วันเสาร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2554

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร (ตอนที่ 2)



โดย n = จำนวนของขนาดตัวอย่าง
N = จำนวนรวมทั้งหมดของประชากรที่ใช้ในการศึกษา
e = ความผิดพลาดที่ยอมรับได้ (การวิจัยครั้งนี้กำหนดให้ = 0.05)
แทนค่า n = 672
1 + (672 X 0.052)
= 251
31
ขั้นตอนที่ 2 แบ่งจำนวนตัวอย่างที่จะใช้ในการวิจัยครั้งนี้ในแต่ละสายงานของบุคลากร
และทำการหาจำนวนตัวอย่างของสายงานบุคลากรในแต่ละหน่วยงานโดยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ
และสัดส่วน Proportional Stratified Random Sampling (บุญธรรม กิจปรีดา
บริสุทธิ์ 2540 : 78)
ตารางที่ 2 จำนวนประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
หน่วยงาน ประชากร กลุ่มตัวอย่าง
1. คณะเกษตร กำแพงแสน 183 68
2. คณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน 60 22
3. คณะสัตวแพทยศาสตร์ 83 31
4. คณะศึกษาศาสตร์ 73 28
5. คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ 63 24
6. สำนักงานวิทยาเขตกำแพงแสน 81 30
7. สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม 41 15
8. สำนักหอสมุด (กำแพงแสน) 9 4
9. สถาบันวิจัยและพัฒนา มก.กพส. 61 22
10. สถาบันสุวรรณวาจกกสิกิจเพื่อการ 18 7
ค้นคว้าและพัฒนาปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์สัตว์
รวม 672 251
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยแบบสอบถามแบ่งออกเป็น 3
ตอน ดังนี้
ตอนที่ 1 สถานภาพส่วนตัวของผู้ตอบแบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ
(check list)
ตอนที่ 2 ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยด้านการปฏิบัติงาน มีลักษณะเป็นแบบมาตรประมาณ
ค่า (Rating Scale) ตามแบบของลิเคอร์ท (Likert) (บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ 2540 :
78)
ซึ่งมีระดับความพึงพอใจ 5 ระดับ และกำหนดเกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้
ระดับคะแนน 5 หมายถึง เห็นด้วยมากที่สุด
ระดับคะแนน 4 หมายถึง เห็นด้วยมาก
ระดับคะแนน 3 หมายถึง เห็นด้วยปานกลาง
ระดับคะแนน 2 หมายถึง เห็นด้วยน้อย
ระดับคะแนน 1 หมายถึง เห็นด้วยน้อยที่สุด
32
ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยด้านการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย
1. ด้านนโยบายและการบริหารจัดการ ข้อ 1-8 รวม 8 ข้อ
2. ด้านลักษณะงาน ข้อ 9-14 รวม 6 ข้อ
3. ด้านสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน ข้อ 15-21 รวม 7 ข้อ
4. ด้านความสัมพันธ์ในหน่วยงาน ข้อ 22-32 รวม 11 ข้อ
5. ด้านผลตอบแทนและประโยชน์เกื้อกูล ข้อ 33-39 รวม 7 ข้อ
6. ด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน ข้อ 40-45 รวม 6 ข้อ
ตอนที่ 3 ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต
กำแพงแสน ลักษณะของข้อมูลความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน จะเป็นคำถามเกี่ยวกับความรู้สึกที่มีต่องาน
และประสบการณ์ที่ได้รับจากการปฏิบัติงาน ซึ่งจะสะท้อนถึงความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน จำนวน 18 ข้อ
มีลักษณะรูปแบบเป็นแบบมาตรประมาณค่า (Rating Scale) ตามแบบของลิเคอร์ท (Likert) ซึ่งมี
ระดับความพึงพอใจ 5 ระดับ และกำหนดเกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้
ระดับคะแนน 5 หมายถึง มีความพึงพอใจมากที่สุด
ระดับคะแนน 4 หมายถึง มีความพึงพอใจมาก
ระดับคะแนน 3 หมายถึง มีความพึงพอใจปานกลาง
ระดับคะแนน 2 หมายถึง มีความพึงพอใจน้อย
ระดับคะแนน 1 หมายถึง มีความพึงพอใจน้อยที่สุด
วิธีการสร้างและพัฒนาเครื่องมือ
ผู้วิจัยได้ดำเนินการโดยมีขั้นตอนดังนี้
