วันเสาร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2552

การพัฒนาระบบการลงทะเบียนอบรมผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต



บทที่ 1 บทนำ 1.1กกความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา เนื่องจากปัจจุบันการอบรมเพื่อการพัฒนาความรู้เป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับการพัฒนา ประเทศ การพัฒนาการอบรมไม่ได้จำกัดแค่บุคคลในภาครัฐ ภาคธุรกิจแต่รวมไปถึง บุคคลที่สนใจ ทั่วไปเช่น พนักงานในสำนักงาน ข้าราชการ พนักงานที่ถูกเลิกจ้าง นักศึกษาจบใหม่ ซึ่งบุคคลเหล่านี้ อาจจะขาดความชำนาญในด้านการปฏิบัติ หรืออาจขาดความชำนาญเฉพาะด้าน ดังนั้นการอบรม เกี่ยวกับความชำนาญเฉพาะด้าน จึงมีส่วนสำคัญมากในการพัฒนาความรู้ของบุคคลเหล่านั้นให้ดี ยิ่งขึ้น เพื่อที่จะได้นำความรู้เหล่านั้นมาใช้ในการทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ปัญหาที่พบ ในการลงทะเบียนอบรมก็คือ ผู้ที่สนใจการอบรมต้องเข้ามาลงทะเบียนและเข้ามาดูหลักสูตรกับ ทางสถาบันที่อบรมเองและผู้ที่เข้าอบรมต้องกรอกแบบฟอร์มประวัติของผู้อบรมที่สถาบันทำให้ต้อง สูญเสียเวลาในการทำงานและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง อีกทั้งทางสถาบันอบรมยังจะต้องจัดเตรียม เจ้าหน้าที่ไว้สำหรับการให้บริการทางด้านลงทะเบียนและการให้ข้อมูลคำแนะนำการทะเบียน ให้กับผู้ลงทะเบียน ผู้จัดทำสารนิพนธ์จึงได้เสนอสารนิพนธ์นี้ เพื่อพัฒนาระบบการลงทะเบียนอบรมผ่านระบบ เครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อให้ผู้ที่สนใจอบรมสามารถเข้าไปค้นหาหลักสูตร ดูรายละเอียดในการ อบรม และทำการเลือกหลักสูตรที่ต้องการ ซึ่งสามารถคำนวณค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ได้ อีกทั้งยัง สามารถเลือกวิธีการชำระเงิน ซึ่งการลงทะเบียนสามารถลงทะเบียนผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้นั้น ทำให้ผู้ที่ต้องการลงทะเบียนสามารถทำการลงทะเบียนตามสถานที่ใดก็ได้ที่มีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อ กับ เครือข่ายอินเตอร์เน็ต สารนิพนธ์นี้จะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานฝึกอบรมและจะอำนวย ความสะดวกให้กับบุคคลที่ต้องการเข้าร่วมการอบรม 1.2กกวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนา ระบบการลงทะเบียนอบรมผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต 1.3กกสมมุติฐาน ระบบการลงทะเบียนอบรมผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้รับการการประเมินประสิทธิภาพใน ระดับดี 2 1.4กกขอบเขตสารนิพนธ์ 1.4.1กกในการพัฒนาระบบการลงทะเบียนอบรมผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตจะใช้เครือข่าย อินเตอร์เน็ตในการทำงานโดยใช้โปรแกรม Web Browser ในการเรียกดูเอกสาร ซึ่งจะส่วน ต่าง ๆ ที่ สำคัญ ดังต่อไปนี้ ก)กกส่วนสำหรับผู้ที่ลงทะเบียนมีความสามารถดังต่อไปนี้ 1.กกสามารถที่จะลงทะเบียนการอบรมทางอินเตอร์เน็ตได้ 2.กกสามารถคำนวณค่าใช้จ่ายในการอบรมได้ 3.กกสามารถเลือกดูรายละเอียดการอบรมได้ 4.กกสามารถค้นหาหลักสูตรที่ต้องการอบรมได้ 5.กกสามารถที่จะติดต่อกับสถาบันได้ทาง E-mail 6.กกสามารถสอบถามข้อเสนอแนะได้ทาง Web Board ของสถาบัน ได้ ข)กกส่วนสำหรับผู้ที่ดูแลระบบ 1.กก สามารถที่จะเพิ่ม แก้ไขและเปลี่ยนแปลงข้อมูลรายละเอียดของ หลักสูตรการอบรมได้ 2. กกสามารถที่จะเก็บและค้นหาประวัติผู้อบรมได้ 3.กก สามารถที่รายงานจำนวนของคนที่อบรมแต่ละหลักสูตรได้ 4.กก สามารถที่ค้นหาผู้ที่อบรมแต่ละหลักสูตรได้ 5. กกสามารถที่จะพิมพ์ประกาศนียบัตรของผู้อบรมแต่ละคนได้ 6.กก สามารถเรียกดูรายชื่อทำเนียบรุ่นของผู้อบรมได้ 7. กกสามารถพิมพ์หนังสือขออนุมัติโครงการจัดตั้งหลักสูตรได้ 1.4.2กกเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาระบบ แบ่งออกเป็น 2 ส่วนดังนี้ 1.4.2.1กกฮาร์ดแวร์ (Hardware) ก)กกเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) 1. กกCPU ไม่น้อยกว่า Pentium III 600 MHz 2. กกRam 256 MB 3. กกHard Disk 20.4 GB 7200 RPM 3 4. กกNetwork Interface Card Speed 10/100 MB 5. กกMonitor 15 นิ้ว ข)กก เครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย (Client) 1. กกCPU Pentium 100 MHz ขึ้นไป 2. กกRam 32 MB ขึ้นไป , Hard Disk 1.2 GB ขึ้นไป 3. กกMonitor 14 “ (resolution 800 *600 pixel) 4. กกNetwork Interface Card หรือ Modem 56 K 1.4.2.2กกซอฟต์แวร์ (Software) ก)กกเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) 1. กกระบบปฏิบัติการ Windows 2000 2. กกWeb Server ใช้ Internet Information Server 5.0 3. กกWeb Browser ใช้ Microsoft Internet Explorer 4.0 ขึ้นไป 4. กก ระบบจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ MS SQL Server 2000 5. กกเครื่องมือที่ใช้ทำเว็บเพจ Macromedia Dreamweaver 6. กกภาษา ASP (Active Server Page) 4 ข)กกเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย 1. กกระบบปฏิบัติการ Windows 95 ขึ้นไป 2. กก Web Browser ใช้ Microsoft Internet Explorer 4.0 ขึ้นไป 1.4.3กกการทดสอบและหาประสิทธิภาพของระบบงาน การทดสอบระบบงานจะทำการทดสอบตามขั้นตอนของการพัฒนาซอฟต์แวร์โดยใช้เทคนิค Black Box Testing เพื่อทดสอบความถูกต้องในการทำงานของระบบ ส่วนการประเมิน ทางด้าน ประสิทธิภาพของระบบงาน จะใช้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 7 ท่านทำแบบประเมิน และนำผล มาคำนวณหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Arithmetic Mean) หรือค่าเฉลี่ย (Mean) 1.5กกข้อตกลงเบื้องต้น 1.5.1กกข้อมูลที่ใช้ในการการพัฒนาระบบสารนิพนธ์นี้จะเป็นข้อมูลจาก สำนักพัฒนา เทคนิคศึกษา (ITED) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 1.5.2กกโปรแกรมการจัดการฐานข้อมูลและซอฟต์แวร์ทูล อื่น ๆ ที่ใช้ในการพัฒนาระบบ ในสารนิพนธ์นี้ เป็นซอฟต์แวร์ประเภทฟรีแวร์ 1.5.3กกผู้ที่ลงทะเบียนและเจ้าหน้าที่ ต้องมีความรู้ความสามารถใช้ระบบปฏิบัติการ วินโดว์ (Windows 98/2000) และโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ (Internet Explorer) ได้ในระดับดี 1.6กกนิยามศัพท์เฉพาะ เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เก็บและให้บริการข้อมูล สำหรับเวิร์ดไวด์เว็บ (World Wid Web) เซิร์ฟเวอร์ (Server) หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ให้บริการทรัพยากรต่าง ๆ ในระบบเครือข่าย ไคลเอนต์ (Client) หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องทำงานในระบบ เครือข่าย โดยที่จะรับและส่งข้อมูลกับเครื่องเซิร์ฟเวอร์ เครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet) หมายถึง ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์สาธารณะที่มี ขนาดใหญ่ที่สุดที่เชื่อมต่อเตรื่องคอมพิวเตอร์ในระยะไกลจากทั่วโลกเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อให้สามารถ สื่อสารกันได้และใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ 5 เวิร์ดไวด์เว็บ (World Wid Web) หมายถึง รูปแบบการนำเสนอข้อมูลผ่านทาง ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ที่สามารถนำเสนอข้อมูลที่เป็นทั้งข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียงได้ โดยใช้เว็บบราวเซอร์เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการอ่านข้อมูล การลงทะเบียนอบรม หมายถึง วิธีการที่ผู้ที่ต้องการอบรมจะต้องกรอกข้อมูลพื้นฐานที่ จำเป็น เช่น ชื่อ นามสกุล การศึกษาของผู้อบรม ล่วงหน้าก่อนที่จะมีการอบรม เพื่อที่จะเป็นการ จองที่นั่งและทางผู้จัดอบรมจะจัดเตรียมเนื้อหาการอบรม เอกสารต่าง ๆ ให้กับผู้ที่อบรมล่วงหน้า 1.7กกประโยชน์ของการวิจัย 1.7.1กกผู้ลงทะเบียนสามารถลงทะเบียนได้เร็วขึ้นและคำนวณค่าใช้จ่ายได้เร็วขึ้น 1.7.2 ผู้ลงทะเบียนสามารถดูรายละเอียดหลักสูตรต่าง ๆ ที่สนใจในเวลาหรือสถานที่ใด ๆ ก็ได้ที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกับระบบอินเตอร์เน็ต 1.7.3กกเป็นการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับหลักสูตรการอบรมให้บุคคลทั่วไปได้รับรู้ 1.7.4กกทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง เกิดความรวดเร็วในการติดต่อสื่อสาร โดย ใช้เทคโนโลยีของอินเตอร์เน็ต 6 64 บทที่ 4 ผลการทดสอบระบบ กระบวนการทดสอบระบบเป็นวิธีการทดสอบระบบเพื่อค้นหาข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นกับ ระบบงานในแต่ละส่วน ซึ่งการทดสอบในโครงการนี้ได้ใช้วิธีดารทดสอบแบบ Black Box Testing และวิธีประเมินหาประสิทธิภาพสารนิพนธ์โดยผู้เชี่ยวชาญ โดยจะทำการทดสอบแต่ละ ฟังก์ชันของการทำงานของระบบทั้งหมด ซึ่งข้อมูลที่ใช้ในการทดสอบนี้มีอยู่หลายประเภทคือ -กก ค่าผิดวิสัย คือ ข้อมูลที่มีค่าผิดประเภทของข้อมูล - กกค่าตัวแทนข้อมูล คือ ข้อมูลที่มีความถูกต้องและตรงกับประเภทของข้อมูลนั้น ๆ -กก ค่าไม่สมบูรณ์ คือ ข้อมูลที่ป้อนไม่ครบตามที่โปรแกรมกำหนด ผลการทดสอบระบบในครั้งนี้ ได้นำข้อมูลจากการประเมินผลประสิทธิภาพของโปรแกรม ของระบบการลงทะเบียนการอบรมผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพื่อวิเคราะห์หาค่าสถิติด้วยโปรแกรม SPSS/PC หาค่าเฉลี่ย (X) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) 4.1กกการทดสอบระบบ ในส่วนของการทดสอบระบบ จะใช้กระบวนการทดสอบระบบแบบ Black Box Testing ซึ่งเป็นการทดสอบการทำงานโดยรวมทั้งหมดของระบบ ว่ามีกระบวนการทำงาน ถูกต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการหรือไม่ โดยการทดสอบจะเป็นการกรอกข้อมูลที่ถูกต้อง (Valid) และการกรอกข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง (Invalid) หรือค่าว่าง (Null) เข้าไปในระบบ เพื่อให้ระบบทำการประมวลผลข้อมูลพร้อมทั้งแสดงผลลัพธ์ที่ได้จาการทำงาน โดยได้ ออกแบบตารางบันทึกผลการทดสอบระบบโดยแบ่งตารางการทดสอบออกเป็น 2 ส่วน ดังต่อไปนี้ 1. ตารางบันทึกผลการทดสอบระบบสำหรับผู้ใช้ ดังตารางที่ 4-1 2. ตารางบันทึกผลการทดสอบระบบสำหรับผู้ดูแลระบบ ดังตารางที่ 4-2 รายละเอียดภายในตารางบันทึกผลการทดสอบระบบของแต่ละประเภทนั้น จะบอกว่าได้ทำการทดสอบความถูกต้องของระบบในส่วนงานใด โดยให้ผู้ทดสอบทำเครื่องหมาย .. ลงในช่อง ของการทดสอบเมื่อทำการทดสอบโดยการป้อนข้อมูลที่ถูกต้องและข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ในส่วนท้าย ของแต่ละการทดสอบจะอ้างอิงไปยังภาพประกอบที่ได้จาการทดสอบระบบ ซึ่งจะอยู่ใน ภาคผนวก ค และภาคผนวก ง 51 ตารางที่ 4-1 ตารางบันทึกผลการทดสอบระบบสำหรับผู้ใช้ การทดสอบ งาน ป้อนข้อมูลถูกต้อง ป้อนข้อมูลผิดพลาด ภาพประกอบ (ภาคผนวก ค) การลงทะเบียนสมาชิกใหม่ - ป้อนข้อมูลทุกอย่างถูกต้องและครบถ้วน .. ค-13 - ไม่ได้ป้อนชื่อผู้ใช้ .. ค-3 - ไม่ได้ป้อนนามสกุลผู้ใช้ .. ค-4 - ไม่ได้ป้อนที่อยู่ผู้ใช้ .. ค-5 - ไม่ได้ป้อนอำเภอผู้ใช้ .. ค-6 - ไม่ได้ป้อนรหัสไปรษณีย์ผู้ใช้ .. ค-7 - ไม่ได้ป้อน E-mail ผู้ใช้ .. ค-8 - ไม่ได้ป้อน Username ผู้ใช้ .. ค-9 - ไม่ได้ป้อน Password ผู้ใช้ .. ค-10 การเข้าใช้งานระบบ - ป้อนข้อมูลผู้ใช้ระบบถูกต้อง .. ค-17 - ไม่ป้อน Username .. ค-16 - ไม่ป้อน Password .. ค-16 - ป้อนรหัสผ่านไม่ถูกต้อง .. ค-16 การค้นหารายชื่อหลักสูตร - ป้อนรายชื่อหลักสูตรถูกต้อง .. ค-22 - ไม่ได้ป้อนรายชื่อหลักสูตร .. ค-23 การใช้ข้อเสนอแนะกับ Web Board - ป้อนคำถามได้ถูกต้อง .. ค-28 - เขียนคำถามใหม่โดยไม่ป้อนหมวดคำถาม .. ค-27 - เขียนคำถามใหม่โดยไม่ป้อนคำถาม .. ค-27 - เขียนคำถามใหม่โดยไม่ป้อนชื่อผู้ถาม .. ค-27 - เขียนคำถามใหม่โดยไม่ป้อน E-mail ผู้ ถาม .. ค-27 52 - เขียนคำถามใหม่โดยไม่ป้อนเนื้อหาคำถาม .. ค-27 - ตอบคำถามโดยโดยไม่ป้อนชื่อผู้ตอบ .. ค-27 ตารางที่ 4-2 ตารางบันทึกผลการทดสอบระบบสำหรับผู้ดูแลระบบ การทดสอบ งาน ป้อนข้อมูลถูกต้อง ป้อนข้อมูลผิดพลาด ภาพประกอบ (ภาคผนวก ง) การ Login เข้าสู่ระบบ - ป้อนข้อมูล Usernameและ Password ถูกต้อง .. ง-2 - ป้อนข้อมูล Username และ Password ไม่ ถูกต้อง .. ง-3 เปลี่ยนรหัสผ่านผู้ดูและระบบ - ป้อน Password เก่าถูกต้อง .. ง-19 - ป้อน Password เก่าและใหม่ไม่ถูกต้อง .. ง-18 การลบและแก้ไขข้อมูลสมาชิก - ป้อน Usernameหรือชื่อถูกต้อง .. ง-24 - ป้อน Usernameหรือชื่อไม่ถูกต้อง .. ง-23 การเพิ่มข้อมูลหลักสูตร - ป้อนข้อมูลหลักสูตรถูกต้อง .. ง-32 - ไม่ป้อนรหัสหลักสูตร .. ง-33 - ไม่ป้อนชื่อหลักสูตร .. ง-34 - ไม่ป้อนวัตถุประสงค์หลักสูตร .. ง-35 - ไม่ป้อนวันที่เริ่มอบรม .. ง-36 - ไม่ป้อนวันสุดท้ายของการอบรม .. ง-37 - ไม่ป้อนค่าลงทะเบียนหลักสูตร .. ง-38 - ไม่ป้อนค่าคุณสมบัติของผู้เรียน .. ง-39 - ไม่ป้อนค่าจำนวนที่รับ .. ง-40 การค้นหาสมาชิก - ป้อนข้อมูลทุกอย่างถูกต้องและครบถ้วน .. ง-56 - ไม่ได้ป้อนรายชื่อสมาชิก .. ง-57 53 การค้นหาหลักสูตร - ป้อนข้อมูลทุกอย่างถูกต้องและครบถ้วน .. ง-59 - ไม่ได้ป้อนชื่อหลักสูตร .. ง-60 4.2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล จากการนำระบบการลงทะเบียนการอบรมผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตไปทดสอบโดยให้ ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ประเมิน เพื่อหาประสิทธิภาพของระบบที่พัฒนาขึ้น ทำให้ทราบถึงผลการประเมิน ด้านต่าง ๆ โดยแบ่งออกเป็นการประเมินระบบ 4 ด้านดังนี้ คือ 1. แสดงผลการประเมินระบบด้าน Functional Requirement Test ดัง ตารางที่ 4-3 2. แสดงผลการประเมินระบบด้าน Functional Test ดังตารางที่ 4-4 3. แสดงผลการประเมินระบบด้าน Usability Test ดังตารางที่ 4-5 4. แสดงผลการประเมินระบบด้าน Security Test ดังตารางที่ 4-6 ตารางที่ 4-3 แสดงผลการประเมินระบบด้าน Functional Requirement Test ประสิทธิภาพ รายการประเมิน X SD ระดับประสิทธิภาพ 1.