วันเสาร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2552

การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ เรื่อง ระบบคอมพิวเตอร์และสถาปัตยกรรม



บทที่ 1 บทนำ 1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา การพัฒนาการของเทคโนโลยีต่าง ๆ โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์และการ สื่อสารโทรคมนาคมส่งผลให้เกิดความพยายามในการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาประยุกต์ใช้ในการ จัดการศึกษา มีการพยายามพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อให้สามารถรองรับการบริการแก่ นักเรียน นักศึกษา และลดปัญหาต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการเรียนการสอน เช่น ปัญหาการขาด แคลนอาจารย์ ปัญหาเรื่องระยะทางในการเดินทางไปเรียน ปัญหาในเรื่องของเวลา เป็นต้น ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา และการเรียนรู้ของมนุษย์ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นผลสืบเนื่องมาจากศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศ ในการขจัด ข้อจำกัดทางกาลเวลา และระยะทางส่งผลให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารเกิดได้ทุกเวลา ซึ่ง วิวัฒนาการดังกล่าวก่อให้เกิดการเรียนการสอนบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่สามารถเชื่อมโยงกันได้ ตลอดเวลา หรือเรียกว่า การจัดการศึกษา On-line หรือ e-Learning ซึ่งในปัจจุบันมีการนำระบบ เครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนในรูปแบบของ e-Learning กันมากขึ้น เมื่อระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์เข้ามามีส่วนกับการดำเนินชีวิตและความ เป็นอยู่มากขึ้น สถาบันการศึกษาทุกแห่งให้ความสนใจในเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ การใช้ เทคโนโลยีเพื่อประโยชน์ทางด้านการศึกษาเป็นสิ่งจำเป็นมากขึ้น การเรียนการสอนในปัจจุบัน เปลี่ยนแปลงสภาพไปมากทั้งผู้เรียนและครู/อาจารย์ผู้สอนล้วนต้องใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ประกอบการเรียนการสอนทั้งสิ้น การเรียนการสอนในปัจจุบันเป็นการจัดการศึกษาเพื่อเน้นให้ผู้เรียนได้มีอิสระในการ แสวงหาความรู้และเรียนรู้ตามการชี้แนะ โดยผู้เรียนต้องเป็นตัวของตัวเองในการแสวงหาความรู้ มี ความคิดริเริ่มในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ผู้เรียนต้องเปลี่ยนรูปแบบการเรียนของตัวเองจากการนั่งเรียน เฉย ๆ มาเป็นการเรียนรู้ที่ต้องมีการใช้ปฏิสัมพันธ์โต้ตอบ มีการใช้เทคโนโลยีประกอบ และยังต้อง สร้างบทบาทที่ให้เรียนรู้ด้วยตนเองได้ สำหรับผู้สอนต้องเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้สอนอย่าง เดียวมาเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ สามารถนำเอาองค์ความรู้จากที่ต่าง ๆ มาประกอบรวมกันสร้าง บทเรียนที่สามารถเรียนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ สร้างระบบการโต้ตอบแบบออนไลน์ เพื่อขจัดข้อจำกัดในเรื่องของเวลา สถานที่และระยะทาง ดังนั้นผู้จัดทำโครงการขอนำเสนอระบบบทเรียนออนไลน์เรื่องระบบคอมพิวเตอร์และ สถาปัตยกรรม เพื่อใช้เป็นสื่อประกอบการเรียนการสอน ในการสอนเสริมและสอนทบทวนเนื้อหา 2 ให้กับผู้เรียน โดยระบบของบทเรียนออนไลน์ที่ได้พัฒนาขึ้นเป็นบทเรียนที่มีระบบทำงานแบบ เครือข่าย ในรูปแบบของ Client/Server โดยที่ฐานข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งบทเรียนจะเก็บไว้ที่ ส่วนกลาง (File Server) ผู้เรียนจะใช้บทเรียนทางเครื่องลูกข่าย (Client) ผ่านทางเว็บบราวเซอร์ ซึ่ง ทำให้ผู้เรียนสามารถใช้บทเรียนได้สะดวกโดยการใช้บทเรียนจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อ กับระบบอินเตอร์เน็ต มีระบบการจัดการบทเรียน อาทิ เช่น การออกข้อสอบ การเก็บข้อสอบ การ สุ่มข้อสอบ การคิดคะแนน และการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน นอกจากนี้ยังมีการ จัดเก็บฐานข้อมูลของผู้เรียน เพื่อใช้ในการจัดการบทเรียนอีกด้วย 1.2 วัตถุประสงค์ของโครงงาน เพื่อพัฒนาบทเรียน ออนไลน์ บนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เรื่องระบบคอมพิวเตอร์และ สถาปัตยกรรม ที่สามารถทำงานผ่านทางเว็บบราวเซอร์ ให้สามารถนำมาประกอบการจัดการเรียน การสอนได้ 1.3 สมมุติฐานโครงงาน 1.3.1 บทเรียนออนไลน์ เรื่อง ระบบคอมพิวเตอร์และสถาปัตยกรรม ที่ทำงานผ่านเว็บ บราวเซอร์ ได้รับการประเมินประสิทธิภาพโดยผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับดี 1.3.2 บทเรียนออนไลน์ เรื่อง ระบบคอมพิวเตอร์และสถาปัตยกรรม มีประสิทธิภาพของ บทเรียนตามเกณฑ์ที่กำหนดสูงกว่า 80/80 1.4 ขอบเขตของโครงงาน ผู้พัฒนามีกรอบแนวคิดและขอบเขตในการพัฒนา ดังนี้ 1.4.1 บทเรียนออนไลน์ ที่พัฒนาขึ้นเป็นบทเรียนแบบศึกษาเนื้อหาใหม่ (Tutorial) ซึ่ง ส่วนประกอบของบทเรียนที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 1.4.1.1 บทนำเรื่อง (Title) 1.4.1.2 คำชี้แจงบทเรียน (Instruction) 1.4.1.3 วัตถุประสงค์บทเรียน (Objective) 1.4.1.4 รายการให้เลือก (Main Menu) 1.4.1.5 เนื้อหาบทเรียน (Information) 1.4.1.6 แบบทดสอบท้ายบทเรียน (Post - test) 3 1.4.2 รูปแบบของการจัดการบทเรียน เป็นแบบเนื้อหาทั่วไป ไม่เน้นรูปแบบการเรียน การสอน ซึ่งผู้เรียนมีอิสระในการเลือกเรียนเนื้อหาตามใจชอบ รวมทั้งมีอิสระในการเลือกทำกิจกรรมใด ๆ ก็ได้ตามความต้องการ ส่วนประกอบของบทเรียนทุกรายการจะเป็นรายการให้เลือก ดังแสดงในภาพที่ 1-1 ภาพที่ 1-1 รูปแบบของการจัดการบทเรียนแบบเนื้อหาทั่วไป 1.4.3 ความสามารถของระบบการจัดการเรียนการสอนของบทเรียน ประกอบด้วย 1.4.3.1 ส่วนของผู้บริหารระบบมีความสามารถดังต่อไปนี้ ก) สามารถที่จะเพิ่ม แก้ไขและเปลี่ยนแปลงข้อมูลของรายวิชาต่าง ๆ ได้ ข) สามารถตรวจสอบข้อมูลของรายวิชา อาจารย์และผู้เรียนได้ ค) จัดการกับระบบฐานข้อมูลของอาจารย์ และผู้เรียน ซึ่งประกอบด้วย การลงทะเบียน สมาชิกในส่วนของอาจารย์ และการลงทะเบียนสมาชิกในส่วนของผู้เรียน บทนำเรื่อง แบบทดสอบ เนื้อหาบทเรียน คำชี้แจงบทเรียน วัตถุประสงค์บทเรียน รายการให้เลือก 4 1.4.3.2 ส่วนของอาจารย์มีความสามารถดังต่อไปนี้ ก) ระบบการจัดการกับบทเรียน ประกอบไปด้วยการกำหนดวัตถุประสงค์ ของบทเรียน การสร้างบทเรียนตามวัตถุประสงค์ของบทเรียน การสุ่มข้อสอบตามวัตถุประสงค์ของ บทเรียน การคิดคะแนน และการเก็บผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ข) มีระบบฐานข้อมูลของผู้สอน สามารถแก้ไขข้อมูลส่วนตัวได้ ค) สามารถตรวจสอบผลการเรียนของผู้เรียนได้ 1.4.3.3 ส่วนของผู้เรียนมีความสามารถดังต่อไปนี้ ก) มีระบบฐานข้อมูลของผู้เรียน ใช้เก็บระเบียนข้อมูลของผู้เรียนแต่ละคน ไว้ในฐานข้อมูล เพื่อใช้ในการจัดการบทเรียน ข) มีระบบเรียกคืนจอภาพ (Restore Screen) ที่สามารถเรียกคืนจอภาพ ที่ ผู้เรียนได้ทำการศึกษาค้างไว้ โดยที่ผู้เรียนสามารถทำการศึกษาในเนื้อหาส่วนต่อไปได้ทันที โดยที่ ไม่ต้องทำการศึกษาใหม่ตั้งแต่ต้น ค) มีห้องสนทนา (Chat room) ง) มีระบบกระดานข่าว (Web Board) 1.4.4 ระบบการทำงานของบทเรียนที่พัฒนาขึ้น เป็นระบบการทำงานแบบเครือข่ายรูปแบบ Client/Server โดยที่ฐานข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งบทเรียนจะเก็บไว้ที่ส่วนกลาง File Server ผู้เรียนจะใช้ บทเรียนผ่านทางเครื่องลูกข่าย (Client) ผ่านทางเว็บบราวเซอร์ 1.4.5 เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาระบบ แบ่งออกเป็น 2 ส่วนดังนี้ 1.4.5.1 ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ก) เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) 1. หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) Pentium III 600 MHz 2. หน่วยความจำชั่วคราว RAM 256 MB 3. หน่วยเก็บข้อมูล Hard Disk 20.4 GB 7200 RPM 4. การ์ดเน็ตเวิร์ก (Network Interface Card) ความเร็ว 10/100 MBPS 5. จอภาพ (Monitor) ขนาด 14 นิ้ว ข) เครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย (Client) 1. หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) Pentium 233 MHz 2. หน่วยความจำชั่วคราว RAM 64 MB 3. หน่วยเก็บข้อมูล Hard Disk 1.2 GB 4. การ์ดเน็ตเวิร์ก (Network Interface Card) ความเร็ว 10/100 MBPS 5 5. จอภาพ (Monitor) ขนาด 14 นิ้ว 1.4.5.2 ซอฟต์แวร์ (Software) ก) เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) 1 . ระบบปฏิบัติการ Windows 2000 Server 2. Web Server ใช้ Internet Information Server 5.0 3. Web Browser ใช้ Microsoft Internet Explore 4.0 4. ระบบการจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ Microsoft Access 2000 5. เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาเว็บเพจ Macromedia Dreamweaver 4 6. ภาษา ASP (Active Server Page) ข) เครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย (Client) 1. ระบบปฏิบัติการ Windows 98 ขึ้นไป 2. Web Browserใช้ Microsoft Internet Explore 4.0 ขึ้นไป 1.5 นิยามศัพท์เฉพาะ บทเรียนออนไลน์ หมายถึง บทเรียนออนไลน์ เรื่อง ระบบคอมพิวเตอร์และสถาปัตยกรรมที่ ได้พัฒนาขึ้นโดยบรรจุข้อมูลในการเรียนการสอนไว้ที่ Server ส่วนกลาง ซึ่งสามารถเข้าสู่โปรแกรม ได้จากการเรียนผ่านโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ (Web Browser) จากเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อ สร้างกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน แบบทดสอบ หมายถึง แบบทดสอบท้ายบทเรียนของบทเรียนออนไลน์ แบบทดสอบจุดประสงค์หมายถึง แบบทดสอบท้ายเนื้อหาของแต่ละจุดประสงค์ของบทเรียน ออนไลน์ อินเตอร์เน็ต หมายถึง ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ ในระยะไกลเข้าไว้ด้วยกันเพื่อให้สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ เว็บบราวเซอร์ (Web Browser) หมายถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับการอ่านข้อมูล ที่ได้จากเว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) โดยโปรแกรมนี้จะต้องทำงานที่เครื่องไคลเอนต์ (Client) เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เก็บ และทำหน้าที่ให้บริการ สำหรับ WWW เซิร์ฟเวอร์ (Server) หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ให้บริการทรัพยากรต่าง ๆ ใน ระบบเครือข่าย 6 ไคลเอนต์(Client) หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องทำงานในระบบเครือข่าย โดยที่จะรับและส่งข้อมูลกับเครื่องเซิร์ฟเวอร์ เว็บอิดิตเตอร์ (Web Editor) หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการสร้างเว็บเพจ ประสิทธิภาพของบทเรียนตามเกณฑ์ที่กำหนดสูงกว่า 80/80 หมายถึง คะแนนที่ได้จากการ ทำแบบฝึกหัดและแบบทดสอบ โดยนำคะแนนที่ได้ทั้ง 2 ส่วน จากระบบฐานข้อมูล นำมาหา ค่าเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ ซึ่งคะแนนร้อยละที่ได้จากแบบฝึกหัดได้เป็นค่า E1 ส่วนค่าร้อยละที่ได้จาก แบบทดสอบจะได้เป็นค่า E2 ประสิทธิภาพของระบบ หมายถึง การตัดสินคุณค่า ตามแบบประเมินที่ผู้พัฒนาสร้างขึ้นโดย มีระดับคุณค่าเชิงปริมาณ 10 ระดับ และระดับคุณภาพ 5 ระดับ 1.6 ข้อตกลงเบื้องต้น 1.6.1 เนื้อหาในบทเรียนที่ใช้ในการพัฒนา เป็นเนื้อหาในรายวิชา ระบบคอมพิวเตอร์และ สถาปัตยกรรม (Computer System and Architecture) ตามหลักสูตรของสถาบันราชภัฏ 1.6.2 รูปแบบของบทเรียนที่พัฒนาขึ้น ออกแบบตามแนวความคิดของโรเบิร์ต กาเย่ (Robert Gegne) 1.7 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1.7.1 เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนนอกเหนือจากการเรียนในห้องเรียน 1.7.2 เป็นการพัฒนากิจกรรมการจัดการศึกษาแบบออนไลน์ 1.7.3 เป็นการพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนที่สามารถให้ผู้เรียนศึกษา และทำการ เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง บทที่ 4 ผลการดำเนินงาน จากการที่ผู้พัฒนาได้พัฒนาบทเรียนออนไลน์ เรื่อง ระบบคอมพิวเตอร์และสถาปัตยกรรม และแบบประเมินเพื่อประเมินประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์ที่พัฒนาขึ้น ผู้พัฒนาได้นำเครื่องมือดังกล่าวไปดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อสร้างและหาคุณภาพของ บทเรียนออนไลน์ เรื่อง ระบบคอมพิวเตอร์และสถาปัตยกรรมและผลของการดำเนินงานได้นำเสนอ ดังนี้ 1. ผลของการพัฒนาบทเรียนออนไลน์ เรื่อง ระบบคอมพิวเตอร์และสถาปัตยกรรม 2. ผลของการประเมินหาประสิทธิภาพของระบบบทเรียนออนไลน์ เรื่อง ระบบคอมพิวเตอร์ และสถาปัตยกรรม 3. ผลการวิเคราะห์การหาประสิทธิภาพของบทเรียนตามสมมุติฐาน 4.1 ผลของการพัฒนาบทเรียนออนไลน์ เรื่อง ระบบคอมพิวเตอร์และสถาปัตยกรรม บทเรียนออนไลน์ที่พัฒนาขึ้นได้แบ่งการทำงานออกเป็น 3 ส่วนคือ ผู้บริหารระบบ ครู/ อาจารย์ และผู้เรียน 4.1.1 ส่วนตรวจสอบผู้ใช้ เป็นส่วนที่ตรวจสอบผู้ใช้ระบบ โดยจะแบ่งผู้ใช้ออกเป็น 3 กลุ่ม ตามสิทธิการใช้งาน และถ้าผู้ใช้ยังไม่ได้ลงทะเบียนเพื่อเข้าใช้ระบบต้องทำการลงทะเบียนก่อน ดัง แสดงในภาพที่ 4-1 ภาพที่ 4-1 แสดงหน้าจอการตรวจสอบสิทธิผู้ใช้ระบบ 66 4.1.2 ส่วนของบริหารระบบ เป็นส่วนที่ใช้ในการจัดการเกี่ยวกับการเพิ่มวิชาใหม่,การ จัดทำข่าวประชาสัมพันธ์,การดูข้อมูลอาจารย์,การดูข้อมูลนักเรียน,การลงทะเบียนอาจารย์ใหม่และ การแก้ไขข้อมูลผู้บริหารระบบ ดังแสดงในภาพที่ 4-2 ภาพที่ 4-2 แสดงหน้าจอส่วนของผู้บริหารระบบ 4.1.2.1 ส่วนของรายการเพิ่มวิชาใหม่ เป็นส่วนของการเพิ่มเติมรายวิชาใหม่เข้าสู่ ระบบโดยจะเป็นการป้อนข้อมูลเกี่ยวกับรหัสวิชา,ชื่อวิชาและอาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา ดังแสดง ในภาพที่ 4-3 ภาพที่ 4-3 แสดงหน้าจอส่วนรายการเพิ่มรายวิชาใหม่ 67 4.1.2.2 ส่วนของรายการจัดทำข่าวประชาสัมพันธ์ เป็นส่วนของการจัดทำข่าวที่ ต้องการประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้ในระบบทราบ โดยจะแสดงข้อมูลที่จำเป็นต้องป้อนเข้าสู่ระบบ ได้แก่ หัวข้อข่าวและรายละเอียดของข่าว ดังแสดงในภาพที่ 4-4 ภาพที่ 4-4 แสดงหน้าจอส่วนรายการจัดทำข่าวประชาสัมพันธ์ 4.1.2.3 ส่วนของการดูข้อมูลอาจารย์ เป็นส่วนที่ผู้บริหารระบบสามารถเข้าดูประวัติ การเข้าใช้งานระบบของผู้ใช้ในกลุ่มครู/อาจารย์ได้ โดยจะแสดงรายละเอียดต่าง ๆ ดังแสดง ในภาพที่ 4-5 ภาพที่ 4-5 แสดงหน้าจอส่วนรายการดูข้อมูลอาจารย์ 68 4.1.2.4 ส่วนของการดูข้อมูลนักเรียน เป็นส่วนที่ผู้บริหารระบบสามารถเข้าดูประวัติ การเข้าใช้งานระบบของผู้ใช้ในกลุ่มนักเรียน/นักศึกษาได้ โดยจะแสดงรายละเอียดต่าง ๆ ดังแสดง ในภาพที่ 4-6 ภาพที่ 4-6 แสดงหน้าจอส่วนรายการดูข้อมูลนักเรียน 4.1.2.5 ส่วนของการดูข้อมูลบทเรียน เป็นส่วนที่ผู้บริหารระบบสามารถเข้าดู รายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับบทเรียนในรายวิชาต่าง ๆ ได้ โดยจะแสดงรายละเอียดต่าง ๆ ดังแสดงใน ภาพที่ 4-7 ภาพที่ 4-7 แสดงหน้าจอส่วนรายการดูข้อมูลบทเรียน 69 4.1.2.6 ส่วนของการลงทะเบียนอาจารย์ใหม่ เป็นส่วนที่ผู้บริหารระบบจะต้องทำการ เพิ่มข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับอาจารย์ผู้สอนเข้าสู่ระบบ โดยระบบจะแสดงข้อมูลที่จำเป็นต้อง ป้อนเข้าสู่ระบบ ดังแสดงในภาพที่ 4-8 ภาพที่ 4-8 แสดงหน้าจอส่วนรายการลงทะเบียนอาจารย์ใหม่ 4.1.2.7 ส่วนของการแก้ไขข้อมูลAdmin เป็นส่วนที่ผู้บริหารระบบจะทำการ เปลี่ยนแปลงข้อมูลส่วนตัวของผู้บริหารระบบบเอง โดยระบบจะแสดงข้อมูลที่จำเป็นต้องป้อนเข้าสู่ ระบบดังแสดงในภาพที่ 4-9 ภาพที่ 4-9 แสดงหน้าจอส่วนรายการลงทะเบียนอาจารย์ใหม่ 70 4.1.3d ส่วนของรายการครู/อาจารย์ เป็นส่วนที่ให้ผู้ใช้ในกลุ่มของครูอาจารย์ สามารถทำรายการต่าง ๆ ได้ คือ การจัดทำข่าวประชาสัมพันธ์ การแก้ไขข้อมูลส่วนตัว การสร้าง/แก้ไข บทเรียน มีระบบการติดตามผู้เรียนได้ด้วยรายการดูผลการเรียนของนักเรียน,การดูข้อมูลนักเรียน ,และระบบการจัดทำข้อสอบ ดังแสดงในภาพที่ 4-10 ภาพที่ 4-10 แสดงหน้าจอส่วนรายการของครู/อาจารย์ 4.1.3.1 ส่วนของรายการจัดทำข่าวประชาสัมพันธ์ เป็นส่วนที่ครู/อาจารย์สามารถจัดทำข่าวที่ต้องการประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้ในระบบทราบ โดยจะแสดงข้อมูลที่จำเป็นต้องป้อนเข้าสู่ ระบบได้แก่ หัวข้อข่าวและรายละเอียดของข่าว เช่นเดียวกันกับรายการจัดทำข่าวประชาสัมพันธ์ใน ส่วนของผู้บริหารระบบ 4.1.3.2 ส่วนของการแก้ไขข้อมูลส่วนตัว เป็นส่วนที่ผู้ใช้ในกลุ่มครู/อาจารย์สามารถทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูลส่วนตัวของครู/อาจารย์เองหลังจากที่ผู้บริหารระบบได้ลงทะเบียนอาจารย์ ใหม่เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยระบบจะแสดงข้อมูลที่จำเป็นต้องป้อนเข้าสู่ระบบดังแสดงในภาพที่ 4-11 71 ภาพที่ 4-11 แสดงหน้าจอส่วนแก้ไขข้อมูลส่วนตัวของครู/อาจารย์ 4.1.3.3 ส่วนของการแก้ไขบทเรียนเป็นส่วนที่ผู้ใช้ในกลุ่มครู/อาจารย์สามารถจัดการ กับบทเรียนได้ โดยระบบจะแสดงรายการดังภาพที่ 4-12 4.1.4dd ภาพที่ 4-7 แสดงหน้าจอส่วนจัดการนักเรียนรายชั้น ภาพที่ 4-12 แสดงหน้าจอส่วนการแก้ไขบทเรียน 72 4.1.3.4 ส่วนของการดูผลการเรียนนักเรียนเป็นส่วนที่ผู้ใช้ในกลุ่มครู/อาจารย์สามารถ เรียกดูข้อมูลผลการเรียนของนักเรียนที่ได้เลือกเรียนในรายวิชานั้นๆ โดยระบบจะแสดงข้อมูลดัง ภาพที่ 4-13 ภาพที่ 4-13 แสดงหน้าจอส่วนการดูผลการเรียนนักเรียน 4.1.3.5 ส่วนของการดูข้อมูลนักเรียน/ลบนักเรียน เป็นส่วนที่ผู้ใช้ในกลุ่มครู/อาจารย์ สามารถทำการเรียกดูข้อมูลเกี่ยวกับนักเรียนและสามารถลบข้อมูลผู้เรียนออกจากระบบได้ดังแสดง ในภาพที่ 4-14 ภาพที่ 4-14 แสดงหน้าจอส่วนการดูผลการเรียนนักเรียน 73 4.1.3.6 ส่วนของการจัดทำข้อสอบ เป็นส่วนที่ผู้ใช้กลุ่มครู/อาจารย์สามารถทำรายการ เกี่ยวกับการจัดข้อสอบสำหรับบทเรียนได้โดยระบบจะแสดงรายละเอียดที่ต้องป้อนเข้าสู่ระบบดัง แสดงในภาพที่ 4-15 ภาพที่ 4-15 แสดงหน้าจอส่วนการจัดทำข้อสอบ 4.1.4 รายการส่วนของผู้เรียน เป็นส่วนที่ผู้ใช้ในกลุ่มผู้เรียนสามารถทำรายการต่าง ๆ คือ แก้ไขข้อมูลส่วนตัว การเข้าสู่บทเรียนโดยผู้เรียนสามารถเลือกรายวิชาที่ต้องการเรียนได้ การเลือก อ่านข่าวประชาสัมพันธ์ การใช้งานกระดานข่าว การติดต่อกับผู้ใช้ระบบคนอื่น โดยการเข้าใช้ใน ส่วนของ Chat room และการติดต่อกับอาจารย์ผู้สอนผ่านทางระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เมื่อผู้เรียนทำการ Login เข้าสู่ระบบเรียบร้อยจะปรากฏหน้าจอการทำงานดังภาพที่ 4-16 74 ภาพที่ 4-16 แสดงหน้าจอส่วนของผู้เรียน 4.1.4.1 การเข้าสู่บทเรียน ผู้เรียนสามารถเลือกรายวิชาเรียนได้ตามต้องการโดยการ เลือก Click ที่ชื่อรายวิชาที่ต้องการเรียนจะปรากฏหน้าจอการทำงานดังแสดงในภาพที่ 4-17 ออกจากระบบ กระดานข่าว หัวข้อข่าวประชาสัมพันธ์ รายวิชาต่าง ๆ E-mail ถึงอาจารย์ผู้สอน ชื่อ-สกุลผู้เรียน เมนูหลัก 75 ภาพที่ 4-17 แสดงหน้าจอส่วนของเนื้อหา 4.2ddผลการประเมินหาประสิทธิภาพของระบบบทเรียนออนไลน์ เรื่องระบบคอมพิวเตอร์และ สถาปัตยกรรม ผู้พัฒนาได้สร้างแบบประเมินประสิทธิภาพของระบบที่พัฒนาขึ้น โดยกำหนดเกณฑ์ ตามระเบียบวิธีของไลเคอร์ท (Likert) ซึ่งเป็นแบบประเมินแบบมาตรอันดับเชิงคุณภาพ (Rating Scale) 5 ระดับ และมาตรอันดับเชิงปริมาณ 10 ระดับ หลังจากนั้นก็นำเอาแบบประเมินที่ได้พร้อม กับบทเรียนออนไลน์ที่พัฒนาขึ้นไปให้ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งเป็นอาจารย์ที่ปฏิบัติงานสอนในสถาบัน ราชภัฏ จำนวน 7 ท่าน ซึ่งสามารถสรุปผลการประเมินได้ดังตารางที่ 4-1 จุดประสงค์การเรียนรู้ของรายวิชา เมนูเนื้อหา Click เพื่อไปยังเนื้อหาหน้าถัดไป 76 ตารางที่ 4-1 สรุปผลการประเมินหาประสิทธิภาพ ประสิทธิภาพ รายการประเมิน X SD ระดับ ประสิทธิภาพ 1. ด้าน Functional Requirement Test 1.1 ความสามารถของบทเรียนในการนำเสนอบทเรียนแบบเชิง เส้นหรือแบบสาขา 8.43 1.27 ดี 1.2 ความสามารถของระบบช่วยเหลือผู้เรียน 7.29 0.49 ดี 1.3 ความสามารถของบทเรียนในการเร้าความสนใจของผู้เรียน 7.43 0.53 ดี 1.4 ความสามารถของบทเรียนในการให้เนื้อหาสาระ 8.00 0.82 ดี 1.5 ความสามารถของบทเรียนในการประเมินผลบทเรียน 8.43 0.53 ดี 1.6 ความสามารถของบทเรียนในด้านการเพิ่มเติมเนื้อหา 9.00 0.82 ดีมาก 1.7 ความสามารถของบทเรียนในการปรับปรุงเนื้อหา 9.00 1.15 ดีมาก 1.8 ความสามารถของบทเรียนในการสร้างแบบทดสอบตาม จุดประสงค์การเรียนรู้ 9.43 0.79 ดีมาก 1.9 ความสามารถของบทเรียนในการสุ่มแบบทดสอบตาม จุดประสงค์ของการเรียนรู้ 8.14 0.90 ดี 1.10 ความสามารถของระบบการจัดการฐานข้อมูลของบทเรียน 9.29 0.76 ดีมาก 2. ด้าน Function Test 2.1 ความถูกต้องในการทำงานของโปรแกรมบทเรียนในภาพ รวม 7.57 0.79 ดี 2.2 ความถูกต้องของระบบการจัดการบทเรียน 7.71 0.95 ดี 2.3 ความถูกต้องของระบบการลงทะเบียนเรียน 9.43 0.79 ดีมาก 2.4 ความถูกต้องของการติดตามผู้เรียน 8.57 1.27 ดี 2.5 ความถูกต้องของการประเมินผล ผู้เรียนตามจุดประสงค์ ของการเรียนรู้ 9.14 0.90 ดีมาก 2.6 ความถูกต้องของการรายงานผลการเรียน 8.57 0.79 ดี 2.7 ความถูกต้องของระบบช่วยเหลือผู้เรียน 7.86 0.90 ดี 77 ตารางที่ 4-1 (ต่อ) ประสิทธิภาพ รายการประเมิน X SD ระดับ ประสิทธิภาพ 2.8 ความสามารถของบทเรียนในการเชื่อมโยงกับแหล่งข้อมูล ภายนอก 7.14 0.38 ดี 3. ด้าน Usability Test 3.1 ความง่ายในการติดตั้งบทเรียน 8.14 0.90 ดี 3.2 