วันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554

คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสโรงเรียนกทม (ตอนที่ 2)



3. ทำการปรับปรุงแก้ไขแบบสอบถามตามคำแนะนำ ของกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์
แล้วนำเสนอผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 2 คน เพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา พร้อมทั้งคำแนะ
นำ เพื่อการปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
4. นำแบบสอบถามที่ได้รับความเห็นชอบแล้ว ไปทำการทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง ที่มิใช่
กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ (Try out) จำนวน 40 ฉบับ ซึ่งเป็นผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสาย
มัธยมศึกษา และ ครู-อาจารย์ ของโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร
5. นำแบบสอบถามดังกล่าวมาทำการวิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่นได้ค่าความเชื่อมั่น โดย
ใช้สูตรค่าความเชื่อมั่นโดยวิธีสัมประสิทธ์แอลฟา ( alpha coefficient) ของครอนบาช ได้ค่า
ความเชื่อมั่น 0.9771
6. นำแบบสอบถามนั้นไปใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล แบ่งเป็น 3 ตอน คือ
ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ตำแหน่งผู้
บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และครู - อาจารย์
ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามความต้องการเกี่ยวกับคุณลักษณะ ด้านความรู้ความสามารถ
ในการบริหาร ด้านมนุษยสัมพันธ์ ด้านการสื่อสาร ด้านคุณธรรม และด้านวิสัยทัศน์ มีข้อคำ
ถาม รวมทั้งสิ้น 60 ข้อ โดยแบ่งเนื้อหา แบบสอบถาม ดังนี้
1. คุณลักษณะด้านความรู้ความสามารถในการบริหาร จำนวน 15 ข้อ
2. คุณลักษณะด้านมนุษยสัมพันธ์ จำนวน 10 ข้อ
3. คุณลักษณะด้านการสื่อสารจำนวน 10 ข้อ
4. คุณลักษณะด้านคุณธรรม จำนวน 10 ข้อ
5. คุณลักษณะด้านวิสัยทัศน์ จำนวน 15 ข้อ
ตอนที่ 3 เป็นแบบสอบถามปลายเปิด (Open – ended question) เพื่อให้ผู้บริหารโรงเรียน
หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และครู – อาจารย์ แสดงความคิดเห็น หรือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับคุณ
ลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร
52
การเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บรวบรวมข้อมูล ดำเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. ผู้วิจัยขอหนังสือแนะนำตัวจากบัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
เพื่อขอหนังสือราชการถึงผู้อำนวยการสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร และส่งเรื่องต่อไปยังผู้
อำนวยการเขต และผู้อำนวยการโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 48 โรงเรียน
2. ผู้วิจัยได้ส่งแบบสอบถามไปจำนวน 341 ชุด ได้รับคืน 332 ชุด คิดเป็นร้อยละ 96.48
และมีความสมบูรณ์ 329 ฉบับ และนำมาวิเคราะห์
3. ผู้วิจัยรวบรวมแบบสอบถามที่ได้รับคืนทั้งหมดไว้ เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนของการ
วิจัยต่อไป
การจัดกระทำข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล
1. ตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบสอบถามคัดเอาเฉพาะฉบับที่สมบูรณ์เท่านั้น
2. สถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามใช้วิธีคำนวณค่าร้อยละ
3. ความต้องการเกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสาย
มัธยมศึกษา และครู-อาจารย์ ด้านความรู้ความสามารถในการบริหาร ด้านมนุษยสัมพันธ์ด้านการ
สื่อสาร ด้านคุณธรรม และด้านวิสัยทัศน์ คำนวณโดยใช้ค่าเฉลี่ย ( X ) และค่าเบี่ยงเบนมาตร
ฐาน (S.D.) โดยอาศัยเกณฑ์ประเมินความต้องการ ของ เบสท์ (Best 1970 : 175)
ค่าเฉลี่ย 1.00 – 1.49 หมายถึง มีความต้องการน้อยที่สุด
ค่าเฉลี่ย 1.50 – 2.49 หมายถึง มีความต้องการน้อย
ค่าเฉลี่ย 2.50 – 3.49 หมายถึง มีความต้องการปานกลาง
ค่าเฉลี่ย 3.50 – 4.49 หมายถึง มีความต้องการมาก
ค่าเฉลี่ย 4.50 – 5.00 หมายถึง มีความต้องการมากที่สุด
4. เพื่อเปรียบเทียบความต้องการของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และครู-
อาจารย์ เกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกักรุงเทพมหานคร
โดยการใช้การทดสอบค่าเอฟ F – test
5. สำหรับข้อมูลที่เป็นคำถามปลายเปิด นำมาแจกแจงความถี่และหาค่าร้อยละ
53
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
1. ร้อยละ ( Percentege ) จากสูตร
ร้อยละ = ความถี่ของของรายการนั้น X 100
ความถี่ทั้งหมด
2. ค่าเฉลี่ย ( Mean ) จากสูตร
X = f X
N
เมื่อ X แทนค่าเฉลี่ย
f X แทนผลรวมของคะแนนทั้งหมด
N แทนจำนวนคนในกลุ่มตัวอย่าง
f แทนความถี่
3. ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) จากสูตร
S.D = N fX2 - ( fX)2
N (N-1)
เมื่อ S.D แทนความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
fX2 แทนผลรวมของคะแนนแต่ละตัวยกกำลังสอง
( fX)2 แทนผลรวมของคะแนนทั้งหมดยกกำลังสอง
N แทนจำนวนกลุ่มตัวอย่าง
54
4. ค่าความเชื่อมั่นโดยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟา (alpha coefficient) จากสูตร
 = n 1 - Si2
n – 1 St
เมื่อ  แทนความเชื่อมั่นของแบบสอบภาม
Si แทนผลรวมความแปรปรวนของข้อทดสอบแต่ละข้อ
St แทนความแปรปรวนของเครื่องมือทั้งหมด
n แทนจำนวนข้อทดสอบในเครื่องมือ
5. ค่าเอฟ (F– test) ใช้ทดสอบกลุ่มทดสอบสมมติฐานที่มีกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม
MSwitrin
F ν MsBetween ที่ df = (n-1),(n-p)
F แทนค่าแปรปรวน
Msbetween แทนความแปรปรวนระหว่างกลุ่ม
Mswithin แทนความแปรปรวนภายในกลุ่ม
6. ศึกษาความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยวิธีของเซฟเฟ่
within MS
ni nj
Fcomp Xi X j





ν
1 1
( )2
Xi แทนมัชณิมเลขคณิตของกลุ่มตัวอย่าง 1
X j แทนมัชณิมเลขคณิตของกลุ่มตัวอย่าง 2
ni แทนจำนวนสมาชิกในกลุ่ม 1
nj แทนจำนวนสมาชิกในกลุ่ม 2
MSwithin แทน Mean square ภายในกลุ่ม
บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ในบทนี้กล่าวถึง สัญลักษณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ลำดับในการวิเคราะห์ข้อมูล
และแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส
สังกัดกรงเทพมหานครตามความต้องการของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และครู – อาจารย์
ของโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร
สัญลักษณ์ทีใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
สัญลักษณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล มีดังนี้
X แทน ค่าเฉลี่ย (Mean)
N แทน ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง
S.D แทน ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation)
F แทน ค่าเอ็ฟ (F – test)
df แทน degree of Freedom
SS แทน ผลบวกกำลังสอง (Sum square)
MS แทน ค่าเฉลี่ยของผลบวกกำลังสอง (Mean square)
* แทน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ลำดับในการวิเคราะห์ข้อมูล
ในการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส
สังกัดกรุงเทพมหานครโดยมีผลการวิจัยจำแนกได้ 3 ส่วนดังนี้
ตอนที่ 1 การวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ ตำแหน่ง ผู้
บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และครู – อาจารย์
56
ตอนที่ 2 การวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยาย
โอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร ตามความต้องการของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และ
ครู – อาจารย์ ของโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร ด้านความรู้ความสามารถในการบริหาร
ด้านมนุษย์สัมพันธ์ ด้านการสื่อสาร ด้านคุณธรรม และด้านวิสัยทัศน์
ตอนที่ 3 วิเคราะห์ความต้องการและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์
ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร จากแบบสอบถามปลายเปิด (open – ended question)
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ตอนที่ 1 ข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ใน โรงเรียน
ตารางที่ 1 แสดงสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ในปัจจุบัน
สถานภาพ จำนวน ร้อยละ
ผู้บริหารโรงเรียน
หัวหน้าสายมัธยมศึกษา
ครู – อาจารย์
70
42
217
21.20
12.80
66.00
รวม 329 100.00
จากตารางที่ 1 พบว่าสถานภาพผู้ตอบแบบสอบถามจำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ในปัจจุบันเป็น
ครู – อาจารย์ ร้อยละ 66.00 เป็นผู้บริหารโรงเรียนร้อยละ 21.20 และหัวหน้าสายมัธยมศึกษาร้อยละ
12.80 ตามลำดับ
ตอนที่ 2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร
ผลการวิเคราะห์ความต้องการของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และครู-อาจารย์
เกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร 5 ด้าน มีดังนี้
57
ตารางที่ 2 แสดงระดับความต้องการของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และ ครู -
อาจารย์ เกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส รวม 5 ด้าน
คุณลักษณะที่พึงประสงค์ X S.D ลำดับ ระดับความ
ต้องการ
1. ด้านความรู้ความสามารถในการบริหาร 4.23 0.65 4 มาก
2. ด้านมนุษยสัมพันธ์ 4.29 0.63 3 มาก
3. ด้านการสื่อสาร 4.17 0.61 5 มาก
4. ด้านคุณธรรม 4.38 0.65 1 มาก
5. ด้านวิสัยทัศน์ 4.33 0.67 2 มาก
จากตารางที่ 2 พบว่าความต้องการของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และครู –
อาจารย์ เกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร
อยู่ในระดับมากทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านคุณธรรม ( x = 4.38 ) ด้านวิสัยทัศน์ ( x = 4.33 )
ด้านมนุษยสัมพันธ์ ( x = 4.29 ) ด้านความรู้ความสามารถในการบริหาร ( x = 4.23 ) และด้าน
การสื่อสาร ( x = 4.17 ) ตามลำดับ
58
ตารางที่ 3 แสดงระดับความต้องการของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และ ครู -
อาจารย์ เกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร
ด้านความรู้ความสามารถในการบริหาร
คุณลักษณะที่พึงประสงค์ X S.D ลำดับ ระดับความ
ต้องการ
1. มีความเข้าใจเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของโรง
เรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร
4.29
0.72
1
มาก
2. มีความรู้ หลักสูตรระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
และมัธยมศึกษาตอนปลาย
4.18 0.75 13
มาก
3. มีความรู้เกี่ยวกับวิชาบังคับ วิชาบังคับเลือก
วิชาเลือกเสรี และกิจกรรมต่างๆ ตามที่หลัก
สูตรกำหนด
4.20
0.76 10
มาก
4. มีความรู้เกี่ยวกับการวัดผลประเมินผลตาม
หลักสูตรและการจบหลักสูตร
4.19 0.73
11
มาก
5. มีความรู้เกี่ยวกับเอกสารสำคัญต่างๆ และ
สามารถให้คำแนะนำ ครู-อาจารย์
4.19
0.77
12
มาก
6. มีความรู้เกี่ยวกับระเบียบการปกครองและการ
ลงโทษนักเรียน
4.22
0.70
8
มาก
7. มีความรู้เกี่ยวกับธุรการการเงินและระเบียบ
การใช้เงิน
4.14
0.81
15
มาก
8. มีความสามารถในการวิเคราะห์จุดเด่นจุดด้อยของโรง
เรียนเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการบริหารงานด้านต่าง ๆ
4.24 0.79 7 มาก
59
ตารางที่ 3 (ต่อ)
คุณลักษณะที่พึงประสงค์ X S.D ลำดับ ระดับความ
ต้องการ
9. มีความสามารถในการกำหนดนโยบายและเป้าหมาย
ของโรงเรียนอย่างชัดเจน
4.26 0.82 4 มาก
10. มีความสามารถในการวางแผนกลยุทธ์เพื่อนำ
ไปสู่เป้าหมาย
4.25 0.78
5
มาก
11. มีความสามารถในการนำแผนไปสู่การปฏิบัติได้ 4.26 0.74
3
มาก
12. มีความสามารถประเมิน แผนเพื่อไปสู่การ
ปรับปรุงแก้ไข
4.18
0.77
14
มาก
13. มีความสามารถในการตัดสินใจได้อย่างรวด
เร็วและถูกต้อง
4.29
0.78
2
มาก
14. มีความสามารถในการแก้ปัญหาและข้อขัดแย้งที่เกิด
ขึ้นได้
4.25
0.78
5
มาก
15. มีความสามารถจัดระบบงานและบุคลากรของ
โรงเรียนได้อย่างเหมาะสมทุกผ่าย
4.22
0.86
9
มาก
จากตารางที่ 3 พบว่าความต้องการของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และครู –
อาจารย์ เกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร
ด้านความรู้ความสามารถในการบริหารอยู่ในระดับมากทุกประเด็นที่ศึกษาโดยมีความต้องการใน 3
ลำดับแรก คือ มีความเข้าใจเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร
( x = 4.29 ) มีความสามารถในการตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง( x = 4.29 ) มีความสามารถ
ในการกำหนดนโยบายและเป้าหมายของโรงเรียนอย่างชัดเจน ( x = 4.26 ) และมีความสามารถในการ
น ำแผนไปสกู่ ารปฏิบัติ( x =4.26) ตามลำดับ
60
เมื่อพิจารณาแต่ละประเด็นพบว่าความต้องการของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา
และครู – อาจารย์ เกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัด
กรุงเทพมหานคร ด้านความรู้ความสามารถในการบริหาร ในประเด็นต่างๆ ดังนี้ มีความเข้าใจเกี่ยว
กับวัตถุประสงค์ของโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร ( x = 4.29 ) มีความสามารถใน
การตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง ( x = 4.29 ) มีความสามารถในการกำหนดนโยบายและเป้า
หมายของโรงเรียนอย่างชัดเจน ( x = 4.26 ) มีความสามารถในการนำแผนไปสู่การปฏิบัติได้ ( x =
4.26 ) มีความสามารถในการวางแผนกลยุทธ์เพื่อนำไปสู่เป้าหมาย ( x = 4.25 ) มีความสามารถใน
การแก้ปัญหาและข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้นได้ ( x = 4.25 ) มีความสามารถในการวิเคราะห์จุดเด่น จุดด้อย
ของโรงเรียนเพื่อเป็นข้อมูลในการบริหารงานด้านต่างๆ ( x = 4.24 ) มีความสามารถจัดระบบงานและ
บุคลากรของโรงเรียนได้อย่างเหมาะสมทุกผ่าย ( x = 4.22 ) มีความรู้เกี่ยวกับระเบียบการปกครองและ
การทำโทษนักเรียน ( x = 4.22 ) มีความรู้เกี่ยวกับวิชาบังคับ วิชาบังคับเลือก วิชาเลือกเสรีและกิจกรรม
ต่างๆตามที่หลักสูตรกำหนด ( x = 4.20 )มีความรู้เกี่ยวกับการวัดผลประเมินผล ตามหลักสูตรและการ
จบหลักสูตร ( x = 4.19 ) มีความรู้เกี่ยวกับเอกสารสำคัญต่างๆ และสามารถให้คำแนะนำครู-อาจารย์
ได้ ( x = 4.19 ) มีความสามารถประเมินแผนเพื่อไปสู่การปรับปรุงแก้ไข ( x = 4.18 ) มีความรู้เกี่ยว
กับหลักสูตรมีศึกษาตอนต้นและมีระบบศึกษาตอนปลาย( x = 4.18 ) และมีความรู้เกี่ยวกับธุรการ การ
เงิน และระเบียบในการใช้เงิน ( x = 4.18) ตามลำดับ
61
ตารางที่ 4 แสดงการเปรียบเทียบความต้องการของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และครู
– อาจารย์ เกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร
ด้านความรู้ความสามารถในการบริหาร
แหล่งความแปรปรวน df SS MS F
ระหว่างกลุ่ม 2 2.764 1.382 0.037*
ภายในกลุ่ม 326 134.771 0.413
รวม 328 137.535
