วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองกรณีศึกษา จังหวัดสมุทรสาคร (ตอนที่ 1)



ปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง :
กรณีศึกษา จังหวัดสมุทรสาคร
นางสาวภาวดี ศรีมุกดา
วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
ปีการศึกษา 2545
ISBN : 974-373-187-3
ลิขสิทธิ์เป็นของสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
Factors Affecting the Self Reliant Economic Community :
A Case Study of Samut Sakhon Province
Miss. Pawadee Srimukda
A Thesis Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements
for the Master of Arts (Social Sciences for Development)
at Rajabhat Institute Bansomdej Chaopraya
Academic Year 2002
ISBN : 974-373-187-3
ปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง :
กรณีศึกษา จังหวัดสมุทรสาคร
Factors Affecting the Self Reliant Economic Community :
A Case Study of Samut Sakhon Province
วิทยานิพนธ์
ของ
นางสาวภาวดี ศรีมุกดา
เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา
ตามหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
ปีการศึกษา 2545
ISBN : 974-373-187-3
ลิขสิทธิ์ของสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
วิทยานิพนธ์ ปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง :
กรณีศึกษา จังหวัดสมุทรสาคร
โดย นางสาวภาวดี ศรีมุกดา
สาขาวิชา สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
อาจารย์ที่ปรึกษา รศ.ดร.สัญญา สัญญาวิวัฒน์
อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม ดร.สมชัย ชินะตระกูล
อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม ดร.ทวิช บุญธิรัศมี
บัณฑิตวิทยาลัยสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา อนุมัติให้วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่ง
ของการศึกษาตามหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
…………………………………………………………………………………………………คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
(รองศาสตราจารย์ นันทา วิทวุฒิศักดิ์)
วันที่………………เดือน……………………..พ.ศ …………………
คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์
………………….……………………………………………..…….ประธานกรรมการ
(ศาสตราจารย์ ดร. สายหยุด จำปาทอง)
………………….……………………………………………..…….กรรมการ
(รองศาสตราจารย์ ดร. สัญญา สัญญาวิวัฒน์)
………………….……………………………………………..…….กรรมการ
(ดร. สมชัย ชินิตระกูล)
………………….……………………………………………..…….กรรมการ
( ดร. ทวิช บุญธิรัศมี)
………………….……………………………………………..…….กรรมการและเลขานุการ
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สมชาย พรหมสุวรรณ)
ลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
^^

Pawadee Srimukda. (2002). Factors Affecting the Self Reliant Economic Community :
A Case Study of Samut Sakhon Province, M.A. Thesis Bangkok : Graduate School,
Rajabhat Institute Bansomdejchaophraya Advisory committee : Assoc. Prof. Dr. Sunya
Sunyavivat Dr. Somchai Shinatrakool Dr. Tawit Bunthirasmi
The purpose of the study were (1) to study the level of the Self Reliant Economic
Community (2) to study the factors affecting the Self Reliant Economic Community (3) to search
for the best way to improve the Self Reliant Economic Community in Samut Sakhon province.
The sample for the study consisted of 244 household heads of three districts one
sub-district per districts and one village per sub-district in Samut Sakhon province.
The instrument used for data collection was questionnaire with 3 parts and the data were analyzed
by using the mean, standard deviation, Pearson correlation coefficient and stepwise multiple
regression analysis, at the statistic significance of 0.05.
Results of the study were :
1. The level of the Self Reliant Economic Community was agreeable at high level.
2. Two significant predictors of Self Reliant Economic Community were mental and
management factors in combination accounted for 35.40% of total variance, R=0.595
The prediction equations in forms of raw scores and standard scores were :
Y = 2.169 + 0.306X4 + 0.154X7 and
Z = 0.348X4 + 0.325X7
3. The positive relationship factors with the Self Reliant Economic Community in
Samut Sakhon Province were participation, social, resource, economics, and technology of local
intellectual factors.
^^

ภาวดี ศรีมุกดา. (2545) ปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง :
กรณีศึกษา จังหวัดสมุทรสาคร วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต กรุงเทพมหานคร :
บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา คณะกรรมการควบคุม
รศ. ดร. สัญญา สัญญาวิวัฒน์ ดร. สมชัย ชินะตระกูล ดร. ทวิช บุญธิรัศมี
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง (2)
เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง (3) เพื่อการแสวงหาแนวทางการ
ปรับปรุงหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในจังหวัดสมุทรสาคร
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นหัวหน้าครอบครัวในจังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น
244 คน จาก 3 อำเภอ อำเภอละ 1 ตำบล ตำบลละ 1 หมู่บ้าน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามซึ่งแบ่ง
ออกเป็น 3 ตอน และนำข้อมูลมาทำการวิเคราะห์โดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถอยพหุคูณแบบขั้นบันได ที่ระดับความมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองมีค่าอยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่งทุกตัวชี้วัด
2. ตัวทำนายที่มีประสิทธิภาพในการทำนายแนวโน้ม การเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
ในจังหวัดสมุทรสาคร ได้แก่ ปัจจัยด้านจิตใจ และปัจจัยด้านการจัดการ มีอำนาจทำนายร้อยละ 35.40
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณมีค่าเท่ากับ 0.595 ได้สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบและคะแนน
มาตรฐาน ดังนี้
Y = 2.169 + 0.306X4 + 0.154X7 และ
Z = 0.348X4 + 0.325X7
3. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการเปน็ หมบู่ า้ นเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในจงั หวดั สมทุ รสาคร
ได้แก่ ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วม ปัจจัยด้านสังคม ปัจจัยด้านทรัพยากร ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ และปัจจัย
ด้านเทคโนโลยีภูมิปัญญาท้องถิ่น
กิตติกรรมประกาศ
กระบวนการวิจัยทางสังคมศาสตร์ เป็นกระบวนการหล่อหลอมและกล่อมเกลาให้ผู้ดำเนินการวิจัยได้พบวิธี
การแกไ้ ขปญั หาและคน้ พบคาํ ตอบไดด้ ว้ ยตนเอง ซึง่ นำมาสู่การวดั ประสทิ ธิภาพและประสทิ ธิผลทางการศึกษาอนั เปน็
เครื่องบ่งชี้ถึงความมานะ พยายาม และความอุตสาหะทุ่มเท ซึ่งผลสำเร็จที่ได้รับในครั้งนี้มีคุณค่าและประโยชน์อย่างยิ่ง
เพราะได้เรียนรู้ถึงการครองตนครองคนและครองงาน ได้ค้นพบความเป็นจริงแห่งองค์ความรู้ในสังคมศาสตร์เพื่อการ
พัฒนาอย่างชัดแจ้ง ก้าวแต่ละก้าวที่ได้เริ่มต้นจนไปสู่จุดหมายปลายทางที่ทุกคนรอบข้างหวังและรอคอยในวันแห่ง
ความสำเร็จ ข้าพเจ้าขอน้อมระลึกถึงและขอขอบพระคุณด้วยความเคารพอย่างสูงในความเมตตาของรองศาสตราจารย์
ดร.สญั ญา สญั ญาววิ ฒั น ์ ดร.สมชยั ชนิ ะตระกูล และ ดร.ทวชิ บุญธริ ศั มี ทีก่ รุณาใหค้ าํ ปรกึ ษาและชี้แนะในการทำ
วิทยานิพนธ์ครั้งนี้จนประสบความสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
ขอบพระคณุ อยา่ งยงิ่ ในความกรณุ าของ สุทธพิ ทิ กั ษ์ศาสตราภิธาน ดร. เสรี พงศ์พิศ ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์
สุพิศวง ธรรมพันทา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บุปผา แช่มประเสริฐ ที่เสียสละเวลาอันมีค่าในการตรวจสอบเครื่องมือและ
กรุณาให้คำแนะนำซึ่งทำให้เครื่องมือที่ได้มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น กราบขอบพระคุณคณาจารย์สาขา
สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาทุกๆ ท่านที่ได้สร้างและพัฒนาคนของชาติส่วนหนึ่งให้เป็นผู้รู้จัก เข้าใจ และนำหลักการ
พัฒนานั้นไปใช้กับชีวิตตนเองและครอบครัว
ขอบพระคุณประชาชนทีเ่กีย่ วขอ้ งใน จงั หวดั สมทุ รสาคร ไดแ้ ก่ หมู่ 2 ตำบลสวนหลวง อาํ เภอกระทมุ่ แบนที่
ให้ความร่วมมือและเอื้อประโยชน์ในการทดสอบเครื่องมือ โดยเฉพาะหัวหน้าครอบครัวผู้ตอบแบบสอบถามและผู้นำ
ของหมู่ 2 ตาํ บลเจด็ รวิ้ อาํ เภอบา้ นแพรว้ หมู่ 2 ตาํ บล บ้านเกาะ อาํ เภอเมอื ง หมู่ 6 ตำบลทา่ เสา อาํ เภอกระทมุ่ แบน
ได้เสียสละเวลาอันมีค่า น้ำใจ ความห่วงใย ตลอดจนความเอื้ออาทรที่มีให้แก่ผู้วิจัยในขณะทำการเก็บข้อมูลอย่างดียิ่ง
ขอขอบพระคุณผูม้ ีอุปการะคณุ ผูใ้ หข้ อ้ มลู ผทู้ เี่กยี่ วขอ้ ง รวมทงั้ คุณวยิ ะดา เรืองฤทธิ์ คณุ กลั ยาณ ี บญุ สง่
คณุ ศภุ ณฐั หาญเลิศประเสริฐ และ อาจารยเ์ยาวลกั ษณ ์ ทองอุ่มใหญ่ ทีช่ ว่ ยเหลอื และเป็นกาํ ลังใจให้ผูว้ จิ ยั ไดฟ้ นั ฝ่า
อุปสรรคจนไปสู่ความสำเร็จตามความหวังที่ตั้งไว้ ขอบพระคุณคุณลักขณาและคุณชูชาติ จาละ ที่สนับสนุนค่าใช้จ่าย
แก่ผู้วิจัยด้วยดีเสมอมา ขอขอบพระคุณคุณสุนารี เครือวัลย์ คุณวิชิต วงศ์วิเศษลักษณ์ สมาชิกครอบครัวศรีมุกดา
ทุกๆ คน ที่ให้โอกาส ส่งเสริมสนับสนุนศึกษาต่อในระดับปริญญาโท
สุดท้ายนี้ผู้วิจัยขอมอบคุณค่าและคุณประโยชน์ของวิทยานิพนธ์เล่มนี้ให้แด่ บุพการี ครู อาจารย์
ผู้มีอุปการะคุณ ตลอดจนผู้มีพระคุณทุกท่าน ขอตอบแทนและทดแทนพระคุณด้วยคุณงามความดีที่เคยทำมา
ขอมงุ่ มนั่ ในการสรา้ งตน สงั คม ด้วยหยาดเหงือ่ แรงกายทีม่ เีพือ่ ชดใชห้ นีใ้ ห้กับแผ่นดนิ
ภาวดี ศรีมุกดา
สารบัญ
หน้า
บทคัดย่อภาษาไทย ………………………………………………………………………………………………….. ค
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ …………………………………………………………………………………………….. ง
กิตติกรรมประกาศ ………………………………………………………………………………………………….. ช
สารบัญเรื่อง ………………………………………………………………………………………………………………. ญ
สารบัญตาราง ….……………………………………………………………………………………………………….. ฑ
สารบัญแผนภาพ……………………………………………………………………………………………………….. ฒ
บทที่ 1 บทนำ ……………………………………………………………………………………………………….. 1
1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา……………………………………………….. 1
1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย…………………………………………………………………………. 4
1.3 ขอบเขตการวิจัย…………………………………………………………………………………….. 4
1.4 นิยามศัพท์เฉพาะ…………………………………………………………………………………... 5
1.5 สมมติฐานการวิจัย…………………………………………………………………………………… 7
1.6 กรอบแนวคิดในการวิจัย ………………………………………………………………………… 8
1.7 ประโยชน์ของการวิจัย……………………………………………………………………………… 8
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ………………………………………………………………….. 9
1. แนวคิดหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง……………………………………………….. 10
2. แนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสมมติฐานการวิจัย………..….……….18
2.1 เทคโนโลยีภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการเป็นหมู่บ้าน
เศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง…………………………………………………………. 18
2.2 เศรษฐกิจกับการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง….……… 21
2.3 ทรัพยากรกับการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง..…..…. 23
2.4 จิตใจกับการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง……………... 28
2.5 สังคมกับการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง………………….31
2.6 การมีส่วนร่วมกับการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง…… 38
2.7 การจัดการกับการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง……….. 40
3. ลักษณะหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในจังหวัดสมุทรสาคร…………….. 44

สารบัญ (ต่อ)
หน้า
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย ………………………………………………………………………………………… 53
3.1 การกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง………………………………………………… 53
3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย……..………………………………………………………………. 54
3.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล ………….…………………………….……………………………… 56
3.4 การวิเคราะห์ข้อมูล……………………………………………………………….……………… 57
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ………………………………………………………………………………. 58
4.1 การวิเคราะห์สภาพปัจจัยที่คาดว่าจะมีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจ
ชุมชนพึ่งตนเองในจังหวัดสมุทรสาคร…………………..……………………………... 58
4.2 การวิเคราะห์สภาพการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
ในจังหวัดสมุทรสาคร………………………………………………………………………………. 59
4.3 การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อการเป็น
หมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในจังหวัดสมุทรสาคร…………….………... 60
บทที่ 5 สรุปและอภิปรายผล……………………………………………………………………………………… 67
สรุปผลการวิจัย………………………………………………………..………………………………….... 67
การอภิปรายผลการวิจัย……………………………………………………..……………………………. 69
ข้อเสนอแนะ………………………………………………………………………………………………….... 80
ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป …………………………………………………………………. 83
บรรณานุกรม …………………………………………………………………………………………………………….…. 84
ภาคผนวก
ภาคผนวก ก……………………………………………………………………………………………………….… 89
ภาคผนวก ข………………………………………………………………………………………………………... 101
ภาคผนวก ค……………………………………………………………………………………………………...… 110
ประวัติผู้วิจัย …………………………………………………………………………………………………………………. 117

สารบัญตาราง
หน้า
ตารางที่ 1 แสดงลักษณะปัจจัยหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง…………………………….…… 46
ตารางที่ 2 แสดงระยะเวลาในการเก็บข้อมูล……….……………………………………….………………... 56
ตารางที่ 3 สภาพของปัจจัยที่คาดว่าจะมีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
ในจังหวัดสมุทรสาคร…………………….…………………………………………………………..… 58
ตารางที่ 4 สภาพการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในจังหวัดสมุทรสาคร……… 59
ตารางที่ 5 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณระหว่างกันของตัวพยากรณ์
และระหว่างตัวพยากรณ์กับตัวเกณฑ์…………………………..……………………………….. 61
ตารางที่ 6 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ ค่าดัชนีพยากรณ์ และ
ค่าดัชนีพยากรณ์ที่เพิ่มขึ้น………………………………………………………………..…………….. 63
ตารางที่ 7 ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณของตัวพยากรณ์กับตัวเกณฑ์……………….. 63
ตารางที่ 8 การถดถอยพหุคูณของตัวพยากรณ์ทั้ง 2 ตัวต่อตัวเกณฑ์…………….……………. 64
ตารางที่ 9 ค่าระดับปัจจัยด้านเทคโนโลยีภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยรายละเอียด………….….. 90
ตารางที่ 10 ค่าระดับปัจจัยด้านเศรษฐกิจโดยรายละเอียด…………………………………………….. 90
ตารางที่ 11 ค่าระดับปัจจัยด้านทรัพยากรโดยรายละเอียด…………………………………………….. 91
ตารางที่ 12 ค่าระดับปัจจัยด้านจิตใจโดยรายละเอียด………………..…………………..…………….. 91
ตารางที่ 13 ค่าระดับปัจจัยด้านสังคมโดยรายละเอียด…………………………………..…..…………. 92
ตารางที่ 14 ค่าระดับปัจจัยที่ด้านการมีส่วนร่วมโดยรายละเอียด…………………..……………….. 92
ตารางที่ 15 ค่าระดับปัจจัยที่ด้านการจัดการโดยรายละเอียด…………………..…………………….. 93
ตารางที่ 16 ค่าระดับครอบครัวมีความอบอุ่นโดยรายละเอียด…….………………...……………….. 94
ตารางที่ 17 ค่าระดับเศรษฐกิจมีความสมดุลโดยรายละเอียด………………………..……………….. 94
ตารางที่ 18 ค่าระดับองค์กรชุมชนเข้มแข็งโดยรายละเอียด…………………………….……………….. 95
ตารางที่ 19 ค่าระดับการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน…….…………………………….……………….. 95
ตารางที่ 20 แสดงอำนาจจำแนกรายข้อของแบบสอบถาม..…………………………….……………….. 96
ตารางที่ 21 แสดงข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานจังหวัดสมุทรสาคร……………….…….……………. 111
ตารางที่ 22 แสดงระยะเวลาในการดำเนินงานการวิจัย……………………….…………….……………. 115

สารบัญแผนภาพ
หน้า
แผนภาพที่ 1 สรุปแนวคิดการวิจัย……………………….….………….……………………………………………….. 52
แผนภาพที่ 2 แผนที่ตั้งหมู่ 2 ตำบลเจ็ดริ้ว…………….………………………………………………………….. 112
แผนภาพที่ 3 แผนที่ตั้งหมู่ 6 ตำบลท่าเสา…………..…………………………………………………………….. 113
แผนภาพที่ 4 แผนที่ตั้งหมู่ 2 ตำบลบ้านเกาะ…..……………………………………………………………….. 114
บทที่ 1
บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
จากปรากฎการณ์ปัญหาทางสังคมที่ประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่ ณ ขณะนี้ มิได้เป็นวิกฤติทาง
เศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว หากแต่เป็นวิกฤติชาติที่ผสมผสานกับความล้มเหลวในการบริหารธุรกิจ
ความล้มเหลวทางระบบการเมือง การบริหารราชการแผ่นดิน ความล้มเหลวทางระบบการศึกษา
วัฒนธรรม การล่มสลายของครอบครัวภาคเกษตรกรรมและสังคมชนบท ตลอดจนการวิกฤติทางด้าน
จิตสำนึกและจิตวิญญาณปัจเจกชน ดังเช่นข่าวที่สะท้อนให้เห็นปรากฎการณ์วิกฤติทางสังคม ได้แก่
การฆ่าตัวตาย พระสงฆ์ล่วงละเมิดทางเพศกับเด็กหญิงและสีกาภายในวัด พ่อข่มขืนลูก ครูข่มขืน
ลูกศิษย์ ตำรวจใช้บริการทางเพศกับเด็กหญิงอายุ 12 ขวบ นักศึกษาโสเภณี การข่มขืนเพื่อนนักเรียน
ด้วยกันของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ยังเยาว์วัย ปัญหาและปรากฎการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นมานั้น
เนื่องจากความครอบครัวขาดความอบอุ่น จิตใจขาดสิ่งยึดเหนี่ยวไร้ศีลธรรม ชุมชนไม่เข้มแข็ง สังคม
อ่อนแอ และขาดค่านิยมแห่งการยึดมั่นและยกย่องบุคคลที่ทำแต่คุณงามความดี การเสียสละเพื่อ
ส่วนรวมอันเป็นเกียรติและศักดิ์ศรีแก่ตนและครอบครัว เพราะการพัฒนาที่ผ่านมาเป็นการเดินตาม
อารยธรรมชาติตะวันตกเพื่อความเจริญก้าวหน้าทางด้านวัตถุ ไม่ได้มองที่รากฐานและวัฒนธรรม
ดั้งเดิมของชนชาติตน ทำให้ค่านิยมของคนในสังคมไทยไปติดอยู่กับการนับถือผู้มีเงินคือผู้มีอำนาจ
และความต้องการมีชีวิตที่สุขสบายหรูหราแสวงหาความสุขอย่างไม่มีขอบเขต ด้วยการสร้างความ
ร่ำรวยจากการแข่งขันการเอารัดเอาเปรียบ ทุจริตคอรัปชั่น มุ่งแสวงหาผลประโยชน์และความมั่งคั่งให้
กับตนเองโดยจิตใจปราศจากการนึกถึงความบาปบุญคุณโทษ ความเดือนร้อนทุกข์ยากของบุคคลอื่น
ซึ่งจะส่งผลกระทบไปสู่สังคมโดยรวมและประเทศชาติ การพัฒนาที่ผ่านมาจึงกลายเป็นการพัฒนาที่
“เศรษฐกิจดี สังคมมีปัญหา พัฒนาไม่ยั่งยืน”
ด้วยพระบารมีอันยิ่งใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลปัจจุบันที่ทรงมีแก่
พสกนิกรชาวไทยพระองค์ได้มีพระราชดำรัสชี้แนะเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาวิกฤติทางสังคม
และกอบกู้เศรษฐกิจที่สมบูรณ์แบบและสมสมัยในยุคโลกาภิวัฒน์ และทุกระดับชั้นในโครงสร้างของ
สังคม เริ่มตั้งแต่ปัจเจกชน สู่ครอบครัว ชุมชน สังคม และความมั่นคงของประเทศ นั้นคือแนวทาง
ในการดำเนินชีวิตโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง และหลักการพึ่งตนเอง ซึ่งเป็นทางสายกลางในการ
ดำเนินชีวิตโดยยึดถือความพอเพียง พออยู่พอกิน หมายถึง ความพอประมาณในปัจจัย 4
สามารถอุ้มชูตนเองได้ มีข้าวปลาอาหารไว้เพื่อเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้ตลอดทั้งปี
2
สามารถปลูกข้าว ปลูกผัก เลี้ยงเป็ด ไก่ ปลา ในพื้นที่ของตนเอง เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่าย ส่วนที่
เหลือจากการบริโภคในครัวเรือนแล้วจึงนำไปขายเพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ เพียงแค่นี้ทุกคนสามารถ
ที่จะพึ่งตนเองได้ เศรษฐกิจพอเพียงจึงเป็นการวางรากฐานและสร้างความสมดุลให้กับชีวิตสังคมได้
อย่างเข้มแข็งและมั่นคง กอปรกับนโยบายของรัฐบาลและแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 8 ที่ปรับเปลี่ยน
กระบวนทัศน์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปที่ประชาชนเป็นศูนย์กลางแห่งการพัฒนา
ซึ่งเน้นการพัฒนาคนโดยรอบด้านผสมผสานกันอย่างเหมาะสม ซึ่งประกอบด้วยการพัฒนาด้าน
