาด้านอื่นๆ ของจริยธรรมจึงเป็นเพียงเพื่อให้เข้าใจและสามารถทำนายพฤติกรรมในสถานการณ์
ต่างๆ ของบุคคลเท่านั้น
พรรณทพิ ย์ ศริ วิ รรณบศุ ย ์ และคณะ (2527 : 6 – 7) ได้ให้ความหมายว่า พฤตกิ รรมเชงิ
จริยธรรมมีลักษณะความคิดพื้นฐาน คือ
1. พฤติกรรมเชิงจริยธรรม เป็นพฤติกรรมเจตนา เป็นพฤติกรรมที่ผ่านกระบวนการตัดสินใจ
ของผู้กระทำว่าเป็นพฤติกรรมที่ถูกของตน เป็นพฤติกรรมที่ดี และควรกระทำในสภาพหนึ่งๆ
2. การตัดสินใจของมนุษย์นั้น เป็นกระบวนการทางสติปัญญา เกิดจากความคิดไตร่ตรองความ
รู้สึกและเหตุผลของตนเอง กระบวนการนี้เรียกว่า “การไตร่ตรองทางจริยธรรม”
3. การไตร่ตรองทางจริยธรรม เป็นกระบวนการใช้เหตุผลตรรกบท กระบวนการในการใช้
เหตุผลมีข้ออ้าง 2 ประการ คือ
ก. ความเชื่อของตนเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ดีที่สุดและสมควรในสภาพหนึ่ง
ข. การรับสภาพการณ์ที่แวดล้อมตนในขณะนั้นว่าเป็นอย่างไร
แนวความคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความมีวินัยในตนเอง
1) ความหมายของความมีวินัยในตนเอง
กรมวิชาการ (2542 : 11)ให้ความหมายของวินัยไว้ว่า หมายถึง ระเบียบ กฎเกณฑ์ ข้อตกลงที่
กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางในการให้บุคคลประพฤติปฏิบัติในการดำรงชีวิตร่วมกัน เพื่อให้อยู่อย่าง
ราบรื่น มีความสุข ความสำเร็จ โดยอาศัยการฝึกให้รู้จักปฏิบัติตน รู้จักควบคุมตนเอง
พนัส หันนาคินทร์ และคณะ (2542 : 38) ให้ความหมายของคำว่า วินัย หมายถึง การปฏิบัติ
ตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง กติกา และกฎหมาย ตามที่สังคมได้วางไว้หรือตามที่กลุ่มได้ตกลง
อันจะนำมาซึ่งความสงบสุข ความเจริญก้าวหน้า ความมั่นคง และความปลอดภัย
กู๊ด (Good 1974 : 523) ได้กล่าวว่า วินัยในตนเองไม่ใช่การบังคับโดยอำนาจภายนอก หากหมาย
ถึง การบังคับโดยอำนาจภายในของบุคคลนั่นเอง และเป็นอำนาจอันเกิดจากการเรียนรู้หรือยอมรับคุณ
ค่าอันใดอันหนึ่ง ซึ่งทำให้บุคคลสามารถบังคับพฤติกรรมของตนเองได้
จากความหมายและแนวคิดดังกล่าวข้างต้น สรุปได้ว่า วินัยในตนเองหมายถึง การประพฤติ
ปฏิบัติให้ถูกต้องและเหมาะสมด้วยการคิด ตัดสินใจ และเลือกกระทำโดยความสมัครใจเพราะเกิดจาก
การรับรู้และตระหนักถึงคุณค่าของจรรยามารยาท ระเบียบข้อบังคับ ข้อตกลงภายในบ้าน โรงเรียน
ชุมชน สังคม กฎหมายและศีลธรรมที่ตนควรปฏิบัติเพื่อการอยู่ร่วมกัน
13
2) ความสำคัญของความมีวินัยในตนเอง
ภรณี คุรุรัตนะ (2537 : 8) กล่าวว่า วินัยเป็นระเบียบหรือข้อบังคับที่ควบคุมหมู่คณะให้อยู่ใน
สภาพเรียบร้อย การที่สังคมจะสงบสุขได้นั้นต้องอาศัยความมีวินัยในสังคม ซึ่งหมายถึง การประพฤติ
ปฏิบัติตนอย่างมีระเบียบแบบแผน ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม เคารพและเชื่อฟัง
กฎหมายและข้อบังคับของสังคม การสร้างวินัยในสังคมจะต้องปลูกฝังให้เกิดวินัยในตนเองตั้งแต่เด็ก
และวินัยที่ดีนั้นจะต้องเกิดจากความรู้ ความเข้าใจ และการยอมรับนับถือมากกว่าวินัยที่เกิดจากการใช้
อำนาจบังคับ
ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ สุชา จันทร์เอม (2511 : 9) ที่ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการมี
วินัยในตนเองว่า เป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาอุปนิสัยของเด็ก
ออซูเบล (Ausubel อ้างจาก สัณหพัฒน์ อรุณธารี 2536 : 21) กล่าวถึงความสำคัญของวินัย
ไว้ 5 ประการดังนี้
1.วินัยมีความจำเป็นต่อกระบวนการทางสังคม เพื่อให้เรียนรู้การยอมรับมาตรฐานของสังคม
และวัฒนธรรมต่างๆ ของสังคม
2.การมีวินัยมีผลต่อการมีบุคลิกภาพที่เหมาะสม และมีวุฒิภาวะ เช่น ฝึกให้มีการควบคุมตนเอง
การพึ่งพาตนเอง เป็นต้น
3. ผู้ที่มีวินัยเป็นผู้ที่มีศีลธรรม เชื่อฟัง พัฒนาความรู้สึกผิดชอบชั่วดี และความมีเหตุผล
4.วินัยมีความจำเป็นต่อความรู้สึกปลอดภัยของเด็ก และมีความจำเป็นต่อการออกกฎ ข้อบังคับ
ต่างๆ ด้วย
5.การมีวินัยในตนเองก่อให้เกิดความรู้ความชำนาญที่จะร่วมกิจกรรมกับผู้อื่นในสังคมโดย
เฉพาะความรู้ความชำนาญในเรื่องที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมสังคมให้เกิดความรู้ด้านมนุษย
สัมพันธ์ ที่จะทำให้การปฏิบัติต่อผู้อื่นเป็นไปอย่างราบรื่น อันก่อให้เกิดประโยชน์สมความ มุ่ง
หมาย
เบอร์นาร์ด (Bernard 1972 : 206 – 207) ได้ให้ความเห็นว่า เด็กต้องการวินัยที่เกิดจากความรู้
ความเข้าใจและการยอมรับนับถือมากกว่าวินัยที่เกิดจากการใช้อำนาจบังคับ
วิกกินส์ (Wiggins 1971 : 289) ได้อ้างถึงการศึกษาของโกช์ (Gough) ที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับความ
มีวินัยในตนเอง พบว่า ผู้ที่มีวินัยในตนเองสูงจะมีความรับผิดชอบมาก มีความวิตกกังวลน้อย มีความ
อดทน มีเหตุผลของตนเอง มีความยืดหยุ่นในความคิดและพฤติกรรมทางสังคม และยังพบว่า โดยทั่วไป
จะมีสุขภาพดีกว่าผู้ที่ขาดวินัยในตนเองอีกด้วย
จากความสำคัญของความมีวินัยในตนเองดังกล่าว สรุปได้ว่า ความมีวินัยในตนเองเป็นปัจจัย
สำคัญในการพัฒนาพฤติกรรมของเด็ก ช่วยให้สังคมมีความสงบสุข มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความ
มีวินัยในตนเองนั้นจะต้องเกิดจากการคิด ตัดสินใจ และเลือกกระทำด้วยความสมัครใจเพราะเกิดจาก
การรับรู้และตระหนักถึงคุณค่ามากกว่าที่จะเกิดจากการใช้คำสั่งหรือใช้อำนาจบังคับ
14
3) คุณลักษณะของผู้ที่มีวินัยในตนเอง
วิวาห์วัน มูลสถาน (2523 : 33) กล่าวว่า บุคคลที่มีวินัยในตนเองควรมีลักษณะและ
พฤติกรรม ดังนี้
1. เชื่อมั่นในตนเอง
2. มีความรู้สึกรับผิดชอบ
3. มีความตั้งใจจริง
4. มีลักษณะความเป็นผู้นำ
5. มีเหตุผล
6. เคารพสิทธิของผู้อื่น
7. ทำตามกฎเกณฑ์ของสังคม
8. มีความอดทน
กรุณา กิจขยัน (2517 : 21) ได้สรุปเกี่ยวกับความมีวินัยในตนเองไว้ว่า บุคคลที่มีวินัยแห่งตนจะ
มีคุณลักษณะและพฤติกรรม ดังนี้
1. มีความรับผิดชอบ
2. เชื่อมั่นในตนเอง
3. มีความรู้สึกรับผิดชอบ
4. มีความตั้งใจจริง ใจคอมั่นคง
5. กล้าคิด กล้าทำ กล้าพูด
6. มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น และไม่เกรงใจโดยปราศจากเหตุผล
7. ไม่กังวลใจ
8. มีลักษณะความเป็นผู้นำ
9. มีความอดทน
10. มีความซื่อสัตย์ จริงใจมีเหตุผล
กรมวิชาการ (2523 : 151 – 153) ได้สรุปประเภทและพฤติกรรมของผู้มีการรักษาระเบียบวินัย
ไว้ ดังต่อไปนี้
1. การรักษาระเบียบภายนอก
1.1 การรักษาระเบียบวินัยในการบริโภค ได้แก่ การรับประทานอาหารให้ถูกหลักอนามัยและ
สุขวิทยา มีมารยาทเรียบร้อยในการรับประทานอาหาร เช่น ไม่รับประมานอาหารในที่ที่ไม่สมควร
ไม่รับประทานมูมมาม เป็นต้น
1.2 การรักษาระเบียบวินัยในการอุปโภค ได้แก่ การรักษาร่างกาย เสื้อผ้า ที่อยู่อาศัย และเครื่อง
ใช้ให้สะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อย
15
1.3 การรักษาระเบียบวินัยต่อสถานที่ ได้แก่ การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบ
ร้อยทั้งในสำนักงาน วัดวาอาราม สถานที่ราชการและสาธารณสถานต่างๆ เช่น ถนน แม่น้ำ ลำ
คลอง โรงมหรสพ รถโดยสาร สวนสาธารณะ ฯลฯ และประพฤติปฏิบัติตามกฎและข้อบังคับของสถาน
ที่นั้นๆ
1.4 การรักษาระเบียบวินัยในการปกครอง ได้แก่ การสร้างวินัยเพื่อถือเป็นหลักปฏิบัติ และมี
การปกครองดี มีจรรยา มีวินัยเอาใจใส่กวดขัน ปรับปรุงระเบียบให้มีมาตรฐานควรแก่ความนิยมนับถือ
และปฏิบัติให้เป็นแบบอย่าง
2. การรักษาระเบียบภายใน
2.1 ระเบียบท่วงที ได้แก่ การจัดท่าทางที่ทำให้เหมาะสมแก่ฐานะและภูมิรู้ของตน ไม่ดูหมิ่น
ผู้อื่น ไม่ทะนงตน
2.2 ระเบียบกิริยา ได้แก่ การควบคุมอาการของร่างกายที่เคลื่อนไหวออกมาให้ปรากฏแก่คนทั้ง
หลายโดยควบคุมและปรับปรุงกิริยาให้งดงามเป็นระเบียบ มีกิริยาดี สุภาพอ่อนโยน ประพฤติปฏิบัติได้
เหมาะสมแก่บุคคล โอกาส เวลา และสถานที่
2.3 ระเบียบวาจา ได้แก่ การพูดไพเราะ พูดมีประโยชน์ ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ยุยง ไม่พูด
คำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ
2.4 ระเบียบใจ ได้แก่ การรู้จักควบคุมจิตใจและอารมณ์ให้อยู่ในกรอบและระเบียบที่ดีงาม
4) ทฤษฎีพัฒนาการของความมีวินัยในตนเอง
วินัยในตนเองมีลักษณะของการแสดงออกทางจริยธรรมและคุณธรรมของบุคคลมากกว่าและ
สำคัญกว่าลักษณะของความรู้ดีรู้ชั่วและความสามารถ กระทำดี กระทำชั่วด้วย ฉะนั้น จึงควรให้ความ
สนใจเกี่ยวกับที่มาและการเจริญเติบโตทางจิต และลักษณะการมีวินัยในตนเอง นักจิตวิทยาพัฒนาการ
ได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้มานานและมีความเห็นว่า ความมีวินัยในตนเองจะบ่งบอกถึงระดับ
พัฒนาการทางจิตของบุคคลได้ด้วย (โสภาพร แก่นเพ็ชร์ 2530 : 20 – 30)
ทฤษฎีที่สำคัญเกี่ยวกับพัฒนาการความมีวินัยในตนเอง คือ ทฤษฎีของเมาเรอร์ (Mower) ว่าด้วย
จุดกำเนิดของการควบคุมตน และทฤษฎีแรงจูงใจทางหลักจริยธรรม
1. ทฤษฎีการเกิดวินัยในตนเองของ เมาเรอร์ (Mower)
ดวงเดือน พันธุมนาวิน (2527 : 62) ได้สรุปทฤษฎีของเมาเรอร์ไว้ว่า การเกิดวินัยในตนเองของ
บุคคลแต่ละคนนั้น นักทฤษฎีจิตวิทยาเชื่อว่า จะต้องมีพื้นฐานมาตั้งแต่ระยะแรกเกิดจนกระทั่งเติบโตขึ้น
มา จุดเริ่มต้น คือ ความสัมพันธ์ระหว่างทารกกับมารดาหรือผู้เลี้ยงดู อันจะนำไปสู่ความสามารถควบคุม
ตนเองเมื่อโตขึ้น ทารกและเด็กจะต้องเรียนรู้จากผู้ที่เลี้ยงดู โดยการเรียนรู้นี้จะเกิดในสภาพอันเหมาะสม
เท่านั้น การเรียนรู้ของทารกและเด็กนี้จะเกิดขึ้นหลายระดับและมีขั้นตอน ดังต่อไปนี้
16
จุดเริ่มต้นอยู่ที่การที่ทารกได้รับการบำบัดความต้องการ เช่น หิวก็ได้ดื่มนม ร้อนก็ได้อาบน้ำ
ยุงกัดก็มีผู้มาปัดให้ เมื่อทารกได้รับการบำบัดความต้องการก็จะรู้สึกสบาย พอใจและมีความสุข
ความสุขนี้จะรุนแรงมากและติดตรึงอยู่ในสำนึกของทารกไปจนเติบโตขึ้น ขั้นต่อมาคือ ความสุข
ความพอใจของเด็กที่เกิดจากการได้รับการบำบัดความต้องการต่างๆ การปรากฏตัวของมารดาทำให้เกิด
ความสุขความพอใจ การรักและพอใจมารดานั้นจะต้องเกิดด้วยการเรียนรู้เช่นนี้ ถ้าหากความสุข
ความพอใจ การรักและพอใจมารดานั้นต้องได้รับการบำบัดในทางตรงข้าม เช่น เมื่อหิวไม่ได้กิน หรือ
กินเมื่อไม่หิว เด็กจะไม่เกิดความพอใจ เด็กก็จะไม่มีรากฐานในการที่จะเรียนรู้ ที่จะรัก และพอใจมารดา
ของตน เมื่อการเรียนรู้ขั้นแรกเกิดขึ้นแล้วจึงเป็นรากฐานในการที่จะเรียนรู้ขั้นที่สองต่อไป กล่าวคือ
มารดาย่อมควบคู่มากับการอบรมสั่งสอนเด็กด้วยคำพูดหรือการกระทำต่างๆ ต่อมาเด็กจึงจะมีความสุข
เลียนแบบมารดาทางคำพูด การกระทำ หรือทำตามที่มารดาสั่งสอน ความสุขความพอใจที่เกิดขึ้น
มีลักษณะเป็นการให้รางวัลและชมเชยตนเองโดยบุคคลไม่ต้องหวังผลจากภายนอก เด็กจะเลียนแบบ
ผู้เลี้ยงดูตนทั้งทางที่ดีและไม่ดีขึ้นอยู่กับลักษณะของผู้ที่ตนรัก ตนพอใจ เช่น ถ้าเด็กเห็นมารดาสูบบุหรี่
เสมอ เมื่อเด็กสูบบุหรี่บ้างก็จะมีความสุขความพอใจเพราะเป็นลักษณะของผู้ที่ตนรัก ลักษณะที่แสดงถึง
การมีวุฒิภาวะทางจิตของบุคคลนั้นจะปรากฏขึ้นในเด็กปกติที่อายุประมาณ 8 – 10 ขวบ และจะพัฒนา
ต่อไปจนสมบูรณ์เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ฉะนั้น ผู้ที่จะบรรลุภาวะทางจิตอย่างสมบูรณ์จึงเป็นผู้ที่สามารถ
ควบคุมตนให้ปฏิบัติอย่างมีเหตุมีผลในสถานการณ์ต่างๆได้ เช่น ในการตอบโต้เมื่อเด็กเกิดความ
คับข้องใจ หรือเมื่อเกิดความกลัวในการ มีความรัก และในการมีอารมณ์ขัน ผู้ที่ขาดวินัยในตนเอง
เพราะไม่ได้ผ่านการเรียนรู้ตามที่กล่าวมาแล้วจะกลายเป็นบุคคลที่ขาดความยับยั้งชั่งใจในการกระทำ
และอาจกลายเป็นผู้ทำผิดกฎเกณฑ์และกฎหมายของบ้านเมืองอยู่เสมอ ในรายที่รุนแรงอาจกลายเป็น
อาชญากรรมเรื้อรังหมดโอกาสที่จะแก้ไข
การเกิดวินัยในตนเองนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นในบุคคลซึ่งจะพัฒนาเป็นลักษณะที่เด่นชัดและนำไป
สู่พฤติกรรมของบุคคลต่อไป
2. ทฤษฎีแรงจูงใจทางหลักจริยธรรม การที่บุคคลจะกระทำพฤติกรรมทางจริยธรรมต่างๆนั้น
ความต้องการกระทำเป็นสาเหตุสำคัญ เพคและแฮวิกเฮิสต์ (Peck and Havighurst อ้างในดวงเดือน
พันธุมนาวิน 2527 : 64) ก็เห็นความสำคัญนี้ และเชื่อว่าการควบคุมของอีโก้ (Ego) และซุปเปอร์อีโก้
