วันอังคารที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2553

รวมบทคัดย่อมนเรศวร (ตอนที่ 2)



สาขาวิชาพยาบาลศึกษา
ชื่อเรื่อง : ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล แรงสนับสนุนทางสังคม
แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ กับความสามารถในการบริหารเวลาของนิสิต
หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต ภาคนอกเวลาราชการ
ผู้วิจัย : นางมุจรินทร์ หมีคุ้ม
ที่ปรึกษา : ศาสตราจารย์ ดร. ประนอม โอทกานนท์
ประเภทสารนิพนธ์ : วิทยานิพนธ์ พย. ม. (การพยาบาลศึกษา), มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2547
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล
แรงสนับสนุนทางสังคม แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ กับความสามารถในการบริหารเวลาและศึกษาตัวแปรพยากรณ์ ที่สามารถร่วมกันทำนายความสามารถในการบริหารเวลาของนิสิตหลักสูตรพยาบาล ศาสตรมหาบัณฑิต ภาคนอกเวลาราชการ ทำการศึกษาจากประชากร จำนวน 322 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล แรงสนับสนุนทางสังคม แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และความสามารถในการบริหารเวลาของนิสิต ที่มีความตรงและมีความเที่ยงทดสอบโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยงของแรงสนับสนุนทางสังคม แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และความสามารถในการบริหารเวลาเท่ากับ 0.78, 0.88 และ 0.92 ตามลำดับ
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. สถานภาพสมรสคู่ ตำแหน่งหน้าที่ระดับผู้บริหารระดับสูง แรงสนับสนุนทางสังคม
แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสามารถในการบริหารเวลาของนิสิตหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต ภาคนอกเวลาราชการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r = 0.126), 0.01 (r = 0.165),0.01(r= 0.347) และ 0.01(r =0.684 )ตามลำดับ
2. แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ด้านการวางแผน (ACH5) ด้านการมีเอกลักษณ์ของตนเอง (ACH6) ด้านความทะเยอทะยาน (ACH1) ปัจจัยส่วนบุคคลด้านการมีสถานภาพสมรสโสด (STA1) ตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง (POS1) สังกัดสถานที่ปฏิบัติงานกระทรวงสาธารณสุข (WOR2) และแรงสนับสนุนทางสังคมด้านการมีส่วนร่วมในสังคม (SOC2) สามารถร่วมกันทำนายความสามารถในการบริหารเวลาของนิสิตได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และมีประสิทธิภาพการทำนายร้อยละ58 (R2 =0.58) ได้สมการทำนายในรูปคะแนนมาตรฐาน
Z = 0.52ACH5 + 0.21ACH6 + 0.13ACH1 + 0.11 POS1 – 0.10STA1 -0.10WOR2 +0.09SOC2
ชื่อเรื่อง : การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการพยาบาล
ผู้ป่วยกระดูกต้นขาหักที่ได้รับการใส่เครื่องดึงถ่วงสำหรับนักศึกษา
พยาบาล
ผู้วิจัย : นาง สำราญ รุ่งเรือง
ที่ปรึกษา : ดร. รุจโรจน์ แก้วอุไร
ประเภทสารนิพนธ์ : วิทยานิพนธ์ พย.ม. (การพยาบาลศึกษา) มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2547
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายของการศึกษาเพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง ”การพยาบาลผู้ป่วยกระดูกต้นขาหักที่ได้รับการใส่เครื่องดึงถ่วง สำหรับนักศึกษาพยาบาล” ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 85 / 85 ของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาพยาบาลที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนดังกล่าว โดยการวิเคราะห์ผลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างในสถานการณ์จริง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2546 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (randomized sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ เป็นแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ การเก็บรวบรวมข้อมูลมี 2 ช่วง คือเก็บข้อมูลก่อนและหลังเรียนในแบบทดสอบ
ผลการวิจัยพบว่า
1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง “การพยาบาลผู้ป่วยกระดูกต้นขาหักที่ได้รับ
การใส่เครื่องดึงถ่วงสำหรับนักศึกษาพยาบาล” มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 85.66 / 85.91
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาพยาบาล ที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอน เรื่อง “การพยาบาลผู้ป่วยกระดูกต้นขาหักที่ได้รับการใส่เครื่องดึงถ่วงสำหรับนักศึกษาพยาบาล” หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสำหรับนักศึกษาพยาบาลของผู้วิจัยในครั้งนี้ ช่วยให้ นักศึกษาพยาบาลได้รับความรู้เรื่อง การพยาบาลผู้ป่วยกระดูกต้นขาหักที่ได้รับการใส่เครื่องดึงถ่วงมากขึ้นและสามารถใช้เป็นเครื่องมือเพื่อพัฒนาการศึกษาทางการพยาบาลได้
ชื่อเรื่อง : ผลของโปรแกรมการสอนในคลินิกที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางต่อ
ความสามารถในการพยาบาลมารดาหลังคลอดที่มีภาวะตกเลือด
ของนักศึกษาพยาบาล
ผู้วิจัย : นางสาวตรีทิพย์ มาโต
ที่ปรึกษา : ศาสตราจารย์ ดร.วีณา จีระแพทย์
ประเภทสารนิพนธ์ : วิทยานิพนธ์ พย.ม.(การพยาบาลศึกษา) มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2547
บทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษา ผลของโปรแกรมการสอนในคลินิก
ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางต่อความสามารถในการพยาบาลมารดาหลังคลอดที่มีภาวะตกเลือดของนักศึกษาพยาบาล ระหว่าง กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการสอนในคลินิกที่เน้นผู้เรียนเป็น
ศูนย์กลาง กับกลุ่มที่ได้รับการสอนในคลินิกตามปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตร-บัณฑิต ชั้นปีที่ 3 จำนวน 10 คน ที่ขึ้นฝึกภาคปฏิบัติที่หอผู้ป่วยหลังคลอดและสมัครใจ แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 5 คน กลุ่มควบคุม 5 คน จับคู่อายุ และเพศ แล้วทำการสุ่มโดยจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมการสอนในคลินิกที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และแบบสอบวัดความสามารถในการพยาบาลมารดาหลังคลอดที่มีภาวะตกเลือด ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหาและมีค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดความสามารถเท่ากับ 0.80 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติทดสอบนอนพาราเมตริก Wilcoxon signed – rank test และ The Mann – Whitney U Test
ผลการวิจัยพบว่า
1. ความสามารถในการพยาบาลมารดาหลังคลอดที่มีภาวะตกเลือดของ
นักศึกษาพยาบาล ภายหลังได้รับการสอนด้วยโปรแกรมการสอนในคลินิกที่เน้นผู้เรียนเป็น
ศูนย์กลาง สูงกว่า ก่อนได้รับการสอนด้วยโปรแกรมการสอนในคลินิกที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. ความสามารถในการพยาบาลมารดาหลังคลอดที่มีภาวะตกเลือดของ
นักศึกษาพยาบาลกลุ่มที่ได้รับการสอนด้วยโปรแกรมการสอนในคลินิกที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการสอนในคลินิกตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ชื่อเรื่อง : ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์กับการรับรู้สภาพแวดล้อม
ด้านบุคคลใน แหล่งฝึกปฏิบัติของนักศึกษาพยาบาล
ผู้วิจัย : นางนันทวรรณ ธีรพงศ์
ที่ปรึกษา : รองศาสตราจารย์สุวนีย์ เกี่ยวกิ่งแก้ว
ประเภทสารนิพนธ์ : วิทยานิพนธ์ พย.ม.(พยาบาลศึกษา) มหาวิทยาลัยนเรศวร,2547
บทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความฉลาดทางอารมณ์รายด้านและโดยรวมของนักศึกษาพยาบาล 2) ระดับการรับรู้สภาพแวดล้อมด้านบุคคลในแหล่งฝึก ภาคปฏิบัติของนักศึกษาพยาบาล 3) ความสัมพันธ์ของความฉลาดทางอารมณ์ และการรับรู้สภาพแวดล้อมด้านบุคคลในแหล่งฝึกภาคปฏิบัติของนักศึกษาพยาบาล กลุ่มประชากรที่ศึกษาคือนักศึกษาพยาบาลในวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี 4วิทยาลัยในโครงการร่วมผลิตบัณฑิตสาขาพยาบาลศาสตร์ระหว่างกับคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร และกระทรวงสาธารณสุขคือวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช สวรรค์ประชารักษ์ อุตรดิตถ์ และ นครสวรรค์เป็น นักศึกษาชั้น ปีที่ 4จำนวน 242 คน เครื่องมือชุดที่1เป็นแบบวัดความฉลาดทางอารมณ์ของ Goleman ,Cooper and Sawaf, Bar-On ชึ่งพัฒนาขึ้นโดย ช่อลัดดา ขวัญเมือง(2542) เครื่องมือชุดที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมด้านบุคคลในแหล่งฝึกปฏิบัติของ Dalme and Astin ชึ่งพัฒนาขึ้นโดย ผ่องศรี เกียรติเลิศนภา(2526)
ผลการศึกษาพบว่าความฉลาดทางอารมณ์ในตนเองและความฉลาดทางอารมณ์ระหว่างบุคคลของนักศึกษาพยาบาลอยู่ในระดับสูงเป็นส่วนใหญ่ ปัจจัยเกี่ยวกับ การรับรู้สภาพแวดล้อมด้านบุคคลในแหล่งฝึกปฏิบัติของนักศึกษาพยาบาล ต่อกลุ่มเพื่อนพบว่ามีการรับรู้ในแง่ดี การรับรู้ต่ออาจารย์พยาบาลในแง่ดีและการรับรู้ต่อพยาบาลประจำการในแง่ดี ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์และการรับรู้สภาพแวดล้อมด้านบุคคลในแหล่งฝึกปฏิบัติของนักศึกษาพยาบาลพบว่ามีความสัมพันธ์กันในเชิงบวก
ชื่อเรื่อง : บทบาทของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชนด้านการ
จัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาคปฏิบัติสำหรับนักศึกษาพยาบาล
ผู้วิจัย : นางสาวปรารถนา ลักษณะ
ที่ปรึกษา : ศาสตราจารย์ ดร.ประนอม โอทกานนท์
ประเภทสารนิพนธ์ : วิทยานิพนธ์ พย.ม. (พยาบาลศึกษา)
มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2547
