วันอาทิตย์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2552

ระบบการจัดการและใช้งานคลังข้อสอบ กรณีศึกษา วิชาความรู้ความสามารถทั่วไป



บทที่ 1 บทนำ 1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ปัจจุบันการออกข้อสอบของแต่ละสถาบันหรือหน่วยงานต่างๆ จะให้ผู้สอนหรือผู้มีความรู้ ความสามารถด้านนั้นๆเป็นผู้ออกข้อสอบโดยเริ่มจากการ คิดข้อสอบ บันทึกข้อสอบจัดเก็บเข้า ไฟล์เอกสารโดยผ่านโปรแกรมสำนักงาน พิมพ์ข้อสอบออกมาเป็นต้นฉบับเพื่อส่งสำเนาต่อไป เมื่อผู้ทำข้อสอบทำข้อสอบเสร็จเรียบร้อยแล้วทางสถาบัน หรือหน่วยงานจะรวบรวมข้อสอบ ส่งกลับคืนให้ผู้ออกข้อสอบเพื่อนำไปตรวจและให้คะแนน หลังจากนั้นข้อสอบเหล่านั้นจะถูกเก็บ เข้าห้องเก็บคลังข้อสอบ ซึ่งการเก็บรวบรวมและรักษาข้อสอบที่เป็นกระดาษมีค่าใช้จ่ายในการเก็บ รักษาที่สูง ทั้งนี้ยังเสี่ยงต่อการถูกขโมยหรือการทำลายอย่างตั้งใจและไม่ตั้งใจ ปัญหาที่สำคัญอีกประการหนึ่งของกระบวนการเรียนการสอนในทุกระดับการศึกษา ก็คือการ ประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน สภาวะปัจจุบันที่เป็นอยู่ผู้สอนส่วนใหญ่ไม่ได้วิเคราะห์คุณภาพของ ข้อสอบที่ใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน การที่ผู้สอนจะประเมินผลสัมฤทธิ์ ของผู้เรียนได้อย่างถูกต้องและแม่นยำนั้น ข้อสอบที่ใช้จะต้องมีประสิทธิภาพ กล่าวคือข้อสอบ จะต้องมีความตรง และความเที่ยง สูง นอกจากนั้นข้อสอบแต่ละข้อจะต้องมีอำนาจจำแนกสูง และ มีความง่ายปานกลาง สาเหตุประการหนึ่งที่ผู้สอบไม่ได้วิเคราะห์ข้อสอบก็คือขาดเครื่องมือที่ใช้ใน การวิเคราะห์โดยการคำนวณหาค่าต่างๆดังกล่าวแล้วข้างต้นด้วยตนเองจะต้องใช้เวลามาก กรณีศึกษาที่ผู้จัดทำได้นำมาพัฒนาคือ วิชาความรู้ความสามารถทั่วไป ซึ่งเป็นวิชาพื้นฐานที่ นำมาใช้สอบคัดเลือกบุคคลเพื่อคัดเลือกบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ เหตุผล ปฏิภาณไหวพริบ และความสามารถในการวิเคราะห์เข้าทำงาน ในหน่วยงานราชการ องค์กร รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน ฯลฯ วิชาความรู้ความสามารถทั่วไปเป็นวิชาที่มีเนื้อหาค่อนข้างมาก ซึ่งประกอบไปด้วยหมวดวิชา ดังนี้ 1.1.1 หมวดความรู้ความสามารถทั่วไปมีจุดมุ่งหมาย เพื่อวัดความรอบรู้ในการใช้เหตุผล ปฏิภาณและไหวพริบเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ 1.1.2 หมวดวิชาภาษาไทยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อวัดความรู้และความเข้าใจในการใช้ภาษาไทย ให้ถูกต้อง แนวข้อสอบของแต่ละแห่งจะมีความแตกต่างกันไม่มากนัก ดังนั้นผู้ที่ฝึกทำโจทย์บ่อยๆจะ สามารถแก้ปัญหาโจทย์ในแต่ละข้อได้รวดเร็วกว่าผู้อื่น เพราะเกิดความรู้ความชำนาญในการทำ 2 ข้อสอบ การฝึกทำโจทย์นั้นโดยส่วนใหญ่ผู้ทำข้อสอบจะฝึกทำโจทย์จากหนังสือคู่มือที่มีขาย อยู่ในท้องตลาดซึ่งแต่ละเล่มจะมีเนื้อหาที่เหมือนๆกันทั้งนี้ยังมีปัญหาของการพิมพ์ผิด เฉลยผิดซึ่ง จะทำให้ผู้ทำข้อสอบเกิดความสับสนในคำตอบที่ถูก ในการฝึกทำข้อสอบของผู้สอบนั้น จะมีการคละระดับความยากง่ายของข้อสอบไว้ปนกันทำให้ผู้เริ่มทำข้อสอบใหม่ๆ เกิดความท้อใจและเบื่อในการทำข้อสอบเมื่อเจอข้อสอบข้อยากๆติดกัน ดังนั้นผู้จัดทำจึงได้พัฒนาระบบการจัดการและใช้งานคลังข้อสอบ เพื่อช่วยในการทำคลัง ข้อสอบและการใช้งานคลังข้อสอบ โดยใช้เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มาช่วยในการจัดการและใช้ งานคลังข้อสอผ่านอินเตอร์เน็ต เพื่อเป็นการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดจากการดูแลรักษา ข้อสอบที่เป็นกระดาษ ช่วยให้ผู้ทำข้อสอบสามารถฝึกทำข้อสอบได้หลากหลายรูปแบบ สามารถใช้ งานได้ทุกที่ทุกเวลา 1.2 วัตถุประสงค์ของโครงงาน เพื่อพัฒนาระบบการจัดการและใช้งานคลังข้อสอบ 1.3 สมมุติฐานโครงงาน พัฒนาระบบการจัดการและใช้งานคลังข้อสอบ ที่สามารถทำงานผ่านเว็บเบราเซอร์และ สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้จริง 1.4 ขอบเขตของโครงงาน สารนิพนธ์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการช่วยจัดเก็บข้อสอบและดึงข้อสอบออกมา ใช้งาน ซึ่งพัฒนาผ่าน Web Application บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet) จึงได้มีการกำหนด ขอบเขตของสารนิพนธ์ไว้ดังนี้ 1.4.1 การจัดการข้อสอบสามารถทำรายการต่อไปนี้ 1.4.1.1 เพิ่มข้อสอบและคำเฉลย ตามวิชา หมวด ประเภท ใหม่ๆ ได้ 1.4.1.2 ค้นหา ปรับปรุง แก้ไข ข้อสอบและคำเฉลย ตามวิชา หมวด ประเภท ได้ 1.4.1.3 ลบข้อสอบและคำเฉลย ตามวิชา หมวด ประเภท ได้ 1.4.1.4 จัดระดับความยากง่ายของแต่ละข้อ โดยแบ่งระดับความยาก ง่ายตาม ลำดับได้สูงสุด 10 ระดับ 1.4.2 ระบบสามารถเก็บข้อมูลของผู้ใช้งานดังต่อไปนี้ได้ 1.4.2.1 บันทึกข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งาน 1.4.2.2 บันทึกประวัติการทำข้อสอบของผู้ทำข้อสอบ 1.4.2.3 แสดงแบบทบทวนชุดข้อสอบ 3 ครั้งล่าสุดที่ผู้ทำข้อสอบได้ทำ 3 1.4.3 ระบบสามารถใช้งานข้อสอบของผู้ทำข้อสอบได้ดังต่อไปนี้ 1.4.3.1 สุ่มข้อสอบในการสอบไม่ซ้ำกับชุดข้อสอบที่ผู้ทำสอบทำครั้งล่าสุด 1.4.3.2 ผู้ทำสอบสามารถเลือกระดับความยากง่ายของชุดข้อสอบเองได้ 1.4.3.3 แสดงชุดข้อสอบจากระดับความง่าย ไปจนถึงระดับความยากของข้อสอบ โดยใช้คะแนนสอบในการวัดค่า โดยคะแนนสอบมากกว่าร้อยละ 75 คะแนนระบบจะเลื่อนไปใน ระดับถัดไปให้โดยอัตโนมัติ 1.4.3.4 แสดงข้อมูลผลการทำข้อสอบ ข้อมูลสถิติการทำถูกผิดของแต่ละข้อ 1.4.4 ระบบสามารถกำหนดสิทธิการเข้าใช้งานเป็น 4 กลุ่มดังนี้ 1.4.4.1 ผู้ทำข้อสอบ 1.4.4.2 ผู้บริหาร 1.4.4.3 อาจารย์ ผู้สอน ผู้ออกข้อสอบ เจ้าหน้าที่บันทึกข้อสอบ 1.4.4.4 ผู้บริหารเว็บไซต์ 1.4.5 ระบบสามารถประเมินผลข้อสอบได้ดังต่อไปนี้ 1.4.5.1 จัดทำข้อมูลสถิติเพื่อวัดระดับความยากง่ายของข้อสอบแต่ละข้อเพื่อนำมา ปรับปรุงระดับความยากง่ายของข้อสอบที่ตั้งไว้ 1.4.5.2 จัดทำรายงานสรุปสำหรับผู้บริหาร ได้แก่ข้อมูลสรุปยอดผู้ใช้งานเว็บไซต์ ในแต่ละวัน ข้อมูลสรุปยอดผู้ใช้งานคลังข้อสอบตามหมวดของข้อสอบได้ 1.4.6 ตัวอย่างแนวข้อสอบกรณีศึกษา วิชาความรู้ความสามารถทั่วไป โดยมีหมวดและ ประเภทดังนี้ 1.4.6.1 หมวดความรู้ความสามารถทั่วไป รวมจำนวน 100 ข้อ โดยแบ่งออกเป็น 5 ประเภทดังนี้ ก) ตัวเลขจำนวน 20 ข้อ ข) ภาษาจำนวน 20 ข้อ ค) เหตุผลจำนวน 20 ข้อ ง) พื้นฐานทางคณิตศาสตร์จำนวน 20 ข้อ จ) การวิเคราะห์สรุปเหตุผลจำนวน 20 ข้อ 1.4.6.2 หมวดภาษาไทย รวมจำนวน 60 ข้อ โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ก) คำศัพท์และหลักภาษาไทยจำนวน 20 ข้อ ข) การเขียนและเรียงข้อความจำนวน 20 ข้อ ค) การเข้าใจภาษาจำนวน 20 ข้อ 1.5 เครื่องมือที่ใช้พัฒนา 1.5.1 ด้านซอฟต์แวร์ 4 1.5.1.1 ระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows 2000 1.5.1.2 ระบบการจัดการฐานข้อมูล Microsoft SQL Server V.2000 1.5.1.3 เทคโนโลยีการจัดการ IIS 5.0 1.5.1.4 โปรแกรมการจัดสร้างเว็บไซต์ Macromedia DreamWeaver MX 1.5.1.5 โปรแกรมที่ใช้ในการแสดงผลเว็บไซต์ Internet Explorer V.6 หรือสูงกว่า 1.5.2 ด้านภาษาคอมพิวเตอร์ 1.5.2.1 ภาษา HTML 1.5.2.2 ภาษา ASP 1.5.2.3 ภาษา Java script 1.5.2.4 ภาษา VB Script 1.5.2.5 ภาษา SQL 1.6 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1.6.1 เพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการทำสอบ 1.6.2 เพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการวิเคราะห์ข้อสอบ 1.6.3 เพิ่มความพึงพอใจให้แก่ผู้ที่ต้องการสอบวิชาความรู้ความสามารถทั่วไป 1.6.4 มีข้อมูลทางสถิติการทำสอบของผู้ใช้ประกอบการตัดสินใจของผู้บริหารเว็บไซต์เพื่อ ติดตามผลการใช้งานและทำการวางแผนการปรับปรุงแนวข้อสอบ บทที่ 2 ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การพัฒนาระบบงานการจัดการและใช้งานคลังข้อสอบ ผู้พัฒนาได้ทำการศึกษาหลักการ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องมาประยุกต์ใช้งาน พร้อมทั้งแหล่งที่มาของข้อมูลที่มีความจำเป็นในการพัฒนา ระบบโดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 1. คลังข้อสอบ 2. วงจรชีวิตของการพัฒนาระบบสารสนเทศ 3. ระบบฐานข้อมูลและการออกแบบ 4. เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต 5. ภาษา ASP 6. ภาษา VBScript 7. ภาษา JavaScript 8. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2.1 คลังข้อสอบ คลังข้อสอบ หมายถึงเป็นแหล่งที่เก็บสะสมข้อสอบที่ถูกวิเคราะห์แล้วว่ามีคุณสมบัติครบ ถ้วนตามคุณลักษณะของข้อสอบที่ดีซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ในการที่จะนำไปใช้ในโอกาสต่อไป มี การบริหารการจัดเก็บและการใช้งานอย่างมีระบบด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งผู้สอบสามารถใช้ สอบได้ทุกสถานที่ทุกเวลา 2.1.1 ความสำคัญของคลังข้อสอบ ข้อมูลในคลังข้อสอบจะมีความสัมพันธ์กันระหว่างวิชา และคลังข้อสอบสามารถเก็บรวบรวม ข้อสอบจำนวนมาก เพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์ความเที่ยงตรง ความเชื่อมั่น ความมีประสิทธิภาพ ของข้อสอบ โดยทั่วไปแบบทดสอบของแต่ละวิชาจะมีความสัมพันธ์กับจุดมุ่งหมายของวิชา เนื้อหา ของวิชา นั้นๆ 2.1.2 ประโยชน์ของคลังข้อสอบโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ การจัดทำคลังข้อสอบโดยผ่านระบบคอมพิวเตอร์มีประโยชน์ ดังนี้ 2.1.2.1 สามารถสร้างแบบทดสอบได้ทุกสถานที่ทุกเวลาตามที่ต้องการ ซึ่งทำให้ สามารถบริหารคลังข้อสอบได้อย่างสะดวก 2.1.2.2 เป็นการพัฒนาข้อสอบให้มีคุณภาพที่ดี เช่นมีความถูกต้องแม่นยำและมี ความเชื่อมั่นมากขึ้น 6 2.1.2.2 สามารถลดปริมาณการใช้กระดาษในการพิมพ์ข้อสอบและลดปัญหาของ ข้อสอบรั่วอีกด้วย 2.1.2.3 ทำให้ไม่จำเป็นต้องมีสถานที่เก็บรักษาแบบทดสอบจำนวนมากทั้งนี้ยังไม่ ต้องเสี่ยงกับการเกิดปัญหาข้อสอบสูญหาย หรือถูกทำลาย 2.1.3 แบบทดสอบ หมายถึงชุดของคำถามหรือกลุ่มของงานที่สร้างขึ้น เพื่อเร้าให้ผู้ที่เราต้องการวัดแสดง พฤติกรรมออกมา แบบทดสอบมีหลายประเภทแล้วแต่วิธีการในการจำแนกต่างกันเช่น 2.1.3.1 จำแนกตามกระบวนการในการสร้าง ได้แก่แบบทดสอบที่ผู้ออกข้อสอบ สร้างขึ้นมาเองและแบบทดสอบมาตรฐาน 2.1.3.2 จำแนกตามจุดหมายในการใช้ประโยชน์ ได้แก่แบบทดสอบวัดสัมฤทธิ์ผล แบบทดสอบวัดความถนัดและแบบทดสอบวัดบุคลิกภาพ 2.1.3.3 จำแนกตามรูปแบบคำถามและวิธีการตอบได้แก่แบบทดสอบแบบทดสอบ อัตนัยและแบบทดสอบปรนัย 2.1.3.4 จำแนกตามเวลาที่กำหนดให้ตอบ ได้แก่แบบทดสอบวัดความเร็วและ แบบทดสอบวัดความสามารถสูงสุด 2.1.4 ประโยชน์ของการทดสอบ แบบทดสอบ เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่จะช่วยผู้สอนพิจารณาตัดสินใจในเรื่องการเรียนการ สอน แม้ว่าแบบทดสอบฉบับหนึ่งอาจจะมีประโยชน์ในสถานการณ์หนึ่งแต่อาจไม่เหมาะสมใน สถานการณ์อื่นๆ เราจะต้องรู้จักสร้างและใช้แบบทดสอบให้ตรงตามจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นการช่วย ทำให้การตัดสินถูกต้อง ผู้สอนจะตัดสินผู้สอบด้วยความรู้สึกนึกคิดหรือความเห็นส่วนตัว ย่อมเป็นการไม่ถูกต้อง และเป็นการเสี่ยงมาก การสอบทำให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างการวัดผลและความสามารถที่จะ ตัดสินได้อย่างดี จะเห็นได้ว่าประโยชน์ของการทดสอบและวัดผลก็คือ เป็นการช่วยให้ผู้สอนตัดสิน ให้ถูกต้องดีขึ้นโดยถือว่า การวัดผลสามารถพยากรณ์แนวทางการกระทำ ให้ได้ผลมากกว่าไม่ใช้ การวัดผลการทดสอบมีประโยชน์หลายด้านดังนี้ 2.1.4.1 ใช้แบบทดสอบสำหรับสอบคัดเลือกการคัดเลือกใด ควรใช้การทดสอบวัด ว่าจะรับหรือไม่รับใคร การตัดสิน คัดเลือก ต้องใช้แบบทดสอบที่ความสามารถพยากรณ์ ความสำเร็จหรือไม่สำเร็จของบุคคลได้โดยให้มีความผิดพลาดน้อยที่สุด ความผิดพลาดอาจมี 2 แบบ คือ รับบุคคลแล้วต่อมาเขาเรียนหรือทำงาน ไม่สำเร็จ หรือไม่รับบุคคลผู้อาจเรียนได้ สำเร็จ อุดมคติของการสอบคัดเลือกก็คือ จะรับเฉพาะคนที่สามารถเรียนได้สำเร็จเท่านั้น และใน เวลาเดียวกันก็ไม่รับผู้สมัครที่จะเรียนไม่สำเร็จแบบทดสอบคัดเลือกควรสามารถวัดด้านทักษะ ความสามารถ ทัศนคติ และวัดความถนัด ในการเรียนระดับสูงหรือวิชาเฉพาะ เช่นช่างเทคนิค เกษตร พาณิชย์ ครู แพทย์ ตำรวจ ทหาร ฯลฯ เราต้องการผู้มีความถนัด ความสนใจ 7 ความสามารถ และมีทักษะเฉพาะอย่าง เพื่อให้ผู้ได้รับการคัดเลือกเรียนได้สำเร็จและดีและเรียน ไม่ยากลำบาก เมื่อเรียนสำเร็จแล้วไปทำงานที่เขามีความถนัด ความสนใจ ความสามารถ ก็จะทำให้งานเจริญก้าวหน้าดีอย่างรวดเร็ว อันเป็นการพัฒนางานและประเทศชาติอย่างหนึ่ง 2.1.4.2 ใช้แบบทดสอบสำหรับจัดตำแหน่ง เมื่อบุคคลได้รับการคัดเลือกแล้วต้อง จัดตำแหน่งให้เรียนหรือทำงานในสาขาวิชาที่จะทำให้เค้าประสบความสำเร็จดีที่สุด แบบทดสอบ ฉบับหนึ่งอาจจะมีประโยชน์สำหรับคัดเลือกแต่ไม่เหมาะสม สำหรับการจัดตำแหน่งเช่น