ศึกษาและโหลดฟรีเป็นตัวอย่างเกี่ยวกับงานวิจัย all free download research
วันเสาร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2552
การพัฒนาระบบทะเบียนหุ้นและเงินกู้
บทที่ 1
บทนำ
1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
สหกรณ์ออมทรัพย์สำนักงานเลขานุการกองทัพบก จำกัด ชื่อย่อ สอ.สลก.ทบ. จำกัด เป็น
สหกรณ์ประเภทออมทรัพย์ ให้บริการด้านการออมทรัพย์และเงินกู้แก่กำลังพลทหารที่สมัครเป็น
สมาชิก มีกิจกรรมสำหรับบริการสมาชิก คือ กิจกรรมการสมัครสมาชิกใหม่ การลาออก การเพิ่มหรือ
ลดหุ้นรายเดือน การขอกู้เงิน การปลดชำระหนี้ และการรับสภาพหนี้ กิจกรรมเหล่านี้ทำให้ข้อมูลหุ้น
และเงินกู้มีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
การพิจารณาตรวจสอบข้อมูลในแต่ละกิจกรรมจำเป็นต้องใช้ข้อมูลที่มีความถูกต้อง ซึ่งต้อง
ค้นหาข้อมูลจากระบบคอมพิวเตอร์และรายงานประจำเดือนประกอบกัน ทำให้ต้องใช้เวลาเป็น
จำนวนมาก และเมื่อมีการแก้ไขข้อมูลใด ๆ เกิดขึ้น จะต้องทำการคัดลอกข้อมูลไปให้เจ้าหน้าที่
ฝ่ายอื่น ๆ ใช้ด้วยเนื่องจากระบบคอมพิวเตอร์เป็นแบบ stand alone ไม่เช่นนั้นข้อมูลในเครื่องอื่น ๆ
จะมีความขัดแย้งกัน ดังนั้นหากระบบที่ใช้ไม่สามารถทำงานได้สอดคล้องกับเงื่อนไขของกิจกรรม
และไม่สามารถสนับสนุนเจ้าหน้าที่ให้ปฏิบัติงานได้อย่างรวดเร็ว และมีความถูกต้อง จะก่อให้เกิด
ปัญหาขึ้นได้ เช่น การปล่อยเงินกู้ซ้ำ หรือการอนุมัติให้ลาออกโดยที่สมาชิกยังมีภาระหนี้ค้าง หรือ
มีภาระค้ำประกันอยู่ ความยุ่งยากในการติดตามหนี้สินก็จะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นตามมา เหตุการณ์
ดังกล่าวนับว่าเป็นปัญหาที่สำคัญขององค์กรหากไม่ได้รับการแก้ไขจะทำให้สมาชิกขาดความเชื่อถือ
ต่อองค์กรได้
ในด้านการแก้ไขปัญหานั้น จำเป็นต้องนำระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการทำงานบน
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยที่ทุกฝ่ายสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้และฟังก์ชันการทำงานของระบบ
จะต้องทำงานได้ครอบคลุมตามเงื่อนไขของแต่ละกิจกรรม จึงจะสามารถแก้ปัญหาดังที่กล่าวมาได้
1.2 วัตถุประสงค์
จากการศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นในภาวะปัจจุบัน ได้กำหนดวัตถุประสงค์ในการพัฒนาระบบ
ทะเบียนหุ้นและเงินกู้ขึ้นดังนี้
1. เพื่อแก้ปัญหาการทำงานที่เกิดจากฟังก์ชันบางส่วนของระบบงานเดิม ซึ่งไม่สามารถทำงาน
ครอบคลุมกับเงื่อนไขของกิจกรรมต่าง ๆ ได้ครบตามความต้องการ
2. เพื่อแก้ปัญหาการใช้ข้อมูลที่ขัดแย้งกัน
3. เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบอื่น ๆ ต่อไป เช่น ระบบการจ่ายเงินปันผล และจ่ายเงิน
เฉลี่ยคืน
1.3 ขอบเขตของโครงงาน
การพัฒนานี้จะทำการศึกษาและออกแบบระบบ เพื่อแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานของเจ้า
หน้าที่ในฝ่ายต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องเฉพาะข้อมูลในส่วนของทะเบียนหุ้นและเงินกู้ โดยสรุปขอบเขต
ได้ดังนี้
1.3.1 สนับสนุนการปฏิบัติงานของแผนกเงินกู้
แผนกเงินกู้ประกอบด้วย 2 ฝ่าย คือฝ่ายธุรการเงินกู้มีหน้าที่ป้อนข้อมูลเข้าระบบและ
ฝ่ายพิจารณาเงินกู้มีหน้าที่พิจารณาตรวจสอบ
1. ส่วนงานที่พัฒนาเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของฝ่ายธุรการเงินกู้มีดังนี้
- การป้อนข้อมูลการสมัครสมาชิกใหม่
- การป้อนข้อมูลการซื้อหุ้นสะสมแบบหักลบเงินกู้
- การป้อนข้อมูลการกู้เงิน
- การป้อนข้อมูลการปลดชำระหนี้
- การป้อนข้อมูลการรับสภาพหนี้
- การป้อนข้อมูลการลาออก
- การตรวจสอบสถานะ
2. ส่วนงานที่พัฒนาเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของฝ่ายพิจารณาเงินกู้มีดังนี้
- การพิจารณาการสมัครสมาชิกใหม่
- การพิจารณาการซื้อหุ้นสะสมแบบหักลบเงินกู้
- การพิจารณาเงินกู้
- การพิจารณาการปลดชำระหนี้
- การพิจารณาการรับสภาพหนี้
- การพิจารณาการลาออก
- การตรวจสอบสถานะสมาชิก
- การพิมพ์รายงานประจำเดือน
- การปิดงานประจำเดือน
- การจัดการฐานข้อมูลระบบ
- ข้อมูลยศ
- ข้อมูลหน่วย
- การกำหนดเลขที่สัญญาเงินกู้อัตโนมัติ
- ยืนยันผลการอนุมัติ
1.3.2 ส่วนงานที่ได้พัฒนาเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของฝ่ายการเงินมีดังนี้
- การป้อนข้อมูลการขอปลดชำระหนี้แบบบางส่วน
- การป้อนข้อมูลการซื้อหุ้นสะสมแบบปกติ
- การพิจารณาข้อมูลการชำระหนี้แบบบางส่วน
- การพิจารณาข้อมูลการซื้อหุ้นสะสมแบบปกติ
- การยืนยันผลการอนุมัติการปลดชำระหนี้แบบบางส่วน และการซื้อหุ้นสะสมแบบ
ปกติ
- การออกใบเสร็จรับเงินค่าปลดชำระหนี้แบบบางส่วนและค่าหุ้นสะสมแบบปกติ
สารนิพนธ์นี้ไม่ได้พัฒนาในส่วนของการคำนวณเงินปันผล เงินเฉลี่ยคืน และการตรวจ
สอบการหักเงินค่าหุ้นและเงินกู้ประจำเดือน
1.4 ขั้นตอนการดำเนินงาน
1. ศึกษาระบบงานปัจจุบันและรวบรวมปัญหาที่เกิดขึ้นของระบบทะเบียนหุ้นและเงินกู้ ด้วย
การสังเกตจากภาคปฏิบัติงานจริง การสัมภาษณ์และสนทนาจากเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ ผู้บริหาร
ขององค์กร รวมทั้งเอกสารที่เกี่ยวข้องโดยละเอียด
2. วิเคราะห์ระบบงานปัจจุบัน โดยการวิเคราะห์ขั้นตอนการปฏิบัติงานจากเจ้าหน้าที่ในหน่วย
งานต่าง ๆ ข้อมูลที่ต้องการในระบบ และผลลัพธ์ที่ต้องการจากระบบปัจจุบัน โดยได้นำข้อมูลและ
รายละเอียดต่าง ๆ ที่ได้รับจากการศึกษาระบบงานปัจจุบันมาดำเนินการวิเคราะห์ระบบ สรุปและ
รวบรวมรายละเอียดปัญหาและอุปสรรค และร่วมกันกำหนดหลักเกณฑ์รวมทั้งข้อตกลงต่าง ๆ
3. ดำเนินการออกแบบระบบงานใหม่ โดยอาศัยรายละเอียดต่าง ๆ จากการวิเคราะห์ระบบมา
ใช้ในการวางแนวทางของลักษณะชุดคำสั่ง ลำดับขั้นตอนการดำเนินงาน ข้อมูลนำเข้า และผลลัพธ์
ของระบบงานที่พัฒนานี้ โดยมีขั้นตอนดังนี้
- เก็บรวบรวมข้อมูล (Information Gathering)
- สร้างแผนภาพกระแสข้อมูล เพื่ออธิบายการไหลของข้อมูลและกระบวนการต่าง ๆ
- Context Diagram
- Data Flow Diagram
- สร้างแผนภาพอีอาร์ (Entity Relationship) เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ของข้อมูลในระบบ
4. การเขียนโปรแกรม (Coding) และทดลองใช้ เมื่อทำการออกแบบระบบงานเป็นที่เรียบร้อย
และกลุ่มผู้ใช้งานเห็นชอบด้วย ขั้นตอนต่อไปคือการเขียนโปรแกรมตามที่ได้ออกแบบไว้ ซึ่งหลัก
เกณฑ์ในการเลือกภาษาเพื่อใช้ในการพัฒนาระบบงานนั้น จะพิจารณาถึงความเหมาะสมและง่าย
ต่อการใช้งาน ความเหมาะสมของรูปแบบภาษาที่สามารถพัฒนาระบบต่อไปในอนาคต จะทำการ
พัฒนาด้วยภาษา Visual Basic เวอร์ชั่น 6 โดยทำงานภายใต้ระบบสถาปัตยกรรมไคลเอนต์และ
เซิร์ฟเวอร์
5. ขั้นตอนการทดสอบระบบ จะทำการทดสอบโปรแกรมก่อนการใช้งานจริงด้วยตนเองเพื่อ
ตรวจสอบความถูกต้องของระบบ เช่น มีการพิมพ์รายงานประจำเดือน การออกใบเสร็จรับเงิน เป็น
ต้น เพื่อนำมาตรวจสอบความถูกต้อง หลังจากนั้นจะทำการแก้ไขปรับปรุงระบบให้สมบูรณ์ถูกต้อง
และดำเนินการให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน ฝ่ายธุรการเงินกู้ และฝ่ายพิจารณาเงินกู้ รวมทั้งผู้บริหารได้
ใช้งานจริง และหากพบว่ามีส่วนใดของระบบไม่ตรงวัตถุประสงค์ซึ่งอยู่นอกเหนือจากขอบเขตของ
โครงงานก็จะทำการแก้ไขและพัฒนาเป็นเวอร์ชั่นถัดไป
เมื่อทำการทดสอบระบบจนมีความมั่นใจว่าระบบสามารถทำงานได้ตรงกับความต้องการ
ของผู้ใช้ระบบ จึงทำการติดตั้งระบบ (Implementation) เพื่อใช้งานจริง
6. ขั้นตอนการสรุปผลและข้อเสนอแนะ เป็นขั้นตอนการสรุปผลการพัฒนาระบบ และจัดทำ
รูปแบบของเอกสารให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ระยะเวลา(วัน) ขั้นตอนการดำเนินการ
30 60 90 110 140 170 200 230
1. ศึกษาความเป็นไปได้
2. กำหนดปัญหา
3. วิเคราะห์และออกแบบระบบ
4. พัฒนาระบบ
5. ติดตั้งและทดสอบระบบ
6. สรุปผลและข้อเสนอแนะ
ภาพที่ 1-1 แสดงแผนภูมิแกนต์ชาร์ตของการพัฒนาระบบ
1.5 เครื่องมือและภาษาที่ใช้ในการพัฒนาระบบ
1. อุปกรณ์ (Hardware) ได้แก่
1.1 เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ CPU Pentium III 450 MHZ
1.2 อุปกรณ์เชื่อมต่อระบบเครือข่าย
- Network Interface Card(NIC)
- HUB
- สาย UTP Cable
2. ซอฟแวร์ (Software) ได้แก่
1.1 ระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows 2000 สำหรับเครื่อง Server
1.2 ระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows 98/Me สำหรับเครื่อง Client
1.3 โปรแกรม Crystal Report เวอร์ชั่น 8 สำหรับสร้างรายงาน
1.4 โปรแกรมภาษา Visual Basic เวอร์ชั่น 6 สำหรับเขียนโปรแกรม
1.5 โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล Microsoft SQL Server เวอร์ชั่น 2000
1.6 โปรแกรม Microsoft Excel สำหรับวิเคราะห์ค่าทางสถิติ
1.6 ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ผู้ใช้สามารถนำระบบทะเบียนหุ้นและเงินกู้ที่ได้ออกแบบมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และครอบคลุมกับเงื่อนไขของกิจกรรมขององค์การ ทำให้การปฏิบัติงานมีความรวดเร็วขึ้น
2. ผู้ใช้งานในฝ่ายต่าง ๆ สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ ทำให้สามารถแก้ปัญหาความขัดแย้งกัน
ของข้อมูลในระบบ
3. สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับระบบอื่น ๆ ในองค์กรได้
บทที่ 2
งานวิจัยและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
2.1 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
(กฤษณะ, 2536) ได้ศึกษาการพัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่องานสหกรณ์ออมทรัพย์กลุ่มธุรกิจ
เอกชน ซึ่งการทำงานของระบบเดิมเป็นการทำงานด้วยระบบเอกสารและประมวลผลด้วยคน จึง
เป็นไปด้วยความล่าช้าและยุ่งยากในการทำงาน รวมทั้งเกิดความผิดพลาดขึ้นบ่อยครั้ง จึงได้คิดที่จะ
นำระบบคอมพิวเตอร์เข้าใช้ในการจัดทำ และพัฒนาระบบงานสหกรณ์ออมทรัพย์ของกลุ่มบริษัท
เอกชนขึ้น โดยใช้บริษัทพรีเมีย์เป็นกรณีศึกษา ผลของการศึกษาและพัฒนาระบบงานสามารถช่วย
ทำให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
(สุภาพร, 2541) ได้ศึกษาการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการตรวจสอบสินเชื่อ ซึ่งออกแบบ
เพื่อช่วยลดขั้นตอนในการจัดทำกระดาษทำการก่อนการออกตรวจ และจัดชั้นลูกหนี้เพื่อให้การ
เขียนรายงานมีประสิทธิภาพ โดยผู้บริหารสามารถนำข้อมูลจากการจัดชั้นลูกหนี้ไปใช้ในการ
ตัดสินใจ การอนุมัติสินเชื่อและติดตามหนี้ค้างชำระของสาขาต่อไป
(นพรัตน์, 2543) ได้ออกแบบ และพัฒนาระบบสารสนเทศด้านการบริหาร
การเงินของสหกรณ์สำหรับผู้บริหารระดับสูง กรมตรวจบัญชีสหกรณ์
กรณีศึกษางานสถิติการเงินการบัญชีสหกรณ์ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ โดยได้
พัฒนาระบบสารสนเทศขึ้นเพื่อสนับสนุนผู้บริหารในการบริหารหรือจัดการปรับปรุง
กระบวนการเก็บข้อมูล ปรับปรุงคุณภาพของข้อมูลให้มีประสิทธิภาพ ช่วย
วิเคราะห์สถานการณ์ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย เวลาและเพิ่มคุณค่า
ของผลผลิต
2.2 ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
การพัฒนาระบบทะเบียนหุ้นและเงินกู้ได้พัฒนาระบบงานตามวงจรการพัฒนาระบบ (System
Development Life Cycle :SDLC) โดยได้นำทฤษฎีและวิธีการต่าง ๆ เข้ามาใช้ในแต่ละขั้นตอน
ดังนี้
1. ขั้นตอนการกำหนดปัญหา (Problem Definition)
การกำหนดปัญหาของระบบงานเดิม เป็นขั้นตอนของการกำหนดขอบเขตของปัญหา
สาเหตุของปัญหา และแนวทางในการแก้ไขปัญหา โดยได้ทำการสัมภาษณ์หัวหน้างาน และทำ
การรวบรวมข้อมูลจากการดำเนินงาน โดยระบุปัญหาที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงาน และรวบรวม
ความต้องการของผู้ใช้ระบบ เพื่อกำหนดวัตถุประสงค์และขอบเขตของการพัฒนาระบบ
2. การวิเคราะห์และออกแบบระบบ (Analysis and Design)
ขั้นตอนการวิเคราะห์และออกแบบระบบมีทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1. แผนภาพกระแสข้อมูล (Data Flow Diagram)
การวิเคราะห์นั้นจะใช้เทคนิค Data Flow โดยจะแยกระบบออกโดยใช้กรรมวิธีกระจาย
งานหลักเป็นงานย่อย แต่ละงานประกอบด้วย Input ซึ่งนิยามข้อมูลที่งานนั้นต้องใช้ Process คือ
กระบวนงานหรือเนื้องานที่ต้องทำ Output คือข้อมูลหรือผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลงานนั้น
การวิเคราะห์ระบบงานทางธุรกิจนิยมใช้แบบเชิงโครงสร้าง (Structure Analysis) เป็น
ลักษณะของการศึกษา โดยยึดถือความเข้าใจกระบวนการทำงาน (Process) เป็นหลัก เริ่มจาก
กระบวนการทำงานชิ้นใหญ่ไปหางานชิ้นเล็ก ในขณะเดียวกันให้ทำความเข้าใจกับการเปลี่ยนแปลง
ของข้อมูลที่เป็นผลจากการทำงานของแต่ละโปรเซส คือต้องเข้าใจกระแสข้อมูล (data flow) ที่
เคลื่อนผ่านโปรเซสหนึ่งไปยังอีกโปรเซสหนึ่ง เนื่องจากระบบงานทางธุรกิจเป็นระบบประมวลผลที่มี
ข้อมูลจำนวนมากและต้องผ่านกระบวนการทำงานเป็นขั้นตอนมากมาย นอกจากนี้ข้อมูลที่ผ่านเข้าสู่
กระบวนการทำงานโปรเซสหนึ่งไปยังอีกโปรเซสหนึ่งจะเกิดการเปลี่ยนสภาพ หรือมีข้อมูลใหม่เกิด
ขึ้น ด้วยเหตุนี้การใช้เทคนิคของ Data Flow Diagram หรือ DFD โดยย่อเพื่อบันทึกผลการศึกษา
ระบบงานจึงมีความเหมาะสมมาก DFD เป็นเทคนิคที่ใช้ภาพแสดงให้เห็นกระแสข้อมูลที่ไหลผ่าน
โปรเซสต่าง ๆ ของระบบงาน จากโปรเซสใหญ่ไปหาโปรเซสเล็ก หรือจากแนวบนสู่แนวล่าง
(Top down approach) ทำให้เห็นภาพโครงสร้างของระบบงานในเชิงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล
และโปรเซสได้อย่างชัดเจน การบันทึกผลวิเคราะห์ระบบเชิงโครงสร้างนอกจากใช้ DFD แล้ว ยังต้อง
บรรยายคุณลักษณะและองค์ประกอบของข้อมูลที่ปรากฎอยู่ในกระแสข้อมูล หรือข้อมูลที่อยู่ในหน่วย
บันทึก (Data stores)
2. แผนภาพอีอาร์ (Entity Relationship Diagram)
นอกจากการวิเคราะห์งานแล้ว ยังมีการสังเคราะห์ข้อมูล โดยรวมกลุ่มข้อมูลที่สัมพันธ์
กันเป็นเอนติตี้ หรือตัวแทนที่ใช้เก็บข้อมูล โดยใช้แผนภาพอีอาร์แสดงความหมายของข้อมูล ซึ่งจะ
ช่วยทำให้เกิดความคิดอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ลดความซับซ้อนของระบบได้เป็นอย่างดี
3. สถาปัตยกรรมของฐานข้อมูล (Database Architecture) คือโครงสร้างของฐานข้อมูล
ซึ่งถูกกำหนดโดยคณะกรรมการ NSI/SPARC ประกอบด้วย 3 ระดับ คือระดับภายนอกหรือวิว
(External Level หรือ View Level) ระดับหลักการหรือระดับแนวคิด (Conceptual Level) และระดับ
กายภาพ (Internal Level or Physical Level)
วิว 1
รูปแบบของข้อมูล
แบบที่ 1
วิว n
รูปแบบของข้อมูล
แบบที่ n
........... ระดับภายนอก
หรือวิว
สคีมาของข้อมูล
ในระดับหลักการ
สคีมาของข้อมูล
ในระดับกายภาพ
ระดับหลักการ
หรือระดับแนวคิด
ระดับกายภาพ
ภาพที่ 2-1 แสดงสถาปัตยกรรมของฐานข้อมูล 3 ระดับ
ระดับภายนอกหรือวิว (External Level หรือ View Level) เป็นระดับที่ประกอบด้วยสคีมา
(Schema) ซึ่งมีรายละเอียดของโครงสร้างข้อมูลแบบวิว วิวมีรูปแบบเป็นตาราง 2 มิติ แต่ไม่ได้เก็บ
ข้อมูลจริง เนื่องจากวิวเก็บเฉพาะโครงสร้างข้อมูลที่เชื่อมถึงคอลัมน์ต่าง ๆ ในเทเบิล และสามารถ
กำหนดให้เข้าถึงข้อมูลเพียงบางคอลัมน์หรือบางแถวจากเทเบิลเดียวหรือหลายเทเบิลก็ได้ เมื่อผู้ใช้
งานเรียกใช้วิว RDBMS จะไปดึงข้อมูลจากเทเบิลหลักมาประมวลผล
ระดับหลักการหรือระดับแนวคิด (Conceptual Level) เป็นระดับที่เก็บสคีมาของข้อมูล และ
คุณสมบัติต่าง ๆ ทั้งหมด ได้แก่ รายละเอียดของเทเบิล คอลัมน์ ความสัมพันธ์ระหว่างเทเบิล และ
