วันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย (ตอนที่ 2)



ข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล
จำนวน
ร้อยละ
6. ท่านมีอิสระในการปกครองตนเอง
เห็นด้วย
ไม่เห็นด้วย
266
14
95.00
5.00
รวม
280
100.00
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามจากตารางที่ 1 พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นนักศึกษาชายจำนวน 280 คน แยกเป็น คณะครุศาสตร์ จำนวน 60 คน คิดเป็นร้อยละ 21.40 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 89 คน คิดเป็นร้อยละ 31.79 คณะวิทยาการจัดการ จำนวน 83 คน คิดเป็นร้อยละ 29.64 และคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จำนวน 48 คน คิดเป็นร้อยละ 17.14 เรียนอยู่ชั้นปีที่ 2 จำนวน 91 คน คิดเป็นร้อยละ 32.50 ปีที่ 3 จำนวน 97 คน คิดเป็นร้อยละ 34.60 และชั้นปีที่ 4 จำนวน 92 คน คิดเป็นร้อยละ 32.90
เมื่อพิจารณารายได้ของนักศึกษาพบว่า นักศึกษาชายมีรายได้ 1,000-2,500 บาท จำนวน 85 คน คิดเป็นร้อยละ 30.40 มีรายได้ 2,501-3,000 บาท จำนวน 52 คน คิดเป็นร้อยละ 18.60 และรายได้ มากกว่า 3,000 บาท จำนวน 143 คน คิดเป็นร้อยละ 51.00
เมื่อพิจารณาอิทธิพลจากต้นแบบคือบิดา พบว่า นักศึกษาชายเห็นด้วยจำนวน 170 คน คิดเป็นร้อยละ 60.70 และ ไม่เห็นด้วย 110 คน คิดเป็นร้อยละ 39.30
เมื่อพิจารณาความมีอิสระในการปกครองตนเอง พบว่า นักศึกษาชายมีอิสระในการปกครองตนเองจำนวน 266 คน คิดเป็นร้อยละ 95.00 และ ไม่มีอิสระในการปกครองตนเอง 14 คน คิดเป็นร้อยละ 5.00
38
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของทัศนคติต่อการมีเพศสัมพันธ์
ข้อความ
ไม่เห็นด้วย่างยิ่ง
ไม่เห็นด้วย
ไม่แน่ใจ
เห็นด้วย
เห็นด้วยอย่างยิ่ง
Mean
S.D.
ระดับ
1. ท่านคิดว่าการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักเป็นเรื่องธรรมดา ไม่เสียหาย
28.20
29.60
21.80
15.70
4.60
2.39
1.18
ปานกลาง
2. ท่านคิดว่าการอยู่ร่วมกันก่อนแต่งงานทำให้เกิดความอบอุ่นใจ
21.80
28.90
30.70
14.30
4.30
2.50
1.11
ปานกลาง
3. ท่านคิดว่าการเพศสัมพันธ์เกิดจากความพอใจของทั้งสองฝ่าย
19.60
42.50
21.40
13.90
2.50
2.37
1.03
ปานกลาง
4.ท่านคิดว่าคุณธรรมประจำใจไม่เกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรัก
19.60
29.30
31.40
15.00
4.60
2.56
1.11
ปานกลาง
5.ท่านคิดว่าสังคมมีส่วนในการตัดสินใจให้มีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรัก
15.00
13.20
21.40
36.40
13.90
3.21
1.27
ปานกลาง
รวม
2.61
0.62
ปานกลาง
ผลการวิเคราะห์จากตารางที่ 2 ในภาพรวม พบว่า ทัศนคติต่อการมีเพศสัมพันธ์มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( ⎯X = 2.61, S.D. = 0.62) โดยนักศึกษาส่วนใหญ่เห็นว่า สังคมมีส่วนในการตัดสินใจให้มีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรัก และคุณธรรมประจำใจไม่เกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรัก
39
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของการรับรู้ความเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงบริการ
ข้อความ
ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง
ไม่เห็นด้วย
ไม่แน่ใจ
เห็นด้วย
เห็นด้วยอย่างยิ่ง
Mean
S.D.
ระดับ
1. ท่านคิดว่าไม่จำเป็นต้องใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์กับหญิงที่ไม่ใช่หญิงคนรักหรือหญิงบริการ
10.00
7.10
11.80
27.10
43.90
3.88
1.32
สูง
2. ท่านไม่จำเป็นต้องรู้วิธีป้องกันตนเองจากการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงบริการ
7.50
14.30
6.40
18.20
53.60
3.96
1.36
สูง
3.ท่านคิดว่าการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงบริการโดยใช้ถุงยางอนามัยจะป้องกันการติดเชื้อเอดส์ได้
6.80
1.10
32.50
29.60
30.00
3.75
1.10
สูง
4.ท่านคิดว่าการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงบริการต้องมีการป้องกันตนเองให้ถูกวิธี
2.50
2.50
8.90
22.90
63.20
4.42
0.94
สูง
5.ท่านคิดว่าการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงบริการเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคต่างๆ ได้ง่าย เช่น กามโรค หนองใน และเอดส์
2.50
4.30
6.80
34.30
52.10
4.29
0.95
สูง
รวม
4.60
0.72
สูง
ผลการวิเคราะห์ปัจจัยด้านต่างๆ จากตารางที่ 3 ในภาพรวม พบว่า ด้านการรับรู้ความเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงบริการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง ( ⎯X = 4.60, S.D. = 0.72) นักศึกษาส่วนใหญ่เห็นว่า การมีเพศสัมพันธ์กับหญิงบริการต้องมีการป้องกันตนเองให้ถูกวิธี และการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงบริการเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคต่างๆ ได้ง่าย เช่น กามโรค หนองใน และเอดส์
40
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของการเปิดโอกาสของหญิงคนรัก
ข้อความ
ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง
ไม่เห็นด้วย
ไม่แน่ใจ
เห็นด้วย
เห็นด้วยอย่างยิ่ง
Mean
S.D.
ระดับ
1.ท่านคิดว่าการมีเพศสัมพันธ์เกิดจากหญิงคนรักเปิดโอกาสให้
5.00
10.70
15.00
43.20
43.20
3.75
1.11
สูง
2.ท่านคิดว่าหญิงคนรัก มองว่าการมีเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องธรรมดา
4.30
7.10
57.10
23.60
7.90
3.24
0.86
ปานกลาง
3. ท่านคิดว่าการแต่งกายของหญิงคนรักมีผลต่อการมีเพศสัมพันธ์
4.60
9.30
19.60
39.60
26.80
3.75
1.09
สูง
4.ท่านคิดว่าการอยู่ด้วยกันสองต่อสองเป็นการเปิดโอกาสของหญิงคนรัก
6.80
12.50
22.90
35.00
22.90
3.55
1.17
ปานกลาง
5.ท่านคิดว่าการไปเที่ยวกลางคืนกับหญิงคนรักเป็นการเปิดโอกาสให้มีเพศสัมพันธ์
6.80
11.40
29.60
33.20
18.90
3.46
1.13
ปานกลาง
รวม
3.55
0.78
ปานกลาง
ผลการวิเคราะห์จากตารางที่ 4 ในภาพรวม พบว่า การเปิดโอกาสของหญิงคนรัก มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( ⎯X = 3.55, S.D. = 0.78) นักศึกษาส่วนใหญ่เห็นว่า การมีเพศสัมพันธ์เกิดจากหญิงคนรักเปิดโอกาสให้ และการแต่งกายของหญิงคนรักมีผลต่อการมีเพศสัมพันธ์
41
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของการได้รับการปลูกฝังเรื่องความรับผิดชอบต่อการมีเพศสัมพันธ์จากครอบครัว
ข้อความ
ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง
ไม่เห็นด้วย
ไม่แน่ใจ
เห็นด้วย
เห็นด้วยอย่างยิ่ง
Mean
S.D.
ระดับ
1.ครอบครัวท่านไม่ได้อบรมเรื่องการรับผิดชอบต่อการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรัก
12.90
18.20
21.80
34.60
12.50
3.16
1.23
ปานกลาง
2.ท่านคิดว่าการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักไม่เกี่ยวกับการปลูกฝังของครอบครัว
17.90
28.20
26.40
18.60
8.90
2.72
1.21
ปานกลาง
3.ท่านคิดว่าการรับผิดชอบต่อการมีเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องส่วนตัวของนักศึกษา ครอบครัวไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง
17.90
29.30
22.10
26.80
3.90
2.70
1.16
ปานกลาง
4.ท่านคิดว่าบิดาเป็นตัวแบบที่มีอิทธิพลต่อการปลูกฝังความรับผิดชอบต่อการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรัก
10.40
15.40
29.60
27.50
17.10
3.26
1.21
ปานกลาง
5.ท่านคิดว่าครอบครัวไม่เห็นด้วยกับการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักในวัยเรียน
8.20
5.40
31.40
31.40
23.60
3.57
1.15
ปานกลาง
รวม
3.08
0.62
ปานกลาง
ผลการวิเคราะห์จากตารางที่ 5 ในภาพรวม พบว่า การได้รับการปลูกฝังเรื่องความรับผิดชอบต่อการมีเพศสัมพันธ์จากครอบครัวมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( ⎯X = 3.08, S.D. = 0.62) นักศึกษาส่วนใหญ่เห็นว่า ครอบครัวไม่เห็นด้วยกับการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักในวัยเรียน และบิดาเป็นตัวแบบที่มีอิทธิพลต่อการปลูกฝังความรับผิดชอบต่อการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรัก
42
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของทัศนคติของกลุ่มเพื่อนต่อการมีเพศสัมพันธ์
ข้อความ
ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง
ไม่เห็นด้วย
ไม่แน่ใจ
เห็นด้วย
เห็นด้วยอย่างยิ่ง
Mean
S.D.
