ศึกษาและโหลดฟรีเป็นตัวอย่างเกี่ยวกับงานวิจัย all free download research
วันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย (ตอนที่ 1)
ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชายในมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
นายอาทิตย์ รัตนาสมจิตร
วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
ปีการศึกษา 2547
ISBN : 974-373-405-8
ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
FACTORS AFFECTING THE DECISION TO HAVE SEX WITH LOVER OF THE MALE STUDENTS OF
BANSOMDEJCHAOPRAYA RAJABHAT UNIVERSITY
Mr. Arthit Rattanasomjit
A Thesis Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements
for the Master of Arts (Social Sciences for Development)
at Bansomdejchaopraya Rajabhat University
Academic Year 2004
ISBN : 974-373-405-8
วิทยานิพนธ์ ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของ นักศึกษาชายใน
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
โดย นายอาทิตย์ รัตนาสมจิตร
สาขาวิชา สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
ประธานกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ รองศาสตราจารย์ ดร.นงลักษณ์ เทพสวัสดิ์
กรรมการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จันทร์วิภา ดิลกสัมพันธ์
กรรมการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บุปผา แช่มประเสริฐ
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา อนุมัติให้วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของ
การศึกษาตามหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
……………………………………………… คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
(ดร.สรายุทธ์ เศรษฐขจร)
คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์
……………………….………………….….. ประธานกรรมการ
(ศาสตราจารย์ ดร.สายหยุด จำปาทอง)
………………………………………………. กรรมการ
(รองศาสตราจารย์ ดร.นงลักษณ์ เทพสวัสดิ์)
………………………………………………. กรรมการ
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จันทร์วิภา ดิลกสัมพันธ์)
………………………………………...…….. กรรมการ
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บุปผา แช่มประเสริฐ)
………………………………………...…….. กรรมการ
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุพิศวง ธรรมพันทา)
……………………………………………….. กรรมการและเลขานุการ
(นางสาว อาภา วรรณฉวี)
ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ง
อาทิตย์ รัตนาสมจิตร (2547). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของ
นักศึกษาชายในมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา คณะกรรมการควบคุม: รองศาสตราจารย์
ดร. นงลักษณ์ เทพสวัสดิ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จันทร์วิภา ดิลกสัมพันธ์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บุปผา แช่มประเสริฐ.
การศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชายในมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของนักศึกษาชาย 2) เพื่อศึกษาปัจจัยต่างๆ ที่สัมพันธ์ต่อการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย
การศึกษาครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ โดยประชากรที่นำมาศึกษาเป็นนักศึกษาชายในมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 280 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ใช้ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01
ผลการศึกษาพบว่า
1.ค่าระดับของตัวแปรการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรัก ทัศนคติต่อการมีเพศสัมพันธ์ การเปิดโอกาสของหญิงคนรัก การได้รับการปลูกฝังเรื่องความรับผิดชอบต่อการมีเพศสัมพันธ์จากครอบครัว ทัศนคติของกลุ่มเพื่อนต่อการมีเพศสัมพันธ์ การรับรู้ถึงการมีเพศสัมพันธ์จากสื่อสารมวลชน การรับรู้ต่อความเสี่ยงที่จะติดเชื้อเอดส์มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง และการรับรู้ความเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงบริการมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง
2.ทัศนคติต่อการมีเพศสัมพันธ์มีความสัมพันธ์ทางลบในระดับค่อนข้างต่ำต่อการตัดสินใจมีเพศ สัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย (r = -0.392) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
3.การรับรู้ความเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงบริการมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำ ต่อการตัดสินใจมีเพศ สัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย (r = -0.070 ) อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
4.การเปิดโอกาสของหญิงคนรักมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับค่อนข้างต่ำต่อการตัดสินใจมีเพศ สัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย (r = 0.365) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
5.การได้รับการปลูกฝังเรื่องความรับผิดชอบต่อการมีเพศสัมพันธ์จากครอบครัวมีความ สัมพันธ์ทางลบในระดับระดับค่อนข้างต่ำต่อการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย(r = -0.357 ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
จ
6.ทัศนคติของกลุ่มเพื่อนต่อการมีเพศสัมพันธ์มีความสัมพันธ์ทางลบในระดับระดับค่อนข้างต่ำ
(r = -0.247) ต่อการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
7.การรับรู้ถึงการมีเพศสัมพันธ์จากสื่อสารมวลชนมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำต่อการตัดสินใจมีเพศ สัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย (r = 0.149 ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
8.การรับรู้ต่อความเสี่ยงที่จะติดเชื้อเอดส์ มีความสัมพันธ์ทางลบในระดับปานกลางต่อการตัดสินใจมีเพศ สัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย (r = - 0.466 ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
ฉ
Arthit Rattanasomjit (2004). Factors affecting the decision to have sex with lover of the
male students of Bansomdejchaopraya Rajabhat University. Graduate school,
Bansomdejchaopraya Rajabhat University. Advisor . Associate Professor
Dr.Nongluksana Thepsawasdi Assistant Professor Dr.Chanvipa
Diloksambandh and Assistant Professor Boobpha Champrasert.
The objective of this report is to study “factors affecting the decision to have sex with lover of the male students of Bansomdejchopraya Rajabhat University.” It aims to find 1) personnel history of male students 2) factors affecting the decision to have sex with lover of the male students of university.
Questionnaires of 280 cases male students of Bansomdejchaopraya Rajabhat University were taken for data collection. They were analyzed through the use of statistical method using Percentage, Mean, Standard Deviation, Pearson Correlation and SPSS for Windows. The Hypothesis was tested at a level significant of 0.01
Results of study were
1. The level of variable such as attitude of sexual act, Give a chance, Family socialization, Attitude of peer group, Information from mass media were at average level and the knowledge on the risk to get HIV/AIDS about the sexual act were at high level.
2. Attitude of sexual act had no relation with decision to sexual act with lover were rather at low level (r = - 0.392).
3. The knowledge on the risk of sexual act with sex workers had no relation with decision to sexual act with lover of University male students at low level (r = - 0.070).
4. The friendliness or giving a chance factor had positive relation with decision to sexual act with lover of University male students at rather low level (r = 0.365).
5. The socialization of family on responsibility had negative relation with decision to sexual act with lover of University male students at rather low level (r = - 0.357).
ช
6. Attitude of peer group had negative relation with decision to sexual act with lover of university male students at rather low level (r = - 0.247).
7. Information from mass media factor had positive relation with decision to sexual act with lover of University male students at low level (r = - 0.149).
8. The knowledge on the risk to get HIV/AIDS had negative relation with the decision to sexual act with lover at medium level (r = - 0.466).
ซ
ประกาศคุณูปการ
วิทยานิพนธ์นี้สำเร็จลงด้วยดีเนื่องจากได้รับการดูแลเอาใจใส่ตรวจแก้ไขอย่างละเอียดจากคณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.นงลักษณ์ เทพสวัสดิ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จันทร์วิภา ดิลกสัมพันธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุพิศวง ธรรมพันทา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บุปผา แช่มประเสริฐ จึงขอกราบขอบพระคุณ ไว้ ณ โอกาสนี้
ขอกราบขอบพระคุณคณาจารย์สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาทุกท่าน ที่ได้ประสิทธิ์ประสาทความรู้แก่ผู้วิจัย
ขอขอบพระคุณผู้เชี่ยวชาญทุกท่านที่ได้กรุณาตรวจสอบแก้ไข ให้คำแนะนำปรึกษาในการสร้างเครื่องมือในการวิจัย และขอขอบคุณนักศึกษาชายมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาทุกท่านที่ได้กรุณาในการให้ข้อมูลและช่วยตอบแบบสอบถาม
ขอกราบขอบพระคุณ พ.ต.ท.เทิดศักดิ์ รัตนาสมจิตร,อาจารย์วัลลีย์ รัตนาสมจิตร , คุณศิระนันท์ รัตนาสมจิตร และคุณวิยะดา เรืองฤทธิ์ ที่ได้ช่วยอนุเคราะห์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลและเป็นกำลังใจด้วยดีเสมอมา ตลอดจนช่วยเหลือในการทำวิทยานิพนธ์นี้แล้วเสร็จ
คุณประโยชน์ของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ขอมอบแด่บุพการี อาจารย์ และผู้มีพระคุณทุกๆ ท่าน ด้วยความเคารพ
นายอาทิตย์ รัตนาสมจิตร
สารบัญ
หน้า
บทคัดย่อภาษาไทย …..………………………………….………….……. ง
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ ..……………………………………….……….… ฉ
ประกาศคุณูปการ. …………..……………………..………….………… ซ
สารบัญเรื่อง ..…………………………………………………….….…… ฌ
สารบัญแผนภาพ……………………………………………………….….. ฎ
สารบัญตาราง………………………………………………..……………. ฏ
บทที่ 1 บทนำ…………………………………………………………………….….. 1
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา………………………………...…. 1
วัตถุประสงค์ของการวิจัย …………………………………………………. 3
ขอบเขตการวิจัย……………………………………………….…………… 3
สมมติฐานการวิจัย……………………………………………………….… 3
นิยามศัพท์เฉพาะ……………………………………………..………...….. 4
กรอบแนวคิด……………………………………………………………….. 5
ประโยชน์ที่จะได้รับ……………………………………………...………… 7
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง….………………………………………..... 8
แนวคิดการอยู่ร่วมกันฉันท์สามีภรรยาโดยไม่ได้แต่งงาน ............................ 8
แนวคิดเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูของครอบครัว........................….........…… 11
แนวคิดการรับรู้ต่อการเสี่ยงเป็นโรคเอดส์..................................…..........…. 14
ทฤษฎีการรับรู้........................................................................................…... 14
แนวคิดการรับรู้ต่อโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคเอดส์.............................…… 16
ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์.......................................................................…..... 18
แนวคิดการสื่อสารประชาสัมพันธ์............................................................… 20
แนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่น………………………………… 24
แนวคิดเกี่ยวกับทัศนคติของวัยรุ่นในเรื่องการมีเพศสัมพันธ์............................ 25
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง …………………………………………………….. …… 27
ญ
สารบัญ (ต่อ)
หน้า
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย ……………………………………………………………….. 30
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง………………………….…………………………… 30
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย………………………………………………………… 31
การเก็บรวบรวมข้อมูล ………………………………………………………….. 33
การวิเคราะห์ข้อมูล ......................................................…………………………. 33
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล…………………………………………………………… 36
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป……………………………………..……………… 36
ผลการทดสอบสมมติฐาน...…………………………………...…..……………. 47
บทที่ 5 สรุปและอภิปรายผล……………………………………………..……………… 54
สรุปผลการวิจัย………………………………….…………………………...… 54
อภิปรายผลการศึกษาวิจัย…………..…………………………………………… 55
ข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษา……………..…………………………………. 62
ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป................................................................….. 63 บรรณานุกรม………………………………………………………………………..…... 64
