ศึกษาและโหลดฟรีเป็นตัวอย่างเกี่ยวกับงานวิจัย all free download research
วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรส (ตอนที่ 2)
ตารางที่ 4 แสดงค่าระดับตัวแปรการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิง
ตัวแปร
N
⎯X
S.D.
ระดับ
การยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนการสมรส
277
3.54
0.62
ปานกลาง
ผลการวิเคราะห์ตัวแปรการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนการสมรส มีค่าอยู่ในระดับปานกลาง (⎯X = 3.54, S.D.= 0.62) ความคิดเห็นที่มีค่าระดับสูงเรียงตามลำดับได้แก่ การอยู่ร่วมกันก่อนสมรสเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนแต่งงาน, การอยู่ร่วมกันก่อนสมรสเป็นความสัมพันธ์แบบชั่วคราว และปรากฎการณ์การอยู่ร่วมกันก่อนสมรสในปัจจุบันมีมากขึ้น
49
3. ผลการทดสอบสมมติฐาน
การทดสอบสมมติฐาน ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิงมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยามีรายละเอียดสรุปได้ดังนี้
ผลการทดสอบสมมติฐานที่ 1 การรับรู้เกี่ยวกับความรักและการมีเพศสัมพันธ์มีความ สัมพันธ์ ต่อการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิง
ตารางที่ 5 ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิงกับตัวแปรการรับรู้เกี่ยวกับความรักและการมีเพศสัมพันธ์
ตัวแปร
⎯X
S.D.
r
Sig.
การยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิง
3.54
0.62
การรับรู้เกี่ยวกับความรักและการมีเพศสัมพันธ์
3.78
0.50
0.341
.000
มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
ผลการวิเคราะห์สมมติฐานที่ 1 พบว่า การรับรู้เกี่ยวกับความรักและการมีเพศสัมพันธ์มีความสัมพันธ์ต่อการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิง โดยพิจารณาจากตารางที่ 5 พบว่า
ค่าเฉลี่ยของตัวแปรการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิงอยู่ในระดับปานกลาง (⎯X =3.54, S.D.= 0.62) และค่าเฉลี่ยของตัวแปรการรับรู้เกี่ยวกับความรักและการมีเพศสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง (⎯X =3.78, S.D.= 0.50)
ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิงกับตัวแปรการรับรู้เกี่ยวกับความรักและการมีเพศสัมพันธ์มีความสัมพันธ์ในระดับค่อนข้างต่ำ (r = 0.341) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
50
ผลการทดสอบสมมติฐานที่ 2 ความรับรู้ความหมายของการสมรสมีความสัมพันธ์ ต่อการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิง
ตารางที่ 6 ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิงกับตัวแปรความรับรู้ความหมายของการสมรส
ตัวแปร
⎯X
S.D.
r
Sig.
การยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิง
3.54
0.62
ความรับรู้ความหมายของการสมรส
3.63
0.42
0.242
.000
มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
ผลการวิเคราะห์สมมติฐานที่ 2 พบว่า ความรับรู้ความหมายของการสมรสมีความ สัมพันธ์ต่อการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิง โดยพิจารณาจากตารางที่ 6 พบว่า
ค่าเฉลี่ยของตัวแปรการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิง อยู่ในระดับปานกลาง (⎯X =3.54, S.D.= 0.62) และค่าเฉลี่ยของตัวแปรความรับรู้ความหมายของการสมรสอยู่ในระดับปานกลาง (⎯X =3.63, S.D.= 0.42)
ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิง กับตัวแปรความรับรู้ความหมายของการสมรส มีความสัมพันธ์ในระดับค่อนข้างต่ำ (r =0.242) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
51
ผลการทดสอบสมมติฐานที่ 3 ความรับรู้คุณค่าของตนเองมีความสัมพันธ์ ต่อการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิง
ตารางที่ 7 ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิง กับตัวแปรความรับรู้คุณค่าของตนเอง
ตัวแปร
⎯X
S.D.
r
Sig.
การยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิง
3.54
0.62
ความรับรู้คุณค่าของตนเอง
3.35
0.33
0.036
.547
มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
ผลการวิเคราะห์สมมติฐานที่ 3 พบว่า ความรับรู้คุณค่าของตนเองไม่มีความสัมพันธ์ต่อการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิง โดยพิจารณาจากตารางที่ 7 พบว่า
ค่าเฉลี่ยของตัวแปรการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิง อยู่ในระดับปานกลาง (⎯X =3.54, S.D.= 0.62) และค่าเฉลี่ยของตัวแปรความรับรู้คุณค่าของตนเองอยู่ในระดับปานกลาง (⎯X =3.35, S.D.= 0.33)
ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิง กับ
ตัวแปรความรับรู้คุณค่าของตนเองมีความสัมพันธ์ในระดับต่ำ (r =0.036 ) อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งไม่ยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
52
ผลการทดสอบสมมติฐานที่ 4 การได้รับการปลูกฝังเรื่องการมีคู่ครองและการรักนวลสงวนตัวมีความสัมพันธ์ ต่อการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิง
ตารางที่ 8 ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิง กับตัวแปรการได้รับการปลูกฝังเรื่องการมีคู่ครองและการรักนวลสงวนตัว
ตัวแปร
⎯X
S.D.
r
Sig.
การยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิง
3.54
0.62
การได้รับการปลูกฝังเรื่องการมีคู่ครองและการรักนวลสงวนตัว
3.42
0.52
0.457
.000
มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
ผลการวิเคราะห์สมมติฐานที่ 4 พบว่า การได้รับการปลูกฝังเรื่องการมีคู่ครองและการรักนวลสงวนตัว มีความสัมพันธ์ ต่อการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิง โดยพิจารณาจากตารางที่ 8 พบว่า
ค่าเฉลี่ยของตัวแปรการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิงอยู่ในระดับ
ปานกลาง (⎯X =3.54, S.D.= 0.62) และค่าเฉลี่ยของตัวแปรการได้รับการปลูกฝังเรื่องการมีคู่ครองและการรักนวลสงวนตัวอยู่ในระดับปานกลาง (⎯X =3.42, S.D.= 0.52)
ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิงกับ
ตัวแปรการได้รับการปลูกฝังเรื่องการมีคู่ครองและการรักนวลสงวนตัวมีความสัมพันธ์ในระดับ
ปานกลาง (r =0.457 ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
53
ผลการทดสอบสมมติฐานที่ 5 ทัศนคติของชายคนรักและเพื่อนเรื่องการมีเพศสัมพันธ์มีความสัมพันธ์ต่อการยอมรับในการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิง
ตารางที่ 9ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิง กับตัวแปรความรับรู้คุณค่าของตนเอง
ตัวแปร
⎯X
S.D.
r
Sig.
การยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิง
3.54
0.62
ทัศนคติของชายคนรักและเพื่อนเรื่องการมีเพศสัมพันธ์
2.73
0.50
0.039
.513
มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
ผลการวิเคราะห์สมมติฐานที่ 5 พบว่า ทัศนคติของชายคนรักและเพื่อนเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ไม่มีความสัมพันธ์ต่อการยอมรับในการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิง โดยพิจารณาจากตารางที่ 9 พบว่า
ค่าเฉลี่ยของตัวแปรการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิงอยู่ในระดับ
ปานกลาง (⎯X =3.54, S.D.= 0.62) และค่าเฉลี่ยของตัวแปรทัศนคติของชายคนรักและเพื่อนเรื่องการมีเพศสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง (⎯X =2.734, S.D.= 0.498)
ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิงกับ
ตัวแปรทัศนคติของชายคนรัก และเพื่อนเรื่องการมีเพศสัมพันธ์มีความสัมพันธ์ในระดับต่ำ (r =0.039 ) อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งไม่ยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
54
ผลการทดสอบสมมติฐานที่ 6 การรับรู้ตัวแบบในสังคมจากสื่อมวลชน มีความสัมพันธ์ต่อการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิง
ตารางที่ 10 ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิง กับตัวแปรการรับรู้ตัวแบบในสังคมจากสื่อมวลชน
ตัวแปร
⎯X
S.D.
r
Sig.
การยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิง
3.54
0.62
การรับรู้ตัวแบบในสังคมจากสื่อมวลชน
3.37
0.47
0.374
.000
มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
ผลการวิเคราะห์สมมติฐานที่ 6 พบว่า การรับรู้ตัวแบบในสังคมจากสื่อมวลชน มีความสัมพันธ์ต่อการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิง ในระดับอุดมศึกษา โดยพิจารณาจากตารางที่ 10 พบว่า
ค่าเฉลี่ยของตัวแปรการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิงอยู่ในระดับ
ปานกลาง (⎯X =3.54, S.D.= 0.62) และค่าเฉลี่ยของตัวแปรการรับรู้ตัวแบบในสังคมจากสื่อมวลชน อยู่ในระดับปานกลาง (⎯X =3.37, S.D.=0.47)
ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิง กับ
ตัวแปรการรับรู้ตัวแบบในสังคมจากสื่อมวลชนมีความสัมพันธ์ในระดับค่อนข้างต่ำ (r =0.374) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
55
4 .สรุปผลการทดสอบสมมติฐานปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิง
ตารางที่ 11 แสดงผลสรุประดับความสัมพันธ์และผลการทดสอบสมมติฐาน
ตัวแปร
r
Sig.
