วันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2553

A Development of E-Book Writer Program ( ตอนที่ 2)



บทที่ 4
ผลการดำเนินงาน
4.1 ผลการพัฒนาระบบ
จาก การพัฒนาโปรแกรมการเขียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โดยการออกแบบระบบแล้วจะได้ผล การดำเนินงาน และผลการทดสอบ ซึ่งผลการดำเนินงานจะเป็นการแสดงขั้นตอนต่าง ๆ ในการทำงานของระบบ ส่วนผลการทดสอบจะได้จากการประเมินประสิทธิภาพของระบบ เพื่อใช้ในการ ประเมินผลการปฏิบัติงานของโปรแกรม


4.1.1 ส่วนของการล็อกอิน (Log in) เข้าสู่ระบบ เพื่อแสดงสิทธิในการเข้าใช้ระบบ ดังภาพที่ 4-1 โดยมีการใส่ ชื่อ และ รหัส ของผู้ใช้งาน


ภาพที่ 4-1 แสดงการล็อกอินเข้าสู่ระบบ

4.1.2 ส่วนของการแสดงรายการหนังสือ
จะเป็นส่วนของการแสดงรายการหนังสือ ซึ่งผู้ใช้ ระบบสามารถ คลิก Preview,
Download ได้ ถ้าผู้ใช้เป็นผู้ดูแลระบบ ก็จะสามารถคลิก Delete หนังสือได้ ดังภาพที่ 4-2

ภาพที่ 4-2 แสดงรายการหนังสือ

4.1.3 การ Preview หนังสือ
เป็นการเปิดหนังสือเมื่อคลิกปุ่ม Preview ระบบสามารถแสดงหน้าปกหนังสือ ทำการ
เปิดหน้าหนังสือได้ทีละหน้า ปิดหนังสือ และ สามารถค้นหาคำศัพท์ที่อยู่ในหนังสือนั้น ๆ
ได้ ดังภาพที่ 4-3, 4-4 และ 4-5


ภาพที่ 4-3 แสดงปกหนังสือเมื่อคลิกปุ่ม Preview



ภาพที่ 4-4 แสดงการพลิกหน้าหนังสือ


ภาพที่ 4-5 แสดงหน้าเนื้อหาของหนังสือ

4.1.4 การเพิ่มผู้แต่ง
เมื่อจะทำการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ผู้ใช้ต้องทำการเพิ่มชื่อผู้แต่ง แต่ถ้ามีอยู่แล้วก็
สามารถเพิ่มหนังสือได้ทันที การเพิ่มผู้แต่งให้คลิกเมนูเพิ่มผู้แต่ง ดังภาพที่ 4-6


ภาพที่ 4-6 แสดงการเพิ่มผู้แต่ง

4.1.5 การเพิ่มหนังสือ
เมื่อผู้ใช้ต้องการจะสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ให้คลิกเมนูเพิ่มหนังสือ โดยผู้ใช้
สามารถกรอกข้อมูลดังนี้ ชื่อหนังสือ, ชื่อผู้แต่ง, ISBN, สำนักพิมพ์, ปีที่พิมพ์ ดังภาพที่ 4-7


ภาพที่ 4-7 แสดงการเพิ่มหนังสือ


4.1.6 การเพิ่มไฟล์หนังสือ
หลังจากที่ได้กรอกข้อมูล ชื่อหนังสือ, ชื่อผู้แต่ง, ISBN, สำนักพิมพ์, ปีที่พิมพ์ จะ
เข้าสู่หน้าจอการเพิ่มไฟล์หนังสือ โดยผู้ใช้ต้องทำการเตรียมไฟล์เอกสาร (Microsoft Word)
แยกเป็นไฟล์ไว้ เช่น คำนำ.doc, บทที่ 1.doc, บทที่ 2.doc, บรรณานุกรม.doc แล้วทำการอัพ
โหลดทีละไฟล์ ดังภาพที่ 4-8

ภาพที่ 4-8 แสดงการเพิ่มไฟล์หนังสือ


ก่อนที่ผู้จัดทำโครงงานจะได้ทำการพัฒนาโปรแกรมการเขียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ผู้จัดทำ
โครงงานได้ทำการศึกษาความสัมพันธ์ของสื่อการเรียนรู้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง จรวด
ดาวเทียม และยานอวกาศ ในรายวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4/1 จำนวน 32 คน ของโรงเรียนหนองแค “สรกิจพิทยา” อำเภอหนองแค
จังหวัดสระบุรี และได้ทำการทดสอบสมมติฐาน ดังนี้
สื่อการเรียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่พัฒนาขึ้นจะช่วยให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของ
นักเรียนดีขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งปรากฏผลตามตารางที่ 4-1

