วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ปัจจัยที่มีผลต่อการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโรคเอดส์ของผู้ติดยาเสพติดในคลินิกยาเสพติด (ตอนที่ 1)



ปัจจัยที่มีผลต่อการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโรคเอดส์ของผู้ติดยาเสพติดในคลินิกยาเสพติด
สังกัดกรุงเทพมหานคร
นางวันเพ็ญ ปริยพฤทธ์
วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
ปีการศึกษา 2546
ISBN 974-373-353-1
ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
FACTORS AFFECTING THE SELF PROTECTION FROM HIV/AIDS OF DRUG USERS : A CASE STUDY
OF DRUG CLINICS ,BANGKOK METROPOLITAN ADMINISTRATION
MRS.WANPEN PARIYAPRUTH
A Thesis Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements
for the Master of Arts (Social Sciences for Development)
Bansomdejchaophraya Rajabhat University
Academic Year 2003
ISBN : 974-373-353-1

วิทยานิพนธ์ ปัจจัยที่มีผลต่อการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโรคเอดส์ของผู้ติดยา
เสพติดในคลินิกยาเสพติด สังกัดกรุงเทพมหานคร
โดย นางวันเพ็ญ ปริยพฤทธ์
สาขาวิชา สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
อาจารย์ที่ปรึกษา รศ.ดร.นงลักษณ์ เทพสวัสดิ์
อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม ผศ.ดร.จันทร์วิภา ดิลกสัมพันธ์
อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม ดร.ประเทือง อัมพรภักดิ์
บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา อนุมัติให้วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
…..…………………………………คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
(ดร.สรายุทธ์ เศรษฐขจร)
วันที่ ……………..เดือน………………..……พ.ศ……………..
คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์
…………………………………….………………….….. ประธานกรรมการ
(ศาสตราจารย์ ดร.สายหยุด จำปาทอง)
…………….………………………………………………. กรรมการ
(รองศาสตราจารย์ ดร.นงลักษณ์ เทพสวัสดิ์)
…………….………………………………………………. กรรมการ
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จันทร์วิภา ดิลกสัมพันธ์)
…………….………………………………………………. กรรมการ
( ดร.ประเทือง อัมพรภักดิ์)
…………….………………………………………………. กรรมการ
( ดร.รัชนี คุโณปการ)
…………………………………………………….. กรรมการและเลขานุการ
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สมชาย พรหมสุวรรณ)
ลิขสิทธิ์ของสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

วันเพ็ญ ปริยพฤทธ์.(2546) ปัจจัยที่มีผลต่อการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโรคเอดส์ของผู้ติด
ยาเสพติดในคลินิกยาเสพติด สังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต:
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. คณะกรรมการควบคุม
รศ.ดร.นงลักษณ์ เทพสวัสดิ์ , ผศ.ดร.จันทร์วิภา ดิลกสัมพันธ์ ,ดร.ประเทือง อัมพรภักดิ์
การวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโรคเอดส์ของผู้ติดยาเสพติดในคลินิกยาเสพติด สังกัดกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยคือเพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์และถุงยางอนามัย ปัจจัยการประเมินอันตราย ปัจจัยการประเมินการเผชิญปัญหา ปัจจัยสื่อและพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโรคเอดส์ของผู้ติดยาเสพติด และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์และถุงยางอนามัย ปัจจัยการประเมินอันตราย ปัจจัยการประเมินการเผชิญปัญหากับพฤติกรรมการป้องกันตนเองการจากติดเชื้อโรคเอดส์ของผู้ติดยาเสพติด กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาได้แก่ ผู้ติดยาเสพติดในเพศชายทั้งชนิดฉีดเข้าเส้นและชนิดสูบเฮโรอีน เฉพาะผู้ที่มีผลเลือดปกติ (ไม่พบเชื้อเอชไอวี) ที่มารับการบำบัดรักษายาเสพติดในคลินิกยาเสพติดของศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร จำนวน 90 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองจำนวน 96 ข้อ ทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนค่า t-test สำหรับการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการศึกษามีสาระสำคัญดังนี้ การศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโรคเอดส์ของผู้ติดยาเสพติดในคลินิกยาเสพติด สังกัด กรุงเทพมหานคร พบว่า ปัจจัยความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์และถุงยางอนามัย ปัจจัยการประเมินอันตรายได้แก่ ด้านการรับรู้ความรุนแรงของโรคเอดส์ ด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคเอดส์ ปัจจัยการประเมินการเผชิญปัญหาได้แก่ ด้านความคาดหวังในผลลัพธ์ของการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยง และด้านความคาดหวังในความสามารถของตนเอง ในภาพรวมมีค่าอยู่ระดับสูง ส่วนปัจจัยสื่อพบว่าสื่อที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันตนเอง จากการติดเชื้อโรคเอดส์ตามประเภทสื่อด้านการรับข้อมูลข่าวสาร เชื่อถือในคำแนะนำ ยอมรับในคำแนะนำ ยินดีปฏิบัติตามคำแนะนำและมีปัญหาหรือข้อสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับโรคเอดส์ในอันดับมากที่สุด คือ สื่อประเภทบุคลากรทางสาธารณสุข ได้แก่ นักสังคมสงเคราะห์และแพทย์ พยาบาล

การศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโรคเอดส์ของผู้ติดยาเสพติดในคลินิกยาเสพติด สังกัด กรุงเทพมหานคร พบว่าปัจจัยความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์และถุงยางอนามัย ปัจจัยการประเมินอันตรายด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคเอดส์ ปัจจัยการประเมินการเผชิญปัญหาได้แก่ ด้านความคาดหวังในผลลัพธ์ของการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงและด้านความคาดหวังในความสามารถของตนเอง มีผลกับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโรคเอดส์ของผู้ติดยาเสพติด อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนปัจจัยการประเมินอันตรายด้านการรับรู้ความรุนแรงของโรคเอดส์มีผลกับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโรคเอดส์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.05

WANPEN PARIYAPRUTH (2003). Factors affecting the self protection from HIV/AIDS of
drug users : A case study of drug clinics , Bangkok Metropolitan Administration. Graduate school,R.U.B. Advisor committee : Assoc.Prof.Dr. Nongluksana Thepsawasdi, Asst. Prot. Dr. Chanvipa Diloksambandh, Dr, Prathuang Ampornpuckdi.
A study on “Factors affecting the self protection from HIV/AIDS of drug users : A case study of drug clinics , Bangkok Metropolitan Administration”, intends to study the factor related to persons and their knowledge of HIV/AIDS and condoms, threat appraisal, coping response, media and the self protection from HIV/AIDS of drug users. The population for the study consisted 90 persons who were drug addicts brought in drug rehabilitation center under the Department of Health Center, Bangkok Metropolitan Administration. They had intravenous and heroin addition. The instrument used for data collection was analyzed by statistical method using frequency, percentage, standard deviation , mean and t-test at the level of significance 95% by SPSS for Windows.
The important findings of factors affecting the self protection from HIV/AIDS of drug users : A case study of drug clinics, Bangkok Metropolitan Administration , included the foremost complete awareness of HIV/AIDS and condoms. It was also found that the threat appraisal was also on a very high level with information on anxiety, coping the situation and facing it. The medias role in creating awareness providing suggestion on the avoidance of HIV/AIDS related diseases was also very critically significance in most of the minds of the persons under study. This was much more concern among doctors, nurses, and public health officials.
The present study found that the issue of self protection from HIV/AIDS caused by drug users at the drug rehabilitation center (under the Department of Health Center , BMA) is totally co-related with the type of information coming from media when the self protection is on a very high level. The role of medical doctors, nurses and health personals become very relevant means of assistance. The role of social workers as a variety of media was also on the moderate level. Therefore, on the level of significance, the inter-relation of all such factors with self protection from HIV/AIDS of drug addicts has to be evaluated altogether.

ประกาศคุณูปการ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้สำเร็จลุล่วงด้วยความอนุเคราะห์อย่างดียิ่งของ รศ.ดร.นงลักษณ์ เทพสวัสดิ์ ผศ.ดร.จันทร์วิภา ดิลกสัมพันธ์ ดร.ประเทือง อัมพรภักดิ์ นายแพทย์ชัชชัย วัชรพฤกษาดี นายแพทย์ ชวินทร์ ศิรินาค และ ดร.อรทัย หรูเจริญพรพาณิชย์ ท่านอาจารย์ที่ปรึกษาและผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่านที่ได้กรุณา สละเวลาให้คำแนะนำ ขอคิดเห็น ชี้แนะความรู้ต่าง ๆ ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้และความเข้าใจในการดำเนินการศึกษาวิจัยทางสังคมศาสตร์ตลอดจนตรวจทานแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ ในการดำเนินการวิจัยอันเป็นประโยชน์แก่ผู้วิจัย จนทำให้งานวิจัยฉบับนี้สำเร็จลงด้วยดี
ขอกราบขอบพระคุณ คุณมันทนา แก้ววิเศษ คุณฐิติรัตน์ โสภาคดิษฐพงศ์ พี่ๆ น้อง นักสังคมสงเคราะห์ของคลินิกยาเสพติด ศูนย์สาธารณสุข 23 (สี่พระยา) ที่ให้ความช่วยเหลือ สนับสนุน ให้คำปรึกษาและเป็นกำลังใจ ขอขอบพระคุณ คุณวิยะดา เรืองฤทธิ์ คุณเยาวลักษณ์ ทองอุ่มใหญ่ ที่ให้ความช่วยเหลือจนการวิจัยครั้งนี้สำเร็จได้ด้วยดี
ขอขอบพระคุณ คุณพ่อ คุณแม่ พี่ๆ น้องๆ ของผู้วิจัย และบุคคลสำคัญของผู้วิจัย คือ
คุณมีชัย ปริยพฤทธ์ ที่ช่วยเหลือ สละเวลา เมตตา และให้กำลังใจตลอดมาคุณค่าและประโยชน์ที่ได้จากวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ผู้วิจัยขอมอบแด่ คุณพ่อ คุณแม่ ครูอาจารย์ และผู้มีพระคุณทุกท่านด้วยความเคารพยิ่ง
วันเพ็ญ ปริยพฤทธ์
สารบัญ
หน้า
บทคัดย่อภาษาไทย …..………………..………………………………………….. ง
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ …………………………………………………………….. ฉ
ประกาศคุณูปการ …..…………………………………………………………….. ช
สารบัญ ……………………………………………………………………………. ซ
สารบัญตาราง……………………………………………………………………….. ญ
สารบัญแผนภาพ.……………………………….…………………………………... ฑ
บทที่ 1 บทนำ ………………………………….……………………………….. 1
1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา…………..……………….. 1
1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย ....……………………………………. 4
1.3 ขอบเขตของการวิจัย.……………………………………………….. 5
1.4 นิยามศัพท์เฉพาะ.....………………………………………….……. 5
1.5 สมมติฐานการวิจัย………………………………………………….. 6
1.6 กรอบแนวคิดในการวิจัย..…………..……………….………….…… 7
1.7 ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย..…………………………..………..… 9
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง .……………..……………..………….. 10
2.1 ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์และถุงยางอนามัย .………………………….. 10
2.2 แนวคิดเกี่ยวกับการรับรู้และทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค…………. 21
2.3 ทฤษฎีสื่อ……………………………………………………………… 32
2.4 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง…………….…………………………………….. 35
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย ………….…………………………………………… 39
3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง…………………………………………… 39

สารบัญ (ต่อ)
หน้า
3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย..…………………………………………….. 42
3.3 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล.…………….………………………………. 48 3.4 การวิเคราะห์ข้อมูล…………………………………………………… 48
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล..…………….………………………………….. 52
4.1 วิเคราะห์ข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง ..………………………………….. 52
4.2 การทดสอบสมมติฐาน………………………………………………. 70
บทที่ 5 สรุปอภิปรายผลและข้อเสนอแนะ….………………………………… 75
5.1 สรุปผลการวิจัย………………………………………………………. 76
5.2 อภิปรายผลการวิจัย……….……………..……………………….…. 78
5.3 ข้อเสนอแนะจากการวิจัย.……………….…………………………... 81
5.4 ข้อเสนอแนะในครั้งต่อไป…… ……………………..……………….. 81
บรรณานุกรม …………………..………………………………………………… 82
ภาคผนวก
ภาคผนวก ก รายนามอาจารย์ที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ… 86
ภาคผนวก ข แบบสอบถาม………………….…………………………… 89
ภาคผนวก ค ผลการวิเคราะห์ข้อมูล…………………….…………..…… 101
ภาคผนวก ง เอกสารรับรองโครงการวิจัยในคน……………………….…. 107
ประวัติผู้วิจัย ……………………………………………………………………. 109

สารบัญตาราง
ตารางที่ หน้า
1 แสดงจำนวนผู้ป่วยโรคเอดส์ (AIDS Cases) และผู้ติดเชื้อเอดส์ที่มีอาการ
(Symptomatic HIV Cases) พ.ศ. 2527 ถึง วันที่ 31 มีนาคม 2545…….. 2
2 แสดงร้อยละของผู้ป่วยโรคเอดส์ในเขตกรุงเทพมหานคร จำแนกตามปัจจัย
เสี่ยง พ.ศ.2527 ถึง วันที่ 31 มีนาคม 2545…………………………………… 3
3 แสดงจำนวนผู้ติดยาเสพติดที่มีผลเลือดปกติ (ไม่พบเชื้อเอชไอวี)
แยกตามสถานบำบัดรักษา……….………………………………………….. 40
4 แสดงจำนวนกลุ่มตัวอย่างของผู้ที่มีผลเลือดปกติ (ไม่พบเชื้อเอชไอวี)
ในแต่ละคลินิก………………………………………………………………… 42
5 แสดงระดับความคิดเห็นตามประเภทของสื่อที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้อง
กันตนเองจากการติดเชื้อโรคเอดส์ของผู้ติดยาเสพติดในคลินิก...................... 45
6 แสดงจำนวนและค่าร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล…. 53
7 แสดงค่าระดับของปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการติด
เชื้อโรคเอดส์ของผู้ติดยาเสพติดในคลินิกยาเสพติดในภาพรวม…….………… 56
8 แสดงความสนใจสื่อที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อ
โรคเอดส์ในด้านการรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคเอดส์เรียงลำดับจากมากไป
หาน้อย……………………………………………………..………….……… 59
9 แสดงความสนใจสื่อที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อ
โรคเอดส์ในด้านเชื่อถือในคำแนะนำเกี่ยวกับโรคเอดส์เรียงลำดับจากมากไป
หาน้อย…………………………………………………….………………….. 60
10 แสดงความสนใจสื่อที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อ
โรคเอดส์ในด้านยอมรับในคำแนะนำเกี่ยวกับโรคเอดส์เรียงลำดับจากมากไปหา
น้อย…………….……………………………………………………………. 62

สารบัญตาราง (ต่อ)
ตารางที่ หน้า
11 แสดงความสนใจสื่อที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อ
โรคเอดส์ในด้านยินดีปฏิบัติตามคำแนะนำเกี่ยวกับโรคเอดส์เรียงลำดับจากมาก
ไปหาน้อย……………………………………………………………………… 63
12 แสดงความสนใจสื่อที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อ
โรคเอดส์ในด้านเมื่อมีปัญหาหรือข้อสงสัยใดๆเกี่ยวกับโรคเอดส์เรียงลำดับจาก
มากไปหาน้อย…………………………….………………………….……… 65
13 สรุปสื่อที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโรคเอดส์
แยกตามประเภทของสื่อที่ได้รับเลือก 5 อันดับแรก…………………………. 66
14 แสดงจำนวนและค่าร้อยละด้านพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อ
โรคเอดส์ของกลุ่มตัวอย่าง……………………………………………………. 67
15 เปรียบเทียบพฤติกรรมการป้องการกันตนเองจากการติดเชื้อโรคเอดส์
จำแนกตามความรู้ เกี่ยวกับโรคเอดส์และถุงยางอนามัย…………………….. 71
16 เปรียบเทียบพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโรคเอดส์
จำแนกตามปัจจัยการประเมินอันตราย ด้านการรับรู้ความรุนแรง
ของโรคเอดส์………………………………………………………………… 72
17 เปรียบเทียบพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโรคเอดส์
จำแนกตามปัจจัยการประเมินอันตราย ด้าน การรับรู้โอกาสเสี่ยง
ของการติดเชื้อโรคเอดส์……………………………………………………… 72
18 เปรียบเทียบพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโรคเอดส์
จำแนกตามปัจจัยการประเมินการเผชิญปัญหาด้านความคาดหวัง
ในผลลัพธ์ของการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยง……………………….…………… 73

สารบัญตาราง (ต่อ)
ตารางที่ หน้า
19 เปรียบเทียบพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโรคเอดส์จำแนกตาม
ปัจจัยการประเมินการเผชิญปัญหาด้านความคาดหวังในความสามารถของ
ตนเอง..................................................................................................... 74

ตารางภาคผนวก
ตารางภาคผนวกที่ หน้า
20 แสดงจำนวนและค่าร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามข้อมูลความรู้เกี่ยวกับ
โรคเอดส์และถุงยางอนามัย................................................................... ... 102
21 แสดงจำนวนและค่าร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามข้อมูลการรับรู้ต่อ
โรคเอดส์.................................................................................................. 104
22 แสดงตัวแปร รหัสตัวแปร สเกลการวัดและค่าตัวแปร.................................. 106

สารบัญแผนภาพ
แผนภาพที่ หน้า
1 กรอบแนวความคิดในการวิจัย..…………………………………………… 8
2 แสดงร้อยละจำนวนของโรคติดเชื้อฉวยโอกาส 5 อันดับแรกใน
เขตกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ปี 2527 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2545…………….. 14
3 แสดงการรับรู้ของบุคคลที่มีผลต่อการเรียนรู้……..…………………..……. 21
4 แสดงกระบวนการของการรับรู้………..……………………………………. 22
5 แสดงรูปแบบดั้งเดิมของทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อการป้องกันโรคของ Roger…. 24
6 แสดงรูปแบบทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อการป้องกันโรคที่ได้รับการพัฒนา Roger.. 30
7 แสดงแบบจำลองการสื่อสารในลักษณะทางเดียว…………………………. 33
บทที่ 1
บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
โรคเอดส์(AIDS:Acquired Immuno Deficiency Syndrom)เป็นโรคติดต่อที่ร้ายแรงและ
เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญปัญหาหนึ่งของโลก เนื่องจากก่อให้เกิดอาการรุนแรงและเสียชีวิตใน
ที่สุด อีกทั้งการแพร่ระบาดของเชื้อเอชไอวี (HIV:Human Immuno Deficiency Virus) ที่ทำให้เกิด
โรคเอดส์นั้นได้มีการแพร่ระบาดไปทั่วโลก จำนวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจึงนับเป็น
มหันตภัยที่ร้ายแรงและในปัจจุบันวงการแพทย์ยังไม่สามารถค้นพบยาหรือวิธีการรักษาตลอดจน
วัคซีนที่จะใช้ป้องกันโรคเอดส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สถานการณ์ของปัญหาโรคติดเชื้อเอชไอวี / เอดส์(HIV/AIDS) นับตั้งแต่มีรายงานผู้ป่วยโรค
เอดส์ครั้งแรกในโลกพ.ศ.2524 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาต่อมาเกิดการระบาดจนเป็นปัญหาสาธารณ
สุขและปัญหาสังคมทั่วโลกประมาณการจำนวนผู้ติดเชื้อเอชไอวีทั่วโลกในปี พ.ศ. 2540 ประมาณ
30 ล้านคนในจำนวนนี้ร้อยละ 63 อยู่ในทวีปอัฟริกา และร้อยละ 25 อยู่ในทวีปเอเชียโดยเฉพาะ
อย่างยิ่งกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ ส่วนที่เหลือกระจายอยู่ในอเมริกา ยุโรป
ออสเตรเลียและอื่นๆ ส่วนประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีการระบาดของโรคเอดส์อย่างรวดเร็วนับ
ตั้งแต่มีผป่วยรายแรกเมื่อปี พ.ศ. 2527จนถึง พ.ศ. 2541มีผู้ติดเชื้อมากกว่า 1 ล้านคน (พิพัฒน์
ลักษมีจรัลกุล 2541:71) และจากรายงานการดำเนินการเฝ้าระวังผู้ป่วยโรคเอดส์และผู้ติดเชื้อเอดส์
ที่มีอาการของกองควบคุมโรคเอดส์ สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร (2545 : 2) ได้สรุปจำนวนผู้
ป่วยโรคเอดส์ (AIDS Cases) และผู้ติดเชื้อเอดส์ที่มีอาการ (Symptomatic HIV Cases) ซึ่งเป็น
“ยอดสะสม” ตั้งแต่ พ.ศ. 2527 จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2545 ดังตารางที่ 1
2
ตารางที่ 1 แสดงจำนวนผู้ป่วยโรคเอดส์ (AIDS Cases) และผู้ติดเชื้อเอดส์ที่มีอาการ
(Symptomatic HIV Cases) พ.ศ. 2527 ถึง วันที่ 31 มีนาคม 2545
ผู้ป่วยโรคเอดส์ (AIDS)
ผู้ติดเชื้อเอดส์ที่มีอาการ
(Symptomatic HIV cases)
ทั้งหมด
เสีย
ชีวิต
มีชีวิตอยู่
ทั้งหมด
เสียชีวิต
มีชีวิตอยู่
จำนวนผู้ติด
เชื้อและผู้ป่วย
เอดส์ที่มีชีวิต
อยู่จนถึงสิ้นปี
2544 (การคาด
)
กรุงเทพมหานคร
19,937
5,915
14,022
6,598
647
5,951
95,420 (1)
ประเทศไทย
189,884
52,507
137,377
70,746
7,393
63,353
665,344 (2)
ที่มา : กองควบคุมโรคเอดส์ สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร 2545
ข้อมูลดังกล่าวได้รับจากการรายงานด้วยบัตรรายงาน 506/1 507/1 ของสถานพยาบาล
ในพื้นที่กรุงเทพมหานครในปี 2544 ซึ่งได้รับความร่วมมือในการรายงานเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นคือ
ประมาณ 48% ของสถานพยาบาลทั้งหมด ดังนั้นตัวเลขจำนวนผู้ป่วยเอดส์และผู้ติดเชื้อที่มี
อาการ รวมทั้งผู้เสียชีวิตจึงน้อยกว่าความเป็นจริงมาก และตัวเลขจากการคาดประมาณจำนวนผู้ติด
เชื้อและผู้ป่วยเอดส์ที่มีชีวิตอยู่จนถึงสิ้นปี 2544 ได้รับจาก
1. AIDS Control Division, 2001 (คาดประมาณโดยใช้ AIDS Impact Model)
2. The Thai working group on HIV / AIDS Projection, 2001 : (Base – line scenaria)
ปัจจุบันแนวโน้มการแพร่ระบาดของโรคเอดส์เป็นไปอย่างกว้างขวาง จำนวนผู้ติดเชื้อและ
ผู้ป่วยโรคเอดส์เพิ่มสูงขึ้นถ้าบุคคลในสังคมยังคงมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการรับและแพร่เชื้อเอดส์ ฉะนั้น
เราคงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องหามาตรการเพื่อรองรับกับปัญหาและตอบสนองกับความต้องการของ
ผู้ป่วยโรคเอดส์จำนวนมากที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จากรายงานสถานการณ์ของโรคเอดส์ที่มีอยู่ใน
ปัจจุบันเราสามารถคาดการณ์ได้ว่า ภาระที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเป็นภาระโดยตรงต่อระบบบริการ
