วันอาทิตย์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2552

ระบบฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สจพ.



บทที่ 1 บทนำ 1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา วิทยานิพนธ์ (Thesis) และสารนิพนธ์ (Master Project) เป็นรายงานผลของการค้นคว้าวิจัย ซึ่ง เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาในระดับปริญญามหาบัณฑิต หรือปริญญาดุษฎีบัณฑิต โดยในการจัดทำนักศึกษาจะต้องเลือกหัวข้อเรื่องที่ต้องการทำด้วยตนเอง และจะต้องทำการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลที่ เกี่ยวข้องอย่างละเอียดลึกซึ้ง มีการกำหนดวัตถุประสงค์ของการศึกษาค้นคว้า การตั้งสมมติฐาน การ ค้นคว้าเอกสารหลักฐานเพื่อมาพิสูจน์หรือสนับสนุนสมมติฐาน มีการสรุปผลของการศึกษาค้นคว้า และการอภิปรายผล คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เป็นสถานศึกษา ที่เปิดสอนในระดับปริญญามหาบัณฑิต โดยสถาบันฯได้ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถ ออกมาสู่สังคมเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ระหว่างที่ได้ทำการศึกษาอยู่ที่สถาบันฯ นั้น นักศึกษาแต่ละคน จะดำเนินการจัดทำวิทยานิพนธ์หรือสารนิพนธ์ของตนเองขึ้น เพื่อศึกษาหาความรู้และเป็นส่วนหนึ่ง ในการศึกษาจากทางสถาบันฯ โดยจะมีอาจารย์ที่ปรึกษาในการจัดทำวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ เป็นผู้ให้คำปรึกษาระหว่างเริ่มจัดทำจนสำเร็จเป็นรูปเล่ม ในแต่ละปีจำนวนของวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ที่นักศึกษาได้จัดทำส่งให้กับทางคณะฯ ได้ เพิ่มจำนวนขึ้นมาทุกปี การจัดการระบบฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ของทางคณะฯ เป็น สิ่งที่จำเป็นเพื่อรองรับกับจำนวนวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ที่มีอยู่และที่จะเพิ่มมาอีกในอนาคต ใน ปัจจุบันทางคณะฯ ยังขาดระบบที่มีประสิทธิภาพมาควบคุมการจัดการต่างๆ เกี่ยวกับวิทยานิพนธ์ และสารนิพนธ์ เช่น การตรวจสอบจำนวนเรื่องของวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ จำนวนหัวเรื่องของ วิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ที่อาจารย์แต่ละท่านเป็นที่ปรึกษา ข้อมูลและรายงานต่างๆ เป็นต้น เพื่อ นำมารองรับและให้บริการกับทั้งทางอาจารย์ เจ้าหน้าที่ ตลอดจนนักศึกษาที่จะมาใช้บริการ ซึ่ง สามารถแบ่งกลุ่มผู้ใช้ออกเป็น 3 กลุ่มโดยมีปัญหาในการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นดังนี้ กลุ่มที่ 1 เจ้าหน้าที่ของคณะฯ 1. การจัดเก็บเรื่องวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ไม่มีการลงรายละเอียดในส่วนของ ความก้าวหน้าของเรื่องที่มีอยู่ว่าถึงขั้นตอนใดแล้ว 2 2. การแบ่งแยกรูปแบบของวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ไม่ละเอียด โดยการจัดเก็บข้อมูล เบื้องต้นที่สำคัญของวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์แต่ละเรื่องมีน้อยเกินไป กลุ่มที่ 2 อาจารย์ที่ปรึกษาหัวข้อวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ 1. ไม่มีระบบจัดเก็บข้อมูลในส่วนของจำนวนเรื่องที่ได้รับเป็นที่ปรึกษา ทำให้ต้องจดจำด้วยตนเอง ซึ่งทำให้เกิดข้อผิดพลาดได้ง่าย 2. ไม่มีระบบติดตามความก้าวหน้าของวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ที่ได้รับเป็นที่ปรึกษา กลุ่มที่ 3 นักศึกษา 1. การสืบค้นวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ที่มีอยู่นั้นข้อมูลที่ได้ไม่ชัดเจน โดยได้รายละเอียด น้อยเกินไป รวมถึงอาจเกิดความผิดพลาดทำให้เรื่องของวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์มีเนื้อหาในการ จัดทำซ้ำกัน 2. ขาดข้อมูลหัวข้อที่นักศึกษาท่านอื่นส่งให้ทางคณะกรรมการกลั่นกรองแล้ว 3. ขาดข้อมูลว่าอาจารย์แต่ละท่านรับเป็นที่ปรึกษาแล้วจำนวนกี่เรื่อง จากปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าว การพัฒนาระบบฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ เพื่อให้ ตอบสนองกับการทำงานของผู้ใช้ โดยสามารถที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นและช่วยในการทำวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ของนักศึกษาในเบื้องต้นได้ 1.2 วัตถุประสงค์ของโครงงาน 1.2.1 เพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 1.2.2 เพื่อประเมินประสิทธิภาพของระบบที่พัฒนาขึ้น 1.3 ขอบเขตของโครงงาน ระบบฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์จะถูกพัฒนาขึ้นเป็น Web Application เพื่อ นำมาใช้ภายในคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และมี การสร้าง Web Application บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพื่อให้บริการกับนักศึกษาและอาจารย์ที่ ปรึกษาวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ ประกอบด้วยรายละเอียดของระบบแยกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ 3 1.3.1 ส่วนของเจ้าหน้าที่ของคณะฯ 1.3.1.1 สามารถเพิ่ม ปรับปรุงแก้ไขข้อมูลของวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ได้ดังนี้ 1.3.1.1.1 ชื่อเรื่องของวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ 1.3.1.1.2 รูปแบบของหัวข้อโครงการ 1.3.1.1.2.1 วิทยานิพนธ์ 1.3.1.1.2.2 สารนิพนธ์ 1.3.1.1.3 งานวิจัย 1.3.1.1.3.1 คุณลักษณะของวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ 1.3.1.1.3.2 โปรแกรมพร้อมรายละเอียดเบื้องต้น 1.3.1.1.4 ระบบงานพร้อมรายละเอียดเบื้องต้น 1.3.1.1.5 ชื่อของนักศึกษาผู้จัดทำ 1.3.1.1.6 สาขาที่เรียน 1.3.1.1.7 อาจารย์ที่ปรึกษา 1.3.1.1.8 ปีที่จัดทำ 1.3.1.1.9 บทคัดย่อวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ 1.3.1.2 สามารถบันทึกประวัติความก้าวหน้าของวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ได้ 1.3.1.2.1 การยื่นเสนอโครงร่างวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์สำหรับ คณะกรรมการกลั่นกรอง 1.3.1.2.2 การเสนอโครงการวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์และขออนุมัติ แต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษา 1.3.1.2.3 การสอบก้าวหน้าวิทยานิพนธ์ 1.3.1.2.4 การสอบป้องกันสารนิพนธ์ 1.3.1.3 มีรายงานในการเรียกดูข้อมูลทั้งหมดได้ 1.3.2 ส่วนของนักศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษา 1.3.2.1 การใช้งานผ่านเว็บไซต์ 1.3.2.2 สามารถสืบค้นรายละเอียดข้อมูลวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ที่มีอยู่ได้ 1.3.2.3 สามารถแสดงถึงความก้าวหน้าของวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์แต่ละเรื่อง 1.3.2.4 สามารถแสดงจำนวนเรื่องของวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ที่อาจารย์แต่ละ ท่านรับเป็นที่ปรึกษาได้ 1.3.2.5 สามารถพิมพ์รายงานข้อมูลที่มีอยู่ได้ 4 1.4 คำจำกัดความและนิยามศัพท์เฉพาะในโครงงาน 1.4.1 สถาบันฯ หมายถึงสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 1.4.2 คณะฯ หมายถึงคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ 1.4.3 นักศึกษา หมายถึงนักศึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอม เกล้าพระนครเหนือ 1.5 เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินงาน 1.5.1 เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลพร้อมอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ 1.5.1.1 CPU Pentium 233 MHz 1.5.1.2 RAM 64 MB 1.5.1.3 Hard Disk 6 GB 1.5.1.4 Monitor 14” 1.5.1.5 Network Interface Card 1.5.1.6 Laser Printer 1.5.2 เครื่องคอมพิวเตอร์เซอร์เวอร์พร้อมอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ 1.5.2.1 CPU Pentium 800 MHz 1.5.2.2 RAM 128 MB 1.5.2.3 Hard Disk 20 GB 1.5.2.4 Monitor 14” 1.5.2.5 Network Interface Card 1.5.2.6 สาย UTP ในการเชื่อมต่อ 1.5.3 เครื่องมือในการใช้พัฒนาโปรแกรม 1.5.3.1 โปรแกรมจัดการฐานข้อมูลใช้ Microsoft SQL Server 2000 1.5.3.2 โปรแกรมในการพัฒนาเว็บเพจใช้ Macromedia Dreamweaver MX 1.5.3.3 โปรแกรมระบบปฏิบัติการใช้ MS.Windows 2000 1.5.3.4 โปรแกรมในการจัดการ Web Server ใช้ IIS 5.0 1.5.3.5 โปรแกรมตกแต่งภาพใช้ Adobe Photo Shop 1.5.3.6 โปรแกรมที่ใช้ในการแสดงผลเว็บไซต์ใช้ Internet Explorer 5.5 หรือสูงกว่า 5 1.6 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการจัดทำโครงงาน 1.6.1 เพิ่มความสะดวกต่อผู้ใช้งานซึ่งประกอบด้วยนักศึกษา อาจารย์และเจ้าหน้าที่ของ คณะฯ ในการจัดการรวมถึงสืบค้นฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ 1.6.2 มีรายงานข้อมูลของวิทยานิพนธ์ เพื่อให้ผู้ที่ต้องการใช้งานเรียกใช้ได้ บทที่ 2 ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ทฤษฎีและงานวิจัยต่างๆ ที่นำมาใช้ในการศึกษาและพัฒนาระบบฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์และ สารนิพนธ์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ แบ่ง ออกเป็น 3 เรื่องหลักๆ ดังต่อไปนี้ 1. ทฤษฎีการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 2. ทฤษฎีความรู้เกี่ยวกับวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ 3. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2.1 ทฤษฎีการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ในการสร้างและพัฒนาระบบฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ คณะเทคโนโลยี สารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ซึ่งเป็นโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับการ จัดการฐานข้อมูลของวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ ดังนั้นสิ่งที่จำเป็นจะต้องศึกษาเป็นอันดับแรกและ เป็นสิ่งสำคัญคือ การจัดการระบบฐานข้อมูล โดยที่มีส่วนประกอบอื่นๆ เข้ามาเสริมในการทำงาน อีก เช่น ภาษา ASP ภาษา SQL ฐานข้อมูล MS SQL Server เป็นต้น ทั้งนี้องค์ประกอบต่างๆ จำเป็น ที่จะต้องทำงานควบคู่กันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นทฤษฎีในการนำมาประยุกต์ใช้งานที่สำคัญ สามารถแบ่งออกเป็นหัวข้อได้ดังนี้ 2.1.1 ระบบฐานข้อมูล (Database System) 2.1.2 ภาษาทางด้านฐานข้อมูล (Query Language) 2.1.3 ภาษา ASP (Active Server Pages) ทั้งนี้ในการศึกษาแต่ละหัวข้อก็จะมีลักษณะการทำงานในรูปแบบที่แตกต่างกันไป โดยจะ เป็นการผสมผสานกัน เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ร่วมกันโดยรายละเอียดของแต่ละหัวข้อมีดังนี้ 2.1.1 ระบบฐานข้อมูล (Database System) “ฐานข้อมูล” หมายถึงแหล่งที่เก็บข้อมูลจำนวนมากๆไว้รวมกัน ในรูปแบบที่จัดไว้เป็นระบบ ระเบียบ เช่น สมุดรายชื่อผู้ใช้โทรศัพท์ หรือทะเบียนรายชื่อนักศึกษา เป็นต้น ที่มีการจัดแบ่งเรียง ตามลำดับของตัวอักษร เพื่อช่วยให้การเปิดหาโดยใช้ชื่อผู้ใช้ หรือชื่อนักศึกษาทำได้สะดวกขึ้น แต่ 7 การเก็บข้อมูลบนกระดาษนั้น ถ้าจะหาข้อมูลบางลักษณะ เช่น หาโดยใช้เบอร์โทรศัพท์หรือใช้ นามสกุลก็ไม่อาจทำได้ เนื่องจากสมุดรายชื่อไม่ได้ถูกจัดเรียงตามเบอร์โทรศัพท์หรือนามสกุลไว้ ก่อน ดังนั้นจึงต้องนำข้อมูลเหล่านั้นมาเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ และใช้โปรแกรมการจัดการ ฐานข้อมูล (Database Management System) เป็นเครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูล เพื่อให้ค้นหาข้อมูล โดยใช้วิธีการแบบต่างๆ ที่พลิกแพลงได้ตามต้องการ นอกจากนี้การดูแลรักษาข้อมูล เช่น การแก้ไข เพิ่ม ลบข้อมูล ตลอดจนการออกรายงาน ก็จะทำได้ง่ายขึ้นด้วย สำหรับข้อมูลที่เก็บในฐานข้อมูล หนึ่งๆ นั้นก็มักจะเป็นเรื่องเดียวกันหรือเรื่องที่เกี่ยวข้องกัน เช่น รายชื่อลูกค้า รายชื่อสินค้า ใบสั่งซื่อ เหล่านี้ก็อาจเก็บรวมกันในฐานข้อมูลของบริษัทหนึ่ง ในขณะที่รายชื่อครู รายชื่อนักเรียน ตารางสอน ผลการสอบ ก็จะเก็บเป็นอีกฐานข้อมูลหนึ่ง เช่น ของโรงเรียน เป็นต้น (วศิน, 2542: 15) สิ่งที่ต้องพึงระลึกไว้เสมอคือ ฐานข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทั้งนี้ไม่ได้หมายความ ถึงการเปลี่ยนแปลงตัวข้อมูลที่เก็บภายใน เพราะนั่นเป็นเรื่องปกติ แต่สิ่งอื่นๆ เช่น ลักษณะการ เรียกดูหรือดึงข้อมูลออกมาใช้งาน เงื่อนไขหรือกฎเกณฑ์ที่ระบุความสัมพันธ์ต่างๆ ตลอดจน รูปแบบหรือโครงสร้างของข้อมูลเองก็อาจเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ดังนั้นฐานข้อมูลที่ดีจึงต้อง สามารถดูแลและปรับปรุงแก้ไขได้ง่าย และสอดคล้องกับความต้องการใช้งาน ลักษณะของ ฐานข้อมูลที่ดีคือ 1. สามารถรักษาความถูกต้องข้องข้อมูล (Data Integrity) ไว้ได้โดยตลอด ไม่ยอมให้ข้อมูล ขัดแย้งหรือไม่ตรงกันเข้าไปเก็บในฐานข้อมูลได้ เพราะจะทำให้เกิดปัญหาตามมาอีกมากใน ภายหลัง ซึ่งข้อนี้จะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อการออกแบบนั้นทำอย่างถูกต้อง เพื่อให้ข้อมูลไม่ซ้ำซ้อนกัน โดยอาศัยกระบวนการที่เรียกว่า Normalization 2. มีประสิทธิภาพในการทำงาน สามารถรองรับการเรียกดูและแก้ไขข้อมูลโดยผู้ใช้หลายๆ คนพร้อมกันได้โดยไม่ช้าเกินไป และยังคงความถูกต้องไว้ด้วย 