กฎเกณฑ์ต่าง ๆ
ระดับกายภาพ (Internal Level or Physical Level) เป็นระดับที่เก็บสคีมาซึ่งมีรายละเอียด
เกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูลของฐานข้อมูลในดิสก์ โดยการกำหนดตำแหน่งที่เก็บข้อมูล
4. ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database) ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์เป็นฐานข้อมูลที่มี
การจัดเก็บข้อมูลในรูปของตาราง (Table) หรือรีเลชั่น (Relation) ข้อมูลที่อยู่ในแนวนอนเรียกว่า
แถว (Row) หรือทูเพิ่ล (Tuple) และข้อมูลในแนวตั้งเรียกว่าแอตทริบิวต์ (Attribute) หรือคอลัมน์
(Column) ในตาราง
4.1 คีย์ประเภทต่าง ๆ
คีย์หลัก (Primary Key) คือแอตทริบิวต์หรือกลุ่มของแอตทริบิวต์ ที่มีค่าไม่ซ้ำกันเลย
ในรีเลชันนั้น
คีย์คู่แข่ง (Candidate Key ) ในรีเลชั่นหนึ่ง ๆ มีแอตทริบิวต์หลายตัวที่สามารถเลือก
เป็นคีย์หลักได้ จะเรียกแอตทริบิวต์เหล่านั้นว่าคีย์คู่แข่ง
ดิสก์ที่บันทึกข้อมูล
ของฐานข้อมูล
คีย์สำรอง (Secondary Key หรือ Alternate Key) เมื่อเลือกคีย์คู่แข่งตัวใดตัวหนึ่งเป็น
คีย์หลักไปแล้ว คีย์คู่แข่งที่เหลือจะเรียกเป็นคีย์สำรอง
คีย์นอก (Foreign Key) เป็นคีย์เพื่อสร้างความสัมพันธ์ ระหว่างรีเลชันใช้เพื่อกำหนดให้
ข้อมูลในรีเลชันหนึ่งมีค่าตรงกับคีย์หลักของอีกรีเลชันหนึ่งหรือรีเลชันเดิมก็ได้
คีย์ประกอบ (Compound Key หรือ Composite Key) คือคีย์ที่ประกอบด้วยแอตทริ-
บิวต์หลายตัวรวมกัน อาจจะเป็นคีย์ประเภทใดก็ได้ เช่น คีย์หลัก หรือคีย์นอก
คีย์เดี่ยว (Simple Key) คือคีย์ที่มีแอตทริบิวต์เพียงตัวเดียว อาจจะเป็นคีย์หลักหรือคีย์
นอกก็ได้
4.2 การนอร์มัลไลซ์ (Normalization) คือหลักการออกแบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ ซึ่ง
คิดค้นโดย ดร.คอร์ด ตั้งแต่ปี 2506 แบ่งเป็นระดับพื้นฐาน 3 ระดับ คือ นอร์มัลฟอร์มระดับที่ (1NF)
นอร์มัลฟอร์มระดับที่ 2 (2NF) และนอร์มัลฟอร์มระดับที่ 3(3NF) สำหรับระดับที่สูงกว่านี้ บอยซ์
และคอร์ด (Boyce and Codd) ได้คิดค้นร่วมกัน ระดับต่อไปอีก 2 ระดับคือ นอร์มัลฟอร์มระดับที่
4(4NF) และระดับสุดท้าย คือนอร์มัลฟอร์มระดับที่ 5 (5NF) การทำนอร์มัลไลซ์ในแต่ละระดับจะ
ช่วยแยกแอตทริบิวต์ที่ซ้ำซ้อนกันออกไป ซึ่งเป็นสาเหตุของปัญหาการเพิ่ม (Insert Anomaly)
การแก้ไข (Update Anomaly) และการลบข้อมูล (Delete Anomaly)
4.3 รีเลชันของฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ มีคุณสมบัติสำคัญ 6 ประการ
1. ข้อมูลในแต่ละคอลัมน์เก็บได้เพียงค่าเดียวเท่านั้น
2. ค่าข้อมูลในแต่ละคอลัมน์จะต้องเป็นข้อมูลเรื่องเดียวกัน
3. ข้อมูลในแต่ละแถวภายในรีเลชันเดียวกันต้องไม่ซ้ำกัน
4. คอลัมน์จะเรียงลำดับอย่าไรก็ได้
5. แต่ละแถวจะเรียงลำดับอย่างไรก็ได้
6. ชื่อคอลัมน์ในเทเบิลเดียวกันจะซ้ำกันไม่ได้
4.4 กฎในการควบคุมความถูกต้องของข้อมูล (Data Integrity Rule)
เมื่อกำหนดให้รีเลชันมีคีย์หลัก และคีย์นอกไว้แล้ว RDBMS จะทำหน้าที่ควบคุม
ความถูกต้องของข้อมูลให้ค่าของคีย์เหล่านั้นมีความถูกต้องตามกฎดังนี้
1. ควบคุมความถูกต้องของเอนติตี้ (Entity Integrity Rule) ค่าของคีย์หลักจะต้อง
เป็นเอกลักษณ์ คือในหนึ่งรีเลชัน ค่าของคีย์หลักจะต้องแตกต่างกัน และเป็น Null ไม่ได้ การควบคุม
ตามกฎข้อนี้ จะทำโดยสร้างคีย์หลักให้กับทุกรีเลชัน ซึ่งมีผลให้ทุกครั้งที่เพิ่มข้อมูลในรีเลชันRDBMS
จะตรวจสอบค่าของคีย์หลักโดยไม่ยอมให้ซ้ำกับคีย์หลักที่มีอยู่แล้ว นอกจากนี้จะไม่ยอมให้ใส่ค่า
Null ให้กับคีย์หลักด้วย
2. กฎควบคุมความถูกต้องของข้อมูลเมื่อมีการอ้างอิง (Referential Integrity Rule)
คีย์นอกของรีเลชันหนึ่งจะต้องมีค่าตรงกับค่าคีย์หลักของอีกรีเลชันหนึ่ง หรือไม่ก็มีค่าเป็น Null
วิธีรักษาความถูกต้องของข้อมูลเมื่อมีการอ้างอิง สามารถทำได้ 3 วิธี คือ
- กำหนดค่าคีย์นอกเป็น Null หมายถึงว่าเมื่อคีย์หลักเปลี่ยนหรือถูกลบทิ้งไป
รีเลชันใดที่มีคีย์นอกซึ่งเชื่อมไปยังค่าของคีย์หลักนั้น จะใส่ค่าเป็น Null แทน
- การแก้ไข หรือลบแบบมีข้อจำกัด (Restrict) กฎนี้กำหนดไว้ว่าการแก้ไขหรือ
ลบคีย์หลักจะทำได้ก็ต่อเมื่อไม่มีคีย์นอกที่อ้างอิงคีย์หลักนั้นอยู่
- การแก้ไขหรือลบแบบส่งต่อแบบทอด ๆ (Cascade) กฎนี้กำหนดไว้ว่า การ
แก้ไข หรือลบข้อมูลของคีย์หลัก จะส่งผลต่อคีย์นอกในรีเลชันอื่นที่อ้างอิงถึงกัน โดยทำการแก้ไข
หรือลบข้อมูลออกไปด้วย
5. การออกแบบระบบ ขั้นตอนนี้จะมีการนำ DFD มาวิเคราะห์และรวมกลุ่มกระบวนงาน
กัน เพื่อให้ได้กลุ่มงานที่สมควรจัดเป็นงานหน้าจอได้ ส่วนสำคัญในการออกแบบ คือ การกำหนด
หน้าจอและกรรมวิธีหน้าจอ หน้าจอนั้นจะประกอบด้วยสิ่งที่ผู้ใช้มีอยู่ในจินตภาพ นอกจากนั้นจะ
ต้องออกแบบให้ข้นตอนที่แทนกระบวนงานมีความสอดคล้องกับแนวทางการทำงานจริง และยังต้อง
คำนึงถึงคุณลักษณะพิเศษของระบบคอมพิวเตอร์ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพอีกด้วย
หลักการออกแบบหน้าจอ ก็คือต้องมีการออกแบบส่วนโปรแกรม โดยดูกระบวนงานที่
กำหนดใน DFD ที่เตรียมไว้แล้ว ซึ่งปกติแล้วจะต้องมีส่วนรับข้อมูล ส่วนตรวจสอบความถูกต้อง
ของข้อมูล กระบวนงานที่ประมวลผลข้อมูล และการนำข้อมูลไปใช้ต่อหรือไปเก็บ ส่วนประมวลผล
นี้ยังต้องออกแบบให้คำนึงถึง Error ต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น และจะต้องใช้กรรมวิธีออกแบบที่ทำให้
โปรแกรมทนต่อการปฏิบัติงานที่ผิดพลาดได้พอสมควร
6. สถาปัตยกรรมแบบไคลเอนต์และเซิร์ฟเวอร์ เครือข่ายไคลเอนต์และเซิร์ฟเวอร์เป็นการ
ประมวลผลแบบกระจาย (Distributed Processing) โดยจะแบ่งการประมวลผลระหว่างเครื่อง
เซิร์ฟเวอร์กับเครื่องเวิร์กสเตชัน เซิร์ฟเวอร์ คือส่วนที่ทำหน้าที่ให้บริการและข้อมูลแก่ไคลเอนต์ที่
ร้องขอ ไคลเอนต์คือส่วนที่ทำหน้าที่ร้องขอบริการจากเซิร์ฟเวอร์ แทนที่โปรแกรม Application จะวิ่ง
ทำงานอยู่เฉพาะเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ก็จะแบ่งการคำนวณของโปรแกรม Application มาทำงานบน
เครื่องเวิร์กสเตชั่นด้วย และเมื่อใดที่เครื่องเวิร์กสเตชั่นต้องการผลลัพธ์ของข้อมูลบางส่วน จะมีการ
เรียกใช้ไปยังเครื่องเซิร์ฟเวอร์ โดยเซิร์ฟเวอร์จะแปลความหมายของคำขอบริการ แล้วนำผลลัพธ์
หรือข้อมูลนั้นส่งกลับไปยังไคลเอนต์
การพัฒนานี้จะใช้สถาปัตยกรรมไคลเอนต์และเซิร์ฟเวอร์แบบ 2 Tier ซึ่งส่วนของ User
Interface จะไม่แยกส่วนกับ Business Logic และแยกส่วนของ Data Service ไว้อีกส่วนหนึ่ง
เหมาะสำหรับองค์กรที่ไม่ใหญ่นัก
3. การพัฒนาระบบ (Development)
เป็นขั้นตอนในการสร้างระบบ สิ่งต่างๆ ที่ถูกออกแบบจะถูกนำมาสร้างในขั้นตอนนี้ โดย
ใช้ภาษา Visual Basic ในการเขียนโปรแกรม ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้งานง่ายไม่ซับซ้อน เชื่อมต่อกับ
ฐานข้อมูลได้ง่าย สารนิพนธ์นี้ใช้การเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลแบบ ADO (ActiveX Data Object) ซึ่ง
สนับสนุนฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์
4. การทดสอบ (Testing)
เป็นขั้นตอนในการทดสอบระบบก่อนที่จะนำไปใช้งานจริง โดยให้ผู้ใช้ระบบทำการ
ทดลองใช้ระบบเพื่อตรวจสอบการทำงานของระบบ หากมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นก็จะย้อนกลับไปใน
ขั้นตอนของการพัฒนาโปรแกรมใหม่ เพื่อแก้ไขโปรแกรมให้สามารถทำงานได้ตรงกับความต้องการ
ของผู้ใช้ระบบ ในสารนิพนธ์นี้มีการทดสอบ 3 แบบ ดังนี้
1. การทดสอบฟังก์ชันการทำงานของระบบ (Functional Testing) ผู้ใช้ระบบจะทำการ
ทดสอบว่าระบบมีคุณลักษณะ และพฤติกรรมตามที่ตกลงกันไว้หรือไม่ การทดสอบจะประกอบ
ด้วยการทดสอบฟังก์ชันทุกงานที่ตกลงไว้ ขีดความสามารถของโปรแกรมจะต้องสอดคล้องกับ
Requirement ต่างๆ ที่ตกลงกัน
2. ทดสอบความง่ายในการใช้ระบบ (Usability Testing) เป็นการทดสอบว่าโปรแกรม
ใช้ได้ง่ายหรือไม่ หรือโปรแกรมใช้แล้วมีปัญหาตรงส่วนไหน
3. ทดสอบหน่วยย่อย (Unit Test) แต่ละหน้าจอถือว่าเป็นหนึ่งหน่วย แต่ละหน้าจอ
อาจจะมีหน้าจอย่อย การทดสอบก็ต้องทำจากหน่วยย่อไปหาหน่วยใหญ่ การทดสอบแต่ละหน้าจอ
เป็นหน้าที่ของโปรแกรมเมอร์ เนื่องจากโปรแกรมเมอร์เข้าใจตรรกะของโปแกรมมากกว่าคนอื่น การ
ทดสอบแต่ละหน้าจอ ต้องอาศัยกรรมวิธีแบบ White Box ในกรณีที่หน้าจอเกี่ยวกับ การเพิ่ม ลบ
แก้ไข ข้อมูล ก็ต้องมีการป้อนข้อมูลทดสอบฟังก์ชัน (ปุ่ม) ต่าง ๆ เหล่านั้นดู
การทดสอบแบบ White Box จะต้องออกแบบกรณีทดสอบให้ความมั่นใจว่าทางเดิน
ในโปแกรมจากจุด Decision ซึ่งเป็นคำสั่ง If หรือส่วนทดสอบของคำสั่งประเภท Loop ไปถึงจุด
Decision (เรียกว่าทางเดิน Decision-to-Decision หรือทางเดิน DD) ทุกทางเดินได้รับการทดสอบ
อย่างน้อย 1 ครั้ง การครอบคลุมแบบนี้เรียกว่า DD path Coverage ซึ่งเป็นเงื่อนไขขั้นต่ำที่พอให้
ความมั่นใจถึงความถี่ถ้วนของการทดสอบ
5. การติดตั้งระบบ (Implement)
เป็นขั้นตอนในการนำโปรแกรมไปใช้งาน เพื่อให้สามารถติดตั้งและใช้งานที่เครื่องอื่นได้
โดยสร้างแผ่น Setup ด้วย Install Shield Express
6. การบำรุงรักษา (Maintenance)
เป็นขั้นตอนในการแก้ข้อผิดพลาดจากการใช้งานจริง
บทที่ 3
วิธีการดำเนินงาน
การพัฒนานี้เป็นการศึกษา วิเคราะห์และออกแบบระบบทะเบียนหุ้นและเงินกู้ เพื่อให้ผู้ใช้
สามารถนำระบบไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีวิธีการดังนี้
3.1 ศึกษาองค์กร การจัดองค์กร และความสัมพันธ์ของหน่วยงาน
3.1.1 โครงสร้างขององค์กร
สหกรณ์ออมทรัพย์สำนักงานเลขานุการกองทัพบก จำกัด ได้จัดตั้งและจดทะเบียน
ตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1. ส่งเสริมให้สมาชิกออมทรัพย์ โดยช่วยให้สามารถสงวนส่วนรายได้ไว้ในทาง
อันมั่นคงและได้รับประโยชน์ตามสมควร
2. ส่งเสริมการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และช่วยตัวเองในหมู่สมาชิก
3. รับฝากเงินจากสมาชิก หรือสหกรณ์อื่น
4. ให้เงินกู้แก่สมาชิกตามความจำเป็น และตามข้อกำหนดอันสมควร
5. ให้สวัสดิการหรือการสงเคราะห์ตามสมควรแก่สมาชิกและครอบครัว
6. จัดหาทุนและฝากหรือลงทุนตามที่กฎหมายสหกรณ์กำหนด
7. ร่วมมือกับทางราชการ สันนิบาตสหกรณ์ ชุมนุมสหกรณ์และสหกรณ์อื่น เพื่อ
ส่งเสริมและปรับปรุงกิจการของสหกรณ์
คณะกรรมการ
แผนกเงินกู้ แผนก
คอมพิวเตอร์ แผนกการเงิน แผนกเงินฝาก แผนกบัญชี
ฝ่ายธุรการเงินกู้
ฝ่ายพิจารณาเงินกู้
ภาพที่ 3-1 แสดงโครงสร้างขององค์กร
จากภาพที่ 3-1 สหกรณ์ประกอบด้วย 5 แผนก ได้แก่ แผนกเงินกู้ แผนกคอมพิวเตอร์
แผนกการเงิน แผนกบัญชี แผนกเงินฝาก
3.1.2 บทบาทและหน้าที่
1. คณะกรรมการ มีหน้าที่ดังนี้
- กำหนดนโยบาย บริหารงาน ควบคุมดูแลให้ฝ่ายต่าง ๆ ดำเนินการให้สอด
คล้องกับนโยบาย
- อนุมัติการสมัครใหม่ การกู้เงิน การขอเพิ่มหรือลดหุ้นรายเดือน การซื้อหุ้น
สะสม การรับสภาพหนี้ และการลาออก
2. แผนกเงินกู้
แผนกเงินกู้ประกอบด้วย 2 ฝ่าย มีหน้าที่ดังนี้
- ฝ่ายธุรการเงินกู้ มีหน้าที่ตอบข้อซักถามและให้ข้อมูลแก่สมาชิก รวบรวม
เอกสารเงินกู้ ใบสมัคร เอกสารการเพิ่มหรือลดหุ้นรายเดือน และการป้อนข้อมูลในกิจกรรมต่าง
ๆ
- ฝ่ายพิจารณาเงินกู้ มีหน้าพิจารณาตรวจสอบการสมัครสมาชิกใหม่ การ
กู้เงิน การขอเพิ่มหรือลดหุ้นรายเดือน การซื้อหุ้นสะสม การรับสภาพหนี้ และการลาออก
3. แผนกการเงิน มีหน้าที่ดังนี้
- รับชำระหนี้ ซื้อหุ้นสะสม และออกใบเสร็จรับเงิน
- จ่ายเงินกู้
4. แผนกบัญชี มีหน้าที่ดังนี้
- รับตรวจสอบการหักชำระค่าหุ้นและเงินกู้รายเดือน
- ติดตามการค้างชำระหนี้
- ตรวจสอบการลาออก
- ตรวจสอบการรับสภาพหนี้
5. แผนกเงินฝาก มีหน้าที่ดังนี้
- รับบริการฝากถอน
- สรุปรายงานการฝากถอน
6. แผนกคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่ดังนี้
- ดูแลและจัดการระบบ
- สนับสนุนงานด้านคอมพิวเตอร์ เช่น ตรวจซ่อมบำรุงเครื่องคอมพิวเตอร์
3.1.3 ระบบทะเบียนหุ้นและเงินกู้
1. การสมัครเป็นสมาชิก
- ยื่นใบสมัครตามแบบพิมพ์ของสหกรณ์ ผ่านผู้บังคับบัญชาหรือ
หัวหน้าส่วนราชการ มีรูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูปเพื่อใช้ติดบัตรประจำตัวสมาชิก
- ชำระค่าหุ้นตามเกณฑ์ที่สหกรณ์กำหนด และค่าธรรมเนียมแรกเข้า
30 บาท ถ้าเคยเป็นสมาชิกมาแล้วและถอนเงินค่าหุ้นไปหมดแล้ว มาสมัครเป็น
สมาชิกใหม่จะต้องชำระค่าหุ้นเท่ากับจำนวนค่าหุ้นเดิมที่ขอถอนไปด้วย
2. คุณสมบัติของสมาชิก
- เป็นผู้เห็นชอบในวัตถุประสงค์และข้อบังคับของสหกรณ์
- เป็นข้าราชการหรือลูกจ้างประจำในสังกัดหน่วยที่เป็นสมาชิก
- เป็นผู้มีความประพฤติและลักษณะนิสัยดีงาม
- มิได้เป็นสมาชิกในสหกรณ์ออมทรัพย์อื่น
3. หน้าที่ของสมาชิก
- ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับ ระเบียบ และมติของสหกรณ์ทุกประการ
- เมื่อมีการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุลหรือได้รับการเลื่อนยศ ย้ายที่อยู่
หรือย้ายสังกัดทำการสมรสหรือหย่าขาดจากการสมรส หรือลาออกจากราชการ ต้อง
แจ้งแก่สหกรณ์ให้ทราบภายใน 10 วัน
4. การถือหุ้น(หุ้นละ 10 บาท)
- สมาชิกทุกคนจะต้องถือหุ้น(ชำระเงินค่าหุ้น) เป็นรายเดือน ตั้งแต่เดือนแรก
ที่เข้าเป็นสมาชิกตามอัตราที่กำหนด โดยหักเงินเดือนจากหน่วยต้นสังกัด
- ผู้ถือหุ้นจะได้รับเงินปันผลในตอนสิ้นปี คิดจากมูลค่าหุ้นที่มีอยู่ตามส่วนแห่ง
ระยะเวลา ในอัตราไม่เกินตามที่กฎหมายสหกรณ์กำหนด เงินปันผลนี้ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้
- เงินได้รายเดือนไม่เกิน 5,000 บาท ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 10 หุ้น
ตั้งแต่ 5,001-10,000 บาท ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 15 หุ้น
ตั้งแต่ 10,001-15,000 บาท ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 20 หุ้น
ตั้งแต่ 15,001-20,000 บาท ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 25 หุ้น
ตั้งแต่ 20,001-25,000 บาท ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 30 หุ้น
ตั้งแต่ 25,001-30,000 บาท ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 35 หุ้น
ตั้งแต่ 30,001 บาทขึ้นไป ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 40 หุ้น
- การถือหุ้นรายเดือนในอัตราที่สูงกว่า หรือลดหุ้นรายเดือนที่ไม่ต่ำกว่าอัตราที่
กำหนด หรือจะขอเพิ่มหุ้นสะสมเป็นครั้งคราวต้องอยู่ในเกณฑ์ และเงื่อนไขการถือหุ้นตามที่
สหกรณ์กำหนดและประกาศเป็นคราว ๆ ไป
- การชำระเงินค่าหุ้นรายเดือน ให้ชำระโดยวิธีหักจากเงินเดือนของสมาชิกในวัน
จ่ายเงินได้รายเดือนนั้น ๆ ทุกเดือน โดยฝ่ายการเงินของหน่วยต้นสังกัดเป็นผู้ดำเนินการหัก
แล้วนำส่งหรือโอนเงินเข้าบัญชีสหกรณ์
5. การให้บริการเงินกู้
สหกรณ์ได้เปิดโครงการเงินกู้หลายประเภท เพื่อช่วยเหลือสมาชิกในการสร้าง
ฐานะความเป็นอยู่และบำบัดความเดือดร้อน โดยคำนึงถึงความจำเป็นและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อ
สมาชิก
การให้กู้ทุกประเภท ต้องอยู่ในหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการกู้เพื่อให้เหมาะสมหรือ
เป็นไปตามสภาวะทางเศรษฐกิจ โดยสหกรณ์จะกำหนดและประกาศให้ทราบเป็นคราว ๆ ไป
ก) ประเภทของเงินกู้
- เงินกู้ฉุกเฉิน สมาชิกผู้ขอกู้สามารถกู้ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ไม่มีการ
ค้ำประกันเงินกู้
ข) เงินกู้สามัญ สมาชิกผู้ขอกู้สามารถกู้ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และต้องมี
บุคคลค้ำประกันเงินกู้ เงินกู้สามัญมีหลายประเภท จำแนกได้ดังนี้