ระดับ
1.กลุ่มเพื่อนของท่านเห็นว่าการมีเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องธรรมดา
29.60
45.40
13.60
45.40
29.60
2.12
1.06
ต่ำ
2.ท่านคิดว่าการโอบกอดกันกับหญิงคนรักในขณะที่มีเพื่อนคนอื่นอยู่ด้วยเป็นเรื่องปกติธรรมดา
8.90
41.10
31.40
14.30
4.30
2.64
0.98
ปานกลาง
3.เพื่อนหญิงและเพื่อนชายของท่านมีความเห็นเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์แตกต่างกัน
0.40
5.40
30.00
49.30
15.00
3.73
0.79
สูง
4.เพื่อนท่านส่วนใหญ่คิดว่าการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักในวัยเรียนไม่ผิดศีลธรรม
25.40
31.40
34.60
6.40
2.10
2.29
0.99
ต่ำ
5.กลุ่มเพื่อนของท่านไม่เห็นชอบกับการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักในวัยเรียน
15.70
22.10
36.40
16.10
9.60
2.82
1.17
ปานกลาง
รวม
2.72
0.50
ปานกลาง
ผลการวิเคราะห์จากตารางที่ 6 ในภาพรวม พบว่า ทัศนคติของกลุ่มเพื่อนต่อการมีเพศสัมพันธ์ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( ⎯X = 2.72, S.D. = 0.50) นักศึกษาส่วนใหญ่เห็นว่า เพื่อนหญิงและเพื่อนชายของท่านมีทัศนคติเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์แตกต่างกัน และกลุ่มเพื่อนของท่านไม่เห็นด้วยกับการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักในวัยเรียน
43
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของการรับรู้ถึงการมีเพศสัมพันธ์จากสื่อสารมวลชน
ข้อความ
ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง
ไม่เห็นด้วย
ไม่แน่ใจ
เห็นด้วย
เห็นด้วยอย่างยิ่ง
Mean
S.D.
ระดับ
1.สื่อมีอิทธิพลทำให้เห็นว่าการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักเป็นเรื่องปกติ
21.10
46.40
21.80
5.00
5.70
2.28
1.03
ต่ำ
2.สื่อประชาสัมพันธ์โดยเฉพาะดารานักแสดงที่แสดงความรักอย่างเปิดเผยเป็นตัวแบบที่จูงใจให้เกิดการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรัก
14.60
30.70
30.00
18.90
5.70
2.70
1.11
ปานกลาง
3. การนำเสนอข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการปฏิบัติตนในการมีเพศสัมพันธ์เป็นการลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเอดส์
2.50
4.30
25.70
47.10
20.40
3.79
0.90
สูง
4.การสื่อสารที่ทำให้เกิดความกลัวเกี่ยวกับสุขภาพจะทำให้ลดพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ถูกต้อง
10.00
-
26.10
45.40
18.60
3.72
0.88
สูง
5.การนำเสนอข่าวการมีเพศสัมพันธ์ทำให้วัยรุ่นเกิดแรงจูงใจที่จะป้องกันตนเองต่อการเสี่ยงเป็นเอดส์
2.50
4.30
25.70
41.40
26.10
3.84
0.94
สูง
รวม
3.27
0.49
สูง
ผลการวิเคราะห์จากตารางที่ 7 ในภาพรวม พบว่า ด้านการรับรู้ถึงการมีเพศสัมพันธ์จากสื่อสารมวลชน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง (⎯X = 3.27, S.D. = 0.49) นักศึกษาส่วนใหญ่เห็นว่าการนำเสนอข่าวการมีเพศสัมพันธ์ทำให้วัยรุ่นเกิดแรงจูงใจที่จะป้องกันตนเองต่อการเสี่ยงเป็นเอดส์ และการนำเสนอข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการปฏิบัติตนในการมีเพศสัมพันธ์ เป็นการลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเอดส์
44
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของการรับรู้ต่อการเสี่ยงติดเชื้อเอดส์
ข้อความ
ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง
ไม่เห็นด้วย
ไม่แน่ใจ
เห็นด้วย
เห็นด้วยอย่างยิ่ง
Mean
S.D.
ระดับ
1.ท่านคิดว่าการมีเพศสัมพันธ์มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อโรคเอดส์
1.40
10.40
18.60
41.80
27.90
3.84
0.99
สูง
2.ท่านคิดว่าการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักไม่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเอดส์
13.60
28.90
26.10
23.60
7.90
2.83
1.17
ปานกลาง
3.ท่านคิดว่าโรคเอดส์ไม่แพร่ระบาดในนักศึกษา เมื่อมีเพศสัมพันธ์กับเพื่อนจึงไม่จำเป็นต้องป้องกัน
6.40
12.90
27.10
22.90
30.70
3.59
1.23
สูง
4.ท่านคิดว่าการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของแต่ละบุคคล
20.40
39.30
33.20
7.10
-
2.27
0.87
ต่ำ
5. การมีความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ทำให้รู้ถึงโอกาสเสี่ยงในการติดเชื้อเอดส์
0.70
18.90
15.40
33.90
31.10
3.76
1.11
สูง
รวม
3.25
0.52
ปานกลาง
ผลการวิเคราะห์จากตารางที่ 8 ในภาพรวม พบว่า การรับรู้ต่อความเสี่ยงที่จะติดเชื้อเอดส์มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (⎯X = 3.25, S.D. = 0.52) นักศึกษาส่วนใหญ่เห็นว่าการมีเพศสัมพันธ์มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อโรคเอดส์ และการมีความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ทำให้รู้ถึงโอกาสเสี่ยงในการติดเชื้อเอดส์
45
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรัก
ระดับการตัดสินใจ
ข้อความ
มีแน่นอน
ไม่แน่ใจ
ไม่มีแน่นอน
Mean
S.D.
ค่าระดับ
1.ท่านตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรัก
25.40
37.10
37.50
2.12
0.78
ปานกลาง
ผลการวิเคราะห์ จากตารางที่ 9 ในภาพรวม พบว่า การตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (⎯X = 2.12, S.D. = 0.78)
46
ตารางที่ 10 ค่าระดับของตัวแปร
ตัวแปร
⎯X
S.D.
ค่าระดับ
1.ปัจจัยการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรัก
2.121
0.785
ปานกลาง
2. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรัก
-ทัศนคติต่อการมีเพศสัมพันธ์
2.606
0.618
ปานกลาง
-การรับรู้ความเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงบริการ
4.060
0.723
สูง
-การเปิดโอกาสของหญิงคนรัก
3.547
0.786
ปานกลาง
-การได้รับการปลูกฝังเรื่องความรับผิดชอบต่อ
การมีเพศสัมพันธ์จากครอบครัว
3.081
0.623
ปานกลาง
-ทัศนคติของกลุ่มเพื่อนต่อการมีเพศสัมพันธ์
2.719
0.500
ปานกลาง
-การรับรู้ถึงการมีเพศสัมพันธ์จากสื่อสาร มวลชน
3.267
0.495
ปานกลาง
-การรับรู้ต่อความเสี่ยงที่จะติดเชื้อเอดส์
3.258
0.517
ปานกลาง
ผลการศึกษาค่าระดับของตัวแปรต่างๆ จากตารางที่ 10 พบว่า ตัวแปรการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( ⎯X = 2.121 , S.D. = 0.785 ) ทัศนคติต่อการมีเพศสัมพันธ์มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( ⎯X = 2.606 , S.D. = 0.618) การรับรู้ความเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงบริการมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง ( ⎯X = 4.060, S.D. = 0.723 ) การเปิดโอกาสของหญิงคนรัก มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (⎯X = 3.457 , S.D. = 0.786) การได้รับการปลูกฝังเรื่องความรับผิดชอบต่อการมีเพศสัมพันธ์จากครอบครัวมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (⎯X = 3.081, S.D. = 0.623) ทัศนคติของกลุ่มเพื่อนต่อการมีเพศสัมพันธ์ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (⎯X = 2.719, S.D. = 0.500 ) การรับรู้ถึงการมีเพศสัมพันธ์จากสื่อสารมวลชน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (⎯X = 3.267, S.D. = 0.495 ) การรับรู้ต่อความเสี่ยงที่จะติดเชื้อเอดส์มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (⎯X = 3.258, S.D. = 0.517 )
47
ผลการทดสอบสมมติฐาน
การทดสอบสมมติฐานมีรายละเอียดสรุปได้ดังนี้
การทดสอบสมมติฐานที่ 1 ทัศนคติต่อการมีเพศสัมพันธ์มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย
ตารางที่ 11 ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย กับตัวแปรทัศนคติต่อการมีเพศสัมพันธ์
ตัวแปร
⎯X
S.D.
r
Sig.
การตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย
2.121
0.785
ทัศนคติต่อการมีเพศสัมพันธ์
2.606
0.618
- 0.392
.000
มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
ผลการวิเคราะห์สมมติฐานที่ 1 จากตารางที่ 11 พบว่า ตัวแปรการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชายมีค่าอยู่ในระดับปานกลาง (⎯X = 2.121 , S.D. = 0.785 ) และตัวแปรทัศนคติต่อการมีเพศสัมพันธ์มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( ⎯X = 2.606, S.D. = 0.618) และ ทัศนคติต่อการมีเพศสัมพันธ์มีความสัมพันธ์ทางลบในระดับค่อนข้างต่ำกับการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย (r = - 0.392) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
48
สมมติฐานที่ 2 การรับรู้ความเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงบริการมีผลกับการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย
ตารางที่ 12 ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย กับตัวแปรการรับรู้ความเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงบริการ
ตัวแปร
⎯X
S.D.
r
Sig.
การตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย
2.121
0.785
การรับรู้ความเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงบริการ
4.060
0.723
-0.070
.245
มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
ผลการวิเคราะห์สมมติฐานที่ 2 จากตารางที่ 12 พบว่า ตัวแปรการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชายมีค่าอยู่ในระดับปานกลาง (⎯X = 2.121 , S.D. = 0.785 ) และตัวแปรการรับรู้ความเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงบริการมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง (⎯X = 4.060, S.D. = 0.723) และการรับรู้ความเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงบริการ มีความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำกับการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย (r = -0.070) อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งไม่ยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
49
การทดสอบสมมติฐานที่ 3 การเปิดโอกาสของหญิงคนรัก มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย
ตารางที่ 13 ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย กับตัวแปรการเปิดโอกาสของหญิงคนรัก
ตัวแปร
⎯X
S.D.
r
Sig.
การตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย
2.121
0.785
การเปิดโอกาสของหญิงคนรัก
3.547
0.786
0.365
.000
มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
ผลการวิเคราะห์สมมติฐานที่ 3 จากตารางที่ 13 พบว่า ตัวแปรการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชายมีค่าอยู่ในระดับปานกลาง (⎯X = 2.121 , S.D. = 0.785 ) และตัวแปรการเปิดโอกาสของหญิงคนรักมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (⎯X = 3.547, S.D. = 0.786) และการเปิดโอกาสของหญิงคนรักมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับค่อนข้างต่ำกับการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์ กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย (r = 0.365) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
50
การทดสอบสมมติฐานที่ 4 การได้รับการปลูกฝังเรื่องความรับผิดชอบต่อการมีเพศสัมพันธ์จากครอบครัว มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย
ตารางที่ 14 ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย กับตัวแปรการได้รับการปลูกฝังเรื่องความรับผิดชอบต่อการมีเพศสัมพันธ์จากครอบครัว
ตัวแปร
⎯X
S.D.
r
Sig.
การตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย
2.121
0.785
การได้รับการปลูกฝังเรื่องความรับผิดชอบต่อการมีเพศสัมพันธ์จากครอบครัว
3.081
0.623
- 0.357
.000
มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
ผลการวิเคราะห์สมมติฐานที่ 4 จากตารางที่ 14 พบว่า ตัวแปรการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชายมีค่าอยู่ในระดับปานกลาง ( ⎯X = 2.121 , S.D. = 0.785 ) และตัวแปรการได้รับการปลูกฝังเรื่องความรับผิดชอบต่อการมีเพศสัมพันธ์จากครอบครัวมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (⎯X = 3.081 , S.D. = 0.623) และการได้รับการปลูกฝังเรื่องความรับผิดชอบต่อการมีเพศสัมพันธ์จากครอบครัวมีความสัมพันธ์ทางลบ ในระดับค่อนข้างต่ำกับการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย (r = - 0.357) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
51
การทดสอบสมมติฐานที่ 5 ทัศนคติของกลุ่มเพื่อนต่อการมีเพศสัมพันธ์ มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย
ตารางที่ 15 ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย กับตัวแปรทัศนคติของกลุ่มเพื่อนต่อการมีเพศสัมพันธ์
ตัวแปร
⎯X
S.D.
r
Sig.
การตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย
2.121
0.785
ทัศนคติของกลุ่มเพื่อนต่อการมีเพศสัมพันธ์
2.719
0.500
- 0.247
.000
มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
ผลการวิเคราะห์สมมติฐานที่ 5 จากตารางที่ 15 พบว่า ตัวแปรการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชายมีค่าอยู่ในระดับปานกลาง (⎯X = 2.121 , S.D. = 0.785 ) และตัวแปรทัศนคติของกลุ่มเพื่อนต่อการมีเพศสัมพันธ์มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (⎯X = 2.719, S.D. = 0.500) และทัศนคติของกลุ่มเพื่อนต่อการมีเพศสัมพันธ์มีความสัมพันธ์ทางลบในระดับค่อนข้างต่ำ กับการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย (r = - 0.247) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
52
การทดสอบสมมติฐานที่ 6 การรับรู้ถึงการมีเพศสัมพันธ์จากสื่อสารมวลชนมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย
ตารางที่ 16 ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย กับตัวแปรการรับรู้ถึงการมีเพศสัมพันธ์จากสื่อสารมวลชน
ตัวแปร
⎯X
S.D.
r
Sig.
การตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย
2.121
0.785
การรับรู้ถึงการมีเพศสัมพันธ์จากสื่อสารมวลชน
3.267
0.495
0.149
.013
มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
ผลการวิเคราะห์สมมติฐานที่ 6 จากตารางที่ 16 พบว่า ตัวแปรการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชายมีค่าอยู่ในระดับปานกลาง (⎯X = 2.121 , S.D. = 0.785 ) และตัวแปรการรับรู้ถึงการมีเพศสัมพันธ์จากสื่อสารมวลชนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (⎯X = 3.267, S.D. = 0.495) และการรับรู้ถึงการมีเพศสัมพันธ์จากสื่อสารมวลชนมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย (r = 0.149) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
53
การทดสอบสมมติฐานที่ 7 การรับรู้ต่อความเสี่ยงที่จะติดเชื้อเอดส์ มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย
ตารางที่ 17 ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย กับตัวแปรการรับรู้ต่อความเสี่ยงที่จะติดเชื้อเอดส์
ตัวแปร
⎯X
S.D.
r
Sig.
การตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย
2.121
0.785
การรับรู้ต่อความเสี่ยงที่จะติดเชื้อเอดส์
3.258
0.517
-0.466
.000
มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
ผลการวิเคราะห์สมมติฐานที่ 7 จากตารางที่ 17 พบว่า ตัวแปรการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชายมีค่าอยู่ในระดับปานกลาง (⎯X = 2.121 , S.D. = 0.785 ) และตัวแปรการรับรู้ต่อความเสี่ยงที่จะติดเชื้อเอดส์มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (⎯X = 3.258, S.D. = 0.517) และการรับรู้ต่อความเสี่ยงที่จะติดเชื้อเอดส์มีความสัมพันธ์ทางลบในระดับปานกลาง กับการตัดสินใจมีเพศ สัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย (r = -0.466) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
บทที่ 5
สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
การศึกษา ปัจจัยความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชายในมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มีวัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาข้อมูลส่วนบุคคลของนักศึกษาชาย
2. เพื่อศึกษาระดับของปัจจัยทัศนคติต่อการมีเพศสัมพันธ์ การรับรู้ความเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงบริการ การรับรู้ต่อการเสี่ยงเอดส์ การได้รับการปลูกฝังเรื่องความรับผิดชอบต่อการมีเพศสัมพันธ์จากครอบครัว ทัศนคติของกลุ่มเพื่อนต่อการมีเพศสัมพันธ์ การรับร ู ้ถึงการมีเพศสัมพันธ์จากสื่อสารมวลชน และการเปิดโอกาสของหญิงคนรัก
3. เพื่อศึกษาปัจจัยต่างๆ ที่สัมพันธ์ต่อการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนัก-ศึกษาชาย
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัย เป็นกรณีศึกษาที่ใช้ประชากรเป็น นักศึกษาชายระดับอุดมศึกษาที่เรียนภาคปกติชั้นปีที่ 2-4 ปีการศึกษา 2547 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จาก 4 คณะรวมทั้งสิ้นจำนวน 280 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ผู้วิจัยใช้แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.8941
สรุปผลการวิจัย
สรุปผลจากการวิเคราะห์ปัจจัยความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชายในมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา พบว่า
1. ค่าระดับของตัวแปรต่างๆ จากตารางที่ 10 พบว่า ตัวแปรการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( ⎯X = 2.121 , S.D. = 0.785 ) ทัศนคติต่อการมีเพศสัมพันธ์มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( ⎯X = 2.606 , S.D. = 0.618) การรับรู้ความเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงบริการมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง ( ⎯X = 4.060, S.D. = 0.723 ) การเปิดโอกาสของหญิงคนรัก มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( ⎯X = 3.457 , S.D. = 0.786) การได้รับการปลูกฝังเรื่องความรับผิดชอบต่อการมีเพศสัมพันธ์จากครอบครัว มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( ⎯X = 3.081, S.D. = 0.623) ทัศนคติของกลุ่มเพื่อนต่อการมีเพศสัมพันธ์ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ
55
ปานกลาง (⎯X = 2.719, S.D. = 0.500 ) การรับรู้ถึงการมีเพศสัมพันธ์จากสื่อสารมวลชน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( ⎯X = 3.267, S.D. = 0.495 ) การรับรู้ต่อความเสี่ยงที่จะติดเชื้อเอดส์มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( ⎯X = 3.258, S.D. = 0.517 )
2.ทัศนคติต่อการมีเพศสัมพันธ์ มีความสัมพันธ์ทางลบในระดับค่อนข้างต่ำกับการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย (r = -0.392) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
3.การรับรู้ความเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงบริการมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำ กับการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย (r = -0.070 ) อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
