วันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554

ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสภาพแวดล้อมกับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ตอนที่ 2)



5.นักเรียนมักส่งการบ้านหรือรายงานไม่ทันตามเวลาที่ครู
กำหนด
3.45 .81 ปานกลาง
6.นักเรียนจะทำงานที่ได้รับมอบหมายสำเร็จได้ ก็ต่อเมื่อมีครู
มาคอยควบคุม
4.09 .93 มาก
7.นักเรียนชอบคุยหรือเล่นกับเพื่อนในขณะกำลังเรียน 2.92 1.30 ปานกลาง
8.นักเรียนชอบส่งเสียงดังรบกวนผู้อื่นในขณะใช้บริการห้อง
สมุด
3.40 .75 ปานกลาง
9.ก่อนหยิบของผู้อื่นมาใช้ นักเรียนจะขออนุญาตเจ้าของก่อน
ทุกครั้ง
3.81 .86 มาก
10.นักเรียนเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น 4.57 .63 มากที่สุด
11.นักเรียนเคารพสิทธิของผู้อื่น 4.48 .76 มาก
12.เมื่อนักเรียนทำผิด นักเรียนจะยอมรับผิด 4.64 .48 มากที่สุด
13.นักเรียนจะลอกข้อสอบเพื่อน ถ้าครูไม่อยู่ในห้อง 3.06 1.19 ปานกลาง
14.นักเรียนมักจะลัดคิวเพื่อนในการซื้ออาหารรับประทาน 3.47 .82 ปานกลาง
15.เมื่อนักเรียนเก็บของได้จะเก็บไว้เป็นของตนเอง 3.08 1.16 ปานกลาง
16.นักเรียนเต็มใจทำกิจกรรมพิเศษของโรงเรียนแม้จะเลย
เวลาเลิกเรียนแล้ว
4.17 .92 มาก
รวม 3.89 .38 มาก
50
จากตารางที่ 3 พบว่า โดยภาพรวมนักเรียนมีพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเอง
อยู่ในระดับมาก โดยพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่
นักเรียนปฏิบัติตามกฎ ระเบียบของโรงเรียนอย่างเคร่งครัด , นักเรียนทิ้งขยะลงในถังที่จัดวางไว้บริเวณ
ต่างๆ , เมื่อนักเรียนทำผิด นักเรียนจะยอมรับผิด และนักเรียนเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น พฤติกรรม
เชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองอยู่ในระดับมาก ได้แก่ นักเรียนเคารพสิทธิของผู้อื่น , นักเรียน
เต็มใจทำกิจกรรมพิเศษของโรงเรียนแม้จะเลยเวลาเลิกเรียนแล้ว , นักเรียนจะทำงานที่ได้รับมอบหมาย
สำเร็จได้ ก็ต่อเมื่อมีครูมาคอยควบคุม , นักเรียนอ่านหนังสือและทบทวนบทเรียนทุกวันโดยไม่ต้องให้
ใครบอก และก่อนหยิบของผู้อื่นมาใช้ นักเรียนจะขออนุญาตเจ้าของก่อนทุกครั้ง พฤติกรรมเชิง
จริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ นักเรียนมักจะลัดคิวเพื่อนในการ
ซื้ออาหารรับประทาน , นักเรียนมักส่งการบ้านหรือรายงานไม่ทันตามเวลาที่ครูกำหนด , นักเรียนมา
โรงเรียนสายเป็นประจำ , นักเรียนชอบส่งเสียงดังรบกวนผู้อื่นในขณะใช้บริการห้องสมุด , เมื่อนักเรียน
เก็บของได้จะเก็บไว้เป็นของตนเอง , นักเรียนจะลอกข้อสอบเพื่อน ถ้าครูไม่อยู่ในห้อง และนักเรียน
ชอบคุยหรือเล่นกับเพื่อนในขณะกำลังเรียน
ผลการวิเคราะห์ปัจจัยสภาพแวดล้อมที่คาดว่าจะมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเชิง จริย
ธรรมด้านความมีวินัย ในตนเองของนักเรียน
ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยสภาพแวดล้อมที่คาดว่าจะมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเชิง
จริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน 15 ตัวแปร ได้แก่ สถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคม
ของครอบครัว การอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย การอบรมเลี้ยงดูแบบเข้มงวดกวดขัน การอบรม
เลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย พฤติกรรมของครู กลุ่มเพื่อน การจัดการเรียนการสอนจริยศึกษาใน
คาบเรียน การจัดกิจกรรมจริยศึกษา การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมจริยศึกษา และการเปิดรับข่าวสาร
จากสื่อมวลชนด้านหนังสือพิมพ์ การเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนด้านนิตยสาร การเปิดรับข่าวสาร
จากสื่อมวลชนด้านวิทยุ การเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนด้านโทรทัศน์ การเปิดรับข่าวสารจากสื่อ
มวลชนด้านภาพยนตร ์ และการเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนด้านอินเทอร์เน็ต โดยการคำนวณหาค่า
เฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดังนี้
51
ตารางที่ 4 ค่าเฉลี่ยของระดับสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของครอบครัว
สถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของครอบครัว Mean S.D. แปลความ
1. บิดามารดาหรือผู้ปกครองประกอบอาชีพไม่เป็น
หลักฐาน
2.78 .67 ปานกลาง
2. การเงินสำหรับใช้ภายในครอบครัวไม่เพียงพอ 2.74 .81 ปานกลาง
3. รายได้ของครอบครัวไม่แน่นอน 3.23 .42 ปานกลาง
4. เมื่อพบผู้ที่กำลังเดือดร้อน ครอบครัวของนักเรียน
มักเข้าไปช่วยเหลือเสมอ
3.74 .97 มาก
5. ครอบครัวของนักเรียนได้รับการยอมรับนับถือจาก
ผู้อื่น
3.98 .83 มาก
รวม 3.30 .74 ปานกลาง
จากตารางที่ 4 พบว่าสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของครอบครัวโดยภาพรวมอยู่ในระดับ
ปานกลาง โดยเมื่อพบผู้ที่กำลังเดือดร้อน ครอบครัวของนักเรียน มักเข้าไปช่วยเหลือเสมอ และ
ครอบครัวของนักเรียนได้รับการยอมรับนับถือจากผู้อื่นอยู่ในระดับมาก ในระดับปานกลาง ได้แก่ บิดา
มารดาหรือผู้ปกครองประกอบอาชีพไม่เป็นหลักฐาน การเงินสำหรับใช้ภายในครอบครัวไม่เพียงพอ
และรายได้ของครอบครัวไม่แน่นอน
52
ตารางที่ 5 ค่าเฉลี่ยของระดับการอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย
การอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย Mean S.D. แปลความ
1. ผู้ปกครองคอยว่ากล่าวตักเตือน เรื่อง มารยาท
การพูดจาของนักเรียน
2.43 1.11 น้อย
2. เมื่อนักเรียนแจ้งผลการเรียนให้ทราบ ผู้ปกครองจะ
แสดงความสนใจ
2.44 1.33 น้อย
3. นักเรียนจะแต่งตัวอย่างไรผู้ปกครองก็ไม่สนใจ 4.33 .72 มาก
4. นักเรียนไปเที่ยวนอกบ้านได้โดยไม่ต้อง ขออนุญาต
ผู้ปกครอง
3.76 .85 มาก
5. แม้เมื่อนักเรียนทำความดี ก็ไม่เคยได้รับ คำยกย่อง
ชมเชยจากผู้ปกครอง
3.04 1.00 ปานกลาง
รวม 3.20 .72 ปานกลาง
จากตารางที่ 5 พบว่าการอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลยโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง
โดยนักเรียนจะแต่งตัวอย่างไรผู้ปกครองก็ไม่สนใจ และนักเรียนไปเที่ยวนอกบ้านได้โดยไม่ต้อง
ขออนุญาตผู้ปกครองอยู่ในระดับมาก แม้เมื่อนักเรียนทำความดีก็ไม่เคยได้รับคำยกย่องชมเชยจาก
ผู้ปกครองอยู่ในระดับปานกลาง ผู้ปกครองคอยว่ากล่าวตักเตือน เรื่อง มารยาท การพูดจาของนักเรียน
และเมื่อนักเรียนแจ้งผลการเรียนให้ทราบ ผู้ปกครองจะแสดงความสนใจอยู่ในระดับน้อย
53
ตารางที่ 6 ค่าเฉลี่ยของระดับการอบรมเลี้ยงดูแบบเข้มงวดกวดขัน
การอบรมเลี้ยงดูแบบเข้มงวดกวดขัน Mean S.D. แปลความ
1. บ้านของนักเรียนมีกฎเกณฑ์ต่างๆ ซึ่งผู้ปกครอง
กำหนดไว้
4.65 .48 มากที่สุด
2. นักเรียนต้องกลับบ้านตามเวลาที่ผู้ปกครองกำหนด 4.85 .48 มากที่สุด
3. นักเรียนไม่มีโอกาสไปเที่ยวกับเพื่อนๆ นอกจากไป
กับผู้ปกครอง
2.33 1.32 น้อย
4. ผู้ปกครองห้ามนักเรียนไปเล่นกับเพื่อน ที่ผู้ปกครอง
ของนักเรียนไม่ชอบ
4.34 .78 มาก
5. เมื่อนักเรียนทำผิดผู้ปกครองจะดุทันที ไม่ว่าจะอยู่
ที่ใด
2.37 1.00 น้อย
รวม 3.71 .45 มาก
จากตารางที่ 6 พบว่าการอบรมเลี้ยงดูแบบเข้มงวดกวดขัน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
โดยบ้านของนักเรียนมีกฎเกณฑ์ต่างๆ ซึ่งผู้ปกครองกำหนดไว้ และนักเรียนต้องกลับบ้านตามเวลาที่
ผู้ปกครองกำหนดอยู่ในระดับมากที่สุด ผู้ปกครองห้ามนักเรียนไปเล่นกับเพื่อนที่ผู้ปกครองของ
นักเรียนไม่ชอบอยู่ในระดับมาก นักเรียนไม่มีโอกาสไปเที่ยวกับเพื่อนๆ นอกจากไปกับผู้ปกครอง และ
เมื่อนักเรียนทำผิดผู้ปกครองจะดุทันที ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดอยู่ในระดับน้อย
54
ตารางที่ 7 ค่าเฉลี่ยของระดับการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย
การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย Mean S.D. แปลความ
1. เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นในครอบครัว ผู้ปกครองยินดี
ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา
4.65 .48 มากที่สุด
2. ผู้ปกครองจะชี้แจงเหตุผลแก่นักเรียนก่อนการลงโทษ 4.56 .69 มากที่สุด
3. เมื่อนักเรียนแสดงความคิดเห็น ผู้ปกครองจะรับฟัง 1.96 1.00 น้อย
4. ผู้ปกครองอนุญาตให้นักเรียนร่วมกิจกรรมพิเศษของ
โรงเรียน
4.29 .81 มาก
5. ผู้ปกครองให้รางวัลหรือคำชมเชยเมื่อนักเรียนทำสิ่ง
ต่างๆ สำเร็จ
2.11 .81 น้อย
รวม 3.51 .35 มาก
จากตารางที่ 7 พบว่าการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเมื่อ
มีปัญหาเกิดขึ้นในครอบครัว ผู้ปกครองยินดีให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา และผู้ปกครองจะ
ชี้แจงเหตุผลแก่นักเรียนก่อนการลงโทษอยู่ในระดับมากที่สุด ผู้ปกครองอนุญาตให้นักเรียนร่วม
กิจกรรมพิเศษของโรงเรียนอยู่ในระดับมาก เมื่อนักเรียนแสดงความคิดเห็น ผู้ปกครองจะรับฟัง และ
ผู้ปกครองให้รางวัลหรือคำชมเชยเมื่อนักเรียนทำสิ่งต่างๆ สำเร็จอยู่ในระดับน้อย
55
ตารางที่ 8 ค่าเฉลี่ยของระดับพฤติกรรมของครู
พฤติกรรมของครู Mean S.D. แปลความ
1. ครูคอยให้ความช่วยเหลือเป็นกำลังใจแก่นักเรียน 4.64 .48 มากที่สุด
2. เมื่อนักเรียนทำงานดี ครูจะเฉยๆ ไม่แสดงความ
ชื่นชม
4.95 .21 มากที่สุด
3. ครูไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของนักเรียน 1.89 .92 น้อย
4. ครูแต่งกายสุภาพเรียบร้อยเหมาะสมกับกาลเทศะ 4.27 .81 มาก
5. ครูเข้มงวดกวดขันให้นักเรียนปฏิบัติตามระเบียบ
ข้อบังคับต่างๆ ของโรงเรียน
2.06 .71 น้อย
รวม 3.56 .31 มาก
จากตารางที่ 8 พบว่า พฤติกรรมของครูโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยครูคอยให้ความช่วย
เหลือเป็นกำลังใจแก่นักเรียนและเมื่อนักเรียนทำงานดี ครูจะเฉยๆ ไม่แสดงความชื่นชม อยู่ในระดับมาก
ที่สุด ครูแต่งกายสุภาพเรียบร้อยเหมาะสมกับกาลเทศะอยู่ในระดับมาก ในระดับน้อย ได้แก่ ครูไม่ยอม
รับฟังความคิดเห็นของนักเรียนและครูเข้มงวดกวดขันให้นักเรียนปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ
ของโรงเรียน
ตารางที่ 9 ค่าเฉลี่ยของระดับกลุ่มเพื่อน
กลุ่มเพื่อน Mean S.D. แปลความ
1. นักเรียนไม่มีความสุขกับการได้ทำงานร่วมกับเพื่อน 4.74 .44 มากที่สุด
2. เพื่อนให้ความเป็นกันเองแก่นักเรียน 4.08 .85 มาก
3. นักเรียนไม่ได้รับความช่วยเหลือในด้านการเรียน
จากเพื่อน
4.63 .48 มากที่สุด
4. เพื่อนๆ ยอมรับในความสามารถของนักเรียน 4.64 .48 มากที่สุด
5. นักเรียนมักทะเลาะเบาะแว้งกับเพื่อน 4.56 .57 มากที่สุด
รวม 4.53 .40 มากที่สุด
จากตารางที่ 9 พบว่า กลุ่มเพื่อนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยนักเรียนไม่มีความสุข
กับการได้ทำงานร่วมกับเพื่อน นักเรียนไม่ได้รับความช่วยเหลือในด้านการเรียนจากเพื่อน เพื่อนๆ ยอม
รับในความสามารถของนักเรียน และนักเรียนมักทะเลาะเบาะแว้งกับเพื่อนอยู่ในระดับมากที่สุด ยกเว้น
เพื่อนให้ความเป็นกันเองแก่นักเรียนอยู่ในระดับมาก
56
ตารางที่ 10 ค่าเฉลี่ยของระดับการจัดการเรียนการสอนจริยศึกษาในคาบเรียน
การจัดการเรียนการสอนจริยศึกษาในคาบเรียน Mean S.D. แปลความ
1.โรงเรียนจัดหลักสูตรเพื่อสอนและส่งเสริมจริยศึกษา
กับนักเรียน
4.65 .48 มากที่สุด
2. โรงเรียนจัดหนังสือเรียนและเอกสารคำสอนเพื่อ
สอนจริยศึกษาให้กับนักเรียนไม่เพียงพอ
4.96 .20 มากที่สุด
3. ครูสอนสอดแทรกจริยธรรมกับนักเรียนขณะ
สอนวิชาอื่น
2.02 1.06 น้อย
4. ครูสอนโดยให้นักเรียนวิเคราะห์ข่าวสารจาก
สื่อมวลชนเกี่ยวกับจริยธรรมเพื่อให้นักเรียนเลือก
ตัดสินใจปฏิบัติให้ถูกต้อง
4.30 .81 มาก
5. ครูจัดประเมินผลด้านคุณธรรมจริยธรรมกับนักเรียน
นานๆครั้ง
2.16 .87 น้อย
รวม 3.62 .38 มาก
จากตารางที่ 10 พบว่า การจัดการเรียนการสอนจริยศึกษาในคาบเรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับ
มาก โดยโรงเรียนจัดหลักสูตรเพื่อสอนและส่งเสริมจริยศึกษากับนักเรียน และโรงเรียนจัดหนังสือเรียน
และเอกสารคำสอนเพื่อสอนจริยศึกษาให้กับนักเรียนไม่เพียงพออยู่ในระดับมากที่สุด ครูสอนโดย
ให้นักเรียนวิเคราะห์ข่าวสารจากสื่อมวลชนเกี่ยวกับจริยธรรมเพื่อให้นักเรียนเลือกตัดสินใจปฏิบัติให้ถูก
ต้องอยู่ในระดับมาก และครูสอนสอดแทรกจริยธรรมกับนักเรียนขณะสอนวิชาอื่น และครูจัดประเมิน
ผลด้านคุณธรรมจริยธรรมกับนักเรียนนานๆครั้ง อยู่ในระดับน้อย
57
ตารางที่ 11 ค่าเฉลี่ยของระดับการจัดกิจกรรมจริยศึกษา
การจัดกิจกรรมจริยศึกษา Mean S.D. แปลความ
1. โรงเรียนส่งเสริมให้นักเรียนจัดกิจกรรมวันสำคัญ
ของศาสนาทุกศาสนาทั้งภายในโรงเรียนและชุมชน
4.64 .48 มากที่สุด
2. โรงเรียนส่งเสริมให้นักเรียนเป็นผู้เสียสละโดย
บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม
4.95 .21 มากที่สุด
3. โรงเรียนไม่เคยเชิญวิทยากรมาให้ความรู้เกี่ยวกับ
ประสบการณ์ที่ดีในการดำเนินชีวิต
1.90 .92 น้อย
4. แม้เมื่อนักเรียนทำความดี โรงเรียนก็ไม่เคยมีการ
ยกย่อง ชมเชยหรือมอบรางวัลให้
4.27 .81 มาก
5. โรงเรียนจัดแข่งขันตอบปัญหาจริยธรรมและ
ศาสนานานๆ ครั้ง
2.05 .71 น้อย
รวม 3.56 .31 มาก
จากตารางที่ 11 พบว่า การจัดกิจกรรมจริยศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยโรงเรียน
ส่งเสริมให้นักเรียนจัดกิจกรรมวันสำคัญของศาสนาทุกศาสนาทั้งภายในโรงเรียนและชุมชน และ
โรงเรียนส่งเสริมให้นักเรียนเป็นผู้เสียสละโดยบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมอยู่ในระดับมากที่สุด แม้เมื่อ
นักเรียนทำความดี โรงเรียนก็ไม่เคยมีการยกย่อง ชมเชยหรือมอบรางวัลให้อยู่ในระดับมาก โรงเรียนไม่
เคยเชิญวิทยากรมาให้ความรู้เกี่ยวกับประสบการณ์ที่ดีในการดำเนินชีวิต และโรงเรียนจัดแข่งขันตอบ
ปัญหาจริยธรรมและศาสนานานๆ ครั้งอยู่ในระดับน้อย
58
ตารางที่ 12 ค่าเฉลี่ยของระดับการจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมจริยศึกษา
การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมจริยศึกษา Mean S.D. แปลความ
1. โรงเรียนจัดอาคารและบริเวณโรงเรียนที่เป็น
เอกลักษณ์ทางธรรมชาติเพื่อส่งเสริมและพัฒนา
ด้านจิตใจกับนักเรียน
4.58 .59 มากที่สุด
2. โรงเรียนปิดป้ายข้อความเตือนใจด้านคุณธรรม
จริยธรรมบริเวณโรงเรียน
4.89 .38 มากที่สุด
3. ครูจัดห้องเรียนไม่เหมาะสมกับการเรียนจริยศึกษา 2.44 1.38 น้อย
4. บริเวณโรงเรียน ห้องเรียน มีสื่อส่งเสริมความรู้ด้าน
ศาสนาไม่เพียงพอ
4.37 .77 มาก
5. โรงเรียนจัดห้องเรียนหรือสถานที่เพื่อให้นักเรียนใช้
เวลาว่างสวดภาวนาอธิษฐานส่วนตัวตามหลักธรรม
ของแต่ละศาสนา
2.45 1.10 น้อย
รวม 3.75 .49 มาก
จากตารางที่ 12 พบว่า การจัดสภาพแวดล้อมโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โรงเรียนจัดอาคาร
และบริเวณโรงเรียนที่เป็นเอกลักษณ์ทางธรรมชาติเพื่อส่งเสริมและพัฒนาด้านจิตใจกับนักเรียน และ
โรงเรียนปิดป้ายข้อความเตือนใจด้านคุณธรรมจริยธรรมบริเวณโรงเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด บริเวณ
โรงเรียน ห้องเรียนมีสื่อส่งเสริมความรู้ด้านศาสนาไม่เพียงพออยู่ในระดับมาก ครูจัดห้องเรียนไม่เหมาะ
สมกับการเรียนจริยศึกษา และโรงเรียนจัดห้องเรียนหรือสถานที่เพื่อให้นักเรียนใช้เวลาว่างสวดภาวนา
อธิษฐานส่วนตัวตามหลักธรรมของแต่ละศาสนา
59
ตารางที่ 13 ค่าเฉลี่ยของระดับการเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชน 6 ประเภท
การเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชน Mean S.D. แปลความ
1. การเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนประเภทหนังสือพิมพ์ 2.01 1.60 น้อยที่สุด
2. การเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนประเภทนิตยสาร 4.49 1.36 น้อยที่สุด
3. การเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนประเภทวิทยุ 7.87 2.16 น้อย
4. การเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนประเภทโทรทัศน์ 13.20 3.50 ปานกลาง
5. การเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนประเภทภาพยนตร์ 4.30 .72 น้อยที่สุด
6. การเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนประเภทอินเทอร์เน็ต 7.81 3.88 น้อย
รวม 6.61 .94 น้อย
จากตารางที่ 13 พบว่า การการเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนโดยรวมอยู่ในระดับน้อย
ซึ่งการเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนประเภทโทรทัศน์อยู่ในระดับปานกลาง การเปิดรับข่าวสารจาก
สื่อมวลชนประเภทวิทยุ และการเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนประเภทอินเทอร์เน็ตอยู่ในระดับน้อย
การเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนประเภทหนังสือพิมพ์ การเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนประเภท
นิตยสาร และการเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนประเภทภาพยนตร์อยู่ในระดับน้อยที่สุด
ตารางที่ 14 ค่าเฉลี่ยของระดับปัจจัยสภาพแวดล้อมโดยรวมกับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความ
มีวินัยในตนเองของนักเรียน
ปัจจัย Mean S.D. แปลความ
1. สภาพแวดล้อมทางบ้าน 3.43 .27 ปานกลาง
2. สภาพแวดล้อมทางโรงเรียน 3.80 .30 มาก
3. สภาพแวดล้อมทางสังคม 6.61 .94 น้อย
4. พฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเอง 3.89 .38 มาก
จากตารางที่ 14 พบว่า ปัจจัยสภาพแวดล้อมทางโรงเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมาก รองลงมา ได้
แก่ สภาพแวดล้อมทางบ้านอยู่ในระดับปานกลาง และสภาพแวดล้อมทางสังคมอยู่ในระดับน้อย ส่วน
ปัจจัยพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียนอยู่ในระดับมาก
60
ผลการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างกันของปัจจัยสภาพแวดล้อมและพฤติ
กรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน
ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสภาพแวดล้อมกับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้าน
ความมีวินัยในตนเองของนักเรียน โดยการวิเคราะห์ขั้นตอนนี้ใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน
เพื่อหาสหสัมพันธ์ระหว่างกันของปัจจัยสภาพแวดล้อมทั้ง 15 ตัว ได้แก่ สถานภาพทางเศรษฐกิจและ
สังคมของครอบครัว การอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย การอบรมเลี้ยงดูแบบเข้มงวดกวดขัน
การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย พฤติกรรมของครู กลุ่มเพื่อน การจัดการเรียนการสอนจริยศึกษาใน
คาบเรียน การจัดกิจกรรมจริยศึกษา การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมจริยศึกษา การเปิดรับข่าวสารจาก
สื่อมวลชนประเภทหนังสือพิมพ์ การเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนประเภทนิตยสาร การเปิดรับข่าวสาร
จากสื่อมวลชนประเภทวิทยุ การเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนประเภทโทรทัศน์ การเปิดรับข่าวสารจาก
สื่อมวลชนประเภทภาพยนตร์ และการเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนประเภทอินเทอร์เน็ต และค้นหา
ตัวแปรที่มีอำนาจในการพยากรณ์พฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน โดยใช้
วิธีการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้น (Stepwise Multiple Regression Analysis) ซึ่งผู้วิจัย
กำหนดสัญลักษณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้
X1 แทน สถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของครอบครัว
X2 แทน การอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย
X3 แทน การอบรมเลี้ยงดูแบบเข้มงวดกวดขัน
X4 แทน การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย
X5 แทน พฤติกรรมของครู
X6 แทน กลุ่มเพื่อน
X7 แทน การจัดการเรียนการสอนจริยศึกษาในคาบเรียน
X8 แทน การจัดกิจกรรมจริยศึกษา
X9 แทน การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมจริยศึกษา
X10 แทน การเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนด้านหนังสือพิมพ์
X11 แทน การเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนด้านนิตยสาร
X12 แทน การเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนด้านวิทยุ
X13 แทน การเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนด้านโทรทัศน์
X14 แทน การเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนด้านภาพยนตร์
X15 แทน การเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนด้านอินเทอร์เน็ต
V1 แทน สภาพแวดล้อมทางบ้านโดยรวม
V2 แทน สภาพแวดล้อมทางโรงเรียนโดยรวม
61
^

V3 แทน สภาพแวดล้อมทางสังคมโดยรวม
Y แทน พฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน
r แทน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์
R แทน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ
R2 แทน ดัชนีการพยากรณ์หรือประสิทธิภาพของการพยากรณ์
S.E.est แทน ความคลาดเคลื่อนของการพยากรณ์
SE.b แทน ความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของสัมประสิทธิ์ของตัวพยากรณ์
B แทน สัมประสิทธิ์การถดถอยมาตรฐาน
b แทน สัมประสิทธิ์การถดถอยของตัวพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ
a แทน ค่าคงที่ของสหการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ
Y แทน คะแนนพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน
ที่ได้จากการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ
Z แทน คะแนนพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน
ที่ได้จากการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน
ตารางที่ 15 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างกันของปัจจัยสภาพแวดล้อมและพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน
ตัวพยากรณ์ X1 X2 X3 X4 X5 X6 X7 X8 X9 X10 X11 X12 X13 X14 X15 Y
X1 1.000
X2 .585** 1.000
X3 -.404** -.221* 1.000
X4 -.470** -.231* .738* 1.000
X5 -.439** -.207* .558* .754* 1.000
X6 -.824** -.603* .344* .475* .435* 1.000
X7 -.445** -.217* .657* .911* .695* .445* 1.000
X8 -.550** -.256* .639* .856* .824* .553* .782* 1.000
X9 -.397** -.267* .748* .473* .475* .352* .411* .588* 1.000
X10 .85 .627** -.275** -.347** -.330** -.404** -.308** -.390** -.289** 1.000
X11 .239** -.305** -.024 .042 .029 -.370** .030 .022 -.013 -.142** 1.000
X12 .125** .127** -.393** -.597** -.570** .029 -.540** -.683** -.349** .116* -.682** 1.000
X13 .207** .439** -.160** -.140** -.137** -.564** -.127** -.166** -.182 .780** .476** -.446** 1.000
X14 -.206** -.118* .510** .741 .712** .138** .671** .855** .456** -.266** .469** -.952** .217** 1.000
X15 .128** -.170** .358** .556** .533** -.075 .494** .629** .321** -.496** .669** -.874** .098* .890** 1.000
Y .080 -.215** .320** .495** .460** .210** .451** .529** .276** -.745** .159** -.362** -.465** .517** .668** 1.000
*มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
**มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
63
จากตารางที่ 15 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างกันของปัจจัยสภาพแวดล้อมมีความสัมพันธ์
ทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r อยู่ระหว่าง 0.098 ถึง 0.911) โดยปัจจัยการอบรมเลี้ยง
ดูแบบประชาธิปไตย (X4) มีความสัมพันธ์กับการจัดการเรียนการสอนจริยศึกษาในคาบเรียนสูงสุด (X7)
และการเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนประเภทโทรทัศน์ (X13) มีความสัมพันธ์กับการเปิดรับข่าวสารจาก
สื่อมวลชนประเภทอินเทอร์เน็ต (X15) ต่ำสุด
ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างกันของปัจจัยสภาพแวดล้อมมีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (r อยู่ระหว่าง 0.125 ถึง 0.855) โดยปัจจัยการจัดกิจกรรมจริยศึกษา (X8)
มีความสัมพันธ์กับการเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนประเภทภาพยนตร์สูงสุด (X14) และสถานภาพทาง
เศรษฐกิจและสังคมของครอบครัว (X1) มีความสัมพันธ์กับการเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนประเภท
วิทยุ (X12) ต่ำสุด
ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างกันของปัจจัยสภาพแวดล้อมมีความสัมพันธ์ทางลบ อย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r อยู่ระหว่าง -0.118 ถึง -0.603) โดยปัจจัยการอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อย
ปละละเลย (X2) มีความสัมพันธ์กับกลุ่มเพื่อน (X6) สูงสุด และการเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชน
ประเภทภาพยนตร์ (X14) ต่ำสุด
ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างกันของปัจจัยสภาพแวดล้อมมีความสัมพันธ์ทางลบ อย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (r อยู่ระหว่าง -0.127 ถึง -0.952) โดยปัจจัยการเปิดรับข่าวสารจากสื่อ
มวลชนประเภทวิทยุ (X12) มีความสัมพันธ์กับการเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนประเภทภาพยนตร์
(X14) สูงสุด และการจัดการเรียนการสอนจริยศึกษาในคาบเรียน (X7) มีความสัมพันธ์กับการเปิดรับข่าว
สารจากสื่อมวลชนประเภทโทรทัศน์ (X13) ต่ำสุด
ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างกันของปัจจัยสภาพแวดล้อมที่ไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ สถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของครอบครัว (X1) กับการเปิด
รับข่าวสารจากสื่อมวลชนด้านหนังสือพิมพ์ (X10) , การอบรมเลี้ยงดูแบบเข้มงวดกวดขัน (X3) กับการ
เปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนด้านนิตยสาร (X11) , การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย (X4) กับการเปิด
รับข่าวสารจากสื่อมวลชนด้านนิตยสาร (X11) และการเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนด้านภาพยนตร์
(X14) , พฤติกรรมของครู (X5) กับการเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนด้านนิตยสาร (X11) , กลุ่มเพื่อน
(X6) กับการเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนด้านวิทยุ (X12) และการเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนด้านอิน
เทอร์เน็ต (X15) , การจัดการเรียนการสอนจริยศึกษาในคาบเรียน (X7) กับการเปิดรับข่าวสารจาก
สื่อมวลชนด้านนิตยสาร (X11) , การจัดกิจกรรมจริยศึกษา (X8 ) กับการเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชน
ด้านนิตยสาร (X11) , การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมจริยศึกษา (X9) กับการเปิดรับข่าวสารจาก
สื่อมวลชนด้านนิตยสาร (X11) และการเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนด้านโทรทัศน์ (X13)
64
ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสภาพแวดล้อมกับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมี
วินัยในตนเองของนักเรียนมีความสัมพันธ์ทั้งทางบวกและทางลบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
โดยความสัมพันธ์ทางบวก (r อยู่ระหว่าง 0.159 ถึง 0.668) ได้แก่ ปัจจัยการเปิดรับข่าวสารจาก
สื่อมวลชนประเภทนิตยสาร (X11) มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเอง
ของนักเรียน (Y) ต่ำสุด และการเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนประเภทอินเทอร์เน็ต (X15) มีความ
สัมพันธ์กับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน (Y) สูงสุด แสดงว่า
ถ้านักเรียนมีการเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนประเภทอินเทอร์เน็ตมากจะทำให้นักเรียนมีพฤติกรรมเชิง
จริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองมากยิ่งขึ้นไปด้วย
ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสภาพแวดล้อมกับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมี
วินัยในตนเองของนักเรียนมีความสัมพันธ์ทางลบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (r อยู่ระหว่าง
-0.215 ถึง -0.745) โดยปัจจัยสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของครอบครัว (X1) มีความสัมพันธ์ทาง
ลบกับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเอง (Y) ต่ำสุด และการเปิดรับข่าวสารจาก
สื่อมวลชนประเภทหนังสือพิมพ์มีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยใน
ตนเอง (Y) สูงสุด แสดงว่า ถ้านักเรียนมีการเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนประเภทหนังสือพิมพ์มาก
จะทำให้มีพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความวินัยในตนเองน้อยลง
ส่วนปัจจัยสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของครอบครัว (X1) กับพฤติกรรมเชิงจริยธรรม
ด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
แสดงว่านักเรียนที่มีบิดามารดาหรือผู้ปกครองที่มีสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมที่ดีไม่จำเป็นต้องมี
พฤติกรรมเชิงจริยธรรมที่ตามไปด้วย
ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสภาพแวดล้อมทางบ้านกับพฤติกรรมเชิงจริย
ธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน
ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสภาพแวดล้อมทางบ้าน 4 ตัวแปร ได้แก่ สถานภาพทางเศรษฐกิจ
และสังคมของครอบครัว การอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย การอบรมเลี้ยงดูแบบเข้มงวดกวดขัน
และการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย กับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของ
นักเรียน ปรากฏผลดังตารางที่ 16
65



ตารางที่ 16 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสภาพแวดล้อมทางบ้านกับพฤติกรรม
เชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน
(X1) (X2) (X3) (X4)
Y 0.080 -.215** 0.320** 0.495**
ที่ระดับนัยสำคัญ 0.01
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s product
moment correlation coefficient) พบว่า
(X1) สถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของครอบครัวไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเชิง
จริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน
(X2) การอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย มีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมเชิงจริยธรรม
ด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ในระดับค่อนข้างต่ำ (r = -0.215) สามารถใช้สมการพยากรณ์
พฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ได้ดังนี้
Y = 4.253 – 0.114X2 , SE = 0.419
(X3) การอบรมเลี้ยงดูแบบเข้มงวดกวดขัน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมเชิงจริยธรรม
ด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ในระดับค่อนข้างต่ำ (r = 0.320) สามารถใช้สมการพยากรณ์
พฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ได้ดังนี้
Y = 2.863 + 0.276X3 , SE = 0.313
(X4) การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมเชิงจริยธรรม
ด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ในระดับปานกลาง (r = 0.495) สามารถใช้สมการพยากรณ์
พฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ได้ดังนี้
Y = 1.947 + 0.539X4 , SE = 0.270
ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสภาพแวดล้อมทางโรงเรียนกับพฤติกรรมเชิงจ
ริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน
ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสภาพแวดล้อมทางโรงเรียน 5 ตัวแปร ได้แก่ พฤติกรรมของครู
กลุ่มเพื่อน การจัดการเรียนการสอนจริยศึกษาในคาบเรียน การจัดกิจกรรมจริยศึกษา การจัดสภาพแวด
ล้อมที่ส่งเสริมจริยศึกษากับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ปรากฏผลดัง
ตารางที่ 17
66





ตารางที่ 17 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสภาพแวดล้อมทางโรงเรียนกับพฤติกรรม
เชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน
(X5) (X6) (X7) (X8) (X9)
Y 0.460** 0.210** 0.451** 0.529** 0.276**
ที่ระดับนัยสำคัญ 0.01
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s product
moment correlation coefficient) พบว่า
(X5) พฤติกรรมของครู มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยใน
ตนเองของนักเรียน ในระดับปานกลาง (r = 0.460) สามารถใช้สมการพยากรณ์พฤติกรรมเชิงจริยธรรม
ด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ได้ดังนี้
Y = 1.831 + 0.576X5 , SE = 0.279
(X6) กลุ่มเพื่อน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเอง
ของนักเรียน ในระดับค่อนข้างต่ำ (r = 0.210) สามารถใช้สมการพยากรณ์พฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้าน
ความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ได้ดังนี้
Y = 2.975 + 0.201X6 , SE = 0.338
(X7) การจัดการเรียนการสอนจริยศึกษาในคาบเรียน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรม
เชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ในระดับปานกลาง (r = 0.451) สามารถใช้สมการ
พยากรณ์พฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ได้ดังนี้
Y = 2.247 + 0.453X7 , SE = 0.282
(X8) การจัดกิจกรรมจริยศึกษา มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความ
มีวินัยในตนเองของนักเรียน ในระดับปลานกลาง (r = 0.529) สามารถใช้สมการพยากรณ์พฤติกรรม
เชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ได้ดังนี้
Y = 1.543 + 0.656X8 , SE = 0.261
(X9) การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมจริยศึกษา มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมเชิง
จริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ในระดับค่อนข้างต่ำ (r = 0.276) สามารถใช้สมการ
พยากรณ์พฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ได้ดังนี้
Y = 3.071 + 0.218X9 , SE = 0.323
67



ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสภาพแวดล้อมทางสังคมกับพฤติกรรมเชิงจริย
ธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน
ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสภาพแวดล้อมทางสังคม ได้แก่ การเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชน
ประเภทหนังสือพิมพ์ (X10) การเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนประเภทนิตยสาร(X11) การเปิดรับข่าวสาร
จากสื่อมวลชนประเภทวิทยุ (X12) การเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนประเภทโทรทัศน์ (X13) การเปิดรับ
ข่าวสารจากสื่อมวลชนประเภทภาพยนตร์ (X14) และการเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนประเภทอินเทอร์
เน็ต (X15) กับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3
สังกัดกรุงเทพมหานคร (Y) ปรากฏผลดังตารางที่ 18
ตารางที่ 18 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสภาพแวดล้อมทางสังคมกับพฤติกรรม
เชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน
(X10) (X11) (X12) (X13) (X14) (X15)
Y -.745** .159** -.362** -.465** .517** .668**
ที่ระดับนัยสำคัญ 0.01
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s product
moment correlation coefficient) พบว่า
(X10) การเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนประเภทหนังสือพิมพ์ มีความสัมพันธ์ทางลบกับ
พฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ในระดับค่อนข้างสูง (r = -0.745)
สามารถใช้สมการพยากรณ์พฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ได้ดังนี้
Y = 4.246 – 0.178X10 , SE = 0.502
(X11) การเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนประเภทนิตยสาร มีความสัมพันธ์ทางบวกกับ
พฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ในระดับต่ำ (r = 0.159) สามารถใช้
สมการพยากรณ์พฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ได้ดังนี้
Y = 3.684 + 0.505X11 , SE = 0.348
(X12) การเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนประเภทวิทยุ มีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรม
เชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ในระดับค่อนข้างต่ำ (r = -0.362) สามารถใช้สมการ
พยากรณ์พฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ได้ดังนี้
Y = 4.393 - 0.432X12 , SE = 0.443
68



(X13) การเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนประเภทโทรทัศน์ มีความสัมพันธ์ทางลบกับ
พฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ในระดับปานกลาง (r = -0.465) สามารถ
ใช้สมการพยากรณ์พฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ได้ดังนี้
Y = 4.559 - 0.598X13 , SE = 0.460
(X14) การเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนประเภทภาพยนตร์ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับ
พฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ในระดับปานกลาง (r = 0.517) สามารถ
ใช้สมการพยากรณ์พฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ได้ดังนี้
Y = 2.695 + 0.277X14 , SE = 0.264
(X15) การเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนประเภทอินเทอร์เน็ต มีความสัมพันธ์ทางบวกกับ
พฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ในระดับค่อนข้างสูง (r =0.668) สามารถ
ใช้สมการพยากรณ์พฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ได้ดังนี้
Y = 3.371 + 0.605X15 , SE = 0.219
สรุปปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดกรุงเทพมหานคร (Y) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
มีจำนวนทั้งสิ้น 14 ตัว ได้แก่ การอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย (X2) การอบรมเลี้ยงดูแบบเข้มงวด
กวดขัน (X3) การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย (X4) พฤติกรรมของครู (X5) กลุ่มเพื่อน (X6) การจัด
การเรียนการสอนจริยศึกษาในคาบเรียน (X7) การจัดกิจกรรมจริยศึกษา (X8) การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่ง
เสริมจริยศึกษา (X9) การเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนประเภทหนังสือพิมพ์ (X10) การเปิดรับข่าวสาร
จากสื่อมวลชนประเภทนิตยสาร (X11) การเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนประเภทวิทยุ (X12)การเปิดรับ
ข่าวสารจากสื่อมวลชนประเภทโทรทัศน์ (X13) การเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนประเภทภาพยนตร์
(X14) และการเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนประเภทอินเทอร์เน็ต (X15) ซึ่งจะนำตัวแปรดังกล่าวมา
วิเคราะห์หาระดับความสัมพันธ์ในสมการถดถอยพหุคูณต่อไป
69
ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสภาพแวดล้อมโดยรวมกับพฤติกรรมเชิงจริย
ธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน
ตารางที่ 19 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสภาพแวดล้อมโดยรวมกับพฤติกรรม
เชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน
(V1) (V2) (V3)
Y .221** .468** .437**
ที่ระดับนัยสำคัญ 0.01
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s product
moment correlation coefficient) พบว่า
(V1) สภาพแวดล้อมทางบ้านโดยรวม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมเชิงจริยธรรม
ด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ในระดับค่อนข้างต่ำ (r = 0.221)
(V2) สภาพแวดล้อมทางโรงเรียนโดยรวม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมเชิงจริย
ธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ในระดับปานกลาง (r = 0.468)
(V3) สภาพแวดล้อมทางสังคมโดยรวม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมเชิงจริยธรรม
ด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ในระดับปานกลาง (r = 0.437)
ผลการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณระหว่างปัจจัยสภาพแวดล้อมกับพฤติ
กรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน
ผู้วิจัยได้นำปัจจัยสภาพแวดล้อม 14 ตัว ประกอบด้วย การอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย
(X2) , การอบรมเลี้ยงดูแบบเข้มงวดกวดขัน(X3) , การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย(X4) , พฤติกรรม
ของครู (X5) ,กลุ่มเพื่อน (X6) , การจัดการเรียนการสอนจริยศึกษาในคาบเรียน (X7) , การจัดกิจกรรม
จริยศึกษา (X8) การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมจริยศึกษา (X9) , การเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชน
ประเภทหนังสือพิมพ์ (X10) , การเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนประเภทนิตยสาร (X11) , การเปิดรับข่าว
สารจากสื่อมวลชนประเภทวิทยุ (X12) , การเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนประเภทโทรทัศน์ (X13) , การ
เปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนประเภทภาพยนตร์ (X14) และการเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนประเภท
อินเทอร์เน็ต (X15) มาทำการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้น (Stepwise Multiple Regression
Analysis) ซึ่งวิธีการนี้ทำให้ได้กลุ่มตัวพยากรณ์หรือกลุ่มปัจจัยที่ส่งผลเชิงพยากรณ์ ต่อพฤติ
70
กรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียนได้ดีที่สุด ผลการศึกษาปรากฏ ดังตา
รางที่ 20
ตารางที่ 20 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) ค่าดัชนีการพยากรณ์ (R2) ค่าดัชนีการพยากรณ์
ที่เพิ่มขึ้น (R2 Change) และค่าความคลาดเคลื่อนของการพยากรณ์ (S.E.est )
ตัวพยากรณ์ R R2 R2 Change S.E.est
X10 X15 .821 .673 .118 .220
X10 X15 X13 .862 .743 .070 .195
X10 X15 X13 X11 .869 .756 .013 .191
X10 X15 X13 X11 X7 .872 .760 .004 .189
จากตารางที่ 20 แสดงให้เห็นว่าปัจจัยสภาพแวดล้อมที่ส่งผลกระทบเชิงเส้นตรงกับพฤติกรรม
เชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน มีจำนวน 5 ตัว และปัจจัยสภาพแวดล้อมทั้ง 5 ตัวนี้
สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของ
นักเรียนได้ร้อยละ 76.00 (R2 x 100) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.872 และ
มีความคลาดเคลื่อนของการพยากรณ์ (S.E.est ) เท่ากับ 0.189
ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณของปัจจัยสภาพแวดล้อมต่อพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้าน
ความมีวินัยในตนเองของนักเรียน
ตารางที่ 21 ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณของปัจจัยสภาพแวดล้อมทั้ง 5 ตัวต่อพฤติกรรมเชิง
จริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน
Model SS df MS F Sig
Regression 41.560 5 8.312 232.154 .000
Residual 13.104 366 3.580
Total 54.665 371
จากตารางที่ 21 แสดงว่าที่ระดับความมีนัยสำคัญ 0.05 มีปัจจัยสภาพแวดล้อมทั้งหมด 5 ตัว ที่มี
ผลกระทบต่อพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัด
กรุงเทพมหานคร ดังรายละเอียดตารางที่ 22
71


ตารางที่ 22 การถดถอยพหุคูณของปัจจัยสภาพแวดล้อมทั้ง 5 ตัว ต่อพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้าน
ความมีวินัยในตนเองของนักเรียน
Unstandardized
Coefficients
Standardized
ตัวแปร Coefficients
b SE.b B
t Sig
(Constant) 5.905 .342 17.250 .000
X10 2.461 .464 10.286 5.304 .000
X15 .406 .061 4.100 6.675 .000
X13 -1.182 .213 -10.773 -5.540 .000
X11 1.130 .224 3.996 5.054 .000
X7 .105 .041 .105 2.547 .000
จากตารางที่ 22 แสดงว่า ปัจจัยสภาพแวดล้อมทั้ง 5 ตัว มีผลกระทบกับพฤติกรรมเชิงจริยธรรม
ด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดกรุงเทพมหานครที่ระดับความมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ซึ่งปัจจัยสภาพแวดล้อมทั้ง 5 ตัว ได้แก่ การเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชน
ประเภทหนังสือพิมพ์ (X10) การเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนประเภทอินเทอร์เน็ต (X15) การเปิดรับข่าว
สารจากสื่อมวลชนประเภทโทรทัศน์ (X13) การเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนประเภทนิตยสาร (X11)
และการจัดการเรียนการสอนจริยศึกษาในคาบเรียน (X7) ปัจจัยสภาพแวดล้อมทั้ง 5 ตัว ส่งผลต่อ
พฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ซึ่งสามารถเขียนเป็นสมการแสดง
ความสัมพันธ์ ได้ดังนี้
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ
Y = 5.905 + 2.461 X10 + 0.406 X15 -1.182 X13 + 1.130 X11 + 0.105X7
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน
Z = 10.286Z10 + 4.100Z15 -10.773Z13 + 3.996Z11+ 0.105Z7
72
ผลการวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของ
นักเรียน
การวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของ
นักเรียน 3 ด้าน ได้แก่ แนวทางการพัฒนาสภาพแวดล้อมทางบ้าน แนวทางการพัฒนาสภาพแวดล้อม
ทางโรงเรียน และแนวทางการพัฒนาสภาพแวดล้อมทางสังคม รวมทั้งสิ้น 15 ข้อ โดยการคำนวณหา
ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดังตารางที่ 23
ตารางที่ 23 ค่าเฉลี่ยของระดับแนวทางการพัฒนาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเอง
ของนักเรียนด้านสภาพแวดล้อมทางบ้าน
แนวทางพัฒนา Mean S.D. การแปลผล
1.บิดามารดาให้ความรักความอบอุ่นกับนักเรียน 4.45 0.80 มาก
2.บิดามารดาเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักเรียน 4.34 0.75 มาก
3.บิดามารดายกย่อง ชมเชย เมื่อนักเรียนทำความดี 4.40 0.68 มาก
4.บิดามารดาให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการกำหนดกฎเกณฑ์
ภายในบ้าน 4.76 0.43 มากที่สุด
5.บิดามารดายกบุคคลที่มีระเบียบวินัยดีมาให้นักเรียนดูเป็น
ตัวอย่าง 4.22 0.79 มาก
รวม 4.43 .69 มาก
จากตารางที่ 23 พบว่า นักเรียนมีความต้องการแนวทางการพัฒนาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้าน
ความมีวินัยในตนเองด้านสภาพแวดล้อมทางบ้านโดยรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งเรียงความต้องการพัฒนา
มากไปน้อย ได้ดังนี้
1. บิดามารดาให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการกำหนดกฎเกณฑ์ภายในบ้าน
2. บิดามารดาให้ความรักความอบอุ่นกับนักเรียน
3. บิดามารดายกย่อง ชมเชย เมื่อนักเรียนทำความดี
4. บิดามารดาเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักเรียน
5. บิดามารดายกบุคคลที่มีระเบียบวินัยดีมาให้นักเรียนดูเป็นตัวอย่าง
73
ตารางที่ 24 ค่าเฉลี่ยของระดับแนวทางการพัฒนาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเอง
ของนักเรียนด้านสภาพแวดล้อมทางโรงเรียน
แนวทางพัฒนา Mean S.D. การแปลผล
1.ครูประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักเรียน 4.74 0.44 มากที่สุด
2.โรงเรียนจัดโครงการพบครอบครัวนักเรียนอย่างน้อย
เทอมละ 2 ครั้ง เพื่ออภิปรายเกี่ยวกับปัญหาพฤติกรรมต่างๆ
ที่เกิดขึ้นจากการขาดวินัยในตนเองของนักเรียนและหาทาง
แก้ไขร่วมกัน 3.99 0.85 มาก
3.ครูสอดแทรกแนวคิด หรือค่านิยมเกี่ยวกับความมีวินัยใน
ตนเองไว้ทุกครั้งที่สอนในรายวิชาต่างๆ 4.63 0.48 มากที่สุด
4.โรงเรียนจัดสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนให้น่าอยู่
สะอาด ร่มรื่น มีสิ่งอำนวยความสะดวกเพียงพอ มีลานกีฬา
หรือลานอเนกประสงค์เพื่อทำกิจกรรมต่างๆ 4.64 0.48 มากที่สุด
5.โรงเรียนจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อส่งเสริมความมี
ระเบียบวินัยอย่างต่อเนื่อง และสนับสนุนกิจกรรมของ
ชมรมต่างๆ 4.56 0.57 มากที่สุด
รวม 4.51 .56 มากที่สุด
จากตารางที่ 24 พบว่า นักเรียนมีความต้องพัฒนาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยใน
ตนเองด้านสภาพแวดล้อมทางโรงเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งเรียงความต้องการพัฒนามาก
ไปน้อย ได้ดังนี้
1. ครูประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักเรียน
2. โรงเรียนจัดสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนให้น่าอยู่ สะอาด ร่มรื่น มีสิ่งอำนวยความ
สะดวกเพียงพอ มีลานกีฬาหรือลานอเนกประสงค์เพื่อทำกิจกรรมต่างๆ
3. ครูสอดแทรกแนวคิด หรือค่านิยมเกี่ยวกับความมีวินัยในตนเองไว้ทุกครั้งที่สอนในรายวิชา
ต่างๆ
4. โรงเรียนจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อส่งเสริมความมีระเบียบวินัยอย่างต่อเนื่อง และ
สนับสนุนกิจกรรมของชมรมต่างๆ
5. โรงเรียนจัดโครงการพบครอบครัวนักเรียนอย่างน้อยเทอมละ 2 ครั้ง เพื่ออภิปรายเกี่ยว
กับปัญหาพฤติกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการขาดวินัยในตนเองของนักเรียนและหาทางแก้ไขร่วมกัน
74
ตารางที่ 25 ค่าเฉลี่ยของระดับแนวทางการพัฒนาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเอง
ของนักเรียนด้านสภาพแวดล้อมทางสังคม
แนวทางพัฒนา Mean S.D. การแปลผล
1.สื่อมวลชนเสนอข่าวที่ยกย่องส่งเสริมคนดีมีคุณธรรม 4.60 0.55 มากที่สุด
2.สื่อมวลชนเสนอข่าวที่ส่งเสริมความมีระเบียบวินัย เช่น
การแยกทิ้งขยะ การเข้าคิวอย่างเป็นระบบ เป็นต้น 4.85 0.36 มากที่สุด
3.สื่อมวลชนเสนอข่าวเกี่ยวกับประโยชน์ในการปฏิบัติตาม
กฎ ระเบียบของสังคม และโทษของการฝ่าฝืน 4.50 0.59 มากที่สุด
4.สื่อมวลชนเสนอข่าวเกี่ยวกับกิจกรรมทางศาสนาเพื่อ
พัฒนาจิตใจ 4.73 0.44 มากที่สุด
5.สื่อมวลชนเสนอข่าวเกี่ยวกับครอบครัวหรือโรงเรียนตัว
อย่างที่ส่งเสริมความมีระเบียบวินัย 4.37 0.70 มาก
รวม 4.61 .53 มากที่สุด
จากตารางที่ 25 พบว่า นักเรียนมีความต้องพัฒนาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยใน
ตนเองด้านสภาพแวดล้อมทางสังคมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งเรียงความต้องการพัฒนามากไป
น้อย ได้ดังนี้
1. สื่อมวลชนเสนอข่าวที่ส่งเสริมความมีระเบียบวินัย เช่น การแยกทิ้งขยะ การเข้าคิวอย่างเป็น
ระบบ เป็นต้น
2. สื่อมวลชนเสนอข่าวเกี่ยวกับกิจกรรมทางศาสนาเพื่อพัฒนาจิตใจ
3. สื่อมวลชนเสนอข่าวที่ยกย่องส่งเสริมคนดี มีคุณธรรม
4. สื่อมวลชนเสนอข่าวเกี่ยวกับประโยชน์ในการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบของสังคม และโทษ
ของการฝ่าฝืน
5. สื่อมวลชนเสนอข่าวเกี่ยวกับครอบครัวหรือโรงเรียนตัวอย่างที่ส่งเสริมความมีระเบียบวินัย
บทที่ 5
สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสภาพแวดล้อมกับพฤติกรรมเชิงจริย
ธรรมด้านความมีวินัยในตนเอง ผู้วิจัยสรุปผลการศึกษาค้นคว้าและผลการวิจัย ตามลำดับหัวข้อดังนี้
1. สรุปผลการวิจัย
2. อภิปรายผลการวิจัย
3. ข้อเสนอแนะจากการวิจัย
4. ข้อเสนอแนะด้านการปฏิบัติ
สรุปผลการวิจัย
1) วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
สังกัดกรุงเทพมหานคร
2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมทางบ้าน สภาพแวดล้อมทางโรงเรียน และ
สภาพแวดล้อมทางสังคมกับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยม
ศึกษาปีที่ 3 สังกัดกรุงเทพมหานคร
3. เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดกรุงเทพมหานคร
2) สมมติฐานในการวิจัย
1. สภาพแวดล้อมทางบ้านมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยใน
ตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดกรุงเทพมหานคร
2. สภาพแวดล้อมทางโรงเรียนมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยใน
ตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดกรุงเทพมหานคร
3. สภาพแวดล้อมทางสังคมมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยใน
ตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดกรุงเทพมหานคร
76
4. สภาพแวดล้อมทางบ้าน สภาพแวดล้อมทางโรงเรียน และสภาพแวดล้อมทางสังคมมีความ
สัมพันธ์แบบพหุคูณกับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี
ที่ 3 สังกัดกรุงเทพมหานคร
3) ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัด
กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2546 จำนวน 4,568 คน ได้เลือกโรงเรียนสังกัด
กรุงเทพมหานครที่มีการจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตามโครงการขยายโอกาสทางการศึกษา แล้วจึง
สุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) ตามการแบ่งกลุ่มของกรุงเทพมหานคร จำนวน
6 กลุ่ม ได้แก ่ กลมุ่ รตั นโกสินทร์ กลุ่มบูรพา กลุ่มศรีนครินทร ์ กลุ่มเจ้าพระยา กลุ่มกรุงธนเหนือ และ
กลุ่มกรุงธนใต้ กลุ่มละ 2 โรงเรียน ได้จำนวน 12 โรงเรียน โดยให้นักเรียนแต่ละโรงเรียนมีโอกาสเป็น
ตัวแทนเท่าๆ กัน จำนวนโรงเรียนละ 31 คน รวมเป็นกลุ่มตัวอย่าง 372 คน
4) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้น ซึ่งมีทั้งหมด 6 ตอน ดังนี้
ตอนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป จำนวน 8 ข้อ
ตอนที่ 2 แบบสอบถามพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเอง จำนวน 16 ข้อ
ตอนที่ 3 แบบสอบถามสภาพแวดล้อมทางบ้าน 20 ข้อ
ตอนที่ 4 แบบสอบถามสภาพแวดล้อมทางโรงเรียน 25 ข้อ
ตอนที่ 5 แบบสอบถามสภาพแวดล้อมทางสังคม 12 ข้อ
ตอนที่ 6 แบบสอบถามเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัย
ในตนเอง จำนวน 15 ข้อ
5) การเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง โดยได้ทำหนังสือขอความร่วมมือในการวิจัยจากบัณฑิต
วิทยาลัย ถึงสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร เพื่อออกหนังสือสนับสนุนการเก็บรวมรวมข้อมูลไปยัง
ผู้บริหารโรงเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง และในการเก็บข้อมูลนี้ ผู้วิจัยได้อธิบายเกี่ยวกับการทำแบบสอบ
ถามพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเอง แบบสอบถามสภาพแวดล้อมทางบ้าน แบบสอบ
ถามสภาพแวดล้อมทางโรงเรียน แบบสอบถามสภาพแวดล้อมทางสังคม และแบบสอบถามแนวทางการ
พัฒนาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเอง จากนั้นให้นักเรียนทำแบบสอบถาม ตามลำดับ
77
การเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้เวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งสิ้น 2 เดือน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม
พ.ศ. 2546 สามารถเก็บได้ร้อยละ 100 ตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้
อภิปรายผลการวิจัย
การสรุปและอภิปรายผลการศึกษาครั้งนี้จะนำเสนอประเด็นสำคัญที่พบในการวิจัยดังต่อไปนี้
1) ผลการวิเคราะห์พฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดกรุงเทพมหานคร
พฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียนโดยรวม พบว่า นักเรียนมีพฤติ
กรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองอยู่ในระดับมาก (mean = 3.89 , S.D. = 0.38)โดยพฤติกรรม
เชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเอง ที่มีการปฏิบัติมากที่สุด ได้แก่ นักเรียนปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ
ของโรงเรียนอย่างเคร่งครัด (mean = 4.87 , S.D. = 0.34) และนักเรียนทิ้งขยะลงในถังที่จัดวางไว้บริเวณ
ต่างๆ (mean = 4.70 , S.D. = 0.53) ที่มีการปฏิบัติน้อยที่สุด ได้แก่ นักเรียนจะลอกข้อสอบเพื่อน ถ้าครู
ไม่อยู่ในห้อง (mean = 3.06 , S.D. = 1.19) และนักเรียนชอบคุยหรือเล่นกับเพื่อนในขณะกำลังเรียน
(mean = 2.92 , S.D. = 1.30 )
2) ผลการวิเคราะห์ปัจจัยสภาพแวดล้อมที่คาดว่าจะมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม
เชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัด
กรุงเทพมหานคร
ปัจจัยสภาพแวดล้อมที่คาดว่าจะมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยใน
ตนเองของนักเรียน พบว่า ตัวแปรกลุ่มเพื่อนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (mean = 4.53 , S.D. = 0.40)
รองลงมามีค่าอยู่ในระดับมาก ประกอบด้วย ตัวแปรการอบรมเลี้ยงดูแบบเข้มงวดกวดขัน (mean = 3.71 ,
S.D. = 0.45) ตัวแปรการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย (mean = 3.51 , S.D. = 0.35) ตัวแปรพฤติ
กรรมของครู (mean = 3.56 , S.D. = 0.31) ตัวแปรการจัดการเรียนการสอนจริยศึกษาในภาคเรียน
(mean = 3.62, S.D. = 0.38) ตัวแปรการจัดกิจกรรมจริยศึกษา (mean = 3.56 , S.D. = 0.31) และ
ตัวแปรการจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมจริยศึกษา (mean = 3.75 , S.D. = 0.49) ส่วนตัวแปรที่มีค่า
เฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ตัวแปรสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของครอบครัว (mean =
78
3.30 , S.D. = 0.74) ตัวแปรการอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย (mean = 3.20 , S.D. = 0.72) และ
ตัวแปรการเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนประเภทโทรทัศน์ (mean = 13.20 , S.D. = 3.50) ตัวแปรที่มี
ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อย ได้แก่ ตัวแปรการเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนประเภทวิทยุ (mean = 7.87 ,
S.D. = 2.16) และตัวแปรการเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนประเภทอินเทอร์เน็ต (mean = 7.81 , S.D.
= 3.88) ตัวแปรที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อยที่สุด ได้แก่ ตัวแปรการเปิดรับข่าวสารจากหนังสือพิมพ์
(mean = 2.01 , S.D. = 1.60) ตัวแปรการเปิดรับข่าวสารประเภทนิตยสาร (mean = 4.49 , S.D. = 1.36)
และตัวแปรการเปิดรับข่าวสารประเภทภาพยนตร์ (mean = 4.30 , S.D. = 0.72)
3) ผลการวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยใน
ตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดกรุงเทพมหานคร
1.แนวทางการพัฒนาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียนด้านสภาพ
แวดล้อมทางบ้าน พบว่า นักเรียนมีความต้องพัฒนาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเอง
ด้านสภาพแวดล้อมทางบ้าน โดยตัวแปรบิดามารดาให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการกำหนดกฎเกณฑ์ภาย
ในบ้าน (mean = 4.76 , S.D. = 0.43) มีระดับมากที่สุด ส่วนตัวแปรบิดามารดาให้ความรักความอบอุ่น
กับนักเรียน (mean = 4.45 , S.D. = 0.80) บิดามารดายกย่อง ชมเชย เมื่อนักเรียนทำความดี (mean =
4.40 , S.D. = 0.68) บิดามารดาเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักเรียน (mean = 4.34 , S.D. = 0.75) และ
บิดามารดายกบุคคลที่มีระเบียบวินัยดีมาให้นักเรียนดูเป็นตัวอย่าง (mean = 4.22 , S.D. = 0.79) มี
ระดับมาก
2.แนวทางการพัฒนาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียนด้าน
สภาพแวดล้อมทางโรงเรียน พบว่า นักเรียนมีความต้องพัฒนาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัย
ในตนเองด้านสภาพแวดล้อมทางโรงเรียน โดยตัวแปรที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดประกอบด้วย
ตัวแปรครูประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักเรียน (mean = 4.74 , S.D. = 0.44) โรงเรียนจัดสภาพ
แวดล้อมภายในโรงเรียนให้น่าอยู่ สะอาด ร่มรื่น มีสิ่งอำนวยความสะดวกเพียงพอ มีลานกีฬาหรือลาน
อเนกประสงค์เพื่อทำกิจกรรมต่างๆ (mean = 4.64 , S.D. = 0.48) ครูสอดแทรกแนวคิด หรือค่านิยม
เกี่ยวกับความมีวินัยในตนเองไว้ทุกครั้งที่สอนในรายวิชาต่างๆ (mean = 4.63 , S.D. = 0.48) และโรง
เรียนจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อส่งเสริมความมีระเบียบวินัยอย่างต่อเนื่อง และสนับสนุนกิจกรรม
ของชมรมต่างๆ (mean = 4.56 , S.D. = 0.57) ส่วนตัวแปรโรงเรียนจัดโครงการพบครอบครัวนักเรียน
อย่างน้อยเทอมละ 2 ครั้งเพื่ออภิปรายเกี่ยวกับปัญหาพฤติกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการขาดวินัยในตนเอง
ของนักเรียนและหาทางแก้ไขร่วมกัน (mean = 3.99 , S.D. = 0.85 ) มีระดับมาก
79
3.แนวทางการพัฒนาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียนด้านสภาพ
แวดล้อมทางสังคม พบว่า นักเรียนมีความต้องพัฒนาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเอง
ด้านสภาพแวดล้อมทางสังคม โดยตัวแปรที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดประกอบด้วยสื่อมวลชนเสนอ
ข่าวที่ส่งเสริมความมีระเบียบวินัย (mean = 4.85, S.D. = 0.36) สื่อมวลชนเสนอข่าวเกี่ยวกับกิจกรรม
ทางศาสนาเพื่อพัฒนาจิตใจ (mean = 4.73 , S.D. = 0.44) สื่อมวลชนเสนอข่าวที่ยกย่องส่งเสริมคนดี มี
คุณธรรม (mean = 4.60 , S.D. = 0.55) สื่อมวลชนเสนอข่าวเกี่ยวกับประโยชน์ในการปฏิบัติตามกฎ
ระเบียบของสังคม และโทษของการฝ่าฝืน (mean = 4.50 , S.D. = 0.59) ส่วนตัวแปรที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ใน
ระดับมาก ได้แก่ สื่อมวลชนเสนอข่าวเกี่ยวกับครอบครัวหรือโรงเรียนตัวอย่างที่ส่งเสริมความมีระเบียบ
วินัย (mean = 4.37 , S.D. = 0.70)
สรุปแนวทางการพัฒนาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียนที่มีลำดับ
แนวทางสูงสุด 3 ลำดับแรก คือ สื่อมวลชนเสนอข่าวที่ส่งเสริมความมีระเบียบวินัย (mean = 4.85 , S.D.