* P < .05 จากตารางที่ 4 พบว่าผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และ ครู - อาจารย์ มีความ ต้องการเกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร ด้านความรู้ความสามารถในการบริหารแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 62 ตารางที่ 5 แสดงการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ตามความตามความต้องการของผู้ บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และ ครู - อาจารย์ เกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้ บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร ด้านความรู้ความสามารถในการบริหาร X ผู้ตำแหน่งหน้าที่ บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยม ครู-อาจารย์ 4.40 4.22 4.17 ผู้บริหารโรงเรียน 4.40 - 0.17 0.23 * หัวหน้าสายมัธยม 4.22 - 0.05 ครู-อาจารย์ 4.17 - * P < .05 จากตารางที่ 5 พบว่าผู้บริหารโรงเรียนมีความต้องการคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหาร โรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร ด้านความรู้ความสามารถในการบริหาร ระดับสูงกว่า ค ร ู - อาจารย์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนผู้บริหารโรงเรียนกับหัวหน้าสายมัธยมศึกษา กับครู - อาจารย์ มีความต้องการคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านความรู้ความสามารถในการบริหารของผู้ บริหารโรงเรียนขยายโอกาสไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 63 ตารางที่ 6 แสดงระดับความต้องการของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และครู - อาจารย์ เกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร ด้านมนุษยสัมพันธ์ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ X S.D ลำดับ ระดับความ ต้องการ 1. เป็นคนยิ้มแย้มแจ่มใส 4.24 0.68 9 มาก 2. มีความเป็นกันเองกับผู้ใต้บังคับบัญชา 4.18 0.78 10 มาก 3. ให้เกียรติและยกย่อง ผู้ใต้บังคับบัญชา ด้วยความจริงใจ 4.33 0.74 2 มาก 4. พูดจาสุภาพ 4.27 0.65 7 มาก 5. มีความจริงใจกับผู้ใต้บังคับบัญชา 4.34 0.74 1 มาก 6. ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชา 4.30 0.77 6 มาก 7. ให้คำปรึกษาผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยความ เต็มใจ 4.31 0.73 5 มาก 8. มีความสามารถในการควบคุมอารมณ์ใน สถานการณ์ 4.32 0.74 4 มาก 9. เป็นคนเสมอต้นเสมอปลาย 4.32 0.73 3 มาก 10. ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล 4.25 0.77 8 มาก 64 จากตารางที่ 6 พบว่าความต้องการของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และครู – อาจารย์ เกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร ด้านมนุษยสัมพันธ์อยู่ในระดับมากทุกประเด็นที่ศึกษาโดยมีความต้องการใน 3 ลำดับแรก คือ มีความ จริงใจกับผู้ใต้บังคับบัญชา ( x = 4.34) ให้เกียรติและยกย่องผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยความจริงใจ ( x =4.33 ) มีความสามารถในการควบคุมอารมณ์ในสถานการณ์ ( x = 4.32 ) และเป็นคนเสมอต้น เสมอปลาย ( x = 4.32 ) ตามลำดับ เมื่อพิจารณาแต่ละประเด็นพบว่าความต้องการของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และครู – อาจารย์ เกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัด กรุงเทพมหานคร ด้านมนุษยสัมพันธ์ เรียงตามลำดับ ดังนี้ มีความจริงใจกับผู้ใต้บังคับบัญชา ( x =4.34 ) ให้เกียรติและยกย่องผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยความจริงใจ ( x = 4.33 ) เป็นคนเสมอต้นเสมอปลาย ( x = 4.32 ) มีความสามารถในการควบคุมอารมณ์ในสถานการณ์ต่างๆได้ ( x = 4.32 ) ให้คำปรึกษาผู้ใต้ บังคับบัญชาด้วยความเต็มใจ ( x = 4.31 ) ยอมรับความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชา ( x = 4.30 ) พูด จาสุภาพ ( x = 4.27 ) ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล ( x = 4.25 ) เป็นคนยิ้มแย้มแจ่มใส ( x =4.24 ) และมีความเป็นกันเองกับผู้ใต้บงั คับบัญชา( x = 4.18 ) ตามลำดับ ตารางที่ 7 แสดงการเปรียบเทียบความต้องการของผู้บริหาร หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และครู – อาจารย์เกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร ด้านมนุษยสัมพันธ์ แหล่งความแปรปรวน df SS MS F ระหว่างกลุ่ม 2 1.016 0.508 1.302 ภายในกลุ่ม 326 127.201 0.390 รวม 328 128.217 * P < .05 จากตารางที่ 7 พบว่าผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และ ครู – อาจารย์ มีความ ต้องการคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร ด้าน มนุษยสัมพันธ์ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 65 ตารางที่ 8 แสดงระดับความต้องการของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และ ครู – อาจารย์ เกี่ยวกับ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร ด้านการสื่อสาร คุณลักษณะที่พึงประสงค์ X S.D ลำดับ ระดับความ ต้องการ 1. ออกคำสั่งปฏิบัติบานชัดเจนและมีราย ละเอียดเพียงพอสำหรับผู้ปฏิบัติ 4.29 0.73 1 มาก 2. แจ้งกำหนดและวาระการประชุมให้ผู้ใต้ บังคับบัญชาทราบล่วงหน้าทุกครั้ง 4.17 0.76 6 มาก 3. ประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์ในการทำงาน ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเข้าใจตรงกัน 4.22 0.74 4 มาก 4. กลั่นกรองข้อมูลข่าวสารที่ได้รับจากผู้ใต้ บังคับบัญชา และสื่อสารไปยังผู้อื่นได้ถูก ต้องเหมาะสม 4.21 0.72 5 มาก 5. เปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชา ซักถาม ข้อข้องใจเกี่ยวกับคำสั่งเพื่อให้เข้าใจตรงกัน 4.27 0.70 2 มาก 6. ยินดีรับฟังข้อเสนอแนะในการแก้ไข ปัญหาจากผู้ใต้บังคับบัญชา 4.27 0.73 3 มาก 7. ชี้ แ จ งข้ อ บ ก พ ร่อ งใน ก ารทํ างาน ข อ งผู้ ใต้บังคับบัญชาแต่ละรายด้วยตนเอง 4.13 0.78 7 มาก 8. เขียนหนังสือแจ้งเรื่องราวและข่าวสารให้ ผู้ใต้บังคับบัญชาทราบ 4.09 0.76 8 มาก 9. ติดประกาศให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติ ตามกฎระเบียบทางราชการ 3.99 0.75 10 มาก 10. ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาผ่านการอบรมราย งานผลเป็นรายลักษณ์อักษรทุกครั้ง 4.02 0.76 9 มาก 66 จากตารางที่ 8 พบว่าความต้องการของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และครู – อาจารย์ เกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร ด้านการสื่อสาร อยู่ในระดับมากทุกประเด็นที่ศึกษาโดยมีความต้องการใน 3 ลำดับแรก คือ ออกคำสั่ง ปฏิบัติงานชัดเจนและมีรายละเอียดเพียงพอสำหรับผู้ปฏิบัติ ( x = 4.29 ) เปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชา ซักถามข้อข้องใจเกี่ยวกับคำสั่งเพื่อให้เข้าใจตรงกัน ( x = 4.27 ) และยินดีรับฟ้งข้อเสนอแนะในการแก้ ปญั หาจากผู้ใต้บังคับบัญชา ( x = 4.27 ) ตามลำดับ เมื่อพิจารณาแต่ละประเด็นพบว่าความต้องการของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และครู – อาจารย์ เกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัด กรุงเทพมหานคร ด้านการสื่อสาร เรียงตามลำดับดังนี้ ออกคำสั่งปฏิบัติงานชัดเจนและมีรายละเอียด เพียงพอสำหรับผู้ปฏิบัติ ( x = 4.29 ) เปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชาซักถามข้อข้องใจเกี่ยวกับคำสั่ง เพื่อให้เข้าใจตรงกัน ( x = 4.27 ) ยินดีรับฟ้งข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาจากผู้ใต้บังคับบัญชา ( x = 4.27 ) ประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์ในการทำงานให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเข้าใจตรงกัน ( x = 4.29 ) กลั่น กรองข้อมูลข่าวสารที่ได้รับจากผู้ใต้บังคับบัญชาและสื่อสารยังผู้อื่นได้ถูกต้องเหมาะสม( x = 4.22 ) แจ้งกำหนดและวาระการประชุมให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทราบล่วงหน้าทุกครั้ง ( x = 4.17 ) ชี้แจงข้อบก พร่องในการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชาแต่ละรายด้วยตนเอง( x = 4.13 ) เขียนหนังสือแจ้งเรื่องราว และข่าวสารให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทราบ( = 4.09 )ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาผ่านการอบรมรายงานผลเป็นราย ลักษณ์อักษรทุกครั้ง x ( x = 4.02 ) และติดประกาศให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติตามกฎระเบียบทางราชการ ( x = 3.99 ) ตามลำดับ 67 ตารางที่ 9 แสดงการเปรียบเทียบความต้องการของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และครู – อาจารย์ เกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร ด้านการสื่อสาร แหล่งความแปรปรวน df SS MS F ระหว่างกลุ่ม 2 3.269 1.635 4.414* ภายในกลุ่ม 326 120.736 0.370 รวม 328 124.005 * P < .05 จากตารางที่ 9 พบว่าผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และครู – อาจารย์ มีความ ต้องการคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร ด้านการ สื่อสารแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตารางที่ 10 แสดงการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ตามความต้องการของผู้บริหาร โรงเรียน เกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร ด้านการสื่อสาร ผู้ตำแหน่งหน้าที่ บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยม ครู-อาจารย์ X 4.36 4.10 4.12 ผู้บริหารโรงเรียน 4.36 - 0.26 0.24* หัวหน้าสายมัธยม 4.10 - -0.02 ครู-อาจารย์ 4.12 - * P < .05 68 จากตารางที่ 10 พบว่า ผู้บริหารโรงเรียนมีความต้องการคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหาร โรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร ด้านการสื่อสาร ระดับสูงกว่า กลุ่มครู – อาจารย์ อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนผู้บริหารโรงเรียนกับหัวหน้าสายมัธยมศึกษาและหัวหน้าสายมัธยม ศึกษากับครู – อาจารย์ มีความต้องการคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านการสื่อสารของผู้บริหารโรงเรียน ขยายโอกาสไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตารางที่ 11 แสดงระดับความต้องการของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และ ครู – อาจารย์ เกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร ด้านคุณธรรม คุณลักษณะที่พึงประสงค์ X S.D ลำดับ ระดับความต้องการ 1. มีความยุติธรรมต่อผู้ใต้บังคับบัญชา 4.36 0.77 9 มาก 2. มีความซื่อสัตย์สุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่ 4.44 0.70 1 มาก 3. มีความเมตตากรุณาต่อผู้ใต้บังคับบัญชา 4.36 0.72 6 มาก 4. มีความรับผิดชอบและอดทนต่อการงาน 4.39 0.69 3 มาก 5. เสียสละเพื่อส่วนรวมมากกว่าส่วนตน 4.36 0.73 7 มาก 6. มีวินัยในตนเอง 4.38 0.70 4 มาก 7. มีสัมมาคารวะ 4.34 0.67 10 มาก 8. เป็นผู้ตรงต่อเวลา 4.36 0.75 8 มาก 9. รักความสามัคคีในหมู่คณะ 4.40 0.73 2 มาก 10. ให้หลักเหตุผลเป็นแนวทางในการทำงาน 4.38 0.75 5 มาก จากตารางที่ 11 พบว่าความต้องการของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และครู – อาจารย์ เกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร ด้านคุณธรรม อยู่ในระดับมากทุกประเด็นที่ศึกษาโดยมีความต้องการใน 3 ลำดับแรก คือ มีความซื่อ 69 สัตย์สุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่ ( x = 4.44 ) รักความสามัคคีในหมู่คณะ ( x = 4.40 ) และมีความรับผิด ชอบและอดทนต่อการทำงาน ( x = 4.39 ) ตามลำดับ พบว่าความต้องการของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และครู – อาจารย์ เกี่ยวกับ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร ด้านคุณธรรม ใน ประเด็นต่างๆ ดังนี้ มีความซื่อสัตย์สุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่ ( x = 4.44 ) รักความสามัคคีในหมู่คณะ ( x = 4.40 ) มีความรับผิดชอบและอดทนต่อการทำงาน ( x = 4.39 ) มีวินัยในตนเอง ( x = 4.38 ) ใช้หลักเหตุผลเป็นแนวทางในการทำงาน ( x = 4.38 )เสียสละเพื่อส่วนรวมมากกว่าส่วนตน ( x = 4.36 ) มีความเมตตากรุณาต่อผู้ใต้บังคับบัญชา ( x = 4.36 ) มีความยุติธรรมต่อผู้ใต้บังคับบัญชา ( x = 4.36 )เป็นผู้ตรงเวลา( x = 4.36 ) มีสัมมาคารวะ( x = 4.34 ) ตามลำดับ ตารางที่ 12 แสดงการเปรียบเทียบความต้องการของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และครู- อาจารย์ เกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร ด้านคุณธรรม แหล่งความแปรปรวน df SS MS F ระหว่างกลุ่ม 2 5.032 2.516 6.126* ภายในกลุ่ม 326 133.879 0.411 รวม 328 138.911 * P < .05 จากตารางที่ 12 พบว่าผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และครู – อาจารย์ มีความ ต้องการคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร ด้านคุณ ธรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 70 ตารางที่ 13 แสดงการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ตามความต้องการของผู้บริหาร โรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และครู - อาจารย์ เกี่ยวกับคุณ ลักษณ ะที่ พึงประสงค์ ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร ด้านคุณธรรม ตำแหน่งหน้าที่ X ผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยม ครู-อาจารย์ 4.61 4.36 4.30 ผู้บริหารโรงเรียน 4.61 - 0.25 0.31* หัวหน้าสายมัธยม 4.36 - 0.06 ครู-อาจารย์ 4.30 - * P < .05 จากตารางที่ 13 พบว่าผู้บริหารโรงเรียนมีความต้องการคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหาร โรงเรียนขยายโอกาสสังกัดกรุงเทพมหานคร ด้านคุณธรรม สูงกว่า ครู– อาจารย์ อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนผู้บริหารโรงเรียนกับหัวหน้าสายมัธยมศึกษาและหัวหน้าสายมัธยมศึกษา กับครู – อาจารย์ มีความต้องการคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านคุณธรรมของผู้บริหารโรงเรียนขยาย โอกาสไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 71 ตารางที่ 14 แสดงระดับความต้องการของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และครู – อาจารย์ เกี่ยว กับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร ด้านวิสัยทัศน์ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ X S.D ลำดับ ระดับความ ต้องการ 1. มีความคิดริเริ่มในการวางแผนเปลี่ยนแปลงสิ่ง ต่างๆในโรงเรียน 4.33 0.75 1 มาก 2. ให้ครู-อาจารย์ช่วยหาข้อมูลเพื่อพัฒนาโรงเรียน 4.21 0.74 10 มาก 3. ใช้วิธีการระดมสมองจากคณะครู เพื่อ ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆในโรงเรียน 4.23 0.79 7 มาก 4. มีเทคนิคในการทำงานเป็นที่ยอมรับของผู้ใต้ บังคับบัญชา 4.21 0.78 11 มาก 5. มีการวางแผนล่วงหน้า ในเรื่องต่างๆก่อนที่ จะดำเนินการเปลี่ยนแปลง 4.27 0.79 3 มาก 6. สนั บ ส นุ น ให้ คณ ะครูเส น อความคิดให ม่ๆ ในการปรับปรุงโรงเรียน 4.24 0.77 5 มาก 7. ใช้ขบวนการบริหารโรงเรียน ซึ่งงเป็นที่ ยอมรับของคณะ ครู 4.22 0.77 9 มาก 8. กำหนดเป้าหมายของโรงเรียนไว้ชัดเจน 4.31 0.71 2 