(Superego) ร่วมกันช่วยให้เกิดความต้องการแสดงพฤติกรรมเพื่อผู้อื่นอย่างสมเหตุสมผล นักทฤษฎี
ทั้งสองเห็นว่าพลังควบคุมของอีโก้ในบุคคลจะมีมากหรือน้อยก็ได้ และแต่ละบุคคลจะมีพลังควบคุม
อีโก้และซุปเปอร์อีโก้ในส่วนผสมที่ไม่เท่ากัน และอาจแบ่งบุคคลตามลักษณะทั้งสองนี้ร่วมกันออกเป็น
5 ประเภท คือ
2.1 พวกปราศจากจริยธรรม หมายถึง พวกที่มีพลังทั้งสองน้อยมาก โดยบุคคลจะยึดตนเองเป็น
ศูนย์กลาง และเห็นแก่ตัวฝ่ายเดียว เป็นผู้ที่ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ บุคคลประเภทนี้ถูกควบคุมโดย
เห็นแก่ตัวของตนเอง
17
2.2 พวกเอาแต่ได้ หมายถึง บุคคลที่พลังควบคุมอีโก้น้อย แต่พลังควบคุมของซุปเปอร์อีโก้มี
มากขึ้นแต่จัดอยู่ในประเภทปานกลางค่อนข้างน้อย บุคคลประเภทนี้ยังจะยึดตนเองเป็นศูนย์กลางและ
กระทำทุกอย่างเพื่อความพอใจและผลได้ตัวเอง เป็นคนไม่จริงใจ ลักษณะปรากฏตั้งแต่วัยเด็กตอนต้น
และในคนบางประเภทจะติดตนไปจนตาย
2.3 พวกชอบคล้อยตาม หมายถึง บุคคลที่มีพลังควบคุมอีโก้น้อยเหมือนสองประเภทแรกแต่มี
พลังควบคุมของซุปเปอร์อีโก้มากกว่า คืออยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างมาก คนพวกนี้จะยึดพวกพ้อง
เป็นหลัก และคล้อยตามผู้อื่นโดยไม่ไตร่ตรอง บุคคลประเภทนี้อยู่ภายใต้การควบคุมของสังคมและกลุ่ม
2.4 พวกตั้งใจจริงแต่ขาดเหตุผล หมายถึง บุคคลที่มีพลังควบคุมอีโก้ในระดับปานกลางแต่มี
พลังควบคุมของซุปเปอร์อีโก้มาก จะเป็นผู้ยอมรับเกณฑ์และค่านิยมของสังคมเข้าไปในลักษณะของ
ตนเอง จะเป็นผู้ตามกฎเกณฑ์และกฎหมายอย่างเคร่งครัด เห็นว่ากฎเกณฑ์เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์แม้จะก่อผล
เสียต่อคนอื่นก็ไม่สนใจ บุคคลประเภทนี้จะเป็นหลักของชุมชน เพราะมีความมั่นคงในการกระทำและ
ความเชื่อ คนอื่นเห็นได้ง่าย แต่ขาดความยืดหยุ่นอย่างมีเหตุผล คนประเภทนี้จึงยังเป็นคนที่ไม่สมบูรณ์
ทางจริยธรรม
2.5 พวกเห็นแก่ผู้อื่นอย่างมีเหตุผล คือ บุคคลที่มีพลังควบคุมอีโก้มาก และในขณะเดียวกันก็มี
พลังควบคุมของซุปเปอร์อีโก้มากด้วย ซึ่งทำให้เกิดความสมดุลระหว่างการทำตามกฎเกณฑ์ของสังคม
และความสมเหตุสมผลโดยยึดการเห็นแก่ผู้อื่นทั่วไปเป็นหลัก บุคคลประเภทนี้มีความสามารถควบคุม
ตนเองอย่างมีเหตุผลไม่ตกอยู่ในอิทธิพลของสังคม หรืออยู่ใต้อิทธิพลของสังคมอย่างปราศจากเหตุผล
บุคคลประเภทนี้ก่อนจะทำอะไรต้องพิจารณาอย่างสมเหตุสมผลเพื่อผู้อื่นและพร้อมที่จะร่วมมือกับ
สังคม บุคคลประเภทนี้มีไม่มากในสังคม แต่นักทฤษฎีทั้งสองเชื่อว่าเป็นบุคลิกภาพที่พัฒนาสูงสุดของ
มนุษย์
จากการวิจัยลักษณะของบุคคลตามทฤษฎีนี้ ปรากฏว่าผู้ถูกศึกษาแต่ละคนจะมีลักษณะผสม
หลายประเภทพร้อมกัน แต่จะสามารถเห็นลักษณะที่เด่นชัดที่สุดของแต่ละบุคคลได้ไม่ยากนัก
เด็กแต่ละคนจะเริ่มมีบุคลิกภาพประเภทใดประเภทหนึ่งที่กล่าวมาแล้วนี้ตั้งแต่อายุ 10 ปี แต่ยังไม่เด่น
ชัดนัก แต่เมื่อโตขึ้นบุคลิกภาพประเภทนั้นเด่นชัดขึ้นทุกที
ทฤษฎีแรงจูงใจทางจริยธรรมของเพคและแฮวิกเฮิสต์นี้มีความสอดคล้องกับทฤษฎีพัฒนาการ
การเกิดวินัยในตนเองซึ่งเมาเรอร์ กล่าวว่า ลักษณะการมีวินัยในตนเองจะยังไม่ปรากฏชัดเจนจนกว่าเด็ก
จะอายุ 8 – 10 ปี ในเด็กวัยนี้เด็กจะมีบุคลิกภาพที่จัดเข้าหลายประเภทตามทฤษฎีของเพคและ
แฮวิกเฮิสต์ แต่จะมีบุคลิกภาพประเภทใดประเภทหนึ่งที่แสดงออกมากและเมื่อเติบโตขึ้นเป็นวัยรุ่นและ
ผู้ใหญ่ บุคลิกภาพประเภทที่เกิดขึ้นบ่อยนั้นจะยิ่งเกิดขึ้นบ่อยยิ่งขึ้น ฉะนั้น การให้จริยศึกษาเพื่อพัฒนาให้
บุคคลเป็นผู้ที่เห็นแก่ผู้อื่นอย่างมีเหตุผลจึงต้องเริ่มในวัยเด็ก ให้เด็กมีพลังควบคุมของอีโก้ให้มากที่สุด
ส่วนในวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ตอนต้น จริยศึกษาจะช่วยให้ความแปรปรวนในลักษณะของบุคคลมาหยุด
อย่างถาวรที่ลักษณะที่สมบูรณ์ที่สุดแทนที่จะหยุดอยู่ที่ประเภทของบุคลิกภาพที่ต่ำกว่า
18
จากแนวคิดและทฤษฎีพัฒนาการความมีวินัยในตนเองข้างต้น สรุปได้ว่า การจะให้เด็กมีวินัยจะ
ต้องปลูกฝังให้เด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึงเติบโตเป็นผู้ใหญ่ โดยเฉพาะการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3
จะทำให้เด็กมีวินัยเป็นอย่างดี ดังนั้น ผู้ปกครองและครูจึงต้องนำแนวทางการสร้างวินัย สอดแทรกในทุก
กิจกรรมอย่างต่อเนื่องและปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีให้เด็กได้เห็นได้ปฏิบัติตาม
5) การส่งเสริมและพัฒนาความมีวินัยในตนเอง
สุชา จันทร์เอม และสุรางค์ จันทร์เอม (อ้างในกุลชา ศิรเฉลิมพงศ์ 2544 : 22) ได้เสนอแนะ
วิธีการปลูกฝังความมีวินัยในตนเองหรือการรู้จักบังคับตนเองให้แก่เด็ก โดยบิดามารดาจะต้องปฏิบัติ
ดังต่อไปนี้คือ
1. ต้องสร้างความสัมพันธ์อันดีกับเด็ก
2. วางกฎเกณฑ์ในโอกาสอันเหมาะสม เมื่อเด็กทำความผิดควรอธิบายให้เด็กเข้าใจ ถ้าจะลง
โทษเด็กก็ไม่ควรจะลงโทษด้วยอารมณ์โกรธ แต่ควรลงโทษเพื่อเป็นการสั่งสอนและให้เด็กเข้าใจด้วยว่า
ทำไมเขาจึงถูกลงโทษ ควรสอนให้เด็กรู้จักปรับตัวให้เข้ากับกฎเกณฑ์ต่างๆ และบิดามารดาจะต้อง
คงเส้นคงวา ต้องยินยอมให้เด็กมีอิสระในการพัฒนาตนเองตามสมควร ต้องมีความนับถือในตัวเด็ก และ
ยกย่องชมเชยเด็กบ้างในโอกาสอันสมควร
3. ต้องเข้าใจถึงความสามารถของเด็กและช่วยให้เขาได้เรียนรู้ในสิ่งต่างๆ ที่ควรกระทำ ควร
ยกบุคคลที่มีระเบียบวินัยดีมาให้เด็กดูเป็นตัวอย่าง
พนัส หันนาคินทร์ และคณะ (2542 : 38) ได้กำหนดแนวทางการปฏิบัติตนให้มีระเบียบวินัยไว้
3 ข้อ ดังนี้
1. ต้องรู้จักกฎระเบียบของสังคมที่เราอยู่เป็นอย่างดีเพื่อจะได้ไม่ละเมิดกฎหมาย
2. ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบนั้นอย่างเคร่งครัด ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
3. ฝึกปฏิบัติตามกฎระเบียบจนติดเป็นนิสัย
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (2540 : 21) ได้ให้แนวคิดในการสร้างวินัยไว้ 5
ประการ คือ
1. การทำให้เกิดพฤติกรรมเคยชิน โดยให้บุคคลรู้เห็นและปฏิบัติพฤติกรรมที่ดีเพื่อเป็น
พื้นฐานและปฏิบัติต่อเนื่องจนเกิดเป็นพฤติกรรมเคยชินที่ดี
2. การใช้วัฒนธรรมในสังคม เป็นแนวปฏิบัติผสมผสานกับหลักการทำให้เป็นพฤติกรรม
เคยชิน เช่น การทำความเคารพด้วยการไหว้เมื่อพบผู้ใหญ่เป็นสิ่งที่เด็กทำได้โดยง่ายแต่การเข้าแถวไม่ใช่
วัฒนธรรมไทย เด็กไม่ได้เห็นแบบอย่างที่ดีอยู่เสมอ เช่น การไหว้ของไทย ดังนั้น การไหว้จึงง่ายต่อการ
ปฏิบัติมากกว่าการเข้าแถว
19
3. การใช้องค์รวม เป็นความสัมพันธ์ระหว่างจิตใจ พฤติกรรมและสติปัญญาซึ่งเป็นหลักทาง
การศึกษาและหลักการพัฒนาจริยธรรม คือ มีความเข้าใจในความสำคัญของสิ่งที่จะกระทำ มีความพอใจ
และยอมรับในสิ่งที่จะกระทำ ย่อมนำไปสู่ความพร้อมในการกระทำ
4. การใช้แรงหนุนสภาพจิต เป็นการตั้งความมุ่งมั่นหรืออุดมการณ์และพยายามปฏิบัติตามเป้า
หมายที่มุ่งมั่นไว้ ซึ่งอาจทำให้เกิดการเปรียบเทียบแม้ความภาคภูมิใจในผลการปฏิบัติหากใช้มากเกินไป
จะกลายเป็นดูถูกดูหมิ่นผู้อื่น อันเกิดจากการเปรียบเทียบและพึ่งพากำลังใจจากภายนอก
5. การใช้กฎเกณฑ์บังคับ เป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้เกิดวินัยได้ชั่วระยะหนึ่ง เมื่อไม่มีผู้ใดควบคุม
วินัยก็จะหายไป จึงเป็นวิธีที่ไม่ถูกต้อง
บรรเทา กิตติศักดิ์ (2528 : 182) ได้กล่าวถึง วิธีการพัฒนาและเสริมสร้างวินัยในตนเองไว้
ดังต่อไปนี้
1.ให้เด็กเข้าใจระเบียบข้อบังคับด้วยเหตุผลว่า เหตุใดจึงต้องมีระเบียบข้อบังคับ ไม่ใช้วิธีการ
ห้ามหรือการใช้กำลังโดยไม่บอกเหตุผล
2. ชี้แจงให้นักเรียนเข้าใจประโยชน์ที่จะได้รับจากการปฏิบัติตามระเบียบวินัย
3.เสรีภาพของการกระทำต่างๆ นั้นมิใช่เสรีภาพตามใจปรารถนาที่จะทำสิ่งใดได้ตามใจชอบ แต่
เสรีภาพในการกระทำจะต้องไม่กระทบกระเทือน เป็นผลเสียแก่ตนเองและแก่ส่วนรวม เป็นเสรีภาพการ
กระทำที่ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ซึ่งการที่จะให้เด็กมีวินัยในตนเองและมีความรับผิดชอบต่อผู้อื่นนั้น จะ
ต้องสร้างบรรยากาศของความมีเสรีภาพให้แก่เด็กเป็นเบื้องต้น ทุกวันนี้เด็กนักเรียนของเรามักจะถูก
ครอบงำด้วยกฎ ระเบียบ ประเพณี วัฒนธรรม มากจนเกินไป ทำให้เด็กเกิดความรู้สึกว่าสิ่งเหล่านี้เป็น
สิ่งที่กักขัง หน่วงเหนี่ยว จึงคิดแต่จะหลีกเลี่ยง
4.ระเบียบข้อบังคับเป็นสิ่งจำเป็นแก่หมู่คณะ เป็นกฎเกณฑ์ของสังคมที่จะควบคุมมิให้คนใน
สังคมทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ตามอำเภอใจ ฉะนั้นคนในสังคมจะต้องรู้กฎหมาย รู้ระเบียบข้อบังคับของ
สังคม และต้องมีวัฒนธรรมอันดีงาม โรงเรียนต้องให้ความสำคัญในเรื่องวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม
ประเพณี ของสังคมเท่าๆ กับระเบียบข้อบังคับที่สังคมได้กำหนดขึ้น
5.ระเบียบข้อบังคับในโรงเรียนจะต้องเกิดขึ้นจากความต้องการของผู้เรียนมิใช่เกิดจากครู
ระเบียบข้อบังคับควรจะได้อภิปรายและให้นักเรียนช่วยกันวางระเบียบข้อบังคับเหล่านั้น เพื่อเป็นแนว
ทางการประพฤติปฏิบัติ
อรรณพ อุ่นจะนำ (2541 : 19) กล่าวว่า วินัยในโรงเรียนควรมีลักษณะ ดังต่อไปนี้
1. การทำดีของนักเรียนเป็นไปเพราะคนเห็นดีเห็นงามที่จะได้จากการกระทำดีไม่ใช่เพราะ
อำนาจภายนอกคอยบังคับให้กระทำดี การเชื่อฟัง และระเบียบเกิดขึ้นจากการเข้าใจเหตุผลของการ
กระทำตามระเบียบ ไม่ใช่กลัวอำนาจของบุคคลอื่นที่ออกระเบียบนั้น จุดหมายปลายทางของวินัยใน
โรงเรียน คือ ต้องการให้รู้จักควบคุมตนเอง
20
2. การออกคำสั่งให้นักเรียนปฏิบัติตาม ได้พิจารณาอย่างรอบคอบแล้วว่าจะเป็นส่วนช่วยให้
นักเรียนประพฤติดี ไม่ใช่ออกมาเพื่อเหตุผลส่วนตัวของผู้มีอำนาจที่จะออกคำสั่งนั้น
3. การปฏิบัติต่อหน้าผู้กระทำผิด เป็นไปตามลักษณะพื้นฐานส่วนตัวของผู้กระทำความผิด
เป็นรายๆไป
4. กิจกรรมทั้งหลายของนักเรียนทั้งในและนอกห้องเรียนเป็นส่วนให้นักเรียนได้สร้างความ
เจริญไปในวิถีทางอันเป็นที่ยอมรับกันในสังคม
นวลศิริ เปาโรหิตย์ (2540 : 30 – 34) การสร้างวินัยให้เด็กยอมรับนั้น วินัยหรือกฎทุกกฎต้องมี
ลักษณะ 3 ประการ ดังนี้
1. กฎต้องสมเหตุสมผล หมายความว่า สิ่งที่อยากให้เด็กทำนั้นควรเป็นสิ่งที่เป็นไปได้และเป็น
เรื่องที่เด็กทำได้ในระดับอายุของเขา
2. กฎต้องถูกต้องชัดเจนไม่คลุมเครือ คือ ต้องแน่ใจว่ากฎที่ตั้งขึ้นในเด็กทุกเรื่องเป็นสิ่งชัดเจน
อย่าให้มีข้อสงสัยหรือโต้เถียงได้
3. กฎต้องบังคับได้ คือ ต้องมีการกำหนดโทษ ถ้าทำผิดก็ต้องลงโทษอย่างจริงจัง ทำอย่างต่อ
เนื่องและสม่ำเสมอ
สุชา จันทร์เอม และสุรางค์ จันทร์เอม (2517 : 192) กล่าวถึงบทบาทของครูในการพัฒนา
นักเรียนให้มีวินัยในตนเอง ดังนี้
1. การสร้างความสามัคคี น้ำหนึ่งใจเดียวกันขึ้นในห้องเรียน ให้มีความรู้สึกว่ามีส่วนร่วมกัน
และยอมเสียสละเพื่อหมู่คณะ
2. สร้างความรู้สึกให้เด็กเห็นว่าตนมีความสำคัญต่อหมู่คณะ
3. สร้างบรรยากาศแห่งความเป็นกันเองภายในห้องเรียน
4. สร้างความเชื่อมั่นในตนเองให้เกิดขึ้นในตัวเด็ก
5. พยายามศึกษาเด็กเป็นรายบุคคล เพื่อนำไปเป็นเครื่องแก้ปัญหาทางวินัย
6. ควรหัดให้เด็กรับผิดชอบในการแก้ปัญหาต่างๆ
7. ไม่ควรใช้การห้ามเป็นเครื่องอบรมทางวินัย ควรใช้วิธียั่วยุให้ทำในสิ่งที่ถูก
8. ให้โอกาสเด็กมีส่วนร่วมในการจัดโรงเรียน
9. ครูต้องเตรียมการสอนและกิจกรรมเป็นอย่างดี โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
10. ระเบียบที่วางไว้ควรเริ่มจากนักเรียน ให้นักเรียนร่วมมือกันวางกฎเกณฑ์
สำหรับลักษณะการเรียนการสอนที่มุ่งจะปลูกฝังให้นักเรียนมีวินัยในตนเองนั้น กาญจนา
หาสิตะพันธุ์ (2517 : 203 – 204) ได้เสนอข้อควรปฏิบัติของครู ดังต่อไปนี้
1. ครูควรใช้วิธีแนะแนวทางนักเรียน ซึ่งอาจแสดงให้เห็นว่าครูเชื่อในคุณค่าของนักเรียนแทนที่
จะใช้วิธีการซึ่งเป็นการดูถูกความมั่นใจในตัวเอง
21
2. ครูพิจารณาเหตุการณ์ทีละเหตุการณ์ เมื่อมีการกระทำผิดทางวินัยขึ้นพิจารณาความต้องการ
และประวัติชีวิตของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดนั้น จะไม่มีการลงโทษเพื่อให้เป็นตัวอย่างแก่
กลุ่ม แต่จะให้มีการเรียนรู้เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลที่กระทำผิดนั้น
3. จัดโรงเรียนและห้องเรียนให้มีบรรยากาศเต็มไปด้วยความเคารพและเชื่อถือกัน