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับการกปฏิบัติบทบาทของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชนด้านการจัดประสอบการณ์การเรียนรู้ภาคปฏิบัติสำหรับนักศึกษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ พยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชนในเขตภาคเหนือตอนล่าง จำนวน 246 คน และนักศึกษาพยาบาล จำนวน 202 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างหลายขั้นตอน (Multti stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้มี 2 ชุด เป็นแบบสอบถามพยาบาลวิชาชีพและนักศึกษาพยาบาล แบบสอบถามมีความตรงตามเนื้อหาและความเที่ยง วิเคราะห์โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha’s Coefficient ของ Cronbach) ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .82 และ .95 ตามลำดับ
ผลการศึกษาพบว่า
1. บทบาทของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชนด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาคปฏิบัติสำหรับนักศึกษาพยาบาลตามการรายงานตนเองของพยาบาลวิชาชีพดก และตามการรับรู้ของนักศึกษาพยาบาลอยู่ในระดับปานกลาง
2. พยาบาลวิชาชีพที่มีตำแหน่งเป็นหัวหน้างานและพยาบาลวิชาชีพที่ได้รับการอบรมรายงานการปฏิบัติบทบาทของพยาบาลวิชาชีพสูงกว่าพยาบาลประจำการ และพยาบาลวิชาชีพที่ไม่ได้รับการอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักศึกษาพยาบาลหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (ต่อเนื่อง 2 ปี) รับรู้การปฏิบัติบทบาทของพยาบาลวิชาชีพสูงกว่า นักศึกษาพยาบาลหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05
4. นักศึกษาพยาบาลรับรู้การปฏิบัติบทบาทของพยาบาลวิชาชีพ สูงกว่าตามการรายงานตนเองของพยาบาลวิชาชีพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
คณะแพทยศาสตร์
สาขาวิชาเวชศาสตร์ครอบครัว
ชื่อเรื่อง : ความสัมพันธ์ระหว่าง การดื่มแอลกอฮอล์และการติดเชื้อ
Helicobacter pylori ในผู้ป่วยโรคแผลกระเพาะอาหารและลำไส้ส่วนต้น
ผู้วิจัย : นางสาวจุฑารัตน์ ขัดมะละ
ประธานที่ปรึกษา : ศาสตราจารย์ ดร. นพ. ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย
กรรมการที่ปรึกษา : นายแพทย์วิบูล อุทัยแสงสุข
กรรมการที่ปรึกษา : นายแพทย์นิพัธ กิตติมานนท์
ประเภทสารนิพนธ์ : วิทยานิพนธ์ วท.ม. (เวชศาสตร์ครอบครัว)
มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2547
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการดื่มแอลกอฮอล์ และ
การติดเชื้อ H. pylori ในผู้ป่วยโรคแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ส่วนต้น (Peptic Ulcer) และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่แตกต่างกันได้แก่ระดับต่ำ
(น้อยกว่า10กรัมต่อวัน), ระดับปานกลาง (10-20 กรัมต่อวัน) และระดับสูง (มากกว่า20 กรัมต่อวัน) จะมีผลต่อการติดเชื้อ H. pylori ในผู้ป่วยโรคแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ส่วนต้นที่แตกต่างกันหรือไม่ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ผู้ป่วยโรคแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ส่วนต้นมีภูมิลำเนาอาศัยในจังหวัดพิษณุโลก มารับการตรวจที่แผนกระบบทางเดินอาหาร กลุ่มงาน
อายุรกรรม โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก ที่รับการส่องกล้องระบบทางเดินอาหารและตัด
ชิ้นเนื้อ (Gastroscope with Biopsy) ส่งตรวจ Rapid Urease Test ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2544 – 2546 โดยแบ่งเป็นกลุ่มผู้ป่วย (Case) คือผู้ป่วยโรคแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ส่วนต้น
ตรวจพบเชื้อ H. pylori จาก Rapid Urease Test Positive และกลุ่มควบคุม (Control) คือผู้ป่วยโรคแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ส่วนต้นที่ตรวจไม่พบเชื้อ H. pylori จาก Rapid Urease Test Negative เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามการดื่มแอลกอฮอล์ในชนิดและปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์เป็นกรัมในแต่ละวัน
การวิเคราะห์ข้อมูล หาความสัมพันธ์จากการคำนวณ Odds Ratio เป็นการคำนวณแห่ง
ค่าอัตราเสี่ยงของโดยประมาณ (Estimated Relative Risk) และคำนวณค่า Chi – Square Test เป็นเครื่องบ่งชี้ความสัมพันธ์ระหว่าง Exposure และโรค Outcome นั้นเกิดขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติหรือไม่ ค่า Chi – Square Test นำมาใช้ในการคำนวณค่า 95 % CI ของ Relative Risk เพื่อใช้บอกความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบเสี่ยงต่อผลการเกิดโรคว่ามีความสัมพันธ์ต่อกันมาก–น้อยเพียงใด และเป็นความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติหรือไม่
ผลการวิจัยพบว่า
ผู้ป่วยทั้งหมด 457 คน พบว่าเสียชีวิต 17 คน ย้ายที่อยู่ 65 คนและแจ้งที่อยู่ไม่ตรงกับที่อยู่จริง 175 คน สามารถติดตามผู้ป่วยได้ 200 คน แบ่งเป็นผู้ที่ติดเชื้อ H. pylori 105 คน และ
ผู้ป่วยที่ไม่ติดเชื้อ H. pylori 95 คน เมื่อนำมาจับคู่ระหว่างประชากรศึกษาและประชากรควบคุมในด้านเพศ อายุ และระดับการศึกษาได้ 73 คู่ มีจำนวนผู้ป่วยที่ดื่มแอลกอฮอล์ 98 คน คิดเป็นร้อยละ 49.0 ของประชากรทั้งหมด มีร้อยละการดื่มแอลกอฮอล์ในกลุ่มผู้ป่วย สูงกว่ากลุ่มควบคุม
โดยชนิดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่นิยมมากที่สุด ในกลุ่มผู้ป่วยและในกลุ่มควบคุมคือ สุรา 40 ดีกรีเช่นเดียวกัน
ไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างการดื่มแอลกอฮอล์ และการติดเชื้อ H. pylori ค่า Odds ratio = 0.41, 95 % Confidence Interval 0.22 – 1.20, P-value = 0.27
ไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างการดื่มแอลกอฮอล์ระดับสูง (มากกว่า 20 กรัมต่อวัน) และการติดเชื้อ H. pylori ค่า Odds ratio = 1.50, 95 % Confidence interval 0.56 – 4.23, P-value = 0.50
ไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างการดื่มแอลกอฮอล์ระดับต่ำถึงระดับปานกลาง
(น้อยกว่า 20 กรัมต่อวัน) กับการติดเชื้อ H. pylori ค่า Odds ratio = 0.69,
95% Confidence Interval 0.17 – 1.81, P-value = 0.66
คณะเภสัชศาสตร์
สาขาวิชาเภสัชศาสตร์
Tittle : Qualitative Study of the Uncoated Aspirin Tablets Available in Phnom
Penh, Cambodia
Author : Mr. Yang Daravuth
Major Adviser : Assoc. Prof.Dr.Nuwat Visavarungroj
Adviser : Assist. Prof.Dr.Pinyupa Plianbangchang
: Assist. Prof.Soravoot Rujivipat
Type of Degree : Master of Pharmacy Degree in Pharmaceutical
Sciences (M.Pharm.in Pharmaceutical Sciences (International Program)
Naresuan University, 2003
Abstract
Nowadays, it is widely recognized that quality of drugs in third world countries is an oft neglected issue. Quality procedures may be compromised in some cases to be commercially competitive with other products. Sometimes lack of quality assurance can lead to dire consequences of drug quality. The drug under quality determination in this study was the uncoated tablets of aspirin. The objective of the present study was to investigate the quality of the uncoated aspirin tablets available in drugstores in Phnom Penh, Cambodia.
The quality control methods used in pharmaceutical technology were applied to the uncoated aspirin tablets which were collected randomly regardless of the brand name from 96 drugstores, 76 legal and 20 illegal drugstores, in seven districts of Phnom Penh, Cambodia. The data were collected between October and November 2002, using drug fishing method. The methods applied included (1) labeled amount, (2) weight variation, (3) hardness, (4) friability, (5) disintegration time, and (6) dissolution rate. The test results were compared with the limits of in USP XX 1980, USP XXV 2002, BP 1993, Encyclopedia of Pharmaceutical Technology 1996, and Remington 1995. The results indicated that the quality of the uncoated aspirin tablets available in Phnom Penh, Cambodia, was almost not in compliance with the standard criteria. Of 96 samples, only 6 samples met the standard. All these 6 samples were collected from legal drugstores. Of 66 samples, 60(90.9%) samples failed the dissolution test, 15 (15.63%) samples failed the labeled
amount test, and 16 (16.67%) samples failed the disintegration test. In summary, the overall results obtained showed that the quality of the uncoated aspirin tablets from drugstores in Phnom Penh, Cambodia, did not meet the standard requirements. Only six items (6.25%) reached requirements among 96 items studied.
This project has an important implication for the Cambodian government regarding the quality control of the uncoated aspirin tablets available in the market. Strict regulations should be imposed on the import of the drugs, manufacturing of the local drugs, as well as the storage conditions in drugstores.
Title : DEVELOPMENT OF COSMETIC CREAM
CONTAINING MULBERRY EXTRACT
Author : Miss Rawiwan Posuwan
Adviser : Assist. Prof. Dr. Kornkanok Ingkaninan
Type of Degree : Master of Pharmacy Degree in Pharmaceutical Sciences (M.Pharm in
Pharmaceutical Sciences (International Program)),
Naresuan University, 2004
Abstract
