วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน (ตอนทีี่ 1)



ค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน: กรณีศึกษาสถานี
ตำรวจในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8
พันตำรวจโท ถวัลย์ ศุกร์คณาภรณ์
วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
ปีการศึกษา 2546
ISBN : 974-373-274-8
ลิขสิทธิ์ของสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
THE BALANCE COST OF LIVING OF NON COMMISSIONED
POLICE OFFICERS : A CASE STUDY OF METROPOLITAN
POLICE DIVISION 8
POLICE LIEUTENANT COLONEL THAVAL SUKHANAPHORN
A Thesis Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements
for the Master of Arts (Social Sciences for Development)
at Rajabhat Institute Bansomdejchaopraya
Academic Year 2002
ISBN : 974-373-274-8
วิทยานิพนธ์ ค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน : กรณีศึกษา
สถานีตำรวจในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8
โดย พ.ต.ท. ถวัลย์ ศุกร์คณาภรณ์
สาขา สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
ประธานกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ รศ.ดร.สัญญา สัญญาวิวัฒน์
กรรมการ ผศ.สุพิศวง ธรรมพันทา
กรรมการ ผศ.บุปผา แช่มประเสริฐ
บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา อนุมัติให้วิทยานิพนธ์นี้เป็น
ส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
……………………………………………………. คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
(ดร.สรายุทธ์ เศรษฐขจร)
คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์
…..……………………………..………………………………. ประธานกรรมการ
(ศาสตราจารย์ ดร.สายหยุด จำปาทอง)
……………………………………………………………………. กรรมการ
(รองศาสตราจารย์ ดร.สัญญา สัญญาวิวัฒน์)
……………………………………………………………………. กรรมการ
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุพิศวร ธรรมพันทา)
..…………………………………………………………………. กรรมการ
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บุปผา แช่มประเสริฐ)
……………………………………………………………………. กรรมการ
(ดร.ทวิช บุญธิรัศมี)
…………………………………………………. กรรมการและเลขานุการ
(รองศาสตราจารย์ สมชาย พรหมสุวรรณ)
ลิขสิทธิ์ของสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ถวัลย์ ศุกร์คณาภรณ์. (2546) ค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน :
กรณีศึกษา สถานีตำรวจในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8 วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต
กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
คณะกรรมการควบคุม รศ.ดร. สัญญา สัญญาวิวัฒน์ ผศ. สุพิศวง ธรรมพันทา
ผศ. บุปผา แช่มประเสริฐ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน
และปัจจัยที่มีผลต่อค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน โดยมีสมมติฐานการวิจัย
ทั้งสิ้น 7 ข้อ ดังต่อไปนี้
1. สถานภาพส่วนตัวที่ดีของตำรวจ แตกต่างกัน ค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้น
ประทวน สถานีตำรวจในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8 แตกต่างกัน
2. สถานภาพการงานที่ดี มีผลต่อ ค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน สถานี
ตำรวจในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8
3. การพึ่งตนเอง มีผลต่อ ค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน สถานีตำรวจใน
กองบังคับการตำรวจนครบาล 8
4. การดำรงชีวิตแบบพอเพียง มีผลต่อ ค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน
สถานีตำรวจในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8
5. ความสัมพันธ์ที่ดีภายในครอบครัว มีผลต่อ ค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้น
ประทวน สถานีตำรวจในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8
6. การเรียนรู้เพื่อชีวิต มีผลต่อ ค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน สถานี
ตำรวจในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8
7. การมีศาสนธรรม มีผลต่อ ค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน สถานีตำรวจ
ในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8
ข้อมูลสำหรับการพิสูจน์สมมติฐานดังกล่าวข้างต้นได้จากการแบบสอบถามของกลุ่มตัวอย่างซึ่ง
เป็นข้าราชการตำรวจชั้นประทวน มีจำนวนทั้งสิ้น 204 คน ของทั้ง 11 สถานีในกองบังคับการตำรวจ
นครบาล 8 และนำข้อมูลที่ได้มาทำการคำนวณและวิเคราะห์ด้วยวิธีการหาค่าทางสถิติ
ผลในการวิจัยครั้งนี้ พบว่า มีปัจจัยด้านสภาพการทำงานที่ดีของตำรวจ เป็นเพียงปัจจัยเดียวที่
ยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนปัจจัยด้านอื่น ๆ ที่เหลือมีความสัมพันธ์น้อยเกินไปที่จะยอมรับสมมติฐาน
ได้ หลังจากที่มีการอภิปรายกันอย่างยืดยาวพอควรเกี่ยวกับผลกระทบต่อการศึกษาค่าครองชีพที่สมดุล
ของข้าราชการตำรวจทั้งในด้านทฤษฎีและด้านการปฏิบัติแล้วได้มีการเสนอข้อแนะนำที่น่าสนใจประกาศ
ไว้ในตอนท้าย

Thaval Sukkhanaporn. (2003). The Balance Cost of living of Non Commissioned Police
Officers : A Case Study of Metropolitan Police Division 8. Bangkok : Graduate School,
R.I.B. Advisor committee: Assoc. Prof. Dr.Sunya Sunyavivat
Asst. Prof. Supisavong Phampanta Asst. Prof. Boobpha Champrasert.
The objectives of this study are to find the balanced cost of living of non-commissioned police
officers and to find factors affecting such cost of living with 7 hypotheses :
1. Different personal status makes difference in the police’s balanced cost of living.
2. Good work status affects the police’s balanced cost of living
3. Being self reliance affects the police’s balanced cost of living
4. Sufficient living behavior affects the police’s balanced cost of living
5. Good family relations affects the police’s balanced cost of living
6. Life learning behavior affects the police’s balanced cost of living
7. Religious behavior affects the police’s balanced cost of living
To obtain empirical data to test the above hypotheses, questionnaires are administered to 204
non-commissioned police officers of all 11 stations of the Metropolitan Police Division 8.
The data are then calculated and analyzed.
It is found that only the first hypothesis is substantiated. The rest are too weak correlated to accept
the hypotheses. After a lengthy discussion concerning the impact of the study to the police’s cost
of living, some interesting suggestions are proposed, theoretically and practically.
สารบัญ
หน้า
ประกาศคุณูปการ …………..………………………………………………………………………………………… ค
บทคัดย่อภาษาไทย …..……………………………………………………………..……………………………….. ง
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ ..…………………………………………………………..……………………………….. จ
สารบัญ ……....………………………………………………………………..……………………………………………. ฉ
สารบัญแผนภาพ……………………………………………..………………………………………………………….. ช
สารบัญตาราง ………………………………………………………………………………………………………………. ฌ
บทที่ 1 บทนำ
1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา …………………………………………………………….. 1
1.2 วัตถุประสงค์การวิจัย …………………………….……………………………………………………………… 2
1.3 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับในการวิจัย ………………………………………….……………………. 2
1.4 ขอบเขตในการวิจัย ……………………..…..………………………………………………………………… 2
1.5 นิยามศัพท์เฉพาะ ……………………….………………………………………………..…………………….. 3
1.6 สมมติฐานการวิจัย …………………………………………………………………………………………….. 4
1.7 คำอธิบายสมมติฐาน ………………………………………………………………………………………….. 5
1.7 กรอบแนวคิดการวิจัย ……………………………………………………………………………………….. 13
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2.1 ค่าครองชีพที่สมดุล ……………………….……………………………………………………………………. 14
2.2 สถานภาพส่วนตัวที่ดีของตำรวจ ………..……………………………………………………………….. 18
2.3 สถานภาพการงานที่ดีกับค่าครองชีพที่สมดุล …….……..………………………………………… 23
2.4 การพึ่งตนเองกับค่าครองชีพที่สมดุล …………………………………………………….…………..… 26
2.5 การดำรงชีวิตแบบพอเพียงกับค่าครองชีพที่สมดุล ……………………………………………. 31
2.6 ความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัวกับค่าครองชีพที่สมดุล ………………………………………. 33
2.7 การเรียนรู้เพื่อชีวิตกับค่าครองชีพที่สมดุล ………….…………………………………………….. 37
2.8 การมีศาสนธรรม กับค่าครองชีพที่สมดุล ………….…………………………………………….. 44
สารบัญ (ต่อ)
หน้า
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
3.1 การกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ………………………………………………………..…… 53
3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย …………………..……………………………….……………………………… 55
3.3 การพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ………………………………………………………………….. 56
3.4 การเก็บรวบรวมข้อมูล ……………………………………………………………………………………….. 57
3.5 การวิเคราะห์ข้อมูล …………………………………………………………………………………………….. 58
3.6 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ………………………………………………………………………….. 58
3.7 การทดสอบสมมติฐาน ……………………………………………………………………………………….. 59
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
4.1 การวิเคราะห์ระดับค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน....…. 60
4.2 การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณค่าครองชีพที่สมดุลฯ……………………….……………. 67
4.3 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์สภาพการงานที่ดีของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน.. 73
4.4 การวิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคลและสภาพการงานที่ดี………………..…………... 74
4.5 ผลการทดสอบสมมติฐาน ……………………………………………………………………………….... 81
บทที่ 5 สรุปและอภิปรายผล
5.1 สรุปผลการวิจัย …………………….………………………………….……….……………………………….. 85
5.2 อภิปรายผลการศึกษาวิจัย ….……………………………………………………………………………. 86
5.3 ข้อเสนอแนะ……………………………….…..……………………………………………………………….… 94
5.4 ข้อเสนอแนะในการวิจัยต่อไป …………….…………………………………………………………….. 95
บรรณานุกรม …………………………………………………………………………………………………………………………..… 96
ภาคผนวก
แบบสอบถาม ……………………………………………………………………………………………………………. 101
ประวัติผู้วิจัย ………………………………………………………………………………………………………………………………………………. 109
สารบัญภาพ
หน้า
แผนภาพที่ 1 กรอบแนวคิดในการวิจัย ………………………………………………………………. 13
แผนภาพที่ 2 แสดงแบบจำลองวิธีการศึกษาแบบสหวิทยาของ Winer ………………. 20
สารบัญตาราง
หน้า
ตารางที่ 1 แสดงสถานภาพกำลังพลชั้นประทวน-พลตำรวจ…………………………………… 53
ตารางที่ 2 แสดงจำนวนประชากรและกลุ่มตัวอย่าง…………………………………………………. 54
ตารางที่ 3 ค่าระดับตัวชี้วัดและค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจฯ………….…. 60
ตารางที่ 4 ค่าระดับปัจจัยที่มีผลต่อค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจฯ………… 61
ตารางที่ 5 คำถามเกี่ยวกับปัจจัยด้านสถานภาพการงานที่ดีของตำรวจฯ…………………… 62
ตารางที่ 6 คำถามความคิดเห็นเกี่ยวกับค่าครองชีพที่สมดุลโดยละเอียด…….…………. 63
ตารางที่ 7 คำถามเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อค่าครองชีพที่สมดุลโดยละเอียด…………..... 63
ตารางที่ 8 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรพยากรณ์และระหว่างตัว
พยากรณ์กับตัวเกณฑ์ ……………………………………………………………………………….. 68
ตารางที่ 9 ค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์พหุคูณ ………………………………………………………….. 70
ตารางที่ 10 การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ …………………………………………………………….. 70
ตารางที่ 11 การถดถอยพหุคูณระหว่างกันของตัวเกณฑ์…………………………………………. 71
ตารางที่ 12 การวิเคราะห์ความแปรปรวนค่าครองชีพที่สมดุลฯ…………………..…………. 72
ตารางที่ 13 การวิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล …………………………………………………….. 73
ตารางที่ 14 สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อพิสูจน์สมมติฐาน……………….………………… 82
บทที่ 1
บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาการวิจัย
ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมทุกวันนี้เกิดจากวิกฤติทางเศรษฐกิจของประเทศไทยซึ่ง
กระทบกับคนส่วนใหญ่ของประเทศ ขาดคุณธรรม และจริยธรรม ส่งผลให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ติด
ตามมา เช่น การติดยาเสพติด การก่ออาชญากรรม การคอรัปชั่น การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบใน
ระบบราชการ ถึงแม้ว่าทั้งภาครัฐและภาคเอกชนจะได้ปรับปรุงระบบค่าตอบแทนให้มีความสมดุล
และเหมาะสมเพื่อให้เกิดสภาพคล่องตัว และเพื่อแก้ปัญหาการบริหารงาน สำนักงานตำรวจ
แห่งชาติก็เช่นเดียวกัน แม้ว่าได้มีการแก้ปัญหาเศรษฐกิจและสังคมของข้าราชการตำรวจชั้น
ประทวนด้วยการปรับปรุงสวัสดิการให้มีความเป็นธรรมในระดับหนึ่งแล้ว แต่ไม่สามารถแก้ปัญหา
ค่าครองชีพของข้าราชการตำรวจชั้นประทวนซึ่งเป็นบุคคลากรที่เป็นฐานรากในองค์กรซึ่งมีจำนวน
มากได้ อันทำให้การประกอบอาชีพข้าราชการตำรวจในเชิงอุดมคติไม่อาจเกิดขึ้น ดังพบว่าเมื่อ
ค่าตอบแทนที่ได้รับนั้นไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ จึงมีการใช้ตำแหน่งหน้าที่ของตนในทางมิชอบ
เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ให้กับตน พันธะหนี้สินของตำรวจ จาก 2 ปีที่ผ่านมาพบว่า ตำรวจ
นครบาลปี 2544 เจ้าหน้าที่ชั้นสัญญาบัตร 357 ราย มีพันธะเกี่ยวกับหนี้สิน 92,401,000 บาท
ชั้นประทวน 5,507 ราย เป็นเงิน 806,953,000 บาท ในปี 2545 ชั้นสัญญาบัตร 323 ราย
ยอดเงิน 72,096,000 บาท ชั้นประทวน 5,674 ราย เป็นเงิน 924,849,000 บาท โดยเป็น
หนี้เงินกู้ สหกรณ์ออมทรัพย์ บช.น. และหนี้เงินกู้นอกระบบ หยิบยืมญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง
หลังจากหักหนี้สิน ดอกเบี้ย จะมีเงินเหลืออยู่ไม่มาก (ไทยรัฐ 2546 : 6) จึงจำเป็นจะต้องแสวง
หาผลประโยชน์นอกระบบที่มีอยู่ในพื้นที่ อันเป็นที่มาของส่วย คุมบ่อนการพนัน เป็นมือปืนรับ
จ้าง ค้ายาเสพติด นอกจากนี้ยังพบว่าข้าราชการตำรวจชั้นประทวนทำผิดวินัยมากกว่าชั้นสัญญา
บัตร ฐานความผิดละทิ้งหน้าที่มากที่สุด จึงได้มีการศึกษาวิจัยเพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหาการ
ปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจที่ผ่าน พบว่า มีงานวิจัยเกี่ยวกับการพึงพอใจในการปฏิบัติงาน
ของข้าราชการตำรวจที่ทำหน้าที่สายตรวจในสถานีตำรวจอำเภอเมือง สังกัดตำรวจภูธร จังหวัด
ศรีสะเกษ ของ วัฒนา ยี่จีน (2538) พบว่าปัจจัยด้านการปรับรายได้และสวัสดิการให้เพิ่มขึ้น จัด
ให้มีอุปการณ์และอัตรากำลังให้เพียงพอกับปริมาณงาน มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจใน
การปฏิบัติงาน เช่นเดียวกับ พงษ์สวัสดิ์ จำรัสประเสริฐ (2537) พบว่าปัจจัยที่มีผลกระทบต่อ
ความพึงพอใจของข้าราชการตำรวจ สังกัดกองกำกับการอำนวยการ กองบังคับการตำรวจภูธร 6
ก่อนและหลังการปรับปรุงโครงสร้างกรมตำรวจ คือ เงินเดือนค่าจ้าง และสวัสดิการ
2
ปัญหาเงินเดือนค่าครองชีพของข้าราชการตำรวจชั้นประทวนแต่ละคนจึงเป็นเรื่องที่ควรนำ
มาศึกษาวิจัยเพื่อแสวงหาแนวทางในการช่วยเหลือข้าราชการตำรวจชั้นประทวนได้รับค่าตอบแทน
ที่มีความเหมาะสมและมีความยุติธรรม เมื่อเปรียบเทียบบทบาทหน้าที่ในการปฏิบัติงานที่ต้องรับ
ผิดชอบในชีวิตทรัพย์สินของบุคคลอื่น ทั้งนี้เพื่อความสงบสุขที่จะต้องให้เกิดขึ้นในชุมชนสังคมและ
บ้านเมือง ดังนั้นแนวทางการช่วยเหลือให้ข้าราชการตำรวจชั้นประทวนมีขวัญและกำลังใจในการ
ปฏิบัติหน้าที่ให้มีสมรรถภาพและประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น และมีความสำคัญอย่างมากต่อสำนักงาน
ตำรวจแห่งชาติที่จะได้นำผลการวิจัยที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาบุคคลากรตำรวจให้ดียิ่งขึ้น
อย่างมีคุณค่าและประโยชน์สุขต่อประชาชน
ปัญหาในการวิจัยครั้งนี้ คือ มีปัจจัยอะไรบ้างที่มีผลต่อค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการ
ตำรวจชั้นประทวน สถานีตำรวจในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8
วัตถุประสงค์การวิจัย
1. ศึกษาระดับค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน สถานีตำรวจใน
กองบังคับการตำรวจนครบาล 8
2. ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน สถานี
ตำรวจในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8
ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย
1. ทราบถึงระดับค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน สถานีตำรวจใน
กองบังคับการตำรวจนครบาล 8
2. ทราบถึงปัจจัยที่มีผลต่อค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน สถานี
ตำรวจในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8
3. นำผลที่ได้มาประยุกต์ใช้เป็นยุทธศาสตร์ในการกำหนดแนวทางวางแผนและการ
พัฒนาด้านค่าครองชีพของข้าราชการตำรวจชั้นประทวนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
3
ขอบเขตในการวิจัย
ในการศึกษาเรื่อง “ค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน สังกัดกองบังคับ
การตำรวจนครบาล 8 ” เป็นการศึกษาเฉพาะข้าราชการตำรวจชั้นประทวน สถานีตำรวจในกอง
บังคับการตำรวจนครบาล 8 ที่มีตำแหน่งตั้งแต่นายดาบตำรวจลงมาจากทั้ง 11 สถานี
นิยามศัพท์เฉพาะ
ข้าราชการตำรวจชั้นประทวน หมายถึง ข้าราชการตำรวจชั้นประทวนที่ปฏิบัติงานประจำ
สถานีตำรวจในในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8 ในปัจจุบัน
ค่าครองชีพที่สมดุล หมายถึง รายรับที่มีความเหมาะสมเพียงพอในการใช้จ่าย หรือ
รายจ่ายที่มีระดับต่ำและเพียงพอต่อการใช้จ่ายในครอบครัว มีเหลือเก็บ ซึ่งทำให้ครอบครัวไม่เกิด
ความเดือดร้อนในการครองชีพ ส่งผลต่อความเพียงพอทั้งทางร่างกายและจิตใจของสมาชิกใน
ครอบครัว
สถานภาพส่วนตัวที่ดีของตำรวจ หมายถึง สภาพการสมรส รายได้และฐานะของ
ครอบครัว ซึ่งเป็นสิ่งหนึ่งที่มีความสัมพันธ์และเอื้ออำนวยให้การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานตำรวจ
ชั้นประทวนมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอันนำไปสู่ความเจริญก้าวหน้าของตนเองและ
ครอบครัวได้อย่างมั่นคงตลอดไป
สถานภาพการงานที่ดี หมายถึง อายุราชการ สายงาน และค่าตอบแทนทุกอย่างที่ผู้ปฏิบัติ
งานได้รับจากการปฏิบัติงานนั้นๆ ได้แก่ เงินเดือน เบี้ยเลี้ยง สวัสดิการ ค่าพาหนะ ค่าเช่าบ้าน และ
ค่าตอบแทนในรูปของประโยชน์เกื้อกูลอื่น ๆ
การพึ่งตนเอง หมายถึง การมีจิตสำนึกหรือความตระหนักที่จะพึ่งพาตนเองในการ
ประกอบกิจการใด ๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยอาศัยความอุตสาหะพากเพียร ภายใต้ศักยภาพที่
ตนเองมีอย่างเต็มความสามารถ
การดำรงชีวิตแบบพอเพียง หมายถึง การมีจิตสำนึกหรือความตระหนักในการดำเนิน
ชีวิตอย่างสายกลาง มีความพอเพียงทั้งด้านวัตถุและจิตใจ ดำรงชีวิตอย่างสมถะ สันโดษ พอใจใน
สิ่งที่ตนมี ไม่เอารัดเอาเปรียบ เสียสละและพร้อมที่จะช่วยเหลือส่วนรวม
4
ความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว หมายถึง การอยู่ร่วมกันในครอบครัวมีความรักใคร่ความ
ปรารถนาดี มีความเอื้ออาทร และความช่วยเหลือเกื้อกูลต่อกันในฐานะเป็นสมาชิกในครอบครัว
ซึ่งจะทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ไม่เอาเปรียบกัน และก่อให้เกิดความร่วมแรงร่วมใจกันสร้างเสริมให้
ครอบครัวดำรงอยู่อย่างมีความสุขที่มั่นคง
การเรียนรู้เพื่อชีวิต หมายถึง การเรียนรู้ของบุคคลในลักษณะของ “กระบวนการ” ที่เกิด
ขึ้นตลอดเวลา ตลอดชีวิตอย่างไม่หยุดนิ่ง เกิดขึ้นด้วยตนเอง หรือด้วยการเรียนรู้จากผู้อื่นและสิ่ง
แวดล้อม ช่วยให้เกิดศักยภาพมากขึ้นในการดำรงชีวิตทุกด้าน การนำความรู้และประสบการณ์
เกี่ยวกับชีวิตมาใช้ในการแก้ปัญหาตลอดจนพัฒนาตนเองและสังคม
การมีศาสนธรรม หมายถึง การนำหลักจริยธรรม และคำสั่งสอนของศาสนาที่เชื่อถือและ
ยึดมั่น มาใช้เป็นเกณฑ์วินิจฉัย ตัดสินการกระทำที่มีคุณค่าของตน และบุคคลอื่นในสังคม