3. มีความยืดหยุ่นสูง สามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับลักษณะการใช้งานหรือลักษณะ ข้อมูลที่เปลี่ยนไปได้โดยง่าย 4. ข้อมูลที่เก็บจะต้องเป็นอิสระจากโปรแกรมหรือแอพพลิเคชั่นที่ใช้ ไม่ว่าจะเรียกจาก โปรแกรมใด ถ้าเป็นข้อมูลตัวเดียวกันก็จะต้องถูกต้องตรงกัน และสามารถแก้ไขโครงสร้างข้อมูลได้ โดยมีผลกระทบกับโปรแกรมน้อยที่สุด T a b l e Table คือโครงสร้างที่ใช้เก็บข้อมูลจริงใน Database โดยเก็บในรูปแบบของตารางย่อยๆ ที่มี ความสัมพันธ์กันแต่ละแถวหรือ row ใน Table ซึ่งเรียกว่า “เรคอร์ด” (record) ส่วนแต่ละคอลัมน์ใน 8 แถวจะเรียกว่า “ฟิลด์” (field) โดยแต่ละเรคอร์ดคือข้อมูล 1 ชุดที่มีโครงสร้างซ้ำกัน และแต่ละฟิลด์ก็ คือข้อมูลตัวเดียวกันของแต่ละเรคอร์ดนั่นเอง (วศิน, 2542: 40) ดังตัวอย่างในภาพที่ 2-1 ภาพที่ 2-1 การแสดงข้อมูลใน Table ในมุมมอง Datasheet ดังนั้นจะเห็นได้ว่าใน Table หนึ่งนั้นจะมีโครงสร้างเรคอร์ดซึ่งเก็บข้อมูลเพียงอย่างเดียวหรือ Subject เดียว ซึ่งก็จะเทียบได้กับเอนทิตี้ และแต่ละฟิลด์ของเรคอร์ดก็จะบรรยายคุณสมบัติอย่างใด อย่างหนึ่งของเรคอร์ดเท่านั้น หรือเทียบได้กับแอตทริบิวต์ของเอนทิตี้นั่นเอง ดังนั้นหากกำหนด เอนทิตี้และแอตทริบิวต์ได้ถูกต้องตั้งแต่แรกก็จะสามารถแปลงไปสร้างเป็น Table ได้ทันทีโดยตรง เอนทิตี้ (Entity) และแอตทริบิวต์ (Attribute) “เอนทิตี้” (Entity) อาจหมายถึงสิ่งของใดๆ ก็ได้ที่เราจะอ้างอิงถึงในข้อมูล ส่วน “แอตทริ บิวต์” (Attribute) คือคุณลักษณะหรือรายละเอียดของแต่ละเอนทิตี้นั้นอีกทีหนึ่ง โดยแต่ละเอนทิตี้ จะมีได้กลายแอตทริบิวต์ ตัวอย่างเช่น “บัตรประชาชน” เป็นเอนทิตี้โดยมี ชื่อ ที่อยู่ วันหมดอายุ เป็น แอตทริบิวต์ของบัตร ทั้งนี้เอนทิตี้จะเป็นตัวบ่งบอกถึงเนื้อหา (Subject) ของเรื่องที่เราจะทำ Subject อาจหมายถึงบุคคล สิ่งของ เหตุการณ์หรืออะไรก็ได้ที่เราต้องการเก็บข้อมูล ในทางปฏิบัติจะทำการแปลงเอนทิตี้ที่ได้จากการออกแบบฐานข้อมูลไปเป็นเรคอร์ดใน Table และแปลงแอตทริบิวต์ไปเป็นฟิลด์ สำหรับรูปภาพที่ใช้แทนเอนทิตี้ประเภทนี้ ได้แก่ รูปภาพ สี่เหลี่ยมผืนผ้าโดยมีชื่อของเอนทิตี้นั้นอยู่ภายใน ดังภาพที่ 2-2 ภาพที่ 2-2 รูปแบบสัญลักษณ์ของเอนทิตี้ Customers Table ชื่อ Customers Field Record Customers 9 ความสัมพันธ์ (Relation) ความสัมพันธ์นี้เป็นหัวใจหลักของฐานข้อมูลแบบ Relational กล่าวคือเป็นสิ่งที่เชื่อมโยง ระหว่างข้อมูลใน Table ต่างๆ เข้าด้วยกัน โดยอาศัยฟิลด์ที่มีค่าตรงกันในระหว่าง Table เหล่านั้น เป็นตัวเชื่อม หรือที่เรียกว่า “คีย์” (Key) นั่นเอง ความสัมพันธ์ระหว่างเรคอร์ดในแต่ละ Table อาจ แบ่งได้เป็น 3 ลักษณะคือ One-To-Many เป็นความสัมพันธ์แบบที่ฟิลด์ในเรคอร์ดใดๆ ของ Table หนึ่งมีค่าตรงกับ ฟิลด์ของหลายๆ เรคอร์ดใน Table อื่นๆ เช่นใน Table Customer มีรหัสลูกค้าซึ่งตรงกับใน Table Order หลายๆ ใบ (เพราะลูกค้าคนหนึ่งสั่งของได้หลายครั้ง) แต่ในทางกลับกันในแต่ละ Order จะ เป็นของลูกค้าเพียงรายเดียวเท่านั้น กล่าวคือรหัสลูกค้าในแต่ละ Order จะตรงกับเรคอร์ดเดียว เท่านั้นใน Customer (เพราะ Order 1 ใบย่อมเป็นของลูกค้าเพียงรายเดียว) ความสัมพันธ์แบบนี้เป็น แบบที่ปกติธรรมดาและพบได้มากที่สุดในการใช้งานฐานข้อมูล ภาพที่ 2-3 แสดงความสัมพันธ์แบบ One-To-Many One-To-One เป็นความสัมพันธ์แบบที่ฟิลด์ในเรคอร์ดใดๆ ของ Table หนึ่งมีค่าตรงกับฟิลด์ ของเรคอร์ดเพียงเรคอร์ดเดียวเท่านั้นใน Table อื่นๆ เช่น ใน Table Employee มีรหัสพนักงานซึ่ง ตรงกับใน Table Personal_Info ซึ่งความจริงแล้วอาจรวมเป็น Table เดียวกันไปเลยก็ได้ แต่ใน บางครั้งก็อาจต้องแยกเป็นคนละ Table กันก็ด้วยเหตุผลอื่น เช่น ใน Personal_Info อาจมีข้อมูล ขนาดใหญ่ เช่น รูปถ่ายและแผนที่บ้านของพนักงานแต่ละคน ซึ่งบางคนก็ยังให้มาไม่ครบหรือไม่ อยากให้ ข้อมูลเหล่านี้หากเก็บไว้ใน Table Employee ด้วยก็จะกลายเป็น Table ขนาดใหญ่มาก แต่ หากแยกเป็นคนละ Table กันก็อาจเรียกใช้ข้อมูลได้เร็วกว่า หรือบางกรณีอาจเป็นเพราะเพื่อการ รักษาความลับ เช่น ใน Personal_Info มีข้อมูลส่วนตัว เช่น เงินเดือน จึงต้องแยกเป็นคนละส่วน และควบคุมให้มีเฉพาะบางคนเท่านั้นที่จะเข้าใช้ข้อมูลใน Table นี้ได้ ในขณะที่ทุกคนสามารถ เข้าถึงข้อมูลทั่วๆ ไปใน Employee เช่น ชื่อ ตำแหน่ง หมายเลขโทรศัพท์ภายในได้ Customers 1 Make M Order NAME ADDRESS ORDER NO AMOUNT 10 ภาพที่ 2-4 แสดงความสัมพันธ์แบบ One-To-One Many-To-Many เป็นความสัมพันธ์แบบที่ฟิลด์ในเรคอร์ดใดๆ ของ Table หนึ่งมีค่าตรงกับ ฟิลด์ของหลายๆ เรคอร์ดใน Table อื่นๆ และในทางกลับกันก็เป็นจริงด้วย ความสัมพันธ์แบบนี้พบ ได้ไม่มากนัก ตัวอย่างเช่นในการเก็บข้อมูลรายชื่อพนักงานขายกับลูกค้า พนักงานขายคนหนึ่งอาจ ดูแลลูกค้าหลายราย และในทางกลับกัน ลูกค้าคนหนึ่งหากสั่งซื้อสินค้าจากหลายแผนกในบริษัท ก็ อาจมีการติดต่อกับพนักงานขายหลายคนได้ ซึ่งความสัมพันธ์ในลักษณะนี้จะสามารถแปลงให้เป็น แบบ One-To-Many ที่เชื่อมกันสองทอดได้ในขั้นตอนของการทำ Normalization ภาพที่ 2-5 แสดงความสัมพันธ์แบบ Many-To-Many คีย์ (Key) ตามปกติในแต่ละเรคอร์ดใน Table จะต้องมี “คีย์” (Key) หรือข้อมูลที่จะเป็นกุญแจสำหรับ เข้าถึงหรือบ่งชี้ว่าเรคอร์ดใดเป็นเรคอร์ดใด หรือต่างจากเรคอร์ดอื่นๆ อย่างไร เหมือนกับที่คนทุก คนต้องมีชื่อและนามสกุลที่แตกต่างกัน เวลาอ้างอิงจะได้รู้ว่าเป็นใคร เพราะคีย์นี้เองที่จะนำไปใช้ใน การอ้างอิงและกำหนดความสัมพันธ์กับ Table อื่นๆในภายหลัง ถ้าไม่กำหนดไว้ Table นี้ก็อาจไม่ สามารถนำไปเชื่อมโยงกับ Table อื่นๆ ได้เลย ซึ่งคีย์ที่ว่านี้มีชื่อเต็มๆ ว่า Primary key หรือคีย์หลัก ส่วนในกรณีที่ไม่มีฟิลด์ใดของข้อมูลสามารถนำมาใช้เป็นคีย์ได้เลย ก็จะต้องสร้างขึ้นหรือ กำหนดให้ใหม่ทั้งนี้ Primary key จะต้องเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละเรคอร์ดโดยไม่ซ้ำกันเลยด้วย (unique) Employee 1 1 Personal_Info EMP_ID EMP_NAME PER_ID SALARY Customers M ORDER M SALE NAME ADDRESS SALE_ID PRODUCT BELONG_TO 11 Primary key เป็นคีย์หลักที่ใช้ในการจัดเรียงและแยกแยะข้อมูลแต่ละเรคอร์ดใน Table นั้น ออกจากกัน Primary key นี้จะต้องมีค่าในทุกเรคอร์ด จะปล่อยว่างให้ไม่มีค่า (หรือเรียกว่า Null) ไม่ได้ และจะต้องไม่ซ้ำกันเลย (unique) ด้วย ซึ่งอาจเลือกฟิลด์หนึ่งหรือกำหนดขึ้นมาใหม่ก็ได้ Candidate key ในกรณีที่มีหลายฟิลด์ซึ่งมีคุณสมบัติครบถ้วนจนสามารถนำมาใช้เป็น Primary key ได้ จะเรียกฟิลด์เหล่านั้นแต่ละตัวว่าเป็น Candidate key คือเป็นคู่แข่งที่สามารถเลือกมา เป็น Primary key ได้เหมือนกัน Composite key (หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Compound key) เป็นการนำเอาหลายๆฟิลด์มา รวมกันเป็นคีย์เพื่อให้มีคุณสมบัติครบถ้วน คือไม่ซ้ำกันและไม่เป็น Null ใช้ในกรณีที่หากเลือกเพียง ฟิลด์ใดฟิลด์หนึ่งมาเป็นคีย์แล้วยังมีโอกาสซ้ำกันหรือเป็น Null ได้ Foreign key เป็นฟิลด์ที่มีเก็บอยู่ในหลาย Table จึงสามารถใช้เป็นคีย์ในการเชื่อมโยงข้อมูล ระหว่างหลาย Table เข้าด้วยกันได้ Secondary key หรือดัชนี (Index) เป็นคีย์ที่ใช้แยกแยะข้อมูลเช่นกัน แต่เนื่องจากมี Primary key ที่ไม่ซ้ำกันอยู่แล้ว Secondary key นี้จึงอาจซ้ำกันได้ ทั้งนี้ในการเรียกใช้ข้อมูลโดยทั่วไปมักจะ ต้องมีการจัดเรียงตามลำดับเพื่อความสะดวก แต่หากมี Index มากๆก็อาจทำให้การแก้ไขแต่ละเร คอร์ดช้าลงมาก ดังนั้นในทางปฏิบัติจึงควรจำกัดจำนวนฟิลด์ที่เป็น Index ไว้เท่าที่จำเป็นต้องเรียกดู บ่อยจริงๆ เช่น 2-3 ฟิลด์เท่านั้น ขั้นตอนการออกแบบฐานข้อมูล ขั้นที่ 1 เก็บรวบรวมรายละเอียด ขั้นตอนนี้เป็นการรวบรวมรายละเอียดของงานที่จะเก็บและเรียกใช้ข้อมูล เช่น 1. เป็นข้อมูลเกี่ยวกับ subject อะไรบ้าง 2. มีลักษณะของข้อมูลแต่ละตัวเป็นอย่างไร เป็นเลขกี่หลัก กี่ตัวอักษร มีค่าช่วงใด 3. วิธีการหรือความต้องการใช้งานข้อมูลเป็นแบบใด ใครใช้บ้างและบ่อยเพียงใด 4. มีความสัมพันธ์กันระหว่าง subject หรือ entity ต่างๆแค่ไหน อะไรเป็นตัวเชื่อม 5. อื่นๆ จากนั้นให้บันทึกรายละเอียดเหล่านั้นเป็นลายลักษณ์อักษร (หรือถ้ามีแผนภูมิการ ทำงานประกอบด้วยก็ยิ่งดี) ไว้เพื่อใช้ในขั้นตอนต่อๆไป ขั้นที่ 2 กำหนดโครงสร้าง Table ขั้นตอนนี้เป็นการทดลองสร้าง Table ขึ้นมาเป็นต้นแบบ เพื่อจะนำไปใช้ในขั้นต่อๆไป ผลที่ได้จากขั้นนี้จะเป็นชุดของเอนทิตี้และแอตทริบิวต์ทั้งหมดที่มีในฐานข้อมูล (หรือโครงสร้าง 12 ของเรคอร์ดและฟิลด์ใน Table ต่างๆที่น่าจะใช้ได้) เช่นในระบบงานขายก็จะมีเอกสาร เช่น ใบสั่ง ซื้อ ใบส่งสินค้า ใบแจ้งหนี้ เหล่านี้ล้วนสามารถกำหนดให้เป็น Table ใหม่ได้ ขั้นที่ 3 กำหนดคีย์ ขั้นตอนนี้เป็นการกำหนดคีย์แบบต่างๆ เช่น Primary key, Composite key, Secondary key และอื่นๆให้กับแต่ละ Table ที่ได้จากขั้นที่ 2 ตามความเหมาะสม เพื่อนำไปใช้สร้าง ความสัมพันธ์กับ Table อื่นๆต่อไปเช่นใน Table Products อาจกำหนดรหัสสินค้าขึ้นมาใหม่เพื่อใช้ เป็น Primary key ในขณะที่ฟิลด์อื่น เช่น barcode อาจใช้เป็น Candidate key ได้เช่นกัน ขั้นที่ 4 กำหนดความสัมพันธ์ ขั้นตอนนี้เป็นการกำหนดความสัมพันธ์ระหว่าง Table ในแบบต่างๆ เช่น One-To- Many, One-To-One หรือ Many-To-Many โดยอาศัยคีย์ที่ตั้งไว้เป็นตัวเชื่อม ขั้นที่ 5 ปรับรูปแบบข้อมูล (Normalization) เป็นการนำเอาเอนทิตี้และแอตทริบิวต์ที่ได้ (หรือโครงร่างของเรคอร์ดและฟิลด์ที่ ออกแบบไว้) มาปรับรูปแบบและลดความซ้ำซ้อนเพื่อให้ถูกต้องตามหลักการ จะได้นำฐานข้อมูลไป ใช้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งนี้โดยอาศัยกระบวนการ Normalization เพื่อลดความซ้ำซ้อนกันของ ข้อมูล ซึ่งหากปล่อยโครงสร้างข้อมูลออกไปตามที่ออกแบบในขั้นต้นมาเลย ก็อาจเกิดปัญหา เนื่องจากความซ้ำซ้อนหลายประการเช่น 1. เปลืองเนื้อที่เก็บข้อมูลโดยไม่จำเป็น 2. ข้อมูลในฟิลด์ที่เก็บซ้ำกันนั้นมีโอกาสผิดพลาดหรือไม่ตรงกัน 3. การกำหนดความสัมพันธ์กับ Table อื่นทำได้ยาก 2.1.2 ภาษาทางด้านฐานข้อมูล (Query Language) ผลิตภัณฑ์ทางด้านฐานข้อมูลที่มีโครงสร้างแบบ Relational จำเป็นจะต้องมีภาษาทาง ฐานข้อมูลหรือที่เรียกว่า Query Language โดยแต่ละภาษาถูกพัฒนาขึ้นจากแนวคิดที่แตกต่างกัน Structured Query Language เป็นภาษาที่ใช้จัดการทางด้านฐานข้อมูลที่ นิยมใช้กันมากที่สุดโดยมัก ถูกเรียกย่อๆ ว่า “SQL” สำหรับคำสั่งต่างๆของภาษา SQL สามารถแบ่งตามลักษณะการใช้งาน ออกเป็น 3 กลุ่มดังนี้ (กิตติและจำลอง, 2544: 245) 2.1.2.1 กลุ่มคำสั่ง Data Definition Language (DDL) เป็นกลุ่มคำสั่งที่ใช้สำหรับ สร้างฐานข้อมูล หรือใช้กำหนดโครงสร้างให้กับ Relation ภายในฐานข้อมูล เช่น การเพิ่ม เปลี่ยนแปลง ลบ แอตทริบิวต์ของ Relation 13 2.1.2.2 กลุ่มคำสั่ง Data Manipulation Language (DML) เป็นกลุ่มคำสั่งที่ใช้สำหรับ เพิ่ม ลบ หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลในฐานข้อมูล 2.1.2.3 กลุ่มคำสั่ง Data Query Language เป็นกลุ่มคำสั่ง DML ประเภทหนึ่งที่ใช้ใน การเลือกข้อมูลจาก Relation ขึ้นมาแสดงตามรูปแบบที่ต้องการ สรุปได้ว่า Structured Query Language (SQL) คือเซตของชุดคำสั่งที่ใช้ในการทำงานกับ ระบบฐานข้อมูลซึ่งช่วยให้ผู้พัฒนาหรือผู้ใช้สามารถทำในสิ่งต่อไปนี้ได้ (กิตติและไชยรัตน์, 2543: 49) 1. อ่านข้อมูลจากตารางหนึ่ง (Table) หรือหลายตารางจากฐานข้อมูลตัวหนึ่งหรือมากกว่า นั้น 2. จัดการกับข้อมูลในตารางโดยการเพิ่ม ลบ หรืออัปเดตเรคอร์ด 3. ทราบข้อมูลเชิงสรุปเกี่ยวกับข้อมูลในตาราง เช่น จำนวนเรคอร์ดทั้งหมด ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และค่าเฉลี่ยของข้อมูล 4. สร้าง เปลี่ยนแปลง ลบตารางในฐานข้อมูล 5. สร้าง หรือลบอินเด็กซ์ (Index) ของตาราง ด้วยการใช้ SQL เพียงไม่กี่บรรทัดช่วยให้ผู้พัฒนาสามารถทำงานกับฐานข้อมูลได้โดยสะดวก แทนที่จะต้องใช้การเขียนโปรแกรมหลายสิบบรรทัด เพื่อการทำงานกับฐานข้อมูล SQL จะใช้ใน การสร้างคิวรี่ (Query) ซึ่งเป็นคำสั่งที่ใช้ค้นหาข้อมูลในตารางใดๆ หรือหลายตาราง ตามเงื่อนไขที่ กำหนดได้ รวมทั้งการระบุฟิลด์ที่ต้องการอ่านจากตารางที่เก็บฟิลด์นั้นไว้ ขอบเขตหรือช่วงของเร คอร์ดที่ต้องการใช้งานและรูปแบบของการเรียงลำดับ ในการแสดงผลของข้อมูลได้อีกด้วย ส่วนประกอบของ SQL ชุดคำสั่ง SQL ประกอบด้วยสองส่วนหลักๆ ดังนี้ 1. Manipulative statement ใช้ในการระบุการทำงานของคิวรีเอ็นจินของฐานข้อมูล เช่น SELECT, INSERT, UPDATE หรือ DELETE ตารางที่ 2-1 ลักษณะการใช้งานของ Manipulative statement Statement Function DELETE FROM ลบเรคอร์ดออกจากตาราง INSERT INTO เพิ่มกลุ่มของเรคอร์ดเข้าสู่ตาราง SELECT อ่านกลุ่มของข้อมูลจากตาราง UPDATE เปลี่ยนแปลงค่าของฟิลด์ในตาราง 14 2. Options declarations ใช้เกี่ยวกับการสร้างเงื่อนไข การจัดกลุ่มข้อมูล หรือการเรียงลำดับ ของข้อมูลที่จะใช้ในการทำงาน เช่น WHERE, GROUP BY และ ORDER BY ลักษณะการใช้งานจะเรียงลำดับดังนี้คือ Manipulative statement [options secta rations] ในขณะที่ใช้งาน Manipulative statement จะเป็นการระบุสิ่งที่ต้องทำกับเอ็นจินของ ฐานข้อมูล ในส่วนของ Options