วันเสาร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2552

การพัฒนาและหาประสิทธิภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง คอมพิวเตอร์เบื้องต้น



บทที่ 1 บทนำ 1.1กกความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ในยุคของการเรียนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางนั้น นอกจากอาศัยการถ่ายทอดการสอนที่เปิด โอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียนและยึดบทบาทของนักเรียนเป็นสำคัญแล้ว สิ่งหนึ่งที่ ทำให้การเรียนนั้นประสบผลสำเร็จคือการใช้สื่อการสอนที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้นักเรียนสามารถ เข้าใจเนื้อหาเพิ่มมากยิ่งขึ้น ซึ่งปัจจุบันเครือข่ายทางด้านเทคโนโลยีมีการขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นมาก ตัวอย่างเช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต สามารถทำให้สื่อการสอนที่เคยใช้ในรูปแบบเก่ากๆ เปลี่ยนแปลง ไปมีบทบาทบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมากยิ่งขึ้นได้ นักเรียนสามารถเข้ามาทำการศึกษาเนื้อหา บทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา ในแผนการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี วิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย ในรายวิชา คอมพิวเตอร์เบื้องต้น จะพบปัญหาคือ นักศึกษาบางส่วนเข้ามาเรียนในระดับชั้น อุดมศึกษา บางรายยังไม่มีความเข้าใจหรือรอบรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มากนัก การบรรยายในชั้น เรียนเพียงอย่างเดียวทำให้นักศึกษาไม่เข้าใจเนื้อหาได้อย่างถ่องแท้นัก อีกทั้งเนื้อหาที่ใช้สอนเมื่อ เทียบกับเวลาที่ใช้สอนไม่เหมาะสมกัน กล่าวคือ ปริมาณเนื้อหามากและเวลาในการสอนจำกัด การ อธิบายใน บางหัวข้อผู้สอนไม่สามารถอธิบายให้ผู้เรียนเข้าใจและทันกับเวลาที่กำหนดไว้ได้ ส่งผลให้ ประสิทธิภาพการเรียนเป็นไปได้ไม่ดีนัก หากมีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ สามารถให้นักศึกษาติดตามการเรียนได้อย่างตลอดเวลา จะทำให้นักศึกษาที่ไม่เข้าใจในเนื้อหา สามารถที่จะเข้ามาศึกษาได้เมื่อมี เวลาว่างหรือช่วงเวลาที่ไม่เข้าใจ โดยอาศัยระบบคอมพิวเตอร์ช่วย สอนนี้ทบทวนการเรียนด้วยตนเองได้ ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยในฐานะที่เป็นอาจารย์สอนในสถาบันการศึกษาดังกล่าว ได้ เห็นปัญหาและความต้องการ จึงได้ทำงานวิจัยในเรื่องนี้ขึ้น เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยคาดหวังว่างานวิจัยเรื่องนี้ สามารถนำไปขยายผล เพื่อนำ ผลที่ได้จากการวิจัยไปแก้ปัญหาต่างกๆ ในการเรียนการสอน เรื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้นได้ 2 1.2กกวัตถุประสงค์ 1.2.1กกเพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง คอมพิวเตอร์เบื้องต้น ตามหลักสูตรระดับปริญญาตรี วิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น สังกัด ทบวงมหาวิทยาลัย 1.2.2กกเพื่อหาประสิทธิภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ พัฒนาขึ้น 1.3กกสมมติฐานการวิจัย บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพสูงกว่า เกณฑ์ 85/85 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 1.4กกขอบเขตของการวิจัย 1.4.1กกส่วนประกอบของบทเรียนที่พัฒนาประกอบด้วย 1.4.1.1กกบทนำเรื่อง (Title) 1.4.1.2กกคำชี้แจงบทเรียน (Instruction) 1.4.1.3กกวัตถุประสงค์บทเรียน (Objective) 1.4.1.4กกรายการให้เลือก (Main Menu) 1.4.1.5กกเนื้อหาบทเรียน (Information) 1.4.1.6กกแบบทดสอบท้ายบทเรียน (Post-Test) 1.4.1.7กกบทสรุปและการนำไปใช้งาน (Summary and Application) รูปแบบการจัดการบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มีลักษณะแบบเนื้อหาทั่วไปไม่เน้นรูปแบบ การเรียนการสอน 1.4.2กกบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง คอมพิวเตอร์เบื้องต้น อ้างอิงจากหลักสูตรปริญญาตรี วิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย รหัสวิชา 104102 มีจำนวนหน่วยกิต 3 หน่วยกิต สภาพรายวิชาเป็นวิชาศึกษาทั่วไป รายละเอียดของเนื้อหาวิชา แบ่งออกเป็น 6 โมดูล จะใช้เวลาศึกษาโมดูลละ 15 นาที รวม 1 ชั่วโมง 30 นาที ซึ่งเนื้อหาการเรียน ทั้งหมดได้ผ่านการวิเคราะห์หลักสูตรแล้ว แต่ละโมดูลมีเนื้อหาดังนี้ 3 1.4.2.1กกโมดูลที่ 1 ประวัติและความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ ก)กกความหมายของคอมพิวเตอร์ ข)กกลักษณะที่สำคัญของคอมพิวเตอร์ ค)กกประวัติของคอมพิวเตอร์ ง)กกวิวัฒนาการและยุคของคอมพิวเตอร์ จ)กกประเภทของคอมพิวเตอร์ 1.4.2.2กกโมดูลที่ 2 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ ก)กกองค์ประกอบด้านฮาร์ดแวร์ (Hardware) ข)กกองค์ประกอบด้านซอฟท์แวร์ (Software) ค)กกองค์ประกอบด้านบุคลากร (Personnel) ง)กกองค์ประกอบด้านข้อมูล (Data) จ)กกความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ 1.4.2.3กกโมดูลที่ 3 ส่วนประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ ก)กกส่วนรับข้อมูล (Input) ข)กกหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ค)กกหน่วยแสดงผลลัพธ์ (Output Unit) 1.4.2.4กกโมดูลที่ 4 หน่วยประมวลผลกลาง และหน่วยความจำ ก)กกการประมวลผลของระบบคอมพิวเตอร์ ข)กกหน่วยความจำ ค)กกหน่วยความจำหลัก ง)กกหน่วยความจำสำรอง 1.4.2.5กกโมดูลที่ 5 ข้อมูลและการประมวลผลข้อมูล ก)กกความหมายของข้อมูล ข)กกประเภทของข้อมูล ค)กกลักษณะของข้อมูล ง)กกโครงสร้างของข้อมูล จ)กกการประมวลผลข้อมูล ฉ)กกข้อมูลที่เหมาะสมสำหรับการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ ช)กกวิธีการประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ 4 1.4.2.6กกโมดูลที่ 6 การใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ก)กกMicrosoft Word ข)กกMicrosoft Excel ค)กกMicrosoft Powerpoint 1.4.3กกความสามารถของระบบการจัดการเรียนการสอนของบทเรียน ประกอบด้วย 1.4.3.1กกระบบการจัดการเรียน ประกอบด้วย ก)กกการเก็บข้อสอบ ข)กกการสุ่มข้อสอบ ค)กกการคิดค่าคะแนนที่สอบได้ ง)กกการเก็บผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 1.4.3.2กกระบบฐานข้อมูลผู้เรียน ใช้เก็บระเบียนข้อมูลของผู้เรียนแต่ละคนไว้ใน ฐานข้อมูลเพื่อใช้ในการจัดการบทเรียน 1.4.3.3กกระบบที่พัฒนานี้ทำงานบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตใช้งานผ่าน Web Browser 1.4.3.4กกระบบสนับสนุนการเรียน ประกอบด้วย ก)กกกระดานถามตอบวิชาการ (Webboard) ข)กกจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) ค)กกปัญหาถามบ่อย (Frequency Ask Question) ง)กกห้องปรึกษาปัญหาวิชาการ (Academic Chat Room) 1.4.4กกระบบการทำงานของบทเรียนที่พัฒนาขึ้น เป็นระบบการทำงานแบบเครือข่ายใน รูปแบบ Client/Server ซี่งจะทำงานโดยอาศัยเครื่องมือผ่านโปรแกรม Web Browser ซึ่งทำหน้าที่ เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ Client เพื่อเข้าสู่เนื้อหาการเรียน และใช้โปรแกรม Apache Web Server เพื่อ ทำหน้าที่เป็นเครื่อง Server ให้บริการข้อมูลการเรียนนั่นเอง โดยมีการจัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ ไปยัง ระบบฐานข้อมูล MySql 1.5กกคำจำกัดความที่ใช้ในการวิจัย 1.5.1กกเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หมายถึง ระบบที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งมีอยู่ ทั่วโลกเข้าด้วยกัน เพื่อให้เครื่องทุกเครื่องที่อยู่ในระบบสามารถติดต่อถึงกันได้ 1.5.2กกบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน คือบทเรียนและกิจกรรม การเรียนการสอนที่ถูก จัดกระทำไว้อย่างมีระบบ และมีแบบแผน โดยใช้คอมพิวเตอร์นำเสนอและจัดการเพื่อให้ผู้เรียน ได้มีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับบทเรียนนั้น ๆ ตามความสามารถ โดยผู้เรียนไม่จำเป็นต้องมีทักษะและ ประสบการณ์ด้านการใช้คอมพิวเตอร์มาก่อนก็สามารถเรียนรู้ได้ 5 1.5.3กกคอมพิวเตอร์เบื้องต้น (Introduction to Computer ) หมายถึง รายวิชาศึกษาทั่วไป สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 คณะวิชาบริหารธุรกิจวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น สังกัด ทบวงมหาวิทยาลัย 1.5.4กกประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หมายถึง ความสามารถของ บทเรียนในการสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ถึงระดับเกณฑ์ ที่คาดหวังไว้ 1.5.5กกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง คะแนนที่ได้จากแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน วิชาคอมพิวเตอร์เบื้องต้น หลังจากที่ได้ศึกษาเนื้อหาโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วย สอนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยใช้แบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น 1.5.6กกมาตรฐาน 85/85 หมายถึง เกณฑ์ที่ใช้ในการหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอน 85 ตัวแรก หมายถึง คะแนนเฉลี่ยของนักศึกษาทั้งหมดที่ทำแบบฝึกหัดระหว่างบทเรียนได้ ถูกต้อง ไม่ต่ำกว่า 85% ของคะแนนเต็มในแบบฝึกหัด 85 ตัวหลัง หมายถึง คะแนนเฉลี่ยของนักศึกษาทั้งหมด ที่ทำแบบทดสอบหลังบทเรียน ไม่ ต่ำกว่า 85% ของจำนวนแบบทดสอบทั้งหมด 1.5.7กกแบบฝึกหัดระหว่างบทเรียน หมายถึง แบบฝึกหัดที่ใช้วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของผู้เรียน ในบทเรียนแต่ละโมดูล จำนวน 6 โมดูล 1.5.8กกแบบทดสอบหลังบทเรียน หมายถึง แบบทดสอบที่ใช้วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของผู้เรียน ซึ่งใช้ประเมินผลผู้เรียนหลังการเรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง คอมพิวเตอร์ เบื้องต้น 1.6กกประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ได้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้น สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะวิชาบริหารธุรกิจ วิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น สังกัด ทบวงมหาวิทยาลัย ซึ่งสามารถนำไปใช้กับนักศึกษาที่เรียนตามหลักสูตรนี้ได้ เพื่อแก้ปัญหาต่างกๆ ทางการเรียนการสอน อันได้แก่ ปริมาณเนื้อหาที่มีมากเกินไป เวลาการเรียนการสอนน้อย และ ปัญหา อื่นกๆกยังผลให้การเรียนการสอนในรายวิชาดังกล่าว เกิดความเท่าเทียมกันในทาง การศึกษา นอกจากนี้นักศึกษายังสามารถนำบทเรียนไปศึกษาด้วยตนเองนอกสถานที่ได้ ซึ่ง นอกจากเป็นประโยชน์โดยตรงต่อตัวของนักศึกษาในด้านต่างกๆกแล้วยังช่วยลดภาระของผู้สอน ได้อีกด้วย บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในการสร้างและหาคุณภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อใช้ในการเรียนการสอนวิชา คอมพิวเตอร์เบื้องต้น ซึ่ง สามารถแยกกล่าวเป็นหัวข้อได้ ดังนี้ 2.1กกประเภทของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 2.2กกหลักการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 2.3กกขั้นตอนการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 2.4 กกการเรียนการสอนทางไกลผ่านคอมพิวเตอร์ 2.5ดดหลักสูตรรายวิชา คอมพิวเตอร์เบื้องต้น 2.6กกผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2.7กกบทสรุปทฤษฎีที่นำมาใช้ 2.1กกประเภทของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน แบ่งออกได้หลายประเภทตามความคิดเห็นของนักการศึกษา ที่พยายามคิดค้นรูปแบบของบทเรียน ให้สอดคล้องกับความต้องการใช้งาน โดยยึดหลักการเรียนรู้ ตามทฤษฎีการศึกษา โดยสรุป บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบ่งออกได้ 5 ประเภท ได้แก่ 2.1.1กกบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบศึกษาเนื้อหาใหม่ (Tutorial) พัฒนาขึ้นจาก แนวคิดที่ว่าคอมพิวเตอร์น่าจะเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ช่วยในการเรียนรู้ใกล้เคียงกับการเรียน การสอนปกติในชั้นเรียน