ศึกษาและโหลดฟรีเป็นตัวอย่างเกี่ยวกับงานวิจัย all free download research
วันจันทร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2554
ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียน (ตอนที่ 2)
นักการศึกษาหลายท่านทำการศึกษาเกี่ยวกับความต้องการในการปฏิบัติงาน ซึ่งมีนักคิด
หลายท่านได้นำเสนอไว้ดังนี้
38
1. ทฤษฎีลำดับความต้องการของ มาสโลว์ (Maslow’s Hierarchy of Needs)
2. ทฤษฏีจูงใจค้ำจุนของ เฮิสเบิร์ก ( Herzberg, The Motivation-Hygiene Theory)
3. ทฤษฎีแรงจูงใจทางด้านความสำเร็จของ แมคเคนแลนด์ (McClellend’s Achievement
Motivation Theory)
4. ทฤษฎีความต้องการของ อัลเดเฟอร์ (Alderter’s Existince Ralatendness Growth Theory)
มาสโลว์ (Maslow อ้างถึงใน สมพงษ์ เกษมสิน, 2521) ได้ตัดสินใจคิดทฤษฎีการจูงใจขึ้น
(A Theory of Human Motivation) โดยได้ตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์ไว้ดังนี้
1. มนุษย์มีความต้องการและความต้องการมีอยู่เสมอและไม่มีวันสิ้นสุด
2. ความต้องการที่ได้รับการตอบสนองแล้วจะไม่เป็นการจูงใจสำหรับพฤติกรรมอีกต่อไป
3. ความต้องการของมนุษย์มีเป็นลำดับความสำคัญ (A Hierarchy of Needs) กล่าวคือ
เมื่อความต้องการในระดับต่ำได้รับการตอบสนองแล้ว ความต้องการระดับสูงก็ถูกเรียกร้องให้มี
การตอบสนองทันที
มาสโลว์ (Maslow) ได้จัดลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์ไว้ 5 ขั้น ดังนี้คือ
ขั้นที่ 1 ความต้องการทางด้านร่างกาย (Physiological needs) เป็นความต้องการ
ขั้นพื้นฐานของมนุษย์เพื่อการดำรงชีวิต ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค
ขั้นที่ 2 ความต้องการความปลอดภัย (Safety Needs) เป็นความต้องการที่ได้รับการคุ้มครอง
ภัยต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับร่างกาย ความมั่นคงในด้านเศรษฐกิจ การงานและสถานะทางสังคม
ขั้นที่ 3 ความต้องการทางสังคม (Social or belonging needs) เป็นความต้องการที่จะ
อยู่ร่วมกัน การได้รับการยอมรับจากบุคคลอื่นและเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มทางสังคม
ขั้นที่ 4 ความต้องการที่จะได้รับการยกย่องในสังคม (Esteem or egoistic needs) เป็นความ
ต้องการเกี่ยวกับความเชื่อมั่นในตนเอง ความสำเร็จ ความรู้ ความสามารถ รวมทั้งความต้องการ
ให้บุคคลอื่นยกย่องสรรเสริญหรือเป็นที่ยอมรับในสังคม
ขั้นที่ 5 ความต้องการที่จะได้รับความสำเร็จตามความนึกคิด (Self-actualization needs)
เป็นความต้องการชั้นสูงสุดของมนุษย์ เป็นความต้องการที่อยากจะให้เกิดความสำเร็จในการทำงาน
ในทุกสิ่งทุกอย่างตามความนึกคิด
สรุป จากทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของ มาสโลว์ (Maslow) แสดงให้เห็นว่ามนุษย์
ทุกคนมีความต้องการอยู่เสมอและไม่มีสิ้นสุด โดยมนุษย์จะแสวงหาความต้องการตามลำดับซึ่งมีอยู่
39
5 ระดับ เริ่มตั้งแต่ความต้องการขั้นพื้นฐานไปจนถึงความต้องการขั้นสูงสุด คือ ความสำเร็จ
ในชีวิต ดังนั้น ทฤษฎีนี้จึงนับว่ามีความสำคัญในการจูงใจบุคคลเพื่อให้เกิดความพึงพอใจ
ในการทำงาน เพราะหากผู้บริหารทราบความต้องการของบุคคลนั้นอยู่ในขั้นใด การทำให้เกิด
ความพึงพอใจในงานย่อมทำได้ไม่ยากนัก
2. ทฤษฎีจูงใจ-ค้ำจุน ของ เฮิสเบิร์ก (Herzberg , The Motivation-Hygiene Theory)
เฮิสเบิร์ก (Herzberg อ้างถึงใน จารุวรรณ พุฑฒิบัณฑิต, 2538) ได้ชี้ให้เห็นถึง
ความต้องการของคนเบื้องต้นในการทำงานว่ามีอยู่ 2 อย่างได้แก่
2.1 ความต้องการที่จะใช้ความสามารถเพื่อให้เกิดความก้าวหน้า ความต้องการเหล่านี้
จะตอบสนองได้จากปัจจัยตัวกระตุ้นประเภทต่าง ๆ ได้แก่ ปัจจัยจูงใจ (Mativation factors)
2.2 ความต้องการที่จะหลีกเลี่ยงจากความไม่พอใจในสภาพแวดล้อมของการทำงาน
ความต้องการเหล่านี้จะตอบสนองได้จากปัจจัยทางด้านสภาพแวดล้อมประเภทต่าง ๆ ได้แก่ ปัจจัย
ค้ำจุน (Hygiene factors)
ปัจจัยจูงใจ หมายถึง ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับงานโดยตรงเพื่อจูงใจให้คนชอบและรักงาน
ที่ปฏิบัติ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ได้แก่
- การได้รับการยอมรับนับถือ (Recognition) หมายถึง การได้รับการยอมรับนับถือ
ไม่ว่าจากผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน ผู้มาขอคำปรึกษา บุคคลในหน่วยงานซึ่งอาจอยู่ในรูปของ
การยกย่องชมเชย แสดงความยินดี การให้กำลังใจหรือการแสดงออกอื่นใดที่ทำให้เห็นถึง
การยอมรับในความสามารถ
- ความสำเร็จในงาน (Achievement) หมายถึง การที่บุคคลมีความสามารถในการแก้
ปัญหาต่าง ๆ การรู้จักป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น ครั้งเมื่อผลงานสำเร็จจึงเกิดความรู้สึกพอใจ
ในความสำเร็จของงานนั้น
- ความก้าวหน้า (Advancement) หมายถึง ได้รับเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้น
มีโอกาสได้ศึกษาเพื่อหาความรู้เพิ่มเติมหรือได้รับการฝึกอบรมและดูงาน
- ความรับผิดชอบ (Responsibility) หมายถึง ความพึงพอใจที่เกิดขึ้นจากการได้รับ
มอบหมายให้รับผิดชอบงานใหม่ ๆ และมีอำนาจในการรับผิดชอบได้อย่างเต็มที่ ไม่มีการตรวจ
หรือควบคุมอย่างใกล้ชิด
40
- ลักษณะของงานที่ปฏิบัติ (Work itself) หมายถึง งานที่น่าสนใจ งานที่ต้องอาศัย
ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ท้าทายให้ต้องลงมือทำหรือเป็นงานที่มีลักษณะทำตั้งแต่ต้นจนจบ ได้โดย
ลำพังผู้เดียว
ปัจจัยค้ำจุนหรือปัจจัยสุขอนามัย หมายถึง ปัจจัยที่จะค้ำจุนให้แรงจูงใจในการทำงาน
ของบุคคลมีอยู่ตลอดเวลา ถ้าไม่มีหรือมีในลักษณะที่ไม่สอดคล้องกับบุคคลในองค์การบุคคล
ในองค์การจะเกิดความไม่ชอบงานขึ้น ได้แก่
- โอกาสที่จะได้รับความก้าวหน้าในอนาคต (Possibility of growth) หมายถึง
การที่บุคคลได้รับการแต่งตั้ง เลื่อนตำแหน่งภายในหน่วยงาน การได้รับการพัฒนาความรู้
ความสามารถและทักษะจากการปฏิบัติงาน
- เงินเดือน (Salary) หมายถึง เงินเดือนและการเลื่อนขั้นเงินเดือนในหน่วยงาน
นั้นเป็นที่พอใจของบุคคลที่ทำงาน
- ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน (Inter personal
relation superior, subordinate, peers) หมายถึง การติดต่อไม่ว่าจะเป็นปฏิกิริยาหรือวาจาที่แสดงถึง
ความสัมพันธ์อันดีต่อกัน สามารถทำงานร่วมกัน มีความเข้าใจซึ่งกันและกันอย่างดี
- การนิเทศงาน (Supervision) หมายถึง การให้ความช่วยเหลือแนะนำการติดตาม
และการตรวจสอบ การส่งเสริมศักยภาพ ส่วนบุคคลและการใช้บทบาทความเป็นผู้นำในการนิเทศ
- นโยบายและการบริหาร (Company policy and administration) หมายถึง นโยบาย
และการบริหารงานขององค์การที่มีประสิทธิภาพ
- สภาพการทำงาน (Working conditions) หมายถึง สภาพทางกายภาพของงาน เช่น
แสง เสียง อากาศ ชั่วโมงการทำงาน รวมทั้งลักษณะของสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ เช่น อุปกรณ์หรือ
เครื่องมือ
- ความเป็นอยู่ส่วนตัว (Factors in personal life) หมายถึง ความรู้สึกที่ดีหรือไม่ดี
อันเป็นผลที่ได้รับจากงานในหน้าที่
- สถานะทางอาชีพ (Status) หมายถึง อาชีพนั้นเป็นที่ยอมรับนับถือของสังคม
มีเกียรติและศักดิ์ศรี
- ความมั่นคงในงาน (Job security) หมายถึง ความรู้สึกของบุคคลที่มีต่อความมั่นคง
ในการทำงาน ความยั่งยืนของอาชีพหรือความมั่นคงขององค์การ
41
สรุป ทฤษฎีจูงใจ-ค้ำจุน ของ เฮิสเบิร์ก (Herzberg) ประกอบด้วย ปัจจัยจูงใจและ
ปัจจัยค้ำจุน โดยปัจจัยจูงใจเป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้คนปฏิบัติงานด้วยความพึงพอใจ ส่วนปัจจัย
ค้ำจุนเป็นปัจจัย ที่รักษาแรงจูงใจในการทำงานให้มีอยู่ตลอดเวลา เป็นปัจจัยที่ช่วยให้คนหลีกเลี่ยง
จากสิ่งที่ทำให้ เกิดความไม่พอใจในงาน ดังนั้น จะเห็นว่าทฤษฎีนี้มีประโยชน์และจำเป็น
ต่อผู้บริหารไม่น้อย เพราะทำให้ทราบว่าสิ่งใดทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีความพึงพอใจในงานหรือ
สิ่งใดก่อให้เกิดความไม่พึงพอใจในการทำงาน
3. ทฤษฎีแรงจูงใจทางด้านความสำเร็จของ แมคเคนแลนด์ (McClelland’s Achievement
Motivation Theory)
แมคเคนแลนด์ (McClelland อ้างถึงใน กรองแก้ว อยู่สุข, 2535) ได้ศึกษาเรื่อง
ความต้องการของคน เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างแรงจูงใจ โดยสรุปว่าคนเรามีความต้องการ
3 ประเภท คือ
3.1 ความต้องการทำงานให้สำเร็จ (Need for achievement) คือ ความปรารถนาที่จะ
ทำงานให้ดีขึ้นและมีประสิทธิภาพกว่าเดิมและทำให้ดีกว่าคนอื่น ค้นหาวิธีการแก้ปัญหา โดยชอบ
ทำงานหนัก หากมีความต้องการมากจะยิ่งทำงานให้หนักและดีที่สุดยิ่งขึ้นเมื่อเห็นโอกาสที่จะทำได้
สำเร็จมากกว่าครึ่ง
3.2 ความต้องการอำนาจ (Need for power) คือ ความปรารถนาที่จะมีอิทธิพล
และควบคุมคนอื่น อยู่เหนือคนอื่น หากมีความต้องการมากมักจะเป็นกังวลเรื่องของอิทธิพล
อำนาจ และชื่อเสียงเหนือคนอื่นมากกว่าที่จะทำงานให้ได้ประสิทธิภาพ
3.3 ความต้องการด้านสังคม (Need for affiliation) คือ ความปรารถนาที่จะให้
คนอื่นยอมรับนับถือ พยายามสร้างและรักษาสัมพันธ์ภาพกับผู้อื่น หากมีความต้องการมากจะชอบ
ให้ความร่วมมือมากกว่าที่จะแข่งขันแย่งชิง
สรุป ทฤษฎีแรงจูงใจทางด้านความสำเร็จของ McClelland แสดงถึงความต้องการ
ของคนว่ามีอยู่ 3 ประเภท คือ ความต้องการทำงานให้สำเร็จ ความต้องการอำนาจและ
ความต้องการด้านสังคม ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการสร้างแรงจูงใจคนให้เกิดความพึงพอใจในงาน
ได้เป็นอย่างดี
4. ทฤษฎีความต้องการ ของ อัลเดอร์เฟอร์ (Alderfer’s Modified need Hierarchy Theory)
อัลเดอรเ์ ฟอร์(Alderfer อ้างถึงใน ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน, 2535) ได้คิดทฤษฎีนี้ขึ้น
ในปี คศ.1972 เรียกว่าทฤษฎีอีอาร์จี (E R G : Existence-Relatedness-Growth Theory) สืบเนื่องจาก
42
ได้มีการวิจัยเพื่อทดสอบทฤษฎีความต้องการตามลำดับขั้นของ Maslow พบว่าไม่ตรงกับทฤษฎี
กล่าวคือการตอบสนองความต้องการไม่เป็นไปตามลักษณะการลำดับขั้นของ Maslow ดังนั้น
Alderfer จึงได้เสนอทฤษฎีอีอาร์จีขึ้น โดยแบ่งความต้องการของบุคคลเป็น 3 ประการ คือ
4.1 ความต้องการมีชีวิตอยู่ (Existence needs) เป็นความต้องการที่จะตอบสนอง
เพื่อให้มีชีวิตอยู่ต่อไป ได้แก่ ความต้องการทางกายและความต้องการความปลอดภัย
4.2 ความต้องการมีสัมพันธ์ภาพกับคนอื่น (Relatedness needs) เป็นความต้องการ
ของบุคคลที่จะมีมิตรสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้างอย่างมีความหมาย
4.3 ความต้องการเจริญก้าวหน้า (Growth needs) เป็นความต้องการสูงสุด รวมถึง
ความต้องการได้รับการยกย่องและความสำเร็จในชีวิต
สรุป ทฤษฎีความต้องการของ อัลเดอร์เฟอร์ (Alderfer) ได้ชี้ให้เห็นว่าความต้องการ
ของคนแตกต่างกันไปจากทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของ มาสโลว์ (Maslow) คือ คนมีความ
ต้องการไม่เป็นไปตามลำดับขั้น ซึ่งมีความต้องการ 3 ประการ คือ ความต้องการมีชีวิตอยู่
ความต้องการสัมพันธ์กับคนอื่น และความต้องการเจริญก้าวหน้า ซึ่งทฤษฎีนี้สามารถนำไปใช้
ในการจูงใจคน ให้เกิดความพึงพอใจในงานได้ดีเช่นกัน
43
ตารางการเปรียบเทียบเนื้อหาทฤษฎีการจูงใจของ มาสโลว์ (Maslow), อัลเดอร์เฟอร์ (Alderfer),
แมคเคนแลนด์ (McClelland) และเฮิสเบิร์ส (Herzberg) (Schermerhorn, Hunt and Osborn, 1994)
Maslow Alderfer McClelland Herzberg
Need hierarchy E R G theory Acquired needs theory Two-factor theory
ความต้องการ
ความสำเร็จในชีวิต ความสำเร็จ
ความเจริญก้าวหน้า ปัจจัยจูงใจ
การได้รับการยกย่อง
ความต้องการอำนาจ
การยอมรับจากสังคม
ความสัมพันธ์กับผู้อื่น ความต้องการ
ด้านสังคม ปัจจัยค้ำจุน
ความมั่นคง
และปลอดภัย
ความต้องการพื้นฐาน
ความต้องการมีชีวิตอยู่
ไพศาล วรรณะ (2540 : อ้างใน ธีรศักดิ์ กลิ่นดี, 2540 : 20) กล่าวถึง ความสำคัญ
ของความพึงพอใจว่า ความพึงพอใจเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ช่วยให้งานประสบผลสำเร็จ
ในการปฏิบัติหน้าที่ นอกจากผู้บริหารจะดำเนินการให้ผู้ทำงานเกิดความพึงพอใจในการทำงาน