ความง่ายในการใช้งานบทเรียน 7.43 0.53 ดี 3.3 ความเร็วในการทำงานของบทเรียน 7.71 0.76 ดี 3.4 ความรวดเร็วในการนำเสนอภาพราฟิก 7.57 0.53 ดี 3.5 ความชัดเจนของข้อความที่แสดงบนจอภาพ 8.14 0.69 ดี 3.6 ความเหมาะสมของการใช้รูปแบบตัวอักษร 8.57 0.98 ดี 3.7 ความเหมาะสมของขนาดตัวอักษรที่นำเสนอ 8.14 0.90 ดี 3.8 ความเหมาะสมของการใช้สีโดยภาพรวม 8.86 0.90 ดี 3.9 ความเหมาะสมของการใช้สีของตัวอักษร 9.43 0.53 ดีมาก 3.10 ความเหมาะสมของการใช้สีพื้นหลัง 8.57 0.53 ดี 3.11 ความเหมาะสมของการใช้ภาพนิ่ง 8.00 1.15 ดี 3.12 ความเหมาะสมของภาพเคลื่อนไหว 8.43 0.53 ดี 3.13 ความเหมาะสมของคำแนะนำการใช้บทเรียน 8.00 0.82 ดี 4 ด้าน Security Test 4.1 มีการกำหนด User name และรหัสผ่านเพื่อตรวจสอบ ผู้ใช้งาน 9.43 0.53 ดีมาก 4.2 ความเหมาะสมของการกำหนดสิทธิของผู้ใช้งานออกเป็น ระดับต่าง ๆ 8.43 0.53 ดี 4.3 ความถูกต้องของระบบการรักษาความปลอดภัยในบทเรียน 8.29 3.25 ดี 4.4 ความเหมาะสมของระบบการรักษาความปลอดภัยของผู้ดูแล ระบบ 7.43 0.53 ดี 78 ตารางที่ 4-1 (ต่อ) ประสิทธิภาพ รายการประเมิน X SD ระดับ ประสิทธิภาพ 4.5 ความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้ 7.43 0.53 ดี 4.6 ความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูลของผู้ดูแลระบบ 7.71 0.76 ดี จากผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบบทเรียนเรียนออนไลน์เรื่อง ระบบคอมพิวเตอร์ และสถาปัตยกรรม ทางด้าน Functional Requirement Test ด้าน Function Test ด้าน Usability Test และ ด้าน Security Test โดยผู้เชี่ยวชาญ ผลจากการประเมินดังกล่าวทำให้ทราบว่าการประเมิน ทางด้านFunctional Requirement Test พบว่ามีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ 8.44 แสดงให้เห็นว่าว่าบทเรียน ออนไลน์ เรื่องระบบคอมพิวเตอร์และสถาปัตยกรรม ได้รับการยอมรับว่ามีความถูกต้อง และมี ประสิทธิภาพตรงตามความต้องการของผู้ใช้ในระดับดี ทางด้าน Function Test มีค่าเฉลี่ยอยู่ใน ระดับ 8.25 แสดงให้เห็นว่าบทเรียนออนไลน์ เรื่องระบบคอมพิวเตอร์และสถาปัตยกรรม ที่ พัฒนาขึ้นมีความถูกต้องและมีประสิทธิภาพ สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อยู่ใน ระดับดี ด้าน Usability Test มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ 8.23 แสดงให้เห็นว่า บทเรียนออนไลน์ เรื่อง ระบบคอมพิวเตอร์และสถาปัตยกรรมที่พัฒนาขึ้นมีความง่ายต่อการใช้งานอยู่ในระดับดีและด้าน Security Test มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ 8.12 แสดงให้เห็นว่า บทเรียนออนไลน์ เรื่องระบบคอมพิวเตอร์ และสถาปัตยกรรมที่พัฒนาขึ้นมีการกำหนดความปลอดภัยของข้อมูลอยู่ในระดับดี เมื่อนำค่าเฉลี่ย ของแต่ละหัวข้อของการประเมินมาผ่านระเบียบวิธีการทางสถิติ เพื่อหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต จะพบว่า ค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับ 8.26 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า บทเรียนออนไลน์ เรื่องระบบคอมพิวเตอร์และ สถาปัตยกรรมที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับดี สามารถที่จะนำไปใช้ในการเรียนการสอน ได้ตามขอบเขตที่กำหนดไว้ 4.3 ผลการวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของบทเรียนตามสมมุติฐาน การวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของบทเรียน ได้กระทำกับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักศึกษา โปรแกรมวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ชั้นปีที่ 2 สถาบันราชภัฏสุรินทร์ จำนวน 20 คน โดยกลุ่ม ตัวอย่างทำแบบทดสอบจุดประสงค์มีค่าเฉลี่ย 83.00 และทำแบบทดสอบหลังจากเรียนด้วยบทเรียน ออนไลน์แล้วได้ค่าเฉลี่ย 85.00 สรุปได้ว่า บทเรียนออนไลน์เรื่องระบบคอมพิวเตอร์และ 79 สถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพของบทเรียน 83.00/85.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ โดยมีรายละเอียดดังแสดงในตารางที่ 4-2 ตารางที่ 4-2 แสดงการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของบทเรียนจากคะแนนแบบทดสอบจุดประสงค์ และคะแนนแบบทดสอบ แบบทดสอบจุดประสงค์ (E1) แบบทดสอบ (E2) คนที่ คะแนนเต็ม 60 คะแนน ร้อยละ คะแนนเต็ม 20 คะแนน ร้อยละ 1 50 83.33 17 85.00 2 52 86.67 16 80.00 3 49 81.67 17 85.00 4 48 80.00 18 90.00 5 52 86.67 18 90.00 6 50 83.33 17 85.00 7 53 88.33 18 90.00 8 50 83.33 17 85.00 9 48 80.00 16 80.00 10 49 81.67 17 85.00 11 49 81.67 17 85.00 12 50 83.33 17 85.00 13 52 86.67 18 90.00 14 48 80.00 16 80.00 15 49 81.67 16 80.00 16 50 83.33 17 85.00 17 50 83.33 17 85.00 18 50 83.33 17 85.00 19 51 85.00 17 85.00 20 50 83.33 17 85.00 เฉลี่ย 83.33 85.00 บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การจัดทำสารนิพนธ์ การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ เรื่อง “ระบบคอมพิวเตอร์และ สถาปัตยกรรม” นี้เป็นการพัฒนาบทเรียนให้สามารถทำงานผ่านทางเว็บบราวเซอร์ ซึ่งในการ พัฒนาระบบงานจะต้องอาศัยเทคโนโลยีในการนำเสนอข้อมูลบนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ได้แก่ การใช้งานภาษา HTML (Hyper Text Markup Language) สำหรับใช้ในการเขียนเว็บเพจ การพัฒนา โปรแกรมเพื่อติดต่อกับฐานข้อมูล จะใช้ภาษา ASP (Active Server Page) เป็นตัวเชื่อม การใช้ โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ (Web Browser) ในการติดต่อกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นต้น โดยมี เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แบ่งออกเป็นหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้ 1. การเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (e-Learning) 2. บทเรียนWBI/WBT 3. การออกแบบเว็บเพื่อการเรียนการสอน 4. เทคโนโลยีด้านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต 5. เทคโนโลยี ASP (Active Server Page) 6. เทคโนโลยีเว็บแอปพลิเคชั่นกับการเชื่อมต่อฐานข้อมูล 7. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2.1 การเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (e-Learning) 2.1.1 ความหมายของ e-Learning ถนอมพร(2545 : 3 ) กล่าวว่า ในช่วงต้นศตวรรษที่ 21 นี้การพัฒนาเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์และทางด้านการสื่อสาร (ICT : Information and Communication Technology) เป็นไปอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดความพยายามในการ นำเทคโนโลยีต่าง ๆ เหล่านี้มาประยุกต์ใช้ในการจัดการศึกษา เพื่อให้การศึกษามีคุณภาพและมี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีสติปัญญาและคุณธรรม e-Learning ถือเป็นทางเลือกใหม่ทางเลือกหนึ่งในการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อพัฒนาระบบการศึกษา 8 ถนอมพร (2545 : 4) กล่าวไว้ว่า ความหมายของ e-Learning สามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ด้วยกัน ได้แก่ ความหมายโดยทั่วไปและความหมายเฉพาะเจาะจง สำหรับความหมายโดยทั่ว ๆ ไป คำว่า e-Learning จะครอบคลุมความหมายที่กว้างมาก กล่าวคือ จะหมายถึง การเรียนในลักษณะ ใดก็ได้ ซึ่งใช้การถ่ายทอดเนื้อหาผ่านทางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต หรือทางสัญญาณทางโทรทัศน์ หรือสัญญาณดาวเทียม ก็ได้ ซึ่ง เนื้อหาสารสนเทศ อาจอยู่ในรูปแบบการเรียนที่เราคุ้นเคยกันมาพอสมควร เช่น คอมพิวเตอร์ ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction) การสอนบนเว็บ (Web base Instruction) การเรียน ออนไลน์ (Online Learning) การเรียนทางไกลผ่านทางดาวเทียม หรืออาจอยู่ในลักษณะที่ยังไม่ค่อย เป็นที่แพร่หลายนัก เช่น การเรียนจากวีดีทัศน์ตามอัธยาศัย (Video On-Demand) สำหรับความหมายเฉพาะเจาะจงนั้น คนส่วนใหญ่เมื่อกล่าวถึง e-Learning ในปัจจุบัน จะหมายเฉพาะถึงการเรียนเนื้อหาหรือสารสนเทศสำหรับการสอนหรือการอบรม ซึ่งใช้การนำเสนอ ด้วยตัวอักษร ภาพนิ่ง ผสมผสานกับการใช้ภาพเคลื่อนไหว วีดิทัศน์และเสียง โดยอาศัยเทคโนโลยี ของเว็บ (Web Technology) ในการถ่ายทอดเนื้อหา รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีระบบบริหาร จัดการรายวิชา (Course Management System) ในการบริหารจัดการงานสอนด้านต่าง ๆ เช่น การจัด ให้มีเครื่องมือการสื่อสารต่าง ๆ เช่น e-Mail Web Board สำหรับตั้งคำถาม หรือแลกเปลี่ยนแนวคิด ระหว่างผู้เรียนด้วยกัน หรือกับวิทยากร การจัดให้มีแบบทดสอบ หลังจากเรียนจบเพื่อการวัดผลการ เรียน รวมทั้งการจัดให้มีระบบบันทึก ติดตาม ตรวจสอบ และการประเมินผลการเรียน โดยผู้เรียน ที่เรียนจาก e-Learningนี้ ส่วนใหญ่แล้วจะศึกษาเนื้อหาในลักษณะออนไลน์ ซึ่งหมายถึง จากเครื่อง ที่มีการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 2.1.2 การนำ e-Learning ไปใช้ประกอบการเรียนการสอน สามารถทำได้ 3 ลักษณะดังนี้ 2.1.2.1 สื่อเสริม (Supplementary) หมายถึง การนำ e-Learning ไปใช้ในลักษณะ สื่อเสริม กล่าวคือ นอกจากเนื้อหาที่ปรากฏในลักษณะ e-Learning แล้ว ผู้เรียนยังสามารถศึกษา เนื้อหาเดียวกันนี้ในลักษณะอื่น ๆ เช่น จากเอกสารประกอบการสอน จากวีดิทัศน์ ฯลฯ การใช้ e-Learning ในลักษณะนี้เท่ากับว่า ผู้สอนเพียงต้องการจัดหาทางเลือกใหม่อีกทางหนึ่ง สำหรับให้ ผู้เรียนใช้ในการเข้าถึงเนื้อหาเพื่อให้ประสบการณ์พิเศษเพิ่มเติมแก่ผู้เรียนเท่านั้น 2.1.2.2 สื่อเติม (Complementary) หมายถึง การนำ e-Learning ไปใช้ในลักษณะ เพิ่มเติมจากวิธีการสอนในลักษณะอื่น ๆ เช่น นอกจากการบรรยายในห้องเรียนแล้ว ผู้สอนยัง ออกแบบเนื้อหาให้ผู้เรียนเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมจาก e-Learning 9 2.1.2.3 สื่อหลัก (Comprehensive Replacement) หมายถึง การนำ e-Learning ไปใช้ ในลักษณะแทนที่การบรรยายในห้องเรียน ผู้เรียนจะต้องศึกษาเนื้อหาทั้งหมดออนไลน์ ใน ปัจจุบันe-Learning ส่วนใหญ่ในต่างประเทศจะได้รับการพัฒนาขึ้น เพื่อวัตถุประสงค์ในการใช้เป็น สื่อหลักสำหรับแทนครูในการสอนทางไกล ด้วยแนวคิดที่ว่ามัลติมีเดียที่นำเสนอทางe-Learning สามารถช่วยในการถ่ายทอดเนื้อหาได้ใกล้เคียงกับการสอนจริงของครูผู้สอนโดยสมบูรณ์ได้ 2.1.3 e-Learning กับผู้เรียน e-Learning เป็นรูปแบบการเรียนที่เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองการเรียนในลักษณะ ได้แก่ 2.1.3.1 ผู้เรียนปกติ (Resident Student) หมายถึง ผู้เรียนที่เดินทางมาเรียนในสถานที่ และเวลาเดียวกัน ซึ่งส่วนใหญ่ผู้เรียนมักจะพักอาศัยอยู่ไม่ไกลจากสถานที่ซึ่งตกลงกันไว้ในการที่จะ มาเรียนร่วมกัน จะเรียกว่าผู้เรียนปกติ (Resident Student) ในการประยุกต์ใช้ e-Learning กับผู้เรียน ปกติ จะต้องพิจารณาให้มากในเรื่องของการออกแบบเนื้อหาการสอน ให้มีความน่าสนใจเพียง พอที่จะดึงดูดความสนใจผู้เรียน เนื่องจากผู้เรียนประเภทนี้มีทางเลือกอื่น ๆ ในด้านของสื่อการสอน หรือติดต่อสื่อสารกับเพื่อน หรือครู นอกจากนี้ยังควรพิจารณาให้เหมาะสมในด้านของระดับของ การนำไปใช้ เนื่องจากหากใช้ในลักษณะสื่อเสริมเท่านั้น ผู้เรียนก็สามารถที่จะพิจารณาเลือกศึกษา เนื้อหาเดียวกันโดยการใช้สื่ออื่นๆ ได้ 2.1.3.2 ผู้เรียนทางไกล (Distance Learners) หมายถึง ผู้เรียนที่สามารถเรียนจาก สถานที่ซึ่งต่างกันรวมทั้งในเวลาที่ต่างกันได้ด้วย (Anywhere Anytime) ดังนั้น ผู้เรียนจะมีอิสระ หรือความยืดหยุ่นในด้านของสถานที่ และเวลาในการเข้าถึงเนื้อหาที่ต้องการศึกษามากกว่าผู้เรียน ปกติ แต่ในขณะเดียวกันผู้เรียนทางไกลมักจะมีข้อจำกัด ในด้านของทางเลือกที่จำกัดของวิธีการ เรียนการสอนหรือโอกาสในการติดต่อสื่อสารกับเพื่อนหรือครู ดังนั้นการประยุกต์ใช้ e-Learning กับผู้เรียนทางไกลนั้น การออกแบบการเรียนการสอนทางคอมพิวเตอร์ให้น่าสนใจยังมีความสำคัญ เช่นกัน 2.1.4 ข้อดีของ e-Learning 2.1.4.1 e-Learning ช่วยให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพราะ การถ่ายทอดเนื้อหาผ่านทางมัลติมีเดีย สามารถทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีกว่าการเรียนจากสื่อ ข้อความเพียงอย่างเดียว หรือจากการสอนภายในห้องเรียนของผู้สอนซึ่งเน้นการบรรยายในลักษณะ Chalk and Talk โดยเมื่อเปรียบเทียบกับ e-Learning ที่ได้รับการออกแบบและผลิตมาอย่างมีระบบ จะช่วยทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าในเวลาที่เร็วกว่า 10 2.1.4.2 e-Learning ช่วยทำให้ผู้สอนสามารถตรวจสอบความก้าวหน้าและพฤติกรรม การเรียนของผู้เรียนได้อย่างละเอียดและตลอดเวลา เนื่องจาก e-Learning มีการจัดหาเครื่องมือที่ สามารถทำให้ ผู้สอนติดตามการเรียนของผู้เรียนได้ 2.1.5 องค์ประกอบของ e-Learning ในการออกแบบพัฒนา e-Learning ประกอบไปด้วย 4 องค์ประกอบหลักได้แก่ 2.1.5.1 เนื้อหา (Content) เนื้อหาเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดสำหรับ e-Learning คุณภาพของการเรียนการสอน e-Learning และการที่ผู้เรียนจะบรรลุวัตถุประสงค์การเรียนใน ลักษณะนี้หรือไม่อย่างไร สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ เนื้อหาการเรียน ซึ่งผู้สอนได้จัดหาให้แก่ผู้เรียน ซึ่งผู้เรียนมีหน้าที่ในการใช้เวลาส่วนใหญ่ศึกษาเนื้อหาด้วยตนเอง เพื่อทำการปรับเปลี่ยนเนื้อหา สารสนเทศที่ผู้สอนเตรียมไว้ให้เกิดเป็นความรู้ โดยผ่านการคิดค้นวิเคราะห์อย่างมีหลักการ และ เหตุผลด้วยตัวของผู้เรียนเอง คำว่าเนื้อหา ในองค์ประกอบของ e-Learning ไม่ได้จำกัดเฉพาะ บทเรียนคอมพิวเตอร์หรือคอร์สแวร์เท่านั้น แต่ยังหมายถึงส่วนประกอบสำคัญอื่น ๆ ที่ e-Learning จำเป็นต้องมีเพื่อให้เนื้อหามีความสมบูรณ์องค์ประกอบของเนื้อหาที่สำคัญได้แก่ โฮมเพจหรือเว็บเพ จแรกของเว็บไซต์ หน้าแสดงรายชื่อรายวิชา เว็บเพจแรกของแต่ละรายวิชา เป็นต้น 2.1.5.2 ระบบบริหารจัดการรายวิชา (Course Management System) หมายถึง ระบบที่ได้รวบรวมเครื่องมือหลาย ๆ ประเภทที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเรียนการสอนออนไลน์ เข้าไว้ด้วยกัน โดยมีจุดประสงค์เพื่อช่วยสนับสนุนผู้ใช้ 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้เรียน ผู้สอน และ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคนิค โดยส่วนใหญ่จะมีความสามารถไม่จำกัดเฉพาะในการสร้างช่วยผู้สอน สร้างเนื้อหากระบวนวิชา แต่ยังครอบคลุมถึงการจัดการ การปรับปรุง การควบคุม การสำรองข้อมูล การสนับสนุนข้อมูล การบันทึกสถิติผู้เรียน และการตรวจคะแนนผู้เรียน ซึ่งผู้ใช้สามารถเรียกใช้ เครื่องมือต่าง ๆ เหล่านี้ผ่านเว็บ โดยใช้โปรแกรมอ่านเว็บ (Web browsers) มาตรฐานทั่วไป ระบบนี้ จะทำหน้าที่ในการช่วยผู้สอนที่ไม่คุ้นเคยกับเทคโนโลยีใหม่นักแต่มีความสนใจที่จะ สร้างเนื้อหากระบวนวิชาเพื่อการนำเสนออนไลน์ กล่าวคือ ผู้สอนไม่จำเป็นต้องรู้จักภาษา HTML หรือ JAVA ระบบจะสามารถลดเวลาที่ผู้สอนจะต้องจัดเตรียมเนื้อหาเพื่อการนำเสนอ โดยช่วยให้ การจัดเก็บเนื้อหาและป้อนข้อมูลผ่านทางเว็บเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลได้ง่ายขึ้น โดยในส่วนนำเข้า และจัดเก็บเนื้อหาข้อมูลนั้นผู้สอนสามารถจัดเก็บประมวลรายวิชา เนื้อหาของหลักสูตร ประกาศ ต่าง ๆ งานที่มอบหมาย แบบฝึกหัด แบบทดสอบ รวมทั้งสามารถเรียกออกมาเพื่อแก้ไขในภายหลัง ได้อย่างสะดวก โดยที่เนื้อหาการสอนอาจอยู่ในรูปของเว็บเพจซึ่งเน้นข้อความ หรืออาจอยู่ในรูป ของสื่อมัลติมีเดียก็ได้ นอกจากนี้ยังประกอบไปด้วยส่วนนำเข้าและจัดเก็บข้อมูลของผู้เรียน ซึ่งทำหน้าที่ตั้งแต่ดูแลการให้รหัสผู้ใช้ (User ID) และรหัสผ่าน (Password) การเข้าใช้งานของผู้เรียน 11 สามารถตรวจสอบจำนวนผู้มาเข้าเรียน เก็บสถิติการเข้าใช้ เวลาเข้าและเวลาออก เก็บสถิติลำดับ ของการเรียน หรือบทเรียนที่ผู้เรียนเลือก คะแนนแบบฝึกหัดหรือกิจกรรมการเรียนต่าง ๆ คะแนนผลการทดสอบในแต่ละส่วนและผลการทดสอบได้ บางระบบถึงกับสามารถคำนวณเกรด ของผู้เรียน เลือกรูปแบบการรายงานผลสอบ และการรักษาความปลอดภัยของการสอบให้ด้วย นอกจากนี้ยังประกอบไปด้วย ส่วนของการโต้ตอบกันระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ซึ่งนอกจากระบบ บริหารจัดการรายวิชานี้จะทำหน้าที่สมือนช่องทางไปสู่วิธีการสื่อสารระหว่างผู้เรียนและผู้สอน เช่น การอนุญาตให้เปิดกลุ่มสนทนา กระดานข่าว หรือห้องสนทนา และในขณะเดียวกันระบบยัง เอื้ออำนวยต่อการให้ผลป้อนกลับของผู้สอน ซึ่งเช่นเดียวกันกับผู้สอนสามารถเลือกที่จะให้ผล ป้อนกลับผู้เรียนในลักษณะข้อความหรือ อาจเป็นระบบเสียงก็ทำได้ โดยจุดมุ่งหมายหลักของ ระบบบริหารจัดการรายวิชานี้ก็คือ การลดขั้นตอนและระยะเวลาในการสร้างกระบวนวิชาออนไลน์ และเครื่องมือเสริมอื่น ๆ เช่น เครื่องมือในการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนเป็นต้น 2.1.5.3 รูปแบบการติดต่อสื่อสาร (Modes of Communication) องค์ประกอบที่สำคัญ ของ e-Learning ที่ขาดไม่ได้อีกประการหนึ่ง ก็คือ การจัดให้ผู้เรียนสามารถติดต่อกับผู้สอน วิทยากร ผู้เชี่ยวชาญอื่น ๆ รวมทั้งผู้เรียนด้วยกัน ในลักษณะที่หลากหลายและสะดวกต่อผู้ใช้ กล่าวคือ มีเครื่องมือที่จัดหาไว้ให้ผู้เรียนได้ใช้มากกว่า 1 รูปแบบ รวมทั้งเครื่องมือนั้นจะต้องมีความ สะดวกใช้ (User-friendly) ด้วยซึ่งเครื่องมือที่ e-Learning ควรจัดหาให้ผู้เรียนได้แก่ ก) การประชุมทางคอมพิวเตอร์ ในที่นี้หมายถึงการประชุมทางคอมพิวเตอร์ ทั้งในลักษณะของการติดต่อสื่อสารแบบต่างเวลา (Asynchronous) เช่น การแลกเปลี่ยนข้อความ ผ่านทางกระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่รู้จักกันในชื่อของเว็บบอร์ด (Web Board) เป็นต้น หรือ ในลักษณะของการติดต่อสื่อสารแบบเวลาเดียวกัน (Synchronous) เช่นการสนทนาออนไลน์ หรือที่ คุ้นเคยกันดีในชื่อของ แช็ท (Chat) หรือในบางระบบอาจจัดให้มีการถ่ายทอดสัญญาณภาพและ เสียงสด (Live Broadcast) ผ่านทางเว็บ เป็นต้น ในการนำไปใช้ในการดำเนินกิจกรรมการเรียน การสอน ผู้สอนสามารถเปิดสัมมนาในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในหลักสูตร/รายวิชา ซึ่งอาจอยู่ ในรูปของการบรรยายการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ การเปิดอภิปรายออนไลน์เป็นต้น ข) ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญเพื่อให้ผู้เรียน สามารถติดต่อสื่อสารกับผู้สอน หรือผู้เรียนอื่น ๆ ในลักษณะรายบุคคล การส่งงานและผลป้อนกลับ ให้ผู้เรียน ผู้สอนสามารถให้คำแนะนำปรึกษาแก่ผู้เรียนเป็นรายบุคคล ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียน เกิดความกระตือรือร้นในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ผู้สอนสามารถใช้ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ในการให้ความคิดเห็นและผลป้อนกลับที่ทันต่อเหตุการณ์ 12 2.1.5.4 แบบฝึกหัด/แบบทดสอบ องค์ประกอบสุดท้ายของ e-Learning ซึ่งมีความสำคัญไม่น้อยกว่า องค์ประกอบอื่น ๆ ได้แก่ การจัดให้ผู้เรียนมีโอกาสในการโต้ตอบกับเนื้อหา ในรูปแบบของการทำแบบฝึกหัด และแบบทดสอบความรู้ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ 2.1.5.5 การจัดให้มีแบบฝึกหัดสำหรับผู้เรียน เนื้อหาที่นำเสนอจำเป็นต้องมีการจัดหาแบบฝึกหัด สำหรับผู้เรียนเพื่อ ตรวจสอบความเข้ใจไว้ด้วยเสมอ ทั้งนี้เพราะ e-Learning เป็นระบบการเรียนการสอนซึ่งเน้น การเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังนั้น ผู้เรียนจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีแบบฝึกหัดเพื่อ การตรวจสอบว่าตนเข้าใจ และรอบรู้ในเรื่องที่ศึกษาด้วยตนเองมาแล้วเป็นอย่างดีหรือไม่อย่างไร อีกทั้งการทำแบบฝึกหัดจะทำให้ผู้เรียนทราบได้ว่าตนนั้นพร้อมสำหรับการทดสอบ การประเมินผล แล้วหรือไม่ 2.1.5.6 การจัดให้มีแบบทดสอบผู้เรียน แบบทดสอบสามารถอยู่ในรูปของแบบทดสอบก่อนเรียน ระหว่างเรียน หรือหลังเรียนก็ได้ สำหรับ e-Learning แล้วระบบบริหารจัดการรายวิชาทำให้ผู้สอนสามารถ สนับสนุนการออกข้อสอบของผู้สอนได้หลากหลายลักษณะ กล่าวคือ ผู้สอนสามารถออกแบบ ประเมินผลในลักษณะของอัตนัย ปรนัย ถูกผิด การจับคู่ การส่งข้อความให้เพื่อนช่วยตรวจ การส่ง ข้อความให้ครูผู้สอนตรวจ ฯลฯ นอกจากนี้ยังทำให้ผู้สอนมีความสะดวกสบายในการจัดการสอบ เพราะผู้สอนสามารถที่จะจัดทำข้อสอบในลักษณะคลังข้อสอบไว้เพื่อเลือกในการนำกลับมาใช้ หรือ ปรับปรุงแก้ไขใหม่ได้อย่างง่ายดาย 2.2 บทเรียน WBI/WBT มนต์ชัย (2545 : 355) กล่าวว่า WBI/WBT เป็นบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่นำเสนอผ่าน เครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยใช้เว็บบราวเซอร์เป็นตัวจัดการ ดังนั้น จึงมีความแตกต่างกับบทเรียน CAI/CBT ธรรมดาอยู่บ้างในส่วนของการใช้งาน ได้แก่ ส่วนของระบบการติดต่อกับผู้ใช้ (User Interfacing System) ระบบการนำเสนอบทเรียน (Delivery System) ระบบการสืบท่องข้อมูล (Navigation System) หรือ Internet Explorer และระบบการจัดการบทเรียน (Computer Managed System) ซึ่งใช้แบบนำเสนอแบบไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext) ที่ประกอบด้วยข้อมูลเป็นเฟรม ๆ โดยแบ่งออกเป็นเฟรมหลักหรือเรียกว่าโหนดหลัก (Main Node) และโหนดย่อย (Sub Node) รวมทั้งมีการเชื่อมโยงแต่ละโหนดซึ่งกันและกันที่เรียกว่า ไฮเปอร์ลิงค์ (Hyperlink) สำหรับส่วนที่ ไม่แตกต่างกันระหว่างบทเรียน CAI/CBT กับบทเรียน WBI/WBT ก็คือ หลักการนำเสนอองค์ 13 ความรู้ ที่ยึดหลักการ และประสบการณ์การเรียนรู้เช่นเดียวกันทุกประการ เนื่องจาก เป้าหมายของบทเรียนทั้ง 2 ประเภท ก็เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียนจากที่ทำไม่ได้หรือ ที่ไม่รู้ไปเป็นการที่ทำได้หรือรู้ นอกจากบทเรียน WBI/WBT แล้วยังมีบทเรียนอื่น ๆ ที่นำเสนอผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ตัวอย่าง ได้แก่ IBT (Internet Based Training) NBI (Net Based Instruction) เป็นต้น 2.2.1 ประเภทของบทเรียน WBI/WBT บทเรียน WBI/WBT จำแนกออกเป็น 3 ประเภทตามระดับความยาก ได้แก่ 2.2.1.1 Embedded WBI เป็นบทเรียนที่นำเสนอด้วยข้อความ และกราฟิกเป็น หลัก จัดว่าเป็นบทเรียนขั้นพื้นฐานที่พัฒนามาจากบทเรียน CAI/CBT ส่วนใหญ่พัฒนาขึ้นด้วย ภาษา HTML (Hypertext Markup Language) 2.2.1.2 IWBI (Interactive WBI) เป็นบทเรียนที่พัฒนาขึ้นจากบทเรียนประเภทแรก โดยเน้นการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนเป็นหลัก นอกจากจะนำเสนอด้วยสื่อต่าง ๆ ทั้งข้อความ กราฟิก และภาพเคลื่อนไหวแล้ว การพัฒนาบทเรียนในระดับนี้จึงต้องใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ยุคที่ 4 ได้แก่ ภาษาเชิงวัตถุ (Object Oriented Programming) เช่น Visual Basic, Visual C++ รวมทั้งภาษา HTML PERL เป็นต้น 2.2.1.3 IMMWBI (Interactive Multimedia WBI) เป็นบทเรียน WBI ที่นำเสนอ โดยยึดคุณสมบัติทั้ง 5 ด้านของมัลติมีเดีย ได้แก่ ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง และการ ปฏิสัมพันธ์ จัดว่าเป็นระดับสูงสุด เนื่องจากการปฏิสัมพันธ์เพื่อจัดการทางด้านภาพเคลื่อนไหวและ เสียงของ บทเรียนโดยใชเว็บบราวเซอร์นั้นมีความยุ่งยากว่าบทเรียนที่นำเสนอแบบใช้งานเพียง ลำพัง ผู้พัฒนาบทเรียนจะต้องใช้เทคนิคต่าง ๆ เข้าช่วย เพื่อให้การตรวจปรับของบทเรียนจากการ มีปฏิสัมพันธ์เป็นไปด้วยความรวดเร็วและราบรื่น เช่น การเขียนคุกกี้ (Cookies) ช่วยสื่อสารข้อมูล ระหว่างเว็บเซิร์ฟเวอร์กับตัวบทเรียนที่อยู่ในไคลเอนต์ เป็นต้น ตัวอย่างของภาษาที่ใช้พัฒนา บทเรียนระดับนี้ ได้แก่ JAVA ASP JSPและ PHP เป็นต้น 2.2.2 สถาปัตยกรรมของระบบสำหรับบทเรียน WBI/WBT สถาปัตยกรรมของระบบสำหรับบทเรียน WBI/WBT ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้ 2.2.2.1 เครื่องไคลเอนต์ (Client) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้เรียนที่มีสมรรถนะ สูงเพียงพอที่จะต่อเชื่อมเข้ากับระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตด้วยความรวดเร็ว โดยมีความสามารถ ด้านมัลติมีเดีย ประกอบด้วยซีพูยูที่มีความเร็วสูง และมีหน่วยความจำหลักขนาดเพียงพอ ติดตั้ง แผงวงจรเสียงพร้อมลำโพง รวมทั้งมีแผงวงจรเครือข่ายสำหรับเชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่าย อินเตอร์เน็ต 14 2.2.2.2 การต่อเชื่อมเข้าระบบเครือข่าย (Network Connectivity) เป็นการต่อเชื่อม เครื่องไคลเอนต์เข้ากับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งอินเตอร์เน็ต หรืออินทราเน็ตผ่านบริษัทที่ บริการด้านอินเตอร์เน็ต (Internet Service Provider : ISP) โดยใช้โมเด็มและคู่สายโทรศัพท์ หรือ ใช้สายเช่า 2.2.2.3 เว็บบราวเซอร์และปลั๊กอิน (Web Brower and Plug-ins) เป็นโปรแกรม นำเสนอบทเรียนโดยใช้เทคโนโลยีของเว็บ ได้แก่ Hyperlink Transfer Protocol โดยใช้โพรโตคอล แบบ TCP/IP เช่น Netscape Navigator, Internet Explorer, Netcaptor และ NCSA Mosaic เป็นต้น พร้อมด้วยปลั๊กอินซึ่งเป็นซอฟท์แวร์ที่ช่วยการนำเสนอไฟล์ภาพและไฟล์เสียงผ่านเว็บบราวเซอร์ 2.2.2.4 บทเรียน WBI/WBT ติดตั้งไว้ที่เว็บเซิร์ฟเวอร์ใด ๆ ที่ต่อเชื่อมเข้ากับระบบ เครือข่ายอินเตอร์เน็ตหรืออินทราเน็ต 2 1 4 Network Connectivity Web Server Client Internet Service 3 Internet or Intranet Web Browser with Plug-ins WBI/WBT ภาพที่ 2-1 แสดงสถาปัตยกรรมของระบบการเรียนแบบ WBI/WBT 2.2.3 ลักษณะของการเรียนการสอนด้วยบทเรียน WBI/WBT แม้ว่าบทเรียน WBI/WBT จะมีแนวความคิดและหลักการออกแบบเช่นเดียวกันกับ บทเรียน CAI/CBT แต่ลักษณะของการเรียนการสอนด้วยบทเรียน WBI/WBT จะมีความแตกต่าง กันโดยธรรมชาติ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ 2.2.3.1 การเรียนการสอนโดยใช้บทเรียน WBI/WBT สามารถขยายพื้นที่การเรียน การสอนได้มากกว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนปกติ หรือการเรียนการสอนแบบดั้งเดิมใน ชั้นเรียน ผู้เรียนที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ที่ทำงานหรือที่บ้านก็สามารถต่อเชื่อมเข้าระบบได้ ทำให้ 15 การเรียนการสอนด้วยบทเรียน WBI/WBT มีพื้นที่ไม่จำกัด นอกจากไม่มีชั้นเรียนแล้ว ยังแพร่ ขยายไปยังพื้นที่ห่างไกลได้สะดวกกว่าบทเรียนชนิดอื่น ๆ 2.2.3.2 การเรียนการสอนโดยใช้บทเรียน WBI/WBT ผู้เรียนสามารถค้นคว้าหา ข้อมูลเพิ่มเติมได้ง่ายจากเครือข่ายอินเตอร์เน็ตหรือ WWW (World Wide Web) ทำให้การศึกษาไม่ ถูกจำกัดเฉพาะหนังสือหรือเอกสารที่ผู้สอนเตรียมมาเท่านั้น 2.2.3.3 การเรียนการสอนโดยใช้บทเรียน WBI/WBT สร้างความรู้สึกแปลกใหม่ และสร้างความสนใจกับผู้เรียนได้สูง ซึ่งเป็นผลมาจากการปฏิสัมพันธ์ที่ผู้เรียนมีต่อบทเรียน อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ส่งผลให้ผลการเรียนรู้เป็นไปด้วยความสนุกสนานและท้าทาย ทำให้ องค์ความรู้ของผู้เรียนเกิดขึ้นตลอดเวลาและมีประสิทธิผล 2.2.3.4 การเรียนการสอนโดยใช้บทเรียน WBI/WBT ช่วยให้ผู้เรียนมีทางเลือก มากขึ้นในการศึกษาด้วยตนเอง ซึ่งสามารถเลือกศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากไฮเปอร์เท็กซ์ที่มีอยู่บน เครือข่ายอินเตอร์เน็ตตามความถนัดและความชอบของตนเอง โปรแกรมการเรียนมีความยืดหยุ่น มากกว่าบทเรียนชนิดอื่น ๆ 2.2.3.5 การเรียนการสอนโดยใช้บทเรียน WBI/WBT ผู้เรียนสามารถติดต่อสื่อสาร กับผู้สอนได้สะดวก โดยใช้เครื่องมือสนับสนุนหรือบริการต่าง ๆ ที่มีอยู่บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ทั้งในลักษณะ Asynchronous และ Synchronous ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการศึกษาบทเรียน WBI/WBT จึงได้รับการแก้ไขที่ทันเวลา ทำให้ผู้เรียนเกิดความมั่นใจในการศึกษาบทเรียนเพียง ลำพัง 2.2.3.6 การเรียนการสอนโดยใช้บทเรียน WBI/WBT สามารถจัดการศึกษาได้ หลากหลายรูปแบบ เช่น การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Collaborative Learning) การเรียนแบบผู้เรียนเป็น ศูนย์กลาง (Student Centered Learning) หรือระบบการเรียนการสอนอื่น ๆ ที่ใช้งานผ่านเครือข่าย อินเตอร์เน็ต ทำให้เกิดสังคมการเรียนรู้ในรูปแบบใหม่ ๆ ที่แปลกไปจากเดิม เกิดการช่วยเหลือ ซึ่งกันและกันในการสร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่ ๆ รวมทั้งการแก้ปัญหาและการทำงานร่วมกัน ซึ่ง เป็นกลยุทธ์ที่ทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพสูงขึ้น 2.2.4 รูปแบบของการเรียนการสอนด้วยบทเรียน WBI/WBT บทเรียน WBI/WBT สามารถใช้กับการเรียนการสอนได้ทุกสาขาวิชา ซึ่งรูปแบบ การเรียนการสอนด้วยบทเรียน WBI/WBT นั้น นักคอมพิวเตอร์ศึกษาได้จำแนกออกเป็น 4 รูปแบบ ดังนี้ 2.2.4.1 Stand Alone Course หมายถึง การเรียนการสอนด้วยบทเรียน WBI/WBT ที่ตัวเนื้อหาบทเรียน และส่วนประกอบต่าง ๆ ทั้งหมดถูกนำเสนอบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ผู้เรียน 16 เพียงแต่ต่อเชื่อมเครื่องคอมพิวเตอร์เข้ากับระบบ โดยป้อนชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านก็จะสามารถเข้าไป ศึกษาบทเรียนได้ เริ่มตั้งแต่การลงทะเบียน การเลือกวิชาเรียน การศึกษาบทเรียน WBI/WBT การ วัดและประเมินผล และการรายงานผลการเรียน ขั้นตอนทั้งหมดนี้จะดำเนินการโดยระบบการ จัดการผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องเดินทางไปศึกษาในชั้นเรียนจริงก็สามารถ ศึกษาจนจบหลักสูตรได้ ซึ่งการเรียนการสอนลักษณะนี้ เปรียบเสมือนเป็นห้องเรียนขนาดใหญ่ ที่ไม่มีกำแพงกั้น หรือที่เรียกกันว่า No Wall School หรือ No Classroom องค์ความรู้ทั้งหมดจะถูก นำเสนอผ่านบทเรียน WBI/WBT ผู้เรียนเพียงที่ต่อเชื่อมมาจากสถานที่แตกต่างกันก็สามารถเข้า ศึกษาในชั้นเรียนเดียวกันได้ จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Cyber Class หรือ Cyber Classroom ในปัจจุบันมหาวิทยาลัยในต่างประเทศมักจะจัดการเรียนการสอนรูปแบบนี้ ควบคู่ไปกับ การเรียนการสอนแบบปกติ เพื่อเป็นการขยายโอกาสทางการศึกษาให้กับผู้เรียนในชุมชนห่างไกล จึงจัดว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของการศึกษาทางไกล (Distance Learning) ด้วยเช่นกัน 2.2.4.2 Web Supported Course หมายถึง การเรียนการสอนภาคปกติแบบ เผชิญหน้าในชั้นเรียนระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน แต่ใช้บทเรียน WBI/WBT สนับสนุน หรือ สอนเสริม เพื่อใช้เป็นแหล่งข้อมูลเพิ่มเติมทำให้ผู้เรียนได้รับความหลากหลายขึ้น ไม่เฉพาะทางด้าน การนำเสนอเนื้อหาบทเรียนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการทำกิจกรรม การทำกรณีศึกษา การแก้ปัญหา หรือการติดต่อสื่อสาร ซึ่งบทเรียน WBI/WBT ที่ใช้สนับสนุนการเรียนการสอนปกติตามรูปแบบนี้ กำลังมีบทบาทอย่างสูงต่อระบบการศึกษาในปัจจุบัน อันเนื่องมาจากความไม่พร้อมของ คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์และการแพร่ขยายของระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ทำให้การจัดกาเรียนการ สอนในลักษณะของ Stand Alone Course ยังทำไม่ได้ในบางชุมชน การใช้บทเรียน WBI/WBT สนับสนุนมากกว่าการที่ผู้เรียนนั่งฟังคำบรรยายจากผู้สอนเฉพาะเพียงแต่ในชั้นเรียนเท่านั้น 2.2.4.3 Collaborative Learning หมายถึง การเรียนการสอนแบบร่วมมือโดยใช้ บทเรียน WBI/WBT โดยที่ผู้เรียนจากชุมชนต่าง ๆ ทั้งใน และนอกประเทศต่อเชื่อมระบบเข้าสู่ บทเรียนในเวลาเดียวพร้อมกันหลาย ๆ คนและศึกษาบทเรียนเรื่องเดียวกัน ซึ่งสามารถช่วยเหลือซึ่ง กันและกันในการตอบคำถาม แก้ปัญหา ทำกิจกรรมการเรียนการสอน และดำเนินการต่าง ๆ ใน การร่วมกันสร้างสรรค์บทเรียนกัน ทำให้เกิดเป็นเครือข่ายองค์ความรู้ขนาดใหญ่ที่ท้าทายและชวน ให้ผู้เรียนติดตามบทเรียนโดยไม่เกิดความเบื่อหน่าย 2.2.4.4 Web Pedagogical Resources หมายถึง การนำแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ที่มีอยู่บน เครือข่ายอินเตอร์เน็ตมาใช้สนับสนุนการเรียนการสอนในรายวิชาต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ แหล่งเว็บไซท์ที่ เก็บรวบรวมข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว วีดิทัศน์ และเสียง รวมทั้งบทเรียน WBI/WBT 17 ลักษณะของการใช้สนับสนุนจึงสามารถใช้ได้ทั้งการใช้ประกอบการเรียนการสอน และการทำกิจกรรมการเรียนการสอนในรายวิชาต่าง ๆ 2.2.5 ซอฟท์แวร์สำหรับพัฒนาบทเรียน WBI/WBT ซอฟท์แวร์สำหรับพัฒนาบทเรียน WBI/WBT แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ 2.2.5.1 ระบบนิพนธ์บทเรียน (Authoring System) เป็นซอฟท์แวร์ที่ออกแบบขึ้นมา เพื่อใช้พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยตรง ปัจจุบันซอฟท์แวร์ประเภทนี้สามารถนำไป พัฒนาบทเรียน WBI/WBT ได้เช่นกัน เนื่องจากมีการปรับปรุงให้สามารถนำเสนอผ่านเว็บ บราวเซอร์ได้ ได้แก่ Authorware Multimedia Toolbooks II IconAuthor Quest IBTAuthor CBIQuick Macromedia Flash เป็นต้น 2.2.5.2 ภาษาคอมพิวเตอร์ (Computer Language) เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้พัฒนา โปรแกรมใช้งานทั่ว ๆ ไป ได้แก่ HTML Java ASP JSP PHP Perl และ ASP+ เป็นต้น 2.2.6 ข้อดีและข้อจำกัด สืบเนื่องมาจากอัตราการขยายตัวของจำนวนผู้ใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่มีจำนวนผู้ใช้ เพิ่มขึ้นทุกชั่วขณะ นับว่าเป็นจุดเด่นที่ทำให้บทเรียน WBI/WBT แพร่ขยายอย่างไร้ขอบเขต ซึ่งเป็นข้อดีประการสำคัญของบทเรียน WBI/WBT ที่ผู้ที่ต่อเชื่อมเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัวที่บ้าน เข้ากับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตก็สามารถใช้บทเรียนประเภทนี้ได้ โดยไม่มีข้อจำกัดทางด้านเพลท ฟอร์มของเครื่อง ไม่ว่าจะเป็นวินโดวส์,แมคอินทอช หรือยูนิกซ์ ก็สามารถใช้บทเรียนเหล่านี้ได้โดย ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย หรือเสียค่าใช้จ่ายไม่สูงเหมือนบทเรียนแบบใช้งานโดยลำพังที่ต้องซื้อ CDROM ต้นฉบับ เท่านั้นจึงจะใช้งานได้ เนื่องจากบทเรียน WBI/WBT ส่วนใหญ่จะใช้การดาวน์ โหลดจากเว็บเซิร์ฟเวอร์ซึ่งอาจจะต้องเสียค่าใช้จ่ายบ้าง ข้อดีอีกประการหนึ่งก็คือ เนื้อหา บทเรียน WBI/WBT สามารถเปลี่ยนแปลงได้ง่าย เพียงแต่ปรับปรุงข้อมูลในเว็บเซิร์ฟเวอร์ให้ทันสมัยเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีความสะดวกสบายอย่างยิ่งต่อการใช้งาน ไม่จำเป็นต้องพกพาแผ่นCD-ROM บทเรียน ติดตัวเพียงแต่จดชื่อผู้ใช้ (Log-on Username) และรหัสผ่าน (Password) เท่านั้น ก็สามารถเรียนรู้ได้ จากทุกแห่งทั่วโลกที่ติดตั้งระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต สำหรับข้อจำกัดประการสำคัญของบทเรียน WBI/WBT ก็คือ ความเร็วในการนำเสนอและ การปฏิสัมพันธ์ ซึ่งเป็นเหตุมาจากข้อจำกัดของแบนวิดธ์ในการสื่อสารข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การนำเสนอภาพเคลื่อนไหว ภาพวีดิทัศน์ และเสียง ทำให้ภาพเกิดอาการกระตุก (Jitter) และขาด ความต่อเนื่อง ถ้าบทเรียนนำเสนอด้วยสื่อประเภทนี้ จึงเป็นข้อจำกัดในการใช้งานประการสำคัญที่ ลดความน่าสนใจลงไป บทเรียน WBI/WBT ในปัจจุบันส่วนใหญ่จึงพยายามหลีกเลี่ยงการนำเสนอ ภาพเคลื่อนไหวขนาดใหญ่ ๆ จึงทำให้คุณภาพของบทเรียนยังไม่ถึงขั้น IMMWBI ที่สมบูรณ์ 18 นอกจากนี้บทเรียน WBI/WBT ที่มีการพัฒนาขึ้นในปัจจุบันมักจะมีความใกล้เคียงกับ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-books) มาก โดยที่ผู้พัฒนาบทเรียนบางคนยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนว่า บทเรียน WBI/WBT ก็คือ หนังสือที่นำเสนอโดยใช้บราวเซอร์นั้นเอง ทำให้กลายเป็นบทเรียน WBI/WBT ที่มีเนื้อหาตายตัวมากเกินไป ไม่ยืดหยุ่นในการใช้งานเท่าที่ควร 2.2.7 ข้อแตกต่างระหว่างการเรียนการสอนปกติกับการใช้บทเรียน WBI/WBT การเรียนการสอนปกติในชั้นเรียน มีลักษณะดังนี้ 1. ผู้เรียนถูกจำกัดด้วยเวลา ชั้นเรียน และสถานศึกษา 2. ผู้เรียนกับผู้สอนมีการเผชิญหน้ากันโดยตรง การสื่อสารใช้คำพูดเป็นหลัก 3. บทเรียนมีการควบคุมเวลาโดยผู้สอนและหลักสูตร 4. สื่อการเรียนการสอนที่ใช้ ได้แก่ เอกสารสิ่งพิมพ์ และการบรรยาย 5. การจัดกลุ่มกิจกรรมการเรียนการสอนทำได้ค่อนข้างจำกัด เนื่องจากปัญหา ทางด้านจำนวนผู้เรียน เวลา และสถานที่ การเรียนการสอนด้วยบทเรียน WBI/WBT มีลักษณะดังนี้ 1. ผู้เรียนเลือกเวลาเรียนได้ตามความสะดวกทั้งที่บ้านหรือสถานที่ทำงาน 2. ผู้เรียนกับผู้สอนติดต่อสื่อสารกันผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต 3. บทเรียนไม่มีการควบคุมเวลา ผู้เรียนเรียนตามความสามารถของตนเอง 4. สื่อการเรียนการสอนที่ใช้มีหลากหลาย ทั้งบทเรียน WBI/WBT หรือข้อมูลอื่น ๆ จากแหล่งข้อมูลบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต 5. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน สามารถทำได้หลากหลายรูปแบบเนื่องจาก ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องเดินทางไปร่วมกลุ่มจริง แต่ใช้การเชื่อมต่อผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต สำหรับข้อแตกต่างระหว่างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กับบทเรียน WBI/WBT บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต มีดังนี้ 1. เป็นการใช้งานในลักษณะโดยลำพัง สนับสนุนการเรียนการสอนแบบ Asynchronous เพียงอย่างเดียว 2. ไม่สามารถจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือได้ (Collaborative Learning) 3. ไม่มีระบบพี่เลี้ยง (Mentoring) ในการเรียนการสอน 4. สามารถเข้าถึงบทเรียนได้เป็นส่วน ๆ เท่านั้น 5. ไม่ก่อให้เกิดเครือข่ายหรือสังคมแห่งการเรียนรู้ 19 การเรียนการสอนด้วยบทเรียน WBI/WBT บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต มีดังนี้ 1. เป็นการใช้งานในลักษณะเครือข่าย 2. สนับสนุนการเรียนการสอนทั้งแบบ Synchronous และ Asynchronous 3. สนับสนุนการเรียนการสอนแบบร่วมมืออย่างสมบูรณ์ 4. มีระบบพี่เลี้ยงช่วยเหลือผู้เรียนเกี่ยวกับการเรียนการสอน 5. สามารถเข้าถึงบทเรียนได้ทุก ๆ ส่วน 6. เปิดโอกาสให้เกิดเครือข่ายหรือสังคมแห่งการเรียนรู้ได้ง่ายและกว้างไกล 2.2.8 เกณฑ์การพิจารณาเลือกใช้ เกณฑ์การพิจารณาเลือกใช้บทเรียน WBI/WBT ที่แสดงไว้ในคู่มือ Multimedia and Internet Training Awards ประกอบด้วยข้อกำหนดจำนวน 10 ข้อ ได้แก่ 2.2.8.1 เนื้อหา (Content) เป็นการพิจารณาทั้งปริมาณ และคุณภาพของเนื้อหาของ บทเรียนว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ เนื่องจากเนื้อหาที่เหมาะสมจะต้องมีความเป็นสารสนเทศ (Information) ซึ่งเป็นองค์ความรู้ (Knowledge) ไม่ใช่เป็นข้อมูล (Data) อันเป็นคุณสมบัติพื้นฐาน ของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 2.2.8.2 การออกแบบการเรียนการสอน (Instructional Design) บทเรียน WBI/WBT ที่ดีจะต้องผ่านกระบวนการวิเคราะห์และออกแบบ เพื่อพัฒนาเป็นระบบการเรียนการสอน ไม่ใช่ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-books) ที่นำเสนอผ่านจอภาพของคอมพิวเตอร์ 2.2.8.3 การปฏิสัมพันธ์ (Interactive) บทเรียน WBI/WBT จะต้องนำเสนอโดยยึด หลักการปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน องค์ความรู้ที่เกิดขึ้นแต่ละเฟรม ควรจะเกิดขึ้นจากการที่ผู้เรียนมี ปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับบทเรียน เช่น การตอบคำถาม การร่วมกิจกรรม เป็นต้น ไม่ได้เป็นการ นำเสนอในลักษณะของการสื่อสารแบบทางเดียว (One-way Communication) 2.2.8.4 การสืบท่องข้อมูล (Navigation) ด้วยหลักการนำเสนอในรูปแบบของ ไฮเปอร์เท็กซ์ บทเรียน WBI/WBT ควรประกอบด้วยเนื้อหาทั้งเฟรมหลัก หรือโหนดหลักและ เชื่อมโยงไปยังโหนดย่อยที่มีความสัมพันธ์กัน โดยใช้วิธีการสืบท่องข้อมูลต่างๆ เช่น Bookmarks Back tracking Histoty Lists หรือวิธีอื่น ๆ อันเป็นคุณลักษณะเฉพาะของเว็บบราวเซอร์ 2.2.8.5 ส่วนของการนำเข้าสู่บทเรียน (Motivational Components) เป็นการ พิจารณาด้วยการใช้คำถาม เกม แบบทดสอบ หรือกิจกรรมต่าง ๆ ในขั้นของการกล่าวนำหรือการ นำเข้าสู่บทเรียนเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้เรียนก่อนที่จะเริ่มศึกษาเนื้อหา 20 2.2.8.6 การใช้สื่อ (Use of Media) เป็นการพิจารณาความหลากหลายและความ สมบูรณ์ของสื่อที่ใช้ในบทเรียนว่าเหมาะสมหรือไม่เพียงใด เช่น การใช้ภาพเคลื่อนไหว การใช้ เสียง หรือการใช้ภาพกราฟิก เป็นต้น 2.2.8.7 การประเมินผล (Evaluation) บทเรียน WBI/WBT ที่ดี จะต้องมีส่วนของ คำถาม แบบฝึกหัดหรือแบบทดสอบ เพื่อประเมินผลทางการเรียนของผู้เรียน อีกทั้งยังต้องพิจารณา ระบบสนับสนุนการประเมินผลด้วย เช่น การตรวจวัด การรวบรวมคะแนน และการรายงานผล การเรียน เป็นต้น 2.2.8.8 ความสวยงาม (Aesthetics) เป็นเกณฑ์การพิจารณาด้านความสวยทั่ว ๆ ไป เกี่ยวกับตัวอักษร กราฟิก และการใช้สี รวมทั้งรูปแบบการนำเสนอ และการติดต่อกับผู้ใช้ 2.2.8.9 การเก็บบันทึก (Record Keeping) ได้แก่ การเก็บบันทึกประวัติผู้เรียน การ บันทึกผลการเรียนและระบบฐานข้อมูลต่าง ๆ ที่สนับสนุนกระบวนการเรียนการสอน เช่น การ ออกใบประกาศนียบัตรหลังจากเรียนจบ 2.2.8.10 เสียง (Tone) ถ้าบทเรียน WBI/WBT สนับสนุนมัลติมีเดียด้วย ก็ควร พิจารณาด้านเสียง เกี่ยวกับลักษณะของเสียงที่ใช้ ปริมาณการใช้ และความเหมาะสม 2.3 การออกแบบเว็บเพื่อการเรียนการสอน ถนอมพร (2545 : 123) ได้แบ่งหัวข้อและอธิบายการออกแบบเว็บเพื่อการเรียนการสอนไว้ ดังนี้ 2.3.1 การออกแบบโครงสร้างเว็บไซต์ (Design Site Structure) แม้ว่าสิ่งแรกที่ผู้เรียนสัมผัสได้จากการเข้าเรียนออนไลน์ คือ กราฟิกที่สวยงาม บน เว็บเพจแต่สิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งที่จะส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ได้แก่ การจัดระบบโครงสร้างของ เว็บไซต์ การออกแบบโครงสร้างเว็บไซต์จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะโครงสร้างเว็บไซต์มี ความสัมพันธ์โดยตรงกับการเข้าถึงเนื้อหาของผู้เรียน กล่าวคือ หากโครงสร้างเว็บไซต์ได้รับการ ออกแบบมาอย่างดี ผู้เรียนจะมีการนำทาง (navigate) ในบทเรียนได้อย่างสะดวกและไม่สับสน ในทางตรงกันข้ามหากการออกแบบโครงสร้างเว็บไซต์เต็มไปด้วยความสับสน ผู้เรียนก็จะไม่ สามารถใช้เวลาในการสร้างสมาธิสำหรับการเรียนรู้ได้อย่างที่เนื่องจากจะต้องใช้ความพยายามส่วน หนึ่งไปกับการหาทางเข้าถึงเนื้อหาที่ต้องการ ผู้ออกแบบคอร์สแวร์สำหรับ e-Learning จำเป็นที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของ โครงสร้างของเว็บไซต์ให้ถ่องแท้ แม้ว่าโครงสร้างของเว็บไซต์ที่ใช้ระบบจัดการรายวิชา (Course Management System) จะได้รับการออกแบบไว้แล้ว เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งานในลักษณะของ 21 โครงสร้างแบบลำดับชั้นเช่นเดียวกับสารบัญหนังสือ ซึ่งผู้ออกแบบมีหน้าที่เพียงใส่หัวข้อเนื้อหา เข้าไปในช่อง (Slot) ที่ระบบจัดเตรียมไว้อย่างไรก็ดี ผู้ออกแบบก็ยังสามารถที่จะออกแบบ โครงสร้างเว็บไซต์เพื่อปรับแต่ง (Customize) ให้เข้ากับธรรมชาติความสัมพันธ์ของเนื้อหาได้ ยกตัวอย่างเช่น เนื้อหาที่มีความสัมพันธ์ภายใน (Crisscrossing Relationship) ในลักษณะการเข้าถึง เนื้อหาสามารถทำได้หลายทาง ผู้ออกแบบสามารถออกแบบให้มีลิงค์ภายในเว็บเพจ เพื่อนำเสนอ ทางเลือกในการเข้าสู่เนื้อหาตามที่ผู้ออกแบบคิดว่าเหมาะสม นอกจากนี้ในกรณีที่ยังไม่มีการใช้ระบบจัดการรายวิชาเพื่อช่วยในการให้ความสะดวก ใน การสร้างบทเรียน รวมทั้งการวางโครงร่างของเว็บไซต์นั้น ผู้ออกแบบยิ่งมีความจำเป็นต้องทำความ เข้าใจเกี่ยวกับประเภทต่าง ๆ ของโครงสร้างเว็บไซต์เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ออกแบบโครงสร้าง เว็บไซต์ของตนให้เหมาะสม นักเทคโนโลยีการศึกษาหลายท่านได้เสนอแนะ การแบ่งโครงสร้างเว็บไซต์ออกเป็นหลาย ลักษณะ ความพยายามที่น่าสนใจได้แก่ การแบ่งประเภทโครงสร้างเว็บไซต์ออกเป็น 4 ลักษณะ ซึ่งได้แก่ ลักษณะเรียงลำดับ (Sequences) ลักษณะกริด (Grid) ลักษณะลำดับชั้นสูง/ต่ำ (Hierarchies) และในลักษณะเว็บ (Web) และการแบ่งโครงสร้างเว็บไซต์ออกเป็น 3 ลักษณะของ (Graham et ., 2001) ซึ่งได้แก่ ลักษณะเชิงเส้น (Linear) ลักษณะเปิด (Open) และลักษณะ ผสมผสาน (Modular) ในบทนี้จะอธิบายถึงรายละเอียดของการแบ่งโครงสร้างเว็บไซต์ทั้งสอง ลักษณะ รวมทั้งคำแนะนำต่าง ๆ ในทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งประเด็นในด้านรูปแบบการ เรียนซึ่งเกี่ยวข้องกับการแบ่งโครงสร้างเว็บไซต์ การออกแบบโครงสร้างเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยมมาก ได้แก่ การออกแบบโครงสร้าง เว็บไซต์ออกเป็น 4 ลักษณะ (Lynch and Horton, 1999) ได้แก่ ลักษณะเรียงลำดับ (Sequences) ลักษณะกริด (Grid) ลักษณะลำดับชั้นสูง/ต่ำ (Hierarchies) และในลักษณะเว็บ (Web) 2.3.1.1 โครงสร้างลักษณะเรียงลำดับ (Sequences) วิธีการที่ธรรมดาที่สุดในการจัดระบบเนื้อหา คือ การวางเนื้อหาในลักษณะ เรียงลำดับ การเรียงลำดับนี้อาจเรียงตามเวลาหรือปัจจัยอื่น ๆ เช่น จากทั่ว ๆ ไปถึงเจาะจง เรียงลำดับตัวอักษร เรียงตามประเภทของหัวข้อเนื้อหา ฯลฯ การเรียงลำดับในลักษณะเปิดไป เรื่อยๆ นี้เหมาะสมสำหรับเว็บไซต์สำหรับการสอนที่มีเนื้อหาไม่มากนัก เพื่อบังคับให้ผู้เรียนเปิด หน้าเพื่อศึกษาเนื้อหาไปตามลำดับที่ตายตัว อย่างไรก็ดีหาเป็นเว็บไซต์ที่ซับซ้อนมากขึ้น โครงสร้างในลักษณะเรียงลำดับก็ยังทำได้ ซึ่ง แต่ละหน้าในเนื้อหาหลักสามารถที่จะมีลิงค์ไปยังหน้าอื่น ๆ ได้ 22 2.3.1.2 โครงสร้างลักษณะกริด (Grid) การออกแบบในลักษณะกริด เป็นวิธีที่เหมาะสมสำหรับเนื้อหาในลักษณะที่ สามารถออกแบบให้คู่ขนานกันไปยกตัวอย่างเช่น การสอนเนื้อหาวิชาประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งเนื้อหา อาจแบ่งได้ตามเวลาหรือยุคเช่น ยุคสุโขทัย ยุคกรุงศรีอยุธยา ยุคกรุงธนบุรี และยุคกรุงรัตนโกสินทร์ นอกจากนี้ อาจแบ่งเนื้อหาได้ตามหัวข้อทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง เช่น ด้านวัฒนธรรม ด้านการ ปกครอง ด้านสังคม ด้านการเมือง เป็นต้น หรือ อีกตัวอย่างเกี่ยวกับเนื้อหาทางด้านไอที ซึ่งอาจ แบ่งได้ตามนวัตกรรมใหม่ที่เกิดขึ้น เช่น เครือข่ายอินเตอร์เน็ต e-Learning Virtual Reality ฯลฯ ในขณะเดียวกันเนื้อหากันนี้อาจแบ่งออกตามหัวข้อที่เกี่ยวข้อง เช่น ความหมายประวัติความ เป็นมาประโยชน์ คุณลักษณะสำคัญ ฯลฯ ได้ ซึ่งเนื้อหาที่เหมาะสมกับการออกแบบโครงสร้างใน ลักษณะกริดจะต้องมีโครงสร้างของหัวข้อย่อยร่วมกันดังที่ได้กล่าวม ผู้เรียนสามารถเลือกที่จะเข้าถึง เนื้อหาในมุมใดก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นบนลงล่างหรือซ้ายไปขวา อย่างไรก็ดี ผู้เรียนอาจสับสนกับการเข้าถึงเนื้อหาในลักษณะโครงสร้างแบบกริดได้หาก ผู้เรียนไม่ทราบถึงความสัมพันธ์ในโครงสร้างหัวข้อย่อยที่ใช้ร่วมกันอยู่ ดังนั้นโครงสร้างแบบกริด นี้น่าจะเหมาะสมกับผู้เรียนที่มีประสบการณ์ในหัวข้อนั้น ๆ พอสมควร หรือการใช้โครงสร้างแบ บกริดนี้ต้องออกแบบให้มีแผนที่เว็บไซต์เพื่อให้ภาพของโครงสร้างเว็บไซต์ที่ชัดเจนแก่ผู้เรียน 2.3.1.3 โครงสร้างลักษณะลำดับชั้น (Hierarchies) การออกแบบโครงสร้างในลักษณะลำดับชั้น เป็นวิธีการที่เหมาะสมที่สุด สำหรับเนื้อหาที่สลับซับซ้อน เพราะการออกแบบลักษณะนี้ทำให้การเข้าถึงเนื้อหาที่มีโครงสร้าง ซับซ้อนเป็นไปด้วยความง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น เพราะโครงสร้างลักษณะลำดับชั้นจะมีการแบ่ง หมวดหมู่เนื้อที่ชัดเจน ผู้ใช้เว็บส่วนใหญ่ก็มีความคุ้นเคยเป็นอย่างดีกับโครงสร้างเว็บไซต์ใน ลักษณะลำดับชั้นอยู่แล้ว เพราะทุก ๆ เว็บก็จะมีหน้าโฮมเพจก่อนเสมอแล้วจึงแบ่งออกเป็น ส่วนย่อย ๆ ต่อไปจากบนลงล่าง โครงสร้างลักษณะลำดับชั้นจะทำให้ผู้เรียนมีความสะดวกในการ เข้าถึงเนื้อหาที่ต้องการ อย่างไรก็ดี ควรหลีกเลี่ยงการออกแบบโครงสร้างใน 2 ลักษณะได้แก่ โครงสร้างที่ตื้นเกินไป ซึ่งหมายถึงโครงสร้างที่ประกอบไปด้วยการลิงค์จากหน้าหลัก ไปยังเนื้อหาที่ไม่มีความสัมพันธ์กัน จำนวนมาก และโครงสร้างที่ลึกจนเกินไป ซึ่งหมายถึง โครงสร้างซึ่งทำให้ผู้เรียนจำเป็นต้องคลิก ผ่านเมนูย่อยที่ซ่อนอยู่หลายต่อหลายครั้งจนกว่าจะพบเนื้อหาที่ต้องการ จริงอยู่ที่ว่าเนื้อที่มีความ สลับซับซ้อนต้องการโครงสร้างที่มีความลึกมากเป็นธรรมดา อย่างไรก็ดีผู้ออกแบบไม่ควรบังคับ ให้ผู้เรียนต้องคลิกผ่านหน้าแล้วหน้าเล่าเพื่อที่จะเข้าสู่เนื้อหาที่ต้องการ 23 บางครั้งผู้ออกแบบมักจะพบคำถามที่ว่าจะทำอย่างไรให้ผู้เรียนเข้าถึงเนื้อหาที่ต้องการได้ อย่างรวดเร็วจากส่วนอื่น ๆ ของเนื้อหาในไซต์เดียวกัน หรือคำถามที่ว่าทำอย่างไรผู้เรียนถึงจะ กลับมาหาเนื้อหาที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องผ่านการคลิกจำนวนมาก กลยุทธ์ที่จะช่วยใน การลดขั้นตอนการนำทางเข้าสู่เนื้อหาที่ต้องการมีหลายประการด้วยกัน ได้แก่ 1. การจัดหาลิงค์ซึ่งอนุญาตให้ผู้เรียนเข้าถึงเนื้อหาโดยตรงไว้ ในที่นี้หมายถึง การจัดหาเมนูเพื่อแสดงรายการของลิงค์ทั้งหมดที่ผู้เรียนสามารถเลือก คลิกเพื่อเข้าสู่เนื้อหาที่ต้องการได้โดยตรง ซึ่งรายการจะถูกนำเสนอในลักษณะลำดับชั้นของหัวข้อ โดยเมนูอาจอยู่ในลักษณะใดก็ได โดยเมนูที่ได้รับความนิยมใช้กันทั่วไปในการออกแบบเว็บไซต์ ในขณะนี้ได้แก่ เมนูแบบ Drop-down ซึ่งเมื่อผู้เรียนกดลงบนเมนู จะมีรายการของหน้าต่าง ๆ ที่ เกี่ยวข้องเพิ่มขึ้น การใช้เมนูลักษณะนี้จึงเป็นการลดการใช้พื้นที่เว็บเพจไปได้มากเนื่องจากรายการ จะแสดงขึ้นก็ต่อเมื่อมีการคลิกลงบนบริเวณเมนูเท่านั้น 2. จัดให้มีหน้าแนะนำเนื้อหา (Orientation Page) ในหน้าแนะนำเนื้อหานี้ ผู้ออกแบบจะต้องมีคำแนะนำสำหรับผู้เรียนในการศึกษาเนื้อหา ในการเข้าสู่เนื้อหา รวมทั้งคำแนะนำเกี่ยวกับโครงสร้างเว็บไซต์ 3. เพิ่มหน้า “ลิงค์ที่น่าสนใจ” ออกแบบให้มีลิงค์ไปสู่หน้าใหม่ที่เกี่ยวข้องแทนการนำเสนอเนื้อหาในลักษณะต่อ ๆ กัน ไป เหมือนกับการพิมพ์เอกสารไปเรื่อย ๆ 4. จัดหาแผนที่ไซต์ (Site Map) แผนที่ไซต์จะแสดงรายการของหน้าทั้งหมดบนเว็บไซต์อย่างละเอียด เหมือนกับเป็นภาพ จำลองของไซต์ แผนที่ไซต์จะมีประโยชน์สำหรับการบอกตำแหน่งของผู้เรียน การจัดหาแผนที่ไซต์ เป็นอีกวิธีที่จะช่วยให้ผู้เรียน สามารถกลับไปยังเนื้อหาที่ต้องการหรือที่ศึกษาค้างไว้ครั้งที่แล้วได้ อย่างสะดวกรวดเร็ว นอกจากนี้ยังมีประโยชน์สำหรับการทบทวนเนื้อหาด้วย 5. จัดหาเครื่องมือสืบค้น (Search engines) การจัดหาเครื่องมือสืบค้นให้กับผู้เรียนเพื่อสืบค้นข้อความหรือคำสำคัญเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ ช่วยผู้เรียนในการเข้าถึงเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น 6. จัดโครงสร้างเนื้อหาใหม่ เมื่อออกแบบโครงสร้างแล้ว พบว่าในการเข้าสู่เนื้อหาของผู้เรียนยังต้องผ่านการคลิก จำนวนมาก ทางออกสุดท้ายอาจได้แก่การจัดโครงสร้างเนื้อหาใหม่ 24 2.3.1.4 โครงสร้างในลักษณะเว็บ (Web) การออกแบบโครงสร้างในลักษณะเว็บ เป็นการออกแบบที่แทบจะไม่ได้มี กฎเกณฑ์ใด ๆ ในด้านของรูปแบบโครงสร้างเลย ในโครงสร้างแบบเว็บจะเท่ากับการจำลอง ความคิดของคนที่มักจะมีความต่อเนื่องกัน (Flow) ไปเรื่อย ๆ ซึ่งเหมือนกับการอนุญาตให้ผู้ใช้เลือก เนื้อหาที่ต้องการเชื่อมโยงตามความถนัด ความต้องการ ความสนใจ ฯลฯ ของตนเอง โครงสร้าง ลักษณะเว็บจะเต็มไปด้วยลิงค์ที่มากมายทั้งกับเนื้อหาในเว็บไซต์เดียวกัน หรือเว็บไซต์ภายนอก ก็ตาม แม้ว่าเป้าหมายของการจัดระบบโครงสร้างในลักษณะเว็บก็เพื่อการใช้ประโยชน์จากศักยภาพ การเชื่อมโยงของเว็บ โครงสร้างในลักษณะนี้อาจส่งผลให้เกิดความสับสนต่อผู้เรียนได้มากที่สุด นอกจากนี้ยังเป็นวิธีที่ยากที่สุดในการนำมาใช้จริง เพราะการเชื่อมโยงที่มากจะทำให้ผู้เรียนสับสน และหลงทางได้อย่างง่ายดาย โครงสร้างลักษณะนี้จะเหมาะสมที่สุด สำหรับเว็บไซต์เล็ก ๆ ซึ่งเต็ม ไปด้วยลิงค์ และเหมาะสำหรับผู้เรียนที่มีประสบการณ์ในด้านเนื้อหามาแล้วและต้องการเพิ่มเติม ความรู้ในหัวข้อนั้น ๆ ไม่ใช่เพื่อการนำความเข้าใจพื้นฐานของเนื้อหาใดเนื้อหาหนึ่ง ในการออกแบบโครงสร้างเว็บไซต์ เราสามารถใช้โครงสร้างการนำเสนอเนื้อหามากกว่าหนึ่ง โครงสร้างได้ อย่างไรก็ดีพบว่าผู้เรียนส่วนใหญ่มีจะเข้าถึงเนื้อหาในลักษณะไม่เป็นเชิงเส้นตรง (non-linear) ดังนั้นผู้ออกแบบเว็บไซต์อาจไม่จำเป็นต้องจัดเว็บไซต์ที่ได้กล่าวมาออกเป็น 2 มิติ มิติที่หนึ่งคือลักษณะเชิงเส้นตรงของเนื้อหา และมิติที่สองแบ่งออกตามความซับซ้อนของเนื้อหา และประสบการณ์ของผู้เรียนในเนื้อหานั้น ๆ 2.3.1.5 โครงสร้างเชิงเส้นตรง ผู้เรียนศึกษาเนื้อหาบทเรียนทีละหน้าไปเรื่อย ๆ ในลักษณะเส้นตรง แต่ใน บางครั้งผู้ออกแบบอาจจัดให้มีลิงค์ (การเชื่อมโยง)ไปยังหน้าอื่น ๆ ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียน ข้ามหน้าได้ โครงสร้างเชิงเส้นตรงเหมาะสมสำหรับเว็บไซต์เล็ก ๆ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่ตายตัวและ ชัดเจน เช่น เว็บไซต์ซึ่งมีเนื้อหาในการสอนการใช้เว็บ ซึ่งออกแบบสำหรับการเรียนประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง และสำหรับการศึกษาด้วยตนเองเพื่อการทบทวนภายหลังโดยมีวัตถุประสงค์ให้ผู้เรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 2 ใช้ในการเรียนเกี่ยวกับการใช้เว็บในการสืบค้นผ่านเว็บผ่านอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อการทำรายงาน เป็นต้น การออกแบบในลักษณะเชิงเส้นตรงจะมีประโยชน์ สำหรับผู้เรียนซึ่งอาจไม่มีประสบการณ์ ในการท่องเที่ยวเริ่มต้นกับการใช้เว็บหรือผู้เรียนซึ่งขาดความมั่นใจในการตัดสินใจเลือกทางเดินใน การเข้าถึงเนื้อหาเพื่อการเรียนรู้ของตน โครงสร้างในลักษณะตายตัวเช่นนี้จะทำหน้าที่นำทางผู้เรียน และทำให้ผู้เรียนรู้สึกพอใจที่ได้เรียนทุกเนื้อหาได้ครบถ้วนสมบูรณ์โดยไม่ต้องเกรงว่าจะข้ามเนื้อหา ใดไปหรือไม่อย่างไร โครงสร้างลักษณะนี้เหมาะสำหรับผู้เรียนที่ชอบรูปแบบการเรียนในลักษณะ 25 การเลือกเรียนมีผู้ชี้นำ (Directed Learning) มากกว่าผู้เรียนที่ชอบรูปแบบการเรียนในลักษณะการ เลือกเรียนด้วยตนเอง (Autonomous Learning) อย่างไรก็ตามข้อพึงระวังจากการใช้โครงสร้าง เว็บไซต์ในลักษณะนี้ก็คือ ผู้เรียนที่มีประสบการณ์และมีความมั่นใจตนเองจะรู้สึกอึดอัดและถ้าใช้ มากเกินไปจะทำให้จำกัดการเรียนในลักษณะผู้เรียนเป็นศูยน์กลาง 2.3.1.6 โครงสร้างลักษณะเปิด โครงสร้างเว็บไซต์ในลักษณะเปิดจัดหาทางเลือกหลายทาง ซึ่งไม่ตายตัว แก่ผู้เรียนในการเข้าสู่เนื้อหา ซึ่งหมายความว่า เว็บเพจจำนวนมากในโครงสร้างแบบเปิดจะมีลิงค์ ให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงได้อย่างอิสระ ไม่มีทางเข้าสู่เนื้อหาที่แน่นอน ซึ่งโอกาสให้ผู้เรียนสามารถ เลือกเข้าสู่เนื้อหาที่ต้องการเรียนได้ตามความสนใจและเป็นผู้ควบคุมการเรียนของตน โครงสร้าง ลักษณะนี้เหมาะสำหรับผู้เรียนที่มีประสบการณ์และมีความมั่นใจที่จะควบคุมการเรียนของตน รวมทั้งมีทักษะในการใช้เว็บไซต์ในลักษณะนี้ก็คือ การเรียนรู้อาจเกิดความสับสนและท้อแท้กับ การเรียนได้ นอกจากนี้โครงสร้างในลักษณะเปิดจะไม่เหมาะกับผู้เรียนที่ชอบเรียนเนื้อหาให้ ครบถ้วนสมบูรณ์ 2.3.1.7 โครงสร้างลักษณะผสมผสาน โครงสร้างลักษณะผสมผสานจะผสมคุณลักษณะของทั้งลักษณะเชิงเส้นตรง และลักษณะเปิดเข้าด้วยกัน โดยโครงสร้างลักษณะผสมผสานจะจัดหาทางเลือก ซึ่งในลักษณะ เชิงเส้นตรงไม่มี รวมทั้งเพิ่มความชัดเจนของโครงสร้าง ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ขาดหายไปจาก โครงสร้างในลักษณะเปิด ผู้เรียนจะได้รับทางเลือกในการทำกิจกรรมการเรียนหรือการเลือกเนื้อหา ที่ต้องการจะศึกษา แต่จะเรียนรู้เนื้อหาแต่ละส่วนในลักษณะเส้นตรง โครงสร้างลักษณะผสมผสาน จะเหมาะสำหรับกลุ่มผู้เรียนซึ่งคละระดับของประสบการณ์ใน การใช้เว็บและประสบการณ์ในการเรียนรู้ด้วยตนเอง และสามารนำไปประยุกต์ได้กว้างขวางที่สุด อย่างไรก็ตามข้อพึงระวังจากการใช้โครงสร้างเว็บไซต์ในลักษณะนี้ก็คือ ความไม่สม่ำเสมอของ โครงสร้างอาจทำให้เกิดความเบื่อหน่ายจากผู้เรียนทำให้ผู้เรียนขาดความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ ได้ 2.3.2 การออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ (User Interface) สิ่งสำคัญที่ทำให้ได้มาซึ่งส่วนต่อประสานที่ดีระหว่างเนื้อหากับผู้เรียน ได้แก่ การที่ เว็บนั้นมีโครงสร้างเว็บไซต์ที่ดี อย่างไรก็ดีส่วนต่อประสานที่ใช้งานได้ดียังจำเป็นต้อง ประกอบด้วยอีก 2 ปัจจัยด้วยกัน คือ 1) วิธีของการทำงาน (navigation) หรือวิธีการที่ใช้เพื่อนำผู้เรียนเข้าสู่เนื้อหานั้นเอง 2) การออกแบบทางทัศนะ (Visual Design ) หรือการออกแบบภาพและ สีสันบนเว็บเพจนั้นเอง 26 ถึงแม้ว่าหลักการในการออกแบบเว็บเพจ หรือหลักการที่เกี่ยวข้องกับการนำทางยังเป็น ประเด็นที่ยังมีการวิจัยกันอยู่ในปัจจุบัน แต่สามารถสรุปเป็นภาพรวมได้ว่า สิ่งที่ผู้ออกแบบควร คำนึงถึงมากที่สุดในการออกแบบพัฒนาส่วนต่อประสานและหน้าจอ ได้แก่ ความสามารถในการ อ่านข้อมูลของผู้เรียน (Readability) เป็นอันดับแรก โดยให้คำนึงถึงความสวยงามในอันดับสอง โดยที่การใช้กราฟิก หรือการออกแบบหน้าจอที่สวยงามจะต้องไม่ทำให้เนื้อหาสาระที่ต้องการ นำเสนอกลายเป็นเพียงไม้ประดับ โดยการออกเว็บเพจที่ดีจะทำให้การรับรู้ของผู้เรียนเป็นไปได้ สะดวกยิ่งขึ้นและส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนในที่สุด ในบทนี้จะอธิบายเกี่ยวกับปัจจัยทางด้าน การนำทางโดยจะยกตัวอย่างการออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ สำหรับหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการ ออกแบบทางทัศนะสำหรับเว็บเพจนั้น จะกล่าวถึงในบทต่อไป 2.3.2.1 การนำทาง (Navigation) ในการออกแบบส่วนนำทางหรือส่วนที่จะนำผู้เรียนเข้าสู่เนื้อหา นอกจาก โครงสร้างของเว็บไซต์ที่ดีแล้ว หัวใจสำคัญคือการออกแบบการนำทางของแต่ละตัวแต่ละหน้าการ ออกแบบวิธีการนำเข้าสู่เนื้อหาที่ดีจะใช้การเปรียบเทียบกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือการออกแบบให้ เว็บไซต์มีโทน หรือธีม ที่เป็นเอกลักษณ์ซึ่งนอกจากจะทำให้ไซต์มีความสม่ำเสมอแล้วยังจะสามารถ ถ่ายทอดความรู้สึกที่ผู้ออกแบบหรือสอนต้องการส่งผ่านไปยังผู้เรียนได้อีก สำหรับเทคโนโลยีเว็บ นั้น มีการใช้การเปรียบเทียบ (Metaphor) สิ่งแวดล้อมของเว็บ กับสิ่งแวดล้อมที่คนคุ้นเคยกันดีอยู่ แล้ว ได้แก่ หนังสือ ซึ่งการใช้การเปรียบเทียบนี้มีทั้งข้อได้เปรียบและข้อเสียเปรียบ เพราะเมื่อ คิดถึงเว็บเพจในลักษณะของหน้าหนังสือ ข้อดีก็ได้แก่ การที่ผู้เรียนจะใช้เวลาไม่นานนักในการทำความคุ้นเคยกับสิ่งแวดล้อมใหม่นี้ อย่างไรก็ดีการเปรียบเทียบกับหนังสือ อาจจำกัดความคิดสร้างสรรค์ของนักออกแบบเพราะ นักออกแบบอาจยึดติดกับการออกแบบหนังสือมากเกินไปก็ได้ ดังนั้นในการออกแบบเว็บไซต์ให้ ประสบความสำเร็จได้ ไม่เพียงแต่ยังต้องการออกแบบวิธีการในการให้ผู้เรียนท่องไปในเว็บไซต์ได้ อย่างสะดวกที่สุด การออกแบบการนำทางเป็นการออกแบบส่วนต่อประสานระหว่างผู้ใช้กับเนื้อหา และในขณะเดียวกันการนำทางช่วยสื่อให้ผู้เรียนทราบถึงโครงสร้างของบทเรียน กระตุ้นความอยาก รู้อยากเห็นและการต้องการสำรวจไปในเว็บไซต์ และที่สำคัญคือการออกแบบการนำทางที่ดีจะต้อง มีความสม่ำเสมอกันทั้งบทเรียน การออกแบบการนำทางที่ดี จะต้องทำให้ผู้เรียนทราบว่าผู้เรียนกำลังอยู่ที่ใดในเว็บไซต์ นอกจากนี้ยังต้องทำให้ผู้เรียนทราบว่าตนเองสามารถที่จะเลือกไปทางใดได้บ้าง และไปอย่างไร นอกจากนี้ผู้เรียนควรจะเข้าใจเครื่องมือในการช่วยนำทางที่ผู้ออกแบบใช้ได้อย่างง่ายดาย ไม่ว่า เครื่องมือนำทางนั้นจะอยู่ในลักษณะใด อาทิเช่น ไอคอน เมนู ภาพ ข้อความ ฯลฯ ซึ่งไม่ว่า 27 ผู้ออกแบบจะใช้เครื่องมือในการช่วยนำทางรูปแบบใดจะต้องออกแบบให้มีความชัดเจน ไม่กำกวม และสามารถสื่อความหมายได้โดยไม่ยึดติดกับบริษัทใดบริษัทหนึ่ง และหากใช้ในลักษณะกราฟิก ควรจัดหาทางเลือกให้แก่ผู้ใช้ในรูปของข้อความด้วยบนเว็บเพจเดียวกัน ผู้เรียนจะต้องสามารถเลือกที่จะกลับมายังโฮมเพจหรือหน้า ซึ่งเป็นจุดเชื่อมโยงหลักได้อย่าง สะดวก การจัดหาลิงค์มาตรฐานไว้ทุกหน้าเป็นสิ่งจำเป็น ปุ่มในลักษณะของกราฟิกนอกจากจะ สามารถใช้เป็นลิงค์มาตรฐานที่ดีแล้ว ยังสร้างความเป็นเอกลักษณ์เพื่อแสดงให้ผู้เรียนทราบว่ายังอยู่ ในไซต์เดิมหรือไม่ การออกแบบการนำทางที่ดีจะต้องไม่ให้มีหน้าที่เป็นทางตัน การเข้าเรียนในเว็บบางครั้ง ผู้เรียนสามารถเข้าถึงเว็บเพจบางหน้าซึ่งอยู่ในชั้นลึก ๆ ของโครงสร้างโดยที่ไม่จำเป็นต้องมาจาก หน้าใด ๆ ในไซต์เดียวกันก็ได้ ดังนั้นหากหน้าบางหน้าในเว็บไซต์ไม่ได้มีการเชื่อมโยงไปโฮมเพจ หรือหน้าเมนูผู้เรียนก็จะไม่สามารถไปสู่ที่ใดในเว็บไซต์นั้นได้ ในการออกแบบการเข้าถึงเนื้อหาสำหรับผู้เรียน ควรมีการออกแบบลำดับชั้นของข้อมูลอย่าง มีประสิทธิภาพ งานวิจัยหลายชิ้นพบว่าผู้ใช้เว็บไซต์ชอบเมนูซึ่งมีลิงค์ประมาณ 5 ถึง 7 รายการให้ เลือกและชอบให้มีหน้าที่ต้องเลือกรายการไม่มากนัก แต่ผู้ใช้จะไม่ชอบการคลิกครั้งแล้วครั้งเล่า จากเมนูที่มีตัวเลือกไม่มากนัก ตารางที่ 2-1 แสดงจำนวนรายการในแต่ละระดับของเมนู จำนวนรายการในแต่ละเมนู ระดับของเมนู 5 7 8 10 1 5 7 8 10 2 25 49 64 100 3 125 343 512 1000 จากตารางแสดงให้เห็นว่า นักออกแบบไม่จำเป็นต้องใช้เมนูหลายระดับ (ให้ผู้เรียนคลิกหลาย ครั้ง) เนื่องจากเมนูเพียง 2 ระดับ ก็สามารถมีตัวเลือกเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ ดังตัวอย่างเช่น เมนูระดับที่ 1 มีรายการตัวเลือก 5 รายการ ในระดับที่ 2 ของแต่ละรายการก็สามารถมีตัวเลือกอีกอย่างละ 5 รายการย่อย ซึ่งรวมเป็น 25 รายการแล้ว นอกจากนี้ผู้เรียนจะไม่ทนรอการโหลดเว็บเพจที่ใช้เวลานาน งานวิจัยสนับสนุนว่า เวลาที่ ผู้ใช้ส่วนใหญ่จะสามารถทนรอได้มากที่สุด คือ 10 วินาที การออกแบบที่ไม่เหมาะสมกับความเร็ว ในการเข้าถึงเนื้อหาของผู้เรียนจะทำให้ผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่าย 28 ควรพิจารณาออกแบบให้เรียบง่ายและสม่ำเสมอ ตัวอย่างเช่นหากมีการใช้บริการ เปรียบเทียบหรือใช้ธีมในการออกแบบ ควรเลือกธีมที่ผู้เรียนเข้าใจได้ง่าย และเลือกใช้กราฟิกเป็น เครื่องมือนำทางบริเวณตอนบนของหน้าสม่ำเสมอตลอดทั้งไซต์ซึ่งหากลิงค์มาตรฐานมีตำแหน่งที่ แน่นอนตายตัวเช่นนี้ การเข้าสู่เนื้อหาก็เป็นสิ่งที่สะดวกและง่ายดายมากสำหรับผู้เรียน 2.3.2.2 พฤติกรรมการใช้เว็บกับการออกแบบเว็บไซต์ ในการออกแบบไซต์ สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่ง ได้แก่ การเก็บข้อมูล จากผู้เรียนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายเสียก่อน ให้พยายามนึกภาพว่าผู้เรียนต้องการอะไร และพฤติกรรม ในการสำรวจเว็บไซต์ของผู้เรียนจะส่งผลต่อการออกแบบไซต์อย่างไรบ้าง และในทางกลับกันการ ออกแบบไซต์อาจส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้เว็บไซต์อย่างไร อย่างไรก็ดีการเก็บข้อมูลในส่วนนี้ อาจเป็นเพียงการสำรวจขั้นต้น เพราะผู้ออกแบบจะไม่สามารถทราบได้อย่างชัดเจนจนกว่าจะได้มี การนำไปใช้จริงกับกลุ่มผู้เรียนจริง การหาคำตอบของคำถามด้านล่างต่อไปนี้จะสามารถช่วยในการ ออกแบบการนำทางเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 1. เว็บเพจที่ผู้เรียนเข้ามามากที่สุดคือหน้าใด 2. ทางที่นำเข้าสู้หน้าที่มีผู้เรียนเข้ามากที่สุด คือทางใด 3. ทางที่นำเข้าสู่หน้ายอดนิยมนี้มีประสิทธิภาพ (ผ่านหลายขั้นตอนเกินไป)หรือไม่ 4. มีวิธีการที่สามารถนำผู้เรียนเข้าสู่หน้ายอดนิยมนี้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่านี้หรือไม่ ตารางที่ 2-2 แสดงพฤติกรรมของผู้ใช้เว็บซึ่งส่งผลต่อหลักการในการออกแบบเว็บไซต์ พฤติกรรมของผู้ใช้เว็บ หลักการในการออกแบบเว็บไซต์ ประมาณ 58 % ของผู้ใช้จะไม่อ่าน ข้อความจนจบ ในกรณีที่มีเนื้อหามากในแต่ละหน้าพิจารณา ออกแบบให้มีโครงสร้างลักษณะลำดับชั้นเพื่อ อนุญาต ให้ผู้ใช้อ่านเนื้อหาที่ต้องการได้สะดวกยิ่งขึ้น ประมาณ 10% ของผู้ใช้ไม่เคยเลื่อนหน้า เพื่ออ่านเนื้อหาในส่วนล่างของหน้าจอ เนื้อหาที่สำคัญและจำเป็นสำหรับผู้เรียนจะต้อง ออกแบบให้อยู่ในส่วนบนของหน้าเสมอ ผู้ใช้ส่วนใหญ่พบว่าเป็นการไม่สะดวก นักที่จะอ่านเนื้อหาผ่านทางหน้าจอ ไม่ออกแบบให้เนื้อหายาวเกินไปในแต่ละหน้า จัดเตรียมเวอร์ชั่นที่ผู้เรียนสามารถดาวน์โหลดและสั่ง พิมพ์ได้ 29 ตารางที่ 2-2 (ต่อ) พฤติกรรมของผู้ใช้เว็บ หลักการในการออกแบบเว็บไซต์ ผู้ใช้จะไม่อดทนต่อการรอการดาวน์ โหลดของข้อมูลที่ช้าเกินไป ไม่ออกแบบเนื้อหาที่ยาวเกินไปในแต่ละหน้า ถ้า จำเป็นจริง ๆ ต้องเป็นเนื้อหาที่มีความสำคัญมาก ระดับหนึ่ง ให้พิจารณาแบ่งเนื้อหาเป็นส่วน ๆ และ ใช้เมนูเข้าใจเพื่อให้ผู้เรียนเลือกสารสนเทศที่ต้องการ ผู้ใช้ไม่ชอบที่จะเปิดผ่านเว็บเพจจำนวน มากเกินไปจนกว่าจะเจอเนื้อหาที่ ต้องการอ่าน หลีกเลี่ยงการใช้โครงสร้างการเข้าถึงเนื้อหาที่ สลับซับซ้อนและแบ่งโครงสร้างเนื้อหาให้ตื้นขึ้น ผู้ใช้ชอบให้จัดหาตัวเลือกต่าง ๆ ให้ ชัดเจน แต่ในขณะเดียวกันมักจะไม่ค่อย เลือกใช้นัก จัดหาเมนูในหน้าสำคัญ ๆ แต่ไม่ใช่มีอยู่ตลอดทุกที่ 2.3.2.3 หลักการในการออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ หลักการในการออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้สามารถสรุปได้ดังนี้ ก) ออกแบบให้เรียบง่าย เว็บเพจที่มีประสิทธิภาพมักจะได้แก่ เว็บเพจที่มีการออกแบบให้มีความ เรียบง่ายซึ่งหลีกเลี่ยงการออกแบบที่รกรุงรังหรือเต็มไปด้วยเนื้อหาที่มากเกินไป ถ้าผู้ออกแบบเอง เริ่มไม่แน่ใจว่ามีความจำเป็นหรือไม่ที่ต้องใส่เนื้อหาบางอย่างลงไป ข้อแนะนำคือ หากไม่สำคัญก็ ไม่จำเป็นต้องใส่จะดีกว่า ข) ออกแบบให้ยืดหยุ่น การออกแบบให้ผู้เรียนมีอิสระในการเข้าถึงเนื้อหาที่หลากหลาย จะช่วย ให้ผู้เรียนรู้สึกว่าได้ควบคุมการเรียนรวมทั้งทำให้เว็บไซต์ไม่น่าเบื่อจนเกินไป ยกตัวอย่างเช่น การ ใช้โครงสร้างลักษณะกริดในการออกแบบเว็บไซต์ โดยพิจารณาออกแบบการใช้สีที่แตกต่างใน แต่ละส่วนเนื้อหาแทน นอกจากนี้ไม่ควรมีหน้าที่เป็นทางตัน (dead-end pages) กล่าวคือ เว็บเพจ แต่ละหน้าจะต้องมีลิงค์กลับไปยังหน้าหลัก ไม่ควรออกแบบเว็บเพจที่ไม่มีทางไปเพราะทำให้ผู้ใช้ เกิดความรู้สึกสับสนและหลงทาง ค) ควรออกแบบให้ผู้ใช้ สามารถเข้าถึงสารสนเทศที่ต้องการ ได้อย่าง รวดเร็วโดยไม่ต้องผ่านการคลิกมากเกินไป การออกแบบโครงสร้างสารสนเทศล่วงหน้าจะช่วยลด 30 ขั้นตอนในการเข้าถึงสารสนเทศของผู้เรียน นอกจากนี้ ควรทีการออกแบบการใช้ปุ่มต่าง ๆ ให้ เหมาะสม ในกรณีที่ต้องการให้ผู้ใช้สืบไปในเว็บก่อนหลังตามลำดับที่ตายตัว (fixed order) การ จัดหาปุ่มหน้าถัดไป (next) และหน้าที่แล้ว (previous) เป็นสิ่งที่จำเป็น ง) ออกแบบส่วนสำคัญให้ครบ ส่วนสำคัญที่ขาดไม่ได้ในหน้าแรกของเว็บ คือวันที่ซึ่งเว็บไซต์ได้รับการ แก้ไขเป็นครั้งสุดท้าย ลิงค์ไปยังหน้าหลักที่อยู่ e-Mail หรือวิธีที่ผู้เรียนจะติดต่อกับผู้สอนได้ นอกจากนี้ควรมีการจัดให้มีการเชื่อมโยงในลักษณะข้อความไว้ด้วยในกรณีที่ใช้การนำทางใน ลักษณะกราฟิก นอกจากนี้มีเนื้อหาค่อนข้างมากและผู้เรียนอาจทำการโหลดเนื้อหาและสั่งพิมพ์นั้น ควรที่จะมีข้อมูลเพื่อการอ้างอิงไว้บนเว็บเพจเสมอ เช่น ชื่อ URL ชื่อเรื่อง (Title) รวมทั้งเลขหน้า ซึ่งข้อมูลสำคัญ ๆ ที่กล่าวมานี้มักจะถูกนำเสนอไว้ในส่วนท้ายหน้า จ) กำหนดชื่อเรื่อง (Title) ของหน้าให้มีความหมาย การกำหนดชื่อเรื่องเป็นสิ่งที่มีประโยชน์มากสำหรับผู้เรียน โดยเฉพาะ อย่างยิ่งเมื่อผู้เรียนทำการคั่นหน้า (Bookmark) เพราะชื่อเรื่องที่มีความหมายซึ่งปรากฏอยู่บนแถบ บนของหน้าต่างของ browser จะทำให้ผู้เรียนสามารถกลับไปสู่เนื้อหาที่ต้องการได้อย่างสะดวกและ รวดเร็ว ฉ) วางส่วนประกอบสำคัญ ๆ ไว้บนส่วนบนของหน้า หากเว็บเพจค่อนข้างยาว และไม่สามารถที่จะนำเสนอได้ในหน้าจอเดียว ผู้ออกแบบจำเป็นต้องวางส่วนประกอบ หรือเนื้อหาสำคัญ ๆ ไว้ส่วนบนของหน้าเสมอ ควรจะ หลีกเลี่ยงการวางเนื้อหาลิงค์หรือข้อมูลสำคัญ ๆ ไว้ในส่วนล่างที่ผู้เรียนจำเป็นต้องเลื่อนหน้าจอลง ช) ควรมีการสร้างเครื่องช่วยนำทาง (Navigation aids) ที่ชัดเจน โดยมีการใช้ไอคอนและกราฟิก หรือข้อความสำหรับเชื่อมโยงที่คงที่ (Consistent) และชัดเจน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความมั่นใจว่าจะสามารถนำทางไปในที่ ๆ ต้องการโดย ไม่เสียเวลามากเกินไป ซ) ใช้วิธีการนำทาง (Navigation) ภายในหน้าเดียวกัน ในหน้าที่ยาวมาก ๆ ผู้ออกแบบควรนำเครื่องมือช่วยในการนำทางมาใช้ ในหน้านั้น ตัวอย่างเช่น การจัดให้มีสารบัญลิงค์ไว้ในส่วนบนของหน้าเพื่อเชื่อมโยงสู่เนื้อหาที่ ต้องการซึ่งอยู่ด้านล่าง ๆ ของหน้าต่อ ๆ ไป ในการใช้การนำทางในหน้าเดียวกันนี้เมื่อผู้เรียนกด ปุ่ม “back” หรือ ข้อความ “return to top” ผู้เรียนก็จะสามารถกลับไปยังจุดเชื่อมโยงในหน้าเดียวกัน ได้ทันที การออกแบบหน้าในลักษณะนี้นอกจากจะสะดวกต่อผู้ออกแบบเพราะช่วยประหยัดเวลา 31 ในการย่อยเนื้อหาออกเป็นหลาย ๆ หน้ายังสะดวกต่อผู้เรียนเพราะประหยัดเวลาในการเลื่อน หน้าจอกลับไปยังส่วนบนของหน้าอีกด้วย ฌ) ใช้หัวกระดาษ (Header) หรือส่วนบนของหน้าและท้ายกระดาษ (Footer) หรือท้ายหน้าที่สม่ำเสมอ การออกแบบหัวกระดาษและท้ายกระดาษที่สม่ำเสมอจะทำให้ ผู้ใช้สามารถค้นหาสิ่งที่ต้องได้อย่างรวดเร็วโดยเฉพาะอย่างยิ่งการหาเครื่องมือช่วยนำทาง เช่น เมนู ลิงค์ ฯลฯ ญ) ออกแบบในลักษณะให้ผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง ควรออกแบบให้ผู้ใช้สามารถควบคุมการใช้ได้อย่างง่ายและสะดวก ที่สุด โดยมีการใช้ส่วนต่อประสานในลักษณะของกราฟิกเข้าช่วย หลีกเลี่ยงการออกแบบที่หวือ หวาแต่ไร้ประโยชน์เป็นที่ทราบกันดีว่า ในการออกแบบเว็บนั้น ลูกเล่นที่ได้รับความนิยมมาก ๆ มักจะกลายเป็นสิ่งล้าสมัยไปได้อย่างรวดเร็ว เช่น กราฟิกเต้นระบำหรือ ข้อความกระพริบได้ เป็น ต้น ดังนั้นการออกแบบเว็บสำหรับผู้เรียนที่ดีไม่ควรจะใช้เทคนิคที่หวือหวาจนเกินไป หากต้องการ ใช้จริง ๆ ให้เพื่อการดึงความสนใจผู้เรียนสู่เนื้อหาที่สำคัญจริง ๆ หรือเพื่อแสดงข้อควรระวังที่ สำคัญมาก ๆ นอกจากนี้ควรออกแบบการเชื่อมโยงโดยการใช้คำที่สื่อความหมาย เช่น ใช้คำว่า “คำแนะนำในการเรียน “ แทนคำว่า ”คลิกที่นี่” นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการออกแบบหน้าแนะนำที่ดู หวือหวาแต่ไม่มีประโยชน์ ฎ) ควรออกแบบโดยคำนึงถึงความคงที่ (Consistency) และความเรียบง่าย (Simplicity) ดังนั้น ส่วนต่อประสานควรใช้ภาพหรือข้อความที่สื่อความหมายชัดเจน คุ้นเคยและเป็นเหตุเป็นผลสำหรับผู้ใช้รู้สึกคุ้นเคยจนไม่รู้สึกเป็นการเปรียบเทียบ เช่นการ เปรียบเทียบการออกแบบสารสนเทศ กับหนังสือ หรือห้องสมุด ไม่ใช่กับยานอวกาศหรือเครื่องรับ โทรทัศน์ เป็นต้น และจะต้องออกแบให้คงที่ เช่น การออกแบบเครื่องช่วยนำทาง เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ใช้รู้สึกสะดวกและง่ายในการใช้ ฏ) ควรออกแบบให้ดูน่าเชื่อถือ การออกแบบอย่างประณีต จะทำให้ผู้ใช้เชื่อถือในสารสนเทศที่นำเสนอ บนเว็บไซต์ในขณะเดียวกันเว็บไซต์ที่ออกแบบอย่างไม่พิถีพิถัน เช่น เว็บเพจที่เต็มไปด้วยการพิมพ์ ที่ผิดพลาด เป็นต้น ก็จะทำให้มีความน่าเชื่อถือได้เช่นกัน นอกจากนี้ยังควรทดสอบการทำงานให้มี ความน่าเชื่อถือด้วย ทั้งในขณะที่ออกแบบ และเมื่อนำออกมาใช้งานแล้ว เช่น การทดสอบ การทำงานของลิงค์ต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกว่าไม่มีลิงค์เสีย และเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงบน 32 เว็บเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วการทดสอบว่าการเชื่อมโยงไปยังเนื้อหาภายนอกนั้น มีการเปลี่ยนแปลงไป อย่างไรหรือไม่จึงเป็นสิ่งจำเป็นมาก ฐ) ควรออกแบบโดยคำนึงอุปกรณ์ในการเข้าถึงเว็บไซต์ของผู้ใช้ กล่าวคือ หากผู้ใช้ส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้ที่มีอุปกรณ์การเข้าถึงข้อมูลที่จำกัด (เช่น โมเด็มความเร็วต่ำ) การออกแบบโดยใช้ข้อความส่วนใหญ่เป็นสิ่งที่เหมาะสม แต่หากผู้ใช้ ส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้ที่มีการเข้าถึงข้อมูลจากมหาวิทยาลัยที่มีความพร้อมด้านอุปกรณ์การออกแบบโดย ใช้กราฟิกเป็นสิ่งที่เหมาะสม ฑ) ควรมีการให้ผลป้อนกลับ ผู้ออกแบบควรมีช่องทางในการติดต่อสื่อสารกับผู้เรียน และต้องเตรียม ตัวในการให้ผลป้อนกลับในกรณีผู้เรียนมีข้อสงสัยหรือข้อแนะนำต่าง ๆ การออกแบบเว็บ ที่ดี จะต้องมีลิงค์ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้เรียนติดต่อไปยังเว็บมาสเตอร์ได้โดยตรง ฒ) ควรออกแบบให้มีทางเลือกในการเข้าถึงข้อมูลหลาย ๆ ลักษณะ อย่างเช่น กรณีที่ผู้เรียนส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้ที่ติดต่อผ่านทางโมเด็มเป็น ประจำ การออกแบบเครื่องมือนำทางหรือเนื้อหาในลักษณะของตัวอักษรเป็นสิ่งจำเป็นควบคู่ไปกับ ในลักษณะของกราฟิก ในการออกแบบส่วนต่อประสานสำหรับผู้ใช้นั้น นอกจากโครงสร้างของไซต์และความ สวยงามแล้ว สิ่งที่นักออกแบบจะต้องใช้เวลา และให้ความสำคัญในการออกแบบ ได้แก่ การ ออกแบบวิธีการเข้าสู่เนื้อหาที่ต้องการ หรือ การนำทางของผู้เรียนซึ่งในการออกแบบการนำทางนั้น สิ่งที่ต้องคำนึงถึง ได้แก่ ปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนำทาง ซึ่งหมายรวมถึง การออกแบบการ เชื่อมโยง ทั้งในลักษณะภายใน และภายนอก การใช้ธีมในการออกแบบการนำทาง การออกแบบ เครื่องช่วยนำทางต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นไอคอน เมนู ฯลฯ รวมทั้งการออกแบบสื่อต่าง ๆ ที่นำเสนอ เนื้อหาสารสนเทศไม่ว่าจะเป็นข้อความ ภาพ เสียง เป็นต้น ซึ่งการออกแบบการนำทางที่ดีจะต้อง คำนึงถึงพฤติกรรมของผู้ใช้เป้าหมายเป็นสำคัญ 2.4 เทคโนโลยีด้านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ไพศาล (2544 : 3) ได้อธิบายเรื่องความหมายของอินเตอร์เน็ต ไว้ดังนี้ อินเตอร์เน็ต (Internet) คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อกันทั่วโลก ซึ่งจะมีมาตรฐานการรับและส่งข้อมูลที่ เหมือนกัน โดยที่ข้อมูลเหล่านั้นอาจจะเป็นตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว หรือจะเป็นเสียงก็ได้ รวมทั้งยังมีความสามารถ ในการค้นหาข้อมูลที่อยู่ในแหล่งต่าง ๆ ทั่วโลกได้อย่างรวดเร็ว และมี 33 ประสิทธิภาพ ดังนั้นอินเตอร์เน็ตจะประกอบด้วยองค์ประกอบ 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือเครือข่าย คอมพิวเตอร์และข้อมูลที่เก็บในคอมพิวเตอร์ 2.4.1 ประวัติอินเตอร์เน็ต ไพศาล (2544 : 4) ได้อธิบายเรื่องประวัติของอินเตอร์เน็ตไว้ดังนี้ อินเตอร์เน็ตเป็น เครือข่ายที่มีพัฒนาการมาจาก อาร์พาเน็ต (ARPAnet) ตั้งขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2512 ซึ่งเป็นเครือข่าย คอมพิวเตอร์ภายใต้ความรับผิดชอบของหน่วยงานโครงการวิจัยขั้นสูง (Advanced Research Projects Agency) หรือเรียกชื่อย่อว่า อาร์พา (ARPA) ในสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา (Department of Defense) อาร์พาเน็ตเป็นผลพวงมาจากความตึงเครียดทางการเมืองของโลก ในยุค สงครามเย็นระหว่างค่ายคอมมิวนิสต์และค่ายเสรีประชาธิปไตย ต่อมาในปี พ.ศ. 2515 ได้มีการปรับปรุงหน่วยงานอาร์พาและเรียกชื่อใหม่ว่า ดาร์พา (DARPA: Defense Advanced Research Project Agency) และในปี พ.ศ. 2518 ดาร์พาได้โอน หน้าที่ดูแลรับ ผิดชอบอาร์พาเน็ตโดยตรงให้แก่ หน่วยการสื่อสารของกองทัพ (Defense Commumication Agency) หรือ DCA เนื่องจากอาร์พาเน็ตได้แปรสภาพจากเครือข่ายที่ ปฏิบัติงานได้อย่างแท้จริงแล้ว ในปี พ.ศ. 2526 อาร์พาเน็ตแบ่งออกเป็น 2 เครือข่ายคือเครือข่ายด้านการวิจัยใช้ชื่อ อาร์ พาเน็ตเหมือนเดิมส่วนเครือข่ายของกองทัพใช้ชื่อว่า "มิลเน็ต" (MILNET : MILitary NETwork) ซึ่ง ใช้การเชื่อมต่อโดยใช้โปรโตคอล TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) เป็น ครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2528 มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติอเมริกา (NFS) ได้ออกทุนการสร้างศูนย์ ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ 6 แห่งและใช้ชื่อว่า NFSNET พอมีถึงปี พ.ศ. 2533 อาร์พาเน็ตรองรับการเป็น backbone ไม่ไหวจึงยุติบทบาทแล้วเปลี่ยนไปใช้ NFSNET และเครือข่ายอื่นแทน โดยได้มีการ เชื่อมต่อเครือข่ายต่าง ๆ ทำให้เครือข่ายมีขนาดใหญ่มากขึ้นจนเป็นเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในปัจจุบัน สำหรับประเทศไทยอินเตอร์เน็ตเริ่มเข้ามามีบทบาทในปี พ.ศ. 2530 ซึ่งจะสรุปเฉพาะ เหตุการณ์ที่สำคัญดังนี้ ปี พ.ศ. 2530 เอไอที (AIT = Asian Institute of Technology) ในเมืองไทยได้ตกลงทำสัญญา กับภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยเมลบอร์น (Melbourne) ประเทศออสเตรเลีย เพื่อ ให้บริการทางด้านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยออสเตรเลียจะเรียกมาที่ เอไอที วันละ 3 ครั้ง เพื่อที่จะ รับส่งถุงไปรษณีย์ (Mail Bag) 34 ปี พ.ศ. 2531 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้ตั้งแม่ข่ายของตนเองเชื่อมกับมหาลัยเมลเบอร์น โดยเพิ่มการติดต่อให้มากขึ้นสามารถโทรศัพท์เข้ามาได้ 2 หมายเลขตั้งแต่ช่วงเวลา 9.00 ถึง 19.30 นาฬิกา ปี พ.ศ. 2534 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เข้าร่วมอินเตอร์เน็ต ซึ่งถือว่าเป็นประตูด่านแรกที่ นำไปสู่การใช้ระบบอินเตอร์เน็ตในประเทศไทยอย่างสมบูรณ์ ปี พ.ศ. 2535 ได้มีการจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กโทรนิคส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทค (NECTEC = National Electronics and Computer Technology Center) ขึ้นหลังจากนั้น สถาบันและองค์กรต่าง ๆ ในประเทศไทยต่างก็หันมาใช้อินเตอร์เน็ตมากขึ้น โดยเข้าร่วมกับ จุฬาลงกรณ์ ในปี พ.ศ. 2535 ได้แก่ เอไอที มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยมหิดล นอกจากนี้ก็ยังมีสถาบันที่เข้าร่วมกับเนคเทคอีกในปี พ.ศ. 2536 ก็คือ สถาบัน เทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง พระนครธนบุรี สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยสุรนารี กระทรวงสาธารณสุข ทบวงมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มหาสารคาม) เป็นต้น และได้มีการเปิดบริการอินเตอร์เน็ตเชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2538 ซึ่งในขณะนั้น WWW ในอเมริกากำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก 2.4.2 ขั้นตอนในการประมวลผล ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ ในระบบเครือข่าย จะ แบ่งออกเป็น 2 ฝั่ง คือฝั่งทางด้านคอมพิวเตอร์ที่เป็นผู้ร้องขอเรียกใช้ข้อมูลข่าวสาร และฝั่งทางด้าน คอมพิวเตอร์ที่เป็นผู้ส่งข่าวสาร เรียกว่า รีโมตคอมพิวเตอร์ โดยคอมพิวเตอร์ที่เป็นผู้เรียกใช้ข้อมูล ข่างสารจะต้องอาศัยโปรแกรมที่เรียกว่าเว็บไคลเอ็นต์ เช่น เว็บบราวเซอร์ ในการส่งคำสั่งรีเควส (Request) ไปยังรีโมตคอมพิวเตอร์ ส่วนทางรีโมตคอมพิวเตอร์ที่เป็นผู้ส่งข้อมูลข่าวสารกลับไป สุวัฒน์ (2543 : 163) ได้อธิบายเรื่องขั้นตอนการประมวลผลไว้ดังนี้ ในการประมวลผล บนอินเตอร์เน็ตจะเกี่ยวข้องกับการส่งถ่ายข้อมูล ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นรีโมต คอมพิวเตอร์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นฝ่ายเรียกใช้ข้อมูลโดยประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้ 1. ผู้ใช้ส่งสัญญาณไปยังรีโมตคอมพิวเตอร์ผ่านทางเว็บบราวเซอร์ 2. เว็บบราวเซอร์ส่งสัญญาณไปยังเว็บเซิร์ฟเวอร์ผ่านทางโปรโตคอลแบบเอชทีทีพี 3. เว็บเซิร์ฟเวอร์ที่รีโมตคอมพิวเตอร์รับส่งสัญญาณแล้วทำการประมวลผล ถ้าไม่มีข้อผิดพลาด รีโมตคอมพิวเตอร์ จะส่งข้อมูลตามที่กำหนดในคำร้องขอที่ส่งมาให้กับเว็บ เซิร์ฟเวอร์ 4. เว็บเซิร์ฟเวอร์ทำการส่งข้อมูลกลับไปยังเว็บบราวเซอร์ 35 5. เว็บบราวเซอร์แปลงข้อมูลที่ได้ รับมาให้อยู่ในรูปแบบที่ใช้ในการแสดงผลให้กับ ผู้ใช้ 2.4.3 รูปแบบการใช้งานอินเตอร์เน็ต สามารถสรุปการใช้งานอินเตอร์เน็ตรูปแบบได้ดังนี้ 2.4.3.1กเครื่องมือสื่อสารราคาถูกเรียกได้ว่า เป็นจุดประสงค์แรกของการสร้าง อินเตอร์เน็ตขึ้นมาเลยทีเดียวแต่เดิมเรามีอีเมล์เป็นหลัก แต่ปัจจุบันเรามีการใช้งานร่วมกับภาพ และ เสียง เช่น การประชุมทางไกล หรือแม้แต่การสนทนาผ่าน Chat 2.4.3.2กแหล่งเผยแพร่ความรู้ การใช้อินเตอร์เน็ตมักจะเริ่มจากผู้ที่มีความรู้ล้นเหลือที่ มีความต้องการเผยแพร่สิ่งที่เขารู้ได้เป็นสาธารณประโยชน์แก่คนที่สนใจได้รับรู้โดยอิสระ ซึ่ง ความรู้ที่มีในอินเตอร์เน็ตเชื่อว่ามีปริมาณมากกว่าที่บรรจุในห้องสมุดใด ๆ ในโลกนี้ และจะมีเพิ่ม มากขึ้นเรื่อย ๆ ตามการเติบโตของการใช้งานอินเตอร์เน็ต 2.4.3.3กการโฆษณาประชาสัมพันธ์ การโฆษณาประชาสัมพันธ์ ถือเป็นการนำเอา อินเตอร์เน็ตไปใช้ในเชิงพาณิชย์ยุคแรก ไม่ว่าจะเป็นการนำเสนอสินค้าหรือประชาสัมพันธ์องค์กร ซึ่งปัจจุบันอินเตอร์เน็ตก็นับว่าเป็นสื่อโฆษณาที่ราคาถูกมาก อีกทั้งคนที่เห็นและสัมผัสก็มีอยู่มากมาย ทั่วโลก 2.4.3.4กเครื่องมือค้นคว้าข้อมูล ที่ถูกเก็บไว้อย่างมากมายทั้งรูปแบบข้อความ และ รูปภาพ เครื่องมือสำหรับค้นหา (Search Engine) มาช่วย ทำให้สามารถได้ข้อมูลจากทั่วโลกอย่างง่ายดาย 2.4.3.5กทำให้เกิดการรวมกลุ่มของคนที่สนใจในเรื่องเดียวกัน และเกิดเป็นชุมชนต่าง ๆ ในอินเตอร์เน็ตมากมาย มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และทัศนคติระหว่างกันอย่างเสรี โดยมีการ ควบคุมซึ่งกันและกัน 2.4.3.6กความบันเทิงจากอินเตอร์เน็ต อินเตอร์เน็ตกลายเป็นแหล่งรวบรวมความ บันเทิงมากมาย ให้เลือกใช้บริการกันตามความพอใจ 2.4.3.7กแหล่งข่าวสารที่ทันสมัย อินเตอร์เน็ตได้ชื่อว่าเป็นสื่อที่รวดเร็วต่อความ เปลี่ยนแปลงและความเป็นไปของโลก เพราะคนที่ได้สัมผัสกับข่าวหรือการเปลี่ยนแปลงมักจะ เผยแพร่ สิ่งที่รับรู้ทางอินเตอร์เน็ต อีกทั้งปัจจุบันทั้งหนังสือพิมพ์, นิตยสาร, สถานีโทรทัศน์ต่างก็มี ที่อยู่ในอินเตอร์เน็ตทั้งนั้น เพราะฉะนั้นความรวมเร็ว และความถูกต้องจึงมีมากขึ้นในโลกของ อินเตอร์เน็ต 2.4.3.8กกระจายเสียง/แพร่ภาพผ่านอินเตอร์เน็ต ปัจจุบันสื่อต่าง ๆ ได้อพยพเข้าสู่โลก ของอินเตอร์เน็ต ทำให้คนไทยในต่างแดน สามารถฟังรายการวิทยุ ที่ชื่นชอบจากเมืองไทยผ่านทาง อินเตอร์เน็ตได้ 36 2.4.3.9กบริการเสริมจากสิ่งที่มีอยู่แล้ว การให้บริการของหน่วยงานต่าง ๆ ไม่ใช่แค่เพียง การเตรียมบุคคลหรือสถานที่รอรับผู้คนเท่านั้น แต่อินเตอร์เน็ตยังเป็นช่องทางที่เพิ่ม ความสะดวก ให้ผู้ใช้บริการได้ด้วยต้นทุนที่ประหยัด 2.4.3.10กสำรวจความคิด, จัดอันดับความนิยม การจัดอันดับ, สำรวจความนิยมเป็น เรื่องที่หลายคนสามารถแสดงความเห็นได้อย่างเต็มที่ 2.4.3.11กนิตยสาร และสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ เมื่อสื่อด้านคอมพิวเตอร์ และ อินเตอร์เน็ตมีมากขึ้น การเก็บ และแสดงเอกสาร ก็ถูกพัฒนาให้เก็บไว้ในรูปของอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อ ให้ง่ายต่อการจัดเก็บและค้นหา ซึ่งผลดีที่ได้คือ ลดการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ 2.4.3.12กประยุกต์ใช้งานกับระบบงานในองค์กรเพราะว่าอินเตอร์เน็ต โดยเฉพาะ WWW มีรูปแบบการทำงานที่เป็นมาตรฐาน และรู้จักกันดี ทำให้หลาย ๆ องค์กรสร้างระบบการ ทำงาน และสื่อสารระหว่างกันผ่านเครือข่ายส่วนตัวที่เรียกว่า อินทราเน็ต (Intranet) ซึ่งเป็นการนำอินเตอร์เน็ตมาประยุกต์ใช้งานในองค์กรได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้เพื่อให้ง่ายต่อการพัฒนา การ บำรุงรักษาและการฝึกอบรม 2.4.3.13กค้าขายผ่านอินเตอร์เน็ต เป็นการหารายได้จากช่องทางที่มีในอินเตอร์เน็ต ซึ่ง ทำให้เกิดธุรกิจขนาดเล็กและใหญ่มากมายจากอินเตอร์เน็ต โดยที่ธุรกิจหลาย ๆ ตัวได้รับการยอมรับ เป็นอย่างดีจากผู้ใช้งาน 2.5กกเทคโนโลยี ASP (Active Server Page) ไพศาล (2544 : 161) ได้อธิบายเรื่องเทคโนโลยีของ ASP ไว้คือ Active Server Pages หรือ ASP เป็นเทคโนโลยีของไมโครซอฟท์ที่พัฒนาขึ้น เพื่อการออกแบบและพัฒนาระบบงานบน อินเตอร์เน็ต เอกสาร ASP เป็นเท็กซ์ไฟล์ที่ประกอบด้วยภาษาสคริปต์ เช่น VBScript หรือ JScript (JScript เป็นภาษาสคริปต์ของไมโครซอฟท์ที่คล้ายกับ Java Script) รวมกับแท็กของ HTML แล้ว เก็บไว้ที่เว็บเซิร์ฟเวอร์ โดยเอกสารที่เป็น ASP จะมีแท็ก ASP กำกับอยู่ (จะมีแท็ก ) ซึ่งเมื่อ ใช้บราวเซอร์ที่ไม่สนับสนุนการใช้งาน ASP ก็จะไม่แสดงผล (เช่น Netscape Navigator หรือ Internet Explorer เวอร์ชั่น 3 ลงมา) เมื่อบราวเซอร์เรียกใช้งานก็จะมีตัวแปล (ASP Interpreter) และ ถูกเอ็กซิคิวต์ที่เว็บเซิร์ฟเวอร์แล้วส่งผลลัพธ์ในรูปแบบของเอกสาร HTML ส่งมาแสงดผลทำให้ แสดงผลข้อมูลที่เป็นข้อมูลล่าสุด ซึ่งต่างจากการทำงานของ เว็บเพจแบบเดิม ๆ คือผู้ออกแบบ จะต้องสร้างเอกสาร HTML ไว้ทุกกรณีที่ผู้ใช้ลิงค์เข้ามาใช้งาน ดังนั้นข้อมูลอาจจะไม่อัปเดทก็ได้ 2.5.1 องค์ประกอบของ Active Server Pages 37 ไพศาล (2544 : 161) ได้อธิบายเรื่อง องค์ประกอบของ Active Server Pages ไว้ว่า ถ้าใครเคยมีประสบการณ์การเขียนโปรแกรม หรือสร้างเว็บเพจมาบ้างคงพอจะรู้ว่า เราต้องเริ่มจาก การเขียนโปรแกรม หรือเว็บเพจ แล้วบันทึกเก็บไว้ เมื่อจะต้องใช้งานก็เพียงเรียกใช้งาน หรือโหลด ผ่านบราวเซอร์ แต่ Active Server Pages นั้นแตกต่างออกไป เหตุเพราะมันทำงานอยู่ใน เว็บ เซิร์ฟเวอร์ จะมองกันง่าย ๆ ก็ได้ว่า Active Server Pages ก็คือ การสร้างแอปพลิเคชั่นให้ ทำงานบนเว็บเซิร์ฟเวอร์และคอยบริการผู้ที่มาเรียกใช้งาน โดยมันจะทำงานตลอดเวลาที่เว็บ เซิร์ฟเวอร์ยังมีทำงานอยู่ ซึ่งแม้จะมีความคล้ายคลึงกับเว็บเพจทั่ว ๆ ไป แต่มีความสามารถหลาย อย่างที่เหนือกว่าเว็บเพจธรรมดา ๆ 2.5.2 ลักษณะเด่น 7 ประการของ ASP ไพศาล (2544: 163) ได้อธิบายเรื่อง ลักษณะเด่น 7 ประการของ ASP ดังต่อไปนี้ ด้วยการพัฒนาที่คำนึงถึงการใช้งานที่มีประสิทธิภาพและยืดหยุ่นกับการใช้งานบนเว็บทำให้ ASP มี จุดเด่น 7 ประการคือ 2.5.2.1กไดนามิกเว็บเพจ (Dinamic Webpage) เนื่องจาก ASP สนับสนุนการแทรก สคริปต์ไม่ว่าจะเป็น VBScript, JavaScript