4.การเปิดโอกาสของหญิงคนรักมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับค่อนข้างต่ำกับการตัดสิน ใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย (r = 0.365) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
5.การได้รับการปลูกฝังเรื่องความรับผิดชอบต่อการมีเพศสัมพันธ์จากครอบครัวมีความ สัมพันธ์ทางลบในระดับระดับค่อนข้างต่ำกับการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย (r= -0.357 ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
6.ทัศนคติของกลุ่มเพื่อนต่อการมีเพศสัมพันธ์มีความสัมพันธ์ทางลบในระดับระดับค่อนข้างต่ำกับการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย (r = -0.247) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
7.การรับรู้ถึงการมีเพศสัมพันธ์จากสื่อสารมวลชนมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย (r = 0.149 ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
8.การรับรู้ต่อความเสี่ยงที่จะติดเชื้อเอดส์ มีความสัมพันธ์ทางลบในระดับปานกลางกับการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย (r = -0.466) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
การอภิปรายผลการวิจัย
ผลการศึกษาในครั้งนี้จะนำเสนอประเด็นสำคัญที่พบในการวิจัยดังต่อไปนี้
สมมติฐานที่ 1 ทัศนคติต่อการมีเพศสัมพันธ์มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย ผลการศึกษาพบว่า ทัศนคติต่อการมีเพศสัมพันธ์มีความสัมพันธ์ทางลบในระดับค่อนข้างต่ำกับการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย (r = -0.392) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
56
ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า แม้นักศึกษาชายส่วนใหญ่จะเห็นด้วยกับการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักแต่ก็ยังไม่ตัดสินใจที่จะมีเพศสัมพันธ์ อีกทั้งจากผลการศึกษาครั้งนี้ยังได้ข้อสนับสนุนว่า นักศึกษาชายส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า สังคมมีอิทธิพลในการตัดสินใจให้มีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักได้ง่าย และคุณธรรมประจำใจไม่เกี่ยวกับการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรัก ซึ่งไม่สอดคล้อง กับแนวคิดเกี่ยวกับทัศนคติของวัยรุ่นในเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ของณัฐชนก เหล่าสุขสกุล (2536: บทคัดย่อ อ้างใน บุศยา แรกข้าว 2543: 104) พบว่า เป็นที่ยอมรับกันว่า การอยู่ก่อนแต่งเป็นวิถีชีวิตทางเลือกปัจจุบันของหนุ่มสาวไทยจำนวนไม่น้อย รูปแบบของการอยู่ก่อนแต่งมักเกิดขึ้นกับหนุ่มสาวที่อยู่ตามลำพัง โดยมากจะเช่าบ้านหรือหอพักอยู่กันเอง ได้แก่ กลุ่มนักเรียน นักศึกษาและผู้ที่ทำงานไกลบ้าน อีกรูปแบบหนึ่งคือ การที่ผู้หญิงจะย้ายเข้าไปยู่ในบ้านพ่อแม่ของผู้ชายโดยยังไม่ได้แต่งงานกัน รูปแบบหลังนี้พ่อแม่ของผู้หญิงมักไม่รู้ ในขณะที่พ่อแม่ฝ่ายชายอาจไม่ค่อยเห็นด้วย แต่มองว่าเป็นเรื่องไม่เสียหายอะไรต่อลูกชายตนเอง
และจากแนวคิดของ กฤตยา อาชวนิจกุล และ วราภรณ์ แช่มสนิท (2537: 40) ชี้ให้เห็นว่า วัยรุ่นหญิงชายมีโอกาสคบกันใกล้ชิดกว่าแต่ก่อน ครอบครัวมีบทบาทควบคุมพฤติกรรมของวัยรุ่นน้อยลง ทำให้วัยรุ่นมีโอกาสเที่ยวเตร่และสร้างความสัมพันธ์กันได้ง่ายขึ้น และเป็นหนทางนำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ในกลุ่มเพื่อนกันเองมากขึ้น โดยเฉพาะในรายที่คบหากันเป็นแฟน
ซึ่งผู้วิจัยมีความเห็นว่าสังคมมีส่วนในการตัดสินใจให้มีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรัก โดยการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์ไม่เกี่ยวข้องกับคุณธรรมประจำใจแต่อย่างใด แต่ด้วยการเห็นแบบอย่างในสังคมและค่านิยมที่แปรเปลี่ยนไปตามยุคสมัย
สมมติฐานที่ 2 การรับรู้ความเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงบริการมีผลกับการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย ผลการศึกษาพบว่าการรับรู้ความเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงบริการมีความสัมพันธ์ทางลบ ในระดับต่ำกับการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย (r = -0.070 ) อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งไม่ยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า แม้นักศึกษาชายส่วนใหญ่จะรับรู้ว่ามีความเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงบริการ แต่ก็ไม่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรัก ซึ่งสอดคล้องตามแนวคิดของซัทตัน (Sutton 1982 อ้างถึงใน Mackay, Bruce C 1992:28) ที่ได้อธิบายว่า การสื่อสารประชาสัมพันธ์ยังไม่ใช่แนวทางที่จะทำให้บุคคลรับรู้ต่อโอกาสเสี่ยงของการเป็นโรค แต่ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของแต่ละบุคคลว่า ถ้าไม่ปฏิบัติตนเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายที่เกิดขึ้นจะทำให้ตนมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคได้ ซึ่งผลการศึกษาของซัทตัน พบว่าผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรค
57
จะไม่ยอมปฏิบัติตามคำแนะนำเสมอไป แต่ในทางกลับกัน การเอาใจใส่สนับสนุนให้กลุ่มเสี่ยงรับรู้ถึงผลที่เกิดขึ้นจากปัญหา จะทำให้บุคคลนั้นลดความเสี่ยงลงได้ การให้บุคคลปฏิบัติตามคำแนะนำ อาจใช้เงื่อนไขความเสี่ยงต่อการเป็นโรคสูงร่วมกับผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติตามคำแนะนำ แต่เงื่อนไขดังกล่าวยังเป็นสิ่งที่ต้องค้นหาคำตอบกันอีกต่อไป
ซึ่งผู้วิจัยมีความเห็นว่า การรับรู้ความเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงบริการทำให้ติดเชื้อเอดส์ จึงทำให้รู้สึกว่าตัวเองไม่ปลอดภัยที่จะไปใช้บริการ แต่ถ้าใช้บริการก็จะต้องมีการป้องกันตนเองอย่างถูกวิธี แต่ก็ยังถือว่าไม่ปลอดภัย ยังมีโอกาสที่จะติดเชื้อกามโรค หนองใน และเอดส์ได้ ดังนั้น จึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้นักศึกษาชายส่วนใหญ่หันไปมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักจะปลอดภัยกว่า
สมมติฐานที่ 3 การเปิดโอกาสของหญิงคนรักมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจมีเพศ สัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย ผลการศึกษาพบว่า การเปิดโอกาสของหญิงคนรักมีความสัมพันธ์ทางบวก ในระดับค่อนข้างต่ำกับการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย (r = 0.365) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
ผลการศึกษานี้แสดงได้ว่า นักศึกษาชายส่วนใหญ่เห็นว่าการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักเกิดจากหญิงคนรักเปิดโอกาสให้ และการแต่งกายของหญิงคนรักมีส่วนนำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ สอดคล้องกับแนวคิดของกฤตยา อาชวนิจกุลและวราภรณ์ แช่มสนิท (2537: 40) ได้กล่าวไว้ว่าการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่น “เป็นเรื่องธรรมดา และห้ามกันไม่ได้แล้ว” โดยให้เหตุผลว่า ปัจจุบันวัยรุ่นหญิงชายมีโอกาสคบกันใกล้ชิดกว่าแต่ก่อน ครอบครัวไม่มีเวลาที่จะคุมพฤติกรรมของวัยรุ่น ทำให้วัยรุ่นมีโอกาสเที่ยวเตร่ และสร้างความสัมพันธ์กันได้ง่ายขึ้น นำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ในกลุ่มเพื่อนกันเองมากขึ้น โดยเฉพาะในรายที่คบหากันเป็นแฟน นักศึกษาชายมักเห็นว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดา กล้าพูดเรื่องแฟนได้อย่างเปิดเผย การมีแฟนเป็นแฟชั่นวัยรุ่น ที่มักชอบพูดถึงเรื่องแฟน โดยมักจะพูดเรื่องของเพื่อนที่มีแฟน พฤติกรรมการแสดงออก จะเห็นกันเป็นปกติว่านักศึกษาชายจะเดินไปส่งนักศึกษาหญิงกลับบ้าน โทรศัพท์คุยกัน เขียนจดหมายให้กัน ชวนนักเรียนหญิงไปเที่ยว การปฏิบัติต่อคนที่เป็นแฟนกันนั้น จะแสดงพฤติกรรมที่เห็นได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้นักศึกษาหญิงยอมรับในเรื่องการจับมือถือแขน บางคนให้ความเห็นว่า การอยู่ใกล้กันแล้วอบอุ่น มีอะไรก็ช่วยกัน ปรึกษาหารือกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทำให้อาจเกิดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมหรือนักศึกษาบางคนอยากทดลองมีเพศสัมพันธ์กับแฟนถ้ามีโอกาส
ซึ่งสอดคล้องกับปรีชา วิหคโต และคณะ (2531) ที่อธิบายไว้ว่า พฤติกรรมวัยรุ่น ในด้านความต้องการมีสัมพันธ์กับเพื่อนต่างเพศ โดยธรรมชาติ วัยรุ่นมีร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป จากเด็กสู่
58
วัยหนุ่มสาว และบรรลุวุฒิภาวะทางเพศ ทำให้วัยรุ่นมีความสนใจเพศตรงข้าม จึงผลักดันให้วัยรุ่นมีความสนใจ และมีความปรารถนาที่จะมีความสัมพันธ์ทางเพศกับเพศตรงข้ามตั้งแต่วัยรุ่นตอนกลาง
จากการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยมีความเห็นว่าการเปิดโอกาสของหญิงคนรักเป็นปัจจัยสำคัญยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นการแต่งกาย การวางตัว การอยู่ด้วยกันตามลำพังสองต่อสองหรือการเที่ยวกลางคืน ล้วนแล้วแต่เป็นการเปิดโอกาสไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ทั้งสิ้น เพราะการมีเพศสัมพันธ์เป็นไปตามพฤติกรรมธรรมชาติของฝ่ายชายอยู่แล้ว