Mulberry (Morus alba L.) has been studied and reported for its antioxidant activity. This plant is widely cultivated in lower northern part of Thailand. There are many cosmetic products containing mulberry extract available in the market. However, the scientific processes and quality control of the products in term of antioxidant activity have never been reported. Therefore, the purposes of this study were to determine an antioxidant activity of various extracts of mulberry leaves and to develop a cosmetic cream formulation containing mulberry extract. The antioxidant was measured using DPPH radical scavenging assay. Quantitative analysis and stability of rutin, the believed major antioxidant in mulberry leaves, was done using high performance liquid chromatography (HPLC). The stability of the formulation was performed under stress condition of 10 heat-cool cycles. Rheologic properties, phase separation, and changing in color of the formulation were observed. The highest antioxidant activity was found in water extract with the value of 71.55% free radical scavenging activity at concentration of 200 ppm while rutin gave 86.33% at the same concentration. Rutin appeared to be stable at pH 5. However, the amount of rutin decreased as a function of time at pH 7 and pH 8 in elevated temperatures of 60°C and 80°C. Despite the instability of rutin at higher pH, the antioxidant activity of the extract was stable at these conditions up to 24 hours. This result suggested that there might be other compounds that provide antioxidant activity to the extract. Thus, the formulation was developed base on the activity of the extract. A cosmetic cream containing mulberry leave spray dried extract has been developed.
Antioxidant activity of mulberry leave cream was found to be stable under stress condition of 10 heat-cool cycles.
The mulberry cream showed good stability in both physical properties and antioxidant activity, while amount of rutin decrease more than 70% of original amount after 10 cycles of heat-cool processes.
คณะมนุษยศาสตร์
สาขาวิชาภาษาไทย
ชื่อเรื่อง : เปรียบเทียบสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) กับสามก๊กฉบับ
การ์ตูนของมิตสึเทรุ โยโกยามะ แปลโดยอังคณา รัตนจันทร์
ผู้วิจัย : นางสาวสายหยุด บัวทุม
ประธานที่ปรึกษา : รองศาสตราจารย์กาญจนา วิชญาปกรณ์
กรรมการที่ปรึกษา : ผู้ช่วยศาสตราจารย์กพัชรินทร์ ก อนันตศิริวัฒน์
ประเภทสารนิพนธ์ : วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. (ภาษาไทย) มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2547
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาเปรียบเทียบสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) กับสามก๊กฉบับการ์ตูนของมิตสึเทระ โยโกยามะ ซึ่งแปลโดยอังคณา รัตนจันทร์ ในด้านองค์ประกอบและกลวิธีการประพันธ์
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยการรวบรวมและศึกษาสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) สามก๊กฉบับการ์ตูนของมิตสึเทรุ โยโกยามะ รวมทั้งเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องวิเคราะห์ข้อมูล
สรุปผลและนำเสนอผลงานการวิจัยโดยวิธีพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า สามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) กับสามก๊กฉบับการ์ตูนของมิตสึเทรุ โยโกยามะ มีความแตกต่างกันในด้านจุดมุ่งหมายการประพันธ์ กลุ่มผู้อ่านและวิธีการนำเสนอเรื่องราว ส่วนรายละเอียดเหตุการณ์ที่นำมาสร้างเรื่องราวโดยผ่านองค์ประกอบและกลวิธีการประพันธ์ ได้แก่ โครงเรื่องและกลวิธีการสร้างโครงเรื่อง ตัวละครและกลวิธีการสร้างตัวละครฉากและกลวิธีการสร้างฉาก
แนวคิดและกลวิธีการสร้างแนวคิด กลวิธีการเล่าเรื่อง และกลวิธีการเสนอผลงาน มีรายละเอียดในส่วนที่เหมือนและแตกต่างกัน อย่างไรก็ตามสามก๊กทั้งสองฉบับต่างได้รับความนิยมจากกลุ่มผู้อ่านด้วยเรื่องราวการใช้สติปัญญา เล่ห์กลต่าง ๆ เข้าต่อสู่กัน ซึ่งสร้างความสนุกสนานเพลิดเพลินแก่นักอ่านทุกเพศทุกวัย
ในปัจจุบันมีนักเขียนหลายท่านที่นำสามก๊กมาเรียบเรียงแต่งใหม่ด้วยรูปแบบและจุดมุ่งหมายในการนำเสนอที่แตกต่างกันไป ดังนั้นผู้วิจัยเห็นว่าควรศึกษาสามก๊กด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ คือ ศึกษาเปรียบเทียบสามก๊กฉบับต่าง ๆ ในด้านองค์ประกออบและกลวิธีการนำเสนอ นอกจากนั้นควรมีการศึกษาเปรียบเทียบสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) และสามก๊กฉบับการ์ตูนของมิตสึเทรุโยโกยามะ ในด้านการใช้ภาษาต่อไป
ชื่อเรื่อง : วิเคราะห์ความเชื่อที่เกี่ยวกับโบราณสถานที่บูรณะแล้ว
ของอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
ผู้วิจัย : นายภาคภูมิ สุขเจริญ
ประธานที่ปรึกษา : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประจักษ์ สายแสง
กรรมการที่ปรึกษา : รองศาสตราจารย์ นาวาโทวัฒนชัย หมั่นยิ่ง
ประเภทสารนิพนธ์ : วิทยานิพนธ์ ศศ.ม (ภาษาไทย) มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2547
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์ความเชื่อที่เกี่ยวกับโบราณสถานที่บูรณะแล้วของอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย จำนวน 87 แห่ง โดยใช้ข้อมูลแบบมุขปาฐะจากวิทยากรในพื้นที่ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ซึ่งเป็นความเชื่อที่สืบทอดกันมา โดยนำมาจัดประเภทของความเชื่อและศึกษาโดยใช้ทฤษฎีหน้าที่นิยมซึ่งเป็นทฤษฎีทางสังคมวิทยามาช่วยใน
การวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า
การวิจัยครั้งนี้แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ประเด็นและมีผลการวิจัยดังนี้
1. จัดประเภทความเชื่อจากเรื่องเล่า โดยใช้กรอบ 8 ลักษณะ ได้แก่ ความเชื่อ เรื่องไสยศาสตร์ ภูติผีปิศาจ วิญญาณ ผีบรรพบุรุษ พบเรื่องเล่าจากโบราณสถาน 58 แห่ง
ความเชื่อเรื่องโหราศาสตร์ การดูฤกษ์ยาม ความฝัน การพยากรณ์ พบเรื่องเล่าจากโบราณสถาน 10 แห่ง ความเชื่อเรื่องสรรพคุณยากลางบ้าน พบเรื่องเล่าจากโบราณสถาน 7 แห่ง ความเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม บาปบุญคุณโทษ ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว พบเรื่องเล่าจากโบราณสถาน 20 แห่ง ความเชื่อ เกี่ยวกับนรก สวรรค์ ชาติ ภพ ตายแล้วเกิดใหม่ พบเรื่องเล่าจากโบราณสถาน 7 แห่ง ความเชื่อ เรื่องของวิเศษ พบเรื่องเล่าจากโบราณสถาน 9 แห่ง ความเชื่อเรื่องประวัติความเป็นมาของลักษณะคน สัตว์ สิ่งของและสถานที่ พบเรื่องเล่าจากโบราณสถาน 24 แห่ง และความเชื่อเรื่องค่านิยม ต่าง ๆ พบเรื่องเล่าจากโบราณสถาน 24 แห่ง
2. การวิเคราะห์โดยใช้ทฤษฎีหน้าที่นิยม จากเรื่องเล่ามีหน้าที่ดังนี้ เรื่องเล่าทำหน้าที่พิทักษ์โบราณสถาน ปกป้อง มิให้เกิดการทำลาย บุกรุก และแสวงหาผลประโยชน์ไปมากกว่า สภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน พบเรื่องเล่าจากโบราณสถาน 48 แห่ง เรื่องเล่าทำหน้าที่บันทึกและ บ่งบอกถึงเรื่องราวต่าง ๆ ทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ ยาสมุนไพร สภาพภูมิศาสตร์ ค่านิยม พิธีกรรม ประเพณี วัฒนธรรม ความเป็นอยู่ พบเรื่องเล่าจากโบราณสถาน 50 แห่ง เรื่องเล่า ทำหน้าที่บันทึกเรื่องราวเพื่อตอบคำถามถึงลักษณะที่มาของชื่อโบราณสถาน พบเรื่องเล่า จาก
โบราณสถาน 20 แห่ง เรื่องเล่าทำหน้าที่สั่งสอนเชิงคติธรรม ข้อคิด พบเรื่องเล่าจากโบราณสถาน 25 แห่ง และเรื่องเล่าทำหน้าที่ในการตักเตือนถึงภัยอันตรายต่าง ๆ พบเรื่องเล่าจากโบราณสถาน 9 แห่ง
ชื่อเรื่อง : ปริศนาคำทายในอินเทอร์เน็ต : การวิเคราะห์เชิงหน้าที่นิยม
ผู้วิจัย : นางสาววิภาดา เปลี่ยนไทย
ประธานที่ปรึกษา : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประจักษ์ สายแสง
กรรมการที่ปรึกษา : รองศาสตราจารย์ น.ท.วัฒนชัย หมั่นยิ่ง
ประเภทสารนิพนธ์ : วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. (ภาษาไทย), มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2547
บทคัดย่อ
จดมุ่งหมายของการวิจัยครั้งนี้ เพื่อจำแนกหมวดหมู่ปริศนาคำทายและวิเคราะห์ปริศนา
คำทายตามแนวหน้าที่นิยม โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตจำนวน 5 เว็บไซต์ ได้ปริศนา
คำทาย 530 บท ซึ่งจัดจำแนกปริศนาได้ 5 หมวด คือ 1. ปริศนาเล่นภาษา 2. ปริศนาสองแง่
สองง่าม 3. ปริศนาเกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบัน หรือรายการโทรทัศน์ 4. ปริศนาแท้ และ 5. ปริศนาชวนหัว
ผลการวิจัยพบว่า
ปริศนาคำทายมีหน้าที่อยู่ 9 ประการ คือ 1. เป็นเครื่องมือในการฝึกให้ผู้เล่นทายปริศนาเป็นคนฉลาด ช่างสังเกต และมีไหวพริบในการแก้ปัญหา 2. เป็นเครื่องมือแสดงความรอบรู้
เฉลียวฉลาดของผู้ทาย ให้เป็นที่ยอมรับของคนในสังคม 3. ให้ความรู้ด้านต่าง ๆ เช่น วัฒนธรรม
สิ่งแวดล้อม และภาษา เป็นต้น 4. ให้ความบันเทิง สร้างความสนุกสนานซึ่งเป็นการผ่อนคลายความตึงเครียด 5. เป็นเสมือนแบบฝึกหัดสำหรับฝึกทักษะในด้านความรู้ความจำ 6. เป็นเครื่องมือในการตรวจสอบสติปัญญาของผู้ตอบปริศนาคำทาย 7. สร้างความสัมพันธ์อันดีในกลุ่มชน
8. เป็นเครื่องมือแสดงออกทางสติปัญญาของกลุ่มชน 9. เป็นเครื่องมือให้ผู้เล่นมีช่องที่จะสร้าง
ไหวพริบปฏิภาณของตน
ชื่อเรื่อง : ศิลปะการใช้ภาษาในงานสารคดีของศศิวิมล
ผู้วิจัย : นางสาวมุทิกาญจน์ จิวาลักษณ์
ที่ปรึกษา : รองศาสตราจารย์กาญจนา วิชญาปกรณ์
ประเภทสารนิพนธ์ : วิทยานิพนธ์ ศศ.ม.(ภาษาไทย) มหาวิทยาลัยนเรศวร,2547
บทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาวิเคราะห์ศิลปะการใช้ภาษาในงานสารคดีของศศิวิมล โดยวิเคราะห์ 3 ด้านด้วยกัน คือ 1. ด้านศิลปะการสรรคำ ได้แก่ คำคล้องจอง คำมีศักดิ์ คำภาษาโบราณ คำภาษาตลาด และคำภาษาต่างประเทศ 2. ด้านศิลปะการสร้างคำ ได้แก่ คำซ้อน คำซ้ำ และคำประสม และ 3. ศิลปะการใช้ภาพพจน์ ได้แก่ อุปมาอุปไมย อุปลักษณ์ สัมพจนัย นามนัย บุคลาธิษฐาน อติพจน์ อธิพจน์ ปฏิภาคพจน์ และประชดประชัน โดยเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์
ผลการศึกษาพบว่าศิลปะการใช้ภาษาในงานสารคดีของศศิวิมล มีเอกลักษณ์ในการใช้ภาษาเฉพาะตัว ในด้านศิลปะการสรรคำและศิลปะการสร้างคำนั้น สามารถเลือกใช้คำที่สื่อความหมายให้เข้าใจได้อย่างชัดเจน และด้านศิลปะการใช้ภาพพจน์ก็สามารถก่อให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกและจินตนาการได้เป็นอย่างดี
