วันอาทิตย์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2552

โปรแกรมระบบงานลงทะเบียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และชำระค่าบำรุงการศึกษา ผ่านเครือข่ายธนาคาร กรณีศึกษา วิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี



บทที่ 1
บทนำ
1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ระบบงานทะเบียนเป็นระบบงานสำคัญของทุกสถานศึกษา ซึ่งปัจจุบันสถานศึกษาต่างๆได้
นำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการ เช่นการแสดงผลการเรียน ปฏิทินการ
ศึกษา การลงทะเบียน การตรวจสอบการลงทะเบียน เพื่ออำนวยความสะดวกในการบริการกับนัก
เรียน-นักศึกษา ตลอดจนลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงานของสถานศึกษาต่าง ๆ
และวิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี เป็นอีกสถานศึกษาที่นำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการบริหาร
จัดการระบบการลงทะเบียน โดยมีการลงทะเบียนผ่านระบบธนาคารมาให้บริการกับนักเรียน-
นักศึกษา โดยวิทยาลัยฯจะนำส่งข้อมูลให้กับธนาคาร เพื่อเป็นข้อมูลในการลงทะเบียนของนักเรียน-
นักศึกษาทั่วไป ซึ่งส่วนมากวิทยาลัยจะส่งข้อมูลก่อนวันประกาศผลการเรียน เนื่องจากข้อจำกัดด้าน
เวลาและไม่สามารถส่งข้อมูลการลงทะเบียนเป็นรายบุคคล จึงทำให้นักเรียน-นักศึกษาไม่สามารถ
ลงทะเบียนเพิ่ม หรือ ถอนรายวิชาที่ลงได้ เนื่องจากธนาคารไม่มีข้อมูลที่วิทยาลัยฯส่งมา ทำให้
วิทยาลัยต้องจัดการดำเนินการลงทะเบียนสำหรับนักเรียน-นักศึกษา ที่ต้องการลงทะเบียนเพิ่มหรือ
ถอนรายวิชาลงทะเบียน ทำให้เกิดความซ้ำซ้อนของระบบงานและค่าใช้จ่ายในการจัดการที่เพิ่มขึ้น
เพื่อเป็นการสนับสนุนให้การลงทะเบียนผ่านระบบธนาคารให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และเป็น
ประโยชน์ สำหรับนักเรียน-นักศึกษา ในการตรวจสอบรายวิชา การเพิ่ม-ถอนรายวิชาที่ต้องการ อีก
ทั้งสถานศึกษาในการตรวจสอบการลงทะเบียน การตรวจสอบการเพิ่ม-ถอนรายวิชาของนักเรียน-
นักศึกษา ตลอดจนธนาคารจะได้รับข้อมูลที่ถูกต้องในการลงทะเบียน สารนิพนธ์นี้จึงได้จัดทำ
โปรแกรมระบบงานลงทะเบียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และชำระค่าบำรุงการศึกษา ผ่านเครือ
ข่ายธนาคาร กรณีศึกษาวิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี เพื่ออำนวยความสะดวกในการบริหารจัดการเกี่ยว
กับงานทะเบียนของวิทยาลัยฯ ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการใช้งานและการพัฒนาระบบงาน
ทะเบียน อันจะส่งผลดีต่อการบริหารจัดการ ของหน่วยงานต่อไป
1.2 วัตถุประสงค์ของสารนิพนธ์
ในการจัดทำ ระบบงานลงทะเบียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตฯ นั้นผู้พัฒนามีวัตถุประสงค์ใน
การจัดทำดังนี้
2
1.2.1 เพื่อพัฒนาระบบงานลงทะเบียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และชำระค่าบำรุงการศึกษา
ผ่านเครือข่ายธนาคาร กรณีศึกษาวิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี
1.2.2 เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของระบบงานลงทะเบียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และ
ชำระค่าบำรุง การศึกษาผ่านเครือข่ายธนาคาร กรณีศึกษาวิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี
1.3 สมมุติฐานของสารนิพนธ์
ระบบงานลงทะเบียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และชำระค่าบำรุงการศึกษา ผ่านเครือข่าย
ธนาคาร กรณีศึกษาวิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี สามารถที่จะนำไปใช้ในการระบบงานทะเบียนของ
วิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรีได้ในระดับดี
1.4 ขอบเขตสารนิพนธ์
สารนิพนธ์ระบบงานลงทะเบียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และ ชำระค่าบำรุงการศึกษา
ผ่านเครือข่ายธนาคาร กรณีศึกษาวิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี นี้ได้จัดทำขึ้นโดยมีขอบเขตการทำงาน
เป็นส่วน ๆ ดังนี้
1.4.1 นักเรียน-นักศึกษาสามารถจัดการระบบได้ดังนี้
1.4.1.1 เพิ่มรายวิชาที่ต้องการได้
1.4.1.2 ถอนรายวิชาที่ต้องการได้
1.4.1.3 ตรวจสอบรายวิชาที่ลงทะเบียนได้
1.4.1.4 ตรวจสอบจำนวนเงินที่ใช้ลงทะเบียนได้
1.4.2 อาจารย์ที่ปรึกษา-อาจารย์ผู้สอน สามารถจัดการระบบได้ดังนี้
1.4.2.1 ตรวจสอบการขอลงทะเบียนของนักศึกษาได้
1.4.2.2 ตรวจสอบการเพิ่ม-ถอน รายวิชาที่ลงทะเบียนของนักศึกษาได้
1.4.2.3 สามารถแจ้งข้อมูลข่าวสารกับงานที่เกี่ยวข้องได้
1.4.3 งานการเงิน สามารถจัดการระบบได้ดังนี้
1.4.3.1 ตรวจสอบการชำระเงินบำรุงการศึกษาของนักศึกษาได้
1.4.3.2 สามารถแจ้งข้อมูลข่าวสารกับงานที่เกี่ยวข้องได้
1.4.4 งานทะเบียน สามารถจัดการระบบได้ดังนี้
1.4.4.1 ตรวจสอบการลงทะเบียนของนักศึกษาได้
1.4.4.2 ตรวจสอบการเพิ่ม-ถอน รายวิชาที่ลงทะเบียนของนักศึกษาได้
1.4.4.3 สามารถแจ้งข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับงานทะเบียนได้
3
1.5 คำจำกัดความในสารนิพนธ์
สารนิพนธ์ระบบงานลงทะเบียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และ ชำระค่าบำรุงการศึกษา
ผ่าน เครือข่ายธนาคาร กรณีศึกษาวิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรีได้กำหนดคำจำกัดความที่เกี่ยวข้องดังนี้
เครือข่ายธนาคาร หมายถึง เครือข่ายระบบ ATM และระบบธนาคารผ่านเครือข่าย อินเทอร์
เน็ต (Internet Banking) ของธนาคารต่าง ๆ
1.6 กลุ่มเป้าหมาย
สารนิพนธ์ระบบงานลงทะเบียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และ ชำระค่าบำรุงการศึกษา
ผ่านเครือข่ายธนาคาร กรณีศึกษาวิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี ใช้งานกับกลุ่มผู้ใช้จำนวน 5 กลุ่ม คือ
กลุ่มนักศึกษา อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ที่ปรึกษา เจ้าหน้าที่การเงิน และ เจ้าหน้าที่ทะเบียน ของ
วิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี
1.7 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
สารนิพนธ์ระบบงานลงทะเบียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และ ชำระค่าบำรุงการศึกษาผ่าน
เครือข่ายธนาคาร กรณีศึกษาวิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี มีประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับดังนี้
ได้ระบบงานลงทะเบียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและชำระค่าบำรุงการศึกษาผ่าน เครือ
ข่ายธนาคาร ที่ผ่านการประเมินประสิทธิภาพ ระดับ ดี
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ระบบงานลงทะเบียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและชำระค่าบำรุงการศึกษา ผ่านเครือข่าย
ธนาคาร กรณีศึกษาวิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี พัฒนาขึ้นโดยใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องหลายส่วนด้วย
กันทั้งนี้เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการทำสารนิพนธ์และได้มุ่งเน้นใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้า
มาใช้ในการบริหารจัดการเพื่อลดการบริหารจัดการเกี่ยวกับการใช้เอกสารที่ใช้ในการดำเนินงาน
เกี่ยวกับการลงทะเบียน การติดต่อสื่อสาร ตลอดจนการบริหารจัดการเรื่องของสถานที่ที่ใช้ในการ
ลงทะเบียนเพื่อเป็นการสนับสนุนให้การลงทะเบียนผ่านระบบธนาคารให้มีประสิทธิภาพสูงสุดและ
เป็นประโยชน์สำหรับนักเรียน-นักศึกษา สารนิพนธ์นี้จึงได้จัดทำโปรแกรมระบบงานลงทะเบียน
ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และชำระค่าบำรุงการศึกษา ผ่านเครือข่ายธนาคาร กรณีศึกษาวิทยาลัย
เทคนิคเพชรบุรี โดยมีทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้
1. ระเบียบวิธีเกี่ยวกับงานทะเบียน
2. ทฤษฎีเกี่ยวกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
3. ทฤษฎีเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูล
4. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องดังกล่าวผู้พัฒนาได้ศึกษาค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
โดยสามารถแสดงเนื้อหาโดยสังเขป ดังนี้
2.1 ระเบียบวิธีเกี่ยวกับงานทะเบียน
งานทะเบียนวิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี มีหน้าที่ในการจัดทำระเบียนประวัติ ระเบียนแสดงผล
การเรียน ตลอดจนออกเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียน และสภาพของนักเรียน นักศึกษา
โดยตรง จึงจัดบริการต่าง ๆ ไว้อำนวยความสะดวกแก่นักเรียนนักศึกษาดังนี้
2.1.1 บริการออกบัตรประจำตัวนักเรียนนักศึกษา
2.1.2 บริการรับลงทะเบียน ได้แก่ การลงทะเบียนวิชาเรียน การเปลี่ยน การถอน การเพิ่มราย
วิชาเรียน การเรียนซ้ำ การสอบเทียบความรู้
2.2.3 บริการรับลงทะเบียนรักษาสภาพนักเรียนนักศึกษา
2.2.4 บริการรับเรื่องการลาพักการเรียน การขอกลับเข้าเรียน และการลาออก
5
2.2 ทฤษฎีเกี่ยวกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ในการพัฒนาระบบงานลงทะเบียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และชำระค่าบำรุงการศึกษา
ผ่านเครือข่ายธนาคารกรณีศึกษาวิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรีได้ใช้ทฤษฎีที่เกี่ยวกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ดังนี้
2.2.1 อินเทอร์เน็ต (Internet) มีผู้ให้คำจำกัดความของความหมายของอินเทอร์เน็ตซึ่งแต่ละ
คำจำกัดความมีความหมายในทิศทางเดียวกันเช่น
พรทิพย์ (2538:35) กล่าวว่าเครือข่ายอินเทอร์เน็ตคือระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่ใหญ่ที่สุด
ของโลก เป็นกระบวนการสื่อสารข้อมูลทางสาย (Online) ระหว่างคอมพิวเตอร์ต่างระบบและต่าง
ชนิดกันร่วมกับสายเคเบิล และผู้ใช้จำนวนมากอาศัยซอร์ฟแวร์ (Software) และ เครื่องช่วยสื่อสาร
ต่างๆ ในแง่ของวิชาการ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่สื่อสารกันโดยใช้ โปรโต
คอล TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) ซึ่งหมายถึงกฎเกณฑ์ที่
คอยควบคุมกระบวนการส่งข่าวสารไปมาระหว่างคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องชนิดที่อยู่
บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตการมีโปรโตคอล TCP/IP ใช้ร่วมกันผู้ใช้สามารถเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์
ของตนกับเครือข่ายใดก็ได้ที่อยู่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อติดต่อกับผู้อื่น หรือเพื่อสื่อสารกับ
Software ของแต่ละเครื่องบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ยืน (2539:28) กล่าวว่า อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงระหว่างเครือข่ายต่าง ๆ เข้าด้วย
กัน เมื่อนำเครือข่ายคอมพิวเตอร์เครือข่ายหนึ่งเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตนั้นก็จะเป็นอินเทอร์เน็ต และ
หากใครนำเครือข่ายอื่นมาเชื่อมอีกก็จะเข้าสู่อินเทอร์เน็ตและเป็นการขยายเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วย
ศรีศักดิ์ (2539:75) ได้อธิบายความหมายของอินเทอร์เน็ตว่า อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายของ
เครือข่ายคอมพิวเตอร์รอบโลกที่เป็นที่นิยมมากที่สุด โดยแต่ละเครือข่ายย่อย (Sub–Network) อาจ
จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Host) เพียงตัวเดียวหรือหลาย ๆ ตัวก็ได้ โดยใช้โฮสต์ทุกเครื่องจะ
เชื่อมโยงกับอินเทอร์เน็ตตลอด 24 ชั่วโมงต่อวัน โดยใช้วงจรโทรศัพท์เป็นตัวเชื่อม
อนิรุทธ์ (2542:29) กล่าวว่า อินเทอร์เน็ตคือ การเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์หลาย ๆ
เครือข่ายภายใต้มาตรฐานและข้อตกลงเดียวกัน โดยที่เครือข่ายสามารถที่จะสื่อสารข้อมูลกันในรูป
แบบของ ตัวอักษร ภาพ และเสียงได้อย่างรวดเร็วจากคอมพิวเตอร์ที่ต่างชนิดและต่างระบบกัน
กล่าวโดยสรุป อินเทอร์เน็ต (Internet) คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อกันทั่ว
โลกโดยมีมาตรฐานการรับ-ส่งข้อมูลที่เหมือนกัน โดยที่ข้อมูลเหล่านั้นอาจเป็นตัวอักษร,ภาพนิ่ง,
ภาพเคลื่อนไหวหรือเป็นเสียง รวมทั้งยังมีความสามารถในการค้นหาข้อมูลที่อยู่ในแหล่งต่าง ๆ ทั่ว
โลกได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพเป็นกระบวนการสื่อสารข้อมูลทางสาย (on-line) ระหว่าง
คอมพิวเตอร์ต่างระบบและต่างชนิดรวมกับสายเคเบิลและผู้ใช้จำนวนมากโดยอาศัย software และ
6
เครือข่ายต่าง ๆ อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่สื่อสารกันโดย TCP/IP (Transmission Control
Protocol/Internet Protocol) ซึ่งเป็นเกณฑ์ ที่คอยควบคุมกระบวนการ ส่งข่าวสารไปมาระหว่าง
คอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตดังนั้น อินเทอร์เน็ตจะมีองค์ประกอบ 2 ส่วนใหญ่
คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์และข้อมูลที่เก็บในคอมพิวเตอร์
อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่พัฒนามาจากโครงการอาร์พาเน็ต (ARPAnet) ซึ่งเป็นเครือข่าย
คอมพิวเตอร์ ภายไต้ความรับผิดชอบของหน่วยงานโครงการวิจัยชั้นสูง หรือเรียกย่อว่าอาร์พา
(ARPA) ในสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา อาร์พาเน็ตในขั้นต้นเป็นเพียงเครือข่าย
ทดลองที่ตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนงานวิจัยทางการทหาร สำหรับประเทศไทยอินเทอร์เน็ตเริ่มเข้ามามี
บทบาทในการใช้งานปี พ.ศ.2530-2535 ซึ่งช่วงนั้นเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในระดับมหาวิทยาลัย
(Campus Network) ซึ่งการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตทำได้สมบูรณ์ในปี 2535 และได้มีการเปิดบริการ
อินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรกในปี 2538
2.2.2 TCP/IP มาตรฐานบนอินเทอร์เน็ต เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์
หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่สื่อสารกันโดยมีมาตรฐานการสื่อสารหรือโปรโตคอลเดียวกัน ซึ่งโปรโตคอล
ที่ใช้ชื่อว่า IP (Internet Protocol) เป็นการระบุที่ตั้งของคอมพิวเตอร์ที่เราติดต่อด้วย ส่วนในการ
รับส่งข้อมูลนั้นกระทำตามมาตรฐานของโปรโตคอล TCP (Transmission Control Protocol)
ซึ่งหลักของ TCP มีอยู่ว่า ต้องมีการสร้าง Connection ก่อน จากนั้นจึงจะเริ่มส่งข้อมูล เมื่อส่งข้อ
มูลครบแล้วก็จะทำการปิด Connection ซึ่งวิธีการของ TCP นี้จะมีข้อดีตรงที่มีความแม่นยำในการ
ส่งข้อมูลสูง เพราะมีการตรวจสอบความถูกต้องในระหว่างที่สร้าง Connection ในระบบ วิธีนี้
ภาพที่ 2 - 1 การทำงานของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
7
เหมาะสมมากสำหรับการส่งข้อมูลในอินเทอร์เน็ต เช่น E-mail, World Wide Web, FTP เป็นต้น
แต่การสื่อสารกันด้วยโปรโตคอลแบบ TCP นี้ก็มีข้อเสียคือ จะต้องเสียเวลาในตอนเริ่มต้นส่งข้อมูล
เพื่อสร้าง Connection ในเครือข่ายระบบ TCP/IP นี้เครื่องทุกเครื่องมีความสำคัญเท่าเทียมกัน
ถึงแม้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งไม่สามารถทำงานได้ตามปกติระบบเครือข่าย
โดยรวม ยังคงสามารถทำงานได้อย่างปกติ เพราะยังมีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นทำหน้าที่เสมอ
เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ สามารถติดต่อกันได้ โดยใช้โปรโตคอลเดียวกัน การติดต่อสื่อสารจะ
เริ่มขึ้นโดยการติดต่อสื่อสาร 2 แบบ คือแบบส่งข้อมูล และรับข้อมูลโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำการ
ส่งข้อมูลเราเรียกว่าเครื่องเซิร์ฟเวอร์และเครื่องคอมพิวเตอร์ที่รับข้อมูลเราเรียกว่าเครื่องไคลเอนต์
2.2.3 เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) เว็บเซิร์ฟเวอร์ คือ แอพพลิเคชั่นที่ทำหน้าที่รับและ
ประมวลผลเอกสาร ที่ถูกร้องขอจากผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตซึ่งเว็บเซิร์ฟเวอร์ โดยส่งเอกสารกลับ
ไปแสดงผลให้ผู้ใช้บริการผ่านบราวเซอร์ นอกจากเว็บเซิร์ฟเวอร์จะถูกนำมาให้บริการในอินเทอร์
เน็ตแล้ว แต่อาจมีการประยุกต์ให้นำมาใช้กับเครือข่ายภายในองค์กร หรือ อินทราเน็ตได้เช่นกัน แต่
ส่งคอมพิวเตอร์ผู้รับ
ถอดเปลือกที่หุ้มออก
ให้เหลือแต่ข้อมูลย่อย
ข้อมูลต้นฉบับ ประกอบข้อมูลย่อยให้กลับเหมือนเดิม
ภาพที่ 2-3 การทำงานของโปรโตคอล TCP ทางผู้รับ
ข้อมูล แบ่งข้อมูลออกเป็นส่วนย่อย ๆ
เครื่องคอมพิวเตอร์
ปลายทาง
บรรจุข้อมูลย่อย และระบุ
ที่อยู่ผู้รับเตรียมพร้อมที่จะส่ง
ภาพที่ 2-2 การทำงานของโปรโตคอล TCP ทางผู้ส่ง
8
เดิมนั้นเว็บเซิร์ฟเวอร์มักจะอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ UNIX ที่มีประสิทธิภาพสูง เมื่ออินเทอร์เน็ต
ขยายความนิยมมายังผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั่วไป ทำให้มีการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่เป็นเว็บ
เซิร์ฟเวอร์บนคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถรันได้ทั้ง Windows 95/98 และ Window NT
Server/Workstation Windows 2000/2003 ตัวอย่างเช่น โปรแกรมเน็ตสเคพเซิร์ฟเวอร์
(Netscape Server) และ โปรแกรมอินเทอร์เน็ตอินฟอร์มเมชันเซิร์ฟเวอร์ (IIS: Internet
Information Server)
2.2.4 เวิลด์ ไวด์ เว็บ (World wide Web) (สุปราณี, 2542) เวิลด์ ไวด์ เว็บ (World Wide
Web : www) หรือ Web ช่วยให้ใช้ Internet ได้ง่ายขึ้น เป็นเครือข่ายโยงใยไปทั่วโลกที่เรียกว่า
Internet แต่เดิมการใช้ Internet ต้องเรียนรู้คำสั่งลึกลับซับซ้อนมากมายไม่ใช่เพื่อจะใช้งานอย่าง
เดียวแต่ยังเพื่อดึงข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงอีกด้วยเช่นถ้าต้องการข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ ที่
ใช้ระบบปฏิบัติการ UNIX ก็จะต้องรู้คำสั่ง UNIX ทำให้การใช้ Internet ดูเป็นเรื่องยาก ต่อมาใน
ปี ค.ศ. 1992 Tim Berners-Lee และนักวิจัยอื่น ๆ ได้เปิดตัว Web ที่ทำให้ผู้ใช้สามารถที่จะเปิดดู
Internet ได้โดยไม่ต้องทราบคำสั่งที่ซับช้อนซึ่งเรียกทั่วไปว่า web Browser เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้
เปิดดู Web ทำให้การใช้ Internet เป็นเรื่องง่ายและ Web แต่ละ Web ยังมีความสามารถมากขึ้น
สิ่งสำคัญในการสร้าง Web ก็คือ Hypertext ซึ่งเป็นวิธีการเชื่อมโยงกลุ่มหรือหน้าของข้อมูลเข้า
ด้วยกันวิธีนี้คิดขึ้นครั้งแรกในปี 1960 แต่ในปี 1990 Berners-Lee และเพื่อร่วมงานของเขาได้ใช้
แนวคิดของ Hypertext สร้างสิ่งที่เรียกว่า HTTP (Hypertext Transfer Protocol) และด้วย
HTTP นี้เองจึงเกิด World Wide Web ขึ้น
2.2.5 เมลเซอร์ฟเวอร์ (Mail Server) การเชื่อมคอมพิวเตอร์เข้าเป็นเครือข่ายช่วยให้ส่งข้อ
ความถึงกันได้ การส่งข้อความทางเครือข่ายอาศัยหลักการคล้ายกับระบบไปรษณีย์ โดยข้อความ
หรือจดหมายจะอยู่ในรูปของรหัสข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ จึงเรียกว่าเป็นการรับส่งด้วยจดหมายอิ
เล็คทรอนิกส์ (Electronics mail ) หรือ อีเมล (E-mail) ระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ในอิน
เทอร์เน็ตประกอบด้วยโปรแกรม 2 ส่วนหลักทำหน้าที่ในการรับส่งหรือจัดการ กับจดหมาย
โปรแกรมส่วนแรกเป็นโปรแกรมที่เรียกใช้งานเพื่อช่วยสร้าง และส่งจดหมายออกหรือเปิดอ่านจด
หมายที่ได้รับโปรแกรมส่วนที่สองเป็นโปรแกรมระดับล่างซึ่งทำน้าที่ ลำเลียงจดหมายระหว่าง
คอมพิวเตอร์ตัวรับและตัวส่งโปรแกรมที่แพร่หลายในยูนิกซ์คือโปรแกรม sendmail ในระบบ
ยูนิกซ์เมื่อเรียกใช้โปรแกรม mail เพื่อขอสร้างและส่งจดหมายโปรแกรม mail จะส่งต่อ
โปรแกรม sendmail อีกต่อหนึ่ง โปรแกรม sendmail ที่คอมพิวเตอร์ต้นทางจะติดต่อกับ
โปรแกรม sendmail ที่คอมพิวเตอร์ปลายทางเพื่อรับส่งจดหมาย เมื่อคอมพิวเตอร์ปลายทางได้รับ
9
จดหมายแล้วจะนำมาเก็บไว้ในแฟ้มข้อมูล เพื่อรอให้ผู้ใช้เรียกโปรแกรม mail ทั่วไปมาเปิดอ่านจด
หมายต่อไป
2.2.6 ภาษา HTML (Hyper Text Markup Language) HTML มาจากคำว่า Hyper Text
Markup Language เป็นรูปแบบของภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมในเว็บเพจ เพื่อแสดงผล
บนเว็บ บราวเซอร์ ลักษณะของเอกสาร HTML จะเป็นเท็กซ์ไฟล์ธรรมดาที่ต้องอาศัยการแปล
ความจากเว็บบราวเซอร์ ในสมัยก่อนจุดประสงค์การใช้ HTML เพื่อแสดงผลที่เป็นข้อความเป็น
ส่วนใหญ่ แต่ในปัจจุบัน HTML ได้พัฒนามาเรื่อย ๆ จนสามารถรวบรวมความสามารถในด้านต่าง
ๆ และคำสั่งที่ใช้งานและพัฒนาเว็บเพจร่วมกับ PHP คำสั่งของภาษา HTML เรียกว่า “แท็ก” (Tag)
ซึ่งนี้โดยทั่วไปจะอยู่ในรูปแบบ <…>… ซึ่งเว็บบราวเซอร์จะแปลงแท็กนี้แล้วแสดงผลให้เห็น
โดยทั่วไปการสร้างเว็บเพจด้วยภาษา HTML โดยใช้เอดิเตอร์ต่าง ๆ เช่น NotePad, EditJPlus2
ในการสร้างเว็บเพจหนึ่ง ๆ นั้น สามารถเขียนได้ด้วยภาษา HTML ซึ่งโดยทั่วไปมีอยู่หลาย
ภาษาให้เราเลือกใช้ ความสามารถของภาษา HTML สามารถแสดงรูปภาพและข้อความต่าง ๆ ให้ผู้
ใช้ดูได้ จากนั้นก็จะมีการเพิ่มความสามารถและน่าสนใจให้กับ เว็บเพจ โดยการเขียนสคริปต์เพิ่ม
เข้าไปเพื่อเพิ่มการโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ดีขึ้น ดังตัวอย่างการเขียนโปรแกรมเว็บเพจ
ในการเขียนเว็บเพจนั้นต้องมีขั้นตอนการออกแบบเว็บเพจ (มาโนต, 2541) เพื่อจะได้ง่ายใน
การแก้ไขภายหลังโดยมีขั้นตอนการออกแบบดังนี้
2.2.6.1 การแสดงผลของหัวข้อต่างๆ ที่จะใช้ในการค้นข้อมูล หรือบอกถึงข้อมูลต่าง ๆ
ที่จะกำหนดให้ผู้ใช้งานทั่วๆ ไปได้เข้าใจเพื่อจะใช้ในการสืบค้นข้อมูลต่อไปการแสดงผลของเนื้อหา
หรือข้อมูลต่างๆ ที่อยู่ภายในเว็บเพจไม่ควรที่จะสั้นจนเกินไปจนไม่สามารถจำใจความได้ หรือมี