ประชากร เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยี การเมือง การปกครอง โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือ
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ซึ่งต้องพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรในประเทศทั้งกาย ใจ ความคิด
และสติปัญญาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
โครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง โดยสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย (2541)
เป็นนโยบายฟื้นฟูเศรษฐกิจทุกแขนงให้กลับฟื้นคืนสู่สภาวะปกติและพร้อมที่จะเป็นพลังผลักดันต่อ
การพัฒนาต่อไปในอนาคตอย่างเต็มศักยภาพ และเป็นนโยบายเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาด้าน
เศรษฐกิจตกต่ำด้าน “ปากท้อง” โดยการนำพระราชดำรัสขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ในเรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้
ประชาชนสามารถพึ่งตนเองได้ในทางเศรษฐกิจได้ทั้งทางเชิงคุณภาพและปริมาณ ส่งเสริมการ
เรียนรู้ร่วมกันในท้องถิ่น พร้อมทั้งการบูรณาการทรัพยากร สิ่งแวดล้อม บุคลากร แผนงาน
งบประมาณ และการปฏิบัติงานในระดับหมู่บ้าน จนกระทั่งมีการประเมินผลโครงการหมู่บ้าน
เศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองที่จังหวัดได้พิจารณาคัดเลือกเป็นหมู่บ้านเป้าหมายที่ดำเนินการในปี
2543 ทั่วประเทศทุกจังหวัด ซึ่งเป้าหมายในการดำเนินงานทั้งสิ้น 6,965 หมู่บ้าน ในจังหวัด
สมุทรสาครมี 3 อำเภอ จึงมีหมู่บ้านที่ได้รับการคัดเลือก 3 หมู่บ้านด้วยกัน ซึ่งมีหลักการ แนวทาง
และเกณฑ์ในการชี้วัดการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองที่สอดคล้องกับทฤษฎีการพึ่งตนเอง
ทางเศรษฐกิจของชนบท (สัญญา สัญญาวิวัฒน์, 2540 : 99-107) ประกอบด้วย หลักการ
TERMS ซึ่งเป็นกรอบทฤษฎีที่ว่าด้วยการพึ่งตนเองด้านเทคโนโลยี (Technology : T) ด้านเศรษฐกิจ
(Economic : E) ด้านทรัพยากร (Resource : R) ด้านจิตใจ (Mental : M) และด้านสังคม
(Social : S) รวมทั้ง การมีส่วนร่วม และการจัดการ โดยเป็นผลงานการวิจัยของสถาบันวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยีแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2538 ได้ทำการศึกษาหารูปแบบการพัฒนาที่ได้ผลซึ่งเกิดเป็น
องค์ความรู้ใหม่ภายใต้กรอบทฤษฎีทางสังคม ได้แก่ ทฤษฎีโครงสร้างและหน้าที่และทฤษฎีระบบ
โดยการนำวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์มาบูรณาการให้เปน็ สหวทิ ยาการ
ที่ครอบคลุมทุกส่วนที่เกี่ยวข้องกับสังคมศาสตร์และการพัฒนาไว้ด้วยกัน
3
สาเหตุของการทำวิจัยครั้งนี้ สืบเนื่องจากปรากฎการณ์วิกฤติทางเศรษฐกิจ และสังคมตาม
แผนนโยบายการพัฒนาประเทศทางเศรษฐกิจที่ผ่านมา และกระแสพระราชดำรัสของพระเจ้าอยู่หัวซึ่ง
เป็นแนวทางแก้ไขส่งผลให้เกิดการกำหนดนโยบายของรัฐบาลนำไปสู่การกำหนดแนวทางปฏิบัติการ
พัฒนาชุมชนของกระทรวงมหาดไทยจนสามารถทำให้มีหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองอำเภอละ
หนึ่งหมู่บ้านทั่วประเทศซึ่งได้บรรลุเป้าหมายตามที่ตั้งไว้ จากรายงานคุณภาพชีวิตของคนไทยเมื่อปี
2539 ในข้อมูลความจำเป็นขั้นพื้นฐาน (จปฐ.) จัดทำโดยศูนย์ข้อมูลเพื่อการพัฒนาชนบท กรมการ
พัฒนาชนบท กระทรวงมหาดไทย ได้รายงานผลการจัดทำข้อมูลความจำเป็นขั้นพื้นฐาน (จปฐ.) 2539
ผลการวิเคราะห์พบว่าใน 75 จังหวัด มี 60,847 หมู่บ้าน และมีถึง 7,528,515 ครัวเรือนที่ไม่บรรลุ
ตัวชี้วัดความจำเป็นขั้นพื้นฐาน (จปฐ.) ตามที่ได้กำหนดไว้ทั้งสิ้น 37 ตัวชี้วัด (ยกเว้นครัวเรือนที่ตั้งอยู่
ในเขตกรุงเทพมหานคร เขตเมืองพัทยา เขตเทศบาล เขตสุขาภิบาล) จังหวัดที่บรรลุตัวชี้วัดความ
จำเป็นขั้นพื้นฐาน (จปฐ.) สูงสุดคือ จังหวัดสมุทรสาคร สามารถบรรลุได้ถึง 35 ตัวชี้วัด และที่ไม่
บรรลุตัวชี้วัดได้แก่ คนในครัวเรือนไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย และไม่มีความ
ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน จังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นจังหวัดที่บรรลุตัวชี้วัดความจำเป็นขั้นพื้นฐาน
(จปฐ.) น้อยที่สุด คือ 14 ตัวชี้วัด และไม่บรรลุถึง 23 ตัวชี้วัด ดังนั้นผู้วิจัยจึงเลือกขอบเขต
การศึกษาที่จังหวัดสมุทรสาครเพราะเป็นจังหวัดเดียวที่บรรลุความจาํ เปน็ ขัน้ พืน้ ฐาน (จปฐ.) มากทสี่ ดุ
นนั้ ยอ่ มหมายถงึ หมูบ่ า้ นเศรษฐกจิ ชุมชนพึ่งตนเองในจังหวัดสมุทรสาครเปน็ หมูบ่ า้ นทีม่ คี วามพร้อม
มากที่สุดเพราะมีปัจจัยขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิตอย่างครบถ้วนบริบูรณ์จึงสมควรที่จะค้นหาตัวปัจจัย
ทั้ง 7 ด้านตามกรอบทฤษฎีการพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจของชนบท ว่ามีปัจจัยใดที่สำคัญที่สุดที่มีผลให้
3 หมู่บ้านนั้นกลายเป็นหมู่บ้านเศรษฐกจิ ชมุ ชนตนเอง ในขณะทหี่ มบู่ า้ นอนื่ ๆ ทีอ่ ยูใ่ นจงั หวดั สมทุ รสาคร
ซึง่ ตัง้ อยูใ่ นทอ้ งถิน่ เดยี วกนั มปี จั จยั สงิ่ แวดลอ้ มทเี่ ออื้ อำนวยประโยชน์เหมือนกัน เป็นเพียงหมู่บ้าน
ปกติธรรมดาทั่วไป และเนื่องจากผู้วิจัยและครอบครัวพำนักอยู่ในจังหวัดนี้ จึงควรทำการวิจัยเพื่อนำ
ผลทีไ่ ดม้ าพัฒนาทอ้ งถิ่นของตนเองใหเ้ จริญกา้ วหนา้ ในลาํ ดับตอ่ ไป กอปรกับผลงานการวจิ ยั ทีผ่ ่านมายัง
ไม่มีการวิจัยเพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง เพราะการเป็นหมู่บ้าน
เศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง คือหมู่บ้านที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของคนชุมชนที่สามารถพึ่งพาตนเอง
ได้ อันนำไปสู่การพัฒนาชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม ความสำคัญนี้จึงทำให้ผู้วิจัยสนใจที่จะทำการ
วิจัยและมุ่งหวังที่จะนำผลการวิจัยที่ได้นั้นไปเป็นแนวทางและปรับประยุกต์ใช้กับหมู่บ้านอื่นๆ ได้ประสบ
ผลสำเร็จในการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองเช่นเดียวกัน และครอบคลุมทุกหมู่บ้านทั่วประเทศ
เพอื่ เปน็ การแกไ้ ขและปอ้ งกนั ปัญหาสังคมที่ผ่านสังคม โดยการทำให้ประชาชนทุกคนมีคุณภาพชีวิต
ที่ดีขึ้นมีความสุขทั่วหน้า ด้วยการสร้างความแข็งแกร่งในการพึ่งตนเองของประชาชนในระดับรากหญ้า
จากการวางรากฐานสร้างความสมดุลและความเสมอภาคทั้งทางด้านเศรษฐกิจและ สังคม ซึ่งมีความ
สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลในปัจจุบันที่ระดมทุนสู่ชนบทนั้นคือกองทุนหมู่บ้าน ที่เป็นนโยบายเร่ง
ขจัดปัญหาความยากจนโดยชุมชนเป็นผู้คิดเอง ทำเอง และแก้ปัญหาเอง เพื่อนำไปสู่การพัฒนา
ประเทศไทยอย่างมั่นคงและเข้มแข็งตลอดไป
5
นิยามศัพท์เฉพาะ
เทคโนโลยีภูมิปัญญาท้องถิ่น หมายถึง การยอมรับและการนำความรู้ วิธีการ เครื่องมือ
สิ่งประดิษฐ์หรืออุปกรณ์ ทั้งที่เป็นของดั้งเดิมจากภูมิปัญญาท้องถิ่นและสิ่งที่ค้นพบใหม่ เพื่อประโยชน์
ในการประกอบอาชีพ และดำรงชีวิต ซึ่งมีความสอดคล้องและเหมาะสมกับสภาพทางเศรษฐกิจ สังคม
วัฒนธรรมและปัจจัยพื้นฐานหรือทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น ได้แก่ การนำต้นจากมาเย็บเป็นตับจาก
ต้นกก และ เตย ที่นำมาสานเป็นเสื่อ การดูแลรักษาตนเองโดยใช้ยาสมุนไพร การใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก
ปุ๋ยชีวภาพโดยการหมักวัชพืช เศษอาหาร หอยเชอรี่ หัวปลาสับ น้ำมะพร้าวและกากน้ำตาล
การใช้สปริงเคลอร์ (Sprinkler) รดน้ำต้นไม้ การใช้เครื่องฉีดพ่น
เศรษฐกิจ หมายถึง รายได้ที่เกิดจากการประกอบอาชีพที่สุจริตบนพื้นฐานความสามารถของ
ตนเอง การประหยัดลดค่าใช้จ่ายเพื่อเพิ่มรายได้ให้เพียงพอต่อการเลี้ยงดูตนเองและครอบครัวได้ตลอด
ไปอยา่ งมนั่ คง การเข้าเป็นสมาชิกในองคก์ รดา้ นเงินทนุ เพื่อการสรา้ งรายไดเ้พิม่ ขึน้ ไดแ้ ก่ กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มผู้ใช้น้ำ
กองทุนหมู่บ้าน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ  การเขา้ เปน็ สมาชกิ ในโครงการพกั ชาํ ระหนี้ การ
เขา้ เปน็ สมาชกิ กลมุ่ อาชพี ทสี่ ามารถสรา้ งรายไดใ้ หก้ บั ตนเองและครอบครวั ครอบครัวมีอาชีพหลักและ
อาชีพเสริมที่ทำให้มีรายได้สม่ำเสมอตลอดทั้งปี มีการประกอบอาชีพอย่างสม่ำเสมอ การมีแรงงานภายใน
ครอบครัวอย่างพอเพียงในการประกอบอาชีพหรือดำเนินกิจกรรมที่ก่อให้เกิดรายได้
ทรัพยากร หมายถึง สิ่งที่มีค่าทั้งปวงที่เอื้ออำนวยประโยชน์ให้แก่มนุษย์ ทั้งที่เกิดขึ้นเองตาม
ธรรมชาติ และมนษุ ยเ์ปน็ ผสู้ รา้ งขนึ้ ซึ่งผู้ใช้ทรัพยากรเหล่านี้จะต้องมีจิตสำนึกในคุณค่า ใชอ้ ยา่ งประหยดั
และมีประโยชน์คุ้มค่าอย่างสูงสุด พร้อมทั้งมีการป้องกันปรับปรุงบำรุงรักษา สงวนไว้ ซ่อมแซม
ฟื้นฟู และพัฒนาทรัพยากรทั้งหลายที่มีอยู่ให้มีสภาพที่ดีและมีความสมดุลตามธรรมชาติตลอดไป
จิตใจ หมายถึง ลักษณะทางจิตใจที่เอื้อต่อการพึ่งตนเองและการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ได้แก่
มีความเชื่อมั่นในการพึ่งตนเอง การประหยัดและรู้จักประมาณตน มีความขยันหมั่นเพียร
การเสียสละ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น และการมีน้ำใจ
สังคม หมายถึง ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรมที่เอื้อต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชน
พึ่งตนเอง ซึ่งได้แก่ ความสัมพันธ์ การอยู่ร่วมกัน ความรักสมัครสมานสามัคคี ความพร้อมเพียงใน
การทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม คุณลักษณะของผู้นำในท้องถิ่น รวมทั้งกิจกรรมงานประเพณีที่เชื่อมโยง
ชาวบ้านเข้าด้วยกันทำให้เกิดความรักใคร่สนิทสนมกลมเกลียว เช่น การถืออุโบสถศีล หรือถือศีล 8
ทุกวันพระ การทำบุญวันเข้าพรรษา งานไปร่วมงานวันสงกรานต์
6
การมีส่วนร่วม หมายถึง การที่สมาชิกในชุมชนได้เข้ามาร่วมกันปรึกษาหารือ การตัดสินใจ
รับผิดชอบต่อแนวทาง แผนการปฏิบัติ หรือ นโยบาย ที่ได้กำหนดขึ้นในการแก้ไขปัญหาและขจัด
อุปสรรค ต่าง ๆ อันมีผลกระทบต่อตนเองและส่วนรวมเพื่อประโยชน์สุขของทุกคนในหมู่บ้านหรือชุมชน
เช่น การมีส่วนร่วมและสนับสนุนกิจกรรมหมู่บ้านปลอดยาเสพติด การช่วยกันสอดส่องดูแลหมู่บ้าน
ให้มีความสงบสุขร่มเย็นมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ตลอดจนการร่วมบำรุงรักษาโครงการ
และกิจกรรมที่ได้ทำไว้โดยชาวบ้าน เอกชน และรัฐบาลให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและส่วนรวมได้
ตลอดไป
การจัดการ หมายถึง ความสามารถและกระบวนการในการจัดการตนเองและองค์กรในหมู่บ้าน
เพื่อการพึ่งตนเองได้ ด้วยกิจกรรมที่สำคัญ คือ การวิเคราะห์ปัญหา ความต้องการที่แท้จริงของหมู่บ้าน
หรือชุมชน การวางแผน การจัดกระบวนการ การลงมือดำเนินการตามแผน และ การประเมินผล รวมทั้ง
การกระทำ ที่แสดงออกถึงความพยายามทำงานด้วยความรอบคอบเพื่อให้งานหรือกิจกรรมนั้นได้
บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้
การเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง หมายถึง การเป็นหมู่บ้านน่าอยู่ ซึ่งประกอบไป
ด้วย ครอบครัวมีความอบอุ่น เศรษฐกิจมีความสมดุล องค์กรชุมชนเข้มแข็ง มีการจัดการทรัพยากร
สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
ครอบครัวมีความอบอุ่น หมายถึง ครอบครัวที่มีสมาชิกผูกพันรักใคร่ มีความเห็นอกเห็นใจ
และเข้าใจซึ่งกันและกันเป็นอย่างดี มีกิจกรรมร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ เช่น การช่วยกันทำอาหารเพื่อ
ทำบุญตักบาตร หรือไปทำบุญที่วัดด้วยกัน สมาชิกในครอบครัวไม่แยกย้ายออกไปอยู่ในท้องถิ่นอื่น
เศรษฐกิจมีความสมดุล หมายถึง เศรษฐกิจภายในครอบครัวมีความมั่นคง ด้วยการทำเกษตร
ปลูกผักสวนครัวไว้เพื่อการบริโภคอย่างพอเพียงมีวิถีชีวิตและความเป็นอยู่แบบพออยู่พอกิน
ครอบครัวมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจและไม่แปรเปลี่ยนหรือไม่ได้รับผลกระทบจากการเกิด
ภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจ
องค์กรชุมชนเข้มแข็ง หมายถึง องค์กรชุมชนที่ชาวบ้านได้รวมกลุ่มกันสร้างขึ้นภายใต้กระบวน
การเรียนรู้ถึงหลักแห่งการรวมกลุ่มดำเนินกิจกรรมตามวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาและช่วยกัน
แก้ปัญหาซึ่งกันและกันอย่างมีประสิทธิภาพและตรงกับความต้องการของทุกคนโดยได้รับการ
ประสานความร่วมมือร่วมแรงร่วมใจทั้งบุคคลภายในและภายนอกหมู่บ้านจนประสบความสำเร็จ และ
องค์กรเหล่านั้นยังคงได้รับการสนับสนุนให้ดำเนินกิจกรรมต่างๆ พร้อมทั้งมีการขยายขอบเขตให้
กว้างขวางมีจำนวนสมาชิกเพิ่มมากขึ้น มีการดำเนินกิจกรรมมานานและยังคงดำเนินการต่อไป ได้แก่
กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มผู้ใช้น้ำ กลุ่มแม่บ้าน และกลุ่มเยาวชนต้านภัยยาเสพติด
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องพร้อมทั้งได้นำเสนอ
ให้เห็นความสัมพันธ์เชิงหลักการทฤษฎีของตัวแปรอิสระ ตัวแปรตาม และลักษณะสภาพการเป็น
หมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในจังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งจะนำเสนอตามลำดับ ดังต่อไปนี้
1. หมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
1.1 แนวคิดเรื่องเศรษฐกิจชุมชน
1.2 ทฤษฎีการพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจของชุมชนชนบท
2. แนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับสมมติฐานการวิจัย
2.1 เทคโนโลยีภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
2.2 เศรษฐกิจกับการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
2.3 ทรัพยากรกับการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
2.4 จิตใจกับการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
2.5 สังคมกับการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
2.6 การมีส่วนร่วมกับการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
2.7 การจัดการกับการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
3. ลักษณะหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในจังหวัดสมุทรสาคร
กลา่ วไดว้ า่ การตระหนักถึงความสำคัญของคนในชนบทซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ
และความมุ่งหวังที่ต้องการพัฒนาประเทศชาติให้มีความมั่นคงได้นั้น จำเป็นจะต้องสร้าง
ความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นกับพลเมืองส่วนใหญ่ของประเทศเป็นลำดับแรกด้วยการส่งเสริมและ
สนับสนุนการพัฒนาให้ประชากรเหล่านั้นสามารถช่วยตัวเองและพึ่งตนเองได้ จากความเชื่อ
ที่ว่ามนุษย์ทุกคนมีคุณค่าและมีศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ หลักการพึ่งตนเองจึงเป็น
รูปแบบการดำรงชีวิตดั้งเดิมของชาวชนบทซึ่งพึ่งพาปัจจัยพื้นฐานทางศักยภาพภายในท้องถิ่นของ
ตนเป็นหลัก ได้แก่ทรัพยากรท้องถิ่น วัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณี และการเรียนรู้ที่
สะสมถ่ายทอดกันมา การเชื่อมโยงระหว่างชุมชนสังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมด้วยหลัก
แห่งคุณธรรมตามวิถีชีวิตชุมชนอย่างบูรณาการ ซึ่งมีการเชื่อมโยงผสมผสานกันจนกลายเป็น
ปัจจัยเหตุแห่งการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองพอสังเขปดังนี้
10
1. หมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
การเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง คือหมู่บ้านที่นำไปสู่เป้าหมาย “หมู่บ้านน่าอยู่”
ซึ่งประกอบด้วย ครอบครัวอบอุ่น เศรษฐกิจชุมชนดี องค์กรชุมชนเข้มแข็ง ปลอดยาเสพติดและ
โรคเอดส์ การจัดการสิ่งแวดล้อมยั่งยืน โดยมีกองพัฒนาสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม
กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทยคือผู้กำหนดแนวทางการดำเนินงานขึ้นเพื่อสนองต่อ
นโยบายเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำในปี พ.ศ. 2540 โดยกำหนดให้ “หมู่บ้าน”
หรือ “ชุมชน” ใช้ศักยภาพ หรือ พลังที่มีอยู่แก้ปัญหาตนเองและพัฒนาให้ “หมู่บ้าน” หรือ
“ชุมชน” ของตนมีสภาพเป็นศูนย์กลางหรือหน่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจให้สามารถพึ่งพาตนเอง
แบบพออยู่พอกินรู้จักจัดการทรัพยากรที่ดินทำกินอย่างเหมาะสมตามแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่
เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกันของชุมชนในท้องถิ่น โดยมีเป้าหมายคือให้ประชาชนทุกคนในหมู่
บ้านมีชีวิตอย่างปกติสุข โดยแต่ละครอบครัวสามารถสร้างรายได้ให้มีความสมดุลกับค่าใช้จ่ายและ
สามารถมีเงินเหลือเก็บไว้ใช้ในยามจำเป็น
จากเอกสาร สรุปรายงานผลการดำเนินงานโดยโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
ของกรมพัฒนาชุมชน เมื่อ เดือนกันยายน 2543 ได้นำเสนอข้อมูลและหลักการที่สำคัญของ
โครงการดังกล่าว โดยมีเนื้อหาดังนี้
1. การดำเนินงานหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองมีความสำคัญต่อนโยบายของรัฐบาลในการ
พัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ดังนี้
1.1 การฟื้นฟูเศรษฐกิจและเพิ่มพูนศักยภาพกลับสู่ปกติและส่งผลถึงความเข้มแข็ง
ทางเศรษฐกิจ
1.2 นโยบายกระทรวงมหาดไทย ในเรื่อง “ปากท้อง และส่งเสริมเรื่องประชาคมในระดับ
หมู่บ้าน”
1.3 การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน โดยกระบวนการเรียนรู้ และการทำงานแบบ
พหุภาคี
1.4 ให้หมู่บ้านเป็นหน่วยของการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครอง
ที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม
11
2. การพัฒนาหมู่บ้านแบบองค์รวม
การดำเนินงานหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองเป็นการพัฒนาแบบองค์รวมโดยการ
บูรณาการทรัพยากรที่มีอยู่ในหมู่บ้านนั้นๆ และการสนับสนุนจากภายนอกชุมชนทั้งภาครัฐ
เอกชนและองค์การพัฒนาเอกชน (NGO) ซึ่งเน้นการพัฒนาในเชิงคุณภาพ
3. กระบวนการพัฒนาหมู่บ้าน
ใช้ในการระดมทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน ทั้งคน ทุน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผลผลิต
ของชุมชนมาแก้ปัญหาของชุมชนในลักษณะคิดเอง ทำเอง และแก้ไขปัญหาของตนเอง โดยผ่าน
กระบวนการเวทีชาวบ้าน
4. สิ่งที่ชุมชนได้รับจากการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง นั้นคือการเป็นหมู่บ้านที่ประชาชน
และองค์กรเครือข่าย ร่วมกันคิด ตัดสินใจ วางแผนปฏิบัติงาน โดยการจัดการทรัพยากรที่มีอยู่
อย่างคุ้มค่า เกิดการเกื้อกูล และอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข
5. “หมู่บ้านน่าอยู่” (บ้านสวย น้ำใส) ชุมชนที่เข้มแข็ง และยั่งยืน
การรณรงค์พัฒนาสิ่งแวดล้อมชุมชน โดยกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกประชาชนให้ตระหนักถึง
ความสาํ คญั ของปญั หาสงิ่ แวดลอ้ มและพฒั นาทอี่ ยอู่ าศยั เปน็ กจิ กรรมทเี่หมาะสมอย่างยิ่งที่ทำให้หมู่บ้านน่าอย ู่
อันส่งผลให้คุณภาพชีวิตและสุขภาพจิตของประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นโดยที่องค์กรชุมชนมี
ส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชน โดยการปรับสภาพแวดล้อมในครัวเรือน ชุมชน เช่น
การทำความสะอาด กำจัดขยะมูลฝอย ปรับปรุงถนน รั้วบ้าน พัฒนาทำความสะอาดแหล่งน้ำ
สำหรับอุปโภค บริโภค ปลูกต้นไม้ยืนต้น ไม้ดอก ไม้ประดับ ในบริเวณบ้านเรือนและที่สาธารณะ
ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนได้เห็นความสำคัญของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อัน
เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนชุมชนดีขึ้นอย่างเข้มแข็งและยั่งยืนตลอดไป
ตัวชี้วัดความสำเร็จของหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
1. มิติทางด้านสังคม (ชุมชนเข้มแข็ง)
1.1 การจัดเวทีชาวบ้าน
1.1.1 มีการจัดเวทีชาวบ้านสม่ำเสมออย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
1.1.2 มีตัวแทนชาวบ้าน/ตัวแทนกลุ่มและองค์กรต่าง ๆ เข้าร่วมประชุม
ทุกครัวเรือนทุกกลุ่ม
1.1.3 มีการพูดคุยกันในประเด็นที่เกี่ยวกับการพัฒนาหมู่บ้าน
1.1.4 มีการแบ่งหน้าที่กันทำงานตามที่ได้ตกลงในเวทีชาวบ้าน
1.2 ครอบครัวอบอุ่น
1.2.1 สมาชิกในครอบครัวมีกิจกรรมร่วมกันสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง
1.2.2 สมาชิกในครอบครัวไม่มีการอพยพไปทำงานที่อื่น
1.2.3 ทุกครัวเรือนมีอาหารบริโภคเพียงพอตลอดทั้งปี
12
2. มิติด้านเศรษฐกิจ
2.1 มาตรการ 5 มาตรการของกระทรวงมหาไทย
2.1.1 มีกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตที่ชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นสมาชิก
2.1.2 มีกลุ่มอาชีพที่สามารถทำรายได้ให้ชาวบ้าน
2.1.3 หมู่บ้านมีผังเครือข่ายกลุ่มอาชีพและอาชีพเสริม
2.1.4 หมบู่ า้ นมลี านคา้ และตลาดนดั ชมุ ชนทชี่ าวบา้ นใชแ้ ลกเปลยี่ นซอึ้ ขายสนิ คา้
2.1.5 หมู่บ้านมีเครือข่ายร้านค้าชุมชนกับชุมชนอื่น
2.1.6 เป็นหมู่บ้านโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.)
2.2 รายได้จาการประกอบอาชีพ
2.2.1 ทุกครัวเรือนมีอาชีพหลักและมีรายได้จากอาชีพหลัก
2.2.2 ทุกครัวเรือนมีอาชีพเสริมที่ทำให้มีรายได้สม่ำเสมอตลอดทั้งปี
2.2.3 ทุกครัวเรือนปลูกผักสวนครัว
2.2.4 หมู่บ้านมีน้ำเพื่อการบริโภคและอุปโภคทุกครัวเรือนตลอดทั้งปี
3. มิติทางด้านการเมืองการปกครอง
3.1 การมีส่วนร่วมในการปกครอง
3.1.1 ทุกครัวเรือนมีส่วนร่วมในเวทีชาวบ้านสม่ำเสมอ
3.1.2 เวทีชาวบ้านเปิดโอกาสให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็นร่วมกัน
3.1.3 ผู้นำในเวทีชาวบ้านไม่ใช่ผู้นำที่ทางราชการแต่งตั้ง
3.1.4 สภา อบต. เปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกร่วมรับทราบข้อมูล
3.2 การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน
3.2.1 ทุกครัวเรือนมีส่วนร่วมในกิจกรรมพัฒนาหมู่บ้าน
3.2.2 ทุกครัวเรือนได้รับคำแนะนำ การปรึกษาหารือจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ
(4 กระทรวงหลัก)
3.2.3 ทุกครัวเรือนได้รับข่าวสารทั่วไปและการประกอบอาชีพอย่างสม่ำเสมอ
4. มิติทางด้านสิ่งแวดล้อม
4.1 หมู่บ้านมีการอนุรักษ์ป่า และใช้ทรัพยากรจากป่าอย่างมีประสิทธิภาพ
4.2 ครัวเรือนที่ทำการเกษตรลดการใช้สารเคมีในการปราบศัตรูพืช
4.3 ในหมู่บ้านมีการจัดระเบียบชุมชน
4.4 ครัวเรือนที่ทำการเกษตรลดการใช้ปุ๋ยเคมี แลเพิ่มการใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก
4.5 ทุกครัวเรือนปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผลหลากหลาย
4.6 เป็นหมู่บ้านที่มีการจัดการด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
13
5. มิติด้านอื่น ๆ (ความปลอดภัยและยาเสพติด)
5.1 ทุกครัวเรือนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
5.2 หมู่บ้านปลอดยาเสพติดให้โทษทุกชนิด
5.3 หมู่บ้านมีการจัดการกับปัญหาโรคเอดส์ได้
6. การรายงาน ติดตามประเมินผล ให้มีคณะกรรมการติดตามประเมินผลระดับต่าง ๆ ดังนี้
6.1 ระดับอำเภอ ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่หรือผู้แทนของ กพอ./กพอ.กิ่ง อำเภอเมือง
6.2 ระดับจังหวัด ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่หรือผู้แทนของ กพจ.
6.3 ระดับเขต ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ส่วนราชการต่าง ๆ ในระดับเขต
เมื่อได้ดำเนินการโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองครอบ 6 เดือน ในเดือน
กันยายน 2543 กรมพัฒนาชุมชนจะดำเนินการติดตามประเมินผลโครงการฯ ในเดือนตุลาคม
ถึง เดือนพฤศจิกายน 2543 เพื่อสรุปผลในภาพรวมและนำเสนอกระทรวงมหาดไทย และ
คณะรัฐมนตรีให้ทราบต่อไป
แนวคิดเรื่องเศรษฐกิจชุมชน
ประเวศ วะสี (2541: 43-44) ได้ให้ความหมายของเศรษฐกิจชุมชนไว้ดังนี้
เศรษฐกิจชุมชนหรือเศรษฐกิจพื้นฐาน หมายถึง เศรษฐกิจที่คำนึงถึงการทะนุบำรุงพื้นฐาน
ของตัวเองให้เข้มแข็ง ทั้งทางสังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจพื้นฐานของสังคม
คือชุมชน
เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง พอเพียงสำหรับทุกคน มีธรรมชาติมีความรักพอเพียงมี
ปัญญา พอเพียง เมื่อทุกอย่างพอเพียงก็เกิดความสมดุล จะเรียกว่าเศรษฐกิจสมดุล เศรษฐกิจ
พื้นฐาน เศรษฐกิจชุมชน ล้วนมุ่งไปสู่เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง หมายถึง การประกอบสัมมาอาชีพของชาวบ้านที่เน้นการ
ช่วยเหลือ ร่วมมือกันในรูปกลุ่มกิจกรรมการเกษตร ต่อเนื่องการเกษตร และนอกภาคเกษตรใน
ระดับครอบครัว เพื่อพอกินพอใช้ และกิจกรรมกลุ่มอาจขยายสู่ระดับชุมชนและสู่ภูมิภาคใน
อนาคต ในการนี้ได้เน้นจุดหมายเพื่อให้คนมีความสุขและชุมชนมีความเข้มแข็ง (กระทรวง
มหาดไทย 2541 : 109-112)
14
เศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง หมายถึง “ตนนั่นแหละเป็นที่พึ่งแห่งตน”เป็นที่ตั้ง โดยคำนึงถึง
สภาพภูมิศาสตร์ และทรัพยากรท้องถิ่น (สังศิต พิริยะรังสรรค์ 2541 : 55-56)
เศรษฐกิจชุมชน หมายถึง กิจกรรมทางเศรษฐกิจของชุมชน อันประกอบด้วยกิจกรรมทาง
การผลิต กิจกรรมทางการขายผลผลิต กิจกรรมการซื้อและการบริโภคของชุมชนและกิจกรรมที่
ก่อให้เกิดค่าจ้าง ค่าเช่า และกำไรของชุมชน (ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ 2542 : 88)
วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร (2542 : 63-71) ได้กล่าวถึงสาเหตุหรือปัจจัยแห่งปัญหาความ
ยากจน และยากไร้ของคนไทยที่ประสบอยู่อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน คือ
1. ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติที่ร่อยหรอและลดน้อยลงตลอดเวลา
2. ความเอื้ออำนวยของดินฟ้าอากาศที่มีการแปรปรวนตลอดเวลาและไม่สามารถควบคุมได้
3. การเปลี่ยนแปลงทางด้านประชากรที่เพิ่มมากขึ้นในครอบครัวที่ยากจนอยู่แล้ว
4. การดำเนินชีวิตอย่างประมาท ใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย และขาดการพึ่งตนเอง
5. การประกอบอาชีพในด้านเศรษฐกิจไม่พอเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง
6. เทคโนโลยีการเกษตรที่สนองความต้องการไม่มีประสิทธิภาพ และพอเพียงเหมาะสม
ดังนั้น การฟื้นฟูเศรษฐกิจให้มีความสมดุลเพื่อแก้ปัญหาความยากจนและยากไร้ ได้แก่
1. วางแผนการผลิตและการตลาดร่วมกับผู้ผลิตชาวชนบทในพื้นที่
2. ปรับปรุงเทคโนโลยีบนพื้นฐานการพึ่งตนเอง
3. ระดมเงินออมในบริบทของความช่วยเหลือระหว่างสมาชิกของชุมชน
4. การพัฒนาสังคม ด้วยการ ฟื้นฟูวัฒนธรรมของหมู่บ้าน สนับสนุนแบบอย่างที่ดีของผู้นำ
ในชนบท และปลูกจิตสำนึกในการดำเนินชีวิตที่เรียบง่าย มักน้อย ไม่ฟุ่มเฟือย
5. ชาวชนบทเป็นผู้รับผิดชอบเศรษฐกิจของตนเอง
ฉัตรทิพย์ นาถสุภา (2543 : 134-172) ได้กล่าวไว้ว่า ชุมชนนั้นเป็นสาระและแก่นแท้
ของสังคมเพราะชุมชนนั้นเน้นคุณค่าความเป็นคนและนำ้ ใจความช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่าง
เพื่อนมนุษย์ การวิจัยท้องถิ่นเป็นการวิจัยเพื่อการฟื้นฟูเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม เพื่อที่ท้องถิ่นจะ
สามารถกำหนดชีวิตของตัวเอง ณ ระดับครัวเรือน เพื่อให้รู้จักตนเองโดยมีข้อมูลสำคัญ 3
ประเภท คือ
1. สภาพของอากาศ ลักษณะพื้นที่ ภูมิประเทศ การใช้ที่ดิน และนำองค์ประกอบด้าน
ประชากร ความหนาแน่นของประชากร การเพิ่มของประชากร กิจกรรมทางเศรษฐกิจของ
ประชาชน ผลผลิตต่อหน่วยที่ดิน เครื่องมือที่จะบูรณาการความอุดมสมบูรณ์ของที่ดิน เทคนิค
การผลิต พันธุ์พืช สัดส่วนของพืชในการเพาะปลูก ชนิดและปริมาณของสัตว์เลี้ยง การแปรรูป
15
ผลผลิตการเกษตร หัตถกรรมและอุตสาหกรรม การบริโภคในชุมชน ผลผลิตภายในและภายนอก
ระยะทางจากตลาด ลักษณะการถือครองที่ดิน สัดส่วนของผู้เช่าที่ดิน สภาพคล่องทางการเงินของ
ชาวนา สถาบันเครดิต การเป็นหนี้และเจ้าหนี้ของครัวเรือน ส่วนเกินของผลผลิตการค้าและ
การสะสมทุน การรวมกลุ่มของชาวนา สหกรณ์รูปแบบต่าง ๆ
2. ปฏิทินการผลิตและการใช้แรงงานของชาวนาตลอดปี จำนวนวันทำงาน วันพักผ่อน
และวันไปร่วมงานเทศกาล
3. บัญชีรายรับรายจ่ายของครัวเรือนใน 1 ปี
ทฤษฎีการพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจของชุมชนชนบท
การพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจในชนบทสามารถพึ่งตนเองได้ด้วยปัจจัยที่สำคัญ 5 ด้านหรือ
TERMS ซึ่งประกอบด้วย Technology, Economic, Resource, Mental and Socio-Cultural
(สัญญา สัญญาวิวัฒน์ 2542 : 68) ที่นำมาเป็นหลักในการศึกษาวิจัยปรากฏการณ์ในชนบท
ทั้งในด้านการพึ่งตนเองและการพัฒนาชนบทรวมถึงการสร้างความสมดุลของชาวชนบทโดยมีการ
ขับเคลื่อนอย่างเป็นพลวัตรซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
การพึ่งตนเองทางด้านเทคโนโลยี (Technology Self - reliance : T)
หมายถึง ชุมชนสามารถประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการทำนา
ทำไร่ หรือรวมถึงการทำอุตสาหกรรมในครัวเรือน การติดต่อค้าขาย หรือแม้แต่การประกอบอาชีพ
ด้านการบริการซ่อมเครื่องจักร เทคโนโลยียังมีส่วนช่วยในการสื่อสารติดต่อกับภายนอกชุมชน
ทำให้ได้รับข่าวสารที่ดี รู้จักการประชาสัมพันธ์ การบริหารโครงการ เทคโนโลยียังหมายถึงของ
สมัยใหม่และของดั้งเดิมของท้องถิ่นที่เรียกว่าภูมิปัญญาชาวบ้านซึ่งในอดีตชนบทเป็นการพึ่งพา
เทคโนโลยีของตนเองในลักษณะของภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ได้รับการถ่ายทอดมาเป็นเวลานานทั้งด้าน
การประกอบอาชีพ เช่น การเพาะปลูกโดยใช้พืชพันธุ์ท้องถิ่นที่มีลักษณะพิเศษ ปุ๋ยธรรมชาติ
ทำการเกษตรแบบผสมผสาน การดูแลรักษาสุขภาพร่างกายของตนเอง ซึ่งเทคโนโลยีพื้นบ้าน
ทั้งหลายต้องมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับเศรษฐกิจสังคม โดยไม่ก่อให้เกิดการทำลาย
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
การพึ่งพาตนเองทางด้านเศรษฐกิจ (Economic Self-reliance : E)
หมายถึง ชุมชนสามารถดำรงชีวิตทางเศรษฐกิจได้ด้วยตนเอง โดยที่ประชาชนใน
ชุมชนมีอาชีพเลี้ยงตัวเองให้มีรายได้พอเพียง สามารถซื้ออาหารหรือปัจจัย 4 อย่างอื่นได้
และยังอาจหมายถงึ การทปี่ ระชาชนในชุมชนสามารถซื้อสิ่งของยารักษาโรคไปพบแพทยเ์ พื่อรับการ
รักษาพยาบาล การรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ซื้ออุปกรณ์การศึกษาเพื่อตนเองและ
16
บุตรหลานในการศึกษาเล่าเรียนพัฒนาให้มีความเฉลียวฉลาดเพิ่มมากขึ้น การประกอบอาชีพ
ที่อยู่ในรูปแบบความพอดี พอเพียง ไม่เน้นผลประโยชน์ที่เป็นวัตถุกำไรแต่เน้นที่การพึ่งตัวเอง
เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขมากกว่าการแข่งขัน
การพึ่งตนเองในด้านทรัพยากรธรรมชาติ (Natural Resource Self-reliace : R)
หมายถึง การพึ่งพาธรรมชาติเป็นหลัก ทรัพยากรธรรมชาติในที่นี้หมายถึง สิ่งใดๆ ที่
มีอยู่ธรรมชาติในชุมชนหรือสามารถหามาได้ เช่น ดิน น้ำ ป่า สัตว์บกและสัตว์น้ำ ร่วมทั้งแร่ธาตุ
ตา่ งๆ ทมี่ คี า่ และความสาํ คญั ตอ่ การดำรงชีวิตมนุษย์ชุมชนสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ
นั้นและสามารถรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้ดำรงอยู่ไม่ให้เสื่อมเสียไปจนหมดสิ้น หรือไม่ทำให้
ธรรมชาติเสียความสมดุล เป็นการดำรงชีวิตอยู่บนพื้นฐานความคิดของการอยู่ร่วมกัน มองเห็น
ธรรมชาติเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติที่เกื้อกูลซึ่งกันและกัน มีความพอดี
รวมถึงการยึดมั่นในประเพณีที่เอื้อต่อการอนุรักษ์และรักษาสิ่งแวดล้อมให้ดำรงอยู่อย่างยั่งยืน
การพึ่งพาตนเองทางด้านจิตใจ (Mental Self-reliance : M)
หมายถึง ในชุมชนนั้นมีบุคคลที่มีจิตใจเข้มเข็ง และมั่นใจว่าจะช่วยตนเองพึ่งพาตนเอง
ได้ และยังรู้จักพอ ไม่โลภมากเกินไป หรืออยากได้อยากมีจนเกินความสามารถของตน สามารถที่
จะต่อสู้กับปัญหาอุปสรรคต่างๆ ในการหาเลี้ยงชีพ หรือพัฒนาชีวิตให้มีความเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น
การที่บุคคลพึ่งตนเองได้ทางจิตใจแล้วยังจะเป็นรากฐานของการพึ่งตนเองด้านอื่น เช่น สังคม
เศรษฐกิจและเทคโนโลยีอีกด้วย หรืออาจกล่าวได้ว่าการพึ่งตนเองทางด้านจิตใจเป็นแนวทางการ
พึ่งธรรมะเป็นหลัก ซึ่งสนับสนุนให้คนมีคุณธรรม หรือใฝ่คุณธรรม อันจะก่อให้เกิดความเมตตา
กรุณา เอื้ออารีต่อกันให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันเกิดความร่วมมือร่วมใจในการแก้ไข
ปัญหาบนพื้นฐานของคุณธรรม
การพึ่งตนเองในทางสังคม วัฒนธรรม (Social-Culture Self-reliance: S)
หมายถึง การให้ความสำคัญของประเพณีภายในท้องถิ่นเป็นหลักการรักษาสืบทอด
ประเพณีของท้องถิ่นจะมีผลต่อการสร้างจิตสำนึกให้เกิดการรักท้องถิ่น โดยมีประเพณีเป็น
สิ่งเชื่อมโยงความเป็นปึกแผ่นของสังคมในภาคชนบทที่มีผลถึงความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว
และคนอื่นเป็นการสร้างความสามัคคีและส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มกันเพื่อสร้างประโยชน์
ต่อส่วนรวม
17
การมีส่วนร่วม
เป็นส่วนหนึ่งของหลักการ PAR (Participation Action Research) คือ การดำเนินการ
พัฒนาและวิจัยการพัฒนาพร้อมๆ กันไปโดยทั้งเจ้าหน้าที่พัฒนา และประชาชนช่วยกันดำเนินการ
ซึ่งหลักการเช่นนี้เป็นการแสดงถึงความพยายามทำงานอย่างรอบคอบเพื่อให้ดำเนินงานไปตาม
เป้าหมายที่วางไว้ แต่การมีส่วนร่วมในที่นี้คือการที่สมาชิกในชุมชนได้เข้ามามีส่วนในการ ร่วมคิด
ตัดสินใจ และร่วมประเมินกิจกรรมที่ชุมชนได้กำหนดขึ้นเองอันก่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน
การจัดการ
เป็นการพัฒนาชุมชนแบบจัดการ ซึ่งประกอบด้วย การรู้จักตนเอง หรือศึกษาตนเอง เพื่อ
ให้ชุมชนรู้ว่า สภาพชุมชนเป็นเช่นไร มีปัญหา อะไร และมีความต้องการอะไรบ้าง การส่งเสริม
การศึกษาอบรม เพราะหลักการจัดการทั่วไปต้องมีการวางแผน การจัดกำลังคน การลงมือ
ดำเนินการและการประเมินผล ซึ่งจะต้องได้รับการศึกษาอบรม เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และเข้าใจ
อันนำไปสู่ การคิด การตัดสินใจ และนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ และ การ
สร้างกลุ่มเพื่อช่วยตนเอง อาจเป็นคณะกรรมการ คณะทำงาน ซึ่งกลุ่มเหล่านี้มีประโยชน์ต่อการ
จัดการและจำเป็นต่อการบรรลุเป้าหมาย
สรุปสาระสำคัญของทฤษฎีการพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจของชุมชนชนบท การมีส่วนร่วมและ
การจัดการ คือหลักสำคัญที่ใช้ในการดำรงชีวิตของปัจเจกชนและชุมชนไปตามวิถีชีวิตวัฒนธรรม
ของไทยที่อยู่บนพื้นฐานของศักยภาพความสมดุลระหว่างมนุษย์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่อยู่ได้
อย่างมีความสุขร่วมกัน ประเด็นสำคัญที่ผู้วิจัยนำทฤษฎีนี้มาวิเคราะห์ เพื่อชี้ให้เห็นว่าการเป็น
หมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองจะมีความยั่งยืน ต้องประกอบไปด้วยปัจเจกชนที่สามารถพึ่งตนเอง
ได้ในทุกๆ ด้าน จึงสามารถนำชุมชนไปสู่เศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองต่อไป และเมื่อปัจเจกชนสามารถ
พึ่งตนเองได้แล้ว การเพิ่มศักยภาพและความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นกับปัจเจกชนและชุมชนได้แก่การ
สร้างให้บุคคลและชุมชน เกิดการมีส่วนร่วมและการจัดการให้เป็นพลังที่มีการขับเคลื่อนอยู่ใน
หมู่บ้าน ชุมชน และสังคมนั้น ๆ ตลอดเวลา
จากการเปน็ หมบู่ า้ นเศรษฐกจิ ชมุ ชนพงึ่ ตนเองเปน็ การมองวิถีชีวิตความเป็นอยู่คนในครอบครัวแต่ละ
ครอบครัว และมองผลการพัฒนาหมู่บ้านอย่างบูรณาการและเป็นองค์รวม โดยเฉพาะเรื่องการ
ทำมาหากินเลี้ยงปากเลี้ยงท้องของชาวบ้านให้เพียงพอแก่ตนเองและครอบครัว ด้วยการนำกระแส
พระราชดำรัชของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเรื่องเศรษฐกิจแบบพอเพียง การรู้จักประมาณตน
คือหลักในการดำเนินชีวิต และวิถีชีวิตการพึ่งตนเอง มาเป็นแนวทางในการวิจัย นั้นคือการพัฒนา
18
หมู่บ้านทุกๆ ด้านไปพร้อมๆ กัน อันได้แก ่ การพัฒนามนุษย ์ สังคมวัฒนธรรม เศรษฐกิจ
ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มจากการให้หมู่บ้านหรือชุมชน มีเศรษฐกิจแบบพอเพียง
คือ มีรายได้พอเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง การสร้างรายได้ให้สมดุลกับรายจ่าย และพยายามให้มีเหลือ
เก็บจึงเรียกได้ว่าครอบครัวมีความอบอุ่นและชุมชนเข้มแข็งมีเสถียรภาพและมีความยั่งยืน ดังนั้น
ผู้วิจัยจึงได้รวบรวมปัจจัยเบื้องต้นที่มีความสำคัญที่ทำให้เกิดความสมดุลทั้งด้านวัตถุและจิตใจ
หรือ ทั้งด้านเศรษฐกิจสังคมวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม ของผู้นำครอบครัวและชุมชน ได้แก่
ปัจจัยเบื้องต้นทั้ง 7 ด้าน ที่ส่งผลให้ชาวบ้านในหมู่บ้านมีสภาวะที่สมดุลทั้งทางร่างกายและจิตใจ
ตามอัตถภาพ นั้นคือ ชาวบ้านมีวิถีชีวิตมีความสุขที่เรียบง่ายเหมือนดังแต่ก่อนชุมชนมีความมั่นคง
ยั่งยืนเป็นปึกแผ่นเข้มแข็ง ไม่แปรเปลี่ยนไปโดยง่ายเมื่อได้รับผลกระทบใด ๆ ก็ตาม
2. แนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับสมมติฐานการวิจัย
จากการชี้แจงถึงหลักการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง และหลักทฤษฎีการพึ่งตนเอง
ทางเศรษฐกิจของชุมชนชนบทที่ได้กล่าวมาข้างต้น ในลำดับต่อไปผู้วิจัยได้เสนอแนวคิดและทฤษฎี
อื่นที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับสมมติฐานการวิจัยถึงรายละเอียดในลำดับต่อไปนี้
1. เทคโนโลยี ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
2. เศรษฐกิจกับการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
3. ทรัพยากรธรรมชาติกับการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
4. จิตใจกับการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
5. สังคมกับการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
6. การมีส่วนร่วมกับการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
7. การจัดการกับการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
2.1 เทคโนโลยีภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
