วันอาทิตย์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2552

ระบบประกันคุณภาพการศึกษา คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สจพ. ผ่านอินเตอร์เน็ต



ในส่วนของผลการประเมินเพื่อหาประสิทธิภาพของระบบผู้วิจัยได้ทำการแบ่งผู้ทดสอบออก เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ทดลองใช้/ประเมินระบบโดยผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด 4 คน ซึ่งเป็นผู้ที่ทำหน้า ที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพการศึกษาโดยตรงส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งทำหน้าที่สอนทาง ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และกลุ่มที่ 2 ทดลองใช้/ประเมินระบบโดยบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับงาน ประกันคุณภาพการศึกษาทั้งหมด 9 คน นำมาสรุปผลแสดงในรูปตารางได้ดังนี้ ตารางที่ 5-1 แสดงตารางเปรียบเทียบผลการทดสอบระบบระหว่างผู้เชี่ยวชาญ/บุคลากร ผู้เชี่ยวชาญ บุคลากร หัวข้อรายการประเมิน x 1 S.D. ความหมาย x 1 S.D. ความหมาย 1. ระบบทำงานได้ถูกต้อง 3.54 0.26 ดี 3.97 0.23 ดี 2. ด้านการใช้งานของระบบ 3.66 0.50 ดี 4.04 0.25 ดี 3. ด้านหน้าที่ของระบบ 3.75 0.50 ดี 3.96 0.17 ดี 4. ด้านความปลอดภัยของระบบ 3.67 0.52 ดี 3.67 0.29 ดี สรุป 3.62 0.38 ดี 3.96 0.25 ดี จากตารางที่ 5-1 นำมาสร้างแผนภูมิเพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างผู้เชี่ยวชาญและบุคลากร ภาพที่ 5-1 แสดงแผนภูมิเปรียบเทียบผลการทดสอบระบบระหว่างผู้เชี่ยวชาญ/บุคลากร จากภาพที่ 5-1 ค่าเฉลี่ยของบุคลากรในหัวข้อที่ 1 ถึง 3 มีค่ามากกว่าผู้เชี่ยวชาญ และในหัวข้อ สุดท้ายด้านความปลอดภัยของระบบมีค่าเฉลี่ยใกล้เคียงกัน 0.0 1.0 2.0 3.0 4.0 5.0 1. ระบบสามารถทำงานได้ถูกต้อง 2. การประเมินด้านการใช้งานของระบบ 3. การประเมินด้านหน้าที่ของระบบ 4. การประเมินด้านความปลอดภัยของระบบ รายการประเมิน ค่าเฉลี่ย ผู้เชี่ยวชาญ บุคลากร 63 ผลการทดสอบและประเมินประสิทธิภาพระบบในด้านต่าง ๆ สรุปและอภิปรายผลได้ดังนี้ ก) ผลการทดสอบและหาประสิทธิภาพของระบบ ในด้านที่พิจารณาว่าระบบสามารถทำงาน ได้ถูกต้องและตรงตามความต้องการของผู้ใช้ ค่าเฉลี่ยผู้เชี่ยวชาญคือ 3.54 ค่าเฉลี่ยบุคลากรคือ 3.97 สามารถสรุปผลได้ว่าประสิทธิภาพการใช้งานของระบบอยู่ในระดับดี ข) ผลการทดสอบและหาประสิทธิภาพของระบบในด้านการใช้งานของระบบ ค่าเฉลี่ยของ ผู้เชี่ยวชาญคือ 3.66 ค่าเฉลี่ยของบุคลากรคือ 4.04 สามารถสรุปผลได้ว่าประสิทธิภาพการใช้งาน ของระบบอยู่ในระดับดี ค) ผลการทดสอบและหาประสิทธิภาพของระบบด้านหน้าที่ของระบบ ค่าเฉลี่ยผู้เชี่ยวชาญ คือ 3.75 ค่าเฉลี่ยบุคลากรคือ 3.96 สามารถสรุปผลได้ว่าประสิทธิภาพการใช้งานของระบบอยู่ใน ระดับดี ง) ผลการทดสอบและหาประสิทธิภาพของระบบด้านความปลอดภัยของระบบ ค่าเฉลี่ยของ ผู้เชี่ยวชาญคือ 3.67 ค่าเฉลี่ยของบุคลากรคือ 3.67 สามารถสรุปผลได้ว่าประสิทธิภาพการใช้งานของ ระบบอยู่ในระดับดี ผลสรุปของทั้ง 4 ด้านรวมกัน โดยแบ่งออกเป็นผู้เชี่ยวชาญ และบุคลากรได้ผลดังนี้ ก) ผลการทดสอบและหาประสิทธิภาพของระบบโดยผู้เชี่ยวชาญ เมื่อหาค่าเฉลี่ยของทั้ง 4 ด้านรวมกันสรุปได้ว่าระบบมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับดี โดยที่ค่าเฉลี่ย x = 3.62 ข) ผลการทดสอบและหาประสิทธิภาพของระบบโดยบุคลากร เมื่อหาค่าเฉลี่ยของทั้ง 4 ด้านรวมกันสรุปได้ว่าระบบมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับดี โดยที่ค่าเฉลี่ย x = 3.96 จากผลสรุปทั้งจากผู้เชี่ยวชาญและบุคลากรที่ทำงานด้านประกันคุณภาพ อาจจะมีบางหัวข้อ ที่ได้คะแนนน้อย แต่เมื่อมองโดยภาพรวมแล้วก็นับได้ว่าระบบประกันคุณภาพการศึกษา คณะ เทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับดี เช่นข้อมูลจากผลการดำเนินงานสามารถตรวจสอบได้จากหน้าจอและ ถ้าต้องการดูเอกสารอ้างอิงก็เพียงแค่คลิกเลือกเอกสารโดยที่ท่านไม่ต้องเสียเวลาค้นหาจากตู้เก็บ เอกสาร ข้อมูลที่ได้รับก็มีความถูกต้องสอดคล้องกับผลการดำเนินงาน ดังนั้นสามารถนำเอาระบบ นี้ไปใช้งานได้ในระดับหนึ่ง และสามารถพัฒนาต่อไปเพื่อให้มีประสิทธิภาพการใช้งานดียิ่งขึ้น 5.2 ข้อเสนอแนะจากผู้ทดสอบระบบ จากการที่ได้มีการทดลองใช้ระบบงานประกันคุณภาพผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและทำการ ประเมินระบบทั้งจากผู้เชี่ยวชาญและบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการทำประกันคุณภาพการศึกษาคณะ ต่าง ๆ แล้วนั้นทำให้ทราบข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาขั้นต่อไปให้ดียิ่งขึ้นดังนี้ 64 5.2.1 ในส่วนของการแสดงผลทางหน้าจอของรายงานผลการประเมินตนเอง ทั้งในส่วน สำคัญและส่วนสรุปควรมีการปรับสีและรูปแบบของตารางเพื่อให้ดูง่ายและสบายตายิ่งขึ้น 5.2.2 ในการพัฒนาระบบมีการนำเอาไอคอนมาใช้แทนคำสั่งในการทำงาน เช่น การเพิ่มข้อมูล การแก้ไขข้อมูล การลบข้อมูล ไอคอนที่ใช้แทนคำสั่งต่าง ๆ เหล่านี้มีขนาดเล็ก รวมถึงข้อความที่ แสดงในหัวข้อต่าง ๆ 5.2.3 ในการแสดงผลของรายงานการประเมินตนเองในส่วนสำคัญ มีหัวข้อของการรายงานคือ องค์ประกอบ ดัชนี เกณฑ์ประเมิน ผลการดำเนินงาน ผลประเมิน และจุดอ่อน/จุดแข็ง ในส่วน ของเกณฑ์ประเมินที่ระบบจะแสดงเกณฑ์ประเมินตรงกับระดับคะแนนของผลประเมิน เช่นถ้าได้ ผลประเมิน 4 ระบบก็จะแสดงเกณฑ์ประเมินที่หนึ่งถึงสี่ไม่แสดงทั้งหมด ดังนั้นผู้ทดสอบระบบ แนะนำว่าควรจะแสดงเกณฑ์ประเมินทั้งหมด 5.3 ข้อเสนอแนะจากผู้จัดทำวิทยานิพนธ์ 5.3.1 ในระบบงานประกันคุณภาพการศึกษานี้ สามารถใช้ได้กับโครงสร้างของหน่วยงานใน ปัจจุบัน แต่ในอนาคตถ้าหากมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง เช่น มีการเพิ่มหน่วยงานภายในคณะ ระบบจะต้องสามารถรองรับการทำงานได้ ดังนั้นในการพัฒนาระบบขั้นต่อไปควรจะเพิ่มเติมการ จัดการข้อมูลของหน่วยงานเพื่อให้ระบบสามารถดำเนินการต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5.3.2 ในแต่ละผลการดำเนินงานระบบจะให้เลือกหลักฐานอ้างอิงได้เพียงหนึ่งฉบับ ถ้าหากเกิด กรณีที่ผลการดำเนินงานนั้นมีหลักฐานอ้างอิงมากกว่าหนึ่งฉบับ จึงควรพัฒนาระบบให้สามารถเพิ่ม หลักฐานอ้างอิงได้ 5.3.3 เพื่อให้การนำเสนอข้อมูลในรายงานส่วนสรุปมีรูปแบบที่น่าสนใจ อ่านง่าย และสามารถ สื่อความหมายได้ชัดเจน ดังนั้นควรเพิ่มเติมรายงานให้อยู่ในรูปของแผนภูมิ หรือกราฟ 5.4 ปัญหาที่พบและวิธีการแก้ไข 5.4.1 ในการทดสอบการใช้งานโดยผู้ใช้ในบางครั้งเครื่องที่ใช้ทดสอบมีการ Set ความละเอียด ของการแสดงผลต่ำกว่า 1024x768 pixels ทำให้บางครั้งการแสดงผลของรายงานไม่สมบูรณ์ ดัง นั้นในการใช้งานจึงควร Set ความละเอียดไม่ต่ำกว่า 1024x768 pixels 5.4.2 เนื่องจากในระบบจะมีการแนบไฟล์ข้อมูลของเอกสารอ้างอิง ที่ใช้ประกอบหลักฐานในผลการดำเนิน งาน และเป็นไฟล์ที่มีรูปแบบแตกต่างกัน อาจทำให้เกิดปัญหาการติดไวรัสคอมพิวเตอร์ ดังนั้นควรมีการตรวจ สอบไวรัสคอมพิวเตอร์ก่อนที่จะนำเข้าสู่ระบบ บทที่ 1 บทนำ 1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา จากการที่ได้มีการประกาศนโยบายและแนวทางปฏิบัติในการประกันคุณภาพการศึกษา ระดับอุดมศึกษา เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2539 โดยกำหนดให้สถาบันอุดมศึกษาจัดให้มีระบบและ กลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถาบัน ในระบบการประกันคุณภาพการศึกษามีวิธี ปฏิบัติคือ ระบบการประกันคุณภาพภายในต้องมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการเตรียม ความพร้อมสำหรับการประกันคุณภาพภายนอก และเป็นการสนองตอบนโยบายของรัฐบาลตาม แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2540-2544) ที่เน้นการพัฒนาคุณภาพ การศึกษาและคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์เพื่อเป็นฐานในการพัฒนาประเทศด้านต่าง ๆ ต่อไป คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มีการดำเนินงาน การประกันคุณภาพการศึกษาโดยยึดหลัก 9 องค์ประกอบของทบวงมหาวิทยาลัย ขั้นตอนการ ดำเนินงานในการจัดเก็บข้อมูลการประกันคุณภาพการศึกษาจะอยู่ในรูปแบบของไฟล์ข้อมูลจากนั้น สั่งพิมพ์รายงานแล้วเก็บเข้าแฟ้มเอกสารที่เก็บไว้ในรูปแบบต่าง ๆ จากขั้นตอนดังกล่าวทำให้ทราบ ถึงปัญหาในการดำเนินการจัดเก็บข้อมูล การแก้ไขข้อมูล ที่มีการทำงานซ้ำซ้อนหลายขั้นตอน และการค้นหาเอกสารรายงานเมื่อต้องนำเสนอต่อผู้บริหารที่ใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจทำได้ ไม่สะดวก ไม่รวดเร็ว เกิดความล่าช้าในการค้นหา การทำวิจัยครั้งนี้จึงได้มีแนวความคิดในการที่จะ ทำให้ข้อมูลการประกันคุณภาพการศึกษาของคณะสามารถเรียกดูได้ตลอดเวลา และเป็นการ เผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณชนทั่วไปตลอดจนผู้ปกครองและนักศึกษาใช้ประกอบในการตัดสินใจ เลือกสถานศึกษาได้ ซึ่งเครื่องมือที่สนับสนุนแนวคิดนี้คือเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต เพราะ อินเตอร์เน็ตคือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่สามารถเข้าถึงได้ทั้งที่ทำงาน โรงเรียน หรือที่บ้าน ไม่มีข้อจำกัดเรื่องเวลาสามารถทำงานได้สะดวกรวดเร็วและเป็นระบบมากขึ้น และอีกทั้งยังเป็นการ ปรับเปลี่ยนข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เข้ากับยุคสมัย ในการดำเนินการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาจะเป็นการจัดเก็บข้อมูลการประกัน คุณภาพการศึกษา คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ไว้ในระบบฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ และสามารถ ทำงานได้ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งจะช่วยให้การค้นหาข้อมูลและการแสดงผลของรายงาน มีความสะดวก รวดเร็ว และประหยัดเวลาในการทำงานมากขึ้น 2 1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1.2.1 เพื่อพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลงานประกันคุณภาพการศึกษาคณะเทคโนโลยี สารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 1.2.2 เพื่อจัดเก็บข้อมูลการประกันคุณภาพการศึกษาไว้ในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ ให้สามารถตรวจสอบข้อ มูลได้โดยผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต 1.2.3 เพื่อประเมินหาประสิทธิภาพของระบบ 1.3 สมมติฐานการวิจัย 1.3.1 ผู้ใช้อาจจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงาน จากที่เคยมีเอกสารจำนวนมากในเรื่องของการ ประกันคุณภาพการศึกษาเปลี่ยนมาเป็นทำงานกับระบบคอมพิวเตอร์โดยผ่านระบบ เครือข่ายอินเตอร์เน็ต 1.3.2 เพื่อศึกษาพฤติกรรมของผู้ใช้ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตว่า มีความสะดวกมากน้อยแตกต่างกันอย่างไรจากระบบเดิม 1.4 ขอบเขตของการวิจัย 1.4.1 กลุ่มที่จะสามารถทำงานกับระบบได้คือ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าพระนครเหนือ ซึ่งเป็นกรณีศึกษาของการทำวิจัยครั้งนี้ 1.4.2 ผู้ใช้งานของระบบประกันคุณภาพการศึกษาสามารถเข้าสู่ระบบ และจัดการกับระบบได้ โดยผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต 1.4.3 ผู้วิจัยจะทำการติดตั้งระบบที่เครื่อง Server คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการใช้งาน ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต 1.5 ระเบียบวิธีการวิจัย 1.5.1 ศึกษาข้อมูลของการประกันคุณภาพการศึกษาของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ 1.5.2 ดำเนินการรวบรวมข้อมูลและเอกสารด้านการประกันคุณภาพการศึกษาที่เกี่ยวข้อง 1.5.3 วิเคราะห์และออกแบบระบบการประกันคุณภาพการศึกษา คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ 1.5.4 จัดทำโปรแกรมคอมพิวเตอร์การประกันคุณภาพการศึกษา 1.5.5 ทดสอบการใช้งานและหาจุดบกพร่องของโปรแกรม 1.5.6 แก้ไขข้อบกพร่องที่พบของโปรแกรม 1.5.7 สรุปผลและจัดทำวิทยานิพนธ์ 1.6 เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินงาน 1.6.1 Unix Server ระบบปฏิบัติการ Linux 3 1.6.2 Web Server Apache Web Server 1.6.3 ฐานข้อมูล ระบบฐานข้อมูล MySQL 1.6.4 ภาษา HTML PHP 1.6.5 เครื่องมือสร้างเว็บเพจ Macromedia Dreamweaver Adobe Photoshop 1.6.6 บราวเซอร์ Internet Explorer/Netscape Navigator 1.7 นิยามศัพท์เฉพาะ 1.7.1 การประกันคุณภาพการศึกษา หมายถึง การมีระบบและกลไกในการควบคุม ตรวจสอบ และการ ประเมินการดำเนินงานในแต่ละองค์ประกอบคุณภาพ ตามดัชนีบ่งชี้ที่กำหนด เพื่อเป็นหลักประกันแก่ผู้มีส่วน เกี่ยวข้อง และสาธารณชนมั่นใจว่าสถาบันนั้นๆ สามารถให้ผลผลิตทางการศึกษาที่มีคุณภาพ (ส่วนวิจัยและพัฒนา สำนักมาตรฐานอุดมศึกษา ทบวงมหาวิทยาลัย, 2544) 1.7.2 การควบคุมคุณภาพการศึกษา หมายถึง การมีระบบและกลไกในแต่ละองค์ประกอบคุณภาพเพื่อ กำกับการดำเนินงานของสถาบันให้ได้ผลตามดัชนีบ่งชี้คุณภาพที่กำหนด (ส่วนวิจัย และพัฒนา สำนักมาตรฐาน อุดมศึกษา ทบวงมหาวิทยาลัย, 2544) 1.7.3 การตรวจสอบคุณภาพการศึกษา หมายถึง กระบวนการในการศึกษาวิเคราะห์ว่าสถาบันมีระบบและ กลไกกำกับการควบคุมคุณภาพและได้ปฏิบัติ ตลอดจนมีผลการปฏิบัติตามระบบและกลไกดังกล่าว (ส่วนวิจัย และพัฒนา สำนักมาตรฐานอุดมศึกษา ทบวงมหาวิทยาลัย, 2544) 1.7.4 การประเมินคุณภาพการศึกษา หมายถึง กระบวนการวิเคราะห์และเปรียบเทียบผลการดำเนินงาน ของสถาบันว่าส่งผลต่อคุณภาพตามดัชนีบ่งชี้คุณภาพ (ส่วนวิจัยและพัฒนา สำนักมาตรฐานอุดมศึกษา ทบวงมหาวิทยาลัย, 2544) 1.7.5 องค์ประกอบคุณภาพ หมายถึง ปัจจัยหลักในการดำเนินงานของสถาบัน ที่มีผลต่อคุณภาพการ ศึกษา (ส่วนวิจัยและพัฒนา สำนักมาตรฐานอุดมศึกษา ทบวงมหาวิทยาลัย, 2544) 1.7.6 ดัชนีบ่งชี้คุณภาพ หมายถึง ตัวบ่งชี้ว่าการดำเนินงานในแต่ละองค์ประกอบเป็นไปตามเกณฑ์และ มาตรฐานการศึกษาที่กำหนด (ส่วนวิจัยและพัฒนา สำนักมาตรฐานอุดมศึกษา ทบวงมหาวิทยาลัย, 2544) 1.7.7 การประกันคุณภาพภายใน หมายถึง การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายในโดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเอง หรือโดย หน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้น (ส่วนวิจัยและพัฒนา สำนักมาตรฐาน อุดมศึกษา ทบวงมหาวิทยาลัย, 2544) 1.7.8 การประกันคุณภาพภายนอก หมายถึง การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายนอก โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมิน 4 คุณภาพการศึกษาหรือบุคคลหรือหน่วยงานภายนอกที่สำนักงานดังกล่าวรับรอง เพื่อเป็นการ ประกันคุณภาพและให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา (ส่วนวิจัยและพัฒนา สำนักมาตรฐานอุดมศึกษา ทบวงมหาวิทยาลัย, 2544) 1.7.9 การประเมินคุณภาพภายนอก หมายถึง การประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา การติดตาม การตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ซึ่งกระทำโดยสำนักงานหรือ ผู้ประเมินภายนอกแล้วแต่กรณี เพื่อมุ่งให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถาน ศึกษาให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น (ส่วนวิจัยและพัฒนา สำนักมาตรฐานอุดมศึกษา ทบวงมหาวิทยาลัย, 2544) 1.7.10 การรับรองมาตรฐาน หมายถึง การให้การรับรองการทำการประเมินคุณภาพภายนอก ของผู้ประเมินภายนอกที่มีคุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ตามหลักเกณฑ์และมาตรฐานที่ สำนักงานฯ กำหนด (ส่วนวิจัยและพัฒนา สำนักมาตรฐานอุดมศึกษา ทบวงมหาวิทยาลัย, 2544) 1.8 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1.8.1 ผู้ใช้งานของระบบประกันคุณภาพการศึกษาสามารถทำงานกับระบบได้ด้วยความสะดวกรวดเร็วไม่ เป็นการเพิ่มภาระงานและไม่ทำงานซ้ำซ้อน รวมทั้งเป็นการลดภาระในเรื่องค่าใช้จ่ายด้านเอกสารที่เพิ่มมากขึ้น จากการทำงาน 1.8.2 ผู้บริหารสามารถเรียกดูข้อมูลการประกันคุณภาพการศึกษาของคณะเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจได้ โดยผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต 1.8.3 สามารถนำไปเผยแพร่ในหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ บทที่ 2 ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ในการศึกษาและทำวิจัยเรื่อง “การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาคณะเทคโนโลยี สาร สนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต” ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องดังนี้ 2.1 ความเป็นมาของการประกันคุณภาพการศึกษา 2.2 สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) 2.3 อินเตอร์เน็ต 2.4 เอชทีเอ็มแอล 2.5 ฐานข้อมูลมายเอสคิวแอล 2.6 พีเอชพี 2.7 งานวิจัยตัวอย่างที่ศึกษา 2.1 ความเป็นมาของการประกันคุณภาพการศึกษา 2.1.1 ความหมาย การประกันคุณภาพการศึกษา (Quality Assurance) หมายถึง การกำหนดให้มีระบบและ กลไกในการควบคุม (Control) ตรวจสอบ (Audit) และประเมิน (Assess) การดำเนินงานในแต่ละ องค์ประกอบคุณภาพ (Quality Factor) ตามดัชนีบ่งชี้ (Index) ที่กำหนด เพื่อเป็นหลักประกันแก่ผู้ มีส่วนเกี่ยวข้องและสาธารณชนให้มั่นใจว่าคณะวิชา/สถาบันนั้น ๆ สามารถให้ผลผลิตทางการ ศึกษาที่มีคุณภาพ และพร้อมสำหรับการประเมินคุณภาพและรับรองมาตรฐานจากภายนอก (ส่วน วิจัยและพัฒนา สำนักมาตรฐานอุดมศึกษา ทบวงมหาวิทยาลัย, 2544) ศูนย์ประกันคุณภาพการศึกษา (2544: 1) กล่าวไว้ว่า การประกันคุณภาพการศึกษา คือ การดำเนินกิจกรรมและภารกิจต่างๆทั้งด้านวิชาการการบริการและการจัดการเพื่อเป็นการ เสริมสร้างความมั่นใจให้ผู้รับบริการทางการศึกษาทั้งผู้รับบริการโดยตรงคือผู้เรียน ผู้ปกครอง และ ผู้รับบริการทางอ้อมคือสถานประกอบการประชาชนและสังคมโดยรวมว่าการดำเนินงานของ สถานศึกษามีประสิทธิภาพ เป็นการรับประกันว่าทำให้ผู้เรียนมีคุณภาพ หรือคุณลักษณะที่พึง ประสงค์ตามมาตรฐานการศึกษาที่ได้กำหนดไว้ การประกันคุณภาพมีแนวคิดอยู่บนพื้นฐานของการ 6 ป้องกันไม่ให้เกิดการทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ และผลผลิตที่ไม่มีคุณภาพ 2.1.2 ที่มา ทบวงมหาวิทยาลัยได้ดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาในระดับอุดมศึกษามา ตั้งแต่มีการก่อ ตั้งทบวงมหาวิทยาลัย โดยเน้นที่การควบคุมคุณภาพของหลักสูตร แต่ยังไม่ได้มีระบบควบคุมคุณภาพให้ครบทุก ภารกิจของสถาบันอุดมศึกษา ในปี พ.ศ. 2537 จึงได้มีแนวคิดในเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาที่จะพิจารณา ให้ครอบคลุมในทุกภารกิจของสถาบันอุดมศึกษา และเริ่มมีการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมตั้งแต่นั้นมา วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 ทบวงมหาวิทยาลัยได้ประกาศนโยบายและแนวปฏิบัติในการประกันคุณ ภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา เพื่อเป็นแนวทางในการประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา ต่อมาในปี พ.