ศึกษาและโหลดฟรีเป็นตัวอย่างเกี่ยวกับงานวิจัย all free download research
วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรส (ตอนที่ 1)
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรส
ของนักศึกษาหญิงมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
นางสาวเกศรินทร์ กาญจนภิรมย์
วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
ปีการศึกษา 2547
ISBN : 974-373-407-4
ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
Factors Correlated to Acceptable Cohabitation
of Bansomdejchaopraya Rajabhat University
Female Students
Ketsarin Kanchanapirom
A thesis Submittited in Partial Fulfillment of the Requirements
for the Master of Arts ( Social Sciences for Delvelopment)
at Bansomdejchaopraya Rajabhat University
Academic Year 2004
ISBN : 974-373-407-4
วิทยานิพนธ์ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิง
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
โดย เกศรินทร์ กาญจนภิรมย์
สาขาวิชา สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
ประธานกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ รศ.ดร. นงลักษณ์ เทพสวัสดิ์
กรรมการ ผศ. ดร.จันทร์วิภา ดิลกสัมพันธ์
กรรมการ ผศ. บุปผา แช่มประเสริฐ
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา อนุมัติให้วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของ
การศึกษาตามหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
……………………………………………… คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
(ดร.สรายุทธ์ เศรษฐขจร)
คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์
……………………….………………….….. ประธานกรรมการ
(ศาสตราจารย์ ดร.สายหยุด จำปาทอง)
………………………………………………. กรรมการ
(รองศาสตราจารย์ ดร.นงลักษณ์ เทพสวัสดิ์)
………………………………………………. กรรมการ
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จันทร์วิภา ดิลกสัมพันธ์)
………………………………………...…….. กรรมการ
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บุปผา แช่มประเสริฐ)
………………………………………...…….. กรรมการ
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุพิศวง ธรรมพันทา)
……………………………………………….. กรรมการและเลขานุการ
( อาจารย์อาภา วรรณฉวี)
ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ง
เกศรินทร์ กาญจนภิรมย์ . (2547) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรส
ของนักศึกษาหญิงมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ
: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. คณะกรรมการควบคุม
รศ.ดร.นงลักษณ์ เทพสวัสดิ์ ผศ.ดร.จันทร์วิภา ดิลกสัมพันธ์ ผศ.บุปผา แช่มประเสริฐ
การวิจัยเรื่องปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิง
มหาวิยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลส่วนบุคคลของนักศึกษาหญิงมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 2) เพื่อศึกษาระดับตัวแปรในเรื่องนี้และระดับการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิงมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 3)เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสกรณีศึกษานักศึกษาหญิงมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็น นักศึกษาหญิงมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
จำนวน 277 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่
ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ใช้ระดับความ
เชื่อมั่น 0.01
ผลการศึกษาพบว่า
1. ระดับการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนการสมรส มีค่าอยู่ในระดับปานกลาง (⎯X = 3.54, S.D.= 0.62) และระดับ ก) การรับรู้เรื่องความรักและการมีเพศสัมพันธ์ มีค่าอยู่ในระดับสูง (⎯X =3.78 ,
จ
S.D.= 0.52) ข) การรับรู้ความหมายของการสมรส ค) การรับรู้คุณค่าของตนเอง ง)การได้รับการปลูกฝังเรื่องการมีคู่ครองและการรักนวลสงวนตัว จ) ทัศนคติของชายคนรักและเพื่อนเรื่องการมี
เพศสัมพันธ์ ฉ) การรับรู้ตัวแบบในสังคมจากสื่อมวลชน มีค่าอยู่ในระดับปานกลาง (⎯X = 3.63, S.D.= 0.42) (⎯X = 3.35, S.D.= 0.33) (⎯X = 3.42, S.D.= 0.52) (⎯X = 2.73, S.D.= 0.50) (⎯X = 3.37, S.D.= 0.47)
2. ก) การได้รับการปลูกฝังเรื่องการมีคู่ครองและการรักนวลสงวนตัว มีความสัมพันธ์ต่อการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิงในระดับปานกลาง (r = 0.457) ข) การรับรู้เรื่องความรักและการมีเพศสัมพันธ์ ค) การรับรู้ความหมายของการสมรส ง) การรับรู้ตัวแบบในสังคมจากสื่อมวลชนมีความสัมพันธ์ต่อการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิงในระดับค่อนข้างต่ำ (r = 0.341) (r = 0.242) (r = 0.374)อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ จ) การรับรู้คุณค่าของตนเอง ฉ) ทัศนคติของชายคนรักและเพื่อนเรื่องการมีเพศสัมพันธ์มีความสัมพันธ์ต่อการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิงในระดับต่ำ (r = 0.036)(r = 0.039) อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
ฉ
Ketsarin Kanchanapirom (2004) : Factors Correlated to Acceptable Cohabitation of
Bansomdej Chaopraya Rajabhat University Female Students. Bansomdej Chaopraya
Rajabhat University. Advisor . Assoc. Prof. Dr.Nongluksana Thepsawasdi ,
Asst. Prof. Dr. Chanvipa Diloksambandh , Asst. Prof. Boobpha Champrasert.
The main objective of this thesis is to justify the “Factors Correlated to Acceptable Cohabitation.” , by studying and evaluating the following : 1) The preliminary demographic of the sampling subjects. 2) The level of variance as well as the level of acceptable cohabitation of Bansomdej Chaopraya Rajabhat University female students. 3) The factors correlated to acceptable cohabitation of Bansomdej Chaopraya Rajabhat University female students.
Questionnaires were taken from a total of 277 female student samplings at Bansomdej Chaopraya Rajabhat University female students. The analysis based on the use of statistical methods including Percentage, Mean, Standard Deviation, Pearson Correlation and SPSS for Windows. The Hypothesis was tested at a significant level of 0.01
The result of factors in the study were as following :
I. The acceptable cohabitation level of Bansomdej Chaopraya Rajabhat University female students was at a moderate level with (⎯X = 3.54, S.D= 0.62) .The level of the studying factors were A) Love and Sexual Recognition was at a high level with (⎯X = 3.78, S.D.= 0.52). B) The definition of marriage recognition C) Self-esteem D) Marriage cultivation and Cherishing virginity E) The Sexual attitude respect to love one and friends F) Social behavioral Model via mass media. were a moderate level with (⎯X = 3.63, S.D.= 0.42), (⎯X = 3.35, S.D.= 0.33), (⎯X = 3.42, S.D.= 0.52), (⎯X = 2.73, S.D.= 0.50), (⎯X = 3.37, S.D.= 0.47).
II. A)Marriage cultivation and Cherishing virginity have a moderate correlation to acceptable cohabitation of Bansomdej Chaopraya Rajabhat University female students at (r = 0.457). B) Love and Sexual Recognition C)The definition of marriage recognition D) Social behavioral Model via mass media. The above factors have a lower correlation to acceptable cohabitation of Bansomdej Chaopraya Rajabhat University female students at (r = 0.341, r = 0.242, r = 0.374). Finally, E) The Sexual attitude respect to love one and friends with regarding to F) Self-esteem have a lowest level of correlation to acceptable cohabitation with female students at (r = 0.036, r = 0.039 ).
ฉ
.
ประกาศคุณูปการ
วิทยานิพนธ์นี้สำเร็จได้ด้วยความกรุณาจากท่าน รศ.ดร.นงลักษณ์ เทพสวัสดิ์
ผศ. จันทร์วิภา ดิลกสัมพันธ์ ผศ.บุปผา แช่มประเสริฐ และอาจารย์ทุกท่านที่ได้กรุณาให้คำแนะนำข้อคิดต่างๆ ปรับปรุงแก้ไขจนวิทยานิพนธ์นี้สำเร็จสมบูรณ์
ขอขอบคุณท่านคณาจารย์ เจ้าหน้าที่บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาทุกท่าน ที่ให้ความช่วยเหลือ จนวิทยานิพนธ์นี้สำเร็จตามวัตถุประสงค์
ขอขอบคุณท่านอาจารย์ ดร.ประเทือง อัมพรภักดิ์ ดร.เปรมสุรีย์ เชื่อมทอง ดร.วรรณรา ชื่นวัฒนา ที่ช่วยตรวจสอบแก้ไขเครื่องมือ ให้คำแนะนำต่าง ๆ
ขอขอบคุณพี่ๆ นักศึกษาปริญญาโทสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนารุ่นที่ 2 นักศึกษามหาวิทยาลัย
ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาทุกท่านที่ให้ความร่วมมือตอบแบบสอบถามและเก็บรวบรวมข้อมูลจนสำเร็จลุล่วงด้วยดี
ขอขอบคุณคุณวิยะดา เรืองฤทธิ์ที่ช่วยแนะนำ ให้กำลังใจการทำวิทยานิพนธ์ครั้งนี้ให้สำเร็จด้วยดี คุณนิรามัย ลักษณานันท์ ที่ช่วยตรวจทาน แก้ไขบทคัดย่อ รวมทั้งเอกสารภาษาอังกฤษและกำลังใจจากเพื่อน ๆ ที่ใกล้ชิดส่งผลให้เกิดความวิริยะในการศึกษาและจัดทำวิทยานิพนธ์จนสำเร็จด้วยดี
เกศรินทร์ กาญจนภิรมย์
ฌ
สารบัญ
หน้า
ประกาศคุณูปการ. …………..……………………..…………………… ค
บทคัดย่อภาษาไทย …..………………………………….………………. ง
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ ..……………………………………………….… ฉ
สารบัญเรื่อง ..……………………………………………………….…… ฌ
สารบัญแผนภาพ……………………………………………..……….….. ฎ
สารบัญตาราง……………………………………………………………. ฏ
บทที่ 1 บทนำ…………………………………………………………………….… 1
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา………………………………...…. 1
วัตถุประสงค์ของการวิจัย …………………………………………………. 3
ขอบเขตการศึกษา……………………………………………….………… . 3
สมมติฐานการวิจัย……………………………………………………….… 4
นิยามศัพท์เฉพาะ……………………………………………..………...….. 4
กรอบแนวคิด……………………………………………………………….. 8
ประโยชน์ของการวิจัย……………………………………………...……… 8
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง….………………………………………..... 9
แนวคิดเกี่ยวกับบรรทัดฐานของสังคม…..………..……………….…….. 9
แนวคิดเกี่ยวกับการสมรส…...............................……….……………….. 13
แนวความคิดเกี่ยวกับการรับรู้คุณค่าของตนเอง…….………...………….. 16
การปลูกฝังเรื่องคู่ครองและการรักนวลสงวนตัว………………………… 18
แนวคิดแนวโน้มทางบวกต่อความรักและเรื่องเพศ.……………………..... 20
แนวคิดการอยู่ร่วมกันก่อนการสมรส...............……………………..... 21
แนวคิดเกี่ยวกับทัศนคติ……………………………………………….…. 24
แนวคิดกลุ่มอ้างอิง……………………………………………………….. 26
ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม……………………………………….……… 28
แนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสารและอิทธิพลของสื่อมวลชน…………………. 30
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง....................................................................................... 33
สารบัญ (ต่อ)
หน้า
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย …………………………………………………………....... 36
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง………………………….………………………..... 36
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย……………………………………………………...... 38
การเก็บรวบรวมข้อมูล ……………………………………………………......... 41
สถิติการวิเคราะห์ข้อมูล ..............................................…………………………. 41
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล………………………………………………………… 44
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป……………………………………..…………… 44
ผลการหาค่าระดับตัวแปร................................................................................. 46
ผลการทดสอบสมมติฐาน...…………………………………...…..…………. 49
บทที่ 5 สรุปและอภิปรายผล……………………………………………..…………… 57
สรุปผลการวิจัย………………………………….…………………………… 57
การอภิปรายผลการศึกษาวิจัย…………………………………………… 58
ข้อเสนอแนะ ………………………………..……………………………….. 64
ข้อเสนอแนะในการวิจัยต่อไป ………………………………………….…… 65 บรรณานุกรม………………………………………………………………………….. 66
ภาคผนวก ก……………………………………………………………………………… 69
ภาคผนวก ข……………………………………………………………………………… 79
แบบสอบถาม ………………………………………………………………... 80
รายชื่อผู้เชี่ยวชาญ.............................................................................................. 90
ประวัติผู้วิจัย…………………………………………………………………………… 91
ฎ
สารบัญแผนภาพ
หน้า
แผนภาพที่ 1 กรอบแนวคิดในการวิจัย……………………………………….………… 8
แผนภาพที่ 2 แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของทัศนคติ………..……. 25
แผนภาพที่ 3 ขั้นตอนการเลือกกลุ่มตัวอย่าง…………………………………………… 38
ฏ
สารบัญตาราง
หน้า
ตารางที่ 1 จำนวนกลุ่มตัวอย่างที่นำมาศึกษา…………………………………………… 37
ตารางที่ 2 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม……………………………………...... 44
ตารางที่ 3 แสดงค่าระดับตัวแปรปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อน
สมรส................................................................................................................ 46
ตารางที่ 4 แสดงค่าระดับตัวแปรการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรส............................... 48
ตารางที่ 5 ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของ
นักศึกษาหญิง ในระดับอุดมศึกษากับตัวแปรการรับรู้เกี่ยวกับความรัก
และการมีเพศสัมพันธ์.................................................................................... 49
ตารางที่ 6 ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของ
นักศึกษาหญิง ในระดับอุดมศึกษากับตัวแปรความรับรู้ความหมายของ
การสมรส...................................................................................................... 50
ตารางที่ 7 ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของ
นักศึกษาหญิง ในระดับอุดมศึกษากับตัวแปรความรับรู้คุณค่าของ
ตนเอง.......................................................................................................... 51