สามารถใช้สอนแทนผู้สอน สอนเสริม และสอนทบทวนได้ ดังนั้น บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบนี้จึงเป็นการนำเสนอองค์ความรู้ใหม่กๆ หรือหลักการใหม่กๆ โดยนำเสนอเนื้อหาและส่งเสริมให้มีการตอบคำถามระหว่างบทเรียนกับผู้เรียนจอภาพของเครื่อง คอมพิวเตอร์จะแสดงเนื้อหาทีละเฟรมที่ผ่านการออกแบบมาแล้วอย่างเป็นระบบแล้วตั้งคำถามให้ ผู้เรียนตอบ หลังจากนั้นบทเรียนจะวิเคราะห์คำตอบแล้วตัดสินผลว่า ควรจะนำเสนอเนื้อหาต่อไป หรือให้ผู้เรียนตอบคำถามใหม่ หรือแสดงคำอธิบายเนื้อหาเพิ่มเติม เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ทีละขั้นจนจบบทเรียน ท้ายบทเรียนจะมีแบบทดสอบเพื่อใช้ประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หาก 7 ผู้เรียนทำแบบทดสอบผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ก็จะสิ้นสุดบทเรียนหรือเข้าสู่บทเรียนถัดไป แต่ถ้า ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินผลอาจจะต้องกลับไปศึกษาเนื้อหาซ้ำใหม่อีกครั้งหนึ่ง ส่วนประกอบของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทนี้ เริ่มต้นด้วยบทนำที่กล่าวถึงเรื่อง ทั่วกๆ ไปเกี่ยวกับหัวข้อบทเรียนและคำแนะนำการใช้บทเรียน หลังจากนั้นจะเข้าสู่ส่วนของการ นำเสนอเนื้อหาบทเรียน การนำเสนอจะใช้ลักษณะของการถามตอบสลับกับการให้เนื้อหา เพื่อ ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับบทเรียน หลังจากผู้เรียนตอบคำถาม บทเรียนจะตัดสินผลคำตอบ ว่าถูกต้องหรือไม่ หากไม่ถูกต้อง บทเรียนจะทำการตรวจปรับและแก้ไขด้วยวิธีการต่างกๆ ที่ทำให้ ผู้เรียนเกิดความเข้าใจเนื้อหาอย่างแจ่มแจ้ง กระบวนการนำเสนอเนื้อหาจะวนซ้ำลักษณะเช่นนี้ จนจบบทเรียน บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทนี้มีการพัฒนาขึ้นมาเป็นจำนวนมาก กล่าวกันว่า 80 % ของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่มีการพัฒนาขึ้นในปัจจุบัน จะเป็นบทเรียนประเภทศึกษา เนื้อหาใหม่ เนื่องจากพัฒนาได้ง่ายกว่าบทเรียนประเภทอื่น หลักทั่วกๆ ไปจะเป็นการจำลองมาจาก ลักษณะการเรียนการสอนจริงในชั้นเรียน ซึ่งผู้สอนส่วนใหญ่คุ้นเคยกับวิธีการสอนดีอยู่แล้ว จึง สามารถพัฒนาบทเรียนประเภทนี้ขึ้นใช้เองได้ 2.1.2กกบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบฝึกทบทวน (Drill and Practice) ออกแบบขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อฝึกและทบทวนความรู้ของผู้เรียนที่ได้ศึกษาผ่านมาแล้ว รูปแบบของ บทเรียนจึงคล้ายกับแบบทดสอบที่เป็นข้อสอบแบบตัวเลือก แบบจับคู่ หรือ แบบถูก-ผิด ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างแนวความคิด และหลักการที่มุ่งเน้นด้านเนื้อหาความรู้ โดยตรง เพื่อนำความรู้ที่มีอยู่แล้วจากการเรียนการสอนโดยวิธีปกติใช้ชั้นเรียน ให้สามารถนำมาใช้ ได้อย่างแคล่วคล่อง รวดเร็ว และสามารถปฏิบัติได้จริง การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ประเภทนี้เน้นที่แบบทดสอบเป็นหลัก ไม่ได้เน้นด้าน หลักการนำเสนอเนื้อหา อย่างไรก็ตาม บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบฝึกทบทวนที่ดีนั้น ต้อง ออกข้อสอบให้มีจำนวนมาก และเก็บไว้ในธนาคารข้อสอบ บทเรียนจะทำหน้าที่สุ่มข้อสอบขึ้นมา นำเสนอโดยใช้วิธีในการเขียนโปรแกรมเข้าช่วย ผู้เรียนแต่ละคนจะได้รับข้อสอบแตกต่างกัน และ การฝึกทบทวนแต่ละครั้ง ก็จะได้ข้อสอบที่แตกต่างกันด้วย ทำให้ผู้เรียนไม่สามารถจำข้อสอบได้ นอกจากนี้ตัวข้อสอบที่ดีนั้น จะต้องผ่านกระบวนการทางสถิติเพื่อหาคุณภาพมาก่อน ได้แก่ ค่าระดับความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนก และค่าความเชื่อมั่น เพื่อให้เป็นข้อสอบที่มีคุณภาพ สามารถแยกแยะระดับความสามารถของผู้เรียน และวัดผลได้ตรงจุด อันจะส่งผลให้ได้บทเรียนที่มี คุณภาพตามมา 8 ส่วนประกอบของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทนี้ เริ่มต้นด้วยบทนำที่กล่าวถึงเรื่อง ทั่วกๆ ไปเกี่ยวกับหัวข้อบทเรียนและการใช้บทเรียน พร้อมตัวอย่างคำถาม – คำตอบ หลังจากนั้น จะเข้าสู่การเลือกข้อคำถาม โดยเครื่องคอมพิวเตอร์จะนำเสนอข้อสอบให้ปรากฏทางจอภาพโดย วิธีการสุ่มเพื่อให้ผู้เรียนตอบ เมื่อบทเรียนได้รับคำตอบก็จะตัดสินผลว่าถูกต้องหรือไม่ ถ้าคำตอบ ไม่ตรงตามบทเรียนที่ออกแบบไว้ จะทำการตรวจปรับและนำเสนอคำตอบที่ถูกต้อง กระบวนการ ตั้งคำถาม คำตอบ ตัดสินผล และการตรวจปรับ จะวนซ้ำลักษณะเช่นนี้จนจบบทเรียน จะเห็นได้ว่า การ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับบทเรียนเกิดขึ้นตลอดเวลา แต่ไม่ใช่เป็นการนำเสนอ เนื้อหาบทเรียน เป็นแต่เพียงการทำข้อสอบเพื่อฝึกทบทวนความรู้ที่ได้ศึกษาผ่านมาแล้วเท่านั้น บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบฝึกทบทวนนี้ จึงเหมาะสำหรับใช้ร่วมกับการเรียน การสอนปกติในชั้นเรียน เพื่อเน้นความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาที่ผู้เรียนได้เรียนผ่านมาแล้วจากวิธี ปกติ 2.1.3กกบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบจำลองสถานการณ์ (Simulation) การจำลองสถานการณ์ในการเรียนการสอน เป็นวิธีการเลียนแบบ หรือสร้างสถานการณ์ เลียนแบบ เพื่อ ทดแทนสภาพจริงหรือปรากฏการณ์จริงที่เป็นอยู่ โดยไม่สามารถเรียนรู้กับ สภาพจริงเหล่านั้นได้ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบจำลองสถานการณ์ จึงถูกออกแบบขึ้นมา เพื่อใช้กับสถานการณ์ดังกล่าวนำเสนอแก่ผู้เรียน โดยอาจมีการลดขั้นตอน หรือตัดทอน รายละเอียดบางส่วนลงไปบ้าง เพื่อให้ผู้เรียนได้พบเห็นสภาพจำลองของเหตุการณ์ เป็นการ ฝึกฝนทักษะการเรียนรู้โดยไม่เกิดอันตราย หรือเสียค่าใช่จ่ายไม่สูงมาก เหมือนกับการศึกษาจาก สภาพความเป็นจริง วิธีการนำเสนอบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบจำลองสถานการณ์ จะแตกต่างจาก บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบศึกษาเนื้อหาใหม่ กล่าวคือ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบ ศึกษาเนื้อหาใหม่ จะนำเสนอเนื้อหาโดยวิธีการถามตอบให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ทีละขั้นกๆ แต่ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบจำลองสถานการณ์เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในกิจกรรมต่างกๆ ที่ จำลองจากสภาพจริง เพื่อให้เกิดการเรียนรู้จากสภาพความเป็นจริงหรือปรากฏการณ์จริงที่เกิดขึ้น ส่วนประกอบของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบจำลองสถานการณ์ เริ่มต้นด้วยบทนำที่ กล่าวถึงเรื่องทั่วกๆ ไปเกี่ยวกับหัวข้อบทเรียนและการจำลองสถานการณ์ของบทเรียน หลังจากนั้น จะเข้าสู่ส่วนของการนำเสนอสถานการณ์ ซึ่งได้แก่ ตัวแปร และเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับการจำลอง สถานการณ์ที่บทเรียนนำเสนอ หลังจากนั้นเป็นการนำเสนอสิ่งที่ต้องการหรือการกระทำจากผู้เรียน ผู้เรียนจะมีปฏิสัมพันธ์กับบทเรียน ตามความต้องการของบทเรียน หลังจากนั้นบทเรียนจะทำการ ปรับระบบ ซึ่งหมายถึง การตรวจปรับตามการกระทำของผู้เรียนที่มีปฏิสัมพันธ์กับบทเรียน 9 บทเรียนจะนำเสนอสถานการณ์วนซ้ำลักษณะเช่นนี้จนจบบทเรียน การเรียนรู้เกิดขึ้นได้เนื่องจาก ผู้เรียนได้ศึกษา การมีปฏิสัมพันธ์กับเรียน และบทเรียนแสดงผลสรุปของการกระทำนั้นกๆ โดย ไม่ต้องไปศึกษาจากสภาพจริงหรือเหตุการณ์จริง 2.1.4กกบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบเกมการสอน (Instructional Game) พัฒนา มาจากแนวความคิดของทฤษฎีการเสริมแรง (Reinforcement Theory) ซึ่งหลักสำคัญในการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์แบบเกมการสอนคือ การท้าทาย (challenge) กระตุ้นจินตนาการแบบเพ้อฝัน (Fantasy) และกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็น (Curiosity) เพื่อให้เกิดการแข่งขันที่ผู้เรียนจะมองแต่ชัยชนะหรือความสำเร็จในผลลัพธ์สุดท้าย ส่วนประกอบของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบเกมการสอน เริ่มต้นด้วยบทนำที่ กล่าวถึงเรื่องทั่วกๆ ไปเกี่ยวกับหัวข้อบทเรียนและการนำเสนอบทเรียนแบบเกม หลังจากนั้นจะเข้า สู่ ส่วนของการนำเสนอสถานการณ์คล้ายกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบจำลอง สถานการณ์ ได้แก่ การนำเสนอการกระทำที่ต้องการ และรอคอยการมีปฏิสัมพันธ์จากผู้เรียน หรือ การตอบสนองตรงข้ามจากผู้เรียน หลังจากนั้นบทเรียนจะทำการปรับระบบ ซึ่งเป็นการตรวจปรับ ตาม การกระทำของผู้เรียนที่มีปฏิสัมพันธ์กับบทเรียน โดยบทเรียนจะนำเสนอสถานการณ์วน ซ้ำลักษณะเช่นนี้จนจบบทเรียน การเรียนรู้เกิดขึ้นได้เนื่องจากผู้เรียนได้ศึกษาการปฏิสัมพันธ์กับ บทเรียน และบทเรียนแสดงผลสรุปของการกระทำนั้นกๆ ในลักษณะของเกมการสอน 2.1.5กกบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบใช้ทดสอบ (Test) บทเรียนประเภทนี้ เรียก อีกอย่างหนึ่งว่า แบบค้นพบ (Discovery) เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างแบบทดสอบ ซึ่งจัดว่าเป็นประเภทหนึ่งของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการ ทดสอบ จำแนกได้ 2 วิธี ได้แก่ การใช้ช่วยสร้างแบบทดสอบ และการใช้ช่วยดำเนินการสอบ ปัจจุบันระบบนิพนธ์บทเรียนสามารถใช้ช่วยสร้างแบบทดสอบได้แทบทุกประเภท ทั้งแบบ เลือกตอบ แบบถูกผิด แบบจับคู่ และแบบเติมคำ อย่างไรก็ตาม แบบทดสอบที่ไม่เหมาะสมกับ บทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอน ก็คือแบบอัตนัย หรือแบบปลายเปิดสอบถามความคิดเห็น ส่วนประกอบของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทนี้ เริ่มต้นด้วยบทนำเพื่อกล่าวถึง เรื่องทั่วกๆ ไปเกี่ยวกับหัวข้อบทเรียนและการใช้บทเรียน หลังจากนั้นจะเข้าสู่การเลือกข้อสอบ และเครื่องคอมพิวเตอร์จะนำเสนอข้อสอบออกมาให้ปรากฏทางจอภาพโดยการสุ่มเพื่อให้ผู้เรียน ตอบ เมื่อบทเรียนได้รับคำตอบก็จะตัดสินผลว่าถูกต้องหรือไม่ ถ้าคำตอบไม่ตรงตามบทเรียนที่ ออกแบบไว้ บทเรียนจะทำการตรวจปรับและนำเสนอคำตอบที่ถูกต้อง กระบวนการตั้งคำถาม ตอบคำถาม และตัดสินผล จะวนซ้ำลักษณะเช่นนี้จนจบบทเรียน 10 2.2กกหลักการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน นักการศึกษาส่วนใหญ่ได้ประยุกต์หลักการสอนของ Robert Gagne’ 9 ประการ มา ใช้ประกอบการพิจารณาในการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เพื่อให้ได้บทเรียนที่เกิด จากการออกแบบในลักษณะการเรียนการสอนจริง โดยยึดหลักการนำเสนอเนื้อหาและจัดกิจกรรม การเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์ ซึ่งหลักการสอน 9 ประการ มีดังนี้ 2.2.1กกเร่งเร้าความสนใจ (Gain Attention) สิ่งที่ต้องพิจารณา เพื่อเร่งเร้า ความสนใจของ ผู้เรียนมีดังนี้ 2.2.1.1กกการใช้กราฟฟิกที่เกี่ยวข้องกับส่วนของเนื้อหา และกราฟฟิกนั้นควร จะมี ขนาดใหญ่ชัดเจน ง่ายและไม่ซับซ้อน 2.2.1.2กกใช้กราฟฟิกการนำเสนอที่ปรากฏภาพให้เร็ว เพื่อไม่ให้ผู้เรียนเบื่อ 2.2.1.3กกควรให้ภาพปรากฏบนจอภาพไว้ระยะหนึ่ง จนกระทั่งผู้เรียนกด แป้นพิมพ์ ใดกๆกจึงเปลี่ยนไปสู่เฟรมอื่น เพื่อสร้างความคุ้นเคยให้กับผู้เรียน 2.2.1.4กกใช้ภาพเคลื่อนไหวหรือใช้เทคนิคการนำเสนอภาพผลพิเศษเข้าช่วยเพื่อ แสดงการเคลื่อนไหวของภาพ แต่ควรใช้เวลาสั้นกๆ 2.2.1.5กกเลือกใช้สีที่ตัดกับฉากหลังอย่างชัดเจน โดยเฉพาะสีเข้ม 2.2.1.6กกเลือกใช้เสียงที่สอดคล้องกับภาพกราฟฟิก และเหมาะสมกับเนื้อหา บทเรียน 2.2.1.7กกควรบอกชื่อเรื่องบทเรียนไว้ด้วยในส่วนของบทนำเรื่อง 2.2.2กกบอกวัตถุประสงค์ (Specify Objective) วัตถุประสงค์บทเรียน นับว่าเป็นส่วนสำคัญยิ่งต่อกระบวนการเรียนรู้ ที่ผู้เรียนจะได้ทราบถึง ความคาดหวังของบทเรียน นอกจากผู้เรียนจะทราบถึงพฤติกรรมขั้นสุดท้ายของตนเองหลัง จบ บทเรียนแล้ว จะยังเป็นการแจ้งให้ทราบล่วงหน้าถึงประเด็นสำคัญของเนื้อหา รวมทั้งเค้าโครงของ เนื้อหาอีกด้วย สิ่งที่ต้องพิจารณาในการบอกวัตถุประสงค์ มีดังนี้ 2.2.2.1กกบอกวัตถุประสงค์โดยเลือกใช้ประโยคสั้นกๆ แต่ได้ใจความ อ่านแล้ว เข้าใจง่าย 2.2.2.2กกหลีกเลี่ยงการใช้คำที่ยังไม่เป็นที่รู้จักและเป็นที่เข้าใจของผู้เรียน