วันอาทิตย์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2552

ระบบการสอบวัดผลออนไลน์ สำหรับศูนย์ฝึกอบรม



บทที่ 1
บทนำ
1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ในปัจจุบันเทคโนโลยีทางด้านอินเทอร์เน็ต (Internet) ได้ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้มี
การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างองค์กรต่างๆได้อย่างทั่วถึง จากระบบเดิมที่เคยเป็นข้อมูลแบบ
คงที่(Static) ก็ได้มีการพัฒนามาเป็นข้อมูลแบบเคลื่อนไหว (Dynamic) เช่นเดียวกันกับระบบฐานข้อ
มูล (Database Systems) ซึ่งจากเดิมที่เคยใช้งานกันอยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือข่าย
งานเฉพาะที่ (Local Area Network : LAN) เป็นต้น ก็ได้พัฒนาให้มีความสามารถนำมาใช้งานร่วม
กับเว็บได้ เรียกว่า Web Database จึงทำให้การสร้างและพัฒนาระบบสารสนเทศบนเว็บ (Web
Application) ได้รับความนิยมใช้งานกันแพร่หลายมากยิ่งขึ้น
ในวงการศึกษารวมไปถึงการทำงาน การเพิ่มพูนความรู้ในด้านต่างๆมีความจำเป็นอย่างมาก
ในปัจจุบันเพื่อให้ได้บุคลากรที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยอาจจะทำการศึกษาหาความ
รู้ด้วยตนเองหรือเข้าอบรมตามศูนย์ฝึกอบรมต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้น ทั้งนี้ศูนย์ฝึกอบรมที่จัดตั้งขึ้นมาแต่
ละแห่งก็จะเน้นเนื้อหาเกี่ยวกับหลักสูตรต่าง ๆ ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติแตกต่างกัน โดยในการอ
บรมแต่ละหลักสูตรนั้น เมื่อเรียนจบหลักสูตรก็จะต้องมีการประเมินผล โดยขึ้นอยู่กับวิทยากรหรือ
อาจารย์เป็นผู้ตัดสิน ซึ่งปัจจุบันในการทดสอบความรู้นั้นการทดสอบยังใช้รูปแบบที่เป็นกระดาษ
ถาม-ตอบทำให้ประสบปัญหาหลายประการเช่น
1. สิ้นเปลืองกระดาษ และเสียเวลาในการถ่ายสำเนา
2. กรณีมีการเปลี่ยนแปลงข้อสอบ หากทำการถ่ายสำเนามาแล้วก็ต้องเสียเวลาจัดทำใหม่
ทั้งหมด
3. ต้องมีการจัดการดูแลรักษาเอกสาร และเสียเนื้อที่ในการจัดเก็บ
4. ไม่สามารถใช้สื่อชักจูงใจในการสอบได้
5. ต้องใช้เวลาในการตรวจข้อสอบและรวบรวมคะแนน
6. เสียเวลาในการจัดทำรายงานแจ้งผลคะแนนสอบ

เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าวจึงได้มีแนวคิดในการทำข้อสอบโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์
ผ่านระบบเครือข่ายแทนการใช้กระดาษ โดยในการทำข้อสอบแต่ละครั้งวิทยากรสามารถเตรียม
ฐานข้อมูลการสอบได้ด้วยตนเอง และเป็นการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ในระบบการสอบ
เพื่อให้สามารถจัดการระบบการทดสอบได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม ทั้งนี้
ยังเพิ่มความน่าสนใจในการทดสอบแต่ละครั้งของผู้ที่ผ่านการอบรมในแต่ละหลักสูตร
1.2 วัตถุประสงค์ของโครงงาน
1.2.1 เพื่อพัฒนาระบบการสอบวัดผลแบบออนไลน์ สำหรับศูนย์ฝึกอบรม
1.2.2 เพื่อประเมินประสิทธิภาพของระบบ
1.3 ขอบเขตของการทำโครงงาน
ระบบการสอบวัดผลแบบออนไลน์ จะถูกพัฒนาขึ้นเป็น Application เพื่อนำมาใช้ภายใน
ศูนย์ฝึกอบรม และมีการสร้าง Web Application บนระบบเครือข่ายอินทราเน็ต (Intranet) เพื่อให้
บริการกับผู้เข้าอบรม โดยแยกรายระเอียดของระบบออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้
1.3.1 ส่วนของเจ้าหน้าที่ผู้ออกข้อสอบ
1.3.1.1 สามารถกำหนดรูปแบบของข้อสอบออกเป็น 4 รูปแบบ
1.3.1.1.1 แบบเลือกคำตอบ 5 คำตอบ
1.3.1.1.2 แบบเลือกคำตอบถูกผิด
1.3.1.1.3 แบบเลือกคำตอบเรียงลำดับ
1.3.1.1.4 แบบเลือกคำตอบจับคู่
1.3.1.2 สามารถเพิ่ม ปรับปรุง แก้ไขข้อมูลเกี่ยวกับข้อสอบได้ดังนี้
1.3.1.2.1 ข้อความของคำถาม
1.3.1.2.2 ข้อความของคำตอบ
1.3.1.2.3 คำตอบที่ถูกต้อง
1.3.1.3 การกำหนดความปลอดภัยในการทำข้อสอบ
1.3.1.3.1 กำหนด IP Address ในการใช้งานของแต่ละ User พร้อมทั้ง
สามารถแก้ไข ปรับปรุงได้
1.3.1.3.2 กำหนด Username และ Password พร้อมทั้งแก้ไขปรับปรุงได้
1.3.1.4 เลือกแบ่งข้อสอบออกเป็นชุดได้ โดยวิทยากรเป็นผู้กำหนด
1.3.1.5 สามารถทราบผลการทดสอบของแต่ละ User ได้ผ่านระบบรายงาน
1.3.2 ส่วนของผู้ที่ทำข้อสอบ
1.3.2.1 การใช้งานผ่านเว็บไซต์
1.3.2.2 มีการ Login โดยการป้อน Username และ Password ก่อนทำข้อสอบ
1.3.2.3 สามารถทราบคะแนนในการสอบได้ทันทีหลังจากทำข้อสอบเสร็จแล้ว
1.4 เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินงาน
1.4.1 ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ได้แก่ เครื่องเซิร์ฟเวอร์ (Server) เครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับ
ทำหน้าที่เป็น Web Server และ Database Server
1.4.2 อุปกรณ์เครือข่าย (Networking) ได้แก่ Hub, สายเคเบิล, แลนการ์ด (Lan Card)
1.4.3 อุปกรณ์ต่อพ่วง ได้แก่ เครื่องพรินเตอร์เลเซอร์
1.4.4 ซอฟต์แวร์สำหรับใช้ในการพัฒนาโครงงาน ประกอบด้วย
1.4.4.1 โปรแกรมจัดการฐานข้อมูลใช้ MS.Access 2000
1.4.4.2 โปรแกรมในการพัฒนาเว็บเพจใช้ Macromedia Dreamweaver MX
1.4.4.3 โปรแกรมระบบปฏิบัติการใช้ Microsoft Windows 98 หรือสูงกว่า
1.4.4.4 โปรแกรมการจัดการ Web Server ใช้ Internet Information Services (IIS)
1.4.4.5 โปรแกรมที่ใช้ในการแสดงผลเว็บไซต์ใช้ Internet Explorer V.5.0 ขึ้นไป
1.5 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.5.1 ลดค่าใช้จ่ายในการสอบ และประหยัดเวลาในการตรวจข้อสอบ
1.5.2 สามารถสร้างความน่าสนใจสำหรับผู้เข้าสอบเมื่อเปรียบเทียบกับระบบเดิม
1.5.3 มีความยืดหยุ่น ง่ายต่อการใช้งานและการเข้าถึงข้อมูล
1.5.4 ง่ายต่อการจัดการและการดูแลรักษา
1.5.5 สามารถรองรับระบบงานในอนาคต เช่น e-Learning เป็นต้น
สรุปได้ว่า สามารถจัดการระบบการทดสอบได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งกว่า
ระบบเดิม โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์สอบผ่านระบบเครือข่ายแทนการใช้กระดาษ อีกทั้งยังลดค่า
ใช้จ่ายในการจัดการสอบได้

บทที่ 2
ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาค้นคว้าแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้
กับการพัฒนาระบบการสอบออนไลน์ โดยแบ่งรายละเอียด ดังต่อไปนี้ คือ
1. เทคโนโลยีระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
2. บทบาทที่สำคัญของอินเตอร์เน็ตต่อการศึกษา
3. ระบบอินทราเน็ตภายในองค์กร (Intranet)
4. ASP กับฐานข้อมูล
5. การออกแบบฐานข้อมูล
6. การฝึกอบรมผ่านเว็บ (Web-Based Training : WBT)
7. กระบวนการการทดสอบ
8. การสร้างภาวะความเป็นมาตรฐานของการทดสอบ
9. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์
10. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
เทคโนโลยีระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (มณีโชติ, 2544:43)
สำหรับคำว่า Internet หากแยกศัพท์จะได้ออกมา 2 คำ คือ คำว่า Inter และคำว่า net ซึ่ง
Inter หมายถึง ระหว่างหรือท่ามกลาง และคำว่า Net มาจากคำว่า Network หรือเครือข่าย เมื่อนำ
ความหมายของทั้ง 2 คำมารวมกันจึงแปลได้ว่า การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย
อินเตอร์เน็ต หรือที่หลายคนเรียกกันว่า “เน็ต” คือ ระบบเครือข่ายของเครื่องคอมพิวเตอร์
ทั่วโลก ซึ่งจะมีวิธีการและข้อกำหนดในการเชื่อมต่อกัน ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลและสื่อ
สารกันได้ในยุคแรก ๆ ที่อินเตอร์เน็ตเกิดขึ้นมา การใช้งานจะอยู่ในวงแคบ โดยจะใช้กันในหมู่แวด
วงการศึกษา ต่อมาเมื่อองค์กรต่าง ๆ ได้เชื่อมต่อเข้ามาในอินเตอร์เน็ตมากขึ้น อินเตอร์เน็ตจึงกลาย
เป็นเครือข่ายที่ครอบคลุมไปทั่วโลก
โครงสร้างของระบบอินเตอร์เน็ต จะอยู่ในลักษณะที่เรียกว่า “ไคลเอนท์-เซิร์ฟเวอร์”
(Client-Server) เนื่องจากมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์หรือผู้ให้บริการกับเครื่อง
5
คอมพิวเตอร์ที่เป็นไคล์เอนท์ หรือผู้ขอใช้บริการติดต่อสื่อสารหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันตลอดเวลา
ในการติดต่อสื่อสารกันก็จะมีชื่อที่อยู่เพื่อจะได้ทราบว่าข้อมูลถูกส่งมาจากที่ไหน และมีปลายทางอยู่
ที่ไหน ซึ่งชื่อที่อยู่ของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในอินเตอร์เน็ตนั้น เราเรียกว่า “ไอพีแอดเดรส” (IP
Address)
บทบาทที่สำคัญของอินเตอร์เน็ตต่อการศึกษา
ปัจจุบันอินเตอร์เน็ตมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในด้านการศึกษา เนื่องจากอินเตอร์เน็ตช่วยในมี
การสื่อสารหรือติดต่อ แลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างกันเป็นไปได้สะดวก รวมทั้งมีการใช้เครือข่ายได้
ตลอด 24 ชั่วโมง ทำให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว ไม่จำกัดเวลาและสถานที่ ทำให้อินเตอร์เน็ตมี
ความสำคัญในฐานะที่เป็นแหล่งข้อมูล และเป็นแหล่งความรู้อันทันสมัย เราสามารถจำแนกบท
บาทที่สำคัญของอินเตอร์เน็ตต่อระบบการศึกษาได้ 5 ประการ คือ
1. เพื่อการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคล และกลุ่มบุคคล เพื่อประโยชน์ดังนี้คือ
1.1 เพื่อส่งข่าวสาร ประกาศ และแจ้งข่าวคราวการเคลื่อนไหวทางวิชาการ
1.2 เพื่อการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น
1.3 เพื่อการติดต่อสอบถาม หรือประชาสัมพันธ์
1.4 เพื่อให้ข้อมูลกับบุคคล
1.5 เพื่อเผยแพร่ข่าวสาร
1.6 เพื่อติดต่อส่งงาน ส่งการบ้าน
1.7 เพื่อเผยแพร่งานวิจัย
1.8 เพื่อติดต่อบอกรับวารสารอิเล็กทรอนิกส์วิชาการ
1.9 เพื่อการติดต่อบอกรับเป็นสมาชิกกลุ่มสนทนา
2. ใช้เพื่อการสืบค้นฐานข้อมูล (Data Base Search)
2.1 การสืบค้นจากห้องสมุด (Library Search) เป็นการสืบค้นข้อมูลจากห้องสมุดโดยใช้
โปรแกรม Hytenet
2.2 การค้นฐานซอฟต์แวร์หรือแฟ้มข้อมูล (Finding Software)
2.3 การค้นฐานข้อมูลด้วยระบบเมนูของบริการโกเฟอร์ (Gopher)
2.4 การค้นหาข้อมูลด้วยระบบช่วยการค้นหา (VERUNIACA)
2.5 การค้นหาเอกสารจากฐานข้อมูลอื่นโดยใช้บริการ เวส (WAIS : Wide Area
Information Service)
2.6 บริการสืบค้นข้อมูล World Wide Web : WWW
6
2.7 วารสารอิเล็คทรอนิกส์ (Electronic Journals)
2.8 หนังสืออิเล็คทรอนิกส์ (Electronic book)
2.9 ฟังข่าวสารข้อมูลจากวิทยุกระจายเสียงและวีดีทัศน์
3. การขอใช้โปรแกรมหรือใช้บริการบนเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น โดยไม่ต้องเดินทางไปด้วย
ตนเอง (Telnet)
4. การโอนถ่ายแฟ้มข้อมูล (File Transfer)
5. เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร และสารสนเทศ
HTML (ปิยวิท, 2540:27)
HTML (Hypertext Markup Language) เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการทำให้ Text File
เป็น Hypertext Document หรือ Hypermedia Document และสามารถนำไปแสดงผลเป็น Web Page
ใน Web Browser ได้ ทั้งนี้ในภาษา HTML จะมีคำสั่งที่เรียกว่า แท็ก (Tag) เพื่อใช้ในการเตรียมข้อ
ความ, ภาพ, เสียง ฯลฯ ที่จะไปปรากฏใน Web Browser โดย ข้อความ, ภาพ, เสียง ฯลฯ จะมีหน้าตา
อย่างไรนั้น จะขึ้นกับการประมวลผลของ Web Browser ซึ่งอาจแตกต่างกันบ้างในแต่ละ Web
Browser
รูปแบบของการเขียนคำสั่ง HTML (Tag) มีลักษณะ <>...ข้อความหรือรูปภาพ...
เช่น หากเขียนแท็กดังนี้ สวัสดี จะเป็นการแสดงข้อความตัวเข้มว่า
"สวัสดี"
ภาษา HTML ได้ถูกนำมาใช้ในการสร้าง Web Page ซึ่งมีการพัฒนาโดยกำหนดเป็นมาตร
ฐานตั้งแต่ version 1.0 ประมาณ 10 ปีที่แล้ว และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ในระหว่าง
ที่พัฒนามาตรฐานของ HTML มีบริษัทต่างๆ ทำการสร้างแท็กของตัวเองเพิ่มเติมขึ้นมา เช่น บริษัท
Netscape ก็เพิ่มเติมชุดของคำสั่ง HTML ที่เรียกว่า Netscape Extension และ Microsoft ก็เพิ่มเติมชุด
คำสั่งสำหรับ Internet Explorer ขึ้นเช่นกัน จากการพัฒนาของแต่ละบริษัทนี้เองทำให้เมื่อเขียนแท็ก
แล้วอาจจะไม่สามารถทำงานได้กับทุก Web Browser แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันนี้มาตรฐาน
HTML ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาถึง Version 4.0 แล้ว ทำให้แท็กซึ่งเป็นคำสั่ง HTML มาตรฐานมีเพิ่มขึ้น
และใช้งานได้สะดวกเป็นอย่างมาก

7
Web Site , Home Page และ Web Page
ในเครือข่ายของ Internet จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์ข้อมูลข่าวสาร ที่เรียกว่า
Internet Server หรือเรียกว่า Host ซึ่งมีจำนวนอยู่มากมายกระจายอยู่ทั่วโลก และ Internet Server นี้
จะมีพื้นที่เก็บข้อมูลต่างๆ มากมายรวมทั้งเก็บ Hypertext Document ที่เป็น Web Page ซึ่งมักจะมีการ
เชื่อมโยงเป็นกลุ่มๆ โดยหน้าแรกของ Web Page ที่ผู้ใช้ (User) สามารถเข้าถึงได้จะเรียก Web Page
นั้นว่า Home Page แต่ทั้งนี้ในบางครั้งคำว่า Home Page อาจหมายถึงกลุ่มของ Web Page ทั้งกลุ่มก็
ได้เนื่องจาก Internet Server เป็นที่เก็บของ Web Page ดังนั้นจึงอาจเรียก Internet Server นี้ว่า Web
Site โดยในแต่ละ Internet Server สามารถมีได้หลาย Web Site
ระบบอินทราเน็ต (Intranet) (ศรีไพร, 2544:19)
Intranet เริ่มขึ้นทุกวันนี้ ประกอบขึ้นเป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์ภายในองค์กรเชื่อมกับพนักงานใน
องค์กรผ่านระบบแลน หรือต่อเข้าใช้ผ่านโมเด็มส่วนตัว เชื่อมฐานข้อมูลขององค์กร ไฟล์
เซิร์ฟเวอร์และที่เก็บเอกสาร เว็บเซิร์ฟเวอร์ นำเอกสารข้อมูลต่าง ๆ ไปสู่คนในองค์กรคล้าย ๆ กับ
เว็บบราวเซอร์ พนักงานในองค์กรใช้เว็บบราวเซอร์เข้าไปในเว็บเพจขององค์กรที่เชื่อมโยงเอกสาร
และข้อมูลขององค์กรด้วยการเขียนภาษา HTML การเพิ่มผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างกลุ่มสนทธนาใน
อินทราเน็ตและกรุ๊ปแวร์อื่น ๆ
โดยสิ่งที่แยกความรู้สึกในการใช้งานอินทราเน็ตและอินเตอร์เน็ตก็คือ ความเร็วการโหลด
ไฟล์ใหญ่ๆจากเว็บไซต์ในอินทราเน็ต จะรวดเร็วกว่าการโหลดจากอินเตอร์เน็ตมาก ดังนั้น
ประโยชน์ที่ได้รับจากอินทราเน็ตสำหรับองค์กรหนึ่งๆ ก็คือ สามารถใช้ความสามารถต่างๆที่มีอยู่
ในระบบอินเตอร์เน็ตได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ไม่ถูกจำกัดด้วยแบนวิดธ์หรือความกว้างของถนน
ในการส่งถ่ายข้อมูล แปลความให้ชัดเจนก็คือ เราสามารถดูวีดีโอ (ที่ต้องโหลดมาก่อนทั้งไฟล์) วีดิ
โอตามสาย (streaming line โหลดมาและดูเกือบจะพร้อมๆกันได้เป็นชั่วโมงๆ) และเรียกใช้ไฟล์
.exeที่มีขนาดหลายๆ MB ได้ในเวลาที่รอคอยได้
มสิ่งที่แยกความรู้สึกในการใช้งานอินทราเน็ตและอินเตอร์เน็ตก็คือความเร็ว การโหลดไฟล์ใหญ่ๆ
จากเว็บไซด์ในอินทราเน็ต จะรวดเร็วกว่าการโหลดจากอินเตอร์เน็ตมาก ดังนั้น ประโยชน์ที่ได้รับ
จากอินทราเน็ตสำหรับองค์กรหนึ่งๆ ก็คือ สามารถใช้ความสามารถต่างๆที่มีอยู่ในระบบ
อินเตอร์เน็ตได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