4. ครูยอมรับเด็กทุกคน ซึ่งจะช่วยให้เด็กเกิดความสบายใจในลักษณะของตนที่ต่างจากเพื่อนทุก
คน
5. ครูช่วยให้เด็กเข้าใจเหตุผลของมาตรฐานและกฎต่างๆ และให้เห็นผลของพฤติกรรมของตน
ครูบอกขอบเขตกว้างๆ ของพฤติกรรมซึ่งเป็นที่ยอมรับของสังคม ต่อจากนั้นให้เด็กช่วยวางกฎเอง
6. ครูช่วยให้เด็กรู้จักการปกครองตนเอง โดยให้วางโครงการกิจกรรมของตนเอง จัดเครื่องใช้
ในชั้นและประดับตกแต่งห้อง เด็กโตขึ้นจะค่อยๆ รับภาระในการปกครองตนเองให้มากขึ้น
7.ครูศึกษาพฤติกรรมของเด็กตามวิธีวิทยาศาสตร์หาเหตุผลของพฤติกรรมและวิธีเปลี่ยน
พฤติกรรม
8.ครูช่วยเด็กให้เข้าใจต้นตอของพฤติกรรมของตนและของผู้อื่น และหาแนวทางที่เหมาะสมใน
การเผชิญความขัดแย้ง
ในการส่งเสริมและพัฒนานักเรียนให้เป็นผู้มีวินัยในตนเองนั้น สุชา จันทร์เอม (2521 : 191)
ได้เสนอแนะวิธีไว้ ดังนี้
1. ครูทำงานร่วมกับเด็ก
2. ครูปฏิบัติต่อเด็กเป็นรายบุคคลไปตามความสามารถของแต่ละบุคคล
3. ส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายบุคคล
4. ส่งเสริมความเจริญงอกงามทุกด้านของเด็ก
5.โดยการจัดประสบการณ์หรือกิจกรรมให้เด็กเลือกเรียนตามความสามารถ ความสนใจ ความ
ถนัดโดยธรรมชาติ และความต้องการของเด็ก
ดังนั้น ความมีวินัยในตนเองของนักเรียนสามารถปลูกฝังและพัฒนาได้โดยครูเป็นผู้ที่มีบทบาท
สำคัญในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและสอดคล้องกับคุณลักษณะและพฤติกรรมที่ก่อให้เกิด
ความมีวินัยในตนเอง และให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนด้วย
22
แนวความคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการอบรมให้รู้ระเบียบสังคม (Socialization) และกลุ่ม
ตัวแทนที่ให้การอบรมให้รู้ระเบียบสังคม (Agencies of Socialization)
ความหมายของการอบรมให้รู้ระเบียบสังคม (Socialization) และกลุ่มตัวแทนที่ให้
การอบรมให้รู้ระเบียบสังคม (Agencies of Socialization)
นักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายของการอบรมให้รู้ระเบียบสังคมและกล่าวถึงกลุ่ม
ตัวแทนที่ให้การอบรมให้รู้ระเบียบสังคม ดังนี้
สุพัตรา สุภาพ (2535 : 37 – 45) ให้ความหมายของการอบรมให้รู้ระเบียบของสังคมว่า เป็น
กระบวนการทั้งทางตรงและทางอ้อมของมนุษย์ในสังคมหนึ่งๆ เพื่อที่จะพัฒนาตนเองให้เป็นสมาชิกที่ดี
ของสังคมและเพื่อพัฒนาบุคลิกภาพของตนเองด้วย และตัวแทนในการอบรมให้รู้ระเบียบสังคมมีอยู่
6 กลุ่ม คือ
1. ครอบครัว เป็นสถาบันพื้นฐานที่ขัดเกลามนุษย์ให้รู้ว่าสิ่งใดควรทำสิ่งใดไม่ควรทำ หรืออะไร
ถูกอะไรผิด เป็นต้น เป็นสถาบันที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาบุคลิกภาพอย่างลึกซึ้งและมีอิทธิพลต่ออารมณ์
ทัศนคติและความประพฤติของเด็กเป็นอย่างยิ่ง
การอบรมของครอบครัวนี้ทำได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทางตรงก็บอกกันตรงๆ ว่าต้องทำตัว
อย่างไรเพื่อจะได้วางตัวได้ถูกต้องเหมาะสม บางครั้งอาจการให้รางวัลและการลงโทษ ส่วนทางอ้อมเป็น
การอบรมแบบไม่ได้ทำเป็นทางการ อาจจะเป็นการเลียนแบบหรือรับเข้าไปโดยไม่รู้ตัว
2. กลุ่มเพื่อน เป็นกลุ่มที่มีอายุระดับใกล้เคียงกัน โดยอาจจะรวมกันเป็นกลุ่มเพื่อนธรรมดา
จนถึงชมรม สมาคมที่ตนสนใจ กลุ่มเพื่อนมีอิทธิพลต่อทัศนคติ ความคิด การแต่งกาย การแสดงออก
เพื่อให้เพื่อนยอมรับตนเป็นสมาชิก เพื่อนจึงอาจจะสอนเด็กให้ทำตามกฎเกณฑ์หรือฝืนกฎเกณฑ์ของ
สังคมได้
3. โรงเรียน เป็นเสมือนบ้านที่สองของเด็กในการที่จะได้รับความรู้ความคิดต่างๆ และวิชาการ
ต่างๆอย่างเป็นทางการ โรงเรียนจึงมีอิทธิพลและมีผลต่อการพัฒนาบุคลิกภาพของเด็ก เพราะเด็กสมัย
ใหม่มักจะใช้ชีวิตอยู่ในโรงเรียนเป็นระยะยาวนาน
4. กลุ่มอาชีพ กลุ่มอาชีพต่างๆ ในสังคมแต่ละกลุ่มจะมีคุณค่าหรือระเบียบกฎเกณฑ์แตกต่างกัน
ไปตามอาชีพของตน บุคคลในแต่ละอาชีพจึงมีบุคลิกภาพแตกต่างกันไป การอบรมในวัยนี้จึงเป็นวัยที่
ค่อนข่างจะเป็นผู้ใหญ่แล้ว การขัดเกลาจึงอาจจะยากกว่าเด็ก เพราะเมื่อผ่านมาถึงระดับนี้แต่ละคนมี
ความนึกคิดเป็นแบบฉบับของตนเองอยู่ในใจแล้ว
5.ตัวแทนทางศาสนา เป็นตัวแทนที่ขัดเกลาหรือแนะแนวทางให้คนยึดเหนี่ยวจิตใจเพื่อเป็น
เป้าหมายในการกระทำ โดยเฉพาะศาสนาพุทธได้สอนให้คนเราไม่ตั้งอยู่ในความประมาท เพราะหลาย
23
สิ่งในโลกไม่มีความแน่นอนจึงต้องยึดมั่นในสิ่งที่ดีงาม มีศีลธรรม จริยธรรมและความประพฤติในทางที่
ถูกที่ควร
6. สื่อมวลชน สื่อมวลชนเหล่านี้มีหลายประเภท เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ภาพยนตร์
นวนิยาย วรรณคดี เป็นต้น อิทธิพลของสื่อมวลชนนี้จะมีมากน้อยเพียงไรขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่
กับภูมิหลังของครอบครัวว่าได้สอนลูกมาให้รู้จักเหตุและผลหรือเลือกเฟ้นข่าวสารต่างๆ ได้แค่ไหนหรือ
ขึ้นอยู่กับเจตคติของแต่ละบุคคลต่อสิ่งที่ตนได้รับ
อุบล เสถียรปกิรณกรณ์ (2528 : 140 – 160) ได้ให้ความหมายของการอบรมให้รู้ระเบียบ
สังคมว่า เป็นกระบวนการที่ทำให้บุคคลหนึ่งๆ มีความรู้สึกนึกคิดและพฤติกรรมต่างๆ ตามที่สังคม
หนึ่งๆ มีอยู่ เช่น ทำให้คนที่อยู่ในสังคมไทยมีความรู้สึกนึกคิดและพฤติกรรมแบบไทย ทำให้คนที่อยู่ใน
สังคมจีนมีความรู้สึกนึกคิดและพฤติกรรมแบบจีน เป็นต้น และบุคคลหรือกลุ่มตัวแทนที่ให้การอบรม
ให้รู้ระเบียบสังคม มีดังนี้
1. พ่อแม่ผู้ปกครอง อบรมเด็กด้วย 2 วิธี คือ
1.1 การอบรมโดยจูงใจ ได้แก่ การสั่งสอนอบรมด้วยวาจาหรือการกระทำให้เด็กได้รู้ว่าการ
กระทำสิ่งใดถูกต้องเหมาะสมกับความต้องการของสังคม การสั่งสอนอบรมโดยตรงนี้จะทำอย่างเข้ม
งวดกวดขันหรืออย่างเต็มใจให้เสรีภาพเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับความเข้าใจของพ่อแม่ว่าธรรมชาติของเด็ก
ควรจะเป็นอย่างไร
1.2 ความสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัว เป็นแบบอย่างของระเบียบสังคมที่ให้แก่เด็กได้
โดยผู้ใหญ่ไม่รู้ตัว และมีอิทธิพลต่อบุคลิกภาพของเด็กได้ไม่แพ้การสั่งสอนอบรมโดยจูงใจ ความหมาย
ของกริยาท่าทางต่างๆ ที่ประกอบความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัว การแสดงออกซึ่งอารมณ์
ในสถานการณ์ต่างๆ ของชีวิตที่เด็กเห็นจากพ่อแม่ พี่น้อง การพยายามรู้และแก้ปัญหาของชีวิต หรือการ
พยายามหลีกเลี่ยงปัญหาที่ต้องแก้ไขต่างๆ นี้ จะเป็นตัวอย่างฝังจิตใจของเด็ก ซึ่งเด็กจะนำไปใช้ต่อต่อไป
กับคนอื่นได้
2. กลุ่มเพื่อน ประกอบด้วยบุคคลที่มีอายุและฐานะทางสังคมทัดเทียมกัน เมื่อเล็กได้แก่กลุ่ม
เพื่อนเล่น ต่อมาได้แก่กลุ่มเพื่อนฝูงร่วมสังคมประเภทเดียวกัน เช่นกลุ่มเพื่อนนักกีฬาด้วยกัน กลุ่มเพื่อน
ร่วมชั้นเรียน กลุ่มเพื่อนรุ่นเดียวกัน เป็นต้น และในระยะที่ชีวิตเป็นผู้ใหญ่ตามๆ กันไปหมดแล้วเพื่อน
ร่วมรุ่นก็ยังเป็นกลุ่มเพื่อนที่ร่วมสนุกสนานเฮฮากันได้อีกเหมือนเมื่อเด็ก
กลุ่มเพื่อนมีความสำคัญในการอบรมให้รู้ระเบียบสังคม ดังนี้
2.1 กลุ่มเพื่อน ช่วยสอนให้รู้ระเบียบสังคมบางอย่างที่ไม่มีผู้ใดผู้หนึ่งใช้อำนาจบังคับสอนเรา
ได้โดยตรง เช่น ระเบียบการละเล่นกีฬา ซึ่งอาศัยความต้องการอยากเล่นของเจ้าตัวเป็นหลักหากฝ่าฝืนก็
จะถูกกีดกันไม่ให้เล่นด้วย
2.2 กลุ่มเพื่อน ช่วยเป็นแรงหนุนให้กำลังใจในการทดลองเอาจริงเอาจังของผู้ใหญ่และกฎ
เกณฑ์ต่างๆที่ผู้ใหญ่กำหนดไว้
24
2.3 กลุ่มเพื่อน ช่วยถ่ายทอดระเบียบวิธี คุณค่าที่ผู้ใหญ่ต้องการให้ได้หากกลุ่มเพื่อนสนับสนุน
ระเบียบวิธีและคุณค่าเหล่านั้นอยู่
2.4 กลุ่มเพื่อน เป็นพลังให้เกิดความร่วมมือ ความลดหย่อนผ่อนปรนกัน การแบ่งปัน
จุนเจือและการช่วยเหลือกัน บังคับให้ว่าอะไรว่าตามกัน
3. โรงเรียน ในสังคมปัจจุบันเนื่องจากเด็กแต่ละคนต้องใช้เวลาไม่น้อยของชีวิตเล่าเรียนหนังสือ
อยู่ในโรงเรียน เพราะฉะนั้นโรงเรียนจึงได้กลายเป็นกลุ่มตัวแทนของการอบรมให้รู้ระเบียบสังคมที่
สำคัญมากกลุ่มหนึ่ง อันสามารถจะยังผลดีหรือร้ายทางใดทางหนึ่งแก่ตัวบุคคลได้อย่างมาก เพราะนอก
จากโรงเรียนจะได้มีโอกาสเข้าถึงตัวบุคคลได้อย่างใกล้ชิดเป็นเวลานานแล้ว วัยเด็กที่ต้องผ่านโรงเรียนก็
ยังเยาว์มาก พร้อมที่จะถูกปั้นแต่งบุคลิกภาพได้อย่างดี
4. กลุ่มอาชีพ เมื่อเด็กได้รับการเตรียมตัวมาพร้อมที่จะเริ่มประกอบอาชีพของตัวเองแล้ว พอเริ่ม
จับอาชีพหนึ่งอาชีพใดจะพบว่า แต่ละกลุ่มอาชีพนั้นมีระเบียบวิธีการโดยเฉพาะของตนซึ่งอาจไม่ซ้ำกัน
กับกลุ่มอาชีพอื่น ซึ่งตนเองจะต้องเรียนรู้และรับไว้หากประสงค์ที่จะยึดอาชีพนั้น
5. กลุ่มผลประโยชน์อื่นๆ ความสนใจกิจกรรมและประโยชน์ที่บุคคลต้องการในชีวิตหลังจากที่
เริ่มประกอบอาชีพการงานแล้วมิได้จำกัดอยู่แต่เฉพาะเรื่องอาชีพอย่างเดียว บุคคลมีความต้องการ
พักผ่อนหย่อนใจและมีงานอดิเรกหรือผลประโยชน์ความสนใจอื่นๆ เช่น เรื่องการเมือง การศาสนา การ
ศึกษาหาความรู้นอกระบบโรงเรียนซึ่งทำได้ตลอดชีวิต ฯลฯ ในการกระทำเรื่องต่างๆ เหล่านี้ บุคคลอาจ
ต้องเข้าร่วมในกลุ่มต่างๆ อีกมากมายหลายกลุ่ม ซึ่งในแต่ละกลุ่มนั้นก็เป็นตัวแทนของสังคมที่ให้การขัด
เกลาเพิ่มเติมแก่บุคคลด้วยจุดมุ่งหมายและวิธีการต่างๆ กันไปอีก
6. สื่อมวลชน ในสังคมสมัยใหม่การสื่อสารความคิดและค่านิยมต่างๆ ที่บุคคลสามารถเรียนรู้
และรับเอาไว้ใช้ได้นั้น ส่วนหนึ่งอาจได้จากสื่อมวลชนประเภทต่างๆ เช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์
ซึ่งเป็นอุปกรณ์ของการอบรมให้รู้ระเบียบสังคมได้ทั้งสิ้น ทั้งขึ้นอยู่กับเจตนาของผู้จัดเสนอสาระทางสื่อ
มวลชนนั้น แต่การจะกล่าวว่าสื่อมวลชนเป็นตัวแทนที่ชัดเจนตัวแทนหนึ่งของการอบรมให้รู้ระเบียบ
สังคมอาจจะไม่ชัดเจนนัก เพราะธุรกิจสื่อมวลชนอาจปฏิเสธว่าตนมิได้มีเจตนาจริงจังเพื่อการอบรมให้รู้
ระเบียบสังคมแต่ทำไปเพื่อการค้าเท่านั้น เว้นแต่ในกรณีที่มีรัฐบาลหรือกลุ่มผลประโยชน์เจตนาใช้สื่อ
มวลชนเป็นเครื่องมือในการอบรม ปลูกฝังความรู้ ความคิดและค่านิยมแบบใดแบบหนึ่งโดยตรงเพื่อหา
สมาชิกร่วมกลุ่มตนอย่างที่ตนวางแผนกำหนดไว้เป็นเวลานาน อาจทำให้บุคคลนั้นมีอุปนิสัยใจคอ
ทัศนคติความต้องการของชีวิต ฯลฯ แตกต่างไปจากที่เคยได้รับการฝึกอบรมในระยะต้นของชีวิตก็ได้
แซนเดน (Zanden อ้างในสุพิศวง ธรรมพันทา 2543 : 107 – 109) อธิบายว่า การอบรมให้รู้
ระเบียบสังคมเป็นกระบวนการถ่ายทอดวัฒนธรรมจากชนรุ่นหนึ่งไปสู่ชนอีกรุ่นหนึ่งด้วยการให้ทารก
หรือสมาชิกใหม่เข้าไปอยู่ในสังคมเพื่อเรียนรู้บทบาททางสังคม ตลอดจนทักษะที่จำเป็นในการดำรง
ชีวิต การเรียนรู้จากสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา และสถาบันสังคมอื่นๆ ทำให้บุคคลมีค่านิยม
เจตคติ ความเชื่อ และแบบพฤติกรรมตามวัฒนธรรมในสังคมนั้น การปะทะสังสรรค์กับบุคคลอื่นเป็นกา
25
รอบรมให้รู้ระเบียบสังคมเพื่อสร้างสังคมในตัวบุคคล (social self) และสร้างบุคลิกภาพของบุคคล
(social personality) และองค์กรทางสังคมที่ทำหน้าที่อบรมให้รู้ระเบียบสังคม มีดังนี้
1. ครอบครัว (family) เป็นองค์กรทางสังคมพื้นฐานที่สำคัญที่สุดต่อภาระหน้าที่การอบรมให้รู้
ระเบียบสังคม เพราะเป็นหน่วยแรกที่ก่อตั้งนิสัย เจตคติ ความเชื่อ และค่านิยม ฯลฯ ให้แก่บุคคล การ
เลี้ยงดูอบรมแต่แรกมีผลสำคัญต่อการพัฒนาบุคลิกภาพของบุคคล นักจิตวิทยาล้วนเห็นตรงกันว่าตั้งแต่
ปฏิสนธิจนถึงระยะ 7 ปีแรก เด็กสามารถซึมซาบและลอกเลียนเอาอย่างได้ดี เด็กลอกเลียนบุคลิกภาพ
และลักษณะแวดล้อมในช่วงเวลานั้นไว้ในตัวเด็กจนกลายเป็นอุปนิสัยและจิตสำนึก ความสัมพันธ์ระยะ
นี้เป็นความสัมพันธ์แบบปฐมภูมิ ความสัมพันธ์ระหว่างแม่และลูกระยะแรกเกิดจนถึงอายุ 3 ปี นั้น
มีอิทธิพลต่อการสร้างบุคลิกภาพ โครงสร้างทางอารมณ์ และจิตใจของเด็กมาก เด็กที่เติบโตใน
สถานเลี้ยงเด็กกำพร้าขาดความใกล้ชิดอบอุ่นกับผู้คนมักมีบุคลิกเฉยเมย เก็บตัว รุนแรงต่อตัวเองและ
คนอื่น การทอดทิ้งเด็กเล็กทำให้เด็กขาดการพัฒนาทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อสังคม ผลวิจัยทางจิตวิทยา
พบว่าพฤติกรรมบางอย่างต้องให้เด็กเรียนรู้ในวัยต้น เช่น ความรักผู้อื่น การแบ่งปันกัน เป็นต้น
2. กลุ่มเพื่อน (peer group) เอลคิน และเฮเดล (Elkin and Hadel) ศึกษาพบว่า กลุ่มเพื่อนป้องกัน
ไม่ให้เด็กถูกดูดกลืนจากการอบรมให้รู้ระเบียบสังคมของสังคมใหญ่ กลุ่มเพื่อนอบรมสังคมด้านของเด็ก