ความสามารถในการจัดเก็บข้อมูล พื้นฐานของ ระบบได้เร็วขึ้น 8.42 0.78 ดี 2. ความสามารถในการสืบค้น ข้อมูลผู้อบรม และ หลักสูตรได้เร็วขึ้น 7.71 1.79 ดี 3. ความสามารถในการลงทะเบียนอบรม ได้เร็วขึ้น 9.00 1.00 ดี 4. ความสามารถคำนวณ ค่าใช้จ่าย ได้เร็วขึ้น 8.57 0.53 ดี สรุปการประเมินระบบด้าน Functional Requirement Test 8.42 1.02 ดี จากตารางที่ 4-3 พบว่าประสิทธิภาพของโปรแกรมด้านต่าง ๆ จะมีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง ค่ามากกว่า 7 ถึง 9 ซึ่งแสดงว่าประสิทธิภาพการใช้งานอยู่ในระดับดี ซึ่งประสิทธิภาพของ โปรแกรมด้านความสามารถในการลงทะเบียนอบรมได้เร็วขึ้น มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 9.00 แสดงว่า ประสิทธิภาพการใช้งานอยู่ในระดับดี ส่วนประสิทธิภาพของโปรแกรมด้านความสามารถในการ สืบค้นข้อมูล ผู้อบรม และหลักสูตรได้เร็วขึ้นมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดเท่ากับ 7.71 แสดงว่า 54 ประสิทธิภาพการใช้งานอยู่ในระดับดี ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานด้านต่าง ๆ มีความแตกต่างกัน มาก โดยด้านความสามารถในการสืบค้น ข้อมูลผู้อบรมและหลักสูตรได้เร็วขึ้น มีค่าส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐานมากที่สุดเท่ากับ 1.79 อธิบายได้ว่าการกระจายของการให้คะแนนมีความแตกต่างกัน มาก ส่วนด้านความเร็วในความสามารถคำนวณค่าใช้จ่ายได้เร็วขึ้น มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน น้อยที่สุดเท่ากับ 0.75 อธิบายได้ว่าการกระจายของการให้คะแนนมีความใกล้เคียงกันมาก และ เมื่อพิจารณาผลสรุปการประเมินระบบด้าน Functional Requirement Test พบว่ามี ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8 . 4 2 อธิบายได้ว่าโปรแกรมได้รับการยอมรับว่ามีความถูกต้องและมี ประสิทธิภาพตรงตามความต้องการของผู้ใช้ในระดับ ดี ตารางที่ 4-4 แสดงผลการประเมินระบบด้าน Functional Test ประสิทธิภาพ รายการประเมิน X SD ระดับประสิทธิภาพ 1. ความถูกต้องของการจัดเก็บข้อมูล 8.28 0.48 ดี 2. ความถูกต้องของการค้นหาข้อมูล 8.00 0.81 ดี 3. ความถูกต้องของการปรับปรุงแก้ไขข้อมูล 8.42 0.78 ดี 4. ความถูกต้องของการลบข้อมูล 8.42 0.78 ดี 5. ความถูกต้องของการคำนวณค่าใช้จ่าย ในการ ลงทะเบียนอบรม 8.42 0.78 ดี 6. ความถูกต้องของการรายงาน ผลข้อมูล 8.28 0.75 ดี สรุปการประเมินระบบด้าน Functional Test 8.30 0.73 ดี จากตารางที่ 4-4 พบว่าประสิทธิภาพของโปรแกรมด้านต่าง ๆ จะมีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง ค่ามากกว่า 8 และน้อยกว่า 9 ซึ่งแสดงว่าประสิทธิภาพการใช้งานอยู่ในระดับดี ซึ่งประสิทธิภาพ ของโปรแกรมความสามารถ ด้านความถูกต้องของการคำนวณค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียนอบรม ด้านความถูกต้องของการลบข้อมูล และด้านความถูกต้องของการปรับปรุงแก้ไขข้อมูล มีค่าเฉลี่ย สูงสุดเท่ากับ 8 . 4 2 แสดงว่าประสิทธิภาพการใช้งานอยู่ในระดับดี ส่วนประสิทธิภาพของ โปรแกรมด้านความถูกต้องของการค้นหาข้อมูลมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดเท่ากับ 8 . 0 0 แสดงว่า ประสิทธิภาพการใช้งานอยู่ในระดับดี และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานด้านต่าง ๆ มีความแตกต่าง กันมาก โดยด้านความ ถูกต้องของการค้นหาข้อมูล มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมากที่สุด เท่ากับ 0 . 8 1 อธิบายได้ว่าการกระจายของการให้คะแนนมีความแตกต่างกันมาก ส่วนความ 55 ถูกต้องของการจัดเก็บข้อมูล มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานน้อยที่สุดเท่ากับ 0.48 อธิบายได้ว่าการ กระจายของการให้คะแนนมีความ ใกล้เคียงกันมาก และเมื่อพิจารณาผลสรุปการประเมิน ระบบด้าน Functional Test พบว่ามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8.30 อธิบายได้ว่าโปรแกรมได้รับการ ยอมรับว่ามีความถูกต้องและมีประสิทธิภาพสามารถทำงานได้ตามหน้าที่ (Function) ที่มีอยู่ ในระดับ ดี ตารางที่ 4-5 แสดงผลการประเมินระบบด้าน Usability Test ประสิทธิภาพ รายการประเมิน X SD ระดับประสิทธิภาพ 1. ความยากง่ายในการติดตั้งโปรแกรม 7.71 0.75 ดี 2. ความยากง่ายต่อการใช้งาน 7.71 0.75 ดี 3. ความเร็วในการประมวลผลในการลงทะเบียน อบรม 8.28 0.75 ดี 4.ผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลจากระบบมี ความถูกต้อง 8.14 0.37 ดี 5. ความชัดเจนของข้อความที่แสดงบนจอ 7.42 1.51 ดี 6. ความเหมาะสมของการใช้สีของตัวอักษร พื้น หลังและรูปภาพประกอบ 8.28 1.25 ดี 7. ความชัดเจนในการใช้ถ้อยคำเข้าใจได้ง่าย และ มีคำแนะนำการใช้โปรแกรม 7.28 1.88 ดี 8. ความเหมาะสมของตำแหน่งของช่องป้อน ข้อมูล 7.85 0.37 ดี สรุปการประเมินระบบด้าน Usability Test 8.86 0.95 ดี จากตารางที่ 4-5 พบว่าประสิทธิภาพของโปรแกรมด้านต่าง ๆ จะมีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง ค่ามากกว่า 7 และน้อยกว่า 9 ซึ่งแสดงว่าประสิทธิภาพการใช้งานอยู่ในระดับดี ซึ่งประสิทธิภาพ ของโปรแกรมด้านความเหมาะสมของการใช้สีของตัวอักษรพื้นหลังและรูปภาพประกอบ และด้าน ความเร็วในการประมวลผลในการลงทะเบียนอบรม มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 8 . 2 8 แสดงว่า ประสิทธิภาพการใช้งานอยู่ในระดับดี ส่วนประสิทธิภาพของโปรแกรมด้านความชัดเจนในการใช้ ถ้อยคำเข้าใจได้ง่ายและมีคำแนะนำการใช้โปรแกรม มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดเท่ากับ 7.28 แสดงว่า 56 ประสิทธิภาพการใช้งานอยู่ในระดับดี และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานด้านต่าง ๆ ที่มีความแตกต่าง กันมาก โดยด้านความชัดเจนในการใช้ถ้อยคำเข้าใจได้ง่าย และมีคำแนะนำการใช้โปรแกรม มีค่าส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐานมากที่สุดเท่ากับ 1 . 8 8 อธิบายได้ว่าการกระจายของการให้คะแนนมีความ แตกต่างกันมาก ส่วนด้านผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลจากระบบมีความถูกต้อง และความ เหมาะสมของตำแหน่งของช่องป้อนข้อมูล มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานน้อยที่สุดเท่ากับ 0 . 3 7 อธิบายได้ว่าการกระจายของการให้คะแนนมีความใกล้เคียงกันมาก และเมื่อพิจารณาผลสรุปการ ประเมินระบบด้าน Usability Test พบว่ามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8.86 อธิบายได้ว่าโปรแกรม ได้รับการยอมรับว่า มีความสามารถในการใช้งาน เช่น ความยากง่ายในการใช้งานและมี ประสิทธิภาพตรงตามความต้องการของผู้ใช้ในระดับ ดี ตารางที่ 4-6 แสดงผลการประเมินระบบด้าน Security Test ประสิทธิภาพ รายการประเมิน X SD ระดับประสิทธิภาพ 1. การกำหนดรหัสผู้ใช้ และรหัสผ่านในการ ตรวจสอบผู้เข้าใช้ระบบสำหรับผู้ดูแลระบบ 8.14 0.89 ดี 2. ความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้ และ ผู้ดูแลระบบ 8.00 1.00 ดี สรุปการประเมินระบบด้าน Security Test 8.07 0.94 ดี จากตารางที่ 4-6 พบว่าประสิทธิภาพของโปรแกรมด้านการกำหนดรหัสผู้ใช้และรหัสผ่าน ในการตรวจสอบผู้เข้าใช้ระบบสำหรับผู้ดูแลระบบ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด เท่ากับ 8 . 1 4 แสดงว่า ประสิทธิภาพการใช้งานอยู่ในระดับ ดี ส่วนประสิทธิภาพของโปรแกรมด้านความปลอดภัยใน การเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้และผู้ดูแลระบบ มีค่าเฉลี่ยน้อยสุดเท่ากับ 8.00 แสดงว่าประสิทธิภาพ การใช้งานอยู่ในระดับดี ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูลของ ผู้ใช้และผู้ดูแลระบบ มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.00 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานด้าน ความปลอดภัยในเข้าถึง ข้อมูลของผู้ใช้และผู้ดูแลระบบเท่ากับ 0.89 อธิบายได้ว่าการกระจาย ของการให้คะแนนด้านการกำหนดรหัสผู้ใช้และรหัสผ่านในการตรวจสอบผู้เข้าใช้ระบบสำหรับ ผู้ดูแลระบบ มีการกระจายน้อยกว่าความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้และผู้ดูแลระบบ และ เมื่อพิจารณาผลสรุปการประเมินระบบด้าน Security Test พบว่ามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8.07 57 อธิบายได้ว่าโปรแกรมได้รับการยอมรับว่ามีความปลอดภัยของข้อมูลที่ส่งผ่านไปมาในระบบ เครือข่ายอินเตอร์เน็ต และการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้และผู้ดูแลระบบในระดับ ดี บทที่ 2 เทคโนโลยี เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การจัดทำสารนิพนธ์ การพัฒนาระบบการลงทะเบียนอบรมผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต นี้เป็น การพัฒนาระบบให้สามารถทำงานผ่านทางเว็บบราวเซอร์ ซึ่งในการพัฒนาระบบงานจะต้องอาศัย เทคโนโลยีในการนำเสนอข้อมูลบนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ได้แก่ การใช้งานภาษา HTML (Hyper Text Markup Language) สำหรับใช้ในการเขียนเว็บเพจ การพัฒนา โปรแกรมเพื่อติดต่อกับฐานข้อมูล จะใช้ภาษา ASP (Active Server Page) เป็น ตัวเชื่อม การใช้โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ (Web Browser) ในการติดต่อกับเครือข่าย อินเตอร์เน็ต เป็นต้น โดยมีทฤษฎี งานวิจัยและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง ออกเป็นหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้ 2.1กกเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และขั้นตอนการประมวลผลบนเว็บ 2.2กกภาษา SQL (Structured Query Language) 2.3กกความสามารถ Microsoft SQL Server 2000 2.4กกเทคโนโลยี ASP (Active Server Page) 2.5กกเทคโนโลยีเว็บแอปพลิเคชันกับการเชื่อมต่อฐานข้อมูล 2.6กกงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2.1กกเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และขั้นตอนการประมวลผลบนเว็บ ไพศาล (2544: 3) ได้อธิบายเรื่องความหมายของอินเตอร์เน็ตไว้ดังนี้ อินเตอร์เน็ตคือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อกันทั่วโลก ซึ่งจะมีมาตรฐานการรับและส่งข้อมูลที่ เหมือนกัน โดยที่ข้อมูลเหล่านั้นอาจจะเป็นตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว หรือจะเป็นเสียงก็ได้ รวมทั้งยังมีความสามารถในการค้นหาข้อมูลที่อยู่ในแหล่งต่าง ๆ ทั่วโลกได้อย่างรวดเร็วและมี ประสิทธิภาพ ดังนั้นอินเตอร์เน็ตจะประกอบด้วยองค์ประกอบ 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือเครือข่าย คอมพิวเตอร์และข้อมูลที่เก็บในคอมพิวเตอร์ ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ ในระบบเครือข่าย จะแบ่ง ออกเป็น 2 ฝั่ง คือฝั่งทางด้านคอมพิวเตอร์ที่เป็นผู้ร้องขอเรียกใช้ข้อมูลข่าวสาร และฝั่งทางด้าน คอมพิวเตอร์ที่เป็นผู้ส่งข่าวสาร เรียกว่า รีโมตคอมพิวเตอร์ โดยคอมพิวเตอร์ที่เป็นผู้เรียกใช้ข้อมูล ข่างสารจะต้องอาศัยโปรแกรมที่เรียกว่าเว็บไคลเอ็นต์ เช่น เว็บบราวเซอร์ ในการส่งคำสั่งรีเควส (Request) ไปยังรีโมตคอมพิวเตอร์ ส่วนทางรีโมตคอมพิวเตอร์ที่เป็นผู้ส่งข้อมูลข่าวสารกลับไป 6 2.1.1กกขั้นตอนในการประมวลผล สุวัฒน์ (2543: 163) ได้อภิบายเรื่องขั้นตอนการประมวลผลไว้ดังนี้ ในการประมวลผลบน อินเตอร์เน็ตจะเกี่ยวข้องกับการส่งถ่ายข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นรีโมต คอมพิวเตอร์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นฝ่ายเรียกใช้ข้อมูลโดยประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้ ก) ผู้ใช้ส่งสัญญาณไปยังรีโมตคอมพิวเตอร์ผ่านทางเว็บบราวเซอร์ ข) เว็บบราวเซอร์ส่งสัญญาณไปยังเว็บเซิร์ฟเวอร์ผ่านทางโปรโตคอลแบบเอชทีทีพี ค) เว็บเซิร์ฟเวอร์ที่รีโมตคอมพิวเตอร์รับส่งสัญญาณแล้วทำการประมวลผล ง) ถ้าไม่มีข้อผิดพลาด รีโมตคอมพิวเตอร์จะส่งข้อมูลตามที่กำหนดในคำร้องขอที่ส่งมา ให้กับเว็บเซิร์ฟเวอร์ จ) เว็บเซิร์ฟเวอร์ทำการส่งข้อมูลกลับไปยังเว็บบราวเซอร์ ฉ) เว็บบราวเซอร์แปลงข้อมูลที่ได้ รับมาให้อยู่ในรูปแบบที่ใช้ในการแสดงผลให้กับผู้ใช้ 2.1.2 ประวัติอินเตอร์เน็ต ไพศาล (2544: 4) ได้อภิบายเรื่องประวัติของอินเตอร์เน็ตไว้ดังนี้ อินเตอร์เน็ตเป็น เครือข่ายที่มีพัฒนาการมาจาก อาร์พาเน็ต (ARPAnet) ตั้งขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2512 ซึ่ง เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายใต้ความรับผิดชอบของหน่วยงานโครงการวิจัยขั้นสูง (Advanced Research Projects Agency) หรือเรียกชื่อย่อว่า อาร์พา (ARPA) ในสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา (Department of Defense) อาร์พาเน็ต เป็นผลพวงมาจากความตึงเครียดทางการเมืองของโลก ในยุคสงครามเย็นระหว่างค่ายคอมมิวนิสต์ และค่ายเสรีประชาธิปไตย ต่อมาในปี พ.ศ. 2515 ได้มีการปรับปรุงหน่วยงานอาร์พาและเรียกชื่อใหม่ว่า ดาร์พา (DARPA: Defense Advanced Research Project Agency) และใน ปี พ.ศ. 2518 ดาร์พาได้โอนหน้าที่ดูแลรับ ผิดชอบอาร์พาเน็ตโดยตรงให้แก่ หน่วยการสื่อสาร ของกองทัพ (Defense Commumication Agency) หรือ DCA เนื่องจากอาร์ พาเน็ตได้แปรสภาพจากเครือข่ายที่ปฏิบัติงานได้อย่างแท้จริงแล้ว ในปี พ.ศ. 2526 อาร์พาเน็ตแบ่งออกเป็น 2 เครือข่ายคือเครือข่ายด้านการวิจัยใช้ชื่อ อาร์พาเน็ตเหมือนเดิมส่วนเครือข่ายของกองทัพใช้ชื่อว่า "มิลเน็ต" (MILNET : MILitary NETwork) ซึ่งใช้การเชื่อมต่อโดยใช้โปรโตคอล TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) เป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2528 มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติอเมริกา (NFS) ได้ออกทุนการสร้างศูนย์ ซุปเปอร์ คอมพิวเตอร์ 6 แห่งและใช้ชื่อว่า NFSNET พอมีถึงปี พ.ศ. 2533 อาร์พาเน็ตรองรับการเป็น 7 backbone ไม่ไหวจึงยุติบทบาทแล้วเปลี่ยนไปใช้ NFSNET และเครือข่ายอื่นแทน โดยได้ มีการเชื่อมต่อเครือข่ายต่าง ๆ ทำให้เครือข่ายมีขนาดใหญ่มากขึ้นจนเป็นเครือข่ายอินเตอร์เน็ตใน ปัจจุบันนี้ สำหรับประเทศไทยอินเตอร์เน็ตเริ่มเข้ามามีบทบาทในปี พ.