วันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2554

ความต้องการและแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานของโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา (ตอนที่ 2)



สรุป การบริหารงานแบบมีส่วนร่วมบุคลากรสำคัญที่จะเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมงานหรือ
ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการบริหารงานมากหรือน้อยคือผู้บริหาร ส่วนระดับของการมี
ส่วนร่วมจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบของผู้ร่วมงานและความสามารถใน
การวิเคราะห์สถานการณ์ของผู้บริหารนั่นเองไม่ว่าจะใช้ระบบการบริหารแบบใดก็ตาม
32
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 กับการมีส่วนร่วม
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้ให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วม
ของสังคมในการจัดการศึกษา โดยให้ครอบครัว ชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถานประกอบการและสถาบันสังคมอื่น ๆ ได้เข้ามามีส่วนร่วมใน
การจัดการศึกษา โดยได้กล่าวถึง เรื่องการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของชุมชนไว้ดังนี้
หมวด 1 มาตรา 8 (2) การจัดการศึกษาให้ยึดหลักให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัด
การศึกษา
มาตรา 9 การจัดระบบ โครงสร้างและกระบวนการจัดการศึกษาให้ยึดหลักดังนี้
(2) มีการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น
(5) ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่างๆ มาใช้ในการจัดการศึกษา และ
(1) การมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการและ
สถาบันสังคมอื่นๆ
หมวด 4 มาตรา 24 (6) จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่มีการประสาน
ความร่วมมือกับบิดามารดา ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียน
ตามศักยภาพ
มาตรา 29 ให้สถานศึกษาร่วมกับบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบ
การและสถาบันสังคมอื่น ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนโดยจัดกระบวนการเรียนรู้ภายใน
ชุมชนเพื่อให้ชุมชนมีการจัดการศึกษาอบรม มีการแสวงหาความรู้ ข้อมูลข่าวสารและรู้จัก
เลือกสรรภูมิปัญญาและวิทยากรต่างๆ เพื่อพัฒนาชุมชนให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา และ
ความต้องการ รวมทั้งหาวิธีการสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การพัฒนาระหว่าง
ชุมชน
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
งานวิจัยภายในประเทศ
ศริยา สุขพานิช (2532 : 131 - 135) ได้ทำการศึกษาเรื่อง ความคิดเห็นของ
ผู้ปกครองต่อโรงเรียนและการศึกษาของบุตรในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา
33
ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม พบว่า ความคิดเห็นของผู้ปกครองต่อโรงเรียนและการ
ศึกษาของบุตรในด้านการปกครองนักเรียน ด้านการเรียนการสอน และด้านการบริการของ
โรงเรียนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และการศึกษาของบุตรมีความ
สัมพันธ์กับอาชีพและระดับการศึกษาของผู้ปกครองนักเรียน โดยผู้ปกครองที่มีอาชีพรับราชการ
จะมีความคิดเห็นหรือเห็นด้วยอย่างมากหรือเอาใจใส่ดูแลห่วงใยการดำเนินงานของโรงเรียนมาก
กว่าผู้ปกครองที่มีอาชีพเอกชนและอาชีพอิสระ
พิมพา ตามี่ (2540 : บทคัดย่อ) ได้ทำการศึกษาเรื่อง ความต้องการของผู้ปกครอง
ในการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของโรงเรียนประถมศึกษา อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า
1. ผู้ปกครองต้องการให้โรงเรียนวางแผนปรับปรุงเกี่ยวกับการจัดการเรียน
การสอน การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ปกครอง การปรับปรุงอาคารเรียน การเอาใจใส่ของ
ครูและอาจารย์ใหญ่ วัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอน การจัดกิจกรรมศึกษา การจัดสภาพ-
แวดล้อมและต้องการมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นต่อการดำเนินงาน ร่วมเป็นคณะกรรมการ
โรงเรียน ร่วมกำหนดนโยบายและวางแผนการปฏิบัติงานประจำปีของโรงเรียนและร่วมประเมินผล
การทำงานของโรงเรียน
2. ผู้ปกครองต้องการร่วมเป็นวิทยากรพิเศษสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์การสอน
แหล่งความรู้ สถานประกอบการ กิจกรรมแข่งขันทางวิชาการและต้องการเยี่ยมชมการแสดง
ผลงานของนักเรียน ต้องการทราบความก้าวหน้าของนักเรียน ต้องการให้ครูแนะนำ การสอน
การบ้าน การสอนอ่าน การสอนเขียน การสอนเลขคณิต และชี้แจงเกี่ยวกับการวัดผล
ประเมินผลให้ผู้ปกครองเข้าใจ
3. ผู้ปกครองต้องการให้โรงเรียนปรับปรุงห้องน้ำ ก๊อกน้ำ การกำจัดขยะ การ
ปลูกไม้ดอกไม้ประดับ ปรับปรุงสนามศึกษา สนามเด็กเล่นและถนนในโรงเรียน โดยผู้ปกครอง
ต้องการมีส่วนร่วมสนับสนุนด้านแรงงาน แสดงความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะประสานงานให้
ผู้อื่นมาช่วย ร่วมบริจาคเงินและบริจาควัสดุ
4. ผู้ปกครองต้องการให้ครูเยี่ยมบ้านนักเรียนและติดต่อกับครูโดยตรง ต้องการ
ร่วมประชุม ปรึกษาหารือเกี่ยวกับความประพฤติของนักเรียน การปรับปรุง ระเบียบข้อปฏิบัติ
ของโรงเรียน การลงโทษและการยกย่องนักเรียน
5. ผู้ปกครองต้องการมีส่วนร่วมในกิจกรรมเกี่ยวกับอาหารกลางวัน งานประเพณี
กิจกรรมกีฬา การดูแลสุขภาพอนามัยของนักเรียนและต้องการได้รับบริการเกี่ยวกับการพัฒนา
ชุมชน การจัดกิจกรรมสร้างความสามัคคี การจัดการศึกษาผู้ใหญ่ การฝึกอบรมวิชาชีพ การ
ใช้วัสดุอุปกรณ์ อาคารสถานที่ บริการด้านสุขภาพอนามัยและข่าวสารความรู้
34
วรรณวิไล วรวิกโฆษิต (2540 : บทคัดย่อ) ได้ทำการศึกษาเรื่อง การมีส่วนร่วม
ของกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในการจัดกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียนใน
ภาคกลาง พบว่า กรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม
การศึกษานอกโรงเรียนโดยรวมและรายกิจกรรมอยู่ในระดับปานกลาง การเปรียบเทียบการมี
ส่วนร่วมของกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลกับอายุ รายได้ ระยะเวลาที่อยู่อาศัยใน
ท้องถิ่น และระดับการศึกษา พบว่า กรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลที่มีอายุ รายได้
ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในท้องถิ่น และระดับการศึกษา ที่มาของการดำรงตำแน่งและอาชีพ
แตกต่างกัน มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียนโดยรวมแตกต่างกันอย่างไม่มี
นัยสำคัญทางสถิติ
เมตต์ เมตต์การุณ์จิต (2541 : 87 - 88) ได้ทำการศึกษาเรื่อง การมีส่วนร่วมใน
การบริหารโรงเรียนของกรรมการศึกษาประจำโรงเรียนเทศบาลในจังหวัดนครราชสีมา พบว่า
กรรมการมีส่วนร่วมมากที่สุด คือ ด้านการวางแผน ได้แก่ การร่วมกำหนดความต้องการใน
การพัฒนาโรงเรียน ด้านการจัดหาและจัดสรรทรัพยากร ได้แก่ การจัดหาเงิน และจัดหา
กำลังคน / แรงงานให้โรงเรียน ด้านการประสานงาน ได้แก่ การประสานงานกับคนใน ท้องถิ่น
และหนว่ ยงานของราชการ ด้านการประเมินแผน / การปฏบิ ตั ิ ได้แก ่ การร่วมประชาสัมพันธ์ให้
ประชาชนทราบเมื่อผลการปฏิบัติงานเสร็จสิ้น
ธีรภัทร์ เจริญดี (2542 : 46 - 50) ได้ทำการศึกษา เรื่อง “การศึกษาการมีส่วนร่วม
ของผู้ปกครองโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ เขตการศึกษา
11” โดยมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการปฏิบัติและความคาดหวังของผู้ปกครองเกี่ยวกับการมี
ส่วนร่วมของผู้ปกครองในโรงรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษา
แห่งชาติ เขตการศึกษา 11 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน 100 คน
ผู้ปกครองนักเรียน 300 คน ในการวิจัยเรื่องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในโรงเรียน
ประถมศึกษา ประกอบด้วย 4 ด้าน 1) ด้านงานวิชาการของโรงเรียน 2) ด้านการบริหารของ
โรงเรียน 3) ด้านการพัฒนานักเรียน 4) ด้านการติดต่อสื่อสาร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ
แบบสอบถามผู้ปกครอง แบบสอบถามผู้บริหารโรงเรียน และแบบสัมภาษณ์ผู้ปกครองนักเรียน
ผลการวิจัย พบว่า 1) ด้านงานวิชาการของโรงเรียน ผู้ปกครองมีการปฏิบัติในการมีส่วนร่วมใน
โรงเรียนในระดับปานกลางและมีความคาดหวังที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในโรงเรียนในระดับมาก
2)ด้านการบริหารของโรงเรียน ผู้ปกครองมีการปฏิบัติในการมีส่วนร่วมในโรงเรียนในระดับ
ปานกลางและมีความคาดหวังที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในโรงเรียนในระดับมาก 3) ด้านการพัฒนา
นักเรียน ปกครองมีการปฏิบัติในการมีส่วนร่วมในโรงเรียนระดับปานกลางและมีความคาดหวังที่
จะเข้าไปมีส่วนร่วมในโรงเรียนในระดับมาก 4)ด้านการติดต่อสื่อสาร ผู้ปกครองมีการปฏิบัติใน
35
การมีส่วนร่วมในโรงเรียนระดับปานกลางและมีความคาดหวังที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในโรงเรียนใน
ระดับมาก
ศิริกาญจน์ โกสุมภ์ (2542 : 61 - 70) ได้ทำการศึกษาเรื่อง การมีส่วนร่วมของชุม
ชนและโรงเรียนเพื่อการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดที่เป็นสิ่งกำหนด
กระบวนการและแบบแผนของการมีส่วนร่วมของชุมชนและโรงเรียนในการจัดการศึกษาขั้น
พื้นฐาน ได้แก่ เงื่อนไขทางด้านบริบทของ ชุมชน เงื่อนไขด้านสภาพแวดล้อมของชุมชนและ
เงื่อนไขทางด้านโรงเรียน ที่สำคัญ คือ การกำหนดความหมายของการมีส่วนร่วมของชุมชนและ
โรงเรียนตรงกันระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาในชุมชน ซึ่งได้แก่ ผู้นำชุมชน
ผู้บริหาร โรงเรียน และคณะกรรมการบริหารโรงเรียน คณะครูและผู้ปกครองนักเรียน
ชูชาติ พ่วงสมจิตร์ (2540 : 51 - 60) ทำการศึกษา เรื่อง การวิเคราะห์ปัจจัยที่
ส่งเสริมและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนกับโรงเรียนประถมศึกษาโดยวิธี
การวิจัยเชิงคุณภาพกรณีศึกษาจากโรงเรียนประถมศึกษาและชุมชนที่แวดล้อมโรงเรียนใน
เขตปริมณฑล กรุงเทพมหานคร จำนวน 2 แห่ง พบว่า ปัจจัยที่ส่งเสริมให้ชุมชนเข้ามามีส่วน
ร่วมกับโรงเรียนประกอบด้วย 3 กลุ่ม ปัจจัย คือ กลุ่มปัจจัยเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ประกอบ
ด้วยเศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง สังคม วัฒนธรรม กลุ่มปัจจัยเกี่ยวกับชุมชน ประกอบ
ด้วย ความศรัทธา ความรู้สึกเป็นเจ้าของ ความเกี่ยวข้องผูกพันกับโรงเรียน สถานภาพ ความ
คาดหวัง ลักษณะนิสัยพื้นฐาน ผู้นำชุมชน ความพร้อมของคนในชุมชน เป็นต้น กลุ่มปัจจัย
เกี่ยวกับโรงเรียน ประกอบด้วยบุคลากรของโรงเรียน วิธีปฏิบัติงานของโรงเรียน ผลการปฏิบัติ
งานของโรงเรียนและปัจจัยอื่น ๆ เช่น ประวัติความเป็นมาของโรงเรียน เป็นต้น
สัมพันธ์ อุปลา (2541 : 32 - 51) ทำการศึกษา เรื่อง การมีส่วนร่วมของชุมชนใน
การจัดการศึกษาโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษา อำเภอชนบท จังหวัด
ขอนแก่น ในส่วนของชุมชนโดยตรง พบว่า ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาอยู่ในระดับ
ปานกลาง โดยมีส่วนร่วมในกิจการนักเรียนมากกว่าด้านอื่น ๆ ปัญหาที่สำคัญ คือ ชุมชนเข้าใจ
ว่าภารกิจการจัดการศึกษา เป็นหน้าที่ของ โรงเรียนเท่านั้น ข้อเสนอแนะที่สำคัญ คือ บุคลากร
ในโรงเรียนควรมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน และชุมชนควรมีส่วนร่วมรับรู้การตัดสินใจ กำหนด
นโยบายโรงเรียนและการมีส่วนร่วมของ คณะกรรมการโรงเรียน พบว่า อยู่ในระดับมาก โดยมี
ส่วนร่วมในเรื่องให้ความเห็นชอบต่อแผนปฏิบัติการประจำปีของโรงเรียนมากกว่าด้านอื่นๆ
ปัญหาที่สำคัญ คือ เมื่อมีการประชุมคณะกรรมการ โรงเรียนมักไม่แสดงความคิดเห็นส่วนใหญ่
จะคล้อยตามประธานในที่ประชุม ข้อเสนอแนะที่สำคัญ คือ โรงเรียนต้องยอมรับในความ
สามารถในการตัดสินใจของคณะกรรมการโรงเรียนให้มากขึ้น
36
งานวิจัยต่างประเทศ
ไวท์ (White. 1986 : 2886 - A) ได้ศึกษาการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของครู
โรงเรียนมัธยมศึกษา และความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ลักษณะผู้นำของอาจารย์ใหญ่กับ
ประสิทธิผลในการทำงาน ผลการวิจัยพบว่า ครูมีส่วนร่วมในการตัดสินใจด้านหลักสูตรการเรียน
การสอน แต่ขาดการมีส่วนร่วมทางด้านการบริหาร ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะผู้นำของ
อาจารย์ใหญ่กับประสิทธิผลของการทำงานเป็นไปในเชิงบวก แต่ไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างระดับ
การมีส่วนร่วมของครูกับลักษณะการมุ่งงานของอาจารย์ใหญ่
วิทเทคเคอร์ (Whitaker 1987 : 66 - 67) ได้ศึกษาทัศนะของผู้ปกครองและผู้บริหาร
ที่มีต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนของโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในเมือง เกี่ยวกับการวินิจฉัย สั่งการ
หรือการตัดสินใจด้านการศึกษา พบว่า ผู้ปกครองไม่มีความสะดวกในการรับข้อมูล หรือประกาศ
เกี่ยวกับโรงเรียนเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการมีส่วนร่วมในเรื่องนโยบายการตัดสินใจทาง
การศึกษา ส่วนผู้บริหารเห็นว่าผู้ปกครองมีบทบาทสำคัญต่อโรงเรียนในการมีส่วนร่วมในการ
ปรับปรุงโรงเรียน และบุคลากรในโรงเรียนควรตระหนักและจัดโครงการให้ชุมชนได้เข้ามามี
ส่วนร่วม
ซาโพสกา (Shaposka 1997 : 101 - 120) ได้ทำการศึกษาเรื่อง การมีส่วนร่วมใน
ชุมชน สถานภาพทางเศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิตในโรงเรียน กรณีศึกษาในกลุ่มโรงเรียนในส่วน
การศึกษาโมนแวลลี่ โดยศึกษาชุมชนที่มีโรงเรียน 4 ชุมชน อันมีลักษณะพิเศษ ต่อไปนี้
1. ชุมชนที่มีสภาพทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับดี และมีความร่วมมือจากชุมชนสูง
2. ชุมชนที่มีสภาพทางเศรษฐกิจสูงแต่ความร่วมมือจากชุมชนต่ำ
3. สภาพทางเศรษฐกิจต่ำแต่ความร่วมมือทางสังคมสูง
4. สภาพทางเศรษฐกิจและความร่วมมมือทางสังคมต่ำ
ผลการศึกษา พบว่า โครงสร้างทางครอบครัว สถานะทางเศรษฐกิจและเชื้อชาติอาจ
จะสะท้อนให้เห็นถึงระดับความร่วมมือของชุมชนที่มีให้โรงเรียน โดยมีลักษณะที่เด่นชัด คือ
กลุ่มโรงเรียนที่มีคุณภาพชีวิตในโรงเรียนสูงจะมีความร่วมมือต่อชุมชนน้อยแต่กลุ่มโรงเรียนที่มี
คุณภาพชีวิตในโรงเรียนต่ำ จะมีความร่วมมือต่อชุมชนสูง ลักษณะดังกล่าว คือ
1. ความสัมพันธ์ในทางบวกกับชุมชน
2. มีความร่วมมือกับเอกชนภาคเอกชนที่มีอิทธิพลต่อบรรยากาศและคุณภาพ
ทางการศึกษาของโรงเรียน รวมทั้งจัดหาบุคลากรและงบประมาณให้กลุ่มโรงเรียนด้วย
3. มีความกระตือรือร้นในการเรียนการสอน
4. มีคณะกรรมการโรงเรียนที่มีความคล่องแคล่วฉับไว
37
ดูมัส (Dumas 1991 : Abstract) ได้ศึกษาแนวการสอนภาษาแบบธรรมชาติกับ
การทำงานร่วมกัน การติดต่อสื่อสารและความร่วมมือระหว่างครูกับผู้ปกครอง สรุปได้ว่า ถึงแม้
ว่าระดับการติดต่อสื่อสารกับผู้ปกครอง และระดับการปฏิบัติของผู้ปกครองจะช่วยให้เด็กมีความ
สามารถในการอ่านที่เพิ่มขึ้น แต่การให้ความรู้ผู้ปกครองก็เป็นสิ่งที่ช่วยให้หลักสูตรการเรียน
การสอนประสบผลสำเร็จได้
สรุป จากการศึกษางานที่วิจัยที่เกี่ยวข้อง ดังกล่าวมาข้างต้น จะเห็นว่าผู้ปกครองนั้น
มีบทบาทที่สำคัญในการให้ความร่วมมือ สนับสนุนการจัดการศึกษาของโรงเรียนรวมทั้งเป็น
สื่อกลางในการประสานความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับชุมชนทำให้การบริหารจัดการของ
โรงเรียนเกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ส่งผลต่อคุณภาพของนักเรียนโดยตรง ซึ่งงานวิจัยส่วนใหญ่ที่
ผ่านมามุ่งศึกษาความคิดเห็นต่อการดำเนินงานของโรงเรียน นอกจากนั้นก็เป็นการศึกษา
ความต้องการของผู้ปกครองและชุมชนในการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมของโรงเรียน ซึ่งจะ
เน้นไปที่กิจกรรมย่อยๆ เช่น การร่วมเป็นวิทยากรพิเศษ การปรับปรุงสภาพแวดล้อม
การร่วมประชุม การจัดกิจกรรมสร้างความสามัคคี เป็นต้น ผู้วิจัยเห็นว่าน่าจะมีการศึกษาถึง
ความต้องการและแนวทางในการมีส่วนร่วมในการบริหารงานโรงเรียนโดยศึกษาให้ครอบคลุม
กับขอบข่ายของการบริหารงานโรงเรียนเพื่อให้ได้ข้อมูลที่จะเป็นแนวทางในการบริหารจัดการ
ศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะทำการศึกษาความต้องการและ
แนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารโรงเรียนอัสัมชัญศึกษาในครั้งนี้ โดยศึกษาถึง
ความต้องการและแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานโรงเรียน 5 ด้าน
ได้แก่ ด้านวิชาการ ด้านบุคลากร ด้านกิจการนักเรียน ด้านสภาพแวดล้อมและบรรยากาศ
โรงเรียน และด้านความสัมพันธ์กับชุมชน
บทที่ 3
วิธีดำเนินการวิจัย
ผู้วิจัยดำเนินการวิจัยตามลำดับ ดังต่อไปนี้
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
2. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
3. ขั้นตอนในการสร้างเครื่องมือ
4. การเก็บรวบรวมข้อมูล
5. การจัดกระทำข้อมูล
6. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1. ประชากร ที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 1 - ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา ปีการ-
ศึกษา 2545 จำนวน 1,965 คน
2. กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นประถมปีที่ 1 - ชั้นมัธยมศึกษาปี
ที่ 3 ที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา ปีการศึกษา 2545 จำนวน 334 คน ได้มาจาก
การกำหนดขนาดตัวอย่างตามตารางสำเร็จรูปของเครจซี และมอร์แกน (Krejcie and Morgan,
1970 : 607 - 610) และดำเนินการสุ่มตัวอย่างโดยวิธีสุ่มแบบแบ่งชั้น เพื่อให้ครอบคลุมจำนวน
กลุ่มอย่างในแต่ละระดับชั้น จึงดำเนินการสุ่มตามสัดส่วนของประชากร โดยใช้ระดับชั้นเรียนเป็น
ระดับชั้น ในการสุ่ม รายละเอียดในการสมุ่ ตัวอยา่ ง ดังตารางท ี่ 1
ตารางที่ 1 แสดงจำนวนประชากรและจำนวนกลุ่มตัวอย่าง
ระดับชั้นของนักเรียน ประชากร (คน) กลุ่มตัวอย่าง (คน)
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 236 40
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 245 42
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 229 39
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 238 40
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 247 42
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 245 42
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 205 35
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 170 29
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 150 25
รวม 1,965 334
39
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เพื่อสอบถามความ
ต้องการเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานโรงเรียน แบ่งแบบสอบถามออก
เป็น 3 ตอนคือ
ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามแบบเลือกตอบเกี่ยวกับสถานภาพทั่วไปของผู้ตอบ
แบบสอบถาม
ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองใน
การบริหารงานของโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา 5 ด้าน ได้แก่ ด้านวิชาการ ด้านบุคลากร
ด้านกิจการนักเรียน ด้านสภาพแวดล้อมและบรรยากาศโรงเรียน และด้านความสัมพันธ์กับ
ชุมชน แบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบมาตรประมาณค่า จำนวน 30 ข้อ โดยมีเกณฑ์ในการให้
คะแนน ดังนี้
5 หมายถึง ต้องการมีส่วนร่วมมากที่สุด
4 หมายถึง ต้องการมีส่วนร่วมมาก
3 หมายถึง ต้องการมีส่วนร่วมปานกลาง
2 หมายถึง ต้องการมีส่วนร่วมน้อย
1 หมายถึง ต้องการมีส่วนร่วมน้อยที่สุด
เกณฑ์การแปลความหมายของคะแนน คือ (ประคอง กรรณสูตร , 2542 :204)
1.00 – 1.49 หมายถึง ต้องการมีส่วนร่วมน้อยที่สุด
1.50 – 2.49 หมายถึง ต้องการมีส่วนร่วมน้อย
2.50 – 3.49 หมายถึง ต้องการมีส่วนร่วมปานกลาง
3.50 – 4.49 หมายถึง ต้องการมีส่วนร่วมมาก
4.50 – 5.00 หมายถึง ต้องการมีส่วนร่วมมากที่สุด
ตอนที่ 3 เป็นแบบสอบแบบเลือกตอบเกี่ยวกับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่นๆ
ของผู้ปกครองเกี่ยวกับแนวทางในการมีส่วนร่วมในการบริหารงานโรงเรียน
การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ในการสร้างและพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้
1. ศึกษาทฤษฎี และทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวกับความต้องการมีส่วนร่วมในการ
บริหารงานโรงเรียนจากเอกสารทางวิชาการต่างๆ
40
2. กำหนดกรอบความคิดเกี่ยวกับความต้องมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหาร
งานโรงเรียน
3. สร้างแบบสอบถามความต้องการและแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองใน
การบริหารงานโรงเรียน โดยกำหนดสิ่งที่เป็นองค์ประกอบในด้านต่างๆ ที่ผู้ปกครองต้องการมี
ส่วนร่วม
4. นำแบบสอบถามที่ได้ไปปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน
เพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหารวมทั้งให้คำแนะนำต่างๆ และนำมาปรับปรุงเพื่อให้
แบบสอบถามมีความชัดเจน ถูกต้อง สมบูรณ์ และตรงตามวัตถุประสงค์มากที่สุด (รายชื่อ
ผู้เชี่ยวชาญในภาคผนวก ข)
5. นำแบบสอบถามไปทดลองใช้กับกลุ่มผู้ปกครองของนักเรียนในโรงเรียนที่ไม่ใช่
กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 ราย จากนั้นนำแบบสอบถามมาหาคุณภาพของเครื่องมือด้านความ
เชื่อมั่น โดยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟา ผลการหาคุณภาพของเครื่องมือ แสดงรายละเอียดดังตาราง
ที่ 2
ตารางที่ 2 แสดงคุณภาพของเครื่องมือ จำแนกเป็นภาพรวมและรายได้
ความต้องการมีส่วนร่วม คุณภาพของเครื่องมือ
ด้านวิชาการ 0.8727
ด้านบุคลากร 0.9216
ด้านกิจการนักเรียน 0.8889
ด้านสภาพแวดล้อมและบรรยากาศของโรงเรียน 0.8971
ด้านความสัมพันธ์กับชุมชน 0.8608
รวมทั้งฉบับ 0.9653
การเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ ได้กำหนดเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการขอความ
ร่วมมือจากผู้ปกครองของนักเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา โดยใช้แบบสอบถามส่งให้ผู้ปกครอง
ใช้ระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลภายใน 2 สัปดาห์ และได้รับแบบสอบถามกลับคืน จำนวน
334 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100.00 จากนั้น ผู้วิจัยได้นำแบบสอบถามมาตรวจสอบความสมบูรณ์
ก่อนนำข้อมูลไปวิเคราะห์ตามขั้นตอนทางสถิติต่อไป
41
การวิเคราะห์ข้อมูล
เมื่อได้รับแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างแล้ว ผู้วิจัยได้ทำการตรวจสอบความถูกต้อง
สมบูรณ์ของข้อมูลทั้งหมด สร้างคู่มือลงรหัสและนำข้อมูลมาลงรหัส จากนั้นนำข้อมูลที่ลงรหัส
เรียบร้อยแล้วไปบันทึกในแผ่นข้อมูล แล้วนำไปวิเคราะห์ประมวลผลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS
(Statistical Package for the Social Sciences) สำหรับงานวิจัยทางสังคมศาสตร์
ผู้วิจัยทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยแบ่งเป็นตอนดังนี้
ตอนที่ 1 วิเคราะห์ข้อมูลสถานภาพทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง ใช้สถิติร้อยละ
ตอนที่ 2 วิเคราะห์ความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงาน
โรงเรียนใช้สถิติค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ตอนที่ 3 เปรียบเทียบความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงาน
โรงเรียนใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way
ANOVA) ถ้าพบความแตกต่าง ดำเนินการทดสอบรายคู่โดยวิธีของ
เชฟเฟ่
ตอนที่ 4 วิเคราะห์แนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงาน
โรงเรียนใช้สถิติค่าความถี่และร้อยละ
บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ในบทนี้เป็นการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งผู้วิจัยนำเสนอผลการวิเคราะห์
ข้อมูลทั้งหมด จำนวน 4 ตอนคือ
ตอนที่ 1 สถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
ตอนที่ 2 ความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานโรงเรียน
ตอนที่ 3 การเปรียบเทียบความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการ
บริหารงานโรงเรียน
ตอนที่ 4 แนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานโรงเรียน
ตอนที่ 1 สถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
ผลการวิเคราะห์สถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ประกอบด้วยตัวแปร
เพศ อายุ วุฒิการศึกษาสูงสุดหรือเทียบเท่า อาชีพ รายได้ต่อเดือน และผู้ปกครองในแต่ละ
ระดับชั้น รายละเอียดดังตารางที่ 3
ตารางที่ 3 จำนวนและร้อยละของสถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
สถานภาพทั่วไป จำนวน ร้อยละ
ชาย 120 35.90
เพศ หญิง 214 64.10
รวม 334 100.00
ต่ำกว่า 30 ปี 9 2.70
30 – 39 ปี 110 32.90
40 – 49 ปี 175 52.40
50 – 59 ปี 37 11.10
60 ปีขึ้นไป 2 0.60
ไม่ระบุ 1 0.30
อายุ
รวม 334 100.00
43
ตารางที่ 3 (ต่อ)
สถานภาพทั่วไป จำนวน ร้อยละ
ต่ำกว่าปริญญาตรี 180 53.90
ปริญญาตรี 132 39.50
ปริญญาโท 15 4.50
ปริญญาเอก 5 1.50
ไม่ระบุ 2 0.60
วุฒิการศึกษาสูงสุด
รวม 334 100.00
รับราชการ 16 4.80
พนักงานบริษัท / รัฐวิสาหกิจ 63 18.90
รับจ้าง 65 19.50
ประกอบธุรกิจส่วนตัว 142 42.50
อื่นๆ 47 14.10
ไม่ระบุ 1 0.30
อาชีพ
รวม 334 100.00
ต่ำกว่า 5,000 บาท 7 2.10
5,000 – 10,000 บาท 47 14.10
10,001 – 20,000 บาท 76 22.80
มากกว่า 20,000 บาท 200 59.90
ไม่ระบุ 4 1.20
รายได้ต่อเดือน
รวม 334 100.00
ประถมศึกษาตอนต้น 157 47.00
ประถมศึกษาตอนปลาย 100 29.90
มัธยมศึกษาตอนต้น 76 22.80
ไม่ระบุ 1 0.30
ผู้ปกครองนักเรียน
รวม 334 100.00
จากตารางที่ 3 พบว่า ผู้ปกครองที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ
64.10 อายุอยู่ระหว่าง 40-49 ปี ร้อยละ 52.40 วุฒิการศึกษาสูงสุดอยู่ในระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 39.50 ผู้ปกครองประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 42.50 รายได้ต่อเดือนมากกว่า
20,000 บาท ร้อยละ 59.90 และส่วนใหญ่เป็นผู้ปกครองของนักเรียนในระดับประถมศึกษา
ตอนต้น ร้อยละ 47.00
44
ตอนที่ 2 ความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานโรงเรียน
ผลการวิเคราะห์ความต้องการของผู้ปกครองในการบริหารโรงเรียน โดย
ภาพรวม และเป็นรายด้าน ซึ่งประกอบด้วย ด้านวิชาการ ด้านบุคลากร ด้านกิจการนักเรียน
ด้านสภาพแวดล้อมและบรรยากาศโรงเรียน และด้านความสัมพันธ์กับชุมชน รายละเอียด
ดังตารางที่ 4 - 9
ตารางที่ 4 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความต้องการมีส่วนร่วมของ
ผู้ปกครองในการบริหารโรงเรียน จำแนกตามรายด้านและภาพรวม
ความต้องการในการมีส่วนร่วม ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน
ระดับความ
ต้องการ
1.ด้านวิชาการ 2.92 0.89 ปานกลาง
2.ด้านบุคลากร 2.87 1.01 ปานกลาง
3.ด้านกิจการนักเรียน 3.55 0.97 มาก
4.ด้านสภาพแวดล้อมและบรรยากาศของโรงเรียน 3.05 0.92 ปานกลาง
5.ด้านความสัมพันธ์กับชุมชน 3.23 0.95 ปานกลาง
รวมทุกด้าน 3.12 0.98 ปานกลาง
จากตารางที่ 4 เมื่อพิจารณาความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหาร
โรงเรียนในภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง (X= 3.12)
เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ความต้องมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหาร
โรงเรียน อยู่ในระดับมาก 1 ด้าน ได้แก่ ด้านกิจการนักเรียน (X= 3.55) อยู่ในระดับปานกลาง
4 ด้าน ได้แก่ ด้านความสัมพันธ์กับชุมชน (X= 3.23) ด้านสภาพแวดล้อมและบรรยากาศของ
โรงเรียน (X= 3.05) ด้านวิชาการ (X= 2.91) และด้านบุคลากร (X= 2.87) ตามลำดับ
45
ตารางที่ 5 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความต้องการมีส่วนร่วมของ
ผู้ปกครองในการบริหารโรงเรียน ด้านวิชาการ
ความต้องการในการมีส่วนร่วม ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน
ระดับความ
ต้องการ
1.มีส่วนร่วมประชุมปรึกษา และเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับ
การปรับปรุงหลักสูตร
3.11 0.85 ปานกลาง
2.มีส่วนร่วมเป็นวิทยากรเพื่อให้ความรู้แก่นักเรียน 2.65 0.98 ปานกลาง
3.มีส่วนร่วมกำหนดแผนการปฏิบัติงานของโรงเรียน 2.86 0.90 ปานกลาง
4.มีส่วนร่วมให้ความช่วยเหลือในด้านการจัดหาเงินทุนเพื่อนำ
ไปจัดซื้ออุปกรณ์ทางการศึกษา
2.85 0.81 ปานกลาง
5.มีส่วนร่วมให้ความร่วมมือในการผลิตสื่อการเรียนการสอน 2.86 0.86 ปานกลาง
6.มีส่วนร่วมในกิจกรรมศูนย์การเรียนที่โรงเรียนจัดขึ้น 3.18 0.83 ปานกลาง
รวม 2.92 0.89 ปานกลาง
จากตารางที่ 5 เมื่อพิจารณาภาพรวมของความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองใน
การบริหารโรงเรียนด้านวิชาการ พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง (X= 2.92)
เมื่อพิจารณาในแต่ละข้อรายการ พบว่า ความต้องมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการ
บริหารโรงเรียน อยู่ในระดับปานกลางทุกข้อรายการ ได้แก่ มีส่วนร่วมในกิจการศูนย์ การเรียนที่
โรงเรียนจัดขึ้น (X= 3.18) มีส่วนร่วมประชุมปรึกษาและเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการปรับปรุง
หลักสูตร (X= 3.11) มีส่วนร่วมให้ความร่วมมือในการผลิตสื่อการเรียนการสอน (X= 2.86) มี
ส่วนร่วมกำหนดแผนการปฏิบัติงานขอโรงเรียน (X= 2.86) มีส่วนร่วมให้ความช่วยเหลือในด้าน
การจัดหาเงินทุนเพื่อนำไปซื้ออุปกรณ์ทางการศึกษา (X= 2.85) และมีส่วนร่วมเป็นวิทยากรเพื่อ
ให้ความรู้แก่นักเรียน (X= 2.65) ตามลำดับ
46
ตารางที่ 6 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความต้องการมีส่วนร่วมของ
ผู้ปกครองในการบริหารโรงเรียน ด้านบุคลากร
ความต้องการในการมีส่วนร่วม ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน
ระดับความ
ต้องการ
1.มีส่วนร่วมเป็นคณะกรรมการในการสรรหาบุคลากรของ
โรงเรียน
2.64 1.01 ปานกลาง
2.มีส่วนร่วมในการประเมินผลการทำงานของคณะครูใน
โรงเรียน
3.04 1.03 ปานกลาง
3.มีส่วนร่วมเสนอแนะวิธีพิจารณาความดีความชอบของ
บุคลากรในโรงเรียน
2.89 1.06 ปานกลาง
4.มีส่วนร่วมอบรมสัมมนาเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากรใน
โรงเรียน
2.87 0.95 ปานกลาง
5.มีส่วนร่วมให้ความร่วมมือกับโรงเรียนเพื่อจัดกิจกรรม
ส่งเสริมความสามารถของบุคลากร
2.99 0.99 ปานกลาง
6.มีส่วนร่วมในการจัดหาวิทยากรเพื่อให้การอบรมและเสริม
ความรู้แก่บุคลากรในโรงเรียน
2.80 0.99 ปานกลาง
รวม 2.87 1.01 ปานกลาง
จากตารางที่ 6 เมื่อพิจารณาภาพรวมของความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองใน
การบริหารโรงเรียนด้านบุคลากร พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง (X= 2.87)
เมื่อพิจารณาในแต่ละข้อรายการ พบว่า ความต้องมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการ
บริหารโรงเรียน อยู่ในระดับปานกลางทุกข้อรายการ ได้แก่ มีส่วนร่วมในการประเมินผลการ
ทำงานของคณะครูในโรงเรียน (X= 3.04) มีส่วนร่วมให้ความร่วมมือกับโรงเรียนเพื่อจัด
กิจกรรมส่งเสริมความสามารถของบุคลากร (X= 2.99) มีส่วนร่วมเสนอแนะวิธีพิจารณาความดี
ความชอบของบุคลากรในโรงเรียน (X= 2.89) มีส่วนร่วมอบรมสัมมนาเกี่ยวกับการพัฒนา
บุคลากรในโรงเรียน (X= 2.87) มีส่วนร่วมในการจัดหาวิทยากรเพื่อให้การอบรมและเสริมความ
รู้แก่บุคลากรในโรงเรียน (X= 2.80) และมีส่วนร่วมเป็นคณะกรรมการในการสรรหาบุคลากรของ
โรงเรียน (X= 2.64) ตามลำดับ
47
ตารางที่ 7 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความต้องการมีส่วนร่วมของ
ผู้ปกครองในการบริหารโรงเรียน ด้านกิจการนักเรียน
ความต้องการในการมีส่วนร่วม ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน
ระดับความ
ต้องการ
1.มีส่วนร่วมให้ข้อมูลเกี่ยวกับนักเรียนแก่โรงเรียน เช่น ความ
สนใจ ความรับผิดชอบ ความประพฤติของนักเรียน
3.92 0.83 มาก
2.มีส่วนร่วมให้คำปรึกษาเกี่ยวกับตัวนักเรียน เพื่อส่งเสริม
แก้ไข และพัฒนานักเรียนทั้งด้านการเรียนและความ
ประพฤติ
3.93 0.84 มาก
3.มีส่วนร่วมกิจกรรมการเยี่ยมบ้านของนักเรียน 2.97 0.96 ปานกลาง
4.มีส่วนร่วมให้ความช่วยเหลือนักเรียนไปศึกษาดูงานเพื่อ
เรียนรู้อาชีพของผู้ปกครอง
3.16 0.95 ปานกลาง
5.มีส่วนร่วมในกิจกรรมพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน 3.69 0.90 มาก
6.มีส่วนร่วมในการประชุมระหว่างผู้ปกครอง /ครู เพื่อหา
แนวทางการพัฒนานักเรียน
3.59 0.91 มาก
รวม 3.55 0.97 มาก
จากตารางที่ 7 เมื่อพิจารณาภาพรวมของความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองใน
การบริหารโรงเรียนด้านกิจการนักเรียน พบว่า อยู่ในระดับมาก (X= 3.55)
เมื่อพิจารณาในแต่ละข้อรายการ พบว่า ความต้องมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการ
บริหารโรงเรียน อยู่ในระดับมาก 4 ข้อรายการ ได้แก่ มีส่วนร่วมให้คำปรึกษาเกี่ยวกับตัว
นักเรียน เพื่อส่งเสริมแก้ไข และพัฒนานักเรียนทั้งด้านการเรียนและความประพฤติ (X= 3.93)
มีส่วนร่วมให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรงเรียน เช่น ความสนใจ ความรับผิดชอบ ความประพฤติของ
นักเรียน (X= 3.92) มีส่วนร่วมในกิจกรรมพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน (X= 3.69)
และมีส่วนร่วมในการประชุมระหว่างผู้ปกครอง/ครู เพื่อหาแนวทางการพัฒนานักเรียน
ตามลำดับ อยู่ในระดับปานกลาง 2 ข้อรายการ ได้แก่ มีส่วนร่วมให้ความช่วยเหลือนักเรียนไป
ศึกษาดูงานเพื่อเรียนรู้อาชีพของผู้ปกครอง (X= 3.16) และมีส่วนร่วมกิจกรรมการเยี่ยมบ้าน
ของนักเรียน (X= 2.97) ตามลำดับ
48
ตารางที่ 8 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความต้องการมีส่วนร่วมของ
ผู้ปกครองในการบริหารโรงเรียน ด้านสภาพแวดล้อมและบรรยากาศของ
โรงเรียน
ความต้องการในการมีส่วนร่วม ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน
ระดับความ
ต้องการ
1.มีส่วนร่วมพัฒนาอาคารสถานที่ และสภาพแวดล้อม ให้เอื้อ
อำนวยต่อการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน
3.28 0.94 ปานกลาง
2.มีส่วนร่วมให้ความช่วยเหลือด้านวัสดุอุปกรณ์ ยานพาหนะ
และสาธารณูปโภคของโรงเรียน
3.04 0.86 ปานกลาง
3.มีส่วนร่วมให้ความร่วมมือกับโรงเรียนในการพัฒนาด้านต่าง ๆ
เช่น การทาสีโรงเรียน การทำสนามกีฬา เป็นต้น
2.96 0.95 ปานกลาง
4.มีส่วนร่วมใช้บริการด้านอาคารสถานที่ของโรงเรียนในการ
ประกอบพิธีสำคัญต่าง ๆ
2.83 0.96 ปานกลาง
5.มีส่วนร่วมสนับสนุนเงินทุนในการปรับปรุง ซ่อมแซม อาคาร
สถานที่ของโรงเรียน
2.93 0.80 ปานกลาง
6.มีส่วนร่วมสนับสนุนเงินทุนในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมของ
โรงเรียนที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน
3.27 0.92 ปานกลาง
รวม 3.05 0.92 ปานกลาง
จากตารางที่ 8 เมื่อพิจารณาภาพรวมของความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองใน
การบริหารโรงเรียนด้านสภาพแวดล้อมและบรรยากาศของโรงเรียน พบว่า อยู่ในระดับปาน
กลาง (X= 3.05)
เมื่อพิจารณาในแต่ละข้อรายการ พบว่า ความต้องมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการ
บริหารโรงเรียน อยู่ในระดับปานกลางทุกข้อรายการ ได้แก่ มีส่วนร่วมพัฒนาอาคารสถานที่ และ
สภาพแวดล้อมให้เอื้ออำนวยต่อการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน (X= 3.28) มีส่วนร่วม
สนับสนุนเงินทุนในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมของโรงเรียนที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน
(X= 3.27) มีส่วนร่วมให้ความช่วยเหลือด้านวัสดุอุปกรณ์ ยานพาหนะ และสาธารณูปโภคของ
โรงเรียน (X= 3.04) มีส่วนร่วมให้ความร่วมมือกับโรงเรียนในการพัฒนาด้านต่าง ๆ เช่น การ
ทาสีโรงเรียน การทำสนามกีฬา เป็นต้น (X= 2.96) มีส่วนร่วมสนับสนุนเงินทุนในการปรับปรุง
ซ่อมแซมอาคารสถานที่ของโรงเรียน (X= 2.93) และมีส่วนร่วมใช้บริการด้านอาคารสถานที่ของ
โรงเรียนในการประกอบพิธีสำคัญต่าง ๆ (X= 2.83) ตามลำดับ
49
ตารางที่ 9 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความต้องการมีส่วนร่วมของ
ผู้ปกครองในการบริหารโรงเรียน ด้านความสัมพันธ์กับชุมชน
ความต้องการในการมีส่วนร่วม ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน
ระดับความ
ต้องการ
1.มีส่วนร่วมจัดกิจกรรมส่งเสริมและประสานความ
สัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
3.07 0.86 ปานกลาง
2.มีส่วนร่วมให้การสนับสนุนและพัฒนาโรงเรียนให้เป็น
แหล่งเรียนรู้แก่นักเรียนและชุมชนในท้องถิ่น
3.25 0.90 ปานกลาง
3.มีส่วนร่วมในการจัดตั้งสมาคม องค์กร เพื่อช่วยเหลือ
การศึกษาของโรงเรียนและชุมชน
3.01 0.86 ปานกลาง
4.มีส่วนร่วมส่งเสริมการค้นคว้า จัดหาแหล่งข้อมูลเพื่อ
การศึกษาแก่นักเรียนและชุมชน
3.20 0.88 ปานกลาง
5.มีส่วนร่วมดำเนินการจัดกิจกรรมต่อต้านยาเสพติด
ต้านภัยเอดส์ ให้แก่นักเรียนในโรงเรียนและชุมชน
3.72 1.05 ปานกลาง
6.มีส่วนร่วมจัดอบรมวิชาชีพทั้งในโรงเรียนและชุมชน 3.14 0.98 ปานกลาง
รวม 3.23 0.95 ปานกลาง
จากตารางที่ 9 เมื่อพิจารณาภาพรวมของความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองใน
การบริหารโรงเรียนด้านความสัมพันธ์กับชุมชน พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง (X= 3.23)
เมื่อพิจารณาในแต่ละข้อรายการ พบว่า ความต้องมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการ
บริหารโรงเรียน อยู่ในระดับปานกลางทุกข้อรายการ ได้แก่ มีส่วนร่วมดำเนินการจัดกิจกรรม
ต่อต้านยาเสพติด ต้านภัยเอดส์ให้แก่นักเรียนในโรงเรียนและชุมชน (X= 3.72) มีส่วนร่วมให้การ
สนับสนุนและพัฒนาโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้แก่นักเรียนและชุมชนในท้องถิ่น (X= 3.25)
มีส่วนร่วมส่งเสริมการค้นคว้า จัดหาแหล่งข้อมูลเพื่อการศึกษาแก่นักเรียนและชุมชน (X= 3.20)
มีส่วนร่วมจัดอบรมวิชาชีพทั้งในโรงเรียนและชุมชน (X= 3.14) มีส่วนร่วมจัดกิจกรรมส่งเสริม
และประสานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน (X= 3.07) และมีส่วนร่วมในการจัดตั้ง
สมาคม องค์กร เพื่อช่วยเหลือการศึกษาของโรงเรียนและชุมชน (X= 3.01) ตามลำดับ
50
ตอนที่ 3 การเปรียบเทียบความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองของ
นักเรียนแต่ละระดับชั้น ในการบริหารงาน โรงเรียน
ผลการวิเคราะห์การเปรียบเทียบความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการ
บริหารงานโรงเรียน ตามระดับชั้นของนักเรียน รายละเอียดดังตารางที่ 10 -11
ตารางที่ 10 การวิเคราะห์ความแปรปรวนของความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง
ในการบริหารงานโรงเรียน จำแนกตามระดับชั้น