ระดับ
ยอมรับ/ปฏิเสธ
สมมติฐาน
1.การรับรู้เกี่ยวกับความรักและการมีเพศสัมพันธ์
0.341
.000**
ค่อนข้างต่ำ
ยอมรับ
2.การเข้าใจในความหมายของการสมรส
0.242
.000**
ค่อนข้างต่ำ
ยอมรับ
3.การรับรู้คุณค่าของตนเอง
0.036
.547
ต่ำ
ปฏิเสธ
4.การปลูกฝังเรื่องการมีคู่ครองและการรักนวลสงวนตัว
0.457
.000**
ปานกลาง
ยอมรับ
5.ทัศนคติของชายคนรักและเพื่อนเรื่องการมีเพศสัมพันธ์
0.039
.513
ต่ำ
ปฏิเสธ
6.การรับรู้ตัวแบบในสังคมจากสื่อมวลชน
0.374
.000**
ค่อนข้างต่ำ
ยอมรับ
มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
4.1 จากผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์สูงเรียงตามลำดับได้แก่ การปลูกฝังเรื่องการมีคู่ครองและการรักนวลสงวนตัว(r = 0.457) การรับรู้ตัวแบบในสังคมจากสื่อมวลชน(r = 0.374) การรับรู้เกี่ยวกับความรักและการมีเพศสัมพันธ์(r = 0.341) การเข้าใจในความหมายของการสมรส (r = 0.242) ทัศนคติของชายคนรักและเพื่อนเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ (r = 0.039) การรับรู้คุณค่าของตนเอง (r = 0.036)
4.2 จากผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่ทำการวิจัยมีความสัมพันธ์โดยยอมรับสมมติฐานมีทั้งสิ้น 4 ปัจจัย ได้แก่ การปลูกฝังเรื่องการมีคู่ครองและการรักนวลสงวนตัว การรับรู้ตัวแบบในสังคมจากสื่อมวลชน การรับรู้เกี่ยวกับความรักและการมีเพศสัมพันธ์ การเข้าใจในความหมายของการสมรส ส่วนปัจจัยที่ไม่มีความสัมพันธ์โดยไม่ยอมรับสมมติฐานการวิจัยมีทั้งสิ้น 2 ปัจจัย ได้แก่ ทัศนคติของชายคนรักและเพื่อนเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ การรับรู้คุณค่าของตนเอง
56
5. ผลการสรุปข้อเสนอแนะ
จากแบบสอบถามส่วนที่ 4 ที่ผู้วิจัยได้ทำเป็นคำถามปลายเปิดเพื่อให้แสดงความคิดเห็นเสนอแนะ จากจำนวนแบบสอบถามทั้งสิ้น 277 ชุด มีผู้ตอบแบบสอบถามส่วนที่ 4 ทั้งสิ้น 46 ชุด คิดเป็น 16.60 % โดยความคิดเห็นผู้วิจัยได้สรุปแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะคือ ลักษณะคำตอบที่ไม่เห็นด้วยกับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสจำนวน 23 ชุด คิดเป็นร้อยละ 50 , ลักษณะคำตอบที่ไม่เห็นด้วยแต่ยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสได้ จำนวน 10 ชุด คิดเป็นร้อยละ 21.74 , ลักษณะคำตอบที่ยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรส จำนวน 13 ชุด คิดเป็นร้อยละ 28.26
57
บทที่ 5
สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
การศึกษา ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิงมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มีวัตถุประสงค์ดังนี้
1. เพื่อศึกษาข้อมูลส่วนบุคคลของนักศึกษาหญิงมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
2.เพื่อศึกษาระดับของตัวแปรในเรื่องและระดับการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิงมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
3. เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของ
นักศึกษาหญิงมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัย เป็นประชากร นักศึกษาหญิง ที่กำลังศึกษาในระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 ภาคปกติ ทุกคณะ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยเลือกเฉพาะนักศึกษาชั้นปีที่ 4 และสุ่มเลือกตัวอย่างตามสัดส่วนโดยคำนวณจำนวนนักศึกษาแต่ละสาขาตามสัดส่วน % จากนักศึกษาหญิงชั้นปีที่ 4 ทั้งสิ้น 907 คน จาก 4 คณะ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 277 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยผู้วิจัยใช้แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.8310 ระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลประมาณ 1 เดือน ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows โดยใช้ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 99 เป็นเกณฑ์ในการตอบรับหรือปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์นำเสนอได้ตามลำดับดังนี้
สรุปผลการวิจัย
สรุปผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์การวิจัย ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิงมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา พบว่า
58
ผลการศึกษาระดับการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรส จากการวิเคราะห์หาค่าระดับตัวแปรในการวิจัยพบว่า
ระดับของการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนการสมรสของนักศึกษาหญิงมีค่าระดับของการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนการสมรสอยู่ในระดับปานกลาง (⎯X = 3.536, S.D= 0.621)
การอภิปรายผลการวิจัย
ผลการศึกษาในครั้งนี้จะนำเสนอประเด็นสำคัญที่พบในการวิจัยดังนี้
สมมติฐานที่ 1 การรับรู้เกี่ยวกับความรักและการมีเพศสัมพันธ์มีความสัมพันธ์ ต่อการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิง ในระดับค่อนข้างต่ำ (r = 0.341) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
ผลการศึกษาที่ยอมรับกับสมมติฐานนี้ เนื่องจากความรับรู้เกี่ยวกับความรักและการมีเพศสัมพันธ์ของชายและหญิง มีค่าอยู่ในระดับสูง(⎯X = 3.50, S.D.= 0.51) เมื่อพิจารณาความคิดเห็นของนักศึกษามีค่าความคิดเห็นอยู่ในระดับสูง ได้แก่ การมีเพศสัมพันธ์ก่อนการสมรสเป็นการเสี่ยงต่อการติดโรค เช่น โรคเอดส์ กามโรค, การมีความรักทำให้อบอุ่นใจ มีผู้ให้คำปรึกษา ,การมีเพศสัมพันธ์กันก่อนการสมรสเป็นการแสดงความรักต่อกันระหว่างชายหญิง แสดงให้เห็นว่า นักศึกษาส่วนใหญ่มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยงกับโรคต่อการมีความรักและเพศสัมพันธ์ และมีจิตสำนึกเรื่องความถูกต้องในเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ โดยรับรู้ว่าการมีความรักเป็นสิ่งที่ดีและมีความคิดเห็นในระดับต่ำในข้อความที่ว่าการมีเพศสัมพันธ์ก่อนการสมรสเป็นปรากฏการณ์ที่พบทั่วไปในปัจจุบัน แสดงว่านักศึกษาส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยในเรื่องนี้ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ เอ็ดวิน เอ็ม เชอร์ (Shur,1984 อ้างในสุปาจรีย์ วิชัยโรจน์, 2529 : 7) ที่ชี้ให้เห็นว่า ในสังคมที่เฉพาะเจาะจงสังคมหนึ่ง และในเงื่อนไขระยะเวลาช่วงหนึ่ง จะมีมาตรฐานเชิงบรรทัดฐานที่แน่นอนจำนวนหนึ่ง โดยมาตราฐานหลักที่มีอิทธิพลครอบงำอยู่ โดยบรรทัดฐานเหล่านี้เป็นเกณฑ์สำคัญในการควบคุมพฤติกรรมต่าง ๆ ของคนในสังคม ในการพิจารณาพฤติกรรมของสตรีนั้นจะเห็นว่าพฤติกรรมของสตรีถูกควบคุมด้วยบรรทัดฐานต่าง ๆ ผู้หญิงจะถูกประเมิน และถูกควบคุมจากบุคคลในสังคมจะยึดบรรทัดฐานดังกล่าวเป็นเกณฑ์ในการประเมินตัดสินพฤติกรรม รวมทั้งมีปฏิกิริยาตอบโต้ในเชิงการยอมรับหรือปฏิเสธ อันเป็นผลมาจากการขัดเกลาทางสังคมซึ่งทำให้สตรีที่รับบรรทัดฐานดังกล่าวได้ในตัวค่อนข้างสูง ยอมปฏิบัติตามบรรทัดฐาน หรือเกิดความรู้สึกผิดถ้าหากมีพฤติกรรมที่ละเมิดบรรทัดฐาน เป็นกลไกการควบคุมทางสังคมต่อสตรี ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นพิเศษ และเป็น บรรทัดฐานเกี่ยวกับความเป็น
59
แม่ เป็นบรรทัดฐานที่ครอบคลุมเกี่ยวกับสิ่งที่คนทั่วไปมองเห็นว่าเป็นบทบาทพื้นฐานของผู้หญิง และมักถูกนำมาเป็นสิ่งควบคุมอิสระส่วนบุคคลของผู้หญิง และบรรทัดฐานเกี่ยวกับเรื่องเพศ และเป็นแกนกลางสำคัญในการทำให้สตรีต้องอยู่ในฐานะเป็นรอง บรรทัดฐานทั้งสองประเภทนี้มีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด และแนวคิดของ แนนซี่ เชอโดโร(Chodorow, 1978 :8 อ้างในสุปาจรีย์ วิชัยโรจน์, 2529 :9) ด้วยการยึดมั่นในบรรทัดฐานที่ควบคุมเกี่ยวกับความเป็นแม่ ทำให้เกิดแนวโน้มที่สตรีจะอยู่ในสภาพการเป็นผู้ผิดในหลายสถานการณ์ ตั้งแต่การตัดสินใจเลือกที่จะไม่มีบุตร หรือมีบุตรโดยมิได้แต่งงาน นอกจากนี้แม้จะมีบุตรโดยได้แต่งงานอย่างถูกต้องก็ยังมีโอกาสถูกประเมินในแง่มุมเกี่ยวกับการเลี้ยงดูเด็ก เนื่องจากบรรทัดฐานแห่งความเป็นแม่มีความผูกพันอย่างใกล้ชิดกับการจำกัดในแง่กิจกรรมทางเพศ การจัดการกับชีวิตและทางเลือกในชีวิตโดยทั่วไป รวมทั้งเรื่องการทำงาน บรรทัดฐานเกี่ยวกับความเป็นแม่เหล่านี้แสดงให้เห็นถึงแบบแผนกว้าง ๆ ในการควบคุมอิสระส่วนบุคคลของสตรี นอกจากนี้แนวคิดของ แมคคินนู (Mackinnon, 1982 :533อ้างในสุปาจรีย์ วิชัยโรจน์, 2529:12) ยังให้การสนับสนุนว่า ผู้หญิงคือผู้ที่ถือว่าตนเองและถูกผู้อื่นถือว่าเป็นบุคคล ซึ่งกิจกรรมทางเพศของตนดำรงอยู่เพื่อบุคคลอื่น อันหมายถึงผู้ชายนั่นเอง กิจกรรมทางเพศของสตรีหมายถึง ความสามารถที่จะปลุกเร้าความปรารถนาให้เกิดขึ้นในตัวผู้ชาย ดังนั้นในสังคมที่ยึดมั่น ว่า พฤติกรรมทางเพศของสตรีเป็นไปเพื่อตอบสนองความต้องการของบุรุษข้างต้น ย่อมประเมินพฤติกรรมทางเพศของสตรีที่มีจุดมุ่งหมายต่างไปจากนี้ เช่น การมีพฤติกรรมทางเพศเพื่อความสำราญส่วนตัว ว่าเป็นสิ่งที่ไม่สมควร
จากผลการศึกษาดังกล่าวจึงให้ข้อสนับสนุนผลการศึกษาปัจจัยการรับรู้เกี่ยวกับความรักและการมีเพศสัมพันธ์ของชายและหญิงมีความสัมพันธ์ ต่อการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิง ในระดับอุดมศึกษา ซึ่งยอมรับกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