แบบทดสอบวัดความถนัดทางการเรียนทั่วๆไป อาจพยากรณ์ได้ว่าใครอาจจะเรียนได้สำเร็จ แต่ไม่ อาจจะใช้ในการจัดให้เรียนในสาขาวิชาที่ดีที่สุดสำหรับบุคคลนั้น แบบทดสอบการจัดตำแหน่งที่ดี จะสามารถพยากรณ์ความสำเร็จในการเรียนสาขาวิชานั้นๆได้ถูกต้อง ไม่ผิดพลาด แม้แต่ระดับ ความสามารถที่แตกต่างกัน ก็สามารถบอกได้ด้วยคะแนนสอบ 2.1.4.3 ใช้แบบทดสอบสำหรับวิจัยและแก้ไขปรับปรุงแบบทดสอบที่ใช้ใน การวิจัย ว่าบุคคลจะมีความเก่งกล้าหรืออ่อนแอในเรื่องใด เป็นแบบทดสอบอีกลักษณะหนึ่งซึ่งใช้ตรวจสอบ ผลการเรียน ก่อนที่ผู้สอนจะช่วยเหลือผู้สอบในด้านการเรียน ผู้สอนต้องรู้ก่อนว่าผู้สอบคนใดอ่อน ในเนื้อหา หรือสาขาใดเพียงใด จะได้ช่วยได้ถูกจุด เราอาจจะใช้แบบทดสอบวินิจฉัยในด้าน ต่างๆกัน ประการแรกจะช่วยให้ผู้สอนทราบว่าผู้สอบคนใดมีปัญหา เนื่องจากผู้สอบอาจมีปัญหา หลายอย่าง โดยทั่วไปแบบทดสอบจะบรรจุเนื้อหาจำกัดเฉพาะอย่าง สำหรับวัดเพื่อค้นหาสาเหตุ แต่ละอย่าง เช่นนักเรียนอ่อนวิชาเลขคณิต ซึ่งเป็นวิชาที่จัดเนื้อหาไว้ตามลำดับก่อนหลัง ผู้สอน จะต้องทดสอบให้พบสาเหตุเริ่มแรกที่ผู้สอบมีปัญหา 2.1.4.4 ใช้แบบทดสอบเพื่อให้รู้ผลสะท้อนกลับหรือรู้ผลการเรียนเป็นที่ยอมรับกัน ว่าเมื่อผู้เรียนรู้ผลการเรียนของตนจะทำให้ผู้เรียนเพิ่มความเอาใจใส่การเรียนมากขึ้น และลด ความผิดพลาดลงโดยทั่วไปยิ่งรู้ผลสะท้อนกลับทำให้ยิ่งเพิ่มการเรียน บางทีผู้เรียนอาจรู้ผลสะท้อน กลับด้วยตนเองและแก้ไขข้อบกพร่องของเขาเอง แต่นักเรียนใหม่ต้องการคำปรึกษาจากผู้สอน เพื่อให้รู้แนวทางปรับปรุงการเรียนให้ดีขึ้น ผู้สอนอาจสร้างแบบทดสอบเพื่อให้เกิดผลสะท้อนกลับ ได้ 2 แบบ คือ ก) นำผลเรียนของแต่ละคนไปเปรียบเทียบกับของผู้เรียนคนอื่น ๆ ใน กลุ่มเดียวกันเรียกว่าการสอบแบบอิงกลุ่ม ข) นำผลการเรียนของนักเรียนแต่ละคนไปเปรียบเทียบกับ เกณฑ์ของ ผู้สอนสร้างขึ้นมาแบบทดสอบประเภทนี้เรียกว่าอิงเกณฑ์ 2.1.4.5 ใช้แบบทดสอบสร้างแรงจูงใจเราอาจใช้แบบทดสอบสร้างแรงจูงใจให้เรียน ได้ เพราะว่าผู้เรียนเรียนเพื่อให้สอบได้ ครูจะต้องสร้างแบบทดสอบที่สามารถวัดจุดประสงค์สำคัญ ของเนื้อหาวิชา ถ้าข้อทดสอบไม่มีสาระสำคัญ ก็อาจจะสร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนเรียนสิ่งไม่มี สาระสำคัญ ซึ่งมีประโยชน์น้อย 8 2.1.5 คุณลักษณะของแบบทดสอบที่ดี ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือวัดอะไรเราต้องการเครื่องมือที่ดี เพื่อให้ได้ผลที่ถูกต้องจากการวัดนั้น ในการวัดผลการศึกษา ส่วนมากจะใช้แบบทดสอบเป็นเครื่องมือ ทั้งผู้สอนและผู้เรียนต่างก็ อยากจะให้เป็นแบบทดสอบที่ดี ปราชญ์ทางวัดผลการศึกษา ได้ตั้งหลักเกณฑ์ของข้อสอบที่ดีไว้ เพื่อให้ผู้สร้างแบบทดสอบยึดถือว่าคุณลักษณะสำคัญๆของแบบทดสอบที่ดีมี 3 ประการคือความ เที่ยงตรง ความเชื่อมั่น และใช้ได้ผลดี 2.1.5.1 ความเที่ยงตรงในการวัดผลการทดสอบ เรามีความเกี่ยวข้องกับการวัด ความสัมฤทธิ์ผลของผู้เรียนตลอดเวลา เครื่องมือวัดของเราหรือแบบทดสอบ เราต้องการให้มี ความเที่ยงตรงเป็นประการแรกเช่นเดียวกับเครื่องมือวัดสิ่งต่างๆทางฟิสิกส์ ความเที่ยงตรงในที่นี้ หมายความว่าสามารถวัดสิ่งที่เราต้องการวัดได้ตามวัตถุประสงค์ของการสอนของผู้สอน และตาม จุดมุ่งหมายของหลักสูตร โดยแบ่งชนิดของความเที่ยงตรงดังนี้ ก) ความเที่ยงตรงตามเนื้อหา ความเที่ยงตรงตามเนื้อหาหมายความว่า แบบทดสอบสามารถวัดเนื้อหาตามที่ผู้เรียนเรียนได้อย่างทั่วถึงหรือครอบคลุมสาระสำคัญทุกอย่าง เรื่องนี้สำคัญมากสำหรับแบบทดสอบวัดความสัมฤทธิ์ผลการเรียน ในการพิจารณาถึงความ เที่ยงตรงตามเนื้อหาจะต้องมองดูหัวข้อเรื่องหรือเนื้อหาและชนิดของพฤติกรรมหรืองานที่ต้องการ ให้นักเรียนตอบหรือกระทำ ข) ความเที่ยงตรงตามโครงสร้าง คำว่า โครงสร้าง หมายถึงพฤติกรรม ต่างๆที่เป็นองค์ประกอบของเรื่องที่จะวัด องค์ประกอบดังกล่าวต้องเป็นไปตามสมมุติฐานหรือ ทฤษฎีทางจิตวิทยา สติปัญญา ทัศนคติทางวิทยาศาสตร์ ความคิดสร้างสรรค์ ความเข้าใจทาง ภาษาทักษะในการเรียน และความถนัดทางคณิตศาสตร์ เป็นต้น เหล่านี้ต่างมีโครงสร้างเฉพาะ เช่น โครงสร้างทางสมองที่เกี่ยวกับ สติปัญญา ซึ่งประกอบด้วยพฤติกรรมด้าน ความรู้ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประเมินค่าเพื่อให้แบบทดสอบมีคุณลักษณะ เหล่านี้ ก็จะต้องสร้างแบบทดสอบวัดพฤติกรรมต่างๆ ของสมองให้ครบ และตรงตามที่ระบุไว้ใน หลักสูตร เช่น จุดมุ่งหมายของหลักสูตรต้องการให้ผู้เรียนมีความเข้าใจผู้สอนก็จะต้องสร้าง ข้อสอบวัดความเข้าใจ ไม่ใช่สร้างข้อสอบวัดความรู้เพียงอย่างเดียวทั้งหมดข้อผิดพลาดของ แบบทดสอบในเรื่องนี้ได้แก่ แบบทดสอบมีคำถามเกี่ยวกับความรู้ความจำเพียงอย่างเดียว ไม่ถาม ให้เด็ก แปลความ ตีความ ขยายความ และพฤติกรรมของสองด้านอื่นๆ ตามจุดมุ่งหมายของ หลักสูตรหรืออาจกล่าวได้ว่า วัดได้ครบทุกด้านตามโครงสร้างของสมองด้านต่างๆให้เป็น ค) ความเที่ยงตรงตามเกณฑ์ หมายถึงการวัดที่สัมพันธ์เกี่ยวกับเกณฑ์ ภายนอก ถ้าการวัดนั้นเกี่ยวข้องกับเกณฑ์หรือสภาพความเป็นจริงในปัจจุบันของผู้เรียน ก็เรียกว่า ความเที่ยงตรงตามสภาพ แต่ถ้าใช้การวัดเพื่อพยากรณ์พฤติกรรมในอนาคตก็เรียกว่าความ เที่ยงตรงในการพยากรณ์ แท้ที่จริงแล้ว ความเที่ยงตรงสองชนิดนี้ก็คือชนิดเดียวกันแตกต่างกันใน เรื่องของเวลาปัจจุบัน กับอนาคตเท่านั้นเอง 9 2.1.6 การวิเคราะห์ข้อสอบ การตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบจะให้ดีและได้ถูกต้องจะต้องตรวจสอบคุณภาพของ แบบทดสอบเป็นรายข้อและตรวจสอบคุณภาพแบบทดสอบทั้งฉบับ (ชวาล,2516:10) โดยการ ตรวจสอบคุณภาพแบบทดสอบเป็นรายข้อมีตุดมุ่งหมายเพื่อตรวจสอบคุณภาพ 2 ประการคือ ความยากของข้อสอบและอำนาจจำแนกของข้อสอบ ส่วนการตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบ ทั้งฉบับมีจุดมุ่งหมายเพื่อหาคุณภาพ 2 ประการคือความเที่ยงตรง และความเชื่อมั่น การตรวจสอบคุณภาพแบทดสอบหรือการวิเคราะห์ข้อสอบหมายถึง การตรวจสอบคุณภาพ แบบทดสอบว่ามีคุณภาพดีเพียงใด หลังจากที่นำแบบทดสอบไปทดสอบและตรวจให้คะแนนแล้ว การตรวจสอบคุณภาพแบบทดสอบ จะช่วยในการปรับปรุงเทคนิคการสอนของอาจารย์ ช่วยให้ อาจารย์สามารถค้นหาข้อบกพร่องต่างๆในการเรียนของนักเรียน โดยพิจารณาว่าผู้เรียนยังอ่อนใน เนื้อหาส่วนใด (อนันต์, 2525 : 185) นอกจากนี้ การตรวจวิเคราะห์ข้อสอบยังช่วยประหยัดเวลา ในการสร้างข้อสอบที่ดีขึ้นใหม่อีกด้วย การวิเคราะห์ข้อสอบแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ การ วิเคราะห์ข้อสอบตามแนวคิดอิงกลุ่ม และ การวิเคราะห์ข้อสอบตามแนวคิดอิงเกณฑ์ การวิเคราะห์ข้อสอบตามแนวคิดอิงกลุ่ม เป็นการเปรียบเทียบความสามารถของผู้เรียนใน กลุ่ม เพื่อดูว่าใครเก่ง อ่อนกว่ากันดังนั้นลักษณะที่สำคัญของข้อสอบจะต้องคำนึงถึงความยาก และ อำนาจการจำแนกโดยพยายามเลือกข้อสอบที่มีค่าความยากพอเหมาะและสามารถจำแนกผู้สอบ ได้ 2.1.6.1 ความยากของข้อสอบ หมายถึงสัดส่วนของจำนวนผู้ที่ทำข้อสอบข้อนั้น ถูกกับจำนวนคนทั้งหมด ซึ่งมีสูตรดังแสดงในสมการที่ (2-1) สูตร N P = R (2-1) โดย P แทนค่าความยากของข้อสอบรายข้อ และเมื่อ P แทนค่าความยากของตัวลวง R แทนจำนวนผู้ที่ทำข้อสอบข้อนั้นถูก R แทนจำนวนผู้ที่ตอบตัวลวง N แทนจำนวนคนทั้งหมด 2.1.6.2 คุณสมบัติของความยากมีดังนี้ ก) ค่าความยากมีค่าตั้งแต่ 0.00 ถึง 1.00 ข) ถ้าค่าความยากของตัวถูกมีค่าสูง แสดงว่าข้อสอบง่าย หรือมีคนทำ ถูกมาก ค) ถ้าค่าความยากของตัวถูกมีค่าต่ำ แสดงว่าข้อสอบยากหรือมีคนทำ ถูกน้อย ง) ค่าความยากที่ดีสำหรับตัวถูกมีค่าอยู่ระหว่าง 0.20 ถึง 0.80 10 2.2 วงจรชีวิตของการพัฒนาระบบสารสนเทศ การพัฒนาระบบงาน (System Development Lift Cycle) ประกอบด้วยหลายขั้นตอนใน ลักษณะที่สัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน กล่าวคือเมื่อมีการพัฒนาจะต้องทดสอบว่าตรงตามข้อกำหนดของ ระบบที่ต้องการหรือไม่และ เมื่อนำระบบมาใช้ก็จะต้องทดสอบว่าตรงตามข้อกำหนดของระบบที่ ต้องการหรือไม่ เมื่อนำระบบมาใช้ก็จะต้องทำการประเมินน่าเป็นไปตามข้อกำหนดในการสำรวจ เบื้องต้นหรือวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้เพียงใด ในการพัฒนาระบบประกอบด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้ 2.2.1 การตรวจสอบเบื้องต้น (Preliminary Investigation) การพัฒนาระบบโดยปกติเริ่มที่ระบุปัญหาและโอกาสเป็นอันดับแรก ตัวอย่างบุคลากรด้าน คอมพิวเตอร์ อาจมีความรู้สึกว่าระบบที่มีอยู่ล้าสมัยหรือผู้ใช้ต้องการเข้าถึงข้อมูลที่เฉพาะเจาะจง เพื่อเป็นแนวทางการตัดสินใจให้ดีขึ้น และถ้าพบว่าความต้องการมีความเป็นไปได้นักวิเคราะห์ ระบบจะกำหนดขั้นตอนการสืบสวนเบื้องต้น เพื่อตอบคำถามดังต่อไปนี้อะไรคือปัญหาหรือโอกาส อะไรที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับระดับของความพยายามในการพัฒนาระบบ วิธีการแก้ไขอะไรที่สามารถ เป็นทางเลือกได้ และต้นทุนและผลประโยชน์ประเภทใดที่เกี่ยวข้องกับทางเลือกของแต่ละวิธีการ สำรวจเบื้องต้นมีขั้นตอนดังนี้ 2.2.1.1 การประเมินความเป็นไปได้ ในบางสถานการณ์การตรวจสอบขั้นพื้นฐาน เรียกว่า การศึกษาความเป็นไปได้ เนื่องจากเป็นการกำหนดหาว่าระบบใหม่หรือระบบที่ปรับปรุง แล้วสามารถทำงานได้หรือไม่ การศึกษาความเป็นไปได้นี้จะครอบคลุมเนื้อหาทั้ง 4 ส่วนดังนี้ ก) ความเป็นไปได้เชิงเทคนิค เช่นเราสามารถสร้างระบบดังกล่าวได้ หรือไม่ เรามีเทคโนโลยี ณ ปัจจุบันที่มีพร้อมสรรพในการสร้างระบบหรือไม่ ถ้ามีแล้ววงจรชีวิต ของระบบกำลังอยู่ในขั้นใด ข) ความเป็นไปได้เชิงปฏิบัติการ ระบบนี้ได้นำเสนอดังกล่าวสามารถ ใช้งานได้หรือไม่ ระบบจะทำงานตามที่ต้องการได้หรือไม่ ค) ความเป็นไปได้เชิงเศรษฐศาสตร์ ระบบได้นำเสนอดังกล่าวสามารถ อยู่ในงบประมาณกำหนดได้หรือไม่ ผลประโยชน์ที่คาดหวังไว้จะเกินต้นทุนที่คาดหวังไว้หรือไม่ ง) ความเป็นไปได้ตามกำหนดตารางเวลา ระบบสามารถเสร็จตาม กำหนดเวลาหรือไม่ 2.2.1.2 ปัจจัยเชิงกลยุทธ์ นอกจากความเป็นไปได้แล้วระบบสารสนเทศที่ถูกนำ เสนอนั้นควรเป็นระบบที่สามารถสนับสนุนแนวความคิดเชิงกลยุทธ์ขององค์กรได้ซึ่งเราจะ พิจารณา 3 ประเด็นดังนี้ ก) ผลผลิต ระบบดังกล่าวสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของ องค์กรและพนักงานได้หรือไม่ ระบบดังกล่าวสามารถช่วยลดปัญหาด้านต้นทุนได้หรือไม่ ข) การทำให้เกิดความแตกต่าง ถ้าองค์กรใช้ระบบเสนอดังกล่าวแล้ว ระบบทำให้สินค้า บริการขององค์กรมีความแตกต่างไปจากคู่แข่งหรือไม่ระบบดังกล่าวช่วยให้เกิด 11 การพัฒนาด้านคุณภาพ ความหลากหลาย บริการ ราคา ต้นทุน ฯลฯ หรือไม่ ค) การจัดการ ผู้ใช้สามารถทำงานให้ลุล่วงได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือ ไม่ระบบดังกล่าวมีผลกระทบในแง่บวกต่อการวางแผนการตัดสินใจและกิจกรรมด้านการควบคุม หรือไม่ 2.2.1.3 ความต่อเนื่องระหว่างปัญหา และโอกาสที่เราสามารถจะเข้าใจปัญหาหรือ โอกาสต่างๆได้อย่างถ่องแท้ นักวิเคราะห์ระบบจำเป็นต้องมีการปฎิสัมพันธ์บ่อยๆกับผู้ใช้ 2.2.1.4 การกำหนดปริมาณหรือขนาดความมุ่งมั่นการพัฒนานักวิเคราะห์ระบบการ กำหนดขนาดของการตอบโต้ที่จำเป็นในการตอบสนองกับความต้องการของผู้ใช้ และระยะเวลา โดยประมาณและเงินที่ต้องการใช้ในการพัฒนาระบบ 2.2.1.5 การระบุทางเลือก ตัวเลือกที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ ในยุคข่าวสารเรามัก เข้าใจผิดเสมอๆว่าเทคโนโลยีเป็นคำตอบของทุกปัญหา ในทางเป็นจริงนักวิชาการต้องยอมรับ เทคโนโลยีสามารถนำความเลวร้ายมาให้ได้ง่ายมากและมีวิธีการแก้ไขได้หลายทาง ซึ่งอาจเป็น วิธีการที่ไม่แพง ใช้ชั่วคราวไปจนถึงวิธีการที่ใช้เทคโนโลยีราคาแพงและชั้นนำ เพราะปัญหาแต่ละ ปัญหามีวิธีการแก้ไขที่แตกต่างกันการใช้วิจารณญาณกับสัญชาตญาณ ล้วนเป็นองค์ประกอบที่ สำคัญในกระบวนการพัฒนาวิธีการแก้ไขปัญหา 2.2.1.6 การประมาณการต้นทุนกับผลประโยชน์ประกอบด้วยต้นทุน 2 ประเภท ดังนี้ ต้นทุนการพัฒนาระบบแรกเริ่ม และ ต้นทุนเชิงปฏิบัติงานแบบคืบหน้า ต้นทุนการปฏิบัติงาน แบบคืบหน้าเป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับบุคลากร โดยปกติจะสูงกว่าต้นทุนการพัฒนาต้นทุนมีการ ขึ้นลงไปตามแต่ละระบบ เช่นต้นทุนการบำรุงรักษาโปรแกรม ซึ่งสามารถตีราคาได้สูงกว่าถึง 10 เท่าของต้นทุนการพัฒนา 2.2.1.7 การรายงานผลต่อฝ่ายการจัดการ ควรมีการทำสรุปผลลัพธ์และขอเสนอ แนะตามกระบวนการผลิต เพื่อช่วยให้ฝ่ายบริหารกำหนดได้ว่าจะทำอะไรในตอนต่อไป เช่น การ เร่งรีบแก้ปัญหาและเริ่มโครงการใหม่หรือล้มเลิกโครงการทิ้ง 2.2.2 การวิเคราะห์ความต้องการ เป็นการมุ่งเน้นการกำหนดความต้องการของผู้ใช้ การศึกษาด้านโปรแกรมประยุกต์อย่าง ลึกซึ้ง การประเมินจุดแข็ง จุดอ่อน ของวิธีการทำงานและการรายงานต่อฝ่ายบริหารถ้าฝ่ายบริหาร ตัดสินใจก็จะพัฒนาระบบต่อไป การศึกษาแบบดั้งเดิมและแบบการทำต้นแบบ มีความแตกต่างกันในเรื่องของขั้นตอนการ วิเคราะห์ความต้องการแบบดั้งเดิมเราต้องวิเคราะห์เต็มรูปแบบก่อนการออกแบบ ผู้ใช้ต้องมีการ ลงลายเซ็นต์บนเอกสารเพื่อรับรองว่าความต้องการที่หามาได้มีความถูกต้อง ส่วนแบบวิธีการทำต้นแบบนักวิเคราะห์ระบบจะศึกษาความต้องการของผู้ใช้เมื่อใดก็ได้ เพื่อให้มั่นใจว่าระดับความต้องการของพวกเขาสามารถเป็นประโยชน์ต่อขั้นตอนต่อไป นักวิเคราะห์ระบบต้องเก็บข้อมูลจากช่วงการทดลองใช้ต้นแบบเพื่อกลั่นกรองทำต้นแบบขั้นต่อไป 12 แต่นักวิเคราะห์ต้องเข้าใจว่าพวกเขาต้องใช้เวลาในการศึกษาทำ ความเข้าใจว่าผู้ใช้การอะไร ในระบบใหม่เพื่อป้องกันการสูญเสียเวลา หรืออาจจะต้องล้มเลิกระบบกลางคัน หากต้นแบบไม่ได้ ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ รายละเอียดการวิเคราะห์ความต้องการดังนี้ 2.2.2.1 การประเมินความต้องการ การศึกษาความต้องการขึ้นอยู่กับปัญหาที่เรา เผชิญอยู่และวิธีการศึกษาที่เรานำไปใช้ เราจะพบได้ว่าทั้งวิธีการศึกษาที่เรานำไปใช้เราจะพบได้ว่า ทั้งวิธีการศึกษาแบบดั้งเดิมหรือแบบทำต้นแบบล้วนประกอบด้วย ก) เอกสาร หมายถึง คู่มือรูปแบบลักษณะสิ่งที่ป้อนเข้า การแสดงผล แผนผังแสดงวิธีการทำงานของระบบ แผนผังองค์กร แสดงลำดับขั้นของความรับผิดชอบ ระดับ ผู้จัดการ และผู้ใช้เอกสารถือว่าเป็นแหล่งข่าวสารที่ดีในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการของ ผู้ใช้และระบบ เพราะเอกสารนั้นง่ายต่อการเก็บรวบรวม เอกสารนั้นควรเป็นข้อมูล ณ ปัจจุบัน หรือทันสมัย เพื่อให้เข้าใจถึงสภาพแวดล้อมของผู้ใช้เพื่อการออกแบบระบบเพื่อตอบสนองความ ต้องการด้านข่าวสาร เพื่อลดปัญหาการทำงานซ้ำซาก ข) แบบสอบถาม จุดเด่นของการทำแบบสอบถามเพื่อให้ได้ข้อมูลใน ปริมาณมาก นอกจากนี้ยังเป็นข้อมูลที่ได้จากทั่วทุกพื้นที่โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ชื่อ ของผู้ตอบแบบสอบถามก็ไม่ถูกเปิดเผยการทำแบบสอบถามถือว่าเป็นวิธีที่ประหยัดและสามารถ วิเคราะห์ด้วยคอมพิวเตอร์ ค) การสัมภาษณ์ เป็นวิธีการเดียวกับการทำแบบสอบถาม แต่วิธีนี้จะ ได้ข้อมูลที่ลึกกว่า แต่เป็นวิธีที่สิ้นเปลืองและได้พูดคุยแค่ 2-3 คนเท่านั้น แต่นักวิเคราะห์ระบบ สามารถได้ข้อมูลแบบทันทีทันใดจากผู้ใช้และ สามารถเจาะลึกถึงความรู้สึกที่แท้จริงได้ แต่อาจใช้ เวลานานต้องนัดหมายเพื่อสัมภาษณ์เป็นงานที่ต้องอาศัยทักษะ ต้องสามารถสร้างบรรยากาศที่ดี เพื่อให้เก็บข้อมูลได้ง่ายและมีปริมาณมากตลอดจนต้องระวังไม่ใช้คำถามเชิงเทคนิคมากนักจะต้อง มีเป้าหมายในการสัมภาษณ์ในแต่ละครั้งจะต้องเป็นผู้ฟังที่ดี และไม่แสดงความคิดเห็นของตนเอง ง) การสังเกต วิธีการศึกษาแบบทำต้นแบบวิธีการสังเกตปฏิกิริยาชองผู้ ใช้ที่มีต่อระบบใหม่ แต่ในวิธีศึกษาแบบดั้งเดิมการสังเกตไม่ถือว่าเป็นเรื่องบังคับเพราะว่าระบบ ใหม่ยังไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมานักวิเคราะห์เพียงแต่เฝ้าดูการทำงานของระบบที่ใช้อยู่เท่านั้น 2.2.3 การวิเคราะห์ ในการศึกษาแบบการทำต้นแบบโดยการวิเคราะห์เกี่ยวกับความคิดจากประสบการณ์ของ ผู้ใช้กับต้นแบบปัจจุบันและศึกษาว่าการป้อนกลับ สามารถใช้ปรับปรุงพัฒนาต้นแบบขั้นตอน ต่อไปได้อย่างไรส่วนในการศึกษาแบบดั้งเดิม นักวิเคราะห์ระบบต้องทบทวนที่ทำร่วมกับผู้จัดการ และ ผู้ใช้โดยค้นหาแผนภาพของระบบปัจจุบันกับระบบนำเสนอ การประเมินผลกระทบเชิงกล ยุทธ์ของระบบ และการกลั่นกรองประมาณต้นทุนและผลประโยชน์ 13 2.2.3.1 แผนภาพ เมื่อโครงการพัฒนาระบบกำลังดำเนินอยู่ผู้จัดการและผู้ขอใช้มัก จะขอแผนภาพจากนักวิเคราะห์บ่อยๆ ประโยชน์ของการทำแผนภาพก็เพื่อแสดงถึงวิธีการทำงาน แบบจำลองนั้นเอง แต่ข้อจำกัดด้านเอกสารนั้นคือการใช้เวลาที่ยาวนานในการเตรียมการ แต่ใน ความเป็นจริงผู้ใช้ไม่สามารถมองเห็นเป็นภาพการทำงานของระบบได้ง่ายนัก ทีมงานด้านงาน วิเคราะห์เป็นผู้เดินแผนผังการทกงานของระบบ และเป็นผู้ขออนุมัติความยินยอมจากผู้จัดการ หรือผู้ใช้ว่าระบบดังกล่าวถูกต้องสมบูรณ์ โดยแผนภาพมี 2 ประเภทดังนี้ ก) แผนภาพการไหลเวียนของข้อมูล (Data Flow Diagrams) เป็นการ แสดงให้เห็นถึงวิธีการไหลของข้อมูลภายในองค์กร แต่ไม่ได้อธิบายเกี่ยวกับตัวเครื่องฮารด์แวร์ เช่นเครื่องพิมพ์หรืออุปกรณ์แสดงผล เพื่อให้ผู้ใช้และนักวิเคราะห์มั่นใจได้ว่าแผนภาพการไหล ข้อมูลนั้นช่วยในการสำรวจระบบในลักษณะนามธรรม แต่ไม่สามารถระบุชนิดอุปกรณ์ใดอุปกรณ์ หนึ่งได้อย่างเฉพาะเจาะจง ข) แผนภาพการไหลเวียนของระบบ (System Flowcharts) เป็น เครื่องมือที่ใช้สัญญาลักษณ์รูปภาพ เพื่อสร้างแบบจำลองระบบเป็นแผนภาพที่แสดงรายละเอียด ทางฮาร์ดแวร์ที่จะนำมาใช้กับระบบ 2.2.3.2 การประเมินผลเชิงกลยุทธ์ เป็นการประเมินผลกระทบของโปรแกรม ประยุกต์เพื่อศึกษาว่าโปรแกรมประยุกต์สามารถทำงานร่วมกับแผนเชิงกลยุทธ์ขององค์กรได้ อย่างไร ถือได้ว่าเป็นทรัพยากรหนึ่งที่มีประโยชน์ต่อการวิเคราะห์ความต้องการ ในบางครั้งช่วง การวิเคราะห์ความต้องการ นักวิเคราะห์อาจมักอยู่กับรายละเอียดและมองข้ามเป้าหมายแรกเริ่ม ฉะนั้นทีมโครงการควรสนใจด้านต่างๆดังต่อไปนี้ ก) ความสำคัญของโปรแกรมประยุกต์ ข) ความจำเป็น ค) ความสามารถของข่าวสารและระบบ ง) บทบาทของระบบปัจจุบันกับระบบที่นำเสนอ 2.2.4 การออกแบบระบบ (System Design) ในขั้นตอนนี้จะมีกิจกรรมที่สำคัญประกอบด้วย 2.2.4.1 การพัฒนารูปแบบของระบบใหม่ เป็นการวิเคราะห์และพัฒนาระบบ ทีม ผู้บริหารจะต้องพิจารณา ด้านตัวเครื่องและซอฟต์แวร์ส่วนประกอบจะต้องพิจารณาอย่างมีเหตุผล และมีส่วนประกอบด้านกายภาพในแต่ละส่วนคือ ก) หน่วยแสดงผล ข) หน่วยรับเข้าข้อมูล ค) หน่วยประมวลผล ง) ส่วนจัดเก็บข้อมูล จ) กระบวนการปฏิบัติ 14 ฉ) บุคลากร 2.2.4.2 การออกแบบส่วนแสดงผลของระบบ (Designing system outputs)มีปัจจัย 6 ประการที่ควรนำมาพิจารณาในการออกแบบส่วนแสดงผลได้แก่ ก) เนื้อหา หมายถึงชิ้นส่วนของข้อมูลสารสนเทศซึ่งแสดงออกมาจาก หน่วยแสดงผลของระบบเพื่อจัดหามาให้สำหรับผู้ใช้ การออกแบบระบบโดยทั่วไปมักจะใส่เนื้อหา เกินไป การใส่รายละเอียดเนื้อหามากเกินไป อาจเป็นสาเหตุให้ผู้จัดการหรือผู้ใช้เสียเวลาในการ แยกข้อมูลที่ต้องการ และยังทำให้มีผลกระทบต่อข้อมูลที่สำคัญจริงๆได้ ข) รูปร่าง วิธีการซึ่งเนื้อหาถูกนำเสนอต่อผู้ใช้ ซึ่งมีหลายรูปแบบเช่นใน รูปตัวเลขธรรมดาซึ่งแสดงจำนวนของปริมาณต่างๆอาจไม่ออกมาในรูปจำนวนอาจออกมาในรูป ตำรา ภาพ เสียง หรือการฉายภาพที่มีการเคลื่อนไหวได้ ค) ปริมาณของส่วนแสดงผลปริมาณของส่วนแสดงผล มักจะใช้ใน กระบวนการวัดจำนวนกิจกรรม ซึ่งเกิดขึ้นในเวลาที่กำหนดจำนวนของข้อมูลส่วนแสดงผลท ี่ ต้องการในช่วงเวลาหนึ่งๆเราจะใช้คำว่าปริมาณของส่วนแสดงผลปริมาณที่มีมากๆ มักจะถูก นำเสนออยางรวดเร็วบ่อยครั้งจะขึ้นอยู่กับอุปกรณ์แสดงผล เช่น เครื่องพิมพ์ ที่มีความเร็วสูงๆ ปริมาณของส่วนแสดงผลที่มากๆอามีผต่อจำนวนของกระดาษที่ใช้ซึ่งแพงขึ้นมากในปัจจุบันและ ผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ง) ทันเวลา หมายถึงเวลาที่ผู้ใช้ต้องการส่วนแสดงผล ส่วนแสดงผลบาง อย่างมักจะเกี่ยวกับสิ่งที่ทำอยู่เป็นประจำ หรือมีระยะเวลาเป็นพื้นฐานเช่นอาจทำเป็นรายวัน ราย สัปดาห์ รายเดือน หรือเมื่อสิ้นสุดของแต่ละไตรมาสหรือสิ้นปี ชนิดอื่นๆของส่วนแสดงผลอาจถูก ต้องการตามคำสั่ง การมุ่งด้านการติดต่อสื่อสารและระบบเวลาที่แท้จริงมักจะเป็นข้อสรุปถึงปัญหา เกี่ยวกับวิธีการที่จะรวบรวมจะนำเสนอข่าวสารให้รวดเร็วทันเวลา ระบบเช่นนี้มีประโยชน์มาก โดยเฉพาะในกระบวนการประมวลผลที่ติดต่อกัน ในการช่วยด้านการตัดสินใจ และการรายงาน ด้านการจัดการผู้ใช้ระบบ 4 GL เป็นเครื่องมือมักจะได้ผลดี เครื่องมือเหล่านี้จะจัดให้ทั้งผู้ใช้และ ผู้ออกแบบมีทางเลือกเกี่ยวกับเวลา เพื่อให้การใช้สิ่งต่างๆที่มีมากมายในองค์การเกิดประสิทธิผล จ) สื่อกลางระหว่างหน่วยนำเข้าข้อมูลและหน่วยแสดงผลหมายถึงสิ่งที่มี ลักษณะทางกายภาพหรืออุปกรณ์ที่ใช้สำหรับหน่วยนำเข้าข้อมูล หน่วยจัดเก็บข้อมูลและหน่วย แสดงผล สื่อสำหรับหน่วยแสดงผลจะมีอยู่เป็นจำนวนมากในท้องตลาด ซึ่งรวมถึงกระดาษเครื่อง เล่นหน้าจอคอมพิวเตอร์ เทป แผ่นดิสก์ หรือแผ่นเสียง และมีรูปร่างหลายแบบ ฉ) รูปแบบ คือ ลักษณะทางกายภาพของข้อมูลที่ถูกนำเสนอในสื่อต่างๆ การจัดเตรียมรูปแบบเรียกว่า รูปแบบส่วนแสดงผลซึ่งหมายถึงข้อมูลที่แสดงผลบนรายงานที่พิมพ์ ออกมาหรือแสดงบนหน้าจอคอมพิวเตอร์นั้นเอง 2.2.4.3 การออกแบบส่วนนำเข้าของระบบ(Designing systems inputs) หลังออก 15 แบบส่วนแสดงผลแล้วผู้ใช้ควรออกแบบส่วนนำเข้าข้อมูลเป็นส่วนถัดไป การออกแบบส่วนนำเข้า ข้อมูลสิ่งที่ควรพิจารณาได้แก่ ก) เนื้อหา ประการแรกนักวิเคราะห์ควรพิจารณาถึงชนิดของข้อมูลที่ จำเป็นต่อการทำให้ผู้ใช้เกิดหน่วยแสดงผลสิ่งนี้ค่อนข้างซับซ้อน เพราะว่าระบบใหม่ๆ มักจะ หมายถึงข้อมูลใหม่ๆและข้อมูลใหม่ๆก็มักจะหมายถึง แหล่งของข้อมูลที่ใหม่ด้วย ซึ่งจะมีราคา แพง บางครั้งข้อมูลจำเป็นสำหรับระบบใหม่ซึ่งไม่มีในองค์กร แต่อาจจะต้องเลือกสิ่งที่มาทดแทน ข) ทันเวลา เมื่อหน่วยนำเข้าข้อมูลต้องเข้าไปในระบบจะเป็นสิ่งสำคัญ มากเพราะว่าหน่วยแสดงผลจะไม่สามารถทำงานได้จนกว่าหน่วยนำข้อมูลพร้อม ดังนั้นการ วางแผนในการสร้างจึงต้องระวังความแตกต่างของส่วนนำเข้าข้อมูลที่จะนำเข้ามาในระบบ ค) สื่อ โอกาสในการเลือกสื่อเป็นสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งในการนำเข้า ข้อมูล ทางเลือกสำหรับผู้ใช้การนำเข้าข้อมูลจะรวมทั้งแผ่นเทปแม่เหล็ก แผ่นบันทึกแม่เหล็ก แป้นพิมพ์ ง) รูปแบบ หลังจากที่เนื้อหาของข้อมูลและสื่อได้ถูกนำมาพิจารณาแล้ว การพิจารณาเรื่องรูปแบบจึงเป็นอันดับถัดไปเช่นชนิดและขนาดของแต่ละสาขาข้อมูล จ) ปริมาณของข้อมูลที่นำเข้าซึ่งจะเกี่ยวข้องกับจำนวนข้อมูลนำเข้าไปใน ระบบคอมพิวเตอร์ในครั้งหนึ่งๆ ในการช่วยเหลือด้านการตัดสินใจบางอย่างแผนกป้อนข้อมูล ส่วนกลางจะนำเข้าข้อมูลนับจำนวนพันๆ รายการ 2.2.4.4 การพิจารณาด้านความต้องการส่วนจัดเก็บข้อมูล ในส่วนจัดเก็บข้อมูลมีสิ่ง ที่จะต้องพิจารณาดังนี้ ก) การประเมินข้อมูลและโครงสร้างผู้ใช้จำเป็นต้องเข้าถึงข้อมูลเพื่อช่วย ในการตัดสินใจ ข้อมูลธุรกิจทุกอย่างจะถูกจัดอย่างมีเหตุผลเพื่อให้เข้าใจในระเบียบหรือบันทึก เมื่อข้อมูลถูกจัดทางด้านกายภาพเราจะรวมข้อมูลที่สัมพันธ์กันเข้าด้วยกันในระเบียน และแฟ้ม หรือทางเลือกอื่นๆเข้าไปในโครงสร้างเฉพาะโดยฐานข้อมูล การวางข้อมูลทางกายภาพทั้งใน แฟ้มข้อมูลและวิธีการประมวลผลฐานข้อมูล ข้อมูลจะถูกจัดเป็นลำดับที่ต่อเนื่อง อย่างถูกต้องหรือ ตามลำดับดรรชนีและกุญแจรองจะถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้ผู้ใช้สามารถหาข้อมูล และทางเลือกของ การค้นคืนของข้อมูลเหล่านี้ ข) หน่วยจัดเก็บข้อมูลหน่วยจัดเก็บข้อมูลจะเกี่ยวข้องกับจำนวนข้อมูลที่ รวมกันเป็นกลุ่มก้อน ระเบียนบันทึก ส่วนของหน่วยความจำ หรือสิ่งอื่นๆซึ่งต้องการสำหรับผู้ใช้ ในครั้งหนึ่งๆ หลังจากนักพัฒนาโปรแกรมตัดสินใจ จำนวนเนื้อที่ในการจัดเก็บข้อมูล (Byte) อาจ เป็น 2 หรือ 3 เท่าของหน่วยจัดเก็บข้อมูลสำรอง สิ่งนี้ถูกทำขึ้นเนื่องจากการพิจารณาเช่นนั้น เหมือนกับการแบ่งจานบันทึกออกเป็นส่วนๆ เพื่อใช้เก็บแฟ้มข้อมูลถ้าไม่ควบคุมก็จะเสียเนื้อที่ ค) สื่อ การเลือกสื่อจะถูกทำขึ้น ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของความต้องการและ แฟ้ม 16 2.2.4.5 การพิจารณากระบวนการปฏิบัติในการเข้าใช้ ระบบการออกแบบระบบจะ ไม่เรียบร้อยสมบูรณ์จนกว่าจะมีการกำหนดกระบวนการปฏิบัติในการใช้ระบบ กระบวนการปฏิบัติ นี้สามารถจำแนกได้เป็น 2ประเภทใหญ่ๆคือกระบวนการปฏิบัติในด้านงานของระบบและ กระบวนการปฏิบัติด้านการควบคุมระบบ 2.2.4.6 การพิจารณาด้านความต้องการเกี่ยวกับบุคลากร ความต้องการในด้าน บุคลากรอาจกล่าวได้ว่ามีความสำคัญมากอย่างหนึ่งและยังเป็นองค์ประกอบ ที่มีค่าใช้จ่ายสูงมาก การพัฒนาบุคลากรอาจกล่าวได้ว่ามีความสำคัญมากอย่างหนึ่ง และยังเป็นองค์ประกอบที่มี ค่าใช้จ่ายสูงมาก การพัฒนาบุคลากรของระบบสิ่งที่ต้องคำนึงถึงได้แก่ รายละเอียดของงานที่ บุคคลต้องดำเนินการ คุณวุฒิของบุคลากรที่จะปฏิบัติงานนั้นๆ และการฝึกอบรมบุคลากรของ ระบบ 2.2.4.7 การรายงานผลต่อฝ่ายการจัดการ หลังจากกระบวนการออกแบบเสร็จ เรียบร้อยแล้วและเป็นที่พอใจของผู้ใช้ สิ่งที่ผู้วิเคราะห์ระบบและผู้ออกแบบต้องดำเนินการต่อไป คือการจัดทำรายงานเพื่อสรุปเสนอต่อผู้บริหารสำหรับการตัดสินใจในการดำเนินการขั้นต่อไป ซึ่ง ได้แก่การจัดหาระบบเพื่อการใช้รายงานดังกล่าวนี้ ควรประกอบด้วยรายละเอียด ดังนี้ ก) รายละเอียดของรายงานและข้อห่วงใยของผู้ใช้ซึ่งนำไปสู่การจัดการ โครงการ ข) สรุปผลของการวิเคราะห์ความต้องการ ค) ข้อเสนอแนะด้านการออกแบบระบบ ง) ค่าใช้จ่ายและผลประโยชน์ของระบบใหม่ 2.2.5 การพัฒนาโปรแกรม (Program and Software Development) ในขั้นตอนนี้โปรแกรมเมอร์จะเริ่มเขียนและทดสอบโปรแกรมว่า ทำงานถูกต้องหรือไม่ ต้อง