8
ประโยชน์และข้อดีในการนำอินทราเน็ตมาใช้ในองค์กร มีดังนี้
1. การนำอินทราเน็ตมาใช้งานจะเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าเมื่อเทียบกับซอฟต์แวร์ ประเภท
GroupWare โดยสามารถทำงานได้คล้ายกันทั้งนี้ เนื่องจากซอฟต์แวร์หลายตัวของอินเตอร์เน็ตที่
สามารถนำมาใช้ในอินทราเน็ตสามารถ download จากอินเตอร์เน็ตมาใช้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเลย ตัว
อย่างเช่น Microsoft Internet Explorer
2. ลดปัญหาเกี่ยวกับฮาร์ดแวร์ เนื่องด้วยอินทราเน็ตที่พัฒนาจากอินเตอร์เน็ตนั้นมีแนว
ความคิดหลักที่ให้ระบบนี้สามารถทำงานได้บนฮาร์ดแวร์หลากหลายรูปแบบ เช่น สามารถใช้งาน
อินเตอร์เน็ตบนเครื่องที่ใช้ Windows, Macintosh, หรือ UNIX เป็นต้น ระบบอินทราเน็ตสามารถติด
ต่อสื่อสารกับฮาร์ดแวร์เหล่านี้ได้ทั้งหมด และถ้าองค์กรใดมีระบบ Ethernet Local Area Network
(LAN) อยู่แล้ว สามารถพัฒนาระบบนี้บนเครือข่ายของปัจจุบันใช้ได้ทันที
3. ลดปัญหาในการพัฒนาระบบจากเดิมที่มีหลากหลายรูปแบบหลากหลายโปรแกรมโดย
องค์กรสามารถใช้เครื่องมือพัฒนาในรูปแบบเดียวคือ ใช้เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาระบบของ
อินเตอร์เน็ต, อินทราเน็ต เช่น ภาษา Java, ภาษา HTML (Hyper Text Markup Language) หรือ CGI
(Common Gateway Interface) ซึ่งสามารถทำงานบนแพลทฟอร์มใดๆ ตัดปัญหาการจ้างผู้พัฒนา
ระบบจากหลายแพลทฟอร์ม และการบำรุงรักษาระบบ รวมทั้งแก้ไขปัญหาระบบในภายหลังลงได้
เป็นอย่างมาก
4. ลดเวลาในการฝึกอบรมพนักงาน (Users) เนื่องจากการทำงานของอินทราเน็ต ใช้
ไคลเอนต์ซอฟต์แวร์เป็นเว็บบราวเซอร์เพียงตัวเดียว ข้อมูลทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นไปรษณีย์อิเล็คทรอ
นิกส์ การเรียกใช้ข้อมูลต่างๆ สามารถใช้งานบนเว็บบราวเซอร์เพียงตัวเดียว หากผู้ใช้งานเคยใช้
งานอินเตอร์เน็ตมาก่อนแล้วยิ่งไม่ต้องเรียนรู้อะไรเพิ่มเติมอีก
5. ข้อมูลในระบบอินทราเน็ตจะทันสมัยอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากระบบของอินทราเน็ต
สามารถเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลของบริษัทได้โดยตรง เมื่อเราแก้ไขข้อมูลในฐานข้อมูลใดๆ ข้อมูลที่
ปรากฏในอินทราเน็ตจะเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย และด้วยระบบนี้จะช่วยกระจายข่าวสารไปทั้งองค์
กรอย่างทั่วถึงในทันที
6. ระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นประโยชน์อีกอย่างหนึ่งของอินทราเน็ต และช่วยใน
การทำงานด้าน documentation work flow รวมทั้งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ตั้งขึ้นในระบบ
อินทราเน็ตสามารถเชื่อมต่อกับระบบอินเตอร์เน็ตได้ในทันทีถ้าต้องการ
7. เราสามารถค้นหาข้อมูลทั้งหมดในองค์กรได้ง่ายกว่าที่ผ่านมาในอดีต โดยจำลองเทคนิค
การหาข้อมูลที่ใช้กันอยู่ในอินเตอร์เน็ตมาใช้กับระบบอินทราเน็ตของเรา ตัวอย่าง การค้นหาข้อมูลที่
นิยมกัน ได้แก่ โปรแกรมที่ใช้ ณ. site yahoo.com เป็นต้น
9
ปัจจุบันนี้กำลังเข้าสู่ยุคแห่งระบบฐานความรู้ ที่พัฒนาต่อจากยุคแห่งสารสนเทศอินทราเน็ต
จะช่วยสร้างและเสริมฐานความรู้สำหรับองค์กรให้แข็งแกร่ง เพื่อให้ก้าวเป็นผู้นำทั้งด้านการผลิต
การบริหารจัดการที่จะสามารถสร้างและทำกำไรได้ทะลุเป้า ดังนั้น กรอบความคิดในการนำระบบ
เทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในหน่วยงานและนำระบบอินทราเน็ตไปพัฒนาส่วนต่าง ๆ ของการ
ทำงานสำหรับผู้บริหาร มีดังนี้
1. ต้องมีวิสัยทัศน์
2. วัดกันที่เป้าหมาย
3. ตั้งค่าคาดหมายจากงานจริง
4. กำหนดแผนและดำเนินงานอย่างเหมาะสม
5. ชี้แจงและโน้มน้าวกลุ่มผู้ใช้
6. มีคนสนใจและยอมรับที่จะใช้งาน
ASP กับระบบฐานข้อมูล (กิตติ, 2542:6)
ASP ย่อมาจาก Active Server Page ซึ่งคิดค้นโดย บริษัทไมโครซอฟต์ ASP เป็นโปรแกรม
คอมพิวเตอร์ชนิดที่เป็น "Server side scripting" ซึ่งหมายถึงภาษาทางโปรแกรมที่ทำงานในฝั่งของ
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็น Web Server ที่ให้บริการเอกสารหรือสื่อต่างๆ ในอินเตอร์เน็ต
หรือ อินทราเน็ต
หลักการทำงานของ ASP
ASP จะทำงานบนเซิร์ฟเวอร์ และทำงานร่วมกับโปรแกรม Web Server จะทำหน้าที่ประมวล
ข้อมูลที่ได้จากผู้เข้ามาเยี่ยมชม และแสดงผลออกมาทาง Web browser เริ่มจากผู้ใช้ ASP สร้างไฟล์
ที่มีนามสกุลเป็น .ASP ขึ้นมาจากนั้น นำไฟล์นั้นไปไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่เป็น Web
Server ที่ติดตั้งโปรแกรม ASP ไว้ และเชื่อมต่ออยู่กับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต จากนั้นเมื่อมีผู้ใช้รายใด
เรียกใช้ไฟล์นั้นผ่านโปรแกรมบราวเซอร์ (IE ,Netscape…) โปรแกรม ASP ใน Web Server จะเรียก
ไฟล์นั้นขึ้นมาอ่านแล้วทำตามคำสั่งต่างๆ ที่ผู้สร้างไฟล์นั้นได้กำหนดขึ้น จึงส่งผลที่ได้กลับไปให้ผู้
เรียกใช้โดยแสดงผลที่โปรแกรมบราวเซอร์ของผู้เรียก ซึ่งขั้นตอนข้างต้นเป็นหลักการทำงานโดยทั่ว
ไปของ ASP

10
ความสามารถและประโยชน์ของ ASP
1. ASP ทำให้เว็บแบบไดนามิก (Dynamic) นั้น คือรูปแบบที่แสดงผลออกมานั้นสามารถ
เปลี่ยนแปลงได้ตามข้อมูลที่ ASP ได้รับ เช่น ตัวอย่างจากการ Search ข้อมูลในเว็บไซต์ ผลลัพธ์ที่ได้
จะเปลี่ยนไปตามที่เรา Search
2. เพิ่มความเร็วในการดูเว็บ เนื่องจากการดูเว็บนั้น เรามักสูญเสียเวลาส่วนใหญ่กับการรอ
ข้อมูลที่มาจากอินเตอร์เน็ต ยิ่งข้อมูลมากขึ้นยิ่งรอนาน ซึ่ง ASP สามารถช่วยในจุดนี้ได้ กล่าวคือ
ASP จะทำการคำนวนต่างๆ จะเสร็จและส่งเฉพาะผลลัพธ์ที่เราต้องการเท่านั้น ทำให้ปริมาณการส่ง
ข้อมูลน้อยลง เราก็จะเสียเวลารอ ข้อมูลน้อยลงและสามารถดูเว็บได้เร็วขึ้น
3. เพิ่มความปลอดภัยให้กับระบบในการเขียนโปรแกรมต่างๆ บางครั้งเราต้องอ้างถึงไดเร็ก
ทอรี่ที่เก็บฐานข้อมูล อย่างเช่น เว็บไซต์ Yahoo เป็นต้น ซึ่งการใช้ ASP ไดเร็กทอรี่ต่างๆ จะไม่ถูก
แสดงที่ฝั่งผู้ดูเว็บ จะแสดงเฉพาะผลลัพธ์ที่เอามาจากฐานข้อมูลเท่านั้น ทำให้ผู้ดูแลเว็บไม่สามารถรู้
ถึงโครงสร้างของเว็บเราได้ง่าย และป้องกันผู้ไม่หวังดีมาเจาะระบบของเราด้วย
4. ลดปัญหาความสามารถของเครื่องที่ใช้ดูเว็บ เนื่องจาก ASP จะส่งเฉพาะ ผลลัพธ์สุด
ท้ายมาแสดงผลเท่านั้น ดังนั้น ไม่ว่าเครื่องของคุณจะทันสมัยหรือล้าสมัยเพียงใด ก็ไม่ทำให้เวลาที่
ใช้เปิดดูเว็บแตกต่างกันมาก เพราะว่าการประมวลผลทั้งหมดเสร็จสิ้นที่ฝั่ง Server แล้ว
ความต้องการพื้นฐานในการใช้ ASP
1. เครื่องคอมพิวเตอร์ PC ความเร็ว CPU 486 ขึ้นไป RAM 16 MB ขึ้นไป ค่ายิ่งสูงจะยิ่งดี
แนะที่ Pentium 150 MHz ขึ้นไป Ram 32 MB
2. ระบบปฏิบัติการ (OS) Windows 95/98 หรือ Windows NT 4.0
3. สำหรับ Windows 95/98 จำเป็นต้องมี ดังนี้
3.1 บราวเซอร์ IE 3-5
3.2 โปรแกรมจำลองเครื่องคอมพิวเตอร์ PC ให้เป็น Web Server เช่น Personal Web
Server (PWS) ของ Microsoft
3.3 โปรแกรม ASP (จะมี ASP รวมอยู่ใน PWS เวอร์ชั่น 4 ขึ้นไป) แต่ถ้าลงโปรแกรม
Web Server อื่นๆ หรือ PWS ต่ำกว่าเวอร์ชั่น 4 จะต้องลง ASP ด้วย หาได้จากชุด MS Visual Studio
สำหรับ Windows NT 4.0 ต้องมี IIS 3.0 (Internet Information Server) ขึ้นไป

11
ข้อควรจำ
ในการใช้โปรแกรม ASP ให้เข้ากับภาษาของ OS ด้วย เช่น ถ้ามี Windows 95 ภาษาไทย ท่านก็ต้อง
ใช้ ASP ที่สนับสนุนภาษาไทย
1. ความรู้ในการใช้โปรแกรม Windows 95/98 +PWS หรือ NT + IIS
2. ความรู้ในการใช้ HTML ในระดับ Source code รวมถึงการใช้โปรแกรม Text Editor ใดๆ เช่น
Notepad เป็นต้น สำหรับผู้ที่ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการสร้างไฟล์ html ควรทราบถึงวิธีการ
แทรก Script ใน html source code ด้วย
3. ความรู้ในการใช้ภาษา Java Script, VB Script, Peal Script อย่างใดอย่างหนึ่ง
4. ความรู้ในการใช้งานเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยจะต้องใช้โปรแกรม FTP เป็นในระดับหนึ่ง
5. ถ้าต้องใช้ฐานข้อมูลในอินเตอร์เน็ตด้วยก็ควรทราบถึงหลักการฐานข้อมูล และการใช้โปรแกรม
ฐานข้อมูล
ฐานข้อมูล (Database)
ในยุคของเทคโนโลยีข่าวสารข้อมูล (Information Technology) องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
ต่างต้องอาศัยข้อมูล ข่าวสาร ที่ถูกต้องแม่นยำ จึงจำเป็นสำหรับองค์กรชั้นนำที่จะต้องพึ่งพาอาศัย
เทคโนโลยีและระบบการจัดเก็บข้อมูลที่เหมาะสม มีความสะดวก รวดเร็วและได้ข้อมูลที่ถูกต้อง
ตรงกับความต้องการ นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลให้เป็นข้อมูลที่ถูกต้องอยู่เสมอก็ถือ
เป็นสิ่งจำเป็นที่องค์กรจะต้องให้ความสำคัญ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและทันต่อสถานการณ์ที่
เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ จากปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในระบบแฟ้มข้อมูลได้ก่อให้เกิดการจัดเก็บข้อมูล
ในรูปแบบใหม่ขึ้น ที่เรียกว่า “ฐานข้อมูล (Database)” ซึ่งการจัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลนี้จะแตก
ต่างจากการจัดเก็บข้อมูลแบบแฟ้มข้อมูล เนื่องจากฐานข้อมูลเป็นการนำเอาข้อมูลต่าง ๆ ที่มีความ
สัมพันธ์กัน ซึ่งแต่เดิมจัดเก็บอยู่ในแต่ละแฟ้มข้อมูลมาจัดเก็บไว้ในที่เดียวกัน หรือจัดเก็บอยู่ในรูป
ของแฟ้มข้อมูลของฝ่ายต่าง ๆ ได้ถูกนำมาจัดเก็บรวบรวมกันไว้ภายในฐานข้อมูลเดียว ซึ่งเป็นฐาน
ข้อมูลรวมของบริษัทส่งผลให้แต่ละฝ่ายสามารถใช้ข้อมูลร่วมกัน และสามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่
เกิดขึ้นในระบบแฟ้มข้อมูล
ฐานข้อมูลของ Microsoft Access (ศรีสลาลักษณ์, 2544:5)
โปรแกรม Microsoft Access เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการจัดการระบบข้อมูลต่าง ๆ ที่มีประ
สิทธิภาพสูง ในกลุ่มโปรแกรม Microsoft Office ที่ช่วยให้การทำงานเกี่ยวกับข้อมูลที่มีปริมาณมาก
ไม่ว่าคุณจะทำงานอะไร อยู่ฝ่ายใดของบริษัท คุณสามารถใช้โปรแกรมนี้ได้อย่างง่ายดาย เพราะ
12
โปรแกรมนี้สามารถจัดการระบบข้อมูลในรูปแบบของข้อความ รูปภาพ กราฟ ตลอดจนการคำนวณ
ค่าต่าง ๆ ของข้อมูล และสร้างลักษณะงานเฉพาะแบบได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ใช้งานได้หลากหลาย
และรายงานในรูปแบบกราฟฟิกที่เรียกว่า (Graphic User Interface : GUI) เพื่อใช้ในการเชื่อมโยงกับ
Web Page และจุดเด่นที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ สามารถเชื่อมโยงข้อมูล แลกเปลี่ยนข้อมูลกับ
ระบบฐานข้อมูลอื่น ๆ ได้หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น Oracle Foxpro Word Excel PowerPoint เป็นต้น
ซึ่ง Microsoft Access ยังได้รวบรวมข้อมูลต่างๆ ไว้เป็นรูปแบบของแฟ้มข้อมูล หรือ ไฟล์
(File) ที่มีส่วนขยายเป็น .MDB โดยข้อมูลจริงที่เก็บไว้ในไฟล์ฐานข้อมูล .MDB จะถูกเก็บในรูปของ
ตาราง (Table) ที่ประกอบด้วยแถวแนวตั้งและแถวแนวนอน โดยจะเรียกแถวแนวตั้งว่า "คอลัมน์
(Column)" และเรียกแถวแนวนอนว่า "แถว (Row)"
1. ข้อมูลในคอลัมน์ จะถูกแบ่งเป็นส่วนย่อยๆ แต่ละส่วนเรียกว่า "ฟิลด์ (Field)
2. ข้อมูลในแถว เป็นชุดข้อมูลของรายการแต่ละรายการ โดยประกอบกันด้วยส่วนย่อย
หลายๆ ส่วน หรือฟิลด์หลายๆ ฟิลด์ เรียกข้อมูลจริงของแต่ละรายการในแต่ละแถวว่า "เรคคอร์ด
(Record)"
ตัวอย่าง
ข้อมูลของ "นายนิยม รักงาม อายุ 22 ปี ตำแหน่งพนักงานขาย ฝ่ายขาย มีเงินเดือน 85000 บาท" จะ
เก็บไว้ในแถว 1 แถว นับเป็น 1 เรคคอร์ด แต่มีส่วนประกอบย่อยทั้งหมด 7 ส่วน ได้แก่
ส่วนข้อมูลเก็บคำนำหน้า ฟิลด์คำนำหน้า
ส่วนข้อมูลเก็บชื่อต้น ฟิลด์ชื่อต้น
ส่วนข้อมูลเก็บนามสกุล ฟิลด์นามสกุล
ส่วนข้อมูลเก็บอายุ ฟิลด์อายุ
ส่วนข้อมูลเก็บตำแหน่ง ฟิลด์ตำแหน่ง
ส่วนข้อมูลเก็บสังกัด ฟิลด์สังกัด
ส่วนข้อมูลเก็บเงินเดือน ฟิลด์เงินเดือน
ข้อมูลในแฟ้มฐานข้อมูล ACCESS
ข้อมูลในแฟ้มฐานข้อมูลของโปรแกรม Microsoft Access จะถูกจัดเก็บไว้ในรูปแบบของ Object ซึ่ง
ประกอบด้วย Object 6 ชนิดได้แก่

13
1. Table
ฐานข้อมูลของโปรแกรมจะจัดเก็บข้อมูลไว้ในตาราง ซึ่งประกอบด้วยแถวแนวตั้ง และแถว
แนวนอน โดยแถวแนวตั้งจะเรียกว่า Column หรือ Field และแถวแนวนอน เรียกว่า Row หรือ
Record
2. Query
จุดเด่นของงานฐานข้อมูลได้แก่ การคัดลอกและสืบค้นข้อมูลที่ต้องการ เพื่อนำไปแสดงผล
หรือประมวลผล ซึ่งโปรแกรมได้เตรียม ความสามารถที่เรียกว่า "ตารางสืบค้น หรือ Query" ซึ่งจะ
ช่วยให้สร้างระบบการสืบค้นได้ตามที่ต้องการ โดยอาศัยข้อมูลจาก Table
3. Form
ข้อมูลที่จัดเก็บใน Table จะมีปริมาณมาก ทำให้การเพิ่มแก้ ปรับแต่งแก้ไข กระทำได้ลำบาก
และอาจจะก่อให้เกิดปัญหา ในด้านมุมมองของจอภาพการทำงาน โปรแกรมได้สร้างระบบช่วย
เหลือการทำงาน โดยให้ผู้ใช้สามารถออกแบบ รูปแบบจอภาพการป้อนข้อมูล การแก้ไขข้อมูลตาม
ต้องการ เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการทำงาน
4. Report
ฐานข้อมูลมักจะหนีไม่พ้น กับการนำข้อมูลมาสรุปเป็นรายงาน ดังนั้นโปรแกรมจึงได้เตรียม
ฟังก์ชันสร้างรายงานรูปแบบต่างๆ
5. Macro & Module
งานที่สร้างด้วย Object ที่กล่าวมาแล้ว เหมาะกับฐานข้อมูลที่ไม่ใหญ่และซับซ้อน แต่ถ้างาน
ใหญ่และซับซ้อน โปรแกรมได้เตรียมความสามารถ ในการสร้างงานเฉพาะ ลักษณะโปรแกรม
ภาษา โดยอาศัยความสามารถของมาโครและโมดูล ซึ่งผู้ใช้สามารถออกแบบงานใหม่ๆ ได้ตาม
ต้องการ
การออกแบบฐานข้อมูล
เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาระบบซึ่งเกี่ยวข้องกับการกำหนดโครงสร้างของฐานข้อมูล
เครื่องมือช่วยพัฒนาระบบ (Systems Development Modeling Tools) เช่น แผนภาพกระแสข้อมูล
(Data Flow Diagrams) หรือแผนภาพความสัมพันธ์ของตาราง (ER Diagram) เป็นเครื่องมือย่างดีใน
การช่วยแตกปัญหา หรือระบบงานใหญ่ ๆ ออกเป็นระบบงานย่อย นอกจากนี้เครื่องมือในการติดต่อ
สื่อสารระหว่างผู้ใช้ กับนักวิเคราะห์ระบบง่ายขึ้น ทำให้ทั้งสองฝ่ายเข้าใจถูกต้องและตรงกัน โดยมี
ขั้นตอนในการออกแบบฐานข้อมูล ดังนี้
14
1. วิเคราะห์ตัวงาน โดยคิดว่าอยากเก็บข้อมูลอะไรบ้างลงไว้ในคอมพิวเตอร์ โดยสอบถาม
จากผู้ใช้งานฐานข้อมูลว่าต้องการเก็บข้อมูลอะไร อยากได้รายงาน หรือแบบฟอร์มหน้าตาอย่างไร
แสดงอะไรบ้าง
2. ดูแบบฟอร์ม หรือรายงานที่มีใช้อยู่เดิม วิเคราะห์ถึงอนาคตว่าจะทำอะไรต่อไป
3. จัดข้อมูลให้เป็นกลุ่ม ในลักษณะของข้อมูลที่สามารถสัมพันธ์กันได้ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับ
พนักงานก็เป็นหนึ่งกลุ่ม, ข้อมูลเกี่ยวกับงานที่รับผิดชอบก็เป็นอีกหนึ่งกลุ่ม เป็นต้น
4. นำข้อมูลแต่ละกลุ่ม มาแยกองค์ประกอบของข้อมูลให้เล็กที่สุด เช่น ข้อมูลพนักงาน อาจ
จะแยกได้เป็น รหัสประจำตัว, คำนำหน้าชื่อ, ชื่อ, นามสกุล, เพศ เป็นต้น
5. แปลงองค์ประกอบของข้อมูล ให้เป็นชื่อฟิลด์ (Field name) ขึ้นต้นด้วยภาษาอังกฤษ ตาม
ด้วยตัวอักษร, ตัวเลข, ช่องว่าง หรือเครื่องหมายพิเศษ ยกเว้น เครื่องหมายจุด, เครื่องหมายตกใจ
(อัศเจรีย์ !) เครื่องหมายฝนทาง, เครื่องหมายวงเล็บปีกกา และห้ามใส่ช่องว่างหน้าชื่อ ยาวไม่เกิน 64
ตัวอักษร
6. กำหนดชนิดของข้อมูล (Data Type)
7. หาฟิลด์ข้อมูลที่ไม่ซ้ำซ้อนกันกับรายการอื่น ๆ เรียกว่า Primary Key
การฝึกอบรมผ่านเว็บ (Web-Based Training : WBT) (ถนอมพร, 2544:85)
การฝึกอบรมผ่านเว็บ เป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
(e-learning) ถือได้ว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ที่มีลักษณะหรือรูปแบบของการใช้คอมพิวเตอร์ในการฝึก
อบรมหรือการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีเวิลด์ไวด์เว็บ (WWW) ผ่านระบบเครือข่าย
อินเตอร์เน็ต (Internet) หรือ อินทราเน็ต (Intranet) การฝึกอบรมผ่านเว็บ จะนำเสนอในรูปแบบของ
การถ่ายทอดสดในช่วงเวลานั้น ๆ และยังสามารถจะทำการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลและเนื้อหาต่าง
ๆ ได้ตามความต้องการในโครงการสร้างของการฝึกอบรมผ่านเว็บนั้นยังช่วยให้ผู้เรียนสามารถ
กำหนดทิศทางในการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองว่าจะเริ่มเรียนจากไหนก่อนหรือหลังในแต่ละหัวข้อที่เป็น
บทเรียน การฝึกอบรมผ่านเว็บยังประกอบไปด้วยสื่อต่างๆ ที่ใช้ในการประเมิน ดังแปลง และแก้ไข
ปรับปรุงเนื้อหา โดยอาจจะมีการใช้ในรูปแบบของเสียง (Audio) และภาพ (Video) แบบถ่ายทอด
สด (Real Time) ในการนำเสนอข้อมูลและเนื้อหาที่จะให้ผู้เรียนหรือผู้รับการฝึกอบรม ได้ศึกษาจึง
ถือได้ว่าการฝึกอบรมผ่านเว็บเป็นสื่อที่เหมาะสมที่สุดที่จะทำการฝึกอบรม เพราะผู้เรียนสามารถจะ
เข้ามาศึกษาได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ การจัดทำหลักสูตรฝึกอบรมจะเปลี่ยนสัดส่วนจาก 25% ของการ
ใช้เทคโนโลยี และ 75% โดยการนำสัมมนาของวิทยากรไปเป็นสัดส่วน 50-50