สมมติฐานที่ 2 การรับรู้ความหมายของการสมรสมีความสัมพันธ์ ต่อการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิง ในระดับค่อนข้างต่ำ (r = 0.242) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
ผลการศึกษาที่ยอมรับกับสมมติฐานนี้ เนื่องจากการรับรู้ความหมายของการสมรส ของนักศึกษามีค่าอยู่ในระดับปานกลาง (⎯X = 3.63, S.D.= 0.42) เมื่อพิจารณาความคิดเห็นที่มีค่าระดับสูงเรียงตามลำดับพบว่า นักศึกษามีความเห็นว่า การสมรสเป็นเรื่องของความสัมพันธ์ที่ถูกต้องเพื่อให้สังคมรับรู้, การสมรสที่สมบูรณ์จะต้องมีการจดทะเบียนสมรส และการสมรสโดยผ่านการจดทะเบียนเป็นสิ่งที่ควรกระทำ และไม่เห็นด้วยกับข้อความที่ว่า การสมรสเป็นเรื่องไม่สำคัญในปัจจุบัน แสดงให้เห็นว่า นักศึกษามีการรับรู้เกี่ยวกับการสมรสอย่างถูกต้องว่าเป็นการสร้างครอบครัวและผลิตสมาชิก
60
ใหม่ให้สังคมอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และเมื่อสมรสแล้วควรจดทะเบียนเพื่อเป็นหลักฐานทางกฎหมาย ในขณะที่ความหมายของการสมรสหรือการแต่งงานเป็นสิ่งที่หนุ่มสาวที่รักกันปรารถนาอย่างยิ่ง เพราะเป็นวิธีการหนึ่งที่ประกาศให้สังคมรับรู้อย่างเป็นทางการว่า จะอยู่ร่วมกันฉันสามีและภรรยา ในบางสังคมการแต่งงานจะสมบูรณ์แบบเมื่อได้ผ่านพิธีกรรมทางศาสนา ส่วนมากจะกำหนดการจดทะเบียนสมรสเป็นหลักสำคัญในการปฏิบัติอย่างไรก็ตาม ชายหญิงที่จะแต่งงานกันนั้น จะผ่านการเลือกบุคคลที่ตนพอใจหรือไม่ก็แล้วแต่สภาพของสังคม ซึ่งตามแนวคิดของศิริพันธ์ ถาวรทวีวงษ์ (2543 : 31) ชี้ให้เห็นว่า การสมรส คือ การที่ชายหญิงมาอยู่ร่วมกัน และมีความสัมพันธ์ทางเพศกัน ซึ่งการอยู่ร่วมกันนั้นได้มีการประกอบกิจกรรมตามประเพณีที่กลุ่มยึดถืออยู่ อันเป็นการประกาศให้สังคมรับรู้ และเซลิกแมน (Seligman, 1987อ้างในศิริพันธ์ ถาวรวงศ์,2543 : 32) นักมานุษยวิทยา ให้ความหมายของการสมรสว่า เป็นการอยู่ร่วมกันระหว่างชายหญิง และผลจากการอยู่ร่วมกันนำไปสู่การให้กำเนิดทารก เป็นที่ยอมรับว่าเป็นการเกิดที่ถูกต้องตามประเพณี วัตถุประสงค์ของการสมรสหรือการแต่งงาน พิธีการสมรสถือได้ว่าเป็นพิธีกรรมเลื่อนสถานภาพ ของเด็กวัยรุ่น จากเด็กหนุ่มสาวที่เป็นโสด ไม่ต้องรับผิดชอบอะไรมากไปสู่ความเป็นผู้ใหญ่ที่ต้องรับผิดชอบในหน้าที่ต่าง ๆเพิ่มขึ้น และที่สำคัญก็คือ การสมรสเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นสัมพันธ์มิตรกันระหว่างกลุ่ม และต้องประคับประคองความสัมพันธ์นี้ให้มั่นคง ให้สังคมรับรู้การมีความสัมพันธ์ทางเพศกันโดยถูกต้องของชายหญิงคู่หนึ่งหรือมากกว่า ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญเป็นการป้องกันการสมรสซ้อน เป็นการสร้างครอบครัวใหม่ของตนเอง และนำไปสู่การได้รับสถานภาพและบทบาทใหม่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ความเป็นสามี ความเป็นภรรยา เป็นการผลิตสมาชิกใหม่ให้แก่สังคมโดยถูกต้องตามกฎเกณฑ์ จารีต ประเพณี อันเป็นการขยายเผ่าพันธุ์วงศ์ตระกูลออกไปให้ใหญ่ขึ้น เพื่อให้เกิดความร่วมมือในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ระหว่างกลุ่มทั้งสังคมในอดีตและปัจจุบัน และที่สำคัญ เพื่อให้มีทายาทสืบสกุล ทรัพย์สิน มรดก โดยถูกต้องตามกฎเกณฑ์ของสังคม
จากผลการศึกษาดังกล่าวจึงให้ข้อสนับสนุนผลการศึกษาปัจจัยการรับรู้ความหมายของการสมรสมีความสัมพันธ์ต่อการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิง ในระดับอุดมศึกษาซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
สมมติฐานที่ 3 การรับรู้คุณค่าของตนเองมีความสัมพันธ์ต่อการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิง ในระดับต่ำ (r = 0.036) อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
ผลการศึกษาที่ปฏิเสธกับสมมติฐานนี้ พิจารณาได้จากระดับความคิดของนักศึกษาด้านปัจจัยการรับรู้คุณค่าของตนเอง พบว่ามีค่าอยู่ในระดับปานกลาง (⎯X = 3.35, S.D.= 0.33) โดยความคิด
61
เห็นที่มีค่าความคิดเห็นอยู่ในระดับสูง ได้แก่ นักศึกษามีทัศนคติที่ดีต่อตนเอง, โดยรวมๆ แล้วนักศึกษาพอใจในตนเอง และนักศึกษาหวังว่าจะสร้างความนับถือตนเองได้มากกว่าทุกวันนี้ โดยไม่เห็นด้วยกับข้อความที่ว่า ไม่อย่างไรก็ตามฉันรู้สึกว่าตัวเองเป็นคนล้มเหลว แสดงให้เห็นว่า นักศึกษาพอใจในตนเองและคิดว่าจะสามารถสร้างความเชื่อมั่นในตนเองได้มากกว่านี้ ผลการศึกษาที่ปฏิเสธสมมติฐานนี้เนื่องจาก ในปัจจุบันแม้นักศึกษาจะรู้สึกพอใจในตนเองแต่ยังหวังที่จะสร้างความนับถือมากกว่านี้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่านักศึกษาหญิงยังขาดความมั่นใจในตนเอง เนื่องจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม ข้อมูลข่าวสารที่ได้รับ ซึ่งพบว่ามีแนวโน้มที่จะมีเพศสัมพันธ์กันมากขึ้น แม้แต่ตัวแบบในสังคมก็มีพฤติกรรมเปิดเผยเรื่องเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์และการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสมากขึ้น และในสังคมปัจจุบันค่านิยมได้เปลี่ยนไป แม้จะได้รับการอบรม ขัดเกลาจากครอบครัวแต่ก็ยังสับสนเนื่องจากขัอมูลที่ได้รับและไม่มีตัวแบบซึ่งมีความสำคัญในการปฏิบัติตัว ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของRosenberg and Simman (อ้างในพรรณี ทรัพย์มากอุดม, 2532 : 12) อธิบายว่า เพศหญิงเป็นเพศที่ไวต่อความคิดเห็นและพยายามที่จะเลี่ยงที่การกระทำที่อาจจะนำให้ได้รับการตอบสนองในทางลบ และ Bem (อ้างในพรรณี ทรัพย์มากอุดม, 2532 : 10) กล่าวว่า ผู้หญิงมักมีลักษณะจำยอม เต็มไปด้วยอารมณ์ที่มักเกี่ยวพันกับคนอื่น จากผลการศึกษาดังกล่าว จึงให้ข้อสนับสนุนผลการศึกษาปัจจัยการรับรู้คุณค่าของตนเองไม่มีความสัมพันธ์ ต่อการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิง ซึ่งไม่ยอมรับกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
สมมติฐานที่ 4 การได้รับการปลูกฝังเรื่องการมีคู่ครองและการรักนวลสงวนตัวมีความ สัมพันธ์ ต่อการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิงในระดับปานกลาง (r= 0.457) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
ผลการศึกษาที่ยอมรับกับสมมติฐานนี้ เนื่องจากการได้รับการปลูกฝังเรื่องการมีคู่ครองและการรักนวลสงวนตัวของนักศึกษามีค่าอยู่ในระดับปานกลาง (⎯X = 3.42, S.D= 0.52) โดยความคิดเห็นที่มีค่าระดับสูงเรียงตามลำดับได้แก่ ผู้หญิงที่ดีจะต้องรักนวลสงวนตัวไม่แสดงปฏิกริยาโอบกอดหรือใกล้ชิดกับคู่รักในที่สาธารณะ, หากจะมีคู่รักต้องให้พ่อแม่รับรู้และอยู่ในสายตา และคุณค่าของผู้หญิงที่สำคัญ คือการรักษาพรหมจรรย์ไว้จนวันแต่งงาน และข้อความที่นักศึกษาส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยคือ การรักษาพรหมจรรย์เป็นเรื่องไม่สำคัญในปัจจุบัน แสดงให้เห็นว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ได้รับการปลูกฝังในเรื่องการมีคู่ครองและการรักนวลสงวนตัวไม่แสดงปฏิกิริยาโอบกอดหรือใกล้ชิดกับคู่รักในที่สาธารณะ และยังเชื่อฟังบิดามารดา เมื่อมีคู่รักจะให้บิดามารดารับรู้และคิดว่าการรักษาพรหมจรรย์เป็นเรื่องสำคัญที่แสดงคุณค่าของผู้หญิง และจากการได้รับข้อมูลเพิ่มเติมข้อเสนอแนะพบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่เห็นว่าผู้หญิงควรรักนวลสงวนตัว แม้จะรักกันไม่จำเป็นต้องอยู่ร่วมกันก่อน
62
สมรสก็สามารถศึกษากันได้ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ พะเยาว์ ละกะเต็บ, (2538 : 21) อธิบายให้เห็นว่า การที่บุคคลเรียนรู้จากบุคคลนัยสำคัญในการประเมินหรือให้นิยามพฤติกรรมว่าดีหรือไม่ดีในแง่บรรทัดฐานและทัศนคติ การนิยามเหล่านี้อาจแสดงออกมาโดยถ้อยคำของเขาและความคิดความเข้าใจต่อพฤติกรรมของเขา ซึ่งได้รับการเสริมแรงโดยตรง รวมทั้งตอบสนองต่อสิ่งเร้าสำหรับพฤติกรรมของบุคคลอื่น บุคคลที่นิยามพฤติกรรมเหล่านั้นว่า เป็นผลดีมากกว่าผลเสีย เขาจะเข้าสู่พฤติกรรมนั้น บุคคลที่มีแนวโน้มที่จะยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนการสมรส ทั้งนี้ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรมเกี่ยวกับการยอมรับ ถูกปั้นแต่งโดยการให้รางวัลหรือการลงโทษ ถ้าบุคคลรับรู้ว่าพฤติกรรมนั้นให้รางวัลมากกว่าโทษแล้ว บุคคลน่าจะมีแนวโน้มยอมรับพฤติกรรมนั้น ๆ
จากผลการศึกษาดังกล่าวจึงให้ข้อสนับสนุนผลการศึกษาปัจจัยการได้รับการปลูกฝังเรื่องการมีคู่ครองและการรักนวลสงวนตัวมีความ สัมพันธ์ ต่อการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิงในระดับอุดมศึกษา ซึ่งยอมรับกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
สมมติฐานที่ 5 ทัศนคติของชายคนรักและเพื่อนเรื่องการมีเพศสัมพันธ์มีความสัมพันธ์ต่อการยอมรับในการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิง ในระดับต่ำ (r = 0.039) อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งไม่ยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