ข้าราชการตำรวจชั้นประทวน หมายถึง ผู้มียศ สิบตำรวจตรี สิบตำรวจโท สิบตำรวจ
เอก จ่าสิบตำรวจ และนายดาบตำรวจ
สิบตำรวจ หมายถึง ข้าราชการตำรวจชั้นประทวนยศจ่าสิบตำรวจตามอัตราจ่าสิบตำรวจ
ซึ่งเป็นไปตามลำดับขั้นเงินเดือน ได้แก่ ขั้น ตรี โท เอก
นายดาบตำรวจ ข้าราชการตำรวจชั้นประทวนที่มียศสูงสุด
สมมติฐานการวิจัย
จากปัญหาและแนวคิดที่กล่าวมา ผู้วิจัยได้นำมาเป็นแนวทางในการตั้งสมมติฐานดังนี้
1. สถานภาพส่วนตัวที่ดีของตำรวจแตกต่างกัน มีค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการ
ตำรวจชั้นประทวน สถานีตำรวจในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8 แตกต่างกัน
2. สถานภาพการงานที่ดี มีผลต่อค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน
สถานีตำรวจในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8
3. การพึ่งตนเอง มีผลต่อค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน สถานี
ตำรวจในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8
4.การดำรงชีวิตแบบพอเพียง มีผลต่อค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้น
ประทวน สถานีตำรวจในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8
5
5.ความสัมพันธ์ที่ดีภายในครอบครัว มีผลต่อค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้น
ประทวน สถานีตำรวจในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8
6.การเรียนรู้เพื่อชีวิต มีผลต่อค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน สถานี
ตำรวจในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8
7.การมีศาสนธรรม มีผลต่อค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน สถานี
ตำรวจในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8
อธิบายสมมติฐาน
1. สถานภาพส่วนตัวที่ดีของตำรวจ แตกต่างกัน ค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจ
ชั้นประทวน สถานีตำรวจในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8 แตกต่างกัน
ความหมายของสมมติฐาน หมายถึง สภาพการสมรส รายได้และฐานะของครอบครัว ซึ่ง
เป็นสิ่งหนึ่งที่มีความสัมพันธ์และเอื้ออำนวยให้การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานตำรวจชั้นประทวนมี
ประสิทธิภาพและประสิทธิผลอันนำไปสู่ความเจริญก้าวหน้าของตนเองและครอบครัวได้อย่างมั่น
คงตลอดไป แตกต่างกัน รายรับที่มีความเหมาะสมเพียงพอในการใช้จ่าย หรือรายจ่ายที่มีระดับ
ต่ำและเพียงพอต่อการใช้จ่ายในครอบครัว มีเหลือเก็บ ซึ่งทำให้ครอบครัวไม่เกิดความเดือดร้อน
ในการครองชีพ ส่งผลต่อความเพียงพอทั้งทางร่างกายและจิตใจของสมาชิกในครอบครัว มีความ
แตกต่างกัน
ทฤษฎีแนวคิด นอร์เบอร์ท ไวเนอร์ (Norbert Wiener อ้างใน สมยศ นาวีการ 2522) ที่
กล่าวว่าบุคคลถูกจูงใจด้วยผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและความต้องการความมั่นคง ประสิทธิภาพ
ในการปฏิบัติงานของบุคคลด้วยความสมัครใจ มีความพึงพอใจภายใต้ปัจจัยด้านรายได้ เงินเดือน
ค่าจ้าง ค่าตอบแทน เบี้ยเลี้ยงและสวัสดิการต่าง ๆ ซึ่งมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องฐานะ ความมั่นคง
ของครอบครัว
งานวจิ ยั ธีรพล คุปตานนท  (2530) จารุนันท ์ สมบูรณ์สิทธิ์ (2535) และ วัฒนา ยจี่ นี
(2538) มาวเดย์ และคณะ (Mowday and others 1979) พบว่า ความพึงพอใจ ความตั้งใจ ผล
สัมฤทธิ์ในการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจนั้น มีความสัมพันธ์กับ รายได้ สวัสดิการ สถาน
ภาพการสมรส ฐานะทางครอบครัว ระดับการศึกษา
สมมติฐานที่ตั้งขึ้นมาจากผลงานวิจัยของ ธีรพล คุปตานน ์ จารุนันท ์ สมบูรณ์สิทธิ์ ซงึ่ กลา่ ว
สรุปได้ว่า ปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงาน ได้แก่ สถานภาพ
การสมรส รายได้ ฐานะทางครอบครัวมีความสัมพันธ์และมีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติ
งานของข้าราชการตำรวจอย่างประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งนำไปสู่การมีรายได้ที่มีความสมดุล
และเพียงพอต่อการดำรงชีพ มีความเพียงพอในการใช้ ทำให้ครอบครัวไม่เกิดความเดือดร้อนใน
6
การครองชีพ เพราะมีความสมดุลในเรื่องรายได้และค่าใช้จ่ายและมีเหลือเก็บ ส่งผลต่อความเพียง
พอทั้งทางร่างกายและจิตใจของในตนเองและสมาชิกในครอบครัวได้อย่างมั่นคงตลอดไป
2. สถานภาพการงานที่ดี มีผลต่อค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน
สถานีตำรวจในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8
ความหมายของสมมติฐาน หมายถึง อายุราชการ สายงาน และค่าตอบแทนทุกอย่างที่
ผู้ปฏิบัติงานได้รับจากการปฏิบัติงานนั้นๆ ได้แก่ เงินเดือน เบี้ยเลี้ยง สวัสดิการ ค่าพาหนะ ค่าเช่า
บ้าน และค่าตอบแทนในรูปของประโยชน์เกื้อกูลอื่น ๆ มีผลทำให้ รายรับมีความเหมาะสมเพียง
พอในการใช้จ่าย หรือรายจ่ายที่มีระดับต่ำและเพียงพอต่อการใช้จ่ายในครอบครัว มีเหลือเก็บ ซึ่ง
ทำให้ครอบครัวไม่เกิดความเดือดร้อนในการครองชีพ ส่งผลต่อความเพียงพอทั้งทางร่างกายและ
จิตใจของสมาชิกในครอบครัว
ทฤษฎี ของ เฮอร์ซเบอร์ก แซนเดอร์แมน ( Herzberg Mauaner and Snyderman)
ทิฟฟิน และ แมคคอร์มคิ (Tiffin and McCormick, 1968) ความพึงพอใจและไม่พึงพอใจใน
งานที่ทำมีสาเหตุมาจากปัจจัย 2 กลุ่ม คือปัจจัยจูงใจ คือ ปัจจัยที่ทำให้บุคลากรเกิดความพึงพอใจ
ในการทำงาน ได้แก่ ความสำเร็จในการทำงาน การยอมรับนับถือ ลักษณะของงาน การมีความ
รับผิดชอบ และความก้าวหน้า ส่วน ปัจจัยค้ำจุน หมายถึง ปัจจัยที่ค้ำจุนแรงจูงใจในการทำงานของ
บุคคลมีอยู่ตลอดเวลา ถ้าไม่มีหรือมีในลักษณะที่ไม่สอดคล้องกับบุคคลในองค์การก็จะเกิดความ
ไม่ชอบงานที่ทำ เช่น เงินเดือน สภาพแวดล้อมในการทำงาน และนโยบายของบริษัท ในขณะที่
ทิฟฟิน และ แมคคอร์มคิ (Tiffin and McCormick, 1968) ซึ่งมีแนวคิดที่สอดคล้องและแตกต่าง
กับ เฮอร์ซเบอร์ก แซนเดอร์แมน ที่สรุปไว้ว่า องค์ประกอบที่ก่อให้เกิดความพึงพอใจ คือ ปัจจัย
ภายนอก ได้แก่ ค่าจ้าง รายได้ตอบแทนในการทำงาน ความมั่นคงปลอดภัยในการทำงาน ส่วน
ปัจจัยภายใน ได้แก่ ความต้องการในการทำงานร่วมกับบุคคลอื่น ความเป็นผู้ได้รับการยอมรับนับ
ถือจากผู้อื่น ความต้องการในศักดิ์ศรีของตนเอง ความต้องการได้รับความสำเร็จในชีวิต
งานวิจัย ที่สนับสนุนแนวคิดดังกล่าวได้แก่ เชอร์โมฮอร์น (Shermerhorn, 1982) พบว่า
ผู้ที่ได้รับค่าตอบแทนสูงความพึงพอใจก็จะสูงเช่นเดียวกัน ปราศรัย สังขะทรัพย์ (2521) พบว่า
ปัจจัยที่มีอิทธิพลที่ทำให้ระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติหน้าที่ราชการค่อนข้างต่ำคือ เงินเดือน
และสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ จิตต์เจริญ เวลาดี (2522) พบว่า เงินเดือนที่ได้รับมีความสัมพันธ์กับ
การปฏิบัติงานปัองกันและปราบปรามอาชญากรรม คือ การได้รับเงินเดือนเพิ่มมากขึ้น การมีผู้อยู่
ในความอุปการะเลี้ยงดูมาก ปฏิบัติงานได้ผลน้อยกว่าผู้อยู่ในอุปการะน้อย และ ปุรชัย เปี่ยม
สมบูรณ์ (2526) พบว่า การเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ด้านสืบสวนของเจ้าหน้าที่
ตำรวจ ได้แก่การสนับสนุนเกี่ยวกับปัจจัยต่าง ๆ เช่น ค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าที่เป็นสิ่งที่เอื้อ
อำนวยการให้การปฏิบัติหน้าที่สำเร็จรวดเร็วยิ่งขึ้น
7
สมมติฐานที่ตั้งขึ้นมาจากผลงานวิจัยของ เชอร์โมฮอร์น (Shermerhorn, 1982) ปราศรัย
สังขะทรัพย์ (2521) จิตต์เจริญ เวลาดี (2522) ปุรชัย เปี่ยมสมบูรณ์ (2526) ซึ่งสรุปได้ว่า แรง
จูงใจในการทำงานของบุคคลที่มีอยู่ตลอดเวลา มีความสัมพันธ์โดยตรงกับ สิ่งแวดล้อมภายนอก
ได้แก่ เงินเดือน สวัสดิการ ค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าที่ สิทธิประโยชน์ ต่าง ๆ ความมั่นคง
ปลอดภัยในการทำงาน ประกอบกับแรงผลักดันที่เกิดขึ้นจากภายใน เช่น ความต้องการในการ
ทำงานร่วมกับบุคคลอื่น ความเป็นผู้ได้รับการยอมรับนับถือจากผู้อื่น ความต้องการในศักดิ์ศรีของ
ตนเอง ความต้องการได้รับความสำเร็จในชีวิต ทุกอย่างที่กล่าวมาล้วนเป็นปัจจัยที่เกิดจากภาวะ
การทำงานและช่วยป้องกันการปฏิบัติงานไม่ให้หย่อนประสิทธิภาพ โดยมีเรื่องของเงินเดือนและ
ค่าตอบแทนเป็นปัจจัยที่สำคัญเพราะเมื่อมีเงินเดือนมาก มีค่าตอบแทนมากก็จะทำให้มีข้าราชการ
ตำรวจชั้นประทวนมีเงินมากพอในใช้จ่ายเพื่อการดำรงชีวิตตามความต้องการทั้งทางร่างกายและ
อันเป็นปัจจัยที่ทำให้ค่าครองชีพของข้าราชการตำรวจชั้นประทวนใน กองบังคับการตำรวจนคร
บาล 8 มีความสมดุลตามลำดับ
3. การพึ่งตนเอง มีผลต่อค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน สถานี
ตำรวจในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8
ความหมายของสมมติฐาน การมีจิตสำนึกหรือความตระหนักที่จะพึ่งพาตนเองในการ
ประกอบกิจการใด ๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยอาศัยความอุตสาหะพากเพียร ภายใต้ศักยภาพที่
ตนเองมีอย่างเต็มความสามารถ มีผลต่อ รายรับที่มีความเหมาะสมเพียงพอในการใช้จ่าย หรือ
รายจ่ายที่มีระดับต่ำและเพียงพอต่อการใช้จ่ายในครอบครัว มีเหลือเก็บ ซึ่งทำให้ครอบครัวไม่เกิด
ความเดือดร้อนในการครองชีพ ส่งผลต่อความเพียงพอทั้งทางร่างกายและจิตใจของสมาชิกใน
ครอบครัว
ทฤษฎี กาญจนา แก้วเทพ และ กนกศักดิ์ แก้วเทพ (2530) กล่าวว่า การพึ่งตนเองเป็น
กิจกรรมทั้งหลายที่กระทำโดยปัจเจกชนและครัวเรือนเพื่อบรรลุถึงหลักประกันของการดำรงชีวิต
โจฮัน กาล์เตอท์ (Johan Galtung) กล่าวว่า การพึ่งตนเอง คือ ความเป็นเอกราช และการช่วย
เหลือเกื้อกูลกัน สัญญา สัญญาวิวัฒน์ (2541) พบว่าการพึ่งตนเองคือความพอมีพอกิน โดยการ
พึ่งตนเอง 5 ด้าน ได้แก่ จิตใจ สังคม ทรัพยากร เทคโนโลยี และเศรษฐกิจ วิบูลย์ เข็มเฉลิม
(2532) พบว่าการพึ่งตนเอง โดยที่ไม่เดือดร้อนควรจะคำนึงถึงการมีครอบครัว มีชีวิตที่สงบ
มีคุณธรรม เรียนรู้ด้วยตนเอง รู้อารมณ์ แก้ปัญหาตนเองได้ และไม่ฟุ่มเฟือย และ เสรี พงศ์พิศ
(2536) พบว่าการพึ่งตนเองคือความสามารถในการใช้ทรัพยากรท้องถิ่นในการพัฒนาชีวิต ผลิต
เพื่อยังชีพ และดำรงชีวิตด้วยความสงบสุข
งานวิจัย ดารณี รักดี (2540) การพึ่งตนเองคือแนวคิดเกี่ยวกับลักษณะรัฐสวัสดิการที่จะ
ต้องพิจารณาถึงเงื่อนไขของสังคม วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี สุพรรณี ไชยอำพร
(2539) พบว่ามีความแตกต่างกันในการจัดอันดับความสำคัญขององค์ประกอบความพยายาม
8
พึ่งตนเอง คือการให้ความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจและปัจจัยทางด้านจิตวิทยา พิเชียร ลิมป์หวังอยู่
(2531) พบว่าโครงการพระราชดำริสามารถทำให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ฐานะความเป็นอยู่
พื้นฐานเพียงพอกับความต้องการมากขึ้น
จากผลการวิจัยของ ดารณี รักดี (2540) ประเพณี สุพรรณี ไชยอำพร (2539) นำมาสู่
การตั้งสมมติฐาน ซึ่งสรุปได้ว่า การพึ่งตนเองคือการทำกิจกรรมทั้งหลายโดยปัจเจกและครอบครัว
เพื่อบรรลุถึงหลักประกันของการดำรงชีวิต ด้วยการรู้จักประหยัด อดออม การใช้แรงงานและ
ศักยภาพของตนเองในการแก้ไขปัญหาในทางที่ชอบ มีความเป็นอิสระ รู้จักการช่วยเหลือเกื้อกูล
และการผสมผสานสิ่งที่มีอยู่ให้เหมาะสมกับสภาพของตนเองและครอบครัวเพื่อสนองตอบต่อ
ความต้องการได้อย่างเพียงพอและเหมาะสม การที่เราสามารถปลูกพืชผักสวนครัวไว้กินเองได้ มี
ความสามารถในการซ่อมแซมที่อยู่อาศัยได้ด้วยตนเอง การซ่อมเครื่องใช้ภายในบ้าน หรือ สิ่งของ
ที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตตนเองได้ ทำให้ไม่ต้องใช้จ่ายเงินทองไปกับการจ้างผู้อื่นหรือซื้อ
มา เมื่อข้าราชการตำรวจชั้นประทวนสามารถพึ่งตนเองได้เพียงนี้ เงินเดือนที่ได้รับมานั้นไม่ว่าจะ
มากหรือน้อยนั้นไม่มีความสำคัญเพราะผู้ปฏิบัติสามารถที่จะดำรงชีพด้วยเศรษฐกิจสมดุลที่ตนเอง
ผู้สร้างได้เช่นกัน
4. การดำรงชีวิตแบบพอเพียงมีผลต่อค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้น
ประทวน สถานีตำรวจในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8
ความหมายของสมมติฐาน การมีจิตสำนึกหรือความตระหนักในการดำเนินชีวิตอย่าง
สายกลาง มีความพอเพียงทั้งด้านวัตถุและจิตใจ ดำรงชีวิตอย่างสมถะ สันโดษ พอใจในสิ่งที่ตนมี
ไม่เอารัดเอาเปรียบ เสียสละและพร้อมที่จะช่วยเหลือส่วนรวม มีผลต่อ รายรับที่มีความเหมาะสม
เพียงพอในการใช้จ่าย หรือรายจ่ายที่มีระดับต่ำและเพียงพอต่อการใช้จ่ายในครอบครัว มีเหลือ
เก็บ ซึ่งทำให้ครอบครัวไม่เกิดความเดือดร้อนในการครองชีพ ส่งผลต่อความเพียงพอทั้งทางร่าง
กายและจิตใจของสมาชิกในครอบครัว
ทฤษฎี ฉัตรทิพย์ นาถสุภา (2541) กล่าวว่าเศรษฐกิจแบบยังชีพหมายถึงทุกส่วนของ
ครอบครัวทำการผลิตโดยตรงเพื่อการบริโภค ซึ่งมีความสัมพันธ์กับธรรมชาติมากกว่าความ
สัมพันธ์ทางสังคม แรงงานที่ใช้มือเหนือกว่าแรงงานที่ใช้เครื่องจักร ความรู้เชิงประสบการณ์เหนือ
กว่าความรู้เชิงวิทยาศาสตร์ ประเวศ วะสี (2541) กล่าวว่าเศรษฐกิจพอเพียงคือพอเพียงสำหรับ
ทุกคน มีธรรมชาติพอเพียง ความรักพอเพียง เมื่อทุกอย่างพอเพียงก็จะเกิดความสมดุล จะเรียก
ว่าเศรษฐกิจสมดุลก็ได้ เมื่อสมดุลก็เป็นเรื่องปกติ สบายไม่เจ็บไข้ ไม่วิกฤติ
สัญญา สัญญาวิวัฒน์ (2541) กล่าวว่าความพอทำให้เกิดความงาม ความรวย ความใหญ่
และความดังในตัวของมันเอง เพราะคนที่รู้จักพอรู้สึกพอไม่ว่าเขามีเงินอยู่เท่าไหร่ มีรายได้อยู่
ขนาดไหน เขาก็รวยเพราะในความรู้สึกของเขา เงินแค่นั้นเต็มหรือเกือบเต็มตามความต้องการของ
เขาแล้ว เขาไม่ต้องการอีกแล้ว หรือต้องการอีกนิดเดียว จึงไม่จำเป็นต้องรีบร้อนทุรนทุรายไขว่หา
9
จากงานแนวคิดของ สัญญา สัญญาวิวัฒน์ (2541) ประเวศ วะสี (2541) นำมาสู่การตั้ง
สมมติฐานซึ่งสรุปว่า วิถีชีวิตแบบพอเพียง คือวิถีชีวิตของคนส่วนใหญ่ของประเทศ หรือ เป็นวิถี
ชีวิตพื้นฐานของคนไทยทุกคน ภายใต้ ความสันโดษ ความพึงพอใจในสิ่งที่ตนเองมี และความเข้ม
แข็งของตนเอง ได้แก่ ความสามารถ ประสบการณ์ ศักยภาพในการนำสิ่งรอบข้างที่ตนเองมีมา
สร้างให้เกิดประโยชน์ที่สามารถตอบสนองความต้องการและความจำเป็นในการดำรงชีวิตโดยไม่
ต้องไปแสวงหาในสิ่งที่ตนเองไม่มี อันจะก่อให้เกิดภาระ ปัญหาความยากลำบากให้เกิดขึ้นกับ
ตนเองและครอบครัว การเดินทางสายกลางก่อให้เกิดความไม่เบียดเบียนทั้งตนเองและคนรอบ
ข้าง อันนำไปสู่การบรรลุถึงความสมดุลในทุก ๆ ด้าน ทั้งตนเอง ครอบครัว ชุมชน และสังคม
เพราะเมื่อคนเราทุกคนไม่มีความทะเยอทะยานฟุ้งเฟื้อ มีแค่ไหนก็พอใจเพียงแค่นั้น ซึ่งไม่ได้
หมายความว่าจะไม่ขยันพากเพียรที่จะประกอบสัมมาอาชีพที่สุจริต แต่ความพอแค่ไหนแค่นั้น
หมายถึง พอต่อสิ่งที่จำเป็นต้องใช้ในการดำรงชีวิต สามารถใช้แรงกายทำงานได้ ใช้บริการที่เป็น
สาธารณได้ ไม่ต้องใช้เครื่องจักรกลเพื่ออำนวยความสะดวกสบายยกตัวอย่าง ใช้ครก แทนการขอ
ยืมเงินไปซื่อเครื่องปั่น เช่นเดียวกับ ไม่ต้องซื้อรถยนต์เพื่อใช้ในการเดินทาง เพราะสามารถใช้
บริการขนส่งมวลชนได้ ถ้ารู้จักการเพียงพอแค่นี้ รายได้ และค่าใช้จ่ายก็จะเพียงพอและสมดุลได้
เช่นกัน
5. ความสัมพันธ์ที่ดีภายในครอบครัว มีผลต่อค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจ
ชั้นประทวน สถานีตำรวจในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8
ความหมายของสมมติฐาน การอยู่ร่วมกันในครอบครัวมีความรักใคร่ความปรารถนาดี มี
ความเอื้ออาทร และความช่วยเหลือเกื้อกูลต่อกันในฐานะเป็นสมาชิกใน ครอบครัว ซึ่งจะทำให้
เกิดความสัมพันธ์ที่ไม่เอาเปรียบกัน และก่อให้เกิดความร่วมแรงร่วมใจกันสร้างเสริมให้ครอบครัว
ดำรงอยู่อย่างมีความสุขที่มั่นคง มีผลทำให้ รายรับที่มีความเหมาะสมเพียงพอในการใช้จ่าย หรือ
รายจ่ายที่มีระดับต่ำและเพียงพอต่อการใช้จ่ายในครอบครัว มีเหลือเก็บ ซึ่งทำให้ครอบครัวไม่เกิด
ความเดือดร้อนในการครองชีพ ส่งผลต่อความเพียงพอทั้งทางร่างกายและจิตใจของสมาชิกใน
ครอบครัว
ทฤษฎี มาสโลว์ (Maslow,1960) ระบุว่าความพึงพอใจของมนุษย์จะเกิดขึ้นเมื่อความ
ต้องการได้รับความตอบสนองและความต้องการนั้นจะพัฒนาขึ้นไปตามลำดับขั้น อันได้แก่ความ
ต้องการเพื่อความอยู่รอด ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย ความต้องการความรักความเป็นเจ้า
ของ ความต้องการการยอมรับนับถือ และความต้องการบรรลุความสำเร็จสมหวังในชีวิต ซึ่งแสดง
ให้เห็นว่าความพึงพอใจในชีวิตเป็นสิ่งที่ไม่มั่นคงแน่นอน สามารถเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์
ขึ้นอยู่กับความต้องการในขณะนั้นของแต่ละบุคคล ฟรายด์แมน (Friedman,1981) ได้เสนอแนว
คิดเกี่ยวกับครอบครัวไว้ว่าหน้าที่ของครอบครัวที่ควรพึงปฏิบัติให้เกิดแก่สมาชิก สามารถดำรงอยู่
10
ในสังคมได้อย่างปกติ ครอบครัวจึงเป็นแหล่งดำเนินอัตมโนทัศน์ ความรู้สึกเป็นเจ้าของมีชีวิตที่มี
คุณค่าและเป็นแหล่งของการให้ความรัก ความอบอุ่น รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือ และสนับสนุน
ในด้านต่าง ๆ มอร์โรว์ และ วิลสัน (Morrow and Wilson,1961) อธิบายถึงลักษณะของสัมพันธ
ภาพในครอบครัวว่าประกอบด้วยการสนับสนุนด้านอารมณ์และสิ่งแวดล้อมในครอบครัว การแลก
เปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน มีการพักผ่อนหย่อนใจร่วมกันในครอบครัว มีความรักใคร่ผูก
พันซึ่งกันและกัน มีความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน และมีความกลมเกลียวสามัคคีปรองดอง
ระหว่างสมาชิกในครอบครัว
งานวิจัย สุธีรา นุ้ยจันทร์ (2530) พบว่าครอบครัวผู้ใช้บริการของสังคมผู้สูงอายุของ
ดินแดง มีความสัมพันธ์ภายในครอบครัวอยู่ในระดับดี สมาชิกรักใคร่ปรองดองกัน เช่นเดียว
กับ กิติพร ศรีวงชัย (2542) พบว่าการทำให้ประชาชนเข้าใจบทบาทการปฏิบัติหน้าที่ในการที่จะ
พัฒนาเศรษฐกิจ ส่งผลให้เกิดกิจกรรมที่ทำร่วมกัน อันนำไปปฏิบัติได้อย่างต่อเนื่อง และมีการ
พัฒนามากยิ่งขึ้น
จากผลงานวิจัยของสุธีรา นุ้ยจันทร์ และ กิติพร ศรีวงชัย นำมาสู่สมมติฐานการวิจัยครั้งนี้
ซึ่งได้สรุปว่า สัมพันธ์ภาพในครอบครัวเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้เกิดแรงกระตุ้น ผลักดัน ให้
สมาชิกในครอบครัวพร้อมที่จะต่อสู้โดยไม่รู้สึกเบื่อหน่าย ท้อแท้ พร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่ตาม
สถานะและบทบาทตามที่ผู้อื่นคาดหวังให้ปฏิบัติ โดยเฉพาะความพร้อมที่จะให้การช่วยเหลือ
สนับสนุนในทุก ๆ ด้าน ทั้งร่างกายและจิตใจ ด้วยความรักความผูกพัน ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานใน
การประสานความสัมพันธ์เชื่อมโยงสมาชิกในครอบครัวให้เกิดความรู้สึกอบอุ่น สงบสุข มั่นคง
ปราศจากความทุกข์ อันเป็นผลให้สมาชิกทุกคนพึงปฏิบัติหน้าที่ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและ
สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณค่าตามบทบาทหน้าที่ของตนและมีชีวิตที่สมดุล ทั้งนี้เพราะ
ครอบครัวเป็นพลังเบื้องหลังที่สำคัญที่จะช่วยประหยัด ช่วยสร้างและช่วยหาสิ่งที่เป็นรายได้มาเกื้อ
หนุนจุนเจือซึ่งกันและกันไม่ต้องคอยอาศัยหรือพึ่งพาแต่รายได ้ เงินเดือน และค่าตอบแทนจากหัว
หน้าครอบครัวเพียงอย่างเดียว
6. การเรียนรู้เพื่อชีวิตมีผลต่อค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน สถานี
ตำรวจในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8
ความหมายของสมมติฐาน การเรียนรู้ของบุคคลในลักษณะของ “กระบวนการ” ที่เกิด
ขึ้นตลอดเวลา ตลอดชีวิตอย่างไม่หยุดนิ่ง เกิดขึ้นด้วยตนเอง หรือด้วยการเรียนรู้จากผู้อื่นและสิ่ง
แวดล้อม ช่วยให้เกิดศักยภาพมากขึ้นในการดำรงชีวิตทุกด้าน การนำความรู้และประสบการณ์
เกี่ยวกับชีวิตมาใช้ในการแก้ปัญหาตลอดจนพัฒนาตนเองและสังคม มีผลทำให้ รายรับที่มีความ
เหมาะสมเพียงพอในการใช้จ่าย หรือรายจ่ายที่มีระดับต่ำและเพียงพอต่อการใช้จ่ายในครอบครัว
มีเหลือเก็บ ซึ่งทำให้ครอบครัวไม่เกิดความเดือดร้อนในการครองชีพ ส่งผลต่อความเพียงพอทั้ง
ทางร่างกายและจิตใจของสมาชิกในครอบครัว
11
ทฤษฎี สัญญา สัญญาวิวัฒน์ (2544) องค์การที่มีประสิทธิภาพจะต้องเป็นองค์การเรียนรู้
และย่อยเข้าระบบความรู้ถ่ายทอดไปให้สมาชิกขององค์การ ทำให้องค์การเป็นองค์การที่มีคุณภาพ
มีประสิทธิภาพ โดยมีลักษณะ 5 ประการได้แก่ความสามารถในความคิดเชิงระบบ การมีกรอบ
ความคิด การส่งเสริมให้บุคคลพัฒนาตามที่ตนถนัด มีวิสัยทัศน์ร่วมกัน และมีการเรียนรู้เป็นทีม
นงลักษณ ์ สุพรรณไชยมาตย  (2542) ได้เสนอภาพของสังคมอุดมคติในประเด็นวิสัยทัศน์ร่วมกัน
การมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง มีความรักความเอื้ออาทรสมานฉันท์ มีองค์ความรู้และความ
สามารถในการแสวงหาความรู้ มีการเรียนรู้จากการปฏิบัติหรือทำกิจกรรมร่วมกัน เป็นการเรียนรู้
