วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองกรณีศึกษา จังหวัดสมุทรสาคร (ตอนที่ 2)



-ชาวบ้านช่วยกันสอดส่องดูแล
ความสงบสุขและความปลอดภัย
ของหมบู่ า้ นจนได้รับธงเฉลิม
พระเกยี รตแิ ละไดร้ บั การเยยี่ ม
ชมจากนายอำเภอและนักศึกษา
จากมหาวิทยาลัยมหิดล
-คนมีฐานะให้ความร่วมมือน้อย
M2 -การใช้หอกระจายข่าวในการ
สอื่ สารภายในหมบู่ า้ น
-ดำเนินกิจกรรม และส่งเสริม
ให้เด็กและเขาวชนเล่นกีฬาเพื่อ
ป้องกันปัญหายาเสพติด
-มกี ารไปอบรม ศกึ ษาดงู าน
เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับตนเอง
-มกี ารแบง่ งานกนั ทาํ และการ
รับผิดชอบต่อความสงบสุขภาย
ในหมู่บ้าน เช่น อบต. รอง
ประธานตำรวจบ้าน
-มีกระบวนการจัดการและบริหารการ
ใชเ้ งนิ สนบั สนนุ จากภาครฐั ในกลมุ่
ผู้ใข้น้ำบาดาลเป็นเงินทุนหมุนเวียน
ภายในหมูบ่ า้ น และสรา้ งกลมุ่ ชว่ ย
ตนเองเช่นกลุ่มออมทรัพย์
-มีการจัดแบ่งบุคคลให้ทำหน้าที่
ประสานงานกับองค์กรหรือบุคคลภาย
นอกอย่างเหมาะสม
-มีการประเมินผลการพัฒนา
โดยแพทย์ประจำตำบล
-มีการจัดขบวนการป้องกันภัย
ยาเสพติดมีผู้ใหญ่บ้านที่คอย
สอดแนมหาตัวผู้เสพยาเสมอ
-มกี ลมุ่ แมบ่ า้ นเปน็ ตวั แทนและ
เป็นผู้ประสานงานกับกลุ่ม
องค์กรภายนอกหมู่บ้าน
51
C -ครอบครัวอบอุ่นมีความ
สมั พนั ธใ์ กลช้ ดิ กนั ด ี ลกู หลาน
ได้รับการอบรมสั่งสอนให้เป็น
คนดี อ่อนน้อมถ่อมตน มี
สมั มาคารวะไดด้ กี วา่ โรงเรยี น
-มกี ารกาํ จดั ขยะมลู ฝอยโดย
การแยกขยะเพื่อนำไปใช้
ประโยชน์ หรือ ขาย ส่วนที่
เหลือเผาทำลายทิ้ง
-ลอยกระทงโดยใช้วัสดุ
ธรรมชาติ
-เป็นหมู่บ้านที่อุดมสมบูรณ์อยู่
สบายและสงบสุข
-การคมนาคมภายในหมู่บ้านมี
ความสะดวกสบายมีทั้งทางบก
และทางน้ำ
-ครอบครัวมีความอบอุ่น ปรึกษาพ่อ
แม่พี่น้องพูดคุยกันได้ทุกเรื่อง
-เด็กและเยาวชนจะเคารพเชื่อฟังผู้
ใหญ่ทุกคนภายในหมู่บ้าน
-บ้านมีสภาพน่าอยู่ ขยะมีน้อยและ
กำจัดโดยการเผาพร้อมกับวัชพืชใน
สวน
-คนรุ่นหลังให้ความเคารพเชื่อฟังผู้
ใหญ่และผู้ให้การช่วยเหลืออนุเคราะห์
-ชาวบ้าน กล้าคิด กล้าตัดสินใจ
กล้าทำ มีเหตุผลและแผนในการเลือก
ทำลงทุนในสิ่งใดสิ่งหนึ่งเมื่อมองเห็น
โอกาสที่จะได้ในอนาคต
-ชาวบ้านยังต้องดิ้นรนทำงานมากขึ้น
-การสัญจรภายในหมู่บ้านเป็นถนน
ลาดยางและอยู่ใกล้จังหวัด
-ครอบครัวมีความอบอุ่น ลูก
หลานมีบทบาทในการพัฒนาหมู่
บ้าน เช่น ทำความสะอาดถนน
หนทางและขุดลอกคูคลอง
สาธารณะ เพราะไดเ้ปน็ ตวั แทน
จากครอบครัวไปร่วมกิจกรรม
นั้นๆ
-เปน็ หมบู่ า้ นทมี่ คี วามพรอ้ ม
และอุดมสมบูรณ์จนได้รับความ
สนใจจากบุคคลและองค์กรภาย
นอก เนอื่ งจากผนู้ าํ ใหค้ วามเอา
ใจใส่และดูแลอย่างใกล้ชิด
มคี วามเดด็ ขาด
-กาํ จดั ขยะโดยวธิ กี ารเผาและไม่
ทิ้งขยะมูลฝอยลงในแหล่งน้ำ
-อยู่ติดกับแม่น้ำท่าจีนและมีรถ
สองแถววิ่งเข้าถึงหมู่บ้าน
T หมายถึง เทคโนโลยีภูมิปัญญาท้องถิ่น
E “ เศรษฐกิจ
R “ ทรัพยากร
M1 “ จิตใจ
S “ สังคม
P “ การมีส่วนร่วม
M2 “ การจัดการ
C “ หมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
52
สรุปแนวคิดการวิจัย
จากศึกษาภายใต้แนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องซึ่งประกอบด้วย หมู่บ้าน
เศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองของกรมพัฒนาชุมชน 2543 กล่าวถึงการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชน
พึ่งตนเองคือหมู่บ้านที่ใช้ศักยภาพหรือพลังที่มีอยู่แก้ไขปัญหาของตนเองและพัฒนาให้หมู่บ้าน
ของตนเป็นศูนย์กลาง หรือเป็นหน่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจให้สามารถพึ่งตนเองได้อย่างสมดุล
และพอเพียงของกรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทยแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองของ
ประเวศ วะสี (2541: 43) ที่อธิบายถึง เศรษฐกิจชุมชนหรือเศรษฐกิจพื้นฐาน อันเป็นเศรษฐกิจที่
คำนึงถึงถึงการทะนุบำรุงพื้นฐานของตนเองให้เข้มแข็ง ทฤษฎีการพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจของ
ชุมชนชนบท ของ สัญญา สัญญาวิวัฒน์ (2542 : 68) ที่อธิบายถึงความสามารถในการพึ่งตนเอง
โดยมีปัจจัยที่สำคัญ 5 ด้าน ซึ่งประกอบด้วยปัจจัย ด้านเทคโนโลยี เศรษฐกิจ ทรัพยากร จิตใจ
และสังคม แนวคิดการมีส่วนร่วมของโคเฮน และอัพฮอฟฟ์ (Cohen and Uphoff 1980 : 219-222) ได้อธิบาย
การมีส่วนร่วมซึ่งประกอบด้วย การร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมดำเนินกิจกรรม ร่วมรับประโยชน์
และการร่วมประเมินผล แนวคิดการพัฒนาชุมชนแบบการจัดการของ สัญญา สัญญาวิวัฒน์
(2541 : 15-16) ที่อธิบายถึงขอบเขตและทิศทางการจัดการให้บรรลุไปสู่เป้าหมายของการ
พัฒนา ประกอบด้วย การรู้จักตนเอง โดยการใช้หลัก SWOT การส่งเสริมการฝึกอบรม การสร้าง
กลุ่มช่วยตนเอง
จากการศึกษาแนวคิด ทฤษฎีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องนำมาพิจารณาร่วมกับหลักฐานเชิงประจักษ์
และนำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์เพื่อชี้ให้เห็นถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชน
พึ่งตนเองและได้นำปัจจัยเหตุและผลนำมาสรุปแป็นแผนภาพที่ 1 ได้ ดังนี้
แผนภาพที่ 1 สรุปแนวคิดการวิจัย
แนวคิดเรื่อง
เศรษฐกิจชุมชน
ทฤษฎีการพึ่งตนเองทาง
เศรษฐกิจชุมชนชนบท
TERMS
แนวคิดการมีส่วนร่วม
และการจัดการ
หมู่บ้านเศรษฐกิจ
ชุมชนพึ่งตนเอง
บทที่ 3
วิธีดำเนินการวิจัย
ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย ซึ่งเป็นการวิจัยที่มุ่งศึกษาค้นคว้าหาข้อเท็จจริงที่เกิด
จากการปฏิบัติ ความเชื่อ ความคิดเห็น และทัศนคติ ที่เกี่ยวข้องกับปัจจัย ที่มีผลต่อการเป็นหมู่บ้าน
เศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง จากหมู่บ้านที่ประสบความสำเร็จในจังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 3 หมู่บ้าน
ซึ่งผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
1. การกำหนดประชากร
2. การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
3. การเก็บรวบรวมข้อมูล
4. การจัดทำและการวิเคราะห์ข้อมูล
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ หัวหน้าครอบครัวจาก 3 หมู่บ้าน ที่ได้รับการประเมินให้
เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในจังหวัดสมุทรสาคร จาก 3 อำเภอ อำเภอละ 1 หมู่บ้าน
กลุ่มตัวอย่าง ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครัว
จำนวน 244 คน จาก 3 หมู่บ้าน ดังต่อไปนี้
หมู่ 2 ตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมือง 63 คน
หมู่ 2 ตำบลเจ็ดริ้ว อำเภอบ้านแพร้ว 125 คน
หมู่ 6 ตำบลท่าเสา อำเภอกระทุ่มแบน 56 คน
ระยะเวลาในการดำเนินงาน
ในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ และประเมินผล ประมาณ 3 เดือน ตั้งแต่เดือน พฤษภาคม ถึง
กรกฎาคม 2545
54
2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
2.1 ลักษณะของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้น ซึ่งมีทั้งหมด 3 ตอน
ดังต่อไปนี้
ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
ตอนที่ 3 เป็นแบบสอบถามปลายเปิดเพื่อแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม โดยมีรายละเอียดดังนี้
ตอนที่ 1 แบบสอบถามเพื่อวัดระดับการปฏิบัติในปัจจัยแต่ละด้านที่มีผลต่อการเป็นหมู่บ้าน
เศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ซึ่งเป็นไปตาม
เกณฑ์วัดของลิเคิท (Likert Scale) (อ้างถึงใน บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ 2542 : 119 -139 ) โดย
มีหลักการวัด 5 ระดับซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันมาก คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด ปัจจัยที่
มีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง มีจำนวนคำถามทั้งสิ้น 39 ข้อ โดยนำมาวิเคราะห์
หาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในแต่ละปัจจัย ซึ่งเกณฑ์การแปลความหมายดังนี้
ค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 4.50-5.00 หมายถึง มีระดับมากที่สุด
ค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 3.50-4.49 หมายถึง มีระดับมาก
ค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 2.50-3.49 หมายถึง มีระดับปานกลาง
ค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 1.50-2.49 หมายถึง มีระดับน้อย
ค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 1.00-1.49 หมายถึง มีระดับน้อยที่สุด
ตอนที่ 2 แบบสอบถามเพื่อวัดระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจ
ชุมชนพึ่งตนเอง โดยมีตัวชี้วัดถึงสภาพการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองมี 4 ตัวชี้วัด ได้แก่
ครอบครัวมีความอบอุ่น เศรษฐกิจมีความสมดุล องค์กรชุมชนเข้มแข็ง และการจัดการสิ่งแวดล้อม
อย่างยั่งยืน ซึ่งมีคำถามเพื่อวัดระดับความคิดเห็นในแต่ละตัวชี้วัดดังกล่าวโดยมีจำนวนคำถามทั้งสิ้น
18 ข้อ ดังนี้
ครอบครัวมีความอบอุ่น มี 5 ข้อ ได้แก่ข้อ 1 - 5
เศรษฐกิจมีความสมดุล มี 4 ข้อ ได้แก่ข้อ 6 - 9
องค์กรชุมชนเข้มแข็ง มี 4 ข้อ ได้แก่ข้อ 10 - 13
การจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน มี 5 ข้อ ได้แก่ข้อ 14 - 18
55
โดยนำมาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในแต่ละปัจจัย ซึ่งเกณฑ์การ
แปลความหมาย มีดังนี้
ค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 4.50-5.00 หมายถึง เห็นด้วยอย่างยิ่ง
ค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 3.50-4.49 หมายถึง เห็นด้วย
ค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 2.50-3.49 หมายถึง ไม่แน่ใจ
ค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 1.50-2.49 หมายถึง ไม่เห็นด้วย
ค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 1.00-1.49 หมายถึง ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง
ตอนที่ 3 แบบสอบถามปลายเปิดแสดงความคิดเห็น จำนวน 4 ข้อ เพื่อเป็นการเปิดกว้างกับผู้ตอบ
และเพื่อให้เกิดการครอบคลุมเนื้อหาเพิ่มมากขึ้นและนำไปสู่ประเด็นข้อแนะนำเพื่อการศึกษาเพิ่มเติม
ในลำดับต่อไป
2.2 ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ได้สร้าง และพัฒนาเครื่องมือจากการศึกษาเอกสารและ
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยมีขั้นตอนในการสร้างเครื่องมือในการวิจัยดังนี้
2.2.1 ศึกษาหลักการ แนวคิด ทฤษฎีจากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และได้ทำการ
สัมภาษณ์เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนจังหวัดสมุทรสาครและปลัดอำเภอกระทุ่มแบน พร้อมทั้งสัมภาษณ์
ผู้ใหญ่บ้าน ปลัดอำเภอ และ เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบล ในเดือน มีนาคม 2544 เพื่อนำมา
กำหนดกรอบแนวคิดและขอบเขตข้อมูลเบื้องต้นสำหรับการสร้างเครื่องมือที่ใช้วิจัย
2.2.2 กำหนดกรอบแนวคิดในการสร้างเครื่องมือการวิจัย และนำมาสร้างเป็นเครื่องมือวิจัย
(ฉบับร่าง)
2.2.3 นำเสนอเครื่องมือวิจัย (ฉบับร่าง) ต่ออาจารย์ที่ปรึกษา และผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบ
ความตรงของเครื่องมือ จำนวน 3 ท่าน และนำข้อเสนอแนะมาปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้ได้เครื่องมือที่มี
ความตรงทั้งเชิงโครงสร้างและเนื้อหา ตลอดจนการใช้สำนวนภาษาที่ถูกต้องเหมาะสม เพื่อให้เครื่อง
มือนั้นมีประสิทธิภาพและสามารถนำไปใช้ได้จริง
2.2.4 นำไปทดลองใช้ (Tryout) กับกลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะใกล้เคียงกับหมู่บ้านที่จะทำการ
วิจัย ได้แก่หมู่ 2 ตำบลสวนหลวง อำเภอกระทุ่มแบน จำนวน 100 คน ซึ่งได้ชี้แจงกับผู้ใหญ่บ้านไว้
แลว้ และไดร้ บั การตอบรบั ดว้ ยความยินดีที่จะให้ความร่วมมือในการให้ชาวบ้านช่วยตอบแบบสอบถาม
เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2545
56
2.2.5 การหาอำนาจจำแนก (Discrimination) ของแบบสอบถาม เนื่องจากเครื่องมือเป็น
แบบสอบถามความคิดเห็นหรือเป็นมาตรวัดระดับ ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามจึงต้องนำมาตรวจ
สอบคุณภาพด้วยการหาค่าอำนาจจำแนกรายข้อของข้อคำถาม (ประคอง กรรณสูต 2542 : 45-46 )
ด้วยการทดสอบหาความแตกต่างของค่าเฉลี่ย (∼X ) ระหว่างกลุ่มสูงและกลุ่มต่ำตามเทคนิค 25%
ของลิเคท (Likert) โดยเรียงคะแนนจากมากไปหาน้อย แบ่งเป็นกลุ่มสูง 25% และกลุ่มต่ำ 25%
แล้วนำมาเปรียบเทียบกันด้วยสูตร t-test คัดเลือกเฉพาะข้อที่มีค่านัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งถือว่ามี
อำนาจจำแนกสูงนำไปใช ้ ข้อใดมีอำนาจจำแนกต่ำกว่า 1.75 ถอื วา่ มีอำนาจจำแนกต่ำจะตัดข้อนั้นทงิ้ ไป
2.2.6 การตรวจสอบความเชื่อมั่นของเครื่องมือ (Reliability) ซึ่งใช้วิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์
แอลฟาด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows ซึ่งผลจากการคำนวณ
หาค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเรื่อง“ปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชน
พึ่งตนเอง : กรณีศึกษา จังหวัดสมุทรสาคร ” ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม ตอนที่ 1 เป็น
คำถามเกี่ยวกับการปฏิบัติของปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง เท่ากับ 0.93
และ ตอนที่ 2 เป็นคำถามเกี่ยวกับความคิดเห็นของการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง มีค่า
เท่ากับ 0.82
3.การเก็บรวบรวมข้อมูล
ในการศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตัวเอง โดยมีขั้นตอนการ
ดำเนินการดังนี้
1. ประสานงานบัณฑิตวิทยาลัยเพื่อขอหนังสือชี้แจงไปที่ จังหวัด อำเภอ องค์การบริหาร
ส่วนตำบล และหมู่บ้านในการขออนุญาตลงพื้นที่ทำการศึกษา และเก็บรวบรวมข้อมูล
2. ประสานงานกับผู้ใหญ่บ้าน กรรมการหมู่บ้าน และหัวหน้าครอบครัวเพื่อขอความร่วมมือใน
การตอบแบบสอบถามแบบรวมกลุ่มในช่วงเดือน พฤษภาคม - มิถุนายน 2545 ดังนี้
ตารางที่ 2 แสดงระยะเวลาในการเก็บข้อมูล
วันที่ หมู่ ตำบล อำเภอ
26 พ.ค.-9 มิ.ย.45
9 มิ.ย.-19 มิย.45
20 มิ.ย.-30 มิ.ย.45
2
2
6
บ้านเกาะ
เจ็ดริ้ว
ท่าเสา
เมือง
บ้านแพ้ว
กระทุ่มแบน
57
4. การวิเคราะห์ข้อมูล
นำข้อมูลที่ได้มาประมวลผลทางสถิติด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS
for Windows ใช้ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 เป็นเกณฑ์ในการยอมรับหรือปฏิเสธสมมติฐาน
การวิจัย
สถิติที่นำมาวิเคราะห์ข้อมูล
1. ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการหาร้อยละ
(Percentage)
2. ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation
Coefficient)
3. การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Stepwise Multiple Regression Analysis)
เกณฑ์ในการแปลความหมายค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน มีดังนี้
ค่า r แสดงว่า
+0.8 ขึ้นไป มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง
+0.61 - 0.80 มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับค่อนข้างสูง
+0.41 - 0.60 มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง
+0.21 - 0.40 มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ
+0.01 - 0.20 มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับต่ำ
0.00 ไม่มีความสัมพันธ์กัน
บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ในการวิจัยเรื่อง “ปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง กรณีศึกษา
จังหวัดสมุทรสาคร” โดยดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยตนเองกับประชากรที่เป็นหัวหน้าครอบครัว
จาก 3 หมู่บ้าน มีจำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม 244 คน ในระหว่างวันที่ 26 พฤษภาคม ถึง วันที่
30 มถิ นุ ายน 2545 คดิ เปน็ รอ้ ยละ 100 เมื่อนาํ ไปวิเคราะหข์ อ้ มูลดว้ ยโปรแกรม SPSS for Windows
มีผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่จะนำเสนอตามลำดับดังนี้
1. การวเิคราะหส์ ภาพของปจั จยั ที่มีคาดว่าจะมีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
2. การวิเคราะห์สภาพการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
3. การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
1.การวิเคราะห์สภาพของปัจจัยที่คาดว่าจะมีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
จังหวัดสมุทรสาคร
จากการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชน
พึ่งตนเองทั้ง 7 ด้าน ได้แก่ เทคโนโลยีภูมิปัญญาท้องถิ่น เศรษฐกิจ ทรัพยากร จิตใจ สังคม
การมีส่วนร่วม การจัดการ โดยทำการคำนวณหาสถิติค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
แสดงผลดังตารางที่ 3
ตารางที่ 3 สภาพของปัจจัยที่คาดว่าจะมีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
จังหวัดสมุทรสาคร
ปัจจัย X S.D. แปลความ
1. ด้านจิตใจ 4.16 0.57 มาก
2. ด้านสังคม 3.99 0.68 มาก
3. ด้านการมีส่วนร่วม 3.49 0.92 ปานกลาง
4. ด้านการจัดการ 3.21 1.06 ปานกลาง
5. ด้านเศรษฐกิจ 3.16 0.75 ปานกลาง
6. ด้านเทคโนโลยีภูมิปัญญาท้องถิ่น 3.16 0.67 ปานกลาง
7. ด้านทรัพยากร 3.10 0.84 ปานกลาง
รวม 3.47 0.78 ปานกลาง
59
จากตารางที่ 3 ในภาพรวมแต่ละปัจจัยที่คาดว่าจะมีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชน
พึ่งตนเอง จังหวัดสมุทรสาคร พบว่า ปัจจัยด้านจิตใจ และปัจจัยด้านสังคม มีค่าระดับอยู่ใน
ระดับมาก ส่วนปัจจัยด้านการมีส่วนร่วม ปัจจัยด้านการจัดการ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยด้าน
เทคโนโลยีภูมิปัญญาท้องถิ่น และปัจจัยด้านทรัพยากร มีค่าระดับอยู่ในระดับปานกลาง
2.การวิเคราะห์สภาพการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง จังหวัดสมุทรสาคร
ได้ทำการรวบรวมข้อมูล เพื่ออธิบายถึงสภาพการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งมีตัวชี้วัดในแต่ละด้าน ได้แก่ ครอบครัวมีความอบอุ่น เศรษฐกิจสมดุล
องค์กรชุมชนเข้มแข็ง และการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยทำการคำนวณหาสถิติ
ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดังแสดงผลในตารางท ี่ 4
ตารางที่ 4 สภาพการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง จังหวัดสมุทรสาคร
สภาพการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง ∼X S.D. แปลความ
1. ครอบครัวมีความอบอุ่น 4.12 0.69 เห็นด้วยอย่างยิ่ง
2. เศรษฐกิจมีความสมดุล 3.66 0.77 เห็นด้วยอย่างยิ่ง
3. องค์กรชุมชนเข้มแข็ง 4.01 0.62 เห็นด้วยอย่างยิ่ง
4. การจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน 3.91 0.65 เห็นด้วยอย่างยิ่ง
รวม 3.94 0.50 เห็นด้วยอย่างยิ่ง
จากตารางที่ 4 พบว่า สภาพการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง จังหวัดสมุทรสาคร
โดยภาพรวมและแต่ละด้านมีค่าระดับอยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่งทุกตัวชี้วัด ได้แก่ ครอบครัวมี
ความอบอุ่น เศรษฐกิจมีความสมดุล องค์กรชุมชนเข้มแข็ง และการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
60
^
^
a
3.การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจ
ชุมชนพึ่งตนเอง
สมมติฐานในการวิจัยครั้งนี้ ทำการทดสอบด้วยการใช้สถิติการวิเคราะห์การถดถอย
พหุคูณแบบขั้นบันได (Stepwise Multiple Regression Analysis)
เพื่อความเหมาะสมในการวิเคราะห์ข้อมูล จึงได้กำหนดสัญลักษณ์ที่ใช้แทนตัวแปรอิสระ
ตัวแปรตาม และค่าที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้
X1 แทน ปัจจัยด้านเทคโนโลยีภูมิปัญญาท้องถิ่น
X2 แทน ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ
X3 แทน ปัจจัยด้านทรัพยากร
X4 แทน ปัจจัยด้านจิตใจ
X5 แทน ปัจจัยด้านสังคม
X6 แทน ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วม
X7 แทน ปัจจัยด้านการจัดการ
Y แทน สภาพการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
r แทน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์
R แทน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ
R2 แทน ดัชนีการพยากรณ์หรือประสิทธิภาพการพยากรณ์
SE.b แทน ความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน
≤ แทน สัมประสิทธิ์การถดถอยมาตรฐาน
แทน ค่าคงที่ของสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ
b แทน สัมประสิทธิ์การถดถอยของตัวพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ
Y แทน คะแนนการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองที่ได้จากการพยากรณ์
ในรูปคะแนนดิบ
Z แทน คะแนนการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองที่ได้จากการพยากรณ์
ในรูปคะแนนมาตรฐาน
61
ในการทดสอบสมมติฐานการวิจัยเพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชน
พึ่งตนเอง จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งจะนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งเป็น 3 ตอนดังนี้
ตอนที่ 1 การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างกันของตัวพยากรณ์และ
ระหว่างตัวพยากรณ์กับตัวเกณฑ์
การวิเคราะห์ขั้นตอนนี้ ใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน เพื่อหาสหสัมพันธ์ระหว่างกัน
ของตัวพยากรณ์หรือปัจจัยทั้ง 7 ด้าน ได้แก่ เทคโนโลยีภูมิปัญญาท้องถิ่น (X1) เศรษฐกิจ (X2)
ทรัพยากร (X3) จิตใจ (X4) สังคม (X5) การมีส่วนร่วม (X6) การจัดการ (X7) และ
ความสัมพันธ์ระหว่างตัวพยากรณ์ทั้ง 7 ตัว กับการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง (Y)
ดังแสดงผลในตารางท ี่ 5 ดังนี้
ตารางที่ 5 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างกันของตัวแปรพยากรณ์และค่าสัมประสิทธิ์
สหสัมพันธ์ระหว่างตัวพยากรณ์กับตัวเกณฑ์
ตัวพยากรณ์ X1 X2 X3 X4 X5 X6 X7 Y
X1 1
X2 .484* 1
X3 .559* .567* 1
X4 .334* .343* .459* 1
X5 .299* .316* .448* .642* 1
X6 .356* .428* .538* .596* .603* 1
X7 .348* .495* .566* .565* .584* .741* 1
