วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย



ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานการเดินรถ
การรถไฟแห่งประเทศไทย
นายณัฐธัญ ถนัดรบ
วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
ปีการศึกษา 2545
ISBN : 974–373–182-2
ลิขสิทธิ์ของสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
FACTORS AFFECTING THE EFFICIENCY OF THE OFFICIALS’ TASK
PERFORMANCE OF THE STATE RAILWAY OF THAILAND
MR. NATTATHAN TANUDROB
A Thesis Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements
For the Master of Arts ( Social Sciences for Development )
At Rajabat Institute Bansomdijchaopraya
Academic Year 2002
ISBN : 974-373-182-2
วิทยานิพนธ์ ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานการเดินรถ
การรถไฟแห่งประเทศไทย
โดย นายณัฐธัญ ถนัดรบ
สาขาวิชา สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
อาจารย์ที่ปรึกษา รองศาสตราจารย์ ดร.นงลักษณ์ เทพสวัสดิ์
อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จันทร์วิภา ดิลกสัมพันธ์
อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม ดร.ประเทือง อัมพรภักดิ์
บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา อนุมัติให้วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่ง
ของการศึกษาตามหลักสูตร ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
……………………………………..คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
(รองศาสตราจารย์ นันทา วิทวุฒิศักดิ์)
วันที่…… เดือน…………………. พ.ศ….….
คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์
……………………………………..ประธานกรรมการ
(ศาสตราจารย์ ดร.สายหยุด จำปาทอง)
……………………………………..กรรมการ
(รองศาสตราจารย ์ ดร.นงลักษณ์ เทพสวัสด)ิ์
……………………………………..กรรมการ
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จันทร์วิภา ดิลกสัมพันธ์)
……………………………………..กรรมการ
(ดร.ประเทือง อัมพรภักดิ์)
……………………………………..กรรมการและเลขานุการ
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมชาย พรหมสุวรรณ)
ณัฐธัญ ถนัดรบ. (2545) ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานการเดินรถ
การรถไฟแห่งประเทศไทย วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. คณะกรรมการควบคุม รองศาสตราจารย์ ดร.นงลักษณ์
เทพสวัสด ิ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย ์ ดร.จนั ทรว์ ภิ า ดิลกสัมพันธ  ดร.ประเทือง อมั พรภกั ด์ิ
การวิจัย เรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานการเดินรถ การ
รถไฟแห่งประเทศไทย มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยด้านต่าง ๆ ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติ
งานของพนักงานการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้แก่ ปัจจัยด้านส่วนบุคคล ประกอบด้วย
อายุ ระดับการศึกษา อัตราเงินเดือน ที่พักอาศัย และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และปัจจัยด้าน
การปฏิบัติงาน ประกอบด้วย โอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ความรักและภูมิใจในอาชีพการงาน
ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ความมีอิสระในการแสดงความคิดเห็นในงาน และความพอใจในผล
ตอบแทน กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย ความขยันหมั่นเพียร ความรับผิดชอบเอาใจ
ใส่ในงาน และความซื่อสัตย์/ ภักดีต่อองค์กร กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาได้แก่ พนักงานการเดินรถเพศชาย
ที่ปฏิบัติงานประจำสถานีต่าง ๆ ทั่วประเทศในสังกัด กองจัดการเดินรถเขต 1 2 3 4 และ 5 เฉพาะ
ฝ่ายการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย โดยใช้วิธีการคำนวณหากลุ่มตัวอย่าง ตามแบบสัดส่วน
แต่ละเขต รวมทั้งสิ้น 245 คน ซึ่งได้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดย
อาศัยแนวคิด ทฤษฎี บทความ และงานวิจัยของนักวิชาการและผู้มีประสบการณ์ จำนวน 52 ข้อ โดย
ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/ PC+ ในการประมวลผล และใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่ามัชฌิม
เลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับวิเคราะห์ข้อมูล ส่วนค่า t-test และค่า Chi-Square ใช้
สำหรับวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปร ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของ
พนักงานการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย ภาพรวมอยู่ในระดับสูง
ปัจจัยด้านส่วนบุคคลของพนักงานการเดินรถ มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในระดับ
สูง อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ปัจจัยด้านการปฏิบัติงานของพนักงานการเดินรถ มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ดังนี้.-
- พนักงานการเดินรถที่มีความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน จะมีผลต่อประสิทธิภาพการ
ปฏิบัติงานอยู่ในระดับสูง อย่างมีไม่นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
- ส่วนพนักงานการเดินรถที่มีความรักและความภูมิใจในอาชีพการงาน ความสัมพันธ์กับ
เพื่อนร่วมงาน ความมีอิสระในการแสดงความคิดเห็นในงาน และความพอใจในผลตอบแทน จะมีผล
ต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานอยู่ในระดับต่ำ
ผลการวิจัย มีข้อเสนอแนะว่า เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานการ
เดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย หน่วยงานควรจะได้ปรับปรุง โอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
ความรักและความภูมิใจในอาชีพการงาน ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ความมีอิสระในการแสดง
ความคิดเห็นในงาน และปรับอัตราค่าตอบแทนให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน รวมทั้ง
ปรับสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานให้เหมาะสม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ และบรรลุตามเป้าหมาย
ขององค์กร
NATTATHAN TANUDROB (2002) : FACTORS AFFECTING THE EFFICIENCY OF THE
OFFICIALS’ TASK PERFORMANCE OF THE STATE RAILWAY OF THAILAND
ADVISOR COMMITTEE : ADVISOR.PROF.DR.NONGLUKSANA THEPSAWASDI;
CO-ADVISOR.PROF.DR.CHANVIPA DILOKSSAMABANDH; CO-ADVISOR.
DR.PRATHAUNG AMPORNPUCKDI
The purpose is to study the various factors affecting the efficiency of the State Railway of
Thailand‘s officials, for instance , the personal factors, the working factors and the working
efficiency. The stratified random sampling of 245 cases from the male traffic officials were
collected by questionnaires by SPSS / PC+ , percentage, mean , standard deviation, T- test and Chi
– square.
The findings were as follow :
- The working efficiency was at high level.
- The relationship between the personal factors and the working efficiency had no
significance at level 0.05.
- The bright perspective officials affect the working efficiency at high level.
- The qualified and ideal officials affect the working efficiency at low level.
To improve the quality of the working efficiency in the organization, working conditions
including the personnel enrichment and enlargement in the working performance should
be provided appropriately. That will lead to the organization fulfillment.
กิตติกรรมประกาศ
วิทยานิพนธ์ เรื่อง “ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานการเดินรถ
การรถไฟแห่งประเทศไทย” ครั้งนี้สำเร็จลุล่วงด้วยความอนุเคราะห์อย่างดียิ่งของรองศาสตราจารย์
ดร.นงลักษณ์ เทพสวัสด ิ์ ประธานที่ปรึกษาวิทยานิพนธ ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย ์ ดร.จนั ทรว์ ภิ า
ดิลกสัมพันธ์ และ ดร.ประเทือง อัมพรภักดิ์ กรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ซึ่งทุกท่านเป็นอาจารย์ที่
มีความรอบรู้ทางด้านวิชาแขนงต่าง ๆ อย่างลึกซึ้งกว้างขวาง ที่ให้ความกรุณา เมตตา สละเวลา
ให้คำแนะนำ ข้อคิดเห็น และการตรวจแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ ในการดำเนินการวิจัยที่เป็นประโยชน์
ต่อการพัฒนา องค์กรในสังคม ตามหลักสูตรของการพัฒนาสังคม วิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
ผู้วิจัยขอกราบขอบพระคุณอย่างสูงทุกท่าน
นอกจากนี้ ผู้วิจัยขอขอบคุณผู้ให้การสนับสนุนโดยการให้การศึกษา ให้กำลังใจตลอดมา
และเป็นผู้เชี่ยวชาญ คือ นายสมหมาย ทับเวช หัวหน้ากองจัดการเดินรถเขต 1 นายศิริ ศิริลัมภากาศ
หัวหน้ากองจัดการเดินรถเขต 2 นายสุโรจน์ ธนูศิริ หัวหน้ากองจัดการการเดินรถเขต 3 นายบรรลือ
พาจิตต์เย็น พนักงานการเดินรถ 7 กองจัดการเดินรถเขต 1 นายนรินทร์ จันทรเดชา สารวัตรงาน
สถานีกรุงเทพ นายสัจจา ฟ้ามุ่ย พนักงานการเดินรถ 7 งานเดินรถแขวงฉะเชิงเทรา ฝ่ายการเดินรถ
การรถไฟแห่งประเทศไทย และเพื่อนร่วมงานทุกท่านที่คอยให้ความช่วยเหลือ ให้คำแนะนำต่าง ๆ
รวมทั้งพนักงานการเดินรถทุกท่าน ที่ได้ให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถาม ตลอดจนข้อแนะ
นำต่าง ๆ เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาปรับปรุงการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพในอนาคต
สุดท้ายนี้ คุณประโยชน์ที่พึงได้จากวิทยานิพนธ์เล่มนี้ผู้วิจัยขอมอบแด่คุณพ่อ คุณแม่ ครู
อาจารย์ และผู้มีพระคุณทุกท่าน
ณัฐธัญ ถนัดรบ
สารบัญ
หน้า
บทคัดย่อภาษาไทย
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
กิตติกรรมประกาศ
สารบัญเรื่อง
สารบัญตาราง
สารบัญแผนภาพ






บทที่ 1 บทนำ
1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา.………………………………….
1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย.…………………………………………………
1.3 ขอบเขตของการวิจัย.………………………………………………………
1.4 นิยามศัพท์เฉพาะ.………………………………………………………….
1.5 สมมติฐานของการวิจัย.……………………………………………………
1.6 กรอบแนวความคิดในการวิจัย..……………………………………………
1.7 ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย.…………………………………………….
1
7
7
8
10
11
12
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2.1 แนวคิดเกี่ยวกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน.………………………….…..
2.2 ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความต้องการด้านการปฏิบัติงาน…………………….
2.3 แนวคิดที่เกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน…………….
2.4 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง…………………………………………………………
13
16
22
24
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง…………………………………………….…..
3.2 เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย……………………………………………….….
3.3 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล………………………………………………….
3.4 การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์………………………….
28
30
35
36
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
4.1 ส่วนที่ 1 ผลการวิเคราะห์การวิจัยลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง…………
4.2 ส่วนที่ 2 ผลการทดสอบสมมติฐานของการวิจัย……………………….…..
38
40
หน้า
บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
5.1 สรุปผลของการวิจัย………………………………………………………
5.2 อภิปรายผล……………………………………………………………….
5.3 ข้อเสนอแนะ……………………………………………………………..
5.4 ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป……………………………………….
46
48
53
55
บรรณานุกรม……………………………………………………………………………
ภาคผนวก
56
ภาคผนวก ก.
- ประวัติการรถไฟแห่งประเทศไทย…………………………
- แผนภูมิองค์กรการรถไฟแห่งประเทศไทย…………………
- จำนวนปีการเลื่อนระดับของพนักงาน……………………..
ภาคผนวก ข.
- รายนามอาจารย์ที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ทรงคุณวุฒิ……
ภาคผนวก ค.
- แบบสอบถามการศึกษาวิจัย……………………………….
61
67
68
70
73
ประวัติผู้วิจัย……………………………………………………………………………. 80
สารบัญตาราง
หน้า
ตารางที่ 1 สถิติจำนวนผู้โดยสาร (คน/ ปี) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2539 – 2543 ทั่ว
ประเทศ…………………………………………………………………….. 1
ตารางที่ 2 จำนวนพนักงานการเดินรถของแต่ละเขต………………………………….. 28
ตารางที่ 3 จำนวนกลุ่มตัวอย่างของพนักงานการเดินรถแต่ละเขต…………………….. 30
ตารางที่ 4 จำนวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามอายุ……………………….. 38
ตารางที่ 5 จำนวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามระดับการศึกษา…………… 38
ตารางที่ 6 จำนวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามอัตราเงินเดือน……………. 39
ตารางที่ 7 จำนวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามที่พักอาศัย………………… 39
ตารางที่ 8 จำนวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติ
งาน…………………………………………………………………………. 39
ตารางที่ 9 ความสัมพันธ์ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานจำแนกตาม
อายุ…………………………………………………………………………. 40
ตารางที่ 10 ความสัมพันธ์ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานจำแนกตามระดับ
การศึกษา…………………………………………………………………… 40
ตารางที่ 11 ความสัมพันธ์ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานจำแนกตามอัตรา
เงินเดือน……………………………………………………………………. 41
ตารางที่ 12 ความสัมพันธ์ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานจำแนกตามที่พัก
อาศัย……………………………………………………………………….. 41
ตารางที่ 13 ความสัมพันธ์ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานจำแนกตาม
ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน……………………………………………. 42
ตารางที่ 14 ความสัมพันธ์ระหว่างโอกาสความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน กับประสิทธิ
ภาพการปฏิบัติงานของพนักงานการเดินรถ……………………………….. 42
ตารางที่ 15 ความสัมพันธ์ระหว่างความรักและความภูมิใจกับประสิทธิภาพการปฏิบัติ
งานของพนักงานการเดินรถ……………………………………………….. 43
ตารางที่ 16 ความสัมพันธ์ระหว่างความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน กับประสิทธิภาพการ
ปฏิบัติงานของพนักงานการเดินรถ………………………………………… 43
สารบัญตาราง (ต่อ)
หน้า
ตารางที่ 17 ความสัมพันธ์ระหว่างความมีอิสระในการแสดงความคิดเห็นในงาน กับ
ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานการเดินรถ……………………… 44
ตารางที่ 18 ความสัมพันธ์ระหว่างความพอใจในผลตอบแทน กับประสิทธิภาพการ
ปฏิบัติงานของพนักงานการเดินรถ………………………………………… 44
สารบัญแผนภาพ
หน้า
แผนภาพที่ 1 แนวโน้มการบริการขนส่งผู้โดยสารของการรถไฟแห่งประเทศไทย
เมื่อเปรียบเทียบจากปี พ.ศ. 2539 – 2554…………………………... 2
แผนภาพที่ 2 แผนภูมิการบริหารของฝ่ายการเดินรถ…………………………….. 5
แผนภาพที่ 3 กรอบแนวความคิดในการวิจัย…………………………………….. 12
แผนภาพที่ 4 แสดงลำดับขั้นความต้องการตามทฤษฎีของมาสโลว์……………... 17
แผนภาพที่ 5 พฤติกรรมความต้องการพื้นฐานของมนุษย์……………………….. 19
แผนภาพที่ 6 พฤติกรรมความต้องการของมนุษย์กลุ่มที่มีชีวิตระดับกลาง………. 19
แผนภาพที่ 7 พฤติกรรมความต้องการของมนุษย์กลุ่มที่มีชีวิตระดับสูง…………. 20
แผนภาพที่ 8 แผนภูมิการจัดองค์การรถไฟแห่งประเทศไทย……………………. 67
แผนภาพที่ 9 จำนวนปีการเลื่อนระดับของพนักงาน…………………………….. 68
บทที่ 1
บทนำ
ความเป็นมา และความสำคัญของปัญหา
ในสมัยร้อยกว่าปีที่ผ่านมา ระบบการขนส่งผู้โดยสารและสินค้า ที่ทันสมัยที่สุดของประเทศ
ก็คือการรถไฟแห่งประเทศไทย เพราะเป็นระบบการขนส่งองค์กรแรกที่เกิดขึ้นในประเทศไทย หลัง
จากเปิดประเทศติดต่อกับต่างประเทศ เกิดจากแนวคิดของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
(รัชกาลที่ 5) ทรงริเริ่มและเห็นการไกลในการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า เพื่อประโยชน์ทาง
ด้านเศรษฐกิจ และการบริการขนส่งผู้โดยสารและสินค้า ติดต่อกันสะดวกยิ่งขึ้น ประการสำคัญเพื่อ
สะดวกในการปกครอง และป้องกันประเทศจากการรุกรานของประเทศตะวันตก (อังกฤษ และ
ฝรั่งเศส) ในสมัยนั้นเส้นทางสายแรกที่สร้างเสร็จและเปิดใช้บริการ คือสายกรุงเทพฯ – นครราชสีมา
ในปี พ.ศ. 2439 (กองประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย 2540 : 47-50) การรถไฟแห่ง
ประเทศไทย ได้ดำเนินกิจการธุรกิจเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร และธุรกิจอื่นซึ่งเป็น
ประโยชน์แก่กิจการรถไฟ โดยเฉพาะการบริการเชิงสังคมเป็นหลัก จนถึงปัจจุบัน
จากสถิติการใช้บริการผู้โดยสารของการรถไฟแห่งประเทศไทยในปีงบประมาณ พ.ศ.