ผลการศึกษาที่ไม่ยอมรับกับสมมติฐานนี้ เนื่องจากทัศนคติของชายคนรักและเพื่อนเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ มีค่าอยู่ในระดับปานกลาง (⎯X = 2.73, S.D= 0.50) ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีค่าระดับสูงพบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่คิดว่าแม้นคนรักเคยบอกว่าการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างคู่รักเป็นเรื่องธรรมดาแต่นักศึกษาไม่เห็นด้วย และเห็นด้วยว่าเพื่อนมักให้คำแนะนำที่ดีเกี่ยวกับเรื่องการมีเพศสัมพันธ์และเป็นเรื่องที่ยอมรับได้หากเพื่อนของท่านอยู่กับคนรักก่อนการสมรส และข้อความที่มีค่าระดับต่ำโดยนักศึกษาคิดว่าถ้าคนรักบอกกับท่านว่าการมีเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องปกติและสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ท่านจะไม่คัดค้านที่จะมีเพศสัมพันธ์ด้วย, ท่านจะไม่เลือกคบเพื่อนที่ปฏิบัติตัวไม่เหมาะสม เช่น การมีเพศสัมพันธ์ขณะศึกษาและเพื่อนของท่านจะรังเกียจท่านถ้าทราบว่าท่านเคยมีเพศสัมพันธ์ขณะกำลังศึกษา แสดงให้เห็นว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ยังเชื่อว่าไม่ควรมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน ผลการศึกษาที่ไม่ยอมรับสมมติฐานวิเคราะห์ได้ว่านักศึกษาในปัจจุบันมีความเป็นตัวของตัวเองสูงขึ้น อีกทั้งยังได้รับข้อมูล ข่าวสารเรื่องการมีเพศสัมพันธ์อย่างถูกต้องเรื่องการเสี่ยงต่อโรค การตั้งครรภ์ ทำให้นักศึกษามีความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ส่วนทัศนคติเรื่องเพื่อนเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ นักศึกษาเห็นว่าเป็นเรื่องส่วนตัวและเลือกคบเพื่อนที่นิสัย และจากข้อมูลเพิ่มเติมที่ได้รับจากข้อเสนอแนะในแบบสอบถามให้ความเห็นว่า การมีเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องของสิทธิส่วนบุคคล ขึ้นอยู่กับความพอใจทั้งสองฝ่าย ซึ่งในปัจจุบัน ได้มีการรับวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามามากขึ้น อีกทั้งข้อมูล
63
ข่าวสารที่ได้รับจึงมองว่าพฤติกรรมเรื่องนี้เป็นเรื่องปกติ โดยนักศึกษาแยกแยะระหว่างการคบเพื่อนและพฤติกรรมส่วนตัวออกจากกัน แสดงให้เห็นว่า นักศึกษาแม้จะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็จะไม่มีส่วนในการตัดสินใจเลือกปฏิบัติตาม ตามแนวคิดของอาร์เกอร์และคณะ(Aker and otherอ้างใน พะเยาว์ ละกะเต็บ,2538 : 21)เสนอว่า บุคคลมีแนวโน้มที่จะยอมรับพฤติกรรมถ้ารับรู้ว่าพฤติกรรมนั้นให้รางวัลมากกว่าโทษ บุคคลจึงยอมรับพฤติกรรมนั้น ๆ ส่วน รีสและมิลเลอร์(Reiss and Miller อ้างใน พะเยาว์ ละกะเต็บ,2538 : 20) พบว่า ถ้าบุคคลคิดว่าการมีเพศสัมพันธ์เป็นการเสี่ยงที่จะทำให้เกิดความรู้สึกผิด เกิดความสูญเสีย บุคคลก็จะไม่ปฏิบัติตาม ผลการศึกษาดังกล่าวจึงทำให้ว่าปัจจัยทัศนคติของชายคนรักและเพื่อนเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ไม่มีความสัมพันธ์ต่อการยอมรับในการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิง ซึ่งไม่ยอมรับกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
สมมติฐานที่ 6 การรับรู้ตัวแบบในสังคมจากสื่อมวลชน มีความสัมพันธ์ต่อการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิงในระดับค่อนข้างต่ำ (r = 0.374) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
ผลการศึกษาที่สอดคล้องนี้ ทั้งนี้เพราะนักศึกษาส่วนใหญ่มีความสนใจตัวแบบที่เป็นดารานักแสดง เพราะอาชีพที่ต้องการให้คนดูชื่นชม และนักศึกษายังมีความคิดว่า ดารา นักแสดง ควรเป็นแบบอย่างที่ดี เพราะเป็นผู้มีส่วนสำคัญให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบ เมื่อพิจารณาปัจจัยการรับรู้ตัวแบบในสังคมจากสื่อมวลชน ซึ่งมีค่าอยู่ในระดับปานกลาง (⎯X = 3.37, S.D.= 0.47) โดยมีความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีค่าระดับสูงได้แก่ นักศึกษาคิดว่าปรากฏการณ์การอยู่ร่วมกันก่อนการสมรสเป็นเรื่องปกติของดารา นักร้อง นักแสดง, ดารา นักแสดง ควรเป็นแบบอย่างที่ดี เพราะเป็นผู้มีส่วนสำคัญให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบ และสื่อที่ดารานักแสดงเป็นตัวแบบทำให้เกิดการเลียนแบบพฤติกรรม และข้อคำถามที่นักศึกษามีค่าในระดับต่ำได้แก่ นักศึกษาไม่เห็นด้วยกับข้อคำถามที่ว่าหากนักศึกษาทราบว่าดารา นักแสดง นักร้องที่ท่านชื่นชอบมีคู่รักและอยู่ร่วมกันก่อนการสมรสท่านจะไม่ชอบนักแสดงคนนั้นทันที แสดงให้เห็นว่านักศึกษามีความสนใจตัวแบบที่เป็นดารานักแสดง เพราะอาชีพที่ต้องการให้คนดูชื่นชม และนักศึกษายังมีความคิดว่า ดารา นักแสดง ควรเป็นแบบอย่างที่ดี เพราะเป็นผู้มีส่วนสำคัญให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของอัลเบิร์ต แบนดูร่า (Bandora อ้างในวัฒนา มหาราช, 2544 : 12) นักจิตวิทยาทางสังคมได้ให้แนวคิดของการเรียนรู้ทางสังคมไว้ว่า การเรียนรู้ คือ วิธีการเลียนแบบพฤติกรรมของคนซึ่งเรียกว่าเป็นแม่แบบ แต่บุคคลที่เลียนแบบพฤติกรรมคนอื่นมิได้หมายความว่าจะเลียนแบบทุกพฤติกรรมเสมอไป ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกันอีกมากมายและขึ้นอยู่กับกระบวนการทางปัญญาของผู้เรียนด้วย ดังนั้นองค์ประกอบของการเรียนรู้ประกอบไปด้วย แม่แบบพฤติกรรม ที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดข้อมูลไปยังผู้สังเกต ซึ่งอาจจะเป็นไปตามลักษณะพฤติกรรมแม่
64
แบบทำให้ผู้เลียนแบบเกิดการเลียนแบบและกระทำตาม พฤติกรรมแม่แบบทำให้ผู้สังเกตไม่ปฏิบัติตาม ทั้งนี้อาจเพราะเห็นแม่แบบถูกลงโทษ หรือได้รับผลตอบสนองในทิศทางที่ผู้สังเกตไม่พึงปรารถนา พฤติกรรมแม่แบบขัดเกลาทางสังคมช่วยถ่ายทอดวัฒนธรรม ประเพณีโดยภาพรวมให้กับผู้สังเกตในลักษณะที่เรียกว่ากระบวนการกล่อมเกลาทางสังคม ผลจากพฤติกรรมแม่แบบจะมีความสำคัญต่อการเรียนรู้ เพราะผลการกระทำที่แม่แบบได้รับอาจอยู่ในรูปของการเสริมแรง หรือการลงโทษ ซึ่งผลทั้งสองแบบจะส่งผลต่อกระบวนการตัดสินของผู้สังเกต ซึ่งเป็นไปตามกระบวนการทางปัญญาของผู้เรียน ที่ประกอบด้วย ความใส่ใจ การจดจำ การปฏิบัติตามแม่แบบ และแรงจูงใจ สำหรับสังคมไทย และแนวคิดของกาญจนา แก้วเทพ (2452) ให้ข้อสนับสนุนว่า แม่แบบที่น่ายึดถือก็คือ ดารา นักร้อง นักแสดงและดาราอื่น ๆ นั่นเอง เพราะสื่อมวลชนมีอิทธิพลในแง่ที่ว่า สามารถสร้างความรู้และทัศนคติต่อผู้บริโภค ซึ่งมีผลต่อการมีพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งของผู้บริโภค นอกจากนั้นสื่อยังมีบทบาทและแบบอย่าง อันอาจจะสรุปได้ว่า ทำหน้าที่บ่มเพาะบุคคลนั่นเอง ซึ่งอิทธิพลของสื่อมวลชนน่าจะเป็นปัจจัยแวดล้อมภายนอกที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยส่วนบุคคล ซึ่งเป็นสาเหตุปัจจัยหนึ่งของการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนการสมรสด้วยเช่นกัน
จากผลการศึกษาดังกล่าวจึงให้ข้อสนับสนุนผลการศึกษาปัจจัยการรับรู้ตัวแบบในสังคมจากสื่อมวลชน มีความสัมพันธ์ต่อการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิง ในระดับอุดมศึกษา ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
ข้อเสนอแนะ
จากการศึกษาครั้งนี้พบว่านักศึกษามีความเข้าใจในเรื่องของความรักและการมี
เพศสัมพันธ์ว่า การมีเพศสัมพันธ์เป็นการแสดงความรักต่อกัน นักศึกษาให้การยอมรับวัฒนธรรมตะวันตกมากยิ่งขึ้นโดยมองว่าการอยู่ร่วมกันก่อนการสมรสเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนการแต่งงาน อีกทั้งยังเห็นว่าเป็นเรื่องส่วนบุคคล หากกระทำแล้วไม่เดือดร้อนผู้อื่นก็สามารถกระทำได้ แม้ว่านักศึกษาบางส่วนจะไม่ยอมรับเรื่องนี้แต่จากข้อคิดเห็นที่ได้รับจากการสังเกตและการเสนอแนะจากแบบสอบถามพบว่า จะให้เหตุผลที่ว่าตนเองยังเป็นนักศึกษา หากว่าเป็นผู้ใหญ่พอรับผิดชอบตนเองได้ก็ยอมรับได้ ซึ่งประเด็นต่าง ๆ เหล่านี้เป็นเรื่องของทัศนคติและการรับรู้ซึ่งเริ่มจากครอบครัว และสิ่งแวดล้อม ดังนั้นทุกฝ่ายควรจะมีส่วนร่วมดังนี้
65
1. ครอบครัวควรให้ความรู้ การอบรม ความเอาใจใส่และเป็นตัวแบบที่ดี ควรส่งปลูกฝังเรื่องการรักนวลสงวนตัว และให้ความสำคัญกับการให้ความเข้าเรื่องความรักและการมีเพศสัมพันธ์อย่างถูกต้อง
2. ทางสถาบันการศึกษาควรจะมีกิจกรรมให้ความรู้เรื่องการมีเพศสัมพันธ์อย่างถูกต้อง จัดให้นักศึกษามีส่วนร่วมในกิจกรรมเกี่ยวกับการส่งเสริมวัฒนธรรมไทย
3. ตัวแบบในสังคม เช่น ดารา นักแสดง ควรเป็นแบบอย่างที่ดี เนื่องจากมีส่วนสำคัญให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบ และสื่อมวลชนควรนำเสนอข่าวที่ถูกต้อง ส่งเสริมข้อมูลด้านวัฒนธรรมไทย
ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
1.ควรศึกษาปัจจัยอื่น ๆ ที่มีผลต่อทัศนคติของนักศึกษาในเรื่องการอยู่ร่วมกันก่อนสมรส
2.ควรศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนของนักศึกษาหญิงเนื่องจากเป็นผลสืบเนื่องให้ยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรส
3.ควรมีการศึกษาการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาในพื้นที่ต่างจังหวัดเพื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่กรุงเทพว่าแตกต่างกันหรือไม่
4. ควรมีการศึกษาโดยการสัมภาษณ์เพื่อให้ได้ข้อมูลเพิ่มขึ้นและนำมาประกอบกับข้อมูลเชิงสถิติเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ให้ลึกยิ่งขึ้น
66
บรรณานุกรม
กาญจนา แก้วเทพ. (2542). การวิเคราะห์สื่อ : แนวคิดและเทคนิค. กรุงเทพฯ: บริษัทเอดิสันเพรส
โพรดักส์.
