วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการบริหารงานของโรงเรียนเลิศหล้า



ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน
ที่มีต่อการบริหารงานของโรงเรียนเลิศหล้า
นายชานันท์ ถ้ำคู่
วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา ตามหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาการบริหารการศึกษา
ปีการศึกษา 2545
ISBN 974-373-178-4
ลิขสิทธิ์ของสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
The Satisfaction of Parents / Guardians
Towards the Management of Lertlah School
Mr. Chanan Thamkhoo
A Thesis Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements
for the Master of Education in Educational Administration
at Rajabhat Institute BansomdejChaopraya
Academic Year 2002
ISBN 974-373-178-4
วิทยานิพนธ์ ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน ที่มีต่อการบริหารงานของโรงเรียนเลิศหล้า
โดย นายชานันท์ ถ้ำคู่
หลักสูตร ครุศาสตรมหาบัณฑิต
อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. บำรุง ปานสุนทร
อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุภรณ์ ลิ้มบริบูรณ์
อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม อาจารย์ ทวีศักดิ์ จงประดับเกียรติ
บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา อนุมัติให้วิทยานิพนธ์นี้
เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต
….…….………………………………..คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
(รองศาสตราจารย์ นันทา วิทวุฒิศักดิ์)
วันที่ 15 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2545
คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์
…………………………………………ประธานกรรมการ
(ศาสตราจารย์ ดร. สายหยุด จำปาทอง)
…………………………………………กรรมการ
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. บำรุง ปานสุนทร)
…………………………………………กรรมการ
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุภรณ์ ลิ้มบริบูรณ์)
…………………………………………กรรมการ
(อาจารย์ ทวีศักดิ์ จงประดับเกียรติ)
…………………………………………กรรมการ
(ดร. สรายุทธ์ เศรษฐขจร)
…………………………………………กรรมการและเลขานุการ
(รองศาสตราจารย์ นันทา วิทวุฒิศักดิ์)
นายชานันท์ ถ้ำคู่. (2545). ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน ที่มีต่อการบริหารงานของ
โรงเรียนเลิศหล้า วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. คณะกรรมการควบคุม : ผศ.ดร.บำรุง
ปานสุนทร, ผศ.สุภรณ์ ลิ้มบริบูรณ์, อาจารย์ทวีศักดิ์ จงประดับเกียรติ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา และเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ปกครอง
นักเรียน ที่มีต่อการบริหารงานของโรงเรียนเลิศหล้า (1) ด้านวิชาการ (2) ด้านครูผู้สอน
(3) ด้านสภาพแวดล้อมและบรรยากาศของโรงเรียน (4) ด้านพฤติกรรมของนักเรียน
(5) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง โดยเครื่องมือเป็นแบบสอบถาม ที่มีค่า
ความเชื่อมั่น 0.97 และเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ผู้ปกครองหลักสูตรสองภาษา
302 คน ผู้ปกครองหลักสูตรนานาชาติ 148 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วน
เบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ t-test
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจในการบริหารงานของโรงเรียนเลิศหล้า
โดยภาพรวม และรายด้านอยู่ในระดับมาก
2. ผู้ปกครองนักเรียนหลักสูตรสองภาษา และหลักสูตรนานาชาติมีความพึงพอใจต่อ
การบริหารงานของโรงเรียนเลิศหล้า โดยภาพรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อ
พิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผู้ปกครองนักเรียนหลักสูตรสองภาษา และหลักสูตร
นานาชาติมีความพึงพอใจต่อการบริหารงานของโรงเรียนเลิศหล้าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในด้านสภาพแวดล้อมและบรรยากาศของโรงเรียนและด้านพฤติกรรมของ
นักเรียน โดยผู้ปกครองนักเรียนหลักสูตรสองภาษามีความพึงพอใจสูงกว่า ผู้ปกครอง
นักเรียนหลักสูตรนานาชาติ ส่วนด้านอื่นๆ ไม่พบความแตกต่างกัน
Chanan Thamkhoo, (2002). The Satisfaction of Parents / Guardians Towards The
Management of Lertlah School Master thesis, Bangkok: Graduate School,
Rajabhat Institute Bansomdej Chao Praya. Advisor Committee: Asst.Prof.
Dr. Bamroong Parnsoonthorn, Asst.Prof.Suporn Limboriboon, Mr.Thaveesak
Jongpradabgeard
The purpose of this thesis was to study and compare the satisfaction of
parents towards the management of Lertlah School in (1) academic aspects, (2)
teacher aspects, (3) school environment (4) student behaviors (5) the relationship
between school and parent. 302 Questionnaires were sent to the Bilingual program
parents and 148 to the international program then analysed with different statistical
modes including percentage, mean, standard deviation, and t-test of significance.
The findings were as follows:
1. Parents in both Bilingual and International programs were satisfied with
the management of Lertlah School at the moderately high degree level of satisfaction.
2. There was no significant difference between the satisfaction of parents in
the Bilingual program and in the International program. The satisfaction of the parents
in the Bilingual program was statistically different from that of parents in the
International program at the 0.05 significance level in the environment and atmosphere
aspects, and the student behavior aspects. There was no difference of satisfaction in
the other aspects.
สารบัญ
หน้า
บทคัดย่อภาษาไทย…………………………………………………………………………. ก
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ……………………………………………………………………… ข
สารบัญเรื่อง…...…………………………………………………………………………….. จ
สารบัญตาราง…...………………………………………………………………………… ฉ
สารบัญแผนภาพ…………………………………………………………………………….. ช
กิตติกรรมประกาศ…………………………………………………………………………… ซ
บทที่ 1 บทนำ
1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา………………..…………………. 1
1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย…………………………………………………… 2
1.3 ขอบเขตของการวิจัย………………………………………………………... 3
1.4 นิยามศัพท์เฉพาะ…………………………………………………………… 3
1.5 ประโยชน์ที่ได้คาดว่าจะได้รับ ……………………………………………… 4
1.6 กรอบแนวคิดในการวิจัย…………………………………………………….. 5
1.7 สมมติฐานในการวิจัย……………………………………………………….. 5
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2.1 เอกสารที่เกี่ยวของกับของความพึงพอใจ……………………………….… 6
2.2 แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารงานโรงเรียน…………………...…… 11
2.3 นโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน………………….. 20
2.4 การบริหารงานของโรงเรียนเลิศหล้า..…………………..…….……………… 23
2.5 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง…………………..…….………………………………… 25
บทที่ 3 วิธีดำเนินงานวิจัย
3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง……….………………………………….…… 28
3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย………………..………………………………… 29
3.3 ขั้นตอนในการสร้างเครื่องมือ…………………..…………………………. 29
3.4 การเก็บรวบรวมข้อมูล……………………..……………………………… 30
3.5 การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติใช้ในการวิเคราะห์…………………………... 30
5
สารบัญ (ต่อ)
หน้า
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
4.1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ปกครอง………......................................................... 32
4.2 ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน ที่มีต่อการบริหาร
งานของโรงเรียนเลิศหล้า..................................................................... 32
4.3 ผลเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน ที่มีต่อ
การบริหารโรงเรียนเลิศหล้า............................................................ 39
บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
5.1 วัตถุประสงค์ของการวิจัย....................................................................... 49
5.2 ขอบเขตของการวิจัย............................................................................. 49
5.3 วิธีดำเนินการวิจัย................................................................................. 50
5.4 สรุปผลการวิจัย…………………………………………………………….. 50
5.5 อภิปรายผล…………………………………………………………..……. 51
5.6 ข้อเสนอแนะ……………………………………………………………….. 52
บรรณานุกรม…………………………………………………………………………….. 59
ภาคผนวก
ภาคผนวก ก แบบสอบถามเพื่อการวิจัย…………………………………….. 65
ภาคผนวก ข หนังสือราชการที่เกี่ยวข้องและรายชื่อผู้เชี่ยวชาญ…………. 74
ภาคผนวก ค ประวัติผู้วิจัย…………………………………………………… 75
6
สารบัญตาราง
หน้า
ตารางที่ 1 แสดงจำนวนประชากรและกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามหลักสูตร…………… 32
ตารางที่ 2 จำนวนและค่าร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม…………………………….. 32
ตารางที่ 3 ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของความพึงพอใจของผู้ปกครอง
นักเรียน มีต่อการบริหารงานของโรงเรียนเลิศหล้า
จำแนกเป็นรายด้าน…………................................................................. 33
ตารางที่ 4 ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของความพึงพอใจของผู้ปกครอง
นักเรียน ที่มีต่อการบริหารงานของโรงเรียนเลิศหล้า ด้านวิชาการ
จำแนกเป็นรายข้อ..……………. …………………………………………. 34
ตารางที่ 5 ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของความพึงพอใจของผู้ปกครอง
นักเรียน ที่มีต่อการบริหารงานของโรงเรียนเลิศหล้า ด้านครูผู้สอน
จำแนกเป็นรายข้อ……………………………………………………..…… 35
ตารางที่ 6 ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของความพึงพอใจของผู้ปกครอง
นักเรียน ที่มีต่อการบริหารงานของโรงเรียนเลิศหล้า ด้านสภาพแวดล้อม
และบรรยากาศของโรงเรียน จำแนกเป็นรายข้อ…………………………. 36
ตารางที่ 7 ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของความพึงพอใจของผู้ปกครอง
นักเรียน ที่มีต่อการบริหารงานของโรงเรียนเลิศหล้า ด้านพฤติกรรมของ
นักเรียนจำแนกเป็นรายข้อ……………………………………….…………. 37
ตารางที่ 8 ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของความพึงพอใจของผู้ปกครอง
นักเรียน ที่มีต่อการบริหารงานของโรงเรียนเลิศหล้า ด้านความสัมพันธ์
ระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครองจำแนกเป็นรายข้อ…………………………… 38
ตารางที่ 9 เปรียบเทียบของความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนหลักสูตรสองภาษา
กับหลักสูตรนานาชาติที่มีต่อการบริหารงานของโรงเรียนเลิศหล้า
จำแนกเป็นรายด้าน…………………………………………………………. 39
ตารางที่ 10 เปรียบเทียบของความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนหลักสูตรสองภาษา
กับหลักสูตรนานาชาติที่มีต่อการบริหารงานของโรงเรียนเลิศหล้า
ด้านวิชาการ จำแนกเป็นรายข้อ……………………………………………. 40
ตารางที่ 11 เปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนหลักสูตรสองภาษา
กับหลักสูตรนานาชาติที่มีต่อการบริหารงานของโรงเรียนเลิศหล้า
ด้านครูผู้สอน จำแนกเป็นรายข้อ..…………………………………………. 42
7
สารบัญตาราง (ต่อ)
หน้า
ตารางที่ 12 เปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนหลักสูตรสองภาษา
กับหลักสูตรนานาชาติที่มีต่อการบริหารงานของโรงเรียนเลิศหล้า
ด้านสภาพแวดล้อมและบรรยากาศของโรงเรียน จำแนกเป็นรายข้อ..……. 43
ตารางที่ 13 เปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนหลักสูตรสองภาษา
กับหลักสูตรนานาชาติที่มีต่อการบริหารงานของโรงเรียนเลิศหล้า
ด้านพฤติกรรมของนักเรียนจำแนกเป็นรายข้อ..…………………………… 45
ตารางที่ 14 เปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนหลักสูตรสองภาษา
กับหลักสูตรนานาชาติที่มีต่อการบริหารงานของโรงเรียนเลิศหล้า
ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง จำแนกเป็นรายข้อ…….. 47
8
สารบัญภาพ
หน้า
แผนภาพที่ 1 แสดงกรอบแนวคิดในการวิจัย................................................……. 5
กิตติกรรมประกาศ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้สำเร็จลงด้วยดี เพราะได้รับความกรุณาอย่างยิ่งจาก ผู้ช่วย
ศาสตราจารย์ ดร.บำรุง ปานสุนทร อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุภรณ์
ลิ้มบริบูรณ์ และอาจารย์ทวีศักดิ์ จงประดับเกียรติ กรรมการวิทยานิพนธ์ ที่ได้เอาใจใส่ให้คำแนะ
นำและตรวจแก้ไขเพื่อให้วิทยานิพนธ์มีความถูกต้อง ผู้วิจัยขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่ง
ขอกราบขอบพระคุณศาสตราจารย์ ดร.สายหยุด จำปาทอง และรองศาสตราจารย์
นันทา วิทวุฒิศักดิ์ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และ
ดร.สรายุทธ์ เศรษฐขจร กรรมการสอบวิทยานิพนธ์ที่ได้กรุณาให้คำแนะนำและข้อคิดเห็นที่
เป็นประโยชน์ตลอดจนช่วยแก้ไขวิทยานิพนธ์ให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ขอขอบพระคุณคณาจารย์ สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยสถาบันราชภัฏ
บ้านสมเด็จเจ้าพระยา ทุกท่านที่ได้ประสิทธิ์ประสาทความรู้แก่ผู้วิจัย
ขอขอบพระคุณผู้เชี่ยวชาญทุกท่านที่ได้กรุณาให้คำแนะนำ และข้อเสนอแนะใน
การสร้างเครื่องมือในการวิจัย และขอขอบพระคุณผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนเลิศหล้าทุกคน
ที่ให้ความอนุเคราะห์ในการเก็บข้อมูล และเป็นกลุ่มตัวอย่างในการตอบแบบสอบถาม
ขอกราบขอบพระคุณ คุณพ่อสมพงศ์ ถ้ำคู่ คุณแม่ห้วย ถ้ำคู่ และขอขอบพระคุณญาติพี่
น้องทุกคน ตลอดจนเพื่อนๆ สาขาการบริหารการศึกษารุ่นที่ 2 ทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
คุณวชิราภรณ์ สุรธนะสกุล คุณอนันทพร โชตินัย และจ่าเอกวินัย วงษาหล้า ที่ช่วยจัดพิมพ์
รูปเล่มวิทยานิพนธ์ ตลอดจนเป็นกำลังใจให้กับผู้วิจัยด้วยดีเสมอมา ผู้วิจัยขอขอบคุณ
คุณพงศ์ธร โพธิ์พูลศักดิ์ ซึ่งแนะนำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS มาด้วยดี
คุณความดีของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ขอมอบให้บุพการี และคณาจารย์
ชานันท์ ถ้ำคู่
บทที่ 1
บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
การศึกษาเป็นกระบวนการที่จะทำให้มนุษย์สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนให้
ดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข สามารถเกื้อหนุนการพัฒนาประเทศได้อย่างเหมาะสม
สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงในทุกๆ ด้านของประเทศ การเตรียมคนให้มีคุณลักษณะ
มองก้าว คิดไกล สามารถเผชิญกับสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในยุคปัจจุบัน
แต่การจัดการศึกษาที่เป็นอยู่ในปัจจุบันยังไม่สามารถสนองความต้องการในการพัฒนาบุคคล
ชุมชน ท้องถิ่น และประเทศชาติ ซึ่งกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วได้ดีเท่าที่ควร โดยการจัด
การศึกษาจะต้องต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้ และพัฒนาตนเองได้ และ
ถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด โดยกระบวนการจัดการศึกษาจะต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถ
พัฒนาตามธรรมชาติ และเต็มตามศักยภาพ (พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2542 : 12 มาตรา 22) ดังนั้นการจัดการศึกษาจะให้มีคุณภาพต้องมีการปรับปรุงเนื้อหา
สาระของหลักสูตรให้เหมาะสม เป็นความรู้สมัยใหม่ มีเนื้อหาสาระพื้นฐานที่สอดคล้องกับ
วิถีชีวิตและความต้องการของบุคคล ชุมชน และสังคมในอนาคตในสังคมปัจจุบันการศึกษาที่
พึงประสงค์จะต้องเป็นการศึกษาที่มุ่งพัฒนาคนให้เกิดความสมดุลย์ทั้งทางด้านร่างกาย
สติปัญญา อารมณ์ และสังคม ทั้งระดับความคิด ค่านิยม พฤติกรรมให้สอดคล้องกับความ
ต้องการของบุคคล ชุมชน และสังคมแต่ละแห่ง (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ,
2541 : 1) โดยมีโรงเรียนเป็นสถาบันที่ให้การศึกษาและเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ซึ่งเกิดขึ้นกับ
ความต้องการของสังคมรับใช้และบริการสังคม ชุมชน (พนิจดา วีระชาติ, 2542 : 6) และในการ
จัดการศึกษาจึงถือว่าเป็นหน้าที่ของประชาชนทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงเรียนซึ่งเป็นสถานที่ที่
อยู่ใกล้ตัวนักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชนมากที่สุด ซึ่งจะต้องพัฒนาชีวิตของคนอย่างครบถ้วน
ทั้งในด้านความรู้ ความเข้าใจ ในวิชาการต่างๆ การพัฒนาความคิด และสติปัญญา การปรับ
ปรุงแก้ไขพฤติกรรมให้อยู่ในวิถีทางที่ถูกที่ควร การสร้างทัศนคติ ค่านิยมที่ถูกต้อง การสร้าง
มาตรฐานทางคุณธรรมจริยธรรมให้เกิดขึ้น ในชีวิตของผู้เรียน เป็นการพัฒนาความเป็นมนุษย์
อย่างเป็นองค์รวม (เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์, 2543 : 60) ควรพัฒนาการศึกษาให้สอดคล้อง
กับความต้องการของคนส่วนใหญ่ในสังคมและชุมชน ควรพัฒนาโรงเรียนให้ไม่แปลกแยกจาก
ชุมชน ควรมีการปรับปรุงหลักสูตรท้องถิ่นให้สัมพันธ์กับภูมิปัญญาที่อยู่ในชุมชน ควรส่งเสริม
2
ภู มิ ปัญญาท้ อ ง ถิ่ น ที่ มี อ ยู่ ใ น ชุมชนให้มา ก ขึ้น ค ว ร นำ ภู มิ ปัญญา ท้ อ ง ถิ่ น
เข้ามาในโรงเรียน และเพิ่มความรู้ทางวิชาการสอดแทรกเข้าไปในภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เกิดความ
เข้มแข็งยิ่งขึ้น (จิรพันธ์ ไตรทิพย์จรัส, 2542 : 4)
โรงเรียนเป็นสถานศึกษาที่ผู้ปกครองมีความหวังไว้อย่างสูง เพื่อเป็นที่ประสิทธิ์
ประสาท ความรู้ อบรมบ่มนิสัย ลูกหลานให้มีคุณธรรมจริยธรรม เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
ตั้งแต่ครอบครัวจนถึงประเทศชาติ แต่ปัจจุบันนี้ผู้ปกครองต่างไม่แน่ใจในคุณภาพของโรงเรียน
แต่ละโรงเรียนว่ามีความเป็นมาตรฐานเท่าเทียมกันเพียงใด ถึงแม้ว่ากระทรวงศึกษาธิการ
ต่างประชาสัมพันธ์กันมาตลอดว่า โรงเรียนทุกโรงเรียนมีมาตรฐานเท่าเทียมกันในด้าน
องค์ประกอบทั้งอาคารเรียน วัสดุอุปกรณ์ สื่อการสอน แม้แต่ครูส่วนมากก็จะจบมาจากสถาบัน
ซึ่งมีมาตรฐานทัดเทียมกัน นอกจากนี้ยังมีโครงการต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย เพื่อยกระดับ
คุณภาพโรงเรียนให้เท่าเทียมกัน เริ่มจากการตั้งโรงเรียนเป็นกลุ่ม การจัดโครงการโรงเรียน
พี่โรงเรียนน้องมาจนถึงปัจจุบันนี้ได้จัดตั้งเป็นรูปสหวิทยาเขต ทั้งยังให้มีการประเมินมาตรฐาน
โรงเรียน (ธรรมนูญโรงเรียนเลิศหล้า, มปป. : 212)
จากการประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ส่งผลให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงในระบบการศึกษามากมาย โดยเฉพาะการประกันคุณภาพการศึกษา ซึ่ง
ทุกโรงเรียนต่างก็เร่งพัฒนา และจัดกระบวนการเรียนการสอนให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานอย่างมี
คุณภาพ ทั้งมาตรฐานคุณภาพของนักเรียนและคุณภาพ กระบวนการจัดการศึกษาของ
โรงเรียนและที่สำคัญก็คือจะทำอย่างไร จึงจะให้โรงเรียนเป็นที่พึงพอใจของผู้ปกครอง นักเรียน
และชุมชน (มานพ ช่องตะคุ, 2543 : 4-5) ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาระดับความพึงพอใจของ
ผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการบริหารงานโรงเรียนเลิศหล้า หลักสูตรสองภาษาและหลักสูตรนานา
ชาติ เพื่อที่จะได้นำผลการวิจัยไปใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุง การบริหารงานในด้านต่างๆ
ของโรงเรียนให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ปกครองนักเรียน และการเปลี่ยนแปลงของ
สังคม รวมทั้งการวางแผนพัฒนาโรงเรียนสืบไป
วตั ถปุ ระสงคข์ องการวจิ ยั
1. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนเลิศหล้าที่มีต่อการบริหารงาน
ในดา้ นวิชาการ ดา้ นครผู สู้ อน ดา้ นสภาพแวดลอ้ ม และบรรยากาศของโรงเรียน ดา้ นพฤตกิ รรมของนกั
เรียน และด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง
3
2. เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนเลิศหล้า ที่มีต่อการบริหาร
งานในดา้ นวิชาการ ดา้ นครผู สู้ อน ดา้ นสภาพแวดลอ้ ม และบรรยากาศของโรงเรียน ดา้ นพฤตกิ รรม
ของนักเรียน และด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง
4
ขอบเขตของการวิจัย
1. ในการศึกษาครั้งนี้ศึกษาเฉพาะความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการบริหาร
งานใน 5 ด้าน คือ ด้านวิชาการ ด้านครูผู้สอน ด้านสภาพแวดล้อมและบรรยากาศของ
โรงเรียน ดา้ นพฤตกิ รรมของนกั เรยี น และดา้ นความสัมพนั ธร์ ะหวา่ งโรงเรยี นกบั ผูป้ กครอง
2. ประชากรที่ใชศ้ กึ ษา ไดแ้ ก ่ ผูป้ กครองนกั เรยี นโรงเรยี นเลิศหลา้ หลักสตู รสองภาษาและ
หลักสูตรนานาชาติ
3. ตวั แปรทศี่ กึ ษาประกอบดว้ ยตวั แปรอสิ ระ และตัวแปรตาม ดงั นี้
3.1 ตวั แปรอสิ ระ ไดแ้ ก ่ ประเภทของผูป้ กครองนักเรียน จาํ แนกเปน็
3.1.1 ผู้ปกครองนักเรียนหลักสูตรสองภาษา
3.1.2 ผู้ปกครองนักเรียนหลักสูตรนานาชาติ
3.2 ตวั แปรตาม ไดแ้ ก ่ ความพึงพอใจของผูป้ กครองนกั เรยี นที่มีตอ่ การบรหิ ารงาน
ของโรงเรยี นเลศิ หลา้ ประกอบดว้ ย 5 ดา้ นคอื ดา้ นวชิ าการ ดา้ นครผู สู้ อน ดา้ นสภาพแวดลอ้ มและ
