ศึกษาและโหลดฟรีเป็นตัวอย่างเกี่ยวกับงานวิจัย all free download research
วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
ห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษาที่พึงประสงค์ตามแนวคิดของผู้บริหารโรงเรียนและบรรณารักษ์ (ตอนที่ 1)
ห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร
ที่พึงประสงค์ตามแนวคิดของผู้บริหารโรงเรียน
และบรรณารักษ์
DESIRABLE BANGKOK METROPOLITAN PRIMARY SCHOOL
LIBRARIES ACCORDING TO THE PERCEPTION
OF ADMINISTRATORS AND LIBRARIANS
วิทยานิพนธ์
ของ
นางสาวน้ำค้าง เกิดลิบ
วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
ปีการศึกษา 2548
ISBN : 974-373-536-4
ลิขสิทธิ์มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
DESIRABLE BANGKOK METROPOLITAN PRIMARY SCHOOL
LIBRARIES ACCORDING TO THE PERCEPTION
OF ADMINISTRATORS AND LIBRARIANS
MISS NAMKANG KERDLIB
A Thesis Submitted in Partial Fulfllment of the Requirements
for the Master of Arts Program in Library and Information Science
Bansomdejchaopraya Raiabhat University
Academic Year 2005
ISBN : 974-373-536-4
วิทยานิพนธ์ ห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานครที่พึงประสงค์ตามแนวคิด
ของผู้บริหารและบรรณารักษ์
โดย นางสาวน้ำค้าง เกิดลิบ
สาขา บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ (แขนงการจัดการสารสนเทศเพื่อธุรกิจ)
ประธานกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ รองศาสตราจารย์ หรรษา ศิวรักษ์
กรรมการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุนิตย์ เย็นสบาย
บัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา อนุมัติให้วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่ง
ของการศึกษาตามหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
………………………………………….. ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายงานบัณฑิตศึกษา
(ดร.สรายุทธ์ เศรษฐขจร)
คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์
………………………………………….. ประธานกรรมการ
(รองศาสตราจารย์ ดร.วราภรณ์ บวรศิริ)
………………………………………….. กรรมการ
(รองศาสตราจารย์ หรรษา ศิวรักษ์)
………………………………………….. กรรมการ
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุนิตย์ เย็นสบาย)
………………………………………….. กรรมการ
(รองศาสตราจารย์ ฉวีวรรณ คูหาภินันทน์)
………………………………………….. กรรมการและเลขานุการ
(อาจารย์มนต์ฤดี วัชรประทีป)
ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ประกาศคุณูปการ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้สำเร็จลงด้วยดี เพราะได้รับความกรุณาอย่างยิ่งจาก
รองศาสตราจารย์หรรษา ศิวรักษ์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์สุนิตย์ เย็นสบาย อาจารย์ที่ปรึกษา
วิทยานิพนธ์ ที่ได้เอาใจใส่ให้คำแนะนำและตรวจสอบแก้ไข เพื่อให้วิทยานิพนธ์มีความถูกต้อง
ผู้วิจัยขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงไว้ในโอกาสนี้
ขอกราบขอบพระคุณ รองศาสตราจารย์ดร.วราภรณ์ บวรศิริ รองศาสตราจารย์ฉวีวรรณ
คูหาภินันทน์ และ ท่านอาจารย์มนต์ฤดี วัชรประทีบ กรรมการสอบวิทยานิพนธ์ ที่ได้กรุณาให้
คำแนะนำและข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ ตลอดจนช่วยแก้ไขวิทยานิพนธ์ให้มีความสมบูรณ์ถูกต้อง
ยิ่งขึ้น
ขอขอบพระคุณคณาจารย์ สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ บัณฑิต
วิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยาทุกท่านที่ได้ประสิทธิ์ประสาทความรู้แก่ผู้วิจัย
ขอขอบคุณผู้เชี่ยวชาญทุกท่านที่ได้กรุณาตรวจสอบ แก้ไข ให้แนะนำในการสร้าง
เครื่องมือในการวิจัย และขอขอบคุณผู้บริหารโรงเรียน บรรณารักษ์และผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ให้ความ
อนุเคราะห์ในการให้ข้อมูลและตอบแบบสอบถาม
ขอขอบคุณ คุณพ่อ คุณแม่ ญาติพี่น้องทุกคน และเพื่อนร่วมชั้นเรียนที่เป็นกำลังใจและ
ช่วยเหลือในการทำวิจัยในครั้งนี้ด้วยดีเสมอมา
คุณความดีของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ขอมอบให้บุพการี และคณาจารย์
นํ้าค้าง เกิดลิบ
น้ำค้าง เกิดลิบ (2548). ห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานครที่พึงประสงค์
ตามแนวคิดของผู้บริหารโรงเรียนและบรรณารักษ์. วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต.
กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
คณะกรรมการควบคุม: รองศาสตราจารย์ หรรษา ศิวรักษ์,
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุนิตย์ เย็นสบาย
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและความต้องการลักษณะของห้องสมุดโรงเรียน
ประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานครที่พึงประสงค์ตามแนวคิดของผู้บริหารโรงเรียนและบรรณารักษ์
7 ด้าน คือ ด้านงานบริหาร งานวัสดุอุปกรณ์และครุภัณฑ์ งานอาคารสถานที่ งานเทคนิค งานบริการ
การจัดกิจกรรมของห้องสมุด และบทบาทหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องกับงานห้องสมุด กลุ่มตัวอย่างที่
ศึกษา คือ ผู้อำนวยการโรงเรียนจำนวน 104 คน ผู้ช่วยฝ่ายวิชาการ จำนวน 104 คน และบรรณารักษ์
จำนวน 104 คน และทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม
วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ หาค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพของห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร ของโรงเรียน
ขนาดเล็ก ขนาดกลางและขนาดใหญ่ มีสภาพเหมือนกันทั้ง 7 ด้าน คือ ด้านงานบริหาร ด้านวัสดุ
อุปกรณ์และครุภัณฑ์ ด้านอาคารสถานที่ ด้านงานเทคนิค ด้านงานบริการ ด้านการจัดกิจกรรมของ
ห้องสมุด ด้านบทบาทและหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องกับงานห้องสมุด ผลการวิจัยโดยภาพรวม พบว่า มี
สภาพของห้องสมุดมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ผู้อำนวยการ
โรงเรียน เห็นว่า ด้านการบริหาร ในการจัดกิจกรรม หรือโครงงานที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติงาน
การจัดทำคู่มือการใช้ห้องสมุด การจัดสรรงบประมาณประจำปี การจัดทำคู่มือและปฏิทินในการ
ปฏิบัติงาน อยู่ในระดับน้อย ผู้ช่วยฝ่ายวิชาการ เห็นว่า ด้านงานวัสดุอุปกรณ์และครุภัณฑ์
ผู้อำนวยการโรงเรียนและผู้ช่วยฝ่ายวิชาการ เห็นว่าด้านบาทบาทและหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องกับงาน
ห้องสมุด มีความต้องการลักษณะของห้องสมุดโรงเรียน อยู่ในระดับปานกลาง
3. สภาพที่พึงประสงค์ของห้องสมุดโรงเรียนจากการสังเคราะห์แบบสอบถามที่ผู้บริหาร
และบรรณารักษ์ตอบแบบสอบถาม ที่ต้องการร่วมกันในระดับมากและมากที่สุด ตามขนาดของ
โรงเรียนขนาดเล็ก ขนาดกลางและขนาดใหญ่ ในด้านการบริหาร มี 10 รายการ ด้านงานวัสดุอุปกรณ์
และครุภัณฑ์ มี 9 รายการ ด้านอาคารสถาที่ มี 5 รายการ ด้านงานเทคนิคมี 10 รายการ ด้านงาน
บริการ มี 7 รายการ ด้านการจัดกิจกรรมของห้องมุดมี 5 รายการ บทบาทและหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้อง
กับงานห้องสมุด มี 2 รายการ
4. ความคิดเห็นเกี่ยวกับความเป็นไปได้ลักษณะของห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษาตาม
ความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า มีความเป็นไปได้ลักษณะของห้องสมุดโรงเรียน ขนาดเล็ก
ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ อยู่ในระดับมาก ทั้ง 7 ด้าน
NAMKANG KERDLIB. (2005). Desirable Bangkok Metropolitan Primary
School Libraries According to the Perception of Administrators and Librarians : Thesis,
Graduate School, Bansomdejchaopraya Rajabhat University, Bangkok. Advisors :
Associate Professor Hansa Sivaraks and Assistant Professor Sunit Yensabai.
The main purposes of this thesis were to study about desirable Bangkok
Metropolitan primary school libraries according to the perception of administrators and
librarians in areas : adminastration, materials and equipments, library building, technical
works, library servicer, library activities, and roie and duty of whom it may concern of
library works. The sample group composed of 104 school directors, 104 academin
assistant directors, 104 librarians, and 10 library specialists. The data-gathering
intrument was a questionare prepared especially for this research. The data was analysed
and presented in percentage form and by mean and standard deviation.
The results indicated that the status of all Bangkok Metropolitan primary school
libraries : small, medium and large size were all the same status in all 7 areas. That
meant they were all at the moderate level. The school directors were of the openion that
6 aspects : administration, library activities, projects accordind to plan, manual for
library use, yearly budget, and yearly plan manual, were at the low level. Academic
assistant directop were of the openion that 3 main areas : materials and equipments
(tables, chairs, catalaging cabinets, pamphet cabinets and clipping cabinets), provided
computers for databases preparing, ang information setrieval from databases, wese at the
low level.
The results also indicated that the needs of the desirable of all Bangkok
Metropolitan primary school libraries : small, medium and large size, were at the high
level. When seperated areas were considered, the librerians were of the openion that the
needs for library services, reference and information sevvices, and circulation, were at
the moderate level. The school disectors and the academic assistant directors were of the
openion that the need of the sole and duty of whom it may concern of library works,
were at the moderate level.
The library specialists were of the openion that the probability of all primary
school libraries; small medium, and large size, were at high level in all 7 areas. When
each arear were taken in consideration, it was also at high level.
NAMKANG KERDLIB. (2005). Desirable Bangkok Metropolitan Primary
School Libraries According to the Perception of Administrators and Librarians. Master
Thesis, Bangkok :Graduate School, Bansomdejchaopraya Rajabhat University Advisor
Committee : Associate Professor Hansa Sivaraks, Assistant Professor Sunit
Yensabai.
This research was intended to investigate the environment of the Primary
school‘s library which was departed on Bangkok according to the trend of Manager of
the school, Administrative Librarian, Material and Equipment for teacher, Building and
places, Technique work, Services, Arranging the activity of the library, and the role and
duty of anybody who had concerned about working in the library. The sample in this
research as Manager of the school 104 persons, Vice academic department 104 persons,
Librarian 104 persons, Academy 10 persons. The instrument was used in this research as
Questionnaire, Data analysis by Frequency Distribution, Percentage, Average and
Standard Deviation methods.
The findings indicated that the environment of the Primary school‘s library in
Bangkok as small, medium and large in the present, they are the same as all 7 aspects
Administration, Material and Equipment for teacher, Building and places, Technique
work, Services, Arranging the activity of the library, and the role and duty of anybody
who had concerned about working in the library, the result was medium level.
When we considered in each aspects, finding that Manager of the school had
the opinion that about administration, activity or project work as making manual in using
library, the budgeting of yearly, making the manual and schedule in working were low
level. Vice academic department had opinion that Material and Equipment for teacher as
tables, chairs, the box of catalog card, the box of pamphlets, the box of clipping, Using
computer in making Database and research for some data were low level.The findings
indicated that the feature of the Primary school ‘s library in Bangkok as small, medium
and large from both Manger of the school and Librarian were high level.
When we considered in each aspect, finding that Librarian had the opinion
about the service and question – answer in the research, the Borrowing Privileges loan
book and journal were medium level. The manager of the school had the opinion about
the activity of the Primary school‘s library in Bangkok as medium and large were
medium level. The administrator and Vice academic department had the opinion about
the role and duty of anybody who had concerned about working in the library were
medium level.
According to the opinion about probability of the Primary school‘s library in
Bangkok as small, medium and large of Academy were high level all 7 aspects.
จ
สารบัญ
หน้า
บทคัดย่อภาษาไทย……………………………………………………………………………………...ก
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ…………………………………………………………………………………...ค
ประกาศคุณูปการ………………………………………………………………………………………..จ
สารบัญ…………………………………………………………………………………………………..ฉ
สารบัญตาราง…………………………………………………………………………………………....ฌ
บทที่ 1 บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา…………………………….…………………………...1
วัตถุประสงค์ของการวิจัย……………………………….…………………………………..……2
ขอบเขตของการวิจัย…… …….………………………………………………….……………..3
นิยามศัพท์เฉพาะ…………………………………………………………………………………4
ประโยชน์ที่จะได้รับจากการวิจัย……………………………………………………….………..4
กรอบแนวคิดในการวิจัย ……….……………….…………………..….….…………….............5
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
แนวคิดเกี่ยวกับห้องสมุดโรงเรียน
- ความหมายของห้องสมุดโรงเรียน…………………………….……………………...…..6
- ความสำคัญของห้องสมุดโรงเรียน…………………………………………………….....7
- บทบาทของห้องสมุดโรงเรียน …………………………………………………………10
- องค์ประกอบสำคัญของห้องสมุด …………………………………………….………..12
การดำเนินงานห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษา
- งานบริหาร ………………………………………………………………..…. ………..17
- งานวัสดุอุปกรณ์และครุภัณฑ์……………………………………………….. ………...20
- งานอาคารสถานที่……………………………………………………………………….21
- งานเทคนิค…………………………………………………………………….........….. 21
- งานบริการ……………………………………………………………………………....22
- การจัดกิจกรรมของห้องสมุด………………………………………………………..….23
- บทบาทและหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องกับห้องสมุด…………………………………………..24
- มาตรฐานห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษา………………………….……………….......27
ฉ
สารบัญ(ต่อ)
หน้า
ห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร………………………….……………..27
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
- งานวิจัยในประเทศ……………………………………………………………………...29
- งานวิจัยต่างประเทศ……………………………………………………………………..32
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
- ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง…………………………………….………………………….35
- เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย.…..…………………...………….………..……………............36
- การเก็บรวบรวมข้อมูล……………….……………….……………………. ……...…..38
- การวิเคราะห์ข้อมูล………………………………………………..…………………...….29
- สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล.…………………..……………………………………....40
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
- สถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม………………………………..………………..43
- สภาพห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดของผู้บริหารโรงเรียนและ
บรรณารักษ์……………………………………………………………………………….44
- ความต้องการลักษณะของห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษา
ที่พึงประสงค์ตามแนวคิดของผู้บริหารและบรรณารักษ์……………………… .…………73
- สภาพที่พึงประสงค์ของห้องสมุดโรงเรียนแยกตามขนาดของโรงเรียน……….……...….105
- ความเป็นไปได้ลักษณะที่พึงประสงค์ของห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษา
ตามความคิดจากผู้ทรงคุณวุฒิ …………………………..………………….………….…108
บทที่ 5 สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
- วิธีการดำเนินการวิจัย…………………………………………………………..…..…….116
- เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย……………………………………………………………….....117
- การวิเคราะห์ข้อมูล …………………………………………………………………..….118
- สรุปผลการวิจัย…………………………………………………….………………….....118
- อภิปรายผลการวิจัย………………………………………………..……………………..119
- ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย………….……………………………………………….….122
บรรณานุกรม………………………………………………………………………………….………..124
ช
สารบัญ(ต่อ)
หน้า
ภาคผนวก
ภาคผนวก ก หนังสือเชิญผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเครื่องมือการวิจัย……………………………128
ภาคผนวก ข รายชื่อผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเครื่องมือ………………………………………….134
ภาคผนวก ค รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ…………………………………………………………….136
ภาคผนวก ง แบบสอบถาม…………………………………………………………………..138
ภาคผนวก จ มาตรฐานห้องสมุด………………………………………………………...…..148
ภาคผนวก ฉ ประวัติผู้วิจัย…………………………..…………………………………...…...155
ฌ
สารบัญตาราง