ตารางที่ 8 ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของ
นักศึกษาหญิง ในระดับอุดมศึกษากับตัวแปรการได้รับการปลูกฝังเรื่อง
การมีคู่ครองและการรักนวลสงวนตัว......................................................... 52
ตารางที่ 9 ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของ
นักศึกษาหญิง ในระดับอุดมศึกษากับตัวแปร ความรับรู้คุณค่าของตนเอง.. 53
ตารางที่ 10 ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของ
นักศึกษาหญิง ในระดับอุดมศึกษากับตัวแปรการรับรู้ตัวแบบในสังคม
จากสื่อมวลชน............................................................................................. 54
ญ
สารบัญตาราง(ต่อ)
ตารางที่ 11 แสดงผลค่าระดับความสัมพันธ์และการทดสอบสมมติฐาน............................. 54
ตารางผนวกที่ 1 แสดงผลค่าระดับตัวแปรและความสัมพันธ์ของปัจจัย.................................... 70
ตารางผนวกที่ 2 แสดงผลข้อเสนอแนะ..................................................................................... 77
บทที่ 1
บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
การสมรสเป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่อดีต อีกทั้งการสมรสยังเป็นเรื่องของสังคม เพราะการสมรสแสดงถึงประเพณีการให้อำนาจในสังคมและข้อผูกพันต่อชุมชน กล่าวได้ว่าการสมรสเป็นลักษณะทางชีววิทยาและทางสังคม ซึ่งลักษณะทางสังคมเป็นลักษณะที่สำคัญที่สุด (สุพัตรา สุภาพ, 2534: 36) การสมรสอาจหมายถึง การยินยอมให้ชายและหญิงได้อยู่ร่วมกันในสังคม อีกทั้งบุคคลที่มาอยู่ร่วมกันจากการสมรสจะประกอบเป็นครอบครัว ซึ่งเป็นสถาบันทางสังคมที่สำคัญและคงทนที่สุด ยังไม่เคยปรากฏว่าสังคมมนุษย์ใดไม่มีสถาบันครอบครัวปรากฏอยู่ ในอดีตพ่อแม่เป็นผู้มีอิทธิพลสูงในการรับผิดชอบและกำหนดการแต่งงานให้กับบุตร แต่ในระยะต่อ ๆ มามีแนวโน้มที่จะให้หนุ่มสาวเลือกคู่ครองตามความสมัครใจ อีกทั้งแนวคิดความทันสมัยและการรับวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาในปัจจุบันทำให้รูปแบบการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันได้เปลี่ยนแปลงไป โดยในสังคมอเมริกันได้มีรูปแบบการที่หญิงและชายใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันโดยมิได้แต่งงานกันที่มีความหมายถึง “การอยู่ร่วมกันก่อนแต่งงาน” ซึ่งอยู่ในขั้นการเกี้ยวพาราสี เป็นวิธีการนำไปสู่การตัดสินใจก่อนการมีคู่ครอง ในยุคแรก ๆ จะออกมาในรูปการร้องรำทำเพลง เต้นรำ การแสดงความเก่งกล้าสามารถ (Macklin, อ้างในโสพิน หมูแก้ว, 2544 :1 ) ในสังคมตะวันตกการเลือกคู่สมรสด้วยตนเองจะมีการแทรกแซงจากพ่อแม่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น การสมรสกลายเป็นการเข้ามาอยู่ร่วมกันของคนสองคนไม่ใช่อยู่ร่วมกันของคนสองตระกูล เป้าหมายของการมีครอบครัวก็คือความเป็นเพื่อนมากกว่าที่จะเพื่อมีลูกหลานสืบตระกูลต่อไป (Lace,อ้างในศิริพันธ์ ถาวรทวีวงษ์, 2543 : 27) ครอบครัวรูปแบบใหม่ ๆในสังคมปัจจุบันจึงเป็น ครอบครัวที่เกิดจากการที่หนุ่มสาวอยู่ร่วมกันโดยมิได้จดทะเบียนสมรสซึ่งปรากฎเป็นจำนวนมากในสังคมตะวันตก ในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศในแถบยุโรปเหนือ เช่น สวีเดน ถือเป็นเรื่องธรรมดา เกิดจากหนุ่มสาว รักชอบพึงพอใจซึ่งกันและกันมาอยู่ร่วมกันด้วยเหตุผลต่าง ๆ อาทิเช่นไม่ต้องการผูกมัดกันเพราะการสมรสจะเกิดความผูกพันด้านกฎหมาย ส่วนทางด้านเศรษฐกิจ จะพบทั้งหนุ่มสาวและผู้สูงอายุที่อยู่ร่วมกันด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจ เพราะการสมรสโดยถูกกฎหมายอาจนำไปสู่การเสียสิทธิในด้านรายได้และทรัพย์สินบางประการ (ศิริพันธ์ ถาวรทวีวงษ์,2543 :91) แม้ว่าการอยู่ร่วมกันมักจะมาจากเหตุผลที่ต้องการศึกษากันก่อนที่จะตัดสินใจแต่งงานแต่จากสถิติพบว่ามีประมาณร้อยละ 20 ของผู้ที่อยู่ร่วมกันโดยไม่มีการแต่งงานกันเลย แต่จะมีส่วนหนึ่งที่แต่งงานกันภายหลังจากที่อยู่ด้วยกันมานานและมีลูกกันแล้ว (โสพิน หมูแก้ว, 2544 อ้างถึง Macklin 1987 ) นัก
2
สังคมวิทยาคาดว่าครอบครัวรูปแบบนี้จะเพิ่มขึ้นเป็นสามเท่าในทศวรรษหน้าและมองว่าเป็นการสร้างรูปแบบใหม่ของการเกี้ยวพาราสี การที่มาอยู่ร่วมกันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสมีจุดประสงค์หลักเพื่อตอบสนองความต้องการทางเพศ โดยปราศจากข้อผูกพันทางกฎหมายเท่านั้น
จากการสำรวจสำมะโนประชากรชาวอเมริกันผู้ที่อยู่ร่วมกันก่อนแต่งงาน (POSLQ’s;People of the Oppsite Sex Living Quarters)พบว่ามีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ดังเช่นในปี 1992มี -3.3 ล้านคู่ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 650 จากปีค.ศ. 1960 ซึ่งแนวโน้มของการอยู่ด้วยกันก่อนแต่งงานที่เพิ่มนี้เป็นผลมาจากการยอมรับมากขึ้นของพ่อแม่และกลุ่มเพื่อน ขณะเดียวกันไม่ได้มองว่าเป็นเรื่องที่ผิดศีลธรรมเหมือนดังที่ผ่านมา และการอยู่ร่วมกันก่อนการแต่งงานในสังคมอเมริกันในอนาคตมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนจากการเป็นแบบแผนของกระบวนการเกี้ยวพานไปสู่การเป็นทางเลือกหนึ่งของรูปแบบการแต่งงาน (Secombe ,อ้างในโสพิน หมูแก้ว, 2544 : 2) ส่วนในประเทศเนเธอร์แลนด์หรือประเทศอื่น ๆ การอยู่ร่วมกันโดยมิได้แต่งงานได้กลายเป็นสถาบัน (institutionalized) อันหนึ่ง โดยในกลุ่มวัยรุ่นเกือบทุกประเทศโดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้วการอยู่ร่วมกันโดยมิได้แต่งงานเป็นที่นิยมปฏิบัติอย่างมาก
ในสังคมไทย ปรากฏการณ์การอยู่ร่วมกันก่อนการแต่งงานเกิดขึ้นมานานแล้วและเป็นเรื่องที่น่าสนใจโดยสังเกตจากคนรอบตัวทั้งที่รู้จักส่วนตัวและไม่ส่วนตัว ก็มีอยู่บ้างที่ตกลงใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน ดังที่ปรากฏเป็นข่าวให้เห็นกันอยู่บ่อยครั้ง เช่น ก้อง ใบ้ให้รู้อยู่ก่อนแต่งมีลูกเมื่อไหร่ค่อยจูงแฟนวิวาห์ (ไทยรัฐ 20 มี.ค 2547 : 37 ) แต่ในสังคมไทยนั้นมีลักษณะหรือเอกลักษณ์ประจำชาติในเรื่องเพศ คือ หญิงไทยมักจะรักนวลสงวนตัว ไม่ชิงสุกก่อนห่าม ผู้หญิงไทยถือว่าเป็นกุลสตรีต้องรู้จักทำงานบ้านงานเรือน การทำความรู้จักกับเพศตรงข้ามนั้นจะอยู่ภายใต้ความดูแลของบิดา มารดา (วันทนีย์ วาสิกะสิน, 2526 : 51) แม้ในปัจจุบัน สภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมจะเปลี่ยนแปลงไปแต่เอกลักษณ์นี้ก็ยังอยู่ ด้วยยังมีการปลูกฝังเรื่องความเป็นกุลสตรียึดมั่นในความเป็นผัวเดียวเมียเดียว การรักนวลสงวนตัว ทำให้ยังคงมีผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยในเรื่องนี้ จากการศึกษาของโสพิน หมูแก้ว ( 2544 ) พบว่าการการอยู่ร่วมกันโดยมิได้สมรสนั้นปรากฏมากขึ้นในกลุ่มนักศึกษาไทย ซึ่งเป็นวัฒนธรรมเลียนแบบโดยนักศึกษาชายให้เหตุผลว่า “ประหยัด สะดวก สบาย” ส่วนนักศึกษาหญิงให้ความหมายว่า “รักจริง (แต่ไม่หวังแต่ง )” ซึ่งปรากฏการณ์นี้ชี้ให้เห็นว่าสังคมไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมอย่างรวดเร็ว ท่ามกลางของการกระจายข้อมูลข่าวสาร ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้บรรทัดฐานและคุณค่าของสตรีเปลี่ยนไป สำหรับนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยนั้นเป็นช่วงสำคัญที่กำลังจะก้าวไปเป็นผู้ใหญ่ โดยถือว่ามีความเจริญทางด้านสติปัญญาควบคู่กับการเจริญด้านร่างกาย มีความสามารถในการคิดได้ซับซ้อนขึ้นในหลายแง่มุม และในวัยนี้ยัง
3
ต้องการความเป็นอิสระจากการพึ่งพิง โดยที่นักศึกษาหญิงเป็นผู้ผ่านการศึกษาเล่าเรียนกำลังจะออกไปใช้ชีวิตในสังคม อีกทั้งเพศหญิงยังเป็นเพศที่เสี่ยง และมีความคาดหวังจากสังคมสูง แต่จากการศึกษาพบว่าผู้หญิงมีแนวโน้มที่ยอมรับเรื่องของการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสมากขึ้นและเป็นประเด็นที่สะท้อนถึงปฏิกริยาทางสังคม กล่าวคือ ได้สะท้อนถึงแนวความคิดและค่านิยมของสังคมในปัจจุบัน และผู้วิจัยได้สนใจศึกษากับนักศึกษาหญิงปี 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เนื่องจากเป็นนักศึกษาชั้นสูงสุดซึ่งมีอิทธิพลสำคัญเพราะเป็นแบบอย่างกับรุ่นน้องในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านความคิดและการปฏิบัติตน
จากสาเหตุดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิงมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงไปของค่านิยมและสังคม เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นและเป็นปัญหาด้านสังคมและวัฒนธรรมที่น่าศึกษา
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาข้อมูลส่วนบุคคลเรื่องอายุ คณะ อิสระการปกครองตนเองและ สถานภาพ
การสมรสของบิดามารดาของนักศึกษาหญิงมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
2. เพื่อศึกษาระดับของตัวแปรในเรื่องนี้และระดับการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรส
ของนักศึกษาหญิงมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
3. เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของ
นักศึกษาหญิงมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ขอบเขตของการวิจัย
การศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยทำการศึกษาวิจัยในนักศึกษาหญิงชั้นปีที่ 4 ภาคปกติปีการศึกษา2547 มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
4
สมมติฐานของการวิจัย
สมมติฐานที่ 1 การรับรู้เรื่องความรักและการมีเพศสัมพันธ์มีความสัมพันธ์กับการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิง
สมมติฐานที่ 2 การรับรู้ความหมายของการสมรสมีความสัมพันธ์กับการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิง
สมมติฐานที่ 3 การรับรู้คุณค่าของตนเองมีความสัมพันธ์กับการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิง
สมมติฐานที่ 4 การได้รับการปลูกฝังเรื่องการมีคู่ครองและการรักนวลสงวนตัวมีความสัมพันธ์กับการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิง
สมมติฐานที่ 5 ทัศนคติของชายคนรักและเพื่อนเรื่องการมีเพศสัมพันธ์มีความสัมพันธ์กับการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิง
สมมติฐานที่ 6 การรับรู้ตัวแบบในสังคมจากสื่อมวลชนมีความสัมพันธ์กับการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิง
นิยามศัพท์ เฉพาะ
1. การรับรู้เรื่องความรักและการมีเพศสัมพันธ์ หมายถึง การตีความจากสิ่งที่ได้ยิน สิ่งที่
ได้เห็นและรู้สึกด้วยประสาทสัมผัสของนักศึกษาหญิงเกี่ยวกับความรัก การมีความรัก และการมีเพศสัมพันธ์ อันเป็นแนวโน้มชักนำต่อพฤติกรรมที่แสดงออกเมื่อมีความรักและมีเพศสัมพันธ์ โดยระดับการรับรู้วัดได้จากคะแนนการตอบคำถามในเครื่องมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
2. การรับรู้ความหมายของการสมรส หมายถึง การตีความจากสิ่งที่ได้ยิน สิ่งที่ได้เห็น
และรู้สึกด้วยประสาทสัมผัสของนักศึกษาหญิงเกี่ยวกับความหมายของการสมรส อันเป็นแนวโน้มชักนำต่อพฤติกรรมที่แสดงออกโดยระดับการรับรู้วัดได้จากคะแนนการตอบคำถามในเครื่องมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
3. การรับรู้คุณค่าของตนเอง หมายถึง การตีความของนักศึกษาหญิงเกี่ยวกับคุณค่าและ
ข้อดีของตนเองในเรื่องของการเคารพตนเอง มองเห็นตนเองมีค่า ตระหนักในข้อจำกัดของตนเอง โดยระดับการรับรู้วัดได้จากคะแนนการตอบคำถามในเครื่องมือจากผลงานของผู้ที่ได้ศึกษามาก่อน
5
4. การได้รับการปลูกฝังเรื่องการมีคู่ครองและการรักนวลสงวนตัว หมายถึง ข้อมูล
ความรู้ ความเข้าใจ ที่ได้รับการอบรมจากบุคคลในครอบครัวหรือผู้ปกครอง ครูอาจารย์ เกี่ยวกับการมีคู่ครองและการรักนวลสงวนตัว โดยระดับความรู้ ความเข้าใจวัดได้จากคะแนนการตอบคำถามในเครื่องมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
5. ทัศนคติของชายคนรักและเพื่อนเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ หมายถึง ความรู้สึกนึกคิดทั้ง
ในด้านบวกและลบของชายคนรักและเพื่อนเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ โดยระดับทัศนคติวัดได้จากคะแนนการตอบคำถามในเครื่องมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
6. การรับรู้ตัวแบบในสังคม หมายถึง การตีความจากสิ่งที่ได้ยิน สิ่งที่ได้เห็นและรู้สึกด้วย
ประสาทสัมผัสของนักศึกษาหญิงเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง ความคิดเห็น จากสื่อมวลชน สื่อบุคคล สื่อเฉพาะกิจ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งเป็นข้อมูลจากบุคคลที่รู้จักในสังคม ผู้มีบทบาทในสังคม อันเป็นแนวโน้มชักนำต่อพฤติกรรมที่แสดงออกโดยระดับการรับรู้วัดได้จากคะแนนการตอบคำถามในเครื่องมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
7. ความอิสระจากการปกครองตนเอง หมายถึง ความอิสระของนักศึกษาหญิงในการใช้
ชีวิตประจำวันว่าอยู่ภายใต้การควบคุมของบิดา มารดา ผู้ปกครองหรือไม่ ในเรื่องของที่พักอาศัย การคบเพื่อน การมีคนรัก การใช้จ่าย
8. สถานภาพการสมรส หมายถึง ลักษณะสถานภาพการสมรสปัจจุบันของ บิดามารดา ว่า
ได้อาศัยอยู่ร่วมกัน หย่าร้าง หรือแยกกันอยู่
9. นักศึกษาหญิง หมายถึง นักศึกษาเพศหญิงที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่
4 ภาคปกติ ในปีการศึกษา 2547 มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
10. ชายคนรัก หมายถึง เพื่อนชายที่นักศึกษากำลังคบหาอยู่ ไม่ว่าจะมีเพศสัมพันธ์กัน
หรือไม่
11. การยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรส หมายถึง การที่นักศึกษาหญิงให้การยอมรับ
พฤติกรรมการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน อาศัยอยู่ร่วมกันและมีเพศสัมพันธ์ก่อนสมรส อันเป็นแนวโน้มต่อพฤติกรรมที่จะนำไปปฏิบัติในอนาคต
ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย
ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ตัวแปรต้น ตัวแปรอธิบาย และตัวแปรตาม ดังนี้
1. ตัวแปรต้น แบ่งเป็นดังนี้
6
1.1 การรับรู้เรื่องความรักและการมีเพศสัมพันธ์ของชายและหญิง
1.2 การรับรู้ความหมายของการสมรส
1.3 การรับรู้คุณค่าของตนเอง
1.4 การได้รับการปลูกฝังเรื่องการมีคู่ครองและการรักนวลสงวนตัว
1.5 ทัศนคติของชายคนรักและเพื่อนเรื่องการมีเพศสัมพันธ์
1.6 การรับรู้ตัวแบบในสังคมจากสื่อมวลชน
2. ตัวแปรอธิบาย ได้แก่ อายุ คณะ ความอิสระจากการปกครองตนเอง สถานภาพการสมรส
ของบิดามารดา
3. ตัวแปรตาม ได้แก่ การยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนการสมรส
กรอบแนวคิดในการวิจัย