กัลยา วานิชย์บัญชา (2541). หลักสถิติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จิราลักษณ์ จงสถิตมั่น,และคณะ. (2543).วารสารสังคมศาสตร์. ปีที่ 12 ฉบับที่1 กรกฎาคม 2542-
มีนาคม 2543. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
จุฬารัตน์ ห้าวหาญ. (2539). พฤติกรรมทางเพศและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการมีเพศสัมพันธ์
ของนักเรียนวัยรุ่นชายในเขตเทศบาลเมืองสุรินทร์ .วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ฉลาดชาย รมิตานนท์ (2542). การศึกษาครอบครัวไทย: ข้อคิดและแนวกทางการศึกษา,
ในชูศักดิ์ วิทยาภัค (บก.) วารสารหสังคมศาสตร์ ปีที่ 11 ฉับบที่ 2 มกราคม –
มิถุนายน 2542 คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ชุมมาศ กัลยาณมิตร. (2538).ปัจจัยที่มีผลต่อทัศนคติเกี่ยวกับประพฤติตนไม่เหมาะสมกับสภาพวัย
ของนักเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร .วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไทยรัฐ. (2547). “ก้อง ใบ้ให้รู้อยู่ก่อนแต่งมีลูกเมื่อไหร่ค่อยจูงแฟนวิวาห์”. ฉบับวันที่ 20 มีนาคม 2547
: 37.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์.(2547). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์
จามจุรีโปรดักท์.
พรทิพย์ วงศ์เพชรสง่า. (2528). การยินยอมให้มีเพศสัมพันธ์ก่อนการสมรสของนักศึกษามหาวิทยาลัย
วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พรรณี มากอุดม. (2532).การศึกษาความแตกต่างระหว่างเพศกับการให้คุณค่าตนเอง : ศึกษากรณี
นักเรียนมัธยม โรงเรียนวัดสุวรรณารามวิทยาคม .วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะสังคม
วิทยาและมนุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พะเยาว์ ละกะเต็บ. (2538). ตัวแบบสมุฏฐานการยอมรับเพศสัมพันธ์ก่อนการสมรส.
วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เพ็ญประภา สุวรรณ.(2520). ทัศนคติ : การวัด การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอนามัย. กรุงเทพฯ:
สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
มาลัย . (2536). นางในวรรณคดี. กรุงเทพฯ : บวรสารการพิมพ์.
67
ระพีพรรณ ภู่ผกาพันธ์พงษ์. (2544).การยินยอมให้มีความสัมพันธ์ทางเพศก่อนการแต่งงานและปัจจัย
ที่มีอิทธิพลต่อการยินยอมให้มีเพศสัมพันธ์ . วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะสังคมวิทยา
และมนุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ลัดดา กิติวิภาค.(2543). ทัศนคติทางสังคมเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.วัฒนา มหาราช. (2544).ความคิดเห็นและทัศนคติของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาต่อการมี
เพศสัมพันธ์ก่อนการแต่งงาน : ศึกษากรณีสถาบันราชภัฏเพชรบูรณ์. วิทยานิพนธ์
มหาบัณฑิต สาขาพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วันทนีย์ วาสิกะสิน. (2526). ปัญหาพฤติกรรมทางเพศของมนุษย์กับงานสังคมสงเคราะห์. กรุงเทพฯ:
สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วารุณี ภูริสินสิทธิ์ และ เบ็ญจา จิรภัทรพิมล. (2537). ภาวะการทำงานอุตสาหกรรมของสตรีและการ
เปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ในครอบครัว. รายงานการวิจัย. คณะสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วารุณี ภูริสินสิทธิ์. (2543). ความเป็นผู้หญิงในสังคมไทย. วารสารสังคมศาสตร์ ปีที่ 12 ฉบับที่2
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศิริพันธ์ ถาวรวงษ์. (2543). ครอบครัวและเครือญาติ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย
รามคำแหง.
ศิริรัตน์ อาศนะ. (2529). สตรีในวรรณกรรมล้านนา. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตมหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
ศุภรัศมิ์ ฐิติกุลเจริญ.(2544).ทฤษฎีการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์.(2538). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: [ม.ป.ท]
สุปาจรีย์ วิชัยโรจน์. (2529).การยอมรับพฤติกรรมทางเพศของสตรีนักศึกษามหาวิทยาลัย.
วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุพัตรา สุภาพ. (2534). สังคมและวัฒนธรรมไทย ค่านิยม ครอบครัว ศาสนา ประเพณี. กรุงเทพฯ
: สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
โสพิน หมูแก้ว. (2544). อยู่ก่อนแต่ง: การอยู่ร่วมกันโดยไม่แต่งงานของนักศึกษามหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
68
Arcy Lyness,PhD. (2002, December). ” What is Self Esteem ?” [Online] Available : http :/
kidsnealth.org.html.
Carmen Guanipa. ( 1999, June 8) “ Self Esteem” [Online] Available : http :/ www.edweb.sdsu.
edu/people/ CG Guanipa/esteem. html.
Robert W.(2004).” Review of Self Esteem Research” [Online] Available : http :/ self-
esteem-nase.org/research.html.
University of Texas.”What is Self-Esteem ?” [Online] Available : http :/ www.utexas.
edu.html.
78
ภาคผนวก ก.
79
ภาคผนวก ข.
80
แบบสอบถาม
เรื่อง “ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของ
นักศึกษาหญิงมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา”
ข้อแนะนำเกี่ยวกับแบบสอบถาม
แบบสอบถามชุดนี้มีทั้งหมด 3 ส่วน
ส่วนที่ 1 เป็นคำถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล จำนวน 5 ข้อ
ส่วนที่ 2 เป็นคำถามเกี่ยวกับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับในการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิง ดังนี้
ตอนที่ 1 คำถามใช้วัดความรับรู้เกี่ยวกับความรักและการมีเพศสัมพันธ์ของชายและหญิง (จำนวน 9 ข้อ)
ตอนที่ 2 คำถามใช้วัดการรับรู้ความหมายของการสมรส
(จำนวน 10 ข้อ)
ตอนที่ 3 คำถามใช้วัดการรับรู้คุณค่าของตนเอง
(จำนวน 10 ข้อ)
ตอนที่ 4 คำถามใช้วัดการได้รับการปลูกฝังเรื่องการมีคู่ครองและการรักนวลสงวนตัว
(จำนวน 10 ข้อ)
ตอนที่ 5 คำถามใช้วัดทัศนคติของชายคนรักและเพื่อนเรื่องการมีเพศสัมพันธ์
(จำนวน 7 ข้อ)
ตอนที่ 6 คำถามใช้วัดการรับรู้ตัวแบบในสังคมจากสื่อมวลชน
(จำนวน 7 ข้อ)
ส่วนที่ 3 คำถามที่ใช้วัดการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนการสมรส (จำนวน 10 ข้อ)
ส่วนที่ 4 ความคิดเห็นอื่นๆ และข้อเสนอแนะ
81
แบบสอบถาม
ส่วนที่ 1 ข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม
คำชี้แจง โปรดใส่เครื่องหมาย √ ลงในวงเล็บหน้าข้อความ และเติมข้อความลงในช่องว่าง
ตามความเป็นจริง
ข้อ 1. อายุ …………. ปี
ข้อ 2. คณะวิชา
( ) 1. คณะครุศาสตร์ ( ) 2. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
( ) 3. คณะวิทยาการจัดการ ( ) 4. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ข้อ 4. สถานภาพสมรสของบิดามารดา
( ) 1.อยู่ร่วมกัน ( ) 2.หย่าร้าง/แยกกันอยู่ ( ) 3. เสียชีวิต
ข้อ 5. ขณะนี้ท่านอาศัยอยู่กับ
( ) 1. บิดามารดา ( ) 2. ญาติ
( ) 3. ห้องพัก ( ) 4. อื่นๆ ระบุ.......................