สำหรับผู้ที่ให้ความสนใจในงานเขียนชิ้นนี้ ศศิวิมลก็สามารถแสดงให้เห็นได้ว่าเป็น งานเขียนที่มีคุณค่ามาก และการศึกษาวิจัยก็ช่วยแสดงให้เห็นว่างานเขียนชิ้นนี้ประสบ
ความสำเร็จได้เพราะศิลปะการใช้ภาษาของศศิวิมลนั่นเอง
สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
ชื่อเรื่อง : การศึกษาความต้องการของชาวจีนอพยพในนวนิยายของเอมี ตัน
ผู้วิจัย : ขจรเกียรติ ขวัญทอง
ที่ปรึกษา : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดุษฎี รุ่งรัตนกุล
ประเภทสารนิพนธ์ : วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ภาษาอังกฤษ)
มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2547
บทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความต้องการของชาวจีนอพยพที่ปรากฎผ่านตัวละครในนวนิยายของเอมี ตัน โดยใช้ลำดับขั้นความต้องการตามที่นำเสนอในทฤษฎี
แรงจูงใจของมาสโลว์เป็นองค์ประกอบในการศึกษา
การศึกษาครั้งนี้ได้ศึกษานวนิยายจำนวน 3 เรื่อง คือ The Joy Luck Club, The Kitchen God's Wife, และ The Hundred Secret Senses โดยศึกษาวิเคราะห์ในแง่ความต้องการทางด้านสรีระ ความต้องการความมั่นคงปลอดภัยหรือสวัสดิภาพ ความต้องการความรักและเป็นส่วนหนึ่งของหมู่คณะ ความต้องการทางด้านการยอมรับและชื่อเสียงเกียรติยศ และความต้องการที่จะรู้จักตนเองอย่างแท้จริงและพัฒนาตนเองอย่างเต็มที่ตามศักยภาพของตน และนำเสนอใน
รูปแบบการพรรณาเชิงวิเคราะห์
ผลการศึกษาปรากฎดังนี้
1. ตัวละครชาวจีนอพยพในนวนิยาย จำนวน 2 เรื่อง คือ The Joy Luck Club และ
The Kitchen God's Wife ประสบปัญหาในการจุนเจือความต้องทางสรีระ (Physiological needs) น้อย เนื่องจากชาวจีนอพยพเหล่านี้เป็นสมาชิกของครอบครัวที่ร่ำรวย มีสถานะทางสังคมที่ดี มีความพร้อมขั้นพื้นฐานนี้อยู่แล้ว มีเพียงแต่ตัวละครเอกที่เป็นชาวจีนอพยพในนวนิยายเรื่อง
The Hundred Secret Senses เท่านั้นที่ต้องดิ้นรนอย่างมากเพื่อสนองความต้องการทางด้านนี้
2. ตัวละครชาวจีนอพยพทุกคนในนวนิยายทั้งสามเรื่องมีความต้องการความมั่นคง ปลอดภัย (Safety needs) ทั้งทางด้านจิตใจและร่างกายอันสืบเนื่องมาจากวัฒนธรรมจีนโบราณและสงครามกลางเมือง
3. ความต้องการความรักและเป็นส่วนหนึ่งของหมู่คณะ (Love needs) สามารถพบได้ในตัวละครชาวจีนอพยพทุกคนในนวนิยายทั้งสามเรื่อง
4. ตัวละครชาวจีนอพยพทุกคนในนวนิยายทั้งสามเรื่องต้องการที่จะรู้สึกว่าตนเองมีค่า เป็นที่ยอมรับนับถือ ยกย่องเชิดชู (Esteem needs)
5. ความต้องการใช้ศักยภาพที่สูงสุด (Self-actualization needs) ของตนเพื่อผลักดันให้ตนเองประสบความสำเร็จสูงสุด สามารถพบได้ในตัวละครเอกจำนวนสองตัว คือ Lindo Jong ในนวนิยายเรื่อง The Joy Luck Club และ Kwan ในนวนิยายเรื่อง The Hundred Secret Senses
นอกจากนี้ยังพบว่าตัวละครทุกตัวประสบความยุ่งยากในการสนองตอบต่อความต้องการทั้งห้าประการเมื่ออาศัยอยู่ในประเทศจีน แต่เมื่อพวกเขาอพยพไปอาศัยอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกาพวกเขาสามารถได้รับการสนองตอบต่อความต้องการทางสรีระ ความต้องการความมั่นคงปลอด –ภัย และความต้องการความรักและเป็นส่วนหนึ่งของหมู่คณะ ในประเทศสหรัฐอเมริกานี้ ตัวละครสามคนคือ Lindo Jong, Winnie Louie และ Kwan ประสบความสำเร็จในการได้รับการยอมรับ นับถือและยกย่องเชิดชู มีเพียง Lindo Jong และ Kwan เท่านั้นที่สามารถบรรลุความต้องการใช้ศักยภาพที่สูงสุด
ชื่อเรื่อง : การสำรวจการสอนวัจนะปฏิบัติศาสตร์ในห้องเรียนที่เรียนภาษา
อังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
ในจังหวัดกำแพงเพชร
ผู้วิจัย : นางสาวปิยะสรวง กุลมาลา
ประธานที่ปรึกษา : รองศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร. แมรี่ สารวิทย์
กรรมการที่ปรึกษา : รองศาสตราจารย์ มลิวัลย์ ภักดิ์ประไพ
รองศาสตราจารย์ ศรีวัย วรรณประเสริฐ
ประเภทสารนิพนธ์ : วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. (ภาษาอังกฤษ) มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2547
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อสำรวจทัศนะของครูอาจารย์ผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ ในเรื่องความสำคัญและความถี่บ่อยในการสอนวัจนะปฏิบัติศาสตร์ในห้องเรียนที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดกำแพงเพชร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นครูอาจารย์ผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 87 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มชั้น (Stratified random sampling) โดยการเปรียบเทียบตัวแปรตามวุฒิทางการศึกษา (ปริญญาตรี และ ปริญญาโท) และประสบการณ์ในการสอน (0-5 ปี, 6-10 ปี, และมากกว่า 10 ปี) เพื่อศึกษาติดตามผลจากแบบสอบถามจึงเจาะจงเลือกครูอาจารย์ 1 คนตามจุดประสงค์เพื่อสอนวัจนะปฏิบัติศาสตร์ โดยการให้สัมภาษณ์ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในการสอนวัจนะปฏิบัติศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเพื่อสำรวจความสำคัญและความถี่บ่อยในการสอนวัจนะปฏิบัติศาสตร์ และแผนการสอนจำนวน 2 หน่วย
ผลการวิจัยพบว่า
1. ครูอาจารย์ผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดกำแพงเพชร ยอมรับว่าการสอนวัจนะปฏิบัติศาสตร์มีความสำคัญ และสอนในระดับบ่อย
2. การเปรียบเทียบตัวแปรตามวุฒิการศึกษาพบว่าครูอาจารย์ผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษมีทัศนะไม่แตกต่างกันในเรื่องความสำคัญและความถี่บ่อยในการสอน
วัจนะปฏิบัติศาสตร์
อย่างไรก็ตามการเปรียบเทียบตามประสบการณ์ในการสอนพบว่าครูอาจารย์ผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษมีทัศนะที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในเรื่องความสำคัญในการสอนวัจนะปฏิบัติศาสตร์ ในข้อ 9 และข้อ 31 (Asking Permission และ Resolving Conflict)
Asking Permission ในทัศนะของครูอาจารย์ที่มีประสบการณ์ในการสอน 0-5 ปี และมากกว่า 10 ปี มีความสำคัญมากกว่าในทัศนะของครูอาจารย์ที่มีประสบการณ์ในการสอน 6-10 ปี Resolving Conflict ในทัศนะของครูอาจารย์ที่มีประสบการณ์ในการสอน 0 –5 ปี มีความสำคัญมากกว่าในทัศนะของครูอาจารย์ที่มีประสบการณ์ในการสอนมากกว่า 10 ปี
นอกจากนี้การเปรียบเทียบตามประสบการณ์ในการสอนพบว่า ครูอาจารย์ผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษมีทัศนะที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในเรื่องความถี่บ่อยในการสอนวัจนะปฏิบัติศาสตร์ ในข้อ 10, 11 และ 25 (Complaining, Complaining /Criticizing Politely Stating Opinions และ Interrupting) ครูอาจารย์ที่มีประสบการณ์ใน
การสอน 0-5 ปี สอนวัจนะปฏิบัติศาสตร์ทั้ง 3 ข้อนี้บ่อยกว่าครูอาจารย์ที่มีประสบการณ์ใน
การสอนมากกว่า 10 ปี
3. ปัญหาในการสอนวัจนะปฏิบัติศาสตร์คือความรู้พื้นฐานและความสามารถใน
การพูดที่มีอยู่อย่างจำกัดของครูอาจารย์ผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ ทักษะในการพูดและฟังของนักเรียนมีไม่เพียงพอ และความขาดแคลนอุปกรณ์การเรียนการสอนและหนังสือเรียนที่เหมาะสม
คณะวิทยาการจัดการและ
สารสนเทศ
สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยวนานาชาติ
ชื่อเรื่อง : การพัฒนาที่พักค้างแรมในหมู่บ้าน (Homestay) ในประเทศไทย ให้เป็น
การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน ตามหลักการขององค์การ การท่องเที่ยวโลก
(World Tourism Organization, WTO) กรณีศึกษา ที่พักค้างแรมใน
หมู่บ้านปลายโพงพาง จังหวัดสมุทรสงคราม
ผู้วิจัย : นายฉัตรชัย แสงเพ็ชร
ที่ปรึกษา : ดร.ศรีสุดา จงสิทธิผล
ประเภทสารนิพนธ์ : วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. (การจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยวนานาชาติ)
มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2547
บทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการจัดการ การพักค้างแรมในหมู่บ้าน หรือที่เรียกว่า Homestay ในประเทศไทย โดยใช้กรณีศึกษาที่บ้านปลายโพงพาง จังหวัดสมุทรสงคราม เพื่อพัฒนาให้เป็นการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน ตามหลักการขององค์การ การท่องเที่ยวโลก (World Tourism Organization, WTO)
การศึกษาครั้งนี้ ใช้วิธีการสัมภาษณ์ความคิดเห็น การรับรู้ และมุมมองของประชากรต่อการจัดการ ที่พักค้างแรมในหมู่บ้าน (Homestay) การสุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Sampling) โดยการแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 3 กลุ่ม จำนวน 125 ตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มแรก คือ กลุ่มผู้เป็นสมาชิกร่วมดำเนินการที่พักค้างแรมในหมู่บ้าน (Homestay) จำนวน 25 ตัวอย่าง กลุ่มที่สอง คือ กลุ่มของชาวบ้านที่ไม่ได้ร่วมดำเนินการจัดการที่พักค้างแรมในหมู่บ้าน (Homestay) แต่อยู่ในหมู่บ้านเดียวกับกลุ่มแรก จำนวน 50 ตัวอย่าง ตัวอย่างทั้งสองกลุ่ม ส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านบ้านปลายโพงพาง จังหวัดสมุทรสงคราม และกลุ่มที่สาม เป็นนักท่องเที่ยวที่กำลังท่องเที่ยว หรือใช้บริการที่พักค้างแรมในหมู่บ้านที่บ้านปลายโพงพาง จำนวน 50 ตัวอย่าง
ข้อมูลของทั้งสามกลุ่ม นำมาประมวลผล และเปรียบเทียบกับหลักการของการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน (Sustainable Tourism) ตามที่องค์การ การท่องเที่ยวโลก (WTO) กำหนด ซึ่งมีจำนวน 5 ข้อ ได้แก่
1. ก่อให้เกิดการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ แหล่งประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมในชุมชน
2. ต้องมีการวางแผน และจัดการเพื่อไม่ก่อให้เกิดผลกระทบทางมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมในชุมชน
3. สิ่งแวดล้อมในชุมชนต้องได้รับการบำรุงรักษา และปรับปรุงให้มีคุณภาพที่ดี
4. ก่อให้เกิดการกระจายรายได้ภายในชุมชนอย่างทั่วถึง
