วันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554

ค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน (ตอนทีี่ 2)



2. ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation
Coefficient) เพื่อใช้ทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ สถานภาพ
ส่วนตัวที่ดี การพึ่งตนเอง การดำรงชีวิตแบบพอเพียง ความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว การเรียนรู้
เพื่อชีวิต การมีศาสนธรรม ที่มีความสัมพันธ์กับ ค่าครองชีพที่สมดุล ประกอบด้วย รายได้มีความ
เพียงพอกับรายจ่ายแต่ละเดือน รายได้มีความเหมาะสม มีเงินเหลือเก็บ ครอบครัวไม่ได้รับความ
เดือดร้อนในเรื่องค่าครองชีพ ครอบครัวมีความสุขเพราะไม่มีหนี้สิน นำมาพิจารณาหาปัจจัยที่มี
อิทธิพลต่อการมีค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน
3. การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นบันได (Stepwise Multiple Regression Analysis)
เกณฑ์ในการแปลความหมายค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน มีดังนี้
ค่า r ความหมาย
0.81 ขึ้นไป มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง
0.61 - 0.80 มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับค่อนข้างสูง
0.41 - 0.60 มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง
0.21 – 0.40 มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ
0.01 – 0.20 มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับต่ำ
59
0.0 ไม่มีความสัมพันธ์
(ค่า r แสดงความสัมพันธ์ได้ทั้งค่าบวก และค่าลบ)
3.7 การทดสอบสมมติฐาน
กำหนดสมมติฐานจากตัวแปรทุกตัวในกลุ่มปัจจัยด้านส่วนบุคคล ปัจจัยด้านสถานภาพ
ส่วนตัวที่ดีของตำรวจ สถานภาพการงาน การพึ่งตนเอง การดำรงชีพวิตแบบพอเพียง ความ
สัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว การเรียนรู้เพื่อชีวิต และการมีศาสนธรรม มีผลต่อ ค่าครองชีพที่สมดุล
ของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน สถานีตำรวจในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8 โดยมีสมมติ
ฐานดังนี้
สมมติฐานที่ 1 สถานภาพส่วนตัวที่ดีของตำรวจแตกต่างกัน มีค่าครองชีพที่สมดุล
ของตำรวจชั้นประทวน สถานีตำรวจในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8 แตกต่างกัน
สมมติฐานโดยใช้สถิติหาค่าความแปรปรวน ของกลุ่มตัวแปรอิสระทุกตัว ซึ่งได้ทดสอบ
ความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยทุกตัวแปรมากว่า 2 กลุ่ม ของสถานภาพส่วนตัวที่ดีของตำรวจ
ประกอบด้วย สถานภาพการสมรส รายได้ของครอบครัว และสายงาน และพิจารณาความมีระดับ
นัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
สมมติฐานที่ 2-7 ทดสอบปัจจัยที่มีผลต่อการมีค่าครองชีพที่สมดุล ได้แก่ สภาพการ
งานที่ดี การพึ่งตนเอง การดำรงชีวิตแบบพอเพียง ความสัมพันธ์ที่ดีภายในครอบครัว การเรียนรู้
เพื่อชีวิต การเรียนรู้เพื่อชีวิต และการมีศาสนธรรม ด้วยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้น
บันได (Stepwise Multiple Regression Analysis) ได้สรุปขั้นตอนที่ใช้ในการวิเคราะห์การถด
ถอยพหุคูณดังนี้
1. สัมประสิทธิ์ของตัวพยากรณ์ (b) ซึ่งจะบอกน้ำหนักของตัวพยากรณ์แต่ละตัวว่ามีอิทธิพลต่อตัว
เกณฑ์มากน้อยเพียงใดในหน่วยข้อมูลดิบ ในกรณีใช้หน่วยคะแนนมาตรฐานจะเปลี่ยนค่า b ให้เป็นสัมประสิทธิ์
การถดถอยมาตรฐาน (β) หรือ เรียกว่า สัมประสิทธิ์เบต้า
2. ความคลาดเคลื่อนของการพยากรณ์ (S.E.est ) จะเป็นเครื่องชี้ความใกล้เคียงหรือความสอดคล้อง
กับค่าของจริงกับค่าพยากรณ์ตัวเกณฑ์
3. สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ R คือ ความสัมพันธ์ระหว่างตัวเกณฑ์ตัวเดียวกับตัว
พยากรณ์หลาย ๆ ตัว ส่วนกำลังสองของ R โดยมากจะเอาร้อยไปคูณเพื่อทำให้เป็นเปอร์เซนต์
นั้นคือ 100R2 ก็คือ เปอร์เซนต์ที่ตัวเกณฑ์ขึ้นอยู่กับหรือถูกอธิบายโดยกลุ่มตัวพยากรณ์ทั้งหลาย
บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ในการวิจัยเรื่อง “ค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน กรณีศึกษาสถานีตำรวจ
ในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8” โดยดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยตนเองกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเจ้าหน้าที่
ตำรวจชั้นประทวน สังกัดสถานีตำรวจในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8 ตำแหน่งตั้งแต่นายดาบตำรวจ
ลงมาจาก 11 สถานี เขตธนบุรี มีจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 204 คน จากแบบสอบถาม
จำนวน 215 ชุด คิดเป็นร้อยละ 94.88 เมื่อนำไปวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS for
Windows มีผลการวิเคราะห์ที่จะนำเสนอตามวัตถุประสงค์การวิจัยโดยตามลำดับดังต่อไปนี้
4.1 การวิเคราะห์ระดับค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน สถานีตำรวจ
ในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8
4.2 การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการ
ตำรวจชั้นประทวน สถานีตำรวจในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8
4.3 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์สภาพการงานที่ดีที่มีผลต่อต่อค่าครองชีพที่สมดุลของ
ข้าราชการตำรวจชั้นประทวน สถานีตำรวจในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8
4.4 การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป
4.5 ผลการทดสอบสมมติฐาน
4.1 การวิเคราะห์ระดับค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน
ตารางที่ 3 ค่าระดับตัวชี้วัดและค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน
สถานีตำรวจในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8
ตัวชี้วัดค่าครองชีพที่สมดุล ∼X S.D. แปลความ
1.รายได้เพียงพอต่อการใช้จ่ายแต่ละเดือน 2.38 1.03 ปานกลาง
2.รายได้ที่มีนั้นมีความเหมาะสม 2.23 .99 ต่ำ
3.ท่านมีเงินเหลือเก็บ 2.18 1.10 ต่ำ
4.ครอบครัวไม่เคยได้รับความเดือนร้อนจากค่าครองชีพ 2.37 1.10 ปานกลาง
5.ความสัมพันธ์ในครอบครัว 3.47 1.29 ปานกลาง
6.ครอบครัวของท่านมีความสุขเพราะไม่มีหนี้สิน 2.79 1.28 ปานกลาง
ค่าครองชีพที่สมดุล 2.5694 .7504 ปานกลาง
61
จากตารางที่ 3 ค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน สถานีตำรวจในกองกำกับ
การตำรวจนครบาล 8 มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .7504 ค่าเฉลี่ย 2.5694 มีค่าอยู่ในระดับปานกลาง โดย
มีตัวชี้วัดอยู่ในระดับปานกลางได้แก่ รายได้เพียงพอต่อการใช้จ่ายแต่ละเดือน (ϒX=2.38) ครอบครัว
ไม่เคยได้รับความเดือดร้อยจากค่าครองชีพ (ϒX=2.37) ครอบครัวมีความสุขเพราะไม่มีหนี้สิน
(ϒX=2.79) และความสัมพันธ์ในครอบครัว (ϒX=3.47) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดและส่วนตัว
ชี้วัดที่เหลือมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับต่ำ ได้แก่ รายได้ที่มีนั้นมีความเหมาะสม (ϒX=2.23) ท่านมีเงินเดือน
เหลือเก็บ (ϒX=2.18) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด
ตารางที่ 4 ค่าระดับปัจจัยที่มีผลต่อค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน
สถานีตำรวจในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8 โดยภาพรวม
ปัจจัย ∼X S.D. แปลความ
1.สถานภาพการงานที่ดีของตำรวจ 3.6338 .5289 ปานกลาง
2.การพึ่งตนเอง 3.8254 .5402 มาก
3.การดำรงชีวิตแบบพอเพียง 4.0797 .4878 มาก
4.ความสัมพันธ์ในครอบครัว 4.1201 .5460 มาก
5.การเรียนรู้เพื่อชีวิต 4.0839 .4805 มาก
6.การมีศาสนธรรม 4.3461 .4640 มาก
จากตารางท ี่ 4 ปัจจัยที่มีผลต่อค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน เมอื่
นำมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้พบว่า สถานภาพส่วนตัวที่ดีของตำรวจ มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
0.5289 ค่าเฉลี่ย 3.6338 มีค่าอยู่ในระดับปานกลาง การพึ่งตนเอง มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
0.5402 ค่าเฉลี่ย 3.8254 มีค่าอยู่ในระดับมาก การดำรงชีวิตแบบพอเพียง มีส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน 0.4878 ค่าเฉลี่ย 4.0797 มีค่าอยู่ในระดับมาก ความสัมพันธ์ในครอบครัวมีส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน 0.5460 ค่าเฉลี่ย 4.1201 มีค่าอยู่ในระดับมาก การเรียนรู้เพื่อชีวิต มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
0.4805 ค่าเฉลี่ย 4.0839 มีค่าอยู่ในระดับมาก และการมีศาสนธรรม มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
0.4640 ค่าเฉลี่ย 4.3461 มีค่าอยู่ในระดับมาก
62
จากแบบสอบถามเพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อค่าครองชีพที่สมดุลโดยถามความคิดเห็นของผู้ตอบ
แบบสอบถามคิดเป็นค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเป็นรายข้อดังต่อไปนี้
ตารางที่ 5 คำถามเกี่ยวกับปัจจัยด้านสถานภาพการงานที่ดีของตำรวจโดยละเอียด
ระดับความคิดเห็น
ข้อความ เห็นด้วย
อย่างยิ่ง
เห็นด้วย ไม่แน่ใจ ไม่เห็น
ด้วย
ไม่เห็น
ด้วยอย่าง
ยิ่ง
∼X S.D.
1. ท่านคิดว่าอาชีพตำรวจเป็นอาชีพที่
มีเกียรติ
47.5 40.7 8.3 1.5 2.0 4.30 .84
2. ท่านคิดว่างานที่ท่านทำอยู่ตรงกับ
ความรู้ ความสามารถ
20.6 56.4 15.2 5.4 2.5 3.87 .88
3. ท่านคิดว่าหน่วยงานของท่านมี
ระเบียบการทำงานที่ชัดเจนง่าย
ต่อการปฏิบัติงาน
12.7 44.1 24.0 14.7 4.4 3.46 1.03
4. ท่านมีความภูมิใจที่รับราชการตำรวจ 47.1 36.3 6.4 5.9 4.4 4.16 1.07
5. ท่านมีเงินเดือนที่เพียงพอต่อการ
ดำรงชีวิต
7.8 11.8 19.1 34.3 27.0 2.39 1.22
6. ท่านมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการ
ปฏิบัติงาน
6.9 41.7 27.9 14.7 8.8 3.23 1.07
7. ท่านมีโอกาสก้าวหน้าและประสบผล
สำเร็จในหน้าที่การงาน
9.3 35.8 39.2 11.3 4.4 3.33 .95
8. ท่านได้รับการยอมรับจาก
ผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน
10.3 57.4 29.9 - 2.5 3.75 .66
9. ท่านมีความสัมพันธ์อันดีระหว่าง
เพื่อนร่วมงานและผู้บังคับบัญชา
18.6 65.2 13.7 2.0 0.5 4.00 .67
10. ท่านคิดว่างานที่ทำมีความมั่นคง 18.6 53.9 21.1 4.4 2.0 3.83 .85
63
จากตารางที่ 5 ปัจจัยด้านสถานภาพการงานที่ดีของตำรวจชั้นประทวน สถานีตำรวจในกองบังคับการ
ตำรวจนครบาล 8 พบว่ามีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.30-2.39 โดย อาชีพตำรวจเป็นอาชีพที่มีเกียรติ มีค่าเฉลี่ย
อยู่ในระดับสูงและมากที่สุด (ϒX = 4.30) และเงินเดือนที่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด
(ϒX = 2.39) ส่วนอาชีพนี้ตรงกับความรู้ความสามารถ มีความภาคภูมิใจและมั่นคง มีความสัมพันธ์อันดี
พร้อมทั้งได้รับความยอมรับจากผู้บังคับบัญชามีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง ส่วนหน่วยงานมีระเบียบการทำงานที่
ชัดเจน ง่าย มีส่วนร่วมต่อการปฏิบัติ มีโอกาสในความก้าวหน้าและประสบผลสำเร็จ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ
ปานกลาง และ เงินเดือนที่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับต่ำ
ตารางที่ 6 คำถามความคิดเห็นเกี่ยวกับค่าครองชีพที่สมดุลโดยละเอียด
ระดับความคิดเห็น
ข้อความ เห็นด้วย
อย่างยิ่ง
เห็นด้วย ไม่แน่ใจ ไม่เห็น
ด้วย
ไม่เห็นด้วย
อย่างยิ่ง ∼X S.D.
1. รายได้ของท่านเพียงพอต่อการ
ใช้จ่ายในแต่ละเดือน
2.9 13.7 20.6 44.1 18.6 2.38 1.03
2. รายได้ที่มีนั้นมีความเหมาะสม 2.0 11.3 17.2 47.1 22.5 2.23 .99
3. ท่านมีเงินเหลือเก็บ 3.9 11.8 12.3 42.6 29.4 2.18 1.1
4. ครอบครัวไม่เคยได้รับความ
เดือดร้อนในเรื่องค่าครองชีพ
3.9 15.2 15.7 44.1 21.1 2.37 1.1
5. รายได้ของท่านไม่เพียงพอ
กับรายจ่าย
24.5 33.8 14.7 17.6 9.3 3.47 1.29
6. ครอบครัวของท่านมีความสุข
เพราะไม่มีหนี้สิน
10.3 24.5 17.2 29.9 18.1 2.79 1.28
จากตารางที่ 6 ค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน สถานีตำรวจในกองกำกับ
การตำรวจนครบาล 8 มีค่าอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 2.18-3.47 ตัวชี้วัดที่มีค่า
เฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลางได้แก่ รายได้เพียงพอต่อการใช้จ่ายแต่ละเดือน ครอบครัว ไม่เคยได้รับความ
เดือดร้อนจากค่าครองชีพ ครอบครัวมีความสุขเพราะไม่มีหนี้สินและความสัมพันธ์ในครอบครัว
ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (ϒX=3.47) ส่วนตัวชี้วัดที่เหลือมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับต่ำ ได้แก่ ราย
ได้ที่มีนั้นมีความเหมาะสม ท่านมีเงินเดือนเหลือเก็บ ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (ϒX=2.18)
64
ตารางที่ 7 คำถามเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อค่าครองชีพที่สมดุลโดยละเอียด
ระดับความคิดเห็น
ข้อความ เห็นด้วย
อย่างยิ่ง
เห็น
ด้วย
ไม่
แน่ใจ
ไม่เห็น
ด้วย
ไม่เห็น
ด้วยอย่าง
ยิ่ง
∼X S.D.
การพึ่งตนเอง
1. ความสำเร็จที่ได้รับเกิดจากการ
กระทำด้วยตัวของท่านเอง
23.0 58.3 9.3 6.9 2.5 3.93 .90
2. ท่านมีความมั่นใจว่าท่านสามารถฝ่า
ฟันอุปสรรคปัญหาได้ด้วยตนเอง
16.7 55.9 21.1 4.9 1.5 3.81 .82
3. ท่านคิดและตัดสินใจด้วยตัวของ
ท่านเองได้
13.7 64.2 9.8 9.8 2.5 3.77 .89
4. ท่านและครอบครัวสามารถอยู่ได้
โดยไม่ต้องพึ่งพาบุคคลอื่น
9.3 43.1 25.5 18.1 3.9 3.36 1.01
5. ท่านสามารถแก้ปัญหาด้วยตนเองได้ 12.3 54.9 18.1 13.7 1.0 3.64 .90
6. ท่านวางแผนชีวิตให้กับตนเอง 20.1 63.7 13.7 2.0 0.5 4.01 .68
7. ท่านใช้แรงงานและความ
พยายามทำสิ่งที่เป็นประโยชน์
20.6 69.6 8.3 1.5 - 4.09 .58
8. ท่านสามารถดำเนินชีวิตได้
อย่างปกติสุขด้วยตัวของท่านเอง
19.6 63.2 14.2 2.9 - 4.00 .58
การดำรงชีวิตแบบพอเพียง
1. ท่านคิดว่าการดำเนินชีวิต
อย่างสายกลางมีความพอดี
ทำให้ชีวิตมีความสุข
26.5 62.3 6.4 4.9 - 4.10 .72
2. ท่านพอใจในสิ่งที่ตนเองมี 22.5 62.7 9.8 4.4 0.5 4.02 .74
3. ท่านไม่เอาเปรียบผู้อื่น 29.4 61.8 7.4 1.0 0.5 4.19 .65
4. การอยากได้ อยากมี ทำให้เกิด
ความเดือดร้อน
34.3 54.4 6.9 3.4 1.0 4.18 .78
5. ท่านเสียสละช่วยเหลือผู้อื่น
อยู่เสมอ
24.0 61.8 11.3 2.0 1.0 4.06 .72
6. ท่านและสมาชิกในครอบครัวนำสิ่งที่มี
อยู่มาสร้างให้เกิดประโยชน์
16.2 70.6 12.7 0.5 - 4.02 .56
65
ระดับความคิดเห็น
ข้อความ เห็นด้วย
อย่างยิ่ง
เห็น
ด้วย
ไม่
แน่ใจ
ไม่เห็น
ด้วย
ไม่เห็น
ด้วยอย่าง
ยิ่ง
∼X S.D.