โดยทั่วไป 2.2.2.3กกไม่ควรกำหนดวัตถุประสงค์หลายข้อเกินไปในเนื้อหาแต่ละส่วนกๆ 11 2.2.2.4กกควรบอกการนำไปใช้งานให้ผู้เรียนทราบด้วยว่า หลังจากจบบทเรียน แล้วสามารถนำไปประยุกต์ใช้ทำอะไรได้บ้าง 2.2.2.5กกถ้าบทเรียนนั้นประกอบด้วยบทเรียนย่อยหลายหัวเรื่อง ควรบอกทั้ง วัตถุประสงค์ทั่วไป และวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม โดยบอกวัตถุประสงค์ทั่วไปในบทเรียนหลัก และตามด้วยรายการให้เลือก หลังจากนั้นจึงบอกวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมของแต่ละบทเรียน ย่อยกๆ 2.2.2.6กกอาจนำเสนอวัตถุประสงค์ให้ปรากฏบนจอภาพทีละข้อฏๆกแต่ควร คำนึงถึงเวลาการนำเสนอให้เหมาะสม หรืออาจให้ผู้เรียนกดแป้นพิมพ์ เพื่อศึกษาวัตถุประสงค์ ต่อไป ทีละข้อก็ได้ 2.2.2.7กกเพื่อให้การนำเสนอวัตถุประสงค์น่าสนใจยิ่งขึ้น อาจใช้กราฟฟิกง่า ยกๆ เข้าช่วยเช่น ตีกรอบ ใช้ลูกศร และใช้รูปทรงเรขาคณิต แต่ไม่ควรใช้การเคลื่อนไหวเข้าช่วย โดยเฉพาะกับตัวหนังสือ 2.2.3กกทบทวนความรู้เดิม (Activate Prior Knowledge) ในขั้นการทบทวนความรู้เดิมนี้ ไม่จำเป็นต้องเป็นการทดสอบเสมอไป หากเป็นบทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สร้างขึ้นเป็นชุดบทเรียนที่เรียนต่อเนื่องกันไปตามลำดับ การทบทวน ความรู้เดิม อาจอยู่ในรูปแบบของการกระตุ้นให้ผู้เรียนคิดย้อนหลังถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้มาก่อนหน้านี้ ก็ได้ การกระตุ้นดังกล่าวอาจแสดงด้วยคำพูด คำเขียน ภาพ หรือผสมผสานกันแล้วแต่ความ เหมาะสม สิ่งที่ต้องพิจารณาในการทบทวนความรู้เดิม มีดังนี้ 2.2.3.1กกควรมีการทดสอบความรู้พื้นฐานหรือนำเสนอเนื้อหาเดิมที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมความพร้อมผู้เรียนในการเข้าสู่เนื้อหาใหม่ โดยต้องไม่คาดเดาว่าผู้เรียนมีพื้นความรู้เท่ากัน 2.2.3.2กกแบบทดสอบต้องมีคุณภาพ สามารถแปลผลได้ โดยวัดความรู้ พื้นฐานที่จำเป็นกับการศึกษาเนื้อหาใหม่เท่านั้น 2.2.3.4กกการทบทวนเนื้อหาหรือการทดสอบควรใช้เวลาสั้นกๆ กระชับและ ตรงตามวัตถุประสงค์ของบทเรียนมากที่สุด 2.2.3.5กกควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนออกจากเนื้อหาใหม่ หรือออกจากการสอบ เพื่อไปศึกษาทบทวนได้ตลอดเวลา 2.2.4กกการนำเสนอเนื้อหาใหม่ (Present New Information) ภาพที่ใช้ในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจำแนกออกได้ 2 ส่วนหลัก ๆ คือ ภาพนิ่ง ได้แก่ ภาพลายเส้น ภาพ 2 มิติ ภาพ 3 มิติ ภาพถ่ายของจริง แผนภาพ แผนภูมิ และกราฟ อีกส่วนหนึ่ง ได้แก่ ภาพเคลื่อนไหว เช่น ภาพวีดิทัศน์ ภาพจากแหล่งสัญญาณดิจิตอลต่างกๆ เช่นจากกล้อง 12 ถ่ายภาพ วีดิทัศน์ และภาพจากโปรแกรมสร้างภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การใช้ ภาพประกอบเนื้อหาอาจไม่ได้ผลเท่าที่ควร หากภาพเหล่านั้นมีรายละเอียดมากเกินไป ใช้เวลามาก ในการปรากฏบนจอภาพ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเนื้อหา ซับซ้อน เข้าใจยากและไม่เหมาะสมในเรื่อง เทคนิคการออกแบบ เช่น ขาดความสมดุลย์ องค์ประกอบภาพไม่ดี เป็นต้น ดังนั้น การเลือกภาพที่ ใช้ในการนำเสนอเนื้อหาใหม่ของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน จึงควรพิจารณาในประเด็นต่างกๆ ดังนี้ 13 2.2.4.1กกเลือกใช้ภาพประกอบการนำเสนอเนื้อหาให้มากที่สุด 2.2.4.2กกเลือกใช้ภาพเคลื่อนไหว สำหรับเนื้อหาที่ยากและซับซ้อนที่มีการ เปลี่ยนแปลง เป็นลำดับขั้น หรือเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง 2.2.4.3กกใช้แผนภูมิ แผนภาพ แผนสถิติ สัญลักษณ์ หรือภาพเปรียบเทียบ ใน การ นำเสนอเนื้อหาใหม่แทนข้อความคำอธิบาย 2.2.4.4กกการเสนอเนื้อหาที่ยาก และซับซ้อน ให้เน้นในส่วนของข้อความ สำคัญซึ่งอาจใช้การขีดเส้นใต้ การตีกรอบ การกระพริบ การเปลี่ยนสีพื้น เป็นต้น 2.2.4.5กกไม่ควรใช้กราฟฟิกที่เข้าใจยาก และไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา 2.2.4.6กกจัดรูปแบบของคำอธิบายให้น่าอ่าน หากเนื้อหายาวควรจัดแบ่งกลุ่มคำอธิบาย ให้จบเป็นตอนกๆ 2.2.4.7กกคำอธิบายที่ใช้ในตัวอย่าง ควรกระชับและเข้าใจได้ง่าย 2.2.4.8กกหากเครื่องคอมพิวเตอร์แสดงภาพกราฟฟิกได้ช้า ควรเสนอเฉพาะ กราฟฟิกที่จำเป็นเท่านั้น 2.2.4.9กกไม่ควรใช้สีพื้นสลับไปมาในแต่ละเฟรมเนื้อหา และไม่ควรเปลี่ยนสี ไปมา โดยเฉพาะสีหลักของตัวอักษร 2.2.4.10กกคำที่ใช้ควรเป็นคำที่ผู้เรียนระดับนั้นกๆ คุ้นเคย และเข้าใจความหมาย ตรงกัน 2.2.4.11กกขณะที่นำเสนอเนื้อหาใหม่ ควรให้ผู้เรียนได้มีโอกาสทำอย่างอื่น บ้าง แทนที่จะให้กดแป้น หรือคลิกเมาส์เพียงอย่างเดียว เช่น การปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนโดยวิธี พิมพ์ 2.2.5กกชี้แนะแนวทางการเรียนรู้ (Guide Learning) ในเนื้อหาบางหัวเรื่อง ผู้ออกแบบ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนอาจใช้วิธีการค้นพบ (Guide Discovery) ซึ่งหมายถึง การพยายาม ให้ผู้เรียนคิดหาเหตุผล ค้นคว้า และวิเคราะห์หาคำตอบด้วยตนเอง โดยบทเรียนจะค่อยกๆ ชี้แนะ จากจุดกว้างกๆ และแคบลงกๆ จนผู้เรียนหาคำตอบได้เอง นอกจากนั้น การใช้คำอธิบายกระตุ้นให้ ผู้เรียนได้คิด ก็เป็นเทคนิคอีกประการหนึ่งที่สามารถนำไปใช้ในการชี้แนวทางการเรียนรู้ได้ ซึ่งสิ่งที่ ต้องพิจารณาในการชี้แนะแนวทางการเรียนในขั้นนี้ มีดังนี้ 14 2.2.5.1กกบทเรียนควรแสดงให้ผู้เรียนได้เห็นถึงความสัมพันธ์ของเนื้อหาความรู้ และช่วยให้เห็นว่าสิ่งย่อยนั้นมีความสัมพันธ์กับสิ่งใหญ่อย่างไร 2.2.5.2กกควรแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของสิ่งใหม่กับสิ่งที่ผู้เรียนมีความรู้ หรือมีประสบการณ์ผ่านมาแล้ว 2.2.5.3กก นำเสนอตัวอย่างที่แตกต่างกัน เพื่อช่วยอธิบายความคิดรวบยอดใหม่ ให้ ชัดเจนขึ้น 2.2.5.4กกนำเสนอตัวอย่างที่ไม่ใช่ตัวอย่างที่ถูกต้อง เพื่อเปรียบเทียบกับตัวอย่าง ที่ ถูกต้อง 2.2.5.5กกการนำเสนอเนื้อหาที่ยาก ควรให้รูปตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมไป นามธรรม ถ้าเป็นเนื้อหาที่ไม่ยากนัก ให้นำเสนอตัวอย่างจากนามธรรมไปรูปธรรม 2.2.5.6กกบทเรียนควรกระตุ้นให้ผู้เรียนคิดถึงความรู้และประสบการณ์เดิมที่ผ่าน มา 2.2.6กกกระตุ้นการตอบสนองบทเรียน (Elicit Responses) สิ่งที่ต้อง พิจารณาเพื่อให้การจำของผู้เรียนดีขึ้น ผู้ออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน จึงควรเปิด โอกาสให้ผู้เรียนได้ร่วมกระทำกิจกรรมในบทเรียนอย่างต่อเนื่อง โดยมีข้อแนะนำดังนี้ 2.2.6.1กกส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีโอกาสตอบสนองต่อบทเรียนด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง เช่น ตอบคำถาม ทำแบบทดสอบ เป็นต้น 2.2.6.2กกควรให้ผู้เรียนได้มีโอกาสพิมพ์คำตอบหรือเติมข้อความสั้นกๆ เพื่อ เรียกร้องความสนใจ แต่ไม่ควรให้ผู้เรียนพิมพ์คำตอบที่ยาวเกินไป 2.2.6.3กกถามคำถามเป็นช่วงกๆ สลับกับการนำเสนอเนื้อหา ตามความ เหมาะสมของลักษณะเนื้อหา 2.2.6.4กกเร่งเร้าความคิดและจินตนาการด้วยคำถาม เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยใช้ความเข้าใจมากกว่าการใช้ความจำ 2.2.6.5กกไม่ควรถามครั้งเดียวหลายกๆ คำถาม หรือถามคำถามเดียว แต่ตอบ ได้หลายคำตอบ ถ้าจำเป็นควรใช้คำตอบแบบตัวเลือก 2.2.6.6กกหลีกเลี่ยงการตอบสนองซ้ำหลายกๆ ครั้ง เมื่อผู้เรียนตอบผิดหรือทำผิด 2-3 ครั้ง ควรตรวจปรับเนื้อหาทันที และเปลี่ยนกิจกรรมเป็นอย่างอื่นต่อไป เพื่อไม่ให้ ผู้เรียนเกิดความเบื่อ 15 2.2.6.7กกเฟรมตอบสนองของผู้เรียน เฟรมคำถาม และเฟรมการตรวจปรับ เนื้อหา ควรอยู่บนหน้าจอภาพเดียวกัน เพื่อสะดวกในการอ้างอิง 2.2.6.8กกควรคำนึงถึงการตอบสนองที่มีข้อผิดพลาด อันเกิดจากความเข้าใจ ผิด เช่น การพิมพ์ตัว L กับ เลข 1 เป็นต้น 2.2.7กกให้ข้อมูลย้อนกลับ (Provide Feedback) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วย สอนจะกระตุ้นความสนใจจากผู้เรียนได้มากขึ้น ถ้าบทเรียนนั้นท้าทาย โดยการบอกเป้าหมายที่ ชัดเจนและแจ้งให้ผู้เรียนทราบว่าขณะนั้นผู้เรียนอยู่ที่ส่วนใด ห่างจากเป้าหมายเท่าใด การให้ข้อมูล ย้อนกลับถ้า นำเสนอด้วยภาพจะช่วยเร่งเร้าความสนใจได้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าภาพนั้น เกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียน อย่างไรก็ตามถ้าเป็นบทเรียนที่ใช้กับกลุ่มเป้าหมายระดับสูง หรือเนื้อหาที่มี ความยาก การให้ข้อมูลย้อนกลับด้วยคำเขียนหรือกราฟ จะเหมาะสมกว่า สิ่งที่ต้องพิจารณาในการ ให้ข้อมูลย้อนกลับ มีดังนี้ 2.2.7.1กกให้ข้อมูลย้อนกลับทันที หลังจากผู้เรียนโต้ตอบกับบทเรียน 2.2.7.2กกควรบอกให้ผู้เรียนทราบว่าตอบถูกหรือผิด โดยแสดงคำถาม คำตอบ และการตรวจปรับบนเฟรมเดียวกัน 2.2.7.3กกถ้าให้ข้อมูลย้อนกลับโดยใช้ภาพ ควรเป็นภาพที่ง่าย และเกี่ยวข้อง กับเนื้อหาถ้าไม่สามารถหาภาพที่เกี่ยวข้องได้ อาจใช้กราฟฟิกที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาได้ 2.2.7.4กกหลีกเลี่ยงการใช้ผลทางภาพ (Visual Effects) หรือการให้ ข้อมูลย้อนกลับที่ตื่นตาเกินไป ในกรณีที่ผู้เรียนตอบผิด 2.2.7.5กกอาจใช้เสียงสำหรับการให้ข้อมูลย้อนกลับ เช่น คำตอบถูกต้อง และคำตอบผิด โดยใช้เสียงที่แตกต่างกัน แต่ไม่ควรเลือกใช้เสียงที่ก่อให้เกิดลักษณะการเหยียด หยาม หรือดูแคลน ในกรณีที่ผู้เรียนตอบผิด 2.2.7.6กกเฉลยคำตอบที่ถูกต้องหลังจากผู้เรียนตอบผิด 2-3 ครั้ง ไม่ควร ปล่อยเวลาให้เสียไป 2.2.7.7กกอาจใช้วิธีการให้คะแนนหรือแสดงภาพ เพื่อบอกความใกล้-ไกลจาก เป้าหมายก็ได้ 2.2.7.8กกพยายามสุ่มการให้ข้อมูลย้อนกลับ เพื่อเรียกความสนใจตลอดบทเรียน 2.2.8กกทดสอบความรู้ใหม่ (Assess Performance) การทดสอบ ความรู้ใหม่หลังจากศึกษาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรียกว่า การทดสอบหลังบทเรียน (Post–test) เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทดสอบความรู้ของตนเองนอกจากนี้จะยังเป็นการ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนว่าผ่านเกณฑ์ ที่กำหนดหรือไม่ เพื่อที่จะไปศึกษาในบทเรียนต่อไป หรือ 16 ต้องกลับไปศึกษาเนื้อหาใหม่ การทดสอบหลังบทเรียนจึงมีความจำเป็นสำหรับบทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอนทุกประเภท สิ่งที่ต้องพิจารณาในการออกแบบทดสอบหลังบทเรียน มีดังนี้ 2.2.8.1กกชี้แจงวิธีการตอบคำถามให้ผู้เรียนทราบก่อนอย่างแจ่มชัด รวมทั้ง คะแนนรวม คะแนนรายข้อ และรายละเอียดที่เกี่ยวข้องอื่นกๆ เช่น เช่นเกณฑ์ในการตัดสินผล 2.2.8.2กกแบบทดสอบ ต้องวัดพฤติกรรมตรงกับวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม ของบทเรียน และควรเรียงลำดับจากง่ายไปยาก 2.2.8.3กกข้อคำถาม คำตอบ และการตรวจปรับคำตอบ ควรอยู่ในเฟรม เดียวกัน และนำเสนออย่างต่อเนื่องด้วยความรวดเร็ว 2.2.8.4กกหลีกเลี่ยงแบบทดสอบแบบอัตนัย ที่ให้ผู้เรียนพิมพ์คำตอบยาว ยกเว้น ข้อสอบที่ต้องการทดสอบทักษะการพิมพ์ 2.2.8.5กกในแต่ละข้อ ควรมีคำถามเดียว เพื่อให้ผู้เรียนตอบครั้งเดียวยกเว้นใน คำถามนั้นมีคำถามย่อยอยู่ด้วย ซึ่งควรแยกออกเป็นหลายกๆ คำถาม 2.2.8.6กกแบบทดสอบควรเป็นข้อสอบที่มีคุณภาพ มีค่าอำนาจจำแนกดี ความยากง่ายเหมาะสม และมีค่าความเชื่อมั่นเหมาะสม 2.2.8.7กกอย่าตัดสินคำตอบว่าผิด ถ้าการตอบไม่ชัดแจ้ง เช่น ถ้าคำตอบที่ ต้องการเป็นตัวอักษรแต่ผู้เรียนพิมพ์ตัวเลข ควรบอกให้ผู้เรียนตอบใหม่ ไม่ควรชี้ว่าคำตอบนั้นผิด 2.2.8.8กกแบบทดสอบชุดหนึ่งควรมีหลาย ๆ ประเภท ไม่ควรใช้เฉพาะ ข้อความเพียงอย่างเดียว ควรเลือกใช้ภาพประกอบบ้าง เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศในการสอบ 2.2.9กกสรุปและนำไปใช้ (Review and Transfer) จัดว่าเป็นส่วนสำคัญใน ขั้นตอนสุดท้ายที่บทเรียนจะต้องสรุปมโนมติของเนื้อหาเฉพาะประเด็นสำคัญกๆ รวมทั้ง ข้อเสนอแนะต่างกๆ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีโอกาสทบทวนความรู้ของตนเองหลังจากศึกษา เนื้อหาผ่านมาแล้ว ในขณะเดียวกันต้องชี้แนะเนื้อหาที่เกี่ยวข้องหรือให้ข้อมูลอ้างอิงเพิ่มเติม เพื่อ แนะแนวทางให้ผู้เรียนได้ศึกษาต่อในบทเรียนถัดไป