ความต้องการมีส่วนร่วม แหล่งความแปรปรวน SS Df MS F
ระหว่างกลุ่ม 4.68 2 2.34
ภายในกลุ่ม 145.18 330 0.44
ด้านวิชาการ
รวม 149.86 332
5.32*
ระหว่างกลุ่ม 3.76 2 1.88
ภายในกลุ่ม 233.85 330 0.70
ด้านบุคลากร
รวม 237.62 332
2.65
ระหว่างกลุ่ม 1.69 2 0.84
ภายในกลุ่ม 159.02 330 0.48
ด้านกิจการนักเรียน
รวม 160.71 332
1.75
ระหว่างกลุ่ม 1.19 2 0.59
ภายในกลุ่ม 184.01 330 0.55
ด้านสภาพแวดล้อมและบรรยากาศ
โรงเรียน
รวม 185.20 332
1.06
ระหว่างกลุ่ม 1.71 2 0.85
ภายในกลุ่ม 202.54 330 0.61
ด้านความสัมพันธ์กับชุมชน
รวม 204.25 332
1.39
ระหว่างกลุ่ม 2.12 2 1.06
ภายในกลุ่ม 137.36 330 0.41
รวมทุกด้าน
รวม 139.49 332
2.55
หมายเหตุ * p < .05 จากตารางที่ 10 จะพบว่า ความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงาน โรงเรียน ระหว่างระดับชั้น ในภาพรวม แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณา ในแต่ละด้าน พบว่า ด้านบุคลากร ด้านกิจการนักเรียน ด้านสภาพแวดล้อมและบรรยากาศ โรงเรียน และด้านความสัมพันธ์กับชุมชน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติเช่นเดียวกัน ยกเว้น ด้านวิชาการ ที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 51 ตารางที่ 11 การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการ บริหารงานวิชาการ จำแนกตามผู้ปกครองของนักเรียนแต่ละระดับชั้น ระดับชั้น ป.ตอนต้น ป.ตอนปลาย ม.ตอนต้น ความต้องการ มีส่วนรวม ระดับชั้น Mean 2.85 3.09 2.81 ประถมศึกษาตอนต้น 2.85 0.24* 0.03 ประถมศึกษาตอนปลาย 3.09 0.28* ด้านวิชาการ มัธยมศึกษาตอนต้น 2.81 หมายเหตุ * p < .05 จากตารางที่ 11 จะพบว่า ความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองนักเรียนในการ บริหารงานวิชาการ จำแนกตามระดับชั้นเป็นรายคู่ มีความแตกต่างกัน 2 คู่ดังนี้ ผู้ปกครองที่มีนักเรียนอยู่ในระดับประถมศึกษาตอนต้น กับผู้ปกครองที่มีนักเรียนอยู่ ในระดับประถมศึกษาตอนปลาย มีความต้องการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการแตกต่าง กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผู้ปกครองที่มีนักเรียนอยู่ในระดับประถมศึกษา ตอนปลายจะมีความต้องการมีส่วนร่วมในการบริหารงานโรงเรียนมากกว่าผู้ปกครองที่มีนักเรียน อยู่ในระดับประถมศึกษาตอนต้น ผู้ปกครองที่มีนักเรียนอยู่ในระดับประถมศึกษาตอนปลาย กับผู้ปกครองที่มีนักเรียน อยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีความต้องการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผู้ปกครองที่มีนักเรียนอยู่ในระดับประถมศึกษา ตอนปลาย จะมีความต้องการมีส่วนร่วมในการบริหารงานโรงเรียนมากกว่าผู้ปกครองที่มี บุตรหลานอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 52 ตอนที่ 4 แนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานโรงเรียน ผลการวิเคราะห์แนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารโรงเรียน ในแต่ ละด้าน ซึ่งประกอบด้วย ด้านวิชาการ ด้านบุคลากร ด้านกิจการนักเรียน ด้านสภาพ แวดล้อม และบรรยากาศโรงเรียน ด้านความสัมพันธ์กับชุมชน และอื่นๆ รายละเอียดดังตารางที่ 12 - 17 ตารางที่ 12 จำนวนและร้อยละของแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองใน การบริหารงานโรงเรียนด้านวิชาการ แนวทางการมีส่วนร่วม จำนวน ร้อยละ 1.มีส่วนร่วมให้ข้อมูลแก่ทางโรงเรียนเมื่อพบปัญหาเกี่ยวกับด้านวิชาการ 182 34.02 2.มีส่วนร่วมให้ความร่วมมือและสนับสนุนในการจัดกิจกรรม “วันวิชาการ” 155 28.97 3.มีส่วนร่วมนิเทศการสอนตามโอกาส 74 13.83 4.มีส่วนร่วมเป็นวิทยากรพิเศษในเรื่องที่เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นตามโอกาส อันเหมาะสม 46 8.60 5.มีส่วนร่วมเป็นคณะกรรมการในการประเมินและตัดสินผลการเรียน 43 8.04 6.มีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตร 35 6.54 จากตารางที่ 12 พบว่า แนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงาน โรงเรียนด้านวิชาการที่ผู้ปกครองต้องการมากที่สุด คือ มีส่วนร่วมให้ข้อมูลแก่ทางโรงเรียนเมื่อ พบปัญหาเกี่ยวกับด้านวิชาการ (ร้อยละ 34.02) รองลงมาคือ มีส่วนร่วมให้ความร่วมมือและ สนับสนุนในการจัดกิจกรรม "วันวิชาการ" (ร้อยละ 28.97) และมีส่วนร่วมนิเทศการสอนตาม โอกาส (ร้อยละ 13.83) ตามลำดับ 53 ตารางที่ 13 จำนวนและร้อยละของแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองใน การบริหารงานโรงเรียนด้านบุคลากร แนวทางการมีส่วนร่วม จำนวน ร้อยละ 1.มีส่วนร่วมให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากร 143 27.61 2.มีส่วนร่วมประเมินประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากร 135 26.06 3.มีส่วนร่วมในการคัดเลือกบุคลากรของโรงเรียน 91 17.57 4.มีส่วนร่วมให้การสนับสนุนเกี่ยวกับสวัสดิการของบุคลากรในโรงเรียน 69 13.32 5.มีส่วนร่วมจัดหาทุนเพื่อสนับสนุนการพัฒนาบุคลากร เช่น การศึกษาดูงาน การศึกษาต่อ เป็นต้น 42 8.11 6.มีส่วนร่วมเป็นคณะกรรมการที่ปรึกษางานบุคลากร 38 7.34 จากตารางที่ 13 พบว่า แนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงาน โรงเรียนด้านบุคลากรที่ผู้ปกครองต้องการมากที่สุด คือ มีส่วนร่วมให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการ พัฒนาบุคลากร (ร้อยละ 27.61) รองลงมาคือ มีส่วนร่วมประเมินประสิทธิภาพการทำงานของ บุคลากร (ร้อยละ 26.06) และมีส่วนร่วมในการคัดเลือกบุคลากรของโรงเรียน (ร้อยละ 17.57) ตามลำดับ 54 ตารางที่ 14 จำนวนและร้อยละของแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองใน การบริหารงานโรงเรียนด้านกิจการนักเรียน แนวทางการมีส่วนร่วม จำนวน ร้อยละ 1.มีส่วนร่วมให้ความร่วมมือสอดส่องดูแลความประพฤติของบุตรหลานอย่างใกล้ชิด 268 29.68 2.มีส่วนร่วมให้ข้อมูลแก่โรงเรียน เมื่อพบปัญหาเกี่ยวกับตัวนักเรียน 231 25.58 3.มีส่วนร่วมส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมของ นักเรียน 149 16.50 4.มีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนานักเรียน 144 15.95 5.มีส่วนร่วมในการจัดหาทุนสนับสนุนการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนานักเรียน 71 7.86 6.มีส่วนร่วมเป็นคณะกรรมการในการวางแผนกิจกรรมนักเรียน 40 4.43 จากตารางที่ 14 พบว่า แนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงาน โรงเรียนด้านกิจการนักเรียนที่ผู้ปกครองต้องการมากที่สุด คือ มีส่วนร่วมให้ความร่วมมือ สอดส่องดูแลความประพฤติของบุตรหลานอย่างใกล้ชิด (ร้อยละ 29.68) รองลงมาคือ มีส่วนร่วม ให้ข้อมูลแก่โรงเรียน เมื่อพบปัญหาเกี่ยวกับตัวนักเรียน (ร้อยละ 25.58) และมีส่วนร่วมส่งเสริม และสนับสนุนการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมของนักเรียน (ร้อยละ 16.50) ตามลำดับ 55 ตารางที่ 15 จำนวนและร้อยละของแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองใน การบริหารงานโรงเรียนด้านสภาพแวดล้อมและบรรยากาศของโรงเรียน แนวทางการมีส่วนร่วม จำนวน ร้อยละ 1.มีส่วนร่วมสอดส่องดูแลและให้ข้อมูลแก่ทางโรงเรียน เมื่อพบปัญหาด้านสภาพ แวดล้อมและบรรยากาศของโรงเรียน 219 31.38 2.มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดสภาพแวดล้อม ของโรงเรียน 187 26.79 3.มีส่วนร่วมในกิจกรรมการปรับปรุงสภาพแวดล้อมของโรงเรียน 112 16.05 4.มีส่วนร่วมเป็นที่ปรึกษาเกี่ยวกับการจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศของ โรงเรียน 66 9.46 5.มีส่วนร่วมในการจัดหา/บริจาคเงินทุนสนับสนุนการปรับปรุงสภาพแวดล้อมของ โรงเรียน 59 8.45 6.มีส่วนร่วมเป็นคณะกรรมการพัฒนาสภาพแวดล้อมและบรรยากาศของโรงเรียน 55 7.88 จากตารางที่ 15 พบว่า แนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงาน โรงเรียนด้านสภาพแวดล้อมและบรรยากาศโรงเรียนที่ผู้ปกครองต้องการมากที่สุด คือ มี ส่วนร่วมสอดส่องดูแลและให้ข้อมูลแก่ทางโรงเรียน เมื่อพบปัญหาด้านสภาพแวดล้อมและ บรรยากาศของโรงเรียน (ร้อยละ 31.38) รองลงมาคือ มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นและให้ ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดสภาพแวดล้อมของโรงเรียน (ร้อยละ 26.79) และมีส่วนร่วมใน กิจกรรมการปรับปรุงสภาพแวดล้อมของโรงเรียน (ร้อยละ 16.05) ตามลำดับ 56 ตารางที่ 16 จำนวนและร้อยละของแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองใน การบริหารงานโรงเรียนด้านความสัมพันธ์กับชุมชน แนวทางการมีส่วนร่วม จำนวน ร้อยละ 1.มีส่วนร่วมบริจาคเงินและสิ่งของต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ ต่อสังคม 197 29.27 2.มีส่วนร่วมให้ความร่วมมือและสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ที่โรงเรียนและชุมชน จัดขึ้น 175 26.00 3.มีส่วนร่วมจัดกิจกรรทางศาสนา ประเพณี และวัฒนธรรมต่าง ๆ 111 16.49 4.มีส่วนร่วมในการเสนอแนะแนวทางในการสร้างความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับ ชุมชน 91 13.52 5.มีส่วนร่วมช่วยประสานงานกิจกรรมที่โรงเรียนและชุมชนจัดขึ้น 69 10.25 6.มีส่วนร่วมเป็นคณะกรรมการดำเนินงานด้านความสัมพันธ์กับชุมชน 30 4.46 จากตารางที่ 16 พบว่า แนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงาน โรงเรียนด้านความสัมพันธ์กับชุมชนที่ผู้ปกครองต้องการมากที่สุด คือ มีส่วนร่วมบริจาคเงิน และสิ่งของต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อสังคม (ร้อยละ 29.27) รองลงมาคือ มีส่วนร่วมให้ความร่วมมือและสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ที่โรงเรียนและชุมชนจัดขึ้น (ร้อยละ 26.00) และมีส่วนร่วมจัดกิจกรรมทางศาสนา ประเพณีและวัฒนธรรมต่าง ๆ (ร้อยละ 16.49) 57 ตารางที่ 17 จำนวนและร้อยละของแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองใน การบริหารงานโรงเรียนด้านอื่น ๆ แนวทางการมีส่วนร่วม จำนวน ร้อยละ 1.ร่วมสนับสนุนทุนการศึกษาสำหรับนักเรียนเรียนที่ขาดแคลน 11 28.95 2.ร่วมกำหนดนโยบายในการพัฒนาบุคลากร 10 26.32 3.ร่วมประเมินสภาพแวดล้อมของโรงเรียน 7 18.42 4.ร่วมประชุมวางแผนพัฒนากิจการนักเรียน 6 15.79 5.ประสานงานระหว่างโรงเรียนกับชุมชน 4 10.53 จากตารางที่ 17 พบว่า แนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงาน โรงเรียนด้านอื่น ๆ ที่ผู้ปกครองต้องการมากที่สุด คือ ร่วมสนับสนุนทางการศึกษาสำหรับ นักเรียนที่ขาดแคลน (ร้อยละ 28.95) รองลงมาคือ ร่วมกำหนดนโยบายในการพัฒนาบุคลากร (ร้อยละ 26.32) และร่วมประเมินสภาพแวดล้อมของโรงเรียน (ร้อยละ 18.42) บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ การวิจัยเรื่อง ความต้องการและแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหาร งานของโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา วัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ในการบริหารงานของโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษาใน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านวิชาการ ด้านบุคลากร ด้านกิจการนักเรียน ด้านสภาพแวดล้อมและบรรยากาศของโรงเรียน และด้านความสัมพันธ์ กับชุมชน เพื่อเปรียบเทียบความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานของ โรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา จำแนกตามระดับชั้นของนักเรียน และเพื่อศึกษาแนวทางการมี ส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานของโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ปกครองของนักเรียนระดับชั้นประถม ศึกษาปีที่ 1 - ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา ปีการศึกษา 2545 จำนวน 2,000 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นประถมปีที่ 1 - ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา ปีการศึกษา 2545 จำนวน 334 คน ได้มาจากการกำหนดขนาดตัวอย่างตามตารางสำเร็จรูปของเครจซี และมอร์แกน (Krejcie and Morgan, 1970 : 607 - 610) และดำเนินการ สุ่มตัวอย่างโดยวิธีสุ่มแบบแบ่งชั้น เพื่อให้ ครอบคลุมจำนวนกลุ่มอย่างในแต่ละระดับชั้น เมื่อได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างในแต่ละระดับชั้นแล้ว จึงดำเนินการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามความต้องการมีส่วนร่วมของ ผู้ปกครองในการบริหารงานโรงเรียน ซึ่งแบ่งแบบสอบถามออกเป็น 3 ตอนคือ ตอนที่ 1 เป็น แบบสอบถามแบบเลือกตอบเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบ ถามเกี่ยวกับความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานของโรงเรียนอัสสัมชัญ ศึกษาซึ่งเป็นแบบมาตรประมาณค่า จำนวน 30 ข้อ ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ ด้าน 59 วิชาการ ด้านบุคลากร ด้านกิจการนักเรียน ด้านสภาพแวดล้อมและบรรยากาศโรงเรียน และ ด้านความสัมพันธ์กับชุมชน