จะทำหน้าที่ในการระบุฟิลด์และเรคอร์ดที่จะใช้ทำงาน ซึ่งจากการ ใช้งานสองส่วนนี้ของ SQL สามารถสร้างคิวรีในการทำงานกับฐานข้อมูลได้อย่างหลากหลาย 2.1.3 ภาษา ASP (Active Server Pages) ความรู้พื้นฐานที่ควรทราบก่อน เป็นเรื่องเกี่ยวกับ HTML (Hypertext Markup Language) ที่ ทำหน้าที่เป็น Script ที่ใช้สร้าง Home Page บน Web เป็น Script ที่มีความสามารถในการเชื่อมโยง ข้อมูลใน Computer ระหว่าง Computer ในเครือข่าย และระหว่างเครือข่ายใน Internet โดยอ้างอิง จาก URL (Uniform Resource Locators) ด้วยโปรโตคอล Hypertext Transfer Protocol (HTTP) HTML เป็น Script ที่เรียงลำดับ Tag (คำสั่ง) ไว้เป็นไฟล์ๆหนึ่ง เพื่อเป็นตัวบอก Browser ว่า จะต้องแสดงอะไร ลักษณะอย่างไร Tag จะประกอบด้วยเครื่องหมาย “<” ตามด้วยชื่อ Tag และเครื่องหมาย “>” ซึ่งโดยทั่วไป Tag จะมีเป็นคู่ เพื่อเปิดและปิดคำสั่งโดย Tag เปิดจะมีลักษณะดังข้างต้น แต่ Tag ปิดจะเพิ่ม Slash (/) หน้า Tag เท่านั้น ตัวอย่างเช่น คำสั่ง Heading ……………. ASP (Active Server Pages) เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นโดยไมโครซอฟท์ ทำหน้าที่เป็นส่วน ขยายของเว็บเซอร์ฟเวอร์ โดยใช้ลักษณะการทำงานของการสร้างภาษาสคริปต์ซึ่งทำงานอยู่บน เซอร์ฟเวอร์ (Server-side scripting environment) ซึ่งทำให้สามารถใช้งาน HTML Tag เซอร์ฟเวอร์ ไซต์สคริปต์ และ COM (Component Object Model) อ็อบเจ็คร่วมกัน เพื่อให้สามารถสร้างไดนามิก เว็บแอปพลิเคชั่นขึ้นได้โดยง่าย เช่น กรณีที่บราวเซอร์มีการเรียกใช้งานไฟล์ HTML ธรรมดา เว็บ เซอร์ฟเวอร์จะทำงานโดยการอ่านไฟล์ HTML จากตำแหน่งที่ระบุนั้นและส่งข้อมูลต่างๆ กลับไปยัง บราวเซอร์ สำหรับกรณีของการเรียกใช้งานไฟล์ ASP เว็บเซอร์ฟเวอร์จะทำการอ่านไฟล์จาก 15 ตำแหน่งที่ระบุไว้ และส่งไฟล์นั้นไปยัง ASP Engine (asp.dll) บนเซอร์ฟเวอร์ ASP Engine จะ ทำงานกับเซอร์ฟเวอร์สคริปต์ในไฟล์นั้นและส่งผลการทำงานซึ่งเป็นข้อมูลที่ใช้ในการสร้าง HTML กลับมายังเซอร์ฟเวอร์เพื่อส่งไปแสดงผลยังบราวเซอร์ต่อไปดังภาพที่ 2-6 ภาพที่ 2-6 แสดงการทำงานของ ASP Engine การเชื่อมต่อกับฐานข้อมูล 1. Open Database Connectivity (ODBC) ODBC เป็นมาตรฐานสากลที่พัฒนาขึ้นมาโดย ไมโครซอฟต์สำหรับการจัดการกับฐานข้อมูลแบบ Relational แนวคิดของ ODBC คือ ต้องการให้ แอปพลิเคชั่นเกี่ยวกับฐานข้อมูลสามารถทำงานได้กับฐานข้อมูลทุกประเภทผ่านการสนับสนุนของ ODBC โดยไม่ต้องใช้แอปพลิเคชั่นเชื่อมต่อกันโดยตรง แต่เนื่องจากการเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลแต่ ละชนิดมีรูปแบบแตกต่างกัน จึงจำเป็นต้องมีการสร้างมาตรฐานของการเชื่อมต่อฐานข้อมูลในแต่ละ ชนิด ให้สามารถเชื่อมต่อเข้ากับแอปพลิเคชั่นได้ง่าย การเชื่อมต่อดังกล่าวนี้ทำได้โดยใช้ ODBC ไดรเวอร์ ซึ่งเป็นไฟล์ .dll แต่จะเป็นชื่อไฟล์ใดนั้น ขึ้นอยู่กับชนิดของฐานข้อมูลที่ใช้งาน แอปพลิเคชั่นสามารถใช้งานกับแหล่งข้อมูลที่มีการเชื่อมโยง ผ่าน ODBC ไดรเวอร์นี้ได้อย่างง่ายๆ โดยระบุการเชื่อมต่อของ ODBC ไดรเวอร์ที่ต้องการ เพื่อส่ง SQL ผ่านไดรเวอร์ ไดรเวอร์จะทำหน้าที่แปลงภาษา SQL นั้น ไปเป็นโค้ดการทำงานเฉพาะของ 1. Brower เรียกใช้ไฟล์ ASP ของ Server 2. Server ส่งไฟล์ ASP ไปยัง ASP Engine Browser Server Server COM Objects 3. ASP Engine ทำงานกับ เซอร์ฟเวอร์ไซต์สคริปต์ 4. ASP Engine อาจมี การเรียกใช้ COM Objects 5. COM Objects ส่งผลลัพธ์กลับมา 6. ASP Engine ส่งผลลัพธ์เป็น HTML กลับไปยัง Server 7. Server ส่งผลลัพธ์เป็น HTML กลับไปยัง Browser 16 ฐานข้อมูลตามชนิดของไดรเวอร์และจะส่งผลลัพธ์จาก SQL ดังกล่าวกลับไปสู่แอปพลิเคชั่นโดย ผ่านไดรเวอร์เดียวกันนี้อีกครั้ง ภาพที่ 2-7 แสดงการทำงานของ ODBC 2. ActiveX Data Object (ADO) ADO เป็นเทคนิคที่ใช้ในการเชื่อมต่อเพื่อทำงานกับข้อมูล ทุกประเภท การใช้งานโดยพื้นฐานจะเป็นการทำงานกับระบบฐานข้อมูล Relational ผ่านไคลเอ็น แอปพลิเคชั่น เช่น Visual Basic หรือ Visual C++ สำหรับการใช้งานในลักษณะของ Active Server Pages จะเป็นการใช้งานโดยผ่านภาษาสคริปต์ต่างๆ เช่น VBScript หรือ Jscript ในการทำงานกับ ฐานข้อมูล ความยืดหยุ่นของ ASP, ADO ทำให้สามารถสร้างไคลเอ็นต์/เซอร์ฟเวอร์แอปพลิเคชั่นที่ ทำงานผ่านอินเตอร์เน็ตโดยไม่เจาะจงชนิดของบราวเซอร์ที่ใช้ได้ รูปแบบการใช้งานอย่างง่ายที่สุดของ ADO คือการเชื่อมต่อกับระบบฐานข้อมูลแบบ Relational ผ่าน ODBC โดยสามารถเชื่อมต่อกับแหล่งข้อมูลใดๆ ก็ได้ที่มีไดร์เวอร์ของ ODBC สนับสนุนอยู่ กล่าวคือไม่เพียงแต่ระบบฐานข้อมูลที่ใช้อยู่ในรูปแบบทั่วๆ ไป เช่น SQL Server, Oracle, Access แต่รวมถึงไฟล์สเปรดชี้ต เช่น Excel และไฟล์อื่นๆ อีกด้วย ADO Object Model ประกอบด้วยอ็อบเจ็คหลักที่ใช้ในการทำงานกับฐานข้อมูลอยู่สามอ็อบ เจ็คคือ Connections, Recordset และ Command และประกอบด้วยอ็อบเจ็คย่อยๆ อีกหลายอ็อบเจ็ค เช่น Parameters, Properties และ Errors สำหรับ 3 อ็อบเจ็คหลักของ ADO Object Model มี รายละเอียดดังนี้ 1. Connection Object เป็นอ็อบเจ็คที่สำคัญที่สุดซึ่งอยู่ครอบคลุม Command Object และ Recordset Object อีกชั้นหนึ่ง ใช้สร้างการเชื่อมต่อกับแหล่งข้อมูลต่างๆ ซึ่งโดยทั่วไปจะทำงานกับ Program ODBC Access SQL server Oracle ... 17 ฐานข้อมูล เมื่อมีการสร้าง Connection Object ขึ้นครั้งหนึ่ง จะสามารถนำอ็อบเจ็คนี้ไปใช้งานใน ส่วนต่างๆ ของแอปพลิเคชันที่เกี่ยวข้องกับการทำงานกับแหล่งข้อมูลนี้ได้ ตารางที่ 2-2 แสดงตัวอย่างเมธอดของ Connection Object Method Description Open เปิดการเชื่อมต่อใหม่กับแหล่งข้อมูล Close ปิดการเชื่อมต่อที่เปิดใช้งานอยู่ Execute ทำงานกับคิวรี คำสั่ง SQL หรือ Stored Procedure 2. Command Object ใช้ในการอ่านข้อมูลจากแหล่งข้อมูล (SELECT) ทำงานกับ SQL คิวรี หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูล (INSERT, UPDATE, DELETE) โดยคำสั่งที่ส่งไปทำงานกับ Command Object ที่สร้างขึ้นนี้จะอยู่ในรูปแบบของคำสั่ง SQL 3. Recordset Object ใช้ในการทำงานกับข้อมูลที่ถูกส่งกลับมาจากการทำงานของ SQL คิวรี Stored procedure หรือจากการเปิดตาราง ทั้งนี้ Recordset Object มักจะเป็นอ็อบเจ็คที่ถูกใช้งานมาก ที่สุดใน ADO โดยสามารถใช้งานได้ทั้งการเรียกค้น และการเปลี่ยนแปลงข้อมูลในฐานข้อมูล ซึ่ง อาจเป็นการค้นหาเฉพาะบางเรคอร์ดตามเงื่อนไข การเปิดดูทีละเรคอร์ด การลบเรคอร์ด การจำกัด การใช้งานของข้อมูลที่สำคัญต่อผู้ใช้เฉพาะกลุ่ม การเรียงลำดับเรคอร์ดตามลำดับตัวเลขหรือ ตัวอักษร และการอัปเดตเรคอร์ด ตัวอย่างการใช้งาน ADO Object set Conn = Server.CreateObject(“ADODB.Connection”) Conn.open “thesis”,”sa”,”admin” Set rs = Server.CreateObject(“ADODB.Recordset”) sql = “SELECT * FROM tbl_student” rs.open sql , Conn , 1, 3 rs.close Conn.close Connection, Command และ Recordset Object จะมีหมวดหมู่ของ Properties ซึ่งเป็น คุณสมบัติต่างๆ ของอ็อบเจ็ค นอกจากนั้น Connection Object ยังมีหมวดหมู่ของ Error Object ซึ่ง ใช้ในการจัดการกับข้อผิดพลาดต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับอ็อบเจ็คที่ใช้งาน โดย Error Object จะ ประกอบด้วยข้อมูลเกี่ยวกับหมายเลขของความผิดพลาด และข้อมูลของความผิดพลาด 18 2.2 ทฤษฎีความรู้เกี่ยวกับวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ (สุโขทัยธรรมาธิราช, 2537) ในการเรียนระดับบัณฑิตศึกษาในระดับปริญญาเอก และปริญญาโทแยกตามแผนการศึกษา ออกเป็น แผน ก. หรือแผนวิจัย นักศึกษาทุกคนจะต้องเสนอรายงานทางวิชาการชิ้นหนึ่งเรียกว่า “วิทยานิพนธ์” หรือ “ปริญญานิพนธ์” และสำหรับ แผน ข. จะต้องจัดทำเป็น “สารนิพนธ์” จึงจะทำให้สามารถจบการศึกษาได้ คำว่า “วิทยานิพนธ์” หรือ “ปริญญานิพนธ์” สำหรับในภาษาไทยใช้เหมือนกันไม่ว่าจะเป็น การศึกษาระดับปริญญาโท หรือปริญญาเอก แต่สำหรับภาษาอังกฤษนั้นใช้แตกต่างกัน คือ สำหรับ วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทใช้คำว่า “Thesis” ปริญญาเอกใช้คำว่า “Dissertation” ส่วนกรณีที่เป็น “สารนิพนธ์” จะใช้คำว่า “Master Project” ผู้เรียนระดับบัณฑิตศึกษาน้อยคนนักที่จะเข้าใจความแตกต่างระหว่างวิทยานิพนธ์ และสาร นิพนธ์ สำหรับวิทยานิพนธ์นั้นจะเน้นไปที่การศึกษาวิจัยและนำเสนอผลการวิจัยที่ได้มาซึ่งจะได้มา ซึ่งผลงานวิจัยที่แสดงความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในสาขาวิชาที่เลือกศึกษา โดยมีลักษณะ โดยรวมดังนี้ 1. เป็นเอกสารรายงานการค้นคว้าวิจัยหรือทดลอง เพื่อขอรับปริญญาโทหรือเอกแขนงวิชา ใดวิชาหนึ่ง หรือเป็นรายงานทางวิชาการในการค้นคว้าในแขนงวิชาใดวิชาหนึ่ง 2. รายงานนั้นจะต้องเป็นรายงานที่เกิดจากการค้นคว้าวิจัยอย่างเป็นระบบโดยวิธีการทาง วิทยาศาสตร์ โดยอาศัยการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล 3. รายงานนั้นจะต้องแสดงถึงสมรรถภาพเชิงวิชาชีพและวิชาการของผู้จัดทำนั้น 4. ผลจากการจัดทำหรือค้นคว้าของวิทยานิพนธ์จะทำให้เกิดความรู้ใหม่หรือแนวคิดใหม่ ในแขนงวิชาชีพนั้นๆ ส่วนสารนิพนธ์เป็นการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองในปัญหา หรือ เรื่องที่น่าสนใจโดย การเปิด โอกาสให้นักศึกษาได้ดำเนินการโครงการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ตามความสนใจของนักศึกษาอย่าง แท้จริง โดยมีจุดมุ่งเน้นประเด็นหลักๆ ดังนี้ 1. ให้นักศึกษาค้นคว้าและเรียนรู้จากประสบการณ์ ข้อมูลและกรณีศึกษา เพื่อเป็นการเพิ่ม วิสัยทัศน์ให้กว้างขวางขึ้น 2. มุ่งเน้นความรู้พื้นฐาน การศึกษาด้วยตนเอง และสามารถนำองค์ความรู้ดังกล่าวไป ประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล 3. มุ่งเน้นการศึกษาเพื่อจัดทำสารนิพนธ์ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์และสังเคราะห์ ความรู้เพื่อนำไปสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ 19 4. มุ่งเน้นการขยายโอกาสทางการศึกษาและเทคโนโลยี สร้างและพัฒนาบุคลากรทางด้าน ต่างๆ เพื่อสามารถนำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดผลในทางปฏิบัติ เนื่องจากแนวทางในการดำเนินงานที่แตกต่างกันเพียงเล็กน้อยของวิทยานิพนธ์และสาร นิพนธ์ และเพื่อป้องกันความสับสนที่อาจจะเกิดขึ้น จึงขอใช้คำว่าวิทยานิพนธ์ เพียงอย่างเดียวใน การกล่าวถึงทั้งวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ 2.2.1 ส่วนประกอบของวิทยานิพนธ์ ส่วนประกอบของวิทยานิพนธ์ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ ส่วนนำ ส่วนเนื้อหา ส่วนอ้างอิง หรือส่วนท้าย 1. ส่วนนำ ประกอบด้วย 1.1 ปกนอก 1.2 สันปก 1.3 กระดาษเปล่า 1.4 ใบรับรองวิทยานิพนธ์ 1.5 ปกใน 1.6 บทคัดย่อ 1.7 กิตติกรรมประกาศ 1.8 สารบัญ 1.9 สารบัญตาราง 1.10 สารบัญภาพ 1.11 คำอธิบายสัญลักษณ์และคำย่อ 2. ส่วนเนื้อหา ประกอบด้วย 2.1 บทนำ 2.2 ขั้นตอนการดำเนินงานวิจัย 2.3 สรุปผลและข้อเสนอแนะ 3. ส่วนอ้างอิงหรือส่วนท้าย ประกอบด้วย 3.1 บรรณานุกรม 3.2 ภาคผนวก 3.3 ประวัติผู้วิจัย สำหรับความอธิบายของแต่ละส่วนสามารถศึกษาเพิ่มได้จากคู่มือการทำวิทยานิพนธ์ของ บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 20 เวลาในการเริ่มทำวิทยานิพนธ์ เวลาในการเริ่มการทำวิทยานิพนธ์สามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ การเริ่มทำอย่างเป็น ทางการ และการเริ่มทำอย่างไม่เป็นทางการ 1. การเริ่มทำอย่างไม่เป็นทางการ เป็นการเริ่มคิดถึงเรื่องที่จำทำอย่างกว้างๆ ควรเริ่มตั้งแต่ เมื่อเข้าเรียนในระดับปริญญาโท ทั้งนี้ให้การเลือกวิชาหรือเลือกการทำรายงานเป็นไปในแนวทาง เดียวกันกับความสนใจของนักศึกษา เป็นการรวบรวมแนวคิดในเรื่องที่สนใจ เพื่อที่จะได้หัวข้อที่จะ ทำได้เฉพาะเจาะจงยิ่งขึ้นในการคิดเกี่ยวกับหัวข้อเรื่อง ที่จะทำวิทยานิพนธ์ 2. การเริ่มทำอย่างเป็นทางการ คือการลงทะเบียนเรียนวิทยานิพนธ์ (หรือสารนิพนธ์) แต่ละ สถาบันการศึกษาจะกำหนดเกณฑ์ในการลงทะเบียนของตน เช่น จำนวนหน่วยกิต ที่จะต้องเรียน ผ่านมาก่อน คะแนนเฉลี่ยหรือเวลาที่เรียนมา เป็นต้น การเลือกหัวข้อวิทยานิพนธ์ การวิจัยคือการแสวงหาคำตอบเพื่อเป็นข้อมูลการพัฒนาระบบ แต่การวิจัยของนักศึกษาระดับ บัณฑิตศึกษาสำหรับการทำวิทยานิพนธ์โดยทั่วไปจะเจาะจงเรื่องราวปัญหาทางการศึกษาที่เกี่ยวข้อง กับความคาดหวังและคำอธิบายที่เป็นความเชื่อของนักศึกษาเองในสิ่งที่นักศึกษาสังเกตและสามารถ อธิบายได้ด้วยตัวนักศึกษาเองหรือหัวข้อวิทยานิพนธ์ที่นักศึกษาเลือก โดยส่วนมากพบว่า นักศึกษา บัณฑิตศึกษามีแนวโน้มสนใจที่จะทำวิทยานิพนธ์ในปัญหาต่างๆ ต่อไปนี้ 1. วิจัยเพื่อการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์การศึกษา 2. วิจัยการจัดระบบการเรียนการสอนที่เหมาะสม 3. วิจัยการใช้พฤติกรรมศาสตร์ในระบบการเรียนการสอน 4. วิจัยเพื่อการพัฒนาระบบการเรียนการสอนรายบุคคล 5. วิจัยเพื่อนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในระบบการเรียนการสอน 6. วิจัยเพื่อพัฒนาชุดการสอน 7. วิจัยเพื่อการพัฒนาระบบการศึกษาทางไกล 8. วิจัยสื่อเพื่อการศึกษานอกโรงเรียน 9. วิจัยและพัฒนาระบบเครือข่ายและดาวเทียมเพื่อการศึกษา 