มาก 9. มีการแจ้งล่วงหน้าเมื่อจะมีการปรับ เปลี่ยนบางสิ่งบางอย่างในโรงเรียน 4.22 0.75 8 มาก 10. มีการประเมินผล วิธีการใหม่ๆที่มาใช้ ในการปรับปรุงโรงเรียน 4.15 0.77 15 มาก 11. เปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วน ร่วมในการเสนอความคิดเห็นต่างๆ 4.25 0.77 4 มาก 12. มีการกำหนดภารกิจที่ต้องปฏิบัติไว้ชัดเจน 4.23 0.73 6 มาก 72 ตารางที่ 14 ( ต่อ ) คุณลักษณะที่พึงประสงค์ X S.D ลำดับ ระดับความ ต้องการ 13. มีการเชื่อมโยงงานแผนและการปฏิบัติ เข้าด้วยกัน 4.19 0.72 14 มาก 14. มีการประชุมชี้แจงความก้าวหน้า และ ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นจากการทำงาน 4.20 0.68 12 มาก 15. ให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนร่วมในการ ประเมินการเปลี่ยนแปลง และความ ก้าวหน้าของโรงเรียน 4.20 0.77 13 มาก จากตารางที่ 14 พบว่าความต้องการของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และ ครู– อาจารย์ เกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัด กรุงเทพมหานคร ด้านวิสัยทัศน์อยู่ในระดับมากทุกประเด็นที่ศึกษาโดยมีความต้องการใน 3 ลำดับแรก คือ มีความคิดริเริ่มในการวางแผนเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆในโรงเรียน ( x = 4.33 ) กำหนดเป้าหมายของ โรงเรียนไว้ชัดเจน ( x = 4.31 ) และมีการวางแผนล่วงหน้าในเรื่องต่างๆก่อนที่จะดำเนินการเปลี่ยน แปลง ( x = 4.27 ) ตามลำดับ เมื่อพิจารณาแต่ละประเด็นพบว่าความต้องการของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และครู – อาจารย์ เกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัด กรุงเทพมหานคร ด้านวิสัยทัศน์ ในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ มีความคิดริเริ่มในการวางแผนเปลี่ยนแปลงสิ่ง ต่างๆในโรงเรียน ( x = 4.33 )กำหนดเป้าหมายของโรงเรียนไว้ชัดเจน ( x = 4.31 )มีการวางแผนล่วง หน้าในเรื่องต่างๆก่อนที่จะดำเนินการเปลี่ยนแปลง( x = 4.27 ) เปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วน ร่วมในการเสนอความคิดเห็นต่างๆ ( x = 4.25 ) สนับสนุนให้คณะครูเสนอความคิดใหม่ๆในการปรับ ปรุงโรงเรียน ( x = 4.24 )ใช้วิธีการระดมสมองจากคณะครูเพื่อปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆในโรง เรียน ( x = 4.23 ) มีการกำหนดภารกิจที่ต้องปฏิบัติไว้ชัดเจน ( x = 4.23 ) มีการแจ้งล่วงหน้าเมื่อมีการ ปรับเปลี่ยนบางส่วนบางอย่างในโรงเรียน ( x = 4.22 ) ใช้ขบวนการบริหารโรงเรียนซึ่งเป็นที่ยอมรับ 73 ( x = 4.22 ) มีเทคนิคในการทำงานเป็นที่ยอมรับของผู้ใต้บังคับบัญชา ( x = 4.21 ) ให้ ครูอาจารย์ฝ่ายหาข้อมูลเพื่อพัฒนาโรงเรียน ( x = 4.21 ) มีการปรับปรุงชี้แจงความก้าวหน้าและปัญหา ต่างๆที่เกิดขึ้นจาการทำงาน ( x = 4.20 ) ให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนร่วมในการประเมินการเปลี่ยน แปลงและความก้าวหน้าของโรงเรียน ( x = 4.20 ) มีการเชื่อมโยงงานและแผนการปฏิบัติเข้าด้วยกัน ( x = 4.19 ) และมีการประเมินวิธีการใหม่ๆที่มาใช้ในการปรับปรุงโรงเรียน ( x = 4.15 ) ตามลำดับ ตารางที่ 15 แสดงการเปรียบเทียบความต้องการของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และ ครู-อาจารย์ เกี่ยวกับคุณ ลักษณ ะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัด กรุงเทพมหานครด้านวิสัยทัศน์ แหล่งความแปรปรวน df SS MS F ระหว่างกลุ่ม 2 4.965 2.482 5.764* ภายในกลุ่ม 326 140.402 0.431 รวม 328 145.367 * P < .05 จากตารางที่ 15 พบว่าผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และครู – อาจารย์ มีความ ต้องการคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร ด้านวิสัย ทัศน์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 74 ตารางที่ 16 แสดงการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ตามความต้องการของผู้บริหารโรง เรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และครู - อาจารย์ เกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรง เรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร ด้านวิสัยทัศน์ X ผู้ตำแหน่งหน้าที่ บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยม ครู-อาจารย์ 4.46 4.11 4.18 ผู้บริหารโรงเรียน 4.46 - 0.35* 0.28* หัวหน้าสายมัธยม 4.11 - 0.67 ครู-อาจารย์ 4.18 - * P < .05 จากตารางที่ 16 พบว่าทำการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยความต้องการเป็นรายคู่โดยวิธี ของเชฟเฟ่ ( จากตารางที่ 16 ) พบว่าผู้บริหารโรงเรียนมีความต้องการคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้ บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร ด้านวิสัยทัศน์ สูงกว่า หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และครู – อาจารย์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนหัวหน้าสายมัธยมศึกษากับครู – อาจารย์ มีความต้องการคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านวิสัยทัศน์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 75 ตอนที่ 3 ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ผู้บริหารโรงเรียน ขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหาร โรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร 5 ด้าน ได้ผลสรุปดังนี้ ตารางที่ 17 แสดงข้อเสนอแนะของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และครู– อาจารย์ เกี่ยวกับ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร ด้านความรู้ความ สามารถในการบริหาร ลำดับ ข้อเสนอแนะ ความถี่ 1 มีความรู้ความสามารถในทุกๆ ด้าน 10 2 ท้นต่อเหตุการณ์ 7 3 มีความยุติธรรม และ เสมอภาค 6 4 เป็นที่ยอมรับของผู้ใต้บังคับบัญชา 3 5 พัฒนาตนเองอยู่เสมอ 2 6 จัดลำดับความสำคัญในการบริหารงานด้านต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม 2 7 จบการศึกษาระดับปริญญาโท 1 8 เปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเข้าพบได้ง่าย 1 9 ประเมินผลงานของผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างสม่ำเสมอ 1 10 ให้หลักการกระจายอำนาจ 1 จากตารางที่ 17 พบว่าผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และครู – อาจารย์ เสนอ แนะเกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร ใน ด้านความรู้ความสามารถในการบริหารในประเด็นต่าง ๆ เรียงลำดับดังนี้ มีความรู้ความสามารถทุก ๆ ด้าน ( ความถี่ 10) ทันต่อเหตุการณ์ ( ความถี่ 7) มีความยุติธรรมและเสมอภาค ( ความถี่ 6) เป็นที่ยอม 76 ตารางที่ 18 แสดงข้อเสนอแนะของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และครู – อาจารย์ เกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร ด้านมนุษย์ สัมพันธ์ ลำดับ ข้อเสนอแนะ ความถี่ 1 เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และมีความเอื้ออาทรต่อผู้ใต้บังคับบัญชา 9 2 มีความเสมอภาคกับผู้ใต้บังคับบัญชา 6 3 ให้กำลังใจผู้ใต้บังคับบัญชา 5 4 สามารถทำงานร่วมกับชุมชนและท้องถิ่นได้ 4 5 ให้โอกาสในการแสดงความคิดเห็น 3 6 มีจิตวิทยาในการสร้างความสัมพันธ์กับครู-อาจารย์ 3 7 ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ง่าย 3 8 ไม่ใช้อำนาจในทางที่ผิด 2 9 มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ 2 10 มีความหนักแน่นไม่หวั่นไหวต่อเหตุการณ์ต่างๆ 2 11 ทราบวิธีแก้ไขความขัดแย้ง 1 จากตารางที่ 18 พบว่าผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และครู – อาจารย์ เสนอแนะ เกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร ด้าน มนุษยสัมพันธ์ในประเด็นต่างๆ เรียงลำดับดังนี้ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่มีความเอื้ออาทรต่อผู้ใต้บังคับบัญชา ( ความถี่ 9) มีความเสมอภาคกับผู้ใต้บังคับบัญชา ( ความถี่ 6) ให้กำลังใจผู้ใต้บังคับบัญชา (ความถี่ 5) 77 ตารางที่ 19 แสดงข้อเสนอแนะของผู้บริหาร หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และครู – อาจารย์ เกี่ยวกับคุณลักษณะ ที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร ด้านการสื่อสาร ลำดับ ข้อเสนอแนะ ความถี่ 1 ทันต่อเหตุการณ์และทันสมัย 8 2 ควรแจ้งข่าวสารให้รวดเร็ว ถูก้อง และแม่นยำ 5 3 ควรสื่อสารทั้งทางวาจาและทางลายลักษณ์อักษร 3 4 สื่อสารแบบตรงไปตรงมา 2 5 ควรแจ้งข่าวสารให้ทราบล่วงหน้าก่อนการปฏิบัติงาน 1 6 เป็นแบบอย่างให้กับผู้ใต้บังคับบัญชานำมาปฏิบัติได้ 1 7 มีการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับงานด้านต่างๆของโรงเรียนอย่างทั่วถึง 1 8 มีความรู้ความสามารถในด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ 1 9 มีความน่าเชื่อถือ 1 10 เชื่อมโยงการสื่อสารจากภายนอกในสาระที่เป็นประโยชน์ต่อโรงเรียน 1 จากตารางที่ 19 พบว่าผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และครู – อาจารย์ เสนอ แนะเกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร ใน ด้านการสื่อสารในประเด็นต่าง ๆ เรียงลำดับดังนี้ ทันต่อเหตุการณ์และทันสมัย ( ความถี่ 8) ควรแจ้งข่าว สารให้รวดเร็วและแม่นยำ ( ความถี่ 5) ควรสื่อสารทั้งทางวาจาและทางลายลักษณ์อักษร ( ความถี่ 3) สื่อสารแบบตรงไปตรงมา (ความถี่ 2) ควรแจ้งข่าวสารให้ทราบล่วงหน้าก่อนการปฏิบัติงาน (ความถี่ 1) 78 ตารางที่ 20 แสดงข้อเสนอแนะเกี่ยวกับความต้องการของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และ ครู– อาจารย์ เกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร ด้านคุณธรรม ลำดับ ข้อเสนอแนะ ความถี่ 1 มีความเสมอภาคกับผู้ใต้บังคับบัญชาทุกคน 24 2 มีพรหมวิหาร 4 (เมตตา กรุณา มุฑิตา อุเบกขา) 9 3 มีจรรยาบรรณ 4 4 เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา 4 5 ประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างมีแบบแผน 3 6 มีความจริงใจ 3 7 เสมอต้นเสมอปลาย 1 8 ไม่เบียดบังเวลาทำงานทำอย่างอื่น 1 9 ให้อภัยผู้ใต้บังคับบัญชา 1 10 ให้โอกาสผู้ใต้บังคับบัญชา 1 11 ไม่ใช้อารมณ์ในการบริหารงาน 1 จากตารางที่ 20 พบว่าผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และครู – อาจารย์ เสนอ แนะเกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร ใน ด้านคุณธรรมในประเด็นต่างๆ เรียงลำดับดังนี้ มีความเสมอภาคต่อผู้ใต้บังคับบัญชาทุกคน (ความถี่ 24 ) มีพรหมวิหาร 4 ( ความถี่ 9 ) มีจรรยาบรรณ ( ความถี่ 4 ) เป็นแบบอย่างที่ดีต่อผู้ใต้บังคับบัญชา 79 ตารางที่ 21 แสดงข้อเสนอแนะของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และ ครู- อาจารย์ เกี่ยวกับ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร ด้านวิสัยทัศน์ ลำดับ ข้อเสนอแนะ ความถี่ 1 มองการณ์ไกล 53 2 ทันต่อเหตุการณ์และทันสมัย 21 3 ยอมรับฟังความคิดเห็นของ 5 4 ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ในการบริหารงาน 3 5 วางแผนและพัฒนาโรงเรียนให้ทันการกับการเปลี่ยนแปลงของโลก 3 6 เปิดใจให้กว้าง 3 7 พัฒนาตนเองอยู่เสมอ 2 8 เป็นนักวางแผนและนักปฏิบัติงาน 2 9 แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างดี 2 10 เป็นที่ยอมรับของผู้ใต้บังคับบัญชา 2 11 มุ่งประโยชน์ต่อนักเรียนเป็นสำคัญ 1 จากตารางที่ 21 พบว่าผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และครู – อาจารย์ เสนอ แนะเกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร ใน ด้านวิสัยทัศน์ ในประเด็นต่าง ๆ เรียงตามลำดับดังนี้ มองการณ์ไกล ( ความถี่ 53) ทันต่อเหตุการณ์และ ทันสมัย ( ความถี่ 21) ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชา ( ความถี่ 5) ใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ บริหารงาน ( ความถี่ 3 ) วางแผนและพัฒนาโรงเรียนให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก ( ความถี่ 3 ) เปิดใจกว้าง ( ความถี่ 3) พัฒนาตนเองอยู่เสมอ ( ความถี่ 2) เป็นนักวางแผนและนักปฏิบัติงาน (ความถี่ 2) แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี ( ความถี่ 2) เป็นที่ยอมรับของผู้ใต้บังคับบัญชา ( ความถี่ 2) และ มุ่งประโยชน์ต่อนักเรียนเป็นสำคัญ ( ความถี่ 1 ) ตามลำดับ บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาระดับความต้องการเกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียน ขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร 2. เพื่อเปรียบเทียบความต้องการของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และ ครู–อาจารย์ เกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัด กรุงเทพมหานคร ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรของการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และครู – อาจารย์ จำนวน 2,945 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และ ครู – อาจารย์ จำนวน 329 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมี 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม เกี่ยวกับเพศ อายุ อายุราช การ วุฒิการศึกษา และตำแหน่งหน้าที่ในปัจจุบัน ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามมาตราประมาณค่า (rating scale) เกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัด กรุงเทพมหานคร ภายใต้องค์ประกอบ 5 ด้าน คือ ด้านความรู้ความสามารถในการบริหาร ด้าน มนุษย์สัมพันธ์ ด้านการสื่อสาร ด้านคุณธรรม และด้านวิสัยทัศน์ จำนวน 60 ข้อ และตอนที่ 3 เป็น แบบสอบถามปลายเปิด (open-ended question) เพื่อให้ผู้ตอบแบบสอบถาม ได้เสนอแนะเกี่ยว กับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานครทั้ง 5 ด้าน เพิ่มเติม 84 การสร้างเครื่องมือ ในการสร้างเครื่องมือวิจัยครั้งนี้สร้างขึ้นโดยศึกษาข้อมูลตามความต้องการของผู้บริหารโรง เรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และครู – อาจารย์ และศึกษาจากเอกสารตำราวิชาการและงานวิจัยที่ เกี่ยวข้องโดยผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่านคือ นายชุมพล พงษ์พิพัฒน์ ผู้อำนวยการ โรงเรียนวัดหัวกระบือ นายธันวา จิวตระกูล รองผู้อำนวยการสำนักการศึกษา และนายไพรัช อรรถกามานนท์ รองผู้อำนวยการสำนักการศึกษา เพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา และไป ทดลองใช้กับกลุ่มประชากรที่มิใช่กลุ่มตัวอย่างจำนวน 40 ฉบับ นำมาวิเคราะห์หาความเชื่อนั้น (reliability) โดยใช้วิธีสัมประสิทธิ์ แอลฟา (alpha coefficient) ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.9771 การเก็บรวบรวมข้อมูล ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยขอหนังสือแนะนำตัวจากบันฑิตวิทยาลัยสถาบันราชภัฏ บ้านสมเด็จเจ้าพระยาเพื่อขอหนังสือราชการถึงผู้อำนวยการศึกษาสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร เพื่อออกหนังสือจากสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร ส่งเรื่องไปยังผู้อำนวยการเขต และผู้อำนวย การโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานครจำนวน 48 โรงเรียน จากแบบสอบถาม จำนวน 341 ฉบับ ได้รับกลับคืนจำนวน 332 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 96.44 เป็นฉบับที่สมบูรณ์ไม่สมบูรณ์ 3 ฉบับ แล้วนำฉบับที่สมบูรณ์ 329 ฉบับ ไปวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยดำเนินการตามลำดับดังนี้ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์หาค่าร้อยละของข้อมูลตอนที่ 1 เพื่อทราบอัตรา ส่วนของผู้ตอบแบบสอบถามตามตัวแบบต่างๆ หาค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อจัดระดับ ลำดับที่และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยจากคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรง เรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานครด้วยค่าเอฟ F- test ของแบบสอบถามตอนที่ 2 แล้วรวบ รวมความต้องการในหัวข้อเสนอแนะตอนที่ 3 จากแบบสอบถามแล้วนำมาจัดเรียงตามความถี่เพื่อ ใช้ประกอบการอภิปรายผล 85 สรุปผลการวิจัย จากการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร ปรากฏผลดังนี้ 1. ความต้องการของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และครู – อาจารย์ เกี่ยวกับ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับ มากทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านคุณธรรม ด้านวิสัยทัศน์ ด้านมนุษยสัมพันธ์ ด้านความรู้ความสามารถใน การบริหาร และด้านการสื่อสารตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบความต้องการของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และครู – อาจารย์ เกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของโรงเรียนขยาย โอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร ทั้ง 5 ด้าน พบว่าความต้องการด้านคุณธรรม ด้านวิสัยทัศน์ ด้าน ความรู้ความสามารถในการบริหาร และด้านการสื่อสาร มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านมนุษยสัมพันธ์ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. เมื่อเปรียบเทียบความต้องการของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และ ครู -อาจารย์ โดยทดสอบจากค่าเอฟ F – test พบว่า 2.1 ผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และครู – อาจารย์ มีความต้องการ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร ด้านความรู้ ความสามารถในการบริหารมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อทำการ ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ของเชฟเฟ่ พบว่า ผู้บริหารโรงเรียนมีความต้องการคุณ ลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานครระดับสูงกว่า ครู – อาจารย์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนผู้บริหารโรงเรียนกับหัวหน้าสายมัธยมศึกษา และหัวหน้าสายมัธยมศึกษากับครูอาจารย์มีความต้องการไม่แตกต่างกัน 2.2 ผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และครู – อาจารย์ มีความต้องการ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร ด้านมนุษย์ สัมพันธ์ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.3 ผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และครู – อาจารย์ มีความต้องการ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร ด้านการสื่อ สารมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อทำการทดสอบความแตกต่าง ของค่าเฉลี่ยความต้องการเป็นรายคู่โดยวิธีของเชพเพ่ พบว่า ผู้บริหารโรงเรียนมีความต้องการคุณ 86 ลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสสังกัดกรุงเทพมหานคร ระดับสูงกว่ากลุ่ม ครู - อาจารย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนคู่อื่นๆ มีความต้องการไม่แตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญ 2.4 ผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และครู – อาจารย์ มีความต้องการ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร ด้านคุณธรรมมี ความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อทำการทดสอบความแตกต่างของค่า เฉลี่ยความต้องการเป็นรายคู่โดยวิธีเชพเพ่ พบว่าผู้บริหารโรงเรียนมีความต้องการคุณลักษณะที่พึง ประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสสังกัดกรุงเทพมหานครระดับสูงกว่ากลุ่มครูอาจารย์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนคู่อื่นๆ มีความต้องการไม่แตกต่างกัน 2.5 ผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และครู – อาจารย์ มีความต้องการ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร ด้านวิสัยทัศน์ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อทำการทดสอบความแตกต่างของ ค่าเฉลี่ยความต้องการเป็นรายคู่โดยวิธีเชฟเฟ่พบว่า ผู้บริหารโรงเรียนมีความต้องการคุณลักษณะที่ พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสสังกัดกรุงเทพมหานครสูงกว่าหัวหน้าสายมัธยม ศึกษา และครู-อาจารย์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนคู่อื่น มีความต้องการไม่แตกต่าง กันอย่างมีนัยสำคัญ 3. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับคุณลักษณ์ที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสสังกัด กรุงเทพมหานครที่น่าสนใจมี 53ข้อ (คุณลักษณะย่อย) สำหรับข้อที่มีความถี่สูงสุดใน 3 อันดับแรก ของแต่ละด้านตามลำดับดังนี้ ด้านความรู้ความสามารถในการบริหารประกอบด้วย มีความรู้ความสามารถทุกๆ ด้าน ทัน ต่อเหตุการณ์ และมีความยุติธรรมเสมอภาค ด้านมนุษย์สัมพันธ์ประกอบด้วย เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และมี ความเอื้ออาทรต่อผู้ใต้บังคับบัญชา มีความเสมอภาคกับผู้ใต้บังคับบัญชา และให้กำลังใจ ผู้ใต้บังคับ บัญชา ด้านการสื่อสารประกอบด้วยทันต่อเหตุการณ์ และทันสมัย ควรแจ้งข่าวสารให้รวดเร็ว ถูก ต้อง และแม่นยำ และควรสื่อสารทั้งทางวาจา และทางลายลักษณ์อักษร ด้านคุณธรรมประกอบด้วย มีความเสมอภาคกับผู้ใต้บังคับบัญชาทุกคน มีพรหมวิหาร 4 และมีจรรยาบรรณ และด้านวิสัยทัศน์ ประกอบด้วยการมองการไกล ทันต่อเหตุการณ์ และทันสมัย และยอมฟังความคิดเห็นของผู้ใต้ บังคับบัญชา 87 อภิปรายผล จากการวิเคราะห์ข้อมลเกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานครมีประด็นที่น่าสนใจ และควรนำมาอภิปรายผลดังต่อไปนี้ 1. ความต้องการของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และครู - อาจารย์เกี่ยวกับ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาศสังกัดกรุงเทพมหนานครพบว่า ความ ต้องการอยู่ในระดับมาก ทั้ง 5 ด้านซึ่งนำมาอภิปรายดังนี้ 1.1 ความต้องการของผู้บริหารโรงเรียนด้านความรู้ความสามารถในการบริหารอยู่ ในระดับมากเนื่องจากความรู้ความสามารถทางการบริหารเป็นความสามารถของผู้บริหารโรงเรียน โดยการนำเอาความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ และทฤษฏีมาประยุกต์ใช้ในการทำงานให้ ประสบความสำเร็จประกอบด้วยผู้บริหารผู้บริหารต้องมีความรู้ความเข้าใจนโยบาย และวัตถุ ประสงค์ของการปฏิบัติงาน มีความสามารถในการวางแผน และปรับปรุงแผนอยู่เสมอมีความ สามารถในการวัดสายงานการบังคับบัญชา และระเบียบงาน รู้จักมอบหมายอำนาจหน้าที่ซึ่งสอด คล้องกับสิทธิ ยศปัญญา (2533:90) ได้เสนอไว้ว่า ผู้บริหารโรงเรียนนำเอาหลักการ ความรู้ และ ทฤษฎีมาประยุกต์ใช้ในการทำงานให้ประสบความสำเร็จ และเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป ประพนธ์ ไผลคำ (2537 :73-75) ได้เสนอไว้ว่า ผู้บริหารมีความสามารถในการแก้ไขปัญหาสูงมีความรู้ความ เข้าใจในนโยบาย และวัตถุประสงค์ของการปฏิบัติงานอย่างชัดเจน แมกนูสัน (Magnuson 1971 :133) ได้เสนอว่า ผู้บริหารควรมีความรู้ในการบริหารดี รู้จักมอบหมายงานมีการวางแผน และจัด หน่วยงานดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้มีความสามารถในการตัดสินใจมีความสามารถในการ ติดต่อผู้อื่นได้ รู้จักใช้อำนาจอย่างเหมาะสม และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (2530 : 4) ได้สรุป ความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนไว้ว่า ผู้บริหารโรงเรียนต้องมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ผู้บริหาร โรงเรียนควรจะมีความก้าวหน้าทันต่อเหตุการณ์ของสังคมเพื่อให้โรงเรียนมีความพร้อมต่อเหตุ การณ์ และเวลาซึ่งสอดคล้องกับเชน (Shane 1957 :517-519) ที่กล่าวว่าผู้บริหารจะต้องเป็นคนที่ ทันต่อเหตุการณ์ อยู่เสมอผู้บริหารโรงเรียนมีวิธีการบริหารงานทที่ชาญฉลาด กล่าวคือ สามารถทำ ให้ผู้ร่วมงานทุกคนได้ทำงานตามความรู้ ความสามารถ อย่างเต็มเวลา เต็มใจ และเต็มความสามารถ และโนลท์ (Nolte 1966:385-398) ได้กล่าวว่าคุณลักษณะที่เด่นๆ ของผู้บริหารที่มีความสามารถใน การทำงานได้ดี คือ มีวิธีการอย่างชาญฉลาด และเอดมอนสัน และคนอื่นๆ (Ednonson and others.1955:78-81) ได้รายงานผล จากการวิจัยไว้ว่าการบริหารงานชาญฉลาดจำเป็นยิ่งสำหรับผู้ บริหารโรงเรียนผู้บริหารโรงเรียนต้องมีความสามารถในการแก้ปัญหา เพราะว่าผู้บริหารต้องเป็นผู้ที่ 88 สามารถจะแก้ปัญหาต่างๆ ได้ เป็น ด้านบุคลากร ด้านนักเรียน ด้านการจัดกระบวนการเรียนการ สอนเพราะปัญหาต่างๆ ย่อมเป็นอุปสรรคต่อผลสำเร็จของงานจึงเป็นหน้าที่ของผู้บริหารที่จะต้อง แก้ไขด้วยวิธีการที่แยบยล และนิ่มนวลให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์ (2534 :216- 217) ที่กล่าวว่า ผู้บริหารจะต้องรู้จักฟัง และเลือกความคิดเห็นที่ดี ผู้บริหารโรงเรียนควรมีความรอบ รู้ในบทบาทหน้าที่ กล่าวคือความสามารถของผู้บริหารโรงเรียนที่รู้กรอบงาน งานหลัก งานรอง งานที่ได้มอบหมายไปแล้วรู้ว่างานใดเร่งด่วน และรวดเร็ว ในการทำงาน สรุปได้ว่าคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนด้านความรู้ความ สามารถทางการบริหาร มีความจำเป็นยิ่งสำหรับผู้บริหารโรงเรียนที่มีความคาดหวังในผลสำเร็จของ งาน และที่จะพัฒนาโรงเรียนให้ประสบความสำเร็จ ผู้บริหารโรงเรียนต้องมีความรู้ความสามารถสูง 1.2 ความต้องการของผู้บริหารโรงเรียนด้านมนุษย์สัมพันธ์อยู่ในระดับมาก คง เป็นเพราะว่ามนุษย์สัมพันธ์เป็นพฤติกรรมที่ปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นทำให้คนที่มีปฏสัมพันธ์นั้นพึงพอ ใจ หรือเป็นที่ต้องการของเขาประกอบด้วยผู้บริหารควรมีความมั่นคงในอารมณ์ เนื่องจากเป็นผู้ที่จัด สรรผลประโยชน์ให้กับผู้ร่วมงาน และรักษาผลประโยชน์ของทางราชการ ผู้บริหารโรงเรียนจึงมัก จะพบกับปัญหาคำนินทา หรือพฤติกรรมที่ผู้ร่วมงานแสดงออกมากระตุ้นให้โต้ตอบ ผู้บริหารโรง เรียนจึงต้องอดทน อดกลั้น ยิ้มแย้มแจ่มใส พูดจาสุภาพ เนื่องจากไม่อยู่ในฐานะที่จะทะเลาะกับใคร ได้ จึงต้องพยายามควบคุมความรู้สึก และอารมณ์ให้มั่นคงเพื่อบรรยากาศที่ดีในการทำงานร่วมกัน และงานนั้นจะประสบความสำเร็จ ดังเช่น อำนวย วีรวรรณ (2535:194-199) ก็เห็นว่าผู้บริหารที่ ประสบความสำเร็จในชีวิตการงานจะต้องเป็นผู้มีมนุษย์สัมพันธ์ดี รู้จักใช้ศิลป์ในการเจรจา รู้จัก สร่างศรัทรา และบำรุงขวัญเพื่อเป็นกำลังใจให้แก่ผู้ร่วมงาน ซึ่งตรงกับแนวคิดของ สุนีย์ บุญทิม (2542: 30-31) ที่เห็นว่า ผู้บริหารต้องเป็นผู้มีมนุษย์สัมพันธ์สูง และมีความสามารถในการจูงใจจึง สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ได้กำหนดให้ชุมชนเจ้ามามีส่วนร่วมใน การจัดการศึกษาของโรงเรียนเพราะฉะนั้นเพื่อให้การจัดการศึกษาของโรงเรียนเป็นไปตามพระราช บัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 กำหนดไว้ผู้บริหารต้องประสานงาน และร่วมมือดำเนินการ จัดการศึกษาของโรงเรียนกับหน่วยงานท้องถิ่น และชุมชนรวมทั้งครู-อาจารย์ ผู้นำท้องถิ่น และเอก ชนเป็นจำนวนมากการที่ผู้บริหารโรงเรียนจะสามารถบริหาร และจัดการศึกษาได้สำเร็จนั้น ผู้ บริหารต้องมีทัษะด้านมนุษย์สัมพันธ์สูงจะทำให้ได้รับการยอมรับจากผู้เกี่ยวข้อง และทำให้ได้รับ ความร่วมมือในการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่การสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดีในการทำงานร่วมกัน จึงเปรียบเสมือนพลังแอบแฝงในการทำงานซึ่งจะช่วยให้งานบรรลุเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ที่ 89 ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพตามแนวคิดของ ณรงค์ โพธิ์มี (2535 : 92) กล่าวว่าโรงเรียนกับชุม ชนต้องมีความสัมพันธ์กัน และช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกัน และกันทำให้เกิดความเข้าใจ และความ สัมพันธ์ที่ดีต่อกันชุมชนให้ความร่วมมือเพียงใดก็ยิ่งเป็นผลที่ดีต่อโรงเรียนเพียงนั้น วิจิตร วรุตบาง กูร และสุพิชญา ธีรกุล (2523:75) กล่าวว่าการสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่สำคัญ ยิ่งของผู้บริหารโรงเรียน คือความยิ้มแย้ม แจ่มใส ผู้บริหารโรงเรียนควรมีการวางตัวที่สม่ำเสมอ เพื่อสร้างความมั่นใจ และ ความไว้วางใจให้กับผู้ร่วมงาน พฤติกรรมที่แสดงให้เห็นว่ามีความคงเส้นคงวา ผู้บริหารโรง เรียนควรจะมีความยืดหยุ่น ผู้ร่วมงานย่อมต้องการความยืดหยุ่นของผู้บริหารเพราะภาระหน้าที่ของ ผู้ร่วมงานมีมากมายโดยเฉพาะโรงเรียนที่ขาดครูประกอบกับภาระหน้าที่ทางด้านส่วนตัว และสังคม ภายนอกทำให้การทำงานอาจล่าช้า หรือบกพร่องไปบ้าง หรืออาจกระทำโดยไม่เจตนา ด้วยความรู้ เท่าไม่ถึงการย่อมหวังการอนุโลมผ่อนสั้น ผ่อนยาว จากผู้บริหารโรงเรียนดังนั้นวิจิตร วรุตบางกูร และสุพิชญา ธีรกุล (2523 :75) ได้เสนอว่าผู้บริหารโรงเรียนจะต้องมีความยืดหยุ่น สอดคล้อง รุ่ง ทิวา จักรกร (2526 :149) ที่กล่าวว่า ความยืดหยุ่นเป็นคุณลักษณะด้านมนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหาร โรงเรียนผู้บริหารโรงเรียนควรมีการทักทายผู้ร่วมงานเป็นประจำ เพราะเป็นการให้โอกาสแก่ผู้ร่วม งานที่จะขอคำปรึกษาหารือหวังแนะนำ รวมทั้งได้ความอบอุ่นเนื่องจากมีความรู้สึกว่าไม่ถูกทอดทิ้ง เกิดความรู้สึกว่าโรงเรียนมีความน่าอยู่ เป็นการสร้างบรรยากาศที่ดีในโรงเรียนของผู้บริหารโดยไม่ ต้องลงทุน สรุปได้ว่าคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนด้านมนุษย์สัมพันธ์มี ความจำเป็นต่อผู้บริหารโรงเรียนที่จะต้องปรับปรุง และปฏิบัติให้มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี 1.3 ความต้องการของผู้บริหารโรงเรียนด้านการสื่อสารอยู่ในระดับมาก คงเป็น เพราะผู้บริหารโรงเรียนมีการติดต่อสื่อสารที่ดี ก็สามารถสร้างความสัมพันธ์และความพึงพอใจได้ กับผู้อื่นได้ดีอีกด้วย และทำให้การปฏิบัติงานในโรงเรียนมีผลดีตามไปเป็นการสร้างบรรยากาศของ การติดต่อสื่อสาร ซึ่งตรงกับแนวคิดของเสนาะ ติเยาว์ (2537 : 23-24) ความสำเร็จ หรือความล้ม เหลวขององค์การจะเกิดขึ้นจากความมีประสิทธิภาพ และความไม่มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ของบุคคลเหล่านี้ และการปฏิบัติงานจะมีประสิทธิภาพเพียงใด จะต้องอาศัยระบบการสื่อสารที่ดี แม้นมาส ชวลิต (2539 : 6-7) ได้กล่าวถึงความสำคัญของการสื่อสารว่าการติดต่อสื่อสารที่ดีจะช่วย เสริมให้เป้าหมายของสถาบัน หรือโรงเรียนประสบผลสำเร็จ และมีความสำคัญต่อคนทุกคนเพราะ โดยทั่วไปการติดต่อสื่อสารทุกครั้งของมนุษย์ จะมีวัตถุประสงค์อย่างใด อย่างหนึ่งเสมอ การติดต่อ สื่อสารทำให้คนเราเข้าใจกันอยู่ร่วมกันได้ และสามารถช่วยกันทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งให้บรรลุเป้า 90 หมาย ธงชัย สันติวงษ์ (2535 : 394) กล่าวว่า ข้อดีของการติดต่อสื่อสารที่ไม่เป็นทางการจะมีความ รวดเร็วในการติดต่อสื่อสารมากที่สุด แต่มีข้อเสียที่ว่า ข่าวสารแบบนี้ ก็อาจแก้ไขให้ข้อเท็จจริงควบ คู่กันไปฉะนั้นในการบริหารโรงเรียนผู้บริหารอาจเริ่มต้นด้วยการติดต่อสื่อสารที่ไม่เป็นทางการใน ระยะแรกก่อนแล้วจึงตามด้วยการติดต่อสื่อสารที่เป็นทางการภายหลัง หรือควบคู่กันไป ซึ่งตรงกับ งานวิจัยของสมชาติ วัฒนถาวร (2514:165) พบว่าโรงเรียนโดยทั่วไป ใช้วิธีติดต่อสื่อสารแบบที่ ทางการ มากกว่าวิธีที่ไม่เป็นทางการ และเมื่อพิจารณารายละเอียดของการติดต่อสื่อสารที่ไม่เป็น ทางการในแต่ละเรื่องของโรงเรียนผู้บริหารสนทนากับครูที่เข้ามาทักทาย หรือติดต่อด้วยอยู่ใน ระดับมากทั้งนี้เพราะผู้บริหารใช้เวลาแต่ละวันเกี่ยวข้องกับผู้อื่นถึงร้อยละ 67 สัมฤทธิ์ แก้วอาจ (2527:17) โดยการพบปะพูดคุยกับผู้ร่วมงาน และบุคคลอื่นๆ การสนทนา นั้นถือเป็นการติดต่อสื่อ สารระหว่างบุคคล สามารถแลกเปลี่ยนสาระกันได้โดยตรงในทุกเรื่องที่ต้องการฉะนั้นโรงเรียน ขนาดเล็กซึ่งมีจำนวนครูไม่มาก ผู้บริหารสามารถสนทนาทักทายครูทุกคนได้อย่างทั่วถึง และยิ่งผู้ บริหารที่มีความสามารถในการใช้ถ้อยคำในการสนทนากับครูทุกคนได้อย่งทั่วถึง และยิ่งผู้บริหารที่ มีความสามารถในการใช้ถ้อยคำในการสนทนากับครูแล้วโดยจะให้ประหยัดเวลา และเกิดความเข้า ใจง่ายการสนทนาระหว่างผู้บริหารกับครูในโรงเรียน จึงเป็นวิธีการติดต่อสื่อสารที่ผู้บริหารใช้ได้ผล จึงทำให้ค่าเฉลี่ยอยู่ใรระดับมาก เชน (Shane 1975: 517-519) ได้แนะนำว่าผู้บริหารย่อมสร้าง ความมั่นใจให้กับผู้ร่วมงาน ผู้บริหารโรงเรียนย่อมมีทักษะในการใช้ภาษาสื่อสาร ผู้บริหาร ย่อมเป็น คนที่มีความสามารถในการสื่อสารทั้งทางวาจา และลายลักษณ์อักษร ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวดเร็ว ประหยัดเข้าใจได้ถูกต้องตรงกัน ดังที่โนลท์ (Nolte.1966 :385-398) กล่าวไว้ว่าผู้บริหารที่มีความ สามารถในการสื่อสาร ย่อมประสบความสำเร็จในการทำงาน และเจคอบสัน และวิกแมน (Jacobson and wiegman 1973 :40-44) ให้ความเห็นไว้ว่า ครูใหญ่ควรเป็นผู้ที่พูดและฟังได้ชัด เจนสอดคล้องกับ เอกกานท์ (Eckhant. 1978:562-563A) ที่สรุปผลจากการศึกษาไว้ว่า ครูใหญ่ โรงเรียนประถมศึกษา และมีระบบศึกษา ต้องมีทักษาในการสื่อสาร และผู้บริหารต้องมีความ สามารถปรับปรุงงาน สรุปได้ว่าความต้องการคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนด้านการ สื่อสารมีความจำเป็นต่อผู้บริหารเพื่อเป็นการบริหารงานโรงเรียนให้ประสบความสำเร็จผู้บริหารจึง ต้องมีทักษะการสื่อสารทั้งทางวาจา และทางลายลักษณ์อักษรด้านวิธีการที่เหมาะสม ที่สะดวกเข้าใจ ง่าย และสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้องแม่นยำ 91 1.4 ความต้องการของผู้บริหารโรงเรียนด้านคุณธรรม ความต้องการอยู่ในระดับมากที่เป็น เช่นนี้คงสืบเนื่องมาจากคุณธรรม เป็นพฤติกรรมที่เสดงออกทังทางด้านร่างกาย และจิตใจ ซึ่งเป็นที่ พึงประสงค์ หรือต้องการของผู้ที่พบเห็นได้แด่ผู้บริหารโรงเรียนมีความซื่อสัตย์สุจริต มีความรัก สามัคคีในหมู่คณะมีความรับผิดชอบอดทนมีวินัยในตนเอง มีความยุ่ติธรรมต่อผู้ใต้บังคับบัญชามี ความเมตตากรุณาเสียสละเพื่อส่วนรวมสอดคล้องกับ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (2530 : 4) ที่ สรุปไว้ว่า คุณธรรมประการหนึ่งของผู้บริหารโรงเรียนนั้นคือการมีสัจธรรม การเป็นผู้ที่มีความยุติ ธรรมของผู้บริหารโรงเรียนเนื่องจากโดยฐานะ และตำแหน่งผู้บริหารโรงเรียนมีเวลา และโอกาสที่ จะแสวงหาผลประโยชน์สำหรับตนเองได้ หรือมีโอกาสที่จะให้ผลประโยชน์กับผู้ร่วมงานคนโดก็ ได้ เมื่อไม่มีความเป็นกลางในการจัดสรรประโยชน์อย่างถูกต้อง และเหมาะสม ย่อมนำความเสื่อม เสียมาสู่ตนเอง และหน่วยงาน ดังนั้น กิติมา ปรีดีลก (2529 : 64) จึงเสนอแนะผู้บริหารไว้ว่า ระบบ ราชการเป็นระบบการปฏิบัติงานที่มีความเป็นกลาง ไม่ยุ่งเกี่ยวกับตัวบุคคล ไม่มีความเป็นส่วนตัว ต้องตัดสินด้วยเหตุ และผลจริงๆ และภิญโญ สาธร (2523 : 352) ได้เสนอแนะเพิ่มเติมว่า ผู้บริหาร ในสังคมไทยนั้น ควรจะมีความยุติธรรม และให้ความเสมอภาคแก่ทุกคน สอดคล้องกับรุ่งทิวา จักร์กร (2526 : 150) ที่กล่าวว่า คุณธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของผู้บริหารนั้นประกอบด้วย ความยุติธรรม การที่ผู้บริหารโรงเรียนมีความซื่อสัตย์สุจริตย่อมหมายถึง ผู้บริหารโรงเรียนไม่ได้ อาศัยอำนาจ และหน้าที่แสวงหาประโยชน์ส่วนตนในทางที่มิชอบทั้งทางทรัพย์สิน และเวลาราช การ ซึ่งจะทำให้ผู้ร่วมงานให้ความเคารพ นับถือ เอาเป็นแบบอย่างได้ และ ภิญโญ สาธร (2523 : 352) ได้เสนอไว้ว่า ผู้บริหารในสังคมไทยต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต และสอดคล้องกับ มหาวิทยาลัย สงขลานครินท์ (2530 : 4 ) ที่ได้เสนอว่าความซื่อสัตย์สุจริตเป็นคุณธรรมประจำใจของผู้บริหารโรง เรียน การที่ผู้บริหารโรงเรียนมีพรหมวิหารสี่ หมายถึงผู้บริหารได้ให้ความเมตตา กรุณา มุทิตา และ อุเบกขา ต่อผู้ร่วมงาน ซึ่งจะทำให้ผู้ร่วมงานมีความอบอุ่นเกิดกำลังใจและมีสุขภาพจิตที่ดี และมี ความร่วมมือกันทำงานเป็นอย่างดี ดังที่ ภิญโญ สาธร (2523 : 352) กล่าวไว้ว่า ผู้บริหารโรงเรียน ซึ่งสอดคล้องกับ วิทยา เทพยา (2520 : 159) ได้ให้ความเห็นว่าผู้บริหารโรงเรียนต้องมีความเมตตา กรุณาเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่มีความจริงใจไม่เสแสร้งต่อผู้ร่วมงานและการที่ผู้บริหารมีความจริงใจต่อการ ทำงานย่อมทำให้เกิดความร่วมมือร่วมใจซึ่งนำมาประสิทธิภาพของงานมหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์ (2530 : 4)สรุปไว้ว่า คุณธรรมที่สำคัญประการหนึ่งของผู้บริหารโรงเรียน คือ มีความตั้ง ใจในการทำงาน มีความจริงจังกับงาน และผู้ร่วมงาน และสอดคล้องกับโยธิน จารุภูมิ (2526 :134) 92 ที่ได้สรุปผลจากงานวิจัยไว้ว่า ผู้บริหารโรงเรียนจะต้องมีความตั้งใจในการทำงาน กระตือรือร้นใน การทำงานการที่ผู้บริหารโรงเรียนเป็นคนมีน้ำใจ ย่อมทำให้ผู้ร่วมงานเกิดขวัญ และกำลังใจ เพราะ ได้รับความห่วงใย ความเอื้ออาทำ ความสนใจ และการช่วยเหลือจากผู้บริหารโรงเรียน ย่อมทำให้มี การทำงานด้วยความรับผิดชอบ และความตั้งใจซึ่งภิญโญ สาธร (2523 : 352) ได้สรุปไว้ว่า ผู้ บริหารในสังคมไทยจะต้องรู้จักถนอมน้ำใจ และสอดคล้องกับ ประถม แสงสว่าง (2524 : 7-8) ที่ สรุปผลจากงานวิจัยไว้ว่า ผู้บริหารการศึกษาที่คนไทยพึงประสงค์ย่อมเป็นคนที่มีความโอบอ้อมอารี รู้จักเสียสละ ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น และยังสอดคล้องกับ แมกนูสัน (Magnuson. 1971 : 78-91) ที่สรุปผลจากงานวิจัยไว้ว่า ผู้จัดการโรงเรียนที่ประสบผลสำเร็จ ย่อมมีความจริงใจ มีความเมตตา ปรานีเอื้ออาทรต่อผู้อื่น การที่ผู้บริหารโรงเรียนมีความเสียสละย่อมหมายถึงการสละกำลังกายกำลัง ใจ และกำลังทรัพย์สิน ในบางโอกาสโดยไม่ต้องอาศัยทรัพย์สินของโรงเรียน หรือใช้เวลาราชการ ในการทำงาน โดยไม่หวังผลตอบแทนใดๆ เป็นผลทำให้การดำเนินงาน และกิจกรรมต่างๆ ของโรง เรียนเป็นไปด้วยความราบรื่น เรียบร้อย อันเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับผู้บริหารโรงเรียน ดังเช่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (2530 : 4) ที่ได้สรุปความคิดเป็นของผู้บริหารโรงเรียนว่า ความเสีย สละเป็นสิ่งจำเป็นของผู้บริหารโรงเรียนที่มีคุณธรรม สอดคล้องกับ สุรัฐ ศิลปอนันต์ (2520 : 46) ที่ เสนอแนะว่า ผู้บริหารต้องอุทิศตนลงทำงานด้วยความรับผิดชอบ และเฉลิม รัชชนะกุล (2524 : 120-121) ที่สรุปผลจากงานวิจัยไว้ว่า คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนต้องเป็นคนที่ มีความเสียสละ ไม่เห็นแก่ตน การที่ผู้บริหารสามารถทำตนให้เป็นที่พึ่งของคนอื่นได้ย่อมทำให้ผู้ ร่วมงานได้รับการช่วยเหลือ ดูแล ทำให้สภาพการทำงาน และสุขภาพทางจิตของเขาดีขึ้น มีความมุ มานะที่จะทำงานเพื่อผลสำเร็จของงาน ไม่มีความวิตกกังวลในการทำงาน ทำงานด้วยความมั่นใจ ซึ่งเป็นผลดีต่อโรงเรียน ดังเช่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (2530 : 4) ได้สรุปความคิดเห็นของผู้ บริหารโรงเรียนไว้ว่า การช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานการกระทำตนเป็นที่พึ่งของผู้ร่วมงานเป็นคุณ ธรรมที่จำเป็นของผู้บริหารโรงเรียน สรุปได้ว่าการที่ผู้บริหารโรงเรียนที่มีคุณธรรมนั้นมีผลต่อการบริหารงานในโรง เรียนทำให้ผู้ร่วมงาน หรือผู้ใต้บังคับบัญชามีขวัญ และกำลังใจในการทำงาน ทำให้โรงเรียนเจริญ ก้าวหน้า ประสบความสำเร็จ และบุคลากรทุกคนจะมีความสุขในการทำงาน 1.5 ความต้องการของผู้บริหารโรงเรียนด้านวิสัยทัศน์ความต้องการอยุ่ในระดับ มาก เพราะผู้บริหารต้องมีความคิดริเริ่มในการวางแผนเปลี่ยนแผลงสิ่งต่างๆ ในโรงเรียน กำหนด เป้าหมายของโรงเรียนไว้ชัดเจน มีการวางแผนล่วงหน้าในเรื่องต่างๆ ก่อนที่จะดำเนินการเปลี่ยน 93 แปลงในโรงเรียน และสนับสนุนให้ครูเสนอความคิดใหม่ๆ ในการปรับปรุงโรงเรียน และ สนับสนุนให้ครูเสนอความคิดใหม่ๆ ในการปรับปรุงโรงเรียน และเป็นที่ยอมรับของครูทุกคน และ เข้าใจตรงกันกับทุกคนพร้อมปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ ซึ่งสอดคล้องกับเซอร์จิโอวานี (Sergiouanni. 1987 : 7 ) ได้เสนอความคิดว่าผู้บริหารโรงเรียนที่จะจัดการศึกษาในโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศได้นั้น ต้องมีวิสัยทัศน์เพราะผู้บริหารโรงเรียนจะสามารถเลือกเน้นความสนใจในสิ่งที่เป็นความสำคัญ และค่านิยมของโรงเรียนซึ่งแสดงให้สมาชิกรับรู้โดยการกระทำ และคำพูด ดังนั้นสมาชิกในโรง เรียนจะมีความเข้าใจตรงกันว่าอะไร คือเป้าหมายสำคัญของดรงเรียน และทุกคนจะปฏิบัติงานของ ตนให้บรรลุเป้าหมายนั้นเสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์ (2538 : 4) มีความคิดเห็นว่า เมื่อผู้นำสร้างวิสัยทัศน์ ขึ้นมาแล้วจำเป็นต้องบรรยาย อธิบาย และทำให้สมาชิกขององค์การได้รับรู้ เข้าใจ และมองเห็น ความเป็นไปได้ผู้นำเมื่อสร้างวิสัยทัศน์ที่สร้างขึ้นนั้นคือ เปลี่ยนวิสัยทัศน์ส่วนบุคคล เป็นวิสัยทัศน์ ของส่วนรวม จุดมุ่งหมายของการเผยแพร่วิสัยทัศน์ คือการให้สมาชิกขององค์การยอมรับวิสัยทัศน์ เป็นของตน ผู้นำจะต้องมีศิลป์ในการอธิบาย และโน้มน้าว สมาชิกให้เข้าใจตรงกัน และยอมรับให้ สมาชิกปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ สู่การปฏิบัติจริงโดยความร่วมมือ ซึ่งสอดคล้องกับ มารศรี สุธานิธิ (2540 :36) ผุ้บริหารโรงเรียนสามารถสื่อสารให้คณะครูมีความเข้าใจในวิสัยทัศน์ของผู้บริหารได้ อย่างชัดเจน ยอมรับ และเติมใจที่จะปฏิบัติงานทั้งหลายเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์นั้น โดยการใช้คำพูด สัญลักษณ์ การกระทำ และการให้รางวัล ดนัย เทียนพุฒิ (2536 : 203-206) ที่เห็นว่า ผู้บริหารระดับ สูง จะต้องมีคุณลักษณะสำคัญคือ การมองการณ์ไกล ซึ่งเป็นความสามารถในการวาดภาพกฎเกณฑ์ ในอนาคตให้สมจริง และมีการวางแผน และการเตรียมการสำหรับอนาคตได้อย่างเหมาะสม และ สอดคล้องกับแนวคิดของวีระวัฒน์ ปันนิตามัย (2537 : 13-16) เห็นว่าคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของ การเป็นผู้นำที่ดี คือการมีวิสัยทัศน์ ซึ่งหมายถึงสามารถพินิจ พิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งใน และ นอกองค์การในแง่มุมของอดีต และปัจจุบันคาดคะเนพยากรณ์ และสร้างภาพฉายไปในอนาคตได้ว่า จะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรแล้วทำการสื่อสารภาพดังกล่าวให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ นอกจากนั้นยัง สอดคล้องกับแนวคิดของเอกชัย กี่สุขพันธ์ (2518 : 19-20) ซึ่งเห็นว่า ผู้บริหารควรมี คุณสมบัติมอง กว้างไกล อย่างต่อเนื่อง และพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง เป็นผู้มีวิสัยทัศน์ สามารถที่จะวิเคราะห์สถาน การณ์ เพื่อกำหนดกลยุทธ์ในการบริหารได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆ ที่เปลี่ยน แปลงไป ยูคล์ (Yukl.1989:221) ได้กล่าวไว้ว่า ในการสร้างวิสัยทัศน์นั้น ผู้นำจะต้องสร้างเครือข่าย งานที่จะได้พบปะกับสมาชิกทั้งในองค์การ และนอกองค์การ ทั้งแบบเป็นทางการ และไม่เป็นทาง การโดยผู้นำจะองสนใจในความคิดเห็นของผู้อื่น โดยเฉพาะความคิดเห็นใหม่ๆ หรือที่แตกต่างไป 94 จากความคิดเห็นของตนเอง และของคนอื่นๆ เพื่อที่จะได้เลือกเฉพาะความคิดเห็นที่ดีมาใช้ประกอบ การตัดสินใจ ในขณะที่เอลลิส และจอสลิน (Ellis and Joslin. 1990:5) มีความคิดเห็นว่าทุกดรง เรียนย่อมมีศักยภาพเฉพาะของตนที่จะกระทำบางสิ่งบางอย่างไดี้ ดังนั้นในการกำหนดภาพใน อนาคตของโรงเรียน จึงต้องศึกษาสภาพของโรงเรียนในปัจจุบันว่ามีจุดเด่นจุดด้อยด้านใดโดยการ รวบรวมข้อมูลจากสมาชิกทุกคนในโรงเรียน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาสังเคราะห์เป็นภาพรวมของโรง เรียน เพื่อตัดสินใจว่าจะวางทิศทางการพัฒนาโรงเรียนไปทางใด ซึ่งสอดคล้องกับความคิดเห็นของ โกเอนส์ และคลอฟเวอร์ (Goens and Clover. 1991:151-152) ที่มีความเห็นในทำนองเดียวกันว่า ในการสร้างวิสัยทัศน์นั้นผู้นำไม่สามารถที่จะนั่งอยู่เฉย และคอยให้วิสัยทัศน์เกิดขึ้นเองได้ แต่จำเป็น จะต้องศึกษาองค์การอย่างลึกซึ่งโดยวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล วินิจฉัยความต้องการของสมาชิก ฟัง ความคิดเห็นของบุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งใน และนอกองค์การ ไต่ถามปัญหา สังเกตปฏิกิริยายาย้อน กลับของสมาชิก ศึกษาข้อมูลที่มีอยู่เพื่อนำสิ่งเหล่านั้นมาประมวลกันเข้ากลายเป็นวิสัยทัศน์ของผู้นำ ส่วนบาร์ธ (Barth. 