Y .262* .339* .421* .531* .423* .500* .522* 1
*มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
62
จากตารางที่ 5 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างกันของตัวปัจจัยบางตัวมีความสัมพันธ์
ทางบวกอยู่ในระดับค่อนข้างสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 (r อยู่ระหว่าง .61-.80) นั้นคือ
ปัจจัยด้านการจัดการ (X7) กับปัจจัยด้านการมีส่วนร่วม (X6) และปัจจัยด้านสังคม (X5) กับ
ปัจจัยด้านจิตใจ (X4) ส่วนปัจจัยด้านอื่นๆ ซึ่งมีความสัมพันธ์กันทางบวกอยู่ในระดับปานกลาง
( r อยู่ระหว่าง .41-.60) ได้แก่ ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วม (X6) กับปัจจัยด้านสังคม (X5)
ปัจจัยด้านทรัพยากร (X3) กับปัจจัยด้านเศรษฐกิจ (X2) และปัจจัยด้านจิตใจ (X4) กับปัจจัย
ด้านทรัพยากร (X3) และปัจจัยด้านเศรษฐกิจ (X2) กับปัจจัยด้านเทคโนโลยีภูมิปัญญาท้องถิ่น
(X1) ( r = .741, r = .642, r = .603, r=.567, r = .484 และr = .459, ตามลำดับ)
แสดงว่า การดำเนินงานจัดการอย่างเป็นขั้นเป็นตอน มีการวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการ
อย่างแท้จริงของหมู่บ้าน มีความสัมพันธ์กับ การมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชนที่ได้เข้ามาร่วม
ปรึกษาหารือเพื่อกำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาหมู่บ้าน เช่นเดียวกับ ความเป็น
ปึกแผ่นของสังคม การอยู่ร่วมกัน ความรักสมัครสมานสามัคคีของคนในหมู่บ้าน มีความสัมพันธ์
กับการมีน้ำใจให้ความช่วยเหลือ การเสียสละที่มีให้แก่กัน เช่นเดียวกับ ความผูกพันเชื่อมโยง
ของคนในหมู่บ้าน ความพร้อมเพียงกันในการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม มีความสัมพันธ์กับ
การตัดสินใจของสมาชิกเข้ามามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมร่วมกัน เช่นเดียวกับการใช้ทรัพยากร
อย่างคุ้มค่ามีการป้องกันปรับปรุงบำรุงรักษา มีความสัมพันธ์กับ การมีรายได้ที่เพียงพอต่อการ
เลี้ยงดูตนเองและครอบครัว เช่นเดียวกับการมีจิตใจที่รู้จักการประหยัดและการประมาณตน
มีความสัมพันธ์กับการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า และการยอมรับและการนำความรู้
วิธีการต่าง ๆ มาใช้ได้อย่างเหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นและศักยภาพของตน มีความสัมพันธ์กับ
การมีรายได้อย่างเพียงพอบนพื้นฐานความสามารถของตนเอง
ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวพยากรณ์กับตัวเกณฑ์ ที่มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่
0.05 มีจำนวนทั้งสิ้น 7 ตัว เรียงลำดับความสัมพันธ์จากมากไปหาน้อย ได้แก่
ปัจจัยด้านจิตใจ (X4) ปัจจัยด้านการจัดการ (X7)ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วม (X6) ปัจจัยด้านสังคม
(X5) ปัจจัยด้านทรัพยากร (X3) ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ (X2) และปัจจัยด้านเทคโนโลยีภูมิปัญญา
ท้องถิ่น (X1) ( r = .531, r =.522, r =.500, r =.423, r =.421, r =.339, r =.262
ตามลำดับ) แสดงว่า บุคคลที่มีจิตใจที่เอื้อต่อการพึ่งตนเอง มีระบบการจัดการในการดำเนินชีวิต
ได้อย่างมีศักยภาพ มีความตระหนักในการมีส่วนร่วม ให้ความสำคัญต่อการเป็นปึกแผ่นของ
สังคม รู้จักรักษาใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและเหมาะสม มีอาชีพและรายได้ที่เพียงพอต่อการดำรง
ชีวิตและเลี้ยงดูครอบครัว รู้จักการนำเอาเทคโนโลยีภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่าง
สมดุล มีความสัมพันธ์กับ การเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในจังหวัดสมุทรสาคร
63
ตอนที่ 2 การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณระหว่างตัวพยากรณ์และ
ตัวเกณฑ์
จากการนำตัวพยากรณ์ทั้ง 7 ตัวมาทำการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นบันได ซึ่งทำให้
เกิดกลุ่มตัวพยากรณ์ หรือกลุ่มปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง จังหวัด
สมุทรสาคร กลุ่มของตัวพยากรณ์หรือกลุ่มของปัจจัยดังกล่าว จัดอยู่ในรูปของสมการซึ่งเรียกว่า
สมการถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาดังแสดงในตารางที่ 6
ตารางที่ 6 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R ) ค่าดัชนีพยากรณ์ (R2) และค่า
ดัชนีพยากรณ์ที่เพิ่มขึ้น (R2 Change)
ตัวพยากรณ์ R R2 R2 Change
X4
0.531 0.282 0.279
X4 X7
0.595 0.354 0.349
จากตารางที่ 6 แสดงให้เห็นว่า ตัวพยากรณ์ที่มีผลกระทบเชิงเส้นตรงกับการเป็นหมู่บ้าน
เศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองมีจำนวน 2 ตัว คือ ปัจจัยด้านจิตใจ และ ปัจจัยด้านการจัดการ และ
ตัวพยากรณ์ทั้ง 2 ตัวนี้สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชน
พึ่งตนเองได้ร้อยละ 35.40 และมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.595
ตอนที่ 3 ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณของตัวพยากรณ์กับตัวเกณฑ์
ตารางที่ 7 ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณของตัวพยากรณ์ทั้ง 2 ตัวต่อตัวเกณฑ์
Model SS df MS F Sig.
Regression 21.639 2 10.819
Residual 39.449 241 0.164
Total 61.087 243
66.098 .000
จากตารางที่ 7 พบว่า มีตัวพยากรณ์ทั้งหมด 2 ตัว ที่มีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจ
ชุมชนพึ่งตนเอง ดังรายละเอียดในตารางที่ 8
64
^
^
ตารางที่ 8 การถดถอยพหุคูณของตัวพยากรณ์ทั้ง 2 ตัวต่อตัวเกณฑ์
Unstandardized
Coefficients
Standardized
ตวั แปร Coefficients
b SE.b

t Sig.
Constant 2.169 0.195 11.145 .000
X4
0.306 0.055 0.348 5.539 .000
X7
0.154 0.030 0.325 5.180 .000
จากตารางที่ 8 ตัวพยากรณ์ทั้ง 2 ตัว มีผลต่อตัวเกณฑ์ ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่
0.05 ซึ่งตัวพยากรณ์ทั้ง 2 ตัวได้แก่ ปัจจัยด้านจิตใจ และปัจจัยด้านการจัดการ มีผลต่อการเป็น
หมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง ซึ่งสามารถเขียนเป็นสมการแสดงความสัมพันธ์ได้ดังนี้
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ
Y = 2.169 + 0.306 x4 + 0.154 x7
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน
Z = 0.348 x4 + 0.325 x7
65
ผลการทดสอบสมมติฐานข้อที่ 1-7
สมมติฐานข้อที่ 1 ปัจจัยด้านเทคโนโลยีภูมิปัญญาท้องถิ่นมีผลต่อการเป็นหมู่บ้าน
เศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในจังหวัดสมุทรสาคร
ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยด้านเทคโนโลยีภูมิปัญญาท้องถิ่นไม่มีผลต่อการเป็นหมู่บ้าน
เศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในจังหวัดสมุทรสาคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และมี
ความสัมพันธ์ทางบวกในระดับค่อนข้างต่ำกับการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในจังหวัด
สมุทรสาคร โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.262
สมมติฐานข้อที่ 2 ปัจจัยด้านเศรษฐกิจมีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชน
พึ่งตนเองในจังหวัดสมุทรสาคร
ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยด้านเศรษฐกิจไม่มีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชน
พึ่งตนเองในจังหวัดสมุทรสาคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และมีความสัมพันธ์ทาง
บวกในระดับค่อนข้างต่ำกับการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในจังหวัดสมุทรสาคร โดย
มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.339
สมมติฐานข้อที่ 3 ปัจจัยด้านทรัพยากรมีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชน
พึ่งตนเองในจังหวัดสมุทรสาคร
ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยด้านทรัพยากรไม่มีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชน
พึ่งตนเองในจังหวัดสมุทรสาคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และมีความสัมพันธ์ทาง
บวกในระดับปานกลางกับการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในจังหวัดสมุทรสาคร โดยมี
ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.421
สมมติฐานข้อที่ 4 ปัจจัยด้านจิตใจมีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
ในจังหวัดสมุทรสาคร
ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยด้านจิตใจมีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองใน
จังหวัดสมุทรสาคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
66
สมมติฐานข้อที่ 5 ปัจจัยด้านสังคมมีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชน
พึ่งตนเองในจังหวัดสมุทรสาคร
ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยด้านสังคมไม่มีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
ในจังหวัดสมุทรสาคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และมีความสัมพันธ์ทางบวกใน
ระดับปานกลางกับการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในจังหวัดสมุทรสาคร โดยมีค่า
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.423
สมมติฐานข้อที่ 6 ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมมีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชน
พึ่งตนเองในจังหวัดสมุทรสาคร
ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมไม่มีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชน
พึ่งตนเองในจังหวัดสมุทรสาคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และมีความสัมพันธ์ทาง
บวกในระดับปานกลางกับการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในจังหวัดสมุทรสาคร โดยมี
ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.500
สมมติฐานข้อที่ 7 ปัจจัยด้านการจัดการมีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชน
พึ่งตนเองในจังหวัดสมุทรสาคร
ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัย ด้า นการจัดการมีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชน
พึ่งตนเองในจังหวัดสมุทรสาคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ในการวิจัยเรื่อง “ปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง กรณีศึกษา
จังหวัดสมุทรสาคร” โดยดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยตนเองกับประชากรที่เป็นหัวหน้าครอบครัว
จาก 3 หมู่บ้าน มีจำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม 244 คน ในระหว่างวันที่ 26 พฤษภาคม ถึง วันที่
30 มถิ นุ ายน 2545 คดิ เปน็ รอ้ ยละ 100 เมื่อนาํ ไปวิเคราะหข์ อ้ มูลดว้ ยโปรแกรม SPSS for Windows
มีผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่จะนำเสนอตามลำดับดังนี้
1. การวเิคราะหส์ ภาพของปจั จยั ที่มีคาดว่าจะมีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
2. การวิเคราะห์สภาพการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
3. การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
1.การวิเคราะห์สภาพของปัจจัยที่คาดว่าจะมีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
จังหวัดสมุทรสาคร
จากการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชน
พึ่งตนเองทั้ง 7 ด้าน ได้แก่ เทคโนโลยีภูมิปัญญาท้องถิ่น เศรษฐกิจ ทรัพยากร จิตใจ สังคม
การมีส่วนร่วม การจัดการ โดยทำการคำนวณหาสถิติค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
แสดงผลดังตารางที่ 3
ตารางที่ 3 สภาพของปัจจัยที่คาดว่าจะมีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
จังหวัดสมุทรสาคร
ปัจจัย X S.D. แปลความ
1. ด้านจิตใจ 4.16 0.57 มาก
2. ด้านสังคม 3.99 0.68 มาก
3. ด้านการมีส่วนร่วม 3.49 0.92 ปานกลาง
4. ด้านการจัดการ 3.21 1.06 ปานกลาง
5. ด้านเศรษฐกิจ 3.16 0.75 ปานกลาง
6. ด้านเทคโนโลยีภูมิปัญญาท้องถิ่น 3.16 0.67 ปานกลาง
7. ด้านทรัพยากร 3.10 0.84 ปานกลาง
รวม 3.47 0.78 ปานกลาง
59
จากตารางที่ 3 ในภาพรวมแต่ละปัจจัยที่คาดว่าจะมีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชน
พึ่งตนเอง จังหวัดสมุทรสาคร พบว่า ปัจจัยด้านจิตใจ และปัจจัยด้านสังคม มีค่าระดับอยู่ใน
ระดับมาก ส่วนปัจจัยด้านการมีส่วนร่วม ปัจจัยด้านการจัดการ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยด้าน
เทคโนโลยีภูมิปัญญาท้องถิ่น และปัจจัยด้านทรัพยากร มีค่าระดับอยู่ในระดับปานกลาง
2.การวิเคราะห์สภาพการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง จังหวัดสมุทรสาคร
ได้ทำการรวบรวมข้อมูล เพื่ออธิบายถึงสภาพการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งมีตัวชี้วัดในแต่ละด้าน ได้แก่ ครอบครัวมีความอบอุ่น เศรษฐกิจสมดุล
องค์กรชุมชนเข้มแข็ง และการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยทำการคำนวณหาสถิติ
ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดังแสดงผลในตารางท ี่ 4
ตารางที่ 4 สภาพการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง จังหวัดสมุทรสาคร
สภาพการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง ∼X S.D. แปลความ
1. ครอบครัวมีความอบอุ่น 4.12 0.69 เห็นด้วยอย่างยิ่ง
2. เศรษฐกิจมีความสมดุล 3.66 0.77 เห็นด้วยอย่างยิ่ง
3. องค์กรชุมชนเข้มแข็ง 4.01 0.62 เห็นด้วยอย่างยิ่ง
4. การจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน 3.91 0.65 เห็นด้วยอย่างยิ่ง
รวม 3.94 0.50 เห็นด้วยอย่างยิ่ง
จากตารางที่ 4 พบว่า สภาพการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง จังหวัดสมุทรสาคร
โดยภาพรวมและแต่ละด้านมีค่าระดับอยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่งทุกตัวชี้วัด ได้แก่ ครอบครัวมี
ความอบอุ่น เศรษฐกิจมีความสมดุล องค์กรชุมชนเข้มแข็ง และการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
60
^
^
a
3.การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจ
ชุมชนพึ่งตนเอง
สมมติฐานในการวิจัยครั้งนี้ ทำการทดสอบด้วยการใช้สถิติการวิเคราะห์การถดถอย
พหุคูณแบบขั้นบันได (Stepwise Multiple Regression Analysis)
เพื่อความเหมาะสมในการวิเคราะห์ข้อมูล จึงได้กำหนดสัญลักษณ์ที่ใช้แทนตัวแปรอิสระ
ตัวแปรตาม และค่าที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้
X1 แทน ปัจจัยด้านเทคโนโลยีภูมิปัญญาท้องถิ่น
X2 แทน ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ
X3 แทน ปัจจัยด้านทรัพยากร
X4 แทน ปัจจัยด้านจิตใจ
X5 แทน ปัจจัยด้านสังคม
X6 แทน ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วม
X7 แทน ปัจจัยด้านการจัดการ
Y แทน สภาพการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
r แทน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์
R แทน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ
R2 แทน ดัชนีการพยากรณ์หรือประสิทธิภาพการพยากรณ์
SE.b แทน ความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน
≤ แทน สัมประสิทธิ์การถดถอยมาตรฐาน
แทน ค่าคงที่ของสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ
b แทน สัมประสิทธิ์การถดถอยของตัวพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ
Y แทน คะแนนการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองที่ได้จากการพยากรณ์
ในรูปคะแนนดิบ
Z แทน คะแนนการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองที่ได้จากการพยากรณ์
ในรูปคะแนนมาตรฐาน
61
ในการทดสอบสมมติฐานการวิจัยเพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชน
พึ่งตนเอง จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งจะนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งเป็น 3 ตอนดังนี้
ตอนที่ 1 การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างกันของตัวพยากรณ์และ
ระหว่างตัวพยากรณ์กับตัวเกณฑ์
การวิเคราะห์ขั้นตอนนี้ ใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน เพื่อหาสหสัมพันธ์ระหว่างกัน
ของตัวพยากรณ์หรือปัจจัยทั้ง 7 ด้าน ได้แก่ เทคโนโลยีภูมิปัญญาท้องถิ่น (X1) เศรษฐกิจ (X2)
ทรัพยากร (X3) จิตใจ (X4) สังคม (X5) การมีส่วนร่วม (X6) การจัดการ (X7) และ
ความสัมพันธ์ระหว่างตัวพยากรณ์ทั้ง 7 ตัว กับการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง (Y)
ดังแสดงผลในตารางท ี่ 5 ดังนี้
ตารางที่ 5 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างกันของตัวแปรพยากรณ์และค่าสัมประสิทธิ์
สหสัมพันธ์ระหว่างตัวพยากรณ์กับตัวเกณฑ์
ตัวพยากรณ์ X1 X2 X3 X4 X5 X6 X7 Y
X1 1
X2 .484* 1
X3 .559* .567* 1
X4 .334* .343* .459* 1
X5 .299* .316* .448* .642* 1
X6 .356* .428* .538* .596* .603* 1
X7 .348* .495* .566* .565* .584* .741* 1
Y .262* .339* .421* .531* .423* .500* .522* 1
*มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
62
จากตารางที่ 5 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างกันของตัวปัจจัยบางตัวมีความสัมพันธ์
ทางบวกอยู่ในระดับค่อนข้างสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 (r อยู่ระหว่าง .61-.80) นั้นคือ
ปัจจัยด้านการจัดการ (X7) กับปัจจัยด้านการมีส่วนร่วม (X6) และปัจจัยด้านสังคม (X5) กับ
ปัจจัยด้านจิตใจ (X4) ส่วนปัจจัยด้านอื่นๆ ซึ่งมีความสัมพันธ์กันทางบวกอยู่ในระดับปานกลาง
( r อยู่ระหว่าง .41-.60) ได้แก่ ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วม (X6) กับปัจจัยด้านสังคม (X5)
ปัจจัยด้านทรัพยากร (X3) กับปัจจัยด้านเศรษฐกิจ (X2) และปัจจัยด้านจิตใจ (X4) กับปัจจัย
ด้านทรัพยากร (X3) และปัจจัยด้านเศรษฐกิจ (X2) กับปัจจัยด้านเทคโนโลยีภูมิปัญญาท้องถิ่น
(X1) ( r = .741, r = .642, r = .603, r=.567, r = .484 และr = .459, ตามลำดับ)
แสดงว่า การดำเนินงานจัดการอย่างเป็นขั้นเป็นตอน มีการวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการ
อย่างแท้จริงของหมู่บ้าน มีความสัมพันธ์กับ การมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชนที่ได้เข้ามาร่วม
ปรึกษาหารือเพื่อกำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาหมู่บ้าน เช่นเดียวกับ ความเป็น
ปึกแผ่นของสังคม การอยู่ร่วมกัน ความรักสมัครสมานสามัคคีของคนในหมู่บ้าน มีความสัมพันธ์
กับการมีน้ำใจให้ความช่วยเหลือ การเสียสละที่มีให้แก่กัน เช่นเดียวกับ ความผูกพันเชื่อมโยง
ของคนในหมู่บ้าน ความพร้อมเพียงกันในการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม มีความสัมพันธ์กับ
การตัดสินใจของสมาชิกเข้ามามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมร่วมกัน เช่นเดียวกับการใช้ทรัพยากร
อย่างคุ้มค่ามีการป้องกันปรับปรุงบำรุงรักษา มีความสัมพันธ์กับ การมีรายได้ที่เพียงพอต่อการ
เลี้ยงดูตนเองและครอบครัว เช่นเดียวกับการมีจิตใจที่รู้จักการประหยัดและการประมาณตน
มีความสัมพันธ์กับการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า และการยอมรับและการนำความรู้
วิธีการต่าง ๆ มาใช้ได้อย่างเหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นและศักยภาพของตน มีความสัมพันธ์กับ
การมีรายได้อย่างเพียงพอบนพื้นฐานความสามารถของตนเอง
ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวพยากรณ์กับตัวเกณฑ์ ที่มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่
0.05 มีจำนวนทั้งสิ้น 7 ตัว เรียงลำดับความสัมพันธ์จากมากไปหาน้อย ได้แก่
ปัจจัยด้านจิตใจ (X4) ปัจจัยด้านการจัดการ (X7)ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วม (X6) ปัจจัยด้านสังคม
(X5) ปัจจัยด้านทรัพยากร (X3) ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ (X2) และปัจจัยด้านเทคโนโลยีภูมิปัญญา
ท้องถิ่น (X1) ( r = .531, r =.522, r =.500, r =.423, r =.421, r =.339, r =.262
ตามลำดับ) แสดงว่า บุคคลที่มีจิตใจที่เอื้อต่อการพึ่งตนเอง มีระบบการจัดการในการดำเนินชีวิต
ได้อย่างมีศักยภาพ มีความตระหนักในการมีส่วนร่วม ให้ความสำคัญต่อการเป็นปึกแผ่นของ
สังคม รู้จักรักษาใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและเหมาะสม มีอาชีพและรายได้ที่เพียงพอต่อการดำรง
ชีวิตและเลี้ยงดูครอบครัว รู้จักการนำเอาเทคโนโลยีภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่าง
สมดุล มีความสัมพันธ์กับ การเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในจังหวัดสมุทรสาคร
63
ตอนที่ 2 การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณระหว่างตัวพยากรณ์และ
ตัวเกณฑ์
จากการนำตัวพยากรณ์ทั้ง 7 ตัวมาทำการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นบันได ซึ่งทำให้
เกิดกลุ่มตัวพยากรณ์ หรือกลุ่มปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง จังหวัด
สมุทรสาคร กลุ่มของตัวพยากรณ์หรือกลุ่มของปัจจัยดังกล่าว จัดอยู่ในรูปของสมการซึ่งเรียกว่า
สมการถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาดังแสดงในตารางที่ 6
ตารางที่ 6 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R ) ค่าดัชนีพยากรณ์ (R2) และค่า
ดัชนีพยากรณ์ที่เพิ่มขึ้น (R2 Change)
ตัวพยากรณ์ R R2 R2 Change
X4
0.531 0.282 0.279
X4 X7
0.595 0.354 0.349
จากตารางที่ 6 แสดงให้เห็นว่า ตัวพยากรณ์ที่มีผลกระทบเชิงเส้นตรงกับการเป็นหมู่บ้าน
เศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองมีจำนวน 2 ตัว คือ ปัจจัยด้านจิตใจ และ ปัจจัยด้านการจัดการ และ
ตัวพยากรณ์ทั้ง 2 ตัวนี้สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชน
พึ่งตนเองได้ร้อยละ 35.40 และมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.595
ตอนที่ 3 ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณของตัวพยากรณ์กับตัวเกณฑ์
ตารางที่ 7 ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณของตัวพยากรณ์ทั้ง 2 ตัวต่อตัวเกณฑ์
Model SS df MS F Sig.