สมมติฐานที่ 4 การได้รับการปลูกฝังเรื่องความรับผิดชอบต่อการมีเพศสัมพันธ์จากครอบครัวมีความสมพันธ์กับการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย ผลการ ศึกษาพบว่า การได้รับการปลูกฝังเรื่องความรับผิดชอบต่อการมีเพศสัมพันธ์จากครอบครัวมีความ สัมพันธ์ทางลบในระดับระดับค่อนข้างต่ำกับการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย (r = -0.357 ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าครอบครัวของนักศึกษาส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย กับการมีเพศ สัมพันธ์กับหญิงคนรักในวัยเรียน และบิดาเป็นตัวแบบที่มีอิทธิพลต่อการปลูกฝังความรับผิดชอบต่อการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรัก อีกทั้งยังเห็นว่าการรับผิดชอบกับการมีเพศสัมพันธ์ไม่ใช่เรื่อง ส่วนตัวโดยครอบครัวต้องมีส่วนเกี่ยวข้องการปลูกฝังเรื่อง ความรับผิดชอบต่อการมีเพศสัมพันธ์ จากครอบครัวมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรัก จึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ สอดคล้องกับแนวคิดการอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุนของ งามตา วนินทานนท์ (2528: 4-12) ที่อธิบายให้เห็นว่าการที่บิดามารดาได้แสดงความรักใคร่เอาใจใส่ สนใจทุกข์สุขของบุตรอย่างเพียงพอ มีความใกล้ชิดกับบุตร กระทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับบุตร นอกจากนั้นยังมีความสนิทสนม การสนับสนุนช่วยเหลือและการให้ความสำคัญแก่บุตรด้วย การอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุนมากนี้ เป็นการให้ในสิ่งที่บุตรต้องการทั้งสิ้น ฉะนั้นบิดามารดาที่เลี้ยงดูบุตรด้วยวิธีนี้จึงเป็นผู้ที่บุตรรัก และบุตรเป็นผู้ที่มีความสำคัญของบิดามารดา ซึ่งจะทาให้บุตรยอมรับการอบรมสั่งสอนต่างๆ ของบิดามารดาได้โดยง่าย ยอมรับบิดามารดาเป็นแบบอย่างโดยไม่รู้ตัว อีกทั้งการอบรมเลี้ยงดูแบบใช้เหตุผลโดยที่บิดามารดาสามารถอธิบายเหตุผลให้แก่บุตร และส่งเสริมหรือขัดเกลาการกระทำของบุตร และลงโทษบุตรซึ่งการกระทำลักษณะนี้สามารถช่วยให้บุตรได้เรียนรู้และรับทราบถึงสิ่งที่ควรและไม่ควรกระทำ โดยอาศัยเหตุผลในการตัดสินใจ
ซึ่งผู้วิจัยมีความเห็นว่า ครอบครัวมีอิทธิพลต่อการปลูกฝัง อบรม ขัดเกลา และเป็นสถาบันแรกที่เป็นตัวควบคุมพฤติกรรมของบุตรให้ประพฤติปฏิบัติไปในทางที่ถูกต้องเช่น การปลูกฝังเรื่อง
59
ความรับผิดชอบต่อการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรัก โดยเฉพาะบิดาเป็นบุคคลที่สำคัญในการกำหนดตัวแบบให้แก่บุตร
สมมติฐานที่ 5 ทัศนคติของกลุ่มเพื่อนต่อการมีเพศสัมพันธ์ มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย ผลการศึกษาพบว่า ทัศนคติของกลุ่มเพื่อนต่อการมีเพศสัมพันธ์มีความสัมพันธ์ทางลบในระดับระดับค่อนข้างต่ำ (r = -0.247) กับการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
ผลการศึกษานี้แสดงว่า เพื่อนหญิงและเพื่อนชายของนักศึกษาส่วนใหญ่มีความเห็นเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ที่แตกต่างกัน และกลุ่มเพื่อนชายของนักศึกษาส่วนใหญ่เห็นชอบกับการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักในวัยเรียน แต่นักศึกษาชายก็ยังไม่ตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรัก ซึ่งไม่สอดคล้องกับแนวคิดของพรรณี มานะกุล (2543: 11) ที่ชี้ให้เห็นว่า ทัศนคติเป็นสภาวะความพร้อมของร่างกายและจิตใจ ซึ่งรวมทั้งความคิด ความรู้สึกที่มีแนวโน้มจะตอบสนองต่อสิ่งเร้า หรือสถานการณ์ต่างๆ อาจจะเป็นไปในทางสนับสนุนหรือต่อต้าน การเข้าหาหรือถอยหนี และ ทัศนคติ ยังเป็นความเชื่อ ความรู้สึกของบุคคลที่มีต่อสิ่งต่างๆ เช่น บุคคล สิ่งของ สถานการณ์อื่นๆ รวมทั้งท่าทีที่แสดงออกที่บ่งถึงสภาพจิตใจที่มีต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใด สิ่งที่ทำให้เกิดทัศนคติมาจากตัวบุคคล ประสบการณ์ในการเลี้ยงดูหรือฝึกอบรม สัมพันธภาพระหว่างบุคคล ซึ่งการที่บุคคลหนึ่งจะสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในบุคคล อื่นหรือไม่และมากหรือน้อยเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับคุณลักษณะบางอย่างของบุคคลนั้น คือความเป็นที่เชื่อถือ ความน่าสนใจ และความมีอำนาจ เกิดจากกลุ่ม ซึ่งบุคคลหนึ่งย่อมมีส่วนร่วมกับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ที่สมาชิกหลายคน บุคคลนั้นๆ อาจจะมีความต้องการเข้าไปมีส่วนร่วมกับกลุ่มอื่นด้วย ทัศนคต ิของบุคคลนั้นย่อมขึ้นอยู่กับบุคคลในกลุ่มที่เขาเป็นสมาชิกด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ สัมพันธภาพระหว่างกลุ่ม กลุ่มหลายๆ กลุ่ม ถ้ามีความหมายเหมือนกันในค่านิยม ความเชื่อ วัฒนธรรมประเพณี ก็ย่อมมีทัศนคติที่ดีต่อกัน เมื่อภายในกลุ่มเพื่อนมีพฤติกรรมการมีคู่รัก หรือมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรัก ในหมู่เพื่อนจึงเป็นเป็นเรื่องธรรมดา และสอดคล้องกับผลการศึกษาของกรุงเทพมหานครที่พบว่า วัยรุ่นเป็นช่วงเรียกว่า “วัยหัวเลี้ยวหัวต่อ อยากรู้ อยากลอง” โดยทั่วไปเยาวชนที่มีอายุต่ำกว่า 10 ปี ผู้ปกครองจะสามารถกำชับดูแลได้ไม่ยากนักแต่เมื่อเติบโตขึ้นเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ อาทิ การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย ฮอร์โมน ทัศนคติ รวมถึงความต้องการในการรับรู้ข้อมูลแปลกใหม่ แต่มักมีความสับสนทางด้านอารมณ์และสภาวการณ์ต่างๆ รอบตัวเนื่องจากขาดประสบการณ์ที่จะนำมาใช้ในการไตร่ตรอง จากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้
60
สังคมภายในครอบครัวแคบเกินไปในความคิดของวัยรุ่น “เพื่อน” จึงเข้ามามีบทบาทในการแลก เปลี่ยนประสบการณ์ใหม่ๆ
ซึ่งผู้วิจัยมีความเห็นว่าเพื่อนส่วนใหญ่จะยอมรับการมีเพศสัมพันธ์แต่ก็ยังไม่ใช่ปัจจัยที่จะทำให้นักศึกษาตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักเสมอไปยังคงมีปัจจัยอื่นๆ เข้ามาเป็นส่วนประกอบในการตัดสินใจ เช่น การได้รับการปลูกฝังจากครอบครัว ดังที่ได้อภิปรายแล้วในสมมติฐานที่ 4
สมมติฐานที่ 6 การรับรู้ถึงการมีเพศสัมพันธ์จากสื่อสารมวลชน มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย ผลการศึกษาการรับรู้ถึงการมีเพศสัมพันธ์จากสื่อสารมวลชน มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำต่อการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย (r = 0.149 ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า ยิ่งได้รับรู้ถึงการมีเพศสัมพันธ์จากสื่อสารมวลชนมากเท่าใด ก็ยิ่งตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักมากเท่านั้น ดังเห็นได้จากการตอบแบบสอบถามถึงการนำเสนอข่าวสารการมีเพศสัมพันธ์ ทำให้เกิดแรงจูงใจที่จะป้องกันตนเองต่อการเสี่ยงเป็นเอดส์ และการนำเสนอข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการปฏิบัติตนในการมีเพศสัมพันธ์ เป็นการลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเอดส์ ดังนั้นการรับรู้ถึงการมีเพศสัมพันธ์จากสื่อจึงมีผลต่อการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรัก ซึ่งสอดคล้องกับ รุ่งรัตน์ ชัยสำเร็จ (2543: 39-40) ที่กล่าวว่าสื่อและการประชาสัมพันธ์มีผลต่อความรู้สึกนึกคิด การเลียนแบบ ของวัยรุ่นจากตัวแบบที่ชื่นชอบ ซึ่งการสื่อสารในปัจจุบันนักแสดงมีการแสดงออกในด้านความรักกันมากขึ้น ประกอบกับวัยรุ่นมักจะมีพฤติกรรมที่ชอบเลียนแบบดาราที่ตนชื่นชอบ เมื่อเห็นนักแสดงมีพฤติกรรมในการแสดงความรักจึงคิดว่าการมีคู่รัก เป็นสิ่งที่ทันสมัย สื่อประชาสัมพันธ์โดยเฉพาะดารานักแสดง ที่แสดงความรักอย่างเปิดเผยจึงเป็นตัวแบบที่จูงใจให้เกิดการเลียนแบบได้ง่าย ย่อมเป็นปัจจัยให้เกิดการตัดสินใจที่กระทำผิดในเรื่องเพศสัมพันธ์ แต่ด้วยการประชาสัมพันธ์เรื่องทัศนคติของการมีเพศสัมพันธ์ การแพร่ระบาดของโรคเอดส์ ก็สามารถทำให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องของเพศสัมพันธ์อย่างถูกต้อง ก็ย่อมเป็นปัจจัยที่ทำให้ตัดสินใจไม่กระทำด้วยเช่นกัน นอกจากนี้การถ่ายทอดจากครอบครัวเรื่องการปลูกฝังวัฒนธรรมการมีคู่ครองมีน้อย บิดามารดาต้องประกอบอาชีพมีเวลาอยู่กับบุตรน้อย เด็กจึงใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการดูภาพยนตร์ ละครเป็นส่วนใหญ่ จึงมีทัศนคติเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ที่เปลี่ยนไปจากที่ควร
61
ซึ่งผู้วิจัยมีความเห็นว่า สื่อสารมวลชนมีส่วนทำให้เกิดความกลัวและความต้องการที่จะป้องกันตนเองจากการติดเชื้อเอดส์จึงไม่ไปใช้บริการกับหญิงบริการ และหันมามีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักซึ่งได้อภิปรายไว้แล้วในสมมติฐานที่ 2