7. สมาชิกในครอบครัวทุกคนมีความ
รับผิดชอบและช่วยกันแบ่งเบาภาระ
ที่เกิดขึ้นได้
18.6 64.7 11.8 3.9 1.0 3.96 .74
8. การมีชีวิตที่พอเพียงสามารถ แก้
ปัญหาเศรษฐกิจของครอบครัวได้
25.5 62.3 9.8 2.0 0.5 4.10 .68
ความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว
1. ครอบครัวช่วยเหลือเกื้อกูลและ
มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
29.4 61.8 6.9 1.5 0.5 4.18 .66
2. ครอบครัวของท่านมีความร่วมแรงร่วม
ใจที่จะทำให้ครอบครัวมีความสุข
25.5 65.2 6.9 1.5 1.0 4.13 .68
3. ทุกคนในครอบครัวมีความรักใคร่
กลมเกลียวและห่วงใยในกันและกัน
28.9 60.8 6.9 2.5 1.0 4.14 .73
4. ครอบครัวของท่านปรองดองเป็น
อันหนึ่งอันเดียวกัน
26.0 61.3 8.8 3.4 0.5 4.09 .72
5. ครอบครัวท่านมีการพักผ่อนหย่อนใจ
และใช้เวลาว่างร่วมกัน
21.6 59.8 14.7 2.9 1.0 3.98 .76
6. ท่านเป็นที่รักของครอบครัว 28.9 60.3 8.8 1.5 0.5 4.16 .68
7. ครอบครัวภาคภูมิใจในตัวท่าน 32.4 54.9 9.3 2.9 0.5 4.35 2.89
8. ท่านเป็นแบบอย่างที่ดีของสมาชิก
ในครอบครัว
27.9 59.3 10.8 1.5 0.5 4.13 .69
การเรียนรู้เพื่อชีวิต
1. ท่านสามารถดัดแปลงแก้ไขสิ่งของ
เหลือใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
20.1 65.2 11.8 2.9 - 4.02 .66
2. ความรู้บางส่วนที่ได้รับเกิดจากการ
เรียนรู้จากผู้อื่นและสิ่งที่เกิดขึ้นรอบๆ
ข้าง
21.1 66.7 9.3 2.9 - 4.06 .65
3. ท่านพบว่าตนเองมีความรู้เพิ่มขึ้นตลอด
เวลาจากการปฏิบัติงานของท่าน
22.1 64.2 10.8 2.5 0.5 4.05 .69
66
ระดับความคิดเห็น
ข้อความ เห็น
ด้วย
อย่างยิ่ง
เห็น
ด้วย
ไม่
แน่ใจ
ไม่เห็น
ด้วย
ไม่เห็น
ด้วย
อย่างยิ่ง
∼X S.D.
5. คนที่มีความรู้คือคนที่มีคุณค่าเป็นที่
ยอมรับของบุคคลอื่น
23.5 62.7 11.8 1.5 - 4.09 .74
6. ท่านนำสิ่งที่พบเห็นบางอย่างมาปรับใช้
ให้เกิดประโยชน์เพื่อตัวของท่านเองได้
27.0 65.2 9.8 1.5 - 4.11 .62
7. ท่านเป็นคนใฝ่หาความรู้อยู่ตลอดเวลา 30.4 63.2 8.8 1.0 - 4.16 .61
8. ความรู้ที่ได้รับมาบางส่วนสามารถแก้ไข
ปัญหาในการดำเนินชีวิตของท่านได้
58.3 10.3 1.0 - 4.18 .64
การมีศาสนธรรม
1. ท่านยึดมั่นและปฏิบัติตามพระบรม-
ราโชวาทของพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวในการดำรงชีวิต
34.8 57.8 6.4 1.0 - 4.26 .62
2. ท่านเชื่อว่าคนทำดี ได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว 42.2 49.0 6.4 2.5 - 4.31 .70
3. ท่านเชื่อว่าสรรพสิ่งในโลกนี้ไม่มีสิ่งใดที่
เที่ยงแท้แน่นอน ทุกคนควรสร้างความดีไว้
43.6 49.0 7.4 - - 4.36 .62
4. คนดี คนซื่อสัตย์สุจริต และผู้เสียสละ
คือบุคคลที่ควรยกย่อง
45.6 48.5 4.9 1.0 - 4.39 .63
5. การทำงานคือการปฏิบัติธรรม 41.2 46.1 9.8 2.9 - 4.25 .75
6. ความเพียรพยายาม ขยัน อดทน
นำไปสู่ความสำเร็จทุกๆ ด้าน
44.6 49.0 5.4 1.0 - 4.37 .63
7. การลด ละ ความโลภ ความโมโห
และรู้จัก การให้อภัยทำให้ชีวิต
มีความสุข
42.6 53.4 2.0 1.5 0.5 4.36 .65
8. การปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตเป็นสิ่งที่
ไม่ควรทำ
48.5 45.6 3.4 2.0 0.5 4.40 .70
9. การแสวงหาผลประโยชน์ในทาง
มิชอบเป็นบาป
43.6 50.5 4.4 1.5 - 4.36 .64
10. ทุกคนควรปฏิบัติตนในการทำ
ความดี ยับยั้ง ลด ละ เลิกสิ่งที่ไม่ดี
ทั้งปวง
45.1 50.5 2.9 1.0 0.5 4.39 .64
67
จากตารางที่ 7 ในปัจจัยที่มีผลต่อค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจแต่ละด้านพบว่า
ปัจจัยด้านการพึ่งตนเอง ทั้ง 8 ตัวชี้วัดมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูงทุกตัวชี้วัด ซึ่งมีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง
3.36-4.09 โดยตัวชี้วัดด้านท่านใช้แรงงานและความพยายามทำสิ่งที่เป็นประโยชน์มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด
ส่วน ท่านและครอบครัวสามารถอยู่ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาบุคคลอื่นมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ปัจจัยด้านการดำรง
ชีวิตแบบพอเพียง ทั้ง 8 ตัวชี้วัด มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูงทุกตัวชี้วัด ซึ่งมีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 3.96-4.19
โดยตัวชี้วัดด้านท่านไม่เอาเปรียบผู้อื่นมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด และ สมาชิกในครอบครัวทุกคนมีความรับผิด
ชอบและช่วยกันแบ่งเบาภาระที่เกิดขึ้นได้ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดจาก 8 ตัวชี้วัด ปัจจัยด้านความสัมพันธ์ที่ดี
ในครอบครัว ทั้ง 8 ตัวชี้วัดมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูงทุกตัวชี้วัด ซึ่งมีค่าเฉลี่ย อยู่ระหว่าง 3.98-4.35 โดย
ตัวชี้วัดด้านครอบครัวมีความภาคภูมิใจในตัวท่านมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด และ ครอบครัวท่านมีการพักผ่อน
หย่อนใจและใช้เวลาว่างร่วมกัน มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดจาก 8 ตัวชี้วัด ปัจจัยด้านการเรียนรู้ตลอดชีวิต ทั้ง 8
ตัวชี้วัด มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูงทุกตัวชี้วัด ซึ่งมีค่าเฉลี่ย อยู่ระหว่าง 4.00-4.18 โดยตัวชี้วัดด้านความรู้
ที่ได้รับมาบางส่วนสามารถแก้ไขปัญหาในการดำเนินชีวิตของท่านได้ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด และ ท่านนำ
ความรู้ที่ได้รับจากประสบการณ์งานของท่านมาปรับใช้ในการแก้ไขปัญหาภายในครอบครัวของท่าน มีค่า
เฉลี่ยน้อยที่สุดจาก 8 ตัวชี้วัด ปัจจัยด้านการมีศาสนธรรม ทั้ง 10 ตัวชี้วัดมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูงทุกตัว
ชี้วัด ซึ่งมีค่าเฉลี่ย อยู่ระหว่าง 4.25- 4.40 โดยตัวชี้วัดด้านการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ
มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด และ การทำงานคือการปฏิบัติธรรม มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดเมื่อนำมาเปรียบเทียบทั้ง
10 ตัวชี้วัด
4.2 การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเพื่อหาปัจจัยที่มีต่อการค่าครองชีพที่สมดุลของข้า
ราชการตำรวจชั้นประทวน สถานีตำรวจในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8
สมมติฐานในการวิจัยครั้งนี้ ทำการทดสอบด้วยการใช้สถิติการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบ
ขั้นบันได (Stepwise Multiple Regression Analysis) โดยการนำคำถามเกี่ยวกับปัจจัยด้านสถานภาพการ
งานที่ดีของตำรวจ การพึ่งตนเอง การดำรงชีวิตแบบพอเพียง ความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว การเรียนรู้
เพื่อชีวิต และการมีศาสนธรรม เป็นข้อคำถามที่วัดระดับความคิดเห็นซึ่งเป็นแบบสอบถามประมาณค่านำ
มาคำนวณหาค่าการถดถอยพหุคูณในลำดับต่อไปนี้
68
^
^
เพื่อความเหมาะสมในการวิเคราะห์ข้อมูล จึงได้กำหนดสัญลักษณ์ที่ใช้แทนตัวแปรอิสระ
ตัวแปรตาม และค่าที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้
X1 แทน ปัจจัยสถานภาพส่วนตัวที่ดีของตำรวจ
X2 แทน ปัจจัยการพึ่งตนเอง
X3 แทน ปัจจัยการดำรงชีวิตแบบพอเพียง
X4 แทน ปัจจัยความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว
X5 แทน ปัจจัยการเรียนรู้เพื่อชีวิต
X6 แทน ปัจจัยการมีศาสนธรรม
Y แทน ปัจจัยค่าครองชีพที่สมดุล
♣ แทน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์
R แทน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ
R2 แทน ดัชนีการพยากรณ์หรือประสิทธิภาพการพยากรณ์
SE.b แทน ความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน
′ แทน สัมประสิทธิ์การถดถอยมาตรฐาน
a แทน ค่าคงที่ของสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ
b แทน สัมประสิทธิ์การถดถอยของตัวพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ
Y แทน คะแนนค่าครองชีพที่เหมาะสมของตำรวจชั้นประทวน
ในรูปคะแนนดิบ
Z แทน คะแนนค่าครองชีพที่เหมาะสมของตำรวจชั้นประทวนในรูปคะแนน
มาตรฐาน
ในการทดสอบสมมติฐานการวิจัยเพื่อหาปัจจัยที่มีผลค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจ
ชั้นประทวน สถานีตำรวจในกองบัญชาการตำรวจนครบาล 8 ซึ่งจะนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลแบ่ง
เป็น 3 ตอนดังนี้
69
ตอนที่ 1 การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างกันของตัวพยากรณ์และระหว่างตัว
พยากรณ์และตัวเกณฑ์
การวิเคราะห์ขั้นตอนนี้ ใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน เพื่อหาสหสัมพันธ์ระหว่างกันของ
ตัวพยากรณ์หรือปัจจัยทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ สถานภาพการงานที่ดี (X1) การพึ่งตนเอง (X2) การดำรงชีวิต
แบบพอเพียง (X3) ความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว (X4) การเรียนรู้เพื่อชีวิต(X5) การมีศาสนธรรม
(X6) กับค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน (Y) ดังแสดงผลในตารางที่ 8
ตารางที่ 8 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรพยากรณ์และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์
ระหว่างตัวพยากรณ์กับตัวเกณฑ์
ตัวพยากรณ์ X1 X2 X3 X4 X5 X6 Y
X1 1.000
X2 .379** 1.000
X3 .249** .603** 1.000
X4 .248** .424** .657** 1.000
X5 .285** .472** .557** .604* 1.000
X6 .318** .326** .557** .424* .507** 1.000
Y .330** .189** .119* .170** .177** .183** 1.000
* มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
* * มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
จากตารางที่ 8 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างกันของปัจจัยบางตัวมีความสัมพันธ์ทางบวก
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ 0.05 (r อยู่ระหว่าง 0.248 ถึง 0.657) โดย ปัจจัยการดำรงชีวิต
แบบพอเพียง (X3) มีความสัมพันธ์กับค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน (Y) สูง
สุด (r=.330) และสถานภาพการทำงานที่ดีของตำรวจ (X1) ต่ำสุด (r=.189)
ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวพยากรณ์และตัวเกณฑ์มีค่าอยู่ระหว่าง 0.170 ถึง 0.330 โดย ปัจจัย
การเรียนรู้เพื่อชีวิต (X5) มีความสัมพันธ์กับค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน (Y)
ต่ำสุด (r=.330) และสถานภาพการทำงานที่ดีของตำรวจ (X1) มีความสัมพันธ์กับค่าครองชีพที่สมดุล
ของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน (Y) สูงสุด แสดงว่า สถานภาพที่ดีของตำรวจมีผลต่อค่าครองชีพที่สม
ดุลของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน (Y) มากที่สุด ในขณะที่ตัวแปรการพึ่งตนเองมีผลต่อค่าครองชีพที่
สมดุล (Y) ของข้าราชการตำรวจชั้นประทวนต่ำสุด
70
การดำเนินงานจัดการเป็นขั้นตอน มีการวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการมีความสัมพันธ์กับค่า
ครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน (Y)
ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวพยากรณ์กับตัวเกณฑ์ ที่มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 มี
จำนวนทั้งสิ้น 6 ตัว เรียงลำดับความสำคัญจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ปัจจัยสถานภาพการทำงานที่ดีของ
ตำรวจ (X1) การพึ่งตนเอง (X2) การดำรงชีวิตแบบพอเพียง (X3) การมีศาสนธรรม (X6) การเรียนรู้
เพื่อชีวิต(X5) ความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว (X4) (r = 0.330, r= 0.189, r= 0.119, r=0.183,
r=0.177 และ r = 0.170 ตามลำดับ) แสดงว่า ปัจจัยด้านสถานภาพของตำรวจที่ดีมีความสัมพันธ์กับค่า
ครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน (Y) อยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ ส่วนปัจจัยอื่นๆ มีความ
สำคัญกับค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน (Y) อยู่ในระดับต่ำ สถานภาพการทำงาน
ที่ดีของตำรวจจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน (Y)
ตัวแปรทุกตัวมีค่าความสัมพันธ์ทางบวกดับค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน (Y)
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่0.05 คือสถานภาพการทำงานที่ดีของตำรวจ(X1)และการพึ่งตนเอง (X2)
ส่วนตัวแปรการดำรงชีวิตแบบพอเพียง (X3) ความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว (X4) การเรียนรู้
เพื่อชีวิต (X5) และ การมีศาสนธรรม (X6) ไม่มีความสัมพันธ์กับค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการ
ตำรวจชั้นประทวน (Y) แสดงว่าเป็นตัวแปรที่ไม่มีอิทธิพลต่อค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจ
ชั้นประทวน
ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างกันของตัวพยากรณ์
ผลการวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างกันของตัวพยากรณ์ จากตารางที่ 9 พบว่า
ตัวพยากรณ์ ที่มีความสัมพันธ์ทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 คือตัวพยากรณ์ที่
มีความสัมพันธ์กับสถานภาพการทำงานที่ดีของตำรวจ (X1) ได้แก่ การพึ่งตนเอง (X2) การดำรงชีวิต
แบบพอเพียง (X3) ความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว(X4) การเรียนรู้เพื่อชีวิต(X5) การมีศาสนธรรม (X6)
ตัวพยากรณ์ที่มีความสัมพันธ์ทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 คือตัวพยากรณ์ที่มี
ความสัมพันธ์กับ การพึ่งตนเอง (X2) ได้แก่ การดำรงชีวิตแบบพอเพียง (X3) ความสัมพันธ์ที่ดีใน
ครอบครัว(X4) การเรียนรู้เพื่อชีวิต(X5) การมีศาสนธรรม (X6)
ตัวพยากรณ์ที่มีความสัมพันธ์ทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 คือตัวพยากรณ์ที่มี
ความสัมพันธ์กับ การดำรงชีวิตแบบพอเพียง (X3) ได้แก่ ความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว(X4) การเรียน
รู้เพื่อชีวิต(X5) การมีศาสนธรรม (X6)
71
ตัวพยากรณ์ที่มีความสัมพันธ์ทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือตัวพยากรณ์ที่มี
ความสัมพันธ์กับ ความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว (X4) ได้แก่ การเรียนรู้เพื่อชีวิต(X5) การมีศาสนธรรม
(X6)
ตัวพยากรณ์ที่มีความสัมพันธ์ทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 คือตัวพยากรณ์ที่มี
ความสัมพันธ์กับ การเรียนรู้เพื่อชีวิต (X5) ได้แก่ การมีศาสนธรรม (X6)
ตอนที่ 2 การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณระหว่างตัวพยากรณ์และตัวเกณฑ์
จากการนำตัวพยากรณ์ทั้ง 6 ตัวมาทำการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นบันได ซึ่งทำให้เกิด
กลุ่มตัวพยากรณ์ หรือกลุ่มปัจจัยที่มีผลต่อค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน สถานี
ตำรวจในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8 กลุ่มตัวพยากรณ์หรือกลุ่มปัจจัยดังกล่าว จัดอยู่ในรูปของ
สมการที่เรียกว่า สมการถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาดังแสดงในตารางท ี่ 10
ตารางที่ 9 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ ( R ) ค่าดัชนีพยากรณ์ (R2) และค่าดัชนี
พยากรณ์ที่เพิ่มขึ้น (R2 Change)
ตัวพยากรณ์ R R2 R2 Change S.Eest
X1 .330 .109 .105 .7100
จากตารางที่ 9 แสดงให้เห็นว่า ตัวพยากรณ์ที่มีผลกระทบเชิงเส้นตรงกับค่าครองชีพที่สมดุลของ
ข้าราชการตำรวจชั้นประทวน สถานีตำรวจในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8 คือ สถานการทำงานที่ดี
ของตำรวจ (X1) ซึ่งเป็นตัวแปรตัวเดียวที่สามารถ พยากรณ์ความแปรปรวนของ ค่าครองชีพที่สมดุล
ของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน สถานีตำรวจในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8 ได้ร้อยละ
10.90 และมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากัน 0.330 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 โดยมี
ความคลาดเคลื่อนการตัวพยากรณ์ (S.Eest) 0.7100
72
ตอนที่ 3 ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณของตัวพยากรณ์กับตัวเกณฑ์
ตารางที่ 10 การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณของตัวพยากรณ์กับตัวเกณฑ์
Model SS df MS F Sig.