เช่น ความเสมอภาค ความเป็นตัวเอง เอกลักษณ์ทางอารมณ์ เด็กพบการเอาใจใส่ การยอมรับ และความ
ตั้งใจดีจากกลุ่มเพื่อน ซึ่งเป็นแนวทางในการเข้าสังคมเมื่อเติบโต กลุ่มเพื่อนเด็กมีหลายกลุ่มตามแต่เด็ก
จะเข้าไปร่วม เช่น เพื่อนบ้าน ละแวกบ้าน โรงเรียน สนามเด็กเล่น ฯลฯ แต่ละกลุ่มมีระบบ ระเบียบ
ภาษา กิจกรรม ความเชื่อ และค่านิยมเฉพาะในกลุ่มที่ผู้เข้ากลุ่มยอมรับ โลกของกลุ่มเพื่อนจะแตกต่าง
จากโลกของผู้ใหญ่ วัฒนธรรมของกลุ่มมาจากการปฏิบัติตามพิธีการ กฎเกณฑ์ ความสนใจ และความคิด
เห็นของกลุ่ม
3. กลุ่มปฐมภูมิในสังคม (primary group) กลุ่มปฐมภูมิเป็นกลุ่มแรกในการสร้างและพัฒนา
ธรรมชาติ อุดมคติ และศีลธรรมของบุคคล ผลของความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับกลุ่มเกิดการหล่อหลอม
บุคคลให้เป็นหน่วยรวมและเป็นแบบเช่นเดียวกันกลุ่มสร้างความรู้สึกแบบเรา (we feeling) ที่มี
เอกลักษณ์และอารมณ์ร่วมกัน กลุ่มปฐมภูมิ ได้แก่ ครอบครัว เพื่อนเล่น เพื่อนบ้านใกล้เคียง ฯลฯ
4. สถานศึกษา (school) โรงเรียนเป็นหน่วยสังคมที่อบรมสั่งสอนระเบียบทางสังคมในวัยเรียน
เด็กได้เรียนรู้การปรับตัว ได้รับการอบรมสั่งสอน ได้เห็นแบบอย่างทางสังคมจากเพื่อนร่วมชั้น ครู
ผู้บริหาร และผู้เกี่ยวข้องในสถานศึกษาอื่นๆ บุคคลเริ่มพัฒนาความจงรักภักดีและรู้จักสังคมกว้างขวาง
ขึ้นตามลำดับ รับการสั่งสอนบรรทัดฐาน ค่านิยมที่สำคัญ แบบอย่างการดำเนินชีวิตทางสังคมและฝึกให้
แสดงบทบาทได้อย่างเหมาะสมในกลุ่มต่างๆ ต่อไป
5. สื่อมวลชน (mass media) สื่อมวลชนเป็นองค์กรทางสังคมที่มีข้อมูลกว้างขวางหลากหลาย
ทั้งสามารถสื่อสารถ่ายโอนความรู้ ความเชื่อ ค่านิยม ธรรมเนียมประเพณีของสังคม ได้ใกล้ชิดกับบุคคล
บุคคลเรียนรู้หรือเลียนแบบชีวิตทางสังคมจากสื่อประเภทวิทยุ โทรทัศน์ วารสารสิ่งพิมพ์ ข้อมูลทาง
26
คอมพิวเตอร์ ภาพยนตร์ ฯลฯ การวิจัยพบว่าสื่อมวลชนมีอิทธิพลในการพัฒนาบุคลิกภาพบุคคลและ
สังคม และนำความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมาสู่สังคม ยิ่งในยุคนี้ที่ให้ความสำคัญกับข้อมูลข่าวสาร
สื่อมวลชนมีอิทธิพลมากจนกลายเป็นฐานันดรสำคัญของสังคม
6. กลุ่มทางสังคมที่ปะทะสังสรรค์ตลอดช่วงชีวิต การอบรมให้รู้ระเบียบสังคมเกิดตลอดช่วง
ชีวิตมนุษย์ กลุ่มในสถาบันทางสังคมล้วนแต่ร่วมกระบวนการนี้ทั้งสิ้น บุคคลเรียนรู้ทางสังคมใหม่จาก
กลุ่มต่างๆ เสมอ การอบรมให้รู้ระเบียบสังคมสร้างค่านิยม ความเชื่อ เจตคติ วิสัยทัศน์ต่างๆ ในตัวบุคคล
ให้บุคคลเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและสังคมเป็นส่วนหนึ่งของบุคคล บุคคลเป็นทั้งผู้สั่งสอน และผู้ถูก
สั่งสอนระเบียบทางสังคม กระบวนการนี้ดำเนินไปโดยผู้ร่วมกระบวนการอาจรู้หรือไม่รู้ตัวก็ได้และ
ดำเนินไปตลอดทั้งชีวิตของมนุษย์
ในปัจจุบันนี้ นักวิชาการทั้งหลายยอมรับร่วมกันว่า การอบรมให้รู้ระเบียบสังคมมีความสำคัญ
อย่างยิ่งต่อบุคคลโดยเฉพาะทางด้านบุคลิกภาพและพฤติกรรม ซึ่งกลายเป็นแบบแผนที่เป็นลักษณะเด่น
ชัดจนมองเห็นความแตกต่างระหว่างคนกลุ่มหนึ่ง สังคมหนึ่งกับสังคมอื่นๆ และความสำคัญของ
กระบวนการอบรมให้รู้ระเบียบสังคมนี้เองที่มีบทบาทอย่างสำคัญต่อบุคคลโดยเฉพาะในวัยต้นของชีวิต
และในช่วงที่บุคคลเข้าสู่ความเป็นวัยรุ่น ซึ่งเกิดขึ้นกับบุคคลทั้งในระดับที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว สำหรับเยาว
ชนนั้น กลุ่มต่างๆ ที่มีบทบาทสำคัญต่อการอบรมให้รู้ระเบียบสังคม ได้แก่ กลุ่มครอบครัว โรงเรียนและ
สื่อมวลชน (ชุดา จิตพิทักษ์ 2525 : 106)
จากความหมายของการอบรมให้รู้ระเบียบสังคมดังกล่าวข้างต้น ถือได้ว่าการสร้างและพัฒนา
พฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองเป็นการอบรมให้รู้ระเบียบของสังคมอย่างหนึ่ง จะเห็น
ได้ว่าสภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเอง และ
กลุ่มตัวแทนที่ให้การอบรมให้รู้ระเบียบของสังคมนั้นมีส่วนสัมพันธ์และคล้ายคลึงกันในการกำหนด
พฤติกรรมของบุคคล ดังนั้น การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาตัวแปรดังกล่าวที่จะส่ง
ผลต่อการมีพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัด
กรุงเทพมหานคร พอสรุปได้ดังนี้คือ
1. สภาพแวดล้อมทางบ้าน หรือกลุ่มตัวแทนคือ ครอบครัว
2. สภาพแวดล้อมทางโรงเรียน หรือกลุ่มตัวแทนคือ โรงเรียน
3. สภาพแวดล้อมทางสังคม หรือกลุ่มตัวแทนคือ สื่อมวลชน
27
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยกำหนดตัวแปรที่ส่งผลต่อพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตน
เองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดกรุงเทพมหานคร ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางบ้าน สภาพแวด
ล้อมทางโรงเรียน และสภาพแวดล้อมทางสังคม ในการตรวจสอบงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจะเรียงลำดับตาม
ตัวแปรดังกล่าว
1) สภาพแวดล้อมทางบ้าน
สุนารี เตชะโชควิวัฒน์ (2527 : บทคัดย่อ) ได้ทำการวิจัย เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างการอบรม
เลี้ยงดู วินัยในตนเองและความภาคภูมิใจในตนเอง และศึกษาเปรียบเทียบวินัยในตนเองและความภูมิใจ
ในตนเองของนักเรียนที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดู ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชั้นเรียน สถานภาพของ
นักเรียนและสภาพครอบครัวแตกต่างกัน พบว่า นักเรียนที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดู แตกต่างกันมีวินัยใน
ตนเองแตกต่างกัน แต่มีความภาคภูมิใจในตนเองไม่แตกต่างกัน นักเรียนที่มีสถานภาพแตกต่างกันจะได้
รับการอบรมเลี้ยงดูและมีความภาคภูมิใจในตนเองแตกต่างกัน แต่มีวินัยในตนเองไม่แตกต่างกัน และ
นักเรียนที่สภาพครอบครัวแตกต่างกันจะได้รับการอบรมเลี้ยงดูและมีวินัยในตนเองไม่แตกต่างกัน แต่มี
ความภาคภูมิใจในตนเองแตกต่างกัน
แจ่มจันทร์ เกียรติกุล (2531 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาความเชื่อมั่นและวินัยในตนเองของ
เด็กปฐมวัยโรงเรียนอนุบาลลพบุรี จังหวัดลพบุรี ที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบใช้เหตุผลและแบบ
เข้มงวดในชั้นเรียนของครูที่มีพฤติกรรมทางวาจาและท่าทางแตกต่างกัน พบว่า เด็กที่ได้รับการอบรม
เลี้ยงดูแบบใช้เหตุผลและแบบเข้มงวดอยู่ในชั้นเรียนแบบครูเป็นศูนย์กลาง มีความเชื่อมั่นและมีวินัยใน
ตนเองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 ส่วนเด็กที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบใช้ เหตุผลและ
แบบเข้มงวดอยู่ในชั้นเรียนแบบเด็กเป็นศูนย์กลางมีความเชื่อมั่นและมีวินัยในตนเองไม่แตกต่างกัน
สมพิต โฉมงาม (2534 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมภายในบ้านกับ
บุคลิกภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดสุพรรณบุรี โดยมีสิ่งแวดล้อม 5 ด้าน ได้แก่
การอบรมเลี้ยงดู ความสัมพันธ์ภายในครอบครัว การปฏิบัติตนของผู้ปกครอง การส่งเสริมสนับสนุน
ของผู้ปกครอง และความคาดหวังและการยอมรับ ส่วนบุคลิกภาพที่ศึกษามี 5 ลักษณะ คือ ความขยัน
ความอดทน ความเมตตากรุณา การพึ่งตนเอง และความใฝ่ก้าวหน้า ผลการวิจัยพบว่า สิ่งแวดล้อม
ภายในบ้านมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับบุคลิกภาพทั้งหมดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ
0.05 สิ่งแวดล้อมภายในบ้านด้านการอบรมเลี้ยงดูและการส่งเสริมสนับสนุนของผู้ปกครองร่วมกัน
พยากรณ์บุคลิกภาพด้านความมีเหตุผลด้วยค่า R2 = 0.1266 ความคาดหวังและการยอมรับการปฏิบัติตน
28
ของผู้ปกครองและการอบรมเลี้ยงดูร่วมกันพยากรณ์บุคลิกภาพด้านความมีระเบียบวินัยด้วยค่า R2 =
0.1217
ชิดกมล สังข์ทอง (2535 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อวินัยในตนเองของ
วัยรุ่น พบว่า ตัวทำนายที่มีอิทธิพล 4 ตัวแปร คือ วินัยในตนเองของบิดา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การ
อบรมเลี้ยงดู และระดับการศึกษาของบิดาสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของวินัยในตนเองได้
ร้อยละ 49.67
กฤษณี ภู่พัฒน์ (2538 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาวินัยในตนเองของเด็กปฐมวัยที่ผู้ปกครองใช้ชุดให้
ความรู้แก่ผู้ปกครองส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันเรื่อง “ขอให้หนูคิดเอง”
และผู้ปกครองใช้กิจกรรมตามปกติในชีวิตประจำวัน พบว่า เด็กปฐมวัยที่ผู้ปกครองใช้ชุดให้
ความรู้แก่ผู้ปกครองส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน กับเด็กปฐมวัยที่ผู้ปกครอง
ใช้กิจกรรมตามปกติในชีวิตประจำวันมีวินัยในตนเองสูงขึ้นไม่แตกต่างกัน
ไซมอนด์ (Symonds 1939 อ้างถึงใน สมพิต โฉมงาม 2534 : 18) ทำการวิจัยเกี่ยวกับ อิทธิ
พลของบิดามารดาประเภทที่เจ้าอำนาจกับประเภทที่ยอมเด็กและตามใจเด็กที่มีต่อบุคลิกภาพ พบว่า เด็ก
ที่บิดามารดาใช้อำนาจบังคับมักจะเป็นเด็กที่มีการสังคมและความประพฤติดีกว่าเด็กที่บิดามารดาตามใจ
แต่ในเวลาเดียวกันจะมีลักษณะอ่อนไหวง่าย มีความลำบากในการแสดงออกมากกว่ากลุ่มเด็กที่ได้รับ
อิสระเสรี นอกจากนี้ เด็กที่บิดามารดาควบคุมบังคับจะปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และระเบียบของกลุ่มสังคม
ที่เขาอยู่ได้ดีกว่าเด็กที่บิดามารดาตามใจ
เจอซิลด์ (Jersild 1960 : 165) ได้ค้นคว้าเกี่ยวกับแรงผลักดันในตัวเด็ก พบว่า บิดามารดา
มีอิทธิพลยิ่งในการสร้างวินัยให้กับเด็ก และบิดามารดาจะต้องไม่ตามใจเด็กเกินไป แต่จะต้องไม่เข้ม
งวดกวดขันจนเกินไป
ฮอฟแมน (Hoffman 1970 : 286) ได้ศึกษาการฝึกวินัย 3 วิธี ได้แก่ การให้เหตุผล การปล่อย
ปละละเลย และการรวมอำนาจ ผลการศึกษาพบว่า บิดามารดาที่ฝึกวินัยโดยวิธีการให้เหตุผลจะทำให้
เด็กมีวินัยในตนเองสูงกว่าเด็กที่ได้รับการฝึกวินัยโดยบิดามารดาปล่อยปละละเลยหรือรวมอำนาจ
2) สภาพแวดล้อมทางโรงเรียน
ชาตรี ศิริสวัสดิ์ (2533 : 63) ได้ศึกษาเรื่อง การเปรียบเทียบความรู้สึกเชิงจริยธรรมของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนจากการสอนแบบอภิปรายโดยใช้วิธีคิดแบบคุณโทษและทางออกเข้า
ประกอบกับวิธีสอนแบบบรรยาย ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ทั้งกลุ่มทดลองที่สอนโดยวิธี
แบบอภิปราย และกลุ่มควบคุมที่สอนแบบบรรยายมีความรู้สึกเชิงจริยธรรมอยู่ในขั้นเห็นคุณค่า และจาก
ผลการเปรียบเทียบความรู้สึกเชิงจริยธรรมปรากฏว่า กลุ่มทดลองมีความรู้สึกเชิงจริยธรรมต่างจากกลุ่ม
ควบคุม
29
ศักดิ์สิทธิ์ วัชรารัตน์ (2533 : บทคัดย่อ) ได้วิจัยเรื่อง ความคิดเห็นของนักศึกษาต่อครูอาจารย์
วิทยาลัยเกษตรกรรมกำแพงเพชร ผลการวิจัย พบว่า นักศึกษาทั้งหมดในระดับปวช.และปวส. มีความคิด
เห็นต่อครูอาจารย์ในระดับมากในด้านการเปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น การให้นักศึกษามี
ส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน ครูแต่งกายสะอาดสุภาพ มีความเป็นกันเองเปิดโอกาสให้
นักเรียนพบนอกเวลา เตรียมการสอนดี
สมศิริ ปลื้มจิตต์ (2534 : บทคัดย่อ) ได้วิจัยเรื่อง การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
และเหตุผลเชิงจริยธรรมในการสอนจริยธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการสอนโดยใช้
บทบาทสมมติกับการสอนตามคู่มือคร ู ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่เรียนวิชาสังคมศึกษาโดยใช้บทบาท
สมมติกับการสอนตามคู่มือครูของกรมวิชาการมีการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมแตกต่างกัน โดยมีการใช้
เหตุผลเชิงจริยธรรมหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง
พเยาว์ เกาทัณฑ์ทอง (2534 : บทคัดย่อ) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การศึกษาพฤติกรรมด้านวินัยของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในสังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดเพชรบุรี ผลการวิจัย พบว่า นักเรียน
มีพฤติกรรมผิดวินัยอยู่ในระดับต่ำ โดยมีการผิดวินัยในด้านการเรียนมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านความ