ศ. 2542 ได้มีพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ที่กำหนดให้มีระบบการประกันคุณภาพการ ศึกษาขึ้นเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ ประกอบด้วยระบบการประกันคุณภาพภายในและ ระบบการประกันคุณภาพภายนอก และตามพระราชบัญญัตินี้ยังกำหนดให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาจัด ให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง พระราชบัญญัติการศึกษา 2542 หมวด 6 มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา มีมาตราที่เกี่ยวข้อง กับการประกันคุณภาพการศึกษาดังนี้ มาตรา 47 ให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ ประกอบด้วยระบบการประกันคุณภาพภายใน และระบบการประกันคุณภาพภายนอก ระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษาให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา 48 ให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายใน สถานศึกษา และให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้อง ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยมีการจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง และเปิดเผยต่อสาธารณชน เพื่อนำไป สู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา และ เพื่อรองรับการประกันคุณภาพ ภายนอก มาตรา 49 ให้มีสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา มีฐานะเป็นองค์การมหาชนทำหน้า ที่พัฒนาเกณฑ์ วิธีการประเมินคุณภาพภายนอก และทำการประเมินผลการจัดการศึกษาเพื่อให้มี การตรวจสอบคุณภาพของสถานศึกษา โดยคำนึงถึงความมุ่งหมายและหลักการ และแนวการจัด การศึกษาในแต่ละระดับ ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ ให้มีการประเมินคุณภาพภายนอก ของสถานศึกษาทุกแห่ง อย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกห้าปีนับตั้งแต่การประเมินครั้งสุดท้าย และเสนอ ผลการประเมินต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน มาตรา 50 ให้สถานศึกษาให้ความร่วมมือในการจัดเตรียมเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่มีข้อมูล เกี่ยวข้องกับ สถานศึกษา ตลอดจนให้บุคลากร คณะกรรมการของสถานศึกษารวมทั้งผู้ปกครองและผู้ที่มีส่วน เกี่ยวข้องกับสถานศึกษาให้ข้อมูลเพิ่มเติมในส่วนที่พิจารณาเห็นว่าเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติภารกิจ ของสถานศึกษาตามคำร้องขอของ สำนักงาน รับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา หรือบุคคลหรือหน่วยงานภายนอกที่สำนักงานดังกล่าวรับรองที่ทำการประเมินคุณภาพภายนอก ของสถานศึกษานั้น 7 มาตรา 51 ในกรณีที่ผลการประเมินภายนอกของสถานศึกษาใดไม่ได้ตามมาตรฐานที่กำหนดให้สำนักงานรับ รองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา จัดทำข้อเสนอแนะการปรับปรุงแก้ไขต่อหน่วยงาน ต้นสังกัด เพื่อให้สถานศึกษาปรับปรุงแก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนด หากมิได้ดำเนินการดัง กล่าวให้สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษารายงานต่อคณะกรรมการการ ศึกษาขึ้นพื้นฐานหรือคณะกรรมการการอุดมศึกษาเพื่อดำเนินการให้มีการปรับปรุงแก้ไข 2.1.3 กระบวนการการประกันคุณภาพการศึกษา กระบวนการประกันคุณภาพการศึกษา ประกอบด้วย 3 กลไก คือ การควบคุม (Control) ตรวจสอบ (Audit) และประเมิน (Assess) โดยดูจากองค์ประกอบและดัชนีบ่งชี้ (Index) ที่กำหนด เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับสาธารณชนว่าสถานศึกษาแห่งนั้นมีคุณภาพ และพร้อมที่จะได้รับการ ประเมินคุณภาพและรับรองมาตรฐานจากภายนอก 3 กลไกที่กล่าวมามีรายละเอียดดังนี้ 2.1.3.1 การควบคุมคุณภาพการศึกษา ควบคุมเพื่อให้การดำเนินงานของสถาบันเป็นไป ตามดัชนีชี้วัดคุณภาพ มีขั้นตอนคือ ก) สร้างระบบและกลไกการควบคุมคุณภาพ ให้หน่วยงานจัดระบบและกลไกการควบคุม คุณภาพภายใน โดยยึดเอาปรัชญา/ปณิธานของสถาบัน องค์ประกอบและดัชนีบ่งชี้ คุณภาพของทบวง มหาวิทยาลัยเป็นแนวทางในการจัดทำ ข) การพัฒนาระบบคุณภาพ อาจเลือกระบบคุณภาพที่เป็นสากลหรือจะพัฒนาระบบคุณภาพ ที่เหมาะสมขึ้นเองก็ได้ แต่ให้เหมาะกับสถาบันของตน สามารถพิจารณาได้จากมีการวางแผน การควบคุม ตรวจ สอบ ประเมิน และปรับปรุง ค) องค์ประกอบและดัชนีบ่งชี้คุณภาพ ให้ยึดเอาองค์ประกอบและดัชนีบ่งชี้ คุณภาพของ ทบวงมหาวิทยาลัยที่ประกอบด้วย 9 องค์ประกอบ คือ 1. ปรัชญา/ปณิธาน/วัตถุประสงค์/แผนการดำเนินงานของสถาบัน 2. การจัดการเรียนการสอน 3. กิจกรรมการพัฒนานิสิตนักศึกษา 4. การวิจัย 5. การให้บริการทางวิชาการแก่สังคม 6. การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 7. การบริหารและการจัดการ 8. การเงินและงบประมาณ 9. ระบบและกลไกการประกันคุณภาพ 8 2.1.3.2 การตรวจสอบคุณภาพการศึกษา ตรวจสอบเพื่อให้ทราบถึงปัญหาและอุปสรรค แล้วนำไปหาวิธีการปรับปรุงแก้ไขพร้อมทั้งให้คำแนะนำข้อเสนอแนะในการที่จะปรับปรุง คุณภาพให้ดียิ่งขึ้น แสดงขั้นตอนดังภาพที่ 2-1 ดังนี้ ภาพที่ 2-1 แสดงขั้นตอนของการตรวจสอบคุณภาพการศึกษา 2.1.3.3 การประเมินคุณภาพการศึกษา จะทำการเปรียบเทียบจากผลการดำเนินงานของ คณะวิชา/สถาบัน กับดัชนีบ่งชี้คุณภาพของทุกองค์ประกอบว่าเป็นไปตามเกณฑ์และมาตรฐานที่ กำหนดมากน้อยเท่าใด ดังนั้นในการประเมินคุณภาพการศึกษาจึงประกอบด้วย ก) ดัชนีชี้คุณภาพ ข) เกณฑ์ประเมิน ค) ผลการปฏิบัติงานของทุกคนในหน่วยงาน ในรอบที่ผ่านมา ง) การตัดสินผลการปฏิบัติงานเทียบกับเกณฑ์ประเมิน แสดงขั้นตอนการประเมินคุณภาพการศึกษาดังภาพที่ 2-2 ดังนี้ ภาพที่ 2-2 แสดงขั้นตอนของการประเมินคุณภาพการศึกษา เปรียบเทียบ ผลการดำเนินงาน ดัชนีบ่งชี้คุณภาพ ผลลัพธ์ เป็นไปตามเกณฑ์/ อยู่ในระดับใด ไม่เป็นไปตามเกณฑ์/ อยู่ในระดับใด คณะวิชา/สถาบัน คณะกรรมการ ตรวจสอบคุณภาพ คณะวิชา/สถาบัน - มีระบบและกลไกกำกับการควบคุมคุณภาพ - นำเอาระบบ/กลไก ไปดำเนินการ - ปรากฏผลการดำเนินการ แต่งตั้ง วิเคราะห์ว่า 9 2.1.4 กระบวนการศึกษาตนเอง กระบวนการศึกษาตนเองมี 2 ขั้นตอนคือ การศึกษาตนเอง และการจัดทำรายงานการศึกษา ตนเอง 2.1.4.1 การศึกษาตนเอง หลักการของการศึกษาตนเองของคณะวิชา/สถาบัน คือ การ ดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษาของ ทบวงมหาวิทยาลัย โดยให้แต่ละภาควิชาดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา แล้วแต่ละภาควิชา จะนำไปประมวลรวมเป็นรายงานการศึกษาตนเองในระดับคณะ เพื่อรอตรวจสอบคุณภาพการ ศึกษาทั้งการตรวจสอบภายในที่ดำเนินการโดยคณะวิชา/สถาบัน และการตรวจสอบจากภายนอก 2.1.4.2 การจัดทำรายงานการศึกษาตนเอง หลังจากที่แต่ละภาควิชาได้ดำเนินการ ประกันคุณภาพการศึกษาแล้ว และต่อจากนั้นจึงนำมาประมวลผลรวมเป็นรายงานการศึกษาตนเอง (Self-Study Report-SSR)ระดับคณะ ซึ่งในรายงานผลการศึกษาตนเองที่จะนำไปเผยแพร่ต่อสา ธารณชนนั้นจะประกอบด้วยข้อมูลผลการดำเนินงาน จุดอ่อน และจุดแข็ง ของหน่วยงานนั้น ๆ และ ในการเขียนรายงานการศึกษาตนเอง มีสาระสำคัญ 4 ส่วนคือ ก) ส่วนนำจะเป็นการเขียนแบบบรรยายรายละเอียดสภาพปัจจุบันของหน่วยงาน เช่น ประวัติความเป็นมา ปณิธาน วิสัยทัศน์ ภารกิจ โครงสร้างการบริหาร เป้าหมายในการประกันคุณภาพการศึกษา ข) ส่วนสาระ จะเป็นการเขียนถึงผลการดำเนินงานของหน่วยงาน โดยดูจาก 9 องค์ประกอบ และดัชนีบ่งชี้คุณภาพที่กำหนดไว้ รวมถึงการอ้างอิงหลักฐานประกอบด้วย ค) ส่วนสรุป ในส่วนสรุปจะเป็นการบอกให้ทราบถึงจุดอ่อน จุดแข็ง ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะเพื่อทำการแก้ไขต่อไป ง) ภาคผนวก ในส่วนนี้จะเป็นเอกสารที่ใช้เป็นหลักฐานอ้างอิง ประกอบผลการ ดำเนินงานตามองค์ประกอบและดัชนีบ่งชี้คุณภาพ 2.1.5 การตรวจสอบคุณภาพการศึกษา เป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อรอรับการตรวจสอบคุณภาพและการประเมินจากภายนอกได้ โดยมีวัตถุ ประสงค์และแนวทางการตรวจสอบคุณภาพของทบวงมหาวิทยาลัย ดังนี้ 2.1.5.1 วัตถุประสงค์ในการตรวจสอบคุณภาพการศึกษา เพื่อดูว่าระหว่างองค์ประกอบ และดัชนีบ่งชี้บ่งชี้คุณภาพที่ทางคณะวิชา/สถาบันกำหนดขึ้นมานั้นตรงกับ ปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์พันธกิจหรือไม่ นอกจากนั้นแล้วยังรวมถึงการนำไปปฏิบัติ และดูผลการปฏิบัติว่าควร พัฒนา ปรับปรุงคุณภาพการศึกษาไปในแนวทางใดเพื่อให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 10 2.1.5.2 แนวทางในการตรวจสอบคุณภาพการศึกษา จะพิจารณาจากองค์ประกอบและ ดัชนีบ่งชี้คุณภาพว่ามีความสอดคล้องกับปรัชญา/ปณิธาน/วิสัยทัศน์/พันธกิจ ของหน่วยงานหรือไม่ มีระบบในการควบคุมคุณภาพแต่ละองค์ประกอบหรือไม่ ได้มีการนำไปปฏิบัติและผลการปฏิบัติ เป็นไปตามระบบหรือไม่อย่างไร พร้อมทั้งข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพ การศึกษา (รายละเอียดเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ แสดงในภาคผนวก ก) 2.2 สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) 2.2.1 ความเป็นมาของ สมศ. สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือที่เรียกกัน โดยทั่วไปว่า “สมศ.” มีความเป็นมาโดยเริ่มจากที่ได้มีพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ซึ่งได้มีการกำหนดไว้ว่าให้มีการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตร ฐานการศึกษาทุกระดับ ให้มีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐาน โดยในมาตรา 47 ได้ระบุไว้ว่า “กำหนด ให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาที่ประกอบด้วย การประกันคุณภาพภายในและการประกัน คุณภาพภายนอก” และในมาตรา 49 ได้ระบุว่า “ให้มีสำนักงานรับรองมาตรฐานและการประเมิน คุณภาพการศึกษา ทำหน้าที่พัฒนาเกณฑ์ วิธีการประเมินคุณภาพภายนอก และทำการประเมิน ผลการจัดการศึกษาเพื่อตรวจสอบคุณภาพของสถานศึกษา โดยให้มีการประเมินคุณภาพภายนอก ของสถานศึกษาทุกแห่งและเสนอผลการประเมินต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน” นอก จากนี้ยังได้มี พระราชกฤษฎีกาที่เกี่ยวข้องในการจัดตั้ง สมศ. ดังนี้ มาตรา 5 ให้จัดตั้งองค์การมหาชนขึ้นเรียกว่า "สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) เรียกโดยย่อว่า “สมศ.” มาตรา 6 ให้สำนักงานมีที่ตั้งของสำนักงานแห่งใหญ่อยู่ในกรุงเทพมหานครหรือจังหวัด ใกล้เคียง มาตรา 7 ให้สำนักงานมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเกณฑ์และวิธีการประเมินคุณภาพภายนอกและทำการ ประเมินผลการจัดการศึกษา เพื่อให้มีการตรวจสอบคุณภาพของสถานศึกษา โดยคำนึงถึงความมุ่ง หมาย หลักการ และแนวการจัดการศึกษาในแต่ละระดับตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการ ศึกษาแห่งชาติ ดังนั้น จึงได้มีการจัดตั้งสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาขึ้นมา ตามพระราช บัญญัติดังที่ได้กล่าวมา และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 117 ตอนที่ 99ก เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 2.2.2 หน้าที่หลักของ สมศ. 11 2.2.2.1 