= 0.36) บิดามารดาให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการกำหนดกฎเกณฑ์ภายในบ้าน (mean = 4.76 , S.D. =
0.43) และครูประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักเรียน (mean = 4.74 , S.D. = 0.44)
4) ผลการทดสอบสมมติฐาน
4.1) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสภาพแวดล้อมทางบ้านกับพฤติกรรมเชิง
จริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดกรุงเทพมหานคร
ตัวแปรสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของครอบครัว พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์กับ
พฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน
ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า สถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของครอบครัวไม่มีผลต่อ
พฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน เพราะนักเรียนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจและ
สังคมดี หรือครอบครัวมีฐานะดี อาจไม่มีพฤติกรรมด้านการมีวินัยในตนเองเชิงจริยธรรม สังคมมีส่วน
ในการปั้นมนุษย์ให้มีลักษณะต่างๆกัน ตามแต่ว่ามนุษย์นั้นจะอยู่ในสังคมใด เด็กเล็กๆ จะเรียนรู้ว่าอะไร
ดีอะไรชั่วจากผู้อื่นที่อยู่ใกล้ชิด เช่น บิดามารดามีฐานะดี อาจใช้จ่ายเงินฟุ่มเฟือยตามสถานภาพของตน
เมื่อบุตรซึ่งเป็นผู้ใกล้ชิดย่อมเลียนแบบพฤติกรรมของบิดามารดา ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของดวงเดือน
พันธุมนาวิน และเพ็ญแข ประจนปัจจนึก (2520 : 6 – 13) ได้กล่าวไว้ว่า เด็กจะใช้วิธีการเลียนแบบผู้ที่มี
อำนาจและผู้ที่ตนรัก จนในที่สุดจะยอมรับกฎเกณฑ์ของสังคมมาเป็นหลักปฏิบัติของตนโดยอัตโนมัติ
นอกจากนี้เด็กจะเลียนแบบผู้เลี้ยงดูตนทั้งทางที่ดีและไม่ดีขึ้นอยู่กับลักษณะของผู้ที่ตนรัก ตนพอใจ เช่น
ถ้าเด็กเห็นมารดาสูบบุหรี่เสมอ เมื่อเด็กสูบบุหรี่บ้างก็จะมีความสุขความพอใจเพราะเป็นลักษณะของ
80
ผู้ที่ตนรัก นอกจากนี้ผลการศึกษาของเบ็ญจา อ่อนท้วม (2533) พบว่า โรงเรียนและสื่อมวลชน
คือตัวแทนใหม่ของกระบวนการขัดเกลาทางสังคมที่ถ่ายทอดค่านิยมการสนใจศึกษาการศึกษาในระดับ
สูง การเป็นเจ้าคนนายคน ความทะเยอทะยาน และวัฒนธรรมทันสมัย ที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งในระบบ
ค่านิยมที่อาจทำให้เยาวชนสับสนที่จะยอมรับค่านิยมดั้งเดิมจากบรรพบุรุษที่สืบทอดกันมา และลอก
เลียนแบบตามกระแสนิยม และผลการศึกษาของธีรนง เกิดสุคนธ์ (2525 ) พบว่า ความสัมพันธ์
ระหว่างอิทธิพลทางจริยธรรมจากฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวมีผลต่อพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของ
เด็ก
ตัวแปรการอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย มีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมเชิง
จริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียนค่อนข้างต่ำ (r = -0.215)
ผลการศึกษาครั้งนี้พบว่า การอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลยมีความสัมพันธ์ทางตรงกันข้าม
กับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน แสดงให้เห็นว่า เมื่อครอบครัวเลี้ยงดู
เด็กแบบปล่อยปละละเลย จะส่งผลให้เด็กไม่มีวินัยในตนเอง การทอดทิ้งเด็กเล็กทำให้เด็กขาดการ
พัฒนาทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อสังคม ผลวิจัยทางจิตวิทยาพบว่าพฤติกรรมบางอย่างต้องให้เด็กเรียนรู้
ในวัยต้น เช่น ความรักผู้อื่น การแบ่งปันกัน ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ ฮอฟแมน (Hoffman 1970 :
286) ที่พบว่า การฝึกวินัย 3 วิธี ได้แก่ การให้เหตุผล การปล่อยปละละเลย และการรวมอำนาจ บิดา
มารดาที่ฝึกวินัยโดยวิธีการให้เหตุผลจะทำให้เด็กมีวินัยในตนเองสูงกว่าเด็กที่ได้รับการฝึกวินัยโดยบิดา
มารดาปล่อยปละละเลยหรือรวมอำนาจ นอกจากนี้ผลการศึกษาของเจอซิลด์ (Jersild 1960 : 165) พบ
ว่า บิดามารดา มีอิทธิพลยิ่งในการสร้างวินัยให้กับเด็ก และบิดามารดาจะต้องไม่ตามใจเด็กเกินไป
แต่จะต้องไม่เข้มงวดกวดขันจนเกินไป
ตัวแปรการอบรมเลี้ยงดูแบบเข้มงวดกวดขัน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมเชิง
จริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียนค่อนข้างต่ำ (r = 0.320 )
ผลการศึกษาแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของการอบรมเลี้ยงดูบุตรที่เข้มงวดกวดขันของครอบ
ครัวทำให้เด็กมีระเบียบวินัยในตนเอง ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ เจอซิลด์ (Jersild 1960 : 165) ที่พบ
ว่าแรงผลักดันในตัวเด็กบิดามารดามีอิทธิพลยิ่งในการสร้างวินัยให้กับเด็ก และบิดามารดาจะต้องไม่ตาม
ใจเด็กเกินไป แต่จะต้องไม่เข้มงวดกวดขันจนเกินไปอาจทำให้เด็กต่อต้าน และมีผลต่อพฤติกรรมด้าน
ต่างๆ ของเด็กซึ่งอยู่ในวัยรุ่นตอนต้น เด็กจะเริ่มมีความคิดของตนเอง และตามเพื่อน
ตัวแปรการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมเชิงจริยธรรม
ด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียนในระดับปานกลาง (r = 0.495)
81
ผลการศึกษาแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของตัวแบบการอบรมเลี้ยงดูของบิดามารดาที่ให้อิสระ
ต่อบุตรในการตัดสินใจ เปน็ การสรา้ งกระบวนการคดิ ใหเ้ ดก็ สามารถคิดเองได ้ ทำให้เด็กมีเหตุมีผลใน
การตัดสินใจ และสามารถคิดถึงความดี ความชั่ว และสิ่งที่ควรทำได้เอง ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ
เบอร์นาร์ด (Bernard 1972 : 206 – 207) ที่ชี้ให้เห็นว่า เด็กต้องการวินัยที่เกิดจากความรู้ความเข้าใจและ
การยอมรับนับถือมากกว่าวินัยที่เกิดจากการใช้อำนาจบังคับ และแนวคิดของวิกกินส์ และผลการศึกษา
ของโกช์ (Gough) (Wiggins 1971 : 289) ที่พบว่า ผู้ที่มีวินัยในตนเองสูงจะมีความรับผิดชอบมาก มีความ
วิตกกังวลน้อย มีความอดทน มีเหตุผลของตนเอง มีความยืดหยุ่นในความคิดและพฤติกรรมทางสังคม
และยังพบว่า โดยทั่วไปจะมีสุขภาพดีกว่าผู้ที่ขาดวินัยในตนเองอีกด้วย
ตัวแปรสภาพแวดล้อมทางบ้านโดยรวม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมเชิงจริยธรรม
ด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ในระดับค่อนข้างต่ำ (r = 0.221)
ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ครอบครัว เป็นสถาบันที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาพฤติกรรมอย่าง
ลึกซึ้งและมีอิทธิพลต่ออารมณ์และทัศนคติของเด็กเป็นอย่างยิ่ง เช่น ให้การอบรมสั่งสอนเด็กว่าต้องทำ
ตัวอย่างไรเพื่อจะได้วางตัวได้ถูกต้องเหมาะสม บางครั้งอาจการให้รางวัลและการลงโทษ เป็นต้น ซึ่ง
สอดคล้องกับแนวคิดของอุบล เสถียรปกิรณกรณ์ (2528 : 140 – 160) ที่กล่าวว่า ความสัมพันธ์ของ
สมาชิกในครอบครัว เป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เด็กได้โดยผู้ใหญ่ไม่รู้ตัว และมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของ
เด็ก นอกจากนี้ผลการวิจัยของสมพิต โฉมงาม (2534) พบว่า สิ่งแวดล้อมภายในบ้านมีความสัมพันธ์
เชิงบวกกับบุคลิกภาพและพฤติกรรมของเด็ก
4.2) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสภาพแวดล้อมทางโรงเรียนกับพฤติกรรมเชิง
จริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดกรุงเทพมหานคร
ตัวแปรพฤติกรรมของครู มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัย
ในตนเองของนักเรียนในระดับปานกลาง (r = 0.460)
ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า พฤติกรรมของครูมีผลต่อกับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมี
วินัยในตนเองของนักเรียน เพราะครูเป็นผู้ที่เด็กให้เคารพเชื่อถือ และมักยึดถือเป็นตัวแบบในการปฏิบัติ
ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของสุชา จันทร์เอม และสุรางค์ จันทร์เอม (2517) ที่ชี้ให้เห็นว่าครูมีบทบาท
ในการพัฒนานักเรียนให้มีวินัยในตนเอง เช่น สร้างความเชื่อมั่นในตนเองให้เกิดขึ้นในตัวเด็ก หัดให้เด็ก
รับผิดชอบในการแก้ปัญหาต่างๆ ให้โอกาสเด็กมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน เป็นต้น และ
ผลการศึกษาของศักดิ์สิทธิ์ วัชรารัตน์ (2533) ที่พบว่า นักศึกษามีความคิดเห็นต่อครูอาจารย์ในระดับ
มากในด้านการเปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น การให้นักศึกษามีส่วนร่วมในกิจกรรม
82
การเรียนการสอน ครูแต่งกายสะอาดสุภาพ มีความเป็นกันเองเปิดโอกาสให้นักเรียนพบนอกเวลา และ
เตรียมการสอนดี
ตัวแปรกลุ่มเพื่อน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตน
เองของนักเรียน ค่อนข้างต่ำ (r = 0.210)
ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า กลุ่มเพื่อนมีผลต่อกับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยใน
ตนเองของนักเรียน เพราะกลุ่มเพื่อนเป็นกลุ่มที่มีอายุระดับใกล้เคียงกัน จึงมีอิทธิพลต่อทัศนคติ ความคิด
การแต่งกาย การแสดงออก เพื่อให้เพื่อนยอมรับตนเป็นสมาชิก เพื่อนจึงอาจจะสอนเด็กให้ทำตามกฎ
เกณฑ์หรือฝืนกฎเกณฑ์ของสังคมก็ได้
ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของอุบล เสถียรปกิรณกรณ์ (2528) ที่ชี้ให้เห็นว่า กลุ่มเพื่อนช่วยสอน
ให้รู้ระเบียบสังคมบางอย่างที่ไม่มีผู้ใดผู้หนึ่งใช้อำนาจบังคับสอนเราได้โดยตรง ช่วยเป็นแรงหนุนให้
กำลังใจในการทดลองเอาจริงเอาจังของผู้ใหญ่และกฎเกณฑ์ต่างๆที่ผู้ใหญ่กำหนดไว้ ช่วยถ่ายทอด
ระเบียบวิธี คุณค่าที่ผู้ใหญ่ต้องการให้ได้หากกลุ่มเพื่อนสนับสนุนระเบียบวิธีและคุณค่าเหล่านั้นอยู่ และ
ผลการศึกษาของฮาร์ทัพและคอนดรี (Hartup 1970 and Condry 1974) และผลการศึกษาของ
ธงชัย ชิวปรีชา (2513) พบว่า เด็กวัยประถมศึกษาจะทำตามกันหรือมีอิทธิพลของความคิดของเพื่อนที่มี
ต่อเด็กมากน้อยเท่าไรนั้นขึ้นกับองค์ประกอบหลายอย่าง ประการแรกคือ ถ้าเด็กมีเวลาในการอยู่ในกลุ่ม
เพื่อนมาก เด็กจะได้รับอิทธิพลจากกลุ่มเพื่อนมาก ประการที่สอง ถ้าเด็กมีกิจกรรมร่วมกับพ่อแม่น้อยเด็ก
ก็จะได้รับอิทธิพลจากกลุ่มเพื่อนมาก ประการที่สาม ถ้าเด็กมีสถานะของตนในกลุ่มสูง เพื่อนในกลุ่มให้
การยอมรับ เด็กจะได้รับอิทธิพลจากกลุ่มสูง และประการสุดท้าย จะขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นใน
ขณะนั้น ถ้าสถานการณ์เป็นสถานการณ์ที่คลุมเครือไม่บ่งการกระทำให้ชัดเจน การตอบสนองของเด็ก
ต่อสถานการณ์นั้นมักจะได้รับอิทธิพลจากกลุ่มเพื่อน นอกจากนั้น อุไร สุมาริธรรม (2535) ยังพบว่า
การมีเพื่อนสูบบุหรี่เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลสำคัญต่อการสูบบุหรี่ของนักเรียน ซึ่งชี้ให้เห็นว่าเพื่อนเป็น
ตัวแทนที่มีประสิทธิภาพอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ที่จะมีพฤติกรรมตามตัวแบบ
ตัวแปรการจัดการเรียนการสอนจริยศึกษาในคาบเรียน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับ
พฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ในระดับปานกลาง (r = 0.451)
ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การจัดการเรียนการสอนจริยศึกษาในคาบเรียน ทำให้เด็กได้
เรียนรู้การปรับตัว ได้รับการอบรมสั่งสอนบรรทัดฐาน ค่านิยมที่สำคัญๆ แบบอย่างการดำเนินชีวิตทาง
สังคม ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของกาญจนา หาสิตะพันธุ์ (2517) ที่ชี้ให้เห็นว่าลักษณะการเรียน
การสอนที่มุ่งจะปลูกฝังให้นักเรียนมีวินัยในตนเองนั้น ครูควรใช้วิธีแนะแนวทางนักเรียน ซึ่งอาจแสดง
ให้เห็นว่าครูเชื่อในคุณค่าของนักเรียนแทนที่จะใช้วิธีการซึ่งเป็นการดูถูกความมั่นใจในตัวเอง ครูช่วยให้
83
เด็กเข้าใจเหตุผลของมาตรฐานและกฎต่างๆ และให้เห็นผลของพฤติกรรมของตน ครูบอกขอบเขต
กว้างๆ ของพฤติกรรมซึ่งเป็นที่ยอมรับของสังคม ต่อจากนั้นให้เด็กช่วยวางกฎเอง ครูศึกษาพฤติกรรม
ของเด็กตามวิธีวิทยาศาสตร์ หาเหตุผลของพฤติกรรมและวิธีเปลี่ยนพฤติกรรม และผลการศึกษาของ
สมศิริ ปลื้มจิตต์ (2534) ที่พบว่า การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเหตุผล
เชิงจริยธรรมในการสอนจริยธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการสอนโดยใช้บทบาทสมมติ
กับการสอนตามคู่มือครู ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่เรียนวิชาสังคมศึกษาโดยใช้บทบาทสมมติกับการ
สอนตามคู่มือครูของกรมวิชาการมีการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมแตกต่างกัน โดยมีการใช้เหตุผลเชิง
จริยธรรมหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง
ตัวแปรการจัดกิจกรรมจริยศึกษา มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้าน
ความมีวินัยในตนเองของนักเรียน อยู่ในระดับปานกลาง (r = 0.529)
ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมจริยธรรมในโรงเรียนมีส่วนสำคัญที่
ช่วยให้นักเรียนมีพฤติกรรมด้านจริยธรรมความมีระเบียบวินัยที่ดี ซึงสอดคล้องกับแนวคิดของสุชา
จันทร์เอม สุรางค์ จันทร์เอม (2517) และอรรณพ อุ่นจะนำ (2541) ที่ชี้ให้เห็นว่า ครูต้องเตรียมการ
สอนและกิจกรรมเป็นอย่างดี โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล กิจกรรมทั้งหลายของนักเรียนทั้ง
ในและนอกห้องเรียนเป็นส่วนให้นักเรียนได้สร้างความเจริญไปในวิถีทางอันเป็นที่ยอมรับกันในสังคม
ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาของภรณี คุรุรัตนะ (2537) พบว่า ความมีวินัยในตนเองของเด็กที่
ได้รับการจัดกิจกรรมที่เน้นกระบวนการเรียนรู้ทางสังคมและปัญญา ช่วยให้เด็กมีวินัยในตนเองสูงกว่า
เด็กที่ได้รับการสอนตามแผนการจัดกิจกรรมตามปกติ และผลการศึกษาของณัฐพล กล้าหาญ (2540)
พบว่า การพัฒนาจริยธรรมความมีวินัยในตนเองของนักเรียนด้วยกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ส่งผลให้นักเรียน
มีจริยธรรมสูงกว่าก่อนการพัฒนาด้วยกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์
ตัวแปรการจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมจริยศึกษา มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมเชิง
จริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ในระดับค่อนข้างต่ำ (r = 0.276)
ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมจริยศึกษา เป็นตัวกำหนด
พฤติกรรมนักเรียนที่สำคัญอย่างหนึ่ง เช่น การจัดบริเวณโรงเรียนที่สวยงาม ร่มรื่น สะอาด มีระเบียบจะ
มีส่วนช่วยให้เด็กได้ประสบการณ์ที่เจริญงอกงาม โดยต้องให้เด็กมีส่วนร่วมในการจัดสภาพแวดล้อม
ด้วย เนื่องจากเด็กจะเกิดการเรียนรู้และนำไปประพฤติปฏิบัติตามสภาพแวดล้อมที่เด็กแต่ละคนได้รับ ซึ่ง
สอดคล้องกับแนวคิดของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาต ิ (2540) ทชี่ ใี้ หเ้ หน็ วา่ การทำให้
เกิดพฤติกรรมเคยชิน จะทำให้เด็กรู้เห็นและปฏิบัติพฤติกรรมที่ดีเพื่อเป็นพื้นฐานและปฏิบัติต่อเนื่องจน
84
เกิดเป็นพฤติกรรมเคยชินที่ดี สอดคล้องกับผลการศึกษาของพเยาว์ เกาทัณฑ์ทอง (2534) พบว่าตัวแปร
ที่มีอำนาจในการพยากรณ์พฤติกรรมด้านวินัยของนักเรียนคือ สภาพแวดล้อมทางโรงเรียน
ตัวแปรสภาพแวดล้อมทางโรงเรียนโดยรวม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมเชิงจริย
ธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ในระดับปานกลาง (r = 0.468)
ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า โรงเรียน เป็นเสมือนบ้านที่สองของเด็กในการที่จะได้รับความรู้
ความคิด และวิชาการต่างๆ โรงเรียนจึงมีอิทธิพลและมีผลต่อการพัฒนาพฤติกรรมของเด็ก เพราะเด็ก
สมัยใหม่มักจะใช้ชีวิตอยู่ในโรงเรียนเป็นระยะยาวนาน ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของแซนเดน (Zanden
อ้างในสุพิศวง ธรรมพันทา 2543) ที่กล่าวว่า โรงเรียนเป็นหน่วยสังคมที่อบรมสั่งสอนระเบียบทาง
สังคมในวัยเรียน เด็กได้เรียนรู้การปรับตัว ได้รับการอบรมสั่งสอน ได้เห็นแบบอย่างทางสังคมจากเพื่อน
ร่วมชั้น ครู ผู้บริหาร และผู้เกี่ยวข้องในสถานศึกษาอื่นๆ ได้รับการสั่งสอนบรรทัดฐาน ค่านิยมที่สำคัญ
แบบอย่างการดำเนินชีวิตทางสังคมและฝึกให้มีพฤติกรรมที่ดีต่อไป นอกจากนี้ผลการวิจัยของภรณี
คุรุรัตนะ (2537) พบว่า การจัดประสบการณ์ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้ทางสังคมและปัญญา ช่วยให้เด็ก
ระดับก่อนประถมศึกษามีวินัยในตนเองด้านสิ่งแวดล้อมสูงกว่าเด็กระดับก่อนประถมศึกษาที่ได้รับการ
สอนตามแผนการจัดกิจกรรมชั้นเด็กเล็กของกรุงเทพมหานคร
4.3) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสภาพแวดล้อมทางสังคมกับพฤติกรรมเชิง
จริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดกรุงเทพมหานคร
ตัวแปรการเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชน ทั้ง 6 ประเภท มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเชิง
จริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ดังนี้
การเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนประเภทหนังสือพิมพ์ มีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรม
เชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ในระดับค่อนข้างสูง (r = -0.745)
การเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนประเภทนิตยสาร มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมเชิง
จริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ในระดับต่ำ (r = 0.159)
การเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนประเภทวิทยุ มีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมเชิง
จริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ในระดับค่อนข้างต่ำ (r = -0.362)
การเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนประเภทโทรทัศน์ มีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมเชิง
จริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ในระดับปานกลาง (r = -0.465)
การเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนประเภทภาพยนตร์ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรม
เชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ในระดับปานกลาง (r = 0.517)
85

การเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนประเภทอินเทอร์เน็ต มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรม
เชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ในระดับค่อนข้างสูง (r =0.668)
ตัวแปรสภาพแวดล้อมทางสังคมโดยรวม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมเชิงจริยธรรม
ด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ในระดับปานกลาง (r = 0.437)
ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า สื่อมวลชนมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของเด็ก สามารถ
นำความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมาสู่สังคม โดยเฉพาะยุคสังคมข่าวสารนี้ที่ให้ความสำคัญกับข้อมูลข่าว
สาร สื่อมวลชนจึงมีอิทธิพลมากขึ้นจนกลายเป็นฐานันดรสำคัญของสังคม ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ
สุพิศวง ธรรมพันทา (2543) ที่ชี้ให้เห็นว่า สื่อมวลชนเป็นองค์กรทางสังคมที่มีข้อมูลกว้างขวาง
หลากหลาย ทั้งสามารถสื่อสารถ่ายโอนความรู้ ความเชื่อ ค่านิยม ธรรมเนียมประเพณีของสังคม ได้ใกล้
ชิดกับบุคคลบุคคลสามารถเรียนรู้หรือเลียนแบบชีวิตทางสังคมจากสื่อประเภทวิทยุ โทรทัศน์ วารสาร
สิ่งพิมพ์ ข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต ภาพยนตร์ ฯลฯ
สอดคล้องกับผลการศึกษาของธีรนง เกิดสุคนธ์ (2525) พบว่า นักเรียนที่ชอบดูละครโทรทัศน์
ได้รับอิทธิพลทางจริยธรรมจาก สื่อละครโทรทัศน์ตามพฤติกรรมของตัวละครที่กระตุ้นให้ทำดีถึง
ร้อยละ 68.5 และผลการศึกษาของวันดี ทองงอก (2543) พบว่า พฤติกรรมของเยาวชนเมื่อได้รับข่าว
สารเกี่ยวกับกิจกรรมการวางตัวของคนในระดับสูงในสังคม เยาวชนจะคิดเลียนแบบ
4.4) ผลการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณระหว่างปัจจัยสภาพแวดล้อมกับพฤติ
กรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดกรุงเทพมหานคร
ปัจจัยสภาพแวดล้อมที่ส่งผลกระทบเชิงเส้นตรงกับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยใน
ตนเองของนักเรียน มีจำนวน 5 ตัว ได้แก่ การเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนประเภทหนังสือพิมพ์ การ
เปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนประเภทอินเทอร์เน็ต การเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนประเภทโทรทัศน์
การเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนประเภทนิตยสารและการจัดการเรียนการสอนจริยศึกษาในคาบเรียน
ตัวพยากรณ์ทั้ง 5 ตัวส่งผลต่อพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ซึ่งสามารถ
เขียนเป็นสมการแสดงความสัมพันธ์ ได้ดังนี้
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ
86

Y = 5.905 + 2.461 X10 + 0.406 X15 -1.182 X13 + 1.130 X11 + 0.105X7
มีค่าน้ำหนักความสำคัญในรูปคะแนนดิบของกลุ่มตัวพยากรณ์ 5 ตัว เท่ากับ 5.905 + 2.461 +
0.406 – 1.182 + 1.130 + 0.105
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน
Z = 10.286Z10 + 4.100Z15 -10.773Z13 + 3.996Z11+ 0.105Z7
มีค่าน้ำหนักความสำคัญในรูปคะแนนมาตรฐานเท่ากับ 10.286 + 4.100 – 10.773 + 3.996 +
0.105 ตามลำดับ โดยมีการเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนประเภทหนังสือพิมพ์เป็นตัวทำนายแรกที่มี
อิทธิพลสูงสุดหรือส่งผลทางบวกต่อพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน
ปัจจัยสภาพแวดล้อมทั้ง 5 ตัวนี้ สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้าน
ความมีวินัยในตนเองของนักเรียนได้ร้อยละ 76.00 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.872
และมีความคลาดเคลื่อนของการพยากรณ์ 0.189
5) สรุปการทดสอบสมมติฐาน
1. สภาพแวดล้อมทางบ้านมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัย
ในตนเองของนักเรียน (r = 0.221)
2. สภาพแวดล้อมทางโรงเรียนมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมี
วินัยในตนเองของนักเรียน (r = 0.468)
3. สภาพแวดล้อมทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมี
วินัยในตนเองของนักเรียน (r = 0.437)
4. ตัวแปรสภาพแวดล้อมที่ส่งผลกระทบเชิงเส้นตรงกับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมี
วินัยในตนเองของนักเรียน มีจำนวน 5 ตัว ได้แก่ การเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนประเภทหนังสือ
พิมพ์ การเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนประเภทอินเทอร์เน็ต การเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนประเภท
โทรทัศน์ การเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนประเภทนิตยสาร และการจัดการเรียนการสอน จริย
ศึกษาในคาบเรียน
ข้อเสนอแนะจากการวิจัย
87
1) ข้อเสนอแนะทางวิชาการ
ผลการศึกษาครั้งนี้ นำมาพิจารณาในภาพรวมแล้วพบว่า ตัวแปรที่มีอิทธิพลสูงสุดในการทำนาย
พฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ได้แก่ การเปิดรับข่าวสารจาก
สื่อมวลชนประเภทหนังสือพิมพ์ การเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนประเภทอินเทอร์เน็ต การเปิดรับข่าว
สารจากสื่อมวลชนประเภทโทรทัศน์ การเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนประเภทนิตยสาร และการจัด
การเรียนการสอนจริยศึกษาในคาบเรียน
ตัวแปรที่มีอิทธิพลสูงสุดต่อการทำนายพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของ
นักเรียน ได้แก่ การเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชนประเภทหนังสือพิมพ์ เมื่อนำค่าเฉลี่ยไปเปรียบเทียบ
กับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ปรากฏว่ามีค่าอยู่ในระดับน้อยที่สุด
ผลการศึกษาครั้งนี้ใช้เป็นข้อสนเทศในการจัดกิจกรรมจริยศึกษาเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการ
ปลูกฝังจริยธรรมให้กับเด็กได้เป็นอย่างดี
ข้อค้นพบจากการศึกษาที่สำคัญพบว่า การเปิดรับข่าวสารจากสื่อมวลชน มีความสำคัญต่อเด็ก
นักเรียนเป็นอย่างมาก ดังนั้น การพัฒนาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเอง สื่อมวลชน
ควรนำเสนอเนื้อหาที่ยกย่องคนดี มีจริยธรรม คุณธรรม เพื่อเป็นตัวแบบที่ดีสำหรับเด็ก นอกจากนั้น
เนื้อหาข่าวสารในรายการต่างๆ ควรมีการสอดแทรกเนื้อหาทางด้านจริยธรรม เพื่อเป็นการปลูกฝัง
บ่มเพาะเมล็ดกล้าทางจริยธรรม ให้แตกหน่อออกใบในตัวเด็กทีละเล็กละน้อย เพื่อรอวันเติบใหญ่เป็น
ร่มโพธิ์ร่มไทรทางจริยธรรมแก่สังคมไทยต่อไป ในขณะเดียวกัน การจัดการเรียนการสอนจริยศึกษาก็มี
ผลต่อพฤติกรรมของเด็กเช่นกัน ดังนั้น ครู-อาจารย์ จะต้องมีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นจริยธรรม
คุณธรรมเป็นศูนย์กลาง โดยเชื่อมโยงวิชาการต่างๆ ทักถอสายใยแห่งความดีงาม นำกระบวนการคิด
การปฏิบัติ มาใช้เพื่อไปสู่เป้าหมาย นั่นก็คือ สังคมแห่งจริยธรรม เพราะเด็กก็คือผ้าขาวที่เราจะวาด
แต้มแต่งสิ่งที่ดีงามเพื่อให้เขาเหล่านั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในวันข้างหน้าต่อไป
2) ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรศึกษาแนวทางการมีส่วนร่วมของเด็กในการพัฒนาพฤติกรรมเชิงจริยธรรม
2. ควรศึกษาเนื้อหาหลักสูตรการเรียนการสอนของโรงเรียนที่ส่งผลต่อพฤติกรรมเชิง
จริยธรรมของเด็ก
3. ควรศึกษาปัจจัยด้านเนื้อหาของรายการที่นำเสนอในสื่อต่างๆ ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมเชิง
จริยธรรมของเด็ก
4. ควรศึกษายุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาแนวทางการพัฒนาจริยธรรม เช่น ยุทธศาสตร์การพัฒนา
สื่อมวลชนเพื่อส่งเสริมจริยธรรมและคุณธรรม เป็นต้น
ข้อเสนอแนะด้านการปฏิบัติ
88
1) ด้านสภาพแวดล้อมทางบ้าน
1. บิดามารดาควรให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการกำหนดกฎเกณฑ์ภายในบ้าน
2. บิดามารดาควรให้ความรักความอบอุ่นกับนักเรียน
3. บิดามารดาควรยกย่อง ชมเชย เมื่อนักเรียนทำความดี
4. บิดามารดาควรเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักเรียน
5. บิดามารดาควรยกบุคคลที่มีระเบียบวินัยดีมาให้นักเรียนดูเป็นตัวอย่าง
2) ด้านสภาพแวดล้อมทางโรงเรียน
1. ครูควรประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักเรียน
2. โรงเรียนควรจัดสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนให้น่าอยู่ สะอาด ร่มรื่น มีสิ่งอำนวยความ
สะดวกเพียงพอ มีลานกีฬาหรือลานอเนกประสงค์เพื่อทำกิจกรรมต่างๆ
3. ครูควรสอดแทรกแนวคิด หรือค่านิยมเกี่ยวกับความมีวินัยในตนเองไว้ทุกครั้งที่สอนในราย
วิชาต่างๆ
4. โรงเรียนควรจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อส่งเสริมความมีระเบียบวินัยอย่างต่อเนื่อง และ
สนับสนุนกิจกรรมของชมรมต่างๆ
5. โรงเรียนควรจัดโครงการพบครอบครัวนักเรียนอย่างน้อยเทอมละ 2 ครั้ง เพื่ออภิปรายเกี่ยว
กับปัญหาพฤติกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการขาดวินัยในตนเองของนักเรียนและหาทางแก้ไขร่วมกัน
3) ด้านสภาพแวดล้อมทางสังคม
1. สื่อมวลชนควรเสนอข่าวที่ส่งเสริมความมีระเบียบวินัย เช่น การแยกทิ้งขยะ การเข้าคิวอย่าง
เป็นระบบ เป็นต้น
2. สื่อมวลชนควรเสนอข่าวเกี่ยวกับกิจกรรมทางศาสนาเพื่อพัฒนาจิตใจ
3. สื่อมวลชนควรเสนอข่าวที่ยกย่องส่งเสริมคนดี มีคุณธรรม
4. สื่อมวลชนควรเสนอข่าวเกี่ยวกับประโยชน์ในการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบของสังคม และ
โทษของการฝ่าฝืน
5. สื่อมวลชนควรเสนอข่าวเกี่ยวกับครอบครัวหรือโรงเรียนตัวอย่างที่ส่งเสริมความมีระเบียบ
วินัย
บรรณานุกรม
กรมวิชาการ, กระทรวงศึกษาธิการ. การประเมินการสอนจริยศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา
ลาดพร้าว, 2522.
. การสังเคราะห์รูปแบบการพัฒนาศักยภาพของเด็กไทยด้านความรับผิดชอบและมีวินัยในตน
เอง. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2542.
. คู่มือการจัดกิจกรรมตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการในหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้นและ
ตอนปลาย พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพ
ร้าว, 2534.
. แนวทางการพัฒนาจริยธรรมไทย. รายงานการประชุมทางวิชาการเกี่ยวกับจริยธรรมไทย.
กรุงเทพฯ : การศาสนา, 2523.
กรุณา กิจขยัน. “ความสัมพันธ์ระหว่างความมีวินัยแห่งตน ความเชื่ออำนาจภายใน – ภายนอกตน และ
คุณธรรมแห่งพลเมืองดี.” ปริญญานิพนธ์การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยวิชาการศึกษา
ประสานมิตร, 2517.
กาญจนา หาสิตะพันธ์. “การควบคุมตนเอง (Self – Discipline).” รายงานการประชุมทางวิชาการครั้งที่
1. กรุงเทพฯ : กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ, 2517.
กุลชา ศิรเฉลิมพงศ์. “แนวทางการพัฒนาความมีวินัยในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม จังหวัดบุรีรัมย์.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2544.
เกื้อกูล ทาสิทธิ์. การศึกษาเปรียบเทียบสังคมประกิตและบุคลิกภาพของบุคคลจากครอบครัวที่มีฐานะ
ทางเศรษฐกิจและสังคมต่างกัน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
2514.
โกศล มีคุณ. “การวิจัยเชิงทดลองฝึกอบรมการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมและทักษะในการสวมบทบาทของ
เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษา.” ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทร
วิโรฒ ประสานมิตร, 2524.
จรรจา สุวรรณทัต. เอกสารการสอนชุดวิชาการแนะแนวกับคุณภาพชีวิต หน่วยที่ 1 – 8. กรุงเทพฯ :
สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2533.
จันทพร โรจนพิทักษ์. “ผลของโปรแกรมการปรับพฤติกรรมทางปัญญาเพื่อเสริมสร้างวินัยในชั้นเรียน
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา อำเภอ
เมือง จังหวัดชลบุรี.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร, 2543.
90
จารุวรรณ พานทอง. การเปรียบเทียบเหตุผลเชิงจริยธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัด
กรมสามัญศึกษา จังหวัดนครสวรรค์. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย
นเรศวร, 2536.
จาํ นง ไชยรัตน์. “บทบาทในตาํ แหนง่ หนา้ ทขี่ องคร-ู อาจารย์สายงานการสอน ตามความคาดหวังของ
ผู้บริหารและความต้องการของครู-อาจารย์โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษาใน
จังหวัดระยอง.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
ศิลปากร, 2530.
จินดา สิทธิฤทธิ์. “พัฒนาการทางด้านจริยธรรม และการปลูกฝังจริยธรรมในสถานศึกษา,” วารสาร
มิตรครู (19, ธันวาคม 2523 : 14 – 18).
ชัยสิทธิ์ พรมมา. “การศึกษาพฤติกรรมทางจริยธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในจังหวัด
สรุ นิ ทร์.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร, 2524.
ชาตรี ศิริสวัสดิ์. “การเปรียบเทียบความรู้สึกเชิงจริยธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนจาก
การสอนแบบอภิปรายโดยวิธีคิดแบบคุณโทษและทางออกเข้าประกอบกับวิธีสอนแบบ
บรรยาย.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2533.
ฑิฆัมพร สุภาพ. “การวิเคราะห์กิจกรรมนักเรียนที่ส่งเสริมจริยธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรม
สามัญศึกษา.” วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย, 2535.
ณัฐพล กล้าหาญ. การพัฒนาจริยธรรมความมีวินัยในตนเองด้วยกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ กรณีศึกษา :
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนดอกลำดวน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร
มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ดวงเดือน พันธุมนาวิน. การพัฒนาจริยธรรม : ตำราจิตวิทยา. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยพฤติกรรม
ศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2522.
. ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรม : การวิจัยและการพัฒนาบุคคล. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : โครงการ
ส่งเสริมเอกสารวิชาการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2543.
. “จิตวิทยาการปลูกฝังวินัย,” แนะแนว.18(14) : 58 – 71; สิงหาคม – กันยายน, 2527.
. พฤติกรรมศาสตร์ เล่ม 2 จิตวิทยาและจิตวิทยาภาษา. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช, 2524.
ดวงเดือน พันธุมนาวิน และเพ็ญแข ประจนปัจจนึก. จริยธรรมของเยาวชนไทย : แผนงานการวิจัย
ฉบับที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร
วิโรฒ ประสานมิตร, 2520.
เดโช สวนานนท์. จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์,2510.
91
นพ บรรเจิด. “การศึกษาสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการปลูกฝังจริยธรรมของนักเรียนเกษตร สถาบัน
เทคโนโลยีราชมงคล.” วารสารการวิจัยทางการศึกษา ปีที่ 23, ฉบับที่ 4 (ตุลาคม – ธันวาคม
2536) : 87 – 94.
นวลศิริ เปาโรหิตย์. “จะสร้างวินัยให้เด็กยอมรับได้อย่างไร,” วารสารแนะแนว. 31(167) : 31 – 34;
มีนาคม, 2540.
นันทิยา ยิ่งเจริญ. “การศึกษาพัฒนาการการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมของนักเรียนระดับประถมศึกษาใน
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร, 2527.
บรรเทา กิตติศักดิ์. จริยธรรมทางการศึกษา. ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์ (อัดสำเนา), 2528.
บุญเทิง สายยศ. “ผลการใช้เทคนิคการควบคุมตนเองและเทคนิคการให้สัญญาตนเองเพื่อลดพฤติกรรม
ขาดระเบียบในชั้นเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านขมิ้น (เรืองราษฎร์
รังสรรค์) อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์.” ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย
มหาสารคาม, 2543.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. ระเบียบวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สามเจริญพาณิชย์,
2542.
ปฐมา ทรัพย์สังข์. “การเปิดรับสื่อมวลชนของวัยรุ่นและผลกระทบที่เกิดขึ้นในเชิงจริยธรรม.” วิทยา
นิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล, 2542.
ประคอง กรรณสูต. สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬา
ลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538.
ประเสริฐศรี เอื้อนครินทร์. การทดลองใช้เทคนิค “แม่บท” เพื่อพัฒนาจริยธรรมและความซื่อสัตย์.
ปริญญานิพนธ์การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ ประสานมิตร,
2524.
ปริญญา อังศุสิงห์. “การวางแผนอาคารสถานที่.” (เอกสารอัดสำเนา), 2529.
ปฬาณี ฐิติวัฒนา. สังคมวิทยา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด, 2523.
. สังคมวิทยาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร, 2517.
พนัส หันนาคินทร์ และคณะ. สร้างเสริมลักษณะนิสัย 6. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แมค จำกัด, 2542.
พเยาว์ เกาทัณฑ์ทอง. การศึกษาพฤติกรรมด้านวินัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียน
สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชา
มัธยมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร, 2534.
พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุษย์ และคณะ. รายงานการวิจัย เรื่อง จริยธรรมของชาวกรุงเทพมหานครใน
ปัจจุบัน. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527.