ทางด้านการแพทย์ การพยาบาลและบริการด้านสังคมทุกระดับที่จะต้องเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ และการ
ระบาดในกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคเอดส์มีการระบาดเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนการระบาดเข้าสู่
สถาบันครอบครัวเกิดอัตราความชุกสูงขึ้นอย่างชัดเจนในกลุ่มแม่บ้านจากการมีเพศสัมพันธ์และมี
โอกาสขยายวงกว้างออกไปสู่ทารกที่ติดเชื้อจากมารดาได้มากขึ้น โดยพบอัตราการติดเชื้อเอชไอวีใน
ทารกจากมารดาประมาณปีละ 5,000 ราย (พิพัฒน์ ลักษมีจรัลกุล 2541:73) และจากรายงานการ
3
5 ดังตารางที่ 2
ตารางที่ 2 แสดงร้อยละของผู้ป่วยโรคเอดส์ในเขตกรุงเทพมหานคร จำแนกตาม
ปัจจัยเสี่ยง พ.ศ. 2527 ถึง วันที่ 31 มีนาคม 2545
ปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อเอดส์
ร้อยละ
1. การติดเชื้อเอดส์จากการมีเพศสัมพันธ์
76.22
(เพศสัมพันธ์แบบรักต่างเพศหญิงกับชาย
ร้อยละ 56.96)
(เพศสัมพันธ์แบบรักร่วมเพศเดียวกัน
ร้อยละ 1.40)
(เพศสัมพันธ์แบบรักสองเพศ
ร้อยละ 0.95)
2. ปัจจัยเสี่ยงจากยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น
11.64
(พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิงเท่ากับ
ร้อยละ 11.36 และ 0.28 ตามลำดับ)
3. ไม่ทราบปัจจัยเสี่ยง
6.89
4. ติดเชื้อจากมารดา
5.22
5. รับเลือด
0.04
ที่มา : กองควบคุมโรคเอดส์ สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร 2545:3
จะเห็นได้ว่ากลุ่มผู้ติดยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้นเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคเอดส์กลุ่ม
หนึ่งที่มีความสำคัญต่อการรับและแพร่เชื้อเอดส์ไปสู่เพศหญิงในกลุ่มแม่บ้านจากพฤติกรรมการมี
เพศสัมพันธ์และยาเสพติดโดยการใช้เข็มหรือกระบอกฉีดยาร่วมกัน ยาเสพติดที่กลุ่มผู้ติดยาเสพติด
ชนิดฉีดเข้าเส้นนิยมใช้ก็คือ เฮโรอีน ปัญหายาเสพติดที่รุนแรงที่สุดของสังคม จึงอยู่ในกลุ่มที่ใช้
และติดเฮโรอีน ซึ่งเป็นยาที่มีฤทธิ์ต่อจิตประสาทอย่างแรงและการติดยามีสภาพหนักกว่าการติดยา
เสพติดประเภทฝิ่นชนิดอื่น บุคคลเหล่านี้จึงเป็นกลุ่มเป้าหมายในการป้องกันควบคุมการติดเชื้อเอดส์
หรือป้องกันมิให้แพร่เชื้อเอดส์ไปสู่บุคคลอื่นที่ใกล้ชิดรวมทั้งในกลุ่มผู้ติดยาเสพติดชนิดฉีดด้วยกัน
4
ดังนั้น ผู้วิจัยจึงต้องการศึกษากลุ่มผู้ติดยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้นและชนิดสูบเฮโรอีนเพื่อ
ให้ทราบถึงปัจจัยที่มีผลต่อการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโรคเอดส์และเพื่อใช้เป็นฐานข้อมูล
สำหรับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องนำไปใช้ในการพิจารณาแก้ไข ปรับปรุง หรือกำหนดเป็นแนวทางใน
การส่งเสริมสนับสนุน ป้องกันและควบคุมโรคเอดส์ในกลุ่มเสี่ยงอื่นๆต่อไป เหตุที่ผู้วิจัยได้กำหนดให้
กลุ่มผู้ติดยาเสพติดชนิดสูบเฮโรอีนเป็นกลุ่มตัวอย่างศึกษาร่วมด้วย เพราะกลุ่มผู้ติดยาเสพติดมักจะ
เริ่มใช้ยาด้วยวิธีสูบและก็อาจเปลี่ยนพฤติกรรมจากการสูบมาเป็นการฉีดได้ทุกเมื่อ โดยวิธีสูบจะใช้
ปริมาณของเฮโรอีนมากกว่าวิธีฉีด ขึ้นอยู่กับฐานะทางการเงินของตนเองที่มีอยู่ในขณะนั้นหรืออาจ
กล่าวได้ว่า ผู้ที่เริ่มใช้ยาด้วยวิธีสูบเฮโรอีน ในไม่ช้าก็จะเปลี่ยนเป็นวิธีฉีดเฮโรอีนเป็นส่วนมากและ
พฤติกรรมเสี่ยงจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัยของการไม่ใช้ถุงยางอนามัยหรือจากการใช้ถุงยาง
อนามัยอย่างไม่สม่ำเสมอของกลุ่มผู้ติดยาเสพติด เช่น การมีเพศสัมพันธ์กับหญิงบริการเป็นต้น จึง
จัดได้ว่ากลุ่มผู้ติดยาเสพติดชนิดสูบเฮโรอีนก็มีอัตราเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี / เอดส์ ได้เช่นเดียว
กับชนิดฉีดเฮโรอีน และการที่ผู้วิจัยต้องการศึกษาในกลุ่มผู้ติดยาเสพติดเฉพาะเพศชาย ก็เนื่องจาก
ข้อมูลปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อโรคเอดส์จากยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น ของกองควบคุมโรคเอดส์
สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร (2545) ดังกล่าวข้างต้น พบว่า เพศชายมีปัจจัยเสี่ยงของการติด
เชื้อโรคเอดส์เท่ากับ 11.36 %มากกว่าเพศหญิงที่มีปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อโรคเอดส์เท่ากับ 0.28
%
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ และถุงยางอนามัย ปัจจัย
การประเมินอันตราย ปัจจัยการประเมินการเผชิญปัญหา ปัจจัยสื่อ และพฤติกรรมการป้องกันตนเอง
จากการติดเชื้อโรคเอดส์ของผู้ติดยาเสพติด
5
2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์และถุงยางอนามัย ปัจจัย
การประเมินอันตราย ปัจจัยการประเมินการเผชิญปัญหากับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการติด
เชื้อโรคเอดส์ของผู้ติดยาเสพติด
ขอบเขตของการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาผู้ติดยาเสพติดในเพศชายทั้งชนิดฉีดเข้าเส้นและชนิดสูบเฮโรอีน
เฉพาะผู้ที่มีผลเลือดปกติ (ไม่พบเชื้อเอชไอวี) ที่มารับการบำบัดรักษายาเสพติดในคลินิกยาเสพติด
ของศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร จำนวน 15 แห่ง ในเดือนมิถุนายน 2546
รวมระยะเวลาทั้งสิ้น 1 เดือน
นิยามศัพท์เฉพาะ
1. ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์และถุงยางอนามัย หมายถึง การวัดความรู้หรือประสบ
การณ์ที่เคยได้รับเกี่ยวกับเรื่องโรคเอดส์ในด้านความรุนแรงของโรค การติดต่อของโรค การรักษาโรค
การป้องกันโรคจากพฤติกรรมเสี่ยงของการใช้เข็มหรือกระบอกฉีดยา และจากการใช้ถุงยางอนามัย
ในผู้ติดยาเสพติด
2. การรับรู้ หมายถึง การตีความจากสิ่งที่เห็น สิ่งที่ได้ยินและสิ่งที่รู้สึกด้วยประสาท
สัมผัส อันเป็นแนวโน้มชักนำให้บุคคลประพฤติตามความคิดความเข้าใจนั้น
3. ปัจจัยการประเมินอันตราย ได้แก่
3.1 ด้านการรับรู้ความรุนแรงของโรคเอดส์ หมายถึง การรับรู้ของผู้ติดยาเสพติดว่า
โรคเอดส์เป็นโรคที่มีอันตรายต่อร่างกายถึงตาย ยังไม่มียารักษาให้หายจากโรคหรือวัคซีนป้องกันโรค
หากติดเชื้อต้องใช้เวลานานในการรักษาโรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นและจะมีผลเสียต่อตนเอง ครอบครัว
และสังคม
3.2 ด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคเอดส์ หมายถึง การรับรู้ของผู้
ติดยาเสพติดว่ามีโอกาสติดเชื้อเอดส์จากพฤติกรรมเสี่ยงของการใช้เข็มหรือกระบอกฉีดยาร่วมกัน
และพฤติกรรมทางเพศที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคเอดส์หากไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำในการป้องกันโรค
เอดส์
บทที่ 1
บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
โรคเอดส์(AIDS:Acquired Immuno Deficiency Syndrom)เป็นโรคติดต่อที่ร้ายแรงและ
เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญปัญหาหนึ่งของโลก เนื่องจากก่อให้เกิดอาการรุนแรงและเสียชีวิตใน
ที่สุด อีกทั้งการแพร่ระบาดของเชื้อเอชไอวี (HIV:Human Immuno Deficiency Virus) ที่ทำให้เกิด
โรคเอดส์นั้นได้มีการแพร่ระบาดไปทั่วโลก จำนวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจึงนับเป็น
มหันตภัยที่ร้ายแรงและในปัจจุบันวงการแพทย์ยังไม่สามารถค้นพบยาหรือวิธีการรักษาตลอดจน
วัคซีนที่จะใช้ป้องกันโรคเอดส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สถานการณ์ของปัญหาโรคติดเชื้อเอชไอวี / เอดส์(HIV/AIDS) นับตั้งแต่มีรายงานผู้ป่วยโรค
เอดส์ครั้งแรกในโลกพ.ศ.2524 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาต่อมาเกิดการระบาดจนเป็นปัญหาสาธารณ
สุขและปัญหาสังคมทั่วโลกประมาณการจำนวนผู้ติดเชื้อเอชไอวีทั่วโลกในปี พ.ศ. 2540 ประมาณ
30 ล้านคนในจำนวนนี้ร้อยละ 63 อยู่ในทวีปอัฟริกา และร้อยละ 25 อยู่ในทวีปเอเชียโดยเฉพาะ
อย่างยิ่งกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ ส่วนที่เหลือกระจายอยู่ในอเมริกา ยุโรป
ออสเตรเลียและอื่นๆ ส่วนประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีการระบาดของโรคเอดส์อย่างรวดเร็วนับ
ตั้งแต่มีผป่วยรายแรกเมื่อปี พ.ศ. 2527จนถึง พ.ศ. 2541มีผู้ติดเชื้อมากกว่า 1 ล้านคน (พิพัฒน์
ลักษมีจรัลกุล 2541:71) และจากรายงานการดำเนินการเฝ้าระวังผู้ป่วยโรคเอดส์และผู้ติดเชื้อเอดส์
ที่มีอาการของกองควบคุมโรคเอดส์ สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร (2545 : 2) ได้สรุปจำนวนผู้
ป่วยโรคเอดส์ (AIDS Cases) และผู้ติดเชื้อเอดส์ที่มีอาการ (Symptomatic HIV Cases) ซึ่งเป็น
“ยอดสะสม” ตั้งแต่ พ.ศ. 2527 จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2545 ดังตารางที่ 1
2
ตารางที่ 1 แสดงจำนวนผู้ป่วยโรคเอดส์ (AIDS Cases) และผู้ติดเชื้อเอดส์ที่มีอาการ
(Symptomatic HIV Cases) พ.ศ. 2527 ถึง วันที่ 31 มีนาคม 2545
ผู้ป่วยโรคเอดส์ (AIDS)
ผู้ติดเชื้อเอดส์ที่มีอาการ
(Symptomatic HIV cases)
ทั้งหมด
เสีย
ชีวิต
มีชีวิตอยู่
ทั้งหมด
เสียชีวิต
มีชีวิตอยู่
จำนวนผู้ติด
เชื้อและผู้ป่วย
เอดส์ที่มีชีวิต
อยู่จนถึงสิ้นปี
2544 (การคาด
)
กรุงเทพมหานคร
19,937
5,915
14,022
6,598
647
5,951
95,420 (1)
ประเทศไทย
189,884
52,507
137,377
70,746
7,393
63,353
665,344 (2)
ที่มา : กองควบคุมโรคเอดส์ สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร 2545
ข้อมูลดังกล่าวได้รับจากการรายงานด้วยบัตรรายงาน 506/1 507/1 ของสถานพยาบาล
ในพื้นที่กรุงเทพมหานครในปี 2544 ซึ่งได้รับความร่วมมือในการรายงานเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นคือ
ประมาณ 48% ของสถานพยาบาลทั้งหมด ดังนั้นตัวเลขจำนวนผู้ป่วยเอดส์และผู้ติดเชื้อที่มี
อาการ รวมทั้งผู้เสียชีวิตจึงน้อยกว่าความเป็นจริงมาก และตัวเลขจากการคาดประมาณจำนวนผู้ติด
เชื้อและผู้ป่วยเอดส์ที่มีชีวิตอยู่จนถึงสิ้นปี 2544 ได้รับจาก
1. AIDS Control Division, 2001 (คาดประมาณโดยใช้ AIDS Impact Model)
2. The Thai working group on HIV / AIDS Projection, 2001 : (Base – line scenaria)
ปัจจุบันแนวโน้มการแพร่ระบาดของโรคเอดส์เป็นไปอย่างกว้างขวาง จำนวนผู้ติดเชื้อและ
ผู้ป่วยโรคเอดส์เพิ่มสูงขึ้นถ้าบุคคลในสังคมยังคงมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการรับและแพร่เชื้อเอดส์ ฉะนั้น
เราคงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องหามาตรการเพื่อรองรับกับปัญหาและตอบสนองกับความต้องการของ
ผู้ป่วยโรคเอดส์จำนวนมากที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จากรายงานสถานการณ์ของโรคเอดส์ที่มีอยู่ใน
ปัจจุบันเราสามารถคาดการณ์ได้ว่า ภาระที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเป็นภาระโดยตรงต่อระบบบริการ
ทางด้านการแพทย์ การพยาบาลและบริการด้านสังคมทุกระดับที่จะต้องเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ และการ
ระบาดในกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคเอดส์มีการระบาดเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนการระบาดเข้าสู่
สถาบันครอบครัวเกิดอัตราความชุกสูงขึ้นอย่างชัดเจนในกลุ่มแม่บ้านจากการมีเพศสัมพันธ์และมี
โอกาสขยายวงกว้างออกไปสู่ทารกที่ติดเชื้อจากมารดาได้มากขึ้น โดยพบอัตราการติดเชื้อเอชไอวีใน
ทารกจากมารดาประมาณปีละ 5,000 ราย (พิพัฒน์ ลักษมีจรัลกุล 2541:73) และจากรายงานการ
3
5 ดังตารางที่ 2
ตารางที่ 2 แสดงร้อยละของผู้ป่วยโรคเอดส์ในเขตกรุงเทพมหานคร จำแนกตาม
ปัจจัยเสี่ยง พ.ศ. 2527 ถึง วันที่ 31 มีนาคม 2545
ปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อเอดส์
ร้อยละ
1. การติดเชื้อเอดส์จากการมีเพศสัมพันธ์
76.22
(เพศสัมพันธ์แบบรักต่างเพศหญิงกับชาย
ร้อยละ 56.96)
(เพศสัมพันธ์แบบรักร่วมเพศเดียวกัน
ร้อยละ 1.40)
(เพศสัมพันธ์แบบรักสองเพศ
ร้อยละ 0.95)
2. ปัจจัยเสี่ยงจากยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น
11.64
(พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิงเท่ากับ
ร้อยละ 11.36 และ 0.28 ตามลำดับ)
3. ไม่ทราบปัจจัยเสี่ยง
6.89
4. ติดเชื้อจากมารดา
5.22
5. รับเลือด
0.04
ที่มา : กองควบคุมโรคเอดส์ สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร 2545:3
จะเห็นได้ว่ากลุ่มผู้ติดยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้นเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคเอดส์กลุ่ม
หนึ่งที่มีความสำคัญต่อการรับและแพร่เชื้อเอดส์ไปสู่เพศหญิงในกลุ่มแม่บ้านจากพฤติกรรมการมี
เพศสัมพันธ์และยาเสพติดโดยการใช้เข็มหรือกระบอกฉีดยาร่วมกัน ยาเสพติดที่กลุ่มผู้ติดยาเสพติด
ชนิดฉีดเข้าเส้นนิยมใช้ก็คือ เฮโรอีน ปัญหายาเสพติดที่รุนแรงที่สุดของสังคม จึงอยู่ในกลุ่มที่ใช้
และติดเฮโรอีน ซึ่งเป็นยาที่มีฤทธิ์ต่อจิตประสาทอย่างแรงและการติดยามีสภาพหนักกว่าการติดยา
เสพติดประเภทฝิ่นชนิดอื่น บุคคลเหล่านี้จึงเป็นกลุ่มเป้าหมายในการป้องกันควบคุมการติดเชื้อเอดส์
หรือป้องกันมิให้แพร่เชื้อเอดส์ไปสู่บุคคลอื่นที่ใกล้ชิดรวมทั้งในกลุ่มผู้ติดยาเสพติดชนิดฉีดด้วยกัน
4
ดังนั้น ผู้วิจัยจึงต้องการศึกษากลุ่มผู้ติดยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้นและชนิดสูบเฮโรอีนเพื่อ
ให้ทราบถึงปัจจัยที่มีผลต่อการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโรคเอดส์และเพื่อใช้เป็นฐานข้อมูล
สำหรับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องนำไปใช้ในการพิจารณาแก้ไข ปรับปรุง หรือกำหนดเป็นแนวทางใน
การส่งเสริมสนับสนุน ป้องกันและควบคุมโรคเอดส์ในกลุ่มเสี่ยงอื่นๆต่อไป เหตุที่ผู้วิจัยได้กำหนดให้
กลุ่มผู้ติดยาเสพติดชนิดสูบเฮโรอีนเป็นกลุ่มตัวอย่างศึกษาร่วมด้วย เพราะกลุ่มผู้ติดยาเสพติดมักจะ
เริ่มใช้ยาด้วยวิธีสูบและก็อาจเปลี่ยนพฤติกรรมจากการสูบมาเป็นการฉีดได้ทุกเมื่อ โดยวิธีสูบจะใช้
ปริมาณของเฮโรอีนมากกว่าวิธีฉีด ขึ้นอยู่กับฐานะทางการเงินของตนเองที่มีอยู่ในขณะนั้นหรืออาจ
กล่าวได้ว่า ผู้ที่เริ่มใช้ยาด้วยวิธีสูบเฮโรอีน ในไม่ช้าก็จะเปลี่ยนเป็นวิธีฉีดเฮโรอีนเป็นส่วนมากและ
พฤติกรรมเสี่ยงจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัยของการไม่ใช้ถุงยางอนามัยหรือจากการใช้ถุงยาง
อนามัยอย่างไม่สม่ำเสมอของกลุ่มผู้ติดยาเสพติด เช่น การมีเพศสัมพันธ์กับหญิงบริการเป็นต้น จึง
จัดได้ว่ากลุ่มผู้ติดยาเสพติดชนิดสูบเฮโรอีนก็มีอัตราเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี / เอดส์ ได้เช่นเดียว
กับชนิดฉีดเฮโรอีน และการที่ผู้วิจัยต้องการศึกษาในกลุ่มผู้ติดยาเสพติดเฉพาะเพศชาย ก็เนื่องจาก
ข้อมูลปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อโรคเอดส์จากยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น ของกองควบคุมโรคเอดส์
สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร (2545) ดังกล่าวข้างต้น พบว่า เพศชายมีปัจจัยเสี่ยงของการติด
เชื้อโรคเอดส์เท่ากับ 11.36 %มากกว่าเพศหญิงที่มีปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อโรคเอดส์เท่ากับ 0.28
%
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ และถุงยางอนามัย ปัจจัย
การประเมินอันตราย ปัจจัยการประเมินการเผชิญปัญหา ปัจจัยสื่อ และพฤติกรรมการป้องกันตนเอง
จากการติดเชื้อโรคเอดส์ของผู้ติดยาเสพติด
5
2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์และถุงยางอนามัย ปัจจัย
การประเมินอันตราย ปัจจัยการประเมินการเผชิญปัญหากับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการติด
เชื้อโรคเอดส์ของผู้ติดยาเสพติด
ขอบเขตของการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาผู้ติดยาเสพติดในเพศชายทั้งชนิดฉีดเข้าเส้นและชนิดสูบเฮโรอีน
เฉพาะผู้ที่มีผลเลือดปกติ (ไม่พบเชื้อเอชไอวี) ที่มารับการบำบัดรักษายาเสพติดในคลินิกยาเสพติด
ของศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร จำนวน 15 แห่ง ในเดือนมิถุนายน 2546
รวมระยะเวลาทั้งสิ้น 1 เดือน
นิยามศัพท์เฉพาะ
1. ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์และถุงยางอนามัย หมายถึง การวัดความรู้หรือประสบ
การณ์ที่เคยได้รับเกี่ยวกับเรื่องโรคเอดส์ในด้านความรุนแรงของโรค การติดต่อของโรค การรักษาโรค
การป้องกันโรคจากพฤติกรรมเสี่ยงของการใช้เข็มหรือกระบอกฉีดยา และจากการใช้ถุงยางอนามัย
ในผู้ติดยาเสพติด
2. การรับรู้ หมายถึง การตีความจากสิ่งที่เห็น สิ่งที่ได้ยินและสิ่งที่รู้สึกด้วยประสาท
สัมผัส อันเป็นแนวโน้มชักนำให้บุคคลประพฤติตามความคิดความเข้าใจนั้น
3. ปัจจัยการประเมินอันตราย ได้แก่
3.1 ด้านการรับรู้ความรุนแรงของโรคเอดส์ หมายถึง การรับรู้ของผู้ติดยาเสพติดว่า
โรคเอดส์เป็นโรคที่มีอันตรายต่อร่างกายถึงตาย ยังไม่มียารักษาให้หายจากโรคหรือวัคซีนป้องกันโรค
หากติดเชื้อต้องใช้เวลานานในการรักษาโรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นและจะมีผลเสียต่อตนเอง ครอบครัว
และสังคม
3.2 ด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคเอดส์ หมายถึง การรับรู้ของผู้
ติดยาเสพติดว่ามีโอกาสติดเชื้อเอดส์จากพฤติกรรมเสี่ยงของการใช้เข็มหรือกระบอกฉีดยาร่วมกัน
และพฤติกรรมทางเพศที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคเอดส์หากไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำในการป้องกันโรค
เอดส์
6
4. ปัจจัยการประเมินการเผชิญปัญหา ได้แก่
4.1 ด้านความคาดหวังในผลลัพธ์ของการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยง (Response efficacy) หมายถึง เป็นการประมาณของบุคคลว่า การลดพฤติกรรมเสี่ยงของตนจากการไม่ใช้เข็ม
หรือกระบอกฉีดยาร่วมกับบุคคลอื่นรวมทั้งการใช้ถุงยางอนามัยจะป้องกันโรคเอดส์ได้
4.2 ด้านความคาดหวังในความสามารถของตนเอง (Self efficacy) หมายถึง การ
ประมาณความสามารถของตนเองที่จะมีพฤติกรรมไม่ใช้เข็มหรือกระบอกฉีดยาร่วมกับบุคคลอื่นรวม
ทั้งจะมีพฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์กับบุคคลเสี่ยง
5. ปัจจัยสื่อ หมายถึง ประเภทของสื่อที่ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสารไปสู่กลุ่มผู้ติดยา
เสพติด ซึ่งในการวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาประเภทของสื่อที่ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสารที่มีผลต่อพฤติ
กรรมการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโรคเอดส์ของผู้ติดยาเสพติด 3 ด้าน ประกอบด้วย
5.1 สื่อบุคคล (บุคคลในครอบครัวได้แก่ พ่อแม่ ญาติพี่น้อง และบุคลากรทาง
สาธารณสุข ได้แก่ แพทย์ พยาบาล นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ )
5.2 สื่อสิ่งพิมพ์ (หนังสือพิมพ์ วารสาร แผ่นพับ)
5.3 สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (วิทยุ โทรทัศน์)
6. พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโรคเอดส์ หมายถึง การปฏิบัติของ
ผู้ติดยาเสพติดที่แสดงถึงเจตนาเพื่อป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคเอดส์ ได้แก่ การไม่ใช้
เข็มหรือกระบอกฉีดยาร่วมกับบุคคลอื่น และการใช้ถุงยางอนามัย
7. ผู้ติดยาเสพติด หมายถึง ผู้ติดยาเสพติดชายที่มารับการบำบัดรักษายาเสพติดใน
คลินิกยาเสพติดของศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย กรุงเทพมหานครที่ผ่านเกณฑ์การคัด
เลือกตามที่ผู้วิจัยกำหนดไว้
8. อายุ หมายถึง อายุเต็มบริบูรณ์ของผู้ติดยาเสพติดนับตามปฏิทินจนถึงวันตอบแบบ
สอบถามของผู้ติดยาเสพติด
9. ระดับการศึกษา หมายถึง คุณวุฒิทางการศึกษาสูงสุดของผู้ติดยาเสพติด
10. สถานภาพสมรส หมายถึง สภาพการใช้ชีวิตคู่หรือการครองเรือน ของผู้ติดยาเสพติด
11. ประสบการณ์ทางเพศ หมายถึง ประสบการณ์การมีเพศสัมพันธ์ของผู้ติดยาเสพติด
12. อาชีพ หมายถึง สภาพทางสังคมหรือการประกอบอาชีพซึ่งเป็นที่มาของรายได้ของผู้
ติดยาเสพติด
13. รายได้ต่อเดือน หมายถึง จำนวนเงินที่ได้ภายในระยะเวลา 1 เดือน ที่เกิดจากการ
ปฏิบัติงานหรือได้รับจากผู้ปกครอง
7
สมมติฐานการวิจัย
1. ผู้ติดยาเสพติดที่มีความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์และถุงยางอนามัยในระดับที่สูงจะมีพฤติ
กรรมการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโรคเอดส์ดีกว่าผู้ติดยาเสพติดที่มีความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์และ
ถุงยางอนามัยในระดับที่ต่ำ
2. ผู้ติดยาเสพติดที่มีการรับรู้ความรุนแรงของโรคเอดส์ในระดับที่สูงจะมีพฤติกรรมการป้อง
กันตนเองจากการติดเชื้อโรคเอดส์ดีกว่าผู้ติดยาเสพติดที่มีการรับรู้ความรุนแรงของโรคเอดส์ในระดับ
ที่ต่ำ
3. ผู้ติดยาเสพติดที่มีการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคเอดส์ในระดับที่สูง จะมีพฤติ
กรรมการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโรคเอดส์ดีกว่าผู้ติดยาเสพติดที่มีการรับรู้โอกาสเสี่ยงของการ
ติดเชื้อโรคเอดส์ในระดับที่ต่ำ
4. ผู้ติดยาเสพติดที่มีความคาดหวังในผลลัพธ์ของการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงในระดับที่สูง
จะมีพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโรคเอดส์ดีกว่าผู้ติดยาเสพติดที่มีความคาดหวังใน
ผลลัพธ์ของการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงในระดับที่ต่ำ
5. ผู้ติดยาเสพติดที่มีความคาดหวังในความสามารถของตนเองในระดับที่สูง จะมีพฤติ
กรรมการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโรคเอดส์ดีกว่าผู้ติดยาเสพติดที่มีความคาดหวังในความ
สามารถของตนเองในระดับที่ต่ำ
กรอบแนวคิดในการวิจัย
ในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยได้ศึกษาภายใต้แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยต่างๆ สามารถ
อธิบายถึงความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์และถุงยางอนามัย การประเมินอันตราย ได้แก่ การรับรู้ความรุน
แรงของโรคเอดส์ การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคเอดส์ การประเมินการเผชิญปัญหา ได้แก่
ความคาดหวังในผลลัพธ์ของการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยง ความคาดหวังในความสามารถของตนเอง
และปัจจัยสื่อที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโรคเอดส์ของผู้ติดยาเสพตด
ในคลินิกยาเสพติด สังกัดกรุงเทพมหานคร ปัจจัยที่มีผลต่อการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโรค
เอดส์ของผู้ติดยาเสพติดในคลินิกยาเสพติด สังกัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งผู้วิจัยได้นำมาวิเคราะห์ เพื่อ
ใช้เป็นแนวทางในการกำหนดเป็นกรอบแนวความคิดเพื่อการศึกษาในครั้งนี้ ดังแผนภาพที่ 1
8
แผนภาพที่ 1 กรอบแนวความคิดในการวิจัย (Conceptual Framework)
ตัวแปรอิสระ ตัวแปรตาม
พฤติกรรมการป้องกันตนเอง
จากการติดเชื้อโรค
เอดส์
4.