ระบบสารสนเทศเพื่องานทะเบียนวิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี




ภาพที่ 2-4 ตัวอย่างการเขียนโปรแกรมเว็บเพจด้วยภาษา HTML
10
เนื้อหาของข้อมูลที่ยาวจนเกินไปจนหาเนื้อหาที่จำเป็นจริงๆ ไม่ได้ หัวข้อนี้ถือได้ว่าเป็นส่วนที่
สำคัญเหมือนกัน เพราะการแสดงข้อมูลที่ไม่ยาวจนเกินไป ทำให้ผู้ใช้งานค้นหาข้อมูลได้รวดเร็วขึ้น
ไม่เปลืองเวลาที่จะใช้ในการค้นหาและไม่เกิดความเบื่อหน่ายอีกด้วย อย่างเช่นการให้บริการของ
ISP ต่างๆ ที่ให้บริการ การใช้บริการอินเทอร์เน็ตนั้นได้มีการจำกัดเกี่ยวกับเรื่องของจำนวนชั่วโมง
ที่เข้าใช้งาน ที่จะมีผลกับการเสียค่าใช้จ่ายประจำเดือนให้กับ ISP ต่าง ๆ ที่ใช้บริการอยู่ ดังนั้นคุณจะ
ต้องนำเสนอข้อมูลที่ไม่ยาวจนไม่มีสาระเกินไป และสามารถจับใจความได้โดยง่ายซึ่งจะต้องช่วย
ในส่วนของผู้ใช้งานต่าง ๆ ในเรื่องเกี่ยวกับเวลาที่มีผลต่อค่าใช้จ่ายตรงนี้ได้ดีทีเดียว
2.2.6.2 ภาพที่จะนำมาใช้ในการแสดงประกอบภายในเว็บเพจ การแสดงภาพมีอยู่หลาย
อย่าง อย่างเช่น ภาพที่จำเป็นต้องการใช้ในการแสดงนั้น ๆ เป็นภาพ Background หรือไม่ หรือเป็น
ภาพที่ใช้ในการประกอบโดยใช้แสดงวัสดุอุปกรณ์หรือสถานที่ต่าง ๆ หรือสิ่งของอื่นๆ เหล่านี้ล้วน
แล้วเป็นสิ่งที่จะต้องพิจารณาถึงเพราะในการสร้างรูปภาพขึ้นมานั้น ภาพที่ได้ไม่ควรมีขนาดของ
ไฟล์ใหญ่จนเกินไป เพราะจะทำให้ผู้ใช้งานที่เข้ามาภายในเว็บไซต์ของเรา เกิดความล่าช้าในการ
โหลดข้อมูลได้ซึ่งจะทำให้สิ้นเปลืองและเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้นสำหรับผู้ใช้งาน การนำเสนอรูปภาพ
นั้นไม่ควรจะมีมากจนเกินไป เกินความจำเป็นควรให้มีพอเหมาะกับเนื้อหาที่จะใช้บริการได้
2.2.6.3 ตัวอักษรที่ใช้แสดงบนเว็บเพจ การใช้ตัวอักษรในการแสดงผลบนเว็บเพจนั้น
ควรกำหนดให้เป็นมาตรฐานทั่วๆ ไปไม่ควรใช้ตัวอักษรที่คนทั่วๆ ไปไม่นิยมใช้ เพราะจะให้ผู้ใช้
งานต้องมากำหนดเพื่อเลือกตัวอักษรที่จะใช้งานใหม่ ถ้าเกิดผู้ใช้งานไม่มีรูปแบบของตัวอักษรที่เรา
กำหนดไว้ในเว็บเพจ ก็จะทำให้ผู้ใช้งานนั้น ๆ ไม่สามารถดูเว็บเพ็จที่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้บริการได้
2.2.6.4 การเชื่อมโยงข้อมูลในส่วนต่าง ๆ ในการสร้างเว็บเพจ ไม่สามารถที่จะแสดง
ข้อมูลได้ทั้งหมดให้ครบพอดีในหนึ่งหน้าจอได้ ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องกำหนดหัวข้อเป็นข้อ ๆ ไว้
และเชื่อมโยงหัวข้อนั้นเข้าหาข้อมูลของตนเอง และในการเชื่อมโยงข้อมูลนั้น ๆ ก็ไม่ควรที่จะสร้าง
ให้มีความสลับซับซ้อนจนเกินไปเพราะจะทำให้เกิดความสับสนในการใช้งานขึ้นมาได้ทำให้การ
ค้นคว้าข้อมูลเกิดความล่าช้าไม่รวดเร็วเท่าที่ควร อีกทั้งจะทำให้ยากในการใช้งานด้วย
2.2.6.5 การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย ในการสร้างเว็บเพจขึ้นมาเราจะต้องมีการสุ่มหรือ
กำหนดกลุ่มเป้าหมายที่จะเข้าถึงข้อมูลที่ได้สร้างขึ้นมาเพราะเราจะต้องพิจารณาว่าเว็บเพจที่สร้างขึ้น
ควรให้ประโยชน์กับกลุ่มบุคคลประเภทใดที่จะมีผลโดยตรงกับเว็บเพจซึ่งจะทำให้เกิดผลประโยชน์
ได้อย่างแท้จริง อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาเพื่อให้เกิดผลดี
2.2.6.6 การตอบสนองกลับต่อผู้ใช้งานในการใช้งานของบุคคลทั่วๆ ไปจำเป็นที่ต้อง
มีการค้นหาข้อมูลหรือมีการส่งข้อมูลเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกัน ในการส่งข้อมูลกลับไปนั้น
11
ควรมีความรวดเร็วและส่งข้อมูลได้อย่างถูกต้องด้วยมิฉะนั้นอาจทำให้เกิดความผิดพลาด ขึ้นมาได้
ทำให้ความเข้าใจของข้อมูลเกิดความผิดพลาดตามไปด้วย
2.2.6.7 การออกแบบควรกำหนดให้เป็นมาตรฐาน การสร้างเว็บเพจนั้นไม่ได้หมายถึง
การที่สร้างเว็บเพจขึ้นมาครั้งเดียวแล้วใช้งานตลอดไปหรือจบเพียงแค่นั้น แต่การสร้างเว็บเพจใน
ครั้งแรกหรือเริ่มต้นเปรียบเหมือนกับการวางรากฐานในการทำงานครั้งต่อๆ ไป เพราะการออกแบบ
หรือการสร้างเว็บเพจขึ้นมานั้นจะต้องมีการปรับปรุงและ update ข้อมูลอยู่เรื่อย ๆ ดังนั้นการสร้าง
เว็บเพจครั้งแรกไม่วางรูปแบบไว้ให้เป็นมาตรฐานแล้วในการทำงานภายหลังอาจเกิดปัญหาหลาย ๆ
อย่างได้
2.2.7 ภาษา JavaScript เป็นภาษายุคใหม่สำหรับการเขียนโปรแกรมบนอินเทอร์เน็ตที่ได้รับ
ความนิยมอย่างสูง สามารถเขียนโปรแกรม JavaScript เพิ่มเข้าไปในเว็บเพจเพื่อใช้ประโยชน์
สำหรับงานด้านต่าง ๆ ทั้งการคำนวณ การแสดงผล การรับ-ส่งข้อมูล และที่สำคัญคือสามารถโต้
ตอบกับผู้ใช้ได้อย่างทันทีทันใดนอกจากนี้ยังมีความสามารถด้านอื่น ๆ อีกหลายประการที่ช่วยสร้าง
ความน่าสนใจให้กับเว็บพจได้เป็นอย่างมาก
JavaScript (ทรงศักดิ์,2541) เป็น “ภาษาสคริปต์เชิงวัตถุ” ที่ช่วยให้เราสามารถควบคุมเว็บ
เพจได้ง่าย สามารถทำงานข้ามแพลตฟอร์มได้ ทำหน้าที่เป็นตัวประสานระหว่างเว็บเพจ HTML,
Java applet และเว็บบราวเซอร์ ทั้งทางฝั่ง ไคลเอนต์ และฝั่งเซิร์ฟเวอร์ ช่วยให้เว็บเพจที่บรรจุ
JavaScript มีความน่าสนใจมากกว่าเว็บเพจทั่วไป JavaScript ได้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้เป็นส่วน
เพิ่มขยายในภาษา HTML โดยเฉพาะช่วยให้ สามารถควบคุมเว็บเพจได้อย่างง่าย เหมาะกับการ
ทำงานอย่างรวดเร็ว และเน้นที่ความถูกต้องเป็นสำคัญ
2.2.8 PHP Hypertext Preprocessor (ไพศาล, 2538) PHP หมายถึง PHP Hypertext
Preprocessor ซึ่งเป็นภาษาสคริปต์ที่เรียกว่า Server Side Script ที่ประมวลผลบนฝั่งเซิร์ฟเวอร์
แล้วส่งผลลัพธ์ไปยังฝั่งไคลเอนต์โดยผ่านเว็บบราวเซอร์ ซึ่งจะทำการอ่านเอกสาร HTML นั้น และ
เมื่อเจอสคริปต์ PHP ทางเว็บเซิร์ฟเวอร์ จะทำการประมวลผลสคริปต์นั้นและส่งผลลัพธ์การทำงาน
ที่ได้ไปแสดงผลยังฝังเว็บบราวเซอร์ซึ่งอยู่ในรูปของเอกสาร HTML ปัจจุบัน PHP ได้รับความ
นิยมโดยการนำมาช่วยพัฒนางานบนเว็บที่เรียกว่า WebProgramming และมีนักเขียน โปรแกรม
จำนวนมากนิยมใช้ เนื่องจาก PHP มีรูปแบบของภาษา C และ Perl ที่นำมาปรับปรุงทำให้มีประ
สิทธิภาพสูง และทำงานได้เร็ว
PHP เกิดขึ้นในปี 1994 โดยนักเขียนโปรแกรมชาวสหรัฐอเมริกา ชื่อ Rasmus Lerdorf โดย
พัฒนาเครื่องมือที่ใช้สำหรับการสร้างเว็บเพจ เดิมที่เดียว PHP ย่อมาจาก Professional Home
Page โปรแกรม PHP เป็นเครื่องมือเพื่อพัฒนาเว็บเพจเนื่องจาก PHP มีจุดเด่นดังนี้
12
2.2.8.1 PHP มีประสิทธิภาพการทำงานสูง ทำงานได้รวดเร็วหลักการทำงานของ
PHP Hypertext Preprocessor เนื่องจาก PHP ทำงานโดยมีตัวแปลและเอ็กซิคิวต์ (Execute) ที่
ฝังเครื่องเซิร์ฟเวอร์ เรียกการทำงานว่าเป็นเซิร์ฟเวอร์ไซค์ (Server Side) ส่วนการทำงานของ
บราวเซอร์ของผู้ใช้เรียกว่า ไคลเอนต์ (Client Side) โดยการทำงานจะเริมต้นที่ผู้ใช้ส่งข้อความที่
ต้องการผ่านเว็บบราวเซอร์ทาง HTTP (HTTP Request) ซึ่งอาจจะเป็นการกรอก แบบฟอร์ม
หรือใส่ข้อมูลที่ต้องการ ข้อมูลเหล่านั้นจะเป็นเอกสาร PHP เมื่อเอกสาร PHP เข้ามาถึงเว็ป
เซิร์ฟเวอร์จะถูกส่งไปให้ PHP เพื่อทำหน้าที่แปลคำสั่งแล้วเอ็กซิคิวต์ คำสั่งนั้นหลังจากนั้น PHP
จะสร้างผลลัพธ์ในรูปแบบเอกสาร HTML ส่งกลับไปให้เซิร์ฟเวอร์เพื่อส่งต่อไปให้บราวเซอร์
แสดงผลทางฝังผู้ใช้ต่อไป ซึ่งลักษณะการทำงานแบบนี้คล้ายกับการทำงานของ CGI หรืออาจกล่าว
ได้ว่า PHP คือโปรแกรม CGI ประเภทหนึ่งซึ่งลักษณะการทำงานดังแสดงในภาพ
Client Web Browser Server
PHP Libraries PHP Interpreter
SQL Server ODBC
Access Other Database
การติดต่อฐานข้อมูลอื่น ๆ
ด้วยฟังก์ชัน MySQL
MySQL
การติดต่อฐานข้อมูล MySQL
ด้วยฟังก์ชัน MySQL
การติดต่อฐานผ่าน ODBC
ด้วยฟังก์ชัน ODBC
เรียกใช้ฟังก์ชันที่ต้องการ
Server ส่งคำสั่งPHP
ไปยัง PHP Interpreter
PHP ส่งผลลัพธ์ เป็น
HTML ไปยัง Server
Server ส่งผลต่อไปยัง
Web Browser
Web Browser แสดงผล
ให้ผู้ใช้ฝัง Client
HTML
Client เรียกใช้คำสั่ง PHP
ผ่านทาง Web Browser
Web browser ส่งคำสั่ง
ต่อไปยัง Server
ภาพที่ 2-5 หลักการทำงานของ PHP Hypertext Preprocessor
13
2.2.8.2 สามารถใช้ได้กับหลายๆ ระบบปฏิบัติการ เช่น Windows, Unix, Linux
หรือระบบปฏิบัติการอื่น ๆ โดยแทบไม่ต้องเปลี่ยนแปลงโค้ดคำสั่งเลย
2.2.8.3 PHP สนับสนุนการเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลได้หลายประเภท เช่น MySQL,
Oracle, SQL Server โดยจะมีการเรียกใช้ผ่าน ODBC, SQL หรือผ่านตัวฐานข้อมูลโดยตรงซึ่ง
จะมีฟังก์ชันที่สนับสนุนฐานข้อมูลต่าง ๆ อย่างมากมาย
2.3 ทฤษฎีเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูล
ในการพัฒนาระบบงานลงทะเบียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต(Internet) และชำระค่าบำรุงการ
ศึกษา ผ่านเครือข่ายธนาคาร กรณีศึกษาวิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี ได้ใช้ทฤษฎีที่เกี่ยวกับ
ระบบฐานข้อมูล ดังนี้
2.3.1 ระบบ Client/Server (โชคชัย, 2538) ระบบฐานข้อมูลประกอบด้วยส่วนประกอบ
สองส่วน คือ ระบบการจัดการฐานข้อมูล (Database Management System (DBMS) ซึ่งเป็น
โปรแกรมที่ใช้เพื่อจัดระเบียบและบำรุงรักษา รายการของข้อมูล อีกส่วนหนึ่งคือแอปพลิเคชันฐาน
ข้อมูล (database application) เป็นโปรแกรมที่ช่วยให้นำข้อมูลออกมา เพื่อนำเสนอ และแก้
ไขข้อมูลที่ถูกเก็บอยู่ใน DBMS ในปัจุบันเทคโนโลยีในการปฎิวัติ DBMS คือเทคโนโลยีผู้รับ-ผู้
ให้บริการ(C/S) ระบบฐานข้อมูลแบบผู้รับ-ผู้ให้บริการ ได้เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการข้อมูล
ด้วยการแยกส่วนของ DBMS ออกจากส่วนของแอปพลิเคชันฐานข้อมูลแอปพลิเคชันทำงานอยู่บน
เครื่องเวิร์กสเตชันของผู้ใช้หนึ่งหรือหลายเครื่องและติดต่อถึงกันโดยผ่านระบบเน็ตเวิร์กซึ่งมีระบบ
DBMS หนึ่งหรือหลายระบบทำงานอยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง ระบบฐาน ข้อมูลแบบ
ผู้รับ-ผู้ให้บริการเป็นวิธีที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง ระบบฐานข้อมูลผู้รับ-ผู้ให้บริการ
เป็นวิธีที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทรงประสิทธิภาพได้ดีที่สุด ในปัจจุบัน และยังสามารถมีความซับ
ซ้อนได้เป็นอย่างมาก เช่น มีเครื่องเซิร์ฟเวอร์ 1 เครื่อง เครื่องไคลเอนต์ 5 เครื่อง และเครื่องพิมพ์ 1
เครื่อง การทำงานแบบไคลเอนต์/เซิร์ฟเวอร์ (Client/Server) มีประโยชน์ต่อองค์กรที่มีผู้ใช้จำนวน
มากต้องการเข้าถึงข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ซึ่งระบบเครือข่ายไคลเอนต์/เซิร์ฟเวอร์ เป็นระบบที่มีประ
สิทธิภาพสูงในการเข้าถึงและจัดการฐานข้อมูลสำหรับโปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ
สถาปัตยกรรมไคลเอนต์-เซิร์ฟเวอร์ แบบ 2 ระดับ (Two-Tier Client-Server
Architecture) เป็นรูปแบบการทำงานของระบบงานที่มีการแบ่งเทียร์ออกเป็นสองส่วนโดยทั้งสอง
ส่วนทำงานประสานกันเพื่อให้ระบบงานสามารถทำงานสำเร็จตามวัตถุประสงค์ โดยการประมวล
ผลที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อกับผู้ใช้งาน ทั้งเซิร์ฟเวอร์และไคลเอนต์ทำงานสื่อสารกัน ด้วยระบบ
เครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยอาศัยรูปแบบโปรโตคอล (Protocol) การสื่อสารทั้งที่ไคลเอนต์ และ
14
เซิร์ฟเวอร์ได้ตกลงกันไว้ เป็นไปได้เหมือนกันที่เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องเดียวจะติดตั้งเทียร์ทั้งใน
ส่วนเซิร์ฟเวอร์และไคลเอนต์ไว้ในเครื่องเดียวกัน ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ในการทดสอบหรือทดลองการ
ทำงานก่อนการใช้งานจริง
สถาปัตยกรรมไคลเอนต์-เซิร์ฟเวอร์ แบบ 3 ระดับ (Three-Tier Client-Server
Architecture) เพื่อแก้ปัญหาของทูเทียร์จึงเพิ่มจากสองเทียร์เป็นสามเทียร์โดยในแบบทูเทียร์เดิม
ไคลเอนต์จะติดต่อ โดยตรงกับฐานข้อมูล หากมีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกิดขึ้นในฐานข้อมูล การ
แสดงผลทางด้านไคลเอนต์จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ในการแก้ปัญหานี้จะเพิ่มเทียร์ใหม่
เข้ามาขั้นระหว่างไคลเอนต์และเซิร์ฟเวอร์โดยไคลเอนต์จะติดต่อกับเซิร์ฟเวอร์โดยผ่านทางออบเจ็ค
ที่อยู่บนมิดเดิลเทียร์ (Middle Tier) จากนั้นมิดเดิลเทียร์จะติดต่อกับเซิร์ฟเวอร์ โดยไคลเอนต์จะ
เห็นเฉพาะออบเจ็คในมิดเดิลเทียร์เท่านั้นการเปลี่ยนแปลงใด ๆ จะต้องทำผ่านมิดเดิลเทียร์เท่านั้น
โดยเทียร์ในส่วนนี้มีชื่อเรียกทั่วไปว่าแอพพลิเคชั่นเซิร์ฟเวอร์ (Application Server)
คอมพิวเตอร์เก็บข้อมูล คอมพิวเตอร์ใช้งาน
Client Server
คำร้องขอ
ผลลัพธ์
ระบบเครือข่าย ฐานข้อมูล
ภาพที่ 2-6 การทำงานของระบบไคลเอนต์/เซิร์ฟเวอร์หรือระบบสองชั้น
มิดเดิลแวร์
คอมพิวเตอร์เก็บข้อมูล คอมพิวเตอร์ใช้งาน
Client Server
คำร้องขอ
ผลลัพธ์
Application Server
ฐานข้อมูล
ภาพที่ 2-7 การทำงานของระบบไคลเอนต์/เซิร์ฟเวอร์หรือระบบสามชั้น
15
2.3.2 MySQL Server (กิตติ, 2545) เป็นระบบบริหารจัดการฐานข้อมูล ระดับเซิร์ฟเวอร์ซึ่ง
เรียกว่า DataBase Management System คอยทำงานตามคำสั่ง SQL ที่ส่งมาจากไคลเอนต์ โดย
ใช้คำสั่งมาตรฐานของ SQL92 รวมไปถึงคำสั่งเฉพาะของ MySQL เองและทำงานในรูปแบบของ
Multi-thread และ Multi-User มีจุดเด่นคือมีประสิทธิภาพที่ดี รวดเร็ว ใช้งานง่ายมีความเชื่อถือ
สูงสนับสนุนการใช้งานบนระบบปฏิบัติการหลายตัวเช่น Linux, Windows9x, Windows NT,
Windows 2000 ทั้งยังใช้ได้กับหลายภาษา
MySQL เป็นโปรแกรมด้านแม่ข่ายบริการฐานข้อมูล (Database Server) ซึ่งพัฒนาโดยกลุ่ม
โปรแกรมเมอร์ซึ่งเป็นทีมงานที่มีความคุ้นเคยในการทำงานกับระบบปฏิบัติการ Unix ในลักษณะ
Command line และทีมงานนี้ไม่ได้คิดจะแสวงหาผลประโยชน์ จาก MySQL ซึ่งผู้ใช้จะต้องพิมพ์
คำสั่งเข้าไปทีละบรรทัด เพื่อส่งให้ MySQL ทำงาน
2.3.3 แผนภาพกระแสข้อมูล (Data flow Diagram:DFD) แผนภาพกระแสข้อมูล (Data
flow Diagram:DFD) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในขั้นตอนของการออกแบบระบบใหม่ เพื่อทำการ
อธิบายสิ่งที่จะเกิดขึ้นในระบบใหม่ ซึ่งสามารถอธิบายให้ผู้ใช้ระบบรวมทั้งผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้
ทราบรายละเอียดต่าง ๆ ของระบบใหม่ แผนภาพกระแสข้อมูลสามารถแสดงได้โดยการใช้สัญญ
ลักษณ์พื้นฐานการประมวลผล ทิศทางการไหลของข้อมูล การเก็บข้อมูล และเอ็นทิตี้ต่าง ๆ ที่อยู่
นอกระบบที่เราออกแบบโดยมีการรับข้อมูลหรือเอกสารจากระบบอื่น ๆ
2.3.3.1 สัญลักษณ์ที่ใช้ในแผนภาพกระแสข้อมูล การวิเคราะห์และออกแบบ
ระบบโดยใช้แผนภาพการไหลของข้อมูล (Data flow Diagram :DFD) (โอภาส, 2546) การ
ทำงานอาศัยสัญลักษณ์ 4 อย่าง คือ
2.3.3.1.1 ส่วนประกอบภายนอก (External Entity) บอกถึงสิ่งภายนอกที่
ระบบส่งข้อมูลไปให้ ใช้สัญลักษณ์ คือ
ภาพที่ 2-8 สัญลักษณ์ส่วนประกอบภายนอก
2.3.3.1.2 กระบวนการทำงาน (Process) บอกถึงขั้นตอนในการทำงานของ
กระบวนการหนึ่ง ๆ ในระบบว่ามีขั้นตอนอย่างไรใช้สัญลักษณ์ คือ
บุคคล องค์กร หรือระบบงาน
16
ภาพที่ 2-9 สัญลักษณ์กระบวนการทำงาน
2.3.3.1.3 หน่วยจัดเก็บข้อมูล (Data Store) ใช้สำหรับจัดเก็บข้อมูลหรือมี
การเรียกใช้ข้อมูลใช้สัญลักษณ์ คือ
ภาพที่ 2-10 สัญลักษณ์แฟ้มข้อมูล
2.3.3.1.4 การไหลของข้อมูล (Data Flow) บอกการเคลื่อนของข้อมูลจาก
จุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งโดยจะต้องมีชื่อกำกับเสมอ สัญลักษณ์ที่ใช้คือ
ภาพที่ 2-11 แสดงสัญลักษณ์ทิศทางการไหลข้อมูล
2.3.2.2 ความสำคัญและประโยชน์ของแผนภาพกระแสข้อมูล
2.3.2.2.1 แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของกระบวนการทำงานและข้อมูล
2.3.3.2.2 สามารถตรวจสอบความถูกต้องของกระบวนการทำงาน
2.3.3.2.3 นำไปสู่การพัฒนาระบบงานใหม่เพิ่มเติม จากระบบเดิมได้ง่าย
2.3.3.2.4 แสดงให้เห็นถึงการจัดเก็บข้อมูลในระบบว่าจัดเก็บเมื่อใดบ้างและ
เก็บข้อมูลอะไร ซึ่งนำไปสู่การออกแบบแฟ้มข้อมูลต่อไป
2.3.3.2.5 แสดงให้เห็นว่ามีข้อมูลอะไร เข้า-ออกระบบบ้าง เพื่อจะได้ออกแบบ
ระบบให้เหมาะสมกับการนำเข้าและการแสดงผลข้อมูลให้ครอบคลุม
2.3.4 แผนภาพความสัมพันธ์ระหว่าง เอ็นทิตี้ (Entity Relationship Diagram : E-R
Diagram) หมายถึงแผนภาพความสัมพันธ์ทางตรรกศาสตร์ระหว่างบุคคล สถานที่ สิ่งของ หรือข้อ
เส้นทางการไหลของข้อมูล
การประมวลผล
แฟ้มข้อมูลต่าง ๆ
ต้นทาง ปลายทาง
17
มูล (Shelly, Cash man, Rosenblatt : 1998) เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับผู้ปกครอง
เนื่องจากนักเรียนต้องมีผู้ปกครองซึ่งจะต้องให้คำปรึกษาให้คำแนะนำซึ่งแผนภาพนี้จะเป็นแผนภาพ
ที่ช่วยในการออกแบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ในระดับแนวคิด โดยแสดงถึงรายละเอียดและความ
สัมพันธ์ของข้อมูลต่าง ๆ ในลักษณะภาพรวม ซึ่งเป็นประโยชน์ในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล
ในระบบว่ามีรายละเอียดและความสัมพันธ์กันอย่างไร ซึ่งสามารถแสดงความสัมพันธ์ของเอ็นทิตี้
ต่าง ๆ ในรูปของแผนภาพแสดงความสัมพันธ์
2.3.4.1 สัญญลักษณ์ที่ใช้แทนส่วนประกอบของ E-R Diagram ส่วนประกอบ ของ
แบบจำลองข้อมูลแบบ E-R Diagram ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ 3 ส่วนคือ
2.3.4.1.1 Entity เป็นรูปภาพที่ใช้แทนสิ่งต่าง ๆ ที่สามารถระบุได้ในความ
เป็นจริง ซึ่งอาจเป็นสิ่งที่จับต้องได้ เช่น เจ้าหน้าที่-ครูอาจารย์ นักเรียนที่ลงทะเบียนเรียน หนังสือ
เอกสารต่าง ๆ เป็นต้น หรืออาจเป็นเพียงสิ่งที่อยู่ในรูปนามธรรมที่ไม่สามารถจับต้องได้ เช่น วัน
หยุดราชการ ใช้สัญญลักษณ์รูปภาพสี่เหลียมผืนผ้าด้านบนเป็นชื่อของ entity
2.3.4.1.2 Attribute เป็นสิ่งที่ใช้อธิบายคุณลักษณะของ entity หนึ่ง ๆ ว่ามี
ส่วนประกออะไรบ้าง เช่น entity “Teaching” ประกอบด้วยคุณลักษณะดังต่อไปนี้ คือ รหัสครูผู้
สอนระดับชั้น รหัสวิชา ห้องที่ปรึกษา ภาคเรียน ปีการศึกษา เป็นต้น ใช้สัญญลักษณ์รูปสี่เหลี่ยมผืน
ผ้า ด้านบนเป็นชื่อของ entity ด้านล่างเป็นส่วนของคุณลักษณะของ entity
-staff_code
-std_level
-sub_code
-std_class
Teaching
ภาพที่ 2-13 สัญลักษณ์ Attribute
-teacher_code
-teacher_addr
Teaching
ภาพที่ 2-12 สัญลักษณ์ entity
18
2.3.4.1.3 Relationships เป็นการนำเอา entity มารวมกัน เพราะในระบบ
หนึ่งจะต้องมีความสัมพันธ์ของ entity ต่าง ๆ เช่นนักเรียน จะต้องมีความสัมพันธ์กับอาจารย์ที่
ปรึกษา คือ นักเรียน 1 คนมีที่ปรึกษานักเรียนได้หลายคน การแสดงความสัมพันธ์จะใช้ รูปสี่เหลี่ยม
ข้าวหลามตัดแทนความสัมพันธ์ และความสัมพันธ์นั้นจะมี Attribute สังกัดอยู่ด้วย
ภาพที่ 2-14 สัญลักษณ์ Relationships
2.3.4.2 สัญลักษณ์แสดงความสัมพันธ์ ความสัมพันธ์ระหว่าง entity เป็นความ
สัมพันธ์ที่สมาชิกของ entity หนึ่งสัมพันธ์กับอีกสมาชิกของ entity หนึ่ง ซึ่งจะสามารถแบ่ง
ประเภทของความสัมพันธ์ออกได้เป็น 3 ประเภท สามารถใช้สัญญลักษณ์แทนได้ดังต่อไปนี้
2.3.4.2.1 ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง (one-to-one) เป็นความสัม พันธ์ที่
สมาชิกของ entity หนึ่ง จะมีความสัมพันธ์กับอีกสมาชิกของ entity หนึ่ง เพียงสมาชิกเดียวเท่านั้น
เช่น entity “นักเรียน” จะมีความสัมพันธ์กับ entity “คำแนะนำ” เป็นแบบหนึ่งต่อหนึ่ง เนื่องจาก
นักเรียน 1 คนมีคำแนะนำได้เพียง 1 ค่า เท่านั้น และ คำแนะนำ 1 ค่า จะเป็นคำแนะนำของนักเรียน
เพียง 1 คนเท่านั้น
ภาพที่ 2-15 ความสัมพันธ์แบบ หนึ่งต่อหนึ่ง (one-to-one)
1 M
-sub_code
-sub_name
-sub_credit
-sub_type
-sub_desc
Subject
-cur_code
-cur_nam
-cur_term
Curriculum
has
1 1
-
-
-
-
-
Comment
-std_code
-std_nam
-std_addr
-
Student
has
19
2.3.4.2.2 ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อกลุ่ม (one-to-many) เป็นความสัมพันธ์
ที่สมาชิกของ entity หนึ่ง จะมีความสัมพันธ์กับอีกสมาชิกของ entity หนึ่ง ได้มากกว่า 1 สมาชิก
เช่น entity “หลักสูตร” จะมีความสัมพันธ์กับ entity “รายวิชา” เป็นแบบหนึ่งต่อกลุ่ม เนื่องจาก
หลักสูตร 1 หลักสูตรมีมากกว่า 1 รายวิชา และ รายวิชา 1 รายวิชา สามารถใช้หลักสูตรได้เพียง 1
หลักสูตร
ภาพที่ 2-16 ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อกลุ่ม (one-to-many)
2.3.4.2.3 ความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่ม (many-to-many) เป็นความ
สัมพันธ์ ที่สมาชิกของ entity (A) จะมีความสัมพันธ์กับอีกสมาชิกของ entity (B) ได้มากกว่า 1
สมาชิก ทำนองเดียวกันสมาชิกของ entity (B) จะมีความสัมพันธ์กับสมาชิกของ entity (A) ได้
มากกว่า 1 สมาชิกเช่นกัน ตัวอย่างเช่น นักเรียนหลายคนสามารถเลือกเรียนได้หลายวิชาและในราย
วิชาหนึ่งก็สามารถให้นักเรียนเลือกเรียนได้หลายคน
ภาพที่ 2-17 ความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่ม (many-to-many)
2.3.5 ระบบฐานข้อมูล (Database System) ฐานข้อมูล (Database) มีบทบาทสำคัญมากต่อ
หน่วยงานด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับระบบงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ ความหมายของฐานข้อมูล
(Database) คือการจัดเก็บข้อมูลอย่างมีระบบ ซึ่งผู้ใช้สามารถเรียกใช้ข้อมูลในลักษณะต่าง ๆ ได้
M -
-
-
-
-