ศ. 2530 ซึ่งจะสรุปเฉพาะ เหตุการณ์ที่สำคัญดังนี้ ปี พ.ศ. 2530 เอไอที (AIT = Asian Institute of Technology) ใน เมืองไทยได้ตกลงทำสัญญากับภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยเมลบอร์น (Melbourne) ประเทศออสเตรเลีย เพื่อให้บริการทางด้านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ โดย ออสเตรเลียจะเรียกมาที่ เอไอที วันละ 3 ครั้ง เพื่อที่จะรับส่งถุงไปรษณีย์ (Mail Bag) ปี พ.ศ. 2531 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้ตั้งแม่ข่ายของตนเองเชื่อมกับมหาลัย เมลเบอร์นโดยเพิ่มการติดต่อให้มากขึ้นสามารถโทรศัพท์เข้ามาได้ 2 หมายเลขตั้งแต่ช่วงเวลา 9.00 ถึง 19.30 นาฬิกา ปี พ.ศ. 2534 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เข้าร่วมอินเตอร์เน็ต ซึ่งถือว่าเป็นประตูด่านแรกที่ นำไปสู่การใช้ระบบอินเตอร์เน็ตในประเทศไทยอย่างสมบูรณ์ ปี พ.ศ. 2535 ได้มีการจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กโทรนิคและคอมพิวเตอร์แห่งชาติหรือ เนคเทค (NECTEC = National Electronics and Computer Technology Center) ขึ้นหลังจากนั้น สถาบันและองค์กรต่าง ๆในประเทศไทยต่างก็หันมา ใช้อินเตอร์เน็ตมากขึ้น โดยเข้าร่วมกับ จุฬาลงกรณ์ในปี พ.ศ. 2535 ได้แก่ เอไอที มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยมหิดล นอกจากนี้ก็ยังมีสถาบันที่เข้าร่วมกับเนคเทคอีกในปี พ.ศ. 2536 ก็คือ สถาบันเทคโนโลยีพระ จอมเกล้าลาดกระบัง พระนครธนบุรี สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยสุรนารี กระทรวง สาธารณสุข ทบวงมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มหาสารคาม) เป็นต้น และได้มี การเปิดบริการอินเตอร์เน็ตเชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2538 ซึ่งในขณะนั้น WWW ในอเมริกากำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก 2..1.3กกรูปแบบการใช้งานอินเตอร์เน็ต สามารถสรุปการใช้งานอินเตอร์เน็ตรูปแบบได้ดังนี้ 2.1.3.1กกเครื่องมือสื่อสารราคาถูกเรียกได้ว่าเป็นจุดประสงค์แรกของการสร้าง อินเตอร์เน็ตขึ้นมาเลยทีเดียวแต่เดิมเรามีอีเมล์เป็นหลัก แต่ปัจจุบันเรามีการใช้งานร่วมกับภาพ และ เสียง เช่น การประชุมทางไกล หรือแม้แต่การสนทนาผ่าน Chat 2.1.3.2กกแหล่งเผยแพร่ความรู้ การใช้อินเตอร์เน็ตมักจะเริ่มจากผู้ที่มีความรู้ล้น เหลือที่มีความต้องการเผยแพร่สิ่งที่เขารู้ได้เป็นสาธารณประโยชน์แก่คนที่สนใจได้รับรู้โดยอิสระ 8 ซึ่งความรู้ที่มีในอินเตอร์เน็ตเชื่อว่ามีปริมาณมากกว่าที่บรรจุในห้องสมุดใด ๆ ในโลกนี้ และจะมี เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามการเติบโตของการใช้งานอินเตอร์เน็ต 2.1.3.3กกการโฆษณาประชาสัมพันธ์ การโฆษณาประชาสัมพันธ์ ถือเป็นการ นำเอาอินเตอร์เน็ตไปใช้ในเชิงพาณิชย์ยุคแรก ไม่ว่าจะเป็นการนำเสนอสินค้าหรือประชาสัมพันธ์ องค์กร ซึ่งปัจจุบันอินเตอร์เน็ตก็นับว่าเป็นสื่อโฆษณาที่ราคาถูกมาก อีกทั้งคนที่เห็นและสัมผัสก็มีอยู่ มากมายทั่วโลก 2.1.3.4กกเครื่องมือค้นคว้าข้อมูล ที่ถูกเก็บไว้อย่างมากมายทั้งรูปแบบข้อความ และ รูปภาพ เครื่องมือสำหรับค้นหา (Search Engine) มาช่วย ทำให้สามารถได้ข้อมูลจากทั่วโลก อย่างง่ายดาย 2.1.3.5กกทำให้เกิดการรวมกลุ่มของคนที่สนใจในเรื่องเดียวกัน และเกิดเป็นชุมชน ต่าง ๆ ในอินเตอร์เน็ตมากมาย มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และทัศนคติระหว่างกันอย่างเสรี โดยมี การควบคุมซึ่งกันและกัน 2.1.3.6กกความบันเทิงจากอินเตอร์เน็ต อินเตอร์เน็ตกลายเป็นแหล่งรวบรวมความ บันเทิงมากมาย ให้เลือกใช้บริการกันตามความพอใจ 2.1.3.7กกแหล่งข่าวสารที่ทันสมัย อินเตอร์เน็ตได้ชื่อว่าเป็นสื่อที่รวดเร็วต่อความ เปลี่ยนแปลง และความเป็นไปของโลก เพราะคนที่ได้สัมผัสกับข่าวหรือการเปลี่ยนแปลงมักจะ เผยแพร่สิ่งที่รับรู้ทางอินเตอร์เน็ต อีกทั้งปัจจุบันทั้งหนังสือพิมพ์, นิตยสาร, สถานีโทรทัศน์ต่างก็มี ที่อยู่ในอินเตอร์เน็ตทั้งนั้น เพราะฉะนั้นความรวมเร็ว และความถูกต้องจึงมีมากขึ้นในโลกของ อินเตอร์เน็ต 2.1.3.8กกกระจายเสียง/แพร่ภาพผ่านอินเตอร์เน็ต ปัจจุบันสื่อต่าง ๆ ได้อพยพเข้า สู่โลกของอินเตอร์เน็ต ทำให้คนไทยในต่างแดน สามารถฟังรายการวิทยุ ที่ชื่นชอบจากเมืองไทย ผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้ 2.1.3.9กกบริการเสริมจากสิ่งที่มีอยู่แล้ว การให้บริการของหน่วยงานต่าง ๆ ไม่ใช่แค่ เพียงการเตรียมบุคคลหรือสถานที่รอรับผู้คนเท่านั้น แต่อินเตอร์เน็ตยังเป็นช่องทางที่เพิ่ม ความ สะดวกให้ผู้ใช้บริการได้ด้วยต้นทุนที่ประหยัด 2.1.3.10กกสำรวจความคิด, จัดอันดับความนิยม การจัดอันดับ, สำรวจความนิยม เป็นเรื่องที่หลายคนสามารถแสดงความเห็นได้อย่างเต็มที่ 2.1.3.11กกนิตยสาร และสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ เมื่อสื่อด้านคอมพิวเตอร์ และ อินเตอร์เน็ตมีมากขึ้น การเก็บ และแสดงเอกสาร ก็ถูกพัฒนาให้เก็บไว้ในรูปของอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อ ให้ง่ายต่อการจัดเก็บและค้นหา ซึ่งผลดีที่ได้คือ ลดการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ 9 2.1.3.12กกประยุกต์ใช้งานกับระบบงานในองค์กรเพราะว่าอินเตอร์เน็ต โดยเฉพาะ WWW มีรูปแบบการทำงานที่เป็นมาตรฐาน และรู้จักกันดี ทำให้หลาย ๆ องค์กร สร้างระบบการทำงาน และสื่อสารระหว่างกันผ่านเครือข่ายส่วนตัวที่เรียกว่า อินทราเน็ต (Intranet) ซึ่งเป็นการนำอินเตอร์เน็ตมาประยุกต์ใช้งานในองค์กรได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้เพื่อให้ง่าย ต่อการพัฒนา การบำรุงรักษาและการฝึกอบรม 2.1.3.13กกค้าขายผ่านอินเตอร์เน็ต เป็นการหารายได้จากช่องทางที่มีใน อินเตอร์เน็ต ซึ่งทำให้เกิดธุรกิจขนาดเล็กและใหญ่มากมายจากอินเตอร์เน็ต โดยที่ธุรกิจหลาย ๆ ตัว ได้รับการยอมรับเป็นอย่างดีจากผู้ใช้งาน 2.2กกภาษา SQL (Structured Query Language) 2.2.1กกประวัติความเป็นมาของภาษา SQL วุฒิพงศ์ และสุมาลี (2543: 3-5) ได้อภิบายเรื่องประวัติความเป็นมาของภาษา SQL ไว้ดังนี้ SQL (Structured Query Language) คือภาษาที่ใช้จัดการฐานข้อมูล (Query Language) ซึ่งเป็นที่นิยมมากที่สุดในโลก เนื่องจากระบบการจัดการฐานข้อมูล (DBMS : Database Management System) โดยทั่วไปนิยมใช้ภาษานี้เป็น มาตรฐานในการจัดการฐานข้อมูล จึงสามารถใช้ภาษานี้จัดการฐานข้อมูลต่าง ๆ โดยที่ไม่จำเป็นที่จะ ศึกษาภาษาอื่น ๆ SQL เป็นภาษาในรุ่นที่ 4 (Forth Generation Language) โดยเวอร์ชัน เริ่มแรกของภาษา SQL นี้ปรากฏครั้งแรกในชื่อว่า SEQUEL (Structured English Query Language) ในปี พ.ศ. 1970 และถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัท IBM ในช่วงปีต่อมา คือปี พ.ศ. 1976 ถึงปี พ.ศ. 1977 ได้มีการปรับปรุงเวอร์ชันใหม่จาก SEQUEL เป็น SEQUEL/2 และภายหลังก็ได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น SQL จากนั้นภาษา SQL ก็ได้มีการ ปรับปรุงมาหลายครั้งจนในช่วงปี พ.ศ. 1982 สถาบัน American National Standard Institute (ANSI) ได้ทำการจัดตั้งมาตรฐานให้กับภาษา SQL และในปี พ.ศ. 1987 ANSI ก็ได้รับการยอมรับให้เป็นมาตรฐานสากลโดยการยอมรับของ ISO (International Organization For Standardization) จากนั้นภาษา SQL ก็ถูกกำหนดเป็น SQL-86 และ SQL-89 ต่อมา SQL-89 เป็นภาษา SQL มาตรฐาน ที่สนับสนุนภาษา SQL ประเภท Data Definition Language (DLL) ในเรื่องการ สร้างตาราง (Table), อินเด็กซ์ (Index), วิว (View), กฎข้อบังคับความถูกต้องของ ข้อมูล (Constraint) และยังสนับสนุนในเรื่องของการกำหนดสิทธิ์ (Grant), และยกเลิก (Revoke) ในการใช้งานข้อมูลของผู้ใช้ด้วย 10 ในปี 1992 ก็มีการปรับปรุง SQL-89 เป็น SQL-92 (หรือเรียกว่า SQL2) โดย SQL-92 นี้จะรวมลักษณะของ SQL-89 ทั้งหมดไว้และมีส่วนที่เพิ่มเข้ามาดังนี้ ก) SQL Agent คือโปรแกรม หรือการทำให้ผู้ใช้มีการโต้ตอบซึ่งกันและกัน โดยใช้ คำสั่ง QL ใน SQL-89 นั้นจะต้องมีการขอ Authorization Ids ก่อน ข) SQL สนับสนุนในการติดต่อแบบ Client /Server ค) การเพิ่มรายละเอียดของการโอนถ่ายข้อมูล โดยใช้คำสั่ง SET TRANSACTION เพื่อ กำหนดลักษณะของการถ่ายโอนข้อมูลเป็นการอ่านอย่างเดียว หรือสามารถอ่าน-เขียนได้ โดยไม่ สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของฐานข้อมูลได้ ง) เพิ่มมาตรฐานแบบรายการ (Catalog) เพื่ออภิบายโครงสร้างของฐานข้อมูล Catalog เป็นมาตรฐานใหม่ที่มีการรวมเอาแบบแผนของ SQL มาอภิบายรายละเอียดของฐานข้อมูล จ) มีการนำภาษา SQL ลงไปในโปรแกรมภาษาต่างๆ เช่น C, Ada และ NUMPS ฉ) สนับสนุนในส่วนของ Dynamic SQL จะเป็นการรวมไดนามิกเคอร์เซอร์และ คำสั่ง ต่าง ๆ ที่ถูกใช้ในทุกๆ ฐานข้อมูล ช) มีการเอาประเภทของข้อมูล (Data Type) ใหม่ ๆ เข้ามาด้วย เช่น BLOBS, VARCHAR, DATE, TIME และ TIMESTAM ซ) การสนับสนุนในส่วนของตารางชั่วคราว (Temporary Table) โดยจะมีการรวม ตาราง ทั้งที่เป็นแบบ Local และ Global ไว้ซึ่ง Temporary Table จะใช้สำหรับจัดเก็บและ หยุดการทำงานอัตโนมัติของส่วนนั้น ฌ) การสนับสนุนโอเปอร์เรเตอร์ ในการเชื่อมข้อมูลจากหลาย ๆ ตาราง (Join) เช่น Outer Join, Union Join, Cross Join และ Inner Join เป็นต้น ญ) เป็นมาตรฐานในการตรวจสอบความผิดพลาดของโค้ดและการวินิจฉัย ในการ ตรวจสอบความถูกต้องส่วนใหญ่ เราจะใช้ SQLSTATE ในการตรวจสอบความ ถูกต้อง ส่วนคำสั่ง GET DIAGNOSTICS เป็นการให้รายละเอียดของข้อมูลที่มากขึ้น เกี่ยวกับข้อผิดพลาดออกมา 11 ฎ) มีการพัฒนาให้หลากหลายขึ้น เช่นมีการรวมฟังก์ชั่นที่เกี่ยวกับ สตริง, คำสั่งในการ เปลี่ยนแปลงและการลบออบเจค และการสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงของประเภทข้อมูลเป็นต้น ในปัจจุบัน SQL ได้มีการพัฒนาจาก SQL2 จนมาเป็น SQL3 ซึ่ง SQL3 จะมี ลักษณะของภาษาที่เพิ่มขึ้นแต่ส่วนใหญ่จะมีใน SQL2 อยู่แล้ว เช่น มีส่วนของ Stored Procedure, Trigger และ Multimedia เป็นต้น ซึ่งบริษัท Oracle เป็นบริษัทแรก ที่มีการนำภาษา SQL มาใช้ ต่อมา บริษัท IBM ได้ใช้ SQL เป็นมาตรฐานของภาษาจัดการ ฐานข้อมูลในโปรแกรมจัดการ ฐานข้อมูล DB2 และ SQL/DS ต่อมาบริษัทอื่น ๆ เช่น Microsoft, Sybase ก็ได้นำภาษา SQL มาใช้ในผลิตภัณฑ์ของตนกันอย่างแพร่หลาย เช่น MS SQL Server หรือ MS Access เป็นต้น หลักการของการใช้ภาษา SQL คือภาษาที่ไม่เป็นกระบวนการ (Non Procedural Language) ผู้ใช้โปรแกรมจะใช้คำสั่งเพื่อถามว่าจะทำอะไร และไม่จำเป็นที่จะต้องอภิบายว่าทำอย่างไร นอกจากนี้ผู้ใช้ระบบและโปรแกรมเมอร์ไม่ต้องทราบถึง กระบวนการจัดเก็บและรูปแบบ ของข้อมูล ที่เก็บ ก็สามารถเขียน Query 2.2.2กกประเภทของภาษา SQL วุฒิพงศ์ และสุมาลี (2543: 5) ได้อภิบายเรื่องประเภทของภาษา SQL ไว้ดังนี้ 2.2.2.1กกData Definition Language (DLL) เป็นชุดคำสั่งในการ กำหนดข้อมูลของฐานข้อมูลและตาราง เช่น การสร้างตาราง การสร้างอินเด็กซ์ การสร้างวิว การ สร้างโพรซีเยอร์ การเพิ่ม การลบ และการแก้ไขคอลัมน์ในตารางเป็นต้น 2.2.2.2กกData Manipulation Language (DML) เป็นชุดของ คำสั่งในการจัดการข้อมูลเช่น การเรียกดูข้อมูล, การเพิ่มข้อมูล, การลบข้อมูล และการแก้ไข ข้อมูลในตารางเป็นต้น 2.2.2.3กกData Control Language (DCL) เป็นชุดของคำสั่งที่ใช้ ควบคุมการเกิดภาวะ พร้อมกันของข้อมูล หรือป้องกันเหตุการณ์ ที่ผู้ใช้เรียกดูข้อมูลพร้อมกัน และ ประกอบด้วยคำสั่งที่เกี่ยวกับ การควบคุมความปลอดภัยของข้อมูลโดยการกำหนดสิทธิ์ให้กับผู้ใช้ 2.3กกความสามารถ Microsoft SQL Server 2000 อำไพ (2544: 16-19) ได้อภิบายเรื่องความสามารถของ Microsoft SQL Server 2000 ไว้ดังนี้ความสามารถ Microsoft SQL Server 2000 เทคโนโลยี ด้านเซิร์ฟเวอร์ฐานข้อมูลได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จากการใช้งานในหน่วยงานเล็ก ๆ ก้าวสู่ ระดับแผนกและองค์กร Microsoft SQL Server เป็นฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ที่มี ประสิทธิภาพในการทำงานสูง สามารถรองรับการเชื่อมต่อพร้อม ๆ กันจากไคลเอนต์ได้ 1,000 12 เครื่อง การจัดสรรหน่วยความจำแบบไดนามิค และจัดการกับหน่วยความจำขนาดจิกะไบต์ หรือเท ราไบต์ มีความสามารถในการทำเรพลิเคตข้อมูลระหว่างเครื่อง การประมวลผลแบบขนาน สนับสนุนการทำ OLAP เพื่อประมวลผลในเชิงวิเคราะห์แบบออนไลน์ ตลอดจนคลังข้อมูล นอกจากนี้ยังสามารถเชื่อมต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างฐานข้อมูลอื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ฐานข้อมูล SQL Server เป็นหนึ่งในชุด Back Office ที่ได้รับความนิยมสูง การ รวมตัวเข้ากับระบบปฏิบัติการ Windows NT, Windows2000Server ทางด้านความ ปลอดภัย มัลติโปรเซสเซอร์ การตรวจดูเหตุการณ์ เซอร์วิสต่าง ๆ เป็นต้น อย่างกลมกลืนและมี ประสิทธิภาพ ดังนี้ 2.3.1.