วันอาทิตย์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2552

ระบบที่ปรึกษาในการเลือกเทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติสำหรับงานวิจัย



บทที่ 1 บทนำ 1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา งานวิจัยเป็นงานที่เกิดขึ้นมานานแล้ว และมีผู้วิจัยมากมายที่ให้ความสนใจในการที่จะศึกษา ทำการวิจัยในด้านต่างๆหลากหลายแขนงเพื่อสร้างผลงานทางวิชาการและพัฒนาความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับสังคม มนุษย์ และสิ่งแวดล้อม หน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนได้ให้การสนับสนุน ด้านเงินทุนเพื่อให้งานวิจัยประสบผลสำเร็จไปด้วยดี ทำให้หลายๆคนหันมาสนใจงานวิจัยกันมาก ขึ้นไม่ว่าจะเป็นงานวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์ งานวิจัยเชิงการทดลอง และงานวิจัยด้านทฤษฎีต่างๆ ซึ่งจะเห็นได้ว่าในปัจจุบันนี้งานวิจัยที่กำลังเป็นที่สนใจมากซึ่งก็คือ งานวิจัยด้านสำรวจความคิดเห็น โดยเฉพาะความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบันโดยการใช้แบบสอบถามหรือการ สัมภาษณ์ งานวิจัยในแต่ละชิ้นจะต้องมีการประมวลผลเพื่อหาผลสรุปของการวิจัยโดยจะต้อง เลือกใช้เทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติที่เหมาะสมสำหรับการวิจัยนั้นๆ การเลือกใช้เทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติสำหรับการวิจัยจึงนับว่าเป็นปัญหาที่สำคัญประการ หนึ่งของการทำงานวิจัยทั้งในอดีตและปัจจุบัน และยังมีงานวิจัยอีกหลายงานที่เลือกใช้เทคนิคการ วิเคราะห์ทางสถิติไม่สอดคล้องกับปัญหาของการวิจัยที่กำหนดและข้อตกลงเบื้องต้นของเทคนิค การวิเคราะห์สถิติตัวนั้นๆทำให้งานวิจัยชิ้นนั้นขาดคุณภาพ และปัญหาของการเลือกใช้เทคนิคการ วิเคราะห์ทางสถิติอาจเกิดจากการที่ผู้วิจัยขาดความรอบรู้ทางสถิติ หรือเกิดจากการขาดความสนใจ หรือไม่มีเวลาในการศึกษาที่เพียงพอ ตลอดจนขาดความเข้าใจในการวิเคราะห์และแปลความหมาย อีกทั้งเทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิตินั้นมีมากมายและมีเงื่อนไขในการใช้หลายอย่าง จึงทำให้ผู้วิจัย หลายๆคนมักจะต้องไปปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ ในขณะที่ผู้เชี่ยวชาญทางสถิติที่คอยช่วยให้คำปรึกษา อาจขาดความเข้าใจในแก่นแท้และรายละเอียดของปัญหาและข้อมูลการวิจัย ทั้งยังมีอุปสรรคด้าน การสื่อสารแนวคิดและข้อมูลดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพของงานวิจัยได้ และในปัจจุบัน ได้มีหลายแห่งที่รับประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป ซึ่งก่อให้เกิด ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นและไม่ก่อประโยชน์แก่ผู้ทำงานวิจัยเลย ทั้งนี้เพราะผู้วิจัยไม่ได้เลือกใช้เทคนิคการ วิเคราะห์ทางสถิติและประมวลผลเอง จึงทำให้ไม่เข้าใจในกระบวนการวิเคราะห์อย่างแท้จริง ดังนั้น ผู้จัดทำจึงได้พัฒนาระบบนี้ขึ้นมาเพื่อให้คำแนะนำและความรู้ความเข้าใจในการ เลือกใช้เทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติต่างๆที่เหมาะสมกับงานวิจัย 2 1.2 วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาระบบที่ปรึกษาในการเลือกเทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติสำหรับงานวิจัยที่ใช้แบบ สำรวจหรือแบบสอบถาม 1.3 ขอบเขตของโครงงาน 1.3.1 สถิติสำหรับการวิจัยในระบบที่ปรึกษาที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยสถิติจำนวนอย่างน้อย 30 เทคนิค 1.3.2 มีระบบ Q/A เพื่อค้นหาสถิติที่ใช้ในการวิจัย โดยใช้ทฤษฎี IF/THEN/ELSE ในการวินิจฉัยคำถามและหาคำตอบ 1.3.3 มีระบบสืบค้นข้อมูลโดยใช้คีย์เวิร์ด (keyword) 1.3.4 ติดต่อผู้จัดทำได้เมื่อมีปัญหาหรือข้อเสนอแนะ 1.3.5 ระบบที่ปรึกษาในการเลือกใช้เทคนิควิเคราะห์ทางสถิติที่เหมาะสมสำหรับงานวิจัย มี การทำงานบนเครือข่าย Internet 1.3.6 ทดสอบโปรแกรม จะทำการทดสอบโปรแกรมจากหน่วยตัวอย่างที่เป็นนักวิจัยหรือผู้ ที่มีความรู้ทางด้านสถิติ จำนวน 20 คน 1.4 ขั้นตอนในการดำเนินงาน สารนิพนธ์นี้ได้ศึกษาตามขั้นตอนการพัฒนาระบบ มีระยะเวลาในการทำงาน 7 เดือน และมี รายละเอียดการทำงานดังนี้ 1.4.1 ศึกษาปัญหาและความต้องการของระบบ 1.4.1.1 ขั้นตอนนี้เป็นการศึกษาปัญหาและความต้องการของระบบ โดยผู้พัฒนา ได้ศึกษาถึงทฤษฎีเทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติวิธีต่างๆที่นักวิจัยมักจะนำไปใช้ โดยศึกษาเทคนิค การวิเคราะห์สถิติให้ครอบคลุมกับงานวิจัยที่ใช้แบบสอบถามหรือแบบสำรวจ โดยรวบรวมข้อมูล จากหนังสือ งานวิจัยและเอกสารต่างๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการออกแบบและพัฒนาต่อไป 1.4.1.2 ศึกษาเครื่องมือในการพัฒนาระบบ เป็นการศึกษาวิธีการใช้ เครื่องมือ เช่น ศึกษา ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ใช้พัฒนา ภาษาที่ใช้พัฒนา เช่น ภาษา PHP ภาษา HTML ภาษา SQL และอื่น ๆ เป็นต้น 1.4.2 การวิเคราะห์และออกแบบระบบ วิเคราะห์ระบบงานเดิมโดยจะเป็นการศึกษาและ ออกแบบโครงสร้างโปรแกรมฐานข้อมูลที่จำเป็นและขั้นตอนในการใช้งานระบบ 3 1.4.3 การพัฒนาระบบ ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนในการพัฒนาระบบงาน หลังจากที่ได้ทำการ ออกแบบไว้ โดยการนำเอาความสามารถของเทคโนโลยีต่างๆ ที่ได้ทำการศึกษามาประยุกต์ใช้ เพื่อให้ระบบมีประสิทธิภาพ 1.4.4 การทดสอบระบบ เป็นการทดสอบเพื่อหาประสิทธิภาพของระบบงาน โดย ผู้พัฒนาได้ใช้วิธีการทดสอบที่เรียกว่า “Blackbox Testing” โดยการข้อมูลเข้าไปในระบบ เพื่อให้โปรแกรมทำการประมวลผลและแสดงผลลัพธ์ออกมา ตรงตามวัตถุประสงค์ครบทุกฟังก์ชัน การทำงาน 1.4.5 การสรุปผลและข้อเสนอแนะ ซึ่งจะเป็นการสรุปผลการจัดทำสารนิพนธ์ทั้งหมดที่ได้ พัฒนาขึ้นจะประกอบไปด้วยเอกสารต่างๆ ปัญหาและข้อเสนอแนะในการพัฒนาสารนิพนธ์ต่อไป 1.5 เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาระบบ 1.5.1 เครื่องคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ (Sever) 1.5.1.1 ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ก) หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) Pentium IV ข) หน่วยความจำ (RAM) 128 เมกะไบต์ ค) ฮาร์ดดิสก์ 40 GB ง) เครื่องพิมพ์ 1.5.1.2 ซอฟต์แวร์ (Software) ก) ระบบปฏิบัติการ Windows Millennium ข) Web Server OmniHTTPd ค) ระบบจัดการฐานข้อมูล MySQL ง) ภาษา PHP HTML และภาษา script ต่างๆ จ) โปรแกรมช่วยในการออกแบบกราฟฟิกต่างๆ เช่น Macromedia Flash หรือ Adobe PhotoShop 1.5.2 เครื่องไคลเอนต์ (Client) 1.5.2.1 ฮาร์ดแวร์ ก) หน่วยประมวลผลกลาง Pentium II หรือเทียบเท่า ข) หน่วยความจำ 64 เมกะไบต์ ค) ฮาร์ดดิสก์ 10 GB 1.5.2.2 ซอฟต์แวร์ 4 ก) ระบบปฏิบัติการ Windows 95/98/Me ข) Web browser เช่น Internet Explorer, Netscape 1.6 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1.6.1 ให้ความรู้ความเข้าใจ ในการเลือกใช้เทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติที่เหมาะสม สำหรับงานวิจัย แก่ผู้วิจัยและผู้สนใจทั่วไป 1.6.2 ลดเวลาในการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกใช้เทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติ 1.6.3 สามารถทราบถึงทางเลือกในการเลือกใช้เทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติ 1.6.4 สามารถตัดสินใจเลือกใช้เทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติจากการที่ระบบแนะนำได้ 1.6.5 สามารถสืบค้นได้อย่างรวดเร็ว บทที่ 2 ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง การพัฒนาระบบที่ปรึกษาในการเลือกใช้เทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติที่เหมาะสมสำหรับ งานวิจัย ผู้พัฒนาได้ทำการศึกษาหลักการทฤษฎีต่างๆ เทคโนโลยีที่ใช้และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ การออกแบบระบบ วิธีการจัดการฐานข้อมูล เป็นต้น โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 2.1 เทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติ 2.2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต 2.3 ภาษาสอบถามเชิงโครงสร้าง (Structured Query Language: SQL) 2.4 ภาษา HTML 2.5 ภาษา PHP 2.6 โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล MySQL 2.7 PHP กับการเชื่อมต่อ MySQL 2.8 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2.1 เทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติ สถิติ (Statistics) มีหลายความหมายด้วยกัน แต่ในความหมายหนึ่งนั้น สถิติ หมายถึง ข้อมูล ตัวเลข (numerical data) ที่ได้จากการรวบรวมตัวเลขหลายตัวเลขที่สามารถแทนข้อเท็จจริงของสิ่งที่ เราสนใจ เช่น สถิติการขายสินค้ายี่ห้อหนึ่งในแต่ละวัน สถิติที่เหมาะสม หมายถึง เทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติที่ให้ผลการบรรยายสรุปหรือผลการ ทดสอบข้อมูลการวิจัยสอดคล้องกับคำตอบที่ต้องการตามจุดมุ่งเน้นของเป้าหมายของการวิจัย เทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติมีหลายเทคนิคด้วยกัน โดยเทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติที่ผู้วิจัย ได้นำมาใช้เกี่ยวกับการเลือกเทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติที่เหมาะสมนั้น มีรายละเอียดดังนี้ 2.1.1 เทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติที่ใช้สำหรับวัดการแจกแจง [1] ได้แก่ 2.1.1.1 ร้อยละ คือ จำนวนตัวอย่างในแต่ละกลุ่มหรือแต่ละค่าของตัวแปรหารด้วย จำนวนตัวอย่างทั้งหมดแล้วคูณด้วย 100 2.1.1.2 การแจกแจงความถี่สัมพัทธ์ เป็นการนำเสนอข้อมูลในรูปตารางที่ดัดแปลง มาจากตารางแจกแจงความถี่ เป็นการจัดกลุ่มให้กับข้อมูลซึ่งเป็นการนำเสนอข้อมูลดิบอย่างง่ายๆ ไม่ยุ่งยากและชัดเจน 6 การสร้างตารางแจกแจงความถี่สัมพัทธ์ โดยการคำนวณหาความถี่สัมพัทธ์ของแต่ละชั้น โดยหาได้จากความถี่ของชั้นดังกล่าวหารด้วยผลรวมของความถี่หรือความถี่ทั้งหมด ซึ่งโดยผลรวม ของความถี่สัมพัทธ์ของทุกชั้นเท่ากับ 1 หรือถ้าคูณแต่ละค่าของความถี่สัมพัทธ์ด้วย 100 เพื่อทำให้เป็นร้อยละ ผลรวมของค่าดังกล่าวทั้งหมดจะเท่ากับ 100% และเรียกว่าการแจกแจงร้อยละ (Percentage distribution) 2.1.1.3 การวัดความโด่ง การหาสัมประสิทธิ์ของความโด่งทำได้โดยอาศัยโมเมนต์ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้ สัญลักษณ์ แทนสัมประสิทธิ์ของความโด่ง (2- 1) (2-2) m4 เรียกว่า โมเมนต์ที่ 4 รอบมัชฌิมเลขคณิต 2.1.1.4 การวัดความเบ้ การวัดความเบ้โดยวิธีโมเมนต์ ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่ดีที่สุดเพราะได้ใช้ทุกค่าของข้อมูล จึงให้ค่าที่ แน่นอนกว่าวิธีอื่นๆ (2-3) m3 เรียกว่า โมเมนต์ที่ 3 รอบมัชฌิมเลขคณิต 2.1.1.5 Lilliefor test สถิติที่ใช้ในการทดสอบคือ (2-5) จะประมาณค่าเฉลี่ยและความแปรปรวนของตัวอย่างด้วย และ N f(x )4 m4 = . .. . 4 N f(x ) m 3 = . .. 3 = .=n i 1 X i nX 1 ) n ( X ) ( X n 1 (X X) 1 n 1 S 1 n 2 i 1 n i i 1 2ini 1 2 i 2 . . . . . . = . = = = = (2- (2- 4 . 4 . = m 4 D sup[S( x ) F0 ( x )] x = . 33 3 m. . = 7 (2-7) 2.1.1.6 Kolmogorov-Smirnov Goodness of fit test [2] ให้ X1, X2 ,…, Xn เป็นตัวอย่างสุ่มขนาด n จากประชากรที่มีฟังก์ชันการแจกแจง F(x) โดยที่ X มีการแจกแจงแบบต่อเนื่อง S(x) เป็นฟังก์ชันการแจกแจงของตัวอย่าง นั่นคือ โดยที่ k เป็นจำนวนหน่วยตัวอย่างที่น้อยกว่าหรือเท่ากับ x 2.1.1.7 Chi-square goodness-of-fit-test สถิติที่ใช้ในการทดสอบคือ โดยที่ Oi เป็นความถี่ที่สังเกตได้ในกลุ่มที่ i Pi เป็นความน่าจะเป็นที่ค่าสังเกตจะตกอยู่ในกลุ่มที่ Ci Ei เป็นความถี่คาดหวังในกลุ่มที่ i โดยที่ i = 1,2,….,k Ei หาได้จาก Ei = n Pi 2.1.1 เทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติที่ใช้สำหรับวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง [3] ได้แก่ 2.1.2.1 มัธยฐาน ก) กรณีข้อมูลจัดเป็นหมวดหมู่ ใช้สูตรดังนี้ โดยที่ Le = ค่าขีดจำกัดล่างแท้ของชั้นที่มีมัธยฐานอยู่ i = จำนวนอันตรภาคชั้น F = ค่าความถี่สะสม ก่อนจะถึงชั้นที่มีมัธยฐานอยู่ . . . .. . . . .. .. ... . . = + m 2 e f n F Median L i nS ( x ) = k . . . = =ki 1 i 2 2 i i E (O E ) (2- (2- (2- 8 fm = ค่าความถี่ของชั้นที่มีมัธยฐานอยู่ n = จำนวนข้อมูลทั้งหมด ข) กรณีข้อมูลไม่จัดเป็นหมวดหมู่ เรียงข้อมูลทั้งหมดจากน้อยไปหามาก หรือจากมากไปหาน้อย แล้วหาตำแหน่งมัธยฐาน โดยใช้สูตรดังนี้ ตำแหน่งของมัธยฐาน = 2.1.2.2 ฐานนิยม ก) กรณีข้อมูลจัดเป็นหมวดหมู่ ใช้สูตรดังนี้ โดยที่ L0 = ค่าขีดจำกัดล่างแท้ของชั้นที่มีความถี่สูงสุด i = จำนวนอันตรภาคชั้น d1 = ค่าความถี่ของชั้นที่มีความถี่สูงสุด – ค่าความถี่ของชั้นที่อยู่ก่อน หน้า d2 = ค่าความถี่ของชั้นที่มีความถี่สูงสุด – ค่าความถี่ของชั้นที่อยู่ถัด ลงไป ข) กรณีข้อมูลไม่จัดเป็นหมวดหมู่ ฐานนิยม คือ ค่าของข้อมูลที่มีความถี่สูงสุด 2.1.2.3 ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ก) กรณีข้อมูลจัดเป็นหมวดหมู่ จะให้ค่ากึ่งกลางของแต่ละชั้นเป็นตัวแทนของข้อมูลในชั้นนั้นๆแล้ว โดยที่ R คือ จำนวนชั้นของข้อมูล Xi คือ ค่ากึ่งกลางของชั้นที่ i nf X ff X X Ri 1 i i Ri 1 i Ri 1 i i . = . . = = = = = .=Ri 1 n fi 2 N+1 )] d d Mode L [i( d 1 2 1 0 + = + (2- (2- (2- 9 fi คือ ความถี่ของชั้นที่ i โดยที่ คือความถี่ ทั้งหมด ข) กรณีข้อมูลไม่ได้จัดเป็นหมวดหมู่ ถ้ามีข้อมูล X1, X2, …, XN รวม N ตัว ถ้าข้อมูล X1, X2, …, XR มีความถี่รวม f1, f2, …, fR ครั้ง ตามลำดับแล้ว (2- 15) เมื่อ คือความถี่ทั้งหมด 2.1.2 เทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติที่ใช้สำหรับวัดการกระจาย ได้แก่ 2.1.3.1 พิสัย พิสัย = Xmax – Xmin (2-16) เมื่อ Xmax คือค่าสูงสุดของข้อมูล Xmin คือค่าต่ำสุดของข้อมูล 2.1.3.2 ส่วนเบี่ยงเบนพิสัย สูตรที่ใช้คือ พิสัยควอไทล์ = Q3-Q1 (2-17) โดยที่ Q3 คือ ควอไทล์ที่ 3 ซึ่งเป็นค่าของข้อมูลที่แสดงให้ทราบว่า มี 3/4 ของจำนวนข้อมูล ที่มีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับค่านี้และอีก 1/4 ของข้อมูลที่มีค่ามากกว่าค่านี้ Q1 คือ ควอไทล์ที่ 1 ซึ่งเป็นค่าของข้อมูลที่แสดงให้ทราบว่า มี 1/4 ของจำนวน ข้อมูลที่มีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับค่านี้และอีก 3/4 ของข้อมูลที่มีค่ามากกว่าค่านี้ 2.1.3.3 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มีสูตรดังนี้ nX X N i 1 . i = = N f X ff X R i 1 i i R i 1 i R i 1 i i . = . . . = = = = = .=Ri 1 N fi (2- N ( x ) N i 1 . i . . . = = 10 (2-18) และถ้ามีข้อมูล X1,X2,....,Xk ปรากฏรวม f1,f2,...,fk ครั้งตามลำดับ โดยที่ แล้ว (2- 19) f N ki 1 i = .