ข้อ 5. สิ่งใดต่อไปนี้ที่ท่านสามารถปฏิบัติได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ผู้ปกครองรับทราบมากที่สุด
( ) 1.การออกจากที่พักไปสถานที่ต่าง ๆ
( ) 2.การเลือกคบเพื่อน
( ) 3.การมีคนรัก
( ) 4.การใช้จ่าย
82
ส่วนที่ 2 เป็นคำถามเกี่ยวกับความการคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรสของนักศึกษาหญิงมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
คำชี้แจง โปรดใส่เครื่องหมาย √ ในช่องระดับความคิดเห็นที่ตรงกับความเป็นจริง
หรือสอดคล้องกับความรู้สึกของท่านมากที่สุด
ตอนที่ 1 คำถามเกี่ยวกับการรับรู้เกี่ยวกับความรักและการมีเพศสัมพันธ์ของชายและหญิง
ระดับความคิดเห็น
ปัจจัยที่มีผลต่อความคิดเห็น
เห็นด้วย
มากที่สุด
เห็นด้วยมาก
เห็นด้วย
ปานกลาง
เห็นด้วย
น้อย
ไม่เห็นด้วย
1.หากชายหญิงรักกันไม่จำเป็นต้องผ่านการสมรสตามกฏหมายหรือประกอบพิธีกรรมให้สังคมรับรู้ก็สามารถอยู่ร่วมกันได้
2.การมีเพศสัมพันธ์กันก่อนการสมรสเป็นการแสดงความรักต่อกันระหว่างชายหญิง
3.การมีเพศสัมพันธ์ก่อนการสมรสเป็นปรากฏการณ์ที่พบทั่วไปในสังคมไทยปัจจุบัน
4.การที่ผู้หญิงจะมีเพศสัมพันธ์กับผู้ชายที่เพียงแต่ชอบพอกันเป็นเรื่องไม่สมควร
5.กรณีที่เป็นคู่รักกัน ถ้าผู้หญิงจะมีเพศสัมพันธ์กับชายคนรักไม่ใช่เรื่องเสียหาย
6.หากเป็นคู่รักกันการเดินโอบกอดกันในที่สาธารณะเป็นสิ่งที่ยอมรับได้
7.การมีประสบการณ์ทางเพศเป็นการศึกษากันก่อนใช้ชีวิตแต่งงานของคู่สมรส
8.การมีเพศสัมพันธ์ก่อนการสมรสหากไม่ป้องกันเป็นการเสี่ยงต่อการติดโรค เช่น โรคเอดส์ กามโรค
9.การมีความรักทำให้อบอุ่นใจ มีผู้เป็นที่รักคอยให้คำปรึกษา
83
ตอนที่ 2 คำถามเกี่ยวกับความเข้าใจในความหมายของการสมรส
ระดับความคิดเห็น
ปัจจัยที่มีผลต่อความคิดเห็น
เห็นด้วย
มากที่สุด
เห็นด้วยมาก
เห็นด้วย
ปานกลาง
เห็นด้วย
น้อย
ไม่เห็นด้วย
1.การสมรสเป็นเรื่องของความสัมพันธ์ที่ถูกต้องเพื่อประกาศให้สังคมรับรู้
2.การสมรสของผู้หญิงเพื่อเป็นการสร้างครอบครัวและผลิตสมาชิกใหม่ให้สังคมโดยถูกต้องตามกฎหมาย
3.การสมรสที่สมบูรณ์ต้องมีการจดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย
4.การสมรสเป็นพิธีกรรมที่ยุ่งยากและมีค่าใช้จ่ายสูง
5.ถ้าหากมีความรักต่อกันการสมรสนั้นไม่สำคัญ
6.การจดทะเบียนสมรสเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการสมรสซ้ำซ้อน
7.การสมรสเป็นพิธีกรรมที่การแสดงถึงฐานะทางบ้านของคู่บ่าวสาว
8.การสมรสโดยผ่านการจดทะเบียนสมรสเป็นสิ่งที่ควรกระทำ
9.การสมรสนั้นไม่ใช่การจัดงานที่แสดงถึงฐานะเป็นเพียงพิธีเพื่อให้สังคมรับรู้หรือให้ถูกต้องตามกฎหมาย
10.การสมรสเป็นเรื่องที่ไม่สำคัญในสังคมไทยปัจจุบัน
84
ตอนที่ 3 คำถามเกี่ยวกับการรับรู้คุณค่าของตนเอง
ระดับความคิดเห็น
ปัจจัยที่มีผลต่อความคิดเห็น
เห็นด้วย
มากที่สุด
เห็นด้วยมาก
เห็นด้วย
ปานกลาง
เห็นด้วย
น้อย
ไม่เห็นด้วย
1.โดยรวม ๆ แล้วฉันพอใจในตนเอง
2. บางครั้งฉันรู้สึกตัวเองไม่มีอะไรดี
3. ฉันคิดว่าตัวเองมีส่วนดีบ้างเหมือนกัน
4. ฉันไม่รู้สึกภูมิใจในตนเองเท่าไรนัก
5. บางครั้งฉันทำตัวไม่เป็นประโยชน์เอาเสียเลย
6. ฉันมีความสามารถดีเท่ากับคนอื่น ๆ
7. ฉันเป็นคนมีค่าอย่างน้อยก็เท่ากับคนทั่ว ๆ ไปที่ไม่ต่างจากฉัน
8. ฉันหวังว่าจะสร้างความนับถือตนเองได้มากกว่าทุกวันนี้
9. ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ฉันรู้สึกว่าตัวเองเป็นคนล้มเหลว
10. ฉันมีทัศนคติที่ดีต่อตนเอง
85
ตอนที่ 4 คำถามเกี่ยวกับการได้รับการปลูกฝังเรื่องการมีคู่ครองและการรักนวลสงวนตัว
ระดับความคิดเห็น
ปัจจัยที่มีผลต่อความคิดเห็น
เห็นด้วย
มากที่สุด
เห็นด้วยมาก
เห็นด้วย
ปานกลาง
เห็นด้วย
น้อย
ไม่เห็นด้วย
1.พ่อแม่ควรจะเข้มงวดเกี่ยวกับการมีคู่ครองของบุตรสาว
2.ผู้หญิงที่ดีจะต้องรักนวลสงวนตัวไม่แสดงการโอบกอดหรือจูบกับคู่รักในที่สาธารณะ
3.การอยู่ร่วมกันก่อนการสมรสโดยไม่ผ่านการรับรู้จากพ่อแม่เป็นสิ่งที่น่าอับอายต่อญาติพี่น้อง
4.หากจะมีคู่รักต้องให้พ่อแม่รับรู้และอยู่ในสายตา
5.สังคมปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปจนทำให้ยอมรับได้ว่าการโอบกอดหรือแสดงความรักในที่สาธารณะเป็นเรื่องธรรมดา
6.คุณค่าของผู้หญิงที่สำคัญ คือ การรักษาพรหมจรรย์ไว้จนวันแต่งงาน
7.การรักษาพรหมจรรย์เป็นเรื่องโบราณ ไม่สำคัญในปัจจุบัน
8.การเดินทางไปต่างจังหวัดกับคู่รักสองต่อสองเป็นเรื่องที่ไม่สมควร
9.หากชอบพอกันจะแสดงออกโดยการถูกเนื้อต้องตัวกันเป็นเรื่องปกติ
10.หญิงชายที่รักกันการถูกเนื้อต้องตัวกันเป็นเรื่องที่ยอมรับได้
86
ตอนที่ 5 คำถามเกี่ยวกับทัศนคติของชายคนรักและเพื่อนเรื่องการมีเพศสัมพันธ์
ระดับความคิดเห็น
ปัจจัยที่มีผลต่อความคิดเห็น
เห็นด้วย
มากที่สุด
เห็นด้วยมาก
เห็นด้วย
ปานกลาง
เห็นด้วย
น้อย
ไม่เห็นด้วย
1. เพื่อนมักให้คำแนะนำที่ดีเกี่ยวกับเรื่องการมีเพศสัมพันธ์
2. เป็นเรื่องที่ยอมรับได้หากเพื่อนของท่านอยู่กับคนรักก่อนการสมรส
3. ท่านจะไม่เลือกคบเพื่อนที่ปฏิบัติตัวไม่เหมาะสม เช่น การมีเพศสัมพันธ์ขณะศึกษา
4. ถ้าหากท่านตัดสินใจจะมีเพศสัมพันธ์หรืออาศัยอยู่กับคนรัก ท่านจะตัดสินใจเองโดยไม่ปรึกษาเพื่อน
5. ถ้าคนรักบอกกับท่านว่าการมีเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องปกติและสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ท่านจะไม่คัดค้านที่จะมีเพศสัมพันธ์ด้วย
6. เพื่อนของท่านจะรังเกียจท่านถ้าทราบว่าท่านเคยมีเพศสัมพันธ์ขณะกำลังศึกษา
7. แม้คนรักของท่านเคยบอกว่าการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างคู่รักเป็นเรื่องธรรมดาแต่ท่านก็ไม่เห็นด้วย
87
ตอนที่ 6 คำถามเกี่ยวกับการรับรู้ตัวแบบในสังคมจากสื่อมวลชน
ระดับความคิดเห็น
ปัจจัยที่มีผลต่อความคิดเห็น
เห็นด้วย
มากที่สุด
เห็นด้วยมาก
เห็นด้วย
ปานกลาง
เห็นด้วย
น้อย
ไม่เห็นด้วย
1.ปรากฏการณ์การอยู่ร่วมกันก่อนการสมรสเป็นเรื่องปกติของดารา นักร้อง นักแสดง
2.ท่านมักได้อ่าน ดู ฟังเรื่องของการอยู่ร่วมกันก่อนการสมรสจากสื่อมวลชน
3.สื่อที่ดารา นักแสดง เป็นตัวแบบทำให้เกิดการเลียนแบบพฤติกรรม
4.ละคร ข่าว ข้อมูลที่ได้รับจากสื่อ ทำให้รู้สึกว่าเรื่องการอยู่ร่วมกันก่อนการสมรสเป็นเรื่องธรรมดา
5.ท่านเคยได้รับรู้ข้อมูลจากสื่อต่าง ๆ เรื่องการอยู่ร่วมกันก่อนการสมรส
6.หากท่านทราบว่าดารา นักแสดง นักร้องที่ท่านชื่นชอบมีคู่รักและอยู่ร่วมกันก่อนการสมรสท่านจะไม่ชอบนักแสดงคนนั้นทันที
7.ดารา นักแสดง ควรเป็นแบบอย่างที่ดี เพราะเป็นผู้มีส่วนสำคัญให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบ
88
ส่วนที่ 3 คำถามเกี่ยวกับคำถามเกี่ยวกับการยอมรับในการอยู่ร่วมกันก่อนสมรส
ระดับความคิดเห็น
ข้อความ
เห็นด้วย
มากที่สุด
เห็นด้วยมาก
เห็นด้วย
ปานกลาง
เห็นด้วย
น้อย
ไม่เห็นด้วย
1.ปรากฏการณ์การอยู่ร่วมกันก่อนสมรสในปัจจุบันมีมากขึ้น
2.การอยู่ร่วมกันก่อนสมรสเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนแต่งงาน
3.การอยู่ร่วมกันก่อนสมรส จะนำมาซึ่งความเสียใจเช่นเดียวกับการหย่าร้าง
4.การอยู่ร่วมกันก่อนสมรสเป็นค่านิยมที่ขัดกับวัฒนธรรมไทย
5.การอยู่ร่วมกันก่อนสมรสเป็นความสัมพันธ์แบบชั่วคราว
6.การอยู่ร่วมกันก่อนสมรสเป็นความสัมพันธ์แบบคู่ควง
7.การอยู่ร่วมกันก่อนสมรสเป็นทางเลือกหนึ่งเช่นเดียวกับการแต่งงานหรือจดทะเบียนตามกฎหมาย
8.การอยู่ร่วมกันก่อนสมรสเป็นพฤติกรรมเลียนแบบของวัยรุ่น
9.การอยู่ร่วมกันก่อนสมรสเป็นการศึกษากันเพื่อไม่
ให้เกิดปัญหาการหย่าร้าง
10.การอยู่ร่วมกันก่อนสมรสเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ในปัจจุบัน
ส่วนที่ 4 ความคิดเห็นอื่นๆ และข้อเสนอแนะ
89
………………………………………………………………………………………………………….