2539 เปรียบเทียบกับ พ.ศ. 2543 ตาม ตารางที่ 1
ตารางที่ 1 สถิติจำนวนผู้โดยสาร (คน/ปี) ในปีงบประมาณ พ.ศ.2539-2543 ทั่วประเทศ
ชั้น 2539 2540 จำนวนผ25ู้โด41ยสารต่อปี 2542 2543
ชั้นที่ 1 53,680 52,412 118,778 101,527 110,423
ชั้นที่ 2 4,472,796 4,936,880 4,681,479 4,439,552 4,584,749
ชั้นที่ 3 63,234,385 60,359,159 56,014,896 50,657,161 50,765,565
รวม 67,760,861 65,348,451 60,815,152 55,198,240 55,460,737
เฉลี่ยต่อวัน 185,646 17,9036 116,616 151,228 151,947
ที่มา : ฝ่ายการพาณิชย์ การรถไฟแห่งประเทศไทย 2544
จะเห็นได้ว่ามีผู้โดยสารใช้บริการในปี พ.ศ.2539 จำนวน 67,760,861 คน และปี พ.ศ.2543
จำนวน 55,460,737 คน ซึ่งลดลงถึง 12,300,124 คน สืบเนื่องจากกิจการขนส่งต่าง ๆ ในปัจจุบันเกิด
ขึ้นมากมายซึ่งมีการแข่งขันกันอยู่ตลอดเวลา ทำให้มีการแบ่งส่วนทางการตลาดเป็นอย่างมากโดย
เฉพาะระบบการขนส่งทางบกที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากระบบการขนส่งที่สะดวกและรวดเร็ว
ดังนั้นจึงคาดการณ์แนวโน้มการใช้บริการขนส่งของการรถไฟแห่งประเทศไทยในอนาคต
ดังแผนภาพที่ 1
แผนภาพที่ 1 แนวโน้มการบริการขนส่งผู้โดยสารของการรถไฟแห่งประเทศไทยเมื่อเปรียบเทียบ
จาก ปี พ.ศ2539 ถึง พ.ศ. 2554 ในรูปภาพ ดังนี้
จากปี พ.ศ.2539 ถึง พ.ศ. 2554 ได้มีระบบการขนส่งบริการผู้โดยสารทางบกหรือทางรถยนต์
จะมีปริมาณเพิ่มมากยิ่งขึ้น แต่การขนส่งการรถไฟกลับลดลง ทำให้ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่
คงที่หรืออาจเพิ่มขึ้นไม่สอดคล้องกับรายได้และต้องประสบกับภาวะขาดทุนมาตลอด
ต่อมาในปี พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา ประเทศไทยเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจ เป็นผลให้เกิด
ปัญหาขาดแคลนเงินสดหมุนเวียน รายจ่ายสูงหนี้สินเพิ่มขึ้นอีก ทำให้เกิดภาวะการขาด
ทุนอย่างต่อเนื่องด้วยสาเหตุหลักใหญ่ 3 ประการ ได้แก่ (ฝ่ายการเดินรถ การรถไฟแห่ง
ประเทศไทย 2544)
1. การรถไฟแห่งประเทศไทย ต้องรับภาระโครงพื้นฐาน เช่น การก่อสร้างราง การ
ซ่อมบำรุงรางและระบบอาณัติสัญญาณ
2. อัตราค่าโดยสารชั้น 3 ไม่ได้ปรับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528
รถโดยสาร
26%
รถเล็ก
71%
อากาศ
1%
รถไฟ
2%
ที่มา : เอกสารเผยแพร ่ กองประชาสัมพันธ ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย 2544
ปี 2539 ปี
รถโดยสาร
รถเลก็ 38%
56%
อากาศ
1%
รถไฟ
5%
3. เพื่อบริการสังคมในการเดินขบวนรถชานเมือง ขบวนรถท้องถิ่น (บริการโดยสาร
ระหว่างเมือง) สำหรับประชาชนที่มีรายได้น้อย
ด้วยสาเหตุสำคัญทำให้ต้องรับภาระหนี้สิน หรือล้มเลิกองค์กรการรถไฟแห่งประเทศไทย ไม่
ได้ จึงจำเป็นต้องดำเนินกิจการต่อไปด้วยภาระหนี้สิน ดังนี้.-
1. การรถไฟแห่งประเทศไทยรับภาระจำนวน 38,475 ล้านบาท
2. รัฐบาลรับภาระจำนวน 4,757 ล้านบาท
3. การชำระเงินกู้ (เฉพาะที่การรถไฟแห่งประเทศไทย) รับภาระจำนวน 4,196 ล้านบาท
นอกจากนั้นยังมีปัญหาด้านกฎระเบียบต่าง ๆ ในด้านการบริหารและจัดการให้เหมาะสมกับ
สถานการณ์ปัจจุบัน และการกำหนดนโยบายในลักษณะ top-down เป็นต้น รวมทั้ง
สภาพขบวนรถเก่าไม่เพียงพอใช้งาน ทำให้การดำเนินการทุก ๆ ฝ่ายถูกกระทบ
กระเทือนไม่สามารถปรับตัวเข้ากับเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้ (กอง
ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย 2544)
ปัญหาดังกล่าว การรถไฟแห่งประเทศไทยจึงจำเป็นต้องปรับโครงสร้างการบริหาร (Change
Agent) ใหม่ ปรับเปลี่ยนทุกส่วนที่มีปัญหาไม่สอดคล้องกับสภาวะปัจจุบัน เพื่อลดรายจ่ายในการ
ดำเนินการให้มากที่สุด ในโครงสร้างใหม่ได้เปิดโอกาสให้เอกชนร่วมลงทุนในพื้นที่ของการรถไฟ
แห่งประเทศไทย แต่สิ่งที่สำคัญขององค์กร มีนโยบายลดจำนวนพนักงานลงในหน่วยงานต่าง ๆ ของ
องค์กร ทำให้เกิดผลกระทบต่อการปรับตัวของพนักงานที่มีปริมาณงานไม่สอดคล้องกัน อีกทั้งความ
บีบคั้นจากสังคมภายนอก เช่น ค่าครองชีพที่สูงขึ้น การดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนไปอย่างเร่งรีบที่แข่งกับ
เวลา เป็นต้น มีผลต่อการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะพนักงานการเดินรถที่เป็นผู้ให้บริการกับผู้โดยสาร
โดยตรง การที่ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานที่เปลี่ยนแปลงโดยขาดจุดยืนด้านจิตใจ
เข้มแข็ง และรู้เท่าทันการดำเนินชีวิตมีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานลดลง ที่ออกมาจาก
ความรู้สึก นึกคิด ของพนักงานการเดินรถ ในภาพของการบริการผู้โดยสารที่ไม่พึงประสงค์ เช่น
ด้านความขยันหมั่นเพียร ความรับผิดชอบ การเอาใจใส่ในงาน ความซื่อสัตย์ และภักดีต่อองค์กร
ฉะนั้น ฝ่ายการเดินรถได้เล็งเห็นความสำคัญ จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์เพื่อเป็นแนวทางใน
การปฏิบัติเป็นแผนแม่บท ในภาระกิจหลักของฝ่ายการเดินรถ คือการจัดเดินรถ ขบวนรถ และการให้
บริการ ซึ่งเป็นหน้าที่ของพนักงานฝ่ายเดินรถทุกคนที่จะร่วมกันปฏิบัติภาระกิจ ฉะนั้น จำเป็นต้อง
ปรับปรุงโครงสร้างหน่วยงานให้สอดคล้องรองรับกับสภาพการที่เปลี่ยนแปลงไปตามความจำเป็น
ของภาระกิจ อาทิตั้งศูนย์บริการโดยสารที่สถานีกรุงเทพให้มีลักษณะ one stop services และพัฒนา
ส่งเสริมบุคลากร ทั้งในส่วนบริหารและปฏิบัติเพื่อจะช่วยแก้ปัญหา และประกอบภาระกิจให้ลุล่วง
เรียบร้อย มีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์ต่อประชาชนผู้มาใช้บริการ ในคำกล่าวของ นายสราวุธ
ธรรมศิริ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย ในโอกาสเปิดการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “ยุทธ
ศาสตร์ฝ่ายการเดินรถ” ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย ไม่ใช่ของเราผู้เดียว ไม่ใช่ของรัฐบาล แต่การ
รถไฟแห่งประเทศไทยเป็นของประเทศชาติและประชาชน การทำงานเพื่อชาติ และประชาชนคือ
เป้าหมายหลัก ไม่ใช่เพื่อฝ่ายการเดินรถและการรถไฟแห่งประเทศไทย (ฝ่ายการเดินรถ การรถไฟ
แห่งประเทศไทย 2544) ซึ่งมีแผนและนโยบาย ตามแผนหลักการของฝ่ายการเดินรถ ดังนี้.-
1. การเดินรถและการบริการ เป็นภาระกิจที่ต้องปฏิบัติควบคุม กำกับดูแลให้เกิดประสิทธิ
ภาพโดยรวดเร็ว เกิดความพึงพอใจ และต้องกระทำโดยต่อเนื่อง ปลอดภัย
2. การปกครอง คือหลักระบบคุณธรรม
3. ถือหลักกระจายอำนาจ
4. เน้นการมีส่วนร่วม ทำงานเป็นทีม ของพนักงานทุกระดับได้ดำเนินการควบคุมตาม
สายงานการบังคับบัญชา ดังแผนภูมิการบริหารของฝ่ายการเดินรถ ในแผนภาพที่ 2
ในฐานะผู้วิจัย เป็นตัวแทนของหน่วยงาน ได้เห็นความเป็นไปในการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
ในองค์กรการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้เห็นว่าองค์กรการรถไฟแห่งประเทศไทยอยู่ในภาวะวิกฤต
อันเนื่องมาจากหลายสาเหตุในระบบโครงสร้างขององค์กร และผู้วิจัยได้สนใจจะศึกษาบุคลากรหรือ
พนักงานในองค์กร ซึ่งเป็นบุคคลหรือทรัพยากรขององค์กรจากการวิพากวิจารณ์ถึงประสิทธิภาพการ
ปฏิบัติงานในเชิงลบ ผู้วิจัยคาดว่าจะเป็นสาเหตุหนึ่งในการพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพ
ตามทฤษฎีองค์กร ในการบริหารงานขององค์กรให้ประสบความสำเร็จประกอบด้วยปัจจัย
หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นบุคคลหรือทรัพยากรที่ใช้ในการบริหารขององค์กร และทรัพยากรสำหรับ
การบริหารเพื่อนำองค์กรไปสู่เป้าหมาย คือ 4M อันได้แก่ Man (บุคลากร) Money (เงิน) Material
(วัสดุ และอุปกรณ์) และ Management (การจัดการ) คิงเบอรี่ (Kingbery 1957 อ้างถึงใน สราวุธ
จินดาคำ 2544 : 10-11) ได้กล่าวทฤษฎีองค์กรว่า องค์ประกอบสำคัญขององค์กร มีอยู่ 2 ส่วน
ประกอบด้วย
1. บุคลากร
2. งาน
หากพิจารณาในเชิงทรัพยากร ถือว่า บุคลากรเป็นทรัพยากรที่สำคัญมากที่สุดในการบริหาร
งาน เนื่องจากเป็นผู้จัดหา ผู้ใช้ทรัพยากรไม่ว่าจะเป็นเงิน วัสดุอุปกรณ์ เป็นต้น แม้ว่าองค์กรจะมี
ทรัพยากรบริหารด้านอื่นเพียบพร้อมเพียงใดก็ตาม แต่หากบุคลากรขาดความเข้าใจ ที่มีความรู้ ความ
สามารถ และพึงพอใจ ที่จะอุทิศตนในการปฏิบัติงานในองค์กรแล้ว ก็ยากยิ่ง องค์กรจะบรรลุวัตถุ
ประสงค์และเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งได้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
ฉบับที่ 8 (2540-2544) ได้ให้ความสำคัญกับ “ทรัพยากรบุคคล” เป็นหลักโดยได้เน้นการพัฒนาคนให้
เป็นศูนย์กลางการพัฒนา เนื่องจากเห็นว่าคนเป็นปัจจัยชี้ขาดความสำคัญของการพัฒนาทุก ๆ เรื่อง
และตามทฤษฎีศักยภาพถือว่า คนคือทรัพยากรที่สำคัญต่อการพัฒนา ศาตราจารย์การ์เชีย แห่ง
อาร์เจนตินา ได้กล่าวว่า “ปัญหามูลฐานแท้ ๆ ของการพัฒนาการทุกสิ่งทุกอย่างที่สำคัญเกี่ยวกันหมด
นั้นคือตัวมนุษย์เอง (สัญญา สัญญาวิวัฒน์ 2542 : 35) เห็นว่ามนุษย์เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า และมี
ความต้องการที่ละเอียดอ่อนที่สุด โดยเฉพาะในด้านการปฏิบัติงานไม่ว่าจะเป็น 1. ความก้าวหน้าใน
อาชีพการงาน 2. ความรักและภูมิใจในอาชีพ 3. ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน 4. ความมีอิสระใน
การแสดงความคิดเห็นในงาน 5. ความพอใจในผลตอบแทน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน
ของพนักงานในสิ่งที่องค์กรคาดหวัง
ดังนั้นในการศึกษานี้ ผู้วิจัยจะศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพของพนักงานการ
เดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย อาจมีการศึกษาในประเด็นนี้มาแล้วในหน่วยงานอื่น แต่องค์กร
การรถไฟแห่งประเทศไทยในระดับพนักงานการเดินรถ (เสมียน) ยังไม่มีผู้ใดทำมาก่อน และลักษณะ
แนวลึกเป็นประเด็นสำคัญในการศึกษาบุคลากรที่เป็นปัจจัยชี้ความสำเร็จขององค์กร เพื่อที่จะนำผล
การศึกษาไปเป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับเป็นแนวทางปรับปรุงในด้านการบริหาร และการจัดการ ซึ่ง
เป็นพนักงานการเดินรถได้ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับผู้รับบริการโดยตรงว่ามีปัญหาอุปสรรคใด และ
ความต้องการในด้านการปฏิบัติงานที่เป็นสิ่งจูงใจอยู่ในระดับใดในการสร้างประสิทธิภาพการปฏิบัติ
งานของพนักงานการเดินรถให้มีคุณภาพนำองค์กรให้รอดจากภาวะวิกฤตการขาดทุนได้บ้าง ซึ่งได้
สอดคล้องกับแผนนโยบายของฝ่ายการเดินรถ เรื่อง “ยุทธศาสตร์ฝ่ายการเดินรถ” ในด้านการส่งเสริม
พัฒนาพนักงานของฝ่ายการเดินรถ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มีประสิทธิภาพ ของการรถไฟแห่ง
ประเทศไทย
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
เพื่อศึกษาปัจจัยด้านต่าง ๆ ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานการเดินรถ
การรถไฟแห่งประเทศไทย
ขอบเขตการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานการ
เดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้แก่ พนักงานการเดินรถเฉพาะเพศชาย (เสมียน) ฝ่ายการเดินรถ
การรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งปฏิบัติงานอยู่ประจำสถานีทั่วประเทศ จำนวน 245 คน โดยแบ่งเป็น 5
เขต ประกอบด้วย
1. กองจัดการเดินรถเขต 1
2. กองจัดการเดินรถเขต 2
3. กองจัดการเดินรถเขต 3
4. กองจัดการเดินรถเขต 4
5. กองจัดการเดินรถเขต 5
ระยะเวลาโดยทำการศึกษาวิจัยตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ – เมษายน 2545
ตัวแปรที่ศึกษา
1. ตัวแปรอิสระ แบ่งเป็นดังนี้
1.1 ปัจจัยส่วนบุคคล ประกอบด้วย
1.1.1 อายุ
1.1.2 ระดับการศึกษา
1.1.3 อัตราเงินเดือน
1.1.4 ที่พักอาศัย
1.1.5 ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน
1.2 ปัจจัยด้านการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย
1.2.1 โอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
1.2.2 ความรักและภูมิใจในอาชีพการงาน
1.2.3 ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน
1.2.4 ความมีอิสระในการแสดงความคิดเห็นในงาน
1.2.5 ความพอใจในผลตอบแทน
2. ตัวแปรตาม ได้แก่ ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย
2.1 ความขยันหมั่นเพียร
2.2 ความรับผิดชอบและเอาใจใส่ในงาน
2.3 ความซื่อสัตย์และภักดีต่อองค์กร
นิยามศัพท์เฉพาะ
1. เสมียน หมายถึง ตำแหน่งผู้ปฏิบัติงาน ระดับ 3-5 ที่ได้รับการบรรจุเป็นพนักงานแล้ว
จากการรถไฟแห่งประเทศไทย
2. พนักงานเดินรถ หมายถึง ตำแหน่งผู้ปฏิบัติงาน ระดับเสมียนในสายงานฝ่ายการเดิน
รถที่ปฏิบัติงานอยู่ประจำสถานีในปัจจุบัน แต่ละกองจัดการเดินรถ จำนวน 5 เขต ทั่วประเทศ
3. กองจัดการเดินรถเขต 1 หมายถึง พื้นที่เขตการปกครองส่วนภูมิภาคในสายการปกครอง
ได้แก่ งานรับส่งสินค้าพหลโยธิน งานเดินรถแขวงกรุงเทพ งานเดินรถแขวงสมุทรสาคร งานเดินรถ
แขวงฉะเชิงเทรา งานสถานีกรุงเทพ งานสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่องลาดกระบัง และงานย่าน
บางซื่อ
4. กองจัดการเดินรถเขต 2 หมายถึง พื้นที่เขตการปกครองส่วนภูมิภาคในสายงานปกครอง
ได้แก่ งานเดินรถแขวงแก่งคอย งานเดินรถแขวงนครราชสีมา งานเดินรถแขวงอุบลราชธานี งาน
ควบคุมการเดินรถแขวงแก่งคอย 1 งานควบคุมการเดินรถแขวงแก่งคอย 2 งานควบคุมการเดินรถ
แขวงนครราชสีมา และงานควบคุมการเดินรถแขวงขอนแก่น
5. กองจัดการเดินรถเขต 3 หมายถึง พื้นที่เขตการปกครองส่วนภูมิภาคในสายงานปกครอง
ได้แก่ งานเดินรถแขวงนครสวรรค์ งานเดินรถแขวงอุตรดิตถ์ งานเดินรถแขวงลำปาง งานควบคุม
การเดินรถแขวงนครสวรรค์ งานควบคุมการเดินรถแขวงอุตรดิตถ์ และงานควบคุมการเดินรถแขวง
ลำปาง
6. กองจัดการเดินรถเขต 4 หมายถึง พื้นที่เขตการปกครองส่วนภูมิภาคในสายงานปกครอง
ได้แก่ งานเดินรถแขวงธนบุรี งานเดินรถแขวงชุมพร งานควบคุมการเดินรถแขวงหัวหิน และงาน
ควบคุมการเดินรถแขวงชุมพร
7. กองจัดการเดินรถเขต 5 หมายถึง พื้นที่เขตการปกครองส่วนภูมิภาคงานเดินรถแขวง
ทุ่งสง งานเดนิ รถแขวงหาดใหญ ่ งานควบคุมการเดินรถแขวงทุ่งสง และงานควบคุมการเดินรถแขวง
หาดใหญ่
8. โอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงาน หมายถึง การได้รับการพิจารณาความดี ความชอบมี
โอกาสในการเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง และรับเงินเดือนสูงขึ้น แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ
8.1 โอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงานระดับต่ำ
8.2 โอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงานระดับสูง
9. ความรักและภูมิใจในอาชีพการงาน หมายถึง การที่พนักงานการเดิน มีความรักและ
ภาคภูมิใจในอาชีพพนักงานของการรถไฟแห่งประเทศไทย แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ
9.1 ความรักและภูมิใจในอาชีพการงานระดับต่ำ
9.2 ความรักและภูมิใจในอาชีพการงานระดับสูง
10. ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน หมายถึง การที่พนักงานอยู่ร่วมกัน มีการพบปะ
สังสรรค์ ปรึกษาหารือเรื่องงาน ความเห็นอกเห็นใจ ให้ความร่วมมือประสานงาน ให้ความช่วยเหลือ
ซึ่งกันและกัน และได้รับจากเพื่อนร่วมงาน แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ
10.1 ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานระดับไม่ดี
10.2 ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานระดับดี
11. ความมีอิสระในการแสดงความคิดเห็นในงาน หมายถึง ความมีอิสระในการใช้ความรู้
ความสามารถ แสดงความคิดเห็นด้วยดุลยพินิจ และวิจารณญาณในงานที่ตนเองรับผิดชอบ เพื่อให้
การปฏิบัติงานได้หลักเกณฑ์ หรือเป้าหมายที่กำหนดไว้ แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ
11.1 ความมีอิสระในการแสดงความคิดเห็นในงานระดับต่ำ
11.2 ความมีอิสระในการแสดงความคิดเห็นในงานระดับสูง
12. ความพอใจในผลตอบแทน หมายถึง ความพึงพอใจของพนักงานการเดินรถที่ได้รับเงิน
พิเศษนอกเหนือจากเงินเดือน ได้แก่ ค่าทำงานในวันหยุดและนักขัตฤกษ์ ค่าล่วงเวลา ค่าเบี้ยเลี้ยงเดิน
ทาง รวมทั้ง สวัสดิการต่าง ๆ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ตามกำหนดที่พึงจะได้รับตามสิทธิของ
พนักงาน แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ
12.1 ความพอใจในผลตอบแทนระดับต่ำ
12.2 ความพอใจในผลตอบแทนระดับสูง
13. ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน หมายถึง การที่พนักงานการเดินรถปฏิบัติงานอย่างเต็มที่
ความสามารถ โดยพิจารณาจากความขยันหมั่นเพียร ความรับผิดชอบและเอาใจใส่ในงาน ความซื่อ
สัตย์และภักดีต่อองค์กร แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ
13.1 ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานระดับต่ำ
13.2 ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานระดับสูง
สมมติฐานของการวิจัย
ผู้วิจัยได้พัฒนากรอบแนวความคิด ในการวิจัยครั้งนี้ เพื่อเป็นแนวทางกำหนดสมมติฐานใน
การตอบปัญหาการวิจัยที่มีวัตถุประสงค์มีหลัก คือ
ตัวแปรทุกตัวในกลุ่มปัจจัยส่วนตัว และปัจจัยการปฏิบัติการที่นำมาศึกษาครั้งนี้ที่มีผลต่อ
ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ประมวล
กรอบแนวคิดเป็นสมมติฐานในการวิจัยโดยมีทิศทางความสัมพันธ์ ดังนี้.-
1. ปัจจัยส่วนบุคคลกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน
1.1 พนักงานการเดินรถที่มีอายุสูง มีประสิทธิภาพการปฏิบัติงานสูงกว่าพนักงานการ
เดินรถที่มีอายุน้อย
1.2 พนักงานการเดินรถที่มีระดับการศึกษาสูง มีประสิทธิภาพการปฏิบัติงานสูงกว่า
พนักงานการเดินรถที่มีระดับการศึกษาต่ำ
1.3 พนักงานการเดินรถที่มีอัตราเงินเดือนสูง มีประสิทธิภาพการปฏิบัติงานสูงกว่า
พนักงานการเดินรถที่มีอัตราเงินเดือนต่ำ
1.4 พนักงานการเดินรถที่มีที่พักอาศัยของทางราชการ มีประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน
สูงกว่า พนักงานการเดินรถที่มีที่พักอาศัยส่วนตัว/ เช่าอาศัย
1.5 พนักงานการเดินรถที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานมาก มีประสิทธิภาพการ
ปฏิบัติงานสูงกว่า พนักงานการเดินรถที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานน้อย