แล้ว ยังจำเป็นต้องดำเนินการที่จะทำให้ผู้เกี่ยวข้องกับผลของการปฏิบัติงานของหน่วยงาน
เกิดความพึงพอใจด้วย เพราะความเจริญก้าวหน้าของการปฏิบัติงานเป็นประเด็นที่สำคัญ
ประการหนึ่งที่เป็นตัวอย่างบ่งชี้ต่อการพัฒนาของหน่วยงาน ดังนั้น ผู้บริหารที่ชาญฉลาดจึงควรที่
จะศึกษาให้ลึกซึ้งถึงปัจจัยและองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดความพึงพอใจทั้งผู้ปฏิบัติงานและ
ผู้เกี่ยวข้องที่ได้รับผลจากการปฏิบัติงานของหน่วยงานเพื่อเป็นแนวทางในการบริหารองค์การ
ให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด
44
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ศุภร วัฒนพฤกษา (2538 : 92) ได้ศึกษาความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียน
วัฒนพฤกษา แผนกอนุบาล ต่อการจัดการเรียนการสอนที่พึงประสงค์ ผลการวิจัยพบว่า
ผู้ปกครองส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า การดำเนินการจัดการเรียนการสอนควรเน้นด้านวิชาการ
และเห็นด้วยที่โรงเรียนจัดสอนคอมพิวเตอร์ โดยต้องการให้สอนในชั้นอนุบาล 2 และ 3 ด้าน
อาคารเรียนมีความแข็งแรงปลอดภัย ห้องเรียนสะอาด การถ่ายเทอากาศและแสงสว่างเพียงพอ
การดูแลเอาใจใส่ตลอดจนการใช้คำพูดและการปฏิบัติของครูอยู่ในเกณฑ์ดี นักเรียนส่วนใหญ่
ชอบอาหารที่โรงเรียนจัดให้ สำหรับสิ่งที่โรงเรียนควรปฏิบัติ ผู้ปกครองส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า
โรงเรียนควรเน้นด้านวิชาการรวมทั้งเรื่องลายมือและความถูกต้องในการอ่าน เขียน สื่อการเรียน
การสอนควรมีหลากหลายแปลกใหม สีสันสวยงาม รอบบริเวณโรงเรียนควรปลูกต้นไม้ใหญ และ
จัดหาเครื่องเล่นให้มีปริมาณเพียงพอกับจำนวนนักเรียน ครูต้องเป็นผู้ที่มีคุณธรรม มีประสบการณ์
หรือจบทางด้านอนุบาลโดยเฉพาะ อีกทั้งอาหารควรมีคุณค่าตามหลักโภชนาการ
สุมาลี มีพงษ์ (2538 : 84) ได้ศึกษาความคิดเห็นของผู้ปกครองที่ส่งบุตรหลานเข้าโรงเรียน
อนุบาลเอกชนที่มีชั้นประถมศึกษา เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่า ผู้ปกครอง
ส่วนใหญ่จะเลือกโรงเรียนที่อยู่ใกล้บ้าน มีครูผู้สอนมีความรู้ดีทางด้านอนุบาล สัดส่วนครู
ในการดูแลนักเรียนมีจำนวนครูที่เหมาะสม มีการจัดการเรียนการสอนจะมุ่งเตรียมความพร้อม
ด้านพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา เพื่อเตรียมความพร้อมไป
ประถมศึกษาปีที่ 1 ต่อไป อาคารสถานที่ภายในห้องเรียนและภายนอกมีความสะอาดเรียบร้อย
ปลอดภัย มีบรรยากาศต่อการจัดการเรียนการสอน คุณครูจะต้องมีการประสานสัมพันธ์ที่ดีกับ
ผู้ปกครองตลอดจนส่งข่าวสารการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่องและมีการดูแลนักเรียนนอกเวลาเรียน
อย่างใกล้ชิด และประการสุดท้าย คือ มีการสอนโดยใช้สื่อประกอบการเรียน
เชาวรัตน์ โทณผลิน (2539 : 74) ได้ศึกษาปัจจัยที่ผู้ปกครองนักเรียนตัดสินใจส่ง บุตร
หลานเข้าเรียนในโรงเรียนอนุบาลเอกชน เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร พบว่า ปัจจัยที่ ผู้ปกครอง
นักเรียนใช้เป็นเกณฑ์ในการเลือกมากที่สุด คือปัจจัยด้านการเรียนการสอน ได้แก่ โรงเรียนมีการ
ใช้สื่อการเรียนการสอนเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี ปัจจัยด้านบทบาทครูปฐมวัย ได้แก่
ครูมีกิริยาท่าทาง การพูดจาต่อนักเรียนเหมาะสม ปัจจัยด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับ
ชุมชน ได้แก่ โรงเรียนตั้งอยู่ใกล้บ้าน ปัจจัยด้านการบริหารโรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนมีการอบรม
สั่งสอนโดยส่งเสริม กิริยามารยาท และจริยธรรม ที่ดีให้กับนักเรียน ปัจจัยด้านการจัด
45
สภาพแวดล้อมในโรงเรียน อาคารและสถานที่ ได้แก่ โรงเรียนมีการดูแลรักษาความสะอาดของ
อาคารสถานที่ เช่น ห้องน้ำ ห้องเรียน ห้องนอน ห้องอาหาร ตามลำดับ ส่วนปัจจัยด้านค่าธรรมเนียม
การเรียน ได้แก่ อัตราค่าธรรมเนียมการเรียนต่าง ๆ มีความเหมาะสมเป็นเกณฑ์การตัดสินใจของ
ผู้ปกครองน้อยกว่าปัจจัยอื่น ๆ
วศิน ปาลเดชพงศ์ (2539 : 89) ได้ศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนต่อโรงเรียน
อนุบาลเอกชน : กรณีศึกษาโรงเรียนอนุบาลก้องหล้า กรุงเทพมหานครผลการวิจัยพบว่า ผู้ปกครอง
มีความพึงพอใจ ดังนี้ 1) จัดการเรียนการสอนโดยเน้นวิชาการให้นักเรียนอ่านออกเขียนได้
2) จัดมุมการเรียนต่าง ๆ ขึ้นในห้องเรียน 3) จัดหาครูที่มีอายุอยู่ระหว่าง 20 – 40 ปี และควรผ่าน
การอบรมหรือศึกษาด้านการอนุบาลมาโดยเฉพาะ และจัดพี่เลี้ยงให้กับเด็กในแต่ละชั้นเรียน
4) รายงานผลพัฒนาการของนักเรียนทุกครั้ง ติดต่อกับผู้ปกครองทั้งทางจดหมายและโทรศัพท์
และผู้ปกครองนักเรียนมีความต้องการให้โรงเรียนดำเนินการดังน ี้ 1) จัดให้มีอุปกรณ์และสื่อ
การสอนต่าง ๆ เพียงพอกับความต้องการของนักเรียน 2) มีสิ่งแวดล้อมที่ดีร่มรื่น มีห้องเฉพาะ
สำหรับวิชาต่าง ๆ ติดตั้งเครื่องปรับอากาศในห้องเรียนและมีสถานที่ตั้งอยู่ในที่ชุมชน การคมนาคม
สะดวก และ 3) มีการพบปะสังสรรค์ระหว่างผู้ปกครองและโรงเรียนปีละ 1 ครั้ง
ชุลีพร อนะมาน (2539 : 70) ได้ศึกษาความคิดเห็นของผู้ปกครองที่ส่งเด็กเข้าเรียนใน
โรงเรียนอนุบาลเอกชน จังหวัดสระบุรี ผลการวิจัยพบว่า ผู้ปกครองมีความคิดเห็นในการส่งเด็ก
เข้าเรียนโรงเรียนอนุบาลเอกชน ความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน อันดับสูงสุดแต่ละด้าน
คือ ด้านการเรียนการสอน ด้านบุคลากร ด้านอาคารสถานที่ ด้านกิจการนักเรียน และด้าน
ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง มีดังต่อไปนี้ คือ ครูสอนให้นักเรียนอยู่ในระเบียบ
วินัย ครูที่สอนนักเรียนอนุบาลแต่งกายสะอาดเรียบร้อย สภาพแวดล้อมของโรงเรียนเป็นระเบียบ
สวยงามร่มรื่น โรงเรียนสอนให้นักเรียนรู้จักช่วยเหลือตนเอง ผู้บริหารและครูต้อนรับผู้ปกครอง
ด้วยไมตรีจิตที่ดี ผู้ปกครองที่มีฐานะทางเศรษฐกิจต่างกันมีความคิดเห็นในด้านการเรียนการสอน
ไม่แตกต่างกัน ส่วนทางด้านบุคลากร ด้านอาคารสถานที่ ด้านกิจการนักเรียน ด้านความสัมพันธ์
ระหว่างโรงเรียนกับ ผู้ปกครอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผู้ปกครอง
ที่มีรายได้ในระดับ ปานกลางและระดับสูงมีความคิดเห็นแตกต่างกัน แต่แตกต่างจากผู้มีรายได้
ระดับต่ำกว่า
วาม ดุลยากร (2540 : 201) ได้ศึกษาเกี่ยวกับความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียน
เอกชนระดับอนุบาล ต่อการจัดการเรียนการสอนที่พึงประสงค์ : กรณีศึกษาโรงเรียนบรรจงรัตน์
46
จังหวัดลพบุรี จากกลุ่มประชากรเป็นผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบรรจงรัตน์ แผนกอนุบาล
ประจำปีการศึกษา 2539 จำนวน 600 คน
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ปกครองส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าการดำเนินการจัดการเรียนการสอน
ควรเน้นการเตรียมความพร้อมเพื่อพัฒนาเด็กทั้งทางร่างกาย อารมณ์ – จิตใจ สังคมและสติปัญญา
โดยต้องการให้เน้นวิชาการในระดับอนุบาลปีที่ 3 เพื่อเตรียมขึ้นชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และควรมี
การสอนคอมพิวเตอร์สำหรับเด็กอนุบาล คุณลักษณะของนักเรียนของโรงเรียนทุกด้านเน้นครู
อนุบาลต้องจบเอกอนุบาลโดยเฉพาะ ครูอนุบาลควรมีเมตตา กรุณาและรักเด็กด้านความสัมพันธ์
ระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง ควรมีการประชุมพบปะผู้ปกครองให้มากขึ้น และสภาพห้องเรียนมี
แสงสว่างเพียงพอ การถ่ายเทอากาศดี มีลมพัดผ่าน สภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนเน้น
ความปลอดภัย สะอาด และมีบรรยากาศแห่งการเรียนรู้
วิชชุลดา งามปลอด (2540 : 93) ได้ศึกษาเกี่ยวกับความคาดหวังของผู้ปกครองที่มีต่อ
การจัดการศึกษาในโรงเรียนอนุบาลเอกชน จังหวัดสุราษฎร์ธานี และการวิจัยพบว่า ผู้ปกครองมี
ความคาดหวังต่อการจัดการศึกษาในระดับอนุบาล โดย 1) ด้านการจัดประสบการณ์ และ
กิจกรรมการเรียนการสอน คาดหวังให้เน้นการเตรียมความพร้อมเพื่อการเรียนต่อในระดับ
ประถมศึกษา โดยเสริมให้กล้าแสดงออกและมีทักษะในการติดต่อกับผู้อื่น การให้การบ้านควรให้
ทุกวันเป็นการคิดตัวเลข คิดพยัญชนะ เสริมทักษะทางคณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษเน้นคุณธรรม
ด้านความขยันหมั่นเพียร 2) ด้านครูผู้สอนคาดหวังให้ครูเอาใจใส่ต่อเด็ก มีความรู้เกี่ยวกับจิตวิทยา
พัฒนาการเด็ก กรณีที่เด็กมีปัญหาด้านการเรียน ครูควรเชิญผู้ปกครองมาพบ เพื่อหาแนวทาง
ช่วยเหลือนักเรียน ระดับการศึกษาของครูไม่จำเป็นต้องสาขาอนุบาลแต่มีความสามารถสอนได้
หรือผ่านการอบรมด้านอนุบาล และเมื่อเด็กเลื่อนชั้นควรให้ครูคนใหม่ประจำชั้น 3) ด้านสื่อ
การเรียนการสอน คาดหวังให้ใช้สื่อประเภทเสริมความพร้อมทางคณิตศาสตร์และกิจกรรมอื่น
โรงเรียนควรจัดหาสื่อเองมากกว่าที่จะให้ผู้ปกครองช่วยเหลือ 4) ด้านการจัดสภาพแวดล้อม
คาดหวังให้มีห้องเรียน ที่สะอาดถูกสุขลักษณะ อากาศถ่ายเทสะดวก มีเครื่องเล่นสนามไว้ในที่ที่
เหมาะสม 5) ด้านการอำนวยความสะดวกและบริการอื่น ๆ คาดหวังให้มีการจัดบริการอาหารว่าง
และอาหารกลางวันให้ ถูกต้องตามหลักโภชนาการ อาคารเรียนอนุบาลควรเป็นเอกเทศ
แยกจากอาคารอื่น โรงเรียนควรเปิดโอกาสให้ชุมชนเข้าร่วมชมกิจกรรมของนักเรียน 6) ด้าน
การประเมินผลคาดหวังให้ทำการประเมินผลเดือนละครั้งโดยใช้วิธีการตรวจผลงานเด็กและ
การสังเกตและนำเอาผลการประเมินไปพัฒนาเด็กให้ ดีขึ้น
47
วรสิทธิ์ สฤษดิ์อภิรักษ์ (2542 : 69) ได้ศึกษาความคิดเห็นของผู้ปกครองที่มีต่อ การจัด
การศึกษาในระดับอนุบาลของโรงเรียนเอกชน ในเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ผลการวิจัย
พบว่า ผู้ปกครองส่งบุตรหลานเข้าเรียนในระดับอนุบาลของโรงเรียนอนุบาลเอกชนในเขต
บางกอกน้อย ในโรงเรียนที่ตั้งอยู่ไม่ห่างจากชุมชน มีการคมนาคมสะดวก โรงเรียนจะต้องเน้น
การอ่านออกเขียนได้ มีการประกันอุบัติเหตุให้นักเรียน การเก็บค่าธรรมเนียมเหมาะสมกับคุณภาพ
ของโรงเรียน และมีบุคลากรเอาใจใส่ต่อนักเรียน ในด้านความคิดเห็นต่อการจัดการศึกษาผู้ปกครอง
เห็นว่า ควรจัดการเรียนการสอนเพื่อให้เด็กมีคุณธรรม จริยธรรม มีการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์
เพื่อพัฒนาทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญาและเน้นให้อ่านออกเขียนได้เน้นวิชาการ
เพื่อเตรียมเข้าเรียนในระดับประถมศึกษาปีที่ 1 ด้านบุคลากร ครูควรมีประสบการณ์มีวุฒิปริญญาตรี
ทางด้านอนุบาลโดยตรง ด้านอาคารสถานที่ ควรมีสนามเล่นกลางแจ้งเพียงพอมีอุปกรณ์และห้อง
ที่จำเป็นต่อการจัดกิจกรรมครบถ้วน ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง ควรจัดให้
มีการประชุมและให้ผู้ปกครองมาเยี่ยมโรงเรียนมากขึ้น
สายชน หมวกเหล็ก (2542 : 78) ได้ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครอง
ในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนอนุบาลเอกชน จังหวัดสระบุรี ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่
มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนอนุบาลเอกชน
มากที่สุด คือ 1) ปัจจัยเกี่ยวกับตัวครู ได้แก่ ครูเอาใจใส่ดูแลนักเรียนและให้การบ้านสม่ำเสมอ
2) ปัจจัยเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์การเรียนการสอน ได้แก่ โรงเรียนเน้นการเตรียมความพร้อม
ให้แก่เด็กเป็นสำคัญ และส่งเสริมให้เด็กอ่าน เขียน คิดคำนวณได้ 3) ปัจจัยเกี่ยวกับการบริการ
อาหารและสุขภาพ ได้แก่ การจัดบริการอาหารเสริมและอาหารกลางวันที่สะอาดและถูกหลัก
โภชนาการ และมีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการของนักเรียน 4) ปัจจัยเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ
ได้แก่ โรงเรียนช่วยเหลือผู้ปกครองโดยแบ่งชำระค่าเทอมได้ในอัตราส่วนที่เหมาะสม 5) ปัจจัย
เกี่ยวกับที่ตั้ง ได้แก่ โรงเรียนตั้งอยู่แหล่งที่สะดวกในการเดินทาง รับ – ส่งนักเรียน และ ตั้งอยู่ใน
สภาพแวดล้อมที่ดี ไม่มีกลิ่น เสียง หรือสิ่งที่เป็นอันตรายอยู่ข้างเคียง สำหรับปัจจัยการบริการอื่น ๆ
ได้แก่ สระว่ายน้ำ และห้องนอนปรับอากาศ มีผลต่อการตัดสินใจน้อยกว่า 5 ปัจจัยดังกล่าว