และ Jscript (ของไมโครซอฟท์) ซึ่งสคริปต์เหล่านี้ จะประมวลผลทางเซิร์ฟเวอร์ แล้วส่งผลลัพธ์ไปที่ไคลเอนต์ผ่านทางเว็บบราวเซอร์ ทำให้เอกสาร ไม่น่าเบื่อ เนื่องจากเปลี่ยนตลอดเวลา เช่น การออกแบบเอกสารเพื่อทักทายผู้เข้าชมตามเวลาต่าง ๆ ที่ล๊อกอินเข้ามา เป็นต้น 2.5.2.2กกบิวต์อินออปเจ็กต์ (Built-in Objects) ผู้พัฒนา ASP สามารถเรียกใช้ออปเจ็กต์ ที่ผนวกมากับ ASP ได้ทันที เนื่องจากออปเจ็กต์เหล่านี้มีหน้าที่ในการติดต่อระหว่างเซริ์ฟเวอร์กับ ไคลเอ็นต์ โดยในแต่ละออปเจ็กต์จะประกอบด้วยคอลเล็กชัน (Collection) พร็อพเพอร์ตี้ (Property) และเมธอด (Method) ที่จำเป็นในการติดต่อระหว่างเซิร์ฟเวอร์ และไคลเอ็นต์ เช่น คุณต้องใช้ ออปเจ็กต์ Request เพื่อรับข้อมูลจากผู้ใช้งานทางฟอร์มของ HTML จากไคลเอ็นต์ หรือใช้ ออปเจ็กต์เหล่านี้ประกอบด้วย Request, Response, Application, Session, Server, ObjectContext และ ASPerror (มีใน ASP 3.0) 2.5.2.3กกบิวต์อินคอมโพเนนต์ (Built-in Component) นอกจากจะมีบิวต์อินออปเจ็กต์ แล้ว ASP ยังเตรียมคอมโพเนนต์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความสวยงามให้กับเอกสาร เช่น การสร้าง ป้ายโฆษณาที่แสดงแบบสุ่มตลอดเวลาที่เข้าหน้าเอกสาร หรือรีเฟซหน้าเอกสารนั้น หรือแม้แต่ การแสดงข้อความที่เป็นข้อแนะนำ หรือ Browser Capabilities, Content Linking, Counter, Database Access, File Access 38 2.5.2.4กกติดต่อฐานข้อมูล (Database Access) เนื่องจากปัจจุบันการใช้งานฐานข้อมูล บนเว็บ ที่เรียกว่า Web Database เป็นที่นิยมมาก เป็นการขยายฐานข้อมูลแบบไคลเอ็นต์เซิร์ฟเวอร์ที่ มีความจำกัดเฉพาะในบริเวณ เช่น ในบริษัทหรือในอาคารหนึ่ง ๆ ขีดจำกัดนี้ถูกทำลายด้วย ASP ทำให้ คุณสามารถดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลที่อยู่ห่างไกลผ่านทางเว็บได้ ทำให้การค้าที่เรียกว่า อี-คอมเมิร์ซ (E-Commerce) มีความเจริญอย่างรวดเร็ว จากความง่ายและความยืดหยุ่นในการสนับสนุนระบบ ฐานข้อมูลได้หลาย ๆ แพลตฟอร์ม ไม่ว่าจะเป็น SQL Server, Oracle, Access หรือแม้แต่ dBase ทำให้ ผู้ใช้ไม่ต้องพบปัญหาในการเลือกใช้ระบบฐานข้อมูลอีกต่อไป การทำงานร่วมกับฐานข้อมูล เหล่านี้ ASP มีบิวต์อินออปเจ็กต์ ที่เรียกว่า ActiveX Data Object (ADO) 2.5.2.5กกฟรี จุดเด่นข้อสุดท้ายที่ผู้เขียนจะกล่าวถึงก็คือ บิวต์อินต่าง ๆ ตลอดจนสิ่งที่ ได้รับจาก ASP หรือแม้แต่ตัวคอมไพล์ ASP เองได้มาฟรี ๆ ที่คุณสามารถดาวน์โหลดมาใช้งานได้ ทันที โดยสิ่งที่ฟรีเหล่านี้ เริ่มตั้งแต่เว็บเซิร์ฟเวอร์, โปรแกรมคอมไพล์ ASP, เอดิเตอร์ สำหรับเขียน โค้ด และเว็บบราวเซอร์ เรียกว่าคุ้มค่าตั้งแต่เริ่มทดลองใช้งาน ไปจนถึงประสิทธิภาพของหน้า เอกสารที่คุณต้องการ 2.5.2.6กแหล่งบริการข้อมูล ทั้งที่เป็นบทเรียนและโค้ดที่จำเป็นต้องใช้ หรือตัวอย่าง โค้ดที่แตกต่างไปจากเดิมและมีประสิทธิภาพตามความต้องการของผู้ใช้ สามารถค้นหาได้จาก เว็บไซต์ต่าง ๆ เช่น http://www.thaidev.com/, http://www.builder.customix.net/ หรือ http://www.aspfree.com/ เป็นต้น 2.5.2.7กการสนับสนุนเว็บเซิร์ฟเวอร์หลายรูปแบบ ข้อสุดท้ายนี้เป็นจุดเด่นที่แต่เดิม เป็นจุดด้อย เนื่องจากแต่เดิมนั้น ASP จะใช้งานได้บนระบบปฏิบัติการและเซิร์ฟเวอร์ของ ไมโครซอฟท์เท่านั้น แต่ปัจจุบันคุณสามารถใช้ ASP บนระบบยูนิกซ์ หรือลีนุกซ์ได้แล้ว โดยการ พัฒนาของบริษัท Chili!Soft ดังนั้นถ้าคุณต้องการนำ ASP ไปใช้กับระบบดังกล่าวสามารถดาวน์ โหลดได้จาก http://www.chilisoft.com/ และเพื่อความสะดวก คุณสามารถใช้งาน Chiliasp โดยขยายไฟล์ chiliasp-linux-3.5.01.tar ในโฟลเดอร์…\shareware\chilisoft หรือไฟล์ chiliasp-nt.exe สำหรับ Windows NT ที่ใช้ Apache เป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์ 2.6กกเทคโนโลยีเว็บแอปพลิเคชั่นกับการเชื่อมต่อฐานข้อมูล 2.6.1กวิวัฒนาการของเทคโนโลยีเว็บแอปพลิเคชั่นฐานข้อมูล สัจจะและสมพร (2543 : 197-199) ได้อธิบาย วิวัฒนาการของเทคโนโลยีเว็บ แอปพลิเคชั่นฐานข้อมูลดังต่อไปนี้ เว็บเพจได้ถูกพัฒนาขึ้นมาจากการเป็นเพียงแค่ข้อความธรรมดา ที่สามารถลิงค์หรือเชื่อมโยงไปยังเว็บเพจหน้าอื่น ๆ ได้ แต่ปัจจุบันเว็บเพจมีสีสัน มีรูปภาพตกแต่งที่ สวยงาม ตลอดจน โปรแกรมต่าง ๆ ที่เพิ่มเติมเข้ามามากมาย หรือแม้แต่การโต้ตอบทันทีทันใดกับ 39 ผู้ใช้งานด้วยสคริปต์อย่างง่าย จนกระทั่งการเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลให้สามารถบริหารและจัดการ คลังข้อมูลให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพที่เรียกกันว่า เทคโนโลยีของเว็บแอปพลิเคชั่นชัน ฐานข้อมูล ซึ่งเทคโนโลยีนี้จะขึ้นอยู่กับแพลทฟอร์มของระบบปฏิบัติการ ซึ่งเป็นรากฐานของเว็บ เซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ในการแสดงและรันเว็บเพจ ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 2.6.1.1 กำเนิดจาก Unix Platform ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ (Unix) มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน เพราะเป็น ระบบปฏิบัติการรุ่นแรก ๆ ที่มีผู้ใช้งานอยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้นจึงทำให้การพัฒนาในด้าน ซอฟต์แวร์รวมทั้งเว็บเทคโนโลยีได้รับความนิยมตามไปด้วย ในส่วนของเว็บแอปพลิเคชันชันฐานข้อมูลในช่วงแรกเป็นการเขียนสคริปต์เพื่อ ให้เข้า มาตรฐานของ CGI (Common Gateway Interface) ซึ่งสามารถเขียนได้หลายภาษา ทั้ง Shell สคริปต์ ของระบบปฏิบัติการเอง หรือภาษา C ซึ่งเป็นภาษายอดนิยมอยู่ในขณะนั้น ในเวลาต่อมาได้มีภาษา PERL (Practical Extraction and Reporting Language) เป็นอีก ทางเลือกหนึ่งของการเขียน CGI สคริปต์ โดยมีความยืดหยุ่นภายในตัวเองเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังมี ไวยากรณ์ที่ใกล้เคียงกันกับภาษา C จึงทำให้ผู้ที่คุ้นเคยภาษา C อยู่แล้วสามารถเรียนรู้ได้ง่าย ในระยะ หลังมีผู้ในใจการเขียน PERL สคริปต์อยู่เป็นจำนวนมากจนกระทั่งปัจจุบัน วิวัฒนาการของเว็บแอปพลิเคชั่นฐานข้อมูลบนระบบปฏิบัติการ Unix ยังไม่หยุดอยู่แต่เพียง เท่านี้ เพราะเมื่อไม่นานมานี้ได้มีภาษา PHP (Personal Home Page) เริ่มได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น เรื่อย ๆ เพราะความง่ายของการเขียนสคริปต์ และอิงอยู่กับไวยากรณ์ของภาษา C เช่นกัน จึงทำให้ ไม่สามารถอาจคาดคะเนได้ว่าจะเข้ามาแทนที่ PERL สคริปต์ต่อไปได้หรือไม่ 2.6.1.2กพัฒนาต่อมาเป็น Windows Platform ระบบปฏิบัติการ Windows ของไมโครซอฟท์ได้เริ่มแพร่เข้าสู่ผู้ใช้งานมาก ขึ้น ด้วยเหตุผลง่าย ๆ เช่น การใช้งานที่ง่ายยิงขึ้น และการเป็นมิตรกับผู้ใช้งาน (User Friendly) ตลอดจนสามารถเรียนรู้วิธีการใช้งานได้รวดเร็วกว่าระบบปฏิบัติการอื่น ๆ ในช่วงแรก ๆ ของเว็บแอปพลิเคชันฐานข้อมูล จะเป็นการเลียนแบบเทคโนโลยี ที่มีอยู่บน ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ให้สามารถทำงานได้บนระบบปฏิบัติการ Windows อย่างเช่น CGI สคริปต์ ที่เปิดกว้างให้สามารถใช้ภาษาต่าง ๆ บนสภาพแวดล้อมของ Dos หรือ Windows เช่น Pascal หรือ C ก็สามารถทำได้ 40 แต่ CGI บน Windows จะแตกต่างจากบนยูนิกซ์ตรงที่จะต้องทำการคอมไพล์ CGI สคริปต์ ให้เป็นเอ็กซีคิวซ์ไฟล์ที่มีนามสกุลเป็น EXE เสียก่อน แล้วจึงสามารถเรียกใช้งานผ่านเว็บเพจคล้าย กับการรันโปรแกรมทั่วไปนั่นเอง ส่วนบนยูนิกซ์การรัน CGI จะเป็นการใช้ตัวแปลภาษาของแต่ละภาษาไปแปลความหมายของ สคริปต์ในแต่ละบรรทัดให้ทำงานแทน โดยหากบรรทัดใดมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น การทำงานของ สคริปต์ในส่วนที่เหลือก็จะหยุดไป นอกจากนี้ PERL สคริปต์ยังสามารถนำมาใช้บน Windows ได้เช่นกัน โดยจะต้องนำตัวแปล ภาษา PERL สำหรับ Windows มาติดตั้งลงไปก่อน เพื่อเสริมการทำงานให้กับเว็บเซิร์ฟเวอร์ คล้าย กับเป็นแอดออน (Add-0n) ซึ่งทำหน้าที่แปลความหมายของสคริปต์ที่เขียนด้วยภาษา PERL ใน ลักษณะเดียวกันกับการทำงานบน Unix 2.6.1.3กเลียนแบบ CGI ด้วย Windows Common Gateway Interface (WinCGI) ทางด้านเว็บแอปพลิเคชั่นฐานข้อมูลบน Windows ได้เริ่มมีการพัฒนาขึ้น อย่าง แท้จริง คือ การประยุกต์ภาษาที่ใช้บน Windows ให้สามารถเขียนเป็น CGI ได้ เช่น Delphi หรือ Visual Basic เป็นต้น โดยเรียกเทคโนโลยีดังกล่าวนี้ว่า WinCGI (Windows Common Gateway Interface) ทำให้มีความสะดวกสำหรับผู้ที่เคยเขียนภาษาวิชวลเหล่านี้เพราะไม่ต้องกลับไปศึกษา ภาษาต้นฉบับอย่างภาษา C ได้ 2.6.1.4กเขียนโปรแกรมที่เว็บเซิร์ฟเวอร์ด้วย Internet Server Application Programming Interface เนื่องจาก CGI มีข้อเสียที่สำคัญคือ ในทุก ๆ ครั้งที่มีการเรียกใช้งานจะ หมายถึง การโหลดโพรเซสของงานใหม่ให้กับเว็บเซิร์ฟเวอร์เสมอ ๆ ทำให้การตอบสนองของ ผลลัพธ์ช้าลงไปอย่างเห็นได้ชัด ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการพัฒนา ISAPI (Internet Server Application Programming Interface) มาลดข้อบกพร่องตรงนี้ไป สำหรับการเขียน ISAPI สามารถใช้ภาษา C หรือ C++ สร้างให้เป็น DLL ไฟล์สำหรับ Windows จากนั้นจึงโหลดไฟล์นี้ให้เป็นโพรเซสหนึ่งของเว็บเซิร์ฟเวอร์เพื่อคอย ทำหน้าที่ประมวลผลเกี่ยวกับ การทำงานของแอปพลิเคชันที่เขียนขึ้นมานั้น ๆ โดยเฉพาะ 2.6.1.5ก เทคโนโลยีการตัดต่อรุ่นดั้งเดิม Internet Database Connector (IDC) ในส่วนของไมโครซอฟท์เอง ได้เริ่มพัฒนาความสามารถของเทคโนโลยี ทางด้านเว็บแอปพลิเคชั่นชันฐานข้อมูลที่มีชื่อว่า IDC (Internet Database Connector) ซึ่งมีมา พร้อมกับเว็บเซิร์ฟเวอร์ IIS (internet Information Server) เวอร์ชัน 1.0 ที่แจกฟรีมากับ Windows NT และเรียกได้ว่าเป็นก้าวที่สำคัญของเว็บแอปพลิเคชันฐานข้อมูลที่มีความง่าย และสะดวกต่อการ 41 จัดการและดูแลเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เนื่องจากในส่วนที่มีการติดต่อกับฐานข้อมูลสามารถทำได้ง่าย กว่าโดยอาศัยตัวกลางการเชื่อมโยงข้อมูลผ่านทาง ODBC เท่านั้น 2.6.1.6ก เทคโนโลยีล่าสุด ได้รับความนิยมสูงสุด Active Server Pages เทคโนโลยีทางด้านเว็บแอปพลิเคชันฐานข้อมูลของไมโครซอฟท์ ได้ถูก พัฒนาอย่างต่อเนื่อง และเพื่อเป็นการปรับปรุงความสามารถของ IDC โดยลดความซับซ้อน ตลอดจน เพิ่มความยืดหยุ่นให้มีมากขึ้น ASP (Active Server Pages) จึงถือกำเนิดขึ้นมา และทำงานได้กับ IIS 3.0 ซึ่งเป็นแอ็ดออน ต่างหากที่สามารถดาวน์โหลดได้ฟรีจากเว็บไซต์ http://www.microsoft.com/ และได้ถูก รวบรวมเข้ากับ IIS 4.0 ในชุด Windows NT Option Pack 1.0 หรือ PWS เวอร์ชัน 4.0 จนกระทั่ง ปัจจุบันที่มีมาพร้อมกับ IIS 5.0 สำหรับ Windows 2000 รุ่น Server ขึ้นไป หรือ PWS เวอร์ชัน 5.0 สำหรับ Windows 2000 รุ่น Professional โดยอาศัย ADO ทำหน้าที่ในการเชื่อมต่อกับฐานข้อมูล เป็นหลัก 2.6.1.7 Universal Data Access เนื่องด้วยความสำคัญของเว็บแอปพลิเคชั่นชันฐานข้อมูลคือ ความสามารถ ในการติดต่อกับฐานข้อมูล แต่เพราะฐานข้อมูลที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีอยู่ด้วยกันหลากหลาย เช่น SQL Server, Oracle, DB2, Informix, Interbase, Sybase, Access, Approach, Paradox เป็นต้น ดังนั้นจึง เป็นการยากที่จะทำการเขียนสคริปต์เพื่อติดต่อให้ครบทุก ๆ ฐานข้อมูลด้วยเหตุนี้จึงทำให้มีการ คิดค้นมาตรฐานกลางเพื่อนำมาช่วยให้สามารถติดต่อได้กับทุก ๆฐานข้อมูลที่เรียกว่า universal data access ประโยชน์ที่เห็นได้ชัดเจนคือ หากมีการเปลี่ยนฐานข้อมูลก็ไม่จำเป็นที่จะต้องเขียนสคริปต์ เพื่อติดต่อกับฐานข้อมูลขึ้นใหม่ทั้งหมด เพียงแต่เปลี่ยนสคริปต์ให้ตรงตามมาตรฐานการติดต่อ ฐานข้อมูลเท่านั้น นับได้ว่าเป็นความสะดวกต่อนักพัฒนาโปรแกรมเป็นอย่างยิ่ง 2.6.2 หลักการทำงานของ ASP เนื่องจาก ASP จะทำงานโดยมีตัวแปลและเอ็กซิคิวต์ที่ฝั่งเซิร์ฟเวอร์ อาจจะเรียกการ ทำงานว่าเป็นเซิร์ฟเวอร์ไซด์ (Server Side) ส่วนการทำงานของบราวเซอร์ของผู้ใช้เรียกว่าไคลเอนต์ไซต์ (Client Side) โดยการทำงานจะเริ่มต้นที่ผู้ใช้ส่งความต้องการผ่าน เว็บบราวเซอร์ทาง HTTP (HTTP Request) ซึ่งอาจจะเป็นการกรอกแบบฟอร์ม หรือใส่ข้อมูลที่ต้องการ ข้อมูลเหล่านั้นจะเป็นเอกสาร ASP (เอกสารนี้จะมีส่วนขยายเป็น asp เช่น index.asp เป็นต้น) เมื่อเอกสาร ASP เข้ามาถึง เว็บเซิร์ฟเวอร์ก็จะถูกส่งไปให้ ASP เพื่อทำหน้าที่แปลคำสั่งแล้วเอ็กซิคิวต์คำสั่งนั้น ซึ่ง ASP อาจจะ เรียกใช้ออบเจ็กต์, คอมโพเนนต์ หรือ ADO (เพื่อใช้ฐานข้อมูล) หลังจากนั้น ASP จะสร้างผลลัพธ์ ในรูปแบบเอกสาร HTML ส่งกลับไปให้เว็บเซิร์ฟเวอร์เพื่อส่งต่อไปให้บราวเซอร์แสดงผลทางฝั่ง 42 ผู้ใช้ต่อไป (HTTP Response) ซึ่งลักษณะการทำงานแบบนี้จะคล้ายกับการทำงานของ CGI (Common Gateway Interface) หรืออาจจะกล่าวได้ว่า ASP ก็คือโปรแกรม CGI ประเภทหนึ่งก็ได้ ซึ่ง องค์ประกอบและหลักการทำงานของ ASP สามารถแสดงได้ ดังภาพที่ 2-2 ภาพที่ 2-2 แสดงองค์ประกอบและหลักการทำงานของ ASP 2.6.3ก การติดต่อฐานข้อมูล Access ของ ASP ในการติดต่อฐานข้อมูลที่เป็น Access (*.mdb) หรือ FoxPro (*.dbf) ASP จะอาศัย ADODB (AxtiveX Data Object Database) เพื่อติดต่อและจัดการกับข้อมูลในฐานข้อมูลนั้น สำหรับ ขั้นตอนการตอนการติดต่อแฟ้มข้อมูลของ ASP จะต้องอาศัยไดร์เวอร์ของแฟ้มข้อมูลนั้นช่วยซึ่ง มีอยู่ด้วยกัน 3 วิธีคือ 2.6.3.1กกODBC และ DNS มาตรฐานการติดต่อกับฐานข้อมูลที่นิยมกันเป็นอย่างมาก คือ ODBC (Open Database Connectivity) ซึ่งเป็นตัวกลางทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างเว็บแอปพลิเคชัน และฐานข้อมูล โดยอาศัยไดรเวอร์ (Driver) ของแต่ละฐานข้อมูลเป็นช่องทางในการติดต่อ ดังภาพที่ 2-3 ซึ่งจากภาพที่ 2-3 DSN-name คือชื่อของ DSN ที่สร้างและกำหนดไดร์เวอร์ไว้แล้ว Set ObjDB=Server.CreateObject("ADODB.Connection") ObjDB.Open DSN-name," "," " Request ไฟล์ index.asp Response ไฟล์ index.asp ไฟล์ index.asp Database 43 ภาพที่ 2-3 แสดงรูปแบบคำสั่งการติดต่อกับฐานข้อมูลแบบ ODBC และ DNS ข้อดีของการใช้ ODBC คือ สามารถสร้างการเชื่อมต่อและกำหนดให้เป็นชื่อ DSN (Data Source Name) ไว้ก่อน เพื่อใช้อ้างอิงในการเข้าถึงฐานข้อมูลได้ ดังนั้นหากมีการเปลี่ยนฐานข้อมูล เป็นผลิตภัณฑ์ตัวอื่น แต่ยังคงสร้าง DNS ให้เป็นชื่อเดิมจะสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ ในลักษณะ เดียวกันนี้ได้ ข้อเสียของการใช้ ODBC คือ ความล่าช้าที่เกิดจากการแปลงคำสั่งไปมาผ่าน ตัวกลาง นั่นเอง และต้องมีการเซ็ตอัพ ODBC และสร้าง DSN ที่เซิร์ฟเวอร์เท่านั้น ซึ่งหมายความว่าจะต้อง เข้าไปทำงานที่เซิร์ฟเวอร์นั้นอย่างเดียว 2.6.3.2กDSNLess การติดต่อแบบนี้จะไม่ใช้ DSN นั่นหมายถึงว่าไม่จำเป็นต้องสร้าง DSN หรืออาจจะกล่าวได้ว่าไม่มีการติดต่อกับ ODBC นั่นเอง ดังภาพที่ 2-6โดย server-name คือ ชื่อเซิร์ฟเวอร์ หรือ IP ของเซิร์ฟเวอร์ก็ได้ database-nameคือ ชื่อของฐานข้อมูลที่ต้องการติดต่อ user-name คือ ชื่อของผู้ใช้ฐานข้อมูลนั้น password คือ รหัสผ่านของผู้ใช้ฐานข้อมูลนั้น ๆ ภาพที่ 2-4 แสดงรูปแบบคำสั่งการติดต่อกับฐานข้อมูลแบบ DSNLess ข้อดีของการใช้ DSNLess คือ การติดต่อแบบนี้จะตัดขั้นตอนการเซ็ตอัพ ODBC ทั้งหมด ทำให้สะดวกในการใช้งาน ไม่จำเป็นต้องไปเซ็ตอัพที่เซิร์ฟเวอร์ Set ObjDB=Server.CreateObject("ADODB.Connection") ObjDB.Open "Driver={SQL Server};SERVER=server-name; DATABASE=database-name UID=user-name;PWD=password" 44 ข้อเสียของการใช้ DSNLess คือ ถ้าต้องการเปลี่ยนชนิดของฐานข้อมูล เช่นจาก Access เป็น SQL Server จำเป็นต้องแก้ไขรูปแบบการติดต่อทุกไฟล์ที่กล่าวถึงการติดต่อ 2.6.3.3กกOLEDB เนื่องจาก ODBC สามารถเชื่อมต่อกับแหล่งเก็บข้อมูล (Data Store) ที่อยู่ในรูปของฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database) เท่านั้น แต่ความต้องการเพื่อ ติดต่อกับแหล่งเก็บข้อมูลประเภทอื่น ๆ มีเพิ่มมากขึ้น OLEDB (Object Linking and Embedding Database) ซึ่งเป็นออบเจ็กท์ที่มีพื้นฐานมาจาก COM (Component Object Model) จึงได้ ถูก นำเสนอมาทำหน้าที่เหล่านี้ ทั้งนี้เพราะนอกจากจะสามารถที่จะติดต่อได้กับฐานข้อมูลทั่วไปได้ แล้ว ยังสามารถติดต่อแหล่งข้อมูลบางอย่างเช่น Index Services, Directory หรือแม้แต่ Exchange Server รวมทั้ง ODBC เองได้อีกด้วย 2.7 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง งานวิจัยในประเทศ สรรัชต์ (2544) : ทำการวิจัยและพัฒนาระบบการเรียนการสอนผ่านเว็บวิชาการศึกษาทั่วไป เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากแนวคิดของ วิชาการศึกษาทั่วไป การเรียนการสอนผ่านเว็บและการเรียนรู้แบบนำตนเองมาสร้างเป็นระบบการ เรียนการสอนผ่านเว็บวิชาการศึกษาทั่วไป แล้วนำไปทดลองใช้กับนักศึกษามหาวิทยาลัยชั้นปีที่ 1 ที่ ลงทะเบียนเรียนวิชาการศึกษาทั่วไปในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2543 จำนวน 60 คน ทำการ วิเคราะห์ผลการทดลองด้วยสถิติทดสอบที (t-test) พบว่า ระบบการเรียนการสอนผ่านเว็บที่ได้ พัฒนาขึ้น สามารถพัฒนาความสามารถของนักศึกษาที่เรียนวิชาศึกษาทั่วไปได้ไม่แตกต่างจากการ เรียนปกติ และจากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อวิเคราะห์ผลได้พบว่าการเรียนการสอนผ่านเว็บเป็น สิ่งที่ควรทำและมีความเหมาะสมต่อการนำมาใช้ในวิชาศึกษาทั่วไป แต่ควรมีการพบผู้สอนควบคู่ กันไปด้วย ทั้งนี้สังคมให้การยอมรับต่อการเรียนการสอนผ่านเว็บมากขึ้น จิรดา (2541) : ทำการวิจัยเรื่องการนำเสนอลักษณะของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบน เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญและนำเสนอลักษณะ ที่เหมาะสมของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนอินเทอร์เน็ต โดยเทคนิควิธีวิจัยแบบเดลฟาย ผลการวิจัยพบว่าลักษณะที่เหมาะสมในขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นนำเสนอเนื้อหา ขั้นการตอบถาม ขั้น ตรวจคำตอบ ขั้นข้อมูลย้อนกลับหรือให้เนื้อหาเสริม และขั้นจบของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตคือ ตัวอักษรของเนื้อหาข้อความภาษาไทยและภาษาอังกฤษใช้ตัวหัวกลม แบบธรรมดา ขนาดตั้งแต่ 10-20 พอยต์ ในหนึ่งหน้าจอควรมีเนื้อหาไม่เกิน 8-10 บรรทัด และควรใช้ ลักษณะเหมือนกันรูปแบบเดียวกันตลอดหนึ่งบทเรียน ภาพกราฟิกควรใช้ภาพการ์ตูน ภาพวีดิทัศน์ 45 ภาพล้อเสมือนจริงที่เป็นประเภทภาพเคลื่อนไหว 2 มิติ โดยเลือกใช้จำนวน 1 ถึง 3 ภาพภายในหนึ่ง หน้าจอ และภาพพื้นหลัง(ถ้ามี)ควรใช้ภาพลายน้ำสีจางลักษณะเดียวกันตลอดหนึ่งบทเรียน สีที่ ปรากฏในจอภาพและสีของตัวอักษรไม่ควรเกินจำนวน 3 สี โดยคำนึงถึงสีพื้นหลังประกอบด้วย สื่อ ชี้นำในการนำทาง ควรเลือกใช้สัญรูปแบบปุ่มรูปภาพ แบบรูปลูกศรพร้อมทั้งคำอธิบายสั้น ๆ ประกอบสัญลักษณ์ หรือแสดงข้อความ Hypertext และใช้เมนูแบบปุ่ม แบบ Pop Up ที่แสดง สัญลักษณ์สื่อความหมายได้ชัดเจน ณัฐพล (2540) : ได้ทำการวิจัยและพัฒนาบทเรียนวิชาการถ่ายภาพเบื้องต้น โดยใช้รูปแบบ ไฮเปอร์เน็กซ์ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยได้ทำการวิจัยและพัฒนาหาประสิทธิภาพของบทเรียนที่ ทำให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาด้านการเรียนตามเกณฑ์ 80/80 และเกณฑ์มาตรฐานของ Meguigans รวมทั้งการเปรียบเทียบผลการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็น นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ปีการศึกษา 2540 จำนวน 42 คน แบ่งออกเป็นการทดลองรายบุคคล 3 คน การทดลองกลุ่มย่อย 9 คน และการทดลองกลุ่มใหญ่ 30 โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยเป็น บทเรียนวิชาการถ่ายภาพเบื้องต้น โดยใช้รูปแบบของ Hypertext บนเครือข่าย อินเทอร์เน็ตทำการทดลองใช้บทเรียนรายบุคคล หาข้อบกพร่องและปรับปรุงแก้ไข การทดลองใช้ บทเรียนกับกลุ่มย่อยทำแบบทดสอบเพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียน หาข้อบกพร่องและปรับปรุง แก้ไข การทดลองใช้กลุ่มใหญ่ทำแบบทดสอบหาประสิทธิภาพของบทเรียน ผลการทดสอบหา ประสิทธิภาพของบทเรียนตามเกณฑ์ 80/80 พบว่าบทเรียนวิชาการถ่ายภาพเบื้องต้นโดยใช้รูปแบบ ไฮเปอร์เท็กซ์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีประสิทธิภาพ 83.28/81.03 สำหรับการหาประสิทธิภาพของ บทเรียนตามเกณฑ์มาตรฐานของ Meguigans พบว่ามีมาตรฐานตามเกณฑ์คือมีค่าเท่ากับ 1.09 และ การเปรียบเทียบผลการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่าคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบหลัง เรียนสูงกว่าคะแนนจากการทดสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จิระวัฒน์ (2542) : ได้ทำการสร้างและหาคุณภาพ WBT เพื่อใช้ฝึกอบรมหลักสูตรระยะสั้น วิชาวิศวกรรมแทรฟฟิค ขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ สร้างและหาคุณภาพ WBT เพื่อใช้ฝึกอบรมหลักสูตรระยะสั้น วิชาวิศวกรรมแทรฟฟิค ของ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง นำเสนอบทเรียนเป็น ลักษณะโมดูลย่อย แบ่งเป็น 4 โมดูล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเลือกแบบเจาะจง จากพนักงาน องค์การโทรศัพท์ฯ ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับงานทางด้านโครงข่ายโทรศัพท์และแทรฟฟิค จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นโปรแกรม WBT, แบบฝึกหัดท้ายบทเรียน/แบบทดสอบรวม เพื่อ หาประสิทธิภาพของบทเรียนที่ตั้งไว้ไม่ต่ำหว่า 