15
ในปี 2002 การสำรวจของ Ninth House Network ในสหรัฐอเมริกา (http://future-sri.com)
พบว่า การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) ในปี 2000 เป็นดังนี้
(1) 97% ขององค์กรกำลังพิจารณาหรือพัฒนากลยุทธ์ของการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็คทรอนิกส์
(2) 93% มีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในด้านการเรียนรู้ออนไลน์เปรียบเทียบกับปีก่อน
(3) 62% ขององค์กรในปัจจุบันมีอย่างน้อย 1 หลักสูตรที่ออนไลน์
(4) 51% มีการเรียนรู้ทางออนไลน์ หรือเว็บไซต์ทางด้านการฝึกอบรม
(5) 35% ของงบประมาณฝึกอบรมใช้เพื่อการบริการจากภายนอก (Outsourcing)
(6) 22% ขององค์กรมีความร่วมมือให้เกิดสมรรถภาพในการเรียนรู้
(7) 81% ที่มีการออนไลน์โดยมุ่งที่ระบบการจัดการเรียนรู้
กระบวนการการทดสอบ (เยาวดี, 2544:3)
คำว่า “การทดสอบ” (Testing) มักจะนำมาใช้ในความหมายที่แคบ หมายถึง การนำเสนอชุด
คำถามที่มีมาตรฐานให้ผู้สอบตอบสนอง ซึ่งถ้าพิจารณาโดยละเอียดแล้ว คำถามแต่ละข้อในชุดคำ
ถามนั้นเราเรียกว่า “ข้อสอบ” หรือ “ข้อกระทง” (Test Item) และข้อสอบหลาย ๆ ข้อ รวมกันทั้ง
ฉบับเราเรียกว่า “แบบสอบ” หรือ “แบบทดสอบ” (Test)
การทดสอบ หมายถึง กระบวนการที่มีระบบในการสังเกตพฤติกรรมของมนุษย์แล้ว
บรรยายผลการสังเกตด้วยมาตราแสดงจำนวน หรือด้วยการจำแนกประเภทอย่างมีระบบ (Cronbach,
1970) จากคำนิยามดังกล่าว ย่อมแสดงว่าการทดสอบก็คือการวัดผล ในทางตรงกันข้าม ถ้าเรา
พิจารณาตามความหมายที่แคบของการทดสอบ หมายถึงการให้ผู้สอบตอบแบบสอบแต่เพียงอย่าง
เดียวแล้ว ในกรณีเช่นนี้ การทดสอบย่อมมีความหมายแคบกว่าการวัดผล ทั้งนี้ก็เพราะว่าในกรณีดัง
กล่าว การทดสอบเป็นแต่เพียงการใช้เครื่องมือวัดผลประเภทหนึ่งเท่านั้น ซึ่งตามข้อเท็จจริงแล้ว
เครื่องมือวัดผลนั้นอาจรวมไปถึงเครื่องมืออื่น ๆ ได้อีก เช่น แบบสอบถามทั่วไป (Questionnaire)
แบบสอบถามความคิดเห็น (Opinionative) มาตราวัด (Scale) ตลอดจนเครื่องมือที่มีลักษณะเป็น
แบบรายการตรวจสอบ (Inventory) ฯลฯ เป็นต้น ส่วนความหมายเฉพาะของ คำว่า “แบบสอบ”
หมายถึง กลุ่มคำถาม หรือกลุ่มงาน (Tasks) ที่ผู้ทดสอบได้เสนอให้ผู้สอบตอบสนอง ตัวอย่างเช่น
กลุ่มคำถามซึ่งประกอบด้วยคำต่าง ๆ ที่ต้องการให้อธิบายความหมายที่ถูกต้อง หรืออาจเป็นปัญหา
ทางคณิตศาสตร์ที่ต้องการให้คิดหาคำตอบ หรืออาจจะเป็นรูปภาพต่าง ๆ ที่มีบางส่วนขาดหายไป
สำหรับตัวอย่างของกลุ่มงานที่กล่าวถึงนั้น อาจจะเป็นงานที่ต้องการให้ผู้ตอบแสดงออกในเชิง
ปฏิบัติ เช่น ให้ต่อชิ้นส่วนที่กระจัดกระจายอยู่จนเป็นรูป เป็นต้น ส่วนการตอบสนองกลุ่มคำถาม
หรือกลุ่มงานที่กำหนดให้นั้น ผู้ตอบสนองอาจจะแสดงพฤติกรรมที่สังเกตได้หรือวัดได้ โดยวิธีการ
16
เขียน หรือโดยการตอบปากเปล่า หรือโดยการปฏิบัติก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์เฉพาะของ
การทดสอบแต่ละครั้ง นอกจากนั้นไม่ว่าการทดสอบจะกระทำโดยวิธีใดก็ตาม การให้คะแนนคำ
ถามที่ตอบสนองทุกข้อหรือกลุ่มงานที่ให้กระทำทุกชิ้น จะต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด เพื่อ
ให้ผลการทดสอบสามารถชี้ให้เห็นถึงลักษณะเฉพาะ (Specific Trait) ที่ผู้ตอบสนองมีในสิ่งที่
ต้องการจะวัดตามมาตรฐานที่กำหนดไว้
การสร้างภาวะความเป็นมาตรฐานของการทดสอบ (เยาวดี, 2544:11)
เป้าหมายที่สำคัญของการทดสอบ คือ เพื่อที่จะได้ค่าคะแนนของผู้ตอบที่ถูกต้องและแม่นยำ
ที่สุด การที่นักวัดผลทางการศึกษาจะบรรลุเป้าหมายเช่นนี้ได้ ก็จะใช้วิธีการเช่นเดียวกับนักวิทยา
ศาสตร์สาขาอื่น ๆ กล่าวคือ จะต้องหาทางควบคุมความคลาดเคลื่อนทั้งหลายที่จะเกิดขึ้นได้ โดย
การพยายายลดอิทธิพลของตัวแปรแทรกซ้อนต่าง ๆ ให้เหลือน้อยที่สุด การควบคุมความคลาด
เคลื่อนที่อาจจะเกิดขึ้นในภาวะเช่นนี้อาจจะทำได้โดยวิธีจัดระบบการคุมสอบ คือให้ผู้เข้าสอบทุก
คนอยู่ในสภาวะที่เหมือนกัน
การจัดระบบการสอบให้มีภาวะที่เหมือนกันเช่นนี้ เราเรียกว่า “การสร้างภาวะความเป็นมาตร
ฐานของการทดสอบ” เนื่องจากอาจมีผู้นำความหมายของการสร้างภาวะความเป็นมาตรฐานของ
การทดสอบไปใช้ในลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้น เพื่อป้องกันการเข้าใจผิดสำหรับความ
หมายของ “การสร้างภาวะความเป็นมาตรฐานของการทดสอบ” ซึ่งหมายถึง การควบคุมองค์
ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการทดสอบ ซึ่งมี 3 ส่วนใหญ่ ต่อไปนี้
1. เนื้อหาในการสอบ (Content) สิ่งที่จำเป็นประการแรกในการสร้างภาวะความเป็นมาตร
ฐานของการทดสอบ ก็คือ เนื้อหาในการสอบ หรือเนื้อหาที่นำมาทดสอบ คือ ผู้เข้าสอบทุกคนจะ
ต้องได้รับการทดสอบในเนื้อหาจากข้อกระทงชุดเดียวกัน หรือจากข้อทดสอบที่เป็นชุดคู่ขนานกัน
ถ้าภาวะการสอบไม่เป็นไปเงื่อนไขที่กล่าวมานี้ก็ไม่สามารถจะนำคะแนนของผู้สอบแต่ละคนมา
เปรียบเทียบกันได้ เนื่องจากขาดภาวะความเป็นมาตรฐานเดียวกันของการทดสอบ
2. การบริหารการสอบ (Administration) แม้ว่าผู้เข้าสอบทุกคนจะตอบข้อสอบชุดเดียวกัน
แต่คะแนนที่ได้รับก็อาจจะนำมาเปรียบเทียบกันไม่ได้ ถ้าหากว่าผู้เข้าสอบเหล่านั้นอยู่ภายใต้ภาวะ
การควบคุมที่ไม่เหมือนกัน จริงอยู่ถึงแม้ว่าสภาวะในการสอบที่เหมือนกันทุกประการอาจจะเป็นไป
ได้ยากในเชิงปฏิบัติแต่เราก็สามารถจะขจัดตัวแปรแทรกซ้อนที่ไม่ต้องการบางอย่างออกไปได้โดย
ใช้วิธีการบริหารการสอบที่มีประสิทธิภาพ เช่น โดยการให้คำแนะนำที่ชัดเจนในการสอบ รวมทั้งมี
การกำหนดเวลาสอบและวิธีการให้คะแนนที่เหมือนกัน เป็นต้น สำหรับคำแนะนำในการสอบนั้น
ควรจะให้ผู้เข้าสอบได้รับทราบตรงกันในลักษณะที่สั้นและเข้าใจง่าย โดยพิมพ์ไว้ในหน้าแรกของ
17
แบบสอบ เพื่อชี้แนะถึงวิธีการเลือกคำตอบ วิธีการตอบ และการกำหนดเวลาที่ใช้สอบ รวมทั้งระบุ
ตัวอย่างข้อสอบที่จำเป็น นอกจากนั้นก็ควรจะมีคู่มือการสอบอย่างละเอียดแจกให้ผู้ที่ต้องรับผิด
ชอบในการคุมสอบและผู้บริหารการสอบที่เกี่ยวข้องทุกคน เพื่อแต่ละคนจะได้ปฏิบัติหน้าที่ของตน
อย่างเหมาะสม ตรงตามคำแนะนำที่ระบุอยู่ในคู่มือทั้งนี้เพื่อก่อให้เกิดภาวะความเป็นมาตรฐานของ
การทดสอบที่แท้จริง
3. การให้คะแนน (Scoring) สิ่งจำเป็นอีกประการหนึ่งในการสร้างภาวะความเป็นมาตร
ฐานของการสอบก็คือ การกำหนดวิธีการให้คะแนนให้มีมาตรฐานเดียวกัน เช่น มีหลักเกณฑ์ที่แน่
นอนในการให้คะแนน ทั้งนี้เพื่อป้องกันการลำเอียงที่อาจจะเกิดขึ้นโดยไม่เจตนา การให้คะแนนที่ดี
นั้นผู้ให้คะแนนแต่ละคนจะให้คะแนนแก่ผู้สอบคนเดียวกันเท่ากันเสมอ ซึ่งภาวะเช่นนี้จะมีขึ้นได้ก็
ต่อเมื่อเป็นการให้คะแนนจากแบบสอบประเภท “ปรนัย” (Objective – Type Test) แต่ในกรณีที่เป็น
แบบสอบประเภทอัตนัย (Subjective or Essay – Type Test) ก็คงจะเป็นไปได้ยาก อย่างไรก็ดี
สำหรับแบบสอบประเภทอัตนัยนั้นโดยทั่วไปแล้ว ถ้ามีผู้ให้คะแนนสองคนที่ให้คะแนนโดยเฉลี่ย
ตรงกันถึง 90% ก็ถือว่าอยู่ในภาวะที่ใช้ได้
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ มีหลายความหมาย ดังนี้
ล้วน สายยศและอังคณา สายยศ (2539 : 20) กล่าวว่า แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ เป็นแบบ
ทดสอบที่มุ่งวัดเนื้อหาวิชาที่เรียนมาแล้วว่า นักเรียนมีความรู้ความสามารถเพียงใด ดังเช่นการสอบ
วัดผลการเรียนการสอนในปัจจุบัน
ศิริชัย กาญจนวาสี (2544 ; 124) กล่าวไว้ว่า แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์เป็นเครื่องมือในการ
วัดผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของผู้เรียนตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ เพื่อให้ทราบว่าผู้เรียนได้พัฒนาความรู้
ความสามารถถึงมาตรฐานที่ผู้สอนกำหนดไว้หรือไม่ หรือมีความรู้ความสามารถระดับใด หรือมี
ความรู้ความสามารถดีเพียงไรเมื่อเทียบกับเพื่อนๆ ที่เรียนด้วยกัน
เมเรนส์และเลห์มาน (W.A.Mehrens and I.J.Lehmann, 1969 : 187) ได้ให้ความหมายว่า แบบ
ทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ เป็นแบบทดสอบที่ใช้วัดความในการเรียน วินิจฉัยข้อบกพร่องหรือใช้ทำนาย
ผลการเรียนในอนาคต
ดี เจ บราวน์ (D.J.Brown.1970 :153) ได้ให้ความหมายว่า เป็นแบบทดสอบที่ต้องการวัดว่าผู้
เรียนได้เรียนรู้เนื้อหาวิชาหรือทักษะเฉพาะด้านใดด้านหนึ่งจากการสอนเพียงใด ซึ่งสอดคล้องกับ
ความหมายของกรอนลันด์ ที่ว่าเป็นแบบทดสอบที่ใช้วัดผลสัมฤทธิ์จากการเรียนวิชาใดวิชาหนึ่งที่
ผ่านมาแล้ว ในขณะที่ ริชาร์ดสันและสตาลเนเคอร์ ซึ่งเป็นผู้นำคนสำคัญของการพัฒนาแบบ
18
ทดสอบผลสัมฤทธิ์แบบใหม่กล่าวว่า จุดมุ่งหมายสำคัญของการทดสอบผลสัมฤทธิ์นั้น คือ การ
กำหนดผลการเรียนทางวิชาการ
จากความหมายดังกล่าว สรุปได้ว่า แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์เป็นแบบทดสอบที่ใช้วัดความ
รู้ความสามารถทางสมองหรือสติปัญญาของผู้เรียน ซึ่งผู้เรียนได้เรียนไปแล้วและเป็นผลเนื่องมาจาก
หลักสูตร วิธีการจัดการเรียนการสอนของผู้สอน วิธีเรียนของผู้เรียน ตลอดจนการใช้สื่อการเรียน
การสอนรวมถึงประสบการณ์การเรียนรู้นอกห้องเรียนที่ผู้เรียนได้รับทั้งที่ได้รับในอดีตหรือปัจจุบัน
เพื่อตรวจสอบว่าผู้เรียนมีความรู้ ทักษะมากน้อยเพียงใด ในด้านเนื้อหาทางวิชาการแต่ไม่เน้นความ
สามารถทางกายและความรู้สึก
ประเภทของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้ในการจำแนกดังนี้คือ
1. จำแนกตามลักษณะการสร้าง แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1.1 แบบทดสอบที่ครูสร้างขึ้นเอง (Teacher Made Tests) เป็นแบบทดสอบที่ครูผู้สอนเป็นผู้
สร้างขึ้นมาใช้เองในห้องเรียน เพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนเป็นครั้งๆ ไป มักเป็นแบบ
ทดสอบที่ครอบคลุมเนื้อหาเฉพาะตามหลักสูตรเนื้อหานั้น ๆ โดยทั่วไปแบบทดสอบที่ครูสร้างขึ้น
เองจะมี 2 ชนิด คือ แบบทดสอบที่ใช้วัดระหว่างการเรียนการสอน (Formative Test) เพื่อตรวจสอบ
ความก้าวหน้าของผู้เรียนและนำผลมาใช้เพื่อการปรับปรุงการสอนของครู และปรับปรุงการเรียน
ของผู้เรียน อีกชนิดคือ แบบทดสอบที่ใช้วัดหลังสิ้นสุดการเรียนการสอน (Summative Test) เพื่อนำ
ผลการวัดไปใช้ในการสรุป รวบยอดหรือตัดสินผลการเรียนของผู้เรียน แบบทดสอบที่ครูสร้างเอง
นั้นในการสร้างอาจไม่ได้มีการพิจารณาตรวจสอบคุณภาพมากนักว่า แบบทดสอบมีคุณภาพหรือไม่
อย่างไร การตรวจให้คะแนนและการแปลผลมักทำการเปรียบเทียบผลเฉพาะกลุ่มที่สอบด้วยกัน
หรือเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่ผู้สอนกำหนดไว้
1.2 แบบทดสอบมาตรฐาน (Standardized Tests) เป็นแบบทดสอบที่มีความเป็นมาตรฐาน 3
ประการคือ หนึ่งคือ มาตรฐานในการดำเนินการสร้าง คือ ผ่านกระบวนการตรวจสอบคุณภาพและ
พัฒนาปรับปรุงคุณภาพจนเป็นที่เชื่อถือได้ มักออกแบบให้ครอบคลุมเนื้อหาสาระอย่างกว้าง ๆ ที่
สอนในหลักสูตรนั้น ๆ เพื่อให้สามารถใช้ได้กับสถาบันการศึกษาทั่ว ๆ ไป สองคือ มาตรฐานใน
การดำเนินการสอบ คือมีคู่มือการดำเนินการสอบ ไม่ว่านำไปใช้ที่ใดหรือใครเป็นผู้ดำเนินการสอบ
ก็ปฏิบัติเหมือนกันและสุดท้ายคือ มาตรฐานในการให้คะแนนหรือและความหมายของคะแนน ไม่
ว่าใครให้คะแนนก็ผลเหมือนกัน มีเกณฑ์ในการเปรียบเทียบที่เป็นมาตรฐานที่เรียกว่า เกณฑ์
ปกติ(Norm) สำหรับแปลความหมายของคะแนนของผู้เข้าสอบเมื่อเปรียบเทียบกับคนส่วนใหญ่