เทคโนโลยีภูมิปัญญาท้องถิ่น หมายถึง การยอมรับและการนำความรู้ วิธีการ เครื่องมือ
สิ่งประดิษฐ์หรืออุปกรณ์ ทั้งที่เป็นของดั้งเดิมจากภูมิปัญญาท้องถิ่นและสิ่งที่ค้นพบใหม่ เพื่อ
ประโยชน์ในการประกอบอาชีพ และดำรงชีวิต ซึ่งมีความสอดคล้องและเหมาะสมกับสภาพทาง
เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรมและปัจจัยพื้นฐานหรือทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น ได้แก่ การนำต้นจาก
มาเย็บเป็นตับจาก ต้นกก และ เตย ที่นำมาสานเป็นเสื่อ การดูแลรักษาตนเองโดยใช้ยาสมุนไพร
การใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกปุ๋ยชีวภาพโดยการหมักวัชพืช เศษอาหาร หอยเชอรี่ หัวปลาสับ
น้ำมะพร้าวและกากน้ำตาล การใช้ สปริงเคลอร์ (Sprinkler) รดน้ำ การใช้เครื่องฉีดพ่น
19
จากการที่มนุษย์รู้จักการสร้างเทคโนโลยีคือ การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์บางส่วนมา
ประยุกต์ให้มีคุณค่าทางด้านการปฏิบัติ การใช้เครื่องมือ เครื่องจักรกล วัสดุ ระบบกระบวนการ
เพื่อการผลิตสินค้า การแปรรูปทางการเกษตร หรือ กิจกรรมอันเป็นประโยชน์อื่นๆ ซึ่งเป็น
ปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มผลผลิตและการบริการ ทำให้เกิดรายได้เพิ่มมากขึ้นและนำพาความเจริญ
เติบโตทางด้านเศรษฐกิจมาสู่ประชาชน ทำให้ความยากจนได้รับการแก้ไขและขจัดให้หมดไป
การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้สูงขึ้นนั้นคือการมีความสุขทั้งทางร่างกายและจิตใจ เช่น
เดียวกับ ฮอบคิ้น และ โฮเวน (Hopkins And Hoe Ven 1983: 79) เชื่อว่า การเจริญเติบโต
ทางด้านเศรษฐกิจ จะต้องอาศัยทฤษฎีการพัฒนาประเทศให้ทันสมัยด้วยการพัฒนาความก้าวหน้า
ทางเทคโนโลยี การออม การลงทุน ฮันติตัน (Huntington 1968 : 23) กล่าวว่า กิจกรรมทาง
ด้านเศรษฐกิจ มิได้จำกัดอยู่เพียงอย่างเดียวหรือสองอย่าง หากต้องมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น ระดับ
ของความชำนาญสูงขึ้น ส่งผลต่อการขยายตัวและเพิ่มความสามารถในการนำทรัพยากรต่างๆ มา
ใช้ได้อย่างกว้างขวางจนเกิดเป็นระบบและเครือข่ายทางเศรษฐกิจได้อย่างเข้มแข็ง ซึ่งจะต้องทำให้
เทคโนโลยีมีความเหมาะสมและถูกพัฒนาขึ้นมาในแต่ละท้องถิ่น บนพื้นฐานความรู้และภูมิปัญญา
ที่ชาวบ้านที่ได้สะสมและถ่ายทอดมาอันเป็นการปรับปรุงตามยุคตามสมัย นั้นหมายถึงการนำความ
เจริญก้าวหน้าจากภายนอกมาผสมผสานและบูรณาการขึ้นมาให้เหมาะสมกับตนเอง ซึ่งสามารถ
ควบคุมได้โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อตนเองและสิ่งแวดล้อม
เสรี พงศ์พิศ (2539 : 33) ได้ให้ความหมายของภมู ปิ ญั ญาทอ้ งถิน่ คอื องคค์ วามรใู้ น
ดา้ นตา่ งๆ ในการดาํ รงชวี ติ ของคนไทยทเี่ กดิ จากการสะสมประสบการณท์ งั้ ทางตรงและทางออ้ ม
ประกอบกับแนวความคิดวิเคราะห์ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ของตนเองจนเกิดการหลอมรวมเป็น
แนวคดิ ทมี่ ลี กั ษณะเฉพาะของตน และพฒั นาความรูด้ งั กลา่ วมาประยกุ ตใ์ ชใ้ หเ้ หมาะสมกับกาลสมยั
ในการแกป้ ญั หาการดาํ รงชวี ติ ดงั ผลการดาํ เนินงานของชาวไมเ้ รยี งซงึ่ เปน็ ชมุ ชนตวั อยา่ งทที่ าํ ใหเ้ กิด
ยุทธศาสตร์ของการพัฒนาเพื่อการพึ่งตนเองด้วยการทำคำว่า “ภูมิปัญญาชาวบ้าน” เป็นคำหลักที่
สำคัญในสังคมไทยอันเป็นตัวแบบสำคัญในการดำเนินงานพฒั นาชมุ ชนเพอื่ เศรษฐกจิ และสงั คมทมี่ ี
ความเขม้ แขง็ และย่งั ยนื ตลอดไป (เสร ี พงศพ์ ศิ 2542 : คาํ นาํ )
สังศิต พิริยะรังสรรค์ (2542 : 32) ได้เสนอ “กลยุทธสองขา” ในการพัฒนาชนบทและ
สังคมของไทยด้วยยุทธศาสตร์การผลิตเพื่อส่งออกและยุทธศาสตร์เศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองโดย
ปรับให้เศรษฐกิจชุมชนเป็นการผลิตขนาดเล็กและขนาดย่อมของชุมชน ด้วยการใช้วัตถุดิบและ
เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับท้องถิ่น
20
ทฤษฎีการรับรู้
จากทฤษฎี กระบวนการติดต่อสื่อสาร ของ โรเจอร์ และชูเมคเกอร์ (Roger And
Shoemaker 1973 : 33-34) ได้สรุปขั้นตอนของการรับรู้วิทยาการใหม่ไว้ 5 ขั้นตอนคือ
1. ขั้นการตระหนัก หมายความว่า บุคคลได้รับรู้เหตุการณ์ใหม่เป็นครั้งแรก แต่ขาดความรู้
อย่างแจ่มชัดในวิทยาการนั้น ยังขาดข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติม เช่น ทราบว่าขณะนี้มีเทคโนโลยีเพื่อ
การเกษตรชนิดใหม่เกิดขึ้น
2. ขั้นการสนใจ หมายความว่า บุคคลเริ่มสนใจในความใหม่และความพยายามหาความรู้
เพิ่มเติม เช่น เทคโนโลยีนั้นมีประโยชน์อย่างไรบ้าง หาได้จากที่ไหน
3. ขั้นการประเมินค่า หมายความว่า บุคคลคิดทบทวนไตร่ตรองถึงผลดีผลเสียของความรู้
ใหม่อยู่ในใจ เช่น วิเคราะห์เปรียบเทียบการตัดสินใจซื้อ
4. ขั้นการทดลอง หมายความว่า บุคคลนำความรู้ใหม่ไปทดลองปฏิบัติโดยเริ่มจากขนาด
เล็กๆ เพื่อดูผลก่อนการตัดสินใจยอมรับ เช่น นำเทคโนโลยีนั้นไปใช้จริง
5. ขั้นการอมรับ เป็นขั้นตอนตกลงใจที่จะนำวิทยาการใหม่ไปปฏิบัติอย่างเต็มที่ เช่น การ
ยอมรับหรือปฏิเสธเทคโนโลยีนั้นตลอดไป
ผลการวิจัยของ ออลันโด (เอกวิทย์ ณ ถลาง 2540: 45 อ้างถึง Orinado 1988) ได้ทำการ
วิจัยแบบมีส่วนร่วมในอเมริกาเหนือ และ ได้พบว่า ศาสตร์ของประชาชนเรื่องพื้นบ้าน ความรู้
ประชาชน ภูมิปัญญาชาวบ้านเป็นความรู้ชาวบ้านที่ผ่านการปฏิบัติมาแล้วอย่างโชกโชน เป็นส่วน
หนึ่งของมรดกทางวัฒนธรรมของเขา ความรู้ดังกล่าวไม่ได้จัดเข้ารหัสเก็บไว้ แต่เป็นความรู้ที่
ปฏบิ ตั ไิ ดอ้ ยา่ งมพี ลงั และที่สำคัญยิ่งคือสิ่งที่ช่วยให้ชาวบ้านมีชีวิตอยู่รอดอย่างสร้างสรรค์ด้านการผลติ
และช่วยในด้านการทำงาน เป็นสิ่งที่สะสมมามากกว่าศตวรรษแล้วอันเป็นโครงสร้างความรู้ที่มีหลักการ
เหตุและผลในตัวเอง
ผลการวิจัยของ สีลาภรณ์ นาครทรรพ และปกรณ์ จริงสูงเนิน (2537) ที่กล่าวไว้ว่า การ
สร้างภูมิปัญญาของชาวบา้ นคอื หวั ใจสาํ คญั ในการแก้ไขปัญหาทุกด้านของชุมชน เป็นการเริ่มและนำไป
สู่พฤติกรรมที่แสดงออกต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม และระบบนิเวศน์
สุชาติ เกตยา (2542) พบว่า การมีภูมิปัญญาชาวบ้านที่แตกต่างกัน การพึ่งตนเอง
ทางเศรษฐกิจแตกต่างกันโดยกลุ่มที่มีภูมิปัญญาชาวบ้านระดับมากจะพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจได้
มากกว่ากลุ่มที่มีภูมิปัญญาปานกลางและน้อย
21
จากทฤษฎีและผลการวิจัยที่กล่าวมาสรุปได้ว่า ภูมิปัญญาชาวบ้านคือองค์ความรู้ที่เกิดจาก
กระบวนการพัฒนาเทคโนโลยีในแต่ละท้องถิ่นภายใต้การสะสมและถ่ายทอดประสบการณ์ต่อๆ
กันมา ซึ่งทำให้เกิดความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ และเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาประเทศ
ให้เจริญก้าวหน้า และสามารถพึ่งตนเองได้หลาย ๆ ด้าน เพราะเทคโนโลยีภูมิปัญญาท้องถิ่นทำให้
เกิดการนำทรพั ยากรมาใชอ้ ยา่ งกวา้ งขวาง เหมาะสมสอดคล้องอย่างสร้างสรรค์กบั สภาพเศรษฐกิจรายได้
สังคมวัฒนธรรมและทรัพยากรสิ่งแวดล้อมภายในท้องถิ่นตามความจำเป็นหรือคุณประโยชน์ที่
จะได้รับ ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์แห่งการพึ่งตนเอง ด้วยผลการวิจัยที่พบว่าภูมิปัญญาต่างกัน ระดับ
ความสามารถในการพึ่งตนเองแตกต่างกัน ดังนั้นภูมิปัญญาชาวบ้านจึงมีความสัมพันธ์ที่สำคัญ
โดยตรงกับการดำรงชีวิตและเป็นส่วนหนึ่งของมรดกทางวัฒนธรรมของคนในท้องถิ่นและเป็น
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพึ่งตนเอง
จากมูลเหตุดังกล่าว จึงทำให้ผู้วิจัยนำเทคโนโลยีภูมิปัญญาท้องถิ่นมาเป็นปัจจัยเหตุที่ทำให้
เกิดหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในการวิจัยครั้งนี้
2.2 เศรษฐกิจกับการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
เศรษฐกิจ หมายถึง รายได้ที่เกิดจากการประกอบอาชีพที่สุจริตบนพื้นฐานความสามารถ
ของตนเองการประหยัดลดค่าใช้จ่ายเพื่อเพิ่มรายได้ให้เพียงพอต่อการเลี้ยงดูตนเองและครอบครัว
ได้ตลอดไปอย่างมั่นคง การเข้าเป็นสมาชิกในองค์กรด้านเงินทุนเพื่อการสร้างรายได้เพิ่มขึ้น ได้แก่
กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มผู้ใช้น้ำ และกองทุนหมู่บ้าน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ โครงการ
พักชำระหนี้การเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มอาชีพที่สามารถสร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว
ครอบครัวมีอาชีพหลักและอาชีพเสริมที่ทำให้มีรายได้สม่ำเสมอตลอดทั้งปี มีการประกอบอาชีพ
อย่างสม่ำเสมอ การมีแรงงานภายในครอบครัวอย่างเพียงพอในการประกอบอาชีพหรือดำเนิน
กิจกรรมที่ทำให้เกิดรายได้
ทฤษฎีว่าด้วยการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ
โรสโตว์ (Rostow 1991 : 123) ได้กล่าวว่า การออมและการลงทุนเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อ
การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เพราะการสะสมทุนเป็นปัจจัยทำให้ผลผลิตโดยรวมของประเทศ
เพิ่มขึ้นซึ่งจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับการออมทั้งหมดของประเทศ
จากทฤษฎีของ เคลลิค และ ฮูวาเลีย (สุรีย์พร เหลี่ยมวรางกูร 2541 : 12 อ้างถึง
Killick and Huwalia) ได้ให้ความสำคัญเรื่องการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโดยเสนอมาตรการ
ต่าง ๆ ซึ่งเป็นมาตรการระยะยาวเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน การว่างงาน และความไม่เท่าเทียม
กันโดยให้ความสำคัญต่อสาขาการพัฒนาที่เป็นผลดีแก่เกษตรกรรายย่อย ผู้ไม่มีที่ทำกินและผู้
รับจ้างทางการเกษตร พร้อมทั้งให้ความสำคัญต่อเทคนิคการผลิตที่ใช้แรงงานมากกว่าการใช้ทุน
และเน้นการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการพัฒนา
22
ชอบ เข็มกลัด (2539 : 8) กล่าวว่า การพึ่งตนเองได้นั้นจะต้องดำเนินธุรกิจอย่างครบวงจร
โดยเฉพาะการมีเงินทุนของตนเอง หรือมีแหล่งเงินทุนจากภายนอกมาช่วยสนับสนุน
สุพรรณี ไชยอำพร (2529) ทำวิจัยเรื่อง การพัฒนาเครื่องมือวัดความพยายามการพึ่งตนเอง
สำหรับชาวนาไทย ผลสรุปว่า ชาวนาให้ความสำคัญกับปัจจัยทางเศรษฐกิจเป็นอันดับแรก ในขณะที่
ผู้เชี่ยวชาญให้ความสำคัญทางด้านจิตวิทยา
พิเชียร ลิมป์หวังอยู่ (2531) วิจัยการพึ่งตนเองของประชาชนในโครงการเนื่องจาก
พระราชดำริ ศึกษาเฉพาะกรณีโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูป อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์
พบว่า โครงการสามารถทำให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ฐานะความเป็นอยู่ดีขึ้น มีปัจจัยพื้นฐาน
ที่เพียงพอกับความต้องการมากขึ้น มีความสมดุลระหว่างรายรับกับรายจ่ายในครอบครัวมากขึ้น
อุทัย ดุลยเกษม (2538) วิจัยเรื่องปัจเจกบุคคลกับการพึ่งตนเองพบว่า เงื่อนไขต่างๆ ที่
เกื้อหนุนภาวะการพึ่งตนเองของแต่ละบุคคล คือ เงื่อนไขการมีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน มีเงินทุน และมี
แบบแผนการผลิตที่ผสมผสานการผลิตเพื่อบริโภคมิใช่ผู้ขาย การจัดการที่เป็นระบบการเรียนรู้ที่
เท่าทันเหตุการณ์กับสภาพภายนอก ความรู้ในกิจกรรมที่ทำ การมีความมุมานะพยายาม การมี
แบบแผนการดำรงชีวิต การตั้งกลุ่มต่าง ๆ
ปรเมษฐ์ กาญจนวรางกูร (2541) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การพัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจ
ชุมชนพึ่งตนเองสำหรับสตรี พบว่า มโนทัศน์ของการพึ่งตนเองนั้นคือการที่แต่ละประเทศสามารถ
ใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่จากทรัพยากรต่างๆ เช่น ทรัพยากรมนุษย์ ทรัพยากรธรรมชาติ และ
ทรัพยากรด้านการเงิน
จากข้อความข้างต้นกล่าวได้ว่า ในการพัฒนาชนบทสังคมและประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้า
และประสบความสำเร็จได้นั้น ควรมีกระจายรายได้ให้แก่ประชาชนได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน
ด้วยวิธีการส่งเสริมสนับสนุนให้ชาวบ้านในชุมชนได้พัฒนาตนเองเพื่อสร้างเสริมรายได้ให้สามารถ
เลี้ยงดูอุ้มชูตนเองได้ และสังคมไทยจำเป็นต้องมีความเข้าใจเรื่องเศรษฐกิจพื้นฐานอย่างแท้จริง
เพื่อขจัดความยากจนของคนทงั้ ประเทศไดพ้ รอ้ มๆ กับการสรา้ งฐานะทางสังคมและธรรมชาติแวดลอ้ ม
ใหฟ้ นื้ ฟบู ูรณะเพิ่มพูนขึ้นเต็มประเทศ ด้วยการยึดหลักคุณธรรมในการประกอบอาชีพเพื่อให้เกิด
รายไดเ้ ลยี้ งดตู วั เองและครอบครวั ตลอดไปอยา่ งมนั่ คงและมสี ว่ นเกดิ ไวเ้ ปน็ ทนุ ตอ่ ไปในอนาคต การรู้
จักประมาณตน การทำเกษตรผสมผสานเพื่อมีอาหารไว้กินได้ตลอดทั้งปี รู้จักประหยัดลดค่าใช้
จ่ายเพิ่มรายได้ มีความมานะพยายามในการสร้างอาชีพเสริม นอกจากนี้ คนแต่ละคนในชุมชน
หรือหมู่บ้านต้องมีความสัมพันธ์กันในเชิงด้านเศรษฐกิจด้วยการแบ่งปันการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
ไม่ใช่การแข่งขันแย่งชิงมุ่งแสวงหาผลประโยชน์และกาํ ไรโดยไมไ่ ดต้ ระหนกั ถงึ ผลกระทบทที่ าํ ลาย
23
ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งเป็นทุนสำหรับคนทุกคนให้หมดสิ้นไป ดังนั้นการพึ่งตนเองได้นั้นประชา
ชนทุกคนจำเป็นจะต้องตระหนักและสำนึกในการใช้ทุนทุก ๆ ด้าน และทรัพยากรอย่างมีคุณค่า
สรุปได้ว่าการออม การลงทุนเป็นปัจจัยสำคัญในการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ และ
สามารถแก้ปัญหาความยากจน การว่างงาน ประชาชนสามารถพึ่งตนเองได้ด้วยการมีรายได้ และ
มีรายรับสมดุลกับรายจ่าย มีปัจจัยพื้นฐานอย่างพอเพียง ด้วยมูลเหตุดังกล่าวจึงทำให้นำปัจจัยด้าน
เศรษฐกิจมาทำการศึกษาและวิเคราะห์ในการวิจัยครั้งนี้
2.3 ทรัพยากรกับการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
ทรัพยากร หมายถึง สิ่งที่มีค่าทั้งปวงที่เอื้ออำนวยประโยชน์ให้แก่มนุษย์ ทั้งที่เกิดขึ้นเอง
ตามธรรมชาติและมนุษย์เป็นผู้สร้างขึ้น ซึ่งผู้ใช้ทรัพยากรเหล่านี้จะต้องมีจิตสำนึกในคุณค่าใช้อย่าง
ประหยัดและมีประโยชน์คุ้มค่าอย่างสูงสุด พร้อมทั้งมีการป้องกันปรับปรุงรักษา สงวนไว้
ซ่อมแซม ฟื้นฟูและพัฒนาทรัพยากรทั้งหลายที่มีอยู่ให้มีสภาพที่ดีและมีความสมดุลตามธรรมชาติ
ตลอดไป
ประเทศใดที่มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็น พื้นดินที่อุดสมบูรณ์ไปด้วยปุ๋ย
แร่ธาตุต่างๆ ป่าไม้ แหล่งน้ำเพื่ออุปโภค บริโภคและเพื่อการเพาะปลูก หรือ เป็นแหล่งผลิต
พลังงานต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งผลักดันให้ประเทศนั้นมีศักยภาพนำทรัพยากรเหล่านั้นมาสนองตาม
ความต้องการของประชาชน ทำให้ประเทศมีความเจริญและมั่นคงและมีอำนาจมากกว่าประเทศที่
มีทรัพยากรน้อยกว่า เช่นเดียวกับชุมชนหรือหมู่บ้านใดก็ตามที่สามารถนำพืชที่เกิดขึ้นเองตาม
ธรรมชาติและมีปริมาณ เช่น ต้นกก ต้นเตย หรือ ต้นจาก ที่มีปริมาณมากมายและขึ้นเองตาม
ธรรมชาติ ได้ถูกนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถใช้สอยหรือจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ ก็จะทำ
ให้ชุมชนนั้น มีความได้เปรียบหากต้องมีการแข่งขันในด้านการค้าการตลาด เพราะไม่ต้องเสีย
ค่าใช้จ่ายในการซื้อวัตถุดิบจากท้องถิ่นอื่นมาเพื่อทำการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อีกครั้งหนึ่ง
จากอดีตที่ผ่านมา แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาได้เปลี่ยนไปจากจุดเดิม ซึ่งเคยให้ความสำคัญ
ในเรื่องของความเจริญทางด้านเศรษฐกิจสังคมในยุคอุตสาหกรรมและความทันสมัยมาเป็นการ
พัฒนาที่เน้นให้ความสำคัญแก่คน ความต้องการพื้นฐาน การพัฒนาที่ยั่งยืน ตลอดจนการพัฒนา
ทรัพยากรมนุษย์และพัฒนามนุษย ์ ซึ่งเป็นแนวคิดที่องค์การสหประชาชาติถือว่าเป็นแนวคิดใหม่ที่
ให้ความสำคัญกับการเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ส่งผลให้การพัฒนามีลักษณะผสมผสาน ที่เน้นความสัมพันธ์
ของปัจจัยต่างๆ ในด้าน เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และสิ่งแวดล้อม
24
ในเอกสารประกอบการสัมมนา เรื่อง การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของ
ประเทศไทย ครั้งที่ 3 ปี 2535 ได้กล่าวว่า คณะกรรมาธิการของโลกว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและ
การพัฒนา (World Commission on Environment and Development : WCED) ได้ให้นิยาม
ของการพัฒนาที่ยั่งยืนไว้ดังนี้ “การพัฒนาที่ยั่งยืน คือ การพัฒนาที่ตอบสนองต่อความต้องการ
ในปัจจุบัน โดยไม่ทำให้ความสามารถที่จะตอบสนองต่อความต้องการของอนาคตต้องน้อยลง
หรือ ด้อยลง” (มัทนี ยมจินดา 2541 : 191)
การพัฒนาอย่างยั่งยืน
เกษม จันทร์แก้ว (2541 : 11-18) ได้กล่าวถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและวิธีการใช้
แบบยั่งยืนนั้น หมายถึงการใช้ด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมให้ผลิตผลมาก มีของเสียและมลภาวะ
เกิดขึ้นน้อย ก่อให้เกิดการฟื้นตัวของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจนมีศักยภาพในการให้
ผลผลิตแบบยั่งยืนอย่างต่อเนื่องตลอดไป
จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีที่นำไปใช้นั้นต้องเกิดของเสียและมลภาวะน้อยที่สุดหรือไม่เกิดเลย