92
พรรณผกา กุศลสถาพร. “การวิเคราะห์เนื้อหาด้านจริยธรรมในหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธ
ศักราช 2524 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533).” วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิต
วิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. จริยธรรมกับการศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2535.
เพ็ญแข แสงแก้ว. การวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์, 2541.
ภรณี คุรุรัตนะ. “ความมีวินัยในตนเองด้านสิ่งแวดล้อมของเด็กระดับก่อนประถมศึกษาในโรงเรียน
สังกัดกรุงเทพมหานคร ที่ได้รับการจัดกิจกรรมที่เน้นกระบวนการเรียนรู้ทางสังคมและปัญญา
และการจัดกจิ กรรมตามปกติ.” ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทร
วิโรฒ ประสานมิตร, 2537.
ภาวนา ไพศาลสุขสมบูรณ์. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะที่พึงประสงค์กับผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียนวิชาอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียน มัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญ
ศึกษา เขตการศึกษา 7. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2535.
มณฑลี หนูสีใส. “การเปิดรับสื่อและพฤติกรรมจริยธรรมของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร.” วิทยา
นิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. เอกสารประกอบการสอนชุดวิชาจริยศึกษา. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
หน่วยที่ 1 – 15. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2529.
มาลินี จุฑะรพ. จิตวิทยาการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ : อักษราพิพัฒน์ จำกัด, 2539.
ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : อักษร
เจริญทัศน์, 2531.
ริ้วทอง ล้อทอง. “การวิเคราะห์กิจกรรมนักศึกษาพยาบาลที่ส่งเสริมจริยธรรมของวิทยาลัยพยาบาล
สังกัดกองงานวิทยาลัยพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.” วิทยานิพนธ์ปริญญา
ครุศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534.
วันดี ทองงอก. รายงานการวิจัยเรื่อง ผลกระทบของสื่อมวลชนที่มีต่อค่านิยมและพฤติกรรมของเยาว
ชนในเขตภาคเหนือตอนบน. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, 2543.
วิจิตร วรุตบางกูล และสุพิชญา ธีระกุล. การบริหารโรงเรียนและการนิเทศการศึกษาเบื้องต้น.
สมุทรปราการ : ขนิษฐ์การพิมพ์และโฆษณา, 2524.
วิวาห์วัน มูลสถาน. ความสัมพันธ์ระหว่างการอบรมเลี้ยงดูและความมีระเบียบวินัยในตนเอง. วิทยา
นิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2523.
93
ศักดิ์สิทธิ์ วัชรารัตน์. รายงานการวิจัยเรื่อง ความคิดเห็นของนักศึกษาต่อครูอาจารย์วิทยาลัยเกษตร
กรรมกำแพงเพชร. กำแพงเพชร : วิทยาลัยเกษตรกรรมกำแพงเพชร, 2533.
ศิริพร แก้วนุ่ม. การศึกษาการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาในเขตการศึกษา 12.
ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2526.
ศิริพร ลิมปพัฒนานนท์ และกมลพรรณ หอมนาน. พฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาล
วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้าจ.เพชรบุรี. รายงานการวิจัย. วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า
จังหวัดเพชรบุรี,2542.
สมโชค พูลน่วม. “ความสัมพันธ์ระหว่างความรับผิดชอบและความซื่อสัตย์ของเด็กไทย.” วิทยานิพนธ์
ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2523.
สมพร เทพสิทธา. การควบคุมทางสังคม. กรุงเทพฯ : สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยใน
พระบรมราชูปถัมภ์, 2541.
สมศิริ ปลื้มจิตต์. “การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเหตุผลเชิงจริยธรรมในการสอน
จริยธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการสอนโดยใช้บทบาทสมมติกับการสอนตาม
คู่มือครู.” วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสาน
มิตร, 2534.
สรรพากร, กรม. คำแนะนำการกรอกภาษีเงินได้. กรุงเทพฯ : บริษัทวิคตอรี่เพาเวอร์พอยท์ จำกัด, 2533.
สัณหพัฒน  อรุณธาน.ี “สภาพและปัญหาการจัดกิจกรรมสร้างเสริมระเบียบวินัยเด็กปฐมวัยในโรงเรียน
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กรุงเทพมหานคร.” วิทยานิพนธ์ครุศาสตร
มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2536.
สาธิต วิกสันเทียะ. “ความสัมพันธ์ระหว่างการเรียนการสอนกับพฤติกรรมจริยธรรมของนักเรียน
นายร้อยตำรวจ.” วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาอาชญาวิทยา บัณฑิต
วิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล, 2536.
สาโรช คำรัตน์. “สุขภาพจิตของผู้อยู่ในวัยเรียน.” ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา. กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์เจริญผล, 2522.
สำนักการศึกษา. สถิติจำนวนนักเรียนและห้องเรียนของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครจำแนกเป็นราย
สำนักงานเขต และรายโรงเรียน ปีการศึกษา 2546. กรุงเทพฯ : กองวิชาการ สำนักการศึกษา,
เอกสารอัดสำเนา.
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. คู่มือสำหรับใช้เป็นแนวทางในการทำหน้าที่วิทยากร.
กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ, 2540.
94
สุชัย เจ็ดพี่น้องร่วมใจ. “ปัจจัยดึงดูดที่มีผลต่อการตัดสินใจหนีเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาใน
กรุงเทพมหานคร : ศึกษาเฉพาะกรณีนักเรียนหนีเรียนซึ่งถูกนำตัวมาที่กองกำกับการสวัสดิภาพ
เด็กและเยาวชน.” วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต คณะสังคมสงเคราะห์
ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2544.
สุชา จันทร์เอม . จิตวิทยาในห้องเรียน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์พีระพัธนา, 2521.
. “เด็กกับการสร้างระเบียบวินัย.” วารสารแนะแนว. 6 : 49 – 53; กรกฎาคม – กันยายน 2511.
สุชา จันทร์เอม และสุรางค์ จันทร์เอม. หลักการศึกษา จิตวิทยา หลักการสอน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์
แพร่พิทยา, 2517.
สุนารี เตชะโชควิวัฒน์. ความสัมพันธ์ระหว่างการอบรมเลี้ยงดู วินัยในตนเองและความภาคภูมิใจใน
ตนเอง. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร,
2527.
สุพล วังสินธ์. “องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการจริยธรรม,” แนะแนว. 25 (132) : 33; ธันวาคม
2533 – 2534.
สุพัตรา สุภาพ. สังคมและวัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
2535.
สุพิศวง ธรรมพันทา. มนุษย์กับสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ภูมิไทย, 2543.
สุรพล นาควานิช. “การศึกษาพฤติกรรมทางจริยธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในภาคตะวัน
ออกเฉยี งเหนอื .” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร, 2521.
อรพินท  นาคประดษิ ฐ. ความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและคุณธรรมแห่งพลเมืองดี.
ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2518.
อรรณพ อุ่นจะนำ.รายงานโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมและเสริมสร้างวินัยนักเรียนโรงเรียนเกาะ
คาวิทยาคม อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง. ลำปาง : โรงเรียนเกาะคาวิทยาคม, 2541.
อัญจนา ประสานชาติ. “ผลของการฝึกจิตลักษณะเพื่อพัฒนาพฤติกรรมวินัยในตนเองของนักเรียน
ระดับประถมศึกษา.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2545.
อุบล เสถียรปกิรณกรณ์. สังคมวิทยา (Sociology). ภาควิชาสังคมวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคม
ศาสตร์ วิทยาลัยครูนครปฐม, 2528.
Bear, G.G. “The Relationship of Moral Reasoning to Conduct Problems and Intelligence,”
Dissertation Abstracts Internation. 40 (9) : 4961 – A January 1979.
Bernard, Harold W. Psychology of Learning and Teaching. New York : McGraw – Hill, 1972.
95
Chua, L.A. A Guide in Preparing : A Research Proposal. Los Banos : The University of the
Philippines Press.
Ferguson, George A. Statistical Analysis in Psychology and Education. 5th ed. New York : McGraw
– Hill,1981.
Good, Carter V. Dictionary of Education. New York : McCraw-Hill Book.Co., 1974.
Horton, Paul B. and Hunt, Chester L. Sociology. New York : McGraw-Hill, 1984.
Kohlberg, L. “Development of Moral Character and Moral Ideology.” In Review of Child
Development Research. New York : Russell Sage Foundation, 1971.
Kohlberg, L. “Moral Stage and Moralization : The Cognitive Development Approach.” pp. 31 – 53. in
Lickona (ed.) Moral Development and Behavior : Theory Research and Social Issues.
New York : Holt, Rinehart Winston, 1976.
Piaget, J. The Moral Judgment of the Child. New York : Pegeuin Education Books, 1977.
Sears, R. R., Moccobly, E.E. and Lewin H. Pattern of Child Rearing. Evanston. Ellinois : Kow,
Peterson Inc, 1957.
Siegetman, M. Loving and Punishing Parental Behavior and Introversion Tendencies in Sons,
Child Development, 1966.
Werner, S.S. Affect and Moral Judgment in Older Children, Dissertation Abstracts International.
40 (11) : 5721 – A, 1979.
Wiggins, J.S. and others. The Psychology of Personality. Addlison : Wesley Publishing Company,
Inc., 1971.
Yamane, T. Statistic : An Introduction Analysis. New York : Harper & Row, 1970.
แบบสอบถาม
พฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัด
กรุงเทพมหานคร
คำชี้แจงแบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยม
ศึกษาชั้นปีที่ 3 สังกัดกรุงเทพมหานคร มีทั้งหมด 6 ตอน ได้แก่
ตอนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป จำนวน 8 ข้อ
ตอนที่ 2 แบบสอบถามพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเอง จำนวน 16 ข้อ
ตอนที่ 3 แบบสอบถามสภาพแวดล้อมทางบ้าน จำนวน 20 ข้อ
ตอนที่ 4 แบบสอบถามสภาพแวดล้อมทางโรงเรียน จำนวน 25 ข้อ
ตอนที่ 5 แบบสอบถามสภาพแวดล้อมทางสังคม จำนวน 12 ข้อ
ตอนที่ 6 แบบสอบถามเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้าน
ความมีวินัยในตนเอง จำนวน 15 ข้อ
ขอให้นักเรียนอ่านคำชี้แจงแต่ละตอนให้เข้าใจ และทำแบบสอบถามให้ครบทุกข้อ ถ้าขาดข้อ
หนึ่งข้อใดไปแล้วแบบสอบถามนี้จะไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ดังนั้น จึงขอให้นักเรียนตอบให้
ตรงกับความเป็นจริงและตรงกับความคิดเห็นของนักเรียนมากที่สุด คำตอบของนักเรียนจะไม่มีผลต่อ
คะแนนสอบของนักเรียนแต่อย่างใด และผู้วิจัยจะเก็บไว้เป็นความลับไม่นำไปเปิดเผยในที่ใดๆ โปรด
ตอบด้วยความสบายใจ ขอขอบคุณนักเรียนที่ให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถามเป็นอย่างดี
97
ตอนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป
คำชี้แจงให้นักเรียนตอบแบบสอบถามโดยกาเครื่องหมาย ลงใน ( ) และเติมข้อมูลลงในช่องว่างที่
ตรงกับสภาพความเป็นจริง
1. เพศ ( ) 1. ชาย ( ) 2. หญิง
2. อายุ............ปี
3. ขณะนี้นักเรียนอาศัยอยู่กับ
( ) 1. บิดา มารดา ( ) 2. ญาติ
( ) 3. เพื่อนบ้าน ( ) 4. อื่นๆ โปรดระบุ...................
4. ระดับการศึกษาสูงสุดของบิดาหรือผู้ปกครอง
( ) 1. ต่ำกว่าประถมศึกษา
( ) 2. ประถมศึกษา
( ) 3. มัธยมศึกษาตอนต้น
( ) 4. มัธยมศึกษาตอนปลาย , ปวช. หรือเทียบเท่า
( ) 5. อนุปริญญา , ปวส. หรือเทียบเท่า
( ) 6. ปริญญาตรี
( ) 7. สูงกว่าปริญญาตรี
( ) 8. อื่นๆ โปรดระบุ..........................
5. ระดับการศึกษาสูงสุดของมารดาหรือผู้ปกครอง
( ) 1. ต่ำกว่าประถมศึกษา
( ) 2. ประถมศึกษา
( ) 3. มัธยมศึกษาตอนต้น
( ) 4. มัธยมศึกษาตอนปลาย , ปวช. หรือเทียบเท่า
( ) 5. อนุปริญญา , ปวส. หรือเทียบเท่า
( ) 6. ปริญญาตรี
( ) 7. สูงกว่าปริญญาตรี
( ) 8. อื่นๆ โปรดระบุ..........................
6. อาชีพของบิดาหรือผู้ปกครอง
( ) 1. เกษตรกรรม
( ) 2. รับจ้าง
( ) 3. ธุรกิจส่วนตัว
98
( ) 4. รับราชการ
( ) 5. ทำงานรัฐวิสาหกิจ
( ) 6. อื่นๆ โปรดระบุ....................................
7. อาชีพของมารดา
( ) 1. เกษตรกรรม
( ) 2. รับจ้าง
( ) 3. ธุรกิจส่วนตัว
( ) 4. รับราชการ
( ) 5. ทำงานรัฐวิสาหกิจ
( ) 6. อื่นๆ โปรดระบุ....................................