19
2. จำแนกตามรูปแบบการตอบ แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
2.1 แบบทดสอบปากเปล่า (Oral Test) เป็นแบบทดสอบที่อาศัยการถาม-ตอบหรือการซัก
ถามให้ตอบด้วยวาจาเป็นรายบุคคล เหมาะสำหรับการสอบที่มีคนจำนวนน้อยเพราะต้องใช้เวลามาก
และถามได้ละเอียดเช่น การสอบสัมภาษณ์
2.2 แบบให้เขียนตอบ (Paper – pencil Test) เป็นแบบทดสอบที่ตอบโดยการเขียนตอบ ทุก
ชนิด ซึ่งต้องใช้กระดาษ ดินสอหรือปากกาเป็นเครื่องมือสำคัญในการสอบ แบบทดสอบแบบให้
เขียนตอบสามารถจำแนกได้ดังนี้ คือ
2.2.1 แบบทดสอบแบบไม่จำกัดคำตอบแบบความเรียง (Essay test) เป็นแบบทดสอบ
ที่กำหนดคำถามให้แล้วให้ผู้ตอบเรียบเรียงคำตอบเอง โดยการใช้ความรู้ความสามารถ ความเข้าใจ
ความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่
2.2.2 แบบทดสอบแบบจำกัดคำตอบ (Fixed response Test) เป็นแบบทดสอบที่มีคำ
ตอบถูกภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดให้อย่างจำกัด ซึ่งมี 4 ลักษณะ คือ
2.2.2.1 แบบถูกผิด (True - False)
2.2.2.2 แบบเติมคำ (Completion)
2.2.2.3 แบบจับคู่ (Matching)
2.2.2.4 แบบเลือกตอบ (Multiple choice)
2.3 แบบให้ปฏิบัติ (Performance Test) เป็นแบบทดสอบที่ให้ผู้สอบลงมือกระทำหรือปฏิบัติ
จริงๆ ได้แก่ แบบทดสอบภาคปฏิบัติทั้งหลายเช่น งานประดิษฐ์ งานบ้าน เป็นต้น การให้คะแนนจะ
ตรวจให้คะแนนทั้งกระบวนการในการปฏิบัติงานและตรวจผลงาน
3. จำแนกตามเกณฑ์ที่ใช้ในการแปลความหมายของคะแนน แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
3.1 แบบทดสอบอิงเกณฑ์ (Criterion referenced Test) เป็นแบบทดสอบที่มุ่งวัดระดับการ
เรียนรู้ของผู้เรียนว่ามีความรู้ความสามารถอะไรบ้าง แบบทดสอบอิงเกณฑ์ จึงสร้างให้ครอบคลุมจุด
ประสงค์การเรียนรู้ที่สำคัญของการเรียนรู้ ที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน โดยนำคะแนนที่ได้จากการ
สอบไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน (Absolute standard) แล้วแปลความหมายในเชิงปริมาณ
ความรอบรู้ในเนื้อหาที่เรียกว่า ผู้เรียนอยู่ในระดับที่ถือว่ารอบรู้ในเนื้อหานั้นๆ หรือไม่
อย่างไรก็ตาม การวัดผลแบบอิงเกณฑ์มีจุดอ่อนซึ่งเป็นปัญหาที่อภิปรายกันอยู่ในกลุ่มของ
นักวัดผลก็คือ การกำหนดเกณฑ์มาตรฐานของการปฏิบัติ ยังไม่มีเหตุผลที่แน่นอน ทั้งนี้เพราะเป็น
การกำหนดขึ้นเองตามอำเภอใจ เป็นต้นว่าการกำหนดเกณฑ์ให้ 80% เป็นคะแนนที่ผ่านนั้นก็ไม่
สามารถจะอธิบายโดยอาศัยเหตุผลตามหลักการทางด้านวัดผลได้ชัดเจนนัก เพราะคะแนนที่ได้จาก
การทดสอบแบบอิงเกณฑ์ยังขึ้นอยู่กับองค์ประกอบที่ไม่เด่นอีก 2 ประการ คือ
20
3.1.1 ข้อสอบอิงเกณฑ์มีระดับความยากง่ายที่ไม่เท่ากัน ฉะนั้นการถือเกณฑ์ตามที่
กำหนดให้ผ่าน จึงไม่มีมาตรฐานแน่นอน
3.1.2 การให้คะแนนขึ้นอยู่กับความเห็นส่วนบุคคลเป็นหลัก เพราะการให้คะแนน
นั้นเน้นที่ตัวบุคคล โดยไม่มีการเทียบกับกลุ่มจึงขาดความเป็นระบบ
3.2 แบบทดสอบอิงกลุ่ม (Norm referenced Test) เป็นแบบทดสอบที่มุ่งเปรียบเทียบความ
สามารถของกลุ่มผู้เรียนด้วยกันเอง แล้วจำแนกผู้เรียนเป็นกลุ่ม ๆ ตามระดับความสามารถ ข้อสอบ
อิงกลุ่มจึงสร้างขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่จำแนกผู้เรียนโดยการเปรียบเทียบกันเองภายในกลุ่มในวิชาเดียว
กัน เพื่ออธิบายว่าผู้เรียนคนนั้นๆ เก่งหรืออ่อนกว่าผู้เรียนคนอื่นๆ เท่าไร ดังนั้นแบบทดสอบ
ประเภทนี้จึงต้องสร้างให้มีคุณสมบัติที่สามารถจำแนกผู้เรียนได้ดี
3.3 แบบสอบอิงปริเขต (Domain – Referenced Test)
แบบทดสอบอิงปริเขต หมายถึง แบบสอบที่ประกอบด้วยตัวแทนของกลุ่มปัญหาที่คำ
ถามหรือกลุ่มตัวอย่างของข้อสอบ ซึ่งสุ่มมาจากจำนวนทั้งหมดของเนื้อหาสาระที่ต้องการทดสอบ
จำนวนข้อสอบทั้งหมดเหล่านี้ได้รับการกำหนดขึ้นตามปริเขตหรือขอบข่ายที่อ้างอิงถึง โดยยึดวัตถุ
ประสงค์ของการเรียนการสอนเป็นหลัก ผู้สร้างแบบสอบอิงปริเขตสามารถจำกัดเนื้อหาที่เฉพาะ
เจาะจงได้ตามขอบข่ายหรือตามปริเขตที่อ้างอิงถึงข้อสอบในแบบสอบอิงปริเขตได้มาโดยใช้วิธีการ
สุ่มตัวอย่างจะโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random) หรือโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified
Random) ได้
4. จำแนกตามลักษณะของการตรวจให้คะแนน แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ แบบทดสอบอัตนัย
(Subjective Test) และ แบบทดสอบปรนัย (Objective Test)
4.1 แบบทดสอบอัตนัย (Subjective Test or Essay Test) เป็นแบบทดสอบที่การตรวจให้
คะแนน จะขึ้นอยู่กับความรู้สึกความคิดเห็นของผู้ตรวจเป็นสำคัญ ผู้ตรวจต่างคนกันอาจให้คะแนน
ไม่ตรงกันหรือไม่สอดคล้องกัน ลักษณะการให้คะแนนจึงไม่คงที่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอารมณ์ของผู้ตรวจ
ช่วงเวลาในการตรวจ เป็นต้น จุดเด่นแบบทดสอบชนิดนี้ คือ ในแต่ละข้อคำถามสามารถวัดความรู้
ความสามารถได้หลายๆ ด้าน มีจุดมุ่งหมายให้ผู้ตอบตอบยาว ๆ ผู้ตอบมีโอกาสแสดงความรู้ความ
สามารถ ความรู้สึกและความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้สามารถวัดความสามารถด้านการ
เขียนได้ ลักษณะคำถาม ต้องการให้ผู้ตอบได้บูรณาการแนวคิด และประเมินแนวคิดที่เห็นว่าเหมาะ
สมกับสถานการณ์นั้น ๆ มาตอบ ข้อสอบอัตนัยเหมาะสำหรับใช้วัดความสามารถทางสมองขั้นสูง
มากกว่าที่จะใช้วัดความสามารถทางสมองขั้นต่ำ แบบทดสอบอัตนัยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2
21
ประเภท คือ แบบไม่จำกัดคำตอบ (Extended Response) และแบบจำกัดคำตอบ (Restricted
Response)
4.1.1 ข้อสอบอัตนัยแบบไม่จำกัดคำตอบ (Extended Response)
เป็นข้อสอบที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีอิสระในการตอบมากกว่าแบบจำกัดคำ
ตอบ โดยการเลือกข้อความรู้ หลักการ ทฤษฎีหรือแนวคิดอื่น ๆ มาเรียบเรียงสนับสนุนคำตอบเพื่อที่
จะตอบให้ดีที่สุด ไม่จำกัดขอบเขตของคำตอบแต่ตอบภายใต้เวลาที่จำกัด ลักษณะของคำถามที่สร้าง
ขึ้นมีความยืดหยุ่นและให้เสรีภาพในการตอบมาก เพราะคำถามอาจวิเคราะห์ ดังนั้นคำตอบจึงกว้าง
มาก และส่งผลต่อความเที่ยงในการตรวจให้คะแนนที่อาจให้ผลการตรวจที่ไม่สอดคล้องกัน กรณีที่
ผู้ตรวจมีหลายคน หรือไม่มีความคงเส้นคงวาของผลการตรวจกรณีที่มีการตรวจซ้ำ แบบทดสอบ
ประเภทนี้ เหมาะสำหรับใช้วัดความรู้ความสามารถทางสมองขั้นสูง ได้แก่ การคิดวิเคราะห์ การ
สังเคราะห์และการประเมินค่ารวมทั้งผลการเรียนรู้ที่ซับซ้อนได้ดี โดยเฉพาะวัดความสามารถใน
การจัดระบบ เรียบเรียง การตีความ สรุป การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ การเสนอแนวคิด การประเมินคุณ
ค่าของแนวคิดการบูรณาการ การเรียนรู้ในเรื่องต่างๆ ในรูปแบบใหม่ เป็นต้น ดังนั้นกล่าวโดยสรุป
ได้ว่าข้อสอบลักษณะนี้ สามารถวัดความสามารถของผู้เรียนทั้งในแง่ของความรู้ที่ผู้เรียนมีอยู่ ความ
สามารถในการประเมินความรู้ที่มีอยู่ การจัดระบบระเบียบความคิด โดยการเชื่อมโยงความ
สัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ที่เรียน และความสามารถในการถ่ายทอดแนวคิดเชิงเหตุผลให้ผู้อื่นเห็น
4.1.2 ข้อสอบอัตนัยแบบจำกัดคำตอบ (Restricted Response)
เป็นข้อสอบที่มีการจำกัดกรอบเนื้อหาและความยาวของคำตอบ หรือเป็นข้อ
สอบที่มีการกำหนดแนวทางในการตอบค่อนข้างตายตัว โดยกำหนดขอบเขตของประเด็นในการ
ตอบ ผู้ตอบต้องตอบภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด คำตอบจึงสั้นและแคบกว่าข้อสอบอัตนัยแบบไม่จำกัด
คำตอบ ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ข้อสอบอัตนัยแบบจำกัดคำตอบผู้ตอบมีอิสระในการตอบและแสดง
ความรู้ ความสามารถ ความคิดเห็นได้น้อยกว่าแบบไม่จำกัดคำตอบ ดังนั้นในการตรวจให้คะแนนมี
เกณฑ์การตรวจที่ค่อนข้างชัดเจนกว่า เนื่องจากคำตอบอยู่ในกรอบแนวคิดเดียวกัน สามารถเปรียบ
เทียบคุณภายของการตอบได้ง่ายกว่า จึงส่งผลให้การตรวจให้คะแนนมีความเที่ยงสูงกว่าแบบไม่
จำกัดคำตอบ ข้อสอบอัตนัยแบบจำกัดคำตอบ เหมาะที่จะใช้วัดความรู้ ความสามารถในการอธิบาย
ถึงความสัมพันธ์ในเชิงเหตุและผล การบรรยายถึงการนำหลักเกณฑ์ หลักการต่าง ๆ ไปใช้ การ
แสดง ข้อโต้แย้งในประเด็นต่างๆ การให้ข้อสรุป การบ่งชี้ถึงเงื่อนไขข้อตกลงที่จำเป็น การอธิบาย
ถึงแนวทางวิธีการที่นำมาใช้ ลักษณะของข้อสอบอัตนัยแบบจำกัดคำตอบ สิ่งที่วัดค่อนข้างเป็นเนื้อ
22
หาที่จัดอยู่ในความสามารถในขั้นที่ต่ำกว่าข้อสอบอัตนัยแบบจำกัดคำตอบ และเป็นการวัดที่เฉพาะ
เจาะจงได้ครอบคลุมดีกว่าข้อสอบอัตนัยแบบไม่จำกัดคำตอบ
ข้อดีข้อสอบอัตนัย
1. สามารถใช้วัดความสามารถทางสมองขั้นสูงได้ดี ซึ่งได้แก่ พฤติกรรมด้านการวิเคราะห์
การสังเคราะห์ และการประเมินค่า ซึ่งข้อสอบชนิดอื่นทำได้ยาก
2 เหมาะสำหรับวัดความสามารถ ในการจัดระบบระเบียบ การผสมผสานบูรณาการความ
คิดริเริ่ม กระบวนการคิดต่าง ๆ ทักษะด้านการใช้ภาษาและการแก้ปัญหา
3. เหมาะสำหรับวัดผลการเรียนรู้ซึ่งไม่สามารถวัดได้ด้วยข้อสอบปรนัย
4. ให้สิทธิเสรีภาพแก่ผู้เรียนในการตอบเพื่อแสดงความสามารถ
5. ใช้เวลาน้อยในการออกข้อสอบ
6. ลดการเอาของผู้สอบได้
ข้อจำกัดของข้อสอบอัตนัย
1. ความตรงของแบบทดสอบต่ำกว่าข้อสอบชนิดอื่น เนื่องจากมีข้อจำกัดในเรื่องการสุ่มเนื้อ
หามาสอบ ซึ่งต้องออกข้อสอบน้อยข้อ จึงทำให้เนื้อหาที่นำมาออกข้อสอบอาจไม่เป็นตัวแทนที่ดี
ของเนื้อหาทั้งหมด
2. การตรวจให้คะแนนมีความเป็นอัตนัยมาก หรือขาดความเป็นปรนัยในการตรวจให้
คะแนนมาก ขาดความเที่ยงในการตรวจให้คะแนนคือ ผู้ตรวจคนเดียวกันตรวจให้คะแนนผู้เรียนคน
เดียวกันในเวลาที่ต่างกัน อาจให้คะแนนต่างกันหรือผู้ตรวจ 2 คน ตรวจให้คะแนนผู้เรียนคนเดียว
กันในข้อเดียวกัน อาจให้คะแนนไม่สอดคล้องกัน นอกจากนี้สิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับความสามารถของ
ผู้เรียนอาจมีผลต่อคะแนนด้วย เช่น ลายมือ เป็นต้น
3. เสียเวลาในการตรวจให้คะแนน
4.2 แบบทดสอบปรนัย (Objective Test) เป็นแบบทดสอบที่มีการตรวจให้คะแนนแบบมีกฎ
เกณฑ์ตายตัว ใครตรวจก็ให้คะแนนตรงกัน ตรวจกี่ครั้งก็ให้คะแนนตรงกัน แบบทดสอบชนิดนี้มัก
เรียกว่าแบบทดสอบที่ถูกเป็นหนึ่ง ผิดเป็นศูนย์ หมายความว่า ตอบถูกจะได้คะแนนและตอบผิดจะ
ไม่ได้คะแนน ข้อสอบถามให้ผู้ตอบ ตอบในขอบเขตที่จำกัด มีการกำหนดคำตอบมาให้ล่วงหน้า
หรือไม่กำหนดคำตอบมาให้แต่ให้ตอบสั้น ๆ คำถามแต่ละข้อวัดความสามารถเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
23
เพียงเรื่องเดียว ผู้ตอบไม่มีโอกาสแสดงความคิดเห็นได้อย่างกว้างขวางเหมือนแบบทดสอบอัตนัย
แบบทดสอบปรนัยแบ่งได้เป็น 5 ประเภท ดังต่อไปนี้
4.2.1 ข้อสอบปรนัยแบบถูกผิด (True - False)
ลักษณะข้อสอบประกอบด้วย ข้อความหรือประโยคที่ต้องการให้ผู้ตอบตัดสิน
เพื่อเลือกคำตอบที่เป็นไปได้สองอย่างว่า ข้อความหรือประโยคที่กำหนดมาให้นั้น ถูกหรือผิด ใช่
หรือไม่ใช่ จริงหรือเท็จ หรือสามารถดัดแปลงให้อยู่ในรูปแบบอื่นได้อีก เช่น รูปแบบการจำแนกข้อ
เท็จจริงออกจากความคิดเห็น คือ ถ้าข้อความใดเป็นจริงให้ตอบ “ถูก” ถ้าข้อความใดเป็นเท็จ ให้
ตอบ“ผิด”แต่ถ้าข้อความใดตัดสินไม่ได้ว่าเป็นจริง หรือเท็จให้ตอบว่าเป็น “ความคิดเห็น” นอกจาก
นี้ ยังมีรูปแบบให้แก้ไขส่วนที่ผิดให้ถูกต้อง โดยให้ผู้ตอบ กาหรือขีดเส้นใต้ส่วนที่ผิดและให้แก้ไข
ส่วนที่ผิดให้ถูกต้อง ข้อสอบแบบถูกผิดสามารถนำไปใช้วัดพฤติกรรมการเรียนรู้ขั้นความรู้ ความจำ
โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับความจริง นิยามหรือหลักการต่าง ๆ ความเข้าใจในหลักการและนำไปใช้
รวมถึงความสามารถในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับโจทย์ทางคณิตศาสตร์ได้ นอกจากนี้ยังสามารถใช้วัด
ความสัมพันธ์ในเชิงเหตุผลหรือความเป็นเหตุเป็นผลระหว่างสิ่งสองสิ่งได้ โดยให้พิจารณาว่าคำที่
ขีดเส้นใต้ในประโยคหรือข้อความมีความเกี่ยวข้องหรือเป็นเหตุเป็นผลกันหรือไม่ จะเห็นได้ว่าเป็น
ข้อสอบที่เหมาะสำหรับใช้วัดความรู้ ความเข้าใจเนื้อหาต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี สร้างง่ายและสามารถ
สร้างข้อคำถามได้หลายข้อ ซึ่งช่วยให้ครอบคลุมเนื้อหาที่กำหนด แต่ข้อสอบประเภทนี้มีข้อจำกัดคือ
ผู้สอบมีโอกาสสูงในการเดาข้อสอบให้ถูก และเป็นข้อสอบที่มีแนวโน้มว่าจะวัดเรื่องเล็กๆ น้อย ๆ
และวัดในเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการเรียนรู้ที่สำคัญ
ลักษณะของแบบสอบประเภทถูก – ผิด ที่ดี มีดังนี้
1. ข้อความที่ว่า “ถูก” หรือ “ผิด” นั้นควรประกอบด้วยเรื่องสำคัญที่จะถามเพียงเรื่องเดียว
เช่น
ตัวอย่างที่ไม่ดี : พ่อขุนรามคำแหง เดิมมีพระนามว่า “ราม” เป็นกษัตริย์พระองค์แรกที่ได้
เสด็จไปเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศมลายู
ตัวอย่างที่ดีขึ้น : พ่อขุนรามคำแหงเป็นกษัตริย์พระองค์แรกของไทยที่ได้เสด็จไปเจริญ
สัมพันธไมตรีกับประเทศมลายู
2. ข้อความที่ถามจะเป็นจริงหรือไม่จริง ถูกหรือผิด นั้น ควรเป็นไปตามเหตุผลข้อเท็จจริงที่
ทุกคนเห็นตรงกัน ไม่ควรเป็นข้อความที่เป็นความคิดเห็นหรือการวิเคราะห์เหตุการณ์ทั่วไป เช่น
ตัวอย่างที่ไม่ดี : พ่อขุนรามคำแหงควรจะได้รับการเทิดพระเกียรติเป็น “มหาราช” ของ
ไทย
24
ตัวอย่างที่ดีขึ้น : พ่อขุนรามคำแหงทรงเป็นกษัตริย์ที่ได้รับการเทิดพระเกียรติเป็น “มหาราช”
พระองค์แรกของไทย
3. คำหรือภาษาที่ใช้ในข้อความควรจะชัดเจนและสั้น หลีกเลี่ยงการขยายความจนยืดขาว
โดยไม่จำเป็น เช่น
ตัวอย่างที่ไม่ดี : อักษรไทยซึ่งเดิมเข้าใจว่ามีอยู่แล้วในเขตล้านนาพ่อขุนรามคำแหงได้
ทรงประดิษฐ์ขึ้นใหม่อีก
ตัวอย่างที่ดีขึ้น : พ่อขุนรามคำแหงทรงเป็นผู้ประดิษฐ์อักษรไทย
4. ใช้ข้อความที่เป็นคำเชิงปฏิเสธเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น และเมื่อใช้ก็ควรจะขีดเส้นใต้ หรือ
เขียนเป็นตัวเน้นคำเชิงปฏิเสธให้เห็นชัดเจน เช่น
ตัวอย่างที่ไม่ดี : ประเทศไทยไม่เคยเป็นเมืองขึ้นของประเทศตะวันตก
ตัวอย่างที่ดีขึ้น : ประเทศไทยไม่เคยเป็นเมืองขึ้นของประเทศตะวันตก
5. ควรหลีกเลี่ยงการใช้ข้อความที่เป็นปฏิเสธซ้อนปฏิเสธ เช่น
ตัวอย่างที่ไม่ดี : การที่ตำรวจไม่จับผู้ร้ายเป็นการไม่ทำตามหน้าที่
ตัวอย่างที่ดีขึ้น : ตำรวจมีหน้าที่จับผู้ร้าย
6. หลีกเลี่ยงการใช้คำว่า “ทุก ๆ “ “ทั้งหมด” “ทั้งสิ้น” “เสมอ” “ปกติ” หรือคำในลักษณะ
เดียวกัน ทั้งนี้เพราะผู้ตอบอาจจะใช้ความรู้บางส่วนมาช่วงเดาคำตอบที่ถูกต้องได้ เช่น
ตัวอย่างที่ไม่ดี : พืชทุกชนิดกินเป็นอาหารได้
จากตัวอย่างนี้ ผู้ตอบก็อาจจะคิดได้ว่า ต้นหูกวาง ต้นกุหลาบ ไม่มีส่วนใดที่เรานำมากินเป็น
อาหารได้ เหตุนี้ข้อความที่ยกมาจึงผิด
ตัวอย่างที่ดีขึ้น : เห็ดเมาเป็นพืชที่กินเป็นอาหารได้
7. ไม่ควรคัดลอกข้อความจากส่วนใดส่วนหนึ่งในตำรามาโดยตรง
8. การเขียนข้อความเพื่อนำมาใช้เป็นแบบสอบประเภทถูก – ผิดนั้น ควรเขียนข้อความที่ถูก
ก่อน แล้วจึงเปลี่ยนเป็นข้อความที่ผิด
9. การจัดเรียงตำแหน่งของข้อสอบที่ถูกหรือผิดนั้น ควรจะเรียงอยู่ในลักษณะสุ่มหรือเรียง
อย่างไม่เป็นระบบ
4.2.2 ข้อสอบปรนัยแบบจับคู่ (Matching)
เป็นข้อสอบที่ประกอบไปด้วยส่วนของคำถาม และส่วนของคำตอบหรือตัว
เลือก โดยจัดเป็น 2 คอลัมน์ ส่วนแรกจะเป็นส่วนของคำถาม และส่วนหลังจะเป็นส่วนของตัวเลือก
ซึ่งผู้ตอบจะต้องเลือกให้สัมพันธ์กันหรือตามเงื่อนไขอื่นที่จะกำหนด มักจะใช้วัดในระดับการเรียน
25
รู้ชั้นต้น เช่น วัดในเรื่องความจำเกี่ยวกับบุคคล สถานที่ หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ นอกจากนั้นก็เหมาะที่
จะใช้วัดความรู้เกี่ยวกับความหมายของคำจำกัดความ ความรู้ที่เป็นข้อเท็จจริงต่าง ๆ และความ
สัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่าง ๆ การสร้างแบบสอบประเภทจับคู่ให้มีมาตรฐานจะทำให้โอกาสที่ตอบได้
ถูกจากการเดามีน้อยกว่าแบบสอบประเภทถูก – ผิด ทั้งนี้เป็นเพราะว่าผู้ตอบต้องใช้ความแม่นยำใน
เนื้อหาสาระเพิ่มขึ้น เพื่อพิจารณาตัดสินหาตัวเลือกที่ถูก เนื่องจากมีรายการตัวเลือกมากกว่าแบบ
สอบประเภท ถูก-ผิด
ข้อดีของข้อสอบประเภทนี้คือ เหมาะสำหรับเนื้อหาที่ต้องการถามความจำเกี่ยวกับ
บุคคล เวลา สถานที่ เหตุการณ์ การกระทำ เป็นข้อสอบที่สร้างง่าย ใช้สะดวกสร้างความสนใจให้
ผู้สอบ ใช้พื้นที่ในการสร้างหรือเขียนน้อย เป็นการประหยัด และผู้ตอบมีโอกาสเดาได้น้อย แต่อย่าง
ไรก็ตามเป็นข้อสอบที่มีข้อจำกัด คือ มักนำไปใช้ได้ในเนื้อหาที่มีขอบเขตจำกัดวัดพฤติกรรมการ
เรียนรู้ขั้นความรู้ความจำเป็นส่วนใหญ่ และเนื้อหาและคำตอบที่นำมาถาม ถ้าสร้างไม่ดีจะทำให้เดา
ได้ เนื่องจากคำถามและคำตอบไม่สอดคล้องกัน
ลักษณะของแบบสอบประเภทจับคู่ที่ดี มีดังนี้
1. ข้อรายการคำถามและคำตอบที่จะให้จับคู่นั้น ควรมีเนื้อหาที่เป็นเอกพันธ์และไม่ชัด
แจ้งจนเกินไป
2. รายการคำถามควรอยู่ทางซ้ายมือ และคำตอบอยู่ทางขวามือ ข้อความทั้งหมดที่เป็นคำ
ถามและคำตอบที่จะใช้จับคู่นั้น ควรจะมีลักษณะสั้น ชัดเจนและสื่อความหมายได้ตรงตามที่ต้องการ
3. ควรจะให้มีจำนวนคำตอบมากกว่าจำนวนคำถาม และในการจับคู่ต้องระบุให้ชัดเจนว่า
คำตอบตัวหนึ่งจะต้องจับคู่ได้เพียงครั้งเดียว หรือสามารถจะใช้จับคู่ซ้ำได้อีก
4. การเรียงลำดับคำถาม และคำตอบ ในบางกรณีที่จำเป็น ก็ควรจะจัดเรียงลำดับให้สมเหตุ
สมผล เช่น เรียงตามจำนวนจากน้อยไปหามาก เรียงตามลำดับที่ หรือเรียงตามตัวอักษร ตามความ
เหมาะสม
5. ควรระบุความหมายของความสัมพันธ์ที่ต้องการให้จับคู่นั้นให้ชัดเจน
4.2.3 ข้อสอบปรนัยแบบเติมคำ (Completion) หรือเติมคำตอบสั้น (Short Answer)
ข้อสอบประเภทนี้จัดอยู่ในข้อสอบปรนัย เนื่องจากเป็นข้อสอบที่มีคำตอบถูกต้องตายตัว ใครตรวจก็
ให้คะแนนที่ตรงกัน ข้อสอบลักษณะนี้ ผู้สอบต้องคิดและสร้างคำตอบขึ้นมาเอง แต่เป็นการเติมคำ
หรือตอบเพียงสั้น ๆ เช่น เป็นคำ วลี จำนวน สัญลักษณ์ ความแตกต่างของข้อสอบแบบเติมคำและ
แบบคำตอบสั้นอยู่ที่ประเด็นคำถามคือ ข้อสอบแบบเติมคำ คำถามเป็นประโยคที่ไม่สมบูรณ์ เว้น
26
ช่องว่างไว้ให้เติมเพื่อทำให้ใจความของประโยคสมบูรณ์ ส่วนข้อสอบแบบตอนสั้น คำถามเป็น
ประโยคคำถามโดยตรงมีใจความสมบูรณ์ ข้อสอบปรนัยแบบเติมคำหรือเติมคำตอบสั้นเหมาะ
สำหรับวัดความรู้ ความจำ ได้แก่ ความรู้ความจำเกี่ยวกับศัพท์ ความจริงเฉพาะหรือข้อเท็จจริง หลัก
การและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ รวมทั้งวิธีการดำเนินการ ซึ่งสามารถวัดได้ดีกว่าข้อสอบปรนัยชนิดอื่น ๆ
อย่างไรก็ตามข้อสอบประเภทนี้สามารถวัดผลการเรียนรู้ในขั้นที่สูงกว่าขั้นความรู้ ความจำได้ ได้แก่
การตีความข้อมูลอย่างง่าย ๆ เช่น แผนภูมิ กราฟ รูปภาพต่าง ๆ ตลอดจนความสามารถในการแก้
ปัญหาในเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ได้ ข้อดีของข้อสอบชนิดนี้คือ ลดการเดาได้ สร้าง
ง่าย รวดเร็ว สามารถสร้างได้ครอบคลุมเนื้อหา และเหมาะสำหรับวัดการแก้ปัญหาในวิชา
คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ แต่ข้อสอบประเภทนี้ก็มีข้อจำกัดเช่นกันคือ วัดพฤติกรรมการเรียนรู้
ในขอบเขตที่จำกัด ไม่เหมาะสำหรับการวัดพฤติกรรม การเรียนรู้ที่ซับซ้อน หากคำถามไม่ชัดเจน
จะทำให้คำตอบเป็นไปได้หลายอย่างและมีความเป็นปรนัยในการตรวจให้คะแนนน้อยกว่าข้อ
สอบปรนัยแบบอื่น
4.2.4 ข้อสอบปรนัยแบบเลือกตอบ (Multiple Choice) หรือข้อสอบแบบหลายตัวเลือกเป็น
ข้อสอบที่ให้ผู้สอบเลือกคำตอบจากตัวเลือกที่กำหนดให้ ข้อสอบแบบนี้ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2
ส่วนคือ ส่วนที่เป็นตัวคำถาม (Stem) และส่วนที่เป็นคำตอบหรือตัวเลือก (Altematives หรือ
options) ส่วนที่เป็นตัวคำถาม (Stem) โดยทั่วไปมีรูปแบบการถาม 2 ลักษณะ คือเป็นรูปแบบคำถาม
โดยตรง เช่น คุณภาพที่สำคัญที่สุดของเครื่องมือที่ใช้ในการวัดผลคืออะไร และถามในลักษณะเป็น
ข้อความไม่สมบูรณ์ถาม เช่น คุณภาพที่สำคัญที่สุดของเครื่องมือที่ใช้ในการวัดผลคือ ในส่วนของคำ
ตอบหรือตัวเลือก (alternatives หรือ options หรือ choices) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ตัวเลือกที่
เป็นคำตอบถูก เรียกตัวคำตอบ (answer หรือ key) ซึ่งมี 1 ตัวเลือก ส่วนที่เหลือเป็นตัวเลือกที่ผิดหรือ
เรียกว่า ตัวลวง (distracters)
ข้อดีของข้อสอบปรนัยแบบเลือกตอบ
1. วัดความสามารถหรือพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนได้กว้าง และลึกตั้งแต่ความ
สามารถทางสมองขั้นต่ำ ได้แก่ ขั้นความรู้ ความจำ ความเข้าใจ การนำไปใช้ ไปจนถึงขั้นที่ซับซ้อน
หรือความสามารถทางสมองขั้นสูง ได้แก่ ขั้นการวิเคราะห์ การสังเคราะห์และการประเมินค่า
2. สามารถวัดได้ครอบคลุมเนื้อหาที่ต้องการวัดในวิชาต่างๆ และสามารถวัดได้อย่างหลาก
หลาย เนื่องจากเปิดโอกาสให้ผู้สอนสามารถสุ่มเนื้อหาที่ต้องการวัดมาออกข้อสอบได้ตามต้องการ
27
3. ช่วยให้แบบทดสอบมีความตรงเชิงเนื้อหาได้ดี เนื่องจากสามารถออกข้อสอบให้ครอบ
คลุมพฤติกรรมการเรียนรู้ได้หลายด้าน และออกได้จำนวนหลายข้อ
4. มีความเป็นปรนัยในการตรวจให้คะแนน
5. ใช้เวลาในการตรวจข้อสอบน้อย
6. เหมาะสำหรับการสอบที่มีผู้สอบเป็นจำนวนมาก
7. คะแนนที่ได้จากการสอบมีความเที่ยงมากกว่าแบบทดสอบชนิดอื่น ๆ เนื่องจากข้อสอบ
ชนิดนี้ สามารถลดการตอบถูกโดยการเดาลงได้ จึงสามารถนำไปพัฒนาเป็นแบบทดสอบมาตรฐาน
ได้และเป็นที่นิยมมาก
ข้อจำกัดของข้อสอบปรนัยแบบแบบเลือกตอบ
1. เปิดโอกาสให้ผู้ตอบเดาข้อสอบได้
2. ข้อสอบออกยากและเสียเวลาในการออกข้อสอบมาก เนื่องจากต้องเขียนตัวลวงที่ผิดแต่
ให้มีท่าว่าถูก เพื่อให้เป็นตัวลวงที่ดี
3. ผู้ออกข้อสอบต้องมีความรู้ความสามารถในการออกข้อสอบจริง ๆ จึงจะสามารถวัดพฤติ
กรรมการเรียนรู้ขั้นสูงได้
4. ผู้ออกข้อสอบต้องมีความรอบรู้ในเนื้อหานั้น ๆ ประกอบกันมีความรู้ในเรื่องวิธีการเขียน
ข้อสอบเป็นอย่างดี
5. ไม่เหมาะสำหรับการวัดความคิดสร้างสรรค์ การเสนอแนวคิดตลอดจนทักษะในการ
เขียนและการวัดการปฏิบัติต่าง ๆ
6. สิ้นเปลืองงบประมาณมากกว่าแบบทดสอบชนิดอื่น ๆ
รูปแบบคำถามของข้อสอบแบบเลือกตอบ
1. แบบคำถามเดี่ยว (Single Question) เป็นคำถามที่มีความสมบูรณ์ในตัวเองถามเรื่องเดียวโดย
เฉพาะ มี 6 ลักษณะ ดังนี้
1.1 แบบให้เลือกคำตอบถูก (Correct answer) ข้อสอบแบบนี้จะมีคำตอบถูกเพียงคำตอบเดียว
ที่เหลือเป็นตัวลวง เช่น
เครื่องมือวัดผลที่ต้องให้ผลการวัดที่คงที่แน่นอน แสดงว่าเครื่องมือวัดผลนั้นมี คุณลักษณะ
ในข้อใด
ก. ความตรง ข. ความเที่ยง ค. ความซื่อสัตย์ ง. ความมีประสิทธิภาพ จ. ความยุติธรรม
28
1.2 แบบให้เลือกคำตอบผิด (Incorrect answer) ข้อสอบแบบนี้มุ่งให้ผู้ตอบเลือกคำตอบผิดซึ่ง
จะมีอยู่เพียงคำตอบเดียว และที่เหลือจะเป็นตัวเลือกที่ถูก เช่น
ข้อใดไม่ใช่ลักษณะที่ดีของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ก. ความตรง ข. ความเที่ยง ค. ความซื่อสัตย์ ง. ความมีประสิทธิภาพ จ. ความยุติธรรม
1.3 แบบให้เลือกคำตอบที่ดีที่สุด (Best answer) ข้อสอบแบบนี้มุ่งให้ผู้ตอบหาคำตอบที่ถูก
ต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว จากตัวเลือกที่เป็นคำตอบที่ถูกหลายตัวเลือก แต่ระดับความถูกต้องแตก
ต่างกัน เช่น
ข้อใดเป็นคุณลักษณะที่สำคัญที่สุดของเครื่องมือที่ใช้ในการวัดผล
ก. ความตรง ข. ความเที่ยง ค. ความซื่อสัตย์ ง. ความมีประสิทธิภาพ จ. ความยุติธรรม
1.4 แบบให้เรียงลำดับคำตอบ เป็นคำถามที่ต้องการให้ผู้ตอบเรียงลำดับตามขั้นตอนต่าง ๆ
ของเรื่องหรือกิจกรรมนั้น ๆ ตามลำดับความสำคัญหรือก่อนหลัง เช่น ในการจัดเรียงข้อสอบชนิด
ต่าง ๆ ต่อไปนี้
1. แบบถูกผิด 2. แบบจับคู่ 3. แบบตอบสั้น 4. แบบเลือกตอบ 5. แบบความเรียง
จงเรียงลำดับข้อสอบโดยใช้หลักการจัดเรียงตามประเภทข้อสอบ
ก. 2 1 4 3 5 ข. 2 4 1 5 3 ค. 3 5 4 1 2 ง. 5 4 3 2 1 จ. 1 2 3 4 5
1.5 แบบให้เลือกคำตอบเปรียบเทียบ เป็นข้อสอบที่ต้องการให้ผู้ตอบเลือกคำตอบในเชิง
เปรียบเทียบ โดยเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างคำศัพท์ในตัวคำถาม เพื่อนำไปใช้เลือกคำตอบที่
มีความสัมพันธ์หรือสอดคล้องในลักษณะเดียวกัน เช่น
การวัด : การประเมิน : การกำหนดค่า : ?
ก. การแปลค่า ข. การตีค่า ค. การตัดสินคุณค่า ง. การวิเคราะห์ค่า จ. การเทียบค่า
1.6 แบบให้เลือกคำตอบรวม เป็นข้อสอบที่ต้องการให้ผู้ตอบเลือกคำตอบที่เป็นไปได้หลาย
ๆ อย่างร่วมกัน แล้วผสมคำตอบหลายข้อเข้าด้วยกัน เช่น แบบสอบฉบับหนึ่งมีค่าความเที่ยงเท่ากับ
0.60 ถ้าเพิ่มจำนวนข้อสอบที่มีลักษณะคู่ขนานเข้าไปอีก 20% ท่านคิดว่าข้อใดเป็นจริง
1. ค่าความเที่ยงของแบบทดสอบเพิ่มขึ้น
2. ค่าความตรงของแบบทดสอบเพิ่มขึ้น
3. ค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบเพิ่มขึ้น
ก. ไม่มีข้อถูก ข. ข้อ 1. เท่านั้น ค. ข้อ 2. เท่านั้น ง. ข้อ 3. เท่านั้น จ. ทั้งข้อ 1,2 และ 3