- เงินกู้สามัญ
- เงินกู้สามัญเพื่อการศึกษาบุตร
- เงินกู้สามัญเพื่อซื้อโทรศัพท์
- เงินกู้สามัญเพื่อซื้อคอมพิวเตอร์
ค) เงินกู้พิเศษ สมาชิกผู้ขอกู้สามารถกู้ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และผู้กู้
ต้องใช้สินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้ เงินกู้พิเศษมีหลายประเภท จำแนกได้ดังนี้
- เงินกู้พิเศษเพื่อการเคหะ
- เงินกู้พิเศษเพื่อซื้อรถยนต์
- เงินกู้พิเศษเพื่อการลงทุน
6. อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ดอกเบี้ยเงินกู้อาจเพิ่มหรือลดได้ตามที่สหกรณ์กำหนดและ
ประกาศเป็นคราว ๆ ไป ดอกเบี้ยที่สมาชิกชำระให้แก่สหกรณ์ระหว่างปีจะได้รับการเฉลี่ยคืน
โดยจัดสรรจากกำไรสุทธิประจำปี (เงินเฉลี่ยคืน ดอกเบี้ยเงินกู้มีเฉพาะการกู้เงินจากสหกรณ์เท่านั้น
เงินกู้ของธนาคารพาณิชย์ทั่วไปไม่มีเฉลี่ยคืน)
7. การอนุมัติเงินขอกู้ คณะกรรมการจะพิจารณาอนุมัติคำขอเงินกู้สามัญและเงินกู้
พิเศษในการประชุมคณะกรรมการดำเนินการประจำเดือน
8. การจ่ายเงินกู้ เงินกู้ฉุกเฉินจ่ายทันทีเมื่อได้รับอนุมัติ ส่วนเงินกู้สามัญจะจ่าย
หลังจากคณะกรรมการอนุมัติแล้วในวันต้นเดือนของเดือนถัดไป กรณีเงินกู้พิเศษจะจ่ายเมื่อทำนิติ
กรรมจำนองแล้ว
9. การชำระหนี้ ให้ชำระพร้อมกับเงินค่าหุ้นรายเดือน โดยฝ่ายการเงินของหน่วยต้น
สังกัดเป็นผู้ดำเนินการหักจากเงินเดือนของสมาชิกในวันจ่ายเงินได้รายเดือนนั้น ๆ ทุกเดือน แล้ว
นำส่งเงินเข้าบัญชีสหกรณ์
10. สมาชิกผู้ค้ำประกันเงินกู้
- ผู้คำประกันที่ได้ค้ำประกันเงินกู้ประเภทต่าง ๆ รวมเป็นยอดวงเงินกู้ที่สูงเกิน
กว่าเงินได้รายเดือนของตนเอง ผู้ค้ำประกันต้องตระหนักถึงผลที่จะกระทบในอนาคตไว้ด้วย เพราะ
ถ้าหากผู้กู้ที่ค้ำประกันนั้นเกิดมีปัญหาการส่งเงินชำระหนี้คืนสหกรณ์ไม่ได้ตามสัญญา ผู้ค้ำประกัน
อาจถูกดำเนินคดีชดใช้หนี้แทนผู้กู้ จะทำให้เกิดความเดือนร้อนและส่งผลกระทบไปถึงครอบครัว
ด้วย
- ถ้าผู้กู้ปฏิบัติผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ตามกำหนด เมื่อสหกรณ์แจ้งให้ผู้ค้ำ
ประกันทราบแล้ว ผู้ค้ำประกันจะต้องเป็นธุระในการประสานติดตามผู้กู้ให้ไปชำระหนี้ต่อสหกรณ์
ถ้าหากติดตามให้ผู้กู้ไปชำระหนี้ไม่ได้ ผู้ค้ำประกันจะต้องรับสภาพหนี้ของผู้ที่ค้างชำระทั้งหมด
พร้อมดอกเบี้ย โดยจะต้องชำระหนี้เฉลี่ยเท่า ๆ กันระหว่างผู้ค้ำประกัน
- ผู้ค้ำประกันเงินกู้ จะขอลาออกจาการเป็นสมาชิกสหกรณ์ไม่ได้ จนกว่าผู้กู้จะ
ชำระหนี้ครบตามสัญญาหรือจนกว่าผู้กู้ได้เปลี่ยนสมาชิกคนอื่นค้ำประกันแทนแล้ว จึงจะขอ
ลาออกสมาชิกสหกรณ์ได้
- ผู้ค้ำประกันเงินกู้ถึงแม้จะย้ายหรือโอนไปรับราชการที่หน่วยอื่นหรือลาออก
จากราชการหรือเกษียณอายุราชการก็ตาม คงยังต้องรับผิดชอบในฐานะผู้ค้ำประกัน ตลอด
ระยะเวลาที่ผู้กู้ยังชำระหนี้ไม่ครบตามสัญญา
- ผู้ค้ำประกันที่ไม่ยอมรับผิดชอบหรือปฏิบัติผิดสัญญาในฐานะผู้ค้ำประกัน
สหกรณ์จะเสนอเรื่องให้ ผบ.หน่วย พิจารณาต่อไป และอาจจะต้องถูกฟ้องดำเนินคดีตาม
กฎหมายเช่นเดียวกับผู้กู้ด้วย
11. เหตุที่สมาชิกต้องออกจากสหกรณ์
สมาชิกย่อมขาดจากสมาชิกภาพ ดังต่อไปนี้ ตาย วิกลจริต ลาออกจาก
สหกรณ์ต้องคำพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย ถูกออกจากราชการโดยมีความผิด
การลาออกจากสหกรณ์ สมาชิกประสงค์จะลาออกจากสหกรณ์ต้องรายงาน
ตามแบบที่สหกรณ์กำหนด คณะกรรมการจะอนุมัติให้ออกต่อเมื่อไม่มีหนี้ค้างชำระและไม่มี
ภาระผูกพันในการค้ำประกันเงินกู้
สมาชิกที่ลาออกจากสหกรณ์ และถอนหุ้นในระหว่างปีจะไม่มีสิทธิ์ได้รับเงินปัน
ผลในปีนั้น
12. การคำนวณเงินกู้
สหกรณ์ใช้วิธีการคำนวณเงินกู้แบบต้นเพิ่มดอกลด โดยคำนวณหายอดรวม
ชำระรายงวด ได้จากฟังก์ชัน PMT(Rate,Nper,Pv)
Rate คือ อัตราดอกเบี้ยต่อปี
Nper คือ จำนวนงวดที่ต้องผ่อนชำระ
Pv คือ จำนวนเงินกู้
ตารางที่ 3-1 ตัวอย่างรายละเอียดการผ่อนชำระเงินกู้ในแต่ละงวด
จำนวนเงินกู้ 100,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 8.5 % ต่อปี ผ่อนชำระจำนวน 24 งวด
งวดที่ เงินต้น ดอกเบี้ย รวมชำระ ยอดคงเหลือ
100,000
1 3,838 708 4,546 96,162
2 3,865 681 4,546 92,297
3 3,892 654 4,546 88,405
4 3,920 626 4,546 84,485
5 3,948 598 4,546 80,538
6 3,976 570 4,546 76,562
7 4,004 542 4,546 72,559
8 4,032 514 4,546 68,527
9 4,061 485 4,546 64,466
10 4,089 457 4,546 60,377
11 4,118 428 4,546 56,258
12 4,148 398 4,546 52,111
13 4,177 369 4,546 47,934
14 4,206 340 4,546 43,727
15 4,236 310 4,546 39,491
16 4,266 280 4,546 35,225
17 4,296 250 4,546 30,928
18 4,327 219 4,546 26,602
19 4,358 188 4,546 22,244
20 4,388 158 4,546 17,856
21 4,420 126 4,546 13,436
22 4,451 95 4,546 8,985
23 4,482 64 4,546 4,503
24 4,503 32 4,471 0
3.2 การวิเคราะห์และออกแบบระบบทะเบียนหุ้นและเงินกู้
3.2.1 ระบบงานเดิม
จากการศึกษาระบบทะเบียนหุ้นและเงินกู้ของระบบงานเดิม สามารถอธิบาย
กระบวนการทำงานได้จากภาพที่ 3-2 ซึ่งเป็น Conceptual Model ของระบบ
ภาพที่ 3-2 แสดง Conceptual Model ของระบบงานเก่า
1. กิจกรรมขอสมัครสมาชิกใหม่
ขั้นตอนในกิจกรรมนี้จะเริ่มต้นจากการตรวจสอบใบสมัคร ซึ่งต้องค้นหาข้อมูล
จากแหล่งสมาชิกเก่า เพื่อตรวจสอบดูว่าผู้สมัครเคยเป็นสมาชิกมาก่อนหรือไม่ หากเคยเป็น
สมาชิกก็แจ้งให้สมาชิกซื้อหุ้นสะสม เมื่อตรวจสอบแล้วจะนำเสนอเพื่ออนุมัติ และจะทำการป้อน
[สำเนา]
สมาชิกเก่า สมาชิก
1 ขอสมัครสมาชิก
ซื้อ/เพิ่ม/ลด
2 ขอซื้อหุ้นสะสม
[สำเนา]
สมาชิก
3 ขอกู้เงิน
[สำเนา]
เงินกู้
เงินกู้
[สำเนา]
สมาชิก
4 ขอกู้เงิน
[สำเนา]
เงินกู้
ชำระหนี้
เงินกู้
ใบเสร็จ
5 ขอรับสภาพหนี้
เงินกู้
[สำเนา]
สมาชิก
6 ขอลาออก
สมาชิก
[สำเนา]
เงินกู้
รายงาน
ประจำเดือน
รายงาน
ประจำเดือน
รายงาน
ประจำเดือน
[สำเนา]
เงินกู้
[สำเนา]
สมาชิก
เงินกู้ ปิดงานประจำเดือน
ตรวจสอบการ
เพิ่ม/ลดหุ้น
(Manual)
อนุมัติการ
เพิ่ม/ลดหุ้น
(Manual)
ป้อนข้อมูลการ
เพิ่ม/ลดหุ้น
(Manual)
ตรวจสอบ
การสมัคร
(Manual)
อนุมัติการสมัคร
(Manual)
ป้อนข้อมูล
สมัครใหม่
(Manual)
ตรวจสอบการ
ซื้อหุ้นสะสม
(Manual)
อนุมัติการซื้อ
หุ้นสะสม
(Manual)
ออกใบเสร็จค่าหุ้น
สะสมแบบปกติ
(Manual)
ป้อนข้อมูลการ
ซื้อหุ้นสะสม
(Manual)
ออกใบเสร็จค่าหุ้น
สะสมแบบหักลบ
(Manual)
อนุมัติเงินกู้
(Manual)
ป้อนข้อมูลเงินกู้
(Manual)
ออกใบเสร็จค่าปลด
ชำระหนี้แบบ
หักลบ (Manual)
คัดลออกข้อมูล
ออกใบเสร็จค่าปลด
ชำระหนี้บางส่วน
(Manual)
อนุมัติการปลด
ชำระหนี้
(Manual)
ตรวจสอบการ
กู้เงิน
(Manual)
ตรวจสอบการ
ปลดชำระหนี้
(Manual)
ตรวจสอบการ
รับสภาพหนี้
(Manual)
อนุมัติการรับ
สภาพหนี้
(Manual)
แก้ไขข้อมูลเงินกู้
ของผู้ค้ำประกัน
(Manual)
ตรวจสอบการ
ลาออก
(Manual)
อนุมัติการลาออก
(Manual)
กำหนดสถานะ
ลาออก
(Manual)
ลบรายการถือหุ้น
(Manual)
ป้อนข้อมูลการ
ปลดชำระหนี้
รายงาน
ประจำเดือน
[สำเนา]
เงินกู้
รายงาน
ประจำเดือน
รายงาน
ประจำเดือน
[สำเนา]
ซื้อ/เพิ่ม/ลด
[สำเนา]
ชำระหนี้
[สำเนา]
การถือหุ้น
[สำเนา]
ใบเสร็จ
ใบเสร็จ
ข้อมูลเข้าระบบหลังจากอนุมัติแล้ว และจัดเก็บข้อมูลประวัติสมาชิกและการถือหุ้นไว้ที่
แหล่งข้อมูลสมาชิก หลังจากนั้นต้องทำการคัดลอกข้อมูลไปให้ฝ่ายอื่น ๆ ใช้
ปัญหาที่เกิดขึ้น
1. เมื่อฝ่ายอื่นต้องการใช้ข้อมูลจำเป็นต้องคัดลอกข้อมูลไปให้
2. จัดเก็บประวัติสมาชิก และข้อมูลการถือหุ้นไว้ในแฟ้มข้อมูลเดียวกัน เนื่อง
จากข้อมูลเกี่ยวกับสมาชิกไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลง แต่ข้อมูลการถือหุ้นจะเคลื่อนไหวบ่อยครั้ง
ดังนั้นหากจำเป็นต้องนำข้อมูลหุ้นขึ้นมาทำการปรับปรุง ข้อมูลของสมาชิกก็ถูกนำขึ้นมาด้วย
เพราะเป็นเรคคอร์ดเดียวกัน
3. เจ้าหน้าที่ต้องป้อนข้อมูลสมาชิกสมัครใหม่เข้าระบบ หลังจากอนุมัติแล้ว ซึ่ง
อยู่ในช่วงปลายเดือน
2. กิจกรรมขอซื้อหุ้นสะสม
การซื้อหุ้นสะสมในระบบจะมี 3 ประเภท คือ การซื้อหุ้นสะสมแบบ
ปกติซึ่งเกิดจากความพึงพอใจในการซื้อของสมาชิกเอง โดยไม่เกี่ยวข้องกับเงื่อนไข
การกู้เงินหรือเงื่อนไข อื่น ๆ และการซื้อหุ้นสะสมแบบหักลบเงินกู้ อัน
เนื่องมาจากสมาชิกผู้ขอกู้เงินมีจำนวนหุ้นสะสมต่ำกว่าเกณฑ์ จึงต้องทำการซื้อหุ้น
สะสมเพิ่มโดยการหักออกจากวงเงินขอกู้ อีกประเภทหนึ่งคือการซื้อหุ้นสะสมแบบ
สมาชิกเก่าขอสมัครใหม่ ก่อนที่จะอนุมัติให้เป็นสมาชิก ผู้สมัครต้องซื้อหุ้นสะสมให้
เท่ากับจำนวนเดิมที่เคยลาออกไป
ปัญหาที่เกิดขึ้น
1. เมื่อมีความเคลื่อนไหวทางด้านหุ้น จำเป็นต้องคัดลอกข้อมูลไปให้
ฝ่ายอื่นใช้
งานด้วย
2. ออกใบเสร็จรับเงินค่าหุ้มสะสมด้วยระบบ Manual แล้วจึงนำ
รายละเอียดในใบเสร็จรับเงินป้อนข้าระบบคอมพิวเตอร์จึงทำให้ข้อมูลไม่ทันสมัย
3. กิจกรรมขอกู้เงิน
ขั้นตอนนี้เริ่มจากการนำข้อมูลมาพิจารณาคำขอกู้เงิน หากหุ้นสะสม
ของผู้กู้ไม่
สอดคล้องกับวงเงินกู้ก็ต้องทำการขอซื้อหุ้นสะสมก่อน ในกรณีที่มีเงินกู้เก่าก็ต้องทำ
การขอปลดชำระหนี้ก่อน
ปัญหาที่เกิดขึ้น
1. เมื่อมีความเคลื่อนไหวทางด้านเงินกู้ เช่น การปล่อยเงินกู้ฉุกเฉิน
จำเป็น
ต้องคัดลอกข้อมูลไปให้ฝ่ายอื่นใช้งานด้วย ไม่เช่นนั้นอาจปล่อยเงินกู้ซ้ำ
2. ต้องคีย์ข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์หลังจากอนุมัติแล้ว ซึ่งอยู่ในช่วง
ปลายเดือน
ทำให้ภาระงานล้นมือในช่วงปลายเดือน แต่ในระหว่างเดือนภาระงานว่าง
3. กำหนดเลขที่สัญญาเงินกู้ด้วยระบบ Manual จึงทำให้มีเลขที่สัญญา
เงินกู้
ซ้ำ
4. ไม่สามารถตรวจสอบการค้ำประกันได้ เมื่อป้อนรหัสสมาชิกค้ำ
ประกันเกิน
เกณฑ์
4. กิจกรรมขอปลดชำระหนี้
เมื่อมีสมาชิกมาขอปลดชำระหนี้ เจ้าหน้าที่จะทำการตรวจสอบการชำระหนี้ ข้อมูล
ที่นำมาตรวจสอบนั้นจะพิจารณาจากแหล่งข้อมูลเงินกู้ซึ่งเป็นสำเนา และในบางครั้งก็ใช้การ
ตรวจสอบจากรายงานประจำเดือน เมื่อตรวจสอบถูกต้องจะเสนออนุมัติเพื่อปลดชำระหนี้
ปัญหาที่เกิดขึ้น
1. เมื่อมีการปลดชำระหนี้ จำเป็นต้องคัดลอกข้อมูลไปให้ฝ่ายอื่นใช้งานด้วย ไม่
เช่นนั้นเจ้าหน้าที่จะไม่ทราบความเคลื่อนไหวของเงินกู้
2. ออกใบเสร็จรับเงินด้วยระบบ Manual แล้วจึงนำรายละเอียดใน
ใบเสร็จรับเงิน
ป้อนข้าระบบคอมพิวเตอร์จึงทำให้ข้อมูลไม่ทันสมัย
5. กิจกรรมขอรับสภาพหนี้
เป็นกระบวนการในการโอนหนี้ไปเป็นภาระของผู้ค้ำประกัน หากผู้ค้ำประกันมี
เงินกู้อยู่แล้ว เจ้าหน้าที่จะทำการโอนข้อมูลเงินกู้ให้ตามเลขที่สัญญาที่ค้ำประกัน
ปัญหาที่เกิดขึ้น ตรวจสอบการรับสภาพหนี้ด้วยระบบ Manual ทำให้เกิดความ
ผิดพลาดขึ้นได้ และไม่สะดวกในการค้นหาข้อมูล
6. กิจกรรมขอลาออก
เจ้าหน้าที่ต้องตรวจสอบภาระเงินกู้ด้วย หากมีเงินกู้ค้างก็จะแจ้งให้สมาชิกมา
ชำระหนี้หรือหักลบเงินกู้กับจำนวนหุ้นสะสมเลย ในกรณีที่มีภาระค้ำประกันก็ต้องแจ้งให้สมาชิก
เปลี่ยนผู้ค้ำประกันให้แล้วเสร็จ จึงจะสามารถอนุมัติให้ลาออกได้
ปัญหาที่เกิดขึ้น ตรวจสอบการลาออกของสมาชิกด้วยระบบ Manual ทำให้เกิด
ความผิดพลาดขึ้นได้ และไม่สะดวกในการค้นหาข้อมูล
7. กิจกรรมขอเพิ่ม/ลดหุ้นรายเดือน
ในระบบไม่มีการตรวจสอบการเพิ่มหรือลดหุ้นรายเดือนตามเกณฑ์
ต้องอาศัยการพิจารณาจากเจ้าหน้าที่เอง
ปัญหาที่เกิดขึ้น
1. เมื่อมีการเพิ่มหรือลดหุ้นรายเดือน ต้องทำการคัดลอกข้อมูลไปให้เจ้าหน้าที่
ฝ่ายอื่นใช้งาน ไม่เช่นนั้นจะไม่ทราบความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับหุ้นรายเดือนของสมาชิก
2. ไม่สามารถตรวจสอบเกณฑ์การถือหุ้นได้
3.2.2 สรุปปัญหาขององค์กร
จากการทำงานในระบบงานเก่าสรุปปัญหาได้ดังนี้
1. ระบบคอมพิวเตอร์เป็นแบบ Stand alone เมื่อมีการแก้ไขข้อมูลที่เครื่องของ
ฝ่ายคอมพิวเตอร์ จำเป็นต้องคัดลอกข้อมูลจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง เพื่อให้ข้อมูล
ทันสมัยตรงกัน แต่ในวันหนึ่ง ๆ มีสมาชิกมาขอกู้ฉุกเฉินเป็นจำนวนมาก และส่วนมากเป็นการกู้
แบบหักลบหนี้เก่า ซึ่งต้องปลดชำระหนี้และออกใบเสร็จรับเงินให้ด้วย รวมถึงการขอปลดชำระ
หนี้บางส่วนของเงินกู้ประเภทอื่น ๆ ก็มีเป็นจำนวนมากด้วยเช่นกัน ทำให้ไม่สามารถคัดลอก
ข้อมูลไปให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายอื่น ๆ ใช้งานได้ทันตามความต้องการ ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียดังนี้
- ทำให้เสียเวลาในการตรวจสอบมากขึ้น เพราะไม่รู้ว่าแหล่งข้อมูลใดมีข้อมูล
ที่ถูกต้อง
- ปล่อยเงินกู้ซ้ำ เพราะตรวจสอบจากแฟ้มข้อมูลแล้วไม่พบว่ามีรายการเงินกู้เก่า
- พิจารณาสมาชิกให้ลาออก เพราะตรวจสอบจากแฟ้มข้อมูลแล้วไม่พบว่ามี
รายการเงินกู้หรือมีภาระค้ำประกันอยู่
2. การป้อนข้อมูลการสมัครสมาชิกใหม่ การกู้เงินประเภทสามัญและประเภทพิเศษ
การเพิ่มหรือลดหุ้นรายเดือน การซื้อหุ้นสะสมแบบหักลบเงินกู้ และการชำระหนี้แบบหักลบกลบหนี้
จะถูกป้อนเข้าสู่ระบบหลังจากการอนุมัติแล้วซึ่งอยู่ในช่วงปลายเดือน จะก่อให้เกิดผลเสียดังนี้
- ภาระงานเพิ่มขึ้นในช่วงปลายเดือน
- ปิดงานประจำเดือนช้า
- ออกรายงานประจำเดือนได้ช้าลง
3. ไม่สามารถติดตามผลการพิจารณาเงินกู้ และการอนุมัติเงินกู้ได้จาก
ระบบต้องใช้
การตรวจสอบจากเอกสาร
4. ฟังก์ชันการทำงานของระบบไม่ครบตามความต้องการ ทำให้เกิดปัญหาดังนี้
- เลขที่สัญญาเงินกู้ซ้ำ เนื่องจากกำหนดเลขที่สัญญาเงินกู้ด้วยระบบ Manual
- ไม่สามารถตรวจสอบเกณฑ์การค้ำประกันได้ ทำให้ไม่มีการแจ้งเตือนเมื่อป้อน
รหัสสมาชิกค้ำประกันเกินเกณฑ์
- ไม่สามารถตรวจสอบเกณฑ์การถือหุ้นได้ ทำให้ไม่มีการแจ้งเตือนเมื่อป้อน
ข้อมูลการถือหุ้นเกินเกณฑ์
- การปลดชำระหนี้แบบบางส่วน การซื้อหุ้นสะสมแบบปกติทำด้วยระบบ
Manual โดยออกใบเสร็จรับเงินด้วยมือให้ก่อน แล้วจึงนำข้อมูลในใบเสร็จรับเงินป้อนเข้าระบบใน
ภายหลัง ซึ่งทำให้ข้อมูลในระบบไม่ทันสมัย
- การรับสภาพหนี้ทำด้วยระบบมือ ไม่ได้จัดเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ทำให้
ไม่สามารถตรวจสอบข้อมูลการรับสภาพหนี้จากระบบคอมพิวเตอร์ได้
5. ไม่มีการกำหนดสิทธิ์ในการใช้โปรแกรม สามารถเข้าใช้ได้อย่างอิสระ
แนวทางในการแก้ปัญหา
1. ออกแบบระบบใหม่โดยใช้สถาปัตยกรรมไคลเอนต์และเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งทำให้ผู้ใช้
สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้โดยไม่ต้องทำการคัดลอกข้อมูล ข้อมูลมีความทันสมัย
2. ออกแบบระบบให้เจ้าหน้าที่สามารถป้อนข้อมูลเข้าระบบได้ในระหว่างเดือน
3. ออกแบบระบบให้สามารถมีการตรวจสอบสถานะการพิจารณาและการอนุมัติ
ผล
4. เพิ่มเติมฟังก์ชันการทำงานให้ครอบคลุม ได้แก่
- สร้างเลขที่สัญญาอัตโนมัติ
- ตรวจสอบเกณฑ์การค้ำประกันได้ และมีการแจ้งเตือน
- ตรวจสอบเกณฑ์การถือหุ้นได้ และมีการแจ้งเตือน
- การปลดชำระหนี้ และการซื้อหุ้นสะสม รวมทั้งการออกใบเสร็จรับเงินทำ
ด้วยระบบคอมพิวเตอร์
- การรับสภาพหนี้ทำด้วยระบบคอมพิวเตอร์
5. ผู้ใช้ Login เข้าระบบ ก่อนใช้โปรแกรมตามสิทธิ์ที่กำหนด
1 ขอสมัครสมาชิก
[C2]
การถือหุ้น
[C1]
สมาชิก
เก็บประวัติสมาชิก
เก็บรายการถือหุ้น
นำประวัติมาพิจารณา
นำรายการถือหุ้น
มาพิจารณา
นำรายการสมาชิกที่
พิจารณาแล้วมาอนุมัติ
[M1]
สมาชิก
โอนรายการสมาชิก
2 ขอซื้อหุ้นสะสม
สมาชิกเก่าซื้อหุ้นสะสม
นำรายการซื้อหุ้นสะสมของสมาชิกเก่ามาอนุมัติ
[M4]
ซื้อ/เพิ่ม/ลด
หุ้น
โอนรายการหุ้น
[C4]
ซื้อ/เพิ่ม/ลด รายการซื้อหุ้นสะสมที่อนุมัติแล้ว
[M1]
สมาชิก
[M2]
การถือหุ้น [C2]
การถือหุ้น
[C4]
ซื้อ/เพิ่ม/ลด
รายละเอียดการถือหุ้น