…………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
ผู้วิจัยขอขอบคุณเป็นอย่างสูงที่ท่านได้สละเวลาในการตอบแบบสอบถามฉบับนี้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในงานวิจัย และเป็นข้อมูลสำหรับผู้ที่สนใจต่อไป
น.ส.เกศรินทร์ กาญจนภิรมย์
ผู้วิจัย
7 0
ตารางผนวก ก.ที่ 1 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของแบบสอบถามส่วนที่ 2
ข้อความ
ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง
ไม่เห็นด้วย
เห็น
ด้ว ย ปานกลาง
เห็นด้วย
เห็นด้วยอย่างยิ่ง
⎯X
SD.
ระดับ
การรับรู้เกี่ยวกับความรักและการมีเพศสัมพันธ์ของชายและหญิง
1.หากชายหญิงรักกันไม่จำเป็นต้องผ่านการสมรสตามกฏหมายหรือประกอบพิธีกรรมให้สังคมรับรู้
4.30
6.90
36.10
19.90
32.90
3.70
1.13
สูง
2.การมีเพศสัมพันธ์กันก่อนการสมรสเป็นการแสดงความรักต่อกันระหว่างชายหญิง
1.10
1.80
23.10
25.10
48.70
4.19
0.93
สูง
3.การมีเพศสัมพันธ์ก่อนการสมรสเป็นปรากฏการณ์ที่พบทั่วไปในปัจจุบัน
29.20
39.40
22.00
5.80
3.60
2.15
1.02
ต่ำ
4.การที่ผู้หญิงจะมีเพศสัมพันธ์กับผู้ชายที่ชอบพอกันเป็นเรื่องไม่สมควร
13.40
2.90
11.20
24.50
48.00
3.91
1.38
สูง
5.กรณีที่เป็นคู่รักกัน ถ้าผู้หญิงจะมีเพศสัมพันธ์กับชายคนรักไม่ใช่เรื่องเสียหาย
6.90
6.90
28.50
22.00
35.70
3.73
1.21
สูง
6.หากเป็นคู่รักกันการเดินโอบกอดกันในที่สาธารณะเป็นสิ่งที่ยอมรับได้
1.40
10.50
33.60
24.50
30.00
3.71
1.05
สูง
7.การมีประสบการณ์ทางเพศเป็นการศึกษากันก่อนใช้ชีวิตแต่งงาน
2.90
10.50
23.50
23.50
39.70
3.87
1.14
สูง
8.การมีเพศสัมพันธ์ก่อนการสมรสเป็นการเสี่ยงต่อการติดโรค เช่น โรคเอดส์ กามโรค
5.80
0.40
6.10
13.70
74.10
4.50
1.04
สูง
9.การมีความรักทำให้อบอุ่นใจ มีผู้ที่ให้คำปรึกษา
1.80
3.60
13.40
30
51.30
4.25
0.94
สูง
รวม
3.78
0.50
สูง
7 1
ข้อความ
ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง
ไม่เห็นด้วย
เห็น
ด้ว ย ปานกลาง
เห็นด้วย
เห็นด้วยอย่างยิ่ง
⎯X
SD.
ระดับ
ความเข้าใจในความหมาย
ของการสมรส
1.การสมรสเป็นเรื่องของความสัมพันธ์ที่ถูกต้องเพื่อให้สังคมรับรู้
0.70
1.40
17.30
31.80
48.70
4.26
0.85
สูง
2.การสมรสของผู้หญิงเพื่อเป็นการสร้างครอบครัวและผลิตสมาชิกใหม่ให้สังคมโดยถูกต้องตามกฏหมาย
1.10
6.50
17.30
37.50
37.50
4.04
0.95
สูง
3.การสมรสที่สมบูรณ์ต้องมีการจดทะเบียนสมรสตามกฏหมาย
2.20
6.90
18.80
23.10
49.10
4.10
1.07
สูง
4.การสมรสเป็นพิธีกรรมที่ยุ่งยากและการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการจัดพิธี
7.90
15.90
40.40
19.50
16.20
3.20
1.13
ปานกลาง
5.ถ้าหากมีความรักต่อกันการสมรสนั้นไม่สำคัญ
12.30
15.50
33.20
19.90
19.10
3.18
1.26
ปานกลาง
6.การสมรสทำให้ไม่เกิดปัญหาการสมรสซ้ำซ้อน
4.70
9.40
27.40
28.90
29.60
3.69
1.13
สูง
7.การสมรสเป็นพิธีการที่การแสดงถึงฐานะทางบ้านของคู่บ่าวสาว
9.00
11.60
24.20
26.70
28.50
3.54
1.26
ปานกลาง
8.การสมรสโดยผ่านการจดทะเบียนสมรสเป็นสิ่งที่ควรกระทำ
-
1.40
30.30
25.60
42.60
4.09
0.88
สูง
9.การสมรสนั้นไม่ใช่การจัดงานที่แสดงถึงฐานะเป็นเพียงพิธีเพื่อให้สังคมรับรู้หรือให้ถูกต้องตามกฏหมาย
1.10
4.70
26.70
29.60
37.90
3.99
0.97
สูง
10.การสมรสเป็นเรื่องที่ไม่สำคัญในสังคมไทยปัจจุบัน
36.80
22.70
29.20
7.20
4.00
2.19
1.13
ต่ำ
รวม
3.63
0.42
ปานกลาง
7 2
ข้อความ
ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง
ไม่เห็นด้วย
เห็น
ด้ว ย ปานกลาง
เห็นด้วย
เห็นด้วย่างยิ่ง
⎯X
SD.
ระดับ
การรับรู้คุณค่าของตนเอง
1.โดยรวม ๆ แล้วฉันพอใจในตนเอง
1.10
3.60
22.00
42.60
30.70
3.98
0.88
สูง
2. บางครั้งฉันรู้สึกตัวเองไม่มีอะไรดี
9.00
17.30
38.60
19.50
15.50
3.15
1.15
ปานกลาง
3. ฉันคิดว่าตัวเองมีส่วนดีบ้างเหมือนกัน
1.80
2.50
24.90
48.70
22.00
3.87
0.85
สูง
4. ฉันไม่รู้สึกภูมิใจในตนเองเท่าไรนัก
4.30
9.70
23.80
28.50
33.60
3.77
1.14
สูง
5. บางครั้งฉันทำตัวไม่เป็นประโยชน์เอาเสียเลย
7.60
9.40
40.40
23.80
18.80
3.37
1.12
ปานกลาง
6. ฉันมีความสามารถดีเท่ากับคนอื่น ๆ
2.20
7.20
38.30
35.00
17.30
3.58
0.93
ปานกลาง
7. ฉันเป็นคนมีค่าอย่างน้อยก็เท่ากับคนทั่ว ๆ ไปที่ไม่ต่างจากฉัน
4.70
5.10
33.90
34.30
22.00
3.64
1.03
ปานกลาง
8. ฉันหวังว่าจะสร้างความนับถือตนเองได้มากกว่าทุกวันนี้
2.90
2.50
20.20
45.10
29.20
3.95
0.93
สูง
9. ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ฉันรู้สึกว่าตัวเองเป็นคนล้มเหลว
55.20
26.40
10.10
6.50
1.80
1.73
1.00
ต่ำ
10. ฉันมีทัศนคติที่ดีต่อตนเอง
-
4.00
25.30
38.30
32.50
3.99
0.86
สูง
รวม
3.35
0.33
ปานกลาง
7 3
ข้อความ
ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง
ไม่เห็นด้วย
เห็น
ด้ว ย ปานกลาง
เห็นด้วย
เห็นด้วย่างยิ่ง
⎯X
SD.
ระดับ
การปลูกฝังเรื่องการมีคู่ครองและการรักนวลสงวนตัว
1.พ่อแม่ควรจะเข้มงวดเกี่ยวกับการมีคู่ครอง
6.10
10.50
41.50
27.40
14.40
3.34
1.05
ปานกลาง
2.ผู้หญิงที่ดีจะต้องรักนวลสงวนตัวไม่แสดงปฏิกริยาโอบกอดหรือใกล้ชิดกับคู่รักในที่สาธารณะ
3.20
5.10
14.80
24.90
52.00
4.17
1.07
สูง
3.การอยู่ร่วมกันก่อนการสมรสโดยไม่ผ่านการรับรู้จากพ่อแม่เป็นสิ่งที่น่าอับอายต่อญาติพี่น้อง
6.10
7.20
23.10
33.60
30.00
3.74
1.14
สูง
4.หากจะมีคู่รักต้องให้พ่อแม่รับรู้และอยู่ในสายตา
4.30
4.00
18.80
32.90
40.10
4.00
1.07
สูง
5.สังคมปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปจนทำให้ยอมรับได้ว่าการโอบกอดหรือแสดงความรักในที่สาธารณะเป็นเรื่องธรรมดา
10.10
15.90
31.00
22.40
20.60
3.27
1.24
ปานกลาง
6.คุณค่าของผู้หญิงที่สำคัญ คือ การรักษาพรหมจรรย์ไว้จนวันแต่งงาน
5.40
7.20
26.40
26.40
34.70
3.78
1.16
สูง
7.การรักษาพรหมจรรย์เป็นเรื่องโบราณ ไม่สำคัญในปัจจุบัน
39.40
23.50
19.90
12.60
4.70
2.20
1.22
ต่ำ
8.การเดินทางไปต่างจังหวัดกับคู่รักสองต่อสองเป็นเรื่องที่ไม่สมควร
8.70
15.50
35.70
22.70
17.30
3.25
1.17
ปานกลาง
9.หากชอบพอกันการถูกเนื้อต้องตัวกันเป็นเรื่องที่ยอมรับได้
7.20
13.70
33.20
24.90
20.90
3.39
1.17
ปานกลาง
10.หากเป็นคู่รักกันการถูกเนื้อต้องตัวกันเป็นเรื่องที่ยอมรับได้
6.90
20.20
44.00
16.60
12.30
3.07
1.06
ปานกลาง
รวม
3.42
0.52
ปานกลาง
7 4
ข้อความ
ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง
ไม่เห็นด้วย
เห็น
ด้ว ย ปานกลาง
เห็นด้วย
เห็นด้วย่างยิ่ง
⎯X
SD.