สมมติฐานที่ 7 การรับรู้ต่อความเสี่ยงที่จะติดเชื้อเอดส์ มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย ผลการศึกษาพบว่า การรับรู้ต่อความเสี่ยงที่จะติดเชื้อเอดส์ มีความสัมพันธ์ทางลบในระดับปานกลางต่อการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย (r = - 0.466 ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า ยิ่งนักศึกษาชายรับร ู ้ต่อความเสี่ยงที่จะติดเชื้อเอดส์มากเท่าใด ก็ยิ่งไม่ตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักมากเท่านั้น เพราะนักศึกษาชายมีการรับรู้ว่าการมีเพศสัมพันธ์มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อโรคเอดส์ การมีความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ทำให้รู้ถึงโอกาสเสี่ยงในการติดเชื้อโรคเอดส์ ทำให้มีความระมัดระวังในการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรัก สอดคล้องกับแนวคิดความรู้เรื่องโรคเอดส์ ของ กรุงเทพมหานคร ที่พบว่า สาเหตุสำคัญของการแพร่โรคเอดส์ในเขตกรุงเทพมหานคร คือ การติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เนื่องจากกรุงเทพมหานครมีปัจจัยที่ช่วยเสริมการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ โดยผ่านทางเพศสัมพันธ์ และยาเสพติด ประกอบกับกรุงเทพมหานคร เป็นศูนย์รวมความบันเทิงเริงรมย์ มีสถานบริการทางเพศทั้งที่เปิดเผย และที่ไม่เปิดเผย มีสื่อยั่วยุและส่งเสริมความสุขทางเพศมากมายหลายประเภท ระบบเศรษฐกิจที่เป็นแบบวัตถุนิยม ส่งผลให้เกิดความเสื่อมถอยทางด้านศีลธรรม วัฒนธรรมและประเพณีไทย มีการส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมทางเพศที่เบี่ยงเบน การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร มองภาพการสำส่อนทางเพศเป็นเรื่องปกติ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการนำเข้าสู่ระบบการขายตัว สภาพสังคมเมืองหลวงมีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น ก่อให้เกิดชุมชนแออัด แหล่งเสื่อมโทรม สภาพครอบครัวในสังคมเมืองเปลี่ยนแปลงไป ความผูกพันในครอบครัวเสื่อมลง วัยรุ่นขาดความอบอุ่นและแบบอย่างที่ดี ปรากฏการณ์ดังกล่าวเป็นเงื่อนไขสำคัญทำให้เกิดการแพร่ระบาดทางยาเสพติดต่างๆ และเป็นการเสี่ยงที่จะทำให้ติดเชื้อเอดส์ได้ง่าย
ซึ่งผู้วิจัยมีความเห็นว่า การเผยแพร่ข่าวสารให้มีการรับรู้ถึงความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์จากการมีเพศสัมพันธ์ไม่ว่าจะเป็นหญิงบริการหรือหญิงคนรัก ก็จะช่วยให้นักศึกษาชายไม่มีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน เพราะว่าการรับรู้ข้อมูลมากและถูกต้องทำให้นักศึกษาสามารถใช้เหตุผลในการตัดสินใจได้
62
จากผลการศึกษาทั้งหมดนี้ อภิปรายโดยสรุปได้ว่า การเปิดโอกาสของหญิงคนรักเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการแต่งกาย การวางตัว การอยู่ด้วยกันตามลำพังสองต่อสองหรือการเที่ยวกลางคืน ล้วนแล้วแต่เป็นการเปิดโอกาสไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ทั้งสิ้น และสังคมมีอิทธิพลในการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักโดยการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์ไม่เกี่ยวข้องกับคุณธรรมประจำใจแต่อย่างใด แต่เป็นการเห็นแบบอย่างในสังคมและค่านิยมที่แปรเปลี่ยนไปตามยุคสมัย อีกทั้งสื่อสารมวลชนมีส่วนทำให้เกิดความกลัวและความต้องการที่จะป้องกันตนเอง จากการติดเชื้อเอดส์จึงไม่ไปใช้บริการกับหญิงบริการ เพราะด้วยการรับรู้ความเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงบริการทำให้ติดเชื้อเอดส์ จึงทำให้รู้สึกว่าตัวเองไม่ปลอดภัยที่จะไปใช้บริการ หากใช้บริการก็จะต้องมีการป้องกันตนเองอย่างถูกวิธี แต่ก็ยังถือว่าไม่ปลอดภัย มีโอกาสที่จะติดเชื้อกามโรค หนองใน และเอดส์ได้ ดังนั้นนักศึกษาชายส่วนใหญ่จึงหันไปมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักจะปลอดภัยกว่า ถึงแม้ว่าเพื่อนส่วนใหญ่จะยอมรับการมีเพศสัมพันธ์ แต่ก็ยังไม่ใช่ปัจจัยที่จะทำให้นักศึกษาตัดสินใจมีเพศ สัมพันธ์กับหญิงคนรักเสมอไป ยังคงมีปัจจัยอื่นๆ เข้ามาเป็นส่วนประกอบในการตัดสินใจ เช่น ครอบครัวก็มีอิทธิพลต่อการปลูกฝัง อบรม ขัดเกลา และเป็นสถาบันแรกที่เป็นตัวควบคุมพฤติกรรมของบุตรให้ประพฤติปฏิบัติไปในทางที่ถูกต้อง เช่น การปลูกฝังเรื่องความรับผิดชอบต่อการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรัก โดยเฉพาะบิดาเป็นบุคคลที่สำคัญในการกำหนดตัวแบบให้แก่บุตร และการเผยแพร่ข่าวสารให้มีการรับรู้ถึงความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์จากการมีเพศสัมพันธ์ไม่ว่าจะเป็นหญิงบริการหรือหญิงคนรัก ก็จะช่วยให้นักศึกษาชายไม่มีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน เพราะว่าการรับรู้ข้อมูลมากและถูกต้องทำให้นักศึกษาสามารถใช้เหตุผลในการตัดสินใจได้
ข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ มีดังนี้
1. ควรมีการปลูกฝังทัศนคติในเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ที่ถูกต้องให้กับนักศึกษาเพื่อสามารถนำไปใช้ในกระบวนการตัดสินใจไม่ให้มีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักก่อนวัยอันควร อย่างเช่น การมองว่าการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนไม่ควรกระทำเพราะก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา เช่น การตั้งครรภ์ก่อนการสมรส การทำแท้ง ครอบครัวแตกสลาย ฯลฯ
2. ควรมีการปลูกฝังเรื่องค่านิยมให้กับฝ่ายหญิงในการรักนวลสงวนตัว และการไม่เปิดโอกาสของฝ่ายหญิงเพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์กับชายคนรักก่อนวัยอันควร อย่าง เช่น แนะนำการแต่งกายที่ปกปิดมิดชิด การไม่อยู่ในที่ลับตาหรือเปิดโอกาสให้อยู่ตามลำพังกับชายคนรัก ฯลฯ
3. ควรมีการปลูกฝังคุณธรรมให้กับฝ่ายชายตั้งแต่ยังเด็ก ในเรื่องของความรับผิดชอบ การให้เกียรติเพศหญิง และให้รู้จักคิดถึงผลที่จะตามมาในภายหน้าหากกระทำผิด
63
4. สถานศึกษาควรมีการประสานงานกับผู้ปกครองของนักศึกษาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อรับทราบพฤติกรรมของนักศึกษา และให้ความรู้ ให้คำแนะนำ และการแก้ปัญหาที่ถูกต้องเหมาะสมกับบุตรหลาน
5. ควรสร้างกิจกรรมให้กับนักศึกษาได้รวมกลุ่มและปลูกฝังความคิด ค่านิยมในเรื่องเพศสัมพันธ์ที่ถูกต้อง เพื่อนักศึกษาจะได้สามารถช่วยเหลือและให้คำปรึกษาที่ดีแก่เพื่อนๆ ได้
6. ควรมีการเผยแพร่ความรู้และประชาสัมพันธ์ เช่น การจัดนิทรรศการ เผยแพร่ทางวารสาร หรือเสียงตามสาย ถึงความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์จากการมีเพศสัมพันธ์ เพื่อให้นักศึกษาได้ทราบถึงผลเสียที่จะได้รับจากการมีเพศสัมพันธ์ และการตัดสินใจที่จะมีเพศสัมพันธ์ในวัยอันควร
7. ควรส่งเสริมให้มีกิจกรรมเกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรม ประเพณีของไทย
8. ควรสนับสนุนกิจกรรมด้านการกีฬา ด้านดนตรี ให้นักศึกษามากขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันการติดยาเสพติด ซึ่งนักศึกษาจะได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ แทนการรวมกลุ่มกันและมีพฤติกรรมเบี่ยงเบนไปตามค่านิยมตะวันตกเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร
9. ควรมีการปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมให้มากขึ้น อย่างเช่น จัดให้มีกิจกรรมในวัด การได้รับการอบรมจากพระ การนั่งสมาธิ การบำเพ็ญกุศล ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อการขัดเกลาทางด้านจิตใจ
10. ฝ่ายกิจการนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาควรมีมาตรการเชิงรุกในการให้คำปรึกษา เผยแพร่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ตลอดจนให้ความช่วยเหลือนักศึกษาที่ประสบปัญหาด้านเพศสัมพันธ์
ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อทัศนคติการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรัก ในวัยเรียนของนักศึกษาชายในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
2. ควรศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการอยู่ร่วมกันก่อนแต่งของนักศึกษาระดับอุดม ศึกษา
3. ควรมีการศึกษาวิจัยในเชิงคุณภาพควบคู่งานวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกมาอธิบายผลทางสถิติได้มากขึ้น
4. ควรศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับชายคนรักของนักศึกษาหญิงในระดับอุดมศึกษา
64
6 5
บรรณานุกรม
กองควบคุมโรคเอดส์. (2545). กรุงเทพฯรู้ทันเอดส์. เกาะติดสถานการณ์ . กรุงเทพฯ.
ปีที่ 10 ฉบับที่ 62 .(มิถุนายน – กันยายน 2545).
กฤตยา อาชวณิจกุล และวราภรณ์ แช่มสนิท. (2537). วัยรุ่นไทยกับการซื้อประเวณี. ศูนย์ศึกษาสตรี
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
กิติมา สุรสนธิ. (2543). ความรู้ทางการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: คณะวารสารศาสตร์และสื่อมวลชน
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
กิตติ บุญรัตนเนตร. (2540). พฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ของกลุ่มแรงงานชายในเขต
นิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก. วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมสงเคราะห์มหาบัณฑิต
สาขาการจัดการโครงการสวัสดิการสังคม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิม
พระเกียรติ .