2. ปัจจัยด้านการปฏิบัติงาน กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน
2.1 พนักงานการเดินรถที่มีโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงานสูง มีประสิทธิภาพการ
ปฏิบัติงานสูงกว่า พนักงานการเดินรถที่มีโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงานต่ำ
2.2 พนักงานการเดินรถที่มีความรัก และภูมิใจในอาชีพการงานสูง มีประสิทธิภาพการ
ปฏิบัติงานสูงกว่า พนักงานการเดินรถที่มีความรักและภูมิใจในอาชีพการงานต่ำ
2.3 พนักงานการเดินรถที่มีความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานดี มีประสิทธิภาพการปฏิบัติ
งานสูงกว่า พนักงานการเดินรถความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานไม่ดี
2.4 พนักงานการเดินรถที่มีอิสระในการแสดงความคิดเห็นในงานสูง มีประสิทธิภาพ
การปฏิบัติงานสูงกว่า พนักงานการเดินรถที่มีความมีอิสระในการแสดงความคิดเห็นในงานต่ำ
2.5 พนักงานการเดินรถที่มีความพอใจในผลตอบแทนสูงมีประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน
สูงกว่า พนักงานการเดินรถที่มีความพอใจในผลตอบแทนต่ำ
กรอบแนวความคิดในการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ ดำเนินการภายใต้กรอบแนวคิดทฤษฎีต่าง ๆ จากงานวิจัย สามารถอธิบายถึง
ปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยด้านการปฏิบัติงานของพนักงานการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย
ความเป็นจริงในปัจจุบัน ชี้ให้เห็นถึงปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานการ
เดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งผู้วิจัยได้นำมาวิเคราะห์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนด เป็น
กรอบแนวคิดเพื่อการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ดังแผนภาพที่ 3 ต่อไปนี้
แผนภาพที่ 3 กรอบแนวความคิดในการวิจัย (Conceptual Frame work)
ตัวแปรอิสระ
ปัจจัยส่วนบุคคล
1. อายุ
2. ระดับการศึกษา
3. อัตราเงินเดือน
4. ที่พักอาศัย
5. ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน
ปัจจัยด้านการปฏิบัติงาน
1. โอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
2. ความรักและภูมิใจในอาชีพการงาน
3. ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน
4. ความมีอิสระในการแสดงความคิดเห็น
ในงาน
5. ความพอใจในผลตอบแทน
ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน
1. ความขยันหมั่นเพียร
2. ความรับผิดชอบ และเอาใจใส่
ในงาน
3. ความซื่อสัตย์ และภักดีต่อองค์กร
ตัวแปรตาม
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. จะได้ทราบถึงปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานการเดินรถ การ
รถไฟแห่งประเทศไทย
2. ทำให้ได้ข้อมูลเบื้องต้นเพื่อเป็นแนวทางในการบริหารจัดการ ฝ่ายการเดินรถการรถไฟ
แห่งประเทศไทย และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องให้มีประสิทธิภาพ
3. ทำให้พนักงานการเดินรถ เกิดความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร และทัศนคติที่ดีต่อ
หน่วยงาน และองค์กร การรถไฟแห่งประเทศไทย
บทที่ 2
เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ในการศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานการเดินรถ
การรถไฟแห่งประเทศไทย ผู้วิจัยได้ทำการศึกษา เอกสาร ตำรา บทความ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
แล้วนำมาใช้ในการกำหนด แนวคิดการวิจัย และดำเนินการวิจัย ซึ่งจะเสนอเป็นลำดับ ดังนี้
1. แนวคิดเกี่ยวกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน
2. ทฤษฎีเกี่ยวข้องกับความต้องการด้านการปฏิบัติงาน
3. แนวคิดเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน
4. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
จากการกำหนดแนวความคิด และทฤษฎีดังกล่าว ผู้วิจัยจะได้อธิบายถึงความต้องการที่ก่อให้
เกิดความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ความผูกพันต่อการปฏิบัติงาน อุทิศแรงกายแรงใจ ปฏิบัติงาน
ด้วยความรู้ กายและพลังอยู่เต็มที่ เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานดังรายละเอียดต่อไปนี้.-
1. แนวคิดเกี่ยวกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน
การปฏิบัติงานในปัจจุบันให้มีประสิทธิภาพ มีความแตกต่างกันมากกว่าในอดีต เนื่องจาก
การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมอย่างรวดเร็ว การปฏิบัติมีความยุ่งยาก สลับซับซ้อน มีหน้าที่รับ
ผิดชอบเพิ่มขึ้น จึงได้ศึกษาแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ และปัจจัยที่มีผล
ต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งมีนัก วิชา
การหลายท่านได้ให้ความหมาย ดังนี้.-
ความหมายการมีประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน
ประสิทธิภาพ หมายถึง ขนาด และความสามารถของความสำเร็จ หรือบรรลุผลตามเป้า
หมายหรือวัตถุประสงค์ของตนเอง และองค์กร
การทำงานหรือการปฏิบัติงาน หมายถึง การกระทำของบุคคลที่มีจุดประสงค์เพื่อสนอง
ความต้องการ หรือเพิ่มให้เกิดความพอใจหรือขจัดปัญหาต่าง ๆ ที่จะก่อให้เกิดความข้องคับใจใน
ชีวิต
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 (2526 : 504) ให้ความหมายประสิทธิภาพไว้
ว่า หมายถึง ความสามารถที่ทำงานให้เกิดผลในการปฏิบัติงาน
พจนานุกรมของมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ค.ศ. 1973 (1993 : 787) ให้ความหมายของประ
สิทธิภาพไว้ว่า หมายถึง ความพร้อมและความสามารถในการปฏิบัติงานให้สำเร็จ หรือการปฏิบัติ
งานให้ประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
วอลแมน (Wolman 1989 : 106) ให้ความหมายของประสิทธิภาพไว้ว่า หมายถึง การใช้เวลา
ทำงานน้อยหรือกระตุ้นการทำงานสูงขึ้น ก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานสูงสุด
ทพิ าวด ี เมฆสวรรค  (2538 : 2) กล่าวถึงประสิทธิภาพไว้ว่า มีความหมายรวมถึง ผลิตภาพ
และประสิทธิภาพ โดยประสิทธิภาพเป็นสิ่งที่วัดได้หลายมิติ ตามแต่วัตถุประสงค์ที่ต้องการพิจารณา
คือ
1. ประสิทธิภาพในมิติของกระบวนการบริหาร (Process) ได้แก่ การทำงานที่ได้
มาตรฐาน รวดเร็ว ถูกต้อง และใช้เทคนิคที่สะดวกขึ้นกว่าเดิม
2. ประสิทธิภาพในมิติของผลผลิตและผลลัพธ์ ได้แก่ การทำงานที่มีคุณภาพเกิด
ประโยชน์ต่อสังคม เกิดผลกำไร ทันเวลาผู้ปฏิบัติงานมีจิตสำนึกที่ดีต่อการทำงานและให้บริการเป็น
ที่พอใจของลูกค้า หรือผู้มารับบริการ
ระพี แก้วเจริญ และฑิตยา สุวรรณชัฎ (2510 : 5) ได้ให้ความหมายของประสิทธิภาพว่า
หมายถึง คล่องแคล่วในการปฏิบัติงานให้สำเร็จ
วัชรี ธุวธรรม และคณะ (2526 : 246) ได้ให้ความหมายประสิทธิภาพไว้ว่า หมายถึง การ
ทำงานเสร็จโดยสูญเสียเวลาและเสียพลังน้อยที่สุด ซึ่งเป็นค่านิยมที่วัดอยู่ในสังคมปัจจุบันทำงานเร็ว
งานดี มีระเบียบ เพื่อให้ได้ผลดีและมีประสิทธิภาพ
อุทัย หิรัญโต (2525 : 120 – 123) กล่าวว่า คำว่า “ประสิทธิภาพ” ในวงการธุรกิจ หรือการจัด
การที่ได้รับผลกำไรหรือขาดทุน สำหรับในการบริหารราชการ ในทางปฏิบัติวัดได้ยากมาก วิธีวัด
ประสิทธิภาพที่ใช้ในวงราชการจึงหมายถึง ผลการปฏิบัติงานที่เกิดความพึงพอใจ และประโยชน์แก่
สังคม แต่ประสิทธิภาพในวงราชการจะต้องพิจารณาถึงคุณค่าทางสังคม จึงไม่จำเป็นต้องประหยัด
หรือมีกำไร เพราะงานบางอย่างถ้าทำประหยัดอาจไม่มีประสิทธิภาพ ลักษณะการบริหารที่มีประ
สิทธิภาพ คือการบรรลุเป้าหมาย แต่การบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ คือการใช้ทรัพยากรอย่าง
ประหยัดเกิดผลอย่างรวดเร็ว งานเสร็จทันเวลา ถูกต้อง เป็นต้น
ปรัชญา เวสารัชช์ (2529 : 5) ได้ให้ความหมาย “ประสิทธิภาพ” การบริหารงานไว้ 3 นัย คือ
นัยที่ 1 เกี่ยวกับงานโดยตรง คืองานที่ออกมานี้จะเกิดผลได้เร็วกว่าที่กำหนด ผลงาน
ดีคุณภาพ ผลงานสูงกว่ากำหนด
นัยที่ 2 เกี่ยวกับผู้บริหาร ผู้บริหารมีความสามารถทำงานโดยตรงไม่มีการหยุด หรือ
ชะงักงัน และมีทัศนะเรื่องการบริหารงานในการวางแผน การจัดองค์กร การมองหมายงาน การสั่ง
การ ฯลฯ
นัยที่ 3 เกี่ยวกับผู้ปฏิบัติงาน ผู้ร่วมงานทำงานได้อย่างมีความสุข ไม่มีปัญหาขัดแย้ง
มีการสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกันในการปฏิบัติงาน ประสานงาน การติดต่อสื่อสาร ช่วยเหลือ และ
การแสดงความคิดเห็นในงาน ในองค์กรด้วยดี
ไรอัน (Ryan 1954 : 276) ได้ถึงประสิทธิภาพของบุคคล (Human efficiency) ว่าเป็นความ
สัมพันธ์ระหว่างผลลัพธ์ในแง่บวกกับสิ่งที่ทุ่มเทและลงทุนให้กับงาน ซึ่งประสิทธิภาพในการทำงาน
นั้น มองจากแง่มุมของการทำงานของแต่ละบุคคล โดยพิจารณาเปรียบเทียบสิ่งที่ให้กับงาน เช่น
ความพยายาม ความขยันหมั่นเพียร ความเอาใจใส่งาน กำลังงานกับผลลัพธ์ที่ได้รับจากงานนั้น
ฮาร์ริงตัน อีเมอร์สัน (Harrington Emerson 1913 แปลโดย สมพงษ์ เกษมสิน 2521 : 30)
ได้เสนอความคิดเกี่ยวกับหลักการทำงานให้มีประสิทธิภาพในหนังสือ “The Twelve Principles of
Efficiency” ซึ่งได้รับการยกย่อง กล่าวถึงกันมากในหลัก 12 ประการ ของประสิทธิภาพในการปฏิบัติ
งาน มีสาระสำคัญดังนี้
1. ทำความเข้าใจและกำหนดแนวคิดในการทำงานให้กระจ่างแจ้ง
2. ใช้หลักสามัญในการพิจารณาความน่าจะเป็นไปได้ของงาน
3. คำปรึกษาแนะนำต้องสมบูรณ์และถูกต้อง
4. ต้องรักษาด้วยความยุติธรรม
5. ปฏิบัติด้วยความยุติธรรม
6. การทำงานต้องเชื่อถือได้ มีความฉับพลัน มีสมรรถภาพ และมีการลงระเบียบ (Record)
เป็นหลักฐาน
7. งานควรมีลักษณะแจ้งให้ทราบถึงการดำเนินงานอย่างทั่วถึง
8. งานสำเร็จทันเวลา
9. ผลงานได้มาตรฐาน
10. การดำเนินงานสามารถยึดเป็นมาตรฐานได้
11. กำหนดมาตรฐานที่สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการฝึกสอนได้
12. ให้บำเหน็จรางวัลแก่งานที่ดี
ดังนั้น ความหมายของคำว่า ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน หมายถึง การกระทำของแต่ละ
บุคคล ที่มีความสามารถและความพร้อม พยายามทุ่มเทอย่างเต็มใจในการปฏิบัติงานของตนอย่าง
คล่องแคล่ว ด้วยความมีระเบียบ มีกฎเกณฑ์ ปฏิบัติงานให้เสร็จทันเวลา รวดเร็ว ถูกต้อง มีคุณภาพ
และมาตรฐาน จึงสรุปได้ว่าบุคคลจะมีประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ต้องเกิดจากความขยันหมั่นเพียร
มีความรับผิดชอบและเอาใจใส่ในงานพร้อมด้วยจิตใจที่ซื่อสัตย์ และภักดีต่อองค์กร งานจะประสบ
ความสำเร็จตามเป้าหมายขององค์กรที่กำหนดไว้หรือดียิ่งขึ้น
2. ทฤษฎีเกี่ยวกับความต้องการด้านการปฏิบัติงาน
องค์กรใดจะบรรลุผลตามที่ตั้งเป้าหมายไว้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจัยก็คือ คนหรือ
บุคลากรในองค์กร ซึ่งถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด และเป็นที่ยอมรับกันว่ามนุษย์หรือคนเป็น
ทรัพยากรที่มีคุณค่า และสำคัญที่สุดตามหลักการบริหาร การสร้างเสริมความต้องการในการปฏิบัติ
งานให้กับบุคลากร เพื่อให้มีความรู้สึกที่ดีในการปฏิบัติงาน และพร้อมที่จะอุทิศตนเพื่อความสำเร็จ
ของงาน และขององค์กรอย่างต่อเนื่องสมบูรณ์ จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับผู้บริหารที่ต้องคำนึงถึง
เพราะด้านความต้องการในการปฏิบัติงานย่อมส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพของงานดียิ่งขึ้น
ซึ่งมีทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความต้องการหรือสิ่งจูงใจผู้ปฏิบัติงาน โดยมุ่งอธิบายถึงองค์
ประกอบต่างๆ ที่เป็นสิ่งที่ทำให้บุคลากรเกิดความพอใจในการปฏิบัติงาน ทุ่มเทความรู้ความสามารถ
มีความรับผิดชอบ และเอาใจใส่ในงานอย่างแท้จริง ไปสู่ความรักความผูกพัน และความซื่อสัตย์ใน
องค์กร ดังนี้.-
2.1 ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์
ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ (Hierarchy of Needs Theory) เป็นทฤษฎีดั้งเดิมเกี่ยว
กับการจูงใจที่ มาสโลว์ (Maslow 1970 : 35–38) ได้เสนอไว้ สาระสำคัญของทฤษฎีนี้เน้นในเรื่อง
ความตอ้ งการของมนษุ ย ์ มนุษย์ทุกคนนั้นมีความต้องการอยู่ตลอดเวลาอย่างไม่สิ้นสุด และเป็นความ
ต้องการที่เป็นกลุ่ม เป็นชุดที่มีการจัดลำดับไว้เป็นลำดับชั้น ความต้องการระดับชั้นที่ต่ำสุด ต่าง ๆ
ดังแผนภาพที่ 4
แผนภาพที่ 4 แสดงลำดับชั้นความต้องการตามทฤษฎีของมาสโลว์
ความต้องการที่จะประสบความสำเร็จสูงสุด
หรือความต้องการประจักษ์ตน
(Self-Aetualization, Self-Fullfillmunt Needs)
ความต้องการที่จะได้รับความยกย่อง และเป็นที่ยอมรับ
(Esteem, Recoguition Needs)
ความต้องการในทางสังคม ความรักใคร ่ และความเป็นเจ้าของ
(Social, Affiliative and Belonging Needs)
ความต้องการในความปลอดภัย และความมั่นคง
(Safety, Security Needs)
ความต้องการพื้นฐานทางกายภาพและชีวภาพ
(Basic Physiological and Biological Needs)
จากแผนภาพ Maslow ให้ความเห็นว่าบุคคลพยายามที่จะตอบสนองความต้องการพื้นฐาน
ให้มาก ก่อนที่จะเกิดพฤติกรรมมุ่งไปตอบสนอง ความต้องการชั้นเหนือขึ้นไปถึงชั้นความต้องการที่
จะประสบความสำเร็จสูงสุด ความต้องการชั้นต้น ๆ ต้องได้รับการตอบสนองก่อนที่ความต้องการ
ชั้นสูงจะเข้ามามีบทบาทต่อความรู้สึกอันมีสติของบุคคลนั้น ๆ ดังนั้นจุดสำคัญในความคิดของ
Maslow ก็คือ ความต้องการใดที่ได้รับการตอบสนองอันทำให้เกิดความพึงพอใจแล้ว ความต้องการ
นั้นก็จะไม่เป็นแรงกระตุ้นอีกต่อไป แต่ความต้องการในระดับที่สูงกว่าจะกลายเป็นแรงบีบหรือแรง
จูงใจแทนที่อันจะเป็นเหตุทำให้บุคคลต้องสร้างพฤติกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการของตนนั้น
ต่อไป ตาม 5 ขั้นความต้องการ ดังนี้.-
ขั้นที่ 1 ความต้องการพื้นฐานทางกายภาพ และชีวภาพเป็นความต้องการที่จำเป็นในการช่วย
ค้ำจูงชีวิตโดยตรง ได้แก่ความต้องการมูลฐานที่ขาดไม่ได้ อันเป็นปัจจัยที่ช่วยให้ชีวิตเราดำรงอยู่ได้
คือ ความต้องการอากาศ อาหาร น้ำ ยารักษาโรค ที่อยู่อาศัย และเครื่องนุ่งห่มปกปิดร่างกาย
ขั้นที่ 2 ความต้องการในความปลอดภัยและความมั่นคง เป็นความต้องการที่ได้รับการตอบ
สนองจากทางด้านร่างกายแล้วความต้องการขั้นต่อไปคือ ความต้องการความปลอดภัยและมั่นคง
เช่น ความปลอดภัยจากภยันตรายต่าง ๆ ความปลอดภัยจากโรคภัยไข้เจ็บ ความมั่นคงในอาชีพ และ
ทางด้านเศรษฐกิจ
ขั้นที่ 3 ความต้องการในทางสังคม ความรักใคร่ และความเป็นเจ้าของ เมื่อตอบสนองความ
ต้องการด้านร่างกาย และความปลอดภัยแล้ว ความต้องการขั้นต่อไป คือ ความต้องการแสดงความ
เป็นเจ้าของต้องการยอมรับ เป็นสมาชิกของกลุ่มต่าง ๆ ในองค์กรหรือสังคม และความรักจากบุคคล
อื่น ๆ
ชั้นที่ 4 ความต้องการที่จะได้รับการยกย่องและเป็นที่ยอมรับ เมื่อความต้องการทางสังคม
และความรัก ได้รับการตอบสนองแล้ว ความต้องการขั้นต่อไปคือ ความต้องการยกย่องเพื่อสร้าง
เสริมความเชื่อมั่นในตนเอง มีความรู้ความสามารถ มีความสำเร็จรวมทั้งได้ตำแหน่งสูงขึ้นในด้าน
ความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน สร้างชื่อเสียง อำนาจ อิทธิพล และการควบคุมประสิทธิภาพ
ขั้นที่ 5 ความต้องการที่จะประสบความสำเร็จสูงสุด หรือความต้องการประจักษ์ตน เป็น
ความต้องการขั้นสูงสุดของมนุษย์ของตนไปสู่ความเจริญ ความจริง ความสดชื่น ความเป็นหนึ่ง
ความสมบูรณ์แบบ ความสำคัญ ความพรั่งพร้อม ความยุติธรรม ความเป็นระเบียบ ความมั่นคง ความ
สนุกสนาน เสรีภาพ ยุติธรรม ระเบียบวินัย ความมีอิสระในการแสดงความคิดเห็นซึ่งเกิดจากความรู้
สึกนึกคิดของตนเอง
บัญชา เกียรติจรุงพันธ์ (2544 : 90-93) ได้อธิบายลำดับขั้นความต้องการของ Maslow เป็น 3
กลุ่มใหญ่ ดังนี้.-
กลุ่มแรก คือ ผู้คนทั่วไปที่เกิดมาท่ามกลางความลำบากยากจนขัดสน ต้องดิ้นรน
เพียงเพื่อให้มีอยู่มีกิน มีชีวิต มีอาหาร มีเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม มีที่พักอาศัย และมียารักษายามป่วยไข้
และความต้องการสูงขึ้นมาอีกนิดหนึ่ง เพื่อให้ตนเองหรือครอบครัวได้รับความปลอดภัย ซึ่งหมายถึง
ถ้าเป็นไปได้ควรจะปลอดภัยจากความยากจน ปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สิน ปลอดภัยเมื่อเจ็บป่วยรวม
ทั้งความปลอดภัยต่อชีวิตในอนาคตว่าจะมีงานทำพออยู่พอกินอีกด้วย ตราบใดที่ความต้องการลำดับ
ที่ 1 และลำดับที่ 2 นี้ยังไม่ได้เพียงพอความต้องการสูงขึ้นไปกว่านี้จนถึงทำเพื่ออุดมการณ์ก็ยากที่เขา
จะกระทำ แต่มิใช่เขาไม่ต้องการ แม้เขาจะคิดต้องการ เขาก็ยังไม่กระทำเพราะเขาต้องการเลี้ยงชีวิต
ก่อน ดังแผนภาพที่ 5
แผนภาพที่ 5
พฤติกรรมความต้องการพื้นฐานของมนุษย์
อุดมการณ์
ศักดิ์ศรีนิยม
ใฝ่รัก
ปลอดภัย
ชีวิตรอด
กลุ่มที่ 2 คือ บุคคลบางกลุ่มที่มีรายได้ปานกลาง มีชีวิตไม่ขัดสนมากนัก เขามีความ
มั่นคงในอาชีพการงานในทรัพย์สิน ความต้องการลำดับที่ 1 และ 2 ได้รับการตอบสนองอย่างเพียง
พอ แนวโน้มพฤติกรรมของเขาก็ต้องการความมั่นคง ความปลอดภัยในชีวิต ต้องการความรัก หมาย
ถึง มีคนมาเคารพ มาชอบ มาศรัทธาว่าตนเป็นคนดี เป็นคนมีเกียรติ ต้องการความนับหน้าถือตา
ความมีศักดิ์ศรีในสังคมมากขึ้นดังแผนภาพที่ 6
แผนภาพที่ 6
พฤติกรรมความต้องการของมนุษย์กลุ่มที่มีชีวิตระดับกลาง
อุดมการณ์
ศักดิ์ศรีนิยม
ใฝ่รัก
ปลอดภัย
ชีวิตรอด
กลุ่มที่ 3 คือ บุคคลบางกลุ่มที่มีชีวิตดี อยู่ในระดับสูง ฐานะทางเศรษฐกิจไม่มีปัญหา
มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ไม่มีกังวลเกี่ยวกับการหาเลี้ยงชีพ ในอนาคตทั้งหมดทั้งของ
ตนเอง และคนใกล้ชิด กลุ่มคนเหล่านี้หากเป็นผู้ขาดคุณธรรม เขาก็จะแสดงอำนาจ อิทธิพล ไปใน
ทางข่มขู่ หาผลประโยชน์ด้วยกลวิธีไม่เป็นธรรม
ถ้าเป็นผู้มีคุณธรรมเขาจะมีความต้องการเกียรติยศ ชื่อเสียง ต้องการการยอมรับจากสังคม
หรือบางครั้งไม่สนเกียรติยศชื่อเสียง แต่ทำงานด้วยอุดมการณ์ เช่น เสียสละทำงานเพื่อส่วนรวม
สร้างสรรค์งานที่ตนเองรัก เผื่อแผ่ความรู้ความสามารถแก่เพื่อนร่วมโลก ตลอดจนให้ความรัก ความ
เมตตาอย่างไม่จำกัด เป็นต้น กลุ่มเหล่านี้เพียงพอแล้วกับทุกอย่าง เข้าใจโลกเข้าใจชีวิตว่าจะดำเนิน
ชีวิตตามอุดมการณ์ของตนมากที่สุด ดังแผนภาพที่ 7
แผนภาพที่ 7
พฤตกิ รรมความตอ้ งการของมนษุ ย ์ กลุ่มที่มีชีวิตในระดับสูง
อุดมการณ์
ศักดิ์ศรีนิยม
ใฝ่รัก
ปลอดภัย
ชีวิตรอด
สรุปได้ว่า ผู้วิจัยมีความคิดเห็นว่า ความต้องการของบุคคล ประกอบด้วย ความต้องการ
พื้นฐานซึ่งได้แก่ปัจจัย 4 เมื่อได้รับการตอบสนองจากขั้นพื้นฐานแล้ว ก็จะมีความต้องการเพิ่มขึ้นไป
อีก เช่น ความต้องการความรัก การยอมรับจากสังคม และในขั้นต่อ ๆ ไป โดยเฉพาะด้านการงานจะ
เป็นสิ่งที่บุคคลต้องการไม่ว่าในด้านความเจริญก้าวหน้า ความรักความจริงใจในการงาน ความ
สัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานด้านการยอมรับซึงกันและกัน รวมถึงผลตอบแทนในด้านการงานที่เป็นสิ่ง
จูงใจและกระตุ้นให้เกิดการปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพใจระดับที่สูง ซึ่งผู้บริหารควรให้ความสำคัญ
ในเรื่องนี้ ฉะนั้น ผู้วิจัยจึงเห็นว่าแนวความคิดของมาสโลว์ ได้ครอบคลุมเรื่องที่ศึกษาจึงได้นำแนวคิด
นี้มาใช้ในการวิจัย ครั้งนี้
1.2 ทฤษฎีสองปัจจัย
เฮิร์ซเบิร์ก (Herzberg อ้างถึงในถวิล ธาราโภชย์ และคณะ 2543 : 162-163) ทฤษฎี
การบริหารและการจัดการนี้เรียกว่า ทฤษฎี 2 องค์ประกอบ หรืออาจเรียกว่า ทฤษฎี 2 ปัจจัย Herzberg
ได้ตั้งข้อสมมติฐานว่า มีองค์ประกอบ 2 ประเภท ที่มีผลต่อจูงในในการทำงานด้านประสิทธิภาพการ
ปฏิบัติงาน ดังนี้.-
1.2.1 องค์ประกอบภายนอก (Extrinsic factor) ได้แก่
- ค่าจ้างหรือเงินเดือน
- เงื่อนไขของการทำงาน
- ความมั่นคงของงาน
- ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ผู้บังคับบัญชา หรือเพื่อนร่วมงาน หรือผู้ใต้
บังคับบัญชา
กลุ่มปัจจัยดังกล่าวข้างต้น เป็นกลุ่มปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความไม่พอใจในงาน
เรียกว่า ปัจจัยอนามัย (Hygienic factor) หมายถึง การป้องกันความไม่พอใจ ส่งผลให้องค์กรดำเนิน
ไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.2.2 องค์ประกอบภายใน ได้แก่
- ความสำเร็จ
- ความเป็นที่ยอมรับ และความรัก
- ความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
- ความก้าวหน้าส่วนตน
- ความรับผิดชอบ
องค์ประกอบเหล่านี้ เป็นกลุ่มปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความพอใจในงานของตน
เรียกว่า ตัวจูงใจ (Motivator Factors) ปัจจัยเหล่านี้เนื้อหาสาระของงานเป็นหลัก และส่งผลให้เกิด
ประสิทธิภาพในปฏิบัติงาน
แนวคิดของ Herzberg เสนอว่าปัจจัยทั้ง 2 กลุ่มนี้เป็นปัจจัย คนละประเภทกันซึ่งผู้บริหาร
หรือหัวหน้างานต้องสร้างให้เกิดปัจจัยจูงใจให้เกิดขึ้นในบุคคลที่ร่วมงานเพื่อให้เกิดความพอใจ และ
รักษาระดับของปัจจัยอนามัยให้คงที่ เพื่อป้องกันมิให้เกิดความเบื่อหน่าย ท้อถอยในการทำงาน
ผู้วิจัยมีความคิดเห็นว่าประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ส่วนใหญ่มีผลมาจากปัจจัยอนามัย
และปัจจัยจูงใจ ได้แก่ โอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ความพอใจ
ในผลตอบแทน และความรักและภูมิใจในอาชีพการงาน ซึ่งเอาแนวคิดของเฮิร์ซเบิร์ก ครอบคลุม
ปัจจัยเหล่านี้ จึงได้นำแนวคิดนี้มาใช้ในการวิจัยครั้งนี้
1.3 ทฤษฎีการเสมอภาคของ อาดามส์
อาดามส์ (Adams : 1975 อ้างถึงใน สร้อยตระกูล (ติวยานนท์) อรรถยานะ 2541 :
117-118) โดยมีรากเหง้ามาจากทฤษฎีความไม่สอดคล้องของ ประชาชน (Cognitive Dissonance
Theory) และทฤษฎีแลกเปลี่ยน(Exchange Theory) ทฤษฎีเสมอภาคนี้กล่าวว่า คือการทุ่มเทในการ
ปฏิบัติงานและความพึงพอใจเป็นเรื่องของความเสมอภาค หรือความไม่เสมอภาค ซึ่งบุคคลรับรู้ใน
สถานการณ์ของการทำงานหนึ่ง ๆ ความเสมอภาคจะมีอยู่ก็ต่อเมื่อบุคคลรับรู้สัดส่วนของผลตอบ
แทนที่ตนได้จากองค์การกับสิ่งที่เขาทุ่มเทให้กับองค์กร เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับสัดส่วนของผล
ตอบแทนมีผู้อื่นได้จากองค์กรกับสิ่งที่ผู้อื่นทุ่มเทให้องค์กรนั้นเท่ากัน ดังนี้.-
ผลตอบแทนที่ตนได้จากองค์กร = ผลตอบแทนที่ผู้อื่นได้จากองค์กร
สิ่งที่ตนได้ทุ่มเทให้กับองค์กร = สิ่งที่ผู้อื่นได้ทุ่มเทให้กับองค์กร
และถ้าในทางตรงกันข้าม
ผลตอบแทนที่ตนได้จากองค์กร [ ผลตอบแทนที่ผู้อื่นได้จากองค์กร
ผลตอบแทนที่ตนได้จากองค์กร ] ผลตอบแทนที่ผู้อื่นได้จากองค์กร
จากผลตอบแทนที่บุคคลรับรู้ว่าเสมอภาคนั้นจะเป็นสิ่งที่บุคคลทุ่มเทให้กับองค์กรอันทำให้
บุคคลเกิดความพึงพอใจ เมื่อบุคคลเกิดความพึงพอใจ บุคคลจะทำงานหนักกว่าเดิมไปสู่ความมีประ
สิทธิภาพการปฏิบัติงานที่ดีกว่าเดิม ฉะนั้นผลตอบแทนเป็นสิ่งจูงใจ และความต้องการในการ
ปฏิบัติงาน ที่ส่งผลให้เกิดการปฏิบัติงานของพนักงานที่มีประสิทธิภาพ เพราะเป็นปัจจัยที่ผู้ปฏิบัติ
งานคิดว่าเหมาะสมกับการได้ทุ่มเทอย่างแท้จริงให้กับองค์กร ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของความต้องการใน
แต่ละบุคคล
3. แนวคิดเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน
ปัจจัยด้านความต้องการ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการปฏิบัติงาน ทำให้พนักงานเกิด
ความรู้สึกพอใจมากหรือน้อย ส่งผลให้เกิดการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพตามเป้าหมายขององค์กร
ที่กำหนดไว้ ได้มีนักวิชาการได้ให้องค์ประกอบที่มีปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน
ดังนี้.-
แวน เดอร์เซล (Van Dersal 1968 : 62-72) ได้ศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการ
ทำงาน ได้แก่
1. การปกครองบังคับบัญชา
2. เงินเดือน
3. ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใต้บังคับบัญชา และผู้บังคับบัญชา
4. ความสำเร็จในการทำงาน
5. การยอมรับทางสังคม
6. ลักษณะงาน
7. ความรับผิดชอบ
8. โอกาสก้าวหน้า
วัชรี ธุวธรรม และคณะ (2526 : 277-278) ได้ศึกษาการเล่นเกม เป็นกลุ่มสมาชิกทำงานร่วม
กันในกลุ่มเล็ก ๆ ในการพิจารณาสถานการณ์และผลที่ได้รับ องค์ประกอบสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการ
ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย
1. มีความสนใจในงานที่กระทำ
2. มีทักษะและความสามารถที่จำเป็นสำหรับงานนั้น
3. รู้สึกผูกพันธ์กับสิ่งที่กระทำอยู่
4. ได้รับความรู้สึกพอใจจากงานที่กระทำ
5. มีความเข้าใจเพียงพอว่าตนต้องทำอะไรและอย่างไร
6. มีเวลาพอที่จะทำงานนั้นให้เสร็จ
7. วางแผนอย่างพอเพียงว่าอะไรจำเป็นต้องทำ
8. จัดเวลาอย่างเหมาะสมและพอใจ
9. สามารถมองเห็นกระบวนการในการทำงาน
10. ฟังคนอื่นด้วยความตั้งใจ
11. แสดงความคิดเห็นส่วนตัว และข้อเสนอแนะ
12. ใช้จินตนาการและความคิดริเริ่มของตน
13. ทำอะไรด้วยความถูกต้องแม่นยำและระมัดระวัง
14. ให้ความร่วมมือ และเข้ากับคนอื่นได้ดี
15. ให้รางวัลแก่ตนเอง
กิลเมอร์ (Gilmer 1967 : 380–384 อ้างถึงใน ธานินทร์ สุทธิกุญชร 2543 : 28) ได้มีการศึกษา
วิจัยเกี่ยวกับองค์ประกอบที่ก่อให้เกิดความพอใจในการทำงานว่าขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้.-
1. ความมั่นคงปลอดภัย ได้แก่ ความมั่นคงในการทำงาน การได้รับความเป็น
ธรรมจากผู้บังคับบัญชา
2. โอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ได้แก่ การมีโอกาสได้เลื่อนตำแหน่งที่สูงขึ้น
3. การจัดการ ได้แก่ ความพอใจต่อสถานที่ที่ปฏิบัติงานอยู่รวมทั้งการดำเนินงาน
ในหน่วยงานนั้น
4. ค่าจ้างและค่าตอบแทน ได้แก่จำนวนเงินประจำที่ได้รับ และรายได้ที่จ่ายตอบ
แทนพิเศษที่หน่วยงานได้แก่ผู้ปฏิบัติงาน
5. ลักษณะงานที่ทำ ได้แก่ การได้ทำงานที่ตรงกับความรู้ ความสามารถ
6. การนิเทศงานหรือการฝึกอบรม ได้แก่ การให้โอกาสในการแสวงหาความรู้เพิ่ม
เติม โดยการศึกษาต่อ การฝึกอบรมการดูงาน
7. การติดต่อสื่อสาร ได้แก่ การติดต่อสัมพันธ์ทั้งภายใน และภายนอกหน่วยงาน
8. สภาพการทำงาน ได้แก่ ระบบสิ่งแวดล้อมในสถานที่ทำงานที่เหมาะกับการ
ปฏิบัติงาน
9. ลักษณะทางสังคม ได้แก่ความรู้สึกพอใจที่ผู้ปฏิบัติงานได้ร่วมกับผู้อื่นอย่างมี
ความสุข
10. สิ่งตอบแทนหรือผลประโยชน์ต่าง ๆ ได้แก่ ค่ารักษาพยาบาล กองทุนสำรอง
เลี้ยงชีพ สวัสดิการด้านอื่น ๆ เช่น บ้านพักพนักงาน เป็นต้น
สำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ (2536 : 11-12) ได้ศึกษาการจูงใจ
เห็นว่าการเสริมสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคคลจะขึ้นอยู่กับสิ่งจูงใจหรือเกิดการ
ปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพของบุคคลในหน่วยงาน ได้แก่
1. เงินเดือน
2. สวัสดิการหรือประโยชน์เกื้อกูล
3. ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน
4. การได้รับการยอมรับนับถือ
5. โอกาสที่จะได้รับความก้าวหน้า
6. การได้มีส่วนร่วมในการบริหาร
ดังนั้น ปัจจัยความต้องการที่ก่อให้เกิดความพอใจในการปฏิบัติงานเป็นสิ่งที่สำคัญ
มาก คือ หากผู้ปฏิบัติงานในองค์กรมีความพึงพอใจในการปฏิบัติสูง ย่อมนำไปสู่การปฏิบัติงานอย่าง
มีประสิทธิภาพ เช่น โอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ความรัก และภูมิใจในอาชีพ ความพอใจในผล
ตอบแทน ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน และการแสดงความคิดเห็นในงานเพื่อเป็นแรงกระตุ้นให้
เกิดประสิทธิภาพ การปฏิบัติงานสูงสุด
4. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ซานีชั่น (Chanesion 1975 : 5739 อ้างถึงใน สุรัชต์ มหัทธนทวี 2538 : 34) ได้ทำวิจัย เรื่อง
ลักษณะของความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน กิจกรรมนักศึกษาในมหาวิทยาลัย พบว่า
1. ความพึงพอใจในงานที่มีส่วนสัมพันธ์กับเงินเดือน
2. ผู้ที่มีความพึงพอใจในงานสูง มักเป็นผู้ที่มีตำแหน่งสูง เงินเดือนสูง มีการ
ศึกษาสูง ได้รับการยอมรับสถานภาพของงานดี งานมีความก้าวหน้า
สมบูรณ์ ไกรแก้ว (2532 : ฆ – จ) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการ
ปฏิบัติงานของข้าราชการครูในสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดนราธิวาส จำนวน 425 คน ผลการ
ศึกษาพบว่า ระดับเงินเดือนกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานครูที่อยู่ในระดับ 3.4 เป็นกลุ่มที่มีประ
สิทธิภาพในการปฏิบัติงานสูงกว่า ส่วนกลุ่มระดับ 1-2 เป็นกลุ่มที่มีประสิทธิภาพในการทำงานอยู่ใน
ระดับปานกลาง แต่ทั้ง 2 กลุ่ม ที่มีค่าไดส์-สแคว์ ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กับประสิทธิ
ภาพในการปฏิบัติงาน และค่า ไดส์-สแคว์ รวมของระดับเงินเดือนแล้วได้น้อยกว่า แสดงว่าระดับเงิน
เดือนจะไม่ทำให้ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05
อรสา โพธิ์ทอง (2537 : 1 – 2) ได้ศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน
ของพัฒนาการอำเภอ ในฐานะเลขานุการ กพอ. : ศึกษากรณีอำเภอ ในเขตศูนย์ช่วยเหลือทางการวิชา
การพัฒนาชุมชน เขตที่ 7 จำนวน 144 คน ประกอบด้วยสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน และพฤติ
กรรมในการปฏิบัติงานพัฒนาการอำเภอ โดยมีปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน คือ
นโยบายของผู้บริหารระดับอำเภอ ความสามารถทางสติปัญญาของพัฒนาการอำเภอ การปรึกษา
หารือระหว่างเพื่อน และการสร้างความรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน ซึ่งเมื่อพิจารณาการปฏิบัติงานให้มีประ
สิทธิภาพทุกด้าน พบว่าปัจจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมในการปฏิบัติงาน ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติ
งานของพัฒนาการอำเภอมากที่สุด
นิภา ทองไทย (2518 : ข – ค) ได้ศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพของตัวข้าราชการ
พลเรือนสามัญในสำนักนายกรัฐมนตรี พบว่าปัจจัยส่วนบุคคลของตัวข้าราชการ เช่น ความก้าวหน้า
ความรับผิดชอบต่องาน ขวัญและกำลังใจของข้าราชการ และปัจจัยภายนอก ได้แก่ สภาพความมั่น
คงในการทำงาน บรรยากาศที่ดีของงาน ความร่วมมือของผู้ร่วมงานและผู้บังคับบัญชา และระบบ
การบริหารที่ดีมีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน
สมโภช จัตุพร (2543 : 4 – 5) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง ความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการ
ปฏิบัติงานของพนักงานการไฟฟ้านครหลวง : ศึกษาเฉพาะกรณีพนักงานกองรายได้ จำนวน 204 คน
ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ด้านความสัมพันธ์ของภูมิหลัง ได้แก่ เพศ อายุ และระดับการ
ศึกษาที่แตกต่างกัน จะมีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานที่ไม่แตกต่างกัน
ขวัญใจ มีทิพย์ (2543 : 4 – 5) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง ปัจจัยจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพการ
ปฏิบัติงาน : ศึกษาเฉพาะกรณีกองพันปฏิบัติการพิเศษ 1 (คอมแมนโด) กองทัพอากาศ ผลการศึกษา
พบว่า
1. ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการพิเศษ กองพันปฏิบัติการ
พิเศษ 1 (คอมแมนโด) กองทัพอากาศ พบว่าอยู่ในระดับสูง
2. ปัจจัยจูงใจก่อให้เกิดประสิทธิภาพของเจ้าหน้าที่การพิเศษ ได้แก่ โอกาสก้าว
หน้าในหน้าที่การงาน และผลประโยชน์ตอบแทนมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพของเจ้าหน้าที่
ปฏิบัติการพิเศษ
ชาติชาย วงศ์พานิช (2541 : 212 – 213) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง ทัศนคติของพนักงานบริษัทการ
บินไทย จำกัด (มหาชน) ต่อโครงการรีเอ็นจิเนียริ่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 393 คน ผลการ
ศึกษาพบว่า มีทัศนคติเห็นด้วยต่อโครงการรีเอ็นจิเนียริ่ง ในระดับปานกลาง ปัจจัยที่มีอิทธิพล ได้แก่
อายุ ระดับตำแหน่ง ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ความจงรักภักดีต่อองค์กร และความคาดหวังต่อ
ความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่
อารีลักษณ์ แก้ววิเศษ (2538 : ค) ได้ค้นคว้าแบบอิสระเรื่อง ขวัญในการทำงานของพนักงาน
ระดับปฏิบัติการของธนาคารไทยทนุ จำกัด (มหาชน) สาขาภาคเหนือ ผลการศึกษาพบว่า สภาพขวัญ
ของพนักงานระดับขวัญ โดยรวมปานกลางค่อนข้างสูง โดยขวัญในเรื่องโอกาสก้าวหน้าในงาน
ความภูมิใจและพอใจในงานที่ทำ เรื่องนโยบายและการบริหารของธนาคาร และเรื่องผู้บังคับบัญชา
อยู่ในระดับสูง เรื่องรายได้สภาพแวดล้อมในการทำงาน เรื่องความมั่นคงปลอดภัยในงานที่ทำและ
อาชีพ ขวัญอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนเรื่องปริมาณงานและสภาพงาน เรื่องเพื่อนร่วมงาน สภาพ
ขวัญอยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างต่ำ
สุภาพ คนล้ำ (2540 : 1 – 2) ได้ศึกษาเรื่อง ขวัญในการปฏิบัติงานของพนักงานรัฐวิสาหกิจ
ศึกษาเฉพาะกรณีการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่ปฏิบัติงานอยู่ในส่วนกลางในเขตกรุงเทพมหานคร
ฝ่ายโยธา จำนวน 50 คน ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อขวัญของพนักงานการรถไฟ
แห่งประเทศไทยคือ
1. สภาพการปฏิบัติงาน โดยพิจารณาจากสถานีทำงาน วัสดุ อุปกรณ์ และเครื่อง
มือสื่อสาร และความสัมพันธ์ของผู้ร่วมงานในที่ทำงาน ผลการวิจัยพบว่า เป็นแรงจูงใจให้เกิดขวัญ
ในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับปานกลาง
2. เงินเดือน - ค่าตอบแทนจากการปฏิบัติงาน แรงจูงใจให้เกิดขวัญในการปฏิบัติ
งาน ผลจากการวิจัย อยู่ในระดับสูง มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.68
3. ความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา จากการปฏิบัติงาน
ผลการศึกษาวิจัยพบว่าอยู่ในระดับสูง มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.74
4. การเป็นส่วนหนึ่งในหน่วยงาน จากการปฏิบัติงาน ผลการวิจัยพบว่าอยู่ใน
ระดับสูง มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.78
5. เงินเดือนและค่าตอบแทนจากการปฏิบัติงาน พบว่าอยู่ในระดับสูง มีค่าเฉลี่ย
คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.98
6. ความมั่นคงจากการปฏิบัติงาน ผลการวิจัยพบว่าอยู่ในระดับสูง มีค่าคะแนน
เฉลี่ยเท่ากับ 3.14
กล่าวโดยสรุปว่าการวิจัย ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานการเดิน
รถ การรถไฟแห่งประเทศไทยนี้ จากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่ได้จากการอ้างอิง ในการปฏิบัติงานของ
พนักงานเดินรถนั้นมีปัจจัยหลายประการในการก่อให้เกิดการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ ได้แก่
โอกาสก้าวหน้าในการดำเนินงาน ความรักความภูมิใจในอาชีพการงาน ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วม
งาน การแสดงความคิดเห็นในงาน และความพอใจในผลตอบแทน ซึ่งล้วนมีความสำคัญกับการก่อ
ให้เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานค่อนข้างสูง โดยนำแนวคิด ทฤษฎี บทความ และงานวิจัยของผู้
มีประสบการณ์และนักวิชาการต่าง ๆ อาทิเช่น Maslow, Herbert และ Adams เป็นต้น ในภาพรวม
ของทุกคนกล่าวถึงว่าในการปฏิบัติงานของพนักงานในองค์กร ถือว่าบุคคลเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่
สุด การที่จะให้องค์กรประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย ต้องคำนึงถึงความต้องการ สิ่งจูงใจของ
พนักงานเป็นประการสำคัญบนพื้นฐานที่เป็นไปได้ เพื่อที่จะให้พนักงานเกิดความคิดความรู้สึกว่าตน
เองเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร ส่งผลให้เกิดการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยความขยันหมั่น
เพียร การทุ่มเทในการทำงาน ความรับผิดชอบ การเอาใจใส่งาน ความซื่อสัตย์สุจริต และความภักดี
ต่อองค์กร ซึ่งเป็นสิ่งที่องค์กรทุกองค์กรที่ต้องการจากผู้ปฏิบัติงาน
ฉะนั้นผู้วิจัยจึงได้นำตัวแปรต่าง ๆ จากแนวคิด ทฤษฎี บทความ และงานวิจัย มาประยุกต์
และดัดแปรงในการกำหนดหัวข้อที่สำคัญในการสร้างแบบสอบถามให้ครอบคลุมเนื้อหาและตรง
ประเด็น ในการวิจัยครั้งนี้
บทที่ 3
วิธีดำเนินการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ได้ใช้เทคนิคการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative methodology) โดยการศึกษา
ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย
เฉพาะฝ่ายการเดินรถ สังกัดกองจัดการเดินรถเขต 1 2 3 4 และ 5 ใช้เป็นหน่วยศึกษา มีวิธีดำเนิน
การศึกษาวิจัย ดังนี้.-