1. ศึกษาทฤษฎี เอกสารและงานวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน
2. ศึกษาวิธีการสร้างเครื่องมือแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ตาม
แนวคิดของลิเคอร์ท (Likert) (บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. 2540 : 249)
3. นำข้อมูลที่ได้จากข้อ 1-2 สร้างแบบสอบถาม แบบมาตราประมาณค่าเกี่ยวกับความพึง
พอใจในการปฏิบัติงานตามกรอบแนวคิด
4. นำแบบสอบถามที่สร้างขึ้นเสนอต่อคณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ และตรวจสอบ
ความเหมาะสม เมื่อปรับแก้ตามข้อแนะนำของคณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์แล้วจึงดำเนินการ
ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา เกณฑ์ในการคัดเลือกผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเครื่องมือ
ต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถในเนื้อหาที่วิจัยโดยมีคุณวุฒิและประสบการณ์ (รายละเอียดในภาค
ผนวก ข)
33
5. จัดพิมพ์แบบสอบถามฉบับสมบูรณ์ แล้วนำไปทดลอง (Try-out) กับบุคลากรของ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง
6. นำแบบสอบถามมาหาคุณภาพ นำแบบสอบถามที่ผ่านเกณฑ์ ไปหาค่าความเชื่อมั่น
ทั้งฉบับโดยวิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า (Alpha Coefficient) ตามวิธีการของครอนบัค
(Cronbach) (พวงรัตน์ ทวีรัตน์ 2540 : 125) ได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ = .9372
การเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บรวมรวมข้อมูลตามขั้นตอน ดังนี้
1. ขอหนังสือรับรองจากบัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เพื่อขอ
ความร่วมมือไปยังมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน เพื่อแจ้งวัตถุประสงค์ให้ทราบ
และขอความร่วมมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากบุคลากรในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต
กำแพงแสน
2. ส่งแบบสอบถามพร้อมหนังสือขอความร่วมมือในการตอบแบบสอบถามไปยังบุคลากร
ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน และดำเนินการเก็บแบบสอบถามคืนด้วย
ตนเอง
การวิเคราะห์ข้อมูล
1. นำแบบสอบถามที่ได้เก็บรวบรวมคืนมาทั้งหมด ตรวจความเรียบร้อยและความสมบูรณ์
ของการตอบ แล้วตรวจให้น้ำหนักตามเกณฑ์ โดยแบ่งเกณฑ์ระดับความพึงพอใจและความคิดเห็น
ออกเป็น 5 ระดับ ดังนี้ (บุญเรียง ขจรศิลป์ 2539 : 13)
ค่าเฉลี่ย ความหมาย
4.21 – 5.00 ระดับความพึงพอใจมากที่สุดและหรือเห็นด้วยมากที่สุด
3.41 – 4.20 ระดับความพึงพอใจมากและหรือเห็นด้วยมาก
2.61 – 3.40 ระดับความพึงพอใจปานกลางและหรือเห็นด้วยปานกลาง
1.81 – 2.60 ระดับความพึงพอใจน้อยและหรือเห็นด้วยน้อย
1.00 – 1.80 ระดับความพึงพอใจน้อยที่สุดและหรือเห็นด้วยน้อยที่สุด
2. นำคะแนนที่ได้ไปดำเนินการวิเคราะห์ในขั้นต่อไป
การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยทำการวิเคราะห์โดยนำแบบสอบถามที่ได้กลับคืนมาทั้งหมดมาวิเคราะห์และ
ประมวลผลด้วยโปรแกรม SPSS for Windows ดังนี้
1. ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับสถานภาพ วิเคราะห์โดยใช้สถิติ ความถี่และร้อยละ
34
2. ปัจจัยด้านการปฏิบัติงานและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน โดยหาค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานแล้วนำค่าเฉลี่ยที่ได้
ไปเทียบเกณฑ์ดังกล่าว
3. ข้อเสนอแนะในการเสริมสร้างระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ในด้านต่าง ๆ ใช้สถิติค่าความถี่
4. ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษาตามกรอบแนวคิดการวิจัย โดยหาค่า
สัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson Product-Moment Correlation