ตารางที่ หน้า
1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย……………………………………………………..………….….36
2 สถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม……………………………………………….……..43
3 สภาพของห้องสมุดโรงเรียนด้านการบริหารตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการ……………….45
4 สภาพของห้องสมุดโรงเรียนด้านการบริหารตามความคิดเห็นของผู้ช่วยฝ่ายวิชาการ………….46
5 สภาพของห้องสมุดโรงเรียนด้านการบริหารตามความคิดเห็นของบรรณารักษ์……..…………48
6 สภาพของห้องสมุดโรงเรียนด้านวัสดุอุปกรณ์และครุภัณฑ์ตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการ..50
7 สภาพของห้องสมุดโรงเรียนด้านวัสดุอุปกรณ์และครุภัณฑ์ตามความคิดเห็น
ของผู้ช่วยฝ่ายวิชาการ…………………………………………………………………………..51
8 สภาพของห้องสมุดโรงเรียนด้านวัสดุอุปกรณ์และครุภัณฑ์ตามความคิดเห็น
ของบรรณารักษ์………………………………………………………………………………...53
9 สภาพของห้องสมุดโรงเรียนด้านอาคารสถานที่ตามความคิดเห็นของ
ผู้อำนวยการโรงเรียน…………………………………………………………………………...54
10 สภาพของห้องสมุดโรงเรียนด้านอาคารสถานที่ตามความคิดเห็นของ
ผู้ช่วยฝ่ายวิชาการ……………………………………………………………………………….55
11 สภาพของห้องสมุดโรงเรียนด้านอาคารสถานที่ตามความคิดเห็นของบรรณารักษ์…………….56
12 สภาพของห้องสมุดโรงเรียนด้านงานเทคนิคตามความคิดเห็นของ
ผู้อำนวยการโรงเรียน……………………………………………………………….…………...57
13 สภาพของห้องสมุดโรงเรียนด้านงานเทคนิคตามความคิดเห็นของ
ผู้ช่วยฝ่ายวิชาการ……………………………………………………………...……….………..59
14 สภาพของห้องสมุดโรงเรียนด้านงานเทคนิคตามความคิดเห็นของบรรณารักษ์…….…………..61
15 สภาพของห้องสมุดโรงเรียนด้านงานบริการตามความคิดเห็นของ
ผู้อำนวยการโรงเรียน……………………………………………………………..……………..63
16 สภาพของห้องสมุดโรงเรียนด้านงานบริการตามความคิดเห็นของ
ผู้ช่วยฝ่ายวิชาการ………………………………………………………………….……………64
17 สภาพของห้องสมุดโรงเรียนด้านงานบริการตามความคิดเห็นของบรรณารักษ์………………...65
18 สภาพของห้องสมุดโรงเรียนด้านงานกิจกรรมห้องสมุดตามความคิดเห็น
ของผู้อำนวยการโรงเรียน………………………………………………………………………..66
ญ
สารบัญตาราง(ต่อ)
ตารางที่ หน้า
19 สภาพของห้องสมุดโรงเรียนด้านงานกิจกรรมห้องสมุดตามความคิดเห็น
ของผู้ช่วยฝ่ายวิชาการ……………………………………………………………..……….….67
20 สภาพของห้องสมุดโรงเรียนด้านงานกิจกรรมห้องสมุดตามความคิดเห็น
ของบรรณารักษ์………….…………………………………………………….….…………..68
21 สภาพของห้องสมุดโรงเรียนด้านบทบาทและหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องกับงาน
ห้องสมุดตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงเรียน……………………..…………………..70
22 สภาพของห้องสมุดโรงเรียนด้านบทบาทและหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องกับงาน
ห้องสมุดตามความคิดเห็นของผู้ช่วยฝ่ายวิชาการ…………………………………………….71
23 สภาพของห้องสมุดโรงเรียนด้านบทบาทและหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องกับงาน
ห้องสมุดตามความคิดเห็นของบรรณารักษ์……………………………………………..……72
24 ความต้องการลักษณะของห้องสมุดโรงเรียนด้านการบริหารตามความคิดเห็น
ของผู้อำนวยการโรงเรียน……………………………………………………………………..74
25 ความต้องการลักษณะของห้องสมุดโรงเรียนด้านการบริหารตามความคิดเห็น
ของผู้ช่วยฝ่ายวิชาการ………………………………………………………………………...75
26 ความต้องการลักษณะของห้องสมุดโรงเรียนด้านการบริหารตามความคิดเห็น
ของบรรณารักษ์……………………………………………………………………………….77
27 ความต้องการลักษณะของห้องสมุดโรงเรียนด้านวัสดุอุปกรณ์และครุภัณฑ์
ตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงเรียน……………………………………….…………..79
28 ความต้องการลักษณะของห้องสมุดโรงเรียนด้านวัสดุอุปกรณ์และครุภัณฑ์
ตามความคิดเห็นของผู้ช่วยฝ่ายวิชาการ……………………………………………………....80
29 ความต้องการลักษณะของห้องสมุดโรงเรียนด้านวัสดุอุปกรณ์และครุภัณฑ์
ตามความคิดเห็นของบรรณารักษ์…………………………………………….……………...82
30 ความต้องการลักษณะของห้องสมุดโรงเรียนด้านอาคารสถานที่ตามความคิดเห็น
ของผู้อำนวยการโรงเรียน…………………………………………………………………....83
31 ความต้องการลักษณะของห้องสมุดโรงเรียนด้านอาคารสถานที่ตามความคิดเห็น
ของผู้ช่วยฝ่ายวิชาการ………………………………………………………………………..84
ฎ
สารบัญตาราง(ต่อ)
ตารางที่ หน้า
32 ความต้องการลักษณะของห้องสมุดโรงเรียนด้านอาคารสถานที่ตามความคิดเห็น
ของบรรณารักษ์…………………………………………………………………………..…....85
33 ความต้องการลักษณะของห้องสมุดโรงเรียนด้านงานเทคนิคตามความคิดเห็น
ของผู้อำนวยการโรงเรียน……………………………………………………..……………….87
34 ความต้องการลักษณะของห้องสมุดโรงเรียนด้านงานเทคนิคตามความคิดเห็น
ของผู้ช่วยฝ่ายวิชาการ………………………………………………………….………….…...89
35 ความต้องการลักษณะของห้องสมุดโรงเรียนด้านงานเทคนิคตามความคิดเห็น
ของบรรณารักษ์……………………………………………………………………………….91
36 ความต้องการลักษณะของห้องสมุดโรงเรียนด้านงานบริการตามความคิดเห็น
ของผู้อำนวยการโรงเรียน……………………………………………………………………..93
37 ความต้องการลักษณะของห้องสมุดโรงเรียนด้านงานบริการตามความคิดเห็น
ของผู้ช่วยฝ่ายวิชาการ…………………………………………………….……….…………..94
38 ความต้องการลักษณะของห้องสมุดโรงเรียนด้านงานบริการตามความคิดเห็น
ของบรรณารักษ์………………………………………………………………..……………..95
39 ความต้องการลักษณะของห้องสมุดโรงเรียนด้านงานกิจกรรมห้องสมุด
ตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงเรียน………………………………………………….96
40 ความต้องการลักษณะของห้องสมุดโรงเรียนด้านงานกิจกรรมห้องสมุดตาม
ความคิดเห็นของผู้ช่วยฝ่ายวิชาการ………………………………………………………….98
41 ความต้องการลักษณะของห้องสมุดโรงเรียนด้านงานกิจกรรมห้องสมุดตาม
ความคิดเห็นของบรรณารักษ์………….……………………………………………………..99
42 ความต้องการลักษณะของห้องสมุดโรงเรียนด้านบทบาทและหน้าที่ของ
ผู้เกี่ยวข้องกับงานห้องสมุดตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงเรียน………………….....101
42 ความต้องการลักษณะของห้องสมุดโรงเรียนด้านบทบาทและหน้าที่ตาม
ความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องกับงานห้องสมุดของผู้ช่วยฝ่ายวิชาการ…………………….…..102
43 ความต้องการลักษณะของห้องสมุดโรงเรียนด้านบทบาทและหน้าที่ตาม
ความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องกับงานห้องสมุดของบรรณารักษ์…………..……………….....103
ฏ
สารบัญตาราง(ต่อ)
ตารางที่ หน้า
45 สภาพที่พึงประสงค์ของห้องสมุดโรงเรียนแยกตามขนาดของโรงเรียน…………………….105
46 ความเป็นไปได้ลักษณะที่พึงประสงค์ของห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษา
ด้านการบริหารงานห้องสมุดตามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ……………………….…...109
47 ความเป็นไปได้ลักษณะที่พึงประสงค์ของห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษา
ด้านงานวัสดุอุปกรณ์และครุภัณฑ์ ตามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ……………………..110
48 ความเป็นไปได้ลักษณะที่พึงประสงค์ของห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษา
ด้านอาคารสถานที่ตามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ………………………………………111
49 ความเป็นไปได้ลักษณะที่พึงประสงค์ของห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษา
ด้านงานเทคนิคตามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ………………………………………….112
50 ความเป็นไปได้ลักษณะที่พึงประสงค์ของห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษา
ด้านงานบริการตามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ………………………………………….113
51 ความเป็นไปได้ลักษณะที่พึงประสงค์ของห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษา
ด้านการจัดกิจกรรมของห้องสมุดตามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ………………………114
52 ความเป็นไปได้ลักษณะที่พึงประสงค์ของห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษา
ด้านบทบาทและหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องกับงานห้องสมุด
ตามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ………………………………………………………….115
บทที่ 1
บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ห้องสมุดโรงเรียนเป็นแหล่งการศึกษาที่ช่วยพัฒนาสติปัญญา ความคิด ช่วยวางรากฐาน
การศึกษาให้นักเรียนมีรักการอ่าน (กรมวิชาการ 2543 : 13 -14) มีความสำคัญต่อการพัฒนาการเรียน
การสอนของครูและนักเรียนเป็นศูนย์การเรียนรู้ที่สำคัญของโรงเรียน ได้เปิดโอกาสให้ทุกคนได้มา
ศึกษาหาความรู้ทางด้านวิทยาการต่างๆ ได้ด้วยตนเอง (กรมวิชาการ 2539 : 5)
การศึกษาระดับประถมศึกษาเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ มี
นิสัยรักการอ่านและใฝ่หาความรู้อยู่เสมอ (กรมวิชาการ 2539 : 2) ซึ่งสอดคล้องกับแนวการจัด
การศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ที่มุ่งให้ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และ
พัฒนาตนเอง การจัดกระบวนการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติ และเต็ม
ตามศักยภาพ โดยจัดกระบวนการเรียนรู้ตามเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจ
และความถนัดของผู้เรียน ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น
ทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้
ด้านต่าง ๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน (พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2548 : 17 - 21) เพื่อเป็น
การส่งเสริมสนับสนุนให้การจัดการศึกษาบรรลุวัตถุประสงค์โรงเรียนซึ่งมีบทบาทโดยตรงในการ
จัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียนจึงจำเป็นต้องส่งเสริมและจัดแหล่งการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบและ
แหล่งเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งก็คือ ห้องสมุดโรงเรียน
สภาพของห้องสมุดโรงเรียนในปัจจุบันยังประสบปัญหาคือ ห้องสมุดคับแคบ หนังสือมี
จำนวนน้อย ขาดบุคลากรที่มีความรู้ทางด้านบรรณารักษศาสตร์ที่จะรับผิดชอบงานห้องสมุดโดยตรง
และผู้บริหารไม่ได้ให้ความสำคัญของห้องสมุดเท่าที่ควร ห้องสมุดโรงเรียนบางแห่งมีสถานที่และสิ่ง
อำนวยความสะดวกพร้อม มีหนังสือเพียงพอ แต่มีปัญหาที่ครูและนักเรียนยังใช้ห้องสมุดเพื่อการ
เรียนการสอนได้ไม่เต็มที่ สาเหตุมาจากนักเรียนมิได้รับการปลูกฝังให้ใช้ห้องสมุดอย่างถูกหลักเกณฑ์
ครูยังไม่มีแนวคิดเกี่ยวกับบทบาทของตนในเรื่องการส่งเสริมให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง มีครู
จำนวนไม่น้อยที่ใช้ห้องสมุดไม่เป็น (ทรรศนียา กัลยาณมิตร 2542 : 8 )
สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานครเป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีหน้าที่จัดการศึกษาในระดับ
ประถมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันมีโรงเรียนที่อยู่ในความรับผิดชอบจำนวน 431 โรงเรียน
(สำนักการศึกษา 2548 : 3-21) สำนักการศึกษา ในฐานะเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการศึกษา
2
ของกรุงเทพมหานคร ตระหนักถึงความสำคัญของห้องสมุดในอันที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการ
เรียน การสอนของโรงเรียนประถมศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานคร เพื่อให้เป็นแหล่งค้นคว้าหาความรู้
ของนักเรียนและครูในโรงเรียน โดยการจัดให้มีกิจกรรมต่าง ๆ (กรุงเทพมหานคร ม.ป.ป. :4) เช่น
การจัดซื้อวัสดุสิ่งพิมพ์และครุภัณฑ์ให้ห้องสมุดโรงเรียนทุกแห่ง จัดตั้งชมรมครูบรรณารักษ์ห้องสมุด
โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร จัดอบรมครูบรรณารักษ์และจัดประกวดห้องสมุดโรงเรียนดีเด่น แต่
ห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่ยังไม่สามารถดำเนินงานได้เต็มที่
เนื่องจากประสบปัญหาด้านการเงิน ทางโรงเรียนจึงไม่สามารถจัดสรรเงินให้แก่ห้องสมุดโรงเรียนได้
ทุกปี ปัญหาทางด้านหนังสือสื่อ สิ่งพิมพ์และโสตทัศนวัสดุ หนังสือที่มีอยู่ในห้องสมุดส่วนใหญ่
เป็นหนังสือที่กระทรวงศึกษาธิการแจกให้ อีกส่วนหนึ่งเป็นหนังสือสำหรับเด็กที่ทางสำนัก
การศึกษากรุงเทพมหานครจัดส่งไปให้ บางส่วนเป็นหนังสือที่ได้รับบริจาค ส่วนอุปกรณ์ทาง
โสตทัศนวัสดุมีน้อยมากหรือแทบไม่มีเลย ปัญหาด้านบุคลากร มีครูบรรณารักษ์ที่มีวุฒิทาง
บรรณารักษศาสตร์โดยตรงน้อยมาก นอกจากนั้นยังกำหนดให้บรรณารักษ์มีชั่วโมงสอนเหมือนกับ
ครูอื่นๆ จึงไม่มีเวลาทำงานห้องสมุด ปัญหาด้านผู้บริหารโรงเรียน ผู้บริหารโรงเรียนไม่เห็นว่า
ห้องสมุดเป็นหัวใจของการศึกษาจึงมิได้ให้การสนับสนุนหรือส่งเสริมห้องสมุด โรงเรียนเท่าที่ควร
(ภิญญาพร นิตยะประภา 2534:7)
จากสภาพห้องสมุดโรงเรียนดังกล่าวจึงทำให้ผู้วิจัยสนใจที่จะทำการวิจัย เรื่อง “ห้องสมุด
โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานครที่พึงประสงค์ตามแนวคิดของผู้บริหารโรงเรียน
บรรณารักษ์” เพื่อศึกษาสภาพและความต้องการของผู้บริหารโรงเรียนและบรรณารักษ์ ที่มีต่อ
ห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร เพื่อนำผลการวิจัยในครั้งนี้ไปเป็นข้อมูลใน
การพัฒนาปรับปรุงห้องสมุดให้มีประสิทธิภาพต่อไป
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาสภาพและความต้องการลักษณะของห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษาที่
พึงประสงค์ตามแนวคิดของผู้บริหารโรงเรียนและบรรณารักษ์ ของห้องสมุดโรงเรียนขนาดใหญ่
ขนาดกลาง ขนาดเล็ก
2. ศึกษาความเป็นไปได้ของลักษณะที่พึงประสงค์ของห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษา
3
ขอบเขตของการวิจัย
การวิจัยนี้มุ่งศึกษาห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานครที่พึงประสงค์
ตามแนวคิดของผู้บริหารโรงเรียนและบรรณารักษ์
1. ประชากร
1.1 ผู้บริหารโรงเรียน และบรรณารักษ์ โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร
จำนวน 431 โรงเรียน เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ 170 โรง โรงเรียนขนาดกลาง
152 โรง และโรงเรียนขนาดเล็ก 109 โรง
2. กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย
2.1 ผู้อำนวยการโรงเรียนหรืออาจารย์ใหญ่ จำนวน 104 คน
2.2 ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนฝ่ายวิชาการหรือผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ จำนวน 104 คน
2.3 บรรณารักษ์ จำนวน 104 คน
2.4 ผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วย นักวิชาการ ศึกษานิเทศก์ สังกัดสำนักการศึกษา
กรุงเทพมหานคร และศึกษาธิการเขต จำนวน 10 คน
2. ตัวแปรที่จะศึกษา
2.1 ตัวแปรต้น
1) ขนาดของโรงเรียนประกอบด้วย โรงเรียนขนาดใหญ่ จำนวน 170 โรงเรียน
โรงเรียนขนาดกลาง จำนวน 152 โรงเรียน โรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน 109 โรงเรียน
2) ลักษณะของห้องสมุด
2.2 ตัวแปรตาม
ลักษณะที่พึงประสงค์ของห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษา สังกัด
กรุงเทพมหานคร ในด้านต่าง ๆ ดังนี้
(1) ด้านงานบริหาร
(2) ด้านงานวัสดุอุปกรณ์และครุภัณฑ์
(3) ด้านงานอาคารสถานที่
(4) ด้านงานเทคนิค
(5) ด้านงานบริการ
(6) ด้านการจัดกิจกรรมของห้องสมุด
(7) บทบาทและหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องกับงานห้องสมุด
4
นิยามศัพท์เฉพาะ
1. ห้องสมุด หมายถึง ศูนย์การเรียนรู้อันเป็นสถานที่รวบรวมสรรพวิทยาการต่าง ๆ ซึ่ง
บันทึกไว้ในรูปของหนังสือ วารสาร สิ่งพิมพ์หรือโสตทัศนวัสดุและอุปกรณ์ทางการศึกษาที่จัดไว้
อย่างเป็นระบบเพื่อสะดวกแก่การให้บริการ
2. โรงเรียน หมายถึง โรงเรียนประถมศึกษา ไม่รวมโรงเรียนขยายโอกาสและโรงเรียน
มัธยมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร
3. ผู้บริหารโรงเรียน หมายถึง ข้าราชการครูที่ดำรงตำแหน่ง ในตำแหน่งอาจารย์ใหญ่
หรือผู้อำนวยการโรงเรียนประถมศึกษา และผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่หรือผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนฝ่าย
วิชาการ สังกัดกรุงเทพมหานคร
4. บรรณารักษ์และครูบรรณารักษ์ หมายถึง ข้าราชการที่ทำหน้าที่รับผิดชอบและ
ดำเนินงานห้องสมุด
5. ผู้ทรงคุณวุฒิ หมายถึง ข้าราชการที่ดำรงตำแหน่งนักวิชาการ ศึกษานิเทศก์ สังกัด
สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร และศึกษาธิการเขต ซึ่งมีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบโรงเรียนในสังกัด
สำนักงานเขต
6. ขนาดโรงเรียน หมายถึง โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งแบ่งเป็น
3 ขนาด คือ โรงเรียนขนาดเล็กมีนักเรียนอยู่ในเกณฑ์น้อยกว่า 400 คน โรงเรียนขนาดกลาง มีนักเรียน
อยู่ในเกณฑ์ตั้งแต่ 401-800 คน และโรงเรียนขนาดใหญ่มีนักเรียนอยู่ในเกณฑ์ตั้งแต่ 801 คนขึ้นไป
7. งานบริหาร หมายถึง งานที่กำกับดูแลและอำนวยความสะดวกในการทำงานด้านต่าง
ๆในห้องสมุดให้เป็นไปอย่างเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ
8. งานเทคนิค หมายถึง งานที่รับผิดชอบดำเนินงานจัดหนังสือให้เป็นระบบ การจัดหา
หนังสือ จัดหมวดหมู่หนังสือ ทำบัตรรายการ ซ่อมหนังสือ
9. งานบริการ หมายถึง งานที่ทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในทุก ๆ ด้านแก่ผู้ใช้บริการ
เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
10. ลักษณะที่พึงประสงค์ หมายถึง สิ่งที่ต้องการให้มีการดำเนินงานขึ้นในห้องสมุด
โรงเรียนประถมศึกษา
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย
1. ทำให้ทราบสภาพและความต้องการลักษณะของห้องสมุดประถมศึกษา สังกัด
กรุงเทพมหานคร ที่พึงประสงค์ตามแนวคิดของผู้บริหารโรงเรียนและบรรณารักษ์
2. ข้อมูลที่ได้จากการวิจัยในครั้งนี้จะสามารถนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาปรับปรุง
รูปแบบห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานครให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
5
จากแนวคิดทฤษฎีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องสามารถนำมาเป็นกรอบและแนวทาง
ในการศึกษาวิจัย ดังแผนภาพดังนี้
1. แนวคิดเกี่ยวกับห้องสมุดโรงเรียน
1.1 ความหมายของห้องสมุดโรงเรียน
1.2 ความสำคัญของห้องสมุดโรงเรียน
1.3 บทบาทของห้องสมุดโรงเรียน
1.4 องค์ประกอบสำคัญของห้องสมุด
2. การดำเนินงานของห้องสมุดโรงเรียน
2.1 งานบริหาร
2.2 งานเทคนิค
2.3 งานวัสดุอุปกรณ์และครุภัณฑ์