บรรยากาศของโรงเรียน ด้านพฤติกรรมของนักเรียน ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับ
ผู้ปกครอง
นิยามศัพท์เฉพาะ
โรงเรียน หมายถึง โรงเรียนเลิศหล้าหลักสูตรสองภาษาและหลักสูตรนานาชาติ
หลักสูตรสองภาษา หมายถึง การเรียนการสอนที่ปรับจากหลักสูตรปกติในโรงเรียน
ไทยทั่วไป โดยโรงเรียนจัดครูชาวต่างประเทศ เข้าสอนวิชาหลักในระดับชั้นประถมศึกษาทุกระดับ
ชั้นเรียน โดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสื่อกลางในการเรียนการสอน ในวิชาคณิตศาสตร์ วิชา
วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ ชั่วโมงการเรียนทั้งหมดระหว่างภาษาอังกฤษและภาษาไทยคิด
เป็นอัตราส่วน 50 : 50
หลักสูตรนานาชาติ หมายถึง การเรียนการสอนที่ใช้หลักสูตรของกรมวิชาการ
กระทรวงศึกษาธิการและของประเทศแคนาดา มาประยุกต์ใช้ร่วมกันโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็น
ภาษาสื่อกลางในการสอนทุกวิชายกเว้นวิชาภาษาไทย ประวัติศาสตร์ไทยและพระพุทธศาสนา
ชั่วโมงการเรียนทั้งหมดระหว่างภาษาอังกฤษและภาษาไทยคิดเป็นอัตราส่วน 80 : 20
ความพึงพอใจที่มีตอ่ การบริหารงาน หมายถึง ความรูส้ กึ ทีด่ ี หรอื มีเจตคติทีด่ ขี องบุคคล
นั้นๆ เมื่อได้รับการตอบสนองตามความคาดหวังและตามความต้องการของตนเอง จึงทำให้เกิดความรู้
สึกดีต่อสิ่งนั้นๆ
5
ด้านวิชาการ หมายถึง กระบวนการจัดเนื้อหาความรู้ และประสบการณ์ตลอดจน
กจิ กรรมตา่ งๆ ทีโ่ รงเรยี นจดั ขึ้น อันสอดคลอ้ งกบั นโยบายการจดั การศกึ ษาของประเทศ
ดา้ นครผู สู้ อน หมายถึง บุคลากรของโรงเรียนเลศิ หลา้ หลักสูตรสองภาษาและหลักสูตร
นานาชาติที่ทำหน้าที่จัดประสบการณ์ โดยมุ่งศึกษาคุณลักษณะ ความรู้ในวิชาที่สอน ความสามารถ
ในการใช้วิธีสอน ความเอาใจใส่ดูแลนักเรียน และจรรยาบรรณของครู และเป็นครูที่ได้รับการบรรจุตาม
ระเบียบข้อบังคับของสำนักงานคณะกรรมการศึกษาเอกชน
ดา้ นสภาพแวดลอ้ มและบรรยากาศของโรงเรียน หมายถึง สขุ ลกั ษณะของสภาพ
แวดลอ้ มและความปลอดภัยในโรงเรยี น ซึง่ ไดแ้ กอ่ าคารเรียน หอ้ งเรยี น หอ้ งปฏบิ ตั งิ าน หอ้ งสมดุ หอ้ ง
น้ำ ห้องพักครู รวมทั้งสภาพแวดล้อมที่เป็นที่พักผ่อน สถานที่เล่นกีฬา ระบบการจราจร
ที่จอดรถ และสาธารณูปโภคต่างๆ ทั้งที่เป็นการบริการภายในโรงเรียนและความสะดวกปลอดภัยใน
โรงเรียนและรอบๆ โรงเรียน
ด้านพฤติกรรมนักเรียน หมายถึง ความประพฤติของนักเรียนที่แสดงให้ปรากฏเห็น
ตอ่ สาธารณชนทั่วๆ ไปไดแ้ ก ่ การแตง่ กาย การเรียน การกีฬา มารยาททัว่ ไป การมีสัมมาคารวะ
พูดจา การพูดภาษาอังกฤษ
ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง หมายถึง การเสริมสร้างแนวทางใน
การติดตอ่ ระหวา่ งโรงเรียนกับผูป้ กครองนักเรียน ในดา้ นการใหข้ อ้ มลู ขา่ วสาร การรบั ข้อมลู การรบั ฟัง
ความคดิ เหน็ การใหข้ อ้ เสนอแนะ และการใหค้ วามชว่ ยเหลอื ตา่ งๆ เพื่อใหเ้ กดิ ความเขา้ ใจอนั ดี
ตอ่ กนั และเพือ่ ความรว่ มมือในการพัฒนาการเรยี นรูข้ องนกั เรยี นและการจดั การศกึ ษาของโรงเรยี น
ผู้ปกครองนักเรียน หมายถึง ผู้รับผิดชอบ และดูแลเอาใจใส่อบรมสั่งสอนนักเรียนของ
โรงเรยี นเรยี นเลศิ หลา้ หลกั สตู รสองภาษาและหลกั สตู รนานาชาต ิ ไดแ้ ก ่ บดิ ามารดา ญาติหรอื ผูท้ ี่บิดา
มารดาไว้วางใจ ให้รับผิดชอบและดูแลนักเรียน
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ผลการวิจัยก่อให้เกิดประโยชน์ดังนี้
1. ทำให้ทราบความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน ที่มีต่อการบริหารงานของ
โรงเรียนเลิศหล้า
2. เป็นสารสนเทศให้กับโรงเรียนใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุง และพัฒนาการบริหาร
งานด้านต่างๆ ให้เกิดประสิทธิภาพ
6
กรอบแนวคิดในการวิจัย
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และนำมากำหนด
กรอบแนวคิด ดังนี้
ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน
ประเภทของผู้ปกครองนักเรียน 1. ด้านวิชาการ
2. ด้านครูผู้สอน
ผู้ปกครองนักเรียนหลักสูตรนานาชาติ 3. ด้านสภาพแวดล้อมและ
ผู้ปกครองนักเรียนหลักสูตรสองภาษา บรรยากาศของโรงเรียน
4. ด้านพฤติกรรมนักเรียน
5. ด้านความสัมพันธ์ระหว่าง
โรงเรียนกับผู้ปกครอง
แผนภาพที่ 1 แสดงกรอบแนวคิดในการวิจัย
สมมติฐานในการวิจัย
ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนเลิศหล้าหลักสูตรสองภาษาและหลักสูตรนานาชาติมีความ
พึงพอใจในการบริหารงาน ของโรงเรียนเลิศหล้าแตกต่างกัน
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจ
1.1 ความหมายของความพึงพอใจ
1.2 แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับความพึงพอใจ
2. แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารงานโรงเรียน
2.1 ความหมายของการบริหารงานโรงเรียน
2.2 ขอบเขตของการบริหารงานโรงเรียน
2.2.1 ด้านวิชาการ
2.2.2 ด้านครูผู้สอน
2.2.3 ด้านสภาพแวดล้อมและบรรยากาศในโรงเรียน
2.2.4 ด้านพฤติกรรมนักเรียน
2.2.5 ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง
3. นโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน
4. การบริหารงานโรงเรียนเลิศหล้า
4.1 ด้านวิชาการ
4.2 ด้านครูผู้สอน
4.3 ด้านสภาพแวดล้อม และบรรยากาศของโรงเรียน
4.4 ด้านพฤติกรรมนักเรียน
4.5 ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง
5. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
เอกสารที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจ
1. ความหมายของความพึงพอใจ
ความพึงพอใจเป็นปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่งที่มีผลต่อความสำเร็จของงานบรรลุ
เป้าหมายที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพ อันเป็นผลจากการที่ได้รับการตอบสนองต่อแรงจูงใจ หรือความ
7
ต้องการของแต่ละบุคคลในแนวทางที่เขาประสงค์ ซึ่งผู้วิจัยได้ศึกษาเกี่ยวกับความหมายของความพึงพอ
ใจ และมีผู้ให้ความหมายของความพึงพอใจพอสรุปได้ ดังนี้
เฟรนซ์ (French, 1964 : 28-29) กล่าวว่า บุคคลจะเกิดความพึงพอใจในการทำงานได้ถ้า
สภาพของงานดี ซึ่งหมายถึง การมีตำแหน่งที่ดี มีรายได้เพียงพอกับการดำรงชีวิต มคี วามมนั่ คงในหนา้ ที่
การงาน ซึ่งจะก่อให้เกิดสถานภาพทางสังคมสูง และทำให้บุคคลสามารถปรับบุคลิกให้เข้ากับสภาพ
สังคมทั้งภายในและภายนอกองคก์ ารได้
เดวิส (Devis, 1964 : 83) ให้ความหมายเกี่ยวกับความพึงพอใจไว้ว่า เป็นความสัมพันธ์
ระหว่างความคาดหวังกับผลประโยชน์ที่ได้รับ
สมยศ นาวีการ (2522 : 301) ไดก้ ลา่ วถงึ ความพงึ พอใจวา่ ความพึงพอใจ หมายถึง ความ
รุนแรงของความต้องการสำหรับผลรับอย่างใดอย่างหนึ่ง
จรัส โพธิ์จันทร์ (2527 : 17) ได้กล่าวถึงความพึงพอใจไว้ว่าเป็นความรู้สึกของบุคคลแต่ละ
หนว่ ยงานซึง่ อาจเปน็ ความรูส้ ึกในทางบวก ทางเปน็ กลาง หรือทางลบ ความรูส้ กึ เหลา่ นี้มีผลตอ่ ประ
สิทธภิ าพในการปฏิบัติหนา้ ที่ กลา่ วคอื หากความรูส้ ึกโนม้ เอียงไปในทางบวกการปฏิบัติหนา้ ที่จะมี
ประสิทธิภาพสูง แต่หากความรู้สึกโน้มเอียงไปในทางลบการปฏิบัติหน้าที่จะมี
ประสทิ ธภิ าพตา่ํ
พนิ คงพูน (2529 : 21) ไดก้ ลา่ วถงึ ความพงึ พอใจวา่ ความพึงพอใจ หมายถึง ความ
รูส้ กึ รักชอบ ยนิ ด ี เตม็ ใจหรอื เจตคติทีด่ ี ของบคุ คลทีเ่ ขาไดร้ บั จากการกระทาํ นัน้ ๆ
กิติมา ปรีดีดิลก (2532 : 301) ความพึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึกที่ชอบหรือพึงพอใจที่มี
ต่อองค์ประกอบและสิ่งจูงใจในด้านต่างๆ และเขาได้รับการตอบสนองต่อความต้องการของเขาได้
ปรียาพร วงศอ์ นตุ รโรจน  (2535 : 143) ไดก้ ลา่ วถงึ ความพงึ พอใจ หมายถึงความรูส้ ึกรวม
ของบคุ คลทีม่ ตี อ่ การทาํ งานในทางบวก เปน็ ความสุขของบคุ คลทีเ่ กิดจากการปฏิบัติงานและไดร้ ับผล
การตอบแทน คือผลที่เป็นความพึงพอใจที่ทำให้บุคคลเกิดความรู้สึกกระตือรือร้น มีความ
มุง่ มัน่ ทีจ่ ะทาํ งาน มขี วญั และกาํ ลงั ใจ สงิ่ เหลา่ นมี้ ผี ลตอ่ ประสทิ ธภิ าพและประสทิ ธผิ ลในการทาํ งาน
รวมทั้งการสง่ ผลตอ่ ความสำเร็จและเปน็ ไปตามเปา้ หมายขององคก์ ร
อเนก กลยนี (2542 : 13) ไดก้ ลา่ วถงึ ความพงึ พอใจ หมายถึง ความรูส้ กึ หรอื เจตคติทีด่ ตี อ่
การทำงานนั้น
มณี โพธิเสน (2543 : 12) ให้ความหมายเกี่ยวกับความพึงพอใจไว้ว่า ความรู้สึกยินดี
เจตคติทีด่ ขี องบุคคล เมื่อไดร้ ับการตอบสนองความตอ้ งการของตน ทำใหเ้ กดิ ความรูส้ กึ ดีในสิง่ นัน้ ๆ
จากความหมายดังกล่าวพอสรุปได้ว่า ความพึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึกที่ดี หรือมี
เจตคติที่ดีของบุคคลนั้นๆ เมื่อได้รับการตอบสนองตามความคาดหวังและตามความต้องการของ
ตนเอง จึงทำให้เกิดความรู้สึกดีต่อสิ่งนั้นๆ
8
2. แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับความพึงพอใจ
ทฤษฎีสำหรับการสร้างความพึงพอใจมหี ลายทฤษฎี ทฤษฎที ี่ไดร้ ับการยอมรับและมีชื่อ
เสยี งที่ผูว้ จิ ยั นำเสนอ ไดแ้ ก ่ ทฤษฎคี วามตอ้ งการตามลาํ ดับขั้นตอนของมาสโลว์ (Maslow’ Hierarchy of
Needs) มาสโลว  (Maslow, 1970 : 15) ไดเ้ ห็นวา่ มนษุ ยถ์ ูกกระตุน้ จากความปรารถนาที่จะไดค้ รอบครอง
ค ว า ม ต้ อ ง ก า ร เ ฉ พ า ะ อ ย่ า ง ซึ่ ง ค ว า ม ต้ อ ง ก า ร นี้ เ ข า ไ ด้ ตั้ ง ส ม ม ติ ฐ า น
เกี่ยวกับความตอ้ งการของบุคคล ไวด้ งั นี้
1. บุคคลย่อมมีความต้องการอยู่เสมอและไม่สิ้นสุด ขณะที่ความต้องการใดได้รับการตอบ
สนองแล้ว ความต้องการอย่างอื่นก็จะเกิดขึ้นอีกไม่มีวันจบ
2. ความต้องการที่ได้รับการตอบสนองแล้วจะไม่เป็นสิ่งจูงใจของพฤติกรรมอื่นๆ ต่อไป
ความต้องการที่ยังไม่ได้รับการตอบสนองจึงเป็นสิ่งจูงใจกับพฤติกรรมของคนนั้น
3. ความต้องการของบุคคล จะเรียงเป็นลำดับขั้นตอนความสำคัญเมื่อความต้องการระดับ
ต่าํ ได้รบั การตอบสนองแลว้ บุคคลกจ็ ะใหค้ วามสนใจกับความตอ้ งการระดับสงู ตอ่ ไป ลาํ ดบั ความ
ตอ้ งการของบคุ คลม ี 5 ขัน้ ตอนตามลำดบั ขัน้ ดังนี้
3.1 ความต้องการของร่างกาย (Physiological Needs) เป็นความต้องการเบื้องต้นเพื่อ
ความอยูร่ อดของชีวิต เชน่ ความตอ้ งการในเรือ่ งของอาหาร นาํ้ อากาศ เครื่องนุง่ หม่ ยารักษาโรค ทอี่ ยู่
อาศัย ความตอ้ งการทางเพศ ความตอ้ งการทางดา้ นรา่ งกายจะมีอิทธิพลตอ่ พฤติกรรมของตน กต็ อ่ เมอื่
ความต้องการทั้งหมดของตนยังไม่ได้รับการตอบสนอง
3.2 ความต้องการความปลอดภัยหรือความมั่นคง (Security of Safety Needs)
ถา้ หากความต้องการทางดา้ นรา่ งกายไดร้ ับการตอบสนองตามสมควรแลว้ มนุษยต์ อ้ งการในชั้นสูงตอ่ ไป
คือ เป็นความรู้สึกที่ต้องการความปลอดภัยหรือมั่นคงในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งรวมถึงความก้าวหน้า
และความอุ่นใจ
3.3 ความตอ้ งการทางสังคม (Social or Belonging Needs) ภายหลังจากที่คนไดร้ ับการ
ตอบสนองในสองขั้นดังกลา่ วแลว้ ก็จะมีความตอ้ งการที่สูงขึ้น คอื ความตอ้ งการทางสงั คมเปน็ ความ
ตอ้ งการทจี่ ะเขา้ รว่ มและไดร้ บั การยอมรบั ในสงั คม ความเปน็ มิตรและความรกั จากเพือ่ น
3.4 ความต้องการที่จะได้รับการยกย่องนับถือ (Esteem Needs) เป็นความต้องการให้
คนอื่นยกย่องให้เกียรติ และเห็นความสำคัญของตน อยากเด่นในสังคม รวมถึงความสำเร็จ ความรู้ความ
สามารถ ความเป็นอิสระและเสรีภาพ
3.5 ความต้องการความสำเร็จในชีวิต (Self Actualization) เป็นความต้องการระดับสูง
สดุ ของมนษุ ย ์ สว่ นมากจะเปน็ การอยากจะเปน็ อยากจะได ้ ความคิดของตนหรือตอ้ งการจะเปน็ มากกวา่
ที่ตัวเองเป็นอยู่ในขณะนี้
9
เฮร์ซเบิร์ก (Herzberg, 1959 : 113-115) ได้ทำการศึกษาพบว่าทฤษฎีที่เป็นมูลเหตุทำให้
เกิดความพึงพอใจที่เรียกว่า The Motivation-Hygiene Theory ทฤษฎีนี้ได้กล่าวถึง
องค์ประกอบที่ก่อให้เกิดขึ้นพอใจในการทำงาน 2 องค์ประกอบ คือ
1. องค์ประกอบจูงใจ (Motivation Factor) หมายถึง องคป์ ระกอบทีเ่ กีย่ วกบั ดา้ นงาน และ
ความสำเสร็จกา้ วหนา้ ของงาน ประกอบดว้ ยปจั จยั ดงั นี้
1.1 ความสำเร็จของงาน (Achievement)
1.2 ความได้รับการยอมรับนับถือ (Recognition)
1.3 ลักษณะของงานที่ทำ (Work itself)
1.4 ความรับผิดชอบ (Responsibility)
1.5 ความกา้ วหนา้ ในการทำงาน (Advancement)
2. องค์ประกอบค้ำจุนหรือองค์ประกอบอนามัย (Hygiene Factors) หมายถึงองค์
ประกอบทีเ่ กีย่ วกบั สิง่ แวดลอ้ มในการทำงาน ที่มักนำมาซึ่งความไมพ่ อใจในการทำงาน จำเป็นตอ้ งปอ้ ง
กันหรือค้ำจดุ ไมใ่ หค้ นเกดิ ความทอ้ ถอยไมอ่ ยากทาํ งาน ประกอบดว้ ยปจั จยั 11 ประการคือ
2.1 เงินเดือน (Salary)
2.2 โอกาสที่จะได้รับความก้าวหน้าในอนาคต (Possibility of Growth)
2.3 ความสัมพันธก์ ับผูบ้ ังคับบัญชา (Interpersonal Relation : Super ordinate)
2.4 ความสัมพันธก์ ับผูบ้ ังคับบัญชา (Interpersonal Relation : Subordinate)
2.5 ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน (Interpersonal : Peers)
2.6 ฐานะของอาชีพ (Status)
2.7 การปกครองบังคับบัญชา (Supervision : Technical)
2.8 นโยบายและการบริหาร (Policy and Administration)
2.9 สภาพการทำงาน (Working Conditions)
2.10 ความเปน็ อยสู่ ว่ นตวั (Personal Life)
2.11 ความมั่นคงในการทำงาน (Job Security)
ถนอมทรัพย ์ มะลิซอ้ น (2540 : 42-43; อา้ งอิงมาจาก Evams. 1971 : 31-38) ไดก้ ลา่ วถงึ แรงจงู
ใจที่ทำให้เกิดความพึงพอใจในการทำงาน โดยเน้นถึงความสำคัญของเป้าหมายหรือ
วัตถปุ ระสงคเ์ ชน่ เดยี วกบั ไมเออร  (Myers) อแี วนส  (Evans) ไดต้ งั้ ทฤษฎเี กยี่ วกบั การกระตนุ้ ให้
บคุ คลแสดงความสามารถออกมาวา่ กจิ กรรมของบคุ คลทกี่ ระทาํ นนั้ ยอ่ มนาํ ไปสวู่ ตั ถปุ ระสงค์
อันสำคัญที่ผู้กระทำคาดหวังไว้ และได้สร้างแบบจำลองที่เกี่ยวกับแรงจูงใจในการทำงานที่เรียกว่า Path-
Goal Model ซึ่งสรุปได้ว่า
10
1. แรงจูงใจในการทำงานใดๆ จะขึน้ อยูก่ ับความสาํ เรจ็ ตามวตั ถุประสงคแ์ ละแนวทางใน
การดำเนินงาน แนวทางในการดำเนินงานจะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่วางไว้จึงก่อให้เกิดแรงจูง
ใจในการทำงานมากขึ้น
2. แมว้ า่ จะมีแรงจงู ใจในการทาํ งาน แตถ่ า้ มีตัวถว่ งในการทำงาน เชน่ ขาดความรูค้ วาม
สามารถในการทำงาน ขาดอิสรภาพ ก็จะทำให้กิจกรรมนั้นเกิดการขาดตอน หรือถ้าไม่มี
ตวั ถว่ ง แตไ่ มม่ แี รงจงู ใจ กิจกรรมที่มีประสทิ ธิภาพจะตอ้ งมคี วามสม่าํ เสมอ และความสม่าํ เสมอจะตอ้ ง
ขึ้นอยูก่ ับความรูค้ วามสามารถ สิง่ แวดลอ้ มที่ดี ตลอดจนแรงจงู ใจทีท่ าํ งานดว้ ย
3. ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้นั้น จะเกิดขึ้นได้เพราะมีความสม่ำเสมอในการ
ทำงานประกอบกับแนวทางการดำเนินงานตามวัตถุประสงค  องคป์ ระกอบทัง้ สองประการนี้หากขาด
ประการใดประกอบหนึ่งความสำเร็จของงานจะลดลง
การวดั ความพงึ พอใจทมี่ ตี อ่ การบรกิ าร ความพึงพอใจที่มีการบริการและเกิดผลไดห้ รือไม่
นนั้ จะตอ้ งพิจารณาถึงลักษณะของการใหบ้ ริการขององคก์ าร ประกอบดว้ ยระดับความรูส้ ึกของผูใ้ ช้
บรกิ ารในมติ ติ า่ งๆ ของแตล่ ะบุคคล ดงั นนั้ ในการวัดความพึงพอใจตอ่ การบริการอาจจะกระทำได้
หลายวิธี ดงั ตอ่ ไปนี้
1. การใช้แบบสอบถาม ซึ่งเป็นวิธีการที่นิยมกันอย่างแพร่หลายวิธีหนึ่ง โดยการขอร้อง
หรือขอความร่วมมือ จากกลุ่มบุคคลที่ต้องการวัด แสดงความคิดเห็นลงในแบบฟอร์มที่กำหนดคำตอบ
ไว้ให้เลือกตอบหรือเป็นคำตอบอิสระ โดยคำถามที่ถามถึงความพึงพอใจในด้านต่างๆ ที่หน่วยงานกำลัง
ใหบ้ ริการอยู  เชน่ ลักษณะการใหบ้ ริการ สถานที่ ระยะเวลาในการใหบ้ รกิ าร บคุ คลทใี่ หบ้ รกิ าร
เป็นต้น
2. การสัมภาษณ  เปน็ อีกวธิ หี นึง่ ทีว่ ดั ระดับความพงึ พอใจของผูใ้ ชบ้ ริการ ซึง่ เปน็ วิธีการ
ทีต่ อ้ งอาศยั เทคนคิ และความชาํ นาญพเิ ศษของผูส้ ัมภาษณท์ ีจ่ ะจงู ใจใหผ้ ูถ้ ูกสมั ภาษณต์ อบคำถามให้
ตรงกับข้อเท็จจริง การวัดความพึงพอใจโดนวิธีการที่ประหยัดและมีประสิทธิภาพอีกวิธีหนึ่ง
3. การสังเกต เปน็ อีกวธิ หี นึง่ ทีจ่ ะทาํ ใหท้ ราบถงึ ระดับความพงึ พอใจของผูม้ าใชบ้ ริการ
ได้โดยการวิธีสังเกต จากพฤติกรรมทั้งก่อนมารับบริการได้โดยการวิธีสังเกต จาก
พฤติกรรมทั้งกอ่ นมารับบริการ ขณะรับบริการ และหลังจากที่ไดร้ ับบริการแลว้ เชน่ การสงั เกตกริ ยิ า
ท่าทาง การพูด และสีหน้า การวัดความพึงพอใจโดยวิธีนี้ผู้วัดจะต้องทำอย่างจริงจังและมีแบบแผนที่
แน่นอน จึงจะสามารถประเมินถึงความพึงพอใจของผู้มารับบริการได้อย่างถูกต้อง จะเห็นได้ว่า การวัด
ความพึงพอใจต่อการรับบริการนั้นสามารถที่จะทาํ การวดั ไดห้ ลายวธิ ี ทัง้ นีจ้ ะตอ้ งขึ้นอยูก่ บั ความ
สะดวก ความเหมาะสม ตลอดจนจุดมุ่งหมายหรือเป้าหมายของการวัดด้วย จึงจะส่งผลให้การวัดนั้นมี
ประสิทธิภาพน่าเชื่อถือได้
11
จากแนวความคิดตา่ งๆ ในการสรา้ งแรงจูงใจ เพื่อใหเ้ กิดความพึงพอใจในการทำงานใน
หน่วยงาน พอสรุปได้ว่า ผู้บริหารหรือผู้บังคับบัญชาจะต้องรู้ความต้องการของบุคคลในหน่วยงานเป็น
อนั ดบั แรก แลว้ จึงคอ่ ยจดั การสนองความตอ้ งการนัน้ ๆ และการตอบสนองความตอ้ งการก็จำเปน็ ที่ผู้
บริหารจะตอ้ งทราบ และใชเ้ ทคนคิ ตลอดจนวิธีการในการบริหารงาน เชน่ ลักษณะในการเปน็ ผูน้ ำ
ทกั ษะในการบงั คบั บญั ชา ทกั ษะในการบาํ รงุ ขวญั ทกั ษะในการทาํ งานเปน็ กลมุ่ ทักษะในการสือ่ ความ
หมาย ทักษะในการสร้างมนุษย์สัมพันธ์ ซึ่งเป็นศาสตร์ในการนำมาประยุกต์ ผสมผสานกับศิลปะใน
การทำงานจนเป็นภาวะหรือพฤติกรรมของผู้นำ ที่สามารถครองใด ครองงานในหน่วยงานจนเป็นที่พอ
ใจแก่ผู้ปฏิบัติงาน
สาระสำคญั ของทฤษฎีความตอ้ งการตามลำดบั ขัน้ ของมาสโลว ์ สรปุ ไดว้ า่ ความตอ้ งการ
ทั้ง 5 ขั้น ของมนุษย์มีความสำคัญไม่เท่ากัน บุคคลแต่ละคนจะปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับการบำบัด
ความตอ้ งการในแตล่ ะขนั้ ทเี่ กดิ ขนึ้ การจงู ใจตามทฤษฎีนีจ้ ะตอ้ งพยายามตอบสนองความตอ้ งการของ
มนุษย์ ซึ่งมีความต้องการลำดับขั้นที่แตกต่างกันไป และความต้องการในแต่ละขั้น
จะมีความสำคัญแก่บุคคลมากน้อยเพียงใดนั้น ก็ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจที่ได้รับจากการตอบสนองความ
ตอ้ งการในลาํ ดบั นนั้ ๆ
แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารงานโรงเรียน
1. ความหมายของการบริหารงานโรงเรียน
วิจิตร วรุตบางกูร (2520 : 32) กล่าวว่า การบริหารงานโรงเรียนมีความสำคัญอย่างมาก
สาํ หรบั ผบู้ รหิ าร และผบู้ รหิ ารควรคาํ นงึ ถงึ เพราะเปน็ หนา้ ทขี่ องโรงเรยี นทจี่ ะตอ้ งมภี าระและควร
ตระหนัก
พนสั หันนาคินทร  (2524 : 24) ใหค้ วามหมายของการบริหารไวว้ า่ การบริหาร หมายถึง
การที่ผู้บริหารใช้อำนาจที่มีอยู่จัดการและดำเนินงานของสถาบันนั้น ให้ดำเนินไปสู่จุดหมายที่ต้องการ มี
ขั้นตอนในการดำเนินงานดังนี้ ขั้นวางแผน (Planning) ขั้นจัดรูปงาน (Organizing)
ขั้นดำเนินงาน (Executing) และขนั้ ประเมินผลงาน (Evaluating)
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (2541 : 85-86) กลา่ วถงึ การบริหารงานบุคคล
ในหนา้ ทีข่ องผูบ้ ริหารโรงเรยี นเอกชนนัน้ กำหนดไว  8 ขัน้ ตอนดว้ ยกนั คือ การวางแผนบุคลากร การ
จัดสายงานและกำหนดตัวบุคคล การควบคุมนิเทศติดตามดูแล และการประเมินผล การวางแผนพัฒนา
บุคลากร หมายถึง การเตรียมการล่วงหน้า เพื่อกำหนดวัตถุประสงค์ นโยบาย โครงการ วิธีการแก้
ปัญหา ตลอดจนการแสวงหาวิธีที่เหมาะสมที่สุดเพื่อดำเนินงานเกี่ยวกับการพัฒนา บุคลากร ให้บรรลุ
เปา้ หมายทีต่ ั้งไว้ ดงั นนั้ การวางแผนเพือ่ พัฒนาบคุ ลากรจึงเปน็ การเตรียมการเพือ่ เพิ่มพนู และปรับปรุง
12
คุณภาพ ของผู้ปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพอย่างเต็มที่ ความสำคัญและประโยชน์ของการวางแผน
พฒั นาบคุ ลากรม ี ดงั นี้
1. ช่วยให้การบริหารการพัฒนาบุคลากรสะดวกและชัดเจน
2. เป็นการควบคุมให้บุคลากรในโรงเรียนทำงานอย่างเต็มความสามารถของแต่ละคน
3. ช่วยสร้างความพึงพอใจในการปฏิบัติงานให้แก่บุคลากร
4. ช่วยลดปัญหาการขาดแคลนบุคลากรในการปฏิบัติงาน และช่วยพัฒนาในให้ได้ตาม
แนวทางที่ตอ้ งการ
5. ช่วยให้บุคลากรแต่ละคนมีภารกิจที่เหมาะสม ไม่มีการทำงานมากเกินไป หรือน้อย
เกินไป
6. ช่วยให้การปรับปรุงการปฏิบัติของบุคลากรที่ดำรงตำแหน่งในปัจจุบันให้มี
ประสทิ ธภิ าพยงิ่ ขนึ้
7. ช่วยพัฒนาทักษะอันจำเป็นสำหรับการทำงานของบุคลากรที่ได้คัดเลือกแล้ว
8. ชว่ ยสง่ เสริมใหบ้ ุคลากรพัฒนาความสามารถของตนเองยิ่งขึ้น
ดังนั้นการบรหิ ารโรงเรยี น จงึ หมายถงึ กิจกรรมตา่ งๆ ทีบ่ คุ คลหลายๆ คนรว่ มมือกนั
ดำเนินการเพื่อจัดให้การศึกษาของโรงเรยี นเปน็ ไปตามวัตถปุ ระสงค ์ และนโยบายทางการศึกษาของรัฐ
ที่กำหนดไว้ เป็นไปอย่างถูกต้องตามหลักการบริหาร และเป็นไปตามหลักการศึกษา
ซึง่ ตอ้ งมีการพฒั นาเยาวชนทุกดา้ น ตัง้ แตบ่ คุ ลิกภาพ สตปิ ญั ญา ความรู ้ เจตคติ ความสามารถ ทกั ษะทจี่ าํ
เป็น พฤติกรรม และคุณธรรม เพื่อให้มีค่านิยมตรงกับความต้องการของสังคม โดยกระบวนการต่างๆ ที่
อาศัยการควบคุมสิ่งแวดล้อมให้มีผลต่อบุคคล เพื่อให้บุคคลเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม และสามารถ
ดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
2. ขอบเขตของการบริหารงานของโรงเรียน
2.1 ด้านวิชาการ
เชอร์จิโอแวนนี และคนอื่นๆ (Sergiovanni and others, 1980 : 267-268)
ไดก้ ลา่ วถึงหนา้ ที่ของครูใหญใ่ นดา้ นวิชาการวา่ ครใู หญต่ อ้ งพฒั นาปรชั ญาการศกึ ษา และกาํ หนดจดุ มุง่
หมายใหต้ รงกับปรชั ญาการศกึ ษา กำหนดโปรแกรมตา่ งๆ ใหต้ รงกับจดุ มุง่ หมาย ประเมินหลักสูตร และ
การสอนอยา่ งสม่าํ เสมอ สรา้ งบรรยากาศทีส่ อ่ ใหเ้ ห็นวา่ มีความพรอ้ ม เพอื่ การเปลยี่ นแปลง จดั หาวสั ดุ
อปุ กรณ ์ เพื่อสง่ เสริมหลักสตู รและการสอน
นพิ นธ ์ รอดภยั (2525 : 172) ไดศ้ กึ ษาเกี่ยวกับงานดา้ นวิชาการ พบวา่ ในการบริหาร
ทางวิชาการ ทางโรงเรยี นตอ้ งบริหาร และนิเทศกิจการตา่ งๆ ทีเ่ กีย่ วขอ้ งกบั นักเรียน ในสว่ นทไี่ มเ่ กยี่ วกบั