กกความปลอดภัย (Security) ฐานข้อมูล SQL Server ได้รวม ระบบความปลอดภัยเข้ากับ Windows NT, Windows2000 ทำให้การจัดการหรือ อนุญาตในการเข้าถึงทรัพยากร เป็นไปอย่างง่ายดาย เช่น การใช้รหัสผ่านเดียวกัน สามารถจะเข้าถึง ทรัพยากรของ SQL Server และ Windows NT, Windows2000 ได้ นอกจากนี้ SQL Server ยังใช้การเข้ารหัส (Encryption) ของ Windows NT, Windows2000 สำหรับความปลอดภัยบนเน็ตเวิร์ค (Network Security)ได้อีกด้วย 2.3.2กกการตรวจดูเหตุการณ์ (Event View) ระบบปฏิบัติการ Windows NT, Windows2000 มีการเก็บบันทึกการทำงานของเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ เกิดขึ้นไว้ในล็อกทั้ง 3 คือ Application, Security และ System ช่วยให้ผู้บริหาร ระบบสามารถจะตรวจดูล็อกแล้วแก้ไขปัญหาได้ SQL Server จะทำการเขียนแมสเซสการ ทำงานของฐานข้อมูลลงไปในล็อกทั้ง 3 เพื่อใช้ในการติดตามการทำงาน และรายงานปัญหาที่ เกิดขึ้นให้ทราบด้วย 2.3.3กกสนับสนุนมัลติโพรเซสเซอร์ (Multiprocessor Support) ระบบปฏิบัติการ Windows NT, Windows2000 ได้ถูกออกแบบให้สนับสนุนมัลติ โปรเซสเซอร์แบบ SMP (Symmetric Multiprocessing) ทำให้เครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ มีซีพียู 2 ตัวขึ้นไป สามารถกระจายงานได้รวดเร็วกว่า SQL Server ก็สนับสนุนมัลติ โปรเซสเซอร์ 4 ตัว ส่วน SQL Server Enterprise สนับสนุนการใช้โพรเซสเซอร์สูงถึง 32 ตัว 2.3.4กกเซอร์วิสบน NT (Windows NT, Windows2000 Service) ผู้บริหารระบบคอมพิวเตอร์ สามารถจะควบคุม Windows NT, Windows2000 ได้ดั่งใจ ก็เพราะมีเซอร์วิสให้จัดการ SQL Server จะทำงานเป็น 13 เซอร์วิส (run as a service) บน Windows NT, Windows2000 เราสามารถ จะสตาร์ต หรือสต็อปเซอร์วิส ของ SQL Server ได้เช่นกัน 2.3.5กกการเฝ้าดูประสิทธิภาพ (Performance Monitor) งานหลักใน การบริหารระบบเน็ตเวิร์กให้มีความเร็วตามต้องการไม่เกิดปัญหาคอขวด เราสามารถจะใช้ Performance Monitor ในการเฝ้าดูประสิทธิภาพการทำงานของเซิร์ฟเวอร์, ฐานข้อมูล, เน็ตเวิร์ค, หน่วยความจำ ฯลฯ และเฝ้าดู ประสิทธิภาพการทำงานของ SQL Server ได้ด้วย Performance Monitor 2.3.6กกเซอร์วิสของ SQL Server ฐานข้อมูล SQL Server ทำงาน ร่วมกับระบบปฏิบัติการ Windows NT Server, Windows2000 โดยมีเซอร์วิสอยู่ 3 ตัวด้วยกัน คือ MSSQLServer, SQL Server Agent และ MS DTC เซอร์วิสแต่ละตัวมีหน้าที่ดังนี้ ก)กกMSSQL Server Service เป็นเซอร์วิสของ RDBMS ที่ จะใช้จัดการกับ สเตทเมนต์ Transact SQL จัดการทุกไฟล์ฐานข้อมูลบน เซิร์ฟเวอร์ จัดสรรทรัพยากรของระบบให้ผู้ใช้งานอย่างเหมาะสม ในกรณีเกิดสภาวะใช้งานพร้อม กัน (Concurrency) ป้องกันปัญหาจากการ อัพเดทข้อมูลที่เหมือนกันในเวลาเดียวกันและ ควบคุมความบูรณภาพ (Integrity) ของข้อมูลให้มีความถูกต้องมากที่สุด ข)กกSQL Server Agent Service เป็นเซอร์วิสของ NT ที่จะรัน ไปพร้อม ๆ กับ SQL Server ในการสร้างและจัดการกับ Jobs, Alerts, และ Operators ของโลคอลเซิร์ฟเวอร์ หรือมัลติเซิร์ฟเวอร์ เมื่อ SQL Server Agent Service เริ่มสตาร์ทจะทำการรีจิสเตอร์กับ Event Log Service และ เชื่อมต่อเข้า SQL Server ทำให้ SQL Server Agent สามารถจะรับการ แจ้งเตือนจาก SQL Server Event ทันทีที่มีการเขียนลงล็อกของ NT (Application log) SQL Server Agent Service จะทำการสื่อสารกับ MS SQL Server Service ใน การแสดงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เช่น Jobs หรือ Raising Alerts ซึ่งจะกำหนดในฐานข้อมูล msdb ค)กกMicrosoft Distributed Transaction Coordinator (MS DTC) Service เป็น ส่วนหนึ่งของ Microsoft Transaction Server ทรานส์แอ๊คชั่นจะจัดการให้ไคลเอ็นต์สามารถรับข้อมูลจากภายนอกได้หลายรูปแบบ MS DTC จะใช้การทำ Two phase commit เพื่อประสานการกระจายทรานส์แอคชั่นไปยัง ทุกเซิร์ฟเวอร์บนระบบอย่างสมบูรณ์และถูกต้อง 14 2.3.2กกสถาปัตยกรรม SQL Server ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ SQL Server มีโครงสร้างสถาปัตยกรรมเกี่ยวกับการ สื่อสาร การเชื่อมต่อ และการบริหารระบบ ทำให้ผู้ใช้และผู้ดูแลระบบ สามารถจัดการฐานข้อมูล ได้อย่างคล่องตัวโดยจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ 2.3.2.1กกCommunication ระบบการสื่อสารของ SQL Server จะ ใช้ชั้นสถาปัตยกรรม Communication ในการแยกแอปพลิเคชั่นออกจากชั้นของเน็ตเวิร์ก และโปรโตคอล สถาปัตยกรรม Communication จะช่วยให้แอปพลิเคชั่นเดียวกันอยู่บน สภาพแวดล้อมเน็ตเวิร์กที่ต่างกันได้ดังภาพที่ 2-1 ภาพที่ 2-1 แสดงสถาปัตยกรรม Communication ของ SQL Server จากภาพที่ 2-1 สามารถอธิบายส่วนประกอบต่าง ๆ ได้ดังนี้ ก) Application เป็นแอปพลิเคชั่นในการพัฒนาโดยใช้ API (Application Programming Interface) ฐานข้อมูล ข) Database Interface เป็นพวก ODBC (Open Database Connectivity) ADO(ActiveX Data Objects) RDO (Remote Data Objects) ใช้เชื่อมต่อกับแอปพลิเคชั่นในการส่ง Request ไปยัง SQL Server ค) Network Library เป็นซอฟต์แวร์ในการสื่อสาร เช่น แพ็คเกจ request ของฐานข้อมูลและผลลัพธ์ สำหรับการส่งผ่านโดยเน็ตเวิร์คโพรโตคอล (Net Library จะถูกติดตั้งทั้งบนฝั่งเซิร์ฟเวอร์ และ ไคลเอ็นต์ ทำให้สามารถจะใช้ Net Library ได้มากกว่า 1 ตัวในเวลาเดียวกัน) SQL Server จะ สนับสนุนเน็ตเวิร์กโปรโตคอลหลายแบบ เช่น TCP/IP, Name Pipes, IPX/SPX, VINES/IP และ ADSP SQL Server Open Data Services Network Library Application Database Interface Tabular Data Stream (DTS) Network Library 15 ง) Tabular Data Stream (TDS) เป็นแอปพลิเคชั่นในระดับ โพรโตคอลจะใช้สื่อสารระหว่าง SQL Server และไคลเอนต์ แพ็กเกจ TDS จะมี การเข้ารหัส (encapsulated) ในเน็ตเวิร์กแพ็คเกจเพื่อความปลอดภัยของข้อมูล จ) Open Data Service เป็นเสมือน DB Egine ของ SQL Server ที่จะควบคุมการเชื่อมต่อของเน็ตเวิร์ค ส่งผ่าน Request ของไคลเอ็นต์ไปยัง SQL Server เพื่อโปรเซสและส่งผลลัพธ์ กลับมายังไคลเอ็นต์ของ SQL Server ODS จะถูกติดตั้งอยู่บน เซิร์ฟเวอร์ 2.3.2.2กกApplication Development ส่วนสำคัญในการติดต่อกับ แอปพลิเคชั่นของ SQL Server เพื่อที่จะใช้ในการพัฒนา แอปพลิเคชั่น คือ Application Development จะช่วยจัดการติดต่อระหว่าง ผู้ใช้งาน (Front end) และ เอนจินฐานข้อมูล (Back end) SQL Server สนับสนุน API ฐานข้อมูลในการ เชื่อมต่ออยู่ 2 ตัวคือ OLE DB และ ODBC ดังภาพที่ 2-2 ภาพที่ 2-2 แสดงสถาปัตยกรรมการเชื่อมต่อของ SQL Server ก)กกOLEDB (Object Linking and Embeding Database) เป็น COM(Component Object Model) ซึ่งจะสนับสนุนข้อมูล จากแอปพลิเคชั่นฐานข้อมูลอื่น ๆ ที่ใช้ OLEDB จะสนับสนุนข้อมูลจากแอปพลิเคชั่น ฐานข้อมูลอื่น ๆ ที่ใช้ OLEDB จะสนับสนุนการเชื่อมต่อฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ และ ฐานข้อมูลแบบธรรมดา ได้มีการพัฒนา OLEDB ให้ทำงานร่วมกับ Exchange Server, Data Object Interfaces Application Programming Interfaces ADO RDO OLE DB ODBC Other data Source Relational Database 16 Access, Active Directiory, Index Server และ Oracle ไมโครซอฟท์ได้พัฒนา คุณสมบัติ Linked Server โดยใช้ OLE DB ซึ่งจะทำให้สามารถคิวรีข้อมูลได้จาก ฐานข้อมูลหลายตัวผ่าน OLEDB เช่นการคิวรีข้อมูลจาก SQL Server ร่วมกับข้อมูลของ Access, Sybase หรือ Oracle บนเซิร์ฟเวอร์คนละตัว ซึ่งสามารถแสดงให้เห็นได้ ดัง ภาพที่ 2-3 ภาพที่ 2-3 แสดงสถาปัตยกรรมการเชื่อมต่อของ OLE DB ข)กกODBC เป็นการใช้สถาปัตยกรรมการเชื่อมต่อแบบ Common Interface สามารถจะเชื่อมต่อและเรียกใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลต่างกันได้ ODBC เป็นเสมือน API ในการเชื่อมต่อข้อมูลจากหลาย ๆ ตระกูลโดยใช้แอปพลิเคชั่นตัวเดียวกัน แต่จะใช้ ไดร์ฟเวอร์ในการเชื่อมต่อต่างกัน Data Object Interface อ๊อบเจ็กต์ฐานข้อมูลในการเชื่อมต่อจะมีอยู่ 2 แบบ คือ ADO (ActiveX Data Objects) จะใช้การ Encapsulates ในการ รวมความสามารถฟังก์ชั่นของแต่ละ อ๊อบเจ็กต์ และ Data Attribute ที่มีลักษณะ เหมือนกัน นำมารวมเข้าด้วยกัน (เรียกว่า Class) ADO สามารถจะเรียกใช้งานจาก Visual Basic, Active Server Page ส่วน RDO (Remote Data Objects) สามารถจะใช้การ Encapsulates ได้เช่นกัน SQL Server Access Oracle Third party OLE DB Interfaces SQL Server OLE DB Provider Jet OLE DB Provider OLE DB Provider for ODBC Oracle OLE DB Provider Jet Database file ODBC - SQL Server - Sybase - Informix - DB2 - Oracle - Other - FoxPro file - Dbase file - Excel SQL Server Oracle Active Directory Index Server 17 2.3.2.3กกAdministration การบริหารระบบฐานข้อมูล SQL Server สามารถจะทำได้หลายทางไม่ว่าจะเป็นการพิมพ์คอมมานลาย หรือผ่านกราฟิกส์อินเตอร์เฟช ขึ้นอยู่ กับความชำนาญ และความสะดวกของผู้บริหารระบบ ซึ่งประกอบด้วยเรื่องต่าง ๆ เหล่านี้ ก) SQL Server Administration ผู้บริหารระบบ สามารถจะ ควบคุมหรือจัดการฐานข้อมูลได้ 3 แบบด้วยกันคือ - Batch Utilities เป็นการใช้คอมมานลาย เช่น osql และ bcp - Graphic Administrator เป็นกราฟิกส์ทูล เช่น SQL Enterprise Manager - COM (Component Object Model) เป็นการใช้แอปพลิเคชั่น เช่น Visual Basic ข)กกSQL Distributed Management Objects เป็นที่ รวมอ๊อบเจ็กต์ของ Combasec administration จะเป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างไคลเอ็นต์ และเซิร์ฟเวอร์ ค)กกSQL Server Agent เป็นตัวจัดการกับเซิร์ฟเวอร์ตัวอื่นที่เชื่อมต่อ อยู่ในระบบเน็ตเวิร์ก แต่อยู่ไกลออกไปผู้ดูแลระบบสามารถจะกำหนดงานต่าง ๆ ให้เซิร์ฟเวอร์ได้ ตามต้องการ เช่น สั่งให้แบ็คอัพข้อมูลหลังเลิกงานตอนเย็นทุกวัน SQL Server Agent มี หน้าที่ดังนี้ 1. Alert Management ทำการแจ้งเตือนให้ทราบว่าโปรเซสของงาน ที่ทำสำเร็จหรือผิดพลาด 2.กNotification สามารถจะส่งแมสเซสแจ้งเตือนผ่าน E-mail, Pager หรือ สตาร์ตแอปพลิเคชั่นบางตัว เมื่อเกิดการแจ้งเตือน เช่น log file เต็ม 3. กJob Execution สามารถจะสร้าง Job Scheduling ให้ทำงาน ตามข้อกำหนดได้ 4.กReplication Management การเรพลิเคตข้อมูลจาก SQL Server ไปยังเซิร์ฟเวอร์อื่น ๆ 2.3.2.4กกโมเดลของระบบฐานข้อมูล ระบบฐานข้อมูลที่ใช้งานอยู่บนเครื่อง คอมพิวเตอร์ จะมีอยู่หลายโมเดลด้วยกัน ขึ้นอยู่กับการทำงาน และความเหมาะสม ตลอดจน ความสามารถในการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยโมเดลต่าง ๆ ดังนี้ ก)กกโมเดลแบบ File Management ข)กกโมเดลแบบ Hierarchical Database 18 ค)กกโมเดลแบบ Network Database ง)กกโมเดลแบบ Relational Database ซึ่งจะขออธิบายเฉพาะโมเดลแบบ Relational Database เท่านั้น เพราะได้ใช้เป็นโมเดลในการพัฒนาระบบการลงทะเบียนอบรมผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็น ระบบฐานข้อมูลที่ได้ออกแบบและพัฒนาต่อจากโมเดลแบบ Hierarchical Database และโมเดลแบบ Network Database ผู้ใช้งานจะเห็นข้อมูลถูกเก็บอยู่ในรูปของตาราง สองมิติ ซึ่งจะประกอบด้วยแถว และคอลัมน์ โดยที่ข้อมูลในแต่ละแถวจะประกอบไปด้วยหลาย คอลัมน์ที่สัมพันธ์กัน เรียกว่า 1 เรคอร์ด ภาษา SQL เป็นภาษาฐานข้อมูลที่ใช้ในการติดต่อกับ ระบบจัดการฐานข้อมูล หรือ DBMS (Database Management System) เพื่อ จัดการฐานข้อมูล ค้นหาข้อมูล จะเห็นว่า SQL ไม่ใช่ DBMS แต่เป็นภาษาฐานข้อมูลที่ ทำงานร่วมกับ DBMS บนฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ SQL จะไม่จัดการกับข้อมูล ในระดับ กายภาพโดยตรงแต่จะสั่งให้ DBMS ซึ่งมี Database Engine เป็นตัวจัดการ ค้นหา จัดเก็บ ข้อมูลจากฐานข้อมูล 2.4กกเทคโนโลยี ASP (Active Server Page) ไพศาล (2544: 161) ได้อภิบายเรื่องเทคโนโลยีของ ASP ไว้คือ Active Server Pages หรือ ASP เป็นเทคโนโลยีของไมโครซอฟท์ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อการออกแบบ และพัฒนาระบบงานบนอินเตอร์เน็ต เอกสาร ASP เป็นเท็กซ์ไฟล์ที่ประกอบด้วยภาษาสคริปต์ เช่น VBScript หรือ JScript (JScript เป็นภาษาสคริปต์ของไมโครซอฟท์ที่คล้ายกับ Java Script) รวมกับแท็กของ HTML แล้วเก็บไว้ที่เว็บเซิร์ฟเวอร์ โดยเอกสารที่เป็น ASP จะมีแท็ก ASP กำกับอยู่ (จะมีแท็ก ) ซึ่งเมื่อใช้บราวเซอร์ที่ไม่สนับสนุน การใช้งาน ASP ก็จะไม่แสดงผล (เช่น Netscape Navigator หรือ Internet Explorer เวอร์ชั่น 3 ลงมา) เมื่อบราวเซอร์เรียกใช้งานก็จะมีตัวแปล (ASP Interpreter) และถูกเอ็กซิคิวต์ที่เว็บเซิร์ฟเวอร์แล้วส่งผลลัพธ์ในรูปแบบของเอกสาร HTML ส่งมาแสงดผลทำให้แสดงผลข้อมูลที่เป็นข้อมูลล่าสุด ซึ่งต่างจากการทำงานของ เว็บเพ จแบบเดิม ๆ คือผู้ออกแบบจะต้องสร้างเอกสาร HTML ไว้ทุกกรณีที่ผู้ใช้ลิงค์เข้ามาใช้งาน ดังนั้นข้อมูลอาจจะไม่อัปเดทก็ได้ 2.4.1กกองค์ประกอบของ Active Server Pages ไพศาล (2544: 161) ได้อภิบายเรื่ององค์ประกอบของ Active Server Pages ไว้ว่าถ้าใครเคยมีประสบการณ์การเขียนโปรแกรม หรือสร้างเว็บเพจมาบ้างคงพอจะรู้ว่า เราต้องเริ่ม จากการเขียนโปรแกรม หรือเว็บเพจ แล้วบันทึกเก็บไว้ เมื่อจะต้องใช้งานก็เพียงเรียกใช้งาน หรือ 19 โหลดผ่านบราวเซอร์ แต่ Active Server Pages นั้นแตกต่างออกไป เหตุเพราะมันทำงาน อยู่ใน เว็บเซิร์ฟเวอร์ จะมองกันง่าย ๆ ก็ได้ว่า Active Server Pages ก็คือ การสร้างแอปพลิเคชั่น ให้ทำงานบน เว็บเซิร์ฟเวอร์ และคอยบริการผู้ที่มาเรียกใช้งาน โดยมันจะทำงานตลอดเวลาที่เว็บ เซิร์ฟเวอร์ยังมีทำงานอยู่ ซึ่งแม้จะมีความคล้ายคลึงกับเว็บเพจทั่ว ๆ ไป แต่มีความสามารถหลาย อย่างที่เหนือกว่าเว็บเพจธรรมดา ๆ 2.4.2กกลักษณะเด่น 7 ประการของ ASP ไพศาล (2544: 163) ได้อภิบายเรื่องลักษณะเด่น 7 ประการของ ASP ดังต่อไปนี้ ด้วยการพัฒนาที่คำนึงถึงการใช้งานที่มีประสิทธิภาพและยืดหยุ่นกับการใช้งานบนเว็บทำให้ ASP มีจุดเด่น 7 ประการคือ 2.4.2.1กกไดนามิกเว็บเพจ (Dinamic Webpage) เนื่องจาก ASP สนับสนุนการแทรกสคริปต์ไม่ว่าจะเป็น VBScript, JavaScript และ Jscript (ของ ไมโครซอฟท์) ซึ่งสคริปต์เหล่านี้จะประมวลผลทางเซิร์ฟเวอร์ แล้วส่งผลลัพธ์ไปที่ไคลเอ็นต์ผ่าน ทางเว็บบราวเซอร์ ทำให้เอกสารไม่น่าเบื่อ เนื่องจากเปลี่ยนตลอดเวลา เช่น การออกแบบเอกสาร เพื่อทักทายผู้เข้าชมตามเวลาต่าง ๆ ที่ล๊อกอินเข้ามา เป็นต้น 2.4.2.2กกบิวต์อินออปเจ็กต์ (Built-in Objects) ผู้พัฒนา ASP สามารถ เรียกใช้ออปเจ็กต์ที่ผนวกมากับ ASP ได้ทันที เนื่องจากออปเจ็กต์เหล่านี้มีหน้าที่ในการติดต่อ ระหว่างเซริ์ฟเวอร์กับไคลเอ็นต์ โดยในแต่ละออปเจ็กต์จะประกอบด้วยคอลเล็กชัน (Collection) พร็อพเพอร์ตี้ (Property) และเมธอด (Method) ที่จำเป็นในการ ติดต่อระหว่างเซิร์ฟเวอร์ และไคลเอ็นต์ เช่น คุณต้องใช้ ออปเจ็กต์ Request เพื่อรับข้อมูล