Regression 21.639 2 10.819
Residual 39.449 241 0.164
Total 61.087 243
66.098 .000
จากตารางที่ 7 พบว่า มีตัวพยากรณ์ทั้งหมด 2 ตัว ที่มีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจ
ชุมชนพึ่งตนเอง ดังรายละเอียดในตารางที่ 8
64
^
^
ตารางที่ 8 การถดถอยพหุคูณของตัวพยากรณ์ทั้ง 2 ตัวต่อตัวเกณฑ์
Unstandardized
Coefficients
Standardized
ตวั แปร Coefficients
b SE.b

t Sig.
Constant 2.169 0.195 11.145 .000
X4
0.306 0.055 0.348 5.539 .000
X7
0.154 0.030 0.325 5.180 .000
จากตารางที่ 8 ตัวพยากรณ์ทั้ง 2 ตัว มีผลต่อตัวเกณฑ์ ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่
0.05 ซึ่งตัวพยากรณ์ทั้ง 2 ตัวได้แก่ ปัจจัยด้านจิตใจ และปัจจัยด้านการจัดการ มีผลต่อการเป็น
หมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง ซึ่งสามารถเขียนเป็นสมการแสดงความสัมพันธ์ได้ดังนี้
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ
Y = 2.169 + 0.306 x4 + 0.154 x7
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน
Z = 0.348 x4 + 0.325 x7
65
ผลการทดสอบสมมติฐานข้อที่ 1-7
สมมติฐานข้อที่ 1 ปัจจัยด้านเทคโนโลยีภูมิปัญญาท้องถิ่นมีผลต่อการเป็นหมู่บ้าน
เศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในจังหวัดสมุทรสาคร
ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยด้านเทคโนโลยีภูมิปัญญาท้องถิ่นไม่มีผลต่อการเป็นหมู่บ้าน
เศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในจังหวัดสมุทรสาคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และมี
ความสัมพันธ์ทางบวกในระดับค่อนข้างต่ำกับการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในจังหวัด
สมุทรสาคร โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.262
สมมติฐานข้อที่ 2 ปัจจัยด้านเศรษฐกิจมีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชน
พึ่งตนเองในจังหวัดสมุทรสาคร
ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยด้านเศรษฐกิจไม่มีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชน
พึ่งตนเองในจังหวัดสมุทรสาคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และมีความสัมพันธ์ทาง
บวกในระดับค่อนข้างต่ำกับการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในจังหวัดสมุทรสาคร โดย
มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.339
สมมติฐานข้อที่ 3 ปัจจัยด้านทรัพยากรมีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชน
พึ่งตนเองในจังหวัดสมุทรสาคร
ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยด้านทรัพยากรไม่มีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชน
พึ่งตนเองในจังหวัดสมุทรสาคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และมีความสัมพันธ์ทาง
บวกในระดับปานกลางกับการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในจังหวัดสมุทรสาคร โดยมี
ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.421
สมมติฐานข้อที่ 4 ปัจจัยด้านจิตใจมีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
ในจังหวัดสมุทรสาคร
ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยด้านจิตใจมีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองใน
จังหวัดสมุทรสาคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
66
สมมติฐานข้อที่ 5 ปัจจัยด้านสังคมมีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชน
พึ่งตนเองในจังหวัดสมุทรสาคร
ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยด้านสังคมไม่มีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
ในจังหวัดสมุทรสาคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และมีความสัมพันธ์ทางบวกใน
ระดับปานกลางกับการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในจังหวัดสมุทรสาคร โดยมีค่า
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.423
สมมติฐานข้อที่ 6 ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมมีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชน
พึ่งตนเองในจังหวัดสมุทรสาคร
ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมไม่มีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชน
พึ่งตนเองในจังหวัดสมุทรสาคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และมีความสัมพันธ์ทาง
บวกในระดับปานกลางกับการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในจังหวัดสมุทรสาคร โดยมี
ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.500
สมมติฐานข้อที่ 7 ปัจจัยด้านการจัดการมีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชน
พึ่งตนเองในจังหวัดสมุทรสาคร
ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัย ด้า นการจัดการมีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชน
พึ่งตนเองในจังหวัดสมุทรสาคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
บทที่ 5
สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
จากปัญหาทางสังคมที่ประเทศไทยประสบและปรากฏให้เห็นมาเนิ่นนานจวบจนกระทั่ง
ปัจจุบันที่ก่อเกิดรุมเร้าสังคมไทยให้มีความวิบัติเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาวิกฤติทาง
เศรษฐกิจ ปัจเจกชน ครอบครัว และชุมชนอ่อนแอ ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองและพึ่งตนเองได้
เพราะเนื่องจากการพัฒนาที่มุ่งเน้นไปในทางวัตถุและการบริโภคนิยม จึงเป็นจุดอ่อนที่ทำให้เกิด
ปัญหาที่สำคัญอื่น ๆ ในสังคมติดตามมา เช่น ปัญหายาเสพติด ปัญญาอาชญากรรม ปัญหาโสเภณี
ซึ่งเป็นเรื่องที่ทุกคน ทุกชุมชน และทุกชนชั้นในสังคมจะต้องตระหนักร่วมกันรับผิดชอบ และ
ช่วยกันแก้ไข โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักนโยบาย วิสัยทัศน์และทิศทางการบริหารบ้านเมืองของ
รัฐบาลที่ต้องผนึกกำลังต่อสู้และขจัดปัญหาเหล่านี้ให้ทุเลาเบาบางหรือพยายามให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด
เพื่อความสงบสุขของสังคมไทยภายใต้ความเข้มแข็งและการพัฒนาอย่างยั่งยืนดังเช่นอดีต และ
ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงห่วงใยในพสกนิกรของพระองค์
ทรงมีพระราชดำริให้คนไทยทุกคนต้องหันกลับมาพึ่งพาตนเอง รู้จักการดำรงชีวิตแบบพอเพียง
ใช้ภูมิปัญญาและทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นให้เกิดประโยชนอ์ ยา่ งคุม้ คา่ เพอื่ ทคี่ นไทยและประเทศ
ไทยสามารถพึ่งตนเองได้อย่างมีอิสระเสรี และมีความเป็นไท โดยไม่ต้องไปผูกติดพึ่งพิงบุคคล
อื่นหรือชาติอื่นๆ เพื่อความอยู่รอดของประเทศชาติภายใต้ระบบทุนนิยมอย่างที่เคยเป็น ดังนั้น
การวิจัยเรื่อง “ปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง : กรณีศึกษา จังหวัด
สมุทรสาคร” จึงมีวัตถุประสงค์หลัก ดังนี้
1. เพื่อศึกษาสภาพการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในจังหวัดสมุทรสาคร
2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองของหมู่บ้าน
ในจังหวัดสมุทรสาคร
3. เพื่อแสวงหาแนวทางการปรับปรุงหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองให้ดียิ่งขึ้น
สรุปผลการวิจัย
ในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัย ได้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัยเพื่อค้นหาปัจจัยที่มีผล
ต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในจังหวัดสมุทรสาคร โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ทำการ
ศึกษาทั้งสิ้น 244 คน จาก 3 หมู่บ้าน ซึ่งลงภาคสนามเพื่อเก็บข้อมูล ตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม
ถึง วันที่ 30 มิถุนายน 2545
68
เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่สร้างและพัฒนาโดยตัวผู้วิจัยเอง ซึ่งมีทั้งหมด 3
ส่วน คือ
1. แบบสอบถามเกี่ยวกับการปฏิบัติ โดยใช้การประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ
ซึ่งเป็นระดับการวัดประเภทช่วง ได้แก่ 5 มากที่สุด 4 มาก 3 ปานกลาง 2 น้อย 1 น้อยที่สุด
มีทั้งหมด 7 ด้าน จำนวนข้อคำถาม 39 ข้อ คือ
1.1 คำถามด้านเทคโนโลยีและภูมิปัญญาท้องถิ่น 6 ข้อ
1.2 คำถามด้านเศรษฐกิจ 5 ข้อ
1.3 คำถามด้านทรัพยากร 6 ข้อ
1.4 คำถามด้านจิตใจ 5 ข้อ
1.5 คำถามด้านสังคม 6 ข้อ
1.6 คำถามด้านการมีส่วนร่วม 5 ข้อ
1.7 คำถามด้านการจัดการ 6 ข้อ
2. แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง โดย
ใช้การประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งเป็นระดับการวัดประเภทช่วงเช่นเดียวกัน ได้แก่ 5 เห็นด้วย
อย่างยิ่ง 4 เห็นด้วย 3 ไม่แน่ใจ 2 ไม่เห็นด้วย 1 ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง โดยแบ่งตัวชี้วัดการเป็น
หมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง ออกเป็น 4 ตัวชี้วัด มีข้อคำถามทั้งหมด 18 ข้อ ได้แก่
2.1 ครอบครัวมีความอบอุ่น 5 ข้อ
2.2 เศรษฐกิจสมดุล 4 ข้อ
2.3 องค์กรชุมชนเข้มแข็ง 4 ข้อ
2.4 การจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน 5 ข้อ
3. แบบสอบถามปลายเปิดเพื่อแสดงความคิดเห็น จำนวน 4 ข้อ ซึ่งเป็นการเปิดกว้างโดย
ให้ผู้ตอบได้แสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
ในการสร้างเครื่องมือนั้น ผู้วิจัยได้สร้างและพัฒนาจากการศึกษาและรวบรวมเอกสารที่
เกี่ยวข้องมาเป็นแนวทางในการสร้างแบบสอบถามด้วยตนเอง และได้ทำการตรวจสอบคุณภาพ
ของเครื่องมือและดำเนินการแก้ไขตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญและทรงคุณวุฒิทั้ง 3 ท่าน และนำ
ไปทดลองใช้กับหมู่บ้านที่มีลักษณะใกล้เคียงกับหมู่บ้านที่ต้องการทำวิจัย จำนวน 100 คน โดย
ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามตอนที่ 1 เป็นคำถามเกี่ยวกับการปฏิบัติของปัจจัยที่มีผลต่อ
การเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองมีค่าเท่ากับ 0.93 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม
ตอนที่ 2 เป็นคำถามเกี่ยวกับความคิดเห็นต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองโดยมีค่า
ความเชื่อมั่นที่ได้เท่ากับ 0.82
69
การดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง พร้อมทั้งสังเกต
ลักษณะสภาพทั่วๆ ไปเพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น และสามารถทำการเก็บแบบ
สอบถามได้ทั้งหมด 244 ฉบับ ซึ่งเป็นไปตามขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่ได้กำหนดไว้เบื้องต้น
การวิเคราะห์ข้อมูลครั้งนี้ วิเคราะห์ด้วยเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป
SPSS for Windows โดยใช้ระดับความเชื่อมั่น ϒ = 0.05 เป็นเกณฑ์ในการยอมรับหรือปฏิเสธ
สมมติฐานในการวิจัย และใช้ค่าสถิติต่างๆ ดังนี้
1. สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วยค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเพื่อการวิเคราะห์
สภาพของปัจจัยที่คาดว่าจะมีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองและสภาพการเป็น
หมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในจังหวัดสมุทรสาคร
2. การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างกันของตัวพยากรณ์และระหว่างตัว
พยากรณ์กับตัวเกณฑ์ การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณระหว่างตัวพยากรณ์และ
ตัวเกณฑ์ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณของตัวพยากรณ์ต่อตัวเกณฑ์
อภิปรายผลการวิจัย
จากการศึกษาครั้งนี้สามารถสรุปประเด็นสำคัญที่จะนำเสนอได้ดังนี้
1. หมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในจังหวัดสมุทรสาครทั้ง 3 หมู่บ้าน มีค่าเฉลี่ยของ
ปัจจัยด้านจิตใจ ปัจจัยด้านสังคม และสภาพการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองอยู่ใน
ระดับมาก และมีค่าเฉลี่ยของปัจจัยด้านการมีส่วนร่วม ปัจจัยด้านการจัดการ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ
ปัจจัยด้านเทคโนโลยีภูมิปัญญาท้องถิ่น และปัจจัยทรัพยากรอยู่ในระดับปานกลาง โดยที่ปัจจัย
ด้านจิตใจมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด และ ปัจจัยด้านทรัพยากรมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด
2. การหาตัวพยากรณ์ที่มีผลกระทบเชิงเส้นตรงกับการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกจิ ชมุ ชนพงึ่ ตนเอง
พบว่ามีจำนวน 2 ตัว คือ ปัจจัยด้านจิตใจ และ ปัจจัยด้านการจัดการ ตัวพยากรณ์ทั้ง 2 ตัวนี้
เป็นตัวพยากรณ์สำคัญหรือมีประสิทธิภาพในการทำนายแนวโน้มการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชน
พึ่งตนเอง ได้ตามลำดับ ซึ่งสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจ
ชุมชนพึ่งตนเองได้ร้อยละ 35.40 และมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.595 ที่ระดับ
นยั สาํ คญั ทางสถติ ิ 0.05 ส่วนตัวพยากรณ์อื่นมีค่าสหสัมพันธ์พหุคูณเพิ่มขึ้น อยา่ งไมม่ นี ยั สาํ คญั ทาง
สถิติแสดงว่า ตัวพยากรณ์ที่ดีที่มีศักภาพในการพยากรณ์แนวโน้มการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชน
พึ่งตนเองได้ คือ ปัจจัยด้านจิตใจและปัจจัยด้านการจัดการจึงคำนวณหาน้ำหนักของความสำคัญ
ของการพยากรณ์และสร้างเป็นสมการพยากรณ์โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยของตัวแปรอิสระ
ในรูปคะแนนดิบและในรูปคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้
70
^
^
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ
Y = 2.169 + 0.306 x4 + 0.154 x7
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน
Z = 0.348 x4 + 0.325 x7
จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า
ปัจจัยด้านจิตใจ มีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในจังหวัดสมุทรสาคร
ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ซึ่งสอดคล้องสมมติฐานที่ตั้งไว้
ผลการศึกษาที่สอดคล้องนี้ ตรงกับแนวคิดทฤษฎีความสัมพันธ์ของบุคคล ของ ไฮเดอร์
(จีรพรรณ กาญจนจิตรา 2538 : 17 อ้างถึง Heider 1958) สัญญา สัญญาวิวัฒน์ (2538 : 38)
แนวคิดการจัดระเบียบทางสังคมของ สุพัตรา สุภาพ (2539 : 3 – 9) และผลงานวิจัยของ
พูนศักดิ์ ฐานิการประดิษฐ์ (2538 : บทคัดย่อ) ที่ชี้ให้เห็นว่าการพึ่งตนเองของชาวชนบท
แต่ละแห่งสามารถพึ่งตนเองได้มาจากความเพียรและความเชื่อมั่นในความสามารถของตนที่จะ
พัฒนาตนเองได้ และที่สำคัญปัจจัยด้านจิตใจ การมีน้ำใจ ซึ่งมีผลต่อโครงสร้างทางเศรษฐกิจ
ชุมชนของหมู่บ้านให้มีผลต่อการพึ่งตนเองได้สูง ซึ่งจะช่วยพัฒนาชีวิตให้มีความเจริญก้าวหน้ามาก
ยิ่งขึ้น การพึ่งตนเองทางด้านจิตใจนั้นเป็นรากฐานของการพึ่งตนเองด้านอื่น ๆ เช่น สังคม
เศรษฐกิจ และเทคโนโลยีอีกด้วย ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ค้นพบว่าระบบการช่วยเหลือ และวิถีแห่งน้ำใจ
ที่คอยช่วยเหลือแบ่งปัน การยึดมั่นในหลักศีลธรรมจรรยา การมีจิตใจที่เข้มแข็งและกล้าหาญใน
การต่อสู้กับอุปสรรคและปัญหาด้วยการแสวงหาความรู้เพื่อตนเองตลอดเวลา ล้วนเป็นแก่นสาร
สาระที่สำคัญที่สุดที่ทำให้ปัจเจกชนและชุมชนทั้ง 3 หมู่บ้านนี้มีศักยภาพในการพึ่งตนเองได้สูง
และที่พบได้ในเชิงประจักษ์ได้แก่ ชาวบ้านทุกคนมีความรู้สึกเพียงพอและพึงพอใจกับสภาพของ
ตนที่มีอยู่และเชื่อมั่นว่าทุกวันนี้สามารถพึ่งตนเองได้ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญของการเริ่มต้นแห่งการมี
วิถีชีวิตแบบพอเพียง ความเพียงพอในความต้องการตามความจำเป็นและคุณค่าของชีวิต การเข้า
ใจตนเองมากขึ้นและเข้าใจในกระบวนการดำรงชีวิตมากขึ้น นาํ สงิ่ ทมี่ อี ยเู่ดิมในตนเองและครอบครัว
มาทำให้เกิดประโยชน์และมีคุณค่าแก่ทุกๆ คนเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขได้ นั้นคือ สิ่งที่
ทำให้ครอบครัวมีความเข้มแข็ง หมู่บ้านมีความสงบสุขร่มเย็น ปัจจัยด้านจิตใจจึงเป็นยุทธศาสตร์
สำคัญในการพัฒนาชุมชนและสังคม และจำเป็นอย่างยิ่งที่จะเสริมสร้างให้ประชาชนและชุมชนมี
คุณลักษณะทางจิตใจที่เอื้อต่อการช่วยเหลือและพึ่งตนเองพร้อมที่จะให้การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
โดยยึดแนวพระราชดำรัสและเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ตามพระราชประสงค์ให้ชาวไทยทุกคนมีการดำเนินวิถีชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีความ
71
อุตสาหะพากเพียร มีจิตใจเมตตา มีความพยายามพึ่งพาและช่วยเหลือตนเอง และพร้อมที่จะ
บำเพ็ญประโยชน์ให้เกิดแก่ส่วนรวม อันเป็นรากฐานที่สำคัญในการสร้างให้ชุมชนเข้มแข็งและ
พึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน
การจัดการ มีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชน พึ่งตนเองในจังหวัดสมุทรสาคร
ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
ผลการศึกษาที่สอดคล้องนี้เพราะการจัดการเป็นกระบวนการในการพัฒนา และยุทธศาสตร์
ในการจัดการองค์กรทุกระดับ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎี การจัดการของ อองรี ฟาโยล
(สัมพันธ์ ภู่ไพบูลย์ 2542 : 31-35 อ้างถึง Henri Fayol) และจากหลักการพัฒนาชุมชนแบบ
การจัดการ ซึ่งเป็นกระบวนการและยุทธวิธีการพัฒนาสังคม ของ สัญญา สัญญาวิวัฒน์ (2541 :
15 -16) และสอดคล้องกับการวิจัยของ ปราณี ขัตติยศ (2538) ปาริชาติ วลัยเสถียร และคณะ
(2541) กล่าวว่า การส่งเสริมให้ชุมชนรู้จักศักยภาพ คือ การให้ชุมชนรู้จักตนเอง ทำให้ชุมชน
สามารถพึ่งตนเองได้ และการพัฒนาที่ยั่งยืนนั้นจะต้องอยู่บนพื้นฐานของการดำเนินการจัดการ
โดยชาวบ้าน ในการวิจัยครั้งนี้พบว่า ประชากรที่เป็นหัวหน้าครอบครัวมีความสามารถในการ
จัดการตนเอง ครอบครัว และชุมชนอยู่ในระดับปานกลาง มีการวิเคราะห์ถึงสาเหตุแห่งปัญหา
ความต้องการที่แท้จริงของตนเองหรือบุคคลอื่น รู้จักการวางแผน การทำงานอย่างเป็นขั้นตอน
มีการพยายามติดตามและประเมินผลตามที่ต้องการ รวมทั้งความพยายามในการทำงานด้วยความ
รอบคอบ ระมัดระวังเพื่อให้งานหรือกิจกรรมนั้นได้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้
การมีความกล้าในการแสดงความคิดเห็นและระบุความต้องการที่แท้จริงให้แก่บุคคลอื่น หรือ
หน่วยงานการพัฒนาท้องถิ่นได้รับทราบ รู้จักการนำความรู้ประสบการณ์ของตนเองและความ
สัมพันธ์เชิงสร้างสรร ระหว่างภายในและภายนอกชุมชนมาเชื่อมโยงให้เกิดประโยชน์ทั้งตนเอง
และหมู่บ้านได้อย่างสมดุลและยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาชุมชนใน
ระดับรากหญ้าคือการพัฒนาคนให้มีความเข้มแข็ง เพื่อส่งผลไปสู่การเป็นหมู่บ้านที่มีศักยภาพ
และการเป็นหมู่บ้านที่สามารถพึ่งตนเองได้ในลำดับต่อไป
ผลการวิจัยครั้งนี้ได้ยืนยันว่า ปัจจัยด้านการจัดการเป็นปัจจัยเหตุที่สำคัญที่มีผลต่อการเป็น
หมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ประชาชนเกิดการเรียนรู้ให้เข้าใจ
และนำไปสู่การปฏิบัติตามอย่างเป็นระบบ กระบวนการ ขั้นตอน และนำความรู้และประสบการณ์
ด้านการจัดการมาใช้เป็นยุทธศาสตร์สำคัญที่จะเสริมสร้างให้เกิดขึ้นในชุมชนและสังคมไทย โดยมี
วิธีการทำให้ประชาชนและชุมชนรู้จักการวิเคราะห์ตนเอง รู้จักหาความต้องการที่แท้จริง หรือ
ต้นเหตุแห่งปัญหาและแนวทางที่จะแก้ไขได้ด้วยตนเอง ภายใต้วิธีการจัดทำเวทีชาวบ้านให้เป็น
รูปธรรมที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ควรส่งเสริมให้ประชาชนเกิดกระบวนการเรียนรู้ในการ
พัฒนาและการแก้ปัญหาไปพร้อม ๆ กัน
72
ผลการทดสอบสมมติฐานสรุปได้ตามลำดับดังนี้
สมมติฐานข้อที่ 1 ปัจจัยด้านเทคโนโลยีภูมิปัญญาท้องถิ่นมีผลต่อการเป็นหมู่บ้าน
เศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในจังหวัดสมุทรสาคร พบว่า ปัจจัยด้านเทคโนโลยีภูมิปัญญาท้องถิ่น
ไม่มีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในจังหวัดสมุทรสาคร ที่ระดับนัยสำคัญทาง
สถิติ 0.05
ผลการศึกษา พบว่าปัจจัยด้านเทคโนโลยีภูมิปัญญาท้องถิ่นมีความสัมพันธ์กับการเป็น
หมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในจังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งพอจะชี้ได้ว่า หมู่บ้านที่มีเทคโนโลยี
ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาก จะมีการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในจังหวัดสมุทรสาครมีมาก
และที่ไม่สอดคล้องตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ทั้งนี้เป็นเพราะ ภาวะการณ์ปัจจุบันอยู่ในช่วงของการ
เปลี่ยนผ่านนวัตกรรม เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามามีอิทธิพลในประเทศและท้องถิ่น กำลังมีการนำ
มาปรับให้เป็นรูปแบบที่เหมาะสม พบว่า เทคโนโลยีภูมิปัญญาท้องถิ่นมีรากฐานมาจากการพึ่งตน
เองทางดา้ นจติ ใจ ภายใต้กระบวนการนำความรู้ดั้งเดิมที่สั่งสมและการวิเคราะห์เลอื กแฟน้ วทิ ยาการ
สมัยใหม่มาปรับใช้กับสภาพแวดล้อมและทรัพยากรในท้องถิ่นตนได้อย่างรังสรรค์และมีดุลยภาพ
เทคโนโลยีและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ชาวบ้านมีอยู่นั้น เป็นลักษณะผสมผสานระหว่างเทคโนโลยี
นวตกรรมสมัยใหม ่ เช่นเครื่องฉีดพ่นสารเคมี เครื่อง คัดแยกขนาด ภมู ปิ ญั ญาทอ้ งถนิ่ ทมี่ อี ยเู่ ดมิ
เช่น การสานเสื่อกก สื่อเตย การเย็บตับจาก และภูมิปัญญาชาวบ้านที่รับเข้ามาสู่ท้องถิ่นตน เช่น
การทำน้ำลูกยอ การทำดอกไม้จันทน์ การทำปุ๋ยชีวภาพ การใช้ว่านสมุนไพรเป็นยาปราบศัตรูพืช
และพบว่าประชาชนรุ่นปัจจุบันได้รับการ ถ่ายทอดการสานเสื่อด้วยต้นกกต้นเตย และการนำ
ต้นจากมาเย็บเป็นตับจากเพื่อใช้มุงหลังคาบ้าน หรือทำประโยชน์ อื่นๆ และเป็นอาชีพซึ่งก่อให้
เกิดรายได้ กำลังลดน้อยลงเรื่อยๆ ซึ่งในปัจจุบันนี้มีเหลืออยู่ประมาณ 5% เท่านั้นจาก 3 หมู่บ้าน
แต่ยังมีชาวบ้านบางคนที่มีความตระหนักและพยายามที่จะอนุรักษ์และนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์
เหมือนที่เคยมีแต่ก่อน โดยมีระบบความคิดที่จะนำทรัพยากร และภูมิปัญญาที่มีอยู่ในท้องถิ่น
ของตนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพ และสิ่งแวดล้อมใกล้ๆ ตัวเพื่อให้เกิดความยั่งยืนอย่าง
ต่อเนื่องตลอดเวลา สำหรับลักษณะการนำเทคโนโลยีการเกษตรนำเข้ามาเพื่อใช้ในเชิงธุรกิจแบบ
ทุนนิยม เป็นการผลิตเพื่อการจำหน่าย จึงต้องอาศัยเงินทุนและสารเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิต นอกจาก
นี้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของปุ๋ยชีวภาพ ให้ผลไม่ชัดเจนและรวดเร็วเหมือนปุ๋ยเคมี ต้องใช้
เวลาทดลองนาน บางครั้งทำให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี เกษตรกรส่วนใหญ่ทั้ง 3 หมู่บ้านจึงให้
ความสำคัญแก่สารเคมีมากกว่า ซึ่งเป็นการสวนทางกับแนวคิดการมีวิถีชีวิตแบบพอเพียงที่ทำขึ้น
เพื่อความพออยู่พอกิน
เทคโนโลยีภูมิปัญญาท้องถิ่นไม่มีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองใน
จังหวัดสมุทรสาคร เพราะภูมิปัญญาชาวบ้านที่เหมาะสมกับท้องถิ่นตนกำลังจะสูญสิ้นไปพร้อมๆ
กับการหมดไปของทรัพยากรในท้องถิ่นที่เคยมีอย่างอุดมสมบูรณ์ กอปรกับระบบทุนนิยมและ
73
กระแสโลกาภิวัฒน์ที่มีอิทธิพล ก่อให้เกิดกระบวนการยอมรับนวตกรรมของคนในหมู่บ้านที่พยาม
แสวงหาเลือกเฟ้น ทดลอง และการรับเข้ามาแทนที่ภูมิปัญญาดั้งเดิมในท้องถิ่นจึงเป็นภาวะแห่ง
การใช้เวลาในการลองผิดลองถูก เพื่อหาภูมิปัญญาใหม่มาทดแทนที่สามารถสนองตอบความ
ต้องการได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องอย่างแท้จริง
สมมติฐานข้อที่ 2 ปัจจัยด้านเศรษฐกิจมีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตน
เองในจังหวัดสมุทรสาคร พบว่า ปัจจัยด้านเศรษฐกิจไม่มีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชน
พึ่งตนเองในจังหวัดสมุทรสาคร ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
ผลการศึกษาครั้งนี้พบว่าปัจจัยด้านเศรษฐกิจมีความสัมพันธ์กับการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจ
ชุมชนพึ่งตนเองในจังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งพอจะชี้ได้ว่า หมู่บ้านที่มีสภาพเศรษฐกิจดีมีความมั่นคง
มาก จะมีการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในจังหวัดสมุทรสาครมีมาก ผลของการศึกษา
ที่ไม่สอดคล้องนี้เพราะ สภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันอยู่ในช่วงขาลงและเกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจที่
ยังแก้ไขปัญหาได้ไม่ดีนักในประเทศไทย ผลมาจากการพัฒนาเศรษฐกิจเพียงด้านเดียว โดยไม่มี
การผสมผสานกับสภาพอันแท้จริงของประเทศไทย ในการวิจัยครั้งนี้พบว่า ประชาชนทั้ง 3 หมู่
บ้าน ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจค่อนข้างดี รู้จักประหยัดการออมและลดการใช้จ่ายในสิ่งที่ไม่จำเป็น
มีพอสมควร ครอบครัวที่มีฐานะมักจะมีอาชีพเสริมเพื่อให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้นรู้จักการสร้างสิ่งของ
ที่มีความจำเป็นต่อการอุปโภคและบริโภคภายในครัวเรือน สำหรับครอบครัวที่มีฐานะค่อนข้าง
ยากจน มีรายได้หลักจากการรับจ้างทำงานในสวนซึ่งเป็นรายได้ที่ไม่แน่นอน ไม่มีอาชีพเสริมแต่
มีวิถีชีวิตแบบทุนนิยมนั้นคือไม่รู้จักการเป็นผู้สร้างสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตเลี้ยงดูตนเองหรือ
รู้จักการใช้จ่ายพอประมาณ หรือการเก็บออม ชาวบ้านที่ยากจนยังคงใช้เงินเพื่อการซื้ออาหารซึ่งมี
อยู่แล้วรอบบริเวณบ้านมารับประทาน แทนการปลูกไว้เพื่อกันแล้วส่วนที่เหลือจำนำไปขาย ทั้งนี้
เพราะมีคนจากภายนอกนำสินค้าเข้ามาขายสม่ำเสมอทั้งสินค้าอุปโภคบริโภคและสินค้าเพื่อการเกษตร
กอปรกับนโยบายรัฐบาลเร่งรัดให้ทุกหมู่บ้านทำโครงการกองทุนหมู่บ้านทำให้ประชากรทั้ง 3 หมู่
บ้านส่วนใหญ่กำลังมีภาระหนี้สินเพิ่มขึ้นกับโครงการกองทุนหมู่บ้านซึ่งมีมูลค่าอยู่ระหว่าง 20,000
บาทขึ้นไป ซึ่งเป็นเงินที่กู้มาเพื่อนำมาซื้อปุ๋ยเคมีและยาปราบศัตรูพืชในฤดูกาลหน้า การออมเงิน
ในหมู่บ้านลดต่ำลง และในขณะที่พืชผลทางการเกษตรไม่ค่อยได้ราคา โดยเฉพาะมะนาว องุ่น มี
ราคาตกต่ำมาก เพราะมีผลไม้ชนิดอื่นๆ ออกมาพร้อมๆ กัน ประชาชนในหมู่บ้านยังไม่มีวิธี
การแปรรูป หรือถนอมอาหารเพื่อให้มูลค่าของผลิตผลนั้นตกต่ำไปกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งเป็น
ปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสภาพทางเศรษฐกิจในแต่ละครอบครัวมาตลอด นอกจากนี้ยังพบว่ามี
ช่องว่างระหว่างคนมีฐานะกับคนยากจนค่อนข้างสูง ผู้ที่มีฐานะยากจนจะเช่าที่ดินจากญาติพี่น้อง
เพื่อปลูกที่อยู่อาศัย หรือเป็นที่ทำกินและมีรายได้ประจำจากการรับจ้างทำงานตามสวนต่าง ๆ
74
ผลการศึกษาครงั้ น ี้ พบว่าปจั จัยทางด้านเศรษฐกจิ ไมม่ ผี ลตอ่ การเป็นหมูบ่ า้ นเศรษฐกิจ ชมุ ชนพงึ่ ตนเองใน
จังหวัดสมุทรสาคร เพราะโอกาสและการมีอาชีพเสริมที่ทำให้เกิดรายได้โดยใช้วัตถุดิบและทรัพยากรภายในท้องถิ่น
ยงั มไี มท่ วั่ ถงึ เกดิ ความแตกตา่ งระหว่างคนรวยกบั คนจน ภาวะการออมเงนิ ของประชากรในหมูบ่ า้ นมีจำนวนลดน้อย
ถอยลง เพราะมีภาระหนี้สินจากการกู้ยืมเงินในโครงการกองทุนหมู่บ้านเพิ่มมากขึ้น
สมมติฐานข้อที่ 3 ปัจจัยด้านทรัพยากรมีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชน
พึ่งตนเองในจังหวัดสมุทรสาคร พบว่า ปัจจัยด้านทรัพยากรไม่มีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตน
เองในจังหวัดสมุทรสาคร ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
ผลการศึกษา พบว่าปัจจัยด้านทรัพยากรท้องถิ่นมีความสัมพันธ์กับการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
ในจังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งพอจะชี้ได้ว่า หมู่บ้านที่มีทรัพยากรท้องถิ่นมีมาก จะมีการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชน
พึ่งตนเองในจังหวัดสมุทรสาครมีมาก ผลการศึกษาที่ไม่สอดคล้องตามสมมติฐานที่ตั้งไว้เนื่องจากการที่ประชากรใน
หมู่บ้านมีความตระหนักและให้ความความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของตนเองให้มีความสมดุลกับธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม มีการพึ่งพาอาศัยอย่างเกื้อกูลซึ่งกันและกัน รู้จักการนำทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นที่มีอยู่มาใช้
ประโยชน์อย่างคุ้มค่า แต่การสร้างขึ้นใหม่เพื่อทดแทนมีไม่สูงมากนัก ปัจจุบันมุ่งใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างผิดวิธีและมี
ผลเสยี ต่อทรัพยากรสิ่งแวดล้อม เชน่ การทาํ นากงุ้ นาํ้ ใกลเ้คยี งกบั พนื้ ทที่ าํ การเพาะปลกู ผลกระทบเพราะน้าํ เสยี จาก
แม่น้ำท่าจีนที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม การปล่อยน้ำเสียของเล้าหมูจากจังหวัดนครปฐม มลภาวะทางอากาศที่เกิด
จากโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้พืชผลเสียหาย ซึ่งเป็นปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถแก้ไขได้แล้ว และยังมีปัจจัยภายในที่
เกิดจากคนในหมู่บ้านเป็นผู้ทำลายทรัพยากรทางน้ำด้วยการปล่อยน้ำเสียจากบ่อกุ้ง การทิ้งเศษขยะมูลฝอยลงในแหล่ง
น้ำลำคลองของชาวบ้านบางคน โดยปราศจากการยับยั้งและว่ากล่าวตักเตือนกันเองเนื่องจากไม่ต้องการให้เกิดความ
ขดั แยง้ และอทิ ธพิ ล
แมน้ วา่ ทรพั ยากรทมี่ อี ยมู่ อี ดุ มสมบรู ณ ์ แตป่ ระชาชนและชมุ ชนไมส่ ามารถประสานความรว่ มมอื กันในการ
อนุรักษ์ ป้องกันทรัพยากรในท้องถิ่นของตนให้มีอยู่ได้ตลอดไป จากเหตุผลดังกล่าวจึงทำให้การศึกษาครั้งนี้พบว่า
ปัจจยั ด้านทรพั ยากรไมม่ ผี ลตอ่ การเป็นหมูบ่ า้ นเศรษฐกิจ ชมุ ชนพงึ่ ตนเองในจงั หวดั สมทุ รสาคร
สมมติฐานข้อที่ 4 ปัจจัยด้านจิตใจมีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองใน
จังหวัดสมุทรสาคร พบว่า ปัจจัยด้านจิตใจมีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง ในจังหวัด
สมุทรสาคร ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
ผลการศกึ ษาทีส่ อดคลอ้ ง แสดงใหเ้หน็ ถึงความสาํ คัญของจิตใจ การทาํ กิจกรรมใดๆ ตอ้ งเกดิ จากจติ ใจที่
ต้องการเกื้อกูลกัน จากการวิจัยที่สอดคล้องนี้เป็นเพราะทุกคนมีความเชื่อมั่นในความสามารถของตนที่จะพัฒนาและ
พรอ้ มที่จะพึง่ ตนเองให้ได้ กอปรการมนี า้ํ ใจทมี่ ใี หแ้ กก่ นั โดยมไิ ดเ้ลอื กเฉพาะทเี่ ป็นญาติหรือพี่น้อง จึงสง่ ผลให้
ปัจจัยด้านจิตใจมีผลต่อการเป็นหมู่บ้านชุมชนพึ่งตนเองดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น
75
สมมติฐานข้อที่ 5 ปัจจัยด้านสังคมมีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
ในจังหวัดสมุทรสาคร พบว่า ปัจจัยด้านสังคมไม่มีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตน
เองในจังหวัดสมุทรสาคร ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
ผลการศึกษา พบว่าปัจจัยด้านสังคมมีความสัมพันธ์กับการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชน
พึ่งตนเองในจังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งพอจะชี้ได้ว่า หมู่บ้านที่มีความเป็นปึกแผ่นทางสังคมมาก จะมี
การเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในจังหวัดสมุทรสาครมีมาก ผลการศึกษาที่ไม่สอดคล้อง
ตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ทั้งนี้เพราะ สภาพวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนทั้ง 3 หมู่บ้าน มี
ความสัมพันธ์กันในระดับเครือญาติ ภายใต้ขนบธรรมเนียมประเพณี และภาวะผู้นำซึ่งมีความ
สัมพันธ์ดังกล่าวจึงมีอยู่ภายใต้โครงสร้างสังคมแบบเดิม การรวมกลุ่มกันเกิดขึ้นเพราะผู้นำได้รับ
การสืบทอดมาจากบรรพบุรุษเป็นผู้กำหนดบทบาทหน้าที่ให้คนในชุมชนก้าวเดินไปในทิศทาง
เดียวกัน จากโครงสร้างของสังคม ประวัติการตั้งถิ่นฐานของชนชาติเชื้อสายชาวรามัญที่อพยพมา
ตั้งหลักแหล่งถิ่นฐานของหมู่ 2 ตำบลเจ็ดริ้ว และ หมู่ 2 ตำบลบ้านเกาะ ชาวบ้านทั้ง 2 หมู่บ้านจึง
เป็นเครือญาติพี่น้องที่สนิทสนมชิดใกล้กัน มีสภาพทางสังคมที่ไม่แตกต่างกันมาก และกลุ่มที่เป็น
ญาติพี่น้องก็จะช่วยกันส่งเสริมเพราะเชื่อมั่นว่าเมื่อญาติพี่น้องได้เป็น ผู้นำย่อมเป็นที่พึ่งพาอาศัย
ช่วยสนับสนุนซึ่งกันและกันได้ ซึ่งประเด็นดังกล่าวนี้ทำให้เกิดความรู้สึกไม่เท่าเทียมกัน หรือที่
เรียกว่าการ “เลือกที่รัก มักที่ชัง” ขึ้นในสังคมนั้น อันเป็นประเด็นหนึ่งที่จะทำเกิดความ ขัดแย้ง
จึงเป็นปัญหาและอุปสรรคต่อการร่วมมือที่แท้จริง และบั่นทอนการเป็นปึกแผ่นของสังคมในชุมชน
จากการศึกษาครั้งนี้จึงทำให้ปัจจัยสังคมไม่ส่งผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชน
พึ่งตนเอง เพราะมีผลจากสภาพสังคมที่ประกอบขึ้นด้วยความรู้สึกผูกพันธ์ความเป็นครอบครัว
เครือญาติซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก การที่ผู้นำเป็นที่พึ่งพาและมีบุญคุณต่อกัน ทำให้บางครั้ง
มีผลต่อบุคคลอื่นที่ไม่ใช้ญาติได้รับการปฏิบัติที่แตกต่างกันเกิดขึ้นในหมู่บ้านจึงเกิดการแบ่งพรรค
แบ่งพวกในบางครั้งซึ่งส่งผลกระทบต่อการมีส่วนร่วมในลำดับต่อไป
สมมติฐานข้อที่ 6 ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมมีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชน
พึ่งตนเองในจังหวัดสมุทรสาคร พบว่า ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมไม่มีผลต่อการเป็นหมู่บ้าน
เศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในจังหวัดสมุทรสาคร ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
ผลการศึกษา พบว่าปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมมีความสัมพันธ์กับการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจ
ชุมชนพึ่งตนเองในจังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งพอจะชี้ได้ว่า หมู่บ้านที่มีส่วนร่วมมาก จะมีการเป็นหมู่
บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในจังหวัดสมุทรสาครมีมาก ผลการศึกษาที่ไม่สอดคล้องตามสมมติ
ฐานที่ตั้งไว้นี้เพราะ การที่ประชาชนจะเข้าไปมีส่วนร่วมในเรื่องต่างๆ บางครั้งขึ้นกับฐานะทาง
เศรษฐกิจ ความต้องการ และการเข้าถึงสิทธิประโยชน์ที่แตกต่างกันระหว่างญาติพี่น้องของผู้นำ
กับชาวบ้านคนอื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การตัดสินใจให้ความร่วมมือของชาว