Coefficient) แล้วนำค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ที่ได้ไปเทียบตามเกณฑ์ของเดวิส
(Davis) (ผ่องพรรณ ตรัยมงคลกูล 2543 : 85 – 86) ในการบรรยายความสัมพันธ์ดังนี้
Davis’s Descriptors
ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ คำบรรยาย
0.70 หรือสูงกว่า มีความสัมพันธ์สูงมาก
0.50 – 0.69 มีความสัมพันธ์สูง
0.30 – 0.49 มีความสัมพันธ์ปานกลาง
0.10 – 0.29 มีความสัมพันธ์ต่ำ
0.01 – 0.09 แทบจะไม่มีความสัมพันธ์
5. วิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงทำนายความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน โดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
แบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression)
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้
1. ค่าร้อยละ (Percentage) เพื่ออธิบายลักษณะข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง
2. ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) เพื่อ
วิเคราะห์ระดับความคิดเห็นในการทำงานและความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน
3. ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson Product-Moment
Correlation Coefficient) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร
4. การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple
Regression) เพื่อสร้างสมการถดถอยพหุคูณ
บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ในการเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการ
ปฏิบัติงานของบุคลากร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ผู้วิจัยนำเสนอผลการวิจัย
โดยแบ่งเป็น 6 ตอน ตามลำดับดังนี้
ตอนที่ 1 ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม
ตอนที่ 2 ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยด้านการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
ตอนที่ 3 ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วิทยาเขตกำแพงแสน
ตอนที่ 4 ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ต่อปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยด้านการปฏิบัติงาน
ตอนที่ 5 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
ตอนที่ 6 ข้อเสนอแนะอื่น ๆ ของบุคลากรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต
กำแพงแสน
ตอนที่ 1 ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม
ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามตอนที่ 1 สำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับสถานภาพ
ของผู้ตอบแบบสอบถาม และใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ซึ่งผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ปรากฏผลดังแสดงในตารางที่ 3
ตารางที่ 3 ข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม
ข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพ จำนวน ร้อยละ
เพศ
ชาย 111 45.31
หญิง 134 54.69
รวม 245 100.00
36
ตารางที่ 3 (ต่อ)
ข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพ จำนวน ร้อยละ
ประเภทของบุคลากร
สายการสอน 117 47.76
สายสนับสนุน 128 52.24
รวม 245 100.00
หน่วยงานที่สังกัด
คณะเกษตร กำแพงแสน 67 27.35
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน 20 8.16
คณะสัตวแพทยศาสตร์ (กำแพงแสน) 34 13.88
คณะศึกษาศาสตร์ (กำแพงแสน) 25 10.21
คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ 21 8.57
สำนักงานวิทยาเขต วิทยาเขตกำแพงแสน 33 13.47
สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม (กำแพงแสน) 15 6.12
สำนักหอสมุด (กำแพงแสน) 4 1.63
สถาบันวิจัยและพัฒนา มก.กพส. 17 6.94