3.
1. ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์และถุงยางอนามัย
2. การประเมินอันตราย
2.1 การรับรู้ความรุนแรงของโรคเอดส์
2.2 การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคเอดส์
การประเมินการเผชิญปัญหา
3.1 ความคาดหวังในผลลัพธ์ของการป้องกันพฤติ
กรรมเสี่ยง
3.2 ความคาดหวังในความสามารถของตนเอง
ปัจจัยสื่อ
4.1 สื่อบุคคล
4.1.1 บุคคลในครอบครัว
4.1.2 บุคลากรทางสาธารณสุข
4.2 สื่อสิ่งพิมพ์
4.3 สื่ออิเล็กทรอนิกส์
ปัจจัยส่วนบุคคล
1. อายุ
2. ระดับการศึกษา
3. สถานภาพสมรส
4. ประสบการณ์ทางเพศ
5. อาชีพ
6. รายได้ต่อเดือน
ตัวแปรอธิบาย
9
ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย
1. ได้ทราบถึงปัจจัยที่มีผลต่อกับการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโรคเอดส์ของผู้ติดยา
เสพติด
2. ได้ทราบถึงความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ กับการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโรค
เอดส์ของผู้ติดยาเสพติด
3. ได้ทราบถึงข้อมูลเบื้องต้นที่สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการวางแผนจัดการป้อง
กันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคเอดส์ในกลุ่มผู้ติดยาเสพติด และกลุ่มเสี่ยงอื่น ๆ
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ในการวิจัย เรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโรคเอดส์ของผู้ติดยาเสพ
ติดในคลินิกยาเสพติด สังกัดกรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
แล้วนำมาใช้ในการกำหนดแนวคิดการวิจัยและดำเนินการวิจัยโดยมีแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่
เกี่ยวข้องตามลำดับ ดังนี้
1. ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ และถุงยางอนามัย
2. แนวคิดเกี่ยวกับการรับรู้และทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค
3. ทฤษฎีสื่อ
4. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
1. ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์และถุงยางอนามัย
ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์
1. ความหมายของโรคเอดส์ในความหมายของคำว่า “เอดส์” มีนักวิชาการหลายท่านได้ให้
ความหมายไว้ดังนี้
สำเริง แสงชื่อและ สมชัย จิรโรจน์วัฒนะ (2530 : 24) ได้ให้ความหมายว่า โรคเอดส์
หมายถึง “ภาวะที่ภูมิต้านทานของร่างกายลดน้อยลงกว่าปกติที่ไม่ได้เกิดขึ้นมาแต่กำเนิด ทำให้เกิด
การติดเชื้อประเภทฉวยโอกาสได้ง่ายซึ่งไม่ค่อยพบในคนปกติมักจะเกิดอาการรุนแรงและเสียชีวิตใน
ระยะเวลาอันสั้น”
ประเสริฐ ทองเจริญ (2531:1-2) ได้ให้ความหมายว่า “โรคเอดส์ หรือ กลุ่มอาการ
ภูมิคุ้มกันเสื่อม (Acquired Immuno Deficiency Syndrome : AIDS ) เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส
เอดส์ (Human Immuno Deficiency Virus : HIV) เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์แล้วไปทำลายเซลส์
ภูมิคุ้มกันซึ่งทำหน้าที่ป้องกันเชื้อโรค ทำให้ภูมิคุ้มกันโรคของบุคคลนั้นเสื่อมหรือบกพร่องจนเป็นเหตุ
ให้ร่างกายอ่อนแอ มีอาการเจ็บป่วยบ่อยและรักษาไม่หาย ป่วยเป็นโรคเรื้อรังและในที่สุดก็เสียชีวิต”
สถาพร มานัสสถิตย์ (2533 :1) คำว่า “เอดส์” เป็นคำเรียกทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า
“AIDS” ซึ่งเป็นคำย่อมาจากภาษาอังกฤษว่า Acquired Immuno Deficiency Syndrome โดยคำ
ว่า “Acquired” หมายถึง ภาวะที่เกิดขึ้นในภายหลังมิได้เป็นมาแต่กำเนิดหรือสืบสายเลือดทางพันธุ
กรรม,“Immuno” หมายถึง เกี่ยวกับระบบภูมิต้านทานหรือภูมิคุ้มกันของร่างกาย, “Deficiency”
หมายถึง ความบกพร่อง การขาดไปหรือเสื่อมไป, “Syndrome” หมายถึง กลุ่มอาการคือโรคที่มี
11
พิพัฒน์ ลักษมีจรัลกุล (2541 : 61) ได้ให้ความหมายว่า เอดส์เป็นระยะสุดท้ายของโรค
ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV = Human Immuno Deficiency Virus) เชื้อไวรัสจะทำลายเม็ดเลือดขาว
ชนิด t-helper cell ที่ติดเชื้อทำให้ผู้ติดเชื้อมีภูมิคุ้มกันลดลงโดยเฉพาะอย่างยิ่งภูมิคุ้มกันแบบอาศัย
เซลส์ (cell – mediated immunity) จนเกิดภูมิคุ้มกันบกพร่อง เกิดการติดเชื้อโรคบางชนิดรวมทั้ง
เชื้อฉวยโอกาสต่าง ๆ เช่น วัณโรค (Mycobacterium tuberculosis) โปรโตซัวจากสุนัขและแมว
(Pneumocystic carinii) เชื้อราไวรัสและเกิดมะเร็งบางชนิดง่ายกว่าคนปกติทั่วไปและมีอาการรุน
แรงจนเสียชีวิตได้
สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร (2543 : 56) โรคเอดส์ หมายถึง โรคติดต่อที่เกิดจาก
เชื้อไวรัสเอดส์ ชื่อ เอชไอวี ติดต่อจากการรับเลือดรวมถึงการใช้เข็มหรือกระบอกฉีดยาร่วมกัน
การใช้เข็มสักผิวหนัง เจาะหู การมีบาดแผลแล้วสัมผัสกับเลือดหรือน้ำเหลืองของผู้ติดเชื้อเอดส์
จากการร่วมเพศกับผู้ติดเชื้อเอดส์ และจากทางมารดาสู่ทารก เมื่อร่างกายได้รับเชื้อไวรัสเอดส์เข้า
ไปทำลายระบบภูมิคุ้มกันการต่อต้านเชื้อโรคของร่างกายจะทำให้ภูมิคุ้มกันลดน้อยลงหรือไม่มีเลย
ร่างกายจึงอ่อนแอจนไม่สามารถป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโรคทุกโรคได้ ทำให้เกิดการเจ็บป่วย
ในเวลาต่อมาง่ายต่อการเกิดโรคติดเชื้อแทรกซ้อน และเสียชีวิตในที่สุด
กองควบคุมโรคเอดส์ กรุงเทพมหานคร (2544 : 1) เอดส์ หมายถึง กลุ่มอาการของโรค
ฉวยโอกาสที่เกิดขึ้นหลังจากภูมิคุ้มกันเสื่อมลงจากการติดเชื้อเอชไอวี
สำนักนายกรัฐมนตรี (2544 : 3) ได้ให้ความหมายของโรคเอดส์ว่าหมายถึงโรคติดต่อทาง
เพศสัมพันธ์และทางเลือดที่ร้ายแรงมีอันตรายถึงชีวิต ยังไม่มีวัคซีนป้องกันหรือยาที่จะรักษาให้หาย
ขาดได้ ไวรัสเอดส์เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะไปทำลายเม็ดโลหิตขาวของร่างกายซึ่งทำหน้าที่คุ้มกันโรค ทำ
ให้ภูมิคุ้มกันโรคเสื่อมลงง่ายต่อการเกิดโรคติดเชื้อแทรกซ้อนและมะเร็งบางชนิด ในสุดท้ายผู้ป่วยจะ
เสียชีวิตจากโรคแทรกซ้อนเหล่านั้น
ในการวิจัยครั้งนี้จึงสรุปความหมายของโรคเอดส์ตามแนวคิดของสำนักอนามัย
กรุงเทพมหานคร (2543 : 56) ที่สอดคล้องกับเรื่องที่จะศึกษา ได้ดังนี้
โรคเอดส์ คือ โรคติดต่อเกิดจากเชื้อไวรัสชื่อเอชไอวี (HIV) ติดต่อโดยทางเลือดจากการใช้
เข็มฉีดยาหรือกระบอกฉีดยาร่วมกับผู้ติดเชื้อและติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เมื่อเชื้อเอชไอวีเข้าสู่ร่างกาย
จะไปทำลายภูมิต้านทานของร่างกายให้บกพร่องหรือเสียไปง่ายต่อการเกิดโรคติดเชื้อแทรกซ้อน
และสุดท้ายผู้ป่วยจะเสียชีวิตจากโรคแทรกซ้อนเหล่านั้น
12
2 . เชื้อที่เป็นสาเหตุ เป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งชื่อ Human Immuno Deficiency Virus (HIV) หรือไวรัสที่ทำให้เกิดโรคภูมิต้านทานพร่องในคน เมื่อเข้าสู่ร่างกายทำให้ภูมิคุ้มกันของร่าง
กายเสื่อมลงเป็นสาเหตุให้ร่างกายติดเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ง่ายและจะมีอาการรุนแรงเป็นอันตรายถึงตาย
ได้เร็วกว่าปกติ
3 . การติดต่อ และแพร่กระจายของโรคเอดส์
การแพร่เชื้อไวรัสเอชไอวีคล้ายกับไวรัสตับอักเสบบี การแพร่ของโรคมีได้ 3 ทาง ได้แก่
3.1 การแพร่ทางเลือด มีการติดต่อได้ 2 ทาง ใหญ่ ๆ คือ
3.1.1 ผลิตภัณฑ์จากเลือด จากการเติมหรือได้รับเลือดบริจาคที่มีเชื้อเอชไอวีอยู่
ในปัจจุบันโอกาสติดเอดส์จากการเติมเลือดที่รับบริจาคมานั้น มีน้อยมากอาจพบได้ประมาณ 1 คน
ในจำนวนหมื่นหรือแสนคน ทั้งนี้เนื่องจากมีการตรวจกรองทั้งประวัติเสี่ยงต่อการติดเอดส์และตรวจ
กรองเลือดก่อนจะมาใช้ป้องกันการแพร่ระบาดทางเลือดโดยวิธีอย่างมีประสิทธิภาพสูงมาก อย่างไรก็
ตามแพทย์ยังคงต้องระวังโดยพยายามเติมเลือดให้ในกรณีจำเป็นเท่านั้นเพื่อลดโอกาสเสี่ยงให้น้อย
ลง
3.1.2 การติดต่อโดยใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน ในกลุ่มที่ติดยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น
หากมีการใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่นที่ติดเอดส์อยู่ก่อนก็มีโอกาสติดเอดส์ได้เนื่องจากมีเชื้อเอช-ไอวีปน
เปื้อนอยู่ในเข็มที่เปื้อนเลือดดังกล่าว
3.1.3 การแพร่จากมารดาสู่ทารก โอกาสแพร่จากมารดาสู่ทารกได้ตั้งแต่ก่อน
คลอด ขณะคลอดและระยะหลังคลอดโอกาสที่ทารกจะได้รับเชื้อประมาณ 20 - 50 % และจากการ
ศึกษาในประเทศต่าง ๆ ที่ผ่านมาไม่ปรากฏว่าโรคเอดส์แพร่ทางอื่นๆนอกจากที่กล่าวมาแล้ว การอยู่
ร่วมกัน การใช้ห้องน้ำร่วมกัน การใช้ภาชนะร่วมกันก็ไม่ทำให้ติดเชื้อเอดส์
3.2 ทางเพศสัมพันธ์ การมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอดหรือทางทวารหนักโดยไม่สวมใส่
ถุงยางอนามัยกับคู่ขาที่ติดเชื้อเอดส์มีโอกาสติดเอดส์ได้ โอกาสติดเอดส์จะมีสูงขึ้นถ้าฝ่ายใดฝ่าย
หนึ่งเป็นหรือทั้ง 2 ฝ่ายกำลังเป็นกามโรค โดยเฉพาะถ้าเป็นแผลการมีเพศสัมพันธ์ทางปากเชื่อว่า
ถ้าช่องปากมีการอักเสบหรือแผลก็อาจติดเชื้อเอดส์ได้ โรคเอดส์สามารถแพร่ได้ทั้งจากชายสู่ชาย
ชายสู่หญิง และหญิงสู่หญิง ผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์โดยทางเพศสัมพันธ์ได้แก่ ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์
อย่างสำส่อน หรือเปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ หญิง/ชายขายบริการ คู่นอนของผู้ติดเชื้อเอดส์โอกาสที่ติด
เชื้อขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น การมีแผลบริเวณอวัยวะเพศ การเปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ และรูป
แบบของเพศสัมพันธ์ เป็นต้น
13
4 . ระยะฟักตัวของโรค
ระยะฟักตัว หมายถึง ระยะตั้งแต่เชื้อไวรัสเอชไอวี เริ่มเข้าสู่ร่างกายจนกระทั่งเริ่ม
ปรากฏอาการ โดยทั่วไปเมื่อได้รับเชื้อมาแล้วจะยังไม่ปรากฏอาการจนกว่าจะเข้าสู่ระยะที่ 2 หรือ
ระยะที่ 3 ที่เรียกว่า ระยะ ARC (AID Related Complex) หรือ AIDS ดังนั้น ระยะฟักตัวจึงอาจ
หมายถึงระยะตั้งแต่เชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายจนกระทั่งเริ่มปรากฏอาการของโรคเอดส์โดยตรง (ระยะ
AIDS) ซึ่งบางคนอาจใช้เวลา 2 - 3 ปีจึงจะปรากฏอาการ แต่บางคนอาจใช้เวลานานถึง 10 ปีหรือ
นานกว่านั้นก็ได้ (โดยทั่วไปเฉลี่ยประมาณ 7 - 8 ปี)
5 . ลักษณะอาการของโรค
สามารถแบ่งผู้ติดเชื้อออกได้เป็น 3 ระยะ หรือ 3 กลุ่ม ตามลักษณะอาการของโรค
เอดส์อย่างกว้าง ๆ ดังนี้
ระยะที่ 1 ระยะไม่ปรากฏอาการ (Asymptomatic stage or Carrier) เป็นระยะที่คน
ไข้ติดเชื้อผลการตรวจเลือดหาเชื้อไวรัสเอดส์พบ “เลือดบวก” (HIV Positive) แต่ไม่มีอาการผิด
ปกติใด ๆ เลย สุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์เหมือนคนปกติทุกประการ อาจจะเจ็บป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ
เหมือนคนปกติทั่วไป เช่น เป็นไข้หวัดและจะหายได้เหมือนคนปกติทั่วไปไม่มีโรคแทรกซ้อนซึ่งบาง
คนอาจจะอยู่ในระยะนี้ไป
2 - 3 ปี ก่อนเข้าสู่ระยะต่อไป แต่บางคนอาจจะอยู่ได้นาน 10 - 15 ปี โดยเฉลี่ยแล้วอาจจะอยู่ใน
นาน 7 - 8 ปี คนไข้ในระยะนี้ถึงแม้ไม่แสดงอาการแต่ก็แพร่เชื้อไปยังคนอื่น ได้
ระยะที่ 2 ระยะเริ่มปรากฏอาการ (Symptomatic HIV Infection) หรือระยะมีอาการ
สัมพันธ์กับเอดส์ (AID Related Complex หรือ ARC) ระยะนี้นอกจากผลการตรวจเลือดจะให้
ผลบวกแล้ว (HIV positive ) ยังอาจมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างปรากฏให้เห็นด้วย
เช่น
1. มีไข้เรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหตุ
2. มีเชื้อราในปากและลำคอ มีลักษณะเป็นฝ้าขาว
3. ต่อมน้ำเหลืองโตหลายแห่งติดต่อกันเป็นเวลานานกว่า 3 เดือน
4. น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว (มากกว่า 10% ของน้ำหนักตัวใน 1 เดือน)
5. อุจจาระร่วงเรื้อรังเป็นเวลานานกว่า 1 เดือน โดยไม่ทราบสาเหต
6. มีการติดเชื้อแทรกซ้อนที่ไม่ร้ายแรง เช่น เริมที่ไม่ลุกลาม เป็นงูสวัสที่ผิวหนัง เป็นวัณ
โรคชนิดแพร่กระจาย เป็นต้น
ระยะนี้อาจเป็นอยู่นานหลายเดือนหรือเป็นปี ซึ่งต่อมาคนไข้เกือบทั้งหมดจะเปลี่ยนเป็น
เอดส์ระยะเต็มขั้นต่อไป
14
ระยะที่ 3 ระยะเอดส์เต็มขั้น (Full Blown AIDS) หรือระยะโรคเอดส์เป็นระยะ สุด
ท้ายของการติดเชื้อโรคเอดส์ที่ภูมิต้านทานของร่างกายถูกทำลายลงมาก ทำให้เกิดการติดเชื้อโรคที่
ตามปกติไม่สามารถทำอันตรายคนปกติได้ เนื่องจากเม็ดเลือดขาวถูกทำลายไปจนเหลือน้อยหรือ
เกือบหมดไปจึงทำให้เกิด "โรคติดเชื้อฉวยโอกาส" ซึ่งมีหลายชนิดแล้วแต่ว่ามีการติดเชื้อฉวยโอกาส
ชนิดใดที่ส่วนใด ดังนั้นอาการที่แสดงจึงพบได้ทุกระบบของร่างกายแล้วแต่ว่าจะเป็นการติดเชื้อใน
ระบบใดของร่างกาย เช่น
1. การติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ ทำให้เกิดปอดบวม ปอดอักเสบ วัณโรค เฉพาะใน
รายที่มีประวัติเคยเป็นวัณโรคมาก่อน ผู้ป่วยจะมีอาการไอเรื้อรัง หายใจหอบถี่ และเจ็บคอ
2. การติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร ทำให้มีอาการท้องเดินเรื้อรังจากการติดเชื้อโรคอื่นๆ
ซึ่งปกติไม่ทำให้เกิดโรค มีอาการกลืนอาการลำบาก การติดเชื้อราที่หลอดอาหาร
3. การติดเชื้อในระบบประสาท ทำให้มีอาการสมองอักเสบและทำให้เซลล์ประสาทเสื่อม
เกิดอาการความจำเสื่อมหลงลืมง่าย หงุดหงิด ซึมหรือเป็นโรคจิตประสาท บางคนอาจมีอาการ
ปวดศีรษะมาก แขนขาไม่มีแรง
4. การเกิดอาการทั่ว ๆ ไป เช่น ต่อมน้ำเหลืองทั่วไปโต อ่อนเพลียมาก น้ำหนักลดมาก
มีไข้เรื้อรัง หรือเกิดอาการของโรคมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งหลอดเลือดฝอยซึ่งแสดงอาการโดยมี
ผื่นจ้ำคล้ายห้อเลือดตามร่างกาย หรือตุ่มแดงจัดจนถึงม่วงคล้ำ
โรคติดเชื้อฉวยโอกาส 5 อันดับแรกที่พบในเขตกรุงเทพมหานคร ดังแผนภาพที่ 2
แผนภาพที่ 2 แสดงร้อยละจำนวนของโรคติดเชื้อฉวยโอกาส 5 อันดับแรกใน
เขตกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ปี 2527 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2545 37.47%(8353)15.33%(3419)14.62% (3261)12.51%(2772)5.86% (1276)010002000300040005000600070008000900010000
วัณโรคปอด โรคผอมแห้ง โรคปอดบวม โรคเยื้อหุ้ม เชื้อราหลอดอาหาร
จากเชื้อ Pneumocystic สมองอักเสบ
carinii จากเชื้อ carinii
ที่มา : กองควบคุมโรคเอดส์ สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร 2545:4
15
โรคติดเชื้อฉวยโอกาส 5 อันดับแรกที่พบในผู้ป่วยโรคเอดส์มากที่สุด คือ วัณโรคปอด
จำนวน 8,353 ราย คิดเป็นร้อยละ 37.47 รองลงมาคือโรคผอมแห้งคิดเป็นร้อยละ 15.33 โรค
ปอดบวมจากเชื้อนิวโมไซติส คารินิอิ (Pneumocystis carinii) ร้อยละ 14.62 โรคเยื่อหุ้มสมอง
อักเสบจากเชื้อรา ร้อยละ 12.51 และโรคเชื้อราของหลอดอาหาร ร้อยละ 5.86 ตามลำดับ นอก
จากนี้ยังมีโรคติดเชื้อฉวยโอกาสอื่น ๆ อีกจำนวน 3,255 รายคิดเป็นร้อยละ 14.51 แม้ในปัจจุบันจะมี
แนวทางในการรักษาวัณโรคปอดได้อย่างถูกต้องเหมาะสมโดยใช้กลวิธี DOTS แต่วัณโรคปอดยัง
เป็นโรคติดเชื้อฉวยโอกาสสูงเป็นอันดับ 1 ซึ่งอาจเนื่องมาจากการกินยาไม่สม่ำเสมอจนเกิดการดื้อยา
หรือยังเข้าไม่ถึงบริการการรักษาหรืออาจมีปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้อง
6 . การรักษา
ปัจจุบันยังไม่มีวิธีที่จะรักษาโรคเอดส์ให้หายขาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ การรักษามุ่ง
เน้นรักษาตามอาการ ดังนั้นการบำบัดรักษาผู้ป่วยโรคเอดส์ในขณะนี้จึงมีแนวทางดำเนินการหลายๆ
อย่างโดยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน คือ
6.1 การรักษาโรคติดเชื้อหรือโรคมะเร็งฉวยโอกาสอย่างรีบด่วน
6.2 การใช้ยาหยุดยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสเอดส์ (Antiviral therapy) ยาที่เป็นที่
ยอมรับว่าได้ผลในการยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสเอดส์และใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันคือ
ยา Zidovudine (ZDV) หรือชื่อเดิม Azidothymidine (AZT)
6.3 การเสริมสร้างภาวะภูมิต้านทานของผู้ป่วย วิธีการกระตุ้นภูมิคุ้มกันที่กำลัง
ศึกษากันอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ การปลูกถ่ายไขกระดูกและถ่ายเม็ดเลือดขาว การใช้ Transfer
factor และการใช้ยาเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค (Immune mofulators)
6.4 การรักษาสภาพทางจิตใจของผู้ป่วย ได้แก่ การให้คำปรึกษาทางการแพทย์และ
สังคมและการช่วยเหลือด้วยวิธีการสังคมสงเคราะห์
7. การป้องกันการติดเชื้อเอดส์
เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มียารักษาที่มีประสิทธิภาพดีพอเพื่อใช้ในการบำบัดรักษา และ
ยังไม่มีวัคซีนที่ใช้ในการป้องกันโรคนี้โดยเฉพาะ แม้จะมีการทดลองวัคซีนที่ผลิตขึ้นมาแต่ก็ยังเป็น
เพียงแค่ความหวังในการที่จะยับยั้งโรคเอดส์ไม่ให้แพร่ออกไปแต่ก็คงเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นจึงมีทางเดียว
คือ การไม่ไปเอาหรือรับเชื้อมาสู่ตนเอง เนื่องจากพฤติกรรมของมนุษย์ส่วนมากเอื้อต่อการรับและ
แพร่เชื้อโรคเอดส์เช่นการมีเพศสัมพันธ์ การใช้เข็มฉีดยาเสพติดร่วมกัน เป็นต้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่
จะต้องเน้นมาตรการการป้องกันไม่ให้เป็นโรคเอดส์ คือ การให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ
โรคเอดส์ เพื่อก่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์และป้องกันการติดเชื้อ
เอดส์ด้วยวิธีต่างๆ เช่น
16
7.1 การงดเที่ยวแหล่งบริการต่าง ๆ ที่นำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์
7.2 หากจะมีเพศสัมพันธ์กับใครก็ตามควรทราบแน่นอนว่า ผู้นั้นไม่มีเลือดบวกเอดส์
ถ้าไม่แน่ใจควรมีเซฟเซ็กส์ (Safe sex) หรือเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยโดยใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกวิธี
ทุกครั้ง จูบแบบธรรมดาไม่รุนแรงไม่แลกเปลี่ยนน้ำลายกัน งดการใช้ปากกับอวัยวะเพศทั้งหญิงและ