29
2. แบบคำถามเป็นชุดแต่ตัวเลือกคงที่ (Constant Choice Question)
เป็นข้อสอบที่ใช้คำถามหลายข้อ ซึ่งถามครอบคลุมเนื้อหาเดียวกันและคำถามแต่ละข้อมีชุด
ของตัวเลือกเดียวกัน เช่น ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถาม ข้อ 1 – 5 ซึ่งเป็นคำถามเกี่ยวกับคุณภาพ
ของแบบทดสอบ
ก. ความตรง ข. ความเที่ยง ค. ความเป็นปรนัย ง. ความยากง่าย จ. อำนาจจำแนก
1. ผู้สอบส่วนใหญ่ทำข้อสอบได้
2. ข้อคำถามบางข้อไม่ชัดเจน
3. คำถามถามได้สอดคล้องกับจุดประสงค์ที่กำหนดไว้
4. คะแนนที่ได้จากการวัดแต่ละครั้งมีความคงเส้นคงวา
5. คนเก่งส่วนใหญ่ทำข้อสอบได้ ส่วนคนอ่อนทำข้อสอบไม่ได้
3. คำถามแบบบทความหรือสถานการณ์ (Text or Situational) เป็นการใช้แผนภาพ แผนภูมิ บท
ความ สถานการณ์ เรื่องราวต่าง ๆ แล้วตั้งคำถามในแง่มุมต่าง ๆ ให้ผู้ตอบตอบภายใต้เงื่อนไขหรือ
สถานการณ์ที่กำหนดให้นั้น
ข้อเสนอแนะในการสร้างข้อสอบแบบเลือกตอบ
ข้อสอบแบบเลือกตอบที่ดี ต้องประกอบด้วยข้อคำถามที่ชัดเจน สื่อสารได้เข้าใจที่สำคัญต้อง
สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้ ตัวเลือกมีทั้งตัวคำตอบถูกและลวง ซึ่งต้องมีความ
เป็นไปได้ ในการเขียนจึงแยกเป็น 2 กรณี ดังนี้
1. การเขียนข้อคำถาม (Stem)
1.1 คำถามจะเป็นรูปแบบคำถามที่เป็นประโยคที่สมบูรณ์ไม่ก็ได้ แต่ต้องเป็นประโยคที่มีใจ
ความหรือมีความหมายในตัวประโยคเอง จะอย่างไรก็ตาม การใช้ประโยคที่มีใจความสมบูรณ์ จะ
ทำให้ข้อสอบดูง่ายขึ้นและมีผลต่อต่อการเพิ่มค่าความเที่ยงของข้อสอบเล็กน้อย คือ 6% (Board &
Whitney, 1972 ; Schmeiser & Whitney, 1975. อ้างถึงใน ศิริชัย กาญจนวาสี. การวัดและประเมินผล
การเรียนในระดับอุดมศึกษา. 2535.)
1.2 ใช้คำที่มีความหมายชัดเจน สั้น ไม่ซับซ้อนหรือไม่ฟุ่มเฟือย
1.3 ไม่ควรใช้ประโยคปฏิเสธในตัวคำถาม หรือถ้าใช้ก็ควรขีดเส้นใต้หรือตัวทึบและไม่ควร
ใช้ปฏิเสธซ้อนคือ เมื่อใช้คำปฏิเสธในตัวคำถามแล้วไม่ควรมีคำปฏิเสธในตัวเลือกอีก เพราะจะทำ
ให้ความคิดของผู้ตอบสับสนได้
30
1.4 ใช้ภาษาให้เหมาะกับระดับของผู้เรียนหรือวัยของผู้ตอบ
1.5 ไม่ใช้คำถามที่เป็นการแนะคำตอบ หรือข้อความในคำถามไม่ซ้ำกับข้อความในตัวเลือกที่
เป็นคำตอบถูก
1.6 ถ้ากรณีที่คำถามมีคำตอบที่ถูกหรือเป็นไปได้หลายคำตอบ ให้ผู้ตอบพิจารณาเลือกคำตอบ
ที่ถูกที่สุด
1.7 อย่าให้ข้อสอบข้อหนึ่งส่งผลต่อการชี้แนะคำตอบในข้ออื่น ๆ
1.8 ไม่ควรลอกประโยคจากตำรามาเขียนเป็นข้อสอบ แต่ควรจัดเรียบเรียงใหม่
2. การเขียนตัวเลือก (alternatives หรือ options หรือ choices)
2.1 การเขียนตัวคำตอบถูกหรือตัวถูก ควรมีเพียงคำตอบเดียว และผู้ชำนาญในวิชานั้นเห็น
ชอบเป็นเอกฉันท์
2.2 ตัวเลือกทุกตัวมีความเป็นไปได้ที่จะเป็นคำตอบที่ถูกต้อง ต้องสมเหตุสมผล และมีความ
เป็นเอกพันธ์ ในกรณีที่คำถามเกี่ยวกับการให้คำนวณ ตัวเลือกที่เป็นตัวลวงจะต้องได้มาจากตัวเลขที่
อยู่ในคำถามแต่การใช้เหตุผลผิดเท่านั้น หรือมาจากมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนของนักเรียน หรือถ้า
เป็นเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ ตัวเลือกต่าง ๆ ต้องเป็นเรื่องราวในระยะเวลาใกล้เคียงกัน
2.3 ข้อความในตัวเลือกแต่ละตัวเลือกควรเป็นอิสระจากกัน เช่น
ค่าความยากง่ายของแบบทดสอบอิงกลุ่มที่ดีควรมีค่าเท่าใด
ไม่ดี ก. มากกว่า 0.20 ข. มากกว่า 0.40 ค. มากกว่า 0.60 ง. น้อยกว่า 0.80
ดีขึ้น ก. 0.20 – 0.39 ข. 0.40 – 0.60 ค. 0.61 – 0.80 ง. มากกว่า 0.80
2.4 ถ้าตัวเลือกใช้คำซ้ำกันควรนำมาไว้ในคำถาม เช่น
ไม่ดี การสูบบุหรี่จะเป็นอย่างไร
ก. อาจทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด ข. อาจทำให้เกิดโรคถุงลมโป่งพอง
ดีขึ้น การสูบบุหรี่อาจทำให้เป็นโรคในข้อใด
2.5 ใช้ตัวเลือกปลายเปิดให้เหมาะสม ตัวเลือกปลายเปิด ได้แก่
“ถูกทุกข้อ” หรือ “ผิดทุกข้อ” หรือ “ไม่มีคำตอบถูก” ควรใช้ให้สมเหตุสมผล โดยปกติ
ไม่ควรใช้ตัวเลือกประเภทนี้ เพราะถ้าตัวเลือกเหล่านั้นเป็นตัวเลือกที่ไม่ใช่คำตอบถูกต้อง ผู้ตอบจะ
ทราบได้ง่ายหลังจากพิจารณาตัวเลือกบางตัวที่ขัดกับข้อความนั้นหากคำถามใดมีคำตอบถูกหลายข้อ
อาจเปลี่ยนคำถามเป็น “ข้อใดไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้อง” จะให้ประโยชน์มากกว่า เช่น ข้อใดไม่ใช่
ลักษณะของเครื่องมือวัดผลที่ดี
31
2.6 ตำแหน่งของตัวถูกวางอยู่กระจาย โดยเฉลี่ยตัวถูกในแต่ละตัวให้มีจำนวนเท่าๆ กันและคำ
ตอบถูกหรือตัวถูกไม่ควรจัดเรียงไว้อย่างเป็นระบบ แต่ต้องเป็นไปแบบสุ่ม
2.7 พยายามเขียนตัวเลือกให้มีความยากพอๆ กัน ส่วนมากตัวเลือกถูกมีแนวโน้มว่าจะยาว
กว่า
4.2.5 แบบสอบประเภทเรียงลำดับ (Sequence Test)
เป็นแบบสอบที่ผู้ตอบต้องเรียบเรียงแนวความคิด ภาษา และผูกเป็นประโยคให้ได้ความชัดเจน
เหมาะสมสอดคล้องและตอบคำถามที่กำหนดไว้ได้อย่างถูกต้อง โดยทั่วไปแบบสอบความเรียงมุ่ง
วัดระดับการเรียนรู้ขั้นสูง ตั้งแต่ชั้นการนำไปใช้ขึ้นไป ซึ่งอาจแบ่งได้ 2 ประเภท คือ
4.2.5.1. แบบสอบความเรียงประเภทจำกัดความยาว แบบสอบประเภทนี้มีการ
จำกัดความยาวของคำตอบ เป็นต้นว่า ให้คำตอบไม่เกินหนึ่งหน้ากระดาษคำตอบ หรือให้ตอบโดย
มีความยาว 250 ถึง 300 คำ หรือให้ยกตัวอย่างประกอบ 2 ตัวอย่าง เป็นต้น แบบสอบประเภทนี้
เหมาะที่จะวัดผลการเรียนรู้ที่สำคัญ ซึ่งผู้สอบจะต้องเลือกความรู้ที่ดีที่สุดสำหรับคำถามนั้น ๆ มา
ตอบ
4.2.5.2. แบบสอบความเรียงประเภทไม่จำกัดความยาว แบบสอบประเภทนี้
จะไม่จำกัดคำตอบ ผู้สอบจะต้องจำกัดคำตอบด้วยตนเองตามความเหมาะสมของคำถามและเวลา
สำหรับการตอบนั้นจะต้องจัดเรียบเรียงความรู้ ความคิดที่เกี่ยวข้องและจัดลำดับความรู้ที่สำคัญ
ตลอดจนการประเมินความคิดและเรียบเรียงความคิดในการตอบ โดยให้มีความยาวที่เหมาะสมกับ
หลักและเหตุผลที่คำถามต้อง
โดยในบรรดาแบบทดสอบปรนัยทั้งหมด แบบทดสอบปรนัยแบบเลือกตอบจัดได้ว่าเป็น
แบบทดสอบที่ดีที่สุด (Thorndike, 1969) ซึ่งสอดคล้องกับความคิดของอีเบล (Ebel, 1965) ที่ว่าแบบ
ทดสอบปรนัยแบบเลือกตอบจัดได้ว่าเป็นแบบทดสอบปรนัยที่ดีที่สุด สามารถตรวจให้คะแนนได้
รวดเร็วและแม่นยำ แม้ว่าผู้สอบมีจำนวนมาก นอกจากนี้มีประสิทธิภาพสูงในการจำแนกเด็กเก่งกับ
เด็กอ่อน สำหรับ ชวาล แพรัตกุล กล่าวว่า แบบทดสอบปรนัยแบบเลือกตอบ ไม่ทำให้เกิดปัญหา
สองแง่ได้ง่าย ดังเช่นแบบทดสอบถูกผิด ลดอัตราการเดาได้มาก ซึ่งทำให้ผลการวัดมีความเที่ยงสูง
ขึ้น แบบทดสอบชนิดนี้สามารถวัดได้ตั้งแต่ความจำจนถึงการวิเคราะห์วิจารณ์ ให้เหตุผลต่างๆ นอก
จากนั้นยังมีเทคนิคในการวิเคราะห์ได้ด้วยว่าคำถามข้อใดดีหรือไม่ดี ตัวเลือกใดบกพร่องหรือไม่
อย่างไร ซึ่งเทคนิคนี้ไม่สามารถนำไปใช้ได้กับแบบทดสอบชนิดอื่นๆ ได้เลย (ชวาล แพรัตกุล,
2516)