มีการทดสอบกับข้อมูลจริงที่เลือกแล้ว ถ้าทุกอย่างเรียบร้อย เราจะได้โปรแกรมที่พร้อมที่จะ นำไปใช้งานจริงต่อไป หลังจากนั้นต้องเตรียมคู่มือการใช้และฝึกอบรมผู้ใช้งานจริงของระบบ ระยะแรกในขั้นตอนนี้นักวิเคราะห์ระบบต้องเตรียมสถานที่ สำหรับเครื่อคอมพิวเตอร์ดูแล การเตรียมติดตั้งสายไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ แอร์คอนดิชั่น เมื่อติดตั้งคอมพิวเตอร์แล้วต้องตรวจสอบ ว่าคอมพิวเตอร์ทำงานเรียบร้อยดี โปรแกรมเมอร์เขียนโปรแกรมตามข้อมูลที่ได้จากเอกสารข้อมูล เฉพาะของการออกแบบ (Design Specification) ปกติแล้วนักวิเคราะห์ระบบไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการเขียนโปรแกรม แต่ ถ้าหากโปรแกรมเมอร์คิดว่ามีวิธีการเขียนอย่างอื่นที่ดีกว่า จะต้องปรึกษานักวิเคราะห์ระบบ เสียก่อน เพื่อที่ว่านักวิเคราะห์ระบบจะบอกได้ว่าโปรแกรมที่จะแก้ไขนั้นมีผลกระทบกับระบบ ทั้งหมดหรือไม่โปรแกรมที่เขียนเรียบร้อย ต้องมีการทบทวนอีกครั้งหนึ่งเป็นกลุ่มพร้อมด้วย นักวิเคราะห์ระบบโปรแกรมเมอร์และผู้ใช้ เพื่อค้นหาว่าอาจจะมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นที่ไหนได้บ้าง วิธีการนี้เราเรียกว่า Structure Walk through การทดสอบโปรแกรมจะต้องทดสอบกับข้อมูลที่ 17 เลือกแล้วชุดหนึ่ง ซึ่งอาจจะเลือกโดยผู้ใช้ การทดสอบเป็นหน้าที่ของโปรแกรมเมอร์ แต่ นักวิเคราะห์ระบบต้องแน่ใจว่าโปรแกรมทั้งหมดจะต้องไม่มีข้อผิดพลาด หลังจากนั้นต้องควบคุมการเขียนคู่มือซึ่งควรจะ ประกอบด้วยคู่มือการใช้งานสารบัญอ้างอิง help บนจอภาพเป็นต้น นอกจากคู่มือการใช้งานแล้ว ต้องมีการฝึกอบรมพนักงานที่จะเป็น ผู้ใช้งานจริงของระบบเพื่อให้เข้าใจและทำงานได้โดยไม่มีปัญหา อาจจะอบรมตัวต่อตัวหรือเป็น กลุ่มก็ได้ 2.2.6 การนำระบบใหม่ไปใช้และการประเมินผล (Implementation and Evauation) ขั้นตอนนี้บริษัทนำระบบใหม่มาใช้แทน ระบบเก่าภายใต้การดูแลของนักวิเคราะห์ระบบ การป้อนข้อมูลต้องทำให้เสร็จเรียบร้อย และในทีสุดบริษัทเริ่มต้นใช้งานระบบใหม่นี้ได้ การนำระบบเข้ามาควรจะทำอย่างค่อยเป็นค่อยไปทีละน้อย ที่ดีที่สุดคือ ใช้ระบบใหม่ ควบคู่ไปกับระบบเก่าไปสักระยะหนึ่งโดยใช้ข้อมูลชุดเดียวกันแล้วเปรียบเทียบผลลัพธ์ว่า ตรงกัน หรือไม่ถ้าเรียบร้อยดีก็เอาระบบเก่าออกได้ และใช้ระบบใหม่ต่อไป 2.2.7 การติดตั้งระบบ (System Maintenance) จะเกิดขึ้นหลังจากผู้ขายได้จัดหาส่วนตัวเครื่อง ซอฟท์แวร์ และบริการที่จำเป็นสำหรับการ ดำเนินการระบบงานของการพัฒนาการคัดเลือก และสร้างระบบก็เริ่มขึ้นซึ่งประกอบด้วย การ กำหนดเวลา การใส่รหัสโปรแกรม การแก้ไขจุดบกพร่อง การทดสอบระบบ การฝึกอบรมบุคลากร และการสับเปลี่ยนระบบ 2.2.7.1 การกำหนดตารางเวลา เป็นการกำหนดตารางเวลาซึ่งแสดงถึงกิจกรรมที่ เกี่ยวข้องกับการสร้างระบบตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามแผนงานที่วาง ไว้มีรายละเอียดของตารางเวลา การสร้างระบบมักเป็นส่วนที่จำเป็นเกี่ยวข้องกับการพัฒนาเพื่อ ความมั่นใจในการจัดการในแผนการติดตั้งและ เพื่อทำความแน่ใจกับการดำเนินงานว่าจะมีสิ่งใด มาขัดขวางระหว่างช่องของการติดตั้งระบบ ในบางกรณีช่วงเวลาในการติดตั้งอาจใช้เวลานานมาก เครื่องมือในกำหนดตารางที่นำมาใช้บริษัทอาจใช้ 1 วิธีหรือมากกว่า ในการกำหนดตาราง การพัฒนาทั้งระบบ ในแต่ละช่วงของการทำงานมีเครื่องมือในการกำหนดตารางเวลาการทำงาน 3 ชนิด ซึ่งสามารถใช้สร้างตารางสำหรับการทำระบบ คือ เทคนิคการวิเคราะห์สายงานวิกฤต (CPM) PERT และ GRANT Chart เครื่องมือเหล่านี้มีความยืดหยุ่นพอสมควร 2.2.7.2 การใส่รหัสโปรแกรมหรือการเขียนโปรแกรม เป็นกระบวนการเขียนคำสั่ง ซึ่งสามารถวิ่งอยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าบริษัทเริ่มงานนี้ก่อนถึงช่วงงานการพัฒนาระบบอาจ เป็นการเสี่ยง ถ้าผู้ขายเครื่องเปลี่ยนแผนงาน เช่นหาโปรแกรมที่ใส่รหัสก่อนหน้านี้อาจจำเป็นต้อง เปลี่ยนแปลงมาทำงานกับเครื่องใหม่ที่เปลี่ยน นอกจากนี้โปรแกรมเมอร์ยังต้องคำนึงถึงการทำให้โปรแกรมบำรุงรักษาง่ายและไม่ผิดพลาด การใส่รหัสโปรแกรมจะมีวิธีการดังนี้ 18 ก) เทคนิคการออกแบบโปรแกรมเชิงโครงสร้าง เป็นชุดของการ ออกแบบโปรแกรมและเครื่องมือการใส่รหัสซึ่งพัฒนาในช่วงทศวรรษที่ 1970 เป็นการเขียน โปรแกรมออกแบบอย่างมีศักยภาพและผลิตผลงานได้ดีกว่า เช่นเทคนิคโปรแกรมโครงสร้าง ภาษารุ่นที่ 4 (4GL) และโปรแกรมเชิงวัตถุ(Object Oriented programming) เป็นต้น ข) การแก้ไขจุดบกพร่องของโปรแกรม หมายถึงการขจัดปัญหาและจุด บกพร่องต่างๆ ในโปรแกรมให้หมดไปก่อนที่จะนำโปรแกรมนั้นไปใช้ตามปกติเรียกว่าจุกบกพร่อง หมายถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับโปรแกรมอันเนื่องมาจากคำสั่งในโปรแกรมนั้นเอง ซึ่งทำให้การทำงาน ของโปรแกรมไม่ราบรื่นหรือมีข้อผิดพลาด ประเภทของจุดบกพร่องโปรแกรมคอมพิวเตอร์เกือบทั้งหมดมีจุดบกพร่องขณะที่พัฒนา ซึ่งอาจจะจัดประเภทได้ 3 ประเภทคือ ข้อผิดพลาดด้านไวยกรณ์ ข้อผิดพลาดขณะโปแรกรม ทำงาน และ ข้อผิดพลาดด้านตรรกะ ค) การทดสอบโปรแกรมหมายถึงการทดสอบการทำงานของโปรแกรมที่ เขียนเสร็จแล้วใหม่ๆ โดยใช้ข้อมูลหลายๆชุดเพื่อตรวจสอบดูว่ามีปัญหาอย่างใดหรือไม่และจะ ได้ผลตามต้องการหรือไม่ คือให้โปรแกรมปราศจากข้อผิดพลาดนั่นเองเพราะว่าจุดบกพร่องใน โปรแกรมสามารถเป็นสาเหตุให้เกิดการเสียหาย การทดสอบโปรแกรมสามารถทดสอบได้ทั้ง โปรแกรมใหม่หรือการแก้ไขโปรแกรมเพื่อให้การทำงานถูกต้องด้วยการใช้ข้อมูลตัวอย่าง ผู้จัดการ และ ผู้ใช้ควรแสดงบทบาทสำคัญในการพัฒนาข้อมูลทดสอบเพราะว่าโดยการทำงานใกล้ชิดกับ ระบบเขาควรรู้ว่าระบบผิดพลาดชนิดใด การพัฒนาข้อมูลสำหรับทดสอบและโปรแกรมตรวจสอบ มักจะยากกว่าและใช้เวลามาก แต่ก็ต้องทำแม้แต่นักออกแบบโปรแกรมผู้มีประสบการณ์ที่สุดก็ ควรทำ การใช้การทดสอบซอฟต์แวร์แบบรวมมักประกอบด้วยขั้นตอนหลายขั้นตอน ง) การฝึกอบรมผู้ใช้เมื่อพัฒนาโปรแกรมเรียบร้อยแล้วกิจกรรมที่สำคัญ มากที่จะขาดไม่ได้คือ การคัดเลือกบุคลากรและฝึกอบรมสำหรับอบรมให้เหมาะสมกับระดับผู้ใช้ 2.2.7.3 การสับเปลี่ยนระบบ เป็นกระบวนการสับเปลี่ยนจากระบบหนึ่งไปยังอีก ระบบหนึ่ง ณ จุดของการเปลี่ยนระบบผู้ใช้และบุคลากรผู้ทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ควรได้รับ การฝึกในหน้าที่ใหม่การประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์ สำหรับระบบใหม่ควรจัดหาไว้อย่างเพียงพอและ พร้อมที่จะใช้ข้อมูลที่สมบูรณ์สับเปลี่ยน และเครื่องควรอยู่ในตำแหน่งที่จะใช้งานได้อย่างเรียบร้อย การสับเปลี่ยนระบบมักเกิดปัญหาที่ต้องปรับปรุงตามมา เพราะผู้ใช้อาจต่อต้านการเปลี่ยนแปลง ปัญหาสำคัญของการสับเปลี่ยนระบบ ควรมีการคาดหมายไว้ล่วงหน้าการวางแผนในสิ่งที่อาจ เกิดขึ้นควรกระทำเป็นกรณีสำคัญ วิธีการสับเปลี่ยนระบบใหม่มีวิธีแพร่หลาย 4 วิธี การสับเปลี่ยน โดยตรง การสับเปลี่ยนแบบขนาน การสับเปลี่ยนแบบทิ้งช่วง และการสับเปลี่ยนแบบวิธีศึกษานำทาง 2.2.7.4 การประเมินระบบหลังการติดตั้งใช้งาน เป็นการกระทำเพื่อแก้ไขข้อผิด พลาดที่อาจเกิดขึ้นได้โดยไม่ได้หวัง และรวบรวมข้อคิดเห็นจากผู้ใช้งานในระยะหนึ่งแล้ว สำหรับ 19 เป็นข้อมูลในการปรับปรุงระบบใหม่ให้ดีขึ้น ผลของการประเมินนี้จะถูกรวบรวมและนำเสนอต่อ ผู้บริหาร เพื่อการตัดสินใจในการดำเนินการต่อไป 2.2.8 การบำรุงรักษา (Maintenance) การบำรุงรักษาได้แก่ การแก้ไขโปรแกรมหลังจากใช้งานแล้ว สาเหตุที่ต้องแก้ไขระบบส่วน ใหญ่มี 2 ข้อคือ มีปัญหาโปรแกรม (Bug) และธุรกิจเปลี่ยนไป เมื่อธุรกิจขยายตัวมากขึ้น ความ ต้องการของระบบอาจจะเพิ่มมากขึ้น เช่นความต้องการรายงานเพิ่มขึ้น ระบบที่ดีควรจะแก้ไข เพิ่มเติมสิ่งที่ต้องการได้ การบำรุงรักษาระบบควรจะอยู่ภายใต้การดูแลของนักวิเคราะห์ระบบ เมื่อผู้บริหารต้องการ แก้ไขส่วนใด นักวิเคราะห์ระบบต้องเตรียมแผนภาพต่างๆและศึกษาผลกระทบต่อระบบและให้ ผู้บริหารตัดสินใจต่อไปว่าควรจะแก้ไขหรือไม่ 2.3 ระบบฐานข้อมูลและการออกแบบ ฐานข้อมูลประกอบด้วยรายละเอียดของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งถูกนำมาใช้ในงานด้าน ต่างๆ เช่น ด้านธนาคาร จะมีฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลเงินฝาก ข้อมูลการให้สินเชื่อหรือด้าน โรงพยาบาลจะมีฐานข้อมูลที่เกี่ยวกับประวัติคนไข้ ข้อมูลแพทย์เชี่ยวชาญเฉพาะโรค เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้ถูกจัดเก็บไว้อย่างมีระบบเพื่อประโยชน์ในการจดการเรียกใช้ข้อมูลได้อย่างมี ประสิทธิภาพ 2.3.1 องค์ประกอบของระบบฐานข้อมูล ระบบฐานข้อมูลส่วนใหญ่เป็นระบบที่มีการนำคอมพิวเตอร์ เข้ามาช่วยในการจัดเก็บข้อมูล โดยมีซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมช่วยจัดการข้อมูลเหล่านี้พื่อให้ได้ข้อมูลตามที่ต้องการองค์ประกอบ ของระบบฐานข้อมูลแบ่งออกเป็น 5 ประเภทดังนี้ 2.3.1.1 ฮาร์ดแวร์(Hardware)ในระบบฐานข้อมูลที่มีประสิทธิภาพควรมีฮาร์ดแวร์ ต่างๆ ที่พร้อมจะอำนวยความสะดวกในการบริหารระบบฐานข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่า จะเป็นขนาดของหน่วยความจำหลัก ความเร็วของหน่วยประมวลผลกลาง อุปกรณ์นำข้อมูลเข้า และออกรายงาน รวมถึงหน่วยความจำสำรองที่จะรองรับการประมวลผลข้อมูลในระบบได้อย่างมี ประสิทธิภาพ 2.3.1.2 โปรแกรม (Program) ในการประมวลผลฐานข้อมูลอาจจะใช้โปรแกรมที่ แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ว่าเป็นแบบใด โปรแกรมที่ทำหน้าที่ควบคุมดูแล การสร้าง การเรียกใช้ข้อมูล (Database Management System) คือโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่จัดการฐานข้อมูลโดยจะเป็นสื่อกลางระหว่างผู้ใช้และโปรแกรประยุกต์ต่างๆที่มีอยู่ในระบบ ฐานข้อมูล 2.3.2 หน้าที่ของระบบจัดการฐานข้อมูล 2.3.2.1 ช่วยกำหนดและเก็บโครงสร้างฐานข้อมูล 20 2.3.2.2 การบรรจุข้อมูลจากฐานข้อมูล เมื่อมีการประมวลผลที่เกิดจากการทำงาน ของโปรแกรมประยุกต์ใน งานระบบจัดการฐานข้อมูลจะทำการรับและเก็บข้อมูลไว้ในฐานข้อมูล เพื่อใช้ในการประมวลผลต่อไป 2.3.2.3 เก็บและดูแลข้อมูล 2.3.2.4 ประสานงานกับระบบปฏิบัติการ ระบบปฏิบัติการเป็นโปรแกรม ระบบ เครื่องที่คอยควบคุมการทำงานของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ หรือโปรแกรมต่างๆเป็นต้นระบบจัดการ ฐานข้อมูลจะทำการประสานงานกับระบบปฏิบัติการในการเรียกใช้แก้ไขข้อมูล หรือออกรายงานที่ ต้องการ 2.3.2.5 ช่วยควบคุมความปลอดภัย ในระบบฐานข้อมูลจะมีวิธีควบคุมการเรียกใช้ หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลของผู้ใช้ในระบบ ซึ่งสามารถเรียกข้อมูลมาแก้ไขได้แตกต่างกัน เพื่อ เป็นการป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับฐานข้อมูล 2.3.2.6 การจัดทำข้อมูลสำรองและการกู้ ในระบบจัดการฐานข้อมูลจะจัดทำข้อมูล สำรองของฐานข้อมูลไว้และเมื่อมีปัญหากับระบบฐานข้อมูล เช่นแฟ้มข้อมูลหาย เนื่องจากดิสก์เสีย หรือไฟไหม้ ระบบฐานข้อมูลจะใช้ระบบข้อมูลสำรองนี้ในการฟื้นสภาพการทำงานของระบบให้สู่ สภาวะปกติ 2.3.2.7 ควบคุมการใช้ข้อมูลพร้อมกันของผู้ใช้ระบบ ในระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้ หลายคนสามารถเรียกใช้ข้อมูลได้พร้อมกัน ระบบจัดการฐานข้อมูลที่มีคุณสมบัตินี้จะทำการ ควบคุมการใช้ข้อมูลพร้อมกันของผู้ใช้หลายคนในเวลาเดียวกันโดยควบคุมอย่างถูกต้องเหมาะสม 2.3.2.8 ควบคุมความบูรณการ (Integrity Control) ระบบจัดการฐานข้อมูล จะทำ การควบคุมค่าของข้อมูลในระบบให้ถูกต้องตามที่ควรจะเป็น 2.3.2.9 ทำหน้าที่จัดทำพจนานุกรมข้อมูล (Data dictionary) ระบบจัดการฐาน ข้อมูลจะทำการสร้างพจนานุกรมข้อมูล เมื่อมีการกำหนดโครงสร้างของฐานข้อมูลขึ้นมา เพื่อเก็บ รายละเอียดต่างๆที่เกี่ยวข้องกับฐานข้อมูล 2.3.3 ข้อมูล (Data) ฐานข้อมูลเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลให้เป็นศูนย์กลางข้อมูลอย่างมี ระบบ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถเรียกใช้ร่วมกันได้ ผู้ใช้ข้อมูลในระบบฐานข้อมูล จะมองภาพของ ข้อมูลในลักษณะที่แตกต่างกัน เช่นผู้ใช้บางคนมองภาพของข้อมูลที่ถูกจัดเก็บไว้ในสื่อเก็บข้อมูล (Physical Level)ในขณะที่ผู้ใช้บางคนมองภาพข้อมูลจากการใช้งานของผู้ใช้ (External Level) 2.3.4 บุคลากร ( People ) ในระบบฐานข้อมูล จะมีบุคลากรที่เกี่ยวข้องดังนี้คือ 2.3.4.1 ผู้ใช้ทั่วไป (User) 2.3.4.2 พนักงานปฏิบัติการ (Operator) 2.3.4.3 นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ (System Analyst) 2.3.4.4 ผู้เขียนโปรแกรมประยุกต์ใช้งาน (Programmer) 2.3.4.5 ผู้บริหารฐานข้อมูล (Database Administrator :DBA) 21 2.3.5 ขั้นตอนการปฏิบัติงาน (Procedure) ในระบบฐานข้อมูลควรจะมีการจัดทำเอกสารที่ ระบุขั้นตอนการทำงานของหน้าที่งานต่างๆ ในระบบฐานข้อมูลทั้งในสภาวะปกติ และในสภาวะที่ ระบบเกิดปัญหา (Failure) ซึ่งจะเป็นขั้นตอนการปฏิบัติงานสำหรับบุคลากรในทุกระดับองค์กร 2.3.6 ข้อดีของการประมวลผลแบบฐานข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลรวมเป็นฐานข้อมูลมีข้อได้เปรียบกว่าการจัดเก็บข้อมูลแบบแฟ้ม 2.3.6.1 หลีกเลี่ยงความขัดแย้งของข้อมูล 2.3.6.2 สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ 2.3.6.3 สามารถลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล 2.3.6.4 การรักษาความถูกต้องเชื่อถือได้ของข้อมูล 2.3.6.5 สามารถกำหนดความเป็นมาตรฐานเดียวกันได้ 2.3.6.6 สามารถกำหนดระบบความปลอดภัยของข้อมูลได้ 2.3.6.7 ความเป็นอิสระของข้อมูลโปรแกรม 2.3.7 ข้อเสียของการประมวลผลแบบฐานข้อมูล 2.3.7.1 ต้นทุนสูง 2.3.7.2 มีความสลับ ซ้ำซ้อน ของข้อมูล 2.3.7.3 การเสี่ยงต่อการหยุดชะงักของระบบ 2.3.8 นิยามและคำศัพท์พื้นฐานเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูล การประมวลผลในระบบแฟ้ม ข้อมูล ได้แบ่งหน่วยของข้อมูลไว้หลายระดับดังนี้ 2.3.8.1 บิท (Bit) หมายถึงหน่วยของข้อมูลที่มีขนาดเล็กที่สุด 2.3.8.2 ไบท์ (Byte) หมายถึงหน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการนำ บิท รวมกันเป็นตัว อักษร 2.3.8.3 ฟิลด์ (Field) หมายถึงหน่วยของข้อมูลที่ประกอบด้วยหลาย ๆ ตัวอักษร เพื่อแทนความหมายขอสิ่งหนึ่ง เช่นรหัสพนักงาน ชื่อ เป็นต้น 2.3.8.4 เรคคอร์ด (Record) หมายถึงหน่วยข้อมูลที่เกิดจากการนำเอาฟิลด์หลายๆ ฟิลด์มารวมกันเพื่อแสดงรายละเอียดข้อมูลในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเช่นเรคคอร์ดหนึ่งๆ ของพนักงาน ประกอบด้วย ฟิลด์ต่างๆเช่น รหัสพนักงาน ชื่อ แผนก เงินเดือน เป็นต้น 2.3.8.5 แฟ้มข้อมูล (File)หมายถึงหน่วยข้อมูลที่เกิดจากการนำเรคคอร์ดหลาย ๆ เรคคอร์ดมารวมกัน สำหรับในระบบฐานข้อมูล คำศัพท์พื้นฐานที่เกี่ยวข้องมีดังต่อไปนี้คือ 2.3.8.6 เอนทิตี้ (Entity) หมายถึงชื่อของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อาจเกี่ยวกับ คน สถานที่ สิ่ง ของ การกระทำ ซึ่งต้องการจัดเก็บข้อมูลไว้ เช่น เอนทิตี้พนักงาน สินค้า ลูกค้า การสั่งซื้อ เป็นต้น บางเอนทิตี้ในฐานข้อมูลจะไม่มีความหมายหากไม่มีเอนทิตี้อื่นในฐานข้อมูล เอนทิตี้ประเภทนี้ เรียกว่า เอนทิตี้ชนิดอ่อนแอ (Week Entity) นอกจากนี้ยังมีการแบ่งเอนทิตี้ออกเป็น SuperType 22 และ SubType โดยที่ SubType ประกอบด้วยข้อมูลเฉพาะนอกเหนือจากที่มีอยู่ใน SuperType ดังนั้นเมื่อมีข้อมูลของ SubType ก็จะต้องมีข้อมูลของ SuperType อยู่เช่นกัน ตัวอย่าง พนักงาน เป็น SuperType ที่จัดกลุ่มพนักงานโดยแบ่งออกเป็นพนักงานที่มีเงินเดือนประจำและพนักงานที่ คิดค่าแรงต่อชั่วโมง กล่าวอีกนัยหนึ่งเอนทิตี้หนึ่งเป็นSubtypeของอีกเอนทิตี้หนึ่งและเอนติที้หนึ่งเป็น Supertype ของอีกเอนทิตี้หนึ่งก็ต่อเมื่อ SuperType A ประกอบด้วยข้อมูลทุกอย่างที่มีใน SuperType B และ มีข้อมูลเฉพาะของตัวเองเพิ่มเติมเช่น SubType พนักงานที่มีเงินเดือนประจำ ประกอบด้วยข้อมูล ชื่อ ตำแหน่ง เพศ วันเกิด ที่อยู่ ที่เป็นข้อมูลใน SuperType พนักงานและข้อมูลเฉพาะเพิ่มคือ เงินเดือน เมื่อมีข้อมูลของ SubType จะต้องมีข้อมูลของ SuperType (ศิริลักษณ์ ,2540 : 19) เช่น พนักงานที่มีเงินเดือนประจำจะมีข้อมูลชื่อ ตำแหน่งงาน เพศ วันเกิด ที่อยู่รวมถึงรหัสพนักงาน และเงินเดือนเป็นต้น Employee Empnum Name Position Sex Birthdate Address Emp_salary Empnum Salary Emp_wage Empnum Rate ภาพที่ 2-1 แสดงความสัมพันธ์ SuperType และ SubType เอนทิตี้ 23 2.3.8.7 แอททริบิวต์ (Attribute) หมายถึง รายละเอียดของข้อมูลในเอนทิตี้หนึ่งๆ เช่น เอนทิตี้พนักงานประกอบด้วย แอททริบิวต์รหัสพนักงาน ชื่อ เงินเดือน หรือ เอนทิตี้ลูกค้า ประกอบด้วย แอททริบิวต์รหัสลูกค้า ชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์หรือเอนทิตี้แผนก ประกอบด้วย แอททริบิวต์รหัสแผนก ชื่อ เป็นต้นแอททริบิวต์บางแอททริบิวต์ประกอบด้วยข้อมูลหลายส่วนมา รวมกันซึ่งอาจแยกเป็นชื่อแอททริบิวต์ย่อยได้อีก แอททริบิวต์ที่มีคุณสมบัติอย่างนี้เรียกว่า แอททริบิวต์ผสม (Composite Attribute) นอกจากนี้แอททริบิวต์บางแอททริบิวต์อาจจะไม่มีค่า ของตัวเอง แต่สามารถหาค่าได้จากแอททริบิวต์อื่นๆ เช่นแอททริบิวต์อายุ สามารถคำนวนได้จาก แอททริบิวต์วันเกิด เป็นต้น แอททริบิวต์ที่มีคุณสมบัติอย่างนี้เรียกว่า แอททริบิวต์ที่ถูกแปลงค่ามา (Derived Attribute) 2.3.8.8 ความสัมพันธ์(Relationship)หมายถึงคำกิริยาที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง สองเอนทิตี้ เช่น เอนทิตี้พนักงาน และเอนทิตี้แผนกมีความสัมพันธ์ในด้าน ทำงานสังกัดอยู่ นั่น คือพนักงานแต่ละคนทำงานสังกัดอยู่ในแผนกใดแผนกหนึ่ง เป็นต้น ความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้ในการระบุชื่อความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้ (Relationship) จะ พิจารณาโดย กำหนดทิศทางของความสัมพันธ์จากเอนทิตี้หนึ่งไปยังอีกเอนทิตี้หนึ่งว่ามี ความสัมพันธ์กันที่เรียกว่าอะไร เช่นความสัมพันธ์จากเอนทิตี้พนักงานไปยังเอนทิตี้แผนกเป็น ความสัมพันธ์ที่เรียกว่า “สังกัดอยู่” นั่นคือ พนักงานแต่ละคนจะสังกัดอยู่ในแผนก ในทางตรงข้าม อาจจะระบุทิศทางของความสัมพันธ์ว่า ความสัมพันธ์จากเอนทิตี้แผนกไปยังเอนทิตี้พนักงาน เป็น ความสัมพันธ์ที่เรียกว่า ประกอบด้วย นั่นคือแต่ละแผนกประกอบด้วยพนักงานเป็นต้น (ศิริลักษณ์ ,2540 :21) .... .. . .... ... . .... .. .......... ... . ภาพที่ 2-2 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้ นอกจากคำนึงถึงความสัมพันธ์ต้อง พิจารณาถึงจำนวนข้อมูลที่เกิดขึ้นระหว่างความสัมพันธ์ ของสองเอนทิตี้ว่ามีเท่าไร (Cardinality Relation) ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง(One to one Relationship)เป็นการแสดงความสัมพันธ์ของ ข้อมูลของเอนทิตี้หนึ่ง ความสัมพันธ์กับข้อมูลอย่างมากหนึ่งข้อมูลกับอีกเอนทิตี้หนึ่งในลักษณะที่ เป็นหนึ่งต่อหนึ่ง (ศิริลักษณ์ ,2540 :22) 24 .... .. ......... ... . .... .. ............. ... . (1:1) (1:1) ภาพที่ 2-3 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้แบบหนึ่งต่อหนึ่ง ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อกลุ่ม (One to many Relationship) เป็นการแสดงความสัมพันธ์ ของข้อมูลเอนทิตี้หนึ่งมีความสัมพันธ์กับหลายข้อมูลกับอีกเอนทิตี้หนึ่ง (ศิริลักษณ์,2540 : 23) ตัวอย่างเช่น ความสัมพันธ์ของลูกค้าไปยังคำสั่งซื้อเป็นความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อกลุ่มนั้นคือลูกค้า แต่ละคนสามารถสั่งซื้อเป็นความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อกลุ่ม นั้นคือลูกค้าแต่ละคนสามารถสั่งซื้อได้ หลายคำสั่งซื้อ ในทางตรงกันข้าม ความสัมพันธ์ของคำสั่งซื้อไปสู่ลูกค้า จะเป็นลักษณะหนึ่งต่อ หนึ่ง เพราะว่าหนึ่งคำสั่งซื้อเกิดจากคำสั่งของลูกค้าเพียงคนเดียว ดังนั้นความสัมพันธ์ระหว่าง เอนทิตี้ลูกค้าและคำสั่งซื้อจึงเป็นหนึ่งต่อกลุ่ม ...... . ...... .... ..... (1:N) ภาพที่ 2-4 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้แบบหนึ่งต่อกลุ่ม ความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่ม(Many to Many Relationship)เป็นการแสดงความสัมพันธ์ ของข้อมูลสองเอนทิตี้ในลักษณะแบบกลุ่มต่อกลุ่มเช่นเอนทิตี้การสั่งซื้อสินค้าแต่ละครั้งสามารถ สั่งซื้อสินค้าได้มากกว่าหนึ่งชนิดความสัมพันธ์ของคำสั่งซื้อไปยังเอนทิตี้สินค้าเป็นแบบหนึ่งต่อ กลุ่ม (1:N)และสินค้าแต่ละชนิดสามารถถูกสั่งซื้อจากคำสั่งของลูกค้าหลายคน ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ ของเอนทิตี้สินค้าไปยังเอนทิตี้คำสั่งซื้อแบบหนึ่งต่อกล่ม (1:M) ดังนั้นความสัมพันธ์ของเอนทิตี้ ทั้งสองจึงเป็นแบบกลุ่มต่อกลุ่ม (M:N) ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลของสองเอนทิตี้เป็นแบบกลุ่มต่อกลุ่ม(M:N) เป็นเรื่องค่อนข้าง ยุ่งยากในการออกแบบฐานข้อมูล (ศิริลักษณ์ ,2540 :23) เช่น อาจจะมีปัญหาในด้านของการ ปรับปรุงแก้ไขข้อมูล โดยทั่วไป จะสร้างเอนทิตี้ใหม่ขึ้นมา (Association Entity) เพื่อเป็นเอนทิตี้ที่ 25 เชื่อมความสัมพันธ์กับสองเอนทิตี้เดิม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับความสัมพันธ์ให้อยู่ในรูปของ หนึ่งต่อกลุ่ม (1:M) ..... .... ...... (M:N) ภาพที่ 2-5 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้แบบกลุ่มต่อกลุ่ม การกำหนดเอนทิตี้ใหม่ชื่อรายการที่สั่งซื้อเป็นเอนทิตี้ใหม่ที่มีความสัมพันธ์กับเอนทิตี้สินค้า และคำสั่งซื้อแบบหนึ่งต่อกลุ่ม (ศิริลักษณ์ ,2540 : 24) ..... .... ...... ...... .... ....... ...... ........... ... ภาพที่ 2-6 แสดงการกำนดเอนทิตี้ใหม่ที่มีความสัมพันธ์กับเอนทิตี้แบบหนึ่งต่อกลุ่ม 2.3.9 รูปแบบของฐานข้อมูล 2.3.9.1 ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database) เป็นการจัดเก็บรวบรวม ข้อมูลเป็นแถวและคอลัมน์ในลักษณะตารางสองมิติ ที่ประกอบด้วยแอททริบิวต์ที่แสดงคุณสมบัติ ของรีเลชั่นหนึ่งๆโดยที่รีเลชั่นต่างๆได้ผ่านกระบวนการทำรีเลชั่นให้เป็นบรรทัดฐาน (Normalizated) ในระหว่างการออกแบบเพื่อลดความซ้ำซ้อน และเพื่อให้การจัดการ ฐานข้อมูลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ เป็นฐานข้อมูลซึ่งให้ภาพของข้อมูลในระดับภายนอกและระดับ แนวคิดแก่ผู้ใช้ข้อมูลได้เป็นอย่างดี รีเลชั่นต่างๆ ในฐานข้อมูลจะประกอบด้วยแอททริบิวต์ต่างๆ ที่ออกแบบเพื่อลดความซ้ำซ้อนของการเก็บข้อมูลและสามารถเรียกใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีระบบจัดการฐานข้อมูลเป้นผู้จัดการฐานข้อมูลที่ฐานข้อมูลได้ถูกออกแบบไว้ 2.3.10 คำศัพท์เทคนิคที่เกี่ยวข้อง 2.3.10.1 รีเลชั่น (Relation)เป็นคำที่เรียกทั่วไปว่าตารางเป็นคำนามที่แทนข้อมูล ของเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น รีเลชั่นของข้อมูลพนักงาน เป็นต้น 2.3.10.2 ทูเพิล(Tuple)คือค่าของข้อมูลในแต่ละแถวหรือที่เรียกว่าเรคคอร์ด 26 (Record) 2.3.10.3 คาร์ตินาลลิตี้ (Cardinality) คือจำนวนแถวของข้อมูลในแต่ละรีเลชั่น 2.3.10.4 แอททริบิวต์ (Attributed) คือรายละเอียดของข้อมูลในแต่ละคอลัมน์ ซึ่งเป็นสิ่งที่แสดงให้รู้ว่ารีเลชั่นนั้นๆประกอบด้วย รายละเอียดข้อมูลอะไรบ้าง หรือที่รู้จักกันในชื่อ ของคอลัมน์ (Column) หรือฟิลด์ 2.3.10.5 คีย์หลัก (Primary Key)คือแอททริบิวต์ที่มีค่าของข้อมูลเป็นเอกลักษณ์ หรือ เฉพาะเจาะจงและจะเป็นค่าที่ไม่ซ้ำกันในแต่ละทูเพิล 2.3.10.6 โดเมน (Domain)หมายถึงขอบเขตของค่าของข้อมูลที่ควรจะเป็นในแต่ ละแอททริบิวต์ 2.3.11 ข้อดีของฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์เป็นรูปแบบของฐานข้อมูลที่ เข้าใจง่ายสำหรับผู้ใช้ทั่วไปโดยเฉพาะผู้ใช้ซึ่งไม่ใช่นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ โปรแกรมเมอร์ หรือผู้จัดการฐานข้อมูลเป็นต้น ข้อดีของฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ที่ทำให้ผู้ใช้ทั่วไปรู้สึกว่าฐานข้อมูล ชนิดนี้เข้าใจง่าย มีดังนี้ 2.3.11.1 ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์เป็นกลุ่มของรีเลชั่นหรือตารางที่ข้อมูลถูกจัดเก็บ เป็นแถวและคอลัมน์ ซึ่งทำให้ผู้ใช้เห็นภาพของข้อมูลได้ง่าย 2.3.11.2 ผู้ใช้ไม่รู้ว่าข้อมูลถูกจัดเก็บจริงอย่างไรรวมถึงวิธีการเรียกใช้ข้อมูล 2.3.11.3 ภาษาที่ใช้ในการเรียกดูข้อมูล เป็นลักษณะคล้ายภาษาอังกฤษ และไม่จำ เป็นต้องเขียนเป็นลำดับขั้นตอน เช่น SQL 2.3.11.4 การเรียกใช้หรือเชื่อมโยงข้อมูลทำได้ง่ายโดยใช้โอเปอเรเตอร์ทาง คณิตศาสตร์ 2.3.11.5 คุณลักษณะในการจัดเก็บข้อมูลของรีเลชั่นในแต่ละรีเลชั่นประกอบด้วย ข้อมูลของแอททริบิวต์ต่างๆที่ถูกจัดเก็บอยู่ในรูปตารางสองมิติ คือแถวและคอลัมน์คุณลักษณะใน การจัดเก็บข้อมูลของรีเลชั่นเป็นดังนี้คือ ก) ข้อมูลในแต่ละแถวจะไม่ซ้ำกัน ข) การเรียงลำดับของข้อมูลในแต่ละแถวไม่เป็นสาระสำคัญ ค) การเรียงลำดับของแอททริบิวต์จะเรียงลำดับก่อนหลังอย่างไรก็ได้ ง) ค่าของข้อมูลในแต่แอททริบิวต์ของทูเพิลหนึ่งๆจะบรรจุข้อมูลได้ เพียงค่าเดียว จ) ค่าของข้อมูลในแต่ละแอททริบิวต์จะบรรจุค่าของ ข้อมูลประเภท เดียวกัน 2.4 เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต 27 อินเตอร์เน็ตคือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์สาธารณะที่มีขนาดใหญ่และสำคัญที่สุดของโลกเป็น การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ด้วยโพรโตคอล TCP/IP โดยคอมพิวเตอร์ที่เข้า เป็นส่วนหนึ่งของอินเตอร์เน็ตจะต้องมี IP Addressไว้อ้างอิงเมื่อเราต้องการติดต่อกับคอมพิวเตอร์ เครื่องนั้น บริการต่างๆที่มีในอินเตอร์เน็ตได้แก่ E-Mail,FTP,IRC,WWW ซึ่ง WWW หรือ web