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
3. วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
4. การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1.1 ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ พนักงานการเดินรถ (เสมียน) เพศชาย
ฝ่ายการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย ที่ปฏิบัติงานอยู่ประจำสถานี ในปัจจุบัน ทั้งนี้เนื่องจาก
พนักงานการเดินรถส่วนใหญ่เป็นเพศชายถึงร้อยละ 97 ซึ่งฝ่ายการเดินรถนี้ประกอบด้วยสถานีแบ่ง
เป็น 5 เขต แต่ละเขตมีพนักงานเพศชายจำนวนแตกต่างกันจำนวนรวมทั้งสิ้น 630 คน ดังมีราย
ละเอียดใน ตารางที่ 2
ตารางที่ 2 จำนวนพนักงานการเดินรถ ของแต่ละเขต
ลำดับ กอง จำนวนพนักงานการเดินรถ
1. กองจัดการเดินรถเขต 1 220
2. กองจัดการเดินรถเขต 2 105
3. กองจัดการเดินรถเขต 3 108
4. กองจัดการเดินรถเขต 4 82
5. กองจัดการเดินรถเขต 5 115
รวม 630
ที่มา : แผนกการเจ้าหน้าที่ ฝ่ายการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย 2544
1.2 กลุ่มตัวอย่าง
ในการศึกษาวิจัยผู้วิจัยได้ดำเนินการโดยแบ่งเป็นขั้นตอนดังนี้.-
ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้วิธีคำนวณสูตรของ Taro
Yamane ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 โดยใช้สูตร (ยุทธพงษ์ กัยวรรณ์ 2543 : 83-84) ดังนี้.-
n =
เมื่อ n = กลุ่มตัวอย่าง
N = จำนวนประชากร
e = ความคลาดเคลื่อนนัยสำคัญ 0.05
วิธีทำ เมื่อ N = 630 คน
e = 0.05
n =
n =
n = 245
ดังนั้น ผู้วิจัยจึงกำหนดขนาดตัวอย่าง เป็น 245 คน
ขั้นตอนที่ 2 การสุ่มตัวอย่างแบบสัดส่วน (Proportion Stratified Random
Sampling) ในแต่ละเขต โดยใช้สูตร (สุจิตรา ปะภูสะโร 2541 : 60-61) ดังนี้.-
จำนวนตัวอย่างในแต่ละเขต =
ซึ่งจาการคำนวณสัดส่วนตามสูตรข้างต้น พบว่าได้จำนวน ตัวอย่างในแต่ละเขต เป็นจำนวน
แตกต่างกัน ดังมีรายละเอียดในตารางที่ 3
N
1+Ne2
630
1+(630)(0.05)2
2.57
630
จำนวนตัวอย่างทั้งหมด  จำนวนพนักงานในเขตนั้น
จำนวนพนักงานทั้งหมด
ตารางที่ 3 จำนวนกลุ่มตัวอย่างของพนักงานการเดินรถแต่ละเขต
ลำดับ เขต จำนวนพนักงานทั้งหมด จำนวนกลุ่มตัวอย่าง
1. กองจัดการเดินรถเขต 1 220 85
2. กองจัดการเดินรถเขต 2 105 41
3. กองจัดการเดินรถเขต 3 108 42
4. กองจัดการเดินรถเขต 4 82 32
5. กองจัดการเดินรถเขต 5 115 45
รวม 630 245
2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลของการวิจัยครั้งนี้ จะใช้แบบสอบถาม ซึ่งมีลักษณะ
คำถามแบบปลายปิด (Closed-Ended Question) ซึ่งมี 3 ส่วนใหญ ่ ๆ ดงั น้.ี -
ส่วนที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคล แบบให้เลือกตอบ จำนวน 5 ข้อ
ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา อัตราเงินเดือน ที่พักอาศัย และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน
ส่วนที่ 2 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยด้านการปฏิบัติงาน โดยมีเนื้อหา จำนวน 29
ข้อ แบ่งออกเป็น 5 ด้านคือ
1. ด้านโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงาน จำนวน 6 ข้อ คือข้อที่ 6-11
2. ด้านความรักและภูมิใจในอาชีพ การงาน จำนวน 6 ข้อ คือข้อที่ 12-17
3. ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน จำนวน 6 ข้อ คือข้อที่ 18-23
4. ด้านความมีอิสระในการแสดงความคิดเห็นในงาน จำนวน 5 ข้อ คือข้อที่ 24-28
5. ด้านความพอใจในผลตอบแทน จำนวน 6 ข้อ คือข้อที่ 29-34
และประกอบด้วยแบบสอบถามความคิดเห็นของพนักงานการเดินรถเกี่ยวกับประสิทธิภาพ
การปฏิบัติงาน จำนวน 18 ข้อ แบ่งออกเป็น 3 ด้าน ดังนี้.-
1. ด้านความขยันหมั่นเพียร จำนวน 6 ข้อ คือข้อที่ 35-40
2. ด้านความความรับผิดชอบ และความเอาใจใส่ในงาน จำนวน 6 ข้อ คือข้อที่ 41-46
3. ด้านความซื่อสัตย์ และภักดีต่อองค์กร จำนวน 6 ข้อ คือข้อที่ 47-52
ในแบบสอบถาม สำหรับส่วนที่ข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคลได้ใช้วิธีให้กลุ่มที่ทำการศึกษา
พิจารณาด้วยตัวเองว่าอยู่ในระดับใด ส่วนข้อมูลปัจจัยด้านการปฏิบัติงานได้อาศัยแนวคิด ทฤษฎี และ
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แบ่ง 5 ระดับ บุญชม ศรีสะอาด (2532 : 110 – 111) โดยใช้มาตราวัดแบบ ลิเคร์ท
(Likert’s Scale) โดยแบ่งออกได ้ ดงั น.ี้ -
1. เห็นด้วยอย่างยิ่ง
2. เห็นด้วย
3. ไม่แน่ใจ
4. ไม่เห็นด้วย
5. ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง
โดยคำถามในแบบสอบถามจะประกอบด้วยคำถามเชิงบวก (Positive Question) จำนวน 25
ข้อ และคำถามเชิงลบ (Negative Question) จำนวน 22 ข้อ
1.1 การสร้างเครื่องมือ และเกณฑ์กำหนดการวัดค่าตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือแบบสอบถาม โดยมีขั้นตอน ดังนี้.-
1.1.1 ศึกษาเอกสารและงานวิจัย ที่เกี่ยวข้องในอดีต เพื่อกำหนดและตรวจสอบ
ตัวแปรต่าง ๆ ที่ใช้ศึกษา และสอบถามจากผู้มีประสบการณ์เพื่อตรวจสอบ กำหนดตัวแปรและ
ขอบเขตข้อมูลในการกำหนดรูปแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา
1.1.2 การสร้างแบบสอบถาม เป็นเครื่องมือหลักของการวิจัยครั้งนี้ เพื่อใช้สอบ
ถามกลุ่มตัวอย่างให้ครอบคลุม และเหมาะสมกับพฤติกรรมที่มีประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของ
พนักงานการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย โดยยึดหลักตามกรอบข้อมูลที่ต้องการศึกษาด้วยการ
กำหนดลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบสำรวจให้เลือกตอบ ซึ่งได้กำหนดการวัดและเกณฑ์คะแนน
ค่าตัวแปร ดังนี้.-
ตัวแปรอิสระ
1. ปัจจัยส่วนบุคคล เป็นแบบสอบถามส่วนที่ 1 ลักษณะแบบสอบถามแบบให้
เลือกตอบ มีหลักเกณฑ์การให้คะแนนดังนี้
ลำดับ ตัวแปร ระดับการวัด การวัดและการให้ค่าตัวแปร
1 อายุ Nominal Scale
- อายุต่ำกว่า 30 ปี = 1
- อายุ 30 ปีขึ้นไป = 2
2 ระดับการศึกษา Ordinal Scale
- ต่ำกว่า อนุปริญญา = 1
- อนุปริญญาขึ้นไป = 2
3 อัตราเงินเดือน Ordinal Scale
- ต่ำกว่า 10,000 บาท = 1
- 10,000 บาทขึ้นไป = 2
4 ที่พักอาศัย Nominal Scale
- ที่พักอาศัยของทางราชการ = 1
- ที่พักอาศัยส่วนตัว = 2
5 ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน Nominal Scale
- ต่ำกว่า 10 ปี = 1
- 10 ปีขึ้นไป = 2
2. ปัจจัยด้านการปฏิบัติงาน เป็นแบบสอบถามส่วนที่ 2 ลักษณะแบบสอบถาม
เลือกให้ตอบ เกี่ยวกับความต้องการด้านการปฏิบัติการที่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน เป็น
แบบประมาณค่า (Rating Scale) มี 5 ระดับ และระดับการวัดแบบประเภทช่วง (Interval Scale)
จำนวน 29 ข้อ แบ่งเป็น 5 ด้าน ดังนี้.-
2.1 ด้านความต้องการโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
2.2 ด้านความรักและภูมิใจในอาชีพการงาน
2.3 ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน
2.4 ด้านความต้องการ ความมีอิสระในการแสดงความคิดเห็น
2.5 ด้านความพอใจในผลตอบแทน
หลักเกณฑ์การให้คะแนน มี 5 ระดับ ดังนี้
ความคิดเห็น คะแนน
คำถามเชิงบวก คำถามเชิงลบ
เห็นด้วยอย่างยิ่ง 5 1
เห็นด้วย 4 2
ไม่แน่ใจ 3 3
ไม่เห็นด้วย 2 4
ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง 1 5
ตัวแปรตาม
ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน เป็นแบบสอบถามลักษณะให้เลือกตอบ ในด้านการมี
ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานการเดินรถ เป็นแบบสอบถามแบบประมาณค่า (Rating
Scale) มี 5 ระดับ และระดับการวัดแบบประเภทช่วง (Interval Scale) จำนวน 18 ข้อ มีหลักเกณฑ์
การให้คะแนน ดังนี้.-
คะแนน
ระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน คำถามเชิงบวก คำถามเชิงลบ
เห็นด้วยอย่างยิ่ง 5 1
เห็นด้วย 4 2
ไม่แน่ใจ 3 3
ไม่เห็นด้วย 2 4
ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง 1 5
1.2 การพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
หลังจากได้สร้างเครื่องมือที่จะใช้ในการวิจัยแล้ว ผู้วิจัยได้ทำการตรวจสอบให้ได้
คุณภาพของเครื่องมือ และดำเนินการปรับปรุงแก้ไข โดยมีลำดับขั้นตอน ดังนี้.-
1.2.1 การตรวจสอบความตรงของเครื่องมือ (Validity) และนำแบบสอบถามที่
สร้างขึ้นไปหาความตรงตามเนื้อหา (Content Validity) โดยปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ด้านวิทยานิพนธ์
จำนวน 3 ท่าน และผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์โดยตรง ทางด้านการบริหารระดับหัวหน้ากองจัด
การเดินรถเขต 1 สารวัตรงานสถานีกรุงเทพ และพนักงานการเดินรถ 7 รวม จำนวน 4 ท่าน ตรวจ
สอบพิจารณาเครื่องมือที่สร้างขึ้นในด้านเนื้อหาคำถาม เพื่อให้ได้คำถามที่ครอบคลุมและวัดได้ตรง
ตามที่ต้องการวัด ในการพิจารณาแก้ไขและเพิ่มเติม ข้อประเด็นคำถาม คำตอบ ที่ชัดเจน ถูกต้อง และ
สอดคล้องโดยเฉพาะให้เหมาะสมทั้งด้านภาษาและความถูกต้องในเนื้อหา ตามความคิดเห็น และข้อ
เสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อนำไปใช้ทดลองในภาคสนามเพื่อตรวจสอบเครื่องมือ และความ
เหมาะสมกับสถานการณ์จริงซึ่งได้รับความอนุเคราะห์จากผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้มี
ประสบการณ์ ดังนี้.-
- อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
- หัวหน้ากองจัดการเดินรถเขต 1 การรถไฟแห่งประเทศไทย
- สารวัตรงานสถานีกรุงเทพ การรถไฟแห่งประเทศไทย
- พนักงานการเดินรถ 7 กองจัดการเดินรถเขต 1 การรถไฟแห่งประเทศไทย
- พนักงานการเดินรถ 7 งานเดินรถแขวงฉะเชิงเทรา การรถไฟแห่งประเทศไทย
1.1.2 การทดลองนำเครื่องมือไปทดลองใช้ (Try out) นำเครื่องมือที่ปรับปรุง
แก้ไขแล้วไปทดลองใช้ในภาคสนามกับพนักงานการเดินรถ จำนวน 20 คน ซึ่งเป็นพนักงานการ
เดินรถ กองจัดการเดินรถเขต 1 และงานเดินรถแขวงกรุงเทพ ฝ่ายการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศ
ไทย
1.1.3 การตรวจสอบอำนาจจำแนกรายข้อของเครื่องมือ (Discrimination) ผู้วิจัย
นำข้อมูลในแบบวัดที่ได้จากแบบสอบถามกลุ่มทดลองในภาคสนาม ตรวจสอบคุณภาพด้วยอำนาจ
จำแนกรายข้อของข้อคำถามแต่ละข้อ ด้วยการทดลองความแตกต่างของค่าเฉลี่ย (X) ระหว่างกลุ่มสูง
และกลุ่มต่ำตามเทคนิค 25% ของ ลิเคร์ท (Likert) โดยเรียงคะแนนจากมากไปหาน้อย แบ่งเป็นกลุ่ม
สูง 25% ของจำนวน 20 คน เท่ากับ 5 คน ต่ำ 25% ของจำนวน 20 คน เท่ากับ 5 คน แล้วนำมาเปรียบ
เทียบกันด้วยสูตร t-test คัดเลือกเฉพาะข้อที่มีค่า t ตั้งแต่ 2.0 ขึ้นไป ซึ่งถือว่ามีอำนาจจำแนกที่ใช้ได้
ในการนำไปใช้จริง (ประคอง กรรณสูตร 2535 : 26)
1.1.4 การตรวจสอบความเที่ยงหรือระดับความเชื่อมั่นของเครื่องมือ (Reliability)
หลังจากปรับปรุงแก้ไขข้อคำถามที่ได้จากการตรวจสอบอำนาจจำแนกแล้วนำข้อคำถามดังกล่าวไป
ตรวจสอบความเที่ยงเพื่อวัดความสอดคล้อง (ยุทธพงศ์ กัยวรรณ์ 2543 : 137) โดยใช้วิธีคำนวณหา
ความเชื่อมั่นของ Cronbach ซึ่งเรียกว่า “ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า” (Alpha Coefficient)
ϒ =



θ
Κ
Κ 2
2
S
1 S
K 1
K i
t
โดยที่ ϒ = แทน ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่น
K = แทน จำนวนข้อของเครื่องมือ
S2
i = แทน ผลรวมของความแปรปรวนแต่ละข้อ
S2
t = แทน ความแปรปรวนของคะแนนรวม
การคำนวณหาค่าประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ที่มาจากปัจจัยด้านการปฏิบัติงานโดยคำนวณ
หาค่าความเที่ยงจากแบบสอบถามที่เกี่ยวกับด้านโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ด้านความรักและ
ภูมิใจในอาชีพการงาน ด้านความพอใจในผลตอบแทน ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ด้าน
ความมีอิสระในการแสดงความคิดเห็นในงาน จากการคำนวณหาค่าความเที่ยงจากประสิทธิภาพการ
ปฏิบัติงาน พบว่า ความเชื่อมั่นมีค่าเท่ากับ 0.8086
1.1.5 หลังจากนี้ นำเครื่องมือแบบสอบถามที่ใช้ทดลองในชุดเดียวกันมาปรับ
ประเด็นคำถามของเครื่องมือขั้นสุดท้าย จากการที่ได้ค้นพบทั้งหมด ทั้งด้านการใช้ภาษาในข้อคำถาม
ให้เข้าใจตรงกันให้มีความชัดเจน ตลอดทั้งมีความเหมาะสมในการนำไปใช้ภายใต้เงื่อนไขด้านเวลา
และสภาพแวดล้อมต่าง ๆ แล้วจึงนำไปทำการสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างจริง
3. วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยดำเนินการด้วยตนเองโดยใช้วิธีจัดแบบสอบถามกับกลุ่มตัว
อย่าง ซึ่งจะดำเนินการเป็นขั้นตอน ดังนี้.-
1.1 ผู้วิจัยทำหนังสือแนะนำตัวพร้อมแจ้งวัตถุประสงค์ของการวิจัยจากบัณฑิตวิทยาลัย
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ถึงหัวหน้ากองจัดการเดินรถเขต 1 2 3 4 และ 5 เพื่อขอความ
อนุเคราะห์ในการประสานงานกับหน่วยงาน กลุ่มตัวอย่าง อยู่ในความรับผิดชอบของกองจัดการเดิน
รถเขต 1 2 3 4 และ 5 เพื่อขอความร่วมมือและอำนวยความสะดวกต่อการนัดหมาย จัดทำแบบ
สอบถาม พนักงานการเดินรถของหน่วยงานกลุ่มตัวอย่าง
1.2 ผู้วิจัยประสานงานกับแผนกการเจ้าหน้าที่ประวัติและอัตรากำลังของพนักงาน ที่
ฝ่ายการเดินรถ เพื่อขอสำรวจพนักงาน หน่วยงานกลุ่มตัวอย่าง รวมทั้งข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการ
ศึกษาวิจัย
1.3 ผู้วิจัยได้ดำเนินการติดต่อหน่วยงานกลุ่มตัวอย่าง จัดทำแบบสอบถามด้วยตนเอง
ใช้เวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากพนักงานการเดินรถ ในส่วนนี้รวมระยะเวลาทั้งสิ้น 45 วัน ใน
ระหว่างวันที่ 15 กุมภาพันธ์ – 1 เมษายน 2545
1.4 ในระหว่างเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม ผู้วิจัยได้ทำการจดบันทึกปัญหา วิธีการ
แก้ปัญหา สภาพแวดล้อม และข้อสังเกตอื่น ๆ เพื่อนำมาศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นจากการจัดทำแบบสอบ
ถาม ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการแก้ปัญหาในการบริหารงาน
1.5 หลังจากได้ทำแบบสอบถามของพนักงานกลุ่มตัวอย่าง ได้ครบตามเป้าหมายแล้ว
ผู้วิจัยจะได้รวบรวมและจัดระเบียบข้อมูลและนำเสนอผลการวิจัยต่อไป
4. การวิเคราะห์ข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์
ผู้วิจัยนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้จากกลุ่มตัวอย่างมาทำ การวิเคราะห์โดยจำแนกการ
วิเคราะห์ออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้.-
4.1 ข้อมูลที่ได้จากการใช้แบบสอบถาม จะใช้วิธีการวิเคราะห์ในเชิงปริมาณโดย
แปลงเป็นค่าคะแนนหรือกำหนดรหัสคำตอบเป็นตัวเลข ได้แก่ โอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
ความรักและภูมิใจในอาชีพการงาน ความพอใจในผลตอบแทน ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน การ
แสดงความคิดเห็นในงาน ซึ่งใช้อัตราวัดแบบ ลิเคร์ท (Likert’s Scale) วัดประเมินค่า 5 ระดับกำหนด
เกณฑไ์ ดค้ ะแนนไวด้ งั น.ี้ -
ความคิดเห็น คะแนน
คำถามเชิงบวก คำถามเชิงลบ
เห็นด้วยอย่างยิ่ง 5 1
เห็นด้วย 4 2
ไม่แน่ใจ 3 3
ไม่เห็นด้วย 2 4
ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง 1 5
1.2 การแปลผลจากคะแนนของแบบสอบถาม โดยรวมคะแนนจากแบบสอบถาม
จำนวน 47 ข้อ แล้วนำค่าเฉลี่ย (X) มาปรับใช้เปรียบเทียบโดยกำหนดเกณฑ์ 2 ระดับ (บุญชม
ศรีสะอาด 2532 : 111) ดังนี้.-
ค่า
เฉลี่ย
การแปลความหมายความคิดเห็น
1.00-2.50 อยู่ในระดับต่ำ
2.51-5.00 อยู่ในระดับสูง
1.3 การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างนำมา
วิเคราะห์ทำการลงรหัส จากนั้นได้นำไปวิเคราะห์ตามระเบียบทางสถิติ โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ ด้วย
โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS / PC+ (Statistical Package for Social Science/PC+) ได้ใช้ทดสอบความ
สัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยด้านการปฏิบัติงานที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ซึ่ง
จำแนกออกเป็น 4 กลุ่มโดยมีค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ดังนี้.-
1.1.1 การแจกแจงความถี่ (Frequency Distribution) และค่าร้อยละ (Percentage)
ใช้อธิบายเกี่ยวกับรายละเอียดส่วนตัวของกลุ่ม ตัวอย่างกับตัวแปรทุกตัว ซึ่งประกอบด้วย อายุ การ
ศึกษา อัตราเงินเดือน ที่พักอาศัย และประสบการณ์ในการทำงาน
1.1.2 ค่ามัชฌิมเลขคณิต (Arithmetic Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
(Standard Deviation) ใช้อธิบายเกี่ยวกับระดับความคิดเห็นซึ่งประกอบด้วย โอกาสก้าวหน้าในหน้า
ที่การงาน ความรักและภูมิใจในอาชีพการงาน ความพอใจในผลตอบแทน ความสัมพันธ์กับเพื่อน
ร่วมงาน ความมีอิสระในการแสดงความคิดเห็นในงาน
1.1.3 การทดสอบค่า t-test ใช้อธิบายในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อหาความแตกต่าง
ทางสถิติ ปัจจัยส่วนบุคคล ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานการเดินรถ การรถไฟ
แห่งประเทศไทย ในการวิจัยครั้งนี้ โดยใช้ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (ϒ = 0.05)
1.1.4 การทดสอบค่า Chi – Square ใช้อธิบายในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อหาความ
สัมพันธ์ทางสถิต ิ ปัจจัยด้านการปฏิบัติงานที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่าย
การเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย โดยใช้ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (ϒ = 0.05)
บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของ
พนักงานการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย คือพนักงานการเดินรถ เฉพาะเพศชาย ฝ่ายการเดิน
รถ การรถไฟแห่งประเทศไทย ที่ปฏิบัติอยู่ประจำสถานีทั่วประเทศ จำนวน 245 คน ด้วยการใช้แบบ
สอบถาม ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และมีการทดสอบเพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ โดยใช้โปรแกรม
สำเร็จรูป สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์ SPSS / PC+ (Statistical Package for Social Science/PC+)
ในการวิเคราะห์ ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิเคราะห์ นำเสนอผลการวิจัยออกเป็น 2 ส่วน ดังต่อไปนี้