การสอนในห้องเรียนทั้งหมด และในการบริหารกิจการนักเรียนมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้นักเรียนแต่ละ
13
คนได้รับความรู้จากประสบการณ์ในโรงเรียนให้มากที่สุดโดยการจัดสิ่งแวดล้อมหรือบรรยากาศที่
เหมาะสม เพื่อให้นักเรียนเกิดทัศนคติที่ดี และมีความก้าวหน้าทางการเรียน และทริพพ์ (Tripp, 1970 :
7 4 - 7 6 ) ไ ด้ เ ส น อ ข อ บ เ ข ต ข อ ง ก า ร บ ริ ห า ร ท า ง วิ ช า ก า ร อ ย่ า ง ก ว้ า ง ๆ
ไว้ 4 ด้าน คือ
1. ดา้ นสวสั ดกิ าร ซึ่งประกอบดว้ ยบริการดา้ นแนะแนว ดา้ นสุขภาพอนามัย ดา้ นทนุ
การศึกษา บริการด้านอาหาร ฯลฯ
2. ดา้ นการควบคมุ ประกอบดว้ ยการรบั เดก็ เขา้ เรยี น งานทะเบียน งานเกี่ยวกับหอ
นอน หอพัก การควบคุมทางวินัยการลงโทษ
3. ด้านกิจกรรมเสริมหลักสูตร มีสภานักเรียน กิจกรรม กรีฑา และ กีฬา
กจิ กรรมดา้ นสมั พนั ธก์ บั ชมุ ชน
4. ด้านการสอนประกอบด้วยการจัดการปฐมนิเทศ การสอนซ่อมเสริมการสอนใน
เวลาพิเศษ
สง่า โพธิ์วัง (2524 : 12) ได้กล่าวถึง งานบริหารด้านวิชาการว่าหมายถึง
การบรหิ ารกจิ กรรมทกุ ชนดิ ในโรงเรยี นซงึ่ เกีย่ วขอ้ งกบั การปรบั ปรงุ พฒั นาการเรยี นการสอนของคร ู
และนักเรียนให้ได้ผลดีและมีประสิทธิภาพสูงสุด
สมหมาย สรอ้ ยนาคพงษ  (2542 : 22-27) ใหห้ ลักสำคัญในการปรับปรุงงานดา้ นวิชา
การไวด้ ังนี้ ครใู หญจ่ ะตอ้ งรว่ มกบั ครโู ดยใกลช้ ิด และตอ่ เนอื่ งกนั อนั ไดแ้ ก ่ การพฒั นาหลกั สูตรทีใ่ ชก้ ัน
อยูอ่ ยา่ งรอบคอบ เพื่อใหร้ ูจ้ ดุ หมายเนื้อหากจิ กรรมตา่ งๆ พจิ ารณาแบบเรยี น และหนังสืออา่ นประกอบ
โดยรอบคอบเพื่อปรับปรุงและแกไ้ ข พิจารณาขอ้ สอบตา่ งๆ ในทุกวชิ าที่เคยจดั สอบมาแลว้ เพื่อปรับปรุง
ทั้งข้อสอบและครู ในด้านนักเรียนควรมีการกระตุ้นเตือนใจ บำรุงขวัญให้นักเรียน
ขยนั ขนั แขง็ ในการเรยี น กำหนดให้ครูผลดั เปลีย่ นเปน็ ผูบ้ รรยายพิเศษในการประชมุ นักเรียนเปน็ ครั้ง
คราว นำผลสอบมาวิเคราะหท์ กุ สิน้ ปกี ารศกึ ษา เพื่อทราบความกา้ วหนา้ ในการเพมิ่ พนู ความรทู้ างดา้ น
การเรยี นการสอนใหค้ ร ู ครใู หญค่ วรจะชักจงู ใหค้ รูทุกคนอา่ นตาํ ราวิชาครู หรอื หนงั สือบา้ ง ควรมกี าร
ประชุมครู มีการอภิปรายเกี่ยวกับการสอนกันบอ่ ยๆ ชักจงู ใหค้ รูทีม่ ชี ั่วโมงวา่ งเขา้ ไปนั่งดเู พือ่ นครูสอน
บ้าง เพื่อแก้ไขหรือนำวิธีการที่ดีมาใช้ ควรส่งเสริมให้ครูได้เข้ารับการอบรมสัมมนา
พระราชบัญญัติการศึกษาแหง่ ชาติ พ.ศ. 2542 ในมาตรา 24 ไดก้ ลา่ วถงึ การจัด
กระบวนการเรียนรู้ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการดังนี้
1. การจดั เนื้อหาสาระและกิจกรรมทีส่ อดคลอ้ งกบั ความสนใจ ความถนัดของ
ผเู้ รยี น โดยคำนึงถึงความแตกตา่ งระหวา่ งบุคคล
2. ฝกึ ทกั ษะ กระบวนการคิด การจดั การ การเผชญิ สถานการณ ์ และการประยกุ ต์
ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา
14
3. การเรยี นรจู้ ากประสบการณจ์ รงิ ฝกึ การปฏิบัติจริง ใหท้ าํ ได ้ คดิ ได ้ รักการอา่ น
และเกิดการใฝร่ ูอ้ ยา่ งตอ่ เนื่อง
4. ผสมผสานบรู ณาการณค์ วามรูต้ า่ งๆ อยา่ งสมดลุ รวมทั้งปลูกฝงั คุณธรรม คา่ นยิ ม
ที่ดีงาม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในทุกกลุ่มวิชา
5. สง่ เสรมิ สนบั สนนุ ใหผ้ ูส้ อนจดั บรรยากาศ สภาพแวดลอ้ ม สอื่ การเรยี น ตลอดจน
สิ่งอำนวยความสะดวก เพอื่ ใหเ้ ออื้ ตอ่ การเรยี นร ู้ รวมทั้งสามารถใชก้ ารวจิ ยั เปน็ สว่ นหนึ่งของกระบวน
การเรียนรู้ และการเรียนรู้จากแหล่งวิทยาการประเภทต่างๆ
6. จัดการเรียนรูใ้ หเ้ กิดขึ้นไดท้ ุกเวลา ทกุ สถานท ี่ มีการประสานความรว่ มมือกับบิดา
มารดา ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ
สรปุ งานวิชาการเปน็ งานทีม่ คี วามสาํ คัญทสี่ ดุ ในการทจี่ ะทาํ ใหน้ กั เรยี นบรรลเุ ปา้
หมายที่กำหนดไว้ในหลักสูตร และสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542 เพื่อให้ผู้เรียน
เปน็ คนเกง่ ดมี สี ขุ
2.2 ด้านครูผู้สอน
วิทที (Witty, 1972 : 648–662) ได้ทำการศึกษาถึงบุคลิกภาพของครูที่ดี โดย
รวบรวมคุณลักษณะของครูที่ดีไว้ดังนี้ คือให้ความร่วมมือ มีความเป็นประชาธิปไตย มีความกรุณา
และเอาใจใส่ต่อทุกคน มีความอดทนมความรู้ในเรื่องทั่วไปดีมาก มีบุคลิกภาพและมารยาท มีความ
ยุติธรรม มีอารมณ์ขัน มีอารมณ์ดี ทำสิ่งใดเสมอต้น เสมอปลาย สนใจปัญหา และความเดือดร้อน
ของนักเรียน ยกย่องให้รางวัลนักเรียน มีความสามารถในการสอนแต่ละวิชาการที่ครูมีพฤติกรรม
ต่างๆ ที่ดี และมีคุณลักษณะของครูที่ดีย่อมมีส่วนช่วยเสริมสร้าง ความสัมพันธ์ทางวิชาการระหว่าง
ครู และนักเรียนที่ดีก่อให้เกิดบรรยากาศการเรียน การสอนที่ดีตามไปด้วย
บีช (Beach, 1973 : 65-66) ได้กำหนดขอบข่ายของการบริหารบุคคลไว้ดังนี้ คือ
คัดเลือกบุคคลเข้าทำงาน ปฐมนิเทศแก่บุคคลที่เข้าทำงานใหม่ ฝึกงานแก้ไข ปรับปรุง
ข้อบกพร่อง ให้คำแนะนำแก่ผู้ปฏิบัติงาน ชี้แจงนโยบายแก่ผู้ปฏิบัติงานดูแลให้เป็นไปตาม
กฎระเบียบ สร้างแรงจูงใจในการทำงาน สร้างภาวะผู้นำแก่ผู้ปฏิบัติงาน จัดสวัสดิการและหลัก
ประกันการทำงานฝึกอบรม ประเมินผลการปฏิบัติงาน ให้ข้อเสนอแนะแก่ผู้มีอำนาจในการเพิ่ม
เงินเดือน เลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง การโอนโยกย้าย และให้ออกจากงาน
จากแนวคิดของบีช จะเห็นได้ว่า การบริหารงานบุคคล ควรเริ่มตั้งแต่การ
สรรหาการพัฒนาและบำรุงรักษา การให้พ้นจากงาน ตลอดจนการประเมินผลงานและในขณะเดียว
กัน ต้องพยายามให้ผู้ร่วมงานมีความสุข ความพอใจ และยินดีที่จะกระทำตามนโยบายของผู้บริหาร
อีกด้วย
15
สมาน รังสิโยกฤษณ์ (2530 : 1-2) ได้กล่าวว่า การบริหารบุคคลเป็นกระบวนการ
เกี่ยวกับ การวางนโยบาย การวางแผน การวางระเบียบ และข้อบังคับเกี่ยวกับตัวบุคคลที่ปฏิบัติงาน
ในองค์การหรือหน่วยงานเพื่อให้ได้มาได้ใช้ประโยชน์ และบำรุงรักษาไว้ซึ่งทรัพยากรด้านมนุษย์
ให้มีประสิทธิภาพ และ มีปริมาณเพียงพอ เพื่อให้การปฏิบัติงานบรรลุตามจุดประสงค์
ประชุม รอดประเสริฐ (2529 : 2) เหน็ วา่ ถา้ หากหนว่ ยงานใดสามารถหาคนดี มคี วาม
รคู้ วามสามารถเขา้ ปฏบิ ตั งิ านยอ่ มประสบผลสาํ เรจ็ ของการทาํ งานไปครงึ่ หนงึ่ แลว้ และหากวา่ สามารถ
จูงใจให้ผู้มีความสามารถเหล่านั้นร่วมปฏิบัติงาน ด้วยความเต็มใจจนสุดความสามารถได้โดยตลอดยาว
นาน นั่นย่อมจะนำผลสำเร็จของงานได้เต็มเป้าประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ นำความเจริญก้าวหน้ามายัง
องค์การหรือหน่วยงานนั้นตลอดไป การบริหารงานบุคคล เป็นงานที่ยุ่งยากซับซ้อน เพราะเป็นการ
บริหารงานที่เกี่ยวกับคน ซึ่งมีชีวิตจิตใจที่แตกต่างกันออกไป เป็นการยากที่จะกำหนดกฎเกณฑ์ให้
เป็นที่พอใจแก่บุคคลในหน่วยงานได้
วิชาญ ไทยแท้ (2538 : 27) กล่าวว่า ลักษณะพิเศษของครู หรือจุดเด่นของครูที่
สามารถสังเกตได้ดังนี้
1. บุคลิกภาพ ซึ่งได้แก่ ส่วนประกอบต่างๆ ของร่างกายทั้งเสื้อผ้าที่เสริมแต่ง
ร่างกายเช่น
1.1 สง่างามน่าศรัทธา
1.2 สุขุมเยือกเย็น
1.3 แต่งกายเหมาะสมกับวัย และไม่ล้ำนำสมัยนิยมจนเกินไป
1.4 ระมัดระวังอากัปกิริยาอาการ
2. ท่วงทีวาจา หมายถึง อาการที่แสดงออกทางการพูดจา เช่น
2.1 เสียงดังฟังชัดแจ่มแจ้ง
2.2 พูดอย่างมีลำดับก่อนหลัง
2.3 ไม่กระดากอายหรือสะทกสะท้าน
2.4 ยกตัวอย่างประกอบพูดได้ชัดเจนเข้าใจง่าย
2.5 เป็นผู้พูดและผู้ฟังที่ดี
2.6 ใช้คำถามได้เหมาะสมกับเรื่อง
3. จริยวัตร หมายถึง กิริยาที่ควรประพฤติปฏิบัติตามตามแบบธรรมเนียม
3.1 มีวิญญาณหรือน้ำใจของความเป็นครู
3.2 ปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพณี
3.3 กระทำแต่สิ่งที่เหมาะสมดีงาม
3.4 รู้จักเวลาและสถานที่
16
3.5 ประพฤติปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ดีแก่คนอื่น
4. การแสดงออกทางความคิด เช่น
4.1 มองบุคคลต่างๆ ในหลายด้าน
4.2 มองการณ์ไกล (มองอย่างลึกซึ้งมองหลายด้าน)
4.3 กล้าแสดงออกทางด้านความคิดในสิ่งที่ดีงาม
4.4 มีเจตคติที่ดีต่อบุคคลอื่น
4.5 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
5. ด้านคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม เช่น
5.1 เสียสละ อดทน
5.2 พึ่งตนเอง
5.3 มีความรับผิดชอบสูง
5.4 ประหยัดอดออม
5.5 ปฏิบัติตามระเบียบวินัย
5.6 เอื้ออารี มีไมตรีต่อบุคคลอื่น
5.7 กตัญญูกตเวที
สรุปด้านครูผู้สอนซึ่งเป็นบุคลากรทางการศึกษานับ เป็นหัวใจสำคัญของการบริหาร
งานอันหนงึ่ ไมว่ า่ จะเปน็ การบริหารหนว่ ยงานใด ถา้ การบริหารงานขาดประสิทธิภาพหนว่ ยงานนั้นๆ
จะเจริญได้ยาก การบริหารงานบุคคลในโรงเรียนเลิศหล้าก็เช่นกัน งานจะได้ผลดีหรือ
ผลเสียก็อยู่ที่อยู่ที่ครูผู้สอนที่ปฏิบัติหน้าที่ ขาดขวัญและกำลังใจ หย่อนประสิทธิภาพ งานก็บกพร่อง ผู้
บริหารโรงเรียนควรจะต้องบริหารบุคคลให้ได้ผลดี และได้รับความสำเร็จ ในการทำให้บุคลากรทุกฝ่าย
ในหน่วยงานร่วมมือกันทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
2.3 ด้านสภาพแวดล้อมและบรรยากาศของโรงเรียน
เอลส์บรี และแมคนอลลี (Elsbee and McNally, 1967 : 349–368) กล่าวถึง หน้า
ที่ของครูใหญ่ในงานบริหารอาคารสถานที่ไว้ดังนี้ คือ การสร้างและการจัดอาคารเพิ่มเติมการปรับ
ปรุงซ่อมแซมตามวาระ การใช้สีภายในห้องเรียนการเลือกใช้เครื่องมือ และเครื่อง
ตกแต่งต่างๆ การดูแลความสะอาด และความเรียบร้อยของอาคารสถานที่ การจัดห้องเรียนให้อยู่
ในสภาพที่สุขลักษณะอนามัย การจัดที่เช็ดมือ และการทำความสะอาด การเดินตรวจอาคารสถานที่
เป็นระยะๆ การจัดให้มีห้องเก็บของและอุปกรณ์ การจัดและดูแลห้องเรียน การจัดทำกระดานดำ
การตกแต่งห้องเรียนและสถานที่ต่างๆ การดูแลพื้นอาคาร การระบายอากาศ การ
ดูแลสนาม และบริเวณโรงเรียน
17
สมคิด จูมทอง (2528 : 41) ได้ให้ความหมายของการบริหารอาคารสถานที่ไว้ว่า
หมายถึง การดำเนินงานที่เกี่ยวกับการวางแผน การใช้อาคารสถานที่ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด การ
ควบคุมดูแลการบำรุงรักษา การพัฒนาอาคารต่างๆ การจัดบริเวณโรงเรียนให้อยู่ในสภาพที่สวย
งามเหมาะสมกับสภาพการใช้อยู่เสมอ การรักษาความสะอาด ความคงทนแข็งแรง ความปลอดภัย
และสามารถสนองความต้องการได้อย่างเพียงพอ
เบญจา แสงมลิ (2542 : 26) กล่าวว่า สถานที่ตั้งโรงเรียนควรอยู่ใกล้
ชุมชน และมีอากาศดี รวมทั้งมีความปลอดภัยและอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีงามด้วย โดยบริเวณโรง
เรียนควรมีเนื้อที่ไม่น้อยกว่า 90 ตารางวา
กระทรวงศึกษาธิการ (2542 : 13) ได้กล่าวถึง การยกระดับมาตรฐานคุณภาพของ
สถานศึกษา ให้เป็นโรงเรียนในอุดมคติเพื่อสร้างและผลิตนักเรียนให้ได้มาตรฐานใน
ทุกระดับ ทั้งระดับอนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษาในสังกัด กระทรวงศึกษาธิการให้เป็นที่ยอม
รับของสังคมนั้นจะต้องมีองค์ประกอบของบัญญัติ 10 ประการ ดังนี้
1. ผู้บริหารโรงเรียนครูใหญ่อาจารย์ใหญ่ ผู้อำนวยการ มีจิตสำนึกในการที่จะ
พัฒนา ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและยกระดับมาตรฐานการศึกษาให้เป็นที่ยอมรับของสังคม
ผู้บริหารควรมีเวลาอยู่ประจำสถานศึกษา เพื่อดูแลการปฏิบัติงานภายในให้เป็นไปด้วยความเรียบ
ร้อย
2. มีบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนหรือสถานที่ ที่เอื้อต่อการเรียนการ
สอนเพื่อให้นักเรียนได้เรียนอย่างมีความสุข มุ่งเน้นการเรียนการสอนตามธรรมชาติ โดยให้นัก
เรียนได้ปฏิบัติจริงและปลูกฝังเรื่องความสะอาด ความขยัน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความสามัคคี รวมทั้ง
การจัดให้โรงเรียนมีความร่มรื่น มีต้นไม้ แหล่งน้ำ บ่อน้ำ ไร้ฝุ่น ไร้มลภาวะ
3. เป็นโรงเรียนที่มีความพร้อมมีแผนผังเต็มรูปแบบมีห้องเรียนห้องสมุด ห้อง
คอมพิวเตอร์ ห้องทดลอง ห้องปฏิบัติการตลอดจนมีสนามกีฬาครบถ้วนโดยให้เหมาะกับสภาพ
ท้องถิ่น
4. มีอุปกรณ์การเรียนการสอนครบครันโดยจัดซื้อในราคาท้องตลาดที่เป็นธรรม
ทั้งให้เหมาะสมกับการใช้ประโยชน์สูงสุด
5. มีบุคลากร ครูผู้สอนครบตามเกณฑ์หากขาดแคลนครูที่เกษียณอายุ หรือภูมิ
ปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนผู้ทรงคุณวุฒิช่วยสอน และให้มีระบบการศึกษาทางไกลผ่าน
ดาวเทียม
6. องค์กรท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาไม่ว่าจะเป็นทางด้านวิชาการ
หรือด้านบริหาร เช่น กำหนดหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น ได้แก่การสอน
ภาษาอังกฤษตั้งแต่ระดับประถมศึกษาการสอนวิชาชีพเกษตรการก่อสร้างไฟฟ้า เป็นต้น
18
7. มีการเก็บค่าเล่าเรียน ค่าธรรมเนียมการศึกษา เพื่อพัฒนาสถานศึกษาและจัด
อุปกรณ์การเรียนการสอนให้ครบครัน ทั้งนี้ให้ยกเว้นค่าเล่าเรียนเด็กยากจน และจ่ายค่าตอบแทน
ให้เด็กนักเรียนในการพัฒนาหรือฝึกปฏิบัติ ฝึกอาชีพที่เกิดรายได้และเป็นประโยชน์แก่
โรงเรียน เช่น ปลูกพืชผักสวนครัว การเลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา เป็นต้น
8. มีการส่งเสริมให้กลุ่มบุคลากรหรือชุมชนมีส่วนร่วมในการแสวงหาทรัพยากร
เพื่อสนับสนุนการบริหารการจัดการสถานศึกษาการจัดสวัสดิการให้กับครูเช่นการจัดที่พักค่าตอบ
แทน ค่าล่วงเวลา ค่าสอนพิเศษ ค่าฝึกอบรมตลอดจนการแก้ปัญหาหนี้สินของครู
9. มีการวัดและประเมินทางการศึกษาที่มุ่งเน้นผลผลิต คือคุณภาพของ
นักเรียนที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
10. เป็นโรงเรียนที่ผู้นำท้องถิ่น และผู้ปกครองทุกระดับทุกประเภท ยอมรับว่า
เป็นโรงเรียนที่มีคุณภาพและมาตรฐาน
สรุปด้านสภาพแวดล้อมและบรรยากาศของโรงเรียน หรืออาคารสถานที่ของ
โรงเรียนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่ง ที่ช่วยให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างมี
ประสิทธิภาพ ตลอดจนสามารถส่งผลต่อความเจริญงอกงามทางด้านร่างกายจิตใจ สังคม และสติ
ปัญญาของนักเรียน ดังนั้น การจัดอาคารเรียน และบริเวณของโรงเรียนจึงจำเป็นต้องจัดให้อยู่ใน
สภาพที่ดีถูกต้องตามหลักวิชาและเอื้อประโยชน์ต่อการใช้สอยให้มากที่สุด
2.4 ด้านพฤติกรรมนักเรียน
เฟเบอร์ และเชียร์รอน (Faber and Shearron, 1970 : 213) ได้ระบุภารกิจของการ
บริหารกิจการนักเรียนไว้ 7 ประการ คือ การริเริ่มและรักษาระบบการสำรวจนักเรียนในท้องที่การ
ศึกษา การจัดให้มีการปฐมนิเทศนักเรียน การจัดให้มีการบริการแนะแนว การจัดให้มีการบริการ
สุขภาพ การจัดให้มีการเก็บข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคล การจัดระบบและกระบวนการเพื่อการ
ประเมินผล ความเจริญงอกงามของนักเรียน การสร้างวิธีที่จะแก้ปัญหาทางด้านวินัยของนักเรียน
นวลศิริ เปาโรหิตย์ (2520 : 155) ได้กล่าวถึงวินัยไว้สั้นๆ ว่าวินัยเป็นเครื่องช่วย
แนะแนวทางความประพฤติของเด็ก
เปรื่อง กุมุท (2529 : 26) กล่าวว่า พฤติกรรมของนักเรียนที่ดีย่อมมีผลมาจากการ
ที่นักเรียนได้รับความรู้และมีความเข้มแข็งในทัศนคติในการดำรงชีวิต และปฏิเสธสิ่งเสพติด และ
สามารถใช้ยาได้อย่างถูกต้อง มีการป้องกันตัวเอง และผู้ปกครองคือกระบวนการที่
จำเป็นอย่างยิ่งของมาตรการในการป้องกันยาเสพติด การป้องกันยาเสพติดที่ใช้ภูมิต้านทาน
ยาเสพติด จึงไม่มีอะไรดีกว่า
วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม (2531 : 19) ยังได้กล่าวถึง วิธีการป้องกันการใช้ยาเสพติด
ของนักเรียน โดยมีการขจัดหรือลดปัจจัยต่างๆ ทั้งด้านบุคคล ครอบครัว สังคม ที่มีผลกระทบโดย
19
ตรงต่อการนำไปสู่การใช้ยาเสพติดเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้นักเรียนมีความสามารถที่จะหลีก
เลี่ยงการใช้สารเสพติด คือ การให้ความรู้แก่นักเรียน ในชั้นเรียนระดับต่างๆ เรื่องสารเสพติดโดย
จัดเนื้อหาอยู่ในหลักสูตรการเรียนการสอน ซึ่งนโยบายในการป้องกันการใช้ยาเสพติดในรูปแบบ
ยับยั้ง กล่าวคือ เป็นการนำเสนอสื่อ เพื่อให้เกิดความกลัวให้เกิดขึ้นตามมาภายหลังจากการใช้ยา
เสพติดได้
สำนักงานคณะกรรมการการวัฒนธรรมแห่งชาติ (2540 : 180) ได้กล่าวว่า วินัย
หมายถึง ความสามารถในการบังคับหรือควบคุมตนเองให้ประพฤติตามระเบียบ
กฎเกณฑ์หรือขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม เพื่อความสงบสุขในชีวิตของตนเอง และความ
เป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคม
สรุปด้านพฤติกรรมนักเรียนหรือการบริหารงานกิจการนักเรียน เป็นงานที่
สำคัญอย่างหนึ่งของครูใหญ่ด้วยเหตุที่ว่า ครูใหญ่มีหน้าที่โดยตรงที่จะต้องดำเนินงานทุกอย่างภาย
ในโรงเรียน เพื่อให้กิจการนักเรียนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพโรงเรียนควรพยายามให้เด็กที่อยู่
ในวัยเรียนทุกคนได้มีโอกาสมาเป็นนักเรียนอย่างเสมอภาคและยุติธรรม เพราะการศึกษาช่วยทำให้
เด็กเติบโตขึ้นมาเป็นพลเมืองดีของชาติการศึกษาช่วยให้บุคคลมีความรอบรู้ และฉลาดมีไหวพริบรู้
จักแก้ปัญหาต่างๆ ของตนเองรู้จักปรับตัวให้เหมาะสมกับสถานการณ์ และสภาพสังคม การศึกษา
ช่ ว ย พั ฒ น า บุ ค ค ล ใ ห้ รู้ จั ก ใ ช้ ค ว า ม ส า ม า ร ถ ข อ ง ต น เ อ ง ไ ด้ อ ย่ า ง มี
ประสิทธิภาพและช่วยให้ประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิต
20
2.5 ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง
ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์ (2521 : 21) ให้ความเห็นว่า ผู้ปกครองนั้น เป็นบุคคลซึ่งจะได้รับ
รู้ผลการเล่าเรียนของเด็กในโรงเรียน ถึงแม้ไม่มีความรับผิดชอบในภารกิจของโรงเรียนเต็มที่ก็ตาม แต่
ผลของการศึกษาของนักเรียนในโรงเรียนมักจะตกไปอยู่กับผู้ปกครอง เพราะฉะนั้น
ผู้ปกครองเป็นผู้รับและรับชอบเกี่ยวกับกิจการของโรงเรียนเป็นขั้นสุดท้าย
นพชัย รู้ธรรม (2523 : 92) ก็พบว่า โรงเรียนได้ปฏิบัติงานด้านการติดต่อระหว่างโรง
เรียนกับชุมชนมีน้อย ผู้ปกครองไม่มีเวลา และสนใจมาติดต่อกับโรงเรียน โรงเรียนไม่มีเจ้าหน้าที่ประชา
สมั พนั ธ ์ หรอื มีแตท่ าํ งานไมไ่ ดผ้ ล และโรงเรยี นไมไ่ ดจ้ ดั โครงการเกีย่ วกบั เรื่องนี้
พนิจดา วีระชาติ (2542 : 55) ได้กล่าวถึงวิธีการที่โรงเรียนจะสร้างความสัมพันธ์
ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนนั้น สามารถดำเนินการได้ดังนี้
1. จัดให้มีการปฐมนิเทศผู้ปกครองของนักเรียนในวันเปิดภาคเรียน โดยชี้แจงถึง
วัตถุประสงค์ของการศึกษาและการดำเนินงานของโรงเรียน
2. เชิญผู้ปกครองมาเยี่ยมชมโรงเรียน
3. เชิญผู้ปกครองมาร่วมแก้ไขปัญหาบางอย่างเกี่ยวกับตัวเด็ก
4. ให้ครูไปเยี่ยมผู้ปกครองและนักเรียนที่บ้าน เพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน และ
มีความสนิทสนมกันมากขึ้น
5. ใหผ้ ูป้ กครองมีสว่ นรว่ มในกิจกรรมตา่ งๆ ของโรงเรียน
6. จดั ตงั้ สมาคมครแู ละผปู้ กครองขนึ้
พระมหาบุญชู แสนศรีลา (2544 : 153) ไดก้ ลา่ ววา่ วธิ กี ารสรา้ งความสมั พนั ธแ์ ละ
ความรว่ มมือระหวา่ งโรงเรยี นกบั ชุมชน จะต้องยึดหลักความบริสุทธิ์ใจ มีความปรารถนาดีตอ่ กันมี
ความเรยี บงา่ ย ตรงไปตรงมา มีความเขา้ ใจและพงึ พอใจทีจ่ ะรว่ มมือรว่ มใจกัน เพื่อให้เกดิ ประโยชน์
ความเจริญทั้งแก่โรงเรียนและชุมชนตลอดจนทุกๆ คนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาใน
ระบบหรือนอกระบบ จุดมุ่งหมาย เพื่อความกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอัน เดีย วกัน
อย่างถาวร
สรุปในฐานะที่โรงเรียนเป็นหน่วยหนึ่งของสังคม ตั้งขึ้นด้วยความต้องการและดำรง
อยู่ได้ด้วยความเชื่อถือ ความร่วมมือของประชาชน โรงเรียนจึงเป็นสถานที่ใกล้ชิดกับ
ประชาชน และควรมีความสัมพันธ์กัน อย่างดีทั้งในแง่เป็นผู้ให้บริการแก่ชุมชน และรับบริการจากชุม
ชน โรงเรียนเป็นสถาบันที่มีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอดวัฒนธรรมของชุมชนจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่อีก
รนุ่ หนงึ่ ตลอดจนนำความรูค้ วามคิดใหมๆ่ มาสูช่ มุ ชนดว้ ยความเหมาะสม นกั เรยี นไดเ้ รยี นรหู้ ลายสงิ่
หลายอยา่ งตลอดเวลา ขณะทอี่ ยทู่ บี่ า้ น และตามสถานการณท์ ี่ตา่ งๆ ในชุมชน โรงเรยี นจงึ จำเปน็ ตอ้ ง
ออกไปเกี่ยวข้องกับชุมชน และเชื้อเชิญชุมชนเข้ามาสู่โรงเรียน
21
นโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน
1. จะดาํ เนินนโยบายในการปฏริ ปู การศกึ ษาเอกชนใหส้ อดคลอ้ งกับรฐั ธรรมนูญและพระ
ราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 โดยเน้นการบริหาร และการจัดการศึกษาเอกชนให้มีความเป็น
อิสระ เป็นนิติบุคคลและมีคุณภาพ สถานศึกษาเอกชนจัดการศึกษาได้ทุกระดับและ
ทุกประเภท โดยรัฐต้องให้การสนับสนุนด้านเงินอุดหนุน สิทธิประโยชน์และด้านวิชาการให้
สถานศึกษาเอกชนมีมาตรฐาน และสามารถพึ่งตนเองได้
2. จะดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ในเรื่อง
2.1 การสรา้ งความเขา้ ใจใหบ้ คุ ลาการศกึ ษาเอกชน เข้าใจสาระและแนวปฏบิ ตั ขิ องพระ
ราชบญั ญัติการศกึ ษาแหง่ ชาติ โดยเฉพาะมาตรา 43 ถึงมาตรา 46
2.2 การจัดระบบการวัดและประเมินผลตามวิธีการของ GPA - PR ในการสอบ
คัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยของโรงเรียนเอกชน ทั้งโรงเรียนนานาชาติ โรงเรียนมัธยมทั่วประเทศ
โรงเรียนอาชีวศึกษา และนักเรียนที่จบการศึกษาก่อนปี พ.ศ. 2541 เพื่อให้นักเรียนโรงเรียนเอกชนได้
สิทธปิ ระโยชนใ์ นการวัดและประเมินผล และการสอบเขา้ ศึกษาตอ่ ในระดับอุดมศึกษาเชน่ เดียวกับโรง
เรียนรัฐ
2.3 ตรวจสอบคุณภาพการบริหารกองทุนกู้ยืมทางการศึกษา เพื่อให้โรงเรียน
เอกชน จัดสรรเงินทนุ ตามความจาํ เปน็ ของผูเ้ รยี น โดยไมใ่ ชเ้ งนิ กยู้ มื เปน็ เครอื่ งมอื โฆษณาชกั ชวนใหเ้ ขา้
เรียน ซึ่งไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกองทุน การดูแลความปลอดภัยของโรงเรียนที่จัดการศึกษา
นอกระบบ โดยเฉพาะโรงเรียนกวดวิชา เพื่อให้มีจำนวนนักเรียนต่อห้องเรียนไม่อัดแน่น และมีมาตร
การปอ้ งกนั อบุ ัติภัยและจัดไดอ้ ยา่ งมคี ณุ ภาพ การสง่ เสรมิ ภาคเอกชนในการจดั การศกึ ษา ซึง่ รวมถงึ
ครอบครัว ชุมชน สมาคม และหน่วยงานที่จัดการศึกษาเฉพาะทางเพื่อให้ทุกฝ่ายเข้าร่วมสนับสนุนการ
ศึกษา
3. จะพฒั นาการศกึ ษาเอกชนใหม้ มี าตรฐานคณุ ภาพและไดร้ บั สทิ ธปิ ระโยชน ์ เชน่ เดยี วกนั
กับการศึกษาที่จัดโดยรัฐ โดยสำนักงานงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน จะร่วมกับสถานศกึ ษาเอก
ชนในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการในการประเมินตนเองของ
สถานศึกษา และให้การสนับสนุนการบริหารอย่างมีประสิทธิภาพ จนได้รับการประกันคุณภาพจากการ
ประเมินภายนอก
4. เนน้ การพฒั นาครแู ละผูบ้ ริหารการศึกษาเอกชน ใหม้ ใี บประกอบวิชาชีพครูใบประกอบ
วชิ าชพี ผบู้ รหิ าร และความมั่นคงในการประกอบวิชาชีพ ไดร้ บั คา่ ตอบแทนที่เหมาะสมโดยสนบั สนนุ
ให้ครูและผู้บริหารมีทัศนะในการทำงานเพื่อมุ่งที่คุณภาพของผู้เรียน และคำนึงถึงการให้บริการที่ดีที่สุด
แก่ผู้เรียน
22
5. นโยบายการจัดการศึกษารัฐเปิดโอกาสให้เอกชนที่มีความสามารถที่มีคุณสมบัติเหมาะสม
และมเี จตจาํ นงทจี่ ะจดั การศกึ ษาเพอื่ ประโยชนส์ ว่ นรว่ ม เปน็ ผูจ้ ดั และรว่ มรบั ภาระในการจัดการศึกษา
โดยรัฐให้การส่งเสริมสนับสนุนในสถานศึกษาเอกชนมีความคล่องตัวในการดำเนินการทั้งด้านวิชาการ
และการบริหาร รวมทั้งปรับปรุงคุณภาพการจัดการศึกษาเอกชนทุกระดับและประเภทการศึกษา เพื่อให้
การจัดการศึกษาของเอกชนมีคุณภาพ ดังนี้
5.1 ประเภทสามัญศึกษา
1) ระดับก่อนประถมศึกษา
-รัฐบาลสนับสนุนและส่งเสริมให้ชุมชนท้องถิ่นเอกชนหรือคณะบุคคลเป็น
ผู้ให้การศึกษาและอบรมเลี้ยงดูเด็กก่อนวัยประถมศึกษา ทั้งในระบบโรงเรียนและนอกโรงเรียน
-รัฐจะจัดการศึกษาในระดับก่อนประถมศึกษา เฉพาะสื่อการทดลอง
เพื่อเป็นการพัฒนารูปแบบให้เป็นตัวอย่าง และการจัดการศึกษาในท้องถิ่น ที่ด้อยกว่าใน
เชิงเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะกลุ่มเด็กที่มีโอกาสน้อยในการได้รับบริการทางสังคม
2) ระดับประถมศึกษา
-รัฐเปิดโอกาสให้เอกชนร่วมจัดการศึกษาในระดับประถมศึกษา โดยรัฐถือว่า
ภาระหนา้ ที่ในการจัดการศึกษานี้เปน็ งานเรง่ ดว่ นของรัฐ ดงั นนั้ รัฐตอ้ งเรง่ ขยายการศึกษาระดับประถม
ศึกษาให้ทั่วถึงโดยรวดเร็ว และปรับปรุงคุณภาพให้เท่าเทียมกัน
3) ระดับมัธยมศึกษา
-รัฐเปดิ โอกาสใหเ้ อกชนรว่ มรับภาระการจัดการศึกษาในระดับมัธยม
ศึกษา โดยรัฐจะเน้นขยายในบริเวณที่ด้อยโอกาสทางการศึกษา โดยเฉพาะระดับมัธยมศึกษา
ตอนต้น เพื่อให้ผู้เรียนได้ทีโอกาสทัดเทียมกันในการเข้าเรียนระดับนี้
5.2 นอกจากรัฐใหก้ ารสนับสนุนระดับกอ่ นประถมศึกษา ระดับประถมศึกษาระดับมัธยม
ศึกษา ก็ยังมีส่วนของโรงเรียนอาชีวศึกษา รวมถึงโรงเรียนนโยบายพิเศษ นโยบายการอุดหนุนส่งเสริม
และการช่วยเหลือการศึกษาเอกชนสามารถจำแนกได้เป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
1) การอุดหนุนและส่งเสริมโรงเรียน ประกอบด้วยให้เงินอุดหนุนแก่
โรงเรยี นเอกชนประเภทสามัญศกึ ษาเปน็ รายหวั นักเรียน อตั ราไมเ่ กนิ รอ้ ยละ 40 ของคา่ ใชจ้ า่ ยรายหัวใน
โรงเรียนของรัฐแต่ละระดับการศึกษา เพื่อให้โรงเรียนนำไปใช้จ่ายรายหัวในโรงเรียนของรัฐแต่ละระดับ
การศึกษา เพื่อให้โรงเรียนนำไปใช้จ่ายเป็นเงินเดือนครูการพัฒนาคุณภาพ มาตรฐานการศึกษาได้ดีขึ้น
และสามารถดาํ รงโรงเรยี นอยูไ่ ดด้ ว้ ยรายไดข้ องโรงเรยี นเองในทสี่ ดุ สาํ หรบั โรงเรยี นการกศุ ลรฐั ไดใ้ ห้
เงินอุดหนุนเป็นรายหัวเช่นกัน แต่ในอัตราไม่เกิน ร้อยละ 60 ส่วนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม
รั ฐ ใ ห้ เ งิ น อุ ด ห นุ น เ ป็ น ร า ย หั ว นั ก เ รี ย น ต า ม สู ต ร ก า ร อุ ด ห นุ น ที่ ก ร ะ ท ร ว ง
ศกึ ษาธกิ ารกาํ หนด เพื่อใหโ้ รงเรยี นนาํ ไปพัฒนากจิ การของโรงเรียน รอ้ ยละ50 ใหแ้ กค่ รสู อนศาสนา
23
ร้อยละ40 ที่เหลือให้แก่ผู้รับใบอนุญาตให้เช่าทรัพย์สินของกระทรวงศึกษาธกิ ารอุดหนุนและสง่ เสริม
อื่นๆ ได้แก่การให้เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่เจ้าของผู้จัดการ ที่สามารถจัดการศึกษาได้เป็นประโยชน์
อย่างยิ่งแก่ประเทศชาติและอุดหนุนเงินค่าวัดผลการศึกษา เพื่อช่วยเหลือในการดำเนินการวัดผลการ
ศึกษาของนักเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามภาคใต้ นอกจากนี้ยังให้การอุดหนุนเป็นวิทยากร
สงเคราะห์แก่โรงเรียนเอกชนการกุศล และโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามภาคใต้
โดยให้ยืมเงินค่าก่อสร้างแก่โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษาและอาชีวศึกษา โดยการให้เงินกู้
ดอกเบี้ยต่ำเพื่อการก่อสร้างอาคารและจัดหาอุปกรณ์การศึกษา
2) การส่งเสริมช่วยเหลือครูใหญ่ และครูประกอบด้วยให้การอบรมทางวิชาการ ให้
เงินสงเคราะห์โดยสมทบทุนเงินเข้าในกองทุนสงเคราะห์ช่วยเหลือครูและครูใหญ่ใน
อตั รา รอ้ ยละ 6 ของเงินเดือนครูและครูใหญ ่ ซึง่ ตามสว่ นที่รัฐบาลจัดสรรเขา้ ในกองทุนเปน็ อตั ราสว่ น
6:3:3 คอื รฐั บาล : เจา้ ของโรงเรยี น : ครแู ละครใู หญ่ สว่ นดอกเบี้ยที่ไดจ้ ากการฝากเงินกองทุนไวก้ ับ
ธนาคารไดน้ าํ เงนิ ชว่ ยเหลือครูใหญแ่ ละครูเปน็ คา่ รักษาพยาบาล และคา่ ทดแทน คา่ ชว่ ยเหลอื บุตรและ
จากการศึกษาของบุตรด้วย
3) ให้เงินสมทบเงินเดือนหรือค่าครองชีพ เมื่อมีการปรับอัตราเงินเดือน
ข้าราชการพลเรือน
4) ชว่ ยเหลอื ประการอนื่ ๆ เชน่ การผอ่ นการเขา้ รับราชการทหาร ใหส้ ทิ ธิในการ
ศกึ ษาตอ่ เปน็ ต้น
6. นโยบายคา่ ธรรมเนียมการเรียน การศกึ ษาในระบบโรงเรยี นเอกชน ประเภทสามัญศึกษา
ที่ได้รับเงินอุดหนุนให้เก็บค่าธรรมเนียมการเรียนได้ไม่เกินร้อยละ 60 ของค่าใช้
จ่ายรายหัวของนักเรียนในโรงเรียนรัฐบาล และโรงเรียนที่ไม่ได้รับการอุดหนุนสามารถกำหนดค่าธรรม
เนียมการเรียนการสอนได้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ต้องจัดให้มีทุนการศึกษาสำหรับเด็กและเยาวชนด้วย
จากการที่รัฐบาลได้มีน โยบายเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาเป็นผู้จัดกา รในกา ร
ดำเนินงานทั้งทางการบริการและการพัฒนาทางวิชาการ รวมทั้งปรับปรุงคุณภาพนั้น การดาํ เนนิ งานตาม
นโยบายดังกล่าวในระยะเวลา 10 ปีเศษที่กล่าวมา ในด้านการจัดการศึกษาในระบบ
โรงเรียนประเภทสามัญศึกษาโดยส่วนรวมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในปีการศึกษา 2520-2533
เฉลี่ยร้อยละ 0.48 ต่อปี เมื่อดูรายละเอียดของการขยายตัวจำนวนโรงเรียนในแต่ละระดับ
แล้วปรากฏว่า ส่วนใหญ่เป็นการขยายตัวของโรงเรียนในระดับก่อนประถมการศึกษาระดับนี้ให้
มากทสี่ ดุ สว่ นภาครฐั เนน้ การจดั การในพื้นที่ชนบท สำหรับระดบั ประถมศกึ ษาและมธั ยมศึกษา จาํ นวน
โรงเรียนมีแนวโน้มลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปีการศึกษา 2520-2535 เนื่องจาก
โรงเรยี นจาํ นวนหนึง่ ประสบภาวะขาดทุนจะตอ้ งเลิกกจิ การไป อันเปน็ การศึกษาภาคบังคับ และการจัด
การศึกษาระดับมัธยมศึกษา เพื่อให้เกิดความเสมอภาคเป็นการกระจายโอกาสทางการศึกษา การบริหาร
24
และการจัดการ การส่งเสริมให้สถานศึกษาเอกชนมีความคล่องตัวในการดำเนินงาน
ทั้งการบริหารและการพัฒนาทางวิชาการ ยังมีปัญหาในการปฏิบัติจากขอ้ กำหนด กฎและระเบียบตา่ งๆ
ที่มีคุณลักษณะมุ่งไปในด้านการควบคุมสถานการณ์มากกว่าการส่งเสริมหรือการกำกับ
ดูแล ซึ่งมีผลทำให้การดำเนินงานของสถานศึกษายังขาดความคล่องตัวอย่างแท้จริง เช่น
ข้อกำหนดเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของผู้จัดการ ครูใหญ่ และครูที่ได้ปฏิบัติงานได้เฉพาะในโรงเรียนที่ได้
รับอนุญาตไว้เท่านั้น การกำหนดวุฒิการศึกษาสามัญของผู้ชำนาญการ ทำให้โรงเรียนไม่
อาจจัดจ้างผู้ชำนาญการซึ่งมีความรู้ในวิชาชีพบางสาขาที่โรงเรียนขาดแคลนได้ นอกจากนี้
ข้อกำหนดบางเรื่อง เช่น การกำหนดสัญชาติของผู้บริหารโรงเรียนก่อให้เกิดความขัดแย้งการบริหารงาน
ระหว่างผู้บริหาร
การบริหารงานของโรงเรียนเลิศหล้า
ธรรมนูญโรงเรียนเลิศหล้า (มปป. : 212-220) ได้กำหนดขอบเขตของการบริหารงานตลอด
จนกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบไว้ดังต่อไปนี้
ผจู้ ดั การ มหี นา้ ทคี่ วามรบั ผดิ ชอบ คอื ควบคมุ ดูแลรบั ผดิ ชอบในการดาํ เนินกจิ การของ
โรงเรยี นใหเ้ ปน็ ไปตามกฎหมาย เสนอแนะผูร้ ับใบอนุญาติใหจ้ ัดหาอุปกรณก์ ารสอน วสั ดคุ รภุ ณั ฑ ์ ให้
เหมาะสมกับความจำเปน็ ของโรงเรียน
ครูใหญ่ มีหน้าที่รับผิดชอบ ควบคุมดูแลรับผิดชอบการดำเนินกิจการของโรงเรียน
สง่ เสรมิ และเผยแพร่ ปลกู ฝงั วฒั นธรรม คา่ นยิ ม สง่ เสริมความสามัคคี เอาใจใสใ่ นการปฏิบัติงาน
ผอู้ าํ นวยการฝา่ ยวชิ าการและกจิ การนกั เรยี น มคี วามรบั ผดิ ชอบควบคมุ ดแู ล ตดิ ตามการ
บริหารดา้ นวิชาการและกิจการนักเรียน รวมทั้งหลักสตู รและกระบวนการเรียนการสอน
ผู้อำนวยการฝ่ายธุรการและบุคลากร มีหน้าที่ความรับผิดชอบควบคุมดูแลติดตาม การบริหาร
ดา้ นธุรการและบุคลากรเกี่ยวกับงานธุรการ การเงิน บคุ ลากร
ผู้อำนวยการฝ่ายบริการ และอาคารสถานที่ มีหน้าที่ความรับผิดชอบควบคุม ดูแล
ติดตามการบริการดา้ นอาคารสถานที่ และบริหารการสนบั สนนุ ทรพั ยากรเพื่อการเรยี นการสอน
ผูอ้ าํ นวยการฝา่ ยวางแผนและพัฒนา มีหนา้ ทีค่ วามรบั ผิดชอบควบคมุ ดูแลติดตามการบริหาร
ดา้ นปรชั ญา และนโยบายการจัดการบริหาร สัมพันธช์ ุมชน
ผูช้ ว่ ยผูอ้ ำนวยการฝา่ ยวชิ าการ มีหนา้ ทีค่ วามรบั ผิดชอบ คอื นเิ ทศ กำกับติดตามการเรียนการ
สอนของคณะครู และประสานงานในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ตามนโยบายของโรงเรียน
ผูช้ ว่ ยผูอ้ ำนวยการฝา่ ยธรุ การและบุคลากร มีหนา้ ทีค่ วามรบั ผิดชอบ ควบคมุ ดแู ลดา้ นบคุ ลากร
ควบคมุ ดูแลและดา้ นการเงนิ ควบคมุ ดแู ลดา้ นธรุ การ
25
หัวหน้าสาย มีหน้าที่ความรบั ผดิ ชอบ คอื รบั นโยบายจากผบู้ รหิ าร และพฒั นางานให้
ตรงตามเปา้ หมายของโรงเรยี น วิเคราะหห์ ลักสตู ร นเิ ทศ กาํ กบั ดแู ล ใหค้ าํ ปรกึ ษา ประสานงาน ระหวา่ ง
ครูประจำชั้นและผู้ปกครอง
1. ด้านวิชาการ
งานด้านวิชาการนับว่าเป็นงานที่สำคัญยิ่ง และเป็นหัวใจหลักของการบริหารโรง
เรียน เพื่อตอบสนองความสำเร็จของผลงานทางวิชาการ หรือการเรียนการสอนทาง
โรงเรียนได้มีการวิเคราะห์หลักสูตร นำหลักสูตรไปใช้ มีการนิเทศการสอนประเมินการสอนเป็น
ระยะๆ ทั้งนี้ในการบริหารงานวิชาการ จึงหมายถึง การจัดกิจกรรมทุกชนิดที่เกิดขึ้นใน
โรงเรียนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา และการปลูกฝังให้นักเรียนเป็นผู้ที่มีความประพฤติดีเป็น
พลเมืองที่ดี อันจะส่งผลให้นักเรียนเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ ทักษะและประสบการณ์ ตลอด
จนมีคุณลักษณะตามที่สังคมต้องการ
2. ด้านครูผู้สอน
โรงเรียนเลิศหล้าได้มีการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความเข้าใจและสามารถนำหลัก
สูตรไปใช้ ดำเนินการแก้ปัญหาจากการใช้หลักสูตรทั้งทางด้านตัวผู้สอน กิจกรรมการเรียนการ
สอนและผลสัมฤทธิ์ทางการบริหารของนักเรียน ส่งเสริมให้บุคลากรมีทัศนคติที่ดีต่อระบบการ
เรียนการสอนแบบบูรณาการ โดยให้นักเรียนเป็นสำคัญ ส่งเสริมให้บุคลากรพัฒนา
องค์ความรู้ตลอดจนให้ครูผู้สอนสามารถนำเทคโนโลยีเข้ามาสอน เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีความ
เป็นเลิศทางด้านการใช้ภาษาอังกฤษ ดังนั้นครูผู้สอนจึงเป็นบุคคลที่มีความสำคัญมากต่อการ
บริหารงานของโรงเรียนเลิศหล้า เพราะครูผู้สอนเป็นผู้ประสานให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ จึงจำเป็น
อย่างยิ่งที่ครูผู้สอนจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในหลักสูตรและรายวิชาที่รับผิดชอบเป็นอย่างดี
รวมถึงมีการใช้เทคนิควิธีการสอนที่หลากหลาย รู้จักเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ ประกอบการเรียนการ
สอน เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของยุคโลกภิวัฒน์
3. ด้านสภาพแวดล้อม และบรรยากาศของโรงเรียน
โรงเรียนเลิศหล้ามีสภาพแวดล้อม และบรรยากาศของโรงเรียนมากมาย มีห้อง
ประกอบกิจกรรมต่างๆ เช่น ห้องวิทยาศาสตร์ ห้องจริยะ ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องสมุด ห้อง
นาฎศิลป์ สนามกีฬาในร่ม สนามกีฬากลางแจ้ง ห้องศูนย์สื่อ และมีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
เพื่อช่วยให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนสามารถส่งผลต่อความเจริญ
งอกงามทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสติปัญญาของนักเรียน ทั้งนี้ทางโรงเรียน
เลิศหล้าได้จัดการด้านห้องเรียนโดยกำหนดให้มีจำนวนนักเรียน 2 คนต่อเนื้อที่ 3 ตารางเมตร
สำหรับห้องเรียนที่นักเรียนต้องใช้เวลาอยู่นานที่สุดในโรงเรียน
26
4. ด้านพฤติกรรมของนักเรียน
โรงเรียนเลิศหล้าได้เล็งเห็นงานด้านพฤติกรรมของนักเรียน เป็นงานที่มีความสำคัญ
อย่างหนึ่งโรงเรียนพยายามให้นักเรียนทุกคนได้มีความเสมอภาพ และได้รับความ
ยุติธรรม ซึ่งจะส่งผลให้นักเรียนเป็นคนเก่ง ดี มีความสุข และสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างถูกวิธี
ตามแบบประชาธิปไตย โดยโรงเรียนเลิศหล้าได้กำหนดให้มีการประเมินและวัดผลด้าน
พฤติกรรมของนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ ตามธรรมนูญของโรงเรียน
5. ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง
โรงเรียนได้ติดต่อสัมพันธ์กับชุมชน โดยการร่วมกันกำหนดวัตถุประสงค์และ
นโยบายของโรงเรียนตลอดจนร่วมมือกันพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนให้เจริญก้าวหน้า
เพื่อความเจริญก้าวหน้าของโรงเรียนและชุมชนจึงนับได้ว่าโรงเรียนมีบทบาทในการสร้างความ
สัมพันธ์กับชุมชน ตลอดจนการนำความรู้ความคิดใหม่ๆ มาสู่ชุมชนเข้ามาเป็นวิทยากรในการนำ
ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
1. งานวิจัยในต่างประเทศ
วิลเลี่ยม (Williams, 1961 : 4909-A) ได้ศึกษาเกี่ยวกับงานหนา้ ทีค่ รูใหญ่ โรงเรียนมัธยม
ศึกษาในอนิ เดยี นา พบวา่ ครใู หญส่ ว่ นมากใชเ้ วลาในการประเมินผลและปรับปรุงการสอนนอ้ ย การ
เยี่ยมห้องเรียนของครูใหญ่มีเวลาจำกัด และใช้เวลาน้อยมาก ยิ่งโรงเรียนที่มีขนาดใหญ่ ครูใหญ่มีเวลาให้
แก่โครงการปรับปรุงการสอนของครูยิ่งน้อยครูใหญ่มักให้คำแนะนำมากกว่าจัดให้มีการอบรม ครูใหญ่
ทุกคนพยายามพัฒนาสมรรถภาพในการทำงานและศึกษาหาความรู้ใหม่ๆ อยู่เสมอ ครูเห็นว่า ครูใหญ่
เปน็ ผูท้ ี่ชว่ ยแกป้ ญั หาและมหี นา้ ที่จะตอ้ งประเมินผลครูดว้ ยการสงั เกตการสอน การใชแ้ บบทดสอบและ
การประชุมปรึกษาหารือครูใหญ่จำเป็นต้องให้หัวหน้าหมวดวิชาร่วมในการประเมินผลด้วย
ซาโมรา (Zamora, 1998 : 2491) ได้ศึกษาวิจัยกระบวนการแก้ไขปัญหา และการ
ตัดสินใจของผู้บริหารโรงเรียนเกี่ยวกับปัญหาวินัยนักเรียนรัฐอุสตัน สหรัฐอเมริกากลุ่มตัวอย่าง
ไดแ้ ก ่ ผูบ้ ริหารโรงเรยี นประถมศึกษาประจำอาํ เภอ 36 คน เปน็ ชาวผวิ ขาว 12 คน ผวิ ดาํ 12 คน และเลือด
ผสม 12 คน ผลการวิจัยพบว่าการแก้ปัญหาการประพฤติผิดวินัยที่ผู้บริหารโรงเรียนทั้ง 3 กลุ่มใช้กันโดย
ทั่วไปมีอยูห่ ลายประการ ไดแ้ ก ่ การศกึ ษาประวตั นิ กั เรยี นพจิ ารณาลักษณะเฉพาะของเดก็ แตล่ ะคนการ
สร้างแรงจูงใจ วิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางบ้าน ยึดมั่นในกฎระเบียบวินัยและให้ความสำคัญการกระทำ
ทุ ก ก รณี ที่ ผิ ด วิ นั ย ข้ อ ค้ น พ บ จ า ก ก า ร วิ จั ย อี ก ป ร ะ ก า ร ห นึ่ งที่สำ คัญ ไ ด้ แ ก่
ยุทธศาสตร์ที่ผู้บริหารโรงเรียนใช้มากที่สุด ในการแก้ปัญหาหารประพฤติผิดวินัยมีอยู่ 11 ประการ ได้
แก่ ประชมุ ผูป้ กครอง พกั การเรยี น หาวิธีการหลายๆ อยา่ งผู้บรหิ ารแกป้ ญั หา โดยการเรยี กเด็กมาพดู คุย
27
หาข้อมูลเกี่ยวกับการประพฤติผิดให้มากที่สุด ใช้เทคนิคการให้คำปรึกษาเก็บประวัติ
การประพฤติผิดวินัยการลงโทษให้เจ็บกาย เข้มงวดกวดขันระเบียบวินัยข้อบังคับ พักการเรียน
ในช่วงเวลาเรียนและให้เป็นภาระของผู้ปกครองตามลำพัง
2. งานวิจัยในประเทศ
วศิน ปาลเดชพงศ์ (2539 : บทคัดย่อ) การศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครอง
นกั เรยี นตอ่ โรงเรยี นอนบุ าลเอกชน : กรณีศึกษาโรงเรยี นอนุบาลกอ้ งหลา้ กรุงเทพมหานคร พบวา่ ผปู้ ก
ครองสว่ นใหญเ่ ปน็ เพศหญิง มอี ายรุ ะหวา่ ง 31-35 ป ี สำเร็จการศึกษาสงู สุดในระดบั ปรญิ ญาตรี และ
ประกอบอาชีพธุรกิจสว่ นตวั ครอบครัวมีรายไดเ้ ฉลี่ยตอ่ เดือน 20,001-40,000 บาท และตดั สินใจสง่
บุตร-ธิดาเข้าเรียนเพราะสถานที่ตั้งของโรงเรียนอยู่ใกล้บ้าน ผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจดังนี้ (1)
จัดการเรียนการสอนโดยเน้นวิชาการให้นักเรียนอ่านออกเขียนได้ (2) จัดมุมการเรียนต่างๆ ขึ้นในห้อง
เรียน (3) จัดหาครูที่มีอายุอยู่ระหว่าง 20-40 ปี และควรผ่านการอบรมหรือศึกษาด้านการอนุบาลมาโดย
เฉพาะ และจดั พีเ่ ลีย้ งใหก้ ับเด็กในแตล่ ะชัน้ เรยี น (4) รายงานผลพัฒนาการของนักเรียนทุกครั้ง ตดิ ตอ่ กบั
ผู้ ป ก ค ร อ ง ทั้ ง ท า ง จ ด ห ม า ย แ ล ะ โ ท ร ศั พ ท์ แ ล ะ ผู้ ป ก ค ร อ ง
นักเรียนมีความตอ้ งการใหโ้ รงเรียนดำเนินการดังนี้ (1) จดั ใหม้ อี ปุ กรณ ์ และสื่อการสอนตา่ งๆ เพยี งพอ
กับความตอ้ งการของนกั เรยี น (2) มสี งิ่ แวดลอ้ มทดี่ รี ม่ รนื่ มีหอ้ งเฉพาะสาํ หรบั วิชาตา่ งๆ ตดิ ตงั้ เครอื่ ง
ปรบั อากาศในหอ้ งเรยี น และมสี ถานที่ตัง้ อยูใ่ นทีช่ มุ ชน การคมนาคมสะดวก และ (3) มกี ารพบปะ
สังสรรค์ระหว่างผู้ปกครองและโรงเรียน ปีละ 1 ครั้ง
ผสุ ด ี ตรงตอ่ การ (2540 : บทคดั ยอ่ ) การศกึ ษาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน
นานาชาติในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พบวา่ การบริหารงานวิชาการของโรงเรยี นนานาชาตจิ าก
การศึกษาครั้งนี้มีระบบการบริหารงานวิชาการเป็น 2 ระบบ คือ ระบบการศึกษาแบบของประเทศสหรัฐ
อเมรกิ าและระบบการศึกษาแบบของประเทศอังกฤษ ซึง่ ตา่ งกม็ คี วามแตกตา่ งกนั ในดา้ นของแนวความ
คดิ ทางปรชั ญาจดุ มงุ่ หมายของการจดั การศกึ ษา และวธิ ดี าํ เนนิ การในระบบบรหิ ารงานวชิ าการแตล่ ะ
ด้าน โรงเรียนนานาชาติที่จัดระบบการศึกษาตามแบบของประเทศสหรัฐอเมริกาจะเน้นพัฒนาการใน
การเรยี นรขู้ องผเู้ รยี น มุง่ เตรียมเยาวชนใหเ้ ปน็ ผูม้ ีทักษะในกระบวนการเรียนรูเ้ ปน็ อยา่ งดี และมคี วาม
ส า ม า ร ถ ใ น ก า ร สื่ อ ส า ร ใ น ร ะ ดั บ สู ง ส่ ง เ ส ริ ม นั ก เ รี ย น ใ ห้ เ ป็ น
ผูร้ ูจ้ ักคดิ และวเิ คราะห์ รูจ้ กั หาเหตุผลอยา่ งเปน็ ระบบ เนน้ การพฒั นาดา้ นสตปิ ญั ญา รา่ งกาย อารมณ์และ
สังคมอย่างสมดุล ฝึกให้นักเรียนเป็นผู้มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี มีความรับผิดชอบ
และรจู้ กั การเสยี สละตอ่ สงั คมสว่ นรวม เหน็ ในคุณคา่ ของมนุษยแ์ ละวัฒนธรรมของประเทศเจา้ บา้ น
ส่วนโรงเรียนนานาชาติที่จัดระบบการศึกษาแบบของประเทศอังกฤษจะจัดหลักสูตรการเรียนตามกรอบ
หลักสูตรแห่งชาติ (National Curriculum) แห่งประเทศอังกฤษ ซึ่งจะเน้นการศึกษาด้วย
28
ตนเองมากที่สุด โดยมุ่งให้ผู้เรียนมีความรู้และทักษะในเนื้อหาวิชาหลัก (Core Subjects) คือ วิชาภาษา
อังกฤษ คณิตศาสตร์และวิชาวิทยาศาสตร์ และมีรายวิชาพื้นฐาน (Foundation Subjects) ให้นักเรียนได้แก่
วิชาศิลปะ ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ดนตรี ภาษาสมัยใหม่ พลศึกษา เทคโนโลยี
ขอ้ มลู ขา่ วสาร และวชิ าการออกแบบและเทคโนโลยี
นรี นาท กลา่ํ คลงั (2541 : 99) สภาพและปญั หาการจดั การเรียนการการสอนวชิ าภาษาไทย
ของโรงเรยี นนานาชาตใิ นจงั หวดั เชยี งใหม ่ พบวา่ ระดับการใช้ การปฏิบัติ หรือปญั หาที่ประสบกับการ
ใช้หลักสูตรและหนังสือประกอบ กล่าวคือ หลักสูตรภาษาไทยไม่ชัดเจน เพราะฉะนั้น การจัดการเรียน
การสอนจะตอ้ งขึน้ อยูก่ ับองคป์ ระกอบหลายประการ เชน่ ความสามารถและพื้นฐานทางภาษาของผู้
เ รี ยนที่ แ ต ก ต่ า ง กั น ค ว า ม ต้ อ ง ก า ร เ น้ น ก า ร เ รี ย นภาษา ไทย ข อ งนักเ รี ยนและ
ผู้ปกครอง จำนวนของครูผู้สอนที่มีค่อนข้างน้อย จากปัญหาดังกล่าว ครูจึงต้องคัดสรรเนื้อหา
และกจิ กรรมการสอนทีเ่ หมาะสมกับเด็กแตล่ ะคน ซึง่ ในสว่ นของเนือ้ หาจะเนน้ การสอน เกยี่ วกบั วฒั น
ธรรมไทยขนบธรรมเนียม ประเพณีและวิถีที่พึงปฏิบัติในสังคมไทย ทั้งนี้ชื่อของวิชาภาษาไทยในโรง
เรียนนานาชาติ จะเป็นแนวเดียวกัน คือ วิชาภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย (Thai language Thai Culture)
ซึ่ งพอจะสรุปเนื้อของหลักสูตรได้ว่าการจัดหลักสูตรจะมีเป้าหมายสำคัญ คือ
ให้ผู้เรยี นสามารถใชภ้ าษาไทยทางภาษาทงั้ 4 ทกั ษะ คอื การฟงั การพดู การอา่ น และการเขยี น
ในดา้ นกระบวนการเรยี นการสอน และการใชส้ อื่ ประกอบการสอน จะเนน้ ทีน่ กั เรยี นเปน็ ศนู ยก์ ลาง
(Student Centered) กล่าวคือ พิจารณาถึงความสามารถและศักยภาพของบุคคลในด้าน พื้นฐาน และ
ประสบการณท์ างภาษา สิง่ แวดลอ้ มและสังคมของผูเ้ รียน และในสว่ นของการวดั ผลและประเมนิ ผลจะ
มปี ญั หาพอสมควร อนั เนอื่ งมาจากความแตกตา่ งทางภาษาของรายบคุ คล อนึ่งในดา้ นของการจัดการ
นิเทศและการจัดสรรงบประมาณนั้น ครูภาษาไทยและผู้บริหารเห็นว่ามีปัญหาค่อนข้างน้อย กล่าวคือ
ในด้านการนิเทศนั้นได้มีการจัดการนิเทศภายในแบบไม่เป็นทางการ แต่ยังไม่
มากนกั โดยผบู้ รหิ ารเองจะใหอ้ สิ ระในการจดั การเรยี นการสอนอยา่ งเตม็ ที่ พรอ้ มทั้งการจัดสรรงบ
ประมาณก็เพียงพอต่อความต้องการ
กรชกร ชวติ (2544 : บทคัดยอ่ ) ความพึงพอใจของผูป้ กครองนักเรียนที่มีตอ่ การจัดการ
ศึกษาของโรงเรียน ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้ปกครองนักเรียนจำแนกตามระดับการศึกษา
การประกอบอาชพี และขนาดโรงเรยี น มีความพึงพอใจตอ่ การจดั การศกึ ษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา
สังกดั กรมสามญั ศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ ์ ทีต่ ั้งอยูน่ อกเขตเทศบาล โดยรวมและรายดา้ นอยใู่ นระดบั ปาน
กลาง โดยเรียงคา่ เฉลี่ยจากมากไปหานอ้ ย ดงั นี้ ดา้ นบริการ ดา้ นปกครองนกั เรยี น ดา้ นวชิ าการ ดา้ นความ