การศึกษาครั้งนี้ได้ศึกษาภายใต้แนวคิดทฤษฎีที่ประกอบด้วย แนวคิดเกี่ยวกับบรรทัดฐานของสังคม ของ เอ็ดวิน เชอร์ (Schur ,อ้างในสุปาจรีย์ วิชัยโรจน์, 2529) ซึ่งได้เสนอว่าพฤติกรรมของสตรีถูกควบคุมด้วยบรรทัดฐานต่าง ๆ ซึ่งประกอบกันเป็นบรรทัดฐานทางเพศ โดยผู้หญิงจะถูกประเมินและควบคุม ซึ่งเป็นข้อจำกัดในการตัดสินใจกระทำสิ่งต่าง ๆ แนวคิดเกี่ยวกับการสมรส ของ ศิริพันธ์ ถาวรทวีวงษ์ (2543 :31) ได้เสนอว่า การสมรสเป็นการประกาศให้สังคมรับรู้อย่างเป็นทางการว่าจะอยู่ร่วมกันเป็นสามี ภรรยา โดยพิธีสมรสถือว่าเป็นพิธีเลื่อนสถานภาพ โดยเป็นการสร้างครอบครัวใหม่ของตนเองและผลิตสมาชิกใหม่ให้สังคมให้ถูกต้องตามกฎหมายซึ่งได้เสนอทฤษฎีเกี่ยวกับการเลือกคู่ว่าบุคคลจะเลือกคู่ที่เหมาะสมเท่าเทียมกันหรือสูงกว่า โดยส่วนใหญ่จะเลือกคนที่มีลักษณะต่าง ๆ ส่วนใหญ่เหมือนกัน โดยการเลือกคู่ในปัจจุบันเปิดกว้างแต่ในอดีตถูกกำหนดโดยผู้ใหญ่ แนวคิดเกี่ยวกับการรับรู้คุณค่าของตนเอง ของคาร์เมนและคณะ(Carmen and Others, 2004) ได้เสนอว่าการที่บุคคลรับรู้คุณค่าของตนเอง จะเชื่อว่าตนเองมีความสำคัญ มีความเชื่อมั่น กล้าตัดสินใจ ซึ่งเป็นเสมือนเกราะป้องกันตนเองก่อนที่จะตัดสินใจทำสิ่งใดก็จะคิด จะไม่ประพฤติสิ่งที่ทำให้เสียหายต่อครอบครัวและสังคม กล้าที่จะปฏิเสธ แนวความคิดเกี่ยวกับแนวโน้มนำทางบวกต่อความรักและเรื่องเพศ ของ รีสและมิลเลอร์ (Reiss and Miller,อ้างในพะเยาว์ ละกะเต็บ, 2538) ที่กล่าวว่าบุคคลที่มีความเชื่อและรับรู้ว่าการมีความสัมพันธ์ทางเพศเป็นเรื่องของการได้รางวัลหรือได้ประโยชน์มากกว่า ก็จะมีทัศนคติทางบวกต่อความรักและเรื่องเพศ แนวความคิดเกี่ยวกับการปลูกฝังเรื่องการมีคู่ครองและการรักนวลสงวนตัวอธิบายถึงการเลือกคู่ที่ถูกกำหนดภายใต้ผู้ใหญ่ ตามคำสั่งสอนของศาสนาที่ให้ความสำคัญกับ
7
พรหมจรรย์ และความบริสุทธิ์ของฝ่ายหญิง ผู้ชายจะเป็นผู้นำในการดำเนินชีวิต ผู้หญิงที่ดีจะต้องรักนวลสงวนตัว แนวคิดการอยู่ร่วมกันโดยไม่ได้แต่งงานของ ริดเลย์ และ คณะ (Ridley and Othersอ้างในโสพิน หมูแก้ว, 2544) เป็นแนวคิดที่อธิบายถึงการอยู่ร่วมกันโดยไม่ได้แต่งงานโดยถือว่าเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนการแต่งงาน ซึ่งให้เหตุผลว่า อยู่ด้วยกันเพื่อความอบอุ่นใจ เพื่อความเป็นอิสระจากการควบคุมของพ่อแม่ เพื่อความสะดวก ประหยัด เพื่อทดสอบความพร้อมก่อนการแต่งงาน ซึ่งจัดว่าเป็นความสัมพันธ์แบบชั่วคราว แนวคิดเกี่ยวกับทัศนคติ ของ ลัดดา กิติวิภาต (2543) เสนอว่า ทัศนคติของบุคคล คือ ท่าทีที่แสดงออกของบุคคลซึ่งบ่งบอกถึงสภาพจิตใจ ได้แก่ ความรู้สึกหรืออารมณ์ที่มีต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดโดยมี 2 ลักษณะ ได้แก่ ทัศนคติทางบวก ทัศนคติทางลบ โดยผู้ที่มีอิทธิพลต่อทัศนคติของเราอย่างมากได้แก่เพื่อน ทฤษฎีการเรียนรู้ ของ อัลเบริ์ต แบนดูร่า (Bandula,อ้างในวัฒนา มหาราช, 2544) เสนอว่า บุคคลจะเรียนรู้พฤติกรรมจากแม่แบบ โดยแม่แบบมีหลายประเภท ได้แก่ แม่แบบที่มีชีวิต แม่แบบสัญลักษณ์ แม่แบบคำสอน ซึ่งผลของแม่แบบจะอยู่ในรูปการเสริมแรง หรือการลงโทษ ซึ่งจะส่งผลต่อกระบวนการตัดสินของผู้สังเกต แนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสารและอิทธิพลของสื่อมวลชน ของ ลัดดา กิติวิภาต (2543) เสนอว่า สื่อมวลชนเป็นตัวแปรที่สำคัญต่อการเปลี่ยนทัศนคติ จากอิทธิพลของสื่อ ทำให้มีผลต่อความรู้สึกนึกคิด การเลียนแบบจากตัวแบบที่ชื่นชอบซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ผู้วิจัยนำมาใช้ในการศึกษา
จากแนวคิดทฤษฎีดังกล่าว ผู้วิจัยได้นำมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ร่วมกับหลักฐานเชิงประจักษ์พัฒนาเป็นกรอบแนวคิดในการวิจัยซึ่งประกอบไปด้วย ตัวแปรต้น ได้แก่ การรับรู้เรื่องความรักและการมีเพศสัมพันธ์ของชายและหญิง ความรับรู้ความหมายของการสมรส ความรับรู้คุณค่าของตนเอง การได้รับการปลูกฝังเรื่องการมีคู่ครองและการรักนวลสงวนตัว ทัศนคติของชายคนรักและเพื่อนเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ การรับรู้ตัวแบบในสังคมจากสื่อมวลชน และตัวแปรอธิบาย ได้แก่ อายุ คณะ ความอิสระในการปกครองตนเอง สถานภาพการสมรสของบิดา มารดา ที่มีผลต่อตัวแปรตามนั่นคือ การยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรส ดังแสดงรายละเอียดไว้ดังแผนภาพที่ 1
8
แผนภาพที่ 1 กรอบแนวคิดในการวิจัย
ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม
ตัวแปรอธิบาย
- การรับรู้เรื่องความรักและการมีเพศสัมพันธ์ของชายและหญิง
- ความรับรู้ความหมายของการสมรส
- ความรับรู้คุณค่าของตนเอง
- การได้รับการปลูกฝังเรื่องการมีคู่ครองและการรักนวลสงวนตัว
- ทัศนคติของชายคนรักและเพื่อนเรื่องการมีเพศสัมพันธ์
- การรับรู้ตัวแบบในสังคมจากสื่อมวลชน
การยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรส
อายุ
คณะ
อิสระในการปกครองตนเอง
สถานภาพการสมรสของบิดามารดา
ประโยชน์ที่จะได้รับจากการวิจัย
1. เพื่อทราบถึงปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการยอมรับในการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิงมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
2. เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาแนวโน้มของสังคมในอนาคตและพิจารณาหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
3. เพื่อเพิ่มพูนความรู้ทางด้านสังคมศาสตร์และเป็นข้อเสนอพื้นฐานสำหรับงานวิจัยที่เกี่ยวข้องต่อไป
9
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ในการศึกษาเรื่อง “ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิงมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ” ผู้วิจัยได้นำเอาทฤษฎีและแนวคิดที่เกี่ยวข้อง มาเป็นกรอบแนวทางในการศึกษาวิจัย ในประเด็นต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
2.1 แนวคิดเกี่ยวกับบรรทัดฐานของสังคม
2.2 แนวคิดเกี่ยวกับการสมรส
2.3 แนวคิดเกี่ยวกับการรับรู้คุณค่าของตนเอง
2.4 แนวคิดแนวโน้มทางบวกต่อความรักและเรื่องเพศ
2.5 การปลูกฝังเรื่องคู่ครองและการรักนวลสงวนตัว
2.6 แนวคิดกลุ่มอ้างอิง
2.7 แนวคิดเกี่ยวกับทัศนคติ
2.8 ทฤษฎีการเรียนรู้
2.9 แนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสารและอิทธิพลของสื่อมวลชน
2.10 งานวิจัยและเอกสารที่เกี่ยวข้อง
2.1 แนวคิดเกี่ยวกับบรรทัดฐานทางสังคม
เอ็ดวิน เอ็ม เชอร์ (Shur,1984 อ้างในสุปาจรีย์ วิชัยโรจน์, 2529 : 7) ได้เสนอว่า ในสังคมที่เฉพาะเจาะจงสังคมหนึ่ง และในเงื่อนไขระยะเวลาช่วงหนึ่ง จะมีมาตรฐานเชิงบรรทัดฐานที่แน่นอนจำนวนหนึ่ง โดยมาตราฐานหลักที่มีอิทธิพลครอบงำอยู่ โดยบรรทัดฐานเหล่านี้เป็นเกณฑ์สำคัญในการควบคุมพฤติกรรมต่าง ๆ ของคนในสังคม ในการพิจารณาพฤติกรรมของสตรีนั้นพบว่า พฤติกรรมของสตรีถูกควบคุมด้วยบรรทัดฐานต่าง ๆ ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นระบบบรรทัดฐานทางเพศ (Gender System) อันหมายถึง “ระบบบรรทัดฐานหนึ่งที่มีลักษณะโครงข่ายของบรรทัดฐานและสิทธานุมัติที่สัมพันธ์กัน ซึ่งพฤติกรรมของผู้ชาย ผู้หญิงจะถกประเมินและถูกควบคุม” บุคคลในสังคมจะยึดบรรทัดฐานดังกล่าวเป็นเกณฑ์ในการประเมินตัดสินพฤติกรรม รวมทั้งมีปฏิกิริยาตอบโต้ในเชิงการยอมรับหรือปฏิเสธ นอกจากนี้ตัวเจ้าของพฤติกรรมเองก็รับบรรทัดฐานเหล่านี้เข้าไว้ในตัว (Internalization) อันเป็นผลมาจากการขัดเกลาทางสังคม (Socialization) ซึ่งทำให้สตรีที่รับบรรทัด
10
ฐานดังกล่าวได้ในตัวค่อนข้างสูง ยอมปฏิบัติตามบรรทัดฐาน หรือเกิดความรู้สึกผิดถ้าหากมีพฤติกรรมที่ละเมิดบรรทัดฐาน
ในการพิจารณาลักษณะที่สังคมให้การยอมรับด้วยระบบบรรทัดฐานเป็นกลไกการควบคุมทางสังคมต่อสตรีนั้น บรรทัดฐานต่อไปนี้เป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นพิเศษ คือ บรรทัดฐานเกี่ยวกับความเป็นแม่ (Maternity norms) ซึ่งเป็นบรรทัดฐานที่ครอบคลุมเกี่ยวกับสิ่งที่คนทั่วไปมองเห็นว่าเป็นบทบาทพื้นฐานของผู้หญิง และมักถูกนำมาเป็นสิ่งควบคุมอิสระส่วนบุคคลของผู้หญิง และบรรทัดฐานเกี่ยวกับเรื่องเพศ (Sexuality norms) ซึ่งเป็นบรรทัดฐานที่ควบคุมพฤติกรรมทางเพศของผู้หญิง และเป็นแกนกลางสำคัญในการทำให้สตรีต้องอยู่ในฐานะเปนรอง บรรทัดฐานทั้งสองประเภทนี้มีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด
2.1.1บรรทัดฐานเกี่ยวกับความเป็นแม่ (Maternity Norms)
จากข้อสังเกตของแนนซี่ เชอโดโร(Chodorow, 1978 :8 อ้างในสุปาจรีย์ วิชัยโรจน์, 2529 :9) ว่า “ ความเป็นแม่ของสตรีคือลักษณะอันถูกนิยามและลักษณะอันเป็นหลักของการจัดระเบียบสังคม (Social organization) แห่งเพศ (Gender) และถูกแสดงให้เห็นในการก่อร่าง(Construction)และการสืบทอด (Reproduction)แห่งการครอบงำของบุรุษ” การควบคุมเกี่ยวกับความเป็นแม่นี้เป็นขอบเขตหนึ่ง ซึ่งพฤติกรรมของสตรีจะได้รับการจัดระเบียบในเชิงบรรทัดฐานที่สำคัญ ซึ่งมีผลให้เกิดการจำกัดในด้านทางเลือกหรือพฤติกรรมอื่น ๆ เช่น ภาระการเลี้ยงดูบุตรซึ่งมักขัดแย้งกับความปรารถนาทางอาชีพและโอกาสในการทำงานของสตรี โดยเฉพาะเรื่องการตั้งครรภ์ เนื่องจากการร่วมเพศผู้หญิงต้องเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ ในขณะที่ผู้ชายไม่ต้อง สังคมจึงให้การยอมรับพฤติกรรมทางเพศของสตรีในขอบเขตที่จำกัดกว่าบุรุษ เพราะเหตุผลดังกล่าว
บรรทัดฐานเกี่ยวกับความเป็นแม่อยู่เบื้องหลังและเป็นฐานสนับสนุนรูปแบบอุดมคติ (Ideal) ในบทบาทความเป็นแม่ โดยอยู่เบื้องหลังกระบวนการขัดเกลาของสังคม และการสนับสนุนเชิงวัฒนธรรมโดยทั่วไป ถ้าหากมีการฝ่าฝืนในบรรทัดฐานเหล่านั้น สังคมจะประเมินตัดสินว่า ผู้ฝ่าฝืนสมควรได้รับการลงโทษหรืออย่างน้อยก็ติฉินนินทา เช่น กล่าวหาสตรีซึ่งเลือกจะไม่มีบุตรว่าเห็นแก่ตัวหรือไม่ต้องการรับผิดชอบในบทบาทความเป็นแม่ และที่ประณามสูงสุดคือ ในเรื่องการเป็นแม่นอกกฎหมาย หรือท้องไม่มีพ่อ ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ด้วยการยึดมั่นในบรรทัดฐานที่ควบคุมเกี่ยวกับความเป็นแม่ ทำให้เกิดแนวโน้มที่สตรีจะอยู่ในสภาพการเป็นผู้ผิดในหลายสถานการณ์ ตั้งแต่การตัดสินใจเลือกที่จะไม่มีบุตร หรือมีบุตรโดยมิได้แต่งงาน นอกจากนี้แม้จะมีบุตรโดยได้แต่งงานอย่างถูกต้องก็
11
ยังมีโอกาสถูกประเมินในแง่มุมเกี่ยวกับการเลี้ยงดูเด็ก เนื่องจากบรรทัดฐานแห่งความเป็นแม่มีความผูกพันอย่างใกล้ชิดกับการจำกัดในแง่กิจกรรมทางเพศ การจัดการกับชีวิตและทางเลือกในชีวิตโดยทั่วไป รวมทั้งเรื่องการทำงาน บรรทัดฐานเกี่ยวกับความเป็นแม่เหล่านี้แสดงให้เห็นถึงแบบแผนกว้าง ๆ ในการควบคุมอิสระส่วนบุคคลของสตรี
อีกรูปหนึ่งของการควบคุมทางสังคมเกี่ยวกับการยอมรับพฤติกรรมและบรรทัดฐานเกี่ยวกับความเป็นแม่คือ ประเด็นเรื่องความเป็นแม่โดยมิได้สมรส (Unwed Motherhood) กล่าวคือ การปฏิบัติตามบรรทัดฐานแห่งความเป็นแม่มิได้หมายความเพียงการเลือกที่จะมีบุตรในสถานการณ์แวดล้อมที่เป็นที่ยอมรับ คือภายใต้การแต่งงานตามแบบแผน ถ้อยคำที่ใช้สำหรับกรณีการมีเด็กโดยมิได้แต่งงาน เช่น “นอกสมรส” (Unwed) (Unmarried Motherhood) “นอกกฎหมาย” (Illegitimacy) หรือถ้อยคำประณามว่า “ท้องไม่มีพ่อ” “ลูกไม่มีพ่อ” ซึ่งเหล่านี้ชี้ให้เห็นถึง ทั้งลักษณะการละเมิดบรรทัดฐานและการไม่ยอมรับอย่างรุนแรงของสังคมซึ่งเน้นที่สตรี
นอกจากนี้ จากปฏิกิริยารุนแรงของสังคมที่มีต่อการทำแท้ง โดยถือว่าเป็นสิ่งที่ผิดศีลธรรมและประณามที่ทำแท้งว่าเป็นผู้ที่ไม่มีความรับผิดชอบ ไร้ศีลธรรม ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของบรรทัดฐานที่ควบคุมเกี่ยวกับความเป็นแม่ต่อสตรี ดังนั้นการจำกัดของสังคมต่อการทำแท้งชี้ให้เห็นการควบคุมสตรีโดยผ่านบรรทัดฐานที่ควบคุมพฤติกรรมของแต่ละเพศ
2.1.2 บรรทัดฐานเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศ (Sexuality Norms)
เมื่อพิจารณาอย่างกว้าง ๆ แล้ว บรรทัดฐานที่ควบคุมพฤติกรรมทางเพศของสตรีเกี่ยวข้องกับบรรทัดฐานที่ควบคุมพฤติกรรมทั่วไปของของสตรี แมคคินนู (Mackinnon,1982 :533อ้างในสุปาจรีย์ วิชัยโรจน์, 2529:12) วิเคราะห์ไว้ว่า ผู้หญิงคือผู้ที่ถือว่าตนเองและถูกผู้อื่นถือว่าเป็นบุคคล ซึ่งกิจกรรมทางเพศของตนดำรงอยู่เพื่อบุคคลอื่น อันหมายถึงผู้ชายนั่นเอง กิจกรรมทางเพศของสตรีหมายถึงความสามารถที่จะปลุกเร้าความปรารถนาให้เกิดขึ้นในตัวผู้ชาย
ดังนั้นในสังคมที่ยึดมั่นว่า พฤติกรรมทางเพศของสตรีเป็นไปเพื่อตอบสนองความต้องการของบุรุษข้างต้น ย่อมประเมินพฤติกรรมทางเพศของสตรีที่มีจุดมุ่งหมายต่างไปจากนี้ เช่น การมีพฤติกรรมทางเพศเพื่อความสำราญส่วนตัว ว่าเป็นสิ่งที่ไม่สมควร ดังจะเห็นได้จากประเด็นเรื่องของมารดานอกสมรสและการทำแท้ง กล่าวคือ คริสติน ลูเกอร์(Luker, 1978 อ้างในสุปาจรีย์ วิชัยโรจน์,2529 :12)
12
ได้ศึกษาโดยการให้สัมภาษณ์ผู้ที่มารับบริการทำแท้งที่แคลิฟอเนียคลินิก( California Abortion Clinic) และพบว่าเหตุผลหนึ่งซึ่งผู้ให้สัมภาษณ์ตอบคำถามที่ว่า ทำไมถึงยอมเสี่ยงมีเพศสัมพันธ์โดยมิได้คุมกำเนิดอย่างมีประสิทธิภาพก็คือ สตรีเหล่านี้เชื่อว่าการใช้วิธีคุมกำเนิดส่อให้เห็นถึงว่าพวกเธอมีกิจกรรมทางเพศเช่นนี้บ่อย ๆ เป็นประจำ ในทัศนะของสตรีเหล่านั้นผู้หญิงที่วางแผนการคุมกำเนิดอย่างดี คือผู้หญิงที่กระตือรือร้นต้องการจะร่วมประเวณี ซึ่งทำให้คุณค่าในเชิงสถานภาพของตนลดต่ำลงและเมื่อผลติดตามจากกิจกรรมทางเพศที่มิได้คุมกำเนิดอย่างรอบคอบคือ การตั้งครรภ์ ทางเลี่ยงทางหนึ่งที่จะปกปิดมิให้รับรู้ว่าตนละเมิดบรรทัดฐานเกี่ยวกับกิจกรรมทางเพศคือ การทำแท้ง ซึ่งถ้าหากมีผู้รับรู้สตรีเหล่านั้นก็จะต้องถูกประณามในฐานที่ละเมิดบรรทัดฐานที่เกี่ยวกับความเป็นแม่อีกด้วย
บรรทัดฐานที่ควบคุมเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศค่อนข้างจะมีลักษณะเป็นข้อห้ามที่สำคัญ การละเมิดการควบคุมทางสังคมในแง่นี้มักจะนำมาซึ่งการประณามและต่อต้านอย่างรุนแรง นอกจากนี้รูปแบบการประเมินต่าง ๆ ต่อพฤติกรรมทางเพศยังสามารถสะท้อนให้เห็นถึงลักษณะโดยส่วนรวมของความสัมพันธ์ระหว่างชายและหญิงได้ด้วย นอกเหนือไปจากด้านอื่น ๆ ของบริบททางสังคม วัฒนธรรม ดังที่ กัทเมเชอร์(Guttmacher, 1969อ้างในสุปาจรีย์ วิชัยโรจน์, 2529 : 12) แสดงทัศนะไว้ว่า “ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งความสำราญทางเพศยังได้รับการพิจารณาโดยแพร่หลายว่าเป็นสิ่งที่ผูกขาดเฉพาะผู้ชายเท่านั้น การร่วมประเวณีจึงถูกมองว่าเป็น “บาป” ที่จำเป็นต้องมี ซึ่งอนุญาตให้ผู้ชายในฐานะที่มีลักษณะทางธรรมชาติที่อยู่ในระดับพื้นฐานมากกว่า (Baser Nature) และผู้หญิงจะต้องยอมอดทนเพื่อตอบสนองต่อสิ่งนี้ เพราะถือว่าเป็นสิ่งยากจะหลีกเลี่ยง แต่สำหรับผู้หญิงที่สนุกสนานพอใจกับการร่วมเพศนั้น จะถูกพิจารณาว่าเกือบจะเป็นความชั่วร้ายทีเดียว