กรุงเทพธุรกิจ,นสพ. (2538). อยู่ก่อนแต่ง วัฒนธรรมมักง่ายไทยเลียนแบบเทศ. ฉบับวันที่
7 มกราคม 2538.
กันยา สุวรรณแสง. (2532). การศึกษาความรู้เรื่องโรคเอดส์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2541). หลักสถิติ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
คณะกรรมการพัฒนาการศึกษาอบรมเลี้ยงดูเด็ก. (2535). รายงานการศึกษาแนวทางการพัฒนา
คุณธรรมจริยธรรม. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
งามตา วนินทานนท์. (2528). รายงานวิจัยฉบับที่ 50 ลักษณะทางพุทธศาสนาและ
พฤติกรรมศาสตร์ของบิดามารดาที่เกี่ยวข้องกับการอบรมเลี้ยงดูบุตร. กรุงเทพฯ:
สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
________. (2536). ลักษณะทางพุทธศาสนาและพฤติกรรมศาสตร์ของบิดามารดาที่
เกี่ยวข้องกับการอบรมเลี้ยงดูบุตร. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
จุฑามณี จาบตะขบ. (2542). การศึกษาปัจจัยที่ทำให้คนทำความดีเพื่อสังคม: ศึกษาเฉพาะ
กรณีบุคคลที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ ตำบลกำแพงดิน อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร.
วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
จำเนียร ช่วงโชติ และคณะ. (2519). จิตวิทยาการรับรู้และการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์
กรมศาสนา.
6 6
ฉลาดชาย รมิตานนท์. (2542). การศึกษาครอบครัวไทย: ข้อคิดและแนวทางการศึกษา,
ใน ชูศักดิ์ วิทยาภัค (บก.) วารสารสังคมศาสตร์ ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 มกราคม –
มิถุนายน 2542 คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ฉันทนา มุติ. (2540). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการอบรมเลี้ยงดูการสนับสนุนทาง
สังคมการบรรลุงานตามขั้นพัฒนาการและพฤติกรรมพลเมืองดีของวัยรุ่นในภาคใต้.
วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(จิตวิทยาพัฒนาการ) มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ชลบุษย์ เจริญสุข. (2540). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการอบรมเลี้ยงดู การสนับสนุน
ทางสังคม การบรรลุงานตามขั้นพัฒนาการและพฤติกรรมพลเมืองดีของวัยรุ่น
ในภาคตะวันตก. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (จิตวิทยาพัฒนาการ)
มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ชำเลือง วุฒิจันทร์. (2522). จริยธรรมในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาแห่งชาติ.
ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2522). ตำราจิตวิทยา การพัฒนาจริยธรรม. กรุงเทพฯ: สถาบัน
วิจัยพฤติกรรมศาสตร์.
ดวงเดือน พันธุมนาวิน และเพ็ญแข ประจนปัจจนึก. (2520). จริยธรรมของเยาวชนไทย.
กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ประสานมิตร.
________. (2524). รายงานการวิจัยเรื่อง ความสัมพันธ์ภายในครอบครัวกับสุขภาพจิตและ
จริยธรรมของนักเรียนวัยรุ่นไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
_______. (2526). จุลสารฉบับที่ 4 ครูกับการปลูกฝังจริยธรรมแก่นักเรียน.
สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
ดวงเดือน พันธุมนาวิน และคณะ. (2528). เรื่องปัจจัยทางจิตวิทยานิเวชที่เกี่ยวกับการ
อบรมเลี้ยงดูเด็กของมารดาไทย. รายงานการวิจัยฉบับที่ 32 กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัย
พฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
_______. (2524). คุณธรรมที่พึงประสงค์ของเยาวชนไทย. กรุงเทพฯ:
สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
_______. (2529). รายงานการวิจัย เรื่อง การควบคุมอิทธิพลสื่อมวลชนของครอบครัว
กับจิตลักษณะที่สำคัญของเยาวชนไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
6 7
ดวงเดือน พันธุมนาวิน อรพินทร์ ชูชม และงามตา วนินทานนท์. (2528). ปัจจัยทาง
จิตวิทยานิเวศน์ที่เกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กของมารดาไทย. กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
ดิฉัน,นิตยสาร. (2543). รักระหว่างเรียน .นนทภิญญ์. ฉบับที่ 533 (15 มีนาคม 2543) : 70-72.
กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพ์ตำรวจ.
เดโช สวนานนท์. (2518). จิตวิทยาสังคม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
เดลินิวส์,นสพ. (2541). ข้อควรระวังการอยู่ร่วมกันโดยไม่แต่งงาน . ฉบับวันที่ 6 กันยายน 2541.
ทัศนา ทองภักดี. (2528). ความสัมพันธ์ระหว่างการอบรมเลี้ยงดูแบบใช้เหตุผลกับความ
เชื่ออำนาจภายในตนของเด็กวัยรุ่นไทย.ปริญญานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
บุษยา แรกข้าว. (2543). บทบาทของบิดามารดาต่อการเตรียมความพร้อมในการเผชิญปัญหาเกี่ยว
กับการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นในอำเภอเมืองเชียงใหม่. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาการส่งเสริมสุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์. (2542). น้ำกับการพัฒนาการทางจริยธรรม (ของเด็กๆ).
มติชนรายวัน. วันที่ 15 กุมภาพันธ์.
ประไพ มานะกุล. (2543). ความรู้ ทัศนคติ และการใช้บริการสาธารณสุขมูลฐานชุมชน
ของประชาชนชุมชนแออัดเทศบาลเมืองนครเชียงใหม่.ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ปรีชา วิหคโตและคณะ. (2531). พฤติกรรมวัยรุ่น. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มสธ.
พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิพงษ์. (2532). จุดยืนทางด้านระเบียบวิธีแนวทางปฏิสังสรรค์.
เอกสารโรเนียว โครงการปริญญาโท คณะสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
_________.(2532). สังคมวิทยาประจำวัน: แนวทฤษฎีการปฏิสังสรรค์สัญลักษณ์. โครงการพัฒนา
วิชาการคณะสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พรรณี ชุทัย. (2521) จริยธรรมทางการศึกษา. เอกสารประกอบการสอนวิชา กศ.ส.ค.511.
กรุงเทพฯ: ภาควิชาการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พรรณี มานะกุล. (2543). ความรู้ ทัศนคติและการใช้บริการสาธารณสุขมูลฐานชุมชนของประชาชนชุมชนแออัด เขตเทศบาลนครเชียงใหม่. ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
6 8
พระธรรมปิฏก. (2536). จะพัฒนาคนกันอย่างไร (พุทธศาสนากับการพัฒนามนุษย์).
กรุงเทพฯ : บริษัทจากธรรมิก จำกัด.
________. (2538). พุทธธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬ่าลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตโต). (2526). พุทธธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สุขภาพใจ.
________. (2527). สถาบันสงฆ์กับสังคมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โกมลคุมทอง.
________. (2523). การเสริมสร้างคุณสมบัติทางจริยธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์การศาสนา.
พระยาอนุมานราชธน. (2530). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน 2525. กรุงเทพฯ:
อักษรเจริญทัศน์
มารุต ดำชะอม. (2524). ระดับการให้เหตุผลเชิงจริยธรรมของนักศึกษาวิทยาลัยครูสงขลา.
วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาอุดมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
มติชนรายวัน. (2542). นักศึกษาชายขายตัวเพราะไม่มีสมองจะขาย. ฉบับวันที่ 21 กันยายน 2542: 6.
_________. (2543). สำรวจความคิดเห็นของวัยรุ่นในวันวาเลนไทน์. ฉบับวันที่ 13 กุมภาพันธ์
2543: 24.
_________. (2543). สร้างสรรค์เพื่อวัยใส. ฉบับวันที่ 16 มีนาคม 2547
รุ่งรัตน์ ชัยสำเร็จ. (2543). การเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2525). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พ.ศ. 2525 กรุงเทพฯ:
สำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์.
รัจรี นพเกตุ. (2536). การรับรู้ ทัศนคติ ประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องเพศและโรคเอดส์.
กรุงเทพฯ.
วรากรณ์ สามโกเศศ .(2547). กิ๊ก" นั้นสำคัญไฉน. มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547.
สุชิรา บุญทัน. (2541). ปัจจัยบางประการของครอบครัวที่สัมพันธ์กับจริยธรรมด้านความ
กตัญญูกตเวทีของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในจังหวัดขอนแก่นวิทยาลัย.
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุพรรณี สฤษดิ์อภิรักษ์. (2536). ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาในการป้องกันโรคเอดส์ ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.
โสพิน หมูแก้ว. (2544). อยู่ก่อนแต่ง: การอยู่ร่วมกันโดยไม่แต่งงานของนักศึกษามหาวิทยาลัย.
วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
6 9
อุมรภรณ์ ภัทรวณิชย์. (2538). ปัจจัยทางวัฒนธรรมที่มีผลต่อพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เสี่ยง
ของวัยรุ่น. รายงานการวิจัย สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
เอกวงศ์ ภานุพงษ์, กนกวลี ตรีวัฒนากุล และทีมข่าวเหยี่ยวเดือนเก้า. (2546). Sexteen Thailand. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สยามคอมมิคบุ๊คส์.
Bailey, Carol A. (1996). A Guide to field Research. New York : Pine Forege Press
Becker, Howard S. (1963). Outsiders: Studies in the Sociology of Deviance. New York:
The Pree Press.
Barardo,Felix M. (1995) .Cohabitation. in Encyclopedia of Marriage and the Family.
Edited by Levin, David. New York: Simom & Schuster Macmiclan.
Blumer, H. (1963). Symbolic Interactionism: Perspective and Method. Englewood.
New York: Prentice Hall.
Macklin, Eleanor D. (1983). Nonmarrital Heterosexual Cohabitation. In Family in
Transition. Edited by Skolnick, Arlenes and Skolnick, Jerome H. USA :
Ron Newcomer & Associates.
Mackay and Bruce Campbell. (1992). AIDS and Protection. Motivation
Theory (PMT) : Effects of Imagined Scenarios on Intent to use Condoms.
Michigan : A Bell and Howell Information Company.
Patric, Jackson G. (1984). On Living together Unmarriage and Family in A changing
Society. Edited by Henslin, James M. New York: The Pree pess.