ภาคผนวก……………………………………………………………………………..… 70
แบบสอบถาม …………………………………………………………………. 71
รายชื่อผู้เชี่ยวชาญ...........................................................................................…. 78
ประวัติผู้วิจัย……………………………………………………………………………. 82
ฎ
สารบัญแผนภาพ
หน้า
แผนภาพที่ 1 กรอบแนวคิด …………………………………………….…………. 7
แผนภาพที่ 2 แสดงกระบวนการของการรับรู้ ………………………………...…... 15
ฏ
สารบัญตาราง
หน้า
ตารางที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม…………………………………………. 36
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ของทัศนคติต่อการมีเพศสัมพันธ์……………………..………………..……… 38
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของ
การรับรู้ความเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงบริการ………………..……… 39
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของ
การเปิดโอกาสของหญิงคนรัก………………………...………………..……… 40
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของ
การได้รับการปลูกฝังเรื่องความรับผิดชอบต่อการมีเพศสัมพันธ์จากครอบครัว.. 41
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของ
ทัศนคติของกลุ่มเพื่อนต่อการมีเพศสัมพันธ์………………………………….... 42
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของ
ทัศนคติของการรับรู้ถึงการมีเพศสัมพันธ์จากสื่อมวลชน……………………... 43
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของ
การรับรู้ต่อการเสี่ยงติดเชื้อเอดส์……….……………………………………... 44
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของ
การตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรัก……………………………………... 45
ตารางที่10 ค่าระดับของตัวแปร.......................……………………………………………. 46
ตารางที่11 ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของ
นักศึกษาชาย กับตัวแปรทัศนคติต่อการมีเพศสัมพันธ์ ……………………….. 47
ตารางที่12 ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของ
นักศึกษาชาย กับตัวแปรการรับรู้ความเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์กับ
หญิงบริการ……………………………………………………….………….. 48
ตารางที่13 ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของ
นักศึกษาชาย กับตัวแปรการเปิดโอกาสของหญิงคนรัก………….………….. 49
ฐ
สารบัญตาราง (ต่อ)
หน้า
ตารางที่14 ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของ
นักศึกษาชาย กับตัวแปรการได้รับการปลูกฝังเรื่องความรับผิดชอบต่อการ
มีเพศสัมพันธ์จากครอบครัว..........................................………….………….. 50
ตารางที่15 ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของ
นักศึกษาชาย กับตัวแปรทัศนคติของกลุ่มเพื่อนต่อการมีเพศสัมพันธ์……….. 51
ตารางที่ 16 ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของ
นักศึกษาชาย กับตัวแปรการรับรู้ถึงการมีเพศสัมพันธ์จากสื่อสารมวลชน.….. 52
ตารางที่ 17 ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของ
นักศึกษาชาย กับตัวแปรการรับรู้ต่อความเสี่ยงที่จะติดเชื้อเอดส์...................... 53
บทที่ 1
บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
วัยรุ่นเป็นวัยที่มีพลังแห่งการสร้างสรรค์ ความกล้าแสดงออก กล้าคิดกล้าทำ ชอบเผชิญกับความท้าทายใหม่ๆ นี้เอง ทำให้วัยรุ่นแสดงพฤติกรรมหลายอย่างออกมาไม่ถูกต้องเหมาะสม เช่น การยกพวกตีกัน การรุมโทรมหญิง มั่วสุมอบายมุขและสิ่งเสพติด การมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนซึ่งนำไปสู่การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ การทำแท้งและเด็กทารกถูกทอดทิ้ง รวมทั้งการใช้สารเสพติด และค่านิยมในเรื่องของการมีเพศสัมพันธ์ที่เปลี่ยนไป ที่มีความเสี่ยงต่อการติดโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จนทำให้ วัยรุ่นถูกมองว่าเป็นตัวปัญหา หลายหน่วยงานรวมทั้งสื่อมวลชนพยายามที่จะร่วมกันรณรงค์ป้องกัน เผยแพร่ความรู้ช่วยให้วัยรุ่นได้มีความรู้ ความเข้าใจและเกิดความตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้น ในแนวทางป้องกันทั้งต้นเหตุและปลายเหตุ แต่นับวันปัญหาต่างๆ กลับมีมากขึ้นทั้งที่เปิดเผยเป็นข่าวและไม่เป็นข่าว ซึ่งปัญหานั้นอาจไม่ได้เกิดขึ้นจากตัววัยรุ่นเสมอไป ปัจจัยต่างๆ ที่ก่อและเอื้ออำนวยให้เกิดขึ้น ทั้งจากโครงสร้างทางสังคม รวมทั้งเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง ที่ส่งผลทำให้เกิดพฤติกรรมไปในทางที่ไม่เหมาะสม มักเปลี่ยนไปตามกระแสทางวัฒนธรรมของโลกการสื่อสารที่ไร้พรมแดน การแก้ไขปัญหาจึงมักไม่เป็นรูปแบบองค์รวม (มติชนรายวัน 2542: 6)
จากพฤติกรรมดังกล่าวปัญหาที่น่าวิตกของวัยรุ่นไทยซึ่งถือเป็นปัญหาอันดับหนึ่งก็คือเรื่องการสำส่อนทางเพศ สถิติทำแท้งสูงกว่าประเทศฟรีเซ็กซ์ แนวโน้มอัตราการขยายตัวของการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนสูงขึ้น ระบุนำไปสู่ปัญหายาเสพติด อาชญากรรม และสุขภาพจิตของเยาวชนในชาติ ที่พบว่ามีความเครียดสูงทำให้มีการพัฒนาการช้า ทั้งในเรื่องเชาว์ปัญญาและความฉลาดทางอารมณ์ อีกทั้งศีลธรรมเสื่อมถอย จากการสำรวจของสถาบันราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์ เปิดเผยว่า นักศึกษาส่วนใหญ่เห็นเป็นเรื่องปกติที่มีการอยู่กินกันขณะเรียน และมีถึง 95% เห็นว่าเซ็กซ์หมู่เป็นเรื่องปกติ หรือครึ่งต่อครึ่งเห็นว่าการเปลี่ยนคู่นอนเป็นเรื่องธรรมดา ซึ่งปัจจุบันคนไทยมักจะเข้าใจผิดว่าประเทศไทยดีกว่าประเทศตะวันตกในเรื่องของเพศสัมพันธ์ แต่จากตัวเลขบอกได้ว่าคนไทยไม่ได้รักนวลสงวนตัว หรือชิงสุกก่อนห่ามน้อยกว่าฝรั่ง (เอกรงค์ ภานุพงษ์, กนกวลี ตรีวัฒนากุล และทีมข่าวเหยี่ยวเดือนเก้า 2546: 3-4)
เพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นมักนิยมมีแฟนหรือหญิงคนรัก การกระทำบางอย่างเป็นแฟชั่นชั่วคราวหรือเป็นการเห่อกระทำบางสิ่งเป็นพักๆ ซึ่งเยาวชนไทยกำลังกระทำกันอยู่ในปัจจุบันนั้นเป็น
2
เรื่องที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง เพราะไม่มีอันตรายใดที่ยิ่งใหญ่ไปกว่าการเห็น "กงจักรเป็นดอกบัว" โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "กงจักร" ที่ชั่วร้ายบั่นทอนความเป็นมนุษย์ที่มีคุณภาพ และบ่อนเซาะสังคมในระยะยาว "กิ๊ก" เป็นคำแสลงใหม่ในภาษาไทยในเหล่าเยาวชนไทยในรอบ 4-5 ปีที่ผ่านมา เท่าที่ได้สอบถามเยาวชนบางส่วน แต่เดิมคำนี้มีความหมายถึงการ "ปิ๊ง" หรือการมี Something ในใจระหว่าง เด็ก หนุ่มสาว เข้าใจว่ามาจากคำว่า "กุ๊กกิ๊ก" อย่างไรก็ดี วันเวลาผ่านไปแล้ว "กิ๊ก" ก็พัฒนาความหมายไปด้วย ถ้าถามเด็กวัยรุ่นปัจจุบัน "กิ๊ก" จะมีความหมายแตกต่างกันออกไป บ้างอาจบอกว่าก็คือ "ปิ๊ง" "แอบรัก" "แอบชอบพอกัน" "มีใจให้กัน" แต่ส่วนใหญ่ในระดับนักศึกษามหาวิทยาลัย หรือหนุ่มสาวส่วนใหญ่แล้ว ความหมายของ "กิ๊ก" ที่น่ากลัวกว่าสำหรับคนเหล่านี้ที่มีแฟนเป็นตัวตนอยู่แล้ว "กิ๊ก" หมายความตั้งแต่ "การมีชู้ทางใจกับคนอื่น" "การแอบชอบพอกับคนอื่นอีกอย่างลับๆ"
"การแอบมีสัมพันธ์ทางเพศกับคนอื่นอีก" "การมีแฟนอื่นๆ อีกเผื่อเลือก" ความหมายที่ดูจะเป็นที่ยอมรับกันในหมู่คนเหล่านี้ ก็คือ "การมีคนอื่นอีกนอกเหนือจากแฟนตน" โดยอาจลึกซึ้งขนาดมีเพศสัมพันธ์ หรือเพียงแต่รักสนุก ทั้งนี้จะต้องมีลักษณะการแอบซ่อนปิดบัง ซ่อนเร้น โดยไม่ให้แฟนของตนได้รับรู้ บางคนบอกว่า ในบางกรณีทั้งสองฝ่ายต่างอาจมี "กิ๊ก" หลายกิ๊ก อย่างเปิดเผยโดยไม่มีการปิดบังกัน แต่ทั้งสองก็ยังคงเป็นแฟนกันอยู่เป็นปกติธรรมดา (วรากรณ์ สามโกเศศ 2547: 1) การมีเพศสัมพันธ์หนุ่มสาวที่ยังไม่ได้แต่งงานกันเป็นการเลียนแบบวัฒนธรรมตะวันตก ที่มีค่านิยมเกี่ยวกับความบริสุทธิ์ของผู้หญิงที่ต้องรักนวลสงวนตัว ยังคงดำรงอยู่อย่างเหนียวแน่นในสังคมไทย ทำให้ผู้หญิงเป็นฝ่ายที่ถูกตำหนิจากสังคม (กรุงเทพธุรกิจ 2538: 6)
การอยู่ร่วมกันก่อนสมรสนี้อาจเกิดปัญหาต่างๆ อาทิ ไม่ได้รับการยอมรับจากญาติ ความไม่มั่นคงในความสัมพันธ์ ความหึงหวง และการแตกแยกกันได้ง่าย เพราะไม่มีข้อผูกมัดระหว่างกันทั้งทางกฎหมายและเครือญาติ เมื่อแยกจากกันทำให้ฝ่ายหญิงไม่สามารถเรียกร้องค่าเลี้ยงดูได้ รวมทั้งความรับผิดชอบต่อลูกที่อาจเกิดขึ้น (เดลินิวส์ 2541: 3) การใช้ชีวิตคู่ร่วมกันก่อนแต่ง เป็นปรากฏการณ์ที่มีมานานแล้วและมีการแพร่หลายในสังคมไทยในปัจจุบัน ดังปรากฏเป็นข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์และสื่อต่างๆ ของการใช้ชีวิตคู่ร่วมกันในวัยเรียน โดยต่างให้เหตุผลว่า ใช้ชีวิตอยู่กินกันฉันท์สามีภรรยากับคนรักเพื่อเป็นการทดลองอยู่ด้วยกัน จะได้ศึกษานิสัยใจคอที่แท้จริงว่าเข้ากันได้หรือไม่และไม่คิดว่าเป็นสิ่งเสียหาย การอยู่ร่วมกันฉันสามีภรรยาโดยไม่มีการจดทะเบียนสมรสหรือไม่มีพิธีแต่งงานกันนับวันยิ่งเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ และคนในสังคมก็มีมุมมองที่แตกต่างกันออกไป โดยคนรุ่นพ่อแม่หรือปู่ย่าตายายอาจจะรู้สึกตกใจหรือรับไม่ได้ ในขณะที่คนรุ่นหนุ่มสาวอาจมองในด้านดี เพราะเป็นการเรียนรู้นิสัยที่แท้จริงกันก่อนตัดสินใจร่วมชีวิตแต่งงานหรือมีลูกด้วยกันต่อไป ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการอยู่ก่อนแต่ง หรือการแต่งก่อนอยู่ ผู้หญิงจะเป็นฝ่ายที่ต้องคิดและตัดสินใจมากกว่าผู้ชาย (มติชนรายวัน 2542: 6)
3
จากการสำรวจข้อมูลเบื้องต้นของการวิจัย โดยการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ของสำนักกิจการนักศึกษาและการสำรวจข้อมูลด้านความประพฤติของนักศึกษาพบว่า นักศึกษาชาย มักจะเริ่มมีคนรักและมีความประพฤติที่ไม่เหมาะสมเช่น การมีเพศสัมพันธ์ การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา ฯลฯ ตั้งแต่ชั้นปีที่ 2 ขึ้นไป ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาเรื่อง “ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชายในมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา” เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงไปของค่านิยมและสังคม เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นและเป็นปัญหาสังคมที่ยากจะทำการแก้ไข
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาข้อมูลส่วนบุคคลของนักศึกษาชาย
2. เพื่อศึกษาระดับของปัจจัยทัศนคติต่อการมีเพศสัมพันธ์ การรับรู้ความเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงบริการ การรับรู้ต่อการเสี่ยงเอดส์ การได้รับการปลูกฝังเรื่องความรับผิดชอบต่อการมีเพศสัมพันธ์จากครอบครัว ทัศนคติของกลุ่มเพื่อนต่อการมีเพศสัมพันธ์ การรับร ู ้ถึงการมีเพศสัมพันธ์จากสื่อสารมวลชน และการเปิดโอกาสของหญิงคนรัก
3. เพื่อศึกษาปัจจัยต่างๆ ที่สัมพันธ์ต่อการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของ
นักศึกษาชาย
ขอบเขตของการศึกษา
ทำการศึกษากับนักศึกษาชายระดับอุดมศึกษาชั้นปีที่ 2 - 4 ภาคปกติ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
สมมติฐานการวิจัย
สมมติฐานที่ 1 ทัศนคติต่อการมีเพศสัมพันธ์มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย
สมมติฐานที่ 2 การรับรู้ความเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงบริการมีผลกับการตัดสิน ใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย
สมมติฐานที่ 3 การเปิดโอกาสของหญิงคนรัก มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์ กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย
4
สมมติฐานที่ 4 การได้รับการปลูกฝังเรื่องความรับผิดชอบต่อการมีเพศสัมพันธ์ จากครอบครัวมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย
สมมติฐานที่ 5 ทัศนคติของกลุ่มเพื่อนต่อการมีเพศสัมพันธ์ มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย
สมมติฐานที่ 6 การรับรู้ถึงการมีเพศสัมพันธ์จากสื่อสารมวลชน มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย
สมมติฐานที่ 7 การรับรู้ต่อความเสี่ยงที่จะติดเชื้อเอดส์ มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย
นิยามศัพท์เฉพาะ
คณะ หมายถึง คณะที่นักศึกษาศึกษาอยู่ แบ่งออกเป็น 4 คณะ ได้แก่ คณะครุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาการจัดการ และคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
สาขา หมายถึง สาขาวิชาที่นักศึกษาศึกษาอยู่ แบ่งออกเป็น 4 สาขา ได้แก่ การศึกษา วิทยาศาสตร์ บริหารธุรกิจ และศิลปศาสตร์
ความอิสระในการปกครองตนเอง หมายถึง การมีเสรีในการตัดสินใจด้วยตนเองในการดำรงชีวิตประจำวัน
รายได้ หมายถึง จำนวนเงินที่นักศึกษาชายมีใช้จ่ายในแต่ละเดือน แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ
รายได้น้อย หมายถึง มีรายได้ประมาณ 1,000-4,000 บาทต่อเดือน รายได้มาก หมายถึง มีรายได้มากกว่า 4,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป
การรับรู้การอยู่ร่วมกัน หมายถึง การใช้ชีวิตร่วมกันฉันท์สามีภรรยาของนักศึกษา โดยไม่ได้แต่งงานตามกฎหมายหรือมีพิธีแต่งงานตามขนบธรรมเนียมประเพณี
หญิงคนรัก หมายถึง หญิงคนรักที่มีความสัมพันธ์กันมากกว่าการเป็นเพื่อน มีการไปมาหาสู่ นัดพบกัน เที่ยวด้วยกัน ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ด้วยกัน
การตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย หมายถึง การที่นักศึกษาชายตัดสินใจที่จะมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักก่อนการแต่งงานตามขนบธรรมเนียมประเพณี
ทัศนคติต่อการมีเพศสัมพันธ์ หมายถึง ความรู้สึก ความคิดหรือมุมมองในเรื่องของการมีเพศสัมพันธ์