หรือนำไปประยุกต์ใช้กับงานอื่นต่อไป การ ออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอยในขั้นตอนนี้ มีข้อเสนอแนะดังนี้ 2.2.9.1กกสรุปองค์ความรู้เฉพาะประเด็นสำคัญ พร้อมทั้งชี้แนะให้เห็นถึงความ สัมพันธ์กับความรู้ หรือประสบการณ์เดิมที่ผู้เรียนผ่านมาแล้ว 2.2.9.2กกทบทวนแนวความคิดที่สำคัญของเนื้อหา เพื่อเป็นการสรุป 2.2.9.3กกเสนอแนะเนื้อหาที่ความรู้ใหม่ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ 2.2.9.4กกบอกผู้เรียนถึงแหล่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการศึกษาเนื้อหาต่อไป 17 ขั้นตอนการสอนทั้ง 9 ประการของ Robert Gagne เป็นมโนมติกว้างกๆ แต่ก็ สามารถประยุกต์ใช้ได้ทั้งบทเรียนสำหรับการเรียนการสอนปกติในชั้นเรียนและบทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เทคนิคอย่างหนึ่งในการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ใช้เป็น หลักพื้นฐานก็คือ การทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกใกล้เคียงกับการเรียนรู้โดยผู้สอนในชั้นเรียน โดย ปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ให้มากที่สุด 2.3กกขั้นตอนการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สำหรับภาควิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบัน เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือได้นำเสนอขั้นตอนการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วย ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนหลัก ดังนี้ (มนต์ชัย, 2543) 2.3.1กกการวิเคราะห์ (Analysis) ประกอบด้วยขั้นต่างกๆ ดังนี้ 2.3.1.1ก ก ก า ร กํ า ห น ด หั ว เ รื่ อ ง แ ล ะ กํ า ห น ด วั ต ถุ ป ร ะ ส ง ค์ ทั่ ว ไ ป (Specify Title and Define General Objective) ควรคำนึงถึงลักษณะของ เนื้อหาวิชาให้เหมาะสมสำหรับการเรียน การสอนรายบุคล ซึ่งลักษณะวิชาที่ใช้ได้ผลดีกับบทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ได้แก่ วิชาทางด้านทฤษฎีที่เน้นความรู้ความเข้าใจในเนื้อหา 2.3.1.2กกการวิเคราะห์ผู้เรียน (Audience Analysis) เพื่อนำข้อมูล เหล่านี้เป็น แนวทางในการออกแบบบทเรียนให้สอดคล้องกับกลุ่มผู้เรียนอย่างแท้จริง 2.3.1.3กกการวิเคราะห์วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม (Behavioral Analysis) วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการออกแบบบทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เนื่องจากใช้เป็นแนวทางการจัดการของบทเรียน ให้ดำเนินไปตาม กระบวนการเรียนรู้อย่างเป็นระบบและสอดคล้องกับประสบการณ์ของผู้เรียน โดยบ่งบอกถึงสิ่งที่ บทเรียนคาดหวังจากผู้เรียนว่าผู้จะสามารถแสดงพฤติกรรมใดกๆ ออกมาภายหลังสิ้นสุด กระบวนการเรียนรู้ 2.3.1.4กกการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ขั้นตอนนี้ นับว่ามีความสำคัญ และใช้เวลามาก เพื่อให้การวิเคราะห์เนื้อหาเป็นระบบและสะดวกยิ่งขึ้น สามารถใช้วิธีการต่างกๆ ในการรวบรวมเนื้อหา เช่น ใช้แบบปะการัง (Coral Pattern) เป็น ต้น 2.3.2ก การออกแบบ (Design) ประกอบด้วยขั้นต่างกๆ ดังนี้ 2.3.2.1กกการออกแบบคอร์สแวร์ (Courseware Design) การ ออกแบบจะต้องพิจารณาทั้งกระบวนการเรียนรู้ว่าจะดำเนินการนำเสนอเนื้อหาและจัดการบทเรียน 18 อย่างไร จึงจะบรรลุตามวัตถุประสงค์ของบทเรียน กระบวนการดังกล่าวนี้รวมถึงรูปแบบการ นำเสนอบทเรียน การจัดกิจกรรม การเรียน การเลือกใช้สื่อ การใช้คำถามระหว่างบทเรียน การตัดสินคำตอบ แบบทดสอบหลังบทเรียน และส่วนอื่นกๆ ที่เกี่ยวข้อง 2.3.2.2กกการออกแบบผังงาน และบทดำเนินเรื่อง (Lesson Flowchart and Storyboard) ผังงานเป็นการจัดลำดับความสัมพันธ์ของเนื้อหาแต่ละส่วน ว่าส่วนใด เกี่ยวข้องกับส่วนใด และส่วนใดมาก่อนหลัง เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาบทเรียน การ ออกแบบบทดำเนินเรื่องจะยึดตัวบทเรียนเป็นหลัก เพื่อใช้เป็นแนวทางในการสร้างบทเรียนในขั้น ต่อไป ดังนั้นการ ออกแบบบทดำเนินเรื่องจึงต้องมีความละเอียดและสมบูรณ์ เพื่อให้การสร้าง บทเรียนทำได้ง่ายและเป็นระบบ 2.3.2.3กกการออกแบบหน้าจอภาพ (Screen Design) การออกแบบ หน้าจอภาพ จะมีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องหลายประการ ได้แก่ ความสามารถในการแสดง ภาพสีของเครื่องคอมพิวเตอร์ ความละเอียดของภาพ ขนาดของจอ รูปแบบตัวอักษร ขนาดของ ตัวอักษร สีของ ตัวอักษร ฉากหลัง วิธีการปฏิสัมพันธ์ และอื่นกๆ องค์ประกอบเหล่านี้นับว่า เป็นองค์ประกอบหลัก ที่ทำให้หน้าจอภาพของบทเรียนน่าสนใจและชวนติดตาม ในการออกแบบ จอภาพ ต้องพิจารณาควบคู่กับการออกแบบผังงาน และการออกแบบบทดำเนินเรื่อง เนื่องจากทั้ง สามส่วนนี้มีความสัมพันธ์กัน 2.3.3กกการพัฒนา (Development) ประกอบด้วยขั้นต่างกๆ ดังนี้ 2.3.3.1กกการเตรียมการ (Preparation Phase) ก่อนที่จะพัฒนา บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนต้องเตรียมการทางด้านภาพ ข้อความ และเสียง โดยจัดหาจากแหล่ง ต่างกๆ เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาบทเรียนในขั้นต่อไป 2.3.3.2กกการสร้างบทเรียน (Develop the lesson) ในขั้นตอนนี้ เป็นการใช้ข้อมูลที่เตรียมการมาทั้งหมดในขั้นตอนแรก เพื่อสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 2.3.3.3กกการทำเอกสารประกอบบทเรียน (Documentation) เอกสารประกอบบทเรียน ได้แก่ คู่มือการใช้งาน การแนะนำ และการติดตั้งและบำรุงรักษา บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อชี้แนะให้ผู้เรียนทราบถึงข้อแนะนำต่างกๆ 2.3.4กกการทดลองใช้ (Implementation) เป็นการนำบทเรียนไปทดลองใช้กับ กลุ่มเป้าหมาย โดยผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญเสียก่อน ในขั้นตอนนี้ไม่ได้มีข้อกำหนด แน่นอนตายตัวว่า จะใช้กับผู้เรียนกลุ่มใด จำนวนแน่นอนเท่าใด ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของ ผู้ออกแบบหรือคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ 19 2.3.5กกการประเมินผล (Evaluation) การประเมินผลเพื่อหาประสิทธิภาพ ของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนทำได้หลายวิธี ได้แก่ วิธีการประเมินผลประสิทธิภาพในตัว บทเรียนเอง โดยใช้หลักสูตรที่มีนักการศึกษาคิดค้น เช่น การเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของผู้เรียนที่ ทำได้จากแบบทดสอบก่อนบทเรียนและแบบทดสอบหลังบทเรียน หรือนำคะแนนเฉลี่ยจาก แบบฝึกหัดระหว่างบทเรียนมาเปรียบเทียบกับคะแนนจากแบบทดสอบหลังบทเรียนเป็นต้น 2.4กกการเรียนการสอนทางไกลผ่านคอมพิวเตอร์ การสอนผ่านสื่อทางไกลอีกรูปแบบหนึ่งที่มีอิทธิพลอย่างมากในขณะนี้ และไม่อาจมองข้าม ไปได้คือการเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์กับซีดีรอม (CD-ROM: Compact Disc– Read Only Memory) และเครื่องคอมพิวเตอร์กับระบบอินเทอร์เน็ต โดยทั้งสองระบบนี้ ได้เข้ามามีส่วนช่วยในการเรียนผ่านสื่อทางไกลดังนี้ คอมพิวเตอร์กับซีดีรอม เนื่องจากได้มีการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนที่เป็นโปรแกรมแบบ ใช้หลายสื่อผสม (Multimedia) ทำให้มีความจำเป็นต้องใช้เนื้อที่เก็บข้อมูลเป็นจำนวนมาก ซึ่งอุปกรณ์แบบดั้งเดิมที่เป็นแผ่นจานบันทึก (Diskette) มีขนาดเล็กเกินไปและไม่สะดวก เพราะต้องใช้หลายแผ่นในการบรรจุข้อมูลช่วยสอนแบบมัลติมีเดียได้หมดจึงได้มีการนำแผ่นเก็บ ข้อมูลที่เรียกว่าซีดีรอมมาใช้แทน จึงกล่าวได้ว่าซีดีรอมเป็นสื่ออีกประเภทหนึ่งที่ปฏิวัติการเรียนการ สอน เนื่องจากซีดีรอมหนึ่งแผ่นสามารถบรรจุข้อมูลขนาดจานบันทึก ขนาด 3.5 นิ้ว ได้ราว 450 แผ่น จึงทำให้ การสร้างบทเรียนนอกจากที่จะบรรจุเนื้อหาวิชา และภาพแล้วยังสามารถ บรรจุเสียง วีดิทัศน์ได้ บทเรียนละมากกๆ อีกด้วย คอมพิวเตอร์กับอินเทอร์เน็ต การพัฒนาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้ทำการพัฒนามาเป็น เวลาประมาณ 40 กว่าปี ต่อมาได้มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว และต่อเชื่อมกันเป็นระบบ เครือข่ายใยแมงมุม ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ (WWW : World Wide Web) ซึ่งมี ความหมายว่าเป็นเครือข่ายที่ต่อเชื่อมกันทั่วโลก ดังนั้นจะเห็นว่ามีแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ ที่ สามารถเข้าไปค้นคว้าหาข้อมูลข่าวสารได้ตามความต้องการ ซึ่งจะเป็นแนวทางหนึ่งที่จะนำมาใช้ เป็นสื่อการสอน และได้มีการจัดรูปแบบการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นมากมายใน สถาบันการศึกษาต่างกๆ โดยที่ผู้เรียนสามารถที่จะลงทะเบียนเรียนที่ไหนก็ได้ในโลกนี้ที่ สถาบันการศึกษาแห่งนั้นเปิดสอนรายวิชาผ่านทางอินเทอร์เน็ต บริการที่ใช้ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสามารถแบ่งได้เป็น 4 รูปแบบดังนี้ 2.4.1กกไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) การใช้ไปรษณีย์ อิเล็กทรอนิกส์สำหรับการศึกษาสามารถทำได้ในส่วนของการส่งเอกสารการเรียนการสอน 20 การบ้าน การถามตอบกับครู ผู้สอนหรือเพื่อนร่วมชั้นเรียนคนอื่น โดยจะส่งไปตามที่อยู่ไปรษณีย์ อิเล็กทรอนิกส์ที่ลงทะเบียนไว้ 2.4.2กกแหล่งข้อมูล (Information Source) เนื่องจากระบบเครือข่าย อินเทอร์เน็ตเป็น เครือข่ายที่เชื่อมโยงเข้ากับคอมพิวเตอร์อื่นกๆ ทั่วโลกกว่าล้านเครื่องทำให้การหา ข้อมูลในระบบ อินเทอร์เน็ตเป็นไปได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย 2.4.3กกกลุ่มแลกเปลี่ยนข่าวสารและสนทนา (Discussion Group and List Serve) สามารถใช้ ประโยชน์จากกลุ่มแลกเปลี่ยนข่าวสารและสนทนาโดยให้สมาชิกในกลุ่มวิชาเดียวกันตั้งหัวข้อที่ กำลังเรียน การส่งคำถาม ข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็น ผู้ส่งคำถามส่งเพียงครั้งเดียว จากนั้นเครื่อง บริการคอมพิวเตอร์จะทำการส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์นั้นกๆ ไปยังผู้ที่สมัครเป็นสมาชิกทุกกๆ คน วิธีนี้นอกจากจะไม่ต้องทำให้ผู้เรียนต้องส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หลายครั้งแล้ว ยังทำให้ผู้ ถามได้รับคำตอบที่มาจากหลายความคิดเห็นและหลายแง่มุมอีกด้วย 2.4.4กกการเรียนทางไกลผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (Distance Education) ประโยชน์ในการเรียนทางไกลผ่านระบบอินเทอร์เน็ต คือ ทำให้ห้องเรียนทางไกลมีบรรยากาศการ เรียนการสอนเหมือนในห้องเรียนปกติมากขึ้น ซึ่งเป็นการสอนจากจุดเดียวไปหลายจุดที่สามารถ สอนนักเรียนได้คราวละมากกๆ ทำให้นักเรียนที่อยู่ปลายทางเห็นการสาธิตที่เกิดขึ้นจริงใน ห้องเรียน และยังใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างนักเรียนซึ่งอยู่ห่างไกลกันมากโดยเสียค่าใช้จ่าย น้อยลง 2.5กกหลักสูตรรายวิชา คอมพิวเตอร์เบื้องต้น วิชา คอมพิวเตอร์เบื้องต้น อ้างอิงจากหลักสูตรระดับปริญญาตรี วิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย รหัสวิชา 104102 จำนวนหน่วยกิต 3 หน่วยกิต สภาพรายวิชา เป็น วิชาศึกษาทั่วไป 2.5.1กกคำอธิบายรายวิชา วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์ องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ การทำงานแต่ละส่วนประกอบ ต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ การประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบ สารสนเทศเบื้องต้น 21 2.5.2กกเนื้อหาวิชา บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปกับคอมพิวเตอร์ บทที่ 2 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ บทที่ 3 ส่วนประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ บทที่ 4 หน่วยประมวลผลกลาง บทที่ 5 ข้อมูล ไฟล์ และการประมวลผล บทที่ 6 ซอฟต์แวร์ และภาษาคอมพิวเตอร์ บทที่ 7 การใช้โปรแกรมสำเร็จรูป บทที่ 8 การพัฒนาระบบ บทที่ 9 ระบบสารสนเทศ บทที่ 10 เครือข่ายคอมพิวเตอร์ 2.5.3กก กิจกรรมการเรียน 2.5.3.1กกนักศึกษาเป็นศูนย์กลาง 2.5.3.2กกการบรรยาย 2.5.3.3ดดการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมด้วยตนเอง 