ประพฤติและด้านการแต่งกาย นอกจากนั้นยังพบอีกว่า ตัวแปรที่มีอำนาจในการพยากรณ์พฤติกรรมด้าน
วินัยของนักเรียน คือ การอบรมเลี้ยงดูและสภาพแวดล้อมของโรงเรียน
อุไร สุมาริธรรม (2535 : บทคัดย่อ) ทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางสังคมและ
จิตวิทยากับการสูบบุหรี่ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในกรุงเทพมหานคร พบว่า การมีเพื่อน
สูบบุหรี่เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลสำคัญต่อการสูบบุหรี่ของนักเรียน ซึ่งจากแนวคิดและงานวิจัยที่เกี่ยวกับ
การเรียนรู้จากตัวแบบแสดงให้เห็นว่าเพื่อนเป็นตัวแทนที่มีประสิทธิภาพอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ที่จะมี
พฤติกรรมตามตัวแบบ
ฑิฆัมพร สุภาพ (2535 : 103) ได้ศึกษาเรื่อง การวิเคราะห์กิจกรรมนักเรียนที่ส่งเสริมจริยธรรม
ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ผลการวิจัยพบว่า ในการวิเคราะห์เอกสารคู่มือการจัด
กิจกรรมบังคับ ปรากฏว่าคุณลักษณะทางจริยธรรมส่วนใหญ่ได้แก่ ความรับผิดชอบ ความเสียสละ และ
ความเมตากรุณา และเมื่อพิจารณาในภาพรวมพบว่า คุณลักษณะทางจริยธรรมส่วนใหญ่ที่เกิดจาก
กิจกรรมนักเรียน ได้แก่ ความรับผิดชอบ ความมีระเบียบวินัย และความใฝ่รู้
ริ้วทอง ล้อทอง (2535 : 111) ได้วิจัยเรื่อง การวิเคราะห์กิจกรรมนักศึกษาพยาบาลที่ส่งเสริม
จริยธรรมของวิทยาลัยพยาบาล สังกัดกองงานวิทยาลัยพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ผลการวิจัยพบว่า ในการวิเคราะห์เอกสารเกี่ยวกับกิจกรรมนักศึกษา ปรากฏคุณลักษณะทางจริยธรรม
ส่วนใหญ ่ ได้แก่ความสามัคคี การมีพฤติกรรมสุขภาพ และความเสียสละ และเมอื่ พจิ ารณาในภาพรวม
พบว่า คุณลักษณะทางจริยธรรมส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมนักศึกษาพยาบาล ได้แก่ ความรับผิด
ชอบ ความเสียสละ และความสามัคคี
30
รังสิมันต์ สุนทรไชยา (2535 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาผลของตัวแบบวีดิทัศน์ที่มีต่อพฤติกรรมการ
มีระเบียบวินัยในชั้นเรียนวัยย่างเข้าสู่วัยรุ่น โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียน
วัดอมรินทราราม จำนวน 10 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 5 คน กลุ่มควบคุม 5 คน ซึ่งเป็นนักเรียน
ที่มีพฤติกรรมการมีระเบียบวินัยในชั้นเรียนน้อย ผลการวิจัยพบว่า การใช้ตัวแบบวีดิทัศน์สามารถ
เพิ่มพฤติกรรมการมีระเบียบวินัยในชั้นเรียนของนักเรียนกลุ่มทดลองได้ทั้งในระยะทดลองและระยะ
ติดตามผล
ร้อยตำรวจเอกสาธิต วิกสันเทียะ (2536 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่าง
การเรียนการสอนกับพฤติกรรมจริยธรรมของนักเรียนนายร้อยตำรวจ ผลการศึกษาพบว่า นักเรียน
นายร้อยตำรวจชั้นปีที่ 4 ที่กำลังศึกษาในปีการศึกษา 2536 ที่มีอาชีพของบิดามารดา จำนวนพี่น้อง อายุ
ลักษณะการเลี้ยงดู ลำดับที่เกิด ความรู้สึกต่ออาชีพตำรวจ และการได้รับการเรียนการสอนในโรงเรียน
นายร้อยตำรวจที่แตกต่างกันจะมีพฤติกรรมจริยธรรมแตกต่างกัน
นพ บรรเจิด (2536 : บทคัดย่อ) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การศึกษาสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อ
การปลูกฝังจริยธรรมของนักเรียนเกษตร สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษามี
สภาพปัญหาทางจริยธรรมด้านความซื่อสัตย์ต่อการสอบและต่อหน้าที่ ปัญหาด้านความสัมพันธ์ทางเพศ
นอกสมรส และปัญหาด้านความริเริ่มสร้างสรรค์ในการทำงาน สาเหตุของปัญหาส่วนใหญ่เกิดจาก
ตัวนักศึกษา สภาพครอบครัว และกระบวนการเรียนการสอน
ภรณี คุรุรัตนะ (2537 : 31) ได้ศึกษาความมีวินัยในตนเองด้านสิ่งแวดล้อมของเด็กระดับก่อน
ประถมศึกษาในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ที่ได้รับการจัดกิจกรรมที่เน้นกระบวนการเรียนรู้ทาง
สังคมและปัญญา และการจัดกิจกรรมตามปกติ ผลการทดลองพบว่า การจัดประสบการณ์ที่เน้นกระบวน
การเรียนรู้ทางสังคมและปัญญา ช่วยให้เด็กระดับก่อนประถมศึกษามีวินัยในตนเองด้านสิ่งแวดล้อมสูง
กว่าเด็กระดับก่อนประถมศึกษาที่ได้รับการสอนตามแผนการจัดกิจกรรมชั้นเด็กเล็กของ
กรุงเทพมหานคร
จินดา น้าเจริญ (2540 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาความมีวินัยในตนเองด้านสิ่งแวดล้อมของเด็ก
ปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเสริมลักษณะนิสัยแบบวางแผน ปฏิบัติและทบทวน กลุ่มตัวอย่างเป็น
นักเรียนชายหญิงที่มีวินัยในตนเองระดับปานกลางและต่ำ ผลการศึกษาพบว่า เด็กปฐมวัยที่มีวินัยใน
ตนเองระดับปานกลางและระดับต่ำที่ได้รับการจัดกิจกรรมเสริมลักษณะนิสัยแบบวางแผน ปฏิบัติและ
ทบทวนก่อนและหลังทดลองมีวินัยในตนเองด้านสิ่งแวดล้อมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่
ระดับ 0.01 และมีวินัยในตนเองด้านสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
0.05
อัญจนา ประสานชาติ (2545 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาเรื่อง ผลของการฝึกจิตลักษณะเพื่อพัฒนา
พฤติกรรมวินัยในตนเองของนักเรียนระดับประถมศึกษา พบว่า นักเรียนที่ได้รับการฝึกจิตลักษณะมี
31
พฤติกรรมวินัยในตนเอง เหตุผลเชิงจริยธรรมและลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตนสูงกว่าก่อนได้รับการฝึก
จิตลักษณะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ฮาร์ทัพและคอนดรี (Hartup 1970 and Condry 1974 อ้างถึงใน ธงชัย ชิวปรีชา 2513 : 13) พบ
ว่า เด็กวัยประถมศึกษาจะทำตามกันหรือมีอิทธิพลของความคิดของเพื่อนที่มีต่อเด็กมากน้อยเท่าไรนั้น
ขึ้นกับองค์ประกอบหลายอย่าง ประการแรกคือ ถ้าเด็กมีเวลาในการอยู่ในกลุ่มเพื่อนมาก เด็กจะได้รับ
อิทธิพลจากกลุ่มเพื่อนมาก ประการที่สอง ถ้าเด็กมีกิจกรรมร่วมกับพ่อแม่น้อยเด็กก็จะได้รับอิทธิพลจาก
กลุ่มเพื่อนมาก ประการที่สาม ถ้าเด็กมีสถานะของตนในกลุ่มสูง เพื่อนในกลุ่มให้การยอมรับ เด็กจะได้
รับอิทธิพลจากกลุ่มสูง และประการสุดท้าย จะขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ถ้าสถานการณ์
เป็นสถานการณ์ที่คลุมเครือไม่บ่งการกระทำให้ชัดเจน การตอบสนองของเด็กต่อสถานการณ์นั้นมักจะ
ได้รับอิทธิพลจากกลุ่มเพื่อน
3) สภาพแวดล้อมทางสังคม
ธีรนง เกิดสุคนธ์ (2525 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาอิทธิพลทางจริยธรรมจากสื่อละครโทรทัศน์ที่มี
ต่อเยาวชนในกรุงเทพมหานคร พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชอบดูละครโทรทัศน์ ได้รับอิทธิพล
ทางจริยธรรมจากสื่อละครโทรทัศน์ตามพฤติกรรมของตัวละครที่กระตุ้นให้ทำดีถึงร้อยละ 68.5 ละครที่
ชอบดูมากที่สุดคือละครที่ให้คติสอนใจ ส่วนด้านความสัมพันธ์ระหว่างอิทธิพลทางจริยธรรมจากสื่อ
ละครโทรทัศน์กับองค์ประกอบต่างๆ พบว่า พื้นฐานการศึกษาของบิดามารดา ฐานะทางเศรษฐกิจของ
ครอบครัว สภาพแวดล้อมของที่อยู่อาศัย และลักษณะการเลี้ยงดู และอบรมสั่งสอนบุตรของบิดามารดา
ไม่สัมพันธ์กับอิทธิพลทางจริยธรรมจากสื่อละครโทรทัศน์ที่นักเรียนได้รับ
จรัส บุญชัย (2531 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักเรียนมัธยมศึกษา
ตอนปลาย 5 พฤติกรรม คือ การปฏิบัติตามระเบียบกฎเกณฑ์ของโรงเรียน ความเชื่อฟังการอบรม
สั่งสอนของครู การมีส่วนร่วมในกลุ่มสังคมโรงเรียน ความเป็นตัวของตัวเอง และความพากเพียรในการ
ทำงานที่ครูมอบหมายให้ พบว่า สภาพปัจจัยและเงื่อนไขทางสังคมภายนอกโรงเรียนที่มีผลกระทบต่อ
นักเรียนมากที่สุดคือ การขัดเกลาจากสื่อมวลชนอย่างสอดคล้องกับบรรทัดฐานของโรงเรียน รองลงมา
ได้แก่การที่นักเรียนมาจากครอบครัวที่มีระเบียบวินัย
เบ็ญจา อ่อนท้วม (2533 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาทัศนคติและค่านิยมของเยาวชนสตรีชนบทใน
การครองชีวิตของเยาวชนสตรีในหมู่บ้านสองจังหวัดภาคเหนือ พบว่า โรงเรียนและสื่อมวลชน คือ
ตัวแทนใหม่ของกระบวนการขัดเกลาทางสังคมที่ถ่ายทอดค่านิยมการสนใจศึกษาการศึกษาในระดับสูง
การเป็นเจ้าคนนายคน ความทะเยอทะยาน และวัฒนธรรมทันสมัย ที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งในระบบ
ค่านิยมที่อาจทำให้เยาวชนสับสนที่จะยอมรับค่านิยมดั้งเดิมจากบรรพบุรุษที่สืบทอดกันมา
อรวรรณ วิจักขณะ (2534 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาการเปิดรับและการใช้ประโยชน์จากสื่อมวลชน
ของนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยในเขตกรุงเทพมหานคร เพื่อทราบความสนใจ ความชื่นชอบต่อเนื้อหา
32
ของสื่อมวลชน การใช้ประโยชน์และการได้รับความพึงพอใจจากสื่อมวลชนประเภทต่างๆ พบว่า นิสิต
นักศึกษาอ่านหนังสือพิมพ์เพราะต้องการทราบข่าวสารและเนื้อหาในหนังสือพิมพ์รายวันบางส่วน ส่วน
การชมโทรทัศน์และฟังวิทยุนั้นเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน และเพื่อติดตามรายการที่ชื่นชอบ นอก
จากนี้ยังพบว่า นิสิตนักศึกษาได้มีการนำเนื้อหาจากสื่อมวลชนประเภทหนังสือพิมพ์รายวัน วิทยุและ
โทรทัศน์ มาเป็นหัวข้อในการสนทนากับเพื่อนอยู่เสมอ และสื่อมวลชนเหล่านี้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง
ค่านิยม ความคิดเห็นและพฤตจิกรรมในระดับพอสมควร
ปฐมา ทรัพย์สังข์ (2542 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาความสัมพันธ์ของการเปิดรับสื่อมวลชนกับการ
ใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมของวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่างได้แก่
นักศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พบว่า ประเภทรายการที่เปิดรับมีความ
สัมพันธ์กับการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมของวัยรุ่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนปริมาณการ
เปิดรับสื่อมวลชนไม่มีความสัมพันธ์กับการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมของวัยรุ่น
มณฑลี หนูสีใส (2542 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาลักษณะและความสัมพันธ์ของการเปิดรับสื่อ
ทัศนคติ และพฤติกรรมจริยธรรมของวัยรุ่น อายุ 15 – 24 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร ผลการศึกษา พบว่า
พฤติกรรมจริยธรรมตามประสบการณ์ตรงและพฤติกรรมจริยธรรมตามความเชื่อเกี่ยวกับกลุ่มอ้างอิงกับ
พฤติกรรมเชิงจริยธรรมมีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 – 24 ปี ในเขต
กรุงเทพมหานคร ผลการศึกษา พบว่า พฤติกรรมจริยธรรมตามประสบการณ์ตรงและพฤติกรรม
จริยธรรมตามความเชื่อเกี่ยวกับกลุ่มอ้างอิงกับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมมีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัย
สำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
วันดี ทองงอก (2543 : บทคัดย่อ) ทำการวิจัยเรื่อง ผลกระทบของสื่อมวลชนที่มีอิทธิพลต่อ
ค่านิยมและพฤติกรรมของเยาวชนในเขตภาคเหนือตอนบน โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นเยาวชนสตรีอายุตั้งแต่
10 – 19 ปี จำนวน 554 คน จากจังหวัดเชียงใหม่ เชียงรายและน่าน โดยศึกษาค่านิยมและพฤติกรรมของ
เยาวชนเมื่อได้บริโภคข่าวสาร-เรื่องราว ด้านเศรษฐกิจ - การงาน ด้านการดำเนินชีวิตในสังคม และ
ด้านเพศ ผลการวิจัยพบว่า
- ค่านิยมและพฤติกรรมเรื่องเศรษฐกิจ - การงาน ของเยาวชนเมื่อได้รับข่าวสารการโฆษณาขาย
สินค้า บริการ และการเผยแพร่เรื่องความสำเร็จของคนไทยที่ประกอบอาชีพที่ได้เงินเร็ว รวยเร็วมาก
ขึ้นเท่าใด เยาวชนก็อยากทำตามมากขึ้นเท่านั้น ส่วนข่าวสารเรื่องความประหยัดเยาวชนเข้าใจและยังยึด
ถือเป็นแนวปฏิบัติ แต่การถ่ายทอดเรื่องราวการคอรัปชั่นทุจริต การเอารัดเอาเปรียบกันไม่ว่าจะบริโภค
มากหรือน้อยก็ไม่มีผลต่อการตัดสินใจทุจริต หรือต้องการเอาเปรียบคนอื่นของเยาวชนเลย
- ค่านิยมและพฤติกรรมเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตในสังคม เมื่อเยาวชนได้รับข่าวสารเกี่ยวกับ
ความรุนแรง ป่าเถื่อนและความเห็นแก่ตัวของคนในสังคม เยาวชนจะปฏิเสธไม่แสดงพฤติกรรมเช่นนั้น
เช่นเดียวกับกิจกรรมการวางตัวของคนในระดับสูงในสังคม เยาวชนจะคิดเลียนแบบ ส่วนข่าวสารเกี่ยว