บ้านจะมีมากหรือน้อย ส่งผลไปสู่ขบวนพัฒนาและการแก้ไขปัญหาไม่ค่อยมีประสิทธิภาพเพราะ
76
ขาดการมีส่วนร่วมในการระดมความคิดและข้อเสนอแนะเพื่อให้ได้มาซึ่งความต้องการที่แท้จริง
ของหมู่บ้าน อาจเกิดความเกรงใจเพราะความเป็นญาติจึงไม่กล้าที่จะแสดงความคิดเห็นที่ขัดแย้ง
กับผู้นำ การที่ผู้นำไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น จึงเป็นสาเหตุและอุปสรรคของการมี
ส่วนร่วม และทำให้การมีส่วนร่วมนั้นไม่มีความสัมพันธ์ต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่ง
ตนเองในจังหวัดสมุทรสาคร
สมมติฐานข้อที่ 7 ปัจจัยด้านการจัดการมีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตน
เองในจังหวัดสมุทรสาคร พบว่า ปัจจัยด้านการจัดการมีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่ง
ตนเองในจังหวัดสมุทรสาคร ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
ผลการศึกษาที่สอดคล้องนี้ แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการจัดการมีศักยภาพในการ
เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองเพราะชาวบ้านและหมู่บ้านรู้จักตนเองและรู้ถึงความต้องการ
ของตนเองและหมู่บ้านดังที่ได้กล่าวมาแล้วในข้างต้น ซึ่งประเมินได้จากการที่ประชากรรู้จักดำเนิน
การโครงการเยาวชนต้านภัยยาเสพติดที่ประสบความสำเร็จและได้รับการยอมรับจากภายนอก
ผลการวิจัยด้วยวิธีการทางสถิติครั้งนี้ พบว่าปัจจัยทั้ง 7 ด้าน มีผลทั้งสอดคล้องและไม่
สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ นั้นคือ ปัจจัยด้านการจิตใจ และปัจจัยด้านการจัดการมีผลที่
สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ จึงทำให้ปัจจัยทั้ง 2 ด้านนี้ได้รับการยกฐานะในเรื่องของความ
น่าเชื่อถือให้สูงมากขึ้นในทางทฤษฎีส่วนตัวแปรอื่นไม่สอดคล้อง หรือไม่มีอำนาจมากพอที่จะ
ทำนายแนวโน้มการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง แต่มีความสัมพันธ์ที่สำคัญกับการเป็น
หมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในจังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งสามารถพิจารณาได้ว่ามีสาเหตุมาจาก
ตัวแปรอิสระและตัวแปรตามมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่างๆ นั้น เมื่อพิจารณาตัวพยากรณ์
ที่ไม่มีประสิทธิภาพพอในการทำนายทั้งหมด พบว่ามีค่าสหสัมพันธ์พหุคูณเพิ่มขึ้นอย่างไม่มีนัย
สำคัญทางสถิติ แสดงว่าตัวพยากรณ์ที่เพิ่มขึ้นเหล่านี้ให้ผลน้อยมาก จึงไม่ควรนำมาใช้เป็นตัว
พยากรณ์และมีค่าสหสัมพันธ์ไม่สูงนัก แต่ยังพอเห็นได้ว่าตัวแปรอิสระเหล่านี้มีแนวโน้มจะมีความ
สัมพันธ์เชิงเส้นกับตัวแปรตามได้ เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างที่นำมาศึกษามีสภาพทางสังคมและ
สิ่งแวดล้อมที่ไม่แตกต่างกันและมีขนาดไม่ใหญ่มากนัก ดังนั้นจึงควรมีการศึกษาตัวแปรต่าง ๆ
เหล่านี้ในสถานที่อื่นโดยมีขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดและความแตกต่างกันมากกว่านี้ รวมทั้ง
มีการให้คำจำกัดความตัวแปรต่างๆ เหล่านั้นให้กระทัดรัดและสื่อความหมายได้เม่นยำยิ่งขึ้น
77
ศักยภาพในการพึ่งตนเองและความต้องการของประชากร
จากหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในจังหวัดสมุทรสาคร
ข้อ 1. บุคคลที่กลุ่มประชากรยึดถือเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติตามจากการวิจัยครั้งนี้ พบ
ว่าประชากรทั้ง 3 หมู่บ้าน ยึดถือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นแบบอย่าง เพราะทรงเป็นนัก
พัฒนาที่มีคุณธรรม มีความรู้ความเข้าใจสภาพสังคมและชุมชนอย่างแท้จริง ซึ่งเห็นได้จากการที่
พระองค์ทรงชี้แนะให้ประชาชนนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำรงชีวิต และทรงเป็นผู้
มีประสบการณ์ที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ นอกจากนี้พระองค์ยังเป็นผู้ให้ความรู้แก่ประชาชนให้เป็น
คนดีรู้จักทำมาหากิน และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและครอบครัว บุคคลที่ชาวบ้านให้การ
ยอมรับอีกท่านหนึ่งได้แก่ ฯพณฯ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันเป็นผู้ที่
สามารถแก้ปัญหาได้อย่างรอบคอบและพัฒนาบ้านเมืองให้มีความสงบสุขมากยิ่งขึ้น ส่วนผู้นำ
ท้องถิ่น ชาวบ้านให้การยอมรับผู้นำชุมชน ครูอาจารย์ สามี นักพัฒนาชุมชน ญาติพี่น้อง และ
พระสงฆ์ ทั้งนี้เพราะเป็นผู้คอยช่วยเหลือชาวบ้านโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน มีความซื่อสัตย์
ข้อ 2. สิ่งที่ภาคภูมิใจที่ทำให้หมู่บ้านมีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไปคือ การมีขนบ
ธรรมเนียมประเพณี ศิลปวัฒนธรรม มีการปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เช่น ประเพณีการแข่งหนู
ของชาวบ้านเกาะในวันสงกรานต์ มีทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ มีผลิตผลจากการทำสวนผลไม้ที่มี
ชื่อเสียง ระบบสาธารณูปโภคในหมู่บ้านมีพร้อม ชาวบ้านทุกคนพยายามสร้างฐานะด้วยตนเองด้วย
ความขยันทำกิน มีความรักสามัคคี และมีชีวิตอย่างพอเพียง
ข้อ 3. สิ่งที่ให้หมู่บ้านแห่งนี้มีความความสงบสุข และน่าอยู่เช่นทุกวันนี้เพราะบารมีของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทุกคนนำหลักพระพุทธศาสนามาใช้ในการดำรงชีวิต บ้านใกล้
เรือนเคียงเป็นคนดีมีศีล 5 และเคารพสิทธิของผู้อื่น ทุกคนหันมาประกอบอาชีพให้มีรายได้
อย่างต่อเนื่อง ไม่เที่ยวเตร่ และทำหน้าที่ของตนเองเป็นอย่างดี แต่ละคนมีความพึงพอใจ และ
ยอมรับในสภาพของตนเองที่เป็นอยู่ การมีวิถีชีวิตชาวชนบทจึงมีแต่ความสุขสงบ มีการสื่อสารที่ดี
สามารถไว้เนื้อเชื่อใจกันได้เหมือนเป็นญาติสนิทเป็นพี่น้องที่สนิทสนมกัน มีการร่วมแรงร่วมใจ
จากทุกส่วนของหมู่บ้าน ได้แก่ ผู้นำ ตนเอง วัด และ โรงเรียน และที่สำคัญคือทุกหมู่บ้านมีคือ
ความรักสามัคคีและเป็นหมู่บ้านปลอดจากยาเสพติด
78
ข้อ 4. ข้อเสนอแนะในการพัฒนาหมู่บ้านให้มีความเจริญก้าวหน้าตลอดไป ได้แก่ การ
ส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการพัฒนา มีความอดทนและยอมรับฟังความคิดเห็น
ของผู้คนอื่นบ้าง ไม่ควรให้ความสำคัญเฉพาะพวกพ้องของตน เพราะจะทำให้การแก้ไขปัญหาไม่
สามารถสำเร็จลุล่วงไปได้ ชาวบ้านทุกคนควรมีการพัฒนาตนเองก่อน และช่วยกันแสดงความคิด
เห็นในสิ่งที่ถูกต้อง ทุกคนควรร่วมมือกันสร้างความเป็นปึกแผ่นและความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นกับ
หมู่บ้านของตนและควรไปใช้สิทธิในการเลือกตั้งให้มากปัจจุบัน ผู้บริหารบางคนไม่ควรทุจริตใน
เงินงบประมาณที่ใช้ในการพัฒนาหมู่บ้านประจำปี ต้องการให้ผู้นำเป็นผู้ตอบสนองโครงการของ
หมู่บ้าน และควรมีการคัดเลือกโครงการที่มีความเหมาะสมกับสภาพและความต้องของหมู่บ้าน
ก่อนที่จะตัดสินใจรับโครงการใดๆ เข้ามาในหมู่บ้าน ควรมีการจัดประชาคมในเรื่องที่เป็นปัญหา
ใหญ่ของชาติ เช่น ปัญหา ยาเสพติด ควรมีการสนับสนุนด้านกีฬาหรือการเล่นดนตรีเพื่อเยาวชน
จะได้ห่างไกลจากยาเสพติด หน่วยราชการควรส่งเสริมกิจกรรมด้านการเกษตรอย่างจริงจัง ควร
สร้างโทรศัพท์สาธารณะ ถนนหนทางหรือสะพานข้ามในหมู่บ้านให้มีความสะดวกต่อการนำผลิต
ผลจากสวนออกสู่ตลาดได้มากยิ่งขึ้น ในหมู่บ้านควรมีห้องสมุดที่มีคุณภาพ มีเทคโนโลยีที่ทัน
สมัยและสามารถหาข้อมูลและทำการสื่อสารโดยผ่านระบบอินเตอร์เน็ท (Internet) ชาวบ้านควร
รวมกลุ่มกันเพื่อต่อรองราคาผลิตผลทางการเกษตร และป้องกันการเอาเปรียบจากพ่อค้าคนกลาง
หน่วยราชการเข้ามามีส่วนช่วยในการทำให้ราคาสินค้าทางการเกษตรมีความเหมาะสมมากขึ้น
ราชการควรส่งเสริมให้ประชาชนมีโอกาสในการเรียนรู้ มีเงินทุนเพื่อสร้างอาชีพเสริมเพิ่มมากขึ้น
เพื่อให้ชาวบ้านเด็กและเยาวชนรู้จักการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และเพิ่มรายได้ให้กับตนเอง
และควรนำกฎหมายมาบังคับใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อทรัพยากรสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งโรงงานอุตสาหกรรมที่ทำให้เกิดปัญหามลภาวะเป็นพิษทั้งทางน้ำและทางอากาศ หมู่บ้าน
เป็นสังคมระดับเล็กของชุมชน รัฐและ ชุมชนต้องช่วยกันแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่นตนด้วย
ความร่วมมือและสามัคคีกันจะสามารถแก้ปัญหาที่แท้จริงได้ ความเจริญก้าวหน้าของสังคมก็จะ
เกิดตามมา
79
สรุปผลการทดสอบสมมติฐาน
สมมติฐานข้อที่ 1 ปัจจัยด้านเทคโนโลยภี มู ปิ ัญญาทอ้ งถนิ่ มผี ลตอ่ การเป็นหมบู่ า้ นศรษฐกจิ
ชุมชนพึ่งตนเองในจังหวัดสมุทรสาคร
ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยด้านเทคโนโลยีภูมิปัญญาท้องถิ่นไม่มีผลต่อการเป็นหมู่บ้าน
เศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในจังหวัดสมุทรสาครที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
สมมติฐานข้อที่ 2 ปัจจัยด้านเศรษฐกิจมีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
ในจังหวัดสมุทรสาคร
ผลการวิจัย พบว่าปัจจัยด้านเศรษฐกิจไม่มีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
ในจังหวัดสมุทรสาครที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
สมมติฐานข้อที่ 3 ปัจจัยด้านทรัพยากรมีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองใน
จังหวัดสมุทรสาคร
ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยด้านทรัพยากรไม่มีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
ในจังหวัดสมุทรสาครที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
สมมติฐานข้อที่ 4 ปัจจัยด้านจิตใจ มีผลต่อการเป็นหมบู่ า้ นเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองใน
จังหวัดสมุทรสาคร
ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยด้านจิตใจมีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในจงั หวดั
สมุทรสาครที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
สมมติฐานข้อที่ 5 ปัจจัยด้านสังคม มีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองใน
จังหวัดสมุทรสาคร
ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยด้านสังคมไม่มีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองใน
จังหวัดสมุทรสาครที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
สมมติฐานข้อที่ 6 ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมมีผลต่อการเป็นหมู่บา้ นเศรษฐกจิ ชมุ ชนพึ่งตนเอง
ในจังหวัดสมุทรสาคร
ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมไม่มีผลต่อการเป็นหมู่บา้ นเศรษฐกจิ ชมุ ชนพึ่งตน
เองในจังหวัดสมุทรสาครที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
80
สมมติฐานข้อที่ 7 ปัจจัยด้านการจัดการมีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
ในจังหวัดสมุทรสาคร
ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยด้านการจัดการมีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
ในจังหวัดสมุทรสาครที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
ข้อเสนอแนะ
ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยมีของเสนอแนะต่าง ๆ เป็น 2 ส่วน ดังนี้
1. ข้อเสนอแนะเพื่อการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์
2. ข้อเสนอแนะเพื่อการทำวิจัยครั้งต่อไป
1. ข้อเสนอแนะเพื่อการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์
ผลที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ ทำให้พบแนวทางสำหรับผู้กำหนด นโยบาย แผน โครงการ
สามารถนำไปประยุกต์การทำรูปแบบและวิธีสร้างเสริมการพัฒนา คน ชุมชน และการเป็นหมู่บ้าน
เศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองอันเป็นรากฐานแห่งความมั่นคงชาติอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคตนั้น ควร
จะให้ความตระหนักในประเด็นต่าง ๆ เหล่านี้
1. ใช้ปัจจัยด้านจิตใจ และการจัดการ เป็นยุทธศาตร์ในการพัฒนาคน ชุมชน สังคม
และประเทศ
2. ปัจจัยด้านจิตใจและปัจจัยด้านการจัดการ มีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชน
พึ่งตนเองอยู่ในระดับสูง ดังนั้น รัฐควรส่งเสริมและมีนโยบายหลักในการสร้างคนและพัฒนาคน
ด้วยจิตใจที่เอื้อต่อการพึ่งตนเอง อันเป็นแก่นสารที่สำคัญในการสร้างแผนการพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ โดยมุ่งเน้นการสร้างจิตใจที่เอื้ออาทรต่อกันให้เกิดขึ้นในทุกสถาบัน โดยเฉพาะ
สถาบันครอบครัว และสถาบันการศึกษาภายใต้ขบวนการขัดเกลาทางสังคมโดยเริ่มจากครอบครัว
ที่พ่อแม่ควรเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ลูก โรงเรียนควรมุ่งเน้นให้นักเรียน นักศึกษารู้จักการพึ่งตนเอง
ได้ในทุก ๆ ด้าน เพราะเมื่อทุกคนมีจิตใจที่ต้องการพึ่งตนเองได้แล้ว ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นก็จะได้
รับการแก้ไขได้ด้วยตนเอง ส่วนเงินเป็นปัจจัยที่ไม่สามารถแก้ปัญหาความยากจนให้หมดไปได้
อย่างถาวร การขจัดความยากจนอย่างถาวรนั้น จะเกิดขึ้นได้ในคนที่มีจิตใจที่เอื้อต่อการพึ่งตนเอง
3. การจัดการเป็นผลที่เกิดจากระบบและขบวนการคิด อันนำไปสู่ขบวนการกระทำเพื่อบรรลุ
เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่ต้องการ และเมื่อสร้างคนให้มีจิตใจที่เอื้อต่อการพึ่งตนเองได้แล้ว
ศักยภาพและความสามารถของปัจเจกชนก็จำเป็นที่จะต้องสร้างและปลูกฝังให้เกิดขึ้นกับสถาบัน
ครอบครัวและการศึกษา ซึ่งเป็นแม่แบบและตัวการสำคัญที่จะช่วยเปลี่ยนแปลงคน และสังคมเป็น
พร้อมๆ กันทุกเพศทุกวัย เพราะครอบครัวคือหน่วยที่เล็กที่สุดในสังคม ในขณะเดียวกันเป็น
สถาบันครอบครัวมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดมากบุคคลที่อยู่รวมกันในสถาบันอื่นๆ การเริ่มสร้างและ
81
พัฒนาให้รู้จักการจัดการชีวิตและปัญหาต่างๆ ของตนเอง ซึ่งสามารถเริ่มได้ที่ครอบครัว การ
ดำเนินการจัดการพัฒนาและสร้างคนให้มีศักยภาพได้นั้นรัฐควรส่งเสริมและสนับสนุนสถาบัน
ครอบครัวให้มีศักยภาพ โดยใช้กระแสและพลังจากสื่อมวลชนที่ให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไปอย่าง
กว้างขวาง เพื่อผลักดันให้เกิดขบวนการจัดการตนเองและครอบครัวเกิดขึ้น
4. ทุกสังคม ทุกชุมชน ย่อมมีความหลากหลายคนในแต่ละท้องถิ่น มีความสามารถและ
ศักยภาพและความต้องการที่แตกต่างกัน การที่นำแผนจากศูนย์กลางมาสู่ท้องถิ่นหรือจาก
เบื้องบนลงสู่เบื้องล่างนั้นไม่สามารถนำมาใช้ได้เลยทันที เพราะจะเป็นการนำงบประมาณสิ่งของ
มาให้ในชุมชนที่ไม่ต้องการทำให้เกิดการสูญเปล่า การสร้างแผน หรือ การนำแผนมาใช้ในหมู่บ้าน
นั้นควรมาจากความต้องการของชาวบ้านเอง ซึ่ง ณ ปัจจุบันนี้ชาวบ้านรู้จักตนเองมากขึ้น และรู้ถึง
ความต้องการของหมู่บ้านคืออะไรและรัฐมีสิ่งไหนสามารถสนับสนุนให้เขาเดินไปสู่จุดหมายปลาย
ทางได้ ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาแบบใหม่จะต้องเป็นการตัดชุดให้พอดีเหมาะสมกับบุคคลที่จะ
ต้องสวมใส่ มิใช่ตัดชุดไว้ขนาดเดียวเพื่อสวมใส่ได้ทุกคน
5. ผู้กำหนดนโยบายจะต้องรอบรู้ และเข้าใจอย่างบูรณาการรอบด้านและวิเคราะห์ศักย
ภาพในแต่ละด้านของหมู่บ้านได้ มีอะไรที่เป็นจุดแข็ง และจุดด้อย ควรเร่งระดม ส่งเสริมสิ่งที่เขามี
ที่เราเห็นว่ามีความเข้มแข็งนั้นเพื่อให้เขาเดินไปสู่ความสำเร็จที่ง่ายและรวดเร็ว เมื่อชาวบ้านมี
ความภาคภูมิใจในความสำเร็จ และมีกำลังใจที่จะต่อสู้และฝ่าฝันอุปสรรคและขวางหนามในงาน
พัฒนาลำดับต่อไปที่มีความสำคัญจำเป็น และมียากขึ้นกว่าเดิม
6. ทุกสังคมย่อมมีผู้นำและผู้นำของชุมชนมักจะเป็นที่พึ่งของคน ชุมชน และเป็นปัจจัยสำคัญ
ต่อทิศทางความเจริญก้าวหน้าของหมู่บ้าน เราจึงต้องสร้างคนที่ตัวผู้นำ และส่งเสริมสนับสนุนบท
บาทและการควบคุมชี้แนะผู้นำไปในทิศทางที่ควรเป็นอย่างถูกต้องและเหมาะสม
7. การจะสร้างให้คนมีคุณภาพ รู้จักการวิเคราะห์ คิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาเป็นนั้น ไม่
ใช่สิ่งที่เราจะสอนกันได้ แต่ทุกคนมีอยู่แล้วในตัวเอง เพียงแต่ว่าเขามีระบบการวิเคราะห์อยู่ในด้าน
ใด เช่น ด้านการดำรงชีวิต ด้านการประกอบอาชีพ ซึ่งจะต้องดึงสิ่งที่มีอยู่ใกล้ตัว หรืออยู่ในตัวเขา
ออกมาให้เขาสามารถนำมาใช้คิดหรือวิเคราะห์ได้ จึงจะส่งผลให้เป็นคนคุณภาพที่พึงประสงค์
8. ความร่วมมือ สามัคคี การมีส่วนร่วมจะเกิดขึ้นได้อย่างทั่วถึง จำเป็นต้องขจัดความไม่
เท่าเทียมกัน ความเป็นพวกพ้องกันออกไป
82
2. ข้อเสนอแนะเพื่อการทำวิจัยครั้งต่อไป
1. ตัวแปรอิสระและตัวแปรตามมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่าง ๆ แสดงให้เห็นว่า
ตัวแปรอิสระเหล่านี้มีแนวโน้มจะมีความสัมพันธ์เชิงเส้นกับตัวแปรตามได้ ดังนั้นจึงควรมีการ
ศึกษาตัวแปรต่างๆ เหล่านี้ในสถานที่อื่น โดยมีขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดและความแตกต่าง
กันมากกว่านี้ รวมทั้งมีการให้คำจำกัดความตัวแปรต่างๆ เหล่านั้นให้กระทัดรัด และสื่อความ
หมายได้เม่นยำยิ่งขึ้น
2. ในการศึกษาเพื่อให้เห็นข้อเท็จจริงอย่างชัดเจนและสามารถใช้การวิจัยเชิงคุณภาพทำการ
ศึกษาปัจจัยเหตุที่เป็นความเชื่อ เจตคติ และความรู้สึกที่แท้จริงของชาวบ้าน ซึ่งจะได้ข้อเท็จจริง
และสามารถนำมาอธิบายการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองได้อีกวิธีหนึ่ง
3. ควรศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในจังหวัดอื่นๆ เพื่อ
ค้นหาปัจจัยอื่นที่สามารถส่งผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองได้
4. ควรศึกษาวิจัยเกี่ยวกับตัวแปรอื่น ที่ส่งผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
เช่น การติดต่อสื่อสาร การบริหารท้องถิ่น ยุทธศาสตร์ในการพัฒนา ความรู้สึกผูกพันในถิ่นฐาน
บ้านเกิดของตน เชื้อชาติ กระบวนการสร้างด้านพัฒนาและการพึ่งตนเอง เป็นต้น
5. ควรนำปัจจัยที่พบว่ามีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง ได้แก่ จิตใจ
และการจัดการ มาทำการศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับตัวแปรต่าง ๆ ในสภาพเป็นจริงที่แตกต่างกัน
เพื่อจะได้นำข้อมูลที่ได้มาขยายผลเพื่อนำไปสู่การพัฒนาในอันดับต่อไป
ในระหว่างการดำเนินงานได้พบข้อจำกัดและแนวทางในการแก้ไข มีดังนี้
1. การตอบแบบสอบถามโดยมีผู้วิจัยเป็นผู้เก็บแบบสอบถามโดยตรง อาจทำให้ผู้ตอบ
ตอบไม่ตรงกับความเป็นจริง บางครั้งเกิดไม่เชื่อมั่นว่าผู้สัมภาษณ์จะนำคำตอบนั้นไปสู่บุคคลอื่น
หรือไม่ จึงเป็นลักษณะที่ให้คำตอบไปในทิศทางที่เป็นบวกมากกว่าด้านลบเสมอ ซึ่งผู้วิจัยหรือ
ผู้เก็บข้อมูลควรจะย้ำและรับรองว่าข้อมูลจะเป็นความลับเพื่อให้เกิดความไว้วางใจให้มากที่สุดเพื่อ
การได้มาซึ่งข้อมูลที่แท้จริง
2. ในการสร้างแบบสอบถาม จะต้องมีการจัดลำดับความยากง่ายในการตอบแบบสอบถาม
แต่เพื่อให้สอดคล้องกับกรอบการวิจัยหรือเพื่อความสะดวกในการรวบรวมข้อ ผู้วิจัยควรปรับแก้
โดยนำคำถามที่มีความง่ายขึ้นมาก่อนเพื่อให้มีความสะดวกและสอดคล้องกับความรู้สึกได้ดียิ่งขึ้น
แต่ถ้าให้ชาวบ้านตอบเองอาจจะไม่ได้รับความสะดวกและเข้าใจเหมือนกับผู้วิจัยได้เป็นผู้ถามคำ
ถามเอง
3. การคมนาคมที่ใช้เดินทางเข้าออกของหมู่บ้านไม่สะดวก รถประจำทางมีเวลาจำกัด ทำให้
การเก็บข้อมูลเป็นไปได้ยาก สิ่งที่ควรทำคือการหาสถานที่พักในหมู่บ้านเพื่อแก้ปัญหาความไม่
สะดวกในการเดินทางเข้าออกหมู่บ้าน
83
4. ในการเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง ควรจะทำในขณะกำลังรวมกลุ่มกันทำงานซึ่งเป็นโอกาสที่ดี
ในการเก็บข้อมูลครั้งเดียวได้หลายราย แต่มีสิ่งสำคัญอันดับแรกที่ควรทำคือการสร้างความ
สัมพันธ์อันดีด้วยการเข้าไปมีส่วนร่วมในการทำงานกับกลุ่มตัวอย่างเพื่อสร้างความไว้วางใจ ความ
ร่วมมือจะมีมากยิ่งขึ้น และยังมีส่วนช่วยให้ชาวบ้านคนอื่น ๆ ได้รับรู้การเข้าไปเก็บข้อมูลด้วย
5. การศึกษาเชิงคุณภาพเป็นการวิจัยทางด้านสังคมที่มีความเหมาะสมมากที่สุด ทั้งนี้เพราะ
ความเป็นมนุษย์และสังคมไม่อาจจำกัดไว้แค่เพียงข้อคำถามที่ตั้งขึ้น การวิจัยเชิงปริมาณจะมีความ
สมบูรณ์และถูกต้องมากยิ่งขึ้น จำเป็นจะต้องมีการร่วมคิด ร่วมฟัง และติดตามรับรู้เรื่องราวความ
เป็นไปของชาวบ้านในหมู่บ้านจากคำบอกเล่า รวมทั้งสิ่งที่เราไปพบเห็น ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความจำเป็น
อย่างยิ่งที่จะช่วยอธิบายเรื่องราวที่เราต้องการศึกษาและค้นหาข้อมูลได้อย่างถูกต้องและแท้จริง
บรรณานุกรม
กาญจนา แก้วเทพ. (2538). การพัฒนาแนววัฒนธรรมชุมชน โดยถือมนุษย์เป็นศูนย์กลาง.
กรุงเทพมหานคร: Mild Publisher.
-------. (2538). เครื่องมือการทำงานแนววัฒนธรรมชุมชน. กรุงเทพมหานคร:
Mild publishing.
กาญจนา แก้วเทพ และกนกศักดิ์ แก้วเทพ. (2530). การพึ่งพาตนเอง ศักยภาพในการพัฒนา
ชนบท. กรุงเทพมหานคร: สภาคาทอลิกแห่งประเทศไทยเพื่อการพัฒนา : Mild Publisher.
เกษม จันทร์แก้ว. (2541). การใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม.
การฝึกอบรมหลักสูตรการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในเขตปฏิรูปที่ดิน
วันที่ 8 กันยายน 2541 ณ ห้องประชุม 3 ส.ป.ก. ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร.
(อัดสำเนา)
กิติ คันธา. (2536). การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการหมู่บ้านในการพัฒนาชนบท.
กรณีศึกษา อ.แวงใหญ่ จ.ข่อนแก่น วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต
สถาบัน บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
จีรพรรณ กาญจนะจิตรา. (2538). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา.
พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. (2543). ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย. กรุงเทพมหานคร:
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ฉัตรทิพย์ นาถสุภา และวิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร. (2542). วิพากษ์เศรษฐกิจคืนสู่ชุมชน.
กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).
ชอบ เข็มกลัด. (2539). เอกสารชุดที่ 1 บทความประกอบการประชุมวิชาการเรื่องธุรกิจ
ชุมชน หนทางสู่การพึ่งตนเองของคนจนในชนบท : กรณีศึกษาสหกรณ์การเกษตร
ท่านางแนว จำกัด อ.แวงน้อย จ. ข่อนแก่น ในการประชุมวิชาการประชุมประจำปี
ของสมาคมสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย. (เอกสารอัดสำเนา)
ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ. (2542). ธุรกิจชุมชน : เส้นทางที่เป็นไปได้. กรุงเทพมหานคร:
สำนักกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
ธงชัย สันติวงษ์. (2537). องค์การและการบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร:
บริษัทโรงพิมพ์ไทยวัฒนาพาณิช จำกัด.
บุญชม ศรีสะอาด. (2541). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร:
สุวีริยาสาส์น.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2542). เทคนิคการสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย.
พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: เจริญดีการพิมพ์.
85
ประคอง กรรณสูต. (2542). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3.
กรุงเทพมหานคร: ด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด.
ประเวศ วะสี. (2541) และคณะ.(2541). ยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ
สังคม และ ศีลธรรม. กรุงเทพมหานคร: หมอชาวบ้าน.
ปาริชาติ วลัยเสถียร. (2541). นโยบายมาตรการส่งเสริมธุรกิจของหน่วยงายภาครัฐเพื่อการ
พึ่งตนเองของชุมชน ทางรอดของเศรษฐกิจไทย. กรุงเทพมหานคร:
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (อัดสำเนา)
ปราณี ขัตติยศ (2538). เศรษฐศาสตร์การเมืองของการอนุรักษ์ป่าไม้ กรณีศึกษา :
ป่าดงใหญ่ จังหวัดบุรีรัมย์ วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์. (2543). นิเวศเศรษฐศาสตร์ และนิเวศน์วิทยาการเมือง.
พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปรเมษฐ์ กาญจนวรางกูร. (2541). การพัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนแบบพึ่งตนเอง
สำหรับสตรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ภัคพัฒน์ ทิพยประไพ. (2538). แนวคิดวิถีการผลิตแบบเอเซียกับการอธิบายหมู่บ้านไทย
วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภูมิพลอดุลยเดช,พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว.(2533). พระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่ห้วภูมิพลอดุลยเดช ด้านศาสนา คุณธรรม และจริยธรรม. พิษณุโลก :
วิทยาลัยครูพิบูลสงคราม. (จัดพิมพ์เนื่องในสัปดาห์ส่งเสริมศาสนา และจริยธรรม 3-9
ธันวาคม พ.ศ.2533).
พูนศักดิ์ ฐานิกรประดิษฐ์. (2538). ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจชุมชนหมู่บ้านภาคใต้ฝั่งตะวันออก
ของไทย วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิเชียร สิมป์หวังอยู่. (2530). การพึ่งตนเองในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ศึกษา
เฉพาะกรณี โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูป อำเภอ ละหารทราย จังหวัด บุรีรัมย์.
วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิมาน วงศ์อภัย. (2533). ปัจจัยที่ส่งเสริมให้องค์กรประชาชนสามารถพึ่งตนเองได้ :
ศึกษากรณี ศูนย์บริการสมาชิกนิคมสร้างตนเองโนนสัง อ.โนนสัง
จ. อุดรธานี วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540) วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 7.
กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพรัตน์ เดชะรินทร์. (2527). นโยบายและกลวิธีการมีส่วนร่วมของชุมชนในยุทธศาสตร์
การพัฒนาปัจจุบัน. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล.
มันทนี ยมจินดา. (2541), (บรรณาธิการ). มนุษย์กับธรรมชาติ. กรุงเทพมหานคร:
สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์.
ยุวัฒน์ วุฒิเมธี. (2534). การพัฒนาชุมชนจากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร:
ห้างหุ้นส่วนจำกัด บางกอกบล็อก.
86
รายงานคุณภาพชีวิตของคนไทย ปี 2539. (2540). กรุงเทพมหานคร: หจก เพิ่มเสริมกิจ.
วิชิตวงศ์ ณ.ป้อมเพ็ชร.(2542). พิพากษ์เศรษฐกิจทุนนิยมคืนสู่ชุมชน. กรุงเทพมหานคร:
อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).
ศิริชัย พงษ์วิชัย. (2545). การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์. กรุงเทพมหานคร :
สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศูนย์พัฒนาเศรษฐกิจชุมชน. สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย. (2541). แนวทางการดำเนิน
งานตามนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนแบบพึ่งตนเอง ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจชุมชนพึ่ง
ตนเอง : ประมวลแนวคิด คำบรรยายและหนังสือสั่งการ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์
ส่วนท้องถิ่น.
สังศิต พิริยะรังสรรค์.(2541). เศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง แนวความคิดและยุทธศาสตร์.
กรุงเทพมหานคร: บริษัททรงสิทธิวรรณ จำกัด.
สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2541). การพัฒนาชุมชนแบบจัดการ. กรุงเทพมหานคร:
หจก. เอมี่เทรดดิ้ง.
-------. (2542). ทฤษฎีและกลยุทธการพัฒนาสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร:
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
-------. (2542). การสร้าง การประเมินค่าและการใช้ประโยชน์. พิมพ์ครั้งที่ 4.
กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
-------. (2543). ทฤษฎีสังคมวิทยา เนื้อหาและแนวทางการใช้ประโยชน์เบื้องต้น.
พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สัญญา สัญญาวิวัฒน์ และ สุริชัย หวันแก้ว. 2534. รายงานการศึกษาเอกสารปัจจัยทางสังคม
และวัฒนธรรมในการพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจของประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร:
สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. (อัดสำเนา)
สัมพันธ์ ภู่ไพบูลย์. (2542). องค์การและการจัดการ กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ครั้งที่ 2.
สำนักพิมพ์พิทักษ์อักษร.
สายพิรุณ น้อยศิริ. (2530). ปัจจัยที่ส่งเสริมการพัฒนาองค์กรประชาชนในชนบท : ศึกษา
เฉพาะกรณี ธนาคารข้าวบ้านโนนขุย ต.ชุมพวง อ.ชุมพวง จ. นครราชสีมา
วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุพรรณี ไชยอำพร. (2529). แนวความคิดทางทฤษฎีและการวัดความพยายามพึ่งตนเอง
ระดับบุคคล. เอกสารประกอบการสนอวิชาการพัฒนาชุมชนและสหกรณ์ โดยคณะพัฒนา
สังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.
สิน สื่อสวน. (2530). ปัจจัยส่งเสริมการพัฒนาองค์กรประชาชนเมือง ศึกษาเฉพาะกรณี
สหกรณ์เครดิตยูเนียน ชุมชนหลังบ้านมนังคศิลา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สีลาภรณ์ นาครทรรพ และปกรณ์ จริงสูงเนิน (2537). ภูมิปัญญาชาวบ้าน การแก้ปัญหา
สิ่งแวดล้อม วารสารการศึกษาแห่งชาติ 28,5 (มิถุนายน – กรกฎาคม).
87
สุชาติ เกตยา. (2544). การพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจของชุมชน ศึกษาเฉพาะกรณีชุมชน
ในเขตอำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สุพัตรา สุภาพ. (2539). สังคมวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 18. กรุงเทพมหานคร:
ไทยวัฒนาพาณิช จำกัด.
สุรีย์พร เหลี่ยมวรางกูร. (2541). ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร
ในจังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
เสน่ห์ จามริก. (2527). นโยบาย กลวิธี การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน
การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล.
เสรี พงศ์พิศ. (2542). เศรษฐกิจชุมชน ทางเลือกเพื่อทางรอดสังคมไทย กรุงเทพมหานคร:
อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับสิชซิ่ง จำกัด มหาชน.
-------. (2539). คืนสู่รากเหง้า : ทางเลือกและทัศนวิจารณ์ว่าด้วยภูมิปัญญาชาวบ้าน.
กรุงเทพมหานคร: เทียนวรรณ.
-------. (2539). ภูมิปัญญาชาวบ้านกับการพัฒนาชนบท. กรุงเทพมหานคร: บริษัท
อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊ฟ จำกัด.
อุทัย ดุลยเกษม. (2538). วิจารณ์เรื่องแผนพัฒนาการศึกษากับการพึ่งตนเอง ในผลกระทบ
ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่มีต่อการจัดการศึกษาเพื่อการพึ่งตนเอง.
กรุงเทพมหานคร: บริษัทอัมรินทร์พริ้นติ้ง.
เอกวิทย์ ณ ถลาง. (2540). ภูมิปัญญาและกระบวนการเรียนรู้ของชาวไทย.
โครงการกิตติเมธี สาขาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Cohen, J. M. and Uphoff Norman, T. (1980). Rural Development Participation :
Concepts and Measure for Project Design Implementation and Evaluation.
New york : The Rural Development Committee Center International Studies:
Cornell University.
Hopkins, M. and Van Der Hoeven, Ralph. (1983). Basic Needs in Development Planning.
Guildford and King’s Lynn, Great Britain: Biddles Ltd.
Huntington, Samuel P. (1968). Political Order in Changing Societies. New Heaven:
Yale University Press.
Roger, Everett M. and Shoemaker, F.F. (1971). Communication of Innovations ; Across
Cultural Approach. [Second Edition.] New York: The Free Press.
Rostow, W. W. 1991. The Stages of Economic Growth A Non-Communist Manifesto.
London: Cambridge University Press.
88
Stogdill, Ralph M. (1974). Hand Book of Leadership : A Survey of Theory and
Research. New York: Free Press.
United Nations Department of International Economic And Social Affairs. (1981). Popular
Participation as a Strategy for Promoting Community-Level Action and National
Development : Report of the Meeting of the Ad Hoc. New York: United Nation.
World Health Organization (WHO.)/ UNICEF, (1978). Report of the International
Conference on Primary Health Care.(n.p.).
90
การวิเคราะห์ค่าระดับปัจจัยในการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองจังหวัดสมุทรสาคร
โดยรายละเอียด
ตารางที่ 9 แสดงค่าระดับปัจจัยด้านเทคโนโลยีภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยรายละเอียด
ปัจจัยด้านเทคโนโลยีภูมิปัญญาท้องถิ่น ≥X S.D. ค่าระดับ
1. ท่านเป็นทั้งผู้รับและผู้ถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นให้มีอยู่ในครอบครัว
และหมู่บ้าน
3.34 1.43 ปานกลาง
2. ท่านใช้สมุนไพรในการรักษาอาการเจ็บป่วยและบริโภคในครัวเรือน 3.19 1.20 ปานกลาง
3. ท่านมีการลดค่าใช้จ่ายหรือลดเวลาในการทำงานด้วยการนำ
เทคโนโลยีมาใช้
3.34 1.25 ปานกลาง
4. ท่านใช้อุปกรณ์เครื่องมืออื่น ๆ เพื่อช่วยผ่อนแรง มีความสะดวก รวด
เร็ว และเพิ่มจำนวนได้มากขึ้น
3.50 1.02 มาก
5. ท่านใช้ปุ๋ยเคมี หรือสารเคมีในการปราบศัตรูพืช 2.80 1.26 ปานกลาง
6. ท่านนำสิ่งของใช้แล้วมาดัดแปลงและนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อีก 2.82 1.22 ปานกลาง
รวม 3.16 0.67 ปานกลาง
จากตารางที่ 9 พบว่าปัจจัยด้านเทคโนโลยีและภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยภาพรวมและรายข้อ
อยู่ในระดับปานกลาง ยกเว้นข้อ 4. การใช้เครื่องมืออื่น ๆ เพื่อช่วยผ่อนแรง มีความสะดวก
รวดเร็วและเพิ่มจำนวนได้มากขึ้น อยู่ในระดับมาก
ตารางที่ 10 แสดงค่าระดับปัจจัยด้านเศรษฐกิจโดยรายละเอียด
ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ≥X S.D. ค่าระดับ
1. ท่านเป็นสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ มีเงินฝากสะสมและลดการใช้จ่ายใน
สิ่งที่ไม่จำเป็น
2.77 1.33 ปานกลาง
2. ท่านมีงานทำประจำและมีรายได้ตลอดทั้งปี 3.19 1.10 ปานกลาง
3. ท่านประกอบอาชีพเสริมเพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้น 3.06 1.22 ปานกลาง
4. ท่านทำสิ่งของที่จำเป็นต่อการบริโภคและอุปโภคในครัวเรือน 3.04 1.20 ปานกลาง
5. ท่านมีภาระหนี้สิน 3.75 1.22 น้อย
รวม 3.16 0.75 ปานกลาง
จากตารางที่ 10 พบว่าปัจจัยด้านเศรษฐกิจโดยภาพรวมและรายข้ออยู่ในระดับปานกลาง ยกเว้นข้อ 5.