= N f ( X ) k i 1 2 . i i . . . = = 10 โดยที่ . เป็นค่าเฉลี่ยของประชากร N เป็นจำนวนประชากร 2.1.4 เทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติที่ใช้สำหรับวัดค่ากลาง [2] ได้แก่ 2.1.4.1 Sign test ให้ X1, X2 ,…, Xn เป็นตัวอย่างสุ่มจากประชากรที่มีมัธยฐานที่ไม่ทราบค่า M โดยที่ตัวแปร เชิงสุ่มที่พิจารณาเป็นแบบต่อเนื่อง ในการทดสอบนั้น เราจะพิจารณาเครื่องหมายของผลต่างระหว่างค่าสังเกตกับค่ามัธยฐาน นั่นคือ Di= Xi - M0 โดยที่ i = 1,2,…,n ให้ T เป็นจำนวนเครื่องหมายที่เราสนใจ โดย T จะเป็นตัวแปรเชิงสุ่มที่มีการแจกแจงแบบ ทวินาม (Binomial Distribution) ที่มีพารามิเตอร์ n และ p = 0.5 สมมติฐานที่ต้องการทดสอบคือ H0 : M = M0 เขตการปฏิเสธขึ้นอยู่กับ H1โดยแยกพิจารณาดังนี้ ก) H1 : M > M0 ให้ T เป็นจำนวนเครื่องหมายลบ จะปฏิเสธ H0 ที่ระดับนัยสำคัญ . ถ้า T . t โดยที่ P[T . t n, p = 0.5] = . (2-20) ข) H1 : M < p =" 0.5]" p =" 0.5]" di=" Xi" m0 =" 0" di=" Xi" di =" Xi" m =" M0"> M0 จะปฏิเสธ H0 ที่ระดับนัยสำคัญ . ถ้า T- . t ในตาราง โดยที่ P[T- . t ] = . H1 : M < n =" n1+" ij =" ."> F2(x) อย่างน้อยที่สุด 1 ค่าของ x สถิติที่ใช้ในการทดสอบคือ D+ = max[S1(x) – S2(x)] (2-34) H1 : F1(x) . F2(x) อย่างน้อยที่สุด 1 ค่าของ x สถิติที่ใช้ในการทดสอบคือ D = maxS1(x) – S2(x) (2-35) 2.1.4.8 Friedman test สถิติที่ใช้ในการทดสอบคือ (2-36) เมื่อ N แทนจำนวนแถว k แทนจำนวนคอลัมน์ Rj แทนผลรวมของลำดับที่ในคอลัมน์ที่ j 2.1.4.9 Kruskal-Wallis test สถิติที่ใช้ในการทดสอบคือ (2-37) หรือ โดยที่ Rij เป็นอันดับของ Xij และ ถ้า ni และ k มีค่ามาก จะได้ว่า H มีการแจกแจงแบบ Chi-square โดยประมาณที่มีองศาแห่ง ความอิสระ v = k-1 ในกรณีที่ Xij มีค่าเท่ากัน จะใช้อันดับเฉลี่ย ในการคำนวณค่า H จะปรับเป็น R 3 N(k 1) Nk(k 1) 12 kj 1 2j2 . . + + = . = .== ni j Ri Rij 1 (2-38) ( ) k ( ) 2 i 1 i i i 2 R n N 1 n1 N N 1 12 H . ... ... + . + = = ( ) 3(N 1) n R N N 1 H 12 ki 1 i2i . . + + = = 15 (2-39) โดยที่ T = t3-t และ t เป็นจำนวนค่าสังเกตที่เท่ากัน 2.1.5 เทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติที่ใช้สำหรับวัดสัดส่วน ได้แก่ 2.5.5.1 Fisher’s exact test ให้ p1 และ p2 เป็นสัดส่วนของประชากรที่ 1 และ 2 ตามลำดับ (2-40) (2-41) โดยที่ A เป็นจำนวนค่าสังเกตจากตัวอย่างที่ 1 ที่มีลักษณะที่ 1 B เป็นจำนวนค่าสังเกตจากตัวอย่างที่ 2 ที่มีลักษณะที่ 1 C เป็นจำนวนค่าสังเกตจากตัวอย่างที่ 1 ที่มีลักษณะที่ 2 D เป็นจำนวนค่าสังเกตจากตัวอย่างที่ 2 ที่มีลักษณะที่ 2 N เป็นขนาดของตัวอย่างทั้งหมด 2.1.5.2 Z test ก) กรณี 1 กลุ่มตัวอย่าง [3] สูตรที่ใช้มีดังนี้ (2-42) โดยที่ p0 เป็นค่าสัดส่วนของประชากร q0 = 1- p0 n เป็นขนาดตัวอย่าง ข) กรณี 2 กลุ่มตัวอย่าง ให้ p1 และ p2 เป็นสัดส่วนของประชากรที่ 1 และ 2 ตามลำดับ c0 เป็นค่าของผลต่างของสัดส่วนของสองประชากรดังกล่าว n p qZ p p 0 0 . 0 = ^ . .. . . .. . + . .. . . .. . + . .. . . .. . + = A B N B B D A A C p ! ! ! ! ! ( )! ( )! ( )! ( )! N A B C D A + B C + D A + C B + D = N N 1 T H H3 . . . = 16 แบ่งได้เป็น 2 กรณี กรณีที่ 1 เมื่อ c0 . 0 ตัวสถิติทดสอบคือ (2-43) เมื่อ , q1 = 1- p1 , q2 = 1- p2 กรณีที่ 2 เมื่อ c0 = 0 จะประมาณ p1 และ p2 ซึ่งมีค่าเท่ากันด้วย p โดย (2-44) เมื่อ X1 และ X2 คือจำนวนหน่วยตัวอย่างที่มีลักษณะที่สนใจในตัวอย่างที่ 1 และ 2 ซึ่งได้ จากการสุ่มมาโดยอิสระกันขนาด n1 และ n2 จากประชากรที่ 1 และ 2 ตามลำดับ ตัวสถิติทดสอบคือ (2-45) เมื่อ , และ q = 1- p 2.1.5.3 Chi-square test สถิติที่ใช้ทดสอบคือ (2-46) เมื่อ Oij คือความถี่ที่สังเกตได้ในแถวที่ i คอลัมน์ที่ j Eij คือความถี่ที่คาดหวัง ในแถวที่ i คอลัมน์ที่ j ( ) 2 2 2 21 1 1 2 0 np q np q Z p p c + . . = ^ ^ ^ ^ ^ 11 1 n^p = X ^ ^ ^ ^ ^ . .. . . .. . + . = 1 2 1 2 n1 npq 1 Z p p ^ ^ ^^ ^ ^ ^ ^ ( ) . . . . = = = r i 1 c j 1 ij 2 2 ij ij E O E 22 2 np = X ^ 1 21 2 n np X X ++ ^ = 22 2 np = X 11 1 np = X ^ 17 r เป็นจำนวนแถว c เป็นจำนวนคอลัมน์ สำหรับความถี่คาดหวัง (Eij) หาได้จาก นำผลรวมในแถวที่ i คูณกับผลรวมของคอลัมน์ (แถว และคอลัมน์ตรงกับความถี่ที่สังเกตได้) แล้วหารด้วยจำนวนรวมทั้งหมด 2.1.6 เทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติที่ใช้สำหรับวัดความสัมพันธ์ [4] ได้แก่ 2.1.6.1 Chi-square test ตัวสถิติที่ใช้ในการทดสอบคือ (2-47) เมื่อ Oij เป็นความถี่ที่ได้จากการสังเกตของแถวที่ i สดมภ์ที่ j Eij เป็นความถี่ที่คาดว่าจะเป็นของแถวที่ i สดมภ์ที่ j n เป็นขนาดตัวอย่าง โดยที่ (2-48) 2.1.6.2 Spearman rank correlation ให้ D เป็นผลต่างของอันดับที่ของข้อมูลแต่ละคู่ N เป็นจำนวนข้อมูล สูตรที่ใช้คือ (2-49) 2.1.6.3 Phi coefficient วิธีการคำนวณ จัดข้อมูลลงตารางการณ์จร 2x2 ดังนี้ X1 X2 a b c d เมื่อ a,b,c และ d เป็นความถี่หรือจำนวน . .. . . .. . + . = 1 2 1 2 n1 npq 1 Z p p nO O E i. .j ij = N(N 1) 1 6 2D2 . . = . . Y1 Y2 18 สูตรที่ใช้คือ (2- 50) 2.1.6.4 Yule’s Q วิธีการคำนวณ จัดข้อมูลลงตารางการณ์จร 2x2 ดังนี้ ตัวแปรที่ 1 a b c d เมื่อ a,b,c และ d เป็นความถี่หรือจำนวน สูตรที่ใช้คือ (2- 51) 2.1.6.5 Kendall’s Tau Correlation Between Ranks (.) สูตรที่ใช้คือ (2- 52) เมื่อ S = .p-.q และ p คือ จำนวนของอันดับที่ที่อยู่ใต้ลงมาและมีค่าสูงกว่า q คือ จำนวนอันดับที่ที่อยู่ใต้ลงมาและมีค่าต่ำกว่า N คือ จำนวนอันดับที่หรือจำนวนกลุ่มตัวอย่าง 2.1.6.6 Kendall’s Coefficient of Concordance (W) สูตรที่ใช้คือ (2- 53) เมื่อ W คือ สัมประสิทธิ์ของความสอดคล้อง (a b)(c d)(a c)(b d) bc ad + + + + . . = ตัวแปรที่ 2 ad bc Q ad bc +. = N(N 1) 2s. . = k N(N 1) W 122 D2 . = . 19 D คือ ผลต่างระหว่างผลรวมของอันดับที่ของแต่ละคน ที่ได้จากการจัดอันดับ ทุกชุดกับค่าเฉลี่ยของผลรวมของอันดับที่เหล่านั้น k คือ จำนวนชุดของอันดับที่ N คือ จำนวนในกลุ่มตัวอย่าง 2.1.6.7 Pearson product-moment correlation coefficient สูตรที่ใช้ในการคำนวณ (2- 54) เมื่อ r เป็นสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร X และ Y .X เป็นผลรวมของข้อมูลที่วัดได้จากตัวแปร X .Y เป็นผลรวมของข้อมูลที่วัดได้จากตัวแปร Y .XY เป็นผลรวมของผลคูณระหว่างค่าของตัวแปร X และ Y .X2 เป็นผลรวมของกำลังสองของข้อมูลจากตัวแปร X .Y2 เป็นผลรวมของกำลังสองของข้อมูลจากตัวแปร Y N เป็นจำนวนข้อมูล 2.1.6.8 Partial Rank Correlation สมมติว่ามี 3 ตัว คือ X Y และ Z สามารถหาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างสองตัว แปรและกำหนดให้ตัวแปรที่เหลือคงที่ Partial correlation coefficient ระหว่าง X กับ Y เมื่อกำหนด ให้ Z คงที่ ได้แก่ (2- 55) โดยที่ rxy rxz และ ryz เป็น Pearson product-moment correlation coefficient 2.1.6.9 Simple regression [3] ตัวแบบการถดถอยเชิงเส้นอย่างง่าย คือ (2- 56) (1 r ) (1 r ) r r r r 2 yz 2 xz xy xz yz xy .z . . . = (N X ( X) )(N Y ( Y) ) r N XY ( X)( Y) . 2 . . 2 . 2 . . 2 . . . . = Y = . +.X + . 