จะเป็นบริการที่ได้รับความนิยมมากที่สุด 2.4.1 องค์ประกอบของ www จะประกอบด้วย Web Browser หรือบราวเซอร์ เป็นแอพลิเคชั่นที่นำผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตไปสู่แหล่งข้อมูล ต่างๆ โดยบราวเซอร์จะทำหน้าที่แสดงเอกสารตามที่ผู้ใช้ต้องการ บราวเซอร์มีให้เลือกใช้มากมาย เช่น Internet Explorer , Nestcape Navigator Database Serverเป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ให้บริการเรียกค้นและจัดการฐานข้อมูล ในอินเตอร์เน็ต Database จะถูกเรียกใช้จากเว็บเซิร์ฟเวอร์อีกต่อหนึ่ง Hyperlink เป็นการเชื่อมจากแหล่งข้อมูลหนึ่งไปอีกแหล่งหนึ่ง ซึ่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน Hyperlink จะอยู่ในเอกสาร HTML 2.4.1.1 โปรแกรม Web Browserในเวลานี้มีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ต่างๆ หลานราย ได้พัฒนาซอฟต์แวร์ Web Browser ออก มาให้ผู้ใช้ได้ใช้งานกันมากมายและมีเพิ่มขึ้นทุกๆขณะ เช่น บริษัท Microsoft ได้ผลิตโปรแกรม Microsoft Internet Explorer ออกมา ซึ่งโปรแกรมมี จุดประสงค์ที่ทำขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้ Microsoft Windows ได้เชื่อมเข้าใช้บริการ World Wide Web เท่านั้น โปรแกรม World Wide Web Browser แต่ละยี่ห้อก็จะมีความแตกต่างกันใน ความสามารถ และรายละเอียดปลีกย่อย เช่นความเร็วในการใช้งาน การสิ้นเปลืองหน่วยความจำของเครื่อง การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล การรองรับภาษา HTML ในระดับที่ไม่เท่ากัน เป็น ต้น 2.5 ASP ASP (Active Server Pages) เป็นชื่อของเทคโนโลยีในการพัฒนาแอพพลิเคชั่นสำหรับ อินเตอร์เน็ตโดยเน้นไปการพัฒนาจัดการแอพพลิเคชั่นที่สร้างจากเทคโนโลยีASPที่เว็บเซิร์ฟเวอร์ โดยเราจะเรียกว่า แอพพลิเคชั่น ASP หลักการเขียนสคริปต์สำหรับแอพพลิเคชั่น นั้นจะต้องเป็นเท็กซ์ไฟล์ที่มีนามสกุลเป็น .asp ซึ่งจะประกอบด้วยข้อความ tag ของ HTML และคำสั่งสคริปต์ที่ใช้ ปิดหัวท้ายสคริปต์ ของASP ซึ่งจะทำให้ ASP Interpreter รู้ว่านี่เป็นสคริปต์ของ ASP สคริปต์โค้ดของASPจะถูกประมวลผลที่เซิร์ฟเวอร์ จากนั้นจึงส่งผลลัพธ์สุดท้ายของการทำงาน ซึ่งอยู่ในรูปแบบของ HTML ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและแสดงผลลัพธ์บนบราวเซอร์ของ ไคลเอ็นต์ โดยไม่คำนึงถึงชนิดของบราวเซอร์และแพลตฟอร์มนั้นๆ ประการที่สำคัญคือสคริปต์ โค้ดของโปรแกรมจะไม่ปรากฏหรือแสดงผลบนฝั่งบราวเซอร์ของไคลเอ็นต์ ทำให้ไม่สามารถ 28 คัดลอกหรือลอกเลียนแบบได้ นอกจากนี้ไคลเอ็นต์สคริปต์อื่นๆเช่น Javascript หรือ VBScript ยังสามารถใช้งานร่วมหรือฝังอยู่ในเอกสาร ASP ได้อีกด้วย ASP มีข้อดีหลายประการเช่นช่วยเสริมการทำงานของไคลเอ็นต์ไซท์สคริปต์การพัฒนา ด้วย ASP สามารถเรียนรู้ได้ง่าย การพัฒนา ASP ไม่จำเป็นต้องใช้การคอมไพล์ แต่ASP ก็มีข้อเสียเช่น เพิ่มการใช้กับเซิร์ฟเวอร์และเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ในไฟล์ .asp เนื่องจากสามารถที่จะกำหนดทั้งโปรแกรม Server-Side Script และ HTML Tag ต่าง ๆ ไว้ร่วมกัน ดังนั้นเพื่อแยกความแตกต่างของทั้ง 2 ส่วน คำสั่งต่าง ๆ ในส่วนของ โปรแกรม Server-Side Script จึงต้องกำหนดไว้ภายใน Block ของเครื่องหมาย เช่น คำสั่งภายในโปรแกรม Server-Side Script ต่อไปนี้ 1 2 QueryString is 3 ในบรรทัดแรกและบรรทัดที่ 3 เนื่องจากเป็นคำสั่งของโปรแกรม Server-Side Script ดังนั้นจึงต้องกำหนดอยู่ภายใน Block ของเครื่องหมาย “” ส่วนในบรรทัดที่ 2 และ 4 เนื่องจากเป็นHTML Tag ที่ต้องส่งกลับไปแสดงผลยังโปรแกรมเบราเซอร์ ดังนั้นจึงไม่ต้อง กำหนดอยู่ภายใน Block 2.6 ภาษา VBScript VBScript เป็นภาษาที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับภาษา Visual Basic แต่ใช้งานง่ายกว่า โดย ภาษา VBScript นั้น เริ่มได้รับการสนับสนุนจากเบราเซอร์ Internet Explorer ตั้งแต่เวอร์ชัน 3.0 ขึ้นไป แต่ไม่สามารถใช้งานร่วมกับเบราเซอร์ของทาง Netscape ได้ (ธาริน ,2545 : 23) VBScript (Visual Basic Scripting Edition Language)เป็นภาษายุคใหม่สำหรับการ ออกแบบเขียนโปรแกรมบนระบบอินเตอร์เน็ต เพื่อช่วยให้สามารถสร้างเว็บเพจแบบไดนามิก ได้ทั้งที่เบราเซอร์ และที่เว็บเซิร์ฟเวอร์ เพิ่มลูกเล่นให้กับเว็บเพจ สร้างจินตนาการ และจุดประกาย ความคิดให้กับผู้สร้างเว็บเพจ นอกจากนี้ยังมีความสามารถในงานด้านการคำนวณ การแสดงผล ทางข้อความ รูปภาพ เสียง ในระบบมัลติมีเดีย (Multimedia) การสร้างแบบฟอร์มให้สามารถ โต้ตอบกับผู้ใช้ได้ทันที การสร้างปุ่มคำสั่ง การตอบสนองต่อเหตุการณ์ การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เช่น วันที่ เวลา จำนวนผู้เข้าชมเว็บเพจ (วันชัย , 2544 : 42) 2.7 ภาษา JavaScript JavaScript เป็นภาษาที่ได้รับการสนับสนุนจาก Internet Explorer และ Netscape Navigator ซึ่งเป็นภาษาที่นับได้ว่า มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง และมีรูปแบบของภาษานั้น คล้ายกับ Java หรือ C มาก ทำให้ผู้เคยใช้ Java หรือ C มาก่อนสามารถที่จะศึกษา และนำไปใช้ 29 งานได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งลักษณะของภาษามีความยืดหยุ่นเหมือนกับที่ภาษา Java หรือ C มี จึง ทำให้สามารถสร้างโปรแกรมที่มีประสิทธิภาพได้ และเนื่องจากภาษานี้ได้รับการสนับสนุนในหลาย ๆ เบราเซอร์ ทำให้ภาษานี้เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายไม่เหมือนกับ VBScript ที่นิยมใช้งาน ในส่วนของ Server Script มากกว่า เนื่องจากสามารถติดต่อกับออบเจ็กต์ และฐานข้อมูลที่อยู่บน เซิร์ฟเวอร์ได้ดีกว่า ส่วน JavaScript นั้น จะนิยมใช้ในส่วนของ Client Script เนื่องจากมีเบราเซอร์ สนับสนุนมากกว่า VBScript (ธาริน ,2543 : 185) JavaScript เป็นภาษายุคใหม่ที่ใช้เขียนโปรแกรมบนระบบอินเตอร์เน็ต ที่กำลังได้รับความ นิยมอย่างสูง สามารถเขียนโปรแกรม JavaScript เพิ่มเข้าไปในเว็บเพจ เพื่อใช้ประโยชน์ สำหรับ งานด้านต่าง ๆ ทั้งการคำนวณ การแสดงผล การับ-ส่งข้อมูล และที่สำคัญคือ สามารถโต้ตอบกับ ผู้ใช้ได้อย่างทันทีทันใด นอกจากนี้ยังมีความสามารถด้านอื่น ๆ อีกหลายประการที่ช่วยสร้างความ น่าสนใจให้กับเว็บเพจได้อย่างมากJavaScriptถือกำเนิดมาจากบริษัท เน็ตสเคปคอมมิวนิเคชันส์ (Netscape Communications Corporation) ถูกเปิดตัวครั้งแรกในชื่อ LiveScript พร้อมกับ โปรแกรม Netscape Navigator 2.0 เพื่อใช้สร้างเว็บเพจ ที่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกับ เซิร์ฟเวอร์แบบ LiveWire ได้ หลังจากที่บริษัท ซัน ไมโครซิสเต็มส์ ได้นำภาษา Java ออกสู่ตลาด ซันกับเน็ตสเคปจึงได้ร่วมมือกัน และทำการปรับปรุงให้ เบราเซอร์ของเน็ตสเคปสามารถใช้ภาษา Java ได้ และนำภาษา LiveScript มาแก้ไขปรับปรุงใหม่ จากนั้นจึงเปลี่ยนชื่อเป็น JavaScript เมื่อ ปี พ.ศ. 2538 JavaScript นับเป็น “ภาษาสคริปต์เชิงวัตถุ” ที่ช่วยให้การควบคุมเว็บเพจสามารถ ทำได้อย่างง่ายดาย อีกทั้งสามารถทำงานข้ามแพลตฟอร์มได้ ทำหน้าที่เป็นตัวประสานระหว่างเว็บ เพจ HTML, Java applet และเว็บเบราเซอร์ทั้งทางฝั่งไคลเอนต์ (Client) และฝั่งเซิร์ฟเวอร์ (Server) ช่วยให้เว็บเพจที่บรรจุ JavaScript มีความน่าสนใจและสมบูรณ์มากกว่าเว็บเพจทั่วไป ถ้าจำแนก JavaScript ออกตามลักษณะการทำงานทางฝั่งไคลเอนต์ และทางฝั่งเซิร์ฟเวอร์ จะจำแนกออกได้เป็น 2 แบบ คือ 2.7.1 Navigator JavaScript เป็น Client-Side JavaScript ซึ่งหมายถึง JavaScriptที่ถูก แปลทางฝั่งไคลเอนต์ จึงมีความเหมาะสมต่อการใช้งานของผู้ใช้ทั่วไปเป็นส่วนใหญ่ 2.7.2 LiveWire JavaScript เป็น Server-Side JavaScript ซึ่งหมายถึง JavaScript ที่ถูก แปลทางฝั่งเซิร์ฟเวอร์สามารถใช้ได้เฉพาะกับLiveWireของเน็ตสเคปโดยตรง (จิตเกษม,2541: 89) 2.8 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รศ.ดร. บุญเรียง (2535) ได้พัฒนาโปรแกรมสำเร็จรูป ITEMPC เพื่อใช้วิเคราะห์ข้อสอบ แบบปรนัยและเปรียบเทียบผลที่ได้จากการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC+ ซึ่งผลที่ได้รับจาก การใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ITEMPC ในการวิเคราะห์ข้อสอบนั้น จะประกอบด้วย 3 ตอนคือ ข้อมูลเกี่ยวกับผู้สอบแต่ละคน ข้อมูลเกี่ยวกับข้อสอบแต่ละตอนและข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพของ 30 ข้อสอบแต่ละข้อ ในการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ITEMPC นั้น ผู้ใช้สามารถกำหนดให้วิเคราะห์ ข้อมูลเฉพาะบางส่วนได้ ไม่จำเป็นต้องวิเคราะห์ทั้งหมดและยังสามารถให้ผู้ใช้งานสามารถเรียก ผลลัพธ์มาดูบนจอภาพได้ พิศิษฐ์ ตันฑวนิช (2534) ได้วิจัยเกี่ยวกับการประยุกต์ทฤษฎีการตอบสนองต่อข้อสอบเพื่อ ตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างสร้างทฤษฎีของแบบสอบที่มุ่งวัดคุณลักษณะ ที่มีความต่อเนื่อง ของระดับความสามารถ เพื่อแสดงการประยุกต์แนวทฤษฎีการตอบ สนองต่อข้อสอบเพื่อ ตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างทฤษฎีของแบบสอบวัดระดับ ความเข้าใจในการอ่าน 3 ระดับของนักเรียน โดยใช้โปรแกรมโลจิสต์ 5 (Logist 5) บทที่ 3 วิธีการดำเนินงาน วิธีการดำเนินงานของการพัฒนาระบบการจัดการและใช้งานคลังข้อสอบ ผู้พัฒนาได้ ดำเนินการตามขั้นตอนการพัฒนา 5 ขั้นตอน คือ 1. ศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูล 2. วิเคราะห์ระบบ 3. ออกแบบระบบ 4. พัฒนาระบบ 5. ทดสอบระบบ 3.1 ศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นการศึกษาความต้องการของผู้ใช้ที่ต้องการให้ระบบทำให้โดยมีองค์ประกอบการทำงาน ดังนี้ 3.1.1 การศึกษาระบบงานเดิม ในการออกข้อสอบของแต่ละสถาบันหรือหน่วยงานต่างๆจะให้ผู้สอนหรืออาจารย์เป็นผู้ออก ข้อสอบ อาจารย์จะทำการคิดข้อสอบแล้วทำการพิมพ์ข้อสอบลงในไฟล์เอกสารโดยผ่านโปรแกรม สำนักงาน จากนั้นจะทำการส่งโรเนียวหรือซีร๊อกส์ ข้อสอบออกมาเป็นชุดข้อสอบทางกระดาษ เพื่อ นำไปให้ผู้สอบใช้งาน โดยการกากบาท หรือวงกลมข้อที่ถูกต้องลงในกระดาษคำตอบ จากนั้น อาจารย์จะทำการตรวจข้อสอบเพื่อให้คะแนนแก่ผู้ทำสอบ เพื่อวัดความรู้ ความเข้าใจในการเรียน ในวิชานั้นๆ หลังจากนั้นอาจารย์จะทำการส่งข้อสอบไปเก็บไว้ในคลังข้อสอบเพื่อใช้สอบต่อไป ดัง แสดงในภาพ 3-1 ....... . .. ... .. . 1.. . . ... .. . 2. . ... .. ..... 5 . ... .. .. ... ... .. . .. .... ... .. .... ... . 3. . ... . 4. ........ . ภาพที่ 3-1 ขั้นตอนการใช้งานข้อสอบซึ่งเป็นเอกสาร 32 3.1.2 การกำหนดปัญหาของระบบเดิม จากการศึกษาระบบเดิมทำให้สามารถวิเคราะห์ปัญหาต่างๆได้ดังต่อไปนี้ 3.1.2.1 ข้อสอบรั่ว 3.1.2.2 ข้อสอบสูญหายระหว่างขนย้าย 3.1.2.3 ผู้สอนใช้เวลานานในการตรวจข้อสอบ 3.1.2.4 ผู้สอนอาจจะตรวจข้อสอบผิดเนื่องจากความล้า 3.1.2.5 เสียค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บข้อสอบเก่า 3.2 วิเคราะห์ระบบ หลังจากศึกษาระบบงานเดิมทำให้ทราบถึงปัญหาของของระบบงานเดิมแล้ว เราสามารถ วิเคราะห์ระบบและออกแบบระบบงานใหม่ โดยนำเทคนิคเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการ จัดการเข้ามาช่วยในการออกแบบระบบฐานข้อมูล และเอื้ออำนวยให้องค์กรประสบความสำเร็จใน การนำคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการประมวลผลข้อมูล และบริหารงาน (สมจิตร,2540:33) Laptop computer computer computer Laptop computer computer WebServer , DatabaseServer internet & intranet Database ......... ............. ....... ........ ........ ภาพที่ 3-2 แสดงภาพรวมของการจัดการและใช้งานคลังข้อสอบ 33 Database Server Client ..... SQL ...... .. ............. ... Network ภาพที่ 3-3 แสดงภาพรวมของการทำงานแบบ Client – Server จากภาพที่ 3-3 แสดงภาพการทำงานของระบบใหม่ที่เป็นแบบ Client–Server ซึ่ง Client สามารถจะเป็นใครก็ได้ เช่นผู้ทำสอบ อาจารย์ ผู้บริหาร หรือผู้บริหารระบบ (สมจิตร,2540 :34) โดยจะเข้ามาใช้งานผ่านระบบอินเตอร์เน็ต โดยข้อมูลทั้งหมดจะถูกเก็บอยู่ที่ฐานข้อมูลกลางบน เซิร์ฟเวอร์ ซึ่งจะทำให้เกิดความปลอดภัยในการใช้ข้อมูลและเกิดความบูรณาการของข้อมูล ทั้งนี้ ยังก่อให้เกิดความสะดวกและความรวดเร็วในการใช้งานมากกว่าระบบเดิม การพัฒนาระบบการจัดการและใช้งานคลังข้อสอบใช้แผนภาพกระแสข้อมูล (Data Flow Diagram) ในการวิเคราะห์ระบบแผนภาพกระแสข้อมูลเป็นความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการ ทำงานและกระแสข้อมูลที่ไหลเข้าและออก กระบวนการทำงานได้แบ่งออกเป็นระดับต่างๆ เริ่มต้น จากแผนภาพกระแสข้อมูลระบบสูงสุด (Context Diagram) แสดงเส้นทางของข้อมูลที่เข้าและ ออกจากแหล่งที่มีผลกระทบต่อระบบและแผนภาพกระแสข้อมูลระดับที่1 (Data Flow Diagram Level 1) แสดงกระบวนการทำงานหลักของระบบและข้อมูลที่เข้าและออกจากกระบวนการทำงาน ต่างๆ และจะแสดงรายละเอียดของกระบวนการทำงานต่างๆ ในแผนภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 1 แสดงกระบวนการทำงานหลักของระบบและข้อมูลที่เข้า ออกจากกระบวนการทำงานต่างๆ และ แสดงรายละเอียดของกระบวนการทำงานต่างๆ ในแผนภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 2 ระดับที่ 3 และระดับที่ 4 เพื่อแสดงให้เห็นการเข้าและออกของข้อมูลของการทำงานแต่ละ ส่วนในระบบโดย เส้นทางการไหลของข้อมูลแสดงตามลำดับของกระบวนการการทำงานดังแสดงในภาพ 3-4 แผนภาพกระแสข้อมูลระดับสูงสุด สามารถแสดงรายละเอียดในแต่ละส่วนย่อยลงไปเป็น แผนภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 1และ 2 เพื่อแสดงให้เห็นกระบวนการทำงาน การไหลของข้อมูล และผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในระบบงาน ดังแสดงในภาพ 3-5 34 ภาพที่ 3-4 แผนภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 0 (DFD–Level 0) ระบบการจัดการและใช้งานคลังข้อสอบ 35 ภาพที่ 3-5 แผนภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 1 (DFD - Level) ของการพัฒนาระบบการจัดการและใช้งานคลังข้อสอบ 36 การพัฒนาระบบการจัดการและใช้งานคลังข้อสอบแบ่งกระบวนการทำงานระบบออกเป็น 5 ส่วนหลักๆ คือ 3.2.1 การจัดการข้อมูล ผู้ทำสอบ อาจารย์และผู้บริหารเป็นการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการ บันทึก แก้ไข เรียกดูข้อมูลสามารถแสดงรายละเอียดของกระบวนการทำงานได้ดังแผนภาพกระแส ข้อมูลระดับที่ 2 และ 3 ดังภาพที่ 3-6 ถึง 3-9 ข้อมูลผู้บริหาร แฟ้มข้อมูลผู้ทำสอบ 2 3 แฟ้มข้อมูลผู้บริหาร 4 แฟ้มข้อมูลผู้บริหารระบบ 1 แฟ้มข้อมูลอาจารย์ ข้อมูลอาจารย์ ข้อมูลผู้ทำสอบ ข้อมูลผู้บริหาร ข้อมูลอาจารย์ ข้อมูลผู้บริหารระบบ ข้อมูลผู้ทำสอบ การจัดการข้อมูล ผู้ทำสอบ 1.1 การจัดการข้อมูล ผู้บริหาร 1.2 การจัดการข้อมูล อาจารย์ 1.3 การจัดการข้อมูล ผู้บริหารระบบ 1.4 11 แฟ้มข้อมูลสาขา 10 แฟ้มข้อมูลคณะ ข้อมูลรหัสคณะ ข้อมูลรหัสสาขา ข้อมูลผู้บริหารระบบ ภาพที่ 3-6 แผนภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 2 (DFD-Level2) จัดการข้อมูลผู้ใช้ ภาพที่ 3-7 แผนภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 3 (DFD-Level3) จัดการข้อมูลผู้ทำสอบ ข้อมูลผู้บริหาร 3 แฟ้มข้อมูลผู้บริหาร ข้อมูลผู้บริหาร ข้อมูลผู้บริหาร ข้อมูลผู้บริหาร การบันทึกข้อมูล 1.2.1 การเรียกดูข้อมูล 1.2.2 การแก้ไขข้อมูล 1.2.3 การลบข้อมูล 1.2.4 ภาพที่ 3-8 แผนภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 3 (DFD-Level3) จัดการข้อมูลผู้บริหาร 37 ภาพที่ 3-9 แผนภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 3 (DFD-Level3) จัดการข้อมูลอาจารย์ 3.2.2 การจัดการข้อมูลเบื้องต้นเป็นการทำงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลวิชา ประเภท หมวดของ วิชาและข้อมูลข้อสอบสามารถแสดงรายละเอียดของกระบวนการทำงานได้ดังภาพกระแสข้อมูล ระดับที่ 2 และ 3 (DFD-Level2,3) ดังแสดงในภาพที่ 3-10 ถึง 3-14 5 แฟ้มข้อมูลวิชา 6 แฟ้มข้อมูลประเภทวิชา 7 แฟ้มข้อมูลหมวดวิชา ข้อมูลวิชา ข้อมูลประเภทวิชา ข้อมูลหมวดวิชา ข้อมูลวิชา ข้อมูลประเภทวิชา ข้อมูลหมวดวิชา 8 แฟ้มข้อมูลคลังข้อสอบ ข้อมูลข้อสอบ การจัดการข้อมูล วิชา การจัดการข้อสอบ การจัดการข้อมูล ประเภทวิชา การจัดการข้อมูล หมวดวิชา ข้อมูลวิชา ข้อมูลหมวดวิชา ข้อมูลประเภทวิชา ข้อมูลอาจารย์ 2.1 2.2 2.3 2.4 ข้อมูลวิชา ข้อมูลวิชา ข้อมูลหมวดวิชา ข้อมูลวิชา ข้อมูลหมวดวิชา 9แฟ้มข้อมูลประวัติการทำสอบ ข้อมูลวิชาที่ถูกใช้งาน ข้อมูลหมวดวิชาที่ถูกใช้งาน ข้อมูลประเภทวิชาที่ถูกใช้งาน ระดับความยาก ภาพที่ 3-10 แผนภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 2 (DFD-Level2) การจัดการข้อมูลเบื้องต้น 38 ภาพที่ 3-11 แผนภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 3 (DFD-Level3) การจัดการข้อมูลวิชา ภาพที่ 3-12 แผนภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 3 (DFD-Level3) การจัดการข้อมูลหมวดวิชา ภาพที่ 3-13 แผนภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 3 (DFD-Level3) การจัดการข้อมูลประเภทวิชา 39 ภาพที่ 3-14 แผนภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 3 (DFD-Level3) การจัดการข้อมูลข้อสอบ ในกระบวนการสร้างข้อสอบ อาจารย์จะเป็นผู้บันทึกข้อสอบลงระบบโดยการบันทึกข้อสอบ นั้นอาจารย์จะสามารถบันทึกข้อสอบได้เฉพาะของวิชาที่ตนเองมีการสอนอยู่เท่านั้นโดยขั้นตอนการ บันทึกอาจารย์จะต้องเลือกวิชา หมวด และประเภทของวิชาที่ต้องการบันทึกข้อสอบลงไปเสียก่อน หลังจากนั้นทำการบันทึกข้อสอบได้ตามจำนวนที่ต้องการ อาจารย์สามารถเรียกดู แก้ไข และลบ ข้อสอบที่ตนเองบันทึกลงไปได้ 3.2.3 การล๊อกอินเข้าใช้ระบบเป็นกระบวนล๊อกอิน เพื่อเข้าใช้งานระบบซึ่งแต่จะเป็นการ ทำงานออกเป็นกลุ่มของผู้ใช้งานสามารถแสดงรายละเอียดของกระบวนการทำงานได้ดังภาพ กระแสข้อมูลระดับที่ 2 (DFD-Level2) ดังภาพที่ 3-15 แฟ้มข้อมูลผู้ทำสอบ 2 3 แฟ้มข้อมูลผู้บริหาร 1 แฟ้มข้อมูลอาจารย์ การล๊อคอินสำหรับ ผู้ทำสอบ การล๊อคอินสำหรับ ผู้บริหาร การล๊อคอินสำหรับ อาจารย์ 4 แฟ้มข้อมูลผู้บริหารระบบ การล๊อคอินสำหรับ ผู้บริหารระบบ ข้อมูลการล็อคอิน ข้อมูลสำหรับผู้ทำสอบ ข้อมูลการล็อคอิน ข้อมูลสำหรับผู้ทำสอบข้อมูลการล็อคอินข้อมูลสำหรับผู้ทำสอบ ข้อมูลการล็อคอิน ข้อมูลสำหรับผู้ทำสอบ 3.1 3.2 3.3 3.4 12 แฟ้มข้อมูลการเข้าใช้งาน ภาพที่ 3-15 แผนภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 2 (DFD-Level2) การล๊อกอินเข้าใช้ระบบ 40 ในกระบวนการล๊อกอินของแต่ละกลุ่มผู้ใช้งาน ระบบนี้ได้แต่กลุ่มผู้ใช้งานออกเป็น 4 กลุ่ม คือ ผู้สอบ อาจารย์ ผู้บริหาร และผู้บริหารระบบ ซึ่งแต่ละกลุ่มจะเห็นหน้าจอการทำงานที่แตกต่าง กันทั้งนี้เพื่อเป็นการแบ่งระดับการทำงานของแต่ละกลุ่ม 3.2.4 การทำสอบ เป็นกระบวนการดำเนินการสอบของผู้ทำสอบโดยผู้ทำสอบต้องทำการ ล๊อกอินเข้าระบบก่อนแล้วจึงเลือก วิชา หมวดและประเภทของวิชาที่ต้องการสอบ ทั้งนี้ผู้ทำสอบยัง สามารถเลือกระดับความยากของข้อสอบเองได้ หรือจะให้ระบบเป็นคนเลือกระดับความยากให้ก็ ได้ เมื่อทำสอบเสร็จผู้ทำสอบจะทราบคะแนนได้ทันที สามารถแสดงรายละเอียดของกระบวนการ ทำงานได้ดังภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 2 (DFD-Level2) ดังภาพที่ 3-16 ตรวจสอบประวัติ การทำสอบ 4.2 ทำการสุ่มข้อสอบ 4.3 ตรวจการทำสอบ 4.5 ทำข้อสอบ 4.4 กรอกข้อมูลเบื้องต้น ที่ต้องการสอบ 4.1 5 แฟ้มข้อมูลวิชา 6แฟ้มข้อมูลประเภทวิชา 7แฟ้มข้อมูลหมวดวิชา 8 แฟ้มข้อมูลคลังข้อสอบ 9แฟ้มข้อมูลประวัติการทำสอบ ข้อมูลประวัติการสอบ ข้อมูลรหัสวิชา ข้อมูลรหัสประเภท ข้อมูลรหัสหมวด ข้อมูลระดับความยาก ข้อมูลผลการสอบ ข้อมูลระดับความยาก ข้อมูลเบื้องต้น ข้อมูลการสอบ ข้อมูลชุดข้อสอบ 8แฟ้มข้อมูลคลังข้อสอบ 9แฟ้มข้อมูลประวัติการทำสอบ ข้อมูลข้อสอบที่ทำครั้งก่อน ข้อมูลลำดับการทำสอบ ข้อมูลข้อสอบ ข้อมูลข้อสอบ ข้อมูลผลการสอบ ภาพที่ 3-16 แผนภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 2 (DFD-Level2) การทำสอบ ในกระบวนการนี้ผู้ทำสอบต้องทำการระบุรหัสวิชาหมวดและประเภทของวิชาที่ต้องการสอบ ทั้งนี้สามารถเลือกระดับความยากได้เองหรือว่าจะให้ระบบเลือกให้ก็ได้หลังจากนั้นระบบจะทำการ ตรวจประวัติการทำข้อสอบของผู้สอบ เพื่อที่จะทำการสุ่มข้อสอบออกมาเพื่อไม่ให้ซ้ำกับ 3 ครั้ง ล่าสุดที่ทำการสอบมาเมื่อผู้สอบทำข้อสอบเสร็จแล้วระบบจะทำการตรวจข้อสอบให้โดยอัตโนมัติ โดยผู้สอบสามารถทราบผลการสอบได้ทันทีทันใด 3.2.5 การจัดการคลังข้อสอบเป็นการจัดการควบคุมจำนวนข้อมูลที่ถูกใช้งานในคลังข้อสอบ ดังแสดงรายละเอียดของกระบวนการทำงานได้ดังภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 2 (DFD-Level2) ดังภาพที่ 3-17 ในกระบวนการจัดทำขึ้นเพื่อป้องกันการเต็มของคลังประวัติการสอบของผู้สอบ ทั้งนี้ ผู้บริหารระบบเท่านั้นที่มีสิทธิ์สามารถจัดการการทำงานตรงส่วนนี้ได้ โดยทำการกำหนดเงื่อนไข ในการลบข้อมูล 41 แฟ้มข้อมูลประวัติการทำสอบ ข้อมูลคลังข้อสอบ ข้อมูลที่ต้องการลบ ข้อมูลวิชา การกำหนดเงื่อนไข เบื้องต้น การลบข้อมูลในคลัง ข้อสอบ 5.1 5.2 ข้อมูลเงื่อนไขการลบข้อมูล ข้อมูลประเภทวิชา ข้อมูลเงื่อนไขการลบ ข้อมูลหมวดวิชา 9 ภาพที่ 3-17 แผนภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 2 (DFD-Level2) การจัดการคลังข้อสอบ 3.2.6 การจัดการด้านรายงานเป็นกระบวนการดำเนินการเรื่องการทำรายงาน เพื่อให้ผู้สอบ อาจารย์ ผู้บริหารและผู้บริหารระบบได้นำไปใช้เพื่อช่วยในการตัดสินใจและประเมินความสามารถ ดังแสดงรายละเอียดของกระบวนการทำงานได้ดังภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 2 (DFD-Level2) ดังภาพที่ 3-18 ข้อมูลรายงานการใช้งานระบบ ข้อมูลรายงานการใช้งานระบบ ข้อมูลรายงานการทำสอบ ข้อมูลรายงานประวัติการสอบ ข้อมูลรายงานการใช้ข้อสอบ ข้อมูลรายงานค่าสถิติรายวิชา รายงานการใช้งาน คลังข้อสอบ รายงานการใช้งาน ระบบ รายงานผลคะแนน รายงานการใช้งาน ข้อสอบ รายงานค่าสถิติของ ข้อสอบ 9แฟ้มข้อมูลประวัติการทำสอบ 8 แฟ้มข้อมูลคลังข้อสอบ 12แฟ้มข้อมูลการเข้าใช้งาน ข้อมูลรายงานประวัติการสอบ 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5 ข้อมูลรายงานประวัติการสอบ ข้อมูลข้อสอบ ภาพที่ 3-18 แผนภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 2 (DFD-Level2) การจัดการด้านรายงาน 3.3 การออกแบบระบบ หลังจากเราทำการวิเคราะห์ระบบโดยใช้แผนภาพกระแสข้อมูลในขั้นตอนของการออกแบบ เราก็นำแผนภาพกระแสข้อมูลทั้งหมดมาแปลงเป็นโครงสร้างแบบลำดับขั้น (Hierachy) ที่เรียกว่า ผังงานโครงสร้าง (Structure Chart) เทคนิคในการแสดงความสัมพันธ์ว่าระบบมีความสัมพันธ์กับ Entity อะไรบ้างนั้นจะใช้ เทคนิคที่เรียกว่า Entity Relationship Diagram ซึ่งของระบบการจัดการและใช้งานคลังข้อสอบ สามารถแสดงได้ดังภาพที่ 3-19 บทที่ 4 ผลการดำเนินงาน 4.1 ผลการพัฒนาระบบ 4.1.1 ผลการดำเนินงานของโปรแกรม หลังจากเสร็จขั้นตอนการออกแบบและขั้นตอนการ พัฒนาผู้จัดโครงงานจะขอยกตัวอย่างผลการดำเนินงานในระบบการจัดการและใช้งานคลังข้อสอบ กรณีศึกษาวิชาความรู้ความสามารถทั่วไปซึ่งได้แบ่งออกเป็น2ส่วนการใช้งานคือส่วนการจัดการ ข้อสอบและส่วนการใช้งานข้อสอบ ในการเข้าใช้งานผู้ใช้สามารถล็อกอินดังภาพที่ 4-1 ภาพที่ 4-1 แสดงหน้าหลักในการเข้าใช้งานระบบ กรณีที่ผู้ใช้ยังไม่เคยเข้าใช้งานมาก่อนสามารถลงทะเบียนเพื่อเข้าใช้งานได้ โดยระบบจะทำการตรวจสอบรหัสบัตรประชนของผู้ใช้ในการลงทะเบียนเพื่อป้องกันการเก็บข้อมูลซ้ำซ้อน ดัง ภาพที่ 4-2 หลังจากที่ผู้ทำสอบทำการล๊อกอินเพื่อเข้าใช้งานแล้ว ระบบจะปรากฏข้อมูลในส่วนของผู้ทำสอบให้เห็นดังภาพที่ 4-3 ซึ่งผู้ทำสอบสามารถดูและแก้ไขรายละเอียดการลงทะเบียน ของตนเอง สามารถดูประวัติการสอบย้อนหลังได้ และสามารถใช้งานคลังข้อสอบโดยเลือกการทดสอบได้ ภาพที่ 4-2 แสดงหน้าจอในการลงทะเบียนเข้าใช้งานของผู้ทำสอบ 65 ภาพที่ 4-3 แสดงหน้าจอหลักของผู้ทำสอบ เมื่อผู้ทำสอบทำการเลือกการทดสอบสามารถเลือกที่เมนู ทดสอบ เพื่อเข้าสอบโดยผู้ทำสอบ สามารถเลือกระดับความยากของวิชาที่จะทดสอบด้วยตนเอง หรือว่าจะให้ระบบทำการเลือกให้ก็ ได้ดังแสดงในภาพที่ 4-4 ถึง 4-9 66 ภาพที่ 4-4 แสดงหน้าจอการทดสอบแบบให้ระบบเลือกระดับความยากให้ ภาพที่ 4-5 แสดงหน้าจอการทดสอบแบบเลือกระดับความยากด้วยตนเอง ภาพที่ 4-6 แสดงหน้าจอชุดข้อสอบ 67 ภาพที่ 4-7 แสดงหน้าจอแสดงผลการทดสอบ ภาพที่ 4-8 แสดงหน้าจอแสดงประวัติผลการทดสอบ 68 ภาพที่ 4-9 แสดงหน้าจอแสดงรายละเอียดประวัติผลการทดสอบ 4.1.2 ผลการทดสอบการดำเนินงานของโปรแกรม ส่วนการใช้งานข้อสอบ ผู้จัดทำโครงงาน ได้ทำการทดสอบพร้อมบันทึกผลการทดสอบการทำงานของโปรแกรม ซึ่งได้ผลการทดสอบดังนี้ ตารางที่4-1 ตารางบันทึกผลการทดสอบระบบการจัดการและใช้งานคลังข้อสอบส่วนการใช้งาน กรณีทดสอบ ตัวอย่างข้อมูล ผลการทดสอบที่ คาดว่าจะได้รับ ผลการ ทดสอบ การลงทะเบียนเข้าใช้งาน 1. ป้อนรหัสบัตรประชาชน ที่มีอยู่แล้ว รหัสบัตรประชาชน : 3101401476141 ชื่อผู้ใช้งาน : พจมาลย์ .. .. 2. ไม่ป้อนรหัสผ่าน รหัสผ่าน : “ ” .. .. 3. ไม่ป้อนชื่อล๊อกอิน ล๊อกอิน : “ ” .. .. 4. ป้อนชื่อ นามสกุลผู้ใช้ ชื่อ : “ปฐมวัชร์” นามสกุล : “ศุภจรรยารักษ์” .. .. 5. ป้อนรหัสผ่านไม่ตรงกับ รหัสผ่าน : “XXXX” .. .. 69 ยืนยันรหัสผ่าน ยืนยันรหัสผ่าน : “YYYY” การทำสอบ 1. ไม่เลือกรหัสวิชา รหัสวิชา : “ ” .. .. 