10. วิจัยเพื่อพัฒนาระบบสารนิเทศการศึกษา 11. วิจัยสภาพแวดล้อมทางการเรียนการสอน 12. วิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพสื่อต้นแบบ 13. วิจัยการบริการและบริหารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา 21 14. วิจัยเพื่อพัฒนาระบบการเรียนการสอน 15. วิจัยเพื่อประเมินระบบการเรียนการสอน 2.2.2 ปัญหาในการทำวิทยานิพนธ์ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาจำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถเรียนจบภายในระยะเวลาที่กำหนด ไว้ด้วยสาเหตุสำคัญคือ ไม่สามารถจัดทำวิทยานิพนธ์ภายในเวลาที่กำหนดหรือไม่ได้ดำเนินการตาม ขั้นตอนต่างๆ ที่กำหนดไว้ ทั้งนี้หากสรุปปัญหาสำคัญๆ ในการทำวิทยานิพนธ์จะได้ดังนี้ 1. ปัญหาในการกำหนดเรื่องหรือหัวข้อ 2. ปัญหาในการกำหนดขอบเขตขอหัวข้อ 3. ปัญหาในการกำหนดรูปแบบการดำเนินงาน 4. ปัญหาในการดำเนินการเกี่ยวกับข้อมูล 5. ปัญหาในการจัดทำเอกสาร 6. ปัญหาในการทำอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องต่างๆ เช่น ซอฟท์แวร์และฮาร์ดแวร์ ปัญหาในการกำหนดเรื่องหรือหัวข้อ ปัญหาในการเลือกหัวข้อโดยทั่วไปมักจะเกี่ยวข้องกับ 5 ปัจจัยดังนี้ 1. ความคาดหวังไม่ตรงกันของอาจารย์ที่ปรึกษาและนักศึกษาถึงคุณค่าการวิจัยของ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา เช่น นักศึกษามีคาดหวังว่าทำการวิจัยเพื่อให้เกิดความเข้าในในเรื่อง นั้นๆ แต่อาจารย์ที่ควบคุมวิทยานิพนธ์หวังที่จะเห็นวิทยานิพนธ์สามารถมีส่วนช่วยในการแก้ไข ปัญหาการศึกษาของท้องถิ่นหรือระดับชาติได้ 2. นักศึกษาส่วนมากมักไม่เห็นปัญหาอะไรที่สำคัญพอที่จะวิจัย การอ่านวรรณกรรมและ ข้อเสนอแนะงานวิจัยที่ผ่านมาจะเป็นปัญหาสำคัญที่จะนำมากำหนดหัวข้อวิทยานิพนธ์เนื่องจาก ประสบการณ์วิจัยและวิชาชีพของนักศึกษาส่วนมากมีน้อยจึงจำเป็นที่จะต้องค้นคว้าอ่านวรรณกรรม ที่เกี่ยวข้องให้มากพอที่จะได้หัวข้อวิทยานิพนธ์ที่ต้องการ 3. การคิดการใหญ่ในการทำวิทยานิพนธ์ หรือวิทยานิพนธ์ที่เลือกหัวข้อใช้เวลาทำการวิจัย นานเกินกว่าที่หลักสูตรกำหนดไว้ 4. ประการสำคัญผู้ที่ด้อยประสบการณ์ในวิชาชีพเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษามักจะไม่ สามารถทำวิทยานิพนธ์ให้สมบูรณ์ตามกำหนดเวลาการเรียนของหลักสูตรมหาบัณฑิต ทั้งนี้ นักศึกษาสามารถแสวงหาได้โดยการลงมือทำหรือประกอบอาชีพเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา หรือการอ่านก็เป็นประสบการณ์ซึ่งถ้าจะให้ดีการแสวงหาประสบการณ์โดยการอ่านและนำไป 22 ประยุกต์ใช้ในงานที่ตนปฏิบัติจะเป็นประสบการณ์ตรงที่ทุ่นเวลาและค่าใช้จ่ายในการลองผิดลองถูก มากขึ้น 5. ไม่รู้ว่าตนเองสนใจเรื่องใด นักศึกษาส่วนใหญ่แสวงหาหัวข้อวิทยานิพนธ์ได้ช้าเนื่องจาก สับสนไม่ทราบว่าตนเองสนใจเรื่องใด และเป็นความในใจที่แท้จริงหรือไม่ หลังจากได้เรื่องหรือหัวข้อในการทำวิทยานิพนธ์แล้ว หัวข้อที่ได้มาถือว่ามีความสำคัญมาก เพราะเรื่องหรือหัวข้อสามารถจะกำหนดขอบข่าย หรือแนวทางในการทำวิทยานิพนธ์ได้ เพราะจาก หัวข้อเรื่องนักศึกษาจะต้องนำไปกำหนดขอบข่ายของปัญหา บางหัวข้ออาจจะกว้างจนเกินไปจน ผู้วิจัยไม่สามารถกำหนดขอบข่ายของปัญหาได้ หรือในบางหัวข้อแคบเฉพาะเกินไปจนไม่สามารถ จะยอมรับให้เป็นวิทยานิพนธ์มีดังนี้ 1. หัวข้อกว้างเกินไปจนไม่สามารถทำการวิจัยได้ครอบคลุมปัญหาทุกประเด็นในหัวข้อได้ 2. หัวข้อแคบเกินไป 3. หัวข้อหรือเรื่องที่สามารถรู้คำตอบได้โดยไม่ต้องวิจัย 4. หัวข้อหรือเรื่องซ้ำซ้อนกับเรื่องที่มีผู้ทำการวิจัยมาแล้ว ปัญหาในการกำหนดขอบเขตของหัวข้อ เมื่อได้หัวข้อวิทยานิพนธ์หรือหัวข้อการวิจัยแล้ว นักศึกษาจะต้องกำหนดขอบข่ายของการ วิจัยให้เหมาะสม โดยพิจารณาจากเวลา งบประมาณ และข้อมูลที่ต้องใช้ แต่ที่เป็นปัญหาคือผู้วิจัย บางคนอาจจะกำหนดขอบข่ายการวิจัยกว้างหรือเฉพาะเกินไป ปัญหาในการกำหนดรูปแบบการดำเนินงาน ปัญหาในประเด็นนี้คือ ปัญหาในการกำหนดกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือในการดำเนินงาน การใช้ สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้สามารถตอบสมมติฐาน หรือสนองตอบต่อวัตถุประสงค์ของการ วิจัย เช่น การกำหนดกลุ่มตัวอย่างที่มีจำนวนมากหรือน้อยเกินไป การกำหนดกลุ่มตัวอย่างไม่ สามารถให้ข้อมูลที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย การกำหนดสถิติที่ไม่สอดคล้องกับ ธรรมชาติของข้อมูล หรือตอบสนองต่อวัตถุประสงค์และสมมติฐานของการวิจัย เป็นต้น ปัญหาในการดำเนินการเกี่ยวกับข้อมูล ปัญหาด้านนี้ ได้แก่ ปัญหาในการแปลงผลจากแบบสำรวจหรือแบบสอบถามมาเป็นตัวเลข เนื่องจากแบบสอบถามไม่ได้ออกแบบสำหรับการแปลง ปัญหาในการจัดกลุ่มคะแนน ปัญหาในการ กำหนดวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าสถิติต่างๆ เพื่อเป็นการตอบคำถามที่เป็นสมมติฐานหรือ วัตถุประสงค์ของการวิจัย 23 ปัญหาในการจัดทำเอกสาร ปัญหาในการจัดทำเอกสารหรือการเขียนวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์นั้นอาจจะเนื่องมาจากการ ไม่มีเวลาเพียงพอ การขาดความชำนาญหรือทักษะในการเรียนเชิงวิชาการ การไม่ทราบจุดเริ่มต้น การจับจุดหรือประเด็นหลักของเขียนไม่ถูก เป็นต้น ปัญหาในการทำอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องต่างๆ เช่น ซอฟท์แวร์และฮาร์ดแวร์ ปัญหาส่วนนี้เกิดจากประสบการณ์และความรู้ความสามารถของนักศึกษาเองในการ ดำเนินงาน ซึ่งบางครั้งต้องเสียเวลาในการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการลองผิดลอง ถูกเองทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะเวลา หากต้องใช้ระยะเวลามากก็ควรปรึกษาและขอความช่วยเหลือจาก ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่เกี่ยวข้องนั้นๆ เพื่อให้วิทยานิพนธ์สามารถดำเนินการต่อได้ ปัญหาที่ยกมาข้างต้นเป็นแต่เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น นอกจากนี้อาจจะมีปัญหาอื่นๆ อีก เช่น การขาดเอกสารอ้างอิงหรือค้นคว้า การขาดเครื่องมือ หรือเครื่องอำนวยความสะดวกในการเก็บและ วิเคราะห์ข้อมูล การขาดงบประมาณในการดำเนินการ เป็นต้น แนวทางในการแก้ไขปัญหา การแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องนั้น จะต้องหาสาเหตุของปัญหาให้พบว่าเนื่องมาจากอะไร แล้วจึง ลงมือที่จะแก้ไขปัญหานั้นๆ จากสาเหตุที่เกิดขึ้น แนวทางต่อไปนี้เป็นข้อเสนอแนะเบื้องต้น บางส่วนเท่านั้นได้แก่ 1. ควรเริ่มกำหนดแนวทางในการดำเนินงาน โดยกำหนดขอบข่ายที่สนใจในหัวข้อ หรือหัว เรื่องที่จะทำให้เร็วที่สุดเท่าที่จะกระทำได้ 2. เข้าพบขอคำปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษาอย่างสม่ำเสมอตามระยะเวลาที่กำหนด 3. พยายามทำงานอย่างมีระบบและขั้นตอนต่างๆ 4. จัดตาราง หรือวางแผนการจัดทำวิยานิพนธ์อย่างมีขั้นตอน และกำหนดเป้าหมายของงาน ให้แน่ชัด และพยายามทำตามขั้นตอนนั้นๆ ให้มากที่สุด หากจะสรุปปัญหาใหญ่ในการทำวิทยานิพนธ์นั้น ส่วนใหญ่จะมีสาเหตุที่สำคัญอยู่ 3 ประการ คือ 1. ปัญหาเรื่องเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักศึกษาที่เรียนในขณะทำงานจะต้องสามารถบริหาร เวลาให้ได้ 2. ขาดการติดต่อกับอาจารย์ที่ปรึกษา 3. การกำหนดข้อมูลหรือแหล่งข้อมูลไม่แน่ชัด 24 ขั้นตอนการจัดทำวิทยานิพนธ์ (บัณฑิตวิทยาลัย, 2544: 5-7) 1. การสอบหัวข้อวิทยานิพนธ์ ภาพที่ 2-8 ขั้นตอนการสอบหัวข้อวิทยานิพนธ์ นักศึกษายื่นคำร้องขอเสนอโครงการวิทยานิพนธ์ (บว.01) พร้อมโครงการวิทยานิพนธ์ (บว.51) และคำร้องขออนุมัติแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ (บว.02) บัณฑิตวิทยาลัย - ส่งใบประเมินผลการสอบหัวข้อวิทยานิพนธ์ให้ประธานคณะกรรมการสอบ - ประชาสัมพันธ์กำหนดวัน เวลา และสถานที่สอบให้ผู้สนใจเข้าฟัง ไม่ผ่าน เสนอโครงการวิทยานิพนธ์ใหม่ และสอบหัวข้อวิทยานิพนธ์ใหม่ บัณฑิตวิทยาลัยประกาศอนุมัติหัวข้อวิทยานิพนธ์ นักศึกษาดำเนินการสอบ ประธานคณะกรรมการสอบแจ้งผลการสอบมายังบัณฑิตวิทยาลัย ผ่านโดยมีเงื่อนไข ผ่าน นักศึกษายื่นคำร้องขอส่งโครงการ วิทยานิพนธ์ฉบับแก้ไข (บว.10) ให้ บัณฑิตวิทยาลัย ภายใน 30 วัน นับ ตั้งแต่วันที่สอบหัวข้อวิทยานิพนธ์ นักศึกษาดำเนินการจัดทำวิทยานิพนธ์ บัณฑิตวิทยาลัยตรวจสอบและอนุมัติโครงการวิทยานิพนธ์ นักศึกษายื่นคำร้องขอสอบหัวข้อวิทยานิพนธ์ (บว.03) พร้อมโครงการย่อ (บว.53) ภายใน 30 วัน 25 2. การสอบก้าวหน้าวิทยานิพนธ์ ภาพที่ 2-9 ขั้นตอนการสอบก้าวหน้าวิทยานิพนธ์ บัณฑิตวิทยาลัย - ส่งใบประเมินผลการสอบก้าวหน้าวิทยานิพนธ์ให้ประธานคณะกรรมการสอบ - ประชาสัมพันธ์กำหนดวัน เวลา และสถานที่สอบให้ผู้สนใจเข้าฟัง นักศึกษายื่นคำร้องขอสอบก้าวหน้าวิทยานิพนธ์ (บว.04) พร้อมโครงการย่อ (บว.03) และต้องได้รับอนุมัติหัวข้อวิทยานิพนธ์แล้วไม่น้อยกว่า - 120 วัน สำหรับปริญญาโท แบบ ก (1) - 60 วัน สำหรับปริญญาโท แบบ ก (2) - 365 วัน สำหรับปริญญาเอก แบบ 1 - 183 วัน สำหรับปริญญาเอก แบบ 2 นักศึกษาดำเนินการสอบ ประธานคณะกรรมการสอบแจ้งผลการสอบมายังบัณฑิตวิทยาลัย ผ่านโดยมีเงื่อนไข ผ่าน ดำเนินการแก้ไขตามความเห็นของ คณะกรรมการ นักศึกษาดำเนินการจัดทำวิทยานิพนธ์ 26 3. การสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ ภาพที่ 2-10 ขั้นตอนการสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ บัณฑิตวิทยาลัยเสนอคณบดีลงนาม - นักศึกษายื่นคำร้องขอเสนอโครงการวิทยานิพนธ์ (บว.05) พร้อมโครงร่างย่อ (บว.53) แผนการเรียน (บว.54) พร้อมวิทยานิพนธ์ฉบับร่าง - นักศึกษาต้องเรียนรายวิชาครบ เกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 - ได้รับอนุมัติหัวข้อวิทยานิพนธ์แล้วไม่น้อยกว่า - 240 วัน สำหรับปริญญาโท แบบ ก (1) - 120 วัน สำหรับปริญญาโท แบบ ก (2) - 730 วัน สำหรับปริญญาเอก แบบ 1 - 365 วัน สำหรับปริญญาเอก แบบ 2 - นักศึกษาให้คณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และหัวหน้าภาคลงนามให้ความเห็นชอบ พร้อมเสนอ ชื่อผู้แทนบัณฑิตวิทยาลัยก่อนเสนอบัณฑิตวิทยาลัย บัณฑิตวิทยาลัย - ส่งใบประเมินผลการสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ให้ประธานคณะกรรมการสอบ - ประชาสัมพันธ์กำหนดวัน เวลา และสถานที่สอบให้ผู้สนใจเข้าฟัง ไม่ผ่าน เริ่มดำเนินการตามขั้นตอนการจัดทำวิทยานิพนธ์ใหม่พร้อมทั้งลงทะเบียน วิทยานิพนธ์ นักศึกษาจัดส่งวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์จำนวน 6 เล่ม บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ อย่างละ 3 ชุด พร้อมแผ่น Diskette ( บทคัดย่อ) นักศึกษาดำเนินการสอบ ประธานคณะกรรมการสอบแจ้งผลการสอบมายังบัณฑิตวิทยาลัย ผ่านโดยมีเงื่อนไข ผ่าน ดำเนินการแก้ไขให้แล้วเสร็จ บัณฑิตวิทยาลัยตรวจสอบ และแต่งตั้งคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ 27 ขั้นตอนการจัดทำสารนิพนธ์ (คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ, 2546) 1. การสอบหัวข้อและโครงร่างสารนิพนธ์ ภาพที่ 2-11 ขั้นตอนการสอบหัวข้อและโครงร่างสารนิพนธ์ นักศึกษาลงทะเบียนเรียนสารนิพนธ์ และเรียนรายวิชามาแล้ว ไม่ต่ำกว่า 18 หน่วยกิต ได้คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00 นักศึกษาเสนอหัวข้อและโครงร่างสารนิพนธ์ต่อภาควิชา เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ นักศึกษาต้องยื่น ทส.01 (จำนวน 1 ชุด) และ ทส.02 (โครงงานสารนิพนธ์ – จำนวน 5 ชุด) ก่อนวันสอบ 5 วันทำการ สอบกลั่นกรองสารนิพนธ์ที่คณะ นักศึกษาต้องเตรียมสื่อการนำเสนอ เช่น PowerPoint, แผ่นใส เพื่อใช้ประกอบการนำเสนอ แก้ไขตามคำแนะนำของประธานและกรรมการสอบกลั่นกรอง ประธานหรือกรรมการสอบกลั่นกรองตรวจสอบความถูกต้อง พร้อมลงนาม ใบรับรองผลการสอบ (นักศึกษายื่นโครงร่างที่ผ่านการตรวจสอบแล้วให้คณะ 1 ชุด) นักศึกษายื่นคำร้องขออนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาสารนิพนธ์ (บว.02) พร้อมโครงร่างสารนิพนธ์จำนวน 1 ชุด ที่บัณฑิตวิทยาลัย บัณฑิตวิทยาลัยอนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาเรียบร้อยแล้ว นักศึกษา ดำเนินการสอบหัวข้อสารนิพนธ์ภายใน 30 วัน นับแต่วันเสนอหัวข้อ (ยื่นขอสอบ หัวข้อกับกรรมการที่ปรึกษาสารนิพนธ์ ทส.03 และ บว.53 จำนวน 5 ชุด) ยื่นก่อน สอบ 5 วันทำการ บัณฑิตวิทยาลัยประกาศอนุมัติหัวข้อสารนิพนธ์ นักศึกษาดำเนินการจัดทำสารนิพนธ์ การเปลี่ยนแปลงใดๆ เกี่ยวกับหัวข้อ และโครงร่างสารนิพนธ์ที่ได้รับอนุมัติ แล้ว หากเป็นการเปลี่ยนแปลงเรื่อง หรือสาระสำคัญของสารนิพนธ์ นักศึกษาต้องปฏิบัติเสมือนการยื่นขอ อนุมัติหัวข้อและโครงร่างสารนิพนธ์ ใหม่ 28 2. การสอบป้องกันสารนิพนธ์ ภาพที่ 2-12 ขั้นตอนการสอบป้องกันสารนิพนธ์ นักศึกษายื่นคำร้องขอสอบป้องกันสารนิพนธ์ (บว.05) โครงร่างย่อ (บว.53) และแผนการเรียน (บว.55) และสารนิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ (ปกอ่อน) ก่อนกำหนดวันสอบ 10 วันทำการ - ได้คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00 - ได้รับอนุมัติหัวข้อและโครงร่างสารนิพนธ์แล้วไม่น้อยกว่า 45 วัน - นักศึกษาให้คณะกรรมการที่ปรึกษาสารนิพนธ์ และหัวหน้าภาคลงนามให้ความเห็นชอบ พร้อมเสนอ ชื่อผู้แทนบัณฑิตวิทยาลัย บัณฑิตวิทยาลัย - ส่งใบประเมินผลการสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ให้ประธานคณะกรรมการสอบ - ประชาสัมพันธ์กำหนดวัน เวลา และสถานที่สอบให้ผู้สนใจเข้าฟัง ไม่ผ่าน นักศึกษาต้องปฏิบัติเสมือนการยื่นขอ อนุมัติหัวข้อและโครงร่างสารนิพนธ์ ใหม่ นักศึกษาเสนอเล่มสารนิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ ที่มีลายมือชื่อคณะกรรมการสอบ ครบถ้วนทุกคน เพื่อเสนอคณะบดีบัณฑิตวิทยาลัยลงนามอนุมัติ นักศึกษาดำเนินการสอบ ประธานคณะกรรมการสอบแจ้งผลการสอบมายังบัณฑิตวิทยาลัย ภายใน 3 วัน ผ่านโดยมีเงื่อนไข ผ่าน ดำเนินการแก้ไขให้แล้วเสร็จ นักศึกษาส่งเล่มสารนิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ พร้อมเข้าเล่มปกแข็งสีเทาอ่อน ตัวอักษรปกพิมพ์ด้วยตัวอักษรสีทองจำนวน 3 เล่ม ให้บัณฑิตวิทยาลัย บัณฑิตวิทยาลัยตรวจสอบ และแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสารนิพนธ์ 29 การพิจารณาวิทยานิพนธ์ การพิจารณา หมายถึง การตรวจตรา ตรึกตรอง ตรวจสอบ ส่วนวิทยานิพนธ์เป็นรายงาน ผลการวิจัยที่ได้ทำไปแล้ว ดังนั้นการพิจารณาวิทยานิพนธ์จึงหมายถึงการตรวจตรา ตรึกตรอง ตรวจสอบความถูกต้องของวิทยานิพนธ์ก่อนเสนอวิทยานิพนธ์ต่ออาจารย์ที่ปรึกษา สำหรับในเรื่องนี้จะกล่าวถึงแนวคิดเกี่ยวกับการพิจารณาวิทยานิพนธ์ใน 5 ประเด็นคือ 1. วัตถุประสงค์ในการพิจารณาวิทยานิพนธ์ 2. เมื่อใดที่ควรจะพิจารณา 3. ส่วนใดของวิทยานิพนธ์ที่ต้องพิจารณา 4. ในแต่ละส่วน มีอะไรบ้างที่ต้องพิจารณา 5. จะพิจารณาวิทยานิพนธ์ได้อย่างไร วัตถุประสงค์ในการพิจารณาวิทยานิพนธ์ การพิจารณาวิทยานิพนธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของวิทยานิพนธ์ โดยมี เหตุผลของการพิจารณาวิทยานิพนธ์ที่สำคัญมี 4 เรื่อง คือ ความเป็นมาและความสำคัญของเรื่องที่ จะทำวิทยานิพนธ์ ความรอบรู้ในเนื้อหาที่ทำ ความรอบรู้ในวิธีการดำเนินการวิจัย และการวิเคราะห์ และสรุปผลข้อค้นพบจากการวิจัย แนวการพิจารณาในแต่ละเรื่องมีดังต่อไปนี้ 1. ควรทำวิทยานิพนธ์เรื่องนั้นหรือไม่ การพิจารณาว่าเรื่องนั้นควรทำหรือไม่ อาจพิจารณา จากหลักการต่อไปนี้ 1.1 ประโยชน์ที่จะได้รับจากผลการวิจัยว่ามีประโยชน์ทางวิชาการมากน้อยเพียงใด หรือ มีประโยชน์ต่อการนำไปประยุกต์ใช้ในการกำหนดนโยบาย หรือเปลี่ยนแปลงวิธีการปฏิบัติงานจาก เดิมไปมากน้อยเพียงใด 1.2 ปัญหาของการวิจัย ควรมีลักษณะดังนี้ เช่น เป็นปัญหาที่ยังไม่มีคำตอบ หรือมีคำตอบ บ้างแล้ว แต่จำนวนน้อยจนไม่สามารถสรุปได้หรือมีคำตอบจำนวนมากแล้ว แต่คำตอบเหล่านั้น สรุปได้ไม่ตรงกัน เป็นปัญหาที่ซ้ำกับวิทยานิพนธ์ที่ผ่านมา แต่ต้องการวิจัยซ้ำ นักศึกษาต้องมี เหตุผลเพียงพอที่จะวิจัยซ้ำอีก เช่น มีการศึกษาแนวโน้มอย่างต่อเนื่อง หรือมีการเปลี่ยนเครื่องมือ หรือวิธีการวิจัยใหม่ 2. มีความรอบรู้ในเรื่องที่จะทำวิทยานิพนธ์มากน้อยเพียงใด สามารถพิจารณาได้จากการ ประมวลความรอบรู้ใน “เอกสารที่เกี่ยวข้อง” โดยต้องอาศัยความรอบรู้อย่างกว้างขวางตลอดจน ความรอบรู้ของนักศึกษาเองด้วย 3. วิธีดำเนินการวิจัยเหมาะสมหรือไม่ นอกจากจะมีความรอบรู้ในเรื่องที่จะทำวิทยานิพนธ์ แล้ว ยังต้องมีความรอบรู้ในวิธีการวิจัยเชิงทดลอง การวิจัยเชิงพรรณนา การวิจัยเชิงคุณภาพด้วย เช่น 30 การเลือกกลุ่มตัวอย่าง การใช้เครื่องมือสำหรับการวิจัยและดำเนินงาน การออกแบบการวิจัยและการ ดำเนินงาน สถิติต่างๆ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล และทดสอบสมมติฐาน 4. วิเคราะห์และสรุปผลถูกต้องหรือไม่ หลังจากรวบรวมข้อมูลมาแล้วผู้วิจัยจะวิเคราะห์ ข้อมูลอย่างไร แปลความหมายจากข้อมูลที่ได้อย่างไร จะเสนอผลการวิเคราะห์ด้วยวิธีการบรรยาย ด้วยตาราง ด้วยภาพ หรือใช้หลายรูปแบบร่วมกัน และผลการวิจัยจะต้องตอบปัญหาที่สอดคล้องกับ วัตถุประสงค์ สอดคล้องกับสมมติฐานของการวิจัย พร้อมการอภิปรายว่า ทำไมผลการศึกษาจึงเป็น เช่นนั้น และผลการศึกษาครั้งนี้เหมือนหรือต่างกับผลการศึกษาในอดีตอย่างไร ทำไมจึงต่างจาก ผลการวิจัยในอดีต เมื่อใดที่ควรจะพิจารณา วิทยานิพนธ์ควรพิจารณาก่อนเสนอผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ควบคุมวิทยานิพนธ์ ส่วนใดของวิทยานิพนธ์ที่ต้องพิจารณา ในความเป็นจริงนักศึกษาควรที่จะต้องพิจารณาทั้งหมด และหากพิจารณาถึงองค์ประกอบ ของวิทยานิพนธ์แล้ว วิทยานิพนธ์จะประกอบด้วยส่วนต่างๆ 3 ส่วน คือ ส่วนหน้า ส่วนเนื้อความ และส่วนท้าย ในแต่ละส่วนมีสาระ ดังตารางที่ 2-3 ในแต่ละส่วน มีอะไรบ้างที่ต้องพิจารณา หากพิจารณาจากองค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนของวิทยานิพนธ์ สาระที่ต้องพิจารณา ได้แก่ สาระ ในแต่ละส่วน ดังในช่องสาระจากตารางที่ 2.1 เช่น ส่วนเนื้อความ จะพิจารณาใน 7 ประเด็น ต่อไปนี้ 1. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา 2. วัตถุประสงค์ของการวิจัย 3. ขอบเขตของการวิจัย 4. สมมติฐานการวิจัย (ถ้ามี) 5. ข้อตกลงเบื้องต้น (ถ้ามี) 6. นิยามศัพท์ (ถ้ามี) 7. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ จะพิจารณาวิทยานิพนธ์ได้อย่างไร การพิจารณาวิทยานิพนธ์กระทำได้ 3 รูปแบบ ได้แก่ 1. ให้อาจารย์ที่ปรึกษาเป็นผู้พิจารณา 2. ผู้ทำวิทยานิพนธ์เป็นผู้พิจารณาวิทยานิพนธ์ ด้วยแนวทางการพิจารณาวิทยานิพนธ์ตามที่ ได้กำหนดไว้ 31 ตารางที่ 2-3 แสดงภาคและสาระของวิทยานิพนธ์ องค์ประกอบ สาระ ส่วนหน้า ส่วนเนื้อความ ส่วนท้าย 1. ปกนอก 2. สันปก 3. ปกใน 4. หน้าอนุมัติ 5. บทคัดย่อ 6. กิตติกรรมประกาศ 7. สารบัญ 8. สารบัญตาราง 9. สารบัญภาพ 10. บทที่ 1 บทนำ 10.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา 10.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย 10.3 ขอบเขตของการวิจัย 10.4 สมมติฐานการวิจัย (ถ้ามี) 10.5 ข้อตกลงเบื้องต้น (ถ้ามี) 10.6 นิยามศัพท์ (ถ้ามี) 10.7 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 11. บทที่ 2 วรรณกรรมหรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 12. บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย 12.1 กลุ่มตัวอย่าง ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง วิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่าง 12.2 แบบแผนการวิจัย 12.3 เครื่องมือ วิธีการสร้างเครื่องมือ และวิธีทดสอบคุณภาพของเครื่องมือ 12.4 วิธีการรวบรวมข้อมูล 12.5 วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล สถิติ และวิธีการเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล 13. บทที่ 4 ผลการวิจัย 14. บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ 15. บรรณานุกรม ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 16. ภาคผนวก รายละเอียด หรือตัวอย่าง เครื่องมือ และข้อมูล 17. ประวัติผู้วิจัย 32 3. ผู้ทำวิทยานิพนธ์เป็นผู้พิจารณาวิทยานิพนธ์ เบื้องต้นด้วยแนวทางการพิจารณา วิทยานิพนธ์ตามที่กำหนด แล้วให้อาจารย์ที่ปรึกษาพิจารณาต่ออีกครั้ง สำหรับการทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือหาก นักศึกษาต้องการสร้างความเชี่ยวชาญต่อตนเองและบรรเทาภาระของอาจารย์ที่ปรึกษา ควรใช้ รูปแบบที่ 3 ในการพิจารณาวิทยานิพนธ์ของตนเอง วิธีการดำเนินการก่อนนำเสนอโครงการวิจัย ก่อนนำเสนอโครงการวิจัย สิ่งที่นักศึกษาพึงปฏิบัติก็คือ 1. ส่งโครงการที่จัดทำเรียบร้อยแล้วล่วงหน้าให้แก่คณะกรรมการ และตกลงนัดวันสอบ ป้องกันโครงการ 2. เตรียมตนเอง สำหรับการเสนอโครงการ ได้แก่ 2.1 ทบทวนโครงการทั้งหมดให้ขึ้นใจ โดยเฉพาะ 3 ส่วนแรกของโครงการ คือ ประเด็น ปัญหาของผู้วิจัย วรรณกรรมที่จำเป็นและเกี่ยวข้อง และการดำเนินการวิจัยที่เป็นรายละเอียด 2.2 ทำโน้ตย่อสำหรับเสนอตามลำดับหัวข้อเป็นการเตรียมไว้ในกรณีที่คณะกรรมการ อาจเริ่มการพิจารณาด้วยการให้ผู้เสนอกล่าวโครงการทั้งหมดก่อนอย่างสังเขป 2.3 ซ้อมการนำเสนอ อาจกระทำเองหรือกับเพื่อนทั้งในลักษณะที่คณะกรรมการให้ พรรณนาก่อนโดยสังเขปหรือในลักษณะที่คณะกรรมการเริ่มด้วยการตั้งคำถามทันทีโดยถือว่าทุก คนได้อ่านล่วงหน้ามาแล้ว 2.4 ประเมินการซ้อมเสนอปรับปรุงวิธีการ สื่อ การตอบคำถาม ศึกษาเพิ่มเติมในสิ่งที่ พิจารณาเห็นว่าจะปรับปรุงให้การเสนอมีประสิทธิภาพ 2.5 ก่อนเวลาการเสนอจะเมื่อใดก็ตาม ควรได้มีการติดตั้งเครื่องมือ และสื่อทดสอบ ความพร้อมไว้ให้เรียบร้อยเพื่อความราบรื่น และประหยัดเวลาในการนำเสนอ วิธีการขณะนำเสนอโครงการวิจัย วิธีการขณะนำเสนอโครงการอาจแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ดังนี้ 1. ขั้นแนะนำหรืออารัมภบท ขั้นแนะนำเป็นขั้นเริ่มต้นอย่างเป็นพิธีการโดยมีความมุ่งหมายจะให้คณะกรรมการได้รู้จัก ผู้นำโครงการวิจัย หัวข้อการวิจัยที่เขาจะเสนอและการเปิดโอกาสให้รับทราบและซักถาม โครงการวิจัยที่ผู้เสนอนำมาเสนอ 33 ขั้นนี้เป็นขั้นที่นักศึกษาจะปรากฏตัวต่อที่ประชุม ด้วยบุคลิกภาพและท่าทางการแต่งกาย การเสนอเป็นครั้งแรกให้เป็นที่ประทับใจและเหมาะสมสำหรับบรรยากาศทางวิชาการ ประธานกรรมการมักจะเริ่มด้วยการขอให้ผู้เสนอแนะนำตนเองและงานที่จะเสนอ แล้วเปิด โอกาสให้คณะกรรมการเริ่มซักถามหรือให้กล่าวถึงเค้าโครงโดยสังเขปตามระยะเวลาที่เหมาะสม เป็นการเริ่มเข้าสู่ขั้นตอนต่อไป 2. ขั้นเสนอและซักถาม สำหรับนักศึกษาต้องคอยดูว่าคณะกรรมการจะต้องการอย่างไร เช่น จะให้พรรณนาถึง โครงการอย่างสังเขป หรือเริ่มซักถามด้วยคำถามง่ายๆ ว่า ทำไมจึงคิดทำวิจัยเรื่องนี้ แล้วก็เข้า รายละเอียดไป ซึ่งในการอธิบายให้นักศึกษาตอบหรืออธิบายไปตามประเด็นที่ถาม และถ้าหากมี ข้อความ กราฟิก หรือตัวอย่างวัสดุสำหรับทราบ หรือเพิ่มเติมได้ก็จะทำให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ในการตอบคำถามจะต้องให้อยู่ในประเด็น สำคัญอยู่ที่ว่าพยายามจับประเด็นของทุกคำถาม ให้ได้ ใจเย็น ไม่สับสนตอบให้ชัดเจน และตรงคำถามเสมอ บางครั้งกรรมการอาจให้แง่คิดในการปรับปรุง หรือศึกษาเพิ่มเติม หรือส่วนที่เป็นประเด็น ปัญหาที่ต้องการพิจารณา หรือข้อเสนอแนะบางประการ ควรจดเป็นโน้ตไว้และขอบคุณ หรืออาจ ถามกรรมการเพิ่มเติมหากไม่เข้าใจ เมื่อหมดคำถามแล้ว ประธานกรรมการอาจสรุปหรือไม่สรุปสาระอะไรก็ได้ แล้วก็มักจะ บอกให้ผู้เสนอออกจากห้องเพื่อรอฟังความคิดเห็นจากคณะกรรมการ หรือให้ไปพบกับประธานที่ ปรึกษาในภายหลังโดยไม่ต้องรอ ตอนนี้ให้นักศึกษาแสดงความขอบคุณกรรมการทุกท่าน วิธีการดำเนินงานภายหลังการนำเสนอโครงการวิจัย วิธีการภายหลังการนำเสนอโครงการขึ้นอยู่กับการติดตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการ ซึ่งนักศึกษาจะทราบจากการแจ้งแบบเป็นทางการ หรือส่วนมากจะทราบจากประธานที่ปรึกษา วิทยานิพนธ์ของผู้เสนอนั้นๆ ว่าจะผ่านไปสู่ขั้นการดำเนินการได้เลย หรือมีส่วนจะต้องปรับปรุง ตามข้อที่กรรมการเสนอแนะและดำเนินการวิจัยต่อไปได้ หรือปรับปรุงแล้วให้นำเข้าสู่กรรมการอีก ครั้งหนึ่ง หรือไม่อนุมัติให้ผ่านหรือเสนอให้เปลี่ยนหัวข้อวิจัยใหม่เลย ผลการเสนอโครงการวิจัยจะออกมาเป็นประการใดก็ตาม หลังจากนี้สิ่งที่นักศึกษาต้องทำให้ ได้ก็คือ 1. พบกับประธานที่ปรึกษา ปรึกษาขอคำแนะนำ และดำเนินการต่อไปไม่ทอดทิ้งให้ ระยะเวลาล่วงเลยไปนาน 2. การพบเพื่อขอคำปรึกษา ควรใช้วิธีนัดและตรงตามนัดในระยะเวลาอันสมควร 34 3. คำปรึกษา ประเด็นที่กล่าวถึง และข้อเสนอแนะหรือตกลงกันในการให้และรับคำปรึกษา นักศึกษาควรจดเป็นโน้ตไว้ทุกครั้ง เพื่อความต่อเนื่อง และเป็นหลักฐานสำหรับใช้พิจารณาเมื่อเกิด ปัญหาขึ้นในภายหลัง สำหรับนักศึกษาที่ผ่านกระบวนการต่างๆ มาจนกระทั่งการสอบป้องกันเสร็จเรียบร้อยแล้ว นักศึกษาควรส่งเอกสารรวมถึงสิ่งต่างๆที่เกี่ยวข้องตามที่มีอยู่ในข้อกำหนด ตัวอย่างเช่นตาม ข้อกำหนดของบัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กำหนดให้ส่ง วิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์จำนวน 6 เล่ม พร้อมแผ่นบันทึกข้อมูลบทคัดย่อวิทยานิพนธ์ 1 ชุด สำเนา บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษอย่างละ 3 ชุด ก็ถือว่าเสร็จสิ้นกระบวนการในการจัดทำวิทยานิพนธ์ 2.3 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สำหรับงานวิจัยที่พบและมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการข้อมูลวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ โดยทั่วไปมักจะนำเอาส่วนเพิ่มเติมในการทำงานด้านอื่นๆ เข้าไปเสริมเพื่อให้การทำงานมี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น สารนิพนธ์ของจามณี (2546: 1) เป็นลักษณะการทำงานที่ เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บข้อมูลโดยทั่วไปของวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ โดยเพิ่มส่วนของการ ติดตามงานของนักศึกษาโดยให้ทางอาจารย์ที่ปรึกษาแต่ละหัวข้อเรื่องเป็นผู้ที่บันทึกจำนวนครั้งที่ ต้องนำความคืบหน้ามาเสนอ และสามารถประเมินผลความคืบหน้าของหัวข้อนั้นๆ ได้ รวมถึง คำแนะนำอื่นๆ ที่ต้องการนำมาใส่ไว้ภายในโปรแกรม ตลอดจนมีรายงานในลักษณะต่างๆ ที่ ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้เป็นอย่างดี แต่ทั้งนี้พบว่าข้อจำกัดที่มีอยู่คือเป็นโปรแกรมที่ใช้ เฉพาะบุคคลไม่สามารถทำการใช้งานผ่านระบบ เครือข่ายได้ ซึ่งทำให้ประโยชน์ที่เกิดขึ้นไม่ สามารถที่จะถ่ายทอดลงไปถึงตัวนักศึกษาได้ ซึ่งก็เป็นจุดสำคัญในการนำมาใช้เป็นจุดแข็งในการ พัฒนาโปรแกรมระบบฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบัน เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือต่อไป โดยเน้นไปที่การทำงานผ่านระบบเครือข่ายให้ สามารถใช้ประโยชน์ได้สูงสุด และมีตอบสนองกับบุคคลทุกกลุ่มที่เกี่ยวข้อง ระบบงานอีกตัวหนึ่งที่น่าสนใจ เป็นโปรแกรมการจัดเก็บข้อมูลของวิทยานิพนธ์ของศูนย์ คอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ซึ่งลักษณะการทำงานเป็นโปรแกรมที่ จัดเก็บข้อมูลโดยทั่วๆไป และสามารถบันทึกข้อมูลเพิ่มเติมของแต่ละหัวข้อได้ และมีข้อดีตรงที่ สามารถเชื่อมโยงกับข้อมูลอื่นๆ ที่มีอยู่ได้ดี ทั้งนี้เนื่องมาจากศูนย์คอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยเป็น ผู้พัฒนาระบบเอง ซึ่งโดยรวมแล้วถือเป็นโปรแกรมที่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 35 งานวิจัยอีกเรื่องหนึ่งเป็นงานวิจัยที่มีเนื้อหาตลอดจนขีดความสามารถในการทำงานสูง ซึ่งถือ เป็นแบบอย่างในการนำมาศึกษาและวิจัยต่อของผู้จัดทำ นั่นคืองานวิจัยของก้องเดช (2546: 1) ซึ่ง เป็นนักศึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ โดยเป็น ลักษณะของการจัดเก็บข้อมูลวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์โดยทั่วไปและได้เพิ่มในส่วนของขั้นตอน การดำเนินการอนุมัติหัวข้อ ซึ่งสามารถทำงานบนระบบเครือข่ายได้และนำระบบมาช่วยให้การ ทำงานให้สามารถทำงานได้สะดวกมากยิ่งขึ้น แต่ในความเป็นจริงในขั้นตอนการทำงานเกี่ยวกับการ อนุมัติต่างๆ ยังดำเนินการอยู่บนเอกสารทั้งหมด ซึ่งทำให้การที่จะใช้โปรแกรมก็ต้องรอให้เอกสาร ดำเนินการแล้วเสร็จก่อนจึงจะสามารถบันทึกลงไปในโปรแกรมได้ ซึ่งถือเป็นข้อด้อยซึ่งไม่ได้ เกิดขึ้นจากการทำงานของโปรแกรมแต่อย่างใด ดังนั้นโปรแกรมก็ยังไม่สามารถที่จะใช้งาน โปรแกรมได้ตรงตามความต้องการของผู้ที่จัดทำขึ้นมาได้อย่างเต็มที่มากนัก แต่นับได้ว่าเป็น โปรแกรมที่มีความสมบูรณ์ครบถ้วนเพียงพอในการทำงานได้เป็นอย่างดีมากโปรแกรมหนึ่งในเรื่อง ของระบบงานเกี่ยวกับฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ในปัจจุบัน จากงานวิจัยที่อ้างถึงข้างต้นทางผู้จัดทำได้ศึกษาถึงจุดเด่นและจุดด้อยของงานวิจัยในแต่ละ เรื่องโดยนำเอาจุดเด่นของแต่ละเรื่องมาใช้ประโยชน์เช่น การทำงานผ่านเครือข่ายได้ และพยายาม ลดจุดด้อยที่มี เช่น พัฒนาระบบเน้นไปในการจัดเก็บข้อมูลของวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ที่ทำให้ ใช้งานได้ง่าย และไม่ยุ่งยากอีกทั้งไม่ขัดต่อขั้นตอนการดำเนินงานที่มีของทางสถาบันฯ บทที่ 3 ขั้นตอนการดำเนินงาน สำหรับลำดับขั้นตอนในการดำเนินงานและพัฒนาระบบฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์และสาร นิพนธ์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือนั้นได้แบ่งไว้ 4 ขั้นตอนหลัก คือ 1. การวางแผนดำเนินงาน 2. การวิเคราะห์ระบบงาน 3. การออกแบบและพัฒนา 4. การทดสอบระบบ 3.1 การวางแผนดำเนินงาน สำหรับการวางแผนดำเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ก่อนอื่นต้องทำการเตรียม ลำดับขั้นตอนในการทำงานทั้งหมดเพื่อให้ได้ข้อมูลในการนำมาวิเคราะห์และออกแบบระบบใน การทำงาน ทั้งนี้แหล่งข้อมูลที่ได้มาแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ 1. เอกสารต่างๆ เช่น คู่มือการทำวิทยานิพนธ์ของบัณฑิตวิทยาลัย แนวทางการทำสาร นิพนธ์ของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ เว็บไซต์ของทางคณะฯ และบัณฑิตวิทยาลัย เป็นต้น 2. จากการสัมภาษณ์อาจารย์และเจ้าหน้าที่ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับระบบงานวิทยานิพนธ์ ภายในคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 3.2 การวิเคราะห์ระบบงาน จากข้อมูลที่ได้มาพบว่าระบบงานเดิมเป็นระบบงานที่ดำเนินงานในรูปแบบของเอกสารโดย เป็นลำดับขั้นตอนในการดำเนินงานต่างๆ มีแบบฟอร์มมาตรฐานที่ใช้ในแต่ละขั้นตอนอย่างชัดเจน และนักศึกษาจะเป็นผู้ติดต่อประสานงานแต่ละหน่วยงานด้วยตนเองเป็นหลัก โดยมีคู่มือให้ คำแนะนำจากทางบัณฑิตวิทยาลัยและทางคณะฯ ตลอดจนมีการสัมมนาประจำปีเพื่อให้นักศึกษา ของคณะฯ ได้มีความรู้ความเข้าใจในการเตรียมตัวและการดำเนินงานเพื่อให้สามารถจัดทำวิทยานิพนธ์หรือสารนิพนธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ทั้งนี้ในการเริ่มการทำงานจริงปัญหาสำคัญ 37 ข้อแรกของนักศึกษาทุกคนคือการที่จะคิดหาหัวข้อในการจัดทำ ซึ่งบางครั้งอาจจะซ้ำซ้อนกับ นักศึกษาคนอื่นๆ หรืออาจจะซ้ำกับของนักศึกษารุ่นก่อนหน้านี้ที่เคยจัดทำมา สำหรับการค้นคว้าหาหัวข้อในการจัดทำเบื้องต้นอาจจะลองดูจากหัวข้อของนักศึกษาที่เคย จัดทำมาเพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาและจัดทำพัฒนาต่อไป โดยสามารถค้นหาได้ทั้งจากเว็บไซต์ ห้องสมุดของสถาบันฯ หรือเว็บไซต์ของทางคณะฯ ในเรื่องวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ แต่จากการ ได้ทดลองใช้งานจริงพบว่าข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบันขาดการปรับปรุงเพิ่มเติม ทำให้ข้อมูลที่มีอยู่เป็น ข้อมูลที่ไม่ทันสมัยและทำให้ประสบปัญหากับนักศึกษาเป็นอย่างมาก ในส่วนของอาจารย์ที่ปรึกษา ของนักศึกษาเองนั้นก็ยังขาดระบบที่สนับสนุนในการทำงานของอาจารย์ในการตรวจสอบสถานะ ของหัวข้อที่ดูแลทั้งหมดว่าอยู่ในขั้นตอนใดบ้างแล้ว จากระบบงานเดิมที่มีรายละเอียดและขั้นตอนต่างๆ ค่อนข้างชัดเจนและมีมาตรฐานกำกับไว้ เป็นอย่างดี แต่ขาดในเรื่องของระบบในการเข้ามาสนับสนุนการทำงานเพิ่มเติม จึงได้ปรับปรุงส่วน ที่ยังขาดหายไปเพื่อเติมเต็มในระบบเดิมเพื่อให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยปรับปรุงระบบฐานข้อมูล ของวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ใหม่และเพิ่มสถานะของหัวข้อวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์โดย อ้างอิงจากคู่มือการดำเนินงานที่ในการจัดทำของนักศึกษา ข้อดีของระบบงานใหม่ 1. ทำให้นักศึกษาสามารถบันทึกข้อมูลวิทยานิพนธ์หรือสารนิพนธ์ของตนเองไว้ในระบบ เพื่อแบ่งเบาภาระของเจ้าหน้าที่ในการคีย์ข้อมูลของนักศึกษาแต่ละคน 2. มีสถานะของหัวข้อในแต่ละเรื่องเพื่อช่วยในการจัดการงานต่างๆ ทั้งกับนักศึกษา อาจารย์ตลอดจนเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้เป็นอย่างดี 3. สามารถกำหนดสิทธิ์ของผู้ที่เปลี่ยนแปลงสถานะของหัวข้อของนักศึกษาได้ โดยอาจจะ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา หรือตัวนักศึกษาเองเพื่อความสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น เส้นทางการไหลของข้อมูลในระบบ ในการวิเคราะห์ระบบที่พัฒนาขึ้นได้นำ Data Flow Diagram (DFD) มาใช้เป็นเครื่องมือใน การวิเคราะห์ระบบ โดยแสดงการไหลของข้อมูลและความสัมพันธ์ของข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ ระบบ เพื่อแสดงให้เห็นการนำเข้าของข้อมูล และผลลัพธ์ของระบบในการทำงานโดยสามารถ แบ่งเป็นระดับต่างๆได้ดังนี้ Context Diagram ซึ่งเป็น Data Flow Diagram ระดับบนสุดซึ่งแสดงให้เห็นภาพรวมของ ข้อมูลเข้าและผลลัพธ์ของระบบ ดังแสดงในภาพที่ 3-1 แสดง Context Diagram ของระบบ โดยรวมซึ่งเกี่ยวข้องกับ 3 ส่วนคือ นักศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษา และเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นทั้งผู้ดูแล ระบบด้วย 38 40 Data Flow Diagram Level 1 แสดงกระแสข้อมูลระดับที่ 1 ของระบบแสดงกระบวนการ ทำงานหลักของระบบและข้อมูลที่เข้าและออกจากกระบวนการทำงานต่างๆ และแสดงรายละเอียด ของกระบวนการทำงานต่างๆ ละเอียดเพิ่มมากขึ้นในแผนภาพกระแสข้อมูลในระดับที่ 2 และระดับ ที่ 3 ตามลำดับ 1.1 การล๊อกอินเข้าใช้งาน สำหรับนักศึกษา ข้อมูลเจ้าหน้าที่ 6 ข้อมูลอาจารย์ 5 ข้อมูลนักศึกษา 4 1.2 การล๊อกอินเข้าใช้งาน สำหรับอาจารย์ 1.3 การล๊อกอินเข้าใช้งาน สำหรับเจ้าหน้าที่ ข้อมูลการล๊อกอิน เข้าใช้งานระบบ สำหรับนักศึกษา ข้อมูลการล๊อกอิน เข้าใช้งานระบบ สำหรับอาจารย์ ข้อมูลการล๊อกอิน เข้าใช้งานระบบ สำหรับเจ้าหน้าที่ ภาพที่ 3-3 DFD Level 2 การล๊อกอินเข้าใช้งาน ในส่วนของการปรับปรุงสถานะของหัวข้อวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ ระบบได้ทำการ ออกแบบให้มีความยืดหยุ่นในการใช้งานโดยสามารถทำการปรับปรุงได้โดยผู้ใช้ทั้ง 3 ประเภท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสิทธิ์ในการเปลี่ยนสถานะที่กำหนดโดยเจ้าหน้าที่ ซึ่งในส่วนของทางเดินข้อมูลใน ระบบสามารถแสดงได้ดังภาพที่ 3-4 2.1 เรียกดูหัวข้อวิทยานิพนธ์ หรือสารนิพนธ์ที่ต้องการ เปลี่ยนสถานะ 2.2 แสดงสถานะ 2.3 ปรับปรุงสถานะ ข้อมูลสิทธิ์การเปลี่ยนสถานะ 3 ข้อมูลหัวข้อ 1 ข้อมูลสถานะหัวข้อ 2 หัวข้อที่ต้องการดู รายละเอียดหัวข้อ รายละเอียดหัวข้อ สถานะปัจจุบันสถานะที่ปรับปรุง สถานะที่ถูกปรับปรุง ภาพที่ 3-4 DFD Level 2 การปรับปรุงสถานะของหัวข้อวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ 41 ส่วนสำคัญที่สุดของระบบฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ คือการจัดการกับข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับหัวข้อ วิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ โดยแต่ละหัวข้อจะสามารถที่จะระบุหัวเรื่องสำคัญที่เกี่ยวข้องกับแต่ละ เรื่องได้ โดยได้แบ่งเป็นหัวเรื่องหลัก หัวเรื่องรอง และเทคโนโลยีที่นำมาใช้ เพื่อให้สามารถบันทึก รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ได้เพื่อประโยชน์ในการค้นหาวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ ตามหัวเรื่องและเทคโนโลยีที่สนใจได้ 3.1 เพิ่มหัวข้อวิทยานิพนธ์ หรือสารนิพนธ์ใหม่ 3.2 เรียกดูหัวข้อ 3.3 กำหนดอาจารย์ ที่ปรึกษา ข้อมูลหัวข้อ 1 3.4 กำหนดหัวเรื่องหลัก ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อ 3.5 กำหนดหัวเรื่องรอง ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อ 3.6 กำหนดเทคโนโลยี ที่นำมาใช้กับหัวข้อ ข้อมูลอาจารย์ 5 ข้อมูลนักศึกษา 4 รายละเอียดหัวข้อ (ชื่อหัวข้อ, บทคัดย่อ) รายละเอียดหัวข้อใหม่ รายละเอียดหัวข้อ อาจารย์ที่ปรึกษา ข้อมูลอาจารย์ที่ปรึกษา ข้อมูลหัวเรื่องหลัก 7 หัวเรื่องหลักที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อ 10 หัวเรื่องหลัก หัวเรื่องรองเทคโนโลยีที่นำมาใช้ หัวเรื่องรองที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อ 11 ข้อมูลหัวเรื่องรอง 8 เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อ 12 ข้อมูลเทคโนโลยี 9 ภาพที่ 3-5 DFD Level 2 การจัดการข้อมูลหัวข้อวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ 42 4.1 จัดการข้อมูลอาจารย์ 4.2 เปลี่ยนรหัสผ่านอาจารย์ 4.3 จัดการข้อมูลนักศึกษา 4.4 เปลี่ยนรหัสผ่านนักศึกษา ข้อมูลอาจารย์ 5 4.5 จัดการข้อมูลเจ้าหน้าที่ 4.6 เปลี่ยนรหัสผ่านเจ้าหน้าที่ ข้อมูลคำนำหน้า 15 ข้อมูลสาชาวิชา 13 ข้อมูลปีการศึกษา 14 ข้อมูลเจ้าหน้าที่ 6 4.7 จัดการข้อมูลคำนำหน้า 4.8 จัดการข้อมูลสาขาวิชา 4.9 จัดการข้อมูลปีการศึกษา ข้อมูลนักศึกษา 4 ข้อมูลอาจารย์ รหัสผ่าน รหัสผ่าน ข้อมูลเจ้าหน้าที่ รหัสผ่าน ข้อมูล นักศึกษา คำนำหน้า สาขาวิชา ปีการศึกษา รหัสผ่านใหม่ รหัสผ่านใหม่ รหัสผ่านใหม่ คำนำหน้า คำนำหน้า คำนำหน้า สาขาวิชา ปีการศึกษา คำนำหน้าเดิม คำนำหน้า ที่เพิ่มเติม/ ปรับปรุง สาขาวิชาเดิม สาขาวิชา ที่เพิ่มเติม/ปรับปรุง ปีการศึกษาเดิม ปีการศึกษา ที่เพิ่มเติม/ ปรับปรุง ข้อมูลเดิม ข้อมูลที่เพิ่มเติม/ปรับปรุง ข้อมูลที่เพิ่มเติม/ปรับปรุง ข้อมูลเดิม ข้อมูลที่เพิ่มเติม/ปรับปรุง ข้อมูลเดิม ภาพที่ 3-6 DFD Level 2 การจัดการข้อมูลบุคลากร 4.1.1 เพิ่มข้อมูลอาจารย์ 4.1.3 แก้ไขข้อมูลอาจารย์ 4.1.2 เรียกดูข้อมูลอาจารย์ 4.1.4 ลบข้อมูลอาจารย์ ข้อมูลอาจารย์ 5 ข้อมูลคำนำหน้า 15 ข้อมูลอาจารย์ ข้อมูลอาจารย์ ข้อมูลอาจารย์ ข้อมูลที่ปรับปรุง ข้อมูลที่ต้องการลบข้อมูลอาจารย์ที่ต้องการลบ ข้อมูลอาจารย์ คำนำหน้า คำนำหน้า คำนำหน้า ภาพที่ 3-7 DFD Level 3 การจัดการข้อมูลอาจารย์ 43 การจัดการข้อมูลบุคลากรทั้ง 3 ประเภท จะสามารถจัดการได้โดยเจ้าหน้าที่ และในส่วนของ นักศึกษาและอาจารย์นั้นจะสามารถแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลของตนเองได้ โดยกรณีที่เป็นข้อมูล นักศึกษาจำเป็นที่จะต้องระบุถึงสาขาวิชาและปีการศึกษาของนักศึกษาแต่ละคนไว้ด้วยดังภาพที่ 3-8 4.3.1 เพิ่มข้อมูลนักศึกษา 4.3.3 แก้ไขข้อมูลนักศึกษา 4.3.2 เรียกดูข้อมูลนักศึกษา 4.3.4 ลบข้อมูลนักศึกษา ข้อมูลนักศึกษา 4 ข้อมูลคำนำหน้า 15 ข้อมูลที่ปรับปรุง ข้อมูลที่ต้องการลบข้อมูลนักศึกษาที่ต้องการลบ คำนำหน้า คำนำหน้า คำนำหน้า ข้อมูลนักศึกษา ข้อมูลสาชาวิชา 13 ข้อมูลปีการศึกษา 14 ข้อมูลนักศึกษา ข้อมูลนักศึกษา ข้อมูลนักศึกษา สาขาวิชา ปีการศึกษา ปีการศึกษา ปีการศึกษา สาขาวิชา สาขาวิชา ภาพที่ 3-8 DFD Level 3 การจัดการข้อมูลนักศึกษา 4.5.1 เพิ่มข้อมูลเจ้าหน้าที่ 4.5.3 แก้ไขข้อมูลเจ้าหน้าที่ 4.5.2 เรียกดูข้อมูลเจ้าหน้าที่ 4.5.4 ลบข้อมูลเจ้าหน้าที่ ข้อมูลเจ้าหน้าที่ 6 ข้อมูลคำนำหน้า 15 ข้อมูลที่ปรับปรุง ข้อมูลที่ต้องการลบข้อมูลเจ้าหน้าที่ที่ต้องการลบ ข้อมูลเจ้าหน้าที่ คำนำหน้า คำนำหน้า คำนำหน้า