สุดารัตน์ แซ่ซี (2542 : 56) ได้ศึกษา ความคาดหวังของผู้ปกครองเกี่ยวกับการจัดการศึกษา
ของโรงเรียนอนุบาลเอกชนในเขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่า ผู้ปกครอง
ส่วนใหญ่ คาดหวังในเรื่องการจัดประสบการณ์การเรียนการสอนมุ่งพัฒนาเด็กให้มีความพร้อม
ทั้งทางด้านร่างกายอารมณ์ สังคม และสติปัญญา เพื่อให้เด็กมีความพร้อมเพื่อศึกษาต่อไปในระดับ
48
ชั้นประถม ครูอนุบาลต้องเป็นผู้ทำให้เด็กเกิดความรักและไว้วางใจมากที่สุด สื่อการเรียนการสอน
ควรมีความปลอดภัย สภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนเหมาะกับเด็กอนุบาลห้องเรียนมีบรรยากาศ
และมีแสงสว่างเพียงพอ ครูต้องแจ้งข่าวสารให้ผู้ปกครองทราบสม่ำเสมอและมีการเอาใจใส่ความ
ปลอดภัยในการ รับ – ส่งนักเรียน
สรุปว่า ผู้ปกครองให้ความสำคัญต่อการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษาเป็นอย่างยิ่ง
เนื่องจากพัฒนาการของเด็กในช่วงแรกนี้จะส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนา
คุณภาพของเด็กสูงขึ้น ซึ่งการจัดการศึกษาจะบรรลุวัตถุประสงค์ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น
นโยบายการจัดการศึกษา รูปแบบการจัดการศึกษาในโรงเรียน ผู้บริหารและครู
งานวิจัยต่างประเทศ
การ์เซีย (Garcia, 1986 : 8-A) ได้ศึกษาเพื่อเสนอความคิดเห็นในการวางแผนการจัด
หลักสูตรสำหรับเด็กอนุบาลเปอร์โตริกัน ผลของการวิจัยครั้งนี้ได้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์
คือ
1. ด้านหลักสูตร ควรสอนให้เด็กทราบถึงวัฒนธรรม และภูมิใจในการเป็นพลเมือง
ของประเทศตนเอง และควรจัดให้เด็กมีกิจกรรมและประสบการณ์
2. ด้านการเรียนการสอน ครูควรเป็นผู้แนะนำวิธีปฏิบัติในการเรียน และมีอุปกรณ์
การสอนที่เหมาะสมกับความเข้าใจของเด็ก ครูควรเป็นผู้มีวุฒิทางการสอนอนุบาลโดยเฉพาะ
3. ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบ้านกับโรงเรียน ควรมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด
จากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่า การจัดการศึกษาระดับอนุบาลเป็นเรื่องการเตรียม
ความพร้อมด้านต่าง ๆ เพื่อพัฒนาทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา เพื่อจะช่วยพัฒนา
เด็กให้พร้อมที่จะเรียนในระดับที่สูงขึ้น ขณะเดียวกันโรงเรียนจะต้องศึกษาความคาดหวังใน
การจัดการศึกษาของผู้ปกครองด้านอื่น ๆ เช่น การจัดกิจกรรมการเรียน การสอน บุคลากร
สื่อการเรียนการสอน การจัดสภาพแวดล้อม การอำนวยความสะดวกและบริการอื่น ๆ
ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและ ผู้ปกครอง เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการบริหารและการจัด
การศึกษา ของโรงเรียนให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ปกครองและอยู่บนพื้นฐานการศึกษา
ที่ถูกต้อง เพื่อเป็นประโยชน์สูงสุดให้แก่นักเรียน
วิทเทเคอร์ (Whitaker. 1978: 5 - A) ศึกษาทัศนะของผู้ปกครองและผู้บริหารที่มีต่อการมี
ส่วนร่วมของประชาชนบริเวณที่ตั้งของโรงเรียนในเมือง เกี่ยวกับการวินิจฉัยสั่งการ หรือ
49
การตัดสินใจด้านการศึกษา พบว่า ผู้ปกครองรู้สึกว่าความไม่สะดวกในการรับรู้ข้อมูลหรือประกาศ
เกี่ยวกับโรงเรียนเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการมีส่วนร่วมในเรื่องนโยบาย การตัดสินใจทางการศึกษา
แต่ผู้บริหารกลับเห็นว่าผู้ปกครองยังมีอิทธิพลต่อโรงเรียนแม้จะมีความสนใจน้อยจึงสรุปว่า ชุมชน
มีความสำคัญและควรมีส่วนร่วมในการปรับปรุงโรงเรียนซึ่งบุคลากรในโรงเรียนควรตระหนักถึง
และวางโครงการร่วมกันให้บุคคลในชุมชนเข้ามีส่วนร่วมกับโรงเรียน
สรุป ผลจากการวิจัยพบว่า ผู้ปกครองมีความคาดหวังหรือความต้องการให้โรงเรียน
จัดการศึกษาที่เน้นการเตรียมความพร้อมและด้านวิชาการให้ความรู้ที่เหมาะสมกับวัยของเด็ก
ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานของนักเรียนเอกชนสอดคล้องกับความต้องการของผู้ปกครองจึงมี
ความสำคัญที่ต้องศึกษาข้อมูลนำมาปรับปรุงพร้อมพัฒนาโรงเรียนให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
บทที่ 3
วิธีการดำเนินการวิจัย
ในการวิจัยเรื่อง ความต้องการของผู้ปกครองต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนอนุบาล
เอกชนในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร โดยกำหนดวิธีการดำเนินการวิจัย ดังนี้
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1. ประชากร
ประชากรที่ใช้วิจัย ได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนอนุบาลเอกชนในเขตธนบุรี
กรุงเทพมหานคร ในปีการศึกษา 2546 จำนวน 22 โรงเรียน 2,517 คน
2. กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้วิจัย ได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนอนุบาลเอกชนในเขตธนบุรี
กรุงเทพมหานคร จำนวน 22 โรงเรียน ซึ่งผู้วิจัยกำหนดกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยตามเกณฑ์ของแครซี่
และมอร์แกน (Krejcie and Morgan. 1970 : 608P) ซึ่งกำหนดว่าประชากร 2,517 คน และใช้
กลุ่มตัวอย่าง 350 คน จำแนกตามสัดส่วนประชากรดังแสดงในตาราง ดังนี้
ตารางที่ 1 จำนวนประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
โรงเรียนอนุบาล ประชากร กลุ่มตัวอย่าง
1.เกื้อวิทยา 48 7
2.จรวยพรวิทยา 97 13
3.น้ำชลชนานุกูล 14 2
4.ประจักษ์วิทยา 49 7
5.พรประสาทวิทยา 183 25
6.มณีวิทยา 185 26
7.มนตรีวิทยา 91 12
8.ฤดีศึกษา 195 27
9.วชิรานุบาล 60 9
10.วัฒนะศึกษา 42 6
11.ศิริรักษ์วิทยา 129 18
51
ตาราง (ต่อ)
โรงเรียนอนุบาล ประชากร กลุ่มตัวอย่าง
12.สหนิยมวิทยา 105 15
13.แสงอรุณ 222 31
14.อนุบาลวรรณบูรณ์ศึกษา 369 51
15.อนุบาลซางตาครู๊ส 84 11
16.อนุบาลแสงอรุณ 42 6
17.อนุบาลแสงอรุณ ธนบุรี 74 9
18.อนุบาลพัชรินทร์พร 66 9
19.อนุบาลอำไพวานิช 18 3
20.อนุบาลสายทอง 35 5
21.อนุบาลบัวเทพ 11 2
22.ซางตะครูสคอนแวนท์ 398 56
รวม 2,517 350
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน แบ่งเป็น
2 ตอน ดังนี้
ตอนที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ เพศ
อายุ ระดับ การศึกษา อาชีพ รายได้ เป็นแบบสอบถามชนิดกำหนดข้อคำถามให้เลือกตอบ
ตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับความต้องการของผู้ปกครองต่อการจัดการศึกษาของ
โรงเรียนอนุบาลเอกชนในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร เป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ
โดยกำหนดค่าน้ำหนักที่ใช้ในการตัดสินใจ ดังนี้
1 หมายถึง มีความต้องการน้อยที่สุด
2 หมายถึง มีความต้องการน้อย
3 หมายถึง มีความต้องการปานกลาง
4 หมายถึง มีความต้องการมาก
5 หมายถึง มีความต้องการมากที่สุด
52
ขั้นตอนในการสร้างเครื่องมือ
1. ศึกษาเอกสาร แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจ
ของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนอนุบาลทุก ๆ ด้าน
2. กำหนดประเด็นศึกษาในการวิจัย
3. สร้างแบบสอบถามและนำเสนออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อพิจารณาความเหมาะสม
4. ปรับปรุงแก้ไขแบบสอบถามตามข้อเสนอแนะ
5. พิจารณาหาค่าความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) โดยนำแบบสอบถามไปเสนอ
ผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสม และครอบคลุม เนื้อหา จำนวน 5 คน
(รายละเอียดในภาคผนวก ข)
6. หาค่าความเชื่อมั่น(Reliability) โดยนำแบบสอบถามไปทดลองใช้กับผู้ปกครอง
นักเรียนในโรงเรียนอนุบาลเด่นหล้า เขตบางแค กรุงเทพมหานคร จำนวน 30 คน แล้วนำมาหาค่า
ความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์อัลฟ่า (′-Coefficient) ตามวิธีของครอนบาค
(Cronbach.1970: 650p) ได้ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.97
การเก็บรวบรวมข้อมูล
1. ขอหนังสือจากสถาบันราชภัฏ บ้านสมเด็จเจ้าพระยา ถึงโรงเรียนอนุบาลเอกชนใน
เขตธนบุรี กรุงเทพมหานครทุกโรงเรียน เพื่อขอความร่วมมือในการตอบแบบสอบถาม
2. พบผู้บริหารโรงเรียนอนุบาลเอกชนในเขตธนบุรีด้วยตนเองทุกโรงเรียนเพื่อขอความ
ร่วมมือให้ผู้ปกครองนักเรียนช่วยตอบแบบสอบถามและเก็บรวบรวมไว้เพื่อส่งคืน
3. ติดตามแบบสอบถามที่ส่งไปกลับคืนมาร้อยละ 100.00
การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์
วิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC+ (Statistical
Package for the Social Science) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
53
1. ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติความถี่และร้อยละ
2. ข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียน
อนุบาลเอกชนในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ค่าสถิติมัชฌิมเลขคณิต (Mean : X ) และส่วนเบี่ยง
เบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D.) ทั้งนี้ มีเกณฑ์การแปลความหมายดังนี้
เกณฑ์การแปลความหมาย นำค่าเฉลี่ย ( X) ที่ได้ไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์เพื่อแปล
ความหมาย (บุญชม ศรีสะอาด 2535 : 100) ดังนี้
- ค่าเฉลี่ย 4.51-5.00 หมายถึง มีความต้องการในระดับมากที่สุด
- ค่าเฉลี่ย 3.51-4.50 หมายถึง มีความต้องการในระดับมาก
- ค่าเฉลี่ย 2.51-3.50 หมายถึง มีความต้องการในระดับปานกลาง
- ค่าเฉลี่ย 1.51-2.50 หมายถึง มีความต้องการในระดับน้อย
- ค่าเฉลี่ย 1.00-1.50 หมายถึง มีความต้องการในระดับน้อยที่สุด
3. เปรียบเทียบความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียน
อนุบาลเอกชนในเขตธนบุร ี กรุงเทพมหานคร จำแนกตามระดับการศึกษาและรายได้รวมของ
ครอบครัวใช้ค่าสถิติที (t-test)
บทที่ 4
การวิเคราะห์ข้อมูล
ในบทนี้ ผู้วิจัยขอเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการของผู้ปกครองนักเรียน
ต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนอนุบาลเอกชนในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร โดยมีรายละเอียด
ดังนี้
ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ซึ่งได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียน
อนุบาลเอกชนในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร จำนวน 350 คน
ตอนที่ 2 ความต้องการของผู้ปกครองของนักเรียนต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียน
อนุบาลเอกชนในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ดังนี้
1. ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนด้านบุคลากร
2. ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนด้านการจัดสภาพแวดล้อม
3. ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนด้านการจัดประสบการณ์
4. ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนด้านการส่งเสริมสุขภาพอนามัย
5. ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียน
กับผู้ปกครอง
6. ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนด้านการพัฒนาการของเด็ก
ตอนที่ 3 เปรียบเทียบความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนต่อการจัดการศึกษาของโรง
เรียนอนุบาลเอกชนในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร จำแนกตามระดับการศึกษาและรายได้รวมของ
ครอบครัว
55
ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ
และรายได้รวมของครอบครัว วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละและนำเสนอข้อมูลในตาราง
ประกอบการบรรยาย ดังนี้
ตารางที่ 2 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
ตัวแปรที่ศึกษา จำนวน ร้อยละ
1. เพศ
1.1 ชาย 157 44.86
1.2 หญิง 193 55.14
2. อายุ
2.1 ต่ำกว่า 30 ปี 61 17.43
2.2 31-40 ปี 188 53.71
2.3 40 ปีขึ้นไป 101 28.86
3. ระดับการศึกษา
3.1 ต่ำกว่าปริญญาตรี 168 48.00
3.2 ปริญญาตรีขึ้นไป 182 52.00
4. อาชีพ
4.1 รับจ้าง 178 50.86
4.2 กิจการส่วนตัว 117 33.43
4.3 รับราชการ 37 10.57
4.4 พนักงานรัฐวิสาหกิจ 18 5.14
56
ตารางที่ 2 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม (ต่อ)