5. เกิดความพึงพอใจแก่นักท่องเที่ยวจนได้รับการยอมรับในระดับสากล
ผลการศึกษาพบว่า การดำเนินการจัดการโฮมสเตย์ที่บ้านปลายโพงพาง ยังไม่อยู่ในหลักการของการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน ตามที่องค์การ การท่องเที่ยวโลกกำหนด จากความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง ทำให้เห็นว่า การจัดการโฮมสเตย์ที่บ้านปลายโพงพางยังไม่มีความเข้มงวดในเรื่องกฎ
ระเบียบปฏิบัติสำหรับนักท่องเที่ยว และผู้ไปเยือน ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และวัฒน
ธรรมของชุมชน เช่น การทิ้งขยะ การส่งเสียงดัง เป็นต้น นอกจากนี้การแบ่งปันผลประโยชน์แก่สมาชิก และชาวบ้านในชุมชน ยังไม่มีความเป็นธรรม และไม่ก่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อชุมชนโดยรวม เป็นการได้รับประโยชน์โดยคนกลุ่มหนึ่งเท่านั้น อีกทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับนักท่องเที่ยวยังไม่พร้อม เช่น ป้ายบอกเส้นทาง แผนที่แสดงที่ตั้งของโฮมสเตย์ และที่จอดรถ เป็นต้น ทั้งหมดที่กล่าวมา เป็นการจัดการที่ที่ไม่อยู่ในหลักการของการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนตามที่องค์การ การท่องเที่ยวโลกกำหนด ซึ่งรัฐบาลควรให้คำแนะนำ และให้การสนับสนุนในเรื่องสิ่งอำนวยความสะดวกภายในโครงการ อีกทั้งควรกำหนดหลักการปฏิบัติที่ชัดเจน เพื่อก่อให้เกิดรูปแบบของการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนต่อไป
คณะวิทยาศาสตร์
สาขาวิชาคณิตศาสตร์
ชื่อเรื่อง : ไอดีลซ้ายอันดับเล็กสุดเฉพาะกลุ่มและใหญ่สุดเฉพาะกลุ่มและ
สมภาคบางสมภาคในกึ่งกรุปแกมมาอันดับบางส่วน
ผู้วิจัย : นายอัยเรศ เอี่ยมพันธ์
ประธานที่ปรึกษา : ดร.มาโนชญ์ สิริพิทักษ์เดช
กรรมการที่ปรึกษา : ดร.หาญศึก ตาลศรี
: ดร.ชัยวัฒน์ นามนาค
ประเภทสารนิพนธ์ : วิทยานิพนธ์ วท.ม (คณิตศาสตร์)
มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2547
บทคัดย่อ
กึ่งกรุปแกมมาอันดับบางส่วน M คือเซตอันดับซึ่งในขณะเดียวกันเป็นกึ่งกรุปแกมมาที่สอดคล้องสมบัติต่อไปนี้ สำหรับ a,b,c є M และ γ єΓ ซึ่ง
a≤b แล้ว aγ c ≤ bγc และ cγ a ≤ cγb
ในการวิจัยครั้งนี้ เริ่มต้นเราจะแสดงลักษณะเฉพาะของไอดีลซ้ายอันดับเล็กสุดเฉพาะกลุ่มและใหญ่สุดเฉพาะกลุ่มในกึ่งกรุปแกมมาอันดับบางส่วน และสุดท้ายเราจะแสดงลักษณะเฉพาะของสมภาค กึ่งแลตทิชและสมภาคกึ่งแลตทิซอันดับบนกึ่งกรุปแกมมาอันดับบางส่วน และพิสูจน์ว่า
1. n เป็นสมภาคกึ่งแลตทิซน้อยสุดบนกึ่งกรุปแกมมาอันดับบางส่วน
2. N เป็นสมภาคกึ่งแลตทิซอันดับน้อยสุดบนกึ่งกรุปแกมมาอันดับบางส่วน
ชื่อเรื่อง : ทฤษฏีบทจุดตรึงบางอย่างสำหรับการส่งแบบ แอสซิมโตติ
คอลินอนเอกซ์แพนซีพไทพ์
ผู้วิจัย : นายอิสระ อินจันทร์
ประธานที่ปรึกษา : รองศาสตราจารย์ ดร.สมยศ พลับเที่ยง
กรรมการที่ปรึกษา : รองศาสตราจารย์ ดร.ปราโมทย์ มากชู
: ดร.หาญศึก ตาลศรี
ประเภทสารนิพนธ์ : วิทยานิพนธ์ วท.ม (คณิตศาสตร์),
มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2547
บทคัดย่อ
ในวิทยานิพนธ์นี้ ผู้วิจัยได้เสนอ เนื้อหาบางอย่างของจุดตรึงของการส่งแบบแอสซิมโตติคอลินอนเอกซ์แพนซีพไทพ์ ในที่นี้ผู้วิจัยได้พิสูจน์หลักการเดมิโคลส ที่จุดศูนย์ สำหรับการส่งแบบแอสซิมโตติคคอลินอนเอกซ์แพนซีพไทพ์ในบางชั้นของปริภูมิบานาค และยังได้พิสูจน์ทฤษฏีบทจุดตรึงสำหรับปริภูมิบานาคซึ่ง ค่าคงตัวของมาลูตะ (Maluta’s constant) D(X)<1 หรือเงื่อนไขยูนิฟอร์มโอเพียล (uniform Opial condition) หรือมีเงื่อนการส่งแบบต่อเนื่องคู่กันอย่างอ่อน (weakly continuous duality maps) ตามลำดับ ยิ่งไปกว่านั้น ผู้วิจัยได้ศึกษาการลู่เข้าอย่างอ่อนของจุดตรึงของการส่งแบบแอสซิมโตติคอลินอนเอกซ์แพนชีพไทพ์ในปริภูมิที่มีเงื่อนไข การส่งแบบต่อเนื่องคู่กันอย่างอ่อน หรือมีเงื่อนไขยูนิฟอร์มโอเพียล หรือมีเงื่อนไขโอพียลและยูนิฟอร์มคาเดกคลี (Uniform Kadce-Klee) ตามลำดับ สุดท้าย ได้พิสูจน์การลู่เข้าเข้ม ภายใต้เงื่อนไขค่าใกล้เคียงจุดตรึงสำหรับการส่งแบบแอสซิมโตติคอลินอนเอกซ์แพนซีพไทพ์ ในปริภูมิบานาคที่มีเงื่อนไข การส่งแบบต่อเนื่องคู่กันอย่างอ่อน และนอร์มหาอนุพันธ์ได้แบบเอกรูปของกาเต (uniformly G â teaux diferrentiable norm). ชื่อเรื่อง : ทฤษฎีบทจุดตรึงบางอย่างสำหรับการส่งแบบนอนเซลฟ ผู้วิจัย : นางสาว ตันหยง ไกรวีระเดชาชัย ประธานที่ปรึกษา : รองศาสตราจารย์ ดร. สมยศ พลับเที่ยง กรรมการที่ปรึกษา : ดร. มาโนชญ์ สิริพิทักษ์เดช : ดร. หาญศึก ตาลศรี ประเภทสารนิพนธ์ : วิทยานิพนธ์ วท.ม. (คณิตศาสตร์) มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2547 บทคัดย่อ ในวิทยานิพนธ์นี้ผู้วิจัยได้พิสูจน์ทฤษฎีบทจุดตรึงบางอย่างสำหรับการส่งแบบนอนเซลฟ เริ่มโดยเราเสนอผลงานจุดตรึงบนปริภูมิเมตริกในรูปทั่วไปกว่าทฤษฎีของราชวาน(Rashwan)และซาดิก(Sadeek)[16] ต่อมาเราได้ขยายผลงานของเคอร์ก(Kirk)[10] สำหรับการส่งแบบนอนเซลฟนอนเอกซ์แพนซีฟ ยิ่งกว่านั้นผู้วิจัยได้พิสูจน์ทฤษฎีบทจุดตรึงสำหรับการส่งแบบนอนเซลฟในปริภูมิบานาคที่ยูนิฟอร์มลิคอนเวกซ์อินเอเวอร์ลิไดเร็คชัน ซึ่งขยายผลงานของปาร์กในเอกสารหมายเลข[14] ในส่วนท้ายผู้วิจัยได้ศึกษาวิจัยการประมาณจุดตรึงลำดับของการส่งแบบนอนเซลฟนอนเอกซ์แพนซีฟโดยใช้การส่งแบบนอนเซลฟเอชนอนเอกซ์แพนซีฟ สาขาวิชาเคมี ชื่อเรื่อง : การศึกษาการดูดซับฟอสเฟตด้วยคอลลอยด์สังเคราะห์และคอลลอยด์ธรรมชาติ ผู้วิจัย : นายธานี สิทธิไพโรจน์สกุล ที่ปรึกษา : ดร. อุษณี เกิดพินธ์ ประเภทสารนิพนธ์ : วิทยานิพนธ์ วท. ม. (เคมี) มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2547 บทคัดย่อ งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาการดูดซับฟอสเฟตด้วยคอลลอยด์สังเคราะห์และคอลลอยด์ธรรมชาติ โดยศึกษาโครงสร้างแบบจำลองระบบคอลลอยด์จากธรรมชาติ เพื่อทำการสังเคราะห์คอลลอยด์ ซึ่งทำได้โดยเคลือบเกาลินด้วยเกอไทต์ และ/หรือ กรดฮิวมิค และทำการสกัดเหล็กและสารอินทรีย์จากคอลลอยด์ธรรมชาติ ในการหาการดูดซับฟอสเฟตไอออนที่สมดุล ด้วยเทคนิคอัลตราไวโอเลต วิสิเบิล สเปกโตรโฟโตเมตรี พบว่า การดูดซับฟอสเฟตไอออนบนคอลลอยด์ทั้งสองชนิด เกิดได้ดีที่อุณหภูมิสูง มีค่าความร้อนของการดูดซับโดยเฉลี่ย +0.788 ถึง +8.007 kJ/mol การดูดซับเป็นแบบกายภาพ ความสามารถในการดูดซับฟอสเฟตของคอลลอยด์สังเคราะห์ เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยคือ เกาลิน เกาลินเคลือบด้วยกรดฮิวมิคและเกอไทต์ เกาลินเคลือบด้วยเกอไทต์และกรดฮิวมิค เกาลินเคลือบด้วยเกอไทต์ และเกาลินเคลือบด้วยกรดฮิวมิค ตามลำดับ ความสามารถในการดูดซับฟอสเฟตของคอลลอยด์ธรรมชาติ เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยคือ ดินที่ถูกออกซิไดซ์ ดินธรรมชาติ ดินที่ถูกรีดิวซ์ และดินที่ถูกรีดิวซ์และออกซิไดซ์ ตามลำดับ ชื่อเรื่อง : การศึกษาการทำปุ๋ยหมักจากเปลือกกล้วย ผู้วิจัย : นายประยูร คำเติม ที่ปรึกษา : ดร.อนุสรณ์ วรสิงห์ ประเภทสารนิพนธ์ : วิทยานิพนธ์ วท.ม. (เคมี) มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2547 บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของปุ๋ยหมักอัดเม็ดที่ทำจากเปลือกกล้วยและศึกษาถึงแนวโน้มในการนำไปทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมี ในการปลูกข้าวในการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์จากจำนวนตัวอย่าง 11 ตัวอย่างโดยใช้ปุ๋ยเคมีเป็นตัวเปรียบเทียบ พบว่า เวลาในการผลิตปุ๋ยหมักจากเปลือกกล้วยให้สมบูรณ์อยู่ในช่วง 2-3 เดือน ถ้าหากมีการใช้วัสดุผสม เช่น เปลือกมันเทศ ผักตบชวา และ มูลวัว เวลาในการผลิตปุ๋ยหมักจะนานขึ้น โดยปุ๋ยหมักที่ได้จะผ่านขบวนการอัดเม็ดและเม็ดปุ๋ยแต่ละเม็ดมีความต้านทานแรงกดแตกอยู่ในช่วง 5-6 กิโลกรัม ความสามารถในการละลายน้ำอยู่ในเกณฑ์ที่ดี โดยพบปริมาณธาตุอาหารหลัก (ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม) เฉลี่ยร้อยละ 2.5, 2.0 และ 2.0 โดยน้ำหนักตามลำดับ ส่วนการศึกษาการเจริญเติบโตของต้นข้าวพบว่าปุ๋ยหมักอัดเม็ดที่ทำจากเปลือกกล้วยมีส่วนช่วยทำให้คุณภาพของดินดีขึ้นและการเจริญเติบโตของต้นข้าวที่ใช้ปุ๋ยหมักอัดเม็ดที่ทำจากเปลือกกล้วยใกล้เคียงกับต้นข้าวที่ใช้ปุ๋ยเคมี สาขาวิชาชีววิทยา ชื่อเรื่อง : การปรับปรุง Acetobacter sp. ที่คัดแยกได้ โดยการชักนำให้เกิด การกลายพันธุ์ เพื่อเพิ่มผลผลิตแบคทีเรียเซลลูโลส ผู้วิจัย : นางสาวชุลีกร ศรีสวัสดิ์ ที่ปรึกษา : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริพงษ์ เปรมจิต ประเภทสารนิพนธ์ : วิทยานิพนธ์ วท.ม. (ชีววิทยา), มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2547. บทคัดย่อ การคัดแยกแบคทีเรียที่ผลิตเซลลูโลส จากตัวอย่างดินในบริเวณที่มีน้ำขังและน้ำทิ้งจากโรงงานผลิตวุ้นน้ำมะพร้าวในแถบจังหวัดลพบุรี จำนวน 100 ตัวอย่าง โดยใช้อาหารสูตร HS medium สามารถคัดแยกแบคทีเรียที่ผลิตเซลลูโลสได้จำนวน 14 ไอโซเลต คิดเป็น 14 % ของ ตัวอย่างทั้งหมด โดยผลการตรวจสอบเอกลักษณ์ จำแนกเป็น Acetobacter spp. และภายหลังการทดสอบการผลิตแบคทีเรียเซลลูโลส เลือกไอโซเลต LOP14/1 ไปทำการชักนำให้เกิดการ กลายพันธุ์โดยใช้แสงอัลตราไวโอเลต (UV) และ N-methyl-N-nitro-N-nitrosoguanidine (NTG) เนื่องจากให้ผลผลิตแบคทีเรียเซลลูโลสสูงสุด 112.08 % ในการปรับปรุง Acetobacter sp. โดยการชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ เพื่อเพิ่มผลผลิตแบคทีเรียเซลลูโลส ได้มิวแตนท์ที่มีศักยภาพในการผลิตแบคทีเรียเซลลูโลสสูงกว่าสายพันธุ์พ่อแม่ และสายพันธุ์มาตรฐาน Acetobacter xylinum ATCC10245 คือ UV40-007 และ N30-051 ให้ผลผลิตแบคทีเรียเซลลูโลสสูง 150.46 และ 154.54 % สูงกว่าสายพันธุ์พ่อแม่ 40.55 และ 44.63 %ตามลำดับ เมื่อทำการศึกษาลักษณะภายนอกของแบคทีเรียเซลลูโลสที่ผลิตได้จากมิวแตนท์ พบว่ามีลักษณะโครงสร้างแตกต่างกัน และ ยังคงสร้างเซลลูโลสที่เป็น native cellulose แต่มีค่า crystallinity และ crystallite orientation แตกต่างกันไป นอกจากนี้มิวแตนท์ที่พบยังมีรูปแบบการเปลี่ยนแปลงของน้ำตาลกลูโคสไปเป็นเซลลูโลสที่แตกต่างกัน ชื่อเรื่อง : การศึกษาสัณฐานวิทาและโครโมโซมของพรรณไม้วงศ์ขิงใน อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง ผู้วิจัย : นางสาวพรวันอาสา บำรุงไทย ประธานที่ปรึกษา : รองศาสตราจารย์ปรียานันท์ แสนโภชน์ ประเภทสารนิพนธ์ : วิทยานิพนธ์ วท.