ของสมาชิกทั่วไป
รายละเอียดการ
ซื้อหุ้นสะสม
นำรายการซื้อหุ้นสะสมมาพิจารณา
นำหุ้นสะสมมาพิจารณา
นำรายการถือหุ้นที่ผ่านการพิจารณาแล้วมาอนุมัติ
นำรายการซื้อหุ้นสะสมที่[M3] ผ่านการพิจารณาแล้วมาอนุมัติ
เงินกู้
[C2]
การถือหุ้น
[C3]
เงินกู้
รายการถือหุ้น
ของผู้ขอกู้
รายการเงินกู้ของผู้กู้
หุ้นสะสมของผู้ขอกู้
นำข้อมูลการถือหุ้น
ของผู้ขอกู้มาพิจารณา
นำข้อมูลการซื้อหุ้นสะสมของผู้ขอกู้มาพิจารณา
รายการเงินกู้ของผู้ขอกู้
[C4]
ชำระหนี้
รายการหักลบ
กลบหนี้ของผู้กู้
นำรายการหักลบกลบหนี้ของผู้กู้มาพิจารณา
นำรายการหักลบกลบหนี้มาอนุมัติ
[C6]
ใบเสร็จ
นำรายการเงินกู้ที่พิจารณาแล้วมาอนุมัติ
รายการถือหุ้น
ใบเสร็จรับเงิน
ปลดชำระหนี้แบบหักลบ
[M3]
เงินกู้
[M6]
ใบเสร็จ
โอนรายการเงินกู้
โอนรายการ
ใบเสร็จหุ้น
สะสมแบบ
หักลบเงินกู้,
ปลดชำระหนี้
แบบหักลบ
[M1]
สมาชิก
[M3]
เงินกู้
รายการชำระหนี้บางส่วน
นำรายการชำระหนี้
บางส่วนมาพิจารณา
นำรายการชำระหนี้บางส่วนมาอนุมัติ
รายการใบเสร็จปลด
ชำระหนี้แบบหักลบ
กลบหนี้
[M6]
ใบเสร็จ
ใบเสร็จ
ปลดชำระหนี้
แบบบางส่วน
[M2]
การถือหุ้น
[C3]
รายการโอนหนี้ เงินกู้
[C4]
ชำระหนี้
รายการชำระหนี้ นำรายการชำระหนี้
ที่อนุมัติแล้วมาพิจารณา
ปรับปรุงรายการโอนหนี้
นำรายการชำระหนี้มาอนุมัติ
รายการใบเสร็จ
หุ้นสะสมแบบ
หักลบเงินกู้
รายการใบเสร็จค่า
หุ้นสะสมแบบปกติ
นำรายรายโอนหนี้มาอนุมัติ
[M1]
สมาชิก
[M3]
เงินกู้
[M2]
การถือหุ้น
รายการโอนหนี้
[C3]
เงินกู้
3 ขอกู้เงิน
4
ขอชำระหนี้
5 ขอรับสภาพหนี้
6 ขอลาออก
[C2]
การถือหุ้น
[C1]
สมาชิก
รายการสมาชิกที่ขอลาออก
รายการหุ้นของสมาชิกที่ขอลาออก
รายการชำระหนี้ของ
สมาชิกที่ขอลาออก
นำรายการสมาชิกที่
ขอลาออกมาพิจารณา
นำรายการถือหุ้น
ของสมาชิกที่ขอ
ลาออกมาพิจารณา
นำรายการเงินกู้ของสมาชิก
ที่ขอลาออกมาพิจารณา นำรายการเงินกู้ของสมาชิก
ที่พิจารณาแล้วมาอนุมัติ
นำรายการถือหุ้นของสมาชิกที่พิจารณาแล้วมาอนุมัติ
นำรายการสมาชิกที่พิจารณาแล้วมาอนุมัติ
[M2]
การถือหุ้น
[M4]
การซื้อ/เพิ่ม/
ลดหุ้น
[M1]
สมาชิก
[M3]
เงินกู้
[M0]
สมาชิกเก่า
โอนเป็น
สมาชิกเก่า
ลบรายการ
สมาชิก
ลบรายการ
ถือหุ้น
ลบรายการ
ซื้อ/เพิ่ม/
ลดหุ้น
[C6]
ใบเสร็จ
ใบเสร ็จห ุ้นสะสมแบบห ักลบเง ินก ู้
รายการใบเสร ็จห ุ้นสะสมแบบห ักลบเง ินก ู้
[C1]
สมาชิก
รายการสมาชิก
[C1]
สมาชิก
[C1]
สมาชิก
[C1]
สมาชิก
พิจารณา
การลาออก
อนุมัติ
การลาออก
ป้อนข้อมูล
การลาออก
ป้อนข้อมูลการ
รับสภาพหนี้
ป้อนข้อมูล
ปลดชำระหนี้
ป้อนข้อมูลเงินกู้
ป้อนข้อมูล
การซื้อหุ้นสะสม
ป้อนข้อมูล
สมัครสมาชิก
พิจารณาการ
รับสภาพหนี้
พิจารณาการ
ปลดชำระหนี้
พิจารณาเงินกู้
อนุมัติเงินกู้
อนุมัติการ
ชำระหนี้
พิจารณาการซื้อ
หุ้นสะสม
อนุมัติการ
รับสภาพหนี้
ออกใบเสร็จ
รับเงิน
ออกใบเสร็จ
รับเงิน
อนุมัติการซื้อ
หุ้นสะสม
อนุมัติ
การสมัคร
พิจารณา
การสมัคร
ภาพที่ 3-3 แสดง Conceptual Model ของระบบงานใหม่
แนวคิดในการออกแบบระบบใหม่
แนวคิดในการออกแบบระบบใหม่ คือ ข้อมูลของกิจกรรมต่าง ๆ สามารถป้อนเข้าระบบได้
ในระหว่างเดือน ไม่จำเป็นต้องให้คณะกรรมการอนุมัติข้อมูลก่อนเหมือนกับระบบงานเก่าข้อมูล
ที่ป้อนเข้าระบบจะถูกจัดเก็บไว้ที่แฟ้มข้อมูลรออนุมัติ และจะกำหนดสถานะเป็นรออนุมัติ เมื่อถึง
ขั้นตอนของการพิจารณา จะนำข้อมูลจากแฟ้มข้อมูลรออนุมัติที่เกี่ยวข้องขึ้นมาตรวจสอบว่าตรงตาม
เงื่อนไขต่าง ๆ ของกิจกรรมหรือไม่ เมื่อมีการอนุมัติผลแล้วก็ทำการยืนยันข้อมูลอีกครั้งแล้วจึงโอน
ข้อมูลเข้าสู่แฟ้มข้อมูลหลัก
1. ขอสมัครสมาชิกใหม่
1 ขอสมัครสมาชิก
[C2]
การถือหุ้น
[M1]
สมาชิก
[M0]
สมาชิกเก่า
[C1]
สมาชิก
เก็บประวัติสมาชิก
เก็บรายการถือหุ้น
นำประวัติมาพิจารณา
นำรายการถือหุ้น
มาพิจารณา
นำรายการสมาชิกที่
พิจารณาแล้วมาอนุมัติ
นำรายการถือหุ้นของสมาชิกที่พิจารณาแล้วมาอนุมัติ [M2]
การถือหุ้น
[M1]
สมาชิก
โอนรายการสมาชิก
โอนรายการถือหุ้น
2 ขอซื้อหุ้นสะสม
รายการซื้อหุ้นสะสม นำรา[C4] ยการซื้อหุ้นสะสมมาพิจารณา
ซื้อ/เพิ่ม/ลด
กำหนดรายการซื้อหุ้นสะสม
ป้อนข้อมูล
สมัครสมาชิก
พิจารณา
การสมัคร
อนุมัติ
การสมัคร
พิจารณาการ
ซื้อหุ้นสะสม
ป้อนข้อมูลการ
ซื้อหุ้นสะสม
ภาพที่ 3-4 แสดง Conceptual Model ส่วนการขอสมัครสมาชิกใหม่
กิจกรรมการขอสมัครสมาชิกใหม่ ประกอบด้วย 3 กระบวนการ ดังนี้
1. กระบวนการป้อนข้อมูลสมาชิก
กระบวนการนี้เจ้าหน้าที่ต้องนำข้อมูลจากแฟ้มข้อมูลสมาชิก(M1) และจากสมาชิก
เก่า(M0) ขึ้นมาตรวจสอบผู้สมัคร หากพบว่าผู้สมัครเคยเป็นสมาชิกเก่าจะนำข้อมูลขึ้นมาแก้ไข
และถ้าผู้สมัครยังไม่เคยเป็นสมาชิกมาก่อน ก็จะทำการป้อนข้อมูลเข้าระบบ ข้อมูลประวัติสมาชิกจะ
ถูกจัดเก็บไว้ที่แฟ้มข้อมูลสมาชิก(C1) ส่วนรายละเอียดการถือหุ้นจะถูกจัดเก็บไว้ที่แฟ้มการถือหุ้น
(C2)
ผู้สมัครที่เคยเป็นสมาชิกเก่า ต้องซื้อหุ้นสะสมเท่ากับจำนวนที่เคยลาออกไป
ดังนั้นข้อมูลที่ถูกจัดเก็บอยู่ในสมาชิก(C1) และการถือหุ้น(C2) จะถูกนำไปใช้ในกระบวนการ
ป้อนข้อมูลการซื้อหุ้นสะสมด้วย
2. กระบวนการพิจารณาการสมัคร
สำหรับรายการสมัครของผู้สมัครใหม่ กระบวนการนี้จะนำข้อมูลจากแฟ้มข้อมูล
การถือหุ้น(C2) และแฟ้มข้อมูลสมาชิก(C1) มาตัดสินใจพิจารณา รายการสมัครใดที่ผ่านตาม
เงื่อนไขจะทำการพิจารณาโดยกำหนดสถานะพิจารณา หากรายการใดไม่ผ่านตามเงื่อนไขจะไม่
ทำการพิจารณาผลให้
สำหรับรายการสมัครของผู้สมัครที่เคยเป็นสมาชิกเก่า จะมีขั้นตอนการตรวจสอบการ
ซื้อหุ้นสะสมเพิ่มขึ้นมาด้วย เมื่อพบว่ารายการสมัครใดต้องซื้อหุ้นสะสม จะทำการกำหนดรายการ
ซื้อหุ้นสะสมเข้าสู่แฟ้มการซื้อ/เพิ่ม/ลด(C4)
3. กระบวนการอนุมัติการสมัคร
สำหรับรายการสมัครของผู้สมัครใหม่ที่ผ่านการพิจารณาแล้ว กระบวนการนี้จะนำ
ข้อมูลจากแฟ้มข้อมูลการถือหุ้น(C2) และแฟ้มข้อมูลสมาชิก(C1) โดยต้องนำข้อมูลที่มีสถานะ
พิจารณาแล้วเท่านั้น มาทำการอนุมัติผลและทำการโอนข้อมูลประวัติสมาชิกจากแฟ้มข้อมูล
สมาชิก(C1) เข้าสู่แฟ้มข้อมูลสมาชิก(M1) และโอนข้อมูลการถือหุ้นจากแฟ้มข้อมูลการถือหุ้น
(C2) เข้าสู่แฟ้มข้อมูลการถือหุ้น(M2)
สำหรับรายการสมัครของผู้สมัครที่เคยเป็นสมาชิกเก่าที่ผ่านการพิจารณาแล้ว จะ
ต้องนำรายการซื้อหุ้นสะสมที่ผ่านการอนุมัติแล้วขึ้นมาตรวจสอบเพิ่มเติมด้วย
2. ขอซื้อหุ้นสะสม
ภาพที่ 3-5 แสดง Conceptual Model ส่วนการขอซื้อหุ้นสะสม
กิจกรรมการขอซื้อหุ้นสะสม ประกอบด้วย 3 กระบวนการ ดังนี้
1. กระบวนการป้อนข้อมูลการซื้อหุ้นสะสม
- การซื้อหุ้นสะสมแบบปกติ
กิจกรรมการซื้อหุ้นสะสมแบบปกติ เกิดขึ้นเนื่องจากความประสงค์ซื้อของ
สมาชิก ไม่เกี่ยวข้องกับเงื่อนไขการกู้เงิน จะต้องนำข้อมูลจากแฟ้มข้อมูลสมาชิก(M1) และ
แฟ้มข้อมูลการถือหุ้น(M2) เพื่อนำข้อมูลมาโอนเก็บไว้ที่แฟ้มข้อมูลสมาชิก(C1) และแฟ้มข้อมูล
การถือหุ้น(C2) ตามลำดับ แล้วจึงทำการป้อนรายละเอียดการซื้อหุ้นสะสมตามเอกสารการซื้อหุ้น
แล้วจึงจัดเก็บข้อมูลการซื้อหุ้นนี้ไว้ที่แฟ้มข้อมูลซื้อ/เพิ่ม/ลดหุ้น(C4)
- การซื้อหุ้นสะสมแบบปกติ โดยมีเงื่อนไขซื้อเพื่อขอสมัครสมาชิกใหม่
กิจกรรมการซื้อหุ้นสะสมประเภทนี้เกิดขึ้น เนื่องจากผู้สมัครเคยเป็นสมาชิกมา
ก่อน และได้ลาออกจากสหกรณ์ ในปัจจุบันมีความประสงค์จะเป็นสมาชิกใหม่ จึงต้องทำการ
ซื้อหุ้นสะสมเพิ่มตามเกณฑ์ ดังนั้นกระบวนนี้จึงต้องนำข้อมูลสมาชิกมาจากแฟ้มข้อมูลสมาชิก
2 ขอซื้อหุ้นสะสม [C2]
การถือหุ้น
[C4]
ซื้อ/เพิ่ม/ลด
[M1]
สมาชิก
[M2]
การถือหุ้น รายการซื้อหุ้นสะสม
รายการถือหุ้น
รายการซื้อหุ้นสะสม
ของผู้ขอกู้
นำรายการซื้อหุ้นสะสม
ของผู้สมัครที่เคยเป็น
สมาชิกเก่า
นำรายการซื้อ
หุ้นสะสมมาพิจารณา
[M6]
[C6] ใบเสร็จ
ใบเสร็จ
[M2]
การถือหุ้น
[C4]
ซื้อ/เพิ่ม/ลด
รายการซื้อหุ้นสะสม
แบบปกติ,ของสมาชิก
เก่าขอสมัครใหม่
รายการซื้อหุ้นสะสม
แบบหักลบเงินกู้
[C1]
สมาชิก
รายการสมาชิก
พิจารณาการกู้เงิน
ป้อนข้อมูลการ
ซื้อหุ้นสะสม
พิจารณา
การสมัคร
ออกใบเสร็จ
รับเงิน
อนุมัติการซื้อ
หุ้นสะสม
พิจารณาการซื้อ
หุ้นสะสม
(C1) และข้อมูลการถือหุ้นจากแฟ้มข้อมูลการถือหุ้น(C2) เพื่อทำการตรวจสอบหุ้นสะสมเดิม
ข้อมูลการซื้อหุ้นสะสมแบบนี้จะส่งไปกระบวนการอนุมัติเลย เพราะเป็นเงื่อนไขหนึ่งของการสมัคร
สมาชิก
- การซื้อหุ้นสะสมแบบหักลบเงินกู้
กิจกรรมการซื้อหุ้นสะสมประเภทนี้เกิดขึ้น เนื่องจากสมาชิกผู้ขอกู้เงินมี
จำนวนหุ้นสะสมต่ำกว่าเกณฑ์การพิจารณา จึงสมควรให้ทำการซื้อหุ้นสะสมเพิ่มเติมให้ครบตาม
เกณฑ์การกู้เงิน ดังนั้นในกระบวนการนี้จึงต้องนำข้อมูลสมาชิกมาจากแฟ้มข้อมูลสมาชิก(C1)
และข้อมูลการถือหุ้นจากแฟ้มข้อมูลการถือหุ้น(C2) และข้อมูลการซื้อหุ้นนี้จากแฟ้มข้อมูลซื้อ/เพิ่ม/
ลดหุ้น(C4) มาทำการตรวจสอบว่าตรงตามเงื่อนไขหรือไม่
2. กระบวนการพิจารณาการซื้อหุ้นสะสม
กระบวนการนี้จะนำข้อมูลสมาชิกจากแฟ้มข้อมูลสมาชิก(C1) ข้อมูลการถือหุ้น
จากแฟ้มข้อมูลการถือหุ้น(C2) และข้อมูลการซื้อหุ้นจากแฟ้มข้อมูลซื้อ/เพิ่ม/ลดหุ้น(C4) เพื่อ
นำเข้ามาพิจารณา ทำการปรับปรุงรายการถือหุ้น และกำหนดสถานะการพิจารณา
3. กระบวนการอนุมัติการซื้อหุ้นสะสม
กระบวนการนี้จะนำข้อมูลสมาชิกจากแฟ้มข้อมูลสมาชิก(C1) ข้อมูลการถือหุ้นจาก
แฟ้มข้อมูลการถือหุ้น(C2) และข้อมูลการซื้อหุ้นจากแฟ้มข้อมูลซื้อ/เพิ่ม/ลดหุ้น(C4) เพื่อทำการ
อนุมัติผลการซื้อหุ้นสะสม และทำการโอนข้อมูลการถือหุ้นจากแฟ้มข้อมูลการถือหุ้น(C2) ข้อมูล
การซื้อหุ้นสะสมจากแฟ้มข้อมูลซื้อ/เพิ่ม/ลดหุ้น(C4) เข้าสู่แฟ้มข้อมูลการถือหุ้น(M2) และแฟ้ม
ข้อมูลซื้อ/เพิ่ม/ลดหุ้น(M4) ตามลำดับ และทำการออกใบเสร็จรับเงินค่าหุ้นสะสมให้กับสมาชิก
สำหรับรายการซื้อหุ้นสะสมแบบปกติ จะออกใบเสร็จรับเงินให้สมาชิกทันทีที่มีการซื้อหุ้นสะสม
และจัดเก็บข้อมูลไว้ที่แหล่งข้อมูลใบเสร็จรับเงิน(M6) สำหรับรายการซื้อหุ้นสะสมแบบหักลบ
เงินกู้ ระบบสามารถออกใบเสร็จรับเงินได้แต่จะจัดเก็บข้อมูลไว้ที่แฟ้มข้อมูลใบเสร็จรับเงิน(C6)
เนื่องจากจำเป็นต้องใช้ข้อมูลนี้ในการอนุมัติเงินกู้ด้วย จึงสมควรเก็บใบเสร็จรับเงินนี้ให้กับ
สมาชิก ณ วันที่จ่ายเช็ค
3. ขอกู้เงิน
3 ขอกู้เงิน
[M3]
เงินกู้
[M2]
การถือหุ้น
[M1]
[C2]
การถือหุ้น
[C1]
สมาชิก
[C3]
เงินกู้
รายการถือหุ้น
รายการเงินกู้
รายการสมาชิก
[C5]
ชำระหนี้
สมาชิกผู้ขอกู้
[C1]
สมาชิก
[M1]
สมาชิก
[M3]
เงินกู้
รายการชำระหนี้
รายการสมาชิก
รายการกู้เงิน
รายการถือหุ้น
[C6]
ใบเสร็จ
[M3]
เงินกู้
รายการใบเสร็จชำระ
เงินแบบหักลบเงินกู้
รายการใบเสร็จค่าหุ้น
สะสมแบบหักลบเงินกู้
โอนรายการ
4 ขอปลดชำระหนี้ ป้อนข้อมูล
การปลดชำระหนี้
ป้อนข้อมูล
การกู้เงิน พิจารณาเงินกู้ อนุมัติเงินกู้
ภาพที่ 3-6 แสดง Conceptual Model ส่วนการขอกู้เงิน
กิจกรรมการขอกู้เงิน ประกอบด้วย 3 กระบวนการ ดังนี้
1. กระบวนการป้อนข้อมูลเงินกู้
กระบวนการนี้จะนำข้อมูลสมาชิกมาจากแฟ้มข้อมูลสมาชิก(M1) ข้อมูลการถือหุ้น
สะสมจากแฟ้มข้อมูลการถือหุ้น(M2) และข้อมูลเงินกู้จากแฟ้มข้อมูลเงินกู้(M3) เพื่อนำมาโอนเข้า
แฟ้ม
ข้อมูลสมาชิก(C1) แฟ้มข้อมูลการถือหุ้น(C2) และแฟ้มข้อมูลเงินกู้(C3) ตามลำดับ
เพื่อทำการตรวจสอบเงินกู้เก่า แล้วจึงทำการป้อนรายละเอียดการกู้เงินเข้าสู่ระบบ โดยจัดเก็บ
ข้อมูลการกู้เงินไว้ที่แฟ้มข้อมูลเงินกู้(C3)
กรณีที่สมาชิกมีเงินกู้เก่าประเภทเดียวกัน จำเป็นต้องปลดชำระหนี้โดยการหักลบ
กลบหนี้
2. กระบวนการพิจารณาเงินกู้
รายการเงินกู้ที่สมาชิกมีคุณสมบัติครบถ้วน จะพิจารณาจากข้อมูลการถือหุ้นจาก
แฟ้มข้อมูลการถือหุ้น(C2) ว่ามีหุ้นสะสมสอดคล้องกับวงเงินกู้เพียงใดหากเป็นไปตามเงื่อนไข
ก็จะพิจารณาผล และกำหนดสถานะเป็นพิจารณา
รายการเงินกู้ที่สมาชิกต้องปลดชำระหนี้ จะต้องทำการกำหนดรายการปลดชำระหนี้
ลงสู่แฟ้มข้อมูลปลดชำระหนี้(C5) เพื่อให้ถูกต้องตามเงื่อนไขการกู้เงิน
รายการเงินกู้ที่สมาชิกต้องซื้อหุ้นสะสมเพิ่มเติม จะต้องทำการกำหนดรายการซื้อหุ้น
สะสมลงสู่แฟ้มข้อมูลซื้อ/เพิ่ม/ลด(C4) เพื่อให้ถูกต้องตามเงื่อนไขการกู้เงิน
3. กระบวนการอนุมัติเงินกู้
รายการเงินกู้ที่ผ่านการอนุมัติ จะทำการกำหนดสถานะอนุมัติและโอนรายการเงินกู้
จากแฟ้มข้อมูลเงินกู้(C3) เข้าสู่แฟ้มข้อมูลเงินกู้(M3)
รายการเงินกู้ใดที่มีการซื้อหุ้นสะสมหรือการปลดชำระหนี้ ระบบจะนำข้อมูล
ใบเสร็จรับเงินมาตรวจสอบด้วย
4. ขอปลดชำระหนี้เงินกู้
ภาพที่ 3-7 แสดง Conceptual Model ส่วนการปลดชำระหนี้เงินกู้
กิจกรรมการขอปลดชำระหนี้ ประกอบด้วย 3 กระบวนการ ดังนี้
1. กระบวนการป้อนข้อมูลการปลดชำระหนี้
กิจกรรมการปลดชำระหนี้แบบปกติ เกิดขึ้นเนื่องจากความประสงค์ขอปลด
[C5]
ชำระหนี้
[C1]
สมาชิก
[M1]
สมาชิก
[M3]
เงินกู้
4 ขอปลดชำระหนี้
รายการสมาชิก
รายการชำระหนี้
[C3]
เงินกู้
[M6]
ใบเสร็จ
[M3]
เงินกู้
[M5]
ชำระหนี้
[C6]
ใบเสร็จ
รายการชำระหนี้
บางส่วน
รายการชำระหนี้แบบ
หักลบกลบหนี้
รายการ
ชำระหนี้
โอนรายการ
รายการสมาชิก
รายการเงินกู้
ป้อนข้อมูล
การปลดชำระหนี้ พิจารณาการ
ปลดชำระหนี้
อนุมัติการ
ปลดชำระหนี้
ออกใบเสร็จ
พิจารณา
การลาออก
พิจารณาการ
รับสภาพหนี้
พิจารณาการ
เงินกู้
ชำระหนี้ของสมาชิก ไม่มีเกณฑ์กำหนด จะนำข้อมูลสมาชิกมาจากแฟ้มข้อมูลสมาชิก(M1)
ข้อมูลเงินกู้มาจากแฟ้มข้อมูลเงินกู้(M3) เพื่อนำมาใช้ในการปลดชำระหนี้ แล้วจึงป้อนข้อมูลการ
ปลดชำระหนี้เข้าระบบโดยจัดเก็บข้อมูลไว้ที่แฟ้มแฟ้มข้อมูลปลดชำระหนี้(C5)
2. กระบวนการพิจารณาการปลดชำระหนี้
กระบวนการนี้นำข้อมูลสมาชิกมาจากแฟ้มข้อมูลสมาชิก(C1) ข้อมูลเงินกู้มาจาก
แฟ้มข้อมูลเงินกู้(C3) และข้อมูลการชำระหนี้มาจากแฟ้มข้อมูลปลดชำระหนี้(C5) เพื่อนำมาใช้ใน
การพิจารณา รายการชำระหนี้ที่ผ่านการพิจารณา จะทำการปรับปรุงยอดเงินกู้ และกำหนดสถานะ
พิจารณา
3. กระบวนการอนุมัติการชำระหนี้
กระบวนการนี้นำข้อมูลสมาชิกมาจากแฟ้มข้อมูลสมาชิก(C1) ข้อมูลเงินกู้มาจาก
แฟ้มข้อมูลเงินกู้(C3) และข้อมูลการชำระหนี้มาจากแฟ้มข้อมูลปลดชำระหนี้(C5) เพื่อนำมาใช้ใน
การอนุมัติ และจะโอนข้อมูลการชำระหนี้จากแฟ้มข้อมูลปลดชำระหนี้(C5) ข้อมูลเงินกู้จาก
แฟ้มข้อมูลเงินกู้(C3) เข้าสู่แฟ้มข้อมูลปลดชำระหนี้(M5) และแฟ้มข้อมูลเงินกู้(M3) ตามลำดับ
และทำการออกใบเสร็จรับเงินให้กับสมาชิก ถ้าเป็นรายการชำระหนี้แบบหักลบกลบหนี้ข้อมูล
ใบเสร็จรับเงินจะจัดเก็บไว้ที่แฟ้มข้อมูลใบเสร็จรับเงิน(C6) เพราะต้องรอให้อนุมัติเงินกู้ก่อน ถ้า
เป็นรายการชำระหนี้แบบบางส่วนข้อมูลใบเสร็จรับเงินจะถูกจัดเก็บไว้ที่แฟ้มข้อมูลใบเสร็จรับเงิน
(M6) และสมาชิกจะได้รับใบเสร็จรับเงินเลย
5. ขอรับสภาพหนี้
ภาพที่ 3-8 แสดง Conceptual Model ส่วนการขอรับสภาพหนี้
กิจกรรมการขอรับสภาพหนี้ ประกอบด้วย 3 กระบวนการ ดังนี้
1. กระบวนการป้อนข้อมูลการรับสภาพหนี้
กระบวนการนี้นำข้อมูลสมาชิกจากแฟ้มข้อมูลสมาชิก(M1) ข้อมูลเงินกู้
แฟ้มข้อมูลเงินกู้(M3) และข้อมูลการถือหุ้นแฟ้มข้อมูลการถือหุ้น(M2) โดยทำการโอนหนี้ให้กับผู้
ค้ำประกัน รายการโอนหนี้ที่ยังค้างอยู่ในระบบ หมายถึงยังโอนหนี้ไม่สมบูรณ์อาจเนื่องมาจากผู้ค้ำ
ประกันมีเงินได้รายเดือนไม่พอให้หัก จึงต้องให้สมาชิกผู้กู้หาเงินสดมาปลดชำระหนี้เพื่อภาระหนี้
จะตกไปถึงผู้ค้ำประกันให้น้อยที่สุด ดังนั้นหากสมาชิกผู้กู้ยังไม่สามารถปลดชำระหนี้ได้ก็จะระบุใน
รายการเงินกู้ว่ายังโอนหนี้ไม่สมบูรณ์ เป็นผลให้ลาออกจากการเป็นสมาชิกยังไม่ได้
2. กระบวนการพิจารณาการรับสภาพหนี้
หากรายการรับสภาพหนี้ยังโอนหนี้ไม่สมบูรณ์ จะต้องกำหนดรายการปลดชำระหนี้