ร่วมกันของคนในสังคมจะช่วยให้เกิดพลังและเกิดปัญญาหมู่ ก่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน โรเจอร์
และ ชูเมคเกอร์ (Roger and Shoemaker, 1973) ได้สรุปขั้นตอนของการรับรู้วิทยาการใหม่ไว้
5 ขั้น ได้แก่ขั้นการรับรู้ ขั้นการสนใจ ขั้นการการสื่อใจ ขั้นทดลองและตอบรับ อุ่นตา นพคุณ
(2528) กล่าวว่าคิดเป็นหมายความว่ามนุษย์แต่ละคนสามารถตัดสินใจเลือกสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับ
ตนเอง ภายใต้ข้อจำกัดของกรรมพันธุ์ ภูมิหลัง สภาพแวดล้อมบางอย่าง และสามารถควบคุม
สภาพการณ์ของตนเองได้เสมอ
งานวิจัย อุ่นตา นพคุณ และคณะ (2526) พบว่าการคิดเป็นของตัวอย่างประชากรไม่
แตกต่างกันเมื่อจำแนกตามระดับชั้น เพศ อายุ การศึกษา และประชากรนอกระบบโรงเรียนที่มี
อาชีพและรายได้แตกต่างกันไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ และพบว่าประชาชนใช้ข้อมูล
ด้านตนเองสูงกว่ากลุ่มนักเรียนระดับประถมศึกษาและนักศึกษาผู้ใหญ่นิสิตนักศึกษาใน
มหาวิทยาลัยของรัฐบาลและเอกชนในข้อมูลของตนเองสูงกว่านักศึกษาวิทยาลัยครู วสันต์
ศิลปสุวรรณ และคณะ (2529) พบว่าการคิดเป็นของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล นักศึกษาส่วน
ใหญ่มีลักษณะความคิดที่ใช้ข้อมูลมากกว่า 1 ด้านในการตัดสินใจแก้ปัญหา ข้อมูลที่ใช้ได้แก่ข้อมูล
ด้านตนเองและด้านวิชาการ ข้อมูลด้านชุมชนนั้นยังมีน้อย ระดับอาย ุ ชั้นปีที่เรียน เพศ ผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนไม่มีผลต่อการคิดเป็น ศรชัย เลิศไตรภพ (2535) พบว่าความสัมพันธ์ระหว่าง
ความคิดเป็นอย่างมีเหตุผล กับการคิดเป็นของนักศึกษาผู้ใหญ่สายสามัญระดับมัธยมศึกษาตอน
ปลาย พบว่าการคิดอย่างมีเหตุผล 3 ด้าน นักศึกษามีความสามารถสูงสุดในด้านการคิดแบบสรุป
ความ รองลงมาคือด้านการจัดเข้าพวก และสุดท้ายคือแบบอุปมาอุปมัย ส่วนในด้านการคิดเป็น
พบว่านักศึกษาที่มีเพศ อายุ และอาชีพต่างกัน มีความสามารถในการคิดเป็นแตกต่างกันอย่างไม่มี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผล ทั้งในด้านส่วนรวม
และในแต่ละด้าน มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการคิดเป็นอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
จากผลการวิจัยของอุ่นตา นพคุณ และคณะ (2526) วสันต์ ศิลปสุวรรณ และคณะ
(2529) ศรชัย เลิศไตรภพ (2535) นำมาสู่การตั้งสมมติฐานในการวิจัยครั้งนี้ ซึ่งสรุปว่า
มนุษย์เรานั้นอยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมและสถานการณ์ที่ปรากฏอันก่อให้เกิดการคิดเป็น ตัดสินใจ
กระทำสิ่งต่าง ๆ ต่อสิ่งแวดล้อมเหล่านั้นอยู่เป็นประจำ ปัจจุบันเป็นยุคแห่งข่าวสาร สารสนเทศ มี
การติดต่อสื่อสารประชาสัมพันธ์ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้และการคิดเป็น เพื่อพัฒนาตนเองให้
12
เป็นคนฉลาดรู้ในการดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุขและมีความมั่นคงด้วยการนำความรู้เหล่านั้นมา
ประยุกต์ใช้การแก้ปัญหา การสร้างรายได้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ การที่รับรู้และใฝ่แสวงหา
แนวทางต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการพึงตนเอง การมีวิธีชีวิตแบบพอเพียง ความรู้เหล่านั้นนำมาทำให้
ชีวิตมีคุณภาพ มีความสุขมีค่ารายได้และรายจ่ายได้อย่างสมดุล
7. การมีศาสนธรรมมีผลต่อค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน สถานี
ตำรวจในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8
ความหมายของสมมติฐาน การนำหลักจริยธรรม และคำสั่งสอนของศาสนาที่เชื่อถือ
และยึดมั่น มาใช้เป็นเกณฑ์วินิจฉัย ตัดสินการกระทำที่มีคุณค่าของตน และบุคคลอื่นในสังคม มี
ผลทำให้รายรับที่มีความเหมาะสมเพียงพอในการใช้จ่าย หรือรายจ่ายที่มีระดับต่ำและเพียงพอต่อ
การใช้จ่ายในครอบครัว มีเหลือเก็บ ซึ่งทำให้ครอบครัวไม่เกิดความเดือดร้อนในการครองชีพ
ส่งผลต่อความเพียงพอทั้งทางร่างกายและจิตใจของสมาชิกในครอบครัว
ทฤษฎี สัญญา สัญญาวิวัฒน์ (2541) กล่าวว่าความพอทำให้เกิดความงาม ความรวย
ความใหญ่ และความดังในตัวของมันเอง เพราะคนที่รู้จักพอรู้สึกพอไม่ว่าเขามีเงินอยู่เท่าไหร่ มี
รายได้อยู่ขนาดไหน เขาก็รวยเพราะในความรู้สึกของเขา เงินแค่นั้นเต็มหรือเกือบเต็มตามความ
ต้องการของเขาแล้ว เขาไม่ต้องการอีกแล้ว หรือต้องการอีกนิดเดียว จึงไม่จำเป็นต้องรีบร้อน
ทุรนทุรายไขว่หา สุนทราภรณ์ เตชะพะโลกุล (2534) กล่าวว่าหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา
มุ่งชี้สภาพปัญหาหรือทุกข์และหนทางแก้ไขหรือการพ้นทุกข์ ภายใต้กฎที่แสดงถึงการเปลี่ยนแปลง
ที่เป็นสากลและความไม่แน่นอนของสรรพสิ่ง คือกฎแสดงธรรมชาติที่ต้องอาศัยกันและกันเกิดขึ้น
กรมวิชาการ (2524) จริยธรรมคือแนวทางประพฤติดีทั้งกาย วาจา และใจ เพื่อประโยชน์ต่อ
ตนเอง ผู้อื่น และสังคม และประยูร ธมมจิตโต (2532) พระพุทธศาสนามีหลักธรรมที่แสดง
ทัศนะต่อสิ่งแวดล้อมรอบกายในด้านที่ให้มนุษย์มีจิตใจและการกระทำ ประสานสอดคล้องกับ
สิ่งแวดล้อม ระบบจริยธรรม จึงประสานต่อเนื่องกันโดยตลอดทั้งด้านจิตใจและความประพฤติทาง
กาย และถือว่าจิตใจเป็นจุดเริ่มต้น รวมทั้งความพยายามลดโลภ โทษะ ให้เข้าใจสภาพความเป็น
จริงที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตที่กลมกลืนกับสิ่งแวดล้อม สังคม วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตอยู่ใน
หลักสายกลาง
งานวิจัย สุริยา เหมตะศิลป์ (2521) ได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างจริยธรรมกับสติ
ปัญญาและการยอมรับตนเองของเด็กวัยรุ่นพบว่าการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมกับสติปัญญาและการ
ยอมรับตัวเองมีความสัมพันธ์กันในทางบวก พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย ์ และคณะ (2527) ได้
ศึกษาจริยธรรมของชาวกรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. 2527 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสำรวจความรู้ความเข้า
ใจทางจริยธรรม พบว่าพฤติกรรมจริยธรรมต่อตนเองมีศักยภาพสูงสุด ดวงเดือน พันธุมนาวิน
และเพ็ญแข ประจนปัจจนึก (2538) ยืนยันว่าเหตุผลเชิงจริยธรรมมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม
13
เชิงจริยธรรม และสามารถทำนายพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของบุคคลได้ การวิจัยพบว่าคนที่มีเหตุ
ผลเชิงจริยธรรมจะมีพฤติกรรมเชิงจริยธรรม อันแสดงถึงความมีจริยธรรมสูงมากกว่าผู้ที่มีเหตุผล
เชิงจริยธรรมต่ำอย่างเชื่อมั่นได้ และจิตลักษณะร่วมกับเหตุผลเชิงจริยธรรมจะทำนายพฤติกรรมได้
อย่างแม่นยำขึ้น
จากผลการวิจัยของ สรุ ิยา เหมตะศิลป  (2521) พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย ์ และคณะ
(2527) ดวงเดือน พันธุมนาวิน และเพ็ญแข ประจนปัจจนึก (2538) นำมาสู่การตั้งสมมติฐานใน
การวิจัยครั้งนี้ ซึ่งสรุปว่า หลักพระพุทธศาสนาเป็นหลักธรรมที่แสดงทัศนะต่อสิ่งรอบกายที่มนุษย์
ควรมีจิตใจและการกระทำประสานสอดคล้องกับสิ่งแวดล้อม เพราะระบบจริยธรรมเป็นการปฏิบัติ
หรือการกระทำที่ประสานต่อเนื่องกับร่างกายและจิตใจกันโดยตลอด โดยที่จิตใจเป็นจุดเริ่มต้น
เมื่อมนุษย์มีทัศนคติที่เป็นมิตรต่อสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบกาย ย่อมทำให้มนุษย์มีความเข้าใจต่อสภาพ
แวดล้อมที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตที่กลมกลืนกับสิ่งแวดล้อม สังคม วัฒนธรรม ภายใต้ความพยายามลด
โลภะ โทสะ และยึดหลัก ความสันโดษ เดินทางสายกลาง และ การรู้จักคำว่า “พอ“ ในการดำรง
ชีวิต เพราะหลักของศาสนามักจะสอนให้เรารู้จักธรรมชาติและชีวิต ไม่มีสิ่งใดที่มั่นคงยั่งยืน ต้อง
หมดสลายไปเมื่อถึงเวลา ดังนั้นการสะสม การแสวงหาวัตถุไม่ใช่ความสุขที่แท้จริง ความสุขที่แท้
จริงคือความสงบสุขที่จิตใจ มิใช่ทางร่างกาย ซึ่งความสงบสุขทางใจนั้นก็จะนำมาซึ่งความสมดุลค่า
ครองชีพเช่นกัน
จากแนวคิดทฤษฎีต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วข้างต้นสามารถนำมาสร้างเป็นกรอบแนวความคิด
ในการวิจัย ได้ดังนี้
กรอบแนวความคิดในการวิจัย
ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม
สถานภาพส่วนตัวที่ดีของตำรวจ
สถานภาพการงานที่ดี
การพึ่งตนเอง
การดำรงชีวิตแบบพอเพียง
ความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว
การเรียนรู้เพื่อชีวิต
การมีศาสนธรรม
ค่าครองชีพที่สมดุลของ
ข้าราชการตำรวจชั้นประทวน
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งได้นำเสนอให้
เห็นความสัมพันธ์เชิงหลักการทฤษฎีของตัวแปรต้นและตัวแปรตาม ดังหัวข้อที่ได้กำหนดต่อไปนี้
2.1 ค่าครองชีพที่สมดุล
2.2 สถานภาพส่วนตัวที่ดีของตำรวจ กับ ค่าครองชีพที่สมดุล
2.3 สภาพการงานที่ดี กับ ค่าครองชีพที่สมดุล
2.4 การพึ่งตนเอง กับ ค่าครองชีพที่สมดุล
2.5 การดำรงชีวิตแบบพอเพียง กับ ค่าครองชีพที่สมดุล
2.6 ความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว กับ ค่าครองชีพที่สมดุล
2.7 การเรียนรู้เพื่อชีวิต กับ ค่าครองชีพที่สมดุล
2.8 การมีศาสนธรรม กับ ค่าครองชีพที่สมดุล
กล่าวได้ว่าปัจจัยเหตุดังกล่าวข้างต้นล้วนแต่เป็นตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ต่อค่าครองชีพที่
สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน เพราะเป็นตัวแปรที่ครอบคลุมทั้ง วัตถุ จิตใจ สังคม
วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นมูลเหตุพื้นฐานของการพัฒนา คน ชุมชน สังคมให้มีความ
เข้มแข็งและมีศักยภาพให้เกิดขึ้นได้ โดยมีรายละเอียดพอสังเขปดังต่อไปนี้
2.1 ค่าครองชีพที่สมดุล
ค่าครองชีพที่สมดุล หมายถึง รายรับที่มีความเหมาะสมเพียงพอในการใช้จ่าย หรือราย
จ่ายที่มีระดับต่ำและเพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในครอบครัว มีเหลือเก็บ ซึ่งทำให้ครอบครัวไม่เกิด
ความเดือนร้อนในการครองชีพ ส่งผลต่อความเพียงพอทั้งทางร่างกายและจิตใจของสมาชิกใน
ครอบครัว
จากพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระหว่างปี
2517 ถึง 2541 ที่ทรงอธิบายไว้พร้อมกับบริบทในทาง สังคม การเมือง เศรษฐกิจในช่วงเวลาที่มี
พระราชกระแสรับสั่งตามบริบทของสถานะการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ดังนั้นการอธิบายถึงค่าครองชีพที่
สมดุลในการวิจัยครั้งนี้ เป็นการนำผลการวิเคราะห์การให้ความหมายของเศรษฐศาสตร์พอเพียง
15
ของนักเศรษฐศาสตร์ ซึ่งนำมาอนุมานเป็นเศรษฐกิจและค่าครองชีพที่สมดุล ซึ่งมีประเด็นที่สำคัญ
ในการนำเสนอได้ดังนี้
2.1.1 เศรษฐกิจพอเพียงเศรษฐกิจแห่งความสมดุล
2.1.2 เศรษฐกิจที่สมดุลกับบริบทการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทย
2.1.1 เศรษฐกิจพอเพียงเศรษฐกิจแห่งความสมดุล
“เศรษฐกิจพอเพียงนี้ขอย้ำว่าเป็นทั้งเศรษฐกิจหรือความประพฤติที่ทำอะไรเพื่อให้เกิด
ผล โดยมีเหตุและผล คือเกิดผลนั้นมาจากเหตุ ถ้าทำเหตุที่ดี ถ้าคิดให้ดีให้ผลที่ออกมาคือสิ่ง
ที่ติดตามเหตุ การกระทำก็จะเป็นการกระทำที่ดี และผลของการกระทำนั้นก็จะเป็นการกระทำ
ที่ดี ดีแปลว่ามีประสิทธิผล ดีแปลว่ามีประโยชน์ ดีแปลว่ามีความสุข”
พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระราชทานแก่คณะบุคคลต่าง ๆ เข้าเฝ้า
ถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม ณ ศาลาดุสิตดาลัย
สวนจิตรดา เมื่อวันจันทร์ที่ 4 ธันวาคม 2543 (สุนทร กุลวัฒนวรพงศ์ 2544:14-49) โดยมี
ประเด็นที่สำคัญต่อการนาํ มาข้อคิดและวิเคราะห์ในเรื่องของการดำรงชีวิตให้มีทั้งเศรษฐกิจความ
ประพฤติที่ดีอและมีความสมดุลได้ดังนี้
การจะใช้จ่ายเงินทองในการแก้ปัญหาหรือนำมาเพื่อความจำเป็นต่อการดำรงชีพให้ปลอด
ภัยมีความสุขนั้นจะต้องดูถึงปัจจัยความจำเป็นและสิ่งที่มีอยู่พร้อมทั้งจะต้องคำนึงถึงการใช้จ่ายกัน
อย่างประหยัด เศรษฐกิจพอเพียง Self-sufficiency economic คือการประหยัด ผลิตอะไรที่พอ
กับความต้องการที่จะนำไปใช้ ไม่ต้องไปขอซื้อคนอื่น อยู่ได้ด้วยตนเอง มีกินมีอยู่อย่างไม่ฟุ่มเฟือย
ไม่หรูหรา มีความโลภน้อย พอประมาณ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น มีความอะลุ่มอล่วยกัน ทำอะไรด้วย
เหตุด้วยผล ทุกคนในครอบครัว ชุมชนหรือสังคมประชาชนทั้งประเทศ จะต้องร่วมมือกันช่วย
เหลือซึ่งกันและกันในการใช้ความรู้ความสามารถนั้นมาสร้างความมั่นคงของตนเอง ครอบครัว
ชุมชนและสังคมไปสู่ความสำเร็จ จะเป็นเศรษฐกิจที่ทำแล้วทำให้ทุกคนมีความสุข ความสำคัญของ
พระบรมราโชวาทนั้นท่านเน้นถึงแนวทางการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจนั้นต้องเริ่มที่การมีพอกิน
พอใช้ของประชาชนในระดับครอบครัวซึ่งเป็นประชาชนส่วนใหญ่เบื้องต้นก่อน เมื่อมีพื้นฐานที่มั่น
คงพอสมควร ครอบครัวมีความสงบสุขแแล้วจึงสร้างความเจริญและฐานะทางเศรษฐกิจให้สูงขึ้น
เศรษฐกิจของครอบครัวจะมีความสมดุลได้นั้นทุกคนควรมีความปราถนาที่จะมีวิถีชีวิตแบบพออยู่
พอกิน สุขสงบ มีความคิดริเริ่มที่จะสร้างหรือมีสิ่งที่เป็นของตนเองและครอบครัวเพื่อป้องกัน
ความขาดแคลนและเดือนร้อน ในยามทุกข์ยากหรือเมื่อยามมีภัยมีปัญหาที่ไม่สามารถป้องกันแก้
ไขได้ อันเป็นการอยู่อย่างรอบคอบ อยู่อย่างไม่มีความรู้สึกหมดหวังบนขาของต้นเองได้
16
2.1.2 เศรษฐกิจที่สมดุลกับการบริบทการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทย
จากประเด็นที่มีการวิเคราะห์ระหว่างนักเศรษฐศาสตร์ ในกรณีคำว่า Self Sufficient ซึ่ง
ส่วนใหญ่ให้ความหมายเหมือนคำว่า Autarky ซึ่งเป็นทฤษฎีที่อธิบายว่าประเทศควรจะผลิตทุก
สิ่งทุกอย่างที่มีความต้องการภายในประเทศเอง และไม่พึ่งพอการนำเข้า ในขณะที่นักเศรษฐ
ศาสตร์บางท่านยืนยันว่า Self Sufficent Economy นั้นเป็นคำที่ถูกต้องเพราะคำว่า Self
Sufficiency จากพจนานุกรมของ Webster ให้ความหมายว่า “สามารถบรรลุเป้าหมายหรือสำเร็จ
วัตถุประสงค์ได้ด้วยตนเอง โดยไม่จำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากคนอื่น หรือจากภายนอก”
เมื่อนำกระแสพระราชดำรัสมาวิเคราะห์บริบททางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจในประเทศไทย
ในขณะที่มีพระบรมราโชวาทหรือกระแสพระราชดำรัสเป็นที่ชัดเจนว่าพระองค์ไม่เห็นด้วยกันแนว
ทางพัฒนาประเทศที่เน้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นหลัก โดยไม่พิจารณาพื้นที่ที่จะช่วยให้คน
ส่วนใหญของประเทศมีพื้นฐานที่มั่นคงหรือที่พระองค์ทรงเรียกว่า “พอมีพอกิน” ก่อน ตั้งแต่ใน
ช่วงกลางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 3 คือ พ.ศ. 2517 และยิ่งในช่วงต่อมา
ที่เศรษฐกิจของประเทศขยายตัวในอัตราที่สูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2530-2539 เป็น
ช่วงที่พระองค์ทรงเห็นว่ามีความโลภ หรือตาโตเกิดขึ้น และมีการเบียดเบียนให้ผู้อื่นได้รับความ
เดือดร้อนเป็นภัยที่เกิดขึ้นจากจิตใจคน ซึ่งพระองค์ทรงเห็นว่า สาเหตุหลักมาจากที่ประเทศไทย
พยายามจะเป็น Trade Economy ทั้งหมด พระองค์จึงต้องการที่จะเห็นว่าการเพิ่มส่วนที่พระองค์
เรียกว่า Self Sufficient Economy เศษหนึ่งส่วนสี่ก็น่าจะพอ โดยเน้นความพอเพียง หมายความ
ว่าพอประมาณ ซื่อตรง ไม่โลภมาก และต้องไม่เบียดเบียนผู้อื่น โดยสรุป ก็คือ ความพอประมาณ
และความมีเหตุผล
เศรษฐกิจที่สมดุลหรือเศรษฐกิจพอเพียงนี้จึงเป็นเศรษฐกิจที่ลดความอยากลงสู่ระดับที่
พึ่งตนเองได้พอเพียง เป็นสิ่งเดียวกับภูมิปัญญาไทย และเป็นการประยุกต์ศาสนาเข้ามาในระบบ
เศรษฐกิจ ซึ่งเป็นเรื่องจิตวิญญาณของคนในประเทศ กับเรื่องภูมิปัญญาของคนในประเทศ เป็น
ทุนทางสังคมของประเทศ ซึ่งจะต้องรู้จักใชั เพราะมีผลสำคัญต่อพื้นฐานและทิศทางการพัฒนา
ประเทศ นั้นคือ การเน้นการพึ่งตนเอง ต้องการลดความอยากมาสู่ในระดับที่พึ่งตนเองได้ ตรงนั้น
เรียกว่า พอดี หรือ สมดุล เป็นความแข็งแรงเพราะไม่ต้องพึ่งผู้อื่น และจะเริ่มสู้สึกว่ามีเหลือ คือ
เหลือเวลา เหลือความรู้ เหลือปัญญา เหลือความเมตตา เหลือความเอื้อเฟื้อ เหลือทุน เมื่อพบว่า
เหลือ ก็จะเริ่มมีความสามารถในการให้ และเมื่อสามารถให้ได้ก็จะพบความสุข
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นเศรษฐกิจที่เน้นการพึ่งตนเอง เป็นเรื่องของเศรษฐกิจชุมชน เป็น
เรื่องเศรษฐกิจของคนส่วนใหญ่ของประเทศ ซึ่งอยู่แบบชุมชน ไม่ได้อยู่แบบปัจเจกชน ทั้งนี้เพราะ
ความสัมพันธ์ของปัจเจกนั้นมิได้มีเฉพาะมิติที่เป็นความสัมพันธ์กับตลาดเท่านั้น แต่มีความ
สัมพันธ์ต่อครอบครัวและชุมชนในมิติอื่น ๆ ชุมชนในสังคมไทยพึ่งตนเองได้อันเป็นพื้นฐานของ
เศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทยมาช้านานเป็นรากฐานของชีวิตและสังคมของประเทศชาติ ดังนั้นจึง
17
ต้องให้ความสนใจจากระบบทุนและการศึกษาในบริบทที่เน้นปัจเจกชน สนใจระบบเศรษฐกิจชุม
ชน ซึ่งเป็นพื้นฐานระบบเศรษฐกิจตามวิถีชีวิตและวัฒนธรรมไทย
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นเรื่องของความพอดี ความสมดุล ซึ่งเป็นเรื่องของแนวคิดและ
ปรัชญาที่อยู่เหนือวิชาเศรษฐศาสตร์ เพราะการเชื่อมโยงถึงศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งศาสนาพุทธ
อย่างที่ Schumacher เขียนในหนังสือที่ชื่อว่า Small Is Beautiful หรือพุทธเศรษฐศาสตร์ เพราะ
ในทางเศรษฐศาสตร์มักจะเน้นให้ได้มากที่สุด (Maximization) เหมือนขยายความต้องการไม่มีที่
สิ้นสุด นี้คือแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ที่ไม่มีความพอดี
เศรษฐกิจพอเพียง มีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ส่วนคือ ความพอดี ความเสี่ยง และ การ
พึ่งต้องเอง โดยทั้งองค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนนี้จะขาดส่วนใดส่วนหนึ่งมิได้ ความพอดีนี้ใกล้เคียงกับ
ความหมายของ ดุลยภาพ (Equilibrium) ในทางเศรษฐศาสตร์ที่เน้นดุลยภาพที่มีความเป็น
พลวัตร คือมีการปรับตัวตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับสถานะการณ์และความเหมาะสมของบุคคลหรือ
กลุ่มของบุคคล ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยง คือ การสร้างภูมิคุ้มกัน หรือการลดความเสี่ยง
คือให้ปลอดภัยจากความแปรผันมากที่สุด มีลักษณะที่ยั่งยืน (Sustainability) ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าจะ
ต้องการความปลอดภัยมากน้อยเพียงใด ดังนั้น ความพอดีในอีกความหมายหนึ่งก็คือ การ
กระจายไม่ให้เกิดความเสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้ ดังนั้นการลด
ความเสี่ยงประเภทดังกล่าวจึงต้องกระจายความเสี่ยงหรือสร้างภูมิคุ้มกัน และอีกวิธีหนึ่งที่จะลด
ความเสี่ยงก็คือ การพึ่งตนเอง ได้แก่ความพยายามเพิ่มขีดความสามารถในการควบคุมปัจจัยที่ก่อ
ให้เกิดความไม่แน่นอนต่าง ๆ ในส่วนที่แต่ละคนสามารถควบคุมได้ด้วยตัวเองให้มากที่สุด เพราะ
ถ้าหากยิ่งสามารถพึ่งตนเองได้มากเท่าใด ปัจจัยที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของตนเองยิ่งลดลง ซึ่ง
จะมีผลทำให้ความเสี่ยงลดลงด้วย ส่วนองค์ประกอบของการพึ่งตนเองนั้น ประกอบด้วย สติ
ความรู้ และความเพียร องค์ประกอบเหล่านี้จะช่วยลดความเสี่ยงได้มาก และการพึ่งตนเองไม่ได้
หมายความว่าไม่ควรพึ่งคนอื่น แต่ควรจะมีการพึ่งพากันในชุมชนซึ่งช่วยให้สร้างพลัง และที่ต้อง
หลีกเลี่ยงคือความเอาเปรียบ ดังนั้นสิ่งกำกับความพอดี ความสมดุล คือ ความเสี่ยง และสิ่งที่
กำกับความเสี่ยงคือการพึ่งตนเอง (สภาวิจัยแห่งชาติ 2542 :1-11)
จากข้อความทั้งหมดข้างต้นนำมาสู่การอนุมานว่า การมีเศรษฐกิจพอเพียง ก็คือการมีค่า
ครองชีพที่สมดุลภายใต้จิตวิญญาณและภูมิปัญญาตามวิถีและวัฒนธรรมพื้นฐานของสังคมไทย ที่
สามารถพึ่งพาตนเองได้ ด้วยการรู้จักปรับตัวเองให้เข้ากับสถานการณ์และให้สอดคล้องเหมาะสม
กับบุคคลนั้น ๆ โดยให้มีความสมดุลระหว่าง การป้องกันความเสี่ยง หรือการสร้างภูมิคุ้มกัน และ
การพึ่งตนเอง และพึ่งพาซึ่งกันและกันเพื่อช่วยในการสร้างพลัง และหลีกเลี่ยงการเอารัดเอา
เปรียบ ยึดมั่นในการทำความดี นำหลักพุทธศาสนาเป็นแกนกลางในการปฏิบัติ สิ่งทั้งหลายเหล่านี้
จะนำไปสู่ความมั่นคงทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมของปัจเจกชน ชุมชน และสังคม ของตนเองและ
ประเทศชาติให้มีแต่ความสงบสุขร่มเย็นและเจริญก้าวหน้าตลอดไป
18
ดังนั้นในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าเพื่อแสวงหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์เกี่ยว
ข้องที่ทำให้เกิดค่าครองชีพที่สมดุลดังกล่าวด้วยการกำหนดกรอบและขอบเขตที่สอดคล้องกับข้อ
มูลข้างต้นมาเป็นแนวทางในการสร้างปัจจัยเหตุที่สำคัญ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
2.2 สถานภาพส่วนตัวที่ดีของตำรวจ
สถานภาพส่วนตัวที่ดีของตำรวจ หมายถึง สภาพการสมรส รายได้ ฐานะทางครอบครัว
ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์และเอื้ออำนวยให้การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานตำรวจชั้นประทวนมี
ประสิทธิภาพและมีประสิทธิพลอันนำไปสู่ความเจริญก้าวหน้าของตนเองและครอบครัวได้อย่างมั่น
คงตลอดไป
ผู้วิจัยได้นำ สถานภาพส่วนตัวที่ดีของตำรวจ และภูมิหลังขององค์กร โดยการเสนอไว้ใน
ประเด็นเรื่อง บทบาทหน้าที่ขององค์กรและทฤษฎีองค์กร ในลำดับต่อไป เพื่อแสดงให้ทราบถึง
สภาพแวดล้อมที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องโดยตรงกับประชากรที่ทำการศึกษาครั้งนี้ เพื่อเป็น
ประโยชน์ต่อการดำเนินการวิจัยครั้งนี้ให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น
2.2.1 สถานภาพส่วนตัวที่ดีของตำรวจ
สถานภาพ หมายถึง ฐานะหรือตำแหน่งของบุคคลที่ปรากฏอยู่ในสังคม (พจนานุกรม
ฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2525)
สถานภาพส่วนตัวที่ดีของตำรวจ หมายถึง ฐานะ หรือตำแหน่งส่วนบุคคลที่ปรากฏใน
ครอบครัว และ สังคม อันได้แก่ อายุ สภาพการสมรส จำนวนบุตรหรือบุคคลในครอบครัวที่ต้อง
รับภาระดูแล การบริโภค และการมีหนี้สินของครอบคัว
ภูมิ หมายถึง พื้น ชั้น พื้นเพ (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2525)
ภูมิหลัง หมายถึง พื้นเพของบุคคลที่มีมาแต่ก่อน ซึ่งอาจเป็นปัจจัยส่วนบุคคล ที่มีปัจจัย
แวดล้อมทางสังคมที่มีวัฒนธรรมแตกต่างกันออกไป ซึ่งกำหนดขอบเขตของภูมิหลังด้านประชากร
ได้แก่ อายุ เพศ สถานภาพทางสังคม และภูมิหลังด้านจิตวิทยา คือ แบบแผนการดำเนินชีวิต
ลักษณะทั่วไป และแบบแผนการดำเนินชีวิตด้วยวิธีการพึ่งตนเองและมีสภาพเศรษฐกิจแบบพอ
เพียง
ภูมิหลัง หรือ ปัจจัยส่วนบุคคลประกอบด้วย
1. เพศ เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจ เพราะเพศจะเป็นตัวกำหนดบท
บาทของแต่ละบุคคลในการดำเนินชีวิตในสังคม นอกจากนี้เพศยังเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการ
19
เผชิญปัญหา การปรับตัว การระบายความทุกข์และเจตคติต่อสิ่งแวดล้อมรอบข้าง โดยเชื่อว่าเพศ
หญิงมีการปรับตัวในชีวิตได้ดีกว่าเพศชาย
2. อายุ เป็นสิ่งหนึ่งที่จะบ่งบอก ความต้องการและสุขภาพร่างกาย ความคิดประสบการณ์
ความรู้ที่มีการสะสมแตกต่างกันย่อมส่งผลให้คนแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ซึ่งจะมีผลต่อความ
พึงพอใจในชีวิตที่แตกต่าง และความต้องการในการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมรอบข้าง รวม
ทั้งสภาพจิตใจ อารมณ์การมองโลก การกระตือรือร้นที่จะแสวงหาโอกาสที่ดีที่แตกต่างกัน
3. ระดับการศึกษา มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ เข้าใจและก้าวทันต่อสภาวะการณ์ที่เกิดขึ้น
ทำซึ่งทำให้เกิดการคิด และระบบพิจารณาในการหาทางออกในการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ ทั้งนี้
ระดับการศึกษามีอิทธิพลต่อ ระดับรายได้ ภาวะสุขภาพ ค่านิยม รสนิยม อัตมโนทัศน์
4. สถานภาพสมรส ได้แก่ คนโสด ม่าย หย่าร้าง หรือ แยกกันอยู่ มักขาดผู้ปลอบโยน
ให้กำลังใจ และเป็นผู้ที่มีผลต่อการแบ่งเบาหรือการเพิ่มภาระหน้าที่ในการเลี้ยงดู
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับสถานภาพส่วนตัวที่ดีของตำรวจมีผลต่อการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ
ได้แก่
2.2.2 ทฤษฎีองค์การ
บุคคลเป็นสมาชิกหรือสร้างองค์การขึ้นมาเพราะว่ามีความคาดหวังหลายอย่าง เช่นผล
ตอบแทนที่จะได้รับจากองค์การ จึงต้องมีการให้บางสิ่งบางอย่างเป็นการตอบแทนกับองค์การด้วย
เมื่อบุคคลเข้ามาอยู่ภายในองค์การ องค์การต้องการแบบของพฤติกรรมบางอย่างจากบุคคล ทั้ง
บุคคลและองค์การมีการคาดหวังร่วมกันในแต่ละฝ่าย การคาดหวังเหล่านี้อาจจะเข้ากันได้หรือไม่
ได้ แต่ละฝ่ายอาจมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันในบทบาทที่เหมาะสมของบุคคล
บุคคลสร้างหรือมีส่วนร่วมในองค์การเพื่อบรรลุถึงเป้าหมายส่วนบุคคล องค์การแสวงหา
สมาชิกใหม่ ๆ เพื่อต้องการความช่วยเหลือจากสมาชิกองค์การ ความสัมพันธ์ที่ประสบความสำเร็จ
คือ ความสัมพันธ์ที่ทั้งบุคคลและองค์การรับรู้ความสัมพันธ์ในทำนองที่ว่าได้รับประโยชน์มากว่า
เสียประโยชน์ สมาชิกใหม่มีความคาดหวังในรูปของเป้าหมายหรือความต้องการที่มีผลกระทบต่อ
บทบาทและองค์กรที่สังกัดอยู่ องค์การและบุคคลจำต้องเปลี่ยนแปลงหรือปรับตัวเพื่อบรรลุถึง
เป้าหมาย
เป้าหมายที่บุคคลต้องการบรรลุถึงในองค์การ เป็นผลมาจากความต้องการของบุคคล
โดยมีระบบการแยกประเภทความต้องการหลายระบบ ซึ่งระบบเหล่านี้ทุกระบบเห็นด้วยว่าความ
ต้องการทางชีวภาพเป็นความต้องการเบื้องต้นมากที่สุดของมนุษย ์ ภายหลังจากความต้องการทาง
ชีวภาพได้รับการตอบสนองแล้ว ความต้องการทางสังคมก็จะเกิดขึ้นมา ความต้องการดังกล่าว
20
เหล่านี้ได้แก่ความต้องการการยอมรับทางสังคม การยกย่อง ความรัก และความสมหวังของชีวิต
องค์การสามารถช่วยในการตอบสนองในทุกระดับชั้น
ทฤษฎีองค์การต่าง ๆ มีข้อสมมติฐานที่แตกต่างกันต่อการตอบสนองความต้องการของ
บุคคลผ่านทางองค์การ สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดแนวความคิดของบทบาทที่เหมาะสมของบุคคลในองค์
การไม่เหมือนกัน ตามทฤษฎีสมัยเดิม บุคคลถูกจูงใจด้วยผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและความ
ต้องการความมั่นคง ทฤษฎีสมัยใหม่ขยายแนวความคิดของมนุษย์ด้วยการรวมเอาความต้องการ
ทางสังคมเข้ามาด้วย ทฤษฎีสมัยใหม่มีแนวความคิดของความต้องการมนุษย์หลายระดับ ทฤษฎี
สมัยใหม่มองว่าบุคคลต้องการไม่เพียงแต่ตอบสนองความต้องการทางชีวภาพ ความปลอดภัย
และความเป็นเพื่อนเท่านั้น แต่บุคคลมีความต้องการเกียรติยศชื่อเสียงและความสมหวังของชีวิต
ด้วย
Norbert Wiener (อ้างใน สมยศ นาวีการ 2522) นักวิทยาศาสตร์ผู้บุกเบิกสาขาวิชา
Cybernetics ได้พิมพ์หนังสือเล่มหนึ่งใน ค.ศ. 1958 แนวความคิดของการควบคุมระบบด้วยข้อ
มูลย้อยกลับของเขามีส่วนช่วยต่อการพัฒนาคอมพิวเตอร์โดยตรง เขาอธิบายการปรับตัว (รวมทั้ง
องค์การ) ว่าเป็นสิ่งที่ขึ้นอยู่กับการวัดและการแก้ไขโดยใช้ข้อมูลย้อนกลับเป็นอย่างมาก
ผลงานของ Wiener ได้ให้แนวความคิดขององค์การอย่างชัดเจนเป็นครั้งแรกว่า องค์การ
เป็นระบบหนึ่งที่ประกอบด้วยสิ่งนำเข้า กระบวนการ สิ่งส่งออก สิ่งย้อยกลับ และสภาพแวดล้อม
แนวความคิดดังกล่าวมองเห็นได้จาก แผนภาพท ี่ 2 Wiener ได้ใช้วิธีการศึกษาแบบสหวิทยา
แผนภาพที่ 2 แสดงแบบจำลองวิธีการศึกษาแบบสหวิทยาของ Wiener
สภาพแวดล้อม
สิ่งนำเข้า สิ่งส่งออก
สิ่งย้อนกลับ
ที่มา : สมยศ นาวีการ 2522
ทฤษฎีองค์การและการบริหารสมัยใหม่ มองว่าองค์การเป็นระบบหนึ่งด้วยพื้นฐาน 5 ส่วน
ปัจจัยนำเข้า ปัจจัยส่งออก กระบวนการ สิ่งย้อนกลับ และสภาพแวดล้อม ดังแผนภาพที่ 1 ทฤษฎี
ระบบทั่วไป รวมระบบทุกประเภทเอาไว้ ชีวภาพ ฟิสิกส์ และพฤติกรรม แนวความคิดของการควบ
กระบวนการ
21
คุมโครงสร้าง ความมุ่งหมาย และกระบวนการดำเนินของระบบในทฤษฎีระบบทั่วไป
Cybermetics และอื่น ๆ ที่มีความสำคัญ
ดังนั้นการมองรูปแบบตามทฤษฎีองค์การนั้น สามารถมองได้ว่าการที่บุคคลสมัครใจที่จะ
รับราชการในอาชีพตำรวจนั้น มีสาเหตุมาจากความต้องการที่จะได้รับเงินตอบแทนหรือค่าจ้าง
เป็นสิ่งตอบแทนในการรับราชการดังกล่าว โดยเมื่อพิจารณาถึงข้าราชการตำรวจโดยทั่วไปแล้ว จะ
พบว่า สำหรับข้าราชการตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่ในสายงานด้านการปราบปราม หรือปฏิบัติหน้าที่
ประจำอยู่ที่สถานีตำรวจต่าง ๆ จะได้รับผลตอบแทนจากรัฐบาลนอกเหนือจากเงินเดือนและเบี้ย
เลี้ยง รวมไปถึงสวัสดิการต่าง ๆ มากกว่าข้าราชการตำรวจชั้นประทวนที่สังกัดฝ่ายอำนวยการ อัน
จะเห็นได้จากข้าราชการตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่สายงานปราบปรามหรือสายงานจราจรนั้น จะได้รับ
เงินค่าเสี่ยงภัยในลักษณะเหมาจ่ายเป็นรายเดือน ในอัตราเดือนละ 1,200 บาท นอกจากนี้แล้ว
ข้าราชการตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่ประจำอยู่ยังสถานีตำรวจนั้นยังได้รับเงินสินบนนำจับ หรือ เงิน
รางวัลนำจับ กรณีที่มีการจับกุมผู้ที่กระทำความผิดทางอาญาและตามกฎหมายดังกล่าวได้บัญญัติ
ให้จ่ายเงินตอบแทนเหล่านั้น
สำหรับข้าราชการตำรวจชั้นประทวนซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในสายงานธุรการ ซึ่งหมายถึง ข้าราช
การตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ที่กองบังคับการอำนวยการนั้น จะได้เพียงเงินเดือนและเบี้ยงเลี้ยงใน
การเดินทางไปราชการในแต่ละคราวเพียงเท่านั้น ในขณะที่รายจ่ายในแต่ละเดือน ก็ไม่ต่างไปจาก
ข้าราชการตำรวจอื่น ที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ยังสถานีตำรวจ และเมื่อพบว่าข้าราชการตำรวจดังกล่าวมี
รายได้ไม่เพียงพอ หรือน้อยกว่ารายจ่ายในแต่ละเดือนแล้ว ก็เป็นไปได้ว่าข้าราชการตำรวจเหล่า
นั้นต้องการอาชีพเสริม หรือคู่สมรสของข้าราชการตำรวจดังกล่าวเข้ามามีส่วนในการเสริมรายได้
เพื่อให้เพียงพอในแต่ละเดือน และหากว่าข้าราชการตำรวจดังกล่าว มีรายได้เสริมที่สุจริตก็จะไม่
ปัญหาใดเกิดขึ้น แต่เนื่องจากว่าข้าราชการตำรวจดังกล่าวจะปฏิบัติหน้าที่ในสายงานธุรการ แต่
ตามกฎหมายก็ยังสามาถที่จะจับกุมการทำความผิดที่มีโทษทางอาญาได้เฉกเช่นข้าราชการตำรวจ
อื่นโดยทั่วไป ซึ่งหากข้าราชการตำรวจมีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่ายแล้วละก็เป็นไปได้สำหรับบาง
คนที่จะใช้อำนาจหน้าที่ที่ตนเองมีอยู่ไปใช้ในทางมิชอบ อันก่อให้เกิดการทุจริตหรือทำผิดกฎหมาย
ขึ้นได้
อีกกรณีหนึ่งหากข้าราชการตำรวจดังกล่าวมีรายได้ไม่เพียงพอต่อรายจ่าย ย่อมจะทำให้ข้า
ราชการตำรวจมีจิตใจหมกมุ่นในการหารายได้เสริม อันจะส่งผลให้การทำงานของข้าราชการตำรวจ
ไม่เต็มความสามารถ และพยายามที่จะนำเวลาที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ไปในกิจการส่วนตัว ซึ่งอาจทำให้
งานของหน่วยงานหรือองค์การเสียหายได้
22
เมื่อมองถึงลักษณะขององค์การ จะเห็นได้ว่าข้าราชการตำรวจในสังกัด ซึ่งเปรียบเสมือน
คนที่อยู่ภายในองค์การ เมื่อมีปัญหาด้านการใช้จ่าย หน้าที่ของหัวหน้าองค์การในการที่จะเข้ามาทำ
หน้าที่ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว เมื่อทางองค์การได้แก้ไขปัญหาดังกล่าวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ย่อมทำให้ข้าราชการตำรวจที่อยู่ภายในองค์การ มีขวัญและกำลังใจในการทำงานมากยิ่งขึ้น รวมทั้ง
ภูมิหลังของข้าราชการตำรวจซึ่งได้แก่อายุ สภาพการสมรส บุตรในความดูแล การประกอบอาชีพ
ของภรรยา ฐานะของครอบครัว การบริโภค โดยมีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในลำดับต่อไปนี้
มาวเดย์ และ คณะ (Mowday and others 1979) พบว่า ผู้ที่แต่งงาน มีครอบครัวแล้ว
ย่อมต้องการความมั่นคงของอาชีพสูงกว่าผู้ที่ยังไม่แต่งงาน
ธีรพล คุปตานนท  (2530) ได้ศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่อสัมฤทธิผลในการปฏิบัติ
หน้าที่ของพนักงานสอบสวนในสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล พบว่า ปัจจัยภูมิเกี่ยวกับ
ตำแหน่ง อายุ อายุราชการ การศึกษาเพิ่มเติม สภาพการสมรส รายได้ ฐานะทางครอบครัว มีผล
สัมฤทธิ์ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสอบสวน
จารุนันท  สมบุรณ์สิทธิ์ (2535) ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทาง
ประชากร กิจกรรมในการดำเนินชีวิตประจำวัน กับความพึงพอใจ พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์
ทางบวกกับความพึงพอใจในชีวิต คือ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา รายได้
จีระ หงส์ลดารมภ์ (2535) ได้ทำการวิจัยเรื่องการสูญเสียกำลังคนในองค์การ การรักษา
กำลังคนในระบบราชการโดยใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นข้าราชการในกระทรวงต่าง ๆ พบว่า ข้าราชการที่
ลาออกส่วนใหญ่ เป็นเพศชาย 60.9% เป็นกลุ่มที่อยู่ในช่วงอายุ 26-30 ปี 35.9% ลำดับต่อมา
คือ อายุระหว่าง 31-35 ปี 26.6%
วัฒนา ยี่จีน (2538) ศึกษาความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจที่ทำ
หน้าที่สายตรวจในสถานีตำราจภูธร อำเภอเมือง สังกัดตำรวจภูธร จังหวัด ศรีสะเกษ พบว่าความ
พึงพอใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจที่ทำหน้าที่สายตรวจ อยู่ในระดับสูงคือความตั้งใจ
ในการทำงาน รายได้และสวัสดิการอยู่ในระดับปานกลาง และปัจจัยด้านอาย ุ ระดับการศึกษา
สถานภาพสมรส อายุราชการ ไม่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการ
สรุปว่า สถานภาพส่วนตัวที่ดีของตำรวจ ในการศึกษาครั้งนี้หมายถึง ฐานะ หรือตำแหน่ง
ส่วนบุคคลที่ปรากฏในครอบครัว และ สังคม อันได้แก่ สภาพการสมรส รายได้ ซึ่งเป็นพื้นเพของ
บุคคลที่มีมาแต่ก่อน ซึ่งอาจเป็นปัจจัยส่วนบุคคล ที่มีปัจจัยแวดล้อมทางสังคมที่มีวัฒนธรรม
23
แตกต่างกันออกไป ซึ่งกำหนดขอบเขตของภูมิหลังด้านประชากรได้แก่ อายุ เพศ สถานภาพทาง
สังคม และภูมิหลังด้านจิตวิทยา คือ แบบแผนการดำเนินชีวิตลักษณะทั่วไป และแบบแผนการ
ดำเนินชีวิตด้วยวิธีการพึ่งตนเองและมีสภาพเศรษฐกิจแบบพอเพียง ซึ่งสัมพันธ์กับความรู้สึก
ผูกพันต่อองค์กร บทบาทหน้าที่ของตำรวจ ผู้วิจัยได้นำแนวคิดเกี่ยวกับสถานภาพส่วนตัวที่ดี
ของตำรวจมาใช้ในการศึกษาเกี่ยวกับสาเหตุของค่าครองชีพที่สมดุลของตำรวจ
2.3 สถานภาพการงานที่ดี กับ ค่าครองชีพที่สมดุล
สถานภาพการงานที่ดี หมายถึง การมีอาชีพที่มีเกียรติตรงกับความรู้ความสามารถ มี
ค่าตอบแทนที่พอต่อการดำรงชีพ มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ มีโอกาสก้าวหน้าในอาชีพ และได้รับ
การยอมรับ มีมิตรสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อนร่วมงาน ผู้บังคับบัญชา และมีความั่นคง
เงินเดือน หมายถึง ค่าตอบแทนทุกอย่างที่ผู้ปฏิบัติงานได้รับจากการปฏิบัติงานนั้น ๆ มี
ความหมายรวมถึงเงินเดือน เบี้ยเลี้ยง สวัสดิการ ค่าพาหนะ ค่าเช่าบ้าน และค่าตอบแทนในรูป
ของประโยชน์เกื้อกูลอื่น ๆ
อายุราชการ เป็นปัจจัยด้านหนึ่งที่แสดงถึงระยะเวลาในในการทำงานที่ผ่านมาของบุคคล
ตั้งแต่เริ่มเข้ารับราชการ บุคคลที่มีอายุราชการมาก แสดงถึงได้ทำงานรับราชการมานาน ย่อมเกิด
ความชำนาญ และส่งผลทำให้เกิดรายได้
มนุษย์มีแรงผลักดันบางอย่างที่ทำให้มีการแสดงพฤติกรรมออกมาเพื่อตอบสนองแรง
ผลักดันที่เกิดขึ้น เช่น หิวน้ำก็ต้องหาน้ำมาดื่ม เพราะมีแรงผลักดัน คือ ความกระหาย ซึ่งเป็น
ความต้องการของร่างกายเป็นแรงผลักดันตามธรรมชาติ เพื่อตอบสนองความต้องการของร่างกาย
แต่ถ้ามนุษย์สามารถสร้างแรงผลักดันได้ก็เท่ากับเป็นการสร้างพฤติกรรมให้เกิดขึ้น ดังนั้น ถ้าเรา
ต้องการให้มนุษย์แสดงพฤติกรรมแบบใดก็ตาม ก็ต้องสร้างแรงผลักดันที่เป็นต้นเหตุแห่งพฤติ
กรรมนั้น จากหลักการนี้ทำให้มนุษย์เริ่มรู้จักสร้างแรงผลักดันให้คนอื่นทำในสิ่งที่ตัวเองต้องการ
ซึ่งเราเรียกวิธีนี้ว่า การจูงใจ
ทฤษฎีแรงจูงใจ
ผู้มีส่วนสร้างทฤษฎีที่สำคัญและรู้จักกันแพร่หลาย คือ เฮอร์ซเบอร์ก และ แซนเดอร์แมน
Herzberg Mauaner and Snyderman (อ้างใน พงษ์สวัสดิ์ จำรัสประเสริฐ 2537 : 12-15) ได้
สรุปว่า ความพึงพอใจในงานที่ทำและความไม่พอใจในงานที่ทำ มีสาเหตุมาจากปัจจัย 2 กลุ่ม คือ
ปัจจัยจูงใจ หมายถึง ปัจจัยที่ทำให้บุคลากรเกิดความพึงพอใจในการทำงาน เช่น ความสำเร็จใน
การทำงาน การยอมรับนับถือ และลักษณะของงาน ความรับผิดชอบและความก้าวหน้า ปัจจัยที่ 2
24
คือ ปัจจัยค้ำจุน หมายถึงปัจจัยที่ค้ำจุนให้แรงจูงใจในการทำงานของบุคคลมีอยู่ตลอดเวลา ถ้าไม่มี
หรือมีในลักษณะที่ไม่สอดคล้องกับบุคคลในองค์การก็จะเกิดความไม่ชอบงาน เช่น เงินเดือน
สภาพแวดล้อมของการทำงาน และนโยบายของบริษัทเป็นต้น
ปัจจัยจูงใจหรือปัจจัยกระตุ้น องค์ประกอบที่ทำให้บุคลากรเกิดความพึงพอใจในการ
ทำงาน มีความสัมพันธ์โดยตรงกับแรงจูงใจภายในที่เกิดจากงานที่ทำได้แก่
1.ความสำเร็จในงาน
2.การยอมรับนับถือ
3.ลักษณะของงาน
4.ความรับผิดชอบ
5.ความก้าวหน้า
ปัจจัยค้ำจุน คือ ปัจจัยที่จะค้ำจุนให้แรงจูงใจในการทำงานของบุคคลมีอยู่ตลอดเวลา มี
ความสัมพันธ์โดยตรงกับสิ่งแวดล้อมภายนอก เป็นแรงจูงใจที่เกิดจากภาวะการทำงาน ช่วยป้อง
กันการปฏิบัติงานไม่ให้หย่อนประสิทธิภาพลง ประกอบด้วย
1. นโยบายและการบริหาร หมายถึง นโยบายและการจัดองค์การ ตลอดจนการบริหาร
งานของหน่วยงานหลักและหน่วยงานย่อยนั้น สอดคล้องเหมาะสมกัน
2. การปกครองบังคับบัญชา หมายถึง ผู้บังคับบัญชาในแต่ละระดับมีความสามารถในการ
บังคับบัญชาหรือมีความยุติธรรม และมีความเป็นผู้นำหรือไม่
3. ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน หมายถึง ความร่วมมือในการทำงานระหว่างเพื่อน
ร่วมงาน
4. ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา การประสานสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชา มีความ
สามัคคี สามารถทำงานร่วมกันได้ดี
5. สภาพการทำงาน หมายถึง สภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน เช่น อัตรากำลังคน
อาคารสถานที่ ห้องพักห้องทำงาน สวัสดิการต่าง ๆ มีความสะดวกสบาย
6. เงินเดือน หมายถึง ค่าจ้างหรือค่าตอบแทนต่าง ๆ ในการปฏิบัติงาน รวมถึงผล
ประโยชน์เกื้อกูลอื่น ๆ เช่น ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าพาหนะเดินทาง ค่าช่วยเหลือบุตร ค่ารักษาพยาบาล
รวมถึงสวัสดิการต่าง ๆ เช่นที่พักอาศัย
7. ชีวิตส่วนตัว หมายถึง ลักษณะการดำรงชีวิตของบุคลากรในด้านที่อยู่อาศัย และด้าน
สุขภาพ
25
8. ความสัมพันธ์กับผู้ใต้บังคับบัญชา หมายถึง การประสานสัมพันธ์ระหว่างผู้ใต้บังคับ
บัญชา มีความสามัคคี สามารถทำงานร่วมกันได้ดี
9. ฐานะ หมายถึง ตำแหน่ง ยศ สถานภาพของอาชีพที่ดำรงอยู่เป็นที่ยอมรับของสังคม
10. ความมั่นคง หมายถึง การที่บุคคลมีความมั่นคงต่อหน้าที่การงานเกี่ยวกับความ
ก้าวหน้า การได้รับความเป็นธรรมและปกป้องคุ้มครองจากผู้บังคับบัญชา
ทิฟฟิน และ แมคคอร์มิค (Tiffin and McCormick, 1968) ได้สรุปองค์ประกอบที่
ก่อให้เกิดความพึงพอใจในงาน ซึ่งได้กล่าวถึง ค่าจ้าง เป็นองค์ประกอบที่สำคัญไว้เช่นเดียวกัน
(Guildford and Gray,1970) คูเปอร์ (Gooper,1958) ที่กล่าวว่าความพึงพอใจในการทำงาน
ของบุคคลมีองค์ประกอบด้านค่าจ้างเงินเดือนที่ยุติธรรม ในขณะที่ เซลเซนิค (Zaleznik,1958)
ได้ทำการศึกษาและค้นพบว่า มนุษย์มีความต้องการอยู่ 2 ประเภทใหญ่ ๆ ด้วยกันคือ ความ
ต้องการภายนอก ได้แก่ รายได้ตอบแทนในการทำงาน ความมั่นคงและปลอดภัยในการทำงาน
ส่วนความต้องการภายในได้แก่ ความต้องการในการทำงานร่วมกับบุคคลอื่น ความเป็นผู้ได้รับ
การยอมรับนับถือจากผู้อื่น ความต้องการในศักดิ์ศรีของตนเอง ความต้องการได้รับความสำเร็จใน
ชีวิต ซึ่งมีงานวิจัยต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องดังนี้
เชอร์โมฮอร์น (Shermerhorn,1982) ได้สรุปผลการวิจัยที่ศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่าง
ค่าตอบแทนกับความพึงพอใจในงาน ว่าผู้ที่รับค่าตอบแทนสูงกว่า จะมีความพอใจมากกว่า ยิ่งไป
กว่านั้นพบว่า ผู้ที่ได้รับค่าตอบแทนสูงมีผลงานสูง ผู้ที่ได้รับค่าตอบแทนต่ำจะมีผลงานต่ำ หากได้
รับค่าตอบแทนต่ำจะทำให้เกิดความไม่พึงพอใจในงาน
ปราศัย สังขะทรัพย์ (2521) ได้ทำการวิจัยในการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจ
ระดับรองสารวัตรในกองกำลังพล และในสถานีตำรวจนครบาล ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มี
อิทธิพลทำให้ระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติหน้าที่ราชการค่อนข้างต่ำ คือ เงินเดือน และ
ประสิทธิผลประโยชน์ต่าง ๆ
จิตต์เจริญ เวลาดี (2522) ได้ศึกษาปัญหาของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการป้องกันและปราบ
ปรามอาชญากรรม โดยศึกษาเฉพาะเจ้าหน้าที่ตำรวจชั้นประทวนในกองบัญชาการตำรวจนคร
บาลพบว่า เงินเดือนที่ได้รับมีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานป้องกันปราบปรามอาชญากรรม คือ
เจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับเงินเดือนมากขึ้น สามารถปฏิบัติหน้าที่เพื่อป้องกันและปราบปรามอาชญา
กรรมได้ดีขึ้น มีผู้อยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูมาก ปฏิบัติงานได้ผลน้อยกว่ามีผู้อยู่ในอุปการะน้อย
เจ้าหน้าที่ที่มีอายุราชการมาก ๆ หรือรับราชการมานาน มีทัศนคติในการแก้ปัญหาของการปฏิบัติ
ที่ได้ดีน้อยกว่า
26
ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ (2526) สรุปว่า การเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ด้านการ
สืบสวนจับกุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจในลักษณะที่สนองตอบต่ออาชญากรรมที่เกิดขึ้นอย่างเต็มกำลัง