2.4 งานอาคารสถานที่
2.5 งานบริการ
2.6 การจัดกิจกรรมของห้องสมุด
2.7 บทบาทและหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้อง
กับงานห้องสมุด
3. มาตรฐานห้องสมุดโรงเรียน
ประถมศึกษา
4. ห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษาสังกัด
กรุงเทพมหานคร
ขนาดของห้องสมุดโรงเรียน
1. ขนาดเล็ก
2. ขนาดกลาง
3. ขนาดใหญ่
ห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษา สังกัด
กรุงเทพมหานคร ที่พึงประสงค์ตาม
แนวคิดของผู้บริหารโรงเรียนและ
บรรณารักษ์
1. ด้านงานบริหาร
2. ด้านงานวัสดุอุปกรณ์และครุภัณฑ์
3. ด้านงานอาคารสถานที่
4. ด้านงานเทคนิค
5. ด้านงานบริการ
6. ด้านการจัดกิจกรรมของห้องสมุด
7. บทบาทและหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้อง
กับงานห้องสมุด
แผนภาพที่ 1 กรอบแนวคิดในการวิจัย
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ในการศึกษาวิจัยเรื่อง ห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานครที่พึง
ประสงค์ตามแนวคิดของผู้บริหารโรงเรียนและบรรณารักษ์ ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่
เกี่ยวข้อง ดังรายละเอียดตามหัวข้อต่อไปนี้
1. แนวคิดเกี่ยวกับห้องสมุดโรงเรียน
1.1 ความหมายของห้องสมุดโรงเรียน
1.2 ความสำคัญของห้องสมุดโรงเรียน
1.3 บทบาทของห้องสมุดโรงเรียน
1.4 องค์ประกอบสำคัญของห้องสมุด
2. การดำเนินงานของห้องสมุดโรงเรียน
2.1 งานบริหาร
2.2 งานวัสดุอุปกรณ์และครุภัณฑ์
2.3 งานอาคารสถานที่
2.4 งานเทคนิค
2.5 งานบริการ
2.6 การจัดกิจกรรมของห้องสมุด
2.7 บทบาทและหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องกับงานห้องสมุด
3. มาตรฐานของห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษา
4. ห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร
5. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
1. แนวคิดเกี่ยวกับห้องสมุดโรงเรียน
1.1 ความหมายของห้องสมุดโรงเรียน
เฉลียว พันธุ์สีดา (2539 :10) ได้ให้ความหมายของห้องสมุดโรงเรียนไว้ว่า ห้องสมุด
โรงเรียนคือ สถาบันทางการศึกษาที่ผู้บริหารโรงเรียนจัดขึ้น เป็นแหล่งรวมทรัพยากรเพื่อการศึกษา
ซึ่งมีทั้งวัสดุตีพิมพ์ และวัสดุไม่ตีพิมพ์ เป็นศูนย์วิชาการสำหรับครูและนักเรียน ใช้ศึกษาค้นคว้าหา
ความรู้เพื่อประกอบการเรียนการสอน
วาณี ฐาปนวงศ์ศานติ (2543 :1) ได้ให้ความหมายของห้องสมุดไว้ว่า ห้องสมุดที่จัดขึ้น
ในสถานศึกษาระดับโรงเรียนประถมศึกษา มีหน้าที่จัดหาหนังสือและวัสดุต่าง ๆ ทุกสาขาวิชาที่เปิด
สอนในโรงเรียน โดยมีเนื้อหาวิชาตามหลักสูตร และสามารถใช้ประกอบการเรียนวิชาต่าง ๆ ได้
7
บรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียนมีหน้าที่สร้างนิสัยรักการอ่านและปูพื้นฐานการค้นคว้าด้วยตนเอง
เพื่อให้นักเรียนรู้จักการใช้ห้องสมุดในระดับสูงได้ในอนาคต นอกจากนี้บรรณารักษ์ควรให้ความ
ร่วมมือในการจัดกิจกรรมของโรงเรียน ตลอดจนการดำเนินกิจกรรมห้องสมุดด้วยตนเอง เพื่อ
สนับสนุนการอ่านให้มีประสิทธิภาพ
สุนี เลิศแสวงกิจ และพิศิษฐ์ กาญจนพิมาย (2546 : 7) ได้กล่าวว่าห้องสมุดโรงเรียน
เป็นศูนย์รวมทรัพยากรสารนิเทศของโรงเรียนแต่ละแห่งที่มีความสำคัญต่อนักเรียนครูอาจารย์
ผู้บริหารโรงเรียน ตลอดจนชุมชนใกล้เคียง มีการจัดหาและรวบรวมทรัพยากรสารนิเทศให้
สอดคล้องกับหลักสูตรการเรียนการสอนของโรงเรียน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน ให้มีนิสัย
รักการอ่าน และการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
น้ำทิพย์ วิภาวิน (2547 : 19) ได้กล่าวว่าห้องสมุดโรงเรียน ทำหน้าที่ให้บริการหนังสือ
สื่อการสอนในทุกสาขาวิชาในโรงเรียนให้ครอบคลุมเนื้อหาตามหลักสูตร เพื่อสร้างเสริมนิสัยรักการ
อ่านแก่นักเรียน
ธาดาศักดิ์ วชิรปรีชาพงษ์ (2548 :15) ได้กล่าวว่า ห้องสมุดโรงเรียน เป็นห้องสมุดที่
จัดตั้งขึ้นในโรงเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา เพื่อเป็นแหล่งการเรียนรู้สนับสนุนและ
ส่งเสริมการเรียนการสอนของครูและนักเรียน ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตรที่เน้นผู้เรียน
เป็นศูนย์กลาง และปลูกฝังนิสัยรักการอ่านแก่นักเรียน
จากความหมายของห้องสมุดโรงเรียนที่กล่าวมาข้างต้น สรุปได้ว่า ห้องสมุดเป็นแหล่ง
วิทยาการเพื่อการศึกษาค้นคว้า เป็นแหล่งการเรียนรู้ เป็นศูนย์กลางทางวิชาการเพื่อส่งเสริมการเรียน
การสอนของครูและนักเรียนให้มีประสิทธิภาพ โดยมีครูบรรณารักษ์เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินงานและ
ให้บริการต่อผู้ใช้บริการ
1.2 ความสำคัญของห้องสมุดโรงเรียน
ในปัจจุบัน เป็นที่ยอมรับว่า การเรียนการสอนโดยให้นักเรียนเรียนจากแบบเรียน และ
สอนโดยบอกหรืออธิบายให้ฟัง ให้ผลทางการศึกษาน้อยกว่าการให้นักเรียนได้มีโอกาสค้นคว้าเรียน
ด้วยตนเอง ซึ่งสถานที่ที่นักเรียนจะค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมได้ก็คือห้องสมุดโรงเรียน ซึ่งเป็น
สถานที่จัดตั้งขึ้นภายในโรงเรียน เป็นแหล่งรวมทรัพยากรเพื่อการศึกษา มีทั้งวัสดุตีพิมพ์และวัสดุไม่
ตีพิมพ์ที่มีเนื้อหาตามหลักสูตรของโรงเรียนนั้น ๆ เพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้และมีครูบรรณารักษ์ที่มี
ความรู้ทางวิชาบรรณารักษศาสตร์ หรือครูที่โรงเรียนคิดว่าเหมาะสมเป็นผู้รับผิดชอบในการ
บริหารงาน ดังนั้นห้องสมุดจึงมีบทบาทสำคัญมากสำหรับการศึกษาในปัจจุบัน ประกอบกับความ
เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วทางด้านวิทยาการ เทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
โดยเฉพาะทางด้านการศึกษา การศึกษาในปัจจุบันได้เน้นความสำคัญของห้องสมุดในฐานะที่เป็น
8
สถาบันที่สำคัญของสังคม ช่วยพัฒนาการเรียนการสอน ให้ผู้เรียนพัฒนาความรู้ ความสามารถ ความ
สนใจ ความถนัด ตามความต้องการของแต่ละบุคคล (ชุติมา สัจจานนท์ 2530 :1)
รัญจวน อินทรกำแหง และนวลจันทร์ รัตนากร (2531 : 10) ได้กล่าวถึงความสำคัญ
ของห้องสมุดไว้ดังนี้
1. ห้องสมุดช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน ด้วยการจัดหาหนังสือเสริมหลักสูตร
หนังสืออ่านประกอบมาให้บริการเพื่อเพิ่มเติมเนื้อหาของวิชาให้ทันสมัย
2. ช่วยสนองความใคร่รู้ใคร่เห็นของนักเรียน หนังสือและเอกสารอ้างอิงในห้องสมุด
จะช่วยตอบคำถามที่นักเรียนสนใจในเรื่องต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี
3. ช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ การอ่านเป็นการกระตุ้นให้เกิดความคิดในทาง
สร้างสรรค์
4. ช่วยให้มีโอกาสเรียนรู้ความคิดเห็นของผู้อื่น ด้วยการเปรียบเทียบความคิดเห็น
เปรียบเทียบทฤษฎีและหลักฐานข้อมูลต่าง ๆ เพื่อแสวงหาข้อเท็จจริง
5. ช่วยให้เรียนรู้ได้ตามอัตภาพ ห้องสมุดจะช่วยพัฒนาความแตกต่างระหว่างบุคคลด้วย
การจัดบริการเพื่อสนองความต้องการของนักเรียน
6. ช่วยเพิ่มพูนทักษะการใช้ห้องสมุด เป็นการปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน
7. ช่วยปรับปรุงทักษะในการอ่าน การอ่านหนังสือช่วยให้นักเรียนได้ฝึกฝนจนเป็นคน
อ่านหนังสือเป็นและรักการอ่าน
8. ให้มีความรู้ในเรื่องงานอาชีพและงานอดิเรก ห้องสมุดจะรวบรวมหนังสือทางด้าน
ความรู้ในเรื่องอาชีพและงานอดิเรก ประวัติของนักประดิษฐ์ นักวิทยาศาสตร์ และผู้ประสบ
ความสำเร็จในชีวิตในสาขาวิชาต่าง ๆ ซึ่งบุคคลเหล่านี้จะเป็นแรงบันดาลใจให้ยึดเป็นแบบอย่าง
ปรียาพร วงค์อนุตรโรจน์ (2536 :231) ได้กล่าวถึงความสำคัญของห้องสมุดไว้ว่า
ห้องสมุดเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญต่อการเรียนการสอนในสถานศึกษา เพราะเป็นศูนย์รวมของ
วิชาการ เป็นงานที่ส่งเสริมและให้บริการทางวิชาการกับนักเรียน ครู อาจารย์ เป็นการส่งเสริมการ
เรียนการสอนของครูอาจารย์ เป็นสถานที่ที่ใช้ศึกษาหาความรู้และค้นคว้าด้วยตนเอง เตรียมบทเรียน
เพื่อการเรียนการสอน และเป็นสถานที่ที่นักเรียน สามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง หรือจากที่
ครูมอบหมายให้ค้นคว้าในเรื่องนั้นๆ เป็นสถานที่ปลูกฝังนิสัยรักการอ่านหนังสือ การใช้เวลาว่างให้
เป็นประโยชน์
ลมุล รัตตากร (2538 : 28) ได้ให้ความสำคัญของห้องสมุดโรงเรียนไว้ ดังนี้
1. ห้องสมุดเป็นที่รวบรวมแห่งทรัพยากรสารนิเทศ ที่อาจารย์ผู้สอนเข้ามาค้นคว้าหา
ความรู้ทุกแขนงวิชาที่มีการเรียนการสอน
9
2. ห้องสมุดเป็นที่ที่ทุกคนจะเลือกอ่านหนังสือและค้นคว้าหาความรู้ต่าง ๆ ได้โดยอิสระ
ตามความสนใจของแต่ละบุคคล
3. ห้องสมุดช่วยให้ผู้ใช้พอใจที่จะอ่านหนังสือต่าง ๆ โดยไม่รู้จักจบสิ้น ซึ่งจะทำให้เกิด
ความรู้สึกเพลิดเพลิน
4. ห้องสมุดช่วยให้ผู้ใช้มีความรู้ทันสมัยอยู่เสมอ
5. ช่วยให้ผู้ใช้ห้องสมุดรักการค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง
6. ห้องสมุดช่วยให้รู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
7. ห้องสมุดจะช่วยให้ผู้ใช้รับรู้ในสมบัติสาธารณะ
พนม พงษ์ไพบูลย์ (2539 : 20) ได้ให้ความสำคัญของห้องสมุดว่าเป็นแหล่งเก็บรวบรวม
ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ด้านต่างๆ เป็นแหล่งเผยแพร่และให้บริการความรู้ข้อมูลข่าวสาร ในการ
ปฏิรูปการศึกษาครูต้องปรับกระบวนการเรียนการสอน จากลักษณะให้ครูสอนอย่างเดียวแล้วให้เด็ก
รับไป เป็นทำอย่างไรจะให้เด็กคิดเป็น รู้จักกระตุ้นให้เด็กอยากเรียนให้รู้จักใช้ห้องสมุดที่มีอยู่
อย่างถูกต้องตามวิธีการ
พวา พันธุ์เมฆา (2541 : 6-7) ได้กล่าวถึงความสำคัญของห้องสมุดไว้ ดังนี้
1. ห้องสมุดเป็นแหล่งรวบรวมสรรพความรู้ทั้งหลายในโลกเอาไว้
2. ห้องสมุดเป็นสถานที่ที่ทุกคนสามารถค้นคว้าหาความรู้ได้อย่างเสรีตามความสนใจ
ของตน
3. ห้องสมุดช่วยปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน
4. ห้องสมุดช่วยส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
5. ห้องสมุดช่วยให้ผู้ใช้มีความรู้ที่ทันสมัยอยู่เสมอ
วาณี ฐาปนวงศ์ศานติ (2543 : 12-13) ได้สรุปความสำคัญของห้องสมุดได้ ดังนี้
1. สนับสนุนส่งเสริมการเรียนการสอนตามหลักสูตร นโยบาย และโครงการของ
โรงเรียน
2. ส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะในการใช้วัสดุสารนิเทศ เพื่อประโยชน์ในการศึกษา
ค้นคว้าประกอบการเรียน และรู้จักอ่านเพื่อความเพลิดเพลิน ความจรรโลงใจ และปรับปรุง
รสนิยมในการอ่านให้ดีขึ้น
3. เตรียมนักเรียนให้มีประสบการณ์ในการใช้ห้องสมุด และแหล่งวิทยาการต่าง ๆ
เพื่อประโยชน์ทางการศึกษาและความเจริญก้าวหน้าในอนาคต
4. ให้บริการและความสะดวกแก่ครู อาจารย์ในการเลือกและใช้วัสดุสารนิเทศเพื่อ
ประโยชน์ในการสอน
5. ส่งเสริมและแนะแนวการอ่านให้นักเรียนได้พัฒนานิสัยรักการอ่าน
10
6. ให้บริการชุมชนในท้องถิ่นที่โรงเรียนตั้งอยู่
สุนี เลิศแสวงกิจ และพิศิษฐ์ กาญจนพิมาย (2546 :2-3) ได้สรุปความสำคัญ
ของห้องสมุดไว้ ดังนี้
1. ห้องสมุดเป็นที่รวมวิทยาการต่าง ๆ ที่มีความสำคัญต่อการเรียนการสอน
2. ห้องสมุดเป็นแหล่งรวมสารนิเทศที่มีความสำคัญต่อการค้นคว้าวิจัย
3. ห้องสมุดเป็นแหล่งสารนิเทศที่เปิดโอกาสให้ทุกคนเลือกศึกษาค้นคว้าอย่างอิสระ
ตามความต้องการของแต่ละบุคคล
4. ห้องสมุดเป็นแหล่งข้อมูลที่ส่งเสริมการอ่านและการค้นคว้าด้วยตนเอง
5. ห้องสมุดเป็นสถานที่สำหรับการพัฒนาคุณภาพชีวิต
6. ห้องสมุดเป็นสถานที่ส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรมอันดีงาม
7. ห้องสมุดจะเป็นแหล่งข้อมูลที่ผู้อ่านสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการเรียนรู้ได้
มากที่สุด
กรมวิชาการ (2543 :15) ได้สรุปความสำคัญของห้องสมุดโรงเรียนไว้ดังนี้ ห้องสมุด
โรงเรียนเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียน และเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาที่ได้จัดมวลประสบการณ์ตาม
หลักสูตรใหม่ ได้มุ่งเน้นให้นักเรียนหาวิธีการเรียนรู้ด้วยตนเอง รู้โดยแสวงหาความรู้เพื่อนำไปสู่การ
คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น
จากความสำคัญของห้องสมุดโรงเรียนที่กล่าวมาข้างต้น สรุปได้ว่า ห้องสมุดมี
ความสำคัญต่อการส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนการสอนของนักเรียนและอาจารย์ เพราะห้องสมุด
เป็นศูนย์รวมวิชาความรู้ทางด้านวิชาการและความจรรโลงใจ เพื่อส่งเสริมและปลูกฝังให้นักเรียนมี
ทักษะในการแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง
1.3 บทบาทของห้องสมุดโรงเรียน
ห้องสมุดโรงเรียนเป็นแหล่งการเรียนรู้ อันเป็นองค์ประกอบสำคัญของการเรียน การ
สอนตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 โดยครูผู้สอนต้องสอนเนื้อหา ให้
น้อยลงแล้วมาเน้นที่วิธีการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียน คือการใช้สื่อการสอนให้มากขึ้นครูผู้สอน
ต้องร่วมมือกับบรรณารักษ์เพื่อวางแผนสร้างทักษะกระบวนการในการเรียนรู้ให้แก่นักเรียน เพื่อให้
การเรียนรู้ของนักเรียนได้สอดคล้องกับความถนัดและความสามารถของแต่ละบุคคล ด้วยการใช้สื่อ
และบริการต่าง ๆ ที่มีอยู่ในห้องสมุดให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ห้องสมุดโรงเรียนจะต้องจัดวัสดุ
สารนิเทศหลาย ๆ อย่างไว้ด้วยกันเพื่อให้ครูและนักเรียนได้รับผลจากการศึกษาค้นคว้าอย่างสมบูรณ์
จากการเปลี่ยนแปลงของหลักสูตรจึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับบทบาท ขอบเขต ลักษณะ
และหน้าที่ของห้องสมุดโรงเรียน ดังนั้นห้องสมุดโรงเรียนจึงมีบทบาทและหน้าที่ดังนี้ (ประไพ
พักตรเกษม 2534 :5-6)
11
1. เตรียมหนังสือและโสตทัศนวัสดุเพื่อส่งเสริมหลักสูตร นโยบาย และโครงการของ
โรงเรียนให้บรรลุหลักการและจุดมุ่งหมายที่วางไว้
2. เปิดโอกาสให้นักเรียนได้เลือกศึกษาค้นคว้าตามความสนใจ ตามความต้องการและ
ความสามารถของแต่ละบุคคลเพื่อความเจริญงอกงามของสติปัญญาและจิตใจ
3. ส่งเสริมและแนะแนวการอ่านให้นักเรียนสามารถหาความสขความเพลิดเพลินจาก
การอ่าน รวมทั้งมีวิจารณญาณในการอ่าน
4. ให้นักเรียนมีประสบการณ์ในการใช้ห้องสมุดเพื่อสร้างนิสัยรักการอ่าน การค้นคว้า
เพื่อการศึกษาตลอดชีวิต
5. ให้นักเรียนเกิดทักษะการใช้หนังสือและโสตทัศนวัสดุเพื่อประโยชน์ในการศึกษา
ค้นคว้า
6. ให้บริการและอำนวยความสะดวกแก่ครูในการเลือกใช้หนังสือ และวัสดุอุปกรณ์
ในห้องสมุดเพื่อประโยชน์ในการสอน
7. ให้ความร่วมมือกับครูและผู้บริหารในทุกวิถีทางเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตาม
วัตถุประสงค์ของห้องสมุด
8. ให้ความร่วมมือกับครูบรรณารักษ์ห้องสมุดอื่น ๆ ในชุมชนเดียวกันเพื่อช่วยสร้างสรรค์
งานห้องสมุดของชุมชนให้เจริญก้าวหน้า
ภิญญาพร นิตยะประภา (2534 :) ได้กล่าวว่าห้องสมุดโรงเรียนจะต้องทำหน้าที่เป็น
แหล่งกลางทางด้านวิชาการดังนี้
1. เป็นศูนย์กลางการอ่าน มีหน้าที่หลักในการจัดห้องสมุดโรงเรียน ครูบรรณารักษ์
มีหน้าที่จัดห้องสมุดให้มีบรรยากาศที่ดี เพื่อกระตุ้นให้ครูและนักเรียนสนใจที่จะเข้าไปอ่านหนังสือ
ในห้องสมุด
2. เป็นศูนย์กลางการศึกษาค้นคว้า ซึ่งเป็นกระบวนการเรียนการสอนที่หลักสูตรใหม่
กำหนดให้นักเรียนค้นคว้าด้วยตนเอง โดยครูลดบทบาทจากผู้สอนหรือผู้บอกเนื้อหา มาเป็นผู้ชี้นำ
และป้อนคำถามให้นักเรียนไปค้นคว้าจากห้องสมุด ห้องสมุดจึงต้องมีทรัพยากรให้เพียงพอตามความ
สนใจของผู้เรียน ต้องมีการจัดบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้าเพื่อช่วยการค้นคว้าเพื่อช่วยเหลือ
ผู้มีปัญหาในการใช้ห้องสมุด
3. เป็นศูนย์กลางฝึกวิจารณญาณ การอ่านและการศึกษาค้นคว้าจะมีคุณค่าก็ต่อเมื่อ
มีการอ่านอย่างกว้างขวาง แล้วนำข้อมูลที่ได้จากการอ่านมาเปรียบเทียบและวิเคราะห์เพื่อคัดเลือก
ข้อมูล ครูบรรณารักษ์มีส่วนช่วยให้คำแนะนำเมื่อนักเรียนเกิดปัญหาในการเลือกข้อมูล ทำให้นักเรียน
เกิดความสามารถในการพิจารณาข้อมูลในการตัดสินใจได้
4. เป็นศูนย์กลางแนะแนวการอ่าน ควรจัดบริการแนะแนวการอ่านให้กับนักเรียน เพื่อให้
12
เกิดความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ และรู้จักขยายขอบเขตของการอ่านให้กว้างขวาง
5. เป็นศูนย์กลางวัสดุอุปกรณ์การสอน ห้องสมุดโรงเรียนมีหน้าที่ส่งเสริมการสอนของ
ครูเพื่อให้นักเรียนสนใจในการศึกษาค้นคว้าซึ่งต้องอาศัยครูที่มีการสอนที่ดี เตรียมการสอนล่วงหน้า
ใช้อุปกรณ์การสอนเพื่อเร้าความสนใจของนักเรียน
6. เป็นศูนย์กลางของสื่อการศึกษา ห้องสมุดโรงเรียนควรจะมีวัสดุที่ตีพิมพ์ และวัสดุ
ไม่ตีพิมพ์ เทปปาฐกถา เทปเพลง เทปนิทาน เทปการอ่านทำนองเสนาะ สไลด์ วีดิทัศน์
สุกัญญา ศรีสืบสาย (2534 : 34-35) ได้สรุปบทบาทของห้องสมุดโรงเรียนไว้ดังนี้
1. เป็นแหล่งปลูกฝังนิสัยให้นักเรียนมีนิสัยรักการอ่าน โดยการจัดกิจกรรมที่จะเป็นการ
ส่งเสริม กระตุ้น เร้า ให้นักเรียนมีนิสัยรักการอ่านในโอกาสต่าง ๆอย่างต่อเนื่องและเสม่ำเสมอ
2. เป็นแหล่งที่รวบรวมข้อมูล ความรู้ต่าง ๆ สำหรับที่จะให้นักเรียนใช้เป็นแหล่งค้นคว้า
หาความรู้ในการเรียนรู้ของรายวิชาต่าง ๆ โดยการจัดให้มีวัสดุสารนิเทศอย่างครบถ้วนและเพียงพอ
3. เป็นแหล่งที่จะทำให้ผู้เรียนได้รู้จักวิธีการศึกษาหาความรู้จากการอ่าน การเรียนรู้
วิธีการใช้ห้องสมุด โดยจัดเป็นกิจกรรมตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ หรือกิจกรรมอิสระของ
ผู้เรียน โดยให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมดังกล่าว
4. เป็นแหล่งข้อมูลสารสนเทศสำหรับโรงเรียนโดยศึกษาสำรวจ เก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ
เกี่ยวกับท้องถิ่นทางด้านทรัพยากร สภาพปัญหา ความต้องการของท้องถิ่น แผนพัฒนาท้องถิ่น
เพื่อที่โรงเรียนจะนำมาใช้ในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น
จากบทบาทของห้องสมุดโรงเรียนที่กล่าวมาข้างต้น สรุปได้ว่า ห้องสมุดโรงเรียนส่วน
ใหญ่จะเน้นที่การส่งเสริมการเรียนของนักเรียนและการสอนของครูเป็นสำคัญ ดังนั้นห้องสมุดจึงต้อง
จัดหาวัสดุสารนิเทศให้มีความสมบูรณ์ในทุกวิชา พร้อมที่จะให้บริการแก่ครู นักเรียน ได้ศึกษา
ค้นคว้าอย่างเสรีภาพตามความต้องการของแต่ละบุคคล
1.4 องค์ประกอบสำคัญของห้องสมุด
การดำเนินงานห้องสมุดให้บรรลุวัตถุประสงค์และมีประสิทธิภาพ ต้องอาศัยองค์
ประกอบสำคัญของห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษา ดังนี้ (กรมวิชาการ 2543: 7-8)
1. วัสดุสารสนเทศ หมายถึง วัสดุที่บันทึกสารสนเทศไว้ในสื่อรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้
ประโยชน์ในการเรียนการสอนการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ความและความบันเทิง จำแนกเป็น 2
ประเภท ดังนี้ (พวา พันธุ์เมฆา 2541: 24)