ชาย หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับน้ำอสุจิและน้ำในช่องคลอด
7.3 หยุดการฉีดยาเสพติดหากเลิกไม่ได้ควรใช้เข็ม และกระบอกฉีดยาสะอาดของตน
เองไม่ควรใช้ร่วมกับผู้อื่นและควรใช้เข็มชนิดเดียวทิ้ง
7.4 ก่อนแต่งงานควรตรวจเลือดทั้งสองฝ่าย
7.5 ถ้าจะมีบุตรควรตรวจเลือดทั้งสามี และภรรยาเพราะบุตรอาจจะติดเชื้อเอดส์ได้
หากมารดาติดเชื้อเอดส์
7.6 งดดื่มสุรา ของมึนเมา เพราะจะทำให้ขาดสติและอาจพาไปสู่การมีเพศสัมพันธ์โดย
ไม่ได้ใช้ถุงยางอนามัยหรือใช้อย่างไม่ถูกต้อง
7.7 ถ้าพบอุบัติเหตุที่มีเลือดกระจาย การช่วยเหลือควรใส่ถุงมือ หรือถุงพลาสติกทุก
ครั้ง
7.8 อย่าใช้แปรงสีฟัน มีดโกน กรรไกรตัดเล็บ หรือของใช้ที่ก่อให้เกิดแผลที่ผิวหนัง
ร่วมกับผู้อื่นควรใช้ของตนเองเท่านั้น
7.9 หลีกเลี่ยงการรับบริการ การฝังเข็ม การสักผิวหนัง หรือเจาะหูเพราะถ้าไม่
เปลี่ยนเข็มก็สามารถแพร่เชื้อเอดส์ได้
7.10 เปลี่ยนทัศนคติเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ที่อาจทำให้ติดเชื้อเอดส์ เช่น การขึ้นครู
เป็นต้น
จากการศึกษาและติดตามสถานการณ์โรคเอดส์ของกรุงเทพมหานคร(2545:3) พบว่า
สาเหตุสำคัญของการแพร่โรคเอดส์ในเขตกรุงเทพมหานคร คือ การติดต่อทางเพศสัมพันธ์คิดเป็น
ร้อยละ 76.22 รองลงมาคือ ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น คิดเป็นร้อยละ 11.64 และติดเชื้อจาก
มารดา คิดเป็นร้อยละ 5.22 (กองควบคุมโรคเอดส์ สำนักอนามัย 2545 : 5) ทั้งนี้เนื่องจาก
กรุงเทพมหานครมีปัจจัยที่ช่วยเสริมการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ โดยผ่านทางเพศสัมพันธ์ และยา
เสพติด ดังนี้
1. กรุงเทพมหานคร เป็นศูนย์รวมความบันเทิงเริงรมย์ มีสถานบริการทางเพศทั้งทางตรง
และแอบแฝงอยู่เกินกว่า 1,000 แห่ง มีหญิงและชายบริการมากกว่า 30,000 คน มีสื่อยั่งยุและส่ง
เสริมความสุขทางเพศมากมายหลายประเภท
17
2. ระบบเศรษฐกิจที่เป็นแบบวัตถุนิยม ส่งผลให้เกิดความเสื่อมถอยทางด้านศีลธรรม
วัฒนธรรมและประเพณีไทย มีการส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมทางเพศที่เบี่ยงเบน การมีเพศสัมพันธ์
ก่อนวัยอันควร มองภาพการสำส่อนทางเพศเป็นเรื่องปกติ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการนำเข้าสู่ระบบ
การขายตัวและการติดยา ในขณะเดียวกันการย้ายถิ่นจากชนบทเข้าสู่เมืองจำนวนมากได้นำไปสู่
ปัญหาอื่น ๆ ตามมา
3. สภาพสังคมเมืองหลวงมีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น ก่อให้เกิดชุมชนแออัด
แหล่งเสื่อมโทรม สภาพครอบครัวในสังคมเมืองเปลี่ยนแปลงไป ความผูกพันธ์ในครอบครัวเสื่อมลง
วัยรุ่นขาดความอบอุ่นและแบบอย่างที่ดี นำไปสู่ปัญหาอาชญากรรม และยาเสพติด
ด้วยปัจจัยเสริมดังกล่าว นอกจากส่งผลการแพร่ระบาดของโรคเอดส์แล้วยังส่งผลต่อการ
แพร่ระบาดของยาเสพติดอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยรุ่นที่เป็นช่วงเรียกว่า “วัยหัวเลี้ยวหัวต่อ
อยากรู้ อยากลอง” โดยทั่วไปเยาวชนที่มีอายุต่ำกว่า 10 ปี ผู้ปกครองจะสามารถกำชับดูแลได้ไม่
ยากนักแต่เมื่อเติบโตขึ้นเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ อาทิ การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย ฮอร์โมน
ทัศนคติ รวมถึงความต้องการในการรับรู้ข้อมูลแปลกใหม่ แต่มักมีความสับสนทางด้านอารมณ์และ
สภาวการณ์ต่างๆรอบตัวเนื่องจากขาดประสบการณ์ที่จะนำมาใช้ในการไตร่ตรอง จากการเปลี่ยน
แปลงดังกล่าวทำให้สังคมภายในครอบครัวแคบเกินไปในความคิดของวัยรุ่น “เพื่อน” จึงเข้ามามีบท
บาทในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ใหม่ๆ และเมื่อเพื่อนเข้ามามีบทบาทและอิทธิพลต่อชีวิตมากขึ้น
การปรับตัวตามค่านิยมเดียวกันในแต่ละกลุ่มจึงเป็นเรื่องปกติอาจจะเป็นในทางบวกหรือทางลบขึ้น
อยู่กับแต่ละบุคคล กรณีของยาเสพติดก็เช่นกันจากผลพวงการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจใน
แผนพัฒนาฯ ที่ผ่านมาหรือจากการเปลี่ยนแปลงของสังคมที่ทำให้คนรู้สึกขาดที่พึ่งเมื่อเกิดปัญหา
และหาทางออกไม่ได้จึงหันไปพึ่งพายาเสพติด หรือแม้แต่ระบบการเมืองและกระบวนการยุติธรรมที่
ทำให้เกิดช่องว่างในการแสวงหาผลประโยชน์จากกระบวนค้ายาเสพติด ปรากฏการณ์ดังกล่าวข้าง
ต้นจึงนับได้ว่าเป็นเงื่อนไขสำคัญทำให้เกิดการแพร่ระบาดทางยาเสพติดต่างๆ ได้ทวีความรุนแรงมาก
ขึ้นนำไปสู่การเกิดปัญหาอาชญากรรมต่างๆและส่งผลต่อความสงบเรียบร้อยตลอดจนชีวิตทรัพย์สิน
ของประชาชนโดยรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เยาวชน วัยรุ่น นักเรียน และนักศึกษา ที่เป็นกำลัง
สำคัญของชาติต้องมาสูญเสียอนาคตเพราะเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดซึ่งปัจจุบันได้แพร่ระบาด
เข้าไปในสถานศึกษาในรูปแบบและกลยุทธ์ต่าง ๆ ทั้งจากนักเรียน นักศึกษา เป็นผู้จำหน่ายให้กับ
เพื่อนนักเรียนด้วยกันเอง เพื่อหารายได้สำหรับการซื้อยาเสพติดมาสนองความต้องการของตนเอง
หรือการปลอมตัวเข้าไปจำหน่ายในสถานศึกษาของขบวนการค้ายาเสพติดรายย่อยจึงจำเป็นอย่าง
ยิ่งที่ทุกฝ่ายทั้งภาครัฐและเอกชนตลอดจนประชาชนในชาติทุกคนต้องหันมร่วมมือร่วมใจกันแก้ไข
18
เนื่องจากปัญหาการแพร่ระบาดของโรคเอดส์มีปัจจัยเสริมจากปัญหายาเสพติด ดังนั้นเพื่อ
เป็นการลดปัญหาการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ จึงจำเป็นต้องลดปัญหาการใช้ยาเสพติด สำนัก
อนามัย กรุงเทพมหานคร ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหานี้ ได้เริ่มโครงการป้องกันและบำบัด
รักษาผู้ติดยาเสพติดแบบผู้ป่วยนอกตั้งแต่ปี 2521 โดยได้รับการสนับสนุนจากกรมวิเทศสหการ
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดและกระทรวงสาธารณสุขให้ได้รับความ
ช่วยเหลือจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา โครงการดังกล่าวได้มีการจัดตั้งหน่วยงานรับผิดชอบในการป้อง
กันและบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดแบบผู้ป่วยนอกคือ คลินิกยาเสพติด เป็นหน่วยงานระดับแผนกตั้ง
อยู่ภายในศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีทั้งหมด 15 แห่ง และศูนย์
ซับน้ำตา 2 แห่งตั้งอยู่ภายในวชิรพยาบาล และโรงพยาบาลตากสิน ให้การบำบัดรักษาแบบผู้ป่วย
นอกบริการให้ฟรี นอกจากนี้คลินิกยาเสพติดยังทำหน้าที่ป้องกันโดยการออกไปเผยแพร่ความรู้ แจก
เอกสารและฉายภาพยนต์ต่างๆ ในโรงเรียนและชุมชนในเขตรับผิดชอบอีกด้วย
สภาพปัญหาโรคเอดส์ในปัจจุบัน มิใช่เป็นปัญหาสาธารณสุขแต่เพียงอย่างเดียวแต่เป็น
ปัญหาทางสังคม ซึ่งทุกหน่วยงานจะต้องนำเข้ามาเกี่ยวข้องและร่วมรับผิดชอบ เพราะโรคเอดส์เป็น
แล้วตายไม่มีทางรักษา ไม่ว่าหญิงหรือชาย เด็กหรือคนชรา เพราะเขาทั้งหลายอาจมีส่วนรับและ
แพร่เชื้อนี้เมื่อไหร่ก็ได้ จากผลการสำรวจของกรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข (2537
: 12) ทำให้ทราบว่า การติดเชื้อเอดส์ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในกลุ่มชายรักร่วมเพศแล้ว เนื่องจากการ
ระบาดเข้าสู่กลุ่มผู้เสพยาเสพติดโดยการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน ทำให้มีอัตราการติดเชื้อเอดส์ในกลุ่มผู้
เสพยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้นได้เพิ่มขึ้นอย่างเฉียบพลัน จากร้อยละ 0 - 1 ในปี 2530 เป็นร้อยละ
43 ในปี 2531และได้แพร่เข้าสู่ครอบครัวสู่กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาระบบ
เศรษฐกิจสังคม
ถุงยางอนามัย (Condom)
กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข (2537:15-17) ได้ให้ความหมายถุงยาง
อนามัย หมายถึง อุปกรณ์ที่ทำจากน้ำยา (Latex) ธรรมชาติ หรือ น้ำยาสังเคราะห์ ใช้สวมอวัยวะ
เพศชายเพื่อการคุมกำเนิด หรือป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะโรคเอดส์ได้
ในการป้องกันโรคเอดส์ หากต้องการมีเพศสัมพันธ์กับบุคคลอื่น การเลือกถุงยางอนามัยที่
มีคุณภาพ และใช้อย่างถูกวิธีจึงมีความสำคัญอย่างมาก
19
1. ความเป็นมาของถุงยางอนามัย
ใน ค.ศ. 1564 ฟอลโลบิอุส นักกายวิภาคชาวอิตาเลี่ยน กล่าวถึงการใช้ปลอก
(Sheath) ที่ทำด้วยผ้าลินิน ใช้สวมคลุมองคชาตเพื่อป้องกันโรคซิฟิลิส ต่อมาคริสต์ศตวรรษที่ 17
ปลอก (Sheath) ได้รับการพัฒนาโดยทำด้วยลำไส้ของแกะ เริ่มใช้สำหรับคุมกำเนิดในทวีปยุโรป
และในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ปลอก (Sheath) ได้รับชื่อใหม่ว่าคอนดอม (Condom) และเริ่มทำ
ด้วยยางธรรมชาติ ซึ่งผ่านกรรมวิธีแล้วทำให้มีราคาถูกลงและใช้กันแพร่หลายมากขึ้น
2 .ประโยชน์ของถุงยางอนามัย
มีการใช้เพื่อคุมกำเนิดและป้องกันการติดเชื้อเนื่องจากการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งจากการ
ศึกษาข้อมูลพบว่าถุงยางอนามัยที่มีคุณภาพดี และใช้อย่างถูกต้องให้มีประสิทธิภาพในการคุม
กำเนิดสูงถึงร้อยละ 97 ตามมาตรฐานคุณภาพถุงยางอนามัยและถุงยางอนามัยใช้ป้องกันโรคติดต่อ
ทางเพศสัมพันธ์จากการวิจัยเบื้องต้นพบว่า เชื้อจุลินทรีย์ต่าง ๆ ไม่สามารถผ่านทะลุถุงยางอนามัย
ได้ โดยมาตรฐานของถุงยางอนามัย ตามที่คณะกรรมการควบคุมคุณภาพอุปกรณ์คุมกำเนิด
กระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดมาตรฐานของไทยเทียบกับของสากล ดังต่อไปนี้
1. รวมความยาว 160 + 10 มิลลิเมตร (มีถุงเก็บน้ำอสุจิตรงปลาย)
2. เส้นผ่าศูนย์กลาง 49 + 2 มิลลิเมตร
3. ความหนาไม่เกิน 0.06 มิลลิเมตร
4. น้ำหล่อลื่น - ซิลิโคนออล์ย 250 - 500 มิลลิกรัม
5. ไม่มีรูรั่ว (ทดสอบจากเครื่องอิเลคโทรนิค)
6. มีความยืดหยุ่น (ยืดได้ราว 9 เท่าโดยไม่แตก)
7. ผิวภายนอกถุงยางเรียบไม่ขรุขระ
8. บรรจุภายในซองพลาสติกและผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว
9. ต้องระบุวัน เดือน ปีที่ผลิตและวันหมดอายุ
ถุงยางอนามัยที่มีคุณภาพเข้ามาตรฐานจะต้องมีการตรวจสอบคุณภาพตามข้อกำหนด
และวิธีการที่ระบุไว้ในมาตรฐานทุกประการ
3. การพิจารณาเลือกถุงยางอนามัย
การเลือกใช้ถุงยางอนามัย ควรพิจารณาดูกล่องที่บรรจุ จะต้องไม่พิมพ์ข้อความที่เลอะ
เลือนหรือมีสีซีด เพราะแสดงว่าผู้ขายเก็บสินค้าไว้ไม่ดี ถูกแสงแดดหรือน้ำ ทำให้คุณภาพของถุง
ยางเสื่อมได้ ดูวันหมดอายุบนกล่องหรือซอง พิจารณาซองที่บรรจุ โดยมากจะทำด้วย
อลูมิเนียมฟอยด์และพีวีซี ซองจะต้องไม่สกปรก ไม่มีรอยแยกของชิ้นฟอยด์บริเวณริม ๆ ซอง หาก
พบรอยรั่วไม่ควรซื้อมาใช้ต้องไม่มีกลิ่นผิดปกติ เพราะนอกจากจะทำให้เสียอารมณ์แล้วยังแสดงว่า
20
วิธีการใช้ถุงยางอนามัยที่ถูกต้อง มีดังนี้
1. ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
2. เลือกซื้อถุงยางอนามัยที่มีคุณภาพ โดยดูวันผลิตและวันหมดอายุ ถ้าไม่มีวันหมด
อายุให้นับจากวันที่ผลิตไป 3 ปี ถ้ายังไม่เกิน 3 ปี แสดงว่าใช้ได้
3. เลือกใช้ขนาดของถุงยางอนามัยให้เหมาะสมกับอวัยวะเพศของตนเอง ถ้าเล็กไป
มักจะฉีดขาดได้ง่าย หากถุงยางอนามัยมีขนาดใหญ่เกินไปก็จะหลุดได้ง่าย
4. ก่อนจะเริ่มเพศสัมพันธ์ ให้ฉีกซองบรรจุถุงยางอนามัยตรงบริเวณขอบซองอย่าฉีก
โดนตัวถุง ดึงถุงยางอนามัยออกจากซองอย่าใช้เล็บจิกเพราะอาจทำให้ถุงยางอนามัยมีรูรั่วได้
5. การใส่ถุงยางอนามัย ต้องใส่ขณะที่อวัยวะเพศกำลังแข็งตัวเต็มที่ ก่อนที่สอดใส่
เข้าไปในช่องคลอด โดยเริ่มใส่จากส่วนปลายของอวัยวะเพศ ค่อย ๆ รูดถุงยางอนามัยแบบปลาย มน
เวลาสวมต้องเหลือที่ตรงปลายว่างไว้ประมาณ 1 เซนติเมตรห่างจากปลายอวัยวะเพศ ถ้าเป็นถุง
ยางแบบมีกระเปาะตรงปลายให้ไล่ลมออกก่อนแล้วจึงสวม เพื่อไว้เป็นที่รับน้ำอสุจิ
6. ในขณะที่มีเพศสัมพันธ์ ต้องระวังไม่ให้ถุงยางอนามัยหลุดหรือฉีกขาด
7. ถ้าถุงยางแตกระหว่างมีเพศสัมพันธ์อยู่ ให้นำออกเปลี่ยนโดยสวมอันใหม่ทันที
8. ถ้ามีความจำเป็นต้องถอดถุงยางออกขณะปฏิบัติการ ต้องล้างทำความสะอาด
อวัยวะเพศชายก่อน และใช้ถุงยางอนามัยชิ้นใหม่ มิฉะนั้นจะป้องกันไม่ได้ผล
9. เมื่อมีการหลั่งน้ำอสุจิแล้ว ฝ่ายชายต้องรีบเอาอวัยวะเพศออกจากช่องคลอดก่อนที่
อวัยวะเพศจะหดตัวเล็กลง และควรจับขอบถุงยางอนามัยไว้เพื่อมิให้ถุงยางอนามัยหลุดค้างอยู่ใน
ช่องคลอด และระวังไม่ให้น้ำอสุจิเปรอะเปื้อนอวัยวะเพศหญิง เพราะเป็นสาเหตุทำให้เชื้ออสุจิตก
เข้าไปภายในทำให้เกิดการตั้งครรภ์ หรือ ติดโรคได้
10. วิธีการถอดถุงยางอนามัยที่ถูกต้อง คือ หลังเสร็จกิจควรถอดถุงยางอนามัยโดยใช้
กระดาษชำระพันโคนถุงยางก่อนที่จะถอด หากไม่มีกระดาษชำระต้องไม่ให้มือสัมผัสกับด้านนอกถุง
ยาง ควรสันนิษฐานว่าด้านนอกถุงยางอาจจะปนเปื้อนเชื้อแล้ว
11. ถุงยางอนามัยที่ใช้แล้วให้ทิ้งลงในโถส้วมหรือเผา ห้ามนำกลับมาใช้อีก
12. ถุงยางอนามัยที่ยังไม่ได้ใช้ ถ้าเป็นไปได้ ควรเก็บไว้ในตู้เย็นและแห้ง เพื่อให้มีอายุ
การใช้งานนาน ถ้าถุงยางอนามัยมีลักษณะเหนียวเหนอะหรือสงสัยว่ารั่วแตก ไม่ควรนำมาใช้
ดังนั้นในการวิจัยครั้งนี้ ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์และถุงยางอนามัยจึงมีความสำคัญต่อ
การศึกษาพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโรคเอดส์ เพราะบางครั้งการไม่ป้องกันเกิด
21
: 56) และ
กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข (2537 : 15-17) สอดคล้องกับเรื่องที่จะศึกษาผู้วิจัยจึง
ได้นำมาเป็นกรอบแนวคิดในการศึกษาครั้งนี้
2. แนวคิดเกี่ยวกับการรับรู้และทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค
2.1 แนวคิดเกี่ยวกับการรับรู้
ความหมายของการรับรู้ มีนักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายไว้ดังนี้
จำเนียร ช่วงโชติ และคณะ (2519 : 2-3) กล่าวว่า การรับรู้เป็นการแปลหรือตีความ
หมายจากการสัมผัสที่ได้รับออกมา เป็นส่วนหนึ่งที่มีความหมาย หรือเป็นที่รู้จักและเข้าใจ ซึ่งในการ
แปลหรือตีความนั้น บุคคลต้องใช้ประสบการณ์เดิมที่เคยมีแต่หนหลัง ถ้าไม่มีความรู้เดิมหรือถ้า
บุคคลลืมเรื่องนั้นเสียแล้ว ก็จะไม่มีการรับรู้สิ่งเร้า มีแต่การสัมผัสต่อสิ่งเร้าเท่านั้น
กันยา สุวรรณแสง (2532 : 127) กล่าวว่า การรับรู้ คือ การใช้ประสบการณ์เดิมและ
ความรู้เดิม แปลความหมายสิ่งเร้าที่ผ่านประสาทสัมผัสแล้วเกิดความรู้สึกความหมายว่าอย่างไร
ดังแผนภาพที่ 3
แผนภาพที่ 3 แสดงการรับรู้ของบุคคลที่มีผลต่อการเรียนรู้
สิ่งเร้า ประสาทสัมผัส ตีความและ การรับรู้ เกิดสังกัปเป็นการเรียนรู้
กับสิ่งเร้า รู้ความหมาย
ที่มา : กันยา สุวรรณแสง 2532 :127
รัจรี นพเกตุ (2536 :1) การรับรู้เป็นกระบวนการประมวล และตีความข้อมูลต่างๆ ที่อยู่
รอบๆ ตัวเราที่ได้จากการเรียนรู้ กระบวนการรับรู้ แสดงได้ดังแผนภาพที่ 4
22
แผนภาพที่ 4 แสดงกระบวนการของการรับรู้ (Process of Percepiton)
ที่มา : รัจรี นพเกตุ 2536:1
กิตติ บุญรัตนเนตร (2540 : 35) กล่าวว่าการรับรู้ (Perception) มีรากศัพท์มาจาก
ภาษาลาตินคือ “Percapere” ซึ่ง Per หมายถึง “ผ่าน” (through) และ capere หมายถึง “การ
นำ” (to take) ตามความหมายในพจนานุกรมของเวบสเตอร์ (New Webster’s Dictionary) คือ
การแสดงออกถึงความรู้ความเข้าใจตามความรู้สึกที่เกิดขึ้นในใจของตนเอง ซึ่งการรับรู้เป็นองค์
ประกอบทางจิตวิทยาที่มีอิทธิพลต่อการแสดงพฤติกรรมในเรื่องต่างๆ และบุคคลมีแนวโน้มที่จะ
ปฏิบัติตามความคิดและการรับรู้ในเรื่องนั้น
แกริสัน และมากูน (Garison and Magoon อ้างถึงใน กิตติ บุญรัตนเนตร 2540 : 36)
ได้ให้ความหมายของการรับรู้ว่าเป็นขบวนการซึ่งสมองตีความหรือแปลความหมายของข้อมูลที่ได้
จากการสัมผัสของร่างกายกับสิ่งเร้าหรือสิ่งแวดล้อม ทำให้เราทราบว่าสิ่งเร้า หรือสิ่งแวดล้อมที่สัมผัส
นั้นเป็นอะไร มีความหมายอย่างไร มีลักษณะอย่างไร และการที่เราจะรับรู้สิ่งเร้าที่มาสัมผัสได้นั้นจะ
ต้องอาศัยประสบการณ์ของเราเป็นเครื่องช่วยในการตีความหรือแปลความ
Meghic and Perreault แมคจิก และ เพอร์เรียล ( อ้างถึงใน กิตติ บุญรัตนเนตร
2540 : 38) กระบวนการรับรู้ของบุคคล เป็นกระบวนการของการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่บุคคลใส่ใจ
อย่างไม่หยุดนิ่ง และสัมพันธ์กับความต่อเนื่องของกาลเวลาและเหตุการณ์ต่างๆในสิ่งแวดล้อมรอบ
ตัวบุคคล (Space – time Continuous) ด้วยเหตุนี้ การรับรู้ของแต่ละบุคคลจึงเป็นการ
แสดงออกถึงความ
ตัวกระตุ้น (วัตถุเหตุการณ์ที่เป็นจริง)
พลังงานกระตุ้นข้อมูล
อวัยวะการรับรู้ความรู้สึก
กระแสประสาทรับรู้สัมผัส
สมองรับสัญญาณ
หรือเกิดความรู้สึก การรับรู้
22
ตระหนักในเรื่องต่างๆ ซึ่งสามารถวัดการรับรู้ได้จากการให้บุคคลเลือกลักษณะที่คิดว่าเป็นจริง หรือ
สอดคล้องสำหรับสิ่งที่ถูกรับรู้ตามความคิดของบุคคลในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ
คิงส์ (King อ้างถึงใน กิตติ บุญรัตนเนตร 2540 : 38) ได้กล่าวว่า กระบวนการของการ
รับรู้ จะเกิดขึ้นได้ต้องประกอบด้วย
1. การนำเข้าของข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ
2. การส่งต่อของข้อมูล
3. ขบวนการแปลความหมายของข้อมูลที่ได้รับ
4. การเก็บและจดข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ
5. การแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ออกมาโดยอาศัยข้อมูลต่าง ๆ ที่มีอยู่
จากความหมายของการรับรู้ดังกล่าว ผู้วิจัยเห็นว่าการรับรู้เป็นกระบวนการที่สมองตีความ
หรือแปลความหมายจากสิ่งเร้าที่มาสัมผัส โดยใช้ประสบการณ์และความรู้เดิมในการตีความ หรือ
แปลความหมายสิ่งเร้าที่ผ่านประสาทสัมผัสแล้วมีการตอบสนองโดยการแสดงออกถึงความรู้ ความ
เข้าใจตามความรู้สึกที่เกิดขึ้นรวมทั้งการแสดงออกทางพฤติกรรมตามการรับรู้นั้นๆ ด้วย
2.2 ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค (The Protection Motivation Theory)
ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคมีขึ้นครั้งแรกใน ปี ค.ศ. 1975 โดย โรเจอร์ (Ronald
W. Rogers 1975 อ้างถึงใน สุพรรณี สฤษดิ์อภิรักษ์ 2536 : 29) ต่อมาได้ถูกปรับปรุงแก้ไขใหม่