ตารางที่ 4 –1 แสดงผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนการใช้สื่อหนังสือ
อิเล็กทรอนิกส์กับหลังใช้สื่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์



จากตารางที่ 4 - 1 แสดงว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังใช้สื่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สูงกว่า
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนใช้สื่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โดยมีความแตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญ
ที่ .05
จากผลการทดลองจึงยอมรับสมมติฐาน เนื่องจากผลของการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียนหลังใช้สื่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สูงกว่าก่อนใช้สื่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
4.2 ผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบ
กระบวนการทดสอบระบบการพัฒนาโปรแกรมการเขียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มี
วัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ผู้จัดทำโครงงานได้ใช้วิธีการ
ทดสอบระบบแบบแบล็กบอกซ์ (Black Box Testing) โดยแบ่งการทดสอบได้ดังต่อไปนี้
4.2.1 การทดสอบโดยผู้จัดทำโครงงาน
การทดสอบโดยผู้จัดทำโครงงานเป็นการทดสอบที่ผู้จัดทำโครงงานสมมติข้อมูลขึ้น
ข้อมูลนี้สมมติเป็นข้อมูลหลายรูปแบบ ข้อมูลที่ถูกสมมติ เรียกว่า เทสต์ดาต้า (Test Data) ข้อมูล
บางชนิดเป็นข้อมูลถูกต้อง (Valid) บางชนิดเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง (Invalid) หรือค่าว่าง (Null)
เพื่อให้ระบบทำการประมวลผล (Process) และแสดงผลลัพธ์ (Output) ตรวจสอบความผิดพลาด
ของระบบ
ผู้พัฒนาโครงงานออกแบบตารางสำหรับบันทึกผลการทดสอบ โดยแบ่งการทดสอบได้
ดังต่อไปนี้
52
4.2.1.1 ตารางผลการทดสอบสำหรับการตรวจสอบการใช้ระบบงาน
4.2.1.2 ตารางผลการทดสอบสำหรับข้อมูลผู้ใช้
4.2.1.3 ตารางผลการทดสอบสำหรับการบันทึกหนังสือใหม่
4.2.1.4 ตารางผลการทดสอบสำหรับการอัพโหลดไฟล์หนังสื

ตารางที่ 4-2 ตารางบันทึกผลการทดสอบการตรวจสอบการเข้าใช้ระบบงาน



ตารางที่ 4-3 ตารางบันทึกผลการทดสอบสำหรับข้อมูลผู้ใช้


ตารางที่ 4-4 ตารางบันทึกผลการทดสอบสำหรับการบันทึกหนังสือใหม่



ตารางที่ 4-5 ตารางบันทึกผลการทดสอบสำหรับการอัพโหลดไฟล์หนังสือ


4.2.2 การทดสอบโดยผู้ใช้ระบบ
เป็นการทดสอบเพื่อการยอมรับโดยผู้ใช้ (Acceptance Test by Users) เพื่อ
ประเมินประสิทธิภาพของระบบการพัฒนาโปรแกรมการเขียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ แบ่งการ
ทดสอบระบบเป็น 4 ส่วนดังนี้
4.2.2.1 Functional Requirement Test
4.2.2.2 Function Test
4.2.2.3 Usability Test
4.2.2.4 Security Test
การประเมินประสิทธิภาพของระบบในแต่ละด้านจะกำหนดเกณฑ์การให้คะแนนด้านเชิง
คุณภาพและเกณฑ์การให้คะแนนเชิงปริมาณแบ่งออกเป็น 5 ระดับ ดังตารางที่ 4-6

ตารางที่ 4-6 เกณฑ์การให้คะแนนของแบบประเมิน


4.2.2.1 การประเมินระบบด้าน Functional Requirement Test
การประเมินระบบด้าน Functional Requirement Test เป็นการประเมินด้าน
ความสามารถของระบบตรงความต้องการผู้ใช้ จากผู้เชี่ยวชาญ ดังตารางที่ 4-7

ตารางที่ 4-7 แสดงผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบด้าน Functional Requirement Test


จากผลการทดสอบระบบการประเมินด้าน Functional Requirement Test เพื่อหา
ประสิทธิภาพโดยผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับระบบการเขียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ค่าเฉลี่ยเท่ากับ
7.81 อยู่ในเกณฑ์การประเมินที่มีประสิทธิภาพระดับ ดี โดยประเด็นสามารถลดเวลาในการทำ
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (x = 8.28)
4.2.2.2 การประเมินระบบด้าน Function Test
การประเมินระบบด้าน Function Test เป็นการประเมินความสามารถในการ
ทำงานของระบบว่ามีความถูกต้อง และมีประสิทธิภาพสามารถทำงานได้ตามหน้าที่ (Function) ใน
ระดับใดของผลการทดสอบดังตารางที่ 4-8