20 เมื่อ Y เป็นตัวแปรตาม X เป็นตัวแปรอิสระที่ถูกกำหนดขึ้นจึงเป็นตัวแปรคงที่ . และ . เป็นสัมประสิทธิ์การถดถอย . เป็นความคลาดเคลื่อนซึ่งเป็นตัวแปรสุ่ม เนื่องจาก . และ . เป็นพารามิเตอร์ซึ่งไม่ทราบค่า จึงประมาณค่าพารามิเตอร์ทั้งสองได้ โดยการสุ่มตัวอย่าง (X1,Y1), (X2,Y2),….,(Xn,Yn) ขนาด n จะได้เส้นถดถอยของ ตัวอย่าง (Sample regression line) มีสมการเป็นเส้นตรงดังนี้ Y = a+bX (2-57) เมื่อ a และ b เป็นตัวประมาณของ . และ . ตามลำดับ ค่า a และ b หาได้จากสูตร (2-58) (2-59) และ (2-60) 2.1.6.10 Multiple correlation หรือ Multiple Regression สมการตัวแบบของ Multiple Regression (2- 61) เมื่อ Y เป็นตัวแปรตาม X เป็นตัวแปรอิสระหรือตัวพยากรณ์ k เป็นจำนวนของตัวแปรอิสระ e เป็น error หรือ residual ^ . . . . . = = = ni 1 2 i ni 1 i i(X X) (X X)(Y Y) b . ... ... . . . ... ... . ... ... . . = = = = = = ni 1 n 2 i 1 i 2i ni 1 ni 1 i ni 1 i i i nX X n X Y X Ya = Y . bX Y = a + b1x1 + b2x2 + ... + bkxk + e 21 b เป็นสัมประสิทธิ์ของการถดถอยในรูปคะแนนดิบ a เป็น intercept มีค่าคงที่ ในทางปฏิบัติจะต้องทำให้ น้อยที่สุด เรียกว่า Principle of least square ค่า Y ที่พยากรณ์ด้วยสมการใหม่จะเป็น Y พยากรณ์ แทนด้วย ดังนั้นสมการ Multiple regression จะได้สมการคะแนนดิบดังนี้ (2- 62) 2.1.7 เทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติที่ใช้สำหรับวัดค่าเฉลี่ย ได้แก่ 2.1.7.1 Z-test ก) Z-test กรณี 1 กลุ่มตัวอย่าง ให้ . คือค่าเฉลี่ยของประชากรซึ่งไม่ทราบค่า .0 คือค่าเฉลี่ยของประชากรที่คาดว่าจะเป็น . คือระดับนัยสำคัญ n คือขนาดตัวอย่าง การทดสอบแบ่งเป็น 2 กรณี กรณีที่ 1 สุ่มตัวอย่างขนาด n จากประชากรที่มีค่าเฉลี่ย . และความแปรปรวน .2 ซึ่งทราบค่า ตัวสถิติที่ใช้ทดสอบคือ (2- 63) เมื่อ คือค่าเฉลี่ยของตัวอย่าง กรณีที่ 2 สุ่มตัวอย่างขนาด n จากประชากรที่มีค่าเฉลี่ย . และความแปรปรวน .2 ซึ่งไม่ทราบ ค่า ตัวสถิติที่ใช้ทดสอบคือ (2- 64) เมื่อ S คือส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของตัวอย่าง n X Z 0 ... = n S Z X..0 = Y. = a+ b1x1 + b2x2 +...+ bkxk .e2 Y. X 22 ข) Z-test กรณี 2 กลุ่มตัวอย่างที่เป็นอิสระกัน ให้ .1 คือค่าเฉลี่ยของประชากรที่ 1 ซึ่งไม่ทราบค่า .2 คือค่าเฉลี่ยของประชากรที่ 2 ซึ่งไม่ทราบค่า d0 คือผลต่างของค่าเฉลี่ยของประชากรทั้ง 2 ดังกล่าว . คือระดับนัยสำคัญ n1, n2 คือขนาดตัวอย่างที่ 1และ 2 ตามลำดับ 30 2.2.4 Gopher เป็นรูปแบบการให้บริการที่เป็น hyperlink เพื่อช่วยเหลือ ผู้ใช้งานในการค้นหา file หรือเอกสารที่ต้องการบนอินเตอร์เน็ต 2.2.5 Internet Relay Chat (IRC) เป็นรูปแบบการให้บริการที่ผู้ใช้งาน สามารถสนทนาแบบ online กับผู้ใช้งานคนอื่นที่เข้ามายัง server ที่ให้บริการ 2.2.6 Telnet จะเป็นรูปแบบการใช้คอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกลโดยใช้คอมพิวเตอร์ เครื่องอื่นในลักษณะรีโมตคอนโทรล ซึ่งหมายถึง ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเข้ามานั่งทำงานที่คอมพิวเตอร์ เครื่องนั้นแต่อย่างใด เพียงแค่สั่งงานจากคอมพิวเตอร์ที่เรียกใช้บริการ telnet เท่านั้น 2.2.7 UseNet เป็นรูปแบบการให้บริการที่คล้ายกับบอร์ดแจ้งข่าวสาร ซึ่งจะมี ข้อมูลที่แจ้งให้ผู้อื่นทราบหรืออาจจะเป็นการประชาสัมพันธ์ UseNet มาจากคำว่า User Network ซึ่งรูปแบบการให้บริการแบบนี้จะมี server ที่เรียกว่า News Server ส่วนข้อมูลที่ติดประกาศนั้นจะคล้ายกับอีเมล์ที่ส่งมายังserver นั่นเอง เนื่องจากมีผู้ใช้งานจำนวน มากจึงได้มีการแบ่งกลุ่มข่าวสารเหล่านี้เป็นกลุ่มเล็กๆที่เรียกว่า News Group ส่วนข้อความที่ ส่งเข้าไปเรียกว่า “บทความ” (Article) สำหรับการส่งบทความขึ้นไปหรือเข้าไปอ่านบทความก็ ต้องมีโปรแกรมเฉพาะในการใช้งาน 2.3 ภาษาสอบถามเชิงโครงสร้าง (Structured Query Language:SQL) ภาษาสอบถามเชิงโครงสร้าง(Structured Query Language :SQL) หมายถึง ภาษาที่ใช้จัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ที่สามารถใช้ในการนิยามข้อมูล การเรียกใช้หรือควบคุม คำสั่งต่างๆ ของภาษา SQL สามารถแบ่งตามลักษณะการใช้งานได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ 2.3.1 ประเภทของคำสั่ง SQL มีดังนี้ 2.3.1.1 ภาษาสำหรับการนิยามข้อมูล (Data Definition Language: DDL) เป็นกลุ่มคำสั่งที่ใช้สำหรับสร้างฐานข้อมูล หรือใช้กำหนดโครงสร้างให้กับ Relation ภายในฐานข้อมูล เช่น การเพิ่ม เปลี่ยนแปลง ลบ Attribute ของ Relation 2.3.1.2 ภาษาสำหรับการจัดการข้อมูล (Data Manipulation Language : DML) จะ ประกอบด้วยคำสั่งที่ใช้ในการค้นหาข้อมูล(Retrieve) การ เพิ่มเติมข้อมูล(Insert) การแก้ไขข้อมูล(Update) การลบข้อมูล(Delete) เป็นต้น 2.3.1.3 ภาษาสำหรับใช้ในการควบคุมข้อมูล (Data Control Language : DCL) จะ ประกอบด้วยคำสั่งที่ใช้ในการควบคุมการเข้าถึงข้อมูล (Access control) ของผู้ใช้แต่ละคน รวมทั้งการกำหนดสภาวะการใช้ข้อมูลที่ผู้ใช้หลายคน ที่มีการเรียกใช้ข้อมูลในเวลาเดียวกัน 31 2.3.2 คำสั่ง SQL ที่ใช้ในการจัดการฐานข้อมูล 2.3.2.1 INSERT เป็นคำสั่งที่ใช้ในการเพิ่มข้อมูลเข้าไปในทูเพิล ซึ่งจะเป็นการเพิ่ม ข้อมูลเข้าไปทีละ 1 ทูเพิล มีรูปแบบดังนี้ INSERT INTO <ชื่อรีเลชั่น> [(<ชื่อแอททริบิวต์>)] VALUE (<ค่าของแอททริบิวต์>); กรณีที่ต้องการใส่ข้อมูลเข้าไปในรีเลชั่นมากกว่าหนึ่งค่าขึ้นไปควรที่จะระบุชื่อแอททริบิวต์ ต่อจากชื่อรีเลชั่นด้วย และค่าของแอททริบิวต์ต่างๆ ที่เพิ่มเข้าไปในรีเลชั่นจะต้องเรียงลำดับตามชื่อ ของแอททริบิวต์ที่ระบุ แต่ถ้าเป็นกรณีที่ค่าของแอททริบิวต์ระบุเป็นตัวอักษรจะต้องมีเครื่องหมาย ‘ ’ กำกับ 2.3.2.2 UPDATE เป็นคำสั่งที่ใช้ในการปรับปรุงข้อมูลในรีเลชั่น มี รูปแบบดังนี้ UPDATE <ชื่อรีเลชั่น> SET <ชื่อแอททริบิวต์1>=<ค่าของแอททริบิวต์1> [,<ชื่อแอททริบิวต์2>=<ค่าของแอททริบิวต์2>,…] [WHERE <เงื่อนไข>]; กรณีที่ต้องการปรับปรุงค่าที่อยู่ในรีเลชั่นใหม่ ให้ใช้คำสั่ง UPDATE และตามด้วย ชื่อของรีเลชั่นที่จะปรับปรุง และหลัง SET จะใส่ชื่อแอททริบิวต์ ที่ต้องการเปลี่ยนค่าใหม่ และตามด้วยค่าของแอททริบิวต์ก็คือค่าใหม่ที่จะเปลี่ยน ถ้ามีมากกว่าหนึ่งค่า ให้คั่นด้วยเครื่องหมาย คอมมา(,) และตามด้วยเงื่อนไข ซึ่งจะอยู่หลังคำสั่ง WHERE 2.3.2.3 DELETE เป็นคำสั่งที่ใช้ลบข้อมูลที่อยู่ในรีเลชั่น มีรูปแบบดังนี้ DELETE <ชื่อรีเลชั่น> [WHERE <เงื่อนไข>]; กรณีที่ต้องการลบทูเพิลออกจากรีเลชั่น จะใช้คำสั่ง DELETE ตามด้วยชื่อรีเลชั่น ถ้าไม่มี เงื่อนไขจะเป็นการลบข้อมูลทุกทูเพิลในรีเลชั่นนั้นออกแต่ถ้าต้องการลบบางทูเพิลต้องใส่เงื่อนไข หลังคำสั่ง WHERE ด้วย 2.3.2.4 SELECT เป็นคำสั่งที่เรียกดูข้อมูลจากฐานข้อมูลมาแสดง มี รูปแบบดังนี้ SELECT <ชื่อแอททริบิวต์> FROM <ชื่อรีเลชั่น> [WHERE <เงื่อนไข>]; 32 จากรูปแบบดังกล่าว เป็นการแสดงข้อมูลที่อยู่ในรีเลชั่นออกมาตามชื่อแอททริบิวต์ที่ระบุหลัง คำสั่ง SELECT แต่ถ้าหลังคำสั่งดังกล่าวใส่เครื่องหมาย * จะเป็นการแสดงออกมาทุกแอททริบิวต์ และถ้าต้องการที่จะแสดงข้อมูลออกมาตามเงื่อนไขที่ระบุจะต้องใส่เงื่อนไขหลังคำสั่ง WHERE 2.4 ภาษา HTML HTML มาจากคำว่า HyperText Markup Language ซึ่งเป็นรูปแบบของ ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมในเว็บเพจเพื่อแสดงผลบนเว็บบราวเซอร์ ซึ่งลักษณะของเอกสาร ของ HTML จะเป็นเท็กซ์ไฟล์ (Text file) ธรรมดาอาศัยการแปลความจากเว็บบราวเซอร์ ปัจจุบันได้มีการพัฒนารูปแบบการใช้ HTML ให้กว้างขวางโดยการแทรกสคริปต์หรือ applet เพื่อทำให้เว็บเพจมีชีวิตชีวาในลักษณะไดนามิกมากขึ้น เช่น การแทรก VBScript Java Script หรือทำเป็นเอกสาร ASP หรือ PHP เพื่อการใช้งานด้านฐานข้อมูล เป็นต้น [8] ข้อดีอย่างหนึ่งของการเขียนโปรแกรมภาษา HTML ก็คือ สามารถใช้เอดิเตอร์ได้หลาย ตัวที่สะดวกที่สุด คือ การใช้ NotePad ที่มากับวินโดว์ หรือใช้ EditPlus ก็ได้ ทั้งยัง สามารถแทรกสคริปต์ต่างๆเข้าไปได้อีกด้วย เมื่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้วจัดเก็บเอกสารนั้นให้มี นามสกุล .htm หรือ .html ก็ได้ แล้วรัน (run) เอกสารด้วยบราวเซอร์ เอกสาร HTML มีองค์ประกอบ 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นคำสั่งหรือแท็ก (Tag) และ ส่วนที่เป็นเนื้อหา รูปแบบพื้นฐานโครงสร้าง HTML จะเป็นดังนี้ ตารางที่ 2-3 แสดงคำสั่งของภาษา HTML รูปแบบ ความหมาย เป็นคำสั่งเริ่มต้นและสิ้นสุดของเอกสาร HTML เหมือนคำสั่ง Begin และ End ใน Pascal ใช้กำหนดข้อความในส่วนที่เป็น ชื่อเรื่อง ภายในคำสั่งนี้จะมีคำสั่ง ย่อยอีหนึ่งคำสั่งคือเป็นส่วนแสดงชื่อของเอกสาร โดยจะแสดงที่ไตเติลบาร์ของวินโดว์ ที่เปิดเอกสารนี้อยู่เท่านั้น ส่วนเนื้อหาของโปรแกรมจะเริ่มต้นด้วยคำสั่ง และ สิ้นสุดด้วย ในระหว่าง 2 คำสั่งนี้จะประกอบด้วย แท็กมากมายตามที่คุณต้องการให้แสดงผลบนบราวเซอร์ 33 2.5 ภาษา PHP PHP หมายถึง PHP Hypertext Preprocessor ซึ่งเป็นภาษาสคริปต์แบบหนึ่ง ที่เรียกว่า Server Side Script ที่ประมวลผลฝั่งเซิร์ฟเวอร์แล้วส่งผลลัพธ์ไปฝั่งไคลเอ็นต์ ผ่านเว็บบราวเซอร์ ปัจจุบันได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในการนำมาช่วยพัฒนางานบนเว็บที่ เรียกว่า Web Development หรือ Web Programming รูปแบบของภาษา PHP มีเค้าโครงมาจากภาษา C และ Perl ที่นำมาปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพสูงและทำงาน ได้เร็วขึ้น หลักการทำงานของ PHP ซึ่งจะทำงานโดยมีตัวแปลและเอ็กซิคิวต์ที่ฝั่งเซิร์ฟเวอร์ และเรียก การทำงานว่าเป็นเซิร์ฟเวอร์ (Server Side) ส่วนการทำงานของบราวเซอร์ของผู้ใช้เรียกว่าไคลเอนต์ ไซด์ (Client Side) โดยการทำงานจะเริ่มต้นที่ผู้ใช้ส่งความต้องการผ่านเว็บบราวเซอร์ทาง HTTP (HTTP Request) เป็นการกรอกแบบฟอร์ม หรือใส่ข้อมูลที่ต้องการข้อมูลเหล่านั้นจะเป็นเอกสาร PHP การเขียนคำสั่งของภาษา PHP สามารถที่จะแทรกคำสั่งเหล่านี้บนคำสั่ง HTML ได้ โดยใช้เครื่องหมาย ซึ่งจุดเด่น ของ PHP มีดังนี้ 2.5.1 ฟรี เครื่องมือที่ใช้พัฒนาทุกอย่างสามารถหาได้ฟรีๆ 2.5.2 เป็น Open Source เปิดโอกาสให้โปรแกรมเมอร์ทั่วไปได้เข้ามาช่วยพัฒนา ทำให้มีคนใช้งานจำนวนมากและพัฒนาได้เร็วขึ้น 2.5.3 เรื่องของความเร็ว เนื่องจากนำข้อดีของภาษาสคริปต์ที่เคยมีรวมกับความเร็วของ CGI นำมาพัฒนาอยู่ใน PHP 2.5.4 Database Access เนื่องจาก PHP สามารถติดต่อกับฐานข้อมูลอย่าง MySQL Access Oracle SQL Sever ฯลฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2.5.5 สนับสนุนโปรโตคอลหลายแบบ เช่น IMAP HTTP POP3 2.5.6 มีไลบาร์รีสำหรับการติดต่อกับแอพพลิเคชันได้มากมาย 2.5.7 มีความยืดหยุ่นสูง ทำให้สามารถนำไปสร้างแอพพลิเคชันได้หลากหลายประเภท 2.5.8 ง่าย เนื่องจากเป็นภาษาสคริปต์ทำให้สามารถแทรกคำสั่งที่ตำแหน่งใดก็ได้ในแท็ก ของ HTML 2.6 โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล MySQL 34 MySQL เป็นโปรแกรมฐานข้อมูลในลักษณะ Database Server ซึ่งทำงานได้ทั้ง บนระบบ Telnet บน Linux Redhat หรือ Unix System และบน Win32 (Windows 95/98/ME) เพื่อใช้กับ Internet & Intranet และยังสามารถเรียกใช้ บนเว็บบราวเซอร์ได้ในกรณีที่ใช้ภาษาอินเทอร์เฟซเข้ามาใช้งานฐานข้อมูล เช่น PHP Perl C C++ เป็นต้น 2.7 PHP กับการเชื่อมต่อ MySQL ในการติดต่อฐานข้อมูล PHP มีคำสั่งในการเริ่มติดต่อฐานข้อมูล MySQL โดยใช้ ฟังก์ชัน mysql_connect() ซึ่งมีรูปแบบคำสั่งดังนี้ mysql_connect($hostname,$user,$password) or die(“message”); โดยที่ $hostname คือ ข้อความที่เป็นชื่อโฮสต์ $user คือ ชื่อล็อกอิน $password คือ รหัสผ่านสำหรับเข้าใช้ฐานข้อมูล MySQL or die(“message”) คือ ข้อความเพื่อแจ้งว่าติดต่อโฮสต์ไม่ได้ จากรูปแบบดังกล่าว จะต้องทราบเกี่ยวกับชื่อโฮสต์ ชื่อที่ใช้ในการล็อกอินเข้าโฮสต์ และ รหัสผ่าน ของโฮสต์ที่ต้องการจะติดต่อ ซึ่งได้แสดงตัวอย่างดังตารางที่ 2-4 ตารางที่ 2-4 แสดงการติดต่อฐานข้อมูล MySQL ด้วยภาษา PHP $hostname = “localhost”; $user = “ttip”; $password = “435620”; $dbConnect = mysql_connect($hostname,$user,$password) or die(“ติดต่อฐานข้อมูลไม่ได้”); ในการเลือกฐานข้อมูล PHP จะใช้ฟังก์ชัน mysql_select_db() ซึ่งมีรูปแบบดังนี้ mysql_select_db($dbname) or die(“message”); โดยที่ $dbname คือ ชื่อฐานข้อมูลที่ต้องการใช้ or die(“message”) คือ ข้อความเพื่อแจ้งว่าเลือกฐานข้อมูลไม่ได้ ตัวอย่างการเลือกฐานข้อมูล แสดงดังตารางที่ 2-5 ตารางที่ 2-5 แสดงการเลือกฐานข้อมูลชื่อ research 35 $dbname = “research”; mysql_select_db($dbname) or die(“เลือกฐานข้อมูลไม่ได้”); นอกจากนั้นยังมีคำสั่งในการปิดการติดต่อกับฐานข้อมูล MySQL ด้วยฟังก์ชั่น mysql_close() ซึ่งจะทำการปิดฐานข้อมูลที่ได้ทำการเปิดไว้ ในการพัฒนาระบบครั้งนี้ ได้นำทฤษฎีด้านเทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติที่มักถูกนำมาใช้ใน งานวิจัยที่ใช้แบบสำรวจหรือแบบสอบถาม ซึ่งจะเป็นเทคนิคที่ผู้ทำการวิจัยคุ้นเคยหรือรู้จักอยู่แล้ว เป็นส่วนใหญ่ และได้นำภาษาสอบถามเชิงโครงสร้าง (SQL) ภาษา HTML ภาษา PHP มาใช้ในการพัฒนาทางด้านโปรแกรม เนื่องจากเป็นภาษาที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในการ นำมาช่วยพัฒนางานบนเว็บที่เรียกว่า Web Development หรือ Web Programming เหตุผลที่ใช้ภาษาเหล่านี้เนื่องจากมีจุดเด่นหลายประการ คือ เป็นโปรแกรม ภาษาที่มีประสิทธิภาพสูงและทำงานได้รวดเร็ว สามารถตอบสนองต่อความต้องการในการพัฒนา ระบบงานได้เป็นอย่างดี และใช้ MySQL เป็นดาตาเบสเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งเป็นโปรแกรมที่มี ความสามารถสูง สามารถใช้กับระบบปฏิบัติการแบบเซิร์ฟเวอร์เช่น Windows NT หรือ Linux ได้ การติดต่อฐานข้อมูลก็ทำได้โดยง่าย โดยได้นำโปรแกรมภาษา PHP และ SQL มาเป็นตัวเชื่อมต่อฐานข้อมูล ซึ่งสามารถทำงานได้ดีในระบบการทำงานแบบ Client Server 2.8 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ศิริชัย ดิเรกและทวีวัฒน์ [9] ได้ทำการวิจัยเรื่องการเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับการ วิจัยทางสังคมศาสตร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับการ วิจัยทางสังคมศาสตร์ โดยจะครอบคลุมเฉพาะศาสตร์ 6 สาขา ได้แก่ ครุศาสตร์ นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ นิเทศศาสตร์ และพณิชยศาสตร์ ในการเลือกใช้เทคนิคสถิติต้องทราบ เป้าหมายของการวิจัยและข้อตกลงเบื้องต้นของเทคนิคสถิติที่จะใช้ จากนั้นจึงจะได้เทคนิคสถิติที่ เหมาะสมกับการวิจัยนั้นๆ การวิจัยชิ้นนี้ได้สรุปตารางเทคนิคสถิติจำแนกตามเป้าหมายงานวิจัย ตัว แปรที่ศึกษา ระดับข้อมูล วิธีการนำเสนอข้อมูล พร้อมทั้งคำสั่ง SPSS และ SAS สำหรับ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ การพัฒนาระบบที่ปรึกษาในการเลือกใช้เทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติที่เหมาะสมสำหรับ งานวิจัย ได้นำทฤษฎีต่างๆข้างต้นมาใช้ร่วมกันซึ่งจะเห็นได้ว่าโปรแกรมที่ทำงานบนอินเตอร์เน็ต นั้นมีข้อดีหลายอย่าง เช่น การใช้โปรแกรมหรือการเข้าถึงข้อมูลนั้น ไม่จำกัดสถานที่ว่าจะต้องอยู่ ที่ไหน และไม่จำกัดเวลาในการเข้าถึงข้อมูล มีความสะดวกรวดเร็ว เป็นต้น ภาษาที่ใช้ในการ เข้าถึงระบบฐานข้อมูล คือภาษา PHP โดยใช้ระบบจัดการฐานข้อมูล MYSQL ซึ่งทั้งภาษา 36 PHP และระบบจัดการฐานข้อมูล MySQL นี้ภาษาและระบบฐานข้อมูลที่แจกจ่ายฟรี สามารถดาวน์โหลดบนเว็บได้ อีกทั้งยังสามารถติดต่อกันได้เลยโดยไม่ต้องติดต่อผ่าน ODBC และภาษา PHP ยังทำงานร่วมกับภาษา HTML ในการสร้างเว็บเพจได้โดยการ แทรกคำสั่งของ PHP เข้าไปในภาษา HTML ได้เลย ทำให้การพัฒนาระบบมีความยืดหยุ่น