ท่านมีระหนี้สินอยู่ในระดับน้อย
91
ตารางที่ 11 แสดงค่าระดับปัจจัยด้านทรัพยากรโดยรายละเอียด
ปัจจัยด้านทรัพยากร ≥X S.D. ค่าระดับ
1. ท่านนำน้ำที่เหลือจากการซักล้างไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นอีก 2.48 1.36 ปานกลาง
2. ท่านใช้ปุ๋ยธรรมชาติหรือวิธีการอื่นๆ เพื่อช่วยบำรุงดินให้มีสภาพดีขึ้น 2.94 1.24 ปานกลาง
3. ท่านปลูกผักสวนครัว เลี้ยงเป็ด ไก่ ในพื้นที่ว่าง หรือ เลี้ยงปลา
ปลูกผักบุ้ง ผักกระเฉดไว้ตามร่องสวน
3.16 1.29 ปานกลาง
4. ท่านนำ ต้นกก ต้นเตย ต้นจาก หรือวัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่น
มาใช้ประโยชน์
2.91 1.44 ปานกลาง
5. ท่านและสมาชิกช่วยกันดูแลรักษา และพัฒนาทรัพยากรท้องถิ่น
ให้มีอย่างอุดมสมบูรณ์ตลอดไป
3.50 1.14 มาก
6. ท่านสนับสนุนให้มีบทลงโทษอย่างรุนแรงแก่ผู้ที่ลักลอบตัดไม้ทำลาย
ป่า หรือ ผู้ที่ทำให้น้ำในแม่น้ำลำคลอง เน่าเสีย
3.31 1.11 ปานกลาง
รวม 3.10 0.84 ปานกลาง
จากตารางที่ 11 พบว่าปัจจัยด้านทรัพยากรโดยภาพรวมและรายข้ออยู่ในระดับปานกลาง ยกเว้น
ข้อ 5. ท่านและสมาชิกช่วยกันดูแลรักษาและพัฒนาทรัพยากรท้องถิ่นให้มีอย่างอุดมสมบูรณ์
ตลอดไป อยู่ในระดับมาก
ตารางที่ 12 แสดงค่าระดับปัจจัยด้านจิตใจโดยรายละเอียด
ปัจจัยด้านจิตใจ ≥X S.D. ค่าระดับ
1. ท่านและสมาชิกในครอบครัวเป็นคนมีจิตใจที่เข้มแข็งในการต่อสู้
กับปัญหาและอุปสรรค
4.15 0.82 มาก
2. ท่านเป็นคนมักน้อย เสียสละสิ่งต่าง ๆ และเวลาเพื่อประโยชน์สุขของ
ส่วนรวมและผู้อื่น
3.95 0.91 มาก
3. ท่านอบรมสั่งสอนสมาชิกในครอบครัวให้เป็นคนดี ซื่อสัตย์สุจริต
และไม่เอาเปรียบผู้อื่น
4.35 0.67 มาก
4. ท่านและสมาชิกในครอบครัวยึดมั่นในหลักผู้ใดทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว 4.44 0.71 มาก
5. ท่านพยายามทำงานให้ดีและแสวงหาความรู้เพิ่มเติม 3.92 1.19 มาก
รวม 4.16 0.57 มาก
จากตารางที่ 12 พบว่าปัจจัยด้านจิตใจโดยภาพรวมและรายข้ออยู่ในระดับมาก
92
ตารางที่ 13 แสดงค่าระดับปัจจัยด้านสังคมโดยรายละเอียด
ปัจจัยด้านสังคม ≥X S.D. ค่าระดับ
1. ท่านและชาวบ้านมีความรักใคร่กลมเกลียวสมัครสมานสามัคคี 4.02 0.94 มาก
2. ท่านมีความห่วงใย เอื้ออาทรคอยช่วยเหลือบ้านใกล้เรือนเคียงด้วย
ความจริงใจ
4.03 0.96 มาก
3. ท่านและสมาชิกในครอบครัวยึดมั่นและร่วมกันปฏิบัติตาม
ขนบธรรมเนียมประเพณี
4.20 0.81 มาก
4. ท่านกับสมาชิกในครอบครัวและเพื่อนบ้านช่วยพัฒนาหมู่บ้านอย่าง
พร้อมเพรียงกัน
4.01 0.94 มาก
5. ท่านมีผู้นำที่ชอบเสียสละ ช่วยเหลือผู้อื่น ทำงานเป็นขั้นตอน
เปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้แสดงความคิดเห็น และรู้จักการประนีประนอม
3.86 0.88 มาก
6. ผู้นำของท่านยอมรับความก้าวหน้า สามารถนำเทคโนโลยีไปใช้ให้เกิด
ประโยชน์และเผยแพร่ให้แก่ชาวบ้านทั่วไป
3.73 0.89 มาก
รวม 3.98 0.68 มาก
จากตารางที่ 13 พบว่าปัจจัยด้านสังคมโดยภาพรวมและรายข้ออยู่ในระดับมาก
ตารางที่ 14 แสดงค่าระดับปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมโดยรายละเอียด
ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วม ≥X S.D. ค่าระดับ
1. ท่านและครอบครัวได้รับประโยชน์จากการมีส่วนร่วมในการพัฒนา
หมู่บ้าน
3.63 1.03 มาก
2. ท่านให้ความสำคัญในการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวมมากกว่าประโยชน์
สุขของตนเอง
3.62 1.01 มาก
3. ท่านช่วยสอดส่องดูแลความผิดปกติในหมู่บ้าน 3.62 1.06 มาก
4. ท่านเข้าประชุม และมีส่วนร่วมสนับสนุนส่งเสริมกิจกรรมหมู่บ้าน
ปลอดยาเสพติด
3.48 1.32 ปานกลาง
5. ท่านร่วมสนับสนุนแสดงความคิดเห็นเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาและ
พัฒนาหมู่บ้าน
3.09 1.45 ปานกลาง
รวม 3.49 0.92 ปานกลาง
จากตารางที่ 14 พบว่าปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมโดยภาพรวมและรายข้ออยู่ในระดับมาก
ยกเว้นข้อ 4. ท่านเข้าประชุม และมีส่วนร่วมสนับสนุนส่งเสริมกิจกรรมหมู่บ้านปลอดยาเสพติด
และข้อ 5. ท่านร่วมสนับสนุนแสดงความคิดเห็นเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาและพัฒนาหมู่บ้าน อยู่ใน
ระดับปานกลาง
93
ตารางที่ 15 แสดงค่าระดับด้านการจัดการโดยรายละเอียด
ปัจจัยด้านการจัดการ ≥X S.D. ค่าระดับ
1. ท่านเข้ารับการอบรมหรือไปศึกษาดูงานทันทีที่มีหน่วยงานต่าง ๆ
ได้จัดขึ้น
2.77 1.43 ปานกลาง
2. ท่านวางแผนและทำงานในโครงการหมู่บ้านปลอดยาเสพติด 2.93 1.46 ปานกลาง
3. ท่านติดตามประเมินผลงานในโครงการหมู่บ้านปลอดยาเสพติด 2.94 1.47 ปานกลาง
4. เมื่อท่านเกิดปัญหาต่าง ๆ ในชีวิต ท่านจะแก้ไขที่ต้นเหตุของปัญหา 3.53 1.19 มาก
5. ท่านหาทางป้องกัน และมีแนวทางแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับสิ่งต่าง ๆ
ที่ต้องทำ
3.52 1.01 มาก
6. ความสำเร็จที่เกิดขึ้นเพราะท่านและเพื่อนบ้านประชุมปรึกษาหารือ
วางแผน กำหนดกิจกรรมและผู้ร่วมงานทุกคนมีความรับผิดชอบในงานที่ทำ
3.57 1.29 มาก
รวม 3.21 1.06 ปานกลาง
จากตารางที่ 15 พบว่าปัจจัยด้านการจัดการโดยภาพรวมและรายข้ออยู่ในระดับปานกลาง
ได้แก่ ข้อ 1. ท่านเข้ารับการอบรมหรือไปศึกษาดูงานทันทีที่มีหน่วยงานต่างๆ ได้จัดขึ้น ข้อ 2.
ท่านวางแผนและทำงานในโครงการหมู่บ้านปลอดยาเสพติด ข้อ 3. ท่านติดตามประเมินผลงาน
ในโครงการหมู่บ้านปลอดยาเสพติด และลักษณะปัจจัยที่อยู่ในระดับมากได้แก่ข้อ 4. เมื่อท่าน
เกิดปัญหาต่าง ๆ ในชีวิต ท่านจะแก้ไขที่ต้นเหตุของปัญหา ข้อ 5. ท่านหาทางป้องกันและ
มีแนวทางแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับสิ่งต่าง ๆ ที่ต้องทำ และข้อ 6. ความสำเร็จที่เกิดขึ้นเพราะ
ท่านและเพื่อนบ้านประชุมปรึกษาหารือ วางแผน กำหนดกิจกรรม และผู้ร่วมงานทุกคนมีความ
รับผิดชอบในงานที่ทำ
94
การวิเคราะห์ค่าระดับการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในจังหวัดสมุทรสาคร
โดยละเอียดจาก 4 ตัวชี้วัด
ตารางที่ 16 แสดงค่าระดับครอบครัวมีความอบอุ่นโดยรายละเอียด
ครอบครัวมีความอบอุ่น ≥X S.D. ค่าระดับ
1. ครอบครัวท่านมีความคิดเห็นที่ขัดแย้งกันและไม่สามารถ
ประสานความเข้าใจกันได้
3.82 1.28 ไม่เห็นด้วย
2. ท่านและสมาชิกในครอบครัวมีความสุขสบายปลอดโปร่ง
โล่งใจ
4.09 1.01 เห็นด้วยอย่างยิ่ง
3. ทุกคนในครอบครัวรับฟังความคิดเห็นและยอมรับเหตุผล
ซึ่งกันและกัน
4.24 0.85 เห็นด้วยอย่างยิ่ง
4. ทุกคนในครอบครัวท่านรักและเคารพเชื่อฟังท่านเป็นอย่างดี 4.20 0.89 เห็นด้วยอย่างยิ่ง
5. ทุกคนครอบครัวคอยดูแลเอาใจใส่ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
มีความผูกพันและเอื้ออาทรต่อกัน
4.27 0.81 เห็นด้วยอย่างยิ่ง
รวม 4.12 0.69 เห็นด้วยอย่างยิ่ง
จากตารางที่ 16 พบว่าค่าระดับครอบครัวมีความอบอุ่นทุกข้ออยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง
ยกเว้น ข้อ 1. ครอบครัวท่านมีความคิดเห็นที่ขัดแย้งกันและไม่สามารถประสานความเข้าใจกัน
ได้ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับไม่เห็นด้วย
ตารางที่ 17 แสดงค่าระดับเศรษฐกิจมีความสมดุลโดยรายละเอียด
เศรษฐกิจมีความสมดุล ≥X S.D. ค่าระดับ
1. รายได้ในครอบครัวท่านเพียงพอกับรายจ่าย 3.58 1.02 เห็นด้วยอย่างยิ่ง
2. ท่านปลูกผักสวนครัวไว้บริโภคและมีเหลือเพื่อนำไปขาย
หรือ แบ่งปันให้กับเพื่อนบ้าน
3.57 1.25 เห็นด้วยอย่างยิ่ง
3. ท่านและสมาชิกในครอบครัวช่วยเหลือตนเองได้และ
รู้สึกพึงพอใจกับสภาพที่ตนเองเป็นอยู่
3.99 1.01 เห็นด้วยอย่างยิ่ง
4. ท่านและครอบครัวไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะวิกฤติ
ทางเศรษฐกิจทั้งทางตรงและทางอ้อม
3.51 1.18 เห็นด้วยอย่างยิ่ง
รวม 3.66 0.77 เห็นด้วยอย่างยิ่ง
จากตารางที่ 17 พบว่าค่าระดับเศรษฐกิจมีความสมดุลทุกข้ออยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง
95
ตารางที่ 18 แสดงค่าระดับองค์กรชุมชนเข้มแข็งโดยรายละเอียด
องค์กรชุมชนเข้มแข็ง ≥X S.D. ค่าระดับ
1. ท่านรู้แล้วว่าการรวมกลุ่มเพื่อช่วยกันแก้ปัญหาจะทำให้ตน
เอง และชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้และนำความสุขมาสู่ทุกคน
4.22 0.78 เห็นด้วยอย่างยิ่ง
2. ท่านทำตามคำแนะนำจากราชการหรือเอกชนในการแก้ไข
ปัญหาและพัฒนาหมู่บ้าน
3.97 0.86 เห็นด้วยอย่างยิ่ง
3. ท่านให้ความร่วมมือสนับสนุนส่งเสริมกลุ่มที่ทำประโยชน์
แก่ชาวบ้านและส่วนรวม
4.09 0.83 เห็นด้วยอย่างยิ่ง
4. กลุ่มและสมาชิก คิดเอง ทำเอง และแก้ปัญหาเองด้วย
การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
3.78 1.00 เห็นด้วยอย่างยิ่ง
รวม 4.01 0.62 เห็นด้วยอย่างยิ่ง
จากตารางที่ 18 พบว่าค่าระดับองค์กรชุมชนเข้มแข็งทุกข้ออยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง
ตารางที่ 19 แสดงค่าระดับการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนโดยรายละเอียด
การจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ≥X S.D. ค่าระดับ
1. ทุกคนควรใช้วัสดุที่ทำมาจากธรรมชาติแทนการใช้ถุง
พลาสติกและโฟม
3.71 10.4 เห็นด้วยอย่างยิ่ง
2. ท่านแยกขยะและนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี 3.84 1.06 เห็นด้วยอย่างยิ่ง
3. ท่านว่ากล่าวตักเตือนผู้ที่ทิ้งขยะ สิ่งปฏิกูลลงบนถนน แม่น้ำ
ลำคลอง
3.53 1.32 เห็นด้วยอย่างยิ่ง
4. ท่านสนับสนุนช่วยขุดลอกคูคลอง กำจัดวัชพืช ปลูกดอกไม้
ต้นไม้ใหญ่เพื่อความสวยงามให้ร่มเงาบริเวณหน้าบ้านและ
ตามถนนหนทาง
4.27 0.83 เห็นด้วยอย่างยิ่ง
5. ท่านและสมาชิกในครอบครัวช่วยกันจัดบ้านเรือนให้มี
ความเป็นระเบียบเรียบร้อยถูกสุขลักษณะ
4.21 0.84 เห็นด้วยอย่างยิ่ง
รวม 3.91 0.65 เห็นด้วยอย่างยิ่ง
จากตารางที่ 19 พบว่าค่าระดับการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ทุกข้ออยู่ในระดับ
เห็นด้วยอย่างยิ่ง
96
ตารางที่ 20 แสดงค่าอำนาจจำแนกรายข้อของแบบสอบถาม
ปัจจัยด้านเทคโนโลยีภูมิปัญญาท้องถิ่น t
1. ท่านใช้พืชสมุนไพร เช่น ลูกใต้ใบ ว่านรางจืด ฟ้าทะลายโจร ใบพลู ฯลฯ รักษาอาการ
เจ็บป่วยไข้รักษาให้หายได้
1.53
2. ท่านใช้สมุนไพรในการรักษาอาการเจ็บป่วยและบริโภคในครัวเรือน 3.65*
3. ท่านมีการลดค่าใช้จ่ายหรือลดเวลาในการทำงานด้วยการนำเทคโนโลยีมาใช้ 3.15*
4. ท่านเป็นทั้งผู้รับและผู้ถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นให้มีอยู่ในครอบครัวและหมู่บ้าน 4.01*
5. ท่านใช้อุปกรณ์เครื่องมืออื่น ๆ เพื่อช่วยผ่อนแรง มีความสะดวก รวดเร็ว และเพิ่มจำนวน
ได้มากขึ้น
3.16*
6. ท่านใช้ปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยคอก และปุ๋ยหมักเพราะทำให้ดินดีมีคุณภาพและไม่มีสารเคมีที่เป็น
อันตรายตกค้าง
0.48
7. ท่านทำปุ๋ยชีวภาพโดยการนำวัชพืช หอยเชอรี่ หัวปลาสับ น้ำมะพร้าวและอื่น ๆ มาหมัก
กับกากน้ำตาลแทนการใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อช่วยลดต้นทุน หรือเป็นการลดค่าใช้จ่าย
0.35
8. ท่านใช้ปุ๋ยเคมี หรือสารเคมีในการปราบศัตรูพืช 2.53*
9. ท่านนำสิ่งของใช้แล้วมาดัดแปลงและนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อีก 5.05*
ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ
10. ท่านเป็นสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ มีเงินฝากสะสมและลดการใช้จ่ายในสิ่งที่ไม่จำเป็น 5.43*
11. ท่านและสมาชิกในครอบครัวช่วยกันประหยัดลดการใช้จ่ายอย่างเหมาะสม 0.22
12. ท่านมีงานทำประจำและมีรายได้ตลอดทั้งปี 2.30*
13. ท่านประกอบอาชีพเสริมเพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้น 4.87*
14. การใช้สิทธิกู้ยืมเงินทำให้ท่านเป็นหนี้เพิ่มมากขึ้นและไม่สามารถพึ่งตนเองได้ 0.16
15. ท่านทำสิ่งของที่จำเป็นต่อการบริโภคและอุปโภคในครัวเรือน 3.04*
16. ท่านมีภาระหนี้สิน 3.75*
ปัจจัยด้านทรัพยากร
17. ท่านนำน้ำที่เหลือจากการซักล้างไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นอีก 2.48*
18. ท่านใช้ปุ๋ยธรรมชาติหรือวิธีการอื่นๆ เพื่อช่วยบำรุงดินให้มีสภาพดีขึ้น 2.94*
19. ท่านปลูกผักสวนครัว เลี้ยงเป็ด ไก่ ในพื้นที่ว่าง หรือ เลี้ยงปลา
ปลูกผักบุ้ง ผักกระเฉดไว้ตามร่องสวน
3.16*
20. ท่านนำ ต้นกก ต้นเตย ต้นจาก หรือวัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์ 2.91*
21. ท่านและสมาชิกช่วยกันดูแลรักษา และพัฒนาทรัพยากรท้องถิ่นให้มีอย่างอุดมสมบูรณ์
ตลอดไป
3.50*
22. ท่านสนับสนุนให้มีบทลงโทษอย่างรุนแรงแก่ผู้ที่ลักลอบตัดไม้ทำลายป่า หรือ ผู้ที่ทำให้
น้ำในแม่น้ำลำคลองเน่าเสีย
3.31*
97
ปัจจัยด้านจิตใจ t
23. ท่านและสมาชิกในครอบครัวเป็นคนมีจิตใจที่เข้มแข็งในการต่อสู้กับปัญหาและอุปสรรค 2.51*
24. ท่านเป็นคนมักน้อย เสียสละสิ่งต่าง ๆ และเวลาเพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวมและผู้อื่น 5.17*
25. ท่านอบรมสั่งสอนสมาชิกในครอบครัวให้เป็นคนดี ซื่อสัตย์สุจริต และ
ไม่เอาเปรียบผู้อื่น
2.20*
26. ท่านและสมาชิกในครอบครัวยึดมั่นในหลักผู้ใดทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว 3.53*
27. ท่านมีความขยันหมั่นเพียรในการทำงานและเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองให้มีความสามารถ
เพิ่มมากขึ้น
0.12
28. ท่านพยายามทำงานให้ดีและแสวงหาความรู้เพิ่มเติม 6.76*
29. ท่านคิด วิเคราะห์ ไตร่ตรองหาทางแก้ปัญหาให้กับตนเอง 0.91
ปัจจัยด้านสังคม
30. ท่านและชาวบ้านมีความรักใคร่กลมเกลียวสมัครสมานสามัคคี 4.17*
31. ท่านมีความห่วงใย เอื้ออาทรคอยช่วยเหลือบ้านใกล้เรือนเคียงด้วยความจริงใจ 4.87*
32. ท่านและสมาชิกในครอบครัวยึดมั่นและร่วมกันปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพณี 5.77*
33. ท่านเป็นที่พึ่ง และคอยให้ความช่วยเหลือแก่คนรอบข้าง และเพื่อนบ้าน 0.11
34. ญาติพี่น้องหรือเพื่อนบ้านคือผู้ที่คอยให้ความช่วยเหลือดูแลท่าน 1.74
35.ท่านกับสมาชิกในครอบครัวและเพื่อนบ้านช่วยพัฒนาหมู่บ้านอย่างพร้อมเพรียงกัน 6.43*
36. ท่านมีผู้นำที่ชอบเสียสละ ช่วยเหลือผู้อื่น ทำงานเป็นขั้นตอน เปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้
แสดงความคิดเห็น และรู้จักการประนีประนอม
5.05*
37. ผู้นำของท่านยอมรับความก้าวหน้า สามารถนำเทคโนโลยีไปใช้ให้เกิดประโยชน์และ
เผยแพร่ให้แก่ชาวบ้านทั่วไป
4.76*
38. ผู้นำท่านเป็นคนยึดถือความคิดของตนเองเป็นใหญ่ไม่รับฟังความคิดเห็นของคนอื่น -0.21
98
ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วม t
39. ท่านและครอบครัวได้รับประโยชน์จากการมีส่วนร่วมในการพัฒนาหมู่บ้าน 6.34*
40. ท่านเห็นว่าชาวบ้านและตัวท่านเองให้ความร่วมมือในการพัฒนาหมู่บ้านน้อยมาก 0.22
41. ท่านเห็นว่าการพัฒนาหมู่บ้านที่ผ่านมามีหลายคนก็หลายความคิด ทำให้มากเรื่องหาข้อ
ยุติไม่ได้
0.13
42. ท่านเข้าประชุมหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ เมื่อสิ่งนั้นมีผลประโยชน์โดยตรงกับท่าน 1.11
43. ท่านให้ความสำคัญในการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวมมากกว่าประโยชน์สุขของตนเอง 3.40*
44. ท่านช่วยสอดส่องดูแลความผิดปกติในหมู่บ้าน 3.48*
45. ท่านเข้าประชุม และมีส่วนร่วมสนับสนุนส่งเสริมกิจกรรมหมู่บ้านปลอดยาเสพติด 3.41*
46. ท่านร่วมสนับสนุนแสดงความคิดเห็นเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาและพัฒนาหมู่บ้าน 3.38*
47. ความสำเร็จที่เกิดขึ้นได้นั้น ทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการประชุม ปรึกษาหารือ กำหนดกิจ
กรรม และร่วมกันรับผิดชอบในงานที่ทำ
0.02
ปัจจัยด้านการจัดการ
48. ท่านเข้ารับการอบรมหรือไปศึกษาดูงานทันทีที่มีหน่วยงานต่าง ๆ ได้จัดขึ้น 6.56*