กับการยกย่องคนดีมีคุณธรรมในสังคมและข่าวสารเกี่ยวกับปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เลวร้ายของ
33
สังคมไม่ว่าจะได้รับข่าวสารทั้งสองมากหรือน้อย เยาวชนก็ไม่รับหรือปฏิเสธที่จะแสดง พฤติกรรม
เช่นนั้น
- ค่านิยมและพฤติกรรมด้านเพศ การถ่ายทอดของสื่อเรื่องการมีเพศสัมพันธ์กันอย่างเปิดเผย
ความเจ้าชู้ของหญิงชาย การส่งเสริมการยึดมั่นในรักเดียวไม่ว่าจะมากหรือน้อย เยาวชนส่วนใหญ่ไม่
บอกรับ-ปฏิเสธ ที่จะมีพฤติกรรมเลียนแบบ แต่จะมีปฏิกิริยาและพฤติกรรมปฏิเสธกับข่าวสารการเผย
แพร่ การโป๊เปลือยของนางงามหรือคนดังในสังคม
จากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นการศึกษาถึงปัญหาทางสังคมและจริยธรรม
องค์ประกอบด้านอื่นๆ ที่มีความสัมพันธ์กับคุณลักษณะทางจริยธรรมจะเห็นได้ว่า การพัฒนาจริยธรรม
ให้เกิดขึ้นในตัวบุคคลได้รับความสนใจและให้ความสำคัญทั้งภายในและต่างประเทศ ซึ่งทฤษฎี
จริยธรรมและพฤติกรรมเชิงจริยธรรม ทฤษฎีความมีวินัยในตนเอง ทฤษฎีการอบรมให้รู้ระเบียบสังคม
และกลุ่มตัวแทนที่ให้การอบรมให้รู้ระเบียบสังคม ตลอดจนผลงานวิจัยของสมพิต โฉมงาม (2534)
และชิดกมล สังข์ทอง (2535) พบว่า สภาพแวดล้อมภายในบ้านมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับบุคลิกภาพ
ในด้านความขยัน ความอดทน ความเมตตากรุณา การพึ่งตนเอง และความใฝ่ก้าวหน้า อย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ0.05 สภาพแวดล้อมภายในบ้านด้านการอบรมเลี้ยงดูและการส่งเสริม
สนับสนุนของผู้ปกครองร่วมกันพยากรณ์บุคลิกภาพด้านความมีเหตุผลด้วยค่า R2 = 0.1266 ความ
คาดหวังและการยอมรับการปฏิบัติตนของผู้ปกครองและการอบรมเลี้ยงดู ร่วมกันพยากรณ์บุคลิกภาพ
ด้านความมีระเบียบวินัยด้วยค่า R2 = 0.1217 และวินัยในตนเองของบิดา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การ
อบรมเลี้ยงดู และระดับการศึกษาของบิดาสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของวินัยในตนเองได้
ร้อยละ 49.67 ตามลำดับ
รังสิมันต์ สุนทรไชยา (2535) พบว่า การใช้ตัวแบบวีดิทัศน์สามารถเพิ่มพฤติกรรมการมี
ระเบียบวินัยในชั้นเรียนของนักเรียนกลุ่มทดลองได้ทั้งในระยะทดลองและระยะติดตามผล และ
อุไร สุมาริธรรม (2535) ได้วิจัยพบว่าการมีเพื่อนสูบบุหรี่เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลสำคัญต่อการสูบบุหรี่
ของนักเรียน ซึ่งจากแนวคิดและงานวิจัยที่เกี่ยวกับการเรียนรู้จากตัวแบบแสดงให้เห็นว่าเพื่อนเป็น
ตัวแทนที่มีประสิทธิภาพอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ที่จะมีพฤติกรรมตามตัวแบบ
จรัส บุญชัย (2531) ยังพบว่า สภาพปัจจัยและเงื่อนไขทางสังคมภายนอกโรงเรียนที่มีผล
กระทบต่อนักเรียนมากที่สุดคือ การขัดเกลาจากสื่อมวลชนอย่างสอดคล้องกับบรรทัดฐานของโรงเรียน
รองลงมาได้แก่การที่นักเรียนมาจากครอบครัวที่มีระเบียบวินัย
งานวิจัยดังกล่าวนับว่าเกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์สำหรับเป็นแนวทางในการศึกษาเรื่องที่ทำ
การวิจัยครั้งนี้ เพราะจะช่วยให้ทราบถึงปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมี
วินัยในตนเองของนักเรียน อันจะส่งผลไปถึงการแก้ไข ปรับปรุง และพัฒนาแนวทางในการปลูกฝังและ
เสริมสร้างพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา
สถาบันสื่อมวลชน ตลอดจนสถาบันอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องให้บังเกิดประสิทธิผลต่อไป
34
สรุป
จากการศึกษาและทบทวนวรรณกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้อง แนวคิด ทฤษฎี และผลงานวิจัยทั้งใน
ประเทศและต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเอง สรุปได้ว่า
สภาพแวดล้อมทางบ้าน สภาพแวดล้อมทางโรงเรียน และสภาพแวดล้อมทางสังคมมีความสัมพันธ์กับ
พฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน
สภาพแวดล้อมทางบ้าน ได้แก่ ครอบครัว ซึ่งเป็นสถาบันพื้นฐานที่ขัดเกลามนุษย์ให้รู้ว่าสิ่งใด
ควรทำสิ่งใดไม่ควรทำ หรืออะไรถูกอะไรผิด เป็นต้น เป็นสถาบันที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาอย่างลึกซึ้ง
และมีอิทธิพลต่ออารมณ์ทัศนคติและความประพฤติของเด็กเป็นอย่างยิ่ง การอบรมของครอบครัวนี้
ทำได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทางตรงก็บอกกันตรงๆ ว่าต้องทำตัวอย่างไรเพื่อจะได้วางตัวได้ถูกต้อง
เหมาะสม บางครั้งอาจการให้รางวัลและการลงโทษ ส่วนทางอ้อมเป็นการอบรมแบบไม่ได้ทำเป็น
ทางการ อาจจะเป็นการเลียนแบบหรือรับเข้าไปโดยไม่รู้ตัว ความสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัว
เป็นแบบอย่างที่ให้แก่เด็กได้โดยผู้ใหญ่ไม่รู้ตัว และมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของเด็กได้ไม่แพ้การ
สั่งสอนอบรมโดยจูงใจ ความหมายของกริยาท่าทางต่างๆ ที่ประกอบความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกใน
ครอบครัว การแสดงออกซึ่งอารมณ์ในสถานการณ์ต่างๆ ของชีวิตที่เด็กเห็นจากพ่อแม่ พี่น้อง
การพยายามรู้และแก้ปัญหาของชีวิต หรือการพยายามหลีกเลี่ยงปัญหาที่ต้องแก้ไขต่างๆ นี้ จะเป็น
ตัวอย่างฝังจิตใจของเด็ก ซึ่งเด็กจะนำไปใช้ต่อต่อไปกับคนอื่นได้ ซึ่งถ้าเด็กได้เห็นการประพฤติปฏิบัติ
ที่ดีของพ่อแม่เด็กก็อยากจะทำตามอันจะส่งผลให้เด็กมีพฤติกรรมเชิงจริยธรรมที่ดี
สภาพแวดล้อมทางโรงเรียน ได้แก่ โรงเรียน ซึ่งเป็นเสมือนบ้านที่สองของเด็กในการที่จะได้รับ
ความรู้ความคิดต่างๆ และวิชาการต่างๆอย่างเป็นทางการ โรงเรียนจึงมีอิทธิพลและมีผลต่อพฤติกรรม
เชิงจริยธรรมของเด็ก เพราะเด็กสมัยใหม่มักจะใช้ชีวิตอยู่ในโรงเรียนเป็นระยะยาวนาน เด็กได้เรียนรู้
การปรับตัว ได้รับการอบรมสั่งสอน ได้เห็นแบบอย่างทางสังคมจากเพื่อนร่วมชั้น ครู ผู้บริหาร และ
ผู้เกี่ยวข้องในสถานศึกษาอื่นๆ เด็กจะเริ่มพัฒนาและรู้จักสังคมกว้างขวางขึ้นตามลำดับ รับการสั่งสอน
บรรทัดฐาน ค่านิยมที่สำคัญ ตลอดจนแบบอย่างการดำเนินชีวิตทางสังคมและฝึกให้แสดงพฤติกรรมที่ดี
ได้อย่างเหมาะสมในกลุ่มต่างๆ ต่อไป
สภาพแวดล้อมทางสังคม ได้แก่ สื่อมวลชน ซึ่งเป็นองค์กรทางสังคมที่มีข้อมูลกว้างขวางหลาก
หลาย ทั้งสามารถสื่อสารถ่ายโอนความรู้ ความเชื่อ ค่านิยม ธรรมเนียมประเพณีของสังคม ได้ใกล้ชิดกับ
เด็ก เด็กจะเรียนรู้หรือเลียนแบบชีวิตทางสังคมจากสื่อประเภทวิทยุ โทรทัศน์ วารสารสิ่งพิมพ์ ข้อมูลทาง
คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต ภาพยนตร์ ฯลฯ จากการวิจัยพบว่าสื่อมวลชนมีอิทธิพลและส่งผลต่อพฤติ
กรรมเชิงจริยธรรมของเด็ก เนื่องจากถ้าสื่อมวลชนเสนอข่าวสาร เนื้อหาสาระที่ดี มีการสอดแทรกคุณ
ธรรม จริยธรรม ก็สามารถปลูกฝังความรู้ ความคิดและค่านิยม ซึ่งทำให้เด็กมีอุปนิสัย ใจคอ ทัศ
นคติและพฤติกรรมที่ดี
35
จากหัวข้อการวิจัยเรื่อง “ค ว า ม สั ม พั น ธ์ ร ะ ห ว่ า ง
ปั จ จั ย ส ภ า พ แ ว ด ล้ อ ม กั บ พ ฤ ติ ก ร ร ม เ ชิ ง
จ ริ ย ธ ร ร ม ด้ า น ค ว า ม มี วิ นั ย ใ น ต น เ อ ง ข อ ง
นัก เ รี ย น ชั้ นมั ธ ย ม ศึ ก ษ า ปี ที่ 3 สั ง กั ด
ก รุ ง เ ท พม หา นค ร ” จะเห็นได้ว่า พฤ ติ ก ร ร ม เ ชิ ง จ ริ ย
ธ ร ร ม ด้ า น ค ว า ม มี วิ นั ย ใ น ต น เ อ ง ข อ ง นั ก
เ รี ย น จะเกิดขึ้นได้จะต้องประกอบด้วยปัจจัย 3 ด้าน ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางบ้าน สภาพแวด
ล้อมทางโรงเรียน และสภาพแวดล้อมทางสังคม ซึ่งเป็นกลุ่มตัวแทนที่ให้การอบรมให้รู้ระเบียบสังคม
(Agencies of Socialization) สอดคล้องกับแนวคิดของ Zanden (อ้างในสุพิศวง ธรรมพันทา 2543) ที่ชี้
ให้เห็นว่า การอบรมให้รู้ระเบียบสังคมเป็นกระบวนการถ่ายทอดวัฒนธรรมจากชนรุ่นหนึ่งไปสู่ชนอีก
รุ่นหนึ่งด้วยการให้ทารกหรือสมาชิกใหม่เข้าไปอยู่ในสังคมเพื่อเรียนรู้บทบาททางสังคม ตลอดจนทักษะ
ที่จำเป็นในการดำรงชีวิต การเรียนรู้จากสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา และสถาบันสังคมอื่นๆ ทำ
ให้บุคคลมีค่านิยม เจตคติ ความเชื่อ และแบบพฤติกรรมตามวัฒนธรรมในสังคมนั้น การปะทะสังสรรค์
กับบุคคลอื่นเป็นการอบรมให้รู้ระเบียบสังคมเพื่อสร้างสังคมในตัวบุคคล (social self)
จากปัจจัยต่าง ๆ ที่กล่าวมานี้ จึงนำไปตั้งเป็นสมมติฐานว่าเป็นจริงหรือไม่ โดยนำไปตั้งสมมติ
ฐานโดยอยู่ภายใต้แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับจริยธรรมและพฤติกรรมเชิงจริยธรรม ทฤษฎีเกี่ยวกับความมี
วินัยในตนเองทฤษฎีการอบรมให้รู้ระเบียบสังคม (Socialization) และกลุ่มตัวแทนที่ให้การอบรมให้รู้
ระเบียบสังคม (Agencies of Socialization) และจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ในการตอบปัญหาการวิจัย
ในครั้งนี้
บทที่ 3
วิธีดำเนินการวิจัย
การวิจัย เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสภาพแวดล้อมกับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความ
มีวินัยในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดกรุงเทพมหานครผู้วิจัยได้ดำเนินการตามลำดับ
ขั้นตอน ดังนี้
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
3. การเก็บรวบรวมข้อมูล
4. การวิเคราะห์ข้อมูล
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1) ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัด
กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2546 จำนวน 4,568 คน
2) กลุ่มตัวอย่าง
กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสมโดยใช้สูตรของ ยามาเน่ (Taro Yamane 1970 : 580 –
581) จากจำนวนประชากร 4,568 คน เมื่อกำหนดความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้เท่ากับ 0.05 ได้ขนาด
ตัวอย่าง ดังนี้
N
n = 1+ N(e)2
เมื่อ N คือ ขนาดของประชากร
n คือ ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง
e คือ ค่าความน่าจะเป็นของความผิดพลาดที่ยอมรับให้เกิดได้ มีค่าเท่ากับ 0.05
แทนค่า
4,568
n = 1+4,568 (0.05)2
n = 367.8 = 368 คน (เพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยขอใช้ขนาดตัวอย่าง
จำนวน n = 372 คน)
37
3) การสุ่มตัวอย่าง
ผู้วิจัยได้เลือกโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครที่มีการจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตามโครง
การขยายโอกาสทางการศึกษา แล้วจึงสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) ตามการแบ่ง
กลุ่มของกรุงเทพมหานคร จำนวน 6 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มรัตนโกสินทร์ กลุ่มบูรพา กลุ่ม ศรี
นครินทร์ กลุ่มเจ้าพระยา กลุ่มกรุงธนเหนือ และกลุ่มกรุงธนใต้ กลุ่มละ 2 โรงเรียน ได้จำนวน
12 โรงเรียน โดยให้นักเรียนแต่ละโรงเรียนมีโอกาสเป็นตัวแทนเท่าๆ กัน จำนวนโรงเรียนละ 31 คน
รวมเป็นกลุ่มตัวอย่าง 372 คน
ตารางที่ 1 รายชื่อโรงเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง
รายชื่อโรงเรียน กลุ่มเขตการปกครอง เขต จำนวนกลุ่ม
ตัวอย่าง
1. โรงเรียนวัดชัยมงคล
2. โรงเรียนวัดมัชฌันติการาม
3. โรงเรียนประชาอุทิศ
4. โรงเรียนวัดลาดพร้าว
5. โรงเรียนวัดสังฆราชา
6. โรงเรียนสุวิทย์เสรีนุสรณ์
7. โรงเรียนประชาราษฎร์บำเพ็ญ
8. โรงเรียนรุ่งเรืองอุปถัมภ์
9. โรงเรียนฉิมพลี
10. โรงเรียนบางยี่ขันวิทยาคม
11. โรงเรียนวัดเศวตฉัตร
12. โรงเรียนวัดบางกระดี่
กลุ่มรัตนโกสินทร์
กลุ่มรัตนโกสินทร์
บูรพา
บูรพา
ศรีนครินทร์
ศรีนครินทร์
เจ้าพระยา
เจ้าพระยา
กรุงธนเหนือ
กรุงธนเหนือ
กรุงธนใต้
กรุงธนใต้
ปทุมวัน
บางซื่อ
ดอนเมือง
ลาดพร้าว
ลาดกระบัง
ประเวศ
ห้วยขวาง
บางนา
ตลิ่งชัน
บางพลัด
คลองสาน
บางขุนเทียน
31
31
31
31
31
31
31
31
31
31
31
31
รวม 12 โรงเรียน 6 กลุ่ม 12 เขต 372 คน
38
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1) ลักษณะของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้น ซึ่งมีทั้งหมด 6 ตอน ดังนี้
ตอนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป จำนวน 8 ข้อ
ตอนที่ 2 แบบสอบถามพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเอง จำนวน 16 ข้อ
ตอนที่ 3 แบบสอบถามสภาพแวดล้อมทางบ้าน 20 ข้อ