32
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
สำหรับงานวิจัยที่พบและมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบการสอบวัดผลออนไลน์ โดยทั่วไปมัก
จะมีความหลากหลายของการนำเทคนิคหรือการทำงานด้านอื่นๆ เข้าไปสนับสนุนการทำงานร่วม
กับระบบการสอบ เช่น การฝึกอบรม ซึ่งหากนำมาพัฒนาเป็นระบบเดียวกันจะทำให้การทำงานมี
ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น สารนิพนธ์ของวลีพร (2545) เป็นระบบที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ
ใช้เป็นแหล่งศึกษาข้อมูลและรับทราบรายละเอียดต่าง ๆ ที่จำเป็นในการปฏิบัติตนเมื่อเข้ามาเป็น
อาจารย์ประจำของมหาวิทยาลัย อีกทั้งสามารถทำการทดสอบวัดความรู้ของตนเอง เพื่อประเมิน
ความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาข้อมูลในระบบ แล้วเก็บคะแนนเสนอต่อผู้เกี่ยวข้อง หรือผู้บริหารเพื่อ
ประกอบการพิจารณาถึงประสิทธิภาพและศักยภาพของอาจารย์แต่ละคนได้ ตลอดจนมีเรื่องเทคนิค
การสอน และวิธีการออกข้อสอบ พร้อมกับการชี้แจงข้อตกลงต่าง ๆ จากผู้บริหารของมหาวิทยาลัย
ซึ่งข้อดีของระบบนี้พัฒนาขึ้นโดยสามารถศึกษาผ่านทางระบบ World Wide Web ได้และผู้ใช้ยัง
สามารถเข้าไปทำการศึกษาได้ทุกสถานที่ ทุกเวลาในรูปแบบของมัลติมีเดีย (Multimedia)
ระบบถัดมาเป็นระบบการพัฒนาระบบการจัดการข้อสอบปรนัยของกอบกิจ (2538) ซึ่งมี
ลักษณะการทำงานเป็นโปรแกรมที่จัดการแฟ้มข้อมูลทั่วๆไปโดยระบบพัฒนาแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
ส่วนระบบการจัดการด้านครู และส่วนระบบการจัดการด้านนักเรียน ซึ่งระบบนี้มีข้อดีตรงที่ข้อ
สอบทั้ง 4 ชนิด สามารถแสดงผลได้ทั้งตัวอักษรภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยสามารถเลือกทำข้อ
ไหนก่อนก็ได้ และสามารถย้อนกลับมาแก้ไขข้อใดก็ได้ อีกทั้งยังสามารถสุ่มเพื่อสลับข้อสอบและ
ข้อเลือกได้โดยระบบทำการจัดการอัตโนมัติ นอกจากนี้ยังช่วยจัดการเกี่ยวกับการวัดผลให้คะแนน
และเกรดได้ รวมทั้งการวิเคราะห์ข้อสอบด้วย สุดท้ายระบบยังแสดงเวลาที่เหลือ ให้เห็นและจะทำ
การตัดการทำงานเมื่อหมดเวลาให้อีกด้วย
งานวิจัยอีกเรื่องหนึ่งเป็นงานวิจัยที่มีเนื้อหาและขีดความสามารถในการทำงานสูง ซึ่งผู้จัดทำ
ได้ถือเป็นแบบอย่างในการนำมาศึกษาและพัฒนา นั่นคืองานวิจัยของกิตติพงษ์ (2544) ซึ่งเป็นนัก
ศึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ โดยระบบนี้
พัฒนาบนระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ ระบบสามารถสร้างข้อสอบได้ 4 ประเภท เช่นกัน แต่มีความแตก
ต่างกันที่การสร้างข้อสอบแบบเติมคำ อีกทั้งยังมีการวิเคราะห์ข้อสอบเพื่อหาค่าความยากง่าย และค่า
ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบตลอดจนรายงานผลการสอบด้วย E-mail ซึ่งระบบนี้มีข้อจำกัดคือไม่
สามารถสร้างข้อสอบเป็นตอน ๆ หรือแบบทดสอบแบบหลายตอนได้ อีกทั้งในการสร้างข้อสอบ
แบบเติมคำนั้นไม่เหมาะสมในการนำมาใช้สำหรับการสอบแบบออนไลน์ เนื่องจากว่าการตรวจให้
คะแนนโดยใช้คอมพิวเตอร์ และการเฉลยคำตอบนั้น อาจเกิดข้อผิดพลาดได้สูง เพราะการใช้
สำนวนในการตอบ และการเขียนคำตอบของนักศึกษาแต่ละคนมีความแตกต่างกัน
33
สุดท้ายเป็นระบบฐานข้อมูลคลังข้อสอบกับการวิเคราะห์ข้อสอบบนอินทราเน็ตของสรรชัย
(2543) งานวิจัยนี้นำเอาเทคโนโลยีฐานข้อมูลบนเว็บมาใช้ในการพัฒนาระบบเพื่อสนับสนุนการ
ทำงานของผู้สอน โดยมีการจัดการดูแล การสร้าง การวิเคราะห์ประสิทธิภาพ และการรักษาความ
ปลอดภัยของข้อสอบ โดยระบบนี้มุ่งสนใจในการออกแบบและจัดสร้างโปรแกรมที่ทำงานบนเว็บ
แบบไคลเอ็นท์/ เซิร์ฟเวอร์ ซึ่งข้อดีของระบบนี้คือ มีฐานข้อมูลศูนย์กลางที่อยู่บนเครื่องแม่ข่ายเพียง
ที่เดียว ระบบนี้จึงง่ายต่อการใช้และการดูแลรักษาข้อมูล อีกทั้งระบบนี้ยังสามารถนำไปปรับปรุงแก้
ไขเพื่อใช้เป็นคลังแบบทดสอบให้ผู้เรียนใช้ หรือเป็นต้นแบบเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ สำหรับจุด
ประสงค์อื่นๆ ต่อไป
จากงานวิจัยที่อ้างถึงข้างต้นทางผู้จัดทำได้ศึกษาถึงจุดเด่นและจุดด้อยของงานวิจัยในแต่ละ
เรื่องโดยนำเอาจุดเด่นของแต่ละเรื่องมาใช้ประโยชน์ เช่น ปรับปรุงการเข้าถึงข้อมูลให้สะดวกขึ้น
ไม่ยุ่งยาก ปรับปรุงระบบความปลอดภัยให้ดีขึ้น และพัฒนาระบบในการทำงานในการดูแลข้อมูล
ใช้ข้อมูลร่วมกัน ส่วนจุดด้อย เช่น สามารถสร้างแบบทดสอบแบบแบ่งเป็นตอน ๆ

บทที่ 3
วิธีการดำเนินงาน
ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาค้นคว้าวิธีการดำเนินงานที่นำมาประยุกต์ใช้กับการพัฒนาระบบการ
สอบวัดผลออนไลน์ สำหรับศูนย์ฝึกอบรม (Online Testing System for Training Center)โดยแบ่ง
เป็นลำดับขั้นตอน ดังนี้
1. การศึกษาระบบงานเดิม
2. การวิเคราะห์ระบบ
3. การออกแบบและพัฒนาระบบ
4. การประเมินผลระบบงาน
3.1 การศึกษาระบบงานเดิม
ลักษณะการสอบและการประเมินผลแบบเดิมนั้น ในการออกข้อสอบเพื่อสอบนักศึกษานั้น
อาจารย์จะทำและออกแบบข้อสอบตามวัตถุประสงค์ของการเรียนและการสอนในแต่ละวิชา ซึ่งขั้น
ตอนการสร้างข้อสอบ อาจารย์จะออกแบบโดยการเขียนใส่กระดาษ และแก้ไข ปรับปรุง จากนั้นก็
นำไปพิมพ์ เพื่อใช้ในการสอบ ขั้นตอนดังกล่าวจะใช้เวลานานมาก และยิ่งข้อสอบที่เป็นปรนัยที่
ต้องมีหลายคำตอบนั้น ต้องใช้เวลาและสิ้นเปลืองกระดาษจำนวนมาก
เมื่อข้อสอบดังกล่าวเสร็จสิ้น จะต้องมาพิมพ์ข้อสอบที่ใช้ในการสอบให้พอเพียงกับจำนวน
นักศึกษา ซึ่งข้อสอบในวิชาเดียวกันก็ไม่สามารถนำไปใช้กับนักศึกษาส่วนอื่น ๆ ที่ต้องสอบวิชา
เดียวกันได้ เนื่องจากนักศึกษาอาจขีดเขียนลงในข้อสอบ ทำให้เกิดปัญหาเรื่องข้อสอบรั่ว หรือนัก
ศึกษาหยิบติดมือออกมาได้ อีกทั้งยังมีปัญหาเรื่องเจ้าหน้าที่เรียงลำดับหน้าไม่ถูกต้อง เนื่องจาก
ข้อสอบมีจำนวนมาก และมีเวลาจำกัด
เมื่อได้ทำข้อสอบเรียบร้อยแล้วนั้น อาจารย์จะนำข้อสอบดังกล่าวมาตรวจข้อสอบ ซึ่งจะใช้
เวลานานมากเช่นกัน สำหรับการตรวจและการให้คะแนน ซึ่งเวลาที่เสียไปนี้จะมากหรือน้อยจะขึ้น
อยู่กับประเภทของข้อสอบ หากเป็นข้อสอบประเภทเลือกตอบ ถูกผิด จับคู่ หรือเรียงลำดับ อาจเสีย
เวลาในการตรวจน้อยกว่าข้อสอบแบบเติมคำ ซึ่งบางครั้งอาจจะมีการตรวจผิดพลาด หรือรวม
คะแนนผิดได้
35
หากมีการพัฒนาระบบการสอบวัดผลออนไลน์ ก็จะสามารถพัฒนาให้สามารถเก็บข้อสอบได้
อีกทั้งยังทำให้การจัดการสอบได้รวดเร็วมีประสิทธิภาพมายิ่งขึ้น เพราะปัจจุบันจะเสียเวลาในการ
ออกข้อสอบ และเสียเวลาในการนำข้อสอบที่เคยออกมาแล้วมาใช้ใหม่
3.2 การวิเคราะห์ระบบ
หลังจากศึกษาระบบงานเดิมทำให้เราทราบถึงปัญหาของระบบงานเดิมแล้ว เราสามารถ
วิเคราะห์ระบบและออกแบบระบบงานใหม่ โดยการนำเอาคอมพิวเตอร์ และเทคนิคเกี่ยวกับ
เทคโนโลยีเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเข้ามาใช้ ทำให้ประหยัดเวลาในการทำงานในหลาย ๆ ด้าน อีกทั้ง
ยังสามารถเอื้ออำนวยให้องค์กรประสบความสำเร็จในการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการ
ประมวลผลข้อมูล และบริหารงาน
ข้อดีของระบบงานใหม่
1. ลดค่าใช้จ่ายในการอบรมและประหยัดเวลาในการตรวจข้อสอบ
2. สามารถสร้างแรงจูงใจสำหรับผู้เข้าอบรมเมื่อเปรียบเทียบกับระบบเดิม
3. มีความยืดหยุ่น ง่ายต่อการใช้งานและการเข้าถึงข้อมูล
4. ง่ายต่อการจัดการและการดูแลรักษา
5. ลดเวลา และค่าใช้จ่ายในการจัดพิมพ์ข้อสอบ
3.3 การออกแบบและพัฒนาระบบ
การออกแบบและพัฒนาระบบการสอบวัดผลออนไลน์ สำหรับศูนย์ฝึกอบรมได้ใช้แผนภาพ
กระแสข้อมูล (Data Flow Diagram) ในการวิเคราะห์ระบบ ซึ่งจะเป็นแผนภาพที่จะแสดงให้เห็นถึง
ความสัมพันธ์ของข้อมูลต่าง ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบุคคลในระบบ และในระบบนี้จะมีบุคคลที่
ส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด 3 ประเภท คือ วิทยากร, ผู้เข้าสอบ, ผู้บริหารระบบ ซึ่งแต่ละบุคคลมีหน้าที่
และงานที่เกี่ยวข้องแตกต่างกันไป ซึ่งจะแสดงให้เห็นดังภาพที่ 3-1

36

37

38
Context Diagram เป็น Data Flow Diagram ระดับบนสุดที่จะแสดงให้เห็นว่ามีบุคคล 3
ประเภทที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบ และแต่ละบุคคลก็จะมีการส่งข้อมูลที่มีความแตกต่างกันเข้า
ประมวลผลในระบบ เช่น
วิทยากรสามารถลงทะเบียนเข้ามาใช้งานระบบ เพื่อทำการจัดการข้อมูลหลักสูตร จัดการข้อ
สอบ และชุดข้อสอบ จัดการการลงทะเบียนของผู้เข้าสอบ และสามารถแก้ไขและดูข้อมูลส่วนตัว
ของตัวเองได้
ผู้เข้าสอบสามารถลงทะเบียนเข้ามาใช้งานระบบ เพื่อทำการสอบ ดูและแก้ไขข้อมูลส่วนตัว
ดูรายงานการทำข้อสอบและประวัติการสอบที่ผ่านมา
ผู้ดูแลระบบสามารถที่จะลงทะเบียนเพื่อเข้าใช้งานระบบ เพื่อจัดการข้อมูลวิทยากร ข้อมูลผู้
เข้าสอบ ข้อมูลหน่วยงาน ข้อมูลหลักสูตร
แผนภาพกระแสข้อมูลระดับสูงสุด สามารถแสดงรายละเอียดในแต่ละส่วนย่อยลงไปเป็น
แผนภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 1, 2 เพื่อแสดงให้เห็นกระบวนการทำงาน การไหลของข้อมูล และ
ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในระบบงาน ดังแสดงในภาพที่ 3-3
ผู้เข้าสอบ
1.1
ลงทะเบียนใช้งานระบบ
1.2
เปลี่ยนรหัสผ่าน
กรณีลืม Password
2.1
ลงทะเบียนสอบ
3.1
สอบตามแบบทดสอบ
ที่ได้ลงทะเบียน
5
1
2
ข้อมูลหน่วยงาน
ข้อมูลผู้เข้าสอบ
3 ข้อมูลแบบทดสอบ
ข้อมูลการลงทะเบียน
ข้อมูลการลงทะเบียน
พนักงาน
คำถามกรณีลืม
รหัสผ่าน
เปลี่ยนรหัสผ่าน
ข้อมูลผู้เข้าสอบ
ข้อมูลที่ใช้ในการเปลี่ยนรหัสผ่าน ข้อมูลการลงทะเบียน
ข้อมูลผู้เข้าสอบ
3.2
ทำข้อสอบ 12
11 ข้อสอบแบบเลือกตอบ
ข้อสอบแบบถูกผิด
14
13 ข้อสอบแบบจับคู่
ข้อสอบแบบเรียงลำดับ
6 ข้อมูลการสอบ
7 ชุดข้อสอบ 8 IP ในการทำข้อสอบ
ข้อมูลแบบทดสอบที่ต้องการสอบ
ข้อสอบแบบเลือกตอบ
ข้อสอบแบบถูกผิด
ข้อสอบแบบจับคู่
ข้อสอบแบบเรียงลำดับ
ข้อมูล IP Address
ในการทำข้อสอบ ข้อมูลชุดข้อสอบ
ข้อมูลแบบทดสอบ
ข้อมูลลงทะเบียนทำข้อสอบ
ข้อมูลการสอบ
ข้อมูลลงทะเบียนสอบ
ข้อมูลการลงทะเบียน
ข้อมูลหน่วยงานเพื่อใช้
ลงทะเบียนระบบ
ภาพที่ 3-3 แผนภาพแสดงข้อมูลระดับที่ 2 (DFD – Level 2) ของการลงทะเบียน
39
12
11 ข้อสอบแบบเลือกตอบ
ข้อสอบแบบถูกผิด
14
13 ข้อสอบแบบจับคู่
ข้อสอบแบบเรียงลำดับ
6 ข้อมูลหลักสูตร
4.1
จัดการหลักสูตร
วิทยากร
7 ชุดข้อสอบ
4.3
จัดการชุดข้อสอบ
4.2
จัดการคลังข้อสอบ
4.4
จัดการแบบทดสอบ
3 แบบทดสอบ
ข้อมูลหลักสูตร
ข้อสอบและวิทยากรออกข้อสอบ
ข้อมูลชุดข้อสอบ
ข้อมูลแบบทดสอบ
ชื่อหลักสูตร
ข้อสอบเรียงลำดับ
ข้อสอบจับคู่
ข้อสอบถูกผิด
ข้อสอบเลือกตอบ
ชุดข้อสอบ
แบบทดสอบ
ข้อสอบเรียงลำดับ
ข้อสอบจับคู่
ข้อสอบถูกผิด
ข้อสอบเลือกตอบ
ข้อมูลหลักสูตร
ภาพที่ 3-4 แผนภาพแสดงข้อมูลระดับที่ 2 (DFD – Level 2) ของการจัดการแบบทดสอบ
5.1
อนุมัติการลงทะเบียน
ผู้เข้าสอบ
วิทยากร
4 หลักสูตร ชื่อหลักสูตร
5.2
การกำหนดชุดแบบทดสอบ
ให้ผู้เข้าสอบ
5.3
การกำหนด IP Address
ให้ผู้เข้าสอบ
1 ข้อมูลผู้เข้าสอบ 2 ข้อมูลการลงทะเบียน
ข้อมูลที่ลงทะเบียน ข้อมูลผู้เข้าสอบ
ผลการลงทะเบียน
ชุดข้อสอบ
ของผู้เข้าสอบ
พนักงานที่ผ่าน\การอนุมัติ
พนักงานที่ผ่านการอนุมัติ
ข้อมูลผู้เข้าสอบ
ข้อมูลผู้เข้าสอบ
ข้อมูล IP Address ของผู้เข้าสอบ
7 ชุดข้อสอบ
ข้อมูลชุดแบบทดสอบ
ข้อมูลชุดแบบทดสอบ
กำหนด IP Address ให้ผู้เข้าสอบ
ข้อมูลชุดแบบทดสอบ
ภาพที่ 3-5 แผนภาพแสดงข้อมูลระดับที่ 2 (DFD – Level 2) ของการอนุมัติการลงทะเบียนสอบ

40
8.2
การ Login ของวิทยากร
8.1
การ Login ของผู้เข้าสอบ
8.3
การ Login ของผู้ดูแลระบบ
ผู้เข้าสอบ ผู้ดูแลระบบ วิทยากร
ข้อมูลการ Login เข้าใช้งานระบบของ
ผู้เข้าสอบ ข้อมูลการ Login เข้าใช้งานระบบ
ของวิทยากร ข้อมูลการ Login เข้าใช้งานระบบของ
ผู้ดูแลระบบ
1 ข้อมูลผู้เข้าสอบ 9 ข้อมูลวิทยากร 10 ข้อมูลผู้ดูแลระบบ
ข้อมูลผู้เข้าสอบ ข้อมูลวิทยากร ข้อมูลผู้ดูแลระบบ
ภาพที่ 3-6 แผนภาพแสดงข้อมูลระดับที่ 2 (DFD – Level 2) ของการ Log-in เข้าใช้งานระบบ
6.5
แสดงชุดข้อสอบของ
หลักสูตร
4 หลักสูตร
7 ชุดข้อสอบ
3 แบบทดสอบ
12
11 ข้อสอบแบบเลือกตอบ
14
13 ข้อสอบแบบจับคู่
ข้อสอบแบบถูกผิด
ข้อสอบแบบเรียงลำดับ
ข้อมูลรายงานแสดงชุดข้อสอบ
ข้อสอบแบบเลือกตอบ
ข้อสอบแบบถูกผิด
ข้อสอบแบบจับคู่
ข้อสอบแบบเรียงลำดับ
ข้อมูลหลักสูตร
ข้อมูลชุดข้อสอบ
ข้อมูลแบบทดสอบ
6.1
รายงานผู้เข้าสอบ
6.2
รายงานผลการสอบ
6.3
รายงานวิทยากร
ผู้ออกข้อสอบ
6.4
รายงานแสดง
IP Address
4 หลักสูตร
7 ชุดข้อสอบ
3 แบบทดสอบ
1 ข้อมูลผู้เข้าสอบ
ข้อมูลหลักสูตร
ข้อมูลผู้เข้าสอบ
ข้อมูลแบบทดสอบ
ข้อมูลชุดข้อสอบ
6 ข้อมูลการสอบ
2 ข้อมูลการลงทะเบียน
ข้อมูลรายงานผู้เข้าสอบ ข้อมูลรายงานผลการสอบ ข้อมูลรายงานวิทยากรผู้ออกข้อสอบ ข้อมูลรายงานแสดง IP
Address
7 ข้อมูลชุดข้อสอบ
4 ข้อมูลหลักสูตร
ข้อมูลชุดข้อสอบ
ข้อมูลหลักสูตร
9 ข้อมูลวิทยากร
ข้อมูลวิทยากร
ข้อมูลการลงทะเบียน
ข้อมูลการสอบ
3 ข้อมูลแบบทดสอบ
2 ข้อมูลการลงทะเบียน
1 ข้อมูลผู้เข้าสอบ
7 ข้อมูลชุดข้อสอบ
4 ข้อมูลหลักสูตร
หลักสูตร
แบบทดสอบ
ชุดข้อสอบ
ข้อมูลผู้เข้าสอบ
ภาพที่ 3-7 แผนภาพแสดงข้อมูลระดับที่ 2 (DFD – Level 2) ของการจัดการรายงาน

41
วิทยากร
7.1
ข้อมูลส่วนตัววิทยากร
7.2
เปลี่ยนรหัสผ่าน
9 ข้อมูลวิทยากร
5 หน่วยงาน
ข้อมูลเดิม ข้อมูลเดิม
ข้อมูลที่แก้ไขแล้ว ข้อมูลที่แก้ไขแล้ว
ข้อมูลส่วนตัว
ข้อมูลรหัสผ่าน
ผู้เข้าสอบ
7.3
ข้อมูลผู้เข้าสอบ
7.4
เปลี่ยนรหัสผ่าน
1 ข้อมูลผู้เข้าสอบ
5 หน่วยงาน
ข้อมูลเดิม ข้อมูลเดิม
ข้อมูลที่แก้ไขแล้ว ข้อมูลที่แก้ไขแล้ว
ข้อมูลส่วนตัว
ข้อมูลรหัสผ่าน
ข้อมูลหน่วยงาน
ข้อมูลหน่วยงาน
ผู้ดูแลระบบ
7.6
ข้อมูลส่วนตัว
ผู้ดูแลระบบ
10 ข้อมูลผู้ดูแลระบบ ข้อมูลเดิม ข้อมูลเดิม
ข้อมูลที่แก้ไขแล้ว ข้อมูลที่แก้ไขแล้ว
ข้อมูลส่วนตัว
ข้อมูลรหัสผ่าน
7.5
หลักสูตร
4 หลักสูตร
ข้อมูลหลักสูตร ข้อมูลหลักสูตร
7.7
เปลี่ยนรหัสผ่าน
7.8
ข้อมูลหน่วยงาน
7.9
จัดการหัวหน้างาน
5 ข้อมูลหน่วยงาน
1 ข้อมูลผู้เข้าสอบ
ข้อมูลหน่วยงาน
ข้อมูลหัวหน้างาน
ข้อมูลหน่วยงาน
ข้อมูลหลักสูตร
จัดการข้อมูล
หัวหน้างาน
จัดการข้อมูล
หน่วยงาน
ข้อมูลผู้เข้าสอบ
ข้อมูลรหัสผ่าน
ข้อมูลผู้เข้าสอบ
ข้อมูลรหัสผ่าน
ข้อมูลวิทยากร
ภาพที่ 3-8 แผนภาพแสดงข้อมูลระดับที่ 2 (DFD – Level 2) ของการจัดการข้อมูลระบบ
9 ข้อมูลวิทยากร
7.1.1
เรียกดูข้อมูล
วิทยากร
7.1.3
เพิ่มข้อมูล
7.1.2
แก้ไข / ปรับปรุง
ข้อมูลวิทยากร เจ้าหน้าที่
ข้อมูลวิทยากร
ข้อมูลวิทยากร
6 ข้อมูลหน่วยงาน
ข้อมูลวิทยากร ข้อมูลวิทยากร
ข้อมูลที่แก้ไขใหม่
ข้อมูลหน่วยงาน ข้อมูลหน่วยงาน
ภาพที่ 3-9 แผนภาพแสดงข้อมูลระดับที่ 3 (DFD – Level 3) ของการจัดการข้อมูลวิทยากร