ความสามารถนั้น การได้รับการสนับสนุนเกี่ยวกับปัจจัยต่าง ๆ เช่น ค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าที่
เป็นสิ่งเอื้ออำนวยให้การปฏิบัติหน้าที่สำเร็จโดยรวดเร็วยิ่งขึ้น
วัฒนา ยี่จีน (2538) ศึกษาความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจที่ทำ
หน้าที่สายตรวจในสถานีตำราจภูธร อำเภอเมือง สังกัดตำรวจภูธร จังหวัด ศรีสะเกษ พบว่าความ
พึงพอใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจที่ทำหน้าที่สายตรวจ อยู่ในระดับสูงคือความตั้งใจ
ในการทำงาน รายได้และสวัสดิการอยู่ในระดับปานกลาง และปัจจัยด้าน รายได้ต่อเดือน ชั้นยศ
ไม่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการ
จากทฤษฎี แนวคิด และ งานวิจัยอื่น ๆ ที่ได้กล่าวมา ล้วนมีความสอดคล้องและ
สนับสนุนปัจจัยเหตุด้านเงินเดือนนั้นมีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายได้
อย่างมี ประสิทธิภาพ จากประเด็นที่ได้กล่าวมาแล้วทั้งหมดข้างต้น สามารถอนุมานได้ว่า เงิน
เดือนและรายได้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับค่าครองชีพที่สมดุลโดยมีตัวชี้
วัดคือรายได้ที่เพียงพอต่อรายจ่าย ครอบครัวไม่เกิดความเดือดร้อนในการครองชีพ ของข้าราช
การตำรวจชั้นประทวน สถานีตำรวจในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8 ในปัจจุบัน
สรุปได้ว่า แรงจูงใจในการทำงานของบุคคลมีอยู่ตลอดเวลา มีความสัมพันธ์โดยตรงกับ
สิ่งแวดล้อมภายนอก เป็นแรงจูงใจที่เกิดจากภาวะการทำงาน ช่วยป้องกันการปฏิบัติงานไม่ให้
หย่อนประสิทธิภาพลง ในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยใช้ศึกษาปัจจัยด้านสถานภาพการงานที่ดีกับค่า
ครองชีพที่สมดุล
2.4 การพึ่งตนเอง กับ ค่าครองชีพที่สมดุล
การพึ่งตนเอง หมายถึง การมีจิตสำนึกหรือความตระหนักที่จะพึ่งพาตนเองในการ
ประกอบกิจการใด ๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยอาศัยความอุตสาหะพากเพียร ภายใต้ศักยภาพที่
ตนเองมีอย่างเต็มความสามารถ
กาญจนา แก้วเทพ และ กนกศักดิ์ แก้วเทพ (2530) ได้นิยามการพึ่งตนเองในเชิง
ปัจเจกบุคคลว่า หมายถึงกิจกรรมทั้งหลายที่กระทำโดยปัจเจกชนและครัวเรือนเพื่อบรรลุถึงหลัก
ประกันของการดำรงชีวิต
27
โจฮัน กาล์เตอท์ (Johan Galtung) ได้เสนอให้พิจารณามิติที่สำคัญที่เกี่ยวแนวคิดการ
พึ่งตนเองคือ ความเป็นเอกราช และการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ความเป็นเอกราชหมายถึงความเป็น
อิสระ ซึ่งประกอบไปด้วยความเชื่อมั่นในตนเอง ความเพียงพอทางเศรษฐกิจในระดับสูงและความ
เกรงกลัว ส่วนความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน หมายถึง ความเสมอภาคซึ่งมีลักษณะของความร่วมมือที่
ไม่ก่อให้เกิดแบบแผนใหม่ของการพึ่งพา และลักษณะที่สำคัญของกาพึ่งตนเอง คือ การ ผสม
ผสานระหว่างความเป็นเอกราชเข้ากับความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน การพึ่งตนเองไม่ได้มีความหมาย
เป็น การแยกตัวเป็นอิสระ ซึ่งเป็นแบบความโดดเดี่ยวแยกตนเองจากผู้อื่น หรือการปิดบังสังคม
เคมป์ โรแนล ฮอป (Kempe Ronal Hope) ได้กล่าวว่าการพึ่งตนเอง หมายถึงการมีอิสระในการ
ตัดสินใจ และสามารถระดมทรัพยากรของสังคมมาใช้ตามความคิดและแนวทางของตนเองได้
รวมทั้งการปฏิเสธหลักการจัดสรรทรัพยากรของผู้อื่นด้วยการเอาเปรียบ (อ้างใน ปราณี หมอน
ทองแดง 2534 : 25-37)
สุเมธ ตันติเวชกุล (กรมวิชาการ 2541 : 79) ได้ให้ความหมายการพึ่งตนเองว่า “ความ
พอมีพอกิน” โดยแบ่งเป็นการพึ่งตนเอง 5 ด้านคือ
1. ด้านจิตใจ ทำตนให้เป็นที่พึ่งแห่งตนมีจิตสำนึกที่ดี สร้างสรรค์ให้ตนเองและชาติโดย
รวม
2. ด้านสังคม แต่ละชุมชนต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกันเชื่อมโยงกันเป็นการสร้างเครือข่าย
ชุมชน
3. ด้านทรัพยากร ให้ใช้และจัดการอย่างฉลาด พร้อมทั้งหาทางเพิ่มมูลค่า
4. ด้านเทคโนโลย ี (ภูมิปัญญาชาวบ้าน) จากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป เทคโนโลยี
เข้ามาใหม่ซึ่งมีทั้งดีและไม่ดี แยกแยะยาก แต่ก็ต้องมีพอควรเพื่อการดำรงชีวิตในพื้นบ้าน การ
พัฒนาจะต้องสอดคล้องกับภูมิสังคม
5. ด้านเศรษฐกิจ ส่วนใหญ่การพัฒนามักมุ่งที่การเพิ่มรายได้ แต่ไม่มีการมุ่งที่การลด
รายจ่าย กล่าวคือต้องปรับทิศทางในเบื้องต้นด้วยการมุ่งลดรายจ่ายก่อน
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ปี 2539 ได้
กำหนดยุทธศาสตร์ในการเสริมสร้างศักยภาพเพื่อการพึ่งตนเองของชุมชนไว้ ดังต่อไปนี้
การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการพัฒนาโดยมีแนวทางทางดังนี้
1 เตรียมความพร้อมของชุมชนโดยการฝึกอบรม การจัดสรรงบประมาณให้การสนับสนุน
การรวมกลุ่มของชุมชนทุกรูปแบบ
2 ให้ความสำคัญกับการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของครอบครัวและชุมชนและทำธุรกิจ
โดยชุมชนเป็นเจ้าของ
28
3 สนับสนุนแหล่งเงินทุนโดยการจัดตั้งกองทุนในรูปแบบต่าง ๆ
4 สนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ โดยให้ความสำคัญกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อ
พัฒนากระบวนการเรียนรู้ และการจัดฝึกอบรมอาชีพ ส่งเสริมอาชีพต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับศักย
ภาพของชุมชน
5 สนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
โดยให้ความสำคัญ สร้างความตระหนักในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และรับรู้ข่าวสารข้อมูล
วิบูลย์ เข็มเฉลิม (2532 : 14) กล่าวถึงคุณภาพชีวิตไว้ว่า คนจะมีชีวิตอยู่ได้โดยไม่
เดือดร้อนควรจะพึ่งตนเองได้ โดยยึดหลักดังนี้
1. ครอบครัวมีชีวิตที่สงบ สะดวก
2. มีอาหารพอเพียง
3. มีสมุนไพร และไม้ยืนต้น
4. มีคุณธรรม
5. อยู่ได้โดยมิต้องพึ่งคนภายนอก
6. เรียนรู้ด้วยตัวเอง รู้อารมณ์
7. มีการรวมกลุ่ม
8. ทำเหลือแล้วจึงให้คนอื่นกิน
9. ทำตัวเองให้ง่ายไม่ฟุ่มเฟือย
10. หยุดไม่ตามกิเลส
11. แก้ปัญหาด้วยตนเองให้ได้
12. รู้จักการวางแผนชีวิตให้กับตนเอง
13. ปลูกพืชหลาย ๆ ชนิดทั้งระยะสั้นและระยะยาว
14. มีของใช้เฉพาะที่จำเป็น
15. มีเงินไว้ใช้เฉพาะกรณีจำเป็น
16. เป็นตัวของตัวเองสูง
17. รู้จักบูรณาการความคิดให้รู้เท่าทันและมีความพร้อมในการแก้ปัญหาของตนเอง
เสรี พงศ์พิศ (2536: 205-299) กล่าวถึงวิถีทางพึ่งตนเอง มีดังนี้
1. ความสามารถใช้วัฒนธรรมท้องถิ่นในการพัฒนาชีวิต
2. ทำด้วยความมั่นใจและใช้แรงงาน
3. รู้จักสังเกตปรากฏการณ์และปรับใช้ให้เกิดประโยชน์
4. ผลิตเพื่อยังชีพ
5. ใช้ปัจจัยการผลิตตามธรรมชาติทุกอย่างอย่างมีค่า
29
6. ดำรงชีวิตด้วยความสงบสุข
7. เลี้ยงสัตว์ที่หาอาหารกินเองได้ หรือกินเศษอาหาร
8. ปลูกต้นไม้น้อยต้นแต่ดูแลให้ทั่วถึง
9. ไม่ใช้สารเคมีทุกชนิด ทั้งปุ๋ยและยาฆ่าแมลง
10. ตำข้าวกันเป็นประจำเพื่อเอารำมาเลี้ยงสัตว์
11. ปลูกสมุนไพร รักษาโรคโดยสมุนไพร และวิธีรักษาแบบพื้นบ้านพึ่งหมอที่โรงพยาบาล
ให้น้อยลง
หลักการดำเนินชีวิตเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต มีดังนี้
1. ใช้แรงงานตนเอง
2. ทำแบบธรรมชาติ สร้างธรรมชาติ
3. ทำนาไม่ทำเพื่อขาย
4. รายจ่ายน้อยลง
5. มีเงินเหลือเก็บ
6. อุดรูรั่วเรื่องอบายมุข
7. ไม่ซื้ออาหารที่ไม่จำเป็น
8. ผลผลิตส่วนใหญ่เก็บไว้กิน ขายเล็กน้อย
9. ประหยัด อดออม
10. ใช้หลักธรรมเป็นฐานในการพัฒนาชีวิต
11. รู้จักการสังเกต พิจารณาพร้อมกับปรับเข้ากับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ
ยุวัฒน์ วุฒิเมธี (2534 : 125-127) ได้เสนอแนวคิดและระดับการพึ่งตนเองไว้ดังนี้
การสร้างแนวคิดในการพึ่งตนเอง ผู้กำหนดนโยบายและผู้วางแผนจะต้องทำความเข้าใจ
ในความหมายของการพึ่งตนเองให้ตรงกันว่า การพึ่งตนเองไม่ใช่การไปอาศัยผู้อื่น แต่หมายถึง
การที่สมาชิกของชุมชน หรือชาวบ้านสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และมีขีดความสามารถในการแก้
ไขปัญหาหรือสนองความต้องการของชุมชนได้มากขึ้น สามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงทาง
เศรษฐกิจและสังคมได้อย่างเหมาะสม
ระดับการพึ่งตนเองแบ่งออกเป็น 3 ระดับคือ
ระดับ 1 การพึ่งตนเองได้พอดี หมายถึง การที่ประชาชนพึ่งตนเองได้ในระดับพออยู่พอ
กิน ควรดำเนินการในกลุ่มผู้ยากจน
ระดับ 2 การพึ่งตนเองได้ดี หมายถึง การให้ประชาชนพึ่งตนเองได้อยู่ในระดับกินดีอยู่ดี
ควรดำเนินการในกลุ่มผู้มีฐานะปานกลาง
ระดับ 3 การพึ่งตนเองได้ดีมาก หมายถึง การให้ประชาชนพึ่งตนเองได้อยู่ในระดับมั่งมี
ศรีสุข ควรดำเนินการในกลุ่มผู้อยู่ในระดับก้าวหน้า
30
ดารณี รักดี (2540 : 44) สรุปได้ว่า แนวคิดการพัฒนาแบบพึ่งตนเอง เป็นแนวคิดการ
พัฒนาที่ได้รับการเสนอโดยกลุ่มก้าวหน้าที่ปฏิเสธแนวคิดการพัฒนาที่เน้นการพัฒนาตามทฤษฎี
ความทันสมัย ซึ่งมีอยู่ 2 แนวคิด คือ แนวคิดเกี่ยวกับรัฐสวัสดิการ และแนวคิดการพัฒนาที่นำไป
สู่การพึ่งตนเอง การพัฒนาประเทศควรตั้งอยู่บนความพยายามพึ่งตนเอง ซึ่งไม่จำเป็นต้องเน้น
ถึงความสำคัญของความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจเสมอไป แต่พิจารณาถึงเงื่อนไขของสังคม
และวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นหัวใจสำคัญ
สุพรรณี ไชยอำพร (2529) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การพัฒนาเครื่องมือวัดความพยายาม
พึ่งตนเองสำหรับชาวนาไทย ผลการศึกษาสรุปได้ว่า มีความแตกต่างกันในการจัดอันดับความ
สำคัญขององค์ประกอบความพยายามพึ่งตนเองระหว่างผู้เชี่ยวชาญและชาวนา คือ ชาวนาจะให้
ความสำคัญกับปัจจัยทางเศรษฐกิจเป็นอันดับแรก ในขณะที่ผู้เชี่ยวชาญให้ความสำคัญกับปัจจัย
ทางจิตวิทยา การใช้วิธีการศึกษาแตกต่างกันจะได้ตัวแปรที่บ่งชี้ถึงความพยายามพึ่งตนเองระดับ
บุคคลที่แตกต่างกัน และความพยายามพึ่งตนเองระดับบุคคลมีความสัมพันธ์กันระดับการศึกษา
การฝึกอบรม และภาวะผู้นำ
พิเชียร ลิมป์หวังอยู่ (2531) วิจัยเรื่อง การพึ่งตนเองของประชาชนในโครงการเนื่องจาก
พระราชดำริ ศึกษาเฉพาะกรณีโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูป อำเภอ ระหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์
พบว่า โครงการสามารถทำให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ฐานะความเป็นอยู่ดีขึ้น มีปัจจัย
พื้นฐานเพียงพอกับความต้องการมากขึ้น มีความสมดุลระหว่างรายรับกับรายจ่ายในครอบครัว
และสามารถใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์มากขึ้น
การพึ่งตนเอง ด้วยการประหยัด อดออม ใช้แรงงานของตนเอง อุดรุรั่วแห่งกิเลสและ
อบายมุข ใช้และมีไว้เฉพาะสิ่งที่จำเป็น ตั้งมั่นอยู่ในหลักการลดรายจ่าย ฉลาดที่จะใช้เพื่อพออยู่
พอกิน แก้ปัญหาด้วยตนเอง มีความเป็นเอกราช มีอิสระ ช่วยเหลือเกื้อกูล รู้จักการผสมผสานให้
เหมาะสมกับสภาพและศักยภาพของตนเองและครอบครัว การกระทำเช่นนี้จะทำให้ปัจเจกชนและ
ครอบครัวสามารถมีรายได้ที่สมดุลและบรรลุถึงหลักประกันของการดำรงชีวิต
สรุปการพึ่งตนเอง คือการทำกิจกรรมทั้งหลายที่กระทำโดยปัจเจกชนและครัวเรือนเพื่อ
บรรลุถึงหลักประกันของการดำรงชีวิต การพึ่งตนเองตามแนวคิดของพิเชียร ลิมป์หวังอยู่ เป็น
การพึ่งตนเองด้วยการประหยัด อดออม ใช้แรงงานของตนเอง อุดรุรั่วแห่งกิเลสและอบายมุข ใช้
และมีไว้เฉพาะสิ่งที่จำเป็น ตั้งมั่นอยู่ในหลักการลดรายจ่าย ฉลาดที่จะใช้เพื่อพออย ู่ พอกิน แก้
ปัญหาด้วยตนเอง มีความเป็นเอกราช มีอิสระ ช่วยเหลือเกื้อกูล รู้จักการผสมผสานให้เหมาะสม
กับสภาพและศักยภาพของตนเองและครอบครัว การกระทำเช่นนี้จะทำให้ปัจเจกชนและครอบ
31
ครัวสามารถมีรายได้ที่สมดุลและบรรลุถึงหลักประกันของการดำรงชีวิต ผู้วิจัยจึงได้นำมาเป็น
กรอบในการศึกษาด้านการพึ่งตนเองกับค่าครองชีพที่สมดุล
2.5 การดำรงชีวิตแบบพอเพียง กับ ค่าครองชีพที่สมดุล
การดำรงชีวิตแบบพอเพียง หมายถึง การมีจิตสำนึกหรือความตระหนักในการดำเนิน
ชีวิตอย่างสายกลาง มีความพอเพียงทั้งด้านวัตถุและจิตใจ ดำรงชีวิตอย่างสมถะ สันโดษ พอใจใน
สิ่งที่ตนมี ไม่เอารัดเอาเปรียบ เสียสละและพร้อมที่จะช่วยเหลือส่วนรวม
ในภาวะวิกฤติทางด้านเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นได้ทำให้เกิดการน้อมนำกระแสพระราชดำริของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในเรื่อง “เศรษฐกิจแบบพอเพียง” มาเป็นแนวทางในการดำเนิน
ชีวิตด้วยวิถีการพึ่งพาตนเองได้เกิดขึ้นในสังคมไทยขณะนี้อันเป็นการพัฒนาและการเสริมสร้าง
ศักยภาพตั้งแต่ระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน และสังคม โดยสร้างการเรียนรู้ถึงวิธีการพึ่งตนเอง
ได้ ซึ่งได้มีกลุ่มปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำชุมชน นักวิชาการที่ได้รับการยอมรับได้กล่าวถึง เศรษฐกิจพอ
เพียงและการพึ่งตนเองมีดังนี้
ประเวศ วะสี (2541 : 43-45) ได้ให้ความหมาย เศรษฐกิจพอเพียง คือ พอเพียง
สำหรับทุกคน มีธรรมชาติพอเพียง มีความรักพอเพียง เมื่อทุกอย่างพอเพียงก็เกิดความสมดุล จะ
เรียกว่าเศรษฐกิจสมดุลก็ได้ เมื่อสมดุลก็เป็นเรื่องปกติ สบายไม่เจ็บไข้ ไม่วิกฤติ
เศรษฐกิจพื้นฐาน เศรษฐกิจชุมชน หรือ เศรษฐกิจพอเพียง มีความคล้ายคลึงกัน หรือ
เหมือนกัน เนื่องจากเศรษฐกิจพื้นฐาน หมายถึง เศรษฐกิจที่คำนึงถึงการทำนุบำรุงพื้นฐานของ
ตัวเองให้เข้มแข็ง ทั้งทางสังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจพื้นฐานของสังคมก็คือ
ชุมชน เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึงพอเพียงสำหรับทุกคน มีธรรมชาติพอเพียง มีความรัก
พอเพียง มีปัญญาพอเพียง เมื่อทุกอย่างพอเพียงก็เกิดความสมดุล หรือกล่าวได้ว่า เศรษฐกิจ
สมดุล เช่นเดียวกัน
ลักษณะที่สำคัญ 5 ประการของเศรษฐกิจพอเพียง
1. เป็นเศรษฐกิจสำหรับคนทั้งมวล ไม่ใช่เศรษฐกิจที่สร้างความร่ำรวยให้คนส่วนน้อย แต่
คนส่วนใหญ่ยากจน ช่องว่างทางเศรษฐกิจนำไปสู่ปัญหาทางสังคม การเมือง และสิ่งแวดล้อม อัน
นำไปสู่ความไม่มั่นคง เศรษฐกิจสำหรับคนทั้งมวลเป็นการสร้างทุนทางสังคมและเป็นพื้นฐานของ
การพัฒนาทุกชนิด
2. มีพื้นฐานอยู่ที่ความเข้มแข็งของชุมชน
32
3. มีความเป็นบูรณาการ คือ ไม่ใช่เป็นเรื่องเศรษฐกิจอย่างเดียว แต่เชื่อมโยงกับสังคม
วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมพร้อมกันไป
4. อยู่บนพื้นฐานความเข้มแข็งของตนเอง เช่น การเกษตร หัตถกรรมไทย อุตสาหกรรม
สมุนไพร อาหารไทย การท่องเที่ยว เหล่านี้ล้วนอยู่บนพื้นฐานวัฒนธรรมไทย
5. การจัดการและนวัตกรรมต่าง ๆ เพื่อเติมความก้าวหน้าให้แก่เรื่องพื้นฐาน ทำให้มี
พลวัตอย่างไม่หยุดนิ่ง
ฉัตรทิพย์ นาถสุภา (2541 : 97-198) ได้กล่าวถึงเศรษฐกิจแบบยังชีพ ซึ่งอ้างมาจาก
คาลมาร์กซ ว่า “การผลิตเพื่อการยังชีพ หมายถึง ทุกส่วนของครอบครัว…ทำการผลิตโดยตรง
ผลิตเพื่อการบริโภค ผลผลิตมีความสัมพันธ์กับธรรมชาติมากกว่าความสัมพันธ์ทางสังคม”
เศรษฐกิจเพื่อยังชีพตั้งอยู่บนพื้นฐานพลังการผลิตภายใต้ความเป็นไปของธรรมชาติ แรงงานที่ใช้
มือเหนือกว่าแรงงานที่ใช้เครื่องจักร ความรู้เชิงประสบการณ์ เหนือกว่าความรู้เชิงวิทยาศาสตร์
พลังการผลิตจากธรรมชาติ (ความอุดมสมบูรณ์ของที่ดิน แรงงานของมนุษย์ทางกายภาพ การรวม
ตัวกันด้านแรงงานครอบครัวและความสัมพันธ์ชายหญิงในครอบครัว แนวคิดที่มีความสัมพันธ์ต่อ
การพึ่งตนเองของสังคมและชุมชน ซึ่งคานธีได้เสนอไว้ในหลักการแห่ง สวเทศี (สว คือ ของตน
เอง เทศี คือ ท้องถิ่น) และสวราช (การปกครองตนเอง) ซึ่ง คานธีอธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง
ปัจเจกชนและเศรษฐกิจที่เปี่ยมด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม โดยเริ่มจากหน่วยย่อยที่อยู่ใกล้ตัว
เรามากที่สุดคือ ครอบครัวของเรา เพื่อนบ้านของเรา สวเทศี คือ จิตวิญญาณภายใน ที่จะช่วยให้
สิ่งที่ผลิตขึ้นมีประสิทธิภาพและสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น อันเป็นการเสนอความคิดเรื่องการพึ่งตนเองใน
ระดับชุมชนและระดับประเทศภายใต้หมู่บ้านสวราช อันเป็นสาธารณรัฐที่แท้จริง ที่สามารถ
พึ่งตนเองได้ในสิ่งที่จำเป็นต่อชีวิต
วิถีชีวิตแบบพอเพียง คือวิถีชีวิตของคนส่วนใหญ่ในประเทศ ซึ่งเป็นคนระดับล่าง หรือชั้น
ระดับรากหญ้า เพราะเป็นวิถีชีวิตภายใต้ ความสันโดษ ความพึงพอใจในสิ่งที่ตนเองมี และความ
เข้มแข็งของตนเอง ได้แก ่ ความสามารถ ประสบการณ์ ศักยภาพในการนำสิ่งรอบข้างที่ ตนเอง
มีมาสร้างให้เกิดประโยชน์ที่สามารถตอบสนองความต้องการ และความจำเป็นในการดำรงชีวิต
โดยไม่จำเป็นต้องไปแสวงหาในสิ่งที่ตนเองไม่มี อันจะก่อให้เกิดภาระ ปัญหาความยากลำบากให้
เกิดขึ้นกับตนเองและครอบครัว การเดินทางสายกลางก่อให้เกิดความไม่เบียดเบียนทั้งตนเองและ
คนรอบข้าง อันนำไปสู่การบรรลุถึงความสมดุลในทุก ๆ ด้าน ทั้งตนเอง ครอบครัว ชุมชน และ
สังคม
สรุปแนวคิด การดำรงชีวิตแบบพอเพียงตามแนวคิดของประเวศ วะสี เป็นแนวคิดเกี่ยว
กับการมีจิตสำนึกหรือความตระหนักในการดำเนินชีวิตอย่างสายกลาง มีความพอเพียงทั้งด้านวัตถุ
33
และจิตใจ ดำรงชีวิตอย่างสมถะ สันโดษ พอใจในสิ่งที่ตนมี ไม่เอารัดเอาเปรียบ เสียสละและพร้อม
ที่จะช่วยเหลือส่วนรวม ผู้วิจัยจึงนำแนวคิดการดำรงชีวิตแบบพอเพียงมาใช้ศึกษาปัจจัยด้านการ
ดำรงชีวิตแบบพอเพียงกับการค่าครองชีพที่เหมาะสม
2.6 ความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว กับ ค่าครองชีพที่สมดุล
ความสัมพันธ์ภายที่ดีในครอบครัว หมายถึง การอยู่ร่วมกันในครอบครัวที่มี ความรัก
ใคร่ ความปรารถนาดี มีความเอื้ออาทรและความช่วยเหลือเกื้อกูลต่อกันในฐานะเป็นสมาชิกใน
ครอบครัว ซึ่งจะทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ไม่เอาเปรียบกัน และก่อให้เกิดความร่วมแรงร่วมใจกัน
สร้างเสริมให้ครอบครัวดำรงอยู่อย่างมีความสุขที่มั่นคง
สังคม ชุมชน ครอบครัว และปัจเจกชน สามารถดำรงอยู่ได้ก็ต้องมี สิ่งที่คนในส่วนรวม
จัดให้มี หรือให้เกิดขึ้น เพราะเห็นว่ามีประโยชน์ มีความต้องการและมีความจำเป็นแก่วิถีชีวิตของ
ตน ซึ่งได้แก่ สถาบันครอบครัว สถาบันการเมือง สถาบันการศึกษา สถาบันศาสนา ครอบครัวเป็น
สถาบันสังคม ที่มีลักษณะเฉพาะ มีจุดมุ่งหมายของการรวมกลุ่มที่มีความมั่นคงสืบต่อกันมาภายใต้
ความสัมพันธ์เชื่อมโยงที่ใกล้ชิด ประกอบด้วยบุคคล และแบบอย่างการกระทำที่สืบเนื่องจากการ
สืบพันธุ์ของมนุษย์ และการรักษาความสัมพันธ์ที่เกิดตามาจากการสืบสายโลหิตร่วมกันโดย
กำเนิด การมีบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบเป็นตัวประสานความสัมพันธ์ให้มีความมั่นคงเพื่อการ
ดำรงไว้มากยิ่งขึ้น
สัมพันธภาพในครอบครัว หมายถึง ลักษณะพฤติกรรมที่บุคคลในครอบครัว ประกอบ
ด้วย สามี ภรรยา บุตร หลาน ญาติพี่น้อง หรือ บุคคลอื่นที่อาศัยอยู่รวมกันในครอบครัวปฏิบัติดู
แลต่อกันในทุก ๆ ด้าน ทั้ง มีความรัก ความห่วงใย มีการดูแลเอาใจใส่ต่อกันการมีปฏิสัมพันธ์ต่อ
กันของสมาชิกในครอบครัว การเคารพยกย่องและให้ความสำคัญต่อกัน มีการปรองดองเป็นอัน
หนึ่งอันเดียวกัน และรวมถึงการพักผ่อนหย่อนใจร่วมกัน อันจะนำไปสู่ความรู้สึกพึงพอใจในชีวิต
หรือ ความรู้สึกเป็นสุข ปราศจากความทุกข์หรือความไม่สบายใจ ซึ่งความรู้สึกดังกล่าวจะเกิดขึ้น
ได้มีปัจจัย ดังนี้
1. ความสนุกที่ต่อสู้กับความเบื่อหน่ายในชีวิต หมายถึง ความรู้สึกที่จะกระตือรือร้นใน
การทำกิจกรรมต่าง ๆ มีความคิดที่จะทำในสิ่งใหม่และมีความสนใจในตนเอง
2. ความมั่นคงและอดทนต่อชีวิต หมายถึง ความรู้สึกยอมรับกับสภาพที่เกิดขึ้น สามารถ
ยืนหยัดรับสภาพที่เกิดขึ้นนั้นโดยไม่คิดหนี และยอมรับว่าความตายเป็นกระบวนการที่หนีไม่พ้น
34
3. ความสอดคล้องระหว่างเป้าหมายที่ตั้งไว้กับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง หมายถึง ความรู้สึกที่ได้
บรรลุเป้าหมายในชีวิตที่คาดไว้ ในช่วงที่ผ่านมาได้เคยประสบความสำเร็จในเรื่องที่สำคัญ ๆ มา
แล้ว
4. อัตมโนทัศน์ หมายถึง ความรู้สึกที่รับรู้ว่าตนเอง มีสุขภาพกาย จิต และสังคมดี มี
ความภูมิใจในความสำเร็จของตนเองและรู้สึกว่าตนเองยังมีความสำคัญสำหรับผู้อื่นและสังคม
5. ระดับอารมณ์ หมายถึง ความรู้สึกที่เป็นสุข มีทัศนคติและอารมณ์ที่ดีต่อผู้อื่นและสิ่ง
ต่าง ๆ รอบตัว มีความพอใจในชีวิต ไม่รู้สึกเศร้า โดดเดี่ยว หรือ ขมขื่น (พวงผกา ชื่นแสงเนตร
2538 : 8 – 9)
2.6.1 แนวคิดด้านสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัว
สัมพันธภาพในครอบครัว หมายถึง สภาพความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกภายในครอบครัว
ซึ่งรวมถึงบุตรหลานหรือเครือญาติที่อาศัยอยู่ร่วมกัน สภาพความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกใน
ครอบครัวมีการดูแลเอาใจใส่ ได้รับการยกย่อง ได้รับความสำคัญจากครอบครัว การที่สมาชิกใน
ครอบครัวอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข คือ ไม่มีการทะเลาะเบาะแว้งกัน
ในสังคมทั่วไปถือว่า ครอบครัวเป็นสถาบันที่สำคัญที่สุด เนื่องจากเป็นสังคมกลุ่มแรกที่คน