ลงสู่แฟ้มข้อมูลปลดชำระหนี้(C5) เพื่อให้ถูกต้องตามเกณฑ์การโอนหนี้ของรายการรับสภาพหนี้
3. กระบวนการอนุมัติการรับสภาพหนี้
เมื่อการรับสภาพหนี้เป็นการโอนหนี้ที่สมบูรณ์ จะนำรายการเงินกู้มาทำการอนุมัติ
และโอนรายการเงินกู้ที่ปรับปรุงแล้วเข้าสู่แฟ้มข้อมูลเงินกู้(M3)
[C3]
เงินกู้
[M1]
สมาชิก
[M2]
การถือหุ้น
[M4]
เงินกู้
[C1]
สมาชิก
[C2]
การถือหุ้น
รายการสมาชิก
รายการถือหุ้น
รายการเงินกู้
[C5]
ชำระหนี้
รายการชำระหนี้
ที่อนุมัติแล้ว
[M3]
เงินกู้
โอนรายการ
เงินกู้
รายการสมาชิก
รายการถือหุ้น
รายการเงินกู้
ป้อนข้อมูล
ชำระหนี้
ป้อนข้อมูล
การรับสภาพหนี้
พิจารณาการรับ
สภาพหนี้
อนุมัติการรับ
สภาพหนี้
6. ขอลาออกจากการเป็นสมาชิก
ภาพที่ 3-9 แสดง Conceptual Model ส่วนการขอลาออกจากสมาชิก
กิจกรรมการขอลาออกจากการเป็นสมาชิก ประกอบด้วย 3 กระบวนการ ดังนี้
1. กระบวนการป้อนข้อมูลการลาออก
กระบวนการนี้นำข้อมูลสมาชิกจากแฟ้มข้อมูลสมาชิก(M1) ข้อมูลเงินกู้แฟ้มข้อมูล
เงินกู้(M3) และข้อมูลการถือหุ้นแฟ้มข้อมูลการถือหุ้น(M2) หากสมาชิกมีเงินกู้ให้นำเงินกู้มาหัก
ลบกับหุ้นสะสม หากยังมีเงินกู้คงเหลือแล้วไม่สามารถนำเงินมาปลดชำระได้ ให้ทำเรื่องโอน
หนี้ให้ผู้ค้ำประกันรับสภาพหนี้ หากสมาชิกมีภาระค้ำประกัน ต้องเปลี่ยนบุคคลค้ำประกัน สมาชิก
ที่มีคุณสมบัติถูกต้องจะไม่มีหนี้ค้าง หรือมีภาระการค้ำประกัน
2. กระบวนการพิจารณาการลาออก
กระบวนนี้ต้องนำข้อมูลเงินกู้จากแฟ้มข้อมูลเงินกู้(C3) เข้ามาตรวจสอบการรับ
สภาพหนี้ด้วย หากไม่มีหนี้ค้างจะพิจารณาผล
3. กระบวนการอนุมัติการลาออก
เมื่อตรวจสอบคุณสมบัติของสมาชิกแล้ว จะนำรายการลาออกที่มีผลการพิจารณาแล้ว
เข้ามาตรวจสอบ และอนุมัติผลการลาออก และจะทำการโอนข้อมูลสมาชิกและการถือหุ้นสะสม
[C3]
เงินกู้
[M1]
สมาชิก
[M2]
การถือหุ้น
[M4]
เงินกู้
[C1]
สมาชิก
[C2]
การถือหุ้น
โอนรายการสมาชิก
โอนรายการถือหุ้น
โอนเงินกู้
[C5]
ชำระหนี้
รายการชำระหนี้
ที่อนุมัติแล้ว
[M0]
สมาชิกเก่า
[M2]
การถือหุ้น
[M3]
เงินกู้
[M1]
สมาชิก
โอนเป็น
สมาชิกเก่า
รายการ
ถอนหุ้น
ลบรายการ
เงินกู้
ลบรายการ
สมาชิก
รายการสมาชิก
รายการถือหุ้น
รายการเงินกู้
รายการชำะหนี้
ป้อนข้อมูล
การชำระหนี้
ป้อนข้อมูล
การลาออก
พิจารณาการลาออก อนุมัติการลาออก
ณ วันที่ลาออก เข้าสู่แฟ้มข้อมูลสมาชิกเก่า(M0) และลบรายการสมาชิกออกจากแฟ้มแฟ้มข้อมูล
สมาชิก(M1) ลบรายการถือหุ้นออกจากแฟ้มข้อมูลการถือหุ้น(M2)
7. ขอเพิ่มหรือลดหุ้นรายเดือน
ภาพที่ 3-10 แสดง Conceptual Model ส่วนการขอเพิ่มหรือลดหุ้นรายเดือน
กิจกรรมการขอลาออกจากการเป็นสมาชิก ประกอบด้วย 3 กระบวนการ ดังนี้
1. กระบวนการป้อนข้อมูลการเพิ่มหรือลดหุ้นรายเดือน
นำข้อมูลสมาชิกที่ประสงค์จะเพิ่มหรือลดหุ้นรายเดือนจากแฟ้มข้อมูลสมาชิก(M1)
และข้อมูลการถือหุ้นจากแฟ้มข้อมูลการถือหุ้น(M2) โดยทำการตรวจสอบการเพิ่มหรือลดหุ้นราย
เดือนตามเกณฑ์ และป้อนข้อมูลการเพิ่มหรือลดหุ้นเข้าระบบ โดยข้อมูลจะถูกจัดเก็บที่แฟ้มข้อมูล
ซื้อ/เพิ่ม/ลดหุ้น(C4)
2. กระบวนการพิจารณาการเพิ่มหรือลดหุ้นรายเดือน
นำข้อมูลการเพิ่มหรือลดหุ้นรายเดือนจากแฟ้มข้อมูลซื้อ/เพิ่ม/ลดหุ้น(C4) มา
พิจารณาตามเกณฑ์ หากผ่านตามเกณฑ์การถือหุ้นแล้ว จะปรับปรุงรายการหุ้นรายเดือนใน
แฟ้มข้อมูลการถือหุ้น(C2) และกำหนดสถานะพิจารณา
3. กระบวนการอนุมัติการเพิ่มหรือลดหุ้นรายเดือน
นำข้อมูลการเพิ่มหรือลดหุ้นรายเดือนจากข้อมูลซื้อ/เพิ่ม/ลดหุ้น(C4) ที่ผ่านการ
พิจารณาแล้วมาอนุมัติ และโอนข้อมูลการเพิ่ม/ลดหุ้นรายเดือนเข้าสู่แฟ้มข้อมูลซื้อ/เพิ่ม/ลดหุ้น
(M4) โอนรายการถือหุ้นเข้าสู่แฟ้มข้อมูลการถือหุ้น(M2)
[C2]
การถือหุ้น
[M1]
สมาชิก
[M2]
การถือหุ้น
[C4]
ซื้อ/เพิ่ม/
ลดหุ้น
รายการสมาชิก
รายการถือหุ้น
[M2]
การถือหุ้น
โอนรายการ
ถือหุ้น
รายการเพิ่ม/ลดหุ้นรายเดือน
รายการถือหุ้น
[C1]
สมาชิก
รายการสมาชิก
[M4]
ซื้อ/เพิ่ม/ลด
โอนรายการ
เพิ่ม/ลดหุ้น
รายการเพิ่ม/ลดหุ้นรายเดือน
ป้อนข้อมูล
การเพิ่ม/ลดหุ้น
พิจารณาการ
เพิ่ม/ลดหุ้น
อนุมัติการ
เพิ่ม/ลดหุ้น
ภาพที่ 3-25 แผนภาพแสดงการไหลของข้อมูลในระดับที่ 2 การป้อนข้อมูลการรับสภาพหนี้
แผนภาพกระแสข้อมูลในระดับที่ 2 ของกระบวนการที่ 13 ป้อนข้อมูลการรับสภาพหนี้ ซึ่ง
ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ คือ ขั้นตอน 13.1 โอนข้อมูล และขั้นตอน 13.2 โอนหนี้ให้ผู้ค้ำประกัน
ภาพที่ 3-26 แผนภาพแสดงการไหลของข้อมูลในระดับที่ 2 ส่วนงานพิจารณาการรับสภาพหนี้
13 ป้อนข้อมูลการรับสภาพหนี้
ใบรับสภาพหนี้
13.2
โอนหนี้
ให้ผู้ค้ำประกัน
สมาชิก
14
พิจารณาการ
รับสภาพหนี้
สมาชิก
เงินกู้
D1
D4
D2 การถือหุ้น
13.1
โอนข้อมูล
สมาชิก
D11 (รออนุมัติ)
เงินกู้
การถือหุ้น D14 (รออนุมัติ)
D12 (รออนุมัติ)
14 พิจารณาการรับสภาพหนี้
ใบรับสภาพหนี้
14.1
พิจารณาความสามารถ
ในการรับภาระหนี้
ชำระหนี้
D15 (รออนุมัติ)
เงินกู้
D14 (รออนุมัติ)
13
ป้อนข้อมูลการ
รับสภาพหนี้
14.3
กำหนดรายการชำระหนี้
15
อนุมัติการรับสภาพหนี้
รายการรับสภาพหนี้ที่
ผ่านการพิจารณาแล้ว
สมาชิก
เงินกู้ D11 (รออนุมัติ)
D14 (รออนุมัติ)
การถือหุ้น
D12 (รออนุมัติ) เงินกู้คงเหลือจาก
การรับสภาพหนี้
รายการเงินกู้ที่รับ
สภาพหนี้แล้ว
14.2
กำหนดสถานะเงินกู้
เป็นรับสภาพหนี้
สมาชิก สถานะมีเงินกู้ค้างชำระ
14.4
แจ้งผลการพิจารณา
14.5
กำหนดสถานะการ
พิจารณา
รายการเงินกู้ที่ระบุสถานะ
เงินกู้เป็นรับสภาพหนี้
รายการชำระหนี้
ของการรับสภาพหนี้
ที่ชำระหนี้ครบ
แผนภาพกระแสข้อมูลในระดับที่ 2 ของกระบวนการที่ 13 พิจารณาการการรับสภาพหนี้
ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ คือ ขั้นตอน 14.1 ตรวจสอบความสามารถในการรับสภาพหนี้
ขั้นตอน 14.2 กำหนดสถานะเงินกู้เป็นรับสภาพหนี้ ขั้นตอน 14.3 กำหนดรายการชำระหนี้ ขั้นตอน
14.4 แจ้งผลการพิจารณา และขั้นตอน 14.5 กำหนดสถานะการพิจารณา
ภาพที่ 3-27 แผนภาพแสดงการไหลของข้อมูลในระดับที่ 2 ส่วนงานอนุมัติการรับสภาพหนี้
แผนภาพกระแสข้อมูลในระดับที่ 2 ของกระบวนการที่ 15 อนุมัติการรับสภาพหนี้ ซึ่ง
ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ คือ ขั้นตอน 15.1 ตรวจสอบรายการรับสภาพหนี้ ขั้นตอน 15.2
กำหนดสถานะอนุมัติ ขั้นตอน 15.3 โอนหนี้ และขั้นตอน 15.4 โอนข้อมูล
15 อนุมัติการรับสภาพหนี้
ใบรับสภาพหนี้
ที่ผ่านการพิจารณาแล้ว
14
พิจารณาการ
รับสภาพหนี้
D4 เงินกู้
D2 การถือหุ้น
ชำระหนี้
D15 (รออนุมัติ)
15.1
ตรวจสอบรายการ
รับสภาพหนี้
ชำระหนี้
D15 (รออนุมัติ)
เงินกู้
D14 (รออนุมัติ)
สมาชิก
D11 (รออนุมัติ)
15.2
กำหนดสถานะ
อนุมัติ
รายการชำระหนี้ของการ
รับสภาพหนี้ที่พิจารณาแล้ว
เงินกู้
D14 (รออนุมัติ)
รายการรับสภาพหนี้
ที่พิจารณาแล้ว
15.3
โอนหนี้
D5 ชำระหนี้
15.4
โอนข้อมูล
ภาพที่ 3-28 แผนภาพแสดงการไหลของข้อมูลในระดับที่ 2 ส่วนงานป้อนข้อมูลการลาออก
แผนภาพกระแสข้อมูลในระดับที่ 2 ของกระบวนการที่ 16 ป้อนข้อมูลการลาออก
ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ คือ ขั้นตอน 16.1 โอนข้อมูล ขั้นตอน 16.2 ตรวจสอบเงินกู้
และขั้นตอน 16.3 หักลบเงินกู้กับหุ้นสะสม
16 ป้อนข้อมูลการลาออก
ใบลาออก 16.1
โอนข้อมูล
16.2
สมาชิก ตรวจสอบเงินกู้
เงินกู้
รออนุมัติ
การถือหุ้น
รออนุมัติ
สมาชิก
รออนุมัติ
จำนวนเงินกู้คงเหลือ
D14
D11
D12
10
ป้อนข้อมูลการ
ปลดชำระหนี้
สมาชิก
การถือหุ้น
เงินกู้
D1
D4
D2
D6 บุคคลค้ำประกัน
D7 สินทรัพย์ค้ำประกัน
บุคคลค้ำประกัน
D16 รออนุมัติ
สินทรัพย์ค้ำประกัน
D17 รออนุมัติ
16.3
หักลบเงินกู้
กับหุ้นสะสม
ภาพที่ 3-29 แผนภาพแสดงการไหลของข้อมูลในระดับที่ 2 ส่วนงานพิจารณาการลาออก
แผนภาพกระแสข้อมูลในระดับที่ 2 ของกระบวนการที่ 17 พิจารณาการลาออก ซึ่ง
ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ คือ ขั้นตอน 17.1 ตรวจสอบเงินกู้ ขั้นตอนที่ 17.2 ตรวจสอบการ
ชำระหนี้ ขั้นตอน 17.3 แจ้งผลการพิจารณา ขั้นตอน 17.4 ตรวจสอบภาระค้ำประกัน ขั้น
ตอน 17.5 กำหนดสถานะการพิจารณา และขั้นตอน 17.6 เปลี่ยนการค้ำประกันเงินกู้
17. พิจารณาการลาออก
ใบลาออก
17.1
ตรวจสอบเงินกู้
สมาชิก
สมาชิก
รออนุมัติ
17.5
กำหนดสถานะ
พิจารณา
การถือหุ้น
รออนุมัติ
เงินกู้
รออนุมัติ
รายการเงินกู้ของสมาชิก
สมาชิก(รออนุมัติ)
17.4
ตรวจสอบ
ภาระการค้ำประกัน
17.6
เปลี่ยนการค้ำประกัน
เงินกู้
D11
D14
D12
D11
17.2
ตรวจสอบการ
ปลดชำระหนี้
ปลดชำระหนี้
D15 รออนุมัติ
17.3
แจ้งผลการพิจารณา
สมาชิกยังไม่ได้ชำระหนี้
สมาชิก
รออนุมัติ
เงินกู้
รออนุมัติ
D11
D14
บุคคลค้ำประกัน
D16 รออนุมัติ
สมาชิกมีภาระ
ค้ำประกัน
สมาชิกไม่มีภาระค้ำประกัน
สมาชิกไม่มีเงินกู้
17.2
ตรวจสอบการ
ปลดชำระหนี้
ใบลาออกที่พิจารณาแล้ว
ภาพที่ 3-30 แผนภาพแสดงการไหลของข้อมูลในระดับที่ 2 ส่วนงานอนุมัติการลาออก
แผนภาพกระแสข้อมูลในระดับที่ 2 ของกระบวนการที่ 18 อนุมัติการลาออก ซึ่ง
ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ คือ ขั้นตอน 18.1 โอนรายการสมาชิกเป็นสมาชิกเก่า ขั้นตอน 18.2
ลบรายการเงินกู้ และขั้นตอน 18.3 ลบรายการถือหุ้น
18 อนุมัติการลาออก
ใบลาออกที่ผ่าน
การอนุมัติแล้ว
18.1
โอนรายการสมาชิก
เป็นสมาชิกเก่า
17
พิจารณาการลาออก
18.2
D1 สมาชิก ลบรายการเงินกู้
การถือหุ้น
D12 รออนุมัติ
18.3
ลบรายการถือหุ้น D4 เงินกู้
D10 สมาชิกเก่า
สมาชิก
D11 รออนุมัติ
เงินกู้
D14 รออนุมัติ
D2 การถือหุ้น
19 ป้อนข้อมูลการเพิ่ม/ลดหุ้นรายเดือน
19.1
โอนรายการ
สมาชิก
เอกสารการเพิ่ม/
ลดหุ้น
19.2
ป้อนข้อมูล
การเพิ่ม/ลดหุ้น
D1
สมาชิก
D2 การถือหุ้น
การถือหุ้น
D12 รออนุมัติ การซื้อ/เพิ่ม/ลดหุ้น
D13 (รออนุมัติ)
20
พิจารณาการเพิ่ม/ลดหุ้น
ภาพที่ 3-31 แผนภาพแสดงการไหลของข้อมูลในระดับที่ 2 ส่วนงานป้อนข้อมูลการเพิ่ม/ลดหุ้น
แผนภาพกระแสข้อมูลในระดับที่ 2 ของกระบวนการที่ 19 ป้อนข้อมูลการเพิ่ม/ลดหุ้น ซึ่ง
ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ คือ ขั้นตอน 19.1 โอนรายการ และ 19.2 ป้อนข้อมูลการเพิ่ม/
ลดหุ้น
ภาพที่ 3-32 แผนภาพแสดงการไหลของข้อมูลในระดับที่ 2 ส่วนงานพิจารณาการเพิ่ม/ลดหุ้น
แผนภาพกระแสข้อมูลในระดับที่ 2 ของกระบวนการที่ 20 พิจารณาการเพิ่ม/ลดหุ้น ซึ่ง
ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ คือ ขั้นตอน 20.1 พิจารณาการเพิ่ม/ลดหุ้นตามเกณฑ์ และ
ขั้นตอน 20.2 กำหนดสถานะพิจารณา
20 พิจารณาการเพิ่ม/ลดหุ้นรายเดือน
20.1
พิจารณา
การเพิ่มลดหุ้น
ตามเกณฑ์
สมาชิก
รออนุมัติ
เอกสารการเพิ่ม/
ลดหุ้น
20.2
กำหนดสถานะ
พิจารณา
D11
การถือหุ้น
D12 รออนุมัติ
21
อนุมัติการ
เพิ่ม/ลดหุ้นรายเดือน
19
ป้อนข้อมูลการ
เพิ่ม/ลดหุ้นรายเดือน
การซื้อ/เพิ่ม/ลดหุ้น
D13 (รออนุมัติ)
ภาพที่ 3-33 แผนภาพแสดงการไหลของข้อมูลในระดับที่ 2 ส่วนงานอนุมัติการเพิ่ม/ลดหุ้น
แผนภาพกระแสข้อมูลในระดับที่ 2 ของกระบวนการที่ 21 อนุมัติการเพิ่ม/ลดหุ้น ซึ่ง
ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ คือ ขั้นตอน 21.1 อนุมัติการเพิ่ม/ลดหุ้นตามเกณฑ์ และขั้นตอน
21.2 กำหนดสถานะอนุมัติ
21 อนุมัติการเพิ่ม/ลดหุ้นรายเดือน
21.1
พิจารณา
การเพิ่มลดหุ้น
ตามเกณฑ์
สมาชิก
รออนุมัติ
เอกสารการเพิ่ม/
ลดหุ้น
21.2
กำหนดสถานะอนุมัติ
D11
การถือหุ้น
D12 รออนุมัติ
20
พิจารณาการเพิ่ม/ลด
หุ้นรายเดือน
การซื้อ/เพิ่ม/ลดหุ้น
D13 (รออนุมัติ)
D2 การถือหุ้น
22 ตรวจสอบสถานะสมาชิก
22.1
ค้นหาข้อมูลหุ้น
และเงินกู้ด้วยรหัส
D4 เงินกู้
22.2
ค้นหาข้อมูลหุ้นและ
เงินกู้ด้วยชื่อ/นามสกุล
22.3
ค้นหาข้อมูลสมาชิก
ด้วยรหัส
22.4
ค้นหาข้อมูลสมาชิก
ด้วยชื่อ/นามสกุล
22.5
ค้นหาข้อมูล
การค้ำประกัน
22.6
ค้นหาข้อมูลการ
ปลดชำระหนี้
22.7
ค้นหาข้อมูลการ
ซื้อ/เพิ่ม/ลดหุ้น
D2 การถือหุ้น
22.10
ค้นหาข้อมูลการ
สมัครใหม่
22.9
ค้นหาข้อมูล
เงินกู้ใหม่
22.8
ค้นหาข้อมูลการรับ
สภาพหนี้
D1 สมาชิก
D4 เงินกู้
D1 สมาชิก
D5 การปลดชำระหนี้
D3 ซื้อ/เพิ่ม/ลดหุ้น
เงินกู้
D14 รออนุมัติ
ชำระหนี้
D15 รออนุมัติ
สมาชิก
D11 รออนุมัติ
ภาพที่ 3-34 แผนภาพแสดงการไหลของข้อมูลในระดับที่ 2 ส่วนงานตรวจสอบสถานะสมาชิก
แผนภาพกระแสข้อมูลในระดับที่ 2 ของกระบวนการที่ 22 ตรวจสอบสถานะสมาชิก ซึ่ง
ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ คือ ขั้นตอน 22.1 ค้นหาข้อมูลหุ้นและเงินกู้ด้วยรหัส ขั้นตอน
22.2 ค้นหาข้อมูลหุ้นและเงินกู้ด้วยชื่อหรือนามสกุล ขั้นตอน 22.3 ค้นหาข้อมูลสมาชิกด้วย
รหัสสมาชิก ขั้นตอน 22.4 ค้นหาข้อมูลสมาชิกด้วยชื่อหรือนามสกุล ขั้นตอน 22.5 ค้นหา
ข้อมูลการค้ำประกัน ขั้นตอน 22.6 ค้นหาข้อมูลการปลดชำระหนี้ ขั้นตอน 22.7 ค้นหาข้อมูลการ
ซื้อ/เพิ่ม/ลดหุ้น ขั้นตอน 22.8 ค้นหาข้อมูลการรับสภาพหนี้ ขั้นตอน 22.9 ค้นหาข้อมูลเงินกู้
ใหม่ และขั้นตอน 22.10 ค้นหาข้อมูลสมัครใหม่
ภาพที่ 3-35 แผนภาพแสดงการไหลของข้อมูลในระดับที่ 2 ส่วนงานปิดงานประจำเดือน
23 ปิดงานประจำเดือน
23.1
นำหุ้นสะสมบวกกับ
หุ้นรายเดือน
23.2
คำนวนเงินต้น
D2 การถือหุ้น
23.4
คำนวณดอกเบี้ย
23.3
คำนวณงวด
23.5
คำนวณยอดคงเหลือ
D4 เงินกู้
23.6
ปรับปรุงสมาชิกเข้าใหม่
D2 สมาชิก
แผนภาพกระแสข้อมูลในระดับที่ 2 ของกระบวนการที่ 23 ปิดงานประจำเดือน ซึ่ง
ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ คือ ขั้นตอน 23.1 นำหุ้นสะสมบวกกับหุ้นรายเดือน ขั้นตอน
23.2 คำนวณเงินต้น ขั้นตอน 23.3 คำนวณงวด ขั้นตอน 23.4 คำนวณดอกเบี้ย ขั้นตอน
23.5 คำนวณยอดคงเหลือ และขั้นตอน 23.6 ปรับปรุงสมาชิกสมัครใหม่
- แผนภาพกระแสข้อมูลระบบทะเบียนหุ้น ระดับที่ 3
7.2 ป้อนข้อมูลเงินกู้
7.2.1
จำแนกประเภทเงินกู้
7.2.3
ป้อนข้อมูลเงินกู้พิเศษ
7.2.4
ป้อนข้อมูลเงินกู้สามัญ
เงินกู้พิเศษ
7.2.2
ป้อนข้อมูลเงินกู้ฉุกเฉิน
เงินกู้ฉุกเฉิน
สมาชิก
D11 รออนุมัติ
เงินกู้
D14 รออนุมัติ
เงินกู้สามัญ
7.1
โอนข้อมูล
สมาชิก
D11 รออนุมัติ
เงินกู้
D14 รออนุมัติ
D16 บุคคลค้ำประกัน
D17 สินทรัพยค์ ้ำประกัน
สมาชิก M มีระดับยศ 1 ยศ
ภาพที่ 3-36 แผนภาพแสดงการไหลของข้อมูลในระดับที่ 3 ส่วนงานป้อนข้อมูลเงินกู้
แผนภาพกระแสข้อมูลในระดับที่ 3 ของกระบวนการที่ 7.2 ป้อนข้อมูลเงินกู้ ซึ่ง
ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ คือ ขั้นตอน 7.2.1 จำแนกประเภทเงินกู้ ขั้นตอน 7.2.2 ป้อน
ข้อมูลเงินกู้ฉุกเฉิน ขั้นตอน 7.2.3 ป้อนข้อมูลเงินกู้สามัญ และขั้นตอน 7.2.4 ป้อนข้อมูลเงินกู้
พิเศษ
3.2.3.2 แผนภาพอีอาร์ของระบบ
แผนภาพอีอาร์หรือ ERD (Entity Relationship Diagram) เป็นแผนภาพ
ที่
แสดงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่าง ๆ เพื่อสร้างฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ซึ่งได้แก่
เอนติตี้ แอตทริบิวต์ และความสัมพันธ์ระหว่างเอนติตี้
การจับคู่ข้อมูล (Participation) ซึ่งแสดงจำนวนของข้อมูลที่จับคู่กันจาก
แต่ละ
เอนติตี้ ดังนี้
- Total Participation (Mandatory) หมายถึงทุกแถวจากเอนติตี้ด้าน
Total
Participation จะต้องจับคู่กับข้อมูลในเอนติตี้อื่นที่มีความสัมพันธ์กันได้เสมอ
- Partial Participation (Optional) หมายถึงการมีข้อมูลเพียงบางแถว
จาก
เอนติตี้ที่เป็น Partial Participation ไปจับคู่กับข้อมูลในเอนติตี้อื่น ซึ่งมีความสัมพันธ์กัน
สมาชิก M สังกัด 1 หน่วย
สมาชิก 1 กู้เงิน M เงินกู้
ความสัมพันธ์ “มีระดับยศ” ระหว่างเอนติตี้สมาชิกกับยศเป็นแบบ 1:M สมาชิกทุกคนต้อง
มีระดับยศ และสมาชิก 1 คน มียศได้ 1 ระดับ ในทางกลับกันสมาชิกอีกหลาย ๆ คนก็สามารถ
มีระดับยศเดียวกันได้ ผลลัพธ์ของความสัมพันธ์ระหว่าง 2 เอนติตี้นี้จึงเป็น 1:M
ความสัมพันธ์ “สังกัด” ระหว่างเอนติตี้สมาชิกกับหน่วยเป็นแบบ 1:M สมาชิกทุกคนต้อง
มีสังกัด และสมาชิก 1 คน สังกัดได้แค่เพียงหน่วยงานเดียว ในทางกลับกันในแต่ละหน่วยมี
สมาชิกสังกัดได้หลายคน เมื่อผลลัพธ์ออกมาความสัมพันธ์ระหว่าง 2 เอนติตี้นี้จึงเป็น 1:M
ความสัมพันธ์ ”ถือหุ้น” ระหว่างเอนติตี้สมาชิกกับการถือหุ้นเป็นแบบ 1:1 สมาชิกทุกคน
ต้องถือหุ้น สมาชิก 1 คน มีรายละเอียดการถือหุ้นได้รายการเดียว และรายการถือหุ้นนั้น ๆ ก็เป็น
รายละเอียดการถือหุ้นของสมาชิกคนนั้นคนเดียว ผลลัพธ์ของความสัมพันธ์ระหว่าง 2 เอนติตี้จึง
เป็น 1:1
ความสัมพันธ์ ”ซื้อหุ้นสะสม” ระหว่างเอนติตี้สมาชิกกับการซื้อหุ้นสะสมเป็นแบบ 1:M
สมาชิกบางคนไม่จำเป็นต้องซื้อหุ้นสะสมก็ได้ แต่สมาชิก 1 คน ก็สามารถซื้อหุ้นสะสมได้หลายครั้ง
ในทางกลับกันรายละเอียดการซื้อหุ้นสะสมแต่ละครั้ง จะเป็นรายละเอียดการซื้อหุ้นสะสมของ
สมาชิกคนเดียว ผลลัพธ์ของความสัมพันธ์ระหว่าง 2 เอนติตี้จึงเป็น 1:M
สมาชิก 1 ถือหุ้น 1 การถือหุ้น
สมาชิก 1 ซื้อหุ้นสะสม M การซื้อหุ้นสะสม
ความสัมพันธ์ ”กู้เงิน” ระหว่างเอนติตี้สมาชิกกับเงินกู้เป็นแบบ 1:M สมาชิกบางคนไม่
จำเป็นต้องกู้เงิน แต่สมาชิก 1 คน สามารถกู้เงินได้หลายสัญญาเงินกู้ ทุก ๆ สัญญาเงินกู้ต้อง
ระบุรหัสสมาชิก
ความสัมพันธ์ ”ปลดชำระหนี้” ระหว่างเอนติตี้เงินกู้กับการปลดชำระหนี้เป็นแบบ 1:M
การปลดชำระหนี้จะต้องมีข้อมูลเงินกู้ปรากฏทุก ๆ รายการที่ทำการปลดชำระหนี้ เงินกู้บาง
สัญญาอาจไม่มีการปลดชำระหนี้เลย สัญญาเงินกู้ 1 สัญญา สมาชิกสามารถมาขอปลดชำระหนี้ได้
หลายครั้งซึ่งแล้วแต่เงื่อนไขและความต้องการของสมาชิก และทุก ๆ รายการปลดชำระหนี้ต้อง
ระบุเลขที่สัญญาเงินกู้
เงินกู้
เงินกู้ที่ใช้บุคคลค้ำประกัน เงินกู้ที่ใช้สินทรัพย์ค้ำฯ
d
ประเภทการค้ำ
“บุคคลค้ำประกัน” “สินทรัพย์ค้ำประกัน”
“ซุปเปอร์คลาส”
“ซับคลาส”
เงินกู้ 1 ปลดชำระหนี้ M การปลดชำระหนี้
Disjoint Constraint (d) และPartial Participation มีความหมายว่าข้อมูลในระดับ
ซุปเปอร์คลาสสามารถสัมพันธ์กับซับคลาสได้เพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น เงินกู้เป็นซุปเปอร์คลาส
เงินกู้ที่ใช้บุคคลค้ำประกัน และเงินกู้ที่ใช้สินทรัพย์ค้ำประกันเป็นซับคลาส ข้อมูลเงินกู้จะเหมือน
กัน แตกต่างกันที่เงื่อนไขการค้ำประกัน เงินกู้บางประเภทใช้บุคคลค้ำประกัน หรือใช้สินทรัพย์ค้ำ
ประกันได้อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น และเงินกู้บางประเภทอาจไม่มีการค้ำประกันจาก 2
ประเภทนี้เลยก็ได้ เช่น เงินกู้ฉุกเฉิน
Overlap Constraint (O) และ Partial Participation มีความหมายว่า ข้อมูลในระดับ
ซุปเปอร์คลาสสามารถสัมพันธ์กับซับคลาสได้มากกว่าหนึ่งตัว สมาชิกบางคนอาจเป็นทั้งคู่สมรส
และเป็นผู้รับผลประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือสองอย่างก็ได้ แต่อาจมีสมาชิกบางคนไม่ได้เป็น
ทั้งสองอย่างเลยก็ได้
ผู้คู่สมรสที่เป็นสมาชิก รับโอนฯที่เป็นสมาชิก
ประเภท
“คู่สมรส” “ผู้รับโอนฯ”
O
“ซับคลาส”
สมาชิก “ซุปเปอร์คลาส”
Overlap Constraint (O) และ Total Participation มีความหมายว่า ข้อมูลใน
ระดับซุปเปอร์คลาสสามารถสัมพันธ์กับซับคลาสได้มากกว่าหนึ่งตัว บุคคลทั่วไปต้อง
เป็นคู่สมรสหรือผู้รับโอนผลประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือสองอย่างก็ได้
บุคคลทั่วไป
คู่สมรส ผู้รับโอนฯ
ประเภท
“คู่สมรส” “ผู้รับโอนฯ”
“ซับคลาส”
“ซุปเปอร์คลาส”
O
1 M
รหัสยศ ชื่อยศ
รหัสหน่วย
ชื่อย่อ
ชื่อเต็ม
เลขที่สัญญาเงินกู้
จำนวนเงินกู้
อัตราดอกเบี้ย
จำนวนงวด
วันที่กู้
งวดปัจจุบัน
d
ประเภทการค้ำประกัน
เลขที่สินทรัพย์
ราคาประเมิน
เจ้าของ
เลขที่การปลดหนี้
วันที่ปลด
จำนวนเงินที่ปลด
ประเภทการปลด
เลขที่ใบเสร็จ
หุ้นสะสมเดิม
หุ้นรายเดือน
หุ้นสะสม
เลขที่การซื้อหุ้นสะสม
วันที่ซื้อ
จำนวนเงินที่ซื้อ
ประเภทการซื้อ
เลขที่ใบเสร็จ
เลขที่การเพิ่ม/ลด
วันที่ซื้อ
จำนวน
ประเภท
1
M 1
1
1
M
1 1
การเพิ่ม/ลด
หุ้นรายเดือน
การซื้อ
หุ้นสะสม
กู้เงิน
ประเภทเงินกู้
เพิ่ม/ลด
หุ้นรายเดือน
หน่วย
ยศ มีระดับยศ
1
ค้ำประกัน
ยอดคงเหลือ
เงินต้น/งวด
ดอกเบี้ย/งวด
รวมชำระ
สถานะเงินกู้
รหัสสมาชิก
วันที่ถอนหุ้น
จำนวนหุ้นที่ถอน
สาเหตุ
สังกัด
1
1
M
1
M
เงินกู้
เงินกู้ที่ใช้
บุคคลค้ำประกัน
เงินกู้ที่ใช้
สินทรัพย์ค้ำฯ
สมาชิก
สมาชิกเก่า
มีระดับยศ
รหัสสมาชิก
ชื่อ
นามสกุล
โทรศัพท์ที่ทำงาน
โทรศัพท์มือถือ
เลขที่บัตร
ประจำตัวประชาชน สัญชาติ
เชื้อชาติ
วันเดือนปีเกิด
ที่อยู่
สถานภาพ
เงินเดือน
วันเดือนปี
ที่เป็นสมาชิก
ศาสนา
ประเภทสินทรัพย์
1 M
ปลดหนี้ ปลดชำระหนี้
1
M
O
คู่สมรสที่เป็น
สมาชิก
ผู้รับโอนฯที่เป็น
สมาชิก
ประเภท
“เป็นคู่สมรส” “เป็นผู้รับโอนฯ”
รหัสคู่สมรส
รหัสสมาชิก
รหัสผู้รับโอนฯ
รหัสสมาชิก
ซื้อหุ้น
สังกัด
คู่สมรส
มีคู่สมรส
มีผู้รับโอนฯ
ผู้รับโอนฯ
“เป็นผู้รับโอนฯ” “เป็นคู่สมรส”
1
1
1
M
ประเภท
สถานะเงินกู้
รับสภาพหนี้
1
M
วันที่รับสภาพหนี้
จำนวนเงิน
O
“บุคคลค้ำประกัน” “สินทรัพย์ค้ำประกัน”
รหัสบุคคล
ชื่อ
นามสกุล
ที่อยู่
เบอร์โทรศัพท์
อาชีพ
ความสัมพันธ์
บุคคลทั่วไป
ถือหุ้น การถือหุ้น
ภาพที่ 3-37 แผนภาพอีอาร์ของระบบทะเบียนหุ้นและเงินกู้
3.2.3.3 โครงสร้างตารางฐานข้อมูลของระบบ
ตารางที่ 3-2 แสดงลักษณะแอตทริบิวต์ของตารางสมาชิก(Member)
แอททริบิวซ์ ชนิดของข้อมูล ขนาดของข้อมูล ความหมาย
IdMember(Pk) VARCHAR 5 รหัสสมาชิก
IdRank VARCHAR 2 รหัสยศ
NameMember VARCHAR 25 ชื่อสมาชิก
SurnameMember VARCHAR 25 นามสกุลสมาชิก
DateIn Date วันที่เป็นสมาชิก
IdHead VARCHAR 3 รหัสหน่วย
TelWork VARCHAR 20 เบอร์โทรศัพท์ที่ทำงาน
TelMobile VARCHAR 9 เบอร์โทรศัพท์มือถือ
Salary Number 15 เงินเดือน
Code VARCHAR 13 เลขที่บัตรประจำตัว
ประชาชน
DateBorn Date วันเดือนปีเกิด
Origin VARCHAR 15 เชื้อชาติ
Nation VARCHAR 15 สัญชาติ
Sasana VARCHAR 15 ศาสนา
AddHome VARCHAR 40 ที่อยู่
Status VARCHAR 1 สถานะภาพ
0=โสด, 1=แต่งงาน,
2=หย่าร้าง
Status_Of_P VARCHAR 1 สถานะการเป็นคู่สมรส
0= เป็นคู่สมรส
1= ไม่เป็นคู่สมรส
Status_Of_Ad VARCHAR 1 สถานะการเป็นผู้รับโอน
ผลประโยชน์
0= เป็นผู้รับโอนฯ
1= ไม่เป็นผู้รับโอนฯ
ตารางที่ 3-3 แสดงลักษณะของแอตทริบิวต์ในตารางยศ(Rank)
แอททริบิวซ์ ชนิดของข้อมูล ขนาดของข้อมูล ความหมาย
IdRank(Pk) VARCHAR 2 รหัสยศ
NameRank VARCHAR 10 ชื่อยศ
ตารางที่ 3-4 แสดงลักษณะของแอตทริบิวต์ในตารางหน่วย(Head)
แอททริบิวซ์ ชนิดของข้อมูล ขนาดของข้อมูล ความหมาย
IdHead(Pk) VARCHAR 3 รหัสหน่วย
NameHead VARCHAR 10 ชื่อย่อ
NamePerHead VARCHAR 40 ชื่อเต็ม
ตารางที่ 3-5 แสดงลักษณะของแอตทริบิวต์ในตารางบุคคลทั่วไป(Person_Gen)
แอททริบิวซ์ ชนิดของข้อมูล ขนาดของข้อมูล ความหมาย
Id_Per_Gen(Pk) VARCHAR 5 รหัสบุคคลากร
First_Per_Gen VARCHAR 5 คำนำหน้า
Name_Per_Gen VARCHAR 25 ชื่อ
Surname_Per_Gen VARCHAR 25 นามสกุล
Add_Per_Gen VARCHAR 50 ที่อยู่
Tel_Per_Gen VARCHAR 20 โทรศัพท์
ตารางที่ 3-6 แสดงลักษณะของแอตทริบิวต์ในตารางผู้รับโอนผลประโยชน์(Advantage)
แอททริบิวซ์ ชนิดของข้อมูล ขนาดของข้อมูล ความหมาย
Id_Ad(Pk) VARCHAR 5 รหัสผู้รับโอนฯ
Id_Per_Gen VARCHAR 5 รหัสบุคคลทั่วไป
Relation_Ad VARCHAR 20 ความสัมพันธ์
ตารางที่ 3-7 แสดงลักษณะของแอตทริบิวต์ในตารางคู่สมรส(Pair)
แอททริบิวซ์ ชนิดของข้อมูล ขนาดของข้อมูล ความหมาย
IdPair(Pk) VARCHAR 5 รหัสคู่สมรส
Id_Per_Gen VARCHAR 5 รหัสบุคคลทั่วไป
ตารางที่ 3-8 แสดงลักษณะของแอตทริบิวต์ในตารางคู่สมรสที่เป็นสมาชิก(Pair_Member)
แอททริบิวซ์ ชนิดของข้อมูล ขนาดของข้อมูล ความหมาย
IdPair(Pk) VARCHAR 5 รหัสคู่สมรส
Id_Member VARCHAR 5 รหัสสมาชิก
ตารางที่ 3-9 แสดงลักษณะของแอตทริบิวต์ในตารางผู้รับโอนฯ ที่เป็นสมาชิก(Ad_Member)
แอททริบิวซ์ ชนิดของข้อมูล ขนาดของข้อมูล ความหมาย
IdPair(Pk) VARCHAR 5 รหัสผู้รับโอน ฯ
Id_Member VARCHAR 5 รหัสสมาชิก
ตารางที่ 3-10 แสดงลักษณะของแอตทริบิวต์ในตารางการถือหุ้น(OwnSharing)
แอททริบิวซ์ ชนิดของข้อมูล ขนาดของข้อมูล ความหมาย
IdMember(Pk) VARCHAR 5 รหัสสมาชิก
OldSumShare VARCHAR 15 หุ้นสะสมเดิม
MonthShare VARCHAR 5 หุ้นรายเดือน
SumShare VARCHAR 15 หุ้นสะสม
ตารางที่ 3-11 แสดงลักษณะของแอตทริบิวต์ในตารางการเพิ่ม/ลดหุ้นรายเดือน(IncDec)
แอททริบิวซ์ ชนิดของข้อมูล ขนาดของข้อมูล ความหมาย
Id_Change(PK) VAECHAR 11 รหัสการเพิ่ม/ลดหุ้น
DateChange Date วันที่เพิ่ม/ลด
IdMember VARCHAR 5 รหัสสมาชิก
Type VARCHAR 1 ประเภท (1=เพิ่ม, 2=ลด)
AmtChange NUMBER 5 จำนวนเงิน
ตารางที่ 3-12 แสดงลักษณะของแอตทริบิวต์ในตารางเงินกู้(TestLoan)
แอททริบิวซ์ ชนิดของข้อมูล ขนาดของข้อมูล ความหมาย
IdSamun(Pk) VARCHAR 11 เลขที่สัญญาเงินกู้
IdMember VARCHAR 5 รหัสสมาชิก
AmtQuick Number 10 จำนวนเงินกู้
RateQuick Number 8 อัตราดอกเบี้ย
CountQuick VARCHAR 3 จำนวนงวด
DateQuick Date วันที่กู้
StepAdjust VARCHAR 3 งวดปัจจุบัน
Balance_Loan Number 15 ยอดเงินคงเหลือ
Loan Number 15 เงินต้น
Rate Number 15 ดอกเบี้ย
TotalPay Number 15 รวมชำระ
Status_Loan VARCHAR 1 สถานะเงินกู้
0=รับสภาพหนี้ 1=ปกติ
Type VARCHAR 1 ประเภทเงินกู้
Type_permiss VARCHAR 1 ประเภทการค้ำประกัน
0 = บุคคลค้ำประกัน
1 = สินทรัพย์ค้ำประกัน
ตารางที่ 3-13 แสดงลักษณะของแอตทริบิวต์ในตารางบุคคลค้ำประกัน(Permiss)
แอททริบิวซ์ ชนิดของข้อมูล ขนาดของข้อมูล ความหมาย
IdMember(Pk) VARCHAR 5 รหัสสมาชิก
IdSamun(Pk) VARCHAR 11 เลขที่สัญญา
ตารางที่ 3-14 แสดงลักษณะของแอตทริบิวต์ในตารางสินทรัพย์ค้ำประกัน(Permiss_Special)
แอททริบิวซ์ ชนิดของข้อมูล ขนาดของข้อมูล ความหมาย
IdAsset(Pk) VARCHAR 15 เลขที่สินทรัพย์
IdSamun VARCHAR 11 เลขที่สัญญาเงินกู้
Asset VARCHAR 15 ประเภทสินทรัพย์
PriceAsset Number 10 ราคาประเมิน
Belong VARCHAR 50 เจ้าของสินทรัพย์
ตารางที่ 3-15 แสดงลักษณะของแอตทริบิวต์ในตารางการปลดรับชำระหนี้ (Receive_Loan)
แอททริบิวซ์ ชนิดของข้อมูล ขนาดของข้อมูล ความหมาย
Id_Receive(Pk) VARCHAR 12 เลขที่เอกสาร
Date_Receive Date วันที่ขอปลดชำระ
IdSamun VARCHAR 11 เลขที่สัญญาเงินกู้
CountMoney Number 15 จำนวนเงินชำระ
Type VARCHAR 1 ประเภทการชำระ
Id_Bill VARCHAR 11 เลขที่ใบเสร็จรับเงิน
ตารางที่ 3-16 แสดงลักษณะของแอตทริบิวต์ในตารางการซื้อหุ้นสะสม(Receive_ Share)
แอททริบิวซ์ ชนิดของข้อมูล ขนาดของข้อมูล ความหมาย
Id_BuyShare(Pk) VARCHAR 11 เลขที่การซื้อหุ้นสะสม
IdMember VARCHAR 5 รหัสสมาชิก
DateBuyShare Date วันที่ซื้อหุ้นสะสม
CountMoney Number 15 จำนวนเงินชำระ
Type VARCHAR 1 ประเภทการซื้อหุ้นสะสม
Id_BillShare VARCHAR 11 เลขที่ใบเสร็จรับเงิน
ตารางที่ 3-17 แสดงลักษณะของ แอตทริบิวต์ ข้อมูลการเข้าใช้ระบบของเจ้าหน้าที่
(Emp_Entrance)
แอททริบิวซ์ ชนิดของข้อมูล ขนาดของข้อมูล ความหมาย
UserName(Pk) VARCHAR 8 ชื่อที่ใช้ในการเข้าใช้
ระบบ
Password(Pk) VARCHAR 8 รหัสผ่าน
Depart VARCHAR 1 แผนก
ตารางที่ 3-18 แสดงลักษณะของ แอตทริบิวต์ การรับสภาพหนี้(TakeUpLoan)
แอททริบิวซ์ ชนิดของข้อมูล ขนาดของข้อมูล ความหมาย
IdSamun(Pk) VARCHAR 11 เลขที่สัญญาเงินกู้
IdMemberPk) VARCHAR 5 รหัสสมาชิก
AmtMoney_Take Number 15 จำนวนเงินรับสภาพหนี้
Date_Take Date วันที่รับสภาพหนี้
ตารางที่ 3-19 แสดงลักษณะของ แอตทริบิวต์ สมาชิกเก่า(Member_Expire)
แอททริบิวซ์ ชนิดของข้อมูล ขนาดของข้อมูล ความหมาย
IdMemberPk) VARCHAR 5 รหัสสมาชิก
Date_Expire Date 15 วันที่ลาออก
AmtShare_Expire Number 15 จำนวนหุ้น
Cause_Expire VARCHAR 15 สาเหตุการลาออก
ตั้งแต่ตารางที่ 3-2 ถึงตารางที่ 3-19 เป็นตารางที่ใช้จัดเก็บข้อมูลหลักของระบบ
สำหรับตารางที่ 3-20 จนถึงตารางที่ 3-34 เป็นตารางที่ใช้สำหรับจัดเก็บข้อมูลที่
เคลื่อนไหวในกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างเดือน การจัดเก็บข้อมูลลักษณะนี้จะ
ช่วยลดปัญหาคอขวดที่เกิดขึ้นในการเรียกใช้ข้อมูลหลัก แต่ละตารางมีรายละเอียด
ดังนี้
ตารางที่ 3-20 แสดงลักษณะแอตทริบิวต์ของตารางสมาชิก(MemberWFile)
แอททริบิวซ์ ชนิดของข้อมูล ขนาดของข้อมูล ความหมาย
IdMember(Pk) VARCHAR 5 รหัสสมาชิก
IdRank VARCHAR 2 รหัสยศ
NameMember VARCHAR 25 ชื่อสมาชิก
SurnameMember VARCHAR 25 นามสกุลสมาชิก
DateIn Date วันที่เป็นสมาชิก
IdHead VARCHAR 3 รหัสหน่วย
TelWork VARCHAR 20 เบอร์โทรศัพท์ที่ทำงาน
TelMobile VARCHAR 9 เบอร์โทรศัพท์มือถือ
Salary Number 15 เงินเดือน
Code VARCHAR 13 เลขที่บัตรประจำตัว
DateBorn Date วันเดือนปีเกิด
Origin VARCHAR 15 เชื้อชาติ
Nation VARCHAR 15 สัญชาติ
Sasana VARCHAR 15 ศาสนา
AddHome VARCHAR 40 ที่อยู่
Status VARCHAR 1 สถานะภาพ
0=โสด,1=แต่งงาน,
2=หย่าร้าง
แอททริบิวซ์ ชนิดของข้อมูล ขนาดของข้อมูล ความหมาย
Status_of_Decition VARCHAR 1 สถานะการตัดสินใจ
1=พิจารณา
2=ไม่พิจารณา
3=อนุมัติ
4=ไม่อนุมัติ
Kind_of_Work VARCHAR 1 สถานะการใช้งานใน
กิจกรรมต่าง ๆ
1=สมัครใหม่
2=ซื้อหุ้นฯ
3=กู้เงิน
4=ปลดหนี้
5=รับสภาพหนี้
6= ลาออก
7=เพิ่มหรือลดหุ้นราย
เดือน
Status_Of_Ad VARCHAR 1 สถานะการเป็นผู้รับโอน
ผลประโยชน์
0= เป็นผู้รับโอนฯ
1= ไม่เป็นผู้รับโอนฯ
ตารางที่ 3-21 แสดงลักษณะของแอตทริบิวต์ในตารางบุคคลทั่วไป(Person_GenWFile)
แอททริบิวซ์ ชนิดของข้อมูล ขนาดของข้อมูล ความหมาย
Id_Per_Gen(Pk) VARCHAR 5 รหัสบุคคลากร
First_Per_Gen VARCHAR 5 คำนำหน้า
Name_Per_Gen VARCHAR 25 ชื่อ
Surname_Per_Gen VARCHAR 25 นามสกุล
Add_Per_Gen VARCHAR 50 ที่อยู่
Tel_Per_Gen VARCHAR 20 โทรศัพท์
Status_of_Decition VARCHAR 1 สถานะการตัดสินใจ
1=พิจารณา
2=ไม่พิจารณา
3=อนุมัติ
4=ไม่อนุมัติ
Kind_of_Work VARCHAR 1 สถานะการใช้งานใน
กิจกรรมต่าง ๆ
1=สมัครใหม่
2=ซื้อหุ้นฯ
3=กู้เงิน
4=ปลดหนี้
5=รับสภาพหนี้
6= ลาออก
7=เพิ่มหรือลดหุ้นราย
เดือน
ตารางที่ 3-22 แสดงลักษณะของแอตทริบิวต์ในตารางผู้รับโอนผลประโยชน์(AdvantageWFile)
แอททริบิวซ์ ชนิดของข้อมูล ขนาดของข้อมูล ความหมาย
Id_Ad(Pk) VARCHAR 5 รหัสผู้รับโอน
ผลประโยชน์
Id_Per_Gen VARCHAR 5 รหัสบุคคลทั่วไป
Relation_Ad VARCHAR 20 ความสัมพันธ์
Status_of_Decition VARCHAR 1 สถานะการตัดสินใจ
1=พิจารณา
2=ไม่พิจารณา
3=อนุมัติ
4=ไม่อนุมัติ
Kind_of_Work VARCHAR 1 สถานะการใช้งานใน
กิจกรรมต่าง ๆ
1=สมัครใหม่
2=ซื้อหุ้นฯ
3=กู้เงิน
4=ปลดหนี้
5=รับสภาพหนี้
6= ลาออก
7=เพิ่มหรือลดหุ้นราย
เดือน
ตารางที่ 3-23 แสดงลักษณะของแอตทริบิวต์ในตารางคู่สมรส(PairWFile)
แอททริบิวซ์ ชนิดของข้อมูล ขนาดของข้อมูล ความหมาย
IdPair(Pk) VARCHAR 5 รหัสคู่สมรส
Id_Per_Gen VARCHAR 5 รหัสบุคคลทั่วไป
Status_of_Decition VARCHAR 1 สถานะการตัดสินใจ
1=พิจารณา
2=ไม่พิจารณา
3=อนุมัติ
4=ไม่อนุมัติ
Kind_of_Work VARCHAR 1 สถานะการใช้งานใน
กิจกรรมต่าง ๆ
1=สมัครใหม่
2=ซื้อหุ้นฯ
3=กู้เงิน