และนำมาใช้ในปี ค.ศ. 1983 ซึ่งเริ่มต้นจากการนำการกระตุ้นด้วยความกลัวมาใช้ โดยเน้นความ
สำคัญร่วมกันระหว่างแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ (Health Belief Model) และทฤษฎีความ
คาดหวังในความสามารถของตนเอง (Self Efficacy Theory) นั่นคือ การรวมเอาปัจจัยที่ทำให้
เกิดการรับรู้ในภาพรวมของบุคคล ซึ่งการรับรู้นี้จะเป็นตัวเชื่อมโยงที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทัศ
นคติและพฤติกรรม ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคนี้ ได้เน้นเกี่ยวกับการประเมินการรับรู้ด้านข้อ
มูลข่าวสารในการเผยแพร่สื่อสาร การประเมินการรับรู้นี้จากสื่อกลางที่ทำให้เกิดความกลัว ซึ่งขึ้น
อยู่กับจำนวนของสื่อที่มากระตุ้น และในการตรวจสอบการประเมินการรับรู้ โรเจอร์ (Rogers 1975: 1983 อ้างถึงใน สุพรรณี สฤษดิ์อภิรักษ์ 2536 : 29) ได้กำหนดตัวแปรที่ทำให้บุคคลเกิด
ความกลัว 3 ตัวแปรคือ ความรุนแรงของโรค (Noxiousness) การรับรู้ต่อโอกาสเสี่ยงของการเป็น
โรค (Perceived Probability) ความคาดหวังในประสิทธิผลของการตอบสนอง(Response Efficacy) ดังแผนภาพที่ 5
23
แผนภาพที่ 5 แสดงรูปแบบดั้งเดิมของทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อการป้องกันโรคของ Rogers
ส่วนประกอบที่
สื่อกลางของกระบวนการรับรู้
ทำให้เกิดความกลัว
การเปลี่ยนแปลง
เจตคติ
ความรุนแรงของ
โรคเอดส์
(Noxiousness)
การรับรู้โอกาสเสี่ยง
ของการเป็นโรค
(Perceived
Probability)
ความคาดหวังใน
ประสิทธิผลของ
การตอบสนอง
(Response
Efficacy)
การประเมิน
ความรุนแรง
ความคาดหวัง แรงจูงใจ
ที่มีโอกาสสัมผัส เพื่อการ
กับโรคหรือเผชิญ ป้องกันโรค
การป้องกันโรค
ปัญหา
ความเชื่อ
ในความสามารถ
ของการตอบสนอง
ต่อการเผชิญปัญหา
ความตั้งใจ
ที่จะ
ตอบสนอง
ที่มา : Ronald W.Rogers 1975:93 -114
(Noxiousness) ฮิกบี้และซัทตัน (Higbee 1969 and ความรุนแรงของโรค Sutton 1982 อ้างถึงใน สุพรรณี สฤษดิ์อภิรักษ์ 2536: 31) อธิบายว่าความรุนแรงของโรคสามารถพัฒนา
ได้จากการขู่ว่าถ้ากระทำหรือไม่กระทำพฤติกรรมบางอย่าง จะทำให้บุคคลได้รับผลร้ายแรง โดยใช้
สื่อเป็นสิ่งสำคัญในการเผยแพร่ข่าวสารที่คุกคามต่อสุขภาพ ลักษณะข้อความที่ปรากฏเช่น มี
อันตรายถึงชีวิต หรือบรรยายว่าไม่ทำให้เกิดอันตรายรุนแรง เช่น ระคายเคืองปอดเล็กน้อย โดย
ทั่วๆ ไป ข้อมูลที่ทำให้เกิดความกลัวสูงจะส่งผลให้บุคคลเปลี่ยนทัศนคติ และพฤติกรรม ได้มากกว่า
24
(Leventhal and Walts 1996
อ้างถึงใน สุพรรณี สฤษดิ์อภิรักษ์ 2536 :1) อธิบายถึงข้อมูลที่ทำให้เกิดความกลัวสูงอาจไม่มีผลต่อ
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยตรง แต่หากใช้การกระตุ้นหรือปลุกเร้าร่วมกับการขู่อาจส่งผลให้ ข้อ
มูลนั้นมีลักษณะเด่นชัดขึ้น กระบวนการประเมินการรับรู้ของบุคคลต่อข้อมูลข่าวสารที่เกิดขึ้น จะ
ทำให้บุคคลรับรู้ถึงความรุนแรงของการเป็นโรค (Rogers 1975 ; 1983 อ้างถึงใน Mackay and Campbell 1992 : 27) ขณะที่มีการกระตุ้น จะทำให้บุคคลรับรู้ในความรุนแรงของการเป็นโรคดี
กว่าการกระตุ้นตามปกติ และทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมได้ (Roger and Mewborn 1976 อ้างถึงใน Mackay and Campbell l 1992 : 27) ในการตรวจสอบองค์ประกอบ
เกี่ยวกับผลที่เกิดจากการรับรู้ถึงอันตรายในระดับสูงๆ พบว่ามีผลต่อความตั้งใจที่จะเลิกสูบบุหรี่
(Roger and Deckner อ้างถึงใน Mackay and Campbell 1992 : 27) การงดดื่มสุราช่วยให้ร่าง
กายแข็งแรง (Hass, Bagley and Rogers 1975 อ้างถึงใน Mackay and Campbell 1992 : 27)
และทำให้ไม่เกิดอันตราย ผลการศึกษาที่สำคัญพบว่า นักเรียนที่ได้รับการสอนสามารถงดสูบบุหรี่
ได้เพิ่มมากขึ้น ) และลดความผิดพลาดจากการขับขี่พาหนะลง (Rogers, Deckner and Mewborn
1978 อ้างถึงใน Mackay and Campbell 1992 : 27)
การรับรู้ต่อโอกาสเสี่ยงของการเป็นโรค (Perceived Probability) จะใช้การสื่อ
สารโดยการขู่ที่คุกคามต่อสุขภาพ ซึ่งจะทำให้บุคคลเชื่อว่าตนกำลังตกอยู่ในภาวะเสี่ยง เช่น ศูนย์
ป้องกันและควบคุมโรคเอดส์ในนิวเม็กซิโก ได้นำเสนอข้อมูลเพื่อให้บุคคลมีความตั้งใจที่จะลดพฤติ
กรรมที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเอดส์ โดยกล่าวว่า จากการตรวจเลือดของชายรักร่วมเพศ และชายรัก
สองเพศพบว่า 1 ใน 4 คนมีการติดเชื้อไวรัสเอดส์ เพื่อหวังให้ประชาชนมีความตื่นตัวว่าตนอยู่ใน
ภาวะที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ อย่างไรก็ตามซัทตัน (Sutton 1982 อ้างถึงใน Mackay, Campbell 1992:28) ได้อธิบายว่าวิธีนี้ยังไม่ใช่แนวทางที่จะทำให้บุคคลรับรู้ต่อโอกาสเสี่ยงของการเป็นโรค
แต่การรับรู้ต่อโอกาสเสี่ยงของการเป็นโรคขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของแต่ละบุคคลว่า ถ้าไม่ปฏิบัติตน
เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายที่เกิดขึ้นจะทำให้ตนมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคได้การตรวจสอบการรับรู้ต่อ
โอกาสเสี่ยงของการเป็นโรคสามารถทำได้เช่นเดียวกับการรับรู้ในความรุนแรงของโรคโดยใช้แบบสอบ
ถามให้ตอบคำถามในกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคสูงและกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคต่ำ ตัวอย่างเช่น
ให้ผู้สูบบุหรี่อ่านบทความเรื่อง การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคหัวใจ และโรคมะเร็งปอดได้
สูง (Maddux and Rogers 1983 อ้างถึงใน สุพรรณี สฤษดิ์อภิรักษ์ 2536 : 32) ซึ่งแสดงให้เห็น
ว่า การสูบบุหรี่จะทำให้ผู้สูบมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรค (Rogers 1983 อ้างถึงใน สุพรรณี สฤษ
ดิ์อภิรักษ์ 2536 : 32) โดยให้กลุ่มตัวอย่างทำเครื่องหมายลงในช่องหน้าข้อความของแบบสอบถาม
ว่าตนเชื่อหรือไม่ว่า การสูบบุหรี่จะทำให้เกิดโรคมะเร็งปอดและหัวใจ จากรายงานการศึกษาพบว่าผู้
25
(Maddux and Rogers 1983อ้างถึงใน สุพรรณี
สฤษดิ์อภิรักษ์ 2536 : 32) การใช้แบบสอบถามเพื่อตรวจสอบความตั้งใจที่จะปรับเปลี่ยนพฤติ
กรรม อาจไม่ประสบผลสำเร็จเท่าใดนัก เนื่องจากการตรวจสอบตัวแปร เกี่ยวกับการรับรู้ต่อ
โอกาสเสี่ยงของการเป็นโรค หรือแบบสอบถามที่ใช้นั้นไม่มีผลต่อการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเป็น
โรคของบุคคลที่มีความเสี่ยงสูง (Sutton 1982 อ้างถึงใน สุพรรณี สฤษดิ์อภิรักษ์ 2536 : 32)
เนื่องจากผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรค จะไม่ยอมปฏิบัติตามคำแนะนำเสมอไป ดังตัวอย่าง
เช่น ภายหลังจากผู้ที่สูบบุหรี่จัดได้รับการกระตุ้นในระดับสูงเพื่อให้เลิกสูบบุหรี่ ก็ยังคงหลีกเลี่ยง
ไม่ยอมปฏิบัติตามคำแนะนำ การส่งตรวจฉายเอ็กซ์เรย์ปอดอาจเพิ่มให้บุคคลนั้นกลัวการเป็นมะเร็ง
ปอด ซึ่งจะหลีกเลี่ยงความกลัวโดยไม่ยอมรับการเอ็กซ์เรย์ ในทางกลับกัน การเอาใจใส่
สนับสนุนให้ผู้ที่สูบบุหรี่คำนึงถึงผลที่เกิดขึ้นจากการสูบบุหรี่ จะทำให้บุคคลนั้นลดจำนวนมวนที่สูบ
บุหรี่ลงได้ ซึ่งจะส่งผลให้เป็นโรคมะเร็งปอดน้อยลง
การให้บุคคลปฏิบัติตามคำแนะนำอาจใช้เงื่อนไขความเสี่ยงต่อการเป็นโรคสูงร่วมกับผลที่
เกิดขึ้นจากการปฏิบัติตามคำแนะนำ แต่เงื่อนไขดังกล่าวยังเป็นสิ่งที่ต้องค้นหาคำตอบกันอีกต่อไป
ว่า ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคสูง จะมีผลต่อความตั้งใจของบุคคลในการปฏิบัติตนเพื่อลดพฤติกรรม
เสี่ยงนั้นหรือไม่ เช่น เพิ่มการสูบบุหรี่มากขึ้น (Rogers 1983 อ้างถึงในMackay and Campbell 1992 : 30) เพราะอาจทำให้เพิ่มความเสี่ยงมากขึ้นได้ ถ้าบุคคลพยายามที่จะปฏิเสธ
การรับรู้ของตนเองว่า เขาไม่สามารถที่จะปฏิบัติตามคำขู่นี้ได้ แม้ว่าจะเป็นผลเสีย (Maddux and Rogers 1983 อ้างถึงใน Mackay and Campbell 1992 : 30) ในทางกลับกันถ้ารวมภาวะ
เสี่ยงสูงกับผลดีของการปฏิบัติ จะทำให้ความตั้งใจที่จะยอมรับการปฏิบัติตามมีเพิ่มมากขึ้น
(Rogers 1983 ; Sutton 1982 อ้างถึงใน Mackay and Campbell 1992 : 30) อย่างไรก็ตามการ
ใช้แบบสอบถามซึ่งผู้ตอบจะให้ค่าความรู้สึก ตามข้อความที่กำหนดไว้ในแบบสอบถามนั้นยังเป็นสิ่ง
ที่ต้องทำการศึกษาต่อไปว่าจะสามารถคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค
ของกลุ่มตัวอย่างได้หรือไม่
ความคาดหวังในประสิทธิผลของการตอบสนอง (Response Efficacy) กระทำได้
โดยการนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับการปฎิบัติตนเพื่อลดโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึ่งเป็นการ
สื่อสารที่ทำให้บุคคลเกิดความกลัวเกี่ยวกับสุขภาพโดยปกติการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบของการ
ปรับ และ/หรือลดพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง จากผลการวิจัยพบว่า การที่บุคคลทราบถึงผลที่เกิดขึ้น
จากการปฏิบัติตามคำแนะนำจะช่วยลดความรุนแรงของการเกิดโรคได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
(Rogers 1983 อ้างถึงใน สุพรรณี สฤษดิ์อภิรักษ์ 2536 : 33) ตัวแปรนี้ได้มีการทดสอบว่า จะมี
26
(Rogers and Mewborn, 1976 อ้างถึงใน Mackay and Campbell 1992 : 31) และจากการวิจัยของเบค, แฟรนเคิล และ ซัทตัน (Beck, Frankle and Sutton 1982 อ้างถึงใน สุพรรณี สฤษดิ์อภิรักษ์ 2536 : 33) พบว่า การเพิ่มความคาดหวังในผลที่
เกิดขึ้นร่วมกับความตั้งใจ จะทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยเฉพาะกรณีที่บุคคลรู้ว่าตน
กำลังเสี่ยงต่อการเป็นโรค แต่เมื่อบุคคลนั้นถูกคุกคามสุขภาพอย่างรุนแรง และไม่มีวิธีใดที่จะลด
การคุกคามนั้นลงได้อาจทำให้บุคคลขาดที่พึ่ง และการสอนที่มีความเฉพาะเจาะจง เพื่อให้บุคคล
ปฏิบัติตามคำแนะนำ จะช่วยให้เกิดความตั้งใจที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างจริงจัง อีกทั้งการ
สอนที่มีความเฉพาะเจาะจง จะมีรายละเอียด เพื่อกระตุ้นเตือนความรู้สึก หรือการรับรู้ต่อความ
สามารถของตนเอง ให้ปฏิบัติตามมากขึ้น (Beck and Frankle 1981 ; Sutton 1982 อ้างถึงใน
Mackay and Campbell 1992 : 32)
จากองค์ประกอบที่ทำให้เกิดความกลัว ทั้ง 3 ตัวแปรดังกล่าวจะเห็นได้ว่าเป็นมิติเดียวกับ
แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ (Health Belief Model) ซึ่งประกอบด้วย การรับรู้ต่อโอกาสเสี่ยง
จากการได้รับอันตรายต่อสุขภาพ (Perceived Susceptibility) การรับรู้ในความรุนแรงของ
อันตรายที่เกิดขึ้นแก่สุขภาพ (Perceived Severity) การรับรู้ต่อผลที่คาดว่าจะได้รับจากการปฏิบัติ
เพื่อป้องกันหรือลดอันตรายต่อสุขภาพ (Perceived Benefits) การรับรู้ถึงปัญหาอุปสรรค
(Perceived Barriers) ซึ่งต่อมา แมดดุ๊กซ์และโรเจอร์ส (Maddux and Rogers 1983 ; Rogers 1983 อ้างถึงใน สุพรรณี สฤษดิ์อภิรักษ์ 2536 : 34) ได้เพิ่มตัวแปรอีก 1 ตัวแปรคือ ความคาดหวัง
ในความสามารถของตนเอง (Self-Efficacy Expectancy) ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อ
การป้องกันโรค มีพื้นฐานมาจากแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและทฤษฎีความคาดหวังในความ
สามารถของตนเองของแบนดูรา (Bandura 1977 ; 1982) ซึ่งแบนดูรา เชื่อว่า กระบวนการ
เปลี่ยนแปลงทางจิตวิทยาขึ้นอยู่กับ ความคาดหวังในความสามารถของตนเองที่มีต่อทางเลือกนั้นๆ
ซึ่งการสร้างความคาดหวังในความสามารถของตนเองที่จะเลือกทางเลือกดังกล่าว กระทำได้หลาย
วิธี เช่น การเลียนแบบ การเรียนรู้ หรือการสอนด้วยการพูด ความสามารถของตนเองทำให้เกิด
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในระดับสูงสุด และเป็นพื้นฐานที่ทำให้บุคคลปฏิบัติตามโดยแท้จริง โดย
สรุป การที่บุคคลจะปฏิบัติตามคำแนะนำนั้น เนื้อหาของข่าวสารควรจะมีผลในการช่วยให้บุคคล
ปฏิบัติตามได้ (Back and Lund 1981 ; Maddux and Rogers 1983 อ้างถึงใน สุพรรณี สฤษดิ์
อภิรักษ์ 2536 : 34) แต่ต่างจากตัวแปรอื่นๆ ซึ่งมีลักษณะของข่าวสารที่คุกคามต่อสุขภาพ และไม่
27
(Wallston 1978 : 107-117) ดังนั้นผู้ที่เชื่ออำนาจใน
ตน จึงมีการรับรู้เกี่ยวกับความสามารถของตนเองสูง ในการตรวจสอบองค์ประกอบความคาดหวัง
ในความสามารถของตนเอง โรเจอร์สและแมดดุ๊กซ์ (Rogers and Maddux 1983 อ้างถึงใน สุ
พรรณี สฤษดิ์อภิรักษ์ 2536:35) ได้ทำให้ผู้ที่สูบบุหรี่มีความเชื่อว่าการลดหรือการเลิกสูบบุหรี่
สามารถกระทำได้ง่าย คือมีความคาดหวังในความสามารถของตนเองสูงหรือกระทำได้ยากมาก
คือ มีความคาดหวังในความสามารถของตนเองต่ำ ผลการทดลองพบว่า ความคาดหวังในความ
สามารถของตนเอง เป็นตัวทำนายที่มีผลสูงสุดต่อความตั้งใจที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางสุขภาพ
เช่น การทำให้บุคคลเชื่อว่าถ้าเขามีความตั้งใจที่จะเลิกสูบบุหรี่เขาก็จะสามารถเลิกสูบบุหรี่ได้ง่าย
ความคาดหวังในความสามารถของตนเอง ความสามารถในการปฏิบัติตาม จึงมีปฏิสัมพันธ์
ระหว่างกันสูง เบคและลันด์ (Beck and Lund 1981 อ้างถึงใน สุพรรณี สฤษดิ์อภิรักษ์ 2536 :
35) พบว่า ความสามารถของบุคคลเป็นตัวทำนายที่มีอำนาจสูงสุดต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
ของกลุ่มตัวอย่าง ทั้งกลุ่มที่มีความเชื่ออำนาจในตนทางด้านสุขภาพต่ำ และกลุ่มที่มีความเชื่อ
อำนาจในตนทางด้านสุขภาพสูง หากทำให้เกิดความเครียดขึ้นในกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มจะพบว่า
ผู้ที่มีความเชื่ออำนาจในตนต่ำ จะมีแนวโน้มให้เกิดความไม่มั่นใจในความสามารถของตนเองที่จะ
ปฏิบัติตามคำแนะนำได้ ความคาดหวังในความสามารถของตนเอง จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้
บุคคลปฏิบัติตามคำแนะนำ แม้ว่าบุคคลจะมีความเชื่อสูงว่าการปฏิบัติตามคำแนะนำจะทำให้เกิด
อันตรายลดลง แต่การขาดความมั่นใจในความสามารถของตนเองต่อการปฏิบัติ จะเป็นตัวขัดขวาง
แรงจูงใจต่อการปฏิบัติอย่างมากเช่นกัน (Beck and Frankle 1981 อ้างถึงใน Mackay and Campbell 1992 : 35) ดังนั้น ประสิทธิผลของการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร จึงมิได้ขึ้นอยู่กับความ
ชัดเจนของสื่อ ที่จะทำให้บุคคลปฏิบัติตามเท่านั้น หากแต่บุคคลต้องมีความคาดหวังว่าเขา
สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองได้ด้วย (Beck and Frankle 1981 อ้างถึงใน Mackay and Campbell 1992 : 35)
28
ตัวแปรที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่าความคาดหวังในความสามารถของตนเอง และ
ความคาดหวังในประสิทธิผลของการตอบสนองจะมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันสูง โดยทั่วไปการยอมรับ
และการมีความตั้งใจที่จะปฏิบัติตามคำแนะนำ จะเป็นไปได้สูงเมื่อบุคคลมองเห็นว่ามีประโยชน์และ
สามารถปฏิบัติตามได้ (Beck and Frankle 1981 ; Beck and Lund 1981 อ้างถึงใน Mackay and Campbell 1992 : 35) ซึ่งปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทั้งสองพบดังนี้ ถ้าความสามารถที่จะ
ปฏิบัติตามมีสูง และผลดีของการปฏิบัติตามมีสูงด้วย ก็จะทำให้ความตั้งใจในการปฏิบัติตามมี
เพิ่มมากขึ้นด้วย เช่นกัน ในทางกลับกันถ้าความสามารถในการปฏิบัติตามมีสูงแต่ผลดีของการ
ปฏิบัติตามคำแนะนำมีน้อย ความตั้งใจที่จะปฏิบัติตามก็จะลดน้อยลงไปด้วย เช่น ผู้ที่สูบบุหรี่ตั้ง
ใจที่จะสูบบุหรี่เพิ่มขึ้น และกรณีที่ความคาดหวังในความสามารถของตนเองต่ำ แต่ผลดีของการ
ปฏิบัติตามมีสูงเช่น การบอกกลุ่มตัวอย่างที่เป็นกามโรคว่า สามารถรักษาได้โดยที่เขาอาจไม่ติด
เชื้อกามโรคอีก ก็จะส่งผลให้เขามีความตั้งใจที่จะให้ความร่วมมือในการรักษา
จากวิวัฒนาการของทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อการป้องกันโรค โรเจอร์ส (Rogers) ได้
พยายามปรับปรุงโดยนำตัวแปรทั้ง 4 ตัว คือ การรับรู้ความรุนแรงของโรค การรับรู้โอกาสเสี่ยง
ของการเกิดโรค ความคาดหวังในประสิทธิผลของการตอบสนอง และความคาดหวังในความ
สามารถของตนเอง มาสรุปเป็นกระบวนการรับรู้ 2 แบบ คือ
1. การประเมินอันตรายต่อสุขภาพ (Threat Apprasial)
2. การประเมินการเผชิญปัญหา (Coping Response)
กระบวนการรับรู้ดังกล่าว เกิดจากอิทธิพลของแหล่งข้อมูลข่าวสาร คือ สิ่งแวดล้อม การ
พูดชักชวน การเรียนรู้จากการสังเกต และลักษณะบุคลิกภาพหรือประสบการณ์ที่บุคคลได้รับดัง
แผนภาพที่ 6
การประเมินอันตรายต่อสุขภาพ ประกอบด้วยการรับรู้ 2 ลักษณะคือการรับรู้ความรุน
แรงของโรค และการรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรค ซึ่งการรับรู้นี้จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง
ด้านทัศนคติและพฤติกรรม อีกทั้งอาจส่งผลให้บุคคลเกิดการปรับตัวตอบสนอง หรือเกิดพฤติกรรม
สุขภาพทั้งที่พึงประสงค์ เช่น การรัดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้ง การเลิกสูบบุหรี่ เป็นต้น และอาจเกิด
การปรับตัวตอบสนอง หรือเกิดพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่พึงประสงค์ เช่น การไม่รัดเข็มขัดนิรภัย หรือ
การเริ่มต้นสูบบุหรี่ อย่างไรก็ตามปัจจัยสำคัญที่ช่วยส่งเสริมให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึง
ประสงค์ก็คือความพึงพอใจในตนเอง (Intrinsic Rewards) และความพึงพอใจจากภายนอก
(Extrinsic Rewards) เช่น การเป็นที่ยอมรับของสังคม (Steven Prentice-dunn and Ronald W.Rogers 1986 : 154)
29
แผนภาพที่ 6 แสดงรูปแบบทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อการป้องกันโรคที่ได้รับการพัฒนา
ของ Rogers
แหล่งข้อมูล
สื่อกลางของกระบวนการรับรู้
รูปแบบ
ขา่ วสาร การ
เผชิญ
ปัญหา
ปัจจัยความรู้สึกตอบสนองที่เป็นไปได้
สิ่งแวดล้อม
การพูดชักชวน
การเรียนรู้
จากการ
สังเกต
ลักษณะของ
บุคคล
บุคลิกภาพ
ประสบการณ์
เพิ่ม ลด
การตอบสนอง
ต่อการปรับตัว - =
ที่ไม่เหมาะสม
การตอบสนอง
ต่อการปรับตัว - =
ที่เหมาะสม
การ
ปฏิบัติ
หรือ
การไม่
ปฏิบัติ
ครั้งที่1
ครั้งที่ 2
ครั้งที่
….