ม. (ชีววิทยา) มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2547 บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาและโครโมโซมของพรรณไม้วงศ์ขิงในเขตอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวงจังหวัดพิษณุโลก ระหว่างเดือนมีนาคม พ.ศ. 2544 ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2546 ในบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติฯ , น้ำตกแก่งวังน้ำเย็น , ทุ่งนางพญา และเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ ผลการวิจัยพบพรรณไม้วงศ์ขิงจำนวน 10 สกุล 24 ชนิด พรรณไม้วงศ์ขิงที่ศึกษานำมาจัดทำคำบรรยายลักษณะของสกุลและชนิด รูปวิธานจำแนกสกุล รูปวิธานจำแนกชนิด พร้อมการถ่ายภาพและวาดภาพลายเส้นประกอบ ศึกษาจำนวนโครโมโซมของพรรณไม้วงศ์ขิงจำนวน 22 ชนิด ด้วยวิธี Feulgen squash technique ผลการศึกษาพบว่า มีจำนวนโครโมโซมระหว่าง 2n = 22-56 ชื่อเรื่อง : การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อหวายลูกผสมสายพันธุ์บอมโจแดง (Dendrobium sp. C.V. Bomjo Dang.) ผู้วิจัย : นางสาวภัทราวิจิต โรจน์นันทเดชชัย ประธานที่ปรึกษา : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. คงศักดิ์ พร้อมเทพ กรรมการที่ปรึกษา : ดร. พีระศักดิ์ ฉายประสาท ประเภทสารนิพนธ์ : วิทยานิพนธ์ วท.ม.(ชีววิทยา), มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2547 บทคัดย่อ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อส่วนตาข้างของกล้วยไม้สกุลหวายลูกผสมสายพันธุ์บอมโจแดง (Dendrobium sp. C.V. Bomjo Dang) บนอาหารแข็งสูตร Vacin and Went (1949) ดัดแปลงโดยเติมฮอร์โมนชนิดต่างๆ ได้แก่ NAA : BA , 2,4-D: kinetin และ IAA : kinetin พบว่า สูตรอาหาร VW ดัดแปลงโดยเติม NAA : BA ที่ระดับความเข้มข้น 0.1 : 5 ppm สามารถเกิดหน่อได้มากที่สุด 3.90 หน่อ และ ที่ระดับความเข้มข้น 0 : 10 ppm สามารถเกิดเกิดรากได้มากที่สุด 1.10 ราก ส่วนในสูตรอาหาร VW ดัดแปลงที่เติม 2,4-D : kinetin พบว่า ที่ระดับความเข้มข้น 0.1 : 0 ppm สามารถเกิดหน่อได้มากที่สุด 1.50 หน่อ และ สามารถเกิดเป็นแคลลัสได้มากที่สุดที่ระดับความเข้มข้น 0 : 10 ppm เกิด plbs ได้มากที่สุดที่ระดับความเข้มข้น 0.5 : 1 ppm และ สูตรอาหาร VW ที่เติม IAA : kinetin พบว่า ที่ระดับความเข้มข้น 0.1 : 3 ppm สามารถเกิดหน่อได้มากที่สุด 2.20 หน่อ และ ที่ระดับความเข้มข้น 0 : 10 ppm สามารถเกิดเกิดรากได้มากที่สุด 1.10 ราก ส่วนในสูตรอาหาร VW ดัดแปลงที่เติม 2,4-D : kinetin พบว่า ที่ระดับความเข้มข้น 0.1 : 0 ppm สามารถเกิดหน่อได้มากที่สุด 1.50 หน่อ และ สามารถเกิดเป็นแคลลัสได้เพียง 2 สูตร คือ ที่ระดับความเข้มข้น 0 : 1 และ 0.1 : 5 ppm ที่ระดับความเข้มข้น 0.5 : 1 ppm สามารถเกิด plbs ได้มากที่สุด สาขาวิชาพลังงานทดแทน ชื่อเรื่อง : การพัฒนาเครื่องอบแห้งข้าวเปลือกโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ร่วมกับแหล่งพลังงานความร้อนเสริมจากการเผาไหม้ ผู้วิจัย : นางสาว สรญา ยงประยูร ประธานที่ปรึกษา : ดร. ศิรินุช จินดารักษ์ กรรมการที่ปรึกษา : ดร. จอมภพ แววศักดิ์ ประเภทสารนิพนธ์ : วิทยานิพนธ์ วท.ม. (พลังงานทดแทน) มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2546 บทคัดย่อ การพัฒนาเครื่องอบแห้งข้าวเปลือกโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ร่วมกับแหล่งพลังงานความร้อนเสริมจากการเผาไหม้เพื่อให้ใช้งานได้อย่างเหมาะสมกับประเทศไทยโดยพัฒนาจากเครื่องอบแห้งแบบการไหลเวียนตามธรรมชาติ ซึ่งออกแบบโดย ดร.โรเบิร์ต เอกซ์เซลล์ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย เพื่อให้เกิดการใช้งานได้อย่างต่อเนื่องโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ร่วมกับถ่านหุงต้มจากลิกไนต์ โดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการเพิ่มอุณหภูมิภายในตู้อบในเวลากลางวัน สำหรับการอบแห้งในเวลากลางคืนอาศัยแหล่งพลังงานความร้อนเสริมจากการเผาไหม้ถ่านหุงต้มจากลิกไนต์ โดยการเพิ่มอุณหภูมิให้กับมวลอากาศภายในเตาเผาถ่าน ก่อนที่จะเป่าอากาศร้อนเข้าสู่บริเวณอบแห้งผลิตภัณฑ์ เครื่องอบแห้งนี้ประกอบด้วย 4 ส่วนหลัก คือ แผงรับรังสีอาทิตย์ ส่วนบรรจุข้าวเปลือกซึ่งมีความจุ 250 กิโลกรัม ต่อการอบแห้ง 1 ครั้ง ปล่องลมมีการติดตั้งประตูลมและพัดลมระบายอากาศ รวมทั้งเตาเผาถ่านหุงต้มจากลิกไนต์ จากผลการวิจัยสามารถลดความชื้นข้าวเปลือกจากร้อยละ 33 เหลือร้อยละ 25 มาตราฐานแห้งภายในเวลา 10 ชั่วโมงเมื่อปิดประตูลม โดยอบแห้งในเวลากลางวัน 8 ชั่วโมง และอบแห้งต่อด้วยถ่านหุงต้มจากลิกไนต์จำนวน 15 ก้อน (น้ำหนัก1,300 กรัมต่อ 1 ก้อน) จำนวน 2 ชั่วโมงพบว่า ระบบมีประสิทธิภาพ 10.17% เมื่ออบแห้งข้าวเปลือก 450 ตันต่อปี จะมีจุดคุ้มทุนที่ระยะเวลา 1.67 ปี และอัตราการคืนทุนที่ 29.16% ซึ่งมีความเหมาะสมสำหรับการนำไปใช้กับครอบครัวเกษตรกรรายย่อย แบบรวมกลุ่มขนาดเล็ก (3 ครัวเรือน) ชื่อเรื่อง : สมรรถนะของระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์แบบต่อเข้าสายส่ง ไฟฟ้า:กรณีศึกษา ณ. บ้าน ศาสตราจารย์ ดร.สุนทร บุญญาธิการ ผู้วิจัย : นายธวัชชัย พิกุลทอง ที่ปรึกษา : นายชาย ชีวะเกตุ ประเภทสารนิพนธ์ : วิทยานิพนธ์ วท.ม. (พลังงานทดแทน) มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2546 บทคัดย่อ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการทำงานทางเทคนิคของระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์แบบต่อเข้าสายส่งไฟฟ้า มีขนาดกำลังไฟฟ้า 2.88 กิโลวัตต์ โดยใช้แผงเซลล์ไฟฟ้าชนิดอะมอฟัส ที่บ้าน ศาสตราจารย์ ดร.สุนทร บุญญาธิการ เมืองเอก รังสิต กรุงเทพฯ ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้มาจากในช่วงปี 1998 ถึงปี 2002 และมีการเก็บข้อมูลเพิ่มในช่วงเดือนมีนาคม 2002 โดยนำข้อมูลเฉพาะในช่วงเวลา 6.00 – 18.00 น. ซึ่งทำการเก็บข้อมูลทุก ๆ 10 นาที มาใช้ใน การคำนวณและประเมินระบบ จากการเก็บข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าประสิทธิภาพในการทำงานของระบบมีค่าเฉลี่ยประมาณ 4.52 % และมีค่าสูงสุดที่ 6.54 % โดยมีค่าประสิทธิภาพในการแปลงพลังงานจากแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสตรงของแผงเซลล์แสงอาทิตย์เฉลี่ยที่ 4.98 % และมีค่าสูงสุดที่ 7.27 % และพบว่าต้นทุนของการผลิตไฟฟ้าประมาณ 4.29 บาท / กิโลวัตต์ สำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ 0 % และต้นทุน 8.75 บาท / กิโลวัตต์ สำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ 7 % ในกรณีที่ได้รับการอุดหนุน 46 % จากรัฐบาล ในการลงทุนติดตั้งระบบนี้ ชื่อเรื่อง : การวิจัยเรื่องการประยุกต์ใช้ไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ในระบบบำบัดน้ำเสีย ผู้วิจัย : นาย สิริวัฒน์ แดงบุบผา ที่ปรึกษา : Mr. Herb Allen Wade ประเภทสารนิพนธ์ : วิทยานิพนธ์ วท.ม. (พลังงานทดแทน) มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2546 บทคัดย่อ สืบเนื่องมาจากโครงการความร่วมมือระหว่างศูนยืวิจัยและฝึกอบรมพลังงานแสงอาทิตย์ (SERT) และ NEDO จากประเทศญี่ปุ่นได้ติดตั้งระบบสาธิตการประยุกต์ใช้ไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ในระบบบำบัดน้ำเสีย ณ สวนพลังงาน,มหาวิทยาลัยนเรศวร การวิจัยนี้จึมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการออกแบบและหาสมรรถนะของระบบ ระบบสาธิตนี้เป็นระบบเติมอากาศให้กับน้ำที่ใช้ไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ที่ออกแบบและติดตั้งแบบอิสระขนาด 3.6 กิโลวัตต์ 2 ชุดเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้ากระแสตรงส่งผ่านไปยังเครื่องแปลงไฟเป็นไฟฟ้ากระแสสลับขนาด 1500 โวลท์-แอมป์ จ่ายไฟให้กับมอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 2 แรงม้าเพื่อขับเครื่องเป่าลมอัดอากาศผ่านหัวฟู่ที่ติดตั้งใต้ผิวน้ำเติมอากาศให้กับน้ำในบ่อบำบัดขนาด 10,000 ลบ.ม. จากการวิจัยสรุปได้ว่าระบบมีการออกแบบที่ถูกต้องตามวิชาการและมีประสิทธิภาพตามมาตราฐานของระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ โดยมีสมรรถนะดังนี้ แผงเซลล์แสงอาทิตย์ผลิตพลังงานไฟฟ้าเฉลี่ย 17.98 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อวัน,ประสิทธิภาพแผง 4.6-5.1 เปอร์เซ็นต์, เครื่องเป่าลมผลิตออกซิเจนถ่ายเทให้กับน้ำวันละ 22.34 กิโลกรัมออกซิเจน, ประสิทธิภาพการถ่ายเทออกซิเจนเฉลี่ยที่ 1.2 กก.ออกซิเจน/กก.วัตต์-ชม และ มีประสิทธิภาพโดยรวมของระบบที่ 2.2-2.5 เปอร์เซ็นต์ โดยระบบสามารถเติมอากาศเพื่อรักษาระดับออกซิเจนละลายในน้ำให้สูงกว่า 2 มก/ล ตามวัตถุประสงค์ โดยมีชั่วโมงการทำงานแปรผันตรงความเข้มของรังสีดวงอาทิตย์และชั่วโมงแสงแดดในแต่ละวัน ชื่อเรื่อง : เครื่องควบคุมแผงโซล่าเซลล์เคลื่อนที่ตามดวงอาทิตย์ ผู้วิจัย : นายศักดา สุวรรณประเสริฐ ที่ปรึกษา : รองศาสตราจารย์ ดร.วัฒนพงษ์ รักษ์วิเชียร ประเภทสารนิพนธ์ : วิทยานิพนธ์ วท.ม. (พลังงานทดแทน) มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2546 บทคัดย่อ วิทยานิพนธ์ ฉบับนี้ เป็นการออกแบบและสร้าง เครื่องควบคุมแผงโซล่าเซลล์เคลื่อนที่ตามดวงอาทิตย์ โดยใช้คอมพิวเตอร์คำนวณมุมดวงอาทิตย์และโลก แล้วสั่งให้มอเตอร์หมุนตามตำแหน่งที่คำนวณได้ เป็นระบบ 2 แกน แนวตั้งและแนวนอน สามารถใช้เป็น Data Logger เก็บข้อมูลได้ 4 Channel ไว้ในฮาร์ดดิสก์ แล้วใช้โปรแกรม Microsoft Excel เรียกดูข้อมูลออกมาใช้งาน และใช้โปรแกรม Microsoft Visual Basic คำนวณตำแหน่งมุมของดวงอาทิตย์และโลก และใช้ I2C Bus ส่งข้อมูลระหว่าง Interface Card กับ A/D Converter Card คอมพิวเตอร์คำนวณมุม Azimuth แล้วควบคุมมอเตอร์ MX ผิดพลาด 1.79 เปอร์เซ็นต์ และ คำนวณมุม Altitude แล้วควบคุมมอเตอร์ MY ผิดพลาด 1.48 เปอร์เซ็นต์ ผลที่ได้ คือ โวลท์ของแผงโซล่าเซลที่ติดตั้งอยู่บนเครื่องควบคุม มากกว่า โวลท์ของแผง โซล่าเซลที่ติดตั้งอยู่กับที่ ประมาณ 6 เปอร์เซ็นต์ ถึง 8 เปอร์เซ็นต์ ชื่อเรื่อง : ศักยภาพการลงทุนด้านพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทยโดยบริษัท ปิโตรเลียม ผู้วิจัย : นายประพนธ์ จารุสไลพงษ์ ประธานที่ปรึกษา : ศาสตราจารย์ ดร.