4=ปลดหนี้
5=รับสภาพหนี้
6= ลาออก
7=เพิ่มหรือลดหุ้นราย
เดือน
ตารางที่ 3-24 แสดงลักษณะของแอตทริบิวต์ในตารางคู่สมรสที่เป็นสมาชิก(Pair_MemberWFile)
แอททริบิวซ์ ชนิดของข้อมูล ขนาดของข้อมูล ความหมาย
IdPair(Pk) VARCHAR 5 รหัสคู่สมรส
Id_Member VARCHAR 5 รหัสสมาชิก
Status_of_Decition VARCHAR 1 สถานะการตัดสินใจ
1=พิจารณา
2=ไม่พิจารณา
3=อนุมัติ
4=ไม่อนุมัติ
Kind_of_Work VARCHAR 1 สถานะการใช้งานใน
กิจกรรมต่าง ๆ
1=สมัครใหม่
2=ซื้อหุ้นฯ
3=กู้เงิน
4=ปลดหนี้
5=รับสภาพหนี้
6= ลาออก
7=เพิ่มหรือลดหุ้นราย
เดือน
ตารางที่ 3-25 แสดงลักษณะของแอตทริบิวต์ในตารางผู้รับโอนผลประโยชน์ที่เป็นสมาชิก
(Ad_MemberWFile)
แอททริบิวซ์ ชนิดของข้อมูล ขนาดของข้อมูล ความหมาย
IdPair(Pk) VARCHAR 5 รหัสผู้รับโอน
ผลประโยชน์
Id_Member VARCHAR 5 รหัสสมาชิก
Status_of_Decition VARCHAR 1 สถานะการตัดสินใจ
1=พิจารณา
2=ไม่พิจารณา
3=อนุมัติ
4=ไม่อนุมัติ
Kind_of_Work VARCHAR 1 สถานะการใช้งานใน
กิจกรรมต่าง ๆ
1=สมัครใหม่
2=ซื้อหุ้นฯ
3=กู้เงิน
4=ปลดหนี้
5=รับสภาพหนี้
6= ลาออก
7=เพิ่มหรือลดหุ้นราย
เดือน
ตารางที่ 3-26 แสดงลักษณะของแอตทริบิวต์ในตารางการถือหุ้น(OwnSharingWFile)
แอททริบิวซ์ ชนิดของข้อมูล ขนาดของข้อมูล ความหมาย
IdMember(Pk) VARCHAR 5 รหัสสมาชิก
OldSumShare VARCHAR 15 หุ้นสะสมเดิม
MonthShare VARCHAR 5 หุ้นรายเดือน
SumShare VARCHAR 15 หุ้นสะสม
Status_of_Decition VARCHAR 1 สถานะการตัดสินใจ
1=พิจารณา
2=ไม่พิจารณา
3=อนุมัติ
4=ไม่อนุมัติ
Kind_of_Work VARCHAR 1 สถานะการใช้งานใน
กิจกรรมต่าง ๆ
1=สมัครใหม่
2=ซื้อหุ้นฯ
3=กู้เงิน
4=ปลดหนี้
5=รับสภาพหนี้
6= ลาออก
7=เพิ่มหรือลดหุ้นราย
เดือน
ตารางที่ 3-27 แสดงลักษณะของแอตทริบิวต์ในตารางการเพิ่ม/ลดหุ้นรายเดือน(IncDecWFile)
แอททริบิวซ์ ชนิดของข้อมูล ขนาดของข้อมูล ความหมาย
Id_Change(PK) VAECHAR 11 รหัสการเพิ่ม/ลดหุ้น
DateChange Date วันที่เพิ่ม/ลด
IdMember VARCHAR 5 รหัสสมาชิก
Type VARCHAR 1 ประเภท (1=เพิ่ม, 2=ลด)
AmtChange NUMBER 5 จำนวนเงิน
Status_of_Decition VARCHAR 1 สถานะการตัดสินใจ
1=พิจารณา
2=ไม่พิจารณา
3=อนุมัติ
4=ไม่อนุมัติ
Kind_of_Work VARCHAR 1 สถานะการใช้งานใน
กิจกรรมต่าง ๆ
1=สมัครใหม่
2=ซื้อหุ้นฯ
3=กู้เงิน
4=ปลดหนี้
5=รับสภาพหนี้
6= ลาออก
7=เพิ่มหรือลดหุ้นราย
เดือน
ตารางที่ 3-28 แสดงลักษณะของแอตทริบิวต์ในตารางเงินกู้(TestLoanWFile)
แอททริบิวซ์ ชนิดของข้อมูล ขนาดของข้อมูล ความหมาย
IdSamun(Pk) VARCHAR 11 เลขที่สัญญาเงินกู้
IdMember VARCHAR 5 รหัสสมาชิก
AmtQuick Number 10 จำนวนเงินกู้
RateQuick Number 8 อัตราดอกเบี้ย
CountQuick VARCHAR 3 จำนวนงวด
DateQuick Date วันที่กู้
StepAdjust VARCHAR 3 งวดปัจจุบัน
Balance_Loan Number 15 ยอดเงินคงเหลือ
Loan Number 15 เงินต้น
Rate Number 15 ดอกเบี้ย
TotalPay Number 15 รวมชำระ
Status_Loan VARCHAR 1 สถานะเงินกู้
0=รับสภาพหนี้
1=ปกติ
Type VARCHAR 1 ประเภทเงินกู้
Type_permiss VARCHAR 1 ประเภทการค้ำประกัน
0 = บุคคลค้ำประกัน
1 = สินทรัพย์ค้ำประกัน
Status_of_Decition VARCHAR 1 สถานะการตัดสินใจ
1=พิจารณา
2=ไม่พิจารณา 3=อนุมัติ
4=ไม่อนุมัติ
Kind_of_Work VARCHAR 1 สถานะการใช้งานใน
กิจกรรมต่าง ๆ
1=สมัครใหม่ 2=ซื้อหุ้นฯ
3=กู้เงิน 4=ปลดหนี้
5=รับสภาพหนี้
6= ลาออก
7=เพิ่มหรือลดหุ้นราย
เดือน
ตารางที่ 3-29 แสดงลักษณะของแอตทริบิวต์ในตารางบุคคลค้ำประกัน(PermissWFile)
แอททริบิวซ์ ชนิดของข้อมูล ขนาดของข้อมูล ความหมาย
IdMember(Pk) VARCHAR 5 รหัสสมาชิก
IdSamun(Pk) VARCHAR 11 เลขที่สัญญา
Status_of_Decition VARCHAR 1 สถานะการตัดสินใจ
1=พิจารณา
2=ไม่พิจารณา
3=อนุมัติ
4=ไม่อนุมัติ
Kind_of_Work VARCHAR 1 สถานะการใช้งานใน
กิจกรรมต่าง ๆ
1=สมัครใหม่
2=ซื้อหุ้นฯ
3=กู้เงิน
4=ปลดหนี้
5=รับสภาพหนี้
6= ลาออก
7=เพิ่มหรือลดหุ้นราย
เดือน
ตารางที่ 3-30 แสดงลักษณะของแอตทริบิวต์ในตารางสินทรัพย์ค้ำประกัน
(Permiss_SpecialWFile)
แอททริบิวซ์ ชนิดของข้อมูล ขนาดของข้อมูล ความหมาย
IdAsset(Pk) VARCHAR 15 เลขที่สินทรัพย์
IdSamun VARCHAR 11 เลขที่สัญญาเงินกู้
Asset VARCHAR 15 ประเภทสินทรัพย์
PriceAsset Number 10 ราคาประเมิน
Belong VARCHAR 50 เจ้าของสินทรัพย์
Status_of_Decition VARCHAR 1 สถานะการตัดสินใจ
1=พิจารณา
2=ไม่พิจารณา
3=อนุมัติ
4=ไม่อนุมัติ
Kind_of_Work VARCHAR 1 สถานะการใช้งานใน
กิจกรรมต่าง ๆ
1=สมัครใหม่
2=ซื้อหุ้นฯ
3=กู้เงิน
4=ปลดหนี้
5=รับสภาพหนี้
6= ลาออก
7=เพิ่มหรือลดหุ้นราย
เดือน
ตารางที่ 3-31 แสดงลักษณะของแอตทริบิวต์ในตารางการปลดรับชำระหนี้ (Receive_LoanWFile)
แอททริบิวซ์ ชนิดของข้อมูล ขนาดของข้อมูล ความหมาย
Id_Receive(Pk) VARCHAR 12 เลขที่เอกสาร
Date_Receive Date วันที่ขอปลดชำระ
IdSamun VARCHAR 11 เลขที่สัญญาเงินกู้
CountMoney Number 15 จำนวนเงินชำระ
Type VARCHAR 1 ประเภทการชำระ
Id_Bill VARCHAR 11 เลขที่ใบเสร็จรับเงิน
Status_of_Decition VARCHAR 1 สถานะการตัดสินใจ
1=พิจารณา
2=ไม่พิจารณา
3=อนุมัติ
4=ไม่อนุมัติ
Kind_of_Work VARCHAR 1 สถานะการใช้งานใน
กิจกรรมต่าง ๆ
1=สมัครใหม่
2=ซื้อหุ้นฯ
3=กู้เงิน
4=ปลดหนี้
5=รับสภาพหนี้
6= ลาออก
7=เพิ่มหรือลดหุ้นราย
เดือน
ตารางที่ 3-32 แสดงลักษณะของแอตทริบิวต์ในตารางการซื้อหุ้นสะสม(Receive_ ShareWFile)
แอททริบิวซ์ ชนิดของข้อมูล ขนาดของข้อมูล ความหมาย
Id_BuyShare(Pk) VARCHAR 11 เลขที่การซื้อหุ้นสะสม
IdMember VARCHAR 5 รหัสสมาชิก
DateBuyShare Date วันที่ซื้อหุ้นสะสม
CountMoney Number 15 จำนวนเงินชำระ
Type VARCHAR 1 ประเภทการซื้อหุ้นสะสม
Id_BillShare VARCHAR 11 เลขที่ใบเสร็จรับเงิน
Status_of_Decition VARCHAR 1 สถานะการตัดสินใจ
1=พิจารณา
2=ไม่พิจารณา
3=อนุมัติ
4=ไม่อนุมัติ
Kind_of_Work VARCHAR 1 สถานะการใช้งานใน
กิจกรรมต่าง ๆ
1=สมัครใหม่
2=ซื้อหุ้นฯ
3=กู้เงิน
4=ปลดหนี้
5=รับสภาพหนี้
6= ลาออก
7=เพิ่มหรือลดหุ้นราย
เดือน
ตารางที่ 3-33 แสดงลักษณะของ แอตทริบิวต์ การรับสภาพหนี้(TakeUpLoanWFile)
แอททริบิวซ์ ชนิดของข้อมูล ขนาดของข้อมูล ความหมาย
IdSamun(Pk) VARCHAR 11 เลขที่สัญญาเงินกู้
IdMemberPk) VARCHAR 5 รหัสสมาชิก
AmtMoney_Take Number 15 จำนวนเงินรับสภาพหนี้
Date_Take Date วันที่รับสภาพหนี้
Status_of_Decition VARCHAR 1 สถานะการตัดสินใจ
1=พิจารณา
2=ไม่พิจารณา
3=อนุมัติ
4=ไม่อนุมัติ
Kind_of_Work VARCHAR 1 สถานะการใช้งานใน
กิจกรรมต่าง ๆ
1=สมัครใหม่
2=ซื้อหุ้นฯ
3=กู้เงิน
4=ปลดหนี้
5=รับสภาพหนี้
6= ลาออก
7=เพิ่มหรือลดหุ้นราย
เดือน
ตารางที่ 3-34 แสดงลักษณะของ แอตทริบิวต์ สมาชิกเก่า(Member_ExpireWFile)
แอททริบิวซ์ ชนิดของข้อมูล ขนาดของข้อมูล ความหมาย
IdMember(Pk) VARCHAR 5 รหัสสมาชิก
Date_Expire Date 15 วันที่ลาออก
AmtShare_Expire Number 15 จำนวนหุ้น
Cause_Expire VARCHAR 15 สาเหตุการลาออก
Status_of_Decition VARCHAR 1 สถานะการตัดสินใจ
1=พิจารณา
2=ไม่พิจารณา 3=อนุมัติ
4=ไม่อนุมัติ
แอททริบิวซ์ ชนิดของข้อมูล ขนาดของข้อมูล ความหมาย
Kind_of_Work VARCHAR 1 สถานะการใช้งานใน
กิจกรรมต่าง ๆ
1=สมัครใหม่
2=ซื้อหุ้นฯ
3=กู้เงิน
4=ปลดหนี้
5=รับสภาพหนี้
6= ลาออก
7=เพิ่มหรือลดหุ้นราย
เดือน
3.2.3.4 การออกแบบข้อมูลเข้า (Input Design)
1. รหัสสมาชิกอัตโนมัติ
ในระบบเก่าผู้ใช้จะทำการกำหนดรหัสสมาชิกขึ้นเอง โดยเรียงจากน้อยไปมาก
ทำให้ในบางครั้งกำหนดข้ามไป ในระบบใหม่จึงสร้างรหัสสมาชิกอัตโนมัติขึ้นมาในขณะที่ทำการนำ
ข้อมูลเข้า(Data Entry)
2. เลขที่สัญญาเงินกู้อัตโนมัติ
ในระบบเก่าผู้ใช้จะกำหนดขึ้นเอง ในระบบใหม่จะสร้างเลขที่สัญญา
เงินกู้อัตโนมัติแยกตามประเภทให้ดังรูป
X XXXX XX XXXX
ลำดับที่
เดือนที่กู้
ปีที่กู้
ประเภทเงินกู้
ภาพที่ 3-38 รูปแบบของเลขที่สัญญาเงินกู้อัตโนมัติ
3. เลขที่ใบเสร็จรับเงินอัตโนมัติ
การออกใบเสร็จรับเงินในระบบเก่าจะทำด้วยมือ ในระบบใหม่นั้นจะมีการ
ออกใบเสร็จรับเงินจากระบบโดยพิมพ์ออกมาตามแบบฟอร์มที่กำหนด และจะสร้างเลขที่ใบเสร็จให้
โดยอัตโนมัติ
XXXX XX XXXXX
ลำดับที่
เดือน
ปี
ภาพที่ 3-39 รูปแบบของเลขที่ใบเสร็จรับเงินกู้อัตโนมัติ
3.2.3.5 การออกแบบผลลัพธ์(Output Design)
จากการสัมภาษณ์ความต้องการของผู้ใช้ระบบในฝ่ายงานต่างๆ ขององค์กรนั้น
สามารถสรุปรายงานที่ผู้ใช้ระบบต้องการได้ดังนี้
1. ความต้องการใช้ระบบของฝ่ายเงินกู้
- รายงานข้อมูลเงินกู้และหุ้นของสมาชิกตามที่ระบุ และแสดงผลทาง
จอภาพ รายละเอียดต่าง ๆ ต้องแสดงผลในหน้าจอเดียว ในกิจกรรมที่เกิดขึ้นในแต่ละวันที่ฝ่าย
เงินกู้ต้องปฏิบัติก็คือตอบข้อซักถามแก่สมาชิก และพิจารณาตรวจสอบเงินกู้ ข้อมูลที่ถูกนำมาใช้จึง
ต้องเป็นข้อมูลที่ครอบคลุมความต้องการ ในระบบงานใหม่ได้ออกแบบให้แสดงผลในหน้าจอเดียว
ข้อมูลที่ได้จะสามารถตอบคำถามได้ โดยไม่ต้องเปลี่ยนไปค้นหาที่หน้าจอใหม่
- รายงานข้อมูลสมาชิกเก่าทางจอภาพเป็นส่วนที่สนับสนุนเจ้าหน้าที่เงินกู้ใน
ขั้นตอนการตรวจสอบสมาชิกเก่า
- รายงานการค้ำประกันทางจอภาพเป็นส่วนที่สนับสนุนเจ้าหน้าที่เงินกู้ใน
ขั้นตอนการค้นหาข้อมูลการค้ำประกัน
- รายงานประจำเดือนทางเครื่องพิมพ์
- รายงานการปลดชำระหนี้ทางจอภาพ
- รายงานการเปลี่ยนแปลงหุ้นทางจอภาพ
2. ความต้องการใช้ระบบของฝ่ายการเงิน
- รายงานข้อมูลเงินกู้และหุ้นของสมาชิกตามที่ระบุ และแสดงผลทาง
จอภาพ รายละเอียดต่าง ๆ ต้องแสดงผลในหน้าจอเดียว
3.2.3.6 การออกแบบเมนูการทำงาน
ระบบทะเบียนหุ้นและเงินกู้ประกอบด้วยเมนู 3 ส่วน โดยออกแบบให้
สอดคล้องกับการใช้งานในฝ่ายต่าง ๆ ดังนี้
1. เมนูการทำงานของฝ่ายธุรการเงินกู้ ประกอบด้วยเมนูการสมัคร
เมนูเงินกู้
เมนูหุ้น เมนูการรับสภาพหนี้ เมนูการลาออก เมนูค้นหาข้อมูล และเมนูออก ซึ่งในแต่
ละเมนูจะประกอบด้วยเมนูย่อยต่าง ๆ ตามรายละเอียดในภาพที่ 3-40 เมนูการ
ทำงานของฝ่ายธุรการเงินกู้
นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ยังสามารถเรียกใช้งานโปรแกรมผ่านทางเมนู
แล้ว ยังมีแถบเครื่องมือ(Tool Bar) ซึ่งได้ออกแบบให้สะดวกในการเรียกใช้งาน ปุ่มบน
แถบเครื่องมือจะสนับสนุนเฉพาะงานที่เจ้าหน้าที่ต้องใช้งานอยู่เป็นประจำ ได้แก่ การ
สมัครสมาชิก การกู้ฉุกเฉิน การกู้สามัญ การกู้เพื่อซื้อคอมพิวเตอร์ การกู้เพื่อ
การศึกษาบุตร การกู้เพื่อซื้อโทรศัพท์ การกู้เพื่อการเคหะ การกู้เพื่อซื้อรถยนต์ และ
การเพิ่มหรือลดหุ้นรายเดือน
2. เมนูการทำงานของฝ่ายพิจารณาเงินกู้ ประกอบด้วยเมนูการสมัคร
เมนู
การจัดการระบบ เมนูพิจารณาผล เมนูการยืนยันผลการอนุมัติ เมนูซื้อหุ้นสะสม เมนู
การปลดชำระหนี้ เมนูค้นหาข้อมูล และเมนูออก ซึ่งในแต่ละเมนูจะประกอบด้วยเมนู
ย่อยต่าง ๆ ตามรายละเอียดในภาพที่ 3-41 เมนูการทำงานของฝ่ายพิจารณาเงินกู้
นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ยังสามารถเรียกใช้งานโปรแกรมผ่านทางเมนู
แล้ว ยังมีแถบเครื่องมือ(Tool Bar) ซึ่งได้ออกแบบให้สะดวกในการเรียกใช้งาน ปุ่มบน
แถบเครื่องมือจะสนับสนุนเฉพาะงานที่เจ้าหน้าที่ต้องใช้งานอยู่เป็นประจำ ได้แก่
พิจารณาการสมัคร พิจารณาเงินกู้ ซื้อหุ้นสะสมแบบหักลบเงินกู้ ปลดชำระหนี้แบบหัก
ลบเงินกู้ ค้นหาข้อมูลสมาชิก ค้นหาข้อมูลหุ้นและเงินกู้ และเกณฑ์ต่าง ๆ
3. เมนูการทำงานของฝ่ายการเงิน ประกอบด้วยเมนูการปลดชำระหนี้
การซื้อ
หุ้นสะสม ใบเสร็จรับเงิน ค้นหาข้อมูลและเมนูออก ซึ่งในแต่ละเมนูจะประกอบด้วยเมนู
ย่อย
ต่าง ๆ ตามรายละเอียดในภาพที่ 3-42 เมนูการทำงานของฝ่ายการเงิน
นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ยังสามารถเรียกใช้งานโปรแกรมผ่านทางเมนู
แล้ว ยังมีแถบเครื่องมือ(Tool Bar) ซึ่งได้ออกแบบให้สะดวกในการเรียกใช้งาน ปุ่มบน
แถบเครื่องมือจะสนับสนุนเฉพาะงานที่เจ้าหน้าที่ต้องใช้งานอยู่เป็นประจำ ได้แก่ ซื้อ
หุ้นสะสม ปลดชำระหนี้ ค้นหาข้อมูลสมาชิก ค้นหาข้อมูลหุ้นและเงินกู้ และเกณฑ์ต่าง
ๆ
3.3 การสร้างและพัฒนาระบบงาน
การเขียนโปรแกรม (Coding) และทดลองใช้ เมื่อทำการออกแบบระบบงาน
เป็นที่เรียบ
ร้อยและกลุ่มผู้ใช้เห็นด้วยกับการออกแบบ ขั้นต่อไปคือการเขียนโปรแกรม ซึ่ง
หลักเกณฑ์ในการเลือกภาษาเพื่อใช้ในการพัฒนาระบบงานนั้น จะพิจารณาถึง
ความเหมาะสมต่อการใช้งาน ความเหมาะสมของรูปแบบภาษาที่สามารถพัฒนาต่อไป
ในอนาคต รวมทั้งความเหมาะสมกับทรัพยากรหรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่มีอยู่โดย
ในโครงงานสารนิพนธ์นี้ จะทำการพัฒนาด้วยภาษา Visual Basic และการเรียกใช้
ข้อมูลด้วยคำสั่ง SQL โดยทำงานภายใต้สถาปัตยกรรมไคลเอนต์และเซิร์ฟเวอร์
จากนั้นจึงพัฒนาระบบด้วยการเขียนโปรแกรมใช้งานตามที่ได้ออกแบบไว้
จนมั่นใจว่าสามารถใช้งานได้ ขั้นตอนต่อไปคือการทดสอบระบบ เช่น มีการพิมพ์
รายงานต่างๆ และรายงานผลการวิเคราะห์ข้อสอบ รางานพิจารณาทางเลือกการ
ประเมินผล รวมทั้งรายงานอื่นๆ เพื่อนำมาตรวจสอบความถูกต้องทั้งในรูปแบบที่
ได้ออกแบบตามต้นแบบ และความถูกต้องของข้อมูลที่ได้นำเสนอไว้ในรายงานว่า
ครบถ้วนตามต้องการหรือไม่ และหากเกิดข้อผิดพลาดจากโปรแกรม หรือมีส่วนใด
ของระบบที่ไม่ตรงวัตถุประสงค์ก็จะทำการแก้ไข
3.4 การสร้างเครื่องมือทดสอบประสิทธิภาพโปรแกรม
เครื่องมือที่นำมาใช้ในการทดสอบหาประสิทธิภาพของระบบที่พัฒนาขึ้น ใน
โครงการนี้คือแบบสอบถามเพื่อทดสอบประสิทธิภาพของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่
พัฒนาขึ้น โดยการทดสอบจะแบ่งออกเป็น 4 หัวข้อหลักดังนี้คือ
1. การทดสอบฟังก์ชันของระบบ (Functional Test)
2. การทดสอบความง่ายในการใช้งานของระบบ (Usability Test)
3. การทดสอบหน่วยย่อย (Unit Test) แบบ White Box
การทดสอบในข้อ 3.4.1 และ 3.4.2 ได้กำหนดเกณฑ์ตามวิธีของไล-เคอร์ท (Likert)
โดยประกอบด้วยมาตราอันดับ (Rating Scale) เชิงคุณภาพ 5 ระดับ และมาตรอันดับ
เชิงปริมาณ 10 ระดับ ดังตารางที่ 3-35
ตารางที่ 3-35 แสดงเกณฑ์การให้คะแนนของแบบทดสอบ
ระดับเกณฑ์การให้คะแนน
เชิงคุณภาพ เชิงปริมาณ
ความหมาย
ดีมาก 9.00 - 10.00 ระบบสามารถสนับสนุนและรองรับการทำงานเกี่ยว
กับงานนั้นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพในระดับดีมาก
ดี 7.00 – 8.99 ระบบนั้นสามารถสนับสนุนและรองรับการทำงาน
เกี่ยวกับงานนั้นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพในระดับดี
พอใช้ 5.00 – 6.99 ระบบนั้นสามารถสนับสนุนและรองรับการทำงาน
เกี่ยวกับงานนั้นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพในระดับ
พอใช้
ปรับปรุง 3.00 – 4.99 ระบบนั้นสามารถสนับสนุนและรองรับการทำงาน
เกี่ยวกับงานนั้นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพในระดับ
ปรับปรุง
ไม่เหมาะสม 1.00 – 2.99 ระบบนั้นสามารถสนับสนุนและรองรับการทำงาน
เกี่ยวกับงานนั้นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพในระดับไม่
เหมาะสม
1. การทดสอบฟังก์ชันของระบบ (Functional Test)
เป็นการทดสอบเพื่อดูว่าระบบที่พัฒนาขึ้นมานั้นมีความถูกต้อง และมี
ประสิทธิภาพเพียงใดสามารถทำงานได้ตามหน้าที่ (Function) ที่มีอยู่ในระบบมากน้อย
เพียงใด เช่นความถูกต้องของการจัดเก็บข้อมูล ความถูกต้องของการค้นหาข้อมูล
ความถูกต้องของการปรับปรุงแก้ไขข้อมูล และความถูกต้องของการลบข้อมูล เป็นต้น
ซึ่งในการประเมินระบบนี้ได้ทำการออกแบบแบบประเมินโดยแบ่งหัวข้อการประเมิน