ตัวแปรที่ศึกษา จำนวน ร้อยละ
5. รายได้รวมของครอบครัว
5.1 ไม่เกิน 20,000 บาท 178 50.86
5.2 มากกว่า 20,000 บาท 172 49.14
จากตารางที่ 2 พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ส่วนใหญ่เป็น
เพศหญิง ร้อยละ 55.14 มีอายุระหว่าง 31-40 ปี ร้อยละ 53.71 จบการศึกษาชั้นสูงสุดระดับ
ปริญญาตรีขึ้นไป ร้อยละ 52.00 ประกอบอาชีพกิจการส่วนตัว ร้อยละ 33.43 และมีรายได้ไม่เกิน
20,000 บาท ร้อยละ 50.86
57
ตอนที่ 2 ความต้องการของผู้ปกครองของนักเรียนต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนอนุบาลเอกชน
ในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
ตารางที่ 3 ความต้องการของผุ้ปกครองของนักเรียนต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนอนุบาล
เอกชนในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร จำแนกเป็นรายด้านและรวมทุกด้าน
การดำเนินงาน X S.D. การแปลผล
1. ด้านบุคลากร 3.73 1.00 มาก
2. ด้านสภาพแวดล้อมและสื่อการเรียนการสอน 3.49 1.07 ปานกลาง
3. ด้านการจัดประสบการณ์ 3.60 1.13 มาก
4. ด้านการจัดบริการ 3.67 1.04 มาก
5. ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง 3.28 1.04 ปานกลาง
6. ด้านการพัฒนาของการของเด็ก 3.76 0.96 มาก
รวม 3.52 1.06 มาก
จากตารางที่ 3 พบว่า ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนต่อการจัดการศึกษาโดยรวม
อยู่ในระดับมาก ( X = 3.53) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ผู้ปกครองมีความต้องการอยู่ในระดับ
ปานกลางถึงมาก โดยมีความต้องการเกี่ยวกับด้านการพัฒนาการของเด็กอยู่ในระดับสูงสุด
( X = 3.76) รองลงมา คือ ด้านบุคลากร ( X = 3.73) และด้านการจัดบริการ ( X = 3.67)
58
ความต้องการของผุ้ปกครองของนักเรียนต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนอนุบาลเอกชน
ในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร จำแนกเป็นรายด้านและรายข้อ
ตารางที่ 4 ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนด้านบุคลากร
การดำเนินงาน X S.D. การแปลผล
1. รักและเอาใจใส่นักเรียนทั้งในและนอกเวลา 3.83 0.94 มาก
2. จำนวนครูเหมาะสมกับจำนวนนักเรียนแต่ละห้อง 3.49 1.07 ปานกลาง
3. ครูมีวุฒิและประสบการณ์ในการสอนอนุบาล 3.73 1.02 มาก
โดยตรง
4. ครูมีความสามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 3.61 1.05 มาก
ที่น่าสนใจ เหมาะสมกับวัยของนักเรียน
5. ครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็ก 3.74 0.98 มาก
แต่ละวัย
6. ครูและพี่เลี้ยงมีความสุภาพ อ่อนโยน และมี 3.73 1.04 มาก
บุคลิกภาพเหมาะกับการสอนนักเรียนอนุบาล
7. ครูมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับนักเรียนและผู้ปกครอง 3.79 1.00 มาก
นักเรียน
8. ครูใฝ่ศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ และมีความคิด 3.69 0.94 มาก
ก้าวหน้าทันสมัย
9. ครูมีบุคลิกภาพที่ดีเป็นแบบอย่างของนักเรียน 3.72 0.99 มาก
10.ครูมีบุคลิกภาพที่ดีเป็นแบบอย่างของนักเรียน 3.85 0.99 มาก
รวม 3.73 1.00 มาก
จากตารางที่ 4 พบว่า ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนต่อการจัดการศึกษา
ของโรงเรียนอนุบาลเอกชน ในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ด้านบุคลากรของโรงเรียน โดยรวม
อยู่ในระดับมาก ( X = 3.73) และเมื่อจำแนกเป็นรายข้อพบว่า ผู้ปกครองนักเรียนมีความต้องการ
อยู่ในระดับมากทุกข้อ ยกเว้นเรื่องจำนวนครูเหมาะสมกับจำนวนนักเรียนแต่คงต้องมีความต้องการ
อยู่ในระดับปานกลาง ( X = 3.49) โดยมีความต้องการครูที่มีบุคลิกภาพดีเป็นแบบอย่างของนักเรียน
อยู่ในระดับสูงสุด ( X = 3.85) รองลงมาได้แก่ รักและเอาใจใส่นักเรียนทั้งในและนอกเวลา
( X = 3.83) และครูมีมนุษยสัมพันธ์ดีกับนักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน ( X = 3.79)
59
ตารางที่ 5 ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนด้านการจัดสภาพแวดล้อม
การดำเนินงาน X S.D. การแปลผล
1. บรรยากาศสภาพแวดล้อมในโรงเรียนเหมาะสมกับ 3.47 1.08 ปานกลาง
นักเรียน
2. ห้องเรียนมีการระบายอากาศและแสงสว่าง 3.55 1.10 มาก
เพียงพอ
3. มีสนามให้นักเรียนเล่นออกกำลังกายกลางแจ้ง 3.37 1.12 ปานกลาง
4. ห้องน้ำ สุขภัณฑ์ เหมาะสมกับนักเรียน 3.36 1.19 ปานกลาง
5. โต๊ะ เก้าอี้ เหมาะสมกับนักเรียนและมีความ 3.50 1.14 มาก
ปลอดภัย
6. สื่อการเรียนการสอนมีความเหมาะสมกับ 3.65 1.03 มาก
พัฒนาการของเด็ก
7. สื่อที่ใช้ส่งเสริมกระบวนการคิดและความคิด 3.52 1.03 มาก
ริเริ่มสร้างสรรค์
8. ส่งเสริมให้เด็กรู้จักการบำรุงรักษาสื่อการเรียน 3.45 0.98 ปานกลาง
การสอน
9. สื่อเป็นของจริงที่สามารถสัมผัสได้ 3.40 1.00 ปานกลาง
10. สื่อมีความปลอดภัยและทันสมัย 3.55 1.03 มาก
รวม 3.49 1.07 ปานกลาง
จากตารางที่ 5 พบว่า ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนต่อการจัดการศึกษา
ของโรงเรียนอนุบาลเอกชน ในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ด้านการจัดสภาพแวดล้อมโดยรวม
อยู่ในระดับปานกลาง ( X = 3.49) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ผู้ปกครองนักเรียนมี
ความต้องการอยู่ในระดับปานกลางถึงมาก โดยมีความต้องการสื่อการเรียนการสอนมีความ
เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กอยู่ในระดับสูงสุด ( X = 3.65) รองลงมาได้แก่ สื่อมีความ
ปลอดภัยและทันสมัย ( X = 3.55) และห้องเรียนมีการระบายอากาศและแสงสว่างที่เพียงพอ
( X = 3.55)
60
ตารางที่ 6 ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนด้านการจัดประสบการณ์
การดำเนินงาน X S.D. การแปลผล
1. มุ่งพัฒนาเด็กให้สามารถช่วยเหลือตนเองได้ 3.77 0.99 มาก
2. จัดประสบการณ์ให้เด็กมีความพร้อมที่จะเรียนต่อ 3.82 0.99 มาก
ในชั้นประถมศึกษา
3. ฝึกเด็กให้สามารถเล่นกับเพื่อนและช่วยเหลือ 3.75 0.95 มาก
เพื่อนๆ ได้
4. จัดกิจกรรมส่งเสริมให้เด็กรักและสนใจหนังสือ 3.69 1.00 มาก
5. จัดกิจกรรมส่งเสริมศิลป เช่น การวาดภาพ 3.49 0.95 ปานกลาง
6. จัดกิจกรรมส่งเสริมกีฬา ดนตรี นาฏศิลป์และ 3.31 1.06 ปานกลาง
การแสดง
7. การจัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะการพูด 3.50 1.03 มาก
8. จัดกิจกรรมแข่งขันทักษะด้านต่าง ๆ 3.27 0.99 ปานกลาง
9. จัดกิจกรรมที่เน้นการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม 3.58 1.00 มาก
ให้กับเด็ก
10. จัดกิจกรรมที่เน้นให้เด็กสามารถปรับตัวเข้ากับ 3.72 1.85 มาก
ผู้อื่นได้
รวม 3.60 1.13 มาก
จากตารางที่ 6 พบว่า ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนต่อการจัดการศึกษา
ของโรงเรียนอนุบาลเอกชน ในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ด้านการจัดประสบการณ์โดยรวม
อยู่ในระดับมาก ( X = 3.60) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ผู้ปกครองนักเรียนมีความต้องการ
อยู่ในระดับปานกลางถึงมาก โดยมีความต้องการให้จัดประสบการณ์ให้เด็กมีความพร้อมที่จะเรียน
ต่อในชั้นประถมศึกษาอยู่ในระดับสูงสุด ( X = 3.82) รองลงมาได้แก่ มุ่งพัฒนาเด็กให้สามารถ
ช่วยเหลือตนเองได้ ( X = 3.77) และฝึกเด็กให้สามารถเล่นกับเพื่อนและช่วยเหลือเพื่อน ๆ ได้
( X = 3.75)
61
ตารางที่ 6 ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนด้านการส่งเสริมสุขภาพอนามัย
การดำเนินงาน X S.D. การแปลผล
1. จัดบริการรถรับส่งนักเรียน ซึ่งมีสภาพปลอดภัย 3.61 1.04 มาก
และมีอุปกรณ์ประจำรถครบครัน
2. จัดให้มีการประกันอุบัติเหตุสำหรับนักเรียนทุกคน 3.81 1.00 มาก
เพื่อความปลอดภัยและสวัสดิภาพของนักเรียน
3. บริการรับฝากเลี้ยงหลังเลิกเรียนและระหว่าง 3.46 1.00 ปานกลาง
ปิดภาคเรียน
4. มีการฝึกสุขนิสัยที่ดีในการรับประทานอาหาร เช่น 3.73 0.97 มาก
ล้างมือก่อนรับประทานอาหาร
5. จัดบริการอาหารเสริม และอาหารกลางวัน 3.71 0.98 มาก
ที่สะอาดตามหลักโภชนาการและมีปริมาณ
เพียงพอต่อความต้องการของนักเรียน
6. จัดน้ำดื่มและภาชนะรองรับที่สะอาดมีปริมาณ 3.75 1.07 มาก
เพียงพอ
7. จัดห้องพยาบาลและมีสุขภาพที่ดีสำหรับบริการ 3.52 1.08 มาก
นักเรียน
8. จัดให้มีบริการสุขภาพ เช่น บริการตรวจสุขภาพ 3.48 1.02 ปานกลาง
การบันทึก สุขภาพ ยาประจำบ้าน
9. จัดครูเวรดูแลความปลอดภัยนักเรียนในโรงเรียน 3.63 1.12 มาก
อย่างทั่วถึง
10.อาคารเรียนและอาคารต่าง ๆ แข็งแรง มั่นคง 3.67 1.10 มาก
ปลอดภัย มีการปรับปรุง ซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพ
ดีอยู่เสมอ
รวม 3.67 1.04 มาก
62
จากตารางที่ 7 พบว่า ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนอนุบาลเอกชน
ในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ด้านการส่งเสริมสุขภาพอนามัย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
( X = 3.67) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ผู้ปกครองมีความต้องการอยู่ในระดับปานกลางถึงมาก
โดยมีความต้องการให้มีการประกันอุบัติเหตุสำหรับนักเรียนทุกคน เพื่อความปลอดภัยและ
สวัสดิภาพของนักเรียนอยู่ในระดับสูงสุด ( X = 3.81) รองลงมาได้แก่จัดน้ำดื่มและภาชนะ
รองรับที่สะอาดให้มีปริมาณเพียงพอ ( X = 3.75) และมีการฝึกสุขนิสัยที่ดีในการรับประทาน
อาหาร เช่น ล้างมือก่อนรับประทานอาหาร ( X = 3.73)
63
ตารางที่ 8 ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง
การดำเนินงาน X S.D. การแปลผล
1. คณะกรรมการสมาคมผู้ปกครองและครู 3.26 1.10 ปานกลาง
2. จัดให้มีการปฐมนิเทศผู้ปกครองนักเรียนเข้าใหม่ 3.20 1.08 ปานกลาง
3. ประชุมผู้ปกครองเพื่อรายงานการดำเนินงานของ 3.20 1.02 ปานกลาง
โรงเรียน
4. ประชาสัมพันธ์กิจกรรมของโรงเรียนให้ผู้ปกครอง 3.37 1.02 ปานกลาง
และชุมชนทราบ
5. ให้ผู้ปกครองมีส่วนเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับ 3.30 0.98 ปานกลาง
ตัวนักเรียนหรือกิจกรรมของโรงเรียน
6. จัดกิจกรรมแสดงผลงานความสามารถของนักเรียน 3.34 0.99 ปานกลาง
ให้ผู้ปกครองและชุมชนได้รับทราบอยู่เสมอ
7. จัดโครงการเยี่ยมบ้านนักเรียนทุกคน 3.18 0.97 ปานกลาง
8. เข้าร่วมกิจกรรมและให้บริการต่าง ๆ แก่ชุมชน 3.18 0.98 ปานกลาง
9. ให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมรับรู้และแก้ปัญหาของนักเรียน 3.55 1.05 มาก
10. ประชุมเครือข่ายผู้ปกครองเพื่อร่วมกันแก้ปัญหา 3.28 1.07 ปานกลาง
และพัฒนาการจัดการเรียนการสอน
รวม 3.28 1.04 ปานกลาง
จากตารางที่ 8 พบว่า ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนอนุบาล
เอกชนในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครองโดยรวม
อยู่ในระดับปานกลาง ( X = 3.28) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าผู้ปกครองมีความต้องการอยู่
ในระดับปานกลางทุกข้อ ยกเว้นการให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมรับรู้และแก้ปัญหาของนักเรียน
โดยความต้องการอยู่ในระดับสูงสุด ( X = 3.55) รองลงมาได้แก่ ประชาสัมพันธ์กิจกรรมของ
โรงเรียนให้ผู้ปกครองและชุมชน ( X = 3.37) และจัดกิจกรรมแสดงผลงานความสามารถของ
นักเรียนให้ผู้ปกครองและชุมชนได้รับทราบอยู่เสมอ ( X = 3.34)
64
ตารางที่ 9 ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนด้านการพัฒนาการของเด็ก
การดำเนินงาน X S.D. การแปลผล
1. ฝึกให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้เหมาะสมกับวัย 3.89 0.93 มาก
2. ฝึกให้เด็กรู้จักรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตัวเอง 3.83 0.93 มาก
3. ฝึกให้เด็กรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ 3.70 1.00 มาก
4. ปลูกฝังนิสัยในการรักการอ่าน 3.77 1.02 มาก
5. ฝึกให้เด็กสามารถใช้อวัยวะต่าง ๆ เช่น แขน ขา 3.73 0.95 มาก
ได้คล่องแคล่วว่องไว
6. ฝึกให้เด็กสามารถแสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมกับวัย 3.66 0.91 มาก
7. ฝึกให้เด็กสามารถมีระเบียบวินัยในตนเอง 3.79 0.98 มาก
8. ฝึกให้เด็กสามารถใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย 3.74 0.96 มาก