42
9
7.3.1
เรียกดูข้อมูล
ผู้เข้าสอบ
7.3.3
เพิ่มข้อมูล
7.3.2
แก้ไข / ปรับปรุง
เจ้าหน้าที่
ข้อมูลผู้เข้าสอบ
5 ข้อมูลหน่วยงาน
ข้อมูลที่แก้ไขใหม่
ข้อมูลผู้เข้าสอบ
ข้อมูลผู้เข้าสอบ
ข้อมูลผู้เข้าสอบ
ข้อมูลผู้เข้าสอบ
ข้อมูลผู้เข้าสอบ
ข้อมูลหน่วยงาน ข้อมูลหน่วยงาน
ภาพที่ 3-10 แผนภาพแสดงข้อมูลระดับที่ 3 (DFD – Level 3) ของการจัดการข้อมูลผู้เข้าสอบ
3.2.1
คำแนะนำในการ
ทำข้อสอบ
3.2.3
ทำข้อสอบ
ประเภทถูก - ผิด
3.2.2
ทำข้อสอบ
ประเภทเลือกตอบ
3.2.5
ทำข้อสอบ
ประเภทเรียงลำดับ
3.2.4
ทำข้อสอบ
ประเภทจับคู่
3 แบบทดสอบ 6 ข้อมูลการสอบ
11 ข้อสอบประเภท
เลือกตอบ
ผู้เข้าสอบ
12 ข้อสอบประเภท
ถูก-ผิด
13 ข้อสอบประเภท
จับคู่
14 ข้อสอบประเภท
เรียงลำดับ
คำถามที่นำมาแสดง
คำตอบ
คำถามที่นำมาแสดง
คำตอบ
คำถามที่นำมาแสดง
คำตอบ
คำถามที่นำมาแสดง
คำตอบ
ข้อมูลการสอบ ข้อมูลการสอบ ข้อมูลการสอบ ข้อมูลการสอบ
ดูคำแนะนำแสดงคำแนะนำ
ภาพที่ 3-11 แผนภาพแสดงข้อมูลระดับที่ 3 (DFD – Level 3) ของการทำข้อสอบผู้เข้าสอบ

43
12
11 ข้อสอบแบบเลือกตอบ
ข้อสอบแบบถูกผิด
14
13 ข้อสอบแบบจับคู่
ข้อสอบแบบเรียงลำดับ
12
11 ข้อสอบแบบเลือกตอบ
ข้อสอบแบบถูกผิด
14
13 ข้อสอบแบบจับคู่
ข้อสอบแบบเรียงลำดับ
4.2.1
เพิ่มข้อสอบ
4.2.2
ค้นหาข้อสอบ
4.2.4
แก้ไข/ปรับปรุง
ข้อสอบ
4.2.3
ลบข้อสอบ
4 ข้อมูลหลักสูตร
9 ข้อมูลวิทยากร ข้อมูลวิทยากร
ข้อมูลหลักสูตร
ข้อมูลที่ต้องการค้นหา
ข้อสอบแบบเลือกตอบ
ข้อสอบแบบเลือกตอบ
ข้อสอบแบบถูกผิด
ข้อสอบแบบถูกผิด
ข้อสอบแบบจับคู่
ข้อสอบแบบจับคู่
ข้อสอบแบบเรียงลำดับ
ข้อสอบแบบเรียงลำดับ
12
11 ข้อสอบแบบเลือกตอบ
ข้อสอบแบบถูกผิด
14
13 ข้อสอบแบบจับคู่
ข้อสอบแบบเรียงลำดับ
ข้อสอบแบบเลือกตอบ
ข้อสอบแบบถูกผิด
ข้อสอบแบบจับคู่
ข้อสอบแบบเรียงลำดับ
ข้อมูลที่ต้องการลบ
ข้อมูลที่ต้องการแก้ไข
ข้อสอบแบบเลือกตอบ
ข้อสอบแบบถูกผิด
ข้อสอบแบบจับคู่
ข้อสอบแบบเรียงลำดับ
ภาพที่ 3-12 แผนภาพแสดงข้อมูลระดับที่ 3 (DFD – Level 3) ของการจัดการข้อสอบ
12
11 ข้อสอบแบบเลือกตอบ
ข้อสอบแบบถูกผิด
14
13 ข้อสอบแบบจับคู่
ข้อสอบแบบเรียงลำดับ
4.3.1
สร้างชุดข้อสอบ
4.3.3
ค้นหาข้อสอบ
จากคลังข้อสอบ
4 ข้อมูลหลักสูตร
ข้อมูลหลักสูตร
ข้อมูลที่ต้องการค้นหา
ข้อสอบแบบเลือกตอบ
ข้อสอบแบบถูกผิด
ข้อสอบแบบจับคู่
ข้อสอบแบบเรียงลำดับ
4.3.2
ยกเลิกชุดข้อสอบ
4.3.5
แสดงข้อสอบในชุด
4.3.6
ลบข้อสอบ
ในชุดข้อสอบ
4.3.4
เพิ่มข้อสอบ
ในชุดข้อสอบ
7 ชุดข้อสอบ
ข้อสอบ
เพิ่มข้อสอบในชุดข้อสอบ
ข้อสอบที่ต้องการลบ
ในชุดข้อสอบ
12
11 ข้อสอบแบบเลือกตอบ
14
13 ข้อสอบแบบจับคู่
ข้อสอบแบบเลือกตอบ
ข้อสอบแบบถูกผิด
ข้อสอบแบบจับคู่
ข้อสอบแบบเรียงลำดับ
ข้อสอบแบบถูกผิด
ข้อสอบแบบเรียงลำดับ
แสดงชุดข้อสอบ
ยกเลิก
ชุดข้อสอบ
ชุดข้อสอบ
สร้างชุดข้อสอบ
ลบข้อสอบในชุดข้อสอบ
ภาพที่ 3-13 แผนภาพแสดงข้อมูลระดับที่ 3 (DFD – Level 3) ของการจัดการชุดข้อสอบ

44
การพัฒนาระบบการสอบวัดผลออนไลน์ สำหรับศูนย์ฝึกอบรม แบ่งกระบวนการทำงาน
ระบบออกเป็น 6 ขั้นตอน คือ
1. การจัดข้อมูลวิทยากร เป็นการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มข้อมูลหลักสูตร เพิ่มแบบ
ทดสอบ และสามารถแสดงข้อมูลหลักสูตร แสดงแบบทดสอบที่จัดสอบ
2. การจัดการข้อมูลข้อสอบ เป็นการทำงานที่เกี่ยวกับการเลือกหลักสูตรที่ต้องการ เพื่อทำ
การออกข้อสอบตามประเภทข้อสอบที่เลือก ซึ่งประเภทข้อสอบมีทั้งหมด 4 ประเภท คือ ข้อสอบ
ประเภทตัวเลือก ข้อสอบประเภทถูกผิด ข้อสอบประเภทจับคู่ ข้อสอบประเภทเรียงลำดับ
3. การจัดการชุดข้อสอบ เป็นกระบวนการทำงานใช้สร้างชุดข้อสอบ โดยจะบอกว่าในแบบ
ทดสอบว่ามีชุดอะไรบ้าง และมีจำนวนของข้อสอบในแต่ละประเภทกี่ข้อ
4. การล๊อกอินเข้าใช้งานระบบ เป็นกระบวนการล๊อกอินเพื่อเข้าใช้งานระบบ ซึ่งจะแบ่ง
การทำงานออกเป็นกลุ่มผู้ใช้งาน คือ วิทยากร และผู้ดูแลระบบ
5. การทำข้อสอบ เป็นการทำงานที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้งาน ที่ได้ทำการลงทะเบียนขอสอบไว้
6. การจัดการด้านรายงาน สามารถออกรายงานได้ 4 รายงาน คือ แสดงตามรายชื่อผู้เข้า
สอบ แสดงผลการสอบตามรายชื่อผู้เข้าสอบ แสดงรายชื่อวิทยากรที่ออกข้อสอบในแต่ละหลัก
สูตร / ชุดข้อสอบ แสดง IP เครื่องที่ต้อง Login ใช้สอบของผู้เข้าสอบ
หลังจากที่ได้ทำการวิเคราะห์ระบบโดยใช้แผนภาพกระแสข้อมูล (DFD) ในขั้นตอนของการ
ออกแบบ ทำให้เราทราบถึงการไหลของข้อมูลที่มีอยู่ในระบบทั้งหมด จากนั้นจะนำ DFD ในระดับ
ที่ 2 มาเขียนเป็นแผนผังโครงสร้าง (Structure Chart) เพื่อที่จะทำให้ทราบว่าในระบบนี้มีฟังก์ชั่น
(Function) ที่ทำงานอยู่ในส่วนงานต่าง ๆ เป็นอย่างไร ดังแสดงให้เห็นในแผนผังโครงสร้างส่วนงาน
ต่าง ๆ ดังตัวอย่าง ภาพที่ 3-14
ระบบการสอบวัดผลออนไลน์
สำหรับศูนย์ฝึกอบรม
ผู้เข้าสอบ วิทยากร ผู้ดูแลระบบ
ภาพที่ 3-14 แสดงภาพรวมของระบบการสอบวัดผลออนไลน์ สำหรับศูนย์ฝึกอบรม
45
ผู้เข้าสอบ
ลงทะเบียนขอใช้ระบบ
เปลี่ยนรหัสผ่าน แก้ไขข้อมูลส่วนตัว ออกจากระบบ
ลงทะเบียนขอสอบ Log-in เข้าระบบ
การทำข้อสอบ ดูรายงาน
ภาพที่ 3-15 แสดงภาพการทำงานของผู้เข้าสอบ
วิทยากร
Login เข้าระบบ
เปลี่ยนรหัสผ่าน ออกจากระบบ แก้ไขข้อมูลส่วนตัว
จัดการข้อมูลหลักสูตร
เพิ่มแบบทดสอบ
เพิ่มข้อมูลหลักสูตร
จัดการการลงทะเบียน จัดการคลังข้อมูลข้อสอบ จัดการชุดข้อสอบ
ข้อสอบแบบถูกผิด
ข้อสอบแบบเลือกตอบ
ข้อสอบแบบจับคู่
แบบทดสอบถูกผิด
แบบทดสอบเลือกตอบ
แบบทดสอบแบบจับคู่
ข้อสอบแบบเรียงลำดับ
กำหนดชุดข้อสอบ
อนุมัติการลงทะเบียน
กำหนด IP Address
แบบทดสอบแบบเรียงลำดับ
รายงาน
ภาพที่ 3-16 แสดงภาพการทำงานของวิทยากร

46
ผู้ดูแลระบบ
Login เข้าระบบ
ข้อมูลบุคลากร
ข้อมูลผู้เข้าสอบ
ข้อมูลวิทยากร
ข้อมูลหลักสูตร ข้อมูลหน่วยงาน
กำหนดหัวหน้างาน
เปลี่ยนรหัสผ่าน ออกจากระบบ แก้ไขข้อมูลส่วนตัว รายงาน
ภาพที่ 3-17 แสดงภาพการทำงานของผู้ดูแลระบบ

47
TBL_STAFF_ANSWER
PK IDAUTO
STAFF_COURSE_ID_FK
STAFF_ID
CLASS_ID_FK
E_SUITE_NO_FK
TYPE_E
NO_ID
STAFF_ANS
SCORE
ISACTIVE
USER_ID
TRANS_DATE
EXAM_CHOICE
PK NO_ID
TA_USERNAME
COURSE_ID
QUESTION
ANS1
ANS2
ANS3
ANS4
ANS5
ANSWER
FLG_PUB
ISACTIVE
USER_ID
TRANS_DATE
E_SUITE_DETAIL
PK IDAUTO
SUITE_NO_FK
TYPE_E
NO_ID
ISACTIVE
USER_ID
TRANS_DATE
EXAM_TF
PK NO_ID
TA_USERNAME
COURSE_ID
QUESTION
ANSWER
FLG_PUB
ISACTIVE
USER_ID
TRANS_DATE
TBL_STAFF
PK IDAUTO
STAFFID
USERNAME
PASSWORD
QUESTION
ANSWER
ENG_NAME
ENG_LNAME
TH_NAME
TH_LNAME
ADDRESS
PHONE
FAX
EMAIL
POSITION
WORKYEAR
DEPT_ID
FLG_MNG
ISACTIVE
USER_ID
TRANS_DATE
E_SUITE_NO
PK SUITE_NO
COURSE_ID_FK
SUITE_NAME
NO_CHOICE
NO_TF
NO_MATCH
NO_ARRANGE
SCORE_PASS
ISACTIVE
USER_ID
TRANS_DATE
TBL_STAFF_COURSE
PK IDAUTO
STAFF_ID
TA_CLASS_ID_FK
E_SUITE_NO
IP_ADDR
ISACTIVE
USER_ID
TRANS_DATE
GLB_COURSE
PK IDAUTO
COURSE_ID
COURSE_NAME
COURSE_NO
DETAIL
ISACTIVE
USER_ID
TRANS_DATE
EXAM_MATCH_A
PK NO_ID
TA_USERNAME
COURSE_ID
E_NO
ANSWER_DESC
ANSWER_NO
FLG_PUB
ISACTIVE
USER_ID
TRANS_DATE
EXAM_ARRANGE
PK NO_ID
TA_USERNAME
COURSE_ID
E_NO
Q_ASK
QUESTION
NO_SHOW
NO_ANS
FLG_PUB
ISACTIVE
USER_ID
TRANS_DATE
TBL_TA
PK IDAUTO
TA_ID
USERNAME
PASSWORD
QUESTION
ANSWER
ENG_NAME
ENG_LNAME
TH_NAME
TH_LNAME
ADDRESS
PHONE
FAX
EMAIL
POSITION
WORKYEAR
EXPERT
DEPT_ID
ISACTIVE
USER_ID
TRANS_DATE
GLB_DEPARTMENT
PK IDAUTO
DEPT_NAME
HEAD_NAME
ISACTIVE
USER_ID
TRANS_DATE
EXAM_MATCH_Q
PK NO_ID
TA_USERNAME
COURSE_ID
E_NO
Q_ASK
QUESTION _DESC
ANSWER_NO_FK
FLG_PUB
ISACTIVE
USER_ID
TRANS_DATE
M
M
M
M
M
M
M
M
M M
M
1
111
1
1 1
1
1
M
1 1
1
M
1
TBL_TA_CLASS
PK IDAUTO
CLASS_ID
CLASS_NAME
COURSE_ID_FK
TEST_DATE
TEST_TIME
TEST_ROOM
TM_LATE
INTRO1
INTRO2
FLG_USE
TA_USERNAME
NUM_STAFF
TM_TOTAL
ISACTIVE
USER_ID
TRANS_DATE
ภาพที่ 3-18 E-R Diagram ระบบการสอบวัดผลออนไลน์ สำหรับศูนย์ฝึกอบรม
48
โครงสร้างฐานข้อมูลของระบบ
จากเอนทิตี้ (Entity) ข้างต้น ผู้จัดทำได้ทำการศึกษาข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และกำหนด
โครงสร้างข้อมูลของแต่ละเอนทิตี้ (Entity) ขึ้น โดยมีรายละเอียด และโครงสร้างดังตารางที่ 3-1 ถึง
ตารางที่ 3-15 ได้ดังนี้
ตารางที่ 3-1 รายละเอียดของชุดข้อสอบ (E_SUITE_DETAIL)
No. Field Name Type Width Description
1. IDAUTO Autonumber 2 รหัสระบบข้อในชุดข้อสอบ
2. SUITE_NO_FK Number 5 รหัสชุดข้อสอบ
3. TYPE_E Number 2 0=เลือกตอบ, 1= จับคู่,
2= ถูก/ผิด, 3=เรียงลำดับ
4. NO_ID Number 2 รหัสข้อของข้อสอบที่เลือก
มาจัดในชุด
5. ISACTIVE Number 1 สถานะการใช้งาน
0=ไม่ใช้งาน, 1=ใช้งาน
6. USER_ID Text 50 ผู้ที่บันทึก
7. TRANS_DATE Date/Time - วันที่บันทึก
ตารางที่ 3-2 รหัสชุดข้อสอบ (E_SUITE_NO)
No. Field Name Type Width Description
1. SUITE_NO AutoNumber 2 รหัสชุดข้อสอบ
2. COURSE_ID_FK Text 50 รหัสหลักสูตร
3. SUITE_NAME Text 50 ชื่อชุดข้อสอบ
4. NO_CHOICE Number 2 จำนวนข้อสอบเลือกตอบ
5. NO_TF Number 2 จำนวนข้อสอบถูกผิด
6. NO_MATCH Number 2 จำนวนข้อสอบจับคู่
7. NO_ARRANGE Number 2 จำนวนข้อเรียงลำดับ
8. SCORE_PASS Number 2 เกณฑ์คะแนนผ่าน

49
ตารางที่ 3-2 (ต่อ) รหัสชุดข้อสอบ (E_SUITE_NO)
No. Field Name Type Width Description
9. ISACTIVE Number 1 สถานะการใช้งาน
0=ไม่ใช้งาน, 1=ใช้งาน
10. USER_ID Text 50 ผู้ที่บันทึก
11. TRANS_DATE Date/Time - วันที่บันทึก
ตารางที่ 3-3 ข้อสอบประเภทเรียงลำดับ (EXAM_ARRANGE)
No. Field Name Type Width Description
1. NO_ID AutoNumber 2 รหัสข้อประเภทเรียงลำดับ
2. TA_USERNAME Text 50 รหัสวิทยากรผู้ออกข้อสอบ
3. COURSE_ID Text 50 รหัสหลักสูตร
4. E_NO Number 2 รหัสข้อสอบ
5. Q_ASK Text 255 โจทย์
6. QUESTION Text 255 เหตุการณ์
7. NO_SHOW Number 2 ลำดับที่แสดงสำหรับเหตุ
การณ์ในข้อสอบ
8. NO_ANS Number 2 ลำดับที่คำตอบของเหตุ
การณ์ที่ถูก
9. FLG_PUB Number 1 0=ไม่เปิดเผย, 1=เปิดเผย
10. ISACTIVE Number 1 0=ไม่ใช้งาน, 1=ใช้งาน
11. USER_ID Text 50 ผู้ที่บันทึก
12. TRANS_DATE Date/Time - วันที่บันทึก
ตารางที่ 3-4 ข้อสอบประเภทเลือกตอบ (EXAM_CHOICE)
No. Field Name Type Width Description
1. NO_ID AutoNumber 2 รหัสข้อประเภทเลือกตอบ
2. TA_USERNAME Text 50 รหัสวิทยากรผู้ออกข้อสอบ
3. COURSE_ID Text 50 รหัสหลักสูตร
50
ตารางที่ 3-4 (ต่อ) ข้อสอบประเภทเลือกตอบ (EXAM_CHOICE)
No. Field Name Type Width Description
4. QUESTION Text 250 คำถาม
5. ANS1 Text 250 คำตอบที่ 1
6. ANS2 Text 250 คำตอบที่ 2
7. ANS3 Text 250 คำตอบที่ 3
8. ANS4 Text 250 คำตอบที่ 4
9. ANS5 Text 250 คำตอบที่ 5
10. ANSWER Text 2 คำตอบ ลำดับข้อ
11. FLG_PUB Number 1 0=ไม่เปิดเผย, 1=เปิดเผย
12. ISACTIVE Number 1 0=ไม่ใช้งาน, 1=ใช้งาน
13. USER_ID Text 50 ผู้ที่บันทึก
14. TRANS_DATE Date/Time - วันที่บันทึก
ตารางที่ 3-5 ข้อสอบประเภทจับคู่ (EXAM_MATCH_A)
No. Field Name Type Width Description
1. NO_ID AutoNumber 2 รหัสข้อคำตอบประเภทจับคู่
2. COURSE_ID Text 50 รหัสหลักสูตร
3. E_NO Number 2 ชุดของคำถามจับคู่
4. ANSWER_DESC Text 255 ข้อความคำตอบ
5. ANSWER_NO Number 2 ลำดับข้อเชื่อมกับผลลัพธ์
ของคำถาม
6. FLG_PUB Number 1 0=ไม่เปิดเผย, 1=เปิดเผย
7. ISACTIVE Number 1 0=ไม่ใช้งาน, 1=ใช้งาน
8. USER_ID Text 50 ผู้ที่บันทึก
9. TRANS_DATE Date/Time - วันที่บันทึก

51
ตารางที่ 3-6 ข้อสอบประเภทจับคู่ (EXAM_MATCH_Q)
No. Field Name Type Width Description
1. NO_ID AutoNumber 2 รหัสข้อคำถามประเภทจับคู่
2. TA_USERNAME Text 50 รหัสวิทยากรผู้ออกข้อสอบ
3. COURSE_ID Text 50 รหัสหลักสูตร
4. E_NO Number 2 ชุดของคำถามจับคู่
5. Q_ASK Text 255 โจทย์คำถาม
6. QUESTION_DESC Text 255 คำถาม
7. ANSWER_NO_FK Number 2 คำตอบที่ถูกต้อง เชื่อมกับ
ลำดับข้อของ
EXAM_MATCH_A
8. FLG_PUB Number 1 0=ไม่เปิดเผย, 1=เปิดเผย
9. ISACTIVE Number 1 0=ไม่ใช้งาน, 1=ใช้งาน
10. USER_ID Text 50 ผู้ที่บันทึก
11. TRANS_DATE Date/Time - วันที่บันทึก
ตารางที่ 3-7 ข้อสอบประเภทถูก-ผิด (EXAM_TF)
No. Field Name Type Width Description
1. NO_ID AutoNumber 2 รหัสข้อประเภทถูกผิด
2. TA_USERNAME Text 50 รหัสวิทยากรผู้ออกข้อสอบ
3. COURSE_ID Text 50 รหัสหลักสูตร
4. QUESTION Text 50 คำถาม
5. ANSWER Text 2 T=ถูก, F=ผิด
6. FLG_PUB Number 1 0=ไม่เปิดเผย, 1=เปิดเผย
7. ISACTIVE Number 1 0=ไม่ใช้งาน, 1=ใช้งาน
8. USER_ID Text 50 ผู้ที่บันทึก
9. TRANS_DATE Date/Time - วันที่บันทึก