Subject
-std_code
-std_nam
-std_addr
-
Student
N
has
-
-
-
-
-
Subject
-cur_id
-cur_nam
-
-
Curriculum
1 M
has
20
(ศิริลักษณ์, 2542 : 9) ข้อมูลเป็นส่วนประกอบที่สำคัญอันที่นำมาซึ่งระบบสารสนเทศคือ การแปลง
ข้อมูลให้อยู่ในรูปสารสนเทศที่ใช้เป็นกลยุทธ์ที่สำคัญที่จะทำให้องค์กรบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
ดังนั้นข้อมูลก็เปรียบเสมือนวัตถุดิบ สารสนเทศก็เปรียบเสมือนกระบวนการผลิต ที่สามารถดึงข้อ
มูลออกมาใช้ประโยชน์จากแหล่งจัดเก็บที่เรียกว่า ฐานข้อมูล (Databases)ในโครงสร้างข้อมูลใน
ฐานข้อมูล (Data Structure) ซึ่งโครงสร้างข้อมูลจะแสดงถึงข้อมูลต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์ต่อกัน
ภายในข้อมูลนั้น การจัดการฐานข้อมูล นับว่ามีความสำคัญต่อความสำเร็จในการใช้ข้อมูลเป็นอย่าง
ยิ่ง ในด้านการจัดการผู้จัดการฐานข้อมูลจะเป็นผู้ดูแลพจนานุกรมข้อมูล และให้คำแนะนำหรือชี้
แนะการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ใหม่ ๆ
2.3.6 พจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary) แผนภาพกระแสข้อมูลใช้บรรยายภาพรวมของ
ระบบโดยแสดงความสัมพันธ์ระหว่างโปรเซสและข้อมูลไม่ได้แสดงถึงรายละเอียดของข้อมูลว่ามี
อะไรบ้าง พจนานุกรมข้อมูลจะแสดงถึงรายละเอียดต่าง ๆ ของข้อมูลที่ใช้งานในระบบ ซึ่งประกอบ
ด้วย Relation, Aliases name, Data Description, Attribute, Primary Key, Foreign Key
รวมทั้งโครงสร้างข้อมูลต่าง ๆ เพื่อใช้ในการอ้างอิงในขั้นตอนของการเขียน โปรแกรม (โอภาส,
2546:80) พจนานุกรมมีประโยชน์หลายอย่างด้วยกัน เช่น ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงขอบเขตข้อมูล หรือ
ลบทิ้งจากฐานข้อมูล พจนานุกรมข้อมูลสามารถระบุให้โปรแกรมทุก ๆ โปรแกรมอาจจะมีการปรับ
ปรุงบางส่วน และพจนานุกรมยังมีประโยชน์การคงสภาพของข้อมูลในฐานข้อมูล (สัลยุทธ, 2545:
44)
กล่าวโดยสรุป พจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary) เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับข้อมูลจำนวน
มากก็คือ การจัดเรื่องข้อมูลที่ใช้กับโปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ ซึ่งจำเป็นต้องมีวิธีการติดตามรายการ
ข้อมูล เช่น ข้อมูลถูกนำไปใช้ที่ไหน แหล่งต้นตอของข้อมูล ชื่อโปรแกรมประยุกต์ที่เรียกไปใช้
เป็นต้น สิ่งที่พบเห็นในพจนานุกรมข้อมูลระบุไว้ในโปรแกรมฐานข้อมูล เช่น ชื่อขอบเขตข้อมูลทั้ง
หมดของฐานข้อมูลพร้อมชื่อโปรแกรมที่ใช้ พจนานุกรมจะบอกให้ผู้ใช้หรือโปรแกรมเมอร์รู้ว่ามีข้อ
มูลอะไรบ้างอยู่ในฐานข้อมูล และใช้จากข้อมูลอย่างไร พจนานุกรมยังติดตามว่าข้อมูลต่าง ๆ ถูกจัด
เก็บไว้ส่วนใดของจานเก็บข้อมูล (Disk)
2.4 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ในการพัฒนาระบบงานลงทะเบียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet) และชำระค่าบำรุง
การศึกษา ผ่านเครือข่ายธนาคาร กรณีศึกษาวิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี ได้งานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนา
ระบบงานทะเบียน โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการบริหารจัดการ ดังนี้
21
ดรุณี (2535) ได้ทำการประเมินการใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ ในระบบงานทะเบียนนักศึกษา
ระดับอาชีวศึกษา การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อปรับโปรแกรมไมโครคอมพิวเตอร์ สำหรับงาน
ทะเบียนนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคระยองให้เหมาะสมกับงาน ทะเบียนนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษา
เพื่อเปรียบเทียบการดำเนินงานของงานทะเบียนนักศึกษาที่ใช้วิธีการทำด้วยมือ กับการใช้เครื่อง
คอมพิวเตอร์ ในด้านเวลากำลังคน ค่าใช้จ่าย และความถูกต้องของสารสนเทศ และเพื่อศึกษาความ
คิดเห็นของผู้ใช้โปรแกรมประชากรและกลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรของวิทยาลัยอาชีวศึกษา ผลการ
วิจัยสรุปได้ว่า การปรับโปรแกรมไมโครคอมพิวเตอร์ มีผลทำให้ยกเลิก โปรแกรมเดิมและสร้าง
โปรแกรมขึ้นมาใหม่ส่วนการเปรียบเทียบการดำเนินงาน พบว่า การใช้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติงาน
ทะเบียนนักศึกษา ช่วยประหยัดเวลาในการทำงาน ตลอดปีประมาณร้อยละ 87.38 ของเวลาที่เจ้า
หน้าที่ทะเบียนใช้ทำด้วยมือ ตลอดจนประหยัดกำลังคนถึง 2 คน และประหยัดเงินประมาณปีละ
48,915.88 บาท นอกจากนี้ยังได้สารสนเทศที่ถูกต้องมากกว่าทำด้วยมือ ซึ่งมีประโยชน์มากต่องาน
ทะเบียน
สุภัคดิ์ (2544) ได้พัฒนาระบบลงทะเบียนเรียน และสอบถามผลการเรียนผ่านเครือข่าย
อินเทอร์เน็ต กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเกริก งานวิจัยนี้จัดทำขึ้นค้นเพื่อออกแบบและพัฒนาระบบลง
ทะ เบียน และสอบถามผลการเรียน ทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งถือว่าเป็นระบบสารสนเทศที่สำคัญอย่างยิ่ง
ในสถาบันการศึกษา ระบบที่พัฒนาขึ้นมานี้เรียกว่า Tools Register โดยแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ
Creating information for the registration, Generating the register และ Report ส่วนแรก
เป็นการสร้างข้อมูลสำหรับการลงทะเบียน เช่น ข้อมูลประวัตินักศึกษา หลักสูตร และค่าใช้จ่าย
เป็นต้น ส่วนที่ 2 เป็นระบบการลงทะเบียนโดยจะใช้ฐานข้อมูลจากส่วนแรก ที่สร้างไว้ และส่วนที่ 3
คือส่วนที่เป็นรายงานในการลงทะเบียนและค่าใช้จ่ายในภาค การศึกษานั้น ๆ Application
Software นี้สร้างขึ้นด้วย Visual Basic 6.0 ซึ่งสามารถสร้าง Graphic User Interface ให้มี
ความง่ายต่อการใช้งานของผู้ใช้ และใช้ MS-Access97 เป็นฐานข้อมูล ระบบนี้ผู้ใช้สามารถเข้าสู่
ระบบลงทะเบียนและสอบถามผลการเรียนด้วย ตัวเองผ่านเครือข่าย Internet ผ่านทาง Web site ของ
มหาวิทยาลัยเกริก โดยเครื่อง ลูกข่าย (Client) ไปยังแม่ข่าย (Server) ที่เก็บฐานข้อมูลไว้ จากการ
ทดลองใช้ระบบโดยกลุ่มผู้ใช้คือเจ้าหน้าที่ฝ่ายทะเบียนและนักศึกษาจำนวน 30 คน พบว่าระบบที่
พัฒนาขึ้นช่วยในการทำงานด้านการลงทะเบียนและสอบถามผลการเรียน ให้สะดวกรวดเร็ว ระบบ
นี้จึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานด้านการลงทะเบียนและสอบถามผลการเรียน ได้เป็นอย่างดี
และสามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาระบบสารสนเทศต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยต่อไป
สุวัฒน์ (2544) ได้พัฒนาระบบงานลงทะเบียนเรียนในสถาบันการศึกษา ผ่านเครือข่าย
22
อินเทอร์เน็ต โดยใช้ซอฟต์แวร์ทูล ประเภทฟรีแวร์ ระบบที่พัฒนานี้เป็นการทำงานแบบไคล์เอนต์
เซิร์ฟเวอร์ ที่ทำงานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งในส่วนของเซิร์ฟเวอร์ ได้เลือกใช้ระบบปฏิบัติการ
ลีนุกซ์ (Linux) ระบบการจัดการฐานข้อมูล MySQL โปรแกรมอะปาเชเว็บเซิร์ฟเวอร์ โปรแกรม
ภาษาเพิร์ล เป็นซอฟแวร์ทูล และในส่วนของไคล์เอนต์ ที่ครอบคลุมการทำงานเกี่ยว กับการลง
ทะเบียนเรียนอย่างครบถ้วน จากการประเมินประสิทธิภาพของระบบ โดยผู้เชี่ยวชาญด้วย วิธีการ
ประเมินแบบ Black-Box พบว่าระบบงานนี้ มีประสิทธิภาพ ในระดับดี และสามารถที่จะนำไป
ประยุกต์ใช้งานในสถาบันการศึกษา ต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ไอรดา (2541) ทำวิจัยเรื่องออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศ และระบบอินทราเน็ต
สำหรับงานทะเบียนประมวลผลการศึกษาโดยใช้งานทะเบียนและประมวลผลการศึกษางานบริการ
การศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นกรณีศึกษา ในการวิจัย จะเริ่มจากการศึกษา
และวิเคราะห์ระบบงานที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ประกอบกับความต้องการของผู้ใช้ จากนั้นจึงออกแบบ
และพัฒนาระบบใหม่โดยใช้ไมโครซอฟต์แอกเซสในการพัฒนาฐานข้อมูล รวมทั้งต้นแบบ
โปรแกรมประยุกต์สำหรับการบริหารจัดการ ฐานข้อมูล ระบบอินทราเน็ตจะพัฒนาเป็นระบบที่
ทำงานภายใต้ระบบปฏิบัติการ Windows NT โดยมี Internet Information Server เป็นตัวให้
บริการเว็บ และใช้โปรแกรม Active Server Page ในการเขียนโปรแกรมสำหรับติดต่อกับฐานข้อ
มูลเว็บ ผลที่ได้จากการวิจัยได้แก่ ต้นแบบระบบฐานข้อมูลและระบบอินทราเน็ต ระบบฐานข้อมูล
จะช่วยแก้ปัญหาในเรื่องความซ้ำซ้อนและความไม่สอดคล้องของข้อมูล โดยมีโปรแกรมประยุกต์
สำหรับการคำนวณประมวลผลที่มีประสิทธิภาพแบบ Graphic User Interface ช่วย อำนวยความ
สะดวกในการทำงานให้กับเจ้าหน้าที่ซึ่งส่งผลให้งานบริการการศึกษาสามารถ ประกาศ ผลการ
ศึกษาและออกเอกสารด้านการศึกษาได้ถูกต้องและรวดเร็วขึ้น
จากการศึกษางานวิจัยข้างต้นสรุปได้ว่า การนำระบบสารสนเทศไปใช้ในงานทะเบียนจะช่วย
ลดเวลาการทำงานของเจ้าหน้าที่ทะเบียน มีความถูกต้อง รวดเร็ว ประหยัดเวลาและงบประมาณสอด
คล้องกับการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่องานทะเบียนของสถานศึกษา ซึ่งผู้พัฒนาได้กำหนดกรอบ
แนวคิดที่จะรวมทุกระบบที่เกี่ยวกับงานทะเบียนอันได้แก่ การลงทะเบียนเรียนของนักเรียน การ
กรอกผลการเรียน สรุปผลการเรียน ข้อเสนอแนะต่าง ๆ รวมทั้งการตรวจสอบผลการเรียนพร้อม
พิมพ์ส่วนต่าง ๆ ได้ตามต้องการโดยผ่านระบบเครือข่าย Internet ทั้งหมด
บทที่ 3
วิธีการดำเนินงาน
โปรแกรมระบบงานลงทะเบียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและชำระค่าบำรุงการศึกษาผ่าน
เครือข่ายธนาคารกรณีศึกษาวิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี มีขั้นตอนการดำเนินงาน 7 ขั้นตอน ดังนี้
1. การศึกษาปัญหาและความต้องการของระบบ
2. การวิเคราะห์และออกแบบระบบ
3. กลุ่มตัวอย่าง
4. แบบแผนการวิจัย
5. เครื่องมือการวิจัย
6. วิธีการดำเนินการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูล
7. สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล
ในการพัฒนาระบบงานลงทะเบียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและชำระค่าบำรุงการศึกษาผ่าน
เครือข่ายธนาคารกรณีศึกษาวิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี ผู้พัฒนาได้ดำเนินการ ตามลำดับหัวข้อดังนี้
3.1 การศึกษาปัญหาและความต้องการของระบบ
ในการศึกษาปัญหาและความต้องการของระบบนี้ เป็นกระบวนการศึกษาในการใช้งานด้าน
เทคนิค จากการศึกษาเอกสารสรุปปัญหาของหน่วยงาน การสัมภาษณ์กับผู้ใช้โดยตรง หรือการ
สัมภาษณ์บุคลที่เกี่ยวข้องกับระบบงาน ได้แก่ นักศึกษา เจ้าหน้าที่การเงิน เจ้าหน้าที่ทะเบียน การสัง
เกตุการดำเนินงาน และการเข้าไปศึกษากับระบบงานที่ใช้ในปัจจุบัน ตลอดจนการออกแบบต้น
แบบของโปรแกรม เพื่อให้ผู้ใช้ได้ศึกษารูปแบบตามที่ต้องการ ค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งอ้างอิงที่เกี่ยว
ข้องกับงานทะเบียน และการศึกษาจากเอกสาร แบบฟอร์มต่าง ๆ ทำให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาและ
ความต้องการของระบบในรูปแบบใหม่ ผู้พัฒนาจึงรวบรวมข้อมูลตามความต้องการ เพื่อนำมา
ศึกษาความเป็นไปได้ของระบบงาน ตามความต้องการของผู้ใช้บนพื้นฐานความเป็นไปได้ของ
ระบบและเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจุบัน ที่เกี่ยวกับงานทะเบียนในสถานศึกษาที่ใช้งาน โดยนำข้อมูลที่
ได้มาทำความเข้าใจและวิเคราะห์ให้ได้ทั้งกระบวนการเดิมและแนวทางที่ผู้ใช้ต้องการ ซึ่งทำให้ได้
ความต้องการจากผู้ใช้ ซึ่งสรุปได้ดังนี้
24
3.1.1 ระบบควรมีความเป็นอัตโนมัติในการแสดงข้อมูลในรูปแบบที่เข้าใจง่ายการใช้งาน ไม่
สลับ ซับซ้อนเนื่องจากผู้ใช้มีความสามารถแตกต่างกัน
3.1.2 ตรวจสอบช่วงเวลาในการลงทะเบียน การกรอกผลการเรียน การให้คำแนะนำของ
อาจารย์ที่ปรึกษาและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
3.1.3 ตรวจสอบจำนวนเงินค่าบำรุงการศึกษาของนักศึกษาแต่ละคนได้ ทั้งก่อนการลง
ทะเบียนและหลังการลงทะเบียน
3.1.4 การเพิ่ม แก้ไขหรือค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับนักศึกษา เจ้าหน้าที่สามารถทำได้อย่าง
สะดวกรวดเร็ว เนื่องจากข้อมูลเกี่ยวกับงานทะเบียนนั้นค่อนข้างซับซ้อน โดยเฉพาะข้อมูลของหลัก
สูตร ซึ่งมีรายละเอียดมาก ระบบจำเป็นต้องเก็บข้อมูลให้ครอบคลุมให้มากที่สุด
3.1.5 ระบบต้องให้นักศึกษาตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับงานทะเบียนได้ โดยที่ไม่ต้องมา
ติดต่อฝ่ายทะเบียนหรือมาติดต่อให้น้อยที่สุด เพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับนักศึกษา รวมทั้งลดภาระ
งานของเจ้าหน้าที่ทะเบียนโดยให้นักศึกษาเข้าถึงข้อมูลต่างๆโดยผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
3.1.6 ระบบต้องให้ข้อมูลประชาสัมพันธ์ที่เกี่ยวกับงานทะเบียนได้ โดยผ่านระบบเพื่อให้
นักศึกษาได้ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
3.1.7 ระบบสามารถติดต่อสื่สารกับระบบงานที่เกี่ยวข้องกับงานทะเบียน ด้วยโปรแกรม
เมลได้ตลอดเวลาที่ต้องการติดต่อ เพื่อช่วยลดปัญหาในการให้บริการตอบคำถามของเจ้าหน้าที่ที่
เกี่ยวข้องโดยเฉพาะรูปแบบคำถามที่ซ้ำกัน
ในการพัฒนาระบบงานได้ออกแบบฐานข้อมูลให้สามารถสนับสนุนการตรวจสอบเงื่อนไข
ต่าง ๆ แนวทางในการแก้ปัญหาสามารถนำมาเขียนเป็นผังการทำงานดังภาพที่ 3-1
3.2 การวิเคราะห์และออกแบบระบบ
หลังจากที่ได้ศึกษาระบบงานเดิมทำให้ทราบปัญหาและความต้องของผู้ใช้ ซึ่งเป็นแนวทาง
ให้ผู้พัฒนาระบบได้วิเคราะห์ระบบงานลงทะเบียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet) และชำระ
ค่าบำรุงการศึกษา ผ่านเครือข่ายธนาคาร กรณีศึกษาวิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี โดยอาศัยเครื่องมือ คือ
แผนภาพการไหลของข้อมูล (Data Flow Diagram: DFD) เป็นเครื่องมือที่ใช้อธิบายถึงขั้นตอน
การทำงานของระบบ แสดงทิศทางการไหลของข้อมูล ซึ่งจะอธิบายให้ผู้พัฒนาระบบ ผู้ใช้รวมทั้งผู้
มีส่วนเกี่ยวข้องได้ทราบรายละเอียดของการทำงานได้ดียิ่งขึ้น โดยเริ่มจากแผนภาพกระแสข้อมูล
ระบบสูงสุด (Context Diagram) หลังจากนั้นผู้พัฒนาได้ใช้เครื่อง มือในสร้างข้อมูล โดยอาศัย
โครงสร้างฐานข้อมูลที่เรียกว่า แผนภาพอี-อาร์ (Entity Relationship Diagram : E-R Diagram)
25
ซึ่งแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลทั้งระบบ โดยมีใช้แผนภาพอี-อาร์ อธิบายความสัมพันธ์ของข้อมูล
และ เขียนแผนภาพข้อมูลอย่างมีหลักเกณฑ์ ดังนี้
Start
รหัสใช้งาน
Login
ส่งเอกสาร ยกเลิกรายวิชา เพิ่มรายวิชา ถอนรายวิชา
ถอนรายวิชา
อาจารย์ที่ปรึกษา
ระบบลงทะเบียน ระบบสื่อสารข้อมูล
งานการเงิน
ATM
ลงทะเบียน
แฟ้มข้อมูลลงทะเบียน
ลงทะเบียน
Stop
ใบเสร็จ Internet
Banking
งานทะเบียน
1
1
อ่านเอกสาร ค้นหาเอกสาร ยกเลิกระบบงาน ลบเอกสาร
ภาพที่ 3-1 System Flowchart การลงทะเบียนของนักศึกษา
26
ภาพที่ 3-1 แสดง System Flowchart ของโปรแกรมระบบงานลงทะเบียนผ่านเครือข่าย
อินเทอร์เน็ต (Internet) และชำระค่าบำรุงการศึกษา ผ่านเครือข่ายธนาคาร กรณี
ศึกษาวิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี
3.2.1 แผนภาพกระแสข้อมูลระดับสูงสุด (Context Diagram) ของโปรแกรมระบบงานลง
ทะเบียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet) และชำระค่าบำรุงการศึกษา ผ่านเครือข่ายธนาคาร
กรณีศึกษา วิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี สามารถเขียนได้ดังภาพที่ 3.2
ระบบลงทะเบียนผ่านเครือ
ข่ายอินเตอร์เน็ต
นักศึกษา
งานการเงิน อาจารย์ผู้สอน
งานทะเบียน ลงทะเบียน
เพิ่ม-ถอนรายวิชา
ยกเลิกรายวิชา
ข้อมูลรายวิชา
ข้อมูลหลักสูตร
ข้อมูลผู้สอน
ข้อมูลค่าบำรุงการศึกษา
ข้อมูลผู้ใช้งานระบบ
ข้อมูลนักศึกษา
ผลการลงทะเบียน
ผลการเรียนรายวิชา
รายชื่อนักศึกษา
รายชื่อนักศึกษาที่ลงทะเบียน
ผลเวลาเรียน
ผลการเรียน
ผลพิจารณาการลงทะเบียน
รายชื่อนักศึกษาที่ลงทะเบียน
แบบบันทึกเวลาเรียน
แบบบันทึกคะแนน
ผลการลงทะเบียน
ผลการเรียน
ผลเวลาเรียน
ผลการเรียนสะสม
0
ภาพที่ 3-2 Context Diagram ของการพัฒนาระบบงานลงทะเบียน
ภาพที่ 3-2 แสดง Context Diagram ของการพัฒนาโปรแกรมระบบงานลงทะเบียนผ่าน
เครือข่าย อินเทอร์เน็ต (Internet) และชำระค่าบำรุงการศึกษา ผ่านเครือข่ายธนาคาร กรณีศึกษา
วิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี
จากแผนภาพกระแสข้อมูลระดับสูงสุด (Context Diagram) มีแหล่งข้อมูลจากภายนอก
ระบบและสามารถนำข้อมูลต่างๆ นำมาอธิบายความสำคัญของแต่ละส่วนได้ดังนี้
3.2.1.1 เจ้าหน้าที่ทะเบียนคือผู้เข้าระบบในฐานะผู้ดูแลระบบทำหน้าที่ดูแลจัดการข้อ
มูลทั้งหมดรวมทั้งการจัดการฐานข้อมูลเบื้องต้นและมีหน้าที่หลักคือการตรวจสอบ
27
ทะเบียนรายวิชา ทะเบียนหลักสูตร ผลการเรียนและทะเบียนประวัติของนักศึกษาทั้งหมด ทั้งการ
ตรวจสอบ ค้นหา เพิ่ม ลบ แก้ไขข้อมูล
3.2.1.2 อาจารย์ที่ปรึกษาและอาจารย์ผู้สอนคือ ผู้ที่เข้าสู่ระบบในฐานอาจารย์ที่ปรึกษา
หรือ อาจารย์ผู้สอน สามารถดูรายละเอียดเกี่ยวกับการลงทะเบียนเรียน การพิจารณาการขอลง
ทะเบียนของนักศึกษา การบันทึกเวลาเรียน คะแนนเก็บและผลการเรียนของรายวิชาที่สอน
3.2.1.3 นักศึกษาคือผู้ที่เข้าสู่ระบบในฐานะนักศึกษาสามารถลงทะเบียนเรียน เพิ่มหรือ
ถอนรายวิชา ตลอดจนแสดง ผลการเรียนรายวิชา ผลการเรียนสะสม เวลาเรียน ผลคะแนนระหว่าง
เรียน ค่าบำรุงการศึกษา
3.2.1.4 เจ้าหน้าที่การเงิน คือผู้ที่เข้าสู่ในฐานะเจ้าหน้าที่การเงิน มีหน้าที่ในการพิจารณา
และตรวจสอบ การชำระเงินลงทะเบียน ของนักศึกษา
3.2.2 แผนภาพการไหลของของมูล (Data Flow Diagram: DFD) แสดงถึงการไหลของข้อ
มูลเข้าและข้อมูลออก ขั้นตอนการทำงานต่าง ๆ ของโปรแกรมระบบงานลงทะเบียนผ่านเครือข่าย
อินเทอร์เน็ต (Internet) และ ชำระค่าบำรุงการศึกษา ผ่านเครือข่ายธนาคาร กรณีศึกษาวิทยาลัย
เทคนิคเพชรบุรี ซึ่งแสดงภาพรวมของระบบรวมทั้งรายละเอียดต่างๆ ดังภาพที่ 3-3 แสดงให้
เห็นถึงรายละเอียดของการประมวลผลหลัก และแฟ้มข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลระบบ
งานลงทะเบียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet) และชำระค่าบำรุงการศึกษาผ่านเครือข่าย
ธนาคาร กรณีศึกษาวิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี ซึ่งประกอบด้วยการประมวลผลทั้งหมด 5 กระบวน
การดังนี้
1. ปรับปรุงข้อมูลการลงทะเบียน 4. การยกเลิกรายวิชาที่ลงทะเบียน
2. ลงทะเบียนวิชาเรียน 5. รายงานผลการเรียน
3. การเพิ่ม-ถอนรายวิชาเรียน
ส่วนแฟ้มข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลหลักอีก 11 แฟ้มข้อมูลดังนี้
1. แฟ้มข้อมูลพื้นฐานระบบ 7. แฟ้มรายชื่อวิชาที่สอน
2. แฟ้มข้อมูลนักศึกษา 8. แฟ้มข้อมูลที่ชำระเงิน
3. แฟ้มข้อมูลรายวิชา 9. แฟ้มข้อมูลผู้ใช้งานระบบ
4. แฟ้มข้อมูลวิชาที่นักศึกษาได้ลงทะเบียน 10. แฟ้มข้อมูลจดหมาย
5. แฟ้มข้อมูลอาจารย์ผู้สอน 11. แฟ้มข้อมูลแนบไฟล์ในจดหมาย
6. แฟ้มข้อมูลรายชื่อวิชาที่สอน
28
ประมวลผลการศึกษา ลงทะเบียนประวัตินักศึกษา
ลงทะเบียน ยกเลิกรายวิชา เพิ่ม-ถอนรายวิชา ปรับปรุงข้อมูล
ข้อมูลคณะ
ข้อมูลลงทะเบียน
ประวัตินักศึกษา
นักศึกษา
อาจารย์
นักศึกษา
แผนก คณะ
ข้อมูลก่อนลงทะเบียน
อาจารย์
งานการเงิน
แผนก คณะ
ข้อมูลนักศึกษา
ข้อมูลอาจารย์
ข้อมูลแผนก ข้อมูลสาขาที่เปิด ข้อมูลนักศึกษา
ข้อมูลนักศึกษา
ข้อมูลนักศึกษา
ข้อมูลนักศึกษา ลงทะเบียนประวัตินักศึกษา
ผลการเรียนประจำวิชา
ข้อมูลหนี้สินนักศึกษา
ข้อมูลตารางเรียน
ข้อมูลตารางสอน
ข้อมูลเวลาเรียน
ข้อมูลวิชาที่เปิด
ข้อมูลนักศึกษา
ข้อมูลรายวิชา
ข้อมูลอาจารย์
ข้อมูลนักศึกษา
รายชื่อนักศึกษาที่ลงทะเบียน
ข้อมูลปรับปรุงรายวิชา
รายงานยอดนักศึกษาลงทะเบียน เพิ่ม -ลดรายวิชา รายงานการลงทะเบียน
รายการชำระเงินการลงทะเบียน
สรุปยอดนักศึกาาลงทะเบียน
ข้อมูลเวลาเรียน
ข้อมูลตารางสอน
ข้อมูลตารางเรียน
ข้อมูลลงทะเบียน
ข้อมูลวิชาที่เปิด
ข้อมูลรายวิชา
ข้อมูลหลักสูตร
ข้อมูลสาขา
ข้อมูลแผนก คณะ
ข้อมูลอาจารย์
ข้อมูลนักศึกษา
ข้อมูลนักศึกษา
ข้อมูลตารางสอน
ข้อมูลตารางเรียน
ข้อมูลลงทะเบียน
ข้อมูลเวลาเรียน
ข้อมูลรายวิชา
ข้อมูลหลักสูตร
ข้อมูลสาขา
ข้อมูลแผนก คณะ
ข้อมูลอาจารย์
ข้อมูลวิชาที่เปิด
ข้อมูลอาจารย์
ข้อมูลแผนก คณะ
ข้อมูลสาขา
ข้อมูลหลักสูตร
ข้อมูลรายวิชา
ข้อมูลเวลาเรียน
ข้อมูลนักศึกษา
ข้อมูลตารางสอน
ข้อมูลตารางเรียน
ข้อมูลเวลาเรียน ข้อมูลเวลาเรียน
ข้อมูลตารางสอน ข้อมูลตารางสอน
ข้อมูลตารางเรียน ข้อมูลตารางเรียน
ข้อมูลลงทะเบียน ข้อมูลลงทะเบียน
ข้อมูลวิชาที่เปิด ข้อมูลวิชาที่เปิด
ข้อมูลรายวิชา ข้อมูลรายวิชา
ข้อมูลหลักสูตร ข้อมูลหลักสูตร
ข้อมูลสาขา ข้อมูลสาขา
ข้อมูลแผนก คณะ
ข้อมูลแผนก คณะ
ข้อมูลอาจารย์ ข้อมูลอาจารย์
ข้อมูลนักศึกษา ข้อมูลนักศึกษา
ข้อมูลอาจารย์
ข้อมูลแผนก คณะ
รายชื่อนักศึกษาที่เข้าเรียน
แจ้งผลการการลงทะเบียน
แจ้งผลการเรียนรายวิชา
ข้อมูลแผนก
ข้อมูลอาจารย์
ข้อมูลเวลาเรียน
ข้อมูลตารางสอน
ข้อมูลตารางเรียน
ข้อมูลวิชาที่เปิด
ข้อมูลนักศึกษา
ข้อมูลรายวิชา
ข้อมูลอาจารย์
เอกสารปิด เปิดรายวิชา
ตารางเรียน
1
2 3 4 5
ภาพที่ 3-3 กระแสข้อมูล Data Flow Diagram Level 1 ของโปรแกรมระบบงานลงทะเบียน

29
จากการประมวลผลหลัก ทั้ง 5 กระบวนการและแฟ้มข้อมูลอีก 11 แฟ้มข้อมูลสามารถนำไป
เขียนแผนภูมิกระแสข้อมูลในระดับรองลงมา (Lower Level Data Flow Diagram) ซึ่งจะแสดง
รายละเอียดเพิ่มมากขึ้นในขั้นตอนของการประมวลผลแต่ละกระบวนการ โดยยังคงเป็นแผนภาพที่
สมดุล (Balancing) ดังแสดงในภาพที่ 3-4, 3-5, 3-6, 3-7, 3-8, 3-9, 3-10, 3-11 และ 3-12 ตาม
ลำดับ โดยกระบวนการทั้งหมดกระทำโดยผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
รับรหัสวิชาที่เปิด
แผนก/คณะ
บันทึกข้อมูลวิชาที่เปิด ตรวจสอบรายวิชาที่เปิด
รายงานวิชาที่เปิด
รับรหัสวิชาที่เปิด
อาจารย์
นักศึกษา
ข้อมูลรายวิชา
ข้อมูลตารางเรียน
ข้อมูลตารางสอน
ข้อมูลวิชาที่เปิด ข้อมูลวิชาที่เปิด
ข้อมูลวิชาที่เปิด ข้อมูลวิชาที่เปิด
ข้อมูลวิชาที่เปิด
ข้อมูลอาจารย์
รายชื่อนักศึกษาที่ลงทะเบียน
รายงานรายวิชาที่ลงทะเบียน
ข้อมูลตารางเรียน
ข้อมูลนักศึกษา
ข้อมูลตารางเรียน
ข้อมูลวิชาที่เปิด
ข้อมูลอาจารย์
ข้อมูลนักศึกษา
ข้อมูลรายวิชา
ข้อมูลตารางเรียน
ข้อมูลตารางสอน
1.2 1.3 1.4
1.5
1.1
ภาพที่ 3-4 Data Flow Diagram Level 2 ของกระบวนการเตรียมข้อมูลก่อนลงทะเบียน
30
กระบวนการเตรียมข้อมูลก่อนการลงทะเบียน ประกอบด้วยข้อมูลรายวิชาที่เปิดสอน ข้อมูล
ตารางเรียน ข้อมูลอาจารย์ผู้สอน ข้อมูลตารางสอน ข้อมูลนักศึกษาแผนกต่างๆ เพื่อส่งไปยัง งาน
ทะเบียนในหน้าที่ความรับผิดชอบ ต้องส่งเอกสารในการลงทะเบียนของนักศึกษา ไปยังอาจารย์ที่
ปรึกษา เพื่อให้นักศึกษาแต่ละคน รับเอกสารในการลงทะเบียน และให้คำปรึกษา ในการลงทะเบียน
เมื่อนักศึกษาได้เอกสารในการลงทะเบียนนักศึกษา จะต้องลงทะเบียนขอใช้งานการลงทะเบียนผ่าน
ระบบเครื่อข่ายของวิทยาลัยต่อไป
รายงานรายวิชาลงทะเบียน ลงทะเบียน
อาจารย์ที่ปรึกษา
แผนก คณะ
นักศึกษา
ข้อมูลลงทะเบียน
รายชื่อนักศึกษาเข้าระบบ
ข้อมูลเวลาเรียน
ข้อมูลตารางสอน
ข้อมูลตารางเรียน
ข้อมูลลงทะเบียน
ข้อมูลวิชาที่เปิด ข้อมูลวิชาที่เปิด ข้อมูลวิชาที่เปิด
ข้อมูลลงทะเบียน
ข้อมูลตารางเรียน
ข้อมูลตารางสอน
ข้อมูลเวลาเรียน
ข้อมูลลงทะเบียน
ข้อมูลนักศึกษา
ข้อมูลแผนก คณะ
ข้อมูลสาขาแผนก
ข้อมูลหลักสูตร
ข้อมูลรายวิชา ข้อมูลรายวิชา ข้อมูลรายวิชา
ข้อมูลหลักสูตร ข้อมูลหลักสูตร
ข้อมูลสาขา ข้อมูลสาขา
ข้อมูลแผนก คณะ ข้อมูลแผนก คณะ
ข้อมูลนักศึกษา ข้อมูลนักศึกษา
ข้อมูลลงทะเบียน
2.1
2.2 2.3
ภาพที่ 3-5 Data Flow Diagram Level 2 ของกระบวนการลงทะเบียน

31
โดยเริ่มจาก นักศึกษาขอลงทะเบียนใช้งานผ่านระบบเครือข่าย งานทะเบียนจะตรวจสอบราย
ชื่อของนักศึกษา ในฐานข้อมูลของงานทะเบียน เพื่อตรวจสถานภาพนักศึกษา และสามารถลง
ทะเบียนได้ โดยข้อมูลที่ใช้ในการลงทะเบียน ได้แก่ ข้อมูลนักสึกษา ข้อมูลรายวิชา ข้อมูลหลักสูตร
ข้อมูลตารางสอน ข้อมูลเวลาเรียน และข้อมูลอาจารย์ผู้สอน
รายงานรายชื่อนักศึกษาเข้าชั้นเรียน เพิ่ม ถอนรายวิชา
อาจารย์ที่ปรึกษา
อาจารย์
นักศึกษา
ข้อมูลลงทะเบียน
รายชื่อนักศึกษาเข้าระบบ
ข้อมูลเวลาเรียน
ข้อมูลตารางสอน
ข้อมูลตารางเรียน
ข้อมูลลงทะเบียน
ข้อมูลวิชาที่เปิด ข้อมูลวิชาที่เปิด ข้อมูลวิชาที่เปิด
ข้อมูลลงทะเบียน
ข้อมูลตารางเรียน
ข้อมูลตารางสอน
ข้อมูลเวลาเรียน
ข้อมูลเพิ่มถอนรายวิชา
ข้อมูลนักศึกษา
ข้อมูลแผนก คณะ
ข้อมูลสาขาแผนก
ข้อมูลหลักสูตร
ข้อมูลรายวิชา ข้อมูลรายวิชา ข้อมูลรายวิชา
ข้อมูลหลักสูตร ข้อมูลหลักสูตร
ข้อมูลสาขา ข้อมูลสาขา
ข้อมูลแผนก คณะ ข้อมูลแผนก คณะ
ข้อมูลนักศึกษา ข้อมูลนักศึกษา
ข้อมูลเพิ่ม ถอนรายวิชา
แผนก คณะ รายงานนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียน
3.1
3.2 3.3
ภาพที่ 3-6 Data Flow Diagram Level 2 ของกระบวนการเพิ่ม-ถอนรายวิชา

32
การลงทะเบียนของนักศึกษา โดยเริ่มจากนักศึกษาขอเอกสารการเพิ่ม-ถอนการลงทะเบียน
จากอาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อขอเพิ่มรายวิชา หรือถอนรายวิชา ในการลงทะเบียนใช้งานผ่านระบบเครือ
ข่ายของระบบ ในการเพิ่มรายวิชา ที่ต้องผ่านขั้นตอน คือ อาจารย์ที่ปรึกษา เจ้าห้าที่การเงิน และเจ้า
หน้าที่ทะเบียน ส่วนการถอนรายวิชา มีขั้นตอน คือ อาจารย์ที่ปรึกษา งานทะเบียน โดยข้อมูลที่ใช้
ในการเพิ่ม-ถอน รายวิชาประกอบด้วย ข้อมูลนักสึกษา ข้อมูลรายวิชาที่ต้องการเพิ่ม-ถอน ข้อมูล
หลักสูตร ข้อมูลตารางสอน ข้อมูลเวลาเรียน และข้อมูลอาจารย์ผู้สอน
รายงานผลการเรียนประจำวิชา ยกเลิกรายวิชา
ตรวจสอบรายวิชาที่เปิด
อาจารย์
อาจารย์
ข้อมูลลงทะเบียน
รายงานผลการเรียนประจำวิชา
ข้อมูลเวลาเรียน
ข้อมูลตารางสอน
ข้อมูลตารางเรียน
ข้อมูลลงทะเบียน
ข้อมูลวิชาที่เปิด ข้อมูลวิชาที่เปิด ข้อมูลวิชาที่เปิด
ข้อมูลลงทะเบียน
ข้อมูลตารางเรียน
ข้อมูลตารางสอน
ข้อมูลเวลาเรียน
ข้อมูลยกเลิกรายวิชา
ข้อมูลนักศึกษา
ข้อมูลแผนก คณะ
ข้อมูลสาขา
ข้อมูลหลักสูตร
ข้อมูลรายวิชา ข้อมูลรายวิชา ข้อมูลรายวิชา
ข้อมูลหลักสูตร ข้อมูลหลักสูตร
ข้อมูลสาขา ข้อมูลสาขา
ข้อมูลแผนก คณะ ข้อมูลแผนก คณะ
ข้อมูลนักศึกษา ข้อมูลนักศึกษา
4.1
4.2 4.3
ภาพที่ 3-7 Data Flow Diagram Level 2 ของกระบวนการยกเลิกรายวิชา

33
ในการลงทะเบียนของนักศึกษา โดยเริ่มจาก นักศึกษามีการลงทะเบียนผ่านระบบเครือข่าย
และยังอยู่ในช่วงดำเนินการตรวจสอบของอาจารย์ที่ปรึกษา โดยนักศึกษาจะสามารถยกเลิกรายวิชา
ที่อยู่ในระบบได้ การยกเลิกรายวิชาของนักศึกษา ได้แก่ ข้อมูลนักสึกษา ข้อมูลรายวิชา ข้อมูลหลัก
สูตร ข้อมูลตารางสอน ข้อมูลเวลาเรียน และข้อมูลอาจารย์ผู้สอน
บันทึกข้อมูลที่ปรับปรุง ค้นหารหัสข้อมูลที่ปรับปรุง
รับข้อมูลที่จะปรับปรุง
แผนก คณะ
ข้อมูลที่จะปรับปรุง
ข้อมูลเวลาเรียน
ข้อมูลรายวิชา
ข้อมูลหลักสูตร
ข้อมูลสาขา แผนก
ข้อมูลเวลาเรียน
ข้อมูลนักศึกษา
ข้อมูลแผนก คณะ ข้อมูลแผนก คณะ ข้อมูลแผนก คณะ
ข้อมูลนักศึกษา
ข้อมูลนักศึกษา
เพิ่ม แก้ไขรายละเอียด
ข้อมูลที่จะปรับปรุง ข้อมูลที่จะปรับปรุง
ข้อมูลสาขา แผนก
ข้อมูลหลักสูตร
ข้อมูลหลักสูตร
ข้อมูลรายวิชา
ข้อมูลรายวิชา
ข้อมูลเวลาเรียน
ข้อมูลสาขา แผนก
นักศึกษา
งานการเงิน ข้อมูลการเงินของนักศึกษา
อาจารย์ที่ปรึกษา
คำร้องขอปรับปรุงรายวิชา
ข้อมูลรหัสวิชา
ข้อมูลรหัสวิชา ข้อมูลรหัสวิชา
5.1
5.2 5.3 5.4
ภาพที่ 3-8 Data Flow Diagram Level 2 ของกระบวนการปรับปรุงข้อมูล ของระบบ
ภาพที่ 3-8 แสดง Data Flow Diagram Level 2 ของกระบวนการปรับปรุงข้อมูลในการ
ลงทะเบียนของนักศึกษา โดยเริ่มจากนักศึกษาได้ลงทะเบียนผ่านทุกขั้นตอนแล้ว งานทะเบียนจะทำ
การปรับปรุงข้อมูลในการลงทะเบียน เพื่อนำข้อมูลไปใช้งานในระบบที่เกี่ยวข้องต่างๆ ได้แก่ ราย
34
ชื่อนักศึกษาที่ลงทะเบียน รายชื่อนักศึกษาให้กับอาจารย์ผู้สอน รายชื่อวิชาที่เปิดเรียนในปีการ
ศึกษาปัจจุบัน ในขั้นตอนการปรับปรุงข้อมูลของระบบ ประกอบด้วยข้อมูลรายวิชา ข้อมูลหลักสูตร
ข้อมูลตารางสอน ข้อมูลเวลาเรียน ข้อมูลอาจารย์ผู้สอน ข้อมูลอาจารย์ที่ปรึกษา และข้อมูลแผนก
คณะ
รับรหัสนักศึกษา
ตรวจสอบข้อมูลนักศึกษา
รับรหัสรายวิชา
ตรวจสอบข้อมูลการลงทะเบียน
บันทึกข้อมูลลงทะเบียน
ข้อมูลลงทะเบียน
ข้อมูลนักศึกษา
ข้อมูลหลักสูตร ข้อมูลแผนก
ข้อมูลคณะ ข้อมูลคณะ
ข้อมูลแผนก
ข้อมูลนักศึกษา
ข้อมูลหลักสูตร
ข้อมูลลงทะเบียน
ข้อมูลลงทะเบียน
ข้อมูลลงทะเบียน
ข้อมูลนักศึกษา
ข้อมูลนักศึกษา
ข้อมูลนักศึกษา
ข้อมูลลงทะเบียน
ข้อมูลตารางเรียน
ข้อมูลวิชาที่เปิด
ข้อมูลลงทะเบียน
ข้อมูลตารางสอบ
ข้อมูลรายวิชา
ข้อมูลเวลาเรียน
ข้อมูลลงทะเบียน
ข้อมูลตารางสอบ
ข้อมูลรายวิชา
ข้อมูลเวลาเรียน ข้อมูลลงทะเบียน
ข้อมูลวิชาที่เปิด
ข้อมูลตารางเรียน
ข้อมูลลงทะเบียน
ข้อมูลวิชาที่เปิด
บันทึกข้อมูลลงทะเบียน
ข้อมูลลงทะเบียน
นักศึกษา
รายการการลงทะเบียน
เจ้าหน้าที่การเงิน
อาจารย์ที่ปรึกษา
ข้อมูลรายวิชา
ข้อมูลลงทะเบียน
ข้อมูลนักศึกษา
ข้อมูลแผนก
1.11
1.12
1.13
1.14
1.15
1.16
1.17
1.18
งานทะเบียน
ภาพที่ 3-9 Data Flow Diagram Level 3 ของกระบวนการลงทะเบียน
35
ขั้นตอนการลงทะเบียนโดยเริ่มจากนักศึกษาขอลงทะเบียนใช้งานผ่านระบบเครือข่าย ระบบ
จะตรวจสอบ รหัสผู้ใช้งานรหัสผ่าน เมื่อระบบตรวจสอบถูกต้องทั้งสองส่วนเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง จึง
สามารถเข้าใช้งานระบบลงทะเบียนได้ หลังจากนั้นนักศึกษาจะต้องตรวจสอบรายวิชาที่ขอลง
ทะเบียนประกอบด้วย ข้อมูลรายวิชาที่เปิด ข้อมูลเวลาเรียน ข้อมูลอาจารย์ผู้สอน ข้อมูลตารางสอน
ข้อมูลตารางเรียน ข้อมูลหลักสูตร เมื่อข้อมูลทุกส่วนถูกต้อง ระบบจะบันทึกข้อมูล และส่งข้อมูลไป
ปรับปรุง ในส่วนของนักศึกษาที่ลงทะเบียน และส่วนของระบบงานทะเบียน ต่อไป
รับรหัสนักศึกษา
ตรวจสอบข้อมูลนักศึกษา
รับรหัสรายวิชาที่ต้องการเพิ่ม
ตรวจสอบข้อมูลการลงทะเบียน
บันทึกข้อมูลเพิ่มรายวิชา
ข้อมูลเพิ่มรายวิชา
ข้อมูลนักศึกษา
ข้อมูลหลักสูตร ข้อมูลแผนก
ข้อมูลคณะ ข้อมูลคณะ
ข้อมูลแผนก
ข้อมูลนักศึกษา
ข้อมูลหลักสูตร
ข้อมูลเพิ่มรายวิชา
ข้อมูลเพิ่มรายวิชา
ข้อมูลเพิ่มรายวิชา
ข้อมูลนักศึกษา
ข้อมูลนักศึกษา
ข้อมูลนักศึกษา
ข้อมูลเพิ่มรายวิชา
ข้อมูลตารางเรียน
ข้อมูลวิชาที่เปิด
ข้อมูลเพิ่มรายวิชา
ข้อมูลตารางสอบ
ข้อมูลรายวิชา
ข้อมูลเวลาเรียน
ข้อมูลเพิ่มรายวิชา
ข้อมูลตารางสอบ
ข้อมูลรายวิชา
ข้อมูลเวลาเรียน ข้อมูลเพิ่มรายวิชา
ข้อมูลวิชาที่เปิด
ข้อมูลตารางเรียน
ข้อมูลเพิ่มรายวิชา
ข้อมูลวิชาที่เปิด
บันทึกข้อมูลเพิ่มรายวิชา
ข้อมูลเพิ่มรายวิชา
นักศึกษา
รายการการลงทะเบียน
อาจารย์ที่ปรึกษา
ข้อมูลนักศึกษา
ข้อมูลแผนก
2.11
2.12
2.13
2.14
2.16
2.17
2.18
เจ้าหน้าที่การเงิน
ข้อมูลแผนก
ข้อมูลนักศึกษา 2.15
งานทะเบียน
ภาพที่ 3-10 Data Flow Diagram Level 3 ของกระบวนการเพิ่มรายวิชา
36
ภาพที่ 3-10 แสดง Data Flow Diagra12/21/2004m Level 3 ของกระบวนการเพิ่มราย
วิชาของนักศึกษา โดยเริ่มจาก นักศึกษาผ่านขั้นตอนการเข้าใช้งานระบบ หลังจากนั้นจะต้องขอใช้
งานในหัวข้อ การเพิ่มรายวิชา โดยระบบรับข้อมูลรายวิชาที่ข้อเพิ่มว่าเป็นวิชาที่เปิดสอนหรือไม่ เมื่อ
ระบบตรวจสอบผ่านและส่งผ่านการอนุมัติของงานทะเบียน ข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงจะส่งไปปรับปรุง
แฟ้มข้อมูลลงทะเบียนแฟ้มข้อมูลอาจารย์ผู้สอน ในกรบวนการเพิ่มรายวิชาจะประกอบด้วย ข้อมูล
รายวิชาที่เปิด ข้อมูลเวลาเรียน ข้อมูลอาจารย์ผู้สอน ข้อมูลตารางสอน ข้อมูลตารางเรียน และข้อมูล
หลักสูตร
รับรหัสนักศึกษา
ตรวจสอบข้อมูลนักศึกษา
รับรหัสรายวิชาที่ต้องการเพิ่ม
ตรวจสอบข้อมูลการลงทะเบียน
บันทึกข้อมูลถอนรายวิชา
ข้อมูลถอนรายวิชา
ข้อมูลนักศึกษา
ข้อมูลหลักสูตร ข้อมูลแผนก
ข้อมูลคณะ ข้อมูลคณะ
ข้อมูลแผนก
ข้อมูลนักศึกษา
ข้อมูลหลักสูตร
ข้อมูลถอนรายวิชา
ข้อมูลถอนรายวิชา
ข้อมูลถอนรายวิชา
ข้อมูลนักศึกษา
ข้อมูลนักศึกษา
ข้อมูลนักศึกษา
ข้อมูลถอนรายวิชา
ข้อมูลตารางเรียน
ข้อมูลวิชาที่เปิด
ข้อมูลถอนรายวิชา
ข้อมูลตารางสอบ
ข้อมูลรายวิชา
ข้อมูลเวลาเรียน
ข้อมูลถอนรายวิชา
ข้อมูลตารางสอบ
ข้อมูลรายวิชา
ข้อมูลเวลาเรียน ข้อมูลถอนรายวิชา
ข้อมูลวิชาที่เปิด
ข้อมูลตารางเรียน
ข้อมูลถอนรายวิชา
ข้อมูลวิชาที่เปิด
บันทึกข้อมูลถอนรายวิชา
ข้อมูลถอนรายวิชา
นักศึกษา
รายการการลงทะเบียน
อาจารย์ที่ปรึกษา
ข้อมูลนักศึกษา
ข้อมูลแผนก
งานทะเบียน
3.11
3.12
3.13
3.14
3.15
3.16
3.17
ภาพที่ 3-11 Data Flow Diagram Level 3 ของกระบวนการถอนรายวิชา
37
ภาพที่ 3-11 แสดง Data Flow Diagram Level 3 ของกระบวนการถอนรายวิชา ในส่วน
ของนักศึกษา โดยเริ่มจากนักศึกษาผ่านขั้นตอนการเข้าใช้งานระบบ หลังจากนั้นจะต้องข้อใช้งาน
ในหัวข้อการถอนรายวิชา โดยระบบรับข้อมูลรายวิชาที่ข้อถอน เป็นวิชาที่อยู่ในระบบหรือไม่ เมื่อ
ระบบตรวจสอบผ่านและผ่านการอนุมัติของงานทะเบียน ข้อมูลที่เปลี่ยนแปลง จะส่งไปปรับปรุง
แฟ้มข้อมูลลงทะเบียนแฟ้มข้อมูลอาจารย์ผู้สอน ในกรบวนการเพิ่มรายวิชาจะประกอบด้วย ข้อมูล
รายวิชาที่เปิด ข้อมูลเวลาเรียน ข้อมูลอาจารย์ผู้สอน ข้อมูลตารางสอน ข้อมูลตารางเรียน ข้อมูลหลัก
สูตร เมื่อข้อมูลทุกส่วนถูกต้อง ระบบจะบันทึกข้อมูล และส่งข้อมูลไปปรับปรุง ในส่วนของนัก
ศึกษาที่ลงทะเบียน และส่วนของระบบงานทะเบียนต่อไป
รับรหัสนักศึกษา
ตรวจสอบข้อมูลนักศึกษา
รับรหัสวิชาที่ต้องการยกเลิก
ตรวจสอบข้อมูลการลงทะเบียน
ลบรายวิชาที่ต้องการยกเลิก
ข้อมูลยกเลิกรายวิชา
ข้อมูลนักศึกษา
ข้อมูลหลักสูตร ข้อมูลแผนก
ข้อมูลคณะ ข้อมูลคณะ
ข้อมูลแผนก
ข้อมูลนักศึกษา
ข้อมูลหลักสูตร
ข้อมูลยกเลิกรายวิชา
ข้อมูลยกเลิกรายวิชา
ข้อมูลยกเลิกรายวิชา
ข้อมูลนักศึกษา
ข้อมูลนักศึกษา
ข้อมูลนักศึกษา
ข้อมูลยกเลิกรายวิชา
ข้อมูลตารางเรียน
ข้อมูลวิชาที่เปิด
ข้อมูลลงทะเบียน
ข้อมูลตารางสอบ
ข้อมูลรายวิชา
ข้อมูลเวลาเรียน
ข้อมูลยกเลิกรายวิชาออกจากแฟ้มข้อมูล
ข้อมูลตารางสอบ
ข้อมูลรายวิชา
ข้อมูลเวลาเรียน ข้อมูลลงทะเบียน
ข้อมูลวิชาที่เปิด
ข้อมูลตารางเรียน
ข้อมูลยกเลิกรายวิชา
ข้อมูลวิชาที่เปิด
4.11
4.12
4.13
4.14
4.15
ภาพที่ 3-12 Data Flow Diagram Level 3 ของกระบวนการยกเลิกรายวิชา
38
ภาพที่ 3-12 แสดง Data Flow Diagram Level 3 ของกระบวนการยกเลิกรายวิชาลง
ทะเบียนของนักศึกษา โดยเริ่มจาก นักศึกษาขอลงทะเบียนใช้งานผ่านระบบเครือข่าย ระบบจะทำ
การตรวจสอบ รหัสผู้ใช้งานรหัสผ่าน เมื่อระบบตรวจสอบถูกต้องทั้งสองส่วน จึงสามารถเข้าใช้งาน
ระบบลงทะเบียนได้ หลังจากนั้น นักศึกษาจะต้องตรวจสอบรายวิชาที่ขอยกเลิกการลงทะเบียนซึ่ง
ข้อมูลจะต้องอยู่ในขั้นตอนการรอพิจารณาของอาจารย์ที่ปรึกษา ประกอบด้วย ข้อมูลรายวิชาที่เปิด
สอน ข้อมูลเวลาเรียน ข้อมูลอาจารย์ผู้สอน ข้อมูลตารางสอน ข้อมูลตารางเรียน ข้อมูลหลักสูตร เมื่อ
ข้อมูลทุกส่วนถูกต้อง ระบบยกเลิกรายวิชา ออกจากแฟ้มข้อมูลของการลงทะเบียน และส่งข้อมูลไป
ปรับปรุงในส่วนของนักศึกษาที่ลงทะเบียน และส่วนของระบบงานทะเบียนต่อไป
3.2.3 ออกแบบตารางข้อมูลโดยใช้แผนภาพ E-R Diagram เมื่อวิเคราะห์และออกแบบโดย
ใช้ DFD ไปแล้วขั้นตอนต่อไปผู้พัฒนาได้ใช้เครื่องมือในการสร้างตารางข้อมูล โดยอาศัยโครงสร้าง
ฐานข้อมูลที่เรียกว่า แผนภาพ E-R Diagram (Entity Relationship Diagram) ซึ่งใช้แสดงความ
สัมพันธ์ของข้อมูลทั้งระบบ เป็นแบบจำลองในการนำเสนอรายละเอียดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับฐานข้อ
มูลที่เป็นมาตรฐาน เมื่อได้แผนภาพ E-R Diagram แล้วใช้หลักการของแผนภาพ E-R Diagram
ในการที่จะเปลี่ยนแปลงแผนภาพดังกล่าว เป็นตารางข้อมูลอย่างมีหลักวิธี ซึ่งจะได้ตารางข้อมูลที่มี
คุณภาพ ขจัดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ความซ้ำซ้อนของข้อมูล (data redundant) หรือความเป็น
อันหนึ่งอันเดียวกันของข้อมูล (data integrity) เป็นต้น จากนั้นก็สามารถนำตารางข้อมูลดังกล่าว
ใช้งานจริงภายใต้ระบบจัดการฐานข้อมูลต่อไปสุดท้ายจะได้แผนภาพ Entity Relationships
Model ของโปรแกรมระบบงานลงทะเบียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet) และชำระค่า
บำรุงการศึกษา ผ่านเครือข่ายธนาคาร กรณีศึกษา วิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรีทั้งระบบ ดังภาพที่ 3-13

