บทที่ 1
บทนำ
1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ในปัจจุบันสภาพสังคมเมืองมีความสลับซับซ้อน และความหนาแน่นของประชากร และ
ชุมชนเมืองมากยิ่งขึ้น ทำให้การบริการของรัฐไม่ทั่วถึง ประชาชนไม่มีความรู้ในเรื่องการให้บริการ
ของหน่วยงานต่างๆ ของรัฐ การประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานนั้นๆ ไม่ทั่วถึง บุคคลทั่วไป
ไม่ทราบว่าจะหาข้อมูลได้จากที่ใด และหน่วยงานนั้นให้บริการอะไรบ้าง การจะติดต่อกับหน่วยงาน
ของรัฐเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก และต้องใช้เวลาในการทำงาน จึงทำให้เกิดความเบื่อหน่ายในการที่จะ
ต้องไปติดต่อกับหน่วยงานของรัฐ ถ้าสามารถทราบล่วงหน้าว่า จะต้องไปติดต่อกับหน่วยงานใด
ต้องเตรียมตัวอย่างไร เอกสารใดควรนำไป และสามารถติดต่อได้ในวันเวลาใด จะทำให้สามารถ
ประหยัดทั้งเวลา และสามารถเตรียมพร้อมได้อย่างถูกต้อง
ในปัจจุบันได้มีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน
ในรูปแบบของการจัดทำเว็บไซต์ (Website) เพื่อให้บริการประชาชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
ใช้ในการประชาสัมพันธ์ และให้ข้อมูลข่าวสารกับบุคคลทั่วไป แต่ยังมีความยุ่งยากในการเข้าใช้
บริการผ่านอินเทอร์เน็ต (Internet) เช่น กรณีของชื่อเว็บไซต์ ซึ่งเป็นภาษาอังกฤษ อาจจะ ไม่
เป็นที่รู้จักของผู้ใช้บริการ ทำให้เสียเวลาในการค้นหานาน จึงทำให้เกิดความคิดในการนำ
เทคโนโลยีของอินเตอร์เน็ตเข้ามาใช้งานให้เกิดประโยชน์มากขึ้น โดยการรวบรวมข้อมูลส่วนใหญ่
ที่ประชาชนต้องการทราบจากหน่วยงานของรัฐ ซึ่งได้แก่ การประปานครหลวง การไฟฟ้านคร
หลวง และ บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ในเขตกรุงเทพมหานครไว้ด้วยกัน เพื่อ
ความสะดวกของผู้ใช้งาน ในการได้รับทราบข่าวประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานของรัฐ และ
สามารถสืบค้นข้อมูลที่ต้องการทราบได้ตลอดเวลา โดยไม่ต้องเสียเวลาในการค้นหาข้อมูล
หลายแหล่ง เพื่อให้ประชาชนสามารถเตรียมพร้อม และทำความเข้าใจก่อนการไปใช้บริการกับ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเพื่อเป็นข้อมูลให้กับระชาชนในเบื้องต้น สำหรับการติดต่อกับ
หน่วยงานของรัฐ
1.2 วัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนาสารบบเว็บหน่วยงานราชการ
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ในการจัดทำโครงงานการพัฒนาระบบเว็บไซต์ ได้จัดทำขึ้นมาโดยอาศัยทฤษฎีเกี่ยวกับ
ระบบฐานข้อมูลและการเขียนโปรแกรมควบคุมการใช้งานฐานข้อมูล โดยมีรายละเอียดของทฤษฎี
ที่เกี่ยวข้องโดยแบ่งออกเป็นหัวข้อดังต่อไปนี้
1.1 ระบบสืบค้นข้อมูล (Search Engine)
1.2 การออกแบบเว็บ (Web Design)
1.3 ระบบฐานข้อมูลและการออกแบบ
1.4 ภาษา ASP
1.5 สถิติที่เกี่ยวข้อง
1.6 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2.1 ระบบสืบค้นข้อมูล (Search Engine)
ระบบสืบค้นข้อมูล (Search Engine) หมายถึง ระบบซอฟต์แวร์ที่ให้บริการค้นหาเอกสาร
ที่มีระบบการทำงานโดยใช้โปรแกรมที่เรียกว่า Spider หรือ Robot ท่องไปในเว็บเพจ (Webpage)
เพื่ออ่านข้อมูลและจัดเก็บเว็บเพจ ที่พบเข้าสู่ฐานข้อมูล สามารถแบ่งเครื่องมือช่วยค้นหา
แบ่งออกเป็น 3 ประเภท (Sullivan, 1996) ดังนี้
2.1.1 เสิร์จเอ็นจิน (Search Engine) เป็นระบบซอฟต์แวร์ที่มีโปรแกรมโรบอต (Robot)
ซึ่งบางครั้งเรียกว่า สไปเดอร์ (Spider) หรือ ครอว์เลอร์ (Crawler) ทำหน้าที่เดินทางไปยัง
เว็บไซต์ต่างๆ ในอินเทอร์เน็ต และอ่านเว็บเพจจากไซต์เหล่านั้น เพื่อนำมาสร้างดัชนีรายการ
ของเว็บเพจโดยอัตโนมัติ การทำดัชนีรายการเว็บเพจด้วยเสิร์จเอ็นจิน จะสามารถสร้างดัชนีของ
เว็บเพจได้เป็นจำนวนที่มากและรวดเร็ว ถ้าหากเว็บเพจที่ถูกทำดัชนีแล้วเกิดมีการเปลี่ยนแปลง
เสิร์จเอ็นจินจะนำเว็บเพจที่มีการเปลี่ยนแปลงนั้น มาสร้างดัชนีใหม่ซึ่งการสร้างดัชนีใหม่นี้
อาจส่งผลต่อการจัดลำดับของเว็บเพจนั้น ตัวอย่างเสิร์จเอ็นจินที่มีอยู่ในปัจจุบันเช่น Hotbot,
AltaVista เป็นต้น เสิร์จเอ็นจินสามารถแบ่งองค์ประกอบต่างๆ (Sanguanpong, 1998) ตามหน้า
ที่การทำงานได้ 3 ส่วน ดังต่อไปนี้
2.1.1.1 โรบอต หรือ สไปเดอร์ หรือ ครอว์เลอร์ ทำหน้าที่เดินทางไปยัง
เว็บไซต์ต่างๆ เพื่อสะสมไฟล์เอชทีเอ็มแอล (HTML) ของเว็บเพจ แล้วติดตามลิงค์จากเว็บเพจนั้น
ไปยังเว็บเพจอื่นๆ ภายหลังจากที่โรบอตได้อ่านเว็บเพจใดๆ แล้ว โรบอตจะกลับไปยังเว็บไซต์
ที่เคยสำรวจแล้ว เพื่อตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงตามเวลาที่กำหนด
บทที่ 3
ขั้นตอนและวิธีดำเนินงาน
วิธีการดำเนินงานของการพัฒนาโครงงาน ได้ดำเนินการตามขั้นตอน 6 ขั้นตอน คือ
1.1 การวิเคราะห์ และออกแบบระบบ
1.2 การพัฒนาระบบ
1.3 การทดสอบระบบ
1.4 การประเมินผลระบบ
1.5 สถิติที่ใช้ในการวิจัย
1.6 การทดสอบสมมติฐาน
3.1 การวิเคราะห์ และออกแบบระบบ
หลักการทำงานของระบบจะใช้งานผ่านเทคโนโลยี Web Based Application เพราะเป็นเทคโนโลยีที่
สามารถใช้งานได้ไม่จำกัดสถานที่ (World Wide) โดยผู้ใช้งานจะเชื่อมต่อเข้ามาสู่ระบบได้ โดยผ่านทาง
HTTP Protocol เข้ามาสู่ Webserver ได้เลย สำหรับผู้ดูแลระบบ ก็สามารถบริหารจัดการระบบผ่าน
เทคโนโลยี Web Based Application เช่นกัน ดังภาพที่ 3-1
ภาพที่ 3-1 รูปแบบของระบบที่นำมาใช้งาน
บทที่ 4
ผลการดำเนินงาน
จากการดำเนินงานการพัฒนาระบบ ผลการดำเนินงานแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
4.1 ผลที่ได้จากการพัฒนาระบบ
ระบบที่พัฒนาขึ้นมาสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนหลัก คือ
4.1.1 ส่วนของผู้ใช้งานระบบ
4.1.1.1 ระบบสามารถแสดงข้อมูลของระบบทั้งหมด ออกมาในหน้าจอเดียว
โดยมีการแบ่งหมวดหมู่ที่ชัดเจน ดังภาพที่ 4-1
ภาพที่ 4-1 หน้าจอแรกของผู้ใช้งาน
บทที่ 5
สรุปผลของโครงงานและข้อเสนอแนะ
การพัฒนาสารบบเว็บหน่วยงานราชการ เป็นระบบสำหรับการรวบรวมเอาเว็บไซต์และ
ข่าวสารต่างๆ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาไว้ในหน้าจอเดียว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยอำนวย
ความสะดวกให้กับผู้ที่ต้องการติดต่อกับหน่วยงานของรัฐ ให้สามารถทราบข้อมูลข่าวสารต่างๆ
ก่อนที่จะไปติดต่อกับหน่วยงานราชการ อีกทั้งยังสามารถค้นหาข้อมูลต่างๆ ได้อย่างสะดวก
และรวดเร็วยิ่งขึ้น
ดังนั้นการพัฒนาสารบบเว็บหน่วยงานราชการ จึงได้นำเอาระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้
ในการจัดทำฐานข้อมูลสำหรับการจัดเก็บข้อมูล ข่าวสารของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
การพัฒนาสารบบเว็บหน่วยงานราชการ มีความสามารถดังต่อไปนี้
1. สามารถเพิ่ม แก้ไข และลบ ข้อมูลเว็บของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้
2. สามารถเพิ่ม แก้ไข และลบ ข้อมูลข่าวสารของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้
3. สามารถเพิ่ม แก้ไข และลบ ข้อมูลกระดานข่าวได้
4. สามารถค้นหาข้อมูลเว็บ และข่าวสารของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้
5.1 อภิปรายผล
จากผลการทดสอบการพัฒนาสารบบเว็บหน่วยงานราชการ โดยกลุ่มผู้ใช้งานและ
ผู้เชี่ยวชาญจำนวนทั้งสิ้น 19 คน สรุปได้ว่าการพัฒนาสารบบเว็บหน่วยงานราชการ มีประสิทธิ
ภาพอยู่ในระดับดี สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และผู้ใช้งานสามารถใช้งานได้ง่าย
สามารถตอบสนองต่อการนำไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นระบบการพัฒนาเว็บ
หน่วยงานราชการ จึงเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสารนิพนธ์ฉบับนี้
5.2 ปัญหาและแนวทางการแก้ไข
เพื่อป้องกันการซ้ำซ้อนของข้อมูลที่จะเกิดขึ้นภายหลัง เมื่อมีจำนวนของข้อมูลมากขึ้น ควรใช้ภาษา
ASP ร่วมกับคำสั่ง SQL ในการตรวจสอบข้อมูลที่มีอยู่แล้ว เพื่อไม่ให้เกิด ความซ้ำซ้อนกันของข้อมูลที่จะ
เกิดขึ้น
2
1.3 ขอบเขตของการวิจัย
รวบรวมข้อมูล และรายละเอียดต่างๆ ในการให้บริการประชาชนของหน่วยงาน ดังนี้
1.3.1 การประปาภายในเขตกรุงเทพมหานคร ข่าวประชาสัมพันธ์ของหน่วยงาน และ
การให้บริการต่างๆ
1.3.2 การไฟฟ้าภายในเขตกรุงเทพมหานคร ข่าวประชาสัมพันธ์ของหน่วยงาน และ
การให้บริการต่างๆ
1.3.3 บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ภายในเขตกรุงเทพมหานคร
ข่าวประชาสัมพันธ์ของหน่วยงาน และการให้บริการต่างๆ
1.4 เครื่องมือที่ใช้พัฒนา
1.4.1 ด้านฮาร์ดแวร์
1.4.1.1 เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ Pentium IV 2.4 GHz พร้อมอุปกรณ์ครบชุด
1.4.2 ด้านซอฟต์แวร์
1.4.2.1 ระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows 2000 หรือสูงกว่า
1.4.2.2 ระบบจัดการฐานข้อมูล MS Access 2000 หรือสูงกว่า
1.4.2.3 โปรแกรมพัฒนาโปรแกรมภาษา ASP
1.5 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.5.1 ผู้ใช้งานได้รับข้อมูลข่าวสารของหน่วยงานของรัฐได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
1.5.2 ผู้ใช้งานสามารถรับข้อมูลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ในหน้าจอเดียว
1.5.3 ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการค้นหาข้อมูล
1.5.4 ผู้ใช้งานสามารถสืบค้นข้อมูลที่ต้องการได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
4
2.1.1.2 อินเด็กเซอร์ (Indexer, Catalog) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่สร้างดัชนีค้นหาจาก
ไฟล์เอชทีเอ็มแอลที่โรบอตหามา เว็บเพจใดๆ จะสามารถสืบค้นได้จากเสิร์จเอ็นจินก็ต่อเมื่อเว็บ
เพจนั้นผ่านการทำดัชนีมาแล้วเท่านั้น ถ้าหากมีการเปลี่ยนแปลงกับเว็บเพจจะต้องแก้ไขข้อมูล
ดัชนีใหม่
2.1.1.3 โปรแกรมค้นหา (เสิร์จเอ็นจินซอฟต์แวร์) เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่
รับคำศัพท์ที่ต้องการค้าหาผ่านทางซีจีไอ (CGI ; Common Gateway Interface) เพื่อหาเว็บเพจ
ที่ตรงกับความต้องการของผู้ค้นหาในฐานข้อมูล เสิร์จเอ็นจินแต่ละตัวจะมีวิธีจัดเรียงลำดับผลลัพธ์
แตกต่างกันออกไป
2.1.2 ไดเรกทอรี (Directory) แตกต่างจากเสิร์จเอ็นจินตรงที่ไดเรกทอรีถูกจัดการโดย
บุคคล เว็บไซต์ใดที่ต้องการมีรายชื่อในไดเรกทอรีต้องติดต่อผู้ดูแลไดเรกทอรี เพื่อให้ผู้ดูแลได
เรกทอรีจำแนกประเภทของเว็บเพจนั้นๆ ให้อยู่ในประเภทที่เหมาะสม เนื่องจากไดเรกทอรีถูก
จัดเป็นหมวดหมู่ การค้นหาเว็บเพจด้วยไดเรกทอรี จึงให้ผลลัพธ์ที่ตรงกับความต้องการมาก
กว่า เสิร์จเอ็นจิน แต่ปริมาณเอกสารของไดเรกทอรีส่วนใหญ่จะมีปริมาณน้อยกว่าของเสิร์จ
เอ็นจิน ทั้งนี้เพราะดัชนีของไดเรกทอรีถูกจัดการโดยบุคคล ทำให้การปรับปรุงข้อมูลช้ากว่า
การใช้ระบบอัตโนมัติ หากมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับเว็บเพจที่ได้รับการจัดลำดับแล้ว การ
เปลี่ยนแปลงนั้น จะไม่ส่งผลกระทบต่อลำดับเดิมที่ได้รับการจัดไว้ ตัวอย่างไดเรกทอรีที่มีอยู่ใน
ปัจจุบัน เช่น Yahoo
2.1.3 ไฮบริดเสิร์จเอ็นจิน (Hybrid Search Engine) เป็นเสิร์จเอ็นจินที่มีการผสมผสาน
การทำงานของเสิร์จเอ็นจินและไดเรกทอรีเข้าด้วยกัน มีข้อดีของทั้งเสิร์จเอ็นจินและไดเรกทอรี
รวมอยู่ด้วยกัน
2.2 การออกแบบเว็บ (Web Design)
2.2.1 หลักการออกแบบเว็บ
2.2.1.1 กำหนดกลุ่มเป้าหมาย หมายถึงการออกแบบเว็บเพจ (Web Page)
ควรคำนึงถึงวัตถุประสงค์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมายที่เข้ามายังเว็บ (Web) เพื่อสามารถ
ออกแบบได้อย่างเหมาะสม สำหรับกลุ่มเป้าหมายของการพัฒนาโปรแกรมคลังข้อสอบ
กลุ่มเป้าหมาย คือ ครูและนักเรียน ซึ่งต้องการความถูกต้องและรวดเร็วในการใช้งาน ดังนั้น
การออกแบบเว็บเพจจึงเน้นที่ความถูกต้องแม่นยำ ความสะดวกสบาย และความรวดเร็ว
ในการโหลด (Load) มายังหน้าเว็บเพจ
2.2.1.2 ความเร็วในการโหลดเว็บ ผู้เข้าชมไม่ควรใช้เวลานานเกินสมควรในการรอ
ให้โหลดเว็บเพจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน้าแรกของการโหลด ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความเร็ว
ได้แก่ ขนาดของรูป จำนวนรูปภาพที่ใช้ และปริมาณของตัวอักษร โดยขนาดของรูปที่ควรใช้
ควรจะมีขนาดไม่เกิน 20-30 กิโลไบต์ต่อรูป ประเภทของรูปควรเป็น .gif หรือ .jpg หากขนาด
5
ของภาพใหญ่เกินไปควรแบ่งให้เล็กลง ดังนั้นเพื่อความเร็วในการโหลดเว็บเพจผู้พัฒนาจึงใช้รูป
และกราฟิกจำนวนน้อยและมีขนาดไฟล์ที่เล็ก ซึ่งใช้เฉพาะที่เมนูและส่วนหัวของโปแกรมเท่านั้น
2.2.1.3 ความง่ายในการค้นหาข้อมูล ควรที่จะง่ายและมีประสิทธิภาพสูงสุด
โดยปัจจัยหลักนั้นขึ้นอยู่กับโครงสร้างของเว็บเพจ ตั้งแต่ขั้นตอนที่มีการจัดโครงสร้างและ
จัดกลุ่มข้อมูลผู้พัฒนาได้นำเฟรม (Frame) เข้ามาใช้ในส่วนของการสร้างเว็บเพจ โดยแบ่งเป็น
ส่วนของเมนูและส่วนเนื้อหา เพื่อให้ง่ายต่อผู้ใช้ในการเข้าถึงข้อมูล
2.2.1.4 ตัวอักษร ฉากหลัง และสี ถ้าต้องการกำหนดประเภทตัวอักษรควรใช้
ที่เป็นสากลนิยม เช่น ภาษาอังกฤษควรใช้ฟอนต์ (Font) เอเรียล (Arial) ภาษาไทยควรใช้
เอ็มเอสซานเซรีฟ (MS Sans Serif) หรือตัวอักษรยูพีซี (UPC) อื่นๆ สำหรับฉากหลังไม่ควรใช้
ฉากหลักที่เด่นเกินตัวอักษร เพราะจะทำให้อ่านยากและทำให้เนื้อหาไม่น่าสนใจ ผู้พัฒนา
เลือกใช้ตัวอักษรที่กำหนดไว้แล้ว และกำหนดขนาดตัวอักษรและสีในทุกๆ หน้าเว็บเพจเหมือนกัน
2.2.1.5 ใช้งานได้ไม่จำกัด การทำเว็บควรทำให้สามารถใช้ได้ทุกเวอร์ชัน (Version)
ของซอฟต์แวร์ (Software) สำหรับระบบเว็บท่านั้นสามารถใช้งานได้ใน Internet Explorer และ
Netscape Communicator
2.2.1.6 ออกแบบเว็บให้เป็นมิตรกับผู้ใช้ โดยแสดงข้อความแนะนำการใช้
ในทุกเว็บเพจเพื่อความใช้ง่าย
2.2.1.7 ในหนึ่งหน้าเว็บเพจไม่ควรมีข้อมูลยาวเกิน 30 หน้าจอ เพื่อประโยชน์
ในการโหลดข้อมูลได้เร็ว ผู้พัฒนาจึงแบ่งการแสดงข้อมูลเว็บเพจออกเป็นหน้า โดยจะแสดง
หน้าละ 20 รายการ
2.2.1.8 การจัดข้อมูลเท็กซ์ควรจะจัดเป็นคอลัมน์ไม่เกิน 500 พิกเซล (Pixel)
ทั้งนี้เพื่อให้ง่ายต่อการอ่าน และไม่ทำให้เกิดความน่าเบื่อ
2.2.1.9 ไม่ควรใช้วิธีทำลิงค์ (Link) ข้อมูลเป็นแบบช่วงๆ ในหน้าเดียวเพราะจะทำ
ให้เสียเวลาในการโหลดข้อมูล
2.2.1.10 ควรออกแบบเว็บเพจให้ง่ายต่อการบำรุงรักษา และควรจะดูแลแก้ไขข้อมูล
อยู่เป็นประจำ ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญที่จะทำให้มีผู้เข้าเยี่ยมชมประจำ
2.2.1.11 สร้างความเป็นมาตรฐานเดียวกันตลอดทั้งเว็บไซต์ โดยได้นำองค์ประกอบ
ที่ได้สร้างไว้ไปใช้กับทุกๆ หน้า ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันตลอดทั้งเว็บไซต์ เพื่อเป็นเอกลักษณ์
ให้ผู้ใช้สามารถจำได้และทำให้ผู้ใช้รู้สึกคุ้นเคย
2.2.1.12 การสร้างเนวิเกชันบาร์โดยใช้ระบบเฟรม เป็นอีกวิธีที่ทำให้ผู้ใช้เข้าถึง
เนวิเกชันบาร์ได้ง่าย และสม่ำเสมอ คุณสมบัติของเฟรมจะทำให้สามารถแสดงเว็บหลายๆ หน้า
ไว้ในหน้าต่างบราวเซอร์เดียวกันโดยที่แต่ละหน้ายังเป็นอิสระต่อกัน การลิงค์จากเฟรมที่เป็น
เนวิเกชันบาร์จะปรากฏคงที่เสมอ ในขณะที่ผู้ใช้เลื่อนดูข้อมูลใดๆ ก็ตามในอีกเฟรมหนึ่ง
6
ดังนั้นผู้พัฒนาจึงได้ใช้เฟรม เพื่อจะทำให้ผู้ใช้เข้าถึงระบบเนวิเกชันได้ตลอดเวลา และยังคง
ความสม่ำเสมอทั่วทั้งเว็บไซต์
2.2.1.13 ควรจัดแต่งหน้าเว็บให้เป็นระเบียบเรียบง่าย เนื้อหาในหน้าเว็บจำเป็น
ต้องอยู่ในรูปแบบที่ดูง่าย แยกเป็นสัดส่วน และดูไม่แน่นจนเกินไป ทำให้ภาพรวมไม่แน่น
จนเกินไป และจัดวางหัวข้อและเนื้อเรื่องอย่างเป็นระบบและชัดเจน
2.2.1.14 สร้างส่วนท้ายของหน้า เพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเนื้อหาและเว็บไซต์
และวิธีติดต่อกับผู้ดูแลเว็บไซต์
2.2.1.15 ใช้ตารางสำหรับจัดหน้า ทั้งนี้เพื่อให้การจัดตำแหน่งต่างๆ เช่น รูป ตัว
อักษร หรือกราฟิกของหน้าเว็บง่าย สะดวก และเป็นระเบียบ
2.2.1.16 ใช้กราฟิกเข้ามาช่วยตกแต่งหน้าเว็บให้ดูน่าสนใจยิ่งขึ้น โดยผู้พัฒนา
ได้ใช้ Photoshop เข้ามาช่วยในการตกแต่งภาพในส่วนหัวของเว็บ
2.2.2 การวางโครงสร้างเว็บเพจ
2.2.2.1 จัดวางโครงสร้างเว็บไซต์ให้ชัดเจน หมายถึง จัดโครงสร้างเว็บเพจ
โดยแยกไฟล์ไว้เป็นกลุ่มหรือไดเร็กทอรีอย่างเป็นหมวดหมู่ ซึ่งจะสะดวกในการแก้ไขเว็บเพจ
2.2.2.2 การจัดวางรูปควรใช้ตารางหรือคำสั่งตารางเป็นตัวเลือก เพื่อความสะดวก
ในการปรับแก้ข้อมูลและรูปภาพที่มีขนาด หรือความยาวไม่เท่ากัน
2.2.2.3 รูปภาพควรแยกไดเร็กทอรีต่างหาก และตั้งชื่อไฟล์ให้ขึ้นต้นด้วยตัวอักษร
ที่เป็นหมวดหมู่เดียวกัน ซึ่งทำให้การเรียงและค้นหาได้อย่างรวดเร็ว
2.2.2.4 หากมีการปรับเปลี่ยนไดเร็กทอรีบ่อยครั้ง หรือมีโครงสร้างที่ไม่แน่นอน
ให้ทำการเรียกเชื่อมไฟล์ต่างๆ แบบ URL หรือ http:// เพื่อตัดปัญหาการแก้ไขที่ระบบต่อเนื่องกัน
ใช้การวางโครงสร้างแบบเป็นเฟรมแยกส่วนของข้อมูล และเมนูออกจากกันทำให้แก้ไขง่าย
ในไฟล์เดียว
2.2.2.5 พยายามใช้แบ็คกราวด์พื้นสีเดียวหรือขาวอย่างเดียว เพราะทำให้ง่าย
ต่อการกำหนดฟอนต์และสีพื้นของรูปภาพ
2.2.2.6 การปรับสีฟอนต์พยายามให้ใช้คำสั่งกำหนดเป็น
เพื่อกำหนดชนิดของฟอนต์
2.2.2.7 ใช้คำสั่งในระบบของ Style Sheet ที่กำหนดรูปแบบได้จากจุดต้นไฟล์
ของ HTML และใช้ร่วมกันได้
2.2.2.8 ใช้ระบบ Web Database ช่วยซี่งสามารถสร้างไฟล์ HTML ได้หลาย
รูปแบบด้วย ASP/CGI โดยอัปเดตบนฐานข้อมูล หรือแก้ไขโครงสร้างบน ASP/CGI เพียงแห่ง
เดียวเท่านั้น
7
2.3 ระบบฐานข้อมูลและการออกแบบ
ระบบฐานข้อมูล (Database System) หมายถึง โครงสร้างสารสนเทศที่ประกอบไปด้วย
รายละเอียดของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันที่จะนำมาใช้ในระบบต่างๆ ร่วมกัน
ระบบฐานข้อมูลจึงนับว่าเป็นการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ ซึ่งผู้ใช้สามารถจัดการกับ
ข้อมูลในลักษณะต่างๆ ทั้งการเพิ่ม การแก้ไข การลบ ตลอดจนการเรียกดูข้อมูล ซึ่งส่วนใหญ่
จะเป็นการประยุกต์นำเอาระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการจัดการฐานข้อมูล (ธาริน, 2543 :
24)
2.3.1 นิยามและคำศัพท์พื้นฐานเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูล
บิต (Bit) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่มีขนาดเล็กที่สุด
ไบต์ (Byte) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการนำบิตมารวมกันเป็นตัวอักขระ
(Character)
เขตข้อมูล (Field) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่ประกอบขึ้นจากตัวอักขระตั้งแต่หนึ่งตัว
ขึ้นไปมารวมกันแล้วได้ความหมายของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ชื่อ ที่อยู่ เป็นต้น
ระเบียน (Record) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการเอาเขตข้อมูลหลายๆ เขตข้อมูล
มารวมกัน เพื่อเกิดเป็นข้อมูลเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น ข้อมูลของนักศึกษา 1 ระเบียน (1 คน)
จะประกอบด้วย รหัสประจำตัวนักศึกษา 1 เขตข้อมูล ที่อยู่ 1 เขตข้อมูล
แฟ้มข้อมูล (File) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการนำข้อมูลหลายๆ ระเบียน
ที่เป็นเรื่องเดียวกันมารวมกัน เช่น แฟ้มข้อมูลนักศึกษา แฟ้มข้อมูลลูกค้า แฟ้มข้อมูลพนักงาน
2.3.2 ความสัมพันธ์ (Relationship)
ฐานข้อมูลจะประกอบด้วยแฟ้มข้อมูลหลายๆ แฟ้มข้อมูล ซึ่งมีการเก็บข้อมูลที่ต่างกัน
จึงต้องมีการกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลต่างๆ
2.3.2.1 ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง (One-to-One Relationship) เป็น
ความสัมพันธ์ที่มีระเบียนเพียง 1 ระเบียน ในเอนทิตี้ (Entity) A และ B ที่มีความสัมพันธ์
1 ระเบียน
ภาพที่ 2-1 ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง
A1
A2
A3
B1
B2
B3
B4
1 : 1
8
2.3.2.2 ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อกลุ่ม (One-to-Many Relationship)
เป็นความสัมพันธ์ที่มีระเบียนหนึ่งระเบียนในเอนทิตี้ A ที่มีความสัมพันธ์หลายระเบียนในเอนทิตี้ B
1 : N
ภาพที่ 2-2 ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อกลุ่ม
2.3.2.3 ความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่ม (Many-to-Many Relationship)
เป็นความสัมพันธ์ที่มีระเบียนในเอนทิตี้ A และ B ที่มีความสัมพันธ์หลายระเบียน
N : M
ภาพที่ 2-3 ความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่ม
2.3.2.4 ความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อหนึ่ง (Many-to-One
Relationship) เป็นความสัมพันธ์ที่มีระเบียนหนึ่งระเบียนในเอนทิตี้ B ที่มีความสัมพันธ์หลาย
ระเบียนในเอนทิตี้ A
A1
A2
A3
B1
B2
B3
B4
A1
A2
A3
B1
B2
B3
B4
9
N : 1
ภาพที่ 2-4 ความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อหนึ่ง
2.3.3 ความสำคัญของการประมวลผลแบบระบบฐานข้อมูล
2.3.3.1 สามารถลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลได้ การเก็บข้อมูลชนิดเดียวกันไว้
หลายๆ ที่ทำให้เกิดความซ้ำซ้อน (Redundancy) ดังนั้นการนำข้อมูลมารวมเก็บไว้ในฐานข้อมูล
จะช่วยลดปัญหาการเกิดความซ้ำซ้อนของข้อมูลได้ โดยระบบจัดการฐานข้อมูล (Database
Management System : DBMS) จะช่วยลดความซ้ำซ้อนได้ เนื่องจากระบบจัดการฐานข้อมูล
จะทราบได้ตลอดเวลาว่ามีข้อมูลซ้ำซ้อนกันอยู่ที่ใดบ้าง
2.3.3.2 หลีกเลี่ยงความขัดแย้งของข้อมูลได้ หากมีการเก็บข้อมูลชนิดเดียวกันไว้
หลายๆ ที่ และมีการปรับปรุงข้อมูลเดียวกันนี้ แต่ปรับปรุงไม่ครบทุกที่ที่มีข้อมูลเก็บอยู่ก็จะทำให้
เกิดปัญหาข้อมูลชนิดเดียวกัน อาจมีค่าไม่เหมือนกันในแต่ละที่ที่เก็บข้อมูลอยู่ จึงก่อให้เกิดความ
ขัดแย้งของข้อมูลขึ้น (Inconsistency)
2.3.3.3 สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ ฐานข้อมูลเป็นการจัดเก็บข้อมูลรวมไว้ด้วยกัน
ดังนั้นหากผู้ใช้ต้องการใช้ข้อมูลในฐานข้อมูลที่มาจากแฟ้มข้อมูลต่างๆ ก็จะทำได้โดยง่าย
2.3.3.4 สามารถรักษาความถูกต้องเชื่อถือได้ของข้อมูล บางครั้งพบว่าการจัดเก็บ
ข้อมูลในฐานข้อมูลอาจมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น โดยเฉพาะกรณีมีผู้ใช้หลายคนต้องใช้ข้อมูลจาก
ฐานข้อมูลร่วมกัน หากผู้ใช้คนใดคนหนึ่งแก้ไขข้อมูลผิดพลาดก็ทำให้ผู้อื่นได้รับผลกระทบ
ตามไปด้วย ในระบบจัดการฐานข้อมูล (DBMS) จะสามารถใส่กฎเกณฑ์เพื่อควบคุม
ความผิดพลาดที่เกิดขึ้น
2.3.3.5 สามารถกำหนดความเป็นมาตรฐานเดียวกันของข้อมูลได้ การเก็บข้อมูล
ร่วมกันไว้ในฐานข้อมูล จะทำให้สามารถกำหนดมาตรฐานของข้อมูลได้รวมทั้งมาตรฐานต่างๆ
ในการจัดเก็บข้อมูลให้เป็นไปในลักษณะเดียวกันได้ ทั้งนี้จะมีผู้ที่คอยบริหารฐานข้อมูลที่เรียกว่า
ผู้บริหารฐานข้อมูล (Database Administrator : DBA) เป็นผู้กำหนดมาตรฐานต่างๆ
2.3.3.6 สามารถกำหนดระบบความปลอดภัยของข้อมูลได้ ระบบความปลอดภัย
ในที่นี้เป็นการป้องกันไม่ให้ผู้ใช้มีสิทธิมาใช้ หรือมาเห็นข้อมูลบางอย่างในระบบ ผู้บริหาร
ฐานข้อมูลจะสามารถกำหนดระดับการเรียกใช้ข้อมูล ของผู้ใช้แต่ละคนได้ตามความเหมาะสม
A1
A2
A3
B1
B2
B3
B4
10
2.3.3.7 เกิดความเป็นอิสระของข้อมูล ในระบบฐานข้อมูลจะมีตัวจัดการฐานข้อมูล
ที่ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมโยงกับฐานข้อมูล โปรแกรมต่างๆ อาจไม่จำเป็นต้องมีโครงสร้างข้อมูล
ทุกครั้ง ดังนั้นการแก้ไขข้อมูลในบางครั้ง จึงทำเฉพาะกับโปรแกรมที่เรียกใช้กับข้อมูล
ที่เปลี่ยนแปลงเท่านั้น ส่วนโปรแกรมที่ไม่ได้เรียกใช้ข้อมูลดังกล่าว ก็จะเป็นอิสระจาก
การเปลี่ยนแปลง
2.3.4 ประเภทของฐานข้อมูล
ฐานข้อมูลแบบ Relation Data Model
2.3.4.1 โครงสร้างข้อมูล (Data Structure) โครงสร้างของฐานข้อมูลแบบสัมพันธ์
เป็นการนำเสนอข้อมูลและความสัมพันธ์ ระหว่างข้อมูลในรูปรีเลชัน (Relation) จะถูกเรียก
อีกอย่างหนึ่งว่าตาราง (Table) โครงสร้างของ Relation ประกอบด้วย
ก) แถว (Row) ของข้อมูล (Body) แถวข้อมูล 1 แถว (Body) หมายถึง
ข้อมูล 1 รายการ ซึ่งแต่ละแถวของรีเลชันเรียกว่า “ทัพเพิล (Tupple)” คือ แถวข้อมูลในตาราง
โดยแต่ละแถวของข้อมูลจะประกอบไปด้วยหลายแอตตริบิว (Attribute) หรือคอลัมน์ (Column)
ของข้อมูล จำนวนแถวข้อมูลในตารางเรียกว่า คาร์ดินัลลิตี (Cardinality) และจำนวนแอตตริบิว
ทั้งหมดในตารางเรียกว่า ดีกรี (Degree)
ข) สดมภ์ (Column) แต่ละสดมภ์ของรีเลชัน ได้แก่ คุณลักษณะของ
ข้อมูลในแต่ละแถวซึ่งเรียกว่า แอตตริบิว (Attribute) เช่น ตัวอย่าง รีเลชัน S สำหรับเก็บ
รายละเอียดของซัพพลายเออร์ (Suppliers) ประกอบด้วย รหัส ชื่อ สถานะ และเมือง ซึ่งรีเลชัน
ดังกล่าวจะประกอบไปด้วย 5 ทัพเพิล โดยแต่ละทัพเพิล ประกอบไปด้วย 4 แอตตริบิว
โดยภายในคอลัมน์จะประกอบด้วยโดเมน (Domain) เป็นการกำหนดขอบเขตค่าข้อมูล และ
ชนิดข้อมูลของแต่ละแอตริบิวที่เป็นไปได้ทั้งหมด เช่น จากโดเมนของ #S คือกลุ่มของรหัส
ซัพลายเออร์ทั้งหมด ได้แก่ S1, S2, S3, S4 และ S5 และกำหนดว่าสเตตัส (Status) ของตาราง
S จะต้องมีค่าเป็น 10, 20 และ 30 เท่านั้น หรือ #S จะต้องมีค่าเป็น S1, S2, S3, S4 และ S5
เท่านั้น และซิตี้ (CITY) ของซัพพลายเออร์ทั้งหมดจะต้องเป็น ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพฯ
เป็นต้น
2.3.4.2 การควบคุมความถูกต้องให้กับข้อมูล (Data Integrity)
ก) ทัพเพิลมีข้อมูลไม่ซ้ำกัน เนื่องจากรีเลชันในโครงสร้างข้อมูล
แบบสัมพันธ์อยู่ในรูปแบบของเซตทางคณิตศาสตร์ โดยภายในเซตจะต้องประกอบไปด้วย
สมาชิกที่ไม่ซ้ำกัน ดังนั้น รีเลชัน R ใดๆ ต้องมีแอตตริบิวใดแอตตริบิวหนึ่งที่ทำให้แต่ละทัพเพิล
ในรีเลชันมีข้อมูลไม่ซ้ำกัน เช่น รีเลชันคัสโตเมอร์ (Customer) เป็นรีเลชันที่เก็บประวัติของ
ลูกค้า บัญชีเงินกู้ของธนาคาร และประกอบไปด้วย เลขที่บัตรประชาชน ชื่อ นามสกุล และที่อยู่
ของลูกค้า ซึ่งอาจปรากฎว่ามีข้อมูลลูกค้าที่มีชื่อและนามสกุลซ้ำกัน แต่มีแอตตริบิวเลขที่
บัตรประชาชนไม่ซ้ำกันจึงเป็นสิ่งที่บ่งบอกให้รู้ว่าลูกค้าทั้งสองคนเป็นคนละคนกัน
11
ข) ทัพเพิลไม่มีลำดับจากบนลงล่าง เนื่องจากรีเลชันในโครงสร้างข้อมูล
แบบสัมพันธ์อยู่ในรูปแบบของเซตทางคณิตศาสตร์ โดยภายในเซตจะต้องประกอบไปด้วย
สมาชิกที่ไม่มีลำดับ
ค) แอตตริบิวไม่มีลำดับจากซ้ายไปขวา เนื่องจากเฮดดิง (Heading)
ของรีเลชันในโครงสร้างข้อมูลแบบสัมพันธ์ อยู่ในรูปแบบของเซต (Set) ทางคณิตศาสตร์
โดยภายในเซตจะต้องประกอบไปด้วยสมาชิกที่ไม่มีลำดับ
ง) ค่าของแอตตริบิวทุกค่าจะต้องเป็นออโตมิคซิตี้ (Automicity) เนื่องจาก
โดเมนมีเฉพาะค่าที่เป็นออโตมิค (Automic) เท่านั้น ดังนั้นทุกแอตตริบิวในแต่ละตำแหน่งของ
ทัพเพิลในรีเลชัน จะมีค่าเพียงค่าเดียวจะไม่มีรายการของข้อมูลในรีเลชัน นั่นคือรีเลชันต้องผ่าน
ขั้นตอนการเพิ่มประสิทธิภาพของข้อมูล (Normalization) ตัวอย่างเช่น รีเลชันต้องผ่านขั้นตอน
การเพิ่มประสิทธิภาพของข้อมูล ค่าของข้อมูลในแต่ละทัพเพิลจะมีลักษณะของรายการข้อมูล
(Repeating Group) หลังจากทำการเพิ่มประสิทธิภาพของข้อมูลในตารางแล้ว ค่าข้อมูลในแต่ละ
ทัพเพิลไม่มีรายการข้อมูลอีก
จ) กำหนดโดเมนให้กับข้อมูล จะมีข้อกำหนดว่าค่าที่กำหนดให้กับข้อมูล
จะต้องเป็นค่าสกาลาร์ (Scalar) นั่นคือจะต้องเป็นค่าข้อมูลที่มีความหมาย และเป็นหน่วย
เล็กที่สุดไม่สามารถแบ่งแยกออกไปได้อีก เช่น เลขที่เงินกู้ 014100001 สามารถแบ่งออกเป็น
รหัสสาขา รหัสปียื่นกู้ และลำดับบัญชีเงินกู้ เป็นต้น หรือที่อยู่ สามารถแบ่งย่อยออกไปเป็น
เลขที่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ฯลฯ ดังนั้น เลขที่เงินกู้ และที่อยู่ ไม่มีค่าเป็นสกาลาร์
เพราะสามารถแบ่งย่อยออกไปได้อีก แต่รหัสซัพพลายเออร์ (S#) มีค่าเป็น S1 ซึ่งแบ่งย่อยอีกไม่ได้
เพราะฉะนั้น S1 มีค่าเป็นสกาลาร์ ค่าข้อมูลที่เก็บในฐานข้อมูลที่มีค่าเป็นสกาลาร์นี้ จะเรียกว่า
มีคุณลักษณะของออโตมิคซิตี้ ข้อมูลที่สามารถนำมากำหนดโดเมนได้ จะต้องเป็นข้อมูลที่อิสระ
จากข้อมูลอื่น
ฉ) ข้อมูลจะต้องเป็นข้อมูลชนิดเดียวกัน เช่น ถ้าข้อมูลของคัลเลอร์
(Color) ในรีเลชัน P มีค่าที่เป็นไปได้คือ “สีฟ้าน้ำทะเล” “สีฟ้าอ่อน” หรือ “สีน้ำตาล” แต่ถ้า
กำหนดค่าของคัลเลอร์ สามารถเป็น 1 สำหรับสีฟ้าน้ำทะเล หรือ 2 สำหรับสีฟ้าอ่อน และ 3
สำหรับสีน้ำตาล โดยค่าข้อมูลของแอตตริบิวคัลเลอร์ สามารถบันทึกค่าข้อมูลได้ทั้งสองแบบแล้ว
ไม่สามารถกำหนดโดเมนได้ เพราะค่าข้อมูลมีชนิดเป็นได้ทั้งสตริง (String) และเลขจำนวนเต็ม
ในเวลา เดียวกันไม่ได้
2.3.4.3 การจัดการข้อมูล
ภาษาฐานข้อมูล (Structured Query Language, SQL) เป็นภาษาที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย
มีลักษณะคล้ายกับภาษาอังกฤษใช้ในการปฏิบัติงานและควบคุมฐานข้อมูล ในภาษาฐานข้อมูล
จะมีคำสั่งดังนี้ การสร้างตารางสามารถทำด้วยคำสั่งครีเอทเทเบิล (Create Table) คำสั่ง
สอบถามข้อมูลพื้นฐานเป็นการสอบถามข้อมูลหรือคิวรี (Query) คำสั่งการป้อนข้อมูลเพิ่มลงสู่
12
ตารางสามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลง แก้ไขข้อมูลที่มีอยู่แล้วในตารางได้ด้วยคำสั่งอัพเดท
(Update) นอกจากการแก้ไขข้อมูลด้วยคำสั่งดีลิท (Delete) สามารถสอบถามข้อมูลครั้งหนึ่งจาก
ตารางได้มากกว่าหนึ่งตาราง โดยใช้โครงสร้างของเอสคิวแอล (SQL) ที่เรียกว่าจอยนิ่ง
(Joining) คำสั่งในแอสคิวแอลสามารถกำหนดความปลอดภัยในการควบคุมการเข้าถึงข้อมูล
ในฐานข้อมูลได้ โดยคำสั่งแกรนท์ (Grant) เป็นการกำหนดสิทธิมอบอำนาจให้สามารถเข้าถึง ข้อ
มูล และสามารถรีโวค (Revoke) เป็นการเรียกสิทธิอำนาจคืนจากการกำหนดสิทธิด้วยคำสั่งแก
รนท์ได้เช่นกัน
ฐานข้อมูลแบบความสัมพันธ์นี้เป็นรูปแบบที่ถูกพัฒนาขึ้นมาภายหลัง และเป็นที่นิยมใช้กัน
สำหรับการออกแบบฐานข้อมูลในปัจจุบัน โปรแกรมสำเร็จทางด้านฐานข้อมูลก็ใช้รูปแบบนี้เช่นกัน
2.3.4.4 ลักษณะเด่นและข้อจำกัดของการจัดการฐานข้อมูลแบบสัมพันธ์
ก) ลักษณะเด่น
1. เหมาะกับงานที่เลือกดูข้อมูลแบบมีเงื่อนไขหลายคีย์ฟิลด์
2. ป้องกันข้อมูลถูกทำลายหรือแก้ไขได้ดี เนื่องจากโครงสร้างแบบสัมพันธ์นี้ผู้ใช้จะไม่
ทราบว่าการเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลอย่างแท้จริงเป็นอย่างไร จึงสามารถป้องกันข้อมูลถูกทำลาย
หรือถูกแก้ไขได้ดี
3. การเลือกดูข้อมูลทำได้ง่าย มีความซับซ้อนของข้อมูลระหว่างแฟ้มต่างๆ น้อยมาก
อาจมีการฝึกฝนเพียงเล็กน้อยก็สามารถใช้งานได้
ข) ข้อจำกัด
1. มีการแก้ไขปรับปรุงแฟ้มข้อมูลได้ยาก เพราะผู้ใช้จะไม่ทราบการเก็บข้อมูลในฐานข้อ
มูลอย่างแท้จริงเป็นอย่างไร
2. มีค่าใช้จ่ายของระบบสูงมาก เพราะเมื่อมีการประมวลผล คือ การอ่าน เพิ่มเติม
ปรับปรุง หรือยกเลิกระบบจะต้องทำการสร้างตารางขึ้นมาใหม่ ทั้งที่ในแฟ้มข้อมูลที่แท้จริง
อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย แต่ต้องมาปรับแต่งตารางใหม่ให้ผู้ใช้แฟ้มข้อมูลนั้น
ถูกใช้ในรูปของตารางที่ดูง่ายสำหรับผู้ใช้
2.3.5 โปรแกรม Microsoft Access
เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการสร้างและออกแบบฐานข้อมูล ในรูปแบบต่างๆ เช่น Table From
Query และอื่นๆ ซึ่งในแต่ละรูปแบบก็ใช้งานในลักษณะที่แตกต่างกันไป ในที่นี้จะกล่าวถึง
รูปแบบของ Table ซึ่งมีรายละเอียดดังแสดงในหัวข้อต่อไปนี้
2.3.5.1 การจัดเก็บข้อมูลด้วยตารางข้อมูล (Table) เป็นส่วนที่ใช้ในการเก็บข้อมูลแต่ละกลุ่ม
ไว้ในตารางข้อมูลได้มากกว่า 1 ตาราง โดยในระบบฐานข้อมูลอาจมีหลายตาราง ซึ่งตารางข้อมูลจะมีความ
สัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ขึ้นอยู่กับการออกแบบฐานข้อมูลในแต่ละตารางข้อมูลประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
ก) โครงสร้าง เป็นส่วนของโครงสร้างข้อมูลที่จัดเก็บ เช่น มีฟิลด์อะไรบ้าง แต่ละ
ฟิลด์เก็บข้อมูลอะไร เป็นต้น
13
ข) ข้อมูล เป็นส่วนของข้อมูล แสดงอยู่ในรูปของตาราง โดยแต่ละแถวเป็นข้อมูล
1 ชุด แต่ละคอลัมน์เป็นข้อมูลแต่ละส่วน (ซึ่งจะแสดงในตารางต่างๆ ในบทที่ 3)
2.3.5.2 การสร้างตาราง (Table) ในการสร้างตารางจะต้องสร้างไฟล์ฐานข้อมูลขึ้นมา แล้วทำ
การสร้างตารางจากมุมมองการสร้าง (Table Design) ซึ่งจะมีเครื่องมือที่ใช้ในการกำหนดโครงสร้างต่างๆ ของ
ตาราง เช่น การกำหนดคุณสมบัติของฟิลด์ในตาราง กำหนดคีย์หลัก โดยมีลำดับการสร้างดังนี้ เลือกแผ่น
ป้าย Tables เลือกปุ่ม New เลือกปุ่ม New Table เพื่อสร้างตารางข้อมูล (Design New) กำหนดชื่อฟิลด์ใน
ส่วนของ Field Name ยาวไม่เกิน 64 ตัวอักษร เลือกชนิดของข้อมูล ในส่วนของ Data Type กำหนดคีย์หลัก
(Primary Key) ของตาราง สำหรับตารางแต่ละตาราง จะมีข้อกำหนดในการสร้างดังต่อไปนี้
ก) กำหนดเอนทิตี้ทุกตัวในระบบฐานข้อมูล
ข) กำหนดคีย์หลักและแอททริบิวต์ต่างๆ ของเอนทิตี้ ในการออกแบบระบบจริงจำ
เป็นต้องสอบถามเรื่องนี้ให้ละเอียดว่าแอททริบิวต์ใด สามารถเป็นคีย์หลักได้
ค) กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้ต่างๆ โดยมีการเรียกข้อมูล ภายในโดย
อาศัยคีย์หลักในแต่ละเอนทิตี้ ซึ่งมีโปรแกรมเป็นตัวตรวจสอบการทำงานในการ เรียกใช้งานข้อมูลภายในเอน
ทิตี้ต่างๆ
ง) ทำการเปลี่ยนเอนทิตี้ที่ใช้ ให้อยู่ในรูปแบบการจัดเก็บแบบตาราง
2.4 ภาษา Active Server Pages (ASP)
แอพพลิเคชัน ASP คือ เท็กซ์ไฟล์ที่บรรจุเอาคำสั่งสคริปต์ต่างๆ ผสมรวมกับเอกสาร HTML ถูกเก็บไว้
ที่เว็บเซิร์ฟเวอร์ เมื่อมีบราวเซอร์เรียกใช้งาน โปรแกรมจะถูกแปลโดย ASP Interpreter และเอ็กซ์คิวต์ที่เว็บ
เซิร์ฟเวอร์ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จากการเอ็กซ์คิวต์แอพพลิเคชัน ASP จะถูกเก็บให้อยู่ในรูปแบบเอกสาร HTML
หลังจากนั้นจึงจะถูกส่งกลับให้บราวเซอร์ที่เรียกใช้งานแอพพลิเคชัน ASP นั้นๆ (กิตติภูมิ, 2542 : 36) ดังราย
ละเอียดต่อไปนี้
Active Server Pages
Client-side Scripting
เช่น VBScript, JScript
HTML ประกอบด้วย
เท็กซ์ไฟล์
ActiveX Control
Server Side Scripting
เช่น VBScript, Perl, CGI
Server Side Object
Built-in Object ASP
Server Side Component
Com-base Objec ต่างๆ
ภาพที่ 2-5 องค์ประกอบของเทคโนโลยี Active Server Pages
14
2.4.1 การเขียนสคริปต์ในรูปแบบของ Active Server Pages สามารถใช้ได้ทั้ง NotePad เวิร์ด
โพรเซสเซอร์ หรือเครื่องมือพัฒนาแอพพลิเคชันสำหรับอินเตอร์เน็ตโดยเฉพาะ เช่น Visual Interdev
สำหรับสคริปต์ที่ใช้เขียน ASP ได้นั้น ขณะนี้สามารถใช้ได้ 2 ภาษา ได้แก่ VBScript และ JAVAScript
หลักการเขียนสคริปต์สำหรับแอพพลิเคชัน ASP นั้น เป็นเท็กซ์ไฟล์ที่มีนามสกุลเป็น .ASP ประกอบไปด้วย
ข้อความ Tag ของ HTML และคำสั่งสคริปต์ การแทรกคำสั่งสคริปต์เข้าไปในแอพพลิเคชัน ASP ต้องใส่ไว้ใน
เครื่องหมาย <% กับ %> ปิดหัวท้ายด้วยสคริปต์ของ ASP ช่วยให้ ASP Interpreter รู้ว่าเป็นสคริปต์ของ
ASP แต่ถ้าต้องการให้ผลลัพธ์ของ การประมวลผลสคริปต์ที่เว็บเซิร์ฟเวอร์ไปแสดงผลที่บราวเซอร์ของผู้
ใช้ จะต้องปิดหัวท้ายของสคริปต์นั้นด้วย <%= กับ %>แอพพลิเคชัน ASP บางตัวมักเริ่มด้วยการปิดหัวท้าย
สคริปต์ด้วย <%@ กับ %> ซึ่งเรียกว่า Directive เป็นการบอกให้เว็บเซิร์ฟเวอร์ทราบว่าเป็นแอพพลิเคชัน
ASP ออบเจ็กต์ของ Active Server Pages
2.4.2 สร้างแอพพลิเคชัน ASP ด้วยออบเจ็กต์ ข้อเสียของโพรโตคอล HTTP ในการจัดการเอกสารที่
ส่งไปมาระหว่างบราวเซอร์กับเว็บเซิร์ฟเวอร์ การทำงานของ HTTP ทำหน้าที่ติดต่อ และตัดการติดต่อเป็น
ระยะๆ
2.4.3 สร้างและจัดการแอพพลิเคชัน ASP ด้วยออบเจ็กต์ภายใน ASP ออบเจ็กต์ภายใน Active
Server Pages ถูกนำมาใช้ในการสร้าง และจัดการแอพพลิเคชันมีทั้งหมด 5 ชนิด ได้แก่
2.4.3.1 Application Object เป็นออบเจ็กต์เดี่ยวๆ ที่ทำหน้าที่จัดการ แอพพลิเคชัน ASP แอพ
พลิเคชัน ASP ถูกเรียกใช้โดยการเรียกไฟล์ .ASP มาใช้งาน และอาจเรียกใช้งาน ActiveX Object อื่นๆ ที่เว็บ
เซิร์ฟเวอร์มาช่วยทำงาน Application Object ยังทำหน้าที่ เสมือนกับการแชร์ข้อมูลระหว่างส่วนต่างๆ ของ
แอพพลิเคชัน ASP โดยข้อมูลที่นำมาแชร์ มักเก็บอยู่ใน ตัวแปรที่กำหนดขึ้น พรอพเพอร์ตี้และคอลเล็กชัน
ของ Application Object
การใช้ตัวแปรและอาร์เรย์ใน Application Object สามารถกำหนดตัวแปรให้ใช้งาน Application Object
ด้วยรูปแบบต่อไปนี้
<% Application (ชื่อตัวแปร) %>
จากนั้นกำหนดค่าให้กับตัวแปรโดยไม่ใช้ Dim หรือ ReDim ในการประกาศค่าตัวแปรที่ กำหนดค่า
หน้านั้นอยู่ในระดับ Application
<% Application (“NumberOfUeser”) = 1 Application (“MaximumUser”) = 99 %>
นอกเหนือจากตัวแปร ยังสามารถกำหนดอาร์เรย์เพื่อเก็บค่าตัวแปรเป็นชุดได้ (Array)
<% Dim arCompany (3) ArCompany(1) = “Microsoft”\ ArCompany(2) = “Netscape” ArCompany(3) = “Oracle” 15 Index Index Application(“arTop3”) = arCompany %>
ก) อีเวนต์ของ Application Object ได้แก่
1. OnStart เป็นอีเวนต์ที่เกิดขึ้นเมื่อแอพพลิเคชัน ASP เริ่มต้นใช้งานในเว็บเซิร์ฟเวอร์ ใช้อีเวนต์ใน
การกำหนดค่าเริ่มต้นของตัวแปร พรอพเพอร์ตี้ และคอลเล็กชันของ Application Object
2. OnEnd เป็นอีเวนต์ที่เกิดขึ้นเมื่อแอพพลิเคชัน ASP จบการทำงาน (Shut Down เซิร์ฟเวอร์) หรือ
มีการ Re-Compile ไฟล์ GLOBAL.ASA ใหม่จึงใช้อีเวนต์นี้ในการจัดการ ความเรียบร้อยก่อนปิดใช้งานแอพ
พลิเคชัน เช่น จัดการ Log File เป็นต้น
ข) เมธอดของ Application Object ได้แก่
1. Lock เป็นเมธอดที่ใช้ป้องกัน ไม่ให้ผู้ใช้เปลี่ยนค่าพรอพเพอร์ตี้ของ Application Object ในเวลา
เดียวกัน เช่น อาจใช้ในการล็อกพรอพเพอร์ตี้นั้นไว้ ค่อยทำการเปลี่ยนแปลงค่าโดยผู้บริหารระบบ
2. UnLock เป็นเมธอดที่ทำให้พรอพเพอร์ตี้ของ Application Object กลับสู่สภาพ ที่พร้อมถูก
เปลี่ยนแปลง
<% Application.lock Application(“NumberOfUser”)=1 Application.unlock %>
ค) การใช้งาน Collection ของ Application Object คอลเล็กชัน คือ ออบเจ็กต์
พิเศษที่เก็บค่าข้อมูลชนิดเดียวกันหลายๆ ค่า ซึ่งมองได้ว่ามีความคล้ายคลึงกับอาร์เรย์ ปกติอาร์เรย์มักใช้อิน
เด็กซ์เป็นตัวชี้บ่งถึงข้อมูลแต่ละตัวแต่คอลเล็กชันมักใช้ Key เป็นสิ่งที่แทนอินเด็กซ์ของอาร์เรย์พิเศษนั้น
อาร์เรย์ myArray คอลเล็กชัน myCollection
1 90.2 Fname “หนึ่ง”
2 95.5 LastName “ประสิทธิ์”
3 97.2 NickNam
e
“บอล”
4 98.5 Age “24”
5 99.8 Sex “ชาย”
ภาพที่ 2-6 ความแตกต่างระหว่างคอลเล็กชันกับอาร์เรย์
ใน Application Object มีคอลเล็กชันไว้ใช้งานได้แก่
ค่าของข้อมูลใน Array ค่าของข้อมูลใน Array
16
1. Contents เป็นคอลเล็กชันที่เก็บข้อมูลของตัวแปรที่กำหนดขึ้นภายใน Application
Object ถูกประกาศภายนอก Tag
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น