มากยิ่งขึ้น สำหรับงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเรื่องการเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์ นั้น จะครอบคลุมเฉพาะศาสตร์ 6 สาขา ได้แก่ ครุศาสตร์ นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ นิเทศศาสตร์ และพณิชยศาสตร์ ทั้งยังเป็นเอกสารตารางสรุปทำให้ดูยากในการเลือกเทคนิคและไม่ สะดวกในการค้นหา ผู้พัฒนาจึงได้ทำการพัฒนาระบบที่ปรึกษาในการเลือกใช้เทคนิคการวิเคราะห์ ทางสถิติที่เหมาะสมสำหรับงานวิจัยนี้ขึ้นเพื่อความสะดวกรวดเร็ว และทันสมัยในการนำเทคโนโลยี เข้ามาใช้ร่วมกับงานทางด้านวิชาการ บทที่ 3 วิธีการดำเนินงาน วิธีการดำเนินงานของการพัฒนาระบบที่ปรึกษาในการเลือกใช้เทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติ ที่เหมาะสมสำหรับงานวิจัย ผู้พัฒนาได้แบ่งวิธีการดำเนินงานดังนี้ 3.1 การศึกษาและรวบรวมข้อมูล 3.2 การวิเคราะห์และออกแบบระบบ 3.3 การพัฒนาโปรแกรม 3.4 การทดสอบระบบ 3.1 การศึกษาและรวบรวมข้อมูล การศึกษาและรวบรวมข้อมูลมี 2 ส่วนด้วยกัน คือ ส่วนของการศึกษาและรวบรวมข้อมูล ทฤษฎีทางสถิติ และส่วนของการศึกษาโปรแกรมภาษาที่ใช้ในการพัฒนาระบบ 3.1.1 การศึกษาและรวบรวมข้อมูลทฤษฎีทางสถิติ โดยเป็นการศึกษาและรวบรวม ข้อมูลทางทฤษฎีสถิติ โดยทำการรวบรวมเทคนิคสถิติเป็นที่ยอมรับและใช้กันเป็นส่วนมากใน งานวิจัย โดยได้แบ่งเทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติสำหรับงานวิจัยออกเป็น 2 กลุ่ม คือ เทคนิคการ วิเคราะห์ทางสถิติสำหรับงานวิจัยที่มุ่งบรรยายลักษณะข้อมูลและงานวิจัยที่มุ่งทดสอบข้อมูลและ นอกจากนี้ยังได้ศึกษาคำสั่ง SPSS เพื่อผู้ที่ใช้ระบบนี้จะได้นำไปใช้วิเคราะห์ข้อมูลด้วย คอมพิวเตอร์ได้ ทำการศึกษาถึงคุณสมบัติ ข้อตกลงเบื้องต้นของสถิติแต่ละตัวแล้วนำมาจัด หมวดหมู่แยกประเภทตามคุณสมบัติของเทคนิคสถิตินั้นๆ ดังภาพที่ 3-1 และภาพที่ 3-2 3.1.2 การศึกษาโปรแกรมภาษาที่ใช้ในการพัฒนาระบบ ทำการศึกษาโปรแกรมภาษา PHP HTML และ SQL ที่ได้นำมาใช้ในการพัฒนาระบบในครั้งนี้ โดยได้ทำการศึกษา ค้นคว้าจากหนังสือต่างๆที่เกี่ยวข้องรวมทั้งศึกษาข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต และศึกษาโปรแกรมที่ พัฒนาขึ้นจากภาษา PHP HTML และ SQL ควบคู่กันไปด้วย โดยผู้พัฒนาได้ทำการศึกษา คำสั่งต่างๆในการใช้งาน โครงสร้างของภาษา ศึกษาฟังก์ชันการทำงานของแต่ละภาษา การสร้าง ฐานข้อมูล การเชื่อมต่อฐานข้อมูล การติดตั้งและวิธีการใช้ MySQL ซึ่งเป็นโปรแกรม จัดการฐานข้อมูล รวมทั้งภาษาสคริปต์ต่างๆที่สามารถนำมาใช้ร่วมกับภาษา HTML ได้ ภาพที่ 3-1 แผนภูมิเทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติจำแนกตามงานวิจัยที่มุ่งบรรยายลักษณะข้อมูล งานวิจัย ปริมาณ คุณภาพ บรรยายลักษณะข้อมูล แนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง การแจกแจง การกระจาย แนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง การแจกแจง การกระจาย คุณภาพ ปริมาณ 1 2 ทดสอบ - ร้อยละ - ความถี่สัมพัทธ์ - Mode - Median - Interquartile deviation - Skewness - Kurtosis - Arithmetic Mean - Mode - Median - Standard deviation - Range การแจกแจง - Chi-square test - Kolmogorov-Sminov test 1 1 กลุ่ม การกระจาย - Standard deviation ร้อยละ ความสัมพันธ์ ค่ากลาง 2 กลุ่ม > 2 กลุ่ม - Sign test - Mann Whitney U test - Median test - Mann Whitney U test - Friedman - Kruskal Wallis test สัดส่วน 2 กลุ่ม > 2 กลุ่ม 2 ตัวแปร > 2 ตัวแปร - Fisher’s exact test - Chi-square test - Chi-square test - Spearman rank correlation - Multiple correlation ภาพที่ 3-2 แผนภูมิเทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติจำแนกตามงานวิจัยที่มุ่งทดสอบข้อมูล การแจกแจง - Chi-square test - Kolmogorov- Sminov test - Lilliefor test 2 ค่าเฉลี่ย ความแปรปรวน ความสัมพันธ์ ร้อยละ 1 กลุ่ม 2 กลุ่ม > 2 กลุ่ม - t test -Z test - F test (ANOVA) - LSD - Duncan - Dunnett’s test -Tukey -Newman-Keuls test - t test - Z test 1 กลุ่ม 2 กลุ่ม > 2 กลุ่ม - Chi-square test - Levene’s test - Bartlett’s test - Cochran’s test - F test 2 ตัวแปร > 2 ตัวแปร - Simple Regression(F) - Pearson(rXY) - Partial correlation - Multiple correlation 39 3.2 การวิเคราะห์และออกแบบระบบ เมื่อทำการศึกษาและรวบรวมข้อมูลของระบบเสร็จเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการนำข้อมูลมาทำการวิเคราะห์และออกแบบระบบ โดยใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์และออกแบบระบบ ดังนี้ 3.2.1 Context Diagram ใช้แสดงเส้นทางการไหลของข้อมูลในระบบใน ระดับสูงสุด เป็นการแสดงให้เห็นถึงการอินพุทของข้อมูลที่เข้าไปในระบบและผลลัพธ์ที่ได้รับ จากระบบว่ามีการทำงานอย่างไร ดังแสดงในภาพที่ 3-3 ภาพที่ 3-3 แสดงเส้นทางการไหลของข้อมูลในระบบระดับสูงสุด (Context Diagram) แผนภาพกระแสข้อมูลระดับสูงสุด (Context Diagram) มีแหล่งข้อมูลจากภายนอกระบบ 2 แหล่ง คือ 3.2.1.1 ผู้ใช้ ซึ่งเป็นผู้ใช้ระบบโดยสามารถทำการค้นหาหรือปรึกษาเทคนิคสถิติกับ ระบบ 3.2.1.2 ผู้ดูแลระบบ เป็นผู้เพิ่มความรู้ใหม่และปรับปรุงแก้ไขระบบ 3.2.2 Data Flow Diagram ใช้แสดงการไหลของข้อมูลทั้งหมด เพื่อ แสดงให้เห็นกระบวนการทำงาน การไหลของข้อมูลและผู้ที่เกี่ยวข้องในระบบงาน ดังแสดงใน ภาพที่ 3-4 ระบบที่ปรึกษาในการเลือกใช้เทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติที่เหมาะสมสำหรับงานวิจัยนี้ ได้ แบ่งกระบวนการทำงานของระบบออกเป็น 4 ส่วนหลักๆ คือ 3.2.2.1 ส่วนค้นหาข้อมูลเทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติ ซึ่งจะเป็นกระบวนการ ทำงานที่เกี่ยวข้องกับการค้นหาเทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติ โดยที่ผู้ใช้สามารถที่จะค้นหาได้จาก การใส่คำที่ต้องการค้นหา (keyword) หรือเลือกจากลิสต์เมนู ดังแสดงในภาพที่ 3-5 3.2.2.2 ส่วนแยกประเภทงานวิจัย ซึ่งเป็นกระบวนการทำงานเกี่ยวข้องกับการ เลือกประเภทงานวิจัย โดยจะเป็นลักษณะของคำถามให้ผู้ใช้เลือกประเภทงานวิจัยและวัตถุประสงค์ งานวิจัยเพื่อโปรแกรมจะได้ประมวลผลหารหัสเส้นทางต่อไป ดังแสดงในภาพที่ 3-6 ผู้ดูแลระบบ ผู้ใช้ ค้นหา ตอบคำถาม แสดงผลการค้นหา ถามข้อมูลงานวิจัย เพิ่มความรู้ใหม่ ปรับปรุงแก้ไข ข้อมูล . 0 ระบบที่ปรึกษาในการ เลือกใช้เทคนิคสถิติ แสดงรายงาน 40 3.2.2.3 ส่วนการถามปัญหา เป็นกระบวนการทำงานเกี่ยวข้องกับการถามปัญหา ตามรหัสเส้นทางที่ได้จาก process ที่ผ่านมาให้ผู้ใช้ได้ตอบคำถาม แล้วเช็คเงื่อนไขว่ามีคำถาม ต่อไปหรือไม่ ดังแสดงในภาพที่ 3-7 3.2.2.4 ส่วนแสดงคำตอบ เป็นกระบวนการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการแสดง รายงานเทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติที่เหมาะสมกับปัญหานั้นๆ ดังแสดงในภาพที่ 3-8 ภาพที่ 3-4 แผนภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 1 (Data Flow Diagram Level 1) ระบบที่ปรึกษาในการ เลือกเทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติสำหรับงานวิจัย ผู้ใช้ ค้นหา รายงานการค้นหา ข้อมูลการค้นหา เลือกประเภทวิจัย คำตอบ คำตอบทั้งหมด รายงานเทคนิคการวิเคราะห์ ค้นหาเทคนิค 1.0 แยกประเภท งานวิจัย 2.0 วัตถุประสงค์ ถามปัญหา 3.0 แสดงรายงาน 4.0 ข้อมูลเทคนิคสถิติ เทคนิคสถิติ ประเภท ข้อมูลวัตถุประสงค์ งานวิจัย ข้อมูลประเภท งานวิจัย คำถาม เงื่อนไข ข้อมูลคำถาม ข้อมูลเงื่อนไข ผู้ใช้ ค้นหาด้วย