ส่วนที่ 1 ผลการวิเคราะห์การวิจัยลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง
ส่วนที่ 2 ผลการทดสอบสมมติฐานของการวิจัย
ส่วนที่ 1 ผลการวิเคราะห์ลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง
ตารางที่ 4 จำนวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามอายุ
อายุ จำนวน (คน) ร้อยละ
ต่ำกว่า 30 ปี 145 59.2
30 ปี ขึ้นไป 100 40.8
รวม 245 100
จากตารางที่ 4 ผลการวิเคราะห์พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุต่ำกว่า 30 ปี จำนวน
145 คน คิดเป็นร้อยละ 59.2 และอาย ุ 30 ปีขึ้นไป จาํ นวน 100 คน คิดเป็นร้อยละ 40.8
ตารางที่ 5 จำนวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามระดับการศึกษา
ระดับการศึกษา จำนวน (คน) ร้อยละ
ต่ำกว่าอนุปริญญา 196 80
อนุปริญญาขึ้นไป 49 20
รวม 245 100
จากตารางที่ 5 ผลการวิเคราะห์พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาต่ำกว่า
อนุปริญญา จำนวน 196 คน คิดเป็นร้อยละ 80 และระดับการศึกษา อนุปริญญาขึ้นไป จำนวน
49 คน คิดเป็นร้อยละ 20
ตารางที่ 6 จำนวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามอัตราเงินเดือน
อัตราเงินเดือน จำนวน (คน) ร้อยละ
ต่ำกว่า 10,000 บาท 222 90.6
10,000 บาท ขึ้นไป 23 9.4
รวม 245 100
จากตารางที่ 6 ผลการวิเคราะห์พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีเงินเดือนต่ำกว่า 10,000
บาท จำนวน 222 คน คิดเป็นร้อยละ 90.6 และอัตราเงินเดือน 10,000 บาทขึ้นไป จำนวน 23 คน
คิดเป็นร้อยละ 9.4
ตารางที่ 7 จำนวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามที่พักอาศัย
ที่
พักอาศัย
จำนวน (คน) ร้อยละ
ทางราชการ 203 82.9
ส่วนตัวหรือเช่าอาศัย 42 17.1
รวม 245 100
จากตารางที่ 7 ผลการวิเคราะห์พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีที่พักอาศัยทางราชการ
จำนวน 203 คน คิดเป็นร้อยละ 82.9 และที่พักอาศัยส่วนตัวหรือเช่าอาศัย จำนวน 42 คน คิด
เป็นร้อยละ 17.1
ตารางที่ 8 จำนวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามประสบ
การณ์ในการปฏิบัติงาน
ประสบการณ์ในการปฏิบัติ
งาน
จำนวน (คน) ร้อยละ
ต่ำกว่า 10 ปี 187 76.3
10 ปี ขึ้นไป 58 23.7
รวม 245 100
จากตารางที่ 8 ผลการวิเคราะห์พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่กลุ่มที่มีประสบการณ์ใน
การปฏิบัติงานต่ำกว่า 10 ปี จำนวน 187 คน คิดเป็นร้อยละ 76.3 และกลุ่มที่มีประสบการณ์
ปฏิบัติงาน 10 ปีขึ้นไป จำนวน 58 คน คิดเป็นร้อยละ 23.7
ส่วนที่ 2 ผลการทดสอบสมมติฐานของการวิจัย
สมมติฐานที่ 1 ปัจจัยส่วนบุคคลกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน
1.1 พนักงานการเดินรถที่มีอายุสูง มีประสิทธิภาพการปฏิบัติงานสูงกว่าพนักงานการเดินรถ
ที่มีอายุต่ำ
ตารางที่ 9 ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานจำแนกตามอายุ
อายุ จำนวน X S.D F t Sig
ระดับต่ำ145 4.1582 0.41109
ระดับสูง 100 4.2244 0.58736 1.669 -1.038 0.300
จากตารางที่ 9 ผลการวิเคราะห์ความแตกต่างของระดับความคิดเห็นแยกตามอายุ ที่มี
ผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานการเดินรถ พบว่าไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่
ระดับ 0.05 หมายความว่า พนักงานการเดินรถที่มีอายุสูง มีประสิทธิภาพการปฏิบัติงานสูงกว่า
พนักงานการเดินรถที่มีอายุต่ำ ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนดไว้
1.2 พนักงานการเดินรถที่มีระดับการศึกษาสูง มีประสิทธิภาพการปฏิบัติงานสูงกว่า
พนักงานการเดินรถที่มีระดับการศึกษาต่ำ
ตารางที่ 10 ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานจำแนกตามระดับการศึกษา
ระดับการศึกษา จำนวน X S.D F t Sig
ระดับต่ำ196 4.1655 0.46221
ระดับสูง 49 4.2642 0.58997 1.62 -1.26 0.290
จากตารางที่ 10 ผลการวิเคราะห์ความแตกต่างของระดับความคิดเห็น แยกตามระดับ
การศึกษา ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานการเดินรถ พบว่าไม่มีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ 0.05 หมายความว่า พนักงานการเดินรถที่มีระดับการศึกษาสูง มีประสิทธิภาพ
การปฏิบัติงานสูงกว่าพนักงานการเดินรถที่มีระดับการศึกษาต่ำ ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่
กำหนดไว้
1.3 พนักงานการเดินรถที่มีอัตราเงินเดือนสูง มีประสิทธิภาพการปฏิบัติงานสูงกว่าพนักงาน
การเดินรถที่มีอัตราเงินเดือนต่ำ
ตารางที่ 11 ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานจำแนกตามอัตราเงินเดือน
อัตราเงินเดือน จำนวน X S.D F t Sig
ระดับต่ำ222 4.1907 0.50294
ระดับสูง 23 4.1329 0.35523 0.746 -1.038 0.592
จากตารางที่ 11 ผลการวิเคราะห์ความแตกต่างของระดับความคิดเห็น แยกตามอัตรา
เงินเดือน ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานการเดินรถ พบว่าไม่มีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ 0.05 หมายความว่า พนักงานการเดินรถที่มีอัตราเงินเดือนสูง มีประสิทธิภาพ
การปฏิบัติงานสูงกว่าพนักงานการเดินรถที่มีระดับเงินเดือนต่ำ ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่
กำหนดไว้
1.4 พนักงานการเดินรถที่มีที่พักอาศัยของทางราชการ มีประสิทธิภาพการปฏิบัติงานสูงกว่า
พนักงานการเดินรถที่พักอาศัยส่วนตัว/ เช่าอาศัย
ตารางที่ 12 ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานจำแนกตามที่พักอาศัย
ที่พักอาศัย จำนวน X S.D F t Sig
ทางราชการ 203 4.1828 0.5014
ส่วนตัว/ เช่าอาศัย 42 4.1971 0.44057 0.18 -0.171 0.864
จากตารางที่ 12 ผลการวิเคราะห์ความแตกต่างของระดับความคิดเห็น แยกตามที่พัก
อาศัย ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานการเดินรถ พบว่าไม่มีนัยสำคัญทาง
สถิติที่ระดับ 0.05 หมายความว่า พนักงานการเดินรถที่มีที่พักอาศัยของทางราชการ มีประสิทธิ
ภาพการปฏิบัติงานสูงกว่าพนักงานการเดินรถที่มีที่พักส่วนตัว/ เช่าอาศัย ซึ่งเป็นไปตามสมมติ
ฐานที่กำหนดไว้
1.5 พนักงานการเดินรถที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานสูง มีประสิทธิภาพการปฏิบัติ
งานสูงกว่าพนักงานการเดินรถที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานต่ำ
ตารางที่ 13 ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติ
งาน
ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน จำนวน X S.D F t Sig
ต่ำกว่า 10 ปี 145 4.1582 0.41109
10 ปีขึ้นไป 100 4.2244 0.58736 1.669 -1.038 0.300
จากตารางที่ 13 ผลการวิเคราะห์ความแตกต่างของระดับความคิดเห็น แยกตามประสบ
การณ์ในการปฏิบัติงาน ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานการเดินรถ พบว่า
ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 หมายความว่า พนักงานการเดินรถที่มีประสบการณ์ในการ
ปฏิบัติงานมาก มีประสิทธิภาพการปฏิบัติงานสูงกว่าพนักงานการเดินรถที่มีประสบการณ์ใน
การปฏิบัติงานน้อย ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนดไว้
สมมติฐานที่ 2 ปัจจัยด้านการปฏิบัติงาน กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน
2.1 พนักงานการเดินรถที่มีโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงานมีประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน
สูงกว่าพนักงานการเดินรถที่มีโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงานต่ำ
ตารางที่ 14 ความสัมพันธ์ของโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงานกับประสิทธิภาพการปฏิบัติ
งานของพนักงานการเดินรถ
ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
สูง ต่ำรวม ∂
2 Sig
สูง 136 109 245 2.976 0.085
จากตารางที่ 14 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของพนักงานการเดินรถที่มีโอกาสความ
ก้าวหน้าในหน้าที่การงาน กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานการเดินรถ พบว่าไม่มี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 หมายความว่า พนักงานการเดินรถที่มีโอกาสความก้าวหน้าใน
หน้าที่การงานสูงกว่าพนักงานการเดินรถที่มีโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงานต่ำ ซึ่งเป็นไป
ตามสมมติฐานที่กำหนดไว้
2.2 พนักงานการเดินรถที่มีความรักและความภูมิใจในอาชีพการงานสูง มีประสิทธิภาพการ
ปฏิบัติงานสูงกว่าพนักงานการเดินรถที่มีความรักและความภูมิใจในอาชีพการงานต่ำ
ตารางที่ 15 ความสัมพันธ์ของความรักและความภูมิใจในอาชีพการงาน กับประสิทธิภาพการ
ปฏิบัติงานของพนักงานการเดินรถ
ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ความรักและความภูมิใจ
สูง ต่ำรวม ≤
2 Sig
สูง 241 4 245 229.261 0.000
จากตารางที่ 15 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของความรักและความภูมิใจ กับประ
สิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานการเดินรถ พบว่ามีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 หมาย
ความว่า พนักงานการเดินรถที่มีความรักและความภูมิใจสูง มีประสิทธิภาพการปฏิบัติงานไม่
สูงกว่าพนักงานการเดินรถที่มีความรักและความภูมิใจต่ำ ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่
กำหนดไว้
2.3 พนักงานการเดินรถที่มีความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานดี มีประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน
สูงกว่าพนักงานการเดินรถที่มีความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานไม่ดี
ตารางที่ 16 ความสัมพันธ์ของความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน
ของพนักงานการเดินรถ
ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน
ดี ไม่ดี รวม ∂
2 Sig
สูง 220 25 245 155.204 0.000
จากตารางที่ 16 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน กับ
ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานการเดินรถ พบว่ามีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
หมายความว่า พนักงานการเดินรถที่มีความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานดี มีประสิทธิภาพการ
ปฏิบัติงานไม่สูงกว่าพนักงานการเดินรถที่มีความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานไม่ดี ซึ่งไม่เป็นไป
ตามสมมติฐานที่กำหนดไว้
2.4 พนักงานการเดินรถที่มีอิสระในการแสดงความคิดเห็นในงานสูงมีประสิทธิภาพการ
ปฏิบัติงานสูงกว่าพนักงานการเดินรถที่มีความมีอิสระในการแสดงความคิดเห็นในงานต่ำ
ตารางที่ 17 ความสัมพันธ์ของความมีอิสระในการแสดงความคิดเห็นในงาน กับประสิทธิภาพ
การปฏิบัติงานของพนักงานการเดินรถ
ความมีอิสระในการแสดงความ
ประสิทธิภาพ การปฏิบัติงาน คิดเห็นในงาน
สูง ต่ำรวม

2 Sig
สูง 236 9 245 210.322 0.000
จากตารางที่ 17 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของความมีอิสระในการแสดงความคิด
เห็นในงาน กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานการเดินรถ พบว่ามีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ 0.05 หมายความว่า พนักงานการเดินรถที่มีอิสระในการแสดงความคิดเห็นในงานสูง
มีประสิทธิภาพการปฏิบัติงานไม่สูงกว่า พนักงานการเดินรถที่มีอิสระในการแสดงความคิด
เห็นในงานต่ำ ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนดไว้
2.5 พนักงานการเดินรถที่มีความพอใจในผลตอบแทนสูงมีประสิทธิภาพการปฏิบัติงานสูง
กว่าพนักงานการเดินรถที่มีความพอใจในผลตอบแทนต่ำ
ตารางที่ 18 ความสัมพันธ์ของความพอใจในผลตอบแทน กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของ
พนักงานการเดินรถ
ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ผลตอบแทนในงาน
สูง ต่ำรวม ∂
2 Sig
สูง 228 17 245 181.718 0.000
จากตารางที่ 18 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของพนักงานการเดินรถที่มีผลตอบแทน
สูง กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานการเดินรถ พบว่ามีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
0.05 หมายความว่า พนักงานการเดินรถที่มีผลตอบแทนในงานสูง มีประสิทธิภาพการปฏิบัติ
งานไม่สูงกว่าพนักงานการเดินรถที่มีผลตอบแทนในงานต่ำ ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่
กำหนดไว้
สรุปผลการทดสอบสมมติฐาน
1. ปัจจัยส่วนบุคคลกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน
พนักงานการเดินรถที่ดีมีอายุสูง ระดับการศึกษาสูง อัตราเงินเดือนสูง ที่
พักอาศัยของทางราชการ และมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานมาก มีประสิทธิภาพ
การปฏิบัติงานสูงกว่า พนักงานการเดินรถที่มีอายุต่ำ ระดับการศึกษาต่ำ อัตราเงินเดือน
ต่ำ มีที่พักอาศัยส่วนตัวหรือเช่าอาศัย และประสบการณ์ในการปฏิบัติงานน้อย ผลการ
ทดสอบสมมติฐาน พบว่า ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งหมายความว่า เป็น
ไปตามสมมติฐานที่กำหนดไว้ทุกประเด็น
2. ปัจจัยด้านการปฏิบัติงานกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน
พนักงานการเดินรถที่มีโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงานสูง มีประสิทธิภาพการ
ปฏิบัติงานสูงกว่าพนักงานการเดินรถที่มีโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงานต่ำ ผลการทดสอบ
สมมติฐาน พบว่า ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งเป็นตามสมมติฐานที่กำหนดไว้
ส่วนพนักงานการเดินรถที่มีความรักและความภูมิใจในอาชีพการงานสูงมีความ
สัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานดี มีอิสระในการแสดงความคิดเห็นในงานสูง และความพอใจในผล
ตอบแทนสูง มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานไม่สูงกว่าพนักงานการเดินรถที่มีความรักและ
ความภูมิใจในอาชีพการงานต่ำ มีความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานไม่ดี มีอิสระในการแสดง
ความคิดเห็นในงานต่ำ และความพอใจในผลตอบแทนต่ำ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่ามี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 หมายความว่า พนักงานการเดินรถที่มีความรักและความภูมิใจ
สูง ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานดี มีอิสระในการแสดงความคิดเห็นในงานสูง และความพอ
ใจในผลตอบแทนสูง ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนดไว้
บทที่ 5
สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
การศึกษาวิจัย เรื่องปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานการเดินรถ
การรถไฟแห่งประเทศไทย เฉพาะพนักงานเดินรถเพศชาย ระดับ 3-5 ซึ่งได้ปฏิบัติงานอยู่ประจำ
สถานีในปัจจุบันทั่วประเทศ เป็นการศึกษาเพื่อให้ได้ทราบถึงประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน และปัจจัย
ต่าง ๆ มีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นของพนักงานการเดินรถ มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน
ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้นำปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานมาทำการ
ศึกษา โดยแยกเป็นตัวแปรอิสระคือ ปัจจัยส่วนบุคคล ซึ่งประกอบด้วย อายุ ระดับการศึกษา อัตราเงิน
เดือน ที่พักอาศัย และประสบการณ์ในการทำงาน ปัจจัยด้านปฏิบัติงาน ซึ่งประกอบด้วย โอกาสก้าว
หน้าในหน้าที่การงาน ความรักและความภูมิใจในอาชีพการงาน ความสัมพันธ์กับเพื่อน ร่วมงาน
และความพอใจในผลตอบแทน ส่วนตัวแปรตาม คือ ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ซึ่งประกอบด้วย
ความขยันหมั่นเพียร ความรับผิดชอบ/ เอาใจใส่ในงาน และความซื่อสัตย์/ ภักดีต่อ องค์กร
สำหรับการวิจัยผู้วิจัยได้ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้กลุ่มตัวอย่าง พนักงานการเดินรถ
การรถไฟแห่งประเทศไทยจำนวน 245 คน การศึกษาวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสัดส่วน (Proportional
Stratified Random Sampling) โดยใช้แบบสอบถามที่สร้างขึ้นจากกรอบแนวความคิด ทฤษฎี งาน
วิจัยที่เกี่ยวข้อง และพนักงานการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบ
รวมข้อมูล ในการวิจัยเป็นลักษณะแบบสอบถาม และได้รับแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างมาทั้งหมด
245 ชุด คิดเป็นร้อยละ 100 ซึ่งได้นำข้อมูลมาประมวลผลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จ SPSS / PC+
(Statistical Package for Social Science/PC+) สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ
การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t – test และค่า Chi – Square ตามลำดับ
สรุปผลของการวิจัย
4. ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานการเดินรถเพศชาย ฝ่ายการเดินรถ การรถไฟ
แห่งประเทศไทย ในภาพรวมอยู่ในระดับสูง
5. ข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง
5.1 อายุ ส่วนใหญ่มีอายุต่ำกว่า 30 ปี คิดเป็นร้อยละ 59.2 ส่วนอายุที่สูงกว่า 30 ปีขึ้นไป
คิดเป็นร้อยละ 40.8
5.2 ระดับการศึกษา ส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาต่ำกว่าระดับอนุปริญญา คิดเป็นร้อยละ
80.0 ส่วนระดับการศึกษาตั้งแต่อนุปริญญาขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 20.0
5.3 อัตราเงินเดือน ส่วนใหญ่อัตราเงินเดือนต่ำกว่า 10,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 90.6
ส่วนอัตราเงินเดือนตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไปคิดเป็นร้อยละ 9.4
5.4 ที่พักอาศัย ส่วนใหญ่มีที่พักอาศัยของทางราชการ คิดเป็นร้อยละ 82.9 ส่วนที่มีที่พัก
อาศัยส่วนตัวหรือเช่าอาศัยคิดเป็นร้อยละ 17.1
5.5 ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ส่วนใหญ่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานต่ำกว่า
10 ปี คิดเป็นร้อยละ 76.3 ส่วนที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานสูงกว่า 10 ปีขึ้นไปคิดเป็นร้อยละ
23.7
6. ผลการทดสอบสมมติฐาน