9. ฝึกให้เด็กสามารถปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ดี 3.74 0.94 มาก
10. ฝึกให้เด็กสามารถปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ 3.75 0.95 มาก
รวม 3.76 0.96 มาก
จากตารางที่ 9 พบว่า ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนต่อการจัดการศึกษา
ของโรงเรียนอนุบาล ในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ด้านการพัฒนาการของเด็กโดยรวม
อยู่ในระดับมาก ( X = 3.76) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าผู้ปกครองนักเรียนมีความต้องการ
อยู่ในระดับมากทุกข้อ โดยมีความต้องการฝึกให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้เหมาะสมกับวัย
อยู่ในระดับสูงสุด ( X = 3.89) รองลงมาได้แก่ฝึกให้เด็กรู้จักรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตัวเอง
( X = 3.83) และให้ฝึกเด็กให้มีระเบียบวินัยในตัวเองและมีความรับผิดชอบ ( X = 3.79)
65
ตอนที่ 3 การศึกษาเปรียบเทียบความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนต่อการจัดการศึกษาของ
โรงเรียนอนุบาลเอกชนในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร จำแนกตามระดับการศึกษาและรายได้รวม
ของครอบครัว
ตารางที่ 10 การศึกษาเปรียบเทียบความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนต่อการจัดการศึกษา
ของโรงเรียนอนุบาลเอกชนในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร จำแนกตามระดับ
การศึกษา
การดำเนินการ สถานภาพ n X S.D. t
1. ด้านบุคลากร ต่ำกว่าปริญญาตรี
ปริญญาตรีขึ้นไป
168
182
36.90
37.65
7.51
8.81
0.87
2. ด้านสภาพแวดล้อมและ
สื่อการเรียนการสอน
ต่ำกว่าปริญญาตรี
ปริญญาตรีขึ้นไป
168
182
34.07
35.60
8.55
9.01
1.63
3. ด้านการจัดประสบการณ์ ต่ำกว่าปริญญาตรี
ปริญญาตรีขึ้นไป
168
182
35.38
36.57
8.25
8.33
1.33
4. ด้านการจัดบริการ ต่ำกว่าปริญญาตรี
ปริญญาตรีขึ้นไป
168
182
36.28
36.48
8.02
8.24
0.34
5. ด้านความสัมพันธ์ระหว่าง
โรงเรียนกับผู้ปกครอง
ต่ำกว่าปริญญาตรี
ปริญญาตรีขึ้นไป
168
182
32.28
33.31
9.07
8.45
1.10
6. ด้านการพัฒนาการของเด็ก ต่ำกว่าปริญญาตรี
ปริญญาตรีขึ้นไป
168
182
37.91
37.38
8.23
8.49
0.59
รวม ต่ำกว่าปริญญาตรี
ปริญญาตรีขึ้นไป
168
182
212.71
216.99
42.83
46.02
0.90
จากตารางที่ 10 พบว่า ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนต่อการจัดการศึกษาของ
โรงเรียนอนุบาลเอกชนที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีความต้องการแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ
ทางสถิติ
66
ตารางที่ 11 การศึกษาเปรียบเทียบความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนต่อการจัดการศึกษา
ของโรงเรียนอนุบาลเอกชนในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร จำแนกตามรายได้รวม
ของครอบครัว
การดำเนินการ สถานภาพ n X S.D. t
1. ด้านบุคลากร ไม่เกิน 20,000 บาท
มากกว่า 20,000 บาท
178
172
37.66
36.92
8.15
8.27
0.84
2. ด้านสภาพแวดล้อมและ
สื่อการเรียนการสอน
ไม่เกิน 20,000 บาท
มากกว่า 20,000 บาท
178
172
34.93
34.79
8.92
8.73
0.15
3. ด้านการจัดประสบการณ์ ไม่เกิน 20,000 บาท
มากกว่า 20,000 บาท
178
172
36.23
35.71
8.01
8.61
0.63
4. ด้านการจัดบริการ ไม่เกิน 20,000 บาท
มากกว่า 20,000 บาท
178
172
36.27
36.40
8.22
8.05
0.14
5. ด้านความสัมพันธ์ระหว่าง
โรงเรียนกับผู้ปกครอง
ไม่เกิน 20,000 บาท
มากกว่า 20,000 บาท
178
172
33.05
32.58
9.03
8.48
0.50
6. ด้านการพัฒนาการของเด็ก ไม่เกิน 20,000 บาท
มากกว่า 20,000 บาท
178
172
38.28
36.97
8.20
8.50
1.47
รวม ไม่เกิน 20,000 บาท
มากกว่า 20,000 บาท
178
172
216.46
213.36
44.22
44.87
0.65
จากตารางที่ 11 พบว่า ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนต่อการจัดการศึกษาของ
โรงเรียนอนุบาลเอกชนที่รายได้รวมของครอบครัวต่างกัน มีความต้องการแตกต่างกันอย่างไม่มีนัย
สำคัญทางสถิติ
บทที่ 5
สรุปผล อภิปรายผล ข้อเสนอแนะ
การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนต่อการจัด
การศึกษาของโรงเรียนอนุบาลเอกชนในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร โดยได้กำหนดวัตถุประสงค์
ของการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่างการวิจัย วิธีดำเนินกาวิจัย สรุปผลการวิจัย อภิปรายผลและ
ข้อเสนอแนะดังนี้
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาความต้องการของผู้ปกครองต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนอนุบาลเอกชน
ในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
2. เพื่อเปรียบเทียบความต้องการของผู้ปกครองต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนอนุบาล
เอกชนในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร จำแนกตามระดับการศึกษาและรายได้รวมของครอบครัว
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1.1 ประชากรได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนอนุบาลเอกชนในเขตธนบุรี
กรุงเทพมหานคร ในปีการศึกษา 2546 จำนวน 22 โรงเรียน 2,517 คน
1.2 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนอนุบาลเอกชนในเขตธนบุรี
กรุงเทพมหานคร ในปีการศึกษา 2546 จำนวน 22 โรงเรียน 350 คน
2. ตัวแปรที่ศึกษา
2.1 ตัวแปรต้น ได้แก่ ระดับการศึกษา และรายได้รวมของครอบครัว
2.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ ความต้องการของผู้ปกครองต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียน
อนุบาลเอกชนในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ในปีการศึกษา 2546 จำนวน 6 ด้าน ได้แก่
2.2.1 ด้านบุคลากร
2.2.2 ด้านการจัดสภาพแวดล้อม
2.2.3 ด้านการจัดประสบการณ์
68
2.2.4 ด้านการส่งเสริมสุขภาพอนามัย
2.2.5 ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง
2.2.6 ด้านการพัฒนาการของเด็ก
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น แบ่งเป็น 2 ตอน คือ
ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความต้องการของผู้ปกครองต่อการจัดการศึกษาของ
โรงเรียนอนุบาลเอกชนในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ลักษณะของ
แบบสอบถามเป็นแบบประมาณค่า
การเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้วิจัยขอหนังสือราชการจากสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เพื่อขอความอนุเคราะห์
ไปยังผู้บริหารโรงเรียนอนุบาลเอกชนในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ในการขอความร่วมมือจาก
ผู้ปกครอง ตอบแบบสอบถามและรวบรวมส่งผู้วิจัย จำนวน 350 ฉบับ ได้รับกลับคืนมาทั้งสิ้น
350 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100.00
การวิเคราะห์ข้อมูล
นำแบบสอบถามที่รวบรวมได้มาทั้งหมดมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS/PC+
เพื่อหาค่าดังนี้
1. หาค่าร้อยละในการวิเคราะห์ข้อมูลสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม
2. หาค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานในการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการของ
ผู้ปกครองนักเรียนต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนอนุบาลเอกชนในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
3. หาค่าทดสอบทางสถิติทีเพื่อเปรียบเทียบความต้องการของผู้ปกครองต่อการจัด
การศึกษาของโรงเรียนอนุบาลเอกชนในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร จำแนกตามระดับการศึกษา
และรายได้รวมของครอบครัว
69
สรุปผลการวิจัย
ตอนที่ 1 ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนอนุบาล
เอกชนในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
1. ความต้องการของผู้ปกครองต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนอนุบาลเอกชนในเขตธนบุรี
กรุงเทพมหานคร ด้านบุคลากร มีความต้องการโดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็น
รายข้อพบว่า ผู้ปกครองมีความต้องการครูมีบุคลิกภาพที่ดีเป็นแบบอย่างของนักเรียนอยู่ในระดับ
สูงสุด รองลงมา ได้แก่ ครูรักและเอาใจใส่นักเรียนทั้งในและนอกเวลาและครูมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
กับนักเรียนและผู้ปกครอง
2. ความต้องการของผู้ปกครองต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนอนุบาลเอกชนในเขตธนบุรี
กรุงเทพมหานคร ด้านการจัดสภาพแวดล้อม มีความต้องการโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และ
เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ผู้ปกครองมีความต้องการสื่อการเรียนมีความเหมาะสมกับพัฒนาการ
ของเด็กอยู่ในระดับสูงสด รองลงมาได้แก่ สื่อมีความปลอดภัยและทันสมัย และห้องเรียนมี
การระบายอากาศแสงสว่างเพียงพอ
3. ความต้องการของผู้ปกครองต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนอนุบาลเอกชนในเขตธนบุรี
กรุงเทพมหานคร ด้านการจัดประสบการณ์ มีความต้องการโดยรวมอยู่ในระดับมาก
และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ผู้ปกครองมีความต้องการจัดประสบการณ์ให้เด็กมีความพร้อมที่
จะเรียนต่อในชั้นประถมศึกษาอยู่ในระดับสูงสุด รองลงมาได้แก่ มุ่งพัฒนาเด็กให้ช่วยเหลือตนเอง
ได้ และ ฝึกเด็กให้สามารถเล่นกับเพื่อนและช่วยเหลือเพื่อน ๆ ได้
4. ความต้องการของผู้ปกครองต่อการจัดศึกษาของโรงเรียนอนุบาลเอกชนในเขตธนบุรี
กรุงเทพมหานคร ด้านการส่งเสริมสุขภาพอานามัย มีความต้องการโดยรวมอยู่ในระดับมาก และ
เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ผู้ปกครองมีต้องการจัดให้มีการประกันอุบัติเหตุสำหรับนักเรียน
ทุกคน เพื่อความปลอดภัยและสวัสดิภาพของนักเรียนอยู่ในระดับสูงสุด รองลงมาได้แก่ จัดน้ำดื่ม
และภาชนะรองรับที่สะอาด มีปริมาณเพียงพอ และมีการฝึกสุขนิสัยที่ดีในการรับประทานอาหาร
5. ความต้องการของผู้ปกครองต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนอนุบาลเอกชนในเขตธนบุรี
กรุงเทพมหานคร ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง มีความต้องการโดยรวม
อยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ผู้ปกครองมีความต้องการมีส่วนร่วมรับรู้
และแก้ปัญหาของนักเรียนอยู่ในระดับสูงสุด รองลงมาได้แก่ ประชาสัมพันธ์กิจกรรมของโรงเรียน
70
ให้ผู้ปกครองและชุมชนและจัดกิจกรรมแสดงผลงานความสามารถของนักเรียนให้ผู้ปกครองและ
ชุมชนได้รับทราบอยู่เสมอ
6. ความต้องการของผู้ปกครองต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนอนุบาลเอกชนในเขต
ธนบุรี กรุงเทพมหานคร ด้านการพัฒนาการของเด็ก มีความต้องการโดยรวมอยู่ในระดับมาก
และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ผู้ปกครองมีความต้องการฝึกให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้
เหมาะสมกับวัยอยู่ในระดับสูงสุด รองลงมาได้แก่ ฝึกให้เด็กรู้จักรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตัวเอง
และฝึกให้เด็กมีระเบียบวินัยในตนเอง
ตอนที่ 2 เปรียบเทียบความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนต่อการจัดการศึกษาของ
โรงเรียนอนุบาลเอกชนในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร จำแนกตามระดับการศึกษาและรายได้รวม
ของครอบครัว
ความต้องการของผู้ปกครองต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนอนุบาลเอกชนในเขตธนบุรี
กรุงเทพมหานคร ที่มีระดับการศึกษาและรายได้รวมของครอบครัวที่แตกต่างกัน มีความต้องการจัด
การศึกษาแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญที่ระดับ .05
การอภิปรายผล
การศึกษาความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนอนุบาล
เอกชนในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร มีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
1. ผู้ปกครองนักเรียนมีความต้องการต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนอนุบาลเอกชนในเขต
ธนบุรี กรุงเทพมหานคร ด้านบุคลากร ด้านการจัดประสบการณ์ ด้านส่งเสริมสุขภาพอนามัยและ
ด้านการพัฒนาการของเด็กอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้ เพราะความมุ่งหมายในการจัดการศึกษาชั้น
อนุบาลเป็นการให้ความรู้พื้นฐานแก่เด็กในด้านสติปัญญา ร่างกาย อารมณ์ สังคม เพื่อเตรียมเด็ก
ให้พร้อมที่จะเข้าเรียนในระดับชั้นประถมศึกษา หรืออาจกล่าวว่าเป็นการพัฒนาเด็กทั้งตัว นอกจาก
นี้ เด็กยังเรียนรู้โดยอาศัยแบบอย่างจากครู ทั้งกาย วาจา และน้ำเสียง ตลอดจนปฏิสัมพันธ์กับ
เพื่อนและสิ่งแวดล้อมรอบตัว (สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ, 2541 : 53)
สอดคล้องกับ (สุดารัตน์ แซ่ซี, 2542 : 56) ที่ศึกษาความคาดหวังของผู้ปกครองเกี่ยวกับการจัด
การศึกษาของโรงเรียนอนุบาลเอกชนในเขตลาดพร้าว พบว่า ผู้ปกครองส่วนใหญ่คาดหวังในเรื่อง
การจัดการเรียนการสอน มุ่งพัฒนาให้เด็กมีความพร้อมทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา
71
เพื่อศึกษาต่อในระดับชั้นประถมศึกษา และครูอนุบาลต้องเป็นผู้ทำให้เด็กเกิดความรักและไว้วางใจ
มากที่สุด จึงทำให้ผู้ปกครองมีความต้องการด้านบุคลากร ด้านการจัดประสบการณ์ ด้านส่งเสริม
สุขภาพอนามัย และด้านการพัฒนาการของเด็กในระดับมาก ส่วนด้านการจัดในสภาพแวดล้อม
และความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครองนั้น ให้ความสำคัญในระดับรอง ลงมา
เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า
1.1 ด้านบุคลากร พบว่าความต้องการของผู้ปกครองโดยรวมอยู่ในระดับมาก
เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าผู้ปกครองมีความต้องการครูมีบุคลิกภาพที่ดีเป็นแบบอย่างของ
นักเรียนอยู่ในระดับสูงสุด รองลงมาคือ ครูรักและเอาใจใส่นักเรียนทั้งในและนอกเวลา และครูมี
มนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับนักเรียนและผู้ปกครอง ทั้งนี้เพราะโรงเรียนอนุบาลเอกชนมีนโยบายสำคัญ
ในการให้ครูปฏิบัติตนเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักเรียน เพราะการเรียนรู้ในระดับอนุบาล
ส่วนใหญ่จะเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้าง การที่ครูมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับนักเรียน
และผู้ปกครองรักและเอาใจใส่นักเรียนและผู้ปกครอง นับเป็นตัวอย่างที่ดีแก่เด็กได้ สอดคล้องกับ
ศุภร วัฒนพฤกษา (2538 : 92) ที่ศึกษาความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียน วัฒนพฤกษา
แผนกอนุบาล พบว่าการดูแลเอาใจใส่ตลอดจนการใช้คำพูดและการปฏิบัติของครูอยู่ในเกณฑ์ดี
และผู้ปกครองต้องการครูมีคุณธรรม มีประสบการณ์หรือจบทางด้านอนุบาลโดยเฉพาะ และชุลีพร
อนะมาน (2539 : 93) ได้ศึกษาความคิดเห็นของผู้ปกครองที่ส่งเด็ก เข้าเรียนในโรงเรียนเอกชน
จังหวัดสิงห์บุรี พบว่า ผู้ปกครองต้องการครูที่สอนนักเรียนอนุบาล มีการแต่งกายสะอาดเรียบร้อย
มากที่สุด
1.2 ด้านจัดสภาพแวดล้อม พบว่าความต้องการของผู้ปกครองโดยรวมอยู่ในระดับ
ปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ผู้ปกครองมีความต้องการสื่อการเรียนการสอนที่มีความ
เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กในระดับสูงสุด รองลงมาคือ สื่อมีความปลอดภัยและทันสมัย และ
ห้องเรียนมีการระบายอากาศและแสงสว่างที่เพียงพอ ทั้งนี้เพราะสื่อการสอนจะสามารถสร้าง
ความรู้ความเข้าใจให้กับผู้เรียนได้อย่างรวดเร็ว และควรจัดห้องเรียนให้มีสภาพแวดล้อมที่ดี ทำให้
เกิดบรรยากาศการเรียนรู้แก่นักเรียน และการจัดห้องเรียนให้มีสภาพแวดล้อมที่ดีทำให้เกิด
บรรยากาศการเรียนรู้แก่นักเรียนทั้งนี้เพราะสื่อการเรียนการสอนจะสามารถสร้างความรู้ความเข้าใจ
ให้กับผู้เรียนได้อย่างรวดเร็ว และการจัดห้องเรียนให้มีสภาพแวดล้อมที่ดี ทำให้เกิดบรรยากาศ
การเรียนรู้แก่นักเรียน ทั้งผู้ปกครองย่อมเกิดความพึงพอใจด้วย สอดคล้องกับ การ์เซีย (Garcia,
1986) ได้ศึกษาเพื่อเสนอความคิดเห็นในการวางแผนการจัดหลักสูตรสำหรับเด็กอนุบาลเปอร์
72
โตริกัน พบว่าครูควรมีอุปกรณ์การสอนที่เหมาะสมกับความเข้าใจของเด็ก และ วาม ดุลยากร
(2540 : 201)ได้ศึกษาความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนอนุบาลต่อการจัดการเรียน
การสอนที่พึงประสงค : กรณีศึกษาโรงเรียนบรรจงรัตน จังหวัดลพบุร ี พบว่าผู้ปกครองส่วนใหญ่
ต้องการให้โรงเรียนจัดสภาพห้องเรียนมีแสงสว่างเพียงพอ การถ่ายเทอากาศดี มีลมพัดผ่านและ
มีบรรยากาศแห่งการเรียนรู้
1.3 ด้านการจัดประสบการณ์ พบว่าความต้องการของผู้ปกครองโดยรวมอยู่ในระดับ
มาก เพื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าผู้ปกครองมีความต้องการให้เด็กมีความพร้อมที่จะเรียนต่อในชั้น
ประถมศึกษาอยู่ในระดับสูงสุด รองลงมาคือ มุ่งพัฒนาเด็กให้สามารถช่วยเหลือตนเองได้ และ
ฝึกให้เด็กสามารถเล่นกับเพื่อนและช่วยเหลือเพื่อนได้ ทั้งนี้เพราะการจัดแนวประสบการณ์สำหรับ
เด็กอนุบาล ถือเป็นหัวใจหลักในการจัดการศึกษาให้กับเด็ก เป็นการตอบสนองต่อความต้องการ
พื้นฐานของเด็ก และเป็นการเตรียมความพร้อมในการจะศึกษาต่อระดับประถมศึกษา สอดคล้อง
กับ สุมาลี มีพงษ์ (2538 : 84) ได้ศึกษาความคิดเห็นของผู้ปกครองที่ส่งบุตรหลานเข้า โรงเรียน
อนุบาลเอกชนที่มีชั้นประถมศึกษา เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร พบว่าผู้ปกครองจะเลือก
โรงเรียนที่จัดการเรียนการสอน มุ่งเน้นเตรียมความพร้อมด้านพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน คือ ร่างกาย
อารมณ์ สังคมสติปัญญา เพื่อเตรียมความพร้อมไปประถมศึกษาปีที่ 1 ต่อไป ซึ่งเป็นไปตาม
หลักการอนุบาลศึกษาที่ว่า การจัดการอนุบาลศึกษาเป็นการเตรียมความพร้อมทุก ๆ ด้าน ตลอดจน
สามารถใช้ภาษาสื่อสารกับผู้อื่นได้ดี จะทำให้เด็กมีความสุขในการปรับตัว เข้ากับกลุ่มเพื่อน
1.4 ด้านส่งเสริมสุขภาพอนามัย พบว่าความต้องการของผู้ปกครองโดยรวมอยู่ใน
ระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าผู้ปกครองมีความต้องการประกันอุบัติเหตุสำหรับนักเรียน
เพื่อความปลอดภัยและสวัสดิภาพของนักเรียนอยู่ในระดับสูงสุด รองลงมาคือ จัดน้ำดื่มและ
ภาชนะรองรับที่สะอาด มีปริมาณเพียงพอ และมีการฝึกสุขนิสัยที่ดีในการรับประทานอาหาร ทั้งนี้
เพราะการดูแลความปลอดภัยและการจัดบริการที่ถูกสุขลักษณะเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง โรงเรียนอนุบาลที่
มีคุณภาพ ต้องมุ่งป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ และเตรียมการสำหรับเหตุฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้น
ตลอดจน ให้การศึกษากับเด็กในการฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับสุขภาพอนามัย ความปลอดภัย และสิ่งสำคัญ
คือเด็กต้องได้รับอาหารที่เพียงพอ ซึ่งอาหารต้องถูกจัดเตรียมในที่ที่สะอาด ภาชนะที่ใช้ต้องไม่เป็น
อันตรายสอดคล้องกับ วรสิทธิ์ สฤษดิ์อภิรักษ์ (2542 : 69) ได้ศึกษาความคิดเห็นของผู้ปกครอง
ที่มีต่อการจัดการศึกษาในระดับอนุบาลของโรงเรียนเอกชน ในเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
พบว่าผู้ปกครองต้องการให้มีการประกันอุบัติเหตุให้นักเรียน และมีบุคลากรเอาใจใส่ต่อนักเรียน
73
และสอดคล้องกับ สายชน หมวกเหล็ก (2542 : 78) ที่ได้ศึกษาปัจจัย ที่มีผลต่อการตัดสินใจของ
ผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนอนุบาลเอกชน จังหวัดสระบุรี พบว่าผู้ปกครอง
พอใจในด้านบริการของทางโรงเรียน โดยมีมาตรการในการดูแลความปลอดภัยให้เด็ก จัดน้ำดื่ม
อาหารเสริมและอาหารกลางวันที่สะอาดถูกหลักโภชนาการให้เด็ก ซึ่งอาหารที่มีประโยชน์ มีสาร
อาหารครบทั้ง 5 หมู่ ย่อมมีผลต่อสุขภาพของเด็ก อันส่งผลต่อ คุณภาพทางการศึกษา
1.5 ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง พบว่าความต้องการของผู้ปก
ครองโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ผู้ปกครองมีความต้องการ
มีส่วนรับรู้และแก้ปัญหาของนักเรียนอยู่ในระดับสูงสุด รองลงมาคือ ประชาสัมพันธ์กิจกรรมของ
โรงเรียนให้ผู้ปกครองและชุมชนทราบ และควรจัดกิจกรรมแสดงผลงานความสามารถของนักเรียน
ให้ผู้ปกครองและชุมชนได้รับทราบอยู่เสมอ ทั้งนี้เพราะการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียน
กับผู้ปกครอง ทำให้การจัดการศึกษาในระดับอนุบาลประสบความสำเร็จ และเป็นความพึงพอใจ
ของผู้ปกครอง เนื่องจากเด็กมีความผูกพันและเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว โรงเรียนจึงควรให้
ผู้ปกครองมีส่วนร่วมรับรู้และแก้ปัญหาของนักเรียน พร้อมแสดงผลงานนักเรียนเพื่อรายงาน
ความก้าวหน้า ความสำเร็จของนักเรียนต่อสาธารณชน สอดคล้องกับ วิชชุลดา งามปลอด
(2540 : 93) ได้ศึกษาความคาดหวังของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดการศึกษาในโรงเรียนอนุบาลเอกชน
จังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่าผู้ปกครองคาดหวังให้ครูมีความรู้เกี่ยวกับจิตวิทยาพัฒนาการเด็ก กรณีที่
เด็กมีปัญหาด้านการเรียน ครูควรเชิญผู้ปกครองมาพบเพื่อหาแนวทางช่วยเหลือนักเรียน และ
โรงเรยี นควรเปดิ โอกาสใหช้ มุ ชนเขา้ รว่ มกจิ กรรมของนกั เรยี น ส่วน วรสทิ ธ ์ิ สฤษดิ์อภิรักษ
(2542 : 69) ได้ศึกษาความคิดเห็นของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดการศึกษาในระดับอนุบาลโรงเรียน
เอกชน ในเขตบางกอกน้อย พบว่าผู้ปกครองมีความคิดเห็นว่าควรจัดให้มีการประชุมและให้
ผู้ปกครองมาเยี่ยมโรงเรียนมากขึ้น และสุดารัตน์ แซ่ซี (2542 : 56) ได้ศึกษาความคิดเห็นของ
ผู้ปกครองเกี่ยวกับการจัดการศึกษาของโรงเรียนอนุบาลเอกชนในเขตลาดพร้าว พบว่าครูต้องแจ้ง
ข่าวสารให้ผู้ปกครองทราบอย่างสม่ำเสมอเช่นกัน
1.6 ด้านการพัฒนาการของเด็ก พบว่าความต้องการของผู้ปกครองโดยรวมอยู่ใน
ระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ผู้ปกครองต้องการฝึกเด็กให้สามารถช่วยเหลือตนเองได้
เหมาะสมกับวัยอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือฝึกให้เด็กรู้จักรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตัวเอง
และฝึกให้เด็กมีระเบียบวินัยในตัวเอง ทั้งนี้เพราะพัฒนาการเป็นความสามารถของบุคคล
ในการกระทำสิ่งต่าง ๆได้มากขึ้นและดีขึ้นตามช่วงวัยของชีวิต ดังนั้นเพื่อให้เข้าใจและช่วยให้
74
นักเรียนได้มีความพร้อมและพัฒนาการได้ตามวัยและวุฒิภาวะอย่างเหมาะสม ครูจะต้องบันทึกและ
รวบรวมข้อมูลพัฒนาการของเด็ก เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ที่เหมาะสมกับเด็ก เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพของเด็กแต่ละคนให้ถึงขั้นสูงสุด
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (2531 : 7) กล่าวว่าการให้เด็กรู้จักช่วยตัวเองในเรื่อง
ต่าง ๆ จะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านดีขึ้น ซึ่งทำให้เด็กมีความพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งอื่น ๆ ต่อไป
ได้ดีด้วย สอดคล้องกับ ชุลีพร อนุมาน (2539 : 70)ศึกษาความคิดเห็นของผู้ปกครองที่ส่งเด็กเข้า
เรียนในโรงเรียนอนุบาลเอกชน จังหวัดสระบุรี พบว่า ผู้ปกครองเห็นว่าครูควรฝึกให้นักเรียนอยู่ใน
ระเบียบวินัย รู้จักรับผิดชอบต่อการเรียน ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการเรียนระดับสูงต่อไป
และสอดคล้องกับ สุมาลี มีพงษ์ (2538 : 84) พบว่า ครูควรฝึกให้เด็กมีความกล้าแสดงออก
สนใจสิ่งแวดล้อมรอบตัว สามารถช่วยเหลือตนเอง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีระเบียบวินัยและ
รู้จักรับผิดชอบตนเอง
2. เปรียบเทียบความต้องการของผู้ปกครองต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนอนุบาลเอกชน
ในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร โดยจำแนกตามระดับการศึกษาและรายได้รวมของครอบครัว
พบว่าผู้ปกครองที่มีระดับการศึกษาและรายได้แตกต่างกัน มีความต้องการต่อการจัดการศึกษาของ
โรงเรียนอนุบาลเอกชนไม่แตกต่างกัน ซึ่งสอดคล้องกับ ดวงใจ ตระกูลช่าง (2538 : 86) ซึ่งทำ
การศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อการจัดบริการนักเรียนของโรงเรียนอนุบาลแย้มสะอาด