Regression 12.482 1 12.482
Residual 101.840 202 .504
Total 114.322 203
24.757 .000
จากตารางที่ 10 มีตัวพยากรณ์ 1 ตัวที่มีผลต่อค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้น
ประทวน สถานีตำรวจในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8 ดังรายละเอียดตารางที่ 10 ซึ่งตัวพยากรณ์
กับตัวเกณฑ์ที่อยู่ในตัวแบบมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และสามารถใช้พยากรณ์
ได้
ตารางที่ 11 การถดถอยพหุคูณของตัวพยากรณ์ต่อตัวเกณฑ์
Understandardized
Coefficients
Standardized
Coefficients
ตวั แปร Sig.
b SE.b ′
t
Constant .866 .346 2.502
X1 .469 .094
.330
4.976 .000
จากตารางที่ 11 การถดถอยพหุคูณของตัวพยากรณ์ 1 ตัวต่อตัวเกณฑ์ ที่ระดับความมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งตัวพยากรณ์ X1 ที่มีผลต่อค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน
สถานีตำรวจในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8
การคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ค่าน้ำหนักความสำคัญของตัวพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ
รวมทั้งสมการพยากรณ์ ซึ่งสามารถเขียนเป็นสมการแสดงความสัมพันธ์ได้ดังนี้
73
^
^
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ
Y = 0.866 + 0.469 X1
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน
Z = 0.330 Z1
4.3 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์สภาพการงานที่ดีที่มีผลต่อต่อค่าครองชีพที่สมดุลของ
ข้าราชการตำรวจชั้นประทวน สถานีตำรวจในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8
ตารางที่ 12 การวิเคราะห์ความแปรปรวนค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน สถานี
ตำรวจในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8 จำแนกตามสถานภาพส่วนตัวที่ดีของตำรวจ
(สายงาน, สถานภาพสมรส รายได้ของครอบครัว)
ตัวแปร แหล่งความแปรปรวน SS df MS F Sig.
Between Groups 4.056 4 1.014
Within Groups 110.265 199 .5540
1. สายงาน
Total 114.321 203
1.830 .124
Between Groups .109 2 5.4470
Within Groups 114.213 201 .568
2. สถานภาพสมรส
Total 114.322 203
.096 .909
Between Groups .282 2 .141
Within Groups 114.040 201 .567
3. รายได้
Total 114.322 203
.249 .780
74
4.4 การวิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคลและสภาพการทำงานที่ดี
เพื่อการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บข้อมูล
ส่วนตัวเพิ่มเพื่อหาเกณฑ์ในการชี้วัด หรือหาปัจจัยเหตุที่ส่งผลให้การมีค่าครองชีพที่สมดุลมีความชัดเจน
มากยิ่งขึ้น ด้วยการออกแบบสอบถามปลายปิดเชิงสำรวจข้อมูลของบุคคลโดยละเอียด ได้แก่ อายุ อายุ
ราชการ สายงาน สถานภาพสมรส คู่สมรส จำนวนบุตร มีอาชีพอื่นหรือไม ่ เงินเดือน การได้รับเบี้ยเลี้ยง
เดือนละ สวัสดิการที่ได้รับหรือค่าตอบแทน ค่าเช่าบ้าน ค่าพาหนะ มีรายจ่ายต่อเดือน ค่าใช้จ่ายเพื่อการ
อุปโภคบริโภค รายจ่ายเพื่อการศึกษา เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ รายจ่ายอื่น ๆ ต่อเดือน ความพอเพียง
ในเรื่องของรายได้และค่าใช้จ่าย การวางแผนการใช้จ่าย การประหยัด เลือกใช้จ่ายเฉพาะในสิ่งที่มีความจำ
เป็น การมีอาชีพเสริมของคู่สมรส รวมทั้งความรู้สึกถึงความเหมาะสมของเงินเดือนที่ได้รับจากการ
ประกอบอาชีพราชการ โดยมีรายละเอียดแสดงเป็นค่าร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม ดังต่อไปนี้
ตารางที่ 13 การวิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคลและสถานภาพที่ดีของตำรวจ
ตัวแปร จำนวน ร้อยละ
1. อายุ
< 35 ปี ตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป 82 122 40.2 59.8 2. อายุราชการ 1-10 ปี มากกว่า 10 ปีขึ้นไป 90 114 44.1 55.9 3. สายงาน ธุรการ ป้องกันปราบปราม สืบสวน สอบสวน จราจร 49 116 4 9 26 24.0 56.9 2.0 4.4 12.7 75 ตัวแปร จำนวน ร้อยละ 5. คู่สมรส ไม่มีรายได้ มีรายได้ < 10,000 บาท 10,000-20,000 บาท > 30,000 บาท
109
95
56
35
4
53.4
46.6
27.5
17.2
2.0
6. จำนวนบุตร
ไม่มีบุตร
มีบุตร
1-3 คน
มากกว่า 3 คนขึ้นไป
59
145
122
23
28.9
71.1
97.6
2.4
7. มีอาชีพอื่นหรือไม่
ไม่มี
มี
< 10,000 บาท 10,000-20,000 บาท 177 27 25 2 86.8 13.2 92.60 7.40 8. เงินเดือน < 10,000 บาท 10,000-20,000 บาท 120 84 58.8 41.2 9. ได้รับเบี้ยเลี้ยงเดือนละ ไม่มีเบี้ยเลี้ยง มีเบี้ยเลี้ยง < 1,000 บาท 1,000-2,000 บาท 79 125 117 8 38.7 61.3 93.6 6.4 76 ตัวแปร จำนวน ร้อยละ 10. สวัสดิการที่ได้รับหรือค่าตอบแทน ไม่มีสวัสดิการหรือค่าตอบแทน มีสวัสดิการหรือค่าตอบแทน < 1,000 บาท 1,000-2,000 บาท 137 67 63 4 67.2 32.8 94.0 6.0 11. ค่าเช่าบ้านเดือนละ ไม่มีค่าเช่าบ้าน มีค่าเช่าบ้าน < 1,000 บาท 1,000-2,000 บาท 150 54 46 8 73.5 26.5 85.18 14.82 12. ค่าพาหนะเดือนละ ไม่มีค่าพาหนะ มีค่าพาหนะ < 1,000 บาท 1,000-2,000 บาท > 2,000บาท
120
84
71
11
2
58.8
41.2
84.52
13.10
2.38
13. มีรายจ่ายต่อเดือนเพื่อการบริโภค
< 5,000 บาท 5,000-10,000 บาท > 10,000 บาท
169
31
4
82.8
15.2
2.0
14. มีรายจ่ายต่อเดือนเพื่อการอุปโภค
< 5,000 บาท 5,000-10,000 บาท 196 8 96.1 3.9 77 ตัวแปร จำนวน ร้อยละ 15. มีรายจ่ายต่อเดือนเพื่อการศึกษา ไม่มีรายจ่ายเพื่อการศึกษา มีรายจ่าย < 5,000 บาท 5,000-10,000 บาท > 10,000บาท
97
107
102
3
2
47.5
52.5
95.32
2.80
1.88
16. มีรายจ่ายต่อเดือนเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ
ไม่มีรายจ่ายเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ
มีรายจ่ายเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ
<1,000 บาท 1,000-2,000 บาท 103 101 94 7 50.5 49.5 93.07 6.93 17. มีรายจ่ายต่อเดือนอื่นๆ ไม่มีรายจ่ายอื่นๆ มีรายจ่ายอื่นๆ <1,000 บาท 1,000-2,000 บาท 131 63 49 24 64.2 35.8 24.0 11.8 78 ตัวแปร จำนวน ร้อยละ 18. รายได้เพียงพอต่อการใช้จ่ายในแต่ละเดือน ไม่เพียงพอ เพราะบุตรอยู่ในวัยเรียน ไม่ใช่ ใช่ ไม่เพียงพอ เพราะมีรายจ่ายที่จำเป็นมาก ไม่ใช่ ใช่ ไม่เพียงพอ เพราะคู่สมรสไม่มีรายได้ ไม่ใช่ ใช่ ไม่เพียงพอ เพราะตัวท่านเองไม่มีอาชีพเสริม ไม่ใช่ ใช่ ไม่เพียงพอ อื่นๆ โปรดระบุ ไม่ใช่ ใช่ เพียงพอ เพราะตัวท่านเองมีอาชีพเสริม ไม่ใช่ ใช่ เพียงพอ อื่นๆ ไม่ใช่ ใช่ 110 94 124 80 148 56 123 81 187 17 195 9 194 10 53.9 46.1 60.8 39.2 72.5 27.5 60.3 39.7 91.7 8.3 95.6 4.4 95.1 4.9 20. รายได้ที่ท่านได้รับจากทางราชการในแต่ละเดือนมี ความเหมาะสม ไม่เหมาะสม เหมาะสม 190 14 93.1 6.9 79 ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลจากตารางที่ 13 พบว่า ข้าราชการตำรวจชั้นประทวนที่นำมาศึกษาส่วน ใหญ่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป มีจำนวน 122 คน คิดเป็นร้อยละ 59.8 อายุต่ำกว่า 35ปี จำนวน 82 คน คิด เป็นร้อยละ 40.2 มีอายุราชการตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป จำนวน 114 คน คิดเป็นร้อยละ 55.9 ต่ำกว่า 10 ปี จำนวน 90 คน คิดเป็นร้อยละ 44.1 ทำงานอยู่ในสายงานป้องกันปราบปรามมากที่สุด จำนวน 116 คน คิดเป็นร้อยละ 56.9 สายธุรการจำนวน 49 คน คิดเป็นร้อยละ 24.0 สายจราจร จำนวน 26 คน คิดเป็น ร้อยละ 12.7 สายงานสอบสวน จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 4.4 และสายงานสืบสวน จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 2.0 ข้าราชการตำรวจชั้นประทวนส่วนใหญ่พบว่า สมรสแล้ว จำนวน 146 คน คิดเป็นร้อยละ 71.6 เป็นโสด จำนวน 51 คน คิดเป็นร้อยละ 25 และหย่าหรือหม้าย จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 3.4 โดยที่ ผู้ที่สมรสแล้ว มีคู่สมรสที่ไม่มีรายได้ จำนวน 109 คน คิดเป็นร้อยละ 53.4 มีรายได้ จำนวน 95 คน คิดเป็นร้อยละ 46.6 และคู่สมรสที่มีรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท จำนวน 56 คน คิดเป็นร้อยละ 27.5 รายได้ระหว่าง 10,000- 20,000 บาท จำนวน 35 คน คิดเป็นร้อยละ17.2 และรายได้มากกว่า 20,000 บาท จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 2.0 เป็นผู้ที่ไม่มีบุตร จำนวน 59 คน คิดเป็นร้อยละ 28.9 และมีบุตรจำนวน 145 คน คิดเป็นร้อยละ 71.1 จำแนกเป็นมีบุตร 1-3 คน จำนวน 122 คน คิดเป็น ร้อยละ 97.6 และมีบุตรมากกว่า 3 คน จำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 2.4 เป็นผู้ที่ไม่มีอาชีพเสริมอื่นๆ จำนวน 177 คน คิดเป็นร้อยละ 86.8 มีอาชีพเสริม 27 คน คิดเป็นร้อยละ 13.2 จำแนกรายได้ โดยมี รายได้เพิ่มจากอาชีพเสริมน้อยกว่า 10,000 บาท จำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 92.60 และมีรายได้อยู่ ระหว่าง 10,000-20,000 จำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 7.40 มีอัตราเงินเดือนต่ำกว่า 10,000 บาท จำนวน 120 คน คิดเป็นร้อยละ 58.8 10,000-20,000 บาท จำนวน 84 คน คิดเป็นร้อยละ 41.2 ข้าราชการตำรวจส่วนใหญ่มีเบี้ยเลี้ยง มีจำนวน 125 คน คิดเป็นร้อยละ 61.3 ผู้ที่มีเบี้ยเลี้ยง จำแนกเป็น เบี้ยเลี้ยงน้อยกว่า 1,000 บาท จำนวน 117 คน คิดเป็นร้อยละ 93.6 เบี้ยเลี้ยง 1,000 – 2,000 บาท จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 6.4 ไม่ได้รับสวัสดิการหรือค่าตอบแทน จำนวน 137 คน คิดเป็นร้อยละ 67.2 มีสวัสดิการหรือค่าตอบแทน จำนวน 67 คน คิดเป็นร้อยละ 32.8 จำแนกเป็น น้อยกว่า 1,000 บาท จำนวน 63 คน คิดเป็นร้อยละ 94 และ 1,000-2,000 บาท จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 6.0 ไม่มีเงินค่าเช่าบ้าน จำนวน 150 คน คิดเป็นร้อยละ 73.5 มีค่าเช่าบ้าน 54 คน คิดเป็นร้อยละ 26.5 จำแนกเป็นต่ำกว่า 1,000 บาท จำนวน 46 คน คิดเป็นร้อยละ 85.18 และ 1,000-2,000 บาท จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 14.82 ไม่มีค่าพาหนะ จำนวน 120 คน คิดเป็น ร้อยละ 58.8 มีค่าพาหนะ 84 คน คิดเป็นร้อยละ 41.2 เป็นจำนวนเงินต่ำกว่า 1,000 บาท จำนวน 71 คน คิดเป็นร้อยละ 84.52 และ 1,000-2,000 บาท จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 13.10 และ มาก กว่า 2,000 บาท จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 2.38 80 เมื่อพิจารณาด้านรายจ่าย พบว่า มีรายจ่ายต่อเดือนเพื่อการบริโภค จำแนกเป็น ต่ำกว่า 5,000 บาท จำนวน 169 คน คิดเป็นร้อยละ 82.8 5,000-10,000 บาท จำนวน 31 คน คิดเป็นร้อยละ 15.2 มากกว่า 10,000 บาท จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 2.0 มีรายจ่ายต่อเดือนด้านอุปโภค จำแนก เป็น ต่ำกว่า 5,000 บาท จำนวน 196 คน คิดเป็นร้อยละ 96.1 5,000-10,000 บาท จำนวน 8 คน คิด เป็นร้อยละ 3.9 มีรายจ่ายต่อเดือนด้านการศึกษา จำนวน 107 คน คิดเป็นร้อยละ 52.5 ไม่มีรายจ่าย ด้านการศึกษา จำนวน 97 คน คิดเป็นร้อยละ 47.5 รายจ่ายเพื่อการศึกษาจำแนกเป็น ต่ำกว่า 5,000 บาท จำนวน 102 คน คิดเป็นร้อยละ 95.32 5,000-10,000 บาท จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 2.8 และ มากกว่า 10,000 บาท จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 1.88 ไม่มีรายจ่ายต่อเดือนเพื่อการพักผ่อน หย่อนใจ จำนวน 103 คน คิดเป็นร้อยละ 50.5 มีรายจ่ายต่อเดือนเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ จำนวน 101 คน คิดเป็นร้อยละ 49.5 จำแนกเป็นน้อยกว่า 1,000 บาท จำนวน 94 คน คิดเป็นร้อยละ 93.07 1,000-2,000 บาท จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 3.4 ไม่มีรายจ่ายต่อเดือนอื่นๆ จำนวน 131 คน คิด เป็นร้อยละ 64.2 มีรายจ่ายอื่นๆ ต่อเดือน จำนวน 63 คน คิดเป็นร้อยละ 35.8 จำแนกเป็นต่ำกว่า 1,000 บาท คิดเป็นค้อยละ 77.78 และ 1,000-2,000 บาท จำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 22.22 ด้านหนี้สิน พบว่า มีหนี้สินกับธนาคารและสถาบันการเงิน จำนวน 139 คน คิดเป็นร้อยละ 68.1 ไม่มีหนี้สินจำนวน 65 คน คิดเป็นร้อยละ 31.9 เมื่อพิจารณาด้านรายได้เพียงพอต่อการใช้จ่ายในแต่ละเดือน พบว่า มีรายได้ไม่เพียงพอเพราะ สาเหตุต่างๆ ในแต่ละสาเหตุได้แก่ เพราะบุตรอยู่ในวัยเรียน จำนวน 94 คน คิดเป็นร้อยละ 46.1 เพราะ มีรายจ่ายที่จำเป็นมาก จำนวน 80 คน คิดเป็นร้อยละ 39.2 เพราะคู่สมรสไม่มีรายได้ จำนวน 56 คน คิดเป็นร้อยละ 27.5 เพราะตัวเองไม่มีอาชีพเสริม จำนวน 81 คน คิดเป็นร้อยละ 39.7 เพราะสาเหตุอื่น จำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 8.3 และ พบว่า รายได้เพียงพอเพราะมีการวางแผนการใช้จ่ายแต่ละ เดือน จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 8.8 เพราะประหยัด ไม่ฟุ่มเฟือย จำนวน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 9.3 เพราะใช้จ่ายสิ่งที่จำเป็น จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 8.8 เพราะมีอาชีพเสริม จำนวน 9 คน คิด เป็นร้อยละ 4.4 เพียงพอเพราะสาเหตุอื่นๆ จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 4.9 เมื่อพิจารณาความคิดเห็นด้านรายได้ที่ได้รับจากทางราชการในแต่ละเดือนไม่มีความเหมาะสม จำนวน 190 คน คิดเป็นร้อยละ 93.1 และเหมาะสม จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 6.9 ซึ่งผลการศึกษา พบว่าสาเหตุที่ทำให้ผู้ตอบแบบสอบถามทั้ง 14 ท่านให้ความคิดด้านรายได้ทางราชการมีความเหมาะสม ทั้งนี้เนื่องจาก มีเงินเดือนและสวัสดิการอื่น ๆ อยู่ระหว่าง 10,000-20,000 บาท อีกทั้งไม่มีภาระที่ต้อง รับผิดชอบมากมายนัก และคู่สมรสและตนเองยังมีรายได้เสริมจากการประกอบอาชีพนอกเวลาราชการ รู้จักเก็บออม และใช้จ่ายอย่างไม่ฟุ่มเฟือย ตัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออกไป และพบว่าใน 14 ท่านที่ ตอบว่ามีรายได้ที่ได้รับมีความเหมาะสม ทุกคนไม่มีรายจ่ายเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ และทุกคนมีการวาง แผนในการใช้จ่ายเงิน 81 จึงกล่าวได้ว่า เงินเดือนที่เหมาะสมนั้นไม่ควรจะต่ำกว่า 15,000 บาท สำหรับผู้ที่ไม่มีภาระรับผิด ชอบเลี้ยงดูสมาชิกในครอบครัว แต่หาว่ามีบุคคลที่ต้องรับผิดชอบดูแล รายได้ระดับนี้ไม่เพียงพอกับ ความต้องการ จึงต้องมีการเพิ่มสวัสดิการ หรือปรับเงินเดือนให้สูงมากว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะ อาชีพข้าราชการตำรวจชั้นประทวนนั้น เป็นอาชีพที่มีบทบาทภาระหน้าที่ และความรับผิดชอบสูงอีกทั้งยัง