39
แผนก
ที่อยู่
นักศึกษา
เจ้าหน้าที่การเงิน รายวิชา
อาจารย์
รหัสกลุ่มที่ปรึกษา
ที่อยู่
วุฒิการศึกษา
การศึกษา
ชื่ออาจารย์ รหัสอาจารย์
รหัสวิชา
ชื่อวิชา
หน่วยกิต
ประเภทวิชา
สาขาวิชา
ภาคเรียน
ปีการศึกษา
คณะ
การศึกษา
รหัสเจ้าหน้าที่
ชื่อ
ตำแหน่ง
ปีการศึกษา แผนกวิชา
รหัสนักศึกษา
ชื่อนักศึกษา
เพศ
อายุ
คณะ
การชำระเงิน การสอน
อาจารย์
การลงทะเบียน
ห้องเรียน
ปีการศึกษา
วัน เดือน ปี
จำนวนเงิน หมู่เรียน
ภาคเรียน
ภาคเรียน
วัน เดือน ปี
N
M
N
M
M 1
N
M
ภาพที่ 3-13 E-R Diagram ของระบบงานลงทะเบียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
40
จากภาพที่ 3-13 สามารถแยกอธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง Entity ที่ได้ ดังนี้
3.2.3.1 ความสัมพันธ์ระหว่าง หลักสูตร กับ รายวิชา มีความสัมพันธ์แบบ one-tomany
ซึ่งอธิบายว่า ในแต่ละหลักสูตรประกอบด้วยหลายรายวิชา ในขณะเดียวกันรายวิชาแต่ละราย
วิชา จะมีเพียง วิชาเดียวเท่านั้นในหลักสูตร ดังภาพที่ 3-14
ภาพที่ 3-14 ความสัมพันธ์ระหว่าง หลักสูตร กับรายวิชา
3.2.3.2 ความสัมพันธ์ระหว่าง รายวิชา กับ อาจารย์ผู้สอน มีความสัมพันธ์แบบ one
to-many ซึ่งอธิบายว่า ในแต่ละรายวิชามีอาจารย์ผู้สอนหลายคน ในขณะเดียวกันอาจารย์ผู้สอนจะ
สอนได้ เพียงราย วิชาเดียวเท่านั้น ดังภาพที่ 3-15
ภาพที่ 3-15 ความสัมพันธ์ระหว่าง รายวิชา กับ อาจารย์ผู้สอน
3.2.3.3 ความสัมพันธ์ระหว่าง หลักสูตร กับ การลงทะเบียน มีความสัมพันแบบ
one-to-many ซึ่งอธิบายว่า ในแต่ละหลักสูตรสามารถลงทะเบียนเรียนได้หลายรายวิชา ในขณะ
เดียวกันรายวิชาที่ลงทะเบียนจะมีเพียงรายวิชาเดียวเท่านั้นในหนึ่งหลักสูตร ดังภาพที่ 3-16
-sub_code
-
-
-
-
Subject
-cur_code
-cur_name
-cur_term
-sub_code
Curriculum
has
1 M
-cou_code
-
-
-
course
-teacher_code
-std_level
-sub_code
-std_class
-term
-year
Teacher
Teach
1 M
41
ภาพที่ 3-16 ความสัมพันธ์ระหว่าง หลักสูตร กับ การลงทะเบียน
3.2.3.4 ความสัมพันธ์ระหว่าง เจ้าหน้าที่ กับ อาจารย์ผู้สอน มีความสัมพันธ์แบบ oneto-
many ซึ่งอธิบายว่า เจ้าหน้าที่ 1 คน เป็นอาจารย์ผู้สอนได้หลายชั้นหลายระดับ ในขณะเดียวกัน
แต่ละระดับถูกเลือกมาจากเจ้าหน้าที่ 1 คนเท่านั้น ดังภาพที่ 3-17
ภาพที่ 3-17 ความสัมพันธ์ระหว่าง เจ้าหน้าที่ กับ อาจารย์ผู้สอน
3.2.3.5 ความสัมพันธ์ระหว่าง เจ้าหน้าที่ กับ การลงทะเบียน มีความสัมพันธ์แบบ oneto-
many ซึ่งอธิบายว่า ในเจ้าหน้าที่ 1 คน สามารถรับลงทะเบียนได้มากกว่าหนึ่งรายวิชา ในขณะ
เดียวกันรายวิชาหนึ่งจะมีผู้รับลงทะเบียนถูกเลือกมาจากเจ้าหน้าที่ 1 คนเท่านั้น ดังภาพที่ 3-18
ภาพที่ 3-18 ความสัมพันธ์ระหว่าง เจ้าหน้าที่ กับ การลงทะเบียน
-std_code
-cur_code
-sub_code
-term
-year
STD_Regi
-cur_code
-cur_name
-cur_term
-sub_code
Curriculum
has
1 M
-staff_code
-
-
-
Staff
-staff_code
-std_level
-sub_code
-std_class
-term
-year
has Teaching
1 M
-std_code
-cur_code
-sub_code
-term
-year
Enrolmen
-staff_code
-
-
-
Staff
grade
1 M
42
3.2.3.6 ความสัมพันธ์ระหว่าง นักศึกษา กับ การลงทะเบียน มีความสัมพันธ์แบบ oneto-
many ซึ่งอธิบายว่า นักศึกษา 1 คน สามารถลงทะเบียนได้หลายรายวิชา ในขณะเดียวกันรายวิชา
หนึ่งจะถูกลงทะเบียนโดยนักศึกษาแต่ละคนเพียง 1 ครั้ง เท่านั้น ดังภาพที่ 3-19
ภาพที่ 3-19 ความสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษากับการลงทะเบียน
3.2.3.7 ความสัมพันธ์ระหว่าง อาจารย์ที่ปรึกษา กับ นักศึกษา มีความสัมพันธ์แบบ
one-to-many ซึ่งอธิบายว่า อาจารย์ที่ปรึกษา 1 คน เป็นที่ปรึกษานักศึกษาได้หลายคน ในขณะ
เดียวกัน นักศึกษา 1 คน มีอาจารย์ที่ปรึกษา 1 คนเท่านั้น ดังภาพที่ 3-20
ภาพที่ 3-20 ความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษากับนักศึกษา
จากแผนภาพ E-R Diagram ของระบบลงทะเบียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต พบว่าจะต้อง
เตรียมข้อมูลก่อนการลงทะเบียน ซึ่งได้แก่ ข้อมูลนักศึกษา ข้อมูลหลักสูตร ข้อมูลแผนการเรียน
หลังจากนั้นเป็นขั้นตอนของการลงทะเบียน และประมวลผล และเมื่อสิ้นสุดการประมวลผล จะได้
ข้อมูลจากระบบ คือ แฟ้มข้อมูลนักศึกษาที่ลงทะเบียน แฟ้มข้อมูลนักศึกษาที่ชำระเงิน และแฟ้มราย
นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา
3.2.4 พจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary) ผู้พัฒนาระบบได้ทำการศึกษาข้อมูลต่างๆ ที่
เกี่ยวข้องกับระบบงานลงทะเบียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet) และชำระค่าบำรุงการศึกษา
-std_code
-cur_code
-sub_code
-term
-year
Enrolmen
-std_code
-
-
-
Student
Enrolls
1 M
-std_code
-
-
-
-
Student
-staff_code
-
-
-
Advisor
Advis
1 M
43
ผ่านเครือข่ายธนาคาร กรณีศึกษา วิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี พร้อมทั้งกำหนดโครงสร้างแฟ้มข้อมูล
ไว้ในพจนานุกรมข้อมูลซึ่งมีทั้งหมด 11 แฟ้มข้อมูล โดยมีรายละเอียดและโครงสร้างดังต่อไปนี้
3.2.4.1 แฟ้มข้อมูลหลักสูตร ได้ออกแบบเพื่อใช้ในการเก็บข้อมูลของหลักสูตร โดยมี
รหัสหลักสูตร ชื่อหลักสูตร ภาคการศึกษา และรหัสหลักสูตร เป็นคีย์หลักดังรายละเอียดในตารางที่
3-1
ตารางที่ 3-1 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลหลักสูตร
ลำดับที่ ชื่อฟิลด์ ชนิดข้อมูล ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 Cur_id bigint 4 ลำดับเลขที่
2 cur_code Char 15 รหัสหลักสูตร PK
3 cur_name char 50 ชื่อหลักสูตร
4 cur_term int 1 ภาคการศึกษา
5 sub_code char 6 รหัสวิชา
3.2.4.2 แฟ้มข้อมูลพื้นฐานของระบบ ใช้ในการเก็บข้อมูลเบื้องต้นที่จำเป็นในการลง
ทะเบียน ได้แก่ รหัสการเข้าใช้งานระบบของ เจ้าหน้าที่งานทะเบียน เจ้าหน้าที่การเงินข้อมูลทาง
การเงิน เช่น ค่าห้องสมุด ค่าบริการพยาบาล ค่าประกันชีวิต ค่าบริการอินเทอร์เน็ต วันเดือนปีที่เกี่ยว
กับการลงทะเบียน การเพิ่ม-ถอนรายวิชา โดยมีลำดับที่ข้อมูล เป็นคีย์หลัก และมีส่วนประกอบ ตาม
ตารางที่ 3-2
ตารางที่ 3-2 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลเบื้องต้น
ลำดับที่ ชื่อฟิลด์ ชนิดข้อมูล ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 Con_id bigint 3 รหัสหลักสูตร PK
2 college varchar 100 ชื่อสถานศึกษา
3 Reg_name varchar 20 รหัสผู้ใช้งานทะเบียน
4 Reg_pass Varchar 20 รหัสผ่านผู้ใช้งานทะเบียน
5 Sala_name varchar 20 รหัสผู้ใช้งานการเงิน
6 Sala_pass varchar 20 รหัสผ่านผู้ใช้งานการเงิน
44
ตารางที่ 3-2 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลเบื้องต้น (ต่อ)
ลำดับที่ ชื่อฟิลด์ ชนิดข้อมูล ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
7 Ref_regstart char 2 เดือนที่เริ่มลงทะเบียน
8 Ref_dayadd Char 2 วันที่เริ่มลงทะเบียน
8 Ref_daydel Char 2 วันที่เริ่มถอนลงทะเบียน
9 Ref_montdel Char 2 เดือนที่ถอนลงทะ เบียน
10 Admin_name Varchar 20 รหัสผู้ใช้งานดูแลระบบ
11 Admin_pass Varchar 20 รหัสผ่านผู้ใช้งานดูแล
ระบบ
12 Reg_library Int 3 ค่าบริการห้องสมุด
13 Reg_unit Int 3 ค่าหน่วยกิตต่อหน่วย
14 Reg_hosp Int 3 ค่ารักษาพยาบาล
15 Reg_card Int 3 ค่าบัตรนักศึกษา
16 Reg_wra Int 3 ค่าประกันชีวิต
17 Reg_kij Int 3 ค่ากิจกรรม
18 Reg_net Int 3 ค่าอินเทอร์เน็ต
19 Reg_index Int 3 ค่าบริการอื่นๆ
20 Reg_term Int 3 ภาคเรียน
21 Reg_year varchar 15 ปีการศึกษา
3.2.4.3 แฟ้มข้อมูลรายวิชาเก็บข้อมูลรายวิชาที่จัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา โดย
มี รหัสวิชา ชื่อวิชาภาษาไทย ชื่อวิชาภาษาอังกฤษ คำอธิบายรายวิชา จำนวนหน่วยกิต รหัสลำดับ
วิชา ชนิดรายวิชา ประเภทรายวิชา และรหัสวิชาเป็นคีย์หลัก มีส่วนประกอบ ตามตารางที่. 3-3
ตารางที่ 3-3 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลรายวิชา
ลำดับที่ ชื่อฟิลด์ ชนิดข้อมูล ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 Cou_id bigint 6 รหัสลำดับที่รายวิชา unsigned
2 Cou-code Varchar 13 รหัสวิชา PK
45
ตารางที่ 3-3 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลรายวิชา (ต่อ)
ลำดับที่ ชื่อฟิลด์ ชนิดข้อมูล ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
3 Cou_thai varchar 50 ชื่อวิชาภาษาไทย
4 Cou_eng varchar 50 ชื่อวิชาภาษาอังกฤษ
5 Cou_the int 3 หน่วยกิตภาคทฤษฎี
6 Cou_pra Int 3 หน่วยกิตภาคปฏิบัติ
7 Cou_term Int 3 ภาคเรียนที่เปิดสอน
8 Cou_com text คำอธิบายรายวิชา
9 Cou_index varchar 4 ชนิดรายวิชา
10 Cou_type Varchar 40 ประเภทรายวิชา
3.2.4.3 แฟ้มข้อมูลรายวิชาที่ลงทะเบียน เก็บข้อมูลรายวิชาที่ผ่านขั้นตอนต่าง ๆของการ
ลงทะเบียนของนักศึกษาโดยมีลำดับที่ลงทะเบียนเป็นคีย์หลักและมีส่วนประกอบ ตามตาราง ที่. 3-4
ตารางที่ 3-4 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลลงทะเบียนสำหรับนักศึกษา
ลำดับที่ ชื่อฟิลด์ ชนิดข้อมูล ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 Reg_id bigint 6 ลำดับรายที่วิชาลง
ทะเบียน PK
2 std-code varchar 13 รหัสนักศึกษา
3 Cou-code varchar 13 รหัสวิชา
4 Cou_thai varchar 60 ชื่อวิชาภาษาไทย
5 Cou_eng varchar 60 ชื่อวิชาภาษาอังกฤษ
6 Cou_the int 3 หน่วยกิตภาคทฤษฎี
7 Cou_pra Int 3 หน่วยกิตภาคปฏิบัติ
8 Reg_price Int 5 ค่าหน่วยกิต
9 Regis_time1 varchar 20 วันเวลาที่ลงทะเบียน
10 Regis_time2 varchar 20 วันเวลาอาจารย์ที่ปรึกษา
พิจารณา

46
ตารางที่ 3-4 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลลงทะเบียนสำหรับนักศึกษา (ต่อ)
ลำดับที่ ชื่อฟิลด์ ชนิดข้อมูล ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
11 Regis_time3 varchar 20 วันเวลาการเงินพิจารณา
12 Regis_time4 varchar 20 วันเวลางานทะเบียน
พิจารณา
13 Reg_term Varchar 30 ภาคเรียน
14 Reg_year varchar 30 ปีการศึกษา
15 flag Tinyint 2 สถานะของข้อมูล1
16 Flag2 Tinyint 2 สถานะของข้อมูล2
17 Flag3 Tinyint 2 สถานะของข้อมูล3
18 Flag4 Tinyint 2 สถานะของข้อมูล4
19 Teacher_code vachar 15 รหัสอาจารย์ผู้สอน
20 Std-gro varchar 13 รหัสกลุ่มนักศึกษา
3.2.4.5 แฟ้มข้อมูลชำระเงินรายวิชาเก็บข้อมูลชื่อ รายวิชา รหัสนักศึกษา ของนักศึกษา
ที่ผ่านขั้นตอนการลงทะเบียน โดยมี ลำดับที่ลงทะเบียนเป็นคีย์หลัก และมีส่วนประกอบ ตามตาราง
ที่. 3-5
ตารางที่ 3-5 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลชำระเงินรายวิชา
ลำดับที่ ชื่อฟิลด์ ชนิดข้อมูล ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 Reg_id bigint 6 ลำดับที่รายวิชาชำระเงิน PK
2 Std_code varchar 13 รหัสนักศึกษา
3 Cou_code varchar 13 รหัสวิชา
4 Cou_thai varchar 60 ชื่อวิชาภาษาไทย
5 Cou_eng varchar 60 ชื่อวิชาภาษาอังกฤษ
6 Cou_the int 3 หน่วยกิตภาคทฤษฎี
7 Cou_pra Int 3 หน่วยกิตภาคปฏิบัติ
8 Reg_price Int 5 ค่าหน่วยกิต
47
ตารางที่ 3-5 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลชำระเงินรายวิชา (ต่อ)
ลำดับที่ ชื่อฟิลด์ ชนิดข้อมูล ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
9 Reg_time varchar 20 วันเวลาที่ชำระเงิน
10 Reg_term Varchar 30 ภาคเรียน
11 Reg_year varchar 30 ปีการศึกษา
12 Flag Tinyint 2 สถานะของข้อมูล1
13 Flag2 Tinyint 2 สถานะของข้อมูล2
14 Flag3 Tinyint 2 สถานะของข้อมูล3
15 Flag4 Tinyint 2 สถานะของข้อมูล4
16 Teacher_code vachar 15 รหัสอาจารย์ผู้สอน
17 Std-gro varchar 13 รหัสกลุ่มนักศึกษา
18 Sala_bill bigint 6 เลขที่ข้อมูลใบเสร็จ
17 Std-gro varchar 13 รหัสกลุ่มนักศึกษา
3.2.4.6 แฟ้มข้อมูลรายวิชาอาจารย์ผู้สอน เก็บข้อมูลรหัสอาจารย์ชื่อวิชา กลุ่มที่สอน
โดยมีลำดับที่รายวิชา เป็นคีย์หลักและข้อมูลที่จำเป็น ดังแสดงในตารางที่ 3-6
ตารางที่ 3-6 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลรายวิชาที่สอน
ลำดับที่ ชื่อฟิลด์ ชนิดข้อมูล ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 sub_id bigint 4 ลำดับที่รายชื่อ unsinged
2 Cou_code varchar 13 รหัสวิชา PK
3 Cou_thai varchar 60 ชื่อวิชาภาษาไทย
4 Cou_the int 3 หน่วยกิตภาคทฤษฎี
5 Teacher_code varchar 6 รหัสอาจารย์ผู้สอน
6 Std_gro varchar 10 รหัสกลุ่มเรียน
7 Cou_pra Int 3 หน่วยกิตภาคปฏิบัติ

48
3.2.4.7 แฟ้มข้อมูลอาจารย์ผู้สอน เก็บข้อมูลอาจารย์ผู้สอน โดยมีรหัสอาจารย์ผู้สอน
เป็นคีย์หลักและข้อมูลที่จำเป็น ดังรายละเอียดในตารางที่. 3-7
ตารางที่ 3-7 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลอาจารย์ผู้สอนสอน
ลำดับที่ ชื่อฟิลด์ ชนิดข้อ
มูล
ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 Teacher_id bigint 4 ลำดับที่รายชื่อ unsinged
2 Teacher_code varchar 13 รหัสอาจารย์ผู้สอน PK
3 Teacher_name varchar 60 ชื่ออาจารย์ผู้สอน
4 Teacher_posi int 3 ตำแหน่งทางวิชาการ
5 Teacher_dep varchar 6 แผนก สาขางาน
3.2.4.8 แฟ้มข้อมูลรายวิชาที่สอน เก็บข้อมูลรายชื่อนักศึกษารหัสวิชา ชื่อวิชา โดยมี
ลำดับที่การลงทะเบียน เป็นคีย์หลัก และข้อมูลที่จำเป็นที่ใช้ในการเรียน การสอน ดังรายละเอียดใน
ตารางที่ 3-8
ตารางที่ 3-8 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลรายวิชาที่สอน
ลำดับที่ ชื่อฟิลด์ ชนิดข้อมูล ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 Reg_id bigint 6 ลำดับที่รายวิชา PK
2 Std_code varchar 13 รหัสนักศึกษา
3 Cou_code varchar 13 รหัสวิชา
4 Cou_thai varchar 60 ชื่อวิชาภาษาไทย
5 Cou_eng varchar 60 ชื่อวิชาภาษาอังกฤษ
6 Cou_the int 3 หน่วยกิตภาคทฤษฎี
7 Cou_pra Int 3 หน่วยกิตภาคปฏิบัติ
8 Reg_date Int 5 วันเวลาลงทะเบียน
10 Reg_term Varchar 30 ภาคเรียน
11 Reg_year varchar 30 ปีการศึกษา
49
ตารางที่ 3-7 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลรายวิชาที่สอน (ต่อ)
ลำดับที่ ชื่อฟิลด์ ชนิดข้อมูล ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
12 Teacher_code Varchar 10 รหัสอาจารย์ผู้สอน
13 Std-gro varchar 10 รหัสกลุ่มเรียน
3.2.4.9 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลนักศึกษา ใช้เก็บข้อมูลนักศึกษา โดยมีรหัสประจำตัว
นักศึกษา เป็นคีย์หลัก และข้อมูลที่จำเป็น ดังรายละเอียดในตารางที่ 3-9
ตารางที่ 3-9 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลนักศึกษา
ลำดับที่ ชื่อฟิลด์ ชนิดข้อมูล ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 std_code Int 13 รหัสประจำตัวนักศึกษา PK
2 std_title Char 10 คำนำหน้าชื่อ
3 std_sex Int 1 เพศ
4 std_name Char 50 ชื่อ-สกุล
5 std_bank varchar เลขบัญชีธนาคาร
6 std_gro varchar 10 ห้องเรียน
7 std_idcard Char 17 เลขที่บัตรประชาชน
8 std_birth Char 10 วันเกิด
9 std_datebirth Int Date วันเดือนปีเกิด
10 std_blood_type Char 2 หมู่เลือด
11 std_race Char 20 สัญชาติ
12 std_nationality Char 20 เชื้อชาติ
13 std_religion Char 10 ศาสนา
14 std_address Char 20 ที่อยู่
15 std_td Char 20 ตำบล
16 std_district Char 20 อำเภอ
17 std_province Char 20 จังหวัด
18 std_zipcode Int 5 รหัสไปรษณีย์
50
ตารางที่ 3-9 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลนักศึกษา (ต่อ)
ลำดับที่ ชื่อฟิลด์ ชนิดข้อมูล ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
19 std_phone Char 20 โทรศัพท์
20 std_father_name Char 50 ชื่อ-สกุลบิดา
21 std_father_career Char 20 อาชีพ
22 std_mother_name Char 50 ชื่อ-สกุลมารดา
23 std_mother_career Char 20 อาชีพ
24 std_fm_address Char 50 ที่อยู่บิดามารดา
25 std_fm_tb Char 20 ตำบล
26 std_fm_district Char 20 อำเภอ
27 std_fm_province Char 20 จังหวัด
28 std_fm_zipcode Int 5 รหัสไปรษณีย์
29 std_fm_phone Char 20 โทรศัพท์
30 std_old_school Char 50 สถานศึกษาเดิม
31 std_school_provin Char 20 จังหวัด
32 std_certificate Char 20 วุฒิที่จบ
33 Std_yearend Year 4 ปีที่จบ
34 std_yearin Char 4 วันที่เข้าศึกษา
35 std_status Char 20 สถานภาพการเรียน
3.2.4.10 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลผู้ใช้งานระบบแฟ้มเก็บข้อมูล ผู้ใช้งานทั้งหมด โดยมี
รหัสผู้ใช้งาน เป็นคีย์หลัก และข้อมูลที่จำเป็น ดังรายละเอียดในตารางที่ 3-10
ตารางที่ 3-10 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลผู้ใช้งานระบบ
ลำดับที่ ชื่อฟิลด์ ชนิดข้อมูล ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 User_id bigint 10 ลำดับเลขที่จดหมาย Unsigned
2 Userid varchar 31 รหัสผู้ใช้งาน PK
3 Password Varchar 31 รหัสผ่านผู้ใช้งานระบบ
51
ตารางที่ 3-10 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลผู้ใช้งานระบบ (ต่อ)
ลำดับที่ ชื่อฟิลด์ ชนิดข้อมูล ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
4 fullname varchar 60 ชื่อผู้ใช้งานระบบ
5 Userdir Varchar 30 ชื่อที่เก้บข้อมูลจดหมาย
6 Mailaddr Varcahr 30 ที่เก็บข้อมูลจดหมาย
7 Maxsize Int 11 ขนาดพื้นที่สูงสุดของจด
หมาย
8 Maxmsgs int 11 จำนวนจดหมายสูงสุดต่อ
หน้า
9 Flag int 11 สถานะของจดหมาย
10 type int 11 ชนิดของจดหมาย
3.2.4.11 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลจดหมาย เก็บข้อมูลที่เป็นข้อความจดหมาย โดยมีรหัส
ลำดับที่ เป็นคีย์หลัก และข้อมูลที่จำเป็น ดังรายละเอียดในตารางที่ 3-11
ตารางที่ 3-11 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแนบไฟล์ในจดหมาย
ลำดับที่ ชื่อฟิลด์ ชนิดข้อมูล ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 Msg_id Int 20 ลำดับเลขที่จดหมาย PK
2 User_id Bigint 20 รหัสผู้ใช้งาน
3 Header_from Varchar 255 ชื่อผู้ส่ง
4 Header_to Text ชื่อผู้รับ
5 Cc Text จำนวนสำเนาจดหมาย
6 Replt_to Text ชื่อผู้รับต่อ
7 Date varchar 35 วันเวลาจดหมาย
8 Subject Varchar 255 หัวข้อจดหมาย
9 Size int 10 ขนาดข้อมูล
10 Body text ข้อความจดหมาย
11 Body_time varchar 12 ชนิดข้อความจดหมาย
52
ตารางที่ 3-11 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแนบไฟล์ในจดหมาย (ต่อ)
ลำดับที่ ชื่อฟิลด์ ชนิดข้อมูล ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
12 flag tinyint 2 สถานะจดหมาย
13 havett havell 4 สถานะแนบไฟล์
3.2.4.12 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแนบไฟล์ในจดหมายใช้เก็บข้อมูลแนบไฟล์ในจดหมาย
ใน ส่วนของระบบสื่อสาร ระหว่างผู้ใช้งานต่าง ๆของระบบ โดยมีรหัสลำดับที่ เป็นคีย์หลัก และข้อ
มูลที่จำเป็น ดังรายละเอียดในตารางที่ 3-12
ตารางที่ 3-12 โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแนบไฟล์ในจดหมาย
ลำดับที่ ชื่อฟิลด์ ชนิดข้อมูล ความยาว คำอธิบาย หมายเหตุ
1 Msg_id Int 20 ลำดับเลขที่จดหมาย PK
2 User_id Bigint 20 รหัสผู้ใช้งาน
3 Contenttype Varchar 35 ชนิดของข้อมูล
4 Size Float 0 ขนาดข้อมูล
5 Name Varchar 40 ชื่อไฟล์
6 flag tinyint 4 สถานะของจดหมาย
โครงสร้างแฟ้มข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้ออกแบบจากการวิเคราะห์ระบบงานจำนวน 11 แฟ้ม ข้อมูล
ซึ่งประกอบด้วย แฟ้มข้อมูลประเภทโปรแกรมระบบสื่อสาร แฟ้มข้อมูลประเภทบันทึกข้อมูล และ
แฟ้มข้อมูลประเภทการเข้าใช้งานระบบ โดยทุกแฟ้มข้อมูลใช้ ระบบจัดการฐานข้อมูล MySQL ซึ่ง
เป็นตัวจัดการฐานข้อมูลประเภทฟรีแวร์ โดยทำงานบนระบบปฏิบัติการ Windows2000, Internet
Information System 5 และ PHP
3.2.5 การออกแบบและพัฒนาระบบหลังจากที่เราได้ทำการวิเคราะห์และออกแบบระบบโดย
ใช้ Data Flow Diagram และ E-R Diagram แล้วนั้นจะทำให้เราทราบถึงการไหลของข้อมูลที่มี
อยู่ในระบบทั้งหมด ขั้นตอนต่อไปเป็นขั้นตอนการออกแบบระบบ เป็นการออกแบบหน้าจอของ
ระบบงาน ซึ่งจะทำให้ทราบถึงการทำงานของระบบ ก่อนที่จะนำไปสู่ขั้นตอนการพัฒนาต่อไป ผู้
พัฒนาได้ยกตัวอย่างการออกแบบหน้าจอแรก หน้าจอหลัก ๆ หน้าจอการล็อกอินเข้าในใช้งาน
53
ระบบ ประกอบด้วย ส่วนหน้าหลักของระบบงาน ส่วนหน้าตรวจสอบการเข้าใช้งานระบบ และ
ส่วนหน้า แสดงข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้
3.2.5.1 หน้าจอแรกของโปรแกรมระบบงานลงทะเบียน ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
(Internet) และชำระค่าบำรุงการศึกษาผ่านเครือข่ายธนาคาร กรณีศึกษาวิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี
ประกอบด้วย สามส่วน คือ ส่วนแสดงเมนูใช้งานด้านบน ซึ่งเป็นส่วนของการนำเสนอข้อมูลที่เกี่ยว
ข้องกับงานทะเบียน ส่วนที่สองเป็นส่วนการนำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานระบบ ส่วนที่
สามเป็นส่วนแสดงเมนูการใช้งานด้านล่าง ดังแสดงในภาพที่ 3-21
ส่านแสดงเมนูใช้งานด้านบน
ส่วนแสดงการเข้าใช้งานระบบต่างๆ และส่วนประกอบคู่มือใช้งานของระบบ
ส่วนแสดงเมนูใช้งานด้านล่าง
ภาพที่ 3-21 การออกแบบใช้งานของส่วนประกอบหลัก
3.2.5.2 ส่วนตรวจสอบการเข้าใช้งานของระบบ ประกอบด้วย สามส่วน คือ ส่วนเมนู
แสดงส่วนใช้งานด้านบน ซึ่งเป็นส่วนของการนำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานทะเบียน ส่วนที่สอง
เป็นส่วนการกรอกข้อมูลการเข้าใช้งานและปฏิทิน ของวันเวลาปัจุบัน ส่วนที่สามเป็นส่วนแสดง
เมนูการใช้งานด้านล่าง ประกอบด้วยคู่มือการใช้งาน ของผู้ใช้งานในส่วนต่าง ๆ ดังแสดงในภาพที่
3-22

54
ส่านแสดงเมนูใช้งานด้านบน
ส่วนกรอกข้อมูลการเข้าใช้งานระบบ
ส่วนแสดงเมนูใช้งานด้านล่าง
ภาพที่ 3-22 การออกแบบส่วนตรวจสอบการเข้าใช้งานระบบ
3.2.5.3 ส่วนแสดงข้อมูลต่าง ๆ ของระบบงานลงทะเบียน ประกอบด้วย สามส่วน คือ
ส่วนเมนูใช้งานด้านบนซึ่งเป็นส่วนของเมนูข้อมูลหลักของระบบในการใช้งานระบบต่างๆ ที่เกี่ยว
ข้องกับระบบงานของแต่ละส่วน ส่วนที่สองเป็นส่วนแสดงข้อมูลที่ได้จากฐานข้อมูลของผู้ใช้งาน
ส่วนที่สามเป็นส่วนแสดงเมนูการใช้งานระบบสื่อสาร ประกอบด้วยการส่งเอกสาร การแสดงข้อมูล
เอกสาร การค้นหาเอกสาร และส่วนเอกสารต่าง ๆ ของผู้ใช้งาน ดังแสดงในภาพที่ 3-23
ส่านแสดงเมนูใช้งานด้านบน
ส่วนแสดงนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ
ส่วนแสดงเมนูใช้งานโปรแกรมระบบสื่อสาร
ภาพที่ 3-23 การออกแบบส่วนประกอบหลักของระบบงาน
55
ส่วนหน้าจอที่เกี่ยวกับรายละเอียดประเภทต่าง ๆ และขั้นตอนการใช้งานโปรแกรมจะอธิบาย
ไว้ใน ภาคผนวก ง คู่มือการใช้โปรแกรม
จากขั้นตอนการวิเคราะห์ออกแบบระบบ ทำให้ทราบถึงกระบวนการทำงานของระบบงาน
มากยิ่งขึ้นสำหรับขั้นตอนการพัฒนาระบบนี้เป็นขั้นตอนการเขียนโปรแกรม ซึ่งโปรแกรมที่พัฒนา
ขึ้นนี้จะเป็นโปรแกรมโดยภาษา PHP โดยจะต้องเขียนโปรแกรมให้สามารถทำงานตามที่ได้ทำการ
ออกแบบไว้ โดยโครงสร้างฐานข้อมูลของระบบใช้ระบบจัดการฐานข้อมูล MySQL เป็นตัวช่วยใน
การบริหารจัดการ
3.3 กลุ่มตัวอย่าง
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพและ คุณภาพของโปรแกรม
ระบบงานลงทะเบียน ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet) และ ชำระค่าบำรุงการศึกษาผ่านเครือ
ข่ายธนาคาร กรณีศึกษาวิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรีผู้พัฒนาได้ ใช้กลุ่มตัวอย่างของบุคลากรวิทยาลัย
เทคนิคเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2547 ประกอบด้วย กลุ่มบุคคลที่เกี่ยว
ข้อง คือ ครู-อาจารย์ จำนวน 130 คน นักศึกษาระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นสูง จำนวน 550 คน
รวมจำนวนประชากรทั้งหมด 680 คนและผู้พัฒนาได้เลือกกลุ่มตัวอย่างเพื่อหาประสิทธิภาพและคุณ
ภาพของโปรแกรมระบบงานลงทะเบียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet) และชำระค่าบำรุง
การศึกษา ผ่านเครือข่ายธนาคาร กรณีศึกษาวิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี ตามขั้น ตอนดังนี้
3.3.1 เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบแจะจงเฉพาะครู-อาจารย์ และ นักศึกษา ในภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2547
3.3.2 เลือกกลุ่มตัวอย่างจาก 3.3.1. โดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดย
อาศัยเกณฑ์ของ Krejcie และ Morgan (1970) ได้สร้างตารางตามกลุ่มประชากร ดังนี้
3.3.2.1 ครู-อาจารย์ ในภาคเรียนที่ 1ปีการศึกษา 2547 จำนวน 130 คน เลือกกลุ่มตัว
อย่าง 13 คน รวม 13 คน
3.3.2.2 นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา
2547 จำนวน 550 คน เลือกกลุ่มตัวอย่าง 55 คน รวม 55 คน
3.3.2.3 เจ้าหน้าที่ที่ทำงานเกี่ยวกับการเงินของนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรีในภาค
เรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2547 จำนวน 6 คน เลือกกลุ่มตัวอย่าง 6 คน รวม 6 คน
3.3.2.4 เจ้าหน้าที่ที่ทำงานเกี่ยวกับงานทะเบียนของนักศึกษา วิทยาลัยเทค นิคเพชรบุรี
ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2547 จำนวน 5 คน เลือกกลุ่มตัวอย่าง 5 คน รวม 5 คน รวมกลุ่มตัว
อย่างที่ใช้ในการประเมินหาประสิทธิภาพและคุณภาพของโปรแกรมการพัฒนา ระบบงานลง
56
ทะเบียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet) และ ชำระค่าบำรุงการศึกษา ผ่านเครือข่ายธนาคาร
กรณีศึกษาวิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี จำนวน 79 คน ดังรายละเอียดในตารางที่ 3-13
ตารางที่ 3-13 จำนวนประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2547 กลุ่มบุคคล
จำนวนประชากร กลุ่มตัวอย่าง
1. นักศึกษา 550 55
2. อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ผู้สอน 130 13
3. เจ้าหน้าที่การเงิน 6 6
4. เจ้าหน้าที่ทะเบียน 5 5
รวม 691 79
3.4 แบบแผนการวิจัย
แบบประเมินหาประสิทธิภาพและคุณภาพของโปรแกรมระบบงานลงทะเบียนผ่านเครือ ข่าย
อินเทอร์เน็ต (Internet) และชำระค่าบำรุงการศึกษา ผ่านเครือข่ายธนาคาร กรณีศึกษาวิทยาลัย
เทคนิคเพชรบุรี ได้กำหนดเกณฑ์ตามวิธีของไลเกิร์ต (Likert) ซึ่งเป็นมาตรอันดับเชิงคุณภาพ
(Rating Scale) ชนิด 5 ระดับ ดังนี้
5 หมายถึง ประสิทธิภาพและคุณภาพของโปรแกรมดีมาก
4 หมายถึง ประสิทธิภาพและคุณภาพของโปรแกรมดี
3 หมายถึง ประสิทธิภาพและคุณภาพของโปรแกรมปานกลาง
2 หมายถึง ประสิทธิภาพและคุณภาพของโปรแกรมต่ำ
1 หมายถึง ประสิทธิภาพและคุณภาพของโปรแกรมต่ำมาก
การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ผู้พัฒนาใช้โปรแกรมคำนวณคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรม
SPSS/FW 7.5 ดำเนินการดังนี้
ตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกฉบับ ใช้ค่าเฉลี่ย ( x ) และส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน (S.D.) โดยรายงานกำหนดเกณฑ์การแปลความหมายค่าเฉลี่ยของแต่ละกลุ่ม แล้วเสนอ
เป็นตารางประกอบความเรียง ซึ่งกำหนดเกณฑ์ ดังนี้ (บุญชม, 2543: 100)
4.51–5.00 หมายถึง ประสิทธิภาพและคุณภาพของโปรแกรมดีมาก
3.51–4.50 หมายถึง ประสิทธิภาพและคุณภาพของโปรแกรมดี
57
2.51–3.50 หมายถึง ประสิทธิภาพและคุณภาพของโปรแกรมปานกลาง
1.51–2.50 หมายถึง ประสิทธิภาพและคุณภาพของโปรแกรมต่ำ
1.00–1.50 หมายถึง ประสิทธิภาพและคุณภาพของโปรแกรมต่ำมาก
3.5 เครื่องมือการวิจัย
เครื่องมือประเมินประสิทธิภาพและคุณภาพของโปรแกรม ผู้พัฒนาได้ออกแบบสอบถามเพื่อ
ประเมินหาประสิทธิภาพและคุณภาพของโปรแกรมที่พัฒนาระบบงานลงทะเบียน ผ่านเครือข่ายอิน
เทอร์เน็ต (Internet) และชำระค่าบำรุงการศึกษา ผ่านเครือข่ายธนาคาร กรณีศึกษาวิทยาลัย เทคนิค
เพชรบุรี โดยแบ่งการประเมินประสิทธิภาพและคุณภาพของโปรแกรมไว้ 3 ด้าน ดังคือ ความ
สามารถของระบบ,การใช้งานของระบบ และความปลอดภัยของข้อมูล โดยมีลำดับการสร้างเครื่อง
มือ ดังนี้

58
ภาพที่ 3-27 ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือ
3.5.1 การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินหาประสิทธิภาพและคุณภาพ ของโปรแกรม การ
พัฒนาโปรแกรมระบบงานลงทะเบียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และ ชำระค่าบำรุงการศึกษาผ่าน
ศึกษาหลักการทางทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับโปรแกรมและ
เนื้อหาสาระสำคัญเกี่ยวกับการสร้างแบบสอบถาม
กำหนดกรอบและวัตถุประสงค์ในการวัดเพื่อ
สร้างเครื่องมือในการประเมิน
สร้างเครื่องมือ
ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบและแก้ไข
ปรับปรุงและนำเครื่องมือไป
ปรับปรุงเป็นฉบับสมบูรณ์
นำไปเก็บรวบรวมข้อมูล
หาความเชื่อมั่น
หาค่าดัชนีความสอดคล้อง
59
เครือข่ายธนาคาร กรณีศึกษาวิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี ผู้พัฒนาได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังภาพที่
3-31
3.5.2 วิธีการสร้างและหาคุณภาพ ในการสร้างเครื่องมือเพื่อใช้ในการตรวจสอบหาประสิทธิ
ภาพคุณภาพของระบบที่พัฒนาขึ้นในครั้งนี้ ได้สร้างแบบสอบถามเพื่อหาประสิทธิภาพและ คุณ
ภาพของการพัฒนาโปรแกรมระบบงานลงทะเบียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และชำระค่าบำรุงการ
ศึกษาผ่านเครือข่ายธนาคาร กรณีศึกษาวิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี ผู้พัฒนาได้ดำเนินการตามขั้นตอน
ดังนี้
3.5.2.1 ศึกษาตำราเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเครื่องมือในการประ เมินหา
ประสิทธิภาพและคุณภาพของการพัฒนาระบบงานลงทะเบียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
(Internet) และชำระค่าบำรุงการศึกษา ผ่านเครือข่ายธนาคาร กรณีศึกษาวิทยาลัย เทคนิคเพชรบุรี
3.5.2.2 วิเคราะห์เนื้อหาและ วัตถุประสงค์ของการพัฒนาระบบงานลงทะเบียนผ่าน
เครือข่ายอินเทอร์เน็ต และชำระค่าบำรุงการศึกษาผ่านเครือข่ายธนาคาร กรณีศึกษาวิทยาลัยเทคนิค
เพชรบุรี เพื่อกำหนดกรอบข้อคำถาม
3.5.2.3 สร้างเครื่องมือสำหรับประเมินหาประสิทธิภาพและคุณภาพของโปรแกรมการ
พัฒนาโปรแกรมระบบงานลงทะเบียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และ ชำระค่าบำรุงการศึกษาผ่าน
เครือข่ายธนาคาร กรณีศึกษาวิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี โดยสร้างข้อคำถามให้สอด คล้องกับเนื้อหา
และวัตถุประสงค์ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลต่อไป
3.6 วิธีการดำเนินการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูล
3.6.1 นำเครื่องมือสำหรับประเมินหาประสิทธิภาพและคุณภาพที่สร้างขึ้นให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจ
สอบเพื่อหาความตรงเชิงเนื้อหาและวัตถุประสงค์ (Content Validity) ซึ่งคุณสมบัติของผู้ เชี่ยว
ชาญครั้งนี้ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ อาจารย์ที่ปรึกษาสารนิพนธ์นักสถิตินัก วิจัยผู้
บริหารที่มีประสบการณ์ ในการบริหารโรงเรียนมีตำแหน่งที่สูงกว่า ผู้ประเมินหรือมีประสบ การณ์
ในการศึกษาด้านบริหารการศึกษาในระดับสูงกว่าปริญญาตรีขึ้นไป จำนวน 5 คน (ดังราย นามใน
ภาคผนวก ข)
3.6.2 นำผลการประเมินของผู้เชี่ยวชาญมาวิเคราะห์ หาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ได้ค่า
ดัชนีความสอดคล้องเชิงเนื้อหาและวัตถุประสงค์ (IOC) อยู่ระหว่าง 0.8 - 1.0 พร้อมทั้งปรับปรุงแก้
ไขด้านภาษาตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญและอาจารย์ที่ปรึกษา
3.6.3 นำเครื่องมือสำหรับประเมินหาประสิทธิภาพและ คุณภาพที่แก้ไขปรับปรุงไปทดลอง
ใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างจากประชากรในการประเมินคือกลุ่มนักศึกษาอาจารย์และ
60
เจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง จำนวน 30 คน เพื่อหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ (Reliability)
และตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาและปรับปรุงแก้ไขด้านภาษาอีกครั้งหนึ่ง
3.6.4 นำผลการทดลองใช้มาวิเคราะห์เพื่อหาความเชื่อมั่น (Reliability) ตามวิธีของ
Cronbach’s (Alpha-Coefficient) ได้ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม ดังตารางที่
3 -14
ตารางที่ 3-14 แสดงค่าสัมประสิทธิ์ของความเชื่อมั่น
ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่น
กลุ่มตัวอย่าง ความสามารถ
ของระบบ
การใช้งาน
ของระบบ
ความปลอดภัย
ของข้อมูล
รวมทั้ง
ฉบับ
1. แบบสอบถามสำหรับนักศึกษา 0.8125 0.8451 0.8249 0.8275
2. แบบสอบถามสำหรับ อาจารย์ที่
ปรึกษา อาจารย์ผู้สอน
0.8183 0.8451 0.8249 0.82943
3. แบบสอบถามสำหรับเจ้าหน้าที่
การเงิน 0.8324 0.8563 0.8567 0.84847
4. แบบสอบถามสำหรับเจ้าหน้าที่
ทะเบียน 0.8225 0.8476 0.869 0.84637
3.6.5 ปรับปรุงแก้ไขและจัดพิมพ์แบบสอบถามเป็นฉบับสมบูรณ์ไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง
3.6.6 การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้พัฒนาได้นำแบบประเมินหาประสิทธิภาพและคุณภาพที่ผ่าน
การทดสอบหาความเชื่อมั่นที่ปรับปรุงแก้ไขเป็นฉบับสมบูรณ์ไปขอความร่วมมือจากกลุ่มตัว อย่าง
ให้ตอบแบบสอบถามซึ่งได้แก่ ครู-อาจารย์ นักศึกษาและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่าง
จำนวนทั้งสิ้น 79 กลุ่มตัวอย่าง โดยแบบสอบถามจะประกอบ 2 ตอนดังนี้
3.6.6.1 ตอนที่ 1 แบบสอบถามหาประสิทธิภาพและคุณภาพเป็นมาตราส่วนประมาณ
ค่า (Rating Scale) โดยแยกเป็น 3 ด้าน คือ ด้านความสามารถของระบบ ด้านการใช้งานของ ระบบ
ด้านความปลอดภัยของข้อมูล พร้อมทั้งแบ่งกลุ่มของแบบสอบถามออกเป็น 4 กลุ่มดังตารางที่ 3-15