พบว่า ผู้ปกครองนักเรียนที่มีวุฒิการศึกษาและระดับรายได้ของครอบครัวต่างกัน
มีความพึงพอใจต่อการจัดบริการนักเรียนไม่แตกต่างกันและ วรสิทธิ์ สฤษดิ์อภิรักษ์
(2541 : 69) และ วาม ดุลยากร (2540 : 201) ซึ่งศึกษาความคิดเห็นของผู้ปกครองที่มีต่อ
การจัดการศึกษาในระดับอนุบาลของโรงเรียนเอกชนในเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร และ
โรงเรียนอนุบาลบรรจงรัตน์ จังหวัดลพบุรี มีความเห็นที่ไม่แตกต่างกัน คือ ผู้ปกครองต้องการ
โรงเรียนจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้เด็กมีคุณธรรมจริยธรรม มีการเตรียมความพร้อมเพื่อพัฒนา
ทางร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา เน้นการอ่านออกเขียนได้ เน้นวิชาการเพื่อเตรียมเข้าเรียน
ต่อในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ด้านบุคลากรต้องการครูที่จบเอกอนุบาล ด้านอาคารสถานที่ ต้องการ
ให้มีห้องเรียนที่มีแสงสว่างที่เพียงพอ อากาศถ่ายเทได้สะดวก มีสนามเด็กเล่นกลางแจ้งที่เพียงพอ
ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครองต้องการ ให้มีการประชุมผู้ปกครองและให้
ผู้ปกครองมาเยี่ยมโรงเรียนให้มากขึ้น ซึ่งไม่แตกต่างกัน
75
ข้อเสนอแนะ
ผู้วิจัยขอเสนอแนะจากผลการวิจัย ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัด
การศึกษาอนุบาล และการวิจัยครั้งต่อไป
1. ข้อเสนอแนะสำหรับโรงเรียน
1.1 โรงเรียนควรพิจารณาคัดเลือกครูที่มีคุณลักษณะรักและให้ความอบอุ่นแก่เด็ก
ยิ้มแย้ม แจ่มใส สุภาพ ให้ความเป็นกันเองและเอาใจใส่ตลอดเวลา
1.2 โรงเรียนควรจัดห้องเรียนให้มีบรรยากาศเอื้อต่อการเรียนรู้และคัดเลือกสื่อที่
ปลอดภัย ทันสมัย เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก
1.3 โรงเรียนควรจัดการเรียนการสอนตามแนวการจัดประสบการณ์ของการจัดอนุบาล
ศึกษา โดยจัดเตรียมความพร้อมของนักเรียนให้มีพัฒนาการครบทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย
อารมณ์ สังคม และสติปัญญา
1.4 โรงเรียนควรจัดอาหารและน้ำที่สะอาด มีคุณค่าทางโภชนาการ พร้อมทั้งฝึกฝน
สุขนิสัยในการรับประทานอาหารให้กับเด็ก และจัดให้มีการประกันอุบัติเหตุเพื่อลดภาระค่าใช้จ่าย
ของผู้ปกครองเมื่อเด็กประสบภัย
1.5 โรงเรียนควรจัดให้มีการติดต่อสื่อสารกับผู้ปกครอง เพื่อทราบการดำเนินงานของ
โรงเรียนและพัฒนาการของนักเรียน
2. ข้อเสนอแนะสำหรับหน่วยงาน
หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนที่ดูแลการจัดการศึกษาในระดับก่อนประถมศึกษา
สามารถนำผลการวิจัยที่ได้ไปใช้เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบาย วางแผนการพัฒนาการศึกษา
ในระดับนี้ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนต่อไป
3. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
3.1 ควรศึกษาเปรียบเทียบความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนต่อการจัดการศึกษา
ของโรงเรียนอนุบาลเอกชน กับสังกัดอื่น ๆ
3.2 ควรศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษาของโรงเรียน
อนุบาลเอกชนในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
บรรณานุกรม
กชกร เบ้าสุวรรณ. ความพึงพอใจของครูต่อพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนในกรุงเทพ.
วิทยานิพนธ ์ ศษ.ม. กรงุ เทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร, 2543.
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. รายงานวิจัยวิเคราะห์แนวทางการจัดการศึกษาระดับอนุบาล.
กรุงเทพมหานคร : 2534. (อัดสำเนา)
_______. หลักสูตรก่อนประถมศึกษา พุทธศักราช 2540. กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพ์คุรุสภา
ลาดพร้าว. 2540 .
กรองแก้ว อยู่สุข. ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของอาจารย์ในวิทยาลัยเทคนิคอาชีวะศึกษา
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ ค.ม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2535.
กระทรวงศึกษาธิการ. หลักการจัดอนุบาลศึกษา. การบริหารโรงเรียน. น 18. กรุงเทพมหานคร :
โรงพิมพศ์ รเี มอื งการพิมพ. 2533 .
_______. เกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนประถมศึกษา พ.ศ. 2537 ระดับก่อนประถมศึกษา.
กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว. 2536.
กองวางแผน สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. แนวการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา.
กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว. 2536 .
กิติมา ปรีดีดิลก. การบริหารและการนิเทศการศึกษาเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร : อักษราการพิมพ์
. 2532.
จันทวรรณ เทวรักษ์. เรียนกับเล่นเป็นฉันใด. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์เจริญผล. 2526 .
จารุวรรณ พุฑฒิบัณฑิต. การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย. กรุงเทพมหานคร : แสงศิลป์การพิมพ์, 2538.
ชุลีพร อนะมาน. ความคิดเห็นของผู้ปกครองที่ส่งเด็กเข้าเรียนโรงเรียนอนุบาลเอกชนจังหวัด
สระบรุ ี. วิทยานิพนธ ศษ.ม. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร, 2539.
เชาวรัตน์ โทณผลิน. ปัจจัยที่ผู้ปกครองนักเรียนตัดสินใจส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียน
อนุบาลเอกชน เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. กรุงเทพมหานคร :
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร, 2539.
ธีรศักดิ์ กลิ่นดี. การศึกษาความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครู-อาจารย์ โรงเรียนมัธยมศึกษา
จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ ค.ม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2540.
น้อมฤดี จงพยุหะ. คู่มือการศึกษาวิชาพัฒนาการเด็ก. กรุงเทพมหานคร : ศึกษาสมพงษ์. 2518 .
77
บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร : สุวิริยสาส์น, 2535.
บุญเสริม พูลสงวน. การจัดสิ่งแวดล้อมสำหรับโรงเรียนและชุมชน. กรุงเทพมหานคร :
น่ำกังการพิมพ์, 2530.
เบญจา แสงมะลิ. สื่อเพื่อจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย. เอกสารการสอนวิชาสื่อการสอน
ระดับปฐมวัยศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัดยูไนเต็ดโปรดักชั่น. 2527.
ประดินันท์ อุปรมัย และ อรสา กุมารีปุกหุต. พฤติกรรมการสอนปฐมวัยศึกษา. ในเอกสาร
การสอนชุดวิชาคุณลักษณะและพฤติกรรมบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย
สาขาศึกษาศาสตร์ หน่วยที่ 8. น. 158. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2524 .
ปราณี ศรีใส. ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนเอกชนสายสามัญศึกษา
กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ค.ม. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524.
ปรียาพร วงศ์อนุตโรจน์. การบริหารวิชาการ. กรุงเทพมหานคร : สหมิตรออฟเซท, 2535.
พรรณี ชูทัยเจนจิต. จิตวิทยาการเรียนการสอน. กรุงเทพมหานคร : อมรินทร์การพิมพ์, 2529.
พะยอม อิงคตานุวัฒน์. จิตวิทยาเด็ก. กรุงเทพมหานคร : โครงการตำราศิริราช. 2521.
พัชรี สวนแก้ว. การแนะแนวผู้ปกครองของเด็กปฐมวัย. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์
ดวงกมลจำกัด. 2536.
พัฒนา ชัยพงษ์. “การอนุบาลศึกษา สอนอะไร สอนอย่างไร”, รักลูก 5 (กรกฎาคม 2532) :
112 – 114 .
ไพศาล วรรณะ. ความพึงพอใจของบุคลากรในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา
ต่อสำนักงานสามัญศึกษาจังหวัดหนองคาย. วิทยานิพนธ์ ค.ม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,
2540.
มาลี บะวงษ์. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำงานของอาจารย์โรงเรียนสาธิต สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย.
วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2534.
เยาวพา เดชะคุปต์. การจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพมหานคร : บริษัท สำนักพิมพ์
แม็ค จำกัด, 2528.
วรสิทธิ สฤษดิ์อภิรักษ์. ความคิดเห็นของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดการศึกษาระดับอนุบาลของ
โรงเรียนเอกชนในเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต
กรุงเทพมหนคร : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร, 2542 .
78
ราศี ทองสวัสดิ์. การจัดตารางกิจกรรมประจำวัน, เข้าใจเด็กก่อนวัยเรียน. กรุงเทพมหานคร :
ชมรมไทย – อิสราเอล. 2523.
วาม ดุลยากร. ความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนเอกชนระดับอนุบาลต่อการ
จัดการเรียนการสอนที่พึงประสงค์ : กรณีศึกษาโรงเรียนบรรจงรัตน์ จังหวัดลพบุรี.
กรงุ เทพมหานคร : วิทยานิพนธ์ปริญญาโทมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร. 2540.
วศิน ปาลเดชพงศ์. การศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนต่อโรงเรียนอนุบาลเอกชน :
กรณีศึกษาโรงเรียนอนุบาลก้องหล้า กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต
กรงุ เทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร, 2539.
วิชชุดา งามปลอด. ความคาดหวังของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดการศึกษาในโรงเรียนอนุบาลเอกชน
จังหวัดสุราษฎร์ธาน.ี กรุงเทพมหานคร : วิทยานิพนธ์ปริญญมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร, 2540.
ศุภร วัฒนพฤษา. ความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนวัฒนพฤกษา แผนกอนุบาล
ต่อการจดั การเรยี นการสอนทพี่ งึ ประสงค. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต
กรงุ เทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร, 2538.
สมพงษ์ เกษมสิน. หลักการบริหาร. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช, 2521.
สุดารัตน์ แซ่ซี. ความคาดหวังของผู้ปกครองเกี่ยวกับการจัดการศึกษาของโรงเรียนอนุบาล
เอกชนในเขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต
กรงุ เทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร, 2542
สายชน หมวกเหล็ก. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเข้าเรียน
ในโรงเรียนอนุบาลเอกชน จังหวัดสระบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต
กรงุ เทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร, 2542.
สุมาลี มีพงษ์. ความคิดเห็นของผู้ปกครองที่ส่งบุตรหลานเข้าโรงเรียนอนุบาลเอกชนที่มี
ชั้นประถมศึกษา เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต
กรงุ เทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร, 2538.
สุรางค์ โค้วตระกูล.จิตวิทยาการศึกษา.กรุงเทพมหานคร : สำนักงานพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
2533. .
79
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. การจัดตั้งงบประมาณตามเกณฑ์มาตรฐาน
โรงเรียนประถมศึกษา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภา, 2538. ก.
_______. การจัดตั้งงบประมาณตามเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนประถมศึกษา. กรุงเทพมหานคร :
โรงพิมพ์คุรุสภา, 2538. ก.
_______. คู่มือการใช้เกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนประถมศึกษา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภา,
2538. ข.
_______. แผนพัฒนาการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา : ทศวรรษที่ 2 ของอนุบาลชนบท
(พ.ศ. 2539 – 2548). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา, 2538. ค.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน. สถิติการศึกษาเอกชน ปีการศึกษา 2543 .
โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว . กรุงเทพมหานคร : 2544.
_______. พัฒนาการของเด็กระดับก่อนประถมศึกษา . น. 4 – 16, 19 – 25. ชุดอบรม
บุคลากรระดับก่อนประถมศึกษา หน่วยที่ 1. กรุงเทพมหานคร : บริษัทรุ่งศิลป์การพิมพ์.