การรับรู้ความเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงบริการ หมายถึง ความเข้าใจต่ออันตรายที่มีผลจากการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงบริการในเรื่องของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น กามโรค หนองใน และโรคเอดส์ เป็นต้น
5
การเปิดโอกาสของหญิงคนรัก หมายถึง การแต่งกาย วาจา เวลาและสถานที่รวมถึงการแสดงออกของหญิงคนรักที่แสดงออกสื่อไปในทางเชื้อเชิญที่จะนำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์
การได้รับการปลูกฝังเรื่องความรับผิดชอบต่อการมีเพศสัมพันธ์จากครอบครัว หมายถึง ความรู้ ความเข้าใจ ความคิดเห็น ความรับผิดชอบเรื่องเพศสัมพันธ์ที่รับรู้มาตั้งแต่เยาว์วัยจนถึงปัจจุบันจากครอบครัว เช่น บิดา มารดา ญาติพี่น้องเป็นต้น
ทัศนคติของกลุ่มเพื่อนต่อการมีเพศสัมพันธ์ หมายถึง ความรู้สึก ความคิดเห็น ของเพื่อนภายในกลุ่ม ต่อเรื่องเพศสัมพันธ์ที่ส่งผลต่อเพื่อนในกลุ่มเดียวกัน
การรับรู้ถึงการมีเพศสัมพันธ์จากสื่อสารมวลชน หมายถึง การได้รับข้อมูล ข่าวสาร จากสื่อ ต่างๆ เช่น สิ่งพิมพ์ โทรทัศน์ ฯ ที่แสดงออกมาในเรื่องของ เซ็กซ์ หรือ การเร้าอารมณ์ และส่งผลต่อความรู้สึกของคนดู หรือผู้อ่าน
การรับรู้ต่อความเสี่ยงเอดส์ หมายถึง การรับรู้ การเข้าใจถึงการเสี่ยงติดเชื้อโรคเอดส์ที่เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ส่ำส่อน
กรอบแนวคิดในการวิจัย
จากการศึกษาค้นคว้าทฤษฎี แนวคิดและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
1. แนวคิดการอยู่ร่วมกันฉันท์สามีภรรยาโดยไม่ได้แต่งงานของ แม็คลิน (Macklin 1983 อ้างใน Secombe 1992: 52) ที่อธิบายให้เห็นว่า มีการอยู่ร่วมกันหลายประเภท เช่นความสัมพันธ์ชั่วคราว ความสัมพันธ์แบบคู่ควง ที่ทั้ง 2 ฝ่ายมีความรักและผูกพันทางอารมณ์ ความรู้สึกต่อกันและกัน แต่ไม่ได้วางแผนที่จะแต่งงานกันในอนาคต ความสัมพันธ์จะยาวนานแค่ไหนขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์กันทั้ง 2 ฝ่าย และความสัมพันธ์ในช่วงเปลี่ยนผ่าน เป็นการอยู่ด้วยกันเพื่อเตรียมความพร้อม ก่อนที่จะมีการแต่งงานกันต่อไป ความสัมพันธ์แบบทางเลือกของการแต่งงาน อยู่ด้วยกันเหมือนกับคู่สามีภรรยาที่แต่งงานกันแต่ไม่มีพิธีแต่งงานหรือจดทะเบียนสมรสกัน
2. แนวคิดเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูของครอบครัวของ งามตา วนินทานนท์ (2528: 4-12)
ที่กล่าวถึงการเลี้ยงดูเด็กว่า เป็นเรื่องสำคัญในการพัฒนาบุคลิกภาพให้เด็ก ไปในทิศทางใดให้มีคุณภาพ หรือพฤติกรรมอย่างไร จากการประมวลผลการวิจัย เกี่ยวกับจิตลักษณะของเยาวชน ที่ถูกอบรมเลี้ยงดูมาต่างๆกัน ทำให้เห็นความสำคัญของการอบรมเลี้ยงดู
3. แนวคิดการรับรู้ต่อการเสี่ยงเป็นโรคเอดส์ของ สุพรรณี สฤษดิ์อภิรักษ์ (2536: 29) ที่อธิบายถึงการรับรู้ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเอดส์ ชี้ให้เห็นถึงโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคเอดส์ของนักศึกษาซึ่งไม่มีความรู้ที่จะใช้ป้องกันการติดโรคเอดส์ ซึ่งนักเรียนอาจได้รับรู้จากสื่อต่างๆ เช่น จากสื่อสารมวลชน ทำให้เด็ก เยาวชนเกิดแรงจูงใจที่มีต่อการรับรู้ต่อการเสี่ยงเป็นเอดส์ และ
6
ต้องการป้องกันตนเองจากโรคเอดส์ได้ การป้องกันเลือกกระทำได้หลายวิธี เช่น การเลียนแบบ การเรียนรู้ หรือการสอนด้วยการพูด หรือมาจากสื่อต่างๆ การที่บุคคลจะปฏิบัติตามคำแนะนำนั้น เนื้อหาของข่าวสารที่ถ่ายทอด ควรจะมีผลในการช่วยให้บุคคลปฏิบัติตามได้ การรับรู้นี้จะเป็นตัวเชื่อมโยงที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรม แรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคนี้ การประเมินการรับรู้นี้จากสื่อกลางที่ทำให้เกิดความกลัว ซึ่งขึ้นอยู่กับจำนวนของสื่อที่มากระตุ้น
4. ทฤษฎีการรับรู้ของ จำเนียร ช่วงโชติ และคณะ (2519: 2-3) ที่ชี้ให้เห็นว่า การรับรู้เป็นการแปลหรือตีความหมายจากการสัมผัสที่ได้รับออกมา เป็นส่วนหนึ่งที่มีความหมาย หรือเป็นที่รู้จักและเข้าใจ ซึ่งในการแปลหรือตีความนั้น บุคคลต้องใช้ประสบการณ์เดิมที่เคยมีแต่หนหลัง ถ้าไม่มีความรู้เดิมหรือถ้าบุคคลลืมเรื่องนั้นเสียแล้ว ก็จะไม่มีการรับรู้สิ่งเร้า มีแต่การสัมผัสต่อสิ่งเร้าเท่านั้น
5. ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ของ ซัทตัน (Sutton 1982 อ้างถึงใน Mackay, Bruce C 1992: 28) ได้อธิบายว่าวิธีนี้ยังไม่ใช่แนวทางที่จะทำให้บุคคลรับรู้ต่อโอกาสเสี่ยงของการเป็นโรคเอดส์ แต่การรับรู้ต่อโอกาสเสี่ยงของการเป็นโรคเอดส์ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของแต่ละบุคคลว่า ถ้าไม่ปฏิบัติตนเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายที่เกิดขึ้นจะทำให้ตนมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคเอดส์ได้
6. ทฤษฎีการสื่อสารประชาสัมพันธ์ของรุ่งรัตน์ ชัยสำเร็จ (2543: 39-40) อธิบายให้เห็นถึง
อิทธิพลของสื่อและการประชาสัมพันธ์ มีผลต่อความรู้สึกนึกคิด การเลียนแบบ ของวัยรุ่น จากตัวแบบที่ตนชื่นชอบ ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของวัยรุ่น
7. แนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่นของปรีชา วิหคโต และคณะ (2531: 1) ได้อธิบายถึง พฤติกรรมวัยรุ่นเกี่ยวกับความต้องการมีความสัมพันธ์กับเพศตรงข้ามสรุปได้ว่า วัยรุ่นกับเพื่อน ที่เรามักพบเห็นหรือรับฟังมาว่า มักชอบคลุกคลีกับเพื่อน เที่ยว คุย ทำงาน เขาต้องการที่จะอยู่กับเพื่อนเพื่อทำกิจกรรมกับเพื่อนอย่างไม่รู้เบื่อหน่าย
8. แนวคิดเกี่ยวกับทัศนคติของวัยรุ่นในเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ของ กฤตยา อาชวนิจกุล และ วราภรณ์ แช่มสนิท (2537 : 40) ชี้ให้เห็นว่า วัยรุ่นหญิงชายมีโอกาสคบกันใกล้ชิดกว่าแต่ก่อน ครอบครัวมีบทบาทควบคุมพฤติกรรมของวัยรุ่นน้อยลง ทำให้วัยรุ่นมีโอกาสเที่ยวเตร่และสร้างความสัมพันธ์กันได้ง่ายขึ้น และเป็นหนทางนำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ในกลุ่มเพื่อนกันเองมากขึ้น โดยเฉพาะในรายที่คบหากันเป็นแฟน
ผู้วิจัยได้นำแนวคิดทฤษฎีดังกล่าวมาวิเคราะห์และสังเคราะห์เป็นกรอบแนวความคิดดังมีรายละเอียดตามแผนภาพที่ 1
7
แผนภาพที่ 1 กรอบแนวคิดในการวิจัย
ตัวแปรอิสระ ตัวแปรตาม
ตัวแปรอธิบาย
การตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย ในมหาวิทยาลัย
ราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
- อายุ
- คณะ
- ความมีอิสระในการปกครองตนเอง
-รายได้
-ทัศนคติต่อการมีเพศสัมพันธ์
-การรับรู้ความเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงบริการ
- การรับรู้ต่อการเสี่ยงเอดส์
-การได้รับการปลูกฝังเรื่องความรับผิดชอบต่อการมีเพศสัมพันธ์จากครอบครัว
-ทัศนคติของกลุ่มเพื่อนต่อการมีเพศสัมพันธ์
-การรับร ู ้ถึงการมีเพศสัมพันธ์จากสื่อสารมวลชน
-การเปิดโอกาสของหญิงคนรัก
ประโยชน์ที่ได้รับ
1. ได้ทราบถึงปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย ในระดับอุดมศึกษา
2. ได้แนวทางในการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่เหมาะสมของนักศึกษาชาย ในระดับอุดมศึกษา
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาเรื่อง “ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชายในมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา” ผู้วิจัยได้นำเอาทฤษฎีและแนวคิดที่เกี่ยวข้องมาเป็นกรอบแนวทางในการศึกษาวิจัย ในประเด็นต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. แนวคิดการอยู่ร่วมกันฉันท์สามีภรรยาโดยไม่ได้แต่งงาน
2. แนวคิดเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูของครอบครัว
3. แนวคิดการรับรู้ต่อการเสี่ยงเป็นโรคเอดส์
3.1 ทฤษฎีการรับรู้
3.2 แนวคิดการรับรู้การเสี่ยงต่อการเป็นโรคเอดส์
3.3 ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์
3.4 ทฤษฎีการสื่อสารประชาสัมพันธ์
4. แนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่น
5. แนวคิดเกี่ยวกับทัศนคติของวัยรุ่นในเรื่องการมีเพศสัมพันธ์
6. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
1. แนวคิดการอยู่ร่วมกันฉันท์สามีภรรยาโดยไม่ได้แต่งงาน
การศึกษาปรากฏการณ์การอยู่ร่วมกันส่วนใหญ่ศึกษาในสังคมอเมริกัน ซึ่งเป็นลักษณะการอยู่ร่วมกันก่อนแต่งงาน ซึ่งนักวิจัยส่วนใหญ่ต่างให้นิยามเชิงปฏิบัติการที่แตกต่างกันออกไป การแบ่งประเภทหรือลักษณะการอยู่ร่วมกันก่อนแต่งงานมีหลากหลายขึ้นอยู่กับเกณฑ์ของนักวิจัย เช่น จากการศึกษาของ คาร์ล รดเลย์ (Carl Ridley 1978 อ้างใน Berardo 1998: 118) ได้แบ่งลักษณะการอยู่ร่วมกันออกเป็น 4 ลักษณะโดยถือว่าเป็นประสบการณ์ในด้านเตรียมความพร้อมในการแต่งงานเพื่อที่จะได้ทดสอบความสัมพันธ์ที่มั่นคงต่อกัน ปกติจะอยู่ในช่วงหนึ่งปีครึ่ง แต่ในทางตรงกันข้ามสำหรับคนที่ยังไม่มีความพร้อมทางด้านอารมณ์อย่างเพียงพอ การอยู่ร่วมกันก่อนแต่งงานนี้ก็จะนำมาซึ่งความผิดหวังและเสียใจไม่แตกต่างจากการหย่าร้าง ซึ่งประเภทการอยู่ร่วมกันมีรายละเอียดดังนี้
1.1 อยู่ด้วยกันเพื่อความอบอุ่นใจ (Linus-Blanket) ความสัมพันธ์ในลักษณะที่ต้องการใครสักคน ที่ทำให้รู้สึกปลอดภัยพึ่งพาได้ ซึ่งจะเกิดขึ้นชั่วครั้งชั่วคราวในช่วงระยะสั้นๆ ที่ทั้ง 2 ฝ่ายไม่ได้ผูกพันกันอย่างแท้จริง เมื่อความสัมพันธ์สิ้นสุดลงต่างก็ไม่รู้สึกเจ็บปวดหรือเศร้าใจอย่างมาก
9
1.2 อยู่ด้วยกันเพื่อความเป็นอิสระ (Emancipation) การอยู่ร่วมกันเพื่อต้องการได้รับความเป็นอิสระจากการควบคุมของพ่อแม่และต่อต้านค่านิยมตามประเพณี รวมทั้งแสดงให้เห็นว่าพวกเขาต้องการความเป็นอิสระ สามารถเลือกทางเดินชีวิตได้ แต่ความสัมพันธ์เช่นนี้ผู้กระทำจะรู้สึกผิด
1.3 การอยู่ร่วมกันเพื่อความสะดวกสบาย (Convenience) ความสัมพันธ์ที่ทั้ง 2 ฝ่ายได้รับประโยชน์จากการอยู่ร่วมกันไม่ว่าจะเป็นเพศสัมพันธ์ ด้านการเงินได้แก่ การประหยัดค่าใช้จ่ายและมีเพื่อนคู่คิด แต่ความสัมพันธ์ในลักษณะนี้ฝ่ายชายจะได้เปรียบ (Exploitive) มากกว่าจะได้ประโยชน์อย่างเท่าเทียม
1.4 การอยู่ร่วมกันเพื่อทดสอบความสัมพันธ์ (Testing) ทั้งสองฝ่ายมีความมั่นคงด้านความสัมพันธ์ต่อกันแล้ววางแผนที่จะแต่งงานกันในอนาคต เป็นการทดลองอยู่ด้วยกันก่อนแต่งงาน
(Trial Marriage) เพื่อดูว่ามีความพร้อมแค่ไหน ไปกันได้หรือไม่ โดยมากฝ่ายหญิงต้องการที่จะไปถึงขั้นแต่งงานมากกว่าเพศชาย
แม็คลิน (Macklin 1983) ได้จัดประเภทการอยู่ร่วมกันตามความมั่นคงของความสัมพันธ์ ได้แก่
1). ความสัมพันธ์ชั่วคราว (Temporary or casual relationships) เป็นเหตุผลการอยู่ร่วมกัน
เพียงเพื่อการได้รับประโยชน์และความสะดวกสบายร่วมกัน
2). ความสัมพันธ์แบบคู่ควง (Going together) ทั้ง 2 ฝ่ายมีความรักและผูกพันทางอารมณ์ความรู้สึกต่อกันและกัน แต่ไม่ได้วางแผนที่จะแต่งงานกันในอนาคต ความสัมพันธ์จะยาวนานแค่ไหนขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์กันทั้ง 2 ฝ่าย
3). ความสัมพันธ์ในช่วงเปลี่ยนผ่าน (Transitional) เป็นการอยู่ด้วยกันเพื่อเตรียมความพร้อม
ก่อนที่จะมีการแต่งงานกันต่อไป
4). ทางเลือกของการแต่งงาน (Alternative to marriage) อยู่ด้วยกันเหมือนกับคู่สามีภรรยาที่
แต่งานกันแต่ไม่มีพิธีแต่งงานหรือจดทะเบียนสมรสกัน
จากการศึกษาเกี่ยวกับการใช้ชีวิตร่วมกันฉันท์สามีภรรยา ระหว่างหญิงชายยังไม่ได้แต่งงานกันในสังคมไทยยังไม่มีการศึกษาโดยตรง การนำผลการศึกษาการอยู่ร่วมกันก่อนแต่งงานในสังคมอเมริกามาปรับใช้ในการมองปรากฏการณ์การใช้ชีวิตคู่ ระหว่างนักศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยในสังคมไทย อาจจะให้แนวทางในการมองปรากฏการณ์อย่างกว้างๆ แต่ต้องคำนึงถึงความแตกต่างในบริบททางสังคมและวัฒนธรรมด้วย เช่น ปัจจัยเอื้ออำนวยต่อการอยู่ร่วมกันในสังคมอเมริกาได้รับการยอมรับ ได้แก่ การยอมรับการมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงานได้ เมื่อมีความรัก ความผูกพันทางอารมณ์ (Permissiveness with affection) ความแพร่หลายของยาคุมกำเนิด การเปลี่ยนแปลงกฎของมหาวิทยาลัยที่อนุญาตให้นักศึกษาพักนอกมหาวิทยาลัยได้ จึงมีอพาร์เม้นต์หรือหอพักต่างๆ จำนวน
10
มากอำนวยความสะดวกให้แก่นักศึกษา ประการสุดท้ายคือ การผ่อนคลายในประเพณี การเกี้ยวพานและการแต่งงาน เนื่องจากอัตราการหย่าร้างที่สูงขึ้น ทำให้วัยรุ่นต้องการมีประสบการณ์ทางเพศก่อนที่จะตัดสินใจผูกพันกับคนที่จะแต่งงานด้วย ( Ridley and Anderson 1974: 344 อ้างใน โสพิน หมูแก้ว 2544: 9-10)
รูปแบบของการใช้ชีวิตคู่ระหว่างการเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยไทย ยังไม่ทราบว่าอยู่ในสถานภาพของการอยู่ก่อนแต่ง หรือ การอยู่โดยไม่ได้แต่ง หรือเป็นรูปแบบหนึ่งของพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่นเท่านั้น โดยลักษณะของการใช้ชีวิตคู่อยู่ร่วมกันนั้นมีหลายรูปแบบ อาทิ บางลักษณะทั้ง 2 ฝ่ายต่างเช่าหอพักหรือบ้านพักร่วมกัน บางคู่อาจมีการหมั้นหมายกันแล้ว โดยผู้ปกครองของทั้งคู่รับรู้ บางคู่แอบมาอยู่ด้วยกันโดยผู้ปกครองไม่ทราบ หรือการที่ต่างฝ่ายต่างมีหอพักของตนเองแอบมาอยู่ด้วยกันเป็นครั้งคราว การที่นักศึกษาหญิงอยู่ในหอพักของมหาวิทยาลัยหรือหอพักเอกชนข้างนอก อาจจะมาอยู่กับคนรักบ้างเป็นครั้งคราวเพื่อปิดบังผู้ปกครอง บางลักษณะทั้ง 2 ฝ่ายกำลังเรียนอยู่ในระดับมหาวิทยาลัยอาจเป็นสถาบันเดียวกันหรือต่างสถาบัน บางคู่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเรียนอีกฝ่ายหนึ่งจบมีงานทำแล้ว
ฉลาดชาย รมิตานนท์ (2542: 9-10) ได้อธิบายว่า การอยู่ร่วมกันฉันท์สามีภรรยาโดยยังไม่ได้แต่งงานนี้ มีความหมายได้แก่สถานการณ์การใช้ชีวิตคู่อยู่ร่วมกันนี้อย่างไร เมื่อความสัมพันธ์ทางเพศในวัฒนธรรมไทยจะเป็นที่ยอมรับได้ภายใต้เงื่อนไขของการแต่งงาน ซึ่งการใช้ชีวิตคู่ร่วมกันของนักศึกษากับคนรักนี้ก็ไม่ได้แตกต่างไปจากสิ่งที่ปรากฏในรูปแบบของครอบครัว หากมุมมองของนักศึกษาเป็นการอยู่ด้วยกันก่อนแต่ง น่าจะมีหลักฐานที่แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ที่มั่นคงของการสร้างครอบครัวในอนาคต เช่น ความยึดมั่นผูกพันระหว่างกัน บทบาทของการเป็นสามีภรรยาในครอบครัว การร่วมรับผิดชอบในค่าใช้จ่ายต่างๆ เป็นต้น หรือในทางตรงกันข้าม นักศึกษาเหล่านั้นอาจไม่ได้มีมุมมองด้านครอบครัวหรือการแต่งงานเลย แต่เป็นรูปแบบของการใช้ชีวิตของวัยรุ่น ซึ่งทั้ง 2 ฝ่ายพึงพอใจที่จะไม่ผูกมัดซึ่งกันและกัน การศึกษาปรากฎการณ์การใช้ชีวิตคู่ของนักศึกษาในครั้งนี้ ได้ใช้แนวคิดด้านจิตนาการทางสังคมวิทยาของ
มิลล์ (พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิพงศ์ 2532 อ้างถึง Mills 1959) ที่อธิบายถึงจุดเริ่มต้นและชี้แนะแนวทางการศึกษา เนื่องจากไม่เคยมีการศึกษาในสังคมไทยมาก่อน จินตนาการทางสังคมศึกษาที่อยู่เบื้องหลังการเลือกประเด็นปัญหา การเลือกใช้ทฤษฎี ระเบียบวิจัย และการดำเนินการวิจัยจะเป็นพลังผลักดันให้นักสังคมวิทยา ทำความเข้าใจปรากฏการณ์ทางสังคมที่ศึกษาด้วยใจที่เปิดกว้างและยืดหยุ่น อันจะนำมาซึ่งความคิดริเริ่มและสร้างสรรค์ใหม่ๆ
11
2. แนวคิดเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูของครอบครัว
ครอบครัวจึงเป็นสถาบันแรกที่มีความสำคัญต่อชีวิตของเด็กในการสร้างลักษณะนิสัยหรือบุคลิกภาพของเด็ก การอบรมเลี้ยงดู การสั่งสอน ตลอดจนความเชื่อ เจตคติของบิดามารดา ผู้ปกครองหรือญาติผู้ใหญ่ มีผลต่อพฤติกรรมและพัฒนาการของเด็กทุกด้าน
ครอบครัวเป็นสถาบันทางสังคม ที่มีความสำคัญต่อพัฒนาการของเดกอย่างยิ่ง เป็นสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อบุคลิกภาพและพฤติกรรมของเด็กมาก และมีอยู่ตลอดไป ซึ่งเมื่อทารกเรียนรู้ว่าเมื่อตนร้องไห้ จะมีแม่หรือบุคคลอื่นนำอาหารมาให้ มีคนคอยปกป้องสิ่งที่มารบกวนและทำอันตรายแก่ตน ถ้าทารกเกิดมาในครอบครัวที่ไม่มีใครให้ความสนใจ ปล่อยปละละเลย เด็กจะเกิดความไม่มั่นคงในตนเอง จะไม่มีความไว้วางใจคนอื่นตามมาด้วย สิ่งเหล่านี้จะมีผลต่อพัฒนาการของเด็กต่อไป ครอบครัวจะมีบทบาทมากต่อพัฒนาการด้านบุคลิกภาพของเด็ก ลักษณะเฉพาะของเด็กแต่ละคน เกิดจากการเลียนแบบผู้ใหญ่ หรือการที่แสดงพฤติกรรมออกมา แล้วคนอื่นในครอบครัวยอมรับ พอใจ ลักษณะเช่นนี้เด็กจะเรียนรู้และแสดงออกมา เพราะว่าการที่คนอื่นยอมรับนั้นเป็นการได้รับรางวัลอย่างหนึ่งของเด็ก
2.1 ความหมายของการอบรมเลี้ยงดู
ดวงเดือน พันธุมนาวิน (2528: 17) กล่าวถึงการอบรมเลี้ยงดูว่า หมายถึง การที่บิดามารดาปฏิบัติต่อเด็กและเรียกร้องให้เด็กปฏิบัติต่อตนเองและผู้อื่นไปในทำนองต่างๆ ดังนั้น การอบรมเลี้ยงดู คือ การที่ผู้เลี้ยงดูกับเด็กมีการติดต่อเกี่ยวข้องกัน เป็นทางให้ผู้เลี้ยงดูสามารถให้รางวัล หรือลงโทษการกระทำต่างๆของเด็กได้ นอกจากนี้เด็กยังมีโอกาสเฝ้าสังเกตลักษณะ และการกระทำต่างๆ ของผู้เลี้ยงดู ทำให้เด็กเลียนแบบผู้เลี้ยงดูได้อีกด้วย
รูปแบบของการเลี้ยงดูที่เหมาะสม
งามตา วนินทานนท์ (2528: 4-12) กล่าวถึงการเลี้ยงดูเด็กว่า เป็นเรื่องสำคัญในการพัฒนาบุคลิกภาพให้เด็ก ไปในทิศทางใดให้มีคุณภาพ หรือพฤติกรรมอย่างไร จากการประมวลผลการวิจัย เกี่ยวกับจิตลักษณะของเยาวชน ที่ถูกอบรมเลี้ยงดูมาต่างๆกัน ทำให้เห็นความสำคัญของการอบรมเลี้ยงดู 5 ประการ ดังนี้
1. การอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุน หมายถึง การที่บิดามารดาได้แสดงความรักใคร่เอาใจใส่ สนใจทุกข์สุขบุตรของตนอย่างเพียงพอ มีความใกล้ชิดกับบุตร กระทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับบุตร นอกจากนั้นยังมีความสนิทสนม การสนับสนุนช่วยเหลือและการให้ความสำคัญแก่บุตรด้วย
12
การอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุนมากนี้ เป็นการให้ในสิ่งที่บุตรต้องการทั้งสิ้น ฉะนั้นบิดามารดาที่เลี้ยงดูบุตรด้วยวิธีนี้จึงเป็นผู้ที่บุตรรัก และบุตรเป็นผู้ที่มีความสำคัญของบิดามารดา ซึ่งจะทำให้บุตรยอมรับการอบรมสั่งสอนต่างๆ ของบิดามารดาได้โดยง่าย ยอมรับบิดามารดาเป็นแบบอย่างโดยไม่รู้ตัว จะเห็นได้ว่าการอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุนเป็นพื้นฐานสำคัญของการที่บิดามารดาสามารถถ่ายทอดลักษณะต่างๆไปสู่เด็ก นอกจากนั้น ทฤษฎีพัฒนาการทางสังคมและอารมณ์กล่าวไว้ว่า ถ้าเด็กทารกได้รับความสุขความพอใจจากการดูแลอย่างใกล้ชิดของมารดาตั้งแต่เกิดเด็กจะเกิดความรู้สึกไว้วางใจมารดา และเมื่อโตขึ้นจะแผ่ขยายความรู้สึกรักใคร่ไว้วางใจ และสภาพแวดล้อมที่แปลกใหม่ จะทำให้เด็กสามารถปรับตัวได้ดีในกาลต่อมาซึ่งเกี่ยวข้องกับการมีสุขภาพจิตที่ดีของเด็กโดยตรง การถูกอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุนมากจะพบได้มากในบุคคลที่มีคุณธรรมและจริยธรรมสูง บุคคลที่มีสุขภาพจิตดี มุ่งอนาคตสูง และไม่ทำผิดกฎระเบียบหรือ กฎหมายของบ้านเมือง ฉะนั้นการอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุนมาก จึงเป็นวิธีการอบรมเลี้ยงดูที่เหมาะสมกับเยาวชนทุกเพศทุกวัย
2. การอบรมเลี้ยงดูแบบใช้เหตุผล หมายถึง การที่บิดามารดาได้อธิบายเหตุผลให้แก่บุตรในขณะที่มีการส่งเสริมหรือขัดขวางการกระทำของบุตร หรือลงโทษบุตร นอกจากนั้นบิดามารดาที่ใช้วิธีการนี้ยังให้รางวัลและลงโทษบุตรอย่างเหมาะสมกับการกระทำของบุตรมากกว่าที่จะปฏิบัติต่อบุตรตามอารมณ์ของตนเอง การกระทำของบิดามารดาจะเป็นเครื่องช่วยให้บุตรได้เรียนรู้และรับทราบถึงสิ่งที่ควรและไม่ควรกระทำ นอกจากนั้นยังช่วยให้บุตรสามารถทำนายได้ว่าตนจะได้รับรางวัลหรือโดนลงโทษจากบิดามารดาหลังจากที่ตนกระทำพฤติกรรมต่าง ๆ แล้วมากน้อยเพียงใดการอบรมเลี้ยงดูแบบใช้เหตุผลเป็นสิ่งที่นักวิชาการพบว่ามีความสำคัญต่อจิตใจและพฤติกรรมของเด็กมานานแล้ว โดยเฉพาะเกี่ยวข้องกับลักษณะทางจริยธรรม สุขภาพจิต ลักษณะมุ่งอนาคตและลักษณะอื่นๆ ของเยาวชน โดยจะพบความสำคัญในวัยรุ่นเป็นต้นไป แม้ผลเช่นนี้จะ ปรากฎในวัยรุ่น แต่ก็ควรมีการอบรมเลี้ยงดูแบบนี้มาตั้งแต่เด็กยังเล็กอย่างสม่ำเสมอจนเติบใหญ่
3. การอบรมเลี้ยงดูแบบลงโทษทางจิตมากกว่าทางกาย หมายถึง การลงโทษเป็นวิธีที่พ่อแม่ใช้กับลูกที่มีพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนา การลงโทษเด็กโดยเฉพาะการทำให้เจ็บกาย เป็นวิธีการปรับพฤติกรรมที่บิดามารดามักจะใช้อย่างจงใจ ใช้มากและใช้บ่อยกว่าการให้รางวัลเด็กเมื่อทำความดี ส่วนการลงโทษอีกชนิด เป็นการใช้อำนาจบังคับโดยไม่ลงโทษทางกาย แต่เป็นการใช้วาจาดุว่า การงดวัตถุสิ่งของ การงดแสดงความรักใคร่เมตตา และการตัดสิทธิต่างๆ เหล่านี้เป็นการลงโทษทางจิต อิทธิพลของการลงโทษทางจิตจะเด่นชัดขึ้น เมื่อใช้ควบคู่กับการอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุน แต่อย่างไรก็ตามอาจสรุปได้ว่า การอบรมเลี้ยงดูแบบลงโทษทางจิตนั้น เหมาะสมกับการอบรมเลี้ยงดูแบบลงโทษทางกายในเด็กทั้งชายและหญิง ที่มีอายุมากกว่า 7 ปี ขึ้นไป
13
4. การอบรมเลี้ยงดูแบบควบคุม หมายถึง การออกคำสั่งให้เด็กทำตามแล้วผู้ใหญ่คอยตรวจตรา ใกล้ชิด ว่าเด็กทำตามที่ตนต้องการหรือไม่ ถ้าเด็กไม่ทำตามก็จะลงโทษเด็กด้วยโดยที่การอบรมเลี้ยงดูแบบควบคุมมาก เป็นการบังคับให้เด็กทำตามที่ผู้เลี้ยงดู เห็นดีเห็นชอบ โดยการตรวจตราและขู่เข็ญ ส่วนการควบคุมน้อยหมายถึงการปล่อยให้เด็กรู้จักคิดตัดสินใจเองว่าควรทำหรือไม่ควรทำสิ่งใด และเปิดโอกาสให้เด็กเป็นตัวของตัวเองบ่อยครั้ง โดยไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเด็กมากนักผู้ใหญ่ไทยมักเข้าใจสับสนเกี่ยวกับการควบคุมเด็กและการทำตนใกล้ชิดกับเด็ก สองวิธีนี้ต่างกัน วิธีหลังเป็นการอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุน การอบรมเลี้ยงดูแบบควบคุมมาก เหมาะสมในระยะก่อนวัยรุ่นและเหมาะสมสำหรับเด็กหญิง ส่วนการอบรมเลี้ยงดูแบบควบคุมน้อย เหมาะสมในระยะวัยรุ่นเป็นต้นไป และเหมาะสมกับเด็กชาย
5. การอบรมเลี้ยงดูแบบให้พึ่งตนเอง หมายถึง การเปิดโอกาสให้เด็กได้ทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันด้วยตนเอง ภายใต้การแนะนำและการฝึกฝนจากบิดามารดา หรือผู้เลี้ยงดูอื่นๆ ซึ่งจะทำให้เด็กช่วยตนเองได้เร็ว และไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่นมากหรือนานเกินไป เช่น การทำความสะอาดร่างกาย การแต่งกาย การช่วยงานเล็กๆน้อยๆในบ้าน เพื่อเป็นการเริ่มฝึกให้เด็กทำสิ่งต่างๆ ภายใต้การดูแลของผู้เลี้ยง การอบรมเลี้ยงดูแบบฝึกให้พึ่งตนเองเร็วนี้เกี่ยวข้องกับการที่เด็กมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูงอย่างเด่นชัดลักษณะต่างๆที่บิดามารดาอบรมเลี้ยงดูลูก ย่อมส่งผลต่อพฤติกรรมของลูกที่แสดงออกมาและจะเป็นลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละคน
การอบรบเลี้ยงดู 5 แบบข้างต้น ต่างก็มีลักษณะก่อให้เกิดผลทางคุณธรรมของเด็กที่แตกต่าง
กัน การเลือกการเลี้ยงลูกแบบที่ถูกต้องย่อมขึ้นอยู่กับลักษณะของเด็ก ลักษณะของผู้ปกครองและความปรารถนาของผู้ปกครองว่าต้องการเด็กประเภทใด
จุฑามณี จาบตะขบ (2542: 31) ได้อธิบายถึงสัมพันธภาพในครอบครัวว่า หมายถึง ความสัมพันธ์ตามบทบาทที่คนเรามีต่อสมาชิกคนอื่นในครอบครัว ลักษณะความสัมพันธ์ที่ดี ประกอบด้วยความปรองดอง รักใคร่กลมเกลียวในครอบครัว นอกจากนี้ ยังประกอบด้วยความผูกพันรักใคร่ ความใกล้ชิดสนิทสนมระหว่างกันของสมาชิกในครอบครัว รวมตลอดถึงเครือญาติและบุคคลอื่นที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนนั้น
ครอบครัวประกอบด้วยกลุ่มบุคคลที่มีสัมพันธภาพ มีความผูกพันรักใคร่ ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน และบริหารครอบครัวไปในแนวเดียวกัน ดังนั้น เมื่อมีสมาชิกในครอบครัวเกิดการเจ็บป่วย ซึ่งเป็นเหตุการณ์หรือแรงผลักดันภายนอกที่เกิดขึ้นอย่างกระทันหัน หรือไม่ได้คาดคิดมาก่อน จึงไปสู่ภาวะวิกฤต ที่ไม่เพียงแต่มีผลต่อผู้ป่วยเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อครอบครัวของผู้ป่วยด้วย นั้นคือ ทำให้โครงสร้างของครอบครัวเปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งบทบาทหน้าที่ และสัมพันธภาพระหว่างสมาชิกในครอบครัว ก่อให้เกิดความเครียด แต่ละครอบครัวจะมีการเผชิญกับปัญหาที่แตกต่างกัน จึงมีผลที่ทำให้ภาวะสมดุลของแต่ละครอบครัวแตกต่างกันด้วย
14
เดโช สวนานนท์ (2518: 76-78) ได้กล่าวถึงลักษณะการอบรมเลี้ยงดูของบิดามารดาที่มีต่อลูกในลักษณะต่างๆ ซึ่งมีผลกระทบกระเทือนต่อบุคลิกภาพของลูกในอนาคต คือ บิดามารดาที่ไม่เอาใจใส่ลูก ย่อมทำให้ลูกมีความรู้สึกไม่ปลอดภัยทางอารมณ์ รู้สึกว้าเหว่ ไม่มั่นคงและส่งผลให้ลูกมีผลพฤติกรรมที่ออกมาในรูปปฏิเสธ เป็นคนขาดความรัก และยังให้ความรักกับใครไม่เป็นอีกด้วย ส่วนบิดามารดาที่ให้ความปกป้องคุ้มครองด้วยการบังคับออกคำสั่งอยู่ตลอดเวลาจะทำให้ลูกขาดความคิดริเริ่ม ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง มีแนวโน้มว่าจะต้องพึ่งพาผู้อื่นอยู่ตลอดเวลา บิดามารดาที่ใช้ระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัดย่อมทำให้ลูกมีลักษณะลงโทษตัวเอง สถาบันทางสังคมที่เล็กที่สุดคือ ครอบครัว เป็นหน่วยย่อยของสังคมพื้นฐานที่มีความสำคัญที่สุดและมีความยั่งยืนที่สุด เป็นหน่วยสังคมที่ทำหน้าที่ต่างๆ ทั้งหน้าที่ในการสร้างสรรสมาชิกให้การเลี้ยงดูผู้เยาว์ให้เจริญเติบโต ให้การอบรมสั่งสอน ความรัก ความอบอุ่น กำหนดสถานภาพและบทบาท ตลอดจนกำหนดสิทธิและหน้าที่สมาชิกที่มีต่อกัน นับว่าเป็นหน่วยสังคมที่มีความสัมพันธ์และความร่วมมืออย่างใกล้ชิด
ผลการศึกษาของ จุฑามณี จาบตะขบ (2542: 31) อธิบายให้เห็นถึงสัมพันธภาพในครอบครัว เป็นความสัมพันธ์ตามบทบาทที่คนเรามีต่อสมาชิกคนอื่นในครอบครัว ลักษณะของความสัมพันธ์ที่ดีประกอบด้วยความปรองดอง รักใคร่กลมเกลียวในครอบครัว ซึ่งความสัมพันธภาพในลักษณะนี้ สามารถทำให้สมาชิกในครอบครัวมีความสุข มีสุขภาพจิตที่ดีได้ จึงได้นำมาเป็น กรอบแนวความคิด
ผู้วิจัยเห็นว่าครอบครัวเป็นสถาบันแรกที่มีความสำคัญต่อชีวิตของเด็กในการสร้างลักษณะ
นิสัย หรือบุคลิกภาพของเด็ก การอบรมเลี้ยงดู การสั่งสอน ตลอดจนความเชื่อ เจตคติของบิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือญาติผู้ใหญ่ มีผลต่อพฤติกรรมและพัฒนาการของเด็กทุกด้านจะแสดงออกมาในทางที่ดี หรือไม่ดี ย่อมอยู่ที่ภูมิหลังของชีวิต ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของงามตา วนินทานนท์ (2528: 4-12) ที่กล่าวถึงการเลี้ยงดูเด็กว่า เป็นเรื่องสำคัญในการพัฒนาบุคลิกภาพให้เด็ก ไปในทิศทางใดให้มีคุณภาพ หรือพฤติกรรมอย่างไร จากการประมวลผลการวิจัย เกี่ยวกับจิตลักษณะของเยาวชน ที่ถูกอบรมเลี้ยงดูมาต่างๆกัน ทำให้เห็นความสำคัญของการอบรมเลี้ยงดู ผู้วิจัยจึงได้นำมาเป็นกรอบแนวคิดในการศึกษาครั้งนี้
3. แนวคิดการรับรู้ต่อการเสี่ยงเป็นโรคเอดส์
ทฤษฎีการรับรู้
ความหมาย
จำเนียร ช่วงโชติ และคณะ (2519: 2-3) กล่าวว่า การรับรู้เป็นการแปลหรือตีความหมายจากการสัมผัสที่ได้รับออกมา เป็นส่วนหนึ่งที่มีความหมาย หรือเป็นที่รู้จักและเข้าใจ ซึ่งในการแปล
15
หรือตีความนั้น บุคคลต้องใช้ประสบการณ์เดิมที่เคยมีแต่หนหลัง ถ้าไม่มีความรู้เดิมหรือถ้าบุคคลลืมเรื่องนั้นเสียแล้ว ก็จะไม่มีการรับรู้สิ่งเร้า มีแต่การสัมผัสต่อสิ่งเร้าเท่านั้น
กันยา สุวรรณแสง (2532 : 127) กล่าวว่า การรับรู้ คือ การใช้ประสบการณ์เดิมและความรู้เดิมแปลความหมายสิ่งเร้าที่ผ่านประสาทสัมผัส แล้วเกิดความรู้สึกความหมายว่าอย่างไร ดังแผนภาพที่ 3
รัจรี นพเกตุ (2536: 1) การรับรู้เป็นกระบวนการประมวล และตีความข้อมูลต่างๆ ที่อยู่รอบๆ ตัวเราที่ได้จากการเรียนรู้ กระบวนการรับรู้ แสดงได้ดังแผนภาพที่ 2
แผนภาพที่ 2 แสดงกระบวนการของการรับรู้ (Process of Perception)
ที่มา : รัจรี นพเกตุ 2536.
ตัวกระตุ้น (วัตถุเหตุการณ์ที่เป็นจริง)
พลังงานกระตุ้นข้อมูล
อวัยวะการรับรู้ความรู้สึก
กระแสประสาทรับรู้สัมผัส
สมองรับสัญญาณ
หรือเกิดความรู้สึก การรับรู้
กิตติ บุญรัตนเนตร (2540: 35) กล่าวว่าการรับรู้ (Perception) มีรากศัพท์มาจากภาษาลาตินคือ “Percapere” ซึ่ง Per หมายถึง “ผ่าน” (through) และ capere หมายถึง “การนำ” (to take) ตามความหมายในพจนานุกรมของเว็บสเตอร์ (New Webster’s Dictionary) คือ การแสดงออกถึงความรู้ความเข้าใจตามความรู้สึกที่เกิดขึ้นในใจของตนเอง ซึ่งการรับรู้เป็นองค์ประกอบทางจิตวิทยาที่มีอิทธิพลต่อการแสดงพฤติกรรมในเรื่องต่างๆ และบุคคลมีแนวโน้มที่จะปฏิบัติตามความคิดและการรับรู้ในเรื่องนั้น
แกริสัน และมากูน (Garison and Magoon อ้างถึงใน กิตติ บุญรัตนเนตร 2540: 36) ได้ให้ความหมายของการรับรู้ว่าเป็นขบวนการซึ่งสมองตีความหรือแปลความหมายของข้อมูลที่ได้จาก
16
การสัมผัสของร่างกายกับสิ่งเร้าหรือสิ่งแวดล้อม ทำให้เราทราบว่าสิ่งเร้า หรือสิ่งแวดล้อมที่สัมผัสนั้นเป็นอะไร มีความหมายอย่างไร มีลักษณะอย่างไร และการที่เราจะรับรู้สิ่งเร้าที่มาสัมผัสได้นั้นจะต้องอาศัยประสบการณ์ของเราเป็นเครื่องช่วยในการตีความหรือแปลความ
แมคจิก และ เพอร์เรียล (Meghic and Perreault อ้างถึงใน กิตติ บุญรัตนเนตร 2540: 38) กระบวนการรับรู้ของบุคคล เป็นกระบวนการของการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่บุคคลใส่ใจอย่างไม่หยุดนิ่ง และสัมพันธ์กับความต่อเนื่องของกาลเวลาและเหตุการณ์ต่างๆในสิ่งแวดล้อมรอบตัวบุคคล (Space – time Continuous) ด้วยเหตุนี้ การรับรู้ของแต่ละบุคคลจึงเป็นการแสดงออกถึงความตระหนักในเรื่องต่างๆ ซึ่งสามารถวัดการรับรู้ได้จากการให้บุคคลเลือกลักษณะที่คิดว่าเป็นจริง หรือสอดคล้องสำหรับสิ่งที่ถูกรับรู้ตามความคิดของบุคคลในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ
คิงส์ (King อ้างถึงใน กิตติ บุญรัตนเนตร 2540: 38) ได้กล่าวว่า กระบวนการของการรับรู้ จะเกิดขึ้นได้ต้องประกอบด้วย
1. การนำเข้าของข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ
2. การส่งต่อของข้อมูล
3. ขบวนการแปลความหมายของข้อมูลที่ได้รับ
4. การเก็บและจดข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ
5. การแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ออกมาโดยอาศัยข้อมูลต่าง ๆ ที่มีอยู่
สรุปจากความหมาย แสดงให้เห็นว่าการรับรู้เป็นกระบวนการที่สมองตีความหรือแปลความหมายจากสิ่งเร้าที่มาสัมผัสโดยใช้ประสบการณ์ และความรู้เดิมในการตีความหรือแปลความ หมายสิ่งเร้าที่ผ่านประสาทสัมผัสแล้วมีการตอบสนองโดยการแสดงออกถึงความรู้ ความเข้าใจตามความรู้สึกที่เกิดขึ้นรวมทั้งการแสดงออกทางพฤติกรรมตามการรับรู้นั้นๆ ด้วย
การรับรู้เกิดจากปัจจัยต่างๆ ซึ่งมีข้อสนับสนุนจากแนวคิดทฤษฎีต่างๆ ได้แก่
แนวคิดการรับรู้ต่อโอกาสเสี่ยงเป็นเอดส์ (Perceived Probability)
เป็นแนวคิดที่ใช้การสื่อสารโดยการขู่ที่จะคุกคามต่อสุขภาพ จะทำให้บุคคลเชื่อว่าตนกำลังตกอยู่ในภาวะเสี่ยง เช่น ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคเอดส์ในนิวเม็กซิโก ได้นำเสนอข้อมูลเพื่อให้บุคคลมีความตั้งใจที่จะลดพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเอดส์ โดยกล่าวว่า จากการตรวจเลือดของชายรักร่วมเพศ และชายรักสองเพศพบว่า 1 ใน 4 คนมีการติดเชื้อไวรัสเอดส์ เพื่อหวังให้ประชาชนมีความตื่นตัวว่าตนอยู่ในภาวะที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ อย่างไรก็ตาม ซัทตัน (Sutton 1982 อ้างถึงใน Mackay, Bruce C 1992: 28) ได้อธิบายว่าวิธีนี้ยังไม่ใช่แนวทางที่จะทำให้บุคคลรับรู้ต่อโอกาสเสี่ยงของการเป็นโรค แต่การรับรู้ต่อโอกาสเสี่ยงของการเป็นโรคขึ้นอยู่กับการตัดสินใจ
17
ของแต่ละบุคคลว่า ถ้าไม่ปฏิบัติตนเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายที่เกิดขึ้นจะทำให้ตนมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคได้ การตรวจสอบการรับรู้ต่อโอกาสเสี่ยงของการเป็นโรคสามารถทำได้เช่นเดียวกับการรับรู้ในความรุนแรงของโรค โดยใช้แบบสอบถามให้ตอบคำถามในกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคสูงและกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคต่ำ ตัวอย่างเช่น ให้ผู้สูบบุหรี่อ่านบทความเรื่อง การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคหัวใจ และโรคมะเร็งปอดได้สูง (สุพรรณี สฤษดิ์อภิรักษ์ 2536: 32 อ้างถึง Maddux and Rogers 1983) ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การสูบบุหรี่จะทำให้ผู้สูบมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรค (สุพรรณี สฤษดิ์อภิรักษ์ 2536: 32 อ้างถึง Rogers 1983) โดยให้กลุ่มตัวอย่าง ทำเครื่องหมายลงในช่องหน้าข้อความของแบบสอบถามว่าตนเชื่อหรือไม่ว่า การสูบบุหรี่จะทำให้เกิดโรคมะเร็งปอดและหัวใจ จากรายงานการศึกษาพบว่าผู้สูบบุหรี่ส่วนมาก มีความหวังว่าตนสามารถปรับปรุงพฤติกรรมของตนเอง และมีความตั้งใจที่จะลดหรือเลิกสูบบุหรี่ได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (สุพรรณี สฤษดิ์อภิรักษ์ 2536: 32 อ้างถึง Maddux and Rogers 1983) การใช้แบบสอบถามเพื่อตรวจสอบความตั้งใจที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อาจไม่ประสบผลสำเร็จเท่าใดนัก เนื่องจากการตรวจสอบตัวแปร เกี่ยวกับการรับรู้ต่อโอกาสเสี่ยงของการเป็นโรค หรือแบบสอบถามที่ใช้นั้น ไม่มีผลต่อการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคของบุคคลที่มีความเสี่ยงสูง (สุพรรณี สฤษดิ์อภิรักษ์ 2536: 32 อ้างถึง Sutton 1982) เนื่องจากผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรค จะไม่ยอมปฏิบัติตามคำแนะนำเสมอไป ดังตัวอย่างเช่น ภายหลังจากผู้ที่สูบบุหรี่จัดได้รับการกระตุ้นในระดับสูงเพื่อให้เลิกสูบบุหรี่ ก็ยังคงหลีกเลี่ยงไม่ยอมปฏิบัติตามคำแนะนำ การส่งตรวจฉายเอ็กซ์เรย์ปอดอาจเพิ่มให้บุคคลนั้นกลัวการเป็นมะเร็งปอด ซึ่งจะหลีกเลี่ยงความกลัวโดยไม่ยอมรับการเอ็กซ์เรย์ (สุพรรณี สฤษดิ์อภิรักษ์ 2536: 32 อ้างถึง Leventhal and Watts 1966) ในทางกลับกัน การเอาใจใส่สนับสนุนให้ผู้ที่สูบบุหรี่คำนึงถึงผลที่เกิดขึ้นจากการสูบบุหรี่ จะทำให้บุคคลนั้นลดจำนวนมวนที่สูบบุหรี่ลงได้ ซึ่งจะส่งผลให้เป็นโรคมะเร็งปอดน้อยลง (สุพรรณี สฤษดิ์อภิรักษ์ 2536: 32 อ้างถึง Leventhal and Walts 1966)
การให้บุคคลปฏิบัติตามคำแนะนำ อาจใช้เงื่อนไขความเสี่ยงต่อการเป็นโรคสูงร่วมกับผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติตามคำแนะนำ แต่เงื่อนไขดังกล่าวยังเป็นสิ่งที่ต้องค้นหาคำตอบกันอีกต่อไปว่า ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคสูง จะมีผลต่อความตั้งใจของบุคคลในการปฏิบัติตนเพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยงนั้นหรือไม่ เช่น เพิ่มการสูบบุหรี่มากขึ้น (Rogers 1983 อ้างถึงใน Mackay and Bruce C.1992: 30) เพราะอาจทำให้เพิ่มความเสี่ยงมากขึ้นได้ ถ้าบุคคลพยายามที่จะปฏิเสธการรับรู้ของตนเองว่า เขาไม่สามารถที่จะปฏิบัติตามคำขู่นี้ได้ แม้ว่าจะเป็นผลเสีย (Maddux and Rogers 1983 อ้างถึงใน Mackay and Bruce C.1992: 30) ในทางกลับกันถ้ารวมภาวะเสี่ยงสูงกับผลดีของการปฏิบัติ จะทำให้ความตั้งใจที่จะยอมรับการปฏิบัติตามมีเพิ่มมากขึ้น (Rogers 1983 : Sutton 1982 อ้างถึงใน Mackay , Bruce C. 1992: 30) อย่างไรก็ตามการใช้แบบสอบถามซึ่งผู้ตอบจะให้ค่า
18
ความรู้สึก ตามข้อความที่กำหนดไว้ในแบบสอบถามนั้นยังเป็นสิ่งที่ต้องทำการศึกษาต่อไปว่าจะสามารถคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคของกลุ่มตัวอย่างได้หรือไม่ (สุพรรณี สฤษดิ์อภิรักษ์ 2536: 33 อ้างถึง Sutton 1982)
สุพรรณี สฤษดิ์อภิรักษ์ (2536: 33 อ้างถึง Rogers 1983) อธิบายถึง ความคาดหวังในประสิทธิผลของการตอบสนอง (Response Efficacy) กระทำได้โดยการนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับการปฎิบัติตนเพื่อลดโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรค ซึ่งเป็นการสื่อสารที่ทำให้บุคคลเกิดความกลัวเกี่ยวกับสุขภาพโดยปกติการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบของการปรับ และหรือลดพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง จากผลการวิจัยพบว่า การที่บุคคลทราบถึงผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติตามคำแนะนำจะช่วยลดความรุนแรงของการเกิดโรคได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ตัวแปรนี้ได้มีการทดสอบว่า จะมีผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือไม่ ดังการศึกษาของ แมดดุ๊กซ์ และโรเจอร์ส (1983) พบว่า เมื่อกลุ่มตัวอย่างได้รับคำแนะนำโดยบอกถึงผลดีที่เกิดขึ้นจากการงดสูบบุหรี่ คือ ช่วยลดการเกิดโรคหัวใจและโรคปอด ทำให้กลุ่มตัวอย่างเกิดความตั้งใจที่จะหยุดสูบและนำไปสู่ความตั้งใจในการป้องกันรักษาสุขภาพของบุคคล พบว่า การเพิ่มความคาดหวังในผลที่เกิดขึ้นร่วมกับความตั้งใจ จะทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยเฉพาะกรณีที่บุคคลรู้ว่าตนกำลังเสี่ยงต่อการเป็นโรค แต่เมื่อบุคคลนั้นถูกคุกคามสุขภาพอย่างรุนแรง และไม่มีวิธีใดที่จะลดการคุกคามนั้นลงได้อาจทำให้บุคคลขาดที่พึ่ง และการสอนที่มีความเฉพาะเจาะจง เพื่อให้บุคคลปฏิบัติตามคำแนะนำ จะช่วยให้เกิดความตั้งใจที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างจริงจัง อีกทั้งการสอนที่มีความเฉพาะเจาะจง จะมีรายละเอียด เพื่อกระตุ้นเตือนความรู้สึก หรือการรับรู้ต่อความสามารถของตนเอง ให้ปฏิบัติตามมากขึ้น
ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์
จากการศึกษาและติดตามสถานการณ์โรคเอดส์ของกรุงเทพมหานคร พบว่า สาเหตุสำคัญของการแพร่โรคเอดส์ในเขตกรุงเทพมหานคร คือ การติดต่อทางเพศสัมพันธ์คิดเป็นร้อยละ 76.22 รองลงมาคือ ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น คิดเป็นร้อยละ 11.64 และติดเชื้อจากมารดา คิดเป็นร้อยละ 5.22 (กองควบคุมโรคเอดส์ สำนักอนามัย 2545: 5) ทั้งนี้เนื่องจากกรุงเทพมหานครมีปัจจัยที่ช่วยเสริมการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ โดยผ่านทางเพศสัมพันธ์ และยาเสพติด เพราะกรุงเทพมหานคร เป็นศูนย์รวมความบันเทิงเริงรมย์ มีสถานบริการทางเพศทั้งทางตรง และแอบแฝงอยู่เกินกว่า 1,000 แห่ง มีหญิงและชายบริการมากกว่า 30,000 คน มีสื่อยั่งยุและส่งเสริมความสุขทางเพศมากมายหลายประเภท ระบบเศรษฐกิจที่เป็นแบบวัตถุนิยม ส่งผลให้เกิดความเสื่อมถอยทางด้านศีลธรรม วัฒนธรรมและประเพณีไทย มีการส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมทางเพศที่เบี่ยงเบน การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร มองภาพการสำส่อนทางเพศเป็นเรื่องปกติ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการนำเข้าสู่ระบบการ
19
ขายตัว และการติดยาในขณะเดียวกันการย้ายถิ่นจากชนบทเข้าสู่เมืองจำนวนมาก ได้นำไปสู่ปัญหาอื่น ๆ ตามมา สภาพสังคมเมืองหลวงมีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น ก่อให้เกิดชุมชนแออัด แหล่งเสื่อมโทรม สภาพครอบครัวในสังคมเมืองเปลี่ยนแปลงไป ความผูกพันธ์ในครอบครัวเสื่อมลง วัยรุ่นขาดความอบอุ่นและแบบอย่างที่ดี นำไปสู่ปัญหาอาชญากรรม และยาเสพติด นอกจากส่งผลการแพร่ระบาดของโรคเอดส์แล้วยังส่งผลต่อการแพร่ระบาดของยาเสพติดอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยรุ่นที่เป็นช่วงเรียกว่า “วัยหัวเลี้ยวหัวต่อ อยากรู้ อยากลอง” โดยทั่วไปเยาวชนที่มีอายุต่ำกว่า 10 ปี ผู้ปกครองจะสามารถกำชับดูแลได้ไม่ยากนักแต่เมื่อเติบโตขึ้นเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ อาทิ การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย ฮอร์โมน ทัศนคติ รวมถึงความต้องการในการรับรู้ข้อมูลแปลกใหม่ แต่มักมีความสับสนทางด้านอารมณ์และสภาวการณ์ต่างๆ รอบตัวเนื่องจากขาดประสบการณ์ที่จะนำมาใช้ในการไตร่ตรอง จากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้สังคมภายในครอบครัวแคบเกินไปในความคิดของวัยรุ่น “เพื่อน” จึงเข้ามามีบทบาทในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ใหม่ๆ และเมื่อเพื่อนเข้ามามีบทบาทและอิทธิพลต่อชีวิตมากขึ้น การปรับตัวตามค่านิยมเดียวกันในแต่ละกลุ่ม จึงเป็นเรื่องปกติอาจจะเป็นในทางบวกหรือทางลบขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล กรณีของยาเสพติดก็เช่นกันจากผลพวงการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจในแผนพัฒนาฯ ที่ผ่านมาหรือจากการเปลี่ยนแปลงของสังคมที่ทำให้คนรู้สึกขาดที่พึ่งเมื่อเกิดปัญหาและหาทางออกไม่ได้จึงหันไปพึ่งพายาเสพติด หรือแม้แต่ระบบการเมืองและกระบวนการยุติธรรมที่ทำให้เกิดช่องว่างในการแสวงหาผลประโยชน์จากกระบวนค้ายาเสพติด ปรากฏการณ์ดังกล่าวข้างต้นจึงนับได้ว่าเป็นเงื่อนไขสำคัญทำให้เกิดการแพร่ระบาดทางยาเสพติดต่างๆ ได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นนำไปสู่การเกิดปัญหาอาชญากรรมต่างๆ และส่งผลต่อความสงบเรียบร้อยตลอดจนชีวิตทรัพย์สินของประชาชนโดยรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เยาวชน วัยรุ่น นักเรียน และนักศึกษา ที่เป็นกำลังสำคัญของชาติต้องมาสูญเสียอนาคต เพราะเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดซึ่งปัจจุบันได้แพร่ระบาดเข้าไปในสถานศึกษาในรูปแบบและกลยุทธ์ต่าง ๆ ทั้งจากนักเรียน นักศึกษา เป็นผู้จำหน่ายให้กับเพื่อนนักเรียนด้วยกันเอง
บุศยา แรกข้าว (2543: 101-102) ได้กล่าวถึง ผลการศึกษาเกี่ยวกับการใช้ถุงยางอนามัยของวัยรุ่น ซึ่งสรุปมาจากปัจจัยที่เป็นสาเหตุของการไม่ใช้ถุงยางอนามัย พบว่า การที่วัยรุ่นมองว่าการใช้ถุงยางอนามัยไม่เหมาะสมในความสัมพันธ์ที่อยู่บนพื้นฐานความรัก เพราะทำให้เกิดความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจกันและขาดความใกล้ชิด ขาดการรับรู้ความเสี่ยงต่อการติดโรคเอดส์จากคู่นอน ทำให้ฝ่ายชายลดความรู้สึกพึงพอใจทางเพศขณะมีเพศสัมพันธ์ วัยรุ่นคาดหวังว่าต้องไม่รู้จักเรื่องเพศ การที่ตนเองจะเป็นผู้เอ่ยถึงการใช้ถุงยางอนามัยทำให้เป็นสถานการณ์ที่ยากลำบาก และขาดการสื่อสารทางเพศระหว่างวัยรุ่นชายและวัยรุ่นหญิง ในเรื่องการคุมกำเนิดและการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคเอดส์ พบว่าไม่ค่อยมีการสื่อสารกันในเรื่องเพศ การคุมกำเนิดและการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย
20
จากแนวคิดการรับรู้เสี่ยงต่อการเป็นโรค แสดงให้เห็นถึงโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคของนักศึกษาซึ่งไม่มีความรู้ที่จะใช้ป้องกันการติดโรค ซึ่งนักเรียนอาจได้รับรู้จากสื่อต่างๆ เช่น จากสื่อสารมวลชน ทำให้เด็ก เยาวชนเกิดแรงจูงใจที่มีต่อการรับรู้ต่อการเสี่ยงเป็นเอดส์ และต้องการป้องกันตนเองจากโรคได้ ความการป้องกันเลือกกระทำได้หลายวิธี เช่น การเลียนแบบ การเรียนรู้ หรือการสอนด้วยการพูด หรือมาจากสื่อต่างๆ การที่บุคคลจะปฏิบัติตามคำแนะนำนั้น เนื้อหาของข่าวสารที่ถ่ายทอด ควรจะมีผลในการช่วยให้บุคคลปฏิบัติตามได้ โดยเฉพาะข่าวสารมีลักษณะของที่คุกคามต่อสุขภาพ การรับรู้นี้จะเป็นตัวเชื่อมโยงที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรม แรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคนี้ การประเมินการรับรู้นี้จากสื่อกลางที่ทำให้เกิดความกลัว ซึ่งขึ้นอยู่กับจำนวนของสื่อที่มากระตุ้น สุพรรณี สฤษดิ์อภิรักษ์ (2536: 29) ได้กำหนดตัวแปรที่ทำให้บุคคลเกิดความกลัว 3 ตัวแปรคือ ความรุนแรงของโรค (Noxiousness) การรับรู้ต่อโอกาสเสี่ยงของการเป็นโรค (Perceived Probability) ความคาดหวังในประสิทธิผลของการตอบสนอง (Response Efficacy) จาก ของแนวคิดของ สุพรรณี สฤษดิ์อภิรักษ์ ( 2536: 34) ซึ่งครอบคลุมเนื้อหาที่จะศึกษาถึงการรับรู้ต่อความเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ การรับรู้ถึงการมีเพศสัมพันธ์จากสื่อมวลชน และการรับรู้ต่อการเสี่ยงเป็นเอดส์ ผู้วิจัยจึงได้นำมาเป็นกรอบในการศึกษาครั้งนี้
แนวคิดการสื่อสารประชาสัมพันธ์
รุ่งรัตน์ ชัยสำเร็จ (2543: 39-40) ได้กล่าวถึง ช่องทางการเผยแพร่ข่าวสารและข้อมูลสำคัญในการเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์ไว้ โดยได้อธิบายรายละเอียดไว้ดังนี้
ช่องทางการเผยแพร่ข่าวสารหรือสื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์ แบ่งออกตามลักษณะการควบคุมได้ 2 แบบ คือ
1.สื่อที่ควบคุมได้ หรือสื่อเฉพาะกิจ หมายถึง สื่อที่นักประชาสัมพันธ์จัดทำขึ้นเอง และสามารถควบคุมได้เองตลอดกระบวนการ ตั้งแต่กำหนดวัตถุประสงค์กลุ่มผู้รับสาร เนื้อหา รูปแบบ จำนวนและความถี่ในการเผยแพร่ วิธีการ และขอบเขตการเผยแพร่ ได้แก่วารสาร สิ่งพิมพ์ รายการเสียงตามสาย นิทรรศการ ฯลฯ
2.สื่อที่ควบคุมไม่ได้ หรือสื่อมวลชน หมายถึง สื่อที่องค์การมิได้เป็นเจ้าของ และนักประชาสัมพันธ์ไม่มีอำนาจในการควบคุมทุกกรณี
21
ข้อมูลสำคัญในการเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์
ข้อมูล (Information) คือ ปัจจัยพื้นฐานสำหรับการทำงาน ที่มาของข้อมูลอาจได้จากการสังเกตสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กร ด็อจ นิวสันและบ๊อบ คาร์เรล (Doug Newson and Bob Carrell 1995:66-73 อ้างใน กิติมา สุรสนธิ 2543: 22-23))ได้กล่าวถึงสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์ไว้ดังนี้
1.นโยบาย (Policy) องค์การใดก็ตามต้องกำหนดจุดมุ่งหมาย สถานะ และทิศทางการดำเนินงานเพื่อชี้นำให้การดำเนินกิจการดำเนินไปตามที่คาดหวัง นโยบายมี 2 ประเภท คือ นโยบายภายใน (Internal Policy) เกี่ยวข้องกับพนักงานและการดำเนินงาน และ นโยบายภายนอก (External
Policy) ที่ตอบสนองสถานการณ์ภายนอก
2.ข้อมูลภูมิหลัง (Background Material) งานประชาสัมพันธ์จะสำเร็จได้ต้องอยู่บนรากฐานของการเสนอข้อมูลเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องราว สถานการณ์ต่างๆ แนวทางง่ายๆ คือ ยึดคำถามแบบ ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร เพราะเหตุไร เพื่อให้ได้รายละเอียดครบถ้วน
3.กลุ่มผู้รับสาร (Audience) กลุ่มผู้รับสารอาจใช้เกณฑ์ทางประชากรศาสตร์ หรือเกณฑ์ข้อมูลทางจิตวิทยา ได้แก่ วิถีชีวิต ทัศนคติ พฤติกรรม ข้อมูลดังกล่าวจะช่วยให้นักประชาสัมพันธ์เข้าใจกลุ่มผู้รับสารได้อย่างลึกซึ้ง และสร้างสรรค์ข้อความเพื่อสื่อสารประชาสัมพันธ์สู่แต่ละกลุ่มได้เหมาะสม
4.เนื้อหาข่าวสาร (Message) ข้อมูลเนื้อหาข่าวสารแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนแรกคือ เนื้อหา (Content) ซึ่งเป็นรายละเอียดที่เพียงพอ ถูกต้อง อยู่ในความสนใจของกลุ่มผู้รับสารเป้าหมาย ส่วนที่สองคือ รูปแบบการนำเสนอ (Presentation) ซึ่งสามารถนำเสนอได้หลายรูปแบบเพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และกลุ่มผู้รับสาร
5.สื่อ (Media) ข้อมูลที่เกี่ยวกับช่องทางการสื่อสาร เป็นสิ่งที่ต้องใช้ประกอบกับการเลือกใช้สื่อ ต้องพิจารณาประสิทธิภาพของสื่อที่จะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย
6.การประเมินผล (Evaluation) เพื่อให้ทราบว่าสิ่งใดบ้างที่มีประสิทธิภาพดี และสิ่งใดต้องปรับปรุง นักประชาสัมพันธ์ที่ดีต้องติดตามการประเมินผล
จิตวิทยาในการเขียนเพื่อชักจูงใจ
รุ่งรัตน์ ชัยสำเร็จ (2543: 47-51) ได้อธิบายถึง การเขียนเพื่อชักจูงใจ เป็นจุดมุ่งหมายของการเขียนเพื่อชี้นำและชักชวนกลุ่มประชาชนเป้าหมายให้เกิดความคิดและคล้อยตาม เห็นดี เห็นงามกับสาระที่นักประชาสัมพันธ์นำเสนอ อันจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรมที่มีต่อสิ่งนั้น ธรรมชาติของการชักจูงใจมี 3 แนวทางคือ
1.การชักจูงใจในฐานะเป็นกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งผู้รับสารแสวงหาเพื่อสนองความอยากรู้อยากเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
22
2.การชักจูงใจในฐานะเป็นกระบวนการทางอำนาจ ซึ่งนักประชาสัมพันธ์พยายาม “ผลักดัน” ข่าวสารสู่ผู้รับ
3.การชักจูงใจมี 5 ลักษณะคือ
3.1 รูปแบบสิ่งเร้า – การตอบสนอง เป็นแนวคิดที่มีรูปแบบง่ายที่สุด ยึดหลักการโยงความคิด เพื่อให้เข้าสู่จิตใจของกลุ่มผู้รับสาร
3.2 รูปแบบการรู้แจ้ง เป็นแนวความคิดที่ คนเราสามารถคิดและใช้เหตุผลในสิ่งที่เขาอ่าน เห็น และได้ฟังมา และเขาสามารถสรุปได้ด้วยตนเอง
3.3 รูปแบบการโน้มน้าวใจ แนวคิดนี้ เป็นการแสดงให้ผู้รับสารเห็นว่า การเปลี่ยนแปลงทัศนคติ พฤติกรรมเดิมของเขานั้น เขาอาจได้รับอะไรเป็นสิ่งตอบสนองความต้องการซึ่งความต้องการ (Needs) ของคนเรามีผลต่อการชักจูงใจจากความต้องการของมนุษย์ ซึ่ง Abrahaham H.Maslow อธิยายไว้ 5 ระดับคือ
1). ความต้องการทางกาย ได้แก่ อาหาร น้ำ อากาศ เครื่องนุ่งห่ม
2).ความต้องการความปลอดภัย ได้แก่ ความเป็นอิสระพ้นจากความกลัวและอันตราย
3). ความต้องการทางสังคม ได้แก่ ความต้องการทางสังคม ได้แก่ การเป็นสมาชิกของกลุ่มสังคม ความสัมพันธ์กับผู้อื่น และต้องการความรัก
4).ความต้องการยอมรับจากผู้อื่น ได้แก่การรับสถานภาพ การได้รับการเคารพ ยกย่อง
5).ความต้องการความสำเร็จที่แท้จริงในชีวิต ซึ่งแตกต่างกันในแต่ละบุคคล โดยขึ้นอยู่กับความสนใจ และกำลังสติปัญญาความสามารถ
3.4 รูปแบบสังคม เป็นรูปแบบที่ใกล้เคียงกับรูปแบบการโน้มน้าวใจ มุ่งเน้นภูมิหลังส่วนบุคคล
3.5 รูปแบบเฉพาะบุคคล แต่ละคนมีลักษณะเฉพาะของตน ส่วนใหญ่ได้รับข่าวสารเพื่อการชักจูงใจ
องค์ประกอบในการเขียนเพื่อชักจูงใจในการประชาสัมพันธ์
นักประชาสัมพันธ์ควรพิจารณาแต่ละองค์ประกอบของกระบวนการสื่อสารว่ามีความพร้อมในด้านต่างๆ เพียงใดที่จะช่วยให้การเขียนเพื่อชักจูงใจมีประสิทธิภาพดังนี้
แหล่งสาร (Source) ต้องมีคุณสมบัติในด้าน ความน่าเชื่อถือ (Creditability) มีความคล้ายคลึง (Similarity) การเป็นที่ยอมรับเฉพาะด้าน (Perceived Power) องค์การควรมีความ
23
เป็นผู้นำหรือผู้เชี่ยวชาญในด้านใดด้านหนึ่งอย่างชัดเจน แต่ไม่มากจนแตกต่างจากผู้รับสารมากเกินไป
ข่าวสาร (Message) ควรมีข้อมูลที่ถูกต้องชัดเจน มีข้อมูลที่เหมาะสม ควรเสนอเป็นเรื่องดีเพื่อให้ผู้รับสารเห็นด้วย การนำเสนอบทสรุปเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งต้องมีการโน้มน้าวที่จะยึดมั่นในความคิดนั้น หรือใช้เทคนิคอารมณ์ เพื่อจูงใจ และวิธีที่ดีคือเสนอเนื้อหาที่พร้อมทั้งข้อเท็จจริงและอารมณ์
สื่อ (Media) การสื่อสารโดยอาศัยการพูดมีประสิทธิภาพในการชักจูงใจมากกว่าสื่อสิ่งพิมพ์ ส่วนการเสนอเนื้อหาที่เป็นการชักจูงใจด้านอารมณ์นั้นจะมีประสิทธิภาพดีในการสื่อสารทางวิทยุกระจายเสียงหรือโทรทัศน์
ผู้รับสาร (Audience) คนส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะลืมง่าย การเสนอข่าวซ้ำหรือการย้ำจะช่วยให้ผู้รับมีความจำได้
ผล (Effect) การประชาสัมพันธ์สิ่งที่คาดหวังคือ ผู้รับสารต้องคิดเห็นคล้อยตาม เป็นการเขียนเพื่อให้ผู้รับสารกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
หลักจิตวิทยาในการเขียนเพื่อชักจูงใจในงานประชาสัมพันธ์ ต้องตระหนักถึงข้อมูลข่าวสารที่ทำให้คนเกิดความรู้ ความเข้าใจ เพื่อช่วยสร้างความคิดเห็น การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานการรับฟังก่อนการถ่ายทอดข่าวสาร นั้น ต้องคำนึงถึงความขัดแย้ง และพึงทำการสื่อสารทุกรูปแบบ เพื่อ
1.กระตุ้นให้ผู้อ่าน ผู้ฟังเกิดความสนใจในเรื่องที่นำเสนอ
2.เสนอข้อมูลให้ทราบอย่างพอเพียงทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจที่ชัดเจนถูกต้อง
3.เสนอแนะแนวทางและแสดงการแก้ไขปัญหาเรื่องนั้น
4.สร้างความน่าเชื่อถือในข่าวสารด้วยหลักเหตุผล
5.สร้างความรู้สึกมีส่วนร่วมหรือเกี่ยวข้อง
6.เสนอข่าวสารโดยสื่อข้อความเจาะจงเฉพาะกลุ่มย่อย
7.เขียนสรุปบทความในลักษณะของการแสดงทัศนะเพื่อเป็นการชักนำความคิดเสมอ
8.เผยแพร่ข่าวสารในวงกว้าง โดยให้เกิดความหลากหลายผ่านสื่อต่างๆ เพื่อสนับสนุนซึ่งกันและกัน
จากอิทธิพลของสื่อและการประชาสัมพันธ์ ของรุ่งรัตน์ ชัยสำเร็จ (2543: 39-40) มีผลต่อความรู้สึกนึกคิด การเลียนแบบ ของวัยรุ่น จากตัวแบบที่ตนชื่นชอบ ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของวัยรุ่น ผู้วิจัยจึงนำมาใช้เป็นกรอบในการศึกษา
24
4. แนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่น
ปรีชา วิหคโต และคณะ (2531) ได้อธิบายถึง พฤติกรรมวัยรุ่นเกี่ยวกับความต้องการมีความสัมพันธ์กับเพศตรงข้ามสรุปได้ว่า วัยรุ่นกับเพื่อน ที่เรามักพบเห็นหรือรับฟังมาว่า มักชอบคลุกคลีกับเพื่อน เที่ยว คุย ทำงาน เขาต้องการที่จะอยู่กับเพื่อนเพื่อทำกิจกรรมกับเพื่อนอย่างไม่รู้เบื่อหน่าย
ในด้านความต้องการมีสัมพันธ์กับเพื่อนต่างเพศ โดยธรรมชาติ วัยรุ่นมีร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป จากเด็กสู่วัยหนุ่มสาว และบรรลุวุฒิภาวะทางเพศ ซึ่งทำให้วัยรุ่นมีความสนใจเพศตรงข้าม จึงผลักดันให้วัยรุ่นมีความสนใจ และมีความปรารถนาที่จะมีความสัมพันธ์กับเพศตรงข้ามตั้งแต่วัยรุ่นตอนกลาง ซึ่งการมีสัมพันธภาพกับเพื่อนต่างเพศของวัยรุ่นมักไม่ได้รับการสนับสนุนจากพ่อแม่ นอกจากนี้ กลุ่มเพื่อนของนักเรียนวัยรุ่นยังเป็นสื่อกลางของการแนะนำสัมพันธภาพของเพื่อนต่างเพศ
ความต้องการมีสัมพันธภาพกับเพื่อนต่างเพศแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนคือ
1.ขั้นแข่งขัน เป็นขั้นที่เกิดจากวัยรุ่นต้องการแข่งขันกัน เพื่อเอาชนะหรืออยากทัดเทียมเพื่อนฝูง ความสัมพันธ์ในขั้นนี้จึงไม่ยั่งยืน เป็นความสัมพันธ์แบบชั่วครั้งชั่วคราว
2.ขั้นเลือกคู่ เป็นขั้นที่วัยรุ่นมักจะเลือกเฟ้นหาคู่ที่เป็นคนรักและหมายปองอย่างจริงจัง
3.ขั้นจริงจัง เป็นขั้นที่ดำเนินไปสู่การเฟ้นหาคนรักที่ดำเนินไปอย่างแน่นแฟ้นและจริงจัง
พฤติกรรมของวัยรุ่นในด้านการมีสัมพันธภาพกับเพื่อนต่างเพศจึงมักมีปัญหาอุปสรรคที่ทำให้เกิดความวิตกกังวล วัยรุ่นจึงมักแสวงหาเพื่อนที่ไว้ใจได้ จากพฤติกรรมวัยรุ่นตามแนวคิดของปรีชา วิหคโตและคณะ (2531) อธิบายถึงความต้องการมีสัมพันธ์กับเพื่อนต่างเพศของวัยรุ่น ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาในครั้งนี้ ผู้วิจัยจึงได้นำมาเป็นแนวทางในการศึกษา การยอมรับในการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิงในระดับอุดมศึกษา
บุศยา แรกข้าว (2543: 93-102) ได้สรุป พฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่น ไว้ดังนี้
การมีนัดกับเพื่อนต่างเพศ หมายถึง การคบหาสมาคมกันของเด็กวัยรุ่นชายหญิง จุดมุ่งหมายเพื่อทำความรู้จักมักคุ้นกับเพื่อนตางเพศ การมีนัดไม่จำเป็นจะต้องจบลงด้วยการแต่งงานเสมอไป เพราะวัยรุ่นที่คบกันยังมีอายุน้อยเรียนยังไม่สำเร็จและยังตั้งตัวไม่ได้ การนัดกันและออกไปเที่ยวด้วยกันจึงเป็นการพักผ่อนหย่อนใจ หาความสุขสนุกสนานเท่านั้น เมื่อหมดเวลานัดแล้วทั้งสองฝ่ายก็ไม่มีข้อผูกพันกันต่อไป การนัดกับเพื่อนต่างเพศ มาจาก ความสนใจเพื่อนต่างเพศ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของวัยรุ่น เป็นการตอบสนองความสนใจของตนเอง และได้นำสิ่งที่ตนพบเห็นมาปรับปรุงบุคลิกภาพของตน ตามหลักจิตวิทยากล่าวไว้ว่า มนุษย์มีความต้องการสำคัญอย่างหนึ่งคือ การมี
25
พวกพ้อง (Sense of belonging) มีเจ้าของและเป็นเจ้าของ โดยเฉพาะเด็กวัยรุ่นมีความต้องการที่เป็นที่ยอมรับ ดังนั้น การมีนัดพบเพื่อนไม่ว่าเพศใดจึงสนองความต้องการดังกล่าว การนัดพบเพื่อนต่างเพศทำให้ได้รับความสนุกสนานเป็นการพักผ่อนหย่อนใจแบบหนึ่งของวัยรุ่น และการพบเพื่อนต่างเพศมากๆ ทำให้พบเห็นบุคลิกภาพหลายแบบ ซึ่งผลเสียของการนัดกับเพื่อนต่างเพศได้แก่
1.การมีนัดเที่ยวกันหลายๆ คน โดยเฉพาะฝ่ายหญิง ถ้าเปลี่ยนคู่บ่อยอาจได้รับคำครหา นินทาจากชาวบ้าน
2.เมื่อออกเที่ยวบ่อยๆ นานเข้าก็ทำให้เลิกยาก และอาจมีการเรียกร้องสิทธิบางอย่างเกินความเป็นเพื่อน ถ้าอยากเลิกก็ไม่กล้า เพราะไม่อยากทำให้อีกฝ่ายหนึ่งเสียใจ
3.เมื่อชายชวนหญิงเที่ยว ก็หมายความว่า ต้องการออกค่าใช้จ่ายทั้งหมด ถ้ายังไม่มีรายได้เป็นของตนเอง จะทำให้เกิดปัญหาได้ และอาจนำไปสู่การกระทำผิดหรือการไปเที่ยวแล้วทำให้เสียเวลาเรียนและทำงาน
4.อาจมีความสัมพันธ์ทางเพศขึ้นได้
สรุปได้ว่า การนัดพบเป็นแบบแผนพฤติกรรมที่จะช่วยพัฒนาสัมพันธภาพระหว่างบุคคลต่างเพศ พฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางลบมากขึ้น ทั้งในวัยรุ่นชายและหญิง จะเห็นได้จากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรทั้งนี้เกิดจากปัจจัยแวดล้อมต่างๆ เช่น กลุ่มเพื่อนที่ชักชวนกันไปทำกิจกรรมที่ไม่เหมาะสม หรือได้รับอิทธิพลจากสิ่งยั่วยุต่างๆ ที่กระตุ้นให้เกิดอารมณ์ทางเพศ ประกอบกับแนวโน้มการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรัก หรือมีหญิงอื่นที่พบปะตามสถานที่ต่างๆ รวมถึงการใช้ถุงยางอนามัยที่ไม่สม่ำเสมอ หรือไม่มีความรู้ที่จะป้องกันโรค ทำให้มีโอกาสเสี่ยงที่จะติดโรคหรือเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ได้ นอกจากนี้ยังอาจเสี่ยงต่อการทำแท้งซึ่งผิดกฎหมาย จากแนวคิดดังกล่าวผู้วิจัยจึงได้นำแนวคิดของปรีชา วิหคโต และคณะ (2531: 1) มาใช้เป็นกรอบในการศึกษา ถึงปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักในการศึกษาครั้งนี้
5. แนวคิดเกี่ยวกับทัศนคติของวัยรุ่นในเรื่องการมีเพศสัมพันธ์
ความหมาย
พระยาอนุมานราชธน (2530 อ้างถึง พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ.2525) ได้ให้ความหมายทัศนคติไว้ว่า ทัศนคติ คือ แนวความคิดเห็น
เคร็ท และ คลัทซ์ฟิลด์ (Kretch and Crutchfield อ้างใน พรรณี มานะกุล 2543: 9) กล่าวว่า ทัศนคติเป็นผลรวมของกระบวนการที่ก่อให้เกิดสภาพการจูงใจ อารมณ์ การยอมรับและเกี่ยวกับความรู้ ซึ่งกระบวนการเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์บุคคล
26
พรรณี มานะกุล (2543: 11) กล่าวว่า ทัศนคติ เป็นสภาวะความพร้อมของร่างกายและจิตใจ ซึ่งรวมทั้งความคิด ความรู้สึกที่มีแนวโน้มจะตอบสนองต่อสิ่งเร้า หรือสถานการณ์ต่างๆ อาจจะเป็นไปในทางสนับสนุนหรือต่อต้าน การเข้าหาหรือถอยหนี และ ทัศนคติ ยังเป็นความเชื่อ ความรู้สึกของบุคคลที่มีต่อสิ่งต่างๆ เช่น บุคคล สิ่งของ สถานการณ์อื่นๆ รวมทั้งท่าทีที่แสดงออกที่บ่งถึงสภาพจิตใจที่มีต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใด และได้กล่าวถึงแหล่งกำเนิดทัศนคติว่า องค์ประกอบที่มีผลต่อทัศนคติได้แก่
1.ตัวบุคคล ประสบการณ์ในการเลี้ยงดูหรือฝึกอบรม จะเป็นตัวกำหนดบุคลิกภาพของบุคคล ขณะเดียวกันบุคคลย่อมมีบุคลิกภาพที่แตกต่างกัน ซึ่งจะมีผลทำให้ทัศนคติของบุคคลเหล่านั้นแตกต่างกันอีกด้วย
2. สัมพันธภาพระหว่างบุคคล การที่บุคคลหนึ่งจะสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใน
บุคคลอื่นหรือไม่ และมากหรือน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับคุณลักษณะบางอย่างของบุคคลนั้น คือความเป็นที่เชื่อถือ ความน่าสนใจ และความมีอำนาจ
3. กลุ่ม บุคคลหนึ่งย่อมมีส่วนร่วมกับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ประกอบด้วย สมาชิกหลายคนใน
ขณะเดียวกัน บุคคลนั้นก็อาจจะมีความต้องการเข้าไปมีส่วนร่วมกับกลุ่มอื่นด้วย ทัศนคต ิของบุคคลนั้นย่อมขึ้นอยู่กับบุคคลในกลุ่มที่เขาเป็นสมาชิกด้วยเช่นกัน
4. สัมพันธภาพระหว่างกลุ่ม กลุ่มหลายๆ กลุ่ม ถ้ามีความหมายเหมือนกันในค่านิยม ความ
เชื่อ วัฒนธรรมประเพณี ก็ย่อมมีทัศนคติที่ดีต่อกัน
จากความหมายสรุปได้ว่า ทัศนคติคือ ความคิดเห็น เป็นความเชื่อ ความรู้สึกของบุคคลที่มีต่อสิ่งต่างๆ รวมทั้งท่าทีที่แสดงออกที่บ่งบอกถึงสภาพจิตใจที่มีต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใด แหล่งกำเนิดทัศนคติมาจากตัวบุคคล ประสบการณ์ในการเลี้ยงดูหรือฝึกอบรม สัมพันธภาพระหว่างบุคคลกลุ่ม และ สัมพันธภาพระหว่างกลุ่ม
กฤตยา อาชวนิจกุล และ วราภรณ์ แช่มสนิท (2537: 40) ได้กล่าวไว้ว่า ปรากฎการณ์ที่วัยรุ่นหญิงชายไทยในปัจจุบันมีเพศสัมพันธ์ในหมู่เพื่อนวัยเดียวกันเพิ่มมากขึ้น แม้นทัศนคติโดยรวมของสังคมในระดับที่เป็นทางการยังคงประเมินการมีเพศสัมพันธ์ในหมู่วัยรุ่นไว้ในฐานะ ที่เป็น “พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม” แต่วัยรุ่นมีแนวโน้มที่จะมองว่า การมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่น “เป็นเรื่องธรรมดา และห้ามกันไม่ได้แล้ว” โดยให้เหตุผลว่า ปัจจุบันวัยรุ่นหญิงชายมีโอกาสคบกันใกล้ชิดกว่าแต่ก่อน ครอบครัวมีบทบาทควบคุมพฤติกรรมของวัยรุ่นน้อยลง ทำให้วัยรุ่นมีโอกาสเที่ยวเตร่และสร้างความสัมพันธ์กันได้ง่ายขึ้น และเป็นหนทางนำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ในกลุ่มเพื่อนกันเองมากขึ้น โดยเฉพาะในรายที่คบหากันเป็นแฟน นักเรียนชายจะเห็นว่า การมีแฟนเป็นเรื่องปกติธรรมดา กล้าพูดเรื่องแฟนได้อย่างเปิดเผย สำหรับนักเรียนหญิง แม้ว่าจะมีทัศนคติเรื่องแฟนว่า การมีแฟน ขณะเป็นนักเรียนไม่ดี จะทำให้เสียการเรียน แต่ก็คิดว่า การมีแฟนเป็นแฟชั่นวัยรุ่น ชอบพูดถึงเรื่องแฟน โดยมักจะพูดเรื่องของเพื่อนที่มีแฟน ในเรื่องการแสดงออกของนักเรียนที่เป็นแฟนกัน นักเรียนชายจะเดินไปส่งนักเรียนหญิงกลับบ้าน โทรศัพท์คุยกัน เขียนจดหมายให้กัน ชวนนักเรียนหญิงไปเที่ยว สำหรับประเด็นการปฏิบัติต่อคนที่เป็นแฟนกันนั้น นักเรียนชายและนักเรียนหญิงมีความเห็นต่างกันอย่างชัดเจน ในกรณีที่อยู่ด้วยกันสองต่อสองกับแฟน นักเรียนหญิงยอมรับในเรื่องการจับมือถือแขน และคิดเพียงว่า “อยู่ใกล้กันแล้วอบอุ่น มีอะไรก็ช่วยกัน ปรึกษาหารือกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน” ส่วนนักเรียนชายมีความเห็นต่อกรณีอยู่ด้วยกันสองต่อสองกับแฟนว่า ขึ้นอยู่กับสถานที่ที่ไป และคนที่พาไป หากสถานที่ไม่เหมาะสม เช่นสถานเริงรมย์ ก็จะทำให้มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมได้ นักเรียนชายบางคนอยากทดลองมีเพศสัมพันธ์กับแฟนถ้ามีโอกาส
จากทัศนคติของวัยรุ่นในเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ มีผู้ศึกษาไว้เช่น ณัฐชนก เหล่าสุขสกุล (2536: บทคัดย่อ อ้างใน บุศยา แรกข้าว 2543: 104) กล่าวว่า เป็นที่ยอมรับกันว่า การอยู่ก่อนแต่งเป็นวิถีชีวิตทางเลือกปัจจุบันของ
27
หนุ่มสาวไทยจำนวนไม่น้อย รูปแบบของการอยู่ก่อนแต่งมักเกิดขึ้นกับหนุ่มสาวที่อยู่ตามลำพัง โดยมากจะเช่าบ้านหรือหอพักอยู่กันเอง ได้แก่ กลุ่มนักเรียน นักศึกษาและผู้ที่ทำงานไกลบ้าน อีกรูปแบบหนึ่งคือ การที่ผู้หญิงจะย้ายเข้าไปอยู่ในบ้านพ่อแม่ของผู้ชายโดยยังไม่ได้แต่งงานกัน รูปแบบหลังนี้พ่อแม่ของผู้หญิงมักไม่รู้ ในขณะที่พ่อแม่ฝ่ายชายอาจไม่ค่อยเห็นด้วย แต่มองว่าเป็นเรื่องไม่เสียหายอะไรต่อลูกชายตนเอง
จากแนวคิดของ กฤตยา อาชวนิจกุล และ วราภรณ์ แช่มสนิท (2537: 40) ชี้ให้เห็นว่า วัยรุ่นหญิงชายมีโอกาสคบกันใกล้ชิดกว่าแต่ก่อน ครอบครัวมีบทบาทควบคุมพฤติกรรมของวัยรุ่นน้อยลง ทำให้วัยรุ่นมีโอกาสเที่ยวเตร่และสร้างความสัมพันธ์กันได้ง่ายขึ้น และเป็นหนทางนำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ในกลุ่มเพื่อนกันเองมากขึ้น โดยเฉพาะในรายที่คบหากันเป็นแฟน จากแนวคิดดังกล่าวครอบคลุมเนื้อหาต่างๆ ผู้วิจัยจึงได้นำแนวคิดดังกล่าวมาเป็นแนวทางในการศึกษาครั้งนี้
6. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
โคล Cole 1977 (อ้างใน Macklin 1983: 264-265) ได้ทำการศึกษาปรากฏการณ์การใช้ชีวิตร่วมกันฉันท์สามีภรรยาของชายหญิงที่ยังไม่ได้แต่งงานกันในสังคมอเมริกันที่มีลักษณะการอยู่ร่วมกันก่อนแต่งงาน โดยให้นิยามเชิงปฏิบัติการที่แตกต่างกันออกไป เช่น การอยู่ร่วมกันกับเพศตรงข้ามโดยที่ยังไม่ได้แต่งงานกันหรือใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน 4 คืนหรือมากกว่านั้นต่อสัปดาห์หรือมากกว่า 3 เดือนขึ้นไป หรือการที่คนสองคนที่เป็นเพศตรงข้ามกันมาอยู่ด้วยกันโดยที่ไม่มีการรับรองความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการเหมือนแต่งงาน
แจ็คสัน Jackson (1985) ศึกษาการอยู่ร่วมกันก่อนแต่งงานในสังคมอเมริกัน จากการสัมภาษณ์ชาย 14 คน และหญิง 10 คน ที่อยู่ร่วมกันอย่างน้อย 4 เดือน เกือบทั้งหมดเป็นคนไม่มีศาสนา ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ของพ่อแม่อยู่ในระดับชนชั้นกลาง
ศรีเกษ ธัญญาวินิชกุล (2536: บทคัดย่อ) ทำการศึกษาเหตุผลในการตัดสินใจเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในเขตเมืองเชียงใหม่ พบว่า นักเรียนหญิงที่ตัดสินใจไม่มีเพศสัมพันธ์ให้ความสำคัญกับพรหมจรรย์ของเพศหญิง โดยให้เหตุผลว่า พรหมจรรย์เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการแต่งงานมากกว่านักเรียนชาย นอกจากนั้นนักเรียนหญิงให้เหตุผลว่า หญิงและชายไม่ควรมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนเพราะเป็นการผิดศีลธรรม และยังทำให้ฝ่ายหญิงเสียชื่อเสียงอีกด้วย และจะคำนึงถึงหน้าที่ของตนเองในสังคมหรือการศึกษาเล่าเรียน ตลอดจนมองถึงผลเสียที่จะตามมาจากการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนมากกว่านักเรียนชาย
อุมาภรณ์ ภัทรวณิชย์ (2538: บทคัดย่อ) ศึกษาเรื่อง ปัจจัยทางวัฒนธรรมที่มีผลต่อพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เสี่ยงของวัยรุ่น ได้ให้ความเห็นในเรื่องเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ดังนี้ วัยรุ่นหญิงและชายที่มีเพศสัมพันธ์กับคู่รักของตนเห็นว่า ถ้าคู่รักของตนต้องการเลิกความสัมพันธ์และต้องการไปมีความสัมพันธ์กับคนอื่น วัยรุ่นทั้งหญิงและชายสามารถยอมรับได้ แต่สิ่งที่วัยรุ่นหญิงและชายมีความคิดแตกต่างกันคือ วัยรุ่นชายจะยอมรับไม่ได้ ถ้ารู้ว่าคู่รักของตนเคยมีเพศสัมพันธ์กับชายอื่นมาก่อน ขณะที่วัยรุ่นหญิงไม่สนใจว่าคู่รักของตนจะเคยมีเพศสัมพันธ์กับใครมาก่อนหรือไม่ วัยรุ่นหญิงจะภูมิใจกับการที่ตนสามารถทำให้คู่รักหยุดการมีเพศสัมพันธ์อย่างจริงจังกับหญิงอื่นได้ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะรู้ว่าคู่รักของตนไปมีความสัมพันธ์กับหญิงอื่นในช่วงระหว่างการคบกับตนเอง วัยรุ่นหญิงก็
28
สามารถยอมรับได้ เนื่องจากเชื่อใจคู่รักว่าจะไม่จริงจังกับหญิงอื่น และเชื่อว่าคู่รักของตนใช้ถุงยางอนามัยกับหญิงอื่น
โสพิน หมูแก้ว (2544: บทคัดย่อ) ได้ศึกษาเรื่องอยู่ก่อนแต่ง: การอยู่ร่วมกันโดยไม่แต่งงานของนักศึกษามหาวิทยาลัย พบว่า การให้ความหมายอยู่ร่วมกันระหว่างนักศึกษาชายและนักศึกษาหญิงโดยที่นักศึกษาชายให้ความหมาย 3 ลักษณะคือ “Sex” “ประหยัด สะดวก สบาย” และ “รักจริง” ส่วนนักศึกษาหญิงให้ความหมายแบบเดียวกันคือ “รักจริง (แต่ไม่หวังแต่ง)” ซงความหมายเหล่านี้ ไม่ค่อยมีนัยยะที่เชื่อมโยงกับเรื่องการแต่งงานและการมีครอบครัวโดยไม่ต้องแต่งงานเหมือนในสังคมยุโรปบางสังคม จึงอาจถือได้ว่าเป็นวิถีชีวิตทางเลือกหนึ่งของนักศึกษา และกระบวนการมาใช้ชีวิตร่วมกันแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนคือ ขั้นเป็นแฟนแต่ไม่ได้อยู่ร่วมกัน การมีเพศสัมพันธ์ระหว่างกันเป็นเงื่อนไขสำคัญนำไปสู่ขั้นการอยู่ร่วมกันเป็นครั้งคราว โดยที่ต่างฝ่ายต่างมีห้องพักของตนเองแต่จะมาค้างด้วยกันในบางครั้ง เงื่อนไขที่ทำให้ย้ายไปอยู่ร่วมกันอย่างถาวรในนักศึกษาชายได้แก่เงื่อนไขด้านอารมณ์ คือต้องการมีคนเข้าใจและเป็นความต้องการของผู้หญิง ส่วนเงื่อนไขทางด้านเศรษฐกิจคือ ประหยัดค่าใช้จ่าย ขณะที่เงื่อนไขทางอารมณ์ของผู้หญิง คือความต้องการมีความสัมพันธ์กับคนรักอย่างลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น และต้องการความเห็นใจจากแฟนและมี เงื่อนไขกดดันจากสังคม ขั้นการอยู่ร่วมกันอย่างถาวร เป็นการที่พวกเขาจะสามารถดำรง “วิถีชีวิต” แบบนี้ต่อไปได้ต้องมีวิธีการจัดการหรืออธิบายความสมเหตุสมผลในการกระทำต่อผู้ชมทางสังคมที่มีปฏิกิริยาในทางที่เป็นลบโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อบุคคลนัยสำคัญ
บุศยา แรกข้าว (2543: บทคัดย่อ) ศึกษาเรื่อง บทบาทของบิดามารดาต่อการเตรียมความพร้อมในการเผชิญปัญหาเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นในอำเภอเมืองเชียงใหม่ พบว่า บทบาทของบิดามารดา ต่อการเตรียมความพร้อมในการเผชิญปัญหาเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ของบุตรในด้านการถ่ายทอดความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และถ่ายทอดความสัมพันธ์ในครอบครัวอยู่ในระดับสูง การถ่ายทอดความรู้สึกเบี่ยงเบนทางเพศ การมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยและหลีกเลี่ยงสถานการณ์วิกฤตอยู่ในระดับปานกลาง บทบาทด้านการถ่ายทอดความรู้ด้านพัฒนาการทางเพศ และการเปิดรับข้อมูลข่าวสารเรื่องเพศจากสื่อมวลชนและกลุ่มสังคมอยู่ในระดับต่ำ เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ ความรู้เรื่องเพศศึกษาของบิดามารดา และเพศของบุตรมีความสัมพันธ์กับบทบาทของบิดามารดาต่อการเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ของบุตร การเปรียบเทียบบทบาทของบิดามารดาต่อการเตรียมความพร้อม ในการเผชิญปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ของบุตรระหว่างครอบครัวที่มีทั้งบิดามารดากับครอบครัวที่มีบิดาหรือมารดาคนเดียวพบว่าไม่แตกต่างกัน ตัวแปรที่ทำนายบทบาทของบิดามารดาต่อการเตรียมความพร้อม ในการเผชิญปัญหาเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ของบุตรได้แก่ เพศของกลุ่มตัวอย่าง อายุของบิดา ระดับการศึกษาของบิดา เพศบุตร ทัศนคติต่อการมีเพศสัมพันธ์ของบุตรและความรู้เรื่องเพศศึกษาของบิดามารดา
สรุปได้ว่า ทัศนคติต่อการมีเพศสัมพันธ์ ทัศนคติของกลุ่มเพื่อนต่อการมีเพศสัมพันธ์ การรับรู้ความเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงบริการ การเปิดโอกาสของหญิงคนรัก การได้รับการปลูกฝังเรื่องความรับผิดชอบ การรับรู้ถึงการมีเพศสัมพันธ์จากสื่อสารมวลชน และการรับรู้ต่อการเสี่ยงต่อเอดส์ มีผลต่อการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของตน
29
ผลจากการศึกษาแนวคิดทฤษฏีต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยได้ ศึกษาร่วมกับหลักฐานเชิงประจักษ์ และนำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์เป็นกรอบแนวความคิดในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย ตัวแปรต้นได้แก่ ทัศนคติต่อการมีเพศสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์ การรับรู้ความเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงบริการ การเปิดโอกาสของหญิงคนรัก การได้รับการปลูกฝังเรื่องความรับผิดชอบจากครอบครัว ทัศนคติของกลุ่มเพื่อนต่อการมีเพศสัมพันธ์ การรับรู้ถึงการมีเพศสัมพันธ์จากสื่อสารมวลชน และการรับรู้ต่อการเสี่ยงติดเชื้อเอดส์ และตัวแปรตามได้แก่ การตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย โดยมีตัวแปรอธิบายได้แก่ อายุ คณะที่ศึกษา ความเป็นอิสระในการปกครองตนเอง และรายได้
บทที่ 3
วิธีดำเนินการวิจัย
ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชายในมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โดยได้ศึกษารวบรวมข้อมูลจากเอกสาร หนังสือ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาแบบสอบถามสำหรับเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และนำมาทำการวิเคราะห์ด้วยสถิติที่เหมาะสม ทดสอบสมมติฐาน สรุปผล และเสนอข้อเสนอแนะ โดยมีรายละเอียดดังนี้
กลุ่มประชากร
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นกรณีศึกษา โดยประชากรเป็นนักศึกษาชายระดับอุดมศึกษาที่เรียนภาคปกติชั้นปีที่ 2-4 ปีการศึกษา 2547 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาจำนวน 1,877 คน
กลุ่มตัวอย่าง
ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยได้เลือกนักศึกษาที่เรียนภาคปกติชั้นปีที่ 2 - 4 ปีการศึกษา 2547 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เฉพาะนักเรียนชาย ด้วยสัดส่วน 15% ซึ่งเป็นเกณฑ์ต่ำสุดของการกำหนดสัดส่วนขนาดตัวอย่าง ของบุญชม ศรีสะอาด (2543: 37-42) ที่อธิบายหลักเกณฑ์ไว้ว่า องค์กรที่มีประชากรที่มีหลักเป็นร้อย ให้ใช้วิธีการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างจากสัดส่วนของประชากรทั้งหมด 15-30% ทั้งนี้ได้กลุ่มตัวอย่างจากทุกคณะรวมทั้งสิ้นจำนวน 280 คน มีรายละเอียดดังนี้
คณะ
ประชากร
กลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ
1. คณะครุศาสตร์
406
60
21.43
2. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
595
89
31.79
3. คณะวิทยาการจัดการ
554
83
29.64
4. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
322
48
17.14
รวม
1,877
280
100.00
31
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
การศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบถามเอง ซึ่งเนื้อหาของแบบสอบถามแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 เป็นคำถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัว จำนวน 5 ข้อ
ส่วนที่ 2 เป็นคำถามความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจมีเพศสัม-
พันธ์กับหญิงคนรัก แบ่งเป็น 3 ตอนคือ
ตอนที่ 1 เป็นคำถามเกี่ยวกับปัจจัยความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์ จำนวน15 ข้อ ได้แก่
-คำถามเกี่ยวกับทัศนคติต่อการมีเพศสัมพันธ์ จำนวน 5 ข้อ
-คำถามเกี่ยวกับการรับรู้การเสี่ยงต่อการติดโรคเอดส์ จำนวน 5 ข้อ
-คำถามเกี่ยวกับการเปิดโอกาสของหญิงคนรัก จำนวน 5 ข้อ
-คำถามเกี่ยวกับการได้รับการปลูกฝังเรื่องความรับผิดชอบต่อการมีเพศสัมพันธ์จากครอบครัว (ข้อ 7-8)
-คำถามเกี่ยวกับทัศนคติของกลุ่มเพื่อนต่อการมีเพศสัมพันธ์ จำนวน 5 ข้อ
-คำถามเกี่ยวกับการรับรู้ถึงการมีเพศสัมพันธ์จากสื่อมวลชน จำนวน 5 ข้อ
-คำถามเกี่ยวกับการรับรู้ต่อการเสี่ยงติดเอดส์ จำนวน 5 ข้อ
คำถามตอนที่ 1 เป็นคำถามที่จำแนกระดับความคิดเห็นออกเป็น 5 ระดับ คือ 5- เห็นด้วยมากที่สุด 4-เห็นด้วยมาก 3-ไม่แน่ใจ 2-ไม่เห็นด้วย 1-ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง จำนวนรวม 35 ข้อ
เกณฑ์การพิจารณาขอบเขตของคะแนนเฉลี่ย เพื่อใช้ในการแปลผลข้อมูลตามความหมายของข้อมูล กำหนดไว้เป็น 3 ระดับ มีเกณฑ์การพิจารณาจากพิสัย (กัลยา วานิชย์บัญชา 2541: 28) ดังนี้
พิสัย = (คะแนนสูงสุด - คะแนนต่ำสุด)
3
= (5 - 1 )
3
= 1.33
จากเกณฑ์ดังกล่าวนำมากำหนดระดับของตัวแปรต่างๆ จากคะแนนเฉลี่ย เพื่อใช้เป็นเกณฑ์การแปลผล แบ่งคะแนนเฉลี่ยออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
3.67 - 5.00
หมายถึง
อยู่ในระดับสูง
2.34 - 3.66
หมายถึง
อยู่ในระดับปานกลาง
1.00 - 2.33
หมายถึง
อยู่ในระดับต่ำ
32
ตอนที่ 2 เป็นคำถามเกี่ยวกับการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชายในมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาเป็นคำถามที่จำแนกระดับการตัดสินใจออกเป็น 3 ระดับ คือ 3-มีแน่นอน 2-ไม่แน่ใจ 1-ไม่มีแน่นอน จำนวน 1 ข้อ
เกณฑ์การพิจารณาขอบเขตของคะแนนเฉลี่ย เพื่อใช้ในการแปลผลข้อมูลตามความหมายของข้อมูล กำหนดไว้เป็น 3 ระดับ มีเกณฑ์การพิจารณาจากพิสัย (กัลยา วานิชย์บัญชา 2541: 28) ดังนี้
พิสัย = (คะแนนสูงสุด - คะแนนต่ำสุด)
3
= (3 - 1)
3
= 0.67
จากเกณฑ์ดังกล่าวนำมากำหนดระดับของตัวแปรต่างๆ จากคะแนนเฉลี่ย เพื่อใช้เป็นเกณฑ์การแปลผล แบ่งคะแนนเฉลี่ยออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
ระดับต่ำ มีคะแนนเฉลี่ยระหว่าง 1.00 - 1.67
ระดับปานกลาง มีคะแนนเฉลี่ยระหว่าง 1.68 - 2.34
ระดับสูง มีคะแนนเฉลี่ยระหว่าง 2.35 - 3.00
ส่วนที่ 3 เป็นคำถามปลายเปิดที่ให้ผู้ตอบแบบสอบถามเขียนข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหา
การพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
การสร้างเครื่องมือมีขั้นตอนในการสร้างแบบสอบถามซึ่งเป็นเครื่องมือในการศึกษาวิจัย ดังนี้
1. ศึกษาทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ทำการศึกษาวิจัย เพื่อทำความเข้าใจในเรื่องที่จะศึกษา
2. ศึกษาทบทวนระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์และเทคนิคในการออกแบบสอบถาม
3. นำแนวความคิดที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรม มาใช้ในการสร้างแบบสอบถาม และกำหนดคำถามให้มีลักษณะครอบคลุมเนื้อหาในเรื่องที่ต้องการศึกษา
4. นำแบบสอบถามที่ได้ไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน และกรรมการวิทยานิพนธ์ ตรวจสอบและเสนอแนะ เพื่อให้เกิดความเที่ยงตรงตามเนื้อหา (Content Validity)
33
5. นำแบบสอบถามที่ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบแล้ว มาแก้ไขปรับปรุงข้อบกพร่อง จากนั้นจึงแบบสอบถามนั้นไปเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อทดสอบแบบสอบถาม โดยประชากรที่ใช้มีลักษณะใกล้เคียงกับประชากรที่ต้องการศึกษา
6. นำแบบสอบถามที่ได้รับการทดสอบจำนวน 30 ชุด มาหาความเชื่อมั่น (Reliability) โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่า (α Coefficient) ได้ค่าความเชื่อมั่นที่ 0.8941
7. เมื่อแก้ไขปรับปรุงข้อบกพร่องของแบบสอบถามเรียบร้อยแล้ว จึงนำแบบสอบถามไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากรที่ต้องการศึกษาต่อไป
การเก็บรวบรวมข้อมูล
ในการเก็บรวบรวมข้อมูลผู้วิจัยได้ดำเนินการ โดยทำเรื่องถึงบัณฑิตวิทยาลัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เพื่อทำจดหมายขอความร่วมมือในการตอบแบบสอบถามจากนักศึกษาชายในสถาบัน เพื่อตอบคำถามในแบบสอบถามด้วยตนเอง ตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ ระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลประมาณ 1 เดือน
การวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัยได้นำแบบสอบถามมาลงรหัสเพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ และนำข้อมูลที่ลงรหัสเรียบร้อยแล้วไปบันทึกไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ จากนั้นได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows โดยใช้ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 99 เป็นเกณฑ์ในการตอบรับหรือปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย
34
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้
1. ค่าสถิติเชิงพรรณา ประกอบด้วยค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ
2. ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน เพื่อหาค่าความสัมพันธ์ของตัวแปร โดยการกำหนด
เกณฑ์ในการแปลความหมายค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน โดยกำหนดเป็น 5 ระดับโดยพิสัย [(ค่าสูงสุด – ค่าต่ำสุด ) / จำนวนระดับ, ในที่นี้กำหนดให้ค่าสูงสุดของ r = 1 และค่าต่ำสุด = 0 ] มีค่าเท่ากับ 0.20 (กัลยา วานิชย์บัญชา 2541: 28) มีดังนี้
ค่า r ความหมาย
0.8 ขึ้นไป มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง
0.61- 0.80 มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับค่อนข้างสูง
0.41- 0.60 มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง
0.21- 0.40 มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ
0.01- 0.20 มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับต่ำ
0.00 ไม่มีความสัมพันธ์
วิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient) นำค่าที่ได้มาทำการแปลผล ดังนี้
1. ค่า r เป็นบวกและมีค่ามากกว่า 1 ขึ้นไป แสดงว่า ตัวแปรทั้งสองตัวมีความสัมพันธ์กัน
เชิงบวก แสดงว่า ตัวแปรตัวหนึ่งมีค่าสูงมากขึ้น ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์นั้นก็จะสูงมากขึ้นเช่นเดียวกัน
2. ค่า r มีค่าน้อยกว่า 0 หรือติดลบ แสดงว่า ตัวแปรทั้งสองตัวมีความสัมพันธ์กันเชิงลบ แสดงว่า ตัวแปรตัวหนึ่งมีค่าสูงขึ้นมากเท่าใด ตัวแปรอีกตัวหนึ่งก็จะต่ำลงมากเท่านั้น
35
การทดสอบสมมติฐาน
สมมติฐานที่ 1 ทัศนคติต่อการมีเพศสัมพันธ์มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย
สมมติฐานที่ 2 การรับรู้ความเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงบริการมีผลกับการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย
สมมติฐานที่ 3 การเปิดโอกาสของหญิงคนรัก มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย
สมมติฐานที่ 4 การได้รับการปลูกฝังเรื่องความรับผิดชอบต่อการมีเพศสัมพันธ์จากครอบครัว มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย
สมมติฐานที่ 5 ทัศนคติของกลุ่มเพื่อนต่อการมีเพศสัมพันธ์ มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย
สมมติฐานที่ 6 การรับรู้ถึงการมีเพศสัมพันธ์จากสื่อสารมวลชน มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย
สมมติฐานที่ 7 การรับรู้ต่อความเสี่ยงที่จะติดเชื้อเอดส์ มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย
บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามจำนวน 280 ชุด เป็นการวิจัยเชิงสำรวจที่ทำการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคู่ควง ของนักศึกษาชายในมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ดังจะนำเสนอผลการวิจัยตามลำดับดังนี้
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป
ตารางที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
ข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล
จำนวน
ร้อยละ
1.อายุ
18-20 ปี
21-25 ปี
182
98
65.00
35.00
2. ศึกษาอยู่ในคณะ
คณะครุศาสตร์
60
21.40
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
89
31.79
คณะวิทยาการจัดการ
83
29.64
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
48
17.14
3.ชั้น
ชั้นปีที่ 2
ชั้นปีที่ 3
ชั้นปีที่ 4
91
97
92
32.50
34.60
32.90
4.รายได้
1,000-2,500 บาท
2,501-3,000 บาท
มากกว่า 3,000 ขึ้นไป
85
52
143
30.40
18.60
51.00
5.ท่านได้รับอิทธิพลจากต้นแบบคือบิดา
เห็นด้วย
ไม่เห็นด้วย
170
110
60.70
39.30
37
ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย (ตอนที่ 1)
ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย (ตอนที่ 2)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น