1.1 วัสดุตีพิมพ์ เป็นวัสดุสารสนเทศที่มีการบันทึกข้อมูล ข่าวสารความรู้บน
แผ่นกระดาษ และสื่อความหมายด้วยตัวอักษรหรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ แบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ
1.1.1 หนังสือ หมายถึง ทรัพยากรสารสนเทศที่ตีพิมพ์เป็นตัวอักษรอธิบาย
เรื่องราว เหตุการณ์ วิชาความรู้ต่าง ๆ แบ่งออกเป็น 2ประเภท ได้แก่
13
1.1.1.1 หนังสือสารคดี
- หนังสือตำราวิชาการ
- หนังสืออ่านประกอบ
- หนังสือความรู้ทั่วไป
- หนังสืออ้างอิง
- ปริญญานิพนธ์ หรือวิทยานิพนธ์
- คู่มือสถาบันการศึกษา
1.1.1.2 หนังสือบันเทิงคดี หมายถึงหนังสือที่เขียนขึ้นจากจินตนาการของ
ผู้เขียน มุ่งให้ความบันเทิงแก่ผู้อ่าน ได้แก่
- นวนิยาย
- เรื่องสั้น
- หนังสือสำหรับเด็กและเยาวชน
1.1.2 สิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง
1.1.3 จุลสาร
1.1.4 กฤตภาค
1.2 วัสดุไม่ตีพิมพ์ เป็นวัสดุที่บันทึกสารสนเทศที่นอกเหนือจากวัสดุตีพิมพ์
แบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้
1.2.1 โสตวัสดุ หมายถึง ทรัพยากรสารสนเทศที่ใช้เสียงเป็นสื่อในการ
1. ถ่ายทอดสารสนเทศ ได้แก่
1.2.1.1 แผ่นเสียง เป็นวัสดุแผ่นทรงกลมทำด้วยครั่งหรือพลาสติกบันทึก
สัญญาณเสียงลงในร่องเสียง สารสนเทศที่บันทึกลงในแผ่น เพื่อใช้ประกอบการศึกษาค้นคว้า เช่น
ข้อมูลทางภาษาและดนตรี การใช้แผ่นเสียงต้องใช้ควบคู่กับเครื่องเล่นแผ่นเสียง
1.2.1.2 เทปบันทึกเสียง เป็นวัสดุทำด้วยแถบแม่เหล็กที่บันทึกสัญญาณ
เสียงเก็บไว้ในรูปของคลื่อนแม่เหล็ก ข้อมูลที่จัดเก็บลงในเทปบันทึกเสียง เช่น บทเพลง ปาฐกถา
สุนทรพจน์คำบรรยาย
1.2.1.3 แผ่นซีดี เป็นวัสดุที่ทำด้วยพลาสติกบันทึกสัญญาณดิจิทัลและอ่าน
ข้อมูลด้วยแสงเลเซอร์ คุณภาพของเสียงจะชัดเจนมากกว่าแผ่นเสียง
1.2.2 ทัศนวัสดุ หมายถึง ทรัพยากรสารสนเทศที่ผู้ใช้รับรู้สารสนเทศได้ทางตา
ซึ่งอาจดูได้ด้วยตาเปล่าหรือใช้เครื่องฉาย ได้แก่
1.2.2.1 รูปภาพ เป็นภาพวาด ภาพเขียน ภาพพิมพ์ ภาพถ่าย ที่จัดทำขึ้น
เสนอข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ทำให้มีความเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ ได้ดีขึ้น
14
1.2.2.2 แผนที่ เป็นภาพและลายเส้นที่มีลักษณะเป็นแผ่นแบนราบซึ่งแสดง
ลักษณะต่าง ๆ บนพื้นผิวโลกในด้านกายภาพ การเมือง เศรษฐกิจ โดยการย่อส่วนสิ่งต่าง ๆ มา
แสดงโดยใช้ภาพ เส้น สี สัญลักษณ์ และเครื่องหมายต่าง ๆ
1.2.2.3 ภาพเลื่อนหรือฟิล์มสตริป เป็นภาพโปร่งแสงแสดงเรื่องราวเรียง
ลำดับภาพต่อเนื่องกัน ถ่ายทำลงบนฟิล์มขนาด 35 ม.ม. ซึ่งอาจเป็นภาพสีหรือขาวดำก็ได้ แต่ละม้วน
จะมีภาพประมาณ 30-60 ภาพ
1.2.2.4 ภาพนิ่ง หรือสไลด์ เป็นภาพโปร่งแสงที่บันทึกลงบนฟิล์มหรือ
กระจกถ่ายทำโดยใช้ฟิล์มขนาด 35 ม.ม. ภาพแต่ละภาพจะแยกจากกันแล้วนำมาใส่กรอบกระดาษหรือ
พลาสติก
1.2.2.5 แผนภูมิ เป็นวัสดุที่เสนอข้อมูลในลักษณะของภาพลายเส้น ตัวเลข
สัญลักษณ์ และตัวหนังสือ ที่แสดงความสัมพันธ์ ความเกี่ยวโยง ตลอดจนวิวัฒนาการของสิ่งต่าง ๆ
มีหลายประเภท เช่น แผนภูมิแบบตาราง แผนภูมิอธิบายภาพ แผนภูมิแบบองค์กร
1.2.2.6 ภาพแผ่นใส เป็นแผ่นพลาติกใสที่บันทึกสารสนเทศโดยการถ่าย
หรือสำเนา เพื่อนำไปฉายกับเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ
1.2.2.7 หุ่นจำลอง เป็นวัสดุที่แสดงลักษะ 3 มิติ คล้ายกับของจริง ซึ่งอาจ
มีขนาดเท่าของจริง ย่อให้มีขนาดเล็กกว่าของจริง หรือใหญ่กว่าของจริงก็ได้ เช่น หุ่นขี้ผึ้ง หุ่นแสดง
ร่างกายมนุษย์ ลูกโลก
1.2.2.8 ของจริง และของตัวอย่าง ของจริง หมายถึง สิ่งของที่คงสภาพจริง
ตามธรรมชาติของสิ่งนั้น เช่นเหรียญ แสตมป์ ส่วนของจริง หมายถึง ของจริงที่นำมาเพียงบางส่วน
เช่นหิน แมลง เป็นต้น
1.3 โสตทัศนวัสดุ หมายถึงทรัพยากรสารสนเทศที่ผู้ใช้รับรู้ได้ทั้งจากการดูและการฟัง
ไปพร้อมกัน ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจเรื่องราวได้ดียิ่งขึ้น แบ่งเป็นประเภทต่าง ๆได้ ดังนี้
1.3.1 ภาพยนตร์ เป็นภาพถ่ายที่เป็นภาพนิ่งโปร่งแสงซึ่งใช้กล้องถ่ายทำอิริยาบถ
หรือการเคลื่อนไหวติดต่อกันลงบนแผ่นฟิล์ม แล้วนำมาฉายด้วยเครื่องฉายภาพยนตร์ด้วยอัตรา
ความเร็วเดียวกันจะทำให้มองเห็นภาพชุดนั้นเคลื่อนไหวได้
1.3.2 วีดิทัศน์ เป็นแถบแม่เหล็กที่ใช้บันทึกสัญญาณภาพและเสียงไว้ในรูปของ
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สามารถลบและบันทึกใหม่ได้เช่นเดียวกับเทปบันทึกเสียง ต้องใช้รวมกับเครื่อง
บันทึกภาพ และเครื่องรับโทรทัศน์
1.3.3 ภาพนิ่งประกอบเสียง หรือสไลด์ประกอบเสียง เป็นการฉายภาพนิ่งที่มี
เสียงบรรยายและเสียงเพลงประกอบซึ่งคล้ายกับการฉายภาพยนตร์ แต่ต่างกันที่ภาพยนตร์เป็น
ภาพเคลื่อนไหว
15
1.4 วัสดุย่อส่วน เป็นทรัพยากรสารสนเทศที่จัดเก็บข้อมูลไว้ด้วยการถ่ายย่อส่วนให้มี
ขนาดเล็กจนไม่สามารถอ่านได้ด้วยตาเปล่า แบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้
1.4.1 ไมโครฟิล์ม เป็นการถ่ายสารสนเทศย่อส่วนลงบนฟิล์มโปร่งแสงรูป
สี่เหลี่ยมผืนผ้า
1.4.2 ไมโครฟิช
1.4.3 ไมโครการ์ด
1.5 สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง ทรัพยากรสารสนเทศที่จัดเก็บสารสนเทศในรูป
สัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ ต้องใช้เครื่องแปลงสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์เป็นสัญญาณภาพและเสียง เป็น
ประเภทต่าง ๆ ดังนี้
1.5.1 ซีดีรอม
1.5.2 แผ่นวีดิทัศน์
1.5.3 แผ่นวีดิทัศน์ระบบดิจิทัล
2. บุคลากร หมายถึง บุคคลที่ทำหน้าที่บรรณารักษ์ ครูบรรณารักษ์ ครูที่ทำหน้าที่
บรรณารักษ์ ผู้ช่วยบรรณารักษ์ เจ้าหน้าที่ห้องสมุดหรือนักเรียนช่วยงานห้องสมุด
2.1 ครูบรรณารักษ์ ทำหน้าที่เป็นหัวหน้างานห้องสมุด ควรมีความรู้ทางด้าน
บรรณารักษศาสตร์ หรือสารนิเทศาสตร์หรืออาจมีความรู้ที่ได้จากการศึกษาโดยตรง หรือจาก
ประสบการณ์ในการทำงานห้องสมุด บรรณารักษ์ห้องสมุดควรปฏิบัติงานห้องสมุดให้เต็มเวลา โดย
มีหน้าที่ควบคุมดูแล และปฏิบัติงานในห้องสมุด รับผิดชอบงานด้านการสอนการใช้ห้องสมุด การที่
ครูบรรณารักษ์มีเวลาปฏิบัติงานได้เต็มที่ จะเป็นผลให้งานห้องสมุด ซึ่งเป็นหัวใจของการศึกษา
ดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.2 ครูผู้ช่วยบรรณารักษ์ หรือทำหน้าที่บรรณารักษ์ฝ่ายต่าง ๆ ให้มีหน้าที่ช่วยงานใน
ห้องสมุด เพื่อให้งานดำเนินไปอย่างรวดเร็วและสามารถให้บริการได้อย่างกว้างขว้าง
2.3 นักเรียนช่วยงานห้องสมุด จะช่วยแบ่งเบาภาระงานบางอย่างของครู และช่วยให้
นักเรียนมีประสบการณ์ในการทำงาน และการใช้ห้องสมุด งานที่นักเรียนสามารถทำได้เช่น
ซ่อมหนังสือและจัดหนังสือขึ้นชั้น
2.4 คณะกรรมการห้องสมุด โรงเรียนต้องแต่งตั้งคณะกรรมการห้องสมุด โดย
คำนึงถึงภารกิจของห้องสมุด และความเหมาะสมกับสภาพการดำเนินงานห้องสมุดของโรงเรียน เพื่อ
ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย และวางแผนการดำเนินงาน
2.4 นักการภารโรง มีหน้าที่เปิด ปิด และทำความสะอาดห้องสมุดและชั้นหนังสือ
และช่วยงานอื่น ๆ ในห้องสมุด ตามที่ครูบรรณารักษ์มอบหมาย
16
3. อาคารสถานที่ โรงเรียนต้องจัดให้มีห้องสมุดขึ้นภายในโรงเรียน ห้องสมุดควรอยู่ใน
ที่สะดวกแก่ผู้เข้าใช้ และมีเนื้อที่เพียงพอสำหรับการจัดเก็บวัสดุสารนิเทศ การอ่านหนังสือ
การทำงานของบุคลากร ขนาดของอาคารห้องสมุดควรมีขนาด 1 ห้องเรียน สำหรับโรงเรียนที่มี
นักเรียนไม่เกิน 400 คน และมีขนาดเพิ่มขึ้น 1 ห้องเรียนต่อจำนวนนักเรียนที่เพิ่มขึ้นทุก 200 คน
ทั้งนี้โดยคำนึงถึง เนื้อที่สำหรับครุภัณฑ์ห้องสมุด ที่ทำงานบุคลากร และที่นั่งอ่าน สำหรับที่นั่งอ่าน
โต๊ะ เก้าอี้สำหรับนั่งเล่น ให้มีจำนวน 40 ที่นั่งต่อนักเรียน 400 คน
4. ครุภัณฑ์ เป็นที่เก็บสารนิเทศและอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ห้องสมุด ครุภัณฑ์ที่จำ
เป็น ได้แก่
1) ชั้นหนังสือ
2) ชั้นวารสาร
3) ตู้จุลสาร
4) ป้ายนิทรรศการ
5) ตู้บัตรรายการ
6) ที่วางหนังสือพิมพ์
7) เคาน์เตอร์หรือโต๊ะรับ-จ่ายหนังสือ
8) ที่วางพจนานุกรม
9) รถเข็นหนังสือ
10) ตู้เก็บโสตทัศนวัสดุและอุปกรณ์อื่น ๆ
11) เก้าอี้นั่งปฏิบัติงาน
12) โต๊ะทำงานบรรณารักษ์
12) โต๊ะพิมพ์ดีด
13) โต๊ะอ่านหนังสือ
14) ป้ายประกาศแสดงแผนผังการจัดหมวดหมู่หนังสือ
ประเภทและปริมาณของครุภัณฑ์ควรให้มีตามสภาพของของตนหรืออาจจัดหาเพิ่มเติมได้
อีกตามต้องการเพื่ออำนวยประโยชน์แก่ผู้ใช้บริการห้องสมุด
5. การเงิน หมายถึง แหล่งที่มาของเงินและวิธีการใช้เงินตามระเบียบของราชการ
โรงเรียนประถมศึกษาของรัฐบาล จะมีเงินงบประมาณ ซึ่งทางราชการจัดสรรให้แต่ละปีงบประมาณ
และเงินนอกงบประมาณ ที่ทางโรงเรียนเป็นผู้จัดหาเอง ส่วนใหญ่จะได้จากการบริจาค ในการ
ดำเนินงานห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษา เงินส่วนหนึ่งจะได้มาจากงบประมาณ ซึ่งสำนักการศึกษา
ได้จัดสรรให้ตามขนาดของโรงเรียนและอาจมีส่วนที่ได้จากจากแหล่งอื่น เช่น การจัดกิจกรรมของ
โรงเรียน การที่มีผู้บริจาค ดังนั้น บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานการเงินไม่ว่าจะเป็น ผู้บริหาร
17
เจ้าหน้าที่การเงิน ครูที่ทำหน้าที่บรรณารักษ์ จะต้องทำหลักฐานการใช้จ่ายเงินให้ละเอียด และ
ถูกต้องตามระเบียบของกระทรวงการคลัง สำหรับบัญชีการใช้เงินนั้น ไม่จำกัดว่าต้องเป็นแบบ
เดียวกันทั้งหมด อาจเป็นแบบเฉพาะของโรงเรียน แต่ต้องให้เป็นหลักฐานที่ถูกต้อง และเป็นปัจจุบัน
สามารถตรวจสอบได้
5. การประชาสัมพันธ์ คือ การแจ้งข่าวสารให้ผู้ใช้บริการทราบว่าห้องสมุดกำลังทำอะไร
มีบริการอะไรและบริการมีประโยชน์อย่างไร (กรมวิชาการ 2543 : 26) การประชาสัมพันธ์เป็นการ
จูงใจให้ครู นักเรียนและผู้สนใจเข้ามารับบริการของห้องสมุดมากขึ้น เพื่อเผยแพร่ข่าวสารและความ
เคลื่อนไหวของห้องสมุดให้ทราบ บรรณารักษ์หรือผู้รับผิดชอบควรจัดให้มีการประชาสัมพันธ์
ห้องสมุดอยู่ตลอดเวลา การประชาสัมพันธ์ห้องสมุด มีวัตถุประสงค์เพื่อแนะนำให้ผู้ใช้ห้องสมุด
ได้รู้จักห้องสมุดโรงเรียนและงานต่าง ๆ ของห้องสมุดโรงเรียน เผยแพร่ข่าวสาร กิจกรรม และความ
เคลื่อนไหวใหม่ ๆ ให้ผู้ใช้ห้องสมุดทราบ เพื่อเป็นการจูงใจให้มีผู้ใช้ห้องสมุดมากขึ้น ซึ่งเป็นผลให้
ได้รับการสนับสนุน ให้ห้องสมุดก้าวหน้าต่อไปสำหรับสื่อที่จะใช้ในการประชาสัมพันธ์มีหลาย
ประเภท แต่ละประเภทมีความยากง่ายแตกต่างกันจึงต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับโอกาส (วาณี
ฐาปนวงศ์ศานติ 2546 : 166-167)
7. ผู้ใช้ หมายถึง ผู้มารับบริการของห้องสมุด ได้แก่ ผู้บริหาร ครูอาจารย์ นักเรียนและ
ชุมชน ผู้ใช้ห้องสมุดถือว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญของห้องสมุด เมื่อมีการจัดตั้งห้องสมุดขึ้นมาแล้ว
หากมีผู้มาใช้บริการน้อยย่อมไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ดังนั้นควรให้มีผู้มาใช้บริการเป็นจำนวนมาก
ห้องสมุดจัดขึ้นมาเพื่อให้บริการ สนับสนุนและส่งเสริมการเรียนการสอนตามหลักสูตร ปลูกฝังให้
นักเรียนมีนิสัยรักการอ่าน (กรมวิชาการ : 9-10)
2. การดำเนินงานห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษา
ห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร มี431 โรง จึงมีการดำเนินการ
และปัญหาที่แตกต่างกัน แม้จะกำหนดแนวดำเนินการให้ทุกโรงเรียน มีความพร้อมในด้านบุคลากร
ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยในการดำเนินงานห้องสมุดให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยก็ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ
ดังนี้ กรมวิชาการ 2543 : 25)
1. ความสำคัญและให้ความสำคัญ ซึ่งผู้บริหารโรงเรียนต้องให้ความเอาใจใส่และ
สนับสนุนงานห้องสมุดอย่างจริงจัง
2. ขยันทำงานร่วมกันเป็นคณะ ผู้บริหารโรงเรียนควรมีการจัดตั้งคณะกรรมการห้องสมุด
ตามความเหมาะสมกับสภาพโรงเรียน ครูบรรณารักษ์ร่วมใจกันทำงานห้องสมุดทุประเภทอย่างมี
ประสิทธิภาพ และต้องมีการประชาสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอ
3. จะให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นผู้ชี้แนะ และให้นักเรียนเป็นศูนย์
18
กลาง มุ่งเน้นกระบวนการมากกว่าเนื้อหาโดยให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองจากห้องสมุด
4. มีการจัดหมวดหมู่หนังสืออย่างเป็นระบบมีการจัดทำบัตรรายการ เพื่อเอื้ออำนวยต่อ
ผู้ใช้ห้องสมุด จะทำให้มีผู้ใช้ห้องสมุดมากขึ้น
5. สนใจอ่านหนังสือและมีนิสัยรักการอ่าน จะช่วยให้ผู้ใช้ห้องสมุดโรงเรียน โดยเฉพาะ
นักเรียนมารับบริการของห้องสมุดมากขึ้นและสม่ำเสมอ
6. ได้เรียนรู้การใช้ห้องสมุดและหนังสือ โดยมีครูบรรณารักษ์สอนวิธีการใช้ห้องสมุดเพื่อ
ให้นักเรียนใช้ห้องสมุดได้อย่างถูกต้อง
7. ถือปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ ซึ่งผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานห้องสมุดทราบบทบาทและ
หน้าที่ของตนเอง จะทำให้ปฏิบัติหน้าที่ให้บังเกิดผลดีในการจัดและใช้ห้องสมุดเพื่อการเรียน การ
สอน และเอื้อประโยชน์ต่อผู้ใช้ห้องสมุดได้อย่างสูงสุด
การดำเนินงานห้องสมุดโรงเรียนจะประสบความสำเร็จจะต้องเตรียมตัวและเตรียมใจให้
พร้อมที่จะดำเนินงานห้องสมุดในด้านต่าง ๆ ดังนี้
2.1 งานบริหาร
การบริหารงานของห้องสมุด คือการดำเนินงานในห้องสมุดให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
ตั้งแต่การกำหนดแนวนโยบาย การวางแผน การจัดองค์การ การจัดเจ้าหน้าที่ การประสานงาน
การควบคุมรวมทั้งการเลือกหาหนังสือ จัดหาวัสดุอุปกรณ์มาไว้ในห้องสมุด เพื่อบริการแก่ผู้ใช้ให้
ดำเนินไปด้วยดีเป็นไปตามวัตถุประสงค์ และนโยบายที่ห้องสมุดกำหนดไว้
ห้องสมุดโรงเรียน อยู่ในความดูแลและรับผิดชอบโดยตรงของครูบรรณารักษ์ ซึ่งต้องมี
ความรู้ทางด้านบรรณารักษศาสตร์ โดยเฉพาะในเรื่องการใช้ห้องสมุดเพื่อบริการแก่ผู้ใช้ห้องสมุดแล้ว
ยังต้องรู้จักการจัดและบริหารงานห้องสมุดโรงเรียน ในการบริหารงานมีหลักการ ดังนี้ (วาณี
ฐาปนวงศ์ศานติ 2543 :20-25)
1. กำหนดนโยบาย ให้สอดคล้องกับความมุ่งหมาย หรือวัตถุประสงค์ของห้องสมุด
2. กำหนดโครงการ โดยคำนึงถึงระยะเวลา การเตรียมขยายงาน งบประมาณ และอัตรา
กำลัง
3. กำหนดแนวปฏิบัติงาน คือกำหนดรายละเอียดตามนโยบายและโครงการ ในเรื่องการ
ปฏิบัติงานเทคนิค การจัดงานบริการและกิจกรรม การแบ่งหน้าที่ในการปฏิบัติงาน และวิธีทำงาน
เพื่อให้บรรลุผล
4. ควบคุมดูแลเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ผู้บริหารเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการควบคุม
ช่วยสนับสนุนและให้คำแนะนำ
5. ติดตามและประเมินผลงาน โดยผู้บริหารและผู้รับผิดชอบงานห้องสมุดต้องทำอย่าง
19
สม่ำเสมอ ควรมีการติดตามและประเมินผลงานภาคเรียนละครั้ง และรายงานผลเป็นรายภาคเรียน
หรือปีละครั้ง โดยใช้แบบสอบถาม แบบสำรวจ และแบบประเมินผล
การบริหารงานห้องสมุดโรงเรียน เป็นงานเกี่ยวกับการจัดดำเนินงานและดูแลควบคุมให้
งานห้องสมุดเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และเกิดผลดีตามเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งจัดแบ่งเป็นงานย่อยได้
ดังนี้
1. จัดทำและเก็บรวบรวมสถิติในงานต่าง ๆ ของห้องสมุด ควรจัดเก็บทุกวันที่ห้องสมุด
เปิดทำการได้แก่ เก็บสถิติผู้เข้าใช้ห้องสมุด สถิติการยืมหนังสือ สถิติบริการตอบคำถาม สถิติการจัด
หมวดหมู่ และทำบัตรรายการ
2. การเขียนรายงาน ซึ่งทำได้ทั้งที่เป็นรายเดือนและรายปี
3. งานความร่วมมือระหว่างห้องสมุด โดยจัดให้มีกิจกรรมความร่วมมือกัน ได้แก่การยืม
ระหว่างห้องสมุด การแลกเปลี่ยนหนังสือและเอกสารต่าง ๆ การทำบรรณานุกรมสิ่งพิมพ์และ
โสตทัศนวัสดุ การจัดประชุมสัมมนา การแลกเปลี่ยนบรรณารักษ์
4. งานการประชาสัมพันธ์ การประชาสัมพันธ์กับผู้ที่อยู่ในวงการเดียวกันและการประชา
สัมพันธ์กับบุคคลทั่วไป ซึ่งมีหลายวิธี ได้แก่
4.1 สร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ใช้และเจ้าหน้าที่ห้องสมุด
4.2 จัดห้องสมุดให้สวยงามเป็นระเบียบเรียบร้อย สะดวกต่อการใช้
4.3 จัดให้บริการในการใช้และบริการอื่น ๆให้มากที่สุด
4.4 จัดทำสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ และข่าวสารของห้องสมุด
4.5 จัดบรรยาย ปาฐกถา หรืออภิปราย
4.6 จัดนิทรรศการ
4.7 จัดทำรายงานผลงานและเผยแพร่
4.8 จัดรายการทางวิทยุ หรือรายการกระจายเสียงของโรงเรียน
4.9 เชิญบุคคลต่าง ๆ มาเยี่ยมชมห้องสมุด
4.10 จัดทำรายชื่อบุคคล สมาคม หรือองค์กรที่ห้องสมุดควรติดต่อเพื่อเผยแพร่
ข่าวสาร
5. การจัดแผนงานในห้องสมุด เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานให้มีประสิทธิภาพ
การจัดแผนงานในห้องสมุดอาจแบ่งได้ดังนี้
5.1 แบ่งตามหน้าที่ของงาน ได้แก่ แผนกให้ยืม-คืนหนังสือ แผนกหนังสือ แผนก
โสตทัศนวัสดุ แผนกวารสาร แผนกบริการตอบคำถาม แผนกจัดหา แผนกบริการพิเศษ
5.2 แบ่งตามหมวดวิชา เช่น มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาขา
วิชาอื่น ๆ
20
5.3 แบ่งตามประเภทผู้ใช้ เช่น แผนกเด็กเล็ก แผนกคนตาบอด แผนกวัยรุ่น แผนก
ผู้ใหญ่ และแผนกอื่น ๆ
6. จัดทำคู่มือของห้องสมุด ได้แก่ คู่มือการใช้ห้องสมุด คู่มือปฏิบัติงานห้องสมุด และ
คู่มือปฏิบัติงานแผนกต่าง ๆ
7. จัดทำแผนปฏิบัติงาน โครงการและปฏิทินงานห้องสมุด ทุกปีการศึกษาในด้านต่าง ๆ
ได้แก่ อาคารสถานที่ ครุภัณฑ์และอุปกรณ์ห้องสมุด การจัดสรรงบประมาณที่ห้องสมุดได้รับ เป็นต้น
2.2 งานวัสดุอุปกรณ์และครุภัณฑ์
วัสดุอุปกรณ์และครุภัณฑ์เป็นจำเป็นสำหรับห้องสมุดในการจัดเก็บวัสดุสารนิเทศ
เพื่ออำนวยความสะดวกแกผู้ใช้ และการทำงานของเจ้าหน้าที่ ครุภัณฑ์ต้องมีคุณภาพ มีความคงทน
สะดวกต่อการเคลื่อนย้ายและการรักษาความสะอาด มีขนาดและสัดส่วนเหมาะสมกับการใช้งาน ซึ่ง
มีลักษณะดังนี้ (กรมวิชาการ 2543:10-12)
2.2.1 ประเภทและปริมาณ ครุภัณฑ์สำหรับเก็บวัสดุสารนิเทศตามเกณฑ์
มาตรฐานของห้องสมุด มีดังนี้
1) ชั้นหนังสือ เป็นลักษณะชั้นเปิด ปรับเลื่อนได้สูงพอประมาณ
ใช้บรรจุหนังสือ
2) ชั้นวารสาร เป็นลักษณะชั้นเปิด เพื่อให้เห็นชื่อวารสาร
3) ที่วางหนังสือพิมพ์ ใช้ไม้หนีบแล้ววางเรียงในช่องตามอักษรของชื่อ
หนังสือพิมพ์
4) ตู้จุลสาร ใส่แฟ้มจุลสารและกฤตภาค
5) ตู้บัตรรายการ มีลักษณะเป็นลิ้นชักเล็ก ๆ ภายในบรรจุบัตรรายการ
หนังสือ
6) ที่วางพจนานุกรม มีลักษณะเป็นแผ่นไม้เอนลาดบนแกนซึ่งหมุนได้
7) ป้ายจัดนิทรรศการ มีลักษณะเป็นป้ายแขวนข้างฝา หรือเป็นโต๊ะ
ควรจะมีขนาดได้สัดส่วนกับห้องสมุด วัสดุที่ใช้อาจเป็นไม้บุ
สักหลาดอ่อน กระดานชานอ้อย หรือเสื่อลำแพนซึ่งสามารถรับ
เข็มหมุด และเครื่องยิงกระดาษได้
2.2.2 การจัดครุภัณฑ์ของห้องสมุด ต้องคำนึงถึงความสะดวกแก่ผู้ใช้