ต้องเสี่ยงอันตรายเพื่อความสงบสุขของบุคคลอื่น ดังนั้นการที่จะสร้างค่าครองชีพที่สมดุลได้นั้นนอกจาก การจะให้ความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพในด้านการปฏิบัติหน้าที่แล้ว การให้ความรู้ในเรื่องของการแก้ปัญหา และการดำรงชีวิตของตนเองก็เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้รัฐไม่จำเป็นต้องเพิ่มเงินงบประมาณในการเพิ่มอัตรา เงินเดือนเพียงด้านเดียวยังไม่พอ ทั้งนี้หาผู้มีรายได้ไม่รู้จักการใช้จ่ายที่มีคุณค่าตามความเหมาะสม การ เพิ่มเงินเท่าใดก็ไม่สามารถแก้ปัญหาค่าครองชีพของข้าราชการตำรวจระดับล่างให้หมดไปได้ 4.5 ผลการทดสอบสมมติฐานที่ 2-7 สมมติฐานที่ 1 สถานภาพส่วนตัวที่ดีของตำรวจแตกต่างกัน มีค่าครองชีพที่สมดุลแตกต่างกัน ผลการวิจัย จากตารางที่ 8 พบว่า ค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน แตกต่าง กัน เมื่อ สายงาน สถานภาพสมรส รายได้แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ซึ่งสอดคล้องกับ สมมติฐานที่ตั้งไว้ สมมติฐานที่ 2 สถานภาพการทำงานที่ดีของตำรวจมีผลต่อค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการ ตำรวจชั้นประทวน สถานีตำรวจในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8 ผลการวิจัยพบว่า สถานภาพการทำงานที่ดีของตำรวจ มีผลต่อค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการ ตำรวจชั้นประทวน สถานีตำรวจในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และ มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับค่อนข้างต่ำกับค่าครองชีพที่สมดุล โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ทาง บวกเท่ากับ 0.330 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ สมมติฐานที่ 3 การพึ่งตนเองมีผลต่อค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน สถานี ตำรวจในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8 ผลการวิจัยพบว่า การพึ่งตนเอง ไม่มีผลต่อค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน สถานีตำรวจในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ซึ่งปฏิเสธกับสมมติฐาน ที่ตั้งไว้ แต่มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับต่ำกับค่าครองชีพที่สมดุล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ทางบวกเท่ากับ 0.189 82 สมมติฐานที่ 4 การดำรงชีวิตแบบพอเพียง มีผลต่อค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจ ชั้นประทวน สถานีตำรวจในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8 ผลการวิจัยพบว่า การดำรงชีวิตแบบพอเพียงไม่มีผลต่อค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจ ชั้นประทวน สถานีตำรวจในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ซึ่งปฏิเสธ กับสมมติฐานที่ตั้งไว้ แต่มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับต่ำกับค่าครองชีพที่สมดุล อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ 0.01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.119 สมมติฐานที่ 5 ความสัมพันธ์ที่ดีภายในครอบครัว มีผลต่อค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการ ตำรวจชั้นประทวน สถานีตำรวจในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8 ผลการวิจัยพบว่า ความสัมพันธ์ที่ดีภายในครอบครัว ไม่มีผลต่อค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราช การตำรวจชั้นประทวน สถานีตำรวจในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8 ซึ่งปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ ที่ ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 แต่มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับต่ำกับค่าครองชีพที่สมดุล ที่ระดับนัย สำคัญทางสถิติ 0.01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.170 สมมติฐานที่ 6 การเรียนรู้เพื่อชีวิตมีผลต่อค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน สถานีตำรวจในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8 ผลการวิจัยพบว่า การเรียนรู้เพื่อชีวิตไม่มีผลต่อค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้น ประทวน สถานีตำรวจในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ซึ่งปฏิเสธ สมมติฐานที่ตั้งไว้ แต่มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับต่ำกับค่าครองชีพที่สมดุล ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.177 สมมติฐานที่ 7 การมีศาสนธรรมมีผลต่อค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน สถานีตำรวจในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8 ผลการวิจัยพบว่า การมีศาสนธรรมไม่มีผลต่อค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้น ประทวน สถานีตำรวจในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ซึ่งปฏิเสธ สมมติฐานที่ตั้งไว้ แต่มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับต่ำกับค่าครองชีพที่สมดุล ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.183 83 สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตอบปัญหาและสมมติฐานการวิจัย ตารางที่ 14 สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อพิสูจน์สมมติฐาน ตัวแปร ∼X S.D. แปล ความ r ค่าความ สัมพันธ์ ผลการพิสูจน์ สมมติฐาน 1. สภาพการงานที่ดีของตำรวจ 3.6338 .5289 ปานกลาง .330 ค่อนข้าง ต่ำ ยอมรับ 2. การพึ่งตนเอง 3.8254 .5402 มาก .189 ต่ำ ปฏิเสธ 3. การดำรงชีวิตแบบพอเพียง 4.0797 .4878 มาก .119 ต่ำ ปฏิเสธ 4. ความสัมพันธ์ที่ดีใน ครอบครัว 4.1201 .5460 มาก .170 ต่ำ ปฎิเสธ 5. การเรียนรู้เพื่อชีวิต 4.0839 .4805 มาก .177 ต่ำ ปฏิเสธ 6. การมีศาสนธรรม 4.3461 .4640 มาก .183 ต่ำ ปฏิเสธ 7. ค่าครองชีพที่สมดุล 2.6538 .5389 ปานกลาง จากตารางที่ 14 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ระดับค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้น ประทวน สถานีตำรวจในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8 มีค่าระดับปานกลาง (ϒX = 2.6538) พบว่าปัจจัยสภาพการงานที่ดีของตำรวจคือปัจจัยที่มีผลต่อค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการ ตำรวจชั้นประทวน สถานีตำรวจในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8 ซึ่งเป็นเพียงปัจจัยเดียวที่ยอมรับ สมมติฐานที่ตั้งไว้เพียงโดย มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (ϒX = 3.6338) ส่วนปัจจัยที่เหลือปฏิเสธ สมมติฐานที่ตั้งไว้ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก คือ ปัจจัยด้านการพึ่งตนเอง การดำรงชีวิตแบบพอเพียง ความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว การเรียนรู้เพื่อชีวิต และการมีศาสนธรรม ในขณะเดียวกันพบว่าปัจจัยทั้ง 5 ด้านดังกล่าวมีความสัมพันธ์ทางบวกกับค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจขั้นประทวน สถานี ตำรวจในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และ 0.01 บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมทุกวันนี้เกิดจากวิกฤติทางเศรษฐกิจของประเทศไทยซึ่งกระทบกับ คนส่วนใหญ่ของประเทศ ขาดคุณธรรม และจริยธรรม ส่งผลให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ติดตามมา เช่น การ ติดยาเสพติด การก่ออาชญากรรม การคอรัปชั่น การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบในระบบราชการ ถึงแม้ว่า ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนจะได้ปรับปรุงระบบค่าตอบแทนให้มีความสมดุลและเหมาะสมเพื่อให้เกิด สภาพคล่องตัว และเพื่อแก้ปัญหาการบริหารงาน สำนักงานตำรวจแห่งชาติก็เช่นเดียวกัน แม้ว่าได้มีการ แก้ปัญหาเศรษฐกิจและสังคมของข้าราชการตำรวจชั้นประทวนด้วยการปรับปรุงสวัสดิการให้มีความเป็น ธรรมในระดับหนึ่งแล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาค่าครองชีพของข้าราชการตำรวจชั้นประทวนซึ่งเป็น บุคคลากรที่เป็นฐานรากในองค์กรซึ่งมีจำนวนมากได้ ปัญหาเงินเดือนค่าครองชีพของข้าราชการตำรวจ ชั้นประทวนแต่ละคนจึงเป็นเรื่องที่ควรนำมาศึกษาวิจัยเพื่อแสวงหาแนวทางในการช่วยเหลือข้าราชการ ตำรวจชั้นประทวนได้รับค่าตอบแทนที่มีความเหมาะสมและมีความยุติธรรม เมื่อเปรียบเทียบบทบาท หน้าที่ในการปฏิบัติงานที่ต้อง รับผิดชอบในชีวิตทรัพย์สินของบุคคลอื่น ทั้งนี้เพื่อความสงบสุขที่จะ ต้องให้เกิดขึ้นในชุมชนสังคมและบ้านเมือง การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เพื่อศึกษา ปัจจัยเหตุที่มีผลต่อค่าครองชีพที่สมดุลของ ข้าราชการตำรวจชั้นประทวน สถานีตำรวจในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8 ทั้ง 11 สถานีตำรวจ เป็นการวิจัยเฉพาะความพึงพอใจที่มีผลทางด้านจิตใจของตำรวจชั้นประทวนต่อค่าครองชีพเท่านั้น จึง ไม่ได้นำสภาพเศรษฐกิจและสังคมมาร่วมศึกษาในครั้งนี้ การเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีเจาะจง มี 215 คน จากจำนวนประชากรทั้งสิ้น 1,171 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลผู้วิจัยได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง ข้อมูลที่ได้อยู่ในสภาพ สมบูรณ์ครบถ้วนที่สามารถนำมาวิเคราะห์ได้ 215 ชุด คิดเป็นร้อยละ 94.88 ซึ่งถือว่าสามารถเก็บข้อ มูลได้ตามขนาดจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่กำหนดไว้เบื้องต้น แล้วนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์ทางสถิติด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์ ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows เพื่อหาความสัมพันธ์ทางสถิติในการ วิจัยครั้งนี้โดยใช้ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (ϒ=0.05) เป็นเกณฑ์ในการยอมรับหรือปฏิเสธ สมมติฐาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ สถิติเชิงพรรณา ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างกันของตัวพยากรณ์และตัวเกณฑ์ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว 84 วัตถุประสงค์การวิจัย 1. เพื่อศึกษาระดับค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน สถานีตำรวจใน กองบังคับการนครบาล 8 ซึ่งผลการวิจัยพบว่าค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้นประทวนอยู่ ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย (∼X = 2.5694) 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน สถานี ตำรวจในกองบังคับการนครบาล 8 พบว่าปัจจัยสภาพการงานที่ดีของตำรวจคือปัจจัยที่มีผลต่อค่าครอง ชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน สถานีตำรวจในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8 ซึ่งเป็น เพียงปัจจัยเดียวที่ยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (∼X = 3.6338) ส่วน ปัจจัยอื่นปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก คือ ปัจจัยด้านการพึ่งตนเอง การดำรงชีวิต แบบพอเพียง ความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว การเรียนรู้เพื่อชีวิต และการมีศาสนธรรม ในขณะเดียวกัน พบว่าปัจจัยทั้ง 5 ด้านดังกล่าวมีความสัมพันธ์ทางบวกกับค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจขั้น ประทวน สถานีตำรวจในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และ 0.01 5.1 สรุปผลการวิจัย จากการศึกษาครั้งนี้สามารถสรุปประเด็นสำคัญที่จะนำเสนอได้ดังนี้ ปัจจัยที่มีผลต่อค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้นประทวนสถานีตำรวจในกองบังคับ การตำรวจนครบาล 8 ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ สถานภาพส่วน ตัวที่ดีของตำรวจ และ ค่าครองชีพที่สมดุล ส่วนปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ได้แก่ การพึ่งตนเอง การดำรงชีวิตแบบพอเพียง ความสัมพันธ์ในการปฏิบัติงาน การเรียนรู้เพื่อชีวิต และการมีศาสนธรรม การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรที่มีผลต่อค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้น ประทวนในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8 พบว่า ปัจจัยด้านต่าง ๆ คือ ตัวแปรต้น มีความสัมพันธ์กับ ตัวแปรตาม ซึ่ง จากการศึกษาครั้งนี้สามารถสรุปประเด็นสำคัญที่จะนำเสนอได้ดังนี้ ปัจจัยสถานภาพการทำงานที่ดีของตำรวจ คือ ปัจจัยที่มีผลต่อค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการ ตำรวจชั้นประทวนสถานีตำรวจในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8 ผลของการศึกษาพบว่า ที่มีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับปานกลาง (∼X = 3.6338) และ มีอำนาจในการทำนายค่าครองชีพที่สมดุลของ ข้าราชการ ตำรวจชั้นประทวน สถานีตำรวจในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8 ส่วนปัจจัยอื่น ๆ ได้แก่ การพึ่งตน เอง การดำรงชีวิตแบบพอเพียง ความสัมพันธ์ที่ดีภายในครอบครัว การเรียนรู้เพื่อชีวิต และการมีศาสน 85 ธรรม ไม่มีผลต่อค่าครองชีพที่สมดุล แต่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการ ตำรวจชั้นประทวนสถานีตำรวจในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8 แสดงว่าเมื่อการพึ่งตนเอง การดำรง ชีวิตแบบพอเพียง ความสัมพันธ์ที่ดีภายในครอบครัว การเรียนรู้เพื่อชีวิต และการมีศาสนธรรมเพิ่มมาก ขึ้น ความสมดุลของข้าราชการตำรวจชั้นประทวนสถานีตำรวจในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8 ก็จะ เพิ่มมากขึ้น 5.2 อภิปรายผลการศึกษาวิจัย สภาพส่วนตัวที่ดีของตำรวจ สภาพส่วนตัวที่ดีของตำรวจแตกต่างกัน มีค่าครองชีพที่สมดุล แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการทดสอบที่สอดคล้องนี้แสดงให้เห็นว่า เมื่อ สภาพการสมรส รายได้และฐานะของ ครอบครัวซึ่งเป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์และเอื้ออำนวยให้การปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจชั้น ประทวนมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอันนำไปสู่ความเจริญก้าวหน้าของตนเองและครอบครัวได้อย่าง มั่นคงตลอดไป จะทำให้รายรับที่มีความเหมาะสมเพียงพอใจกับการใช้จ่าย หรือรายจ่ายที่มีระดับต่ำและ เพียงพอต่อการใช้จ่ายในครอบครัว มีเหลือเก็บ ซึ่งทำให้ครอบครัวไม่เกิดความเดือดร้อนในการครอง