1991:176-177) ได้อธิบายไว้อย่างชัดเจนว่า วิสัยทัศน์ของผู้นำเกิดจากการรวบ รวมข้อมูล และคำนึงถึงความต้องการของสมาชิก เงื่อนไข และความเข้าใจในสิ่งต่างๆ ขององค์การ อย่างถ่องแท้ และที่สำคัญคือวิสัยทัศน์นั้นจะต้องสอดคล้อง และสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมของโรง เรียนด้วย สรุปได้ว่ากาที่ผู้บริหารโรงเรียนมีวิสัยทัศน์นั้นจะบริหารโรงเรียนโดยการมองภาพ อนาคตของโรงเรียนโดยใช้ข้อมูลในอดีต และปัจจุบัน และกำหนดเป้าหมายชัดเจน โดยให้ครูทุก คนร่วมปฏิบัติตามวิสัยทัศน์นั้น เพื่อให้โรงเรียนประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย 2. ลำดับความต้องการคุณลักษณ์ที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียน ขยายโอกาสสังกัด กรุงเทพมหานคร พบว่า ความต้องการลำดับที่1 คือด้านคุณธรรมลำดับที่ 2 คือมนุษย์สัมพันธ์ ลำดับ ที่ 3 คือด้านความรู้ความสามารถในการบริหาร และด้านวิสัยทัศน์ และลำดับที่ 5 คือด้านการสื่อสาร ซึ่งนำมาอภิปรายได้ดังนี้ 2.1 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนด้านคุณธรรมความต้องการ ของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยม และครูอาจารย์เป็นลำดับที่ 1 ที่เป็นเช่นนี้อาจเป็นเพราะว่า คุณธรรมเป็นเครื่องบ่งชี้คุณงามความดี ของคนในสังคมทุกชนชั้น คนที่มีคุณธรรมย่อมเป็นคนที่มี บทบาท และพฤติกรรมในการเสริมสร้างความสงบสุข ความเจริญให้เกิดขึ้นในสังคมของตนพร้อม ทั้งเป็นตัวอย่างที่ดีงามของสังคม โรงเรียนซึ่งเป็นแหล่งที่มีอิทธิพลสำคัญในการเปลี่ยนแปลงระบบ และความเป็นอยู่ของสังคม จนกระทั่งยอมรับกันว่ารัฐอยากเป็นอย่างไรก็ให้สิ่งนั้นกับโรงเรียน จึง 95 จำเป็นที่ผู้บริหารโรงเรียนในฐานะศูนย์กลางของพฤติกรรม และเป็นสัญลักษณ์ของโรงเรียนเพื่อ การเป็นพลเมืองดีของสังคมและประเทศชาติซึ่งสอดคล้องกับ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (2530:4) ได้สรุปผลจากแบบสอบถามจากการสัมมนาผู้บริหาร 42 คน มีความเห็นเกี่ยวกับคุณ ธรรมสำหรับผู้บริหารเรียงลำดับมีความเสียสละ จริงจังกับงาน และจริงใจกับผู้ร่วมงาน มีความซื่อ สัตย์สุจริต ไม่เห็นประโยชน์ส่วนตน คือประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก จริงใจในการทำงาน และช่วย เหลือผู้ร่วมงานมีความตั้งใจในการทำงาน มีความยุติธรรม มีพรหมวิหารสี่ มีสัจธรรม มีความเข้าใจ ตนเอง และผู้อื่น เป็นที่พึ่งของคนอื่นได้ สอดคล้องกับพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัว รัชกาลปัจจุบันเรื่องคุณธรรมสี่ประการ ซึ่งประกอบด้วย ประการแรก รักษาความสัตย์ มีความ สัตย์ มีความจริงใจในตนเองที่จะประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่เป็นประโยชน์ และเป็นธรรม ประการที่ สองการรู้จักข่มใจตนเองฝึกตนเองให้ประพฤติปฏิบัตติอยู่ในความสัตย์ความดีนั้น ประการที่สาม อดทน อดกลั่น และอดออม ที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัตย์ สุจริต ไม่ว่าด้วยผลประโยชน์ส่วนน้อย ของตน เพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง นอกจากนี้ผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และครู-อาจารย์ได้เสนอแนะ เกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนด้านคุณธรรมที่น่าสนใจคือ มีความเสมอต้น เสมอปลาย และมีความเสมอภาคกับผู้ใต้บังคับบัญชา มีพรหมวิหาร 4 (เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา) มีจรรยาบรรณ ไม่ใช้อารมณ์ในการบริหารงานจึงเป็นการสมควรยิ่งที่ผู้บริหารโรงเรียน ขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร จะได้ประพฤติคุณธรรมดังกล่าว เพื่อเป็นตัวอย่างในการสร้าง คนให้มีคุณภาพเป็นคนดีของสังคม และประเทศชาติต่อไป 2.2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนด้าน มนุษยสัมพันธ์ความ ต้องการของผู้บริหารโรงเรียนหัวหน้าสายมัธยมศึกษา และครู-อาจารย์ เป็นลำดับที่ 2 คงจะเป็น เพราะว่า แม้ผู้บริหารโรงเรียน จะมีคุณธรรมดี แต่การทำงานต้องมีการประสานความคิด ประสาน ประโยชน์ ซึ่งต้องอาศัยการติดต่อประสานสัมพันธ์เพื่อให้งานในโรงเรียนเกิดผลสัทฤทธิ์อย่างแท้ จริง แนื่องจากเป็นการสร้างความเข้าใจให้ถูกต้องตรงกันในหลักเกณฑ์และหลักวิธีการในการ ทำงาน ซึ่งสอดคล้องกับ บุญมา กัมปนาทพงษ์ (2532 :16) บุคคลทำงานร่วมกับบุคคลอื่นได้ดีซึ่ง ประกอบไปด้วยลักษณะที่สำคัญๆ คือยืมแย้ม แจ่มใส มีความเสมอต้นเสมอปลายยกย่อมชมเชย รับ ฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีความยืดหยุ่นเปิดเผย และเป็นกันเองซึ่งสอดคล้องกับ กิติมา ปรีดีดิลก (2529:100) ที่ได้กล่าวว่ามนุษย์สัมพันธ์มีความจำเป็นที่จะต้องนำไปใช้บริหารองค์การเพื่อช่วยให้ การอยู่ร่วมกันทำงานร่วมกัน และติดต่อกันอย่างได้ผลดี ทั้งยังก่อให้เกิดความรักความนิยมชมชอบ 96 และเคารพนับถือกันด้วยความจริงใจ และบริสุทธิ์ใจเมื่อพิจารณาคุณลักษณะย่อย เช่น มีความจริงใจ กับผู้ใต้บังคับบัญชา ให้เกียรติ และยกย่องผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยความจริงใจเป็นคนเสมอต้น เสมอ ปลาย เป็นคุณลักษณะที่ผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และครู-อาจารย์ มีความต้องการ ในระดับมาก 3 อันดับแรก ตามลำดับจะเห็นได้ว่าคุณลักษณะดังกล่าวเป็นสิ่งที่ผู้บริหารโรงเรียน ควรจะมีการประพฤติตนอย่างสม่ำเสมอ เพราะว่าเมื่อเกิดความจริงใจ และไว้วางใจกันแล้ว ความ หวาดระแวงย่อมไม่มี ทำให้การทำงาน ทำให้การอยู่ร่วมกันเกิดความรู้สึกที่มั่นคง นอกจากนี้ผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และครู-อาจารย์ที่ตอบแบบ สอบถามได้เสนอแนะคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารด้านมนุษย์สัมพันธ์ไว้ และที่น่าสนใจ ประกอบด้วย เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และมีความเอื้ออาทรต่อผู้ใต้บังคับบัญชามีความเสมอภาคกับผู้ใต้ บังคับบัญชา ให้กำลังใจผู้ใต้บังคับบัญชา สามารถทำงานร่วมกับชุมชน และท้องถิ่นได้ จึงเป็นการ สมควรที่ผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานครจะได้เป็นนักมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี เพื่อ ผลประโยชน์ของการทำงานร่วมกันที่ประสบความสำเร็จ 2.3 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนด้านความรู้ความสามารถทาง การบริหาร ตามความต้องการของผู้บริหารโรงเรียนหัวหน้าสายมัธยมศึกษา และครู-อาจารย์ เป็น ลำดับที่ 3 คงจะเป็นเพราะว่า โรงเรียนเป็นสถานที่ใช้บริหารทางการศึกษา และการศึกษาเป็นหัวใจ ในการพัฒนาคน และพัฒนาบ้านเมือง กล่าวคือ ถ้าประชาชนได้รับการกศึกษาประสบผลสำเร็จ ผู้ บริหารโรงเรียนในฐานะหัวหน้า ผู้ปฏิบัติงานระดับโรงเรียน จำเป็นที่จะต้องพยายามใช้ศาสตร์ และ ศิลป์ที่ได้รับจากการศึกษา และจากการฝึกอบรมที่มีอยู่ตลอดเวลา ยอมรับว่าผู้บริหาร มีความจำเป็น ต้องรู้ และต้องทำที่ควบคู่กันไปด้วยศาสตร์และศิลป์ ซึ่งกิติมา ปรีดีดิลก (2529:22) ให้ข้อคิดว่าผู้ บริหารที่มีประสิทธิภาพย่อมรู้จักที่จะแสวงหาวิธีการฝึกทักษะ และนำความรู้เกี่ยวกับการบริหารไป ประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมเมื่อพิจารณาคุณลักษณะย่อย เช่นมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ วัตถุประสงค์ของโรงเรียนขยายโอกาส มีความสามารถในการตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว และถูกต้อง มีความสามารถในการกำหนดนโยบาย และเป็าหมายของโรงเรียนอย่างชัดเจนมีความสามารถนำ แผนไปสู่การปฏิบัติได้ ล้วนเป็นคุณลักษณะที่สำคัญตามความต้องการของผู้บริหารโรงเรียน หัว หน้าสายมัธยมศึกษา และครูอาจารย์ที่อยู่ในลำดับต้นๆ ที่เกี่ยวกับการบริหารงาน นอกจากนี้ผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และครู-อาจารย์ที่ได้เสนอแนะเกี่ยว กับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ของผู้บริหารโรงเรียนด้านความรู้ความสามารถในการบริหารที่น่าสน ใจประกอบด้วย ผู้บริหารมีความรู้ความสามารถทุกๆ ด้าน ทันต่อเหตุการณ์ พัฒนาตนเองอยู่เสมอ 97 และผู้บริหารควรจบการศึกษาระดับปริญญาโท จึงเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่ผู้บริหารโรงเรียนขยาย โอกาสสังกัดกรุงเทพมหานคร จะได้พยายาม ศึกษาคว้า ฝึกทักษะ จากหลักการ และทฤษฎี เพื่อนำ มาใช้ในการบริหารงานในโรงเรียนให้ได้ผลอย่างแท้จริง 2.4 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนด้านวิสัยทัศน์ตามความ ต้องการของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และครู-อาจารย์ เป็นลำดับที่ 3 คงจะเป็น เพราะว่า วิสัยทัศน์เป็นคุณลักษณะที่สำคัญประการหนึ่งของผู้บริหารโรงเรียน โรงเรียนที่มีผู้บริหาร มีวิสัยทัศน์ และสมาชิกของโรงเรียนยอมรับวิสัยทัศน์นำวิสัยทัศน์ของผู้บริหารโรงเรียนลงสู่การ ปฏิบัติและกจิกรรมทุกกิจกรรมีที่ทำมีความสิดค้องกับวิสัยทัศน์ที่วางไว้จะเกิดประสิทธิผลที่มีคุณ ค่าต่อโรงเรียนอย่างแท้จริง ซึ่งเป็นผลให้ผู้บริหารโรงเรียนสามารถบริหารงานในโรงเรียนได้ ประสบความสำเร็จบรรลุเป้าหมายตามที่ได้วางวิสัยทัศน์ไว้ซึ่งสอดคล้องกับ เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์ (2538:4) มีความคิดเห็นว่า เมื่อผู้นำสร้างวิสัยทัศน์ขึ้นมาแล้ว จำเป็นต้องบรรยายอธิบายทำให้ สมาชิกได้รับรู้ เข้าใจ มองเห็น ผู้นำต้องมีศิลปะในการอธิบาย และโน้มน้าวสมาชิกในองค์กรยอม รับวิสัยทัศน์ และปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ที่ผู้บริหารสร้างขึ้น ดำเนินไปเป็นผลสำเร็จ และตรงกับ เชอร์ จิโอวานนี (Sergiouanni 1987:7) ได้เสนอความคิดว่าผู้บริหารโรงเรียนที่จะจัดการศึกษาในโรง เรียนสู่ความเป็นเลิศได้นั้นต้องมีวิสัยทัศน์ เพราะผู้บริหารโรงเรียนจะสามารถเลือกเน้นความสนใจ ในสิ่งที่เป็นความสำคัญ และค่านิยมของโรงเรียน ซึ่งจะแสดงให้สมาชิกรับรู้โดยการกระทำ และคำ พูด ดังนั้นสมาชิกในโรงเรียนจะมีความเข้าใจตรงกันว่าอะไรคือเป้าหมายสำคัญของโรงเรียน และ ทุกคนจะปฏิบัติงานของตนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น นอกจากนี้ผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และครู-อาจารย์ที่ได้เสนอ แนะเกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนด้านวิสัยทัศน์ที่น่าสนใจประกอบด้วย ผู้บริหารควรมองการณ์ไกล ทันต่อเหตุการณ์ และทันสมัย ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ในการบริหารงาน วางแผนและพัฒนาโรงเรียนให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก ดังนั้นผู้บริหารโรงเรียนขยาย โอกาสสังกัดกรุงเทพมหานคร ต้องพัฒนาตนเอง ให้มีวิสัยทัศน์ เพื่อจะได้วางแผนปรับปรุงโรงเรียน ของกรุงเทพมหานครไปสู่ความเป็นเลิศ 2.5 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนด้านการสื่อสาร ความต้องการ ของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และครู-อาจารย์ เป็นลำดับสุดท้ายคงเป็นเพราะ ผู้ บริหารเป็นบุคคลที่จะสั่งการโดยผ่านขบวนการการสื่อสาร และความสำเร็จ หรือความล้มเหลวของ องค์การจะเกิดขึ้นจากความมีประสิทธิภาพ และไม่มีประสิทธิภาพ จะต้องอาศัยระบบการสื่อสาร 98 เพราะการรับรู้ในองค์การรับรู้ ส่งข่าว และแปลความหมาย กระทบขวัญ และกำลังใจในการปฏิบัติ งานโดยตรงซึ่งสอดคล้องกับ แม้นมาส ชวลิต (2539 : 6-7) ได้กล่าวถึงความสำคัญของการติดต่อ สื่อสารระหว่างการติดต่อสื่อสารที่ดี จะช่วยเสริมให้เป้าหมายของสถาบัน หรือโรงเรียนประสบ ความสำเร็จขึ้นอยู่กับการสื่อสารทุกครั้ง ซึ่งตรงกับเอกกานท์ (Eckhant.1978 : 562-563A) ที่สรุป ผลจากการศึกษาไว้ว่าครูใหญ่โรงเรียนประถมศึกษา และมัธยมศึกษาต้องมีทักษะการสื่อสาร และผู้ บริหารต้องมีความสามารถในการปรับปรุงและ เชน (Shane 1957 : 517-5519) ได้แนะนำไว้ว่า ผู้ บริหารย่อมสร้างความมั่นใจให้กับผู้ร่วมงานผู้บริหารโรงเรียนย่อมมีทักษะการสื่อสารในการใช้ ภาษาสื่อสาร ทั้งทางวาจา และลายลักษณ์อักษร ด้วยวิธีการที่เหมาะสมรวดเร็วประหยัด เข้าใจถูก ต้องตรงกัน นอกจากนี้ผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และครู-อาจารย์ที่ตอบแบบ สอบถามได้เสนอแนะเกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนด้านการสื่อสารที่น่า สนใจประกอบด้วย ทันต่อเหตุการณ์และทันสมัย ควรแจ้งข่าวสารให้รวดเร็วถูกต้อง แม่นยำ ควรสื่อ สารทั้งทางวาจา และทางลายลักษณ์อักษร ดังนั้นผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัด กรุงเทพมหานคร ควรพัฒนาตนเองในด้านการลื่อสารเพี่อประโยชน์ในการสื่อความหมายที่เข้าใจ และตรงกัน และจะเป็นประโยชน์ต่อการบริหารงานโรงเรียน 3.เปรียบเทียบคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานครตามความต้องการของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และครู- อาจารย์ในโรงเรียนขยายโอกาสสังกัดกรุงเทพมหานคร 3.1 คุณลักษณะด้านความรู้ความสามารถในการบริหาร คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร ด้านความรู้ความสามารถในการบริหาร ทั้งในภาพรวม และประเด็นย่อยทุก ประเด็น มีความต้องการอยู่ในระดับมาก สำหรับในประเด็นย่อยที่ผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสาย มัธยมศึกษา และครู – อาจารย์ ต้องการให้มีมากที่สุดคือ - การมีความเข้าใจเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของโรงเรียนขยายโอกาส สังกัด กรุงเทพมหานคร - การมีความสามารถในการตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว และถูกต้อง 99 เมื่อพิจารณาระดับความต้องการของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยม ศึกษา และครู – อาจารย์ ในแต่ละกลุ่ม ทำให้ทราบว่า ความต้องการโดยเฉลี่ยในด้านดังกล่าวของ กลุ่มผู้บริหารโรงเรียน มีระดับสูงกว่า กลุ่มครู-อาจารย์ 3.2 คุณลักษณะด้านมนุษย์สัมพันธ์ คุณ ลักษณ ะที่พึงประสงค์ของผู้บริห ารโรงเรียน ขยายโอกาส สังกัด กรุงเทพมหานคร ด้านมนุษย์สัมพันธ์ ทั้งในภาพรวม และประเด็นย่อยทุกประเด็น มีความต้องการ อยู่ในระดับมาก สำหรับในประเด็นย่อยที่ผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และครู – อาจารย์ ต้องการให้มีมากที่สุดคือ การมีความจริงใจกับผู้ใต้บังคับบัญชา เมื่อพิจารณาระดับความต้องการของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และครู-อาจารย์ ในแต่ละกลุ่ม ทำให้ทราบว่า ความต้องการโดยเฉลี่ยในด้านดังกล่าวของแต่ละกลุ่ม ตัวอย่างไม่มีความแตกต่างกัน 3.3 คุณลักษณะด้านการสื่อสาร คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัด กรุงเทพมหานคร ด้านการสื่อสาร ทั้งในภาพรวม และประเด็นย่อยทุกประเด็น มีความต้องการอยู่ ในระดับมาก สำหรับในประเด็นย่อยที่ผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และครู - อาจารย์ ต้องการให้มีมากที่สุดคือ การออกคำสั่งปฏิบัติงานชัดเจน และมีรายละเอียดเพียงพอสำหรับผู้ปฏิบัติ เมื่อพิจารณาระดับความต้องการของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และครู – อาจารย์ ในแต่ละกลุ่ม ทำให้ทราบว่า ความต้องการโดยเฉลี่ยในด้านดังกล่าวของกลุ่มผู้ บริหารโรงเรียนมีระดับสูงกว่า กลุ่มครู-อาจารย์ 3.4 คุณลักษณะด้านคุณธรรม คุณ ลักษณ ะที่พึงประสงค์ของผู้บริห ารโรงเรียน ขยายโอกาส สังกัด กรุงเทพมหานคร ด้านคุณธรรม ทั้งในภาพรวม และประเด็นย่อยทุกประเด็น มีความต้องการอยู่ใน ระดับมาก สำหรับในประเด็นย่อยที่ผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และครู – อาจารย์ ให้ มีมากที่สุดคือ การมีความซื่อสัตย์สุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่ เมื่อพิจารณาระดับความต้องการของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และครู – อาจารย์ ในแต่ละกลุ่ม ทำให้ทราบว่า ความต้องการโดยเฉลี่ยในด้านดังกล่าวของกลุ่มผู้ บริหารโรงเรียน มีระดับสูงกว่า กลุ่มครู-อาจารย์ 100 3.5 คุณลักษณะด้านวิสัยทัศน์ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัด กรุงเทพมหานคร ด้านวิสัยทัศน์ทั้งในภาพรวม และประเด็นย่อยทุกประเด็น มีความต้องการอยู่ใน ระดับมาก สำหรับในประเด็นย่อยที่ผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และครู-อาจารย์ ต้องการให้มีมากที่สุดคือ การมีความคิดริเริ่มในการวางแผนเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ ในโรงเรียน