ตามหลักเมื่อเกิดของเสียและมลพิษสิ่งแวดล้อมขึ้นมา ต้องเสาะหาเทคโนโลยีการบำบัด การกำจัด
หรือเทคโนโลยีการฟื้นคืนสภาพ ตลอดจนต้องคำนึงถึงเทคโนโลยีนำของมาใช้ประโยชน์ หรือ
รีไซเคิล (Recycle) มีผลทำให้ของเสียและมลพิษสิ่งแวดล้อมลดน้อยลง หรือแปรสภาพเป็น
ทรัพยากรที่มีกำลังผลิตได้
ลักษณะการใช้ทรัพยากร
การบริโภคโดยตรง หมายถึง การใช้ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ เพื่อความเจริญเติบโต มีพลัง
และความปลอดภัย ได้แก่
1. การใช้ทรัพยากรเพื่อปัจจัยสี่ ได้แก่ อาหาร ยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย
2. การใช้ทรัพยากรเพื่อเป็นพลังงาน จะใช้ร่วมกับเทคโนโลยีเพื่อให้ได้งานที่ต้องการ เช่น
การใช้ฟืนและถ่านเป็นเชื้อเพลิงหุงต้ม การใช้ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันเชื้อเพลิง หรือ การหมักของ
เสียและขยะมูลฝอยเพื่อให้ได้ก๊าซชีวภาพและใช้ในการหุงต้ม หรือการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วย
น้ำมันและก๊าซชีวภาพ
3. การใช้ทรัพยากรเพื่อป้องกันภัยพิบัติ เช่น ป่าป้องกันลมพายุ ทำนบกั้นน้ำรอบเมือง
4. การใช้ทรัพยากรเพื่อความสะดวกสบาย เช่น รถยนต์ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องยนต์
25
หลักปฏิบัติในการใช้ทรัพยากร
1. ต้องการให้มีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสำหรับมนุษย์ได้ใช้สอย พร้อมทั้งพึ่งพิง
ในการดำรงชีวิต โดยเฉพาะปัจจัยสี่ ความสะดวกสบาย และความปลอดภัยของชีวิต
2. ใช้ทรัพยากรธรรมชาติเชิงอนุรักษ์วิทยานั้นมุ่งหวังที่จะใช้ทรัพยกรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมที่
ประกอบกันอยู่ในระบบมีศักยภาพในการให้ผลแบบยั่งยืนและให้มีความเพิ่มพูน
3. การใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเชิงอนุรักษ์วิทยา จะต้องบรรจุแนวทางปฏิบัติ
ในการควบคุมของเสียมิให้เกิดขึ้นภายในระบบสิ่งแวดล้อม
4. การใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมเชิงอนุรักษ์วิทยาได้ยึดหลักการของอนุรักษ์
วิทยาเป็นพื้นฐานซึ่งจะต้องมีการรักษา สงวน ปรับปรุง ซ่อมแซม และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ
5. การใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเชิงอนุรักษ์วิทยา ไม่ว่าจะเป็นสิ่งใด ระบบใด
หรือท้องที่ใด มีความต้องการนอกจากจะเกี่ยวข้องกับการใช้ การกำจัดของเสีย การเพิ่มศักยภาพ
ในการผลิต ต้องการให้มีการจัดองค์ประกอบภายในระบบสิ่งแวดล้อม หรือระบบนิเวศให้มีความ
หลากหลายชนิด มีปริมาณ สัดส่วนการกระจายในระบบตามเกณฑ์มาตรฐานธรรมชาติที่ทุกสิ่ง
ทุกชีวิตในระบบสามารถอยู่ได้อย่างเป็นสุขและมีความสมดุลตามธรรมชาติ
การอนุรักษ์ทรัพยากร
1. การอนุรักษ์และการจัดเก็บกักทรัพยากรเป็นการควบคุมการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมตาม
กาลเวลาโดยมีวิธีพอสังเขปดังนี้
1.1 ทรัพยากรน้ำ ใช้วิธีการสร้างอ่างเก็บน้ำ บ่อเก็บน้ำ สร้างเขื่อนเก็บกักน้ำ
1.2 ทรัพยากรดิน ใช้วิธีทำรั้ว ขุดร่อง การปลูกหญ้าแฝกคลุมดิน ห้ามทำไร่เลื่อนลอย
กำหนดเขตพื้นที่ป่าสงวน เขตประวัติศาสตร์ เขตควบคุม
1.3 ทรัพยากรอาหารและยา ใช้วิธีการใส่เกลือ หรือยาฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ การทำให้แห้ง
การทำให้สุก การเก็บไว้ในที่มีอุณหภูมิต่ำ
1.4 ทรัพยากรไม้ และโลหะ โดยการอาบน้ำยาไม้ การตากไม้ให้แห้ง การเผาให้ผิว
ภายนอกกลายเป็นถ่าน โลหะเคลือบด้วยสารเคมี
2. การแปรรูปของเสียที่เป็นของแข็ง ได้แก่ ขยะ สิ่งปฏิกูล มาใช้ประโยชน์ด้วยการเผาเพื่อ
ให้เกิดพลังงานความร้อนและขี้เถ้า การนำไปฝังกลบ กากของเสียที่เป็นพิษต้องทำให้มีสภาพเป็นกลาง
3. การซ่อมแซม ได้แก่การเพิ่มโครงสร้างให้ครบ ณ ที่ขาดหายไป การรักษาโดยเทคโนโลยี
บำบัด เช่น การเติมอากาศในบ่อบำบัดน้ำเสีย การปลูกป่า
4. การฟื้นฟู ได้แก่ การใช้ธรรมชาติในการฟื้นฟู การป้องกันไฟป่าอย่างมีประสิทธิภาพ
การห้ามทำไร่เลื่อนลอย การปล่อยน้ำเสียให้ไหลสัมผัสอากาศเพื่อทำให้เป็นน้ำดี
5. การพัฒนา หมายถึง การทำให้ผลิตผลจากทรัพยากรนั้นให้ดีกว่าปกติโดยใช้มีวิธีการ
26
เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพช่วยให้กลไกสิ่งแวดล้อมทำงานได้ดีขึ้น ได้แก่ การใช้ปุ๋ยและยาปราบ
ศัตรูพืช รวมทั้งการใช้เครื่องมือเกษตรอื่น ๆ มาปรับปรุงเทคโนโลยีเกษตร
6. การป้องกัน เป็นวิธีการปกป้องคุ้มครองทรัพยากรที่เคยมี และกำลังถูกทำลาย อาจเป็น
การใช้กฎหมาย การประชาสัมพันธ์ การให้ความรู้ การทำรั้วกัน การสร้างขอบเขต การติดป้ายระบุ
7. การสงวน คือ การเก็บไว้มิให้ใช้เนื่องจากเป็นทรัพยากรที่กำลังจะหมดหรือกำลังจะสูญสิ้น
โดยการกำหนดระยะเวลาเป็นช่วงๆ ให้ทรัพยากรพอฟื้นคืนสภาพเดิม
8. การแบ่งเขต เป็นการอนุรักษ์ขั้นสุดท้าย ถ้าไม่สามารถใช้วิธีการอื่นได้แล้ว เนื่องจาก
ปัญหาการไม่มีวินัยทางสังคม หรือกฎหมายไม่รัดกุม ได้แก่ เขตต้นน้ำ เขตป่าไม้ เขตป่าสงวน
นิเวศวิทยากับการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์ (2543 : 78)ได้ให้ความสำคัญแก่ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อมหลักใหญ่ คือ
1. ความยั่งยืนธรรมชาติ คือ ระบบหล่อเลี้ยงชีวิตของโลกเศรษฐกิจในอดีตทุกระบบ
ล้วนแต่มุ่งทำลายความยั่งยืนต่อระบบนิเวศ จึงจำเป็นต้องแสวงหาระบบเศรษฐกิจแบบใหม่ที่
สามารถสร้างความยั่งยืนแก่ธรรมชาติได้
2. การแบ่งปันความมั่งคั่งและทรัพยากรธรรมชาติสังคมที่ไม่เท่าเทียมกันย่อมเป็นสังคม
ที่ไร้คุณภาพ ไม่ว่าจะเป็นการไปแย่งชิงถิ่นฐานของพืชพันธุ์และสัตว์ป่า มนุษย์จึงเป็นผู้ทำลาย และ
พยายามครอบครองธรรมชาติมากยิ่งขึ้น
3. ความยุติธรรมระหว่างคน 2 รุ่น เศรษฐศาสตร์สมัยใหม่มีแนวโน้มที่จะให้คุณค่าแก่
คนรุ่นปัจจุบันสูงมากขึ้น โดยไม่ปรึกษาคนรุ่นอนาคต เพราะคนรุ่นอนาคตยังไม่มีตัวตนยังไม่เกิด
การตีค่าแบบวันนี้ดีกว่าพรุ่งนี้เป็นการกระตุ้นให้มีการทำลายธรรมชาติเพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจ
ระยะสั้นและเบื้องหน้า ไม่มีการส่งมอบความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติให้แก่คนรุ่นอนาคต
4. ค่าของสิ่งแวดล้อมที่ไม่อาจตีราคาได้ การตีค่าทางสิ่งแวดล้อมให้เป็นตัวเงิน เป็นวิธีการอยู่
บนพื้นฐานของปรัชญาอรรถประโยชน์นิยมซึ่งเป็นเพียงค่านิยมในหลายค่านิยมในเรื่องความเป็น
จริงเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์ธรรมชาตินั้นเป็นค่านิยมที่ไม่อาจตีราคาเป็นเงินได้ เช่นเดียว
กับค่านิยมทางศาสนา ทางสุนทรียภาพ
พิเชียร ลิมป์หวังอยู่ (2531) วิจัยเรื่องการพึ่งตนเองของประชาชนในโครงการเนื่องจาก
พระราชดำริ ศึกษาเฉพาะกรณี โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูป อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์
จากการศึกษาพบว่า โครงการทำให้ชาวบ้านสามารถใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์มากขึ้น มีการนำ
วิทยาการใหม่ ๆ มาเพิ่มศักยภาพในการผลิต
27
พิมาน วงศ์อภัย (2533) ได้ทำการศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่ส่งเสริมให้องค์กรประชาชนในชนบท
สามารถพึ่งตนเองได้ : กรณีศึกษาศูนย์บริการนิคมสร้างตนเองโน้นสัง อ.โนนสัง จ. อุดรธานี
พบว่า ลักษณะองค์กรประชาชนที่สามารถพึ่งตนเองได้ มีอิสระในการตัดสินใจและดำเนินงาน
การกำหนดเปา้ หมายที่เหมาะสมสอดคล้องกับทรัพยากรและความสามารถของคนในชุมชนมีการ
กระจายรายได้และผลประโยชน์ขององค์กรสู่สมาชิกอย่างยุติธรรมและเสมอภาค สมาชิกมีส่วนร่วม
ในกิจกรรมต่างๆ ขององค์กรอย่างมีความรู้สึกเป็นเจ้าของและอย่างมีจิตสำนึก
พูนศักดิ์ ฐานิการประดิษฐ์ (2538) ทำการศึกษาวิจัยเรื่องประวัติศาสตร์เศรษฐกิจชุมชน
ในหมู่บ้านภาคใต้ฝั่งตะวันออกของไทย พบว่า ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ และ
ระบบการอยู่ร่วมกันเป็นพื้นฐานที่ส่งผลต่อโครงสร้างทางเศรษฐกิจชุมชนหมู่บ้านแห่งนี้มีศักยภาพ
ต่อการพึ่งตนเองสูง มีเทคโนโลยีที่สอดคล้องกับธรรมชาติ
จากข้อความที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ชี้ให้เห็นว่าปัจจัยด้านทรัพยากรมีผลต่อการพึ่งตนเองได้
ของชุมชน ซึ่งสรุปได้ว่าปัจจุบันนี้แนวการพัฒนาประเทศให้มีความยั่งยืนนั้น เป็นการมุ่งพัฒนาคน
ไปพร้อม ๆ กับการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมควบคู่กันเป็น โดยให้ชาวบ้านในท้องถิ่น
ชนบทใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างรู้เท่าทันถึงภาวะความจำเป็น มีจิตสำนึกรับผิดชอบและใช้ประโยชน์
ใหค้ มุ้ คา่ สอดคลอ้ งสมดลุ และอยู่ในสภาพที่สามารถฟื้นฟูตัวเองได ้ โดยใช้ปรัชญาการอยู่ร่วมกัน
มองธรรมชาติเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต นับถือธรรมชาติเพื่อให้เกิดการพึ่งตนเองและดำรงอยู่ได้อย่าง
ต่อเนื่องและดำรงอยู่อย่างยั่งยืนตลอดไป ดังเช่น จากภาวะวิกฤตน้ำมันเชื้อเพลิงขาดแคลน ทำให้
ราคาสูงมากขึ้น ต้นทุนการสร้างพลังงานสูงขึ้น ส่งผลกระทบไปสู่ต้นทุนการผลิต ทำให้ต้องมีการ
คิดค้นนํ้ามันชีวภาพซึ่งเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้จากการผสมระหว่างนำ้ มันดีเซลกับนำ้ มันพืชหรือ
ไขมันสัตว์ สำหรับประเทศไทยได้ใช้น้ำมันมะพร้าวและน้ำมันปาล์มเป็นส่วนผสมเพื่อแก้ปัญหา
วิกฤตแิ หลง่ นา้ํ มันโลกและวกิ ฤตปิ ญั หาสิง่ แวดลอ้ มนั้นเป็นการแสดงใหเ้ หน็ ถึงสภาวะการพึ่งตนเองของ
ประเทศไทยให้มีความเจริญก้าวหน้าและมั่นคงยิ่งขึ้น ด้วยการแสวงหาทางเลือกใหม่จากวัตถุดิบ
ที่มีอยู่ในประเทศมาผลิตน้ำมันเพื่อทดแทนการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศ ดังนั้นประชาชนทุก
คนพึงตระหนักถึงประมาณ ระยะเวลา คุณภาพ และความหลากหลายที่ทรัพยากรเหล่านั้น
จะคงอยู่เพื่อสนองตอบความต้องการมนุษย์ได้ยาวนานเพียงใด
28
2.4 จิตใจกับ การเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
จิตใจ หมายถึง ลักษณะทางจิตใจที่เอื้อต่อการพึ่งตนเองและการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
ได้แก่ มีความเชื่อมั่นในการพึ่งตนเอง การประหยัดและรู้จักประมาณตน มีความขยันหมั่นเพียร
การเสียสละ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น มีน้ำใจ
จากพระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในวโรกาส
สัปดาห์ส่งเสริมศาสนาและจริยธรรม 3-9 สิงหาคม 2533 ที่วิทยาลัยครูพิบูลสงคราม จังหวัด
พิษณุโลก ทำให้เกิดข้อคิดได้ว่า ในการประกอบกิจการใด ๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปได้นั้น ต้องอาศัย
ความอุตสาหะพากเพียร และความซื่อสัตย์สุจริตป็นรากฐานสำคัญ และจะต้องเป็นผู้ที่มีจิตใจ
เมตตา กรุณา ไม่เบียดเบียนผู้อื่น และพร้อมที่จะบำเพ็ญประโยชน์ให้เกิดแก่ส่วนรวม นั้นคือทุก
คนควรพยามพึ่งและช่วยเหลือตนเองพร้อมทั้งช่วยเหลือบุคคลอื่นด้วย
ในการที่บุคคลใดจะพึ่งตนเองได้นั้นปัจจัยที่สำคัญอันดับแรกคือการมีจิตสำนึกที่ต้องการ
พึ่งตนเอง สัญญา สัญญาวิวัฒน์ (2538 : 38) ได้กล่าวว่า การพึ่งตนเองของชาวชนบทแต่ละแห่ง
สามารถพึ่งตนเองได้นั้นคือ ความสมดุลทางด้านจิตใจ นั้นคือ ชาวบ้านแต่ละคนมีจิตปกติสุข
ไม่กังวลเป็นทุกข์ มีความสุขตามอัตภาพ ยึดธรรมะ ถือสันโดษ ความเพียรและความเชื่อมั่นใน
ความสามารถของตนที่จะพัฒนาตนเองได้
กาญจนา แก้วเทพ (2538 : 34) ได้ให้ความหมายการพึ่งตนเองและ แบ่งเป็น 2
ลักษณะ
1. เชิงปัจเจกบุคคล คือ การพึ่งตนเองหมายถึงกิจกรรมทั้งหลายที่กระทำโดยปัจเจกชน และ
ครัวเรือน เพื่อบรรลุการมีหลักประกันของการดำรงชีพ
2. ในลักษณะกลุ่ม คือการพึ่งตนเองหมายถึงสังคม (กลุ่ม) ที่มีการจัดระบบเพื่อประชาชน
สามารถดำเนินการตอบสนองความต้องการของตน ด้วยวิธีการช่วยเหลือตนเอง และการร่วมมือ
กับผู้อื่นที่อยู่ในสถานการณ์เดียวกัน ทั้งนี้การพึ่งพาตนเองอย่างแท้จริงต้องกินความรวมถึงว่ากลุ่ม
ชนนั้นมีความสามารถในการตั้งเป้าหมายและมีสาระในการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายโดยอาศัย
ความพยายามและกำลังของตน
การพึ่งตนเองของประชาชนจะประสบความสำเร็จได้ ต้องมีองค์ประกอบทั้งหมด 3 ประการ
1. ประชาชนมีความสามารถคิดและตัดสินใจได้ด้วยตนเอง หมายถึง สามารถเลือกสรรใน
การตัดสินใจ และในการพิจารณาแนวทางการดำเนินชีวิตได้ด้วยตนเอง มีความคิดเป็นของตนเอง
พิจารณาถึงการดำเนินการใดๆ ไดด้ ว้ ยภมู ปิ ญั ญาของตนเองซงึ่ ไมใ่ ชเ่กดิ จากถกู ครอบงาํ ทางความคดิ
29
2. ประชาชนทุกคนถือว่าเป็นผู้มีศักยภาพในตนเอง และต้องรู้จักนำศักยภาพนั้นๆ มาใช้
ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและชุมชน ทั้งนี้เพราะความเชื่อพื้นฐานของงานสังคมสงเคราะห์ที่เชื่อว่า
บุคคลแต่ละคนย่อมมีความสามารถในตนเอง และมีแรงขับที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่จะนำ
ไปสู่ความสำเร็จในชีวิตมากมายยิ่ง ๆ ขึ้น
3. ประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการดำเนินงานหรือกิจกรรมต่างๆ ทุกขั้นตอน ซึ่งหมายถึง
การมีส่วนร่วม 3 ด้าน คือ
3.1 ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ
3.2 ร่วมมือร่วมใจกระทำการ
3.3 ร่วมรับผลจากการตัดสินใจจากการกระทำนั้น
ทฤษฎีความสัมพันธ์ของบุคคล
ไฮเดอร์ (จีรพรรณ กาญจนะจิตรา 2538 : 17 อ้างถึง Heider 1958) ได้อธิบายถึง
สัมพันธภาพระหว่างบุคคลต่อบุคคล อันจะมีผลต่อการกระทำ การแสดงความคิดเห็นของบุคคล
ในการศึกษาของสิ่งที่เขานำมาใช้ในการอธิบาย ถึงสัมพันธภาพระหว่างบุคคลก็คือ ความเชื่อหรือ
ค่านิยม จะเน้นตัวนำพฤติกรรมจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง ถ้าความเชื่อของคนคือแนวทาง
ที่จะบอกถึงอนาคตของคนได้ ความเชื่อก็จะสามารถอธิบายความคาดหมาย และการกระทำของ
เขาได้เช่นกัน
ภาษา คือ สื่อของความคิด หมายความว่า ภาษาจะเป็นสัญลักษณ์หรือสื่อของสัมพันธภาพ
ระหว่างบุคคล
1. การวิเคราะห์คำพูด
2. การวิเคราะห์สถานการณ์
3. ความเข้าใจเกี่ยวเนื่องกับสิ่งแวดล้อม
ประสบการณ์เกี่ยวกับความยากลำบากและผลของการกระทำเหตุผล ความสามารถ ความ
พยายาม ความต้องการ ความรู้สึกหรืออารมณ์ความเป็นเจ้าของหรือการคาดคะเนของบุคคล
ไฮเดอร์ (Heider) พบว่า สัมพันธภาพระหว่างบุคคลอันมีผลต่อความรู้สึกนึกคิดและการ
กระทำของบุคคลนั้นจะขึ้นอยู่กับ
1. ความเข้าใจต่อบุคคลอื่น
2. ความเข้าใจของบุคคลอื่น
3. การวิเคราะห์พฤติกรรม หรือ การกระทำในขณะมีสัมพันธภาพ
4. การมีผลตอบแทนในขณะที่มีความสัมพันธ์กับผู้อื่นคือ มีความปรารถนา และความพึงพอใจ
5. สิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสัมพันธภาพระหว่างบุคคล
6. อารมณ์ความรู้สึก
7. ความคาดหวังและค่านิยม
30
8. การขอร้องหรือการบังคับที่มีผลต่อสัมพันธภาพระหว่างบุคคล
9. การคำนึงถึงประโยชน์และโทษ ซึ่งหมายถึงผลที่ได้รับ
10. การเกิดผลต่อคนส่วนใหญ่ซึ่งมีผลต่อสัมพันธภาพระหว่างบุคคลเช่นกัน
การจัดระเบียบสังคม
สืบเนื่องมาจากการจัดระเบียบทางสังคมว่าด้วยมนุษย์ จะต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์บางอย่าง
ในการอยู่ร่วมกัน หรือมีความสัมพันธ์ต่อกัน จึงเป็นแรงจูงใจหรือการบังคับตลอดจนการมุ่งหวัง
ที่ต้องปฏิบัติในการมีความสัมพันธ์ทางสังคม ได้แก่ วิถีชาวบ้านหรือวิถีประชา จารีตประเพณีหรือ
กฎศีลธรรม และกฎหมาย ซึ่งมีความสอดคล้องกับทฤษฎีการควบคุมทางสังคม ซึ่งเป็นเรื่อง
ของการกำหนดคุณค่าโดยมีพื้นฐานจากการวิเคราะห์พฤติกรรมทางวัฒนธรรม ได้แก่ สถานะภาพ
บรรทัดฐานของสังคม ค่านิยม ความเชื่อ ประเพณี การพัฒนาชุมชนจึงเป็นการเปลี่ยนแปลง
ชุมชนโดยควบคุม ภาวะสังคมด้านต่าง ๆ เช่น วัตถุ จิตใจ ทัศนคติ ความเชื่อ ทั้งนี้เพื่อให้ชุมชนมี
ความมั่นคง และดำรงอยู่ตลอดไป (สุพัตรา สุภาพ 2539 : 3-9)
ในการศึกษาความสัมพันธ์ของบุคคลในหมู่บ้าน หรือชุมชนมักจะถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน
จากการปฏิบัติตามจารีตประเพณี เช่น การไปทำบุญตักบาตรที่วัด การถืออุโบสถศีลร่วมกัน
ก็จะนับได้ว่าบุคคลเช่นนี้คือพวกพ้องเดียวกัน มีความสนิทสนมคุ้นเคยกันและต้องให้ความช่วย
เหลือซึ่งกันและกัน ดังเช่นผลการวิจัยในลำดับต่อไปนี้
พูนศักดิ์ ฐานิการประดิษฐ์ (2538) ทำการศึกษาวิจัยเรื่องประวัติศาสตร์เศรษฐกิจชุมชน
ในหมู่บ้านภาคใต้ฝั่งตะวันออกของไทย พบว่า นอกความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ
และระบบการอยู่ร่วมกันเป็นพื้นฐานที่ส่งผลต่อโครงสร้างทางเศรษฐกิจชุมชนหมู่บ้านแห่งนี้ซึ่งมี
ศักยภาพในการพึ่งตนเองสูง มีเทคโนโลยีที่สอดคล้องกับธรรมชาติแล้ว ชาวบ้านยังมีระบบการ
ช่วยเหลือ แบ่งปัน กันมากมายหลายรูปแบบ ทั้งในแง่การผลิตและการดำรงชีวิต โดยเฉพาะเรื่อง
ของน้ำใจ และระบบการอยู่ร่วมกับธรรมชาติ จึงไม่ก่อให้เกิดการขัดแย้งจากภายในในการพัฒนา
ไปสู่วิธีการผลิตแบบใหม่ภายใต้ระบบความสมดุลและวิถีแห่งน้ำใจ
สรุปได้ว่า การมีจิตสำนึกที่จะพึ่งตนเองเป็นกลไกสำคัญที่ส่งผลให้บุคคลนั้นสามารถพึ่งตนเองได้ ได้แก่