จากผู้ใช้งานทางฟอร์มของ HTML จากไคลเอ็นต์ หรือใช้ ออปเจ็กต์เหล่านี้ประกอบด้วย Request, Response, Application, Session, Server, ObjectContext และ ASPerror (มีใน ASP 3.0) 2.4.2.3กกบิวต์อินคอมโพเนนต์ (Built-in Component) นอกจากจะมีบิวต์ อินออปเจ็กต์แล้ว ASP ยังเตรียมคอมโพเนนต์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความสวยงามให้กับ เอกสาร เช่น การสร้างป้ายโฆษณาที่แสดงแบบสุ่มตลอดเวลาที่เข้าหน้าเอกสาร หรือรีเฟซหน้า เอกสารนั้น หรือแม้แต่ การแสดงข้อความที่เป็นข้อแนะนำ หรือ Browser Capabilities, Content Linking, Counter, Database Access, File Access 2.4.2.4กกติดต่อฐานข้อมูล (Database Access) เนื่องจากปัจจุบันการใช้งาน ฐานข้อมูลบนเว็บ ที่เรียกว่า web Database เป็นที่นิยมมาก เป็นการขยายฐานข้อมูลแบบ 20 ไคลเอ็นต์เซิร์ฟเวอร์ที่มีความจำกัดเฉพาะในบริเวณ เช่น ในบริษัทหรือในอาคารหนึ่ง ๆ ขีดจำกัดนี้ ถูกทำลายด้วย ASP ทำให้คุณสามารถดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลที่อยู่ห่างไกลผ่านทางเว็บได้ ทำให้ การค้าที่เรียกว่า อี-คอมเมิร์ซ (E-Commercr) มีความเจริญอย่างรวดเร็ว จากความง่ายและความ ยืดหยุ่นในการสนับสนุนระบบฐานข้อมูลได้หลาย ๆ แพ๊ตฟอร์ม ไม่ว่าจะเป็น SQL Server, Oracel, Access หรือแม้แต่ dBase ทำให้ผู้ใช้ไม่ต้องพบปัญหาในการเลือกใช้ระบบ ฐานข้อมูลอีกต่อไป การทำงานร่วมกับฐานข้อมูลเหล่านี้ ASP มีบิวต์อินออปเจ็กต์ ที่เรียกว่า ActiveX Data Object (ADO) 2.4.2.5กกฟรี จุดเด่นข้อสุดท้ายที่ผู้เขียนจะกล่าวถึงก็คือ บิวต์อินต่าง ๆ ตลอดจน สิ่งที่ได้รับจาก ASP หรือแม้แต่ตัวคอมไพล์ ASP เองได้มาฟรี ๆ ที่คุณสามารถดาวน์โหลดมา ใช้งานได้ทันที โดยสิ่งที่ฟรีเหล่านี้ เริ่มตั้งแต่เว็บเซิร์ฟเวอร์, โปรแกรมคอมไพล์ ASP, เอดิเตอร์ สำหรับเขียนโค้ด และเว็บบราวเซอร์ เรียกว่าคุ้มค่าตั้งแต่เริ่มทดลองใช้งาน ไปจนถึง ประสิทธิภาพของหน้าเอกสารที่คุณต้องการ 2.4.2.6กกแหล่งบริการข้อมูล ทั้งที่เป็นบทเรียนและโค้ดที่จำเป็นต้องใช้ หรือ ตัวอย่างโค้ดที่แตกต่างไปจากเดิมและมีประสิทธิภาพตามความต้องการของผู้ใช้ สามารถค้นหาได้ จากเว็บไซต์ต่าง ๆ เช่น http://www.thaidev.com/, http://www.builder.customix.net/ หรือ http://www.aspfree.com/ เป็นต้น 2.4.2.7กกการสนับสนุนเว็บเซิร์ฟเวอร์หลายรูปแบบ ข้อสุดท้ายนี้เป็นจุดเด่นที่แต่ เดิมเป็นจุดด้อย เนื่องจากแต่เดิมนั้น ASP จะใช้งานได้บนระบบปฏิบัติการและเซิร์ฟเวอร์ของ ไมโครซอฟท์เท่านั้น แต่ปัจจุบันคุณสามารถใช้ ASP บนระบบยูนิกซ์ หรือลีนุกซ์ได้แล้ว โดย การพัฒนาของบริษัท Chili!Soft ดังนั้นถ้าคุณต้องการนำ ASP ไปใช้กับระบบดังกล่าว สามารถดาวน์โหลดได้จาก http://www.chilisoft.com/ และเพื่อความสะดวก คุณสามารถใช้งาน Chiliasp โดยขยายไฟล์ chiliasp-linux-3.5.01.tar ใน โฟลเดอร์…\shareware\chilisoft หรือไฟล์ chiliasp-nt.exe สำหรับ Windows NT ที่ใช้ Apache เป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์ 2.5กกเทคโนโลยีเว็บแอปพลิเคชั่นกับการเชื่อมต่อฐานข้อมูล 2.5.1กกวิวัฒนาการของเทคโนโลยีเว็บแอปพลิเคชั่นฐานข้อมูล สัจจะ และสมพร (2543: 197-199) ได้อธิบาย วิวัฒนาการของเทคโนโลยีเว็บแอปพลิเคชั่น ฐานข้อมูลดังต่อไปนี้ เว็บเพจได้ถูกพัฒนาขึ้นมาจากการเป็นเพียงแค่ข้อความธรรมดาที่สามารถลิงค์ หรือเชื่อมโยงไปยังเว็บเพจหน้าอื่น ๆ ได้ แต่ปัจจุบันเว็บเพจมีสีสัน มีรูปภาพตกแต่งที่สวยงาม ตลอดจน โปรแกรมต่าง ๆ ที่เพิ่มเติมเข้ามามากมาย หรือแม้แต่การโต้ตอบทันทีทันใดกับผู้ใช้งาน 21 ด้วยสคริปต์อย่างง่าย จนกระทั่งการเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลให้สามารถบริหารและจัดการคลังข้อมูล ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพที่เรียกกันว่า เทคโนโลยีของเว็บแอปพลิเคชั่นชันฐานข้อมูล ซึ่ง เทคโนโลยีนี้จะขึ้นอยู่กับแพล็ตฟอร์มของระบบปฏิบัติการ ซึ่งเป็นรากฐานของเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ใน การแสดงและรันเว็บเพจ ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 2.5.1.1 กกกำเนิดจาก Unix Platform ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ (Unix) มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน เพราะเป็น ระบบปฏิบัติการรุ่นแรก ๆ ที่มีผู้ใช้งานอยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้นจึงทำให้การพัฒนาในด้าน ซอฟต์แวร์รวมทั้งเว็บเทคโนโลยีได้รับความนิยมตามไปด้วย ในส่วนของเว็บแอปพลิเคชั่นชันฐานข้อมูลในช่วงแรกเป็นการเขียนสคริปต์เพื่อ ให้เข้า มาตรฐานของ CGI (Common Gateway Interface) ซึ่งสามารถเขียนได้หลาย ภาษา ทั้ง Shell สคริปต์ของระบบปฏิบัติการเอง หรือภาษา C ซึ่งเป็นภาษายอดนิยมอยู่ใน ขณะนั้น ในเวลาต่อมาได้มีภาษา PERL (Practical Extraction and Reporting Language) เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการเขียน CGI สคริปต์ โดยมีความยืดหยุ่นภายใน ตัวเองเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังมีไวยากรณ์ที่ใกล้เคียงกันกับภาษา C จึงทำให้ผู้ที่คุ้นเคยภาษา C อยู่ แล้วสามารถเรียนรู้ได้ง่าย ในระยะหลังมีผู้ในใจการเขียน PERL สคริปต์อยู่เป็นจำนวนมาก จนกระทั่งปัจจุบัน วิวัฒนาการของเว็บแอปพลิเคชั่นฐานข้อมูลบนระบบปฏิบัติการ Unix ยังไม่หยุดอยู่แต่ เพียงเท่านี้ เพราะเมื่อไม่นานมานี้ได้มีภาษา PHP (Personal Home Page) เริ่มได้รับ ความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพราะความง่ายของการเขียนสคริปต์ และอิงอยู่กับไวยากรณ์ของภาษา C เช่นกัน จึงทำให้ไม่สามารถอาจคาดคะเนได้ว่าจะเข้ามาแทนที่ PERL สคริปต์ต่อไปได้ หรือไม่ 2.5.1.2กกพัฒนาต่อมาเป็น Windows Platform ระบบปฏิบัติการ Windows ของไมโครซอฟท์ได้เริ่มแพร่เข้าสู่ผู้ใช้งานมากขึ้น ด้วย เหตุผลง่าย ๆ เช่น การใช้งานที่ง่ายยิงขึ้น และการเป็นมิตรกับผู้ใช้งาน (User Friendly) ตลอดจนสามารถเรียนรู้วิธีการใช้งานได้รวดเร็วกว่าระบบปฏิบัติการอื่น ๆ ในช่วงแรก ๆ ของเว็บแอปพลิเคชันฐานข้อมูล จะเป็นการเลียนแบบเทคโนโลยี ที่มีอยู่บน ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ให้สามารถทำงานได้บนระบบปฏิบัติการ Windows อย่างเช่น CGI สคริปต์ ที่เปิดกว้างให้สามารถใช้ภาษาต่าง ๆ บนสภาพแวดล้อมของ Dos หรือ Windows เช่น Pascal หรือ C ก็สามารถทำได้ 22 แต่ CGI บน Windows จะแตกต่างจากบนยูนิกซ์ตรงที่จะต้องทำการคอมไพล์ CGI สคริปต์ให้เป็นเอ็กซีคิวซ์ไฟล์ที่มีนามสกุลเป็น EXE เสียก่อน แล้วจึงสามารถเรียกใช้งานผ่าน เว็บเพจคล้ายกับการรันโปรแกรมทั่วไปนั่นเอง ส่วนบนยูนิกซ์การรัน CGI จะเป็นการใช้ตัวแปลภาษาของแต่ละภาษาไปแปลความหมาย ของสคริปต์ในแต่ละบรรทัดให้ทำงานแทน โดยหากบรรทัดใดมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น การทำงาน ของสคริปต์ในส่วนที่เหลือก็จะหยุดไป นอกจากนี้ PERL สคริปต์ยังสามารถนำมาใช้บน Windows ได้เช่นกัน โดยจะต้อง นำตัวแปลภาษา PERL สำหรับ Windows มาติดตั้งลงไปก่อน เพื่อเสริมการทำงานให้กับ เว็บเซิร์ฟเวอร์ คล้ายกับเป็นแอ็ดออน ซึ่งทำหน้าที่แปลความหมายของสคริปต์ที่เขียนด้วยภาษา PERL ในลักษณะเดียวกันกับการทำงานบน Unix 2.5.1.3กกเลียนแบบ CGI ด้วย Windows Common Gateway Interface (WinCGI) ทางด้านเว็บแอปพลิเคชั่นฐานข้อมูลบน Windows ได้เริ่มมีการพัฒนาขึ้นอย่าง แท้จริง คือ การประยุกต์ภาษาที่ใช้บน Windows ให้สามารถเขียนเป็น CGI ได้ เช่น Delphi หรือ Visual Basic เป็นต้น โดยเรียกเทคโนโลยีดังกล่าวนี้ว่า WinCGI (Windows Common Gateway Interface) ทำให้มีความสะดวกสำหรับผู้ที่เคยเขียนภาษาวิชวล เหล่านี้เพราะไม่ต้องกลับไปศึกษาภาษาต้นฉบับอย่างภาษา C ได้ 2.5.1.4กก เขียนโปรแกรมที่เว็บเซิร์ฟเวอร์ด้วย Internet Server Application Programming Interface เนื่องจาก CGI มีข้อเสียที่สำคัญคือ ในทุก ๆ ครั้งที่มีการเรียกใช้งานจะหมายถึง การ โหลดโพรเซสของงานใหม่ให้กับเว็บเซิร์ฟเวอร์เสมอ ๆ ทำให้การตอบสนองของผลลัพธ์ช้าลงไป อย่างเห็นได้ชัด ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการพัฒนา ISAPI (Internet Server Application Programming Interface) มาลดข้อบกพร่องตรงนี้ไป สำหรับการเขียน ISAPI สามารถใช้ภาษา C หรือ C++ สร้างให้เป็น DLL ไฟล์ สำหรับ Windows จากนั้นจึงโหลดไฟล์นี้ให้เป็นโพรเซสหนึ่งของเว็บเซิร์ฟเวอร์เพื่อคอย ทำหน้าที่ประมวลผลเกี่ยวกับการทำงานของแอปพลิเคชันที่เขียนขึ้นมานั้น ๆ โดยเฉพาะ 2.5.1.5กกเทคโนโลยีการตัดต่อรุ่นดั้งเดิม Internet Database Connector (IDC) ในส่วนของไมโครซอฟท์เองได้เริ่มพัฒนาความสามารถของเทคโนโลยีทางด้านเว็บ แอปพลิเคชั่นชันฐานข้อมูลที่มีชื่อว่า IDC (Internet Database Connector) ซึ่งมี 23 มา พร้อมกับเว็บเซิร์ฟเวอร์ IIS (internet Information Server) เวอร์ชัน 1.0 ที่ แจกฟรีมากับ Windows NT และเรียกได้ว่าเป็นก้าวที่สำคัญของเว็บแอปพลิเคชันฐานข้อมูล ที่มีความง่าย และสะดวกต่อการจัดการและดูแลเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เนื่องจากในส่วนที่มีการติดต่อ กับฐานข้อมูลสามารถทำได้ง่ายกว่าโดยอาศัยตัวกลางการเชื่อมโยงข้อมูลผ่านทาง ODBC เท่านั้น 2.5.1.6 กกเทคโนโลยีล่าสุด ได้รับความนิยมสูงสุด Active Server Pages เทคโนโลยีทางด้านเว็บแอปพลิเคชันฐานข้อมูลของไมโครซอฟท์ได้ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และเพื่อเป็นการปรับปรุงความสามารถของ IDC โดยลดความซับซ้อน ตลอดจนเพิ่มความยืดหยุ่นให้ มีมากขึ้น ASP (Active Server Pages) จึงถือกำเนิดขึ้นมา และทำงานได้กับ IIS 3.0 ซึ่งเป็นแอ็ดออน ต่างหากที่สามารถดาวน์โหลดได้ฟรีจากเว็บไซต์ http://www.microsoft.com/ และได้ถูกรวบรวมเข้ากับ IIS 4.0 ในชุด Windows NT Option Pack 1.0 หรือ PWS เวอร์ชัน 4.0 จนกระทั่งปัจจุบันที่มีมาพร้อมกับ IIS 5.0 สำหรับ Windows 2000 รุ่น Server ขึ้นไป หรือ PWS เวอร์ชัน 5.0 สำหรับ Windows 2000 รุ่น Professional โดยอาศัย ADO ทำหน้าที่ในการเชื่อมต่อกับ ฐานข้อมูลเป็นหลัก 2.5.1.7 Universal Data Access เนื่องด้วยความสำคัญของเว็บแอปพลิเคชั่นชันฐานข้อมูลคือ ความสามารถในการติดต่อกับ ฐานข้อมูล แต่เพราะฐานข้อมูลที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีอยู่ด้วยกันหลากหลาย เช่น SQL Server, Oracle, DB2, Informix, Interbase, Sybase, Access, Approach, Paradox เป็นต้น ดังนั้นจึงเป็นการยากที่จะทำการเขียนสคริปต์เพื่อติดต่อให้ครบทุก ๆ ฐานข้อมูลด้วยเหตุนี้จึงทำให้มีการคิดค้นมาตรฐานกลางเพื่อนำมาช่วยให้สามารถติดต่อได้กับทุก ๆฐานข้อมูลที่เรียกว่า universal data access ประโยชน์ที่เห็นได้ชัดเจนคือ หากมีการเปลี่ยนฐานข้อมูลก็ไม่จำเป็นที่จะต้องเขียนสคริปต์ เพื่อติดต่อกับฐานข้อมูลขึ้นใหม่ทั้งหมด เพียงแต่เปลี่ยนสคริปต์ให้ตรงตามมาตรฐานการติดต่อ ฐานข้อมูลเท่านั้น นับได้ว่าเป็นความสะดวกต่อนักพัฒนาโปรแกรมเป็นอย่างยิ่ง 2.5.2 หลักการทำงานของ ASP เนื่องจาก ASP จะทำงานโดยมีตัวแปลและเอ็กซิคิวต์ที่ฝั่งเซิร์ฟเวอร์ อาจจะเรียกการ ทำงานว่าเป็นเซิร์ฟเวอร์ไซด์ (Server Side) ส่วนการทำงานของบราวเซอร์ของผู้ใช้เรียกว่า ไคลเอนต์ไซต์ (Client Side) โดยการทำงานจะเริ่มต้นที่ผู้ใช้ส่งความต้องการผ่าน เว็บ 24 บราวเซอร์ทาง HTTP (HTTP Request) ซึ่งอาจจะเป็นการกรอกแบบฟอร์ม หรือใส่ ข้อมูลที่ต้องการ ข้อมูลเหล่านั้นจะเป็นเอกสาร ASP (เอกสารนี้จะมีส่วนขยายเป็น asp เช่น index.asp เป็นต้น) เมื่อเอกสาร ASP เข้ามาถึง เว็บเซิร์ฟเวอร์ก็จะถูกส่งไปให้ ASP เพื่อทำหน้าที่แปลคำสั่งแล้วเอ็กซิคิวต์คำสั่งนั้น ซึ่ง ASP อาจจะเรียกใช้ออบเจ็กต์, คอม โพเนนต์ หรือ ADO (เพื่อใช้ฐานข้อมูล) หลังจากนั้น ASP จะสร้างผลลัพธ์ในรูปแบบ เอกสาร HTML ส่งกลับไปให้เว็บเซิร์ฟเวอร์เพื่อส่งต่อไปให้บราวเซอร์แสดงผลทางฝั่ง ผู้ใช้ ต่อไป (HTTP Response) ซึ่งลักษณะการทำงานแบบนี้จะคล้ายกับการทำงานของ CGI (Common Gateway Interface) หรืออาจจะกล่าวได้ว่า ASP ก็คือโปรแกรม CGI ประเภทหนึ่งก็ได้ ซึ่งองค์ประกอบและหลักการทำงานของ ASP สามารถแสดงได้ ดังภาพที่ 2- 4 ภาพที่ 2-4 แสดงองค์ประกอบและหลักการทำงานของ ASP 2.5.3กกการติดต่อข้อมูล SQL Server ของ ASP ในการติดต่อฐานข้อมูลที่เป็น Access (*.mdb) หรือ FoxPro (*.dbf) ASP จะอาศัย ADODB (AxtiveX Data Object Database) เพื่อติดต่อและจัดการกับ Request ไฟล์ index.asp Response ไฟล์ index.asp ไฟล์ index.asp Database 25 ข้อมูลในฐานข้อมูลนั้น สำหรับขั้นตอนการตอนการติดต่อแฟ้มข้อมูลของ ASP จะต้องอาศัย ไดร์เวอร์ของแฟ้มข้อมูลนั้นช่วยซึ่ง มีอยู่ด้วยกัน 3 วิธีคือ 2.5.3.1กกODBC และ DNS มาตรฐานการติดต่อกับฐานข้อมูลที่นิยมกัน เป็นอย่างมากคือ ODBC (Open Database Connectivity) ซึ่งเป็นตัวกลางทำหน้าที่ เชื่อมต่อระหว่างเว็บแอปพลิเคชั่นและฐานข้อมูล โดยอาศัยไดรเวอร์ (Driver) ของแต่ละ ฐานข้อมูลเป็นช่องทางในการติดต่อ ดังภาพที่ 2-5 โดยDSN-name คือชื่อของ DSN ที่สร้างและกำหนดไดร์เวอร์ไว้แล้ว ภาพที่ 2-5 แสดงรูปแบบคำสั่งการติดต่อกับฐานข้อมูลแบบ ODBC และ DNS ข้อดีของการใช้ ODBC คือ สามารถสร้างการเชื่อมต่อและกำหนดให้เป็นชื่อ DSN (Data Source Name)ไว้ก่อน เพื่อใช้อ้างอิงในการเข้าถึงฐานข้อมูลได้ ดังนั้นหากมีการ เปลี่ยนฐานข้อมูลเป็นผลิตภัณฑ์ตัวอื่น แต่ยังคงสร้าง DNS ให้เป็นชื่อเดิมจะสามารถเข้าถึงข้อมูล ได้ในลักษณะเดียวกันนี้ได้ ข้อเสียของการใช้ ODBC คือ ความล่าช้าที่เกิดจากการแปลงคำสั่งไปมาผ่าน ตัวกลางนั่นเอง และต้องมีการเซ็ตอัพ ODBC และสร้าง DSN ที่เซิร์ฟเวอร์เท่านั้น ซึ่ง หมายความว่าจะต้องเข้าไปทำงานที่เซิร์ฟเวอร์นั้นอย่างเดียว 2.5.3.2กกDSNLess การติดต่อแบบนี้จะไม่ใช้ DSN นั่นหมายถึงว่าไม่ จำเป็นต้องสร้าง DSN หรืออาจจะกล่าวได้ว่าไม่มีการติดต่อกับ ODBC