การควบคุมดูแลของบรรณารักษ์ และต้องเป็นระเบียบสวยงาม ดังนี้
1) ชั้นหนังสือ จัดไว้ตามผนังห้องเพื่อมิให้กินเนื้อที่สำหรับนั่งอ่าน
2) ชั้นวารสารและหนังสือพิมพ์ ควรจัดไว้ในที่มองเห็นได้ง่ายไม่ไกลจาก
ทางเข้าออก
21
3) โต๊ะรับ-จ่ายหนังสือ ควรตั้งอยู่ใกล้ทางเข้าออก เพื่อสะดวกใน
การให้บริการยืม-คืน หนังสือ
4) ตู้บัตรรายการ ควรอยู่ในที่เห็นได้ง่ายจากทางเข้า
5) ป้ายนิทรรศการหรือตู้นิทรรศการ ควรอยู่ตรงข้ามกับทางเข้าออก
เพื่อให้ผู้ใช้ได้ทันทีที่เข้ามาใช้ห้องสมุด
6) ตู้จุลสาร กฤตภาค ควรอยู่ใกล้บรรณารักษ์
7) โต๊ะ-เก้าอี้สำหรับนั่งอ่านหนังสือ ควรอยู่ไม่ชิดกันเกินไปเพื่อเว้นไว้
สำหรับเดินได้สะดวก
2.3 งานอาคารสถานที่
สถานที่ของห้องสุมดต้องอำนวยความสะดวก และใช้เนื้อที่ให้เกิดประโยชน์
เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ เนื้อที่ต้องขยาย หรือปรับเปลี่ยนได้ตามสภาพของงานที่พัฒนา
ได้ตลอดเวลา อาคารสถานที่ห้องห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษา ได้กำหนดไว้ดังนี้ (วาณี ฐาปน
วงศ์ศานติ 2543:121)
1) อาคารสถานที่ ควรตั้งอยู่ในที่สะดวกแก่ผู้ใช้บริการ เป็นศูนย์กลางของโรงเรียน
และไกลจากเสียงรบกวน ถ้าอยู่ในอาคารไม่ควรเกินชั้น 2 ของอาคาร
2) การออกแบบควรได้รับความร่วมมือระหว่างสถาปนิก ศึกษานิเทศก์ฝ่าย
ห้องสมุด และคณะกรรมการห้องสมุด ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมความสะดวก
ความปลอดภัยต่อทรัพย์สินของห้องสมุด
3) . มีเนื้อที่ของห้องสมุด 1 ห้องเรียนสำหรับนักเรียนที่มีนักเรียนไม่เกิน 400 คน
และมีขนาดเพิ่มขึ้น 1 ห้องเรียนต่อจำนวนนักเรียนที่เพิ่มขึ้นทุก 200 คน
4) .ห้องสมุดควรมีแสงสว่างเพียงพอ และไม่เป็นอันตรายต่อสายตามีอากาศถ่ายเท
ได้สะดวก
2.4 งานเทคนิค
งานเทคนิค เป็นการดำเนินงานเกี่ยวกับการเตรียมสิ่งพิมพ์ และโสตทัศนวัสดุเพื่อ
อำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการในการศึกษาค้นคว้าแบ่งเป็น 7 งาน ดังนี้ (กรมวิชาการ 2543 :37-
40)
1) งานคัดเลือกและจัดหาวัสดุสารนิเทศ ห้องสมุดต้องคัดเลือกและจัดหาวัสดุที่มี
คุณค่าทันสมัย ตรงกับความต้องการและมีประโยชน์ต่อการเรียนการสอนมาก
ที่สุด โดยกำหนดนโยบายการคัดเลือกและจัดหาวัสดุให้สอดคล้องกับหลักสูตร
และตรงตามความต้องการของครู-อาจารย์ นักเรียนและชุมชน
22
2) งานทะเบียน เป็นงานที่ทำให้ทราบจำนวนวัสดุสารนิเทศประเภทต่าง ๆ ที่มีอยู่
ในห้องสมุด
3) งานจัดหมู่ เป็นการวิเคราะห์เนื้อหาของวัสดุสารนิเทศที่มี เพื่อกำหนดหมวดหมู่
ให้วัสดุสารนิเทศที่มีเนื้อหาคล้ายคลึงกันหรือประเภทเดียวกันมาอยู่ที่เดียวกัน
4) งานทำบัตรรายการ เป็นการจัดทำเครื่องมือช่วยค้นให้ผู้ใช้ทราบถึงวัสดุสารนิเทศ
ที่มีอยู่ในห้องสมุดและสถานที่จัดเก็บและสามารถเข้าถึงวัสดุสารนิเทศทีต้องการ
5) งานเตรียมวัสดุสารนิเทศ เป็นการประทับตรา ติดซอง เขียนสัน และตรวจสอบ
ความถูกต้อง ขั้นตอนสุดท้ายก่อนนำออกให้บริการ
6) งานซ่อมและระวังรักษาหนังสือ เป็นงานตรวจสภาพหนังสือ การเปิดหนังสือ
ใหม่ การซ่อมหนังสือที่ชำรุด การซ่อมแบบเข้าปกใหม่ ให้มีสภาพคงทนต่อ
การใช้งานรวมทั้งเย็บเล่มวารสาร
7) งานสำรวจหนังสือ เป็นงานที่ห้องสมุดต้องตรวจสอบว่า มีหนังสือชำรุดหรือ
สูญหายไปหรือไม่ เป็นจำนวนเท่าใด เพื่อดำเนินการซ่อมหรือจัดหามาทดแทน
2.5 งานบริการ
งานบริการห้องสมุด เป็นงานที่นำวัสดุสารนิเทศของห้องสมุด มาจัดเตรียมให้อยู่ใน
ที่ที่เหมาะสมและให้บริการ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่การศึกษาค้นคว้าหาความรู้ จึงมีการยืมหนังสือ
และให้ผู้ใช้ห้องสมุดใช้หนงัสือด้วยวิธีต่าง ๆ ให้มากที่สุด (แม้นมาส ชวลิต 2541 :19) งานบริการ
ห้องสมุดที่สำคัญมี ดังนี้ (ธาดาศักดิ์ วชิรปรีชาพงษ์ 2548 : 13)
2.5.1 บริการให้อ่านและค้นคว้าโดยเสรี ห้องสมุดจะจัดชั้นหนังสือ และวารสาร
แบบชั้นเปิดผู้ใช้สามารถเลือกและหยิบอ่านได้ตามความสนใจ
2.5.2 บริการจ่าย-รับหนังสือ ได้แก่การให้คนยืมหนังสือออกไปใช้นอกห้องสมุดและ
รับคืน มีการทำระเบียนการยืม ทำสถิติการยืม ทำหนังสือทวง ผู้ยืมเกินกำหนดวันส่ง
2.5.3 บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า เป็นการช่วยหาคำตอบเกี่ยวกับเรื่อง
ต่าง ๆ และการช่วยเหลือการค้นคว้า โดยเฉพาะเรื่องการเขียนรายงาน การช่วยเหลือผู้อ่านต้อง
ปฏิบัติดังนี้ (กรมวิชาการ 2543 :108)
1) กำหนดนโยบายเกี่ยวกับการให้บริการ
2) คำถามที่มีผู้ถาม ครูบรรณารักษ์ต้องตอบคำถาม สองอย่าง คือ ค้นหาคำตอบ
ให้ และแนะนำ เป็นรายบุคคลเฉพาะรายที่ต้องการ หรือสอนในชั้นพร้อมจัดปฐมนิเทศเพื่อให้
นักเรียนรู้จักใช้หนังสือและวัสดุสารนิเทศที่มีอยู่ในห้องสมุด
2.5.4 การแนะนำและช่วยเหลือในการอ่าน การช่วยเหลือการอ่านเป็นการให้
บริการด้านการศึกษา เพื่อใช้ให้ผู้ใช้รู้จักอ่านหนังสือที่เป็นประโยชน์ แนะให้นักเรียนรู้จัก
23
ใช้หนังสือและห้องสมุดให้ได้ประโยชน์อย่างกว้างขว้าง ซึ่งบรรณารักษ์ต้องจัดทำดังนี้
(กรมวิชาการ 2543 : 108)
1) แนะนำการใช้ห้องสมุด มีการปฐมนิเทศนักเรียนทุกชั้นหมุนเวียนกันไป
เพื่อให้รู้จักและเข้าใจถึงความมุ่งหมายของการจัดห้องสมุด การจัดหนังสือบนชั้น ประเภทของ
วัสดุสารนิเทศ
2) แนะนำการอ่านและการเลือกหนังสือ ที่เหมาะสมแก่นักเรียน เช่นแนะนำ
หนังสือที่น่าสนใจ แนะแนวการอ่านเป็นรายบุคคล โดยการสนทนากับนักเรียนเพื่อให้ทราบความ
ต้องการและความสนใจ แนะนำหนังสือที่นักเรียนอยากทราบ ซึ่งต้องเหมาะสมกับวัยของนักเรียน
3) จัดทำรายการหนังสือแจ้งให้ทราบถึงเรื่องที่น่าสนใจ
4) จัดกิจกรรมเพื่อให้เกิดความสนใจในการอ่าน
5) จัดให้นักเรียนทั้งชั้นมาใช้ห้องสมุดเพื่อการเรียนการสอนและการค้นคว้า
โดยให้ความร่วมมือกับครูผู้สอน
6) จัดทำป้ายประกาศ แจ้งเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับหนังสือ ข่าวสารน่ารู้ที่ได้
จัดขึ้น
2.5.5 บริการหนังสือจอง เป็นบริการหนังสือที่ครูหรืออาจารย์กำหนดให้นักเรียน
ในชั้นเรียนใช้อ่านค้นคว้าในรายวิชาใดวิชาหนึ่ง และแจ้งความประสงค์ให้บรรณารักษ์ทราบ หนังสือ
จองนี้แยกไว้ต่างหาก อาจไว้ ณ บริเวณรับ-จ่ายหรือมีชั้นพิเศษ ระยะการยืมจะสั้นกว่าหนังสือทั่วไป
2.5.6 บริการโสตทัศนวัสดุ คือ การจัดหาโสตทัศนวัสดุและเทคโนโลยีสารสนเทศ
มาไว้บริการแก่ผู้ใช้ ได้จัดวิธีให้บริการได้ 2 วิธี คือ (วาณี ฐาปนวงศ์ศานติ 2543 :149)
1) บริการภายในห้องสมุด ห้องสมุดต้องจัดสถานที่พร้อมอุปกรณ์ กำหนด
ระเบียบ ตารางการใช้ไม่ให้ซ้ำซ้อน เพื่อผู้ใช้จะได้ใช้บริการได้อย่างทั่วถึงและเลือกใช้ตามความ
ต้องการ
2) บริการยืมใช้นอกสถานที่ ห้องสมุดจัดบริการให้ยืมเฉพาะวัสดุประเภท
วีดีทัศน์ แถบเสียง กำหนดระเบียบการยืมไว้ให้ชัดเจน
2.5.7 บริการสืบค้นและเรียกใช้สารนิเทศแบบออนไลน์ ผู้ใช้บริการสามารถสืบค้น
และเรียกใช้สารนิเทศจากทุกมุมโลกได้อย่างรวดเร็ว ทันทีทันใด ในปริมาณเท่าใดก็ได้ ทำให้ได้
สารนิเทศที่ทันสมัย ทันเวลา และตรงกับความต้องการ สะดวก รวดเร็วกว่าการใช้ห้องสมุด
ตามปกติ โดยไม่จำกัดว่าผู้ใช้จะอยู่ใกล้หรือไกล
2.6 การจัดกิจกรรมของห้องสมุด
เป็นกิจกรรมที่ครูบรรณารักษ์และคณะกรรมห้องสมุดจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการใช้ห้องสมุด
24
ในฐานะที่ห้องสมุดเป็นแหล่งความรู้ที่สนับสนุนการเรียนการสอนทั้งในหลักสูตรและนอกหลักสูตร
ดังนั้นในการจัดกิจกรรมแต่ละครั้ง บรรณารักษ์ต้องคำนึงถึง วัตถุประสงค์ในการจัด จัดเพื่อใคร
จัดอะไร จัดเมื่อใดและการเตรียมตัวในการจัดกิจกรรม มีดังนี้ (วาณี ฐาปนวงศ์ศานติ 2541 : 5-7)
1. วัตถุประสงค์ในการจัด บรรณารักษ์ต้องกำหนดวัตถุประสงค์ให้แน่นอนหรือเขียน
เป็นโครงการก่อนการจัดกิจกรรมทุกครั้ง เช่น เพื่อให้รักการอ่าน เพื่อให้ใช้ห้องสมุดเป็น เพื่อให้
รู้จักวิธีการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
2. จัดเพื่อใคร การจัดกิจกรรมของห้องสมุดโรงเรียน บรรณารักษ์ต้องคำนึงถึง
ประโยชน์ที่นักเรียนจะได้รับ การกำหนดผู้ได้รับประโยชน์จากกิจกรรมจะช่วยให้กิจกรรมเด่นชัดขึ้น
3. จัดอะไร ในการจัดกิจกรรมบรรณารักษ์ต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับความสนใจ
และวัตถุประสงค์ของผู้ร่วมกิจกรรมแต่ละครั้ง เช่น ถ้าต้องการให้เด็กสนใจการอ่าน ก็ควรจัด
กิจกรรมเล่านิทานสำหรับเด็กหรือกิจกรรมการเล่าเรื่องหนังสือ
4. จัดเมื่อไร เวลาในการจัดกิจกรรมต้องกำหนดเวลาในการจัดให้เหมาะสม ไม่ควร
จัดให้ตรงกับเหตุการณ์ที่สำคัญกว่า เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรม จึงจะทำให้การจัด
กิจกรรมของห้องสมุดบรรลุวัตถุประสงค์
5. การเตรียมตัวในการจัดกิจกรรม บรรณารักษ์ต้องเตรียมวางแผนในการกำหนด
กิจกรรม และซักซ้อมเพื่อให้งานดำเนินไปอย่างราบรื่นและประสบผลสำเร็จโดยพิจารณาถึงกิจกรรม
วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ระยะเวลา วิธีการและการประเมินกิจกรรม ซึ่งมีตัวอย่างดังนี้
1) การเล่านิทาน
2) การแสดงหุ่น
3) การแสดงละคร
4) การเล่าเรื่องจากหนังสือ
5) การอ่านหนังสือให้ฟัง
6) การโต้วาที
7) การจัดนิทรรศการ
8) การประกวดคำขวัญ
9) การเขียนเรียงความ
10) การประกวดการเล่านิทาน
11) การประกวดวาดภาพระบายสี
2.7 บทบาทและหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องกับงานห้องสมุด
การดำเนินงานห้องสมุดโรงเรียนมีผู้เกี่ยวข้องกับงานห้องสมุดทั้งในระดับผู้บริหารและ
25
ผู้ปฏิบัติ ซึ่งมีบทบาทและหน้าที่ที่จะให้ความสำคัญสนับสนุนร่วมมือช่วยเหลือและดำเนินการให้งาน
ห้องสมุดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้ (กรมวิชาการ 2543 :187-190)
1. ผู้บริหารระดับสูง เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการให้การส่งเสริมและสนับสนุน
ห้องสมุดดังนี้
1.1 กำหนดนโยบายเกี่ยวกับงานห้องสมุด
1.2 ให้การสนับสนุนด้านการจัดสรรเงินงบประมาณแก่ห้องสมุด
1.3 พิจารณาจัดสรรอัตราตำแหน่งบรรณารักษ์ให้โรงเรียนตามความเหมาะสม
1.4 ให้กำลังใจและตรวจเยี่ยมผู้ปฏิบัติงานในห้องสมุด
1.5 รับทราบและพิจารณาแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินงาน
2. ผู้บริหารโรงเรียนเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการใช้
ห้องสมุดเพื่อการเรียนการสอน ตลอดจนให้การสนับสนุน ร่วมมือ และช่วยเหลืองานห้องสมุดดังนี้
2.1 ให้ความสำคัญต่อห้องสมุดเพื่อการพัฒนาการเรียนการสอน
2.2 ให้ความสนับสนุนด้านการเงินและกำลังคน
2.3 เข้าใจบทบาทของห้องสมุด และให้กำลังใจแก่บรรณารักษ์ หรือครูที่ทำหน้าที่
บรรณารักษ์ในการปฏิบัติงานด้วยความจริงใจ ซื่อตรงและยุติธรรม
2.4 ส่งเสริมให้บรรณารักษ์และครูบรรณารักษ์ หรือครูที่ทำหน้าที่บรรณารักษ์เข้า
รับการอบรม ประชุม สัมมนา และศึกษาต่อในสาขาวิชาของตนเพื่อทราบความก้าวหน้าใหม่ ๆ ใน
วงการบรรณารักษ์ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการปฏิบัติงานระหว่างเพื่อนครูที่ทำหน้าที่
บรรณารักษ์ด้วยกัน
2.5 ส่งเสริมให้มีการเรียนการสอนโดยการใช้ห้องสมุดอย่างสม่ำเสมอ
2.6 เป็นผู้ประสานสัมพันธ์ระหว่างครูผู้สอนกับบรรณารักษ์
2.7 เปิดโอกาสให้บรรณารักษ์ หรือครูทำหน้าที่บรรณารักษ์ในการปฏิบัติงาน
3. บรรณารักษ์ หรือครูที่ทำหน้าที่บรรณารักษ์ คือผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบห้องสมุด
โรงเรียนเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการดำเนินงานห้องสมุดให้ประสบความสำเร็จในห้องสมุดเพื่อให้
สะดวกแก่ผู้ใช้บริการ บรรณารักษ์หรือครูที่ทำหน้าที่บรรณารักษ์มีหน้าที่ ดังนี้
3.1 วางแผนและดำเนินงานห้องสมุดให้สอดคล้องกับนโยบาย และวัตถุประสงค์
ของสถานศึกษา
3.2 เลือกและจัดหาหนังสือ วารสาร นิตยสาร และหนังสือพิมพ์เข้าห้องสมุด
3.3 เลือกและจัดหาโสตทัศนวัสดุต่าง ๆ ที่ใช้เป็นอุปกรณ์การศึกษา
3.4 ทำงานเทคนิคต่าง ๆ เช่น จัดหมวดหมู่หนังสือ ทำบัตรรายการ จัดหนังสือ
26
เข้าชั้น ทำกฤตภาค
3.5 ตอบคำถามและช่วยค้นคว้าหนังสือ
3.6 บริการข่าวสารและบทความทางวิชาการที่ทันสมัย ทันเหตุการณ์
3.7 สอนวิธีใช้ห้องสมุด
3.8 จัดกิจกรรมเสริมการเรียนการสอน และกิจกรรมเสริมการอ่าน เช่น เล่านิทาน
เล่าเรื่องจากหนังสือ เชิดหุ่น จัดประกวดต่าง ๆ
3.9 แนะนำหนังสือใหม่
3.10 บริการให้ยืมหนังสือและโสตทัศนวัสดุต่าง ๆใหม่
3.11 ประชาสัมพันธ์ห้องสมุด
3.12 บริการความรู้แก่ชุมชน
4. ครูผู้สอนรายวิชา หมายถึง ครูผู้สอนวิชาต่าง ๆ ในโรงเรียน ครูผู้สอนมีบทบาท
สำคัญอย่างมากต่อความสำเร็จของการดำเนินงานห้องสมุดเพื่อการเรียนการสอน ทั้งนี้เพราะเป็น
บุคลากรที่ใกล้ชิดกับนักเรียน มีโอกาสพบปะชักจูงให้นักเรียนเข้าและใช้ห้องสมุด เนื่องจากต้องเข้า
สอนอยู่เป็นประจำ สามารถจะพูดโน้มน้าวให้นักเรียนเห็นความสำคัญของห้องสมุด และนำหนังสือ
ไปใช้สอนในห้องเรียนด้วย
5. ศึกษานิเทศก์หรือนักวิชาการผู้รับผิดชอบงานห้องสมุดมีหน้าที่ ดังนี้
5.1 แนะนำเกี่ยวกับการจัดวางแผนและการดำเนินงานห้องสมุด
5.2 ประสานความเข้าใจระหว่างผู้บริหาร คณะครูและบรรณารักษ์หรือครูผู้ทำหน้า
ที่บรรณารักษ์
5.3 ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับห้องสมุดแก่ผู้บริหาร คณะครูและบรรณารักษ์
หรือครูผู้ทำหน้าที่บรรณารักษ์
5.4 จัดทำรายชื่อวัสดุสารนิเทศที่ควรจัดหาไว้ในห้องสมุด
5.5 ออกตรวจเยี่ยมชมห้องสมุดที่ได้รับรางวัลดีเด่น
5.6 จัดประชุม อบรม สัมมนาให้บรรณารักษ์ หรือครูผู้ทำหน้าที่บรรณารักษ์ให้มี
ความรู้ในสาขาวิชาชีพเพิ่มขึ้น และเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกีบการปฏิบัติงาน
ระหว่างเพื่อนบรรณารักษ์
5.7 สร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน
6. นักเรียนช่วยงานห้องสมุด เป็นบุคลากรอีกกลุ่มหนึ่งที่ปฏิบัติงานจริงในการแบ่งเบา
ภาระหน้าที่งานประจำของบรรณารักษ์ ซึ่งจะช่วยให้บรรณารักษ์มีเวลาทำงานอย่างอื่นได้มากขึ้น
7. ชุมชน หมายถึง บุคคลหรือหน่วยงานที่อยู่บริเวณรอบโรงเรียนในท้องถิ่นหรือ
ชุมชนซึ่งมีบทบาททั้งในการรับและการให้บริการดังนี้
27
7.1 เข้ามารับบริการจากห้องสมุดโรงเรียน
7.2 จัดอาสาสมัครมาช่วยบริการหนังสือในห้องสมุด
7.3 สนับสนุนเรื่องการเงิน จัดหาหนังสือหนังสือ หรือครุภัณฑ์ของห้องสมุด
การดำเนินงานห้องสมุดในกรณีที่โรงเรียนไม่สามารถจัดหาห้องเพื่อใช้เป็นห้องสมุดได้
ควรจัดหาหนังสือเพื่อให้นักเรียนศึกาาค้นคว้าไว้ที่มุมหนังสือหรือในห้องเรียน โดยพิจารณาจัดหา
หนังสือให้สอดคล้องกับหลักสูตรและที่สำคัญคือ ครูผู้สอนต้องปรับปรุงวิธีสอน โดยจัดการเรียน
การสอนที่เน้นกระบวนการ ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนรู้จักวิธีเรียนรู้ที่ทำให้จดจำได้นานและใช้ประโยชน์ใน
ชีวิตจริง ในขณะที่สภาพแวดล้อมของโรงเรียนยังไม่เอื้ออำนวยให้โรงเรียนสามารถจัดห้องสมุดเต็ม
รูปแบบได้ โรงเรียนสามารถแก้ปัญหาด้วยวิธีการนำหนังสือไปสู่นักเรียน และใช้สถานที่เท่าที่มีอยู่
ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
3. มาตรฐานห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษา
จารุวรรณ สินธุโสภณ (2541 :18) ได้ให้ความหมายของมาตรฐานห้องสมุดไว้ดังนี้
ข้อกำหนดที่เกี่ยวกับคุณภาพของห้องสมุด ใช้สำหรับปฏิบัติและประเมินในการให้บริการ อาจมี
ลักษณะเป็นแบบฉบับ ตัวอย่าง เพื่อจูงใจให้ปฏิบัติและช่วยตัดสินใจ
วาณี ฐาปนวงศ์ศานติ (2543 :13) ได้กล่าวไว้ว่า มาตรฐานห้องสมุด เป็นข้อกำหนด
ขั้นต่ำของปริมาณและคุณภาพของวัสดุหรือบริการต่าง ๆ โดยการสำรวจหรือทำการวิจัย แล้วนำมา
เปรียบเทียบเพื่อกำหนดเป็นมาตรฐาน
จากความหมายที่กล่าวข้างต้นพอสรุปได้ว่า มาตรฐานห้องสมุดโรงเรียน คือ ข้อกำหนด
ที่เกี่ยวกับคุณภาพของห้องสมุดเป็นข้อกำหนดขั้นต่ำของปริมาณและคุณภาพของวัสดุหรือบริการ
ต่าง ๆ ในการดำเนินงานเพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงห้องสมุดโรงเรียนให้ได้มาตรฐานเดียวกัน
รายละเอียดมาตรฐานห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษาแสดงไว้ในภาคผนวก
4. ห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร
โรงเรียนประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร มีทั้งหมด 431 โรง กระจายอยู่ใน 50 เขต
โรงเรียนทุกแห่งมีห้องสมุดในโรงเรียนและอยู่ภายใต้การบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียน โดยมี
สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานครเป็นหน่วยงานกลางทำหน้าที่ควบคุม ดูแลและประสานงานให้การ
ดำเนินงานด้านห้องสมุดโรงเรียนเป็นไปด้วยความเรียบร้อย (กรุงเทพมหานคร ม.ป.ป. : 8)
สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร ได้กำหนดนโยบายให้มีห้องสมุดตามโรงเรียนต่าง ๆ
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 (เยาวลักษณ์ สุขทัพภ์ 2525 :5) ห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษาสังกัด
กรุงเทพมหานครได้มีการพัฒนาในด้านต่างๆโดยทางสำนักการศึกษากรุงเทพมหานครได้จัดโครงการ
28
ห้องสมุดโรงเรียนมาตรฐาน ในปีงบประมาณ 2522-2524 ทางด้านปริมาณเพื่อให้ห้องสมุดโรงเรียน
มีมาตรฐานปีละ 140 แห่ง ในปี พ.ศ. 2524 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครจึงมีมาตรฐานทุก
โรงเรียน ส่วนเป้าหมายเชิงคุณภาพ ห้องสมุดทุกแห่งต้องเป็นแหล่งวิชาการสำหรับครูและนักเรียน
อย่างแท้จริงโดยมีวัสดุ อุปกรณ์ ที่ช่วยสนับสนุนและส่งเสริมให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ
ยิ่งขึ้น นักเรียนส่วนใหญ่รู้จักค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง มีนิสัยรักการอ่าน รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็น
ประโยชน์ แต่อุปสรรคที่สำคัญของโครงการนี้ คือโรงเรียนประถมศึกษาของกรุงเทพมหานครส่วน
ใหญ่ยังขาดครูบรรณารักษ์ที่มีความรู้ทางบรรณารักษ์ที่ทำหน้าที่จัดห้องสมุดให้มีประสิทธิภาพ
สำนักการศึกษาจึงได้ร่วมมือกับภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร เพื่อจัดอบรมครูบรรณารักษ์ให้กับโรงเรียนทุกแห่ง
มีการสำรวจสภาพของห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร
โดยวรพงศ์ พันธ์เพ็ชร เมื่อ ปี พ.ศ. 2532 พบว่า ห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษาสังกัด
กรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่ยังไม่ได้มาตรฐานเชิงคุณภาพเนื่องจากขาดแคลนในด้านต่าง ๆ เช่นวัสดุ
สิ่งพิมพ์ครุภัณฑ์ ขาดแคลนครูบรรณารักษ์และผู้ช่วยบรรณารักษ์ที่มีคุณวุฒิทางบรรณารักษศาสตร์
ขาดแคลนสถานที่เหมาะสมสำหรับจัดห้องสมุด (วรพงศ์ พันธ์เพ็ชร 2532 : บทคัดย่อ)
สำนักนโยบายและแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร (2534 : 3) ได้กำหนดกรอบนโยบายทาง
การศึกษาเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของ
กรุงเทพมหานคร โดยในแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2535-2539) ได้กำหนด
แนวนโยบายในการจัดการศึกษาระดับประถมศึกษาไว้ดังนี้
1. เร่งขยายปริมาณการศึกษา เพื่อให้เด็กทุกคนทีอายุอยู่ในเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับ
ได้เข้าเรียนจนจบหลักสูตรประถมศึกษา รวมทั้งเด็กในชุมชนแออัด และเด็กที่เคลื่อนย้ายตาม
ผู้ปกครอง
2. ปรับปรุงกฏหมายเกี่ยวกับอำนาจและการเกณฑ์เด็กในพื้นที่กรุงเทพมหานครเพื่อให้
กรุงเทพมหานครสามารถเกณฑ์เด็กเข้ารับการศึกษาได้ทั่วถึง
3. เร่งปรับปรุงคุณภาพการศึกษา และพัฒนากระบวนการเรียนการสอนโดยมุ่งเน้น
ทักษะกระบวนการให้ผู้เรียนมีความรู้และทักษะพื้นฐานในด้านการคิดวิเคราะห์ และสามารถนำ
เทคโนโลยีที่เหมาะสมไปใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ถูกต้อง
รวมทั้งมีความรู้และทักษะพื้นฐานทางวิชาการด้านอาชีพที่เหมาะสมกับสภาพ และความต้องการ
ของชุมชน
4. ส่งเสริมและสนันสนุนนักเรียนที่จบการศึกษาชั้นประถมศึกษารวมทั้งผู้ปกครองให้
เห็นความสำคัญของการศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาหรือการศึกษาด้านอาชีพ
5. ส่งเสริมให้สถานศึกษาประสานสัมพันธ์กับแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ ในการจัดการศึกษา
29
และมีบทบาทในการให้บริการวิชาการแก่ชุมชน
6. สนับสนุนการขยายโอกาสทางการศึกษาจาก 6 ปี เป็น 9 ปี โดยเปิดสอนตามความ
พร้อมและความต้องการของท้องถิ่น
แนวนโยบายที่เน้นให้นักเรียนมีการเรียนรู้ตลอดชีวิตและสามารถนำความรู้ความคิดที่ได้
ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสมข้างต้นนับเป็นแนวทางที่ทำให้ผู้บริหารโรงเรียนมีการ
สนับสนุนและส่งเสริมให้ห้องสมุดโรงเรียนมีสภาพที่ดี มีความพร้อมในการให้บริการแก่ครูและ
นักเรียน อันจะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายของแนวนโยบายที่กำหนดไว้
สรุปได้ว่า ห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานครได้มีการพัฒนาอยู่
ตลอดเวลาเพื่อให้ได้มาตรฐานเชิงคุณภาพและปริมาณ และมีการสนับสนุนให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับ
งานห้องสมุดได้ฝึกอบรมเพื่อนำความรู้และวิทยาการใหม่ๆ มาปรับปรุงห้องสมุด เพื่อสนองความ
ต้องในการจัดการเรียนการสอนในยุคสังคมแห่งการเรียนรู้ด้วยตนเอง
5. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
งานวิจัยในประเทศ
ณัฏฐิณี ประเทืองยุคันต์ (2535 : 197) ได้ทำการศึกษาเรื่อง “บทบาทของครูบรรณารักษ์
ในการพัฒนาห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดเชียงราย” การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและ
เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน และครูบรรณารักษ์ที่มีต่อบทบาทที่ปฏิบัติจริงและ
บทบาทที่คาดหวัง ในการพัฒนาห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดเชียงราย ผลการศึกษาพบว่า
ผู้บริหารโรงเรียนและครูบรรณารักษ์มีความเห็นตรงกันว่า จากงานห้องสมุด 8 ด้าน ครูบรรณารักษ์มี
บทบาทที่ปฏิบัติจริงในงาน 6 ด้าน นอกจากนี้ยังพบว่า ทั้งผู้บริหารโรงเรียน และครูบรรณารักษ์มี
ความความคาดหวังตรงกันว่า ครูบรรณารักษ์นอกจากจะต้องปฏิบัติงานห้องสมุดทุกด้านแล้วยังต้อง
ทำหน้าที่เป็นผู้บริหารงานห้องสมุดด้วย เนื่องจากงานบริหารมีความสำคัญที่สุดในการพัฒนา
ห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษา
สุนทรี โง้วธนะวัฒน์ (2536 : 92-93) ได้ทำการศึกษาเรื่อง “ขวัญในการปฏิบัติงานของครู
บรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียน ในสังกัดกรุงเทพมหานคร” ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริหารโรงเรียนควร
ปรับปรุงบทบาทของตนเอง ควรดูแลและให้ความสำคัญกับงานห้องสมุด ตลอดจนเอาใจใส่ในการ
ปฏิบัติงานของครูบรรณารักษ์ให้มากขึ้น เพราะในการดำเนินงานนั้นผู้บังคับบัญชาเป็นผู้ที่มีอิทธิพล
ต่อขวัญและกำลังใจของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาในองค์กรนอกจากนี้ผู้บริหารควรมีการพิจารณา
มอบหมายงานห้องสมุดให้แก่ครูที่มีความถนัด มีเจตคติที่ดีต่องานห้องสมุด และภาระงานสอนที่
เหมาะสม เพื่อก่อให้เกิดความพึงพอใจ ซึ่งจะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน ผลการศึกษายัง
ค้นพบอีกว่าความเป็นธรรมในเรื่องการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนของผู้บริหารควรเปิดใจให้กว้าง
30
ยอมรับข้อเสนอแนะที่ดี รวมทั้งผู้บริหารงานควรมอบหมายให้มีครูช่วยงานห้องสมุดอย่างจริงจัง
ส่วนด้านสภาพแวดล้อม พบว่า สถานที่ตั้งห้องสมุดควรได้รับการแก้ไขปรับปรุงเพราะประสิทธิภาพ
ในการทำงานย่อมขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานที่ดีและเหมาะสม ถ้าสภาพแวดล้อมใน
การปฏิบัติงานไม่ดี จะส่งผลให้ขวัญและกำลังใจของผู้ปฏิบัติงานต่ำได้
ประภาภรณ์ เทศประสิทธิ์ (2540 : 73-76) ได้ทำการศึกษาเรื่อง “การดำเนินงาน
ห้องสมุดโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี
ปีการศึกษา 2540 ” ผลการศึกษาพบว่า สภาพของห้องสมุดด้านอาคารสถานที่ไม่เหมาะสมเนื่องจาก
มีเนื้อที่น้อยกว่า 20 ตารางเมตร สถานที่ตั้งห้องสมุดไปใช้ได้สะดวก มีแสงสว่างเพียงพอ อากาศ
และบรรยากาศดี แต่มีเสียงรบกวน ด้านครุภัณฑ์ ห้องสมุดส่วนใหญ่มีโต๊ะ เก้าอี้สำหรับนั่งอ่าน มี
ชั้นวางวารสาร ตู้เก็บจุลสาร ตู้เก็บกฤตภาค ที่วางหนังสือพิมพ์ ตู้บัตรรายการ เครื่องพิมพ์ดีดและ
เครื่องคอมพิวเตอร์ ด้านหนังสือและสิ่งพิมพ์ ห้องสมุดมีหนังสือภาษาไทยเป็นส่วนมากแต่สภาพเก่า
ด้านบริการ เปิดบริการสัปดาห์ละ 5 วัน ด้านบุคลากร ส่วนใหญ่มีบรรณารักษ์ และนักเรียนช่วยงาน
ห้องสมุดโรงเรียน ส่วนปัญหาการดำเนินงานห้องสมุด ด้านอาคารสถานที่ ที่ตั้งห้องสมุดไม่เอื้อต่อ
การขยายตัว แสงสว่างไม่เพียงพอ ด้านวัสดุ หนังสือพิมพ์รับไม่ตรงกับความต้องการและไม่เพียงพอ
ด้านครุภัณฑ์ โต๊ะเก้าอี้ไม่เหมาะสมกับผู้ใช้ ด้านบุคลากร งบประมาณที่ได้รับในแต่ละปีไม่เพียงพอ
กับการดำเนินงานห้องสมุด ด้านบริการ ผู้ให้บริการไม่มีความรู้เรื่องการใช้ห้องสมุด และเวลาในการ
บริการมีน้อย หนังสือบนชั้นไม่มีการจัดหมวดหมู่
จิตพร ศรีสัมพันธ์ (2540 : 89-90) ได้ทำการศึกษาเรื่อง “สภาพการดำเนินงานห้องสมุด
โรงเรียนประถมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด” ผลการศึกษา
พบว่า สภาพการดำเนินงานห้องสมุดโรงเรียนหว้านใหญ่อยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำ
เพราะครูที่ทำหน้าที่บรรณารักษ์ไม่ได้จบบรรณารักษ์โดยตรง นอกจากนี้ยังต้องทำหน้าที่สอน
เช่นเดียวกับครูอื่น ๆ ทำให้มีเวลาจำกัดในการปฏิบัติงานห้องสมุด บุคลากรช่วยงานห้องสมุดมีน้อย
เนื่องจาก ผู้บริหารไม่ได้ให้ความสำคัญกับห้องสมุดเท่าที่ควรและไม่มีแผนการดำเนินงาน
ห้องสมุดอย่างชัดเจนทำให้ยากแก่การดำเนินงานห้องสมุดให้บรรลุตามจุดประสงค์ที่วางไว้
สุรเดช เวียงสิมา (2541 : 96-98) ได้ทำการศึกษาเรื่อง “การจัดมุมหนังสือและห้องสมุด
โรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด ตามมาตรฐานขั้นต่ำห้องสมุด
โรงเรียนประถมศึกษา พ.ศ. 2535” ผลการศึกษาพบว่า สภาพการจัดห้องสมุดตามมาตรฐานขั้นต่ำ
ห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษา พ.ศ. 2535 ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานทุกด้าน ด้านปัจจัย ครูทำหน้าที่
บรรณารักษ์มีเวลาปฏิบัติงานห้องสมุดน้อย ด้านการดำเนินงาน ครูทำหน้าที่บรรณารักษ์มอบหมาย
ให้นักเรียนช่วยงานห้องสมุด เนื่องจากได้มีการจัดการเรียนการสอนการใช้ห้องสมุดแก่นักเรียนอย่าง
เป็นทางการ
31
นรินทร์ นันทิพงศา (2541 : 56-63) ได้ทำการศึกษาเรื่อง “การศึกษาแนวทางการพัฒนา
คุณภาพห้องสมุดโรงเรียนในสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย” ผล
การศึกษาพบว่า ด้านบุคลากร ห้องสมุดโรงเรียนควรมี คณะกรรมการห้องสมุดโรงเรียน โดยมี
บทบาทหน้าที่ในการสนับสนุนงานห้องสมุดโรงเรียนที่ได้รับมอบหมาย ครูบรรณารักษ์ควรมีวุฒิ
ทางด้านบรรณารักษ์โดยตรง และมีเวลาทำงานในห้องสมุดไม่ต่ำกว่า 10 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ในแต่ละ
วันควรให้มีนักเรียนช่วยงาน 2-3 คน ด้านการเงินและงบประมาณ พบว่า ทางราชการควรจัดสรร
งบประมาณให้ห้องสมุดโรงเรียน ให้อยู่ในหมวดเงินอุดหนุนและตามจำนวนนักเรียนที่มีอยู่ในแต่ละ
โรงเรียนโดยคิดเฉลี่ยรายหัว ด้านอาคารสถานที่ พบว่า พื้นที่ สถานที่ตั้งของห้องสมุดโรงเรียนควร
เป็นสัดส่วน หรือเป็นอาคารเอกเทศตั้งอยู่ศูนย์กลาง ด้านการจัดการ การให้บริการและกิจกรรม
พบว่า ควรจัดกิจกรรมให้นักเรียนเข้าใช้ห้องสมุด มีการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี และจัดทำ
โครงการพัฒนาห้องสมุดและจัดทำสถิติข้อมูลต่าง ๆ ของห้องสมุด
จันสี พวงสุเกด (2544 : 125-127) ได้ทำการศึกษาเรื่อง “สภาพและปัญหาการดำเนินงาน
ห้องสมุดในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว” ผลการศึกษาพบว่า สภาพห้องสมุดใน
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในด้านการบริหาร จะมีการวางแผนหรือจัดทำโครงการ
ห้องสมุดประจำปี มีการประสานงบานกับฝ่ายอื่น ๆ มีการจัดทำรายงานและสถิติต่าง ๆ เกี่ยวกับ
ห้องสมุด บุคลากรห้องสมุดส่วนใหญ่ มีเจ้าหน้าที่ห้องสมุด 1 คน จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตร
ชั้นกลางเป็นส่วนใหญ่ ได้รับงบประมาณไม่เพียงพอ ทรัพยากรห้องสมุดส่วนใหญ่มีหนังสือไม่เกิน
5,000 เล่ม ส่วนใหญ่ไม่มีคุรุภัณฑ์ ลักษณะเป็นห้องหนึ่งในอาคารค่อนข้างแคบ ด้านงานเทคนิค ไม่
มีคอมพิวเตอร์จัดเก็บข้อมูล ไม่ได้เชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ต การจัดหมวดหมู่หนังสือใช้ระบบที่
จัดทำขึ้นเอง วัสดุสิ่งพิมพ์ได้มาจากการบริจาคและได้รับจากกระทรวงศึกษาธิการ ด้านงานบริการ
ห้องสมุดส่วนใหญ่มีผู้ใช้บริการน้อย ห้องสมุดโรงเรียนเปิดบริการในบางช่วงเวลาไม่ได้ ในด้าน
ปัญหาการดำเนินงานห้องสมุดโดยรวมมีปัญหาอยู่ในระดับกลาง โดยมีปัญหาด้านการบริหารและ
ด้านเทคนิคอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อจำแนกเป็นรายข้อพบว่า ปัญหาด้านการบริหาร ได้แก่ ผู้บริหาร
ห้องสมุดและบรรณารักษ์ไม่ได้รับการสนับสนุนให้มีโอกาสศึกษาและดูงานผู้ปฏิบัติงานหน้าที่
บรรณารักษ์ไม่มีความรู้ทางวิชาชีพ การใช้งบประมาณไม่สะดวก ไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ
และได้รับการจัดสรรงบประมาณไม่เพียงพอ โดยเฉพาะห้องสมุดโรงเรียนและห้องสมุดประชาชน
วัสดุตีพิมพ์และไม่ตีพิมพ์ ไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้ใช้ โสตทัศนูปกรณ์ไม่เพียงพอ ไม่มี
เครื่องมือสำหรับซ่อมหนังสือและตู้บัตรรายการ ห้องสมุดส่วนใหญ่มีเนื้อที่คับแคบ ไม่เป็นสัดส่วน
สำหรับปัญหางานด้านเทคนิค ได้แก่ ไม่ได้ทำบรรณานุกรมหนังสือใหม่ การพิมพ์บัตรรายการช้า
การเรียงบัตรรายการไม่เป็นระบบ และงานด้านบริการ ได้แก่ ไม่มีเครื่องมือช่วยค้น เช่น บัตรรายการ
ไม่มีการให้บริการจุลสารและวารสาร
32
ผิวพรรณ ป้อมอุ่นเรือน (2547 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง การจัดการห้องสมุด
โรงเรียนประถมศึกษาเพื่อสนองต่อการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในเขตพื้นที่การศึกษาสุราษฎร์ธานี
เขต 3 ผลการวิจัยพบว่า ด้านการบริหารห้องสมุด มีการจัดวัสดุสารสนเทศให้สนองความต้องการ
ของผู้เรียนในด้านข่าวสาร และมีการวางแผนให้นักเรียนช่วยงานห้องสมุด โดยให้ นักเรียนจัดเก็บ
รวบรวมข่าวสาระน่ารู้ที่น่าสนใจจากหนังสือพิมพ์หรือวารสาร โรงเรียนมีการจัดงบประมาณในการ
ดำเนินงานไม่เพียงพอ ด้านเทคนิค โรงเรียนจัดให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการประทับตราวัสดุสารนิเทศ
เพื่อสร้างการรับรู้ในสาธารณสมบัติแก่นักเรียนทางโรงเรียนไม่ได้จัดให้มีการลงทะเบียนหนังสือไว้
เป็นพิเศษสำหรับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านการบริการโรงเรียนมีการจัดหาวัสดุตีพิมพ์ มี
หนังสืออ้างอิงผู้ปฏิบัติหน้าที่ห้องสมุดไม่มีความรู้เรื่องห้องสมุดจึงไม่สามารถบริการได้ตรงกับความ
ต้องการของผู้ใช้บริการ
จากผลการวิจัยภายในประเทศที่กล่าวมานั้น สรุปได้ว่า ห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษา
ยังไม่ได้มาตรฐานในด้านชั้นหนังสือ ชั้นนิตยสาร แผ่นป้ายนิทรรศการ ตู้เก็บเอกสาร ตู้จุลสาร
ตู้บัตรรายการ รถเข็นหนังสือ ตู้เก็บอุปกรณ์การสอน ขาดหนังสือและวัสดุสิ่งพิมพ์ ขาดงบประมาณ
สนับสนุนในการจัดห้องสมุด ขาดบุคลากรทำหน้าที่บรรณารักษ์ ครูบรรณารักษ์ควรมีวุฒิทางด้าน
บรรณารักษ์ และขาดการส่งเสริมการฝึกอบรมทางวิชาการ ควรจัดกิจกรรมให้นักเรียนเข้าใช้ห้องสมุด
งานวิจัยในต่างประเทศ
นาโนไซด์ (Nwanosike 1989 : 326-A) ได้ศึกษาสภาพปัจจุบันของห้องสมุดโรงเรียนใน
โรงเรียนตัวอย่างเมืองแองโลโพน ประเทศแคนมารูน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านหนังสือที่จัดไว้บริการ
วารสาร โสตทัศนูปกรณ์ เครื่องอำนวยความสะดวกภายในห้องสมุด การเงินการจัดการและ
ผู้ใช้บริการ การเก็บข้อมูลใช้การสำรวจ การสัมภาษณ์ และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม ผลการศึกษา
พบว่า โรงเรียนในกลุ่มตัวอย่างขาดแคลนทรัพยากรห้องสมุดอย่างรุนแรง เช่น หนังสือ เอกสารอ้างอิง
วารสาร ตลอดจนสื่อโสตทัศนูปกรณ์ ไม่มีที่นั่งสำหรับอ่านหนังสือขาดแคลนอุปกรณ์ในการค้นคว้า
ขาดแคลนบุคลากรที่มีคุณภาพ มีส่วนน้อยที่มีเจ้าหน้าที่ประจำห้องสมุด แต่ไม่มีคุณวุฒิทางด้าน
บรรณารักษ์ ขาดแคลนงบประมาณที่จะจัดซื้อสิ่งของที่จำเป็นสำหรับใช้บริการในห้องสมุด
โนลาน (Nolan 1990 : 2285-A) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การศึกษาเปรียบเทียบสองวิธีเกี่ยวกับ
การใช้ห้องสมุดของนักเรียนระดับประถมศึกษา ผลการวิจัยพบว่า
1. วิธีที่ 1 ฝึกทักษะการใช้ห้องสมุดให้แก่นักเรียน โดยใช้เวลา 2-3 สัปดาห์ การใช้
ห้องสมุดของกลุ่มนี้ส่วนมากใช้วัสดุห้องสมุดประเภทที่ให้ความบันเทิงมากกว่าวัสดุประเภทอื่นๆ
นักเรียนกลุ่มนี้มีความแตกต่างกันคือ มีทั้งเข้าใช้และไม่เข้าใช้ห้องสมุด
2. วิธีที่ 2 ฝึกทักษะการใช้ห้องสมุดมากขึ้น ทำให้นักเรียนมีความชำนาญมากขึ้นในการ
33
ใช้ห้องสมุด ซึ่งส่งผลที่ดีต่อการเรียนการสอนในชั้นเรียน มีการเข้าใช้ห้องสมุดบ่อยขึ้นในลักษณะ
กลุ่มย่อย
เซ็ง (Tzeng 1990 : 3545-A) ได้ทำการศึกษาเรื่อง “เจตคติและการรับรู้เกี่ยวกับศูนย์สื่อ
ห้องสมุดโรงเรียนระดับประถมศึกษาในไต้หวัน”โดยการสัมภาษณ์และการสำรวจนักเรียน
ประถมศึกษา ครูใหญ่ เจ้าหน้าที่ห้องสมุดและครูฝึกสอน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนมาก
แสดงความไม่พึงพอใจเกี่ยวกับสภาพการจัดห้องสมุด หนังสือ วารสาร การบริการหนังสือยืม
ตลอดจนบุคลากรที่รับผิดชอบงานในห้องสมุดที่ต้องสอนปกติ ซึ่งส่วนมากไม่ได้รับการฝึกอบรมการ
เป็นบรรณารักษ์ ผู้ศึกษาสรุปว่า ไต้หวันยังไม่เป็นความสำคัญของการจัดตั้งห้องสมุดโรงเรียนและ
การมีบรรณารักษ์โดยเฉพาะ ครูฝึกสอนควรได้รับการฝึกอบรมงานห้องสมุด เพื่อช่วยเหลือนักเรียน
ตลอดจนครูฝึกสอน ให้สามารถใช้ห้องสมุดอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ควรมีการปรับปรุงเกณฑ์
มาตรฐานห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษาให้ทันสมัย จัดโปรแกรมการฝึกอบรมและให้ใบรับรอง
สำหรับบุคคลที่ต้องการทำงานเป็นบรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียน และเจ้าหน้าที่ห้องสมุดโรงเรียน
จะต้องติดต่อประสานงานกับผู้ใช้ห้องสมุดให้มากยิ่งขึ้น
ชอร์ (Shaw 1991: 26) ได้ทำการศึกษาเรื่อง “ห้องสมุดโรงเรียนในประเทศภูฐาน” ผล
การศึกษาพบว่า ในภูฐานเพิ่งจะมีห้องสมุดโรงเรียนขึ้นเมื่อ 5 ปี ที่ผ่านมานี้เอง และผู้ที่ทำหน้าที่
บรรณารักษ์ก็คือ ผู้สอนในโรงเรียนคนใดคนหนึ่ง ครูบรรณารักษ์บางคนได้รับการอบรมเกี่ยวกับการ
ปฏิบัติงานห้องสมุดมาแล้ว จากครูอาสาสมัครแคนาดา ครูบรรณารักษ์เหล่านี้สามารถจัดดำเนินการ
ห้องสมุดได้ถูกต้องตามหลักวิชา แต่ยังมีครูบรรณารักษ์อีกส่วนหนึ่งที่ไม่ผ่านการอบรม ซึ่งครูเหล่านี้
ได้จัดห้องสมุดไปตามความคิดของตน ซึ่งไม่ตรงกับหลักวิชาอย่างใด ด้านบุคลากรก็มีเพียงครู
บรรณารักษ์ปฏิบัติงานเพียงคนเดียว ต้องอาศัยรับสมัครอาสาสมัครนักเรียน อาสาสมัครช่วยงาน
มาทำงานในช่วงนักเรียนมีเวลาว่าง การขาดแคลนบุคลากรในห้องสมุดทำให้เกิดปัญหาในชั่วโมงที่
ครูผู้สอน พานักเรียนเข้ามาใช้ห้องสมุด ซึ่งครูบรรณารักษ์ไม่สามารถดูแลได้ทั่วถึง ครูผู้สอนเองที่ไม่
เอาใจใส่ดูแลนักเรียนของตน ทำให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพยากรของห้องสมุดในบางครั้ง
เบิรกส์ (Burks. 1994 : 2286-A) ได้ทำการศึกษาเรื่อง “ธรรมชาติและปริมาณการใช้
ห้องสมุดโรงเรียนมัธยมศึกษา” และศึกษาคุณลักษณะของผู้ใช้และผู้ไม่ใช้ห้องสมุดในโรงเรียน
มัธยมศึกษา 3 โรง ในบริเวณทางเหนือของรัฐเทกซัล ผลการศึกษาพบว่า ครูเป็นผู้มีบทบาทมากที่สุด
ในการทำให้นักเรียนได้ใช้สิ่งอำนวยความสะดวกและทรัพยากรของห้องสมุด ครูส่วนมากไม่รู้ถึง
คุณค่าของวัสดุต่าง ๆ ในห้องสมุดที่สามารถนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน นอกจากนั้นครูและ
ครูบรรณารักษ์จะต้องมีการติดต่อประสานงานซึ่งกันและกันให้มากยิ่งขึ้น บรรณารักษ์ต้องดำเนินการ
34
เพื่อให้บุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนเห็นคุณค่าของการใช้ห้องสมุด และมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่
จะต้องกระตุ้นให้นักการศึกษามีความคุ้นเคยกับวัสดุต่าง ๆ ในห้องสมุด ตลอดจนมีทักษะเพียงพอใน
การช่วยเหลือนักเรียนให้สามารถใช้วัสดุสารนิเทศต่าง ๆ ของห้องสมุดโรงเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
ซิงห์ (Sing. 1994 : 2369-A) ได้ทำการศึกษาเรื่อง “เปรียบเทียบห้องสมุดโรงเรียน
ในประเทศต่าง ๆ ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้านเศรษฐกิจกับตัวแปรด้านห้องสมุดโรงเรียน
ตลอดจนปัจจัยที่ส่งเสริมและขัดขว้างการเติบโตก้าวหน้าของห้องสมุดโรงเรียน” จากการสำรวจ
ผู้เชี่ยวชาญด้านห้องสมุดโรงเรียนจำนวน 30 คน 29 ประเทศ ผลการศึกษาพบว่ามีดรรชนี 5 ประการ
ที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง คือ การจัดให้มีห้องสมุดโรงเรียน บุคลากร เครื่องอำนวยความสะดวก วัสดุ
และอุปกรณ์ และบทบาทของห้องสมุดโรงเรียนและครูบรรณารักษ์ จากนั้นใช้ดรรชนีดังกล่าวในการ
สำรวจสถานภาพของห้องสมุดโรงเรียนในประเทศต่าง ๆ จำนวน 64 ประเทศ ผลการศึกษาพบว่า
ในประเทศส่วนมากมีห้องสมุดกลางของโรงเรียน ห้องสมุดถูกมองว่าไม่ใช่บริการที่สำคัญและจำเป็น
เมื่อเปรียบเทียบกับด้านอื่น ๆ ห้องสมุดโรงเรียนส่วนมากยังไม่มีการกำหนดหน้าที่ชัดเจนของบุคลากร
ห้องสมุดนอกเหนือจากหน้าที่ที่บริการให้ใช้-ยืมวัสดุห้องสมุดเท่านั้น ส่วนมาก มีวัสดุตีพิมพ์
โสตทัศนูปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก คอมพิวเตอร์ และเครื่องมือสื่อสารมีความสัมพันธ์เชิงบวก
ระหว่างการมีห้องสมุดในโรงเรียนประถมศึกษากับผลผลิตรวมของชาติแต่มีความสัมพันธ์เชิงลบ
กับจำนวนร้อยละของประชากรที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี ปัจจัยที่ส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าของห้องสมุด
ได้แก่ การมีแหล่งเงินทุนสนับสนุน บทบาทขององค์กรกลางของชาติ การศึกษาและการเข้ารับการ
อบรมของครูบรรณารักษ์ ส่วนปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการเจริญก้าวหน้าของห้องสมุด คือ ไม่มี
งบประมาณสนับสนุน
แมกคาทิ(McCarthy 1997 : 205-213) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง “สภาพห้องสมุดโรงเรียนที่มี
มาตรฐานห้องสมุดเป็นตัวกำหนด ของห้องสมุดในรัฐนิวอิงแลนด์” จำนวน 48 โรงเรียนเพื่อศึกษา
สภาพที่เป็นจริงและอุปสรรคการดำเนินงานห้องสมุดและศึกษาผลกระทบของมาตรฐานห้องสมุดที่มี
ต่อสภาพที่เป็นจริงของห้องสมุด ผลการศึกษาพบว่า การดำเนินงานห้องสมุดส่วนใหญ่นั้นขาดการ
สนับสนุนด้านงบประมาณ แหล่งทรัพยากรเทคโนโลยีและบรรณารักษ์ขาดความร่วมมือและขาดการ
สนับสนุนจากทางราชการ
จากผลการวิจัยในต่างประเทศที่กล่าวมานั้น สรุปได้ว่า สภาพของห้องสมุดโรงเรียนยัง
ขาดทรัพยากรห้องสมุด ครุภัณฑ์มีน้อยไม่เพียงพอต่อการให้บริการ ห้องสมุดส่วนใหญ่มีเนื้อที่คับแคบ
ห้องสมุดได้รับงบประมาณน้อย เจ้าหน้าที่ทำงานห้องสมุดมีน้อยซึ่งไม่ได้มีวุฒิทางด้านบรรณารักษ์
บรรณารักษ์บางส่วนไม่ได้รับการฝึกอบรมจึงจัดห้องสมุดตามความคิดของตนซึ่งไม่ตรงกับหลักวิชา
บรรณารักษ์ที่มีคุณวุฒิทางด้านบรรณารักษศาสตร์จะปฏิบัติงานเฉพาะในโรงเรียนขนาดใหญ่
บรรณารักษ์ที่ไม่มีวุฒิจะปฏิบัติงานได้ไม่เต็มที่
บทที่ 3
วิธีดำเนินการวิจัย
การวิจัยเรื่อง “ห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานครที่พึงประสงค์ตาม
แนวคิดของผู้บริหารโรงเรียนและบรรณารักษ์” เพื่อกำหนดลักษณะที่พึงประสงค์ของห้องสมุด
โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร ตามแนวคิดของผู้บริหารโรงเรียนและบรรณารักษ์
ดังมีรายละเอียดในการดำเนินการวิจัยดังต่อไปนี้
1. ศึกษาสภาพและความต้องการลักษณะของห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษาที่พึง
ประสงค์ตามแนวคิดของผู้บริหารโรงเรียนและบรรณารักษ์
2. สรุปรูปแบบที่พึงประสงค์จาคความต้องการลักษณะของห้องสมุดโรงเรียนประถม
ศึกษาที่พึงประสงค์ตามแนวคิดของผู้บริหารโรงเรียนและบรรณารักษ์
3. ศึกษาความเป็นไปได้ของลักษณะที่พึงประสงค์ที่วิเคราะห์ได้ในข้อ 2 จากแนวคิดของ
ผู้ทรงคุณวุฒิ
ประกอบด้วยรายละเอียด ดังนี้
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1. ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 2 กลุ่ม ได้แก่
1.1 ผู้บริหารโรงเรียนและบรรณารักษ์ โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร
จำนวน 431 โรงเรียน เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ 170 โรงเรียน เป็นโรงเรียนขนาดกลาง 152 โรงเรียน
เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก 109 โรงเรียน
1.2 ผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วย นักวิชาการ ศึกษานิเทศก์ สังกัดสำนักการศึกษา
กรุงเทพมหานคร และศึกษาธิการเขต จำนวน 10 คน (ดังรายการในภาคผนวก)
2. กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย
2.1 ผู้อำนวยการโรงเรียนหรืออาจารย์ใหญ่ จำนวน 104 โรงเรียน เป็นโรงเรียน
ขนาดใหญ่ 41 โรงเรียน โรงเรียนขนาดกลาง 37 โรงเรียน โรงเรียนขนาดเล็ก 26 โรงเรียน
2.2 ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการหรือผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ จำนวน 104 โรงเรียน
เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ 41 โรงเรียน โรงเรียนขนาดกลาง 37 โรงเรียน โรงเรียนขนาดเล็ก
26 โรงเรียน
2.3 บรรณารักษ์ จำนวน 104 โรงเรียน เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ 41 โรงเรียน
36
โรงเรียนขนาดกลาง 37 โรงเรียน โรงเรียนขนาดเล็ก 26 โรงเรียนจากโรงเรียนประถมศึกษาในสังกัด
กรุงเทพมหานครที่ปฏิบัติงาน ในปีการศึกษา 2548 ใช้การเลือกสุ่มตัวอย่างง่าย (Simple Random
Sampling) มีขั้นตอนดังนี้
คำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากประชากร โดยใช้สูตรของยามาเน(Yamane)
(อ้างถึงในอุทุมพร จามรมาน,2530 : 40) จากจำนวนประชากร 431 โรงเรียน เมื่อกำหนด
ความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้เท่ากับ 0.05 ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 104 โรงเรียน จากสูตรของ
Talo Yamane ดังสูตร
n = N
1+ Ne2
เมื่อ n = ขนาดของตัวอย่าง
N = ขนาดของประชากร
e = ความคลาดเคลื่อนเท่าที่จะยอมรับได้ (0.05)
ตารางที่ 1 กลุ่มตัวอย่างของผู้บริหาร และบรรณารักษ์โรงเรียนประถมศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานคร
จำแนกตามขนาดของโรงเรียน
ผู้อำนวยการ
หรืออาจารย์ใหญ่
ขนาด ผู้ช่วยฝ่ายวิชาการ บรรณารักษ์
ของ
โรงเรียน ประชากร กลุ่มตัวอย่าง ประชากร กลุ่มตัวอย่าง ประชากร กลุ่มตัวอย่าง
ใหญ่
กลาง
เล็ก
170
152
109
41
37
26
170
152
109
41
37
26
170
152
109
41
37
26
รวม 431 104 431 104 431 104
312
2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบสอบถามลักษณะของห้องสมุดโรงเรียน
ประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานครที่พึงประสงค์ตามแนวคิดของผู้บริหารโรงเรียนและบรรณารักษ์
ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นตามลำดับขั้นตอนดังนี้
37
1. ศึกษาวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษา
เพื่อกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย
2. สร้างแบบสอบถาม ประกอบด้วยแบบสอบถาม 2 ชุด ดังนี้
2.1 แบบสอบถามชุดที่ 1
1) เป็นแบบสอบถาม สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม
2) เป็นแบบสอบถามสภาพและความต้องการลักษณะของห้องสมุดโรงเรียน
2.2 แบบสอบถามชุดที่ 2 เป็นแบบสอบถามความเป็นไปได้รูปแบบของห้องสมุด
โรงเรียนที่พึงประสงค์จากความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ
3. วิธีการสร้างเครื่องมือ
ลักษณะของเนื้อหาของแบบสอบถามที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลแบ่งเนื้อหาออกเป็น
ดังนี้
3.1 แบบสอบถามชุดที่ 1 ประกอบด้วย
ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ประกอบด้วย
เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน ขนาดของโรงเรียน เป็นแบบสอบถามปลาย
ปิด จำนวน 6 ข้อ
ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามสภาพและความต้องการลักษณะของห้องสมุด
โรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดของผู้บริหารโรงเรียนและบรรณารักษ์ แบบสอบถามสร้างโดย
ศึกษาข้อมูลด้านงานบริหาร งานวัสดุอุปกรณ์และครุภัณฑ์ งานอาคารสถานที่ งานเทคนิค
งานบริการ การจัดกิจกรรมของห้องสมุด และบทบาทและหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องกับงานห้องสมุด
มีลักษณะเป็นแบบสอบถามมาตราประมาณค่า จำนวน 58 ข้อ
3.2 แบบสอบถามชุดที่ 2 ประกอบด้วย
ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ประกอบด้วย
เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน ขนาดของโรงเรียน เป็นแบบสอบถามปลาย
ปิด จำนวน 6 ข้อ
ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามความเป็นไปได้ลักษณะที่พึงประสงค์ของห้องสมุด
โรงเรียนประถมศึกษา ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากข้อมูลที่วิเคราะห์ได้จากแบบสอบถามชุดที่ 1 ซึ่ง
ผู้บริหาร โรงเรียนและบรรณารักษ์ ที่ตอบแบบสอบได้ที่เป็นมาตราส่วนประมาณค่าได้ที่ระดับ
มาก และมากที่สุด จำนวน 48 ข้อ ในด้านการบริหาร งานวัสดุอุปกรณ์และครุภัณฑ์ งานอาคาร
สถานที่ งานเทคนิค งานบริการ การจัดกิจกรรมของห้องสมุด และบทบาทและหน้าที่ของ
ผู้เกี่ยวข้องกับงานห้องสมุด
38
ผู้วิจัยได้กำหนดเกณฑ์ในการให้ระดับของ สภาพ/ความต้องการ/ความเป็นไปได้ แต่ละ
รายการในแบบสอบถาม แบ่งออกเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ตามแบบลิเคอร์ท โดย
แบ่งเป็นระดับแต่ละข้อคือ
สภาพ/ความต้องการ/มีความเป็นไปได้มากที่สุด ให้ระดับ 5
สภาพ/ความต้องการ/มีความเป็นไปได้มาก ให้ระดับ 4
สภาพ/ความต้องการ/มีความเป็นไปได้ปานกลาง ให้ระดับ 3
สภาพ/ความต้องการ/มีความเป็นไปได้น้อย ให้ระดับ 2
สภาพ/ความต้องการ/มีความเป็นไปได้น้อยที่สุด ให้ระดับ 1
3.3 การวิเคราะห์คุณภาพของเครื่องมือ จัดทำโดย
3.3.1 นำแบบสอบถาม ชุดที่ 1 ไปให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน เพื่อทำการตรวจ
สอบความเที่ยงตรง และความสมบูรณ์ของข้อคำถาม
3.3.2 ปรับปรุงแก้ไขแบบสอบถามตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ แล้วนำ
แบบสอบถามไปทดลองใช้กับผู้บริหารโรงเรียนและบรรณารักษ์ โรงเรียนประถมศึกษา สังกัด
กรุงเทพมหานคร ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง อย่างละ จำนวน 10 คน เพื่อตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ
แล้วนำมาหาความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม ในรูปสัมประสิทธ์แอลฟา ของครอนบาค โดยใช้
โปรแกรม SPSS ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามจากค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า เท่ากับ 0.93
3.3.3 นำแบบสอบถามที่มีคุณภาพดีแล้วนำไปเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง
3. การเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บรวบรวมข้อมูลดำเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. ส่งแบบสอบถามชุดที่ 1 พร้อมหนังสือขอความร่วมจากมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จ
เจ้าพระยา ไปยังผู้บริหารโรงเรียน และบรรณารักษ์ ของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร
ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง
2. นำแบบสอบถามชุดที่ 2 ไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิตอบแบบสอบถามความเป็นไปได้ลักษณะที่
พึงประสงค์ของห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 10 คน
3. ตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบสอบถามที่ได้รับคืน จำนวน 322 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ
100 ได้แบบสอบถามที่ถูกต้องและสมบูรณ์ทั้งหมด
39
4. การวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้แบ่งออกเป็น 5 ตอน คือ
ตอนที่ 1 วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์โดยใช้วิธีแจก
แจงความถี่และหาค่าร้อยละ จากนั้นนำเสนอในรูปตารางประกอบคำอธิบาย
ตอนที่ 2 วิเคราะห์สภาพและความต้องการลักษณะของห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษาตาม
แนวคิดของผู้บริหารโรงเรียนและบรรณารักษ์ โดยใช้ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน เป็น
รายข้อและสรุปรวม แยกตามขนาดของโรงเรียน โดยพิจารณาจากค่าเฉลี่ยตามเกณฑ์ของประคอง
กรรณสูต (2540 : 125 ) ดังนี้
ค่าเฉลี่ย 4.50 - 5.00 หมายถึง สภาพของห้องสมุดมากที่สุด
3.50 - 4.49 หมายถึง สภาพของห้องสมุดมาก
2.50 - 3.49 หมายถึง สภาพของห้องสมุดปานกลาง
1.50 - 2.49 หมายถึง สภาพของห้องสมุดน้อย
1.00 - 1.49 หมายถึง สภาพของห้องสมุดน้อยที่สุด
ตอนที่ 3 ความต้องการลักษณะของห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดของผู้บริหาร
โรงเรียนและบรรณารักษ์ โดยใช้ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เป็นรายข้อและสรุปรวม
แยกตามขนาดของโรงเรียน โดยพิจารณาจากค่าเฉลี่ยตามเกณฑ์ของประคอง กรรณสูต (2540 : 125 )
ดังนี้
ค่าเฉลี่ย 4.50 - 5.00 หมายถึง ความต้องการมากที่สุด
3.50 - 4.49 หมายถึง ความต้องการมาก
2.50 - 3.49 หมายถึง ความต้องการปานกลาง
1.50 - 2.49 หมายถึง ความต้องการน้อย
1.00 - 1.49 หมายถึง ความต้องการน้อยที่สุด
ตอนที่ 4 วิเคราะห์เพื่อสรุปลักษณะที่พึงประสงค์โดยจาคความต้องการลักษณะของห้องสมุด
โรงเรียนประถมศึกษาที่พึงประสงค์ตามแนวคิดของผู้บริหารโรงเรียนและบรรณารักษ์
ตอนที่ 5 วิเคราะห์ความเป็นไปได้ลักษณะที่พึงประสงค์ของห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษา
จากหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นรายข้อและสรุป
รวม โดยพิจารณาจากค่าเฉลี่ยตามเกณฑข์ อง ประคอง กรรณสูต (2540 :125) ดังนี้
40
ค่าเฉลี่ย 4.50 - 5.00 หมายถึง มีความเป็นไปได้มากที่สุด
3.50 - 4.49 หมายถึง มีความเป็นไปได้มาก
2.50 - 3.49 หมายถึง มีความเป็นไปได้ปานกลาง
1.50 - 2.49 หมายถึง มีความเป็นไปได้น้อย
1.00 - 1.49 หมายถึง มีความเป็นไปได้น้อยที่สุด
5. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติด้านสังคมศาสตร์
(Statistical Package for Social Science/Personal Computer (SPSS/PC) สถิติที่ใช้มีดังนี้ (พวงรัตน์
ทวีรัตน์, 2543 :137)
1. ค่าร้อยละ (Percentage)
ค่าร้อยละ = จำนวนของผู้ตอบแบบสอบถามX100
จำนวนประชากรทั้งหมด
2. ค่าเฉลี่ย
−X
=
N
Σ X
−X
= ค่าเฉลี่ย
Σ X = ผลรวมของคะแนนทงั้ หมด
N = จำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม
3. ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
SD = ( )
( ) 1
2 2
−
Σ − Σ
N N
N X X
SD = ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
Σ X = ผลรวมของคะแนนทั้งหมด
Σ = ผลรวมของคะแนนยกกำลัง 2X
N = จำนวนประชากรหรือกลุ่มตัวอย่าง
41
4. สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟา
∞ =
⎥ ⎥ ⎥ ⎥ ⎥ ⎥ ⎥ ⎥
⎦
⎤
⎢ ⎢ ⎢ ⎢ ⎢ ⎢ ⎢ ⎢
⎣
⎡
−
−
T
s
i
E s
n
n
2
2
1
1
เมื่อ ∞ แทนค่าสัมประสิทธิ์ค่าความเชื่อมั่น
n = แทนค่าจำนวนข้อคำถาม
= แทนค่าความแปรปรวนของแบบสอบถามรายข้อ
i
s2
= แทนค่าความแปรปรวนทั้งฉบับ
T
s2
บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
เพื่อให้การดำเนินการวิจัยครั้งนี้เป็นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยเรื่องห้องสมุด
โรงเรียนประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานครที่พึงประสงค์ตามแนวคิดของผู้บริหารโรงเรียนและ
บรรณารักษ์ ผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล โดยแบ่งเป็น 5 ตอน
ดังนี้
ตอนที่ 1 วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม แจกแจงความถี่
และร้อยละ โดยนำเสนอเป็นตารางประกอบความเรียง
ตอนที่ 2 วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษาที่พึงประสงค์
ตามแนวคิดของผู้บริหารโรงเรียนและบรรณารักษ์ โดยหาค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
เป็นรายข้อและสรุปรวม จากนั้นนำเสนอในรูปแบบตารางประกอบคำอธิบาย
ตอนที่ 3 วิเคราะห์ความต้องการลักษณะของห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษาที่
พึงประสงค์ตามแนวคิดของผู้บริหารโรงเรียน และบรรณารักษ์ โดยหาค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน เป็นรายข้อและสรุปรวม จากนั้นนำเสนอในรูปแบบตารางประกอบคำอธิบาย
ตอนที่ 4 วิเคราะห์สภาพที่พึงประสงค์จากการสังเคราะห์แบบสอบถามความต้องการ
ลักษณะของห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษาที่พึงประสงค์ตามแนวคิดของผู้บริหารโรงเรียนและ
บรรณารักษ์ จากการตอบแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่าที่ ระดับ มากและมากที่สุด
ตอนที่ 5 วิเคราะห์ความเป็นไปได้ลักษณะที่พึงประสงค์ของห้องสมุดโรงเรียน
ประถมศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เป็นรายข้อและสรุปรวม
จากนั้นนำเสนอในรูปแบบตารางประกอบคำอธิบาย
43
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ตอนที่ 1 สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม
วิเคราะห์โดยแยกตามกลุ่มตัวอย่างของผู้อำนวยการโรงเรียน ผู้ช่วยฝ่ายวิชาการ บรรณารักษ์
โดยแจกแจงความถี่และร้อยละ ดังแสดงในตารางที่ 2
ตารางที่ 2 สถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
ผู้อำนวยการ
โรงเรียน
ผู้ช่วยวิชาการ บรรณารักษ์
รายการข้อมูล
จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ
1. เพศ
- หญิง
- ชาย
72
32
69.2
30.8
69
35
66.3
33.7
93
11
89.5
10.5
2. อายุ
- ระหว่าง 36 - 45 ปี
- ระหว่าง 46 - 55 ปี
- 56 ปีขึ้นไป
-
82
22
0.0
78.8
21.2
75
29
-
72.1
27.9
0.0
-
80
24
0.0
76.9
23.1
3. วุฒิการศึกษา
- ปริญญาตรี
- ปริญญาโท
-
104
0.0
100.0
46
58
44.2
55.8
87
17
83.7
16.3
4. ประสบการณ์ในการทำงาน
- 1 - 10 ปี
- 11 - 20 ปี
- 21 ปีขึ้นไป
-
-
104
0.0
0.0
100.0
-
26
78
0.0
25.0
75.0
41
37
26
39.4
35.6
25.0
5. ขนาดของโรงเรียน
- โรงเรียนขนาดเล็ก
- โรงเรียนขนาดกลาง
- โรงเรียนขนาดใหญ่
26
37
41
25.0
35.6
39.4
26
37
41
25.0
35.6
39.4
26
37
41
25.0
35.6
39.4
44
สรุปผลที่ได้จากตารางที่ 2 พบว่า ผู้อำนวยการโรงเรียน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ
69.2 ซึ่งมีอายุระหว่าง 46 - 55 ปี ร้อยละ 78.8 การศึกษาทุกคนจบการศึกษาระดับปริญญาโท ทุกคนมี
ประสบการณ์ในการทำงาน 21 ปีขึ้นไป มาจากโรงเรียนขนาดเล็กร้อยละ 25.0 โรงเรียนขนาดกลางร้อย
ละ 35.6 และ โรงเรียนขนาดใหญ่ร้อยละ 39.4
ผู้ช่วยฝ่ายวิชาการ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 66.3 มีอายุอยู่ในช่วงระหว่าง 36 - 45
ปี ร้อยละ 72.1 ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาโท คิดเป็นร้อยละ 55.8 สำหรับประสบการณ์
ในการทำงาน 21 ปีขึ้นไป
บรรณารักษ์ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 89.5 มีอายุอยู่ในช่วงระหว่าง 46 -55 ปี ร้อยละ
76.9 การศึกษาบรรณารักษ์ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 83.7 มี
ประสบการณ์ในการทำงานระหว่าง 1- 10 ปี คิดเป็นร้อยละ 39.4
ตอนที่ 2 สภาพห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดของผู้บริหารโรงเรียน และบรรณารักษ์