49. ท่านวางแผนและทำงานในโครงการหมู่บ้านปลอดยาเสพติด 7.43*
50. ท่านติดตามประเมินผลงานในโครงการหมู่บ้านปลอดยาเสพติด 7.40*
51. เมื่อท่านเกิดปัญหาต่าง ๆ ในชีวิต ท่านจะแก้ไขที่ต้นเหตุของปัญหา 5.58*
52. ท่านหาวิธีทำงานให้ง่ายและได้ประโยชน์เพิ่มมากขึ้นด้วยการคิดไตร่ตรองหาความ
ต้องการที่แท้จริงก่อน
0.45
53. ท่านวิเคราะห์หาสาเหตุที่มาของปัญหาเป็นอันดับแรกแลัวจึงคิดหาทางแก้ไขปัญหา -0.10
54. ท่านหาทางป้องกัน และมีแนวทางแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับสิ่งต่าง ๆ ที่ต้องทำ6.15*
55. ความสำเร็จที่เกิดขึ้นเพราะท่านและเพื่อนบ้านประชุมปรึกษาหารือ วางแผน กำหนด
กิจกรรม และผู้ร่วมงานทุกคนมีความรับผิดชอบในงานที่ทำ
2.17*
ครอบครัวมีความอบอุ่น
1. ครอบครัวท่านมีความคิดเห็นที่ขัดแย้งกันและไม่สามารถประสานความเข้าใจกันได้ 2.65*
2. ท่านและสมาชิกในครอบครัวมีความสุขสบายปลอดโปร่งโล่งใจ 3.45*
3. ทุกคนในครอบครัวรับฟังความคิดเห็นและยอมรับเหตุผลซึ่งกันและกัน 3.34*
4. ทุกวันนี้ไม่มีใครสักคนในครอบครัวท่านเข้าใจความรู้สึกเห็นอกเห็นใจท่านเท่าที่ควร 0.82
5. ทุกคนในครอบครัวท่านรักและเคารพเชื่อฟังท่านเป็นอย่างดี 3.33*
6. ทุกคนครอบครัวคอยดูแลเอาใจใส่ช่วยเหลือซึ่งกันและกันมีความ ผูกพันและเอื้ออาทร
ต่อกัน
4.17*
99
เศรษฐกิจมีความสมดุล t
7. รายได้ในครอบครัวท่านเพียงพอกับรายจ่าย 3.01*
8. ท่านปลูกผักสวนครัวไว้บริโภคและมีเหลือเพื่อนำไปขายหรือแบ่งปันให้กับเพื่อนบ้าน 3.61*
9. ครอบครัวท่านทำมาหากินอย่างยากลำบากมากขึ้นหรือยากจนลงหลังเกิดภาวะวิกฤติทาง
เศรษฐกิจ
0.31
10. ท่านและสมาชิกในครอบครัวช่วยเหลือตนเองได้และรู้สึกพึงพอใจกับสภาพที่
ตนเองเป็นอยู่
3.07*
11. ท่านและครอบครัวไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจทั้งทางตรงและ
ทางอ้อม
3.52*
12. ทุกวันนี้รายได้ในครอบครัวท่านไม่เพียงพอกับรายจ่าย 0.55
องค์กรชุมชนเข้มแข็ง
13. ท่านรู้แล้วว่าการรวมกลุ่มเพื่อช่วยกันแก้ปัญหาจะทำให้ตนเอง และชุมชนสามารถ
พึ่งตนเองได้และนำความสุขมาสู่ทุกคน
3.16*
14. ท่านทำตามคำแนะนำจากราชการหรือเอกชนในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาหมู่บ้าน 7.33*
15. ท่านให้ความร่วมมือสนับสนุนส่งเสริมกลุ่มที่ทำประโยชน์ แก่ชาวบ้านและส่วนรวม 4.22*
16. กลุ่มและสมาชิก คิดเอง ทำเอง และแก้ปัญหาเองด้วย การแลกเปลี่ยนความ
คิดเห็นกัน
4.24*
17. ทุกวันนี้ท่านให้ความร่วมมือสนับสุนส่งเสริมให้กลุ่มองค์กรชุมชนในหมู่บ้านมีความเข้ม
แข็งมากยิ่งขึ้น
0.72
18. ท่านทราบว่าการร่วมมือและช่วยกันทำงานทำให้หมู่บ้านมีความเข้มแข็งและน่าอยู่ 0.36
การจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
19. ทุกคนควรใช้วัสดุที่ทำมาจากธรรมชาติ แทนการใช้ถุงพลาสติกและโฟม 4.09*
20. ท่านแยกขยะและนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี 2.87*
21. ท่านว่ากล่าวตักเตือนผู้ที่ทิ้งขยะ สิ่งปฏิกูลลงบนถนน แม่น้ำ ลำคลอง 5.03*
22. ท่านสนับสนุนช่วยขุดลอกคูคลอง กำจัดวัชพืช ปลูกดอกไม ้ ตน้ ไมใ้ หญเ่ พอื่ ความสวย
งามให้ร่มเงาบริเวณหน้าบ้านและตามถนนหนทาง
2.74*
23. ท่านและสมาชิกในครอบครัวช่วยกันจัดบ้านเรือนให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย
ถูกสุขลักษณะ
4.12*
24. ท่านพยายามหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี โฟม และถุงพลาสติก เพื่อช่วยป้องกันและ
ลดปัญหาสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้าน
0.44
* มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
100
ผลการหาอำนาจจำแนกรายข้อจากการทดสอบทั้งหมด ค่าอำนาจจำแนกที่ได้พบว่า
ตอนที่ 1 ไดแ้ กข่ อ้ ที่ 1 ถึง ขอ้ ที่ 55 พบว่า ขอ้ ที่ 1, ขอ้ ที่ 6, ขอ้ ที่ 11, ขอ้ ที่ 14, ขอ้ ที่ 27,
ขอ้ ที่ 29, ขอ้ ที่ 33, ขอ้ ที่ 34, ขอ้ ที่ 38, ขอ้ ที่ 40, ขอ้ ที่ 41, ขอ้ ที่ 42, ขอ้ ที่ 47, ขอ้ ที่ 52, และ
ข้อที่ 53 ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 16 ข้อ ที่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และค่า t ที่ได้มีค่า
น้อยกว่า 1.75 ทำให้เหลือจำนวนข้อคำถามเพียง 39 ข้อ ที่สามารถนำไปใช้ในการเก็บข้อมูลได้ใน
ลำดับต่อไป
ตอนที่ 2 ได้แก ่ ขอ้ ที่ 1 ถึง 25 พบว่า ขอ้ ที่ 4, ขอ้ ที่ 9, ขอ้ ที่ 12, ขอ้ ที่ 17, ขอ้ ที่ 18, ขอ้ ที่ 24,
ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 6 ข้อ ที่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทำให้เหลือจำนวนข้อคำถาม
เพียง 18 ข้อ ที่สามารถนำไปใช้ในการเก็บข้อมูลได้ในลำดับต่อไป
102
แบบสอบถามเพื่อการวิจัย
เรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง :
กรณีศึกษา จังหวัดสมุทรสาคร
คำชี้แจง การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาปัจจัยที่มีผลทำให้หมู่บ้านในจังหวัดสมุทรสาครทั้ง
3 หมู่บ้าน ซึ่งมีสถานะเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
ข้อแนะนำเกี่ยวกับแบบสอบถาม
แบบสอบถามชุดนี้มีทั้งหมด 3 ตอน
ตอนที่ 1 แบบสอบถามการปฏิบัติเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
มีจำนวน 39 ข้อ
ตอนที่ 2 แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
มีจำนวน 18 ข้อ
ส่วนที่ 3 แบบสอบถามปลายเปิดเพื่อแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม มีจำนวน 4 ข้อ
103
แบบสอบถาม ชุดที่
หน้าที่ 1/7
ตอนที่ 1 แบบสอบถามด้านการปฏิบัติเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
คำชี้แจงโปรดใส่เครื่องหมาย ลงในช่องว่างทางขวามือของแต่ละข้อความที่ตรงกับความเป็นจริง
ในปัจจุบันของท่านมากที่สุด
ปัจจัยที่มีผลต่อการเป็น ระดับการปฏิบัติ
หมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง มากที่สุด
(5)
มาก
(4)
ปานกลาง
(3)
น้อย
(2)
น้อยที่สุด
(1)
เทคโนโลยีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
1. ท่านเป็นทั้งผู้รับและผู้ถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น
ให้มีอยู่ในครอบครัวและหมู่บ้าน
2. ท่านใช้สมุนไพรในการรักษาอาการเจ็บป่วยและ
บริโภคในครัวเรือน
3. ท่านมีการลดค่าใช้จ่ายหรือลดเวลาในการทำงาน
ด้วยการนำเทคโนโลยีมาใช้
4. ท่านใช้อุปกรณ์เครื่องมืออื่น ๆ เพื่อช่วยผ่อนแรง
มีความสะดวก รวดเร็ว และเพิ่มจำนวนได้มากขึ้น
5. ท่านใช้ปุ๋ยเคมีหรือสารเคมีในการปราบศัตรูพืช
6. ท่านนำสิ่งของใช้แล้วมาดัดแปลงและนำไปใช้
ให้เกิดประโยชน์ได้อีก
เศรษฐกิจ
7. ท่านเป็นสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ มีเงินฝากสะสม
และลดการใช้จ่ายในสิ่งที่ไม่จำเป็น
8. ท่านมีงานทำประจำและมีรายได้ตลอดทั้งปี
9. ท่านประกอบอาชีพเสริมเพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้น
104
หน้าที่ 2/7
ปัจจัยที่มีผลต่อการเป็น ระดับการปฏิบัติ
หมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง มากที่สุด
(5)
มาก
(4)
ปานกลาง
(3)
น้อย
(2)
น้อยที่สุด
(1)
10. ท่านทำสิ่งของที่จำเป็นต่อการบริโภคและ
อุปโภคขึ้นเองในครัวเรือน
11. ท่านมีภาระหนี้สิน
ทรัพยากร
12. ท่านนำน้ำที่เหลือจากการซักล้างไปใช้ประโยชน์
อย่างอื่นอีก
13. ท่านใช้ปุ๋ยธรรมชาติ หรือมีวิธีการอื่นๆ เพื่อช่วย
บำรุงรักษาดินให้มีสภาพดีขึ้น
14. ท่านปลูกผักสวนครัว เลี้ยงเป็ด ไก่ ในพื้นที่ว่าง
หรือ เลี้ยงปลา ปลูกผักบุ้ง ผักกระเฉดไว้ตามร่องสวน
15. ท่านนำ ต้นกก ต้นเตย ต้นจาก หรือวัตถุดิบที่มี
อยู่ในท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์
16. ท่านและสมาชิกช่วยกันดูแลรักษา และพัฒนา
ทรัพยากรท้องถิ่นให้มีอย่างอุดมสมบูรณ์ตลอดไป
17. ท่านสนับสนุนให้มีบทลงโทษอย่างรุนแรงแก่ผู้ที่
ลักลอบตัดไม้ทำลายป่า หรือ ผู้ที่ทำให้น้ำในแม่น้ำ
ลำคลอง เน่าเสีย
จิตใจ
18. ท่านและสมาชิกในครอบครัวเป็นคนมีจิตใจที่
เข้มแข็งในการต่อสู้กับปัญหาและอุปสรรค
19. ท่านเป็นคนมักน้อย เสียสละสิ่งต่าง ๆ และเวลา
เพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวมและผู้อื่น
20. ท่านอบรมสั่งสอนสมาชิกในครอบครัวให้เป็น
คนดี ซื่อสัตย์สุจริต และไม่เอาเปรียบผู้อื่น
105
หน้าที่ 3/7
ปัจจัยที่มีผลต่อการเป็น ระดับการปฏิบัติ
หมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง มากที่สุด
(5)
มาก
(4)
ปานกลาง
(3)
น้อย
(2)
น้อยที่สุด
(1)
21. ท่านและสมาชิกในครอบครัวยึดมั่นในหลัก
ผู้ใดทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
22. ท่านพยายามทำงานให้ดีและแสวงหาความรู้เพิ่ม
สังคม
23. ท่านและชาวบ้านมีความรักใคร่กลมเกลียว
สมัครสมานสามัคคี
24. ท่านมีความห่วงใย เอื้ออาทร คอยช่วยเหลือบ้าน
ใกล้เรือนเคียงด้วยความจริงใจ
25. ท่านและสมาชิกในครอบครัวยึดมั่นและร่วมกัน
ปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพณี
26. ท่านกับสมาชิกในครอบครัวและเพื่อนบ้านช่วย
พัฒนาหมู่บ้านอย่างพร้อมเพรียงกัน
27. ท่านมีผู้นำที่เสียสละ ช่วยเหลือผู้อื่น ทำงานเป็น
ขั้นเป็นตอน เปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้แสดงความ คิด
เห็น และรู้จักการประนีประนอม
28. ผู้นำของท่านยอมรับความก้าวหน้า สามารถนำ
เทคโนโลยีไปใช้ให้เกิดประโยชน์และเผยแผ่ให้แก่
ชาวบ้านทั่วไป
การมีส่วนร่วม
29. ท่านและครอบครัวได้รับประโยชน์จากการ
มีส่วนร่วมในการพัฒนาหมู่บ้าน
30. ท่านให้ความสำคัญในการทำประโยชน์เพื่อ
ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์สุขของตนเอง
31. ท่านช่วยสอดส่องดูแลความผิดปกติในหมู่บ้าน
106
หน้าที่ 4/7
ปัจจัยที่มีผลต่อการเป็น ระดับการปฏิบัติ
หมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง มากที่สุด
(5)
มาก
(4)
ปานกลาง
(3)
น้อย
(2)
น้อยที่สุด
(1)
32. ท่านเข้าประชุม และมีส่วนร่วมสนับสนุน
ส่งเสริมกิจกรรมหมู่บ้านให้ปลอดยาเสพติด
33. ท่านร่วมสนับสนุนแสดงความคิดเห็นเพื่อ
ช่วยแก้ไขปัญหาและพัฒนาหมู่บ้าน
การจัดการ
34. ท่านเข้ารับการอบรมหรือไปศึกษาดูงานทันที
ที่มีหน่วยงานต่าง ๆ ได้จัดขึ้น
35. ท่านวางแผนและทำงานในโครงการหมู่บ้าน
ปลอดยาเสพติด
36. ท่านติดตามประเมินผลงานในโครงการหมู่
บ้านปลอดยาเสพติด
37. เมื่อท่านเกิดปัญหาต่าง ๆ ในชีวิต ท่านจะแก้ไข
ที่ต้นเหตุของปัญหา
38. ท่าน หาทางป้องกัน และมีแนวทางแก้ปัญหาที่
จะเกิดขึ้นกับสิ่งต่าง ๆ ที่ต้องทำ
39. ความสำเร็จที่เกิดขึ้นเพราะท่านและเพื่อนบ้าน
ประชุมปรึกษาหารือ วางแผน กำหนดกิจกรรม
และผู้ร่วมงานทุกคนมีความรับผิดชอบในงานที่ทำ
107
หน้าที่ 5/7
ตอนที่ 2 แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
คำชี้แจง โปรดใส่เครื่องหมาย ลงในช่องว่างทางขวามือของแต่ละข้อความที่ตรงต่อความคิดเห็น
ของท่านมากที่สุด
สภาพการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง ระดับความคิดเห็น
เห็นด้วย
อย่างยิ่ง (5)
เห็นด้วย
(4)
ไม่แน่ใจ
(3)
ไม่เห็น
ด้วย(2)
ไม่เห็นด้วย
อย่างยิ่ง(1)
ครอบครัวมีความอบอุ่น
1. ครอบครัวท่านมีความคิดเห็นที่ขัดแย้งกันและไม่
สามารถประสานความเข้าใจกันได้
2. ท่านและสมาชิกในครอบครัวมีความสุขสบาย
ปลอดโปร่งโล่งใจ
3. ทุกคนในครอบครัวรับฟังความคิดเห็นและ
ยอมรับเหตุผลซึ่งกันและกัน
4. ทุกคนในครอบครัวท่านรักและเคารพเชื่อฟัง
ท่านเป็นอย่างดี
5. ทุกคนในครอบครัวคอยดูแลเอาใจใส่ช่วยเหลือ
ซึ่งกันและกัน มีความผูกพัน และเอื้ออาทรต่อกัน
เศรษฐกิจสมดุล
6. รายได้ในครอบครัวท่านเพียงพอกับรายจ่าย
7. ท่านปลูกผักสวนครัวไว้บริโภคและมีเหลือเพื่อ
นำไปขายหรือแบ่งปันให้กับเพื่อนบ้าน
8. ท่านและสมาชิกในครอบครัวช่วยเหลือตนเองได้
และรู้สึกพึงพอใจกับสภาพที่ตนเองเป็นอยู่
9. ท่านและครอบครัวไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะ
วิกฤติทางเศรษฐกิจทั้งทางตรงและทางอ้อม
108
หน้าที่ 6/7
สภาพการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง ระดับความคิดเห็น
เห็นด้วย
อย่างยิ่ง (5)
เห็นด้วย
(4)
ไม่แน่ใจ
(3)
ไม่เห็น
ด้วย (2)
ไม่เห็นด้วย
อย่างยิ่ง(1)
องค์กรชุมชนเข้มแข็ง
10. ท่านรู้แล้วว่าการรวมกลุ่มเพื่อช่วยกันแก้ปัญหา
จะทำให้ตนเองและชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้และ
นำความสุขมาสู่ทุกคน
11. ท่านทำตามคำแนะนำจากราชการหรือเอกชน
ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาหมู่บ้าน
12. ท่านให้ความร่วมมือสนับสนุนส่งเสริมกลุ่มที่
ทำประโยชน์แก่ชาวบ้านและส่วนรวม
13. กลุ่มและสมาชิก คิดเอง ทำเอง และแก้ปัญหา
เองด้วยการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
การจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
14. ทุกคนควรช่วยกันใช้วัสดุที่ทำมาจากธรรมชาติ
แทนการใช้ถุงพลาสติก และโฟม
15. ท่านแยกขยะและนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี
16. ท่านว่ากล่าวตักเตือนผู้ที่ทิ้งขยะ สิ่งปฏิกูลลงบน
ถนน แม่น้ำ ลำคลอง
17. ท่านสนับสนุนช่วยขุดลอกคูคลอง กำจัด วัชพืช
ปลูกดอกไม้ ต้นไม้ใหญ่เพื่อความสวยงาม
ให้ร่มเงาบริเวณหน้าบ้านและตามถนนหนทาง
18. ท่านและสมาชิกในครอบครัวช่วยกันจัดบ้าน
เรือนให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยถูกสุขลักษณะ
109
หน้าที่ 7/7
ตอนที่3 แบบสอบถามปลายเปิดเพื่อแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
ข้อ 1. บุคคลที่ท่านยึดถือเป็นแบบอย่างและปฏิบัติตามคือใคร เพราะเหตุใด
……………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………….
ข้อ 2. อะไรคือสิ่งที่ท่านภูมิใจที่ทำให้หมู่บ้านของท่านมีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป
……………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………….
ข้อ 3. หมู่บ้านของท่านมีความสงบสุขและน่าอยู่เช่นทุกวันนี้เพราะอะไร
……………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………….
ข้อ 4. ท่านมีข้อเสนอแนะอย่างไรในการพัฒนาหมู่บ้านให้เจริญก้าวหน้าตลอดไป
……………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………….
ผู้วิจัยขอขอบคุณเป็นอย่างสูงที่ท่านได้สละเวลาตอบแบบสอบถามฉบับนี้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อ
หมู่บ้านหรือชุมชนอื่นที่กำลังพัฒนาให้เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองได้ประสบผลสำเร็จ
ต่อไปในอนาคต
นางสาวภาวดี ศรีมุกดา
ผู้วิจัย
117
ประวัติผู้วิจัย
ชื่อ-นามสกุล นางสาวภาวดี ศรีมุกดา
ที่อยู่ 182 หมู่ 4 ตำบลท่าไม้ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร 74110
โทรศัพท์ (034)472723
06- 7606948
ประวัติการศึกษา 2534 ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป
วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
2531 มัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนปัญญาวรคุณ
เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร
ประวัติการทำงาน 2540-2543 พนักงานขายค่าขนส่งสินค้าทางเรือขาออกไปเอเชีย
บริษัท APL CO.,LTD. (THAILAND BRANCH)
2538 พนักงานขายค่าขนส่งสินค้าทางเรือขาออกไปอเมริกา
บริษัทพาราชิปปิ้งเอเย่นซี่ จำกัด
2537 หัวหน้าฝ่ายบริการลูกค้าขาออกอเมริกาบริษัทพาราชิปปิ้งเอเย่นซี่จำกัด
2535 หัวหน้าฝ่ายเอกสารขาออก อเมริกา บริษัทพาราชิปปิ้ง จำกัด
2533 พนักงานฝ่ายเอกสาร บริษัทพาราชิปปิ้ง จำกัด

ปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองกรณีศึกษา จังหวัดสมุทรสาคร (ตอนที่ 1)
ปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองกรณีศึกษา จังหวัดสมุทรสาคร (ตอนที่ 2)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น