นั่นเอง ดังภาพที่ 2- 6โดย server-name คือ ชื่อเซิร์ฟเวอร์ หรือ IP ของเซิร์ฟเวอร์ก็ได้ database-name คือ ชื่อของฐานข้อมูลที่ต้องการติดต่อ user-name คือ ชื่อของผู้ใช้ฐานข้อมูลนั้น password คือ รหัสผ่านของผู้ใช้ฐานข้อมูลนั้น ๆ Set ObjDB=Server.CreateObject("ADODB.Connection") ObjDB.Open DSN-name," "," " Set ObjDB=Server.CreateObject("ADODB.Connection") ObjDB.Open "Driver={SQL Server};SERVER=server-name; DATABASE=database-name UID=user-name;PWD=password" 26 ภาพที่ 2-6 แสดงรูปแบบคำสั่งการติดต่อกับฐานข้อมูลแบบ DSNLess ข้อดีของการใช้ DSNLess คือ การติดต่อแบบนี้จะตัดขั้นตอนการเซ็ตอัพ ODBC ทั้งหมด ทำให้สะดวกในการใช้งาน ไม่จำเป็นต้องไปเซ็ตอัพที่เซิร์ฟเวอร์ ข้อเสียของการใช้ DSNLess คือ ถ้าต้องการเปลี่ยนชนิดของฐานข้อมูล เช่นจาก Access เป็น SQL Server จำเป็นต้องแก้ไขรูปแบบการติดต่อทุกไฟล์ที่กล่าวถึงการติดต่อ 2.5.3.3กกOLEDB เนื่องจาก ODBC สามารถเชื่อมต่อกับแหล่งเก็บข้อมูล (Data Store) ที่อยู่ในรูปของฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database) เท่านั้น แต่ความต้องการเพื่อติดต่อกับแหล่งเก็บข้อมูลประเภทอื่น ๆ มีเพิ่มมากขึ้น OLEDB (Object Linking and Embedding Database) ซึ่งเป็นออบเจ็คที่มีพื้นฐานมา จาก COM (Component Object Model) จึงได้ ถูกนำเสนอมาทำหน้าที่เหล่านี้ ทั้งนี้เพราะนอกจากจะสามารถติดต่อได้กับฐานข้อมูลทั่วไปแล้ว ยังสามารถติดต่อแหล่งข้อมูลบาง อย่างเช่น Index Services, Directory, หรือแม้แต่ Exchange Server รวมทั้ง ODBC เองได้อีกด้วย 2.6กกงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง งานวิจัยในประเทศ ศิริวรรณ ฉัตรมงคลวัฒน์ (2542) ได้ทำการพัฒนาระบบการลงทะเบียนระบบ Domain Name ผ่าน Web เป็นการพัฒนาระบบเพื่อให้ ผู้ที่ต้องการลงทะเบียนสามารถ ติดต่อขอใช้บริการผ่าน ระบบเครือข่าย Internet และผู้ดูแลระบบสามารถตรวจสอบพร้อมทั้ง แจ้งผลไปยังผู้ที่ขอลงทะเบียนผ่านทางจดหมายอิเล็คทรอนิกส์ได้ โดยผู้ลงทะเบียนจะมีการติดต่อ ระบบผ่านทาง Browser เพื่อลงทะเบียน เมื่อผู้ใช้ส่งข้อมูลไปยังระบบแล้ว ระบบจะมีการ ประมวลผลแล้วส่งจดหมายอิเล็คทรอนิกส์ให้กับผู้ใช้เพื่อตรวจสอบ ในส่วนการพัฒนาระบบการทำการจะอยู่ภายใต้รูปแบบ Client/Server แบบ Three Tiers ประกอบด้วย Web Client , Web Server และ Database Server ซึ่งการทำงานจะใช้ภาษา Perl บน WindowsNT4.0 ในการเขียนโปรแกรม CGI (Common Gateway Interface) รวมทั้งการเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลจะใช้วิธีการทำงานผ่าน ODBC (Open Database Connectivity) 27 เกียรติศักดิ์ แพ่งกุล (2542) ได้ทำการพัฒนาโฮมเพจระบบทะเบียนนักศึกษาวิทยาลัยเซาธ์ อีสท์บางกอก โดยใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตในการบริการข้อมูล ข่าวสารขององค์กรและ หน่วยงานของวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก ซึ่งเป็นวิทยาลัยที่จัดตั้งขึ้นใหม่ ที่เล็งเห็นถึงความสำคัญที่ จะพัฒนาเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อใช้ประโยชน์ในด้านการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข่าวสารของ วิทยาลัย รวมทั้งให้บริการกับนักศึกษาในด้านต่าง ๆ เช่น การลงทะเบียน การตรวจสอบผลการ เรียน และข้อมูลข่าวสารด้านต่าง ๆ จึงจัดให้มีการพัฒนาโครงงานนี้ขั้นโดยการประยุกต์เทคโนโลยี ต่าง ๆ ที่ใช้การออกแบบสร้าง Home Page และ Web Page มาช่วยในการพัฒนา โครงงานและประยุกต์การใช้งานระบบ ฐานข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต เพื่อนำมาใช้ประโยชน์สำหรับ ระบบทะเบียนนักศึกษาของวิทยาลัยให้เหมาะสมกับสังคมยุคสารสนเทศเช่นปัจจุบัน กุณฑลี ทวีศักดิ์ (2540) ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับการศึกษาการลงทะเบียนใช้ระบบ คอมพิวเตอร์ทำการสำรวจ โดยใช้กรณีศึกษานักศีกษาชั้นปีที่ 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบัน เทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี พบว่านักศึกษาที่มีระดับคะแนนเฉลี่ยสูง ระดับความเข้าใจใน ระบบคอมพิวเตอร์สูง จะมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการลงทะเบียนโดยระบบคอมพิวเตอร์ สุภาภรณ์ จิตใจฉ่ำ (2542) ได้ทำการพัฒนาระบบการรับสมัครนักศึกษามหาวิทยาลัย เกษมบัณฑิต โดยทางมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ให้บริการทางการศึกษาทั้งปริญญาตรี ปริญญาโท และจะมีการเปิดสอนปริญญาตรีในอนาคต ดังนั้นเพื่อเป็นการเตรียมการสำหรับการขยายตัวที่จะมี ขึ้น ทางคณะผู้บริหารมีความต้องการที่จะใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการเก็บข้อมูลนักศึกษาสำหรับ ใช้งานในฝ่ายรับสมัครนักศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถใช้งานร่วมกันได้ เพื่อให้การ พัฒนาระบบใหม่ประสบความสำเร็จ และตรงความต้องการของผู้ใช้ได้นำหลักการวิเคราะห์ และ พัฒนาระบบเข้ามาช่วย โดยทำการศึกษาและวิเคราะห์ระบบเก่าที่มีอยู่ เพื่อให้ทราบปัญหาและ ความต้องการในปัจจุบัน โดยทำการพัฒนาระบบใหม่โดยใช้ Visual Basic บน Microsoft Access ดวงหทัย สุธาธรรม (2542) ได้ทำการพัฒนาระบบงานการให้บริการจดทะเบียนและ ชำระภาษีผ่าน Internet เนื่องจากปัจจุบัน Internet เป็นเทคโนโลยีที่มีความจำเป็นสำหรับ พัฒนาความสามารถในการแข่งขันขององค์กรระดับต่าง ๆ จนถึงระดับประเทศในอนาคตการใช้ Internet เป็นเครื่องมือในการบริการด้านต่างๆ จะขยายตัวออกไปอีกมาก กรมสรรพสามิต ซึ่ง เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการจัดเก็บภาษีสินค้าและบริการ เช่น สุรา ยาสูบ เครื่องดื่ม สถาน บริการ จึงได้นำเอา Internet มาช่วยในการประชาสัมพันธ์งานแก่ประชาชนทั่วไป รวมทั้งการ เพิ่มประสิทธิภาพ และอำนวยความสะดวกในการให้บริการจดทะเบียน รับชำระภาษี การขอคืน และยกเว้นภาษี โครงการนี้จึงได้ทำการวิเคราะห์และออกแบบระบบงาน การให้บริการจดทะเบียน 28 และรับชำระภาษีผ่าน Internet โดยใช้ SDLC ในการวิเคราะห์ เพื่อทำการพัฒนาระบบให้ สอดคล้องกับความต้องการ งานวิจัยต่างประเทศ Quackenbush, Lindi J. (1998) ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับการลงทะเบียนภาพ รูปแบบร่างกายมนุยษ์ที่ใช้ในการแพทย์โดยใช้รูปภาพที่เกี่ยวกับอวัยวะของมนุยษ์มาจัดเก็บไว้บน คอมพิวเตอร์ โดยใช้วิธีการประมวลผลรูปภาพจะสามารถอธิบายความหมาย ได้มากกว่าข้อความที่ เป็นตัวอักษรและการประมวลผลด้วยภาพได้มีการใช้กันอย่างกว้างขวางในวงการวิทยาศาสตร์ โดย ที่งานวิจัยนี้ได้ทำการทดลองเกี่ยวกับการลงทะเบียนเกี่ยวกับใช้รูปภาพที่เกี่ยวกับอวัยวะของมนุยษ์ แทนการใช้ตัวอักษรอธิบายความหมาย ซึ่งในทางการแพทย์จะทำความเข้าใจได้ยากกว่า Van Huyssteen, Margaretha Cornelia. (1997) ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับ การลงทะเบียนเพื่อการประเมินสำหรับอบรมพยาบาลในประเทศแอฟริกาใต้ โดยงานวิจัยอธิบายว่า ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับขอบเขตและจุดมุ่งหวังของระบบสาธารณสุขในประเทศแอฟริกาใต้โดย หวังให้พยาบาลที่มีอยู่ในระบบสาธารณสุขของประเทศจะทำการลงทะเบียนเพื่อการอบรมและ ประเมินคุณภาพของพยาบาลที่มีอยู่ให้กับระบบสาธารณสุข โดยจะทำการอบรมพื้นฐานพยาบาล ให้กับบุคคลที่มีพื้นฐานน้อย เพื่อที่จะพัมนาคุณภาพของพยาบาลในประเทศแอฟริกาใต้ต่อไป Mcleod, Donald Charles. (1998) ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับการสำรวจการ อบรมการใช้อินเตอร์เน็ตของพนักงานสำนักงาน โดยทำการสำรวจตั้งแต่ได้เริ่มมีการใช้ อินเตอร์เน็ตและบุคคลในสำนักงานว่ามีความรู้ในการใช้อินเตอร์เน็ตมากหรือน้อยเพียงใด โดยจะ ทำการวัดประสิทธิภาพของพนักงานสำนักงานว่าเมื่อได้รับการอบรมการใช้อินเตอร์เน็ตแล้วจะใช้ อินเตอร์เน็ตในด้านใดบ้าง จากการวิจัยพบว่า บุคคลที่ได้รับการอบรมแล้วจะใช้สำหรับงานวิจัย 75 เปอร์เซ็นต์ ใช้รับส่ง E-mail 75 เปอร์เซ็นต์ และเข้าดูเว็บไซต์ ต่าง ๆ บทที่ 3 วิธีการดำเนินงาน ระบบการลงทะเบียนอบรมผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีการดำเนินงานอยู่ด้วยกัน 6 ขั้นตอน ด้วยกันคือ 3.1กกศึกษาและรวบรวมข้อมูล 3.2กกการวิเคราะห์และออกแบบ 3.3กกการสร้างและพัฒนาระบบ 3.4กกการสร้างเครื่องมือประเมินประสิทธิภาพโปรแกรม 3.5กกการทดสอบประสิทธิภาพของโปรแกรมโดยผู้เชี่ยวชาญ 3.6กกการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ 3.1กกศึกษาและรวบรวมข้อมูล 3.1.1กกที่มาของปัญหา จากการศึกษา วิธีการลงทะเบียนอบรมแบบเก่า ที่ใช้กระดาษและจัดเก็บเป็นฟอร์ม สามารถ ที่จะสรุปปัญหาหรือข้อเสียที่เกิดขึ้นได้ดังนี้ - การลงทะเบียนจะต้องมาลงทะเบียนที่สถาบัน หรือ จะต้องโทรศัพท์มาจองหลักสูตร ต้อง เสียค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และเสียค่าโทรศัพท์ - เสียค่าใช้จ่ายในการโฆษณา เกี่ยวกับหลักสูตรที่เปิด เช่น ค่าโฆษณาหนังสือพิมพ์ ค่าเอกสารแนะนำหลักสูตร - เสียค่าใช้จ่ายในการจัดพิมพ์เอกสาร แผ่นพับที่เกี่ยวกับหลักสูตร - การค้นหา สมาชิกและหลักสูตร ทำได้ด้วยความยุ่งยาก เมื่อมีข้อมูลจำนวนมาก - การสูญหายของข้อมูลจากความไม่คงทนของแผ่นพับที่เกี่ยวกับหลักสูตร รวมทั้งสิ่งพิมพ์ ที่เป็นกระดาษ - ใช้คนจำนวนมากในการทำงาน เช่น คนทำเอกสารแนะนำหลักสูตร คนติดต่อด้าน ประชาสัมพันธ์ คนรอรับการลงทะเบียน คนทำทะเบียนต่าง ๆ 3.1.2ฏฏแนวทางการแก้ปัญหาและความเป็นไปได้ 25 การแก้ปัญหาดังกล่าว จึงได้นำเอาระบบคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีทางด้านฐานข้อมูล โดยเฉพาะเทคโนโลยีของเว็บแอปพลิเคชั่นชันฐานข้อมูล (Web Database Technology) แ ล ะ ร ะ บ บ 28 เครือข่ายอินเตอร์เน็ตมาใช้ในการประมวลผลข้อมูล เพื่อให้การใช้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้นทั้งใน ด้านการจัดเก็บข้อมูล การค้นหาข้อมูล จัดการ ตลอดจนประหยัดค่าใช้จ่าย เช่น ค่ากระดาษ ค่า น้ำมันในการเดินทาง ค่าโฆษณา รวมทั้งผู้ใช้สามารถลงทะเบียนพร้อมกันได้หลาย ๆ คน จาก สถานที่ต่าง ๆ กันได้ ไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน หรือที่ทำงาน ซึ่งขั้นตอนการวิเคราะห์ระบบงานใหม่ เป็น ดังนี้ 3.2กกการวิเคราะห์และออกแบบระบบ การวิเคราะห์และออกแบบระบบ เป็นขั้นตอนที่ทำหลังจากได้ทำการศึกษาระบบงานเก่าและ รวบรวมข้อมูลมาแล้ว ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่จะทำให้ได้การพัฒนาระบบที่มีประสิทธิภาพ โดย การวิเคราะห์จะเกี่ยวข้องกับงานของการออกแบบผังรายละเอียดต่าง ๆ ของการดำเนินงานและ สร้างผังการทำงานต่าง ๆ เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ เช่น ผังแสดงรายละเอียดรวม (Context Diagram) ผังแสดงการไหลเวียนข้อมูลระดับต่าง ๆ (Data Flow Diagram) และ ER-Diagram รวมทั้งการวิเคราะห์โครงสร้างของฐานข้อมูลและความสัมพันธ์ของ แฟ้มข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้ระบบมีความสอดคล้องกันในการทำงาน เพื่อนำไปใช้ประกอบในการ ออกแบบเพื่อให้เกิดความเหมาะสมในการออกแบบระบบให้มากที่สุด 3.2.1ฏฏผังแสดงรายละเอียดรวม (Context Diagram) ผังแสดงรายละเอียดรวมจะแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของการทำงานภายในระบบโดย สามารถอธิบายได้ว่า ระบบจะมีการทำงานกับระบบภายนอก 2 ระบบ ซึ่งประกอบด้วย ผู้ใช้จะ เกี่ยวข้องกับระบบในการลงทะเบียนอบรม การติดต่อกับสถาบัน และสามารถสอบถามข้อสงสัย ผ่านทางระบบ อีกระบบคือ ผู้ดูแลระบบจะเกี่ยวข้องกับระบบคือ การแก้ไขและปรับปรุงรายชื่อผู้ ที่เข้ามาอบรม การแก้ไขและปรับปรุงรายชื่อของหลักสูตร ดูสถานะการจ่ายเงินของผู้ลงทะเบียน สามารถรายงานผู้อบรมในแต่ละหลักสูตร และการจัดการเกี่ยวกับข้อเสนอแนะต่าง ๆ ดังภาพที่ 3-1 ระบบการลงทะเบียนอบรม ผ่าน เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ผู้ใช้ ข้อเสนอแนะ ข้อมูลผู้ใช้ ข้อหลักสูตรที่ค้นหา ข้อมูลรหัสผ่าน ข้อมูลรหัสผ่าน ข้อหลักสูตรค้นหา ข้อมูลการจัดการผู้ใช้ ข้อมูลการจัดการข้อเสนอแนะ ข้อมูลรหัสผ่าน ข้อมูลการอบรม ข้อมูลการจัดการหลักสูตร ข้อมูลสถานะการชำระเงิน ข้อมูลการจัดการส่วนลด ผู้ดูแลระบบ ข้อมูลการจัดการรหัสผ่าน ข้อมูลการจัดการหลักสูตรใหม่ 29 ภาพที่ 3-1 แสดงผังรายละเอียดรวมของระบบ 3.2.2กกผังแสดงการไหลเวียนข้อมูลระดับที่ 0 (Data Flow Diagram) ผังการไหลเวียนข้อมูลมีกระบวนการทำงานหลัก 10 กระบวนการ คือ ลงทะเบียน การ ฝึกอบรม ข้อเสนอแนะ ค้นหาข้อมูลหลักสูตร การจัดการสถานะการจ่ายเงิน การจัดการหลักสูตร การจัดการผู้ใช้ การจัดการส่วนลด การจัดการรหัสผ่าน จัดทำรายชื่อผู้เข้าอบรม โดยมีการทำงานที่ สัมพันธ์กับระบบภายนอก 2 ระบบ คือ ผู้ใช้ และผู้ดูแลระบบ ซึ่งผู้ใช้ทำการติดต่อกับระบบโดย การลงทะเบียน ซึ่งผู้ใช้จะต้องกรอกข้อมูลต่าง ๆ เช่นชื่อ นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทร เบอร์อีเมล์ ชื่อ รหัสผ่าน รหัสผ่าน เป็นต้น จากนั้นระบบก็มีการตรวจสอบรหัสผ่านว่าถูกต้องหรือไม่ จึงจะ อนุญาตให้เข้าไปใช้งานในระบบ โดยที่จะสามารถที่จะลงทะเบียนอบรมทางอินเตอร์เน็ตได้ โดย จะเลือกหลักสูตรที่ต้องการ และบอกจำนวนผู้ที่ลงทะเบียนในแต่ละหลักสูตรอีกด้วย ทั้งนี้ผู้ใช้ยัง สามารถให้ข้อเสนอแนะได้หลาย ๆ ด้านให้แก่ระบบ เพื่อให้ผู้ดูแลระบบนำไปพิจารณาปรับปรุงได้ อีกด้วย ส่วนผู้ดูแลระบบจะเกี่ยวข้องกับระบบในการเพิ่มหลักสูตร แก้ไขหลักสูตร ดูสถานะการ จ่ายเงินของผู้ลงทะเบียนในแต่ละคน จัดการปรับปรุงแก้ไขรายชื่อผู้ใช้ การแก้ไขข้อเสนอแนะ รวมทั้งการจัดทำรายชื่อผู้เข้าอบรม การแก้ไขรหัสผ่านอีกด้วย ดังภาพที่ 3-2 31 31 3.2.3กกผังแสดงการไหลเวียนข้อมูลระดับที่ 1 (1.0 ลงทะเบียน) ผังลงทะเบียน เป็นผังการทำงานที่รับข้อมูลจากระบบภายนอก คือ ผู้ใช้ โดยการป้อนข้อมูลผู้ใช้ ในการลงทะเบียนอบรม จากนั้นระบบก็จะทำการบันทึกข้อมูลลงบนแฟ้มข้อมูลผู้ใช้ และผู้ใช้ก็จะ ได้รหัสผ่านเพื่อใช้ในการลงทะเบียนอบรม ดังภาพที่ 3-3 ภาพที่ 3-3 แสดงผังการไหลเวียนข้อมูลระดับที่ 1 (1.0 ลงทะเบียน) 3.2.4กกผังแสดงการไหลเวียนข้อมูลระดับที่ 1 (2.0 การฝึกอบรม) ผังการฝึกอบรม เป็นผังการทำงานที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้ โดยผู้ใช้จะใช้ข้อมูลรหัสผ่าน ทำการ ตรวจสอบข้อมูลรหัสผ่าน แล้วใช้ข้อมูลรหัสผ่านทำการเลือกหลักสูตรที่ต้องการโดยการเลือก หลักสูตรนั้นจะใช้ข้อมูลของแฟ้มข้อมูลหลักสูตรกับแฟ้มข้อมูลการจ่ายเงิน แล้วจะทำการ บันทึกข้อมูลการอบรมลงบนแฟ้มข้อมูลการอบรม ดังภาพที่ 3-4 ภาพที่ 3-4 แสดงผังการไหลเวียนข้อมูลระดับที่ 1 (2.0 การฝึกอบรม) ผู้ใช้ แฟ้มข้อมูลผู้ใช้ ข้อมูลผู้ใช้ ข้อมูลรหัสผ่าน ข้อมูลผู้ใช้ 1.1 กรอกรายละเอียด และบันทึก ผู้ใช้แฟ้มข้อมูลหลักสูตร ข้อมูลรหัสผ่าน ข้อมูลหลักสูตร แฟ้มข้อมูลการจ่ายเงิน 2.1 ตรวจสอบ ข้อมูลรหัสผ่าน 2.2 เลือกหลักสูตร 2.3 บันทึกข้อมูล การอบรม แฟ้มข้อมูลการอบรม ข้อมูลรหัสผ่าน ข้อมูลการอบรม ข้อมูลการอบรม ข้อมูลการจ่ายเงิน 32 3.2.5กกผังแสดงการไหลเวียนข้อมูลระดับที่ 1 (3.0 ข้อเสนอแนะ) ผังข้อเสนอแนะ เป็นผังการทำงานที่รับข้อมูลจากระบบภายนอก คือ ผู้ใช้ป้อนข้อเสนอแนะ เข้าสู่ระบบและบันทึกเข้าสู่แฟ้มข้อมูลข้อเสนอแนะ ผู้ดูแลระบบจะนำข้อเสนอแนะจากแฟ้มข้อมูล ข้อเสนอแนะมาพิจารณาและจัดการปรับปรุงข้อมูลข้อเสนอแนะเหล่านั้น ดังภาพที่ 3-5 ภาพที่ 3-5 แสดงผังการไหลเวียนข้อมูลระดับที่ 1 (3.0 ข้อเสนอแนะ) 3.2.6กกผังแสดงการไหลเวียนข้อมูลระดับที่ 1 (4.0 ค้นหาข้อมูลหลักสูตร) ผังการค้นหาข้อมูลหลักสูตร เป็นผังการทำงานของผู้ใช้ โดยผู้ใช้จะใส่ข้อมูลหลักสูตรที่ ต้องการลงไป ในระบบจากนั้นระบบก็จะตรวจสอบและค้นหาข้อมูลหลักสูตรจาก แฟ้มข้อมูลหลักสูตร แล้วจึงจะแสดงผลข้อมูลหลักสูตรให้กับผู้ใช้ ดังภาพที่ 3-6 ภาพที่ 3-6 แสดงผังการไหลเวียนข้อมูลระดับที่ 1 (4.0 ค้นหาข้อมูลหลักสูตร) 3.2.7กกผังแสดงการไหลเวียนข้อมูลระดับที่ 1 (5.0 การจัดการสถานะการจ่ายเงิน) ผู้ใช้ ข้อมูลข้อเสนอแนะ แฟ้มข้อมูลข้อเสนอแนะ3.1 บันทึก ข้อเสนอแนะ 3.2 ปรับปรุงและบันทึก ข้อเสนอแนะ ผู้ดูแลระบบ ข้อมูลข้อเสนอแนะ ข้อมูลข้อเสนอแนะ ข้อมูลข้อเสนอแนะ ข้อมูลการจัดการข้อเสนอแนะ ผู้ใช้ ข้อมูลหลักสูตรที่ต้องการ แฟ้มข้อมูลหลักสูตร 4.1 ตวจสอบและ ค้นหาข้อมูล หลักสูตร ข้อมูลหลักสูตรที่ต้องการ ข้อมูลหลักสูตร 33 ผังการจัดการสถานะการจ่ายเงิน เป็นผังการทำงานของผู้ดูแลระบบ โดยจะตรวจสอบ สถานะการจ่ายเงินของผู้ใช้จากข้อมูลสถานะการจ่ายเงิน จากนั้นก็จะปรับปรุงและบันทึกข้อมูลการ อบรมลงบนแฟ้มข้อมูลการอบรม ดังภาพที่ 3-7 ภาพที่ 3-7 แสดงผังการไหลเวียนข้อมูลระดับที่ 1 (5.0 การจัดการสถานะการจ่ายเงิน) 3.2.8กกผังแสดงการไหลเวียนข้อมูลระดับที่ 1 (6.0 การจัดการหลักสูตร) ผังการจัดการหลักสูตร เป็นผังการทำงานของผู้ดูแลระบบ โดยจะทำการกรอกรายละเอียดข้อมูล หลักสูตรใหม่ลงไปบนแฟ้มข้อมูลหลักสูตรและสามารถทำการปรับปรุงข้อมูลหลักสูตร รวมทั้งผู้ดูแล ระบบสามารถตรวจสอบและค้นหาข้อมูลแฟ้มข้อมูลหลักสูตร ดังภาพที่ 3-8 ภาพที่ 3-8 แสดงผังการไหลเวียนข้อมูลระดับที่ 1 (6.0 การจัดการหลักสูตร) 3.2.9กกผังแสดงการไหลเวียนข้อมูลระดับที่ 1 (7.0 การจัดการผู้ใช้) ผู้ดูแลระบบ ข้อมูลสถานะการจ่ายเงิน แฟ้มข้อมูลการอบรม 5.1 ตรวจสอบสถานะ การจ่ายเงินข้อมูลการอบรม 5.2 ปรับปรุงและ บันทึก ข้อมูลการอบรม ข้อมูลสถานะการจ่ายเงิน ผู้ดูแลระบบ แฟ้มข้อมูลหลักสูตร 6.1 กรอกรายละเอียด และบันทึกข้อมูล หลักสูตรใหม่ ข้อมูลหลักสูตร 6.3 ปรับปรุงและ บันทึก ข้อมูลการจัดการหลักสูตร 6.2 ตรวจสอบและ ค้นหาหลักสูตร ข้อมูลหลักสูตร ข้อมูลหลักสูตร ข้อมูลหลักสูตร ข้อมูลหลักสูตรใหม่ 34 ผังการจัดการผู้ใช้ เป็นผังการทำงานของผู้ดูแลระบบ โดยนำข้อมูลการจัดการผู้ใช้มาทำการ ตรวจสอบและค้นหาข้อมูลผู้ใช้ โดยนำข้อมูลผู้ใช้มาทำการปรับปรุงเมื่อทำการปรับปรุงข้อมูลผู้ใช้ เรียบร้อยแล้วก็จะบันทึกข้อมูลผู้ใช้ลงบนแฟ้มข้อมูลผู้ใช้ ดังภาพที่ 3-9 ภาพที่ 3-9 แสดงผังการไหลเวียนข้อมูลระดับที่ 1 (7.0 การจัดการผู้ใช้) 3.2.10กกผังแสดงการไหลเวียนข้อมูลระดับที่ 1 (8.0 การจัดการส่วนลด) ผังการจัดการส่วนลดเป็นผังการทำงานของผู้ดูแลระบบ โดยจะจัดการข้อมูลส่วนลดที่ใช้ใน ระบบ จากนั้นจึงให้ปรับปรุงและบันทึกลงแฟ้มข้อมูลส่วนลด ดังภาพที่ 3-10 ภาพที่ 3-10 แสดงผังการไหลเวียนข้อมูลระดับที่ 1 (8.0 การจัดการส่วนลด) 3.2.11กกผังแสดงการไหลเวียนข้อมูลระดับที่ 1 (9.0 การจัดการรหัสผ่าน) ผู้ดูแลระบบ แฟ้มข้อมูลผู้ใช้ 7.1 ตรวจสอบและ ค้นหาข้อมูลผู้ใช้ 7.2 ปรับปรุง และบันทึก ข้อมูลผู้ใช้ ข้อมูลผู้ใช้ ข้อมูลผู้ใช้ ข้อมูลการจัดการผู้ใช้ ผู้ดูแลระบบ แฟ้มข้อมูลส่วนลด 8.1 ปรับปรุง และบันทึกข้อมูลส่วนลดข้อมูลการจัดการส่วนลด ข้อมูลส่วนลด 35 ผังการแก้ไขรหัสผ่าน เป็นผังการทำงานของผู้ดูแลระบบ โดยจะตรวจสอบรหัสผ่านเดิมของ ผู้ดูแลระบบก่อนจากแฟ้มข้อมูลรหัสผ่าน จากนั้นจึงให้แก้ไขปรับปรุงรหัสผ่านใหม่และจัดเก็บ ลงแฟ้มข้อมูลรหัสผ่าน ดังภาพที่ 3-11 ภาพที่ 3-11 แสดงผังการไหลเวียนข้อมูลระดับที่ 1 (9.0 การจัดการรหัสผ่าน) 3.2.12กกผังแสดงการไหลเวียนข้อมูลระดับที่ 1 (10.0 จัดทำรายชื่อผู้เข้าอบรม) ผังการจัดทำรายชื่อผู้อบรม เป็นผังการทำงานของผู้ดูแลระบบ โดยผู้ดูแลระบบจะทำการใช้ ข้อมูลที่มีอยู่ในระบบ ทำการดึงข้อมูลจากแฟ้มข้อมูลหลักสูตร แฟ้มข้อมูลผู้ใช้ และแฟ้มข้อมูลการ อบรม ที่มีความสัมพันธ์กันออกมาเป็นข้อมูลรายชื่อผู้เข้าอบรมโดยจะแยกหลักสูตรเพื่อให้ผู้ดูแล สะดวกในการทำงาน ดังภาพที่ 3-12 ภาพที่ 3-12 แสดงผังการไหลเวียนข้อมูลระดับที่ 1 (10.0 จัดทำรายชื่อผู้เข้าอบรม) ผู้ดูแลระบบ แฟ้มข้อมูลรหัสผ่าน 9.1 ปรับปรุง และบันทึกข้อมูลรหัสผ่าน ข้อมูลการจัดการรหัสผ่าน ข้อมูลรหัสผ่าน ผู้ดูแลระบบ แฟ้มข้อมูลการอบรม 10.1 จัดทำรายชื่อ ผู้เข้าอบรม ข้อมูลรายชื่อผู้เข้าอบรม แฟ้มข้อมูลผู้ใช้ แฟ้มข้อมูลหลักสูตร ข้อมูลการอบรม ข้อมูลผู้ใช้ ข้อมูลหลักสูตร 36 3.2.14กกโครงสร้างฐานข้อมูล 37 โครงสร้างฐานข้อมูลของระบบจะประกอบด้วย 8 แฟ้มข้อมูลคือ 3.2.14.1กกแฟ้มข้อมูลผู้ใช้ (Register) ซึ่งเป็นแฟ้มข้อมูลที่เก็บข้อมูลผู้ที่ลงทะเบียน อบรมบนอินเตอร์เน็ต มีข้อมูลต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ดังตารางที่ 3-1 ตารางที่ 3-1 แสดงแฟ้มข้อมูลผู้ใช้ (Register) ชื่อฟิลด์ ชนิดข้อมูล ความกว้าง คำอธิบายความหมาย TitleName Nvarchar 10 คำนำหน้าบุคคล Name Nvarchar 50 ชื่อ LastName Nvarchar 50 นามสกุล Education Nvarchar 50 การศึกษา St_Addres s Nvarchar 100 ที่อยู่ Amphur Nvarchar 30 อำเภอ/เขต ProVince Nvarchar 10 จังหวัด Post Nvarchar 5 รหัสไปรษณีย์ H_phone Nvarchar 15 เบอร์โทรศัพท์ที่บ้าน M_phone Nvarchar 15 เบอร์โทรศัพท์ที่ทำงาน Fax Nvarchar 15 เบอร์เครื่องโทรสาร Email Nvarchar 30 เบอร์จดหมายอิเล็คทรอนิกส์ UserName Nvarchar 8 ชื่อรหัสผ่าน Password Nvarchar 8 รหัสผ่าน Log_time SmallDate time 4 เวลาที่มาลงทะเบียน Reg_pic Image 16 รูปภาพ 3.2.14.2กกแฟ้มข้อมูลหลักสูตร (Courses) ซึ่งเป็นแฟ้มข้อมูลที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับ หลักสูตรที่มีอยู่ในระบบ มีการเปิดให้กับบุคคลภายนอกมาลงทะเบียนอบรมหลักสูตรดังกล่าว ซึ่ง จะประกอบด้วยรายละเอียดต่าง ๆ ดังตารางที่ 3-2 38 ตารางที่ 3-2 แสดงแฟ้มข้อมูลหลักสูตร (Courses) ชื่อฟิลด์ ชนิดข้อมูล ความกว้าง คำอธิบายความหมาย Cid Nvarch ar 13 รหัสหลักสูตร Name Nvarch ar 100 หลักสูตร Detail Nvarch ar 200 รายละเอียดหลักสูตร Sdate Nvarch ar 10 วันเริ่มต้นเรียน Edate Nvarch ar 10 วันสิ้นสุดการเรียน Price Integer 5 ค่าใช้จ่ายในการอบรม Property Nvarch ar 100 คุณสมบัติผู้อบรม Limit Integer 4 จำนวนผู้อบรมที่จะรับ 3.2.14.3กกแฟ้มข้อมูลส่วนลด (Discount) ซึ่งเป็นแฟ้มข้อมูลที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับ ส่วนลด การให้ส่วนลดแก่ผู้ใช้ที่มาลงทะเบียน จะเป็นแฟ้มสำหรับผู้ดูแลระบบเท่านั้นซึ่งจะ ประกอบด้วยรายละเอียดต่าง ๆ ดังตารางที่ 3-3 ตารางที่ 3-3 แสดงแฟ้มข้อมูลส่วนลด (Discount) ชื่อฟิลด์ ชนิดข้อมูล ความกว้าง คำอธิบายความหมาย Did Integer 3 รหัสส่วนลด Disc Integer 4 จำนวนเงินส่วนลด Day Integer 4 จำนวนวันที่ลด 3.2.14.4กกแฟ้มข้อมูลผู้ดูแลระบบ (Admin) ซึ่งเป็นแฟ้มข้อมูลที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับ ผู้ดูแลระบบ มีข้อมูลเกี่ยวกับชื่อผู้ดูแลระบบ และรหัสผ่านของผู้ดูแลระบบ ซึ่งจะประกอบด้วย รายละเอียดต่าง ๆ ดังตารางที่ 3-4 ตารางที่ 3-4 แสดงแฟ้มข้อมูลรหัสผ่าน (Login) 39 ชื่อฟิลด์ ชนิดข้อมูล ความกว้าง คำอธิบายความหมาย ID Integer 3 รหัสผู้ดูแล UserName Nvarch ar 8 ชื่อผู้ดูแลระบบ Password Nvarch ar 8 รหัสผ่านผู้ดูแลระบบ 3.2.14.5กกแฟ้มข้อมูลการอบรม (Order) ซึ่งเป็นแฟ้มข้อมูลรายละเอียดการอบรมของ ผู้ใช้ การเลือกหลักสูตรของผู้ใช้ที่ต้องการ เก็บสถานะการจ่ายเงินของผู้ใช้ การได้ส่วนลด ซึ่งจะ ประกอบด้วยรายละเอียดต่าง ๆ ดังตารางที่ 3-5 ตารางที่ 3-5 แสดงแฟ้มข้อมูลการอบรม (Order) ชื่อฟิลด์ ชนิดข้อมูล ความกว้าง คำอธิบายความหมาย OrderId Nvarchar 6 รหัสการอบรม Cid Nvarchar 13 รหัสหลักสูตร UserName Nvarchar 8 ชื่อรหัสผ่าน Payment Nvarchar 1 รหัสผ่าน Qty Int 4 จำนวนหลักสูตรที่เลือก UnitPrice Int 4 ราคาต่อหน่วย Discount Int 3 ส่วนลด OrderDate SmallDate Time 4 วันที่เลือกหลักสูตร Paid Bit 1 สถานะการจ่ายเงิน Money Float 8 จำนวนเงิน 3.2.14.6กกแฟ้มข้อมูลวิธีการจ่ายเงิน (PayMethod) ซึ่งเป็นแฟ้มข้อมูลที่เก็บข้อมูล เกี่ยวกับวิธีการจ่ายเงินของผู้ใช้ ซึ่งจะประกอบด้วยรายละเอียดต่าง ๆ ดังตารางที่ 3-6 ตารางที่ 3-6 แสดงแฟ้มข้อมูลวิธีการจ่ายเงิน (PayMethod) ชื่อฟิลด์ ชนิดข้อมูล ความกว้าง คำอธิบายความหมาย Payment Nvarchar 1 รหัสการจ่ายเงิน 40 Payment_ Detail Nvarch ar 50 วิธีการจ่ายเงิน 3.2.14.7กกแฟ้มข้อมูลคำถามข้อเสนอแนะ (Question) ซึ่งเป็นแฟ้มข้อมูลที่เก็บข้อมูล เกี่ยวคำถามข้อเสนอแนะและคำแนะนำต่าง ๆ ซึ่งจะประกอบด้วยรายละเอียดต่าง ๆ ดังตารางที่ 3-7 ตารางที่ 3-7 แสดงแฟ้มข้อมูลคำถามข้อเสนอแนะ (Question) ชื่อฟิลด์ ชนิดข้อมูล ความกว้าง คำอธิบายความหมาย Qno Integer 3 หมายเลขข้อเสนอแนะ Topic Nvarchar 100 หัวข้อข้อเสนอแนะ Name Nvarchar 8 ชื่อผู้ฝากข้อเสนอแนะ Email Nvarchar 20 Email ผู้เขียนข้อเสนอแนะ Date SmallDateTime 4 วันที่เขียนข้อเสนอแนะ Qdetail Nvarchar 200 รายละเอียดข้อเสนอแนะ Answer Nvarchar 3 จำนวนที่มีผู้ตอบต่อท้ายกระทู้ Category Integer 2 หมวดประเภทคำถาม 3.2.14.8กกแฟ้มข้อมูลคำตอบข้อเสนอแนะ (Answer) ซึ่งเป็นแฟ้มข้อมูลที่เก็บข้อมูล เกี่ยวคำตอบของ ข้อเสนอแนะและคำแนะนำ ซึ่งจะประกอบด้วยรายละเอียดต่าง ๆ ดังตารางที่ 3-8 ตารางที่ 3-8 แสดงแฟ้มข้อมูลคำตอบข้อเสนอแนะ (Answer) ชื่อฟิลด์ ชนิดข้อมูล ความกว้าง คำอธิบายความหมาย Id Integer 3 หมายเลขคำตอบ Qno Integer 3 หมายเลขข้อเสนอแนะ Name Nvarchar 8 ชื่อผู้เขียนตอบ Email Nvarchar 20 E-mail ผู้ตอบข้อเสนอแนะ Date SmallDateTime 4 วันที่ตอบข้อเสนอแนะ Answer Nvarchar 200 คำตอบ 41 3.2.15กกความสัมพันธ์ของแฟ้มข้อมูล (Relational Model) ความสัมพันธ์ของแฟ้มข้อมูลทั้ง 8 แฟ้มคือ จะมีความสัมพันธ์กัน ดังภาพที่ 3-14 ภาพที่ 3-14 แสดงความสัมพันธ์ของแฟ้มข้อมูล (Relational Model) 3.2.16กกการออกแบบหน้าจอ การออกแบบหน้าจอของระบบการลงทะเบียนอบรมผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต มีหน้าจอที่ เกี่ยวข้องอยู่กับการทำงานอยู่ 2 ส่วน 3.2.16.1กกหน้าจอสำหรับผู้ใช้ 42 หน้าจอสำหรับผู้ใช้ จะแบ่งเป็น 2 เฟรม เฟรมด้านบนจะเป็นเมนูสำหรับเลือกรายการ ทำงานต่าง ๆ ซึ่งประกอบด้วย Home, Address, Function, Activities, Output, Staff, Training, Tgtac และ News โดยหน้าจอจะใช้พื้นเป็นสีขาวเน้นความสบายตา ตัวอักษรใช้สีน้ำเงินเข้มเพื่อความ สบายตาในการอ่าน และมีรูปภาพที่เป็นสีแดงเพื่อจะดึงดูดความสนใจของผู้ชม ดังภาพที่ 3-15 ภาพที่ 3-15 แสดงหน้าจอสำหรับผู้ใช้ 3.2.16.2กก หน้าจอสำหรับผู้ดูแลระบบ หน้าจอสำหรับผู้ดูแลระบบ จะแบ่งเป็น 2 ส่วน ด้านบนจะเป็นเมนูสำหรับเลือก รายการทำงานต่าง ๆ ซึ่งประกอบด้วยเมนู ผู้ดูแลระบบ ข้อมูลสมาชิก ข้อมูลหลักสูตร สถานะของ การชำระเงิน ค้นหา ประกาศนียบัตร โดยเมื่อเราเลือกเมนูเหล่านี้ก็จะมีเมนูย่อยลงไปเพื่อที่จะใช้ใน การทำงานต่อไป โดยจะใช้สีขาวสบายตาและตัวอักษรสีน้ำเงินเข้มเพื่อสะดวกในการอ่านและ ความสวยงาม ดังภาพที่ 3-16 43 ภาพที่ 3-16 แสดงหน้าจอสำหรับผู้ดูแลระบบ 3.3กกการสร้างและพัฒนาระบบ ในขั้นของการสร้างและพัฒนาระบบการลงทะเบียนอบรมผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ได้ พัฒนาโดยใช้ระบบปฏิบัติการคือ Windows 2000 Server เป็นแม่ข่ายซึ่งจะให้บริการ เกี่ยวกับการให้เครื่องลูกข่ายเข้ามาดูเอกสาร ในส่วนของเว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) ใช้ Internet Information Server 5.0 (IIS) ที่มากับ Windows 2000 Server ใช้โปรแกรมภาษา ASP และภาษา HTML ในการสร้างหน้าเว็บเพจ และสร้าง โมดูลที่เกี่ยวกับงานทั้งหมดของระบบเพื่อ สร้างการติดต่อกับโปรแกรมจัดการฐานข้อมูล SQL Server 2000 โดยในการพัฒนาระบบเครือข่ายจะใช้ Windows98 หรือใช้ Operating System ใดก็ได้ที่สามารถติดตั้ง Web Browsers ของ Microsoft Internet Explorer ได้ในส่วนของขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมนั้น ผู้พัฒนาระบบจำเป็น อย่างยิ่งที่จะต้องทราบก่อนว่าในระบบงานที่จะพัฒนานั้นมีโมดูลในส่วนงานต่าง ๆ ทั้งหมดมาก น้อยเพียงใด จากนั้นถึงจะเริ่มสร้างระบบตามโมดูลต่าง ๆ ที่ได้ระบุไว้ตามโครงสร้างแฟ้มข้อมูลที่ได้ ออกแบบ โดยได้เขียนโปรแกรมขึ้นมาเพื่อรองรับการทำงานในโมดูลต่าง ๆ จากนั้นก็ทำการ 44 ติดตั้งเว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) พร้อมทั้งปรับแต่งคุณสมบัติบางอย่างของไดเร็คทอรี ที่จะใช้เก็บไฟล์ .asp ไว้ พร้อมทั้งทำการสร้าง Virtual Directory เพื่อใช้อ้างอิงถึงไดเร็ค ทอรีที่จะใช้เก็บไฟล์ .asp ไว้ สุดท้ายก็ทำการสร้างหน้า เว็บเพจ สร้างโมดูลที่เกี่ยวกับงาน ทั้งหมดของระบบและสร้างการติดต่อกับโปรแกรมจัดการ ฐานข้อมูล SQL Server 2000 โดยใช้โปรแกรมภาษา ASP และภาษา HTML ควบคู่ไปกับการเขียนสคริปต์ใน ภาษา JavaScript 3.4กกการสร้างเครื่องมือประเมินประสิทธิภาพโปรแกรม เครื่องมือที่นำมาใช้ในการประเมินหาประสิทธิภาพของระบบที่พัฒนาขึ้นในโครงการนี้ คือ แบบสอบถามเพื่อประเมินประสิทธิภาพของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้น โดยแบ่งการ ประเมินออกเป็น 4 ด้าน ดังนี้ คือ 3.4.1กกการประเมินระบบด้าน Functional Requirement Test 3.4.2กกการประเมินระบบด้าน Functional Test 3.4.3 การประเมินระบบด้าน Usability Test 3.4.4กกการประเมินระบบด้าน Security Test แบบประเมินประสิทธิภาพของโปรแกรมได้กำหนดเกณฑ์ตามวิธีของไลเคอรท์ (Likert) โดยประกอบด้วย มาตรอันดับ (Rating Scale) เชิงคุณภาพ 5 ระดับและมาตรอันดับเชิง ปริมาณ 10 ระดับ ดังตารางที่ 3-9 ตารางที่ 3-9 แสดงเกณฑ์การให้คะแนนของแบบประเมิน ระดับเกณฑ์การให้คะแนน เชิงคุณภาพ เชิงปริมาณ ความหมาย ดีมาก 9.00 - 10.00 ระบบสามารถสนับสนุนและรองรับการทำงานเกี่ยวกับงาน นั้น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพในระดับดีมาก ดี 7.00 - 8.99 ระบบสามารถสนับสนุนและรองรับการทำงานเกี่ยวกับงาน นั้น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพในระดับดี พอใช้ 5.00 - 6.99 ระบบสามารถสนับสนุนและรองรับการทำงานเกี่ยวกับงาน นั้น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพในระดับพอใช้ ปรับปรุง 3.00 - 4.99 ระบบสามารถสนับสนุนและรองรับการทำงานเกี่ยวกับงาน นั้น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพในระดับปรับปรุง ไม่เหมาะสม 1.00 - 2.99 ระบบสามารถสนับสนุนและรองรับการทำงานเกี่ยวกับงาน นั้น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพในระดับไม่เหมาะสม 45 3.4.1กกการประเมินระบบด้าน Functional Requirement Test เป็นการประเมินเพื่อดูว่าระบบที่พัฒนาขึ้นมานั้นมีความถูกต้อง และมีประสิทธิภาพตรงตาม ความต้องการของผู้ใช้มากน้อยเพียงใด เช่นความสามารถในการจัดเก็บข้อมูล พื้นฐานของระบบได้ เร็วขึ้น เป็นต้น ซึ่งในการประเมินระบบนี้ได้ทำการออกแบบ แบบประเมินโดยแบ่งหัวข้อการ ประเมินเป็น 4 หัวข้อ ดังตารางที่ 3-10 ตารางที่ 3-10 แสดงการประเมินระบบด้าน Functional Requirement Test ระดับประสิทธิภาพ ดีมาก ดี พอใช้ ปรับปรุง ไม่เหมาะสม รายการประเมิน 10 9 8 7 6 5 4 3 2 1 1.ความสามารถในการ จัดเก็บข้อมูล พื้นฐานของ ระบบได้เร็วขึ้น 2. ความสามารถในการ สืบค้นข้อมูลผู้อบรม และ หลักสูตรได้เร็วขึ้น 3. ความสามารถในการ ลงทะเบียนอบรมได้เร็วขึ้น 4. ความสามารถคำนวณ ค่าใช้จ่ายได้เร็วขึ้น 3.4.2กกการประเมินระบบด้าน Functional Test เป็นการประเมินเพื่อดูว่าระบบที่พัฒนาขึ้นมานั้นมีความถูกต้อง และมีประสิทธิภาพเพียงใด สามารถทำงานได้ตามหน้าที่ (Function) ที่มีอยู่ในระบบมากน้อยเพียงใด เช่นความถูกต้อง ของการจัดเก็บข้อมูล ความถูกต้องของการค้นหาข้อมูล ความถูกต้องของการปรับปรุงแก้ไขข้อมูล และความถูกต้องของการลบข้อมูล เป็นต้น ซึ่งในการประเมินระบบนี้ได้ทำการออกแบบแบบ ประเมินโดยแบ่งหัวข้อการประเมินเป็น 6 หัวข้อ ดังตารางที่ 3-11 46 ตารางที่ 3-11 แสดงการประเมินระบบด้าน Functional Test ระดับประสิทธิภาพ ดีมาก ดี พอใช้ ปรับปรุง ไม่เหมาะสม รายการประเมิน 10 9 8 7 6 5 4 3 2 1 1. ความถูกต้องของการ จัดเก็บข้อมูล 2. ความถูกต้องของการ ค้นหาข้อมูล 3. ความถูกต้องของการ ปรับปรุงแก้ไขข้อมูล 4. ความถูกต้องของการลบ ข้อมูล 5. ความถูกต้องของการ คำนวณค่าใช้จ่าย ใน การ ลงทะเบียนอบรม 6. ความถูกต้องของการ รายงานผลข้อมูล 3.4.3กกประเมินระบบด้าน Usability Test เป็นการประเมินเพื่อดูว่าระบบที่พัฒนาขึ้นมานั้นมีความสามารถในการใช้งานเป็นอย่างไร เช่นง่ายและสะดวกต่อการใช้งานมากน้อยเพียงใด ซึ่งในการประเมินระบบนี้ได้ทำการออกแบบ แบบประเมินโดยแบ่งหัวข้อการประเมินเป็น 8 หัวข้อ ดังตารางที่ 3-12 ตารางที่ 3-12 แสดงการประเมินระบบด้าน Usability Test ระดับประสิทธิภาพ ดีมาก ดี พอใช้ ปรับปรุง ไม่เหมาะสม รายการประเมิน 10 9 8 7 6 5 4 3 2 1 1. ความยากง่ายในการ ติดตั้งโปรแกรม 2. ความยากง่ายต่อการใช้ งาน 47 ตารางที่ 3-12 (ต่อ) ระดับประสิทธิภาพ ดีมาก ดี พอใช้ ปรับปรุง ไม่เหมาะสม รายการประเมิน 10 9 8 7 6 5 4 3 2 1 3. ความเร็วในการ ป ร ะ ม ว ล ผ ล ใ น ก า ร ลงทะเบียนอบรม 4.ผ ล ลั พ ธ์ ที่ ไ ด้ จ า ก ก า ร ประมวลผลจากระบบมีความ ถูกต้อง 5. ความชัดเจนของข้อความ ที่แสดงบนจอ 6. ความเหมาะสมของการ ใช้สีของตัวอักษร พื้นหลัง และรูปภาพประกอบ 7. ความชัดเจนในการใช้ ถ้อยคำเข้าใจได้ง่ายและมี คำแนะนำการใช้โปรแกรม 8. ความเหมาะสมของ ตำแหน่งของช่องป้อนข้อมูล 3.4.4กกการประเมินระบบด้าน Security Test เป็นการประเมินเพื่อดูว่าระบบที่พัฒนาขึ้นมานั้นมีความปลอดภัยของข้อมูลที่ส่งผ่านไปมา ในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมากน้อยเพียงใด ซึ่งในการประเมินระบบนี้ได้ทำการออกแบบ แบบประเมินโดยแบ่งหัวข้อการประเมินเป็น 2 หัวข้อ ดังตารางที่ 3-13 ตารางที่ 3-13 แสดงการประเมินระบบด้าน Security Test 48 ระดับประสิทธิภาพ ดีมาก ดี พอใช้ ปรับปรุง ไม่เหมาะสม รายการประเมิน 10 9 8 7 6 5 4 3 2 1 1. การกำหนดรหัสผู้ใช้ แ ล ะ ร หั ส ผ่ า น ใ น ก า ร ตรวจสอบ ผู้เข้าใช้ระบบ สำหรับผู้ดูแลระบบ 2. ความปลอดภัยในการ เข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้ และ ผู้ดูแลระบบ 3.5กกการทดสอบประสิทธิภาพของโปรแกรมโดยผู้เชี่ยวชาญ ผู้เชี่ยวชาญในการทดสอบประสิทธิภาพของโปรแกรม เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเรียน การสอนและการลงทะเบียน จำนวน 7 ท่าน ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังและสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (ดัง รายนามภาคผนวก ก) โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติดังนี้ 3.5.1 นำหนังสือแต่งตั้งและเชิญให้ทดสอบ จากโครงการของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และแบบประเมินหาประสิทธิภาพของโปรแกรม จำนวน 1 ชุด แล้วนัดวันทดสอบโปรแกรม 3.5.2 วิธีดำเนินการทดสอบโปรแกรม ผู้เชี่ยวชาญจะเป็นผู้ทดสอบการใช้งานในสถานที่ที่ มีการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยพิมพ์ URL ที่ใช้ทดสอบ 3.5.3. หากเกิดข้อผิดพลาดของโปรแกรม และมีข้อเสนอแนะต่าง ๆ ในขั้นตอนการทดสอบ โปรแกรมของผู้เชี่ยวชาญจะนำมาแก้ไขปรับปรุงระบบให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 3.6กกการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ 3.6.1กกสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในครั้งนี้ ใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ในการวัดค่ากลางของข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Arithmetic Mean) หรือค่าเฉลี่ย (Mean) และวัดการกระจายของข้อมูลโดยใช้ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) รวมทั้งการประมวลผลข้อมูลใช้โปรแกรมวิเคราะห์ค่าทางสถิติ SPSS/FW ดังนี้ 49 3.6.1.1กกค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Arithmetic mean) หรือค่าเฉลี่ย (Mean) (ชูศรี, 2541: 34) จากสูตร เมื่อ แทนเฉลี่ยเลขคณิตหรือค่าเฉลี่ย .X แทนผลรวมทั้งหมดของข้อมูล N แทนจำนวนข้อมูลทั้งหมด 3.6.1.2กกค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) (ชูศรี, 2541: 64) จากสูตร .(X – X)2 N เมื่อ SD แทนส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน X แทนเฉลี่ยเลขคณิตหรือค่าเฉลี่ย .X แทนผลรวมทั้งหมดของข้อมูล N แทนจำนวนข้อมูลทั้งหมด 3.6.1.3กกเกณฑ์การยอมรับประสิทธิภาพของโปรแกรม พิจารณาจากคะแนนคะแนน เฉลี่ยของกลุ่มทดลองโดยต้องมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับดีขึ้นไป จึงยอมรับว่าโปรแกรมนี้มี ประสิทธิภาพในการใช้งานได้ในสภาพการทำงานจริง X SD .X X บทที่ 5 สรุปผลและข้อเสนอแนะ 5.1กกสรุปผลการจัดทำโครงการ การพัฒนาระบบการลงทะเบียนอบรมผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนี้ ได้นำเอาทฤษฎี และ เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องหลาย ๆ อย่าง เช่น เทคโนโลยีฐานข้อมูล SQL, เทคโนโลยี ASP, เทคโนโลยี เว็บแอพลิเคชันกับการเชื่อมต่อฐานข้อมูล และเทคโนโลยีด้านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เข้ามา ประยุกต์ใช้ร่วมกัน เพื่อช่วยให้การพัฒนาระบบสามารถดำเนินไปได้อย่างลงตัว และทำการใช้งานมี ประสิทธิภาพมากขึ้นในด้านการจัดเก็บ การค้นหา ทั้งยังสามารถใช้งานได้หลาย ๆ คน พร้อม ๆ กัน ในเวลาเดียวกันจากสถานที่ต่าง ๆ กันได้ ดังนั้นจึงสามารถสรุปผลการจัดทำโครงการแยกเป็น เรื่องต่าง ๆ ได้ดังนี้ 5.1.1กกความสามารถของระบบ 5.1.1.1กก สามารถที่จะลงทะเบียนการอบรมทางอินเตอร์เน็ตได้ 5.1.1.2กกสามารถคำนวณค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการอบรมได้ 5.1.1.3กกสามารถใช้งานได้หลาย ๆ คนพร้อมกันจากทุกที่ที่มีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต 5.1.1.4กกสามารถจัดการกับข้อมูลสมาชิก ข้อมูลหลักสูตร ในเรื่อง การเพิ่ม การ ปรับปรุงแก้ไข และการลบได้ง่ายและสะดวก 5.1.2กกข้อจำกัดของระบบ 5.1.2.1กกระบบนี้ไม่สามารถเชื่อมต่อเข้ากับระบบงานอื่นที่มี ระบบปฏิบัติการ และ ระบบฐานข้อมูลที่แตกต่างจากที่พัฒนาได้ เช่นไม่สามารถใช้บน Linux หรือบน UNIX ได้ 5.1.2.2กกระบบนี้จัดเก็บข้อมูลในรูปแบบของฐานข้อมูล จึงทำให้ผลลัพธ์จากการ ทำงานกับฐานข้อมูลมีขนาดใหญ่ทำให้ ข้อมูลมีการตอบสนองช้าลง 5.1.2.3กกข้อจำกัดของ Web Browser ที่จะต้องทำงานกับ Microsoft Internet Explorer ที่มีความสามารถในการ Run ภาษา ASP ได้ และความปลอดภัยของ Web Browser 5.1.3กกประโยชน์ที่ได้รับจากการนำระบบมาใช้ 5.1.3.1กกเพื่อให้ผู้ที่ลงทะเบียนสามารถดูรายละเอียดของหลักสูตรของสถาบัน และทำการลงทะเบียนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ 5.1.3.2กกผู้ลงทะเบียนสามารถดูรายละเอียดหลักสูตรที่สนใจในเวลาหรือสถานที่ใด 58 ก็ได้ที่มีการเชื่อมต่อกับระบบอินเตอร์เน็ต 5.1.3.3กก เป็นการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการอบรม ให้บุคคลทั่วไปได้รับรู้ 5.1.3.4กกประหยัดทรัพยากร เช่น กระดาษ หมึกพิมพ์ และพื้นที่จัดเก็บ 5.1.3.5กกลดปัญหาการสูญหายของข้อมูลจากความไม่คงทนของสิ่งพิมพ์ที่เป็น กระดาษ 5.2กกสรุปผลการประเมินหาประสิทธิภาพโปรแกรม เมื่อได้นำระบบที่ได้พัฒนานี้ไปทดสอบเพื่อประเมินประสิทธิภาพของระบบ สามารถ สรุปผลการประเมินแต่ละด้านได้ ดังตารางที่ 5-1 ตารางที่ 5-1 แสดงการเปรียบเทียบและผลสรุปการประเมินประสิทธิภาพระบบในทุก ๆ ด้าน ประสิทธิภาพ รายการประเมิน X SD ระดับประสิทธิภาพ 1. การประเมินระบบด้าน Functional Requirement Test 8.42 1.02 ดี 2. การประเมินระบบด้าน Functional Test 8.30 0.73 ดี 3. การประเมินระบบด้าน Usability Test 8.86 0.95 ดี 4. การประเมินระบบด้าน Security Test 8.07 0.94 ดี ผลสรุปการประเมินประสิทธิภาพของระบบ 8.41 0.91 ดี จากตารางที่ 5-1 1. ผลการประเมินระบบด้าน Functional Requirement Test มีประสิทธิภาพ อยู่ในระดับ ดี 2. ผลการประเมินระบบด้าน Functional Test มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับ ดี 3. ผลการประเมินระบบด้าน Usability Test มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับ ดี 4. ผลการประเมินระบบด้าน Security Test มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับ ดี สามารถอธิบายได้ดังนี้ ประสิทธิภาพของโปรแกรมการประเมินระบบด้าน Usability Test มี ค่าเฉลี่ยสูงสุด เท่ากับ 8.86 แสดงว่าประสิทธิภาพการใช้งานอยู่ในระดับ ดี ส่วนประสิทธิภาพของ โปรแกรมการประเมินระบบด้าน Security Test มีค่าเฉลี่ยน้อยสุดเท่ากับ 8.07 แสดงว่าประสิทธิภาพ การใช้งานอยู่ในระดับดี ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการประเมินระบบด้าน Usability Test มีค่า ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมากที่สุดเท่ากับ 1.02 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานด้าน Functional 59 Test มีค่าน้อยที่สุดเท่ากับ 0.73 อธิบายได้ว่าการกระจายของการให้คะแนนด้านด้าน Functional Test มีการกระจายน้อยกว่าด้าน Usability Test และเมื่อพิจารณาผลสรุปการ ประเมินประสิทธิภาพของระบบพบว่ามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8.41 อธิบายได้ว่า สรุปว่าการพัฒนาระบบ การลงทะเบียนอบรมผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับ ดี 5.3กกข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนาสารนิพนธ์ 5.3.1 กกข้อเสนอแนะโดยผู้เชี่ยวชาญ 5.3.1.1กกควรมีระบบช่วยเหลือสำหรับผู้ดูระบบ 5.3.1.2กกถ้ามีผู้ใช้จำนวนมากระบบยังสามารถทำงานได้ หรือไม่ 5.3.2กกข้อเสนอแนะโดยผู้พัฒนาโครงการ 5.3.2.1กกควรจะสามารถชำระเงิน ค่าอบรมผ่านได้อินเตอร์เน็ตได้เลย โดยรับชำระ ทางบัตรเครดิตหรือบัตร ATM ต่างๆ 5.3.2.2กกควรจะสามารถที่จะอบรมผ่านทางอินเตอร์เน็ต แล้วทำการเก็บแก่สมาชิก โดยอาจจะใช้กล้อง Web Cam หรือใช้เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลที่เร็วกว่าปัจจุบัน เพื่อใช้ใน การ อบรมต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น