61
ตารางที่ 3-15 แสดงจำนวนข้อคำถามของแต่ละกลุ่มตัวอย่าง
จำนวนข้อคำถาม
กลุ่มตัวอย่าง ความสามารถ
ของระบบ
การใช้งาน
ของระบบ
ความปลอดภัย
ของข้อมูล
1. แบบสอบถามสำหรับนักศึกษา 4 7 3
2. แบบสอบถามสำหรับ อาจารย์ที่ปรึกษา
อาจารย์ผู้สอน 9 7 3
3. แบบสอบถามสำหรับเจ้าหน้าที่การเงิน 5 6 3
4. แบบสอบถามสำหรับเจ้าหน้าที่ทะเบียน 9 7 3
เกณฑ์การยอมรับประสิทธิภาพและคุณภาพของโปรแกรม พิจารณาจากคะแนนเฉลี่ยที่ได้
จากแบบประเมินประสิทธิภาพและคุณภาพของโปรแกรม เปรียบเทียบกับค่าสัมฤทธิ์ที่ได้จากการ
ทดสอบหาความเชื่อมั่นโดยได้คะแนนเฉลี่ยในระดับที่กำหนดขึ้นไป จึงยอมรับได้ว่า โปรแกรมมี
ประสิทธิภาพและคุณภาพในการใช้งานในสภาพแวดล้อม การทำงานจริงของโปรแกรมระบบงาน
ลงทะเบียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และชำระค่าบำรุงการศึกษา ผ่านเครือข่ายธนาคาร กรณีศึกษา
วิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี โดยทำการทดสอบผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
3.6.6.2 ตอนที่ 2 แบบสอบถามที่เป็นคำถามปลายเปิดนำเสนอเป็นข้อๆประกอบ เป็น
ความเรียง เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ตอบแบบสอบถามได้แสดงความคิดเห็นต่อการพัฒนาโปรแกรม
ระบบงานฯ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุง แก้ไขและพัฒนาระบบงานให้สมบูรณ์ต่อไป
3.7 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล
ในการพัฒนาระบบงานลงทะเบียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet) และชำระค่าบำรุง
การศึกษา ผ่านเครือข่ายธนาคาร กรณีศึกษา วิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี ผู้พัฒนาได้ใช้ค่าทางสถิติ
สำหรับการแปรผลข้อมูล
3.7.1 สถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพของเครื่องมือ
ดัชนีความสอดคล้องเชิงเนื้อหาและวัตถุประสงค์ (IOC)
สูตร IOC =
N
R
62
เมื่อ IOC = ดัชนีความสอดคล้องเชิงเนื้อหาและวัตถุประสงค์
R = ผลรวมคะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด
N = จำนวนผู้เชี่ยวชาญ
3.7.2 หาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ โดยการหาค่าเฉลี่ย ( X ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( SD )
คะแนนเฉลี่ย (Mean : X )
สูตร
เมื่อ x = ค่าเฉลี่ยเลขคณิต
x = ผลรวมของข้อมูล
N = จำนวนข้อมูล
ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation: S.D.)
สูตร
เมื่อ SD . = ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
x = ข้อมูลแต่ละตัว
x = ค่าเฉลี่ยเลขคณิต
n = จำนวนข้อมูล
3.7.3 การหาค่าผลรวมทางสถิติเฉลี่ย ได้แก่ โดยการหาผลรวมของค่าเฉลี่ย ( ) และผล
รวมค่าส่วนเฉลี่ยเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( )
ผลรวมเฉลี่ยของค่าเฉลี่ย ( XT )
สูตร
เมื่อ = ผลรวมของค่าเฉลี่ย
= ข้อมูลเฉลี่ยแต่ละตัว
= จำนวนข้อมูลแต่ละตัว
1
1
_ 2
.
..
.
..
. .
=
.=
n
x x
SD
n
i
i
N
x
x
N
i
i .=
= 1
_
k k XT N X N X N X
_
2
_
1 2
_
1 = + + ...
k N ,N ,...N 1 2
XT
X X X k
_
2
_ _
1 , ,...
XT
ST
63
ผลรวมของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( )
สูตร
เมื่อ = ส่วนค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของทุกจำนวน
= ผลต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของข้อมูล
= ค่าของข้อมูลแต่ละตัว
= ผลรวมจำนวนข้อมูลทั้งหมด
N
ST N S D d N S D d N S D d k k k ( . . ) ( . . ) ( . .2 2 )
2
2
2
2
1 2
2
1
2
1 + + + + + +
=
k N , N ,... N 1 2
k d ,d ,..d 1 2
N
ST
ST
บทที่ 4
ผลการดำเนินงาน
การพัฒนาโปรแกรมระบบงานลงทะเบียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต(Internet) และชำระค่า
บำรุงการศึกษา ผ่านเครือข่ายธนาคาร กรณีศึกษาวิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี ผู้พัฒนาได้ดำเนินการ
ตามขั้นตอน ดังแสดงในบทที่ 3 ( วิธีการดำเนินงาน ) โดยมีผลการดำเนินงาน ตามขั้นตอนดังนี้
1. ผลการพัฒนาระบบ
2. ผลการทดสอบและประเมินประสิทธิภาพ
โดยแต่ละขั้นตอนสามารถอธิบายผลการดำเนินงาน ดังนี้
4.1 ผลการพัฒนาระบบ
4.1.1 ขั้นตอนในการพัฒนาเครื่องมือ โดยเริ่มด้วยการกำหนดกรอบข้อคำถามสร้างเครื่องมือ
สำหรับประเมินหาประสิทธิภาพละคุณภาพของโปรแกรมระบบงาน การสร้างข้อคำถามให้สอด
คล้องกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ โดยนำเครื่องมือสำหรับประเมินหาประสิทธิภาพและคุณภาพที่
สร้างขึ้นให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเพื่อหาความตรงเชิงเนื้อหาและวัตถุประสงค์ (Content Validity)
ซึ่งคุณสมบัติของผู้เชี่ยวชาญครั้งนี้ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ อาจารย์ที่เคยทำหน้าที่
งานทะเบียน อาจารย์ที่ปรึกษาสารนิพนธ์ นักสถิติ นักวิจัย ผู้บริหารที่มีประสบการณ์ในการบริหาร
สถานศึกษา มีตำแหน่งที่สูงกว่าผู้ประเมินหรือมีประสบการณ์ในการศึกษา ด้านบริหารการศึกษาใน
ระดับสูงกว่าปริญญาตรีขึ้นไป จำนวน 5 คน และนำผลการประเมินของผู้เชี่ยวชาญมาวิเคราะห์ หา
ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องเชิงเนื้อหาและวัตถุประสงค์ (IOC) อยู่
ระหว่าง 0.8 - 1.0 พร้อมทั้งปรับปรุงแก้ไขด้านภาษาตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญและอาจารย์ที่
ปรึกษาหลังจากนั้นนำเครื่องมือ สำหรับประเมินหาประสิทธิภาพและคุณภาพที่แก้ไขปรับปรุงไป
ทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างจากประชากรในการประเมิน คือ กลุ่มนักศึกษา
จำนวน 30 คน เพื่อหาค่าความเชื่อมั่นของแบบ สอบถามทั้งฉบับ (Reliability) และตรวจสอบ
ความถูกต้องของเนื้อหาและปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสม ซึ่งได้ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นของแบบ
สอบถามอยู่ระหว่าง 0.827 – 0.829 หลังจากนั้นจะได้เครื่องมือที่ใช้ในการหาประสิทธิภาพของ
ระบบงาน ดังแสดงในภาคผนวก ก แบบประเมินและทดสอบที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล และใช้
เป็นเครื่องมือในการหาประสิทธิภาพของระบบงาน ในสารนิพนธ์นี้
65
4.1.2 ขั้นตอนในการพัฒนาโปรแกรมระบบงาน หลังจากวิเคราะห์ความต้องการของระบบ
ตามหัวข้อต่างๆ ในบทที่ 3 สามารถนำข้อมูล มาพัฒนาในรูปของโปรแกรมระบบงาน ดังนี้
4.1.2.1 ส่วนหน้าหลักของโปรแกรมระบบงาน ใช้นำเสนอข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง
กับระบบงานทะเบียน ซึ่งได้แก่ ปฎิทินการศึกษา โครงสร้างหลักสูตร ข่าวจากงานทะเบียน คู่มือ
การใช้งานของระบบ ในส่วนของนักศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ผู้สอน เจ้าหน้าที่การเงิน เจ้า
หน้าที่ทะเบียน ข่าวสารต่างๆ ที่ควรรู้ และส่วนเข้าสู่ระบบการใช้งานของระบบสารสนเทศ ในส่วน
ของนักศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ผู้สอน เจ้าหน้าที่การเงิน และเจ้าหน้าที่ทะเบียน ดังแสดงใน
ภาพ ที่ 4-1
ภาพที่ 4 - 1 ส่วนประกอบหน้าหลักของโปรแกรมระบบงาน
4.1.2.2 ส่วนตรวจสอบการเข้าใช้งานของระบบในส่วนของนักศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษา
อาจารย์ผู้สอน เจ้าหน้าที่การเงิน และเจ้าหน้าที่ทะเบียน โดยผู้ใช้งานระบบจะต้องกรอกข้อมูล สอง
ส่วน คือ ส่วนของ Username และส่วนของ Password โดยต้องกรอกข้อมูลทั้งสองส่วนสองครั้ง
เพื่อเข้าใช้งาน Mail Server และ Database Server ซึ่งส่วนของ Mail Server ใช้สำหรับใช้ใน
การรับส่งข้อความในส่วนของโปรแกรมสื่อสารติดต่อระหว่างผู้ใช้งานของระบบงาน ส่วน
Database Server ใช้ในการจัดการฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการลงทะเบียน การเพิ่ม ถอนรายวิชา
การยกเลิกรายวิชาและ การปรับปรุงระบบงานทะเบียน ดังแสดงในภาพ ที่ 4-2
66
ภาพที่ 4-2 ส่วนตรวจสอบการเข้าใช้งานของระบบ
เมื่อผู้ใช้งานเข้าสู่ระบบ โปรแกรมระบบงานจะแยกผู้ใช้งานออกเป็นแต่ส่วนของระบบงาน
ซึ่งประกอบด้วย ส่วนของนักศึกษา ส่วนของอาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ผู้สอน เจ้าหน้าที่การเงิน และ
ส่วนของเจ้าหน้าที่ทะเบียน ส่วนขั้นตอนการใช้งานโดยละเอียดและขั้นตอนการใช้งานโปรแกรม
อธิบายไว้ใน ภาคผนวก ง คู่มือการใช้โปรแกรม
จากขั้นตอนการพัฒนาระบบงานลงทะเบียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และชำระค่าบำรุงการ
ศึกษา ผ่านเครือข่ายธนาคาร กรณีศึกษาวิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี ได้ส่วนประกอบสองส่วนคือ
เครื่องมือทดสอบประสิทธิภาพระบบงาน และส่วนของโปรแกรมระบบงานลงทะเบียน หลังจากผู้
พัฒนาระบบงานได้นำโปรแกรมระบบงานที่พัฒนาแล้ว นำไปทดลองใช้งานกับกลุ่มประชากรตัว
อย่าง โดยใช้เครื่องมือที่ใช้ทดสอบหาประสิทธิภาพของระบบงาน (แสดงในภาคผนวก ก แบบ
ประเมินและทดสอบที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล) โดยนำไปทดสอบตามประเภทของผู้ใช้งาน ซึ่ง
ประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่างนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างอาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ผู้สอน เจ้าหน้าที่การเงิน
และเจ้าหน้าที่ทะเบียน ซึ่งได้แสดงผลการทดสอบในหัวข้อ 4.2 ( ผลการทดสอบและประเมินประ
สิทธิภาพ)
4.2 ผลการทดสอบและประเมินประสิทธิภาพ
ขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้พัฒนาได้นำแบบประเมินหาประสิทธิภาพ และคุณภาพที่
67
ผ่านการทดสอบหาความเชื่อมั่นที่ปรับปรุงแก้ไขเป็นฉบับสมบูรณ์ไปขอความร่วมมือ จากกลุ่มตัว
อย่างให้ตอบแบบสอบถามซึ่งได้แก่ นักศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ผู้สอน เจ้าหน้าที่การเงินและ
เจ้าหน้าที่ทะเบียน ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวนทั้งสิ้น 79 กลุ่มตัวอย่าง ซึ่งสามารถแปรผลข้อมูลหลัง
จากการใช้ การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ โดยใช้โปรแกรม SPSS/FW 7.5 ดำเนินการดังนี้
4.2.1 ผลการตอบแบบสอบถามเมื่อทดสอบกับ นักศึกษา มีรายละเอียดดังนี้
4.2.1.1 ความสามารถของระบบ มีรายละเอียด ดังตารางที่ 4-1
ตารางที่ 4-1 ความสามารถของระบบ
ประสิทธิภาพและคุณภาพ รายการประเมิน จำนวน
X SD การแปลผล
1. ระบบมีคำแนะนำในการใช้งานที่ชัดเจน 55 4.29 0.54 ดี
2. ความง่ายในการใช้งานของระบบตามรายการ
ต่าง ๆ 55 4.21 0.49 ดี
3. ระบบมีความรวดเร็วและความถูกต้องในการ
แสดงผล 55 4.38 0.62 ดี
4. การแก้ไขข้อมูลทำได้ง่ายและสะดวกรวดเร็ว 55 4.36 0.57 ดี
ค่าเฉลี่ยโดยรวม 55 4.31 0.56 ดี
จากผลการตอบแบบสอบถามสำหรับนักศึกษาดังแสดงในตารางที่ 4-1 ด้านความสามารถ
ของระบบ ค่าเฉลี่ย ( X )โดยรวมเท่ากับ 4.31 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( SD ) เท่ากับ 0.56 แสดงให้
เห็นว่าระบบที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพและคุณภาพในด้านความสามารถทำงานตามความต้องการ
ของนักศึกษาอยู่ในระดับดี

68
4.2.1.2 การใช้งานของระบบ มีรายละเอียด ดังตารางที่ 4-2
ตารางที่ 4-2 การใช้งานของระบบ
ประสิทธิภาพและคุณภาพ รายการประเมิน จำนวน
X SD การแปลผล
1. การจัดวางตำแหน่งของรายการ และส่วน
ประกอบมีความเหมาะสม 55 4.56 0.62 ดีมาก
2. ขนาดและสีของตัวอักษรมีความเหมาะสม 55 4.25 0.55 ดี
3. การใช้ส่วนประกอบของสี พื้นหลังและภาพ
ประกอบมีความเหมาะสม
55 4.27 0.53 ดี
4. ความชัดเจนของข้อความที่แสดงบนจอภาพ 55 4.36 0.57 ดี
5. ความเหมาะสมของข้อมูลที่นำเสนอในแต่ละ
จอภาพ 55 4.30 0.55 ดี
6. การจัดตำแหน่งโดยรวมของระบบมีความเหมาะ
สม 55 4.32 0.56 ดี
7. ขนาดของช่องกรอกข้อความมีความพอเหมาะ 55 4.52 0.62 ดีมาก
ค่าเฉลี่ยโดยรวม 55 4.54 0.62 ดีมาก
จากผลการตอบแบบสอบถามสำหรับนักศึกษาดังแสดงในตารางที่ 4-2 ด้านการใช้งานของ
ระบบ ค่าเฉลี่ย ( X ) โดยรวมเท่ากับ 4.54 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( SD ) เท่ากับ 0.62 แสดงให้เห็น
ว่าระบบที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพและคุณภาพในด้านการใช้งาน อยู่ในระดับดีมาก
4.2.1.3 ด้านความปลอดภัยของระบบ มีรายละเอียด ดังตารางที่ 4-3
ตารางที่ 4-3 ความปลอดภัยของระบบ
ประสิทธิภาพและคุณภาพ รายการประเมิน จำนวน
X SD การแปลผล
1. การเข้าสู่ระบบโดยการแยกตามกลุ่มผู้ใช้งานและ
รหัสผ่าน เป็นระบบที่มีความปลอดภัย 55 4.56 0.62 ดีมาก
69
ตารางที่ 4-3 ความปลอดภัยของระบบ (ต่อ)
ประสิทธิภาพและคุณภาพ รายการประเมิน จำนวน
X SD การแปลผล
2. การกำหนดสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลโดยการแบ่ง
กลุ่มช่วยให้ระบบมีความปลอดภัย 55 4.43 0.60 ดี
3. ระบบมีการเข้ารหัส(SSL)ทำให้ระบบมีความ
ปลอดภัย
55 4.38 0.58 ดี
ค่าเฉลี่ยโดยรวม 55 4.47 0.59 ดี
จากผลการตอบแบบสอบถามสำหรับนักศึกษา ดังแสดงในตารางที่ 4-3 ด้านความปลอดภัย
ของระบบ ค่าเฉลี่ย ( X ) โดยรวมเท่ากับ 4.47 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( SD ) เท่ากับ0.59 แสดงให้
เห็นว่าระบบที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพและคุณภาพในด้านความปลอดภัยของข้อมูล ของนักศึกษา
อยู่ในระดับดี
4.2.1.4 ผลรวมทุกด้านของนักศึกษา มีรายละเอียด ดังตารางที่ 4-4
ตารางที่ 4-4 ผลรวมทุกด้านของนักศึกษา
ประสิทธิภาพและคุณภาพ รายการประเมิน จำนวน
XT ST การแปลผล
ค่าเฉลี่ยโดยรวมทุกด้านของนักศึกษา 55 4.39 0.59 ดี
ตารางที่ 4-4 เป็นผลการตอบแบบสอบถามสำหรับนักศึกษา รวมทุกด้าน ผลรวมของค่าเฉลี่ย
(XT) โดยรวมเท่ากับ 4.39 และผลรวมของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (ST) เท่ากับ 0.59 แสดงให้เห็น
ว่าระบบที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพและคุณภาพ โดยรวม ของนักศึกษาอยู่ในระดับดี
4.2.2 ผลการตอบแบบสอบถามเมื่อทดสอบกับ อาจารย์ที่ปรึกษา-อาจารย์ผู้สอน มีราย
ละเอียดดังนี้

70
4.2.2.1 ความสามารถของระบบมีรายละเอียด ดังตารางที่ 4-5
ตารางที่ 4-5 ความสามารถของระบบ
ประสิทธิภาพและคุณภาพ รายการประเมิน จำนวน
X SD การแปลผล
1. ระบบสามารถนำมาใช้งานได้จริงในงานลง
ทะเบียน 13 4.53 0.49 ดีมาก
2. ระบบมีคำแนะนำในการใช้งานที่ชัดเจน 13 4.23 0.421 ดี
3. ความง่ายในการใช้งานระบบตามรายการต่าง ๆ 13 4.30 0.46 ดี
4. ระบบมีความรวดเร็วและความถูกต้องในการ
แสดงผล 13 4.38 0.48 ดี
5. การแก้ไขข้อมูลทำได้ง่ายและสะดวกรวดเร็ว 13 4.38 0.48 ดี
6. การนำเข้า ปรับปรุงข้อมูลต่าง ๆ ของระบบทำ
ได้โดยง่ายและสะดวก
13 4.15 0.36 ดี
7. การแสดงผลการค้นหาข้อมูลได้ถูกต้องและรวด
เร็ว 13 4.38 0.48 ดี
8. อำนวยความสะดวกในการลงทะเบียนเรียนของ
นักศึกษา 13 4.76 0.42 ดีมาก
9. ระบบสามารถลดภาระการทำงานของระบบงานที่
เกี่ยวข้อง 13 4.61 0.48 ดีมาก
ค่าเฉลี่ยโดยรวม 13 4.57 0.48 ดีมาก
จากผลการตอบแบบสอบถามสำหรับอาจารย์ที่ปรึกษา-อาจารย์ผู้สอนดังแสดงในตารางที่4-3
ด้านความสามารถของระบบ ค่าเฉลี่ย ( X ) โดยรวมเท่ากับ 4.57 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( SD ) เท่า
กับ 0.48 แสดงให้เห็นว่าระบบที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพและคุณภาพในด้านความสามารถทำงาน
ตามความต้องการของอาจารย์ที่ปรึกษา-อาจารย์ผู้สอนอยู่ในระดับดีมาก

71
4.2.2.2 ด้านการใช้งานของระบบ มีรายละเอียด ดังตารางที่ 4-6
ตารางที่ 4-6 ด้านการใช้งานของระบบ
ประสิทธิภาพและคุณภาพ รายการประเมิน จำนวน
X SD การแปลผล
1. การจัดวางตำแหน่งของรายการ และส่วน
ประกอบมีความเหมาะสม 13 4.53 0.49 ดีมาก
2. ขนาดและสีของตัวอักษรมีความเหมาะสม 13 4.23 0.42 ดี
3. การใช้ส่วนประกอบของสี พื้นหลังและภาพ
ประกอบมีความเหมาะสม
13 4.53 0.49 ดีมาก
4. ความชัดเจนของข้อความที่แสดงบนจอภาพ 13 4.61 0.48 ดีมาก
5. ความเหมาะสมของข้อมูลที่นำเสนอในแต่ละจอ
ภาพ 13 4.46 0.49 ดี
6. การจัดตำแหน่งของระบบมีความเหมาะสม 13 4.46 0.49 ดี
7. ขนาดของช่องกรอกข้อความมีความพอเหมาะ 13 4.53 0.49 ดีมาก
ค่าเฉลี่ยโดยรวม 13 4.53 0.49 ดีมาก
จากผลการตอบแบบสอบถามสำหรับอาจารย์ที่ปรึกษา-อาจารย์ผู้สอนดังแสดงในตารางที่4-6
ด้านการใช้งานของระบบ ค่าเฉลี่ย ( X ) โดยรวมเท่ากับ 4.53 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( SD ) เท่ากับ
0.49 แสดงให้เห็นว่าระบบที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพและคุณภาพในด้านการใช้งาน ของอาจารย์ที่
ปรึกษา-อาจารย์ผู้สอนยู่ในระดับดี
4.2.2.3 ด้านความปลอดภัยของระบบมีรายละเอียด ดังตารางที่ 4-7
ตารางที่ 4-7 ด้านความปลอดภัยของข้อมูล
ประสิทธิภาพและคุณภาพ รายการประเมิน จำนวน
X SD การแปลผล
1. การเข้าสู่ระบบโดยการแยกตามกลุ่มผู้ใช้งานและ
รหัสผ่าน เป็นระบบที่มีความปลอดภัย 13 4.69 0.46 ดีมาก
72
ตารางที่ 4-7 ด้านความปลอดภัยของข้อมูล (ต่อ)
ประสิทธิภาพและคุณภาพ รายการประเมิน จำนวน
X SD การแปลผล
2. การกำหนดสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลโดยการแบ่ง
กลุ่มช่วยให้ระบบมีความปลอดภัย 13 4.46 0.49 ดี
3. ระบบมีการเข้ารหัส(SSL)ทำให้ระบบมีความ
ปลอดภัย
13 4.53 0.49 ดีมาก
ค่าเฉลี่ยโดยรวม 13 4.61 0.63 ดีมาก
จากผลการตอบแบบสอบถามสำหรับอาจารย์ที่ปรึกษา-อาจารย์ผู้สอน ดังแสดงในตารางที่
4-7 ด้านความปลอดภัยของระบบ ค่าเฉลี่ย ( X )โดยรวมเท่ากับ 4.61 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( SD )
เท่ากับ 0.63 แสดงให้เห็นว่าระบบที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพและคุณภาพในด้านความปลอดภัย
ของอาจารย์ที่ปรึกษา-อาจารย์ผู้สอนอยู่ในระดับดีมาก
4.2.2.4 ผลรวมทุกด้านของการตอบแบบสอบถามสำหรับอาจารย์ที่ปรึกษา-อาจารย์ผู้
สอน มีรายละเอียด ดังตารางที่ 4-8
ตารางที่ 4-8 ผลรวมทุกด้านของการตอบแบบสอบถามสำหรับอาจารย์ที่ปรึกษา-อาจารย์ผู้สอน
ประสิทธิภาพและคุณภาพ รายการประเมิน จำนวน
XT ST การแปลผล
ค่าเฉลี่ยโดยรวมทุกด้านอาจารย์ที่ปรึกษา-อาจารย์ผู้
สอน 13 4.59 0.53 ดีมาก
ตารางที่ 4-8 เป็นผลการตอบแบบสอบถามสำหรับอาจารย์ที่ปรึกษา-อาจารย์ผู้สอน รวมทุก
ด้าน ผลรวมของค่าเฉลี่ย (XT) โดยรวมเท่ากับ 4.59 และผลรวมส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (ST) เท่า
กับ 0.53 แสดงให้เห็นว่าระบบที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพและคุณภาพ โดยรวม ของอาจารย์ที่
ปรึกษา-อาจารย์ผู้สอน อยู่ในระดับดีมาก
4.2.3 ผลการตอบแบบสอบถามเมื่อทดสอบกับเจ้าหน้าที่การเงิน มีรายละเอียดดังนี้