แยกตามขนาดของโรงเรียน ขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ แยกวิเคราะห์ได้ผลดังนี้
1. สภาพห้องสมุด ด้านการบริหาร ตามแนวคิดของผู้บริหารโรงเรียน และบรรณารักษ์
วิเคราะห์โดยแยกตามกลุ่มตัวอย่างและขนาดของโรงเรียน โดยหาค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน เป็นรายข้อและสรุปรวม
รายละเอียดของการวิเคราะห์ข้อมูลแต่ละด้านของกลุ่มตัวอย่าง และขนาดของโรงเรียนมีดัง
ตารางต่อไปนี้
1.1 สภาพห้องสมุด ด้านการบริหาร ตามความคิดเห็น ของผู้อำนวยการโรงเรียน ได้ผลดัง
แสดงในตารางที่ 3
45
ตารางที่ 3 สภาพของห้องสมุดโรงเรียน ด้านการบริหาร ตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการ
โรงเรียนขนาดเล็ก โรงเรียนขนาดกลาง โรงเรียนขนาดใหญ่
รายการข้อมูล −
X S.D. สรุป −
X S.D. สรุป −
X S.D. สรุป
1. มีการกำหนดนโยบายการดำเนินงาน
ห้องสมุด
2.69 0.47 ปาน
กลาง
2.97 0.83 ปาน
กลาง
2.82 0.49 ปาน
กลาง
2. มีการจัดทำแผนปฏิบัติงานประจำปี/
ประจำภาคเรียน
2.46 0.50 ปาน
กลาง
2.64 0.53 ปาน
กลาง
2.39 0.77 ปาน
กลาง
3. มีการจัดกิจกรรมหรือโครงการต่าง ๆ
ที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติงาน
2.19 0.40 น้อย 2.29 0.46 น้อย 2.26 0.44 น้อย
4. มีการจัดทำคู่มือการใช้ห้องสมุด 2.38 0.49 น้อย 2.43 0.60 น้อย 2.51 0.50 น้อย
5. มีการจัดสรรงบประมาณประจำปี
ให้ห้องสมุดตามสัดส่วนที่เหมาะสม
และเพียงพอต่อการปฏิบัติงาน
2.63 0.51 น้อย 1.97 0.44 น้อย 2.29 0.46 น้อย
6. มีการจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน
ของฝ่ายต่าง ๆ ในห้องสมุด
2.61 0.49 น้อย 2.21 0.41 น้อย 2.46 0.50 น้อย
7. มีการจัดทำปฏิทินการปฏิบัติงาน
ประจำปี/ภาคเรียนแสดงให้เห็นอย่าง
เด่นชัด
2.64 0.46 น้อย 2.13 0.34 น้อย 2.43 0.50 น้อย
8. มีการจัดทำรายงานผลการปฏิบัติ
งานประจำเดือน/รายปี
3.23 0.51 ปาน
กลาง
3.02 0.83 ปาน
กลาง
3.00 0.63 ปาน
กลาง
9. มีการจัดเก็บสถิติต่าง ๆ ของห้องสมุด
อย่างเป็นระบบ
2.50 0.50 ปาน
กลาง
2.54 0.50 ปาน
กลาง
2.60 0.49 ปาน
กลาง
10. มีการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
กิจกรรมของห้องสมุดให้ผู้มีส่วน
เกี่ยวข้องทราบอย่างทั่วถึง
2.65 0.48 ปาน
กลาง
3.05 0.81 ปาน
กลาง
2.92 0.68 ปาน
กลาง
รวม 2.58 0.14 ปาน
กลาง
2.52 0.20 ปาน
กลาง
2.57 0.15 ปาน
กลาง
สรุปผลจากตารางที่ 3 พบว่า ผู้อำนวยการโรงเรียน ในโรงเรียนขนาดเล็ก ขนาดกลาง และ
ขนาดใหญ่ มีความคิดเห็นต่อสภาพของห้องสมุดโรงเรียนในด้านการบริหาร โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่
ในระดับปานกลาง (
−X
= 2.52 – 2.58 ) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีการจัดกิจกรรมหรือโครงการ
ต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับแผน ปฏิบัติงาน มีการจัดทำคู่มือการใช้ห้องสมุด มีการจัดสรรงบประมาณ
46
ประจำปีให้ห้องสมุดตามสัดส่วนที่เหมาะสมและเพียงพอต่อการปฏิบัติงาน มีการจัดทำคู่มือการ
ปฏิบัติงานของฝ่ายต่าง ๆ ในห้องสมุด และมีการจัดทำปฏิทินการปฏิบัติ งานประจำปี/ภาคเรียนแสดง
ให้เห็นอย่างเด่นชัด ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อย (
−X
= 2.20 – 2.40 )
1.2 สภาพห้องสมุดด้านการบริหาร ตามความคิดเห็นของผู้ช่วยฝ่ายวิชาการได้ผลดังแสดงใน
ตารางที่ 4
ตารางที่ 4 สภาพของห้องสมุดด้านการบริหารตามความคิดเห็นของผู้ช่วยฝ่ายวิชาการ
โรงเรียนขนาดเล็ก โรงเรียนขนาดกลาง โรงเรียนขนาดใหญ่
รายการข้อมูล −
X S.D. สรุป −
X S.D. สรุป −
X S.D. สรุป
1. มีการกำหนดนโยบายการดำเนินงาน
ห้องสมุด
2.65 0.62 ปาน
กลาง
2.91 0.79 ปาน
กลาง
2.39 0.49 ปาน
กลาง
2. มีการจัดทำแผนปฏิบัติงาน
ประจำปี/ประจำภาคเรียน
2.50 0.81 ปาน
กลาง
2.70 0.74 ปาน
กลาง
3.14 0.57 ปาน
กลาง
3. มีการจัดกิจกรรมหรือโครงการต่าง ๆ
ที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติงาน
2.57 0.70 ปาน
กลาง
2.78 0.71 ปาน
กลาง
2.82 0.77 ปาน
กลาง
4. มีการจัดทำคู่มือการใช้ห้องสมุด 2.42 0.50 ปาน
กลาง
2.91 0.75 ปาน
กลาง
2.95 0.66 ปาน
กลาง
5. มีการจัดสรรงบประมาณประจำปี
ให้ห้องสมุดตามสัดส่วนที่เหมาะสม
และเพียงพอต่อการปฏิบัติงาน
2.77 0.51 ปาน
กลาง
2.86 0.71 ปาน
กลาง
2.85 0.82 ปาน
กลาง
6. มีการจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานของ
ฝ่ายต่าง ๆ ในห้องสมุด
2.96 0.66 ปาน
กลาง
2.86 0.75 ปาน
กลาง
2.98 0.65 ปาน
กลาง
7. มีการจัดทำปฏิทินการปฏิบัติงาน
ประจำปี/ภาคเรียนแสดงให้เห็นอย่าง
เด่นชัด
2.38 0.49 ปาน
กลาง
2.70 0.70 ปาน
กลาง
3.02 0.80 ปาน
กลาง
8. มีการจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงาน
ประจำเดือน/รายปี
2.53 0.50 ปาน
กลาง
2.72 0.73 ปาน
กลาง
2.97 0.75 ปาน
กลาง
9. มีการจัดเก็บสถิติต่าง ๆ ของห้องสมุด
อย่างเป็นระบบ
2.80 0.69 ปาน
กลาง
2.72 0.60 ปาน
กลาง
2.82 0.66 ปาน
กลาง
10. มีการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
กิจกรรมของห้องสมุดให้ผู้มีส่วน
เกี่ยวข้องทราบอย่างทั่วถึง
2.48 0.73 ปาน
กลาง
2.86 0.75 ปาน
กลาง
2.92 0.72 ปาน
กลาง
รวม 2.64 0.22 ปาน
กลาง
2.82 0.33 ปาน
กลาง
2.89 0.20 ปาน
กลาง
47
สรุปผลจากตารางที่ 4 พบว่า ผู้ช่วยฝ่ายวิชาการ ในโรงเรียนขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาด
ใหญ่ มีความคิดเห็นต่อสภาพของห้องสมุดโรงเรียนในด้านการบริหาร โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ใน
ระดับปานกลาง (
−X
= 2.64 – 2.89 ) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่ามีสภาพของห้องสมุดอยู่ใน
ระดับปานกลางทุกรายข้อ
1.2 สภาพห้องสมุด ด้านการบริหาร ตามความคิดเห็น ของบรรณารักษ์ ได้ผลดังแสดง
ในตารางที่ 5
48
ตารางที่ 5 สภาพของห้องสมุดโรงเรียน ด้านการบริหาร ตามความคิดเห็นของบรรณารักษ์
โรงเรียนขนาดเล็ก โรงเรียนขนาดกลาง โรงเรียนขนาดใหญ่
รายการข้อมูล −
X S.D. สรุป −
X S.D. สรุป −
X S.D. สรุป
1. มีการกำหนดนโยบายการดำเนินงาน
ห้องสมุด
3.04 0.66 ปาน
กลาง
3.43 0.93 ปาน
กลาง
3.34 0.94 ปาน
กลาง
2. มีการจัดทำแผนปฏิบัติงานประจำปี/
ประจำภาคเรียน
2.96 0.77 ปาน
กลาง
2.73 0.84 ปาน
กลาง
3.41 0.50 ปาน
กลาง
3. มีการจัดกิจกรรมหรือโครงการต่าง ๆ
ที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติงาน
3.00 0.85 ปาน
กลาง
2.92 0.83 ปาน
กลาง
2.98 0.85 ปาน
กลาง
4. มีการจัดทำคู่มือการใช้ห้องสมุด 3.23 0.76 ปาน
กลาง
3.19 0.74 ปาน
กลาง
3.12 0.78 ปาน
กลาง
5. มีการจัดสรรงบประมาณประจำปี
ให้ห้องสมุดตามสัดส่วนที่เหมาะสม
และเพียงพอต่อการปฏิบัติงาน
3.38 0.75 ปาน
กลาง
3.24 0.83 ปาน
กลาง
3.22 0.91 ปาน
กลาง
6. มีการจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานของ
ฝ่ายต่าง ๆ ในห้องสมุด
3.15 0.78 ปาน
กลาง
3.13 0.78 ปาน
กลาง
3.17 0.77 ปาน
กลาง
7. มีการจัดทำปฏิทินการปฏิบัติงาน
ประจำปี/ภาคเรียนแสดงให้เห็นอย่าง
เด่นชัด
3.27 0.78 ปาน
กลาง
3.08 0.76 ปาน
กลาง
3.07 0.75 ปาน
กลาง
8. มีการจัดทำรายงานผลการปฏิบัติ
งานประจำเดือน/รายปี
3.19 0.75 ปาน
กลาง
3.00 0.82 ปาน
กลาง
3.15 0.79 ปาน
กลาง
9. มีการจัดเก็บสถิติต่าง ๆ ของห้องสมุด
อย่างเป็นระบบ
3.23 0.71 ปาน
กลาง
2.86 0.75 ปาน
กลาง
2.90 0.80 ปาน
กลาง
10. มีการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
กิจกรรมของห้องสมุดให้ผู้มีส่วน
เกี่ยวข้องทราบอย่างทั่วถึง
3.05 0.74 ปาน
กลาง
3.14 0.79 ปาน
กลาง
3.20 0.75 ปาน
กลาง
รวม 3.11 0.20 ปาน
กลาง
3.08 0.30 ปาน
กลาง
3.13 0.26 ปาน
กลาง
สรุปผลจากตารางที่ 5 พบว่าบรรณารักษ์ ในโรงเรียนขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ มีความ
คิดเห็นต่อสภาพของห้องสมุดโรงเรียนในด้านการบริหาร โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง
(
−X =
3.08–3.13) เมื่อ
พิจาร
ณาเป็น
ราย
ข้อ
พ
บ
ว่า มีส
ภาพ
ข
อ
ง
ห้อ
ง
ส
มุด
อ
ยู่ในระดับ
ปาน
ก
ลาง
ทุก
ราย
ข้อ
49
สรุป ความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงเรียน ผู้ช่วยฝ่ายวิชาการและบรรณารักษ์ที่มีต่อสภาพ
ห้องสมุดโรงเรียน ด้านบริหาร พบว่าไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก ขนาดกลางและขนาดใหญ่ มี
สภาพของห้องสมุดโรงเรียนในด้านการบริหาร โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง และ
พบว่า โรงเรียนขนาดใหญ่มีสภาพของห้องสมุดอยู่ในระดับน้อย 5 รายการได้แก่ การจัดกิจกรรมหรือ
โครงการที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติงาน การจัดทำคู่มือการใช้ห้องสมุด การจัดสรรงบประมาณ
ประจำปีให้ห้องสมุด การจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานของห้องสมุด และการจัดปฏิทินการปฏิบัติงาน
ประจำปี โรงเรียนขนาดกลาง และโรงเรียนขนดเล็ก มีสภาพของห้องสมุดอยู่ในระดับ ปานกลางทุก
รายข้อ
2. สภาพห้องสมุด ด้านงานวัสดุอุปกรณ์และครุภัณฑ์ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน
และบรรณารักษ์ วิเคราะห์โดยแยกตามกลุ่มตัวอย่างและขนาดของโรงเรียน โดยหาค่าเฉลี่ยและค่าส่วน
เบี่ยงเบนมาตรฐาน เป็นรายข้อและสรุปรวม
รายละเอียดของการวิเคราะห์ข้อมูลแต่ละด้านของกลุ่มตัวอย่าง และขนาดของโรงเรียน มีดัง
ตารางต่อไปนี้
2.1 สภาพห้องสมุด ด้านงานวัสดุอุปกรณ์และครุภัณฑ์ ตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการ
โรงเรียน ได้ผลดังแสดงในตารางที่ 6
50
ตารางที่ 6 สภาพของห้องสมุดด้านงานวัสดุอุปกรณ์และครุภัณฑ์ตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการ
โรงเรียนขนาดเล็ก โรงเรียนขนาดกลาง โรงเรียนขนาดใหญ่
รายการข้อมูล −
X S.D. สรุป −
X S.D. สรุป −
X S.D. สรุป
1. มีตู้และป้ายนิทรรศการในห้องสมุด 3.11 0.81 ปาน
กลาง
3.05 0.81 ปาน
กลาง
2.97 0.72 ปาน
กลาง
2. มีโต๊ะ เก้าอี้นั่งอ่านหนังสือตามสัด
ส่วนที่เหมาะสมและเพียงพอต่อการ
ให้บริการ
2.69 0.67 ปาน
กลาง
2.62 0.63 ปาน
กลาง
2.82 0.73 ปาน
กลาง
3. มีชั้นหนังสือเพียงพอกับจำนวน
หนังสือในห้องสมุด
2.65 0.56 ปาน
กลาง
3.00 0.62 ปาน
กลาง
2.90 0.62 ปาน
กลาง
4. ชั้นหนังสือและวารสารมีความเหมาะ
สมกับการใช้งาน
3.23 0.71 ปาน
กลาง
2.67 0.85 ปาน
กลาง
3.22 0.69 ปาน
กลาง
5. มีตู้บัตรรายการตู้จุลสารและตู้
กฤตภาคเพียงพอกับการใช้งาน
3.00 0.84 ปาน
กลาง
2.86 0.58 ปาน
กลาง
2.85 0.72 ปาน
กลาง
6. มีวัสดุไม่ตีพิมพ์ เช่น แผนที่ ลูกโลก
วีดิทัศน์ แถบบันทึกเสียง เป็นต้น
มาไว้บริการในห้องสมุดอย่างเพียงพอ
2.84 0.92 ปาน
กลาง
3.05 0.88 ปาน
กลาง
3.29 0.84 ปาน
กลาง
7. มีวัสดุตีพิมพ์ เช่น หนังสือ วารสาร
หนังสือพิมพ์ เป็นต้น มาไว้บริการใน
ห้องสมุดอย่าง เพียงพอ
2.73 0.78 ปาน
กลาง
2.84 0.65 ปาน
กลาง
2.80 0.64 ปาน
กลาง
8. มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัด
ทำฐานข้อมูลทรัพยากรห้องสมุด
3.11 0.81 ปาน
กลาง
2.89 0.91 ปาน
กลาง
3.09 0.91 ปาน
กลาง
9. มีระบบการสืบค้นข้อมูลด้วย
คอมพิวเตอร์
2.77 0.65 ปาน
กลาง
2.81 0.70 ปาน
กลาง
2.87 0.71 ปาน
กลาง
รวม 2.89 0.32 ปาน
กลาง
2.87 0.31 ปาน
กลาง
2.99 0.43 ปาน
กลาง
สรุปผลจากตารางที่ 6 พบว่า ผู้อำนวยการโรงเรียนในโรงเรียนขนาดเล็ก ขนาดกลาง และ
ขนาดใหญ่ มีความคิดเห็นต่อสภาพของห้องสมุดโรงเรียนในด้านงานวัสดุอุปกรณ์และครุภัณฑ์ โดย
ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (
−X
= 2.87 – 2.99 ) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า สภาพ
ของห้องสมุดอยู่ในระดับปานกลางทุกรายข้อ
51
2.2 สภาพห้องสมุด ด้านงานวัสดุอุปกรณ์และครุภัณฑ์ ตามความคิดเห็นของผู้ช่วย
ฝ่ายวิชาการ ได้ผลดังแสดงในตารางที่ 7
ตารางที่ 7 สภาพของห้องสมุดด้านงานวัสดุอุปกรณ์และครุภัณฑ์ตามความคิดเห็นของ
ผู้ช่วยฝ่ายวิชาการ
โรงเรียนขนาดเล็ก โรงเรียนขนาดกลาง โรงเรียนขนาดใหญ่
รายการข้อมูล −
X S.D. สรุป −
X S.D. สรุป −
X S.D. สรุป
1. มีตู้และป้ายนิทรรศการในห้องสมุด 2.50 0.58 ปาน
กลาง
2.43 0.60 น้อย 2.36 0.48 น้อย
2. มีโต๊ะ เก้าอี้นั่งอ่านหนังสือตาม
สัดส่วนที่เหมาะสมและเพียงพอ
ต่อการให้บริการ
2.19 0.40 น้อย 2.21 0.41 น้อย 2.41 0.49 น้อย
3. มีชั้นหนังสือเพียงพอกับจำนวน
หนังสือในห้องสมุด
2.73 0.60 ปาน
กลาง
2.97 0.64 ปาน
กลาง
3.07 0.64 ปาน
กลาง
4. ชั้นหนังสือและวารสารมีความ
เหมาะสมกับการใช้งาน
2.76 0.58 ปาน
กลาง
2.72 0.60 ปาน
กลาง
2.88 0.81 ปาน
กลาง
5. มีตู้บัตรรายการตู้จุลสารและตู้
กฤตภาคเพียงพอกับการใช้งาน
2.34 0.48 น้อย 2.40 0.49 น้อย 2.39 0.49 น้อย
6. มีวัสดุไม่ตีพิมพ์ เช่น แผนที่ ลูกโลก
วีดิทัศน์ แถบบันทึกเสียง เป็นต้น มา
ไว้บริการในห้องสมุดอย่างเพียงพอ
3.30 0.67 ปาน
กลาง
2.45 0.50 น้อย 2.34 0.61 น้อย
7. มีวัสดุตีพิมพ์ เช่น หนังสือ วารสาร
หนังสือพิมพ์ เป็นต้น มาไว้บริการใน
ห้องสมุดอย่างเพียงพอ
2.80 0.67 ปาน
กลาง
2.83 0.68 ปาน
กลาง
2.90 0.70 ปาน
กลาง
8. มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการ
จัดทำฐานข้อมูลทรัพยากรห้องสมุด
2.07 0.62 น้อย 2.37 0.49 น้อย 2.24 0.53 น้อย
9. มีระบบการสืบค้นข้อมูลด้วย
คอมพิวเตอร์
2.42 0.57 น้อย 2.29 0.66 น้อย 1.85 0.61 น้อย
รวม 2.46 0.22 ปาน
กลาง
2.51 0.22 ปาน
กลาง
2.49 0.22 ปาน
กลาง
52
สรุปผลจากตารางที่ 7 พบว่าผู้ช่วยฝ่ายวิชาการ ในโรงเรียนขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาด
ใหญ่ มีความคิดเห็นต่อสภาพของห้องสมุดโรงเรียน ในด้านงานวัสดุอุปกรณ์และครุภัณฑ์ โดย
ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (
−X
= 2.46 – 2.51 ) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า การจัดป้าย
นิทรรศการเป็นประจำทุกเดือน มีโต๊ะ เก้าอี้นั่งอ่านหนังสือตามสัดส่วนที่เหมาะสมและเพียงพอต่อการ
ให้บริการ มีตู้บัตรรายการตู้จุลสารและตู้กฤตภาคเพียงพอกับการใช้งาน มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้
ในการจัดทำฐานข้อมูลทรัพยากรห้องสมุด และมีระบบการสืบค้นข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ อยู่ใน
ระดับน้อย (
−X
= 1.54 – 2.46 ) มีบางรายข้อที่โรงเรียนขนาดเล็กมีสภาพห้องสมุดอยู่ในระดับปานกลาง
ในขณะที่โรงเรียนขนาดกลางและขนาดใหญ่มีสภาพห้องสมุดอยู่ในระดับน้อย ได้แก่ มีตู้และป้าย
นิทรรศการในห้องสมุดและ มีวัสดุไม่ตีพิมพ์มาให้บริการในห้องสมุดอย่างเพียงพอ
2.3 สภาพห้องสมุด ด้านงานวัสดุอุปกรณ์และครุภัณฑ์ ตามความคิดเห็นของบรรณารักษ์
ได้ผลดังแสดงในตารางที่ 8
53
ตารางที่ 8 สภาพของห้องสมุดด้านวัสดุอุปกรณ์และครุภัณฑ์ตามความคิดเห็นของบรรณารักษ์
โรงเรียนขนาดเล็ก โรงเรียนขนาดกลาง โรงเรียนขนาดใหญ่
รายการข้อมูล −
X S.D. สรุป −
X S.D. สรุป −
X S.D. สรุป
1. มีตู้และป้ายนิทรรศการในห้องสมุด 3.15 0.67 ปาน
กลาง
3.16 0.73 ปาน
กลาง
3.00 0.81 ปาน
กลาง
2. มีโต๊ะ เก้าอี้นั่งอ่านหนังสือตาม
สัดส่วนที่เหมาะสมและเพียงพอ
ต่อการให้บริการ
3.19 0.63 ปาน
กลาง
3.08 0.76 ปาน
กลาง
3.12 0.71 ปาน
กลาง
3. มีชั้นหนังสือเพียงพอกับจำนวน
หนังสือในห้องสมุด
3.04 0.66 ปาน
กลาง
3.03 0.69 ปาน
กลาง
3.07 0.72 ปาน
กลาง
4. ชั้นหนังสือและวารสารมีความ
เหมาะสมกับการใช้งาน
3.23 0.51 ปาน
กลาง
3.19 0.78 ปาน
กลาง
3.17 0.17 ปาน
กลาง
5. มีตู้บัตรรายการตู้จุลสารและตู้
กฤตภาคเพียงพอกับการใช้งาน
2.96 0.72 ปาน
กลาง
3.11 0.81 ปาน
กลาง
3.20 0.78 ปาน
กลาง
6. มีวัสดุไม่ตีพิมพ์ เช่น แผนที่ ลูกโลก
วีดิทัศน์ แถบบันทึกเสียง เป็นต้น มา
ไว้บริการในห้องสมุดอย่างเพียงพอ
3.00 0.57 ปาน
กลาง
3.14 0.71 ปาน
กลาง
3.15 0.99 ปาน
กลาง
7. มีวัสดุตีพิมพ์ เช่น หนังสือ วารสาร
หนังสือพิมพ์ เป็นต้น มาไว้บริการใน
ห้องสมุดอย่างเพียงพอ
2.92 0.69 ปาน
กลาง
3.05 0.78 ปาน
กลาง
3.05 0.80 ปาน
กลาง
8. มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการ
จัดทำฐานข้อมูลทรัพยากรห้องสมุด
3.08 0.48 ปาน
กลาง
3.22 0.82 ปาน
กลาง
3.22 0.88 ปาน
กลาง
9. มีระบบการสืบค้นข้อมูลด้วย
คอมพิวเตอร์
3.12 0.65 ปาน
กลาง
3.00 0.75 ปาน
กลาง
3.02 0.79 ปาน
กลาง
รวม 2.97 0.28 ปาน
กลาง
3.12 0.43 ปาน
กลาง
3.04 0.40 ปาน
กลาง
สรุปผลจากตารางที่ 8 พบว่า บรรณารักษ์ในโรงเรียนขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ มี
ความคิดเห็นต่อสภาพของห้องสมุดโรงเรียนในด้านงานวัสดุอุปกรณ์และครุภัณฑ์ โดยภาพรวมมี
ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (
−X
= 2.97 – 3.12 ) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีสภาพของห้องสมุด
อยู่ในระดับปานกลาง ทุกรายข้อ
54
สรุป ความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงเรียน ผู้ช่วยฝ่ายวิชาการและบรรณารักษ์ที่มีต่อสภาพ
ห้องสมุดโรงเรียน ด้านวัสดุอุปกรณ์และครุภัณฑ์ พบว่าไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก ขนาดกลาง
และขนาดใหญ่มีสภาพของห้องสมุดโรงเรียนในด้านงานวัสดุอุปกรณ์และครุภัณฑ์ โดยภาพรวมมี
ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่ามีสภาพของห้องสมุดอยู่ในระดับปาน
กลางทุกรายข้อ
3. สภาพห้องสมุด ด้านอาคารสถานที่ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและบรรณารักษ์
วิเคราะห์โดยแยกตามกลุ่มตัวอย่างและขนาดของโรงเรียน โดยหาค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน เป็นรายข้อและสรุปรวมในแต่ละด้าน
รายละเอียดของการวิเคราะห์ข้อมูลแต่ละด้านของกลุ่มตัวอย่าง และขนาดของโรงเรียน
มีดังตารางต่อไปนี้
3.1 สภาพห้องสมุด ด้านอาคารสถานที่ ตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงเรียน
ได้ผลดังแสดงในตารางที่ 9
ตารางที่ 9 สภาพของห้องสมุดด้านอาคารสถานที่ตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงเรียน
โรงเรียนขนาดเล็ก โรงเรียนขนาดกลาง โรงเรียนขนาดใหญ่
รายการข้อมูล −
X S.D. สรุป −
X S.D. สรุป −
X S.D. สรุป
1. มีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศใน
ห้องสมุด
2.57 0.70 ปาน
กลาง
2.72 0.73 ปาน
กลาง
2.82 0.66 ปาน
กลาง
2. ห้องสมุดมีพื้นที่ให้บริการอย่าง
กว้างขวางและเพียงพอ
3.11 0.81 ปาน
กลาง
2.40 0.76 ปาน
กลาง
3.04 0.77 ปาน
กลาง
ห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษาที่พึงประสงค์ตามแนวคิดของผู้บริหารโรงเรียนและบรรณารักษ์ (ตอนที่ 1)
ห้องสมุดโรงเรียนประถมศึกษาที่พึงประสงค์ตามแนวคิดของผู้บริหารโรงเรียนและบรรณารักษ์ (ตอนที่ 2)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น