2.5.4กกสื่อการเรียนการสอน 2.5.4.1กกหนังสือ ตำรา และบทความวิชาการต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ 2.5.4.2กกโสตวัสดุต่าง ๆ เช่น แผ่นใส 2.5.4.3ดดวารสารทางคอมพิวเตอร์ และเอกสารประกอบการเรียนการสอน 2.5.5กกการประเมินผลการเรียน 2.5.5.1กกพิจารณาจากความสนใจเรียนและการมีส่วนร่วมในการถาม-ตอบ 2.5.5.2กกพิจารณาจากงานที่ได้รับมอบหมาย 2.5.5.3ดดพิจารณาจากผลการทดสอบระหว่างภาคเรียนและปลายภาคเรียน 2.5.6กกเกณฑ์การตัดสินใจ ความสนใจเรียนและการมีส่วนร่วมในการอภิปราย 5% รายงาน-กรณีศึกษา 5% คะแนนสอบระหว่างภาคเรียน 10 % คะแนนสอบกลางภาคเรียน 20 % 22 คะแนนสอบปลายภาคเรียน 60 % 2.5.7กกกการให้ระดับคะแนน ระดับคะแนน 80 ขึ้นไป ได้ระดับคะแนน A ระดับคะแนน 75-79 ได้ระดับคะแนน B+ ระดับคะแนน 70-74 ได้ระดับคะแนน B ระดับคะแนน 65-69 ได้ระดับคะแนน C+ ระดับคะแนน 60-64 ได้ระดับคะแนน C ระดับคะแนน 55-59 ได้ระดับคะแนน D+ ระดับคะแนน 50-54 ได้ระดับคะแนน D ระดับคะแนน 0-49 ได้ระดับคะแนน F 2.6กกผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จิระวัฒน์ (2542) ได้ทำการวิจัยเรื่องการฝึกอบรมระยะสั้น วิชาวิศวกรรมแทรฟฟิค ขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ การวิจัย เพื่อสร้างและพัฒนาบทเรียนดังกล่าว โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง การ นำเสนอบทเรียนเป็นลักษณะโมดูลย่อย แบ่งออกเป็น 4 โมดูล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เลือก แบบเจาะจง (Purposive Sampling) จากพนักงานองค์การโทรศัพท์ ที่ทำงานเกี่ยวข้อง กับงานทางด้านโครงข่ายโทรศัพท์และแทรฟฟิค จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น โปรแกรมสื่อการสอนบน เครือข่ายอินเทอร์เน็ต แบบฝึกหัดท้ายบทเรียน/แบบทดสอบรวม เพื่อ หาประสิทธิภาพของบทเรียนตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ไม่ต่ำกว่า 80/80 และแบบสอบถามความคิดเห็น จากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหาความเหมาะสมของสื่อการสอน ผลการวิจัยการหาประสิทธิภาพของ บทเรียน จากกลุ่มตัวอย่าง ได้คะแนนจากการทำแบบฝึกหัดท้ายบทเรียน/แบบทดสอบรวม คิดเป็น ร้อยละ 85.87/ 80.2 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้และผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นเกี่ยวกับความ เหมาะสมของสื่อการสอน อยู่ในระดับดี โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 4.026 ซึ่งสรุปได้ว่าบทเรียน คอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นนี้ สามารถนำไปใช้ ฝึกอบรมกับกลุ่มเป้าหมายได้ ณัฐพล (2540) ได้ทำการวิจัยและพัฒนาหาประสิทธิภาพของบทเรียนที่ทำให้ผู้เรียนเกิด การพัฒนาด้านการเรียนตามเกณฑ์ 80/80 และเกณฑ์มาตราฐานของ Meguigans รวมทั้งเปรียบเทียบผลการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็น นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 สาขาเทคโนโลยีและการสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ 23 สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ปีการศึกษา 2540 จำนวน 42 คน แบ่งออกเป็นการทดลอง รายบุคคล 3 คน การทดลองกลุ่มย่อย 9 คน และการทดลองกลุ่มใหญ่ 30 คน โดย วิธีการสุ่มอย่างง่ายเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น บทเรียนวิชาการถ่ายภาพเบื้องต้น โดยใช้รูปแบบ ของ Hypertext บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทำการทดลองใช้บทเรียนรายบุคคล หา ข้อบกพร่องและปรับปรุงแก้ไข การทดลองใช้บทเรียนกับกลุ่มย่อยทำแบบทดสอบเพื่อหา ประสิทธิภาพของบทเรียน ผลการทดสอบหาประสิทธิภาพของบทเรียนตามเกณฑ์ 80/80 พบว่า บทเรียนวิชาการถ่ายภาพเบื้องต้นโดยใช้รูปแบบไฮเปอร์เท็กซ์บนเครือข่าย อินเทอร์เน็ตมี ประสิทธิภาพ 83.28/81.03 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ สำหรับการหาประสิทธิภาพของ บทเรียนตามเกณฑ์มาตรฐานของ Meguigans พบว่ามีมาตราฐานตามเกณฑ์คือ มีค่าเท่ากับ 1.09 และการเปรียบเทียบผลการทดสอบก่อนและหลังเรียน พบว่าคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบ หลังเรียนสูงกว่าคะแนนจากการทดสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 Blanco (1996) ได้ศึกษาถึงการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ในคณะศึกษาศาสตร์ ซึ่ง จุดประสงค์ของการศึกษาในครั้งนี้เพื่อศึกษาประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ในการศึกษาของคณะศึกษาศาสตร์ ภายในวิทยาลัยการศึกษา (College of Education) ผลการศึกษาพบว่า คณะศึกษาศาสตร์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอนน้อย จุดประสงค์หลักที่คณะให้มีการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ก็เพื่อช่วยในการจัดระบบการสอนของ ครู และการ มอบหมายงานให้นักศึกษาใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ผลการวิเคราะห์พบว่าผู้ที่ ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มีผลมาจากการมีประสบการณ์ในทางบวกกับคอมพิวเตอร์มาก่อน และ พบว่าจุดประสงค์ของการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในการสอนมีหลายประการ เช่น เพื่อให้ นักศึกษามีความรู้สึกตระหนักถึงเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เพื่อเป็นแบบอย่างในเรื่องพฤติกรรม เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และการประสานเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในชั้นเรียน และมีข้อเสนอแนะ จากการศึกษานี้ว่า ทุกคณะควรจะมีคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งให้ใช้ในการสื่อสารได้ เช่น จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) และอินเทอร์เน็ต (Internet) นอกจากนี้คณะควรมีโอกาสมาก ขึ้นในการเลือกเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการศึกษา Mohaidin (1995) ได้ทำการศึกษาการใช้อินเทอร์เน็ต ของนักศึกษาชาวมาเลเซียที่ กำลังศึกษาในต่างประเทศ และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการนำอินเทอร์เน็ตมาใช้ ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาชายใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่าและมีทักษะการใช้ดีกว่านักศึกษาหญิง นักศึกษาส่วนใหญ่ใช้ อินเทอร์เน็ตเกือบจะทันทีหลังจากเริ่มลงทะเบียนเรียนในมหาวิทยาลัย นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ใช้ อินเทอร์เน็ตเพื่อการสื่อสารมากกว่าจะใช้เพื่อจะประสงค์ทางวิชาการ ประสบการณ์และทักษะมี ความเกี่ยวข้องกับความถี่และความสามารถในการใช้อินเทอร์เน็ต และนักศึกษาเห็นพ้องต้องกันว่า 24 ควรให้มีการสอนการใช้อินเทอร์เน็ตในมหาวิทยาลัยทุกแห่งในประเทศมาเลเซีย จากผลการวิจัย ทางด้านการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการเรียนการสอน สรุปได้ว่าการใช้คอมพิวเตอร์ที่ใช้งานเป็น คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือต่อเป็นลักษณะเครือข่ายบนระบบอินเทอร์เน็ต จะมีความสำคัญอย่าง สูงต่อการศึกษาด้วยตนเอง 2.7กกบทสรุปทฤษฎีที่นำมาใช้ ผู้วิจัยได้นำเอาหลักการและวิธีการเกี่ยวกับการสร้างและออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอนแบบฝึกทบทวนขึ้นมาออกแบบระบบงานเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาบทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ในรายวิชาคอมพิวเตอร์เบื้องต้น หลักสูตรระดับ ปริญญาตรี วิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น รูปแบบการจัดการบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มีลักษณะ แบบเนื้อหาทั่วไปไม่เน้นรูปแบบการเรียนการสอน มีการฝึกและทบทวนความรู้ของผู้เรียน และ หลักการมุ่งเน้นด้านเนื้อหาความรู้โดยตรง เพื่อให้สามารถใช้กับการเรียนการสอนในชั้นเรียนปกติ ได้ ผู้ที่เข้าศึกษาบทเรียน จะได้รับแบบทดสอบที่แตกต่างกัน เพื่อไม่ให้ผู้เข้าศึกษาบทเรียนสามารถ จดจำข้อสอบ ต่าง ๆ ได้ มีการเก็บคะแนนทดสอบของแต่ละคนไว้ เพื่อสามารถติดตามและเรียกดู ข้อมูลย้อนหลังได้ ซึ่งบทเรียนช่วยสอนดังกล่าวมีประโยชน์อย่างมาก ทำให้การสอนมี ประสิทธิภาพสูงขึ้นเหมาะสำหรับการนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้ บทที่ 3 วิธีการดำเนินงาน การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้สร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง คอมพิวเตอร์เบื้องต้น โดยมีขั้นตอนการวิจัยดังนี้ 3.1กกการศึกษาข้อมูล 3.2กกการเลือกประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 3.3กกการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 3.4กกการดำเนินการทดลองและเก็บข้อมูล 3.5กกการวิเคราะห์ข้อมูล 3.1กกการศึกษาข้อมูล ผู้วิจัยได้ศึกษาข้อมูลต่างกๆกเพื่อการวิจัย ดังนี้ 3.1.1กกศึกษาหลักการและวิธีการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่าย อินเทอร์เน็ต เช่น วิธีการนำเสนอ ประเภท รูปแบบ และส่วนอื่นกๆ จากตำรา เอกสาร งานวิจัย และ สิ่งพิมพ์อื่นกๆ ที่เกี่ยวข้อง และคำแนะนำจากอาจารย์ที่ปรึกษา โดยวิธีการนำเสนอบทเรียนเป็น ลักษณะของการเสนอหัวข้อให้ผู้เรียนเลือกได้ เช่น เลือกดูคำแนะนำ ส่งเมล์ ถามตอบปัญหา 3.1.2กก ศึกษาเครื่องมือสำหรับสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งเกี่ยวข้อง และสัมพันธ์กับการสร้างโปรแกรมเนื้อหาบทเรียน รูปภาพ การทำแบบฝึกหัด และแบบทดสอบ ความสัมพันธ์กับฐานข้อมูล การเก็บสถิติการเรียนและการเก็บคะแนนใน บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่สร้างขึ้น ได้แก่ โปรแกรม Adobe PhotoShop,Adobe ImageStyler, Macromedia Flash, Macromedia Dreamweaver, Professional Home Page (PHP), MySQL เป็นต้น 3.1.3กกศึกษาหลักการวิเคราะห์เนื้อหา การประเมินความสำคัญของหัวเรื่อง การเขียน วัตถุประสงค์ วิธีการให้เนื้อหา การออกแบบทดสอบ การวัดผล การแสดงผล การวิเคราะห์เนื้อหา เลือกเนื้อหาที่สำคัญ และสามารถนำมาถ่ายทอดลงในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่าย อินเทอร์เน็ต ให้สามารถเข้าใจได้ง่าย (รายละเอียด ในภาคผนวก ก. หน้า 52) 25 3.1.4กกศึกษาเนื้อหาเรื่อง คอมพิวเตอร์เบื้องต้น ตามหลักสูตรระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 คณะวิชาบริหารธุรกิจ สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย โดยศึกษาจากเอกสาร ตำรา และสิ่งพิมพ์ต่างกๆ ที่เกี่ยวข้อง 3.2กกการเลือกประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะวิชาบริหารธุรกิจ วิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2546 ที่ ต้องเรียนวิชา คอมพิวเตอร์เบื้องต้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จาก นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 คณะวิชาบริหารธุรกิจ วิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2546 ที่ต้องเรียน วิชาคอมพิวเตอร์เบื้องต้น จำนวน 30 คน 3.3กกการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตวิชา คอมพิวเตอร์เบื้องต้น มีการ สร้างเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยดังนี้ 3.3.1กกบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้วิจัยได้พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเรื่อง คอมพิวเตอร์ เบื้องต้น โดยรวบรวมเนื้อหาบทเรียนดังกล่าว ดังนี้ 3.3.1.1กกประวัติและความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ ก) กกความหมายของคอมพิวเตอร์ ข) กกลักษณะที่สำคัญของคอมพิวเตอร์ ค) กกประวัติของคอมพิวเตอร์ ง) กกวิวัฒนาการและยุคของคอมพิวเตอร์ จ) กกประเภทของคอมพิวเตอร์ 3.3.1.2กกองค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ ก) กกองค์ประกอบด้านฮาร์ดแวร์ (Hardware) ข) กกองค์ประกอบด้านซอฟท์แวร์ (Software) ค) กกองค์ประกอบด้านบุคลากร (Personnel) ง) กกองค์ประกอบด้านข้อมูล (Data) จ) กกความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ 26 3.3.1.3กกส่วนประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ ก) กกส่วนรับข้อมูล (Input) ข) กกหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ค) กกหน่วยแสดงผลลัพธ์ (Output Unit) 3.3.1.4กกหน่วยประมวลผลกลาง และหน่วยความจำ ก) กกการประมวลผลของระบบคอมพิวเตอร์ ข) กกหน่วยความจำ ค) กกหน่วยความจำหลัก ง) กกหน่วยความจำสำรอง 3.3.1.5กกข้อมูลและการประมวลผลข้อมูล ก) กกความหมายของข้อมูล ข) กกประเภทของข้อมูล ค) กกลักษณะของข้อมูล ง) กกโครงสร้างของข้อมูล จ) กกการประมวลผลข้อมูล ฉ) กกข้อมูลที่เหมาะสมสำหรับการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ ช) กกวิธีการประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ 3.3.1.6กกการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ก) กกMicrosoft Word ข) กกMicrosoft Excel ค) กกMicrosoft Powerpoint เมื่อได้เนื้อหาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง คอมพิวเตอร์ เบื้องต้น เพื่อใช้สำหรับการพัฒนาบทเรียนดังกล่าวแล้ว ได้สร้างบทเรียนต้นแบบขึ้นโดยมีขั้นตอน ดังนี้ (รายละเอียดขั้นตอนดูภาพที่ 3-1 หน้า 27 ประกอบ) 3.3.1.7กกวิเคราะห์เนื้อหาและออกแบบบทเรียน โดยเลือกเนื้อหากำหนดเป็น หัวข้อย่อยจากนั้นจึงเขียนรายการวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม และเนื้อหาบทเรียนที่เหมาะสมกับ การนำมาทำเป็นบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทำความเข้าใจกับเนื้อหา และย่อ ให้ได้ใจความเหมาะสม รวมทั้งรูปที่นำมาประกอบในการอธิบาย ทั้งนี้ต้องสอดคล้อง กับ วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่กำหนดไว้ เพื่อนำไปสร้างบทเรียนโดยเลือกใช้ 27 โปรแกรม Macromedia Flash, Macromedia Dreamweaver และ PHP เป็นเครื่องมือในการสร้างบทเรียน 3.3.1.8กกออกแบบรูปร่างหน้าจอในลักษณะ Web Page ดังนี้ ก) กออกแบบ Web Page เริ่มแรกของการเข้าสู่โปรแกรม การออกแบบหน้าจอหลักของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต วิชา คอมพิวเตอร์เบื้องต้น ประกอบด้วยรายการแสดงเมนูในแต่ละบทเรียน (ดูภาพที่ 3-1 ประกอบ) และหน้าจอหลักของบทเรียนแต่ละบท (ภาพที่ 3-2) ภาพที่ 3-1กกการออกแบบรายการแสดงเมนูของบทเรียน 28 ภาพที่ 3-2กกการออกแบบหน้าจอหลักของบทเรียน ข) กำหนดรูปแบบตัวอักษรและภาพ รูปแบบตัวอักษรที่ใช้ในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่สร้างขึ้น ใช้ลักษณะของตัวอักษรแบบ AngsanaUPC โดยเลือกใช้ตัวอักษรขนาด 18 สำหรับ ตัวอักษรที่แสดงเนื้อหาบรรยาย และขนาด 22 สำหรับตัวอักษรที่เป็นหัวข้อของบทเรียนและชื่อ วิชาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ค) กกำหนดสีที่ใช้ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง คอมพิวเตอร์เบื้องต้น มีการ กำหนดสีพื้นหลังเป็นสีดำ ปุ่มและเมนูให้เลือกกำหนดสีเป็นสีฟ้า-ขาว ตัวหนังสือที่แสดงเนื้อหา บรรยายใช้สีขาวตัดกับพื้นหลังสีดำ 3.3.1.9กกออกแบบผังงาน (Flowchart) ของการเขียนโปรแกรม และ เขียนบทดำเนินเรื่อง (Storyboard) ของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบทเครือข่าย อินเทอร์เน็ต โดยศึกษาจากเอกสารและการจัดลำดับความสำคัญของเนื้อหา การจัดกิจกรรม ระหว่างบทเรียนและแบบทดสอบ การเขียนบทร่างของบทเรียนที่ประกอบด้วยเนื้อหาที่แบ่ง ออกเป็น Frame ตามวัตถุประสงค์และ รูปแบบการนำเสนอ 3.3.1.10กกเมื่อเสร็จสิ้นการสร้างต้นแบบ นำเสนออาจารย์ที่ปรึกษาตรวจสอบ แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมต่อไป 3.3.3.1.11ก สร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยนำแนวทางมาจากบท ดำเนินเรื่องฉบับร่างที่ได้รับการตรวจปรับปรุงแก้ไข 3.3.1.12กกนำเสนออาจารย์ที่ปรึกษาตรวจความถูกต้อง ความเหมาะสม 29 3.3.1.13กนำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่แก้ไข ปรับปรุงแล้วนำเสนอกลุ่มทดลองย่อยซึ่งเป็นนักศึกษา ระดับปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจ วิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย จำนวน 6 คน เพื่อประเมินคุณภาพบทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สร้างขึ้น แล้วนำมาเสนอความคิดเห็น เพื่อพิจารณาร่วมกับอาจารย์ที่ปรึกษา ในการ ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมต่อไป 3.3.1.14กกสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่แก้ไข ปรับปรุงที่สมบูรณ์ ที่สามารถนำไปติดตั้ง Apache Web Server ซึ่งเป็นตัวจัดการงาน บริการต่างกๆ ที่มีขึ้นในอินเทอร์เน็ต เริ่มต้น รวบรวมข้อมูลการสร้างบทเรียนช่วยสอน สร้างบทเรียนต้นแบบ ตรวจสอบโดยอาจารย์ที่ปรึกษา ไม่เหมาะสม แก้ไขปรับปรุง เหมาะสม สร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ตรวจสอบโดยอาจารย์ที่ปรึกษา ไม่เหมาะสม แก้ไขปรับปรุง เหมาะสม ประเมินจากกลุ่มทดลองย่อย ไม่เหมาะสม แก้ไขปรับปรุง เหมาะสม 30 สร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน จบ ภาพที่ 3-3กกขั้นตอนการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 3.3.1กกแบบฝึกหัดระหว่างบทเรียนและแบบทดสอบหลังบทเรียน (รายละเอียดขั้นตอน ดูภาพที่ 3-4 ประกอบ) มีขั้นตอนในการสร้างดังนี้ 3.3.1.1กกสร้างวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม โดยวิเคราะห์จากเนื้อหาบทเรียน ของวิชาคอมพิวเตอร์เบื้องต้น 3.3.1.2กกทำตารางวิเคราะห์คะแนนของแต่ละหัวข้อย่อยเพื่อหาจำนวนข้อในการ ออก ข้อสอบรวม 3.3.1.3กกสร้างข้อสอบรวมโดยตั้งคำถามให้ครอบคลุมวัตถุประสงค์โดยสร้าง ข้อสอบเป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก กำหนดวัตถุประสงค์ละ 2 –3 ข้อ 3.3.1.4กก นำเสนออาจารย์ที่ปรึกษาตรวจสอบ พิจารณาความเหมาะสม และทำการ แก้ไข 3.3.1.5กกนำข้อสอบรวมทดลองหาคุณภาพเบื้องต้นกับนักศึกษาระดับปริญญา ตรี คณะบริหารธุรกิจ วิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นที่เคยเรียนในวิชา คอมพิวเตอร์เบื้องต้นมาแล้วจำนวน 30 คน 3.3.1.6กก วิเคราะห์ หาความยากง่าย และค่าอำนาจจำแนกที่อยู่ในขอบเขตที่ กำหนดการคัดเลือกข้อสอบนั้น ได้คัดเลือกตามตารางน้ำหนักคะแนน และเพื่อให้ครอบคลุม วัตถุประสงค์ของแต่ละเรื่องที่กำหนดไว้ โดยขอบเขตของค่าความยากง่ายและความหมายมีดังนี้ 0.81 – 1.00 ความหมายคือ เป็นข้อสอบที่ง่ายมาก 0.61 – 0.80 ความหมายคือ เป็นข้อสอบที่ค่อนข้างง่าย 0.41 – 0.60 ความหมายคือ เป็นข้อสอบที่ยากง่ายพอเหมาะ 0.21 – 0.40 ความหมายคือ เป็นข้อสอบที่ค่อนข้างยาก 0.00 – 0.20 ความหมายคือ เป็นข้อสอบที่ยากมาก 31 ดังนั้นในการเลือกค่าความยากง่ายของข้อสอบควรอยู่ประมาณ 0.20 – 0.80 สำหรับ ขอบเขตของค่าอำนาจจำแนกและความหมายมีดังนี้ 0.40 ขึ้นไป ความหมายคือ อำนาจจำแนกสูง คุณภาพข้อสอบ ดีมาก 0.30 – 0.39 ความหมายคือ อำนาจจำแนกปานกลาง คุณภาพ ข้อสอบ ดี 0.20 – 0.29 ความหมายคือ อำนาจจำแนกค่อนข้างต่ำ คุณภาพ ข้อสอบ พอใช้ 0.00 – 0.19 ความหมายคือ อำนาจจำแนกต่ำ คุณภาพข้อสอบ ใช้ ไม่ได้ ค่าอำนาจจำแนกที่ยอมรับได้ คือ ตั้งแต่ 0.20 ขึ้นไป (ล้วน, 2535 : 188) เริ่มต้น สร้างวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม ทำตารางวิเคราะห์ เพื่อหาจำนวนข้อ ในการสร้างข้อสอบรวม สร้างข้อสอบรวม ตรวจสอบโดย อ.ที่ปรึกษา แก้ไขปรับปรุง ไม่เหมาะสม เหมาะสม นำข้อสอบไปทดลองหาคุณภาพเบื้องต้น วิเคราะห์ หาความยากง่าย อำนาจจำแนก และค่าความเชื่อมั่น ของข้อสอบรวม เลือกข้อสอบที่อยู่ในเกณฑ์ เพื่อใช้เป็น 32 แบบฝึกหัดระหว่างบทเรียน และแบบทดสอบ ท้ายบทเรียน จบ ภาพที่ 3- 4กกการสร้างแบบฝึกหัดระหว่างบทเรียนและแบบทดสอบท้ายบทเรียน แบบฝึกหัดระหว่างบทเรียนและแบบทดสอบท้ายบทเรียน สามารถแจกแจงในแต่ละโมดูล ได้ดังตารางที่ 3-1 ตารางที่ 3-1กกจำนวนข้อสอบของแบบฝึกหัดระหว่างบทเรียนและแบบทดสอบหลังบทเรียน โมดูล/เนื้อหาบทเรียน จำนวนข้อ 1.กกประวัติและความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ แบบฝึกหัดระหว่างบทเรียน 18 แบบทดสอบหลังบทเรียน 18 2.กกองค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ แบบฝึกหัดระหว่างบทเรียน 16 แบบทดสอบหลังบทเรียน 16 3. กกส่วนประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ แบบฝึกหัดระหว่างบทเรียน 8 แบบทดสอบหลังบทเรียน 8 4. กกหน่วยประมวลผลกลางและหน่วยความจำ แบบฝึกหัดระหว่างบทเรียน 7 แบบทดสอบหลังบทเรียน 7 5. กกข้อมูลและการประมวลผลข้อมูล แบบฝึกหัดระหว่างบทเรียน 13 33 แบบทดสอบหลังบทเรียน 13 6. กกการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป แบบฝึกหัดระหว่างบทเรียน 8 แบบทดสอบหลังบทเรียน 8 รวม 140 3.3.3กกแบบสอบถามความคิดเห็นกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้บทเรียน ผู้วิจัยได้เลือกใช้แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ใช้บทเรียนจำนวน 6 คน เกี่ยวกับบทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายในด้านต่าง ๆ รวม 5 ด้าน ได้ ด้านเนื้อหาและการดำเนินเรื่อง ด้านภาพและภาษา ด้านตัวอักษรและสี ด้านแบบทดสอบ และด้านการจัดการบทเรียนและส่วน สนับสนุนการเรียน โดยดำเนินการสร้างตามขั้นตอนดังนี้ 3.3.1กกศึกษาวิธีการสร้างแบบสอบถาม 3.3.2กกกำหนดข้อมูลที่ต้องการทราบ 3.3.1กกสร้างแบบสอบถาม 3.3.1กกนำไปทดลองใช้จริง (รายละเอียดประกอบภาคผนวก ก หน้า 59 ) 3.4กกการดำเนินการทดลองและเก็บข้อมูล ในการทดลองหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ผู้วิจัยทดลองใช้ห้องเรียนปฏิบัติการของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น จำนวน 30 เครื่อง โดยชี้แจงการใช้งานบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และ วัตถุประสงค์ในการดำเนินการทดลองแล้วจึงให้ผู้เรียนเรียนแต่ละโมดูลพร้อมทั้งทำแบบฝึกหัดท้าย บทเรียนแต่ละบทเรียน โดยใช้ช่วงเวลาการเรียนตามปกติ ระหว่างวันที่ 15-16 กันยายน 2546 แล้วให้ทำแบบทดสอบหลังบทเรียนในวันสุดท้าย แล้วเลือกนำข้อมูลที่ได้ไป วิเคราะห์ รายละเอียด ขั้นตอนการดำเนินการทดลองเก็บข้อมูล ดังภาพที่ 3-5 เตรียมการ 34 ชี้แจงก่อนทำการทดลอง เนื้อหาบทเรียนที่ 1 แบบฝึกหัด 1 ไม่ผ่าน ผ่าน เนื้อหาบทเรียนที่ 2 แบบฝึกหัด 2 ไม่ผ่าน ผ่าน เนื้อหาบทเรียนที่ 3 แบบฝึกหัด 3 ไม่ผ่าน ผ่าน เนื้อหาบทเรียนที่ 4 แบบฝึกหัด 4 ไม่ผ่าน A A 35 ผ่าน เนื้อหาบทเรียนที่ 5 แบบฝึกหัด 5 ไม่ผ่าน ผ่าน เนื้อหาบทเรียนที่ 6 แบบฝึกหัด 6 ไม่ผ่าน ผ่าน ทำแบบทดสอบรวม ภาพที่ 3-5กกขั้นตอนการดำเนินการทดลองและเก็บข้อมูล การหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่สร้างขึ้น เพื่อทดสอบสมมติฐานที่ตั้งไว้ ใช้ระดับค่าคะแนนที่ได้ของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน ซึ่งเป็น คะแนนเฉลี่ยของแบบฝึกหัดท้ายบทเรียนและแบบทดสอบหลังบทเรียน มาเปรียบเทียบ ตามสูตร E1 / E2 3.5กกการวิเคราะห์ข้อมูล ในการวิจัยเพื่อหาคุณภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต วิชา คอมพิวเตอร์เบื้องต้น ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ 3.5.1กกการวิเคราะห์แบบประเมินผลความเหมาะสมของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สำหรับกลุ่มทดลองย่อยซึ่งเป็นนักศึกษา ระดับปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจ วิทยาลัยฟาร์อีส เทอร์น จำนวน 6 คน โดยทำการประเมินความเหมาะสมของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่าน เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ด้านเนื้อหาและการดำเนินเรื่อง ด้านภาพและภาษา ด้านตัวอักษรและสี ด้านแบบ ฝึกหัดระหว่างบทเรียน/แบบทดสอบหลังบทเรียน ด้านการจัดการบทเรียน และด้าน 36 สิ่งสนับสนุนบทเรียน โดยใช้แบบประเมินผลตามวิธีประมาณค่าของ Likert ซึ่งกำหนดระดับ ความคิดเห็นเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า ในการให้น้ำหนักคะแนน ในระดับความคิดเห็น 5 ระดับ คือ เห็นด้วยในระดับ มากที่สุด มีค่าระดับคะแนนเท่ากับ 5 เห็นด้วยในระดับ มาก มีค่าระดับคะแนนเท่ากับ 4 เห็นด้วยในระดับ ปานกลาง มีค่าระดับคะแนนเท่ากับ 3 เห็นด้วยในระดับ น้อย มีค่าระดับคะแนนเท่ากับ 2 เห็นด้วยในระดับ น้อยที่สุด มีค่าระดับคะแนนเท่ากับ 1 ในการวิเคราะห์ระดับคะแนนเฉลี่ยของข้อคำถามแต่ละข้อ ได้พิจารณาขนาดขอบเขตของ คะแนนเฉลี่ยที่ได้จากแบบประเมินค่าดังนี้ ระดับคะแนน 1.00- 1.49 หมายถึง ผลการประเมินอยู่ในระดับน้อยที่สุด ระดับคะแนน 1.50- 2.49 หมายถึง ผลการประเมินอยู่ในระดับน้อย ระดับคะแนน 1.50- 3.49 หมายถึง ผลการประเมินอยู่ในระดับปานกลาง ระดับคะแนน 3.50- 4.49 หมายถึง ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ระดับคะแนน 4.50- 5.00 หมายถึง ผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด 3.5.2กกสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์หาคุณภาพของแบบทดสอบ 3.5.2.1กกหาค่าความยากง่าย (Difficulty) ของแบบทดสอบ เมื่อ P = ค่าความยากง่ายของแบบทดสอบ R = จำนวนผู้เรียนที่ตอบข้อคำถามข้อนั้นถูกต้อง N = จำนวนผู้เรียนทั้งหมด ขอบเขตของค่าความยากง่ายของแบบทดสอบอยู่ที่ 0.2 - 0.8 3.5.2.2กกหาค่าอำนาจจำแนก (Discrimination) ของแบบทดสอบ สูตร N P = R สูตร 2N R R D u L . = 37 เมื่อ D = ค่าอำนาจจำแนก RU = จำนวนผู้เรียนที่ตอบถูกในกลุ่มเก่ง RL = จำนวนผู้เรียนที่ตอบถูกในกลุ่มอ่อน N = จำนวนผู้เรียนทั้งหมด ขอบเขตของค่าอำนาจจำแนกที่ยอมรับคือ ตั้งแต่ 0.2 ขึ้นไป 3.5.2.3กกการหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบทดสอบทั้ง ฉบับใช้สูตรของคูเดอร์ – ริชารด์สัน 21 (KR.