จากผลงานวิจัย และทัศนะเชิงวิชาการต่าง ๆ ที่กล่าวไปแล้ว ชี้ให้เห็นว่าการยอมรับพฤติกรรมทางเพศของสตรี ยังถูกจำกัดอยู่ในกรอบบรรทัดฐานแบบประเพณี และการละเมิดบรรทัดฐานดังกล่าวนำมาซึ่งความไม่พอใจหรือประณามจากสังคม
ทั้งหมดที่กล่าวไป คือ ส่วนของระบบบรรทัดฐาน การควบคุมทางสังคม และโครงสร้างสังคมที่แสดงให้เห็นว่าสตรีมีบรรทัดฐานในการควบคุมพฤติกรรม ซึ่งเป็นข้อจำกัดในการตัดสินใจกระทำสิ่งต่าง ๆ ทางผู้วิจัยจึงเห็นว่าแนวคิดนี้มีอิทธิพลต่อบุคคลในการยอมรับในการอยู่ร่วมกันก่อนการสมรส
13
2.2 แนวคิดเกี่ยวกับการสมรส
2.2.1 ความหมายของการสมรส
การสมรสหรือการแต่งงานเป็นสิ่งที่หนุ่มสาวที่รักกันปรารถนาอย่างยิ่ง เพราะเป็นวิธีการหนึ่งที่ประกาศให้สังคมรับรู้อย่างเป็นทางการว่า จะอยู่ร่วมกันฉันสามีและภรรยา ในบางสังคมการแต่งงานจะสมบูรณ์แบบเมื่อได้ผ่านพิธีกรรมทางศาสนา ส่วนมากจะกำหนดการจดทะเบียนสมรสเป็นหลักสำคัญในการปฏิบัติอย่างไรก็ตาม ชายหญิงที่จะแต่งงานกันนั้น จะผ่านการเลือกบุคคลที่ตนพอใจหรือไม่ก็แล้วแต่สภาพของสังคม
การสมรส คือ การที่ชายหญิงมาอยู่ร่วมกัน และมีความสัมพันธ์ทางเพศกัน ซึ่งการอยู่ร่วมกันนั้นได้มีการประกอบกิจกรรมตามประเพณีที่กลุ่มยึดถืออยู่ อันเป็นการประกาศให้สังคมรับรู้ (ศิริพันธ์ ถาวรทวีวงษ์, 2543 : 31)
เซลิกแมน (Seligman, 1987อ้างในศิริพันธ์ ถาวรวงศ์,2543 : 32) นักมานุษยวิทยา ให้ความหมายของการสมรสว่า เป็นการอยู่ร่วมกันระหว่างชายหญิง และผลจากการอยู่ร่วมกันนำไปสู่การให้กำเนิดทารก ซึงเป็นที่ยอมรับว่าเป็นการเกิดที่ถูกต้องตามประเพณี
นักมานุษยวิทยาบางท่านมีความเห็นว่า “การสมรส” คือกฎเกณฑ์ทางสังคมที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าเป็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลอย่างน้อย 2 คน ซึ่งนำไปสู่สิทธิต่าง ๆ ทางด้านเศรษฐกิจและทางเพศ รวมตลอดถึง หน้าที่ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นตามมาทั้งสองฝ่าย โดยเฉพาะหน้าที่ต่อสังคม คือการให้กำเนิดสมาชิกใหม่โดยถูกต้องตามกฎหมายหรือประเพณีวัฒนธรรม
2.1.3 วัตถุประสงค์ของการสมรสหรือการแต่งงาน
1. พิธีการสมรสถือได้ว่าเป็นพิธีกรรมเลื่อนสถานภาพ ( Rites de Passage ) ของเด็กวัยรุ่น
จากเด็กหนุ่มสาวที่เป็นโสด ไม่ต้องรับผิดชอบอะไรมากไปสู่ความเป็นผู้ใหญ่ที่ต้องรับผิดชอบในหน้าที่ต่าง ๆเพิ่มขึ้น และที่สำคัญก็คือ การสมรสเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นสัมพันธมิตรกันระหว่างกลุ่ม และต้องประคับประคองความสัมพันธ์นี้ให้มั่นคง
2. เพื่อให้สังคมรับรู้การมีความสัมพันธ์ทางเพศกันโดยถูกต้องของชายหญิงคู่หนึ่งหรือ
14
มากกว่า ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญเป็นการป้องกันการสมรสซ้อน
3. เพื่อสร้างครอบครัวใหม่ของตนเอง และนำไปสู่การได้รับสถานภาพและบทบาทใหม่
เพิ่มขึ้น ได้แก่ ความเป็นสามี ความเป็นภรรยา
4. การผลิตสมาชิกใหม่ให้แก่สังคมโดยถูกต้องตามกฎเกณฑ์ จารีต ประเพณี อันเป็นการ
ขยายเผ่าพันธุ์วงศ์ตระกูลออกไปให้ใหญ่ขึ้น
5. เพื่อความร่วมมือในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ระหว่างกลุ่มทั้งสังคมในอดีต
และปัจจุบัน
6. เพื่อสิทธิของการเป็นทายาทสืบสกุล ทรัพย์สิน มรดก โดยถูกต้องตามกฎเกณฑ์ของ
สังคม
ในอดีตการเลือกคู่สมรสของมนุษย์จะทำกันแบบง่าย ๆ และเป็นแบบธรรมชาติ ก็คือขึ้นอยู่กับสัญชาติญาณของความต้องการสืบพันธ์ ซึ่งปัจจุบันได้รับการยอมรับน้อยมากจากนักสังคมศาสตร์ จะเห็นได้จากการเลือกคู่สมรสในปัจจุบันขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ทั้งทางด้านสังคม ประชากร รวมทั้งอายุ กลุ่มเครือญาติ ความใกล้ชิดสนิทสนม เชื้อชาติ ศาสนา ตลอดจนชนชั้น แต่อย่างไรก็ตามการจะบอกว่าใครควรแต่งงานกับใครเป็นเรื่องที่ยาก และในทางวิทยาศาสตร์ก็ยากจะเชื่อว่า คนแต่งงานเนื่องจากสัญชาติญาณของการต้องการสืบพันธุ์ หรือเนื่องจากความรักแบบโรแมนติก นักสังคมศาสตร์ได้ทำการศึกษาเรื่องการเลือกคู่สมรสของคนและได้เสนอทฤษฎี แนวคิดต่าง ๆ เกี่ยวกับการเลือกคู่ ดังต่อไปนี้ (ศิริพันธ์ ถาวรวงศ์, 2543 : 23-25 )
2.2.3 ทฤษฎีเกี่ยวกับการเลือกคู่สมรส
ทฤษฎีบทบาท (Role Theory) นักสังคมวิทยาให้ความหมายคำว่า บทบาทเชิงวัฒนธรรมว่า หมายถึงพฤติกรรมที่คาดหวังในแต่ละตำแหน่งหรือสถานภาพ (Status) ในชีวิตคนเราจะมีตำแหน่งและบทบาทต่าง ๆ มากมาย เช่น การเป็นลูก เป็นนักศึกษา เป็นสามี เป็นภรรยา เป็นพ่อแม่ เป็นต้น บุคคลจะเรียนรู้บทบาทของแต่ละตำแหน่ง ตลอดจนสิ่งที่สังคมคาดหวังเอาไว้ในแต่ละตำแหนงและแต่ละสถานภาพ โดยผ่านกระบวนการอบรมขัดเกลาทางสังคม (Socialization) ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทำให้การแสดงบทบาทสัมพันธ์กับบุคคลเป็นไปโดยราบรื่น
ทฤษฎีบทบาทเสนอว่า ในการเลือกคู่สมรสบุคคลมีแนวโน้มที่จะเลือกบุคคลที่สามารถแสดงบทบาทได้ตามที่เขาคาดหวังหรือสังคมคาดหวังเอกไว้ เช่น ในสังคมประเพณีที่อำนาจภายในครอบครัวอยู่ที่เพศชายสามีจะเป็นใหญ่เป็นหัวหน้า และเป็นนายภายในครอบครัว ดังนั้น ชายจึงมีแนวโน้มที่จะเลือกหญิงที่เขาคาดหวังว่า จะอ่อนน้อมถ่อมตน เป็นแม่บ้าน เอาอกเอาใจ เป็นคู่สมรสมากกว่า หญิงที่ทำงานนอกบ้านแข็งแกร่ง เป็นตัวของตัวเองหรือเป็นหญิงที่เรียกร้องความเสมอภาค
15
ทางเพศ ดังนั้นในขั้นต้นของการมีนัดและการเกี้ยวพาราสีหนุ่มสาวจะมีการตรวจสอบบทบาทต่าง ๆ ที่ตนเองคาดหวังจะให้อีกฝ่ายปฏิบัติตามว่า เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย เช่น การแบ่งงาน การแบ่งอำนาจระหว่างสามีภรรยา การจัดการเรื่องการเงินภายในครอบครัว การทำงานบ้าน การพักผ่อนหย่อนใจ การเลี้ยงดูเด็ก และอื่น ๆ เป็นต้น
ทฤษฎีคุณค่า ( Value Theory ) คุณค่าหมายถึงอะไรก็ได้รับการกำหนดจากสังคมว่าเป็นสิ่งที่ดี ที่ถูก มีคุณธรรม ดังนั้น คุณค่าจึงเป็นหลักหรือเป็นเป้าหมายในการแสดงออกของพฤติกรรมของมนุษย์ Coombs (1961) นักสังคมวิทยาได้พยายามพัฒนาทฤษฎีคุณค่าในการเลือกคู่สมรส โดยเขาเสนอว่า ระบบคุณค่าของบุคคลเป็นสิ่งสำคัญที่เขาจะใช้เลือกคู่สมรสโดยเขาจะเลือกคู่ที่ยึดถือคุณค่าในด้านต่าง ๆ เหมือนหรือคล้ายคลึงกับตนเพราะคนที่มีคุณค่าคล้ายคลึงกับเราหรือเหมือนเรา จะทำให้การติดต่อสัมพันธ์กันทางสังคมเป็นไปโดยราบรื่น รวมทั้งการสร้างความพึงพอใจระหว่างกัน นำไปสู่ความปรารถนาที่จะดำเนินต่อความสัมพันธ์ให้ยืนยาวและลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น เช่น การยึดคุณค่าในการดำเนินชีวิตตามธรรมชาติ การยึดมั่นในวัตถุ การรักครอบครัว การชอบออกเที่ยวเตร่นอกบ้านกลางคืน การยึดมั่นในหลักธรรมทางศาสนา การชอบอ่านหนังสือ เป็นต้น
ทฤษฎีการแลกเปลี่ยน (Exchange Theory) นักวิชาการเสนอว่า ระบบการเกี้ยวพาราสีก็คือส่วนหนึ่งของระบบการแลกเปลี่ยนที่ซึ่งชายหรือหญิงแสวงหาคู่สมรสโดยการต่อรองผลประโยชน์ระหว่างกันและกัน การมีนัดกันของหนุ่มสาวเปรียบเสมือนการเข้าสู่ตลาดเพื่อเลือกหาสิ่งที่ตนเองต้องการโดยอยู่บนพื้นฐานของดีหรือถูกใจที่สุด แต่จ่ายน้อยที่สุด หรือตามความพอใจ เช่นเดียวกัน ทฤษฎีการแลกเปลี่ยนเสนอว่า ความสัมพันธ์ทางสังคมจะถูกกำหนดจากทั้ง 2 ฝ่ายที่เข้าร่วมในความสัมพันธ์นั้นโดยอยู่บนพื้นฐานของการได้ประโยชน์สูงสุด และลงทุนน้อยที่สุดหรือไม่ต้องใช้ความพยายามมากนั่นเอง เมื่อนำทฤษฎีนี้มาใช้กับการเกี้ยวพาราสีหรือการเลือกคู่ โดยชี้ให้เห็นว่า ผู้เข้าร่วมสัมพันธ์จะถูกดึงดูดหรือล่อใจโดยแต่ละฝ่ายจะพยายามเสนอสิ่งที่ดีที่สุดที่คาดว่าอีกฝ่ายต้องการออกมาและแต่ละฝ่ายก็พยายามหาทางที่จะได้มาในสิ่งที่ต้องการโดยลงทุนน้อยที่สุด ซึ่งในระยะยาวแล้วจะพบว่า การต่อรองแลกเปลี่ยนนั้นจะอยู่บนความสมดุล ซึ่งเป็นหลักสำคัญของการแลกเปลี่ยนนั่นเอง ซึ่งทฤษฎีนี้เหมาะสมกับวิธีการเลือกคู่จากคนที่มีลักษณะต่าง ๆ เหมือนหรือคล้ายคลึงกับตน (Homogamy) นั่นเอง
หลักเกณฑ์ของทฤษฎี คือ
1. ในการเลือกคู่ บุคคลจะเลือกคนที่มีสิ่งที่เขาต้องการสูงสุด
2. บุคคลที่มีทรัพยากรเท่าเทียมกันจะสามารถเสนอสิ่งที่ดีที่สุดที่มีให้แก่กันและกัน
16
3. บุคคลที่มีทรัพยากรเท่าเทียมกันจะมีลักษณะต่าง ๆ ส่วนใหญ่เหมือน ๆ กัน
4. การเลือกคู่จะเลือกจากคนที่มีลักษณะต่าง ๆ ส่วนใหญ่เหมือนกัน
ทฤษฎีนี้มิได้กำหนดหรือเจาะจงว่า ทรัพยากรที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนอย่างเท่าเทียมกันนั้น คืออะไร อาจจะเป็น ฐานะทางเศรษฐกิจ ตำแหน่งหน้าที่การงาน สำหรับชาย ส่วนหญิง อาจจะเป็น
ความสามารถในการเป็นแม่บ้าน ความสามารถในการเป็นแม่ของลูก รวมถึงความสามารถในการสร้างความพึงพอใจทางด้านอารมณ์และความเป็นเพื่อนคู่ชีวิต และอื่น ๆ เป็นต้น
ทฤษฎีทดแทนสิ่งที่ต้องการ (Complementary needs Theory) ทฤษฎีการเลือกคู่เพื่อทดแทนสิ่งที่เราขาดนี้ มีความคิดเห็นเหมือนกับการเลือกคนที่มีลักษณะแตกต่างจากตน (Heterogamy) ทฤษฎีนี้ Robert F. Winch นักจิตวิเคราะห์ได้พัฒนาขึ้นมาเพื่อประมาณเกือบ 50 ปีที่ผ่านมา เป็นทฤษฎีที่เสนอว่า ในกระบวนการเลือกคู่บุคคลจะเลือกคู่สมรสที่มีลักษณะบางอย่างที่ตนเองไม่มี เช่น ผู้ชายขี้ขลาด อ่อนแอ จะเลือกผู้หญิงที่แข็งแรง กล้าหาญ เพื่อปกป้องตัวเองหรือหญิงชายที่ขาดพ่อหรือขาดแม่ตั้งแต่เด็ก คนเหล่านี้มีแนวโน้มจะเลือกคนที่แก่กว่ามากเพื่อทดแทนความรักของพ่อหรือแม่
2.3 แนวคิดเกี่ยวกับการรับรู้คุณค่าของตนเอง (Self Esteem)
2.3.1 ความหมายของการรับรู้คุณค่าของตนเอง
การรับรู้คุณค่าของตนเอง (Self Esteem) หมายถึง การที่บุคคลรับรู้คุณค่าและความสำคัญในสิ่งที่ตนเองคิด รู้สึกในคุณค่าที่จะรักและรู้จักยอมรับ
บุคคลที่ให้ความสำคัญกับตนเองจะรู้สึกภูมิใจกับสิ่งที่ได้กระทำ และชอบทดลองสิ่งใหม่ มักจะสร้างพลังความเชื่อมั่นให้กับตนเอง รู้จักเคารพตนเอง (Archy Lyness, 2002)
ส่วนในทศนะของนักสังคมวิทยา โรเซนเบริ์ก (Rosenberg, 1967อ้างในพรรณี ทรัพย์มากอุดม,2532 : 5) ให้ความหมายว่า ความเคารพที่บุคคลมีต่อตนเอง มองเห็นตนเองเป็นคนมีค่า โดยไม่จำเป็นต้องเปรียบเทียบกับบุคคลอื่น ๆ ว่าดีกว่าเลวกว่า และไม่คิดว่าตนเองต้องเป็นคนเลอเลิศ แต่ตระหนักในข้อจำกัดของตนเอง และสามารถคาดหวังกับตัวเองได้ว่าจะปรับปรุงตัวเองให้ดีขึ้นได้อย่างไร
คาร์เมน กัวนิพา (Guanipa,1999) กล่าวว่า การรับรู้คุณค่าของตนเอง คือ ความรู้สึกเกี่ยวกับตนเอง การตัดสินใจด้วยตนเอง การรักตนเอง มีลักษณะดังนี้
17
ลักษณะของผู้ที่รับรู้คุณค่าของตนเองจะ
1. เชื่อว่าตนเองมีความสำคัญ
2. เชื่อว่าโลกนี้จะดีกว่านี้เพราะว่ามีตัวเองอยู่ด้วย
3. เชื่อมั่นในตนเอง ในความสามารถของตนเอง
4. กล้าที่จะขอความช่วยเหลือ
5. เชื่อมั่นในการตัดสินใจ
ลักษณะของผู้ที่รับรู้คุณค่าของตนเองต่ำจะ
1. ไม่ให้ความสำคัญกับตนเอง
2. ไม่ไว้ใจผู้อื่น
3. รู้สึกโดดเดี่ยว
4. ไม่รู้สึกรักตนเอง
จากการศูนย์วิจัยข้อมูลของมหาวิทยาลัยเท็กซัส (Austin Campus Resources, 2004) พบว่าการรับรู้คุณค่าของตนเองมาจากการพัฒนาตั้งแต่วัยเด็ก เกิดจากการปฏิบัติที่ได้รับจากสมาชิกในครอบครัว หรืออาจเป็นครู ผู้บังคับบัญชาเมื่อเติบโตขึ้น จากการวิจัยยังพบว่าผู้ที่มีการรับรู้คุณค่าของตนเองต่ำจะเป็นคน 3 ลักษณะนี้
1. เป็นคนเสแสร้ง ขี้โกง คือ เป็นคนที่แสดงว่าตนเองมีความสุข ประสบความสำเร็จ แต่แท้จริง
แล้วกลัวที่จะล้มเหลว อยากประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง อยู่อย่างหวาดระแวง กลัวผู้อื่นจะรู้ความจริง พยายามที่จะทำให้ตัวเองสมบูรณ์แบบ
2. เป็นคนชอบท้าทาย ทำตัวนอกกฎเกณฑ์ ไม่ใส่ใจ ชีวิตอยู่บนความโกรธ รู้สึกว่าตนเองไม่ดี
พอ รู้สึกว่าตนเองถูกกล่าวหา โทษว่าทำผิดมากเกินไป
3. เป็นพวกขี้แพ้ ไม่สามารถจัดการอะไรได้ รอคอยความช่วยเหลืออยู่ตลอดเวลา สงสาร
ตนเอง กลัวที่จะต้องรับผิดชอบ ขาดความมั่นคง ทำอะไรก็ไม่ประสบความสำเร็จ
แรงจูงในการรับรู้คุณค่าของตนเองอาจจะสนับสนุนให้มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนได้ (ระพีพรรณภู่ผกาพันธุ์พงศ์, 2540 : 61) กล่าวคือ วัยรุ่นอาจจะเข้าร่วมในพฤติกรรมการทำผิดกฎหมายเพื่อส่งเสริมคุณค่าของตนเอง เช่น วัยรุ่นที่เป็นนักเรียน นักกีฬา หรือผู้นำกลุ่ม อาจจะคิดว่าตนเองไม่ประสบความสำเร็จเมื่อเปรียบเทียบกับผู้อื่นและอาจจะมีความยำเกรงต่อผู้ปกครอง ครู เพื่อนเล็กน้อย และมองภาพตนเองจากมุมมองที่คิดว่าคนอื่นมองเขาทำให้ให้คุณค่ากับตนเองต่ำ ดังนั้นจึงคิดว่าการกระทำผิดอาจจะส่งเสริมความยำเกรงในตัวเขาเอง
18
ผู้ที่รับรู้คุณค่าของตนเองจะเป็นคนที่มีความเชื่อมั่น รู้จักรักตนเองกล้าที่จะปกป้องตนเองความรู้ซึ่งเปรียบเสมือนเกราะเมื่อต้องเจอสิ่งที่เลวร้ายหรือเผชิญหน้ากับสิ่งต่าง ๆ ดังเช่นการศึกษาของ คลอเคนเบริ์กและโซบี้ (Robert W.Reasoner, 2004)พบว่าวัยรุ่นจำนวน 4 ใน 5 คนที่รสึกว่าตนเองไม่มีคุณค่า ขาดความมั่นใจ รับรู้คุณค่าของตนเองต่ำ จะเป็นคนที่มีประพฤติขาดความเอาใจใส่ มีเพศสัมพันธ์โดยไม่มีการคุมกำเนิด
ผู้วิจัยจึงเห็นว่าการรับรู้คุณค่าของตนเองเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสัมพันธ์ต่อการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนการสมรส
2.4 การปลูกฝังเรื่องคู่ครองและการรักนวลสงวนตัว
การเลือกคู่สมรสในอดีตเกิดจากการที่ผู้ใหญ่จัดให้ และเรื่องเพศเป็นเรื่องที่ถูกควบคุมโดยยึดถือตามความเชื่อตามศาสนา เน้นไปที่ความบริสุทธิ์ และพรหมจรรย์เป็นสิ่งที่มีคุณค่าของผู้หญิงซึ่งเกี่ยวพันกับแนวคิดเกี่ยวกับความคาดหมายต่อผลการกระทำทางเพศมีดังนี้
ความคาดหมายผลการกระทำตามคัมภีร์มานวธรรมศาสตร์ เป็นแนวคิดที่มีพื้นฐานมาจากศาสนาที่มีแนวคิดว่า เมื่ออายุได้สามสิบปีชายอาจแต่งงานกับหญิงที่ตนรัก ซึ่งมีอายุสิบสองปี หากชายมีอายุยี่สิบสี่ปีอาจแต่งงานกับหญิงอายุสิบแปดปี หากไม่แต่งงานแล้วจะทำหน้าที่ทางศาสนาไม่สำเร็จ ก็อาจให้แต่งงานได้ทันที
แนวคิดนี้แสดงให้เห็นความนิยมที่จะให้ผู้หญิงแต่งงานตั้งแต่อายุยังน้อย ซึ่งเท่ากับถือว่าชายเป็นผู้มีหน้าที่เลี้ยงดู แต่หญิงไม่มีโอกาสได้เรียนหนังสือ ไม่มีโอกาสได้รู้จักสังคม เพราะต้องทำหน้าที่ภรรยาตั้งแต่ยังเล็ก การแต่งงานเร็วนี้น่าจะเกิดจากความนิยมผู้หญิงที่บริสุทธิ์ โดยถือว่าผู้ที่เป็นแม่ของลูกควรเป็นสาวบริสุทธิ์ ฉะนั้นอายุยิ่งน้อยยิ่งแน่ใจในความบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น ผู้ชายจึงทำหน้าที่ของพ่อและสามีของเธอ มานวธรรมศาสตร์ได้ให้ความรับรองเฉพาะภรรยาที่มาจากสาวพรหมจารีย์เท่านั้น ดังบัญญัติที่ว่า “ บทสวดสำหรับการแต่งงานมีไว้เพื่อสาวพรหมจารีย์เท่านั้น ชายจักใช้แก่หญิงที่ไม่ใช่สาวพรหมจารีย์มิได้ เหตุเพราะหญิงเหล่านั้นต้องห้ามสำหรับพิธีกรรมอันชอบด้วยกฎหมาย และปราชญ์ถือว่าพิธีแต่งงานจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อคู่บ่าวสาวก้าวไปรอบกองไฟศักดิ์สิทธิ์ถึงก้าวที่เจ็ด”