80/80 และแบบสอบถามความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ 46 เพื่อหาความเหมาะสมของสื่อการสอน ผลการวิจัยการหาประสิทธิภาพของบทเรียน จากกลุ่ม ตัวอย่าง ได้คะแนนจากการทำแบบฝึกหัดท้ายบทเรียน/แบบทดสอบรวม คิดเป็นร้อยละ 85.87/80.2 และผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของสื่อการสอนอยู่ในระดับดี สรุปได้ว่า WBT ที่สร้างขึ้นสามารถนำไปใช้ฝึกอบรมกับกลุ่มเป้าหมายได้ เกศินี (2544) : ได้ทำการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านอินเทอร์เน็ต วิชาการ พยาบาล สูติศาสตร์ เรื่องการวางแผนครอบครัว สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อ พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านอินเทอร์เน็ต วิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ เรื่องการ วางแผนครอบครัว สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียนของผู้เรียนที่ใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านอินเทอร์เน็ต โดยเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ศึกษาความคิดเห็นของ ผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ผ่านอินเทอร์เน็ต วิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ เรื่อง การวางแผนครอบครัว ผู้วิจัยได้พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านอินเทอร์เน็ตจำนวน 3 หน่วย ประกอบด้วย การวางแผนครอบครัว การคุมกำเนิดแบบชั่วคราวโดยใช้ฮอร์โมน และการ คุมกำเนิดแบบชั่วคราวโดยวิธีอื่น ๆ พร้อมทั้งสร้างแบบทดสอบวัดวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมด้าน พุทธิพิสัย เป็นแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนแบบคู่ขนาน ซึ่งได้ผ่านการทดสอบและพัฒนา จนมีค่าความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนก และค่าความเที่ยงตามเกณฑ์ หลังจากนั้นได้นำบทเรียนที่ สร้างขึ้นไปทำการทดลอง ผลการวิจัยพบว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านอินเทอร์เน็ตที่ได้ สร้างและพัฒนาขึ้นทั้ง 3 หน่วย มีประสิทธิภาพ 85.00/85.00 81.50/81.50 และ 83.17/83.17 ถึง เกณฑ์ 80/80 ที่พัฒนา ผลสัมฤทธิ์ทางเรียนของผู้เรียน เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักศึกษามีความคิดเห็น ต่อการเรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านอินเทอร์เน็ตใน ระดับดี ชมนาฎ (2544) : ได้พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านอินเทอร์เน็ต วิชาวิทยาศาสตร์ ทั่วไป สำหรับนักเรียนระดับ 6 โรงเรียนสถานศึกษานานาชาติกรุงเทพ ซึ่งมีวัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านอินเทอร์เน็ตวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไปให้มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 85/85 ศึกษาความก้าวหน้าในการเรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่าน อินเทอร์เน็ต และ ศึกษาความคิดของนักศึกษาที่เรียนจากบทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่าน อินเทอร์เน็ต ผู้วิจัยได้พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านอินเทอร์เน็ตวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป จากนั้นนำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านอินเทอร์เน็ตที่สร้างขึ้นไปทดลองใช้แบบเดี่ยว แบบ กลุ่ม และแบบภาคสนามกับนักเรียน ระดับ 6 โรงเรียนสถานศึกษานานาชาติกรุงเทพ จำนวน 30 คน โดยมีการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ก่อนเรียนและหลังเรียนเมื่อนักเรียนเรียนครบทุกหน่วยแล้วให้ 47 นักเรียนตอบแบบสอบถามคิดเห็นที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านอินเทอร์เน็ต ผู้วิจัยได้ นำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติ E1/E2 การทดสอบค่าที ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านอินเทอร์เน็ตทั้ง 4 หน่วย ที่ได้สร้างและ พัฒนาขึ้นมาประสิทธิภาพถึงเกณฑ์ 85/85 ตามลำดับ คือ 87.04/86.67, 87.50/89.00,87.00/87.33,88.33/88.67 นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3 นักเรียนมีความคิดเห็นต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่าน อินเทอร์เน็ตอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก งานวิจัยต่างประเทศ มอไฮดิน (Mohaidin , 1995) : ได้ศึกษาการใช้อินเทอร์เน็ตของนักศึกษามาเลเซียที่กำลังศึกษา อยู่ในต่างประเทศ และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการนำอินเทอร์เน็ตมาใช้ ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษา ชายใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่าและมีทักษะการใช้ดีกว่านักศึกษาหญิง นักศึกษาส่วนใหญ่ใช้ อินเทอร์เน็ตเกือบจะทันที หลังจากเริ่มลงทะเบียนเรียนในมหาวิทยาลัย นักศึกษาปี 1 ใช้ อินเทอร์เน็ตเพื่อการสื่อสารมากกว่าจะใช้เพื่อจุดประสงค์ทางวิชา ประสบการณ์และทักษะมีความ เกี่ยวข้องกับความถี่และความสามารถในการใช้อินเทอร์เน็ต ความสามารถในการใช้ซอฟต์แวร์อื่น ๆ ความซับซ้อน ความท้าทายในการใช้งาน การสังเกตการณ์ และการมีปฏิกิริยาโต้ตอบระหว่างกัน เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการใช้อินเทอร์เป็นนวกรรม และนักศึกษาเห็นพ้องต้องกันว่า ควรให้มีการสอนการใช้อินเทอร์เน็ตในมหาวิทยาลัยทุกแห่งในประเทศมาเลเซีย จากผลการวิจัย ทางด้านการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการฝึกอบรม การใช้รูปแบบของ ไฮเปอร์เท็กซ์ บนเครือข่าย อินเทอร์เน็ตเป็นรายบุคคล การเรียนด้วยตนเองผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยวิธีการแบบเนื้อหา เป็นตอน ๆ การศึกษาเปรียบเทียบการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต และการศึกษาการใช้อินเทอร์เน็ตใน มหาวิทยาลัย ที่กล่าวมาสรุปได้ว่าการใช้คอมพิวเตอร์ที่ใช้งานเป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือต่อ เป็นลักษณะเครือข่าย บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะมีความสำคัญอย่างสูงต่อการศึกษาและการ ฝึกอบรมได้ด้วยตนเอง วิลดิส (Wildish, 1995) : ได้ทำการศึกษาการตีความประสบการณ์ของผู้ใหญ่ซึ่งเรียนด้วย ตนเองโดยใช้อินเทอร์เน็ต พบว่าการเรียนอินเทอร์เน็ตที่ใช้โปรแกรมเน็ตสเคป และให้ศึกษาด้วย ตนเอง 1 ชั่วโมง ด้วยวิธีการแบ่งเนื้อหาเป็นตอน ๆ จะเป็นการยากในการเรียนโดยไฮเปอร์เท็กซ์ และพบว่าผู้ที่สามารถใช้วิธีการเรียนแบบเนื้อหาเป็นตอน ๆ และเนื้อหามีความเกี่ยวโยงกัน น่าจะมี ความพร้อมในการเรียนด้วยเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ เฮ (He,1996) : ได้ทำการวิจัยเพื่อเปรียบเทียบผลของการใช้โปรแกรมการสอนดนตรีในการ อ่านโน๊ตเปียโน โดยวิธีการสอน 2 แบบ โดยมีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อ ศึกษาประสิทธิภาพของ 48 การใช้โปรแกรม TAP (Traditional Approach Program) กับโปรแกรม GAP (Game Approach Program) และเพื่อเปรียบเทียบการสอนโดยใช้อินเทอร์เน็ตกับการสอนในห้องสมุดคอมพิวเตอร์ ผลการวิจัยพบว่าโปรแกรม TAP และโปรแกรม GAP มีประสิทธิภาพในการสอนทักษะในการอ่าน โน๊ตเปียโน นอกจากนี้นักศึกษาที่ใช้อินเทอร์เน็ตมีทัศนคติที่ดีต่อการสอน และการสอบโดยใช้ อินเทอร์เน็ต เนื่องจากการสอนเนื้อหาโดยใช้อินเทอร์เน็ตได้ผล จึงขอแนะนำว่ากิจกรรมการเรียน การสอนซึ่งเคยใช้ในชั้นเรียนควรส่งผ่านอินเทอร์เน็ตเพื่อให้นักเรียน ทั่วโลกได้เรียน สรุป ในการพัฒนาบทเรียนออนไลน์เรื่องคอมพิวเตอร์และสถาปัตยกรรมในครั้งนี้ ได้ใช้ทฤษฎี ด้าน การเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (e-Learning) เนื่องจาก e-Learning ช่วยให้ การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพราะการถ่ายทอดเนื้อหาผ่านทางมัลติมีเดีย สามารถทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีกว่าการเรียนจากสื่อข้อความเพียงอย่างเดียว โดยเมื่อ เปรียบเทียบกับ e-Learning ที่ได้รับการออกแบบและผลิตมาอย่างมีระบบจะช่วยทำให้ผู้เรียนเกิด การเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าในเวลาที่เร็วกว่า อีกทั้งยังช่วยทำให้ผู้สอนสามารถ ตรวจสอบความก้าวหน้าและพฤติกรรม การเรียนของผู้เรียนได้อย่างละเอียดและตลอดเวลา และได้ พัฒนาบทเรียนออนไลน์ ในรูปของบทเรียน WBI/WBT เป็นบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ นำเสนอผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยใช้เว็บบราวเซอร์เป็นตัวจัดการ ซึ่งได้ออกแบบตัวบทเรียน ตามทฤษฎีการออกแบบเว็บเพื่อการเรียนการสอน ทั้งทางด้านโครงสร้างของเว็บไซต์และการ ออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ (User Interface) ซึ่งหากเว็บไซต์ได้รับการออกแบบมาอย่างดี ผู้เรียนจะมีการนำทาง (Navigate) ในบทเรียนได้อย่างสะดวกและไม่สับสน และเกิดประสิทธิภาพ ในการเรียนมากขึ้น โดยได้นำเทคโนโลยีด้านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตมาใช้ในการนำเสนอบทเรียน คอมพิวเตอร์ออนไลน์ที่ได้พัฒนาขึ้น และในการพัฒนาตัวบทเรียนได้ใช้เทคโนโลยีของ Active Server Pages หรือ ASP ซึ่งเป็นเทคโนโลยีของไมโครซอฟท์ที่พัฒนาขึ้น เพื่อการออกแบบและพัฒนา ระบบงานบนอินเตอร์เน็ต เอกสาร ASP เป็นเท็กซ์ไฟล์ที่ประกอบด้วยภาษาสคริปต์ รวมกับแท็ก ของ HTML แล้วเก็บไว้ที่เว็บเซิร์ฟเวอร์ โดยเอกสารที่เป็น ASP จะมีแท็ก ASP กำกับอยู่ โดยใช้ เทคโนโลยีเว็บแอปพลิเคชั่นกับการเชื่อมต่อฐานข้อมูล ซึ่งฐานข้อมูลที่ใช้ในครั้งนี้คือ ไมโครซอฟต์ แอกเซส บทที่ 3 วิธีการดำเนินงาน บทเรียนออนไลน์เรื่อง ระบบคอมพิวเตอร์และสถาปัตยกรรม ผู้พัฒนาสร้างขึ้นเพื่อใช้ ประกอบการเรียนการสอนในรายวิชา ระบบคอมพิวเตอร์และสถาปัตยกรรม ตามหลักสูตรของ สภาสถาบันราชภัฏ ได้ดำเนินการพัฒนาตามขั้นตอนดังนี้ 1. ศึกษาและรวบรวมข้อมูล 2. การวิเคราะห์และออกแบบบทเรียน 3. การสร้างและพัฒนาระบบบทเรียน 4. การสร้างเครื่องมือประเมินประสิทธิภาพบทเรียน 5. การทดสอบประสิทธิภาพของบทเรียนโดยผู้เชี่ยวชาญ 6. การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ 3.1 ศึกษาและรวบรวมข้อมูล ผู้พัฒนาได้ศึกษาหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อการพัฒนาดังนี้ 1. ศึกษาหลักการและวิธีการสร้างบทเรียนออนไลน์ เช่น วิธีการนำเสนอ ประเภท รูปแบบ และส่วนอื่น ๆ จากตำรา เอกสาร งานวิจัย และสิ่งพิมพ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และคำแนะนำจากอาจารย์ ที่ปรึกษา รวมไปถึงแหล่งข้อมูลบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยระบบของบทเรียนออนไลน์ ที่พัฒนาขึ้น เป็นบทเรียนที่มีการแบ่งการทำงานออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนของบทเรียนและส่วนของ ระบบจัดการบทเรียน โดยในส่วนของบทเรียนนั้น จะมีการนำเสนอเนื้อหาสาระของบทเรียนใน รูปแบบศึกษาเนื้อหาใหม่ (Tutorial) ซึ่งส่วนประกอบของบทเรียนจะประกอบไปด้วย บทนำเรื่อง (Title) คำชี้แจงบทเรียน (Instruction) วัตถุประสงค์บทเรียน (Objective) รายการให้เลือก (Menu) เนื้อหาบทเรียน (Information) แบบทดสอบท้ายบทเรียน (Post-test) ซึ่งในการทำแบบทดสอบจะมี การทดสอบตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้โดยที่ผู้เรียนต้องทำการทดสอบ ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ระบบจึงจะมีการบันทึกคะแนนไว้ และต้องทำแบบทดสอบให้ผ่านทุกจุดประสงค์จึงจะสามารถทำแบบทดสอบท้ายบทเรียนเพื่อประเมินผลการเรียนได้ สำหรับในส่วนของระบบจัดการบทเรียนได้ มีการแบ่งการทำงานออกเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนของผู้ดูและระบบ อาจารย์ และผู้เรียน ส่วนของผู้ดูแล ระบบ สามารถปรับปรุงข้อมูลในรายการของรายวิชาต่าง ตรวจสอบข้อมูลของรายวิชา อาจารย์และ 50 ผู้เรียนได้สามารถจัดการในส่วนของการลงทะเบียนเป็นสมาชิกทั้งของอาจารย์ผู้สอนและผู้เรียนได้ ส่วนของอาจารย์ สามารถทำการจัดการตัวบทเรียนได้ ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดวัตถุประสงค์ของ บทเรียน สร้างบทเรียนตามวัตถุประสงค์ของบทเรียน การสร้างข้อสอบตามวัตถุประสงค์ของ บทเรียน การตรวจสอบผลการเรียนของผู้เรียน ส่วนของผู้เรียนจะมีระบบฐานข้อมูลของผู้เรียน ที่ ใช้ในการเก็บระเบียนของผู้เรียน มีห้องสนทนา (Chatroom) และมีระบบกระดานข่าว 2. ศึกษาเครื่องมือสำหรับสร้างบทเรียนออนไลน์ ซึ่งเกี่ยวข้อง และสัมพันธ์กับการสร้าง โปรแกรม เนื้อหาบทเรียน รูปภาพ ความสัมพันธ์กับฐานข้อมูล การเก็บสถิติการเรียนและคะแนน ในบทเรียนออนไลน์ ที่สร้างขึ้น ได้แก่ โปรแกรม Active Server page Adobe PhotoShop Microsoft Access Macromedia Flash Macromedia Dreamweaver เป็นต้น 3. ศึกษาหลักการวิเคราะห์เนื้อหา การเขียนวัตถุประสงค์ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน วิธีการให้เนื้อหา การออกแบบทดสอบ การวัดผล การแสดงผล การวิเคราะห์เนื้อหา เลือกเนื้อหาที่ สำคัญ และสามารถนำมาถ่ายทอดลงในบทเรียนออนไลน์ให้สามารถเข้าใจได้ง่าย รวมทั้งรูป ประกอบ 3.2 การวิเคราะห์และออกแบบระบบบทเรียน ในการวิเคราะห์และออกแบบผู้พัฒนาได้แบ่งออกเป็น 2 ส่วนดังนี้ 1. ส่วนของบทเรียน การวิเคราะห์จะเกี่ยวกับการศึกษาเนื้อหาตามคำอธิบายรายวิชา ระบบ คอมพิวเตอร์และสถาปัตยกรรม ตามหลักสูตรของสภาสถาบันราชภัฏ ซึ่งสามารถแบ่งเนื้อหา ออกเป็นหน่วยย่อย ๆ ดังนี้ 1.1 หน่วยที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (Introduction to computer system) ก) ความหมายของระบบคอมพิวเตอร์ ข) วิวัฒนาการและความเป็นมาของระบบคอมพิวเตอร์ ค) ประเภทของระบบคอมพิวเตอร์ ง) องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ 1.2 หน่วยที่ 2 หลักการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ ก) หน่วยประมวลผลกลาง CPU ข) หน่วยความจำ ค) อุปกรณ์รับข้อมูล ง) อุปกรณ์แสดงผล 51 1.3 หน่วยที่ 3 ส่วนประกอบของเครื่อง ก) ส่วนประกอบภายในเครื่อง ข) ส่วนประกอบภายนอกเครื่อง 1.4 หน่วยที่ 4 เมนบอร์ดและ ชิปเซต (Mainboard and Chipset) ก) ส่วนประกอบที่สำคัญบนเมนบอร์ด ข) ชิปคอนโทรลเลอร์ ค) ชิปเซต ง) ซีพียูและระบบบัสบนเมนบอร์ด จ) รูปแบบของเมนบอร์ด 1.5 หน่วยที่ 5 หน่วยความจำและหน่วยเก็บข้อมูล ก) ROM ข) RAM ค) Floppy disk ง) Harddisk จ) CD-ROM 1.6 หน่วยที่ 6 อุปกรณ์รับข้อมูล-อุปกรณ์แสดงผล (Input – Output Unit) ก) Keyboard & Mouse ข) Scanner ค) Printer ง) Monitor 2. ส่วนของระบบจัดการบทเรียน การวิเคราะห์จะเกี่ยวข้องกับงานของการออกแบบ ผังรายละเอียดต่าง ๆ ของการดำเนินงานและสร้างผังการทำงานต่าง ๆ เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ เช่น ผังแสดงรายละเอียดรวม (Context Diagram) ผังแสดงการไหลเวียนข้อมูลระดับต่าง ๆ (Data Flow Diagram) และ ER-Diagram รวมทั้งการวิเคราะห์โครงสร้างของฐานข้อมูลและความสัมพันธ์ ของแฟ้มข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้ระบบมีความสอดคล้องกันในการทำงาน เพื่อนำไปใช้ประกอบในการ ออกแบบเพื่อให้เกิดความเหมาะสมในการออกแบบระบบให้มากที่สุด 3.2.1 ผังแสดงรายละเอียดรวม (Context Diagram) ผังแสดงรายละเอียดรวมจะแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของการทำงานภายในระบบ ของบทเรียนโดยสามารถอธิบายได้ว่า บทเรียนจะมีการทำงานกับระบบภายนอก 3 ส่วน ซึ่ง ประกอบด้วย ผู้ดูแลระบบ ผู้เรียนและอาจารย์ ผู้ดูแลระบบจะเกี่ยวข้องกับบทเรียนคือ การจัดการ 52 กับข้อมูลของผู้เรียน อาจารย์ รวมไปถึงการเพิ่มรายการบทเรียนต่าง ๆ ลงไปในระบบ การจัดการกับ ข้อมูลข่าวสารประชาสัมพันธ์ อาจารย์จะเกี่ยวข้องกับบทเรียนคือ สามารถแก้ไขข้อมูลส่วนตัวได้ สามารถจัดการกับเนื้อหาในบทเรียนได้ สามารถจัดการกับแบบทดสอบได้ สามารถตรวจสอบ สถานะการเข้าเรียนของผู้เรียนได้ และสามารถจัดการกับข้อมูลข่าวสารประชาสัมพันธ์ได้ ในส่วน ของผู้เรียนจะเกี่ยวข้องกับระบบคือ ผู้เรียนสามารถเข้าเรียนเลือกเนื้อหาในบทเรียนต่าง ๆ ได้ สามารถจัดการปรับปรุงแก้ไขข้อมูลส่วนตัวได้ สามารถที่จะติดต่อกับอาจารย์ผู้สอนผ่านทาง ห้องสนทนาหรือผ่านทางระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ได้ สามารถติดต่อสื่อสารกับผู้เรียนคนอื่น ผ่านทางระบบกระดานข่าวได้ นอกจากนี้ยังสามารถตรวจสอบผลการเรียนของตนเองได้ดังภาพ ที่ 3-1 ภาพที่ 3-1 แสดงผังรายละเอียดรวมของระบบ บทเรียนออนไลน์ ผู้สอน ผู้เรียน ผู้บริหารระบบ ข้อมูลผู้เรียน, ข้อมูลรหัสผ่าน, ข้อมูลการเข้าเรียน, ข้อมูลการทำแบบทดสอบ ข้อมูลผู้สอน, ข้อมูลรหัสผ่าน, ข้อมูลเนื้อหาบทเรียน, ข้อมูลแบบทดสอบ, ข้อมูลประชาสัมพันธ์ ข้อมูลการจัดการบทเรียน, ข้อมูลรหัสผ่าน, ข้อมูลประชาสัมพันธ์, ข้อมูลการจัดการผู้เรียน, ข้อมูลการจัดการผู้สอน ข้อมูลการใช้งานของผู้สอน ข้อมูลการเข้าเรียนบทเรียนของผู้เรียน ข้อมูลรหัสผ่าน, ข้อมูลการเข้าเรียน, ข้อมูลการทำแบบทดสอบ ข่าวสารประชาสัมพันธ์Web board E-mail Chat Room ข้อมูลผู้เรียน, ข้อมูลรหัสผ่าน, ข้อมูลเนื้อหาบทเรียน, ข้อมูลแบบทดสอบ, ข้อมูลประชาสัมพันธ์ 53 3.2.2 ผังแสดงการไหลเวียนข้อมูลระดับที่ 0 (Data Flow Diagram) ผังการไหลเวียนข้อมูลมีกระบวนการทำงานหลัก 6 กระบวนการ คือ ลงทะเบียน การ จัดการข่าวสารประชาสัมพันธ์ การเรียกดูข้อมูล การจัดการบทเรียน การจัดการแบบทดสอบ และ การเรียน โดยมีการทำงานที่สัมพันธ์กับระบบภายนอก 3 ระบบ คือ ผู้เรียน อาจารย์ และผู้ดูแลระบบ ซึ่งผู้ใช้ทำการติดต่อกับระบบโดยการลงทะเบียน ซึ่งผู้ใช้จะต้องกรอกข้อมูลต่าง ๆ เช่นชื่อ นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทร เบอร์อีเมล์ ชื่อรหัสผ่าน รหัสผ่าน เป็นต้น จากนั้นระบบก็มีการตรวจสอบรหัสผ่าน ว่าถูกต้องหรือไม่ จึงจะอนุญาตให้เข้าไปใช้งานในระบบ โดยที่อาจารย์จะสามารถที่จะจัดการกับ ตัวบทเรียนรวมไปถึงแบบทดสอบได้ด้วยตนเอง สามารถตรวจสอบการเข้าเรียนในบทเรียนต่าง ๆ ของผู้เรียนได้ นอกจากนี้อาจารย์ยังสามารถแจ้งข้อมูลข่าวสารประชาสัมพันธ์ได้อีกด้วย ส่วนผู้ดูแล ระบบจะเกี่ยวข้องกับระบบในการเพิ่มรายวิชาต่าง ๆ การลงทะเบียนข้อมูลเกี่ยวกับอาจารย์ การ จัดการกับข่าวประชาสัมพันธ์ รวมถึงสามารถตรวจสอบสถานะ การใช้งานของผู้ใช้ทุกคน ในส่วน ของผู้เรียนสามารถเลือกเนื้อหาที่ต้องการเรียนได้ สามารถแก้ไขข้อมูลส่วนตัวได้ ดังภาพที่ 3-2 ลงทะเบียน 1.0 จัดการข่าวสาร 2.0 เรียกดูข้อมูล 3.0 จัดการบทเรียน 4.0 จัดการ แบบทดสอบ 5.0 เรียน 6.0 ผู้บริหารระบบ ข้อมูลรายวิชา ข้อมูลอาจารย์ ข้อมูลนักเรียนที่ต้องการ ข้อมูลอาจารย์ที่ต้องการ ข้อมูลบทเรียนที่ต้องการ แฟ้มข้อมูลนักเรียน แฟ้มข้อมูลอาจารย์ แฟ้มข้อมูลรายวิชา ข้อมูลนักเรียน ข้อมูลอาจารย์ ข้อมูลรายวิชา ข้อมูลนักเรียนที่ต้องการ ข้อมูลอาจารย์ที่ต้องการ ข้อมูลรายวิชาที่ต้องการ นักเรียน ข้อมูลนักเรียน ข่าวประชาสัมพันธ์ ข่าวสาร แฟ้มข้อมูลข่าว ข้อมูลรายวิชา ข้อมูลรายวิชา แฟ้มแบบทดสอบ ข้อมูลแบบทดสอบ อาจารย์ ข้อมูลบทเรียน ข้อมูลแบบทดสอบ ข้อมูลข่าว แฟ้มข้อมูลบทเรียน ข้อมูลบทเรียน นักเรียน ข้อมูลบทเรียนข้อมูลรหัสผ่าน แฟ้มข้อมูลสถานะการเรียน ข้อมูลการเรียน ภาพที่ 3-2 ผังแสดงการไหลเวียนข้อมูลระดับที่ 0 (Data Flow Diagram) 54 เริ่มต้น รวบรวมข้อมูล สร้างต้นแบบฉบับร่าง ตรวจสอบโดย อ.ที่ปรึกษา แก้ไขปรับปรุง ไม่เหมาะสม เหมาะสม สร้างบทเรียนออนไลน์ ตรวจสอบโดย อ.