รางวัลภาย
ในรางวัล
ภายนอก
การรับรู้ใน
ความรุน
แรง
การประเมิน
อันตราย
แรงจูงใจ
เพื่อ
การป้องกัน
โรค
ความสามารถ
ในการตอบ
สนอง
ความสามารถ
ค่าใช้จ่าย
ในการ
ตอบสนอง
การประเมิน
การเผชิญ
ปัญหา
< ที่มา : Ronald W. Rogers 1986:55 30 การประเมินการเผชิญปัญหาหรือเรียกว่า การรับรู้ประโยชน์และอุปสรรค ของการปฏิบัติ พฤติกรรม (Perceived Benefits of taking Action and Barriers to taking Action) ประกอบ ด้วยการรับรู้เกี่ยวกับความคาดหวังในประสิทธิผลต้องการตอบสนอง และความคาดหวังในความ สามารถของตนเองในการหลีกเลี่ยงอันตรายให้สำเร็จลงได้ (Bandura 1977, 1986, Beck and Frankle อ้างถึงใน Steven Prentice-dunn and Ronald W. Rogers 1986 : 155) เป็นปัจจัยสำคัญ ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทิศทางที่พึงประสงค์ แต่สิ่งที่ทำให้ความคาดหวังใน ประสิทธิผลของการตอบสนองลดลง คือ ความไม่สะดวก ค่าใช้จ่าย ความไม่น่าชื่นชม ความ ยากลำบาก ความสับสนยุ่งยาก อาการแทรกซ้อน และความไม่สอดคล้องในการดำเนินชีวิต กล่าวโดยสรุป ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อการป้องกันโรค มีความเชื่อว่าแรงจูงใจเพื่อการป้องกัน โรค จะกระทำได้ดีที่สุดเมื่อ 1. บุคคลเห็นว่า อันตรายต่อสุขภาพนั้นรุนแรง 2. บุคคลมีความรู้สึกว่าตนอ่อนแอ หรือเสี่ยงต่ออันตรายนั้น 3. เชื่อว่าการตอบสนองโดยการปรับตัว เป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะกำจัดอันตรายนั้น 4. บุคคลมีความเชื่อมั่นในตนเองว่าจะสามารถปรับตัว เพื่อตอบสนองหรือปรับเปลี่ยน พฤติกรรมนั้นได้อย่างสมบูรณ์ 5. ผลดีจากการตอบสนอง ด้วยการปรับตัวแบบที่ไม่พึงประสงค์นั้นมีน้อย 6. อุปสรรคเกี่ยวกับการปรับตัวหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนั้นต่ำ จากการศึกษาทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อการป้องกันโรค ดังกล่าวมาแล้ว จะเห็นได้ว่าบุคคลจะ ต้องมีความเชื่อในความรุนแรงของโรค เชื่อต่อโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรค ความคาดหวังในประ สิทธิผลของการตอบสนองของตนเอง และมีความสามารถที่จะกระทำพฤติกรรมนั้นได้ ซึ่งจะมีผล ต่อความตั้งใจ และช่วยให้บุคคลเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเฉพาะบางอย่าง ได้อย่างมีประ สิทธิภาพ จากทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อการป้องกันโรค โดยเน้นความสำคัญของแบบแผนความเชื่อทาง สุขภาพ และทฤษฎีความสามารถของตนเอง ซึ่งใช้อธิบายพฤติกรรมการป้องกันโรค ได้มีผู้นำไป ประยุกต์ใช้กับการเจ็บป่วยในโรคต่างๆ กันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเจ็บป่วยจากโรค ที่สามารถป้องกันได้ เช่น โรคติดต่อต่างๆ นักวิชาการหลายท่านได้ศึกษาเกี่ยวกับแบบแผนความ เชื่อทางด้านสุขภาพ และทฤษฎีความสามารถของตนเอง ดังนี้ พิมพ์พรรณ ศิลปสุวรรณ และคณะ (2531 : 55) พบว่า การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการ เกิดโรคมีอิทธิพลต่อการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันโรคเอดส์ในกลุ่มผู้ติดยาเสพติด 31 มัลลิกา ตั้งเจริญ (2534 : 35) ศึกษาการรับรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ กับความสามารถใน การดูแลตนเอง เพื่อป้องกันโรคเอดส์ในหญิงอาชีพพิเศษโดยศึกษาในกลุ่มหญิงอาชีพพิเศษในเขต ความรับผิดชอบของสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย 218 ราย พบว่า การรับรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์มี ความสัมพันธ์ทางบวกกับความสามารถในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอดส์ อเฮีย (Ahia อ้างถึงใน เสมอจันทร์ อะนะเทพ 2535 : 51) พบว่า การรับรู้โอกาสเสี่ยง ต่อการเกิดโรคมีความสัมพันธ์กับความร่วมมือในการมีเพศสัมพันธ์ ด้วยวิธีที่ปลอดภัยเพื่อป้องกัน โรคเอดส์ เสมอจันทร์ อะนะเทพ (2535 : 78) ศึกษาความสัมพันธ์เกี่ยวกับโรคเอดส์ ความรู้สึกมี คุณค่าในตนเอง กับพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ของผู้ติดยาเสพติดทางเส้นเลือดที่ได้รับการ รักษาด้วยเมทธาโดน จำนวน 200 ราย พบว่าการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคมีความสัมพันธ์กับ พฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในการวิจัยครั้งนี้ การรับรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์เป็นการรับรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ของกลุ่มผู้ติดยา เสพติด โดยการใช้ประสบการณ์เดิมและความรู้เดิมแปลความหมายสิ่งเร้าที่ผ่านประสาทสัมผัสแล้ว เกิดความรู้สึกในความหมายนั้นตามแนวคิดของกันยา สุวรรณแสง (2532 :127) ซึ่งการรับรู้เกี่ยว กับโรคเอดส์ที่ถูกต้องเป็นพื้นฐานสำคัญอย่างยิ่งของการเรียนรู้ที่ก่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจและ เจตคติที่ดีส่งผลต่อการเกิดพฤติกรรมในการป้องกันตนเองจากโรคเอดส์ของกลุ่มผู้ติดยาเสพติดจาก การใช้ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น และจากพฤติกรรมเสี่ยงของการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัยกับคู่ นอนที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคเอดส์ เพราะถ้าการรับรู้คลาดเคลื่อนไปจากความจริง กลุ่มผู้ติดยา เสพติดก็อาจแสดงพฤติกรรมแบบผิดๆ ซึ่งจะทำให้เกิดผลเสียหายต่อภาวะสุขภาพของตนเองได้ และทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อการป้องกันโรค (The Protection Motivation theory) ของ Ronald W. Rogers (Roger 1975, 1983 อ้างถึงใน สุพรรณี สฤษดิ์อภิรักษ์ 2536 : 30-37) ที่มีผลต่อการ แสดงพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโรคเอดส์ คือ การรับรู้ความรุนแรงของโรคเอดส์ การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคเอดส์ การรับรู้ประโยชน์และอุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรมการ ป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโรคเอดส์หรือ ความคาดหวังในประสิทธิผลของการตอบสนอง และ ความคาดหวังในความสามารถของตน รวมทั้งด้านสื่อดังกล่าว ซึ่งนับเป็นตัวแปรที่ส่งผลต่อแนว โน้มของบุคคลที่จะแสดงพฤติกรรมการป้องกันโรค และจากผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องดังกล่าวข้างต้น จึงกล่าวได้ว่าการรับรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์และทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อการป้องกันโรคซึ่งเน้นแบบแผนความ เชื่อทางด้านพฤติกรรมสุขภาพ (Health Belief Model) มีผลต่อการแสดงพฤติกรรมในการป้องกันตน เองจากการติดเชื้อโรคเอดส์ของกลุ่มผู้ติดยาเสพติด ผู้วิจัยจึงได้นำมาเป็นกรอบแนวคิดในการศึกษา ครั้งนี้ 32 3. ทฤษฎีสื่อ (Media Theories) ในความหมายของสื่อ นักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายไว้ดังนี้ เบอร์โล (David K.Berlo อ้างถึงใน ดวงพร คำนูญวัฒน์ และวาสนา จันทร์สว่าง 2536 : 39) อธิบายสื่อในรูปจำลอง SMCR ว่าหมายถึง การเห็น (Seeing) ได้ยิน (Hearing) ได้กลิ่น (Smelling) ลิ้มรส (Tasting) และสัมผัส (Touching) หากไม่มีช่องทางเหล่านี้ ผู้รับก็ไม่สามารถรับ สารได้ ดังแผนภาพที่ 7 แผนภาพที่ 7 แสดงแบบจำลองการสื่อสารในลักษณะทางเดียว ผู้ส่งสาร สาร ช่องสาร ผู้รับสาร Sender Message Channel Receiver ที่มา: เกษม จันทร์น้อย 2537 : 19 เกษม จันทร์น้อย (2537 : 19) แบ่งตามประเภทของสื่อที่เป็นช่องทางในการสื่อสารที่ จำ เป็นได้ 3 ประเภท คือ 1. สื่อคำพูด หรือสื่อบุคคล 2. สื่อสิ่งพิมพ์ 3. สื่อภาพและเสียง หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อคำพูด หมายถึง ใช้การวัดด้วยการพูดที่สามารถแบ่งออกเป็นหลายรูปแบบ คือ บุคคล การพบปะสังสรรค์ โทรศัพท์สนทนา การสัมมนา การอภิปราย การประชุม การไต่สวน และการปาฐกถา สื่อสิ่งพิมพ์ หมายถึง จดหมาย ใบปลิว แผ่นปลิว คู่มือ หนังสือ วารสาร ปฏิทิน บัตร อวยพร รูปลอก คัทเอาท์ หุ่นจำลอง นิตยสาร ของที่ระลึกที่พิมพ์สัญลักษณ์งานหรือชื่อสถาบัน ทุกรูปแบบ ภาชนะ และโทรสาร สื่อภาพและเสียง หมายถึง การใช้สื่ออิเลคทรอนิกส์เข้ามาช่วยในการทำงาน คือ ภาพ ถ่าย สไลด์ แผ่นโปร่งใส วิทยุกระจายเสียง โทรทัศน์ ฟิลม์ เทปเสียง ภาพยนตร์ คอมพิวเตอร์ เกมกด และตู้เกมส์ โบว์แมนและเอลลิส ( อ้างถึงใน เกษม จนั ทร์นอ้ ย 2537 : 22) ได้ให้ความหมายสื่อมี 5 อย่างดังนี้ 33 1. การสื่อสารส่วนบุคคล คือ การที่บุคคลพูดคุยกันอย่างเป็นทางการ และไม่เป็นทางการ ถือได้ว่าเป็นการสื่อด้วยคน 2. การสื่อด้วยสิ่งพิมพ์ คือ หนังสือ แผ่นพับใบปลิว นิตยสาร หนังสือพิมพ์ ฯลฯ 3. การสื่อด้วยการมองเห็น คือ รูปภาพ ภาพยนตร์ หีบห่อ รถยนต์ อาคาร นิทรรศการ 4. การสื่อสารด้วยการได้ยิน คือ เครื่องรับวิทยุกระจายเสียง วิทยุ โทรทัศน์ โทรศัพท์ 5. การสื่อสารพิเศษ คือ การจัดกิจกรรมพิเศษ เช่น การเยี่ยมลูกค้า ชุนชนสัมพันธ์ การ สัมมนา การประชุม ฯลฯ วู๊ด (อ้างถึงใน เกษม จันทร์น้อย 2537 : 23) ได้กล่าวว่า สื่อที่สมบูรณ์คือสื่อที่นำข่าว สารไปสู่เป้าหมายได้และผสมผสานวิธีการนำเสนอ และแบ่งออกเป็น 8 วิธี คือ 1. สื่อคำพูด หมายถึง การพูดทางวิทยุ โทรทัศน์ หรือแม้แต่การพูดคุยตามปกติ 2. สื่อสิ่งพิมพ์ หมายถึง อักษรบนกระดาษ เช่น รูปเล่ม จดหมาย โทรเลข โทรสาร คอมพิวเตอร์ 3. สื่อโสตทัศน์ หมายถึง สื่อที่รวมทั้งภาพและเสียง เช่น วีดีโอ แผ่นใส ฟิลม์ ฯลฯ 4. กราฟฟิกสองมิติ หมายถึง ภาพถ่าย ภาพเขียน แผนภูมิ ภาพระบายสี ภาพวาด ฯลฯ 5. สื่อสามมิติ หมายถึง การแสดง หุ่นจำลอง สัญลักษณ์ นิทรรศการ 6. สื่อประสม หมายถึง การใช้กิจกรรมสิ่งต่างๆ เช่น งานวัดสถาปนาที่มีกล่าวสุนทร พจน์ การสัมภาษณ์ การเยี่ยมชมโรงงาน การประชุม การแถลงข่าว การออกรายการสื่อมวลชน 7. การเป็นผู้อุปถัมภ์ หมายถึง การให้ทุนการศึกษา การโฆษณาสถาบัน 8. กิจกรรมทางการศึกษา หมายถึง การเผยแพร่ความรู้ให้พนักงานเกิดทักษะ การ รณรงค์ต่างๆ ฯลฯ เจฟกินส์ (อ้างถึงใน เกษม จันทร์น้อย 2537 : 24) ได้แบ่ง “สื่อ” ค่อนข้างแตกต่างกับผู้ อื่น ทั้งหมด 12 ประเภท และ 10 ประเภท ดังนี้ 1. หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หนังสืออ้างอิง 1. หนังสือและนิตยสาร 2. สื่อโสตทัศน์ ภาพยนตร์ สไลด์ วีดีโอ 2. ภาพและการกระจายเสียง 3. วิทยุกระจายเสียง 3. ภาพยนต์สื่อโสตทัศน์ 4. วิทยุโทรทัศน์ 4. วารสารหน่วยงาน 5. นิทรรศการ 5. เอกลักษณ์หน่วยงาน (โลโก้) 6. สื่อเป็นเรื่องเป็นราวแผ่นพับ คู่มือ 6. เอกสารสิ่งพิมพ์นามบัตร 34 7. หนังสือเล่ม 7. โฆษณาสถาบัน 8. จดหมายโดยตรง 8. อุปถัมภ์ 9. สั่งคำพูดหรือบุคคล 9. ประชุมสัมมนา 10. การให้ความอุปถัมภ์แก่สาธารณะ 10. นิทรรศการ 11. วารสารหน่วยงาน จุลสาร จดหมายข่าว 12. สื่ออื่นๆ เช่น ธงประจำองค์การ สัญลักษณ์สินค้า รถของหน่วยงาน เซ็นเตอร์ (อ้างถึงใน เกษม จันทร์น้อย 2537 : 25) แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ 1. สื่อสิ่งพิมพ์ สิ่งพิมพ์ที่ทำขึ้นเอง คู่มือ จดหมาย ป้ายประกาศ เอกสารให้ค้นคว้าใน งานที่เกี่ยวข้อง ใบแทรก จดหมายข่าว ประกาศ โฆษณารับสมัครงาน 2. สื่อคำพูด การประชุม ปาฐกถา สุนทรพจน์ ซุบซิบไม่เป็นทางการให้น่าตื่นเต้นน่า สนใจ 3. จินตภาพ ภาพยนตร์ สไลด์ โทรทัศน์วงจรปิด นิทรรศการ เทศกาล พรทิพย์ วรกิจโภคาทร (อ้างถึงใน กรรณิการ์ อัศวดรเดชา 2543 : 17) ได้แบ่ง สื่อที่นัก ประชาสัมพันธ์เมืองไทยนิยมมากที่สุด ออกเป็น 7 อย่าง คือ 1. หนังสือพิมพ์และนิตยสาร 2. วิทยุโทรทัศน์ 3. สื่อสิ่งพิมพ์ แผ่นพับ วารสารภายใน แผ่นปลิว 4. วิทยุกระจายเสียง 5. สื่อบุคคล 6. ภาพยนตร์ วีดีโอ 7. กิจกรรมช่วยเหลือสังคม ดังนั้นในการวิจัยครั้งนี้ ขั้นตอนการใช้สื่อมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพื่อให้การสื่อสารมี ประสิทธิภาพ จึงต้องมีการวางแผนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เวลาสถานที่และผู้รับเพราะผู้ที่จะสื่อ สารได้ดีต้องมีความรู้ ความเข้าใจสื่อที่มีมากมายหลายประเภทซึ่งมีทั้งข้อดี ข้อเสียต่างกัน ฉะนั้นใน การเลือกใช้สื่อต้องให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายซึ่งในการวิจัยครั้งนี้กลุ่มเป้าหมายหรือผู้รับก็คือผู้ ติดยาเสพติดและในปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้โอกาสที่จะสื่อสารไปยังกลุ่มผู้ติดยา เสพติดมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งแนวคิดของเกษม จันทร์น้อย (2537 : 19) สอดคล้องกับเรื่องที่จะ ศึกษา ผู้วิจัยจึงนำมาเป็นกรอบแนวคิดในการศึกษาครั้งนี้ แต่อย่างไรก็ตามการเลือกใช้สื่อที่ไม่เป็น หรือใช้สื่อผิดประเภทกับกลุ่มผู้ติดยาเสพติดก็อาจทำให้การสื่อสารนั้นไม่ประสบผลสำเร็จไม่สามารถ ถ่ายทอดข้อมูลหรือสารที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโรคเอดส์ได้ 35 4. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วรชัย ทองไทย และอรพันธ์ พิทักษ์มหาเกตุ (2536: บทคัดย่อ) การวิจัยเรื่อง ความรู้ การรับข้อมูลข่าวสารและพฤติกรรมเกี่ยวกับโรคเอดส์ : โครงการสำรวจประสิทธิผลของสื่อสารเรื่อง โรคเอดส์ต่อพฤติกรรมและค่านิยม วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการรับรู้ข่าวสาร ความรู้ ความเข้าใจเรื่องโรคเอดส์ พฤติกรรมการรับสื่อเรื่องโรคเอดส์ พฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ (เฉพาะพฤติกรรมการเที่ยวหญิงบริการ การสำส่อนทางเพศ การใช้ถุงยางอนามัย การระมัดระวัง ในการใช้เข็มฉีดยา การใช้มีดโกน แม้กระทั่งการทำเล็บตามร้านเสริมสวย) และปัจจัยที่มีผลต่อ พฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ โดยทำการเก็บข้อมูลประชากรที่อยู่ในข่ายคือ ผู้ป่วยและผู้หญิงที่ มีอายุระหว่าง 15 – 49 ปี ได้ตัวอย่างทั้งสิ้น 4,090 คน ผลการวิจัยพบว่า โทรทัศน์ เป็นสื่อที่ นิยมมากที่สุดในการรับรู้ข้อมูล ข่าวสารทั่ว ๆ ไป วิทยุเป็นสื่อที่มีความนิยมเป็นอันดับสอง สื่ออื่น ๆ ที่รองลงไปคือหนังสือพิมพ์ หนังสือการ์ตูน และนิตยสารประมาณ 3 ใน 4 ของตัวอย่าง ยิ่งอยากได้ รับข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมในเรื่องส่วนตัว การติดต่อ อาการและการป้องกันโรคเอดส์ โดยมากกว่า ความต้องการให้ใช้โทรทัศน์เป็นสื่อ ตัวอย่างเกือบทั้งหมดเคยได้ยินหรือรู้จักโรคเอดส์เกือบ 2 ใน 3 มี ความรู้เกี่ยวกับการติดต่อ อาการและการรักษาโรคเอดส์ถูกต้อง กว่า 1 ใน 3 คน ยังมีความรู้ เกี่ยวกับการติดต่อ อาการ และการรักษาโรคเอดส์ไม่ถูกต้อง แต่ยังมีอยู่ทั้งที่ยังไม่รู้อย่างแท้จริง 7 ใน 10 คน ไม่เคย ไม่อยู่ในกลุ่มที่เสี่ยงต่อการติดโรคเอดส์ มีเพียงร้อยละ 4 เท่านั้น ที่คิดว่าตน เองอยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูง ในทางกลับกัน กว่า 6 ใน 10 คน จะกลัวการติดโรคเอดส์มาก มีเพียง 1 ใน 5 คน เท่านั้นที่ไม่กลัวติดโรคเอดส์เลย รศ.ดร. โสภา ชปิลมันน์ และคณะ (2536 : บทคัดย่อ) การวิจัยเรื่อง ความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติและพฤติกรรมของบุคคลทั่วไปของบุคลากรที่ทำงานเกี่ยวข้องกับโรคเอดส์ ของบุคคลที่มี พฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคเอดส์ ของผู้ป่วยโรคเอดส์และของครอบครัวผู้ป่วยโรคเอดส์ต่อคำว่า “เอดส์” และต่อ “ผู้ป่วยโรคเอดส์” วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้ เพื่อศึกษาความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ และ พฤติกรรมของบุคคลทั่วไป ของบุคลากรที่ทำงานเกี่ยวข้องกับเอดส์ ของบุคคลที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อ เอดส์ ของผู้ป่วยโรคเอดส์และของครอบครัวผู้ป่วยเอดส์ต่อคำว่า “เอดส์” และ “ผู้ป่วยโรคเอดส์” และทราบถึงสภาวะด้านสุขภาพจิต และการปฏิบัติตนของบุคคลดังกล่าว เพื่อนำมาใช้เป็นแนวทาง ในการจัดบริการปรึกษาและป้องกันที่มีประสิทธิภาพ และเพื่อการวางแผนรณรงค์ให้เกิดการยอมรับ ให้ความเห็นใจ ความห่วงใยแก่ผู้ป่วยโรคเอดส์ และครอบครัวผู้ป่วยโรคเอดส์ วิธีการศึกษาใช้แบบ สอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มประชากรเป้าหมาย 5 กลุ่มคือ กลุ่มบุคคล ทั่วไป กลุ่มบุคลากรที่ทำงานเกี่ยวกับโรคเอดส์ กลุ่มบุคคลที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคเอดส์ กลุ่มผู้ ป่วยเอดส์ และกลุ่มครอบครัวผู้ป่วยเอดส์ รวมจำนวนทั้งสิ้น 615 ราย ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 36 เสาวนีย์ พันธ์พัฒนกุล (2537: บทคัดย่อ) ศึกษาเรื่อง การรับรู้ของประชาชนเกี่ยวกับ บทบาทของครอบครัวในการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี และผู้ป่วยเอดส์ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อหาความ สัมพันธ์ระหว่างความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา รายได้ ประสบการณ์และความสนใจรับฟังข่าวสารโรคเอดส์กับการรับรู้เกี่ยวกับบทบาทของครอบครัวในการ ดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนที่มีอายุระหว่าง 15 - 60 ปี ที่อาศัย อยู่ในหมู่บ้านดอกบัว ต.ท่าวังทอง อ.เมือง จ.พะเยา จำนวน 130 คน ผลวิจัยพบว่า ความรู้ เกี่ยวกับโรคเอดส์ของประชาชนอยู่ในระดับปานกลาง มีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 65.8 การรับรู้ ของประชาชนเกี่ยวกับบทบาทของครอบครัวในการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี และผู้ป่วยเอดส์อยู่ระดับสูง มีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 76.1 ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นถึง ความจำเป็นในการให้ความรู้แก่ ประชาชนด้านการดูแลผู้ป่วยเอดส์ที่บ้าน การสร้างทัศนคติที่ดีต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี และผู้ป่วยเอดส์ การให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ สาธารณสุขโดยเฉพาะที่ปฏิบัติงานที่สถานีอนามัยเกี่ยวกับการให้คำ ปรึกษาและควรมีการนำเสนอข่าวสารโรคเอดส์อย่างต่อเนื่องโดยสื่อมวลชนมากขึ้น เนื่องจากประชา ชนให้ความสนใจสื่อด้านนี้มาก รัตนา มุขธระโกษา (2538: บทคัดย่อ) ศึกษาเรื่อง ความคิด ความรู้สึกและพฤติกรรม ของผู้ติดเชื้อเอดส์ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยมีวัตถุประสงค์ คือ ศึกษาความคิด ความรู้สึก การดำรงชีวิต รวมทั้งพฤติกรรมของผู้ติดเชื้อเอดส์ เพื่อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ของผู้ติดเชื้อเอดส์ ประชากรที่ศึกษา คือ ผู้ติดเชื้อเอดส์ที่มารับบริการที่คลินิกภูมิคุ้มกันบกพร่อง ตึก ภปร. แผนกผู้ป่วยนอก สภากาชาดไทย จำนวน 174 คน ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาของผู้ ติดเชื้อเอดส์ส่วนใหญ่เป็นปัญหาทางจิตใจ เรื่องการยอมรับสภาพการเจ็บป่วยของตนเอง การไม่ กล้าบอกเรื่องการเจ็บป่วยต่อผู้ใกล้ชิดเพราะกลัวสูญเสียความรัก ความอบอุ่น ความเข้าใจและอาจ ถูกทอดทิ้ง 37 อรอุษา สถิตยุทธการ (2538 : บทคัดย่อ) ศึกษาเรื่องการให้คำปรึกษารายบุคคลเพื่อส่ง เสริมพฤติกรรมป้องกันการแพร่กระจายเชื้อของผู้ป่วยหลังคลอดที่ติดเชื้อเอชไอวี โรงพยาบาลศิริราช โดยมีวัตถุประสงค์ คือ ศึกษาถึงผลของการให้คำปรึกษารายบุคคล เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมป้องกัน การแพร่กระจายเชื้อเอชไอวี ในโรงพยาบาลศิริราช ประชากรที่ศึกษา คือ ผู้ป่วยหลังคลอดที่ติดเชื้อ เอชไอวีที่มาคลอดและพักรักษาตัวที่ตึกจุฑาวุธ 2 จำนวน 40 ราย รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบ ถาม ผลการศึกษา พบว่า การให้คำปรึกษารายบุคคลมีผลในการลดความวิตกกังวลและพฤติกรรม ต่อเนื่องในการป้องกันการแพร่กระจายโรคเอดส์ นารีรัตน์ เอกปัญญากุล (2541: บทคัดย่อ) ศึกษาเรื่องการศึกษาการให้บริการแก่ผู้ติด เชื้อและผู้ป่วยโรคเอดส์ของนักสังคมสงเคราะห์ ศึกษากรณี ศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้เรื่องโรคเอดส์ของนักสังคมสงเคราะห์ ศูนย์ บริการสาธารณสุข รวมถึงศึกษาทัศนคติต่อผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยโรคเอดส์ ของนักสังคมสงเคราะห์ ศูนย์บริการสาธารณสุข ประชากรที่ศึกษา คือ บุคลากรทั้งหมดที่ปฏิบัติงานในศูนย์บริการสาธารณ สุข สำนักอนามัย ทั้ง 60 แห่ง จำนวนทั้งสิ้น 102 ราย รวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถาม ผลการ ศึกษาพบว่า นักสังคมสงเคราะห์ส่วนใหญ่มีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคเอดส์อยู่ในระดับค่อนข้างดี ดังนั้นในการวิจัยครั้งนี้จะเห็นได้ว่า จากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องปัจจัยในด้านความรู้ ความ เข้าใจ ทัศนคติ (การรับรู้) และด้านสื่อ ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของ บุคคลในกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ ทั้งสิ้น ส่วนด้านพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโรคเอดส์ นั้นการที่บุคคลจะเลือกตัดสินใจว่าจะปฏิบัติสิ่งหนึ่งสิ่งใดต่อไป หรืออย่างไร ขึ้นอยู่กับความพร้อมทั้ง ทางด้านความรู้หรือประสบการณ์เดิมเกี่ยวกับโรคเอดส์ ด้านการรับรู้ถึงความรุนแรงของโรค การรับรู้ ถึงโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค การรับรู้ประโยชน์และอุปสรรคของพฤติกรรมการป้องกันตนเองจาก การติดเชื้อโรค และด้านสื่อในการเลือกใช้สื่อที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายรวมทั้งความพร้อมทาง ด้านจิตใจเป็นสำคัญ บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ได้ใช้เทคนิคการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยการ ศึกษา เรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโรคเอดส์ของผู้ติดยาเสพติด ใน คลินิกยาเสพติด สังกัด กรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้ 1.ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 2.เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 3.วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล 4.การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ 1.ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ติดยาเสพติดในเพศชายทั้งชนิดฉีดเข้าเส้น และชนิดสูบเฮโรอีนเฉพาะผู้ที่มีผลเลือดปกติ (ไม่พบเชื้อเอชไอวี) ที่มารับการบำบัดรักษาในคลินิก ยาเสพติด ศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร จำนวน 15 แห่ง รวมทั้งสิ้น 1,270 คน จำแนกแยกตามสถานบำบัดรักษาดังตารางที่ 3 40 ตารางที่ 3 แสดงจำนวนผู้ติดยาเสพติดที่มีผลเลือดปกติ(ไม่พบเชื้อเอชไอวี)แยกตาม สถานบำบัดรักษา สถานบำบัดรักษา จำนวน (คน) 1. คลินิก 1 วัดธาตุทอง 126 2. คลินิก 2 ลาดพร้าว 168 3. คลินิก ศูนย์ฯ 3 (บางซื่อ) 103 4. คลินิก ศูนย์ฯ 4 (ดินแดง) 15 5. คลินิก ศูนย์ฯ 6 (วัฒนธรรมหญิง) 53 6. คลินิก ศูนย์ฯ 7 (บุญมี) 159 7. คลินิก ศูนย์ฯ 16 (ลุมพินี) 57 8. คลินิก ศูนย์ฯ 19 (วงศ์สว่าง) 39 9. คลินิก ศูนย์ฯ 22 (ปากบ่อ) 66 10. คลินิก ศูนย์ฯ 23 (สี่พระยา) 83 11. คลินิก ศูนย์ฯ 29 (ช่วง-นุชเนตร) 119 12. คลินิก ศูนย์ฯ 31 (บางอ้อ) 11 13. คลินิก ศูนย์ฯ 40 (ภาษีเจริญ) 91 14. คลินิก ศูนย์ฯ 41 (คลองเตย) 92 15. คลินิก ศูนย์ฯ 51 (วัดไผ่ตัน) 88 รวม 1,270 ที่มา : ฝ่ายแผนงาน กองป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด 2544 : เอกสารอัดสำเนา การเลือกกลุ่มตัวอย่าง จากศูนย์บริการสาธารณสุข 15 แห่ง ผู้วิจัยได้เลือกกลุ่มตัวอย่างมาทำการศึกษาครั้งนี้ จำนวน 3 แห่ง ประมาณการโดยใช้แนวคิดการคำนวณกลุ่มตัวอย่าง ของยุทธพงษ์ กัยวรรณ์ (2543 : 74) ดังนี้ 41 ประชากรที่มีจำนวนหลักร้อยใช้กลุ่มตัวอย่าง 15 - 30 % ประชากรที่มีจำนวนหลักพันใช้กลุ่มตัวอย่าง 10 - 15 % ประชากรที่มีจำนวนหลักหมื่นใช้กลุ่มตัวอย่าง 5 - 10 % มีขั้นตอนการคำนวณดังนี้ 1. จากศูนย์บริการสาธารณสุข 15 แห่ง ผู้วิจัยได้เลือกกลุ่มตัวอย่างมาทำการศึกษาด้วยวิธีการสุ่ม ตัวอย่างอย่างง่าย(การจับฉลาก) และใช้เกณฑ์ 15% ซึ่งเป็นเกณฑ์ต่ำสุดของการคำนวณกลุ่มตัว อย่างตามแนวคิดของยุทธพงษ์ กัยวรรณ์ (2543 : 74) ดังกล่าวข้างต้น จึงได้กลุ่มตัวอย่างขั้นต่ำเท่า กับ 2.25 แห่ง ~ 3 แห่ง(โดยการเขียนชื่อคลินิกทั้ง 15 แห่ง ใส่กล่องแล้วสุ่มหยิบขึ้นมาครั้งละ 1 ชิ้น จนครบ 3 ชิ้น) N = 15 X 15 100 = 2.25 ~ 3 แห่ง กลุ่มตัวอย่างที่สุ่มได้ 3 แห่ง ได้แก่ ศูนย์สาธารณสุข 7 (บุญมี ปุรุราชรังสรรค์) 1. ศูนย์สาธารณสุข 16(ลุมพินี) 2. ศูนย์สาธารณสุข 23(สี่พระยา) 3. 2. จากจำนวนผู้ติดยาเสพติดที่มีผลเลือดปกติ(ไม่พบเชื้อเอชไอวี) ของกลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 แห่ง ที่สุ่ม ได้นำมาคำนวณจำนวนกลุ่มตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์ 30 % ซึ่งเป็นเกณฑ์สูงสุดของกลุ่มตัวอย่างดัง กล่าวข้างต้น จึงได้กลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 90 คน แสดงได้ดังตารางที่ 4 N = 299 X 30 100 = 89.6 ~ 90 คน 42 ตารางที่ 4 แสดงจำนวนกลุ่มตัวอย่างของผู้ที่มีผลเลือดปกติ (ไม่พบเชื้อเอชไอวี) ในแต่ ละคลินิก สถานบำบัดรักษา จำนวนผู้ที่มีเลือดปกติ (คน) จำนวนกลุ่มตัวอย่าง (คน) 1. คลินิกยาเสพติด ศูนย์ฯ 7 (บุญมี ฯ) 159 48 2. คลินิกยาเสพติด ศูนย์ฯ 16 (ลุมพินี) 57 17 3. คลินิกยาเสพติด ศูนย์ฯ 23 (สี่พระ ยา) 83 25 รวม 299 90 2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบถาม ขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อ มูล แบบสอบถามแต่ละชุด ประกอบด้วยคำถาม 5 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ติดยาเสพติด ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ สมรส ประสบการณ์ทางเพศ อาชีพ และรายได้ต่อเดือน ลักษณะคำถามในส่วนนี้ เป็นคำถาม แบบปลายปิด ให้เลือกตอบเพียง 1 คำตอบ รวมทั้งสิ้น 6 ข้อ ส่วนที่ 2 ข้อมูลคำถามใช้วัดความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์และถุงยางอนามัยของผู้ติดยาเสพ ติด ได้แก่ ความรู้ทั่วไปในด้านความรุนแรงของการติดเชื้อโรคเอดส์ ด้านการติดต่อของโรคเอดส์ ด้านการรักษาโรคเอดส์ ด้านการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโรคเอดส์และความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ ถุงยางอนามัย ลักษณะคำถามในส่วนนี้เป็นคำถามแบบปลายปิดให้เลือกตอบเพียง 1 คำตอบ คือ ใช่ ไม่ใช่ การให้คะแนนขึ้นอยู่กับคำตอบ ถ้ากลุ่มตัวอย่างตอบถูกต้อง ตามความเป็นจริงจะ ได้ 1 คะแนน ถ้ากลุ่มตัวอย่างตอบผิดจากความเป็นจริงจะได้ 0 คะแนน คำถามในแบบสอบ ถามมีทั้งหมด 15 ข้อ แบ่งออกเป็น 5 ด้าน คือ ด้านความรุนแรงของการติดเชื้อโรคเอดส์ จำนวน 3 ข้อ คือ ข้อที่ 1-3 1. ด้านการติดต่อของโรคเอดส์ จำนวน 3 ข้อ คือ ข้อที่ 4-6 2. ด้านการรักษาโรคเอดส์ จำนวน 3 ข้อ คือ ข้อที่ 7-9 3. ด้านการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโรคเอดส์ จำนวน 3 ข้อ คือ ข้อที่ 10-12 4. ด้านความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับถุงยางอนามัย จำนวน 3 ข้อ คือ ข้อที่ 13-15 5. การแปลผลคะแนนความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ และถุงยางอนามัย แบ่งเป็น 2 ระดับ โดย ใช้ คะแนนเฉลี่ย ตั้งแต่ตำแหน่ง Percentile ที่ 25 (P25) ลงมา ถือเป็นกลุ่มที่มีคะแนนเฉลี่ยระดับ 43 Percentile ที่ 75 (P75) ขึ้นไป ถือเป็นกลุ่มที่มีคะแนนเฉลี่ย ระดับสูง เป็นเกณฑ์กำหนดกลุ่ม ส่วนที่ 3 ข้อมูลคำถามใช้วัดการรับรู้ต่อโรคเอดส์ ได้แก่ การรับรู้ความรุนแรงของโรค เอดส์ การรับรู้ในโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคเอดส์ ความคาดหวังในผลลัพธ์ของการป้องกันพฤติ กรรมเสี่ยงและความคาดหวังในความสามารถของตนเองเป็นคำถามที่ใช้ความคิดเห็นของตนเอง ต่อพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโรคเอดส์ มีทั้งคำถามในเชิงบวกและคำถามในเชิง ลบ ลักษณะคำถามเป็นคำถามแบบประมาณค่า ให้เลือกตอบโดยใช้มาตรวัดของลิเคิร์ท กำหนด ให้คำถามแต่ละข้อมีคำตอบให้เลือก 5 ระดับ คือ เห็นด้วยอย่างยิ่ง เห็นด้วย ไม่แน่ใจ ไม่เห็น ด้วย ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง รวมทั้งสิ้น 20 ข้อ แบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ 1. ด้านการรับรู้ความรุนแรงของโรคเอดส์ จำนวน 5 ข้อ คือ ข้อที่ 1 - 5 ด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคเอดส์ จำนวน 5 ข้อ คือ ข้อที่ 6 – 10 2. 3. ด้านความคาดหวังในผลลัพธ์ของการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยง จำนวน 5 ข้อ คือ ข้อที่ 11 – 15 4. ด้านความคาดหวังในความสามารถของตนเอง จำนวน 5 ข้อ คือข้อที่ 16 – 20 ส่วนที่ 4 ข้อมูลคำถามปัจจัยสื่อ ลักษณะคำถามใช้วัดความรู้สึกหรือความคิดเห็นตาม ประเภทของสื่อที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโรคเอดส์ให้เรียงหมายเลข ตามลำดับจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด รวมทั้งสิ้น 5 ข้อ ส่วนที่ 5 ข้อมูลคำถามด้านพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโรคเอดส์ เป็น คำถามที่ใชัวัดพฤติกรรมการปฏิบัติตนในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโรคเอดส์ซึ่งมีเนื้อหาใน ด้านการใช้ถุงยางอนามัย และการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคเอดส์ ลักษณะคำถามเป็นคำถาม ปลายปิด ให้เลือกตอบ 1 คำตอบ รวมทั้งสิ้น 6 ข้อ 2.1. การสร้างเครื่องมือและเกณฑ์กำหนดการวัดค่าตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1. ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในอดีต เพื่อกำหนดและตรวจสอบตัวแปร ต่างๆ ที่ใช้ศึกษา และสอบถามจากผู้มีประสบการณ์ เพื่อตรวจสอบ กำหนดตัวแปรและขอบเขต ข้อมูลในการกำหนดรูปแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา 2. การสร้างแบบสอบถาม เป็นเครื่องมือหลักของการวิจัยครั้งนี้ เพื่อใช้สอบถาม กลุ่มตัวอย่างให้ครอบคลุมและเหมาะสมกับปัจจัยที่มีผลต่อการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโรค เอดส์ของผู้ติดยาเสพติด ในคลินิกยาเสพติด สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยยึดหลักตามกรอบข้อมูล ที่ต้องการศึกษาด้วยการกำหนดลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบสำรวจให้เลือกตอบ ซึ่งได้กำหนด การวัดและเกณฑ์คะแนนค่าตัวแปร ดังนี้ 44 ตัวแปรอิสระ ประกอบด้วย 1. ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ และถุงยางอนามัย การประเมินอันตราย 2. การประเมินการเผชิญปัญหา 3. ปัจจัยสื่อ 4. 1. คำถามเกี่ยวกับปัจจัยความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์และถุงยางอนามัย เป็นแบบสอบถาม ส่วนที่ 2 ลักษณะคำถามที่ใช้วัดความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคเอดส์และถุงยางอนามัยเป็นแบบปลาย ปิด ให้เลือกตอบ 1 คำตอบมี 2 ระดับ การให้คะแนนขึ้นอยู่กับคำตอบที่ถูกต้องตามความเป็นจริง และระดับการวัดเป็นแบบประเภทช่วง จำนวน 15 ข้อ แบ่งเป็นด้านต่างๆ 5 ด้านดังนี้ ด้านความรุนแรงของการติดเชื้อโรคเอดส์ 1.1 ด้านการติดต่อของโรคเอดส์ 1.2 ด้านการรักษาโรคเอดส์ 1.3 ด้านการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโรคเอดส์ 1.4 ด้านความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับถุงยางอนามัย 1.5 หลักเกณฑ์การให้คะแนน มี 2 ระดับ ดังนี้ คำตอบ คะแนน ใช่ 1 ไม่ใช่ 0 การแปลผลคะแนนความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์และถุงยางอนามัย แบ่งเป็น 2 ระดับ โดยใช้ คะแนนเฉลี่ย จาก Percentile 25 (P25) เป็นกลุ่มระดับต่ำและ Percentile 75 (P75) เป็นกลุ่ม ระดับสูง เป็นเกณฑ์กำหนดกลุ่ม 2.คำถามเกี่ยวกับปัจจัยด้านการประเมินอันตรายและปัจจัยด้านการประเมินการเผชิญ ปัญหา เป็นแบบสอบถามส่วนที่ 3 ลักษณะคำถามใช้ความคิดเห็นของตนเองต่อพฤติกรรมป้องกัน ตนเองจากการติดเชื้อโรคเอดส์ ในด้านการรับรู้ความรุนแรงของโรคเอดส์ 5 ข้อ การรับรู้โอกาส เสี่ยงต่อโรคเอดส์ 5 ข้อ ความคาดหวังในผลลัพธ์ของการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยง 5 ข้อ และความ คาดหวังในความสามารถของตนเองจำนวน 5 ข้อ เป็นคำถามแบบประมาณค่า ให้เลือกตอบโดย ใช้มาตรวัดของลิเคิร์ท มี 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ 45 หลักเกณฑ์ในการให้คะแนนปัจจัยด้านการประเมินอันตรายและปัจจัยด้านประเมินการ เผชิญปัญหามีดังนี้ ตารางที่ 5 แสดงระดับความคิดเห็นตามประเภทของสื่อที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้อง กันตนเองจากการติดเชื้อโรคเอดส์ของผู้ติดยาเสพติดในคลินิก คำถามเชิงบวก คำถามเชิงลบ ระดับความคิดเห็น คะแนน คะแนน เห็นด้วยอย่างยิ่ง 5 1 เห็นด้วย 4 2 ไม่แน่ใจ 3 3 ไม่เห็นด้วย 2 4 ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง 1 5 3. คำถามเกี่ยวกับปัจจัยด้านสื่อ เป็นแบบสอบถามส่วนที่ 4 ลักษณะคำถามใช้ความ คิดเห็นตามประเภทของสื่อที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโรคเอดส์ ได้ แก่ 3.1 สื่อบุคคล 3.1.1 บุคคลในครอบครัว ได้แก่ พ่อแม่ ญาติพี่น้อง บุคลากรทางสาธารณสุข ได้แก่ แพทย์ พยาบาล นักจิตวิทยา 3.1.2 นักสังคมสงเคราะห์ 3.2 สื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ หนังสือพิมพ์ วารสาร แผ่นพับ 3.3 สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ วิทยุ โทรทัศน์ ประเมินการวัดโดยให้เรียงหมายเลขตามลำดับจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุดจำนวน 5 ลำดับ การวิเคราะห์ข้อมูล นำจำนวนข้อคำตอบทั้งหมดมาลงรหัสหาความถี่ของจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด และนำ เสนอข้อมูลโดยการสรุปเป็นร้อยละของแต่ละข้อคำถาม 46 ตัวแปรตาม คำถามเกี่ยวกับปัจจัยด้านพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโรคเอดส์ เป็นแบบ สอบถามส่วนที่ 5 ลักษณะคำถามเพื่อใช้วัดพฤติกรรมการปฏิบัติตนในการป้องกันตนเองจากการ ติดเชื้อโรคเอดส์ซึ่งมีเนื้อหาในด้านการใช้ถุงยางอนามัยและการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคเอดส์ เป็นคำถามปลายปิด ให้เลือกตอบ 1 คำตอบตามพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโรค เอดส์ รวมทั้งสิ้น 6 ข้อ ตัวแปรอธิบาย ปัจจัยส่วนบุคคล เป็นแบบสอบถามส่วนที่ 1 มีลักษณะคำถามเป็นแบบปลายปิดและ ปลายเปิด ให้ผู้ตอบแบบสอบถามตอบตามความเป็นจริง ประกอบด้วย ตัวแปรอายุ ระดับการ ศึกษาสูงสุด สถานภาพสมรส ประสบการณ์ทางเพศ อาชีพ และรายได้ต่อเดือน 2. 2 การพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย หลังจากได้สร้างแบบสอบถามแล้ว ผู้วิจัยได้ทำการตรวจสอบปรับปรุงแก้ไขเพื่อ ให้ได้คุณภาพ โดยมีลำดับขั้นตอนดังนี้ 1. การตรวจสอบความตรงของเครื่องมือ (Validity) และนำแบบสอบถามที่ สร้างขึ้นไปหาความตรงตามเนื้อหา (Content Validity) โดยปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษา และผู้เชี่ยว ชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์โดยตรงตรวจสอบพิจารณาเครื่องมือที่สร้างขึ้นในด้านเนื้อ หาคำถาม เพื่อให้ได้คำถามที่ครอบคลุมและวัดได้ตรงตามที่ต้องการวัดในการพิจารณาแก้ไขและ เพิ่มเติมข้อประเด็นคำถาม คำตอบ ที่ชัดเจนถูกต้อง และสอดคล้องโดยเฉพาะให้เหมาะสมทั้งด้าน ภาษาและความถูกต้องในเนื้อหา ตามความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของอาจารย์ที่ปรึกษาและผู้ เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อนำไปใช้ทดลองในภาคสนาม เพื่อตรวจสอบเครื่องมือและความ เหมาะสมกับสถานการณ์จริงซึ่งได้รับความอนุเคราะห์จากผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ผู้มี ประสบการณ์ ดังนี้ 1.1 นายแพทย์ชัชชัย วัชรพฤกษาดี : ผู้อำนวยการศูนย์บริการสาธารณสุข 23 สี่พระยา คลินิกยาเสพติด สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร 1.2 นายแพทย์ชวินทร์ ศิรินาค : ผู้อำนวยการกองควบคุมโรคเอดส์ สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร 47 1.3 ดร.อรทัย หรูเจริญพรพาณิชย์ : นักวิชาการกองควบคุมโรค 6 กองควบ คุมโรคเอดส์ สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิได้เสนอแนะให้ปรับแก้ข้อคำถาม อาทิ ตัวแปรอายุ ให้แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มอายุตามหลักสากลของการวิจัย หรือรายงานการศึกษา การวิจัย เพื่อ สามารถเปรียบเทียบกับงานวิจัยหรือรายงานการศึกษาต่างๆ ได้ เช่น การสำรวจสำมะโนประชากร เป็นต้น และปรับแก้ข้อคำถามในเรื่องสารหล่อลื่นที่ผู้เสพติดบางคนใช้เพื่อหล่อลื่นในการร่วมเพศ เช่น ยาหม่อง โดยกลุ่มตัวอย่างคิดว่ายาหม่องสามารถป้องกันการติดเชื้อโรคเอดส์ได้ 2. นำเครื่องมือที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วไปทดลองใช้ (Try Out) ในภาคสนามกับผู้ติด ยาเสพติด จำนวน 30 คนในคลินิกยาเสพติด ศูนย์บริการสาธารณสุข 23 สี่พระยา กรุงเทพมหานคร 3. การตรวจสอบอำนาจจำแนกรายข้อของเครื่องมือ (Discrimination) ผู้วิจัยนำข้อ มูลในแบบวัดที่ได้จากแบบสอบถามกลุ่มทดลองในภาคสนามตรวจสอบคุณภาพด้วยอำนาจจำแนก ของคำถามแต่ละข้อด้วยการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มสูงและกลุ่มต่ำตาม เทคนิค 50% ของลิเคิร์ทโดยเรียงคะแนนจากมากไปหาน้อยแบ่งเป็นกลุ่มสูง 50% ของจำนวน 30 คน เท่ากับ 15 คน กลุ่มต่ำ 50 % ของจำนวน 30 คน เท่ากับ 15 คน แล้วนำมาเปรียบเทียบกัน ด้วยสูตร t-test คัดเลือกเฉพาะข้อที่มีค่า t ตั้งแต่ 2.0 ขึ้นไป ซึ่งถือว่ามีอำนาจจำแนกที่ใช้ได้ในการ นำไปใช้จริง (ประคอง กรรณสูตร 2535: 26) 4. การตรวจสอบความเที่ยงหรือระดับความเชื่อมั่นของเครื่องมือ (Reliability) หลังจากปรับปรุงแก้ไขข้อคำถามที่ได้จากการตรวจสอบอำนาจจำแนกแล้ว นำข้อคำถามดังกล่าว ไปตรวจสอบความเที่ยงเพื่อวัดความคงที่ภายใน((Internal Consisteny)โดยใช้วิธีคำนวณหาความ เชื่อมั่นของครอนแบค (Cronbach) ซึ่งเรียกว่า “ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า (Alpha Coefficient) (ยุทธพงษ์ กัยวรรณ 2543: 137) Σ S2i S2x 1 α = k k-1 α = โดยที่ แทนค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่น k = แทนจำนวนข้อของเครื่องมือ S2i = แทนผลรวมของความแปรปรวนของคะแนนแต่ละข้อ S2x = แทนความแปรปรวนของคะแนนของผู้รับการทดสอบทั้งหมด 48 การคำนวณหาค่าการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโรคเอดส์ที่มาจากปัจจัยความรู้ เกี่ยวกับโรคเอดส์และถุงยางอนามัย ปัจจัยการประเมินอันตราย ปัจจัยการประเมินการเผชิญ ปัญหาและปัจจัยสื่อที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโรคเอดส์ โดยคำนวณหา ค่าความเที่ยงจากแบบสอบถามพบว่า ความเชื่อมั่นมีค่าเท่ากับ 0.79 5. หลังจากนี้นำเครื่องมือแบบสอบถามที่ใช้ทดลองในชุดเดียวกันมาปรับประเด็น คำถามของเครื่องมือขั้นสุดท้าย หลังจากการที่ได้ตรวจสอบและแก้ไขเครื่องมือในการเก็บรวบรวม ข้อมูลทั้งด้านการใช้ภาษาในข้อคำถามให้เข้าใจตรงกัน ให้มีความชัดเจนตลอดทั้งมีความเหมาะ สมในการนำไปใช้ภายใต้เงื่อนไขด้านเวลา และสภาพแวดล้อมต่างๆ แล้วจึงนำไปทำการสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างจริง 3. วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ทำการเก็บการรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยดำเนินการด้วยตนเองโดยใช้วิธีจัดเก็บแบบสอบถาม กับกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งจะดำเนินการเป็นขั้นตอน ดังนี้ 1.ผู้วิจัยได้จัดทำหนังสือแนะนำตัวพร้อมแจ้งวัตถุประสงค์ของการวิจัยจากบัณฑิต วิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ถึงผู้อำนวยการสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร เพื่อขอหนังสืออนุญาตในการดำเนินการเก็บข้อมูลกับหน่วยงานกลุ่มตัวอย่างที่อยู่ในความรับผิด ชอบของสำนักอนามัย กรุงเทพมหานครโดยนำส่งและปรับแก้ไข ตามความเหมาะสมของคณะ กรรมการพิจารณาและควบคุมการวิจัยในคนของกรุงเทพมหานคร 2.ผู้วิจัยประสานงานและขอความร่วมมือจากผู้อำนวยการศูนย์บริการสาธารณสุข 23 (สี่ พระยา ) สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นศูนย์ประสานงาน 1 (ศปง .1) ที่รับผิดชอบหน่วย งานของกลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 แห่ง 3.