19
จะเห็นว่าศาสนาและกฎหมายล้วนรับรองภรรยาว่าต้องมาจากสาวบริสุทธิ์ การที่ผู้หญิงอายุน้อยย่อมอยู่ในความดูแลของพ่อแม่ ไม่มีโอกาสเกี่ยวข้องกับชายอื่น สังคมจึงเชื่อในความบริสุทธิ์มากกว่าหญิงที่อายุมาก กฎข้อนี้ทำให้ผู้หญิงเสียเปรียบ เพราะชายแต่งงานแล้วเมื่อหย่าร้างก็มีภรรยาใหม่ได้ สามีจึงไม่ต้องเป็นชายบริสุทธิ์ ส่วนหญิงที่เป็นหม้ายไม่มีโอกาสเข้าพิธีแต่งงานใหม่ หากอยู่กินกับชายโดยไม่แต่งงานถือว่าไม่ถูกต้อง จึงมีหนทางเดียวที่จะทำให้สังคมยอมรับคือ ครองความเป็นหม้ายตลอดไป
ความคาดหมายต่อผลของพรหมจรรย์ พรหมจรรย์ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญในตัวของหญิงดังคำกล่าวว่า “การรักนวลสงวนตัว” “อย่าชิงสุกก่อนห่าม” เป็นคำสั่งสอนผู้หญิงไทยที่ติดปาก “ความบริสุทธิ์” กลายเป็นความคาดหวังที่สังคมมีต่อผู้หญิง เป็นคุณค่าที่ใช้ประเมินผู้หญิง ไม่ว่าจะเป็นงานศึกษาวรรณกรรมอีสาน (ทวี ศรีแก้ว, 2536 อ้างในวารุณี ภูริสินสิทธิ์, 2543) พบว่า การรักนวลสงวนตัวของผู้หญิงสำคัญ และจากการที่รักนวลสงวนตัวนี้ทำใหมีเทวดาคุ้มครอง จะได้ผัวดี ลูกดี ในวรรณกรรมล้านนาก็สะท้อนผ่านเนื้อหาของวรรณกรรมที่ให้ผู้หญิงรักนวลสงวนตัว ถ้าไม่ทำ ผลที่ตามมานอกจากจะไม่ดีกับตนเองแล้วยังส่งผลให้เกิดอาเพศในสังคม บ้านเมืองประสบความแห้งแล้ง ประชาชนอดอยาก (ศิริรัตน์ อาศนะ, 2529)
แม้ผู้หญิงถูกสอนผ่านวรรณกรรมต่าง ๆ ให้รักษาความบริสุทธิ์จนแต่งงานแต่เมื่อพิจารณาดูอย่างละเอียดดูจะขัดแย้งกับสิ่งที่ปฏิบัติจริงอยู่ แม้ในวรรณกรรมเอง พิจารณาจากหนังสื่อ นางในวรรณคดี (มาลัย, 2536 ) พบว่าตัวเอกผู้หญิงและผู้ชายลักลอบมีความสัมพันธ์ทางเพศก่อนการแต่งงานหรือสู่ขอผู้ใหญ่ฝ่ายหญิง และเมื่อผู้ใหญ่รู้ทีหลังก็ไม่ว่ากล่าวประการใด (Davis อ้างในวัฒนา มหาราช,2544 :30) ได้ศึกษาพบว่า การมีความสัมพันธ์ทางเพศระหว่างหนุ่มสาวเกิดขึ้นทั่วไปในชนบท ในกรณีภาคเหนือ ถ้าผู้ใหญ่จับได้ผู้ชายต้องทำพิธีเสียผี และจะมีการพิจารณาว่าจะยกผู้หญิงให้ไปเป็นเมียหรือไม่ และอาจพิจารณาไม่ให้มีการแต่งงานเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นการเสียความบริสุทธิ์ไม่ใช่เรื่องสำคัญถึงขั้นต้องแต่งงาน ผู้หญิงก็ยังอยู่ในสังคมนั้นต่อไป จากการศึกษาของ วารุณีและเบ็ญจา( 2537 ) พบว่าการรักษาความบริสุทธิ์จนถึงวันแต่งงานคงไม่ได้มีการปฏิบัติเป็นจริงเป็นจังมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว พรหมจารีย์ของผู้หญิงสังคมไทยในอดีตอาจไม่ได้ถูกให้คุณค่ามากเท่าที่พูดในปัจจุบัน
การให้คุณค่าทางพรหมจารีย์ของผู้หญิงไทยปรากฏขึ้นตั้งแต่รัชกาลที่ 5 เป็นต้นมาโดยได้รับอิทธิพลจากความคิดในเรื่องเพศแบบวิคตอเรียน (Victorian Sexual Attitudes) และคุณค่าเหล่านี้ได้เสนอสู่สังคมผ่านทางวรรณกรรม นวนิยายต่าง ๆ ในเวลาต่อมา เช่น ในพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเรื่องเงาะป่า ที่ ลำหับกล่าวว่า
20
“ เกิดเป็นหญิงจริงสำหรับรับอดสู สุดจะกู้แก้กายให้หายกลิ่น
แม้นได้กับซมพลาก็ราคิน เข้ารู้สิ้นว่าคู่ครองของฮเนา
ได้คู่เก่าก็ร้ายน่าอายเหลือ เขา (ซมเพลา) ถูกเนื้อจับต้องเหมือนของเขา”
จากวรรณกรรมนี้แสดงให้เห็นว่า การเกิดเป็นหญิงนั้นต้องรักนวลสงวนตัว เพราะถ้าให้ชายมาเชยชมจะถือว่ามีราคิน ยิ่งถ้าเป็นชายที่เชยชมที่มีคู่แล้วยิ่งน่าอับอายมากขึ้น
จากการศึกษาของเพ็ญศรี จุลกาญจน์ (อ้างในจิราลักษณ์ จงสถิตมั่นและคณะ, 2543 : 49) ศึกษาเรื่องการถ่ายทอดและผลิตซ้ำอุดมการณ์เกี่ยวกับบทบาทและสถานภาพทางเพศของหญิงชายในหมู่บ้านของจังหวัดเชียงใหม่ พบว่าครอบครัวเป็นสถาบันแรกที่สอนความแตกต่างระหว่างชายหญิง โดยบุตรสาวและบุตรชายจะได้รับการขัดเกลาทางสังคมแบบทวิมาตรฐาน เช่น บุตรสาวจะถูกขัดเกลาให้มีคุณลักษณะความเป็นหญิง รู้จักละอายและรักษาพรหมจรรย์โดยผ่านพิธีกรรมบูชาผีปู่ย่า ส่วนบุตรชายจะได้รับเสรีภาพมากกว่าและมีโอกาสเรียนรู้เรื่องเพศมากกว่า
2.4 แนวคิดแนวโน้มนำเชิงบวกต่อความรักและเรื่องเพศ
แนวโน้มนำทางบวกต่อความรักหมายถึง การที่ปัจเจกบุคคลมองภาพความรักว่ากำลังนำมาสู่ผลที่ตามมาในแง่ดี แทนที่จะมองภาพในทางตรงกันข้ามกำลังนำมาสู่ผลเสีย (Reiss and Miller อ้างในระพีพรรณ ภู่ผกาพันธุ์พงศ์, 2540 :32)
มโนทัศน์แนวโน้มนำเชิงบวกต่อความรัก(Positive Love Orientation) เป็นแนวคิดที่สำคัญของ รีสและมิลเลอร์ (Reiss and Millerอ้างในพะเยาว์ ละกะเต็บ,2538 :18) ที่กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงทัศนคติเกี่ยวกับความสัมพันธ์ก่อนการสมรสว่า สังเกตได้จาการเปลี่ยนแปลงมากมายในบริบทของค่านิยมที่สนับสนุนการยอมรับการมีเพศสัมพันธ์ก่อนการสมรสภายใต้เงื่อนไขของการมีความรักต่อกัน ที่เรียกว่าเป็นมาตรฐานแบบใหม่ (new morality) ลักษณะดังกล่าวเกิดจากการที่บุคคลมีแนวโนมที่เชื่อว่า การมีความรักและคู่รักนั้นมีประโยชน์มากกว่าโทษ
แนวคิดนี้เสนอว่าเรื่องทางเพศเป็นพลังทางสังคมประการหนึ่ง(Social Force) กล่าวคือ บุคคลที่มีความเชื่อและรับรู้ว่าการมีความสัมพันธ์ทางเพศเป็นเรื่องของการได้รางวัลหรือได้ประโยชน์มากกว่าเสี่ยง หรือมีผลดีมากกว่าเสีย คือบุคคลมองว่าการมีความสัมพันธ์กับเพศตรงข้ามทำให้มีความ
21
สุขทั้งร่างกายและจิตใจ ช่วยปลดปล่อยความต้องการทางเพศ แต่ถ้าบุคคลนั้นคิดว่าการมีเพศสัมพันธ์เป็นการเสี่ยง ทำให้เกิดความรู้สึกผิดต่อศีลธรรม เป็นต้น เรียกว่าการสูญเสีย
บุคคลเรียนรู้จากบุคคลนัยสำคัญในการประเมินหรือให้นิยามพฤติกรรมว่า ดีหรือไม่ดีในแง่บรรทัดฐานและทัศนคติ การนิยามเหล่านี้อาจแสดงออกมาโดยถ้อยคำของเขาและความคิดความเข้าใจต่อพฤติกรรมของเขา ซึ่งได้รับการเสริมแรงโดยตรง รวมทั้งตอบสนองต่อสิ่งเร้าสำหรับพฤติกรรมของบุคคลอื่น บุคคลที่นิยามพฤติกรรมเหล่านั้นว่าเป็นผลดีมากกว่าผลเสีย เขาจะเข้าสู่พฤติกรรมนั้น (Aker and others, 1979อ้างในพะเยาว์ ละกะเต็บ, 2538 : 21) เช่นเดียวกัน บุคคลที่มีแนวโน้มที่จะยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนการสมรส ทั้งนี้ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรมเกี่ยวกับการยอมรับ ถูกปั้นแต่งโดยการให้รางวัลหรือการลงโทษ ถ้าบุคคลรับรู้ว่าพฤติกรรมนั้นให้รางวัลมากกว่าโทษแล้ว บุคคลน่าจะมีแนวโน้มยอมรับพฤติกรรมนั้น ๆ
2.5 แนวคิดการอยู่ร่วมกันโดยไม่ได้แต่งงาน
การศึกษาปรากฏการณ์การอยู่ร่วมกันส่วนใหญ่ศึกษาในสังคมอเมริกัน ซึ่งเป็นลักษณะการอยู่ร่วมกันก่อนแต่ง ซึ่งนักวิจัยส่วนใหญ่ต่างให้นิยามเชิงปฏิบัติการที่แตกต่างกันออกไป
การแบ่งประเภทหรือลักษณะการอยู่ร่วมกันก่อนแต่งงานมีหลากหลายขึ้นอยู่กับเกณฑ์ของนักวิจัย เช่น จากการศึกษาของ คาร์ล ริดลี่(Ridley ,1978 อ้างในโสพิน หมูแก้ว,2544 : 8) ได้แบ่งลักษณะการอยู่ร่วมกันออกเป็น 4 ลักษณะโดยถือว่าเป็นประสบการณ์ในด้านเตรียมความพร้อมในการแต่งงานเพื่อที่จะได้ทดสอบความสัมพันธ์ที่มั่นคงต่อกัน ปกติจะอยู่ในช่วงหนึ่งปีครึ่ง แต่ในทางตรงกันข้ามสำหรับคนที่ยังไม่มีความพร้อมทางด้านอารมณ์อย่างเพียงพอ การอยู่รวมกันก่อนแต่งงานนี้ก็จะนำมาซึ่งความผิดหวังและเสียใจไม่แตกต่างจากการหย่าร้าง ซึ่งประเภทการอยู่ร่วมกันมีรายละเอียดดังนี้
1. อยู่ด้วยกันเพื่อความอบอุ่นใจ (Linus-Blanket) เป็นความสัมพันธ์ในลักษณะที่ต้องการใครสักคน (Anyone) ที่ทำให้รู้สึกปลอดภัยพึ่งพาได้ ซึ่งจะเกิดขึ้นชั่วครั้งชั่วคราวในช่วงระยะสั้นๆ ที่ทั้ง 2 ฝ่ายไม่ได้ผูกพันกันอย่างแท้จริง เมื่อความสัมพันธ์สิ้นสุดลงต่างก็ไม่รู้สึกเจ็บปวดหรือเศร้าใจอย่างมาก
22
2. อยู่ด้วยกันเพื่อความเป็นอิสระ (Emancipation) เป็นการอยู่ร่วมกันเพื่อต้องการได้รับความเป็นอิสระจากการควบคุมของพ่อแม่และต่อต้านค่านิยมตามประเพณี รวมทั้งแสดงให้เห็นว่าพวกเขาต้องการความเป็นอิสระ สามารถเลือกทางเดินชีวิตได้ แต่ความสัมพันธ์เช่นนี้ผู้กระทำจะรู้สึกผิด
3. การอยู่ร่วมกันเพื่อความสะดวกสบาย (Convenience) เป็นความสัมพันธ์ที่ทั้ง 2 ฝ่ายได้รับประโยชน์จากการอยู่ร่วมกันไม่ว่าจะเป็นเพศสัมพันธ์ ด้านการเงินได้แก่ การประหยัดค่าใช้จ่ายและมีเพื่อนคู่คิด แต่ความสัมพันธ์ในลักษณะนี้ฝ่ายชายจะได้เปรียบ (Exploitive) มากกว่าจะได้ประโยชน์อย่างเท่าเทียม
4. การอยู่ร่วมกันเพื่อทดสอบความสัมพันธ์ (Testing) ทั้ง 2 ฝ่ายมีความมั่นคงด้านความสัมพันธ์ต่อกันแล้ววางแผนที่จะแต่งงานกันในอนาคต เป็นการทดลองอยู่ด้วยกันก่อนแต่งงาน
(Trial Marriage) เพื่อดูว่ามีความพร้อมแค่ไหน ไปกันได้หรือไม่ โดยมากฝ่ายหญิงต้องการที่จะไปถึงขั้นแต่งงานมากกว่าเพศชาย
แม็คคลิน (Macklin,1983 อ้างในโสพิน หมูแก้ว, 2544 : 8) ได้จัดประเภทการอยู่ร่วมกันตามความมั่นคงของความสัมพันธ์ ได้แก่
1. ความสัมพันธ์ชั่วคราว (Temporary or casual relationships) เป็นเหตุผลการอยู่ร่วมกัน
เพียงเพื่อการได้รับประโยชน์และความสะดวกสบายร่วมกันความสัมพันธ์แบบคู่ควง (Going together) ทั้ง 2 ฝ่ายมีความรักและผูกพันทางอารมณ์ความรู้สึกต่อกันและกัน แต่ไม่ได้วางแผนที่จะแต่งงานกันในอนาคต ความสัมพันธ์จะยาวนานแค่ไหนขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์กันทั้ง 2 ฝ่าย
2. ความสัมพันธ์ในช่วงเปลี่ยนผ่าน (Transitional) เป็นการอยู่ด้วยกันเพื่อเตรียมความพร้อม
ก่อนที่จะมีการแต่งงานกันต่อไป
3. ทางเลือกของการแต่งงาน (Alternative to marriage) อยู่ด้วยกันเหมือนกับคู่สามีภรรยาที่
แต่งานกันแต่ไม่มีพิธีแต่งงานหรือจดทะเบียนสมรสกัน
แพททริก แจ็กสัน (Jackson อ้างในโสพิน หมูแก้ว, 2544 : 14 ) ศึกษาการอยู่ร่วมกันก่อนการแต่งงานในสังคมอเมริกัน ซึ่ง คำว่า “ Cohabitation ” ในที่นี้หมายถึงการที่คนสองคนที่เป็นเพศตรงข้ามกันมาอาศัยอยู่ร่วมกันโดยที่ไม่มีการรองรับจากกฎหมายและศาสนา จากการสัมภาษณ์ผู้ชาย 14 คน ผู้หญิง 10 คน ที่อยู่ร่วมกันกับคนรักอย่างน้อย 4 เดือน เกือบทั้งหมดเป็นผู้ที่ไม่มีศาสนา ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ของพ่อแม่อยู่ในระดับชนชั้นกลาง แนวความคิดที่ Jackson ใช้ในการศึกษาคือ
23
“วิถีอาชีพของการอยู่ด้วยกันก่อนการแต่งงาน (The Carreer of Cohabiting couple) โดยมีกระบวนการ 3 ขั้นตอน คือ
ขั้นตอนที่ 1. การเข้าสู่สถานการณ์ของการอยู่ร่วมกัน (Entry into Cohabiting )
เป็นกระบวนการที่ค่อย ๆ พัฒนาขึ้นจากการที่บุคคลทั้งคู่ร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันด้วยกันมากขึ้น เช่น การเรียนหนังสือ รับประทานอาหาร ไปเที่ยวกับกลุ่มเพื่อน เงื่อนไขด้านอื่น ๆ ที่เอื้อให้มาอยู่ร่วมกัน เช่นปัญหาด้านการเงิน การที่ต้องอยู่ห่างจากบ้านเกิดทำให้รู้สึกโดดเดี่ยวหรือการทะเลาะกับเพื่อนร่วมห้องเดิม เป็นต้น ซึ่ง แจ็กสัน(Jacksonอ้างในโสพิน หมูแก้ว, 2544 : 14 ) มองว่าการตัดสินใจเลือกที่จะอยู่ร่วมกันเป็นทางเลือกเพื่อที่จะแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวัน จากการศึกษาพบว่าผู้ชายและผู้หญิงให้ความหมายการเข้าสู่สถานการณ์นี้แตกต่างกัน โดยผู้ชายมองว่าเป็นเรื่องของการปฏิบัติกิจกรรมทางเพศ ขณะที่ผู้หญิงให้ความหมายในแง่เป็นขั้นตอนที่จะมีความสัมพันธ์มั่นคงยาวนานต่อไปหรือมีการแต่งงานในอนาคตและผู้หญิงมักวิตกกังวลว่าผู้ชายจะไม่มีความผูกพันเท่ากับที่เธอมีต่อเขา
ขั้นตอนที่ 2. การใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน (Living together Unmarried)
การที่ทั้งคู่ค่อย ๆ ย้ายสิ่งของเข้ามาอยู่ร่วมกันทีละเล็กละน้อยสะท้อนถึงความลังเลไม่แน่ใจแต่ในที่สุดก็มาอยู่ร่วมกัน ส่วนใหญ่แล้วทั้งคู่จะแบ่งแยกกันในค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับห้อง ค่าอาหาร แต่มีเงินกองกลางใช้ร่วมกัน ส่วนภาระหน้าที่การทำงานบ้านยังคงเป็นไปตามแบบแผนการแบ่งบทบาทตามประเพณี (Traditional sex-role) คือผู้หญิงรับภาระหน้าที่ในการทำงานบ้านต่าง ๆ
ขั้นตอนที่ 3.การตัดสินใจแต่งงาน (The Dicision to marry )
โดยส่วนมากผู้หญิงมักมีความผูกพันอย่างลึกซึ้งตั้งแต่ในขั้นตอนแรกของความสัมพันธ์ขณะที่ฝ่ายชายเกิดขึ้นภายหลังจากการที่ได้อยู่ร่วมกัน การตัดสินใจแต่งงานมาจากปัจจัยบีบบังคับจากแรงกดดันของพ่อแม่ซึ่งนำไปสู่การแต่งงานในที่สุด
เนื่องจากการศึกษาเกี่ยวกับการใช้ชีวิตร่วมกันก่อนการแต่งงานระหว่างหญิงชายในสังคมไทยยังไม่มีการศึกษาโดยตรง การนำผลการศึกษาการอยู่ร่วมกันก่อนแต่งงานในสังคมอเมริกันมาปรับใช้ในการมองปรากฏการณ์ในสังคมไทย อาจจะให้แนวทางในการมองปรากฏการณ์อย่างกว้างๆ แต่
24
ต้องคำนึงถึงความแตกต่างในบริบททางสังคมและวัฒนธรรมด้วย เช่น ปัจจัยเอื้ออำนวยต่อการอยู่ร่วมกันในสังคมอเมริกาได้รับการยอมรับ ได้แก่ การยอมรับการมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงานได้ เมื่อมีความรัก ความผูกพันทางอารมณ์ (Permissiveness with affection) ความแพร่หลายของยาคุมกำเนิด ประการสุดท้ายคือ การผ่อนคลายในประเพณี การเกี้ยวพานและการแต่งงาน เนื่องจากอัตราการหย่าร้างที่สูงขึ้น ทำให้ชายหญิงต้องการมีประสบการณ์ทางเพศก่อนที่จะตัดสินใจผูกพันกับคนที่จะแต่งงานด้วย (Ridley and Anderson , อ้างในโสพิน หมูแก้ว 2544: 9-10)
โดยลักษณะของการใช้ชีวิตคู่อยู่ร่วมกันนั้นมีหลายรูปแบบ อาทิ บางลักษณะทั้งสองฝ่ายต่างเช่าหอพักหรือบ้านพักร่วมกัน บางคู่อาจมีการหมั้นหมายกันแล้ว โดยผู้ปกครองของทั้งคู่รับรู้ บางคู่แอบมาอยู่ด้วยกันโดยผู้ปกครองไม่ทราบ หรือการที่ต่างฝ่ายต่างมีหอพักของตนเองแอบมาอยู่ด้วยกันเป็นครั้งคราว
สำหรับสังคมไทยยังถือว่าเป็นที่ยังไม่ยอมรับมากนัก ขัดกับวัฒนธรรมไทย โดยการอยู่ร่วมกันฉันสามีภรรยาโดยยังไม่ได้แต่งงานนี้ พวกเขาให้ความหมายแก่สถานการณ์การใช้ชีวิตคู่อยู่ร่วมกันนี้อย่างไร เมื่อความสัมพันธ์ทางเพศในวัฒนธรรมไทยจะเป็นที่ยอมรับได้ภายใต้เงื่อนไขของการแต่งงาน (ฉลาดชาย รมิตานนท์, 2542 : 9-10)
2.6 แนวคิดเกี่ยวกับทัศนคติ ( Attitudes )
ทัศนคติ เป็นคำที่ใช้กันมากในวิชาจิตวิทยาสังคม มาจากรากศัพท์ภาษาลาตินที่แปลว่าโน้ม เอียง นำมาใช้ในความหมายของทัศนคติ หมายถึง ท่าทีที่แสดงออกของบุคคลซึ่งบ่งถึงสภาพของจิตใจ ได้แก่ ความรู้สึกหรืออารมณ์ที่มีต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใด (Allport, 1967 : 3 , อ้างใน ลัดดา กิติวิภาต, 2543 : 1)
เพ็ญประภา สุวรรณ (2526) กล่าวสรุปว่า ทัศนคติเป็นความคิดเห็นซึ่งมีอารมณ์เป็นส่วนประกอบ เป็นส่วนที่พร้อมที่จะมีปฏิกิริยาเฉพาะอย่างต่อสถานการณ์ภายนอก
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ (2538) ให้ความหมายทัศนคติว่า เป็นความรู้สึกนึกคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งจะแสดงออกให้เห็นได้จากคำพูดหรือพฤติกรรมที่สะท้อนความคิดนั้น ๆ