เราต้องเผชิญตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั่งเสียชีวิต หน้าที่ของครอบครัวมีอยู่หลายประการ เช่น สร้าง
สรรค์สมาชิกใหม่ สนองความต้องการทางเพศ เลี้ยงดูผู้เยาว์ให้เจริญเติบโตในสังคม ดูแลผู้สูงอายุ
ให้ความรักความอบอุ่น ซึ่งเป็นแหล่งที่สมาชิกในครอบครัวได้รับความรักความอบอุ่นอย่างบริสุทธิ์
ใจ ครอบครัวเป็นแหล่งให้กำลังใจและปลุกปลอบใจ เพื่อให้บุคคลสามารถผ่านอุปสรรคได้
ครอบครัวจึงเป็นแหล่งที่ให้ทั้งความรัก ความคุ้มครองและความมั่นคงทางด้านจิตใจให้แก่สมาชิก
สังคมไทยถือว่า ครอบครัว เป็นสถาบันที่ทำหน้าที่ดูแลสมาชิกในครอบครัว โดยเฉพาะ
สมาชิกที่อยู่ในภาวะที่ต้องพึ่งพา เช่น เด็กและผู้สูงอายุ เพื่อให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข จึง
อาจกล่าวได้ว่า การมีความสัมพันธ์อันดีของสมาชิกในครอบครัวจะนำมาซึ่งความสุขและความ
พึงพอใจในชีวิตต่อสมาชิกในครอบครัว
ฟรายด์แมน (Friedman 1981 : 62) ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับหน้าที่ของครอบครัวไว้ว่า
หน้าที่ของครอบครัวเป็นงานที่ครอบครัวพึ่งปฏิบัติให้เกิดประโยชน์แก่สมาชิกในครอบครัว เพื่อให้
สมาชิกในครอบครัว สามารถดำรงอยู่ในสังคมได้อย่างปกติ ครอบครัวเป็นแหล่งดำเนิน
อัตมโนทัศน์ ความรู้สึกเป็นเจ้าของ มีชีวิตที่มีคุณค่า และเป็นแหล่งของการให้ความรักความอบอุ่น
รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนในด้านต่าง ๆ
35
มอร์โรว์ และ วิลสัน (Morrow and Wilson 1961 : 63) ได้อธิบายถึงลักษณะ
ของสัมพันธภาพในครอบครัว ว่าประกอบด้วยการสนับสนุนด้านอารมณ ์ และสิ่งแวดล้อมในครอบ
ครัว การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน มีการพักผ่อนหย่อนใจร่วมกันในครอบครัว มีการ
รักใคร่ ผูกพันซึ่งกันและกัน มีความเห็นอกเห็นใจกัน และมีความกลมเกลียว สามัคคีปรองดอง
ระหว่างสมาชิกในครอบครัวอีกด้วย
2.6.2 แนวคิดเกี่ยวกับความพึงพอใจในชีวิต
ความพึงพอใจในชีวิตเป็นสิ่งที่พึงปรารถนาของบุคคล เพราะเป็นองค์ประกอบสำคัญใน
การดำรงชีวิตอย่างมีความสุข เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงคุณภาพชีวิตของบุคคลนั้น ๆ ซึ่งมักใช้
ความพึงพอใจในชีวิตเป็นตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตและความสัมพันธ์ภายในครอบครัว
ความหมายความพึงพอใจในชีวิต
ในทัศนะของ โรล์แมน (Wolman 1973 : 18) ได้ให้ความหมายของความพึงพอใจว่า
เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อความต้องการได้รับตอบสนอง
แคมป์เบล (Campbell 1976 : 20) ความพึงพอใจในชีวิต หมาย ถึง ความพอใจเป็น
กระบวนการทางสติปัญญา แต่ความสุข หมายถึง สภาพของความรู้สึก หรืออารมณ์
จากทฤษฎีความต้องการของมาสโลว์ (Maslow,1960) ระบุว่า ความพึงพอใจของมนุษย์
จะเกิดขึ้น เมื่อความต้องการได้รับการตอบสนอง และความต้องการนั้นจะพัฒนาขึ้นไปตามลำดับ
ขั้นความต้องการ 5 ขั้น จากขั้นพื้นฐานสู่ระดับที่สูงขึ้น โดยที่ความต้องการได้รับการสนองอย่าง
พอเพียงก่อนจึงจะเกิดความต้องการในระดับที่สูงขึ้น ความต้องการ 5 ขั้น นั้นคือ
ขนั้ ที่ 1 ความต้องการเพื่อการอยู่รอด ของมนุษย ์ เช่นความต้องการอากาศ อาหาร
น้ำ เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรคและความต้องการทางเพศ
ขั้นที่ 2 ความต้องการความมั่นคง ปลอดภัย
ขั้นที่ 3 ความต้องการ ความรัก ความเป็นเจ้าของ
ขั้นที่ 4 ความต้องการการยอมรับนับถือ
ขั้นที่ 5 ความต้องการที่จะบรรลุความสำเร็จสมหวังในชีวิต
ความพึงพอใจในชีวิตตามแนวทฤษฎีของมาสโลว์ (Maslow) แสดงให้เห็นว่าความพึงพอ
ใจในชีวิตเป็นสิ่งที่ไม่คงที่แน่นอน สามารถเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ ขึ้นอยู่กับความ
ต้องการในขณะนั้นของแต่ละบุคคลที่เป็นไปตามลำดับขั้น
36
พอยทรินัวด์ (Poitrenaud 1979ซ 723 – 727) ได้แบ่งความพึงพอใจออกเป็น 5 ด้าน
คือ
1. ชีวิตการทำงานของบุคคล ต้องมีความพอใจในงาน มีความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงาน และ
สิ่งแวดล้อมในการทำงาน
2. ความรู้สึกทางอารมณ์ เช่น ความพึงพอใจในเรื่องของความรัก
3. ชีวิตครอบครัว หมายถึง มีความพอใจในความสัมพันธ์ของตนกับคู่ชีวิตและญาติสนิท
4. ชีวิตสังคม มีความพอใจกับกิจกรรมต่าง ๆ ของสังคม
5. การใช้เวลาว่างมีความพอใจกับกิจกรรมต่าง ๆ ที่สนใจ เช่น งานอดิเรก
2.6.3 แนวคิดเกี่ยวกับบทบาท
ได้มีผู้ให้ความหมายแนวคิดเกี่ยวกับบทบาท (ศิริพงษ์ ศรีกงพลี 2540 อ้างถึง Young
Broom Selznick Levinson และ Gross) ดังนี้คือ
ยัง (Young) ได้ให้ความหมายว่า บทบาทคือ หน้าที่ของฐานะ ตำแหน่ง เมื่อบุคคลหนึ่ง
ได้ครองตำแหน่งใด สิ่งที่ตามติดมากับตำแหน่งนั้นคือการที่เขาจะต้องมีการปะทะสังสรรค์ กับ
ตำแหน่งอื่น ๆ ทั้งที่สูงกว่าและต่ำกว่าภายในกลุ่ม สิ่งที่ตามมากับตำแหน่งอันเป็นเครื่องกำหนด
สำหรับการดำรงฐานะตำแหน่งนั้น ๆ เรียกว่า บทบาท
Broom และ Selznick อธิบายว่าบทบาทบางครั้งเรียกว่า บทบาททางสังคมเป็นแบบแผน
ของพฤติกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับตำแหน่งเฉพาะทางสังคม เช่น เป็นพ่อ เป็นครู เป็นต้น ความหมาย
ของบทบาทเป็นการกล่าวถึงสิทธิและหน้าที่ที่ขึ้นอยู่กับตำแหน่งทางสังคม ซึ่งบอกให้รู้ว่าแต่ละคน
ควรจะแสดงบทบาทอะไรบ้างในการเป็นพ่อหรือครู และเป็นหน้าที่ของเขาที่ต้องแสดงพฤติกรรม
ตามบทบาทนั้น ๆ และสามารถเรียกร้องหรืออ้างสิทธิอันนี้ได้
กรอสส์ (Gross) ได้ให้คำนิยามว่า บทบาทของผู้ดำรงตำแหน่งใด ตำแหน่งหนึ่งนั้นเป็น
เรื่องการคาดหวังที่จะให้ผู้ดำรงตำแหน่งนั้นปฏิบัติโดยยึดบทบาทมาเป็นมาตรการในการตรวจ
สอบที่จะให้เห็นว่าบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งนั้น จะปฏิบัติอย่างไรภายในขอบเขตแห่งฐานะตน
ทิพวรรณ เคาวางกูร (2531 : 22) กล่าวว่า บทบาทคือ แบบแผนของพฤติกรรมที่เกี่ยว
ข้องกับหน้าที่ของแต่ละบุคคลและบทบาทดังกล่าวควรเป็นไปตามข้อตกลงที่มีต่อสังคมนั้น ๆ และ
พฤติกรรมของบุคคลแต่ละคน คือผลที่ได้จากตำแหน่งทางสังคมของเขานั้นเองและทฤษฎีบทบาท
จัดเป็นข้อตกลงประการแรกที่สถาบันต่าง ๆ ในสังคมคาดหวังว่าบุคคลที่ได้รับตำแหน่งต่าง ๆ
ควรปฏิบัติอย่างไรบ้าง
37
เลวินสัน Levinson ได้สรุปความหมายของบทบาทไว้ 3 ประการคือ
1. บทบาท หมายถึง ปทัสสถาน ความมุ่งหวัง ข้อห้าม. ความรับผิดชอบและอื่น ๆ ที่มี
ลักษณะในทำนองเดียวกัน ซึ่งผูกพันอยู่กับตำแหน่งทางสังคมที่กำหนดไว้ บทบาทตามความหมาย
นี้คำนึงถึงตัวบุคคลน้อยที่สุด แต่มุ่งไปถึงการชี้บ่งถึงหน้าที่อันควรกระทำ
2. บทบาท หมายถึง ความเป็นไปของบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งที่คิดและกระทำเมื่อดำรง
ตำแหน่งนั้น ๆ
3. บทบาท หมายถึง การกระทำของบุคคลแต่ละคนที่กระทำโดยให้สัมพันธ์กับโครงสร้าง
ทางสังคม หรืออาจะกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือแนวทางอันบุคคลพึงกระทำเมื่อตนดำรงตำแหน่งนั้น ๆ
สุธีรา นุ้ยจันทร์ (2530 : 44) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การศึกษาบทบาทของครอบครัวใน
การดูแลผู้สูงอายุ ศึกษาเฉพาะกรณี ครอบครัวผู้ใช้บริการของสังคมผู้สูงอายุดินแดง และสมาชิก
ชมรม ผู้สูงอายุโรงพยาบาลสงฆ์ ปี พ.ศ. 2530 พบว่า ความสัมพันธ์ในครอบครัวอยู่ในระดับดี
สมาชิกในครอบครัวรักใคร่ปรองดองกัน
กิติพร ศรีวงชัย (2542) ได้ทำการวิจัยเรื่อง บทบาทประชาคมตำบลต่อการพัฒนา
เศรษฐกิจ ซึ่งพบว่า การทำให้ประชาชนเข้าใจบทบาทการปฏิบัติหน้าที่ในการที่จะพัฒนาเศรษฐกิจ
ส่งผลให้เกิดกิจกรรมที่ทำร่วมกัน นำไปปฏิบัติได้อย่างต่อเนื่องและมีการพัฒนาในพื้นที่มากยิ่งขึ้น
จากแนวคิดและงานวิจัยที่กล่าวมาข้างต้น สรุปว่า สัมพันธภาพในครอบครัวเป็นปัจจัย
สำคัญที่ส่งผลให้เกิดแรงกระตุ้น ผลักดัน ให้สมาชิกในครอบครัวพร้อมที่จะต่อสู้ โดยไม่รู้สึกเบื่อ
หน่าย ท้อแท้ พร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่ตามสถานะภาพและบทบาทตามที่ผู้อื่นคาดหวังให้ปฏิบัติ
โดยเฉพาะความพร้อมที่จะให้การช่วยเหลือสนับสนุนในทุก ๆ ด้าน ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ด้วย
ความรักอันบริสุทธิ์ ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานในการประสานความสัมพันธ์เชื่อมโยงให้เกิดความรู้สึก
อบอุ่น มีความสงบสุข ปราศจากความทุกข์ เศร้า โดดเดี่ยว หรือ ขมขื่น การทะเลาะเบาะแว้ง
อันเป็นที่มาของการดำรงชีพของตนเอง ครอบครัวอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข แนวคิดความ
สัมพันธ์ในครอบครัวของฟรายด์แมน เป็นแนวคิดที่ผู้วิจัยนำมาใช้ศึกษาเกี่ยวกับหน้าที่ของ
สมาชิกในครอบครัวที่พึงปฏิบัติให้เกิดประโยชน์และสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณค่าตามบท
บาทหน้าที่ของตนและเกิดความพึงพอใจในการดำรงชีวิตและนำไปสู่ค่าครองชีพที่สมดุล
2.7 การเรียนรู้เพื่อชีวิต กับ ค่าครองชีพที่สมดุล
การเรียนรู้เพื่อชีวิต หมายถึง การเรียนรู้ของบุคคลในลักษณะของ “กระบวนการ” ที่เกิด
ขึ้นตลอดเวลา ตลอดชีวิตอย่างไม่หยุดนิ่ง เกิดขึ้นด้วยตนเอง หรือด้วยการเรียนรู้จากผู้อื่นและสิ่ง
38
แวดล้อม ช่วยให้เกิดศักยภาพมากขึ้นในการดำรงชีวิตทุกด้าน การนำความรู้และประสบการณ์ที่
เกี่ยวกับชีวิตมาใช้ในการแก้ไขจัดการปัญหา ตลอดจนพัฒนาตนเองและสังคม
2.7.1 แนวคิดเรื่ององค์การเรียนรู้
สัญญา สัญญาวิวัฒน์ (2544 : 117-118) กล่าวว่า องค์การที่มีประสิทธิภาพจะต้อง
เป็นองค์การเรียนรู้ เพราะองค์การเรียนรู้จะเป็นองค์การที่รับรู้เรื่องราวข่าวสาร แล้วย่อยเข้าระบบ
ความรู้ขององค์การถ่ายทอดให้สมาชิกขององค์การ ทำให้องค์การเป็นองค์การที่มีคุณภาพและมี
ประสิทธิภาพอยู่เสมอ องค์การเรียนรู้ตามความคิดของ ปีเตอร์ เซง (Perter Senge) มีลักษณะ 5
ประการดังนี้
1. มีความสามารถในการคิดเชิงระบบ คิดอะไร อย่างมีองค์ประกอบเกี่ยวเนื่องหลายตัว
2. มีกรอบความคิด หมายถึง การมีกรอบความคิดเดิมอยู่แล้ว เมื่อรับความคิดใหม่ก็
สามารถผสมผสานความคิดใหม่เข้ากรอบเดิมได้
3. ส่งเสริมให้บุคลากรพัฒนาความเป็นเลิศของงาน คือ การสนับสนุนบุคลากรในองค์
การให้พัฒนาตนเองตามแนวที่ตนถนัดภายในองค์การ
4. มีวิสัยทัศน์ร่วม คือ การตั้งความหวังและมุ่งดำเนินการร่วมกันไปสู่เป้าหมายที่วางไว้
ร่วมกันในอนาคต
5. มีการเรียนรู้เป็นทีม เพราะการเรียนเป็นกลุ่มก่อผลดีหลายอย่าง เช่น ช่วยกันเรียน ได้
ช่วยกันทำความเข้าใจ ทำให้เกิดความเข้าใจอย่างกว้างขวาง และช่วยกันจำ แล้วก็ช่วยกันใช้ ความ
คิดก็เพิ่มพูน ขยายขอบเขต ก้าวหน้าออกไป
นงลักษณ ์ สุพรรณไชยมาตย ์ และคณะ (2542 : 48 -62) ได้เสนอภาพของสังคม
อุดมคติในประเด็นต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. วิสัยทัศน์ร่วมกัน คนในองค์กรหรือกลุ่มคนจะต้องมองเป็นอนาคตข้างหน้าร่วมกัน รู้
และเข้าใจร่วมกันถึงทิศทางข้างที่จะไปด้วยกันหรือทำกิจกรรมร่วมกัน ดังนั้นการสร้างวิสัยทัศน์
ร่วมกันจึงมีความจำเป็น
2. การมีส่วนร่วมอย่างกว้าง ด้วยองค์ประกอบของสังคมที่มีความหลากหลายซับซ้อน
และร่วมสร้างการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องนั้น การมีส่วนร่วมของทุกคนทุกฝ่ายย่อมเป็นเงื่อนไขให้เกิด
การรับรู้ ตัดสินใจ และร่วมลงมือปฏิบัติเพื่อผลักดันการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นร่วมกัน
3. มีความรัก ความเอื้ออาทร สมานฉันท์ การอยู่ร่วมกันจะต้องอยู่บนพื้นฐานที่มีความ
หลากหลายแต่ละคนในกลุ่มสังคมจะดำรงอยู่ได้ด้วยความสุขนั้นจะต้องมีการสร้างความรัก ความ
เมตตา ความเอื้ออาทร และความสามัคคีเป็นตัวเชื่อมโยงให้เกิดพลังร่วมกัน
39
4. มีองค์ความรู้และความสามารถในการแสวงหาความรู้ จิตนาการเป็นพลังของมนุษย์ที่
จะดำรงอยู่ในสังคมอย่างสร้างสรรค์มีศักดิ์สรี แต่จิตนาการอย่างเดียวไม่พอ ต้องอาศัยสติ ปัญญา
ความรู้ในการแก้ปัญหา ดังนั้น ประชาชนจึงจำเป็นต้องสร้างและสะสมองค์ความรู้ที่สามารถปรับใช้
และเรียนรู้เพิ่มเติมได้ตลอดเวลา
5. มีการเรียนรู้จากการปฏิบัติหรือทำกิจกรรมร่วมกัน การเรียนรู้ร่วมกันของคนในสังคม
จะช่วยให้เกิดพลัง “เกิดปัญญาหมู่” ก่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน จำเป็นต้องอาศัยเทคนิค วิธีการ
มากมายหลากหลายสอดคล้องกับบริบทของแต่ละพื้นที่ แต่ละกลุ่ม ซึ่งจะต้องมีการคิดร่วมกัน
2.7.2 แนวคิดเกี่ยวกับการรับรู้
ผู้วิจัยได้นำแนวคิดการรับรู้นี้มาร่วมอธิบายถึงการเรียนรู้เพื่อชีวิตในการวิจัยครั้งนี้ โดยมี
รายละเอียดดังนี้
จำเนียร ช่วงโชติ (2519: 18) ได้กล่าวถึง การรับรู้เป็นกระบวนการประกอบด้วยหลัก
สำคัญ 3 ประการคือ
1. การรับรู้ต้องเกี่ยวข้องกับคุณสมบัติของสิ่งเร้า ซึ่งเกิดไปกระตุ้นอวัยวะ อวัยวะรับ
สัมผัสให้เกิดการทำงานขึ้น และส่งรายละเอียดไปยังประสาทสัมผัส หรือส่งต่อไปยังสมอง
กระบวนการที่เรียกว่า การสัมผัส
2. การรับรู้ต้องเกี่ยวข้องกับข้อมูลและรายละเอียดต่าง ๆ ที่มนุษย์ได้รับและนำมา
ประสมประสานกับข้อมูลอื่น ๆ กระบวนการนี้เรียกว่า Preception
3. การรับรู้ต้องเกี่ยวข้องกับคุณลักษณะและคุณสมบัติของผู้รับอันหมายถึงประสบการณ์
เดิมแรงขึ้น ทัศนคติ บุคลิกภาพ และอื่น ๆ ของผู้รับรู้เช่น การเอาใจใส่
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ ซึ่งสามารถสรุปออกเป็น 2 ประเด็นสำคัญดังนี้คือ
ประการแรก ได้แก่ บทบาทของปัจจัยภายใน ซึ่งได้แก่คุณสมบัติภายในของผู้รับรู้ เช่น
ความต้องการของแรงขับ คุณค่าความสนใจ
ประการที่สอง ได้แก่ บทบาทปัจจัยสังคมภายนอก ซึ่งได้แก่ความยึดมั่น ความเชื่อถือ
คำแนะนำ คำสอน ที่ได้รับกันต่อ ๆ มา ทั้งหมดนี้มีอิทธิพลที่ทำในการรับรู้ที่บุคคลมีต่อเรื่องราว
เหตุการณ์ ภาวะแวดล้อมต่าง ๆ มีความแตกต่างกัน
สิ่งเร้าอันเป็นเหตุให้เกิดการรับรู้ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกันคือ
1.สิ่งเร้าที่มีโครงร่างแบบแผน การรับรู้เช่นนี้เป็นการรับรู้ตามคุณสมบัติที่เป็นจริงของ
สิ่งเร้านั้น ๆ
40
2. ส่วนสิ่งเร้าที่ไม่มีโครงสร้างแบบแผน การสื่อสิ่งเร้าที่มีลักษณะกำกวม การตีความให้กับ
สิ่งเร้าดังกล่าวมักใช้ความต้องการด้านคุณค่า ทัศนคติ บุคลิกภาพของคนเป็นเครื่องกำหนดในการ
รับรู้
ดังนั้น การรับรู้ จึงหมายถึง การรับสัมผัสที่มีความหมายถึงการเปลี่ยนแปลงหรือตีความ
เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่มีความหมายหรือเป็นที่รู้จักเข้าใจ การแปลหรือตีความนี้จำเป็นที่เราจะต้องใช้
ประสบการณ์เดิมหรือภูมิปัญญาเดิมที่เคยมีแต่หนหลัง
นอกจากที่ได้กล่าวมาแล้วยังมีแนวคิดอื่น ๆ ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้เพื่อ
ชีวิตเพื่อนำมาร่วมอธิบายปัจจัยเหตุในการวิจัยครั้งนี้คือ
2.7.2.1 ทฤษฎีกระบวนการติดต่อสื่อสาร
โรเจอร์ และ ซูเมคเกอร์ ( Roger and Shoemaker 1973 :33 -34) ได้สรุปขั้นตอนของ
การรับรู้วิทยาการใหม่ไว้ 5 ขั้นตอน คือ
1. ขั้นในการรับรู้ หมายความว่า บุคคลได้รับรู้เหตุการณ์ใหม่เป็นครั้งแรก แต่ยังขาด
ความรู้อย่างแจ่มชัดในวิทยาการนั้นยังขาดข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติม
2. ขั้นการสนใจ หมายความว่า บุคคลเริ่มสนใจในความใหม่และความพยายามหาความรู้
เพิ่มเติม
3. ขั้นการสื่อใจ หมายความว่า บุคคลคิดทบทวนไตร่ตรองถึงผลดีผลเสียของความรู้ใหม่
อยู่ในใจ
4 ขั้นทดลอง หมายความว่า บุคคลนั้นนำความรู้ใหม่ไปทดลองปฏิบัติโดยเริ่มจากขนาด
เล็ก ๆ เพื่อดูผลก่อนการตัดสินใจยอมรับ
5. ขั้นตอบรับ เป็นขั้นตอนตกลงใจที่จะนำวิทยาการใหม่ไปปฏิบัติอย่างเต็มที่
2.7.2.2 แนวคิดเกี่ยวกับการคิดเป็น
อุ่นตา นพคุณ (2528 : 14 –15) กล่าวว่า “คิดเป็น” เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2513 ที่
กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย ในการประชุมเรื่อง “การวางแผนครอบครัว” จัดขึ้นโดย World
Education ซึ่งมี โกวิท วรพิพัฒน์ และ เดวิด ฮาร์แมน เป็นตัวแทนประเทศไทย การประชุมมี
จุดประสงค์ที่จะหาแนวทางผสมผสานแนวความคิดเป็นสิทธิอันชอบธรรมของประชาชนที่ตัดสินใจ
หมายความว่า มนุษย์แต่ละคน สามารถตัดสินใจเลือกสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับตนเอง ภายใต้ข้อจำกัด
ของกรรมพันธุ์ ภูมิหลัง สภาพแวดล้อมบางอย่าง และสามารถควบคุมสภาพการณ์ของตนเองได้
เสมอ
41
สำหรับประเทศไทย การคิดเป็น ได้กลายมาเป็นจุดมุ่งหมายทางการศึกษาที่สำคัญ คำว่า
“คิดเป็น” มีพื้นฐานมาจากลักษณะโดยธรรมชาติของมนุษย์ซึ่งมีความปรารถนาที่จะประสบแต่
ความสุข เมื่อตนเอง สังคม สิ่งแวดล้อมมีความสมดุลทั้งด้านวัตถุ กาย และจิตใจ บุคคลที่คิดเป็น
จะสามารถเผชิญปัญหาในชีวิตประจำวันได้อย่างมีระบบ บุคคลนี้จะสามารถพิจารณาที่กำลังเผชิญ
อยู่แสะสามารถรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวางเกี่ยวกับทางเลือก เขาจะพิจารณาข้อดี ข้อ
เสียของแต่ละเรื่อง โดยใช้ความสามารถเฉพาะตัว ค่านิยมของตนเอง และสถานการณ์ที่ตนเอง
กาํ ลงั เผชญิ อย ู่ ประกอบการพิจารณา
2.7.2.3 ความเชื่อพื้นฐานและเป้าหมายของการคิดเป็น
ความเชื่อพื้นฐานของ คิดเป็น มาจากธรรมชาติมนุษย์ที่ว่า สิ่งที่เป็นยอดปรารถนาของคน
เราคือความสุข ซึ่งแต่ละคน แต่ละกลุ่มสามารถทำได้ด้วยการ
1. ปรับตัวเราหรือสังคมให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม
2. ปรับปรุงสังคมสิ่งแวดล้อมให้เข้ากับตัวเรา
3. ปรับปรุงทั้งตัวเราและสังคมสิ่งแวดล้อมทั้งสองด้านให้ประสมกลมกลืนซึ่งกันและกัน
4. หลักสังคมและสิ่งแวดล้อมนั้นเข้าไปสู่สังคมและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับตน
ลักษณะที่จำเป็นสำหรับผู้คิดเป็น คือ การคิดริเริ่มสร้างสรร และรวมทั้งองค์ประกอบอีก
5 ประการคือ
1. การคิดนั้นต้องคิดอย่างสลับซับซ้อน
2. ควรยอมรับสิ่งต่าง ๆ อย่างเต็มที่
3. สามารถคิดได้หลายแง่หลายมุมเพื่อตอบปัญหาที่ว่า สิ่งต่าง ๆ ที่พบเห็นนั้นสามารถ
ดัดแปลงอะไรได้บ้าง
4. ต้องสามารถตัดสินใจได้ดีและถูกต้อง
5. ไม่เคร่งเครียดกับสิ่งหนึ่งสิ่งใดจนเกินไป รู้จักผ่อนคลายความตึงเครียด และสามารถ
ควบคุมตนเองได้ (โกวิทย์ วรพิพัฒน์ 2520 : 29 -33)
ศรีนิวสันต์ (Srinivasan 1975 : 2) กล่าวว่า ความเชื่อพื้นฐานของการคิดเป็น มาจาก
พุทธศาสนาโดยตรง นั้นคือ ชีวิตคือทุกข์ ทุกข์นั้นขจัดได้ แต่ต้องแสวงหาเหตุแห่งทุกข์ และผู้ที่
ต้องการจะขจัดทุกข์สามารถจะทำได้ด้วยการเลือกวิธีทางที่ถูก จะเห็นว่า คิดเป็น นั้นมีส่วนมาจาก
คำสั่งสอนของพระพุทธองค์ เรื่องอริยสัจสี่ ซึ่งสอดคล้องกับการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ หรือ
การแก้ปัญหาตามหลักอริยสัจสี่ คือ คนคิดเป็นจะต้องมีความสามารถดังนี้
1. สามารถเห็นและรู้ปัญหา (ทุกข์)
2. สามารถเห็นสาเหตุหรือที่มาของปัญหานั้น ๆ (สมุทัย)
42
3. สามารถเห็นทางแก้ปัญหา (นิโรธ)
4. สามารถเลือกทางแก้ปัญหาได้เหมาะสมถูกต้อง (มรรค)
5. สามารถทำตามที่คิดไว้ได้สำเร็จ
6. ในกรณีเกิดอุปสรรค ก็สามารถยอมรับความจริงและหาทางอื่นทดแทนหรือปรับปรุง
แก้ไขให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้
2.7.2.4 การคิดเป็น กับการแก้ปัญหา
คิดเป็น เป็นการคิดเพื่อแก้ปัญหา เนื่องจากเป็นการคิดที่มีจุดเริ่มต้นที่ตัว ปัญหา ซึ่งใน
การคิดเพื่อแก้ปัญหานี้ มีนักศึกษาหลายท่านให้ความสนใจศึกษา ดังที่ วูดเวอร์ท (Woodworth)
และมาควิส (Marquis) (อ้างใน สุขุมาน พาสว่าง 2541 : 66) กล่าวว่า “พฤติกรรมการแก้ปัญหา
จะเกิดสถานการณ์ใหม่ขึ้น ซึ่งไม่สามารถหาคำตอบได้ง่าย ๆ ด้วยวิธีประยุกต์มโนทัศน์ และและ
หลักการที่ได้รับมาจากประสบการณ์ในอดีตที่มีต่อสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกัน กล่าวคือ เมื่อใดก็
ตามที่บุคคลพบอุปสรรค หรือมีจุดมุ่งหมายที่จะทำการ เมื่อนั้นก็เกิดปัญหาขึ้นและเริ่มมีการคิด
แก้ปัญหาโดยอาจกล่าวได้ว่า ส่วนประกอบสำคัญของการแก้ปัญหาประกอบด้วย
1. เป้าหมายหรือเครื่องล่อใจ
2. มีการตอบสนองอย่างน้อยหนึ่งวิธีที่จะนำไปสู่ผลสำเร็จในการทำให้สิ่งล่อใจนั้นและ
การแก้ปัญหามีหลายระดับ ดังที่ราล์ฟ (Ralph อ้างใน ศรชัย เลิศไตรภพ 2534: 30) นั้นคือ
1. ระดับการแก้ปัญหาที่ไม่ได้เรียนรู้มาก่อน เป็นระดับของการใช้สัญชาติญาณแก้ปัญหา
ซึ่งใช้มากในสัตว์ชั้นต่ำ และใช้น้อยมากในระดับมนุษย์
2. ระดับของพฤติกรรมที่เป็นนิสัย เป็นพฤติกรรมที่เป็นผลมาจากการกระทำที่ติดเป็น
นิสัย
3 ระดับของการลองผิดลองถูก ที่ระดับที่ใช้กันพอสมควรและประสบความสำเร็จบ้าง แต่
ไม่ค่อยดีนัก ถ้าพิจารณาถึงความเสียเวลาและค่าใช้จ่าย
4. ระดับของพฤติกรรมการแก้ปัญหาแบบหยั่งเห็น วิธีนี้เกี่ยวข้องกับความเข้าใจ ความ
สัมพันธ์ของสถานการณ์อย่างทันทีทันใด
5. ระดับพฤติกรรมการแก้ปัญหาแบบทดแทน เป็นการแก้ปัญหาแบบตัดที่ผิดออก
6. การแก้ปัญหาด้วยวิธีวิทยาศาสตร์.