ชีพ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความเพียงพอทั้งทางร่างกายและจิตใจของสมาชิกในครอบครัวมีความแตกต่าง กัน เนื่องจาก สภาพการสมรส รายได้และฐานะของครอบครัวเป็นตัวแปรหนึ่งที่มีความสัมพันธ์กับ รายได้ที่มีนั้นมีความสมดุลเหมาะสมหรือไม่ หากคู่สมรส เป็นผู้ที่มีรายได้เช่นเดียวกัน หรือสามารถหา รายได้เสริม หรือคู่สมรสสามารถใช้เวลาว่างส่วนตัวในการทำปฏิบัติวิถีการดำรงชีพแบบรู้จักกินรู้จักใช้ และเก็บออม ก็จะทำให้ข้าราชการตำรวจชั้นประทวนที่มีคู่สมรสที่คิดปฏิบัติดีเช่นนี้มีค่าครองชีพที่สมดุล ในขณะเดียวกัน ข้าราชการตำรวจชั้นประทวนที่เป็นโสด รายได้ที่มีนั้นอาจนำมาใช้จ่ายเฉพาะส่วนตัวและ รับผิดชอบพ่อแม่พี่น้องบางส่วน จะเพียงพอหรือไม่นั้นก็ขึ้นอยู่กันสมาชิกในครอบครัวว่าจะช่วยเหลือ เกื้อกูลต่อกันมากน้อยแค่ไหน หากไม่ต้องรับภาระดังกล่าว ข้าราชการตำรวจผู้นั้นควรจะมีรายได้ที่ เหมาะสมสำหรับตนเอง ในส่วนของรายได้และฐานะทางเศรษฐกิจ ด้านเชิงปริมาณที่มีความแตกต่างกัน ย่อมมีความสมดุลของค่าครองชีพต้องแตกต่างกันอยู่แล้ว ผู้ที่มีรายได้สูง ทำให้ฐานะของครอบครัวดี ค่าครองชีพย่อมมีความสมดุลมากกว่ากว่าผู้ที่มีรายได้ต่ำ ฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดี ซึ่งสอดคล้องกับ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับสภาพส่วนตัวที่ดีของตำรวจที่มีผลต่อการมีค่าครองชีพที่สมดุลได้แก่ทฤษฎีองค์กร ที่กล่าวว่า บุคคลเป็นสมาชิกหรือสร้างองค์การขึ้นเพราะมีความคาดหวังได้แก่ค่าตอบแทนที่จะได้รับจาก องค์การในขณะเดียวกันก็ต้องการให้บางสิ่งบางอย่างตอบแทนให้กันองค์การได้ด้วย ดังนั้นอนุมานได้ว่า บุคคลผู้เป็นสมาชิกส่วนหนึ่งที่สร้างเศรษฐกิจของครอบครัวให้มีความสมดุลได้ โดยผลของการตอบ แทนที่ได้รับนั้นคือความรักความอบอุ่นความสุขสมบูรณ์มั่นคงทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจที่จะมีให้แก่ 86 กัน สอดคลอ้ งกบั ผลการวจิ ยั ของ มาวเดย ์ และคณะ (Mowday and Other 1979) ที่พบว่าผู้แต่งงาน มีครอบครัวแล้วย่อมต้องการความมั่นคงมากว่าผู้ที่ยังไม่แต่งงาน ดังนั้นค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้นประทวนมีความสัมพันธ์กับคู่สมรสที่จะนำมา สู่การมีรายได้และฐานะที่เพียงพอกับความต้องการ พร้อมทั้งการให้ค่าตอบแทน ค่าเสี่ยงภัยให้มีอัตราที่ ค่าสินบนนำจับ หรือค่าตอบแทนที่มาจากผลการปฏิบัติหน้าที่ต้องใช้ความสามารถและศักยภาพที่แตก ต่างของแต่ละบุคคลให้สูงขึ้นก็จะทำให้ค่าครองชีพของข้าราชการตำรวจมีความสมดุลมากขึ้น ปัจจัยสถานภาพการงานที่ดี มีผลต่อค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน สถานีตำรวจในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และมีความสัมพันธ์ เชิงบวกในระดับต่ำกับค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน สถานีตำรวจในกองบังคับ การตำรวจนครบาล 8 สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์มีค่าเท่ากับ 0.176 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ผลการทดสอบที่สอดคล้องนี้แสดงให้เห็นว่า สถานภาพการงานที่ดี ซึ่งประกอบด้วย อายุราช การ สายงาน และค่าตอบแทนทุกอย่างที่ผู้ปฏิบัติงานได้รับจากการปฏิบัติงานนั้น ๆ ได้แก่ เงินเดือน เบี้ยเลี้ยง สวัสดิการ ค่าพาหนะ ค่าเช่าบ้าน และค่าตอบแทนในรูปของประโยชน์เกื้อกูลอื่น ๆ เป็นปัจจัย ที่มีอำนาจในการทำนายการมีค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน สถานีตำรวจในกอง บังคับการ ตำรวจนครบาล 8 เพราะองค์ประกอบดังกล่าวเป็นสิ่งจำเป็นของการดำรงชีวิตของมนุษย์ และเป็นเครื่องจูงใจในการทำงาน เพราะมนุษย์มีแรงผลักดันบางอย่างที่ทำให้มีการแสดงพฤติกรรมออก มาเพื่อตอบสนองแรงผลักดันที่เกิดขึ้น เช่น หิวน้ำก็ต้องหาน้ำมาดื่ม เพราะมีแรงผลักดัน คือ ความ กระหาย ซึ่งเป็นความต้องการของร่างกายเป็นแรงผลักดันตามธรรมชาติ เพื่อตอบสนองความต้องการ ของร่างกาย แต่ถ้ามนุษย์สามารถสร้างแรงผลักดันได้ก็เท่ากับเป็นการสร้างพฤติกรรมให้เกิดขึ้น ดังนั้น ถ้าเราต้องการให้มนุษย์แสดงพฤติกรรมแบบใดก็ตาม ก็ต้องสร้างแรงผลักดันที่เป็นต้นเหตุแห่งพฤติ กรรมนั้น จากหลักการนี้ทำให้มนุษย์เริ่มรู้จักสร้างแรงผลักดันให้คนอื่นทำในสิ่งที่ตัวเองต้องการ ซึ่งเรา เรียกวิธีนี้ว่า การจูงใจ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของเฮอร์ซเบอร์ก และ แซนเดอร์แมน (พงษ์สวัสดิ์ จำรัสประเสริฐ 2537: 12-15 อ้างถึง Herzberg Mauaner and Snyderman ) ที่ได้อธิบายไว้ว่า ความ พึงพอใจในงานที่ทำและความไม่พอใจในงานที่ทำ มีสาเหตุมาจากปัจจัย 2 กลุ่ม คือ ปัจจัยจูงใจ ซึ่งเป็น ปัจจัยที่ทำให้บุคลากรเกิดความพึงพอใจในการทำงาน ประสบผลสำเร็จในการทำงาน ได้รับการยอมรับ นับถือ และลักษณะของงาน ความรับผิดชอบและความก้าวหน้า ปัจจัยที่ 2 ได้แก่ ปัจจัยค้ำจุน เป็น ปัจจัยที่ค้ำจุนให้แรงจูงใจในการทำงานของบุคคลมีอยู่ตลอดเวลาถ้าไม่มีหรือมีในลักษณะที่ไม่สอดคล้อง กับบุคคลในองค์การก็จะเกิดความไม่ชอบงาน เช่น เงินเดือน สภาพแวดล้อมของการทำงาน และ นโยบายของบริษัท ปัจจัยจูงใจหรือปัจจัยกระตุ้น องค์ประกอบที่ทำให้บุคลากรเกิดความพึงพอใจใน การทำงาน มีความสัมพันธ์โดยตรงกับแรงจูงใจภายในที่เกิดจากงานที่ทำได้แก่ ความสำเร็จในงาน การ ยอมรับนับถือ ลักษณะของงาน ความรับผิดชอบ ความก้าวหน้า และปัจจัยค้ำจุน คือ ปัจจัยที่จะค้ำจุน 87 ให้แรงจูงใจในการทำงานของบุคคลมีอยู่ตลอดเวลา มีความสัมพันธ์โดยตรงกับสิ่งแวดล้อมภายนอก เป็นแรงจูงใจที่เกิดจากภาวะการทำงาน ช่วยป้องกันการปฏิบัติงานไม่ให้หย่อนประสิทธิภาพลง ประกอบ ด้วย นโยบายและการบริหาร การปกครองบังคับบัญชา ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน สภาพการ ทำงาน และเงินเดือน และสอดคล้องกับผลการศึกษาของ ปราศัย สังขะทรัพย์ (2521) ที่พบว่า การ ปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจระดับรองสารวัตรในกองกำลังพล และในสถานีตำรวจนครบาล มี ปัจจัยที่มีอิทธิพลทำให้ระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติหน้าที่ราชการค่อนข้างต่ำ ได้แก่ เงินเดือน และ ผลประโยชน์ต่างๆ ดังนั้นการมีค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้นประทวนนั้นจะต้องมีหลักในการให้ค่า ตอบแทนที่เพียงพอต่อการดำรงชีพและสอดคล้องกับความต้องการของปัจเจกชน สังคม วัฒนธรรม สภาพเศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ประกอบกับการสร้างหลักความมั่นคงให้ข้าราชการตำรวจระดับชั้น ประทวนให้ครอบคลุมไปถึงสภาพความเป็นอยู่ของคนในครอบครัว หรือผู้ที่อยู่ภายใต้การ ซึ่งสามารถ ทำได้ในด้านการเพิ่มสวัสดิการพื้นฐานของการดำรงชีวิตให้เพิ่มมากขึ้นอย่างพอเพียงทั้งตนเองและ ครอบครัว เพื่อเป็นแก้ปัญหาค่าครองชีพที่ไม่สมดุลในปัจจุบัน ปัจจัยสถานภาพส่วนตัวที่ดีของตำรวจ ผลการวิจัยพบว่า สถานภาพส่วนตัวที่ดีของตำรวจ มีผลต่อค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน สถานีตำรวจในกองบังคับการตำรวจนคร บาล 8 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับค่อนข้างต่ำกับค่าครองชีพ ที่สมดุล โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ทางบวกเท่ากับ 0.330 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ผลการศึกษาที่สอดคล้อง แสดงให้เห็นว่า สถานภาพส่วนตัวที่ดีของตำรวจ ซึ่งหมายถึง อายุ สภาพการสมรส จำนวนบุตรหรือบุคคลในครอบครัวที่ต้องรับภาระดูแล การบริโภค และการมีหนี้สิน ของครอบครัว มีผลต่อ ค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน เป็นแบบแผนการดำเนิน ชีวิตลักษณะทั่วไป และแบบแผนการดำเนินชีวิตด้วยวิธีการพึ่งตนเองและมีสภาพเศรษฐกิจแบบ พอเพียง สถานภาพส่วนตัวที่ดีของตำรวจมีผลต่อการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ เป้าหมายที่บุคคล ต้องการบรรลุถึงต้องการของบุคคล โดยมีระบบการแยกประเภทความต้องการหลายระบบ ซึ่งระบบ เหล่านี้ทุกระบบเห็นด้วยว่าความต้องการทางชีวภาพเป็นความต้องการเบื้องต้นมากที่สุดของมนุษย์ หลังจากความต้องการทางชีวภาพได้รับการตอบสนองแล้ว ความต้องการทางสังคมก็จะเกิดขึ้นมา ความ ต้องการเหล่านี้ ได้แก่ ความต้องการการยอมรับทางสังคม การยกย่อง ความรัก และความสมหวังของ ชีวิต องค์การสามารถช่วยในการตอบสนองในทุกระดับชั้น ตามแนวคิดของ Wiener ให้ข้อสนับสนุนว่า การที่บุคคลสมัครใจที่จะรับราชการในอาชีพตำรวจนั้น มีสาเหตุมาจากความต้องการที่จะได้รับเงินตอบ แทนหรือค่าจ้าง เป็นสิ่งตอบแทนในการรับราชการดังกล่าว โดยเมื่อพิจารณาถึงข้าราชการตำรวจโดยทั่ว ไปแล้ว จะพบว่า สำหรับข้าราชการตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่ในสายงานด้านการปราบปราม หรือปฏิบัติหน้า ที่ประจำอยู่ที่สถานีตำรวจต่างๆ จะได้รับผลตอบแทนจากรัฐบาลนอกเหนือจากเงินเดือนและเบี้ยเลี้ยง 88 รวมไปถึงสวัสดิการต่างๆ มากกว่าข้าราชการตำรวจชั้นประทวนที่สังกัดฝ่ายอำนวยการ อันจะเห็นได้จาก ข้าราชการตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่สายงานปราบปรามหรือสายงานจราจรนั้น จะได้รับเงินค่าเสี่ยงภัยใน ลักษณะเหมาจ่ายเป็นรายเดือน ในอัตราเดือนละ 1,200 บาท ส่วนข้าราชการตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่ ประจำอยู่ยังสถานีตำรวจนั้นยังได้รับเงินสินบนนำจับ หรือ เงินรางวัลนำจับ กรณีที่มีการจับกุมผู้ที่กระทำ ความผิดทางอาญาและตามกฎหมายดังกล่าวได้บัญญัติให้จ่ายเงินตอบแทนเหล่านั้น ซึ่งรายได้จากค่า ตอบแทนเหล่านี้ทำให้ช่วยฐานะทางเศรษฐกิจแก่ตำรวจชั้นประทวนได้เป็นอย่างดี ถ้าพิจารณาในแง่ องค์กร องค์การต้องแก้ไขปัญหาด้านค่าใช้จ่ายที่พอเพียง เหมาะสม เพื่อให้ข้าราชการตำรวจมีขวัญและ กำลังใจในการทำงานมากยิ่งขึ้น ไม่ต้องกังวลถึง บุตรในความดูแล การประกอบอาชีพของภรรยา ฐานะ ของครอบครัว การบริโภค และการมีหนี้สิน หากข้าราชการตำรวจดังกล่าวมีรายได้ไม่เพียงพอต่อราย จ่าย ย่อมจะทำให้ข้าราชการตำรวจมีจิตใจหมกมุ่นในการหารายได้เสริม อันจะส่งผลให้การทำงานของข้า ราชการตำรวจไม่เต็มความสามารถ และพยายามที่จะนำเวลาที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ไปในกิจการส่วนตัว ซึ่ง อาจทำให้งานของหน่วยงานหรือองค์การเสียหายได้ ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาของ ธีรพล คุปตานนท  (2530) ที่พบว่า ปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่อสัมฤทธิผลในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงาน สอบสวนในสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล เป็นปัจจัยเกี่ยวกับ ตำแหน่ง อายุ อายุราชการ การศึกษาเพิ่มเติม สภาพการสมรส รายได้ ฐานะทางครอบครัว มีผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติหน้าที่ของ เจ้าหน้าที่ตำรวจ และผลการศึกษาของ จารุนันท  สมบูรณ์สิทธิ ์ (2535) พบว่าปัจจัยด้านรายได้มีความ สัมพันธ์ทางบวกกับความพึงพอใจในชีวิต และผลการศึกษาของ วัฒนา ยี่จีน (2538) พบว่า ความ พึงพอใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจในระดับสูง คือความตั้งใจในการทำงาน รายได้และ สวัสดิการ ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า สถานภาพส่วนตัวที่ดีของตำรวจ ซึ่งได้แก่ ฐานะ หรือตำแหน่งส่วนบุคคล ที่ปรากฏในครอบครัว และ สังคม อายุ สภาพการสมรส จำนวนบุตรหรือบุคคลในครอบครัวที่ต้องรับ ภาระดูแล การบริโภค และการมีหนี้สินของครอบครัว เป็นพื้นเพของบุคคลที่มีมาแต่ก่อน เป็นปัจจัย ส่วนบุคคล ที่มีปัจจัยแวดล้อมทางสังคม เป็นภูมิหลังด้านจิตวิทยา ที่ใช้เป็นแบบแผนการดำเนินชีวิต ลักษณะทั่วไป และแบบแผนการดำเนินชีวิตด้วยวิธีการพึ่งตนเองและมีสภาพเศรษฐกิจแบบพอเพียง จึงมีความสัมพันธ์กับค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน ปัจจัยการพึ่งตนเอง ผลการวิจัยพบว่า การพึ่งตนเอง ไม่มีผลต่อค่าครองชีพที่สมดุลของ ข้าราชการตำรวจชั้นประทวน สถานีตำรวจในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8 ที่ระดับนัยสำคัญทาง สถิติ 0.05 ซึ่งปฏิเสธกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ แต่มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับต่ำกับค่าครองชีพที่สมดุล ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ทางบวกเท่ากับ 0.189 89 ผลการศึกษาที่ไม่สอดคล้องตามสมมติฐานที่ตั้งไว้เนื่องจากผลการวิเคราะห์ทางสถิติที่แสดงให้ เห็นว่าปัจจัยดังกล่าวไม่มีอำนาจในการทำนายการส่งผลให้เกิดตัวแปรตาม แต่ผลการวิเคราะห์สถิติ แสดงให้เห็นว่า ปัจจัยด้านการพึ่งตนเองมีความสัมพันธ์กับการมีค่าครองชีพที่สมดุลในทิศทางบวก แสดงให้เห็นว่า ว่าเมื่อมีการพึ่งตนเองเพิ่มมากขึ้น การมีค่าครองชีพที่สมดุลก็จะเพิ่มมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ข้าราชการตำรวจชั้นประทวนควรมีจิตสำนึกหรือความตระหนักที่จะพึ่งพาตนเองในการประกอบกิจการ ใดๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยอาศัยความอุตสาหะพากเพียร ภายใต้ศักยภาพที่ตนเองมีอย่างเต็มความ สามารถ ตามแนวคิดของ กาญจนา แก้วเทพ และ กนกศักดิ์ แก้วเทพ (2530) ที่ได้อธิบายถึง การ พึ่งตนเองในเชิงปัจเจกบุคคลว่า คือกิจกรรมทั้งหลายที่กระทำโดยปัจเจกชนและครัวเรือนเพื่อบรรลุถึง หลักประกันของการดำรงชีวิต และโจฮัน กาล์เตอท์ (Johan Galtung) ให้ข้อสนับสนุนว่า การพึ่งตนเอง คือการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มีความเป็นอิสระ มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีความเพียงพอทางเศรษฐกิจ มีความเสมอภาค มีความร่วมมือที่ไม่ก่อให้เกิดแบบแผนใหม่ของการพึ่งพา เป็นการผสมผสานระหว่าง ความเป็นเอกราชเข้ากับความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน และ เคมป์ โรแนล ฮอป (Kempe Ronal Hope) ยัง ให้ข้อสนับสนุนอีกว่า การพึ่งตนเอง คือ การมีอิสระในการตัดสินใจ และสามารถระดมทรัพยากรของ สังคมมาใช้ตามความคิดและแนวทางของตนเองได้รวมทั้งการปฏิเสธหลักการจัดสรรทรัพยากรของผู้อื่น ด้วยการเอาเปรียบ (ปราณี หมอนทองแดง 2534 อ้างถึง Kempe Ronal Hope) และ วิบูลย์ เข็มเฉลิม (2532 : 14) กล่าวถึงคุณภาพชีวิตไว้ว่า คนจะมีชีวิตอยู่ได้โดยไม่เดือดร้อนควรจะ พึ่งตนเอง ซึ่งผลจากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การพึ่งตนเองมีผลต่อค่าครองชีพของบุคคลที่ทำให้เกิด ความสมดุล การพึ่งตนเอง ด้วยการประหยัด อดออม ใช้แรงงานของตนเอง อุดรูรั่วแห่งกิเลสและ อบายมุข ใช้และมีไว้เฉพาะสิ่งที่จำเป็น