ตารางที่ 4-8 แสดงผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบด้าน Function Test


จากผลการทดสอบระบบการประเมินผลด้าน Function Test เพื่อหาประสิทธิภาพโดย
ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับระบบการเขียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 7.93 อยู่ในเกณฑ์
การประเมินที่มีประสิทธิภาพระดับ ดี โดยประเด็น ความถูกต้องของข้อมูลในการนำแฟ้มเอกสาร
เข้าสู่ระบบ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (x = 8.42)

4.2.2.3 การประเมินระบบด้าน Usability Test
การประเมินระบบด้าน Usability Test เป็นการประเมินระบบว่ามีประสิทธิภาพ
ความสามารถในด้านการติดต่อระหว่างระบบกับผู้ใช้ในระดับใดของผลการทดสอบ
ดังตารางที่ 4-9

ตารางที่ 4-9 แสดงผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบด้าน Usability Test


จากผลการทดสอบระบบการประเมินผลด้าน Usability Test เพื่อหาประสิทธิภาพโดย
ผู้เชี่ยวชาญ เกี่ยวกับระบบการเขียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 7.97 อยู่ใน
เกณฑ์การประเมินประสิทธิภาพระดับ ดี โดยประเด็นความสะดวกในการใช้งาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด
เท่ากัน (x = 8.42)
4.2.2.4 การประเมินระบบด้าน Security Test
การประเมินระบบด้าน Security Test เป็นการประเมินระบบพบว่ามีประสิทธิภาพ
ในการตรวจสอบการเข้าใช้ข้อมูลในระบบของผู้ใช้ ผลการทดสอบดังตารางที่ 4-10

ตารางที่ 4-10 แสดงผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบด้าน Security Test


จากผลการทดสอบระบบการประเมินผลด้าน Security Test เพื่อหาประสิทธิภาพ โดย
ผู้เชี่ยวชาญ เกี่ยวกับระบบการเขียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8.13 อยู่ในเกณฑ์
ประเมินที่มีประสิทธิภาพระดับ ดี โดยประเด็นความสามารถในการป้องกันลิขสิทธิ์ของหนังสือมี
ค่าเฉลี่ยสูงสุด (x = 8.42)

บทที่ 5
สรุปผลและข้อเสนอแนะ
5.1 สรุปผลการพัฒนาระบบ
การศึกษาเรื่องสื่อการเรียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่พัฒนาขึ้นจะช่วยให้ผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรียนรู้ของนักเรียนดีขึ้น กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1
จำนวน 32 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที ซึ่ง
กำหนดระดับนัยสำคัญที่ .05 สามารถสรุปผลได้ดังนี้
5.1.1 สื่อการเรียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ทำให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียน
หนองแค “สรกิจพิทยา” มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในเรื่อง จรวด ดาวเทียม และยานอวกาศ ดีขึ้น
5.2 สรุปผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบ
การพัฒนาโปรแกรมการเขียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เป็นโปรแกรมสนับสนุนการดำเนินงาน
ของผู้เขียนหนังสือ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมในการเขียนและอ่านหนังสือ
อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งโปรแกรมนี้จะเริ่มตั้งแต่กระบวนการลงทะเบียนของผู้ใช้ เพื่อขอใช้สิทธิ์ผ่าน
ทางระบบอินเตอร์เน็ต การสร้างหนังสือใหม่ การสร้างสารบัญ การค้นหาคำศัพท์ เพื่อให้ทราบถึง
ประสิทธิภาพของระบบงานที่ได้จัดทำขึ้น หลังจากทำการทดสอบเพื่อประเมินประสิทธิภาพของ
ระบบ สามารถสรุปการทดสอบแต่ละด้านได้ดังนี้
- ด้าน Functional Requirement Test มีประสิทธิภาพในระดับ ดี
- ด้าน Function Test มีประสิทธิภาพในระดับ ดี
- ด้าน Usability Test มีประสิทธิภาพในระดับ ดี
- ด้าน Security Test มีประสิทธิภาพในระดับ ดี
เมื่อนำผลการทดสอบในแต่ละด้านมาผ่านระเบียบวิธีการทางสถิติเพื่อหาค่าเฉลี่ย (Mean)
โดยรวมอีกครั้ง จะได้ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 7.96 จึงสามารถสรุปผลการทดสอบประสิทธิภาพของระบบ
โดยรวมได้ว่า ระบบการเขียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์นี้ มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับ ดี
5.3 ข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญ
หลังจากผู้เชี่ยวชาญได้ทำแบบประเมิน การพัฒนาโปรแกรมการเขียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
ได้มีข้อเสนอแนะดังนี้
5.3.1 ควรเพิ่มชนิดของไฟล์ที่จะนำเข้ามาเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เช่น Excel , HTML
5.3.2 ระบบควรมีล็อกไฟล์ (Log File) เพื่อบันทึกพฤติกรรมของผู้ที่เข้ามาใช้ระบบ
5.3.3 ระยะเวลาในการ Preview หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ควรจะเร็วขึ้น
5.4 ข้อเสนอแนะจากผู้ทำโครงงาน
การพัฒนาโปรแกรมการเขียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หากพิจารณาแล้วควรมีการพัฒนาต่อ
เพื่อให้ได้ระบบที่มีความชัดเจน และสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ข้อเสนอแนะในการพัฒนาระบบมีดังนี้
5.4.1 สามารถนำโครงงานการพัฒนาโปรแกรมการเขียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไป
ประยุกต์ใช้ในห้องสมุดดิจิตอลของหน่วยงานต่าง ๆ
5.4.2 พัฒนาโดยเพิ่มระบบช่วยเหลือ (Help)