ที่ปรึกษา แก้ไขปรับปรุง ไม่เหมาะสม เหมาะสม ประเมินจากกลุ่ม ทดลองย่อยและผู้เชี่ยวชาญ แก้ไขปรับปรุง ไม่เหมาะสม ได้บทเรียนออนไลน์ จบการทำงาน 3.3 การสร้างและพัฒนาบทเรียน ในขั้นตอนของการสร้างและพัฒนาบทเรียนออนไลน์เรื่องระบบคอมพิวเตอร์และ สถาปัตยกรรมนั้นผู้พัฒนาได้ดำเนินการตามลำดับดังนี้ ภาพที่ 3-3 แสดงขั้นตอนการสร้างและพัฒนาบทเรียนออนไลน์ 55 3.3.1 รวบรวมข้อมูลหลักการสร้างบทเรียนออนไลน์ 3.3.1.1 รวบรวมเนื้อหาวิชา ระบบคอมพิวเตอร์และสถาปัตยกรรม 3.3.1.2 รวบรวมจากตำราและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับหลักการสร้างบทเรียนออนไลน์ นำตัวอย่างและแนวความคิดไปใช้ในการออกแบบหน้าจอ 3.3.1.3 รวบรวมตัวอย่างโปรแกรม HTML และ ASP ในลักษณะของการทำแบบทดสอบ การตอบกลับและการแสดงผล 3.3.1.4 รวบรวมตัวอย่างภาพ Graphic และพื้นหลัง 3.3.2 การสร้างต้นแบบฉบับร่าง 3.3.2.1 วิเคราะห์เนื้อหาและออกแบบบทเรียน โดยเลือกเนื้อหามากำหนดเป็น หัวข้อย่อย จากนั้นจึงเขียนรายการวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม และเนื้อหาบทเรียนที่เหมาะสมกับ การนำมาทำเป็นบทเรียนออนไลน์ โดยต้องทำความเข้าใจกับเนื้อหาและย่อให้ได้ใจความเหมาะสม ที่ผู้เรียนสามารถอ่านและทำความเข้าใจได้ง่าย รวมทั้งกำหนดรูปที่จะนำมาประกอบการอธิบายได้ สอดคล้องกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่กำหนดไว้ เพื่อนำไปสร้างบทเรียนโดย เลือกใช้โปรแกรม Macromedia Dreamweaver 4 เป็นเครื่องมือในการสร้างบทเรียน 3.3.2.2 ออกแบบรูปร่างหน้าจอ (Template) เป็นลักษณะที่เรียกว่า Web pages คือ ออกแบบ Web Pages เริ่มแรกของการเข้าสู่โปรแกรม ออกแบบ Web pages หลักเป็นลักษณะของ Frame กำหนดรูปแบบของตัวอักษรและภาพ กำหนดสีที่ใช้ ออกแบบการวางรูปแบบต่าง ๆ ใน เฟรม 3.3.2.3 ออกแบบผังงาน (Flowchart) ของการเขียนโปรแกรม 3.3.3 เมื่อเสร็จสิ้นการสร้างต้นแบบฉบับร่างนำเสนออาจารย์ที่ปรึกษาตรวจสอบ แล้ว นำมาปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมต่อไป 3.3.4 สร้างบทเรียนออนไลน์โดยนำแนวทางจากต้นแบบฉบับร่างที่ได้ปรับตรวจแก้ไขแล้ว ตามรายการต่อไปนี้ 3.3.4.1 สร้างหน้าจอมีการสร้างหน้าจอดังนี้ กำหนด Home Page เริ่มแรกของการเข้าสู่บทเรียนโดยกำหนดให้ใส่ ชื่อผู้ใช้ (User Name) รหัสผ่าน (Password) และกำหนดประเภทของผู้ใช้ สำหรับผู้ที่ลงทะเบียนแล้ว สำหรับผู้ใช้ที่เป็นผู้เรียนที่ไม่เคยลงทะเบียนให้เข้าสู่ Web Page ของการลงทะเบียนเพื่อบันทึกข้อมูล การลงทะเบียนลงสู่ระบบฐานข้อมูลโดยมีแนวคิดในการออกแบบดังนี้ 56 ภาพที่ 3-4 แสดงแนวการออกแบบHome Page เริ่มแรก 3.3.4.2 Web Pages หลัก มีแนวความคิดในการออกแบบคือกำหนดเป็นลักษณะ ของ Frame เพื่อกำหนดตำแหน่งของ เมนู และกำหนดตำแหน่งของปุ่มต่าง ๆ อยู่ทางด้านซ้ายมือ โดยแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบคือ รูปแบบของผู้ใช้ที่เป็นผู้บริหารระบบ รูปแบบของผู้ใช้ที่เป็นครู/ อาจารย์ และรูปแบบของผู้ใช้ที่เป็นนักเรียน/นักศึกษา โดยทั้ง 3 รูปแบบใช้ Template เดียวกัน ดังภาพ ภาพที่ 3-5 แสดงแนวในการออกแบบ Web Page หลัก ชื่อผู้ใช้ ประเภท รหัสผ่าน ผู้บริหารระบบ ครู/อาจารย์ นักเรียน/นักศึกษา ส่วนหัว ปุ่มลงทะเบียน ปุ่มเข้าโปรแกรม ส่วนแสดงคำแนะนำ ส่วนหัว ส่วนแสดงรายละเอียด ส่วนแสดงเมนู 57 3.3.4.3ddWeb Pages สำหรับแสดงเนื้อหาบทเรียน มีแนวคิดในการออกแบบ คือใน ส่วนของเฟรมทางด้านซ้ายมือจะแสดงหัวข้อย่อยของเนื้อหาต่าง ๆ 3.3.4.4 บทเรียนออนไลน์ที่สร้างเสร็จแล้ว เสนออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อตรวจสอบ ความถูกต้อง ความเหมาะสมถ้ายังไม่เหมาะสมนำโปรแกรมไปปรับปรุงแก้ไข 3.3.4.5 นำบทเรียนที่สร้างและแก้ไขปรับปรุงเสร็จแล้วไปทดลองใช้กับกลุ่มทดลอง ย่อยจำนวน 20 คน และนำเสนอผู้เชี่ยวชาญจำนวน 7 คน เพื่อประเมินคุณภาพบทเรียนที่สร้างขึ้น 3.4 การสร้างเครื่องมือประเมินประสิทธิภาพโปรแกรม ในการดำเนินการสร้างเครื่องมือเพื่อประเมินประสิทธิภาพของบทเรียนได้ดำเนินการ ตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ ภาพที่ 3-6 แสดงขั้นตอนการสร้างแบบประเมินประสิทธิภาพบทเรียนออนไลน์ เริ่มต้น ศึกษาข้อมูลในการออกแบบประเมิน สร้างแบบประเมินประสิทธิภาพของบทเรียน ตรวจสอบโดย อ.ที่ปรึกษา แก้ไขปรับปรุง ไม่เหมาะสม เหมาะสม ได้แบบประเมินประสิทธิภาพบทเรียนออนไลน์ จบการทำงาน นำข้อมูลที่ได้จากการประเมิน มาปรับปรุงบทเรียนออนไลน์ 58 3.4.1 ดำเนินการศึกษาข้อมูลต่างๆ ได้แก่ การสร้างแบบประเมิน รูปแบบของแบบประเมิน วิธีการใช้งาน และข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาสร้างแบบประเมินประสิทธิภาพของบทเรียน 3.4.2 สร้างแบบประเมินประสิทธิภาพของบทเรียน ซึ่งแบบประเมินที่นำมาใช้ในการ ประเมินหาประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์ที่พัฒนาขึ้นในโครงการนี้ คือ แบบสอบถามเพื่อ ประเมินประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์ที่พัฒนาขึ้น โดยแบ่งการประเมินออกเป็น 4 ด้าน ดังนี้ คือ 1.ก การประเมินระบบด้าน Functional Requirement Test 2.ก การประเมินระบบด้าน Function Test 3. การประเมินระบบด้าน Usability Test 4. การประเมินระบบด้าน Security Test แบบประเมินประสิทธิภาพของโปรแกรมได้กำหนดเกณฑ์ตามวิธีของไลเคอร์ท (Likert) โดย ประกอบด้วย มาตรอันดับ (Rating Scale) เชิงคุณภาพ 5 ระดับและมาตรอันดับเชิงปริมาณ 10 ระดับ ดังตารางที่ 3-1 ตารางที่ 3-1 แสดงเกณฑ์การให้คะแนนของแบบประเมิน ระดับเกณฑ์การให้คะแนน เชิงคุณภาพ เชิงปริมาณ ความหมาย ดีมาก 9.00 - 10.00 ระบบสามารถสนับสนุนและรองรับการทำงานเกี่ยวกับงาน นั้น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพในระดับดีมาก ดี 7.00 - 8.99 ระบบสามารถสนับสนุนและรองรับการทำงานเกี่ยวกับงาน นั้น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพในระดับดี พอใช้ 5.00 - 6.99 ระบบสามารถสนับสนุนและรองรับการทำงานเกี่ยวกับงาน นั้น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพในระดับพอใช้ ปรับปรุง 3.00 - 4.99 ระบบสามารถสนับสนุนและรองรับการทำงานเกี่ยวกับงาน นั้น ๆ ได้ในระดับควรปรับปรุง ไม่เหมาะสม 1.00 - 2.99 ระบบสามารถสนับสนุนและรองรับการทำงานเกี่ยวกับงาน นั้น ๆ ได้ในระดับไม่เหมาะสม 59 3.4.2.1กกการประเมินระบบด้าน Functional Requirement Test เป็นการประเมินเพื่อดูว่าระบบที่พัฒนาขึ้นมานั้นมีความถูกต้อง และมี ประสิทธิภาพตรงตามความต้องการของผู้ใช้มากน้อยเพียงใด เช่นความสามารถในการจัดเก็บข้อมูล พื้นฐานของระบบได้เร็วขึ้น เป็นต้น ซึ่งในการประเมินระบบนี้ได้ทำการออกแบบ แบบประเมิน โดยแบ่งหัวข้อการประเมินเป็น 4 หัวข้อ ดังตารางที่ 3-2 ตารางที่ 3-2 แสดงการประเมินระบบด้าน Functional Requirement Test ระดับประสิทธิภาพ ดีมาก ดี พอใช้ ปรับปรุง ไม่เหมาะสม รายการประเมิน 10 9 8 7 6 5 4 3 2 1 1. ความสามารถของบทเรียนในการ นำเสนอบทเรียนแบบเชิงเส้นหรือแบบ สาขา 2. ความสามารถของระบบช่วยเหลือ ผู้เรียน 3.ความสามารถของบทเรียนในการเร้า ความสนใจของผู้เรียน 4. ความสามารถของบทเรียนในการให้ เนื้อหาสาระ 5. ความสามารถของบทเรียนในการ ประเมินผลบทเรียน 6. ความสามารถของบทเรียนในด้านการ เพิ่มเติมเนื้อหา 7.ความสามารถของบทเรียนในการ ปรับปรุงเนื้อหา 8. ความสามารถของบทเรียนในการสร้าง แบบทดสอบตามจุดประสงค์การเรียนรู้ 9.ความสามารถของบทเรียนในการสุ่ม แบบทดสอบตามจุดประสงค์ของการ เรียนรู้ 60 ตารางที่ 3-2(ต่อ) ระดับประสิทธิภาพ ดีมาก ดี พอใช้ ปรับปรุง ไม่เหมาะสม รายการประเมิน 10 9 8 7 6 5 4 3 2 1 10.ความสามารถของระบบการจัดการ ฐานข้อมูลของบทเรียน 3.4.2.2 การประเมินระบบด้าน Functional Test เป็นการประเมินเพื่อดูว่าระบบที่พัฒนาขึ้นมานั้นมีความถูกต้อง และมี ประสิทธิภาพเพียงใด สามารถทำงานได้ตามหน้าที่ (Function) ที่มีอยู่ในระบบมากน้อยเพียงใด เช่น ความถูกต้องของการจัดเก็บข้อมูล ความถูกต้องของการค้นหาข้อมูล ความถูกต้องของการ ปรับปรุงแก้ไขข้อมูล และความถูกต้องของการลบข้อมูล เป็นต้น ซึ่งในการประเมินระบบนี้ได้ทำการออกแบบแบบประเมินโดยแบ่งหัวข้อการประเมินเป็น 8 หัวข้อ ดังตารางที่ 3-3 ตารางที่ 3-3 แสดงการประเมินระบบด้าน Functional Test ระดับประสิทธิภาพ ดีมาก ดี พอใช้ ปรับปรุง ไม่เหมาะสม รายการประเมิน 10 9 8 7 6 5 4 3 2 1 1. ความถูกต้องในการทำงานของ โปรแกรมบทเรียนในภาพรวม 2. ความถูกต้องของระบบการจัดการ บทเรียน 3. ความถูกต้องของระบบการลงทะเบียน เรียน 4.ความถูกต้องของการติดตามผู้เรียน 5.ความถูกต้องของการประเมินผล ผู้เรียนตามจุดประสงค์ของการเรียนรู้ 6. ความถูกต้องของการรายงาน ผลการ เรียน 61 ตารางที่ 3-3(ต่อ) ระดับประสิทธิภาพ ดีมาก ดี พอใช้ ปรับปรุง ไม่เหมาะสม รายการประเมิน 10 9 8 7 6 5 4 3 2 1 7. ความถูกต้องของระบบช่วยเหลือ ผู้เรียน 8. ความสามารถของบทเรียนในการ เชื่อมโยงกับแหล่งข้อมูลภายนอก 3.4.2.3กกประเมินระบบด้าน Usability Test เป็นการประเมินเพื่อดูว่าระบบที่พัฒนาขึ้นมานั้นมีความสามารถในการใช้ งานเป็นอย่างไร เช่นง่ายและสะดวกต่อการใช้งานมากน้อยเพียงใด ซึ่งในการประเมินระบบนี้ได้ทำการออกแบบแบบประเมินโดยแบ่งหัวข้อการประเมินเป็น 13 หัวข้อ ดังตารางที่ 3-4 ตารางที่ 3-4 แสดงการประเมินระบบด้าน Usability Test ระดับประสิทธิภาพ ดีมาก ดี พอใช้ ปรับปรุง ไม่เหมาะสม รายการประเมิน 10 9 8 7 6 5 4 3 2 1 1.ความง่ายในการติดตั้ง บทเรียน 2. ความง่ายในการใช้งานบทเรียน 3. ความเร็วในการทำงานของบทเรียน 4.ความรวดเร็วในการนำเสนอภาพราฟิก 5. ความชัดเจนของข้อความที่แสดงบน จอภาพ 6. ความเหมาะสมของการใช้รูปแบบ ตัวอักษร 7. ความเหมาะสมของขนาดตัวอักษรที่ นำเสนอ 62 ตารางที่ 3-4(ต่อ) ระดับประสิทธิภาพ ดีมาก ดี พอใช้ ปรับปรุง ไม่เหมาะสม รายการประเมิน 10 9 8 7 6 5 4 3 2 1 8. ความเหมาะสมของการใช้สีโดย ภาพรวม 9. ความเหมาะสมของการใช้สีของ ตัวอักษร 10. ความเหมาะสมของการใช้สีพื้นหลัง 11. ความเหมาะสมของการใช้ภาพนิ่ง 12. ความเหมาะสมของภาพเคลื่อนไหว 13. . ความเหมาะสมของคำแนะนำการ ใช้บทเรียน 3.4.2.4กกการประเมินระบบด้าน Security Test เป็นการประเมินเพื่อดูว่าระบบที่พัฒนาขึ้นมานั้นมีความปลอดภัยของข้อมูล ที่ส่งผ่านไปมาในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมากน้อยเพียงใด ซึ่งในการประเมินระบบนี้ได้ทำการ ออกแบบ แบบประเมินโดยแบ่งหัวข้อการประเมินเป็น 6 หัวข้อ ดังตารางที่ 3-5 ตารางที่ 3-5 แสดงการประเมินระบบด้าน Security Test ระดับประสิทธิภาพ ดีมาก ดี พอใช้ ปรับปรุง ไม่เหมาะสม รายการประเมิน 10 9 8 7 6 5 4 3 2 1 1. มีการกำหนดUser name และรหัสผ่าน เพื่อตรวจสอบผู้ใช้งาน 2. ความเหมาะสมของการกำหนดสิทธิ์ ของผู้ใช้งานออกเป็นระดับต่าง ๆ 3. ความถูกต้องของระบบการรักษาความ ปลอดภัยในบทเรียน 63 ตารางที่ 3-5(ต่อ) ระดับประสิทธิภาพ ดีมาก ดี พอใช้ ปรับปรุง ไม่เหมาะสม รายการประเมิน 10 9 8 7 6 5 4 3 2 1 4. ความเหมาะสมของระบบการรักษา ความปลอดภัยของผู้ดูแลระบบ 5. ความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูลของ ผู้ใช้ 6. ความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูลของ ผู้ดูแลระบบ 3.5กกการทดสอบประสิทธิภาพของโปรแกรมโดยผู้เชี่ยวชาญ ผู้เชี่ยวชาญในการทดสอบประสิทธิภาพของบทเรียนเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเรียนการ สอน จำนวน 7 ท่าน ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันราชภัฏนครสวรรค์ สถาบันราชภัฏ สกลนครและ สถาบันราชภัฎสุรินทร์(ดังรายนามภาคผนวก ก) โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติดังนี้ 3.5.1 นำหนังสือแต่งตั้งและเชิญให้ทดสอบ จากโครงการของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และแบบประเมินหาประสิทธิภาพของโปรแกรม จำนวน 1 ชุด แล้วนัดวันทดสอบโปรแกรม 3.5.2 วิธีดำเนินการทดสอบโปรแกรม ผู้เชี่ยวชาญจะเป็นผู้ทดสอบการใช้งานในสถานที่ที่ มีการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยพิมพ์ URL ที่ใช้ทดสอบ 3.5.3 หากเกิดข้อผิดพลาดของโปรแกรม และมีข้อเสนอแนะต่าง ๆ ในขั้นตอนการทดสอบ โปรแกรมของผู้เชี่ยวชาญจะนำมาแก้ไขปรับปรุงระบบให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 3.6กกการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ 3.6.1 สถิติที่ใช้ในการหาประสิทธิภาพของระบบ 3.6.1.1 ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Arithmetic mean) หรือค่าเฉลี่ย (Mean) (ชูศรี, 2541: 34) จากสูตร 64 NX X . = เมื่อ X แทนเฉลี่ยเลขคณิตหรือค่าเฉลี่ย .X แทนผลรวมทั้งหมดของข้อมูล N แทนจำนวนข้อมูลทั้งหมด 3.6.1.2 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) (ชูศรี, 2541: 64) จากสูตร N X X SD . . = ( ) เมื่อ SD แทนส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน X แทนเฉลี่ยเลขคณิตหรือค่าเฉลี่ย .X แทนผลรวมทั้งหมดของข้อมูล N แทนจำนวนข้อมูลทั้งหมด 3.6.1.3 เกณฑ์การยอมรับประสิทธิภาพของระบบ พิจารณาจากคะแนนคะแนน เฉลี่ยของกลุ่มทดลองโดยต้องมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับดีขึ้นไป จึงยอมรับว่าโปรแกรมนี้มี ประสิทธิภาพในการใช้งานได้ในสภาพการทำงานจริง 3.6.2 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์ ใช้วิธีการหา ประสิทธิภาพของบทเรียนตามเกณฑ์มาตรฐาน Event1/Event2 (E1/E2) A NX E ( )100 1 . = B NY E ( )100 2 . = เมื่อ E1 = คะแนนเฉลี่ยของผู้เรียนทั้งหมดจากการทำแบบฝึกหัด E2 = คะแนนเฉลี่ยของผู้เรียนทั้งหมดจากการทำแบบทดสอบ . X = คะแนนรวมของผู้เรียนจากการทำแบบฝึกหัด .Y = คะแนนรวมของผู้เรียนจากการทำแบบทดสอบ A = คะแนนเต็มของแบบฝึกหัด 65 B = คะแนนเต็มของแบบทดสอบ N = จำนวนผู้เข้าสอบทั้งหมด บทที่ 5 สรุปผล อภิปราย และข้อเสนอแนะ 5.1 สรุปผลการจัดทำโครงงาน การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ เรื่องระบบคอมพิวเตอร์และสถาปัตยกรรมนี้ เป็นการพัฒนาขึ้น เพื่อใช้เป็นสื่อประกอบการเรียนการสอน ในการสอนเสริมและทบทวนเนื้อหาให้กับผู้เรียนโดยได้ นำเอาทฤษฎี และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องหลาย ๆ อย่าง เช่น เทคโนโลยี ASP เทคโนโลยีเว็บ แอปพลิเคชั่นกับการเชื่อมต่อฐานข้อมูล และเทคโนโลยีด้านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เข้ามาประยุกต์ใช้ ร่วมกัน เพื่อช่วยให้การพัฒนาบทเรียนออนไลน์สามารถดำเนินไปได้อย่างลงตัว และทำให้การใช้ งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น จากการดำเนินการพัฒนาจนแล้วเสร็จ มีการทดลองใช้งานจริงและได้ ทำการประเมินประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์ เรื่องระบบคอมพิวเตอร์และสถาปัตยกรรมแล้ว สามารถสรุปความสามารถของบทเรียนออนไลน์ได้ดังนี้ ความสามารถของระบบการจัดการเรียนการสอนของบทเรียน ประกอบด้วย 1. ส่วนของผู้บริหารระบบมีความสามารถดังต่อไปนี้ 1.1 สามารถที่จะเพิ่ม แก้ไขและเปลี่ยนแปลงข้อมูลของรายวิชาต่าง ๆ ได้ 1.2 สามารถตรวจสอบข้อมูลของรายวิชา อาจารย์และผู้เรียนได้ 1.3 สามารถจัดการกับระบบฐานข้อมูลของอาจารย์ และผู้เรียน ซึ่งประกอบด้วย การลงทะเบียน สมาชิกในส่วนของอาจารย์ และการลงทะเบียนสมาชิกในส่วนของผู้เรียนได้ 2. ส่วนของอาจารย์มีความสามารถดังต่อไปนี้ 2.1 มีระบบฐานข้อมูลของผู้สอน อาจารย์สามารถแก้ไขข้อมูลส่วนตัวของตนเองได้ 2.2 สามารถปรับปรุงแก้ไขเนื้อหาของบทเรียนเองได้ 2.3 สามารถสร้างแบบทดสอบให้สอดคล้องกับวัถุประสงค์ที่กำหนดไว้ได้โดยระบบ จะทำการสุ่มข้อสอบให้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด 2.4 สามารถตรวจสอบติดตามการเรียนของผู้เรียนได้ 2.5 สามารถตรวจสอบติดตามผลการเรียนของผู้เรียนได้ 3. ส่วนของผู้เรียนมีความสามารถดังต่อไปนี้ 3.1 มีระบบฐานข้อมูลของผู้เรียน ใช้เก็บระเบียนข้อมูลของผู้เรียนแต่ละคน ไว้ใน ฐานข้อมูล เพื่อใช้ในการจัดการบทเรียน 81 3.2 มีระบบเรียกคืนจอภาพ (Restore Screen) ที่สามารถเรียกคืน จอภาพที่ผู้เรียนได้ ทำการศึกษาค้างไว้ โดยที่ผู้เรียนสามารถทำการศึกษาในเนื้อหาส่วนต่อไปได้ทันทีโดยที่ไม่ต้อง ทำการศึกษาใหม่ตั้งแต่ต้น 3.3 ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนเนื้อหาของบทเรียนได้ตามต้องการ 3.4 ผู้เรียนสามารถติดต่อกับผู้อื่นได้ผ่านทางห้องสนทนา (Chat room) 3.5 ผู้เรียนสามารถติดต่อกับอาจารย์ผู้สอนได้ทางระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) 3.6 สามารถตรวจสอบผลการเรียนของตนเองได้ 5.2 สรุปผลการประเมินประสิทธิภาพ จากผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบบทเรียนออนไลน์ เรื่อง ระบบคอมพิวเตอร์และ สถาปัตยกรรม โดยผู้เชี่ยวชาญ สามารถสรุปผลการประเมินแต่ละด้านในเชิงคุณภาพได้ดังนี้ 1. ด้าน Functional Requirement Test มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับดี อธิบายได้ว่าบทเรียน ออนไลน์ ที่พัฒนาขึ้นมาได้รับการยอมรับว่ามีความถูกต้อง สามารถตอบสนองงาน และมี ประสิทธิภาพตรงตามความต้องการของผู้ใช้ในระดับดี 2. ทางด้าน Functional Test มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับดี อธิบายได้ว่าบทเรียนออนไลน์ ที่ พัฒนาขึ้นมาได้รับการยอมรับว่า สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อยู่ในระดับดี 3. ด้าน Usability Test มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับดี อธิบายได้ว่าบทเรียนออนไลน์ พัฒนาขึ้นมาได้รับการยอมรับว่ามีความง่ายต่อการใช้งานอยู่ในระดับดี 4. ด้าน Security Test มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับดี อธิบายได้ว่าบทเรียนออนไลน์ ที่ พัฒนาขึ้นมาได้รับการยอมรับว่า มีการกำหนดความปลอดภัยของข้อมูลอยู่ในระดับดี เมื่อนำค่าเฉลี่ยของแต่ละหัวข้อของการประเมินมาผ่านระเบียบวิธีการทางสถิติ เพื่อหา ค่าเฉลี่ยเลขคณิต จะพบว่าประสิทธิภาพโดยรวมอยู่ในระดับดี ซึ่งแสดงให้เห็นว่า บทเรียนออนไลน์ เรื่องระบบคอมพิวเตอร์และสถาปัตยกรรมที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับดี สามารถที่จะ นำไปใช้ในการเรียนการสอนได้ตามขอบเขตที่กำหนดไว้ ในส่วนของการหาประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์ที่พัฒนาขึ้นนั้น เมื่อพิจารณาจาก ค่าเฉลี่ยของแบบทดสอบจุดประสงค์ และแบบทดสอบซึ่งได้กระทำกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 20 คน โดยกลุ่มตัวอย่างทำแบบทดสอบจุดประสงค์มีค่าเฉลี่ย 83.00 และทำแบบทดสอบหลังจากเรียนด้วย บทเรียนออนไลน์แล้วได้ค่าเฉลี่ย 85.00 สรุปได้ว่า บทเรียนออนไลน์เรื่องระบบคอมพิวเตอร์และ สถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพของบทเรียน 83.00/85.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ 82 5.3 อภิปรายผล จากการประเมินประสิทธิภาพของระบบโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่ามีประสิทธิภาพอยู่ในระดับดี โดยแยกออกเป็นด้านต่าง ๆ ดังนี้ 5.3.1 ด้าน Functional Requirement Test มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับดี อธิบายได้ว่า บทเรียนออนไลน์ ที่พัฒนาขึ้นมาได้รับการยอมรับว่ามีความถูกต้อง สามารถตอบสนองงาน และมีประสิทธิภาพตรงตามความต้องการของผู้ใช้ อาทิเช่น ความสามารถในการนำเสนอบทเรียน ความสามารถในการเร้าความสนใจผู้เรียน ความสามารถในการให้เนื้อหาสาระ ความสามารถใน การประเมินผลบทเรียน ความสามารถในการเพิ่มเติมเนื้อหา การปรับปรุงเนื้อหา ความสามารถใน การสร้างแบบทดสอบตามจุดประสงค์การเรียนรู้ ดังแสดงในภาพที่ 5-1 ภาพที่ 5-2 และ ภาพที่ 5-3 ภาพที่ 5-1 แสดงความสามารถของระบบในการให้เนื้อหาสาระของบทเรียน พื้นที่ส่วนแสดงเนื้อหาสาระของ บทเรียน 83 การจัดการกับบทเรียนตาม วัตถุประสงค์การเรียนรู้ การทำงานของระบบในส่วนของการ เพิ่มเติมเนื้อหาบทเรียน การทำงานของระบบในส่วนของการ ปรับปรุงเนื้อหาบทเรียน ภาพที่ 5-2 แสดงความสามารถของระบบในการจัดการบทเรียน (การเพิ่มเติมเนื้อหา การปรับปรุง เนื้อหา การจัดการบทเรียนตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ ภาพที่ 5-3 แสดงความสามารถของระบบในการสร้างแบบทดสอบตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ การจัดการกับแบบทดสอบตามวัตถุ ประสงค์การเรียนรู้ 84 หน้าที่การทำงานของระบบในส่วน ของครู/อาจารย์ 5.3.2 ทางด้าน Functional Test มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับดี อธิบายได้ว่าบทเรียนออนไลน์ ที่พัฒนาขึ้นมาได้รับการยอมรับว่า สามารถทำงานได้ตามหน้าที่ (Function) และวัตถุประสงค์ที่ กำหนดไว้ อาทิเช่น ความสามารถในการตอบสนองงานของผู้บริหารระบบ ครู/อาจารย์ และผู้เรียน ความสามารถในการจัดการบทเรียน ความสามารถในการติดตามผู้เรียน ความสามารถในการ ประเมินผลผู้เรียนตามจุดประสงค์การเรียนรู้ดังแสดงในภาพที่ 5-4 ภาพที่ 5-5 ภาพที่ 5-6 ภาพที่ 5-7 และภาพที่ 5-8 ภาพที่ 5-4 แสดงหน้าที่การทำงานของระบบในส่วนของผู้บริหารระบบ ภาพที่ 5-5 แสดงหน้าที่การทำงานของระบบในส่วนของครู/อาจารย์ หน้าที่การทำงานของระบบใน ส่วนของผู้บริหารระบบ 85 หัวข้อข่าวประชาสัมพันธ์ รายวิชาต่าง ๆ E-mail ถึงอาจารย์ผู้สอน หน้าที่การทำงานของระบบ ในส่วนของผู้เรียน ภาพที่ 5-6 แสดงหน้าที่การทำงานของระบบในส่วนของผู้เรียน 86 Click เพื่อดูรายละเอียด ข้อมูลส่วนตัวของผู้เรียนแต่ละคน ภาพที่ 5-7 แสดงหน้าที่การทำงานของระบบในส่วนของการติดตามผู้เรียน 87 ภาพที่ 5-8 แสดงหน้าที่การทำงานของระบบในส่วนของการประเมินผู้เรียนตามจุดประสงค์ การเรียนรู้ 5.3.3 ด้าน Usability Test มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับดี อธิบายได้ว่าบทเรียนออนไลน์ พัฒนาขึ้นมามีความสามารถในการใช้งานง่าย สะดวกต่อการใช้งาน อาทิเช่น ความง่ายในการใช้ งานบทเรียน ของผู้เรียน รูปแบบของตัวอักษร ขนาดตัวอักษรและสีของตัวอักษร มีความเหมาะสม ในแต่ละหน้ามีรูปแบบเดียวกัน มีการแบ่งสัดส่วนหน้าจอที่เหมาะสม มีการแบ่งเฟรมที่ชัดเจน คือ ส่วนของเมนู ส่วนของเนื้อหา ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนเนื้อหาที่ต้องการได้จากเมนู หรือเลือกคลิกที่ ปุ่ม Next เพื่อไปยังเนื้อหาถัดไป หรือเลือกคลิกที่ปุ่ม Back เพื่อย้อนกลับไปยังหน้าก่อนหน้า ดัง แสดงในภาพที่ 5-9 88 ภาพที่ 5-9 แสดงหน้าจอในส่วนของการนำเสนอเนื้อหาบทเรียนที่มีการแบ่งสัดส่วนของหน้าจอที่ เหมาะสม 89 5.3.4 ด้าน Security Test มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับดี อธิบายได้ว่าบทเรียนออนไลน์ มีการ กำหนดความปลอดภัยของข้อมูลโดยการกำหนด User name และรหัสผ่านรวมทั้งกำหนดสิทธิ์การ ใช้งานของผู้ใช้ออกเป็น 3 กลุ่มด้วย ซึ่งในการเข้าใช้งานผู้ใช้จะต้องป้อน User name และรหัสผ่าน ให้ถูกต้องจึงจะสามารถเข้าใช้งานได้ ดังแสดงในภาพที่ 5-10 ภาพที่ 5-10 แสดงการทำงานของระบบในส่วนของการตรวจสอบUserr name และรหัสผ่าน 5.4 ข้อเสนอแนะในการจัดทำโครงการในอนาคต 5.4.1 ควรมีระบบช่วยเหลือสำหรับผู้ดูระบบ 5.4.2 ในการแก้ไขบทเรียนในส่วนของอาจารย์ผู้สอน ควรทำให้ระบบสามารถเปลี่ยนลำดับ ของเนื้อหาได้ 5.4.3 ในส่วนของการสร้างแบบทดสอบควรทำให้ระบบสามารถสร้างแบบทดสอบได้หลาก หลายรูปแบบเช่น แบบทดสอบแบบจับคู่ แบบอัตนัย และในส่วนของคำถามควรจะมีการแทรก รูปภาพได้ด้วย 5.4.5ddในส่วนของการเพิ่มเนื้อหาบทเรียนควรจะมีรูปแบบ (Pattern) ของเนื้อหาบทเรียนให้ ผู้ใช้สามารถเลือกใช้และทำการสร้างเนื้อหาได้เลย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น