ตั้งมั่นอยู่ในหลักการลดรายจ่าย ฉลาดที่จะใช้เพื่อพออยู่ พอกิน แก้ปัญหาด้วย ตนเอง มีความเป็นเอกราช มีอิสระ ช่วยเหลือเกื้อกูล รู้จักการผสมผสานให้เหมาะสม กับสภาพและศักยภาพของตนเองและครอบครัว การกระทำเช่นนี้จะทำให้ปัจเจกชนและครอบครัว สามารถมีรายได้ที่ สมดุลและบรรลุถึงหลักประกันของการดำรงชีวิต ปัจจัยการดำรงชีวิตแบบพอเพียง ผลการวิจัยพบว่า การดำรงชีวิตแบบพอเพียงไม่มีผลต่อค่า ครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน สถานีตำรวจในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8 ที่ ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ซึ่งปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ แต่มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับต่ำกับค่า ครองชีพที่สมดุล ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.119 ผลการศึกษาที่ไม่สอดคล้องตามสมมติฐานที่ตั้งไว้เนื่องจากผลการวิเคราะห์ทางสถิติที่แสดงให้ เห็นว่าปัจจัยดังกล่าวไม่มีอำนาจในการทำนายการส่งผลให้เกิดตัวแปรตาม แต่ผลการวิเคราะห์สถิติ แสดงให้เห็นว่า ยิ่งเพิ่มปัจจัยด้านการดำรงชีวิตแบบพอเพียงมากขึ้นเท่าไร การมีค่าครองชีพที่สมดุล ย่อมมีเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้นการมีค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน ในกอง บังคับการตำรวจนครบาล 8 นั้นควรมีจิตสำนึกหรือความตระหนักในการดำเนินชีวิตอย่างสายกลาง มี 90 ความพอเพียงทั้งด้านวัตถุและจิตใจ ดาํ รงชวี ติ อยา่ งสมถะ สนั โดษ พอใจในสิ่งที่ตนม ี ไม่เอารัด เอาเปรียบ เสียสละและพร้อมที่จะช่วยเหลือส่วนรวม สามารถนำแนวคิดนี้มาใช้ได้ทุกระดับ ดังจะเห็นได้ จาก ในภาวะวิกฤติทางด้านเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นได้ ทำให้เกิดการน้อมนำกระแสพระราชดำริของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในเรื่อง “เศรษฐกิจแบบพอเพียง” มาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตด้วยวิถีการ พึ่งพาตนเองได้เกิดขึ้นในสังคมไทยขณะนี้ อันเป็นการพัฒนาและการเสริมสร้างศักยภาพตั้งแต่ระดับ บุคคล ครอบครัว ชุมชน และสังคม โดยสร้างการเรียนรู้ถึงวิธีการพึ่งตนเองได้ ตามแนวคิดของประเวศ วะสี (2541 : 43-45) ที่ให้ข้อสนับสนุนว่า เศรษฐกิจพอเพียง คือ พอเพียงสำหรับทุกคน มีธรรมชาติ พอเพียง มีความรักพอเพียง เมื่อทุกอย่างพอเพียงก็เกิดความสมดุล ดังนั้น การดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงจึงควรเป็นวิถีชีวิตแบบพอเพียงของคนส่วนใหญ่ ในประเทศ ซึ่งเป็นคนระดับล่าง หรือชั้นระดับรากหญ้า เพราะเป็นวิถีชีวิตภายใต้ ความสันโดษ ความ พึงพอใจในสิ่งที่ตนเองมี และความเข้มแข็งของตนเอง ที่มีความสามารถ ประสบการณ์ ศักยภาพใน การนำสิ่งรอบข้างที่ตนเองมีมาสร้างให้เกิดประโยชน์ที่สามารถตอบสนองความต้องการและความจำเป็น ในการดำรงชีวิตโดยไม่จำเป็นต้องไปแสวงหาในสิ่งที่ตนเองไม่มี อันจะก่อให้เกิดภาระ ปัญหาความยาก ลำบากให้เกิดขึ้นกับตนเองและครอบครัว การเดินทางสายกลางก่อให้เกิดความไม่เบียดเบียนทั้งตนเอง และคนรอบข้าง อันนำไปสู่การบรรลุถึงความสมดุลในทุก ๆ ด้าน ทั้งตนเอง ครอบครัว ปัจจัยความสัมพันธ์ที่ดีภายในครอบครัว ผลการวิจัยพบว่า ความสัมพันธ์ที่ดีภายในครอบครัว ไม่มีผลต่อค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน สถานีตำรวจในกองบังคับการตำรวจ นครบาล 8 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ซึ่งปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ แต่มีความสัมพันธ์เชิงบวกใน ระดับต่ำกับค่าครองชีพที่สมดุล ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.170 ผลการศึกษาที่ไม่สอดคล้องตามสมมติฐานที่ตั้งไว้เนื่องจากผลการวิเคราะห์ทางสถิติที่แสดงให้ เห็นว่าปัจจัยดังกล่าวไม่มีอำนาจในการทำนายการส่งผลให้เกิดตัวแปรตาม แต่ผลการวิเคราะห์สถิติ แสดงให้เห็นว่า ยิ่งเพิ่มปัจจัยด้านความสัมพันธ์ที่ดีภายในครอบครัวมากขึ้นเท่าไร การมีค่าครองชีพที่สม ดุลย่อมมีเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น เนื่องจากความสัมพันธ์ที่ดีภายในครอบครัว เป็นการอยู่ร่วมกันใน ครอบครัวที่มี ความรักใคร่ ความปรารถนาดี มีความเอื้ออาทรและความช่วยเหลือเกื้อกูลต่อกันในฐานะ เป็นสมาชิกในครอบครัว ซึ่งจะทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ไม่เอาเปรียบกัน และก่อให้เกิดความร่วมแรง ร่วมใจกันสร้างเสริมให้ครอบครัวดำรงอยู่อย่างมีความสุขที่มั่นคง ลักษณะพฤติกรรมที่บุคคลใน ครอบครัว สามี ภรรยา บุตร หลาน ญาติพี่น้อง หรือ บุคคลอื่นที่อาศัยอยู่รวมกันในครอบครัวปฏิบัติดู แลต่อกันในทุกๆ ด้าน ทั้ง มีความรัก ความห่วงใย มีการดูแลเอาใจใส่ต่อกันการมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันของ สมาชิกในครอบครัว การเคารพยกย่องและให้ความสำคัญต่อกัน มีการปรองดองเป็นอันหนึ่งอันเดียว กัน และรวมถึงการพักผ่อนหย่อนใจร่วมกัน อันจะนำไปสู่ความรู้สึกพึงพอใจในชีวิต หรือ ความรู้สึก 91 เป็นสุข ปราศจากความทุกข์หรือความไม่สบายใจ ครอบครัวเป็นสถาบันที่สำคัญที่สุด เป็นสังคมกลุ่ม แรกที่คนเราต้องเผชิญตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั่งเสียชีวิต หน้าที่ของครอบครัวมีอยู่หลายประการ เช่น สร้างสรรค์สมาชิกใหม่ สนองความต้องการทางเพศ เลี้ยงดูผู้เยาว์ให้เจริญเติบโตในสังคม ดูแลผู้สูงอายุ ให้ความรักความอบอุ่น ซึ่งเป็นแหล่งที่สมาชิกในครอบครัวได้รับความรักความอบอุ่นอย่างบริสุทธิ์ใจ ครอบครัวเป็นแหล่งให้กำลังใจและปลุกปลอบใจ เพื่อให้บุคคลสามารถผ่านอุปสรรคได้ ครอบครัว จึงเป็นแหล่งที่ให้ทั้งความรัก ความคุ้มครองและความมั่นคงทางด้านจิตใจ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ มอร์โรว์ และ วิลสัน (Morrow and Wilson 1961 : 63) ที่ให้ข้อสนับสนุนว่า ลักษณะของ สัมพันธภาพในครอบครัว ได้แก ่ การสนับสนุนด้านอารมณ ์ และสิ่งแวดล้อมในครอบครัว การแลก เปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน มีการพักผ่อนหย่อนใจร่วมกันในครอบครัว มีการรักใคร่ ผูกพันซึ่ง กันและกัน มีความเห็นอกเห็นใจกัน และมีความกลมเกลียว สามัคคีปรองดองระหว่างสมาชิกใน ครอบครัว ทำให้เกิดความพึงพอใจในชีวิตเป็นสิ่งที่พึงปรารถนาของบุคคล เพราะเป็นองค์ประกอบ สำคัญในการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงคุณภาพชีวิตของบุคคลนั้นๆ ความ พึงพอใจในชีวิตเป็นตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตและความสัมพันธ์ภายในครอบครัว ผลการศึกษาในครั้งนี้จึงให้ ข้อสนับสนุน ปัจจัยสัมพันธภาพในครอบครัวเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้เกิดแรงกระตุ้น ผลักดัน ให้ สมาชิกในครอบครัวพร้อมที่จะต่อสู้ ไม่รู้สึกเบื่อหน่าย ท้อแท้ ที่จะปฏิบัติหน้าที่ตามสถานะภาพและ บทบาทตามที่ผู้อื่นคาดหวังให้ปฏิบัติ โดยเฉพาะความพร้อมที่จะให้การช่วยเหลือสนับสนุนในทุกๆ ด้าน ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ด้วยความรักอันบริสุทธิ์ ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานในการประสานความสัมพันธ์ เชื่อมโยงให้เกิดความรู้สึก อบอุ่น มีความสงบสุข ปราศจากความทุกข์ เศร้า โดดเดี่ยว หรือ ขมขื่น การ ทะเลาะเบาะแว้ง อันเป็นที่มาของการดำรงชีพของตนเอง ครอบครัวอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข และ สอดคล้องกับแนวคิดความสัมพันธ์ในครองครัวของฟรายด์แมน ที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ในครอบครัว ทำให้เกิดประโยชน์และสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณค่าตามบทบาทหน้าที่ของตนและเกิดความพึงพอ ใจในการดำรงชีวิตและนำไปสู่ค่าครองชีพที่สมดุล ปัจจัยการเรียนรู้เพื่อชีวิต ผลการวิจัยพบว่า การเรียนรู้เพื่อชีวิตไม่มีผลต่อค่าครองชีพที่สมดุล ของข้าราชการตำรวจ ชั้นประทวน สถานีตำรวจในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8 ที่ระดับนัยสำคัญ ทางสถิติ 0.05 ซึ่งปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ แต่มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับต่ำกับค่าครองชีพที่ สมดุล ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.177 ผลการศึกษาที่ไม่สอดคล้องตามสมมติฐานที่ตั้งไว้เนื่องจากผลการวิเคราะห์ทางสถิติที่แสดงให้ เห็นว่าปัจจัยดังกล่าวไม่มีอำนาจในการทำนายการส่งผลให้เกิดตัวแปรตาม แต่ผลการวิเคราะห์สถิติ แสดงให้เห็นว่า ยิ่งเพิ่มปัจจัยด้านการเรียนรู้เพื่อชีวิตมากขึ้นเท่าไร การมีค่าครองชีพที่สมดุลย่อมมีเพิ่ม มากขึ้นเท่านั้น ทั้งนี้เนื่องจากการเรียนรู้เพื่อชีวิต คือการเรียนรู้ของบุคคลมีลักษณะเป็นกระบวนการที่ เกิดขึ้นตลอดเวลา ตลอดชีวิตอย่างไม่หยุดนิ่ง เกิดขึ้นด้วยตนเอง หรือด้วยการเรียนรู้จากผู้อื่นและ 92 สิ่งแวดล้อม ช่วยให้เกิดศักยภาพมากขึ้นในการดำรงชีวิตทุกด้าน การนำความรู้และประสบการณ์ที่เกี่ยว กับชีวิตมาใช้ในการแก้ไขจัดการปัญหา ตลอดจนพัฒนาตนเอง เศรษฐกิจและสังคม ทำให้เกิดการคิด เป็นตามแนวคิดของ อุ่นตา นพคุณ (2528 : 14 –15) กล่าวว่า “คิดเป็น” สามารถนำมาใช้ในการ วางแผนครอบครัว มนุษย์แต่ละคน สามารถตัดสินใจเลือกสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับตนเอง คิดเป็น เป็นการ คิดเพื่อแก้ปัญหา เนื่องจากเป็นการคิดที่มีจุดเริ่มต้นที่ตัวปัญหา ซึ่งในการคิดเพื่อแก้ปัญหานี้ เมื่อการ ศึกษาของ วูดเวอร์ท และมาควิส (สุขุมาน พาสว่าง 2541 : 66 อ้างถึง Woodworth and Marquis) พฤติกรรมการแก้ปัญหาจะเกิดสถานการณ์ใหม่ขึ้น เมื่อใดก็ตามที่บุคคลพบอุปสรรค หรือมีจุดมุ่งหมาย ที่จะทำการ เมื่อนั้นก็เกิดปัญหาขึ้นและเริ่มมีการคิดแก้ปัญหา มนุษย์ได้เกิดการเรียนรู้จากสิ่งรอบ ๆ ตัว และเรียนรู้ที่จะปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมและนำสิ่งแวดล้อมเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ให้เกิดขึ้นกับตน เองได้อย่างราบรื่น ดังนั้นในสภาพปัจจุบันซึ่งเป็นยุคแห่งข่าวสาร สารสนเทศ ที่มีระบบเทคโนโลยีชั้นสูง จึงจำเป็นต้องมีการเรียนรู้ เพื่อฉลาดรู้ในการดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุขและมีความมั่นคงได้ต่อไป ด้วยการนำความรู้เหล่านั้นมาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการประกอบอาชีพเสริมเพื่อสร้างรายได้มากขึ้น ตามสภาวการณ์ในปัจจุบันได้อย่างเหมาะสม ปัจจัยการมีศาสนธรรม ผลการวิจัยพบว่า การมีศาสนธรรมไม่มีผลต่อค่าครองชีพที่สมดุลของ ข้าราชการตำรวจชั้นประทวน สถานีตำรวจในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ซึ่งปฏิเสธกับสมมติฐานที่ตั้งไว้แต่มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับต่ำกับค่าครองชีพที่สมดุล ที่ ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.183 ผลการศึกษาที่ไม่สอดคล้องตามสมมติฐานที่ตั้งไว้เนื่องจากผลการวิเคราะห์ทางสถิติที่แสดงให้ เห็นว่าปัจจัยดังกล่าวไม่มีอำนาจในการทำนายการส่งผลให้เกิดตัวแปรตาม แต่ผลการวิเคราะห์สถิติ แสดงให้เห็นว่า ยิ่งเพิ่มปัจจัยด้านการมีศาสนธรรมมากขึ้นเท่าไร การมีค่าครองชีพที่สมดุลย่อมมีเพิ่ม มากขึ้นเท่านั้น เพราะการนำหลักจริยธรรม และคำสั่งสอนของศาสนาที่เชื่อถือและยึดมั่นมาใช้เป็นเกณฑ์ วินิจฉัย ตัดสินการกระทำที่มีคุณค่าของตน และบุคคลอื่นในสังคม หลักธรรมหรือหลักคำสอนในพระ พุทธศาสนามุ่งชี้สภาพปัญหาหรือทุกข์ และหนทางแก้ไขหรือการพ้นทุกข์ จุดเริ่มต้นในการวิเคราะห์ ธรรมชาติของโลกชีวิตและการดำรงอยู่ของมนุษย์ เริ่มจากภายในตัวมนุษย์ผู้มีความต้องการหรือติดยึด จึงเกิดความทุกข์ ความเกลียดความแปลกแยก ความโลภ โกรธ หลง เป็นต้น ที่เป็นความจริงซึ่งดำรงอยู่ ในวิถีชีวิตแล้วโยงความจริงดังกล่าวออกสู่ปัญหาพื้นฐานของโลกภายนอก ปัญหาทางเศรษฐกิจ การเมือง สิ่งแวดล้อม การลดคุณค่ามนุษย์และความเสื่อมทางศีลธรรม จริยธรรม ชี้ให้มนุษย์ได้เห็นถึง ผลที่ดำรงอยู่ของปัญหาเหล่านี้ ซึ่งเกี่ยวพันกันจากด้านหนึ่งของธรรมชาติมนุษย์ เพื่อมนุษย์จะได้ ตระหนักถึง ปัญหาของตนเอง ซึ่งแนวคิดของสุนทราภรณ์ เตชะพะโลกุล (2534 : 24325) ให้ข้อ สนับสนุนธรรมชาติของมนุษย์ที่ต้องแก้ไขปัญหาของตน มนุษย์มีจิตใจและทัศนคติที่เป็นมิตรกับต่างๆ รอบกาย รวมถึงความพยายามลดโลภะ โทสะ และเมื่อโมหะลดลงย่อมทำให้มนุษย์มีความคิดเข้าใจตาม 93 สภาพความเป็นจริงที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตที่กลมกลืนกับสิ่งแวดล้อม สังคม วัฒนธรรม และดำเนินชีวิตอยู่ ในหลักมัชฌิมมาปฏิปทา ตามแนวคิดของ สัญญา สัญญาวิวัฒน์ (2541: 26-28) ที่ให้ข้อสนับสนุนว่า ความสำเร็จในชีวิต ได้กล่าวถึงคำว่า “พอ” ไว้ว่า ทุกวันนี้คนจำนวนมากไม่รู้จักคำว่า “พอ” เขาต่าง แสวงหาเงินทองชื่อเสียง เกียรติคุณ ตำแหน่งหน้าที่การงานอยากจะรวยยิ่งขึ้น อยากจะดังยิ่งขึ้น อยากจะ ใหญ่ยิ่งขึ้นตามมาตรฐานที่สร้างกันขึ้นมาวัด ตามความนิยมที่ยึดถือกันแพร่หลายต้องดิ้นรนแสวงหา ใน ขณะที่ความพอทำให้เกิดความงาม ความรวย ความใหญ่และความดังในตัวของมันเอง เพราะคนที่รู้จัก พอรู้สึกพอไม่ว่าเขาจะมีเงินอยู่เท่าไร มีรายได้อยู่ขนาดไหน เขาก็รวยเพราะในความรู้สึกของเขา เงินแค่ นั้นเต็มหรือเกือบเต็มตามความต้องการของเขาแล้ว เขาไม่ต้องการอีกแล้วหรือต้องการอีกนิดเดียวจึงไม่ จำเป็นต้องรีบร้อนทุรนทุรายไขว่หา และ หลักพระพุทธศาสนามีหลักธรรมแสดงให้เห็นถึงสิ่งรอบกายใน ด้านที่ให้มนุษย์มีจิตใจและการกระทำประสานสอดคล้องกับสิ่งแวดล้อม ระบบจริยธรรมจึงต้องประสาน ต่อเนื่องกันโดยตลอดทั้งด้านจิตใจและความประพฤติทางกาย จิตใจเป็นจุดเริ่มต้น มีความพยายามลด โลภะ โทสะ และเมื่อโมหะลดลงย่อมทำให้มนุษย์มีความคิดเข้าใจตามสภาพความเป็นจริงที่เกี่ยวกับวิถี ชีวิตที่กลมกลืนกับสิ่งแวดล้อม สังคม วัฒนธรรม และดำเนินชีวิตอยู่ในหลักมัชฌิมมาปฏิปทา ทำให้ บุคคลมีพฤติกรรมเชิงจริยธรรมในการดำรงชีวิต รู้จักมีความสันโดษและมีความพอต่อการดำรงชีวิตละ เว้นจากการคดโกงไม่ดิ้นรนไขว่หา ซึ่งจะนำไปสู่การครองชีพที่สมดุลได้ 5.3 ข้อเสนอแนะ ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยมีของเสนอแนะต่าง ๆ ดังนี้ ข้อเสนอแนะเพื่อการนำไปปฏิบัติ ผลที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ ทำให้พบแนวทางสำหรับผู้กำหนด นโยบาย แผน โครงการ สามารถ นำไปประยุกต์การพัฒนาความสมดุลด้านค่าครองชีพของข้าราชการตำรวจชั้นประทวนเพื่อให้เกิด ศักยภาพในการทำงาน สร้างขวัญกำลังใจที่ดีควรจะให้ความตระหนักในประเด็นต่างๆ เหล่านี้ 1.