และตอนที่ 3 เป็นแบบสอบแบบเลือกตอบเกี่ยวกับความ คิดเห็น และข้อเสนอแนะอื่นๆ ของผู้ปกครองเกี่ยวกับแนวทางในการมีส่วนร่วมในการบริหารงาน โรงเรียน ผู้วิจัยสร้างเครื่องมือขึ้นเอง จากนั้นนำแบบสอบถามที่ได้ไปปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษา และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน เพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหารวมทั้งให้คำแนะนำ ต่างๆ และนำมาปรับปรุงเพื่อให้แบบสอบถามมีความชัดเจน ถูกต้อง สมบูรณ์ และตรงตาม วัตถุประสงค์มากที่สุด แล้วนำแบบสอบถามไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะคล้ายคลึง กับกลุ่มที่ต้องการศึกษา จำนวน 30 ราย จากนั้นนำแบบสอบถามมาหาคุณภาพของเครื่องมือ ด้านความเชื่อมั่น ได้เท่ากับ 0.97 สรุปผลการวิจัย 1. ความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานโรงเรียน โดยภาพรวม ความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารโรงเรียนแล้ว พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ความต้องมีส่วนร่วมของ ผู้ปกครองในการบริหารโรงเรียน อยู่ในระดับมาก 1 ด้าน ได้แก่ ด้านกิจการนักเรียน และอยู่ใน ระดับปานกลาง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านความสัมพันธ์กับชุมชน ด้านสภาพแวดล้อมและบรรยากาศ ของโรงเรียน ด้านด้านวิชาการ และด้านบุคลากร ตามลำดับ 1.1 ด้านวิชาการ โดยภาพรวม ความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหาร โรงเรียนด้านวิชาการ พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาในแต่ละข้อรายการ พบว่า ความต้องมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารโรงเรียน อยู่ในระดับปานกลางทุกข้อรายการ ข้อรายการ ที่ผู้ปกครองต้องการมีส่วนร่วมมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ มีส่วนร่วมในกิจการศูนย์ การเรียนที่โรงเรียนจัดขึ้น มีส่วนร่วมประชุมปรึกษา และเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการปรับปรุง หลักสูตร และมีส่วนร่วมให้ความร่วมมือในการผลิตสื่อการเรียนการสอน ตามลำดับ 1.2 ด้านบุคลากร โดยภาพรวม ความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหาร โรงเรียนด้านบุคลากร พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง มื่อพิจารณาในแต่ละข้อรายการ พบว่า ความต้องมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารโรงเรียน อยู่ในระดับปานกลางทุกข้อรายการ ข้อรายการที่ผู้ปกครองต้องการมีส่วนร่วมมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ มีส่วนร่วมในการ 60 ประเมินผลการทำงานของคณะครูในโรงเรียน มีส่วนร่วมให้ความร่วมมือกับโรงเรียนเพื่อจัด กิจกรรมส่งเสริมความสามารถของบุคลากร และมีส่วนร่วมเสนอแนะวิธีพิจารณาความดีความ ชอบของบุคลากรในโรงเรียน ตามลำดับ 1.3 ด้านกิจการนักเรียน โดยภาพรวม ความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหาร โรงเรียนด้านกิจการนักเรียน พบว่า อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละข้อรายการ พบว่า ความต้องมี ส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารโรงเรียน อยู่ในระดับมาก 4 ข้อรายการ อยู่ใน ระดับปานกลาง 2 ข้อรายการ ข้อรายการที่ผู้ปกครองต้องการมีส่วนร่วมมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ มีส่วนร่วมให้คำปรึกษาเกี่ยวกับตัวนักเรียน เพื่อส่งเสริมแก้ไข และพัฒนานักเรียนทั้งด้าน การเรียนและความประพฤติ มีส่วนร่วมให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรงเรียน เช่น ความสนใจ ความ รับผิดชอบ ความประพฤติของนักเรียน และมีส่วนร่วมในกิจกรรมพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของ นักเรียน ตามลำดับ 1.4 ด้านสภาพแวดล้อมและบรรยากาศโรงเรียน โดยภาพรวม ความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหาร โรงเรียนด้านสภาพแวดล้อมและบรรยากาศของโรงเรียน พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อ พิจารณาในแต่ละข้อรายการ พบว่า ความต้องมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารโรงเรียน อยู่ในระดับปานกลางทุกข้อรายการ ข้อรายการที่ผู้ปกครองต้องการมีส่วนร่วมมากที่สุด 3 อันดับ แรก คือ มีส่วนร่วมพัฒนาอาคารสถานที่ และสภาพแวดล้อมให้เอื้ออำนวยต่อการจัดการเรียน การสอนของโรงเรียน มีส่วนร่วมสนับสนุนเงินทุนในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมของโรงเรียนที่ เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน และมีส่วนร่วมให้ความช่วยเหลือด้านวัสดุอุปกรณ์ ยานพาหนะ และสาธารณูปโภคของเรียน ตามลำดับ 1.5 ด้านความสัมพันธ์กับชุมชน โดยภาพรวม ความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหาร โรงเรียนด้านความสัมพันธ์กับชุมชน พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาในแต่ละ ข้อรายการ พบว่า ความต้องมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารโรงเรียน อยู่ในระดับ ปานกลางทุกข้อรายการ ข้อรายการที่ผู้ปกครองต้องการมีส่วนร่วมมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ มีส่วนร่วมดำเนินการจัดกิจกรรมต่อต้านยาเสพติด ต้านภัยเอดส์ให้แก่นักเรียนในโรงเรียนและ ชุมชน มีส่วนร่วมให้การสนับสนุนและพัฒนาโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้แก่นักเรียนและชุมชน 61 ในท้องถิ่น และมีส่วนร่วมส่งเสริมการค้นคว้า จัดหาแหล่งข้อมูลเพื่อการศึกษาแก่นักเรียนและ ชุมชน ตามลำดับ 2. การเปรียบเทียบความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานโรงเรียน ความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานโรงเรียน ระหว่างรายได้ ต่อเดือน ทั้งภาพรวมและทุกด้าน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานโรงเรียน ระหว่างระดับชั้น ด้านวิชาการ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านบุคลากร ด้านกิจการนักเรียน ด้านสภาพแวดล้อมและบรรยากาศโรงเรียน และด้านความสัมพันธ์กับ ชุมชนแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และค่าเฉลี่ยของความต้องการมีส่วนร่วมของ ผู้ปกครองในการบริหารงานโรงเรียนด้านวิชาการ เป็นรายคู่ตามระดับชั้น ระหว่างผู้ปกครองที่มี นักเรียนอยู่ในระดับประถมศึกษาตอนปลาย กับผู้ปกครองที่มีนักเรียนอยู่ในระดับประถมศึกษา ตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนต้น พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผู้ปกครองที่มีนักเรียนอยู่ในระดับประถมศึกษาตอนปลาย จะมีความต้องการมีส่วนร่วม ในการบริหารงานโรงเรียนมากกว่าผู้ปกครองที่มีนักเรียนอยู่ในระดับประถมศึกษาตอนต้น และ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 3. แนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานโรงเรียน 3.1 ด้านวิชาการ แนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานโรงเรียนด้านวิชาการที่ ผู้ปกครองต้องการมีส่วนร่วมมากที่สุด คือ มีส่วนร่วมให้ข้อมูลแก่ทางโรงเรียนเมื่อพบปัญหา เกี่ยวกับด้านวิชาการ รองลงมาคือ มีส่วนร่วมให้ความร่วมมือและสนับสนุนในการจัด กิจกรรม "วันวิชาการ" และมีส่วนร่วมนิเทศการสอนตามโอกาส ตามลำดับ 3.2 ด้านบุคลากร แนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานโรงเรียนด้านบุคลากรที่ ผู้ปกครองต้องการมีส่วนร่วมมากที่สุด คือ มีส่วนร่วมให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนา บุคลากร รองลงมาคือ มีส่วนร่วมประเมินประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากร และมีส่วนร่วม ในการคัดเลือกบุคลากรของโรงเรียน ตามลำดับ . 62 3.3 ด้านกิจการนักเรียน แนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานโรงเรียนด้านกิจการ นักเรียนที่ผู้ปกครองต้องการมีส่วนร่วมมากที่สุด คือ มีส่วนร่วมให้ความร่วมมือสอดส่องดูแล ความประพฤติของบุตรหลานอย่างใกล้ชิด รองลงมาคือ มีส่วนร่วมให้ข้อมูลแก่โรงเรียน เมื่อพบ ปัญหาเกี่ยวกับตัวนักเรียน และมีส่วนร่วมส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนา คุณธรรมและจริยธรรมของนักเรียน ตามลำดับ 3.4 ด้านสภาพแวดล้อมและบรรยากาศโรงเรียน แนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานโรงเรียนด้าน สภาพแวดล้อมและบรรยากาศโรงเรียนที่ผู้ปกครองต้องการมีส่วนร่วมมากที่สุด คือ มีส่วนร่วม สอดส่องดูแลและให้ข้อมูลแก่ทางโรงเรียน เมื่อพบปัญหาด้านสภาพแวดล้อมและบรรยากาศของ โรงเรียน รองลงมาคือ มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดสภาพ แวดล้อมของโรงเรียน และมีส่วนร่วมในกิจกรรมการปรับปรุงสภาพแวดล้อมของโรงเรียน ตามลำดับ 3.5 ด้านความสัมพันธ์กับชุมชน แนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานโรงเรียนด้านความ สัมพันธ์กับชุมชนที่ผู้ปกครองต้องการมีส่วนร่วมมากที่สุด คือ มีส่วนร่วมบริจาคเงินและสิ่งของ ต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อสังคม รองลงมาคือ มีส่วนร่วมให้ความร่วม มือและสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ที่โรงเรียนและชุมชนจัดขึ้น และมีส่วนร่วมจัดกิจกรรมทาง ศาสนา ประเพณีและวัฒนธรรมต่าง ๆ ตามลำดับ 3.6 ด้านอื่น ๆ แนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานโรงเรียนด้านอื่นๆ ที่ ผู้ปกครองต้องการมากที่สุด คือ ร่วมสนับสนุนทางการศึกษาสำหรับนักเรียนที่ ขาดแคลนรองลง มาคือ ร่วมกำหนดนโยบายในการพัฒนาบุคลากร และร่วมประเมินสภาพแวดล้อมของโรงเรียน 63 อภิปรายผล จากผลการศึกษาความต้องการและแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการ บริหารงานโรงเรียน อัสสัมชัญศึกษา มีประเด็นที่นำมาอภิปรายดังนี้ 1. ด้านวิชาการ จากผลการวิจัย พบว่าความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองใน การบริหารโรงเรียนด้านวิชาการอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยของธีรภัทร์ เจริญดี (2542 : 46-50) เมื่อเรียงลำดับความต้องการในการมีส่วนร่วมในการบริหารงานโรงเรียน ทั้ง 5 ด้าน ปรากฎว่าผู้ปกครองต้องการเข้าร่วมบริหารงานวิชาการน้อยที่สุด ที่เป็นเช่นนี้น่าจะ เนื่องมาจากลักษณะของกิจกรรมทางวิชาการที่จัดขึ้นเป็นกิจกรรมเชิงวิชาการ ดังนั้นผู้ปกครอง ที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงานต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถทางวิชาการ เช่น การร่วมเสนอแนวคิดเกี่ยวกับการปรับปรุงหลักสูตร การร่วมเป็นวิทยากร เป็นต้น ซึ่งจากข้อมูล สถานภาพของผู้ปกครองเกี่ยวกับวุฒิการศึกษาสูงสุด พบว่า ผู้ปกครองส่วนใหญ่มีวุฒิการศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี ระดับการศึกษาของผู้ปกครองจึง น่าจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผู้ปกครองไม่ สามารถเข้าร่วมในกิจกรรมการบริหารงานวิชาการที่ต้องอาศัยความรู้ความสามารถใน เชิงวิชาการ นอกจากนี้ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผู้ปกครองต้องการเข้าร่วมในกิจกรรมการบริหาร วิชาการไม่มากเท่าที่ควรก็อาจจะเป็นเพราะเห็นว่างานวิชาการนั้นเป็นหน้าที่หลักของสถาน- ศึกษาที่ต้องบริหารงานให้ดีที่สุดอยู่แล้ว ผู้ปกครองจึงไม่ต้องเข้ามาร่วมมากนัก การบริหารงาน วิชาการนั้นนับว่าเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนานักเรียน ดังที่นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์ (2534 : 19) ที่เสนอแนวคิดไว้ว่า งานวิชาการเป็นงานที่สำคัญที่สุดในภารกิจทั้งหมดของโรงเรียน เพราะ เป็นงานที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาต่อตัวนักเรียนในทุกๆด้านโดยตรงทำให้นักเรียน เป็นคนที่มีคุณภาพและสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข สำหรับแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานโรงเรียนด้านวิชาการ ที่ผู้ปกครองต้องการมีส่วนร่วมมากที่สุด คือ มีส่วนร่วมให้ข้อมูลแก่ทางโรงเรียนเมื่อพบปัญหา ด้านวิชาการ จะเห็นว่าเป็นกิจกรรมที่ผู้ปกครองทำได้ง่าย ดังนั้นโรงเรียนจึงควรส่งเสริมให้มี กิจกรรมดังกล่าวมากขึ้น 2. ด้านบุคลากร จากผลการวิจัย พบว่าความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองใน การบริหารโรงเรียนด้านบุคลากรอยู่ในระดับปานกลาง สำหรับกิจกรรมที่ผู้ปกครองต้องการเข้า ร่วมมากที่สุดด้านบุคลากร คือ มีส่วนร่วมในการประเมินผลการทำงานของคณะครูในโรงเรียน แสดงว่าผู้ปกครองให้ความสำคัญในการประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะครู ซึ่งครูจัดว่าเป็น ทรัพยากรบุคคลที่มีความสำคัญทีสุดในสถานศึกษา เพราะครูดี คือจุดเริ่มต้นของการพัฒนาการ ศึกษา (วิจิตร ศรีสะอ้าน 2530 : 18) สำหรับการประเมินผลการทำงานของครูนั้น จัดว่าเป็น 64 เครื่องมือในการพัฒนาครูอีกทางหนึ่ง กล่าวคือ ข้อมูลที่ได้จากการประเมินผลการทำงานนั้นจะ ช่วยให้ครูมองเห็นข้อดีหรือข้อบกพร่องของตนเองซึ่งจะนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขเพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพในการทำงานต่อไป อันจะส่งผลต่อคุณภาพของนักเรียนด้วย ดังนั้นการที่ ผู้ปกครองต้องการเข้าร่วมประเมินผลการทำงานของครูมากกว่ากิจกรรมอื่นนั้น จึงเป็นสิ่ง สะท้อนให้เห็นว่าผู้ปกครองได้ให้ความสำคัญในเรื่องของคุณภาพของครูเป็นอย่างมาก ผลการทำงานของครูจึงเป็นสิ่งหนึ่งที่ผู้ปกครองต้องการเข้ามาร่วมประเมินหรือให้ข้อมูล ดังนั้น โรงเรียนจึงต้องตระหนักหรือให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าวพร้อมทั้งหาแนวทางให้ผู้ปกครองได้ เข้ามามีส่วนร่วมในการประเมินผลการทำงานของครูด้วย สำหรับแนวทางการมีส่วนร่วมของ ผู้ปกครองในการบริหารงานโรงเรียนด้านบุคลากรที่ผู้ปกครองต้องการมีส่วนร่วมมากที่สุด คือ มีส่วนร่วมให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากร มีส่วนร่วมประเมินประสิทธิภาพ การทำงานของบุคลากร 3. ด้านกิจการนักเรียน จากผลการวิจัย พบว่าความต้องการมีส่วนร่วมของ ผู้ปกครองในการบริหารโรงเรียนด้านกิจการนักเรียนอยู่ในระดับมาก ซึ่งเป็นการบริหารงานที่ ผู้ปกครองต้องการมีส่วนร่วมในการบริหารงานโรงเรียนมากที่สุดใน 5 ด้าน ทั้งนี้น่าจะเนื่องมา จากลักษณะงานกิจการนักเรียนนั้นผู้ปกครองจะเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการที่จะเข้ามาช่วย โรงเรียนในการพัฒนานักเรียนหรือบุตรหลานของตนได้อย่างเต็มที่และเป็นกิจกรรมที่ไม่ยุ่งยาก ในการเข้าร่วมเพราะผู้ปกครองเป็นผู้ที่ใกล้ชิดกับนักเรียนมากที่สุดอยู่แล้ว เช่น การให้ข้อมูล เกี่ยวกับนักเรียนแก่โรงเรียนไม่ว่าจะเป็นด้านความสนใจ ด้านความประพฤติ การให้คำปรึกษา เกี่ยวกับตัวนักเรียน เพื่อส่งเสริม แก้ไข และพัฒนานักเรียนทั้งด้านการเรียนและความประพฤติ เป็นต้น ซึ่งจากผลการวิจัยนี้สอดคล้องกับการวิจัยของ พิมพา ตามี่ (2540 : บทคัดย่อ) ที่ทำ การศึกษาความต้องการของผู้ปกครองในการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของโรงเรียนประถมศึกษา อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ที่พบว่า ผู้ปกครองต้องการมีส่วนร่วมในการประชุมหรือปรึกษา เกี่ยวกับความประพฤติของนักเรียน ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งในการที่ช่วยให้โรงเรียนได้พัฒนา นักเรียนได้ตรงกับสภาพของนักเรียนมากที่สุด สำหรับแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองใน การบริหารงานโรงเรียนด้านกิจการนักเรียนที่ผู้ปกครองต้องการมีส่วนร่วมมากที่สุดคือ มีส่วนร่วมให้ความร่วมมือในการสอดส่องดูแลความประพฤติบุตรหลานอย่างใกล้ชิด รวมทั้งให้ ข้อมูลแก่โรงเรียนเมื่อพบปัญหาเกี่ยวกับตัวนักเรียน จะเห็นว่าเป็นกิจกรรมที่ผู้ปกครองทำหน้าที่ ได้ดีที่สุดเมื่อเทียบกับกิจกรรมอื่น เนื่องจากผู้ปกครองเป็นผู้ที่ใกล้ชิดกับเด็ก ดังนั้นผู้ปกครอง จึงมีบทบาทสำคัญในการที่จะสอดส่องดูแลบุตรหลานพร้อมทั้งสามารถให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ กับโรงเรียนได้ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของเบอเกอร์ (Berger 1989 : 49) ที่กล่าวถึงความ สำคัญของผู้ปกครองว่าสามารถช่วยในการเสริมสร้างเด็กให้ประสบความสำเร็จในชีวิตและช่วย 65 ให้เด็กเป็นคนเรียนเก่งและสุขภาพจิตดี โดยผู้ปกครองต้องร่วมมือกับโรงเรียนในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ปกครองจะเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญให้กับครูและนักเรียน 4. ด้านสภาพแวดล้อมและบรรยากาศของโรงเรียน จากผลการวิจัย พบว่าความ ต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารโรงเรียนด้านด้านสภาพแวดล้อมและบรรยากาศ โรงเรียนอยู่ในระดับปานกลาง สำหรับกิจกรรมที่ผู้ปกครองต้องการมีส่วนร่วมมากที่สุดใน ด้านนี้ คือ มีส่วนร่วมในการพัฒนาอาคารสถานที่ และสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการจัด การเรียนการสอนของโรงเรียน แสดงว่าผู้ปกครองให้ความสำคัญและเห็นถึงประโยชน์ของ อาคารสถานที่และสภาพแวดล้อมของโรงเรียน กล่าวคือการจัดอาคารสถานที่และสภาพ แวดล้อมโรงเรียนที่ดีนั้นย่อมส่งผลต่อด้านจิตใจของนักเรียนและครู ทำให้การจัดการเรียนการ สอนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพของนักเรียน ดังนั้นการจัด อาคารเรียนและสภาพแวดล้อมจำเป็นที่จะต้องจัดให้เหมาะสม เอื้อประโยชน์ในการใช้สอยมากที่ สุด และมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่เพียงพอ และมีความประหยัด ดังที่จรัล สังข์ขาว (2542 : 39) ได้กล่าวว่า การจัดอาคารสถานที่ต้องเอื้อประโยชน์ใช้สอย มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย สวยงาม และปลอดภัย มีการควบคุมดูแลรักษา และส่งเสริมให้มีการบำรุงอาคารสถานที่มีอยู่ให้ คงสภาพดี และสนองความต้องการของผู้ใช้อย่างเพียงพอ ดังนั้นอาคารสถานที่และ สภาพแวดล้อมจึงเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่โรงเรียนจะต้องมีส่งเสริมให้มีสภาพที่ดีอยู่ตลอด เวลา และเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของนักเรียนและผู้ปกครองอย่างแท้จริง จึงควรเปิด โอกาสให้ผู้ปกครองได้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมดังกล่าวให้มาก สำหรับแนวทางการมี ส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานโรงเรียนด้านสภาพแวดล้อมและบรรยากาศโรงเรียนที่ ผู้ปกครองต้องการมีส่วนร่วมมากที่สุด คือ มีส่วนร่วมสอดส่องดูแลและให้ข้อมูลแก่ทางโรงเรียน เมื่อพบปัญหาด้านสภาพแวดล้อมและบรรยากาศโรงเรียน รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการ จัดสภาพแวดล้อมของโรงเรียน 5. ด้านความสัมพันธ์กับชุมชน จากผลการวิจัย พบว่าความต้องการมีส่วนร่วมของ ผู้ปกครองในการบริหารโรงเรียนด้านความสัมพันธ์กับชุมชนอยู่ในระดับปานกลาง สำหรับ กิจกรรมที่ผู้ปกครองต้องการมีส่วนร่วมมากที่สุด คือ มีส่วนร่วมดำเนินการจัดกิจกรรมต่อต้าน ยาเสพติด ต้านภัยเอดส์ให้แก่นักเรียนในโรงเรียนและชุมชน จากผลการวิจัยนี้สะท้อนให้เห็นว่า ผู้ปกครองนักเรียนให้ความคัญกับการป้องกันพิษภัยอันเกิดจากยาเสพติดซึ่งเป็นปัญหาที่รุนแรง ในปัจจุบัน ซึ่งมีผลกระทบอย่างมากในกลุ่มเยาวชน จะเห็นว่ากิจกรรมดังกล่าวเป็นประโยชน์ทั้ง โรงเรียนและชุมชน สำหรับแนวทางที่ผู้ปกครองต้องการมีส่วนร่วมในงานด้านความสัมพันธ์กับ ชุมชนมากที่สุด คือ การมีส่วนร่วมบริจาคเงินและสิ่งของต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนกิจกรรมอันเป็น ประโยชน์ต่อสังคม ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ ชูชาติ พ่วงสมจิตร์ (2540 : 267) เรื่อง 66 การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งเสริมและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนกับโรงเรียน พบว่า การที่ชุมชนจะเข้ามามีส่วนร่วมกับโรงเรียนประกอบด้วยกิจกรรมด้านการมีส่วนร่วมใน การสนับสนุนและร่วมดำเนินงาน คือ การบริจาคเงิน วัสดุ สิ่งของ และการช่วยหาทรัพยากร รวมทั้งการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้น จากการเปรียบเทียบความต้องการมีส่วนร่วมในการบริหารงานโรงเรียน พบว่า ผู้ปกครองที่มีนักเรียนเรียนอยู่ในระดับชั้นที่ต่างกัน จะมีความต้องการมีส่วนร่วมในการบริหาร งานโรงเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เพียงด้านเดียว คือด้านวิชาการ ส่วนด้าน บุคลากร ด้านกิจการนักเรียน ด้านสภาพแวดล้อมและบรรยากาศโรงเรียน และด้านความ สัมพันธ์กับชุมชน ไม่แตกต่าง โดยผู้ปกครองที่มีนักเรียนอยู่ในระดับประถมศึกษาตอนปลายจะมี ความต้องการมีส่วนร่วมในการบริหารงานโรงเรียนมากกว่าผู้ปกครองที่มีนักเรียนอยู่ในระดับชั้น ประถมศึกษาตอนต้นและระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ที่เป็นเช่นอาจจะเนื่องมาจากผู้ปกครองให้ ความสำคัญกับกิจกรรมวิชาการของนักเรียนตามช่วงของระดับการศึกษากล่าวคือ ถ้าเป็นช่วงที่ อยู่ในระดับประถมศึกษาตอนต้นซึ่งถือว่าเด็กยังไม่เน้นวิชาการมากนักผู้ปกครองอาจจะไม่ได้ให้ ความสนใจในกิจกรรมทางวิชาการที่จัดขึ้นเท่าที่ควร แต่ถ้าอยู่ในระดับประถมศึกษาตอนปลาย เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น ผู้ปกครองจึงมีความสนใจที่จะเข้าร่วม กิจกรรมด้านวิชาการมากขึ้น ส่วนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่ผู้ปกครองต้องการเข้าร่วม บริหารงานวิชาการน้อยกว่าระดับประถมศึกษาตอนปลายนั้นอาจจะเนื่องจากมองว่าวุฒิภาวะ ของนักเรียนสูงขึ้นผู้ปกครองจึงให้ความสนใจในกิจกรรมทางวิชาการน้อยลงเมื่อเทียบกับระดับ ประถมศึกษาตอนปลาย ข้อเสนอแนะ จากผลการวิจัย ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะ 2 ด้าน คือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการนำผลการ วิจัยไปใช้ประโยชน์ และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการทำวิจัยในอนาคตในประเด็นที่เกี่ยวกับผลการ วิจัย ดังนี้ 1. ข้อเสนอแนะสำหรับการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ 1.1 ด้านวิชาการ จากผลการวิจัยพบว่าผู้ปกครองต้องการมีส่วนร่วมในระดับ ปานกลาง ดังนั้นโรงเรียนควรมีวิธีการหรือแนวทางที่จะส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วม ในกิจกรรมทางวิชาการให้อยู่ในระดับมากขึ้น โดยจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับความต้องการและ ความถนัดของผู้ปกครอง สำหรับข้อรายการที่ผู้ปกครองต้องการมีส่วนร่วมมากที่สุด 3 อันดับ แรก คือ มีส่วนร่วมในกิจการศูนย์การเรียนที่โรงเรียนจัดขึ้น มีส่วนร่วมประชุมปรึกษา และเสนอ 67 ความคิดเห็นเกี่ยวกับการปรับปรุงหลักสูตร และมีส่วนร่วมให้ความร่วมมือในการผลิตสื่อ การเรียนการสอน ดังนั้นโรงเรียนควรส่งเสริมให้มีกิจกรรมดังกล่าวมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ผู้ปกครอง มีความสนใจที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการมากขึ้น 1.2 ด้านบุคลากร จากผลการวิจัยพบว่าผู้ปกครองต้องการมีส่วนร่วมในระดับ ปานกลาง โรงเรียนจึงควรที่จะมีมาตรการในการส่งเสริมให้ผู้ปกครองได้เข้ามามีส่วนร่วมในการ บริหารงานด้านนี้ในระดับที่สูงขึ้น โดยจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ปกครอง อย่างแท้จริง ได้แก่ การประเมินผลการทำงานของคณะครูในโรงเรียน ร่วมมือกับโรงเรียนเพื่อจัด กิจกรรมส่งเสริมความสามารถของบุคลากร และให้เสนอแนะวิธีพิจารณาความดีความชอบของ บุคลากรในโรงเรียน เป็นต้น ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวเป็นกิจกรรมที่ผู้ปกครองต้องการมีส่วนร่วมมาก ที่สุดที่พบในงานวิจัยนี้ 1.3 ด้านกิจการนักเรียน จากผลการวิจัย พบว่าผู้ปกครองต้องการมีส่วนร่วมใน การบริหารโรงเรียนด้านกิจการนักเรียนอยู่ในระดับมาก สำหรับข้อรายการที่ผู้ปกครองต้องการมี ส่วนร่วมมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ มีส่วนร่วมให้คำปรึกษาเกี่ยวกับตัวนักเรียน เพื่อส่งเสริม แก้ไข และพัฒนานักเรียนทั้งด้านการเรียนและความประพฤติ มีส่วนร่วมให้ข้อมูลเกี่ยวกับ โรงเรียน เช่น ความสนใจ ความรับผิดชอบ ความประพฤติของนักเรียน และมีส่วนร่วมในกิจ กรรมพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนควรจะส่งเสริมกิจกรรมดังกล่าวให้มาก ขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ปกครองอย่างแท้จริง 1.4 ด้านสภาพแวดล้อมและบรรยากาศโรงเรียน จากผลการวิจัย พบว่า ผู้ปกครองต้องการมีส่วนร่วมในการบริหารงานด้านนี้อยู่ในระดับปานกลาง สำหรับข้อรายการที่ ผู้ปกครองต้องการมีส่วนร่วมมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ มีส่วนร่วมพัฒนาอาคารสถานที่ และ สภาพแวดล้อมให้เอื้ออำนวยต่อการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน มีส่วนร่วมสนับสนุน เงินทุนในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมของโรงเรียนที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน และ มีส่วนร่วมให้ความช่วยเหลือด้านวัสดุอุปกรณ์ ยานพาหนะ และสาธารณูปโภคของเรียน ดังนั้น โรงเรียนจึงควรที่จะมีมาตรการในการส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีความสนใจที่จะเข้ามามีส่วนร่วมใน การบริหารงานด้านนี้ให้มากขึ้น เช่น ควรเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้แสดงความคิดเห็นและให้ ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศของโรงเรียน เช่น เชิญมาร่วมประชุม เชิญมาร่วมกิจกรรมปรับปรับปรุงสภาพแวดล้อมและบรรยากาศ แต่งตั้งเป็นคณะกรรมการร่วม บริหารงาน เป็นต้น 1.5 ด้านความสัมพันธ์กับชุมชน จากผลการวิจัย พบว่า ความต้องการมี ส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารโรงเรียนด้านความสัมพันธ์กับชุมชนอยู่ในระดับปานกลาง สำหรับข้อรายการที่ผู้ปกครองต้องการมีส่วนร่วมมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ มีส่วนร่วมดำเนิน- การจัดกิจกรรมต่อต้านยาเสพติด ต้านภัยเอดส์ให้แก่นักเรียนในโรงเรียนและชุมชน มีส่วนร่วม 68 ให้การสนับสนุนและพัฒนาโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้แก่นักเรียนและชุมชนในท้องถิ่น และมี ส่วนร่วมส่งเสริมการค้นคว้า จัดหาแหล่งข้อมูลเพื่อการศึกษาแก่นักเรียนและชุมชน ตามลำดับ ดังนั้นโรงเรียนจึงควรจัดกิจกรรมดังกล่าวให้มากขึ้นและมีการประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่าง ๆ ที่ จัดขึ้นให้ชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมโดยอาศัยผู้ปกครองเป็นสื่อกลาง และมีการจัดกิจกรรม ดังกล่าวร่วมกันระหว่างโรงเรียนกับชุมชน เป็นต้น 2. ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยในอนาคต 2.1 ควรมีการศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการเข้ามามีส่วนร่วมในการ บริหารงานโรงเรียนของผู้ปกครอง 2.2 ควรมีการศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการบริหารงานในด้าน ต่าง ๆ ของโรงเรียน 2.3 ควรมีการศึกษารูปแบบในการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการบริหารงานแบบ มีส่วนร่วม บรรณานุกรม บรรณานุกรม กรมสามัญศึกษา. ( 2540). เกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนมัธยมศึกษา พ.ศ.2539. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภา. -------. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ คุรุสภา ลาดพร้าว. กาญจนา แก้วเทพ. (2538). การทำงานพัฒนานววัฒนธรรมชุมชน โดยถือมนุษย์เป็น ศูนย์กลาง. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์สภาคาทอลิคแห่งประเทศไทยเพื่อการพัฒนา. กิติมา ปรีดีดิลก. (2532). การบริหารและการนิเทศเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ อักษราพิพัฒน์ เกสิณี ชิวปรีชา. (2530). การศึกษาการดำเนินงานทางวิชาการในสถานศึกษาที่ได้รับ รางวัลพระราชทาน สังกัดกรมอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. จรัล สังข์ขาว. (2542). ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน-นักศึกษาต่อการบริหาร งานโรงเรียนสุราษฎร์เทคโนโลยีช่างอุตสาหกรรม. ปริญญาครุศาสตรอุตสาห กรรมมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง. จำนง แจ่มจันทรวงศ์และคณะ. (2543). คู่มือการสอบ : การปฏิบัติราชการยุคใหม.่ กรุงเทพมหานคร : สำนักงานสามัญศึกษา. ชัยวัฒน์ ไทยเกรียงไกรยศ. (2536). รูปแบบการบริหารโรงเรียนเอกชน : ศึกษากรณี ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร. ชาญชัย อาจินสมาจาร. (2534). "บริหารจะดำเนินการบริหารแบบทุกฝ่ายมีส่วนร่วมได้อย่างไร" ประชากรศึกษา. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์. ชินรัตน์ สมสืบ. (2539). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชนบท. นนทบุรี : สุโขทัยธรรมาธิราช. ชูชาติ พ่วงสมจิตร์. (2540). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งเสริมและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อ การมีส่วนร่วมของชุมชนกับโรงเรียนประถมศึกษาในเขตปริมณฑล กรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 68 69 ชูศักดิ์ อรทร์รักษ์. (2536). การบริหารและการนเทศภายในโรงเรียน. ปัตตานี : ฝ่าย เทคโนโลยีทางการศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. ธีรภัทร์ เจริญดี. (2542). การศึกษาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ เขตการศึกษา 11. ปริญญาครุศาสตร มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ธีรวุฒิ ประทุมนพรัตน์. (2536). การบริหารบุคคลทางการศึกษา. สงขลา : มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา. นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์. (2534). หลักการบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : บพิธการพิมพ์. นาวี ยั่งยืน. (2542). การศึกษาความต้องการของชุมชนในการมีส่วนร่วมบริหารจัดการ ศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ส่วนกลาง สหวิทยา เขตรัตนโกสินทร์1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. นิพนธ์ กินาวงศ์. (2533). หลักเบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหารโรงเรียนและนิเทศก์การศึกษา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์พิฆเณศ. บุญมี เณรยอด. (2534). “การบริหารงานวิชาการ.” เอกสารประกอบการสัมมนาผู้บริหาร โรงเรียนระดับสูง รุ่นที่ 13. กรุงเทพมหานคร : ภาควิชาบริหารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บุญมี เลากุลศาสตร์. (2531). "ความคิดเห็นของอาจารย์และนักศึกษาเกี่ยวกับกิจกรรม นักศึกษาในวิทยาลัยพลศึกษาภาคใต้." ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา. ประคอง กรรณสูตร. (2542). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ . พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย . ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2535). การบริหารวิชาการ. กรุงเทพมหานคร : สหมิตรออฟเซท. พนัส หันนาคินทร์. (2530). การบริหารบุคลากรโรงเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : เนติกุลการพิมพ์. พิมพา ตามี่. (2540). ความต้องการของผู้ปกครองในการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของ โรงเรียนประถมศึกษา อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญา ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 70 พูนชัย มหาวงศนันท์ (2540). ความต้องการของนักเรียนโรงเรียนดงเจนวิทยาคม ในการ มีส่วนร่วมงานปกครองนักเรียน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มนัส พลายชุ่ม.(2540).ความพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการบริหารงานโรงเรียน มัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดอ่างทอง.วิทยานิพนธ์ปริญญา การศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. เมตต์ เมตต์การุณ์จิต. (2540). การมีส่วนร่วมในการบริหารโรงเรียนของกรรมการศึกษา ประจำโรงเรียนเทศบาลในจังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญา ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. มุนีศิน สมอุ่นอาจารย์. (2532). สมรรถภาพด้านความรู้ ปัญหาความต้องการและคุณ ลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้ช่วยผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัด ขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. เรณู ครุธไทย. (2542). การศึกษาการดำเนินงานวิชาการของโรงเรียนในกลุ่มนวมินทรา ชูทิศ สังกัดกรมสามัญศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร มหาบัณฑิต บัณฑิต วิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วรรณวิไล วรวิกโฆษิต. (2540). การศึกษาการมีส่วนร่วมของกรรมการบริหารองค์การ บริหารส่วนตำบลในการจัดกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียนในภาคกลาง. วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. วัลลภา เทพหัสดิน ณ อยุธยา. (2530). งานบุคลากรนิสิตนักศึกษา. กรุงเทพมหานคร : ภาควิชาอุดมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิจิตร ศรีสะอ้าน. (2530). เอกสารสอนชุดวิชาการบริหารงานบุคลากรโรงเรียนเล่ม 1 หน่วยที่ 1-5. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิทยากร เชียงกูล. (2542). รายงานสภาวะการศึกษาไทย ปี 2541 วิกฤติและโอกาส ในการปฏิรูปการศึกษาและสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร : บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน). ศริยา สุขพานิช. (2532). ความคิดเห็นของผู้ปกครองต่อการศึกษาของบุตรในโรงเรียน มัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. 71 ศิริกาญจน์ โกสุมภ์. (2542). การมีส่วนร่วมของชุมชนและโรงเรียนเพื่อการจัดการศึกษา ขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร. สมพงค์ เกษมสิน. (2523). การบริหารบุคคลแผนใหม่. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ ไทยวัฒนาพานิช. สมยศ นาวีการ. (2539). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ หน่วยที่ 7-15. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สมศรี มธุรสสุวรรณ. (2541). การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการใน โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาในจังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สัมพันธ์ อุปลา. (2541). การศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาใน โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอชนบท จังหวัด ขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2536). คู่มือการปฏิบัติงานสำหรับผู้ บริหารโรงเรียนประถมศึกษาแห่งชาติ (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน(2532). คู่มือการวางแผนพัฒนาการศึกษาเอกชน ระดับจังหวัด ชุดฝึกอบรมเล่ม 1-6. กรุงเทพมหานคร กองนโยบายและแผน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน. สุนีย์ บุญทิม. (2542). การศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยม ศึกษาในช่วงปฏิรูปการศึกษา (พ.ศ. 2539 - 2550) ตามความคาดหวังของ ผู้บริหารและครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 6. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สุนีย์ ภู่พันธ์. (2531). สภาพและปัญหาการบริหารหลักสูตร ปวช. 2530 ประเภทวิชา ศิลปกรรมในสถานศึกษากองวิทยาลัยอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญา ครุศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุรัฐ ศิลปอนันต์. (2530). ปฏิบัติการบริหารงานบุคคล : การบรรจุและแต่งตั้งครู. อุดรธานี : สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดอุดรธานี. สุวรรณา รุทธานุรักษ์. (2540). การบริหารเวลาของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาดีเด่น สังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 72 เสน่ห์ ผดุงญาติ. (2535). สภาพปัญหาการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูใน สถานศึกษา สังกัดกรมการศึกษานอกโรงเรียน. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษา มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. อรทิพย  อารยะทรงศักด์ิ. (2536). ความคาดหวังของผู้ปกครองที่มีต่อคุณภาพของ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. ปัตตานี : มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. อรัญญา อุดมศรี. (2539). สภาพและปัญหาการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนประถม ศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน จังหวัดนนทบุรี. ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. อรุณ รักธรรม. (2535). "ทฤษฎีองค์การ." ประมวลชุดวิชาทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการ บริหาร หน่วยที่ 1-7. นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. อาคม จันทสุนทร และคณะ. (2537). การวางแผนการบริหารโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภา. อุทัย บุญประเสริฐ. (2542). การศึกษาแนวทางการบริหารและจัดการศึกษาของ สถานศึกษาในรูปแบบโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. กรุงเทพมหานคร : สำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. อุทัย หิรัญโต. (2531). หลักการบริหารบุคคล. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์. Berger, E. H. (1989). Parent in Education : The School-Home Working together. 4th Ed. Columbus : Merrill Publishing Company. Cambell, Ronald F. and others. (1971).Introduction to Education Administration. New York : Allyn and Bacon,Inc. Castetter, William B. (1976). The Personal Function on Educational Administration. New York : The Macmillan publishing. Dusseeldorp, D.B.W.M.V. (1981). “Participation in Planned Development Influenced by Government of Developing Countries at local level in Rural Areas.” Essay in Rural Sociology (In Honour of R.A.J. Van Lier.). Wageningen : Department of Rural Sociology of the Tropics. Wageningen Agricultured University. Dumas.C. (1991). Implementing whole language: Collaboration communication and coordination. The Annual Spring Conference of the National Conference of Teacher of English. March 14-16, 1991., Indianapolis. 