ดุสิต เครืองาม กรรมการที่ปรึกษา : รองศาสตาจารย์ ดร.วัฒนพงษ์ รักษ์วิเชียร ประเภทสารนิพนธ์ : วิทยานิพนธ์ วท.ม.(พลังงานทดแทน), มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2546 บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความเป็นไปได้และศักยภาพในการลงทุนด้าน พลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทยโดยบริษัทปิโตรเลียม พลังงานเป็นปัจจัยที่สำคัญในการพัฒนาประเทศและคุณภาพชีวิต จากการพยากรณ์แนวโน้มการใช้พลังงานโลก ปรากฏว่า ความต้องการพลังงานทั่วโลกมีการใช้พลังงานที่ได้มาจากฟอสซิล ซึ่งได้แก่น้ำมัน ยังคงมีสัดส่วนเป็นอันดับหนึ่ง ในปี 2545 ประเทศไทยมีความต้องการพลังงาน โดยมีสัดส่วนความต้องการใช้น้ำมันถึงกว่าร้อยละ 40 และเป็นการนำเข้าถึงร้อยละ 90 คาดกันว่าในอีก 20 ปีข้างหน้า ปริมาณน้ำมันสำรองโลกจะลดลงและน้ำมันจะมีราคาสูงขึ้น กระแสสิ่งแวดล้อมโลกในการลดคาร์บอนไดออกไซด์ จากพันธกรณี ข้อตกลงนานาชาติ และบริษัทปิโตรเลียมซึ่งดำเนินธุรกิจด้านพลังงาน คงต้องศึกษาและวางแผนการลงทุนด้านพลังงานแสงอาทิตย์ โดยคำนึงถึงผลกำไร ค่าตอบแทน ขอจำกัด อุปสรรค วิธีและช่องทางการลงทุน ซึ่งสามารถแบ่งการลงทุนออกเป็น 3 แบบ ดังนี้ 1. ลงทุนด้านพลังงานแสงอาทิตย์แบบครบวงจร 2. เข้าร่วมลงทุนกับบริษัทด้านพลังงานแสงอาทิตย์ 3. เข้าควบกิจการของบริษัทด้านพลังงานแสงอาทิตย์ ผลจากการศึกษาพบว่า ช่องทางการลงทุนของแต่ละบริษัทจะแตกต่างกัน โดยบริษัทที่มีธุรกิจด้านพลังงานแสงอาทิตย์อยู่แล้วจะมุ่งลงทุนด้านการตลาดและบริการ ขณะบริษัทใหม่ที่มีข้อจำกัดด้านเทคโนโลยีและประสบการณ์ จะร่วมลงทุนกับบริษัทที่มีธุรกิจด้านพลังงานแสงอาทิตย์อยู่แล้ว คำสำคัญ : ศักยภาพ การลงทุน พลังงานแสงอาทิตย์ ชื่อเรื่อง : เครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ร่วมเพื่อการประหยัดพลังงานสูงสุด ผู้วิจัย : นายวิสุทธิ์ แช่มสะอาด ที่ปรึกษา : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิรินุช จินดารักษ์ ประเภทสารนิพนธ์ : วิทยานิพนธ์ วท.ม. (พลังงานทดแทน), มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2547 บทคัดย่อ เครื่องอบแห้งที่มีระบบดูดความชื้นเป็นเครื่องอบแห้งที่ทำการติดตั้งซิลิกาเจล เบด เพื่อลดความชื้นของอากาศก่อนเข้าเครื่องอบแห้ง โดยทำการติดตั้งซิลิกาเจล เบด ไว้ที่ด้านบน, ด้านตะวันตก และด้านตะวันออก ของเครื่องอบแห้ง เพื่อทำให้การอบแห้งเป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยที่ซิลิกาเจล เบด แต่ละอันมีขนาดกว้าง 0.55 เมตร ยาว 0.95 เมตร และมีความหนาของซิลิกาเจล 0.01 เมตร ตัวเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์มีพื้นที่รับรังสีดวงอาทิตย์ขนาด 2.50 ตารางเมตร (กว้าง 1.00 เมตร ยาว 2.50 เมตร) เอียงทำมุม 17 องศา หันไปทางทิศใต้ เพื่อให้ได้รับพลังงานจากรังสีแสงอาทิตย์มากที่สุด ตู้อบแห้งมีขนาด กว้าง 0.85 เมตร ยาว 1.00 เมตร และสูง 1.65 เมตร บรรจุถาดแสตนเลสจำนวน 8 ถาด แต่ละถาดมีขนาด กว้าง 0.70 เมตร ยาว 0.87 เมตร มีแหล่งความร้อนเสริมเป็นขดลวดความร้อนขนาด 1000 วัตต์ จำนวน 3 เส้น และการไหลของอากาศภายในเครื่องอบแห้งเป็นแบบบังคับโดยใช้มอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 746 วัตต์ เพื่อศึกษาความสามารถในการดูดความชื้นของซิลิกาเจล ทำการทดลองกับเครื่องเปล่าโดยการเปลี่ยนค่าอัตราการไหลของอากาศ 3 ค่า คือ 0.08, 0.10 และ 0.15 กิโลกรัม/วินาที จากการทดลองพบว่า ซิลิการเจล เบด ที่ทำการติดตั้งไว้ด้านบน มีอัตราการดูดความชื้นมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านตะวันตก และด้านตะวันออก โดยมีค่าเฉลี่ยประมาณ 0.073, 0.062 และ 0.032 กิโลกรัม น้ำ/ชั่วโมง ตามลำดับ ตัวแปรที่มีผลกระทบต่ออัตราการดูดความชื้นของซิลิกาเจล คือ อุณหภูมิและสัดส่วนของอากาศชื้นต่ออากาศแห้ง โดยที่ อุณภูมิจะแปรผกผันกับอัตราการดูดความชื้น ในขณะที่สัดส่วนของอากาศชื้นต่ออากาศแห้งจะแปรผันตรงกับอัตราการดูดความชื้นของซิลิกาเจล และจากการทดลองพบว่าการเปลี่ยนค่าอัตราการไหลของอากาศในช่วง 0.08 – 0.15 กิโลกรัม/วินาที ไม่มีผลกระทบต่ออัตราการดูดความชื้นของซิลิกาเจล ดังนั้นในการอบแห้งผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ค่าอัตราการไหลของอากาศจะขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับการอบแห้งผลิตภัณฑ์ชนิดนั้น ๆ ในส่วนของการคายความชื้นของซิลิกาเจล พบว่า แสงอาทิตย์เพียงอย่างเดียวเพียงพอต่อการคายความชื้นของซิลิกาเจลได้ จากการทดลองอบแห้งพริกภายใต้สภาวะอุณหภูมิ 60 oC และอัตราการไหลของอากาศ 0.08 กิโลกรัม/วินาที ทำการอบแห้งพริกจำนวน 8 กิโลกรัม จากความชื้นเริ่มต้นประมาณ 82 % มาตรฐานเปียก ให้เหลือ 13 % มาตรฐานเปียก โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 2 ขั้นตอน คืออบแห้งพริกโดยมีระบบดูดความชื้น และอบโดยไม่มีระบบดูดความชื้น จากการทดลองพบว่าการอบแห้งพริกที่มีระบบดูดความชื้นใช้เวลาในการอบแห้งลดลง 20.83 % เมื่อเทียบกับการอบแห้งที่ไม่มีระบบดูดความชื้น เมื่อพิจารณาคุณภาพของพริกแห้งที่ได้จากการอบแห้งทั้งสองระบบ พบว่าคุณภาพของพริกไม่แตกต่างกัน จากการคำนวณการประหยัดพลังงานของเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ที่มีระบบดูดความชื้นพบว่า สามารถประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้ 51.05 % เมื่อเทียบกับการ อบแห้งที่ใช้พลังงานจากฮีทเตอร์ไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว และสามารถประหยัดพลังงานในการอบแห้งครั้งละ 17.28 กิโลวัตต์ ชั่วโมง หรือปีละ 5,391.36 กิโลวัตต์ ชั่วโมง (ทำการอบแห้ง 6 วัน / สัปดาห์) หรือสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ครั้งละ 51.84 บาท หรือปีละ 16,174 บาท หรือสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายจากการอบแห้งโดยไม่มีระบบดูดความชื้น 150,490 บาท ตลอดอายุการใช้งานของเครื่องอบแห้ง (10 ปี) ชื่อเรื่อง : การวิเคราะห์ประสิทธิภาพเครื่องกลั่นแอลกอฮอลล์พลังงาน แสงอาทิตย์ด้วย เทคนิคทรัมพ์เปอร์ ผู้วิจัย : นาย ยงยุทธ แก้วจันทร์ฉาย ที่ปรึกษา : ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์ ประเภทสารนิพนธ์ : วิทยานิพนธ์ วท.ม. (พลังงานทดแทน) มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2547 บทคัดย่อ วัตถุประสงค์ของการศึกษาการกลั่นแอลกอฮอลล์พลังงานแสงอาทิตย์ด้วยเทคนิคทรัมพ์เปอร์ซึ่งเป็นเครื่องกลั่นที่ได้ออกแบบ เพื่อศึกษาผลการทดลองหาประสิทธิภาพของเครื่องกลั่นแอลกอฮอลล์ดังกล่าว ซึ่งเป็นเครื่องกลั่นที่ใช้เทคนิคอย่างง่ายๆ สรุปคือ เทคนิคนี้ช่วยให้การกลั่นแอลกอฮอลล์มีความบริสุทธิ์มากยิ่งขึ้น โดยใช้พลังงานเท่าเดิมไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้า, แก็ส, หรือพลังงานแสงอาทิตย์ และนอกจากนั้นยังช่วยแยกน้ำออกจากสารละลายได้ดีอีกด้วยทำให้การกลั่นเป็นไปอย่างต่อเนื่อง (Continuous distillation). เมื่อเราให้ความร้อนแก่หม้อต้ม (boiler) สารละลายซึ่งประกอบด้วยน้ำและแอลกอฮอลล์ผสมกันให้มีความเข้มข้น10%โดยปริมาตร และจะกลายเป็นไอลอยขึ้นไปตามท่อเพื่อทำให้เกิดฟองเล็กๆผุดผ่านน้ำในทรัมพ์เปอร์ทำให้เกิดการควบแน่นในทรัมพ์เปอร์ ส่วนไอแอลกอฮอลล์จะลอยขึ้นไปยังหอกลั่น เพื่อกลั่นเป็นแอลกอฮอลล์บริสุทธิ์ต่อไป ส่วนน้ำในทรัมพ์เปอร์จะปล่อยทิ้งออกมาเป็นการแยกน้ำออกจากสารละลายและในขณะเดียวกันก็เพิ่มความเข้มข้น ของแอลกอฮอลล์ที่กลั่นโดยการกลั่นเพียงครั้งเดียวไม่ต้องเพิ่มพลังงานและค่าใช้จ่าย ในการทดลองกลั่นครั้งนี้ ผลการใช้แก็สอย่างเดียวและใช้พลังงานแสงอาทิตย์ผสมแก็สอัตราการสิ้นเปลืองอยู่ที่ 0.95 Kg-1.10 Kg ต่อวัน, (8 ชั่วโมง) อัตราการเติมสารละลาย 30 ลิตรต่อวัน เงื่อนใขการทดลองมีการใช้แก็สอย่างเดียวและใช้แก็สผสมพลังงานแสงอาทิตย์ โดยมีหอกลั่น 3แบบคือ แบบ A, มีทรัมพ์เปอร์ชั้นเดียว แบบ B, มีทรัมพ์เปอร์ 4ชั้นและ แบบ C, มีทรัมพ์เปอร์ 8ชั้นทั้ง 3แบบผลของการใช้พลังงานแตกต่างกันย่อมให้ผลการกลั่นที่แตกต่างกันด้วย การกลั่นเริ่มเวลา 8.30น.จนถึงเวลา 9.15น.อุณหภูมิในหม้อต้มจะอยู่ที่ 93-97องศาC และในทรัมพ์เปอร์ประมาณ 83-86องศาC จากผลการทดลองการใช้ทรัมพ์เปอร์ 4ชั้นจะให้ผลดีที่สุดคือ อัตราความเข้มข้นเฉลี่ยที่ 40.03 %อัตราการกลั่นเฉลี่ย 5.903 ลิตรต่อวัน ความสิ้นเปลืองพลังงานเมื่อใช้แก็สอย่างเดียว 1.09 กิโลกรัมต่อวัน ต้นทุนการกลั่น 4.69 บาทต่อลิตรสำหรับการใช้แก็สอย่างเดียวและ 7.64 บาทต่อลิตรเมื่อใช้แก็สร่วมกับพลังงานแสงอาทิตย์ ประสิทธิภาพเครื่องกลั่นที่ 22.00% เมื่อใช้แก็สอย่างเดียว และ 15.42% เมื่อใช้แก็สร่วมกับพลังงานแสงอาทิตย์ ถึงแม้ว่าผลการกลั่นแบบ ทรัมพ์เปอร์ 8 ชั้นจะให้อัตราความเข้มข้นเฉลี่ยมากกว่าคือ 48.31% แต่อัตราการกลั่นเฉลี่ยไม่มากนักความสิ้นเปลืองพลังงานมากขึ้นทำให้ต้นทุนการกลั่นอยู่ที่ 5.37 บาทต่อลิตรเมื่อใช้แก็สอย่างเดียว และ 7.77 บาทต่อลิตรเมื่อใช้แก็สร่วมกับพลังงานแสงอาทิตย์ สรุปคือจะใช้ ทรัมพ์เปอร์กี่ชั้นขึ้นอยู่กับความต้องการความเข้มข้นของผลผลิตแอลกอฮอลล์เป็นตัวพิจรณา ชื่อเรื่อง : การเปรียบเทียบสมรรถนะการทำงานของเซลล์แสงอาทิตย์ ระหว่าง เซลล์แสงอาทิตย์แบบอสัญฐาน และแบบผลึกเดี่ยวซิลิคอนในการสูบน้ำ ผู้วิจัย : นาย ฉัตรชัย ศิริสัมพันธ์วงษ์ ที่ปรึกษา : รองศาสตราจารย์ ดร. วัฒนพงษ์ รักษ์วิเชียร ประเภทสารนิพนธ์ : วิทยานิพนธ์ วท.