8. รายได้ของครอบครัวต่อเดือน
( ) 1. ตั้งแต่ 5,000 บาท ลงมา
( ) 2. 5,001 – 10,000 บาท
( ) 3. 10,001 – 15,000 บาท
( ) 4. 15,001 – 20,000 บาท
( ) 5. ตั้งแต่ 20,001 บาท ขึ้นไป
99
ตอนที่ 2 แบบสอบถาม เรื่อง พฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดกรุงเทพมหานคร
คำชี้แจง
แบบสอบถามฉบับนี้ต้องการถามการกระทำของนักเรียนในเรื่องเกี่ยวกับการเรียนและเรื่องทั่ว
ไป โดยให้นักเรียนอ่านข้อความแล้วพิจารณาว่านักเรียนปฏิบัติตามข้อความนั้นๆหรือไม่เพียงใดจากตัว
เลือกที่กำหนดให้ คือ
มากที่สุด หมายถึง นักเรียนมีการกระทำในเรื่องนั้นเป็นประจำ
มาก หมายถึง นักเรียนมีการกระทำในเรื่องนั้นเกือบเป็นประจำ
ปานกลาง หมายถึง นักเรียนมีการกระทำในเรื่องนั้น ทำบ้าง
ไม่ทำบ้าง
น้อย หมายถึง นักเรียนมีการกระทำในเรื่องนั้นไม่บ่อยนัก
น้อยที่สุด หมายถึง นักเรียนมีการกระทำในเรื่องนั้นนานๆครั้งหรือแทบไม่เคย
กระทำในเรื่องนั้นๆเลย
คำตอบที่นักเรียนเลือกตอบจะไม่มี ถูก หรือ ผิด ข้อสำคัญขอให้นักเรียนตอบแบบสอบถามนี้ให้
ตรงกับสภาพความเป็นจริงของตัวเองให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ และคำตอบของนักเรียนจะไม่มีผล
กระทบกระเทือนต่อผลการเรียนของนักเรียน
วิธีตอบแบบสอบถาม ให้นักเรียนใส่เครื่องหมาย ลงในช่องตัวเลือกที่เห็นว่าตรงกับการ
กระทำที่แท้จริงของนักเรียน และในแต่ละข้อนักเรียนกาเครื่องหมาย ได้เพียงช่องเดียวเท่านั้น
100
พฤติกรรมเชงิ จรยิ ธรรม ระดับการปฏิบัติ
ด้านความมีวินัยในตนเอง มากที่
สุด
มาก ปาน
กลาง
น้อย น้อยที่
สุด
1.นักเรียนปฏิบัติตามกฎ ระเบียบของ
โรงเรียนอย่างเคร่งครัด
2. นักเรียนมาโรงเรียนสายเป็นประจำ
3. นักเรียนทิ้งขยะลงในถังที่จัดวางไว้
บริเวณต่างๆ
4. นักเรียนอ่านหนังสือและทบทวน
บทเรียนทุกวันโดยไม่ต้องให้ใครบอก
5. นักเรียนมักส่งการบ้านหรือรายงาน
ไม่ทันตามเวลาที่ครูกำหนด
6. นักเรียนจะทำงานที่ได้รับมอบหมาย
สำเร็จได้ ก็ต่อเมื่อมีครูมาคอยควบคุม
7. นักเรียนชอบคุยหรือเล่นกับเพื่อน
ในขณะกำลังเรียน
8. นักเรียนชอบส่งเสียงดังรบกวนผู้อื่น
ในขณะใช้บริการห้องสมุด
9. ก่อนหยิบของผู้อื่นมาใช้ นักเรียนจะ
ขออนุญาตเจ้าของก่อนทุกครั้ง
10. นักเรียนเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น
11. นักเรียนเคารพสิทธิของผู้อื่น
12. เมื่อนักเรียนทำผิด นักเรียนจะยอมรับผิด
13. นักเรียนจะลอกข้อสอบเพื่อน ถ้าครู
ไม่อยู่ในห้อง
14. นักเรียนมักจะลัดคิวเพื่อนในการซื้อ
อาหารรับประทาน
15. เมื่อนักเรียนเก็บของได้จะเก็บไว้เป็น
ของตนเอง
16. นักเรียนเต็มใจทำกิจกรรมพิเศษของ
โรงเรียนแม้จะเลยเวลาเลิกเรียนแล้ว
101
ตอนที่ 3 แบบสอบถามสภาพแวดล้อมทางบ้าน
คำชี้แจง 1. แบบสอบถามฉบับนี้แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 สถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของครอบครัว
ส่วนที่ 2 การอบรมเลี้ยงดูของบิดามารดาหรือผู้ปกครอง
2. แบบสอบถามฉบับนี้จะไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อนักเรียน
3. ข้อมูลที่ได้จะเก็บไว้เป็นความลับ
4. ขอให้นักเรียนตอบให้ครบทุกข้อ
5. ตอบให้ตรงกับความเป็นจริงของนักเรียนมากที่สุด เพื่อประโยชน์ในการวิจัย
อย่างแท้จริง
6. ให้ทำเครื่องหมาย ลงใน ( ) หรือในช่องว่างท้ายข้อความ และเติมข้อความ
ในช่องว่างที่เว้นไว้ให้
ส่วนที่1 สถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของครอบครัว
นักเรียนจงอ่านข้อความแล้วพิจารณาว่าข้อความใดตรงกับสภาพความเป็นจริงมากที่สุดโดยใส่
เครื่องหมาย ลงในช่องที่ตรงกับความเป็นจริงนั้นๆ เพียงข้อเดียว ในแต่ละข้อและกรุณาตอบทุกข้อ
ข้อความ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด
1. บิดามารดาหรือผู้ปกครอง
ประกอบอาชีพไม่เป็น
หลักฐาน
2. การเงินสำหรับใช้ภายใน
ครอบครัวไม่เพียงพอ
3. รายได้ของครอบครัวไม่
แน่นอน
4. เมื่อพบผู้ที่กำลังเดือดร้อน
ครอบครัวของนักเรียนมักเข้า
ไปช่วยเหลือเสมอ
5. ครอบครัวของนักเรียนได้รับ
การยอมรับนับถือจากผู้อื่น
102
ส่วนที่ 2 การอบรมเลี้ยงดูของบิดามารดาหรือผู้ปกครอง
คำชี้แจง
แบบสอบถามนี้ต้องการทราบเกี่ยวกับการที่บิดามารดาหรือผู้ปกครองปฏิบัติต่อนักเรียนโดยขอ
ให้นักเรียนตอบตามความเป็นจริงให้มากที่สุด ไม่ต้องกังวลว่าจะมีคำตอบใดถูกหรือผิดเพราะจะเก็บข้อ
มูลของแต่ละคนไว้เป็นความลับ
นักเรียนจงอ่านข้อความแล้วพิจารณาว่าข้อความใดตรงกับสภาพความเป็นจริงมากที่สุด โดยใส่
เครื่องหมาย ลงในช่องที่ตรงกับความเป็นจริงนั้นๆ เพียงข้อเดียว ในแต่ละข้อและกรุณาตอบทุกข้อ
คำอธิบาย
มากที่สุด หมายถึง ข้อความนั้นเกิดขึ้นตรงกับวิธีที่ผู้ปกครองปฏิบัติต่อนักเรียน
เป็นประจำ
มาก หมายถึง ข้อความนั้นเกิดขึ้นตรงกับวิธีที่ผู้ปกครองปฏิบัติต่อนักเรียน
เกือบเป็นประจำ
ปานกลาง หมายถึง ข้อความนั้นเกิดขึ้นตรงกับวิธีที่ผู้ปกครองปฏิบัติต่อนักเรียน
ไม่บ่อยมากนัก
น้อย หมายถึง ข้อความนั้นเกิดขึ้นตรงกับวิธีที่ผู้ปกครองปฏิบัติต่อนักเรียน
นานๆ ครั้ง
น้อยที่สุด หมายถึง ข้อความนั้นเกิดขึ้นตรงกับวิธีที่ผู้ปกครองแทบไม่เคยปฏิบัติต่อ
นักเรียนเลย
ระดับการปฏิบัติ
วิธีที่ผู้ปกครองปฏิบัติต่อนักเรียน มากที่
สุด
มาก ปาน
กลาง
น้อย น้อยที่
สุด
1. ผู้ปกครองคอยว่ากล่าวตักเตือน เรื่อง
มารยาท การพูดจาของนักเรียน
2. เมื่อนักเรียนแจ้งผลการเรียนให้ทราบ
ผู้ปกครองจะแสดงความสนใจ
3. นักเรียนจะแต่งตัวอย่างไรผู้ปกครองก็
ไม่สนใจ
4. นักเรียนไปเที่ยวนอกบ้านได้โดยไม่ต้อง
ขออนุญาตผู้ปกครอง
103
ระดับการปฏิบัติ
วิธีที่ผู้ปกครองปฏิบัติต่อนักเรียน มากที่
สุด
มาก ปาน
กลาง
น้อย น้อยที่
สุด
5. แม้เมื่อนักเรียนทำความดี ก็ไม่เคยได้รับ
คำยกย่อง ชมเชยจากผู้ปกครอง
6. บ้านของนักเรียนมีกฎเกณฑ์ต่างๆ
ซึ่งผู้ปกครองกำหนดไว้
7. นักเรียนต้องกลับบ้านตามเวลาที่ผู้ปกครอง
กำหนด
8. นักเรียนไม่มีโอกาสไปเที่ยวกับเพื่อนๆ
นอกจากไปกับผู้ปกครอง
9. ผู้ปกครองห้ามนักเรียนไปเล่นกับเพื่อน
ที่ผู้ปกครองของนักเรียนไม่ชอบ
10. เมื่อนักเรียนทำผิดผู้ปกครองจะดุทันที
ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด
11. เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นในครอบครัว ผู้ปกครอง
ยินดีให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการแก้ไข
ปัญหา
12. ผู้ปกครองจะชี้แจงเหตุผลแก่นักเรียนก่อน
การลงโทษ
13. เมื่อนักเรียนแสดงความคิดเห็น ผู้ปกครอง
จะรับฟัง
14. ผู้ปกครองอนุญาตให้นักเรียนร่วมกิจกรรม
พิเศษของโรงเรียน
15. ผู้ปกครองให้รางวัลหรือคำชมเชยเมื่อ
นักเรียนทำสิ่งต่างๆ สำเร็จ
104
ตอนที่ 4 แบบสอบถามสภาพแวดล้อมทางโรงเรียน
คำชี้แจง แบบสอบถามชุดนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการทราบความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อสภาพ
แวดล้อมของโรงเรียน ได้แก่ พฤติกรรมของครู กลุ่มเพื่อน และการจัดการเรียนการสอนจริยศึกษา ซึ่งไม่
มีคำตอบใดถูกหรือผิด คำตอบของนักเรียนจะได้รับการรักษาไว้เป็นความลับ ไม่นำไปเปิดเผยในที่ใดๆ
เป็นรายบุคคล ฉะนั้น ขอให้นักเรียนตอบด้วยความสบายใจและตอบตามความคิดเห็นที่แท้จริงของนัก
เรียนให้มากที่สุด โปรดตอบทุกข้อ เพราะถ้าขาดข้อใดข้อหนึ่งไป แบบสอบถามนี้จะนำไปใช้ประโยชน์
ไม่ได้
นักเรียนจงอ่านข้อความเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของโรงเรียน โดยพิจารณาว่าข้อความใดที่ตรง
กับความคิดเห็นของนักเรียน แล้วกาเครื่องหมาย ลงในช่องที่ต้องการเพียง 1 ช่องเท่านั้นในแต่ละข้อ
พฤติกรรมของครูและกลุ่มเพื่อน ระดับการปฏิบัติ
มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด
1. ครูคอยให้ความช่วยเหลือเป็นกำลัง
ใจแก่นักเรียน
2. เมื่อนักเรียนทำงานดี ครูจะเฉยๆ ไม่
แสดงความชื่นชม
3. ครูไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของ
นักเรียน
4. ครูแต่งกายสุภาพเรียบร้อยเหมาะสม
กับกาลเทศะ
5. ครูเข้มงวดกวดขันให้นักเรียนปฏิบัติ
ตามระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ของ
โรงเรียน
6. นักเรียนไม่มีความสุขกับการได้
ทำงานร่วมกับเพื่อน
7. เพื่อนให้ความเป็นกันเองแก่นักเรียน
8. นักเรียนไม่ได้รับความช่วยเหลือใน
ด้านการเรียนจากเพื่อน
9. เพื่อนๆ ยอมรับในความสามารถของ
นักเรียน
10. นักเรียนมักทะเลาะเบาะแว้งกับเพื่อน
105
การจดั การเรยี นการสอนจรยิ ศกึ ษา ระดับการปฏิบัติ
มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด
11. โรงเรียนจัดหลักสูตรเพื่อสอนและ
ส่งเสริมจริยศึกษากับนักเรียน
12. โรงเรียนจัดหนังสือเรียนและเอกสาร
คำสอนเพื่อสอนจริยศึกษาให้กับ
นักเรียนไม่เพียงพอ
13. ครูสอนสอดแทรกจริยธรรมกับ
นักเรียนขณะสอนวิชาอื่น
14. ครูสอนโดยให้นักเรียนวิเคราะห์ข่าว
สารจากสื่อมวลชนเกี่ยวกับจริยธรรม
เพื่อให้นักเรียนเลือกตัดสินใจปฏิบัติ
ให้ถูกต้อง
15. ครูจัดประเมินผลด้านคุณธรรม
จริยธรรมกับนักเรียนนานๆครั้ง
16. โรงเรียนส่งเสริมให้นักเรียนจัด
กิจกรรมวันสำคัญของศาสนาทุก
ศาสนาทั้งภายในโรงเรียนและชุมชน
17. โรงเรียนส่งเสริมให้นักเรียนเป็น
ผู้เสียสละโดยบำเพ็ญประโยชน์
ต่อสังคม
18. โรงเรียนไม่เคยเชิญวิทยากรมาให้
ความรู้เกี่ยวกับประสบการณ์ที่ดีใน
การดำเนินชีวิต
19. แม้เมื่อนักเรียนทำความดี โรงเรียนก็
ไม่เคยมีการยกย่อง ชมเชยหรือมอบ
รางวัลให้
20. โรงเรียนจัดแข่งขันตอบปัญหา
จริยธรรมและศาสนานานๆ ครั้ง
106
การจดั การเรยี นการสอนจรยิ ศกึ ษา ระดับการปฏิบัติ
มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด
21. โรงเรียนจัดอาคารและบริเวณ
โรงเรียนที่เป็นเอกลักษณ์ทางธรรม
ชาติเพื่อส่งเสริมและพัฒนาด้านจิต
ใจกับนักเรียน
22. โรงเรียนปิดป้ายข้อความเตือนใจ
ด้านคุณธรรม จริยธรรมบริเวณ
โรงเรียน
23. ครูจัดห้องเรียนไม่เหมาะสมกับ
การเรียนจริยศึกษา
24. บริเวณโรงเรียน ห้องเรียน มีสื่อ
ส่งเสริมความรู้ด้านศาสนาไม่
เพียงพอ
25. โรงเรียนจัดห้องเรียนหรือสถานที่
เพื่อให้นักเรียนใช้เวลาว่างสวด
ภาวนา อธิษฐานส่วนตัวตาม
หลักธรรมของแต่ละศาสนา
107
ตอนที่ 5 แบบสอบถามสภาพแวดล้อมทางสังคม
คำชี้แจง
1. แบบสอบถามสภาพแวดล้อมทางสังคมนี้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการเปิดรับข่าวสารจาก
สื่อมวลชนของนักเรียน
2. แบบสอบถามฉบับนี้จะไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อนักเรียน
3. ข้อมูลที่ได้จะเก็บไว้เป็นความลับ
4. ขอให้เรียนตอบให้ครบทุกข้อ และตอบให้ตรงกับความเป็นจริงมากที่สุดเพื่อประโยชน์ใน
การวิจัยอย่างแท้จริง
5. ให้นักเรียนทำเครื่องหมาย ลงในช่องว่างท้ายข้อความที่เว้นไว้ให้
จงตอบคำถามต่อไปนี้
นักเรียนเปิดรับข่าวสารจาก
สื่อเหล่านี้บ่อยเพียงใด
ทุกวัน เกือบทุกวัน บางวัน นานๆครั้ง ไม่เคยเลย
1. หนังสือพิมพ์
2. นิตยสาร
3. วิทยุ
4. โทรทัศน์
5. ภาพยนตร์
6. อินเทอร์เน็ต
โดยเฉลี่ยแล้วแต่ละวันที่นัก
เรียนเปิดรับข่าวสารจากสื่อ
นักเรียนเปิดรับนานเพียงใด
มากกว่า
6 ชั่วโมง
5 – 6
ชั่วโมง
3 – 4
ชั่วโมง
1 – 2
ชั่วโมง
น้อยกว่า
1 ชั่วโมง
7. หนังสือพิมพ์
8. นิตยสาร
9. วิทยุ
10. โทรทัศน์
11. ภาพยนตร์
12. อินเทอร์เน็ต
108
ตอนที่ 6 แบบสอบถามเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาพฤติกรรมเชิงจริยธรรม
ด้านความมีวินัยในตนเอง
คำชี้แจง ขอให้นักเรียนเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาหรือส่งเสริมพฤติกรรมเชิง
จริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียน โดยพิจารณาว่าแนวทางใดตรงกับความต้องการของ
นักเรียนมากที่สุด แล้วทำเครื่องหมาย ลงในช่องว่างท้ายข้อความที่เว้นไว้ให้
แนวทางการพฒั นาพฤติกรรมเชงิ ระดับความต้องการ
จริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเอง มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด
ด้านสภาพแวดล้อมทางบ้าน
1. บิดามารดาให้ความรักความอบอุ่นกับ
นักเรียน
2. บิดามารดาเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับ
นักเรียน
3. บิดามารดายกย่อง ชมเชย เมื่อนักเรียน
ทำความดี
4. บิดามารดาให้นักเรียนมีส่วนร่วม
ในการกำหนดกฎเกณฑ์ภายในบ้าน
5. บิดามารดายกบุคคลที่มีระเบียบวินัยดี
มาให้นักเรียนดูเป็นตัวอย่าง
ด้านสภาพแวดล้อมทางโรงเรียน
6. ครูประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่
นักเรียน
7. โรงเรียนจัดโครงการพบครอบครัว
นักเรียนอย่างน้อยเทอมละ 2 ครั้ง เพื่อ
อภิปรายเกี่ยวกับปัญหาพฤติกรรม
ต่างๆ ที่เกิดจากการขาดวินัยในตนเอง
ของนักเรียนและหาทางแก้ไขร่วมกัน
8. ครูสอดแทรกแนวคิด หรือค่านิยม
เกี่ยวกับความมีวินัยในตนเองไว้ทุกครั้ง
ที่สอนในรายวิชาต่างๆ
109
แนวทางการพฒั นาพฤติกรรมเชงิ ระดับความต้องการ
จริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเอง มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด
9. โรงเรียนจัดสภาพแวดล้อมภายใน
โรงเรียนให้น่าอยู่ สะอาด ร่มรื่น มีสิ่ง
อำนวยความสะดวกเพียงพอ มีลาน
กีฬาหรือลานเอนกประสงค์เพื่อทำ
กิจกรรมต่างๆ
10. โรงเรียนจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร
เพื่อส่งเสริมความมีระเบียบวินัยอย่าง
ต่อเนื่อง และสนับสนุนกิจกรรมของ
ชมรมต่างๆ
ด้านสภาพแวดล้อมทางสังคม
11. สื่อมวลชนเสนอข่าวที่ยกย่องส่งเสริม
คนดี มีคุณธรรม
12. สื่อมวลชนเสนอข่าวที่ส่งเสริมความ
มีระเบียบวินัย เช่น การแยกทิ้งขยะ
การเข้าคิวอย่างเป็นระบบ เป็นต้น
13. สื่อมวลชนเสนอข่าวเกี่ยวกับ
ประโยชน์ในการปฏิบัติตามกฎ
ระเบียบของสังคม และโทษของการ
ฝ่าฝืน
14. สื่อมวลชนเสนอข่าวเกี่ยวกับกิจกรรม
ทางศาสนาเพื่อพัฒนาจิตใจ
15. สื่อมวลชนเสนอข่าวเกี่ยวกับ
ครอบครัวหรือโรงเรียนตัวอย่างที่
ส่งเสริมความมีระเบียบวินัย
ขอขอบคุณนักเรียนทุกคนที่กรุณาตอบแบบสอบถามเป็นอย่างดี
120
ประวัติผู้วิจัย
ชื่อ-สกุล นายโวหาร ยะสารวรรณ
วัน เดือน ปีเกิด 14 เมษายน พ.ศ. 2517
ที่อยู่ปัจจุบัน 2103 หมู่ 7 ซอยธัญญารมย์ ถนนเทพารักษ์ ตำบลเทพารักษ์
อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ 10270
ประวัติการศึกษา
พ.ศ. 2535-2538 ปริญญาตรีศิลปศาสตรบัณฑิต สาขา สื่อสารมวลชน
มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ประวัติการทำงาน
พ.ศ. 2541 - 2544 นักวิชาการศึกษา
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. 2545 เจ้าหน้าที่ ป.ป.ช. 3
ศูนย์อำนวยการและประสานงานเครือข่ายป้องกันการทุจริตแห่งชาติ
สำนักงาน ป.ป.ช.
พ.ศ. 2545 - 2546 นักวิชาการประกันสังคม 3
สำนักงานประกันสังคมจังหวัดสมุทรปราการ
สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน
พ.ศ. 2546 - ปัจจุบัน นักพัฒนาชุมชน 3
องค์การบริหารส่วนตำบลบางด้วน
อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ

ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสภาพแวดล้อมกับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ตอนที่ 1)
ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสภาพแวดล้อมกับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ตอนที่ 2)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น