ผู้วิจัยดำเนินการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ในคลินิกยาเสพติด ชี้แจงวัตถุประสงค์ ประโยชน์ ของการศึกษาและรายละเอียดของโครงการศึกษาพร้อมทั้งขั้นตอนในการเก็บข้อมูลเพื่อช่วยคัด กรองและสำรวจผู้ป่วยที่ติดยาเสพติดของหน่วยงานกลุ่มตัวอย่างที่มารับการบำบัดรักษาอยู่ใน ปัจจุบันถึงช่วงเดือนมิถุนายน 4. ผู้วิจัยได้ดำเนินการติดต่อหน่วยงานกลุ่มตัวอย่าง จัดทำแบบสอบถามด้วยตนเองใช้ เวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วยที่ติดยาเสพติดในส่วนนี้รวมระยะเวลาทั้งสิ้น 1 เดือน ใน เดือนมิถุนายน 2546 5. หลังจากได้ทำแบบสอบถามของผู้ติดยาเสพติดกลุ่มตัวอย่างได้ครบตามเป้าหมายแล้ว ผู้วิจัยจะได้รวบรวมและจัดระเบียบข้อมูล และนำเสนอผลการวิจัยต่อไป 49 4. การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ผู้วิจัยนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้จากกลุ่มตัวอย่างมาทำการวิเคราะห์ มีรายละเอียดดังนี้ 1. ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามเป็นรายบุคคล จะใช้วิธีการวิเคราะห์ในเชิงปริมาณโดย แปรเป็นค่าคะแนนหรือกำหนดรหัสคำตอบเป็นตัวเลขสำหรับแบบสอบถาม ได้แก่ 1.1 ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์และถุงยางอนามัยใช้การวัดแบบปลายปิดให้เลือกตอบ 1 คำตอบ มี 2 ระดับ และหลักเกณฑ์ในการให้คะแนนมี 2 ระดับ ดังนี้ คำตอบ คะแนน ใช่ 1 ไม่ใช่ 0 1.2 การรับรู้ต่อโรคเอดส์ เป็นแบบสอบถามประมาณค่าใช้มาตราวัดของ ลิเคิร์ท มี 5 ระดับกำหนดเกณฑ์ให้คะแนนดังนี้ ตารางที่ 5 แสดงระดับความคิดเห็นตามประเภทของสื่อที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้อง กันตนเองจากการติดเชื้อโรคเอดส์ของผู้ติดยาเสพติดในคลินิก ระดับความคิดเห็น คำถามเชิงบวก คำถามเชิงลบ คะแนน คะแนน เห็นด้วยอย่างยิ่ง 5 1 เห็นด้วย 4 2 ไม่แน่ใจ 3 3 ไม่เห็นด้วย 2 4 ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง 1 5 1.3 ปัจจัยสื่อ เป็นแบบสอบถามที่ใช้วัดความคิดเห็นตามประเภทของสื่อที่มีอิทธิพต่อ พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโรคเอดส์ ประเมินการวัดโดยให้เรียงหมายเลขตาม ลำดับจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด และทำการวิเคราะห์โดยใช้ความถี่ของจำนวนข้อคำตอบทั้งหมด มาทำการลงรหัสหาความถี่ของจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 50 1.4 ด้านพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโรคเอดส์ โดยมีเกณฑ์ให้ คะแนน คำถามที่ใช้ประเมินการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันโรคเอดส์ ดังนี้ ระดับพฤติกรรม คะแนน ปฏิบัติถูกต้อง 1 ปฏิบัติบางครั้ง / ไม่ปฏิบัติ 0 2. การวิเคราะห์และแปลความหมาย ได้ใช้ค่าคะแนนเฉลี่ยของคำตอบโดยกำหนดเกณฑ์ คะแนน ดังนี้ 2.1 ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์และถุงยางอนามัย กำหนดระดับความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ และถุงยางอนามัยเป็น 2 ระดับ โดยคิดจากตำแหน่งเปอร์เซนต์ไตล์ของคะแนนเฉลี่ยดังนี้ ตำแหน่งเปอร์เซนต์ไตล์ของ คะแนนเฉลี่ย การแปลความหมาย P75 ขึ้นไป กลุ่มที่มีคะแนนเฉลี่ยระดับสูง (กลุ่มสูง) P25 ลงมา กลุ่มที่มีคะแนนเฉลี่ยระดับต่ำ (กลุ่มต่ำ) 2.2 การรับรู้ต่อโรคเอดส์ กำหนดระดับการวัด การรับรู้ ต่อโรคเอดส์เป็น 2 ระดับ ซึ่ง พิจารณาดังนี้ ระดับความคิดเห็น 1 – 5 แบ่งเป็น 2 ช่วง ได้ช่วงละ 2.50 ดังนั้นช่วงแรกจะได้ พิสัย = 1.00 – 2.50 และช่วงหลังจะได้พิสัย = 2.51 – 5.00 และจากเกณฑ์ดังกล่าวนำมากำหนดระดับการวัดการรับรู้ต่อโรคเอดส์ ดังนี้ ค่าเฉลี่ย การแปลความหมาย 51 2.51 – 5.00 อยู่ในระดับสูง อยู่ในระดับต่ำ 1.00 – 2.50 2.3 ปัจจัยสื่อ กำหนดระดับการวัดสื่อ พิจารณาดังนี้ นำคำตอบของข้อคำถามปัจจัยสื่อจากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดมาทำการลงรหัสเพื่อ หาความถี่ของข้อคำตอบแต่ละข้อคำถามแล้วมาทำการนำเสนอข้อมูลโดยการสรุปมาเรียงลำดับ จากมากไปหาน้อย ด้านพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโรคเอดส์ 2.4 กำหนดระดับของการวัดพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโรคเอดส์ 3 ระดับ โดยใช้เกณฑ์ให้คะแนนประเมินการปฏิบัติ ดังนี้ ระดับพฤติกรรม คะแนน ปฏิบัติถูกต้อง 1 ปฏิบัติบางครั้ง / ไม่ปฏิบัติ 0 3. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ผู้วิจัยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างนำมาลงรหัส จากนั้นได้นำไป วิเคราะห์ตามระเบียบวิธีทางสถิติ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows โดยมีค่าสถิติ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ดังนี้ 3.1 ใช้สถิติเชิงพรรณา (Descriptive Statistics ) อธิบายตัวแปรทุกตัวในกลุ่มตัว อย่างตัวแปรอิสระ ที่นำมาศึกษาด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย โดยตัวแปรที่มีระดับการวัด แบบช่วง และระดับการวัดแบบอัตราส่วนใช้ค่ามัชฌิมเลขคณิตและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานในการ อธิบายตัวแปรที่นอกเหนือจากการวัดด้วยความถี่และร้อยละ 3.2 การทดสอบค่าความแตกต่างระหว่างกลุ่มที่มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง (กลุ่มที่ มีคะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ตำแหน่งเปอร์เซนต์ไตล์ที่ 75 ขึ้นไป) และกลุ่มที่มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับ ต่ำ (กลุ่มที่มีคะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ตำแหน่งเปอร์เซนต์ไตล์ที่ 25 ลงมา) ด้วยค่าสถิติ t - test บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโรคเอดส์ของผู้ติดยาเสพติดในคลินิกยาเสพติด กรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยได้ดำเนินการศึกษากับกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ติดยาเสพติดในเพศชายทั้งชนิดฉีดเข้าเส้นและชนิดสูบเฮโรอีน เฉพาะผู้ที่มีผลเลือดปกติ (ไม่พบเชื้อเอชไอวี) ที่มารับการบำบัดรักษายาเสพติดในคลินิกยาเสพติดของศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น รวมทั้งสิ้น 90 คน และใช้ โปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิเคราะห์โดยแบ่งการนำเสนอผลการวิเคราะห์ออกเป็น 2 ส่วน ดังต่อไปนี้ ส่วนที่ 1 การวิเคราะห์ข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง 1.1 ข้อมูลทั่วไป 1.2 ข้อมูลด้านปัจจัยตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม ส่วนที่ 2 การทดสอบสมมติฐาน ส่วนที่ 1 การวิเคราะห์ข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง 1.1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ติดยาเสพติด ในส่วนนี้จะเสนอผลการศึกษา เพื่อให้ทราบรายละเอียด ของผู้ติดยาเสพติด ดังตารางที่ 6 53 ตารางที่ 6 แสดงจำนวนและค่าร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล 5.1 อายุ ตัวแปร จำนวน(คน) ร้อยละ 15-24 ปี 25-29 ปี 30-34 ปี 35-39 ปี 40ปีขึ้นไป 6 25 12 9 38 6.70 27.80 13.30 10.00 42.20 รวม 90 100.00 อายุ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุ 40 ปี ขึ้นไปจำนวน 38 คน คิดเป็นร้อยละ 42.20 รองลงมาอายุ 25-29 ปี จำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 27.80 และกลุ่มที่มีจำนวนน้อยที่สุดคือ กลุ่มที่มีอายุ 15-24 ปี จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 6.70 5.2 ระดับการศึกษาสูงสุด ตัวแปร จำนวน(คน) ร้อยละ ไม่เคยได้รับการศึกษา 4 4.40 33.30 51.10 8.90 2.20 30 46 8 2 ประถมศึกษา มัธยมศึกษา อนุปริญญาหรือเทียบเท่า ปริญญาตรีหรือสูงกว่า รวม 90 100.00 54 ระดับการศึกษา กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจำนวน 46 คน คิดเป็นร้อยละ 51.10 รองลงมา เป็นระดับประถมศึกษาจำนวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 33.0 และกลุ่มที่มีจำนวนน้อยที่สุด คือ กลุ่มที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่าจำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 2.20 5.3 สถานภาพสมรส ตัวแปร จำนวน(คน) ร้อยละ โสด 44 48.90 26.70 สมรส 24 หย่า/หม้าย 12 13.30 แยกกันอยู่ 10 11.10 รวม 90 100.00 สถานภาพสมรส กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรสเป็นโสด จำนวน 44 คน คิดเป็นร้อยละ 48.90 รองลงมาเป็นผู้ที่สมรสแล้ว จำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 26.70 และ กลุ่มที่มีจำนวนน้อยที่สุด คือกลุ่มที่แยกกันอยู่จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 11.10 5.4 ประสบการณ์ทางเพศ ตัวแปร จำนวน(คน) ร้อยละ ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ เคยมีเพศสัมพันธ์ 5 85 5.60 94.40 รวม 90 100.00 ประสบการณ์ทางเพศ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เคยมีเพศสัมพันธ์ จำนวน 85 คน คิด เป็นร้อยละ 94.40 และไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 5.60 55 5.5 อาชีพ ตัวแปร จำนวน(คน) ร้อยละ ว่างงาน รับจ้าง ค้าขาย 23 25.50 45 50.00 14 15.60 รับราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานบริษัทเอกชน 2 2.20 6 6.70 รวม 90 100.00 อาชีพ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้าง จำนวน 45 คน คิดเป็นร้อยละ 50.00 รองลงมาเป็นกลุ่มไม่มีงานทำหรือกลุ่มว่างงาน จำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 25.50 และกลุ่ม ที่มีจำนวนน้อยที่สุด คือ กลุ่มอาชีพรับราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 2.20 5.6. รายได้ต่อเดือน ตัวแปร จำนวน(คน) ร้อยละ ไม่เกิน 5,000 บาท 48 53.30 5,001 – 10,000 บาท 30 33.30 10,001 –15,000 บาท 8 8.90 15,001 บาทขึ้นไป 4 4.40 รวม 90 100.00 รายได้ต่อเดือน กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระดับรายได้ไม่เกิน 5,000 บาท จำนวน 48 คน คิด เป็นร้อยละ 53.30 รองลงมาเป็นกลุ่มที่มีรายได้ระหว่าง 5,001-10,000 บาท จำนวน 30 คน คิดเป็นร้อย ละ 33.30 และกลุ่มที่มีจำนวนน้อยที่สุดคือกลุ่มที่มีรายได้ 15,001 บาทขึ้นไปมีจำนวน 4 คน คิดเป็นร้อย ละ 4.40 56 จากตารางที่ 6 แสดงข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง ผลการวิเคราะห์พบว่าลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัว อย่างจากจำนวน 90 คน มีลักษณะดังนี้ ผู้ติดยาเสพติดส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป มีระดับการ ศึกษาสูงสุดในระดับมัธยมศึกษา สถานภาพสมรสเป็นโสด เคยมีเพศสัมพันธ์ ประกอบอาชีพรับจ้างและ เป็นผู้มีรายได้น้อยอยู่ในระดับเงินเดือนน้อยกว่า 5,000 บาทต่อเดือน ข้อมูลด้านปัจจัยตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม 1.2 ตารางที่ 7 แสดงค่าระดับของปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโรคเอดส์ของ ผู้ติดยาเสพติดในคลินิกยาเสพติดในภาพรวม ตัวแปร จำนวน(คน) ค่าเฉลี่ย (⎯X ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.) ค่าระดับ 1.ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์และถุงยางอนามัย 90 0.91 0.01 ระดับสูง 2. ปัจจัยการประเมินอันตราย 90 90 3.86 3.85 0.65 0.59 2.1 การรับรู้ความรุนแรงของโรคเอดส์ ระดับสูง 2.2 การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคเอดส์ ระดับสูง 3.ปัจจัยการประเมินการเผชิญปัญหา 90 90 4.00 3.74 0.57 0.69 3.1 ความคาดหวังในผลลัพธ์ของการป้องกัน ระดับสูง พฤติกรรมเสี่ยง 3.2 ความคาดหวังในความสามารถของตนเอง ระดับสูง ผลการวิเคราะห์ข้อมูลในภาพรวมจากตารางที่ 7 มีรายละเอียดดังนี้ 1. ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์และถุงยางอนามัย ผลการวิเคราะห์ พบว่า ผู้ติดยาเสพติดส่วน ใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ และถุงยางอนามัย มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 0.91 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตร ฐาน เท่ากับ 0.01 แสดงว่ามีความรู้เรื่องโรคเอดส์และถุงยางอนามัย อยู่ในระดับสูง หมายความว่า ผู้ติด ยาเสพติดส่วนใหญ่มีความรู้เรื่องโรคเอดส์และถุงยางอนามัยอยู่ในระดับสูง แต่เมื่อติดยาเสพติดแล้วก็ยัง มีความต้องการที่จะเสพสารเสพติดอยู่เพราะเฮโรอีนมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง มีฤทธิ์กดระบบ ประสาทระงับอาการปวด ง่วงซึม มีอารมณ์เปลี่ยนแปลงในทางรู้สึกสบายและเป็นสุข(Euphoria) หรือฝันกลางวันจึงทำให้หลังฉีดยาผู้ติดยาเสพติดรู้สึกสบาย ผ่อนคลายจนถึงระดับเคลิ้ม จนในที่สุด ผู้ติดยาเสพ 57 ติดใจในรสชาดความความรู้สึกหลังจากได้เสพยาเสพติด จึงทำให้ไม่สามารถเลิกพฤติกรรมการเสพยาเสพติดได้โดยง่ายซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโรคเอดส์ เช่น การใช้เข็มฉีดยาและกระบอกฉีดยาร่วมกัน หรือการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ติดเชื้อเอดส์ 2. ปัจจัยการประเมินอันตราย ผลการวิเคราะห์ พบว่า ผู้ติดยาเสพติดส่วนใหญ่มี การรับรู้ความรุนแรงของโรคเอดส์ การรับรู้ต่อโรคเอดส์และถุงยางอนามัย มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.86 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.65 เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ แสดงว่าผู้ติดยาเสพติดมีการรับรู้ต่อโรคเอดส์และถุงยางอนามัย อยู่ในระดับสูง หมายความว่า ผู้ติดยาเสพติดส่วนใหญ่มีการรับรู้ว่าโรคเอดส์เป็นโรคที่มีอันตรายต่อร่างกาย ไม่สามารถรักษาให้หายได้ และถึงแก่ความตายในที่สุด จึงเกิดความกลัวเพราะยังไม่ยาหรือวัคซีนที่จะรักษาให้หายขาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงทำให้มีพฤติกรรมการป้องกันตนเองสูง การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคเอดส์ ผลการวิเคราะห์ พบว่าผู้ติดยาเสพติดส่วน ใหญ่มีการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคเอดส์มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.85 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.59 เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ แสดงว่าผู้ติดยาเสพติดมีการรับรู้โอกาส เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคเอดส์ อยู่ในระดับสูง หมายความว่า ผู้ติดยาเสพติดส่วนใหญ่มีการรับรู้ว่าตนเองมีโอกาสติดเชื้อโรคเอดส์ได้จากพฤติกรรมเสี่ยงของการใช้เข็มฉีดยาร่วมกับบุคลอื่น รวมทั้ง การมีพฤติกรรมทางเพศจากการไม่ใช้ถุงยางอนามัยหรือการใช้ถุงยางอนามัยอย่างไม่สม่ำเสมอกับบุคคลที่เสี่ยงต่อโรค แต่ผลของการเสพยาเสพติดจึงทำให้ผู้ติดยาเสพติดยังคงมีพฤติกรรมเสี่ยงดังกล่าว ปัจจัยการประเมินการเผชิญปัญหา 3. ความคาดหวังในผลลัพธ์ของการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยง ผลการวิเคราะห์ พบว่าผู้ติด ยาเสพติดส่วนใหญ่มีความคาดหวังในผลลัพธ์ของการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.00 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.57 เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ แสดงว่าผู้ติดยาเสพติดมีความคาดหวังในผลลัพธ์ของการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยง อยู่ในระดับสูง หมายความว่า ผู้ติดยาเสพติดส่วนใหญ่มีการประมาณตนว่าจะลดพฤติกรรมเสี่ยงของตนจากการไม่ใช้เข็มฉีดยาหรือกระบอกฉีดยาร่วมกับบุคคลอื่นและจะใช้ถุงยางอนามัยเพื่อป้องกันโรคเอดส์ แต่เนื่องจากผู้ติดยาเสพติดยังคงมีพฤติกรรมที่ขาดความระมัดระวัง มีความประมาทและป้องกันอย่างไม่จริงจังหรือสม่ำเสมอประกอบกับการเสพยาเสพติดทำให้ขาดสติ มีอารมณ์เคลิ้ม เพ้อฝัน ทำให้ละเลยคำแนะนำในการป้องกันตนเองหรือละเลยจากความตั้งใจของตนที่จะลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโรคเอดส์ได้ ความคาดหวังในความสามารถของตนเอง ผลการวิเคราะห์ พบว่าผู้ติดยาเสพติดส่วน ใหญ่มีความคาดหวังในความสามารถของตนเอง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.74 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.69 เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ แสดงว่าผู้ติดยาเสพติดมีความคาดหวัง 58 อยู่ในระดับสูง หมายความว่า ผู้ติดยาเสพติดส่วนใหญ่มีการประมาณความสามารถของตนเองที่จะไม่ใช้เข็มฉีดยาหรือกระบอกฉีกยาร่วมกับบุคคลอื่นและจะมีพฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์กับบุคคลที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเอดส์ แม้ว่าผู้ติดยาเสพติดจะมีความคาดหวังในความสามารถของตนเองในระดับสูง แต่ก็ยังไม่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองจากการเสพยาเสพติดได้ จึงยังคงมีพฤติกรรมเสี่ยงจากการติดเชื้อโรคเอดส์ดังกล่าว ผลการวิเคราะห์อิทธิพลของสื่อที่มีต่อพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อ โรคเอดส์ แบ่งเป็น สื่อบุคคล สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งได้จากการที่กลุ่มตัวอย่างให้ความสน ใจเรียงตามลำดับจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด จากการรับข้อมูลข่าวสาร ความเชื่อถือในคำแนะนำ การ ยอมรับในคำแนะนำ ยินดีปฏิบัติตามคำแนะนำ และมีปัญหาหรือข้อสงสัยใดๆเกี่ยวกับโรคเอดส์ โดยมีราย ละเอียดดังต่อไปนี้ 59 แสดงความสนใจสื่อที่มีอ ตารางที่ ิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโรคเอดส์ใน 8 ด้านการรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคเอดส์เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย อันดับที่เลือก 1 2 3 4 5 6 7 8 9 ไม่ ตอบ จำนวน (คน) (ร้อยละ) ประเภทสื่อ n (%) n (%) n (%) n (%) n (%) n (%) n (%) n (%) n (%) n (%) 1. 5 (5.6) 12 (13.3) 13 (14.4) 5 (5.6) 1 (1.1) 2 (2.2) 2 (2.2) 20 (22.2) 0 (0.0 พ่อแม่ ญาติ ) 30 (33.3 พี่น้อง 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0) 2.) 12 (13.3) 15 () 10 (11.1) 5 (5.6) 3 () 9 () 13 (14.4) 0 (0.0 แพทย์ พยาบาล 3 () 20 (22.2 0 16.50 0 0 10.0 0 0 0 0 3.30 3.30 ) 3. 4 () 17 (18.9) 7 () 7 () 7 () 5 (5.6) 14 (15.6) 9 () 2 (2.2 นักจิตวิทยา ) 18 (20.0 4.40 0 7.80 7.80 0 0 10.00 0 0 7.80 ) 4.) 5 (5.6) 12 (13.3) 10 (11.1) 15 () 5 (5.6) 9 () 20 (22.2) 0 (0.0 นักสังคม 8 (8.9) 8 (8.90 0 0 0 16.50 0 10.0 สงเคราะห์ 0 0 0 0) 5.) 7 () 6 (6.7) 8 (8.9) 6 (6.7) 5 (5.6) 9 () 20 (22.2 3 () 6 (6.7 หนังสือพิมพ์ ) 26 (28.9 3.30 7.80 0 0 0 0 0 10.00 0 0) 6. 3 () 1 (1.1) 1 (1.1) 2 (2.2) 3 () 3 () 3 () 5 (5.6) 3 () 66 ( วารสาร 3.30 0 0 0 3.30 0 3.30 73.30 3.30 3.30 ) 7.) 2 (2.2) 0 (0.0) 2 (2.2) 5 (5.6) 3 () 3 () 1 (1.1) 70 ( 2 (2.2) 2 (2.2 แผ่นพับ 0 0 0 0 0 0 3.30 0 7.80 3.30 ) 8. 2 (2.2) 0 (0.0) 2 (2.2) 0 (0.0) 1 (1.1) 4 () 6 () 3 () 0 (0.0) 72 (80.0 วิทยุ 0 0 0 0 0 3.30 0 0 4.40 6.70 ) 9. 6 () 1 (1.1) 2 (2.2) 0 (0.0) 0 (0.0) 2 (2.2) 3 () 1 (1.1) 2 (2.2) 73 (81.1 โทรทัศน์ 6.70 0 0 0 0 0 0 0 0) 3.30 ผลการวิเคราะห์พบว่า สื่อที่มีอิทธิพลในด้านการรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคเอดส์อันดับที่ 1 60 8 คน คิดเป็น ร้อยละ 8.90 อันดับที่ 2 หรือมีอิทธิพลในระดับมาก ได้แก่ พ่อแม่ ญาติพี่น้อง จำนวน 30 คน คิดเป็น ร้อยละ 33.30 อันดับที่ 3 หรือมีอิทธิพลในระดับปานกลางได้แก่ แพทย์พยาบาล จำนวน 20 คน คิด เป็นร้อยละ 22.20 อันดับที่ 4 หรือมีอิทธิพลในระดับน้อย ได้แก่ นักจิตวิทยา จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อย ละ 20.00 และอันดับที่ 5 หรือเป็นสื่อที่มีอิทธิพลในระดับน้อยที่สุด ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือพิมพ์ จำนวน 26 คน คิดเป็นร้อยละ 28.90 ปัจจัยที่มีผลต่อการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโรคเอดส์ของผู้ติดยาเสพติดในคลินิกยาเสพติด (ตอนที่ 1)
ปัจจัยที่มีผลต่อการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโรคเอดส์ของผู้ติดยาเสพติดในคลินิกยาเสพติด (ตอนที่ 2)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น