จากการวิเคราะห์ข้อมูลความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล กับปัจจัยด้านปฏิบัติงาน
ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทยมีทิศทาง
ความสัมพันธ์ ดังนี้.-
6.1 ปัจจัยส่วนบุคคลกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ผลการทดสอบพบว่า
6.1.1 พนักงานการเดินรถที่มีอายุสูง มีประสิทธิภาพการปฏิบัติงานสูงกว่า
พนักงานการเดินรถที่มีอายุน้อย
6.1.2 พนักงานการเดินรถที่มีระดับการศึกษาสูง มีประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน
สูงกว่าพนักงานการเดินรถที่มีระดับการศึกษาน้อย
6.1.3 พนักงานการเดินรถที่มีอัตราเงินเดือนสูง มีประสิทธิภาพการปฏิบัติงานสูง
กว่าพนักงานการเดินรถที่มีอัตราเงินเดือนต่ำ
6.1.4 พนักงานการเดินรถที่มีที่พักอาศัยของทางราชการ มีประสิทธิภาพการ
ปฏิบัติงานสูงกว่าพนักงานการเดินรถที่มีที่พักอาศัยส่วนตัว หรือเช่าอาศัย
6.1.5 พนักงานการเดินรถที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานมาก มีประสิทธิ
ภาพการปฏิบัติงานสูงกว่าพนักงานการเดินรถที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานน้อย
6.2 ปัจจัยด้านการปฏิบัติงานกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน
6.2.1 พนักงานการเดินรถที่มีโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงานสูง มีประสิทธิ
ภาพการปฏิบัติงานสูงกว่าพนักงานการเดินรถที่มีโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงานต่ำ
6.2.2 พนักงานการเดินรถที่มีความรักและความภูมิใจในอาชีพการงานสูง มีประ
สิทธิภาพการปฏิบัติงานไม่สูงกว่าพนักงานการเดินรถที่มีความรักและความภูมิใจในอาชีพการงาน
ต่ำ
6.2.3 พนักงานการเดินรถที่มีความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานดี มีประสิทธิภาพ
การปฏิบัติงานไม่สูงกว่าพนักงานการเดินรถที่มีความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานไม่ดี
6.2.4 พนักงานการเดินรถที่มีอิสระในการแสดงความคิดเห็นในงานสูง มีประ
สิทธิภาพการปฏิบัติงานไม่สูงกว่าพนักงานการเดินรถที่มีอิสระในการแสดงความคิดเห็นในงานต่ำ
6.2.5 พนักงานการเดินรถที่มีความพอใจในผลตอบแทนสูง มีประสิทธิภาพการ
ปฏิบัติงานไม่สูงกว่าพนักงานการเดินรถที่มีความพอใจในผลตอบแทนต่ำ
อภิปรายผล
จากการศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานการเดินรถ การ
รถไฟแห่งประเทศไทย ครั้งนี้ ผู้วิจัยสามารถจะอภิปรายผล ดังนี้.-
ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานการเดินรถ เพศชาย การรถไฟแห่งประเทศไทย
ซึ่งปฏิบัติงานประจำสถานีในปัจจุบันทั่วประเทศ ภาพรวมอยู่ในระดับสูง โดยประกอบด้วย ปัจจัย
ส่วนบุคคล ได้แก่ พนักงานการเดินรถมีอายุ ระดับการศึกษา อัตราเงินเดือน ที่พักอาศัยทางราชการ
และประสบการณ์ในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับสูง ส่วนปัจจัยด้านปฏิบัติงาน ได้แก่ พนักงานการ
เดินรถที่มีโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงาน อยู่ในระดับสูง ส่วนพนักงานการเดินรถที่มีความรักและ
ภูมิใจในอาชีพการงาน ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ความมีอิสระแสดงความคิดเห็นในงาน และ
ความพอใจในผลตอบแทน อยู่ในระดับต่ำ แสดงให้เห็นว่า พนักงานการเดินรถมีความต้องการ
โอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงานสูงมากกว่าปัจจัยด้านการปฏิบัติงานตัวอื่น ๆ ที่มีผลต่อประสิทธิ
ภาพการปฏิบัติงาน ทั้งนี้เพราะพนักงานการเดินรถ ประสงค์อยากให้มีการเลื่อนตำแหน่งของ
พนักงานการเดินรถ ในระดับที่สูงขึ้นและเป็นธรรมตามความรู้ความสามารถ โดยการทดสอบและดู
จากผลงาน ให้จัดอบรมพัฒนาทักษะการปฏิบัติงานอย่างจริงจัง มีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีผลต่อด้านจิตใจ
ทำให้เกิดแรงผลักดัน ทุ่มเท สร้างขวัญกำลังใจ ไปสู่แรงจูงใจ ในการปฏิบัติงานอย่างเต็มที่ และก่อ
ให้เกิดประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน อีกทั้งผลกระทบจากกระแสการปรับโครงการรถไฟแห่งประเทศ
ไทย ทำให้ขาดความเชื่อมั่นในบทบาทและหน้าที่ของตนเองที่จะเปลี่ยนแปลงไปในอนาคต
ผลจากการทดสอบสมมติฐาน สามารถอภิปรายผลได้ดังนี้.-
3. ในเรื่องของปัจจัยส่วนบุคคล
3.1 พนักงานเดินรถที่มีอายุสูง คือ 30 ปีขึ้นไป มีประสิทธิภาพการปฏิบัติงานสูงกว่า
พนักงานการเดินรถที่มีอายุต่ำ อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เป็นไปตามสมมติฐานที่ ซึ่ง
มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับสูง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.2244
เนื่องจาก พนักงานการเดินรถที่มีอายุสูง โดยพื้นฐานด้านจิตใจแล้ว จะมีความรัก
และความผูกพันธ์ที่ได้เลี้ยงครอบครัวและตัวของพนักงานเองมาตลอด ทำให้จิตใจของพนักงานเกิด
พลังในการปฏิบัติงานสูง ก่อให้เกิดการปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับผลวิจัยของสมโภช
จัตุพร (2543 : 4 – 5) พบว่า ปัจจัยด้านอายุ มีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน
สัมพันธ์กับของพนักงานการไฟฟ้านครหลวง พนักงานกองรายได้
3.2 พนักงานการเดินรถที่มีระดับการศึกษาสูง คือ ระดับอนุปริญญาขึ้นไป มีประสิทธิ
ภาพการปฏิบัติงานสูงกว่า พนักงานการเดินรถที่มีระดับการศึกษาต่ำกว่าระดับอนุปริญญา อย่างไม่มี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เป็นไปตามสมมติฐาน ซึ่งมีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน อยู่
ในระดับสูง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.2642
เนื่องจาก พนักงานการเดินรถ ที่มีระดับการศึกษาสูง จะมีแนวความคิดในเชิง
สร้างสรรค์ให้กับองค์กร อยากพัฒนาองค์กรให้ก้าวหน้า และใช้ความรู้ที่ได้ศึกษาให้องค์กรปรับองค์
ให้เหมาะสมกับสภาวะการปัจจุบัน ทำให้เกิดความภูมิใจ ทุ่มเท ในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ
3.3 พนักงานการเดินรถที่มีอัตราเงินเดือนสูง คือ ระดับ 10,000 บาท ขึ้นไป มีประ
สิทธิภาพการปฏิบัติงานสูงกว่าพนักงานการเดินรถที่มีอัตราเงินเดือนต่ำ อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ 0.05 เป็นไปตามสมมติฐาน ซึ่งมีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานอยู่ในระดับสูง โดยมีค่า
เฉลี่ยเท่ากับ 4.1329
เนื่องจาก พนักงานการเดินรถที่มีอัตราเงินเดือนสูง มีความเหมาะสมกับการ
ดำเนินชีวิต ทำให้ไม่เดือดร้อนในการครองชีพในสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน ทำให้พนักงานเกิดความ
พึงพอใจ ขวัญ กำลัง ในการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ ได้สอดคล้องกับผลวิจัยของ สุภาพ คน
ล้ำ 2540 : 1 – 2) พบว่า เงินเดือนจะเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อขวัญและแรงจูงใจต่อการปฏิบัติงานอยู่ใน
ระดับสูงของพนักงานฝ่ายโยธา การรถไฟแห่งประเทศไทย และแวน เดอร์เซล (Van Dersal 1968 :
62 – 72) ได้ศึกษาพบว่า เงินเดือนเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของพนักงานในการปฏิบัติงาน
ให้มีประสิทธิภาพ
1.4 พนักงานการเดินรถที่มีที่พักอาศัยทางราชการ จะมีประสิทธิภาพสูงกว่าพนักงาน
การเดินรถที่มีที่พักอาศัยส่วนตัว/เช่าอาศัย อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เป็นไปตาม
สมมติฐาน ซึ่งมีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับสูง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.1828
เนื่องจาก การปฏิบัติงานของพนักงานการเดินรถ ตามสถานีต่าง ๆ ทั่วประเทศ
ต้องมีที่พักอาศัยใกล้ที่ปฏิบัติงานเพื่อความสะดวกที่ทางการจัดให้ และทำให้พนักงานไม่เดือดร้อนที่
พักอาศัยของพนักงาน และสมาชิกในครอบครัว เพื่อลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลง ซึ่งเป็นความต้องการ
พื้นฐานของมนุษย์โดยตรง ทำให้เกิดการทุ่มเท ขวัญ และแรงจูงใจให้เกิดการปฏิบัติอย่างมีประสิทธิ
ภาพ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของมาสโลว์ (Maslow 1970 : 35-38) ว่า มนุษย์มีความต้องการที่อยู่
อาศัย เป็นปัจจัยพื้นฐานหนึ่งที่สำคัญที่สุด ซึ่งจะมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิต จะขาดไม่ได้ ก่อให้เกิด
ขวัญ แรงจูงใจให้มนุษย์ประกอบกิจกรรมหรือดำเนินชีวิต ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.5 พนักงานการเดินรถที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานมาก คือ ระดับ 10 ปีขึ้นไป
มีประสิทธิภาพสูงกว่า พนักงานการเดินรถที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานน้อย อย่างไม่มีนัย
สำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เป็นไปตามสมมติฐาน ซึ่งมีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในระดับ
สูง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.2244
เนื่องจาก พนักงานการเดินรถ ที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานสูง ที่ปฏิบัติงาน
ตามสถานีต่าง ๆ ทั่วประเทศ จะประสบเหตุการณ์ตลอดเวลา จนเกิดความชำนาญ สามารถแก้ปัญหา
สิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างดี แสดงให้เห็นว่าพนักงานสามารถปรับตัว ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่าง ๆ
ทำให้เกิดการเรียนรู้ ใช้ประสบการณ์นำมาใช้ในการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยความรู้
ความสามารถจากประสบการณ์ ตามเป้าหมายขององค์กร
อธิบายได้ว่าทุกปัจจัยส่วนบุคคลที่กล่าวมาแล้วเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญ ทำให้พนักงาน
การเดินรถ ระดับเสมียนประจำสถานีต่าง ๆ ทั่วประเทศ ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพที่จะบรรลุ
ตามเป้าหมายขององค์กร
4. ในเรื่องปัจจัยด้านปฏิบัติงาน
4.1 พนักงานการเดินรถที่มีโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงานสูง มีประสิทธิภาพการ
ปฏิบัติงานสูงกว่า พนักงานการเดินรถที่มีโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงานต่ำ อย่างไม่มีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ 0.05 เป็นไปตามสมมติฐาน ซึ่งมีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน โดยมีค่า ≤
2 =
2.976, Sig = 0.085
อธิบายได้ว่าพนักงานการเดินรถ ระดับเสมียนสถานีต่าง ๆ ทั่วประเทศมีความ
ต้องการโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงานระดับสูง ซึ่งบ่งบอกถึงความต้องการพื้นฐานของพนักงาน
ประกอบกับช่วงการปรับโครงสร้างของการรถไฟแห่งประเทศไทย ให้สอดคล้องกับสถานการณ์
ปัจจุบัน ทำให้พนักงานต้องปรับตัวตามไปด้วย แสดงความรู้ความสามารถที่มีอยู่ในการปฏิบัติงาน
เพื่อที่ตนเองจะได้มีความก้าวหน้าในหน้าที่การงานที่สูงขึ้น ส่งผลต่อการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิ
ภาพ ตามที่คาดหวังไว้อย่างยุติธรรม ความรู้ความสามารถของพนักงาน สอดคล้องกับทฤษฎีสอง
ปัจจัยของเฮิร์ซเบอร์ก (Herzberg) ได้กล่าวว่า ความก้าวหน้าในหน้าที่การงานเป็นองค์ประกอบภาย
ใน หรือ เรียกว่า ตัวจูงใจ (Motivator Factors) เป็นปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้พนักงานเกิดความพอใจ
สร้างแรงจูงใจ ขวัญกำลังใจและกระตุ้นให้พนักงานปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุตาม
เป้าหมายขององค์กร
4.2 พนักงานการเดินรถที่มีความรักและความภูมิใจในอาชีพการงานสูง มีประสิทธิ
ภาพการปฏิบัติงานไม่สูงกว่า พนักงานการเดินรถที่มีความรักและความภูมิใจในอาชีพการงานต่ำ
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ไม่เป็นไปตามนัยสำคัญที่ตั้งไว้ ซึ่งไม่มีผลต่อการประสิทธิ
ภาพการปฏิบัติงาน โดยมีค่า ≤
2 = 229.261, Sig = 0.000
4.3 พนักงานการเดินรถที่มีความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานดี มีประสิทธิภาพการ
ปฏิบัติงานไม่สูงกว่า พนักงานการเดินรถที่มีความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานไม่ดี อย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ 0.05 ไม่เป็นไปตามสมมติฐาน โดยมีค่า ≤
2 = 155.204, Sig = 0.000
4.4 พนักงานการเดินรถที่มีอิสระในการแสดงความคิดเห็นในงานสูง มีประสิทธิภาพ
ในการปฏิบัติงานไม่สูงกว่า พนักงานการเดินรถที่มีอิสระในการแสดงความคิดเห็นในงานต่ำ อย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ไม่เป็นไปตามสมมติฐาน โดยมีค่า ≤
2 = 210.322, Sig = 0.000
4.5 พนักงานการเดินรถที่มีความพอใจในผลตอบแทนสูง มีประสิทธิภาพการปฏิบัติ
งานไม่สูงกว่า พนักงานการเดินรถที่มีความพอใจในผลตอบแทนต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่
ระดับ 0.05 ไม่เป็นไปตามสมมติฐาน โดยมีค่า ≤
2 = 181.718, Sig = 0.000
อธิบายได้ว่าพนักงานการเดินรถ ที่มีปัจจัยด้านการปฏิบัติงาน คือ ความรักและภูมิใจใน
อาชีพการงาน ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน อิสระในการแสดงความคิดเห็นในงาน และความพอ
ใจในผลตอบแทน จากการศึกษาพบว่า พนักงานการเดินรถ ระดับเสมียนสถานีต่าง ๆ ทั่วประเทศ มี
ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานไม่สูงกว่า เนื่องจาก ความต้องการของพนักงานการเดินรถ โดยพื้นฐาน
ทุกคนมีความรักและภูมิใจในอาชีพการงาน เพราะเป็นองค์กรการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าประเภท
แรกที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เป็นผู้ก่อตั้งองค์กร และเป็นอาชีพที่
มั่นคง ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน พนักงานทุกคนจะช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการปฏิบัติงาน
อย่างเต็มที่ ความมีอิสระในการแสดงความคิดเห็นในงาน ทุกคนสามารถแสดงความคิดเห็นได้ และ
ปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาเป็นอย่างดี และในส่วนของความพอใจในผลตอบแทน หมายถึง เงินที่
ได้รับพิเศษนอกเหนือจากเงินเดือน ได้แก่ ค่าทำงานในวันหยุด และวันนักขัตฤกษ์ ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่า
รักษาพยาบาล รวมทั้งสวัสดิการต่าง ๆ ในภาพรวมได้รับอย่างเพียงพอ จึงส่งผลต่อประสิทธิภาพใน
การปฏิบัติงานไม่สูงนัก อาจเป็นไปได้ว่า ในการวิจัยครั้งนี้อยู่ในช่วงการปรับโครงสร้างและพัฒนา
หน่วยงานต่าง ๆ ภายในองค์กร จากผลกระทบภาวะเศรษฐกิจ ปี 2540 ได้ปรับปรุงขั้นตอนการปฏิบัติ
งานให้มีความคล่องตัว ลดกฎระเบียบต่าง ๆ นี้ให้เหมาะสม รวมทั้งการพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงาน
ของพนักงาน ให้มีการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้พนักงานส่วนใหญ่เกิดการตื่นตัว
กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาตนเอง เพื่อที่จะก้าวหน้าในอาชีพการงานที่สูงขึ้นในอนาคตกว่าในช่วง
ภาวะเศรษฐกิจปกติ
อย่างไรก็ตาม องค์กรต่าง ๆ ซึ่งตกอยู่ท่ามกลางภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ การที่ปรับตัวของ
องค์กรให้อยู่รอดหรือประคองตัวให้พ้นจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจให้ได้ เป็นสิ่งที่เผชิญอย่างหลีกเลี่ยง
ไม่ได้ มีผลกระทบต่อทุกส่วนขององค์กร โดยเฉพาะองค์กรที่มีพนักงานจำนวนมากและหลากหลาย
ซึ่งส่วนใหญ่ขาดความเชื่อมั่น วิตกกังวลในการปฏิบัติงานที่จะปรับเปลี่ยนไปในทิศทางใด การที่จะ
ให้องค์กรอยู่รอดหรือประคองตัวอยู่ในสภาวะเช่นนี้ได้ ต้องคำนึงถึงพนักงานเป็นประการสำคัญ
เพราะเป็นทรัพยากรที่ชี้ความสำเร็จขององค์กรตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยเฉพาะสภาวะจิตใจ ที่
เปลี่ยนแปลงไปกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แน่นอนอย่างยิ่ง ที่ผู้บริหารองค์กรและหน่วยงานเป็นตัวเชื่อม
โยงทางด้าน จิตใจที่มั่นคง เข้มแข็งและเสริมสร้างจุดยืนให้กับพนักงานด้วยความเชื่อมั่น ศรัทธา ทัศ
นคติ และค่านิยมที่ดีต่อองค์กร เพราะเป็นสิ่งที่มีผลโดยตรงต่อการพัฒนาหน่วยงานหรือองค์กรให้
ประสบความสำเร็จ
ในความเป็นจริงแล้ว ผู้บริหารองค์กรและหน่วยงานไม่สามารถทราบเลยว่า พนักงานแต่ละ
คนที่ปฏิบัติงานอยู่ผ่านกระบวนความคิด หรือทัศนคติที่แท้จริงต่อองค์กรอย่างไร การปฏิบัติปัจจุบัน
ถือปฏิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับ ขององค์กรเป็นหลัก การเสริมสร้างความเชื่อมั่น ความศรัทธา
ทัศนคติ และค่านิยม เกิดจากความต้องการปัจจัยด้านการปฏิบัติ อาทิเช่น การพิจารณาเลื่อนขั้นเงิน
เดือน ความดี ความชอบ และโทษ จากผลการปฏิบัติงานโดยทางตรงและทางอ้อม ด้วยพื้นฐานของ
ความยุติธรรมและความเหมาะสม จะส่งผลให้พนักงานทราบถึงทิศทางการปฏิบัติที่ชัดเจน นั่นหมาย
ถึง องค์กรนั้นมีผู้บริหารองค์กรหรือหน่วยงานที่มีศักยภาพเหมาะสมกับตำแหน่งการปฏิบัติงานอย่าง
แท้จริง ได้สอดคล้องกับผลสรุปการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การปรับบทบาท ภารกิจ และโครง
สร้างส่วนราชการ” เมื่อวันที่ 4 – 5 สิงหาคม 2544 โดยมีพณฯ ท่านนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ
ชินวัตร เป็นประธานการประชุม ให้ข้อสรุปประเด็นหนึ่งว่า การทำให้ระบบราชการมีการทำงานที่มี
ประสิทธิภาพคล่องตัว ทำงานในเชิงรุก มีขนาดที่เหมาะสม โปร่งใส ซื่อสัตย์ สุจริต สามารถตอบ
สองความต้องการของประชาชน และที่สำคัญข้าราชการต้องได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสม และมี
ระบบให้คุณให้โทษที่เป็นธรรม (กระทรวงมหาดไทย สำนักงานปลัดกระทรวง 2544, ออนไลน์)
จะเห็นว่าการประชุมดังกล่าว ได้มุ่งเน้นตัวข้าราชการหรือพนักงานที่ปฏิบัติงานเป็นหลัก ทำ
ให้พนักงานเกิดพลังความคิด และทัศนคติที่ดีต่อการปฏิบัติงาน จะสร้างสรรค์สิ่งดี ๆ และพัฒนา
หน่วยงาน และองค์กร นอกเหนือจากกฎ ระเบียบต่าง ๆ ที่ดีอยู่ ด้วยพลังที่พนักงานที่มีอยู่แต่ละคน
ส่งผลให้การปฏิบัติงานของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเรียกว่า “พลังขับเคลื่อน” เป็นพลังที่
พนักงานทุกคนพร้อมใจกัน กล้าเผชิญ อดทน เสียสละเพื่อหน่วยงาน และองค์กรของตนเอง องค์กร
ใดสร้างสิ่งเหล่านี้ได้กับพนักงาน จะทำให้องค์กรรอดพ้นจากภาวะวิกฤต หรือการขาดทุนลงได้