พัฒนาระบบการประเมินคุณภาพภายนอก โดยกรอบแนวทางและวิธีการ ประเมินคุณภาพภายนอกต้องสอดคล้องกับระบบการประกันคุณภาพของสถานศึกษาและหน่วย งานต้นสังกัด 2.2.2.2 พัฒนามาตรฐานและเกณฑ์สำหรับการประเมินคุณภาพภายนอก 2.2.2.3 ให้การรับรองผู้ประเมินภายนอก 2.2.2.4 กำกับดูแลกำหนดมาตรฐานการประเมินคุณภาพภายนอก โดยผู้ประเมินภาย นอกและให้การรับรองมาตรฐาน 2.2.2.5 พัฒนาและฝึกอบรมผู้ประเมินภายนอก 2.2.2.6 จัดทำรายงานการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาประจำปี แล้วนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน 2.2.3 นโยบายการดำเนินงาน 2.2.3.1 มีความเที่ยงตรง เป็นธรรม 2.2.3.2 เน้นคุณภาพและประสิทธิภาพในการทำงาน 2.2.3.3 ส่งเสริมให้สถานศึกษาพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ 2.2.3.4 จุดประสงค์หลักในการประเมิน คือ เพื่อพัฒนาคุณภาพไม่ได้มุ่งเน้นการตัดสิน ให้คุณให้โทษ และในการประเมินภายนอกจะต้องทำอย่างโปร่งใสมีหลักฐาน 2.2.3.5 คัดเลือกผู้ประเมินภายนอก ให้การรับรอง และขึ้นทะเบียนผู้ประเมินโดยจะทำการตรวจสอบเป็นระยะ 12 2.2.4 โครงสร้างองค์กรของ สมศ. ภาพที่ 2-3 แสดงโครงสร้างองค์กรของ สมศ. สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา เป็นองค์การมหาชน ที่ไม่ใช่หน่วยงานราชการ หรือรัฐวิสาหกิจแต่เป็นหน่วยงานของรัฐประเภทหนึ่ง จึงทำให้การทำงานไม่ว่าจะเป็นด้านการบริหาร การจัด การ และการเงินของสำนักงาน มีอิสระในการตัดสินใจ และเกิดความคล่องตัวในการบริหารเพื่อให้งานสำเร็จลุ ล่วงได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2.2.5 หลักการสำคัญของการประเมินคุณภาพภายนอก นายกรัฐมนตรี คณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการติดตามและ ประเมินผลการปฏิบัติงาน ผู้ตรวจสอบภายใน คณะกรรมการพัฒนาระบบ การประเมินคุณภาพการศึกษา ระดับอุดมศึกษา คณะกรรมการพัฒนาระบบ การประเมินคุณภาพการศึกษา ขั้นพื้นฐาน ผู้อำนวยการ ที่ปรึกษา รองผู้อำนวยการ/รองผู้อำนวยการ/รองผู้อำนวยการ/รองผู้อำนวยการ กลุ่มงาน ประเมินการศึกษา ขั้นพื้นฐาน กลุ่มงาน ประเมินการศึกษา ระดับอุดมศึกษา กลุ่มงาน ส่งเสริมและพัฒนา การประกันคุณภาพ การศึกษา กลุ่มงาน สารสนเทศ/ ระบบคอมพิวเตอร์ กลุ่มงานอำนวยการ - งานบริหารทั่วไป - งานบุคคล - งานการเงินและกฏหมาย - งานพัฒนาสัมพันธ์ 13 อย่างที่ทราบกันดีว่าการประเมินคุณภาพภายนอก คือการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ซึ่งดำเนินการโดยสมศ.หรือผู้ประเมินภายนอกที่เป็น บุคคลหรือหน่วยงานที่มีคุณสมบัติตรงตามที่กำหนดและได้รับการรับรองจากสมศ.เพื่อทำการประเมินคุณภาพ ภายนอก มีหลักการสำคัญดังนี้ 2.2.5.1 ประเมินเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา 2.2.5.2 ประเมินอย่างเที่ยงตรง เป็นธรรม และโปร่งใส มีหลักฐานข้อมูลตามสภาพจริง และตรวจสอบได้ 2.2.5.3 ประเมินเพื่อสร้างสมดุลระหว่างเสรีภาพทางการศึกษากับจุดมุ่งหมายและหลัก การศึกษาของชาติแต่ยังคงให้สถานศึกษาสามารถกำหนดเป้าหมายเฉพาะ และพัฒนาคุณภาพการ ศึกษาให้เต็มตามศักยภาพของสถานศึกษาและผู้เรียน 2.2.5.4 ประเมินแบบกัลยาณมิตรมากกว่าการกำกับและควบคุม 2.2.5.5 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการประเมินคุณภาพและพัฒนาการจัดการศึกษา สิ่งต่าง ๆ ที่กล่าวถึงมานี้ก็มีจุดประสงค์เพื่อที่จะตรวจสอบสภาพที่เป็นจริงในการดำเนินงาน ของสถานศึกษาว่าควรที่จะปรับปรุงแก้ไขจุดอ่อนจุดแข็งใด และทำการประเมินคุณภาพการศึกษา ตามมาตรฐานการศึกษา จากนั้นรายงานผลการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของ สถานศึกษาต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน 2.2.6 ความแตกต่างระหว่างการประกันคุณภาพภายในกับการประเมินคุณภาพภายนอก การประกันคุณภาพภายใน คือกระบวนการบริหารที่สถานศึกษาดำเนินการอย่างต่อเนื่องมีการวางแผน การปฏิบัติงาน กำหนดเป้าหมายและวิธีการแล้วลงมือทำตามแผนที่วางไว้ ประเมินผลและปรับปรุงแก้ไข เพื่อ พัฒนาคุณภาพ แล้วจัดทำรายงานการประเมินตนเองเป็นประจำทุกปี การประเมินคุณภาพภายนอก คือการประเมินที่มีความต่อเนื่องกับการประเมินคุณภาพ ภายในของ สถานศึกษาเพื่อยืนยันผลการประเมินคุณภาพภายในของการจัดการศึกษาว่ามีคุณภาพ อย่างไรเมื่อเทียบกับมาตร ฐานที่กำหนดซึ่งการประเมินคุณภาพภายนอกนั้นบุคคลที่ได้รับประโยชน์ก็คือประชาชนทุกคนที่จะทราบว่า สถานศึกษาแต่ละแห่งมีคุณภาพและได้มาตรฐานเพียงใด 2.2.7 ขั้นตอนการประเมินภายนอก มี 3 ขั้นตอน คือ 2.2.7.1 ขั้นตอนก่อนการตรวจเยี่ยมสถานศึกษา ก่อนการตรวจเยี่ยมสถานศึกษานั้นทีมผู้ประเมินภายนอกต้องรวบรวมข้อมูลของสถานศึกษา เช่น รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ข้อมูลอื่นๆ จากนั้นนำมาศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลและกำหนด ขอบเขตในการประเมินภายนอก แล้วนัดวันที่จะตรวจเยี่ยมสถานศึกษา 2.2.7.2 ขั้นตอนระหว่างการตรวจเยี่ยมสถานศึกษา 14 เมื่อทีมผู้ประเมินภายนอกไปถึงสถานศึกษาแล้วชี้แจงให้บุคลากรทราบถึงวัตถุประสงค์ในการตรวจเยี่ยม มีการสังเกต สัมภาษณ์ และ/หรือดูเอกสารต่าง ๆ ของสถานศึกษาซึ่งจะทำในลักษณะกัลยาณมิตร จากนั้น วิเคราะห์ข้อมูลแล้วสรุปผลการตรวจเยี่ยมโดยวาจาต่อสถานศึกษา 2.2.7.3 ขั้นตอนหลังการตรวจเยี่ยมสถานศึกษา ภายหลังการตรวจเยี่ยมแล้วทีมผู้ประเมินภายนอกต้องเขียนรายงานการตรวจเยี่ยมแล้วส่งให้สถานศึกษา นั้นตรวจสอบและโต้แย้ง เมื่อพิจารณาข้อโต้แย้งแล้วอาจมีการปรับปรุงแก้ไขรายงานให้สมบูรณ์ จากนั้นนำส่ง สมศ.เพื่อพิจารณารับรองและเผยแพร่ต่อสาธารณชน 2.3 อินเตอร์เน็ต 2.3.1 อินเตอร์เน็ตคืออะไร อินเตอร์เน็ต (Internet) คือการเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย ซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ โดยคนส่วนมากสามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ทั้งที่ทำงาน โรงเรียน หรือที่บ้าน ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตนั้นจำเป็นต้องใช้บริการของไอเอสพี (ISP : Internet Service Provider) ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำให้เราสามารถเชื่อมต่อ อินเตอร์เน็ตได้ และใช้โปรโตคอล TCP/IP เป็นมาตรฐานในการรับส่งข้อมูลและสื่อสารกันได้ทั่วโลก ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ตมีมากมายเช่นการค้นคว้าหาข้อมูล ข่าวสารทางการศึกษา การซื้อขายสินค้า การทำธุรกิจ และความบันเทิงด้านต่าง ๆ 2.3.2 ประวัติความเป็นมา อินเตอร์เน็ตเป็นโครงการของ ARPANET (Advanced Research Projects Agency Network) โดยกระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกา ก่อตั้งเมื่อประมาณปี 1969 จากนั้นองค์การนาซ่า ได้เชื่อมโยงระบบเข้ากับ ARPANET และต่อมาก็มีการเชื่อมต่อกันอย่างแพร่หลายกลายเป็นเครือ ข่ายขนาดใหญ่ 2.3.3 บริการต่าง ๆ บนอินเตอร์เน็ต 2.3.3.1 WWW (World Wide Web) หรือเครือข่ายใยแมงมุมเป็นอีกบริการหนึ่งบนเว็บ ที่ใช้ง่ายและสะดวกเพียงมีโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ไว้สำหรับเรียกดูเว็บไซต์จากที่ต่าง ๆ ตำแหน่ง ที่อยู่ของเว็บเพจเรียกว่า URL (Uniform Resource Locators) เอกสารที่แสดงในเว็บเพจสร้างด้วย ภาษา HTML 2.3.3.2 E-mail มีการใช้งานกว้างขวางมากที่สุด การทำงานคือส่งข้อความโต้ตอบกันได้ เป็นรายบุคคลหรือส่งเป็นกลุ่ม สามารถส่งได้ทั้งแบบข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว อื่น ๆ 2.3.3.3 Usenet Newsgroups เป็นการส่งข่าวหรือส่งข้อความไปยังกลุ่มข่าว เป็น บริการสาธารณะ คนทั่วไปที่อยู่บนอินเตอร์เน็ตสามารถอ่านข้อความหรือฝากข้อความตอบกลับไป ได้ 15 2.3.3.4 Chatting เป็นการสนทนาโดยการพิมพ์ข้อความโต้ตอบกันและสามารถเลือกได้ ว่าต้องการสนทนาแบบรายบุคคลหรือเป็นกลุ่ม สามารถสื่อสารกันได้ทั่วโลก 2.3.3.5 Telnet เป็นการทำงานจากเครื่องของผู้ใช้ไปยังอีกเครื่องหนึ่งที่อยู่ปลายทาง โดยมีการระบุที่อยู่ของโฮสต์หรือเซิร์ฟเวอร์ที่ต้องการพร้อมทั้งชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านสำหรับเข้าสู่ โฮสต์นั้น ให้ความสะดวกต่อการทำงานเช่นเมื่ออยู่ที่บ้านแล้วต้องการล็อกอินไปยังที่ทำงาน 2.3.3.6 FTP เป็นเครื่องมืออีกอย่างหนึ่งที่ทำการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล ทำได้โดยง่ายไม่ว่า เครื่องจะอยู่ห่างกันเท่าใดก็ตาม สามารถทำการโอนย้ายข้อมูลจากเครื่องอื่นมายังคอมพิวเตอร์ส่วน ตัว หรือที่เรียกว่าดาวน์โหลด และการโอนย้ายข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ส่วนตัวไปยังคอมพิวเตอร์ อื่นที่อยู่ในระบบเครือข่ายได้ทั่วโลก หรือที่เรียกว่าอัพโหลด 2.4 เอชทีเอ็มแอล 2.4.1 ความหมายของเอชทีเอ็มแอล (HTML) HTML (Hypertext Markup Language) คือภาษาที่ใช้ในการสร้างเว็บเพจเพื่อแสดงข้อมูล บนอินเตอร์เน็ต โดยเมื่อทำการจัดเก็บเอกสารเป็นแบบสกุล .html หรือ .htm แล้วก็สามารถแสดง ผลบนบราวเซอร์ได้ทันที ถ้าต้องการเพิ่มประสิทธิภาพของเว็บเพจก็สามารถนำเอาภาษาสคริปต่าง ๆ เช่น PHP JAVA เข้ามาใช้ในเอกสาร HTML ได้ (ไพศาล, 2538) 2.4.2 รูปแบบของเอกสาร HTML ในการสร้างเอกสาร HTML ที่สมบูรณ์นั้นจะประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ส่วนที่เป็นเนื้อหา และส่วนที่เป็นคำสั่งที่อยู่ในแท็ก (Tag) ซึ่งเมื่อมีการเปิดแท็กคำสั่ง <คำสั่ง> แล้วก็ต้องทำการปิด แท็กคำสั่ง ถ้ามีคำสั่งต่อเนื่องกันให้ปิดโดยเริ่มจากคำสั่งที่อยู่ด้านในก่อนแล้วค่อยขยาย ออกไปด้านนอก เพื่อผลลัพธ์ที่ถูกต้อง แสดงรูปแบบเอกสารได้ดังนี้ หัวข้อเรื่องที่ต้องการแสดง อธิบายความหมาย ดังนี้ เป็นคำสั่งเริ่มต้นและสิ้นสุดของเอกสาร 16 เป็นคำสั่งที่กำหนดข้อความบรรยายคุณลักษณะของเอกสาร เป็นคำสั่งที่เป็นส่วนแสดงชื่อของเอกสารจะแสดงผลที่ไตเติลบาร์ของ วินโดว์ เป็นส่วนเนื้อหาของโปรแกรมที่ต้องการแสดงผลบนบราวเซอร์ 2.4.3 เครื่องมือในการสร้างเว็บเพจ ในปัจจุบันมีเครื่องมือที่ช่วยให้การสร้างเว็บเพจสะดวกและใช้งานได้ง่ายขึ้นซึ่งเมื่อเทียบกับ แต่ก่อนที่ใช้ Notepad ต้องจำคำสั่งต่าง ๆ แต่ในปัจจุบันมีเครื่องมือที่ช่วยให้การสร้างเว็บเพจทำได้ง่ายขึ้น เช่น Microsoft Word Microsoft Frontpage EditPlus Macromedia Dreamweaver ถ้าต้องการเพิ่มกราฟฟิคเพื่อความสวยงามให้กับเว็บเพจก็สามารถเลือกใช้เครื่องมือ ต่าง ๆ เหล่านี้ได้เช่น Adobe Photoshop Flash Paint และอีกหลากหลายสามารถเลือกใช้ได้ ตามความถนัด 2.5 ฐานข้อมูลมายเอสคิวแอล 2.5.1 ความหมายมายเอสคิวแอล (MySQL) MySQL เป็นฐานข้อมูลในลักษณะ Database Sever ที่ทำงานได้บนระบบ Linux Redhat หรือ Unix System และบน Windows 95/98/Me เพื่อใช้กับอินเตอร์เน็ตและอินทราเน็ต ซึ่งก็หมายความว่าสามารถเรียก ใช้ฐานข้อมูล MySQL ได้ทั่วโลกเมื่อเป็นอินเตอร์เน็ต และภายในบริเวณเมื่อเป็นอินทราเน็ต (ไพศาล, 2538) 2.5.2 ข้อดี ก) เป็นซอฟต์แวร์เสรี (Free Software) สามารถนำมาใช้งานได้อย่างอิสระกับระบบ ปฏิบัติการ Linux ข) มีความคล่องตัว และมีประสิทธิภาพสูง ค) เหมาะสำหรับองค์กรขนาดกลาง 2.6 พีเอชพี 2.6.1 ความหมายพีเอชพี (PHP) PHP (Professional Home Page แต่ปัจจุบันคือ PHP Hypertext Preprocessor) เป็น ภาษา สคริปแบบหนึ่งที่เรียกว่า Server Side Script ที่ประมวลผลฝั่งเซิร์ฟเวอร์ แล้วส่งผลลัพธ์ ไปที่ฝั่งไคลเอนต์โดยผ่านเว็บบราวเซอร์ รูปแบบของภาษาพีเอชพีมีเค้าโครงมาจากภาษา C และ Perl ที่นำมาปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพสูง (ไพศาล, 2538) 2.6.2 ความเป็นมา 17 Rasmus Lerdorf โปรแกรมเมอร์ชาวสหรัฐอเมริกา เป็นผู้คิดค้น PHP ในปี 1994 โดย ได้ทำการพัฒนาเครื่องมือสำหรับการสร้างเว็บเพจข้อมูลส่วนตัวของเขา ซึ่งในตอนแรกใช้ภาษา Perl แต่ก็พบอุปสรรคเรื่องความเร็วจึงพัฒนาเครื่องมือขึ้นใหม่โดยใช้ไวยกรณ์ภาษาซีแล้วเรียกว่า Personal Home Page และได้พัฒนาส่วนที่ติดต่อกับฐานข้อมูลที่เรียกว่า Form Interpreter (FI) เมื่อนำเอาทั้งสองส่วนมารวมกันจึงเป็น PHP/FI นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นของ PHP เมื่อผู้ชมที่เข้าชมเว็บเพจของเขาต่างให้ความนิยมชมชอบจึงติดต่อขอโค้ดเพื่อนำไปพัฒนาต่อ ในลักษณะที่เรียกว่า Open Source และในปี 1997 จึงมีเว็บไซต์จำนวนมากที่ใช้ PHP/FI ใน งานด้านต่าง ๆ เช่น การติดต่อฐานข้อมูล การแสดงข้อมูลแบบไดนามิก (ไพศาล, 2538) 2.6.3 หลักการทำงาน เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ทางฝั่งผู้ใช้ได้ส่งความต้องการโดยผ่านทางเว็บบราวเซอร์ และข้อมูล เหล่านั้นเป็นเอกสาร PHP เมื่อมาถึงเครื่องคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ ฝั่งเซิร์ฟเวอร์จะส่งต่อไปให้ PHP เพื่อทำหน้าที่ประมวลผลตามคำสั่ง แล้วสร้างผลลัพธ์ในรูปแบบเอกสาร HTML จากนั้นส่ง กลับไปเซิร์ฟเวอร์เพื่อที่เซิร์ฟเวอร์จะส่งต่อไปให้บราวเซอร์แสดงผลทางฝั่งผู้ใช้ (ไพศาล, 2538) 2.6.4 ข้อดี ก) เป็นซอฟต์แวร์เสรี (Free Software) สามารถนำมาใช้งานได้อย่างอิสระ ข) ใช้ได้กับหลายระบบปฏิบัติการ เช่น Windows Unix Linux ค) ทำงานร่วมกับโปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์ได้หลากหลาย เช่น IIS PWS Apache ง) ติดต่อกับฐานข้อมูลได้หลากหลาย เช่น MySQL Access SQL Informix Oracle จ) สามารถแทรกคำสั่งในแท็กของ HTML ตำแหน่งใดก็ได้ 2.7 งานวิจัยตัวอย่างที่ศึกษา ขวัญชัย และ พงศ์วรวุฒิ (2544: 78-79) กล่าวไว้ภายหลังจากได้จัดทำโปรแกรมเพื่อช่วยใน การจัดเก็บข้อมูลการประกันคุณภาพการศึกษา ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าพระนครเหนือ โดยได้ทดลองป้อนข้อมูลลงในโปรแกรมช่วยจัดเก็บข้อมูลการประกัน คุณภาพการศึกษาในช่วงเวลาระหว่างวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2544 – 30 กันยายน พ.ศ. 2544 ผล ที่ได้จากการป้อนข้อมูลพบว่าโปรแกรมสามารถจัดเก็บข้อมูลได้ถูกต้องและสามารถแสดงรายงาน การประเมินตนเองทั้งส่วนสำคัญและส่วนสรุปได้แต่พบปัญหาคือการจัดรูปแบบ ข้อความในส่วน ของรายละเอียดส่วนสำคัญ และส่วนสรุป อันเนื่องมาจากข้อจำกัดของภาษาที่ใช้ในการเขียน โปรแกรม และนอกจากนั้นยังได้กล่าวถึงปัญหาที่พบอื่น ๆ อีก ดังนี้ 18 ก) ในการเขียนโปรแกรมมีบางคำสั่งที่เหมาะสมกว่า แต่ไม่ได้นำมาใช้เนื่องจากมีความยุ่งยากต่อการเขียน โปรแกรม ข) ในส่วนของการตัดข้อความในรายละเอียดส่วนสำคัญ และส่วนสรุป ยังมีปัญหา รวมทั้งการจัดรูปแบบ ของการแสดงผลของรายงานด้วย เนื่องจากมีข้อจำกัดของภาษาที่ใช้เขียนโปรแกรม ค) การจัดเรียงลำดับขององค์ประกอบหลักและองค์ประกอบย่อยในข้อมูลที่ป้อนลงในโปรแกรมนั้นยังไม่ สามารถที่จะเปลี่ยนตำแหน่งได้เนื่องจากข้อจำกัดในการออกแบบฐานข้อมูล ง) เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ Set ความละเอียดไว้ต่ำกว่า 800x600 pixels จะมีผลให้โปรแกรม แสดงตำแหน่งของหน้าต่างที่ใช้ในการรับค่าเปลี่ยนไปจากที่ได้ Set ตำแหน่งไว้ จ) การสร้างโปรแกรมโดยใช้โปรแกรม Visual Basic 6.0 นั้น เมื่อคอมไพล์แล้วไม่สามารถ นำไปใช้ในระบบปฏิบัติการที่ไม่ใช่ Windows 9x ลงมา เช่น Dos ดังนั้นจึงต้องการระบบปฏิบัติ การที่เป็น Windows 9x ขึ้นไป สรุป โปรแกรมช่วยจัดเก็บข้อมูลการประกันคุณภาพการศึกษาสามารถทำงานได้ดังนี้ คือ สามารถจัดเก็บข้อมูลรายงานการประเมินตนเองได้ สามารถค้นหาแก้ไขและปรับปรุงข้อมูลที่มีอยู่ แล้วได้ สามารถคำนวณผลการประเมินของแต่ละองค์ประกอบในรายงานได้ และสามารถจัดสร้าง รายงานการประเมินตนเองทั้งส่วนสำคัญ และส่วนสรุปได้ ในส่วนของปัญหาโปรแกรมช่วย จัดเก็บข้อมูลการประกันคุณภาพการศึกษา ยังมีปัญหาในส่วนของการจัดเรียงข้อความหรือการ ตัดคำในส่วนของรายละเอียด และการจัดเปลี่ยนตำแหน่งของข้อมูลในฐานข้อมูล เพื่อที่จะแก้ไข ในส่วนนี้จึงควรที่จะมีการจัดการเกี่ยวกับตัวอักษร และข้อความ รวมถึงการออกแบบฐานข้อมูล เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งานยิ่งขึ้น บทที่ 3 วิธีการดำเนินงานและออกแบบระบบ ขั้นตอนในการดำเนินงานพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาคณะเทคโนโลยี สารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนี้ ผู้วิจัยได้แบ่งขั้นตอนการดำเนิน งานไว้ 5 ขั้นตอน ดังนี้ 3.1 การศึกษาระบบงานเดิมและวางแผนระบบงานใหม่ 3.2 การวิเคราะห์ระบบ 3.3 การออกแบบระบบ 3.4 การพัฒนาระบบ 3.5 การทดสอบระบบ 3.1 การศึกษาระบบงานเดิมและวางแผนระบบงานใหม่ ในการทำการประกันคุณภาพการศึกษาของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบันจะเป็นการ เก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบทั้ง 9 องค์ประกอบ ซึ่งเป็นของทบวงมหาวิทยาลัย และได้มีเกณฑ์ประเมินเพื่อใช้ในการประเมินผลการดำเนินงานของแต่ละดัชนี ในปัจจุบันใช้เป็น เกณฑ์ 5 ระดับ คือ 1 2 3 4 5 เมื่อรวบรวมข้อมูลได้แล้วก็จะนำมาเขียนเป็นรายงานการประเมิน ตนเองในระดับคณะ และบันทึกข้อมูลไว้ใน Microsoft Word เป็นการเก็บข้อมูลรายงาน การประเมินตนเองของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ในการวางแผนระบบงานใหม่ผู้พัฒนาจึงได้คิดแนวทางที่จะทำให้สามารถเรียกดูข้อมูลได้ตลอดเวลาที่ ต้องการ และตรวจสอบหลักฐานได้โดยไม่ต้องค้นหาจากแฟ้มเอกสาร เพื่อให้ง่ายต่อการทำงานและสะดวกต่อ การค้นหา ดังนั้นจึงต้องมีการเก็บเป็นฐานข้อมูลของการทำประกัน คุณภาพการศึกษาขึ้นมา เมื่อต้องการดูราย งานก็สามารถเรียกดูได้จากหน้าจอคอมพิวเตอร์โดยผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้ และเพื่อให้ระบบฐานข้อมูลของ ประกันคุณภาพการศึกษานี้สอดคล้อง กับการทำงานของเจ้าหน้าที่ภายในคณะ ผู้พัฒนาจึงได้มีการสอบถาม ขั้นตอนการทำงานจาก เจ้าหน้าที่ของคณะโดยตรง รวมทั้งได้เรียนปรึกษากับอาจารย์ที่ทำเกี่ยวกับประกันคุณ ภาพ การศึกษาคือท่านอาจารย์เปรมพร เขมาวุฆฒ์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และได้เรียนปรึกษา 20 กับท่าน ศ.ดร.อุทุมพร จามรมาน ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาวิจัยการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ซึ่งทั้ง 2 ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการทำประกันคุณภาพการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ซึ่งท่านก็ให้ คำแนะนำเป็นอย่างดี และนอกจากนั้นยังได้มีการสอบถามไปยังสำนักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือเรียกโดยย่อว่า สมศ. ถึงเรื่องรูปแบบของการทำงานรายงานการประเมินตนเองว่ามีรูป แบบเป็นอย่างไร ก็ทำให้ทราบว่าในการเขียนรายงานการประเมินตนเองนั้นไม่มีรูปแบบที่แน่นอนตายตัว จะ ออกแบบอย่างไรก็ได้ แต่ให้มีหัวข้อ/เนื้อหาที่ครบถ้วนเท่านั้น ซึ่งได้นำเสนอหัวข้อของรายงานการประเมินตน เองไว้ในภาคผนวก ก และแหล่งข้อมูลที่สำคัญอีกแห่งคือที่ศูนย์ประกันคุณภาพการศึกษา สถาบันเทคโนโลยีพระ จอมเกล้าพระนครเหนือ จากหัวข้อของรายงานการประเมินตนเอง นำมาเขียนเป็นรูปแบบของรายงานการประเมินตนเองในแบบ ต่าง ๆ ได้ดังนี้ 1. รายละเอียดรายงานการประเมินตนเองตามองค์ประกอบในส่วนสำคัญ จะประกอบด้วย หัวข้อต่อไปนี้ องค์ประกอบ/มาตรฐาน ตัวบ่งชี้/ดัชนี เกณฑ์ประเมิน ผลดำเนินงาน+ชื่อหลักฐาน ผลประเมินตามเกณฑ์ จุดอ่อน/จุดแข็ง และแนวทางการดำเนินงาน ส่วนสำคัญ ช่วงเดือน................................................................ องค์ประกอบที่.............................................................................. ดัชนีและเกณฑ์ประเมินที่............................................................. เกณฑ์ ประเมิน........................................................................................................................... ผลการดำเนิน งาน...................................................................................................................... ผล ประเมิน............................................................................................................................... หลักฐานอ้าง อิง......................................................................................................................... จุดอ่อน/จุด แข็ง......................................................................................................................... 21 ภาพที่ 3-1 แสดงแบบฟอร์มการป้อนข้อมูลในส่วนสำคัญ เมื่อป้อนข้อมูลในส่วนสำคัญแล้วก็จะมีการแสดงผลของรายงานการประเมินตนเองในส่วน สำคัญ ดังตารางที่ 3-1 ส่วนสำคัญ ช่วงเดือน................................................................ ตารางที่ 3-1 แสดงรูปแบบรายงานในส่วนสำคัญ องค์ประกอบ ผลการดำเนินงาน +(หลักฐานอ้างอิง) ผลประเมิน จุดอ่อน/จุดแข็ง แนวทางการดำเนินงาน องค์ประกอบที่..... ดัชนีและเกณฑ์ประเมินที่..... (1)...................... (2) ...................... (3) ...................... (4) ...................... (5) ...................... 2. รายละเอียดรายงานการประเมินตนเองในส่วนสรุป จะประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้ คือ ผลประเมินตามกลุ่มองค์ประกอบ จุดอ่อน/จุดแข็ง แนวทางการดำเนินงาน ส่วนสรุป ช่วงเดือน................................................................ องค์ประกอบที่.............................................................................. ผลประเมิน......................................................................... จุดอ่อน/จุดแข็งและแนวทางการดำเนิน งาน.............................................................................. 22 ............................................................................................................................................. ............................................................................................................................................. .............................. ............................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................................ ภาพที่ 3-2 แสดงแบบฟอร์มการป้อนข้อมูลในส่วนสรุป จากการป้อนข้อมูลส่วนสรุป นำมาแสดงรายงานการประเมินตนเองในส่วนสรุปได้ 2 แบบ คือ แบบรายงานส่วนสรุปที่แสดงจุดอ่อน/จุดแข็ง ดูตารางที่ 3-2 และแบบรายงานส่วนสรุปที่แสดง ผลประเมินแต่ละองค์ประกอบ ดูตารางที่ 3-3 ส่วนสรุป ช่วงเดือน................................................................ ตารางที่ 3-2 แสดงรูปแบบรายงานส่วนสรุปที่แสดงจุดอ่อน/จุดแข็ง องค์ประกอบ ผลประเมิน (เฉลี่ย) จุดอ่อน/จุดแข็ง แนวทางการดำเนินงาน องค์ประกอบที่ 1…….. องค์ประกอบที่ 2…….. องค์ประกอบที่ 3…….. องค์ประกอบที่ 4…….. องค์ประกอบที่ 5…….. องค์ประกอบที่ 6…….. องค์ประกอบที่ 7…….. องค์ประกอบที่ 8…….. องค์ประกอบที่ 9…….. …………… ............................................... ... เฉลี่ย คะแนนรวมของผลประเมินตนเองทุกองค์ระกอบ จำนวนองค์ประกอบทั้งหมด 23 จากตารางที่ 3-2 จะแสดงรูปแบบรายงานส่วนสรุปแบบที่ 1 ที่แสดงจุดอ่อน/จุดแข็ง ในส่วน นี้จะประกอบด้วย องค์ประกอบที่ปรากฏอยู่ในช่องที่ 1 ช่องถัดไปเป็นผลประเมินซึ่งจะเป็นผลประเมินที่เฉลี่ยแล้ว ของแต่ละองค์ประกอบ และสุดท้ายคือจุดอ่อน/จุดแข็งแนวทางการดำเนินงานที่สรุปแล้วในแต่ละองค์ประกอบ หลัก และในการหาผลสรุปค่าเฉลี่ยของทุกองค์ประกอบจะหา ผลลัพธ์ได้จาก คะแนนรวมของผลการประเมิน ตนเองที่เฉลี่ยแล้วทุกองค์ประกอบหารด้วยจำนวนองค์ประกอบทั้งหมด ส่วนสรุป ช่วงเดือน................................................................ ตารางที่ 3-3 แสดงรูปแบบรายงานส่วนสรุปที่แสดงผลประเมินแต่ละองค์ประกอบ องค์ประกอบ ผลประเมิน องค์ประกอบที่ I…………………………….. ดัชนีและเกณฑ์ประเมินที่ i.1…….. (1)……………….. (2)……………….. (3)……………….. (4)……………….. (5)……………….. ดัชนีและเกณฑ์ประเมินที่ i.2…….. (1)……………….. (2)……………….. (3)……………….. (4)……………….. (5)……………….. คะแนนรวมดัชนีย่อยขององค์ประกอบที่ I จำนวนดัชนีทั้งหมดขององค์ประกอบที่ I สรุปผลการประเมินตนเอง องค์ประกอบที่ I คะแนนรวมดัชนีย่อยขององค์ประกอบที่ I จำนวนดัชนีทั้งหมดขององค์ประกอบที่ I สรุปผลการประเมินตนเองทุกองค์ประกอบ คะแนนรวมของผลประเมินตนเองทุกองค์ประกอบ จำนวนองค์ประกอบทั้งหมด 24 จากตารางที่ 3-3 แสดงรูปแบบรายงานส่วนสรุป แบบที่ 2 ที่แสดงผลประเมินในแต่ละ องค์ประกอบ ในรายงานนี้จะประกอบด้วยข้อมูลองค์ประกอบที่ปรากฏในช่องแรก มีข้อมูลคือใน แต่ละองค์ประกอบจะมีดัชนีย่อยและในแต่ละดัชนีจะมีเกณฑ์ประเมินปรากฏอยู่ตามคะแนนที่ได้ จากช่องผลประเมิน ในช่องสุดท้ายที่สรุปผลรวมการประเมินตนเองทุกองค์ประกอบ หาได้จาก คะแนนรวมของผลประเมินตนเองทุกองค์ประกอบหารด้วยจำนวนองค์ประกอบทั้งหมด 3.2 การวิเคราะห์ระบบ จากขั้นตอนการศึกษาระบบงานเดิมทำให้ทราบว่านอกจากจะมีข้อมูลที่เพิ่มขึ้นแล้วเอกสารก็เพิ่มมากขึ้น อีกเช่นกัน ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีแนวคิดที่จะจัดเก็บเป็นฐานข้อมูลของรายงานการประเมินตนเองให้กับคณะโดยให้ สามารถบันทึกข้อมูล แก้ไขข้อมูล ลบข้อมูล และเรียกดูรายงานในส่วนต่าง ๆ ได้โดยผ่านทางอินเตอร์เน็ต 3.2.1 แผนภาพกระแสข้อมูล (Data Flow Diagram : DFD) ในการที่จะอธิบายภาพรวมการทำงานของระบบทั้งหมด แผนภาพกระแสข้อมูล หรือ DFD เป็นเครื่องมือที่สามารถช่วยอธิบายให้เข้าใจระบบได้ดียิ่งขึ้น ภาพที่ 3-3 แสดง Context Diagram ของระบบประกันคุณภาพการศึกษา จากภาพที่ 3-3 แสดง Context Diagram ที่เป็นการไหลของข้อมูลในระดับสูงสุด สามารถ อธิบายขอบเขตการทำงานในระบบทั้งหมดได้ว่ามีบุคคลที่เกี่ยวข้องกับระบบอยู่ 3 กลุ่มด้วยกันคือ ระบบประกัน คุณภาพการศึกษา ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เจ้าหน้าที่ ผู้ใช้ทั่วไป ผู้ดูแลระบบ ข้อมูลผู้ดูแลระบบ/เจ้าหน้าที่ ข้อมูลดำเนินงานส่วนสำคัญ รายงานการประเมิน ตนเองส่วนสำคัญ ข้อมูลรหัสผ่าน รายงานการประเมิน ตนเองส่วนสรุป รายงานการประเมินตนเองส่วนสำคัญ รายงานการประเมินตนเองส่วนสรุป ข้อมูลดำเนินงานส่วนสรุป แจ้งผลการเข้าระบบ ข้อมูลองค์ประกอบ/ดัชนี 25 1. ผู้ดูแลระบบ คือผู้ที่ทำการบันทึกข้อมูลของเจ้าหน้าที่ที่จะทำงานกับระบบ สามารถ ทำงานและจัดการกับข้อมูลของระบบได้ทั้งหมด 2. เจ้าหน้าที่ คือเจ้าหน้าที่ที่จะเข้าทำงานกับระบบโดยต้องผ่านขั้นตอนการลงทะเบียนจาก ผู้ดูแลระบบแล้ว สามารถเพิ่ม แก้ไข ลบ ข้อมูลได้ทั้งหมดยกเว้นข้อมูลของเจ้าหน้าที่ 3. ผู้ใช้ทั่วไป คือบุคคลที่ไม่ต้องทำการลงทะเบียนกับระบบก็สามารถเข้าดูรายงานได้ 26 ภาพที่ 3-4 แสดง Data Flow Diagram ระดับ 1 จากภาพที่ 3-4 แสดง Data Flow Diagram ระดับ 1 เป็นการอธิบายถึงขั้นตอนการทำงาน หลัก ๆ ของระบบว่ามีข้อมูลใดบ้างที่เข้าสู่ระบบและออกจากระบบ 1 ลงทะเบียน ผู้ดูแลระบบ/เจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่ รายงานการประเมินตนเองส่วนสำคัญ รายงานการประเมินตนเองส่วนสรุป ข้อมูลดำเนินงานส่วนสรุป ผู้ดูแลระบบ 4 จัดการข้อมูล ส่วนสำคัญ D3 ข้อมูลช่วงเดือน D2 ข้อมูลองค์ประกอบ/ดัชนี D4 ข้อมูลการประเมินตนเอง ข้อมูลช่วงเดือน ข้อมูลองค์ประกอบ/ดัชนี ข้อมูลการประเมินตนเอง 6 จัดการรายงาน การประเมินตนเอง ส่วนสำคัญ 5 จัดการข้อมูล ส่วนสรุป D3 ข้อมูลช่วงเดือน D2 ข้อมูลองค์ประกอบ/ดัชนี D6 ข้อมูลส่วนสรุป ข้อมูลช่วงเดือน ข้อมูลองค์ประกอบ/ดัชนี ข้อมูลสรุป 7 จัดการรายงาน การประเมินตนเอง ส่วนสรุป ผู้ใช้ทั่วไป ผู้ใช้ทั่วไป ผู้ดูแลระบบ/เจ้าหน้าที่ D1 ข้อมูลผู้ดูแลระบบ/เจ้าหน้าที่ 2 ตรวจสอบ การเข้าระบบ เจ้าหน้าที่และรหัสผ่าน ข้อมูลรหัสผ่าน ข้อมูลองค์ประกอบ/ดัชนี แจ้งผลการเข้าระบบ ข้อมูลดำเนินงานส่วนสำคัญ 3 จัดการข้อมูล องค์ประกอบ/ดัชนี D2 ข้อมูลองค์ประกอบ/ดัชนี ข้อมูลองค์ประกอบ/ดัชนี D5 ข้อมูลเอกสารอ้างอิง ข้อมูลเอกสารอ้างอิง ข้อมูลองค์ประกอบ/ดัชนี 27 ภาพที่ 3-5 แสดง Data Flow Diagram ระดับ 2 (1 ข้อมูลผู้ดูแลระบบ/เจ้าหน้าที่) จากภาพที่ 3-5 เป็นการป้อนข้อมูลของผู้ดูแลระบบและเจ้าหน้าที่ โดยที่ผู้ดูแลระบบจะเป็นผู้ ที่เพิ่มข้อมูลเข้าสู่ระบบ เมื่อเป็นสมาชิกในระบบแล้วก็สามารถเข้าสู่ระบบได้โดยการ login จากนั้น ระบบจะทำการตรวจสอบความถูกต้อง และเมื่อต้องการเพิ่ม แก้ไข หรือลบข้อมูลผู้ดูแลระบบและ เจ้าหน้าที่ ระบบก็จะทำการค้นหาจากแฟ้มข้อมูล เมื่อดำเนินการเรียบร้อยแล้วก็จะบันทึกลงใน แฟ้มดังกล่าว 1.1 เพิ่มและบันทึกข้อมูล ข้อมูลผู้ดูแลระบบ/เจ้าหน้าที่ D1 1.2 ตรวจสอบและ ค้นหาข้อมูล 1.3 แก้ไขข้อมูล ข้อมูลที่ต้องการแก้ไข 1.4 ลบข้อมูล ข้อมูลที่ต้องการลบ ข้อมูลผู้ดูแลระบบ/เจ้าหน้าที่ ข้อมูลผู้ดูแลระบบ/เจ้าหน้าที่ ข้อมูลผู้ดูแลระบบ/เจ้าหน้าที่ D1 ข้อมูลผู้ดูแลระบบ/เจ้าหน้าที่ ข้อมูลผู้ดูแลระบบ/เจ้าหน้าที่ที่ถูกแก้ไข D1 ข้อมูลผู้ดูแลระบบ/เจ้าหน้าที่ ข้อมูลผู้ดูแลระบบ/เจ้าหน้าที่ ข้อมูลผู้ดูแลระบบ/เจ้าหน้าที่ ข้อมูลผู้ดูแลระบบ/เจ้าหน้าที่ที่ถูกลบ D1 ข้อมูลผู้ดูแลระบบ/เจ้าหน้าที่ 28 ภาพที่ 3-6 แสดง Data Flow Diagram ระดับ 2 (3 ข้อมูลองค์ประกอบ/ดัชนี) จากภาพที่ 3-6 เป็นการป้อนข้อมูลเบื้องต้นซึ่งได้แก่ ข้อมูลองค์ประกอบและดัชนีบ่งชี้ใน แต่ละองค์ประกอบให้กับระบบ โดยที่เจ้าหน้าที่จะเป็นผู้ที่เพิ่มข้อมูลเข้าสู่ระบบ และเมื่อต้องการ เพิ่ม แก้ไข หรือลบข้อมูล ระบบก็จะทำการค้นหาจากแฟ้มข้อมูล เมื่อดำเนินการเรียบร้อยแล้วก็ จะบันทึกลงในแฟ้มดังกล่าว 3.1 เพิ่มและบันทึกข้อมูล ข้อมูลองค์ประกอบ/ดัชนี D2 3.2 ตรวจสอบและ ค้นหาข้อมูล 3.3 แก้ไขข้อมูล ข้อมูลที่ต้องการแก้ไข 3.4 ลบข้อมูล ข้อมูลที่ต้องการลบ ข้อมูลองค์ประกอบ/ดัชนี ข้อมูลองค์ประกอบ/ดัชนี D2 D2 D2 ข้อมูลองค์ประกอบ/ดัชนี ข้อมูลองค์ประกอบ/ดัชนี ข้อมูลองค์ประกอบ/ดัชนี ข้อมูลองค์ประกอบ/ดัชนี ข้อมูลองค์ประกอบ/ดัชนี