นำปัจจัยด้านสภาพการทำงานที่ดีของตำรวจเป็นปัจจัยที่มีผลต่อค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราช การตำรวจชั้นประทวน ซึ่งประกอบไปด้วย การทำงานที่ตรงกับความรู้ทักษะและความสามารถ มีค่าตอบ แทนที่พอต่อการดำรงชีพ การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ มีโอกาสก้าวหน้าในอาชีพ การได้รับการยอม รับ การมีมิตรสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงาน ผู้บังคับ และค่าตอบแทน จึงควรนำมาเป็นแบบแผนในการ พัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อให้ข้าราชการตำรวจ มีวิถีชีวิตที่พอเพียง มีความสุขในการทำงาน และชีวิต ครอบครัวดีขึ้น 94 2. ผู้บังคับบัญชา ต้องเรียนรู้ และเข้าใจข้าราชการตำรวจชั้นประทวน สร้างขวัญ กำลังใจ และ ส่งเสริมใหัใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ในการแสวงหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อให้เกิดปัญญาในการแก้ไข ปัญหาให้กับตนเองและครอบครัว ควรสร้างกิจกรรมเพื่อก่อให้เกิดความสามัคคีที่จะส่งผลให้เกิดความ ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เกิดความเข้มแข็งกับสมาชิกในกลุ่ม และทำให้ข้าราชการตำรวจมีคุณภาพชีวิตที่ดี รวมทั้งเป็นแกนนำให้กับข้าราชการตำรวจในการร่วมมือวางแผนการสร้างแนวทางแก้ไขปัญหาค่า ครองชีพที่ไม่สมดุลด้วยตนเองให้มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน 3. การวิเคราะห์ คิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาการดำรงชีวิตเป็น เป็นพฤติกรรมที่เกิดจากกระบวน ที่ผู้ปฏิบัติรู้จักการแสวงหาความรู้ และนำมาประกอบกับศักยภาพที่ตนเองมีอยู่ให้สอดคล้องจะส่งผลให้ มีค่าครองชีพที่สมดุลได้ และทำให้เป็นข้าราชการตำรวจที่พึงประสงค์ 4. นำผลการศึกษาที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการวางยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสร้างขวัญ กำลังใจให้ข้าราชการตำรวจชั้นประทวนในลำดับต่อไป 5. จากการศึกษาครั้งนี้พบว่า ประเด็นปัญหาที่ทำให้ข้าราชการตำรวจชั้นประทวนมีค่าครองชีพที่ไม่ สมดุลนั้นมาจากตัวของข้าราชตำรวจเอง การไม่รู้จักการวางแผนในการใช้จ่าย ในขณะเดียวกัน ข้าราช การตำรวจระดับชั้นผู้น้อยนั้นต้องทำงานหนักแต่ค่าตอบแทนน้อย และไม่สามารถที่ใช้จะวิถีชีวิตแบบพึ่ง ตนเอง หรือการใช้จ่ายแบบพอเพียง ทั้งนี้เพราะการเดินตามกระแสสังคมที่นิยมสร้างสะสมแต่วัตถุและ แสวงหาความสุข สบาย ไม่มองถึงอนาคตข้างหน้า ขาดผู้ชี้นำแนวทางที่ดี และถูกวัฒนธรรมองค์กรหล่อ หลอมให้กลายเป็นคนที่ไม่มีความมุ่งมั่นขยันหมั่นเพียรไปในทางที่ถูกต้อง นอกจากนี้ยังพบว่าผู้บัญชาที่ ไม่มีคุณธรรมบางคนใช้สิทธิอำนาจหน้าที่ในการเลือกปฏิบัติต่อผู้ใต้บังคับบัญชา ไปแสวงหาผล ประโยชน์ให้กับตน 5.4 ข้อเสนอแนะเพื่อการทำวิจัยครั้งต่อไป 1. ตัวแปรอิสระและตัวแปรตามมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่างๆ แสดงให้เห็นว่าตัวแปร อิสระเหล่านี้มีแนวโน้มจะมีความสัมพันธ์เชิงเส้นกับตัวแปรตามได้ จึงควรมีการศึกษาตัวแปรเหล่านี้ใน สถานที่อื่น โดยมีขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดความแตกต่างกันมากกว่านี้ ร่วมทั้งมีการให้คำจำกัด ความตัวแปรต่าง ๆ เหล่านั้นให้มีความกระทัดรัด และสื่อความหมายได้แม่นยำมากยิ่งขึ้น 2. ควรศึกษาวิจัยเกี่ยวกับตัวแปรอื่น ที่ส่งผลต่อค่าครองชีพที่สมดุล เช่น การใช้เวลาว่างของ ข้าราชการตำรวจ การประกอบอาชีพเสริม ความรู้เกี่ยวกับคุณภาพชีวิต เพื่อใช้สร้างเป็นตัวแบบในการ พัฒนา เกิดการวางแผนในการดำเนินชีวิตที่สมดุล และมีการพึ่งตนเองได้ เป็นต้น 3. ในการศึกษาเพื่อให้เห็นข้อเท็จจริงอย่างชัดเจนและสามารถใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพทำการ ศึกษาปัจจัยที่มีเหตุผลที่เป็นความเชื่อ เจตคติ และความรู้สึกที่แท้จริง และสามารถนำมาสู่การได้ข้อเท็จ จริง และสามารถนำมาอธิบายการมีค่าครองชีพที่สมดุลได้อีกวิธีหนึ่ง 95 4. ควรศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเรื่องของปัจจัยที่มีผลต่อค่าครองชีพที่สมดุลในเชิงทดลอง เพื่อสร้าง เป็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสร้างขวัญกำลังใจให้ข้าราชการตำรวจชั้นประทวนใน ลำดับต่อไป 5. ควรศึกษาบทบาทของข้าราชการตำรวจชั้นประทวนที่มีความสัมพันธ์และมีผลต่อค่าครองชีพที่ สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้นประทวนเพื่อแสวงหาแนวทางความรู้เพิ่มเติมนอกการศึกษาวิเคราะห์ภาย ใต้ทัศนคติหรือระดับความเชื่อความคิดเห็น 6. ควรนำปัจจัยทั้ง 7 ด้านมาสร้างคำนิยามศัพท์เชิงปฏิบัติการใหม่ให้มีความชัดเจนและเหมาะสม สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของกลุ่มตัวอย่างที่ต้องการศึกษามากยิ่งขึ้น บรรณานุกรม กาญจนา แก้วเทพ และกนกศักดิ์ แก้วเทพ. 2530. การพึ่งตนเอง ศักยภาพในการพัฒนา ชนบท กรุงเทพมหานคร : สภาคาทอลิกแห่งประเทศไทยเพื่อการพัฒนา : Mild Publisher. กิติพร ศรีวงศชัย.2542. บทบาทประชาคมตำบลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น. โกวิทย์ วรพิพัฒน์.. 2520. ความต้องการพื้นฐานของการเรียน ในการศึกษาผู้ใหญ่แบบ เบ็ดเสร็จ. กรุงเทพมหานคร : กรมสามัญศึกษา. จารุนันท  สมบูรณ์สิทธิ์. 2535. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางประชากร กจิ กรรมในการ ดำเนินชีวิตประจำวัน กับ ความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล. จำเนียร ช่วงโชติ. 2519.จิตวิทยาการรับรู้และการเรียน. ภาควิชาจิตวิทยา คณะ ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยราม คำแหง จิตรเจริญ เวลาดี. 2522. ปัญหาของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการป้องกันและปราบปราม อาชญากรรม ศึกษาเฉพาะกรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจชั้นประทวนในกองบัญชาการ ตำรวจนครบาล. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล. จีระ หงส์ลดารมภ์ .2536. ผลทดสอบเชิงวิจัยประเด็นการสูญเสียกำลังคนในองค์กร : รักษาคนในระบบราชการ. เอกสารประกอบการสัมมนาระดมความคิด เรื่อง ปัญหาการ รักษาคนในระบบราชการ สถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (6 สิงหาคม) อัดสำเนา. ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. 2541. ทฤษฎีและแนวคิดเศรษฐกิจชุมชนชาวนา กรุงเทพมหานคร : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชชิ่ง จำกัด (มหาชน). ดวงเดือน พันธุมนาวิน. 2524. จริยธรรมในสังคมไทยในทัศนะของนักพฤติกรรมศาสตร์. รายงานการสัมนาจริยธรรมในสังคมไทยปัจจุบัน. กรุงเทพมหานคร : กรมศาสนา. ดวงเดือน พันธุมนาวิน และ เพ็ญแขประจนปัจจนึก. 2520. รายงานการวิจัยฉบับที่ 21 : จริยธรรมของเยาวชนไทย. กรุงเทพมหานคร : สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร. ดวงเดือน พันธุมนาวิน. 2524. รายงานการวิจัยเรื่อง ความสัมพันธ์ภายในครอบครัวกับสุข ภาพจิต และ จริยธรรมของนักเรียนวัยรุน. กรุงเทพมหานคร : สถาบันวิจัยพฤติกรรม ศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร. 89 ดารณี รักดี. 2540. การพัฒนารูปแบบการศึกษาขั้นพ้นฐานเพื่ออาชีพในชุมชนพึ่งตนเอง วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ทิพวรรณ เคาวางกูร. 2531. บทบาทสตรีในการร่วมพัฒนาสหกรณ์การเกษตร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ไทยรัฐ. 2546. ส่องตำรวจ “พันธะหนี้สินของตำรวจ “ 4 มกราคม หน้า 6. (สหบาท) ธีรพล คุปตานนท. 2530. ปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่อสัมฤทธิ์ผลในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงาน สอบสวนในสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล. นงลักษณ์ สุพรรณไชยมาตย์ และคณะ. 2542. องค์กรทางสังคมกับการพัฒนาประชาตำบล. การวิจัยเพื่อพัฒนาระบบสาธารณสุข มหาวิทยาลัยขอนแก่น. บุญชม ศรีสะอาด. 2543. การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น ประยูร ธมมจิตโต, พระมหา. 2532. พุทธปรัชญาเถรวาท ใน ทรงวิทย์ แก้วศรี (บรรณาธิการ) มหาจุฬา ฯ. วิชาการปรัชญาบูรทิศ กรุงเทพมหานคร : บริษัทอมริทร์พริ้นติ้งกรุ๊พ จำกัด. ประเวศ วะสี. 2541. ยุทธศาสตร์เพื่อความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจสังคมและศีลธรรม กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน. ประเสริฐ พานิชยกุล. 2534. พฤติกรรมทางจริยธรรมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ในจังหวัดนครปฐม. กรุงเทพมหานคร : สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร. ปราณี หมอนทองแดง. 2534. ทิศทางการพึ่งตนเองในสังคมที่กำลังเปลี่ยนไป ศึกษา เฉพาะกรณี หมู่บ้านสองแหง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ปราศรัย สังขะทรัพย์. 2521. ความพึงพอใจในการปฏิบัติหน้าที่ราชการตำรวจระดับรอง สารวัตรในกองกำลังพลและสถานีตำรวจนครบาล วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์.2526. การควบคุมอาชญากรรมจากสภาพแวดล้อม : หลักทฤษฎี และมาตรการ. กรุงเทพมหานคร : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. พงษ์สวัสดิ์ จำรัสประเสริฐ. 2537. การศึกษาเปรียบเทียบความพึงพอใจในการปฏิบัติหน้าที่ ของข้าราชการตำรวจ กองกำกับการอำนวยการ กองบังคับการตำรวจภูธร 6 ก่อนและหลังปรับปรุงโครงสร้างกรมตำรวจ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 90 พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย ์ และ คณะ.2526. รายงานผลการวิจัยเรื่องจริยธรรมและศักยภาพ ของการปฏิบัติจริยธรรมของนักศึกษาวิทยาลัยครูภาคตะวันตก. กรุงเทพมหานคร : สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พวงผกา ชื่นแสงเนตร. 2538. ความสัมพันธ์ระหว่างสัมพันธภาพในครอบครัว พฤติกรรม การดูแลตนเองและความพึงพอใจในชีวิตผู้สูงอายุ : กรณีศึกษา สมาชิกชมรม ผู้สูงอายุ เขตพื้นที่พัฒนาอุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลตะวันออก จังหวัด ชลบุรี วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล. พเิ ชยี ร ลมิ ปห์ วงั อยู่. 2531. การพงึ่ ตนเองอนั เนอื่ งมาจากพระราชดาํ ร ิ ศึกษาเฉพาะกรณี : โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูป อำเภอระหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ยุวัฒน์ วุฒิเมธี. 2534. การพัฒนาชุมชนจากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัด บางกอกบล็อก. ราชบัณฑิตยสภา. 2525. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพมหานคร วสันต์ ศิลปสุวรรณ และคณะ.2529. รายงานผลการวิจัยเรื่องการคิดเป็นของนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ปีการศึกษา 2528 – 2529. นครปฐม : มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา. วัฒนา ยี่จีน.2538. ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจที่ทำหน้าที่สายตรวจ ในสถานีตำรวจภูธร อำเภอเมือง สังกัดตำรวจภูธร จังหวัดศรีสะเกษ วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์ วิชาการ, กรม. 2524. แนวทางการพัฒนาจริยธรรมไทย : การประชุมทางวิชาการเกี่ยวกับ จริยธรรมไทย 22-27 มกราคม 2524. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา. วิบูลย์ เข็มเฉลิม.2532. สู่สังคมวนเกษตรมีกินตลอดชีวิต. กรุงเทพมหานคร : เจริญวิทย์ การพิมพ์. ศรชัย เสิศไตรภพ. 2535. ความสัมพันธ์ระหว่างการคิดอย่างมีเหตุผลกับการคิดเป็นของนัก ศึกษาทางไกลสายสามัญ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร. ศิริพงษ์ ศรีกงพลี. 2540. บทบาทปลัดอำเภอในการเสริมสร้างความสามารถทางการบริหาร งานพัฒนาของคณะกรรมการบริหาร อบต.ในจังหวัดขอนแก่น วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ศูนย์พัฒนาเศรษฐกิจชุมชน, สำนักปลัดกระทรวงมหาดไทย. 2541. แนวทางการดำเนินงาน ตามนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง. ประมวลคำบรรยายและหนังสือสั่งการ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น. 91 สภาวิจัยแห่งชาติ. 2542 เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการ เศรษฐกิจพอเพียง ณ.โรงแรม แอมบาสเดอร์ซิตี้ จอมเทียน พัทยา 18-19 ธันวาคม. สมยศ นาวีการ. 2522. การบริหาร กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์กุรงสยามการพิมพ์. สัมพันธ์ เตชะอธิก และคณะ. 2541. อบต.ในอุดมคติ. กรุงเทพมหานคร : เจริญวิทย์การพิมพ์. สัญญา สัญญาวิวัฒน์. 2544. รวบรวมบทความสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา ภาควิชาสังคม วิทยาและมนุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สัญญา สัญญาวิวัฒน์. 2542. เพื่อความสำเร็จในชีวิต. กรุงเทพฯ : หจก.เอมีเทรดดิ้ง. สุขุมาน พาสว่าง. 2541. จริยธรรมกับความสามารถในการคิดเป็นของชาวชนบท อำเภอ วารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย ศิลปากร. สุธีรา นุ้ยจันทร์. 2530. การศึกษาบทบาทของครับครัวในการดูแลผู้สูงอายุ : กรณี ครอบครัว ผู้ใช้บริการทางสังคมผู้สูงอายุดินแดง และครอบครัว สมาชิกชมรม ผู้สูงอายุ ร.พ.สงฆ์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. สุพรรณี ไชยอำพร. 2529. แนวคิดทางทฤษฎีและการวัดความพยายามพึ่งตนเอง ระดับ บุคคล เอกสารประกอบการเสนอวิชาการพัฒนาชุมชนและสหกรณ์ โดยคณะพัฒนา สังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์. สุริยา เหมตะศิลป์. 2521. ความสัมพันธ์ระหว่างจริยธรรมสติปัญญาและการยอมรับของเด็ก วัยรุ่นตอนต้น. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร. สุนทร กุลวัฒนวรพงศ์. 2544. ตามรอยพระราชดำริ เศรษฐกิจพอเพียง ทฤษฎีใหม่ กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น สุนทราภรณ์ เตชะโพกุล. 2524. เศรษฐศาสตร์แนวพุทธกับวิถีการพัฒนาไทย. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. เสรี พงศ์พิศ. 2536. ภูมิปัญญาชาวบ้านกับการพัฒนาชนบท เล่น 1. กรุงเทพมหานคร : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊ฟ จำกัด. อภิชาติ ศิลปี. 2541. ศักยภาพของชุมชนในการพัฒนาให้เป็นประชาคาท้องถิ่น ศึกษาเฉพาะ กรณี : ชุมชนในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต พัฒ นบริหารศาสตร์มหาบัณฑิต. อุ่นตา นพคุณ. 2525. การแก้ปัญหา. กรุงเทพมหานคร : กรุงสยามการพิมพ์. อุ่นตา นพคุณ และคณะ. 