73
4.2.3.1 ด้านความสามารถของระบบ มีรายละเอียด ตามตารางที่4-9
ตารางที่ 4-9 ด้านความสามารถของระบบ
ประสิทธิภาพและคุณภาพ รายการประเมิน จำนวน
X SD การแปลผล
1. ระบบมีคำแนะนำในการใช้งานที่ชัดเจน 6 4.66 0.47 ดี
2. ความง่ายในการใช้งานของระบบตามรายการ
ต่างๆ 6 4.33 0.54 ดี
3. ระบบมีความรวดเร็วและความถูกต้องในการ
แสดงผล
6 4.33 0.54 ดี
4. การแก้ไขข้อมูลทำได้ง่ายและสะดวกรวดเร็ว 6 4.33 0.54 ดี
5. อำนวยความสะดวกในการชำระเงินลงทะเบียน
เรียนของนักศึกษา 6 4.66 0.47 ดี
ค่าเฉลี่ยโดยรวม 6 4.61 0.53 ดีมาก
จากผลการตอบแบบสอบถามสำหรับเจ้าหน้าที่งานการเงิน ดังแสดงในตารางที่ 4-9 ด้าน
ความสามารถของระบบ ค่าเฉลี่ย ( X ) โดยรวมเท่ากับ 4.61 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( SD ) เท่ากับ
0.53 แสดงให้เห็นว่าระบบที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพและคุณภาพในด้านความสามารถทำงานตาม
ความต้องการของเจ้าหน้าที่งานการเงินอยู่ในระดับดีมาก
4.2.3.2 ด้านการใช้งานของระบบ มีรายละเอียด ดังตารางที่ 4-10
ตารางที่ 4-10 ด้านการใช้งานของระบบ
ประสิทธิภาพและคุณภาพ รายการประเมิน จำนวน
X SD การแปลผล
1. การจัดวางตำแหน่งของรายการ และส่วน
ประกอบมีความเหมาะสม 6 4.66 0.47 ดี
2. ขนาดและสีของตัวอักษรมีความเหมาะสม 6 4.33 0.54 ดี
3. ความชัดเจนของข้อความที่แสดงบนจอภาพ 6 4.83 0.43 ดีมาก
74
ตารางที่ 4-10 ด้านการใช้งานของระบบ (ต่อ)
ประสิทธิภาพและคุณภาพ รายการประเมิน จำนวน
X SD การแปลผล
4. การใช้ส่วนประกอบของสี พื้นหลังและภาพ
ประกอบมีความเหมาะสม 6 4.66 0.47 ดี
5. ความเหมาะสมของข้อมูลที่นำเสนอในแต่ละจอ
ภาพ
6 4.66 0.47 ดีมาก
6. การจัดตำแหน่งโดยรวมของระบบมีความเหมาะ
สม 6 4.33 0.54 ดี
ค่าเฉลี่ยโดยรวม 6 4.49 0.53 ดี
จากผลการตอบแบบสอบถามสำหรับเจ้าหน้าที่งานการเงิน ดังแสดงในตารางที่ 4-10 ด้าน
การใช้งานของระบบ ค่าเฉลี่ย ( X )โดยรวมเท่ากับ 4.49 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( SD ) เท่ากับ 0.53
แสดงให้เห็นว่าระบบที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพและคุณภาพในด้านการใช้งานของเจ้าหน้าที่งาน
การเงินอยู่ในระดับดี
4.3.3.3 ด้านความปลอดภัยของระบบ มีรายระเอียด ตามตาราง ที่ 4-11
ตารางที่ 4-11 ด้านความปลอดภัยของข้อมูล
ประสิทธิภาพและคุณภาพ รายการประเมิน จำนวน
X SD การแปลผล
1. การเข้าสู่ระบบโดยการแยกตามกลุ่มผู้ใช้งานและ
รหัสผ่าน เป็นระบบที่มีความปลอดภัย 6 4.33 0.54 ดี
2. การกำหนดสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลโดยการแบ่ง
กลุ่มช่วยให้ระบบมีความปลอดภัย 6 4.16 0.57 ดี
3. ระบบมีการเข้ารหัส(SSL)ทำให้ระบบมีความ
ปลอดภัย 6 4.16 0.57 ดี
ค่าเฉลี่ยโดยรวม 6 4.24 0.56 ดี

75
จากผลการตอบแบบสอบถามสำหรับเจ้าหน้าที่งานการเงิน ดังแสดงในตารางที่ 4-11 ด้าน
ความปลอดภัยของระบบ ค่าเฉลี่ย ( X )โดยรวมเท่ากับ 4.24 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( SD ) เท่ากับ
0.56 แสดงให้เห็นว่าระบบที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพและคุณภาพในด้านความปลอดภัยของข้อมูล
อยู่ในระดับดี
4.2.3.4 ผลรวมทุกด้านของการตอบแบบสอบถามสำหรับเจ้าหน้าที่งานการเงิน
มีรายละเอียดตาม ตารางที่ 4-12
ตารางที่ 4-12 ผลรวมทุกด้านของการตอบแบบสอบถามสำหรับเจ้าหน้าที่งานการเงิน
ประสิทธิภาพและคุณภาพ รายการประเมิน จำนวน
XT ST การแปลผล
ค่าเฉลี่ยโดยรวมทุกด้านของเจ้าหน้าที่งานการเงิน 6 4.35 0.57 ดี
ตารางที่ 4-12 เป็นผลการตอบแบบสอบถามสำหรับ เจ้าหน้าที่งานการเงิน รวมทุกด้าน ผล
รวมของค่าเฉลี่ย (XT) โดยรวมเท่ากับ 4.35 และผลรวมของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (ST) เท่ากับ
0.57 แสดงให้เห็นว่าระบบที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพและคุณภาพ โดยรวม อยู่ในระดับดี
4.2.4 ผลการตอบแบบสอบถามเมื่อทดสอบกับเจ้าหน้าที่งานทะเบียน มีรายละเอียดดังนี้
4.2.4.1 ด้านความสามารถของระบบมีรายละเอียดตาม ตารางที่ 4-13
ตารางที่ 4-13 ด้านความสามารถของระบบ
ประสิทธิภาพและคุณภาพ รายการประเมิน จำนวน
X SD การแปลผล
1. ระบบสามารถนำมาใช้งานได้จริงในระบบงาน
ลงทะเบียน
5 4.80 0.44 ดีมาก
2. การสรุปรายงานผลการเรียนมีความถูกต้อง 5 4.40 0.52 ดี
3. ง่ายในการใช้งานของระบบตามรายการต่างๆ 5 4.40 0.52 ดี
4. ระบบมีความรวดเร็วและความถูกต้องในการ
แสดงผล 5 4.40 0.52 ดี
5. การแก้ไขข้อมูลทำได้ง่ายและสะดวกรวดเร็ว 5 4.40 0.52 ดี
76
ตารางที่ 4-13 ด้านความสามารถของระบบ (ต่อ)
ประสิทธิภาพและคุณภาพ รายการประเมิน จำนวน
X SD การแปลผล
6. การนำเข้า ลบ ปรับปรุงข้อมูลต่าง ๆ ของระบบ
ทำได้โดยง่ายและสะดวก 5 4.20 0.52 ดี
7. แสดงผลการค้นหาข้อมูลได้ถูกต้องและรวดเร็ว 5 4.60 0.48 ดีมาก
8. อำนวยความสะดวกในการลงทะเบียนเรียนของ
นักศึกษา 5 4.40 0.52 ดี
9. ระบบสามารถลดภาระการทำงานของระบบงานที่
เกี่ยวข้อง 5 4.60 0.48 ดีมาก
ค่าเฉลี่ยโดยรวม 5 4.47 0.47 ดี
จากผลการตอบแบบสอบถามสำหรับเจ้าหน้าที่งานทะเบียน ดังแสดงในตารางที่ 4-13 ด้าน
ความสามารถของระบบ ค่าเฉลี่ย ( X ) โดยรวมเท่ากับ 4.47 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( SD ) เท่ากับ
0.47 แสดงให้เห็นว่าระบบที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพและคุณภาพในด้านความสามารถทำงานตาม
ความต้องการของเจ้าหน้าที่งานทะเบียน อยู่ในระดับดี
4.2.4.2 ด้านการใช้งานของระบบ มีรายละเอียดตาม ตารางที่ 4-14
ตารางที่ 4-14 ด้านการใช้งานของระบบ
ประสิทธิภาพและคุณภาพ รายการประเมิน จำนวน
X SD การแปลผล
1. การจัดวางตำแหน่งของรายการ และส่วน
ประกอบมีความเหมาะสม 5 4.40 0.52 ดี
2. ขนาดและสีของตัวอักษรมีความเหมาะสม 5 4.60 0.48 ดีมาก
3. การใช้ส่วนประกอบของสี พื้นหลังและภาพ
ประกอบมีความเหมาะสม 5 4.20 0.56 ดี
4. ความชัดเจนของข้อความที่แสดงบนจอภาพ 5 4.40 0.52 ดี
5. การจัดตำแหน่งของระบบมีความเหมาะสม 5 4.20 0.56 ดี
77
ตารางที่ 4-14 ด้านการใช้งานของระบบ (ต่อ)
ประสิทธิภาพและคุณภาพ รายการประเมิน จำนวน
X SD การแปลผล
6. ความเหมาะสมของข้อมูลที่นำเสนอในแต่ละจอ
ภาพ 5 4.20 0.56 ดี
7. ขนาดของช่องกรอกข้อความมีความพอเหมาะ 5 4.20 0.52 ดี
ค่าเฉลี่ยโดยรวม 5 4.3 0.52 ดี
จากผลการตอบแบบสอบถามสำหรับเจ้าหน้าที่งานทะเบียน ดังแสดงในตารางที่ 4-14 ด้าน
การใช้งานของระบบ ค่าเฉลี่ย ( X ) โดยรวมเท่ากับ 4.3 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( SD ) เท่ากับ 0.52
แสดงให้เห็นว่าระบบที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพและคุณภาพในด้านการใช้งานของเจ้าหน้าที่งาน
ทะเบียน อยู่ในระดับดี
4.2.4.3 ด้านความปลอดภัยของข้อมูล มีรายละเอียดตาม ตารางที่ 4-15
ตารางที่ 4-15 ด้านความปลอดภัยของข้อมูล
ประสิทธิภาพและคุณภาพ รายการประเมิน จำนวน
X SD การแปลผล
1. การเข้าสู่ระบบโดยการแยกตามกลุ่มผู้ใช้งานและ
รหัสผ่าน เป็นระบบที่มีความปลอดภัย 5 4.60 0.48 ดีมาก
2. การกำหนดสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลโดยการแบ่ง
กลุ่มช่วยให้ระบบมีความปลอดภัย 5 4.40 0.52 ดี
3. ผู้ใช้สามารถกำหนดรหัสผ่าน ทำให้ระบบมีความ
ปลอดภัย 5 4.20 0.56 ดี
ค่าเฉลี่ยโดยรวม 5 4.44 0.55 ดี
จากผลการตอบแบบสอบถามสำหรับเจ้าหน้าที่งานทะเบียน ดังแสดงในตารางที่ 4-15 ด้าน
ความปลอดภัยของข้อมูล ค่าเฉลี่ย ( X ) โดยรวมเท่ากับ 4.44 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( SD ) เท่ากับ
78
0.55 แสดงให้เห็นว่าระบบที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพและคุณภาพในด้านความปลอดภัยของข้อมูล
อยู่ในระดับดี
4.2.4.4 ผลรวมทุกด้านของการตอบแบบสอบถามสำหรับเจ้าหน้าที่งานทะเบียน มีราย
ละเอียดตาม ตารางที่ 4-16
ตารางที่ 4-16 ผลรวมทุกด้านของการตอบแบบสอบถามสำหรับเจ้าหน้าที่งานทะเบียน
ประสิทธิภาพและคุณภาพ รายการประเมิน จำนวน
XT ST การแปลผล
ค่าเฉลี่ยโดยรวมทุกด้านของเจ้าหน้าที่งานทะเบียน 5 4.45 0.55 ดี
ตารางที่ 4-16 เป็นผลการตอบแบบสอบถามสำหรับเจ้าหน้าที่งานทะเบียน รวมทุกด้าน
ผลรวมของค่าเฉลี่ย (XT) โดยรวมเท่ากับ 4.45 และผลรวมของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (ST) เท่ากับ
0.55 แสดงให้เห็นว่าระบบที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพและคุณภาพ โดยรวมอยู่ในระดับดี
ผลดำเนินงานการพัฒนาโปรแกรมระบบงานลงทะเบียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต(Internet)
และชำระค่าบำรุงการศึกษาผ่านเครือข่ายธนาคาร กรณีศึกษาวิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี สามารถสรุป
ผลของการวิเคราะห์ข้อมูลจากการตอบแบบสอบถามของประชากรกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 79 กลุ่ม
ตัวอย่าง จาก4 กลุ่มประชากร คือ นักศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ผู้สอน เจ้าหน้าที่การเงิน และ
เจ้าหน้าที่ทะเบียน ดังแสดงตามตารางที่ 4-17
ตารางที่ 4-17 ผลรวมของการประเมินประสิทธิภาพและคุณภาพของระบบงาน
ประสิทธิภาพและคุณภาพ รายการประเมิน
XT ST การแปลผล
ค่าเฉลี่ยโดยรวมทุกด้านของระบบงานลงทะเบียนฯ 4.39 0.58 ดี
ตารางที่ 4-17 เป็นผลรวมของการตอบแบบสอบถามทั้งหมด รวมทุกด้าน ผลรวมของค่าเฉลี่ย (XT)
โดยรวมเท่ากับ 4.39 และผลรวมของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (ST) เท่ากับ 0.58 แสดงให้เห็นว่า
ระบบที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพและคุณภาพ โดยรวมอยู่ในระดับ ดี

บทที่ 5
สรุปผลและข้อเสนอแนะ
5.1 สรุปผล ในการพัฒนาระบบงาน
โปรแกรมระบบงานลงทะเบียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet) และชำระค่าบำรุงการ
ศึกษา ผ่านเครือข่ายธนาคาร กรณีศึกษาวิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี ได้พัฒนาขึ้นบนพื้นฐานการนำ
เทคโนโลยีสารสนเทศ เข้ามาช่วยในการบริหารจัดการ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวก ให้กับองค์กร
โดยเฉพาะสถานศึกษาที่ถือว่าระบบงานทะเบียนเป็นส่วนสำคัญที่ต้องนำเทคโนโลยี เข้ามาช่วยใน
การบริหารจัดการ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับ นักศึกษา ครู-อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ใน
การลงทะเบียน โดยวิธีการดำเนินงานผู้พัฒนาได้พัฒนาขึ้นบนพื้นฐานของการนำเทคโนโลยีสาร
สนเทศเข้ามาบริหารจัดการ บนระบบปฏิบัติการ Windows 2000 และใช้ระบบบริหารการจัดการ
ฐานข้อมูล MySQL ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทั้งนี้เพื่ออำนวยความสะดวก ให้กับทุกส่วนที่
เกี่ยวข้องในการลงทะเบียน โดยใช้ประชากรกลุ่มตัวอย่างของวิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี ได้แก่ นัก
ศึกษาจำนวน 550 คน ครู-อาจารย์จำนวน 130 คน โดยใช้ประชากรกลุ่มตัวอย่าง 10 % ของจำนวน
ประชากร นักศึกษาจำนวน 55 คน ครู-อาจารย์จำนวน 13 คน เจ้าหน้าที่การเงินจำนวน 6 คน และ
เจ้าหน้าที่ทะเบียนจำนวน 5 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 79 คน เป็นประชากรกลุ่มตัวอย่าง ในการดำเนิน
การวิจัยในครั้งนี้
ในการหาประสิทธิภาพและคุณภาพของระบบนั้น ผู้พัฒนาได้ประเมินโดยใช้แบบสอบ ถาม
ในการหาประสิทธิภาพซึ่งผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญโดยการหาความตรงเชิงเนื้อหาและ
วัตถุประสงค์ และทดสอบหาความเชื่อมั่นของแบบประเมินพร้อม ทั้งปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำ
จากผลการทดสอบหาประสิทธิภาพและคุณภาพทั้ง 3 ด้านสรุปได้ว่า โปรแกรมระบบงาน
ลงทะเบียนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและ ชำระค่าบำรุง การศึกษาผ่านเครือข่ายธนาคาร กรณีศึกษา
วิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี เป็นระบบงานที่มีประสิทธิภาพและคุณภาพ พอสรุปได้ดังนี้
ในส่วนของนักศึกษา ระบบที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพและคุณภาพ ในระดับ ดี
ในส่วนของอาจารย์ที่ปรึกษา-อาจารย์ผู้สอน ระบบที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพและคุณภาพ
ในระดับ ดีมาก
ในส่วนของเจ้าหน้าที่การเงิน ระบบที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพและคุณภาพ ในระดับ ดี
ในส่วนของเจ้าหน้าที่ทะเบียน ระบบที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพและคุณภาพ ในระดับ ดี
80
และในภาพรวมของระบบทั้งหมดระบบที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพและคุณภาพในระดับที่ สามารถ
นำไปประยุกต์ใช้งานในสถานศึกษาที่มีรูปแบบการจัดการเรียนการสอน ในลักษณะเดียว กันได้
5.2 ปัญหา และข้อเสนอแนะ
ในการการดำเนินการพัฒนา ระบบงานลงทะเบียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและ ชำระค่า
บำรุงการศึกษาผ่านเครือข่ายธนาคาร กรณีศึกษาวิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี ได้ดำเนินการพัฒนาจนสิ้น
สุดกระบวนการ พบปัญหา และอุปสรรค์ ตลอดจนแนวทางในการแก้ปัญหา ดังนี้
5.2.1 ปัญหาในการพัฒนาระบบงานลงทะเบียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและ ชำระค่าบำรุง
การศึกษาผ่านเครือข่ายธนาคาร กรณีศึกษาวิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี สรุปได้ดังนี้
5.2.1.1 ปัญหาในการวิเคราะห์ และออกแบบระบบ เพื่อให้ใช้งานได้ดีบนเครือข่าย
อินเทอร์เน็ต โดยให้ผู้ใช้งานไม่ต้องกรอกข้อมูล หรือให้กรอกข้อมูลให้น้อยที่สุด เพื่อประสิทธิภาพ
ด้านความถูกต้อง และความเร็วของระบบ
5.2.1.2 ปัญหาในการพัฒนาระบบสือสารเพื่อให้ผู้ใช้งานในระบบสื่อสารกันได้ ภาย
ใต้ระบบที่พัฒนาขึ้น
5.2.1.3 ปัญหาในการเปลียนแปลงโครงสร้างหลักสูตรของระบบงานของสถานศึกษา
ที่ส่งผลต่อการพัฒนาระบบและ การนำไปทดสอบในการใช้งานจริง เช่นรหัสวิชา รายชื่อวิชา การ
ยุบรวมรายวิชา ฯลฯ
5.2.1.4 ปัญหาในการทดสอบระบบจริง ต้องใช้ทรัพยากรด้านระบบเครือข่าย ซึ่งได้
แก่ คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นแม่ข่าย เครือข่ายอินเทอร์เน็ต และเครื่องที่ทำหน้าที่เป็นลูกข่ายจะ
ต้องใช้จำนวนที่มากพอต่อการทดสอบของระบบงานฯ
5.2.2 ข้อเสนอแนะของการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่องานลงทะเบียน ผ่านเครือข่าย
อินเทอร์เน็ตและ ชำระค่าบำรุงการศึกษา ผ่านเครือข่ายธนาคาร จากการตอบแบบสอบถามในตอนที่
2 ของแบบสอบถาม ควรพัฒนาเพิ่มเติม ดังนี้
5.2.2.1 ระบบควรพัฒนาให้ครบรูปแบบของการบริหารงานในสถานศึกษาเช่น ควร
เพิ่มรายการสำหรับผู้บริหารสำหรับตรวจสอบการทำงานของระบบงานลงทะเบียนฯ และเพิ่มราย
การสำหรับผู้ปกครองในการตรวจสอบและติดตามผลการเรียนของนักศึกษาในความดูแล
5.2.2.2 ในส่วนของแบบประเมินของผู้ตอบแบบสอบถาม และควรเพิ่มเติมในหัวข้อ
ต่างๆ ของระบบงานให้ละเอียดมากขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบงาน
5.2.2.3 ควรเพิ่มหัวข้อต่างๆ ของระบบงาน ที่เกี่ยวข้องกับงานทะเบียนให้สามารถ
ใช้งานได้ตามความต้องการของสถานศึกษา เช่นในส่วนของระบบพิมพ์ต่างๆ
81
5.2.2.4 ระบบงานที่พัฒนาควรใช้ซอฟต์แวร์ ประเภทฟรีแวร์ ซึ่งสามารถประหยัด
งบประมาณของทางราชการ สามารถใช้ได้กับสถานศึกษาในระดับต่างๆ ได้
5.2.2.5 ควรเพิ่มข้อมูลประชาสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับนักศึกษาในหน้าแรก พร้อม
ทั้งข่าวสารต่าง ๆ ของทางสถานศึกษาเพื่อสื่อสาร กับนักศึกษา ครู-อาจารย์ และผู้ปกครอง ได้ทราบ
ข่าวสารต่าง ๆ
5.2.2.6 ควรส่งเสริมการใช้งานร่วมกันระหว่างสถานศึกษา ครู-อาจารย์ นักศึกษาผู้
ปกครอง เพื่อติดตามและประเมินผลนักศึกษา ในความดูแลของแต่ละฝ่าย
5.2.2.7 ควรพัฒนาส่วนการเชื่อมโยงธนาคารให้สมบูรณ์ เพื่อให้โปรแกรมระบบงาน
ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet) และชำระค่าบำรุงการศึกษา ผ่านเครือข่ายธนาคาร ให้ใช้งาน
ได้จริง และเพื่อเป็นต้นแบบของสถานศึกษาอื่นๆ ได้
5.2.2.8 ควรพัฒนาให้ครอบคลุมในทุกด้านของระบบที่เกี่ยวข้องระหว่างสถานศึกษา
นักศึกษา ผู้ปกครอง เพื่อประหยัดเวลาของผู้ปกครองที่มาติดต่อกับสถานศึกษา ในการติดตามและ
ดูแลผลการเรียนของนักศึกษา ซึ่งสามารถติดตามและดูแลได้ทั่วไปที่มีเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
5.2.2.9 ระบบควรเป็นระบบที่สามารถใช้งานบนฟรีอินเทอร์เน็ตได้ โดยพิจารณา
ในการออกแบบฐานข้อมูลให้เหมาะสม การให้ผู้ใช้งานกรอกข้อมูลให้น้อยที่สุดเนื่องจากผู้ใช้งาน
ส่วนมาก ใช้บริการฟรีอิเตอร์เน็ต
5.3 แนวทางในการพัฒนาต่อของระบบงาน
ในการพัฒนาระบบลงทะเบียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet) และชำระค่าบำรุง
การศึกษา ผ่านเครือข่ายธนาคาร ผู้พัฒนาได้ให้ข้อมูลเพื่อเป็นแนวทาง ในการพัฒนาระบบงานใน
ลักษณะเดียวกัน ดังนี้
5.3.1 ในการพัฒนาระบบลงทะเบียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะต้องคำนวณทรัพยากรของ
ระบบ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย หน่วยความจำหลัก หน่วยประมวลผลข้อมูล หน่วยเก็บข้อมูล
หลัก หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง จำนวนข้อมูลนักศึกษาต่อเครื่องแม่ข่าย ปริมาณแบนด์วิทด์ของระบบ
ที่ให้บริการ ประกอบการพิจราณา ทั้งนี้เนื่องจากการใช้งานจริงมักประสบปัญหาในการใช้งาน
5.3.2 ในการออกระบบระบบฐานข้อมูล ควรใช้อย่างเหมาะสม ระบบฐานข้อมูลจะต้องไม่มี
ข้อมูลจำนวนมากเกินไป หรือควรแยกข้อมูลออกเป็นส่วนๆ โดยให้ผู้ใช้งานเลือกเป็นแต่ละหัวข้อ
เพื่อลดภาระของระบบแม่ข่าย และเพิ่มความเร็วในการประมวลผลข้อมูล
82
5.3.3 ในการพัฒนาระบบลงทะเบียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สิ่งที่ควรคำนึงคือ ความ
ปลอดภัยของข้อมูล ฉะนั้นการเข้าถึงข้อมูลจะต้องเป็นไปตามกฎระเบียบของความปลอดภัยของข้อ
มูล
ในการพัฒนาระบบงาน ที่เกี่ยวข้องกับระบบเครือข่าย โดยเฉพาะในลักษณะการประมวลผล
แบบกระจาย กล่าวคือ การทำงานในลักษณะถ่ายโอนข้อมูลระหว่างกันของคอมพิวเตอร์ ในที่ต่าง
กันออกไป มักไม่ประสบความสำเร็จ ทั้งนี้เนื่องจากผู้พัฒนาระบบส่วนมาก ขาดความเข้าใจในหลัก
ของการสื่อสารที่ต้องใช้ในการเชื่อมต่อ ซึ่งจะต้องอาศัยโครงสร้างพื้นฐานของระบบสื่อสารของ
ประเทศ โดยเฉพาะของการสื่อสารแห่งประเทศไทย หรือองค์การโทรศัพท์ ที่ให้บริการด้านเครือ
ข่าย และผู้ใช้ส่วนมากมีความสามารถในการเช่าระบบสื่อสารได้ในปริมาณแบนด์วิทด์ที่จำกัด ดั้ง
นั้นในการพัฒนาโปรแกรม หรือระบบงานที่ต้องใช้ระบบสื่อสาร จากภายนอกองค์กร จำเป็นต้อง
ศึกษาข้อมูลและวิธีการในการพัฒนาให้เหมาะสมต่อไป

บรรณานุกรม
ภาษาไทย
กิตติ ภักดีวัฒนะกุล และจำลอง ครูอุตสาหะ. คัมภีร์ระบบฐานข้อมูล. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ :
ไทยเจริญการพิมพ์, 2542.
จุฑามาศ กระจ่างศรี. การพัฒนาระบบฐานข้อมูลองค์ความรู้เรื่องปัญหาการใช้งานคอมพิวเตอร์.
กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2545.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : เทพเนรมิตการพิมพ์,
2541.
ธวัชชัย ศรีสุเทพ. คัมภีร์ Web Design. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : โปรวิชั่น, 2544.
นราวุธ พลับประสิทธิ์. PHP เปลี่ยนวิถีสู่การสร้างโฮมเพจอย่างมือโปร ขั้นที่ 2. พิมพ์ครั้งที่ 1.
นนทบุรี: วิตตี้กรุ๊ป, 2546.
บุญชม ศรีสะอาด. วิธีทางสถิติสำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาสน์, 2541.
ไพศาล โมลิสกุลมงคล. พัฒนา Web Database ด้วย PHP. กรุงเทพฯ : ไทยเจริญการพิมพ์, 2545.
วันชัย แซ่เตีย และสิทธิชัย ประสานวงศ์. สร้าง Dynamic Web Page ด้วย JavaScript.
พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ยงพลเทรดดิ้ง, 2542.
สมประสงค์ ธิตินิลนิธิ. เรียนลัด PHP4 ครอบคลุม PHP เวอร์ชัน 4.2. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ :
โปรวิชั่น, 2545.
สุรศักดิ์ สงวนพงษ์. สถาปัตยกรรมและโปรโตคอล ทีซีพี/ไอพี. พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ :
ซีเอดยูเคชั่น, 2543.
สงกรานต์ ทองสว่าง. ระบบฐานข้อมูลสำหรับอินเตอร์เน็ต กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2544.
ภาษาอังกฤษ
Shelly, Cashman and Rosenblatt. Systems Analysis and Design. Fraser Publishing, 1998.
Thomas M. Connolly and Carolyn E. Begg. Database Systems: a practical approach to Design,
Implementation, and Management /3th. London, England: Pearson Education Limited,
2002.

2 ความคิดเห็น:

  1. พี่ค่ะ คำจำกัดความ อะค่ะมันต้องเขียนอะไรค่ะ คือหนูทำระบบการลงทะเบียนอะค่ะขอไฟส์ ระบบลงทะเบียนออนไลน์หน่อยค่ะ

    ตอบลบ
  2. ขอไฟล์ได้ไหมครับ จะเอามาเป็นแนวทาง ลิ้งค์ดาวน์โหลด โหลดไม่ได้แล้ว

    ตอบลบ