73 Hoy , Wayne K. and Miskel Cecil. (1991) Educational Administration : Theory , Research and Practice. New York : Mccraw Hill. Krejcie, Robert V. and Dragle W. Morgan. (1970) "Determining Sample Size for Research Activities," Journal of Educational and Psychological Measurement. Shadid, W., Prins, W., and Nas, P.J.M. (1982). Access and Participation : A theoretical Approach. In participation of the poor in development . Edited by Benno Galgart and Eieke Buijs. Leident : University of Leiden. Shaposka, Harry Melvin. (1997). Community Involment Economic status, and The quality of school life : A multi - site case study of school districts in the Monvalley education consortium (Pennsylvania). Education Adiministration, University of Pittsburgh. Stahl, Glenn. (1971). Public Personnel Administration. 6th ed. New York : Harper & Row. Wayne, Mondy R. and Robert M.Noe.(1990).Human Resource Management. 4th ed. Boston Allyn and Bacon. Whitaker, B.I. (1987)."Citizen Participation in Educational Decision Making in an Urban School District as Perceived by Parents and Administrators".Dissertation Abstract International.38 (November 1987) : 389 A. White, Norman Dean. (1986). “The Status and Potential of College Controlled Laboratory Schools.” Dissertation Abstracts International. 41(August 1986) : 2886 - A. ภาคผนวก ภาคผนวก ก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 78 คำชี้แจง : แบบสอบถามนี้เป็นการสอบถามเกี่ยวกับความต้องการและแนวทางการมีส่วนร่วม ของผู้ปกครองในการบริหารงานของโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา ทั้งนี้เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากท่านไป ใช้ประโยชน์ในการวางแผนการบริหารงานของโรงเรียนเท่านั้น จะไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อ นักเรียนในปกครองของท่านทั้งสิ้น แบบสอบถาม มีทั้งหมด 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 สถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 ความต้องการของผู้ปกครองในการมีส่วนร่วมการบริหารงาน โรงเรียน ตอนที่ 3 แนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานโรงเรียน คำชี้แจง : โปรดกรอกข้อมูลและทำเครื่องหมาย ลงใน ตรงหน้าข้อความที่เป็น จริงเกี่ยวกับตัวท่าน 1. เพศ ➇ 1) ชาย ➇ 2) หญิง 2. อายุ ➇ 1) ต่ำกว่า 30 ปี ➇ 2) 30 - 39 ปี ➇ 3) 40 - 49 ปี ➇ 4) 50 – 59 ปี ➇ 5) 60 ปีขึ้นไป 3. วุฒิการศึกษาสูงสุดหรือเทียบเท่า ➇ 1) ต่ำกว่าปริญญาตรี ➇ 2) ปริญญาตรี ➇ 3) ปริญญาโท ➇ 4) ปริญญาเอก 4. อาชีพ ➇ 1) รับราชการ ➇ 2) พนักงานบริษัท/ห้างร้าน/รัฐวิสาหกิจ ➇ 3) รับจ้าง ➇ 4) ประกอบธุรกิจส่วนตัว ➇ 5) อื่น ๆ (โปรดระบุ)…………………………………………. 5. รายได้ต่อเดือน ➇ 1) ต่ำกว่า 5,000 บาท ➇ 2) 5,000 – 10,000 บาท ➇ 3) 10,001 – 20,000 บาท ➇ 4) มากกว่า 20,000 บาท 6. ท่านเป็นผู้ปกครองของนักเรียนที่เรียนอยู่ในระดับ 1)ประถมศึกษาตอนต้น 2)ประถมศึกษาตอนปลาย 3) มัธยมศึกษาตอนต้น ตอนที่ 1 สถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม แบบสอบถามเพื่อการวิจัย เรื่อง ความต้องการและแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงาน ของโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา 79 คำชี้แจง : โปรดทำเครื่องหมาย / ลงในช่องระดับความต้องการในการมีส่วนร่วม บริหารงานของโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา ที่ตรงกับความต้องการของท่าน ระดับความต้องการ ความต้องการในการมีส่วนร่วม ในการบริหารงานโรงเรียน มากที่ สุด มาก ปาน กลาง น้อย น้อย ที่สุด ด้านวิชาการ 1. มีส่วนร่วมประชุมปรึกษา และเสนอความคิดเห็น เกี่ยวกับการปรับปรุงหลักสูตร 2. มีส่วนร่วมเป็นวิทยากรเพื่อให้ความรู้แก่นักเรียน 3. มีส่วนร่วมกำหนดแผนการปฏิบัติงานของโรงเรียน 4. มีส่วนร่วมให้ความช่วยเหลือในด้านการจัดหาเงินทุน เพื่อนำไปจัดซื้ออุปกรณ์ทางการศึกษา 5. มีส่วนร่วมให้ความร่วมมือในการผลิตสื่อการเรียน การสอน 6. มีส่วนร่วมในกิจกรรมศูนย์การเรียนที่โรงเรียนจัดขึ้น ด้านบุคลากร 1. มีส่วนร่วมเป็นคณะกรรมการในการสรรหาบุคลากร ของโรงเรียน 2. มีส่วนร่วมในการประเมินผลการทำงานของคณะครู ในโรงเรียน 3. มีส่วนร่วมเสนอแนะ วิธีพิจารณาความดี ความชอบ ของบุคลากรในโรงเรียน 4. มีส่วนร่วมอบรมสัมมนาเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากร ในโรงเรียน 5. มีส่วนร่วมให้ความร่วมมือกับโรงเรียนเพื่อจัด กิจกรรมส่งเสริมความสามารถของบุคลากร 6. มีส่วนร่วมในการจัดหาวิทยากรเพื่อให้การอบรมและ เสริมความรู้แก่บุคลากรในโรงเรียน ตอนที่ 2 ความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานโรงเรียน 80 ระดับความต้องการ ความต้องการในการมีส่วนร่วม ในการบริหารงานโรงเรียน มากที่ สุด มาก ปาน กลาง น้อย น้อย ที่สุด ด้านกิจการนักเรียน 1. มีส่วนร่วมให้ข้อมูลเกี่ยวกับนักเรียนแก่โรงเรียน เช่น ความสนใจ ความรับผิดชอบ ความประพฤติของ นักเรียน 2. มีส่วนร่วมให้คำปรึกษาเกี่ยวกับตัวนักเรียน เพื่อ ส่งเสริมแก้ไข และพัฒนานักเรียนทั้งด้านการเรียน และความประพฤติ 3. มีส่วนร่วมกิจกรรมการเยี่ยมบ้านของนักเรียน 4. มีส่วนร่วมให้ความช่วยเหลือนักเรียนไปศึกษาดูงาน เพื่อเรียนรู้อาชีพของผู้ปกครอง 5. มีส่วนร่วมในกิจกรรมพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของ นักเรียน 6. มีส่วนร่วมในการประชุมระหว่างผู้ปกครอง/ครูเพื่อหา แนวทางการพัฒนานักเรียน ด้านสภาพแวดล้อมและบรรยากาศโรงเรียน 1. มีส่วนร่วมพัฒนาอาคารสถานที่ และสภาพแวดล้อม ให้เอื้ออำนวยต่อการจัดการเรียนการสอนของ โรงเรียน 2. มีส่วนร่วมให้ความช่วยเหลือด้านวัสดุอุปกรณ์ ยานพาหนะและสาธารณูปโภคของโรงเรียน 3. มีส่วนร่วมให้ความร่วมมือกับโรงเรียนในการพัฒนา ด้านต่าง ๆ เช่น การทาสีโรงเรียน การทำสนาม กีฬา เป็นต้น 4. มีส่วนร่วมใช้บริการด้านอาคารสถานที่ของโรงเรียน ในการประกอบพิธีสำคัญต่าง ๆ 5. มีส่วนร่วมสนับสนุนเงินทุนในการปรับปรุง ซ่อมแซม อาคารสถานที่ของโรงเรียน 6. มีส่วนร่วมให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงสภาพ แวดลอ้ มของโรงเรยี นทเี่ ออื้ ตอ่ การจดั การจดั การเรยี น การสอน 81 ระดับความต้องการ ความต้องการในการมีส่วนร่วม ในการบริหารงานโรงเรียน มากที่ สุด มาก ปาน กลาง น้อย น้อย ที่สุด ด้านความสัมพันธ์กับชุมชน 1. มีส่วนร่วมจัดกิจกรรมส่งเสริมและประสานความ สัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน 2. มีส่วนร่วมให้การสนับสนุนและพัฒนาโรงเรียนให้เป็น แหล่งเรียนรู้แก่นักเรียนและชุมชนในท้องถิ่น 3. มีส่วนร่วมในการจัดตั้งสมาคม องค์กรเพื่อช่วยเหลือ การศึกษาของโรงเรียนและชุมชน 4. มีส่วนร่วมส่งเสริมการค้นคว้า จัดหาแหล่งข้อมูลเพื่อ การศึกษาแก่นักเรียนและชุมชน 5. มีส่วนร่วมดำเนินการจัดกิจกรรมต่อต้านยาเสพติด ต้านภัยเอดส์ ให้แก่นักเรียนในโรงเรียนและชุมชน 6. มีส่วนร่วมจัดอบรมวิชาชีพทั้งในโรงเรียนและชุมชน คำชี้แจง : โปรดทำเครื่องหมาย ลงใน หน้าข้อที่ท่านสามารถมีส่วนร่วม ดำเนินการ ให้การสนับสนุนและส่งเสริมในการบริหารงานของโรงเรียน อัสสัมชัญศึกษา ดังนี้ 3.1 ด้านวิชาการ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ➇ 1. มีส่วนร่วมให้ข้อมูลแก่ทางโรงเรียนเมื่อพบปัญหาเกี่ยวกับด้านวิชาการ ➇ 2. มีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตร ➇ 3. มีส่วนร่วมเป็นคณะกรรมการในการประเมินและตัดสินผลการเรียน ➇ 4. มีส่วนร่วมเป็นวิทยากรพิเศษในเรื่องที่เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นตามโอกาสอัน เหมาะสม ➇ 5. มีส่วนร่วมให้ความร่วมมือและสนับสนุนในการจัดกิจกรรม “วันวิชาการ” ➇ 6. มีส่วนร่วมนิเทศการสอนตามโอกาส ➇ 7. อื่น ๆ (โปรดระบุ)……………………………………………………………………… ตอนที่ 3 แนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานโรงเรียน 82 3.2 ด้านบุคลากร (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ➇ 1. มีส่วนร่วมในการคัดเลือกบุคลากรของโรงเรียน ➇ 2. มีส่วนร่วมให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากร ➇ 3. มีส่วนร่วมประเมินประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากร ➇ 4. มีส่วนร่วมให้การสนับสนุนเกี่ยวกับสวัสดิการของบุคลากรในโรงเรียน ➇ 5. มีส่วนร่วมเป็นคณะกรรมการที่ปรึกษางานบุคลากร ➇ 6. มีส่วนร่วมจัดหาทุนเพื่อสนับสนุนการพัฒนาบุคลากร เช่น การศึกษาดูงาน การศึกษาต่อ เป็นต้น ➇ 7. อื่น ๆ (โปรดระบุ)……………………………………………………………………… 3.3 ด้านกิจการนักเรียน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ➇ 1. มีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนานักเรียน ➇ 2. มีส่วนร่วมให้ความร่วมมือสอดส่องดูแลความประพฤติของบุตรหลานอย่างใกล้ชิด ➇ 3. มีส่วนร่วมให้ข้อมูลแก่โรงเรียน เมื่อพบปัญหาเกี่ยวกับตัวนักเรียน ➇ 4. มีส่วนร่วมเป็นคณะกรรมการในการวางแผนงานกิจกรรมนักเรียน ➇ 5. มีส่วนร่วมส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมของ นักเรียน ➇ 6. มีส่วนร่วมในการจัดหาทุนสนับสนุนการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนานักเรียน ➇ 7. อื่น ๆ (โปรดระบุ)………………………………………………………………… 3.4 ด้านสภาพแวดล้อมและบรรยากาศโรงเรียน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ➇ 1. มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดสภาพแวดล้อม ของโรงเรียน ➇ 2. มีส่วนร่วมเป็นที่ปรึกษาเกี่ยวกับการจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศของ โรงเรียน ➇ 3. มีส่วนร่วมสอดส่องดูแลและให้ข้อมูลแก่ทางโรงเรียน เมื่อพบปัญหาด้านสภาพ แวดล้อมและบรรยากาศของโรงเรียน ➇ 4. มีส่วนร่วมในกิจกรรมการปรับปรุงสภาพแวดล้อมของโรงเรียน ➇ 5. มีส่วนร่วมในการจัดหา/บริจาคเงินทุนสนับสนุนการปรับปรุงสภาพแวดล้อมของ โรงเรียน ➇ 6. มีส่วนร่วมเป็นคณะกรรมการพัฒนาสภาพแวดล้อมและบรรยากาศของโรงเรียน ➇ 7. อื่น ๆ (โปรดระบุ)…………………………………………………………………… 83 3.5 ด้านความสัมพันธ์กับชุมชน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ➇ 1. มีส่วนร่วมจัดกิจกรรมทางศาสนา ประเพณี และวัฒนธรรมต่าง ๆ ➇ 2. มีส่วนร่วมบริจาคเงินและสิ่งของต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ ต่อสังคม ➇ 3. มีส่วนร่วมเป็นคณะกรรมการดำเนินงานด้านความสัมพันธ์กับชุมชน ➇ 4. มีส่วนร่วมให้ความร่วมมือและสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ที่โรงเรียนและชุมชน จัดขึ้น ➇ 5. มีส่วนร่วมช่วยประสานงานกิจกรรมที่โรงเรียนและชุมชนจัดขึ้น ➇ 6. มีส่วนร่วมในการเสนอแนะแนวทางในการสร้างความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับ ชุมชน ➇ 7. อื่น ๆ (โปรดระบุ)……………………………………………………………… ******************************************* ขอขอบพระคุณที่เสียสละเวลาในการตอบแบบสอบถาม นางสาวสุจิตรา เรืองวุฒิชนะพืช นักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาการบริหารการศึกษา สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 84 ภาคผนวก ข รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ 85 รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ 1. รองศาสตราจารย์ไพฑูรย์ ธรรมแสง อดีตอธิการสถาบันราชภัฏลำปาง 2. รองศาสตราจารย์เกริก วยัคฆานนท์ คณบดีคณะวิทยาการจัดการ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุภรณ์ ลิ้มบริบูรณ์ โปรแกรมวิชาการวัดผลการศึกษา สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 4. ดร.วิโรจน์ วัฒนานิมิตกูล ประธานบริหารหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน) 5. นางสาวกฤษฎี ชื่นชมน้อย ครูใหญ่โรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา 86 ประวัติผู้วิจัย ชื่อ - สกุล นางสาวสุจิตรา เรืองวุฒิชนะพืช วันเดือนปีเกิด เกิดเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2502 สถานที่เกิด เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร ประวัติการศึกษา สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาครุศาสตรบัณฑิต วิชาเอกคหกรรมศาสตร์ วิทยาลัยครูสวนสุนันทา เมื่อปี พ.ศ. 2524 เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา สถาบันราชภัฏสมเด็จเจ้าพระยา เมื่อปีการศึกษา 2542 ตำแหน่งปัจจุบัน หัวหน้ากลุ่มสาระวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี โรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา กรุงเทพมหานคร ความต้องการและแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานของโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา (ตอนที่ 1)
ความต้องการและแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานของโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา (ตอนที่ 2)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น