25
นิวคอมบ์ ( อ้างใน ลัดดา กิติวิภาต, 2543 : 1) กล่าวว่า ทัศนคติของบุคคล ขึ้นอยู่กับลักษณะของสิ่งแวดล้อมที่บุคคลได้รับ อาจแสดงออกมาทางพฤติกรรมใน 2 ลักษณะ คือ
1. ทัศนคติทางบวก (Positive Attitude) แสดงออกในลักษณะ พึงพอใจและเห็นด้วย หรือชอบ จะ
ทำให้บุคคลอยากกระทำ อยากได้ อยากเข้าใกล้สิ่งนั้น
2. ทัศนคติทางลบ (Negative Attitude) แสดงออกในลักษณะ ไม่พึงพอใจและไม่เห็นด้วย หรือไม่
ชอบ จะทำให้บุคคลนั้นเกิดความเบื่อหน่ายชิงชัง ต้องการหนีห่างจากสิ่งนั้น
คลอสเมเออร์(Klausmeier อ้างใน ลัดดา กิติวิภาต, 2543 : 13) เสนอว่าทัศนคติของบุคคลเกิดจากการเรียนรู้ที่เริ่มมาตั้งแต่วัยเด็กตลอดจนชีวิตมนุษย์ พัฒนาการของทัศนคติเป็นไปตามหลัก 3 ประการ คือ
1. ความสัมพันธ์และการติดต่อกับผู้อื่น
2. การถ่ายทอดแบบอย่างจากสภาพการณ์หนึ่งไปสู่อีสภาพการณ์หนึ่ง
3. การสนองความต้องการของตน
จากหลักการดังกล่าว เราสามารถแยกได้ว่า ทัศนคติของบุคคลพัฒนาได้เนื่องจาก พ่อแม่ผู้ปกครอง ซึ่งเป็นบุคคลแรกที่พัฒนาทัศนคติของเด็ก และอีกส่วนที่สำคัญได้แก่ อิทธิพลของกลุ่มอ้างอิง เมื่อเราเติบโตขึ้นเราจะได้รับประสบการณ์หรือข่าวสาร ข้อมูลจากบุคคลประเภทที่เราติดต่อ เช่น ครูที่โรงเรียน เพื่อน และบุคคลที่มีอิทธิพลกับเราอย่างมากก็คือ กลุ่มเพื่อนซึ่งนับว่ามีความสำคัญมาก
จุฬาภรณ์ โสตะ (อ้างในลัดดา กิติวิภาค, 2543 : 15) ได้ให้แนวคิดเรื่อง องค์ประกอบของทัศนคติโดยอาศัยแนวของ โรเซนเบริ์ก และฮอฟแลนด์ (Rosenberg and Hovland) ดังแผนภูมิที่ 2 ดังนี้
ความรู้ (Cornetive)
ความรู้สึก ( Affective) พฤติกรรม ( Behavior)
แผนภาพที่ 2 แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของทัศนคติ
26
สรุปได้ว่าองค์ประกอบของทัศนคติเป็นความรู้ ความรู้สึกและพฤติกรรมของมนุษย์ได้แสดงออกมาและใช้ในการปฏิบัติตน
นิวคอมบ์ (Newcoombอ้างใน ลัดดา กิติวิภาต, 2543 : 14) ทำการศึกษาทัศนคติของนักศึกษาแห่งวิทยาลัยเบนนิงตัน ที่มีต่อความคิดทางการเมืองระหว่างเสรีนิยมกับอนุรักษ์นิยม ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มอ้างอิงมีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อทัศนคติทางการเมืองของนักศึกษา โดยที่นักศึกษาเหล่านี้มาจากครอบครัวชั้นสูงซึ่งมีความคิดแบบอนุรักษ์นิยม ในระยะแรกที่นิวคอมบ์ทำการศึกษาเขาให้นักศึกษาเลือกระหว่างแฟรงกิน ดี รูสเวลท์ พรรคเสรีนิยม กับอัลเฟรด เอ็ม แลนดอน พรรคอนุรักษ์นิยม พบว่านักศึกษาประมาณร้อยละ 60 ที่เดียวที่เลือกแลนดอน ซึ่งแสดงให้เห็นว่านักศึกษารับการถ่ายทอดทัศนคติแบบอนุรักษ์นิยมมาจากครอบครัวของตน แต่ต่อมาภายหลังที่นักศึกษาอยู่ในวิทยาลัยระยะหนึ่งแล้ว นิวคอมบ์ทำการศึกษาทัศนคติทางการเมืองพบว่าจำนวนนักศึกษาที่เลือกแลนดอนลดลง จึงชี้ให้เห็นว่า กลุ่มเพื่อนมีอิทธิพลต่อทัศนคติของบุคคลอย่างมาก
ผู้วิจัยจึงเห็นว่าทัศนคติของชายคนรักและเพื่อนมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจต่อการใช้ชีวิตประจำวัน จึงได้นำตัวแปรนี้มาใช้ในการวิจัย
2.7 แนวคิดเกี่ยวกับกลุ่มอ้างอิง ( reference group)
นักจิตวิทยาสังคมได้พบแนวความคิดนี้ในช่วงปี ค.ศ. 1920-1940 ว่าความเชื่อของคนได้รับอิทธิพลจากกลุ่มและบุคคลที่เขาได้มีการปฏิสังสรรค์ แนวคิดกลุ่มอ้างอิงเป็นแนวคิดที่ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดของ (Mead, 1934อ้างระพีพรรณ ภู่ผกาพันธ์, 2540 : 42) ในเรื่อง “ทัศนะภาพของกลุ่ม” (Generalized others ) และบุคคลนัยสำคัญ ( Significant other) เขาเห็นว่าพฤติกรรมของบุคคลหนึ่งสามารถที่จะเข้าใจได้เฉพาะในรูปของพฤติกรรมของกลุ่มโดยส่วนรวมที่เขาเป็นสมาชิกอยู่และความสำนึกของบุคคลขึ้นอยู่กับการที่เขารับเอาทัศนคติของคนอื่นที่มีต่อท่าทีของเขาเอง นอกจากนั้น ความสามารถของบุคคลในการสวมบทบาทของคนอื่น ๆ แล้วย้อนกลับมาที่ตัวเอง นอกจากนั้น ความสามารถของบุคคลในการสวมบทบาทของคนอื่น ๆ แล้วย้อนกลับมาที่ตัวเองและมีทัศนคติต่อตัวเขาเอง แนวคิดดังกล่าวนี้ในภายหลังได้พัฒนาไปเป็นมโนทัศน์กลุ่มอ้างอิง ซึ่งบุคคลยึดถือเป็นหลักหรือแนวทางในการมีพฤติกรรม และมีผลกระทบต่อทัศนคติและพฤติกรรมของบุคคล
เฮอร์เบริ์ต ฮายแมน(Hymanอ้างในพะเยาว์ ละกะเต็บ, 2538 :8) ซึ่งเป็นผู้ที่ใช้มโนทัศน์คำว่า
27
” กลุ่มอ้างอิง ” เป็นคนแรกในปี ค.ศ. 1942 โดยได้ศึกษาถึงความแตกต่างระหว่างสถานภาพเชิงวัตถุวิสัยและอัตวิสัย บุคคลที่ถูกสัมภาษณ์จะได้รับคำถามว่ากลุ่มไหนที่เขาเอาตัวเองไปเปรียบเทียบด้วย ดังนั้น กลุ่มอ้างอิงในทัศนะของ Hymanจึงเป็นพื้นฐานของการเปรียบเทียบทางสังคมและการประเมินตนเอง และต่อมา Schmitt (อ้างในพะเยาว์ ละกะเต็บ, 2538 :8) ได้เสนอว่าให้ใช้คำว่า Reference other แทน ทั้งนี้ เนื่องจากปัญหาที่เกิดขึ้น คือ ผู้ที่เป็นมาตรฐานอาจไม่ใช่กลุ่มบุคคลสำคัญที่มีส่วนช่วยในการก่อรูปร่างของบุคคลนั้นนับตั้งแต่บิดามารดาและเพื่อนสนิทบางคนเป็นต้น
สุพัตรา สุภาพ ( 2534 : 87 ) ได้พูดถึง ความสัมพันธ์ของกลุ่มเพื่อนในการให้บุคคลรู้ถึงบรรทัดฐานของสังคมว่า
1. สอนให้เด็กเรียนรู้กฎเกณฑ์ต่าง ๆ จากกการมีส่วนร่วมในการทำงานหรือกระทำกิจกรรม
กับกลุ่มเพื่อน เช่น การเล่นกีฬา ถ้าผู้ใดฝ่าฝืนกฎระเบียบบังคับนั้นจะถูกลงโทษ เป็นต้น
2. กลุ่มเพื่อนช่วยให้เด็กทดลองข้อกำหนด หรือกฎเกณฑ์ของผู้ใหญ่ เด็กที่อยู่ในกลุ่มเพื่อน
จะมีความกล้าที่จะทดลองขัดแย้งข้อกำหนดหรือกฎเกณฑ์ของผู้ใหญ่ว่าจะทำได้หรือทำไม่ได้แล้วได้รับการลงโทษหนักเบาเพียงใด
3. กลุ่มเพื่อนอาจจะถ่ายทอดวิธีการ และค่านิยมที่ผู้ใหญ่ต้องการหรืออาจจะเป็นไปในรูป
ตรงข้าม มักพบว่าวิธีการที่กลุ่มเพื่อนแนะนำหรือถ่ายทอดซึ่งกันและกัน ได้ผลกว่าผู้ใหญ่ซึ่งเด็กมักมองว่าหัวโบราณ
จากการศึกษาของพรทิพย์ วงศ์เพชรสง่า (2528 ) ในเรื่องการยินยอมให้มีเพศสัมพันธ์ก่อนการสมรสพบว่า เพื่อนมีบทบาทในการถ่ายทอดทัศนคติและมีอิทธิพลในการยินยอมให้มีเพศสัมพันธ์ก่อนการสมรสมากที่สุด
พะเยาว์ ละกะเต็บ (2538) พบว่าเพื่อนสนิทม ีอิทธิพลในทิศทางบวกในการยอมรับการมีเพศสัมพันธ์ก่อนการสมรสของนักศึกษา
โสพิน หมูแก้ว (2544) ศึกษาเรื่องการอยู่ร่วมกันโดยไม่แต่งงานของนักศึกษามหาวิทยาลัย พบว่าบุคคลที่เป็นนัยสำคัญเป็นกลุ่มเพื่อน โดยนักศึกษาทั้งชายและหญิงต่างรับรู้ถึง
ปฏิกริยาของกลุ่มเพื่อนไปในทางที่เป็นบวก คือยอมรับว่าการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันกับคนรักของพวกเขาเป็นเรื่องปกติธรรมดา และความสัมพันธ์ในกลุ่มเพื่อนก็จะเป็นลักษณะของความเป็นพวก เดียวกัน คือ มีความเข้าใจในพวกหัวอกเดียวกัน โดยกลุ่มเพื่อนสนิทของนักศึกษาชายมักเป็นการ
28
ระบายความอึดอัดในความหึงหวงของแฟน ส่วนกลุ่มเพื่อนสนิทของนักศึกษาหญิงมักเป็นการปลอบใจกันเมื่อเกิดความรู้สึกไม่แน่ใจในแฟน รวมถึงการปรึกษาถึงวิธีการคุมกำเนิด
เพื่อนจึง จัดได้ว่าเป็นกลุ่มอ้างอิงหรือบุคคลนัยสำคัญต่อบุคคลที่บุคคลนำเอาค่านิยม บรรทัดฐาน และทัศนะภาพของกลุ่มในการนิยาม สถานการณ์ทางสังคม เช่น มองว่าพฤติกรรมต่าง ๆ เหมาะสมหรือไม่เหมาะสม ทั้งนี้เนื่องจาก เพื่อนมีลักษณะเชิงสถานภาพที่ใกล้เคียงกับตนเอง และเรามักใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับเพื่อนและมีโอกาสในการทำกิจกรรมร่วมกันมาก จึงอาจทำให้เป็นสาเหตุให้ความคิดหรือความรู้เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้รับอิทธิพลจากเพื่อน (Libby อ้างในพะเยาว์ ละกะเต็บ, 2538 :8)
ดังนั้นผู้วิจัยจึงเห็นว่าเพื่อนนั้นเป็นผู้ที่มีอิทธิพลอย่างยิ่งในการยอมรับสิ่งต่าง ๆ จึงได้นำกลุ่มเพื่อนมาเป็นตัวแปรในกรอบแนวคิดวิจัยครั้งนี้
2.8 ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม (Social Learning)
2.8.1 ความหมายของการเรียนรู้ทางสังคม
อัลเบิร์ต แบนดูร่า (Bandoraอ้างในวัฒนา มหาราช,2544 : 12) นักจิตวิทยาทางสังคมได้ให้แนวคิดของการเรียนรู้ทางสังคมไว้ดังนี้
แนวคิดของการเรียนรู้คือ วิธีการเลียนแบบพฤติกรรมของคนซึ่งเรียกว่าเป็นแม่แบบ (Model) แต่บุคคลที่เลียนแบบพฤติกรรมคนอื่นมิได้หมายความว่าจะเลียนแบบทุกพฤติกรรมเสมอไป ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกันอีกมากมายและขึ้นอยู่กับกระบวนการทางปัญญาของผู้เรียนด้วย ดังนั้นองค์ประกอบของการเรียนรู้ประกอบไปด้วย
1. แม่แบบพฤติกรรม (Behavioral Model) แม่แบบพฤติกรรมมีหน้าที่ถ่ายทอดข้อมูลไปยังผู้สังเกต ซึ่งอาจจะเป็นไปลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
1.1 พฤติกรรมแม่แบบทำให้ผู้เลียนแบบเกิดการเลียนแบบและกระทำตาม
29
1.2 พฤติกรรมแม่แบบทำให้ผู้สังเกตไม่ปฏิบัติตาม ทั้งนี้อาจเพราะเห็นแม่แบบถูกลงโทษหรือได้รับผลตอบสนองในทิศทางที่ผู้สังเกตไม่พึงปรารถนา
1.3 พฤติกรรมแม่แบบขัดเกลาทางสังคมช่วยถ่ายทอดวัฒนธรรม ประเพณีโดยภาพรวมให้กับผู้สังเกตในลักษณะที่เรียกว่ากระบวนการกล่อมเกลาทางสังคม (Socialization )
2. ประเภทของแม่แบบอาจแบ่งเป็น
2.1 แม่แบบที่มีชีวิต (Live Model ) เช่น ครู อาจารย์ พ่อแม่ พี่น้อง
2.2 แม่แบบสัญลักษณ์ ( Symbolic Models) เช่น บทบาทของตัวละครในภาพยนต์ โทรทัศน์ วิทยุหรือสื่อมวลชนอื่น ๆ
2.3 แม่แบบที่เป็นคำสอน (Verbaldescription or Instruction) เช่น คำสอนทางศาสนา คำอธิบายของครูเป็นต้น
3. ผลจากพฤติกรรมแม่แบบ (Consequences of the Model Behavior ) ผลการกระทำของแม่แบบจะมีความสำคัญต่อการเรียนรู้ เพราะผลการกระทำที่แม่แบบได้รับอาจอยู่ในรูปของการเสริมแรง (Vicarious Reinforcement) หรือการลงโทษ (Vicarious Punishment) ซึ่งผลทั้งสองแบบจะส่งผลต่อกระบวนการตัดสินของผู้สังเกต
4. กระบวนการทางปัญญาของผู้เรียน (Learner’ Cognitive Process) กระบวนการเรียนรู้จากการเลียนแบบจะเกิดขึ้นด้วย 4 องค์ประกอบสำคัญ คือ
4.1 ความใส่ใจ (Attention) ผู้เรียนจะต้องมีความสนใจต่อบุคคลที่เขามีความประทับใจ บุคคลที่เป็นที่นิยมมีความสามารถ หรือบุคคลที่มีบุคลิกภาพเป็นที่พึงปารถนา สำหรับเด็กเล็ก บุคคลที่เป็นแบบอย่างจะได้แก่บิดามารดา พี่ชาย พี่สาว ครู แต่สำหรับเด็กโตแล้วอาจจะเปลี่ยนไปเป็นเพื่อน ดารา หรือบุคคลที่เขาเชื่อถือศรัทธา
4.2 การจดจำ (Retention) ผู้เรียนจะจดจำสิ่งที่ได้จากการเห็นหรือสังเกตหรือเลียนแบบ โดยผู้เรียนอาจจะจดจำในลักษณะของคำพูดหรือสัญลักษณ์ กระบวนการจำอาจจะพัฒนาโดยกระบวนการทบทวนในใจหรือโดยการฝึกปฏิบัติจริง
4.3 การปฏิบัติตามแม่แบบ ( Production) เมื่อผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ถึงพฤติกรรมแม่แบบแล้วผู้เรียนอาจจะต้องฝึกฝนเพิ่มเติม การได้รับข้อมูลย้อนกลับหรือการแนะนำ ทั้งนี้ผู้เรียน
30
ต้องการสร้างความเชื่อมั่นในตัวเอง (Self efficacy) เพื่อสร้างความมั่นใจว่าจะสามารถแสดงพฤติกรรมได้อย่างดี
4.4 การจูงใจและการเสริมแรง ( Motivation amd Reinforcement ) ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม ได้แยกความแตกต่างระหว่างการได้มาซึ่งการเรียนรู้ ( Acquistion ) และการแสดงออก
( Performance ) ดังนั้นบางครั้งผู้เรียนอาจจะไม่ได้แสดงออก (Performance ) ซึ่งพฤติกรรมใด ๆ ที่เขาได้เรียนรู้มาแล้วก็ได้ ทั้งนี้ปัจจัยที่เกี่ยวกับแรงจูงใจและการเสริมแรงจะเป็นส่วนหนึ่งที่อาจจะมีผลต่อการแสดงออกซึ่งพฤติกรรมนั้น ๆ ได้
สำหรับสังคมไทย แม่แบบที่น่ายึดถือก็คือ ดารา นักร้อง นักแสดงและดาราอื่น ๆ นั่นเอง เพราะสื่อมวลชนมีอิทธิพลในแง่ที่ว่า สามารถสร้างความรู้และทัศนคติต่อผู้บริโภค ซึ่งมีผลต่อการมีพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งของผู้บริโภค นอกจากนั้นสื่อยังมีบทบาทและแบบอย่าง (กาญจนา แก้วเทพ, 2452 ) อันอาจจะสรุปได้ว่า ทำหน้าที่บ่มเพาะบุคคลนั่นเอง ซึ่งอิทธิพลของสื่อมวลชนน่าจะเป็นปัจจัยแวดล้อมภายนอกที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยส่วนบุคคล ซึ่งเป็นสาเหตุปัจจัยหนึ่งของการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนกสมรสด้วยเช่นกัน
จากที่กล่าวมาข้างต้นเห็นได้ว่าปัจจุบันมีพฤติกรรมการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสมากกว่าสมัยก่อน ทั้งนี้ข้อมูล ข่าวสาร สื่อ ได้แสดงถึงพฤติกรรมนี้มากขึ้น ทั้งอิทธิพลของนักแสดงที่ออกมาให้สัมภาษณ์ในการยอมรับเรื่องนี้อย่างชัดเจน เป็นการสร้างแรงจูงใจให้กระทำตามแบบอย่าง ซึ่งเป็นเรื่องที่ยอมรับกันมากขึ้นในสังคม
2.9 แนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสารและอิทธิพลของสื่อมวลชน
ตั้งแต่ดึกดำบรรพ์มาแล้วที่มนุษย์จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับการสื่อสารตั้งแต่เกิดจนตาย ที่เป็นเช่นนี้เพราะมนุษย์ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ตามลำพังโดยไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่น ในสมัยก่อนการติดต่อสื่อสารหรือสื่อความหมายจะใช้สัญญาณต่าง ๆ เช่น เสียงกลอง ควันไฟ การขีดเขียนบนฝาผนัง ในปัจจุบันนี้เทคโนโลยีได้ก้าวไปมากจนกล่าวได้ว่าเป็นสังคมแห่งการสื่อสาร
2.9.1 ความหมายของการสื่อสาร
จอร์จ เอ มิลเลอร์ (Miller อ้างในศุภรัศมิ์ ฐิติกุลเจริญ,2544 :3 ) กล่าวว่า การสื่อสาร หมายถึง
31
การถ่ายทอดข่าวสารจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
2.9.2 วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร
1. เพื่อแจ้งให้ทราบ ได้แก่ การบอกกล่าวหรือชี้แจงข่าวสาร เรื่องราวต่าง ๆ ให้ผู้รับสาร
ได้รับทราบหรือเกิดความเข้าใจ โดยอาจผ่านทางสื่อมวลชน เช่น หนังสือพิมพ์ทำหน้าที่ส่งสาร ผู้รับสารได้แก่ประชาชนที่ได้อ่านหนังสือพิมพ์นั้น
2. เพื่อสอนหรือให้การศึกษา ได้แก่ ผู้ส่งสารต้องการสอนความรู้เรื่องราว เพื่อให้ผู้รับ
สารมีความรู้เพิ่มขึ้นจากเดิม เช่น วารสาร จุลสาร บทความที่ลงตีพิมพ์ต่าง ๆ เพื่อสร้างความพอใจหรือให้ความบันเทิง ได้แก่ การที่ผู้ส่งสารต้องการที่จะให้ผู้รับสารรื่นเริง บันเทิง ไม่ว่าจะอยู่ในรูปคำพูด การเขียน หรือการแสดงท่าทาง เช่น นวนิยาย เพลง ละคร เกมโชว์
3. เพื่อเสนอหรือชักจูงใจ ได้แก่ การที่ผู้ส่งสารได้เสนอแนะสิ่งในสิ่งหนึ่งและมีความ
ต้องการชักจูงใจให้คล้อยตามหรือยอมรับ เช่น โฆษณาสินค้าต่าง ๆ
ลัดดา กิติวิภาต (2543) เสนอว่า สื่อมวลชนเป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนทัศนคติดังนี้ ในการะบวนการของการเปลี่ยนทัศนคติ จะต้องพิจารณาตัวแปรต่อไปนี้
ใคร แหล่งข่าวสาร
พูดอะไร ข่าวสาร
ตัวแปรอิสระ กับใคร ผู้รับสาร
พูดอย่างไร วิธีการส่งสาร
ตัวแปรตาม เกิดผลอะไรขึ้น ผลที่ตามมามี 5 ระดับ คือ
1. ความสนใจ
2. ความเข้าใจ
3. การยอมรับ
4. การจดจำ
5. การกระทำ
32
2.9.3ผลกระทบของสื่อต่อผู้รับสาร