2526. คุณลักษณะของประชากรในกรุงเทพมหานคร ตามเป้าหมาย ทางการศึกษา : สภาพปัจจุบันและแนวโน้ม. กรุงเทพมหานคร : ม.ป.ท. (อัดสำเนา). 92 Campbell A. 1976. Subjective Measure of Well-being. Amarican Psychologist Ferguson,George A.1981. Statistical Analysis in Psychology and Education 5th ed. New York. : McGraw-Hill. Friedman MM. 1981. Family Nursing : Theory & Assessment. New York. Appleton-Century-Crofts. Gooper, A.M. 1958. How to Supervise People. New York : McGraw-Hill Company. Guilford. J. and Gray, D.E.1970. Motivation and Modern Management. Massachusetts : Addison – Wesley Publisher. Kohlberg, L.1975. The Cognitive Developmental Approach to Moral Education Phi Delta Kappen. Maslow, A.H. 1960. A Theory of Human Motivation in Human Relation in Management, Eduted by I.L. HacKman J R., and S.G.Huneryager. Cincinati : South Western Publishing. Mowday, Rihcard T., Street Rechard 17. And Lyman W.Porter. 1979. The Measurement of Organization Commiment. Journal of Applied Psychology Morrow WR, Wilson RC. 1961. Family Relation of Bright High-Achieving and Under- Achieving High School Boy. Child Development. Poitrenaud J, Et. Al. 1979. Factor Related to Attitudes Toward Retirement Among Frence Preretired Managers and Top Executives. Journal of Gerontology. Roger, Everett M. and Shoemaker, F.F. 1971. Communication of Inovations ; Across Cultural Approach (Second Edition) York : The Free Press. Schermerhorn. J.R., Jame G.H. and Richard N. Osborn. 1982. Managing Organization Behavior. New York : Hohm Wiley and So.inc. Srinivasan, Lyra. 1977. Perspectives on Non-Formal Adult Lerning. New York : World Eduction Steers, Richard M and Lyman W Porter. 1983. Motivation and Work Beavior. New York. WCGraw-Hill. Tiffin, J. and McCormick, E.J. 1968. Industrial Psychology. London : Gorge Allen And Umvin Ltd. Wolman Benjamin B. 1973. Dictoinary of Behavioral Science Van Nostrand : Reinnheld Company. Zaleznisk, A. 1958. Motivation Productivity and Satisfaction of Work. Et. Al. Cambridge : Harvard University Press. ภาคผนวก 94 แบบสอบถามวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท “ค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน กรณีศึกษา : สถานีตำรวจในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8” คำชี้แจง การดำเนินการวิจัยในครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อค่าครองชีพที่สมดุล ของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน กรณีศึกษาสถานีตำรวจในกองบังคับการตำรวจนครบาล 8 อนึ่งข้อมูลที่ได้รับในครั้งนี้มิพึงเปิดเผย และไม่ส่งผลกระทบต่อผู้ให้ข้อมูลแต่อย่างใด ข้อแนะนำเกี่ยวกับแบบสอบถาม แบบสอบถามชุดนี้มีทั้งหมด 4 ส่วน ส่วนที่ 1 คำถามเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคลและสถานภาพที่ดีของตำรวจมีดังนี้ 1.1 คำถามเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคลจำนวน 13 ข้อ 1.2 คำถามเกี่ยวกับสถานภาพส่วนตัวที่ดีของตำรวจจำนวน 10 ข้อ ส่วนที่ 2 คำถามเกี่ยวกับค่าครองชีพที่สมดุลมีจำนวน 6 ข้อ ส่วนที่ 3 คำถามความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการมี ค่าครองชีพที่สมดุล แบ่งออกเป็น 5 ตอน ดังนี้ คือ ตอนที่ 1 คำถามเกี่ยวกับความคิดเห็นจากปัจจัยการพึ่งตนเองจำนวน 8 ข้อ ตอนที่ 2 คำถามเกี่ยวกับความคิดเห็นจากปัจจัยการดำรงชีวิต แบบพอเพียงจำนวน 8 ข้อ ตอนที่ 3 คำถามเกี่ยวกับความคิดเห็นจากปัจจัยความสัมพันธ์ที่ดี ในครอบครัวจำนวน 8 ข้อ ตอนที่ 4 เป็นคำถามเกี่ยวกับความคิดเห็นจากปัจจัยการเรียนรู้เพื่อชีวิตจำนวน 8 ข้อ ตอนที่ 5 เป็นคำถามเกี่ยวกับความคิดเห็นจากปัจจัยการมีศาสนธรรมจำนวน 10 ข้อ ส่วนที่ 4 เป็นคำถามปลายเปิดเพื่อให้ผู้ตอบแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจำนวน 5 ข้อ 95 แบบสอบถาม ชุดที่ ส่วนที่ 1 ข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคลและสถานภาพส่วนตัวที่ดีของตำรวจ คำชี้แจง โปรดใส่เครื่องหมาย  ลงในวงเล็บหน้าข้อความ และเติมข้อความลงในช่องว่าง ตามความเป็นจริง 1.1 ปัจจัยส่วนบุคคล 1. อายุ……………………. ปี 2. อายุราชการ………………………ปี 3. สายงาน ( ) ธุรการ ( ) ป้องกันปราบปราม ( ) สืบสวน ( ) สอบสวน ( ) จราจร 4. สถานภาพการสมรส ( ) โสด ( ) สมรส ( ) หย่า 5. หากสมรสแล้ว คู่สมรสมีรายได้ประจำหรือไม่ ( ) ไม่มี ( ) มี คือ…………………………… รายได้เดือนละ…………บาท 6. จำนวนบุตร หรือ บุคคลในครอบครัวที่ต้องรับอุปการะเลี้ยงดู…………………..คน 7. นอกเหนือจากงานในหน้าที่แล้ว ท่านมีอาชีพอื่นอีกหรือไม่ ( ) ไม่มี ( ) มี คือ……………………………..รายได้เดือนละ…………..บาท 8. ท่านได้รับเงินเดือน เดือนละ…………………………บาท 9. ท่านได้รับเบี้ยเลี้ยงเดือนละ…………………………..บาท สวัสดิการที่ได้รับหรือค่าตอบแทน เดือนละ………………………………………บาท ค่าเช่าบ้านเดือนละ…………………………………บาท ค่าพาหนะเดือนละ…………………………………บาท 10. ท่านมีรายจ่ายต่อเดือนอย่างไร (โดยประมาณ) เพื่อการบริโภค เดือนละ……………………………..บาท เพื่อการอุปโภค เดือนละ……………………………..บาท เพื่อการศึกษา เดือนละ……………………………..บาท เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ เดือนละ……………………………..บาท อื่น ๆ โปรดระบุ…………………………..เดือนละ……………………………..บาท 96 11. รายได้ของท่านเพียงพอต่อการใช้จ่ายในแต่ละเดือนหรือไม่ ( ) ไม่เพียงพอ เพราะบุตรอยู่ในวัยเรียน ( ) ไม่เพียงพอ เพราะมีรายจ่ายที่จำเป็นมาก ( ) ไม่เพียงพอ เพราะคู่สมรสไม่มีรายได้ ( ) ไม่เพียงพอ เพราะตัวท่านเองไม่มีอาชีพเสริม ( ) ไม่เพียงพอ อื่นๆ โปรดระบุ………………………………… ( ) เพียงพอ เพราะมีการวางแผนการใช้จ่ายแต่ละเดือน ( ) เพียงพอ เพราะประหยัด ไม่ฟุ่มเฟือย ( ) เพียงพอ เพราะใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็น ( ) เพียงพอ เพราะคู่สมรสมีอาชีพเสริม ( ) เพียงพอ เพราะตัวท่านเองมีอาชีพเสริม ( ) เพียงพอ อื่นๆ โปรดระบุ………………………………… 12. ท่านคิดว่ารายได้ที่ท่านได้รับจากทางราชการในแต่ละเดือนมีความเหมาะสม ( ) ไม่เหมาะสม ( ) เหมาะสม 1.3 คำถามเกี่ยวกับปัจจัยด้านสถานภาพส่วนตัวที่ดีของตำรวจ ระดับความคิดเห็น ข้อความ เห็นด้วย อย่างยิ่ง เห็นด้วย ไม่แน่ใจ ไม่เห็น ด้วย ไม่เห็นด้วย อย่างยิ่ง 1. ท่านคิดว่าอาชีพตำรวจเป็นอาชีพที่มีเกียรติ 2. ท่านคิดว่างานที่ท่านทำอยู่ตรงกับความรู้ ความสามารถ 3. ท่านคิดว่าหน่วยงานของท่านมีระเบียบ การทำงานที่ชัดเจนง่ายต่อการปฏิบัติงาน 4. ท่านมีความภูมิใจที่รับราชการตำรวจ 5. ท่านมีเงินเดือนที่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต 6. ท่านมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ในการปฏิบัติงาน 97 ระดับความคิดเห็น ข้อความ เห็นด้วย อย่างยิ่ง เห็นด้วย ไม่แน่ใจ ไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย อย่างยิ่ง 7. ท่านมีโอกาสก้าวหน้าและประสบผลสำเร็จ ในหน้าที่การงาน 8. ท่านได้รับการยอมรับจากผู้บังคับบัญชา และเพื่อนร่วมงาน 9. ท่านมีความสัมพันธ์อันดีระหว่าง เพื่อนร่วมงานและผู้บังคับบัญชา 10. ท่านคิดว่างานที่ทำมีความมั่นคง ส่วนที่ 2 คำถามความคิดเห็นเกี่ยวกับค่าครองชีพที่สมดุล ระดับความคิดเห็น ข้อความ เห็นด้วย อย่างยิ่ง เห็นด้วย ไม่แน่ใจ ไม่เห็น ด้วย ไม่เห็น ด้วยอย่าง ยิ่ง 1. รายได้ของท่านเพียงพอต่อการใช้จ่าย ในแต่ละเดือน 2. รายได้ที่มีนั้นมีความเหมาะสม 3. ท่านมีเงินเหลือเก็บ 4. ครอบครัวไม่เคยได้รับความเดือดร้อน ในเรื่องค่าครองชีพ 5. ครอบครัวของท่านมีความสุข เพราะไม่มีหนี้สิน 98 ส่วนที่ 3 คำถามเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อค่าครองชีพที่สมดุล ระดับความคิดเห็น ข้อความ เห็นด้วย อย่างยิ่ง เห็นด้วย ไม่แน่ใจ ไม่เห็น ด้วย ไม่เห็นด้วย อย่างยิ่ง การพึ่งตนเอง 1. ความสำเร็จที่ได้รับเกิดจากการกระทำ ด้วยตัวของท่านเอง 2. ท่านมีความมั่นใจว่าท่านสามารถฝ่าฟัน อุปสรรคปัญหาได้ด้วยตนเอง 3. ท่านคิดและตัดสินใจด้วยตัวของท่านเองได้ 4. ท่านและครอบครัวสามารถอยู่ได้ โดยไม่ต้องพึ่งพาบุคคลอื่น 5. ท่านสามารถแก้ปัญหาด้วยตนเองได้ 6. ท่านวางแผนชีวิตให้กับตนเอง 7. ท่านใช้แรงงานและความพยายามทำสิ่ง ที่เป็นประโยชน์ 8. ท่านสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุข ด้วยตัวของท่านเอง การดำรงชีวิตแบบพอเพียง 1. ท่านคิดว่าการดำเนินชีวิตอย่างสายกลาง มีความพอดี ทำให้ชีวิตมีความสุข 2. ท่านพอใจในสิ่งที่ตนเองมี 3. ท่านไม่เอาเปรียบผู้อื่น 4. การอยากได้ อยากมี ทำให้เกิดความ เดือดร้อน 5. ท่านเสียสละช่วยเหลือผู้อื่นอยู่เสมอ 6. ท่านและสมาชิกในครอบครัวนำสิ่งที่มีอยู่ มาสร้างให้เกิดประโยชน์ 7. สมาชิกในครอบครัวทุกคนมีความ รับผิดชอบและช่วยกันแบ่งเบาภาระ ที่เกิดขึ้นได้ 8. การมีชีวิตที่พอเพียงสามารถแก้ปัญหา เศรษฐกิจของครอบครัวได้ 99 ระดับความคิดเห็น ข้อความ เห็นด้วย อย่างยิ่ง เห็นด้วย ไม่แน่ใจ ไม่เห็น ด้วย ไม่เห็นด้วย อย่างยิ่ง ความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว 1. ครอบครัวช่วยเหลือเกื้อกูลและมีความ สัมพันธ์ที่ดีต่อกัน 2. ครอบครัวของท่านมีความร่วมแรงร่วมใจ ที่จะทำให้ครอบครัวมีความสุข 3. ทุกคนในครอบครัวมีความรักใคร่ กลมเกลียวและห่วงใยในกันและกัน 4. ครอบครัวของท่านปรองดองเป็นอันหนึ่ง อันเดียวกัน 5. ครอบครัวท่านมีการพักผ่อนหย่อนใจ และใช้เวลาว่างร่วมกัน 6. ท่านเป็นที่รักของครอบครัว 7. ครอบครัวภาคภูมิใจในตัวท่าน 8. ท่านเป็นแบบอย่างที่ดีของสมาชิก ในครอบครัว การเรียนรู้เพื่อชีวิต 1. ท่านสามารถดัดแปลงแก้ไขสิ่งของเหลือใช้ ให้เกิดประโยชน์ได้ 2. ความรู้บางส่วนที่ได้รับเกิดจากการเรียนรู้ จากผู้อื่นและสิ่งที่เกิดขึ้นรอบๆ ข้าง 3. ท่านพบว่าตนเองมีความรู้เพิ่มขึ้นตลอดเวลา จากการปฏิบัติงานของท่าน 4. ท่านนำความรู้ที่ได้รับจากประสบการณ์ ในการปฏิบัติงานของท่านมาปรับใช้ใน การแก้ไขปัญหาภายในครอบครัวของท่าน 5. คนที่มีความรู้คือคนที่มีคุณค่าเป็นที่ยอม รับของบุคคลอื่น 6. ท่านนำสิ่งที่พบเห็นบางอย่างมาปรับใช้ให้ เกิดประโยชน์เพื่อตัวของท่านเองได้ 7. ท่านเป็นคนใฝ่หาความรู้อยู่ตลอดเวลา 8. ความรู้ที่ได้รับมาบางส่วนสามารถแก้ไข ปัญหาในการดำเนินชีวิตของท่านได้ 100 ระดับความคิดเห็น ข้อความ เห็นด้วย อย่างยิ่ง เห็นด้วย ไม่แน่ใจ ไม่เห็น ด้วย ไม่เห็นด้วย อย่างยิ่ง การมีศาสนธรรม 1. ท่านยึดมั่นและปฏิบัติตามพระบรมราโชวาท ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการ ดำรงชีวิต 2. ท่านเชื่อว่าคนทำดี ได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว 3. ท่านเชื่อว่าสรรพสิ่งในโลกนี้ไม่มีสิ่งใดที่เที่ยงแท้ แน่นอน ทุกคนควรสร้างความดีไว้ 4. คนดี คนซื่อสัตย์สุจริต และผู้เสียสละคือบุคคล ที่ควรยกย่อง 5. การทำงานคือการปฏิบัติธรรม 6. ความเพียรพยายาม ขยัน อดทน นำไปสู่ ความสำเร็จทุกๆ ด้าน 7. การลด ละ ความโลภ ความโมโห และรู้จัก การให้อภัยทำให้ชีวิตมีความสุข 8. การปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ 9. การแสวงหาผลประโยชน์ในทางมิชอบเป็นบาป 10. ทุกคนควรปฏิบัติตนในการทำความดี ยับยั้ง ลด ละ เลิกสิ่งที่ไม่ดีทั้งปวง 101 ส่วนที่ 4 คำถามปลายเปิดเพื่อแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม 1. สิ่งที่ท่านภูมิใจในตัวท่านเองปัจจุบันนี้คือ……………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….. 2. ท่านต้องการให้หน่วยงานของท่านเพิ่มเติมปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดการพัฒนาต่อตัว ท่านและหน่วยงานในด้าน…………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………..……………………………………………………………………………………………... 3.ท่านใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ต่อตัวท่านเองและครอบครัวโดย………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………. 4.ท่านคิดว่าปัญหาค่าครองชีพของข้าราชการตำรวจในปัจจุบันนี้เกิดจาก………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………. แนวทางการแก้ปัญหาคือ……………………………………………………………………………………………………………………. ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………. 5.ข้อเสนอแนะอื่นๆ ที่เกี่ยวกับค่าครองชีพที่สมดุลต่อบทบาทของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน …………………………………………………………………………………………………………………….………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ผู้วิจัยขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงที่ท่านได้สละเวลาตอบแบบสอบถามฉบับนี้ ซึ่งจะเป็น ประโยชน์ต่อข้าราชการตำรวจต่อไปในอนาคต พ.ต.ต ถวัลย์ ศุกร์คณาภรณ์ ผู้วิจัย 102 ประวัติผู้วิจัย ชื่อ – นามสกุล พ.ต.ท.ถวัลย์ ศุกร์คณาภรณ์ ที่อยู่ปัจจุบัน 243/9 ตรอกสะพานยาว แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 โทรฯ 02 235 7765, 01 445 2135 วัน เดือน ปีเกิด 4 กันยายน 2505 ประวัติการศึกษา ประถมศึกษาปีที่ 1 – 7 โรงเรียนกุหลาบวิทยา มัธยมศึกษาปีที่ 1 – 5 โรงเรียนวัดสุทธิวราราม ปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประวัติการทำงาน ปี พ.ศ. 2529 – 2531 เจ้าพนักงานสินเชื่อ ธนาคารกสิกรไทย สาขาสุรวงศ์ ปี พ.ศ. 2531 ตำแหน่งร้อยยตำรวจตรี รองสารวัตร ฝ่ายวินัยและอุทธรณ์ สำนักงานกำลังพล กรมตำรวจ ปี พ.ศ. 2536-2540 ตำแหน่ง รองสารวัตรสอบสวน สถานีตำรวจนครบาลบุปผาราม ปี พ.ศ. 2540-ปัจจุบัน ตำแหน่ง พนักงานสอบสวน (สบ 2) สถานีตำรวจนครบาลบุปผาราม ที่ทำงาน สถานีตำรวจนครบาลบุปผาราม เลขที่ 879 ซอยเทศบาล สาย 2 แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพฯ 10600 โทร. 02 466 1150, 02 465 0520 โทรสาร 02 466 7858 ค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน (ตอนทีี่ 1)
ค่าครองชีพที่สมดุลของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน (ตอนทีี่ 2)

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ20 กันยายน 2558 เวลา 23:52

    ขออนุญาตนำไปเป็นตัวอย่างการวิจัยนะครับ
    ขอบคุณมากครับ

    ตอบลบ