ข้อมูลองค์ประกอบ/ดัชนี ข้อมูลองค์ประกอบ/ดัชนี ข้อมูลองค์ประกอบ/ดัชนี 29 ภาพที่ 3-7 แสดง Data Flow Diagram ระดับ 2 (4 จัดการข้อมูลส่วนสำคัญ) จากภาพที่ 3-7 จะแสดงการดำเนินการกับข้อมูลในส่วนสำคัญคือการสร้างช่วงเวลาของการ รายงานใหม่ จากนั้นก็ป้อนข้อมูลรายละเอียดผลการประเมินตนเองของแต่ละองค์ประกอบและ ดัชนีแล้วเลือกเอกสารอ้างอิงให้ตรงกับผลการดำเนินงานนั้น ๆ เมื่อดำเนินการเรียบร้อยแล้วเลือก บันทึกข้อมูลระบบก็ทำการจัดเก็บลงในแฟ้มข้อมูล 4.1 จัดการข้อมูล องค์ประกอบ/ดัชนี D2 ข้อมูลองค์ประกอบ/ดัชนี 4.2 จัดการข้อมูล ช่วงเดือน D3 ข้อมูลช่วงเดือน ข้อมูลดำเนินงานส่วนสำคัญ ข้อมูลช่วงเดือน ข้อมูลช่วงเดือน ข้อมูลช่วงเดือน 4.3 จัดการข้อมูล การประเมินตนเอง D4 ข้อมูลการประเมินตนเอง ข้อมูลการประเมินตนเอง ข้อมูลการประเมินตนเอง ข้อมูลการประเมินตนเอง ข้อมูลองค์ประกอบ/ดัชนี 4.4 จัดการข้อมูล เอกสารอ้างอิง D5 ข้อมูลเอกสารอ้างอิง ข้อมูลเอกสารอ้างอิง ข้อมูลเอกสารอ้างอิง ข้อมูลเอกสารอ้างอิง 30 ภาพที่ 3-8 แสดง Data Flow Diagram ระดับ 2 (5 จัดการข้อมูลส่วนสรุป) จากภาพที่ 3-8 แสดงการจัดการข้อมูลส่วนสรุปคือระบบจะทำการดึงเอาแฟ้มองค์ประกอบที่ มีอยู่ในแฟ้มข้อมูลขึ้นมา จากนั้นเมื่อทำการเลือกช่วงเดือนที่ต้องการได้แล้วก็ทำการป้อนข้อมูลใน ส่วนสรุปโดยเลือกดูจากแฟ้มองค์ประกอบว่าต้องการที่จะเพิ่มข้อมูลส่วนสรุปในองค์ประกอบที่ เท่าไร และในการแสดงคะแนนผลประเมินที่เป็นค่าเฉลี่ยของแต่ละองค์ประกอบ ระบบจะทำการ คำนวณให้โดยอัตโนมัติเมื่อมีข้อมูลผลการดำเนินงานของดัชนีนั้น ๆ จากนั้นเลือกบันทึกข้อมูล ระบบจะทำการจัดเก็บลงในแฟ้มข้อมูล 5.1 จัดการข้อมูล พื้นฐาน ข้อมูลองค์ประกอบ D2 ข้อมูลองค์ประกอบ 5.2 จัดการข้อมูล ช่วงเดือน D3 ข้อมูลช่วงเดือน ข้อมูลดำเนินงานส่วนสรุป ข้อมูลช่วงเดือน ข้อมูลช่วงเดือน ข้อมูลช่วงเดือน 5.3 จัดการข้อมูลส่วนสรุป D6 ข้อมูลส่วนสรุป ข้อมูลส่วนสรุป ข้อมูลส่วนสรุป ข้อมูลส่วนสรุป 31 ภาพที่ 3-9 แสดง Data Flow Diagram ระดับ 2 (6 จัดการรายงานการประเมินตนเองส่วนสำคัญ) จากภาพที่ 3-9 เป็นการรายงานการประเมินตนเองส่วนสำคัญ เมื่อต้องการดูรายงานระบบจะ ทำการค้นหาจากช่วงเดือนที่ต้องการดู จากนั้นก็จะแสดงรายงานการประเมินตนเองในส่วนสำคัญ ภาพที่ 3-10 แสดง Data Flow Diagram ระดับ 2 (7 จัดการรายงานการประเมินตนเองส่วนสรุป) 6.1 ค้นหาข้อมูล ข้อมูลช่วงเดือน ข้อมูลองค์ประกอบ/ดัชนี ข้อมูลเอกสารอ้างอิง ข้อมูลการประเมินตนเอง ข้อมูลช่วงเดือน ข้อมูลองค์ประกอบ/ดัชนี ข้อมูลเอกสารอ้างอิง ข้อมูลการประเมินตนเอง 6.2 รายงานข้อมูล รายงานการประเมินตนเองส่วนสำคัญ D2 ข้อมูลองค์ประกอบ/ดัชนี D5 ข้อมูลเอกสารอ้างอิง D3 ข้อมูลช่วงเดือน D4 ข้อมูลการประเมินตนเอง 7.1 ค้นหาข้อมูล ข้อมูลช่วงเดือน ข้อมูลองค์ประกอบ/ดัชนี ข้อมูลส่วนสรุป ข้อมูลช่วงเดือน ข้อมูลองค์ประกอบ/ดัชนี ข้อมูลส่วนสรุป 7.2 รายงานข้อมูล รายงานการประเมินตนเองส่วนสรุป D2 ข้อมูลองค์ประกอบ/ดัชนี D3 ข้อมูลช่วงเดือน D6 ข้อมูลส่วนสรุป 32 จากภาพที่ 3-10 แสดงการค้นหาข้อมูลในส่วนสรุปโดยระบุช่วงเดือนที่ต้องการดูรายงาน จากนั้นระบบจะทำการค้นหา และแสดงรายงานการประเมินตนเองในส่วนสรุป ภาพที่ 3-11 แสดง Data Flow Diagram ระดับ 3 (4.2 จัดการข้อมูลช่วงเดือน) จากภาพที่ 3-11 เป็นการจัดการข้อมูลของช่วงเดือน เมื่อต้องการสร้างแฟ้มใหม่ทำได้โดย ระบุวันเดือนปีเริ่มต้น ถึง วันเดือนปีสิ้นสุด หรือถ้าต้องการแก้ไขหรือลบช่วงเดือนระบบก็จะทำการ ค้นหาจากแฟ้มเดิมที่มีอยู่แล้ว เมื่อดำเนินการเสร็จแล้วก็จะจัดเก็บลงแฟ้มตามเดิม 4.2.1 เพิ่มและบันทึก ข้อมูลช่วงเดือน D3 ข้อมูลช่วงเดือน ข้อมูลช่วงเดือน ข้อมูลช่วงเดือน 4.2.2 ค้นหา ข้อมูลช่วงเดือน 4.2.3 แก้ไข ข้อมูลช่วงเดือน 4.2.4 ลบ ข้อมูลช่วงเดือน ข้อมูลช่วงเดือน ข้อมูลช่วงเดือนที่ต้องการแก้ไข ข้อมูลช่วงเดือน ข้อมูลช่วงเดือนที่ต้องการลบ ข้อมูลช่วงเดือนที่ถูกลบ ข้อมูลช่วงเดือนที่ถูกแก้ไข ข้อมูลช่วงเดือนที่ถูกค้นพบ 33 ภาพที่ 3-12 แสดง Data Flow Diagram ระดับ 3 (4.3 จัดการข้อมูลการประเมินตนเอง) จากภาพที่ 3-12 เป็นการจัดการข้อมูลการประเมินตนเอง มีข้อมูลที่เกี่ยวข้องคือองค์ประกอบ 4.3.1 เพิ่มและบันทึกข้อมูล การประเมินตนเอง D4 ข้อมูลการประเมินตนเอง ข้อมูลการประเมินตนเอง ข้อมูลการประเมินตนเอง 4.3.2 ค้นหาข้อมูล การประเมินตนเอง 4.3.3 แก้ไขข้อมูล การประเมินตนเอง 4.3.4 ลบข้อมูล การประเมินตนเอง ข้อมูลการประเมินตนเอง ข้อมูลการประเมินตนเองที่ต้องการแก้ไข ข้อมูลการประเมินตนเองที่ถูกลบ ข้อมูลการประเมินตนเองที่ถูกแก้ไข ข้อมูลการประเมินตนเองที่ค้นพบ ข้อมูลการประเมินตนเอง ข้อมูลการประเมินตนเองที่ต้องการแก้ไข 34 ดัชนี เกณฑ์ประเมิน ผลการดำเนินงาน ผลประเมิน จุดอ่อน/จุดแข็ง และเอกสารอ้างอิงสำหรับ ผลการดำเนินงานนั้น ๆ หรือถ้าต้องการแก้ไขหรือลบข้อมูลระบบก็จะทำการค้นหาจากแฟ้มเดิมที่มี อยู่แล้ว เมื่อดำเนินการเสร็จแล้วก็จะจัดเก็บลงแฟ้มตามเดิม ภาพที่ 3-13 แสดง Data Flow Diagram ระดับ 3 (4.4 จัดการข้อมูลเอกสารอ้างอิง) 4.4.1 เพิ่มและบันทึกข้อมูล เอกสารอ้างอิง D5 ข้อมูลเอกสารอ้างอิง ข้อมูลเอกสารอ้างอิง ข้อมูลเอกสารอ้างอิง 4.4.2 ค้นหาข้อมูล เอกสารอ้างอิง 4.4.3 แก้ไขข้อมูล เอกสารอ้างอิง 4.4.4 ลบข้อมูล เอกสารอ้างอิง ข้อมูลเอกสารอ้างอิง ข้อมูลเอกสารอ้างอิงที่ต้องการแก้ไข ข้อมูลเอกสารอ้างอิงที่ถูกลบ ข้อมูลเอกสารอ้างอิงที่ถูกแก้ไข ข้อมูลเอกสารอ้างอิงที่ค้นพบ ข้อมูลเอกสารอ้างอิง ข้อมูลเอกสารอ้างอิงที่ต้องการแก้ไข 35 จากภาพที่ 3-13 เป็นการจัดการข้อมูลเกี่ยวกับเอกสารอ้างอิงที่ใช้ประกอบหลักฐานของผล การดำเนินงานในแต่ละดัชนี ซึ่งระบบสามารถทำการค้นหาเพื่อที่จะแก้ไขหรือลบเอกสารได้ เมื่อ ดำเนินการเสร็จแล้วก็จะจัดเก็บลงแฟ้มตามเดิม ภาพที่ 3-14 แสดง Data Flow Diagram ระดับ 3 (5.3 จัดการข้อมูลส่วนสรุป) จากภาพที่ 3-14 เป็นการทำงานส่วนของข้อมูลสรุป กล่าวคือเมื่อมีการเพิ่มข้อมูลใหม่ในส่วนสรุป ระบบ จะเก็บเข้าแฟ้มข้อมูล จากนั้นเมื่อต้องการแก้ไข/ลบข้อมูล ระบบก็จะดึงจากแฟ้มข้อมูลสรุป และเมื่อดำเนินการ เรียบร้อยแล้วข้อมูลก็จะถูกเก็บไว้ในแฟ้มดังเดิม 3.3 การออกแบบระบบ 5.3.1 เพิ่มและบันทึก ข้อมูลส่วนสรุป D6 ข้อมูลส่วนสรุป ข้อมูลส่วนสรุป ข้อมูลส่วนสรุป 5.3.2 ค้นหาข้อมูลส่วนสรุป 5.3.3 แก้ไขข้อมูลส่วนสรุป ข้อมูลส่วนสรุป ข้อมูลส่วนสรุปที่ถูกแก้ไข ข้อมูลส่วนสรุปที่ถูกค้นพบ ข้อมูลส่วนสรุปที่ต้องการแก้ไข 36 จากการวิเคราะห์ระบบโดยใช้ Data Flow Diagram ทำให้ทราบว่ามีข้อมูลอะไรบ้างที่เข้า และออกจากระบบรวมถึงทราบว่าระบบทำอะไรบ้าง ขั้นต่อไปจะเป็นการเขียนแผนผังโครงสร้าง ลำดับการทำงานของระบบ สามารถแบ่งการทำงานออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ 3.3.1 เจ้าหน้าที่ จะทำการบันทึกข้อมูลเข้าสู่ระบบ รวมทั้งการค้นหาเพื่อแก้ไขหรือลบข้อมูล ที่ไม่ต้องการแล้ว ซึ่งมีโมดูลต่าง ๆ คือ โมดูลค้นหารายงานส่วนสำคัญ โมดูลค้นหารายงานส่วน สรุป โมดูลเข้าสู่ระบบ โมดูลจัดการข้อมูลองค์ประกอบ/ดัชนี/เอกสารอ้างอิง โมดูลจัดการ ข้อมูล ส่วนสำคัญ โมดูลจัดการข้อมูลส่วนสรุป ซึ่งบางโมดูลก็มีโมดูลย่อยอีก ดังภาพที่ 3-15 3.3.2 ผู้ดูแลระบบ จะจัดการเกี่ยวกับการลงทะเบียนให้กับเจ้าหน้าที่ที่จะใช้งานในระบบโดยมี โมดูลจัดการข้อมูลผู้ดูแลระบบและเจ้าหน้าที่ และมีโมดูลย่อยอีก ดังภาพที่ 3-16 37 เจ้าหน้าที่ ค้นหารายงานส่วนสำคัญ Module 1.0 เข้าสู่ระบบ Module 3.0 จัดการข้อมูล องค์ประกอบ/ดัชนี/เอกสารอ้างอิง Module 4.0 ค้นหารายงานส่วนสรุป Module 2.0 ข้อมูลเข้าสู่ระบบ ข้อมูลที่ต้องการค้นหา ข้อมูลที่ต้องการค้นหา ข้อมูลจากการค้นหา ข้อมูลองค์ประกอบ/ดัชนี/เอกสารอ้างอิง ข้อมูลจากการค้นหา ภาพที่ 3-15 แสดงแผนผังโครงสร้างลำดับการทำงานของเจ้าหน้าที่ จัดการข้อมูลส่วนสรุป Module 6.0 ข้อมูลส่วนสรุป จัดการข้อมูลส่วนสำคัญ Module 5.0 ข้อมูลส่วนสำคัญ แสดงข้อมูล อปก./ด./อ. Module 4.1 เพิ่มข้อมูล Module 4.2 แก้ไข/ลบข้อมูล Module 4.3 ข้อมูลองค์ประกอบ/ ดัชนี/เอกสารอ้างอิง ข้อมูลองค์ประกอบ/ ดัชนี/เอกสารอ้างอิง ข้อมูลองค์ประกอบ/ ดัชนี/เอกสารอ้างอิงแก้ไข แสดงข้อมูล ส่วนสรุป Module 6.1 เพิ่มข้อมูล Module 6.2 ปรับปรุงข้อมูล Module 6.3 ข้อมูลส่วนสรุป ข้อมูลส่วนสรุป ข้อมูลส่วนสรุป อปก./ด./อ. อปก./ด./อ. ส่วนสรุป ส่วนสรุป แสดงข้อมูล ส่วนสำคัญ Module 5.1 เพิ่มข้อมูล Module 5.2 แก้ไข/ลบข้อมูล Module 5.3 ข้อมูลส่วนสำคัญ ข้อมูลส่วนสำคัญ ข้อมูลส่วนสำคัญ ส่วนสำคัญ ส่วนสำคัญ 38 ผู้ดูแลระบบ จัดการข้อมูลผู้ดูแลระบบ Module 7.0 จัดการข้อมูลเจ้าหน้าที่ Module 8.0 ข้อมูลผู้ดูแลระบบ ข้อมูลเจ้าหน้าที่ ภาพที่ 3-16 แสดงแผนผังโครงสร้างลำดับการทำงานของผู้ดูแลระบบ แสดงข้อมูล ผู้ดูแลระบบ Module 7.1 เพิ่ม Module 7.2 แก้ไข/ลบข้อมูล Module 7.3 ข้อมูลผู้ดูแลระบบ ข้อมูลผู้ดูแลระบบ ข้อมูลผู้ดูแลระบบแก้ไข ผู้ดูแลระบบ ผู้ดูแลระบบ แสดงข้อมูล เจ้าหน้าที่ Module 8.1 เพิ่ม Module 8.2 แก้ไข/ลบข้อมูล Module 8.3 ข้อมูลเจ้าหน้าที่ ข้อมูลเจ้าหน้าที่ ข้อมูลเจ้าหน้าที่แก้ไข เจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่ 39 ในส่วนของการออกแบบฐานข้อมูล ผู้วิจัยได้นำเอา E-R Diagram (Normalization รวม 3 ระดับ) ในภาพที่ 3-17 เข้ามาช่วยเพื่อที่จะทราบได้ว่ามีเอนติตี้ใดบ้าง แต่ละเอนติตี้ประกอบด้วย แอททริบิวท์อะไรบ้าง และแต่ละเอนติตี้มีความสัมพันธ์กันแบบใด แล้วยังนำมาแปลงเป็นตาราง ข้อมูล (Table) ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ภาพที่ 3-17 แสดง E-R Diagram factor_index month_index summary detail document sum_assess belong belong have have have sum_id month_id index_id sum_weak index_id index_level level_name month_id month_start month_end detail_id performance assessment detail_key weak_point month_id index_id