-21) เมื่อ rt = ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ n = จำนวนข้อของแบบทดสอบ X = ค่าเฉลี่ยของแบบทดสอบ .2t = ค่าความแปรปรวนของแบบทดสอบ 3.5.3กกสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบน เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เมื่อ E1 = คะแนนเฉลี่ยของผู้เรียนทั้งหมดจากการทำแบบฝึกหัด หรือแบบทดสอบ ของบทเรียนแต่ละชุด สูตร ( ).. . .. . . . . = 2 1 1 t t n X n X n r n . B E Y NA E X N 100 100 21 . . = . . = E1 E2 38 E2 = คะแนนเฉลี่ยของผู้เรียนทั้งหมดจากการทำหรือแบบทดสอบ หลังบทเรียน (Posttest) .X = คะแนนรวมของผู้เรียนจากการทำแบบฝึกหัดท้ายบทเรียน .Y = คะแนนรวมของผู้เรียนจากการทำแบบทดสอบรวม A = คะแนนเต็มของแบบฝึกหัดท้ายบทเรียน B = คะแนนเต็มของแบบทดสอบรวม N = จำนวนผู้เข้าสอบทั้งหมด บทที่ 4 ผลของการดำเนินงาน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างบทเรียนช่วยสอนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยใช้สำหรับการสอนทบทวนจากชั้นเรียนสำหรับนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในกระบวนวิชา 104102 คอมพิวเตอร์เบื้องต้น สำหรับนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ วิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น จังหวัด เชียงใหม่ โดยมีผลของการวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้นำเสนอดังนี้ 4.1กกผลของการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 4.1.1กกบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง คอมพิวเตอร์ เบื้องต้น ประกอบด้วยส่วนที่วิเคราะห์ข้อมูลดังนี้ 4.1.1.1กกแบบฝึกหัดระหว่างบทเรียน 4.1.1.2กกแบบทดสอบหลังบทเรียน 4.1.2กกแบบสอบถามและแบบประเมินผล ได้แก่ 4.1.2.1กกแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ใช้บทเรียน 4.2กกการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่สร้างขึ้นใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการพัฒนาโดยออกแบบและพัฒนาสำหรับนักศึกษาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นที่เรียนใน กระบวนวิชา 104102 วิชาคอมพิวเตอร์เบื้องต้น ซึ่งนำเสนอผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ลักษณะการนำเสนอเป็นลักษณะการศึกษาเนื้อหาแบบฝึกทบทวน (Drill and Practice) เพื่อวัดความ เข้าใจและเพิ่มพูนความรู้หรือความชำนาญเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เบื้องต้น โดยมีแบบฝึกหัดสั้น ๆ แบบตัวเลือกให้ทดสอบในบทเรียน และแบ่งเนื้อหาบทเรียนออกเป็น 6 โมดูล ได้แก่ 40 4.2.1กกประวัติและความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ 4.2.1.1กกความหมายของคอมพิวเตอร์ 4.2.1.2กกลักษณะที่สำคัญของคอมพิวเตอร์ 4.2.1.3กกประวัติของคอมพิวเตอร์ 4.2.1.4กกวิวัฒนาการและยุคของคอมพิวเตอร์ 4.2.1.5กกประเภทของคอมพิวเตอร์ 4.2.2กกองค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ 4.2.2.1กกองค์ประกอบด้านฮาร์ดแวร์ (Hardware) 4.2.2.2กกองค์ประกอบด้านซอฟท์แวร์ (Software) 4.2.2.3กกองค์ประกอบด้านบุคลากร (Personnel) 4.2.2.4กกองค์ประกอบด้านข้อมูล (Data) 4.2.2.5กกความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ 4.2.3กกส่วนประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ 4.2.3.1กกส่วนรับข้อมูล (Input) 4.2.3.2กกหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) 4.2.3.3กกหน่วยแสดงผลลัพธ์ (Output Unit) 4.2.4กกหน่วยประมวลผลกลาง และหน่วยความจำ 4.2.4.1กกการประมวลผลของระบบคอมพิวเตอร์ 4.2.4.2กกหน่วยความจำ 4.2.4.3ก หน่วยความจำหลัก 4.2.4.4กกหน่วยความจำสำรอง 4.2.5กกข้อมูลและการประมวลผลข้อมูล 4.2.5.1กกความหมายของข้อมูล 4.2.5.2กกประเภทของข้อมูล 4.2.5.3กกลักษณะของข้อมูล 4.2.5.4กกโครงสร้างของข้อมูล 4.2.5.5กกการประมวลผลข้อมูล 4.2.5.6กกข้อมูลที่เหมาะสมสำหรับการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ 4.2.5.7กกวิธีการประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ 41 4.2.6กกการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป 4.2.6.1กกMicrosoft Word 4.2.6.2กกMicrosoft Excel 4.2.6.3กกMicrosoft Powerpoint บทเรียนแต่ละหน่วยประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ได้แก่ ชื่อเรื่องบทเรียน วัตถุประสงค์ เชิงพฤติกรรม เนื้อหาบทเรียน กิจกรรมถามตอบระหว่างบทเรียน แบบฝึกหัดระหว่างบทเรียนแต่ละ บท และแบบทดสอบหลังบทเรียน ซึ่งผ่านการวิเคราะห์เรียบร้อยแล้ว ได้แบบฝึกหัดระหว่าง บทเรียนแต่ละบท จำนวนรวม 70 ข้อ และแบบฝึกหัดหลังบทเรียนจำนวน 70 ข้อ การนำเสนอส่วน ต่างกๆ ที่กล่าวมาเป็นโปรแกรมแบบภาพเคลื่อนไหวผสมกับ Hypertext สร้างขึ้นโดยใช้โปรแกรม Macromedia Flash, Macromedia Dreamweaver และตกแต่งภาพและสร้างสรรค์ภาพโดย โปรแกรม Adobe Photoshop ตัวบทเรียนจะทำงานได้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ซึ่งสามารถ ทำงานได้กับระบบปฎิบัติการทุก ๆ ระบบ 4.3กกผลการวิเคราะห์หาประสิทธิภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตตาม สมมติฐาน การวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของบทเรียนและแบบทดสอบนั้น ผู้วิจัยได้กระทำกับกลุ่ม ตัวอย่าง ซึ่งเป็นผู้ใช้งานบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต วิชาความรู้ เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เบื้องต้น จำนวน 30 คน ผู้เข้าเรียนทำแบบฝึกหัดระหว่างบทเรียนมีค่าเฉลี่ย 90.05 และทำแบบทดสอบหลังบทเรียนหลังจากเรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่าย อินเทอร์เน็ตแล้วได้ค่าคะแนนเฉลี่ย 87.05 โดยมีรายละเอียดดังแสดง ในตารางที่ 4-1 ตารางที่ 4-1กกเปรียบเทียบประสิทธิภาพของบทเรียนจากคะแนนแบบฝึกหัดระหว่างบทเรียน และ แบบทดสอบหลังบทเรียน คนที่ แบบฝึกหัดระหว่างบทเรียน แบบทดสอบหลังบทเรียน เต็ม 70 คะแนน ร้อยละ เต็ม 70 คะแนน ร้อยละ 1 66 94.29 63 90.00 2 62 88.57 60 85.71 42 ตารางที่ 4-1 (ต่อ) คนที่ แบบฝึกหัดระหว่างบทเรียน แบบทดสอบหลังบทเรียน เต็ม 70 คะแนน ร้อยละ เต็ม 70 คะแนน ร้อยละ 3 63 90.00 61 87.14 4 62 88.57 61 87.14 5 65 92.86 64 91.43 6 62 88.57 60 85.71 7 62 88.57 61 87.14 8 63 90.00 61 87.14 9 67 95.71 64 91.43 10 68 97.14 65 92.86 11 62 88.57 60 85.71 12 65 92.86 62 88.57 13 62 88.57 60 85.71 14 62 88.57 60 85.71 15 64 91.43 62 88.57 16 62 88.57 60 85.71 17 62 88.57 60 85.71 18 62 88.57 60 85.71 19 62 88.57 60 85.71 20 62 88.57 60 85.71 21 63 90.00 62 88.57 22 63 90.00 60 85.71 23 62 88.57 60 85.71 24 63 90.00 60 85.71 25 62 88.57 60 85.71 26 62 88.57 60 85.71 27 62 88.57 60 85.71 43 ตารางที่ 4-1 (ต่อ) คนที่ แบบฝึกหัดระหว่างบทเรียน แบบทดสอบหลังบทเรียน เต็ม 70 คะแนน ร้อยละ เต็ม 70 คะแนน ร้อยละ 28 63 90.00 61 87.14 29 62 88.57 60 85.71 30 64 91.43 61 87.14 เฉลี่ย 90.05 87.05 เมื่อพิจารณาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ สร้างขึ้นที่ใช้เพื่อการวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ตั้งสมมติฐานไว้ที่เกณฑ์ 85/85 พบว่าทั้งค่าผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนที่ได้จากการทำแบบฝึกหัดระหว่างบทเรียน (E1) และค่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ได้ จากการทำแบบทดสอบรวม (E2) มีค่าสูงกว่าสมมติฐานที่ตั้งไว้ ตามที่แสดงไว้ในตารางที่ 4-2 ตารางที่ 4-2กกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการทำแบบฝึกหัดระหว่างบทเรียน ( E1 ) และ แบบทดสอบหลังบทเรียน ( E2 ) สมมติฐาน ผลสัมฤทธิ์ที่ผู้เรียนทำได้ แบบฝึกหัดระหว่างบทเรียน 85 90.05 แบบทดสอบหลังบทเรียน 85 87.05 ผู้วิจัยได้ตั้งสมมติฐานว่าค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เข้าเรียนบทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง คอมพิวเตอร์เบื้องต้นสูงกว่าเกณฑ์สมมติฐาน ที่ตั้งไว้ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และได้ใช้โปรแกรม SPSS ทำการวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน ผลลัพธ์ที่ได้เป็นดังนี้ 44 ตารางที่ 4-3กกการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการทำแบบฝึกหัดระหว่างบทเรียน จำนวน ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แบบฝึกหัดระหว่างบทเรียน 30 90.05 2.3277 และมีการวิเคราะห์หาข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการทำแบบฝึกหัด ระหว่างบทเรียนกับเกณฑ์สมมติฐาน ดังแสดงไว้ในตารางที่ 4-4 ดังนี้ ตารางที่ 4-4กกการวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการทำแบบ ฝึกหัดระหว่างบทเรียนกับเกณฑ์สมมติฐาน t df Sig. แบบฝึกหัดระหว่างบทเรียน 11.876 29 0.000 สมมติฐานที่จะทดสอบคือ เนื่องจากเป็นการทดสอบแบบทางเดียวกรณี ได้ p-value = 0.000/2 = 0.000 ซึ่งน้อยกว่า 0.05 ดังนั้นจึงปฎิเสธ และยอมรับ แสดงว่าค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนจากการทำแบบฝึกหัดระหว่างบทเรียนสูงกว่าสมมติฐาน ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 : 85 : 85 10 . >. . .. : 85 1 . . > 0 . 1 . 45 ตารางที่ 4-5กกการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการทำแบบทดสอบหลังบทเรียน จำนวน ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แบบทดสอบหลังบทเรียน 30 87.05 2.0200 และมีการวิเคราะห์หาข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการทำแบบฝึกหัด ระหว่างบทเรียนกับเกณฑ์สมมติฐาน ดังแสดงไว้ในตารางที่ 4-6 ดังนี้ ตารางที่ 4-6กกการวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการทำแบบ ฝึกหัดหลังบทเรียนกับเกณฑ์สมมติฐาน t df Sig. แบบทดสอบหลังบทเรียน 5.544 29 0.000 สมมติฐานที่จะทดสอบคือ เนื่องจากเป็นการทดสอบแบบทางเดียวกรณี ได้ p-value = 0.000/2 = 0.000 ซึ่งน้อยกว่า 0.05 ดังนั้นจึงปฎิเสธ และยอมรับ แสดงว่าค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนจากการทำแบบทดสอบหลังบทเรียนสูงกว่าสมมติฐาน ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 : 85 : 85 10 . >. . .. : 85 1 . . > 0 . 