ข้อมูลเจ้าหน้าที่ ข้อมูลเจ้าหน้าที่ ข้อมูลเจ้าหน้าที่ ภาพที่ 3-9 DFD Level 3 การจัดการข้อมูลเจ้าหน้าที่ สำหรับข้อมูลอื่นๆ ที่นำมาใช้ประกอบในการจัดการข้อมูลของบุคลากรประกอบด้วยข้อมูล คำนำหน้าซึ่งใช้กับผู้ใช้ทุกประเภท ส่วนสาขาวิชาและปีการศึกษาจะนำมาใช้เฉพาะกับนักศึกษาเพื่อ ประโยชน์ในการออกรายงานและสอดคล้องกับข้อมูลจริง 44 4.7.1 การเพิ่มข้อมูล 4.7.3 การแก้ไขข้อมูล 4.7.2 การเรียกดูข้อมูล 4.7.4 การลบข้อมูล ข้อมูลคำนำหน้า 15 ข้อมูลที่ปรับปรุง ข้อมูลที่ต้องการลบคำนำหน้าที่ต้องการลบ คำนำหน้า คำนำหน้า คำนำหน้า คำนำหน้า คำนำหน้า ภาพที่ 3-10 DFD Level 3 การจัดการข้อมูลคำนำหน้า 4.8.1 การเพิ่มข้อมูล 4.8.3 การแก้ไขข้อมูล 4.8.2 การเรียกดูข้อมูล 4.8.4 การลบข้อมูล ข้อมูลสาขาวิชา 13 ข้อมูลที่ปรับปรุง ข้อมูลที่ต้องการลบสาขาวิชาที่ต้องการลบ สาขาวิชา, ชื่อย่อ สาขาวิชา สาขาวิชา สาขาวิชา สาขาวิชา ภาพที่ 3-11 DFD Level 3 การจัดการข้อมูลสาขาวิชา 4.9.1 การเพิ่มข้อมูล 4.9.3 การแก้ไขข้อมูล 4.9.2 การเรียกดูข้อมูล 4.9.4 การลบข้อมูล ข้อมูลปีการศึกษา 14 ข้อมูลที่ปรับปรุง ข้อมูลที่ต้องการลบปีการศึกษาที่ต้องการลบ ปีการศึกษา ปีการศึกษา ปีการศึกษา ปีการศึกษา ปีการศึกษา ภาพที่ 3-12 DFD Level 3 การจัดการข้อมูลปีการศึกษา 45 จุดเด่นสำหรับระบบที่ได้ถูกพัฒนาขึ้นมานี้คือการสามารถกำหนดสิทธิ์ในการปรับเปลี่ยน สถานะของวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ได้ทุกประเภทผู้ใช้ โดยไม่ตั้งไว้ตายตัวเนื่องจากบางครั้งอาจ มีการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงาน หรือเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการจัดการข้อมูลที่มีซึ่งไม่ จำเป็นต้องรอทางเจ้าหน้าที่มาดำเนินการแก้ไขเพียงอย่างเดียว ทั้งนี้ในส่วนของสถานะทั้งหมดของ วิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ทางผู้จัดทำได้ทำการศึกษาและสรุปออกมาตามทฤษฎีเกี่ยวกับ วิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ในบทที่ 2 ของสารนิพนธ์เล่มนี้เพื่อให้สอดคล้องกับทางคณะฯ และ สถาบันฯ 5.1 เรียกดูสิทธิ์การใช้งาน 5.3 สิทธิ์การเปลี่ยนสถานะ ของอาจารย์ 5.2 สิทธิ์การเปลี่ยนสถานะ ของนักศึกษา 5.4 สิทธิ์การเปลี่ยนสถานะ ของเจ้าหน้าที่ สิทธิ์การเปลี่ยนสถานะ ข้อมูลสิทธิ์การเปลี่ยนสถานะ 3 สิทธิ์ของนักศึกษา สิทธิ์ของอาจารย์ สิทธิ์ของเจ้าหน้าที่ สิทธิ์ของนักศึกษา สิทธิ์ของอาจารย์ สิทธิ์ของเจ้าหน้าที่ ประเภทผู้ใช้ ภาพที่ 3-13 DFD Level 2 การจัดการสิทธิ์ในการเปลี่ยนสถานะของผู้ใช้ ส่วนของรายงานเป็นสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งของระบบนี้เพื่อให้สามารถนำข้อมูลที่จัดเก็บมา นำเสนอเป็นข้อมูลรายงานที่มีประสิทธิภาพและสามารถใช้งานได้กับผู้ใช้ทุกประเภท 6.1 รายงานหัวข้อตาม รายชื่อนักศึกษา 6.2 รายงานหัวข้อตาม รายชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา 6.4 รายงานหัวข้อที่ถูกยกเลิก หรือสอบไม่ผ่าน ข้อมูลรายงานหัวข้อตามรายชื่อ นักศึกษา ข้อมูลรายงานหัวข้อตามรายชื่อ อาจารย์ที่ปรึกษา ข้อมูลรายงานหัวข้อที่ถูกยกเลิก หรือสอบไม่ผ่าน ข้อมูลนักศึกษา 4 ข้อมูลอาจารย์ 5 ข้อมูลหัวข้อ 1 ข้อมูลสถานะหัวข้อ 2 ข้อมูลสาขาวิชา 13 ข้อมูลปีการศึกษา 14 46 ภาพที่ 3-14 DFD Level 2 การจัดการด้านรายงาน 46 3.3 การออกแบบและพัฒนา จากการเก็บข้อมูลจากระบบงานเดิมพบว่าเว็บไซต์ของคณะฯ ใช้ระบบฐานข้อมูลเป็น Microsoft SQL Server 2000 และใช้ภาษา ASP ในการทำงาน ทั้งนี้เพื่อให้ระบบงานใหม่ที่เกิดขึ้น สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับระบบงานเดิมที่มีอยู่ได้อย่างสะดวกรวดเร็วจึงได้ทำการพัฒนาระบบ โดยใช้เครื่องมือเป็นระบบเดียวกับระบบงานเดิม ทั้งนี้ยังได้ประสานงานไปยังเจ้าหน้าที่ที่ดูแล เกี่ยวกับระบบเว็บไซต์ของคณะฯ เพื่อนำฐานข้อมูลที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันมาศึกษาเพื่อมา ประยุกต์ใช้กับระบบงานใหม่ที่จะพัฒนาขึ้นต่อไป ทั้งนี้ระบบงานใหม่ที่พัฒนาขึ้นจะเกี่ยวข้องกับบุคคลจำนวน 3 กลุ่มด้วยกันคือ นักศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษา และเจ้าหน้าที่ของคณะฯ โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1. ส่วนของนักศึกษา เริ่มตั้งแต่การแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคล การดูข้อมูลวิทยานิพนธ์หรือสาร นิพนธ์ของตนเอง การค้นหาตลอดจนแสดงข้อมูลของหัวข้อที่ตนเองสนใจ 2. ส่วนของอาจารย์ เป็นส่วนที่ให้อาจารย์ภายในคณะฯ ตลอดจนอาจารย์ที่ปรึกษาของ นักศึกษาใช้ดูสถานะของหัวข้อที่ตนเป็นที่ปรึกษา การปรับเปลี่ยนสถานะของหัวข้อ และการค้นหา และแสดงข้อมูลของหัวข้อต่างๆ 3. ส่วนของเจ้าหน้าที่ เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมระบบทั้งหมด เริ่มตั้งแต่การจัดการข้อมูล นักศึกษา อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ การจัดการข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษา เช่น ปีการศึกษา สาขาวิชาเรียน การจัดการข้อมูลส่วนของวิทยานิพนธ์หรือสารนิพนธ์ เช่น หัวข้อหลัก หัวข้อรองที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเทคโนโลยีหรือโปรแกรมที่นำมาใช้ในการจัดทำหัวข้อนั้นๆ การกำหนดสิทธิ์ในการ ปรับเปลี่ยนสถานะของหัวข้อ และการดูรายละเอียดต่างๆ ของข้อมูลที่มีทั้งหมดในระบบ เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น สามารถที่จะนำมาแสดงเป็นรูปแบบของแผนผังของระบบ ทั้งหมดได้ ดังนี้ ระบบฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ นักศึกษา อาจารย์ เจ้าหน้าที่ ภาพที่ 3-15 แสดงผังงานโครงสร้างการทำงานของระบบโดยรวม 47 นักศึกษา Login เข้าระบบ เปลี่ยนรหัสผ่าน ค้นหาข้อมูล แก้ไขข้อมูลส่วนตัว ออกจากระบบ เสนอหัวข้อใหม่ จัดการข้อมูลหัวข้อ จัดการสถานะหัวข้อ หัวข้อที่ยกเลิก ภาพที่ 3-16 แสดงผังงานโครงสร้างการทำงานของนักศึกษา อาจารย์ Login เข้าระบบ เปลี่ยนรหัสผ่าน ค้นหาข้อมูล แก้ไขข้อมูลส่วนตัว ออกจากระบบ จัดการข้อมูลหัวข้อที่เป็น ที่ปรึกษา หัวข้อที่ยกเลิก จัดการสถานะหัวข้อ รายงานข้อมูลวิทยานิพนธ์ และสารนิพนธ์ ภาพที่ 3-17 แสดงผังงานโครงสร้างการทำงานของอาจารย์ 48 เจ้าหน้าที่ Login เข้าระบบ เปลี่ยนรหัสผ่าน ค้นหาข้อมูล แก้ไขข้อมูลส่วนตัว ออกจากระบบ จัดการข้อมูลส่วนบุคคลเจ้าหน้าที่ อาจารย์ จัดการข้อมูลวิทยานิพนธ์ และสารนิพนธ์ จัดการข้อมูลทั่วไป จัดการข้อมูลประกอบ วิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ นักศึกษา สาขา คำนำหน้า ปีการศึกษา หัวเรื่องรอง หัวเรื่องหลัก เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง ภาพที่ 3-18 แสดงผังงานโครงสร้างการทำงานของเจ้าหน้าที่ หลังจากที่ได้วิเคราะห์ระบบและวางแผนโครงสร้างของระบบโดยรวมแล้ว ในส่วนของ การออกแบบฐานข้อมูลของระบบเพื่อที่จะแสดงความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้ในระบบจะนำเอา Entity Relationship Diagram มาใช้ โดยจะได้ Diagram ที่แสดงถึงความสัมพันธ์ต่างๆ ของข้อมูลใน ระบบดังภาพที่ 3-19 จากนั้นนำมากำหนดรายละเอียดของเอนทิตี้แต่ละเอนทิตี้ขึ้นเป็นแฟ้มข้อมูลเพื่อนำไปสร้าง ฐานข้อมูลบนระบบ MS SQL Server 2000 ต่อไปดังรายละเอียดตั้งแต่ตารางที่ 3-1 ถึง 3-15 บทที่ 4 ผลการดำเนินงาน การพัฒนาระบบฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ใช้การพัฒนาโปรแกรมด้วยเทคโนโลยีของ ASP บนเว็ปเซอร์เวอร์ IIS ในส่วนของฐานข้อมูลใช้ Microsoft SQL Server 2000 โดยผลการดำเนินงาน ของโปรแกรมสามารถแสดงได้ดังนี้ 4.1 ผลการพัฒนาระบบ การเริ่มใช้งานหน้าจอแรกจะแสดงส่วนที่จะ login เข้าระบบ โดยสามารถใช้งานได้ทั้ง 3 ประเภทได้แก่ นักศึกษา อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ ดังแสดงในภาพที่ 4-1 ภาพที่ 4-1 หน้าจอแรกเพื่อเข้าใช้งานระบบ 63 กรณีถ้าต้องการที่จะทำการค้นหาข้อมูลของวิทยานิพนธ์หรือสารนิพนธ์ก็สามารถเลือกค้นหา และใส่ข้อมูลที่ต้องการค้นหาได้ จากนั้นระบบก็จะแสดงข้อมูลที่พบ ภาพที่ 4-2 แสดงข้อมูลรายละเอียดของวิทยานิพนธ์หรือสารนิพนธ์ ลักษณะของการในการใช้งานจะแบ่งตามประเภทของผู้ใช้ออกเป็น 3 ส่วนด้วยกันคือ 1. นักศึกษา 2. อาจารย์ที่ปรึกษา 3. เจ้าหน้าที่และผู้ดูแลระบบ ทั้งนี้ในแต่ละส่วนเมนูการใช้งานจะมีลักษณะใกล้เคียงกันแต่แตกต่างกันที่สิทธิ์ในการใช้งาน ที่ถูกกำหนดโดยเจ้าหน้าที่ในเรื่องของการเปลี่ยนสถาะนะหัวข้อ และลักษณะในการทำงานบางส่วน ส่วนที่ 1 นักศึกษา เมื่อผ่านการ Login เข้าระบบเรียบร้อยแล้วระบบก็จะแสดงหน้าจอพร้อมให้ ทำงานโดยนักศึกษาสามารถที่จะทำการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคล และจัดการกับ วิทยานิพนธ์หรือสารนิพนธ์ของตนเองได้ สำหรับการจัดการข้อมูลวิทยานิพนธ์นั้นจะสามารถทำได้เฉพาะหัวข้อที่ได้สร้างขึ้นมาแล้ว เท่านั้น กรณีที่ยังมิได้ทำการสร้างหัวข้อนักศึกษาสามารถเสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์ใหม่ได้ โดยทำการป้อนข้อมูลที่จำเป็นเบื้องต้นลงในระบบ โดยจะได้ลักษณะดังภาพที่ 4-3 64 ภาพที่ 4-3 แสดงการเสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์ใหม่ ในส่วนของสถานะของหัวข้อสามารถที่จะแสดงให้มีความสัมพันธ์กับขั้นตอนในการทำงาน ของทางคณะฯ โดยแบ่งออกเป็นขั้นตอนในแต่ละขั้นและสามารถปรับเปลี่ยนสถานะได้ตามสิทธิ์ การใช้งานที่ทางเจ้าหน้าที่ได้ระบุไว้ สำหรับแต่ละขั้นตอนผู้ที่สามารถเปลี่ยนแปลงสถานะจะสามารถที่จะคลิกเข้าไปเพื่อ ปรับเปลี่ยนสถานะเพื่อเลื่อนไปยังสถานะต่อไป จนท้ายสุดก็จะเป็นสถานะเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งแต่ละ สถานะ จะแสดงวันที่ที่ทำรายการตลอดจนชื่อของผู้ที่ทำการเปลี่ยนแปลงสถานะให้ทราบ ซึ่งเป็น ประโยชน์ในการติดตามความก้าวหน้าได้ สีที่นำมาใช้สื่อความหมายของสถานะจะมีทั้งหมด 3 สีดังนี้ 1. สีเขียว แสดงถึงการที่ผ่านสถานะนั้นไปแล้ว 2. สีเหลือง แสดงถึงสถานะที่มีการสอบ และผลที่ได้เป็นการผ่านแบบมีเงื่อนไข 3. สีแดง แสดงถึงการที่ไม่ผ่านสถานะ ซึ่งโดยปกติหัวข้อที่ไม่ผ่านนั้นจะถูกจัดเก็บลงใน ส่วนของวิทยานิพนธ์ที่ไม่ผ่านโดยอัตโนมัติ ส่วนที่ 2 อาจารย์ที่ปรึกษา เมื่อผ่านการ Login เข้าระบบเรียบร้อยแล้วระบบก็จะแสดงหน้าจอ พร้อมให้ทำงานในลักษณะคล้ายกับนักศึกษา แต่แตกต่างกันที่อาจารย์สามารถที่จะทำการ 65 เปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลของหัวข้อที่เป็นประธานกรรมการหรือกรรมการอยู่ได้ ดังแสดงในภาพที่ 4-5 ภาพที่ 4-4 แสดงสถานะของหัวข้อ 66 ภาพที่ 4-5 แสดงหัวข้อที่เป็นที่ปรึกษา ระบบจะทำการนับจำนวนของหัวข้อแยกตามประเภทวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ให้โดย อัตโนมัติ และสามารถแยกประเภทของหัวข้อที่มีชื่อเป็นประธานกรรมการและกรรมการได้ ทั้งนี้ หัวข้อทั้งหมดที่แสดง หากทางอาจารย์มีสิทธิ์ในการปรับเปลี่ยนสถานะก็สามารถดำเนินการ ปรับเปลี่ยนสถานะหัวข้อที่อยู่ในความดูแลได้ทั้งหมด หัวข้อที่ไม่ผ่านการอนุมัติ หรือไม่ผ่านการสอบโดยที่มีอาจารย์ที่ปรึกษาเป็นประธาน กรรมการ หรือกรรมการร่วมอยู่ก็จะถูกนำมาแสดงรวมไว้เพื่อให้เป็นประวัติให้ทราบได้ ทั้งนี้ในส่วนรายงานสามารถสั่งพิมพ์ออกเป็นเอกสารเพื่อสะดวกในการจัดการมากขึ้น ภาพที่ 4-6 แสดงรายงานที่สามารถสั่งพิมพ์ได้ ส่วนที่ 3 เจ้าหน้าที่และผู้ดูแลระบบ เมื่อผ่านการ Login เข้าระบบเรียบร้อยแล้วระบบก็จะแสดง หน้าจอพร้อมให้ทำงาน โดยหน้าจอของเจ้าหน้าที่จะมีเมนูในส่วนของการจัดการข้อมูลบุคคล การจัดการข้อมูลทั่วไป และการจัดการข้อมูลวิทยานิพนธ์เพิ่มมา เพื่อใช้ในการบริหารจัดการข้อมูล ระบบทั้งหมดที่มีตลอดจนการกำหนดสิทธิ์ของผู้ใช้ว่าจะให้ผู้ใช้ประเภทใดบ้างที่จะสามารถ เปลี่ยนแปลงสถานะของหัวข้อในแต่ละขั้นตอน ซึ่งสามารถทำการปรับเปลี่ยนได้ตามความ เหมาะสมเพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 67 4.2 ผลการประเมินการใช้ระบบงาน การประเมินระบบงานแบ่งออกได้ทั้งหมด 4 ส่วนดังนี้ 1. การประเมินด้านความสามารถทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ระบบ 2. การประเมินด้านความสามารถในการทำงานของระบบ 3. การประเมินด้านรูปแบบการนำเสนอ 4. การประเมินด้านความปลอดภัย โดยในการประเมินผลจะแบ่งกลุ่มผู้ใช้งานออกเป็น 2 ประเภทคือ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน และผู้ใช้งานทั่วไปจำนวน 6 ท่าน ซึ่งจะมีความแตกต่างกันในเรื่องของลักษณะในการประเมินผล ระบบในคุณลักษณะการทำงานบางส่วน ผลการประเมินการใช้ระบบโดยผู้เชี่ยวชาญ ตารางที่ 4-1 ผลการประเมินด้านความสามารถทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ระบบ รายละเอียด X S.D. T-Test ประสิทธิภาพ ของระบบ 1. ระบบสามารถช่วยในเรื่องการจัดเก็บวิทยานิพนธ์และ สารนิพนธ์ให้มีความสะดวก และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น 5.000 0.000 - ระดับดีมาก 2. ความสามารถในเรื่องการปรับเปลี่ยนสถานะของ วิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ มีประสิทธิภาพสูงและ รวดเร็ว 5.000 0.000 - ระดับดีมาก 3. ระบบสืบค้นข้อมูลสามารถใช้งานได้อย่างมี ประสิทธิภาพมากขึ้น 4.333 0.577 5.47 ระดับพอใช้ 