วันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2554

ความตั้งใจย้ายถิ่นกลับสู่ภูมิลำเนาเดิมของนักศึกษา (ตอนที่ 2)



การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ โดยการหาความเที่ยงตรงตามเนื้อหา (Validity) และความเชื่อมั่นของเครื่องมือตรงตามวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้
1. การหาความเที่ยงตรงของเครื่องมือ (Validity)
ผู้ศึกษา นำแบบสอบถามที่สร้างขึ้นเองจากการศึกษาเอกสารและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องให้ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา และความเหมาะสมของภาษาที่ใช้ จำนวน 3 ท่าน
2. การตรวจสอบความเชื่อมั่นของเครื่องมือ (Reliability)
นำแบบสอบถามไปทดลองใช้ (Try out) กับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน แล้วคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (Coefficient Alpha) ของคอร์นบาค (Cronbach อ้างใน เพ็ญแข แสงแก้ว 2541:116) ดังสูตร
α = N 1- ΣS i2
N – 1 S T2
เมื่อ α = ค่าสัมประสิทธิ์ของความเชื่อถือได้ของเครื่องมือที่ใช้ในการวัด
ΣS i2 = ผลรวมของความแปรปรวนของคะแนนที่วัดได้จากแต่ละข้อ
S T2 = ค่าความแปรปรวนของคะแนนจากข้อคำถามทุกข้อ
N = จำนวนข้อคำถามหรือจำนวนรายการทั้งหมดที่ใช้วัด
α = .9010
ได้ค่าสัมประสิทธิ์ความเทียงตรงเท่ากับ .9010
37
การเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองในสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 300 คน โดยลำดับขั้นตอนดังนี้
1. นำหนังสือ ขออนุญาตเก็บรวบรวมข้อมูล จากคณบดีวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ถึงอาจารย์ประจำวิชาของนักศึกษาที่เป็นกลุ่มตัวอย่างเพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์และขอความร่วมมือในการเก็บข้อมูล
2. ในการเก็บรวบรวมข้อมูลผู้วิจัยจะแนะนำตนเอง ชี้แจงวัตถุประสงค์และขอความร่วมมือในการตอบแบบสอบถามจากนักศึกษาที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง โดยการให้ข้อมูลที่เป็นจริงและรักษาสิทธิของนักเรียนโดยการไม่เปิดเผยข้อมูลเป็นรายบุคคล
3. ในการเก็บรวบรวมข้อมูล จะใช้วิธีแจกแบบสอบให้ตอบ
4. ตรวจสอบและคัดเลือกแบบสอบถามของนักศึกษาที่ตอบครบทุกหน้าและทุกข้อ
5. นำแบบสอบถามที่มีคุณภาพครบถ้วนที่ได้จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 300 ฉบับ มาวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป
การวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัยตรวจสอบความครบถ้วนของข้อมูลตามจำนวนที่กำหนดจัดทำคู่มือลงรหัสเก็บรวบรวมและลงรหัสแบบสอบถาม แล้วนำไปวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS/PC+ ดังนี้
1. วิเคราะห์ลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง ความถี่ ร้อยละ
2. วิเคราะห์ระดับความคาดหวังของนักศึกษาจำแนกตามปัจจัยและระดับความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนา ใช้ สถิติ ร้อยละ (percentage) และค่าเฉลี่ยเลขคณิต
3. วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความตั้งใจในการย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนากับตัวแปร โดยการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ (Correlation และ Regression Linear)
บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
การวิจัยเรื่อง ความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาเดิมของนักศึกษา กรณีศึกษานักศึกษาสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนา และศึกษาถึงปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนา ของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ภาคปกติ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวนทั้งสิ้น 300 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ผู้วิจัยได้นำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์หาค่าทางสถิติด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC+ และนำเสนอผลการวิเคราะห์ด้วยตารางประกอบการบรรยายตามลำดับ ดังนี้
ตอนที่ 1 วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ภาคปกติ ของสถาบัน-ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้แก่ สาขา ภูมิลำเนาเดิม คะแนนสะสม และความสามารถพิเศษ โดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยของระดับความสามารถพิเศษ และนำเสนอเป็นตารางประกอบความเรียง
ตอนที่ 2 วิเคราะห์ระดับความคาดหวังของนักศึกษาจำแนกตามปัจจัย ได้แก่ คะแนน-สะสม ความสามารถพิเศษ โอกาสในการประกอบอาชีพในภูมิลำเนา ระดับรายได้ที่น่าพึงพอใจใน- ภูมิลำเนา โอกาสการได้รับการยอมรับสถานภาพทางสังคมในภูมิลำเนา ความผูกพันต่อครอบครัวและ ชุมชน โอกาสทางการศึกษาต่อในกรุงเทพฯ โดยการแจงค่าเฉลี่ยของระดับคะแนนของปัจจัย
ตอนที่ 3 วิเคราะห์ระดับความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ภาคปกติ ของสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โดยการแจงค่าเฉลี่ยของระดับความตั้งใจ
ตอนที่ 4 วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ภาคปกติ ของสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โดยการหาระดับความสัมพันธ์ และพยากรณ์ความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาด้วยสมการถดถอยพหุคูณ
39
ผลการศึกษาข้อมูล
ตอนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคล
1) การวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ภาคปกติ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ตามตัวแปรที่ต้องการศึกษา คือ สาขา ภูมิลำเนาเดิม อำเภอ คะแนนสะสม โดยแจกแจงเป็นความถี่ และร้อยละ ดังตาราง
ตารางที่ 1 จำนวนและร้อยละ ของกลุ่มตัวอย่าง จำแนกตามสาขา ภูมิลำเนาเดิม อำเภอ คะแนนสะสม
ข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง ความถี่ ร้อยละ
-------------------------------------------------------------------สาขา
ครุศาสตร์ 87 29.0
วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี 45 15.0
มนุษยศาสตร์และเทคโนโลยี 85 28.3
วิทยาการจัดการ 83 27.7
รวม 300 100
ภูมิลำเนาเดิม
ภาคกลาง 154 51.3
ภาคตะวันตก 15 5.0
ภาคตะวันออก 11 3.7
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 64 21.3
ภาคใต้ 51 17.0
ภาคเหนือ 5 1.7
รวม 300 100
อำเภอ
อำเภอเมือง 87 29
นอกเขตอำเภอเมือง 213 71
รวม 300 100
40
ตารางที่ 3 (ต่อ)
-------------------------------------------------------------------
ข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง ความถี่ ร้อยละ
-------------------------------------------------------------------คะแนนสะสม
ต่ำกว่า 2.00 7 2.3
2.00-2.49 110 36.7
2.50-2.99 124 41.3
3.00-4.00 59 19.7
รวม 300 100
จากตาราง แสดงว่ากลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 300 คน ประกอบไปด้วย นักศึกษาจาก สาขา ครุศาสตร์ จำนวน 87 คน คิดเป็นร้อยละ 29.0 สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 45 คน คิดเป็นร้อยละ 15.0 สาขา มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จำนวน 85 คน คิดเป็นร้อยละ 28.3 และจากสาขาวิทยาการจัดการ จำนวน 83 คน คิดเป็นร้อยละ 27.7
ด้านภูมิลำเนาเดิมของนักศึกษา เป็นกลุ่มตัวอย่างที่มาจากภาคกลางมากที่สุด จำนวน 154 คน คิดเป็น ร้อยละ 51.3 รองลงมาคือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 64 คน คิดเป็นร้อยละ 21.3 จากภาคใต้ จำนวน 51 คน คิดเป็นร้อยละ 17.0 ภาคตะวันตก จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 5.0 จากภาคตะวันออก จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 3.7 และจากภาคเหนือ จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 1.7 ตามลำดับ และส่วนใหญ่เป็นกลุ่มตัวอย่างที่มีภูมิลำเนาอยู่นอกเขตอำเภอเมือง คือมีจำนวน 213 คน คิดเป็นร้อยละ 71.0 เป็นกลุ่มตัวอย่างที่อยู่ในอำเภอเมือง จำนวน 87 คน คิดเป็นร้อยละ 29.0
ด้านคะแนนสะสมของนักศึกษา ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงคะแนนสะสม 2.50-2.99 คือมีจำนวน 124 คน คิดเป็นร้อยละ 41.3 รองลงมาอยู่ในช่วงคะแนนสะสม 2.00-2.49 จำนวน 110 คน คิดเป็นร้อยละ 36.7 ช่วงคะแนนสะสม 3.00-4.00 มีจำนวน 59 คน คิดเป็นร้อยละ 19.7 และช่วงคะแนนสะสมต่ำกว่า 2.00 มีจำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 2.3 ตามลำดับ ดังแสดงในตารางที่ 3
2) การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ภาคปกติ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ตามตัวแปรที่ต้องการศึกษา คือ ประเด็นความสามารถ โดยแจกแจงเป็นค่าเฉลี่ยของระดับความสามารถพิเศษ ดังตาราง
41
ตารางที่ 2 ค่าเฉลี่ยของระดับความสามารถพิเศษของนักศึกษา
ความสามารถพิเศษ
X
S.D.
การแปลผล
ภาษาอังกฤษ
- พูด
- อ่าน
- เขียน
ภาษาอื่น
- พูด
- อ่าน
- เขียน
คอมพิวเตอร์
- การใช้งานพื้นฐาน
- การใช้งานอินเตอร์เน็ต
- การใช้งานเฉพาะด้าน
- ออกแบบเว็บไซท์/พัฒนา
โปรแกรม
- ซ่อมบำรุงเครื่อง/แก้ไข
ปัญหาเฉพาะหน้าได้
ความสามารถทางการแสดงออก
ความสามารถทางด้านกีฬา
ความสามารถในการเป็นผู้นำ
รวม
2.46
2.65
2.54
1.80
1.78
1.73
2.79
2.77
2.35
1.68
1.59
2.41
2.33
2.42
2.23
0.57
0.59
0.56
0.80
0.84
0.79
0.56
0.63
0.70
0.66
0.70
0.78
1.02
0.84
0.40
ระดับปานกลาง
ระดับปานกลาง
ระดับปานกลาง
ระดับน้อย
ระดับน้อย
ระดับน้อย
ระดับปานกลาง
ระดับปานกลาง
ระดับปานกลาง
ระดับน้อย
ระดับน้อย
ระดับปานกลาง
ระดับปานกลาง
ระดับปานกลาง
ระดับปานกลาง
จากตาราง พบว่า
1. นักศึกษามีความสามารถพิเศษด้านภาษาอังกฤษพูด, อ่าน และเขียน ในระดับปานกลาง คือมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 2.46, 2.65 และ 2.54 ตามลำดับ
2. นักศึกษามีความสามารถพิเศษด้านภาษาอื่นๆ พูด, อ่าน และเขียน ในระดับน้อย คือมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 1.80, 1.78 และ 1.73 ตามลำดับ
42
3. นักศึกษามีความสามารถพิเศษด้านคอมพิวเตอร์การใช้งานพื้นฐาน, การใช้งานอินเตอร์เน็ต และการใช้งานเฉพาะด้าน 2.79, 2.77 และ2.35 ตามลำดับ และนักศึกษามีความสามารถพิเศษด้านคอมพิวเตอร์ออกแบบเว็บไซท์/พัฒนาโปรแกรม และซ่อมบำรุงเครื่อง/แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ ในระดับน้อย คือมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 1.68 และ1.59 ตามลำดับ
4. นักศึกษามีความสามารถทางการแสดงออกในระดับปานกลาง คือมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 2.41
5. นักศึกษามีความสามารถทางด้านกีฬาในระดับปานกลาง คือมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 2.33
6. นักศึกษามีความสามารถในการเป็นผู้นำในระดับปานกลาง คือมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 2.42
ตอนที่ 2 วิเคราะห์ระดับความคาดหวังของนักศึกษาจำแนกตามปัจจัย
ตารางที่ 3 ค่าเฉลี่ยของระดับความคาดหวังของปัจจัยที่ศึกษา
ปัจจัย
ค่าเฉลี่ย (X)
S.D.
การแปลผล
1. คะแนนสะสม
2. ความสามารถพิเศษ
3. โอกาสในการประกอบอาชีพใน
ภูมิลำเนา
4. ระดับรายได้ที่น่าพึงพอใจใน
ภูมิลำเนา
5. โอกาสการได้รับการยอมรับ
สถานภาพทางสังคมในภูมิลำเนา
6. ความผูกพันต่อครอบครัวและ
ชุมขน
7. โอกาสทางการศึกษาต่อในกรุงเทพฯ
2.78
2.23
3.19
3.15
3.40
3.86
3.38
2.78
0.40
0.56
0.47
0.51
0.55
0.52
ระดับปานกลาง
ระดับปานกลาง
ระดับปานกลาง
ระดับปานกลาง
ระดับปานกลาง
ระดับสูง
ระดับสูง
ซึ่งแสดงผลดังต่อไปนี้
1) นักศึกษามีคะแนนสะสมอยู่ในระดับปานกลาง คือมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 2.78
2) นักศึกษามีความสามารถพิเศษอยู่ในระดับปานกลาง คือมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 2.23
43
3) นักศึกษามีระดับความคาดหวังโอกาสในการประกอบอาชีพในภูมิลำเนาอยู่ในระดับปานกลาง คือ มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 3.19
4) นักศึกษามีระดับความคาดหวังระดับรายได้ที่น่าพึงพอใจในภูมิลำเนาลำเนาอยู่ในระดับปานกลาง คือ มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 3.15
5) นักศึกษามีระดับความคาดหวังโอกาสการได้รับการยอมรับสถานภาพทางสังคมใน ภูมิลำเนาอยู่ในระดับปานกลาง คือ มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 3.40
6) นักศึกษามีระดับความความผูกพันต่อครอบครัวและชุมขน อยู่ในระดับสูง คือมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 3.87
7) นักศึกษามีระดับความคาดหวังโอกาสทางการศึกษาต่อในกรุงเทพฯ อยู่ในระดับ ปานกลาง คือ มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 3.38
ตอนที่ 3 วิเคราะห์ระดับความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาของนักศึกษา
ตารางที่ 4 ค่าเฉลี่ยของระดับความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาของนักศึกษา
ประเด็นบ่งความตั้งใจ
คะแนนเฉลี่ย (X)
S.D.
การแปลผล
1. ก่อนที่จะเข้ามาศึกษาต่อใน
กรุงเทพฯ ตั้งใจว่าหลังสำเร็จ
การศึกษาแล้ว จะกลับภูมิลำเนา
2. เมื่อเข้ามาศึกษาต่อในกรุงเทพฯ แล้ว ระยะเวลา 3 ปี ผ่านไป ตั้งใจว่าหลัง สำเร็จการศึกษาแล้ว
จะกลับภูมิลำเนา
3. ปัจจุบันตั้งใจว่า เมื่อสำเร็จ
การศึกษาแล้ว จะกลับภูมิลำเนา
4. สภาพความเป็นอยู่ในกรุงเทพฯ
ยังคงทำให้ตั้งใจจะกลับภูมิลำเนา
หลังสำเร็จการศึกษา
รวม
3.38
3.67
3.76
3.85
3.78
0.99
0.90
0.96
0.92
0.85
ระดับปานกลาง
ระดับปานกลาง
ระดับสูง
ระดับสูง
ระดับสูง
44
จากตาราง แสดงค่าเฉลี่ยของระดับความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนา โดยแบ่งระดับช่วงคะแนน ดังนี้
1) แสดงระดับความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาของนักศึกษาก่อนที่จะเข้ามาศึกษาต่อในกรุงเทพฯ ว่าหลังสำเร็จการศึกษาแล้ว จะกลับภูมิลำเนามีระดับความตั้งใจอยู่ในระดับปานกลาง คือมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 3.38
2) แสดงระดับความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาของนักศึกษาเมื่อเข้ามาศึกษาต่อในกรุงเทพฯ แล้ว ระยะเวลา 3 ปี ผ่านไป ว่าหลังสำเร็จการศึกษาแล้ว จะกลับภูมิลำเนามีระดับความ ตั้งใจอยู่ในระดับปานกลาง คือมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 3.67
3) แสดงระดับความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาของนักศึกษาในปัจจุบัน ว่าหลังสำเร็จการศึกษาแล้ว จะกลับภูมิลำเนามีระดับความตั้งใจอยู่ในระดับสูง คือมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 3.76
4) แสดงระดับความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาของนักศึกษาถึงสภาพความเป็นอยู่ในกรุงเทพฯ ยังคงทำให้มีระดับความตั้งใจจะกลับภูมิลำเนาอยู่ในระดับสูง คือมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 3.85
5) ค่าเฉลี่ยของระดับความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาของนักศึกษาหลังสำเร็จการศึกษา มีระดับความตั้งใจสูง คือมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 3.79
ตอนที่ 4 วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาของนักศึกษา
ตัวแปรหุ่น ตั้งไว้ ดังนี้
Y = ความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาของนักศึกษา
(X1) = ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา
(X2) = ความสามารถพิเศษ
(X3) = โอกาสในการประกอบอาชีพในภูมิลำเนา
(X4) = ระดับรายได้ที่น่าพึงพอใจในภูมิลำเนา
(X5) = โอกาสการได้รับการยอมรับสถานภาพทางสังคมในภูมิลำเนา
(X6) = ความผูกพันต่อครอบครัวและชุมชน
(X7) = โอกาสทางการศึกษาต่อในกรุงเทพฯ
ตารางที่ 5 วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนา
Y
(X1)
(X2)
(X3)
(X4)
(X5)
(X6)
(X7)
0.067
-.011
0.379**
0.497**
0.259**
0.437**
-0.206**
ที่ระดับนัยสำคัญ .001
45
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation coefficient) พบว่า
(X1) ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา ไม่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจกลับภูมิลำเนาของนักศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01
(X2) ความสามารถพิเศษ ไม่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจกลับภูมิลำเนาของนักศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01
(X3) โอกาสในการประกอบอาชีพในภูมิลำเนา มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความตั้งใจกลับภูมิลำเนาของนักศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r =0.379 , P< 0.01) (X4) ระดับรายได้ที่น่าพึงพอใจในภูมิลำเนา มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความตั้งใจกลับภูมิลำเนาของนักศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r =0.497 , P< 0.01) (X5) โอกาสการได้รับการยอมรับสถานภาพทางสังคมในภูมิลำเนา มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการความตั้งใจกลับภูมิลำเนาของนักศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r =0.259 , P< 0.01) (X6) ความผูกพันต่อครอบครัวและชุมชน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความตั้งใจกลับภูมิลำเนาของนักศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r =0.437 , P< 0.01) (X7) โอกาสทางการศึกษาต่อในกรุงเทพฯ มีความสัมพันธ์ทางลบกับความตั้งใจกลับภูมิลำเนาของนักศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -0.206 , P< 0.01) จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาของ นักศึกษา จะพบว่าตัวแปรที่ไม่มีความสัมพันธ์ต่อความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาของนักศึกษา ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา และความสามารถพิเศษ ซึ่งตัวแปรดังกล่าว ไม่สอดคล้องกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้ สรุปปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ภาคปกติ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้แก่ ตัวแปร โอกาสในการประกอบอาชีพในภูมิลำเนา ระดับรายได้ที่น่าพึงพอใจในภูมิลำเนา โอกาสการได้รับการยอมรับสถานภาพทางสังคมในภูมิลำเนา ความผูกพันต่อครอบครัวและชุมขน และโอกาสทางการศึกษาต่อในกรุงเทพฯ ซึ่งจะนำตัวแปรดังกล่าวมาวิเคราะห์หาระดับความสัมพันธ์ในสมการถดถอยพหุคูน ต่อไป ตารางที่ 6 จากผลลัพท์ที่ได้ สามารถนำมาวิเคราะห์ถดถอยพหุสำหรับนำมาสร้างพยากรณ์ความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนา ตารางก่อนปรับ ตัวแปร ค่าสัมประสิทธิ์ถดถอย (bi ) ค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยที่แปรค่า (BI) ความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน ค่าสถิติ t ค่านัยสำคัญ (Sig) 46 ของ (SE.B) 1. โอกาสในการประกอบอาชีพในภูมิลำเนา (X3) 2. ระดับรายได้ที่น่าพึงพอใจในภูมิลำเนา (X4) 3. โอกาสการได้รับการยอมรับสถานภาพทางสังคมในภูมิลำเนา (X5) 4. ความผูกพันต่อครอบครัวและชุมชน(X6) 5. โอกาสทางการศึกษาต่อในกรุงเทพฯ (X7) ค่าคงที่ 0.086 0.603 0.0582 0.474 -0.381 0.860 0.057 0.337 0.035 0.311 -0.235 - 0.109 0.126 0.088 0.077 0.079 0.424 0.787 4.771 0.664 6.150 -4.814 2.031 0.432 .000 0.507 .000 .000 0.043 R = 0.618 R2 = 0.382 R2adj = 0.372 Standard error of estimate = 0.6687 F = 36.372 Sig = 0.000 จากตาราง 7 จะเห็นว่าตัวแปรอิสระทั้ง 5 ตัวแปร คือ โอกาสในการประกอบอาชีพในภูมิลำเนา ระดับรายได้ที่น่าพึงพอใจในภูมิลำเนา โอกาสการได้รับการยอมรับสถานภาพทางสังคมในภูมิลำเนา ความผูกพันต่อครอบครัวและชุมชน โอกาสทางการศึกษาต่อในกรุงเทพฯ มีตัวแปร จำนวน 3 ตัว คือ ระดับรายได้ที่น่าพึงพอใจในภูมิลำเนา ความผูกพันต่อครอบครัวและชุมชน โอกาสทางการศึกษาต่อในกรุงเทพฯ ที่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาของนักศึกษา ตารางที่ 7 วิเคราะห์ถดถอยพหุสำหรับนำมาสร้างพยากรณ์ความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนา ตารางปรับใหม่ ตัวแปร ค่าสัมประสิทธิ์ถดถอย (bi ) ค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยที่แปรค่า (BI) ความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของ (SE.B) ค่าสถิติ t ค่านัยสำคัญ (Sig) 1. โอกาสทางการศึกษาต่อ ในกรุงเทพฯ(X7) 2. ความผูกพันต่อ ครอบครัวและชุมชน (X6) 3. ระดับรายได้ที่น่าพึง -0.353 0.497 0.694 -4.739 6.722 8.010 0.75 0.74 0.87 -4.739 6.722 8.010 .000 .000 .000 47 พอใจในภูมิลำเนา (X4) ค่าคงที่ 0.867 2.127 0.407 2.127 .034 R = 0.616 R2 = 0.380 R2adj = 0.373 Standard error of estimate = 0.6677 F = 60.393 Sig = 0.000 จากผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณได้สมการพยากรณ์ความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนา ดังนี้ ความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนา y = 2.127 + 0.694(X4) + 0.497(X6) – 0.353(X7) ซึ่งตัวแปรอิสระทั้ง 3 ตัว สามารถอธิบายความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนา ได้ร้อยละ 38.0 สรุปได้ว่า จากสมมุติฐานข้อ 2 ที่ตั้งไว้ว่า ตัวแปร 3 ตัวต่อไปนี้ คือ (X1)ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา (X2) ความสามารถพิเศษ (X7) โอกาสทางการศึกษาต่อในกรุงเทพฯ มีความสัมพันธ์ทางลบกับความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนา มีตัวแปร ทั้งสิ้นจำนวน 1 ตัวที่ยอมรับสมมติฐาน คือ (X7) โอกาสทางการศึกษาต่อในกรุงเทพฯ สมมติฐาน ข้อ 3 ที่ตั้งไว้ว่า ตัวแปร 4 ตัวต่อไปนี้ คือ (X3) โอกาสในการประกอบอาชีพในภูมิลำเนา (X4) ระดับรายได้ที่น่าพึงพอใจในภูมิลำเนา (X5) โอกาสการได้รับการยอมรับสถานภาพทางสังคมในภูมิลำเนา (X6) ความผูกพันต่อครอบครัวและชุมชน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความ ตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนา มีตัวแปร ทั้งสิ้นจำนวน 2 ตัวที่ยอมรับสมมติฐาน คือ (X4) ระดับรายได้ที่น่าพึงพอใจใน ภูมิลำเนา และ(X6) ความผูกพันต่อครอบครัวและชุมชน บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ ความมุ่งหมายของการศึกษา การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive Research) โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา คือ 1. ศึกษาความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาของนักศึกษา ภาคปกติ ชั้นปีที่ 4 สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 2. ศึกษาถึงปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนา ของนักศึกษา ภาคปกติ ชั้นปีที่ 4 สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษา ภาคปกติ ชั้นปีที่ 4 สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำนวน 300 คน คิดเป็นร้อยละ 100 จากสาขา ครุศาสตร์ จำนวน 87 คน สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จำนวน 85 คน สาขาวิทยาการจัดการ จำนวน 83 คน และสาขา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 45 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่าง แบบมีระบบ (Systematic Random Sampling) ระหว่าง 1 กรกฎาคม – 31 กรกฎาคม 2545 เครื่องมือที่ใช่ในการศึกษาค้นคว้า เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองมี 4 ตอนคือ ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของนักศึกษาภาคปกติ ชั้นปีที่ 4 สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ตามตัวแปรที่ศึกษา ตอนที่ 2 แบบสอบถามวัดระดับความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาของนักศึกษา จำนวน 4 ข้อ เป็นแบบประมาณค่า 5 ระดับ คือ กลับแน่ ค่อนข้างแน่ ไม่แน่ใจ ไม่กลับ ไม่กลับแน่ ตอนที่ 3 แบบสอบถามวัดระดับความคาดหวังของปัจจัยที่ศึกษา จำนวน 27 ข้อ เป็นแบบประมาณค่า 5 ระดับ คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยมาก ตอนที่ 4 แบบสอบถามวัดระดับเหตุผลของปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจย้ายถิ่น จำนวน 10 ข้อ เป็นแบบประมาณค่า 5 ระดับ คือ กลับแน่ ค่อนข้างแน่ ไม่แน่ใจ ไม่กลับ ไม่กลับแน่ 49 การเก็บรวบรวมข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้ขอความอนุเคราะห์จากอาจารย์ประจำวิชา ที่สอนนักศึกษาภาคปกติ ชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2545 ในการขออนุญาตเก็บข้อมูลนักศึกษาที่เป็นกลุ่มตัวอย่างช่วงก่อนหรือหลังจากชั่วโมงสอน และผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม-31 กรกฎาคม 2545 จำนวน 300 คน เมื่อได้ข้อมูลทั้งหมดแล้ว นำมาตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบสอบถาม แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC+ (Statistical Package for the Social Science/Personal Computer Plus) โดยดำเนินการวิเคราะห์ตามลำดับขั้นตอนดังนี้ ตอนที่ 1 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของนักศึกษาภาคปกติ ชั้นปีที่ 4 สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โดยการแจกแจงความถี่ คิดเป็นร้อยละ แล้วนำมาเสนอในรูปตารางประกอบความเรียง ตอนที่ 2 วิเคราะห์ระดับความคาดหวังของนักศึกษา จำแนกตามปัจจัยที่ศึกษา โดยการแจงคะแนนเฉลี่ย แล้วนำมาเสนอในรูปตารางประกอบความเรียง ตอนที่ 3 วิเคราะห์ระดับความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาขอนักศึกษา โดยการแจงคะแนนเฉลี่ย แล้วนำมาเสนอในรูปตารางประกอบความเรียง ตอนที่ 4 วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ศึกษากับความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาของนักศึกษา โดยการหาระดับความสัมพันธ์ และหาสมการพยากรณ์ความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาของนักศึกษา 50 สรุปผลการศึกษาค้นคว้า ผลการศึกษาค้นคว้า 1. ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง ภูมิลำเนาเดิม ภูมิลำเนาเดิมของนักศึกษามาจากภาคกลางมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 51.3 รองลงมาคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คิดเป็นร้อยละ 21.3 และเป็นผู้ที่มีภูมิลำเนาเดิมอยู่นอกเขตอำเภอเมือง มากกว่าผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำเภอเมือง คือเป็นผู้ที่อยู่นอกเขตอำเภอเมือง ร้อยละ 71.00 คะแนนสะสม คะแนนสะสมของนักศึกษาส่วนใหญ่อยู่ในช่วงคะแนนสะสมระหว่าง 2.50-2.99 มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 41.3 รองลงมาคือ อยู่ในช่วง คะแนนสะสมระหว่าง 2.00-2.49 คิดเป็นร้อยละ 36.7 ความสามารถพิเศษ ความสามารถพิเศษของนักศึกษา ซึ่งแยกออกเป็นประเด็นความสามารถดังต่อไปนี้ ความสามารถในการพูด-อ่าน-เขียน ภาษาอังกฤษ ความสามารถในการพูด-อ่าน-เขียน ภาษาอื่นๆ ทักษะในการใช้งานคอมพิวเตอร์ ความสามารถในการแสดงออก ความสามารถด้านกีฬา และความสามารถในการเป็นผู้นำ ซึ่งความสามารถพิเศษของนักศึกษาส่วนใหญ่ อยู่ในระดับปานกลาง คือได้ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 2.23 2. ระดับความคาดหวังของนักศึกษา จำแนกตามปัจจัยที่ศึกษา ดังต่อไปนี้ นักศึกษาคาดหวังโอกาสในการประกอบอาชีพในภูมิลำเนา อยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 3.188 คาดหวังระดับรายได้ที่น่าพึงพอใจในภูมิลำเนา อยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 3.15คาดหวังโอกาสได้รับการยอมรับสถานภาพทางสังคมในภมิลำเนาอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 3.40 มีความผูกพันต่อครอบครัวและชุมชน อยู่ในระดับสูง ค่าเฉลี่ย 3.87 และมีความคาดหวังทางการศึกษาต่อในกรุงเทพฯ อยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 3.38 3. ระดับความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาหลังสำเร็จการศึกษา ของนักศึกษาภาคปกติ ชั้นปีที่ 4 สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา นักศึกษามีความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาหลังสำเร็จการศึกษา อยู่ในระดับสูง มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.78 ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 1 4. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาของนักศึกษา ปัจจัยโอกาสทางการศึกษาต่อในกรุงเทพฯ มีความสัมพันธ์ทางลบกับความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 แต่ปัจจัยผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาและปัจจัยความสามารถพิเศษ ไม่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 51 ปัจจัยระดับรายได้ที่น่าพอใจในภูมิลำเนา และปัจจัยความผูกพันต่อครอบครัวและชุมชนมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01แต่ปัจจัยโอกาสในการประกอบอาชีพในภูมิลำเนา ปัจจัยการได้รับการยอมรับสถานภาพทางสังคมในภูมิลำเนาไม่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อภิปรายผล การศึกษาความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาของนักศึกษาภาคปกติ ชั้นปีที่ 4 สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ผู้วิจัยนำผลการศึกษาค้นคว้ามาอภิปรายในประเด็นที่สำคัญและตามสมมติฐาน ดังนี้ สมมติฐานข้อที่ 1 นักศึกษาภาคปกติ ชั้นปีที่ 4 สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มีระดับความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาต่ำ ผลการศึกษาครั้งนี้พบว่า นักศึกษาภาคปกติ ชั้นปีที่ 4 สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มีระดับความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาสูง ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 1 ผลการศึกษาครั้งนี้ สอดคล้องกับผลการศึกษาของ ทัศนีย์ เพชรจรัส (2525: 137) ที่พบว่า นักศึกษาคาดหวังจะกลับไปประกอบอาชีพในภูมิลำเนาของตนมีอัตราส่วนสูง คือ คิดเป็นร้อยละ 53.3 ของผู้ย้ายถิ่นทั้งหมด และผลการศึกษาของ ณัฐจิรา รุจิตระการโชติกุล ที่พบว่า ประชาชนชุมชนแออัดจำนวนมาก คือร้อยละ 78.8 ที่ตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาเดิม เพราะประชากรในชุมชนแออัดในกรุงเทพฯ มีความผูกพันกับครอบครัวในภูมิลำเนาเดิมของตนมาก จึงมีแนวโน้มที่จะกลับภูมิลำเนาเดิมสูง แต่ไม่สอดคล้องกับการศึกษาของ ชมภูนุช บุณยเนตร (2535:66) ที่พบว่า นักศึกษาในมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปีการศึกษา 2531 ร้อยละ 27.1 ที่ตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาเดิมหลังสำเร็จการศึกษา ทั้งนี้ อธิบายได้ว่า ผลการศึกษาของผู้วิจัยได้สอดคล้องกับแนวคิดเรื่องการย้ายถิ่นแบบ “วกกลับ” ซึ่ง Beale (Beale 1975:6 อ้างใน ประชา ตังควัฒนา 2536:27) พบว่าปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม เป็นตัวดึงดูดและผลักดันให้เกิดการย้ายถิ่นเข้าสู่เขตเมอง สาเหตุสำคัญ ได้แก่ ปัจจัยทางเศรษฐกิจเป็นหลัก เช่น ภาวะการว่างงาน การมีตำแหน่งที่มากกว่าในเขตเมือง การมีโอกาสได้งานมากกว่า ซึ่งเมื่ออธิบายถึงเหตุที่ทำให้เกิดการย้ายถิ่นแบบ “วกกลับ” ได้เช่นเดียวกัน ในขณะที่ประเทศไทยได้รับผลจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบให้สภาวะการณ์ของประเทศ เปลี่ยนแปลงไป เกิดการว่างงานในกรุงเทพฯ และเมืองใหญ่ และเกิดการคืนถิ่นของแรงงานเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้เกิดความไม่มั่นใจว่าจะสามารถหางานในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจของประเทศยังไม่เสถียรภาพ การกลับสู่ภูมิลำเนาจึงเป็นอีกทางเลือกที่ดีกว่า อีกทั้งจากผลการวิจัยพบว่า นักศึกษามีความผูกพันกับครอบครัวและชุมชนสูง ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดเกี่ยวกับความผูกพันต่อพื้นที่ของผู้ย้ายถิ่น (Davenzo and Morrison 1983:447-453 อ้าง 52 ใน ณัฐจิภา รุจิตระการโชติกุล 2538:28) โดยอธิบายว่า เมื่อผู้ย้ายถิ่นคิดจะย้ายถิ่นอีกครั้ง ผู้ย้ายถิ่นมักจะพิจารณาท้องถิ่นเดิมที่ตนเคยอาศัยอยู่มาก่อนเป็นแหล่งสุดท้ายของการย้ายถิ่นครั้งใหม่ เพราะ ผู้ย้ายถิ่นมีความผูกพันกับท้องถิ่นเดิม และญาติพี่น้อง และการเป็นที่ยอมรับของคนในพื้นที่ ซึ่งหากผู้ย้ายถิ่นมีความผูกพันกับท้องถิ่นเดิมมาก ก็จะมีโอกาสที่จะย้ายถิ่นกลับท้องถิ่นเดิมมาก สมมติฐานข้อที่ 2 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางลบกับความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาหลังสำเร็จการศึกษาของนักศึกษา ได้แก่ 4.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา 4.2 ความสามารถพิเศษ 4.3 โอกาสทางการศึกษาต่อในกรุงเทพฯ ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา ผลการศึกษาครั้งนี้ พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาไม่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาหลังสำเร็จการศึกษาของนักศึกษา ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานข้อ 2.1 ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ สุกัญญา ทองทรง (2531:153) พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่มีความสัมพันธ์กับความปรารถนาที่จะย้ายถิ่นเพื่อหางานทำของนักศึกษาวิทยาลัยครูปีสุดท้าย สังกัดสหวิทยาลัยอีสานใต้ และผลการศึกษา ของธีระพร พิไลวงศ์ (2543:117) ที่พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักศึกษา ชั้นปีที่ 4 ในสถาบันราชภัฏเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจเลือกประกอบอาชีพ ภายใต้ภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ และได้ผลสอดคล้องกับ อรอนงค์ แจ่มผล (2525:69) ศึกษาพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกอาชีพของนักศึกษา และผลการศึกษาของ สุมาลี จุลจิม (2540:124) ที่พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในการเลือกประกอบอาชีพของนักศึกษา ผลการศึกษาครั้งนี้ไม่สอดคล้องกับ เพอรุคซี (Perucci 1970:451-463 อ้างใน หิรัญ ลิ้มสุวรรณ 2533:28) ได้ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาที่มีต่อการย้ายถิ่นอันเกี่ยวกับความต้องการเลื่อนอาชีพ พบว่า ผู้ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงมีการย้ายถิ่นมากกว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ ทั้งนี้อธิบายได้ว่า เมื่อเกิดภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจอาจเป็นเหตุผลสำคัญที่ส่งผลให้ระดับความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาหลังสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาสูงมากขึ้น เนื่องจากปัญหาการว่างงานและคนตกงานในเมองใหญ่ การกลับไปสู่ภูมิลำเนา ก็อาจไม่แน่ใจว่าจะได้อาชีพในภูมิลำเนา แต่การกลับ ภูมิลำเนายังมีโอกาสในการได้งาน หรือสร้างงานในท้องถิ่นของตนได้ง่ายกว่า ผลการศึกษาจึงพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาไม่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาของนักศึกษา 53 ความสามารถพิเศษ ผลการศึกษาครั้งนี้ พบว่า ความสามารถพิเศษไม่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาหลังสำเร็จการศึกษาของนักศึกษา ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานข้อ 2.2 ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของสุกัญญา ทองทรง (2531:153) พบว่า ความสามารถพิเศษไม่มีความสัมพันธ์กับความปรารถนาที่จะย้ายถิ่นเพื่อหางานทำของของนักศึกษาวิทยาลัยครูปีสุดท้าย สังกัดสหวิทยาลัยอีสานใต้ และผลการศึกษาของ ธีระพร พิไลวงศ์ (ธีระพร พิไลวงศ์ 2543:119) พบว่า ความสามารถพิเศษของนักศึกษา ชั้นปีที่ 4 ในสถาบันราชภัฏเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนอไม่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจเลือกประกอบอาชีพ ภายใต้ภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ อธิบายได้ว่า จากผลการศึกษาครั้งนี้ อาจเป็นเพราะคะแนนความสามารถพิเศษของนักศึกษาในด้านต่างๆ ที่นอกเหนือจากในหลักสูตร เช่น การใช้ภาษาอังกฤษ ภาษาอื่นๆ ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ความสามารถทางการแสดงออก ความสามารถด้านกีฬา และความสามารถในการเป็น ผู้นำของนักศึกษา อยู่ในระดับที่อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง ไม่สูงมากนัก มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 2.23 จากเกณฑ์การวัด 4 ระดับ อาจทำให้นักศึกษาไม่มั่นใจว่า ระดับความสามารถของตนจะสามารถหางานในกรุงเทพฯ หรือในภูมิลำเนาของตนได้ จึงทำให้ผลการวิจัยพบว่าความสามารถพิเศษไม่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาเดิม และจากรายงานติดตามผลผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี จากสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ปีการศึกษา 2543-2544 (สำนักวิจัยและบริการวิชาการ:2545) พบว่า ปัญหาที่บัณฑิตพบในการไปสมัครงาน คือ การขาดคุณสมบัติเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่จบ เช่น ภาษา คอมพิวเตอร์ ฯลฯ จำนวน 412 คน คิดเป็นร้อยละ 29.00 กอร์ปกับ ภาวะการว่างงาน การตกงาน ที่เป็นปัญหาสืบเนื่องมาจากภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ ทำให้ภาวะการแข่งขันของตลาดแรงงานสูงขึ้นมาก การที่นายจ้างจะคัดเลือกบุคลากรที่มีประสบการณ์สูงเป็นอันดับแรกรวมถึงผู้ที่มีความรู้ ความสามารถเฉพาะตัว รวมถึงคุณสมบัติอื่นๆ ย่อมจะส่งผลให้เกิดความไม่มั่นใจให้แก่ นักศึกษาที่กำลังจะสำเร็จการศึกษาที่ยังขาดประสบการณ์ว่าความสามารถของตนที่มีจะสามารถหางานในกรุงเทพฯ หรือในภูมิลำเนาของตนได้ โอกาสการศึกษาต่อในกรุงเทพฯ ผลการศึกษาครั้งนี้ พบว่า โอกาสการศึกษาต่อในกรุงเทพฯ มีความสัมพันธ์ทางลบต่อความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาหลังสำเร็จการศึกษาของนักศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งเป็นไปตามสมติฐานข้อที่ 2.3 ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ ซูซาน (SuSan Mowat 1977) พบว่า สาเหตุของการย้ายถิ่นเข้าสู่กรุงเทพฯ ผู้ย้ายถิ่นที่มีการศึกษาสูง มักจะย้ายถิ่นเพื่อให้มีโอกาสในการศึกษาสูงขึ้น จะเห็นได้ว่า การที่นักศึกษาสร้างโอกาสให้ตัวเองมีการศึกษาที่สูงขึ้นเป็นการพัฒนาตนเองให้มีคุณวุฒิ 54 ทางการศึกษาสูงขึ้น เป็นข้อได้เปรียบในการแข่งขันในตลาดแรงงาน ทำให้นักศึกษามีโอกาสได้งานในกรุงเทพฯสูง ทำให้ความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาลดลงไปด้วย สมมติฐานข้อที่ 3 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกต่อความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาเดิมของนักศึกษา ได้แก่ 3.1 โอกาสในการประกอบอาชีพในภูมิลำเนา 3.2 ระดับรายได้ที่น่าพอใจในภูมิลำเนา 3.3 การได้รับการยอมรับสถานภาพทางสังคมในภูมิลำเนา 3.4 ความผูกพันต่อครอบครัวและชุมชน โอกาสในการประกอบอาชีพในภูมิลำเนา ผลการศึกษาครั้งนี้ พบว่า โอกาสในการประกอบอาชีพในภูมิลำเนา ไม่มีความสัมพันธ์ต่อความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาหลังสำเร็จการศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมุติฐานข้อที่ 3.1 ไม่สอดคล้องกับคำกล่าวของ ชมพูนุช บุญยเนตร (2535:32) ที่กล่าวว่า “หากบุคคลมีโอกาสที่จะพัฒนาฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมตามความมุ่งหวัง และประกอบอาชีพที่มีเกียรติและรายได้ค่อนข้างดีแล้ว บุคคลย่อมไม่ละทิ้งถิ่นกำเนิดหรือท้องถิ่นที่อาศัยนั้นไป” ผลการศึกษาครั้งนี้อธิบายได้ว่า เมื่อเกิดภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ แรงงานจำนวนมากถูกให้ออกจากงานและกลับไปในชนบท รวมถึงบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจำนวนมากในแต่ละปี ทว่าในภาคเกษตรกรรมในชนบท ก็ไม่สามารถรองรับผู้ที่กลับไป ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจที่หดตัวลง ทั้งในภาคอุตสาหกรรม ก่อสร้าง และบริการ ทำให้มีคนว่างงานจำนวนมาก โดยอัตราการว่างงานในช่วงหลังจากเกิดภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ (พ.ศ.2542-2543) มีจำนวนคนว่างงานประมาณ 1.4 ล้านคน (สมาคมนักประชากรไทย :2543) และผลการศึกษาของ พิทักษ์สิทธิ์ ฉายะภูติ และคณะ (2541:272-273) พบว่า มีผู้ว่างงานและย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาเดิมสูงถึงร้อยละ 47.6 โดยร้อยละ 28.1 ว่างงานและย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาเดิม เนื่องจากบริษัทปลดคนงานออก จากเหตุผลดังกล่าว มีผลให้เกิดความไม่มั่นใจต่อนักศึกษาว่าเมื่อกลับภูมิลำเนาแล้วจะมีแหล่งงานรองรับ รวมถึงค่านิยมของผู้ปกครองและตัวนักศึกษาเองที่ต้องการทำงานในหน่วยงานที่ให้ผลตอบแทนรายเดือน ไม่ได้คิดจะกลับไปสร้างงานหรือพัฒนาอาชีพในชุมชนท้องถิ่น (จงกลนี ชุติมาเทวินทร์ :2533) ทำให้มองข้ามโอกาสการประกอบอาชีพของตนเองในภูมิลำเนาว่าในท้องถิ่นไม่มีโอกาสที่จะสร้างอาชีพให้ตนได้ 55 ระดับรายได้ที่น่าพอใจในภูมิลำเนา ผลการศึกษาครั้งนี้ พบว่า ระดับรายได้ที่น่าพอใจในภูมิลำเนา มีความสัมพันธ์ทางบวกต่อความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาหลังสำเร็จการศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งเป็นไปตาม สมมติฐานข้อที่ 3.2 ซึ่งสอดคล้องกับแบบจำลองความคาดหวังในรายได้ของการย้ายถิ่นของ Torado (Torado 1994 อ้างใน ธนกร จาตะวงษ์ 2540:17) กล่าวว่า ในกระบวนการตัดสินใจในการย้ายถิ่นนั้น ผู้ที่จะทำการย้ายถิ่นจะทำการเปรียบเทียบระหว่างระดับรายได้ในชนบทและในเมือง หากมีผลตอบแทนที่คุ้มค่าก็จะมีการตัดสินใจย้ายถิ่นเกิดขึ้น รวมถึง ทฤษฎีการเร้า (cur-stimulus theory) ที่ไพบูลย์ เทวรักษ์ (2523:39) ได้สรุปไว้ว่าความคาดหวังจะได้รับสิ่งที่ดีกว่าพื้นฐานของตน มีส่วนก่อให้เกิดการแสดงพฤติกรรม จะเห็นได้ว่า ระดับรายได้ที่น่าพอใจในเป็นการคาดหวังจะได้รับรายได้ที่น่าพึงพอใจจากการทำงานในภมิลำเนา ซึ่งเมื่อนักศึกษาคาดหวังจะได้รับรายได้ที่น่าพอใจในภูมิลำเนาสูงจะส่งผลให้ นักศึกษามีความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาสูงตามไปด้วย การได้รับการยอมรับสถานภาพทางสังคมในภูมิลำเนา ผลการศึกษาครั้งนี้ พบว่า การได้รับการยอมรับสถานภาพทางสังคมในภูมิลำเนา ไม่มีความสัมพันธ์ทางบวกต่อความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาหลังสำเร็จการศึกษา ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 3.3 ทั้งนี้อธิบายได้ว่า นักศึกษาอาจจะมีความมุ่งมั่นที่จะสนองตอบความต้องการพื้นฐานด้านวัตถุเป็นอันดับแรก เช่น การมุ่งหางานทำ เพื่อมีรายได้ที่สามารถเกื้อหนุนปัจจัยพื้นฐานให้ตนเองและครอบครัวก่อน ตามลำดับขั้นทฤษฎีแรงจูงใจของมาสโลว์ (Maslow 1974 อ้างใน ฉวีวรรณ จันทร์รัตน์ 2540:73) ที่ระบุว่าบุคคลจะมีความต้องการจากระดับพื้นฐานมากที่สุดไปยังระดับสูงสุด ดังสมมติฐานว่า ความต้องการของบุคคลมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของเขาตนเอง และความต้องการของบุคคลจะถูกเรียงลำดับตามความสำคัญหรือเป็นลำดับชั้นจากความต้องการพื้นฐานไปจนถึง ความต้องการที่ซับซ้อน รวมถึงการที่บุคคลจะก้าวสู่ความต้องการระดับต่อไป เมื่อความต้องการระดับต่ำลงมาถูกตอบสนองอย่างดีแล้วเท่านั้น สอดคล้องกับผลการศึกษาครั้งนี้ สิ่งจูงใจด้านปัจจัยพื้นฐาน เช่น รายได้ที่พึงพอใจและการมีคุณภาพชีวิตที่ดี เป็นสิ่งที่นักศึกษาให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก รวมถึงการที่นักศึกษาเข้ามาศึกษาต่อในกรุงเทพฯ อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปัจจัยด้านเศรษฐกิจเป็นปัจจัยหลักในการดำเนินชีวิต มากกว่าการได้รับการยอมรับสถานภาพทางสังคม ความผูกพันต่อครอบครัวและชุมชน 56 ผลการศึกษาครั้งนี้ พบว่า ความผูกพันต่อครอบครัวและชุมชน มีความสัมพันธ์ทางบวกต่อความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาหลังสำเร็จการศึกษา ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 3.4 ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาของ ณัฐจิรา รุจิตระการโชติกุล (2538:64) ที่ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาเดิมของประชากรชุมชนแออัดในกรุงเทพมหานคร พบว่า ประชากร ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 78.8) มีความตั้งใจจะย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนา เนื่องจากมีความผูกพันกับภูมิลำเนาเดิมสูง และผลการศึกษาของ ชมภูนุช บุณยเนตร (ชมภูนุช บุณยเนตร 2535:67) ที่ศึกษานักศึกษาปีสุดท้ายของมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปีการศึกษา 2531 พบว่า ความผูกพันต่อครอบครัวและชุมชนมีความสัมพันธ์กับความตั้งใจย้ายถิ่น หากแต่ไม่สอดคล้องกับผลการศึกษาของ ชมภูนุช บุณยเนตร ในส่วนที่พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ (ร้อยละ 51.67) มีความผูกพันกับ ครอบครัวและภูมิลำเนาค่อนข้างต่ำ และผลการศึกษาของ อารี เพชรผุด (อารี เพชรผุด 2527:45-87) ที่พบว่า นักศึกษาวิทยาลัยครูบางกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มที่มีภูมิลำเนาในชนบทมีความรู้สึกรักหรือผูกพันกับถิ่นกำเนิดของตนน้อย แต่ในงานวิจัยครั้งนี้ พบว่า นักศึกษาที่มีภูมิลำเนาอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีระดับความผูกพันต่อครอบครัวและชุมชนสูง ทั้งนี้ อธิบายได้ว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีการสื่อสารที่ก้าวล้ำทันสมัย เข้ามามีบทบาทในการเป็นสื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัวและในชุมชน กับผู้ย้ายถิ่น ให้สานความสัมพันธ์ให้ ผูกพันระหว่างกันได้ง่ายยิ่งขึ้นกว่าสมัยก่อน ความถี่จากการรับสารของคนในครอบครัวและชุมชน ทำให้ผู้ย้ายถิ่นยังคงระลึกถึงความเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวและชุมชนนั้นๆ สูง ทำให้นักศึกษามีความผูกพันกับครอบครัวและชุมชนสูงขึ้น ข้อเสนอแนะจากการวิจัย 1. จากผลการศึกษาพบว่า ระดับความสามารถพิเศษของนักศึกษายังอยู่ในระดับปานกลาง ไม่สูงมากนัก ซึ่งจะมีผลอย่างยิ่ง เมื่อนักศึกษาสำเร็จการศึกษาแล้วก้าวเข้าสู่ภาวะการแข่งขันในตลาดแรงงาน หากได้รับการสนับสุนจากสถาบันการศึกษาในการเสริมสร้างกิจกรรมพิเศษที่ช่วยส่งเสริม ประสบการณ์ และความสามารถพิเศษด้านต่างๆ ของนักศึกษาให้มีเพิ่มมากขึ้น จะเป็นการสร้างโอกาสให้นักศึกษามีความได้เปรียบในการแข่งขันในตลาดแรงงาน รวมถึงเป็นการ พัฒนาศักยภาพของนักศึกษาที่กำลังจะเป็นกำลังสำคัญในการกลับสู่ชุมชนท้องถิ่น เพื่อนำประสบการณ์ความรู้ที่ได้รับไปเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่นได้ 2. จากผลการศึกษาที่พบว่า นักศึกษาที่มีภูมิลำเนาอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีระดับความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาสูงขึ้น ซึ่งอาจเกิดจากกระแสการปลูกฝังจิตสำนักรักท้องถิ่นให้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นผลดีอย่างยิ่งต่อการพัฒนาชนบทที่บุคลในวัยหนุ่มสาวจะกลับไปเป็นกำลังในการพัฒนาท้องถิ่น ทั้งนี้ รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรวางแผนเกี่ยวกับการสร้างงาน สร้างรายได้ 57 ตลาดจนการจัดการและการตลาดในชุมชนให้ดี สามารถรองรับการย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาของนักศึกษา ซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญในการดึงดูดให้นักศึกษาย้ายถิ่นกลับชุมชนของตนเพิ่มขึ้น 3. จากผลการศึกษาที่พบว่า โอกาสทางการศึกษาต่อในกรุงเทพฯ มีความสัมพันธ์ทางลบกับความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนา จะเห็นได้ว่า กรุงเทพมหานครเป็นแหล่งรองรับผู้ที่ต้องการเข้ามาศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาและบัณฑิตศึกษาจำนวนมาก ทั้งนี้ เมื่อเข้ามาศึกษาต่อในกรุงเทพฯ แล้วก็มักจะหาโอกาสขยับขยายโอกาสในการประกอบอาชีพในกรุงเทพฯ ด้วย ทำให้ความตั้งใจจะย้ายกลับภูมิลำเนาเดิมลดลง ทั้งนี้ ในความเป็นจริงแล้ว ผู้ย้ายถิ่นเข้ามาศึกษาต่อเป็นผู้อยู่ในวัยแรงงาน มีความกล้าเสี่ยง มีการศึกษา มีความคิดอ่าน และมีความสามารถในฐานะผู้ผลิตที่ดีกว่าสมาชิกอื่นใน ครัวเรือนด้วยกัน บุคคลเหล่านี้ จึงถือเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่จำเป็นในการพัฒนาท้องถิ่นให้มีความเจริญ ด้วยเหตุนี้ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ควรมีการพัฒนารูปแบบการศึกษาในท้องถิ่นให้มีศักยภาพเท่าเทียมกับในกรุงเทพหรือตัวเมืองใหญ่ๆ ทั้งในด้านชื่อเสียงของสถาบันและความหลากหลายของสาขาวิชา เพื่อตอบสนองความต้องการศึกษาต่อ อีกทั้งเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ทำให้ลดปริมาณของผู้ย้ายถิ่นเพื่อการศึกษาได้เป็นอย่างดี 4. จากการศึกษาพบว่า รายได้ที่น่าพึงพอใจ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมลำเนา ทำให้ทราบว่า แรงจูงใจหลักของการย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนา คือแรงจูงใจทางเศรษฐกิจ หากมีงานหรือโอกาสการสร้างงานที่ให้รายได้เป็นที่น่าพึงพอใจ บุคคลเหล่านี้ย่อมจะกลับไปยัง ภูมิลำเนาเดิม โดยเฉพาะหากได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนการสร้างอาชีพ หรือแหล่งอุตสาหกรรมขนาดย่อม ที่ไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อม จะเป็นการช่วยรักษาทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าในท้องถิ่นนั้นๆ ได้ดี ข้อเสนอแนะสำหรับงานวิจัยในครั้งต่อไป 1. หากมีการศึกษาวิจัยในลักษณะนี้อีก ควรจะศึกษาปัจจัยอื่นเพิ่มเติมอีก เพื่อจะได้ปัจจัยหลักที่สามารถอธิบายความผันแปรของความตั้งใจย้ายถิ่นกลับได้ครอบคลุมยิ่งขึ้น 2. การวิจัยครั้งต่อไปควรมีการศึกษาถึงความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาในลักษณะนี้อีก โดยขยายขอบข่ายให้กว้างขวางและครอบคลุมให้มากขึ้น 3. การวิจัยครั้งต่อไป ควรพิจารณาถึงประเด็นความสามารถพิเศษด้านอื่นๆ ที่สามารถสนับสนุนให้นักศึกษาสามารถสร้างงานได้เองในภูมิลำเนา หรือความสามารถพิเศษที่เพิ่มความสามารถในการแข่งขันในตลาดแรงงงานให้ครอบคลุมและชัดเจนยิ่งขึ้น 4. ควรมีการติดตามและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความตั้งใจย้ายถิ่นกับพฤติกรรมการ ย้ายถิ่นของนักศึกษาที่เกิดขึ้นจริง ทั้งนี้จะทำให้ได้รับทราบข้อมูลในเชิงลึกเกี่ยวกับ พฤติกรรมการย้ายถิ่นของนักศึกษาได้ชัดเจนยิ่งขึ้น 58 บรรณานุกรม กองวางแผนประชากรและกำลังคน สำนักพัฒนาแรงงานแห่งเอเซีย. “การจ้างงานกับแผนพัฒนา ฉบับที่ 6ของประเทศไทย” (เอกสารอัดสำเนา). 2528. การศึกษานอกโรงเรียน.พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542.กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด. 2542. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. สาขาวิชาที่ควรเน้น เพื่อรองรับเศรษฐกิจไทยในอนาคต. วารสารการศึกษาวันนี้.,114 (27 กันยายน–4 ตุลาคม 2544):31. จงกลนี ชุติมาเทวินทร์.โครงการบัณฑิตอาสาสมัครสาธารณสุขสู่โครงการบัณฑิตคืนถิ่น. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2533. จักรกฤษณ์ นรนิติผดุงการ.รายงานการวิจัยเรื่องความคาดหวังและความพร้อมรับของ เกษตรกรเกี่ยวกับการทำงานในชนบท.กรุงเทพฯ:กรมแรงงานและสวัสดิ์การสังคม. 2523. จุไรรัตน์ ก๋งเทียม. รายงานการวิจัยเรื่องการเลื่อนสถานภาพทางสังคมของผู้ย้ายถิ่นจากภาค ตะวันออกเฉียงเหนือในกรุงเทพมหานคร.กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2528. ฉวีวรรณ จันทรัตน์.รายงานการวิจัยเรื่องความตั้งใจในการทำงานหลังเกษียณอายุของราชการ อัยการ.กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยมหิดล. 2540. เฉลิมศรี ธรรมบุตรและคณะ.การย้ายถิ่นของผู้มีอาชีพขุดพลอย ณ กิ่งอำเภอบ่อไร่ จังหวัด ตราด.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2517. เฉลียว บุรีภักดี.ประชากรศึกษา.กรุงเทพฯ:เจริญวิทย์การพิมพ์. 2524. ชมภูนุช บุญยเนตร. รายงานการวิจัยเรื่องปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจในการ ย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาของนักศึกษาปีสุดท้ายของมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ ปีการศึกษา 2531.กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยมหิดล. 2535. ชวรีย์ ยาวุฒิ . รายงานการวิจัยเรื่องการเคลื่อนย้ายแรงงานจากชนบทสู่ตัวเมือง จากการศึกษา กรณีแหล่งอุตสาหกรรมในเขตอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ.กรุงเทพฯ :มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2518. ชัยวัฒน์ ปัญจพงษ์ และ ณรงค์ เทียนส่ง. ประชากรศาสตร์และประชากรศึกษา.กรุงเทพฯ :ไทยวัฒนาพาณิชย์. 2521. ไชยยงค์ มงคลกิจงาม. ท่าไห่ : กรณีอพยพเข้ากทม.วารสารเศรษฐกิจและสังคม. 19(มกราคม-กุมภาพันธ์ 2526) :44-50. ณัฐจิรา รุจิตระการโชติกุล.รายงานการวิจัยเรื่องปัจจัยที่สัมพันธ์กับความตั้งใจย้ายถิ่นกลับ 60 ภูมิลำเนาเดิมของประชาชนชุมชนแออัดในกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ :มหาวิทยาลัยมหิดล. 2538. ดำรง ฐานดี. สังคมวิทยาพัฒนาการ. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 2530. เติมศักดิ์ สุวรรณประเทศ. รายงานการวิจัยเรื่องการย้ายถิ่นเพื่อการศึกษาของนักเรียนฝึกหัด ครูในภาคเหนือ.กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2521. ทศพล เมืองฮาม. รายงานการวิจัยเรื่องการกลายเป็นเมืองกับความไม่ปลอดภัยในชีวิตและ ทรัพย์สินของประชาชน.กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2538. ทองคำ พรมดี.รายงานการวิจัยเรื่องปัจจัยบางประการที่เกี่ยวข้องกับความตั้งใจที่จะย้ายถิ่น ของนักเรียนชั้นประถมที่ 6 ปีการศึกษา 2531 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยมหิดล. 2532. ทัศนีย์ เพชรจรัส. รายงานการวิจัยเรื่องการย้ายถิ่นเพื่อการศึกษาและผลสืบเนื่องจากการ ย้ายถิ่นองนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒในกรุงเทพฯ.กรุงเทพฯ :จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2525. ธงชัย เตยะธิติ.รายงานการวิจัยเรื่องแบบแผนการย้ายถิ่นของประชากรในพื้นที่ที่จะพัฒนาเป็น เมืองหลัก:กรณีศึกษาเฉพาะจังหวัดชลบุรี.กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2529. ธรกร จาตะวงษ์.รายงานการวิจัยเรื่องปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการย้ายถิ่นของสมาชิกครัวเรือน เกษตร.กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2540. นิวัช โชติพงษ์พันธ์. รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษาปัญหาและการเลือก การผลิต การใช้และ การบริหารสื่อการสอนของนักศึกษาฝึกสอน สหวิทยาลัยศรีอยุธยาปีการศึกษา2530. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2531. เนาวรัตน์ พลายน้อย.รายงานการวิจัยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างยุทธวิธีการพัฒนาชนบทกับ การย้ายถิ่น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ. 2529. บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์.ระเบียบวิจัยทางสังคมศาสตร์.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์สามเจริญพาณิชย์ .2535. ประชา ตังควัฒนา. รายงานการวิจัยเรื่องแบบแผนการย้ายถิ่นของผู้ที่อยู่อาศัยในชุมชนแออัด กรุงเทพมหานคร.กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยมหิดล. 2536. ประชากรศาสตร์และประชาวรรณา.เอกสารประกอบการสอน.กรุงเทพฯ :มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2529. ประดิษฐ์ ชาสมบัติ. การเคลื่อนย้ายแรงงานจากชนบทเข้าสู่ในเมืองและประโยชน์ในเขต อุตสาหกรรม.กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2517. ประเวศ วะสี.ยุทธศาสตร์ปฏิรูปการศึกษา(1). มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 28 กันยายน 61 2544:6. ปราโมทย์ ประสาทกุล. ทฤษฎีที่น่าสนใจทางประชากร.กรุงเทพฯ. เรือนแก้วการพิมพ์. 2522. พนิตนาถ เย็นบุตร. รายงานการวิจัยเรื่องการย้ายถิ่นเพื่อการศึกษาของนักศึกษามหาวิทยาลัย รามคำแหง .กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2529. พรรณี เปรมัษเฐียร. รายงานการวิจัยเรื่องความนิยมของครัวเรือนชายชาวชนบทไทยในเรื่อง การประกอบอาชีพของคนหนุ่มสาว.กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2517. พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. ความสำคัญของการศึกษา. วิทยาจารย์ 82. กรุงเทพฯ. 2527. พัย จรรย์ศุภรินทร์. บัณฑิตตกงาน บทความเสนอในการอภิปรายเรื่อง “บัณฑิตตกงานคำถามที่รอคำตอบ”คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2526.(เอกสารอัดสำเนา) พิชิต พิทักษ์เทพสมบัติ และ สุวัฒนา วิบูลย์เศรษฐ์. สรุปผลการวิจัยของโครงการวิจัยต่อเนื่อง ระยะยาวเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และประชากรไทยเอกสารวิจัยหมายเลข 12. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2517. พิทักษ์สิทธิ์ ฉายะภูติ ไพฑูรย์ คัชมาตย์ เพียรศักดิ์ ภักดี และวรวุฒิ หิรัญรักษ์.การศึกษาสภาพ ทางเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนที่จนดักดานและครัวเรือนที่มีคนตกงานเนื่องจากสภาพทางเศรษฐกิจในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ในณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ (บรรณาธิการ)เศรษฐกิจการเมือง คนตนในภาวะวิกฤติ.เอดิสันเพลส โปรดักส์. กรุงเทพฯ. 2541หน้า 272-273 พมพ์ลักษณ์ ดีสวัสด์.รายงานการวิจัยเรื่องความตั้งใจย้ายถิ่นเพื่อหางานทำของนักศึกษา ผู้ใหญ่หลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนในพื้นที่ที่มีระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมแตกต่างกันในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง.กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยมหิดล. 2541. ไพบูลย์ เทวรัตน์.พ่อเราจะต้องย้ายจากที่นี่ อีกแล้วหรือ.วารสารประชากรศึกษา. 7(ตุลาคม 2529) : 39-45 ไพศาล ขำยัง.การอพยพแรงงานเข้าสู่อุตสาหกรรมในเขตจังหลัดชลบุรี.แรงงานสัมพันธ์. ปีที่ 4 ฉ6. 2515. เพ็ญแข ประจนปัจจนึก.รายงานการวิจัยเรื่องค่านิยมทางประชากรของสตรีย้ายถิ่น. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ. 2526. เพ็ญแข แสงแก้ว.การวิจัยทางสังคมศาสตร์.(พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2541. 62 เพ็ญพร ธีระสวัสดิ์. รายงานการวิจัยเรื่องปัจจัยอันเป็นมูลเหตุของการย้ายถิ่นของประชากรใน ชนบทของประเทศไทย.กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2513. มาสโลว์.(ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://www.krirk.ac.th/education /article 10.htm) ยาใจ ชูวิชา.รายงานผลการดำเนินธุรกิจปี 2544. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.2545. ยุทธดนัย สีดาหล้า.ปัจจัยด้านประชากรที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อครอบครัวในภูมิลำเนา เดิมของผู้ย้ายถิ่นในกรุงเทพมหานคร.กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยมหิดล. 2540. ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมศัพท์ทางสังคมวิทยา อังกฤษ-ไทย.(พิมพ์ครั้งที่ 2) .กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์อมรพริ้นติ้งกรุ๊ฟ. 2530. โรจนา ภักดีธรรม. รายงานการวิจัยเรื่องความซับซ้อนในสาเหตุการย้ายถิ่นเข้าสู่ กรุงเทพมหานคร.กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยมหิดล. 2528. ลัดดา สุวรรณเพิ่ม.รายงานการวิจัยเรื่องการย้ายถิ่นเพื่อการศึกษาของนักศึกษาในวิทยาลัยครู กลุ่มนครหลวง.กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2526. ลัดดาวัลย์ รอดมณ และศรันยา บุนนาค.การเข้าร่วมในโครงการสร้างงานในชนบทและการ ย้ายถิ่นในภาคใต้.ประชากรและการพัฒนาในประเทศไทย.กรุงเทพฯ :ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์. 2526. วงจันทร์ ตั้งทรงศักดิ์. “10 แบงค์ปล่อยเงินกู้เอสเอ็มอี”. ผู้จัดการรายวัน ฉบับวันที่ 16 มกราคม 2545:4 วรรณา ขอบอรัญ. รายงานการวิจัยเรื่องปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนา ของผู้ย้ายถิ่นในกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2542. วรรโณ ภักดี. ความสำนึกในความเป็นคนไทยของชาวเขา.กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2530. วราภรณ์ พันธุ์วงศ์กล่อม. รายงานการวิจัยเรื่องการเลื่อนฐานะทางสังคมของผู้นำธุรกิจ. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2523. วิจัยประชากรและสังคม สถาบันมหาวิทยาลัยมหิดล.รายงานทางวิชาการเรื่องทัศนะของขาว ชนบท จังหวัดตากที่มีต่อการย้ายคืนเข้ากรุงเทพมหานคร : การศึกษาในวาระสมโภช กรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี .เอกสารทางวิชาการหมายเลข 58.กรุงเทพฯ :สถาบันวิจัยประชากรและสังคม. 2525. วิทย์ วิศทเวทย์. ปรัชญาการศึกษาไทย 2411-2475. กรุงเทพฯ :สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2526 วิสาห์ วิทูธีระศานต์. รายงานการวิจัยเรื่องการย้ายถิ่นของนักศึกษาวิทยาลัยครูระดับ 63 ประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาในกรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2521. วิศิษฐ์ ประจวบเหมาะ.รายงานการวิจัยเรื่องการย้ายถิ่นจากชนบทเข้าสู่เมืองของประเทศไทย. กรุงเทพฯ:สถาบันประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2521. วิไล ตั้งสมคิด.การศึกษาไทย.ภาควิชาพื้นฐานการศึกษา คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฎธนบุรี. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์ โอเดียนสโตร์. 2542. ศันสนีย์ ฉิมโฉม. รายงานการวิจัยการศึกษาแรงจูงใจในการย้ายถิ่นมาเมืองพัทยา.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2529. ศุภวัลย์ พลายน้อยและเนาวรัตน์ พลายน้อย.สารศึกษาทางประชากร.กรุงเทพฯ :มหาวิทยาลัยมหิดล. 2525. สถาบันทรัพยากรมนุษย์.ผลการสำรวจความต้องการกำลังคนงานตลาดหนังสือพิมพ์ พ.ศ.2527. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2527 (เอกสารอัดสำเนา). สมาคมนักประชากรไทย.การประชุมวิชาการประชากรศาสตร์แห่งชาติ 2543.กรุงเทพฯ: สมาคมนักประชากรไทย. 2543. สมเกียรติ ชอบผล. รายงานการวิจัยเรื่องการเข้าสู่กำลังแรงงานของบัณฑิตสาขานิติศาสตร์ และสาขาศึกษาศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษา เมื่อปีการศึกษา 2525.กรุงเทพฯ :มหาวิทยาลัยมหิดล. 2529. สมบูรณ์ ศิริประชัย. รายงานการวิจัยเรื่องการย้ายถิ่นในประเทศไทย.กรุงเทพฯ :มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2530. สมพร วุฒิวิกัยการ. รายงานการวิจัยเรื่องปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อความต้องการ เคลื่อนย้ายของประชากรไทย เขตโครงการจัดการลุ่มแม่น้ำสา จังหวัดเชียงใหม่ :มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2522. สมหมาย วันสอน.โครงการอีสานเขียว.คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหิดล. 2529 (เอกสารอัดสำเนา). สัญญา สัญญาวิวัฒน์. หลักสังคมวิทยา.กรุงเทพฯ. ไทยวัฒนาพาณิช. 2523. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.รายงานการประเมินผลสภาพการจัดการศึกษาและ ประเมินผลแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 5. กรุงเทพฯ. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2527. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่แปด พ.ศ. 2540-2544.กรุงเทพฯ. 64 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2539. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติฉบับที่เก้า พ.ศ.2545-2549.กรุงเทพฯ. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2544. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.กรอบวิสัยทัศน์และทิศทางแผน พัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 1 สิงหาคม 2543.กรุงเทพฯ. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2543. สุกัญญา ทองทรง. รายงานการวิจัยเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อความปรารถนาที่จะย้ายถิ่นเพื่อหางาน ของนักศึกษาวิทยาลัยครูปีสุดท้ายสังกัดสหวิทยาลัยอีสานใต้ ปีการศึกษา2530.กรุงเทพฯ :มหาวิทยาลัยมหิดล. 2531. สุชาดา ทวีสิทธิ์.รายงานการวิจัยเรื่องการเคลื่อนย้ายเชิงพื้นทีของแรงงานในจังหวัดชายแดน ภาคใต้: ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดปัตตานี.กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล, 2529 สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสิทธิ์. การย้ายถิ่นและการขยายความเป็นเมือง. กรุงเทพฯ :มหาวิทยาลัยมหิดล. 2519. สุนิตย์ จีระพิษณุโลก. รายงานการวิจัยเรื่องปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อความต้องการ ย้ายถิ่นตามฤดูกาลของประชากรในเขตดินแดง อำเภอโนนไทยและอำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2527. สุมาลี จุลเจิม.การศึกษาความสนใจในอาชีพของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ของวิทยาลัยพณิชยการสังกัดกรมอาชีวศึกษาในกรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยมหิดล. 2540. สุมาลี วรรณรัตน์. รายงานการวิจัยเรื่องการใช้การศึกษาและการพัฒนาชุมชนเพื่อยับยั้งการ ย้ายถิ่นของสตรีชนบทภาคเหนือ.เชียงใหม่.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2538. สุรัตน์ ชุ่มจิตต์. รายงานการวิจัยเรื่องวิถีชีวิตของผู้ย้ายถิ่นชาวเหนือในมหานครกรุงเทพ. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2538. หิรัญ ลิ้มสุวรรณ. รายงานการวิจัยเรื่องทัศนคติต่อการย้ายถิ่นเพื่อการประกอบอาชีพในส่วน ภูมิภาคของนักศึกษา สาขาวิศวกรรมศาสตร์ในกรุงเทพมหานคร.กรุงเทพฯ :มหาวิทยาลัยมหิดล. 2523. 65 อภิชาติ จำรัสฤทธิรงค์.การเลือกของชาวชนบทภาคกลาง การศึกษาติดตามและเปรียบเทียบ ผู้ย้ายถิ่นจากบ้านบางช้าง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เอกสารวิชาการหมายเลข 69. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล. 2526. อภิชาติ จำรัสฤทธิรงค์. และเพียงใจ สมพงษ์. การย้ายถิ่นในประเทศไทย พื้นฐานการศึกษา ทางประชากรและสังคม เล่ม 1 เอกสารวิชาการหมายเลข 56. กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยมหิดล. 2525. อรอนงค์ แจ่มผล.ความสัมพันธ์ระหว่างกันของวุฒิภาวะทางอาชีพความสนใจในอาชีพ สัมฤทธิ์ผลทางการเรียน กับการตัดสินใจเลือกอาชีพของนิสิตชั้นปีที่ 2 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2525. อารี เพชรผุด. รายงานการวิจัยเรื่องสาเหตุที่นักเรียนฝึกหัดครูไม่ต้องการออกไปทำงานใน ชนบท.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2517. อุทัย ดุลเกษม. โครงสร้างแรงจูงใจของตลาดแรงงานกับปัญหาการว่างงาน. กรุงเทพฯ :สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์ Cornoy, Martin. Education and Employment A Critical Appraisal UNESCO: International for Education Planning. Paris. 1977. International Labor Office. Report to the Government of Thailand on internal Migration .Geneva, 1965 Susan Mowat, Education and The Urbannization Migration. (Bangkok : Workshop of UNESCO Regional office, 1977) บรรณานุกรมบรรณานุกรม ภาคผนวก แบบสอบถามเพื่อการวิจัย คำชี้แจง คำถามในแบบสอบถามนี้ เป็นคำถามเพื่อหาความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนา ซึ่งข้อมูล ที่ได้รับจะเป็นข้อมูลไม่พึงเปิดเผยและไม่ส่งผลกระทบต่อผู้ตอบแบบสอบถาม จึงขอความร่วมมือตอบตามความเป็นจริงตามความคิดเห็นของท่าน โดยไม่ต้องระบุชื่อและทะเบียน นักศึกษา ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม กรุณาเขียนเครื่องหมาย �� ลงใน ( ) หน้าข้อความที่ท่านเลือก หรือเติมคำ ลงในช่องว่างที่เว้นไว้ให้ 1. ท่านกำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นใด ( ) ภาคปกติ หลักสูตร 4 ปี ชั้นปีที่ 1 ( ) ภาคปกติ หลักสูตร 4 ปี ชั้นปีที่ 2 ( ) ภาคปกติ หลักสูตร 4 ปี ชั้นปีที่ 3 ( ) ภาคปกติ หลักสูตร 4 ปี ชั้นปีที่ 4 ( ) ภาคปกติ หลักสูตร 2 ปี ต่อเนื่อง ชั้นปีที่ 1 ( ) ภาคปกติ หลักสูตร 4 ปี ต่อเนื่อง ชั้นปีที่ 2 2. ท่านกำลังศึกษาอยู่ในสาขา ( ) ครุศาสตร์ ( ) มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ( ) วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ( ) วิทยาการจัดการ 3. คะแนนเฉลี่ยสะสมของท่าน นับตั้งแต่เริ่มเข้าศึกษาจนถึงปัจจุบัน ( ) ต่ำกว่า 2.00 ( ) 2.00 – 2.49 ( ) 2.50 – 2.99 ( ) 3.00 - 4.00 4. ภูมิลำเนาเดิมของท่าน อยู่ที่ ( ) กรุงเทพมหานคร ( ) จังหวัดในเขตปริมณฑล ได้แก่ ปทุมธานี นนทบุรี และสมุทรปราการ 2 ( ) จังหวัดนอกเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล (โปรดระบุจังหวัด ……………………………) ( ) อำเภอเมือง ( ) นอกเขตอำเภอเมือง 5. ประเด็นความสามารถของท่าน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ระดับความสามารถ ประเด็นความสามารถ อยู่ใน เกณฑ์ดี พอใช้ งานได้ ต้องศึกษาเพิ่มเติม ไม่มีเลย 1. ความสามารถด้านภาษาต่างประเทศ 1.1 ภาษาอังกฤษ พูด อ่าน เขียน 1.2 ภาษาอื่นๆ พูด อ่าน เขียน 2. ความสามารถทางคอมพิวเตอร์ 2.1 โปรแกรมพื้นฐาน Microsoft Office, World, Excel, Access 2.2 ใช้งานอินเตอร์เน็ต 2.3 โปรแกรมใช้งานเฉพาะด้าน 2.4 เขียนเว็บไซท์ ออกแบบ, พัฒนา โปรแกรมต่างๆ 2.5 ซ่อมบำรุงเครื่อง (ถอด ประกอบ แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เอง ฯลฯ) 3. ความสามารถทางการแสดงออก เช่น การเป็นพิธีกร โต้วาที แสดงละคร พรีเซ็นเตอร์ ฯลฯ 4. ความสามารถในการเป็นตัวแทนแข่งขัน กีฬา เช่น เป็นตัวแทนนักกีฬาแข่งขันใน ระดับสถานบันการศึกษา ระดับเขต หรือ 3 ระดับประเทศ 5. ความสามารถในการเป็นผู้นำ เช่น ผู้นำ ชมรม ผู้นำโครงการ/กิจกรรมต่างๆ ตอนที่ 2 ระดับความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาของผู้ตอบแบบสอบถาม กรุณาเขียนเครื่องหมาย �� ลงในช่องที่ตรงกับความคิดเห็นของท่าน ระดับของความตั้งใจ ประเด็นบ่งความตั้งใจ กลับแน่ ค่อยข้างแน่ ไม่แน่ใจ ไม่กลับ ไม่กลับแน่ 1. ก่อนที่ท่านจะเข้ามาศึกษาต่อในกรุงเทพฯ ท่านตั้งใจว่าหลังสำเร็จการศึกษาแล้ว ท่านจะกลับภูมิลำเนา 2. เมื่อเข้ามาศึกษาต่อในกรุงเทพฯ แล้ว ระยะเวลา 3 ปีผ่านไป ท่านตั้งใจว่า หลังสำเร็จการศึกษาแล้ว ท่านจะกลับภูมิลำเนา 3. ปัจจุบันท่านตั้งใจว่า เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว ท่านจะกลับภูมิลำเนา 4. สภาพความเป็นอยู่ในกรุงเทพฯ ยังคงทำให้ ท่านตั้งใจจะกลับภูมิลำเนาหลังสำเร็จ การศึกษาหรือไม่  5ตอนที่ 3 แบบวัดระดับความคาดหวังของปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาของนักศึกษา กรุณาเขียนเครื่องหมาย / ลงในช่องที่มีข้อความที่ตรงกับความตั้งใจของผู้ตอบมากที่สุด ระดับความคาดหวัง ประเด็นความคาดหวัง มากที่สุ ดมาก ปานกลาง นอย น้อยมาก โอกาสในการประกอบอาชีพในภูมิลำเนา 1. ท่านคาดหวังว่าในภูมิลำเนาจะมีอาชีพ หรือแหล่งงานรองรับ คุณวุฒิที่ท่านสำเร็จการศึกษา 2. ท่านคาดว่า ท่านจะได้รับงานที่พึงพอใจในภูมิลำเนา 3. ท่านคาดว่ามีทรัพยากรในท้องถิ่นของท่าน ที่เอื้ออำนวยให้สามารถ สร้างงาน(ธุรกิจส่วนตัว)ให้เกิดขึ้นได้ 4. ท่านคาดว่ามีโอกาสทางการตลาดของท่านที่เอื้ออำนวยให้สามารถ สร้างงาน(ธุรกิจส่วนตัว)ให้เกิดขึ้นได้ 5. ท่านคาดว่าท่านจะกลับไปช่วยสานต่องานในครอบครัวของท่าน 6. ท่านคาดว่า ฐานะทางครอบครัวของท่าน สามารถสนับสนุนให้ท่าน สร้างอาชีพในภูมิลำเนาของท่านเองได้ ระดับรายได้ที่น่าพึงพอใจในภูมิลำเนา 7. ท่านคาดว่า ในภูมิลำเนาของท่านจะมีงานที่ให้รายได้เหมาะสม กับวุฒิการศึกษาของท่านในภูมิลำเนา 8. ท่านคาดว่า ในภูมิลำเนาของท่านจะมีงานที่ให้รายได้เหมาะสม กับความสามารถของท่านในภูมิลำเนา 9. ท่านคาดว่า จะได้รับรายได้พิเศษที่นอกเหนือจากงานหลัก ที่ให้รายได้เป็นที่น่าพอใจในภูมิลำเนา โอกาสการได้รับการยอมรับสถานภาพทางสังคมในภูมิลำเนา 10. ในภูมิลำเนาของท่าน จะให้การยกย่องผู้สำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาตรี 11. ท่านมีโอกาสที่จะได้รับการยอมรับให้เป็นบุคคลระดับผู้นำ ในชุมชน 12. เมื่อท่านกลับไปยังภูมิลำเนา ท่านจะได้รับการยอมรับ มากขึ้นกว่าเดิม 13. การกลับภูมิลำเนา จะทำให้ท่านได้รับการยกย่องชื่นชมให้เป็น ผู้มีจิตสำนึกที่ดีต่อชุมชน 14. เมื่อสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาแล้วกลับภูมิลำเนา จะทำให้ท่านเป็นที่รู้จักกว้างขวางมากยิ่งขึ้น 15. เมื่อสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาแล้วกลับภูมิลำเนา ท่านจะได้รับการยอมรับให้เป็นปากเป็นเสียงในชุมชนของท่านได้ 5 ด ง ระดับความคาดหวัง ประเด็นความคาดหวัง มากที่สุ มาก ปานกลา น้อย น้อยมาก ความผูกพันต่อครอบครัวและชุมชน 16. หากเป็นความประสงค์ของสมาชิกในครอบครัวให้กลับภูมิลำเนา ท่านพร้อมจะปฏิบัติตามด้วยความเต็มใจ 17. ระหว่างที่ท่านศึกษาอยู่ ท่านเดินทางกลับไปเยี่ยมบ้านทันที ที่มีโอกาส 18. ท่านมีภาระผูกพันที่ต้องกลับไปดูแล พ่อแม่ พี่น้อง ของท่านในภูมิลำเนา 19. ท่านมุ่งมั่นที่จะใช้ความรู้ที่ได้รับจะนำกลับไปพัฒนาครอบครัว และชุมชนในภูมิลำเนาของท่านให้ดีขึ้น 20. ท่านจะภาคภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนในภูมิลำเนา 21. ท่านจะมีความสุขเมื่อได้ใช้ชีวิตอย่างใกล้ชิดกับ สมาชิกในครอบครัว ณ ภูมิลำเนา โอกาสทางการศึกษาต่อในกรุงเทพฯ 22. ท่านคิดว่า ความรู้ระดับปริญญาตรียังไม่เพียงพอ ต่อการประกอบอาชีพ 23. ครอบครัวของท่านมีญานะเพียงพอที่จะสนับสนุนให้ท่านมีโอกาส ที่จะศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น 24. หลังสำเร็จการศึกษาแล้ว ท่านต้องการอยู่กรุงเทพฯ เพื่อหาช่องทางในการศึกษาต่อ 25. กรุงเทพฯ เป็นแหล่งที่มีความพร้อมทางการศึกษามากกว่า ในภูมิลำเนาของท่าน 26. ท่านต้องการทำงานในกรุงเทพฯ เพื่อส่งตัวเองศึกษาต่อ 27. ท่านตั้งใจจะศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นในกรุงเทพฯ 6ตอนที่ 4 แบบวัดระดับเหตุผลของปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจย้ายถิ่นกลับภูมิลำเนาของนักศึกษา เหตุผลในข้อต่อไปนี้ ข้อใดส่งผลต่อการตัดสินใจกลับภูมิลำเนาของท่านมากน้อยเพียงใด กรุณาเขียนเครื่องหมาย / ลงในช่องที่มีข้อความที่ตรงกับเหตุผลของผู้ตอบมากที่สุด ระดับการตัดสินใจ ประเด็น กลับแน ่ค่อน ไม่แน่ ใจโอกาส ไม่ ข้างแน่ น้อยมาก กลับแน่ 1. หากมีงานหรืออาชีพรองรับเป็นที่น่าพอใจในภูมิลำเนา ท่านจะกลับภูมิลำเนา 2. หากมีงานหรืออาชีพรองรับเป็นที่น่าพอใจในกรุงเทพฯ ท่านจะอยู่กรุงเทพฯ 3. หากมีงานที่มีรายได้เหมาะสมกับวุฒิการศึกษาและความสามารถของท่าน ในภูมิลำเนา ท่านจะกลับภูมิลำเนา 4. หากมีงานที่มีรายได้เหมาะสมกับวุฒิการศึกษาและความสามารถของท่าน ในกรุงเทพฯ ท่านจะอยู่กรุงเทพฯ 5. หากมีโอกาสศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นในกรุงเทพฯ ท่านจะอยู่กรุงเทพฯ 6. หากมีโอกาสศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นในภูมิลำเนา ท่านจะกลับภูมิลำเนา 7. หากเป็นความประสงค์ของพ่อแม่ และสมาชิกในครอบครัว ให้อยู่กรุงเทพฯ ท่านจะอยู่กรุงเทพฯ 8. หากเป็นความต้องการและข้อเรียกร้องของครอบครัวและชุมชนให้กลับ ไปช่วยพัฒนาท้องถิ่นในภูมิลำเนาเดิม ท่านจะกลับ 9. หากมีโอกาสได้รับการยกระดับให้มีตำแหน่งผู้นำทางสังคม ในถิ่นภูมิลำเนา ท่านจะกลับภูมิลำเนา 10. หากมีโอกาสได้รับการยกระดับให้มีตำแหน่งผู้นำทางสังคมในกรุงเทพฯ ท่านจะไม่กลับภูมิลำเนา ประวัติผู้วิจัย ชื่อชื่อ-สกุลสกุล นางสาวณัฐพร รอดดารา วัน วัน เดือดือน น ปีปีเกิดกิด 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2519 ที่อยู่ปัจจุบันที่อยู่ปัจจุบัน 212 ถนนริมคลองประปา แขวง/เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ 10800 ประวัติการศึกษาประวัติการศึกษา พ.ศ. 2537-2540 ปริญญาตรีบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต พ.ศ. 2541-2545 ปริญญาโทศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ประวัติกาประวัติการทำงานรทำงาน พ.ศ. 2540-ปัจจุบัน ผู้ช่วยนักพัฒนาทรัพยากรบุคคล สถาบันฝึกอบรมการค้าระหว่างประเทศ กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ ความตั้งใจย้ายถิ่นกลับสู่ภูมิลำเนาเดิมของนักศึกษา (ตอนที่ 1)
ความตั้งใจย้ายถิ่นกลับสู่ภูมิลำเนาเดิมของนักศึกษา (ตอนที่ 2)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น