เป็น 32 หัวข้อ ดังตารางที่ 3-36
ตารางที่ 3-36 แสดงการทดสอบฟังก์ของระบบงาน (Functional Test)
ระดับประสิทธิภาพ
รายการประเมิน ดีมาก ดี พอใช้ ปรับปรุง ไม่
เหมาะส
ม
10 9 8 7 6 5 4 3 2 1
1. ความถูกต้องของการ
จัดเก็บข้อมูลการสมัคร
สมาชิกใหม่
2. ความถูกต้องของการ
จัดเก็บข้อมูลการซื้อหุ้น
สะสม
3. ความถูกต้องของการ
จัดเก็บข้อมูลการกู้เงิน
4. ความถูกต้องของการ
จัดเก็บข้อมูลการขอปลด
ชำระหนี้
5. ความถูกต้องของการ
จัดเก็บข้อมูลการลาออก
6. ความถูกต้องของการ
จัดเก็บข้อมูลการรับสภาพ
หนี้
7. ความถูกต้องของการ
จัดเก็บข้อมูลการเพิ่มหรือ
การลดหุ้นรายเดือน
8. ความถูกต้องของการ
ลบข้อมูลการสมัครสมาชิก
ใหม่
9. ความถูกต้องของการ
ลบข้อมูลการซื้อหุ้นสะสม
10. ความถูกต้องของการ
ลบข้อมูลการกู้เงิน
ระดับประสิทธิภาพ
ดีมาก ดี พอใช้ ปรับปรุง ไม่
เหมาะส
ม
รายการประเมิน
10 9 8 7 6 5 4 3 2 1
11. ความถูกต้องของการ
ลบข้อมูลการขอปลดชำระ
หนี้
12. ความถูกต้องของการ
ลบข้อมูลการลาออก
13. ความถูกต้องของการ
ลบข้อมูลการรับสภาพหนี้
14. ความถูกต้องของการ
ลบข้อมูลการเพิ่มหรือการ
ลดหุ้นรายเดือน
15. ความถูกต้องของการ
ปรับปรุงแก้ไขข้อมูลการ
สมัครสมาชิก
16. ความถูกต้องของการ
ปรับปรุงแก้ไขข้อมูลการ
ซื้อหุ้นสะสม
17. ความถูกต้องของการ
ปรับปรุงแก้ไขข้อมูลการกู้
เงิน
18. ความถูกต้องของการ
ปรับปรุงแก้ไขข้อมูลการ
ปลดชำระหนี้
19. ความถูกต้องของการ
ปรับปรุงแก้ไขการลาออก
20. ความถูกต้องของการ
ปรับปรุงแก้ไขข้อมูลการ
พ้นสภาพสมาชิก
ระดับประสิทธิภาพ
ดีมาก ดี พอใช้ ปรับปรุง ไม่
เหมาะส
ม
รายการประเมิน
10 9 8 7 6 5 4 3 2 1
21. ความถูกต้องของการ
ปรับปรุงแก้ไขข้อมูลการ
เพิ่มหรือลดหุ้นรายเดือน
22. ความถูกต้องของการ
แสดงผลข้อมูลในส่วนของ
การค้นหาข้อมูลการสมัคร
สมาชิกใหม่
23. ความถูกต้องของการ
แสดงผลข้อมูลในส่วนของ
การค้นหาข้อมูลการซื้อหุ้น
สะสม
24. ความถูกต้องของการ
แสดงผลข้อมูลในส่วนของ
การค้นหาข้อมูลการกู้เงิน
25. ความถูกต้องของการ
แสดงผลข้อมูลในส่วนของ
การค้นหาข้อมูลการปลด
ชำระหนี้
26. ความถูกต้องของการ
แสดงผลข้อมูลในส่วนของ
การค้นหาข้อมูลการ
ลาออก
27. ความถูกต้องของการ
แสดงผลข้อมูลในส่วนของ
การค้นหาข้อมูลการการ
พ้นสภาพสมาชิก
ระดับประสิทธิภาพ
ดีมาก ดี พอใช้ ปรับปรุง ไม่
เหมาะส
ม
รายการประเมิน
10 9 8 7 6 5 4 3 2 1
28. ความถูกต้องของการ
แสดงผลข้อมูลในส่วนของ
การค้นหาข้อมูลการเพิ่ม
หรือลดหุ้นรายเดือน
29. ความถูกต้องของการ
แสดงผลข้อมูลในส่วนของ
การจัดทำรายงาน
ประจำเดือน
30. ความถูกต้องของการ
ออกใบเสร็จรับเงิน
31. ความถูกต้องในการ
ตรวจสอบการเข้าใช้ระบบ
งาน
32. ความถูกต้องในการ
ควบคุมสิทธิ์การใช้งาน
2. การทดสอบความง่ายในการใช้งานของระบบ (Usability Test)
เป็นการทดสอบเพื่อดูว่าระบบที่พัฒนาขึ้นมานั้น มีความสามารถในการใช้งานเป็น
อย่างไร เช่น ง่ายและสะดวกต่อการใช้งานมากน้อยเพียงใด ในการทดสอบนี้ได้ทำการออกแบบการ
ทดสอบ 8 หัวข้อ ดังตารางที่ 3-37
ตารางที่ 3-37 แสดงการทดสอบด้านความง่ายในการใช้งานของระบบ (Usability Test)
ระดับประสิทธิภาพ
ดีมาก ดี พอใช้ ปรับปรุง ไม่
เหมาะส
ม
รายการประเมิน
10 9 8 7 6 5 4 3 2 1
1. ความสะดวกในการ
ป้อนข้อมูล
2. ความเหมาะสมในการ
จัดวางปุ่มควบคุม
3. ความชัดเจนของ
ข้อความที่แสดงบน
จอภาพและความถูกต้อง
ของภาษาที่ใช้
4. ความเหมาะสมของ
ข้อความแจ้งเตือนเมื่อ
ประมวลผลข้อมูลสำเร็จ
5. ความเหมาะสมของ
ข้อความแจ้งเตือนเมื่อป้อน
ข้อมูลผิดพลาด
6. การป้องกันการเกิด
Error
7. การป้องกันการป้อน
ข้อม ูลผิดพลาดจากผ ู้ใช้
8. ความเหมาะสมของเมนู
ควบคุมการใช้งาน
3.5 การทดสอบระบบ
กรณีทดสอบยังคงสร้างด้วยมือ ซึ่งการทดสอบฟังก์การทำงานของระบบ (Function
Testing) และการทดสอบความง่ายในการใช้งาน (Usability Testing) จะทดสอบโดยผู้ใช้งาน
สำหรับการทดสอบหน่วยย่อย (Unit Test) ด้วยวิธีการแบบ Whitebox จะทำการทดสอบโดย
ผู้พัฒนา ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับการทดสอบอยู่ในส่วนของภาคผนวก ข
3.6 วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในครั้งนี้ ใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive
Statistics) ในการวัดค่ากลางของข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Arithmetic Mean) หรือ
ค่าเฉลี่ย (Mean) รวมทั้งการประมวลผลข้อมูลโดยใช้โปรแกรม Microsoft Excel เพื่อ
วิเคราะห์ค่าทางสถิติ
3.6.1 การหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Arithmetic Mean) หรือค่าเฉลี่ย (Mean) (ชูศรี,
2541)
จากสูตร
เมื่อ X แทนเฉลี่ยเลขคณิตหรือค่าเฉลี่ย
แทนผลรวมทั้งหมดของข้อมูล
N แทนจำนวนข้อมูลทั้งหมด
3.6.2 เกณฑ์การยอมรับประสิทธิภาพของโปรแกรม พิจารณาจากคะแนน
เฉลี่ยของกลุ่มทดลองโดยต้องมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับดีขึ้นไป จึงจะสามารถ
ยอมรับว่าโปรแกรมที่ทำการทดสอบนั้นมีประสิทธิภาพในการใช้งานได้ดี
รายการประเมิน
ระดับประสิทธิภาพ
13. ความถูกต้องของการลบข้อมูลการลาออก
9.25 ดีมาก
14. ความถูกต้องของการลบข้อมูลการเพิ่มหรือการลดหุ้น
รายเดือน
9.02 ดีมาก
15. ความถูกต้องของการปรับปรุงแก้ไขข้อมูลการสมัคร
สมาชิก
9.34 ดีมาก
16. ความถูกต้องของการปรับปรุงแก้ไขข้อมูลการซื้อหุ้น
สะสม
8.96 ดี
17. ความถูกต้องของการปรับปรุงแก้ไขข้อมูลการกู้เงิน 8.54 ดี
18. ความถูกต้องของการปรับปรุงแก้ไขข้อมูลการปลด
ชำระหนี้
8.74 ดี
19. ความถูกต้องของการปรับปรุงแก้ไขการลาออก 9.60 ดีมาก
20. ความถูกต้องของการปรับปรุงแก้ไขข้อมูลการพ้น 9.35 ดีมาก
Σ=
N
i
i x
1
N
x
x
N
i
i Σ
= = 1
_
x
สภาพสมาชิก
21. ความถูกต้องของการปรับปรุงแก้ไขข้อมูลการเพิ่ม
หรือลดหุ้นรายเดือน
8.70 ดี
22. ความถูกต้องของการแสดงผลข้อมูลในส่วนของการ
ค้นหาข้อมูลการสมัครสมาชิกใหม่
9.50 ดีมาก
23. ความถูกต้องของการแสดงผลข้อมูลในส่วนของการ
ค้นหาข้อมูลการซื้อหุ้นสะสม
8.33 ดี
24. ความถูกต้องของการแสดงผลข้อมูลในส่วนของการ
ค้นหาข้อมูลการกู้เงิน
8.54 ดี
25. ความถูกต้องของการแสดงผลข้อมูลในส่วนของการ
ค้นหาข้อมูลการปลดชำระหนี้
8.12 ดี
26. ความถูกต้องของการแสดงผลข้อมูลในส่วนของการ
ค้นหาข้อมูลการลาออก
9.55 ดีมาก
27. ความถูกต้องของการแสดงผลข้อมูลในส่วนของการ
ค้นหาข้อมูลการการพ้นสภาพสมาชิก
9.46 ดีมาก
28. ความถูกต้องของการแสดงผลข้อมูลในส่วนของการ
ค้นหาข้อมูลการเพิ่มหรือลดหุ้นรายเดือน
8.75 ดี
29. ความถูกต้องของการแสดงผลข้อมูลในส่วนของการ
จัดทำรายงานประจำเดือน
8.21 ดี
รายการประเมิน
ระดับประสิทธิภาพ
30. ความถูกต้องของการออกใบเสร็จรับเงิน 8.25 ดี
31. ความถูกต้องในการตรวจสอบการเข้าใช้ระบบงาน 9.20 ดีมาก
32. ความถูกต้องในการควบคุมสิทธิ์การใช้งาน 8.42 ดี
ค่าคะแนนเฉลี่ยรวม 8.75 ดี
2. ผลการประเมินประสิทธิภาพด้านความง่ายในการใช้งาน (Usability Test)
x
จากตาราง 4-2 พบว่าประสิทธิภาพของโปรแกรมในด้านต่าง ๆ จะมีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่างค่า 8.20
ถึง 9.50 ค่าคะแนนเฉลี่ยรวม 8.69 อธิบายได้ว่าโปรแกรมได้รับการยอมรับว่า มีความสามารถใน
การใช้งาน เช่น ความยากง่ายในการใช้งานและมีประสิทธิภาพตรงตามความต้องการของผู้ใช้ใน
ระดับดี
ตารางที่ 4-2 แสดงการหาระดับประสิทธิภาพด้าน Usability Test
รายการประเมิน
ระดับประสิทธิภาพ
1. ความสะดวกในการป้อนข้อมูล 9.30 ดีมาก
2. ความเหมาะสมในการจัดวางปุ่มควบคุม 9.50 ดีมาก
3. ความชัดเจนของข้อความที่แสดงบนจอภาพและ
ความถูกต้องของภาษาที่ใช้
8.62 ดี
4. ความเหมาะสมของข้อความแจ้งเตือนเมื่อประมวล
ผลข้อมูลสำเร็จ
8.45 ดี
5. ความเหมาะสมของข้อความแจ้งเตือนเมื่อป้อนข้อมูล
ผิดพลาด
8.21 ดี
6. การป้องกันการเกิด Error 8.44 ดี
7. การป้องกันการป้อนข้อม ูลผิดพลาดจากผ ู้ใช้ 8.77 ดี
8. ความเหมาะสมของเมนูควบคุมการใช้งาน 8.20 ดี
ค่าคะแนนเฉลี่ยรวม 8.69 ดี
รายการประเมิน
ระดับประสิทธิภาพ
13. ความถูกต้องของการลบข้อมูลการลาออก
9.25 ดีมาก
14. ความถูกต้องของการลบข้อมูลการเพิ่มหรือการลดหุ้น 9.02 ดีมาก
x
x
รายเดือน
15. ความถูกต้องของการปรับปรุงแก้ไขข้อมูลการสมัคร
สมาชิก
9.34 ดีมาก
16. ความถูกต้องของการปรับปรุงแก้ไขข้อมูลการซื้อหุ้น
สะสม
8.96 ดี
17. ความถูกต้องของการปรับปรุงแก้ไขข้อมูลการกู้เงิน 8.54 ดี
18. ความถูกต้องของการปรับปรุงแก้ไขข้อมูลการปลด
ชำระหนี้
8.74 ดี
19. ความถูกต้องของการปรับปรุงแก้ไขการลาออก 9.60 ดีมาก
20. ความถูกต้องของการปรับปรุงแก้ไขข้อมูลการพ้น
สภาพสมาชิก
9.35 ดีมาก
21. ความถูกต้องของการปรับปรุงแก้ไขข้อมูลการเพิ่ม
หรือลดหุ้นรายเดือน
8.70 ดี
22. ความถูกต้องของการแสดงผลข้อมูลในส่วนของการ
ค้นหาข้อมูลการสมัครสมาชิกใหม่
9.50 ดีมาก
23. ความถูกต้องของการแสดงผลข้อมูลในส่วนของการ
ค้นหาข้อมูลการซื้อหุ้นสะสม
8.33 ดี
24. ความถูกต้องของการแสดงผลข้อมูลในส่วนของการ
ค้นหาข้อมูลการกู้เงิน
8.54 ดี
25. ความถูกต้องของการแสดงผลข้อมูลในส่วนของการ
ค้นหาข้อมูลการปลดชำระหนี้
8.12 ดี
26. ความถูกต้องของการแสดงผลข้อมูลในส่วนของการ
ค้นหาข้อมูลการลาออก
9.55 ดีมาก
27. ความถูกต้องของการแสดงผลข้อมูลในส่วนของการ
ค้นหาข้อมูลการการพ้นสภาพสมาชิก
9.46 ดีมาก
28. ความถูกต้องของการแสดงผลข้อมูลในส่วนของการ
ค้นหาข้อมูลการเพิ่มหรือลดหุ้นรายเดือน
8.75 ดี
29. ความถูกต้องของการแสดงผลข้อมูลในส่วนของการ
จัดทำรายงานประจำเดือน
8.21 ดี
รายการประเมิน
ระดับประสิทธิภาพ
30. ความถูกต้องของการออกใบเสร็จรับเงิน 8.25 ดี
31. ความถูกต้องในการตรวจสอบการเข้าใช้ระบบงาน 9.20 ดีมาก
32. ความถูกต้องในการควบคุมสิทธิ์การใช้งาน 8.42 ดี
ค่าคะแนนเฉลี่ยรวม 8.75 ดี
2. ผลการประเมินประสิทธิภาพด้านความง่ายในการใช้งาน (Usability Test)
จากตาราง 4-2 พบว่าประสิทธิภาพของโปรแกรมในด้านต่าง ๆ จะมีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่างค่า 8.20
ถึง 9.50 ค่าคะแนนเฉลี่ยรวม 8.69 อธิบายได้ว่าโปรแกรมได้รับการยอมรับว่า มีความสามารถใน
การใช้งาน เช่น ความยากง่ายในการใช้งานและมีประสิทธิภาพตรงตามความต้องการของผู้ใช้ใน
ระดับดี
ตารางที่ 4-2 แสดงการหาระดับประสิทธิภาพด้าน Usability Test
รายการประเมิน
ระดับประสิทธิภาพ
1. ความสะดวกในการป้อนข้อมูล 9.30 ดีมาก
2. ความเหมาะสมในการจัดวางปุ่มควบคุม 9.50 ดีมาก
3. ความชัดเจนของข้อความที่แสดงบนจอภาพและ
ความถูกต้องของภาษาที่ใช้
8.62 ดี
4. ความเหมาะสมของข้อความแจ้งเตือนเมื่อประมวล
ผลข้อมูลสำเร็จ
8.45 ดี
5. ความเหมาะสมของข้อความแจ้งเตือนเมื่อป้อนข้อมูล
ผิดพลาด
8.21 ดี
6. การป้องกันการเกิด Error 8.44 ดี
7. การป้องกันการป้อนข้อม ูลผิดพลาดจากผ ู้ใช้ 8.77 ดี
8. ความเหมาะสมของเมนูควบคุมการใช้งาน 8.20 ดี
x
x
ค่าคะแนนเฉลี่ยรวม 8.69 ดี
บทที่ 5
สรุปผลและข้อเสนอแนะ
ในบทนี้กล่าวถึงผลที่ได้จากการพัฒนาระบบทะเบียนหุ้นและเงินกู้ และข้อเสนอแนะแก่
ผู้สนใจที่จะพัฒนาระบบงานนี้ที่จะนำงานพัฒนาระบบนี้ไปพัฒนาต่อไป
จากปัญหาที่ได้กล่าวมาในบทที่ 1 นั้นส่งผลให้การจัดการข้อมูลในองค์กรมีประสิทธิภาพไม่
ดีเท่าที่ควร วิธีการแก้ปัญหาคือการพัฒนาระบบสารสนเทศใหม่ เพื่อปรับการทำงานและแก้ไข
ปัญหาที่เกิดขึ้น การจัดทำสารนิพนธ์นี้เป็นการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานเพื่อให้ทำงาน
ได้ทันตามความต้องการ และรวดเร็วยิ่งขึ้น และได้นำเทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้
เพื่อรองรับการขยายตัวในอนาคต
เมื่อผ่านขั้นตอนในการพัฒนาระบบแล้วพบว่า ระบบดังกล่าวสามารถช่วยทำให้การ
ทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นตามขอบเขตที่ระบุไว้ในขอบเขตของโครงงาน ระบบทำงานไม่
ซับซ้อนเจ้าหน้าที่เข้าใจและใช้งานได้ง่าย
5.1 สรุปผลการพัฒนาระบบ
ประโยชน์ที่ได้จากการพัฒนาระบบ สรุปได้ดังนี้
5.1.1 เจ้าหน้าที่สามารถใช้ระบบสารสนเทศนี้สนับสนุนการทำงานได้อย่างครอบคลุมตาม
ความต้องการใช้งาน
5.1.2 ข้อมูลที่นำไปใช้มีความถูกต้องน่าเชื่อถือ
5.2 ข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนางานครั้งต่อไป
5.2.1 ควรพัฒนางานด้านอื่นที่เกี่ยวข้องกับระบบทะเบียนหุ้นและเงินกู้ ได้แก่
- การจ่ายเงินปันผลและเฉลี่ยคืน เพื่อให้สามารถจ่ายเงินปันผลได้ถูกต้องและ
รวดเร็วขึ้น
- การจัดเก็บข้อมูลการค้างชำระการหักรายเดือน ซึ่งเจ้าหน้าที่จะสามารถนำข้อมูล
ส่วนนี้มาสนับสนุนการพิจารณาเงินกู้ได้
5.2.2 ควรพัฒนาระบบให้ความช่วยเหลือ (On line Help) เพื่อช่วยปฏิบัติงานให้สามารถ
ทำงานได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น ลดเวลาในการเรียนรู้ระบบงานลง
5.2.3 ควรพัฒนาระบบงานในฝ่ายต่าง ๆ ขององค์กรที่เหลืออยู่ เช่น ระบบบัญชี เพื่อใช้
ในการวางแผนด้านการเงินให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
บรรณานุกรม
ภาษาไทย
อำไพ พรประเสริฐกุล. การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. กรุงเทพฯ : ศูนย์เทคโนโลยี
อิเลคทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC), 2537.
มนู อรดีดลเชษฐ์. การใช้คอมพิวเตอร์ในงานบัญชี. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย, 2545.
ไพรัตน์ ต่อฤทธิชัย. คู่มือสำหรับควบคุมระบบฐานข้อมูล Microsoft SQL Server : สำนักพิมพ์สาม
ย่าน.COM, 2543.
สมชาย ปราการเจริญ. การวิเคราะห์และออกแบบระบบงานคอมพิวเตอร์ : ศูนย์ผลิตตำราเรียน
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2543.
ครรชิต มาลัยวงศ์. แนวทางการใช้ไอทีในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ : ศูนย์เทคโนโลยี
อิเลคทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC), 2541.
รศ.ระพีพรรณ พิริยะกุล. การวิเคราะห์และออกแบบระบบ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง,
2539.
กฤษณะ พิพัฒน์อุปถัมภ์. การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่องานสหกรณ์ออมทรัพย์กลุ่ม
ธุรกิจเอกชน, วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536.
นพรัตน์ ไวยมัย. การวิเคราห์และออกแบบระบบสารสนเทศด้านการบริหารการเงินของสหกรณ์
สำหรับผู้บริหารระดับสูง กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ กรณีศึกษางานสถิติการเงินการบัญชี
สหกรณ์ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์, วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตครุศาสตร์อุตสาหกรรม สาขา
คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี,
2541.
สุภาพร เชื้อพันธุ์. ระบบสารสนเทศเพื่อการตรวจสอบสินเชื่อ, วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตเทคโนโลยี
สารสนเทศ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี,
2541.
ภาษาอังกฤษ
Noel Jerke. Visual Basic 6 The Complete Reference : McGraw-Hill, Inc., 1999.
Jeffrey A. Hoffer, Joey F.George, Joseph S.Valacich. Modern Systems Analysis and Design :
The Benjanin/Cumming Publishing Company, Inc. 1996.
Carlo Batini, Stefano Ceri, and Shamfant B.Navath. Conceptual Database Design :
The Benjanin/Cumming Publishing Company, Inc. 1992.
ป้ายกำกับ:
เงินกู้,
ประเมิณ,
หุ้น,
ออนไลน์,
Development,
web service
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น