เมื่อพิจารณาระดับความต้องการของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายมัธยมศึกษา และครู-อาจารย์ ในแต่ละกลุ่ม ทำให้ทราบว่า ความต้องการโดยเฉลี่ยในด้านดังกล่าวของกลุ่มผู้ บริหารโรงเรียน มีระดับสูงกว่า กลุ่มหัวหน้าสายมัธยม และกลุ่มครู-อาจารย์ ข้อเสนอแนะเพื่อการบริหาร ผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร ควรมุ่งพัฒนาตนเองให้มากขึ้น เพราะภารกิจในความรับผิดชอบมีมากขึ้น ต้องบริหารโรงเรียนที่มีนักเรียนประถมศึกษาและมัธยม ศึกษา พร้อมกัน 2 ระดับในเวลาเดียวกัน และจากผลการวิจัยผู้ตอบแบบสอบถามทั้ง 3 กลุ่ม มีความ คิดเห็นและหวังให้ผู้บริหารมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านความรู้ความสามารถในการบริหาร ด้าน มนุษยสัมพันธ์ ด้านการสื่อสาร ด้านคุณธรรม และด้านวิสัยทัศน์ อยู่ในระดับมากทุกคุณลักษณะดัง นั้นผู้บริหารจึงต้องพยายามเสริมสร้างคุณลักษณะดังกล่าวให้ปรากฎเท่าที่จะสามารถทำได้ 1. ด้านความรู้ความสารถในการบริหารผู้บริหารต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ ของโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร และบริหารให้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่สำนักการ ศึกษากำหนดไว้ใช้ความรู้ความสามารถในการบริหารโดยใช้ศาสตร์และศิลป์ ผู้บริหารควรกระจาย อำนาจและความรับผิดชอบให้บุคคลากรในโรงเรียนร่วมคิดร่วมทำร่วมแก้ปัญหาเพื่อพัฒนาองค์กร ไปถึงเป้าหมาย 2. ด้านมนุษยสัมพันธ์ผู้บริหารต้องมีความจริงใจต่อผู้ใต้บังคับบัญชาให้เกียรติยกย่องเป็น คนเสมอต้นเสมอปลายและควบคุมอารมณ์ในสถานการณ์ต่างๆ ได้ ทำให้บุคคลากรในโรงเรียน ยอมรับและทุ่มเทการมำงานให้กับโรงเรียนอย่างเต็มความสามารถ 3. ด้านการสื่อสารผู้บริหารต้องออกคำสั่งปฏิบัติงานชัดเจน มีรายละเอียดพอสำหรับผู้ ปฏิบัติ เปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชาซักถามข้อข้องใจในคำสั่งเพื่อเข้าใจตรงกัน และรับฟังข้อ เสนอแนะในการแก้ไขปัญหาจากผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อทำให้งานที่อออกมาบรรลุวัตถุประสงค์และ มีปัญหาอุปสรรคน้อยที่สุด 101 4. ด้านคุณธรรมผู้บริหารต้องมีความซื่อสัตย์สุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่มีความรักสามัคคีใน หมู่คณะและมีความรับผิดชอบอดทนต่อการทำงานเพื่อเป็นตัวอย่างในด้านคุณธรรมของการบริหาร งาน 5. ด้านวิสัยทัศน์ผู้บริหารต้องมีความคิดริเริ่มในการวางแผนเปลี่ยนแปลงโดยกำหนดเป้า หมายของโรงเรียนไว้ชัดเจนก่อนที่จะเปลี่ยนแปลงเพื่อเป็นการบ่งบอกวิสัยทัศน์ของผู้บริหารในการ บริหารโรงเรียนและพัฒนาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป 1. ศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัด กรุงเทพมหานคร ตามความต้องการของครู - อาจารย์ 2. ศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัด กรุงเทพมหานคร กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน 102 บรรณานุกรม กรุงเทพมหานคร สำนักการศึกษา. คู่มือการดำเนินงานตามโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาของ กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ : หน่วยศึกษานิเทศก์, 2536. กรุงเทพมหานคร สำนักการศึกษา. การดำเนินงานโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัด กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ : หน่วยศีกษานิเทศก์, 2541. กรุงเทพมหานคร สำนักการศึกษา. สถิติจำนวนห้องเรียน ครู นักเรียนโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กองวิชาการ. 2543. กิติมา ปรีดิลก ทฤษฎีบริหารองค์การ กรุงเทพฯ: หจก.ธนะการพิมพ์,2529 โกศล ศรีทอง. คุณลักษณะของผู้บริหารที่สัมพันธ์กับคุณภาพการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน มัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 5. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 2543. คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. แผนการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2535. กุรงเทพฯ : บริษัทประชาชนจำกัด, 2535. จักรพรรดิ วะทา. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของศึกษาธิการจังหวัดในทศวรรษหน้า (คศ.1995 – 2005). วิทยานิพนธ์ ดุษฎีบัณฑิตศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2538. จรัส โพธิศิริ. บริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2523. ฉลอง มาปรีดา. คุณธรรมสำหรับผู้บริหาร. กรุงเทพฯ : โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์, 2537. เฉลิม รัชชนะกุล คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ในทัศนะของผู้บริหาร โรงเรียน และครูอาจารย์ในเขตการศึกษา วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต กรุงเทพ ฯ จุฬาลง กรณ์มหาวิทยาลัย , 2524 . อัดสำเนา ณรงค์ โพธิ์มี. สภาพการปฏิบัติและความต้องการในการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามความคิดเห็น ของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน สังกัดสามัญศึกษาเขตการศึกษา 5 ปริญญานิพนธ์ ก.ศ.ด. กรุงเทพฯ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรจนประสานมิตร 2535 ดนัย เทียนพุฒ. มุมมองที่ท้าทายนักบริหาร. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย,2536 ทองอินทร์ วงศ์โสธร และคนอื่น ๆ. เอกสารการสอนชุดวิชาหลักและระบบการบริหารการศึกษา หน่วยที่ 6-10. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2523. ธงชัย สันติวงษ์. การบริหารเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพ : ไทยวัฒนาพาณิช ปี 2533 103 ธรี วฒุ ิ ประทุมนพรัตน. การบรหิ ารการศกึ ษา. สงขลา : ภาควชิ าบรหิ ารการศกึ ษา มหาวิทยาลัยศรี นครินทรวิโรฒ สงขลา, 2530. (อัดสำเนา) นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์. หลักการบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : บริษัท เอส เอ็ม เอ็ม จำกัด, 2527. นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์. หลักบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : ส.ค.การพิมพ์, 2523. บุญมา กัมปนาทพงษ์. การศึกษาคุณลักษณะผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐ. วิทยานิพนธ์ ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2532. ประคอง กรรณสูตร. สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์จุฬาลง กรณ์มหาวิทยาลัย, 2538. ประถม แสงสว่าง. ลักษณะของนักบริหารการศึกษาที่คนไทยพึงประสงค์. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ : ไทยรัฐ,2524. ประพนธ์ ไพลดำ. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ตามทัศนะของครู และกรรมการศึกษาของโรงเรียนในจังหวัดปราจีนบุรี. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. ประเวศ วะสี. “ทางเลือกของการศึกษาไทยในอนาคต : บทบาทของคณะศึกษาศาสตร์.” ศึกษาศาสตร์สาร. 14 (1-2) : 58-81 ; ตุลาคม 2531 – กันยายน 2532. พวงรัตน์ ทวีรัตน์. วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 7 กุรงเทพฯ : ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540. ภิญโญ สาธร. หลักบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : ส.ค.การพิมพ์, 2523. มารศรี สุธานิติ. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับวิสัยทัศน์ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัด กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2540 เมธี ปิลันธนานนท์. การบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : พิทักษ์อักษร, 2525. แม้นมาส ชวลิต. การติดต่อสื่อสาร เอกสารประกอบชุดวิชาสอนการสื่อสาร หน่วยที่ 9 สาขาวิชา ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช. นนทบุรี.โรงพิมพ์ ชานพิมพ์ 2539 โยธิน จารุภูมิ. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามทัศนะของชุมชน ในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร. 2526. รุ่งทิวา จักร์กร. การมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์รุ่งเรือง 2526 รุ่ง แก้วแดง. ปฏิวัติการศึกษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มติชน, 2541. 104 ลัทธิ ยศปัญญา. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญ ศึกษา ตามทัศนะของครูอาจารย์ในจังหวัดพังงา. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2533. วิจิตร วรุตยางกูร และสุพิชญา ธีรกุล. การบริหารโรงเรียนและการนิเทศการศึกษาเบื้องต้น. สมุทปราการ : ขนิษฐาการพิมพ์,2523. วิจิตร ศรีสะอ้าน. หลักและระบบการบริหารการศึกษา . กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช, 2529. วิจิตร ศรีสะอ้าน. สุภรณ์ ศรีพหล และสัฐ ศิลปอนันต์. เอกสารการสอนชุดวิชาหลักและระบบ การบริหารการศึกษา หน่วยที่ 1-8 กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2523. วิทยา เทพยา. มนุษยสัมพันธ์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2520. วิรัช ธรประยูร. ความคิดเห็นของผู้บริหารเกี่ยวกับทักษะทางการบริหารที่พึงประสงค์ ของผู้บริหาร โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ เขตการศึกษา 1. วิทยา นิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532 วีระวัฒน์ ปันนิตามัย. ว่าด้วยผู้นำ. วารสารข้าราชการ. (กันยายน – ตุลาคม 2537) : 13 – 16 สงวน สุทธิเลิศอรุณ. การบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : อักษรบัณฑิต, 2524. สงขลานครินทร์, มหาวิทยาลัย. สรุปผลการสำรวจเรื่องคุณลักษณของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อ การใช้การศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชน. ปัตตานี : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2530. สมเกียรติ เจริญฉิม. ความคิดเห็นของผู้บริหารและอาจารย์เกี่ยวกับคุณลักษณะ คุณสมบัติและ ความสามารถในการปฏิบัติงานของผู้ในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดกรมสามัญ ศึกษาในเขตการศึกษา7.วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533. สมจิต ชิวปรีชา. จรรยามารยาทและคุณธรรมในการพูด. กรุงเทพฯ : สำนักงานศรีสง่า, 2524. สมชาติ รัตนถาวร. ระบบสังคม ในโรงเรียนมัธยมศึกษา วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต จุฬา ลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมิต สัชฌุกร การสื่อสารสำหรับผู้บริหาร พิมพ์ที่โรงพิมพ์และทำปกเจริญผล 2527 กรุงเทพ สุทิน เนียมพลับ “ยุทธศาสตร ์ การบรหิ ารครบวงจร คุรปริทัศน. 13(8-11) : สิงหาคม 2531 สุนีย์ บุญทิม. การศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ในช่วงปฏิรูป การศึกษา (พ.ศ.2539 – 2550) ตามความคาดหวังของผู้บริหารและครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 6. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย,2542. 105 สุรพล ศรแผลง. แบบผู้นำที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานบุคลากรในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา เขต5.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2540. สุรัฐ ศิลปอนันต์. นักบริหาร. กรุงเทพฯ : เจริญผล,2520 เสถียร เหลืองอร่าม. มนุษยสัมพันธ์ในองค์การ. กรุงเทพมหานคร: วัชรินทร์การพิมพ์,2525. เสนาะ ติเยาว์ การสื่อสารในองค์การ. พิมพ์ที่โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2537คณะพาณิชย ศาสตร์และการบัญชี เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. พฤติกรรมผู้นำทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช, 2525. เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. พฤติกรรมผู้นำทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์พิฆเณศ, 2522. เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. “วิสัยทัศน์ของผู้นำ” เอกสารประกอบการบรรยาย ม.ป.ท. 2538. เอกชัย กี่สุขพันธ์. การบริหารทักษะและการปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพมหานคร สำนักพิมพ์ สุภาพใจ,2538 อำนวย วีรวรรณ บัญญัติเจ็ดประการในการสร้างคนให้กลายเป็นบุคคล ผู้ประสบความสำเร็จใน ชีวิต , ผู้จัดการ (ฉบับพิเศษ). ม.ป.ท. ,2535 Blumberg, Arhur snd William Greenfield. The Effectiv Principal : Perspectives on Scool, Leadership. 2 rd ed. Boston : Allyn and Bacon Inc. 1986. Bridges, Michel Thomas. “Teachers Ferceptions of School Effectiveness and Principal Vision, “Dissertations Abstracts International. 53(03) : 669,September,1992. Borth, Roland S.Improving School From Within Teacher, Parents. And Principals Can Make the Differencn. San Francisco : Jossey – Bass Publishers, 1991. Carter V. Good. Dictionary of Education. New York MC graw – Hill Book company Inc, 1973. Compbell, Roald. and Others. Introduction to Education Amdministration. sthed. Boston : Allin and Bacon, inc 1978. Cronbarch, Lee J. Essential of Psychological Testing. 3 rd ed. New York : McGraw – Hill,1970. Eckhant,Edward Emil. “selection Criteria Practices and Procedures of Elementary and Secondary School Principles,” Dissertation Abstracts International. Vol.39.No2.562-563p.1978 Edmonson J.B. and others. The Administration of the Modern Secondary School. 4th ed.New York : Macmillan Company, 1953 106 Ellis, Norman E.and Anne W. Joslin Shared Gouernance and Responsibility : The keys to Leadership, Commitment and Vision in School Reform. U.S. Department of Educational Desige and Management School of Education, 1990 Ferguson, George A. Statistical in Psycglogy and Education. 3 rd ed. New York : McGraw – Hill Book Co,1971. Goens, Georage A. and Sharon I.R. clouer. Mastering School Reform. Boston : Allen and Bacon,1991 Hickman, Craig R. and michael A. Silva. Creating Ecellence : Managing Corporate Culture, Stratcgy and Change in the New Age : New Ameican Library, 1948 Jacobson, pual B. James D Logsdon and Robert R. Wuegman. The Principalship:New Perpec tives. Englewood cliffs, New Jersey : Prentice- (tell,1973) Johnson and others. The Theory and Management of Systems. New York, MC graw – Hill Book Co, 1974 . Katz Robert L. “Skill of Effectivenss Administrator”, Harvard Business Review. Jauary – February, 1955. Krejcie, Robert V. and Daryle, MorganW. Determining Sample Size for Research Activities,“Journal of education and Psychological Measurement. 1970 Locke, Edwin A and Associates. The Essence of Leadership : The Four Keys to Leading Successfuly. New York : Lexington Books, 1991. Magnuson, Watter C. The Characteristics of Successful School Business Managers. Doctoral Dissertation. University of Southern California, los Angeles, 1971. Sergiovanni, Thomas J. and others. Education : Governance and Administration. 