Rogers, R.W. A Protection Motivation Theory of Fear Appeals and Attitude Chang.
The Journal of Psychology vol. 91 (1975).
Rogers, R.W. & Mewborn, C.R. (1976). Fear Appeals and Attitude Chang : The Effects of
a Theat’s Noxiunsness, Probability of Occurrence and the Efficacy of Coping
Response. Journal of Personality and Social Psychology. Vol. 34 (1976.
Ridley, Carl A and others. (1974). A comparison of Cohabiting and noncohabiting Colleage
Students. Journal of Marriage and the Family. 36 (May 1974).
71
แบบสอบถาม
คำชี้แจง การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษา ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย ในมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ข้อแนะนำเกี่ยวกับแบบสอบถาม
แบบสอบถามชุดนี้มีทั้งหมด 3 ส่วน
ส่วนที่ 1 เป็นคำถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัว จำนวน 5 ข้อ
ส่วนที่ 2 เป็นคำถามความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อ
การตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรัก มี 2 ตอนคือ
ตอนที่ 1 คำถามใช้วัดปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจ
มีเพศสัมพันธ์ (จำนวน 35 ข)
ตอนที่ 2 คำถามใช้วัดการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรัก
(จำนวน 1 ข้อ)
ส่วนที่ 3 ความคิดเห็นอื่นๆ และข้อเสนอแนะ
72
ชุดที่ 1 -3 แบบสอบถาม
เรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย
ในมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
หน้า 1/6 ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม
คำชี้แจง โปรดใส่เครื่องหมาย √ ลงในวงเล็บหน้าข้อความ และเติมข้อความลงในช่องว่าง
ตามความเป็นจริง
ข้อ 1 อายุ …………. ปี
ข้อ 2 ศึกษาอยู่ในชั้นปีที่…………….คณะ……………………………………….
ข้อ 3 ท่านมีรายได้………………………บาทต่อเดือน
ข้อ 4. ท่านได้รับอิทธิพลจากต้นแบบคือบิดา
( ) 1.ใช่ ( ) 2. ไม่ใช่
ข้อ 5. ท่านมีอิสระในการปกครองตนเอง
( ) 1. มี ( ) 2. ไม่มี
73
หน้า 2/6
ส่วนที่ 2 คำถามเกี่ยวกับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์
คำชี้แจง โปรดใส่เครื่องหมาย √ ในช่องระดับความคิดเห็นที่ตรงกับความเป็นจริง
หรือสอดคล้องกับความรู้สึกของท่านมากที่สุด
ตอนที่ 1 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์ของนักศ ึกษาชาย
ระดับความคิดเห็น
ข้อความ
เห็นด้วย
มากที่สุด
เห็นด้วย
ไม่แน่ใจ
ไม่เห็นด้วย
ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง
ทัศนคติต่อการมีเพศสัมพันธ์
1. ท่านคิดว่าการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักเป็นเรื่องธรรมดา ไม่เสียหาย
2. ท่านคิดว่าการอยู่ร่วมกันก่อนแต่งงานทำให้เกิดความ
อบอุ่นใจ
3. ท่านคิดว่าการเพศสัมพันธ์เกิดจากความพอใจของทั้งสองฝ่าย
4.ท่านคิดว่าคุณธรรมประจำใจไม่เกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรัก
5.ท่านคิดว่าสังคมมีส่วนในการตัดสินใจให้มีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรัก
การรับรู้ความเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงบริการ
1. ท่านคิดว่าไม่จำเป็นต้องใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์กับหญิงที่ไม่ใช่หญิงคนรักหรือหญิงบริการ
2. ท่านไม่จำเป็นต้องรู้วิธีป้องกันตนเองจากการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงบริการ
3.ท่านคิดว่าการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงบริการโดยใช้ถุงยางอนามัยจะป้องกันการติดเชื้อเอดส์ได้
4.ท่านคิดว่าการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงบริการต้องมีการป้องกันตนเองให้ถูกวิธี
5.ท่านคิดว่าการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงบริการเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคต่างๆ ได้ง่าย เช่น กามโรค หนองใน และเอดส์
74
หน้า 3/6
ระดับความคิดเห็น
ข้อความ
เห็นด้วย
มากที่สุด
เห็นด้วย
ไม่แน่ใจ
ไม่เห็นด้วย
ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง
การเปิดโอกาสของหญิงคนรัก
1.ท่านคิดว่าการมีเพศสัมพันธ์เกิดจากหญิงคนรักเปิดโอกาสให้
2.ท่านคิดว่าหญิงคนรัก มองว่าการมีเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องธรรมดา
3. ท่านคิดว่าการแต่งกายของหญิงคนรักมีผลต่อการมีเพศสัมพันธ์
4.ท่านคิดว่าการอยู่ด้วยกันสองต่อสองเป็นการเปิดโอกาสของหญิงคนรัก
5.ท่านคิดว่าการไปเที่ยวกลางคืนกับหญิงคนรักเป็นการเปิดโอกาสให้มีเพศสัมพันธ์
การได้รับการปลูกฝังเรื่องความรับผิดชอบต่อการมีเพศสัมพันธ์จากครอบครัว
1.ครอบครัวท่านไม่ได้อบรมเรื่องการรับผิดชอบต่อการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรัก
2.ท่านคิดว่าการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักไม่เกี่ยวกับการปลูกฝังของครอบครัว
3.ท่านคิดว่าการรับผิดชอบต่อการมีเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องส่วนตัวของนักศึกษา ครอบครัวไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง
4.ท่านคิดว่าบิดาเป็นตัวแบบที่มีอิทธิพลต่อการปลูกฝังความรับผิดชอบต่อการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรัก
5.ท่านคิดว่าครอบครัวไม่เห็นด้วยกับการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักในวัยเรียน
75
หน้า 4/6
ระดับความคิดเห็น
ข้อความ
เห็นด้วย
มากที่สุด
เห็นด้วย
ไม่แน่ใจ
ไม่เห็นด้วย
ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง
ทัศนคติของกลุ่มเพื่อนต่อการมีเพศสัมพันธ์
1.กลุ่มเพื่อนของท่านเห็นว่าการมีเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องธรรมดา
2.ท่านคิดว่าการโอบกอดกันกับหญิงคนรักในขณะที่มีเพื่อนคนอื่นอยู่ด้วยเป็นเรื่องปกติธรรมดา
3.เพื่อนหญิงและเพื่อนชายของท่านมีความเห็นเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์แตกต่างกัน
4.เพื่อนท่านส่วนใหญ่คิดว่าการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักในวัยเรียนไม่ผิดศีลธรรม
5.กลุ่มเพื่อนของท่านไม่เห็นด้วยกับการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักในวัยเรียน
การรับรู้ถึงการมีเพศสัมพันธ์จากสื่อมวลชน
1.สื่อมีอิทธิพลทำให้เห็นว่าการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักเป็นเรื่องปกติ
2.สื่อประชาสัมพันธ์โดยเฉพาะดารานักแสดงที่แสดงความรักอย่างเปิดเผยเป็นตัวแบบที่จูงใจให้เกิดการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรัก
3. การนำเสนอข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการปฏิบัติตนในการมีเพศสัมพันธ์เป็นการลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเอดส์
4.การสื่อสารที่ทำให้เกิดความกลัวเกี่ยวกับสุขภาพจะทำให้ลดพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ถูกต้อง
5.การนำเสนอข่าวการมีเพศสัมพันธ์ทำให้วัยรุ่นเกิดแรงจูงใจที่จะป้องกันตนเองต่อการเสี่ยงเป็นเอดส์
76
หน้า
5/6
ระดับความคิดเห็น
ข้อความ
เห็นด้วย
มากที่สุด
เห็นด้วย
ไม่แน่ใจ
ไม่เห็นด้วย
ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง
การรับรู้ต่อการเสี่ยงติดเชื้อเอดส์
1.ท่านคิดว่าการมีเพศสัมพันธ์มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อโรคเอดส์
2.ท่านคิดว่าการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักไม่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเอดส์
3.ท่านคิดว่าโรคเอดส์ไม่แพร่ระบาดในนักศึกษา เมื่อมีเพศสัมพันธ์กับเพื่อนจึงไม่จำเป็นต้องป้องกัน
4.ท่านคิดว่าการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของแต่ละบุคคล
5. การมีความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ทำให้รู้ถึงโอกาสเสี่ยงในการติดเชื้อเอดส์
77
หน้า 6/6
ตอนที่ 2 คำถามเกี่ยวกับการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรัก
ระดับการตัดสินใจ
ข้อความ
มีแน่นอน
ไม่แน่ใจ
ไม่มีแน่นอน
1.ท่านตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรัก
ส่วนที่ 3 ความคิดเห็นอื่นๆ และข้อเสนอแนะ
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………
ผู้วิจัยขอขอบคุณเป็นอย่างสูงที่ท่านได้สละเวลาในการตอบแบบสอบถามฉบับนี้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหา ที่เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรของนักศึกษา
นายอาทิตย์ รัตนาสมจิตร
ผู้วิจัย
7 8
รายนามผู้เชี่ยวชาญ
ชื่อ-นามสกุล
ตำแหน่ง
1. ดร.ประเทือง อัมพรภักดิ์
อาจารย์ 2 ระดับ 7
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
2. ดร.เปรมสุรีย์ เชื่อมทอง
อาจารย์ 2 ระดับ 7
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
3. ดร.วรรณวรา ชื่นวัฒนา
อาจารย์ 2 ระดับ 7
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
82
ประวัติผู้วิจัย
ชื่อ นายอาทิตย์ รัตนาสมจิตร
วัน เดือน ปีเกิด 9 ตุลาคม 2518
สถานที่เกิด สุพรรณบุรี
ประวัติการศึกษา ศิลปศาสตรบัณฑิต พ.ศ.2541
สาขานิเทศศาสตร์ (ประชาสัมพันธ์)
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ตำแหน่งและสถานที่ทำงาน ธุรกิจส่วนตัว

ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย (ตอนที่ 1)
ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์กับหญิงคนรักของนักศึกษาชาย (ตอนที่ 2)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น