อุ่นตา นพคุณ และคณะ (2526) ได้ทำการวิจัยเรื่อง คุณลักษณะของประชากรใน
กรุงเทพมหานครตามเป้าหมายทางการศึกษา : สภาพปัจจุบันและแนวโน้ม โดยมีเป้าหมายทาง
การศึกษาเรื่องการคิดเป็นจากประชากรทั้งในและนอกระบบโรงเรียน ผลการวิจัยพบว่า ตัวอย่าง
43
ของประชากรไม่มีความแตกต่างกันเมื่อจำแนกตามระดับชั้น เพศ อายุ การศึกษา และประชากร
นอกระบบโรงเรียนที่มีอาชีพและรายได้แตกต่างกันไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ และพบ
ว่าประชาชนใช้ข้อมูลด้านตนเองสูงกว่ากลุ่มนักเรียนระดับประถมศึกษาและนักศึกษาผู้ใหญ่ นิสิต
นักศึกษาในมหาวิทยาลัยของรัฐบาลและเอกชนใช้ข้อมูลด้านตนเองสูงกว่านักศึกษาในวิทยาลัยครู
วสันต์ ศิลปสุวรรณ และคณะ (2529) ได้ทำการวิจัยเรื่องการคิดเป็นของนักศึกษา
มหาวิทยาลัยมหิดล ปีการศึกษา 2528-2529 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาคณะทัตแพทย์ คณะ
พยาบาลศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ และคณะสาธารณสุขศาสตร์ พบว่านักศึกษาส่วนใหญ่มีลักษณะ
ความคิดที่ใช้ข้อมูลมากกว่า 1 ด้าน ในการตัดสินใจแก้ปัญหาข้อมูลที่ใช้ได้แก่ ข้อมูลด้านตนเอง
และด้านวิชาการ ข้อมูลด้านชุมชนนั้นยังมีน้อย ระดับอาย ุ ชั้นปีที่เรียน เพศ ผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรียน ไม่มีผลต่อการคิดเป็น
ศรชัย เลิศไตรภพ (2535) ได้ทำการวิจัยเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างการคิดเป็นอย่างมี
เหตุผลกับการคิดเป็นของนักศึกษาผู้ใหญ่สายสามัญระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย วิธีเรียนทางไกล
ในจังหวัดนครปฐม พบว่า การคิดอย่างมีเหตุผล 3 ด้าน นักศึกษามีความสามารถสูงสุดในด้าน
การคิดแบบสรุปความ รองลงมาคือ ด้านการจัดเข้าพวก และสุดท้ายคือ แบบอุปมาอุปไมย ส่วน
ในด้านการคิดเป็น พบว่า นักศึกษาที่มีเพศ อายุ และอาชีพต่างกัน มีความสามารถในการคิดเป็น
แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิต ที่ระดับ 0.5 และความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผล
ทั้งในด้านส่วนรวมและในแต่ละด้านมีความสัมพันธ์กับความสามารถในการคิดเป็นอย่างไม่มีนัย
สำคัญทางสถิติ
จะเห็นได้ว่า มนุษย์เรานั้นอยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมและสถานการณ์ที่ปรากฎอันก่อให้เกิด
การคิดเป็น ตัดสินใจกระทำสิ่งต่างๆ ต่อสิ่งแวดล้อมเหล่านั้นอยู่เป็นประจำ และการที่เรามีพฤติ
กรรมหรือมีปฏิกิริยาตอบสนองออกมาเช่นนั้น แสดงให้ทราบว่ามนุษย์ได้เกิดการเรียนรู้จาก
สิ่งรอบๆตัวและเรียนรู้ที่จะปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมและนำสิ่งแวดล้อมเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์
ให้เกิดขึ้นกับตนเองได้อย่างราบรื่น ดังนั้นในสภาพปัจจุบันซึ่งเป็นยุคแห่งข่าวสาร สารสนเทศ ที่มี
ระบบเทคโนโลยีชั้นสูง ซึ่งทุกคนจะปฏิเสธไม่ได้ที่จะต้องมีการเรียนรู้ เพื่อฉลาดรู้ในการดำเนิน
ชีวิตได้อย่างมีความสุขและมีความมั่นคงได้ต่อไปด้วยการนำความรู้เหล่านั้นมาประยุกต์ใช้เป็น
แนวทางในการประกอบอาชีพเสริมเพื่อสร้างรายได้มากขึ้นตามสภาวการณ์ในปัจจุบันได้อย่าง
เหมาะสม
สรุปได้ว่า การเรียนรู้ การติดต่อสื่อสารประชาสัมพันธ์ทำให้เกิดความคิด ในการวิจัยครั้ง
นี้ผู้วิจัยจึงได้นำแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของสัญญา สัญญาวิวัฒน์ ที่ชี้ให้เห็นถึงการรับความคิด
44
ใหม่ก็สามารถผสมผสานกับความคิดเดิมที่ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาตนเอง แนวคิดการรับรู้ของ
จำเนียร ช่วงโชติ เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลง และทฤษฎีกระบวนการสื่อสารของ
โรเจอร์และชูเมเกอร์ ซึ่งเป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดการคิดเป็นซึ่งสัมพันธ์กับแนวคิดของ
อุ่นตา นพคุณ ที่ใช้ศึกษาการคิดและการแก้ไขปัญหา จึงได้นำแนวคิดดังกล่าวมาเป็นกรอบในการ
ศึกษาครั้งนี้
2.8 การมีศาสนธรรม กับ ค่าครองชีพที่สมดุล
การมีศาสนธรรม หมายถึง การนำหลักจริยธรรม และคำสั่งสอนของศาสนาที่เชื่อถือและ
ยึดมั่นมาใช้เป็นเกณฑ์วินิจฉัย ตัดสินการกระสิ่งที่มีคุณค่าของตน และบุคคลอื่นในสังคม
ศาสนาทุกศาสนา ล้วนมีคำสอนให้ทุกคนเป็นคนดี ซึ่งจะทำให้สังคมอยู่ร่วมกันได้อย่าง
สงบสุขร่มเย็น ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาหนึ่งที่สอนในเรื่องของเหตุ และ ผล ทุกสิ่งทุกอย่างในโลก
นี้ไม่ได้เกิดขึ้นเอง หรือเป็นเรื่องบังเอิญ ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนมีเหตุทำให้เกิดทั้งสิ้น
หลักธรรมหรือหลักคำสอนในพระพุทธศาสนามุ่งชี้สภาพปัญหาหรือทุกข์ และหนทางแก้
ไขหรือการพ้นทุกข์ ธรรมสำคัญที่ทรงค้นพบได้แก่ไตรลักษณ์ คือ กฎที่แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงที่
เป็นสากลและความไม่แน่นอนของสรรพสิ่งได้แก่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ปฏิจจสมปบาท คือ กฎ
แสดงธรรมชาติที่ต้องอาศัยกันและกันเกิดขึ้น อริยสัจสี่ คือ ความจริงพื้นฐานที่ทำให้เป็นอริย ได้
แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ซึ่งหลักคำสอนเหล่านี้คือจุดเริ่มต้นในการวิเคราะห์ธรรมชาติของโลก
ชีวิตและการดำรงอยู่ของมนุษย์ โดยปฐมบทแห่งการวิเคราะห์เริ่มจากภายในตัวมนุษย์ผู้มีความ
ต้องการหรือติดยึดจึงเกิดความทุกข์ ความเกลียดความแปลกแยก ความโลภ โกรธ หลง เป็นต้น
ที่เป็นความจริงซึ่งดำรงอยู่ในวิถีชีวิตแล้วโยงความจริงดังกล่าวออกสู่ปัญหาพื้นฐานของโลกภาย
นอก คือปัญหาทางเศรษฐกิจ การเมือง สิ่งแวดล้อม การลดคุณค่ามนุษย์และความเสื่อมทางศีล
ธรรม จริยธรรม เป็นต้น เพื่อชี้ให้มนุษย์ได้เห็นถึงผลที่ดำรงอยู่ของปัญหาเหล่านี้ ซึ่งเกี่ยวพันกัน
จากด้านหนึ่งของธรรมชาติมนุษย์แล้วสำแดงเป็นรูปธรรมภายนอกในรูปปัญหาทางโครงสร้าง
สังคมระดับต่าง ๆ เพื่อมนุษย์จะได้ตระหนักถึง ปัญหาของตนเอง จากด้านที่เป็นส่วนตัวสู่ด้านที่
เป็นส่วนรวม และมีบูรณาการแห่งคุณค่าทั้งหลายดำรงอยู่ในตัวมนุษย์ในสัมพันธภาพระหว่าง
มนุษย์กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ( สุนทราภรณ์ เตชะพะโลกุล 2534 : 24-25)
45
2.8.1 แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับคุณค่าทางจริยธรรม
พระพุทธศาสนามีหลักธรรมที่แสดงทัศนะต่อสิ่งรอบกายในด้านที่ให้มนุษย์มีจิตใจและ
การกระทำประสานสอดคล้องกับสิ่งแวดล้อม เพราะพระพุทธศาสนาเถรวาทถือว่าจิตใจเป็นสิ่งที่
สำคัญยิ่ง ระบบจริยธรรมจึงต้องประสานต่อเนื่องกันโดยตลอดทั้งด้านจิตใจและความประพฤติ
ทางกาย (ในภายนอก) และถือว่าจิตใจเป็นจุดเริ่มต้น เมื่อมนุษย์มีจิตใจและทัศนคติที่เป็นมิตรกับ
ต่าง ๆ รอบกาย รวมถึงความพยายามลดโลภะ โทสะ และเมื่อโมหะลดลงย่อมทำให้มนุษย์มีความ
คิดเข้าใจตามสภาพความเป็นจริงที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตที่กลมกลืนกับสิ่งแวดล้อม สังคม วัฒนธรรม
และดำเนินชีวิตอยู่ในหลักมัชฌิมมาปฏิปทา ซึ่งเริ่มต้นด้วย
1. สัมมาทิฐิ (เห็นชอบ) คือ มีความเห็นที่ถูกต้องต่อสิ่งต่าง ๆ เช่น แนวคิดที่ให้มนุษย์
ยอมรับสิ่งทั้งปวงว่าตกอยู่ในกฎความไม่เที่ยงแท้ ความเปลี่ยนแปลงและความไม่มีตัวตนเช่น
เดียวกัน จึงไม่ควรเบียดเบียนและทำลายล้างกัน
2. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ) เมื่อมนุษย์มีความเห็นชอบในเบื้องต้นแล้วย่อมจะทำให้มี
ความดำริชอบ ดังเช่นคิดค้นหาสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นในโลกปัจจุบันและคิดหาทางปัองกัน
ปัญหาที่จะเกิดในอนาคต ตลอดจนการมีความคิดริเริ่มปรับปรุงแก้ไขและร่วมมือกัน
3. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) คือการเรียนรู้ข้อมูลข่าวสาร ติดต่อพูดคุยที่เกิดประโยชน์ต่อ
ตนเองและส่วนรวม การให้คำแนะนำในเชิงสร้างสรรค์ รวมถึงการให้เหตุและผลเพื่อให้เกิดความ
เข้าใจที่ถูกต้องในสังคมด้วย
4. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ) นอกจากการมีความเห็นที่ชอบ การดำริชอบ และเจรจา
ชอบแล้ว การกระทำในสิ่งที่ชอบกล่าวไว้ว่ามีความสำคัญต่อการดำรงอยู่ของสิ่งต่าง ๆ เช่นกัน
เพราะเมื่อมนุษย์งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ การขโมยทรัพย์ของผู้อื่น ความสงบสุขจึงได้เกิดขึ้นใน
หมู่ชนนั้น
5. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) สามารถนำมาประยุกต์ใช้เกี่ยวกับเรื่องของสิ่งแวดล้อม
ในแง่ที่ว่ามนุษย์ต้องไม่ยินยอมประกอบอาชีพที่จะส่งเสริมการเบียดเบียนบุคคลอื่นให้เกิดความ
เดือดร้อน
6. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ ) ในสภาวะปัจจุบันการดำรงชีวิตให้มีความสงบสุข
ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่ปรับเปลี่ยนไปทุกวัน ซึ่งล้วนแต่มีสิ่งกระตุ้นให้มนุษย์ได้ละเลยหน้าที่ที่ถูก
ต้องต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม บางครั้งก็มีการแสวงหาสิ่งมิชอบ หรือหนทางที่ไม่สมควร
เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ของตนเอง ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้ความพยายามอดกลั้น
ต่อสิ่งล่อตาล่อใจที่นำไปสู่หนทางที่ไม่เจริญ
7. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) มนุษย์ต้องใช้สติคือความระลึกในทางที่ชอบในทุกเรื่องเพื่อให้
เกิดการยั้งคิด โดยเฉพาะเรื่องของการประพฤติปฏิบัติในการทำความดี ยับยั้ง ละ ลด เลิกสิ่งที่ไม่
ดีทั้งปวงเพื่อไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่ดสรรพสิ่งทั้งหลายในโลกนี้
46
8. สัมมาสมาธิ (จิตตั้งมั่นชอบ) ด้วยการมีจิตใจที่แน่วแน่มั่นคงในทางที่ถูกต้องจะทำให้
การคิดและการกระทำที่จะแก้ไขปัญหาต่าง ๆ บรรลุเป้าหมายได้ รวมทั้งปัญหาเศรษฐกิจสังคมที่
กำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบันนี้ หากมนุษย์มีความตั้งใจหรือมีจิตใจที่มั่นคงในการแก้ไขในแนวทางที่
ถูกต้องแล้วย่อมจะทำให้มนุษย์ทุกคนสามารถหลุดพ้นจากวิกฤตการณ์ในปัจจุบันนี้ได้
(ประยูร ธมมจิตโต 2532 : 6)
2.8.2 มาตรฐานจริยธรรมไทย
ในปี พ.ศ. 2523 กรมวิชาการ (2524 : 24) ได้เริ่มจัดตั้งโครงการ “การศึกษาจริยธรรม
ไทย” ขึ้น โดยได้ให้คำนิยามหรือความหมายของจริยธรรม คือ แนวทางประพฤติดี ทั้งกาย วาจา
และใจ เพื่อประโยชน์ต่อตนเอง ผู้อื่น และสังคม เพื่อดำเนินการ ศึกษาและพัฒนาจริยธรรมอย่าง
มีระบบระเบียบและต่อเนื่องจริงจัง คณะกรรมการโครงการศึกษาจริยธรรมไทย โดยมีฝ่ายวิจัย
ทดลองนวตกรรมทางการศึกษา กองวิจัยทางการศึกษา กรมวิชาการ เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ
เพื่อหาคำตอบก่อนการพัฒนาจริยธรรมของประชากร คือ
1. สังคมไทยให้การยอมรับและมีความต้องการมาตรฐานของจริยธรรมอย่างไร
2. จริยธรรมด้านใดบ้างที่ควรเร่งรีบปลูกฝัง เป็นจริยธรรมหลักตามสภาพของสังคมไทย
ในปัจจุบัน
3. จริยธรรมที่ต้องการแต่ละด้านนั้นจะกำหนดพฤติกรรมบ่งชี้ เพื่อใช้สื่อความหมายให้
เข้าใจตรงกัน และเพื่อให้สามารถตรวจสอบวัดได้
4. แนววิธีการวัดและประเมินจริยธรรมในส่วนที่เป็นค่านิยม และพฤติกรรมภายนอก
อย่างไร
5. ปัจจุบันประชากรกลุ่มต่าง ๆ ในสังคมมีคุณสมบัติทางจริยธรรมเด่น – ด้อยในด้านใด
อะไรเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลเกี่ยวข้องกับคุณสมบัติจริยธรรมเหล่านั้น
6. ควรมีรูปแบบการสอนเสริมสร้างจริยธรรมแก่เยาวชนอย่างไร จึงจะมีประสิทธิภาพและ
ได้ผลดี
โดยทั่วไปจริยธรรมประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
1. ค่านิยมจริยธรรม เป็นส่วนที่เป็นลักษณะจิต ที่สังเกตเห็นไม่ได้โดยตรง มีลักษณะเป็น
ความเชื่อ ความเห็นคุณค่า ความพอใจ เต็มใจปรารถนาที่จะยึดถือนำหลักจริยธรรมต่าง ๆ เข้าไว้
ในลักษณะนิสัยและบุคลิกภาพของตนเอง ค่านิยมนี้จะมีอิทธิพลเป็นแรงจูงใจให้บุคคลมีความโน้ม
เอียงที่จะประพฤติปฏิบัติถูกต้อง ดีงาม สอดคล้องกับค่านิยมที่ตนเองยึดถือ ซึ่งแสดงออกใน
ลักษณะพิธีกรรมทางศาสนา เป็นการแสดงความเชื่อเพื่อแสดงความเคารพและอ้อนวอนต่อเทพ
47
เจ้า หรือเป็นประเพณีและเป็นที่ยอมรับของชุมชนว่าถูกต้อง เหมาะสม ถ้าหากบุคคลใดประพฤติ
ไม่ถูกต้องเหมาะสม ถือว่าเป็นผู้ทำผิดประเพณีของชุมชน จะถูกมองว่ากระทำผิดศีลธรรม
2. พฤติกรรมจริยธรรม เป็นส่วนที่เป็นมาตรฐานของความประพฤติปฏิบัติที่สังคม
ต้องการ การกระทำใด ๆ ของบุคคล ถ้าสอดคล้องกับมาตรฐานของการประพฤติถูกต้องดีงาม ก็
จัดว่าบุคคลนั้นมีพฤติกรรมจริยธรรม หรือมีจริยธรรม
การแบ่งระดับพัฒนาการทางจริยธรรม ตามลักษณะโครงสร้างของวัฒนธรรมในสังคม
ไทย จากผลการประชุมทางวิชาการเกี่ยวกับจริยธรรมไทยได้มีความเห็นสอดคล้องกันที่จะกำหนด
ระดับสูงต่ำของค่านิยมจริยธรรม ตามเกณฑ์แบ่งระดับจริยธรรมของ โคลเบิร์ก (Kolhberg 1976
: 406) ไว้ดังนี้
ระดับ 1 พฤติกรรมทางจริยธรรมที่ยึดหลักการได้รับผลประโยชน์บางประการของตนเอง
เป็นใหญ่
ระดับ 2 พฤติกรรมทางจริยธรรมที่ยึดหลักการให้ผู้อื่นในสังคมแคบ ๆ ได้รับผล
ประโยชน์ เช่น เพื่อญาติ พี่น้อง เพื่อนสนิท
ระดับ 3 พฤติกรรมทางจริยธรรมที่ยึดหลักการเพื่อผลประโยชน์ของสังคมส่วนใหญ่ เช่น
ชุมชน ประเทศชาติ
ระดับ 4 พฤติกรรมทางจริยธรรมที่ยึดหลักการเพื่อความถูกต้องดีงาม อันเป็นอุดมคติ
หรืออุดมการณ์ในจิตใจ ทำความดีเพื่อความดี
2.8.3 จริยธรรมสำคัญที่ควรปลูกฝังในสังคมไทย
1. การใฝ่สัจจะหรือใฝ่สัจธรรม เป็นพฤติกรรมทางจริยธรรมเกี่ยวกับการยึดถือความจริง
ยอมรับความจริง เชื่อหรือศรัทธาในสิ่งที่มีเหตุผล เชื่อหรือศรัทธาในสิ่งที่มีหลักฐานข้อมูลรองรับที่
สามารถพิสูจน์ตรวจสอบได้ นิยมการแสวงหาความรู้ ความจริง
2. การใช้ปัญญาในการแก้ปัญหา เป็นพฤติกรรมทางจริยธรรมเกี่ยวกับการใช้กระบวนการ
ค้นหาความร ู้ ความจริง หรือทางออกอย่างมีเหตุผลเหมาะสม เพื่อแก้ปัญหา หรือขจัดอุปสรรคข้อ
ยุ่งยากต่าง ๆ ที่เผชิญอยู่ จัดเป็นค่านิยมที่สอดคล้องกับการใช้กระบวนการตามวิธีวิทยาศาสตร์
หรืออริยสัจ 4
3. ความเมตตา – กรุณา เป็นพฤติกรรมทางจริยธรรมเกี่ยวกับการเสียสละสิ่งของ กำลัง
กาย ความคิด หรือผลประโยชน์ส่วนตนให้กับผู้อื่น กล่าววาจาเหมาะสม ประพฤติที่เป็นประโยชน์
และแสดงความเป็นมิตรแท้
48
4. สติ - สัมปชัญยะ เป็นพฤติกรรมทางจริยธรรมที่เกี่ยวกับการระลึกตัวเสมอว่าตนกำลัง
กระทำสิ่งใด มีความพร้อมและตื่นตัวในการรับรู้จากสิ่งแวดล้อมอย่างฉับไวกระตุ้นเตือนตนเอง
ให้ตัดสินใจประพฤติปฏิบัติในสถานการณ์ เฉพาะหน้าอย่างรอบคอบและระมัดระวัง
5. ไม่ประมาท เป็นพฤติกรรมทางจริยธรรมที่เกี่ยวกับการมีการวางแผน มีการเตรียม
พร้อม มีการคาดการณ์ได้ถูกต้อง คือผลที่ตามมาของการกระทำ หรือการประพฤติปฏิบัติใด ๆ
ของตนเอง ทำให้เกิดการยับยั้งชั่งใจ ควบคุมตนเอง หรือควบคุมสถานการณ์ต่าง ๆ
6. ความซื่อสัตย์สุจริต เป็นพฤติกรรมทางจริยธรรมที่เกี่ยวกับการประพฤติปฏิบัติตรงต่อ
ความจริง และความถูกต้องดีงาม เช่น ตรงต่อหน้าที่ความรับผิดชอบ ตรงตามระเบียบแบบแผน
และกฎเกณฑ์ ตรงต่อคำมั่นสัญญา
7. ความขยันหมั่นเพียร เป็นพฤติกรรมทางจริยธรรมที่เกี่ยวกับการมีความพอใจในหน้าที่
การงานของตน มีใจจดจ่อกับงาน มีความเพียรพยายาม มีการไตร่ตรองปรับปรุงงาน สามารถ
ควบคุมตนเองปฏิบัติงานให้บรรลุสำเร็จครบถ้วน
8. หิริ – โอตัปปะ เป็นพฤติกรรมทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับความอาย เกรงกลัว ไม่
ปรารถนาต่อการประพฤติชั่ว หรือสิ่งที่ผิดไปจากศีลธรรมและมาตรฐานความดีงามของสังคมทุก
ชนิด จะประเมินการกระทำของตนเองเสมอ และเลือกประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่ถูกต้อง ดีงาม
สุริยา เหมตะศิลป์ (2521) ได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างจริยธรรมกับสติปัญญา และ
การยอมรับตนเองของเด็กวัยรุ่น ผลการศึกษาพบว่า การให้เหตุผลเชิงจริยธรรมกับสติปัญญาและ
การยอมรับตนเองมีความสัมพันธ์กันในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่เมื่อหาความสัมพันธ์
กันเป็นคู่ ๆ พบว่า การให้เหตุผลเชิงจริยธรรมกับสติปัญญาไม่สัมพันธ์กัน
พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย ์ และคณะ (2527 : 196 – 201) ได้ศึกษาจริยธรรมของชาว
กรุงเทพในปัจจุบัน มีจุดมุ่งหมายเพื่อสำรวจความรู้ความเข้าใจทางจริยธรรม พบว่าพฤติกรรมจริย
ธรรมต่อตนเองมีศักยภาพสูงสุด
ฮาน และคนอื่น ๆ (Haan and others อ้างใน ประเสริฐ พานิชยกุล 2534 : 29) ได้
ศึกษาพฤติกรรมของนิสิตที่เข้าร่วมขบวนการเรียกร้องทางสังคมและการเมืองซึ่งมีระดับจริยธรรม
ต่างกัน พบว่า นิสิตที่มีจริยธรรมเหนือกฎเกณฑ์เข้าร่วมขบวนการเรียกร้องทางการเมืองถึง 80%
ส่วนผู้มี จริยธรรมตามกฎเกณฑ์ จะเข้าร่วมขบวนการเรียกร้องทางการเมืองเพียง 10% เท่านั้น
ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ผู้มีเหตุผลเชิงจริยธรรมสูงมักนึกถึงผลประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าผู้มีเหตุผล
เชิงจริยธรรมต่ำ
49
ดวงเดือน พันธุมนาวิน และเพ็ญแข ประจนปัจจนึก (2538) ยืนยันว่า เหตุผลเชิงจริย
ธรรมมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเชิงจริยธรรม และสามารถทำนายพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของ
บุคคลได้ การวิจัยพบว่า คนที่มีเหตุผลเชิงจริยธรรมสูงจะมีพฤติกรรมเชิงจริยธรรมอันแสดงถึง
ความมีจริยธรรมสูงมากกว่าผู้ที่มีเหตุผลเชิงจริยธรรมต่ำอย่างเชื่อมั่นได้ และจิตลักษณะอื่น ร่วม
กับเหตุผลเชิงจริยธรรม จะทำนายพฤติกรรมได้แม่นยำขึ้น
เครบส์ (Krebs อ้างใน สุขุมาน พาสว่าง 2541) ได้ศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติ
กรรมการโกงกับจิตลักษณะของบุคคล ซึ่งประกอบด้วยการให้เหตุผลเชิงจริยธรรมและพลังอีโก้
พบว่า ระดับสติปัญญาและพลังอีโก้ ร่วมกันมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการโกงของผู้ถูกศึกษา
และผลงานวิจัยของ ดวงเดือน พันธุมนาวิน (2524) พบว่า ลักษณะมุ่งอนาคตร่วมกับการให้เหตุ
ผลเชิงจริยธรรมสามารถทำนายพฤติกรรมการโกง หรือไม่โกงในการเล่นเกมส์ของวัยรุ่นได้ดีกว่า
จิตลักษณะใดเพียงอย่างเดียว
เนื่องจากจริยธรรม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหลักธรรมของพุทธศาสนา ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญหนึ่งที่
บุคคลใช้ในการตัดสินใจประพฤติในชีวิตประจำวัน จากแนวคิดและผลการวิจัยที่ได้กล่าวมาจึง
อนุมานได้ว่า หลักศาสนธรรมและจริยธรรมที่สังคมไทยมีความตระหนักและพยายามสนับสนุนส่ง
เสริม และพัฒนาให้เกิดขึ้นนั้น คือ สิ่งจำเป็นพื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนในสังคมต้องยึดถือให้การยอม
รับเชื่อมั่นและนำไปปฏิบัติทั้งนี้เพื่อประโยชน์ที่จะเกิดแก่ตน ครอบครัว และส่วนรวม โดยเฉพาะ
เรื่องของการเพียรพยายามในการประกอบอาชีพที่สุจริต อันนำมาซึ่งความความอุดมสมบูรณ์ของ
ค่าครองชีพของผู้ที่ได้ปฏิบัติเช่นนั้น
2.8.3 หลักความสันโดษ
สันโดษ ความหมาย ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสภา (2525) หมายถึง ความยินดี
หรือพอใจเท่าที่ตนมีอยู่ หรือไม่มีอยู่
ความพอใจเท่าที่ตนมีอยู่จึงมีความสัมพันธ์กับการดำรงชีวิตประจำวันของบุคคล โดย
เฉพาะเจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งมีจรรยาบรรณในการปฏิบัติหน้าที่ซึ่งต้องมีความโปร่งใส สุจริต รวดเร็ว
ความเสมอภาคและความเที่ยงธรรมอย่างแท้จริง การปฏิบัติงานจึงต้องปฏิบัติอย่างถูกต้อง ด้วย
ความวิริยะ อุตสาหะ เสียสละ และอดทน เพื่อประโยชน์แห่งการอำนวยความยุติธรรม มีมนุษย
สัมพันธ์ที่ดี ด้วยความสุภาพอ่อนโยน มีไมตรีจิต และเต็มใจบริการประชาชน พึงสำนึกและยึดมั่น
ในวิชาชีพ มีความภาคภูมิใจในศักดิ์ศรีและวิชาชีพของตนเอง (ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ว่าด้วย จรรยาบรรณของพนักงานสอบสวน พ.ศ.2544 ลงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ.2544