2 rd ed. Englewood Cliffs, New Jensey : Prentice Hall, Inc, 1987. Shane, Harold G. Creative School Amdministration. New York : Henry Halt company, 1957. Stadt, Ronald W. and others. Managing Career Education Programs. Englewood Cliffs, New Jersey : Prentice-Hall, Inc., 1974 Stogdill, Ralph M. Hand Book of Leadership. New York : The Free Press. A division of Macmillan Plublishing, 1974. Yukl. Gary A. Leadership in Organization. 2th ed Englewood (liffs, New Fersey : Prentice Itall,Ins 1989 107 ภาคผนวก 108 รายนามผู้เชี่ยวชาญที่ตรวจสอบเครื่องมือ 1. นายธันวา จิวตระกูล รองผู้อำนวยการสำนักการศึกษา 2. นายไพรัช อรรถกามานนท์ รองผู้อำนวยการสำนักการศึกษา 3. นายชุมพล พงษ์พิพัฒน์ ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดหัวกระบือ 109 แบบสอบถามเพื่อการวิจัย เรื่อง คุณลักษณะของผู้บริหารที่พึงประสงค์โรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร ผู้วิจัย นายธวัชชัย กลิ่นดี ภาควิชา การบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา คณะกรรมการควบคุมการทำวิทยานิพนธ์ อาจารย์ ดร.สรายุทธ์ เศรษฐขจร ประธานกรรมการ อาจารย์ ดร.เปรมสุรีย์ เชื่อมทอง กรรมการ อาจารย์ ศ.ดร.สายหยุด จำปาทอง กรรมการแต่งตั้งเพิ่มเติม 110 แบบสอบถามเพื่อการวิจัย เรื่อง คุณลักษณะของผู้บริหารที่พึงประสงค์โรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร ------------------------ คำชี้แจง 1. แบบสอบถามชุดนี้มีทั้งหมด 3 ตอน ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพส่วนตัวของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับคุณลักษณะของผู้บริหาร ที่พึงประสงค์โรง เรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร ตอนที่ 3 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความคิดเห็นหรือเสนอแนะเพิ่มเติม เกี่ยวกับ คุณลักษณะของผู้บริหารที่พึงประสงค์โรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร 2. กรุณาตอบแบบสอบถามให้ครบทุกข้อ 3. การตอบแบบสอบถามครั้งนี้ จะไม่เป็นผลเสียใด ๆ ต่อการปฏิบัติงานของท่าน 4. ข้อมูลที่ได้จากการตอบแบบสอบถามนี้ จะได้รับการเก็บรักษาไว้เป็นความลับและใช้ สำหรับการวิจัยครั้งนี้เท่านั้น ขอขอบพระคุณอย่างสูงในความอนุเคราะห์ตอบแบบสอบถาม นายธวัชชัย กลิ่นดี นิสิตปริญญาโท วิชาเอกการบริหารการศึกษา สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 111 สำหรับผู้วิจัย เลขที่แบบสอบถาม❑❑❑ ❑ 1-3 ตอนที่ 1 ข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม คำชี้แจง กรุณาทำเครื่องหมาย ลงในช่อง ❑หน้าข้อที่ตรงกับรายละเอียดส่วน ตัวของท่าน 1. เพศ ❑ ชาย ❑ 4 ❑ หญิง 2. อายุ ❑ 21-30 ปี ❑ 31-40 ปี ❑ 5 ❑ 41-50 ปี ❑ 51 ปีขึ้นไป 3. อายุราชการ ❑ 1-5 ปี ❑ 16-20 ปี ❑ 6-10 ปี ❑ 21 ปีขึ้นไป ❑ 6 ❑ 11-15 ปี 4. วุฒิการศึกษา ❑ ต่ำกว่าปริญญาตรี ❑ ปริญญาตรี ❑ 7 ❑ สูงกว่าปริญญาตรี 5. ตำแหน่งหน้าที่ในปัจจุบัน ❑ ผู้บริหารโรงเรียน ❑ ผู้ช่วยบริหารโรงเรียน ❑ 8 ❑ หัวหน้าหมวดหรือหัวหน้าสาย ❑ ครู-อาจารย์ 112 ตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับคุณลักษณะของผู้บริหารที่พึงประสงค์โรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร คำชี้แจง พิจารณาคุณลักษณะของผู้บริหารโรงเรียนที่ท่านพึงประสงค์ทางซ้ายมือ แล้วทำเครื่อง หมาย ลงในช่องทางขวามือ ตามลำดับที่พึงประสงค์ โดยกำหนดคะแนนไว้ดังนี้ ระดับที่พึงประสงค์มากที่สุด ให้คะแนนเป็น 5 ระดับที่พึงประสงค์มาก ให้คะแนนเป็น 4 ระดับที่พึงประสงค์ปานกลาง ให้คะแนนเป็น 3 ระดับที่พึงประสงค์น้อย ให้คะแนนเป็น 2 ระดับที่พึงประสงค์น้อยที่สุด ให้คะแนนเป็น 5 ตัวอย่าง ข้อ คุณลักษณะของผู้บริหารโรงเรียน ที่พึงประสงค์ ระดับที่พึงประสงค์ ช่องนี้สำหรับ ผู้วิจัยกรอก มากที่สุด มาก ปาน กลาง น้อย น้อยที่สุด 5 4 3 2 1 0 มีความเป็นกันเองกับผู้ร่วมงาน ❑0 00 ริเริ่มสิ่งแปลก ๆ ใหม่ ๆ ❑00 จากตัวอย่างข้อ 0 แสดงว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีความประสงค์ ผู้บริหารโรงเรียนที่มีคุณ ลักษณะเป็นกันกับผู้ร่วมงาน อยู่ในระดับมาก และข้อ 00 แสดงว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความ ประสงค์ผู้บริหารโรงเรียนที่มีคุณลักษณะเป็นคนริ่เริ่มสิ่งแปลก ๆ ใหม่ ๆ อยู่ในระดับมากที่สุด 113 ข้อ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหาร โรงเรียนขยายโอกาส ระดับที่พึงประสงค์ สำหรับผู้วิจัย มากที่สุด มาก ปาน กลาง น้อย น้อยที่สุด คุณลักษณะด้านความรู้ความสามารถ ในการบริหาร 1 มีความรู้เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของโรง เ รี ย น ข ย า ย โ อ ก า ส สั ง กั ด กรุงเทพมหานคร ➆9 2 มีความรู้ ในเรื่องของหลักสูตรของ มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษา ตอนปลาย ➆10 3 มีความรู้เกี่ยวกับวิชาบังคับ, วิชาบังคับ เลือก, วิชาเลือกเสรี และวิชากิจกรรม ต่าง ๆ ตามที่หลักสูตรกำหนด ➆11 4 มีความรู้เกี่ยวกับการวัดผลประเมินผล ตามหลักสูตรและการจบหลักสูตร ➆12 5 มีความรู้เกี่ยวกับเอกสารต่าง ๆ และ สามารถแนะนำหรือชี้แนะครู-อาจารย์ ได้ ➆13 6 มีความรู้เกี่ยวกับระเบียบการปกครอง และการทำโทษนักเรียน ➆14 7 มีความรู้เกี่ยวกับธุรการการเงิน และ ระเบียบในการใช้งาน ➆15 8 มีความสามารถในการวิเคราะห์จุดเด่น จุดด้อยของโรงเรียนเพื่อเป็นข้อมูลใน การบริหาร ➆16 9 มีความสามารถกำหนดนโยบาย และ เป้าหมายของโรงเรียนอย่างชัดเจน ➆17 10 มีความสามารถวางแผนกลยุทธ์เพื่อไป สู่เป้าหมาย ➆18 11 มีความสามารถนำแผนไปสู่การปฏิบัติ ➆19 12 มีความสามารถประเมินผลแผนเพื่อไป สู่การปรับปรุง ➆20 13 มีความสามารถในการตัดสินใจได้อย่าง รวดเร็วและถูกต้อง ➆21 14 มีความสามารถในการแก้ปัญหาและข้อ ขัดแย้งที่เกิดขึ้น ➆22 114 ข้อ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรง เรียนขยายโอกาส ระดับที่พึงประสงค์ สำหรับผู้วิจัย มากที่สุด มาก ปาน กลาง น้อย น้อยที่สุด 15 มีความสามารถจัดระบบงานและบุคลากร ของโรงเรียนได้อย่างเหมาะสมทุกฝ่าย คุณลักษณะด้านมนุษยสัมพันธ์ ➆23 16 เป็นคนยิ้มแย้มแจ่มใส ➆24 17 มีความเป็นกันเองกับผู้ร่วมงาน ➆25 18 ให้เกียรติและยกย่องผู้ร่วมงาน ด้วยความยิน ดี ➆26 19 พูดจาสุภาพ ➆27 20 มีความจริงใจกับผู้ร่วมงาน ➆28 21 ใจกว้าง ฟังความคิดเห็นของครูอาจารย์ ➆29 22 ให้คำปรึกษาผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยความเต็ม ใจ ➆30 23 มีความสามารถในการควบคุมอารมณ์ใน สถานการณ์ต่าง ๆ ได้ ➆31 24 เป็นคนเสมอต้นเสมอปลาย ➆32 25 ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล ➆33 คุณลักษณะด้านการสื่อสาร 26 ออกคำสั่งปฏิบัติงานชัดเจนและมีลาย ละเอียดเพียงพอสำหรับครูผู้ปฏิบัติ ➆34 27 แจ้งกำหนดและวาระการประชุมให้ครู ทราบล่วงหน้า ➆35 28 ประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์ในการทำงานให้ ครูเข้าใจ ➆36 29 กลั่นกรองข้อมูลข่าวสารที่ได้รับจากครู และ สื่อสารไปยังผู้อื่นได้ถูกต้องเหมาะสม ➆37 30 เปิดโอกาสให้ครูซักถามเพื่อความเข้าใจ ใน คำสั่งให้ถูกต้องตามกัน ➆38 31 ยินดีรับฟังข้อเสนอแนะจากครูผู้ร่วมงาน เมื่อการทำงานมีปัญหา ➆39 32 ชี้แจงข้อบกพร่องในการทำงานของครู เมื่อ อยู่ตามลำพังสองต่อสอง ➆40 33 เขียนหนังสือแจ้งเรื่องราวและข่าวสารให้ครู ทราบ ❑41 115 ข้อ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรง เรียนขยายโอกาส ระดับที่พึงประสงค์ สำหรับผู้วิจัย มากที่สุด มาก ปาน กลาง น้อย น้อยที่สุด 34 ติดประกาศให้คณะครูปฏิบัติตามกฎ ระเบียบของทางราชการ ➆42 35 ให้ครูที่ผ่านการอบรมรายงานผลเป็นลาย ลักษณ์อักษร ➆43 คุณลักษณะด้านคุณธรรม 36 มีความยุติธรรมต่อผู้ร่วมงาน ➆44 37 มีความซื่อสัตย์สุจริตในการทำงาน ➆45 38 มีความเมตตากรุณาต่อเพื่อนร่วมงาน ➆46 39 มีความรับผิดชอบและอดทนต่อการทำงาน ➆47 40 เสียสละเพื่อส่วนรวม มากกว่าส่วนตน ➆48 41 มีวินัยในตนเอง ➆49 42 มีสัมมาคารวะ ➆50 43 เป็นผู้ตรงต่อเวลา ➆51 44 รักความสามัคคีในหมู่คณะ ➆52 45 ใช้หลักเหตุผลเป็นสัจธรรมในการทำงาน ➆53 คุณลักษณะด้านวิสัยทัศน์ 46 ผู้บริหารโรงเรียนมีความคิดริเริ่มในการวาง แผนเพื่อเปลี่ยนแปลงสิ่งต่าง ๆในโรงเรียน ➆54 47 ผู้บริหารให้ครู-อาจารย์ช่วยหาข้อมูลเพื่อ พัฒนาโรงเรียน ➆55 48 ใช้วิธีการระดมกำลังสมองจากคณะครู เพื่อ ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสิ่งต่าง ๆในโรงเรียน ➆56 49 ผู้บริหารโรงเรียนมีเทคนิควิธีซึ่งเป็นที่ยอม รับของคณะครู ในการปรับปรุงโรงเรียน ➆57 50 ผู้บริหารมีการวางแผนล่วงหน้า ในเรื่องต่าง ๆ ก่อนที่จะดำเนินการเปลี่ยนแปลง ➆58 51 ผู้บริหารสนับสนุนให้คณะครูเสนอความ คิดใหม่ ๆ ในการปรับปรุงโรงเรียน ➆59 52 ผู้บริหารใช้ขบวนการบริหารโรงเรียน ซึ่ง เป็นที่ยอมรับของคณะครู ➆60 116 ข้อ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรง เรียนขยายโอกาส ระดับที่พึงประสงค์ สำหรับผู้วิจัย มากที่สุด มาก ปาน กลาง น้อย น้อยที่สุด 53 ผู้บริหารโรงเรียนกำหนดเป้าหมายของโรง เรียนไว้ชัดเจน ➆61 54 ผู้บริหารแจ้งล่วงหน้าเมื่อจะมีการปรับ เปลี่ยนบาทสิ่งบางอย่างในโรงเรียน ➆62 55 มีการประเมินผลวิธีการใหม่ ๆ ที่มาใช้ใน การปรับปรุงโรงเรียน ➆63 56 เปิดโอกาสให้ครูมีส่วนร่วมในการเสนอ ความคิดโครงการต่าง ๆ ➆64 57 ผู้บริหารมีการกำหนดภารกิจที่ต้องปฏิบัติ ไว้ชัดเจนในการเปลี่ยนแปลง ➆65 58 ผู้บริหารมีการเชื่อมโยงงานแผนและการ ปฏิบัติเข้าด้วยกัน ➆66 59 มีการประชุมเพื่อชี้แจงถึงความก้าวหน้า หรือปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการพัฒนา ➆67 60 ให้คณะครูมีส่วนร่วมในการประเมินการ เปลี่ยนและความก้าวหน้าของโรงเรียน ➆68 ขอขอบพระคุณที่กรุณาตอบทุกข้อ 117 ตอนที่ 3 ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับคุณลักษณะของผู้บริหารที่พึงประสงค์ของโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหนคร คำชี้แจง กรุณาให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับคุณลักษณะของผู้บริหารโรงเรียน ที่ไม่ ปรากฏในแบบสอบถาม ตอนที่ 2 ที่ท่านประสงค์อยากให้ผู้บริหารโรงเรียนนั้นมี คุณลักษณะของผู้บริหารโรงเรียนที่พึงประสงค์ ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ของผู้บริหารโรงเรียน 1. ด้านความรู้ความสามารถในการบริการ 2. ด้านมนุษยสัมพันธ์ 3. ด้านคุณธรรม 4. ด้านวิสัยทัศน์ 118 119 รายชื่อโรงเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย 1. โรงเรียนบางชัน สำนักงานเขตคลองสามวา 2. โรงเรียนวัดคู้บอน สำนักงานเขตคลองสามวา 3. โรงเรียนสุเหร่าแสนแสน สำนักงานเขตคลองสามวา 4. โรงเรียนวัดลำต้อยติ่ง สำนักงานเขตหนองจอก 5. โรงเรียนวัดสามง่าม สำนักงานเขตหนองจอก 6. โรงเรียนสุเหร่าลำแขก สำนักงานเขตหนองจอก 7. โรงเรียนสุเหร่าทรายกองดิน สำนักงานเขตมีนบุรี 8. โรงเรียนบ้านเกาะ สำนักงานเขตมีนบุรี 9. โรงเรียนวัดทองสัมฤทธิ์ สำนักงานเขตมีนบุรี 10. โรงเรียนวัดราชโกษา สำนักงานเขตลาดกระบัง 11. โรงเรียนวัดสังฆราชา สำนักงานเขตลาดกระบัง 12. โรงเรียนรัตนจีนะอุทิศ สำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ 13. โรงเรียนวัดบางประคอง สำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ 14. โรงเรียนบ้านขุนประเทศ สำนักงานเขตหนองแขม 15. โรงเรียนวัดอุดมรังสี สำนักงานเขตหนองแขม 16. โรงเรียนวิชูทิศ สำนักงานเขตดินแดง 17. โรงเรียนสามเสนนอก สำนักงานเขตดินแดง 18. โรงเรียนเคหะทุ่งสองห้องวิทยา 1 สำนักงานเขตหลักสี่ 19. โรงเรียนเคหะท่าทราย สำนักงานเขตหลักสี่ 20. โรงเรียนสายไหม สำนักงานเขตสายไหม 21. โรงเรียนวัดหนองใหญ่ สำนักงานเขตสายไหม 22. โรงเรียนคลองหนองใหญ่ สำนักงานเขตบางแค 23. โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง สำนักงานเขตบางแค 24. โรงเรียนพระยามนธาตุราชศรีพิจิตร์ สำนักงานเขตบางบอน 25. โรงเรียนวัดปรุณววาส สำนักงานเขตทวีพัฒนา 26. โรงเรียนรุ่งเรืองอุปถัมป์ สำนักงานเขตบางนา 27. โรงเรียนวิจิตรวิทยา สำนักงานเขตวัฒนา 28. โรงเรียนสามแยกคลองหลอแหล สำนักงานเขตสะพานสูง 29. โรงเรียนประชาราษฎร์บำเพ็ญ สำนักงานเขตห้วยขวาง 120 30. โรงเรียนฉิมพลี สำนักงานเขตตลิ่งชัน 31. โรงเรียนวัดมะลิ สำนักงานเขตบางกอกน้อย 32. โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง สำนักงานเขตจอมทอง 33. โรงเรียนวัดยามร่ม สำนักงานเขตจอมทอง 34. โรงเรียนวัดบางกระดี่ สำนักงานเขตบางขุนเทียน 35. โรงเรียนวัดสะแกงาม สำนักงานเขตบางขุนเทียน 36. โรงเรียนวัดกำแพง สำนักงานเขตบางขุนเทียน 37. โรงเรียนวัดกก สำนักงานเขตบางขุนเทียน 38. โรงเรียนวัดแสมดำสำนักงานเขตบางขุนเทียน 39. โรงเรียนวัดอ่างแก้ว สำนักงานเขตภาษีเจริญ 40. โรงเรียนวัดเศวตฉัตร สำนักงานเขตคลองสาน 41. โรงเรียนวัดทองเพลง สำนักงานเขตคลองสาน 42. โรงเรียนวัดสุทธาราม สำนักงานเขตคลองสาน 43. โรงเรียนคลองกุ่ม สำนักงานเขตบึงกุ่ม 44. โรงเรียนวัดลาดพร้าว สำนักงานเขตลาดพร้าว 45. โรงเรียนบางกะปิ สำนักงานเขตบางกะปิ 46. โรงเรียนประชานิเวศน์ สำนักงานเขตจตุจักร 47. โรงเรียนวัดเวฬุวนาราม สำนักงานเขตดอนเมือง 48. โรงเรียนประชาอุทิศ สำนักงานเขตดอนเมือง 49. โรงเรียนบำรุงวิชาวิวรรณ สำนักงานเขตดอนเมือง 50. โรงเรียนไทยนิยมสงเคราะห์ สำนักงานเขตบางบอน 51. โรงเรียนสุวิทย์เสรีอนุสรณ์ สำนักงานเขตประเวศ 52. โรงเรียนชุมชนหมู่บ้านพัฒนา สำนักงานเขตคลองเตย 53. โรงเรียนกิ่งเพชร สำนักงานเขตราชเทวี 54. โรงเรียนวัดมัชฌินติการาม สำนักงานเขตบางซื่อ 55. โรงเรียนวัดชัยมงคล สำนักงานเขตปทุมวัน 56. โรงเรียนนาดนาวาอุปถัมป์ สำนักงานเขตส่วนหลวง 57. โรงเรียนบางยี่ขันวิทยาคม สำนักงานเขตบางพลัด 121 ประวัติย่อผู้วิจัย ชื่อ – สกุล นายธวัชชัย กลิ่นดี วัน – เดือน – ปี – เกิด วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2512 สถานที่อยู่ปัจจุบัน 5 / 9 หมู่ 1 แขวงหนองแขม เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร ตำแหน่งหน้าที่ อาจารย์ 1 ระดับ 5 ( หัวหน้าฝ่ายมัธยมศึกษา ) สถานที่ทำงานปัจจุบัน โรงเรียนวัดหัวกระบือ สำนักงานเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร ประวัติการศึกษา พ.ศ. 2524 ประถมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนจันทศิริวิทยา พ.ศ. 2530 มัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนมัธยมวัดหนองแขม พ.ศ. 2534 ค.บ. ( วิชาเอกคณิตศาสตร  ) สถาบันราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา พ.ศ. 2545 ค.ม. ( การบริหารการศึกษา ) สถาบันราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสโรงเรียนกทม (ตอนที่ 1)
คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสโรงเรียนกทม (ตอนที่ 2)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น