ระดับ
ทัศนคติของชายคนรักและเพื่อนเรื่องการมีเพศสัมพันธ์
1. เพื่อนมักให้คำแนะนำที่ดีเกี่ยวกับเรื่องการมีเพศสัมพันธ์
11.60
17.30
35.40
27.10
8.70
3.04
1.12
ปานกลาง
2. เป็นเรื่องที่ยอมรับได้หากเพื่อนของท่านอยู่กับคนรักก่อนการสมรส
10.50
14.80
43.70
22.40
8.70
3.04
1.07
ปานกลาง
3. ท่านจะไม่เลือกคบเพื่อนที่ปฏิบัติตัวไม่เหมาะสม เช่น การมีเพศสัมพันธ์ขณะศึกษา
35.00
25.30
24.20
8.30
7.20
2.27
1.23
ต่ำ
4. ถ้าหากท่านตัดสินใจจะมีเพศสัมพันธ์หรืออาศัยอยู่กับคนรัก ท่านจะตัดสินใจเองโดยไม่ปรึกษาเพื่อน
27.10
19.50
25.60
19.50
8.30
2.62
1.29
ต่ำ
5. ถ้าคนรักบอกกับท่านว่าการมีเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องปกติและสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ท่านจะไม่คัดค้านที่จะมีเพศสัมพันธ์ด้วย
40.80
23.10
22.40
7.20
6.50
2.16
1.22
ต่ำ
6. เพื่อนของท่านจะรังเกียจท่านถ้าทราบว่าท่านเคยมีเพศสัมพันธ์ขณะกำลังศึกษา
40.40
17.30
20.90
14.10
7.20
2.30
1.32
ต่ำ
7. แม้คนรักของท่านเคยบอกว่าการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างคู่รักเป็นเรื่องธรรมดาแต่ท่านก็ไม่เห็นด้วย
5.80
8.30
26.40
28.90
30.70
3.70
1.16
สูง
รวม
2.73
0.50
ปานกลาง
7 5
ข้อความ
ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง
ไม่เห็นด้วย
เห็น
ด้ว ย ปานกลาง
เห็นด้วย
เห็นด้วย่างยิ่ง
⎯X
SD.
ระดับ
การรับรู้ตัวแบบในสังคมจากสื่อมวลชน
1.ปรากฏการณ์การอยู่ร่วมกันก่อนการสมรสเป็นเรื่องปกติของดารา นักร้อง นักแสดง
5.10
7.90
27.10
18.10
41.90
3.84
1.20
สูง
2.ท่านมักได้อ่าน ดู ฟังเรื่องของการอยู่ร่วมกันก่อนการสมรสจากสื่อมวลชน
7.90
9.40
38.30
30.70
13.70
3.33
1.08
ปานกลาง
3.สื่อที่ดารา นักแสดง เป็นตัวแบบทำให้เกิดการเลียนแบบพฤติกรรม
4.00
5.80
36.50
36.10
17.70
3.58
0.98
ปานกลาง
4.ละคร ข่าว ข้อมูลที่ได้รับจากสื่อ ทำให้รู้สึกว่าเรื่องการอยู่ร่วมกันก่อนการสมรสเป็นเรื่องธรรมดา
7.60
11.20
31.00
28.50
21.70
3.45
1.17
ปานกลาง
5.ท่านเคยได้รับรู้ข้อมูลจากสื่อต่าง ๆ เรื่องการอยู่ร่วมกันก่อนการสมรส
7.90
17.00
30.70
27.40
17.00
3.29
1.17
ปานกลาง
6.หากท่านทราบว่าดารา นักแสดง นักร้องที่ท่านชื่นชอบมีคู่รักและอยู่ร่วมกันก่อนการสมรสท่านจะไม่ชอบนักแสดงคนนั้นทันที
22.40
34.70
35.00
6.90
1.10
2.30
0.93
ต่ำ
7.ดารา นักแสดง ควรเป็นแบบอย่างที่ดี เพราะเป็นผู้มีส่วนสำคัญให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบ
2.20
61.00
31.80
26.40
33.60
3.83
1.03
สูง
รวม
3.37
0.47
ปานกลาง
ตารางผนวก ก.ที่ 2 แสดงค่าคะแนนเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของแบบสอบถามส่วนที่ 3
7 6
ข้อความ
ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง
ไม่เห็นด้วย
เห็น
ด้ว ย ปานกลาง
เห็นด้วย
เห็นด้วย่างยิ่ง
⎯X
SD.
ระดับ
การยอมรับในการอยู่ร่วมกัน
ก่อนสมรส
1.ปรากฎการณ์การอยู่ร่วมกันก่อนสมรสในปัจจุบันมีมากขึ้น
5.80
4.00
30.30
19.10
40,80
3.85
0.88
สูง
2.การอยู่ร่วมกันก่อนสมรสเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนแต่งงาน
1.80
1.80
14.80
38.50
43.30
4.19
1.25
สูง
3.การอยู่ร่วมกันก่อนสมรส จะนำมาซึ่งความเสียใจเช่นเดียวกับการหย่าร้าง
10.10
16.60
29.60
22.70
20.90
3.28
1.20
ปานกลาง
4.การอยู่ร่วมกันก่อนสมรสเป็นค่านิยมที่ขัดกับวัฒนธรรมไทย
8.70
14.10
33.90
22.70
20.60
3.32
1.13
ปานกลาง
5.การอยู่ร่วมกันก่อนสมรสเป็นความสัมพันธ์แบบชั่วคราว
4.30
6.50
26.00
25.60
37.50
3.86
1.13
สูง
6.การอยู่ร่วมกันก่อนสมรสเป็นความสัมพันธ์แบบคู่ควง
6.50
9.70
37.20
24.90
21.70
3.45
1.17
ปานกลาง
7.การอยู่ร่วมกันก่อนสมรสเป็นทางเลือกหนึ่งเช่นเดียวกับการแต่งงานหรือจดทะเบียนตามกฎหมาย
7.90
15.90
36.80
20.20
19.10
3.27
1.14
ปานกลาง
8.การอยู่ร่วมกันก่อนสมรสเป็นพฤติกรรมเลียนแบบของวัยรุ่น
10.10
14.40
44.00
16.60
14.80
3.12
1.09
ปานกลาง
9.การอยู่ร่วมกันก่อนสมรสเป็นการศึกษากันเพื่อไม่
ให้เกิดปัญหาการหย่าร้าง
5.80
5.80
29.60
33.60
25.30
3.67
1.26
สูง
10.การอยู่ร่วมกันก่อนสมรสเป็นการทำให้เป็นเรื่องที่ยอมรับได้ในปัจจุบัน
8.30
15.90
34.30
15.20
26.40
3.35
1.24
ปานกลาง
รวม
3.54
0.62
ปานกลาง
ตารางผนวก ก. ที่ 3 ผลการสรุปข้อเสนอแนะ ส่วนที่ 4
7 7
จากแบบสอบถามส่วนที่4 ผู้วิจัยได้ทำเป็นคำถามปลายเปิดเพื่อให้แสดงข้อคิดเห็นเสนอแนะ จากจำนวนแบบสอบถามทั้งสิ้น 277 ชุด มีผู้ตอบแบบสอบถามส่วนที่ 4 ทั้งสิ้น 46 ชุด คิดเป็น 16.60% โดยความคิดเห็นผู้วิจัยได้สรุปแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะดังนี้
ลักษณะคำตอบ
ไม่เห็นด้วย จำนวน 23 ชุด
1. ถ้าหากรักกันไม่จำเป็นต้องอยู่ร่วมกัน ศึกษากันอย่างอื่นก็ได้ไม่ต้องทดลองอยู่ร่วมกัน
2. เป็นผู้หญิงควรรักนวลสงวนตัว
3. เป็นผู้หญิงควรทำตัวให้ดี ให้เหมาะสม
4. การอยู่ก่อนแต่งไม่ได้หมายความว่าถ้าตัดสินใจแต่งงานกันภายหลังจะไม่หย่าร้าง
5. ก่อนที่จะตัดสินใจควรคิดถึงพ่อแม่ ความเหมาะสม และวัฒนธรรมไทย
6. ผู้หญิงควรจะรักษาคุณค่าของตนเอง
7. ยอมรับว่ามีมากขึ้นแต่ผู้หญิงไม่ควรกระทำ การอยู่ก่อนแต่งไม่ใช่ความรักที่แท้จริง
8. การอยู่ก่อนแต่งจะทำให้เกิดปัญหาตามมาภายหลัง
9. เป็นนักศึกษาควรคิดเรื่องเรียนเป็นหลัก การมีคนรักควรคบอย่างมีขอบเขต ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร
ไม่เห็นด้วยแต่ยอมรับได้ จำนวน 10 ชุด
1. ถ้าโตพอก็ถือว่าไม่เป็นเรื่องเสียหาย แต่ถ้ายังศึกษาอยู่ก็ไม่สมควร
2. แม้ว่าการมีเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องไม่เหมาะสม แต่ยอมรับว่าเป็นเรืองที่แก้ไขไม่ได้แล้ว แต่ต้องรู้จักป้องกัน ดูแลตนเอง
3. เป็นพฤติกรรมเลียนแบบของวัยรุ่น และยอมรับว่ามีมากในปัจจุบัน
4. เป็นเรื่องของความพอใจของทั้งสองฝ่าย ถ้าไม่เดือดร้อนผู้อื่นก็ยอมรับได้
5. ถ้าหากว่าพลาดไปแล้ว ก็ต้องยอมรับ
7 8
ยอมรับได้ จำนวน 13 ชุด
1. เป็นเรื่องของสิทธิส่วนบุคคล
2. การมีเพศสัมพันธ์ไม่ผิด เป็นเรื่องของธรรมชาติ แต่ต้องรู้จักป้องกัน
3. เป็นแฟชั่น การอยู่ก่อนแต่งเป็นเรื่องปกติ เพราะ การมีเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องธรรมดา
4. การอยู่ก่อนแต่งขึ้นอยู่กับความพร้อมของทั้งสองฝ่าย
5. เป็นสิ่งที่ห้ามได้ยาก
6. การอยู่ก่อนแต่งดีกว่าต้องเลิกกันภายหลัง ยอมรับได้
9 0
รายนามผู้เชี่ยวชาญ
ชื่อ-นามสกุล
ตำแหน่ง
1. ดร.ประเทือง อัมพรภักดิ์
อาจารย์ 2 ระดับ
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
2. ดร.เปรมสุรีย์ เชื่อมทอง
อาจารย์ 2 ระดับ 7
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
3. ดร.วรรณรา ชื่นวัฒนา
อาจารย์ 2 ระดับ 7
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
91
ประวัติผู้วิจัย
ชื่อ นางสาวเกศรินทร์ กาญจนภิรมย์
วัน เดือน ปีเกิด 4 มิถุนายน 2517
สถานที่เกิด กรุงเทพมหานคร
ประวัติการศึกษา
พ.ศ. 2535-2539 ปริญญาตรี ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาภาษาอังกฤษ
จาก มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ประวัติการทำงาน
พ.ศ. 2539-2540 ฝ่ายขาย
บริษัท โอ.ซี.ซี. จำกัด (มหาชน)
พ.ศ. 2540-2545 ฝ่ายขาย
บริษัท นิวซิตี้ (กรุงเทพฯ) จำกัด (มหาชน)
พ.ศ. 2545-ปัจจุบัน ฝ่ายขาย
บริษัท มุ่งพัฒนามาร์เก็ตติ้ง จำกัด
91
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรส (ตอนที่ 1)
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการยอมรับการอยู่ร่วมกันก่อนสมรส (ตอนที่ 2)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น