การศึกษาผลกระทบของสื่อต่อผู้รับสารชายหญิงอาจแบ่งออกได้เป็น 3 ยุคใหญ่ ๆ ดังนี้ คือ ยุคแรก เป็นยุคที่เชื่อว่าสื่อมวลชนเป็นสื่อที่มีศักยภาพอันมหาศาลในการสร้างผลกระทบแบบระยะสั้นให้เกิดกับผู้รับสาร ยุคที่สอง ได้แก่ยุคที่เชื่อว่า สื่อมวลชนนั้นมีอิทธิพลในการโน้มน้าวใจชักจูงมากเท่ากับสื่ออื่น ๆ เช่น สื่อบุคคล และ ยุคที่สาม เป็นยุคที่หวนกลับไปเชื่อเรื่องอิทธิพลของสื่อมวลชนอีกครั้งหนึ่ง แต่คราวนี้ผลกระทบที่เกิดจากสื่อมวลชนนั้นมิใช่ผลกระทบระยะสั้นเช่นยุคแรก หากแต่เป็นผลกระทบระยะยาว เช่น อิทธิพลของสื่อมวลชนในการขัดเกลา การสร้างภาพลักษณ์ การเป็นตัวแบบ (role model) เป็นต้น
ส่วนที่น่าสนใจคือผลกระทบระยะยาวจากสื่อมวลชน โดยเริ่มนับตั้งแต่ศตวรรษ 1970 เป็นต้นมา นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชนก็เริ่มเคลื่อนย้ายความสนใจจากผลกระทบระยะสั้นของสื่อมวลชนมาสู่เรื่องผลกระทบระยะยาว เช่นการบ่มเพาะ การเลียนแบบทางจิตใจ ซึ่งชี้ให้เห็นว่าสื่อมวลชนและตัวแบบทางสังคมมีอิทธิพลต่อการยอมรับ เลียนแบบพฤติกรรม
1. ทฤษฏีการอบรมบ่มเพาะจากสื่อ (Cultivation Theory) ในทุกสังคมจะมีสถาบันต่าง ๆ ทำหน้าที่อบรมบ่มเพาะหรือขัดเกลาสมาชิกในสังคมให้เห็นคล้อยตามบรรทัดฐาน กฎระเบียบ รวมทั้งความคาดหวังของสังคม สถาบันสังคมเหล่านั้นได้แก่ ครอบครัว โรงเรียน ศาสนา กลุ่มเพื่อน ฯลฯ
รวมทั้งสื่อมวลชนซึ่งนับวันก็ยิ่งมีอิทธิพลแซงหน้าสถาบันสังคมอื่น ๆ ที่เคยมีมา นักทฤษฎีการอบรมบ่มเพาะจากสื่อจึงกล่าวว่าทุกวันนี้ โทรทัศน์เป็นสื่อที่ทำหน้าที่อบรมบ่มเพาะคนในสังคมอย่างมากและต่อเนื่องยาวนาน และมีอิทธิพลมากกว่าสถาบันอื่น ๆ
ดังนั้นเมื่อเด็ก ๆ เฝ้าดูโทรทัศน์อยู่ทุกวัน วันละหลาย ๆ ชั่วโมง พวกเขาไม่เพียงแต่จะได้ข่าวสาร และได้ความบันเทิงไปเท่านั้น แต่ยังจะได้รับการอบรมสั่งสอนให้มีโลกทัศน์และชีวะทัศน์คล้อยตามสิ่งที่โทรทัศน์ได้เสนอมา นั่นหมายความว่า เด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชายจะตั้งความหวังต่อชีวิตครอบครัวและการงานให้เป็นไปตามที่โทรทัศน์นำเสนอ
2. การศึกษากระบวนการเลียนแบบทางจิตใจ นักวิชาการด้านสื่อมวลชนได้หยิบยืมแนวคิดด้านจิตวิเคราะห์และจิตวิทยาแนวคิดหนึ่งมาใช้คือ แนวคิดเรื่องการเลียนแบบทางจิตใจ (Identification) ตัวอย่างเช่น เวลาดูหนังและนางเอกกำลังตกอยู่ในอันตราย เราก็จะรู้สึกใจสั่นระทึกตามไปด้วยราวกับเหตุการณ์นั้นกำลังเกิดขึ้นกับตัวเราเอง เนื่องจากเรานำเอา “ตัวเอง” เข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับนางเอก นี่คือกระบวนการเลียนแบบทางจิตใจที่เกิดขึ้น
จากอิทธิพลของสื่อดังกล่าว มีผลต่อความรู้สึกนึกคิด การเลียนแบบ จากตัวแบบที่ตนชื่นชอบ ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรม ผู้วิจัยจึงนำมาใช้เป็นกรอบในการศึกษา
33
2.10 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
สำหรับงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสนั้น ในประเทศไทยมีผู้ทำการวิจัยน้อยมาก ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการยอมรับการมีเพศสัมพันธ์และทัศนคติเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ ในที่นี้ผู้วิจัยได้นำผลงานที่เกี่ยวข้องและใกล้เคียงมากล่าวดังนี้
โคล (Cole ,1977อ้างในโสพิน หมูแก้ว, 2544 : 8) ได้ทำการศึกษาปรากฏการณ์การใช้ชีวิตร่วมกันฉันสามีภรรยาของชายหญิงที่ยังไม่ได้แต่งงานกันในสังคมอเมริกันที่มีลักษณะการอยู่ร่วมกันก่อนแต่งงาน โดยให้นิยามเชิงปฏิบัติการที่แตกต่างกันออกไป เช่น การอยู่ร่วมกันกับเพศตรงข้ามโดยที่ยังไม่ได้แต่งงานกันหรือใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน 4 คืนหรือมากกว่านั้นต่อสัปดาห์หรือมากกว่า 3 เดือนขึ้นไป หรือการที่คนสอบคนที่เป็นเพศตรงข้ามกันมาอยู่ด้วยกันโดยที่ไม่มีการรับรองความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการเหมือนแต่งงาน
Jackson 1985 (อ้างในโสพิน หมูแก้ว, 2544 : 14) ศึกษาการอยู่ร่วมกันก่อนแต่งงานในสังคมอเมริกัน จากการสัมภาษณ์ชาย 14 คน และหญิง 10 คน ที่อยู่ร่วมกันอย่างน้อย 4 เดือน เกือบทั้งหมดเป็นคนไม่มีศาสนา ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ของพ่อแม่อยู่ในระดับชนชั้นกลาง
โสพิน หมูแก้ว (2544: บทคัดย่อ) ได้ศึกษาเรื่องอยู่ก่อนแต่ง: การอยู่ร่วมกันโดยไม่แต่งงานของนักศึกษามหาวิทยาลัย พบว่า การให้ความหมายอยู่ร่วมกันระหว่างนักศึกษาชายและนักศึกษาหญิงโดยที่นักศึกษาชายให้ความหมาย 3 ลักษณะคือ “Sex” “ประหยัด สะดวก สบาย” และ “รักจริง” ส่วนนักศึกษาหญิงให้ความหมายแบบเดียวกันคือ “รักจริง (แต่ไม่หวังแต่ง)” ซึ่งความหมายเหล่านี้ ไม่ค่อยมีนัยยะที่เชื่อมโยงกับเรื่องการแต่งงานและการมีครอบครัวโดยไม่ต้องแต่งงานเหมือนในสังคมยุโรปบางสังคม จึงอาจถือได้ว่าเป็นวิถีชีวิตทางเลือกหนึ่งของนักศึกษา และกระบวนการมาใช้ชีวิตร่วมกันแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนคือ ขั้นเป็นแฟนแต่ไม่ได้อยู่ร่วมกัน การมีเพศสัมพันธ์ระหว่างกันเป็นเงื่อนไขสำคัญนำไปสู่ขั้นการอยู่ร่วมกันเป็นครั้งคราว โดยที่ต่างฝ่ายต่างมีห้องพักของตนเองแต่จะมาค้างด้วยกันในบางครั้ง เงื่อนไขที่ทำให้ย้ายไปอยู่ร่วมกันอย่างถาวรในนักศึกษาชายได้แก่เงื่อนไขด้านอารมณ์ คือต้องการมีคนเข้าใจและเป็นความต้องการของผู้หญิง ส่วนเงื่อนไขทางด้านเศรษฐกิจคือ ประหยัดค่าใช้จ่าย ขณะที่เงื่อนไขทางอารมณ์ของผู้หญิง คือความต้องการมีความสัมพันธ์กับคนรักอย่างลึกซึ้งมากยิ่งขึ้นและต้องการความเห็นใจจากแฟนและมีเงื่อนไขกดดันจากสังคม ขั้นการอยู่ร่วมกันอย่างถาวร เป็นการที่พวกเขาจะสามารถดำรง “วิถีชีวิต” แบบนี้ต่อไปได้ต้องมีวิธีการจัดการหรืออธิบายความสมเหตุสมผลในการกระทำต่อผู้ชมทางสังคมที่มีปฏิกิริยาในทางที่เป็นลบโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อบุคคลนัยสำคัญ
34
งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับตัวแปร
นิวคอมบ์ (Newcoombอ้างใน ลัดดา กิติวิภาต, 2543 : 14) ทำการศึกษาทัศนคติของนักศึกษาแห่งวิทยาลัยเบนนิงตัน ที่มีต่อความคิดทางการเมืองระหว่างเสรีนิยมกับอนุรักษ์นิยม ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มอ้างอิงมีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อทัศนคติทางการเมืองของนักศึกษา โดยที่นักศึกษาเหล่านี้มาจากครอบครัวชั้นสูงซึ่งมีความคิดแบบอนุรักษ์นิยม ในระยะแรกที่นิวคอมบ์ทำการศึกษาเขาให้นักศึกษาเลือกระหว่างแฟรงกิน ดี รูสเวลท์ พรรคเสรีนิยม กับอัลเฟรด เอ็ม แลนดอน พรรคอนุรักษ์นิยม พบว่านักศึกษาประมาณร้อยละ 60 ที่เดียวที่เลือกแลนดอน ซึ่งแสดงให้เห็นว่านักศึกษารับการถ่ายทอดทัศนคติแบบอนุรักษ์นิยมมาจากครอบครัวของตน แต่ต่อมาภายหลังที่นักศึกษาอยู่ในวิทยาลัยระยะหนึ่งแล้ว นิวคอมบ์ทำการศึกษาทัศนคติทางการเมืองพบว่าจำนวนนักศึกษาที่เลือกแลนดอนลดลง จึงชี้ให้เห็นว่า กลุ่มเพื่อนมีอิทธิพลต่อทัศนคติของบุคคลอย่างมาก
การศึกษาของ คลอเคนเบริ์กและโซบี้ (Robert W.Reasoner, 2004)พบว่าวัยรุ่นจำนวน 4 ใน 5 คนที่รู้สึกว่าตนเองไม่มีคุณค่า ขาดความมั่นใจ รับรู้คุณค่าของตนเองต่ำ จะเป็นคนที่มีประพฤติขาดความเอาใจใส่ มีเพศสัมพันธ์โดยไม่มีการคุมกำเนิด
จากการศึกษาของเพ็ญศรี จุลกาญจน์ (อ้างในจิราลักษณ์ จงสถิตมั่นและคณะ, 2543: 49) ศึกษาเรื่องการถ่ายทอดและผลิตซ้ำอุดมการณ์เกี่ยวกับบทบาทและสถานภาพทางเพศของหญิงชายในหมู่บ้านของจังหวัดเชียงใหม่ พบว่าครอบครัวเป็นสถาบันแรกที่สอนความแตกต่างระหว่างชายหญิง โดยบุตรสาวและบุตรชายจะได้รับการขัดเกลาทางสังคมแบบทวิมาตรฐาน เช่น บุตรสาวจะถูกขัดเกลาให้มีคุณลักษณะความเป็นหญิง รู้จักละอายและรักษาพรหมจรรย์โดยผ่านพิธีกรรมบูชาผีปู่ย่า ส่วนบุตรชายจะได้รับเสรีภาพมากกว่าและมีโอกาสเรียนรู้เรื่องเพศมากกว่า
จากการศึกษาของพรทิพย์ วงศ์เพชรสง่า (2528 ) ในเรื่องการยินยอมให้มีเพศสัมพันธ์ก่อนการสมรสพบว่า เพื่อนมีบทบาทในการถ่ายทอดทัศนคติและมีอิทธิพลในการยินยอมให้มีเพศสัมพันธ์ก่อนการสมรสมากที่สุด
พะเยาว์ ละกะเต็บ (2538) พบว่าเพื่อนสนิทม ีอิทธิพลในทิศทางบวกในการยอมรับการมี
เพศสัมพันธ์ก่อนการสมรสของนักศึกษา
35
โสพิน หมูแก้ว (2544) ศึกษาเรื่องการอยู่ร่วมกันโดยไม่แต่งงานของนักศึกษามหาวิทยาลัย พบว่าบุคคลที่เป็นนัยสำคัญเป็นกลุ่มเพื่อน โดยนักศึกษาทั้งชายและหญิงต่างรับรู้ถึง
ปฏิกริยาของกลุ่มเพื่อนไปในทางที่เป็นบวก คือยอมรับว่าการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันกับคนรักของพวกเขาเป็นเรื่องปกติธรรมดา และความสัมพันธ์ในกลุ่มเพื่อนก็จะเป็นลักษณะของความเป็นพวก เดียวกัน คือ มีความเข้าใจในพวกหัวอกเดียวกัน โดยกลุ่มเพื่อนสนิทของนักศึกษาชายมักเป็นการระบายความอึดอัดในความหึงหวงของแฟน ส่วนกลุ่มเพื่อนสนิทของนักศึกษาหญิงมักเป็นการปลอบใจกันเมื่อเกิดความรู้สึกไม่แน่ใจในแฟน รวมถึงการปรึกษาถึงวิธีการคุมกำเนิด
พรทิพย์ วงศ์เพชรสง่า (2528) ศึกษาการยินยอมให้มีเพศสัมพันธ์ก่อนการสมรสของนักศึกษามหาวิทยาลัย โดยศึกษาตัวแปรสถานภาพสมรสของบิดามารดา พบว่านักศึกษาหญิงที่มีบิดามารดาหย่าร้างกันยินยอมให้มีเพศสัมพันธ์ก่อนการสมรสมากว่านักศึกษาหญิงที่มีบิดามารดาอยู่ด้วยกัน
ชุมมาศ กัลยาณมิตร ( 2530 ) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อทัศนคติเกี่ยวกับการประพฤติตนไม่เหมาะสมกับสภาพและวัยของนักเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่าสถานภาพสมรสบิดามารดาที่แยกกันอยู่เป็นสิ่งสำคัญต่อการประพฤติตนไม่เหมาะสมกับสภาพและวัยอย่างยิ่ง
3 6
บทที่ 3
วิธีดำเนินการวิจัย
ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Reseach) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการยอมรับในการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิงมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โดยได้ศึกษารวบรวมข้อมูลจากเอกสาร หนังสือ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาแบบสอบถามสำหรับเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และนำมาทำการวิเคราะห์ด้วยสถิติที่เหมาะสม ทดสอบสมมติฐาน สรุปผล และเสนอข้อเสนอแนะ โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษา
ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัย เป็นประชากร นักศึกษาหญิงที่กำลังศึกษาในระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 ภาคปกติในปีการศึกษา 2547 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง
ผู้วิจัยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีของ Yamane (อ้างในบุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์, 2547 : 108 ) ซึ่งใช้ในการคำนวณกับกลุ่มประชากรที่แน่นอนซึ่งมีสมาชิกประชากรมาก ๆ คือ
สูตร n = N
1 + Nd2
n แทนขนาดของกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาหญิง
d แทนความคลาดเคลื่อนที่ร้อยละ 5
N แทนจำนวนนักศึกษาหญิงที่ศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 4 ทุกสาขาวิชา
3 7
zn = 907
1 + 907(0.05)2
= 277.5
ขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่คำนวณได้คือ 277 คน
การเลือกกลุ่มตัวอย่าง
ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยเลือกเฉพาะนักศึกษาชั้นปีที่ 4 และสุ่มเลือกตัวอย่างตามสัดส่วนโดยคำนวณจำนวนนักศึกษาแต่ละคณะตามสัดส่วน % จากนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ทั้งสิ้น 907 คน จาก 4 คณะ ดังมีรายละเอียดปรากฏตามตารางที่ 1 นี้
ตารางที่ 1 จำนวนกลุ่มตัวอย่างที่นำมาศึกษา
คณะ
จำนวนนักศึกษาหญิง
(คน)
สัดส่วน %
กลุ่มตัวอย่าง
จำนวนกลุ่มตัวอย่าง
ที่นำมาศึกษา (คน)
ครุศาสตร์
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มนุษยศาสตร์และสังคมวิทยา
วิทยาการจัดการ
203
230
95
379
22.4%
25.3%
10.5%
41.8%
62
70
29
116
รวม
907
100%
277
3 8
แผนภาพที่ 3 ขั้นตอนการเลือกกลุ่มตัวอย่าง
คณะที่2
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
N2= 230 คน
คณะที่ 3
มนุษยศาสตร์และสังคมวิทยา
N3 = 95 คน
สาขาที่ 4
วิทยาการจัดการ
N4= 379 คน
n1= 62คน
n2= 70 คน
n3= 29 คน
n4= 71 คน
คณะที่1
ครุศาสตร์
N1 = 203 คน
นักศึกษาหญิงชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
N= จำนวน 907 คน
กลุ่มตัวอย่าง
n = 277 คน
2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา โดยนำความรู้ต่าง ๆ ที่ได้จากการศึกษา ค้นคว้าจากเอกสารต่าง ๆ รวมทั้งคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญในการวิจัย อีกทั้งประสบการณ์ของผู้วิจัยเอง ได้สร้างแบบสอบถามขึ้น ยกเว้นคำถามเกี่ยวกับการรับรู้คุณค่าของตนเอง เป็นผลงานที่ได้มีผู้ศึกษากันมาก่อนคือ โรเซนเบริ์ก (Rosenberg, 1975อ้างใน พรรณี ทรัพย์มากอุดม, 2532 : 21) ซึ่งแบบสอบถามนี้มีทั้งลักษณะปลายปิดโดยได้กำหนดคำตอบไว้หลายคำตอบ เพื่อให้ผู้ตอบแบบสอบถามได้เลือกตอบตามต้องการ และแบบสอบถามปลายเปิดที่เปิดโอกาสให้ผู้ตอบแบบได้แสดงความคิดเห็นอย่างเป็นอิสระ ซึ่งเนื้อหาของแบบสอบถามนั้นประกอบด้วยแบบสอบถามที่แบ่งเป็น 4 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 เป็นข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล เป็นคำถามปลายปิดให้เลือกตอบและคำถามปลายเปิด ได้แก่ อายุ คณะ ความอิสระในการปกครองตนเอง และ สถานภาพสมรสของบิดามารดา
3 9
ส่วนที่ 2 แบ่งเป็น 6 ตอนคือ
ตอนที่ 1 เป็นคำถามเกี่ยวกับการรับรู้เกี่ยวกับความรักและการมีเพศสัมพันธ์ของชายและหญิง ลักษณะเป็นคำถามปลายปิด เป็นคำถามที่จำแนกระดับความคิดเห็นออกเป็น 5 ระดับ
จำนวน 9 ข้อ
ตอนที่ 2 เป็นคำถามเกี่ยวกับการรับรู้ความหมายของการสมรส จำแนกระดับความคิดเห็นออกเป็น 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ
ตอนที่ 3 เป็นคำถามเกี่ยวกับการรับรู้คุณค่าของตนเอง จำแนกระดับความคิดเห็น
ออกเป็น 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ
ตอนที่ 4 เป็นคำถามเกี่ยวกับการได้รับการปลูกฝังเรื่องการมีคู่ครองและการรักนวลสงวนตัว จำแนกระดับความคิดเห็นออกเป็น 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ
ตอนที่ 5 เป็นคำถามเกี่ยวกับทัศนคติของชายคนรักและเพื่อนเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ จำแนกระดับความคิดเห็นออกเป็น 5 ระดับ จำนวน 7 ข้อ
ตอนที่ 6 เป็นคำถามเกี่ยวกับการรับรู้ตัวแบบในสังคมจากสื่อมวลชน จำแนกระดับความคิดเห็นออกเป็น 5 ระดับ จำนวน 7 ข้อ
ส่วนที่ 3 เป็นคำถามเกี่ยวกับการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรส เป็นคำถามที่จำแนกระดับความคิดเห็นออกเป็น 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ
เกณฑ์การให้คะแนนคำตอบในส่วนที่ 2 ตอนที่ 1 ถึง 6และส่วนที่ 3 มีผลในเชิงบวกดังนี้
เห็นด้วยอย่างยิ่ง = 5 คะแนน
เห็นด้วย = 4 คะแนน
ไม่แน่ใจ = 3 คะแนน
ไม่เห็นด้วย = 2 คะแนน
ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง = 1 คะแนน
และเกณฑ์การให้คะแนนคำตอบ มีผลในเชิงลบดังนี้
เห็นด้วยอย่างยิ่ง = 1 คะแนน
เห็นด้วย = 2 คะแนน
ไม่แน่ใจ = 3 คะแนน
ไม่เห็นด้วย = 4 คะแนน
4 0
ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง = 5 คะแนน
เกณฑ์การพิจารณาขอบเขตของคะแนนเฉลี่ยเพื่อใช้ในการแปลผลข้อมูลตามความหมายของข้อมูล กำหนดไว้เป็น 3 ระดับ มีเกณฑ์การพิจารณาจากพิสัย (กัลยา วานิชย์บัญชา 2541: 28) ดังนี้
พิสัย = (คะแนนสูงสุด - คะแนนต่ำสุด) / 3
= (5 - 1 ) / 3
= 1.33
จากเกณฑ์ดังกล่าวนำมากำหนดระดับการยอมรับจากคะแนนเฉลี่ย ได้ดังนี้
3.67 - 5.00
หมายถึง
อยู่ในระดับสูง
2.34 - 3.66
หมายถึง
อยู่ในระดับปานกลาง
1.00 - 2.33
หมายถึง
อยู่ในระดับต่ำ
ส่วนที่ 4 เป็นคำถามปลายเปิดที่ให้ผู้ตอบแบบสอบถามเขียนข้อเสนอแนะ
3. การพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
การสร้างเครื่องมือมีขั้นตอนในการสร้างแบบสอบถามซึ่งเป็นเครื่องมือในการศึกษาวิจัย ดังนี้
1. ศึกษาทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ทำการศึกษาวิจัย เพื่อทำความเข้าใจในเรื่องที่จะศึกษา
2. ศึกษาทบทวนระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์และเทคนิคในการออกแบบสอบถาม
3. นำแนวความคิดที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรม มาใช้ในการสร้างแบบสอบถาม และกำหนดคำถามให้มีลักษณะครอบคลุมเนื้อหาในเรื่องที่ต้องการศึกษา
4. นำแบบสอบถามที่ได้ไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน และกรรมการวิทยานิพนธ์ ตรวจสอบและเสนอแนะ เพื่อให้เกิดความเที่ยงตรงตามเนื้อหา (Content Validity)
4 1
5. นำแบบสอบถามที่ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบแล้ว มาแก้ไขปรับปรุงข้อบกพร่อง จากนั้นจึงแบบสอบถามนั้นไปเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อทดสอบแบบสอบถาม โดยประชากรที่ใช้มีลักษณะใกล้เคียงกับประชากรที่ต้องการศึกษา
6. นำแบบสอบถามที่ได้รับการทดสอบจำนวน 30 ชุด มาหาความเชื่อมั่น (Reliability) โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่า (α Coefficient) ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.8310
7. เมื่อแก้ไขปรับปรุงข้อบกพร่องของแบบสอบถามเรียบร้อยแล้ว จึงนำแบบสอบถามไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากรที่ต้องการศึกษาต่อไป
4. การเก็บรวบรวมข้อมูล
ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้ดำเนินการโดยทำหนังสือขอความร่วมมือจากบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ถึงผู้อำนวยการฝ่ายกิจกรรมนักศึกษามหาวิทยาลัยที่ทำการศึกษาเพื่อขอความร่วมมือในการตอบแบบสอบถามจากนักศึกษาหญิงของมหาวิทยาลัย ในการตอบคำถามในแบบสอบถามด้วยตนเอง ตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ ระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลประมาณ 1 เดือน
5. การวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัยได้นำแบบสอบถามมาลงรหัสเพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ (Computer) และนำข้อมูลที่ลงรหัสเรียบร้อยแล้วไปบันทึกไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ จากนั้นได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows โดยใช้ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 99 เป็นเกณฑ์ในการตอบรับหรือปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย
6. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้
1. สถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน กับตัวแปรอิสระทุกตัว
2. ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน เพื่อหาค่าความสัมพันธ์ของตัวแปร
4 2
การกำหนดเกณฑ์ในการแปลความหมายค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน โดยกำหนดเป็น 5 ระดับโดยพิสัย [ (ค่าสูงสุด – ค่าต่ำสุด ) / จำนวนระดับ, ในที่นี้กำหนดให้ค่าสูงสุดของ r = 1 และค่าต่ำสุด = 0 ] มีค่าเท่ากับ 0.20 (กัลยา วานิชย์บัญชา 2541: 28) มีรายละเอียดดังนี้
ค่า r ความหมาย
0.8 ขึ้นไป มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง
0.61- 0.80 มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับค่อนข้างสูง
0.41- 0.60 มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง
0.21- 0.40 มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ
0.01- 0.20 มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับต่ำ
0.00 ไม่มีความสัมพันธ์
วิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient) นำค่าที่ได้มาทำการแปลผล ดังนี้
1. ค่า r เป็นบวกและมีค่ามากกว่า 1 ขึ้นไป แสดงว่า ตัวแปรทั้งสองตัวมีความสัมพันธ์กัน
เชิงบวก แสดงว่า ตัวแปรตัวหนึ่งมีค่าสูงมากขึ้น ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์นั้นก็จะสูงมากขึ้นเช่นเดียวกัน
2. ค่า r มีค่าน้อยกว่า 0 หรือติดลบ แสดงว่า ตัวแปรทั้งสองตัวมีความสัมพันธ์กันเชิงลบ แสดงว่า ตัวแปรตัวหนึ่งมีค่าสูงขึ้นมากเท่าใด ตัวแปรอีกตัวหนึ่งก็จะต่ำลงมากเท่านั้น
7. การทดสอบสมมติฐาน
สมมติฐานที่ 1 การรับรู้เกี่ยวกับความรักและการมีเพศสัมพันธ์มีความสัมพันธ์ ต่อการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิง
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
สมมติฐานที่ 2 ความรับรู้ความหมายของการสมรสมีความสัมพันธ์ ต่อการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิง
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
4 3
สมมติฐานที่ 3 ความรับรู้คุณค่าของตนเองมีความสัมพันธ์ ต่อการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิง ในระดับอุดมศึกษา
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
สมมติฐานที่ 4 การได้รับการปลูกฝังเรื่องการมีคู่ครองและการรักนวลสงวนตัวมีความสัมพันธ์ ต่อการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิง
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
สมมติฐานที่ 5 ทัศนคติของชายคนรักและเพื่อนเรื่องการมีเพศสัมพันธ์มีความสัมพันธ์ต่อการยอมรับในการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิง
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
สมมติฐานที่ 6 การรับรู้ตัวแบบในสังคมจากสื่อมวลชน มีความสัมพันธ์ต่อการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิง
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
44
บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามจำนวน 277 ชุด เป็นการวิจัยเชิงสำรวจที่ทำการศึกษาา ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิงมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เพื่อศึกษาข้อมูลส่วนบุคคลของนักศึกษาหญิงมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ระดับของตัวแปรในเรื่องและระดับการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิงมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรส ดังจะนำเสนอผลการวิจัยตามลำดับดังนี้
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป
ตารางที่ 2 แสดงข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
ข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล
จำนวน
ร้อยละ
1. อายุ
21ปี
22ปี
23ปี
23ปีขึ้นไป
188
77
10
2
67.90
27.80
3.60
0.70
2.คณะ
ครุศาสตร์
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
วิทยาการจัดการ
62
70
29
116
22.40
25.30
10.48
41.78
3. สถานภาพสมรสของบิดามารดา
อยู่ร่วมกัน
หย่าร้าง/แยกกัน
เสียชีวิต
213
46
18
76.90
16.60
6.50
ข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล
จำนวน
ร้อยละ
4. พักอาศัยอยู่กับ
45
บิดามารดา
ญาติ
ห้องพัก
อื่นๆ
172
22
75
8
62.1
7.90
27.1
2.9
5. ปฏิบัติได้โดยไม่ต้องแจ้งผู้ปกครองรับทราบ
การออกจากที่พักไปสถานที่ต่างๆ
การเลือกคบเพื่อน
การมีคนรัก
การใช้จ่าย
92
92
57
36
33.20
33.20
20.60
13.00
รวม
277
100.00
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามจากตารางที่ 2 พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 277 คน มีอายุ 21 ปี จำนวน 188 คน คิดเป็นร้อยละ 67.90 อายุ 22 ปี จำนวน 77 คน คิดเป็นร้อยละ 27.80 อายุ 23 ปี จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 3.60 อายุ 23 ปีขึ้นไป จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 0.70
คณะวิชาที่ศึกษา พบว่า ศึกษาอยู่ในคณะครุศาสตร์ จำนวน 62 คน คิดเป็นร้อยละ 22.40 สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 70 คน คิดเป็นร้อยละ 25.30 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จำนวน 29 คน คิดเป็นร้อยละ 10.47 และคณะวิทยาการจัดการ จำนวน 116 คน คิดเป็นร้อยละ41.78
สถานภาพสมรสของบิดามารดา พบว่า อยู่ร่วมกัน จำนวน 213 คน คิดเป็นร้อยละ 76.90
หย่าร้าง/แยกกัน จำนวน 46 คน คิดเป็นร้อยละ 16.60 เสียชีวิต จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 6.50
ที่พักอาศัย พบว่า อาศัยอยู่กับ บิดามารดา จำนวน 172 คน คิดเป็นร้อยละ 62.10 ญาติจำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 7.90 ห้องพัก จำนวน 75 คน คิดเป็นร้อยละ 27.10 อื่นๆ จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 2.90
การปฏิบัติได้โดยไม่ต้องแจ้งผู้ปกครองรับทราบ พบว่า การออกจากที่พักไปสถานที่ต่างๆจำนวน 92 คน คิดเป็นร้อยละ 33.20 การเลือกคบเพื่อน จำนวน 92 คน คิดเป็นร้อยละ 33.20 การมีคนรัก จำนวน 57 คน คิดเป็นร้อยละ 20.60 และ การใช้จ่าย จำนวน 36 คน คิดเป็นร้อยละ 13.00
46
2. ผลการหาค่าระดับของตัวแปร
ตารางที่ 3 แสดงค่าระดับตัวแปรปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรส
ตัวแปร
N
⎯X
S.D.
ระดับ
1.การรับรู้เกี่ยวกับความรักและการมีเพศสัมพันธ์
277
3.78
0.50
สูง
2.การเข้าใจในความหมายของการสมรส
277
3.63
0.42
ปานกลาง
3.การรับรู้คุณค่าของตนเอง
277
3.35
0.33
ปานกลาง
4.การปลูกฝังเรื่องการมีคู่ครองและการรักนวลสงวนตัว
277
3.42
0.52
ปานกลาง
5.ทัศนคติของชายคนรักและเพื่อนเรื่องการมีเพศสัมพันธ์
277
2.73
0.50
ปานกลาง
6.การรับรู้ตัวแบบในสังคมจากสื่อมวลชน
277
3.37
0.47
ปานกลาง
ผลการวิเคราะห์ตารางที่ 3 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิงมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา พบว่า
ปัจจัยความรับรู้เกี่ยวกับความรักและการมีเพศสัมพันธ์ของชายและหญิง มีค่าอยู่ในระดับสูง⎯X = 3.50, S.D.= 0.51) ความคิดเห็นที่มีค่าระดับสูงเรียงตามลำดับได้แก่ การมีเพศสัมพันธ์ก่อนการสมรสเป็นการเสี่ยงต่อการติดโรค เช่น โรคเอดส์ กามโรค, การมีเพศสัมพันธ์กันก่อนการสมรสเป็นการแสดงความรักต่อกันระหว่างชายหญิง และการที่ผู้หญิงจะมีเพศสัมพันธ์กับผู้ชายที่ชอบพอเป็นเรื่องไม่สมควร
ปัจจัยการรับรู้ความหมายของการสมรส มีค่าอยู่ในระดับปานกลาง (⎯X = 3.63, S.D.= 0.42) ความคิดเห็นที่มีค่าระดับสูงเรียงตามลำดับได้แก่ การสมรสเป็นเรื่องของความสัมพันธ์ที่ถูกต้องเพื่อให้สังคมรับรู้, การสมรสที่สมบูรณ์ต้องมีการจดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย และการสมรสโดยผ่านการจดทะเบียนเป็นสิ่งที่ควรกระทำ และไม่เห็นด้วยกับข้อคำถามที่ว่า การสมรสเป็นเรื่องไม่สำคัญในปัจจุบัน
ปัจจัยการรับรู้คุณค่าของตนเอง มีค่าอยู่ในระดับปานกลาง (⎯X = 3.35, S.D.= 0.33) ความคิดเห็นที่มีค่าระดับสูงเรียงตามลำดับ ได้แก่ นักศึกษามีทัศนคติที่ดีต่อตนเอง, โดยรวมๆ แล้ว
47
นักศึกษาพอใจในตนเอง และหวังว่าจะสร้างความนับถือตนเองได้มากกว่าทุกวันนี้ และไม่เห็นด้วยกับข้อคำถามที่ว่า ไม่อย่างไรก็ตามฉันรู้สึกว่าตัวเองเป็นคนล้มเหลว แสดงให้เห็นว่า นักศึกษาพอใจในตนเองและคิดว่าจะสามารถสร้างความเชื่อมั่นในตนเองได้มากกว่านี้
ปัจจัยการได้รับการปลูกฝังเรื่องการมีคู่ครองและการรักนวลสงวนตัว มีค่าอยู่ในระดับปานกลาง (⎯X = 3.42, S.D.= 0.52) ความคิดเห็นที่มีค่าระดับสูงเรียงตามลำดับได้แก่ ผู้หญิงที่ดีจะต้องรักนวลสงวนตัวไม่แสดงปฏิกริยาโอบกอดหรือใกล้ชิดกับคู่รักในที่สาธารณะ, หากจะมีคู่รักต้องให้พ่อแม่รับรู้และอยู่ในสายตา และคุณค่าของผู้หญิงที่สำคัญ คือการรักษาพรหมจรรย์ไว้จนวันแต่งงาน และข้อคำถามที่นักศึกษาส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยคือ การรักษาพรหมจรรย์เป็นเรื่องไม่สำคัญในปัจจุบัน
ปัจจัยทัศนคติของชายคนรักและเพื่อนเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ มีค่าอยู่ในระดับปานกลาง (⎯X = 2.73, S.D.= 0.50) ความคิดเห็นที่มีค่าระดับสูงเรียงตามลำดับได้แก่ แม้นคนรักของท่านเคยบอกว่าการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างคู่รักเป็นเรื่องธรรมดาแต่ท่านไม่เห็นด้วย, เพื่อนมักให้คำแนะนำที่ดีเกี่ยวกับเรื่องการมีเพศสัมพันธ์และเป็นเรื่องที่ยอมรับได้หากเพื่อนของท่านอยู่กับคนรักก่อนการสมรส และข้อคำถามที่มีค่าระดับต่ำได้แก่ ถ้าคนรักบอกกับท่านว่าการมีเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องปกติและสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ท่านจะไม่คัดค้านที่จะมีเพศสัมพันธ์ด้วย, ท่านจะไม่เลือกคบเพื่อนที่ปฏิบัติตัวไม่เหมาะสม เช่น การมีเพศสัมพันธ์ขณะศึกษาและเพื่อนของท่านจะรังเกียจท่านถ้าทราบว่าท่านเคยมีเพศสัมพันธ์ขณะกำลังศึกษา
ปัจจัยการรับรู้ตัวแบบในสังคมจากสื่อมวลชน มีค่าอยู่ในระดับปานกลาง (⎯X = 3.37, S.D.= 0.47) ความคิดเห็นที่มีค่าระดับสูงเรียงตามลำดับได้แก่ ปรากฏการณ์การอยู่ร่วมกันก่อนการสมรสเป็นเรื่องปกติของดารา นักร้อง นักแสดง, ดารา นักแสดง ควรเป็นแบบอย่างที่ดี เพราะเป็นผู้มีส่วนสำคัญให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบ และสื่อที่ดารานักแสดงเป็นตัวแบบทำให้เกิดการเลียนแบบพฤติกรรม และข้อคำถามที่มีค่าในระดับต่ำได้แก่ หากท่านทราบว่าดารา นักแสดง นักร้องที่ท่านชื่นชอบมีคู่รักและอยู่ร่วมกันก่อนการสมรสท่านจะไม่ชอบนักแสดงคนนั้นทันที
48
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรส (ตอนที่ 1)
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรส (ตอนที่ 2)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น