52
ตารางที่ 3-8 ตารางรายละเอียดหลักสูตร (GLB_COURSE)
No. Field Name Type Width Description
1. IDAUTO AutoNumber 2 รหัสระบบของหลักสูตร
2. COURSE_ID Text 50 รหัสหลักสูตร
3. COURSE_NAME Text 250 ชื่อหลักสูตร
4. COURSE_NO Text 250 รุ่นหลักสูตร
5. DETAIL Text 255 รายละเอียด
6. ISACTIVE Number 1 0=ไม่ใช้งาน, 1=ใช้งาน
7. USER_ID Text 50 ผู้ที่บันทึก
8. TRANS_DATE Date/Time - วันที่บันทึก
ตารางที่ 3-9 ตารางรายละเอียดหน่วยงาน (GLB_DEPARTMENT)
No. Field Name Type Width Description
1. IDAUTO AutoNumber 2 รหัสระบบของหน่วยงาน
2. DEPT_NAME Text 255 ชื่อหน่วยงาน
3. ISACTIVE Number 1 0=ไม่ใช้งาน, 1=ใช้งาน
4. USER_ID Text 50 ผู้ที่บันทึก
5. TRANS_DATE Date/Time - วันที่บันทึก
ตารางที่ 3-10 ตารางรายละเอียดผู้ดูแลระบบ (SYS_ADMIN)
No. Field Name Type Width Description
1. IDAUTO AutoNumber 2 รหัสระบบของผู้ดูแลระบบ
2. USERNAME Text 30 ชื่อผู้ใช้ระบบ
3. PASSWD Text 30 รหัสผ่าน
4. USERTYPE Text 10 ta=วิทยากร
admin=ผู้ดูแลระบบ
5. ISACTIVE Number 1 0=ไม่ใช้งาน, 1=ใช้งาน
6. USER_ID Text 50 ผู้ที่บันทึก
7. TRANS_DATE Date/Time - วันที่บันทึก
53
ตารางที่ 3-11 ตารางรายละเอียดผู้เข้าสอบ (TBL_STAFF)
No. Field Name Type Width Description
1. IDAUTO AutoNumber 2 รหัสระบบของผู้เข้าสอบ
2. STAFFID Text 10 รหัสผู้เข้าสอบ
3. USERNAME Text 20 ชื่อผู้ใช้ระบบ
4. PASSWORD Text 20 รหัสผ่าน
5. QUESTION Text 50 คำถามลืมรหัสผ่าน
6. ANSWER Text 50 คำตอบลืมรหัสผ่าน
7. ENG_NAME Text 100 ชื่อ (ภาษาอังกฤษ)
8. ENG_LNAME Text 100 นามสกุล (ภาษาอังกฤษ)
9. TH_NAME Text 100 ชื่อ (ภาษาไทย)
10. TH_LNAME Text 100 นามสกุล (ภาษาไทย)
11. ADDRESS Text 50 ที่อยู่
12. PHONE Text 50 เบอร์โทรศัพท์
13. FAX Text 50 เบอร์โทรสาร
14. EMAIL Text 50 อีเมล์
15. POSITION Text 50 ตำแหน่ง
16. WORKYEAR Number 2 อายุงาน
17 DEPT_ID Number 10 รหัสหน่วยงานที่ส่งมาอบรม
18. FLG_MNG Yes/No Yes/No แสดงสถานะว่าเป็น
Manager หรือไม่
19. ISACTIVE Number 1 0=ไม่ใช้งาน, 1=ใช้งาน
20. USER_ID Text 50 ผู้ที่บันทึก
21. TRANS_DATE Date/Time - วันที่บันทึก
ตารางที่ 3-12 ตารางจัดเก็บข้อมูลคำตอบของการสอบ (TBL_STAFF_ANSWER)
No. Field Name Type Width Description
1. IDAUTO AutoNumber 2 รหัส
2. STAFFID Text 50 รหัสผู้เข้าสอบ
54
ตารางที่ 3-12 (ต่อ) ตารางจัดเก็บข้อมูลคำตอบของการสอบ (TBL_STAFF_ANSWER)
No. Field Name Type Width Description
3. COURSE_ID Number 10 รหัสหลักสูตร
4. E_SUITE_NO Number 10 รหัสชุดข้อสอบ
5. TYPE Number 2 0=เลือกตอบ, 1 = จับคู่,
2=ถูก/ผิด , 3 =เรียงลำดับ
6. NO Text 50 รหัสข้อของข้อสอบที่เลือก
มาจัดในชุด
7. ANSWER Text 20 คำตอบที่ตอบ
8. SCORE Number 2 คะแนนที่ได้
9. ISACTIVE Number 1 0=ไม่ใช้งาน, 1=ใช้งาน
10. USER_ID Text 50 ผู้ที่บันทึก
11. TRANS_DATE Date/Time - วันที่บันทึก
ตารางที่ 3-13 ตารางจัดเก็บข้อมูลผู้เข้าสอบที่ทำการสอบในหลักสูตร (TBL_STAFF_COURSE)
No. Field Name Type Width Description
1. IDAUTO AutoNumber 2 รหัสระบบผู้เข้าสอบ
2. STAFFID Text 50 รหัสผู้เข้าสอบ
3. TA_CLASS_ID_FK Number 10 รหัส Class ที่เปิดสอบ
4. E_SUITE_NO Number 10 รหัสชุดข้อสอบ
5. IP_ADDR Text 11 หมายเลข IP Address
6. ISACTIVE Number 1 0=ไม่ใช้งาน, 1=ใช้งาน
7. USER_ID Text 50 ผู้ที่บันทึก
8. TRANS_DATE Date/Time - วันที่บันทึก
ตารางที่ 3-14 ตารางรายละเอียดวิทยากร (TBL_TA)
No. Field Name Type Width Description
1. IDAUTO AutoNumber 2 รหัสระบบของวิทยากร
2. TA_ID Text 10 รหัสวิทยากร
55
ตารางที่ 3-14 (ต่อ) ตารางรายละเอียดวิทยากร (TBL_TA)
No. Field Name Type Width Description
3. USERNAME Text 20 ชื่อผู้ใช้ระบบ
4. PASSWORD Text 20 รหัสผ่าน
5. QUESTION Text 50 คำถามลืมรหัสผ่าน
6. ANSWER Text 50 คำตอบลืมรหัสผ่าน
7. ENG_NAME Text 100 ชื่อ (ภาษาอังกฤษ)
8. ENG_LNAME Text 100 นามสกุล (ภาษาอังกฤษ)
9. TH_NAME Text 100 ชื่อ (ภาษาไทย)
10. TH_LNAME Text 100 นามสกุล (ภาษาไทย)
11. ADDRESS Text 50 ที่อยู่
12. PHONE Text 50 เบอร์โทรศัพท์
13. FAX Text 50 เบอร์โทรสาร
14. EMAIL Text 50 อีเมล์
15. POSITION Text 50 ตำแหน่ง
16. WORKYEAR Number 2 อายุงาน
17. EXPERT Text 50 ความรู้ความเชี่ยวชาญ
18. DEPT_ID Number 10 รหัสหน่วยงานที่ส่งมาอบรม
19. ISACTIVE Number 1 0=ไม่ใช้งาน, 1=ใช้งาน
20. USER_ID Text 50 ผู้ที่บันทึก
21. TRANS_DATE Date/Time - วันที่บันทึก
ตารางที่ 3-15 ตารางการกำหนดรายละเอียดแบบทดสอบ (TBL_TA_CLASS)
No. Field Name Type Width Description
1. IDAUTO AutoNumber 2 ลำดับ
2. CLASS_ID Text 50 รหัส Class การสอบ
3. CLASS_NAME Text 255 ชื่อแบบทดสอบ
4. COURSE_ID_FK Text 50 รหัสหลักสูตร
5. TEST_DATE Date - วันที่สอบ
56
ตารางที่ 3-15 (ต่อ) ตารางการกำหนดรายละเอียดแบบทดสอบ (TBL_TA_CLASS)
No. Field Name Type Width Description
6. TEST_TIME Time - เวลาที่เริ่มสอบ
7. TEST_ROOM Text 50 ห้องสอบ
8. TM_TOTAL Number 2 เวลาสอบ (นาที)
9. TM_LATE Number 2 เวลาสาย (นาที)
10. INTRO1 Text 255 คำแนะนำ 1
11. INTER2 Text 255 คำแนะนำ 2
12. FLE_USE Number 2 สถานะแสดงว่าแบบ
ทดสอบนี้เ ปิดให้ลง
ทะเบียน 0=ปิดไม่ให้ลง
ทะเบียน , 1=เปิดให้ลง
ทะเบียน
13. TA_USERNAME Text 50 รหัสวิทยากร
14. NUM_STAFF Number 2 จำนวนคนในห้องสอบ
15. ISACTIVE Number 1 0=ไม่ใช้งาน, 1=ใช้งาน
16. USER_ID Text 50 ผู้ที่บันทึก
17. TRANS_DATE Date/Time - วันที่บันทึก
3.4 การประเมินผลระบบงาน
หลังจากการออกแบบและพัฒนาระบบเสร็จเรียบร้อยแล้วจะเป็นการเข้าสู่ขั้นตอนของการ
ประเมินผลระบบงาน โดยผู้ประเมินเป็นผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน และผู้ใช้ จำนวน 5 คน เพื่อสรุป
ผลตลอดจนประสิทธิภาพของระบบงานที่ถูกพัฒนาขึ้นมา ทั้งนี้ทางผู้จัดทำได้กำหนดเกณฑ์ในการ
ทดสอบไว้ 5 ระดับ ดังนี้
ระดับ 5 หมายถึง ดีมาก
ระดับ 4 หมายถึง ดี
ระดับ 3 หมายถึง พอใช้
ระดับ 2 หมายถึง น้อย
ระดับ 1 หมายถึง ควรปรับปรุง
57
ตารางที่ 3-16 แสดงเกณฑ์การให้คะแนนของแบบประเมิน
ระดับคะแนน ความหมาย
4.51-5.00 ระบบมีประสิทธิภาพในระดับดีมาก
3.51-4.50 ระบบมีประสิทธิภาพในระดับดี
2.51-3.50 ระบบมีประสิทธิภาพในระดับพอใช้
1.51-2.50 ระบบมีประสิทธิภาพในระดับน้อย
1.00-1.50 ระบบไม่มีประสิทธิภาพ
3.4.1 การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
เพื่อให้การประเมินผลเป็นไปตามหลักการ ทางผู้จัดทำได้นำเอาทฤษฎีเกี่ยวกับสถิติมาประยุกต์ใช้
ในการประเมิน ประกอบไปด้วย
3.4.1.1 ค่าเฉลี่ย (Arithmetic Mean) หรือมัชฌิมเลขคณิต หมายถึง ค่าคะแนน ซึ่งเกิด
จากการเอาคะแนนทุกตัวมารวมกัน แล้วหารด้วยจำนวนของคะแนนทั้งหมด ซึ่งมีวิธีการหาค่า
เฉลี่ย ดังนี้
สูตร n
x
x . =
โดย x คือ ผลรวมคะแนนในหัวข้อที่ประเมิน
x คือ คะแนนในแต่ละหัวข้อ
. x คือ ผลรวมคะแนนในหัวข้อที่ประเมิน
n คือ จำนวนในกลุ่มตัวอย่าง
3.4.1.2 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) หมายถึง รากที่สองของความ
แปรปรวน หรือรากที่สองของค่าเฉลี่ยของผลรวมของคะแนนที่เบี่ยงเบนออกจากค่าเฉลี่ยของข้อมูล
ชุดนั้นยกกำลังสองมี สูตรดังนี้
สูตร S.D. =
( )
( ) 1
2 2
.
. . .
n n
n x x
โดย S.D. คือ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
. x คือ ผลรวมคะแนนในหัวข้อที่ประเมิน
58
x คือ คะแนนในแต่ละหัวข้อ
n คือ จำนวนในกลุ่มตัวอย่าง
3.4.2 การทดสอบสมมติฐาน
สมมติฐานที่ตั้งไว้คือ คะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับดีขึ้นไปจึงจะยอมรับว่าโปรแกรมมี
ประสิทธิภาพในการใช้งานได้ เกณฑ์การยอมรับประสิทธิภาพของโปรแกรม พิจารณาจากคะแนน
เฉลี่ยของกลุ่มทดลอง โดยนำมาผ่านการทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับค่าเฉลี่ยสำหรับเกณฑ์ที่ใช้ใน
การตัดสินตามเกณฑ์ดังตารางที่ 3-16 โดยมีขั้นตอนในการทดสอบสมมติฐานดังนี้
ขั้นที่ 1 ตั้งสมมติฐานหลัก ( ) 0 . และสมมติฐานรอง ( ) a .
0 . : คะแนนเฉลี่ยจากการประเมินอยู่ในระดับดี ( . . 3.51)
a . : คะแนนเฉลี่ยจากการประเมินอยู่ในระดับปานกลาง ( < . 3.51) ขั้นที่ 2 กำหนดระดับนัยสำคัญ (Specified the leveled of significance) สำหรับการประเมิน ระบบงานนี้กำหนด . ไว้ที่ 0.05 ขั้นที่ 3 เลือกสถิติเพื่อทดสอบ เนื่องจากในการเก็บผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญและผู้ใช้ งานทั่วไปของระบบงานนี้ มีจำนวนไม่ถึง 30 ท่าน (n<30) x =" 4.75" x =" 4.78" x =" 4.38" x =" 4.5" x =" 4.3" x =" 4.4" x =" 4.48" x =" 4.4">=4.51)
สมมติฐาน H1 : คะแนนเฉลี่ยจากการประเมินต่ำกว่าระดับดีมาก (u<4.51) freedom =" 78" 1 =" 77">=3.51)
สมมติฐาน H1 : คะแนนเฉลี่ยจากการประเมินต่ำกว่าระดับดี (u<3.51) ค่าความเชื่อมั่น 95% (นัยสำคัญ = 0.05) 0.05 t ตาราง (Degree of freedom = 105 - 1 = 104 19, 1.729 เปิดจากตารางได้ = 1.65(เปิดตาราง t นำค่ามาใส่) 34, 1.690 14, 1.761 105,1.650 t คำนวณ = 4.41 - 3.51 0.531602 / sqr(105) = 17.339 สรุป ยอมรับสมมติฐาน H0 เกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสิน ระบบมีประสิทธิภาพในระดับดีมาก ความหมาย 0 ระบบมีประสิทธิภาพในระดับดี ระบบมีประสิทธิภาพในระดับพอใช้ ระบบมีประสิทธิภาพในระดับน้อย ระบบไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ Functional Requirement Test 1 ความสะดวก และง่ายในการเข้าใช้โปรแกรม 2 ความชัดเจนของการแสดงผล 3 ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล 4 ความสามารถตรวจข้อสอบได้รวดเร็ว a Functional Test 5 ความถูกต้องของการค้นหาข้อสอบ 6 ความถูกต้องของการจัดการข้อมูล 7 ความถูกต้องของการเฉลยข้อสอบ 8 ความถูกต้องในการแสดงข้อมูลผู้ใช้ระบบ 9 ความถูกต้องของโปรแกรมที่มีข้อความเตือนหรือความผิดพลาด เมื่อผู้ใช้ไม่ป้อนข้อมูลตามที่กำหนด 10 ความถูกต้องในการแก้ไขข้อมูลส่วนของผู้ใช้งาน 11 ความถูกต้องในการรายงานผลการสอบของผู้ใช้งาน b Usability Test 12 ความยากง่ายในการเรียนรู้การใช้งานโปรแกรม 13 ความสะดวกในการใช้งาน 14 ความรวดเร็วในการโต้ตอบกับผู้ใช้ 15 ปุ่มและคำอธิบายมีความง่ายต่อความเข้าใจ 16 การจัดวางหน้าจอ (Layout) ช่วยให้อ่านง่าย และสบายตา 17 มีการนำเสนอข้อความที่เหมาะสม 18 การใช้สีสันของตัวอักษรที่เหมาะสม สวยงาม c Security Test 20 การแยกสิทธิ์ในการใช้งานของผู้ใช้ระบบ 21 การ Login รหัสผ่านของผู้ใช้งานในการเข้าใช้ระบบ 22 ความปลอดภัยของระบบโดยรวม d all บทที่ 5 สรุปผลการทำงานของโปรแกรมและข้อเสนอแนะ 5.1 สรุปผลการทำงานของโปรแกรม วัตถุประสงค์หลักในการพัฒนาระบบการสอบวัดผลออนไลน์ สำหรับศูนย์ฝึกอบรม เพื่อ ให้สามารถจัดการระบบการทดสอบได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม โดยมี แนวคิดสำหรับการทำข้อสอบโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านระบบเครือข่ายแทนการใช้กระดาษ ซึ่ง ในการทำข้อสอบแต่ละครั้งวิทยากรสามารถเตรียมฐานข้อมูลการสอบได้ด้วยตนเอง และเป็นการนำ เอาเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ในระบบการสอบ ทั้งนี้ยังเพิ่มความน่าสนใจในการทดสอบแต่ละ ครั้งของผู้ที่ผ่านการอบรมในแต่ละหลักสูตร ทั้งนี้จากผลการประเมินระบบประสิทธิภาพของระบบการสอบวัดผลออนไลน์ สำหรับศูนย์ ฝึกอบรม โดยผู้เชี่ยวชาญและผู้ใช้งานสามารถสรุปแยกเป็น 2 ประเภท คือ ส่วนการประเมิน โปรแกรมจากผู้เชี่ยวชาญพบว่า สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพดีมาก ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุ ประสงค์ในการพัฒนาระบบที่ได้ตั้งไว้ ส่วนการประเมินโปรแกรมจากผู้ใช้งานทั่วไปซึ่งเป็น พนักงานระดับปฏิบัติการพบว่า สามารถตอบสนองต่อการนำไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพอยู่ ในเกณฑ์ดี ซึ่งอาจเนื่องมาจากผู้เข้าใช้ระบบบางคนยังไม่คุ้นเคยกับขั้นตอนการใช้ 5.2 ปัญหาและอุปสรรคที่พบในการดำเนินงาน 5.2.1 ส่วนผู้ใช้งานระบบ พบว่าผู้เข้าทำแบบทดสอบขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการใช้งานระบบ คอมพิวเตอร์ ยังไม่สามารถใช้โปรแกรมได้อย่างชำนาญเพียงพอ อีกทั้งคุณสมบัติของเครื่อง คอมพิวเตอร์ที่วิทยากรและผู้ใช้ระบบแตกต่างกัน ทำให้สนับสนุนการทำงานของระบบได้ไม่เท่า กัน 5.2.2 การพัฒนาระบบ ปัญหาในเรื่องการตรวจเช็คเวลาในการเข้าทำข้อสอบ พบว่า ในฐานข้อมูล Access มี ปัญหาในเรื่องการจัดเก็บข้อมูลประเภทวันที่ เนื่องจากการจัดเก็บระบบวันที่จะมี 2 ประเภท คือ ปี 72 พุทธศักราช และปีคริสต์ศักราช โดยจะเปลี่ยนแปลงตามเครื่องผู้ใช้งานทำการตั้งค่าเครื่องไว้ จึงทำ ให้เมื่อนำโปรแกรมไปใช้เครื่องอื่น อาจมีผลทำให้การจัดเก็บข้อมูลที่เป็นวันที่ผิดพลาดได้ 5.3 ข้อเสนอแนะ และแนวทางในการพัฒนาระบบ 5.3.1 ควรมีการพัฒนาระบบเพิ่มเติมในการทำงานด้านอื่นๆ เช่น ควบคู่กับระบบอบรม ออนไลน์เพื่อให้ครอบคลุมการใช้งานได้ครบถ้วนในเรื่องของการฝึกอบรมและทดสอบ เพื่อให้ผู้ เข้าสอบและวิทยากรสามารถใช้ระบบเป็นสื่อกลางในการพัฒนาประสิทธิภาพของผู้เข้าสอบได้ 5.3.2 ระบบงานบางส่วนยังไม่ครอบคลุม เช่น การทำข้อสอบแบบมีรูปภาพ หรือมีการ พัฒนาต่อให้สามารถมีไฟล์ข้อมูลเสียง (Sound File) ประกอบด้วย เพื่อจะได้นำไปประยุกต์ใช้ใน การสอบที่เป็นแบบฟัง เช่น การสอบทางด้านภาษาต่าง ๆ 73 บรรณานุกรม กอบกิจ สหัสรังษี. การพัฒนาระบบการจัดการข้อสอบปรนัย . กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, 2538. กิตติ ภักดีวัฒนะกุล, จำลอง ครูอุตสาหะ. คัมภีร์ ระบบฐานข้อมูล. กรุงเทพฯ : เคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์, 2544. . เทคนิคสู่ยอดฝีมือ ASP เล่ม 1. กรุงเทพฯ : เคทีพี คอมพ์ แอนด์คอนซัลท์, 2544. กิตติพงษ์ สุวรรณราช. การพัฒนาระบบการสอบผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต . กรุงเทพฯ : สถาบัน เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ , 2544. ถนอมพร เลาหจรัสแสง. ดร.,การสอนบนเว็บ (Web-Based Instruction) นวัตกรรมเพื่อคุณภาพการ เรียนการสอน : ภาควิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ ตีพิมพ์ในวารสารศึกษาศาสตร์สาร ปีที่ 28 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2544 หน้า 87-94. ปิยวิท เจนกิจจาไพบูลย์. เรียนรู้การสร้างโฮมเพจด้วย HTML. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2540. มณีโชติ สมานไทย. สร้างเว็บเพจแบบมืออาชีพด้วย HTML. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ : สกายบุ๊กส์, 2543. เยาวดี วิบูลย์ศรี. การวัดผลและการสร้างแบบสอบผลสัมฤทธิ์. พิมพ์ครั้งที่ 2 . กรุงเทพฯ : จุฬาลง กรณ์มหาวิทยาลัย, 2540. วลีพร จิตรพงษ์. ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยในการฝึกอบรมผ่านเว็บ สำหรับอาจารย์ใหม่. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2545. วาสนา สุขกระสานติ. โลกของคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, 2540. ศรีไพร ศักดิ์รุ่งพงศากุล. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2544. ศรีสลาลักษณ์ อินทรสุวรรณ. Microsoft Access2000. กรุงเทพฯ : ดี แอล เอส, 2544. สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. หลักการวัดและประเมินผล คู่มืออาจารย์ด้านการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520. สรรชัย รัตนอำนวยศิริ. ระบบฐานข้อมูลคลังข้อสอบกับการวิเคราะห์ข้อสอบบนอินทราเน็ต . กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล, 2543. สัจจะ จรัสรุ่งรวีวร, สมพร จิวรสกุล. Active Server Pages และแอพพลิเคชันฐานข้อมูลสำหรับ อินเตอร์เน็ต. กรุงเทพฯ : อินโฟเพรส, 2543.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น