index_level id name_doc name_path admin admin_id admin_login admin_password admin_title admin_fname admin_lname admin_position admin_email admin_address admin_phone admin_datein admin_level 1 N 1 1 1 1 1 1 N N 40 จากภาพที่ 3-17 แสดง E-R Diagram สามารถอธิบายรายละเอียดของความสัมพันธ์ได้ดังนี้ Entity : detail document Relationship : have Cardinality : one to many คำอธิบาย : รายละเอียดการประเมินในส่วนสำคัญหนึ่งรายงานมีได้หลายเอกสารอ้างอิง Entity : detail month_index Relationship : belong Cardinality : one to one คำอธิบาย : หนึ่งรายละเอียดการประเมินในส่วนสำคัญมีได้เพียงหนึ่งช่วงเวลา Entity : detail factor_index Relationship : have Cardinality : one to many คำอธิบาย : หนึ่งรายละเอียดการประเมินในส่วนสำคัญมีได้หลายองค์ประกอบ Entity : summary month_index Relationship : belong Cardinality : one to one คำอธิบาย : หนึ่งรายงานข้อมูลส่วนสรุปมีได้เพียงหนึ่งช่วงเวลา Entity : summary factor_index Relationship : have Cardinality : one to many คำอธิบาย : หนึ่งรายงานข้อมูลส่วนสรุปมีได้หลายองค์ประกอบ 41 จากภาพที่ 3-17 ที่แสดง E-R Diagram สามารถนำมาเขียนเป็นตารางข้อมูลได้ดังนี้ ตารางที่ 3-4 แสดงลักษณะของ Attribute ของตารางผู้ดูแลระบบ (Admin) ลำดับ ชื่อฟิลด์ ประเภทข้อมูล ขนาดข้อมูล ความหมาย 1 admin_id (PK) INT 2 รหัสผู้ดูแลระบบ 2 admin_login VARCHAR 10 ชื่อเข้าระบบ 3 admin_password VARCHAR 10 รหัสผ่าน 4 admin_title CHAR 1 คำนำหน้าชื่อ 5 admin_fname VARCHAR 30 ชื่อ 6 admin_lname VARCHAR 30 นามสกุล 7 admin_position VARCHAR 100 ตำแหน่ง 8 admin_email VARCHAR 35 อีเมล์ 9 admin_address VARCHAR 100 ที่อยู่ 10 admin_phone VARCHAR 20 โทรศัพท์ 11 admin_datein DATE วันเดือนปีที่ลงทะเบียน 12 admin_level CHAR 1 ระดับการดูแลระบบ ตารางที่ 3-5 แสดงลักษณะของ Attribute ของตารางรายละเอียดการประเมิน (detail) ลำดับ ชื่อฟิลด์ ประเภทข้อมูล ขนาดข้อมูล ความหมาย 1 detail_id (PK) INT 5 รหัสรายละเอียดการประเมิน 2 performance TEXT ผลการดำเนินงาน 3 assessment INT 2 ผลประเมิน 4 detail_key INT 5 ลำดับที่ของเอกสารอ้างอิง 5 weak_point TEXT จุดอ่อน/จุดแข็ง 6 month_id INT 5 รหัสช่วงเดือน 7 index_id INT 5 รหัสองค์ประกอบ 8 index_level INT 5 ดัชนีย่อย 42 ตารางที่ 3-6 แสดงลักษณะของ Attribute ของตารางเอกสารอ้างอิง (document) ลำดับ ชื่อฟิลด์ ประเภทข้อมูล ขนาดข้อมูล ความหมาย 1 id (PK) INT 5 รหัสเอกสารอ้างอิง 2 name_doc VARCHAR 50 ชื่อเอกสารอ้างอิง 3 name_path VARCHAR 50 ที่เก็บเอกสารอ้างอิง ตารางที่ 3-7 แสดงลักษณะของ Attribute ของตารางองค์ประกอบ (factor_index) ลำดับ ชื่อฟิลด์ ประเภทข้อมูล ขนาดข้อมูล ความหมาย 1 index_id (PK) INT 5 รหัสองค์ประกอบ 2 index_level INT 5 ดัชนีย่อย 3 level_name VARCHAR 100 ชื่อของดัชนี ตารางที่ 3-8 แสดงลักษณะของ Attribute ของตารางช่วงเดือน (month_index) ลำดับ ชื่อฟิลด์ ประเภทข้อมูล ขนาดข้อมูล ความหมาย 1 month_id (PK) INT 5 รหัสช่วงเดือน 2 month_start VARCHAR 10 ว/ด/ป เริ่มต้น 3 month_end VARCHAR 10 ว/ด/ป สิ้นสุด ตารางที่ 3-9 แสดงลักษณะของ Attribute ของตารางข้อมูลส่วนสรุป (summary) ลำดับ ชื่อฟิลด์ ประเภทข้อมูล ขนาดข้อมูล ความหมาย 1 sum_id (PK) INT 5 รหัสข้อมูลส่วนสรุป 2 sum_assess DECIMAL 7,2 ค่าเฉลี่ยผลประเมิน 3 sum_weak TEXT จุดอ่อนสรุป 4 month_id INT 5 รหัสช่วงเดือน 5 index_id INT 5 รหัสองค์ประกอบ 43 ในการออกแบบส่วนที่ติดต่อกับผู้ใช้เพื่อนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ ขอยกตัวอย่างที่ได้ออกแบบไว้ 3 ส่วนคือ แบบฟอร์มสำหรับกรอกข้อมูลเจ้าหน้าที่ ภาพที่ 3-18 แบบฟอร์มสำหรับกรอกข้อมูลในส่วนสำคัญ ภาพที่ 3-19 และแบบฟอร์มสำหรับกรอกข้อมูลในส่วนสรุป ภาพที่ 3-20 ภาพที่ 3-18 แสดงแบบฟอร์มสำหรับกรอกข้อมูลเจ้าหน้าที่ ภาพที่ 3-19 แสดงแบบฟอร์มสำหรับกรอกข้อมูลส่วนสำคัญ 44 ภาพที่ 3-20 แสดงแบบฟอร์มสำหรับกรอกข้อมูลส่วนสรุป 3.4 การพัฒนาระบบ เมื่อทำการออกแบบหน้าจอสำหรับนำข้อมูลเข้าเรียบร้อยแล้วก็เข้าสู่ขั้นตอนการพัฒนาระบบโดยใช้ โปรแกรมภาษาพีเอชพีในการพัฒนาเพื่อให้ข้อมูลที่นำเข้าสู่ระบบสามารถแสดงผลลัพธ์ได้ถูกต้องตามที่ต้องการ ในที่นี้ขอยกตัวอย่างการนำข้อมูลเข้าสู่ส่วนสำคัญในภาพที่ 3-21 ซึ่งแสดง ผลลัพธ์ได้ตามที่ต้องการในภาพที่ 3- 22 และการนำข้อมูลเข้าสู่ส่วนสรุปในภาพที่ 3-23 ซึ่งแสดงผลลัพธ์ได้ตามที่ต้องการในภาพที่ 3-24 และภาพที่ 3-25 ภาพที่ 3-21 แสดงการนำข้อมูลเข้าสู่ส่วนสำคัญ ภาพที่ 3-22 แสดงแบบรายงานการประเมินตนเองส่วนสำคัญ 45 ภาพที่ 3-23 แสดงการนำข้อมูลเข้าสู่ส่วนสรุป ภาพที่ 3-24 แสดงแบบรายงานการประเมินตนเองส่วนสรุป แบบที่ 1 ภาพที่ 3-25 แสดงแบบรายงานการประเมินตนเองส่วนสรุป แบบที่ 2 46 ขั้นตอนต่อไปเป็นการนำเสนอตัวอย่างโมดูลส่วนแสดงผลหน้าจอรายงานการประเมินตนเอง ส่วนสำคัญ เป็นเพียงบางส่วนของโปรแกรมที่นำมาแสดง ในส่วนนี้จะเป็นการรับค่าจากข้อมูลของ ส่วนสำคัญซึ่งมีรายละเอียดต่าง ๆ จากนั้นโปรแกรมจะนำผลมาแสดงให้อยู่ในรูปแบบที่จัดไว้ ตัวอย่างโปรแกรม editorindex_detail.php db_query("select * from factor_index where index_level=0 order by index_id asc"); for ($row=0;$row=$social->db_fetch_array($qry);$row++){ ?> db_free_result($qry); ?> 48
ข้อมูลส่วนสำคัญช่วงเดือน : show_month($_GET["month_id"]); ?>
องค์ประกอบ : ssl($row["level_name"]); ?>
db_query("select * from factor_index where index_level=$row[index_id] order by index_id asc"); for ($r=0;$r=$social->db_fetch_array($in);$r++){ ?> 47 db_free_result($in); ?>
db_query("select detail_id from detail where index_id=$r[index_id] and month_id=$_GET[month_id]"); $detail_id=""; if ($social->db_num_rows($q)){ echo ''; $rid=$social->db_fetch_array($q); $detail_id='&detail_id='.$rid["detail_id"]; } //$al=$social->db_fetch_array($q); $social->db_free_result($q); ?> ssl($r["level_name"]); ?>เพิ่ม/แก้ไขข้อมูล
ภาพที่ 3-26 แสดงผลลัพธ์ของโปรแกรม editorindex_detail.php 3.5 การทดสอบระบบ ในการทดสอบเพื่อหาประสิทธิภาพของระบบได้ทำการทดสอบ 2 วิธี คือ ทดสอบระบบด้วย วิธี Black-Box ที่ดำเนินการโดยผู้วิจัย และทดสอบระบบโดยทำแบบประเมินประสิทธิภาพของ ระบบ (ภาคผนวก ง) โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 4 คน (ภาคผนวก ค) และบุคลากรจำนวน 9 คน 3.5.1 ทดสอบระบบโดยผู้วิจัย การทดสอบโดยผู้วิจัยมีการทดสอบด้วยวิธี Black-Box เพื่อหาประสิทธิภาพของระบบมี การแบ่งหัวข้อในการทดสอบเป็น 4 ด้าน ดังนี้ 49 3.5.1.1 ระบบสามารถทำงานได้ถูกต้องและตรงตามความต้องการของผู้ใช้ 3.5.1.2 ด้านการใช้งานของระบบ 3.5.1.3 ด้านหน้าที่ของระบบ 3.5.1.4 ด้านความปลอดภัยของระบบ 3.5.2 ทดสอบระบบโดยผู้ใช้ การทดสอบโดยผู้ใช้แบ่งออกเป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญและบุคลากร ในการประเมินจะยึดหัวข้อ การทดสอบเช่นเดียวกับวิธีการทดสอบแบบ Black-Box 3.5.2.1 ผู้เชี่ยวชาญ ผู้เชี่ยวชาญที่ทำการทดสอบมีทั้งหมด 4 คน ซึ่งเป็นผู้ที่มีความชำนาญด้านการประกันคุณภาพ การศึกษา ขั้นตอนในการทดสอบมีดังนี้ ก) ทำหนังสือแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญจำนวน 4 คน ข) มอบหนังสือแต่งตั้ง ผู้เชี่ยวชาญทดสอบและประเมินประสิทธิภาพระบบ ค) ผู้เชี่ยวชาญให้ข้อเสนอแนะ เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปรับปรุง 3.5.2.2 บุคลากร บุคลากรที่ทำการทดสอบมีทั้งหมด 9 คน เป็นผู้ที่มีความรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ขั้นตอนในการทดสอบมีดังนี้ ก) นัดหมาย วันเวลาในการทดสอบและประเมินประสิทธิภาพระบบ ข) บุคลากรทดสอบระบบและทำแบบประเมินประสิทธิภาพระบบ ค) บุคลากรให้ข้อเสนอแนะ เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปรับปรุง เกณฑ์ที่ใช้ในการหาค่าประสิทธิภาพของระบบอยู่ในระดับใดนั้น ผู้วิจัยได้ดำเนินการจัดทำแบบประเมินโดยกำหนดหัวข้อที่ใช้ในการประเมิน และในแต่ละหัวข้อมีคะแนนตั้งแต่ 1 ถึง 5 จากนั้นนำคะแนนที่ได้มาหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติที ค่ามัธยฐาน ค่าความเบ้ และใน การหาว่าระบบมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับใดนั้นจะนำเอาค่าเฉลี่ยสุดท้ายของผู้เชี่ยวชาญและ บุคลากรไปเทียบกับตารางเปรียบเทียบคะแนน เกณฑ์การให้คะแนนแบ่งเป็น 5 ระดับ ดังนี้ 5 หมายถึง ดีมาก 4 หมายถึง ดี 3 หมายถึง ปานกลาง 2 หมายถึง พอใช้ 1 หมายถึง ปรับปรุง 50 ตารางที่ 3-10 แสดงตารางเปรียบเทียบคะแนน คะแนน ค่าเฉลี่ยเชิงปริมาณ ความหมาย 5 4 3 2 1 4.51 – 5.00 3.51 – 4.50 2.51 – 3.50 1.51 – 2.50 1.00 – 1.50 มีประสิทธิภาพในระดับดีมาก มีประสิทธิภาพในระดับดี มีประสิทธิภาพในระดับปานกลาง มีประสิทธิภาพในระดับพอใช้ มีประสิทธิภาพในระดับควรปรับปรุง 3.5.3 วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ในการหาว่าประสิทธิภาพของระบบอยู่ในเกณฑ์ระดับใดนั้น ผู้วิจัยได้นำสูตรที่ใช้หาค่าเฉลี่ย เลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติที ซึ่งมีสูตรดังนี้ (วิชัย, 2543: 263) ก) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต x = .x n โดย x คือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต .x คือ ผลรวมคะแนนในหัวข้อที่ประเมิน n คือ จำนวนในกลุ่มตัวอย่าง ข) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D. = ( ) ( ) . . . . x2 x2 n n 1 โดย S.D. คือ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน .x คือ ผลรวมคะแนนในหัวข้อที่ประเมิน n คือ จำนวนในกลุ่มตัวอย่าง ค) ค่าสถิติที (n<30) t =" .." t =" ." t =" ." x =" 3.62" x =" 3.96">

2 ความคิดเห็น: