วันเสาร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2552

การจัดการชื่อโดเมนเนมผ่านทางเว็บ (ตอนที่ 1)




บทที่ 1
บทนำ
1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ปัจจุบันการดูแลรักษาระบบ DNS เป็นสิ่งสำคัญในระบบเครือข่าย ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งที่
จำเป็นอย่างยิ่งในการติดต่อสื่อสารที่ทำให้ง่ายต่อการใช้งาน Internet แต่ในปัจจุบันการดูแลรักษา
ระบบ DNS ยังไม่มีความสะดวก และ ง่ายในการจัดการดูแลมากนัก
เนื่องจากการดูแลรักษาจะเป็นลักษณะของ Text File ซึ่งเป็นลักษณะ Manual ซึ่งทำให้เกิด
ความยุ่งยากและเกิดข้อผิดพลาดได้ง่าย รวมถึงผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านนี้ก็มีอยู่ไม่เพียงพอ
รวมถึงวิธีการดูแลแก้ไขก็ต้องทำที่ตัวโปรแกรมโดยตรงเพียงวิธีเดียว การจัดการระบบทุกอย่างอยู่
ภายใต้การควบคุมของผู้ดูระบบเพียงผู้เดียวทำให้เกิดความล่าช้าต่อการตอบสนองของผู้ใช้งาน
และปัญหาการเข้าสำรวจดูเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม
1.2 วัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนาระบบการจัดการ DNS ผ่านเว็บ ให้ง่ายและสะดวกในการดูแลรักษาระบบ DNS
ภายในองค์กรที่ได้พัฒนาขึ้นในรูปแบบของ Web-based อันจะเป็นประโยชน์กับผู้ที่ดูแลระบบโดย
ไม่จำเป็นต้องมีความชำนาญมากนัก สามารถแบ่งเบาภาระของผู้ดูแลระบบได้เป็นอย่างดี และ
สามารถกำหนดควบคุมการเข้าสำรวจเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมได้
1.3 ขอบเขตของโครงงาน
ในระบบ DNS Management Via Web จะสามารถดูแล DNS ได้โดยผ่านทาง Web Browser
ทั้งหมด โดยไม่ต้องเข้าไปทำงานโดยตรงกับข้างในระบบของ DNS เลย โดยความสามารถของ
ระบบ DNS Management Via Web มีดังนี้
1.3.1 มี Username และ Password ในการเข้าไปดูแลรักษาความปลอดภัยของระบบ
1.3.2 สามารถเลือก Domain Name ที่ต้องการจะจัดการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้
1.3.3 สามารถแก้ไขเพิ่มเติม Record ต่าง ๆ ภายใน Domain Nameได้
1.3.4 สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลง IP Address ภายใน Domain Name ได้
1.3.5 สามารถกำหนดควบคุมการเข้าใช้งานสำรวจเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมได้
1.3.6 สามารถจัดทำ Report แจ้งแก่ผู้ดูแลระบบได้
1.4 เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาโครงงาน
ในการพัฒนาระบบ DNS Management Via Web จำเป็นต้องใช้เครื่องมือในการพัฒนาดังนี้
1.4.1 เครื่อง PC Intel Processor คอมพิวเตอร์
1.4.2 OS ใช้เป็นระบบปฏิบัติการ Linux
1.4.3 Web Server ใช้เป็น Apache Web Server
1.4.4 Database ใช้เป็น MySQL Database Server
1.4.5 PHP ใช้ในการเขียนโปรแกรม Script
1.4.6 Open SSL ใช้ในการเข้ารหัส เพื่อรักษาความปลอดภัย
1.4.7 Name Server ใช้โปรแกรม Bind
1.5 ประโยชน์ที่ได้รับ
ได้ระบบ การจัดการชื่อโดเมนเนมผ่านทางเว็บ ที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
1.5.1 สามารถใช้งานจากระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยผ่านทาง Web Browser
1.5.2 มีค่าที่กำหนดอยู่ใน Format ที่สะดวกง่ายต่อการใช้งาน
1.5.3 สามารถทำการแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลได้ทันที
1.5.4 ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในเรื่อง DNS System มาก
1.5.5 ผู้ใช้งานสามารถจัดการชื่อโดเมนได้โดยตรง ไม่ต้องผ่านผู้ดูแลระบบ
1.5.6 สามารถวิเคราะห์การใช้งานอินเตอร์เน็ตภายในองค์กรได้
1.5.7 สามารถควบคุมพฤติกรรมการใช้งานอินเตอร์เน็ตในองค์กรได้

บทที่ 3
ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงาน
ในการพัฒนาระบบ DNS Management Via Web สำหรับการจัดการข้อมูลทางด้าน DNS
Management Via Web ผู้วิจัยได้พัฒนาระบบโดยแบ่งขั้นตอนในการดำเนินงานออกเป็น 5 ขั้นตอน
ดังต่อไปนี้
1. ขั้นตอนการศึกษาระบบเดิม
2. ขั้นตอนการกำหนดปัญหาของระบบ
3. ขั้นตอนการวิเคราะห์ระบบ
4. ขั้นตอนการออกแบบระบบ
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบ

3.1 ขั้นตอนการศึกษาระบบงานเดิม
จากกรณีศึกษาในการทำงานเกี่ยวกับทางด้านอินเตอร์เน็ตบริษัทเคเอสซีคอมเมอร์เชียล
อินเตอร์เน็ตจำกัด ในส่วนงานด้านผู้ดูแลระบบเครือข่ายขององค์กร ที่มีการใช้งานระบบ DNS ที่อยู่
ในองค์กรและองค์กรอื่นๆ ในปัจจุบันนี้จะมีลักษณะงานในด้านการติดต่อกันระหว่างผู้ใช้งานกับ
ผู้ดูแลระบบงาน DNS โดยเป็นติดต่อกันในรูปแบบของ การเจรจาทางโทรศัพท์และอีเมล์หรือแม้
กระทั้งเอกสารที่เป็นลายลักษณ์อักษร จากผู้ใช้งาน ในเนื้องานที่ต้องมีการ พัฒนา แก้ไข ปรับปรุง
ในส่วนงาน DNS ซึ่งผู้ดูแลระบบ DNS มีสิทธิ์ในการพัฒนาแก้ไขปรับปรุงระบบ
ในการดำเนินงานทางด้านเทคนิคผู้ดูแลระบบเครือข่ายจะทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบระบบ
DNS ให้มีประสิทธิภาพในการทำงานตลอดเวลา โดยในการดำเนินงานด้านเทคนิคจะแบ่งการ
จัดการข้อมูลออกเป็นส่วนหลักคือ
3.1.1 การจัดการข้อมูลระบบ DNS System
3.1.2 การจัดการข้อมูลระบบ Domain Name
3.1.3 การจัดการข้อมูลของผู้ใช้งานระบบ DNS
3.1.1 การจัดการข้อมูลระบบ DNS
เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บข้อมูลรายละเอียดของระบบการทำงาน DNS เช่น
1. Acl เป็นการกำหนดสิทธิ์การเข้าใช้งาน
2. Resursion เป็นการให้บริการระบบแคชชิ่ง
3. Allow Resurion เป็นการอนุญาตให้บริการระบบ แคชชิ่ง
4. Allow Transfer เป็นการอนุญาตให้โอนย้ายข้อมูล
5. Allow Queries เป็นการอนุญาตให้สอบถามข้อมูล
6. Allow Notify เป็นการอนุญาตให้แจ้งข้อมูลเพิ่มเติม
7. Forwarders เป็นการส่งต่อข้อมูล
8. Blackhole เป็นการไม่อนุญาตให้เข้ามาใช้งาน
9. Recursive Client เป็นการกำหนดจำนวนผู้ใช้งานระบบ แคชชิ่ง
10. TCP Client เป็นการกำหนดจำนวนผู้ใช้งาน
3.1.2 การจัดการข้อมูลระบบ Domain Name
เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บข้อมูลระบบ โดเมนเนม เช่น
1. Domain name ชื่อโดเมนเนม
2. Owner ชื่อเจ้าของโดเมนเนม
3. Start Time เวลาเริ่มใช้งานโดเมนเนม
4. Expire เวลาหมดอายุโดเมนเนม
5. Zone type ประเภทของโซนโดเมนเนม
6. Server name เครื่องเซิร์ฟเวอร์
7. Administrator อีเมล์ผู้ดูแลระบบ
8. Serial เป็นหมายเลขเวอร์ชั่นข้อมูลที่อยู่ในไฟล์
9. Refresh ความถี่ในการตรวจสอบข้อมูล
10. Retry ความถี่ในการตรวจสอบข้อมูลซ้ำ
11. Expire กำหนดเวลาที่เซิร์ฟเวอร์จะรอก่อนที่จะลบข้อมูล
12. TTL ระยะเวลาที่เซิร์ฟเวอร์จะเก็บเรคอร์ดก่อนที่จะลบ
13. Bootfile การกำหนดที่จะสามารถให้ใช้งานโดเมนเนมหรือไม่

3.1.3 การจัดการข้อมูลของผู้ใช้งานระบบ DNS
เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บข้อมูลของผู้ใช้งานทั้งหมดในระบบ DNS เช่น
1. Name ชื่อ
2. Last name นามสกุล
3. Organization ชื่อบริษัท
4. Organization Address ที่อยู่บริษัท
5. Zip Code รหัสไปรษณีย์
6. City เมือง
7. Country ประเทศ
8. Phone หมายเลขโทรศัพท์
9. Fax หมายเลขโทรสาร
10. E-mail จดหมายอีเล็คทรอนิคส์
11. User Name บัญชีรายชื่อผู้ใช้งาน
12. Password รหัสผ่าน
13. Confirm Password ยืนยันรหัสผ่าน
14. Administrator DNS เป็นผู้ดูแลระบบหรือไม่

3.2 ขั้นตอนการกำหนดปัญหาของระบบ
ในปัจจุบันการดูแลรักษา DNS เป็นสิ่งสำคัญในระบบเครือข่าย ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งที่จำเป็น
อย่างยิ่งในการติดต่อสื่อสารที่ทำให้ง่ายต่อการใช้งาน Internet แต่ในปัจจุบันนี้การดูแลรักษาระบบ
DNS ยังไม่มีความสะดวก และ ง่ายในการจัดการดูแลมากนัก
จากการศึกษาระบบงานเดิมทำให้สามารถวิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ ได้ดังต่อไปนี้
1. วิธีการดูแลแก้ไขต้องทำที่ตัวโปรแกรมโดยตรงเพียงวิธีเดียว
2. ความล่าช้าในการปฏิบัติงานของผู้ดูแล DNS
3. ความล่าช้าในการติดต่อประสานงาน
4. เนื่องจากการดูแลรักษาจะเป็นลักษณะของ Text File ซึ่งเป็นลักษณะ Manual ซึ่งทำให้
เกิดความยุ่งยากและเกิดข้อผิดพลาดได้ง่าย

3.3 ขั้นตอนการวิเคราะห์ระบบ
การวิเคราะห์ระบบและการออกแบบระบบใหม่นี้ได้นำเอาระบบฐานข้อมูลเข้ามาช่วยในการ
จัดการข้อมูลเพื่อช่วยลดความซ้ำซ้อนและการจัดเก็บข้อมูลให้เป็นระเบียบช่วยลดเวลาในการค้นหา
ให้เป็นมาตรฐานยิ่งขึ้นและได้นำระบบ DNS Management Via Web เข้ามาช่วยในการประมวลผล
ทำให้ผู้ดูแลระบบ DNS สามารถนำเอาข้อมูลมาช่วยในการวิเคราะห์พิจารณาในที่ประชุม ผู้วิจัยได้
ทำการวิเคราะห์และออกแบบระบบงานการพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับการจัดการข้อมูล
ทางด้าน DNS Management Via Web ได้ใช้แผนภาพกระแสข้อมูล (Data Flow Diagram) ในการ
วิเคราะห์ระบบ แผนภาพกระแสข้อมูลเป็นความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการทำงานและ ข้อมูลที่
เข้าและออกจากกระบวนการทำงาน โดยแบ่งออกเป็นระดับต่างๆ เริ่มต้นจากแผนภาพกระแสข้อมูล
ระดับสูง (Context Diagram) แสดงเส้นทางของข้อมูลที่เข้าและออกจากแหล่งที่มีผลกระทบต่อ
ระบบ และ แผนภาพกระแสข้อมูลระดับ 1 (Data Flow Diagram Level 1) แสดงการทำงานหลักของ
ระบบและข้อมูลที่เข้าและออกจากกระบวนการทำงานต่างๆ และจะแสดงรายละเอียดของการ
กระบวนการทำงานต่างๆ ในแผนภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 2
3.3.1 แผนภาพกระแสข้อมูลระดับสูงสุด (Context Diagram)
ขั้นตอนการทำงานของการพัฒนาระบบ DNS Management Via Web สำหรับการจัดการ
ข้อมูลทางด้านระบบ DNS มีแหล่งข้อมูลภายนอกระบบที่เกี่ยวข้องทั้งหมด 2 ฝ่ายด้วยกันคือ
1. เจ้าหน้าที่ดูแลระบบ DNS Management Via Web เป็นผู้ที่เข้ามาเกี่ยวข้องระบบโดยมี
หน้าที่ดูแลข้อมูล บันทึก และแก้ไขข้อมูลซึ่งได้แก่ข้อมูลโดเมนเนม ข้อมูลของผู้ขอใช้งานในระบบ
DNS ข้อมูลระบบการทำงานของ DNS
2. ผู้ขอใช้งานในระบบ DNS Management Via Web เป็นผู้ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับระบบ DNS
Management Via Web โดยมีหน้าที่ดำเนินการ แก้ไข ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง ข้อมูลในโดเมนเนม
ของตนเองเท่านั้น


ภาพที่ 3-1 แผนภาพบริบท (Context Diagram) การพัฒนาระบบ DNS Management Via Web
สำหรับการจัดการข้อมูลทางด้านเทคนิคระบบ DNS
แผนภาพกระแสข้อมูลระดับสูง สามารถแสดงรายละเอียดในแต่ละส่วนย่อยลงไปเป็น
แผนภาพกระแสข้อมูลระดับ Data Flow Diagram Level 1 และ Data Flow Diagram Level 2 เพื่อ
แสดงให้เห็นกระบวนการทำงานของระบบการไหลของข้อมูลและผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในระบบ ดู
รายละเอียดเกี่ยวกับกระบวนการทำงานของระบบดังแสดงในภาพที่ 3-2 ถึงภาพที่ 3-5


ภาพที่ 3-2 แผนภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 1 (DFD-Level 1) การพัฒนาระบบ DNS Management
Via Web สำหรับการจัดการข้อมูลทางด้านเทคนิคระบบ DNS

3.3.2 แผนภาพกระแสข้อมูล (Data Flow Diagram)
ในการพัฒนาระบบ DNS Management Via Web สำหรับการจัดการข้อมูลทางด้านเทคนิค
DNS ได้แบ่งกระบวนการจัดการข้อมูลออกเป็น 3 ส่วนหลัก ๆ คือ
1. กระบวนการจัดการตรวจสอบผู้ใช้งาน เป็นกระบวนการการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการ
ตรวจสอบรายละเอียดข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลที่ผู้ใช้งานระบบ DNS ทั้งหมดสามารถแสดง
รายละเอียดของกระบวนการการทำงานได้ดังภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 2 (DFD – Level 2 ) ดังภาพ
ที่ 3-3
2. กระบวนการจัดการข้อมูลระบบ Domain Name เป็นกระบวนการการทำงานที่เกี่ยวข้อง
กับข้อมูลผู้ใช้งานในระบบและข้อมูลของโดเมนเนม สามารถแสดงรายละเอียดของกระบวนการ
ทำงานได้ดังภาพกระแสข้อมูล ระดับที่ 2 (DFD – Level 2 ) ดังภาพที่ 3-4
3. กระบวนการจัดการข้อมูลของผู้ดูแลระบบ DNS เป็นกระบวนการการทำงานที่เกี่ยวข้อง
กับเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลข้อมูล ในการควบคุมการทำงานหลักของระบบ DNS มีหน้าที่บันทึกและแก้ไข
ข้อมูลทั้งหมดลงฐานข้อมูลระบบเพื่อกำหนดสิทธิ์การใช้ข้อมูล สามารถแสดงรายละเอียดของ
กระบวนการทำงานได้ดังภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 2 (DFD – Level 2 ) ดังภาพที่ 3-5


ภาพที่ 3-3 แผนภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 2 (DFD-Level 2) กระบวนการจัดการตรวจสอบ
ผู้ใช้งาน


ภาพที่ 3-4 แผนภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 2 (DFD-Level 2) กระบวนการจัดการข้อมูลระบบ
Domain Name Management


ภาพที่ 3-5 แผนภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 2 (DFD-Level 2) กระบวนการจัดการของผู้ดูแลระบบ
DNS System Management

3.3.2 แผนภาพแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูล (Entity – Relationship Diagram)
การมองภาพรวมของระบบว่ามีความสัมพันธ์กับ Entity อะไรบ้าง การพัฒนาระบบ DNS
Management Via Web สำหรับการจัดการข้อมูลทางด้านเทคนิคได้ใช้เทคนิคในการแสดง
ความสัมพันธ์ด้วย Entity – Relationship Diagram ของระบบในส่วนของการจัดการข้อมูล ผู้วิจัยได้
แบ่งความสัมพันธ์ของข้อมูลออกเป็นดังนี้



ภาพที่ 3-6 แสดงความสัมพันธ์ของข้อมูล (E-R Diagram) : DNS Management Via Web
สามารถอธิบายรายละเอียดของความสัมพันธ์ของ DNS Management Via Web ได้ดังนี้ คือ
Entity : zone bootfile
Relationship : Map
Cardinality : one to many
คำอธิบาย : ค่าเริ่มทำงาน 1 ค่า สามารถมีการ Map โซนโดเมนได้มากกว่า 1 โดเมน
Entity : boot_opt bootfile
Relationship : status
Cardinality : one to one
คำอธิบาย : ค่า boot_opt หนึ่งค่าสามารถกำหนดสถานะการทำงาน bootfile
ได้ค่าเดียว
Entity : zone a_record
Relationship : Map
Cardinality : one to many
คำอธิบาย : โซนโดเมน 1 โดเมนมีการ Map A Record ได้มากกว่า 1 Record
Entity : zone cname_record
Relationship : Map
Cardinality : one to many
คำอธิบาย : โซนโดเมน 1 โดเมนมีการ Map Cname Record ได้มากกว่า 1 Record
Entity : zone mx_record
Relationship : Map
Cardinality : many to many
คำอธิบาย : โซนโดเมน 1 โดเมนมีการ Map MX Record ได้มากกว่า 1 Record
และ MX 1 Record สามารถมี Mapโซนโดเมนมากกว่า 1 โซนโดเมน
Entity : zone ns_record
Relationship : Map
Cardinality : many to many
คำอธิบาย : โซนโดเมน 1 โดเมนมีการ Map NS Record ได้มากกว่า 1 Record
และ MX 1 Record สามารถมี Map โซนโดเมนได้มากกว่า 1 โซนโดเมน
Entity : owner zone
Relationship : Register
Cardinality : one to many
คำอธิบาย : เจ้าของโดเมนหนึ่งคนสามารถเป็นเจ้าของโซนโดเมนได้มากกว่าหนึ่ง
โซนโดเมน
Entity : zone ptr_record
Relationship : Map
Cardinality : one to many
คำอธิบาย : โซนโดเมน 1 โดเมนมีการ Map PTR Record ได้มากกว่า 1 Record
Entity : zone secondary_server
Relationship : Map
Cardinality : one to many
คำอธิบาย : โซนโดเมน 1โดเมนมีการ Map ค่า Secondary ได้มากกว่า 1 Record
Entity : zone soa_record
Relationship : Map
Cardinality : one to one
คำอธิบาย : โซนโดเมน 1 โดเมนมีการ Map ค่า Soa Record ได้เพียง 1 Record

3.3.3 โครงสร้างฐานข้อมูลของระบบ
ฐานข้อมูลที่ใช้ในระบบ DNS Management Via Web ซึ่งเป็นที่เก็บข้อมูลเพื่อประกอบการ
ประมวลผลของระบบการพัฒนาระบบ สำหรับการจัดการข้อมูลทางด้านเทคนิคผู้จัดได้ทำการ
วิเคราะห์และออกแบบฐานข้อมูลของระบบได้ดังนี้

ตารางที่ 3-1 A_record เป็นตารางที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับรายละเอียดของแอดเดรส


ตารางที่ 3-2 Cname_record เป็นตารางที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับรายละเอียดของชื่อเสมือน


ตารางที่ 3-3 Mx_record เป็นตารางที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับรายละเอียดของเมล์


ตารางที่ 3-4 Ns_record เป็นตารางที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับรายละเอียดของเนมเซิร์ฟเวอร์


ตารางที่ 3-5 Ptr_record เป็นตารางที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับรายละเอียดของ Reverse


ตารางที่ 3-6 Soa_record เป็นตารางที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับรายละเอียดของค่าเริ่มต้น


ตารางที่ 3-6 (ต่อ) Soa_record เป็นตารางที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับรายละเอียดของค่าเริ่มต้น


ตารางที่ 3-7 BootFile เป็นตารางที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับรายละเอียดของ การกำหนดที่จะสามารถให้
ใช้งานโดเมนเนมหรือไม่


ตารางที่ 3-8 Zone เป็นตารางที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับรายละเอียดของโซนโดเมนเนม


ตารางที่ 3-9 Secondary_server เป็นตารางที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับรายละเอียดของเซิร์ฟเวอร์สำรอง


ตารางที่ 3-10 Boot_opt เป็นตารางที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับรายละเอียดของการกำหนดค่าการทำงาน
หลักของระบบ DNS Management Via Web


ตารางที่ 3-10 (ต่อ) Boot_opt เป็นตารางที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับรายละเอียดของการกำหนดค่าการ
ทำงานหลักของระบบ DNS Management Via Web


ตารางที่ 3-11 Owner เป็นตารางที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับรายละเอียดของ ชื่อเจ้าของโดเมนเนม
ลำดับที่ ชื่อ ประเภทข้อมูล ความกว้าง คำอธิบาย


3.4 ขั้นตอนการออกแบบระบบ
หลังจากที่ได้ทำการวิเคราะห์ระบบ โดยใช้ Data Flow Diagram และ E-R Diagram ทำให้ได้
ทราบถึงระบบการไหลของข้อมูลที่มีอยู่ทั้งหมดในระบบ ขั้นตอนต่อไปเป็นขั้นตอนการออกแบบ
ระบบ เราต้องออกแบบหน้าจอแต่ละหน้าจอของโปรแกรม ซึ่งจะทำให้ทราบถึงการทำงาน
โปรแกรม ก่อนที่จะนำไปสู่ขั้นตอนการพัฒนาระบบต่อไป ในภาพที่ 3-7 ถึงภาพที่ 3-14 จะแสดง
ตัวอย่างการออกแบบหน้าจอรายละเอียด DNS Management Via Web การ Login เข้าสู่ระบบ การ
เพิ่มข้อมูลโดเมนเนม การเพิ่มข้อมูลของผู้ใช้งาน การตั้งค่าการทำงานของระบบ DNS Management
Via Web การควบคุมการทำงานของระบบ DNS Management Via Web แสดงข้อมูลของผู้ใช้งาน
ทั้งหมด เครื่องมือช่วยในการทำงานและรายงานผลการใช้งาน



ภาพที่ 3-7 การ Login เข้าสู่ระบบ



ภาพที่ 3-8 การเพิ่มข้อมูลโดเมนเนม



ภาพที่ 3-9 การเพิ่มข้อมูลของผู้ใช้งาน

หน้าจอเมนูหลัก
ส่วนแสดงผลข้อมูล
View Configure
ภาพที่ 3-10 การตั้งค่าการทำงานของระบบ DNS Management Via Web
หน้าจอเมนูหลัก
ส่วนควบคุมระบบ
Control System
ภาพที่ 3-11 การควบคุมการทำงานของระบบ
52
หน้าจอเมนูหลัก
ส่วนแสดงผลข้อมูล
All User In System
ภาพที่ 3-12 แสดงข้อมูลของผู้ใช้งานทั้งหมด
หน้าจอเมนูหลัก
ส่วนควบคุมเครื่องมือ
Tools
ภาพที่ 3-13 เครื่องมือช่วยในการทำงาน
53
หน้าจอเมนูหลัก
ส่วนแสดงผลรายงาน
View Report
ภาพที่ 3-14 รายงานผลการใช้งาน
3.5 ขั้นตอนการพัฒนาระบบ
จากขั้นตอนการวิเคราะห์และออกแบบระบบ ทำให้เราทราบถึงกระบวนการการทำงานของ
โปรแกรม DNS Management Via Web สำหรับการขั้นตอนการพัฒนาระบบนี้เป็นขั้นตอนในการ
เขียนโปรแกรมซึ่งโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นนี้จะเขียนด้วยโปรแกรมภาษ PHP เป็น Web Programming
ใช้ระบบฐานข้อมูล Data Base เป็น MySQL พร้อมทั้ง Apache เป็น Web Server ใช้การเข้ารหัส
SSL เป็นการรักษาความปลอดภัยและใช้โปรแกรม Bind เป็น Domain Name Server
3.6 วิธีการทดสอบระบบ
เมื่อได้ทำการพัฒนาระบบเสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว เพื่อหาประสิทธิภาพการทำงานของ
ระบบสามารถทำงานได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และตรงต่อเวลาความต้องการของผู้ใช้ระบบหรือไม่
จึงได้จัดทำแบบประเมินประสิทธิภาพระบบการพัฒนาระบบ DNS Management Via Web สำหรับ
การจัดการข้อมูลทางด้าน DNS Management Via Web โดยมีการแบ่งการทดสอบการประสิทธิภาพ
ของระบบออกเป็น 6 ด้านคือ
3.6.1 ผลการทดสอบด้วยผู้วิจัย
3.6.2 การติดต่อระหว่างโปรแกรมกับผู้ใช้
3.6.3 การประมวลผลของโปรแกรม
54
3.6.4 ผลลัพธ์ที่ได้จากโปรแกรม
3.6.5 ระบบรักษาความปลอดภัย
3.6.6 ความสามารถของโปรแกรมตรงต่อความต้องการของผู้ใช้
ผู้ทำแบบประเมินจะต้องทำการทดสอบระบบ โดยลองใช้ระบบการพัฒนา DNS
Management Via Web สำหรับการจัดการข้อมูลทางด้าน DNS Management Via Web ที่ได้
พัฒนาขึ้น และทำแบบประเมินที่ได้ทำการออกแบบไว้ ผู้ที่ทำแบบประเมินแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ
1. ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้และความชำนาญในเรื่องโปรแกรม จำนวน 5 ท่าน
2. เจ้าหน้าที่ดูแลข้อมูลทางด้านเทคนิคในส่วน DNS Management Via Web
ตารางที่ 3-12 เกณฑ์การให้คะแนนของแบบประเมิน
เกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสิน
เชิงคุณภาพ เชิงปริมาณ
ความหมาย
ดีมาก 5 โปรแกรมสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในระดับดีมาก
ดี 4 โปรแกรมสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในระดับดี
พอใช้ 3 โปรแกรมสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในระดับพอใช้
น้อย 2 โปรแกรมสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในระดับน้อย
ปรับปรุง 1 โปรแกรมไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.7 สถิติที่ใช้ในการทดสอบ
3.7.1 ค่าเฉลี่ย ใช้การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง (Measures of Central Tendency)ใช้วิธีการ
หาค่ามัชฌิมเลขคณิต (Arithmetic Mean) หรือตัวกลางเลขคณิต หรือส่วนเฉลี่ยเลขคณิต เป็นการ
วัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลางที่ใช้กันมากที่สุด เรียกว่าค่าเฉลี่ยเลขคณิตหรือคะแนนเฉลี่ย
สูตร n
Σ =
χ
χ
โดย χ คือ ผลรวมคะแนนในหัวข้อที่ประเมิน
χ คือ คะแนนในแต่ละหัวข้อ
Σχ คือ ผลรวมคะแนนในหัวข้อที่ประเมิน
55
n คือ จำนวนในกลุ่มตัวอย่าง
3.7.2 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) หมายถึงรากที่สองของความ
แปรปรวนหรือรากที่สองของค่าเฉลี่ยของผลรวมของคะแนนที่เบี่ยงเบนออกจากค่าเฉลี่ยของข้อมูล
ชุดนั้นยกกำลังสองมีสูตรดังนี้
สูตร S.D. =
( )
( ) 1
2 2

Σ − Σ
n n
n x x
โดย S.D. คือ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
Σχ คือ ผลรวมคะแนนในหัวข้อที่ประเมิน
χ คือ คะแนนในแต่ละหัวข้อ
n คือ จำนวนในกลุ่มตัวอย่าง
3.7.3 การทดสอบสมมติฐาน สมมติฐานที่ตั้งไว้คือคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับดีขึ้นไปจึงจะ
ยอมรับว่าโปรแกรมมีประสิทธิภาพในการใช้งานได้ เกณฑ์การยอมรับประสิทธิภาพของโปรแกรม
พิจารณาจากคะแนนเฉลี่ยของกลุ่มทดลอง โดยนำมาผ่านการทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับค่าเฉลี่ย
สำหรับเกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสินตามเกณฑ์ดังตารางที่ 3-12 โดยมีขั้นตอนในการทดสอบสมมติฐาน
ดังนี้
ขั้นที่ 1 ตั้งสมมติฐานหลัก ( ) 0 Η และสมมติฐานรอง ( ) a Η
0 Η : คะแนนเฉลี่ยจากการประเมินอยู่ในระดับดี (μ ≥ 4.50)
a Η : คะแนนเฉลี่ยจากการประเมินอยู่ในระดับปานกลาง (μ < 4.50) ขั้นที่ 2 กำหนดระดับนัยสำคัญ (Specified the leveled of significance) สำหรับการประเมิน ระบบงานนี้กำหนด α ไว้ที่ 0.05 ขั้นที่ 3 เลือกสถิติเพื่อทดสอบ เนื่องจากในการเก็บผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญและ ผู้ใช้งานทั่วไปของระบบงานนี้ มีจำนวนไม่ถึง 30 ท่าน (n<30) จึงเลือกใช้สถิติ tในการคำนวณดังนี้ สูตร S D n t x . ./ − μ = 56 โดย t คือ สถิติการทดสอบ t μ คือ ค่าพารามิเตอร์ที่นำมาใช้ในการทดสอบ ขั้นที่ 4 ทดลองและคำนวณค่าตัวสถิติ (Experiment & Computational Statistics) ขั้นที่ 5 สรุปผลหรือตัดสินใจว่าปฏิเสธหรือยอมรับ 0 Η ถ้า , −1 < c n t tα จะปฏิเสธ 0 Η ถ้า , −1 ≥ c n t tα จะยอมรับ a Η ทั้งนี้ ,n−1 tα ได้มาจากการเปิดตารางค่า t แล้วนำมาเปรียบเทียบกับค่าที่ได้จากการคำนวณ การจัดการชื่อโดเมนเนมผ่านทางเว็บ (ตอนที่ 2)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น