Keyword Keyword รับ keyword 1.1 41 ภาพที่ 3-5 แผนภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 2 (DFD Level 2) : การค้นหาเทคนิค วิเคราะห์ทางสถิติ ผู้ใช้ เลือกประเภทและ วัตถุประสงค์ของ งานวิจัย รหัสประเภทงานวิจัย ค้นหาประเภท งานวิจัย 2.1 ค้นหา วัตถุประสงค์ 2.2 ประเภท ข้อมูลประเภท วัตถุประสงค์ ข้อมูล วัตถุประสงค์ 42 ภาพที่ 3-6 แผนภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 2 (DFD Level 2) : การแยกประเภท งานวิจัย มีเงื่อนไขต่อไป คำตอบที่ถูกเลือก เลือกปัญหา 3.1 รหัสเส้นทาง ตรวจสอบ เงื่อนไข 3.2 คำตอบ ปัญหา ข้อมูลปัญหา เงื่อนไข ข้อมูลเงื่อนไข 43 ภาพที่ 3-7 แผนภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 2 (DFD Level 2) : การถามคำถาม ภาพที่ 3-8 แผนภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 2 (DFD Level 2) : การแสดงรายงาน 3.2.3 Entity Relationship Diagram ใช้แสดงความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการมองภาพรวมของระบบว่ามีความสัมพันธ์กับ Entity อะไรบ้าง ดังแสดงในภาพที่ 3-9 ผู้ใช้ รายงานเทคนิคสถิติ เทคนิคที่ถูกเลือก ค้นหาเทคนิค สถิติ 4.1 คำตอบ แสดงรายงาน 4.2 เทคนิคสถิติ ข้อมูลเทคนิค 1..N Condition Objective 1..1 Techniques 1..N 1..N 1..1 1..N 1..1 Type id name scale name id h ave h ave id order h ave h ave id name keyworurl 44 ภาพที่ 3-9 แสดง Entity Relationship Diagram ของระบบที่ปรึกษาในการเลือก เทคนิคการ วิเคราะห์ทางสถิติสำหรับงานวิจัย จากภาพที่ 3-9 สามารถอธิบายรายละเอียดของความสัมพันธ์ได้ดังนี้ Entity : ประเภทงานวิจัย วัตถุประสงค์งานวิจัย Relationship : มี Cardinality : one to many คำอธิบาย : ประเภทงานวิจัย 1 ประเภท จะมีวัตถุประสงค์ของงานวิจัยได้หลายอย่าง Entity : เทคนิคสถิติ วัตถุประสงค์งานวิจัย Relationship : มี Cardinality : one to many คำอธิบาย : วัตถุประสงค์ของงานวิจัย 1 วัตถุประสงค์ จะใช้เทคนิคสถิติได้หลายเทคนิค Entity : เทคนิคสถิติ เงื่อนไข Relationship : มี Cardinality : one to many คำอธิบาย : เทคนิคสถิติ 1 เทคนิค จะมีเงื่อนไขหลายเงื่อนไข Entity : เงื่อนไข ปัญหา Relationship : มี 45 Cardinality : many to many คำอธิบาย : เงื่อนไข 1 เงื่อนไขจะมีปัญหาหลายข้อและปัญหา 1 ข้อก็จะอยู่ในหลาย เงื่อนไข 3.2.4 พจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary) ใช้ในการออกแบบแฟ้มข้อมูล ต่างๆในระบบซึ่ง ประกอบด้วย 3.2.4.1 แฟ้มข้อมูล Type สำหรับจัดเก็บข้อมูลประเภทของงานวิจัยซึ่งจะ ประกอบไปด้วยรหัสและชื่อประเภทงานวิจัย ดังแสดงรายละเอียดในตารางที่ 3-1 ตารางที่ 3-1 แสดงรายละเอียดแฟ้มข้อมูล Type ลำดับ ชื่อฟิลด์ KE Y ประเภท ขนาด ความหมาย 1 id PK int 4 รหัสประเภทของการวิจัย 2 name CK varcha r 25 ชื่อประเภทของการวิจัย 3 scale char 20 ชื่อระดับข้อมูลของการวิจัย 3.2.4.2 แฟ้มข้อมูล Objective จัดเก็บข้อมูลวัตถุประสงค์ของงานวิจัยซึ่ง จะประกอบไปด้วยรหัสและชื่อวัตถุประสงค์ของงานวิจัย ดังแสดงรายละเอียดในตารางที่ 3-2 ตารางที่ 3-2 แสดงรายละเอียดแฟ้มข้อมูล Objective ลำดับ ชื่อฟิลด์ KEY ประเภท ขนาด ความหมาย 1 id PK int 4 รหัสวัตถุประสงค์ของการวิจัย 2 name varch ar 30 ชื่อวัตถุประสงค์ของการวิจัย 3.2.4.3 แฟ้มข้อมูล Path สำหรับจัดเก็บข้อมูลเส้นทางการถามคำถามของ งานวิจัยซึ่งจะประกอบไปด้วยรหัสเส้นทาง รหัสประเภท และรหัสวัตุประสงค์ ดังแสดง รายละเอียดในตารางที่ 3-3 ตารางที่ 3-3 แสดงรายละเอียดแฟ้มข้อมูล Path ลำดับ ชื่อฟิลด์ KEY ประเภท ขนาด ความหมาย 1 id PK int 4 รหัสเส้นทาง 2 type_id FK int 4 รหัสประเภทงานวิจัย 46 3 obj_id FK int 30 รหัสวัตถุประสงค์งานวิจัย 3.2.4.4 แฟ้มข้อมูล Problem สำหรับจัดเก็บข้อมูลคำถามหรือปัญหา ซึ่งจะ ประกอบไปด้วยรหัสคำถาม และชื่อคำถาม ดังแสดงรายละเอียดในตารางที่ 3-4 ตารางที่ 3-4 แสดงรายละเอียดแฟ้มข้อมูล Problem ลำดับ ชื่อฟิลด์ KEY ประเภท ขนาด ความหมาย 1 id PK int 4 รหัสคำถาม 2 name CK varch ar 50 ชื่อคำถาม 3.2.4.5 แฟ้มข้อมูล Shoot สำหรับจัดเก็บข้อมูลรหัสคำถามและคำตอบซึ่ง ประกอบไปด้วยรหัสการเลือกตอบ รหัสคำถามและรหัสคำตอบ ดังแสดงรายละเอียดในตารางที่ 3-5 ตารางที่ 3-5 แสดงรายละเอียดแฟ้มข้อมูล Shoot ลำดับ ชื่อฟิลด์ KEY ประเภท ขนาด ความหมาย 1 id PK int 4 รหัสการเลือกตอบ 2 prob_id CK varch ar 50 รหัสคำถาม 3.2.4.6 แฟ้มข้อมูล Condition สำหรับจัดเก็บข้อมูลเงื่อนไขในการถาม ตอบปัญหา ประกอบไปด้วยรหัสเงื่อนไข รหัสเส้นทาง รหัสเทคนิคและรหัสคำถาม ดัง ตารางที่ 3-6 ตารางที่ 3-6 แสดงรายละเอียดแฟ้มข้อมูล Condition ลำดับ ชื่อฟิลด์ KE Y ประเภท ขนาด ความหมาย 1 id PK int 4 รหัสเงื่อนไข 2 path_id FK int 4 รหัสวัตถุประสงค์ของการวิจัย 47 3 stat_id FK int 4 รหัสเทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติ 4 con1 int 4 รหัสเงื่อนไขลำดับที่ 1 5 con2 int 4 รหัสเงื่อนไขลำดับที่ 2 6 con3 int 4 รหัสเงื่อนไขลำดับที่ 3 7 con4 int 4 รหัสเงื่อนไขลำดับที่ 4 8 con5 int 4 รหัสเงื่อนไขลำดับที่ 5 3.2.4.7 แฟ้มข้อมูล Techniques สำหรับจัดเก็บข้อมูลเทคนิคสถิติ ซึ่งจะ ประกอบไปด้วยรหัส ชื่อ url และ keyword ดังแสดงรายละเอียดในตารางที่ 3-7 ตารางที่ 3-7 แสดงรายละเอียดแฟ้มข้อมูล Techniques ลำดับ ชื่อฟิลด์ KE Y ประเภท ขนาด ความหมาย 1 id PK int 4 รหัสเทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติ 2 name CK varc har 20 ชื่อเทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติ 3 url text 20 ชื่อไฟล์ที่แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับ เทคนิคสถิติตัวนั้นๆ 4 keyword varc har 15 คำสำหรับการค้นหา 3.3 การพัฒนาโปรแกรม หลังจากที่ได้ทำการวิเคราะห์ระบบ โดยใช้ Data flow diagram และ E-R Diagram แล้วนั้นจะ ทำให้เราทราบถึงการไหลของข้อมูลที่มีอยู่ในระบบทั้งหมด สำหรับขั้นตอนต่อไปเป็นขั้นตอนการ ออกแบบหน้าจอของโปรแกรม และเนื่องจากเป็นโปรแกรมที่ทำงานบนเว็บจึงต้องออกแบบให้มี กราฟฟิคต่างๆและทำให้น่าสนใจ จากนั้นเป็นขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมต่อไป สำหรับขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมนี้เป็นขั้นตอนการเขียนโปรแกรม ซึ่งโปรแกรมที่ พัฒนาขึ้นนี้จะเขียนโปรแกรมด้วยภาษา PHP และ HTML ซึ่งเราจะต้องเขียนโปรแกรมให้สามารถ ทำงานตามที่เราทำการออกแบบไว้ นอกจากนี้ยังได้แทรกภาษา Java script เพื่อให้โปรแกรมเป็น ไดนามิคมากขึ้น โดยโครงสร้างของฐานข้อมูลของระบบคือ ระบบฐานข้อมูลของ MySQL 48 3.4 การทดสอบระบบ การทดสอบระบบเป็นการทดสอบก่อนนำไปใช้งานจริงจากกลุ่มตัวอย่างที่ทำการสุ่มมา เพื่อ หาประสิทธิภาพการทำงานของระบบที่ปรึกษาในการเลือกใช้เทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติสำหรับ งานวิจัย ว่าสามารถทำงานได้อย่างถูกต้องแม่นยำ และตรงตามความต้องการของผู้ใช้ จึงได้จัดทำแบบประเมินหาประสิทธิภาพของระบบที่ปรึกษาในการเลือกใช้เทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติ สำหรับงานวิจัย โดยแบ่งการทดสอบการหาประสิทธิภาพของระบบออกเป็น 5 ด้าน คือ 3.4.1 การติดต่อระหว่างระบบกับผู้ใช้ 3.4.2 การประมวลผลของระบบ 3.4.3 ผลลัพธ์ที่ได้จากระบบ 3.4.4 ความสามารถของระบบตรงต่อความต้องการของผู้ใช้ 3.4.5 การตรวจสอบข้อผิดพลาดของข้อมูลที่ป้อนเข้าสู่ระบบ ผู้ทำแบบประเมินจะต้องทำการทดสอบระบบ โดยทดสอบระบบที่ปรึกษาในการเลือกใช้ เทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติสำหรับงานวิจัยที่ได้พัฒนาขึ้นและทำแบบประเมินที่ได้ทำการออกแบบ ไว้ ผู้ที่ทำแบบประเมิน คือ นักวิจัยหรือผู้ที่มีความรู้ทางด้านวิชาสถิติจำนวน 20 คน ผลที่ได้จากการทำแบบประเมิน นำมาสรุปผลเพื่อประเมินว่าระบบที่ได้พัฒนามานี้มี ประสิทธิภาพในด้านต่าง ๆ อยู่ในระดับใด บทที่ 4 การพัฒนาและทดสอบระบบ ขั้นตอนต่อไปหลังจากผ่านการวิเคราะห์และออกแบบระบบงานแล้ว คือ การพัฒนาระบบ การทดสอบระบบและการประเมินผลระบบ โดยแบ่งการอธิบายได้ดังต่อไปนี้ 4.1 การพัฒนาระบบ การพัฒนาระบบงานของโครงงานนี้ได้ใช้โปรแกรมภาษา PHP ร่วมกับภาษา HTML ภาษา JavaScript และใช้โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล MySQL ผลการพัฒนาระบบที่ ปรึกษาในการเลือกใช้เทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติที่เหมาะสมสำหรับงานวิจัย จะได้โปรแกรมที่มี หน้าจอแรก ดังภาพที่ 4-1 โดยการใช้งานได้โดยการคลิกเลือกเมนูที่ปรากฏอยู่ ในที่นี้จะขอ กล่าวถึงงานหลักๆของระบบ คือ การค้นหา และการปรึกษาเทคนิค ภาพที่ 4-1 แสดงหน้าจอแรกของโปรแกรม 50 ในส่วนของการค้นหา เป็นการค้นหาเทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติด้วยคำสำคัญหรือค้นหา จาก List menu เมื่อคลิกเมนูที่ “ค้นหา” จะปรากฏหน้าจอสำหรับการค้นหาดังรูปที่ 4-2 เป็นการค้นหาด้วยคำสำคัญโดยการเติมคำลงไปในช่องว่าง โดยคำนั้นอาจเป็นชื่อเทคนิคการ วิเคราะห์ทางสถิติหรือคำที่เกี่ยวข้องกับเทคนิคที่ต้องการค้นหาเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ หรืออาจจะไม่เติมคำระบบจะแสดงชื่อเทคนิคที่มีทั้งหมด การแสดงรายงานผลการค้นหาดังแสดง ในภาพที่ 4-3 ภาพที่ 4-2 แสดงหน้าจอการค้นหาด้วยคำสำคัญ 51 ภาพที่ 4-3 แสดงหน้าจอรายงานผลการค้นหาด้วยคำสำคัญ หากต้องการค้นหาจาก List menu ให้คลิกที่ “ค้นหาด้วย List Menu” จะปรากฏ List menu ให้เลือกตามคุณสมบัติของการทดสอบของเทคนิคนั้นๆ ดังแสดงในภาพที่ 4-4 เมื่อคลิกเลือกที่ชื่อเทคนิคโปรแกรมจะแสดงรายละเอียดของเทคนิคนั้นๆ ดังแสดงในรูปที่ 4-5 52 ภาพที่ 4-4 แสดงหน้าจอการค้นหาด้วย List Menu ภาพที่ 4-5 แสดงหน้าจอแสดงรายละเอียดของเทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติ 53 ในส่วนของการปรึกษาเทคนิคสำหรับการเลือกใช้เทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติสำหรับ งานวิจัย ในส่วนแรกจะเป็นการให้ผู้ใช้เลือกประเภทของงานวิจัยว่าเป็นแบบใดและเลือก วัตถุประสงค์ของงานวิจัย ดังแสดงในภาพที่ 4-6 ภาพที่ 4-6 แสดงหน้าจอการเลือกประเภทและระดับข้อมูลของงานวิจัย ในส่วนของการตอบคำถาม โดยให้ผู้ใช้ตอบคำถามโดยการเลือกคลิกคำตอบว่า “ใช่” หรือ “ไม่ใช่” ดังแสดงในภาพที่ 4-7 โดยระบบจะแสดงรายงานการตอบคำถามในแต่ละข้อของผู้ใช้ ให้ผู้ใช้ได้ดูพิจารณาไปด้วย 54 บทที่ 5 สรุปผลและข้อเสนอแนะ 5.1 สรุปผลการจัดทำโครงงาน การพัฒนาระบบที่ปรึกษาในการเลือกใช้เทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติสำหรับงานวิจัย เป็น โปรแกรมเพี่อให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเลือกใช้เทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติให้เมาะสมกับงานวิจัย นั้นๆ จากการถามคำถามจากระบบและการตอบคำถามจากผู้ใช้ โดยระบบงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้วิจัยในการเลือกใช้เทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติให้เหมาะสมกับงานวิจัย ที่ผู้วิจัยจะทำการประมวลผลข้อมูลของงานวิจัยนั้นด้วยวิธีการทางสถิติ โดยระบบนี้จะสามารถให้ คำปรึกษาได้กับงานวิจัยที่เป็นแบบสอบถามหรือแบบสำรวจ และโปรแกรมนี้ได้พัฒนาขึ้นโดยการ นำเอาเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตเข้ามาประยุกต์ใช้งานกับระบบด้วย 5.1.1 สรุปความสามารถของระบบได้ดังนี้ 5.1.1.1 สามารถค้นหาข้อมูลเทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติได้ 5.1.1.2 สามารถรายงานข้อมูลเทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติได้ 5.1.1.3 สามารถแสดงคำถามและคำตอบที่เหมาะสมกับงานวิจัยได้ 5.1.1.4 สามารถแสดงรายงานเทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติที่เหมาะสม จากการที่ ผู้ใช้ปรึกษากับระบบได้ 5.1.1.5 สามารถเพิ่ม ลบ แก้ไขข้อมูลผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้ โดยผู้บริหารระบบ 5.1.2 ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำสารนิพนธ์ เรื่องระบบที่ปรึกษาในการเลือกใช้เทคนิคการ วิเคราะห์ทางสถิติที่เหมาะสมสำหรับงานวิจัย มีดังต่อไปนี้ 5.1.2.1 อำนวยความสะดวก รวดเร็ว ให้แก่ผู้ใช้ระบบในการค้นหาข้อมูลเทคนิคการ วิเคราะห์ทางสถิติ 5.1.2.2 อำนวยความสะดวก ในการปรึกษาการเลือกใช้เทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติ ที่เหมาะสมสำหรับงานวิจัยได้อย่างรวดเร็ว 5.1.2.3 อำนวยความสะดวกให้กับผู้บริหารระบบในการเพิ่ม ลบ แก้ไขข้อมูล 5.2 สรุปผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบ เมื่อได้นำระบบที่ได้พัฒนาไปทดสอบเพื่อหาประสิทธิภาพของระบบ สามารถสรุปผลการ ประเมินในแต่ละด้านในเชิงคุณภาพได้ดังนี้ 64 5.2.1 ผลการประเมินด้านการประมวลผลของระบบ (Performance Test) ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.11 แสดงให้เห็นว่าระบบที่ได้พัฒนามีการประมวลผลได้อย่างรวดเร็วในระดับดี 5.2.2 ผลการประเมินด้านผลลัพธ์ที่ได้จากระบบ (Function Test) ได้ค่าเฉลี่ยคือ 4.15 แสดง ให้เห็นว่าระบบที่ได้พัฒนามีความถูกต้องและมีประสิทธิภาพในระดับดี 5.2.3 ผลการประเมินด้านความสามารถของระบบตรงต่อความต้องการของผู้ใช้ (Functional Requirement Test) ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.38 แสดงให้เห็นว่าระบบที่ได้พัฒนามีความถูกต้องและมี ประสิทธิภาพตามความต้องการของผู้ใช้ในระดับดี 5.2.4 ผลการประเมินด้านการตรวจสอบข้อผิดพลาดของข้อมูลที่ป้อนเข้าสู่ระบบ (Security Test) ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.75 แสดงให้เห็นว่าระบบที่ได้พัฒนามีความปลอดภัยของข้อมูลในระดับดี 5.2.5 ผลการประเมินด้านการติดต่อระหว่างระบบกับผู้ใช้ (Usability test) ได้ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.00 แสดงให้เห็นว่าระบบที่ได้พัฒนามีความง่ายต่อการใช้งานในระดับดี 5.3 ข้อเสนอแนะ 5.3.1 การพัฒนาระบบที่ปรึกษาในการเลือกเทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติสำหรับงานวิจัย ใน ครั้งนี้เป็นการให้คำปรึกษาสำหรับงานวิจัยที่เป็นแบบสอบถามหรือแบบทดสอบเท่านั้น ยังสามารถ พัฒนาระบบต่อไปสำหรับงานวิจัยประเภทอื่น เช่น การทดลอง เป็นต้น 5.3.2 เทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติที่มีอยู่ในระบบยังมีไม่ครบทุกเทคนิค สามารถนำเทคนิค การวิเคราะห์ทางสถิติอื่นๆ เข้ามาพัฒนาต่อไปได้ 5.3.3 ระบบนี้ได้ใช้โปรแกรมการจัดการฐานข้อมูล MySQL ซึ่งเหมาะสำหรับการจัดการ ฐานข้อมูลที่มีขนาดเล็กและกลาง ถ้าต้องการฐานข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ ควรเปลี่ยนไปใช้ฐานข้อมูล ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้น MySQL ยังไม่สนับสนุนการทำงานในรูปแบบของ ความสัมพันธ์ (Relation) ในการเปลี่ยนแปลงข้อมูลในตารางหนึ่งจะไม่ทำการแก้ไขข้อมูลในตาราง ที่มีความสัมพันธ์กัน ดังนั้นผู้พัฒนาโปรแกรมต้องเขียนโปรแกรมในการแก้ไขส่วนนั้นเอง ถ้า ต้องการให้มีการแก้ไขโดยอัตโนมัติควรเลือกใช้ฐานข้อมูลตัวอื่นที่สนับสนุนการทำงานดังกล่าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น