ระดับหนึ่ง และเกิดการพัฒนาแต่ละหน่วยงานอย่างต่อเนื่อง และส่งผลต่อองค์กรโดยรวม
ข้อเสนอแนะ
จากผลการศึกษา ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะในการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของ
พนักงานการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย โดยพิจารณาความเห็นเกี่ยวกับปัจจัยจูงใจด้าน
ปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ ดังนี้.-
7. โอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
ด้านการเลื่อนตำแหน่งของพนักงานควรให้เป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด (ภาคผนวก
ก.) โดยการทดสอบความรู้ความสามารถของพนักงานตามความเหมาะสมในแต่ละระดับและ
สนับสนุนให้พนักงานได้รับโอกาสรับการศึกษาเพิ่มสูงขึ้น ยอมรับความรู้ ข้อมูลทางวิชาการให้นำ
มาประยุกต์ใช้ในหน่วยงานของตนเอง รวมถึงงานระดับสถานีต่าง ๆ เป็นงานด้านบริการประชาชน
ทั้งชาวไทยและต่างประเทศ พนักงานถือเป็นตัวแทนและภาพลักษณ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย
ควรให้แต่ละเขต จัดตั้งหน่วยงานฝึกอบรมภาษาต่างประเทศและด้านการบริการที่ประทับใจแก่ผู้ใช้
บริการโดยเฉพาะ เพื่อให้พนักงานได้ฝึกการใช้ภาษาให้ถูกต้อง เหมาะสม ดังนั้น จะทำให้พนักงานมี
แรงจูงใจในการทำงานให้มีประสิทธิภาพอย่างทุ่มเท มีขวัญและกำลังใจ สนุกกับงานที่ได้ทำโดยใช้
ความรู้ความสามารถของตนเองอย่างเต็มที่ และให้พนักงานมีความรู้สึกว่าได้พัฒนาตนเองเพื่อความ
ก้าวหน้าในหน้าที่การงานต่อไปในอนาคต
8. ความรักและความภูมิใจในอาชีพการงาน
การปฏิบัติงานของพนักงานยังสับสน เนื่องจากระเบียบคำสั่ง และวิธีปฏิบัติงานค่อน
ข้างมากมาย ยังไม่เข้าใจชัดเจน และถือปฏิบัติเป็นแม่บท ควรจัดอบรมสม่ำเสมอเพื่อสร้างความเข้าใจ
และทัศนคติที่ดีงาม ด้านงานบริการทุกส่วนเป็นงานที่ต้องพัฒนาปรับปรุงให้ผู้รับบริการให้ทันสมัย
และประทับใจอยู่เสมอ ควรจัดให้พนักงานไปศึกษาดูงานที่หน่วยงานเอกชนหรือราชการที่ประสบ
ความสำเร็จ และสังคมยอมรับในด้านเทคนิค หรือการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า รวมทั้งสุขภาพจิตและ
สุขภาพกายมีส่วนสำคัญต่อการปฏิบัติงาน การทำงานติดต่อเป็นระยะเวลานาน โดยไม่มีวันหยุดตาม
เวลาที่เหมาะสม ทำให้ร่างกายพนักงานเกิดความเครียด เหนื่อย ล้า มีผลต่อทัศนคติและประสิทธิภาพ
การปฏิบัติงานมาก
9. ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน
ควรเพิ่มความรักและความสัมพันธ์ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และร่วมกันทำงานเป็นทีม
น้ำหนึ่งใจเดียวกัน ต่างคนต่างให้ความสำคัญต่อกัน เคารพความคิดเห็น ตัดสินใจปัญหาที่เกิดขึ้น
อย่างยุติธรรม มีปัญหาปรึกษากันอย่างเปิดเผย จะนำมาซึ่งความสามัคคี เชื่อมั่น ทุ่มเทในการปฏิบัติ
งานร่วมกัน พัฒนางานให้มีประสิทธิภาพ ให้พนักงานเกิดความรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร
10. ความมีอิสระในการแสดงความคิดเห็นในงาน
ควรให้พนักงานระดับปฏิบัติงานแสดงความคิดเห็นผ่านผู้บังคับบัญชาไปยังส่วนกลาง
อย่างเต็มที่ในการแก้ปัญหาภายในระดับสถานี เพื่อความรวดเร็วในการปฏิบัติงานและแก้ปัญหา รวม
ถึงขั้นตอนในการปฏิบัติงาน พนักงานระดับสถานีควรมีการประชุม ปรึกษาทำความเข้าใจถึงจุดดีจุด
ด้อยของงานอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง และควรให้พนักงานศึกษาเรียนรู้เรื่อง ISO 9000, 9002 บาง
ประเด็นเพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางหรือปรับปรุงในส่วนข้อบกพร่องต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับงานใน
แนวทางที่จะเป็นไปได้บ้างเพื่อให้พนักงานร่วมแสดงความคิดเห็นในงานอย่างเต็มที่ และเกิดรู้สึกว่า
ตนเองเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยงาน สามารถที่จะปรับแนวทางการปฏิบัติงานด้วยตนเอง ทำให้เกิด
ความรู้สึกรักงานที่ปฏิบัติงาน และหน่วยงานอย่างทุ่มเท โดยไม่หวาดระแวงในกฎระเบียบ ก่อให้เกิด
ผลเสียต่องาน ตรงกันข้ามทำให้พนักงานปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
11. ความพอใจในผลตอบแทน
ควรปรับอัตราค่าทำงานล่วงเวลา ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน ควรจัดระยะเวลา
การปฏิบัติงานไม่ให้ทำงานติดต่อกันเป็นเวลานานและตรากตรำ ทำให้พนักงานมีเวลาพักผ่อนมาก
ขึ้น รวมถึงที่พักอาศัยของพนักงานเป็นบ้านไม้ เริ่มทรุดโทรม หัก พัง ตามระยะเวลาที่ใช้มานาน ควร
ปรับปรุงและเพิ่มเติมใหม่ให้เพียงพอกับผู้ปฏิบัติงานและไม่ควรห่างไกลจากสถานที่ปฏิบัติงาน
เพราะเป็นปัจจัยหนึ่งที่สร้างขวัญและกำลังใจให้แก่พนักงานในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ
12. สภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน
สถานที่ปฏิบัติงานบางสถานีมีสภาพแวดล้อมที่คับแคบ อากาศร้อนอบอ้าวในหน้าร้อน
ทำให้ สุขภาพจิตและร่างกายเสื่อมโทรม สถานีที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ ในช่องขายตั๋วประจำวัน
ซึ่งปัจจุบันไม่มีเครื่องปรับอากาศ ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์เกิดการขัดข้องบ่อย ๆ ขณะขายตั๋ว ทำให้
เกิดปัญหาด้านบริการได้ และควรติดตั้งเครื่องปรับอากาศโดยเฉพาะสถานีใหญ่ที่มีผู้โดยสารใช้
บริการหนาแน่น อีกทั้งลดมลภาวะเป็นพิษ และอากาศร้อนในการปฏิบัติงานของพนักงาน รวมทั้ง
อุปกรณ์เครื่องมือต่าง ๆ ที่เป็นเครื่องใช้สำนักงานควรให้ทันสมัยและไม่ให้ขาดแคลน ให้เหมาะสม
กับผู้ใช้บริการปัจจุบัน ทั้งนี้ มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานอย่างยิ่งในการบริการประชาชน
ปัจจุบันได้มีสุภาพสตรีซึ่งการรถไฟแห่งประเทศไทยรับบรรจุเข้ามาใหม่ในด้านการขาย
ตั๋ว และประชาสัมพันธ์ตามสถานีต่าง ๆ ทำให้รูปแบบและภาพลักษณ์การบริการที่ดีขึ้น ทำให้เกิด
การยอมรับมากขึ้นเพราะมีความอ่อนหวาน สุภาพ ทำให้ผู้ใช้บริการเกิดความรู้สึกที่ดีขึ้นและพัฒนา
ในด้านการบริการให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นในอนาคต
ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
ในการวิจัยต่อไป การศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน
การเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย ควรที่จะศึกษาเพิ่มเติมในด้านสภาพแวดล้อมในด้านการ
ปฏิบัติงาน ภารกิจที่ควรปฏิบัติในด้านบริการ รวมทั้งการมอบหน้าที่ในการปฏิบัติงานให้มีโอกาส
ตัดสินใจมากขึ้นในขอบเขตกำหนด เพื่อพิจารณาตนเองและงานที่ปฏิบัติอย่างเต็มความรู้ความ
สามารถ อันจะนำมาซึ่งการอุทิศกาย ทุ่มเท เชื่อมั่น รักงานที่ปฏิบัติอย่างเต็มความสามารถ ส่งผลให้ผู้
ปฏิบัติเกิดความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยงาน องค์กร ให้เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานอย่าง
ดียิ่ง
ประวัติผู้เขียน
ชื่อ สกุล : ณัฐธัญ ถนัดรบ
วัน เดือน ปีเกิด : 24 เมษายน 2513
การศึกษา : พ.ศ. 2523 จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดสนามพลี
: พ.ศ. 2526 จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดหลวงปรีชากูล)
: พ.ศ. 2532 จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โปรแกรมวิชาอังกฤษ – สังคม โรงเรียน
ปราจิณราษฎร์บำรุง
: พ.ศ. 2535 จบอนุปริญญา สาขาวิทยาการจัดการ โปรแกรมวิชาการบริหาร
ธุรกิจ วิทยาลัยครูฉะเชิงเทรา
: พ.ศ. 2538 จบปริญญาตรี สาขาบริหารรัฐกิจ เอกวิชารัฐประศาสนศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ตำแหน่งหน้าที่ : พ.ศ. 2536 ลูกจ้างเฉพาะงานสถานีกรุงเทพ สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง)
การงาน แผนกงานเดินรถแขวงกรุงเทพ สังกัดกองจัดการเดินรถเขต 1 ฝ่ายการเดินรถ
การรถไฟแห่งประเทศไทย ถนนรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
: พ.ศ. 2538 คนการสถานีกรุงเทพ สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) แผนกงาน
เดินรถแขวงกรุงเทพ สังกัดกองจัดการเดินรถเขต 1 ฝ่ายการเดินรถ การรถไฟ
แห่งประเทศไทย ถนนรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
: พ.ศ. 2539 เสมียนสถานีกรุงเทพ สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) แผนกงาน
เดินรถแขวงกรุงเทพ สังกัดกองจัดการเดินรถเขต 1 ฝ่ายการเดินรถ การรถไฟ
แห่งประเทศไทย ถนนรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
: พ.ศ. 2540 เสมียนสถานีกรุงเทพ ช่วยงานที่งานเดินรถแขวงกรุงเทพ สถานี
รถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) แผนกงานเดินรถแขวงกรุงเทพ สังกัดกองจัดการ
เดินรถเขต 1 ฝ่ายการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย ถนนรองเมือง เขต
ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
: พ.ศ. 2541 เสมียนสถานีกรุงเทพ ช่วยงานที่กองจัดการเดินรถเขต 1 สถานี
รถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) แผนกงานเดินรถแขวงกรุงเทพ สังกัดกองจัดการ
เดินรถเขต 1 ฝ่ายการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย ถนนรองเมือง เขต
ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
: พ.ศ. 2543 พนักงานการเดินรถ 3 กองจัดการเดินรถเขต 1 สถานีรถไฟ
กรุงเทพ (หัวลำโพง) กองจัดการเดินรถเขต 1 ฝ่ายการเดินรถ การรถไฟแห่ง
ประเทศไทย ถนนรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
แบบสอบถาม
การศึกษาวิจัย
เรื่อง… ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานการเดินรถ
การรถไฟแห่งประเทศไทย
แบบสอบถาม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของ
พนักงานการเดินรถ เฉพาะระดับเสมียนประจำสถานี สังกัดกองจัดการเดินรถเขต 1, 2, 3, 4 และ 5
ฝ่ายการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย อันนำไปสู่แนวทางการปรับปรุงปัจจัยความต้องการด้าน
การปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพและถูกทิศทาง ตามเป้าหมายขององค์กร และเพื่อเป็นข้อมูลเบื้อง
ต้นสำหรับรองรับแผนภาระกิจหลักของฝ่ายการเดินรถ เรื่อง ยุทธศาสตร์ฝ่ายการเดินรถ ในการ
ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรให้มีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้น
คำแนะนำสำหรับผู้ตอบแบบสอบถาม
1. โปรดอย่าเขียนชื่อ ลงในแบบสอบถาม
2. แบบสอบถามนี้ไม่มีคำตอบใดถูกหรือผิด คำตอบทุกข้อเป็นไปตามความคิดเห็น ความ
รู้สึกของแต่ละบุคคลตามสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้นกับท่าน
3. แบบสอบถามนี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน
ส่วนที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลรายละเอียดส่วนตัวของผู้ตอบแบบสอบถาม
ส่วนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน
4. เมื่อท่านตอบแบบสอบถาม ครบถ้วนเรียบร้อยแล้วโปรดสอดใส่ซองเดิมผนึก แล้วรวบ
รวมแบบสอบถามพร้อมกัน เพื่อส่งคืน จดข. ในสังกัดท่านโดยตรง
1 2 3
ส่วนที่ 1 ข้อมูลเกี่ยวกับรายละเอียดส่วนตัวของผู้ตอบแบบสอบถาม
คำชี้แจง โปรดทำเครื่องหมาย ลงใน ( ) หน้าข้อความที่ตรงกับความเป็นจริงของท่าน
1. อายุปัจจุบันของท่าน
( ) 1. ต่ำกว่า 30 ปี
( ) 2. 30 ปีขึ้นไป
2. ระดับการศึกษา
( ) 1. ต่ำอนุปริญญา
( ) 2. อนุปริญญาขึ้นไป
3. เงินเดือน
( ) 1. ต่ำกว่า 10,000 บาท
( ) 2. 10,000 บาทขึ้นไป
4. ที่พักอาศัย
( ) 1. ของทางราชการ
( ) 2. ส่วนตัวหรือเช่าอาศัย
5. ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน
( ) 1. ต่ำกว่า 10 ปี
( ) 2. 10 ปีขึ้นไป
สำหรับผู้วิจัย
4
5
6
7
8
ส่วนที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน
คำแนะนำ โปรดทำเครื่องหมาย ในช่องที่ท่านเห็นว่าตรงกับความเป็นจริงของตนเอง
ระดับความคิดเห็น
ข้อความ เห็นด้วย
อย่างยิ่ง
เห็น
ด้วย
ไม่แน่
ใจ
ไม่เห็น
ด้วย
ไม่เห็นด้วย
อย่างยิ่ง
สำหรับ
ผู้วิจัย
6. หน่วยงานของท่านส่งเสริมให้มีโอกาสก้าว
หน้าทางการศึกษา เช่น อนุญาตให้ลาศึกษาแต่
เมื่อได้คุณวุฒิเพิ่มขึ้นก็ไม่ปรับเปลี่ยนตำแหน่ง
ให้สอดคล้องกับคุณวุฒิ
9
7. ในปัจจุบันหน่วยงานมีหลักเกณฑ์ในการ
พิจารณาขั้นเงินเดือนและเลื่อนขั้น เลื่อน
ตำแหน่งอย่างยุติธรรมและเป็นระบบดีแล้ว
10
8. งานที่ท่านปฏิบัติอยู่มีโอกาสเสี่ยงต่อความ
ก้าวหน้าในอาชีพการงาน เช่น ถูกสอบสวน
กลั่นแกล้ง ผิดพลาด หรือถูกออกจากงาน
ได้ง่าย
11
9. งานที่ท่านปฏิบัติอยู่มีโอกาสได้เลื่อนตำแหน่ง
หน้าที่ การงานได้รวดเร็ว 12
10. หน่วยงานได้จัดให้ท่านมีการอบรมเพิ่มพูน
ความรู้ความสามารถและพัฒนาทักษะน้อย 13
11. ท่านคิดว่าตำแหน่งหน้าที่การงานที่ท่านทำอยู่
ในปัจจุบันไม่เหมาะสมกับตัวท่าน 14
12. ท่านชอบและภูมิใจในงานเพราะเป็นงานที่
ท้าทายและแก้ปัญหาเฉพาะหน้าตลอดเวลา 15
13. ท่านมีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานใน
ตำแหน่งงานที่ทำน้อย 16
14. งานในหน้าที่ที่ท่านปฏิบัติอยู่เป็นงานที่ท่าน
ชอบมาก ที่ได้ให้บริการสังคม 17
15. ท่านคิดว่าได้ใช้ความรู้ความสามารถในการ
ปฏิบัติงานอย่างเต็มที่แล้ว 18
16. ท่านคิดว่าหากปราศจากท่าน แล้วงานใน
หน่วยงานของท่านจะไม่บรรลุผลสำเร็จ 19
ระดับความคิดเห็น
ข้อความ เห็นด้วย
อย่างยิ่ง
เห็น
ด้วย
ไม่แน่
ใจ
ไม่เห็น
ด้วย
ไม่เห็นด้วย
อย่างยิ่ง
สำหรับ
ผู้วิจัย
17. ท่านรู้สึกว่าปัญหาของหน่วยงาน ไม่ใช่ปัญหา
ของท่าน 20
18. เพื่อนร่วมงานให้ความช่วยเหลือท่านด้วย
ความเต็มใจ เช่น ด้านการงาน และคำปรึกษา
ต่าง ๆ เป็นอย่างดี
21
19. ท่านอยากให้เพื่อนร่วมงานยอมรับในผลงาน
เฉพาะตัวท่าน 22
20. บ่อยครั้งที่ท่านรู้สึกลำบากใจในการปฏิบัติงาน
กับกลุ่มเพื่อนร่วมงาน 23
21. ท่านพอใจปฏิบัติงานตามลำพังมากกว่าร่วม
งานกับผู้อื่น 24
22. ท่านและเพื่อนร่วมงานมีทัศนคติที่ดีต่อกันทั้ง
ในด้านส่วนตัว และด้านการปฏิบัติงาน 25
23. หน่วยงานท่านจะมีความขัดแย้งในด้านความ
คิดเห็นในด้านการปฏิบัติงานเสมอ 26
24. หน่วยงานของท่านไม่เปิดโอกาสให้พนักงาน
แสดงความคิดเห็นในงาน 27
25. ท่านชอบเป็นผู้เสนอวิธีการใหม่ ๆ ในการแก้
ไขปัญหาในการปฏิบัติงาน 28
26. ทุกคนในหน่วยงานยอมรับความคิดเห็นซึ่งกัน
และกันในการปฏิบัติงาน 29
27. การปฏิบัติงานที่ขาดการแสดงความคิดเห็นทำ
ให้งานไม่ก้าวหน้าและพัฒนา 30
28. ท่านไม่มีอิสระในการแสดงความคิดเห็นใน
การปฏิบัติงานและร่วมแก้ไขปัญหาอย่างเต็มที่ 31
29. ท่านคิดว่าทางการได้ให้สวัสดิการอื่น ๆ นอก
เหนือจากเงินเดือน เช่น ค่ารักษาพยาบาล
ค่าเล่าเรียนบุตร ค่าทำงานวันหยุด เบี้ยเลี้ยง
ต่างๆ ฯลฯ อย่างเพียงพอ
32
30. ท่านไม่ได้รับความสะดวกและรวดเร็ว ในการ
เบิกเงินสวัสดิการต่างๆ คืน 33
ระดับความคิดเห็น
ข้อความ เห็นด้วย
อย่างยิ่ง
เห็น
ด้วย
ไม่แน่
ใจ
ไม่เห็น
ด้วย
ไม่เห็นด้วย
อย่างยิ่ง
สำหรับ
ผู้วิจัย
31. สวัสดิการต่าง ๆ ที่ได้รับเหมาะสมกับความรู้
ความสามารถและหน้าที่รับผิดชอบที่ท่าน
ปฏิบัติอยู่
34
32. ท่านรู้สึกไม่พอใจต่อการกู้เงินสะสมที่ได้เพียง
80%ของยอดเงินสะสมทั้งหมด 35
33. สวัสดิการเป็นปัจจัยสำคัญมากกว่าปัจจัยอื่นที่
ท่านเลือกทำงานในการรถไฟฯ จนทุกวันนี้ 36
34. ท่านอยากให้การรถไฟฯ มีระบบการรับ
บำนาญอยู่เหมือนเดิม 37
35. งานที่ท่านปฏิบัติเป็นงานที่ใช้ความอดทน
ความพยายาม และขยันหมั่นเพียร สม่ำเสมอ 38
36. ท่านมีความกระตือรือร้นในการปฏิบัติงาน
ด้วยบริการที่ยิ้มแย้ม และประทับใจแก่ผู้รับ
บริการเสมอ
39
37. ท่านได้ลาป่วยและลากิจ โดยไม่มีเหตุผลอยู่
เสมอ 40
38. ท่านยอมให้ผู้โดยสารวิพากษ์วิจารณ์ ในกรณี
ที่มีปัญหาในด้านบริการ 41
39. ท่านมาปฏิบัติงานก่อนเวลา เพื่อเตรียมความ
พร้อมอยู่เสมอ 42
40. ความขยันหมั่นเพียรและความตั้งใจ ในการ
ปฏิบัติงานของท่าน ขึ้นอยู่กับอารมณ์เป็นหลัก 43
41. ขณะปฏิบัติงานท่านไม่สามารถแยกเรื่องส่วน
ตัวกับเรื่องงานออกได้ 44
42. ท่านปฏิบัติงานด้วยความละเอียดรอบคอบ ถูก
ต้อง เรียบร้อย รวดเร็ว ทันเวลาตามเป้าหมาย
เสมอ
45
43. เมื่องานที่ท่านปฏิบัติเกิดความผิดพลาดจะไม่
ปรับปรุงแก้ไขอยู่เสมอ 46
44. ท่านมีการติดตามงานที่ปฏิบัติอยู่ตลอดเวลา
47
ระดับความคิดเห็น
ข้อความ เห็นด้วย
อย่างยิ่ง
เห็น
ด้วย
ไม่แน่
ใจ
ไม่เห็น
ด้วย
ไม่เห็นด้วย
อย่างยิ่ง
สำหรับ
ผู้วิจัย
45. ท่านขาดการทุ่มเทและเอาใจใส่ต่อหน้าที่การ
งานที่รับผิดชอบเสมอ 48
46. ท่านกระตุ้นและส่งเสริมเพื่อนร่วมงาน ให้
ปฏิบัติงาน ในความรับผิดชอบร่วมกันได้
สำเร็จเสมอ
49
47. ท่านปฏิบัติงาน ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และ
ภักดีต่อองค์กรอย่างแท้จริง 50
48. ท่านรู้สึกเป็นเรื่องธรรมดาที่ได้พบเห็นทรัพย์
สินของการรถไฟฯ เสียหาย 51
49. ท่านเต็มใจให้ความช่วยเหลือและร่วมมือใน
งานนอกเหนือจากงานในหน้าที่ประจำของ
ท่านเสมอ
52
50. ถ้าเพื่อนฝูงหรือญาติพี่น้องของท่านเดินทาง
ท่านจะแนะนำและสนับสนุนให้เดินทางด้วย
รถไฟ
53
51. ท่านรู้สึกว่าการรถไฟฯ ไม่เป็นส่วนหนึ่งของ
ชีวิตท่าน 54
52. เมื่อมีบุคคลอื่นกล่าวหาการรถไฟฯ ในทางไม่
ดี โดยไม่ทราบข้อเท็จจริง ท่านจะชี้แจงให้
ทราบด้วยเหตุผลที่ชัดเจนและถูกต้อง
55
ผู้วิจัยขอขอบคุณเป็นอย่างสูงที่ท่านได้สละเวลาตอบแบบสอบถามฉบับนี้
ณัฐธัญ ถนัดรบ
ข้อเสนอแนะ ของพนักงานการเดินรถ เกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ของการรถไฟ
แห่งประเทศไทย
1. ………………………………………………………………………………………………………………….
…………………………………………………………………………………………………………………….
2. ………………………………………………………………………………………………………………….
…………………………………………………………………………………………………………………….
3. ………………………………………………………………………………………………………………….
…………………………………………………………………………………………………………………….
4. ………………………………………………………………………………………………………………….
…………………………………………………………………………………………………………………….
5. ………………………………………………………………………………………………………………….
…………………………………………………………………………………………………………………….
6. ………………………………………………………………………………………………………………….
…………………………………………………………………………………………………………………….
…………………………………………………………………………………………………………………….

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น