การมีความสมดุลทางจิตใจ มีความสุขตามอัตภาพ รู้จักประมาณตน การพึงพอใจในวิถีชีวิตอย่าง
พอเพียง ยึดถือระบบคุณธรรม ยึดมั่นในการทำคุณงามความดี ความอุตสาหะ พากเพียร ความ
ซื่อสัตย์สุจริต ความมีน้ำใจ และพร้อมที่จะให้การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การพึ่งตนเองทาง
ด้านจิตใจจึงเป็นรากฐานในการพึ่งตนเองในด้านอื่น ๆ ได้แก่ สังคม เทคโนโลยี และเศรษฐกิจ
ดังนั้น จิตใจจึงเป็นปัจจัยเหตุที่ทำให้เกิดการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง ซึ่งเป็น
ประเด็นสำคัญเพื่อนำไปสู่การวิจัยครั้งนี้
31
2.5 สังคมกับการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
สังคม หมายถึง ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรมที่เอื้อต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชน
พึ่งตนเอง ซึ่งได้แก่ ความสัมพันธ์ การอยู่ร่วมกัน ความรักสมัครสมานสามัคคี ความพร้อมเพียง
ในการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม คุณลักษณะของผู้นำในท้องถิ่น รวมทั้งกิจกรรมงานประเพณีที่
เชื่อมโยงชาวบ้านเข้าด้วยกัน ทำให้เกิดความรักใคร่สนิทสนมกลมเกลียว เช่น การถืออุโบสถศีล
หรือ ศีล 8 ทุกวันพระร่วมกัน การทำบุญวันเข้าพรรษา การไปร่วมงานงานวันสงกรานต์
เนื่องจากมนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่จะต้องมีการอยู่ร่วมกัน และจะต้องมีภาษาหรือสัญลักษณ์ไว้
เพื่อติดต่อหรือสื่อความหมายให้เข้าใจตรงกัน การอยู่ร่วมกันเพื่อช่วยเหลือและเพื่อความ
ปลอดภัยในการดำรงชีวิตอย่างอยู่รอด จึงจำเป็นต้องดำรงรักษาไว้ด้วยการสืบทอดวัฒนธรรม
ขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อ ภายใต้สถาบันครอบครัวซึ่งเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของสังคม
และสายสัมพันธ์ของเครือญาติ พ่อแม่มีบทบาทและหน้าที่เลี้ยงดูลูก เมื่อยามพ่อแม่แก่เฒ่าลูกก็มี
หน้าที่เลี้ยงดูพ่อแม่ ให้ความเคารพเชื่อฟังผู้ใหญ่เพราะท่านมีความรักห่วงใยและต้องการให้
ลูกหลานให้เป็นคนดี และยินดีให้ความช่วยเหลือเมื่อมีโอกาส ส่วนลูกหลานควรต้องเป็นคนดี มี
สัมมาคารวะ ให้ความเคารพเชื่อฟัง ปฏิบัติและคิดตามคำสั่งสอนของผู้ใหญ่ สิ่งผูกพันธ์เหล่านี้
ทำให้เกิดการรวมกลุ่ม เป็นเครือญาติ เป็นชุมชน สร้างความผูกพันแน่นแฟ้น เชื่อมโยงกันเป็น
ปึกแผ่นของสังคมต่อไป
ทฤษฎีการกระทำทางสังคม
ได้กล่าวว่า ได้มีผู้คิดรวบรวมกลุ่มของปัจจัยที่มีผลต่อการกระทำของมนุษย์เป็นทฤษฎีขึ้น
เพื่ออธิบายถึงการกระทำของมนุษย์ทั่วๆ ไปท่านผู้นั้นคือ วิเลี่ยม ดับเบิ้นยู รีเดอร์ (จีรพรรณ
กาญจนะจิตรา 2538 : 20-21 อ้างถึง William W. Reeder 1971) ได้อธิบายว่าการกระทำทาง
สังคมนั้นประกอบด้วยกลุ่มปัจจัยหลายประการ มิได้จำกัดอยู่เพียงปัจจัยใดปัจจัยหนึ่ง ซึ่งสามารถ
กำหนดรูปแบบการกระทำทางสังคม กล่าวคือ สิ่งที่มีอิทธิพลต่อการกระทำทางสังคมของมนุษย์
ได้แก่
1. ความคิดเห็น
2. ความรู้สึก
3. การคาดคะเนพฤติกรรมของตน
4. พฤติกรรมที่แสดงออกมาและได้อธิบายถึงเหตุผลในการกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด
ของมนุษย์นั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ซึ่งเรียกว่า ความเชื่อหรือความไม่เชื่อ กล่าวคือ
32
4.1 ปัจจัยดึงดูด
4.1.1 เป้าประสงค์ คือ กิจกรรม วัตถุสิ่งของ คุณลักษณะ ความเชื่อ ความรู้สึก เมื่อ
ผู้กระทำต้องการ หรือไม่ต้องการกระทำ ได้มีการกำหนดเป้าหมายไว้ล่วงหน้า และพยายาม
กระทำทุกวิถีทางให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
4.1.2 ความเชื่อ คือความเข้าใจของผู้กระทำ ความคิด ความรู้ เกี่ยวกับคุณลักษณะ
ของสิ่งต่าง ๆ ความเชื่อมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ และการกระทำทางสังคมการที่บุคคลเลือก
ปฏิบัติ กิจกรรมต่าง ๆ ย่อมต้องอาศัยความเชื่อพื้นฐานอยู่เสมอ
4.1.3 ค่านิยม คือ ระบบความเชื่อ ทัศนคติ คุณลักษณะ เงื่อนไขที่บุคคลยึดถือ
เป็นเครื่องช่วยในการตัดสินใจและกำหนดการกระทำของตนเอง ค่านิยมเป็นความเชื่อที่มีลักษณะ
ถาวรโดยถือว่าวิถีปฏิบัติบางอย่างเป็นสิ่งที่ตัวเองหรือสังคมเห็นดี เห็นชอบ สมควรจะยึดถือปฏิบัติ
มากกว่าอย่างอื่น
4.2 ปัจจัยผลัก
4.2.1 ประเพณีและนิสัยคือ แบบอย่างพฤติกรรมที่สังคมกำหนดไว้และสืบต่อกันมาด้วย
ประเพณีและถ้ามีการละเมิดก็จะถูกบังคับด้วยการที่สังคมไม่เห็นด้วย ไม่มีทางอนุมัติ หรือลงโทษ
อย่างเด็ดขาดจากรัฐบาลหรือ ตัวบทกฎหมายในการตัดสินใจที่จะเลือกทำพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง
ของมนุษย์ ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากแบบอย่างพฤติกรรมที่สังคมกำหนดไว้แล้ว
4.2.2 ความคาดหวัง คือ ท่าทีของบุคคล กลุ่ม สังคม ที่มีต่อพฤติกรรมของบุคคลที่
เกี่ยวข้องกับคนโดยคาดหวังหรือต้องการให้บุคคลนั้นประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่ตนต้องการ ดังนั้น
การเลือกกระทำพฤติกรรมของบุคคลส่วนหนึ่งก็คืออยู่กับการคาดหวังและท่าทีของบุคคลอื่นด้วย
4.2.3 ข้อผูกพัน คือ ความเชื่อของผู้กระทำว่า บุคคลผู้นั้นถูกผูกมัดที่จะต้องกระทำ
ให้สอดคล้องกับสถานการณ์นั้นๆ ข้อผูกพันจะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจและการกระทำทางสังคม
เพราะผู้กระทำตั้งใจที่จะกระทำสิ่งนั้นๆ เนื่องจากบุคคลผู้นั้นรู้สึกว่ามีข้อผูกพันที่จะต้องกระทำ
4.2.4 การบังคับ คือ สิ่งที่ช่วยกระตุ้นให้ผู้กระทำตัดสินใจกระทำการต่างๆ ได้
รวดเร็วขึ้นเพราะในขณะที่ผู้กระทำตั้งใจจะกระทำสิ่งต่างๆ นั้น หรือผู้กระทำอาจจะยังไม่แน่ใจว่าจะ
กระทำพฤติกรรมนั้นดีหรือไม่ แต่เมื่อมีการบังคับก็จะทำให้การตัดสินใจกระทำพฤติกรรมนั้นได้
เร็วขึ้น
4.3 ปัจจัยสนับสนุน
4.3.1 โอกาส เป็นความคิดของผู้กระทำที่เชื่อว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นช่วยให้มีโอกาส
เลือกกระทำ บุคคลมักจะตัดสินใจกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อคิดว่าโอกาสเปิดให้เขาสามารถกระทำได้
4.3.2 ความสามารถ คือ การที่ผู้กระทำรู้ถึงความสามารถของตัวเอง ซึ่งก่อให้เกิดผลสำเร็จ
ในเรื่องนั้นๆ ได้ การตระหนักถึงความสามารถนี้จะนำไปสู่การตัดสินใจ และการกระทำทางสังคม
เพราะรู้ว่าการตัดสินใจกระทำไปแล้ว บุคคลผู้นั้นมีความสามารถที่จะกระทำได้อย่างแน่นอน โดยทั่วไป
การกระทำพฤติกรรมใดๆ นั้น บุคคลจะพิจารณาความสามารถของตนเองก่อน
33
4.3.3 การสนับสนุน คือ สิ่งที่ผู้กระทำรู้ว่าจะได้รับหรือคิดว่าจะได้รับจากคนอื่น
ดงั นนั้ บุคคลมีความโน้มเอียงที่จะตัดสินใจกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเมื่อเขารู้ว่าจะได้รับการสนับสนุน
จากผู้อื่น
นอกจากนี้ รีเดอร์ (Reeder) ได้อธิบายแนวคิดเกี่ยวกับปัจจัยและสาเหตุที่จะมีผลต่อการ
กระทำทางสังคม ดังนี้ คือ
1. ในสถานการณ์ของการกระทำทางสังคม จะเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของบุคคลหลายคนซึ่ง
แต่ละคนก็จะมีเหตุผลแต่ละอย่างในการตัดสินใจในการกระทำ
2. บุคคลหรือองค์การจะตัดสินใจ หรือ แสดงการกระทำบนพื้นฐานของกลุ่ม เหตุผล
ซึ่งผู้ตัดสินใจเองได้คิดว่ามีความสอดคล้องหรือตรงกับปัญหา และสถานการณ์นั้นๆ
3. เหตุผลนั้นผู้ตัดสินใจจะตระหนักหรือให้น้ำหนักที่แตกต่างกันในการเลือกเหตุผล
หรือปัจจัยที่จะเข้ามามีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจ
4. เหตุผลที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจนั้น เหตุผลเฉพาะจากเหตุผลเพียงประการเดียว
หรือมากกว่าจำนวนเหตุผลหรือปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกระทำที่กล่าวมาแล้ว
5. อาจมีเหตุผล 2-3 ประการจาก 10 ประการที่กล่าวมา หรือ อาจจะไม่มีเลยที่จะ
มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในทุกโอกาส
6. กลุ่มของปัจจัย หรือ เหตุผลที่มีอิทธิพลต่อการกระทำทางสังคมนั้น ย่อมจะมี
การเปลี่ยนแปลง
7. ในกรณีเฉพาะบางอย่างภายใต้การกระทำทางสังคม จะมีบ่อยครั้งที่จะมีทางเลือก
สองหรือสามทางที่จะสนองตอบต่อสถานการณ์นั้นๆ
8. ผู้กระทำหรือผู้มีอำนาจในการตัดสินใจอาจจะเลือกโดยเฉพาะเรื่องแตกต่างกัน
ออกไปในบุคคลแต่ละคน
9. เหตุผลที่จะต้องตัดสินใจสามารถที่จะมองเห็นได้จากทางเลือกที่ถูกต้องแล้ว
ทฤษฎีโครงสร้างและหน้าที่
ทฤษฎีโครงสร้างและหน้าท ี่ หมายถงึ สังคมทำหน้าที่เชื่อมโยงสิ่งต่าง ๆ เข้าด้วยกัน อย่าง
เป็นระบบด้วยประเพณีบรรทัดฐานของสังคม นำไปสู่คนในชุมชน สังคม และมีพฤติกรรมการ
แสดงออกเพื่อการมีส่วนร่วมในกิจกรรมให้บรรลุจุดมุ่งหมายของตนเองและกลุ่มดังเช่น ทฤษฎีการ
กระทำทางสังคม Talott Parson (สัญญา สัญญาวิวัฒน์ 2543 : 36-37) ได้แสดงแนวคิดใน
ระบบของสังคมซึ่งหน่วยที่ พาร์สัน (Parson) ถือเป็นระบบของการศึกษา คือการกระทำหมายถึง
ปฏิกิริยาตอบโต้ ซึ่งพิจารณาเป็นประเด็น ได้ดังนี้คือ
34
1. ผู้กระทำ หมายถึง ปัจเจกชน
2. เป้าหมาย ที่ผู้กระทำมุ่งประสงค์
3. วิธีต่าง ๆ ที่ผู้กระทำจะเลือกใช้เพื่อบรรลุเป้หมาย
4. สถานการณ์อันเป็นฉากที่ผู้กระทำจะต้องนำเข้ามาพิจารณาในการที่จะเลือกวิธีใดในการ
บรรลุเป้าหมาย
5. ตัวกำหนดเชิงบรรทัดฐานอันได้แก่ ค่านิยมบรรทัดฐานทางสังคมและความคิดต่าง ๆ
ซึ่งผู้กระทำจะต้องนำมาพิจารณาประกอบในการเลือกวิธีการบรรลุเป้าหมายในตัวผู้กระทำนั้น มีแนวอบรม
ที่สำคัญ คือ
5.1 แนวทางการอบรมทางความรู้สึก หมายถึง ความเชื่อ อารมณ์และศีลธรรม
5.2 แนวทางการอบรมทางคุณธรรม ซึ่งจะกำหนดมาตรฐานการแสดงออก ได้แก่
สาระ ข้อเท็จจริง ระดับความพึงพอใจ
ดังนั้นจึงสรุปสาระสำคัญของทฤษฎีโครงสร้างและหน้าที่ได้ดังนี้
1. สังคมทุกสังคมจะต้องมีโครงสร้าง ซึ่งประกอบด้วยหน่วยต่าง ๆ
2. แต่ละหน่วยต่างทำหน้าที่ประสานกัน
3. แต่ละหน่วยต่างปฏิบัติหน้าที่เพื่อความคงอยู่ของสังคม
4. แต่ละหน่วยต่างยึดระบบค่านิยมเป็นแนวในการปฏิบัติหน้าที่สังคมต้องมีโครงสร้างแบบ
ใดแบบหนึ่งขึ้นมาเพื่อเป็นหลักประกันให้มีการพึ่งพาดุลยภาพและการมีชีวิตรอด
เนื่องจากสังคมเป็นการอยู่ร่วมกัน มีการกระทำต่อกัน ดังนั้นการดำเนินกิจกรรมหรือการ
ทำงานต่างๆ ร่วมกันซึ่งเป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง ได้แก่
ความรัก ความสามัคคี และผู้นำซึ่งจำเป็นจะต้องเกิดขึ้นในกลุ่มสมาชิกนั้น เพื่อให้การปฏิบัติเป็น
ไปในทิศทางเดียวกันผู้นำคือสิ่งสำคัญในการจูงใจให้สมาชิกในกลุ่มและบุคคลอื่นทำงานด้วย
ความเต็มใจในการปฏิบัติงานร่วมกันและพร้อมดำเนินไปตามแนวทางที่ผู้นำได้สั่งการ ยินดีที่จะ
เสียสละและให้การสนับสนุนต่อความคิดและแนวทางที่ผู้นำได้กำหนดขึ้น นอกจากนี้แล้วก่อให้
เกิดความร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจ จากทุกฝ่ายในการทำงาน ทำให้เกิดความไว้วางใจ ความสมัคร
สมานสามัคคี รักใคร่กลมเกลียวกันในกลุ่ม อันนำไปสู่พลังที่จะสร้างสรรค์การพัฒนาหมู่บ้านหรือ
องค์กรชุมชนในหมู่บ้านสืบไป ดังนั้นการสร้างผู้นำ จึงมีความสำคัญและจำเป็น เพราะผู้นำคือผู้ที่
สามารถโน้มน้าวจิตใจให้สมาชิกและคนอื่นๆ ยอมรับ สนับสนุน และให้ความร่วมมือดำเนิน
กิจกรรมต่างๆ ไปสู่เป้าหมายและวัตถุประสงค์ร่วมกัน
35
แนวคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นำ
ผู้นำ เป็นสิ่งสำคัญในการที่จะเป็นผู้จูงใจให้ประชาชนหรือชาวบ้านทำงานด้วยความเต็มใจ
ผู้นำจะเป็นผู้ที่ก่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจ ความสมัครสมานสามัคคี ความเป็นปึกแผ่นของ
สังคม ดังนั้นผู้นำจึงมีความจำเป็นในการนำหมู่บ้านไปสู่เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์การเป็นหมู่บ้าน
เศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง โดยมีทฤษฎีและแนวคิดที่สำคัญดังนี้คือ
สตอคดิลล์ (Stogdill 1974 : 24-75) ได้รวบรวมความหมายและกำหนดคุณลักษณะของ
ภาวะผู้นำดังนี้
1. ภาวะผู้นำในฐานะที่เป็นการเน้นถึงกระบวนการของกลุ่มกล่าวคือ ความมีอำนาจของบุคคล
หนึ่งหรือ 2 ถึง 3 คนเหนือบุคคลอื่นๆ ภายในกลุ่มที่สามารถควบคุมกระบวนการและปรากฏการณ์
ต่าง ๆ ทางสังคม
2. ภาวะผู้นำในฐานะที่เป็นบุคลิกภาพอัตลักษณ์ และ คุณลักษณะ ที่มีลักษะที่พึงประสงค์
มากกว่าอื่น ๆ
3. ภาวะผู้นำในฐานะที่เป็นศิลปของการโน้มน้าวจิตใจของผู้อื่นให้คล้อยตามความประสงค์
ของตน สามารถทำให้ผู้ตามตระหนักถึงความประสงค์ของตน ตลอดจนทำให้ผู้ตามเชื่อฟัง มีความ
จงรักภักดี และให้ความร่วมมือ
4. ภาวะผู้นำในฐานะที่เป็นการใช้อิทธิพล เช่น การใช้อิทธิพลเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้อื่น
5. ภาวะผู้นำในฐานะเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เช่น ภาวะผู้นำ
หมายถึง พลังพลศาสตร์ ซึ่งกระตุ้น จูงใจ และประสานงานของการจัดระเบียบการปฏิบัติงานให้
บรรลุเป้าหมาย
6. ภาวะผู้นำใน ฐานะที่เป็นความคิดริเริ่มในการงาน เช่น ภาวะผู้นำ หมายถึง การริเริ่มและ
การบำรุงรักษาเกี่ยวกับโครงสร้างของความคาดหวังและปฏิกิริยาตอบโต้ระหว่างกัน
นอกจากความหมายที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น สตอคดลิ ล  (Stogdill) ไดร้ วบรวมทฤษฎี
คุณลักษณะผู้นำคือทฤษฎีที่แสวงหาคุณลักษณะด้านบุคลิกภาพด้านสังคม ด้านร่างกาย ด้านสติปัญญา
ซึ่งแยกให้เห็นความแตกต่างของคนที่เป็นผู้นำออกจากคนที่ไม่ได้เป็นผู้นำ คือมีคุณลักษณะดังนี้
1. มีร่างกายแข็งแรง
2. มีภูมิหลังการศึกษาดีและสถานภาพทางสังคมดี
3. มีสติปัญญาฉลาด ตัดสินใจดี มีความสามารถในการติดต่อสื่อสาร
4. บุคลิกภาพเป็นผู้ที่มีความตื่นตัวและควบคุมอารมณ์ได้มีความคิดริเริ่มอย่างสร้างสรรค์
มีความเชื่อมั่นในตนเอง
5. มีความรับผิดชอบ ขยัน และอดทน
6. มีลักษณะทางสังคมปรารถนาที่จะร่วมงานกับผู้อื่น มีเกียรติและเป็นที่ยอมรับของบุคคล
อื่น ๆ และเข้าสังคมได้ดี
36
เวบเบอร์ (Webber) (Stogdill 1974 : 84) ผู้สร้างแนวคิดของผู้นำในด้านความสามารถ
พิเศษ จากการศึกษากลไกของอำนาจที่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือ อำนาจบังคับบัญชา สามารถ
แบ่งออกเป็น 3 แบบดังนี้
1. อำนาจหน้าที่บนพื้นฐานของความถูกต้อง อย่างมีเหตุมีผล อำนาจหน้าที่ในที่นี้ มาจาก
ความเชื่อในกฎหมายหรือกฎต่างๆ ที่ถูกสร้างขึ้นมาจากผู้มีสิทธิมีอำนาจให้รับผิดชอบในกฎเกณฑ์
นั้น ๆ ซึ่งอำนาจทางกฎหมายเป็นสิ่งสำคัญที่สุด
2. อำนาจหน้าที่ที่ได้รับการสืบทอดอำนาจหน้าท ี่ ลกั ษณะทเี่ กดิ ขนึ้ จากความเชอื่ ทมี่ ใี หก้ บั
คนรุ่นหนึ่งสืบทอดไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง อำนาจที่เกิดจากการสืบทอด ซึ่งมีความสำคัญน้อยกว่าอำนาจ
ทางกฎหมาย
3. อำนาจที่ได้มาจากพื้นฐานของความสามารถพิเศษต่างๆ ซึ่งได้แก่ วีรบุรุษ หรือ ผู้ที่มี
ลักษณะโดดเด่นกว่าคนอื่นที่จะสามารถชักจูงผู้อื่นได้ เรียกว่าพวกมีพรสวรรค์
เวบเบอร์ (Webber) มีความเชื่อที่ว่าความสามารถพิเศษของผู้นำนี้เกิดจากความเชื่อมั่นและ
ความศรัทธาของคน และกล่าวว่า ความสามารถพิเศษเป็นคุณสมบัติพิเศษในคนใดคนหนึ่งที่ไม่มี
ในคนทัว่ ๆ ไป ซึง่ เปน็ คุณสมบตั ทิ ี่หาไมพ่ บในคนธรรมดาทั่วๆ ไป เมอื่ คนเหลา่ นนั้ มคี ุณสมบัติพิเศษ
เหล่านี้คนคนนั้นจะถูกเรียกว่าเป็นผู้นำ ทำให้ผู้นั้นมีอำนาจเหนือกว่าบุคคลอื่น และที่สำคัญอำนาจ
นั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับความสามารถพิเศษของผู้นำอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับผู้ตามด้วยความสำคัญของ
ผู้ตามคือ
1. ผู้นำที่เป็นผู้นำเพราะมีความสามารถพิเศษจะเสียความเป็นผู้นำได้ ถ้าเข้าเสียความ
สามารถพิเศษหรือพลังพิเศษนั้นลดน้อยไป
2. ผู้นำที่มาจากความสามารถพิเศษนี้ทุกๆ คนที่มีความสามารถพิเศษต้องมีเป้าหมาย
ของทุกงานผู้ตามจะต้องตามผู้นำนั้นเพราะเชื่อว่าจะสามารถนำไปสู่เป้าหมายนั้นได้ แต่ถ้าเป้าหมาย
นั้นไม่ได้ถูกทำให้สำเร็จ พวกผู้ตามนั้นจะหายไป (ผู้นำเกิดขึ้นเพราะถูกคนเป็นผู้ตามเลือกให้เป็น
เพราะความสามารถพิเศษ แต่คนเป็นผู้ตามไม่ได้ตามอย่างไม่มีเหตุผล แต่ต้องการให้ผู้นำ นำไป
อย่างมีเป้าหมาย เมื่อใดที่นำไปนานแล้วไปไม่ถึงเป้าหมาย ผู้ตามก็จะหมดความเชื่อถือ ผู้นำก็จะไม่
ได้เป็นผู้นำต่อไป ผู้นำจึงต้องเอาใจใส่มากกับผู้ตาม เพราะถ้าไม่มีผู้ตามก็ไม่มีใครยกย่อง อีกต่อไป
หรือหากหมดไฟในการทำงานผู้ตามก็จะหมดศรัทธาไปด้วย) ผู้นำที่เกิดจากความสามารถพิเศษ
จึงไม่มีความมั่นคงถาวร แต่ผู้นำที่ได้รับการสืบทอดจะมีความมั่นคงมากกว่าเพราะมีความต่อเนื่อง
มากกว่า
37
ธงชัย สันติวงษ์ (2537 : 24) ได้กล่าวไว้ว่า คุณสมบัติของผู้นำมีหลายประการดังนี้ คือ
1. คุณลักษณะทางร่างกาย ได้แก่ รูปร่างหน้าตา เช่น ความสูงพอเหมาะ หน้าตาดี สุขภาพ
สมบูรณ์แข็งแรง
2. คุณลักษณะด้านบุคลิกภาพ ได้แก่ ความกระตือรือร้น ในหน้าที่การงาน ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
อดทน มานะ พยายาม สามารถปรับตัวและมีความมั่นคงทางอารมณ์
3. คุณลักษณะนิสัยส่วนตัว ได้แก่ มีความฉลาด ความรับผิดชอบ การชอบและรักงาน
มีความรู้ มีประสบการณ์ สามารถสื่อสารกับบุคคลอื่นได้