ม. (พลังงานทดแทน) มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2547 บทคัดย่อ ระบบสูบน้ำด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ ณ วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยนเรศวร ประกอบไปด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดผลึกเดี่ยว เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดอสัญฐาน เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า เครื่องสูบน้ำแบบจมและระยะส่งน้ำ 4.5 เมตร จากแนวระดับ ทำการศึกษาคุณสมบัติทางด้านเทคนิคของระบบ 3 ประการ ดังนี้ 1. ทำการศึกษาสมรรถนะของเซลล์แสงอาทิตย์สองชนิด ได้แก่เซลล์แสงอาทิตย์แบบอสัญฐาน และผลึกเดี่ยวซิลิคอน ในการสูบน้ำ 2. ทำการเปรียบเทียบค่าพลังงานที่เซลล์แสงอาทิตย์ผลิตได้ต่อ ค่ากำลังไฟฟ้าสูงสุดที่สภาวะมาตรฐาน (Standard Test Condition) 3. ทำการเปรียบเทียบอัตราส่วนของน้ำที่สูบได้ต่อความเข้มแสงอาทิตย์ที่ตกกระทบบนเซลล์แสงอาทิตย์ใน 1 วัน นอกจากนี้ยังได้ทำการวิเคราะห์มูลค่าการสูบน้ำด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ทั้งสองชนิด จากผลการศึกษาพบว่าค่าประสิทธิภาพของระบบสูบน้ำด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ แบบ อสัญฐาน และผลึกเดี่ยวซิลิคอน มีค่าร้อยละ 0.8 และ 1.4 ตามลำดับ ที่ค่าความเข้มแสงเท่ากับ 5.78 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อตารางเมตรต่อวัน ปริมาณน้ำที่สูบได้ต่อค่าความเข้มรังสีที่ตกกระทบลงบนระบบเซลล์แสงอาทิตย์ ในระบบสูบน้ำแบบผลึกเดี่ยวมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าระบบสูบน้ำด้วยเซลล์แสงอาทิตย์แบบอสัญฐาน 43.36 เปอร์เซ็นต์ และค่าอัตราส่วนพลังงานที่เซลล์แสงอาทิตย์ผลิตได้ต่อกำลังสูงสุดของเซลล์แสงอาทิตย์ ของระบบสูบน้ำโดยใช้เซลล์แสงอาทิตย์แบบอสัญฐาน มีค่าสูงกว่า แบบแบบผลึกเดี่ยว 15.04 เปอร์เซ็นต์ ส่วนการพิจารณาทางด้านเศรษฐศาสตร์ พบว่ามูลค่าการสูบน้ำต่อหน่วย ของระบบสูบน้ำที่ใช้เซลล์แสงอาทิตย์แบบอสัญฐาน และแบบผลึกเดี่ยวซิลิคอน มีค่าเท่ากับ 2.75 และ 2.97 บาทต่อลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ สาขาวิชาฟิกสิกส์ ชื่อเรื่อง : การวิเคราะห์การปะทุที่ผิวดวงอาทิตย์ประเภทค่อยเป็นค่อยไป ผู้วิจัย : นายณัฐนัย เกตุแจ่ม ประธานที่ปรึกษา : ดร.ฑิราณี ขำล้ำเลิศ กรรมการที่ปรึกษา : รองศาสตราจารย์ ดร.ชยันต์ บุณยรักษ์ ประเภทสารนิพนธ์ : วิทยานิพนธ์ วท.ม. (ฟิสิกส์ประยุกต์) มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2547 บทคัดย่อ การประทุอย่างรุนแรงที่ผิวดวงอาทิตย์ประเภทค่อยเป็นค่อยไปมีลักษณะที่สำคัญคือ ระยะเวลาในการปลดปล่อยอนุภาคมากกว่า 1 ชั่วโมง หรือมักจะมีมวลสารจากโคโรนาตามออกมาด้วย และมวลสารจากโคโรนานี้จะมีผลต่อการเร่งอนุภาคในตัวกลางระหว่างดาวเคราะห์ ทำให้อนุภาคมีพลังงานและจำนวนอนุภาคเพิ่มมากขึ้นซึ่งจะส่งผลกระทบกับโลกเพิ่มมากขึ้น ในงานวิจัยนี้ได้ทำการวิเคราะห์การประทุประเภทค่อยเป็นค่อยไป 2 เหตุการณ์ ซึ่งมีความแตกต่างกัน คือเหตุการณ์วันที่ 7 กรกฎาคม 2002 เป็นเหตุการณ์ที่ไม่มีมวลสารจากโคโรนาตามออกมาแต่มีระยะเวลาการปลดปล่อย 122 นาที และเหตุการณ์วันที่ 28 ตุลาคม 2003 ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่มีมวลสารจากโคโรนาตามออกมา จำลองลักษณะการเคลื่อนที่ของอนุภาคโดยใช้สมการการขนส่งของรูฟโฟโล 1995 [1] เพื่อศึกษาการเคลื่อนที่ของอนุภาคจากดวงอาทิตย์มายังโลก พบว่าระยะทางอิสระเฉลี่ยของอนุภาคที่วัดได้จากยานอวกาศ ACE (Advance Composition Explorer) สำหรับธาตุที่มี 2 ≤ Z ≤ 28 ระดับพลังงาน ~10-~100 MeV/n มีค่า 0.036 -0.505 AUและ 0.181-3,677 AU และระยะเวลาการปลดปล่อยอนุภาคที่ดวงอาทิตย์มีค่า 131-674.29 นาที และ 198.53 -1,118.41นาที ตามลำดับ เนื่องจากอิทธิพลของมวลสารจากโคโรนาที่เคลื่อนที่มาถึงเหตุการณ์นี้ เวลา 10:33 นาฬิกา และ 11:02 นาฬิกา ทำให้อนุภาคที่กำลังสลายตัวถูกเร่งให้มีพลังงานสูงขึ้นอีกครั้ง จึงทำให้ระยะเวลาการสลายตัวเพิ่มขึ้น ชื่อเรื่อง : การจำลองการเคลื่อนที่ของอนุภาคพลังงานสูงจากดวงอาทิตย์ ผู้วิจัย : นางสาวจารุณี เนียมทอง ประธานที่ปรึกษา : ดร.ฑิราณี ขำล้ำเลิศ กรรมการที่ปรึกษา : รองศาสตราจารย์ ดร.ชยันต์ บุณยรักษ์ ประเภทสารนิพนธ์ : วิทยานิพนธ์ วท.ม. (ฟิสิกส์ประยุกต์) มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2547 บทคัดย่อ งานวิจัยนี้ศึกษาการเคลื่อนที่ของอนุภาคพลังงานสูงที่ถูกปลดปล่อยจากดวงอาทิตย์ โดยใช้สมการขนส่งของ Ruffolo 1995 และแก้สมการการเคลื่อนที่ของอนุภาคพลังงานสูงด้วยวิธีการเชิงอนุพันธ์จำกัด (Finite Different Method) วิเคราะห์อนุภาคพลังงานสูงที่ตรวจวัดได้จากยานอวกาศ ACE (Advanced Composition Explorer) ในงานวิจัยนี้เลือกวิเคราะห์อนุภาคฮีเลียมคาร์บอน ไนโตรเจน ออกซิเจน นีออน แมกนีเซียม ซิลิคอน ซัลเฟอร์และเหล็กที่ระดับพลังงานของแต่ละอนุภาคตามลำดับคือ 3.43-4.74, 6.12-8.62, 6.61-9.33, 7.05-9.99, 7.82-11.51, 8.47-12.16, 9.03-13.04, 9.51-13.83 และ 10.47-15.83 MeV/n โดยทำการจำลองการเคลื่อนที่ของอนุภาคที่วิถีอิสระเฉลี่ย 0.05, 0.1, 0.5, 1.0 และ1.5 AU ผลที่ได้พบว่าอนุภาคที่มีวิถีอิสระเฉลี่ยสูงจะมีการกระจายตัวของอนุภาคเร็วกว่าอนุภาคที่มีวิถีอิสระเฉลี่ยต่ำๆ และพบว่าอนุภาคที่มีพลังงานสูงจะเดินทางมายังโลกก่อนอนุภาคที่มีพลังงานต่ำ ชื่อเรื่อง : การวิเคราะห์การปะทุที่ผิวดวงอาทิตย์ประเภทการปะทุแบบทันทีทันใด ผู้วิจัย : นางสาวธิดารัตน์ คงทน ประธานที่ปรึกษา : ดร.ฑิราณี ขำล้ำเลิศ กรรมการที่ปรึกษา : รองศาสตราจารย์ ดร.ชยันต์ บุณยรักษ์ ประเภทสารนิพนธ์ : วิทยานิพนธ์ วท.ม.(สาขาฟิสิกส์ประยุกต์) มหาวิทยาลัยนเรศวร , 2547 บทคัดย่อ งานวิจัยนี้เป็นการใช้สมการขนส่งของ Ruffolo 1995 จำลองการเคลื่อนที่ของอนุภาคพลังงานสูงจากดวงอาทิตย์โดยใช้วิธีผลต่างอันตะในการแก้ปัญหา โดยอาศัยข้อมูลจากยานอวกาศ ACE(Advanced Composition Explorer) แล้วนำผลที่ได้จากการจำลองการเคลื่อนที่กับข้อมูลจริงจากยานอวกาศมาหาวิถีเฉลี่ยของอนุภาค จากเหตุการณ์การปะทุที่ดวงอาทิตย์แบบ ทันทีทันใดในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 โดยค่าวิถีอิสระเฉลี่ยของอนุภาค He C N O Ne Mg Si S และ Fe ได้ 0.219 – 1.091 AU ระยะเวลาในการปลดปล่อยอนุภาค 6 – 108 นาที เมื่อนำระยะเวลาที่น้อยที่สุด 6 นาที รวมกับระยะเวลาที่อนุภาคใช้ในการเคลื่อนที่มายังโลกประมาณ 8.3 นาที ก็จะได้ระยะเวลาทั้งหมดของการปลดปล่อยอนุภาคนับตั้งแต่เริ่มจนกระทั่งเดินทางมาถึงโลกประมาณ 14.3 นาที เวลาที่ได้นี้ต่างไปจากเวลาที่สังเกตได้จากยานอวกาศร้อยละ 20.56 เวลาที่แตกต่างไปนี้เนื่องจากตัวกลางระหว่างดาวเคราะห์ ดังนั้นความคลาดเคลื่อนของเวลาการปลดปล่อยรังสีที่ได้จากงานวิจัยครั้งนี้อาจมีสาเหตุเนื่องจากความคลาดเคลื่อนที่ใช้ในระหว่างขั้นตอนการฟิตข้อมูลมีความไม่เหมาะสมและไม่ครอบคลุมผลกระทบอื่น คณะวิศวกรรม สาขาวิชาวิศวโยธา ชื่อเรื่อง : ศักยภาพในการให้บริการของศูนย์ทดสอบวัสดุในโครงการเงินกู้ เพื่อพัฒนาคุณภาพการก่อสร้าง ผู้วิจัย : นายศรายุทธ มาลัย ที่ปรึกษา : รองศาสตราจารย์วิชัย ฤกษ์ภูริทัต ประเภทสารนิพนธ์ : วิทยานิพนธ์ วศ.ม (วิศวกรรมโยธา) มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2547 บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาค่าศักยภาพภายในของศูนย์ทดสอบวัสดุ, ค่าการแข่งขันของศูนย์ทดสอบวัสดุ, พื้นที่ให้บริการของศูนย์ทดสอบวัสดุ และชี้แนะศูนย์ทดสอบวัสดุให้กับผู้ใช้บริการโดยทำการเก็บข้อมูลจากสถาบันอุดมศึกษาของรัฐจำนวน 15 แห่ง ซึ่งเปิดให้บริการทดสอบวัสดุก่อสร้าง และได้รับครุภัณฑ์สนับสนุนจากโครงการเงินกู้เพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาวิชาการทางด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ (World Bank) ในระหว่างปี 2540-2545 ผลการวิจัยพบว่า ครุภัณฑ์ทดสอบที่ได้รับจากโครงการเงินกู้ (World Bank) มีส่วนช่วยทดแทนครุภัณฑ์เก่าที่ชำรุด ล้าสมัยหรือส่งเสริมให้มีรายการทดสอบวัสดุเพิ่มขึ้นในจำนวนร้อยละ 3 ของรายการทดสอบวัสดุ ค่าศักยภาพภายในศูนย์ทดสอบวัสดุขึ้นอยู่กับจำนวนรายการทดสอบวัสดุ, อัตราค่าทดสอบวัสดุ และระยะเวลาในการทดสอบวัสดุ จาการศึกษาพบว่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นศูนย์ทดสอบวัสดุที่มีค่าศักยภาพภายในสูงที่สุด รองลงมาคือมหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตามลำดับ เมื่อนำค่าศักยภาพในศูนย์ทดสอบวัสดุแต่ละแห่งไปคำนวณหาพื้นที่ให้บริการโดยใช้ทฤษฏีจุดแบ่งเขต พบว่ามหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นศูนย์ทดสอบวัสดุสามารถให้บริการในเขตพื้นที่มาที่สุดคือ 81,970.87 ตารางกิโลเมตร และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์สามารถให้บริการเขตพื้นที่ 56,496.33 ตารากิโลเมตร ตามลำดับ ศูนย์ทดสอบวัสดุทั้ง 15 แห่ง ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศกไทยมีภาวการณ์แข่งขันอยู่กับค่าศักยภาพภายในศูนย์ทดสอบวัสดุและระยะทางระหว่างศูนย์ทดสอบวัสดุ จากการศึกษาได้จัดลำดับภาวะการแข่งขันมากแสดงว่าศูนย์ทดสอบวัสดุนั้นอยู่ในพื้นที่ที่มีศูนย์ทดสอบวัสดุอื่นอยู่ใกล้ ส่วนศูนย์ทดสอบวัสดุใดมีค่าการแข่งขันน้อยแสดงว่ามีศูนย์ทดสอบวัสดุอื่นอยู่ห่างไกล จากการศึกษาพบว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีค่าการแข่งขันมากที่สุด รองลงมาคือ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตามลำดับส่วนศูนย์ทดสอบวัสดุที่มีค่าการแข่งขันน้อยที่สุด คือมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผลจากการวิจัยได้จัดทำอยู่ในรูปแผนที่ประเทศไทยซึ่งแบ่งเขตการให้บริการทดสอบวัสดุของแต่ละศูนย์ทดสอบวัสดุเพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการทั้งผู้รับเหมาก่อสร้าง, ผู้ควบคุมงานก่อสร้างและเจ้าของโครงการก่อสร้าง รวมบทคัดย่อมนเรศวร (ตอนที่ 1)
รวมบทคัดย่อมนเรศวร (ตอนที่ 2)
รวมบทคัดย่อมนเรศวร (ตอนที่ 3)
รวมบทคัดย่อมนเรศวร (ตอนที่ 4)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น