ตอนที่ 4 แบบสอบถามสภาพแวดล้อมทางโรงเรียน 25 ข้อ
ตอนที่ 5 แบบสอบถามสภาพแวดล้อมทางสังคม 12 ข้อ
ตอนที่ 6 แบบสอบถามเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัย
ในตนเอง จำนวน 15 ข้อ
2) รายละเอียดแต่ละส่วนของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ตอนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป เป็นคำถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
ได้แก่ เพศ อายุ ลักษณะการอยู่อาศัย การศึกษา อาชีพ และรายได้ของบิดามารดาหรือผู้ปกครอง
ตอนที่ 2 แบบสอบถามพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเอง มีลักษณะเป็นมาตรา
ส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์วัดของลิเคริท์ (Likert Scale) (อ้างถึงใน บุญธรรม
กิจปรีดาบริสุทธิ์ 2542 : 119 - 139) โดยมีหลักการวัด 5 ระดับ ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันมาก คือ มากที่สุด
มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด แบบสอบถามพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเอง มี
จำนวนคำถามทั้งสิ้น 16 ข้อ ทั้งนี้ได้นำแบบสอบถามพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองที่
นักเรียนทำแล้ว มาตรวจให้คะแนนตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้
ในกรณีที่ข้อความใดมีความหมายเป็นทางบวก (Positive) การให้คะแนนเป็นดังนี้
มากที่สุด ให้คะแนน 5 คะแนน
มาก ให้คะแนน 4 คะแนน
ปานกลาง ให้คะแนน 3 คะแนน
น้อย ให้คะแนน 2 คะแนน
น้อยที่สุด ให้คะแนน 1 คะแนน
39
ส่วนในกรณีข้อความใดมีความหมายเป็นทางลบ (Negative) การให้คะแนนเป็น ดังนี้
มากที่สุด ให้คะแนน 1 คะแนน
มาก ให้คะแนน 2 คะแนน
ปานกลาง ให้คะแนน 3 คะแนน
น้อย ให้คะแนน 4 คะแนน
น้อยที่สุด ให้คะแนน 5 คะแนน
จากนั้นนำมาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ซึ่งเกณฑ์
การแปลความหมายมีดังนี้
ค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 4.50 – 5.00 หมายถึง มีระดับมากที่สุด
ค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 3.50 – 4.49 หมายถึง มีระดับมาก
ค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 2.50 – 3.49 หมายถึง มีระดับปานกลาง
ค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 1.50 – 2.49 หมายถึง มีระดับน้อย
ค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 1.00 – 1.49 หมายถึง มีระดับน้อยที่สุด
ตอนที่ 3 แบบสอบถามสภาพแวดล้อมทางบ้าน แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 สถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของครอบครัว เป็นแบบสอบถามสภาพ
ทางเศรษฐกิจของครอบครัวนักเรียน มีจำนวนคำถาม 5 ข้อ
ส่วนที่ 2 การอบรมเลี้ยงดูของบิดามารดาหรือผู้ปกครอง เป็นแบบสอบถามวิธีที่
ผู้ปกครองปฏิบัติต่อนักเรียน มี 3 แบบ ได้แก่ การอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย การอบรมเลี้ยงดู
แบบเข้มงวดกวดขัน และการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย มีจำนวนคำถามทั้งสิ้น 15 ข้อ ดังนี้
การอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย มี 5 ข้อ ได้แก่ข้อ 1 - 5
การอบรมเลี้ยงดูแบบเข้มงวดกวดขัน มี 5 ข้อ ได้แก่ข้อ 6 - 10
การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย มี 5 ข้อ ได้แก่ข้อ 11 - 15
แบบสอบถามทั้ง 2 ส่วน มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ซึ่งเป็น
ไปตามเกณฑ์วัดของลิเคริท์ (Likert Scale) (อ้างถึงใน บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ 2542 : 119 - 139)
โดยมีหลักการวัด 5 ระดับ คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด โดยนำมาวิเคราะห์หา
ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ซึ่งเกณฑ์การแปลความหมายมีดังนี้
ค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 4.50 – 5.00 หมายถึง มีระดับมากที่สุด
ค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 3.50 – 4.49 หมายถึง มีระดับมาก
ค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 2.50 – 3.49 หมายถึง มีระดับปานกลาง
40
ค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 1.50 – 2.49 หมายถึง มีระดับน้อย
ค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 1.00 – 1.49 หมายถึง มีระดับน้อยที่สุด
ตอนที่ 4 แบบสอบถามสภาพแวดล้อมทางโรงเรียน เป็นแบบสอบถามเพื่อต้องการทราบ
ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อสิ่งแวดล้อมของโรงเรียน ได้แก่ พฤติกรรมของครู กลุ่มเพื่อน และการ
จัดการเรียนการสอนจริยศึกษา จำนวนคำถามทั้งสิ้น 25 ข้อ ดังนี้
พฤติกรรมของครู มี 5 ข้อ ได้แก่ข้อ 1 – 5
กลุ่มเพื่อน ม ี 5 ข้อ ได้แก่ข้อ 6 – 10
การจัดการเรียนการสอนจริยศึกษา มี 15 ข้อ แบ่งออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่
การจัดการเรียนการสอนจริยศึกษาในคาบเรียน การจัดกิจกรรมจริยศึกษาและการจัดสภาพแวดล้อมที่
ส่งเสริมจริยศึกษา ซึ่งแต่ละด้านมีจำนวนข้อคำถามดังนี้
การจัดการเรียนการสอนจริยศึกษาในคาบเรียน ม ี 5 ข้อ ได้แก่ข้อ 11 – 15
การจัดกิจกรรมจริยศึกษา มี 5 ข้อ ได้แก่ข้อ 16 – 20
การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมจริยศึกษา มี 5 ข้อ ได้แก่ข้อ 21 – 25
แบบสอบถามมีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์วัดของ
ลิเคริท์ (Likert Scale) (อ้างถึงใน บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ 2542 : 119 - 139) โดยมีหลักการวัด
5 ระดับ คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด โดยนำมาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย (Mean) และ
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ซึ่งเกณฑ์การแปลความหมายมีดังนี้
ค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 4.50 – 5.00 หมายถึง มีระดับมากที่สุด
ค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 3.50 – 4.49 หมายถึง มีระดับมาก
ค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 2.50 – 3.49 หมายถึง มีระดับปานกลาง
ค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 1.50 – 2.49 หมายถึง มีระดับน้อย
ค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 1.00 – 1.49 หมายถึง มีระดับน้อยที่สุด
ตอนที่ 5 แบบสอบถามสภาพแวดล้อมทางสังคมนี้ เป็นแบบสอบถามถึงปริมาณการเปิดรับข่าว
สารจากสื่อมวลชน 6 ประเภท ได้แก่ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ และอินเทอร์เน็ต
โดยวัดจากความบ่อยและระยะเวลาโดยเฉลี่ยที่ใช้ไปในการเปิดรับแต่ละวัน มีจำนวนคำถามทั้งสิ้น 10
ข้อ โดยให้คะแนนดังนี้
41
คะแนนความบ่อยครั้ง ทุกวัน 5 คะแนน
เกือบทุกวัน 4 คะแนน
บางวัน 3 คะแนน
นานๆครั้ง 2 คะแนน
ไม่เคยเลย 1 คะแนน
ระยะเวลาโดยเฉลี่ยในการเปิดรับแต่ละวัน
มากกว่า 6 ชั่วโมง 5 คะแนน
5 – 6 ชั่วโมง 4 คะแนน
3 – 4 ชั่วโมง 3 คะแนน
1 – 2 ชั่วโมง 2 คะแนน
น้อยกว่า 1 ชั่วโมง 1 คะแนน
ปริมาณการเปิดรับข่าวสารจากสื่อทั้ง 6 ประเภท ได้จากการนำคะแนนความบ่อยครั้งใน
การเปิดรับคูณกับคะแนนที่ได้จากระยะเวลาโดยเฉลี่ยในการเปิดรับแต่ละวันจะได้ปริมาณการเปิดรับ
ข่าวสารจากสื่อมวลชนแต่ละประเภท แล้วนำมาแปลความหมายของค่าเฉลี่ยปริมาณการเปิดรับสื่อทั้ง
6 ประเภท ดังนี้
เกณฑ์การแปลความหมาย
ค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 20.01 – 25.00 หมายถึง การเปิดรับสื่ออยู่ในระดับมากที่สุด
ค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 15.01 – 20.00 หมายถึง การเปิดรับสื่ออยู่ในระดับมาก
ค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 10.01 – 15.00 หมายถึง การเปิดรับสื่ออยู่ในระดับปานกลาง
ค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 5.01 – 10.00 หมายถึง การเปิดรับสื่ออยู่ในระดับน้อย
ค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 1 – 5.00 หมายถึง การเปิดรับสื่ออยู่ในระดับน้อยที่สุด
ตอนที่ 6 แบบสอบถามเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยใน
ตนเอง มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์วัดของลิเคริท์
(Likert Scale) (อ้างถึงใน บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ 2542 : 119 - 139) โดยมีหลักการวัด 5 ระดับ คือ
มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด โดยนำมาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน (S.D.) มีจำนวนคำถามทั้งหมด 15 ข้อ ดังนี้
42
แนวทางการพัฒนาสภาพแวดล้อมทางบ้าน ม ี 5 ข้อ ได้แก่ข้อ 1 – 5
แนวทางการพัฒนาสภาพแวดล้อมทางโรงเรียน ม ี 5 ข้อ ได้แก่ข้อ 6 – 10
แนวทางการพัฒนาสภาพแวดล้อมทางสังคม มี 5 ข้อ ได้แก่ข้อ 11 – 15
เกณฑ์การให้คะแนนมีดังต่อไปนี้
มากที่สุด ให้คะแนน 5 คะแนน
มาก ให้คะแนน 4 คะแนน
ปานกลาง ให้คะแนน 3 คะแนน
น้อย ให้คะแนน 2 คะแนน
น้อยที่สุด ให้คะแนน 1 คะแนน
เกณฑ์การแปลความหมายมีดังนี้
ค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 4.50 – 5.00 หมายถึง มีระดับความต้องการพัฒนา
พฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองมากที่สุด
ค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 3.50 – 4.49 หมายถึง มีระดับความต้องการพัฒนา
พฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองมาก
ค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 2.50 – 3.49 หมายถึง มีระดับความต้องการพัฒนา
พฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองปานกลาง
ค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 1.50 – 2.49 หมายถึง มีระดับความต้องการพัฒนา
พฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองน้อย
ค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 1.00 – 1.49 หมายถึง มีระดับความต้องการพัฒนา
พฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองน้อยที่สุด
3) ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นมาจากการศึกษาแนวคิด
ทฤษฎีและเอกสารงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและเอกสารงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในด้านต่างๆ ได้แก่ จริย
ธรรมและพฤติกรรมเชิงจริยธรรม ความมีวินัยในตนเอง การอบรมให้รู้ระเบียบสังคม และ กลุ่มตัว
แทนที่ให้การอบรมให้รู้ระเบียบสังคม
2. กำหนดกรอบแนวคิดในการสร้างเครื่องมือวิจัย
3. สร้างเครื่องมือวิจัย (ฉบับร่าง) แล้วนำเสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
43
4. ปรับปรุงเครื่องมือวิจัยแล้วนำเสนอเครื่องมือวิจัยต่อผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน เพื่อตรวจ
สอบความตรง (Validity) ทั้งความตรงเชิงโครงสร้าง (Construct Validity) และเนื้อหา (Content
Validity) ตลอดจนการใช้สำนวนภาษาที่ถูกต้องเหมาะสม
5. ปรับปรุงเครื่องมือวิจัยแล้วนำไปทดลองใช้ (Tryout) กับประชากรที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง
จำนวน 30 คน ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนบ้านบางกะปิ
6. การหาค่าอำนาจจำแนก (Discrimination) ของแบบสอบถาม เนื่องจากเครื่องมือวิจัยมี
ลักษณะเป็นมาตรวัดระดับ (Rating Scale) ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามจึงต้องนำมาตรวจสอบ
คุณภาพด้วยการหาค่าอำนาจจำแนกรายข้อของข้อคำถาม (ประคอง กรรณสูต 2538 : 45 – 46) ด้วยการ
ทดสอบหาความแตกต่างของค่าเฉลี่ย (Mean) ระหว่างกลุ่มสูงและกลุ่มต่ำตามเทคนิค 25% ของลิเคิร์ท
(Likert) โดยเรียงคะแนนจากมากไปหาน้อย แบ่งเป็นกลุ่มสูง 25% และกลุ่มต่ำ 25% แล้วนำมาเปรียบ
เทียบกันด้วยสูตร t – test คัดเลือกเฉพาะข้อที่มีค่านัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งถือว่ามีอำนาจจำแนกสูงนำไปใช้
ข้อใดมีอำนาจจำแนกต่ำกว่า 1.75 ถือว่ามีอำนาจจำแนกต่ำจะตัดข้อนั้นทิ้งไป ดังสูตร
(x)H - (x)L
t =
S2
H + S2
L
 nH nL
เมื่อ t แทน ค่าอำนาจจำแนกของแบบสอบถาม