4. คุณลักษณะทางสังคม มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ประนีประนอม มีมนุษย์สัมพันธ์เป็นที่ไว้วางใจได้
เป็นที่นิยมชมชอบของบุคคลทั่วไป ยิ้มแย้ม แจ่มใส
ผลงานวิจัยของ สิน สื่อสวน (2530) เรื่องปัจจัยที่ส่งเสริมการพัฒนาองค์กรประชาชน
ในเมือง ทำการศึกษาเฉพาะกรณี สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนชุมชนหลังบ้านมนังคสิลา เขตดุสิต
กรุงเทพมหานคร ซึ่งพบว่า มีปัจจัยใหญ่ที่มีผลต่อการพัฒนาสหกรณ์ คือ ปัจจัยด้านกรรมการ
หรือ ผู้นำ ได้แก่ ผู้นำที่มีคุณลักษณะที่ดี คือ ได้รับการยอมรับจากสมาชิก มีความเสียสละ ความ
ซื่อสัตย์ ขยันขันแข็งในการทำงาน มีบทบาทในการช่วยเหลือสมาชิกแก้ปัญหา ชักชวนสมาชิกให้
มาร่วมกันแก้ไขปัญหา เปิดโอกาสให้สมาชิกตัดสินใจ ให้บริการอย่างเสมอภาค และปกป้องผล
ประโยชน์ของสมาชิก ผู้นำมีความสามารถในการเข้าใจปัญหา ผลักดันให้งานสำเร็จ ระดมความ
ร่วมมือจากสมาชิก ทำงานเป็นกลุ่ม ประสานงานกับภายนอก
ผลงานวิจัยของ สายพิรุณ น้อยศิริ (2530) เรื่อง ปัจจัยที่ส่งเสริมการพัฒนาองค์การ
ประชาชนในชนบท กรณีศึกษาธนาคารข้าวบ้านโนนขุย อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา พบว่า
ปัจจัยภายในชุมชน ได้แก่ กรรมการหรือผู้นำ ที่มีคุณลักษณะที่ดี ได้รับการยอมรับจากสมาชิก
มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความยุติธรรม รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น พูดจริงทำจริง มีความ
รับผิดชอบต่องานมีบทบาทในการเป็นผู้นำเป็นผู้ให้การศึกษาแก่สมาชิกกระตุ้นเร่งเร้าและรวมกลุ่ม
ผลงานวิจัยของ ภัคพัฒน์ ทิพยประไพ (2538) เรื่องแนวคิดวิธีการผลิตแบบเอเซียกับการ
อธิบายหมู่บ้านไทย จากการศึกษาพบว่าในการแสวงหาทางออกของหมู่บ้านไทยในการพัฒนา คือ
การฟื้นฟูระบบคุณธรรมชาวบ้านบนพื้นฐาน สามเรื่อง คือ ความสอดคล้องกับธรรมชาติ วิถีชีวิต
ชุมชน และการต่อสู้กับความไม่เท่าเทียมกันในชุมชน
38
จากทฤษฎีและงานวิจัยที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่า ความสัมพันธ์และความเชื่อมโยงผูกพันกัน
ในสังคมเป็นปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดการรวมกลุ่มกันในสังคม การสืบทอดประเพณี การมีจิตสำนึก
และระบบคุณธรรมเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความเชื่อมโยงประสานความสัมพันธ์ของคนในชุมชนทำให้มี
ความเป็นปึกแผ่นมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเมื่อใดก็ตามสมาชิกในสังคมนั้น ๆ ได้เข้ามามีส่วนร่วมใน
การกำหนดบทบาทหน้าที่ ซึ่งส่งผลให้องค์กรนั้นมีประสิทธิภาพในการรักษาสมดุลของการสร้าง
ความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นในสังคมและชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ในที่สุด นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้นำ
เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญที่ช่วยส่งเสริม และสนับสนุนการพัฒนาชนบทให้มีความเจริญก้าวหน้า
ทั้งนี้ก็เพราะผู้นำจะเป็นผู้ที่มีคุณลักษณะที่ดีทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจ ซึ่งนำไปสู่การยอมรับ
การให้ความร่วมมือและการช่วยเหลือ เป็นการกระตุ้นเร่งเร้าและประสานกลุ่มให้ทำงานไปสู่
เป้าหมายที่วางไว้ร่วมกัน ดังนั้น สังคมจึงเป็นปัจจัยเหตุของการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตน
เอง จึงเป็นประเด็นสำคัญในการศึกษาวิจัยครั้งนี้
2.6 การมีส่วนร่วมกับการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
การมีส่วนร่วม หมายถึง การที่สมาชิกในชุมชนได้เข้ามาร่วมกันปรึกษาหารือกันในการ
ตัดสินใจรับผิดชอบต่อแนวทาง แผนการปฏิบัติ หรือ นโยบาย ที่ได้กำหนดขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหา
และขจัดอุปสรรคต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อตนเองและส่วนรวม เพื่อประโยชน์และความสุขของ
ทุกคนในหมู่บ้านหรือชุมชน ได้แก่ มีส่วนร่วมและสนับสนุนกิจกรรมหมู่บ้านปลอดยาเสพติด การ
ช่วยกันสอดส่องดูแลหมู่บ้านให้มีความสงบสุขร่มเย็น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
ตลอดจนการร่วมบำรุงรักษาวัตถุ โครงการและกิจกรรมที่ได้ทำไว้ทั้งโดยชาวบ้าน เอกชน และ
รัฐให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและส่วนรวมได้ตลอดไป
จากแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 ได้ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์การ
พัฒนาที่เน้นการพัฒนาจากภาครัฐและระบบทุน มาเป็นการพัฒนาแบบยั่งยืนที่ให้ความสำคัญของ
การพัฒนาคนเป็นวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการพัฒนา การดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ
สิ่งแวดล้อม และการส่งเสริมความเข้มแข็งให้เกิดแก่ชุมชน ภายใต้หลักการพัฒนาคนให้มี
ศักยภาพ เช่นเดียวกับสหประชาชาติ (United Nation 1981 : 11) ที่เห็นความสำคัญของการ
มีส่วนร่วมกับการพัฒนาชุมชนโดยประชาชน จึงได้ให้ความหมายของการมีส่วนร่วมของประชาชน
คือการทปี่ ระชาชนกอ่ ใหเ้ กดิ กระบวนการและโครงสร้างที่ประชาชนในชนบทสามารถที่จะแสดงออก
ซึ่งความต้องการของตน การจัดอันดับความสำคัญการเข้าร่วมในการพัฒนาและรับประโยชน์จาก
การพัฒนาโดยการเน้นที่การให้อำนาจการตัดสินใจแก่ประชาชนในชนบท
39
ลักษณะและรูปแบบการมีส่วนร่วม
ยุวัฒน์ วุฒิเมธี (2534 : 67-69) กล่าวว่า การมีส่วนร่วมของประชาชน หมายถึง การ
เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการคิดริเริ่มการพิจารณา ตัดสินใจในการร่วมปฏิบัติ
และร่วมรับผิดชอบในเรื่องต่าง ๆ อันมีผลกระทบถึงตัวประชาชน และการที่ประชาชนได้เข้าร่วม
รับผิดชอบในกิจกรรมแทนรัฐทำให้เกิดการพึงพอใจ ซึ่งจะเป็นการลดความขัดแย้งระหว่างรัฐกับ
ประชาชน
ปาริชาติ วลัยเสถียร และคณะ (2541:19) ได้กล่าวว่า นโยบายและมาตรการส่งเสริมธุรกิจ
ของหน่วยงานภาครัฐเพื่อการพึ่งตนเองของชุมชนนั้น จะต้องให้ชุมชนรู้จักและมีศักยภาพในการ
พึ่งตนเองได้ โดยทุกคนทุกกลุ่มในชุมชนจะต้องมีส่วนร่วมในกิจกรรมหรือมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ
ในกิจกรรมหรือสิ่งนั้นๆ เพื่อจิตสำนึกร่วมกันสร้างและดูแลให้มีความเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคง
โคเฮน และ อัพฮอฟฟ์ (Cohen and Uphoff 1980 : 213-214) ได้สร้างกรอบพื้นฐาน
เพื่อการอธิบาย และวิเคราะห์การมีส่วนร่วมในแง่ของรูปแบบการมีส่วนร่วมไว้ โดยแบ่งได้เป็น
4 รูปแบบคือ
1. การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ซึ่งอาจจะเป็นการตัดสินใจตั้งแต่ในระยะเริ่มการตัดสินใจ
ในช่วงของกิจกรรมและการตัดสินใจในการดำเนินกิจกรรม
2. การมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม ซึ่งอาจเป็นไปในรูปแบบการเข้าร่วมโดยให้มีการ
สนับสนุนทางด้านทรัพยากร การเข้าร่วมในการบริหารและการร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจ
3. การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ ซึ่งอาจะเป็นผลประโยชน์ทางวัตถุ สังคม และโดย
ส่วนรวม
4. การมีส่วนร่วมในการประเมินผล ซึ่งนับเป็นการควบคุม และตรวจสอบการดำเนิน
กิจกรรมทั้งหมด และเป็นการแสดงถึงการปรับตัวในการมีส่วนร่วมต่อไป
ไพรัตน์ เตชะรินทร์ (2527 : 6-7) ได้แบ่งลักษณะการมีส่วนร่วมของประชาชนออก
เป็น 8 ลักษณะ ดังนี้
1. ร่วมทำการศึกษา ค้นหาปัญหา และสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน ซึ่งรวมถึง
2. ความต้องการของชุมชนร่วมวางนโยบายหรือแผนงานหรือโครงการ กิจกรรม เพื่อขจัด
และแก้ปัญหาตามความต้องการของชุมชน
3. ร่วมตัดสินใจ การใช้ทรัพยากรที่มีอย่างจำกัดให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
4. ร่วมขจัดหรือปรับปรุงระบบการบริหาร การพัฒนาให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
5. ร่วมในการลงทุนในกิจกรรมโครงการของชุมชนตามขีดความสามารถของตน
6. ร่วมปฏิบัติงานตามนโยบาย แผนงาน โครงการและกิจกรรมให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้
40
7. ร่วมควบคุม ติดตาม ประเมินผล และร่วมบำรุงรักษาโครงการและกิจกรรมที่ได้ทำไว้ทั้ง
โดยเอกชนและรัฐบาลให้ใช้ประโยชน์ได้ตลอดไป
8. ร่วมคิดหาทางสร้างแบบแผนและวิธีการ เพื่อแก้ไขปัญหาและลดปัญหาของชุมชน หรือ
เพื่อสร้างสรรสิ่งใหม่ที่เป็นประโยชน์ของชุมชน เพื่อสนองตอบความต้องการของชุมชน
จากผลงานวิจัยของ พิมาน วงอภัย (2533) ได้ศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริมให้องค์กรประชาชน
ในชนบทสามารถพึ่งตนเองได้ กรณีศึกษา นิคมสร้างตนเองโนนสัง อำเภอโนนสัง จังหวัดอุดรธานี
พบว่า การที่สมาชิกมีส่วนร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์กรอย่างมีความสุข และมีจิตสำนึกในความ
เป็นเจ้าของเป็นปัจจัยส่งเสริมให้ประชาชนในชนบทสามารถพึ่งตนเองได้
ผลงานวิจัยของ กิตติ คันธา (2536) ได้ทำการวิจัยเรื่องการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการ
หมู่บ้านในการพัฒนาชนบท ศึกษาเฉพาะกรณี อำเภอแวงใหญ่ จังหวัดขอนแก่น พบว่า อายุ
ระดับการศึกษา ขนาดครอบครัว รายได้ และระดับความคิดเห็นของกรรมการหมู่บ้านไม่มีความ
สัมพันธ์ต่อการมีส่วนร่วม แต่การเป็นสมาชิกกลุ่มสังคมมีความสัมพันธ์ต่อการมีส่วนร่วมในการ
พัฒนา
การพัฒนาแบบยั่งยืนที่ให้ความสำคัญของการพัฒนาคนเป็นวัตถุประสงค์และเป้าหมายใน
การพัฒนาให้มีศักยภาพการพึ่งตนเอง ได้แก่ การมีจิตสำนึกในมีส่วนร่วมรับผิดชอบในกิจกรรม
แทนภาครัฐอย่างมีความสุขและมีจิตสำนึกในความเจ้าของในท้องถิ่นตน การร่วมคิดเป็น ร่วมทำ
ร่วมกันแก้ปัญหา และการมีน้ำใจในการเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของตนเองให้มีความ
เจริญก้าวหน้าสามารถพึ่งตนเองได้เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้เกิดแก่ตนเองและชุมชน นั้นคือ
หลักการพัฒนาคนแต่ละบุคคลมาร่วมกันพัฒนาอย่างสร้างสรรค์ เพื่อประโยชน์และความสงบสุข
ในชุมชนของตนเอง ดังนั้น การมีส่วนร่วมจึงเป็นปัจจัยเหตุที่มีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจ
ชุมชนพึ่งตนเอง ซึ่งได้นำมาทำการวิจัยครั้งนี้
41
2.7 การจัดการกับการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
การจัดการ หมายถึง ความสามารถในการจัดการตนเองและองค์กรในหมู่บ้านเพื่อการ
พึ่งตนเองได้ ด้วยกิจกรรมที่สำคัญ คือ การวิเคราะหป์ ญั หา ความตอ้ งการทแี่ ทจ้ รงิ ของหมบู่ า้ นหรอื
ชุมชน การวางแผน การจัดกระบวนการ การลงมือดำเนินการตามแผน และ การประเมินผล รวมทั้ง
การกระทำที่แสดงออกถึงความพยายามทำงานด้วยความรอบคอบเพื่อให้งานหรือกิจกรรมนั้นได้
บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้
ทฤษฎีการจัดการ
ทฤษฎีการจัดการของ ฟาโยล (สัมพันธ์ ภู่ไพบูลย์ 2542 : 31-35 อ้างถึง Fayol)
สรุปสาระสำคัญของหลักการจัดการ ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติของผู้บริหาร โดยมีหลักการ ดังนี้
1. หลักการแบ่งงานกันทำ คือการแบ่งแยกงานกันทำตามความถนัด ไม่ว่าจะเป็นงานทาง
ด้านบริหาร หรือเทคนิคทั้งนี้โดยยึดหลักประโยชน์ของแรงงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
2. อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ เพื่อการปฏิบัติงานนั้นให้สำเร็จลุล่วง
3. การมีผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียว เพื่อป้องกันมิให้เกิดความสับสนในการปฏิบัติการ
และขจัดความขัดแย้ง และการทำลายอำนาจหน้าที่และระเบียบวินัย
4. การถือประโยชน์ส่วนตนเป็นรองจากประโยชน์ส่วนรวม เป้าหมายและผลประโยชน์
ของส่วนรวมและสังคมเหนือกว่าผลประโยชน์ของกลุ่มบุคคล ซึ่งย่อมทำให้สังคมนั้นๆ มีความ
เจริญก้าวหน้า
5. การรวมอำนาจไว้ที่ส่วนกลางเพื่อให้ครอบคลุมในส่วนต่าง ๆ ขององค์กรไว้ได้ในกรณี
ที่มีความจำเป็นต้องต้องกระจายไปสู่ส่วนย่อยก็ขึ้นอยู่กับบุคคล และสถานกรณ์เพื่อประโยชน์รวม
สูงสุดขององค์กร
6. ความมีระเบียบเรียบร้อย คือ หลักข้อมูลพื้นฐานที่ใช้ในการจัดสิ่งของและบุคลากร การ
กำหนดลักษณะและขอบเขตของงานให้ถูกต้องและมีความชัดเจน
7. ความเสมอภาค การยึดถือความเอื้ออารี ความเมตตา ยุติธรรม เป็นหลักของผู้นำ หรือ
ผู้บังคับบัญชา ความเสมอภาคจะจูงใจให้พนักงานมีความจงรักภักดี และอุทิศตนเพื่องาน ซึ่ง
สะท้อนออกมาในรูปของการจ่ายค่าตอบแทน และเลื่อนตำแหน่ง
8. ความคิดริเริ่ม คือ การเปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้แสดงความคิดริเริ่ม และให้การ
สนับสนุนแนะนำให้เกิดการนำไปใช้อย่างเกิดประโยชน์ ซึ่งเป็นพลังสำคัญที่จะทำให้ องค์กรชุมชน
มีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น
9. ความสามัคคีความจำเป็นต้องทำงานเป็นกลุ่ม เน้นความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ความ
สำคัญของการติดต่อสื่อสาร และผสานสามัคคีมีผลต่อการบังคับบัญชาเป็นอย่างยิ่ง
10. การมีจุดหมายร่วมกัน กิจกรรมดำเนินไปในทิศทางเดียวกันสอดคล้อง และเป็นไปตามแบบแผนของ
องค์กรเดียวกัน
42
หลักการพัฒนาชุมชนแบบการจัดการ
สัญญา สัญญาวิวัฒน์ (2541 : 15-16) ได้กล่าวถึงหลักการพัฒนาชุมชนแบบการจัดการ
คือ การกำหนดขอบเขต และทิศทางให้ไปสู่การบรรลุเป้าหมาย ซึ่งเป็นการผสมผสาน การพัฒนา
ชุมชนทั่วไป และการพัฒนาชุมชนเฉพาะส่วน ซึ่งประกอบไปด้วย
1. การรู้จักตนเอง รู้ว่าสภาพชุมชน โครงสร้างชุมชน ความต้องการ ความสามารถ โอกาส
และการวิเคราะห์ชุมชนโดยหลักการ SWOT ได้แก่ จุดแข็ง (Strength) จุดอ่อน (Weakness)
โอกาส (Opportunity) และอุปสรรค (Threat) จากนั้นจึงนำความรู้ หรือปัญญาที่เกิดขึ้นมาจัดการ
ด้วยตนเอง ซึ่งมีกิจกรรมสำคัญ 4 ประการคือ
1.1 การวางแผน คือชุมชนต้องมีโครงการหรืองานของชุมชน ซึ่งจะต้องระบุว่า ชุมชนจะ
ทำอะไร ใครจะทำ ทำที่ไหน ทำเมื่อไร ทำอย่างไร
1.2 การจัดกระบวนการ คือการเตรียมการเพื่อดำเนินการไปตามแบบที่เตรียมไว้ ได้แก่
การเตรียมคน วัสดุ การฝึกทักษะที่จำเป็น และนัดหมายการลงมือทำ
1.3 ลงมือดำเนินการตามแผน คือการปฏิบัติตามแผนหรือโครงการที่วางไว้อย่างเป็นขั้น
เป็นตอน
1.4 การประเมิน คือ การกำกับงาน ให้ดำเนินไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ และหา
ปัญหาอุปสรรค ต้องพยายามแก้ไขหรือขจัดปัญหาอุปสรรคนั้นไป เมื่องานเสร็จ ทำการประเมิน
ผลงานอีกครั้ง ว่าได้ดำเนินงานครบถ้วนตามแผนที่วางไว้หรือไม่ สรุปปัญหา แนวทางทั่วไป
และบทเรียนที่ได้จากโครงการนี้ มีข้อเสนอแนะแนวทางการใช้ประโยชน์จากผลสำเร็จร่วมกัน
2. ส่งเสริมการฝึกอบรม เมื่อสามารถจัดการได้ด้วยตนเองแล้ว ลำดับต่อไปคือการส่งเสริม
การศึกษาอบรมการจัดการที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และต้องรู้ว่าตนเองมีปัญหาหรือความ
ต้องการด้านใดบ้าง เช่น เมื่อรู้ว่าตนมีปัญหาหรือมีความต้องการด้านอาชีพ จึงควรเข้ารับการ
ฝึกอบรมอาชีพเสริม
3. การสร้างกลุ่มช่วยตนเองซึ่งอาจเป็นคณะกรรมการ คณะทำงาน กลุ่มสหกรณ์ออมทรพั ย์
หรือกลุ่มอาชีพต่างๆ เพื่อมาช่วยตัวเอง และเป็นประโยชน์ต่อการจัดการ
จากข้อความที่ได้กล่าวมา มีความสอดคล้องกับหลักการการพัฒนาชนบทด้วยการพัฒนา
ชุมชน (สุรีย์พร เหลี่ยมวรางกูร 2541 : 15) ซึ่งเป็นแนวคิดของชาวอเมริกันในการพัฒนาที่เกิด
ขึ้นในปี ค.ศ.1950 พร้อม ๆ กับการช่วยเหลือของสหรัฐอเมริกาในด้านต่าง ๆ ต่อโลกที่ 3 โดยมี
หลักการและวิธีการดำเนินการพัฒนาชุมชนคือ ตัวแทนรัฐบาลที่ทำงานอยู่ในฐานะผู้นำการ
เปลี่ยนแปลงโดยร่วมมือกับผู้นำท้องถิ่น เพื่อรวมกลุ่มกับชาวบ้านชนบทในการกำหนดปัญหาและ
ความต้องการของท้องถิ่น โดยมีการกำหนดแนวทางและดำเนินการแก้ปัญหาหรือพัฒนาท้องถิ่น
ร่วมกันโดยพยายามให้มีการใช้ทรัพยากรของท้องถิ่นแบบการช่วยตนเอง ในกรณีที่ทรัพยากร
ท้องถิ่นมีอยู่จำกัด รัฐบาลก็ต้องให้ความช่วยเหลือในเรื่องการเงิน วัสดุสิ่งของ หรือ ความรู้ทาง
43
วิชาการด้วย โดยหลักการพัฒนาชุมชนมีความมุ่งหมายที่จะปรับปรุงในทุกๆ เรื่อง เช่น ความเปน็
ปึกแผ่นทางสังคมในชนบท การผลิต การศึกษา การสาธารณสุขนันทนาการ และการปกครองตนเอง
สำหรับแนวคิดการพัฒนาชนบทแบบผสมผสาน (Integrated Rural Development ) หรือ IRD
โดยยึดหลักการพื้นฐานการพัฒนาชนบทแบบผสมผสาน มีความคล้ายกับหลักการพัฒนาชนบท
(Community Development) หรือ CD อยู่มาก เพราะเป็นกระบวนการเพื่อการปรับปรุงงานใน
หลายๆ ด้าน เช่น การผลิต การสื่อสาร การคมนาคม การศึกษา การสาธารณะสุข โดยมีส่วน
ที่แตกต่างกับหลักการพัฒนาแบบผสมผสาน (IRD) คือ ความพยายามดำเนินการพัฒนาในด้าน
ต่างๆ ให้ผสมกลมกลืนพร้อมๆ กัน หรือตามลำดับขั้นตอนที่เหมาะสมอย่างมีบูรณาการและเป็น
การดำเนินการภายใต้ขอบข่ายการบริหารงานของหน่วยงานเดียวมากกว่าที่จะเป็นการประสานกัน
ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและมีเป้าหมายขอบเขตพื้นที่ในการพัฒนาที่แน่นอน
กาญจนา แก้วเทพ และกนกศักดิ์ แก้วเทพ (2530) ทำการวิจัยเรื่องการส่งเสริมทาง
เศรษฐกิจในพื้นที่ชนบทโดยผ่านองค์กรเพื่อความช่วยเหลือตนเอง ผลการวิจัยพบว่า การที่