สั ม พั น ธ์ ร ะ ห ว่ า ง โ ร ง เ รี ย นกั บ ชุ ม ช น แ ล ะ ด้ า นอ า ค า รส ถ า น ที่ แ ล ะ ส ภ าพ
แวดล้อม (2) ผู้ปกครองนักเรียนที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกันมีความพึงพอใจต่อการจัดการศึกษาของ
โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่ตั้งอยู่นอกเขตเทศบาล โดยรวมและราย
29
ด้าน ไม่แตกต่างกัน (3) ผู้ปกครองนักเรียนที่ประกอบอาชีพแตกต่างกัน มีความ
พึงพอใจต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์
ที่ตั้งอยูน่ อกเขตเทศบาล โดยรวมและเปน็ รายดา้ น 4 ดา้ น คอื ดา้ นวชิ าการ ดา้ นปกครองนกั เรยี น ดา้ น
อาคารสถานที่ และสภาพแวดล้อมและด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ไม่แตกต่างกัน แต่
ผูป้ กครองนกั เรยี นที่ประกอบอาชีพอสิ ระ มีความพึงพอใจตอ่ การจดั การศกึ ษาดา้ นบรกิ าร มากกวา่ กลุม่
ที่ประกอบอาชีพรับราชการหรือรัฐวิสาหกิจ อย่างมีนับสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (4) ผู้ปกครองนัก
เรยี นทมี่ นี กั เรยี นในโรงเรยี นขนาดแตกตา่ งกนั มคี วามพงึ พอใจตอ่ การจดั การศกึ ษาของโรงเรยี นมธั ยม
ศกึ ษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จงั หวดั กาฬสนิ ธ ์ุ ทีต่ ั้งอยูน่ อกเขตเทศบาล โดยรวมและรายดา้ น ไมแ่ ตก
ต่างกัน
บทที่ 3
วิธีดำเนินการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
3. การเก็บรวบรวมข้อมูล
4. การวิเคราะห์ข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้ปกครองนักเรียนที่มีบุตรหลานกาํ ลังศึกษาใน
โรงเรียนเลิศหลา้ หลักสูตรสองภาษาและหลักสูตรนานาชาติ ในปกี ารศกึ ษา 2544 จาํ นวน 1,514 คน
แบ่งเป็นผู้ปกครองนักเรียนหลักสูตรสองภาษา 1,000 คน และผู้ปกครองหลักสูตรนานาชาติ
514 คน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ปกครองนักเรียนหลักสูตรสองภาษา 302 คน และผู้
ปกครองนักเรียนหลักสูตรนานาชาติ 148 คน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 450 คน โดยการ
สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) มีขั้นตอนการสุ่มดังนี้
1. กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง เพื่อเป็นตัวแทนของประชากร จากตารางสำเร็จรูปของ
เครซี และมอรแ์ กน (พวงรัตน์ ทวีรัตน์, 2540 : 303)
2. จำแนกผู้ปกครองนักเรียนออกตามหลักสูตรที่นักเรียนเรียน ได้แก่ หลักสูตร
สองภาษา และหลักสูตรนานาชาติ
3. สุ่มกลุ่มตัวอย่างตามสัดส่วนแต่ละชั้น (Strata) ได้กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
ดังรายละเอียดในตารางที่ 1
ตารางที่ 1 แสดงจำนวนประชากรและกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามประเภทของผู้ปกครอง
ประเภทของผูป้ กครองนักเรียน ประชากร กลุม่ ตัวอยา่ ง
หลักสูตรสองภาษา
หลักสูตรนานาชาติ
1,000
514
302
148
29
รวม 1,514 450
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นเองจำนวน 1 ฉบับ แบ่งเป็น
2 ตอน คือ
ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นข้อคำถามแบบเลือกตอบ
ตอนที่ 2 ข้อคำถามเกี่ยวกับความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน ที่มีต่อการบริหาร
งานของโรงเรียนเลิศหล้าหลักสูตรสองภาษาและหลักสูตรนานาชาติ 5 ด้านประกอบด้วย
(1) ดา้ นวชิ าการ (2) ดา้ นครผู สู้ อน (3) ดา้ นสภาพแวดลอ้ มและบรรยากาศของโรงเรยี น
(4) ด้านพฤติกรรมนักเรียน และ (5) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง เป็นแบบ
มาตราประมาณคา่ (Rating scale) 5 ระดับ ดงั ตอ่ ไปนี้
5 หมายถึง ความพึงพอใจมากที่สุด (Very high degree of satisfaction)
4 หมายถึง ความพึงพอใจมาก (Moderately high degree of satisfaction)
3 หมายถึง ความพึงพอใจปานกลาง (Intermediate degree of satisfaction)
2 หมายถึง ความพึงพอใจน้อย (Moderately low degree of satisfaction)
1 หมายถึง ความพงึ พอใจนอ้ ยทสี่ ดุ (Very low degree of satisfaction)
ขั้นตอนในการสร้างเครื่องมือ
เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามผู้ปกครองนักเรียนเกี่ยวกับ
ความพึงพอใจในการบริหารงานของโรงเรียนเลิศหล้าหลักสูตรสองภาษาและหลักสูตรนานาชาติที่
ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง โดยได้ดำเนินตามขั้นตอน ดังนี้
1. ศึกษาทฤษฎี หลักวิชาการเกี่ยวกับการบริหารของโรงเรียนและความพึงพอใจ
จากเอกสาร และงานวิจัยรวมทั้งแหล่งข้อมูลอื่นๆ สร้างคำนิยามเชิงปฏิบัติการเพื่อร่าง
ข้อคำถามของแบบสอบถาม
2. นำร่างแบบสอบถามเสนอคณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์เพื่อตรวจสอบเนื้อหาและ
สำนวนภาษาที่ใช้ในแบบสอบถาม
3. ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงพินิจ (Face Validity) โดยคณะผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน
(รายละเอียดในภาคผนวก)
4. ปรับปรุงแก้ไขแบบสอบถามตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ
5. นำแบบสอบถามที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วไปทดลองใช้กับผู้ปกครองโรงเรียนเลิศหล้าหลักสูตร
สองภาษาและหลกั สตู รนานาชาต ิ ทีไ่ มใ่ ชก่ ลุม่ ตวั อยา่ ง จาํ นวน 30 คน เพอื่ หาความเชอื่ มนั่
30
(Reliability) ของแบบสอบถามโดยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า (′ coefficient) ของครอนบัค
(พวงรัตน์ ทวีรัตน์, 2540 : 125) ไดค้ า่ ความเชอื่ มนั่ เทา่ กบั 0.97
การเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองตามลำดับดังนี้
1. ขอหนังสือจากบัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาถึงผู้อำนวยการโรง
เรียนเลิศหล้าหลักสูตรสองภาษาและหลักสูตรนานาชาติ เพื่อขออนุญาตเก็บข้อมูลจาก
ผู้ปกครองนักเรียนในโรงเรียนโดยผ่านทางนักเรียนไปถึงผู้ปกครอง
2. ผูว้ จิ ยั เกบ็ แบบสอบถามดว้ ยตนเองโดยเก็บจากนักเรียนใชเ้ วลาในการแจกและเก็บรวบ
รวมแบบสอบถามคืนรวมทั้งสิ้น 30 วัน
3. นำแบบสอบถามที่ได้รับคืนมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์เพื่อดำเนินการ
วิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์
1. การจดั กระทาํ ขอ้ มูล นำแบบสอบถามที่ได้รับกลับคืนทั้งหมดมาตรวจสอบคัดเลือก
เฉพาะฉบับที่สมบูรณ ์ นำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะหต์ ามวัตถปุ ระสงคก์ ารวจิ ยั และสมมตฐิ านทตี่ งั้ ไว้
2. การวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard
deviation) และทดสอบสมมติฐานด้วยการทดสอบค่าที (t-test) โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรม
SPSS
การแปลความหมายของค่าเฉลี่ยระดับความพึงพอใจกำหนดเกณฑ์คะแนนเฉลี่ยไว้
ดงั น ี้ (ประคอง กรรณสูตร, 2528 : 70)
ค่าคะแนนเฉลี่ยระหว่าง 4.50 – 5.00 หมายถึง ระดับความพึงพอใจมากที่สุด
ค่าคะแนนเฉลี่ยระหว่าง 3.50 – 4.49 หมายถึง ระดับความพึงพอใจมาก
ค่าคะแนนเฉลี่ยระหว่าง 2.50 – 3.49 หมายถึง ระดับความพึงพอใจปานกลาง
คา่ คะแนนเฉลี่ยระหวา่ ง 1.50 – 2.49 หมายถึง ระดับความพงึ พอใจพอใจนอ้ ย
ค่าคะแนนเฉลี่ยระหว่าง 1.00 – 1.49 หมายถึง ระดับความพึงพอใจน้อยที่สุด
3. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
3.1 สถิติพื้นฐาน
1) คา่ เฉลยี่ ( X ) ใชส้ ตู ร
X = n
θX
X แทน คะแนนเฉลี่ย
31
θX แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมด
n แทน จำนวนข้อมูล
32
2) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) ใช้สูตร
S.D = n 1
(X X) 2
Κ
Κ
S.D แทน ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
X แทน ค่าเฉลี่ย
x แทน คะแนนของผู้ตอบแบบสอบถาม
n แทน จำนวนผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด
3.2 การทดสอบด้วยสถิติที (t - test) สูตร
t =


Ι
Ι Κ
Κ Ι Κ
Κ
1 2 1 2
22
2
2
1 1
1 2
n
1
n
1
n n 2
(n 1)S (n 1)S
X X
df = n1 n2 2 Ι Κ
X1 = คะแนนเฉลยี่ ของกลมุ่ หลกั สตู รนานาชาติ
X2 = คะแนนเฉลี่ยของกลุ่มหลักสูตรสองภาษา
2
S1 = ความแปรปรวนของกลมุ่ หลกั สตู รนานาชาติ
22
S = ความแปรปรวนของกลุ่มหลักสูตรสองภาษา
n1 = ขนาดของกลมุ่ ตวั อยา่ งหลกั สตู รนานาชาติ
n2 = ขนาดของกลุ่มตัวอย่างหลักสูตรสองภาษา
3.3 สถิติที่ใช้หาความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม






Κ
Κ
[
2t
2
i
S
S
1
K 1
K
ϒ
′ = ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่น
k = จำนวนข้อของแบบสอบถาม
2
si = ผลรวมของความแปรปรวนในแตล่ ะขอ้
2t
s = ความแปรปรวนของคะแนนทั้งฉบับ
บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
การนำเสนอผลการวิเคราะห์ ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการ
บริหารงานของโรงเรียนเลิศหล้าหลักสูตร นำเสนอตามลำดับดังนี้
1. ข้อมูลทั่วไปของผู้ปกครอง
2. ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน ที่มีต่อการบริหารงานของโรงเรียนเลิศหล้าใน
งาน 5 ด้าน คือ ด้านวิชาการ ด้านครูผู้สอน ด้านสภาพแวดล้อม และบรรยากาศของโรงเรียน
ด้านพฤติกรรมของนักเรียน และด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง
3. ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน หลักสูตรสองภาษา กับ
หลักสูตรนานาชาติ ที่มีต่อการบริหารโรงเรียนเลิศหล้า ในงาน 5 ด้าน คือ ด้านวิชาการ ด้าน
ครูผู้สอน ด้านสภาพแวดล้อมและบรรยากาศของโรงเรียน ด้านพฤติกรรมของนักเรียน และด้าน
ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
1. ข้อมูลทั่วไปของผู้ปกครองนักเรียน มีรายละเอียดแสดงในตารางที่ 2
ตารางที่ 2 จำนวนและร้อยละผู้ปกครองนักเรียน
ข้อมูลทั่วไป จำนวน ร้อยละ
1. ผู้ปกครองนักเรียน
1.1 หลักสูตรสองภาษา 302 67.00
1.2 หลักสูตรนานาชาติ 148 33.00
รวม 450 100.00
2. เพศ
2.1 ชาย 146 32.00
2.2 หญิง 304 68.00
รวม 450 100.00
3. ระดับการศึกษา
3.1 ระดับประถมศึกษา 32 7.00
3.2 สูงกว่ามัธยมศึกษา แต่ต่ำกว่าปริญญาตรี 110 25.00
3.3 ระดับปริญญาตรี 253 56.00
33
3.4 ระดับปริญญาโทหรือสูงกว่า 55 12.00
รวม 450 100.00
จากตางรางที่ 2 พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดจำนวน 450 คนเป็นผู้ปกครองนัก
เรียนหลักสูตรสองภาษาจำนวน 302 คน คิดเป็นร้อยละ 67 ผปู้ กครองหลกั สตู รนานาชาต ิ 148
คนคิดเป็นร้อยละ 33 เพศชาย 146 คนคิดเป็นร้อยละ 32 เพศหญิง 304 คน คิดเป็นร้อยละ 68
ผู้ปกครอง ส่วนใหญ่จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี 253 คน คิดเป็นร้อยละ 56 รองลงมาคือ
จบการศึกษาในระดับสูงกว่ามัธยมศึกษาแต่ต่ำกว่าปริญญาตรี 110 คน คิดเป็นร้อยละ 25 จบ
การศึกษาในระดับปริญญาโทหรือสูงกว่า 55 คนคิดเป็นร้อยละ 12 และลำดับสุดท้ายคือจบการ
ศึกษาในระดับประถมศึกษา 32 คน คิดเป็นร้อยละ 7
2. ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการบริหารงานของโรงเรียนเลิศหล้าใน
5 ด้าน คือ ด้านวิชาการ ด้านครูผู้สอน ด้านสภาพแวดล้อมและบรรยากาศของโรงเรียนด้านพฤติ
กรรมของนักเรียน และด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง ผลการวิเคราะห์ปรากฏ
ดังตารางที่ 3-8
ตารางที่ 3 ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน
ที่มีต่อการบริหารงานของโรงเรียนเลิศหล้า จำแนกเป็นรายด้าน
การบริหารงานของโรงเรียนเลิศหล้า X S.D. ระดับความพึงพอใจ
1. ด้านวิชาการ 3.81 0.75 มาก
2. ด้านครูผู้สอน 3.94 0.67 มาก
3. ดา้ นสภาพแวดลอ้ มและบรรยากาศของโรงเรียน 3.75 0.75 มาก
4. ดา้ นพฤตกิ รรมของนกั เรยี น 3.78 0.71 มาก
5. ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง 3.83 0.74 มาก
รวมเฉลี่ย 3.82 0.73 มาก
จากตารางที่ 3 พบว่า ผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการบริหารงานของ
โรงเรียนเลิศหล้า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( X = 3.82) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า
อยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน โดยความพึงพอใจด้านครูผู้สอนมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (X = 3.94)
รองลงมาคือ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง (X = 3.83) และด้านวิชาการ
( X = 3.81)
34
ตารางที่ 4 ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน
ที่มีต่อการบริหารงานของโรงเรียนเลิศหล้าด้านวิชาการ จำแนกเป็นรายข้อ
ข้อ ด้านวิชาการ X S.D. ระดับความพึงพอใจ
1. มีการปรับปรุงเนื้อหาในหลักสูตรให้เหมาะสมแก่วัย และ
ความสนใจของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง 3.93 0.72 มาก
2. ให้ความสำคัญกับการสอนภาษาอังกฤษอย่างจริงจัง 4.10 0.70 มาก
3. ให้ความสำคัญกับการสอนคณิตศาสตร์อย่างจริงจัง 3.83 0.75 มาก
4. ให้ความสำคัญกับการสอนวิชาอื่นๆ อย่างจริงจังเช่น
เดียวกับวิชาการภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ 3.77 0.74 มาก
5. มีการอบรมจริยธรรมให้กับนักเรียน 3.69 0.69 มาก
6. ปริมาณการให้การบ้าน และตรวจแก้การบ้านที่ให้แก่
นักเรียนแต่ละวัน 3.67 0.72 มาก
7. การจัดจำนวนนักเรียนต่อ 1 ห้อง
(ไม่เกิน 25 คน สำหรับหลักสูตรนานาชาติ)
(ไม่เกิน 35 คน สำหรับหลักสูตรสองภาษา) 3.88 0.83 มาก
8. มีการสอนซ่อมเสริมแก่นักเรียนที่เรียนช้า 3.60 0.89 มาก
9. มีการจัดกิจกรรมส่งเสริม การเรียนการสอนที่เป็น
ประโยชน์แก่ผู้เรียน 3.84 0.72 มาก
10. กระตุ้น ปลูกฝังให้นักเรียน ศึกษา ค้นคว้า ด้วยตนเอง
และใช้ห้องสมุดอย่างจริงจัง 3.73 0.80 มาก
11. การรายงานผลการเรียนของนักเรียน 3.92 0.75 มาก
12. มีการจัดสอนพิเศษ หลังเลิกเรียน 3.76 0.79 มาก
รวมเฉลี่ย 3.81 0.75 มาก
จากตารางที่ 4 พบว่า ผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการบริหารงานด้าน
วิชาการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( X = 3.81) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับ
มากเช่นเดียวกัน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย 3 อันดับแรก คือ ให้ความสำคัญกับ
การสอนภาษาอังกฤษอย่างจริงจัง ( X = 4.10) มีการปรับปรุงเนื้อหาในหลักสูตรให้เหมาะสมแก่
วัยและความสนใจของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง ( X = 3.93) และการรายงานผลการเรียนของนัก
เรียน (X = 3.92) ส่วนมีการสอนซ่อมเสริมแก่นักเรียนที่เรียนช้ามีค่าเฉลี่ยต่ำสุด
( X = 3.60)
35
ตารางที่ 5 ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน
ที่มีต่อการบริหารงานของโรงเรียนเลิศหล้าด้านครูผู้สอนจำแนกเป็นรายข้อ
ข้อ ด้านครูผู้สอน X S.D. ระดับความพึงพอใจ
1. ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของครู 3.96 0.66 มาก
2. การกวดขัน ดูแลความประพฤตินักเรียนอย่างใกล้ชิด 3.84 0.70 มาก
3. มารยาท และความประพฤติของครู 4.02 0.68 มาก
4. ความเสียสละ และอุทิศตนของครูเพื่อความเจริญงอก
งามของนักเรียน 3.87 0.67 มาก
5. การต้อนรับผู้ปกครองด้วยอัธยาศัยอันดีของครู 4.10 0.66 มาก
6. ความกระตือรือร้นของครูที่จะช่วยเหลือนักเรียน
เมื่อเกิดปัญหา 3.93 0.74 มาก
7. ความรักและจริงใจของครูต่อนักเรียน 3.94 0.67 มาก
8. กระบวนการเรียนการสอนของครู 3.91 0.64 มาก
9. การแต่งกายของครู 4.00 0.65 มาก
10. ความรู้ และความสามารถของครู 3.91 0.64 มาก
11. คุณธรรมและจริยธรรมของครู 3.92 0.65 มาก
12. จรรยาบรรณในวิชาชีพของครู 3.97 0.64 มาก
รวมเฉลี่ย 3.94 0.67 มาก
จากตารางที่ 5 พบว่า ผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการบริหารงานด้านครู
ผู้สอน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( X = 3.94) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับ
มากเช่นเดียวกัน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก คือ การต้อนรับ
ผู้ปกครองด้วยอัธยาศัยดีของครู ( X = 4.10) มารยาทและความประพฤติของครู ( X = 4.02)
และการแต่งกายของครู (X = 4.00) ส่วนการกวดขันดูแลความประพฤติของนักเรียนอย่าง
ใกล้ชิดมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( X = 3.84)
36
ตารางที่ 6 ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน
ที่มีต่อการบริหารงานของโรงเรียนเลิศหล้าด้านสภาพแวดล้อมและบรรยากาศของ
โรงเรียน จำแนกเป็นรายข้อ
ข้อ ด้านสภาพแวดล้อมและบรรยากาศของโรงเรียน X S.D. ระดับความพึงพอใจ
1. อาคารเรียนมีที่สำหรับจัดกิจกรรมพิเศษ 3.62 0.87 มาก
2. สถานที่พักผ่อน และเล่นมีความกว้างขวางเพียงพอ 3.50 0.97 มาก
3. มีการดูแลรักษาความสะอาดบริเวณโรงเรียน 3.97 0.70 มาก
4. ห้องเรียนได้มาตรฐาน มีบรรยากาศที่เอื้อต่อ
การเรียนรู้ 4.01 0.65 มาก
5. ห้องประกอบการเรียน หรือห้องกิจกรรมพิเศษ 3.88 0.73 มาก
6. การรักษาความสะอาดของโรงอาหารอุปกรณ์ภาชนะ
สำหรับนักเรียน 3.71 0.69 มาก
7. การดูแลห้องน้ำ ห้องสุขา ของนักเรียนให้สะอาด 3.70 0.77 มาก
8. การจัดระบบจราจรในเขตบริเวณโรงเรียน 3.49 0.82 ปานกลาง
9. ความสะอาดของสนามโรงเรียน 3.84 0.61 มาก
10. ครูประจำรถดูแลนักเรียนขึ้น-ลง เป็นระเบียบ 3.91 0.68 มาก
11. ครูพยาบาล ให้ความรู้เกี่ยวกับการปฐมพยาบาล
ขั้นพื้นฐานแก่นักเรียน 3.64 0.76 มาก
12. ครูพละศึกษาสอนให้นักเรียนปฏิบัติตนในการเรียน
ภาคเรียนปฏิบัติเพื่อความปลอดภัย 3.77 0.64 มาก
รวมเฉลี่ย 3.75 0.75 มาก
จากตารางที่ 6 พบว่า ผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการบริหารงาน ด้าน
สภาพแวดล้อมและบรรยากาศของโรงเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( X = 3.75) เมื่อ
พิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าอยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหา
น้อย 3 อันดับแรก คือ ห้องเรียนได้มาตรฐานมีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ( X = 4.01) มี
การดูแลรักษาความสะอาดบริเวณโรงเรียน ( X = 3.97) ครูประจำรถดูแลนักเรียนขึ้น-ลงเป็น
ระเบียบ ( X = 3.91) ส่วนการจัดระบบจราจรในเขตบริเวณโรงเรียน อยู่ในระดับปานกลาง
( X = 3.49)
37
ตารางที่ 7 ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของ ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน
ที่มีต่อการบริหารงานของโรงเรียนเลิศหล้าด้านพฤติกรรมของนักเรียน
จำแนกเป็นรายข้อ
ข้อ ด้านพฤติกรรมของนักเรียน X S.D. ระดับความพึงพอใจ
1. นักเรียนมีระเบียบวินัย 3.64 0.72 มาก
2. นักเรียนแต่งกายสุภาพเรียบร้อย 3.89 0.61 มาก
3. นักเรียนพูดจาสุภาพมีสัมมาคารวะ 3.68 0.76 มาก
4. มีการสอดส่องดูแล ความประพฤติของนักเรียน 3.73 0.69 มาก
5. การเข้าร่วมกิจกรรมของนักเรียน 3.80 0.65 มาก
6. นักเรียนมีความรับผิดชอบต่อการเรียน 3.79 0.73 มาก
7. มีการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศ
ของนักเรียน 3.71 0.74 มาก
8. จัดให้มีกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อฝึกพฤติกรรมด้านการ
เป็นผู้นำและผู้ตามของนักเรียนในห้องประชุม 3.74 0.80 มาก
9. การมีส่วนร่วมของนักเรียนในการสร้างชื่อเสียง
ของโรงเรียน 3.78 0.77 มาก
10. นักเรียนมีพฤติกรรมหลีกหนีจากอบายมุขและ
สิ่งเสพติด 4.08 0.68 มาก
รวมเฉลี่ย 3.78 0.71 มาก
จากตารางที่ 7 พบว่า ผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการบริหารงานด้านพฤติ
กรรมของนักเรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X = 3.78) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ
พบว่าอยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก คือ
นักเรียนมีพฤติกรรมหลีกหนีจากอบายมุขและสิ่งเสพติด ( X = 4.08) นักเรียนแต่งกายสุภาพเรียบ
ร้อย ( X = 3.89) และการเข้าร่วมกิจกรรมของนักเรียน ( X = 3.80) ส่วนนักเรียนมีระเบียบวินัย มี
ค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( X = 3.64)
38
ตารางที่ 8 ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของ ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน
ที่มีต่อการบริหารงานของโรงเรียนเลิศหล้า ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับผู้
ปกครอง จำแนกเป็นรายข้อ
ข้อ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง X S.D. ระดับความพึงพอใจ
1. โรงเรียนเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองนักเรียนได้เข้าร่วมกิจ
กรรม การพัฒนาจัดการศึกษาของโรงเรียน 3.92 0.71 มาก
2. โรงเรียนได้นำความคิดเห็นของ
ผู้ปกครองมาดำเนินการปรับปรุงงานของโรงเรียน 3.82 0.76 มาก
3. ผู้บริหารโรงเรียนและครูยอมรับ
นับถือผู้ปกครองอย่างเท่าเทียมกัน 3.83 0.72 มาก
4. มีการแจ้งข่าวสารสัมพันธ์ความเคลื่อนไหวของโรงเรียน
ให้ผู้ปกครองทราบอย่างต่อเนื่อง 4.28 0.69 มาก
5. ผู้ปกครองนักเรียนมีบทบาทต่อการพัฒนาโรงเรียน 3.71 0.78 มาก
6. ผู้บริหารโรงเรียน และครูมีบทบาทในการเสริมสร้าง
ความร่วมมือกับผู้ปกครองเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดี 3.92 0.74 มาก
7. มีการจัดกิจกรรมให้ความรู้ ความเข้าใจแก่ผู้ปกครอง
เกี่ยวกับการศึกษาและการดูแลนักเรียน 3.85 0.79 มาก
8. โรงเรียนขอความช่วยเหลือ จากผู้ปกครองในการร่วม
กิจกรรมต่างๆ 3.71 0.73 มาก
9. โรงเรียนได้ให้ความช่วยเหลือแนะนำแก่ผู้ปกครองใน
ด้านการศึกษา 3.67 0.79 มาก
10. การมีโอกาสได้ชมผลงานนักเรียนในด้านต่าง ๆ 3.73 0.74 มาก
11. โรงเรียนยกย่องเชิดชูผู้ปกครองที่ให้ความสนับสนุนแก่
โรงเรียน 3.66 0.74 มาก
12. ผู้บริหารและครูอำนวยความสะดวกในการติดต่อกิจการ
ต่างๆ กับโรงเรียน 3.96 0.69 มาก
รวมเฉลี่ย 3.83 0.74 มาก
จากตารางที่ 8 พบว่า ผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการบริหารงาน
ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( X = 3.83) เมื่อ
พิจารณาเป็นรายข้อพบว่า อยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหา
น้อย 3 อันดับแรก คือ มีการแจ้งข่าวสารสัมพันธ์ความเคลื่อนไหวของโรงเรียยให้ผู้ปกครองทราบ
อย่างต่อเนื่อง ( X = 4.28) ผู้บริหารและครูอำนวยความสะดวกในการติดต่อกิจการต่างๆ กับโรง
39
เรียน ( X = 3.96) และโรงเรียนเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้เข้าร่วมกิจกรรม การพัฒนาจัดการ
ศึกษาของโรงเรียน ( X = 3.92) ผู้บริหารโรงเรียน และครูมีบทบาทในการเสริมสร้างความร่วมมือ
กับผู้ปกครองเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดี ( X = 3.92)
3. ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน หลักสูตรสองภาษา กับ
หลักสูตรนานาชาติ ที่มีต่อการบริหารโรงเรียนเลิศหล้า ในงาน 5 ด้าน คือ ด้านวิชาการ ด้าน
ครูผู้สอน ด้านสภาพแวดล้อมและบรรยากาศของโรงเรียน ด้านพฤติกรรมของนักเรียน และด้าน
ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง ผลการวิเคราะห์ปรากฏดังตารางที่ 9-14
ตารางที่ 9 เปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน ที่มีต่อการบริหารงานของ
โรงเรียนเลิศหล้า จำแนกเป็นรายด้าน
การบริหารงาน ผู้ปกครองนักเรียน
ของโรงเรียนเลิศหล้า หลักสูตรสองภาษา หลักสูตรนานาชาติ t
X S.D. ระดับความ
พึงพอใจ
X S.D. ระดับความ
พึงพอใจ
1. ด้านวิชาการ 3.80 0.75 มาก 3.82 0.74 มาก -0.460
2. ด้านครูผู้สอน 3.93 0.66 มาก 3.97 0.64 มาก -0.878
3. ดา้ นสภาพแวดลอ้ มและ
บรรยากาศของโรงเรียน 3.79 0.70 มาก 3.66 0.63 มาก 2.529*
4. ด้านพฤติกรรมของ
นักเรียน 3.82 0.69 มาก 3.70 0.78 มาก 2.091*
5. ด้านความสัมพันธ์
ระหว่าง โรงเรียนกับ
ผู้ปกครอง 3.87 0.69 มาก 3.76 0.81 มาก 1.897
รวมเฉลี่ย 3.78 0.71 มาก 3.72 0.75 มาก 1.571
*< 0.05 จากตารางที่ 9 พบว่า ผู้ปกครองนักเรียนหลักสูตรสองภาษา และหลักสูตรนานาชาติมี ความพึงพอใจต่อการบริหารงานของโรงเรียนเลิศหล้า โดยภาพรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผู้ปกครองนักเรียนหลักสูตรสองภาษา และ หลักสูตรนานาชาติมีความพึงพอใจต่อการบริหารงานของโรงเรียนเลิศหล้าแตกต่างกันอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในสองด้านคือ ด้านสภาพแวดล้อมและบรรยากาศของ โรงเรียนกับด้านพฤติกรรมของนักเรียน กล่าวโดยทั่วไปผู้ปกครองนักเรียนหลักสูตรสองภาษา มี ความพึงพอใจสูงกว่าผู้ปกครองนักเรียนหลักสูตรนานาชาติใน 3 ด้าน คือ ด้านสภาพแวดล้อม 40 และบรรยากาศของโรงเรียน ด้านพฤติกรรมของนักเรียน และด้านความสัมพันธ์ระหว่าง โรงเรียนกับผู้ปกครอง ส่วนอีกสองด้านคือ ด้านวิชาการ และด้านครุผู้สอน ผู้ปกครองนักเรียน หลักสูตรนานาชาติมีความพึงพอใจสูงกว่า ผู้ปกครองนักเรียนหลักสูตรสองภาษาเพียงเล็กน้อย 41 ตารางที่ 10 เปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการบริหารงาน ของโรงเรียนเลิศหล้าด้านวิชาการ จำแนกเป็นรายข้อ การบริหารงาน ผู้ปกครองนักเรียน ของโรงเรียนเลิศหล้า หลักสูตรสองภาษา หลักสูตรนานาชาติ t ด้านวิชาการ X S.D. ระดับความพึง พอใจ X S.D. ระดับความ พึงพอใจ 1. มีการปรับปรุงเนื้อหาใน หลักสูตรให้เหมาะสม แก่ วัย และความสนใจของ นักเรียนอย่างต่อเนื่อง 3.92 0.70 มาก 3.95 0.74 มาก -0.307 2. ให้ความสำคัญกับการสอน ภาษาอังกฤษอย่างจริงจัง 4.07 0.71 มาก 4.15 0.67 มาก -0.80 3. ให้ความสำคัญกับการสอน คณิตศาสตร์อย่างจริงจัง 3.84 0.73 มาก 3.81 0.81 มาก 0.400 4. ให้ความสำคัญกับการสอน วิชาอื่นๆ อย่างจริงจังเช่น เดียวกับวิชาการภาษา อังกฤษคณิตศาสตร์ 3.79 0.72 มาก 3.74 0.78 มาก 0.698 5. มีการอบรมจริยธรรม ให้กับนักเรียน 3.68 0.69 มาก 3.70 0.70 มาก -0.199 6. ปริมาณการให้การบ้าน และตรวจแก้การบ้านที่ให้ แก่นักเรียนแต่ละวัน 3.69 0.71 มาก 3.64 0.75 มาก 0.599 7. การจัดจำนวนนักเรียนต่อ 1 ห้อง (ไม่เกิน 25 คน สำหรับหลักสูตร นานาชาติ) (ไม่เกิน 35 คนสำหรับ หลักสูตรสองภาษา) 3.77 0.85 มาก 4.09 0.75 มาก -4.114** 8. มีการสอนซ่อมเสริมแก่ นักเรียน ที่เรียนช้า 3.63 0.87 มาก 3.54 0.94 มาก 0.952 9. มีการจัดกิจกรรมส่งเสริม การ เรียนการสอนที่เป็น ประโยชน์แก่ผู้เรียน 3.86 0.69 มาก 3.80 0.80 มาก 0.920 42 43 ตารางที่ 10 (ต่อ) การบริหารงาน ผู้ปกครองนักเรียน ของโรงเรียนเลิศหล้า หลักสูตรสองภาษา หลักสูตรนานาชาติ t ด้านวิชาการ X S.D. ระดับความ พึงพอใจ X S.D. ระดับความ พึงพอใจ 10. กระตุ้น ปลูกฝังให้ นักเรียนศึกษา ค้นคว้า ด้วยตนเอง และให้ ห้องสมุดอย่างจริงจัง 3.70 0.81 มาก 3.80 0.77 มาก -1.195 11. การรายงานผลการเรียน ของนักเรียน 3.91 0.78 มาก 3.96 0.66 มาก -0.740 12. มีการจัดการสอนพิเศษ หลักเลิกเรียน 3.76 0.82 มาก 3.75 0.75 มาก 0.187 รวมเฉลี่ย 3.80 0.75 มาก 3.83 0.74 มาก -0.428 **< 0.01 จากตารางที่ 10 พบว่า ผู้ปกครองนักเรียนหลักสูตรสองภาษา และหลักสูตรนานาชาติ มีความพึงพอใจต่อด้านวิชาการโดยภาพรวมไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อ พิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ผู้ปกครองนักเรียนหลักสูตรสองภาษา และหลักสูตรนานาชาติมี ความพึงพอใจต่อด้านวิชาการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 อยู่ 1 ข้อ ได้แก่ การจดั จาํ นวนนกั เรยี นตอ่ 1 ห้อง (ไม่เกิน 25 คน สาํ หรบั หลกั สตู รนานาชาต ิ โดยผปู้ กครองนกั เรียนหลักสูตรนานาชาติ มีความพึงพอใจมากกว่าผู้ปกครองหลักสูตรสองภาษา ส่วนข้ออื่นๆ ไม่ พบความแตกต่างกัน 44 ตารางที่ 11 เปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการบริหารงาน ของโรงเรียนเลิศหล้าด้านครูผู้สอน จำแนกเป็นรายข้อ การบริหารงาน ผู้ปกครองนักเรียน ของโรงเรียนเลิศหล้า หลักสูตรสองภาษา หลักสูตรนานาชาติ t ด้านครูผู้สอน X S.D. ระดับความ พึงพอใจ X S.D. ระดับความ พึงพอใจ 1. ความรับผิดชอบต่อ หน้าที่ของครู 3.95 0.65 มาก 3.98 0.68 มาก -0.393 2. การกวดขันดูแลความ ประพฤตินักเรียนอย่าง ใกล้ชิด 3.84 0.72 มาก 3.84 0.68 มาก -0.001 3. มารยาทและความ ประพฤติของครู 3.99 0.68 มาก 4.07 0.68 มาก -1.138 4. ความเสียสละ และอุทิศ ตนของครูเพื่อความเจริญ งอกงามของ นักเรียน 3.85 0.67 มาก 3.92 0.69 มาก -1.052 5. การต้อนรับผู้ปกครอง ด้วยอัธยาศัยอันดีของครู 4.09 0.68 มาก 4.14 0.64 มาก -0.837 6. ความกระตือรือร้นของครู ที่จะช่วยเหลือนักเรียน เมื่อเกิดปัญหา 3.91 0.74 มาก 3.97 0.72 มาก -0.845 7. ความรักและจริงใจของ ครูต่อนักเรียน 3.90 0.68 มาก 4.01 0.65 มาก -1.521 8. กระบวนการเรียนการ สอนของครู 3.88 0.62 มาก 3.96 0.68 มาก -1.170 9. การแต่งกายของครู 4.03 0.63 มาก 3.95 0.67 มาก 1.188 10. ความรู้และความสามารถ ของครู 3.90 0.65 มาก 3.95 0.63 มาก -0.757 11. คุณธรรมและจริยธรรม ของครู 3.91 0.66 มาก 3.95 0.62 มาก -0.646 12. จรรยาบรรณในวิชาชีพ ของครู 3.95 0.64 มาก 4.01 0.63 มาก -0.884 รวมเฉลี่ย 3.93 0.66 มาก 3.98 0.64 มาก -0.833 45 จากตารางที่ 11 พบว่า ผู้ปกครองนักเรียนหลักสูตรสองภาษา และหลักสูตร นานาชาติ มีความพึงพอใจต่อด้านครูผู้สอนโดยภาพรวม และรายข้อไม่แตกต่างกันอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติ ตารางที่ 12 เปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการบริหารงาน ของโรงเรียนเลิศหล้าด้านสภาพแวดล้อมและบรรยากาศของโรงเรียน จำแนกเป็นรายข้อ การบริหารงาน ผู้ปกครองนักเรียน ของโรงเรียนเลิศหล้า หลักสูตรสองภาษา หลักสูตรนานาชาติ t ด้านสภาพแวดล้อมและ บรรยากาศของโรงเรียน X S.D. ระดับความ พึงพอใจ X S.D. ระดับความ พึงพอใจ 1. อาคารเรียนมีที่สำหรับ กิจกรรมพิเศษ 3.72 0.80 มาก 3.44 0.98 ปานกลาง 2.979** 2. สถานที่พักผ่อน และเล่น มีความกว้างขวางเพียงพอ 3.60 0.92 มาก 3.31 1.02 ปานกลาง 2.970** 3. มีการดูแลรักษาความ สะอาดบริเวณโรงเรียน 4.02 0.70 มาก 3.88 0.70 มาก 2.014* 4. ห้องเรียนได้มาตรฐาน มี บรรยากาศที่เอื้อต่อการ เรียนรู้ 4.03 0.68 มาก 3.95 0.59 มาก 1.297 5. ห้องประกอบการเรียน หรือห้องกิจกรรมพิเศษ 3.92 0.72 มาก 3.80 0.74 มาก 1.692 6. การรักษาความสะอาด ของโรงอาหารอุปกรณ์ ภาชนะสำหรับนักเรียน 3.75 0.64 มาก 3.62 0.77 มาก 1.730 7. การดูแลห้องน้ำห้องสุขา ของนักเรียนให้สะอาด 3.78 0.70 มาก 3.53 0.88 มาก 2.986** 8. การจัดระบบจราจรในเขต บริเวณโรงเรียน 3.52 0.80 มาก 3.43 0.85 ปานกลาง 1.106 9. ความสะอาดของ สนามโรงเรียน 3.86 0.59 มาก 3.78 0.64 มาก 1.277 10. ครูประจำรถดูแลนักเรียน ขึ้น–ลง เป็นระเบียบ 3.93 0.65 มาก 3.86 0.73 มาก 1.072 46 * < 0.05 ** < 0.01 47 ตารางที่ 12 (ต่อ) การบริหารงาน ผู้ปกครองนักเรียน ของโรงเรียนเลิศหล้า หลักสูตรสองภาษา หลักสูตรนานาชาติ t ด้านสภาพแวดล้อมและ บรรยากาศของโรงเรียน X S.D. ระดับความ พึงพอใจ X S.D. ระดับความ พึงพอใจ 11. ครูพยาบาล ให้ความรู้ เกี่ยวกับการปฐมพยาบาล ขั้นพื้นฐาน แก่นักเรียน 3.67 0.71 มาก 3.57 0.86 มาก 1.118 12. ครูพละศึกษาสอนให้ นักเรียนปฏิบัติตนใน การเรียนภาคเรียนปฏิบัติ เพื่อความปลอดภัย 3.76 0.65 มาก 3.78 0.64 มาก -0.188 รวมค่าเฉลี่ย 3.79 0.70 มาก 3.66 0.63 มาก 2.167* * < 0.05 ** < 0.01 จากตารางที่ 12 พบว่า ผู้ปกครองนักเรียนหลักสูตรสองภาษา และหลักสูตรนานา ชาติมีความพึงพอใจต่อด้านสภาพแวดล้อมและบรรยากาศของโรงเรียน โดยภาพรวมมีความ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยที่ผู้ปกครองนักเรียนหลักสูตรสองภาษา มีความพึงพอใจสูงกว่าผู้ปกครองหลักสูตรนานาชาติ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ผู้ปกครองนักเรียนหลักสูตรสองภาษา และหลักสูตรนานาชาติมีความพึงพอใจต่อด้านสภาพ แวดล้อมและบรรยากาศของโรงเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 อยู่ 3 ข้อ ได้แก่ อาคารเรียนมีที่สำหรับจัดกิจกรรมพิเศษ, สถานที่พักผ่อนและเล่นมีความกว้างขว้าง เพียงพอ, การดูแลห้องน้ำห้องสุขาของนักเรียนให้สะอาด โดยที่ผู้ปกครองนักเรียนหลักสูตรสอง ภาษา มีความพึงพอใจมากกว่าผู้ปกครองหลักสูตรนานาชาติ ส่วนข้ออื่นๆ แตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 อยู่ 1 ข้อ คือ มีการดูแลรักษาความสะอาดบริเวณโรงเรียน 48 ตารางที่ 13 เปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการบริหารงาน ของโรงเรียนเลิศหล้าด้านพฤติกรรมของนักเรียน จำแนกเป็นรายข้อ การบริหารงาน ผู้ปกครองนักเรียน ของโรงเรียนเลิศหล้า หลักสูตรสองภาษา หลักสูตรนานาชาติ t ด้านพฤติกรรมของนัก เรียน X S.D. ระดับความ พึงพอใจ X S.D. ระดับความ พึงพอใจ 1. นักเรียนมีระเบียบวินัย 3.68 0.71 มาก 3.55 0.71 มาก 1.883 2. นักเรียนแต่งกายสุภาพ เรียบร้อย 3.93 0.59 มาก 3.81 0.64 มาก 1.904 3. นักเรียนพูดจาสุภาพมี สัมมาคารวะ 3.70 0.74 มาก 3.63 0.79 มาก 0.971 4. มีการสอดส่องดูแลความ ประพฤติของนักเรียน 3.75 0.69 มาก 3.71 0.71 มาก 0.511 5. การเข้าร่วมกิจกรรมของ นักเรียน 3.81 0.62 มาก 3.78 0.71 มาก 0.473 6. นักเรียนมีความรับผิดชอบ ต่อการเรียน 3.81 0.70 มาก 3.74 0.79 มาก 1.067 7. มีการป้องกันและแก้ไข พฤติกรรมเบี่ยงเบน ทางเพศของนักเรียน 3.74 0.73 มาก 3.65 0.75 มาก 1.171 8. จัดให้มีกิจกรรมเสริมหลัก สูตร เพื่อฝึกพฤติกรรม ด้านการเป็นผู้นำและ ผู้ตามของนักเรียนใน ห้องประชุม 3.82 0.75 มาก 3.55 0.88 มาก 3.228** 9. การมีส่วนร่วมของ นักเรียนในการสร้าง ชื่อเสียงของโรงเรียน 3.86 0.72 มาก 3.62 0.84 มาก 2.998** 10. นักเรียนมีพฤติกรรม หลีกหนีจากอบายมุขและ สิ่งเสพติด 4.10 0.69 มาก 4.05 0.66 มาก 0.711 ค่าเฉลี่ย 3.83 0.69 มาก 3.70 0.78 มาก 2.166* * < 0.05 ** < 0.01 49 จากตารางที่ 13 พบว่า ผู้ปกครองนักเรียนหลักสูตรสองภาษา และหลักสูตรนานาชาติ มีความพึงพอใจต่อด้านพฤติกรรมของนักเรียน โดยภาพรวมมีความแตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยที่ผู้ปกครองนักเรียนหลักสูตรสองภาษา มีความพึงพอใจ มากกว่าผู้ปกครองหลักสูตรนานาชาติ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ผู้ปกครองนักเรียน หลักสูตรสองภาษา และหลักสูตรนานาชาติมีความพึงพอใจต่อด้านพฤติกรรมของนักเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 อยู่ 2 ข้อ ได้แก่ ข้อจัดให้มีกิจกรรมเสริมหลัก สูตรเพื่อฝึกพฤติกรรมด้านการเป็นผู้นำและผู้ตามของนักเรียนในห้องประชุม, ขอ้ การมสี ว่ นรว่ ม ของนักเรียนในการสร้างชื่อเสียงของนักเรียน โดยที่ผู้ปกครองนักเรียนหลักสูตรสองภาษา มีความ พึงพอใจมากกว่าผู้ปกครองหลักสูตรนานาชาติ ส่วนข้ออื่น ๆ ไม่พบความ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 50 ตารางที่ 14 เปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการบริหารงานของ โรงเรียนเลิศหล้า ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง จำแนกเป็น รายข้อ การบริหารงาน ผู้ปกครองนักเรียน ของโรงเรียนเลิศหล้า หลักสูตรสองภาษา หลักสูตรนานาชาติ t ด้านความสัมพันธ์ระหว่าง โรงเรียนกับผู้ปกครอง X S.D. ระดับความ พึงพอใจ X S.D. ระดับความ พึงพอใจ 1. โรงเรียนเปิดโอกาสให้ ผู้ปกครองนักเรียนได้ เข้าร่วมกิจกรรม การ พัฒนาจัดการศึกษาของ โรงเรียน 3.94 0.70 มาก 3.86 0.73 มาก 1.055 2. โรงเรียนได้นำความคิด เห็นของผู้ปกครองมา ดำเนินการปรับปรุงงาน ของโรงเรียน 3.86 0.73 มาก 3.72 0.82 มาก 1.775 3. ผู้บริหารโรงเรียนและครู ยอมรับนับถือผู้ปกครอง อย่างเท่าเทียมกัน 3.83 0.74 มาก 3.82 0.70 มาก 0.048 4. มีการแจ้งข่าวสารสัมพันธ์ ความเคลื่อนไหวของ โรงเรียน ให้ผู้ปกครอง ทราบอย่างต่อเนื่อง 4.30 0.71 มาก 4.23 0.65 มาก 1.033 5. ผู้ปกครองนักเรียนมี บทบาทต่อการพัฒนา โรงเรียน 3.73 0.75 มาก 3.66 0.85 มาก 0.976 6. ผู้บริหารโรงเรียน และครูมี บทบาทในการเสริมสร้าง ความร่วมมือกับผู้ปกครอง เพื่อสร้างความสัมพันธ์ อันดี 3.95 0.69 มาก 3.86 0.83 มาก 1.166 51 7. มีการจัดกิจกรรมให้ความรู้ ความเข้าใจแก่ผู้ปกครอง เกี่ยวกับการศึกษาและการ ดูแลนักเรียน 3.90 0.74 มาก 3.76 0.88 มาก 1.717 52 ตารางที่ 14 (ต่อ) การบริหารงาน ผู้ปกครองนักเรียน ของโรงเรียนเลิศหล้า หลักสูตรสองภาษา หลักสูตรนานาชาติ t ความสัมพันธ์ระหว่าง โรงเรียนกับผู้ปกครอง X S.D. ระดับความ พึงพอใจ X S.D. ระดับความ พึงพอใจ 8. โรงเรียนขอความช่วย เหลือแนะนำแก่ผู้ปกครอง ในการร่วมกิจกรรมต่างๆ 3.75 0.74 มาก 3.61 0.70 มาก 1.912 9. โรงเรียนได้ให้ความช่วย เหลือแนะนำแก่ผู้ปกครอง ในการด้านการศึกษา 3.73 0.78 มาก 3.56 0.80 มาก 2.121* 10. การมีโอกาสได้ชมผลงาน นักเรียนในด้านต่างๆ 3.77 0.75 มาก 3.64 0.71 มาก 1.890 11. โรงเรียนยกย่องเชิดชู ผู้ปกครองที่ให้ความ สนับสนุนแก่โรงเรียน 3.71 0.75 มาก 3.58 0.71 มาก 1.675 12. ผู้บริหารและครูอำนวย ความสะดวกในการติดต่อ กิจการต่างๆ กับโรงเรียน 3.99 0.67 มาก 3.89 0.72 มาก 1.564 ค่าเฉลี่ย 3.88 0.69 มาก 3.77 0.81 มาก 1.571 * < 0.05 จากตารางที่ 14 พบว่า ผู้ปกครองนักเรียนหลักสูตรสองภาษา และหลักสูตรนานาชาติ มีความพึงพอใจต่อด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง โดยภาพรวมไม่มีความแตก ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ผู้ปกครองนักเรียนหลักสูตร สองภาษา และหลักสูตรนานาชาติมีความพึงพอใจต่อด้านความสัมพันธ์ระหว่าง โรงเรียนกับผู้ปกครอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 อยู่ 1 ข้อ ได้แก่ ข้อโรงเรียนได้ให้ความช่วยเหลือแนะนำผู้ปกครองในด้านการศึกษา โดยที่ผู้ปกครองนักเรียนหลัก สูตรสองภาษามีความพึงพอใจสูงกว่าผู้ปกครองหลักสูตรนานาชาติ ส่วนข้ออื่น ๆ ไม่พบความ แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ การวิจัยเรื่อง “ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน ที่มีต่อการบริหารงานของ โรงเรียนเลิศหล้า” ผู้วิจัยสรุปผลการวิจัย โดยแบ่งออกเป็น วัตถุประสงค์ของการวิจัย ขอบเขต ของการวิจัย วิธีดำเนินการวิจัย สรุปผลการวิจัย อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ ดังนี้ วตั ถปุ ระสงคข์ องการวจิ ยั 1. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนเลิศหล้า ที่มีต่อการบริหารงาน ในดา้ นวิชาการ ดา้ นครผู สู้ อน ดา้ นสภาพแวดลอ้ ม และบรรยากาศของโรงเรียน ดา้ นพฤตกิ รรมของนกั เรียน และด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง 2. เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนเลิศหล้าหลักสูตรสอง ภาษาและหลักสูตรนานาชาติที่มีต่อการบริหารงานในด้านวิชาการ ด้านครูผู้สอน ด้านสภาพ แวดลอ้ ม และบรรยากาศของโรงเรียน ดา้ นพฤตกิ รรมของนกั เรยี น และดา้ นความสมั พันธร์ ะหวา่ ง โรงเรียนกับผู้ปกครอง ขอบเขตของการวิจัย 1. ในการศึกษาครั้งนี้ศึกษาเฉพาะความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการบริหาร งานใน 5 ด้าน คือ ด้านวิชาการ ด้านครูผู้สอน ด้านสภาพแวดล้อมและบรรยากาศของ โรงเรียน ดา้ นพฤตกิ รรมของนกั เรยี น และดา้ นความสัมพนั ธร์ ะหวา่ งโรงเรยี นกบั ผูป้ กครอง 2. ประชากรที่ใชศ้ กึ ษา ไดแ้ ก ่ ผูป้ กครองนกั เรยี นโรงเรยี นเลิศหลา้ หลักสตู รสองภาษาและ หลักสูตรนานาชาติ 3. ตวั แปรทศี่ กึ ษาประกอบดว้ ยตวั แปรอสิ ระ และตัวแปรตาม ดงั นี้ 3.1 ตวั แปรอสิ ระ ไดแ้ ก ่ ประเภทของผูป้ กครองนักเรียน จาํ แนกเปน็ 3.1.1 ผู้ปกครองนักเรียนหลักสูตรสองภาษา 3.1.2 ผู้ปกครองนักเรียนหลักสูตรนานาชาติ 3.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการ บรหิ ารงานของโรงเรียนเลศิ หลา้ ประกอบดว้ ย 5 ดา้ นคอื ดา้ นวชิ าการ ดา้ นครผู สู้ อน ดา้ นสภาพแวด ลอ้ มและบรรยากาศของโรงเรียน ดา้ นพฤตกิ รรมของนกั เรยี น ดา้ นความสัมพนั ธร์ ะหวา่ งโรงเรยี นกบั ผู้ ปกครอง 50 วิธีการดำเนินการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นเอง โดยกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วยผู้ปกครองนักเรียนหลักสูตรสองภาษา 302 คน และผู้ปกครองนักเรียนหลักสูตร นานาชาติ 148 คน รวมทั้งสิ้น 450 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS เพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ t-test สรุปผลการวิจัย ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน ที่มีต่อการบริหารงานของ โรงเรียนเลิศหล้า ในครั้งนี้ มีข้อสรุปดังต่อไปนี้ 1. ผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการบริหารงานของโรงเรียนเลิศหล้า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน โดยความพึงพอใจด้านครูผู้สอนมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรง เรียนกับผู้ปกครอง และด้านวิชาการ 2. ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนหลักสูตรสองภาษา และ หลักสูตรนานาชาติ มีความพึงพอใจต่อการบริหารงานของโรงเรียนเลิศหล้า โดยภาพรวมทุกด้าน ไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผู้ปกครองนักเรียนหลักสูตรสองภาษา และหลักสูตรนานาชาต ิ มคี วามพงึ พอใจตอ่ การบรหิ ารงาน ของโรงเรียนเลิศหล้าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในด้านสภาพแวดล้อม และบรรยากาศของโรงเรียน และด้านพฤติกรรมของนักเรียน โดยผู้ปกครองนักเรียนหลักสูตร สองภาษา มีความพึงพอใจมากกว่าผู้ปกครองหลักสูตรนานาชาติ ส่วนด้านอื่นๆ ไม่พบความ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ 2.1 ผู้ปกครองนักเรียนหลักสูตรสองภาษา และหลักสูตรนานาชาติมีความ พึงพอใจต่อด้านวิชาการโดยภาพรวมไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง เมื่อพิจารณา เป็นรายข้อ พบว่า ผู้ปกครองนักเรียนหลักสูตรสองภาษา และหลักสูตรนานาชาติมีความพึงพอ ใจต่อด้านวิชาการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 อยู่ 1 ข้อ ได้แก่ การจัดจำนวนนักเรียนต่อ 1 ห้อง (ไม่เกิน 25 คน สำหรับหลักสูตรนานาชาติ) โดยผู้ปก ครองนักเรียนหลักสูตรนานาชาติ มีความพึงพอในมากกว่าผู้ปกครองหลักสูตรสองภาษา ส่วนข้อ อื่นๆ ไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2.2 ผู้ปกครองนักเรียนหลักสูตรสองภาษา และหลักสูตรนานาชาต ิ มีความพึงพอ ใจต่อด้านครูผู้สอนโดยภาพรวมและรายข้อไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 51 2.3 ผู้ปกครองนักเรียนหลักสูตรสองภาษา และหลักสูตรนานาชาติมีความพึงพอใจ ต่อด้านสภาพแวดล้อมและบรรยากาศของโรงเรียน โดยภาพรวมมีความแตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยที่ผู้ปกครองนักเรียนหลักสูตรสองภาษา มีความพึงพอใจ สูงกว่า ผู้ปกครองหลักสูตรนานาชาติ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าผู้ปกครองนักเรียน หลักสูตรสองภาษา และหลักสูตรนานาชาติมีความพึงพอใจต่อด้านสภาพแวดล้อมและ บรรยากาศของโรงเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 อยู่ 3 ข้อ ได้แก่ อาคารเรียนมีที่สำหรับจัดกิจกรรมพิเศษ, สถานที่พักผ่อนและเล่นมีความกว้างขวางพอ, การดูแล ห้องน้ำ ห้องสุขาของนักเรียนให้สะอาด, โดยที่ผู้ปกครองนักเรียนหลักสูตรสองภาษา มีความพึง พอใจมากกว่าผู้ปกครองหลักสูตรนานาชาติ และแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 อยู่ 1 ข้อ คือ มีการดูแลรักษาความสะอาดบริเวณโรงเรียน ส่วนข้ออื่นๆ ไม่พบความแตก ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2.4 ผู้ปกครองนักเรียนหลักสูตรสองภาษา และหลักสูตรนานาชาติมีความ พึงพอใจต่อด้านพฤติกรรมของนักเรียน โดยภาพรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ 0.05 โดยที่ผู้ปกครองนักเรียนหลักสูตรสองภาษา มีความพึงพอใจสูงกว่า ผู้ปกครองหลักสูตรนานาชาติ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ผู้ปกครองนักเรียนหลักสูตรสอง ภาษา และหลักสูตรนานาชาติมีความพึงพอใจต่อด้านพฤติกรรมของนักเรียนแตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 อยู่ 2 ข้อ ได้แก่ จัดให้มีกิจกรรมเสริมหลักสูตร เพื่อฝึกพฤติกรรมด้านการเป็นผู้นำและผู้ตามของนักเรียนในห้องประชุม, การมีส่วนร่วมของ นักเรียนในการสร้างชื่อเสียงของโรงเรียน โดยที่ผู้ปกครองนักเรียนหลักสูตรสองภาษามีความพึง พอใจสูงกว่าผู้ปกครองหลักสูตรนานาชาติ ส่วนข้ออื่นๆ ไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ 2.5 ผู้ปกครองนักเรียนหลักสูตรสองภาษา และหลักสูตรนานาชาติความพึงพอใจ ต่อด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง โดยภาพรวมไม่มีความแตกต่างกัน เมื่อ พิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ผู้ปกครองนักเรียนหลักสูตรสองภาษา และหลักสูตรนานาชาติมี ความพึงพอใจต่อด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครองมีความแตกต่างกันอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 อยู่ 1 ข้อ ได้แก่ โรงเรียนได้ให้ความช่วยเหลือแนะนำ ผู้ปกครองใน ด้านการศึกษา โดยที่ผู้ปกครองนักเรียนหลักสูตรสองภาษา มีความพึงพอใจสูงกว่า ผู้ปกครองหลักสูตรนานาชาติ ส่วนข้ออื่นๆ ไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อภิปรายผล 52 1. ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนเลิศหล้าหลักสูตรสองภาษาและ หลักสูตรนานาชาติที่มีต่อการบริหารงานในด้านวิชาการ ด้านครูผู้สอน ด้านสภาพแวดล้อม และบรรยากาศของโรงเรียน ด้านพฤติกรรมของนักเรียน และด้านความสัมพันธ์ระหว่าง โรงเรียนกับผู้ปกครอง พบว่า โดยภาพรวม ผู้ปกครองมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้ อาจเนื่องมากจากโรงเรียนเลิศหล้า เป็นโรงเรียนเอกชนที่มีความพร้อมทันสมัย จึงทำให้ ผู้ปกครองมีความรู้สึกที่ดีและไว้วางใจในการบริหารงานโรงเรียน เพราะทางฝ่ายบริหารได้ให้ การพัฒนาครูผู้สอนโดยการฝึกอบรมเทคนิคต่างๆ ให้กับครูทำให้ครูมีความแม่นทางด้าน วิชาการ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านทั้ง 5 ด้าน พบว่า ผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจต่อ การบริหารงานของโรงเรียนเลิศหล้าอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไป หาน้อย ได้ดังนี้ ด้านครูผู้สอน ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง ด้านวิชาการ ด้านพฤติกรรมของนักเรียน และด้านสภาพแวดล้อม และบรรยากาศของโรงเรียน โดยในด้าน ครูผู้สอนนั้นผู้ปกครองนักเรียนส่วนใหญ่มีความพึงพอใจอยู่ระดับมากกว่าทุกด้านที่กล่าวมา ที่เป็นเช่นนี้อาจเป็นเพราะผู้ปกครองนักเรียนกับครูผู้สอนมีโอกาสพบปะปรึกษาหารือในเรื่อง ต่างๆ เช่นเรื่องการเรียนการสอน มากกว่าบุคลากรฝ่ายอื่นๆ ในโรงเรียน และนอกจากนี้ ครูส่วนใหญ่ยังมีอัธยาศัยอันดีต่อผู้ปกครองนักเรียน จึงทำให้เกิดความคุ้นเคยและเข้าใจกัน เป็นอย่างดี ซึ่งโดยทั่วไปแล้วถือว่าครูเป็นผู้ที่มีความใกล้ชิดกับนักเรียนมากที่สุดพฤติกรรมการ สอนของครูจะถูกถ่ายทอดไปยังผู้ปกครองนักเรียน โดยผ่านทางนักเรียนตลอดเวลาในชุมชน ขนาดเล็กผู้ปกครองนักเรียนจะรู้จักและคุ้นเคยกับครูเป็นการส่วนตัว ประกอบกับอาชีพครูเป็น อาชีพที่ต้องวางตัวให้เหมาะสมเป็นที่ยอมรับของนักเรียน และผู้ปกครองด้วย ซึ่งสอดคล้องกับ แนวความคิดของ วิทที (Witty, 1947 : 648-662) ได้ศึกษาถึงบุคลิกของครูที่ดีโดยรวบรวม คุณลักษณะของครูที่ดีไว้ดังนี้ คือ ให้ความร่วมมือ มีความเป็นประชาธิปไตย มีความกรุณา และเอาใจใส่ต่อทุกคน มีความอดทน มีความรู้เรื่องทั่วไปดีมาก มีบุคลิกภาพและมารยาท มีความยุติธรรม มีอารมณ์ขัน ทำสิ่งใดเสมอต้นเสมอปลาย สนใจปัญหาความเดือดร้อนของ นักเรียน มีความสามารถในการสอนแต่ละวิชา ประกอบกับผู้ปกครองนักเรียนถือว่าเป็น ภาระของโรงเรียนในการอบรมสั่งสอน ผู้ปกครองนักเรียนส่วนใหญ่มุ่งแต่ธุรกิจส่วนตัวของ ตนเอง และบางคนอาจจะรู้สึกไม่สะดวกในการมาติดต่อกับโรงเรียน ไม่ว่าเป็นในด้านใดๆ กับ ผู้บริหารโรงเรียน เพราะเกรงว่าจะเป็นการรบกวนเวลาในการปฏิบัติงานหรือก่อความยุ่งยาก ให้กับผู้บริหาร จึงไม่ค่อยใช้วิธีมาโรงเรียนโดยตรงแต่ใช้วิธีติดต่อกับครูผู้สอนเป็นการส่วนตัว เป็นส่วนใหญ่ โดยผลการวิจัยที่พบในครั้งยังมีความสอดคล้องกับผลการศึกษาของกรชกร ชวติ (2544 : บทคัดย่อ) ซึ่งศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน ที่มีต่อการจัดการศึกษาของ โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่ตั้งอยู่นอกเขตเทศบาล และ 53 พบว่า ผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจด้านอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม อยู่ในลำดับ สุดท้ายเช่นกัน เมื่อพิจารณาในส่วนของข้อคำถามเกี่ยวกับการบริหารงานของโรงเรียนเลิศหล้า ในแต่ละด้าน ตามความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน พบว่า ผู้ปกครองนักเรียน มีความพึงพอใจต่อด้านวิชาการอยู่ในระดับมาก คือ การเรียน การสอนภาษาอังกฤษอย่างจริงจัง ซึ่งสอดคล้องกับคำขวัญของโรงเรียนเลิศหล้า (2542 : 5) ที่ ว่า “เลิศล้ำคุณธรรม เลิศหล้าวิชาการ” และปรัชญาที่ว่า “โรงเรียนเลิศหล้ามุ่งที่จะพัฒนา เยาวชน ให้มีความเจริญก้าวหน้าในด้านคุณธรรมและวิชาการ โดยประสานความรัก ความ เข้าใจ และความร่วมมือระหว่างคุณครูผู้ปกครอง และนักเรียนอย่างมั่นคงสม่ำเสมอ” แสดงให้ เห็นว่าโรงเรียนเลิศหล้าสามารถจัดการเรียนการสอนในวิชาภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ เนื่องจากโรงเรียนเลิศหล้าได้นำครูชาวต่างประเทศมาสอนเพื่อให้นักเรียน มีโอกาสเรียนรู้จาก เจ้าของภาษาได้อย่างถูกต้อง โดยผลการวิจัยที่พบในครั้งนี้มีความสอดคล้องกับผลการศึกษา ของวศิน ปาลเดชพงศ์ (2539 : บทคัดย่อ) ซึ่งศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนต่อ โรงเรียนอนุบาลเอกชน : กรณีศึกษาโรงเรียนอนุบาลก้องหล้า กรุงเทพมหานคร และพบว่า ผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจต่อจัดการเรียนการสอนโดยเน้นวิชาการให้นักเรียนอ่านออก เขียนได้ อยู่ในระดับมากเช่นกัน ผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจต่อด้านครูผู้สอนอยู่ในระดับมาก คือ การต้อน รับผู้ปกครองด้วยอัธยาศัยอันดีของครู ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของวิชาญ ไทยแท้ (2538 : 27) ที่กล่าวถึงลักษณะพิเศษของครูหรือจุดเด่นของครูที่สามารถสังเกตได้คือ บุคลิกภาพ ท่วงที วาจา จริยวัตร การแสดงออกทางความคิด คุณธรรมจริยธรรม แสดงให้เห็นว่า ครูผู้สอนจะ ต้องมีความเป็นกันเองให้กับผู้ปกครอง อันจะนำมาซึ่งความเชื่อถือการฝากบุตรหลานให้อยู่ใน ความดูแลของโรงเรียน นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับแนวคิดของประชุม รอดประเสริฐ (2528 : 2) ซึ่งให้ความเห็นว่า ถ้าหากหน่วยงานใดสามารถหาคนดีมีความรู้ ความสามารถเข้ามา ปฏิบัติงานย่อมประสบความสำเร็จของงานไปแล้วครึ่งหนึ่ง และจากผลการวิจัยที่พบในครั้งนี้ ย่อมแสดงให้เห็นว่าโรงเรียนเลิศหล้าประสบความสำเร็จในด้านที่ผู้ปกครองมีความพึงพอใจใน ตัวของครูผู้สอนของโรงเรียนเป็นอย่างมาก ผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจต่อด้านสภาพแวดล้อมและบรรยากาศของ โรงเรียน อยู่ในระดับมากคือ ห้องเรียนได้มาตรฐานมีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของสมคิด จูมทอง (2528 : 41) ที่ให้ความหมายของการบริหารอาคาร สถานว่า หมายถึง การดำเนินงานที่เกี่ยวกับการวางแผน การใช้อาคารสถานที่ให้เกิดประโยชน์ มากที่สุด การควบคุมดูแล การบำรุงรักษา การพัฒนาอาคารต่างๆ การจัดบริเวณโรงเรียนให้ อยู่ในสภาพที่สวยงามเหมาะสมกับสภาพการใช้อยู่เสมอ การรักษาความสะอาด ความคงทน แข็งแรง ความปลอดภัย และสามารถสนองความต้องการได้อย่างเพียงพอ และสอดคล้องกับ 54 แนวคิดของเบญจา แสงมลิ (2542 : 26) ที่ว่า สถานที่ตั้งโรงเรียนควรอยู่ใกล้ชุมชน และมี อากาศดี รวมทั้งมีความปลอดภัยและอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีงามด้วย และยังสอดคล้องกับ องค์ประกอบบัญญัติของกระทรวงศึกษาธิการ (2542 : 13) ที่ว่า ในการยกระดับมาตรฐานคุณภาพ ของสถานศึกษาให้เป็นโรงเรียนในอุดมคติเพื่อสร้างและผลิตนกั เรยี นใหไ้ ดม้ าตรฐานในทุกระดับนั้น โรงเรยี นจะตอ้ งมบี รรยากาศและสงิ่ แวดลอ้ มของโรงเรยี นทเี่ ออื้ ตอ่ การเรยี นการสอนเพอื่ ใหน้ กั เรยี น ไดเ้ รียนอยา่ งมตี วามสขุ ทงั้ นยี้ งั แสดงให้เห็นว่าโรงเรียนเลิศหล้าสามารถดำเนินงานได้อย่าง สอดคล้องกับธรรมนูญโรงเรียนของโรงเรียนเลิศหล้า (มปป. : 264) ในเรื่องของการจัดสภาพ แวดล้อมและบรรยากาศของโรงเรียน ผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจต่อด้านพฤติกรรมของนักเรียนอยู่ในระดับมาก คือ นักเรียนมีพฤติกรรมหลีกหนีจากอบายมุขและสิ่งเสพติด ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ เฟเบอร์ และเชียร์รอน (Faber and Shearron, 1970 : 213) ที่ระบุว่า ภารกิจของการบริหาร กิจการนักเรียนมีอยู่ 7 ประการ คือ การริเริ่มและรักษาระบบการสำรวจนักเรียนในท้องที่การ ศึกษา การจัดให้มีการปฐมนิเทศนักเรียน การจัดให้มีการบริการแนะแนว การจัดให้มีการ บริการสุขภาพ การจัดให้มีการเก็บข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคล การจัดระบบและกระบวนการ เพื่อการประเมินผล ความเจริญงอกงามของนักเรียน การสร้างวิธีที่จะแก้ปัญหาทางด้านวินัย ของนักเรียน โดยผลการวิจัยในครั้งนี้ยังสอดคล้องกับเปรื่อง กุมุท (2529 : 26) ที่ว่า พฤติกรรม ของนักเรียนที่ดีย่อมมีผลมาจากการที่นักเรียนเกิดความรู้และมีความเข้มแข็งในทัศนคติในการ ดำรงชีวิต และปฏิเสธสิ่งเสพติด แสดงให้ว่าเห็นโรงเรียนเลิศหล้าดำเนินงานในด้านของการ บริการแนะแนวและให้ความรู้เรื่องยาเสพติดแก่นักเรียนอย่างได้ผล นอกจากนี้โรงเรียน เลิศหล้ายังได้มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพด้านต่างๆ ของนักเรียน ให้นักเรียน ได้เรียนรู้ และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข เพื่อให้เกิดความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ โดยโรงเรียนได้จัดให้มีชมรมต่างๆ ทั้งสิ้น 14 ชมรม ทั้งนี้โรงเรียนได้ส่งเสริม สนับสนุนนักเรียนตามศักยภาพของผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้แสดงความสามารถของตนเองได้ อย่างเหมาะสม ซึ่งสอดคล้องกับธรรมนูญของโรงเรียนเลิศหล้า (มปป. : 212) ผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจต่อด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับ ผู้ปกครองอยู่ในระดับมาก คือ มีการแจ้งข่าวสารสัมพันธ์ความเคลื่อนไหวของโรงเรียนให้ ผู้ปกครองทราบอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของพนิจดา วีระชาติ (2542 : 55) ที่กล่าว ว่า วิธีการที่โรงเรียนจะสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนนั้น สามารถทำได้หลายวิธี เชน่ จดั ใหม้ กี ารปฐมนเิ ทศผปู้ กครอง เชญิ ผูป้ กครองเยีย่ มชมโรงเรยี น และจดั กิจกรรมอืน่ ๆ ทจี่ ะ ทำให้ผู้ปกครองสามารถเข้ามาเยี่ยมชมกิจการของโรงเรียน ซึ่งยังสอดคล้องแนวคิดของพระมหา บญุ ช ู แสนศรีลา (2544 : 153) ทีว่ า่ วิธีการสรา้ งความสัมพนั ธแ์ ละความรว่ มมอื ระหวา่ งโรงเรยี น กบั ชมุ ชนจะตอ้ งยดึ หลกั ความบรสิ ทุ ธใิ์ จ ความปรารถนาดตี อ่ กัน แสดงใหเ้ ห็นวา่ โรงเรียนเลิศหล้ามี การติดต่อสื่อสารและประสานงานกับผู้ปกครองนักเรียนโดยสม่ำเสมอ ทำให้โรงเรียนกลายเป็น 55 บ้านหลังที่สองของนักเรียนและทำให้นักเรียนและผู้ปกครองมีความรู้สึกที่ดีต่อการบริหารงาน ของโรงเรียน 3. เปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนเลิศหล้าหลักสูตรสอง ภาษาและหลักสูตรนานาชาติที่มีต่อการบริหารงานในด้านวิชาการ ด้านครูผู้สอน ด้านสภาพ แวดล้อม และบรรยากาศของโรงเรียนด้านพฤติกรรมของนักเรียน และด้านความสัมพันธ์ ระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง โดยภาพรวมไม่มีความแตกต่างกัน ซึ่งไม่สอดคล้องกับ สมมติฐานที่ว่า….“ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนเลิศหล้าหลักสูตรสองภาษา และหลักสูตรนานา ชาติ มีความพึงพอใจต่อการบริหารงานแตกต่างกัน” จากผลการวิจัยที่พบในครั้งนี้ ทำให้ ทราบว่าโรงเรียนเลิศหล้าสามารถบริหารงานเพื่อสนองตอบความพึงพอใจของผู้ปกครอง นักเรียนได้เป็นอย่างดี ถ้าพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผู้ปกครองนักเรียนหลักสูตรสองภาษา และหลัก สูตรนานาชาติ มีความพึงพอใจต่อการบริหารงานของโรงเรียนเลิศหล้าแตกต่างกัน อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในและด้านสภาพแวดล้อมและบรรยากาศของโรงเรียน และ ด้านพฤติกรรมของนักเรียน ส่วนด้านอื่นๆ ไม่มีความแตกต่างกัน ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐาน ที่ว่า…. “ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนเลิศหล้าหลักสูตรสองภาษา และหลักสูตรนานาชาติ มี ความพึงพอใจต่อการบริหารงานแตกต่างกัน” ผู้วิจัยมีความเห็นว่าสาเหตุที่ผู้ปกครอง นักเรียนมีความพึงพอใจแตกต่างกันนั้น อาจเนื่องมาจากโรงเรียนเลิศหล้า ได้ทำการเปิดสอน ในหลักสูตรสองภาษามาก่อนเป็นระยะประมาณ 2 ปี ก่อนที่จะมีการเปิดสอนในหลักสูตร นานาชาติ จากจุดนี้เองที่ทำให้ผู้ปกครองนักเรียนทั้งสองหลักสูตร มีความพึงพอใจในด้านทั้ง สองแตกต่างกัน โดยเฉพาะในด้านสภาพแวดล้อมและทำเลที่ตั้งของโรงเรียน โดยผู้ปกครอง ในหลักสูตรสองภาษาเห็นว่าโรงเรียนอยู่ใกล้กับชุมชน ทำให้สามารถเดินทางเพื่อรับส่งบุตร หลานได้สะดวกสบายกว่า สำหรับในด้านของพฤติกรรมนักเรียนนั้น ผู้ปกครองในหลักสูตร สองภาษาเห็นว่าโรงเรียนมีชื่อเสียงมาเป็นระยะเวลาที่ยาวนานกว่า จึงทำให้ผู้ปกครองใน หลักสูตรนี้มีความไว้วางใจให้กับโรงเรียนในการดูแลพฤติกรรมของบุตรหลานของตนได้ดีกว่า เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผู้ปกครองนักเรียนหลักสูตรสองภาษา และหลักสูตรนานาชาติมีความพึงพอใจต่อ ด้านวิชาการ โดยรวมไม่มีความแตกต่างกัน ถ้าพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ผู้ปกครอง นักเรียนหลักสูตรสองภาษา และหลักสูตรนานาชาติมีความพึงพอใจต่อด้านวิชาการแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 อยู่ 3 ข้อ คือ ให้ความสำคัญกับการสอนวิชาอื่นๆ อย่าง จริงจังเช่นเดียวกับวิชาภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์, การจัดจำนวนนักเรียนต่อ 1 ห้อง (ไม่เกิน 25 คน สำหรับหลักสูตรนานาชาติ, ไม่เกิน 35 คน สำหรับหลักสูตร 2 ภาษา), การรายงานผล การเรียนของนักเรียน ส่วนข้ออื่นๆ ไม่มีความแตกต่างกัน ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของผุสดี ตรงต่อการ (2540 : บทคัดย่อ) ที่ว่า โรงเรียนนานาชาติที่จัดระบบการศึกษาตามแบบของ 56 ประเทศสหรัฐอเมริกาจะเน้นพัฒนาการในการเรียนรู้ของผู้เรียน มุ่งเตรียมเยาวชนให้เป็นผู้ที่ ทักษะในกระบวนการเรียนรู้เป็นอย่างดี และมีความสามารถในการสื่อสารในระดับสูง ส่งเสริม นักเรียนให้เป็นผู้รู้จักคิดและวิเคราะห์ รู้จักหาเหตุผลอย่างเป็นระบบ เน้นการพัฒนาด้าน สติปัญญา ร่างกาย อารมณ์และสังคมอย่างสมดุล ฝึกนักเรียนให้เป็นผู้มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี มีความรับผิดชอบและรู้จักการเสียสละต่อสังคมส่วนรวม เห็นในคุณค่าของมนุษย์และ วัฒนธรรมของประเทศเจ้าบ้าน แสดงว่า ด้านวิชาการของโรงเรียนเลิศหล้าได้มีการจัด มวลประสบการณ์อย่างสอดคล้องกับหลักสูตรที่ทันสมัยและตรงกับความต้องการของสังคม ท้องถิ่นและผู้เรียน ทั้งนี้โรงเรียนเลิศหล้าได้จัดให้มีการวิเคราะห์วางแผนและพัฒนาหลักสูตร อย่างต่อเนื่อง ผู้วิจัยมีความเห็นว่า ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนมีความแตกต่างกันใน ระดับไม่มากนักหรือในบางข้อก็เป็นความแตกต่างในระดับเดียวกัน ผู้ปกครองนักเรียนหลักสูตรสองภาษา และหลักสูตรนานาชาติมีความพึงพอใจต่อ ด้านครูผู้สอน พบว่า โดยรวมและเป็นรายข้อไม่มีความแตกต่างกัน แสดงให้เห็นว่า ครูผู้สอน ทุกคนของโรงเรียนเลิศหล้าเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ มีคุณธรรมที่เหมาะสมกับอาชีพได้ เป็นอย่างดี ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของสมาน รังสิโยกฤษณ์ (2530 : 1-2) ที่ว่า หน่วยงานจะ ต้องมีการบำรุงรักษาไว้ซึ่งทรัพยากรด้านมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพ และมีปริมาณเพียงพอ เพื่อ ให้การปฏิบัติงานบรรลุตามจุดประสงค์ ผู้ปกครองนักเรียนหลักสูตรสองภาษาและหลักสูตรนานาชาติมีความพึงพอใจต่อ ด้านสภาพแวดล้อมและบรรยากาศของโรงเรียน พบว่า โดยรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ถ้าพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ผู้ปกครองนักเรียนหลักสูตรสอง ภาษาและหลักสูตรนานาชาติมีความพึงพอใจต่อด้านสภาพแวดล้อมและบรรยากาศของ โรงเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 อยู่ 3 ข้อ คือ อาคารเรียนมีที่ สำหรับจัดกรรมพิเศษ, สถานที่พักผ่อนและเล่นมีความกว้างขวางพอ, และส่วนความพึงพอใจ ของผู้ปกครองของสองหลักสูตรที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญททางสถิติที่ระดับ 0.05 มีเพียง 1 ข้อคือ การดูแลรักษาความสะอาดบริเวณโรงเรียน ส่วนข้ออื่นๆ ไม่มีความแตกต่าง กัน ผู้วิจัยมีความเห็นว่า สาเหตุที่ทำให้ผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจแตกต่างกันนั้น มีผลมาจากการที่โรงเรียนเลิศหล้าเป็นโรงเรียนเอกชนที่ดำเนินการจัดการเรียนการสอนในหลัก สูตรสองภาษา และหลักสูตรนานาชาติโดยมีผู้บริหารเพียงคนเดียวแต่ในการบริหารจัดการ เกี่ยวกับการเรียนการสอนนั้นได้แยกจากกันอย่างชัดเจน ผู้ปกครองนักเรียนหลักสูตรสองภาษาและหลักสูตรนานาชาติมีความพึงพอใจต่อ ด้านพฤติกรรมของนักเรียน พบว่า โดยรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 โดยผู้ปกครองนักเรียนหลักสูตรสองภาษา มีความพึงพอใจมากกว่าผู้ปกครอง นักเรียนหลักสูตรนานาชาติ ถ้าพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ผู้ปกครองนักเรียนหลักสูตรสอง ภาษาและหลักสูตรนานาชาติ มีความพึงพอใจต่อด้านพฤติกรรมของนักเรียน แตกต่างกันอย่าง 57 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 อยู่ 2 ข้อ คือ จัดให้มีกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อฝึกพฤติกรรม ด้านการเป็นผู้นำและผู้ตามของนักเรียนในห้องประชุม, การมีส่วนร่วมของนักเรียนในการสร้าง ชื่อเสียงของโรงเรียน เรียนเลิศหล้า ผู้ปกครองนักเรียนหลักสูตรสองภาษา มีความพึงพอใจ มากกว่าผู้ปกครองนักเรียนหลักสูตรนานาชาติ ส่วนข้ออื่นๆ ไม่มีความแตกต่างกัน เรียนเลิศ หล้า ผู้ปกครองนักเรียนหลักสูตรสองภาษา มีความพึงพอใจมากกว่าผู้ปกครองนักเรียนหลัก สูตรนานาชาติ ที่เป็นเช่นนี้ผู้วิจัยมีความเห็นว่า เนื่องจากว่าในหลักสูตรนานาชาติใช้การ จัดหลักสูตรตามแบบประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเน้นให้ผู้เรียนรู้จักคิดวิเคราะห์ และหาเหตุผล อย่างเป็นระบบ แต่ในขณะเดียวกันหลักสูตรสองภาษานั้นยึดหลักสูตรของกระทรวง ศึกษาธิการที่เน้นเป็นผู้เรียนเป็นสำคัญ แต่เป็นในระยะเริ่มต้น จึงทำให้ความพึงพอใจของ ผู้ปกครองในด้านพฤติกรรมของนักเรียนมีความแตกต่างกัน ผู้ปกครองนักเรียนหลักสูตรสองภาษาและหลักสูตรนานาชาติมีความพึงพอใจต่อ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง พบว่า โดยรวมไม่มีความแตกต่างกัน ถ้า พิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ผู้ปกครองนักเรียนหลักสูตรสองภาษาและหลักสูตรนานาชาติมี ความพึงพอใจต่อด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 อยู่ 3 ข้อ คือ โรงเรียนได้นำความคิดเห็นของผู้ปกครองมาดำเนินการ ปรับปรุงงานของโรงเรียน, ผู้บริหารและครูมีบทบาทในการเสริมสร้างความร่วมมือกับ ผู้ปกครองเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดี, มีการจัดกิจกรรมให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ปกครองกับ การศึกษาและดูแลนักเรียน โดยผู้ปกครองนักเรียนหลักสูตรสองภาษา มีความพึงพอใจมาก กว่าผู้ปกครองนักเรียนหลักสูตรนานาชาติ ส่วนข้ออื่นๆ ไม่มีความแตกต่างกัน ผู้วิจัยเห็นว่า สาเหตุหลักที่ทำให้ผู้ปกครองนักเรียนทั้งสองหลักสูตรมีความพึงพอใจไม่แตกต่างกัน น่าจะเกิด จากส่วนหนึ่งการประกอบอาชีพของผู้ปกครองนักเรียนทั้งสองหลักสูตร ไม่มีความแตกต่าง ทำให้ความพึงพอใจในด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง ไม่มีความแตกต่างกัน ข้อเสนอแนะ จากข้อค้นพบของงานวิจัย ในด้านความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการ บริหารงานของโรงเรียนเลิศหล้า มีข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางให้โรงเรียนได้ปรับปรุงและ พัฒนาการบริหารงานด้านต่างๆ ให้เกิดประสิทธิภาพต่อนักเรียนและผู้ปกครองดังนี้ 1. ข้อเสนอแนะการนำผลการวิจัยไปใช้ 1.1 ด้านวิชาการ ควรจัดให้มีการสอนซ่อมเสริมแก่นักเรียนที่เรียนช้า 1.2 ด้านครูผู้สอน ควรมีการกวดขันดูแลความประพฤติของนักเรียนอย่างใกล้ชิด 1.3 ด้านสภาพแวดล้อมและบรรยากาศของโรงเรียน ควรมีการจัดระบบจราจรใน เขตบริเวณโรงเรียน 1.4 ด้านพฤติกรรมของนักเรียน ควรฝึกให้นักเรียนมีระเบียบวินัย 58 1.5 ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง โรงเรียนควรจัดให้มีการ ยกย่องเชิดชูผู้ปกครองที่ให้ความสนับสนุนแก่โรงเรียน 59 2. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป 2.1 ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องความปลอดภัยในโรงเรียน 2.2 ควรศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมระหว่างโรงเรียนและผู้ปกครองในด้าน ต่างๆ เช่นเรื่องของการจัดการศึกษา บรรณานุกรม 60 บรรณานุกรม ภาษาไทย กรชกร ชวติ. (2544). ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการจัดการศึกษาของ โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่ตั้งอยู่นอกเขต เทศบาล. วิทยานิพนธ์การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิจัยการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์. (2521). บทบาทของผู้ปกครองและครูในการพัฒนาการศึกษาของเยาวชน. วารสารมิตรครู. (2 ตุลาคม). กิติมา ปรีดีดิลก. (2532). การบริหารและการนิเทศการศึกษาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : บริษัท อักษรพิพัฒน์ จำกัด. กู้ศักดิ์ สารกิติพันธ์. (2538). ความพอใจของผู้ปกครองนักเรียน ศิษย์เก่าและครู ที่มีต่อ การบริหารงานโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย. ปริญญานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์. (2543). การจัดการเครือข่าย : กลยุทธ์สำคัญสู่ความสำเร็จของ การปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ : บริษัท ซัคเซส มีเดีย จำกัด. คณะกรรมการการวัฒนธรรมแห่งชาติ, สำนักงาน. (2540). วัฒนธรรมกับการพัฒนา : ทางเลือกของสังคมไทย. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ. คณะกรรมการการศึกษาเอกชน, สำนักงาน. (2541). แนวดำเนินการประกันคุณภาพและ รับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาโรงเรียนเอกชน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว. จรัส โพธิ์จันทร์. (2527). ความพึงพอใจในการทำงานของอาจารย์วิทยาลัยพลศึกษา ในภาคเหนือ. ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พิษณุโลก. จิรพันธ์ ไตรทิพย์จรัส. (2542). โครงสร้างทางสังคมของโรงเรียนกับการแพร่ระบาดของยาบ้า : ศึกษากรณีโรงเรียนมัธยมศึกษา. วารสารวิชาการ 2,8. ถนอมทรัพย์ มะลิซ้อน. (2540). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรวิทยาลัย อาชีวศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ปริญญานิพนธ์การศึกษาศาสตรมหา บัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัย. นพชัย รู้ธรรม. (2523). งานบริหารการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตศึกษา 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิต วิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 61 นวลศิริ เปาโรหิตย์. (2520). จิตวิทยาพัฒนาการ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง. นิตยา อุ่นท้าว. (2544). การใช้วัตกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของโรงเรียน สังกัดกรมสามัญศึกษา. รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระ ปริญญาการศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. นิพนธ์ รอดภัย. (2525). โครงสร้างและกระบวนการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน มัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในจังหวัดปราจีนบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรม หาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. นีรนาท กล่ำคลัง. (2541). สภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยของ โรงเรียนนานาชาติในจังหวัดเชียงใหม่. รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาการ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เบญจา แสงมลิ. (2542). ครูอนุบาลคนใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : บริษัท ทีชชิ่งทอยส์ จำกัด. ประคอง กรรณสูตร. (2530). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ : บริษัทศูนย์หนังสือ ดร.ศรีสง่า จำกัด. ประชุม รอดประเสริฐ. (2529). การบริหารโครงการ. กรุงเทพฯ : ภาควิชาการบริหารการ ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร. ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2535). จิตวิทยาการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ : บริษัท สหมิตรออฟเซท จำกัด. เปรื่อง กุมุท. (2529). สื่อป้องกันยาเสพติด. สำนักงานปราบปรามยาเสพติด. 20–26, มิถุนายน. ผุสดี ตรงต่อการ. (2540). การศึกษาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนนานาชาติใน กรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการ บริหารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พนัส หันนาคินทร์. (2524). การมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์พิฆเณศ. พนิจดา วีระชาติ. (2542). การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน. กรุงเทพฯ : บริษัท โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์ จำกัด. พระมหาบุญชู แสนศรีลา. (2544). การปฏิบัติตามมาตรฐานด้านส่งเสริมความสัมพันธ์ และความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับชุมชนในการพัฒนาการศึกษา. รายงาน การศึกษาค้นคว้าอิสระ ปริญญาการศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการ ศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. (2542). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 116 ตอนที่ 74 ก. 62 พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 7 กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร. พิน คงพูน. (2529). ความพึงพอใจต่อบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ การประถมศึกษาจังหวัด 14 จังหวัดภาคใต้. ปริญญานิพนธ์ศึกษา ศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา. มณี โพธิเสน. (2543). ความพึงพอในของผู้ปกครองนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนต่อ การจัดการศึกษา ของโรงเรียนโพธิเสนวิทยา. รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระ ปริญญาการศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัย มหาสารคาม. มานพ ช่องตะคุ. (2543). ปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการดำเนินงาตามมาตรฐาน การศึกษาด้านความพึงพอใจของชุมชนในโรงเรียนสังกัดเทศบาล เขตการ ศึกษา 9. รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระ ปริญญาการศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. เลิศหล้านานาชาติ, โรงเรียน. (มปป.). ธรรมนูญธรรมนูญโรงเรียนเลิศหล้าปี พ.ศ. 2542- 2546. ฝ่ายวิชาการ โรงเรียนเลิศหล้านานาชาติ. วศิน ปานเดชพงศ์. (2539). การศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อ โรงเรียนอนุบาลเอกชนศึกษาโรงเรียนอนุบาลก้องหล้า. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วิจิตร วรุตบางกูร. (2520). การบริหารโรงเรียนและการนิเทศการศึกษาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนทรวิโรฒ ประสานมิตร. วิชาญ ไทยแท้. (2538). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของครูผู้สอนชั้นเด็กเล็ก คุณลักษณะ ที่พึงประสงค์ของครูผู้สอนชั้นเด็กเล็ก สังกัดสำนักงาน การประถมศึกษาจังหวัด ยโสธร ในทัศนะของผู้บริหารการศึกษา ครูผู้สอนชั้นเด็กเล็กและผู้ปกครอง. ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการประถมศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม. (2531). ตำรายาเสพติด. กรุงเทพฯ : บริษัท โอเดียนสโตร์ จำกัด. ศึกษาธิการ, กระทรวง. (2542). คำชี้แจงประกอบพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา. 63 สง่า โพธิวัง. (2524). ปัจจัยบางประการที่เกี่ยวข้องกับความคิดเห็นของข้าราชการครู ต่อระบบบริหารการประถมศึกษาแห่งชาติ : ศึกษาเฉพาะข้าราชการครู ที่สังกัด สำนักงานคณะกรรการประถมศึกษาแห่งชาติ ในเขตการศึกษา 6. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์. สมคิด จูมทอง. (2528). ความคิดเห็นของผู้บริหารและอาจารย์เกี่ยวกับ การปฏิบัติงาน ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่สังกัดกรมสามัญศึกษา ในเขตการ ศึกษา 6. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สมยศ นาวีการ. (2522). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหาร. กรุงเทพฯ : บริษัท ดวงกมล จำกัด. สมหมาย สร้อยนาคพงษ์. (2542). การบริหารการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่ง ชาติ พุทธศักราช 2542. วารสารราชภัฏลำปาง 1,1 หน้า 22.-27. สมาน รังสิโยกฤษฎ์. (2530). การบริหารราชการ. พิมพ์ครั้งที่ 4.กรุงเทพฯ : สวัสดิการสำนักงาน. อเนก กลยนี. (2542). ความพึงพอใจของนักศึกษานอกโรงเรียนสายสามัญศึกษาระดับ มัธยมศึกษาวิธีเรียนทางไกลที่มีบทบาทต่อครูประจำกลุ่ม จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์. ภาษาอังกฤษ Beach, Lee Roy. (1973). Psychology : Core Concepts and Special Topics. New York: Holt, Rinehart and Winston. Devis, Frederick B. (1964). Education System and Their Interpretation. California: Wadsworth. Elsbree, Willard Slingerland. (1967). Elementary School Administration and Supervision. 3rd. New York : American book. Faber, E. Charles F. (1970). Elementary School Administration : Theory and Practice. New York : Holt. French, Wendell. (1964). The Personnel Management Process : Human Resource Administration. Boston : Houghton. Herzberg, Frederic. (1959). The Motivation to Work. New York : John Wiley. 64 Maslow, Abraham Harold. (1970). Motivation and Personality. 2nd ed. New York : Harper & Row. Sergiovanni, Thomas J. (1980). The New School Executive: A Theory of Administration. 2nd. New York : Harper & Row. Tripp, Rhoda Thomas. (1970). The International Thesaurus of quotations. New York : Thomas Y. Crowell. William, H. Roe. (1961). School Business Management. McGrow-Hill Book Company, Inc. Witty, F.R. (1972). Collins shorter contemporary dictionary London : Collins. Zamora, Lois Parkinson. (1998). Contemporary American Women Writers : Gender, Class, Ethnicity. London : Longman. ภาคผนวก ก 66 แบบสอบถามเพื่อการวิจัย เรื่อง ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน ที่มีต่อการบริหารงานของโรงเรียนเลิศหล้า แบบสอบถามสำหรับผู้ปกครอง คำชี้แจง 1. แบบสอบถามนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อทราบความพึงพอใจของท่าน ที่มีต่อการบริหารงาน ของโรงเรียนเลิศหล้า ทั้งนี้เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากท่านไปใช้ประโยชน์ ในการพัฒนาโรงเรียน เท่านั้น จะไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อการทำงานของท่าน หรือผู้ใดทั้งสิ้น ผู้วิจัยจะสงวนคำตอบของ ท่านไว้เป็นความลับ 2. แบบสอบถามชุดนี้ ถามครอบคลุมเกี่ยวกับการบริหารงานของโรงเรียนเลิศหล้าใน 5 ด้าน คือ ด้านวิชาการ ด้านครูผู้สอน ด้านสภาพแวดล้อมและบรรยากาศของโรงเรียน ด้าน พฤติกรรมนักเรียนและความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง โดยมีข้อคำถาม 58 ข้อ ขอความกรุณาท่านตอบคำถามทุกข้อ ผู้วิจัยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับความอนุเคราะห์จากท่านด้วยดี และขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้ นายชานันท์ ถ้ำคู่ นักศึกษาปริญญาโท สาขาการบริหารการศึกษา สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา หมายเหตุ : โปรดกรุณาส่งแบบสอบถามที่กรอกเสร็จแล้ว มากับนักเรียน เพื่อส่งให้ครูประจำชั้นภายในวันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม 2545 67 ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ปกครอง 1. ท่านเป็นผู้ปกครองนักเรียน สำหรับผู้วิจัย ( ) หลักสูตรสองภาษา [ ] ( ) หลักสูตรนานาชาติ [ ] 2. เพศ ( ) ชาย [ ] ( ) หญิง [ ] 3. ระดับการศึกษา ( ) ระดับประถมศึกษา [ ] ( ) สูงกว่ามัธยมศึกษา แต่ต่ำกว่าปริญญาตรี [ ] ( ) ระดับปริญญาตรี [ ] ( ) ระดับปริญญาโทหรือสูงกว่า [ ] ตอนที่ 2 ข้อคำถามเกี่ยวกับความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน โปรดอ่านข้อความต่อไปนี้ และกาเครื่อง ลงในช่องคำตอบที่ตรงกับความพึงพอใจ ของท่าน คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด ข้อที่ ข้อความ ระดับความพึงพอใจ สำหรับ มาก ที่สุด มาก ปาน กลาง น้อย น้อย ที่สุด ผู้วิจัย ด้านวิชาการ 1. มีการปรับปรุงเนื้อหาในหลักสูตร ให้เหมาะสมแก่วัย และความสนใจ ของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง 1= [ ] 2. ให้ความสำคัญกับการสอนภาษา อังกฤษอย่างจริงจัง 2= [ ] 3. ให้ความสำคัญกับการสอน คณิตศาสตร์อย่างจริงจัง 3= [ ] 4. ให้ความสำคัญกับการสอนวิชา อื่นๆ อย่างจริงจังเช่นเดียวกับวิชา การภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ 4= [ ] 68 ข้อที่ ข้อความ ระดับความพึงพอใจ สำหรับ มาก ที่สุด มาก ปาน กลาง น้อย น้อย ที่สุด ผู้วิจัย 5. มีการอบรมจริยธรรมให้กับ นักเรียน 5= [ ] 6. ปริมาณการให้การบ้าน และตรวจ แก้การบ้านที่ให้แก่นักเรียน แต่ละวัน 6= [ ] 7. การจัดจำนวนนักเรียนต่อ 1 ห้อง (ไม่เกิน 25 คน สำหรับหลักสูตร นานาชาติ) (ไม่เกิน 35 คน สำหรับหลักสูตร สองภาษา) 7= [ ] 8. มีการสอนซ่อมเสริมแก่นักเรียน ที่เรียนช้า 8= [ ] 9. มีการจัดกิจกรรมส่งเสริม การเรียน การสอนที่เป็นประโยชน์แก่ผู้เรียน 9= [ ] 10. กระตุ้น ปลูกฝังให้นักเรียน ศึกษา ค้นคว้า ด้วยตนเองและใช้ห้องสมุด อย่างจริงจัง 10=[ ] 11. การรายงานผลการเรียนของ นักเรียน 11=[ ] 12. มีการจัดสอนพิเศษ หลังเลิกเรียน 12=[ ] ด้านครูผู้สอน 1. ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของครู 13=[ ] 2. การกวดขัน ดูแลความประพฤติ นักเรียนอย่างใกล้ชิด 14=[ ] 3. มารยาท และความประพฤติของครู 15=[ ] 69 ข้อที่ ข้อความ ระดับความพึงพอใจ สำหรับ มาก ที่สุด มาก ปาน กลาง น้อย น้อย ที่สุด ผู้วิจัย 4. ความเสียสละ และอุทิศตนของครู เพื่อความเจริญงอกงามของ นักเรียน 16=[ ] 5. การต้อนรับผู้ปกครองด้วยอัธยาศัย อันดีของครู 17=[ ] 6. ความกระตือรือร้นของครูที่จะช่วย เหลือนักเรียนเมื่อเกิดปัญหา 18=[ ] 7. ความรักและจริงใจของครูต่อ นักเรียน 19=[ ] 8. กระบวนการเรียนการสอนของครู 20=[ ] 9. การแต่งกายของครู 21=[ ] 10. ความรู้ และความสามารถของครู 22=[ ] 11. คุณธรรมและจริยธรรมของครู 23=[ ] 12. จรรยาบรรณในวิชาชีพของครู 24=[ ] ด้านสภาพแวดล้อมและบรรยากาศของโรงเรียน 1. อาคารเรียนมีที่สำหรับจัดกิจกรรม พิเศษ 25=[ ] 2. สถานที่พักผ่อน และเล่นมีความ กว้างขวางเพียงพอ 26=[ ] 3. มีการดูแลรักษาความสะอาด บริเวณโรงเรียน 27=[ ] 4. ห้องเรียนได้มาตรฐาน มี บรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ 28=[ ] 5. ห้องประกอบการเรียน หรือห้อง กิจกรรมพิเศษ 29=[ ] 70 ข้อที่ ข้อความ ระดับความพึงพอใจ สำหรับ มาก ที่สุด มาก ปาน กลาง น้อย น้อย ที่สุด ผู้วิจัย 6. การรักษาความสะอาดของ โรงอาหารอุปกรณ์ภาชนะสำหรับ นักเรียน 30=[ ] 7. การดูแลห้องน้ำ ห้องสุขา ของ นักเรียนให้สะอาด 31=[ ] 8. การจัดระบบจราจรในเขตบริเวณ โรงเรียน 32=[ ] 9. ความสะอาดของสนามโรงเรียน 33=[ ] 10. ครูประจำรถดูแลนักเรียนขึ้น-ลง เป็นระเบียบ 34=[ ] 11. ครูพยาบาล ให้ความรู้เกี่ยวกับการ ปฐมพยาบาลขั้นพื้นฐานแก่ นักเรียน 35=[ ] 12. ครูพลศึกษาสอนให้นักเรียนปฏิบัติ ตนในการเรียน ภาคเรียนปฏิบัติ เพื่อความปลอดภัย 36=[ ] ด้านพฤติกรรมของนักเรียน 1. นักเรียนมีระเบียบวินัย 37=[ ] 2. นักเรียนแต่งกายสุภาพ เรียบร้อย 38=[ ] 3. นักเรียนพูดจาสุภาพมีสัมมาคารวะ 39=[ ] 4. มีการสอดส่องดูแล ความประพฤติ ของนักเรียน 40=[ ] 5. การเข้าร่วมกิจกรรมของนักเรียน 41=[ ] 6. นักเรียนมีความรับผิดชอบต่อ การเรียน 42=[ ] 71 ข้อที่ ข้อความ ระดับความพึงพอใจ สำหรับ มาก ที่สุด มาก ปาน กลาง น้อย น้อย ที่สุด ผู้วิจัย 7. มีการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรม เบี่ยงเบนทางเพศของนักเรียน 43=[ ] 8. จัดให้มีกิจกรรมเสริมหลักสูตร เพื่อ ฝึกพฤติกรรมด้านการเป็นผู้นำและ ผู้ตามของนักเรียนในห้องประชุม 44=[ ] 9. การมีส่วนร่วมของนักเรียนในการ สร้างชื่อเสียงของโรงเรียน 45=[ ] 10. นักเรียนมีพฤติกรรมหลีกหนีจาก อบายมุขและสิ่งเสพติด 46=[ ] ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง 1. โรงเรียนเปิดโอกาสให้ผู้ปกครอง นักเรียนได้เข้าร่วมกิจกรรม การ พัฒนาจัดการศึกษาของโรงเรียน 47=[ ] 2. โรงเรียนได้นำความคิดเห็นของ ผู้ปกครองมาดำเนินการปรับปรุง งานของโรงเรียน 48=[ ] 3. ผู้บริหารโรงเรียนและครูยอมรับ นับถือผู้ปกครองอย่างเท่าเทียมกัน 49=[ ] 4. มีการแจ้งข่าวสารสัมพันธ์ความ เคลื่อนไหวของโรงเรียน ให้ ผู้ปกครองทราบอย่างต่อเนื่อง 50=[ ] 5. ผู้ปกครองนักเรียนมีบทบาทต่อ การพัฒนาโรงเรียน 51=[ ] 6. ผู้บริหารโรงเรียน และครูมีบทบาท ในการเสริมสร้างความร่วมมือกับ ผู้ปกครองเพื่อสร้างความสัมพันธ์ อันดี 52=[ ] 7. มีการจัดกิจกรรมให้ความรู้ ความ เข้าใจแก่ผู้ปกครองเกี่ยวกับการ ศึกษาและการดูแลนักเรียน 53=[ ] 72 ข้อที่ ข้อความ ระดับความพึงพอใจ สำหรับ มาก ที่สุด มาก ปาน กลาง น้อย น้อย ที่สุด ผู้วิจัย 8. โรงเรียนขอความช่วยเหลือ จากผู้ ปกครองในการร่วมกิจกรรมต่างๆ 54=[ ] 9. โรงเรียนได้ให้ความช่วยเหลือแนะ นำแก่ผู้ปกครองในด้านการศึกษา 55=[ ] 10. การมีโอกาสได้ชมผลงานนักเรียน ในด้านต่าง ๆ 56=[ ] 11. โรงเรียนยกย่องเชิดชูผู้ปกครองที่ ให้ความสนับสนุนแก่โรงเรียน 57=[ ] 12. ผู้บริหารและครูอำนวยความ สะดวกในการติดต่อกิจการต่างๆ กับโรงเรียน 58=[ ] ข้อเสนอแนะอื่นๆ (โปรดระบุ) ………………………………………………………………………………………………………….. …………………………………………………………………………………………………………. …………………………………………………………………………………………………………. …………………………………………………………………………………………………………. …………………………………………………………………………………………………………. ภาคผนวก ข 74 ที่ พิเศษ/ 2545 สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 1061 ถนนอิสรภาพ แขวงหิรัญรูจี เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร 10600 20 พฤษภาคม 2545 เรื่อง ขอความอนุเคราะห์ข้อมูลในการทำวิทยานิพนธ์ เรียน ผู้อำนวยการโรงเรียนเลิศหล้า ด้วย นายชานันท์ ถ้ำคู่ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการ ศึกษา รุ่นที่ 2 สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กำลังทำวิทยานิพนธ์ โดยได้รับอนุมัติจากบัณฑิตวิทยาลัยให้ ทำวิทยานิพนธ์เรื่อง “ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน ที่มีต่อการบริหารงานของโรงเรียนเลิศหล้า” โดยมี คณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ดังนี้ 1. ผศ.ดร.บำรุง ปานสุนทร ประธานกรรมการ 2. ผศ.สุภรณ์ ลิ้มบริบูรณ์ กรรมการ 3. อาจารย์ทวีศักดิ์ จงประดับเกียรติ กรรมการ การทำวิทยานิพนธ์ครั้งนี้ นักศึกษาที่ทำการวิจัย จำเป็นต้องเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ปกครองของนักเรียน โรงเรียนเลิศหล้าในหลักสูตรสองภาษาและหลักสูตรนานาชาติ ดังนั้นจึงใคร่ขอความอนุเคราะห์เก็บข้อมูลจาก ผู้ปกครองนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนของท่าน เพื่อนำข้อมูลไปประกอบการทำวิจัยให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา หวังว่าคงได้รับความอนุเคราะห์จากท่านและขอขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้ ขอแสดงความนับถือ (รองศาสตราจารย์นันทา วิทวุฒิศักดิ์) รักษาการคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย บัณฑิตวิทยาลัย โทร. 02-890-0841-50 ต่อ 809 โทรสาร 02-890-1786 75 รายชื่อผู้เชี่ยวชาญ 1. รองศาสตราจารย์เกริก วยัคฆานนท ์ คณบดีคณะวิทยาการ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 2. ดร.สรายุทธ เศรษฐขจร ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาการพัฒนาครู สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 3. นายเสรี ปาลเดชพงศ์ กรรมการผูอ้ ำนวยการฝา่ ยวิชาการ โรงเรียนเลิศหล้า 4. นางอัชฌา เสียงหลาย กรรมการผูอ้ ำนวยการฝา่ ยวิชาการ โรงเรียนเลิศหล้า 5. นางชูศรี ตันพงศ์ หวั หนา้ ฝา่ ยวิชาการโรงเรยี นเลิศหลา้ ภาคผนวก ค 77 ประวัติผู้วิจัย ชื่อ นายชานันท์ ถ้ำคู่ วันเกิด 20 มิถุนายน พ.ศ. 2508 สถานที่เกิด บ้านเลขที่ 134/2 หมู่ที่ 9 ตำบลเชียรใหญ่ อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช สถานที่อยู่ปัจจุบัน บ้านเลขที่ 90/127 หมู่ที่ 4 ตำบลหอมเกร็ด อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม 73110 ตำแหน่งหน้าที่การงาน ผู้ช่วยหัวหน้าฝ่ายหลักสูตรนานาชาติ โรงเรียนเลิศหล้านานาชาติ 33/64 ถนนเพชรเกษม เขตหนองแขม แขวงหนองค้างพลู กรุงเทพมหานคร 10160 ประวัติการศึกษา พ.ศ. 2527 สาธารณสุขศาสตร์ (เจ้าหน้าที่สาธารณสุข) โรงเรียนสาธารณสุข จังหวัดยะลา พ.ศ. 2535 ปริญญาครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) วิชาการประถมศึกษา สถาบันราชภัฏเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี พ.ศ. 2545 ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชาการบริหารการศึกษา สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กรุงเทพมหานคร

6 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ17 เมษายน 2555 เวลา 10:46

    เยี่ยมมากเลย ได้ศึกษาการทำวิจัย เป็นตัวอย่างได้นะ

    ตอบลบ
  2. ขออนุญาตนำไปอ้างอิงนะค่ะ

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ25 กันยายน 2555 เวลา 14:21

    สามารถนำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้ในการบริหารการศึกษาได้ดีทีเดียว..

    ตอบลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ22 ตุลาคม 2555 เวลา 09:15

    ขอบคุณครับ เป็นตัวอย่างที่ดีเลย

    ตอบลบ
  5. นสปรารถนาศิรวงศ์กาฬสินธุ์คิดได่แค่นี้ก็ทำไปเลย

    ตอบลบ