บรรณานุกรม
ภาษาไทย
กิตติ ภักดีวัฒนะ, จำลอง ครูอุตสาหะ. คัมภีร์ระบบฐานข้อมูล. กรุงเทพมหานคร :
หจก. ไทยเจริญการพิมพ์, 2542.
กิตติภูมิ วรฉัตร. php เปลี่ยนวิถีสู่การสร้างโฮมเพจอย่างมือโปร. กรุงเทพมหานคร :
บริษัท วิตตี้ กรุ๊ป จำกัด, 2543.
กัลยา วานิชย์บัญชา. การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพมหานคร :
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ซี เค แอนด์ เอส โฟโต้สตูดิโอ, 2543.
ครรชิต มาลัยวงษ์. เทคโนโลยีสารสนเทศ. กรุงเทพมหานคร :
ศูนย์อิเลคทรอนิคและคอมพิวเตอร์แห่งชาติเทคโนโลยี, 2543.
. ทัศนะไอที. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์อิเลคทรอนิคและคอมพิวเตอร์แห่งชาติเทคโนโลยี,
2543.
นราวุธ พลับประสิทธิ์. php เปลี่ยนวิถีสู่การสร้างโฮมเพจอย่างมือโปร ขั้นที่ 2. กรุงเทพมหานคร :
บริษัท วิตตี้ กรุ๊ป จำกัด, 2546.
นิรุธ อำนวยศิลป์. php เพื่อประยุกต์ใช้งาน. กรุงเทพมหานคร : บริษัทซัคเซสมีเดีย จำกัด, 2543.
ปิลัญธนา สงวนบุญญพงษ์. “การพัฒนาและหาประสิทธิภาพหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบสื่อ
ประสมเรื่องสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการประชาสัมพันธ์.” วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์
อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเทคนิคศึกษา ภาควิชาครุศาสตร์เทคโนโลยี
บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2542.
พณณา แสงกระจ่าง. “การพัฒนาระบบการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนการสอน.”
สารนิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ ภาควิชา
เทคโนโลยี บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2544.
โสรยา นันทวัชรวิบูลย์, บัซรี หะยีมะสาและ. คัมภีร์ Flash 5. กรุงเทพมหานคร : บริษัทเอ.อาร์.
อินฟอร์เมชัน แอนด์ พับลิเคชัน จำกัด, 2544.

บรรณานุกรม (ต่อ)
ภาษาอังกฤษ
Bellaver, Richard, F., and Gillette, Jay. The Usability of eBook Technology : Available
online at : http://www.bsu.edu/cics/ebook_final_result.asp.
Pual, Du Bois. MySQL. United States of America : New Riders Publishing, 2000.
Rob, Peter, and Coronel, Carlos. Database Systems. Third Edition. United States of America :
Course Technology, 1997.
Shelly, Gary B., Cashman, Thomas J., and Rosenblatt, Harry J. System Analysis and Design.
Third Edition. United States of America : Course Technology, 1998.
Simon, EJ. An experiment using electronic books in the classroom. Available online at
http://www.library.rochester.edu/main/ebooks/newsletter2-6/articles.htm.

A Development of E-Book Writer Program ( ตอนที่ 1)

2 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ13 กรกฎาคม 2554 เวลา 02:19

    ชื่อบุคคลที่แต่งวิทยานิพนธ์คือคัยคร้า

    ตอบลบ
  2. ขอโทษนะค่ะ หนูขอความอนุเคาระห์ข้อมูลของบุคคลที่ทำวิจัย วิทยานิพนธ์นี้ขึ้นมาค่ะ เพื่อเป็นบุคคลในการอ้างอิง ในการหาข้อมูลมา เพื่อเป็นการให้เกียรติกับผู้แต่ง

    ตอบลบ