(x)H แทน คะแนนเฉลี่ยของกลุ่มสูง
(x)L แทน คะแนนเฉลี่ยของกลุ่มต่ำ
S2
H แทน ความแปรปรวนของกลุ่มสูง
S2
L แทน ความแปรปรวนของกลุ่มต่ำ
nH แทน จำนวนนักเรียนในกลุ่มสูง
nL แทน จำนวนนักเรียนในกลุ่มต่ำ
ผลการทดสอบค่าที พบว่า มีความแตกต่างระหว่างนักเรียนกลุ่มสูงและกลุ่มต่ำอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ทุกข้อ แสดงว่า แบบสอบถามพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัย
ในตนเอง แบบสอบถามสภาพแวดล้อมทางบ้าน แบบสอบถามสภาพแวดล้อมทางโรงเรียน แบบสอบ
ถามสภาพแวดล้อมทางสังคม และแบบสอบถามแนวทางการพัฒนาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมี
วินัยในตนเองมีอำนาจจำแนกจริง
44
7. การตรวจสอบความเชื่อมั่นของเครื่องมือ (Reliability) ใช้วิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์
แอลฟา (Alpha Coefficient) ของคอร์นบาค (Cronbach อ้างใน เพ็ญแข แสงแก้ว 2541 : 116) ดังสูตร
ϒ = N 1 - ΣSi
2
N – 1 ST
2
เมื่อ ϒ = ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นของเครื่องมือที่ใช้ในการวัด
ΣSi
2 = ผลรวมของความแปรปรวนของคะแนนที่วัดได้จากแต่ละข้อ
ST
2 = ค่าความแปรปรวนของคะแนนจากข้อคำถามทุกข้อ
N = จำนวนข้อคำถามหรือจำนวนรายการทั้งหมดที่ใช้วัด
เกณฑ์การแปลค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่น
ถ้าค่า ϒ สูงกว่า 0.70 แสดงว่าเครื่องมือมีความเชื่อมั่นระดับดี
ถ้าค่า ϒ อยู่ระหว่าง 0.40 – 0.69 แสดงว่าเครื่องมือมีความเชื่อมั่นระดับปานกลาง
ถ้าค่า ϒ อยู่ระหว่าง 0.20 – 0.39 แสดงว่าเครื่องมือมีความเชื่อมั่นระดับต่ำ
ผลการทดสอบ พบว่า
แบบสอบถามพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเอง ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ
0.85 แสดงว่าแบบสอบถามมีความเชื่อมั่นในระดับดี
แบบสอบถามสภาพแวดล้อมทางบ้าน ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 แสดงว่าแบบสอบถาม
มีความเชื่อมั่นในระดับดี
แบบสอบถามสภาพแวดล้อมทางโรงเรียน ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.86 แสดงว่าแบบสอบ
ถามมีความเชื่อมั่นในระดับดี
แบบสอบถามสภาพแวดล้อมทางสังคม ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.82 แสดงว่าแบบสอบ
ถามมีความเชื่อมั่นในระดับดี
แบบสอบถามแนวทางการพัฒนาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเอง ได้ค่า
ความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 แสดงว่าแบบสอบถามมีความเชื่อมั่นในระดับดี
แบบสอบถามทั้งฉบับมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.80 แสดงว่าแบบสอบถามมีความเชื่อมั่น
ในระดับดี
8. นำแบบสอบถามที่ได้ทดสอบคุณภาพแล้วไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลต่อไป
45
การเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง โดยได้ทำหนังสือขอความร่วมมือในการวิจัยจากบัณฑิต
วิทยาลัย ถึงสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร เพื่อออกหนังสือสนับสนุนการเก็บรวมรวมข้อมูลไปยัง
ผู้บริหารโรงเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง และในการเก็บข้อมูลนี้ ผู้วิจัยได้อธิบายเกี่ยวกับการทำแบบสอบ
ถามพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเอง แบบสอบถามสภาพแวดล้อมทางบ้าน แบบสอบ
ถามสภาพแวดล้อมทางโรงเรียน แบบสอบถามสภาพแวดล้อมทางสังคม และแบบสอบถามแนวทางการ
พัฒนาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเอง จากนั้นให้นักเรียนทำแบบสอบถาม ตามลำดับ
การวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถาม ผู้วิจัยดำเนินการตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบ
สอบถามทั้งหมด นำแบบสอบถามที่สมบูรณ์ทั้งหมดมาประมวลผลทางสถิติด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โดย
ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS for Windows ใช้ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 เป็นเกณฑ์ใน
การยอมรับหรือปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย และนำข้อมูลมาอภิปรายผลเชิงบรรยายต่อไป
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
1. ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการหาร้อยละ
(Percentage)
2. ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product moment Correlation Coefficient)
เกณฑ์ในการแปลความหมายค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน มีดังต่อไปนี้
ค่า r แสดงว่า
0.81 ขึ้นไป มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง
0.61 – 0.80 มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับค่อนข้างสูง
0.41 – 0.60 มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง
0.21 – 0.40 มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ
0.01 – 0.20 มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับต่ำ
0.00 ไม่มีความสัมพันธ์กัน
(ค่าสัมประสิทธิ์จะเป็นบวกหรือลบก็ได้ ถ้าเป็นบวก หมายถึง มีความสัมพันธ์ในเชิงบวก คือ ถ้า
ค่าของตัวแปรอิสระสูงขึ้นค่าของตัวแปรตามจะสูงขึ้นตามไปด้วย ถ้าเป็นลบ หมายถึง มีความสัมพันธ์
ในเชิงลบ คือ ถ้าค่าของตัวแปรอิสระสูงขึ้นค่าของตัวแปรตามจะลดลง)
บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
การทดสอบสมมติฐานการวิจัย เพื่อหาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัย
ในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 สังกัดกรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล
เป็น 11 ตอน ดังนี้
ผลวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของนักเรียน
ตารางที่ 2 จำนวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่าง จำแนกตาม เพศ อายุ บุคคลที่นักเรียนอาศัยอยู่ ระดับ
การศึกษาของบิดา ระดับการศึกษาของมารดา อาชีพของบิดา อาชีพของมารดา และรายได้
ของครอบครัวต่อเดือน
ข้อมูลทั่วไป จำนวน (N=372) ร้อยละ
1. เพศ
ชาย
หญิง
2. อายุ
14 ปี
15 ปี
16 ปี
3. นักเรียนอาศัยอยู่กับ
บิดา มารดา
ญาติ
เพื่อนบ้าน
4. ระดับการศึกษาสูงสุดของบิดาหรือผู้ปกครอง
ต่ำกว่าประถมศึกษา
ประถมศึกษา
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย,ปวช.หรือเทียบเท่า
อนุปริญญา,ปวส.หรือเทียบเท่า
ปริญญาตรี
สูงกว่าปริญญาตรี
191
181
19
346
7
322
48
2
4
14
13
117
65
146
13
51.3
48.7
5.1
93.0
1.9
86.6
12.9
0.5
1.1
3.8
3.5
31.5
17.5
39.2
3.5
47
ตารางที่ 2 (ต่อ)
ข้อมูลทั่วไป จำนวน (N=372) ร้อยละ
5. ระดับการศึกษาสูงสุดของมารดาหรือผู้ปกครอง
ต่ำกว่าประถมศึกษา
ประถมศึกษา
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย,ปวช.หรือเทียบเท่า
อนุปริญญา,ปวส.หรือเทียบเท่า
ปริญญาตรี
สูงกว่าปริญญาตรี
6. อาชีพของบิดาหรือผู้ปกครอง
เกษตรกรรม
รับจ้าง
ธุรกิจส่วนตัว
รับราชการ
ทำงานรัฐวิสาหกิจ
7. อาชีพของมารดาหรือผู้ปกครอง
เกษตรกรรม
รับจ้าง
ธุรกิจส่วนตัว
รับราชการ
ทำงานรัฐวิสาหกิจ
แม่บ้าน
8. รายได้ของครอบครัวต่อเดือน
ตั้งแต่ 5,000 บาท ลงมา
5,001 – 10,000 บาท
10,001 – 15,000 บาท
15,001 – 20,000 บาท
ตั้งแต่ 20,001 บาท ขึ้นไป
11
3
68
113
49
124
4
11
81
103
134
43
8
103
99
91
33
38
11
46
74
79
162
3.0
0.8
18.3
30.4
13.2
33.3
1.1
3.0
21.8
27.7
36.0
11.6
2.2
27.7
26.6
24.5
8.9
10.2
3.0
12.4
19.9
21.2
43.5
48
จากตารางที่ 2 แสดงว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดกรุงเทพมหานคร ที่เป็นกลุ่ม
ตัวอย่างเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง โดยเป็นนักเรียนเพศชาย จำนวน 191 คน นักเรียนเพศหญิง
จำนวน 181 คน คิดเป็นร้อยละ51.3 และ 48.7 ตามลำดับ
นักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุ 15 ปี จำนวน 346 คน คิดเป็นร้อยละ 93.0 รองลงมา
มีอายุ 14 ปี จำนวน 19 คน และมีอายุ 16 ปี จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 5.1 และ 1.9 ตามลำดับ
บุคคลที่นักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างอาศัยอยู่ด้วยส่วนใหญ่ คือ บิดามารดา จำนวน 322 คน
คิดเป็นร้อยละ 86.6 รองลงมาได้แก่ ญาติ จำนวน 48 คน คิดเป็นร้อยละ 12.9 และมีเพียงเล็กน้อยที่อาศัย
อยู่กับเพื่อนบ้าน จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 0.5
ระดับการศึกษาสูงสุดของบิดาหรือผู้ปกครองของนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการ
ศึกษาระดับปริญญาตร ี จาํ นวน 146 คน คิดเป็นร้อยละ 39.2 รองลงมามีการศึกษาระดับมัธยมศึกษา
ตอนปลาย,ปวช.หรือเทียบเท่า จำนวน 117 คน คิดเป็นร้อยละ 31.5 และระดับอนุปริญญา,ปวส.หรือ
เทียบเท่า จำนวน 65 คน คิดเป็นร้อยละ 17.5 และมีเพียงเล็กน้อยมีการศึกษาระดับ ประถมศึกษา จำนวน
14 คน สูงกว่าปริญญาตรี จำนวน13 คน มัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 13 คน และต่ำกว่าประถมศึกษา
จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 3.8 , 3.5 ,3.5 และ1.1 ตามลำดับ
ระดับการศึกษาสูงสุดของมารดาหรือผู้ปกครองของนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการ
ศึกษาระดับปริญญาตร ี จาํ นวน 124 คน คิดเป็นร้อยละ 33.3 รองลงมามีการศึกษาระดับมัธยมศึกษา
ตอนปลาย,ปวช.หรือเทียบเท่า จำนวน 113 คน คิดเป็นร้อยละ 30.4 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน
68 คน คิดเป็นร้อยละ 18.3 ระดับอนุปริญญา,ปวส.หรือเทียบเท่า จำนวน 49 คน คิดเป็นร้อยละ 13.2
มีเพียงเล็ก มีการศึกษาระดับต่ำกว่าประถมศึกษา จำนวน 11 คน สูงกว่าปริญญาตรี จำนวน 4 คน
และประถมศึกษา จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 3.0 ,1.1 และ0.8 ตามลำดับ
อาชีพของบิดาหรือผู้ปกครองของนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอาชีพรับราชการ
จำนวน 134 คน คิดเป็นร้อยละ 36.0 รองลงมามีอาชีพธุรกิจส่วนตัว จำนวน 103 คน คิดเป็นร้อยละ 27.7
และมีอาชีพรับจ้าง จำนวน 81 คน คิดเป็นร้อยละ 21.8 มีอาชีพทำงานรัฐวิสาหกิจ จำนวน 43 คน คิดเป็น
ร้อยละ 11.6 และมีเพียงเล็กน้อยมีอาชีพเกษตรกรรม จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 3.0
อาชีพของมารดาหรือผู้ปกครองของนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้าง จำนวน
103 คน คิดเป็นร้อยละ 27.7 รองลงมามีอาชีพธุรกิจส่วนตัว จำนวน 99 คน คิดเป็นร้อยละ 26.6 มีอาชีพ
รับราชการ จำนวน 91 คน คิดเป็นร้อยละ 24.5 มีอาชีพแม่บ้าน จำนวน 38 คน คิดเป็นร้อยละ 10.2
ทำงานรัฐวิสาหกิจ จำนวน 33 คน คิดเป็นร้อยละ 8.9 และมีเพียงเล็กน้อยมีอาชีพเกษตรกรรม จำนวน
8 คน คิดเป็นร้อยละ 2.2
รายได้ของครอบครัวต่อเดือนของนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่มีรายได้ ตั้งแต่
20,001 บาท ขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ43.5 รองลงมามีรายได้ 15,001 – 20,000 บาท 10,001 – 15,000 บาท
49
และ5,001 – 10,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 21.2 , 19.9 , 12.4 ตามลำดับ มีเพียงเล็กน้อยมีรายได้
ตั้งแต่ 5,000 บาท ลงมา คิดเป็นร้อยละ 3.0
ผลการวิเคราะห์พฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน
ตารางที่ 3 ค่าเฉลี่ยของพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน
ปัจจัย Mean S.D. การแปลผล
1.นักเรียนปฏิบัติตามกฎ ระเบียบของโรงเรียนอย่างเคร่งครัด 4.87 .34 มากที่สุด
2.นักเรียนมาโรงเรียนสายเป็นประจำ3.43 .71 ปานกลาง
3.นักเรียนทิ้งขยะลงในถังที่จัดวางไว้บริเวณต่างๆ 4.70 .53 มากที่สุด
4.นักเรียนอ่านหนังสือและทบทวนบทเรียนทุกวันโดยไม่
ต้องให้ใครบอก
4.05 .72 มาก

ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสภาพแวดล้อมกับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ตอนที่ 1)
ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสภาพแวดล้อมกับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ตอนที่ 2)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น