2. ไม่เลือกรหัสหมวดวิชา รหัสหมวด : “ ” .. .. หมายเหตุ เครื่องหมาย .. หมายถึง ระบบสามารถปฏิบัติงานได้ .. หมายถึง ระบบไม่สามารถปฏิบัติงานได้ ในส่วนการจัดการคลังข้อสอบ อาจารย์และผู้บริหารระบบจะสามารถเข้าใช้งานในส่วนนี้โดย จะต้องทำการล๊อกอินของอาจารย์และผู้บริหารระบบ ในการใช้งานคลังข้อสอบ อาจารย์สามารถทำการเพิ่มวิชา หมวด และประเภทของวิชาเองได้ หลังจากที่เพิ่มวิชาแล้วจึงสามารถเพิ่มข้อสอบลง ในระบบได้ ทั้งนี้ยังสามารถดูข้อมูลสรุปการทำข้อสอบของผู้ทดสอบได้ด้วย ภาพที่ 4-10 แสดงหน้าจอหลักการเข้าใช้งานของอาจารย์ 70 ภาพที่ 4-11 แสดงหน้าจอแสดงการเพิ่มวิชา ภาพที่ 4-12 แสดงหน้าจอแสดงการเพิ่มข้อสอบ 71 ภาพที่ 4-13 แสดงหน้าจอแสดงรายงานการใช้งานข้อสอบ ภาพที่ 4-14 แสดงหน้าจอแสดงรายงานการใช้งานชุดข้อสอบ 72 ภาพที่ 4-15 แสดงหน้าจอแสดงรายละเอียดการใช้งานชุดข้อสอบ 4.1.3 ผลการทดสอบการดำเนินงานของโปรแกรม ส่วนการจัดการข้อสอบผู้จัดทำโครงงาน ได้ทำการทดสอบพร้อมบันทึกผลการทดสอบการทำงานของโปรแกรม ซึ่งได้ผลการทดสอบดังนี้ ตารางที่4-2 ตารางบันทึกผลการทดสอบระบบการจัดการและใช้งานคลังข้อสอบส่วนการจัดการ ข้อสอบ กรณีทดสอบ ตัวอย่างข้อมูล ผลการ ทดสอบที่คาด ว่าจะได้รับ ผลการ ทดสอบ การลงทะเบียนเข้าใช้งาน 1. ใส่ล๊อกอินของผู้ทำสอบ ล๊อกอิน : Student .. .. 2. ใส่ล๊อกอินของอาจารย์ ระบบ แสดงหน้าจอหลักของอาจารย์ ล๊อกอิน : Teacher .. .. การจัดการคลังข้อสอบ 1. ลบวิชาที่ถูกใช้งานไปแล้ว รหัสวิชา : 45100 .. .. 2. ใส่ระดับความยากเป็น ระดับความยาก : R .. .. 73 ตัวอักษร 3. ลบข้อสอบที่ถูกใช้งานแล้ว .. .. 4. เพิ่มวิชาที่มีอยู่ในฐานข้อมูล รหัสวิชา : 45100 .. .. 5.เพิ่มหมวดวิชาภายใต้รหัสวิชา ที่ต้องการ รหัสวิชา : 45100 หมวดวิชา : 01 .. .. 6. สามารถดูข้อมูลตนเองได้ .. .. หมายเหตุ เครื่องหมาย .. หมายถึง ระบบสามารถปฏิบัติงานได้ .. หมายถึง ระบบไม่สามารถปฏิบัติงานได้ 4.2 ผลการทดสอบประสิทธิภาพของโปรแกรม การทดสอบระบบในส่วนนี้ได้นำข้อมูลมาจากแบบประเมินประสิทธิภาพโปรแกรม คอมพิวเตอร์ ระบบการจัดการและใช้งานคลังข้อสอบ ที่ได้ให้ผู้เชี่ยวชาญทำการทดสอบโปรแกรม ซึ่งจะมีการประเมินประสิทธิภาพของโปรแกรม ดังนี้ 1. การประเมินด้านการติดต่อระหว่างระบบกับผู้ใช้ 2. การประเมินด้านการประมวลผลของระบบ 3. การประเมินด้านผลลัพธ์ที่ได้จากระบบ 4. การประเมินด้านการตรวจสอบข้อผิดพลาดของข้อมูลที่ป้อนเข้าสู่ระบบ 5. การประเมินด้านความสามารถของระบบตรงต่อความต้องการของผู้ใช้ แต่ละการทดสอบนั้นจะมีการกำหนดเกณฑ์การให้คะแนนออกเป็น 2 เกณฑ์ คือเกณฑ์ การให้คะแนนเชิงคุณภาพและเกณฑ์การให้คะแนนเชิงปริมาณ ซึ่งในเกณฑ์การให้คะแนนเชิง คุณภาพและเชิงปริมาณนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ระดับคือ ดีมาก ดี พอใช้ ปรับปรุง และไม่ เหมาะสม 4.3 ผลการประเมินประสิทธิภาพของโปรแกรม ผลการประเมินหาประสิทธิภาพของระบบการจัดการและใช้งานคลังข้อสอบ กรณีศึกษาวิชา ความรู้ความสามารถทั่วไป แสดงค่าเฉลี่ยในเชิงปริมาณและค่าเฉลี่ยในเชิงคุณภาพจากกลุ่ม ผู้เชี่ยวชาญและกลุ่มผู้ใช้งานทั่วไปอย่างละ 1 กลุ่ม ดังต่อไปนี้ 1 กลุ่มผู้ใช้งานทั่วไป ผลของการประเมินประสิทธิภาพของโปรแกรม แสดงในตาราง ดังต่อไปนี้ ตารางที่ 4-3 ผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบการจัดการและใช้งานคลังข้อสอบ กรณีศึกษา วิชาความรู้ความสามารถทั่วไป กลุ่มผู้ใช้ทั่วไป 74 รายการประเมิน X S เชิงคุณภาพ การประเมินด้านการติดต่อระหว่างระบบกับผู้ใช้ 1. การแบ่งเมนูของระบบสามารถเข้าใจได้ง่าย 4.7 0.483 ดีมาก 2. คำอธิบายและปุ่มมีความง่ายต่อความเข้าใจ 4.2 0.422 ดี 3. ความสวยงามของการแสดงผลของระบบ 4.3 0.483 ดี 4. ความสามารถของระบบที่มีข้อความบอกการทำงานของ ระบบ 4.4 0.516 ดี 5. สามารถใช้งานสะดวก 4.5 0.527 ดี การประเมินด้านการประมวลผลของระบบ 6. สามารถประมวลผลด้านการคำนวณได้รวดเร็ว 4.1 0.316 ดี 7. สามารถเรียกดูข้อมูลที่รวดเร็ว 4.6 0.516 ดีมาก 8. สามารถค้นหาข้อมูลที่รวดเร็ว 4.8 0.422 ดีมาก 9. สามารถเรียกข้อมูลข้อสอบที่รวดเร็ว 3.9 0.316 ดี 10. ความสามารถในการเรียกข้อมูลวิชา หมวด ประเภท วิชา ที่มีความสัมพันธ์กัน 4.1 0.738 ดี ตารางที่ 4-3 ผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบการจัดการและใช้งานคลังข้อสอบ กรณีศึกษา วิชาความรู้ความสามารถทั่วไป กลุ่มผู้ใช้ทั่วไป (ต่อ) รายการประเมิน X S เชิงคุณภาพ การประเมินด้านการตรวจสอบข้อผิดพลาดของข้อมูลที่ป้อนเข้าสู่ระบบ 11. ความสามารถของระบบในการเรียกค้นประวัติการสอบ ที่รวดเร็ว 4.5 0.527 ดี 12. ระบบสามารถตรวจสอบการป้อนข้อมูลที่ถูกต้อง 4.7 0.483 ดีมาก 13. ระบบมีการแจ้งข้อความเตือนเมื่อเกิดความผิดพลาด ในการป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบ 4.1 0.316 ดี 14. ระบบสามารถแจ้งเตือน เมื่อกรอกข้อมูลไม่ครบ 4.2 0.422 ดี การประเมินด้านความสามารถของระบบตรงต่อความต้องการของผู้ใช้ 15. โปรแกรมสามารถจัดทำฐานข้อมูลสำหรับจัดเก็บข้อมูล ต่างๆที่ใช้งาน 4.9 0.316 ดีมาก 16. โปรแกรมสามารถวิเคราะห์ข้อสอบได้ถูกต้อง 4.0 0.471 ดี 17. โปรแกรมสามารถคำนวณข้อมูลทางสถิติที่ถูกต้อง 4.1 0.738 ดี 75 18. โปรแกรมสามารถจัดการข้อสอบได้ 4.3 0.483 ดี 19. โปรแกรมสามารถจัดทำข้อสอบออนไลน์ได้ 4.5 0.527 ดี 20. ระบบสามารถจัดเก็บข้อสอบไว้ในคลังข้อสอบได้ 4.4 0.516 ดี 21. ระบบสามารถจัดเก็บประวัติการสอบของผู้ทำสอบได้ 5.0 0.000 ดีมาก 22. โปรแกรมสามารถจัดการกับฐานข้อมูลการใช้งานได้ 4.2 0.422 ดี 23. โปรแกรมสามารถตรวจข้อสอบอย่างอัตโนมัติได้ ถูกต้อง 4.1 0.316 ดี สรุปประสิทธิภาพของโปรแกรมกลุ่มผู้ใช้งานทั่วไป 4.3 0.2517 ดี การทดสอบสมมุติฐานของการประเมินของผู้ใช้ทั่วไป สมมติฐาน 0 H : คะแนนเฉลี่ยจากการประเมินอยู่ในระดับตั้งแต่ดีขึ้นไป (u >= 3.51) สมมติฐาน 1 H : คะแนนเฉลี่ยจากการประเมินอยู่ในระดับดี (u < t =" 0.2517" t =" 9.925" df =" n-1" df =" n" 1 =" 10" 1 =" 9,t"> t ตาราง ยอมรับ 0 H แสดงว่าการประเมินอยู่ในระดับดี 2 กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ผลการประเมินหาประสิทธิภาพของโปรแกรมแสดงในตารางดังต่อไปนี้ ตารางที่ 4-4 ผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบการจัดการและใช้งานคลังข้อสอบ กรณีศึกษา วิชาความรู้ความสามารถทั่วไป กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ รายการประเมิน X S เชิงคุณภาพ การประเมินด้านการติดต่อระหว่างระบบกับผู้ใช้ 1. การแบ่งเมนูของระบบสามารถเข้าใจได้ง่าย 4.1 0.641 ดี 2. คำอธิบายและปุ่มมีความง่ายต่อความเข้าใจ 4.3 0.707 ดี 3. ความสวยงามของการแสดงผลของระบบ 4.4 0.518 ดี 76 4. ความสามารถของระบบที่มีข้อความบอกการทำงานของ ระบบ 4.3 0.707 ดี 5. สามารถใช้งานสะดวก 4.1 0.641 ดี การประเมินด้านการประมวลผลของระบบ 6. สามารถประมวลผลด้านการคำนวณได้รวดเร็ว 4.0 0.000 ดี 7. สามารถเรียกดูข้อมูลที่รวดเร็ว 4.3 0.463 ดี 8. สามารถค้นหาข้อมูลที่รวดเร็ว 4.0 0.000 ดี 9. สามารถเพิ่ม ลบ แก้ไข ข้อมูลที่รวดเร็ว 4.1 0.354 ดี 10. ความสามารถของระบบในการแก้ไขข้อมูล วิชา หมวด และประเภทของวิชา ในระบบ 4.3 0.463 ดี 11. ความสามารถของระบบในการเพิ่ม แก้ไข ลบ และ เรียกดูข้อมูลข้อสอบ 4.5 0.535 ดี 12. สามารถเรียกดูข้อมูลรายงานต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว 4.1 0.641 ดี การประเมินด้านผลลัพธ์ที่ได้จากระบบ 13. ผลลัพธ์ที่ได้มีความถูกต้อง 4.0 0.756 ดี ตารางที่ 4-4 ผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบการจัดการและใช้งานคลังข้อสอบ กรณีศึกษาวิชาความรู้ความสามารถทั่วไป กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ (ต่อ) รายการประเมิน X S เชิงคุณภาพ 14. ผลลัพธ์ที่ได้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ 4.0 0.756 ดี 15. ผลลัพธ์ที่ได้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ 4.1 0.641 ดี การประเมินด้านการตรวจสอบข้อผิดพลาดของข้อมูลที่ป้อนเข้าสู่ระบบ 17. ระบบสามารถตรวจสอบการป้อนข้อมูลที่ถูกต้อง 4.1 0.835 ดี 18. ระบบมีการแจ้งข้อความเตือนเมื่อเกิดความผิดพลาด ในการป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบ 4.4 0.744 ดี 19. โปรแกรมป้องกันการป้อนข้อมูลที่ผิดพลาดได้ 4.0 0.000 ดี การประเมินด้านความสามารถของระบบตรงต่อความต้องการของผู้ใช้ 20. โปรแกรมสามารถจัดทำฐานข้อมูลสำหรับจัดเก็บข้อมูล ต่างๆ ที่ใช้งาน 4.3 0.707 ดี 21. โปรแกรมสามารถทำการวิเคราะห์ข้อสอบได้ ถูกต้อง 4.1 0.641 ดี 22. โปรแกรมสามารถทำการคำนวณข้อมูลทางสถิติที่ ถูกต้อง 4.1 0.835 ดี 77 23. โปรแกรมสามารถค้นหา ลบ แก้ไข ข้อมูลต่างๆที่ใช้ งานได้ 4.3 0.707 ดี 24. โปรแกรมสามารถจัดการข้อสอบได้ 4.0 0.535 ดี 25. โปรแกรมสามารถจัดทำข้อสอบออนไลน์ได้ 4.3 0.707 ดี 26. ระบบสามารถจัดเก็บข้อสอบไว้ในคลังข้อสอบได้ 4.4 0.744 ดี 27.ระบบสามารถจัดเก็บประวัติการสอบของผู้ทำสอบได้ 4.5 0.535 ดี 28. โปรแกรมสามารถจัดการกับฐานข้อมูลการใช้งาน 4.4 0.744 ดี 29. โปรแกรมสามารถแบ่งสิทธิการทำงานของผู้ใช้ได้ 4.3 0.707 ดี 30. โปรแกรมสามารถจัดการด้านความปลอดภัยของการ เข้าถึงข้อมูล 4.4 0.518 ดี 31. โปรแกรมสามารถจัดเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานระบบได้ 4.4 0.535 ดี สรุปประสิทธิภาพของโปรแกรมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ 4.2 0.208 ดี การทดสอบสมมุติฐานของการประเมินของผู้เชี่ยวชาญ สมมติฐาน 0 H : คะแนนเฉลี่ยจากการประเมินอยู่ในระดับตั้งแต่ดีขึ้นไป (u >= 3.51) สมมติฐาน 1 H : คะแนนเฉลี่ยจากการประเมินอยู่ในระดับดี (u < t =" 0.208" t =" 9.383" df =" n-1" df =" n" 1 =" 8" 1 =" 7,t"> t ตาราง ยอมรับ 0 H แสดงว่าการประเมินอยู่ในระดับดี บทที่ 5 สรุปผลการทำงานของระบบ และข้อเสนอแนะ 5.1 สรุปผลการจัดทำโครงงาน ในการจัดทำระบบการจัดการและใช้งานคลังข้อสอบ กรณีศึกษาวิชาความรู้ความสามารถ ทั่วไป เน้นสนับสนุนกระตุ้นให้สังคมเกิดความตื่นตัว สนใจทางด้านการทดสอบแบบออนไลน์มาก ขึ้น โดยเฉพาะสถาบันการศึกษา ได้มีการจัดทำสอบเพื่อสอบเข้าหรือทดสอบเพื่อประเมินความรู้ ความสามารถในการเรียน โดยในโครงงานนี้ก็ได้มีการจัดทำการทดสอบแบบออนไลน์เพื่อ สนับสนุนการทำสอบพร้อมๆกันได้หลายคนได้อีกด้วย สำหรับส่วนการจัดการคลังข้อสอบรวมถึง การรายงานผลการทำสอบ การใช้งานคลังข้อสอบ ยังเอื้อความสะดวกในการใช้งานของอาจารย์ใน การจัดการคลังข้อสอบได้แบบออนไลน์ได้อีกด้วย ซึ่งโครงงานทั้งหมดสามารถสรุปผลการจัดทำแบ่งเป็นหัวข้อต่างๆ ได้ดังนี้ 1. ผู้ทำสอบ นักศึกษา หรือ บุคคลทั่วไปสามารถทำแบบทดสอบวิชาความรู้ความสามารถ ทั่วไปออนไลน์ผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้ 2. ผู้ทำสอบ นักศึกษา หรือบุคคลทั่วไปสามารถลงทะเบียนผ่านเว็บเพื่อเข้าใช้งานได้ 3. ผู้ทำสอบ นักศึกษา หรือบุคคลทั่วไปสามารถเรียกดูประวัติการทำสอบแบบออนไลน์ได้ 4. มีการใช้ระบบรักษาความปลอดภัยโดยใช้ User name และ password ในการลง ทะเบียนเพื่อใช้งานระบบ 5. ผู้ทำสอบ นักศึกษาหรือบุคคลทั่วไปสามารถตรวจสอบผลการสอบได้อย่างอัตโนมัติ 6. ผู้ทำสอบสามารถ เลือกวิชา และระดับความยากที่ต้องการได้ 7. สามารถนำข้อมูลมาทำสถิติของการทำสอบได้ 8. สามารถบันทึกวิชา และข้อสอบใหม่ได้ 9. สามารถจัดการลบข้อมูลการทำสอบในฐานข้อมูลได้ จากผลการประเมินประสิทธิภาพ ระบบการจัดการและใช้งานคลังข้อสอบของผู้ใช้งานทั่วไป สามารถสรุปได้ว่า ด้านการติดต่อระหว่างระบบกับผู้ใช้ ด้านการประมวลผลของระบบ ด้านการ ตรวจสอบข้อผิดพลาดของข้อมูลที่ป้อนเข้าสู่ระบบและด้านความตรงต่อความต้องการของผู้ใช้โดย ทุกด้านมีการประเมินเชิงคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ระดับดี ส่วนการประเมินประสิทธิภาพของระบบ การจัดการและใช้งานคลังข้อสอบของผู้เชี่ยวชาญ สามารถสรุปได้ว่า ด้านการติดต่อระหว่างระบบ กับผู้ใช้ ด้านการประมวลผลของระบบ ด้านผลลัพธ์ที่ได้จากระบบ ด้านการตรวจสอบข้อผิดพลาด 80 ของข้อมูลที่ป้อนเข้าสู่ระบบและด้านความตรงต่อความต้องการของผู้ใช้ โดยทุกด้านมีการประเมิน เชิงคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดีเช่นกัน 5.2 สรุปปัญหาในการจัดทำโครงงาน 1. การสรรหาและคัดเลือกวิธีการที่เหมาะสม ที่ได้นำมาใช้ในการพัฒนาโปรแกรมให้ได้ ตามวัตถุประสงค์ และขอบเขตที่กำหนดไว้ ผู้จัดทำโครงงานได้ทำการศึกษา และทดลองทำระบบ ต้นแบบขึ้น เพื่อทดสอบการทำงานอย่างคร่าว ๆ 2. การสุ่มข้อสอบของระบบยังมีข้อจำกัดของจำนวนข้อสอบที่ต้องมีมากกว่า 2 เท่าของ จำนวนข้อสอบที่จะแสดง 5.3 ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาในอนาคต 1. ยังคงมีงานบางส่วนยังไม่ครอบคลุม เช่นการจับเวลาในการข้อทำสอบ การนำเสนอ โจทย์ข้อสอบแบบรูปภาพ ที่ควรจะต้องทำการพัฒนาต่อไป 2. พัฒนาระบบโดยไม่จำกัดอยู่กับอุปกรณ์ในแสดงผลการใช้งาน เช่น ปาล์ม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น