2531 ก .
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. ผลงานการวิจัยการจัดศูนย์เด็ก่อนวัยเรียน
ในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์เจริญผล. 2522 .
_______. แบบประเมินมาตรฐานคุณภาพการศึกษาเอกชน ชั้นอนุบาล. เอกสารชุดการรับรอง
คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา เล่มที่ 2. โครงการรับรอง
คุณภาพการศึกษาเอกชน โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว. กรุงเทพมหานคร : 2536.
โสภิตอนงค์ บุญช่วย. สภาพการจัดการเรียนการสอนระดับประถมศึกษาในโรงเรียนเอกชน
กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต,
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2530.
อารมณ์ สุวรรณปาล. การบริหารงานบริการในสถานศึกษาปฐมวัย. ในแนวการศึกษาชุดวิชาการ
บริหารสถานศึกษาปฐมวัย หน่วยที่ 9 – 15 . น.211 – 262.นนทบุรี : โรงพิมพ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2537.
Berton, Perrin Minnie, Kindergarten : Your Child ’s Bigstep. New York : E.P. Dutton, 1959.
Garcia, C.R. Theoretical Background to Curriculum Design for Parlo Richn Kindergarten
Students . Dissertation Abstracts International. 24 (June 1986) :3593 – A. 1986.
Good, C.V. Dictionary of Education. New York : McGraw-Hill Book Company, 1973.
80
Hammond, Sarah Lou., et al , Good School For Young Children. New York :
Macmillan, 1963.
Harrison, F.E. The Managerial Decision-making Process. (4d ed.). Boston : Houghton
Mifflin Company. 1981.
Hoy and Miskel. Hoy, W.K. and C.C. Miskel. Educational Administration : Theory, Research
and Practice, 2nd ed. New york : Radom House, 1997.
Katz, L.G. What is Basic for Young Children Curriculum Planning : A New Approach.
New York : Allyn and Bacon, Inc. 1987.
Krejcie, Rober V. and Daryle W. Morgan. Determining Sample Size for Research Activities.
Journal Education and Psychology Measurement. 1970.
Petronio, Maureen Allenberg. Kindergarten Shopping : Parents’ Response to a Controlled
School Choice Plan (School Choice), Dissertation Abstracts International.
56 (6) : 2107 ; December, 1995. (DAO CD-ROM. AAC 9534623)
Shull, F.A.; Delberg, A.L. and L.L. Cumming. 1970. Organizational Decision Making .
New York : McGraw-Hill.
Simon, H.A. The New Science of Management Decision. New Jersey : Prentic Hall. 1977.
Stoner, J.A.F. Management. New Jersey : Prentic Hall. 1987.
Whitaker, Barbara Ingram. Citizen Participation in Educational Decision Making in an
Urban School District as perceived by Parents and Administrators , Dissertation
Abstracts International. 38(6) : 5-A ; May, 1978.
ภาคผนวก
ภาคผนวก ก
แบบสอบถามเพื่อการวิจัย
แบบสอบถาม
เรื่อง
ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนต่อการจัดการศึกษา
โรงเรียนอนุบาลเอกชนในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
------------------------
คำชี้แจง : แบบสอบถามฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อสอบถามความต้องการของผู้ปกครองนักเรียน
ที่มีต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนอนุบาลเอกชน แบบสอบถามแบ่งออกเป็น 2 ตอน
ดังนี้
ตอนที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ปกครอง
ตอนที่ 2 เป็นการสอบถามความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนต่อการจัดการศึกษา
ของโรงเรียนอนุบาลเอกชนในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
ขอความกรุณาท่านผู้ปกครองนักเรียนตอบแบบสอบถามตามความเป็นจริงมากที่สุด
ข้อมูลทุกอย่าง จะนำมาใช้ประโยชน์เพื่องานวิจัยเพื่อพัฒนาโรงเรียนตามความต้องการของ
ผู้ปกครองเท่านั้น เมื่อตอบแบบสอบถามแล้วกรุณาส่งคืนครูประจำชั้น
ขอขอบพระคุณอย่างสูงที่ให้ความร่วมมือ
นางสาวอิสรานุช กิจสมใจ
ครูใหญ่โรงเรียนอนุบาลวรรณบูรณ์ศึกษา
ผู้วิจัย
84
ตอนที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ปกครอง
คำชี้แจง
โปรดทำเครื่องหมาย ใน ( ) หน้าข้อความเกี่ยวกับตัวท่านตามความจริง
1. เพศ ( ) ชาย ( ) หญิง
2. อายุ ( ) ต่ำกว่า 20 ปี ( ) 21 - 30 ปี
( ) 31 - 40 ปี ( ) 40 ปีขึ้นไป
3. การศึกษาชั้นสูงสุด
( ) ต่ำกว่าปริญญาตร ี
( ) ปริญญาตรีขึ้นไป
4. อาชีพ
( ) รับจ้าง ( ) กิจการส่วนตัว
( ) รับราชการ ( ) พนักงานรัฐวิสาหกิจ
5. รายได้รวมของครอบครัวต่อเดือนโดยประมาณ
( ) ไม่เกิน 20,000 บาท
( ) มากกว่า 20,000 บาท
85
ตอนที่ 2 ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนต่อการจัดการศึกษาโรงเรียนอนุบาลเอกชน
ในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
คำชี้แจง
โปรดอ่านข้อความอย่างละเอียดแล้วพิจารณาว่า ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนต่อการจัด
การศึกษาอยู่ในระดับใด แล้วทำเครื่องหมาย ลงใน (……) ให้ตรงกับคำตอบที่ต้องการที่ให้
เกณฑ์การพิจารณาดังนี้
1 หมายถึง ระดับความต้องการของผู้ปกครองอยู่ในระดับน้อยที่สุด
2 หมายถึง ระดับความต้องการของผู้ปกครองอยู่ในระดับน้อย
3 หมายถึง ระดับความต้องการของผู้ปกครองอยู่ในระดับปานกลาง
4 หมายถึง ระดับความต้องการของผู้ปกครองอยู่ในระดับมาก
5 หมายถึง ระดับความต้องการของผู้ปกครองอยู่ในระดับมากที่สุด
ตัวอย่างการตอบแบบสอบถาม
ระดับความต้องการ
ขอ้ ที่ การดาํ เนนิ งาน ของผปู้ กครอง
5 4 3 2 1
1.
ด้านบุคลากร
ครูต้องเป็นผู้มีกิริยามารยาทเรียบร้อย
ด้านการจัดประสบการณ์
1. จัดกิจกรรมมุ่งเน้นให้นักเรียนอ่านออกเขียนได้
86
ข้อคำถามความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนอนุบาลเอกชน
ในเขตธนบุรี
ระดับความต้องการ
ขอ้ ที่ การดาํ เนนิ งาน ของผปู้ กครอง
5 4 3 2 1
1.
1. ด้านบุคลากร
ครูรักและเอาใจใส่นักเรียนทั้งในและนอกเวลา
2. จำนวนครูเหมาะสมกับจำนวนนักเรียนแต่ละห้อง
3. ครูมีวุฒิและประสบการณ์ในการสอนนักเรียนอนุบาล
โดยตรง
4. ครูมีความสามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่น่าสนใจ
เหมาะสมกับวัยของนักเรียน
5. ครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการของนักเรียน
แต่ละวัย
6. ครูและพี่เลี้ยงเด็กที่มีความสุภาพ อ่อนโยน และมี
บุคลิกเหมาะกับการสอนนักเรียนอนุบาล
7. ครูมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับนักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน
8. ครูใฝ่ศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ และมีความคิดก้าวหน้าทันสมัย
9. ครูให้ความเสมอภาคกับนักเรียนทุกคน
10. ครูมีบุคลิกภาพที่ดีเป็นแบบอย่างของนักเรียน
1.
2. ด้านสภาพแวดล้อมและสื่อการเรียนการสอน
บรรยากาศสภาพแวดล้อมในโรงเรียนเหมาะสมกับนักเรียน
2. ห้องเรียนมีการระบายอากาศและแสงสว่างเพียงพอ
3. มีสนามให้นักเรียนเล่นออกกำลังกายกลางแจ้ง
4. ห้องน้ำ สุขภัณฑ์ เหมาะสมกับนักเรียน
5. โต๊ะ เก้าอี้ เหมาะสมกับนักเรียนและมีความปลอดภัย
87
ระดับความต้องการ
ขอ้ ที่ การดาํ เนนิ งาน ของผปู้ กครอง
5 4 3 2 1
6. สื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก
7. สื่อที่ใช้ส่งเสริมกระบวนกาคิดและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
8. ส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักบำรุงรักษาสื่อการเรียนการสอน
9 สื่อเป็นของจริงที่สามารถสัมผัสได้มากที่สุด
10 สื่อมีความปลอดภัยและทันสมัย
1.
3. ด้านการจัดประสบการณ์
มุ่งพัฒนาเด็กให้สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ เช่น การแต่งกาย
การรับประทานอาหาร การเข้าห้องน้ำ
2. จัดประสบการณ์ให้เด็กมีความพร้อมที่จะเรียนต่อ
ชั้นประถมศึกษา
3. ฝึกให้เด็กสามารถเล่นกับเพื่อนได้และได้ช่วยเหลือเพื่อน ๆ
4. จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เด็กรักและสนใจหนังสือ
5. จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมศิลปะ เช่น การวาดภาพ
6. จัดกิจกรรมส่งเสริม กีฬา ดนตรี นาฎศิลป์และการแสดง
7. จัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะการพูด
8. การแข่งขันทักษะด้านต่าง ๆ
9. จัดกิจกรรมที่เน้นการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้กับเด็ก
10. จัดกิจกรรมที่เน้นให้เด็กสามารถปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้
1.
4. ด้านการจัดบริการ
จัดบริการรถรับส่งนักเรียนซึ่งมีสภาพปลอดภัยและมีอุปกรณ์
ประจำรถครบครัน
2. จัดให้มีการประกันอุบัติเหตุสำหรับเด็กทุกคน เพื่อความ
ปลอดภัยและสวัสดิภาพของนักเรียน
3. บริการรับฝากเลี้ยงนักเรียนหลังเลิกเรียนและระหว่าง
ปิดภาคเรียน
88
ระดับความต้องการ
ขอ้ ที่ การดาํ เนนิ งาน ของผปู้ กครอง
5 4 3 2 1
4. มีการฝึกสุขนิสัยที่ดีในการรับประทานอาหาร เช่น ล้างมือ
ก่อนรับประทานอาหาร เป็นต้น
5. จัดบริการอาหารเสริม และอาหารกลางวันที่สะอาดตามหลัก
โภชนาการและมีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการของ
นักเรียน
6. จัดน้ำดื่มและภาชนะรองรับที่สะอาดและมีปริมาณเพียงพอ
7. จัดห้องพยาบาลและมีครูพยาบาลที่ดีสำหรับบริการนักเรียน
8. จัดให้มีบริการสุขภาพ เช่น บริการตรวจสุขภาพ การบันทึก
สุขภาพ ยาประจำบ้าน เป็นต้น
9. จัดครูเวรดูแลความปลอดภัยนักเรียนในโรงเรียนอย่างทั่วถึง
10. อาคารเรียนและอาคารต่าง ๆ แข็งแรง มั่นคงปลอดภัยมีการ
ปรับปรุง ซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพดีอยู่เสมอ
1.
5. ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง
มีคณะกรรมการสมาคมผู้ปกครองและครู
2. ปฐมนิเทศผู้ปกครองนักเรียนเข้าใหม่
3. ประชุมผู้ปกครองเพื่อรายงานการดำเนินงานของโรงเรียน
4. ประชาสัมพันธ์กิจกรรมของโรงเรียนให้ผู้ปกครอง
และชุมชนทราบ
5. ให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในกิจกรรมของโรงเรียน
6. จัดกิจกรรมเผยแพร่ผลงานความสามารถของนักเรียน
ให้ผู้ปกครองและชุมชนได้รับทราบอยู่เสมอ
7. ดำเนินโครงการเพื่อนบ้านนักเรียนทุกคน
8. เข้าร่วมกิจกรรมและให้บริการต่าง ๆ แก่ชุมชน
9. ให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมรับรู้และแก้ปัญหาของนักเรียน
10. ประชุมเครือข่ายผู้ปกครอง เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาการจัด
การเรียนการสอน
89
ระดับความต้องการ
ขอ้ ที่ การดาํ เนนิ งาน ของผปู้ กครอง
5 4 3 2 1
1.
6. การพัฒนาการของเด็ก
ฝึกให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้เหมาะสมกับวัย
2. ฝึกให้เด็กรู้จักรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตัวเอง
3. ฝึกรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
4. ปลูกฝังนิสัยในการรักการอ่าน
5. ฝึกให้เด็กสามารถใช้อวัยวะ เช่น แขน ขา ได้คล่องแคล่ว
ว่องไว
6. ฝึกให้เด็กสามารถแสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมกับวัย
7. ฝึกให้เด็กมีสามารถมีระเบียบวินัยในตนเอง และมีความ
รับผิดชอบ
8. ฝึกให้เด็กสามารถใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย
9. ฝึกให้เด็กสามารถปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ดี
10. ฝึกให้เด็กสามารถปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ดี
********************
ภาคผนวก ข
รายชื่อผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเครื่องมือ
รายนามผู้ทรงคุณวุฒิ
1. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.รัตนา ศิริพานิช
คณะครุศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ขวัญฟ้า รังสิยานนท์
คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏสวนดุสิต
3. นายอารย์ ปาลเดชพงษ์
ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลเด่นหล้า
4. นางวีณา สุนทรรัตน์
ผู้อำนวยการโรงเรียนราชบพิธ เขตพระนคร
5. นางจิดาภา เหมะธุลิน
อาจารย์ใหญ่โรงเรียนวัดขุนจันทร์ เขตธนบุรี
ภาคผนวก ง
ประวัติผู้วิจัย
ประวัติผู้วิจัย
ชื่อ-สกุล : นางสาวอิสรานุช กิจสมใจ
วันเดือนปีเกิด : 14 พฤษภาคม 2514
สถานที่เกิด : โรงพยาบาล ศิริราช กรุงเทพมหานคร
ประวัติการศึกษา : พ.ศ. 2528 จบมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนราชินี
พ.ศ. 2531 จบมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนศึกษานารี
พ.ศ. 2535 จบครุศาสตรบัณฑิต (คบ.) สถาบันราชภัฏสวนดุสิต
ปัจจุบัน : ครูใหญ่โรงเรียนอนุบาลวรรณบูรณ์ศึกษา เขตธนบุรี
กรุงเทพมหานคร
ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียน (ตอนที่ 1)
ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียน (ตอนที่ 2)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น