1 . บทที่ 5 สรุปผล และข้อเสนอแนะ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองเรื่องการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านเครือข่าย อินเทอร์เน็ต วิชา คอมพิวเตอร์เบื้องต้น หลักสูตรระดับปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจ วิทยาลัย ฟาร์อีสเทอร์น ข้อสรุปและข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัยดังกล่าวมีดังนี้ 5.1กกสรุปผลการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต วิชาคอมพิวเตอร์ เบื้องต้นที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพ 90.05/ 87.05 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในสมมุติฐาน ที่ ระดับนัยสำคัญ 0.05 สรุปได้ว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์และบทเรียน มีความเหมาะสมในระดับดี 5.2กกอภิปรายผลการวิจัย การหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่สร้างขึ้น นั้น จากผลการวิจัยพบว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต วิชาความรู้ เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เบื้องต้น ที่สร้างขึ้น มีประสิทธิภาพ 90.05 / 87.05 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ สมมุติฐานที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 เมื่อพิจารณาจากค่าเฉลี่ยของแบบฝึกหัดระหว่างบทเรียน พบว่าจะ มีค่ามากกว่าค่าเฉลี่ยของการทำแบบทดสอบหลังบทเรียน ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่า ในขณะที่ ผู้เรียนทำแบบฝึกหัดระหว่างบทเรียนนั้น ผู้เรียนได้เรียนไปพร้อมกับการทำแบบฝึกหัดระหว่างบทเรียน ซึ่ง นักการศึกษาเชื่อว่า มีปัจจัยอย่างน้อย 2 ประการ ที่ทำให้มนุษย์เกิดความคงทนในการจำได้ ได้แก่ ความต่อเนื่องหรือความสัมพันธ์ของประสบการณ์ที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้ และการทบทวนสิ่งที่ เรียนรู้ไปแล้วอยู่เสมอกๆ ดังนั้นจึงทำให้ได้คะแนนในการทำแบบฝึกหัดระหว่างบทเรียนสูงกว่าการ ทำแบบทดสอบหลังบทเรียน ในทางกลับกันการทำแบบฝึกหัดหลังบทเรียน มีจำนวนข้อที่ทำมากกว่าแบบฝึกหัดระหว่างบทเรียน อาจเป็นไปได้ว่าความคงทนในการจำได้อย่างต่อเนื่องมีได้น้อย กว่าการทำแบบฝึกหัดระหว่างบทเรียน จึงทำให้ค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ได้จาก 47 การทำแบบฝึกหัดหลังบทเรียนมีน้อยกว่าค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ได้จากแบบฝึกหัด ระหว่างบทเรียนดังที่กล่าว จากสมมติฐานของการวิจัยที่กำหนดเกณฑ์ไว้แล้วนั้น สรุปได้ว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่สร้างขึ้น ในการวิจัยครั้งนี้ มีคุณภาพเหมาะสมที่จะนำไปใช้ เป็นสื่ออีกรูปแบบหนึ่งเพื่อใช้ช่วยสอนเสริมหรือฝึกทบทวนกับนักศึกษาได้ โดยที่สามารถ ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5.3กกปัญหาอุปสรรคและข้อจำกัดของการวิจัย ปัญหาและอุปสรรคและข้อจำกัดของการวิจัยในครั้งนี้ สามารถแบ่งออกได้ดังนี้คือ 5.3.1กกด้านการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตวิชา คอมพิวเตอร์เบื้องต้น ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับระบบการแสดงผลของภาพกราฟฟิคบน เครือข่ายอินเทอร์เน็ตพบว่า ภาพกราฟฟิคที่มีขนาดของภาพที่ใหญ่เกินไป จะทำให้เวลาในการ รับชมภาพกราฟฟิคนานขึ้นไปด้วยประกอบกับโปรแกรมที่ใช้ในการจัดการบทเรียนที่นำมาใช้คือ Macromedia Flash หากจัดทำบทเรียนแล้วบันทึกเก็บไว้เป็นไฟล์เดียวกันจะทำให้บทเรียนมีขนาด ใหญ่มากมีความจำเป็นจะต้องลดขนาดของไฟล์ให้เล็กลงมากที่สุด เนื่องจากการแสดงผลดังกล่าว จะมีผลอย่างมากต่อการรับชมข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งไม่สามารถทำให้เป็นไฟล์ขนาด ใหญ่กๆ ได้ จำเป็นต้องมีการแบ่งขนาดของไฟล์ออกเป็นไฟล์ย่อยกๆ แล้วเขียนคำสั่งในโปรแกรม เรียกไฟล์ย่อย ๆ นั้นขึ้นมาทำงานอีกทีหนึ่ง ซึ่งจะทำให้การรับชมภาพกราฟฟิคนั้นเป็นไปได้ อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น สำหรับในส่วนของการพัฒนาการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบน เครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น ผู้วิจัยได้ทำการวิจัยโดยติดตั้งและจำลองโปรแกรมเพื่อสามารถทำงานบน เครือข่ายได้ โดยเลือกใช้โปรแกรม Apache Web Server และ Mysql เพื่อทำการจำลองดังกล่าว พบว่าการติดตั้งและใช้งานดังกล่าว มักจะเป็นปัญหาในเรื่องของการกำหนดค่าอยู่ตลอดเวลา ซึ่ง ทำให้การพัฒนาบทเรียนดังกล่าว เกิดข้อผิดพลาดขึ้นบ่อยครั้ง แต่เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการพัฒนา แล้ว ผู้วิจัยจึงได้นำเอาระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตดังกล่าว นำไปเก็บ บนพื้นที่เก็บจริง ซึ่งปรากฏว่าไม่ค่อยประสบปัญหาเหมือนกับที่ใช้ Apache เป็น Web Server จำลองมากนัก อาจจะเนื่องมาจาก Server ที่รองรับกับ Apache Web Server นั้นน่าจะทำงานได้ดีใน ระบบปฎิบัติการแบบ UNIX ซึ่งขณะที่ผู้ทำการวิจัยได้ทำการจำลอง Server นั้นเลือกใช้ระบบ ปฎิบัติการแบบ Windows ซึ่งทำให้การกำหนดค่าต่างกๆกอาจผิดพลาดได้ 48 5.3.2กกด้านการทดลองเพื่อหาประสิทธิภาพ การดำเนินการทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัย ได้ใช้เลือกใช้ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น ซึ่ง ขณะที่ทำการทดลองได้ทดลองใช้งานโดยให้นักศึกษาทดลองใช้จากระบบ Server จริงบนเครือข่าย อินเทอร์เน็ต ซึ่งในขณะที่นักศึกษาทดลองใช้งานจริงนั้น สามารถรับชมข้อมูลต่างกๆ ได้ แต่การ รับชมบทเรียนบางไฟล์ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าบทเรียนอื่น เมื่อผู้เรียนทำการเลือกเรียนหลายกๆ คน พร้อมกันทำให้การรับชมข้อมูลช้าลงบ้าง 5.3.3กกบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นในการวิจัย ครั้งนี้ ยังมีข้อบกพร่องบ้าง เช่น การใช้เสียงของปุ่มที่มีเสียงดังยาวเกินไป ภาพบางภาพไม่มี การเคลื่อนไหวเพื่อเพิ่มความสนใจ และเสียงประกอบที่น้อยเกินไป ซึ่งควรจะนำไปพัฒนาในการ ทำวิจัยครั้งต่อกๆกไป 5.4กกข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย 5.4.1กกข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้ สามารถสรุปได้ดังนี้ 5.4.1.1กกด้านการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การ ออกแบบแผนการดำเนินเรื่อง (Story Board) ควรจะชัดเจนและวางแผนออกแบบให้ดีที่สุด และควร ศึกษาเทคนิคในการจัดสร้างด้วยเช่นเดียวกัน เนื่องจากผู้วิจัยพบว่าขณะที่ออกแบบงานอาจจะ ออกแบบงานไว้อีกแบบหนึ่ง แต่ขณะที่ทำการสร้างและพัฒนาบทเรียนอาจจะใช้เทคนิคดังกล่าว ไม่ได้กับโปรแกรมช่วยออกแบบจำพวก Macromdia Flash และควรจะมีการวางแผนออกแบบ ไฟล์ บทเรียนแต่ละไฟล์อย่างดีที่สุด เนื่องจากว่าการแก้ไขไฟล์บทเรียนดังกล่าว หากมีการจัดสร้าง ขึ้นเป็นไฟล์ที่สามารถปฏิบัติการได้แล้ว ไม่สามารถแก้ไขได้กับไฟล์ดังกล่าว จำเป็นจะต้องมาแก้ไข กับไฟล์ต้นฉบับที่ใช้สร้าง ซึ่งหากไม่มีการวางแผนในเรื่องของการเรียกใช้ไฟล์ต่างกๆกโดยคำสั่ง ของโปรแกรมที่ดีแล้ว ทำให้การแก้ไขงานเป็นเรื่องที่ยุ่งยากและใช้เวลาการแก้ไขนาน เนื่องจาก ไฟล์ ที่จัดทำไม่สามารถจัดทำให้อยู่ในไฟล์เดียวกันได้ จำเป็นต้องแยกไฟล์แต่ละไฟล์ให้มีขนาด เล็กลง ดังกล่าวนั่นเอง 5.4.1.2กกด้านการทดลองเพื่อหาประสิทธิภาพ เนื่องจากการวิจัยและการพัฒนา บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตดังกล่าว มีการใช้งานจริงบนเครือข่าย อินเทอร์เน็ต หากเครื่อง Client ที่รับชมข้อมูลดังกล่าว ไม่ได้ติดตั้ง Plug-in ของ Macromedia Flash จำเป็นที่จะต้องติดตั้งก่อนเสมอ เพื่อให้สามารถรับชมได้ ซึ่งแนะนำให้ใช้โปรแกรมรับชม อินเทอร์เน็ตหรือ Web Browser เวอร์ชั่นใหม่กๆกที่รองรับกับการชมข้อมูลดังกล่าวได้ดี เช่น Internet Explorer เวอร์ชั่น 6.0 เป็นต้น 49 5.4.2กกข้อเสนอแนะสำหรับการดำเนินการวิจัยต่อไป มีดังนี้ 5.4.2.1กกบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง คอมพิวเตอร์ เบื้องต้น ควรจัดทำการปฎิสัมพันธ์ (Interactive) กับผู้เรียนมากยิ่งขึ้น เนื่องจากโปรแกรมที่พัฒนา ด้วย Macromedia Flash สามารถรองรับคุณสมบัติดังกล่าวได้ดี 5.4.2.2กกการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง คอมพิวเตอร์เบื้องต้นนี้ มีเนื้อหายังไม่ครอบคลุมทุกบทเรียนตามเนื้อหาหลักสูตรปริญญาตรี วิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น ซึ่งมีเนื้อหาทั้งหมดถึง 11 บทเรียนด้วยกัน หากมีการพัฒนาให้ครอบคลุม มากยิ่งขึ้นจะทำให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนได้ดียิ่งขึ้น บรรณานุกรม ภาษาไทย กิติศักดิ์ เจริญโภคาทรัพย์. สร้างเว็บได้ดังใจนึกด้วย PHP. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ซัคเซส มีเดีย จำกัด, 2543. จิระวัฒน์ อโศกวัฒนะ. “การสร้างและหาคุณภาพ WBT เพื่อใช้ในการฝึกอบรมหลักสูตรระยะสั้น.” วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต ภาควิชาครุศาสตร์ไฟฟ้า บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2542. ชัชวาลย์ เรืองประพันธ์. การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS for Windows. ขอนแก่น : โครงการผลิตตำรา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2544. ณัฐพล จีนุพงศ์. “การพัฒนาบทเรียนวิชาการถ่ายภาพเบื้องต้น โดยใช้รูปแบบไฮเปอร์เท็กซ์ บน เครือข่ายอินเตอร์เน็ต” วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์บัณฑิต ภาควิชาครุศาสตร์ เทคโนโลยี บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2540. ไพศาล โมลิสกุลมงคล. พัฒนา Web Database ด้วย PHP. กรุงเทพมหานคร : หจก.ไทยเจริญ การพิมพ์, 2544. มนต์ชัย เทียนทอง. การออกแบบและพัฒนาคอร์สแวร์. กรุงเทพมหานคร : สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2543. ________. “การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย สำหรับฝึกอบรมครู- อาจารย์และนักฝึกอบรมเรื่องการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน.” วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมดุษฎีบัณฑิต ภาควิชาบริหารเทคนิคศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2539. มลวิภา ภูลสนอง. “การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การตัดเสื้อบนหุ่นในวิชา เทคนิคการตัดเย็บเสื้อจับจีบ หลักสูตรระดับปริญญาตรี คณะคหกรรมศาสตร์ สถาบัน เทคโนโลยีราชมงคล.” วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต ภาควิชา ครุศาสตร์เทคโนโลยี บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2531. ล้วน สายยศ, และ อังคณา สายยศ. “เทคนิควิจัยทางการศึกษา”. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ, 2535. ภาษาอังกฤษ Blanco, Carlos Alberto. “Faculty Use of Technology Resource : Frequency Purposes, And Instructional Assignments for Students (Teacher, Educators, Preservice, Adult Learner)” Dissertation Abstracts International. 57 (1996) : 1577. Hutchinson, Sarah E. , and Sawyer, Stacey C. Computer and Information Systems. San Francisco : The McGraw-Hill , 1996. Mohaidin, Jamaludin. Utilization of the Internet by Malaysian Students Who are Studying in Foreign Countries and Factors that Influence its Adoption. EDD. Thesis, University of Pittsburgh, 1995. Moore, Michael G. , and Kearsley, Greg. Distance Education A Systems View. USA. : Wadsworth Publishing Company, 1996.

3 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ7 มกราคม 2553 เวลา 23:31

    น่าจะทำให้เป็นบทนะค่ะ

    แบบนี้ .. มันงง งง งง

    ขอแบบเป็นบทด้วยนะค่ะ

    ขอบคุณค่ะ !!

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ17 ตุลาคม 2553 เวลา 13:52

    '''งงมากๆ

    ตอบลบ
  3. ผมได้ทำเป็นไฟล์สำหรับไว้ ดาวน์โหลดไว้ข้างล่างบทความ ให้แล้วนะครับ

    ตอบลบ