ประชาชนจะพึ่งตนเองได้นั้นต้องมีการกระตุ้นให้เกิดและพัฒนาองค์กรชาวบ้านให้มีคุณภาพและ
เปลี่ยนให้ชาวบ้านดำเนินการเอง โดยมีกลุ่มหลายกิจกรรม มีสมาชิกมาก และมีการอบรมสมาชิก
ปราณี ขัตติยศ (2538) ศึกษาวิจัยเรื่องเศรษฐกิจศาสตร์การเมืองของการอนุรักษ์ป่าไม้
กรณีศึกษา ป่าดงใหญ่ จังหวัดบุรีรัมย์ จากการศึกษาพบว่า ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของ
ชาวบ้านจะยั่งยืนได้นั้นจะต้องอยู่บนพื้นฐานของการจัดการทรัพยากรให้แก่ชาวบ้านโดยออก
กฎหมายรองรับและได้รับการสนับสนุนด้านวิชาการ งบประมาณ การยอมรับภูมิปัญญาชาวบ้าน
ตลอดจนการประสานกับองค์กรภายนอก
ปาริชาติ วลัยเสถียร และคณะ (2541) ได้ศึกษาวิจัยเรื่องนโยบายและมาตรการส่งเสริม
ธุรกิจชุมชนของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อการพัฒนาของชุมชนทางรอดเศรษฐกิจไทย ผลการศึกษา
วิจัยพบว่า การส่งเสริมธุรกิจชุมชนนั้นจะต้องส่งเสริมให้ชุมชนรู้จักศักยภาพและทรัพยากรใน
ชุมชนเพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ ซึ่งสอดคล้องกับการรู้จักตนเอง
จากข้อความที่ได้นำเสนอมา กล่าวได้ว่า การพึ่งตนเองได้ คือ การรู้จักตนเอง และประชาชน
เป็นผู้ดำเนินการเอง ภายใต้กระบวนการจัดการที่ทำงานมีลำดับเป็นขั้นตอน มีทิศทางและมีการ
กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายไว้อย่างชัดเจนแน่นอน ซึ่งเป็นสิ่งทำให้การดำเนินกิจกรรมให้
บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ในการพัฒนาตนเองและชุมชนนั้นจำเป็นต้องและพัฒนาคนให้มีศักยภาพ
ตามสภาวการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างเหมาะสม ดังนั้นการจัดการจึงเป็นมูลเหตุปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการ
หมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง ที่ต้องนำมาวิเคราะห์ศึกษาในการวิจัยครั้งนี้
44
จากทฤษฎีและงานวิจัยได้แก่ หลักการ TERMS การมีส่วนร่วม และ การจัดการ ที่ได้กล่าว
อ้างมาทั้งหมดข้างต้น จะพบว่า การพึ่งตนเองได้ของชุมชนในชนบทนั้น จะต้องมีปัจจัยที่สนับสนุน
ทั้งทางวัตถุด้านกายภาพ และความพร้อมทางด้านจิตใจซึ่งมีความสำคัญอย่างน้อย 7 ด้านด้วยกัน
ซึ่งประชาชนและชุมชนได้นำปัจจัยทั้งที่ตนเองมีอยู่หรือได้รับการส่งเสริมจากองค์กรภายนอก
เหล่านั้นมาสู่กระบวนการยอมรับหลักการและใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติตามโครงการหมู่บ้าน
เศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง ซึ่งปัจจัยใดเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการยอมรับและการนำไปปฏิบัติ
ของสมาชิกในหมู่บ้านนั้นมากที่สุดจนนำไปสู่ความสำเร็จเป็นประเด็นที่มีความสำคัญและมี
ความจำเป็นที่จะต้องค้นหา เพื่อนำผลการวิจัยที่ได้นั้นประยุกต์ใช้ในการพัฒนาหมู่บ้านหรือ
ชุมชนอื่นๆ ที่ยังไม่บรรลุถึงการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองให้ประสบความสำเร็จอย่าง
กว้างขวางทั่วประเทศสืบไปในอนาคต และเป็นปัจจัยเหตุให้นำมากำหนดเป็นตัวแปรอิสระใน
สมมติฐาน เพื่อทำการทดสอบต่อไป และเพื่อการวิจัยครั้งนี้ดำเนินไปอย่างมีระบบ ถูกต้อง และมี
ความเหมาะสมในการวิจัยและการสร้างเครื่องมือ จึงได้ทำการศึกษาลักษณะพื้นฐานของหมู่บ้าน
เศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในจังหวัดสมุทรสาครทั้ง 3 หมู่บ้าน เมื่อวันที่ 22 และวันที่ 30 ธันวาคม
2544 โดยใช้แบบสอบถามเบื้องต้นซึ่งเป็นคำถามเพื่อหาปัจจัยทั้ง 7 ด้าน พร้อมกับตัวอย่าง
คำถามเพื่อการศึกษาข้อมูลชุมชนจากศูนย์ชุมชนเข้มแข็งสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
มาประกอบเข้าด้วยกัน จึงได้ลักษณะพื้นฐานทั้ง 3 หมู่บ้านเป็นไปตามปัจจัยทั้ง 7 ด้าน ดังต่อไปนี้
ลักษณะหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในจังหวัดสมุทรสาคร
เมื่อ วันที่ 22 และ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2544
ผลจากการศึกษาหมู่บ้านในระดับขั้นต้นภายใต้คำถามเพื่อการศึกษาชุมชนและแบบสอบถาม
ชุดแรกได้ข้อมูลดังต่อไปนี้
ลักษณะประชากรโดยทั่วไปอยู่ในวัยการทำงาน มีอายุตั้งแต่ 24-25 ปีเป็นส่วนใหญ่โดย
เฉพาะหมู่ 2 ตำบลเจ็ดริ้ว ส่วนหมู่ 2 ตำบลบ้านเกาะ และหมู่ 6 ตำบลท่าเสา มีวัยเด็ก วัยผู้ใหญ่
และวัยชราใกล้เคียงกัน ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำสวนผลไม้ เช่น สวน
พุทรา องุ่น มะม่วง มะพร้าว ส้ม มะนาว และสวนกล้วยไม้ ยกเว้น หมู่ 2 ตำบลเจ็ดริ้ว มีการเลี้ยง
กุ้งกุลาดำซึ่งเป็นการฝ่าฝืนกฏหมายและส่งผลกระทบต่อผู้ทำสวนองุ่น แต่ละชุมชนมีองค์กรชุมชน
เช่น กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มเยาวชนต้านยาเสพติด กลุ่มป้องกันยาเสพติด กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มผู้ใช้
น้ำประปา โดยมีคณะกรรมหมู่บ้าน ตำรวจบ้าน และประธานกลุ่มต่าง ๆ เป็นผู้นำ ดำเนินกิจกรรม
ประสานงานจากหน่วยราชการ และการจัดการประชุม โดยการตัดสินใจจะขึ้นอยู่กับตัวผู้นำถ้าที่
ประชุมไม่มีผู้ใดคัดค้าน โครงสร้างทางกายภาพของหมู่บ้านทั้ง 3 หมู่บ้านส่วนใหญ่ติดกับแม่น้ำ
ท่าจีนและใกล้กับลำคลองส่งน้ำจากแม่น้ำท่าจีนเข้าสู่ที่ตั้งของหมู่บ้าน โดยเฉพาะหมู่ 6 ตำบล
45
ท่าเสา ที่ตั้งของหมู่บ้านด้านติดกับแม่น้ำท่าจีนโดยรอบ ตามปกติชาวบ้านส่วนใหญ่จะใช้น้ำจาก
แหล่งน้ำธรรมชาติทำการเพาะปลูกและเลี้ยงกุ้ง และใช้น้ำบาดาลและน้ำประปา น้ำฝน เพื่อการ
อุปโภค และบริโภค ลักษณะโครงสร้างทางสังคม มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดสนิมสนมกันดี 70% ของ
สมาชิกในหมู่บ้านส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์เกี่ยวดองเป็นเครือญาติกัน สามารถตักเตือนลูกหลาน
ในหมู่บ้านได้ทุกคน และมีบทบาทในการเป็นผู้นำชุมชน ส่งผลให้การรวมกลุ่มดำเนินกิจกรรม
ต่างๆ ภายในชุมชนได้รับการร่วมมือเป็นอย่างดีโดยเฉพาะหมู่ 2 ตำบลเจ็ดริ้ว มีเชื้อสายเป็น
ชาวรามัญ ยึดมั่นในประเพณี วัฒนธรรม โดยเฉพาะวันลอยกระทงและวันสงกรานต์ มีการ
จัดงานในหมู่บ้าน หรือ ที่วัด และเคร่งครัดในปฏิบัติธรรมตามหลักพระพุทธศาสนา ซึ่งยังมีการ
ถืออุโบสถศีลหรือศีล 8 ทุกวันพระ ร่วมกัน หมู่ 6 ตำบลท่าเสา จะทำบุญเลี้ยงพระในหมู่บ้านโดย
แต่ละบ้านจะทำอาหารมาทำบุญและ รับประทานร่วมกันในวันสงกรานต์ ส่วนหมู่ 2 ตำบล
บ้านเกาะ จะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันทำอาหารเลี้ยงพระที่วัดทุกๆ วันพระตลอดช่วงฤดูการเข้าพรรษา
ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารจากหอกระจายข่าวประจำหมู่บ้านและผู้นำกลุ่ม ทุกๆ คนจะดูแล
รักษาสุขภาพเบื้องต้น หรืออาการเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ ด้วยสมุนไพรชนิดต่างๆ ที่ปลูกไว้ใน
บริเวณครัวเรือน เช่น ต้นใบพลู ว่านบาดทะยัก และนอกจากนี้ ยังมีการปลูกพืชผักสวนครัวทั่ว
ไป ไม่ว่าจะเป็น ข่า ตระไคร้ ใบมะกรูด ใบโหระพา กระเพา บวบ ฝัก และเลี้ยงปลาในร่องสวน ไว้
บริโภคภายในครัวเรือน ในชุมชนจะมีแหล่งเงินทุนจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์
เงินออมทรัพย์ภายในชุมชน และเงินกองทุนหมู่บ้าน ทั้ง 3 หมู่บ้านประสบความสำเร็จในการทำ
ให้หมู่บ้านปลอดจากยาเสพติด ทำให้ปราศจากปัญหาการขโมย โดยเฉพาะหมู่ 6 ตำบลท่าเสา
ประสบความสำเร็จในด้านนี้สูงกว่าหมู่บ้านอื่น จนได้รับการสนใจจากบุคคลภายนอก ซึ่งได้มีการ
มาศึกษา สัมภาษณ์จากหน่วยงานราชการและสภาบันการศึกษา เช่น มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นต้น
ปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาให้ประสบความสำเร็จคือชาวบ้านทุกคนมีความรักใคร่กลมเกลียว
และมีความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และผู้นำในหมู่บ้านเป็นบุคคลที่ทันสมัย ทันเหตุการณ์ และ
เป็นผู้ที่ยอมรับนวัตกรรมใหม่ เช่น การทำเกษตรโดยใช้ปุ๋ยชีวภาพ การใช้หัวปลาสับ น้ำมะพร้าว
หอยเชอรี่และกากน้ำตาลมาเป็นวัตถุดิบในการทำ เมื่อประสบความสำเร็จได้ผลดี ก็มีการแบ่งปัน
ให้เพื่อนบ้านไปทดลองใช้ ดังเช่น สวนของผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 6 ตำบลท่าเสา ขณะเดียวกันชาวบ้าน
หมู่ 2 ในตำบลเจ็ดริ้ว พยายามทดลองใช้ปุ๋ยชีวภาพกับสวนส้มของตนเอง แต่ยังไม่ประสบความ
สำเร็จเท่าที่ควร หมู่ 2 ตำบลบ้านเกาะ มีชาวบ้านบางคนเลือกใช้ สปริงเคลอร์ (Sprinkler) รดน้ำ
ต้นไม้ในสวนผลไม้ แล้วใช้เวลาว่างที่เหลือไปรับจ้างทำงานเพื่อสร้างรายได้เสริม วิถีชีวิตของ
ประชาชนส่วนใหญ่ก่อนและหลังจากการพัฒนาหมู่บ้านให้เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองแล้วเปลี่ยน
แปลงค่อนข้างน้อย และไม่ได้รับผลกระบทใด ๆ จากวิกฤติทางเศรษฐกิจ หมู่ 2 ตำบลบ้านเกาะมี
วิถีชีวิตที่ต้องต่อสู้ดิ้นรนบ้างเพื่อทำมาหากินเพิ่มมากขึ้น และต้องการใช้เงินลงทุนหากมองเห็นว่า
จะเกิดผลกำไรได้แน่นอนในอนาคตข้างหน้า ชุมชนจะมีการจัดการแข่งขันฟุตบอลเยาวชนต้านยา
เสพติดเพื่อให้เด็กและเยาวชนใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์โดยมีผู้นำกลุ่มเป็นผู้ให้การสนับสนุน
46
ทุกๆ ด้าน ครอบครัวส่วนใหญ่จะมีเด็กและคนชราอยู่ร่วมกัน หรือ หากแต่งงานมีครอบครัวก็จะ
แยกบ้านปลูกต่างหาก แต่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน ดูแลซึ่งกันและกันได้อย่างทั่วถึง ชาวบ้านทุก
คนมีความพึงพอใจกับสภาพที่เป็นอยู่ ไม่ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรมากไปกว่านี้
เพราะมีความรู้สึกว่าหมู่บ้านของตนมีความน่าอยู่และสงบสุข แต่ถ้ามีหน่วยงานของรัฐสามารถให้
ความช่วยเหลือเรื่องการสร้างอาชีพเสริมและการจัดการด้านการผลิตและการตลาดตลอดกระบวน
การขั้นตอนให้กับชาวบ้านในหม ู่ 2 ตำบลบ้านเกาะได้ ก็จะทำให้ชาวบ้านมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นกว่าที่
เป็นอยู่
จากข้อมูลเบื้องต้นสามารถนำมาแยกวิเคราะห์ออกตามปัจจัยแต่ละปัจจัยและคุณลักณะของ
หมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองตามกรอบแนวความคิดได้ดังนี้
ตารางที่ 1 แสดงลักษณะปัจจัยหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
ปัจจัย หมู่ 2 ตำบลเจ็ดริ้ว หมู่ 2 ตำบลบ้านเกาะ หมู่ 6 ตำบลท่าเสา
T -ใช้ปุ๋ยเคมี ยาปราบศัตรู
พืช และใช้ปุ๋ยชีวภาพจาก
หญ้าหมักกับหอยเชอรี่
และกากน้ำตาล
-ทำน้ำยาล้างจาน ทำยา
หม่อง ดอกไม้จันทน์ สาน
เสื่อกกจากต้นกกที่ขึ้นอยู่
ภายในหมู่บ้าน
-ใช้ลูกใต้ใบ ว่านรางจืด
ฟ้าทะลายโจรเป็นยาสมุนไพร
ควบคู่กับการรักษาแผน
ปัจจุบัน
-ใช้สปริงเคลอร์ (Sprinkler)
รดน้ำต้นไม้ในสวน ใช้ทั้งปุ๋ย
คอกและปุ๋ยเคมีในการเพาะปลูก
- สานเสื่อโดยใช้ใบเตย ใบกก
ภายในหมู่บ้าน ไว้ใช้ภายในครัว
เรือน
-ต้นใบพลู ว่านใบบาดทะยัก
เป็นพืชสมุนไพรที่ปลูกไว้ใน
ครัวเรือนเพื่อใช้ในการรักษา
-ใช้น้ำมะพร้าว หัวปลาสับ
หอยเชอรีห่ มักทาํ ปุย๋ ชีวภาพ
ใช้สปริงเคลอร์(Sprinkler)
และเครื่องฉีดพ่นยา ใช้ปุ๋ย
คอกและปุ๋ยเคมี ทำการ
เกษตรแบบผสมผสาน การ
เลือกใช้เมล็ดพันธุ์พืชที่มี
ความเหมาะสม
-เยบ็ ตบั จากเพอื่ ใชม้ ุงหลังคา
บ้าน จากต้นจากที่ขึ้นภาย
ในท้องถิ่น
47
E -อาชีพทำสวนองุ่น สวนส้ม
สวนมะนาว เลี้ยงกุ้งกุลาดำ มี
อาชีพเสริมตัดแต่งสวน
องุ่น มีกลุ่มแม่บ้านทำ
ดอกไม้จันทน์ ยาหม่อง
น้ำยาล้างจานเพื่อจำหน่าย
เป็นรายได้เสริม และนำ
ไปใช้ในครัวเรือน
-แหล่งเงินทุนจาก ธกส.
การพักชำระหนี้ กองทุน
หมู่บ้าน
-มีผักบุ้ง ตำลึง กระถิ่นไว้
เก็บกินได้อย่างพอเพียง
-ภาวะเศรษฐกิจภายใน
ครอบครัวไม่ได้ผลกระทบ
ต่อการพัฒนาและภาวะ
วิกฤติทางเศรษฐกิจ
-ทำสวนพุทธา สวนจากและ
เย็บตับจากขาย ค้าขาย ธุรกิจ
ส่วนตัว และการสวนผลไม้เป็น
อาชีพเสริม รับจ้างทำงานใน
สวนเพื่อหารายได้เสริม
-แหล่งเงินทุน คือกลุ่มออม
ทรัพย์ กองทุนหมู่บ้าน มีเงิน
สนับสนุนจากภาครัฐให้กับกลุ่ม
ผู้ใช้น้ำบาดาลแล้วเป็นเงินทุน
หมุนเวียนภายในหมู่บ้าน
-ชาวบ้านสามารถเก็บหัวปล ี ใบ
มะขามอ่อน ตำลึง ผักต่าง ๆ ที่
ขึ้นอยู่ตามถนน หรือ สวนของ
เพื่อนบ้านได้อย่างสะดวกและมี
อย่างพอเพียงจนสามารถเก็บ
ไปเพื่อขายเป็นรายได้
-ต้องขยันทำมาหากินมากขึ้นทำมาหา
กินง่ายและคล่องขึ้นหลังจากหมู่บ้าน
ได้รับการพัฒนา
-อาชีพรับราชการครู ทหาร
แพทย์สาธารณสุข และทำ
สวนมะพร้าวน้ำหอม สวน
มะม่วงหลายสายพันธุ์ สวน
กล้วยไม้ ผลผลิตที่ได้ส่ง
ออกไปต่างประเทศ และมี
พ่อค้าจากนครปฐมมารับ
ซื้อถึงที่
-ใช้แหล่งเงินทุนจากกอง
ทุนหมู่บ้าน ธกส.
-เลี้ยงปลาในร่องสวน
ปลูกบวบ น้ำเต้า ผักสวน
ครัวไว้กินในภายในครัวเรือน
อย่างเพียงพอ
- ฐานะทางเศรษฐกิจค่อน
ข้างดี สามารถพึ่งตนเองได้
ไม่เคยได้รับผลกระทบจาก
ภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจ
48
R -ใช้แรงงานตนเองบุคคลภาย
ในครอบครัวและญาติพี่น้อง
-มที สี่ าํ หรบั ปลกู ทอี่ ยอู่ าศยั
และทำกินที่เป็นของบิดามารดา
ประมาณ 15 ไร่/ครอบครัว
-ใช้น้ำในคลองทำการเพาะปลูก
ใช้น้ำฝนและน้ำประปาเพื่อการ
อปุ โภคและบรโิ ภค มปี ญั หา
เรื่องน้าํ เสยี จากนากุ้ง และนา้ํ
เน่าเสียจาแม่น้ำท่าจีนทำให้ต้น
กกทเี่ คยขนึ้ อยา่ งอดุ มสมบรู ณ์
กำลังจะหมดไปจากหมู่บ้าน
-ได้รับผลกระทบจากกระแส
ลมที่พัดจากโรงไฟฟ้าราชบุรี
ทำให้ผลไม้ไม่ติดดอกออกผล
-ลักษณะทางกายภาพของหมู่
บ้าน เป็นพื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้า
ดา้ นแคบตดิ ตอ่ กบั ถนนลกู รงั
และลำน้ำสาธารณะ
-มีแรงงานภายในครอบครัวประมาณ
4 คนขึ้นไป
-บ้านทีอ่ ยูอ่ าศัยและทำกินเปน็ ของ
ตนเองและเป็นของบิดามารดา ตั้งแต่
4 ไรข่ นึ้ ไป
-ใชน้ ้ำคลองเพือ่ การทาํ สวน นาํ นา้ํ
บาดาลและนา้ํ ฝนเพื่ออปุ โภคและ
บริโภค ได้รับผลกระทบจากน้ำเสียใน
แม่น้ำท่าจีน และได้ทำการป้องกันแล้ว
-สถานที่ตัง้ ของหมูบ่ า้ น ตดิ กบั ถนน
ใหญ่และใกล้กับตัวจังหวัดสมุทรสาคร
-มีแรงงานภายในครอบครัวมาก
กว่า 4 คน
-มีต้นจากเกิดขึ้นเองตามธรรม
ชาติและนำมาใช้ประโยชน์และ
สร้างเป็นรายได้
-ชาวบา้ นใชน้ า้ํ เพอื่ การอปุ โภค
และบริโภคจากจากนา้ํ ประปา
น้ำฝนและจากแม่น้ำท่าจีน
49
M1 -ใช้หลักศีลธรรมทางพุทธ
ศาสนาในการดำเนินชีวิต
ถืออุโบสถศีลทุก ๆ วันพระ
-เคารพนับถือช่วยเหลือกันเช่น
เดียวกับญาติพี่น้อง
-จิตใจโอบออ้ มอารี เชอื่ มนั่
ในการทำความดี
-เสียสละเพื่อการทำนุบำรุง
ศาสนา
-ตั้งใจที่จะพึ่งตนเองแก้ไข
ปญั หาดว้ ยตนเอง
-ใหห้ ยิบยมื สง่ เสรมิ ชว่ ยเหลอื ผอู้ นื่
เมื่อมีโอกาส
-ให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลอนุเคราะห์
-พยายามพัฒนาศักยภาพตนเอง ทั้ง
ความรู้สติปัญญาความซื่อสัตย์
-ไม่เคยหวงห้ามสิ่งของที่เหลือกิน
เหลือใช้
-ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
-มีความพยายาม และ ขยันหมนั่
เพียร
-มคี วามเออื้ เฟอื้ เกอื้ กลู กนั
S -เป็นเครือญาติกันประมาณ
70 % มีเชื้อสายชาวรามัญ
-ปฏิบัติตามขนบธรรมเนียม
ประเพณีอย่างเคร่งครัด ทั้งวัน
เข้าพรรษา วันลอยกระทง
วันสงกรานตท์ าํ ใหห้ มูบ่ า้ นมี
ความสมัครสมานสามัคคีกัน
-ผู้นำเป็นคนตรงไปตรงมาและ
มคี วามอลมุ่ อลว่ ย เปน็ กันเอง
และมีความเสมอต้นเสมอปลาย
-เม่อื มคี วามขดั แยง้ กนั หรอื
เกิดผลกระทบจากการปล่อย
น้ำเสียของบ่อกุ้งก็จะไม่มีการ
ประทะกันโดยตรงหรือใช้ความ
รุนแรง
-เป็นเครือญาติกันประมาณ 70-
80% มีเชื้อสายรามัญ
-รักใคร่ห่วงใยลูกหลานทุก ๆ คนใน
หมู่บ้านให้เป็นคนดี ซึ่งสามารถ
วา่ กลา่ วตกั เตอื นไดท้ กุ ๆ คน
-มีความสามัคคีภายใต้การทำกิจ
กรรมร่วมกัน เช่น แบ่งกลุ่มทำอาหาร
เล้ยี งพระตลอดฤดกู าลเขา้ พรรษา
หรือช่วยกันรักษาความสะอาดถนน
หนทางขุดลอกคูคลองในวันพ่อวันแม่
-ผู้นำเป็นผู้เสียสละและคอยให้ความ
ช่วยเหลือแก่ชาวบ้าน เปิดเสรีทาง
ความคิดและมีการทำงานอยา่ งเปน็
ระบบ
-เป็นเครือญาติกันประมาณ
40% มีเชื้อสายจีน
-จัดกิจกรรมตามประเพณีทั้งที่
วัดและทำบุญเลี้ยงพระกลางแจ้ง
ในหมู่บ้านในวันสำคัญทางพุทธ
ศาสนา และไหว้เจ้าในวันตรุษจีน
และวันสาร์ทจีน
-มีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
-มีความขัดแย้งระหว่างคนรวย
และคนจน
-ผู้นำชุมชนเป็นคนดี และเป็นผู้
นำในการประกอบอาชีพ ยอมรับ
เทคโนโลยีสมัยใหม่รู้จักทดลอง
และทำใชพ้ ร้อมทัง้ เผยแพรใ่ ห้
กับเพื่อนสมาชิก
-ไม่มีขโมย 100%
50
P -มีความร่วมมือสูงในการ
พัฒนาหมบู่ า้ นและกิจกรรม
ป้องกันยาเสพติดสำหรับ
เยาวชน
-มีประชาคมภายในหมู่บ้าน
-มีส่วนร่วมในการปรึกษาหารือ
รว่ มกนั ทาํ กจิ กรรมและรว่ มกนั
รับผิดชอบ
- มีหลายกลุม่ กจิ กรรม เชน่ กลมุ่
แม่บ้าน กลุ่มเยาวชนต้านภัยยา
เสพตดิ กลมุ่ ผใู้ ชน้ า้ํ บาดาล และกลุม่
ออมทรัพย์
-มีการประชุมเดือนละ 2 ครงั้
-ชาวบา้ นมสี ว่ นรว่ มใน คดิ ตดั สนิ ใจ
แก้ปัญหา และ ดำเนินการอย่างพร้อม
เพียงกัน
-มคี วามรว่ มมอื ในระดบั ปาน
กลาง

ปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองกรณีศึกษา จังหวัดสมุทรสาคร (ตอนที่ 1)
ปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองกรณีศึกษา จังหวัดสมุทรสาคร (ตอนที่ 2)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น