50
สัญญา สัญญาวิวัฒน์ (2541: 26-28) เกี่ยวกับความสำเร็จในชีวิต ที่กล่าวถึงคำว่า
“พอ” ไว้ว่า ทุกวันนี้คนจำนวนมากไม่รู้จักคำว่า “พอ” เขาต่างแสวงหาเงินทองชื่อเสียง เกียรติ
คุณ ตำแหน่งหน้าที่การงานอยากจะรวยยิ่งขึ้น อยากจะดังยิ่งขึ้น อยากจะใหญ่ยิ่งขึ้นตามมาตรฐาน
ที่สร้างกันขึ้นมาวัด ตามความนิยมที่ยึดถือกันแพร่หลายต้องดิ้นรนแสวงหา ในขณะที่ความพอทำ
ให้เกิดความงาม ความรวย ความใหญ่และความดังในตัวของมันเอง เพราะคนที่รู้จักพอรู้สึกพอไม่
ว่าเขาจะมีเงินอยู่เท่าไร มีรายได้อยู่ขนาดไหน เขาก็รวยเพราะในความรู้สึกของเขา เงินแค่นั้นเต็ม
หรือเกือบเต็มตามความต้องการของเขาแล้ว เขาไม่ต้องการอีกแล้วหรือต้องการอีกนิดเดียวจึงไม่
จำเป็นต้องรีบร้อนทุรนทุรายไขว่หา
แนวคิดเกี่ยวกับศาสนา เป็นแนวคิดให้เห็นหลักพระพุทธศาสนามีหลักธรรมที่แสดงทัศนะ
ต่อสิ่งรอบกายในด้านที่ให้มนุษย์มีจิตใจและการกระทำประสานสอดคล้องกับสิ่งแวดล้อม เพราะ
พระพุทธศาสนาเถรวาทถือว่าจิตใจเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง ระบบจริยธรรมจึงต้องประสานต่อเนื่องกัน
โดยตลอดทั้งด้านจิตใจและความประพฤติทางกาย (ในภายนอก) และถือว่าจิตใจเป็นจุดเริ่มต้น
เมื่อมนุษย์มีจิตใจและทัศนคติที่เป็นมิตรกับต่าง ๆ รอบกาย รวมถึงความพยายามลดโลภะ โทสะ
และเมื่อโมหะลดลงย่อมทำให้มนุษย์มีความคิดเข้าใจตามสภาพความเป็นจริงที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตที่
กลมกลืนกับสิ่งแวดล้อม สังคม วัฒนธรรม และดำเนินชีวิตอยู่ในหลักมัชฌิมมาปฏิปทา ทำให้
บุคคลมีพฤติกรรมเชิงจริยธรรมในการดำรงชีวิต รู้จักมีความสันโดษและมีความพอต่อการดำรง
ชีวิตละเว้นจากการคดโกงมีดิ้นรนไขว่หา ไม่สามารถหาความสุขสงบได้ ผู้วิจัยจึงใช้แนวคิด
ของเครบส์ ซึ่งเป็นแนวคิดความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมกับจิตลักษณะของบุคคล แนวคิด
ด้านจริยธรรมของดวงเดือน พันธุมนาวิน และเพ็ญแข ประจนปัจจนึก แนวคิดเกี่ยวกับความพอที่
อธิบายถึงความสันโดษในการดำรงชีวิต ของสัญญา สัญญาวิวัฒน์ มาใช้เป็นกรอบในการศึกษาค่า
ครองชีพที่สมดุลของตำรวจ
แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่ได้นำเสนอมาทั้งหมดนั้นแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของ
ปัจจัยเหตุหรือตัวแปรอิสระ และผลหรือตัวแปรตามว่ามีความสัมพันธ์กันเช่นไร โดยในส่วนของ
ปัจจัยเหตุทั้ง 7 ด้าน ซึ่งกำหนดขึ้นจาก ทฤษฎีองค์กร ของ Norbert Wiener (อ้างใน สมยศ
นาวีการ 2522 ) ทฤษฎีแรงจูงใจของมาสโลว์ (Maslow,1960) แนวคิดการพึ่งตนเอง สุเมธ
ตันติเวชกุล (2541) วิบูลย์ เข็มเฉลิม (2532) เสรี พงศ์พิศ (2536) ยุวัฒน์ วุฒิเมธี (2534)
แนวคิดการดำรงชีวิตแบบพอเพียง ประเวศ วะสี (2541) ฉัตรทิพย์ นาถสุภา (2541) แนวคิด
ด้านสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัว ของ ฟรายด์แมน (Friedman, 1981) มอร์โรว์ และ วิลสัน
(Morrow and Wilson ,1961) แนวคิดความพึงพอใจในชีวิต ตามทัศนะของ โรล์แมน
(Wolman, 1973 และ แคมป์เบล (Campbell ,1976) แนวคิดเรื่ององค์การเรียนรู้ ของ สัญญา
สัญญาวิวัฒน์ (2544) ทฤษฎีกระบวนการติดต่อสื่อสาร ของ โรเจอร์ และ ซูเมคเกอร์ (Roger an
51
Shoemaker, 1973) แนวคิดเกี่ยวกับการคิดเป็น ของ อุ่นตา นพคุณ (2528) การมีหลักศาสน
ธรรม ของ สุนทราภรณ์ เตชะพะโลกุล (2534) มาตรฐานจริยธรรมไทย (2524) และ หลักความ
สันโดษ ของ สัญญา สัญญาวิวัฒน์ (2541) เป็นทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับตัวแปรอิสระ ได้แก่ สถาน
ภาพการสมรส รายได้ ฐานะทางครอบครัว ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์และเอื้ออำนวยให้การ
ปฏิบัติหน้าที่มีประสิทธิภาพ ความภาคภูมิใจในอาชีพ การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การได้รับ
การยอมรับ ความมั่นคงในหน้าที่การงาน การมีจิตสำนึกหรือมีความตระหนักดำเนินชีวิตอย่างสาย
กลาง มีความเพียงพอทั้งทางด้านวัตถุและจิตใจ ความผูกพันรักใคร่ ความปรารถนาดีที่มีต่อกัน
ภายในครอบครัว การเรียนรู้ตลอดชีวิที่เกิดขึ้นกับตนเองตลอดเวลา และสามารถนำมาปรับใช้
เพื่อสร้างประโยชน์ให้เกิดต่อตนเองและครอบครัว เป็นปัจจัยเหตุที่ก่อให้เกิดการมีค่าครองชีพที่
สมดุล ในส่วนของตัวแปรตาม หรือ ผล ผู้วิจัยได้ศึกษาและกำหนดขึ้นมาจากพระราชดำรัสของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงที่ว่าด้วย การมีค่าครองชีพที่สมดุลภายใต้จิต
วิญญาณและภูมิปัญญาตามวิถีและวัฒนธรรมพื้นฐานของสังคมไทย ที่สามารถพึ่งพาตนเองได้
ด้วยการรู้จักปรับตัวเองให้เข้ากับสถานการณ์และให้สอดคล้องเหมาะสมกับบุคคลนั้น ๆ โดยให้มี
ความสมดุลระหว่าง การป้องกันความเสี่ยง หรือการสร้างภูมิคุ้มกัน และการพึ่งตนเอง และพึ่งพา
ซึ่งกันและกันเพื่อช่วยในการสร้างพลัง และหลีกเลี่ยงการเอารัดเอาเปรียบ ยึดมั่นในการทำความดี
นำหลักพุทธศาสนาเป็นแกนกลางในการปฏิบัติ สิ่งทั้งหลายเหล่านี้จะนำไปสู่ความมั่นคงทั้งด้าน
เศรษฐกิจ สังคมของปัจเจกชน ชุมชน และสังคม ของตนเองและประเทศชาติให้มีแต่ความสงบสุข
ร่มเย็นและเจริญก้าวหน้าตลอดไป สามารถนำมาใช้เป็นตัวชี้วัดการมีค่าครองชีพที่สมดุลของข้า
ราชการตำรวจได้ อันได้แก่ การมีค่าครองชีพที่สมดุล อันได้แก่ การมีรายรับที่มีความเหมาะสม
เพียงพอในการใช้จ่าย หรือการมีรายจ่ายอยู่ในระดับต่ำและเพียงพอต่อการใช้จ่ายในครอบครัว มี
เหลือเก็บ ครอบครัวไม่มีความเดือดร้อนในค่าครองชีพ ส่งผลให้มีความเพียงพอทั้งทางร่างกาย
จากหัวข้อการวิจัยเรื่องค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน สถานีตำรวจ
ในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8 จะเห็นได้ว่าสถานภาพส่วนตัวที่ดีของตำรวจ สภาพการงานที่ดี
การพึ่งตนเอง การดำรงชีวิตแบบพอเพียง ความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว การเรียนรู้เพื่อชีวิต การ
มีศาสนธรรม เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความสมดุลทางด้านเศรษฐกิจซึ่งสอดคล้องกับแนวพระราช-
ดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงที่ชี้ให้เห็นว่าความพอเพียงเกิด
จากความพอประมาณและความมีเหตุผลที่เหมาะกับตนเองและสิ่งแวดล้อมภายนอก ทั้งด้าน
ทรัพยากรท้องถิ่น ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม การยึดมั่นในหลักของการพึ่งตนเอง ไม่
เบียดเบียนผู้อื่น มีความสันโดษ ทำให้บุคคลที่นำมายึดถือและปฏิบัติสามารถมีวิถีชีวิตและ
เศรษฐกิจของตนเอง ครอบครัว มีความสมดุล
52
ปัจจัยต่าง ๆ ที่กล่าวมานี้จึงนำไปตั้งเป็นสมมติฐานว่าเป็นจริงหรือไม่ โดยนำไปตั้งเป็น
สมมติฐานอยู่ภายใต้แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับทฤษฎีองค์การ ทฤษฎีแรงจูงใจ แนวคิดการพึ่งตนเอง
การดำรงชีวิตอย่างพอเพียง ความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว และทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อชีวิต และ
แนวคิดการมีศาสนธรรม จากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องับปัจจัยเหตุทั้งหลายเหล่านี้มาวิเคราะห์และ
สังเคราะห์ร่วมกับหลักฐานเชิงประจักษ์พัฒนาตัวชี้วัดเพื่อใช้ในการตอบปัญหาค่าครองชีพที่สมดุล
ของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน สถานีตำรวจในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8 ในการวิจัย
ครั้งนี้
บทที่ 3
วิธีดำเนินการวิจัย
ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยได้ศึกษารวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง
หนังสือ งานวิจัย เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาแบบสอบถาม สำหรับเป็นเครื่องมือในการเก็บ
รวบรวมข้อมูล โดยมีรายละเอียดดังนี้
3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
3.1.1 ประชากร ในการวิจัยครั้งนี้ประชากรที่นำมาศึกษาเป็นข้าราชการตำรวจระดับชั้น
ประทวนที่ปฏิบัติหน้าที่ที่สถานีตำรวจในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8 ซึ่งมีทั้งสิ้น 11 สถานี
ตำรวจโดยมีรายละเอียดดังตารางที่ 1 ต่อไปนี้ โดยกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบตามสาย
งานที่มีอยู่เพื่อให้ครอบคลุมได้แก่ เจ้าหน้าที่ฝ่ายธุรการ เจ้าหน้าที่ฝ่ายป้องกันและปราบปราม เจ้า
หน้าที่ฝ่ายสืบสวน เจ้าหน้าที่ฝ่ายสอบสวน และเจ้าหน้าที่ฝ่ายจราจร
ตารางที่ 1 แสดงสถานภาพกำลังพลชั้นประทวน-พลตำรวจสถานีตำรวจในกองบังคับการ
ตำรวจนครบาล 8 (ข้อมูล ณ เดือน ตุลาคม 2545)
ป้องกัน
ปราบปราม
สถานีตำรวจ ธุรการ สืบสวน จราจร
สตร. อื่น ๆ ทนท.
สส.
ทนท.
ธร.
สอบสวน
ทนท.
จร.
ทนท.
ธร.
รวม
1.บางยี่เรือ 4 36 5 8 1 10 26 0 90
2.ตลาดพลู 6 43 8 8 1 12 19 2 99
3.บุปผาราม 11 52 8 9 1 17 52 2 152
4.บุคคโล 7 64 5 8 1 17 47 1 150
5.สำเหร่ 8 37 7 8 1 17 28 1 107
6.สมเด็จเจ้าพระยา 8 49 5 9 0 13 25 2 111
7.ราษฎร์บูรณะ 8 86 7 9 1 12 51 1 175
8.บางมด 7 61 4 10 1 15 30 0 131
9.ทุ่งครุ 6 33 5 4 0 10 12 1 71
10.ปากคลองสาน 6 19 2 4 0 6 8 1 46
11.บางคอแหลม 4 14 8 4 0 9 0 0 39
รวม 75 494 64 81 7 138 298 11 1171
ที่มา : กองบังคับการตำรวจนครบาล 8 งาน 2
54
3.1.2 กลุ่มตัวอย่าง
การเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีเจาะจง (Purposive Random) ตามสายงานภาระหน้าที่ที่ต้อง
รับผิดชอบ ทั้งหมด 5 แผนก ได้แก่ ธุรการ ป้องกันและปราบปราม สืบสวน สอบสวน และจราจร
จากสถานีตำรวจในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8 ทั้งหมด11 สถานีตำรวจซึ่งมีตำแหน่งที่ตั้ง
อยู่ในเขตธน ซึ่งมีตำรวจชั้นประทวนทั้งสิ้น 1,171 คน
ในการเลือกขนาดของกลุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยได้ใช้เกณฑ์ ร้อยละ 15 ของจำนวนประชากร
ในแต่ละสถานีตำรวจ ซึ่งเป็นเกณฑ์ต่ำสุดตามหลักเกณฑ์การคำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่างของ
บุญชม ศรีสะอาด (2543 : 37-42) มีหลักการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างดังนี้
จำนวนประชากรที่มีเป็นหลักร้อยใช้วิธีการคำนวณจากสัดส่วนของประชากรด้วยเกณฑ์
ร้อยละ 15-30 จำนวนประชากรที่มีเป็นหลักพันใช้วิธีการคำนวณจากสัดส่วนของประชากรด้วย
เกณฑ์ร้อยละ 10-15 จำนวนประชากรที่มีเป็นหลักหมื่นใช้วิธีการคำนวณจากสัดส่วนของประชากร
ด้วยเกณฑ์ ร้อยละ 5-10
จากแนวความคิดดังกล่าว ผู้วิจัยได้นำมาพิจารณาขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากจำนวนกำลัง
พลของสถานีตำรวจที่ทำการศึกษา รายละเอียดดังแสดงไว้ในตารางที่ 2 ดังนี้
ตารางที่ 2 แสดงจำนวนประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ตำรวจชั้นประทวน-พลตำรวจ
สถานีตำรวจในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8
กาํ ลังพลชั้นประทวน-พลตำรวจ จำนวน
สถานีตำรวนในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8
ประชากร ตัวอย่าง
1.บางยี่เรือ 90 15
2.ตลาดพลู 99 15
3.บุปผาราม 152 25
4.บุคคโล 150 25
5.สำเหร่ 107 20
6.สมเด็จเจ้าพระยา 111 20
7.ราษฎร์บูรณะ 175 30
8.บางมด 131 20
9.ทุ่งครุ 71 15
10.ปากคลองสาน 46 15
55
11.บางคอแหลม 39 15
รวม 1,171 215
3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถาม ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นโดยมีขั้นตอนดังนี้
1.ศึกษาเอกสารและงานวิจัยในส่วนที่เกี่ยวข้องกับตัวแปรต้น หรือปัจจัยเหตุที่มีความ
สัมพันธ์กับการมีค่าครองชีพที่สมดุล และงานวิจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.สร้างข้อคำถามให้ครอบคลุมรายละเอียดของปัจจัยแต่ละด้านที่มีความสัมพันธ์กับการมี
ค่าครองชีพที่สมดุลของตำรวจชั้นประทวนสถานีตำรวจในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8 จัดทำ
แบบสอบถามให้สอดคล้องเหมาะสมและสามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือการวิจัยได้อย่างมีประสิทธิ
ภาพ พร้อมกับนำแบบสอบถามฉบับนี้ไปหาคุณภาพ โดยได้กำหนดการวัดและเกณฑ์การให้
คะแนนมีรายละเอียดของส่วนต่างๆ ดังนี้
ส่วนที่ 1 คำถามเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคล มีลักษณะเป็นแบบสอบถามแบบปลายปิด และ
ให้เลือกตอบข้อเดียว ใช้เป็นเกณฑ์การให้คะแนน ประกอบด้วยคำถาม ข้อ ได้แก่ อายุราชการ
อายุ สถานภาพการสมรส บุตรหรือบุคคลในครอบครัวที่ต้องรับภาระดูแล ฐานะของครอบครัว
การบริโภค และการมีหนี้สิน
ส่วนที่ 2 คำถามเกี่ยวกับความคิดเห็นใช้วัดความคิดเห็นจากปัจจัยภายนอก เป็นแบบสอบ
ถามแบบประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ มีระดับการวัดแบบประเภทช่วง (Interval Scale)
จำนวน 50 ข้อ มีรายละเอียดและเกณฑ์การให้คะแนนดังนี้
เกณฑ์การให้คะแนนของแบบสอบถามในส่วนนี้แบ่งออกเป็น 5 ระดับ ดังนี้
คะแนน
ความคิดเห็น คำถามเชิงบวก คำถามเชิงลบ
ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง 1 5
ไม่เห็นด้วย 2 4
ไม่แน่ใจ 3 3
เห็นด้วย 4 2
เห็นด้วยอย่างยิ่ง 5 1
56
แปลผลจากคะแนนของแบบสอบถาม โดยรวมคะแนนจากแบบสอบถามทั้ง 50 ข้อ แล้วใช้
ค่าเฉลี่ย (⎯X ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D.) นำมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ของกลุ่ม
ปัจจัยภายนอก ได้แก่ การพึ่งตนเอง การดำรงชีวิตแบบพอเพียง ความสัมพันธ์ที่ดีภายในครอบ
ครัว การเรียนรู้เพื่อชีวิต และ การมีศาสนธรรม
เนื่องจากลักษณะแบบทดสอบที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็น มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ
เป็นการเลือกตอบโดยใช้มาตรของ ลิเคิร์ท (Likert Scale) แต่ละข้อมีคะแนนเป็น 1,2,3,4,5 ดัง
นั้น เกณฑ์การพิจารณาขอบเขตของคะแนนเฉลี่ยเพื่อใช้ในการแปลผลตามความหมายของข้อมูล
จึงกำหนดไว้เป็น 3 ระดับ ซึ่งมีเกณฑ์การพิจารณาดังนี้
พิสัย = (คะแนนสูงสุด - คะแนนต่ำสุด) / 3
= (5 - 1 ) / 3
= 1.33
จากเกณฑ์ดังกล่าวจึงสามารถกำหนดระดับความคิดเห็นต่อ ค่าครองชีพที่สมดุล ได้ดังนี้
3.67 - 5.00 หมายถึง อยู่ในระดับสูง
2.34 - 3.66 หมายถึง อยู่ในระดับปานกลาง
1.00 - 2.33 หมายถึง อยู่ในระดับต่ำ
ส่วนที่ 3 คำถามด้านความคิดเห็น ความต้องการ และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสิ่งที่องค์กร
และตัวข้าราชการตำรวจชั้นประทวนมีสิ่งใดบ้างที่ต้องการพัฒนาและปรับปรุงเพื่อให้องค์กรมี
ความเจริญก้าวหน้าและสอดคล้องกับความต้องการ เป็นคำถามปลายเปิด จำนวน 3 ข้อ
3.3 การพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ในการสร้างและพัฒนาแบบสอบถามให้มีคุณภาพ ผู้วิจัยได้พัฒนาเครื่องมือด้วยตนเองโดยรวบรวมข้อ
มูลจากเอกสารต่างๆ เพื่อนำข้อมูลทั้งหมดมาเป็นแนวทางในการสร้างแบบสอบถาม
เมื่อทำการสร้างแบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่จะใช้ในการวิจัยแล้ว ผู้วิจัยได้ทำการตรวจ
สอบคุณภาพของเครื่องมือและดำเนินการปรับปรุงแก้ไข โดยมีขั้นตอนดังนี้
3.3.1 การตรวจสอบความตรงของเครื่องมือ (Validity) ได้นำแบบสอบถามที่สร้างขึ้น
ไปหาความตรงตามเนื้อหา (Content Validity) โดยนำเสนอแบบสอบถามฉบับร่างไปให้กรรมการ
วิทยานิพนธ์ จำนวน 3 ท่าน และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา
เพื่อตรวจสอบความสมบูรณ์ของเครื่องมือในด้านเนื้อหาคำถาม เพื่อให้ครอบคลุมและวัดได้ตรง
57
ตามที่ต้องการวัด รวมทั้งตรวจสอบความเป็นปรนัย (Objectivity) ของคำถาม คำตอบแต่ละข้อ
เพื่อให้ได้ข้อคำถามคำตอบที่ชัดเจน ถูกต้อง เมื่อผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว ผู้วิจัยได้
นำแบบสอบถามมาทำการปรับแก้ให้เหมาะสมทั้งภาษาและเนื้อหาตามความคิดเห็นและข้อเสนอ
แนะของผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อนำไปตรวจสอบคุณภาพด้านอำนาจการจำแนกของข้อคำถาม ความ
เที่ยงตรงของเครื่องมือ เพื่อนำไปใช้จริง
3.3.2 การทดลองใช้แบบสอบถาม (Try Out) นำแบบสอบถามที่ปรับปรุงแล้วไป
ทดลองใช้กับประชากรที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่าง ที่อยู่ในชุมชนเขตอื่นซึ่งได้เข้าร่วม
โครงการลักษณะเดียวกัน จำนวน 100 คน เพื่อตรวจสอบภาษาที่ใช้ให้เป็นที่เข้าใจและมีความ
ชัดเจนเมื่อนำแบบสอบถามไปใช้จริง ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.9212
3.3.3 การตรวจสอบอำนาจจำแนกรายข้อของแบบสอบถาม (Discrimination) นำข้อมูลที่ได้จาก
แบบสอบถามมาตรวจสอบคุณภาพด้วยอำนาจจำแนกรายข้อของข้อคำถามด้วยการทดสอบหาความแตกต่าง
ของค่าเฉลี่ย (⎯X ) ระหว่างกลุ่มสูงและกลุ่มต่ำตามเทคนิค 25 % ของลิเคอร์ต (Likert) โดยเรียงคะแนน
จากมากไปหาน้อย แบ่งเป็นกลุ่มสูง 25 % และกลุ่มต่ำ 25% แล้วนำมาเปรียบเทียบกันด้วยสูตร t-test ด้วย
โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows (Statistical Package for the Social Sciences for
Windows) คัดเลือกเฉพาะข้อที่มีค่า t-test ตั้งแต่ 1.75 ขึ้นไป ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 จึงนำไปใช้
จริง โดยถือว่าเป็นอำนาจจำแนกที่ใช้ได้
3.3.4 ตรวจสอบความเที่ยงตรงของเครื่องมือ (Reliability)มีวิธีหาความเชื่อมั่น โดยการหาค่า
สัมประสิทธิ์แอลฟา (Coefficient Alpha) ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows (Statistical
Package for the Social Sciences for Windows)
3.3.5 ทำการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องของแบบสอบถามขั้นสุดท้าย ในด้านการใช้
สำนวนภาษาในข้อคำถามให้เข้าใจง่ายและเข้าใจตรงกัน มีความเที่ยงตรง มีความเหมาะสมในการ
นำไปใช้ แล้วจึงนำไปทำการสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างจริง
3.4 การเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้วิจัยได้ติดต่อประสานงานกับผู้บังคับบัญชาแต่ละสถานีตำรวจในพื้นที่ทำการวิจัย เพื่อขอ
ความร่วมมือในการเข้าไปเก็บข้อมูล ในแต่ละสถานีตำรวจ ตามจำนวนตัวอย่างที่ต้องการ การเก็บ
รวมรวมข้อมูล ผู้วิจัยพยายามเก็บแบบสอบถามด้วยตนเองพร้อมทั้งอธิบายและชี้แจงผู้ตอบแบบ
ในข้อคำถามที่ไม่เข้าใจ โดยจะใช้เวลาในการเก็บรวมรวมข้อมูลประมาณ 2 เดือน
58
3.5 การวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัยได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างนำมาวิเคราะห์ นำไปวิเคราะห์ทางสถิติ
ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS(Statistical Package for Social
Science) และในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาความสัมพันธ์ทางสถิติในการวิจัยครั้งนี้ ใช้ระดับ
ความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (α = 0.05) เป็นเกณฑ์ในการยอมรับหรือปฏิเสธสมมติฐานในการวิจัย
3.6 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
1. วิเคราะห์ค่าสถิติเชิงพรรณา (Descriptive Statistics) โดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่า
เฉลี่ย และค่าความแปรปรวนของคะแนนตัวแปรทุกตัวในกลุ่มตัวอย่างตัวแปรอิสระเพื่ออธิบายตัวแปรทุกตัวที่
ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ตัวแปรที่มีระดับการวัดแบบอัตราส่วน (Ratio Scale) แบบช่วง (Interval Scale) ใช้ค่า
มัชฌิมเลขคณิต (Arithmetic Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Diviation) ในการอธิบายตัวแปรที่
นอกเหนือจากที่ใช้วัดด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ

ค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน (ตอนทีี่ 1)
ค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน (ตอนทีี่ 2)

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ14 ตุลาคม 2554 เวลา 07:39

    ใช้เป็นตัวอย่างได้เป็นอย่างดี ขอบคุณมากๆครับ

    ตอบลบ