4. ระบบรายงานสามารถตอบสนองความต้องการได้อย่าง รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ 4.333 0.577 5.47 ระดับพอใช้ ผลการประเมินรวม X = 4.667 , S.D. = 0.492 , T-Test = 8.138 , Skewness = -0.812 สรุปผลการประเมินของระบบด้านความสามารถทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ระบบอยู่ ในเกณฑ์ประสิทธิภาพดี 68 ตารางที่ 4-2 ผลการประเมินด้านความสามารถในการทำงานของระบบ รายละเอียด X S.D. T-Test ประสิทธิภาพ ของระบบ 1. ความถูกต้องในการจัดเก็บวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ 4.333 0.577 5.47 ระดับพอใช้ 2. ความถูกต้องในการปรับปรุงแก้ไขข้อมูลวิทยานิพนธ์ และสารนิพนธ์ 4.667 0.577 3.47 ระดับดี 3. ความถูกต้องของข้อมูลการปรับเปลี่ยนสถานะ วิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ 4.667 0.577 3.47 ระดับดี 4. ความรวดเร็วของการค้นหาข้อมูล 5.000 0.000 - ระดับดีมาก 5. ความถูกต้องของการค้นหาข้อมูล 5.000 0.000 - ระดับดีมาก 6. รายงานที่ได้มีความถูกต้องและสมบูรณ์ 4.333 0.577 5.47 ระดับพอใช้ 7. ความถูกต้องของข้อความเตือนหรือความผิดพลาด เมื่อ ผู้ใช้ไม่ป้อนข้อมูลตามที่กำหนด 4.667 0.577 3.47 ระดับดี ผลการประเมินรวม X = 4.667 , S.D. = 0.483 , T-Test = 10.973 , Skewness = -0.763 สรุปผลการประเมินของระบบด้านความสามารถในการทำงานของระบบอยู่ในเกณฑ์ ประสิทธิภาพดี ตารางที่ 4-3 ผลการประเมินด้านรูปแบบการนำเสนอ รายละเอียด X S.D. T-Test ประสิทธิภาพ ของระบบ 1. ความยากง่ายในการเรียนรู้การใช้งานโปรแกรม 5.000 0.000 - ระดับดีมาก 2. สามารถใช้งานโปรแกรมได้สะดวก 4.333 0.577 5.47 ระดับพอใช้ 3. ความรวดเร็วในการโต้ตอบกับผู้ใช้ 4.333 0.577 5.47 ระดับพอใช้ 4. ปุ่มและคำอธิบายมีความง่ายต่อความเข้าใจ 4.000 0.000 - ระดับดี 5. การจัดวางหน้าจอ (Layout) ช่วยให้อ่านง่าย และสบาย สายตา 4.333 0.577 3.47 ระดับดี 6. ข้อความการนำเสนอมีความเหมาะสม 4.000 0.000 - ระดับดี 7. การใช้สีสันของตัวอักษรที่เหมาะสม สวยงาม 4.667 0.577 3.47 ระดับดี ผลการประเมินรวม X = 4.381 , S.D. = 0.498 , T-Test = 8.021 , Skewness = 0.529 69 สรุปผลการประเมินของระบบด้านรูปแบบการนำเสนออยู่ในเกณฑ์ประสิทธิภาพดี ตารางที่ 4-4 ผลการประเมินด้านความปลอดภัย รายละเอียด X S.D. T-Test ประสิทธิภาพ ของระบบ 1. การแยกสิทธิ์ในการใช้งานของผู้ใช้ระบบ 4.667 0.577 3.47 ระดับดี 2. ความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูล 3.667 0.577 3.47 ระดับพอใช้ 3. การ Login รหัสผ่านของผู้ใช้งานในการเข้าใช้ระบบ 4.333 0.577 5.47 ระดับพอใช้ 4. ความปลอดภัยของระบบโดยรวม 4.333 0.577 5.47 ระดับพอใช้ ผลการประเมินรวม X = 4.250 , S.D. = 0.622 , T-Test = 4.124 , Skewness = -0.170 สรุปผลการประเมินของระบบด้านความปลอดภัยอยู่ในเกณฑ์ประสิทธิภาพดี การประเมินผลภาพรวมทั้งโครงการโดยผู้เชี่ยวชาญ ค่าเฉลี่ยรวม ( X ) = 4.5 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 0.533 ค่าสถิติ t (T-Test) = 15.076 สรุปว่าระบบที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพระดับดี ผลการประเมินการใช้ระบบโดยผู้ใช้งานทั่วไป ตารางที่ 4-5 ผลการประเมินด้านความสามารถทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ระบบ รายละเอียด X S.D. T-Test ประสิทธิภาพ ของระบบ 1. ระบบสามารถช่วยในเรื่องการจัดเก็บวิทยานิพนธ์และ สารนิพนธ์ให้มีความสะดวก และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น 4.333 0.516 3.905 ระดับดี 2. ความสามารถในเรื่องการปรับเปลี่ยนสถานะของ วิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ มีประสิทธิภาพสูงและ รวดเร็ว 4.667 0.516 5.487 ระดับดี 3. ระบบสืบค้นข้อมูลสามารถใช้งานได้อย่างมี ประสิทธิภาพมากขึ้น 4.500 0.548 4.427 ระดับดี ผลการประเมินรวม X = 4.500 , S.D. = 0.514 , T-Test = 8.164 , Skewness = 0 70 สรุปผลการประเมินของระบบด้านความสามารถทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ระบบอยู่ ในเกณฑ์ประสิทธิภาพดี ตารางที่ 4-6 ผลการประเมินด้านความสามารถในการทำงานของระบบ รายละเอียด X S.D. T-Test ประสิทธิภาพ ของระบบ 1. ความถูกต้องในการจัดเก็บวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ 4.833 0.408 7.940 ระดับดี 2. ประสิทธิภาพของการค้นหาข้อมูล 4.500 0.548 4.427 ระดับดี 3. รายงานที่ได้มีความถูกต้องและสมบูรณ์ 4.500 0.548 4.427 ระดับดี ผลการประเมินรวม X = 4.611 , S.D. = 0.502 , T-Test = 9.313 , Skewness = -0.498 สรุปผลการประเมินของระบบด้านความสามารถในการทำงานของระบบอยู่ในเกณฑ์ ประสิทธิภาพดี ตารางที่ 4-7 ผลการประเมินด้านรูปแบบการนำเสนอ รายละเอียด X S.D. T-Test ประสิทธิภาพ ของระบบ 1. สามารถใช้งานโปรแกรมได้ง่ายและสะดวก 4.833 0.408 7.940 ระดับดี 2. การจัดวางหน้าจอช่วยให้อ่านง่าย และสบายสายตา 4.667 0.516 5.487 ระดับดี 3. รูปแบบข้อความในการนำเสนอมีความเหมาะสม 4.833 0.408 7.940 ระดับดี ผลการประเมินรวม X = 4.778 , S.D. = 0.428 , T-Test = 2.656 , Skewness = -1.461 สรุปผลการประเมินของระบบด้านรูปแบบการนำเสนออยู่ในเกณฑ์ประสิทธิภาพดีมาก ตารางที่ 4-8 ผลการประเมินด้านความปลอดภัย รายละเอียด X S.D. T-Test ประสิทธิภาพ ของระบบ 1. ความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูล 4.333 0.516 3.905 ระดับดี 2. การ Login รหัสผ่านของผู้ใช้งานในการเข้าใช้ระบบ 4.500 0.548 4.427 ระดับดี ผลการประเมินรวม X = 4.417 , S.D. = 0.515 , T-Test = 6.099 , Skewness = 0.388 71 สรุปผลการประเมินของระบบด้านรูปแบบการนำเสนออยู่ในเกณฑ์ประสิทธิภาพดี การประเมินผลภาพรวมทั้งโครงการโดยผู้ใช้ทั่วไป ค่าเฉลี่ยรวม ( X ) = 4.591 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 0.495 ค่าสถิติ t (T-Test) = 17.725 สรุปว่าระบบที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพระดับดี บทที่ 5 สรุปผลการทำงานของระบบ และข้อเสนอแนะ 5.1 สรุปผลการทำงานของระบบ วัตถุประสงค์หลักในการพัฒนาระบบฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ คณะเทคโนโลยี สารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เพื่อต้องการรองรับการใช้งานที่ เกี่ยวข้องกับข้อมูลของวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ของนักศึกษา อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ โดยมุ่งเน้น การเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บและค้นหารายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับวิทยานิพนธ์และ สาร นิพนธ์ และยังช่วยผู้ใช้ในเรื่องของการปรับเปลี่ยนสถานะ รวมทั้งการแสดงสถานะของวิทยานิพนธ์ และสารนิพนธ์ในแต่ละเรื่อง ทั้งนี้จากผลการประเมินระบบโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่าระบบฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์และสาร นิพนธ์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ในส่วนของ ระบบสามารถช่วยในเรื่องการจัดเก็บวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ และความสามารถในเรื่องการ ปรับเปลี่ยนสถานะของวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ มีประสิทธิภาพในระดับดีมาก ซึ่งตอบ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในกาพัฒนาระบบที่ได้ตั้งไว้ สำหรับส่วนของการประเมินด้านความ ปลอดภัย จาก 3 ใน 4 หัวข้อในด้านนี้มีผลการประเมินอยู่ในระดับพอใช้ อันเนื่องมาจากในช่วงการ พัฒนาระบบ ทางผู้จัดทำได้จัดเตรียมข้อมูลผู้ใช้ โดยสมมติให้ Username และ Password ที่จะ นำมาใช้ Login เป็นค่าเหมือนกัน จึงทำให้ผู้เชี่ยวชาญเข้าใจผิดว่าในการใช้งานจริงจะเป็นไปใน ลักษณะแบบเดียวกัน สรุปผลการประเมินทั้งหมดในภาพรวมโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่าระบบที่พัฒนาขึ้นอยู่ในเกณฑ์ ประสิทธิภาพระดับดี สำหรับการประเมินการใช้งานในส่วนของโปรแกรมจากผู้ใช้งานทั่วไปซึ่ง ส่วนมากเป็นนักศึกษาระดับปริญญาโท สรุปได้ว่าระบบที่พัฒนาขึ้นนั้นอยู่ในเกณฑ์ประสิทธิภาพ ระดับดีเช่นเดียวกัน 5.2 ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน เนื่องจากระบบฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบัน เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ได้ทำการศึกษาจากระบบงานเดิมซึ่งมีการใช้งานจริงอยู่ใน เว็บไซต์ของคณะฯ ซึ่งในการพัฒนาขึ้นมานั้นผู้จัดทำได้วางระบบที่พัฒนาขึ้นใหม่เป็นส่วนขยาย 73 (Plugin) ของระบบเดิม ซึ่งจะใช้ข้อมูลเดิมที่มีอยู่แล้วของคณะฯ เช่น รหัสนักศึกษา ชื่อนักศึกษา สาขา เป็นต้น แต่ในขั้นตอนของการพัฒนาจริงไม่สามารถที่จะทำการเชื่อมโยงข้อมูลที่มีอยู่แล้วได้ ทำให้จำเป็นต้องจัดเตรียมฐานข้อมูลใหม่เพิ่มขึ้นมาอีกชุดหนึ่ง โดยทางผู้จัดทำพยายามออกแบบ ฐานข้อมูลให้สัมพันธ์กับฐานข้อมูลเดิมที่มีอยู่ให้มากที่สุด แต่ก็จะมีบางส่วนที่เพิ่มเติมขึ้นมาใหม่ โดยที่ระบบเดิมไม่มี เช่น รายละเอียดในส่วนของหัวข้อหลัก หัวข้อรอง สถานะของวิทยานิพนธ์ และสารนิพนธ์ เป็นต้น ปัญหาที่สองเป็นปัญหาที่สำคัญที่สุดในการทำงานของระบบ เนื่องจากระบบที่พัฒนาขึ้น ทางผู้จัดทำได้ทำการศึกษาจากคู่มือแนวทางการทำวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ของคณะเทคโนโลยี สารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ซึ่งได้กำหนดแนวทางในการทำงาน ให้กับนักศึกษาของคณะฯ เพื่อจัดทำวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ตามขั้นตอนที่ได้กำหนดไว้ ดังนั้น หากทางคณะฯ หรือทางสถาบันฯ มีการปรับเปลี่ยนขั้นตอนการดำเนินงานซึ่งมีความแตกต่างจาก แนวทางการดำเนินงานเดิมมาก ก็จะทำให้ระบบทำงานไม่สัมพันธ์กับขั้นตอนการดำเนินงานจริงได้ 5.3 ข้อเสนอแนะ ทางผู้จัดทำได้พัฒนาระบบเพื่อให้สามารถที่จะจัดเก็บข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับหัวข้อวิทยานิพนธ์ และสารนิพนธ์ในขั้นต้นเพื่อใช้ประโยชน์ในการค้นหาข้อมูลของผู้ใช้ทุกประเภท ซึ่งแนวทางใน การพัฒนาระบบต่อไปสามารถที่จะพัฒนาได้ดังนี้ 1. เพิ่มข้อมูลในส่วนอื่นๆ ที่เป็นรายละเอียดเพิ่มเติม เช่น รูปภาพ หรือไฟล์ข้อมูลต่างๆ ที่ใช้ ในวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ของนักศึกษาเพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถ D o w n l o a d ไปดูได้ 2. เพิ่มในส่วนของการปรับเปลี่ยนสถานะเป็นการขออนุมัติในแต่ละขั้นตอนอย่างชัดเจน ทั้งนี้ในการปรับเปลี่ยนสถานะหรือการขออนุมัติควรสร้างเป็นขั้นตอนที่สามารถปรับเปลี่ยนให้ สอดคล้องกับการทำงานจริงที่ทางคณะฯ หรือทางสถาบันฯ กำหนดไว้ได้ 3. พัฒนาการทำงานของระบบเป็นแบบอัตโนมัติมากขึ้นโดยหลังจากที่มีการทำงานเสร็จใน ขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งแล้วจะมีการแจ้งเตือนไปยังบุคคลที่กำหนดไว้เพื่อให้เข้ามาดำเนินการใน ระบบต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ จนจบกระบวนการทำงานของระบบในวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์แต่ ละหัวข้อ บรรณานุกรม ก้องเดช ก่วยเกียรติกุล. ระบบฐานข้อมูลและการขออนุมัติหัวข้อสารนิพนธ์และวิทยานิพนธ์. นนทบุรี : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2546. กิตติ ภักดีวัฒนะกุล, จำลอง ครูอุตสาหะ. คัมภีร์ ระบบฐานข้อมูล. กรุงเทพฯ : เคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์, 2544. . เทคนิคสู่ยอดฝีมือ ASP เล่ม 1. กรุงเทพฯ : เคทีพี คอมพ์ แอนด์คอนซัลท์, 2544. กิตติ ภักดีวัฒนะกุล, ไชยรัตน์ ปานปั้น. ASP ฉบับฐานข้อมูล. กรุงเทพฯ : เคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์, 2543. คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. แนวทางการทำ สารนิพนธ์. นนทบุรี : คณะ, 2546. จามณี แจ่มกระจ่าง. ระบบสารสนเทศสำหรับติดตามการศึกษาและการทำวิทยานิพนธ์ของ นักศึกษา. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2546. บัณฑิตวิทยาลัย, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. คู่มือการทำวิทยานิพนธ์. นนทบุรี : บัณฑิตวิทยาลัย, 2544. พันจันทร์ ธนวัฒนเสถียร, ยุทธชัย รุจิรวิมล และ สิทธิพัฒน์ จำนงศิลป. Macromedia Dreamweaver MX ฉบับเรียนลัด. กรุงเทพฯ : ซัคเซส มีเดีย, 2545. วศิน เพิ่มทรัพย์, วิภา เพิ่มทรัพย์. เรียนลัด Access 97. กรุงเทพฯ : โปรวิชั่น, 2542. วิชัย สุรเชิดเกียรติ. สถิติสำหรับวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ : สกายบุ๊กส์, 2543. สมพร จิวรสกุล. คู่มือการติดตั้งและใช้งาน Microsoft SQL Server 2000 ฉบับสมบูรณ์. นนทบุรี : อินโฟเพรส, 2545. สรชัย พิศาลบุตร. สถิติธุรกิจ. กรุงเทพฯ : วิทยพัฒน์, 2542. สัจจะ จรัสรุ่งรวีวร, สมพร จิวรสกุล. Active Server Pages และแอพพลิเคชันฐานข้อมูลสำหรับ อินเตอร์เนต. กรุงเทพฯ : อินโฟเพรส, 2543. สุโขทัยธรรมาธิราช, มหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ 1 แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารทางการศึกษา. หน่วยที่ 1-5. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2537.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น