สถาบันสุวรรณวาจกกสิกิจเพื่อการค้นคว้าและ
พัฒนาปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์สัตว์ 9 3.67
รวม 245 100.00
คุณวุฒิทางการศึกษา
ต่ำกว่าปริญญาตรี 17 6.94
ปริญญาตรี 130 53.06
สูงกว่าปริญญาตรี 98 40.00
รวม 245 100.00
ระยะเวลาที่ปฏิบัติราชการในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
1 – 5 ปี 33 13.47
6 – 10 ปี 60 24.49
11 – 15 ปี 42 17.14
16 – 20 ปี 67 27.35
21 ปีขึ้นไป 43 17.55
รวม 245 100.00
37
ตารางที่ 3 (ต่อ)
ข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพ จำนวน ร้อยละ
เงินเดือน
ต่ำกว่า 10,000 บาท 36 14.69
10,001 – 15,000 บาท 108 44.08
15,001 – 20,000 บาท 61 24.90
20,001 – 25,000 บาท 19 7.76
มากกว่า 25,000 บาทขึ้นไป 21 8.57
รวม 245 100.00
การฝึกอบรมภายในประเทศในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา
1. ไม่เคยเข้ารับการอบรม 64 26.12
2. เคยผ่านการอบรม จำนวน 1 หลักสูตร 98 40.00
3. เคยผ่านการอบรม จำนวน 2 หลักสูตร 51 20.82
4. เคยผ่านการอบรม จำนวน 3 หลักสูตร 18 7.35
5. เคยผ่านการอบรม จำนวน 4 หลักสูตร 11 4.49
6. เคยผ่านการอบรม จำนวน 5 หลักสูตร 3 1.22
รวม 245 100.00
การฝึกอบรม/ดูงาน/สัมมนาต่างประเทศในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา
1. ไม่เคยเข้ารับการอบรม/ดูงาน/สัมมนาต่างประเทศ 160 65.31
2. เคยเข้ารับการอบรมฯ จำนวน 1 หลักสูตร 47 19.18
3. เคยเข้ารับการอบรมฯ จำนวน 2 หลักสูตร 25 10.20
4. เคยเข้ารับการอบรมฯ จำนวน 3 หลักสูตร 10 4.08
5. เคยเข้ารับการอบรมฯ จำนวน 4 หลักสูตร 2 0.82
6. เคยเข้ารับการอบรมฯ จำนวน 5 หลักสูตร 1 0.41
รวม 245 100.00
จากตารางที่ 3 บุคลากรในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ผู้ตอบ
แบบสอบถามมีจำนวนทั้งสิ้น 245 คน มีข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพดังต่อไปนี้
เพศ ของบุคลากรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน พบว่าประมาณ
เกินครึ่งเล็กน้อย (54.69%) เป็นเพศหญิงซึ่งมีมากกว่าเพศชายเล็กน้อย (45.31%)
38
ประเภทของบุคลากร ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน พบว่าเกินครึ่ง
เล็กน้อย (52.24%) เป็นบุคลากรสายสนับสนุนซึ่งมีมากกว่าบุคลากรสายการสอนเล็กน้อย
(47.76%)
หน่วยงานที่สังกัดของบุคลากรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จำนวน
10 หน่วยงาน พบว่าประมาณหนึ่งในสาม (27.35%) สังกัดคณะเกษตร กำแพงแสน รองลงมา
(13.88%) สังกัดคณะสัตวแพทยศาสตร์ สำนักงานวิทยาเขต วิทยาเขตกำแพงแสน (13.47%)
และคณะศึกษาศาสตร์ กำแพงแสน (10.21%) มีเพียงส่วนน้อย (1.63%) สังกัดสำนักหอสมุด
(กำแพงแสน)
คุณวุฒิทางการศึกษาของบุคลากรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
ประมาณครึ่งหนึ่ง (53.06%) มีวุฒิทางการศึกษาในระดับปริญญาตรี และรองลง (40.00 %) มี
วุฒิทางการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี และมีเพียงส่วนน้อย (6.94%) มีวุฒิทางการศึกษาต่ำกว่า
ปริญญาตรี
ระยะเวลาที่ปฏิบัติราชการในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน พบว่า
บุคลากรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ประมาณหนึ่งในสาม (27.35% และ
24.49% ตามลำดับ) มีระยะเวลาที่ปฏิบัติราชการในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต
กำแพงแสนอยู่ในช่วง 16 – 20 ปี และ 6 – 10 ปี ตามลำดับ มีเพียงส่วนน้อย (13.47%) ที่มี
ระยะเวลาที่ปฏิบัติราชการในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน อยู่ในช่วง 1 – 5 ปี
เงินเดือน พบว่าบุคลากรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ประมาณ
เกือบครึ่งหนึ่ง (44.08%) มีเงินเดือนอยู่ในช่วง 10,001 – 15,000 บาท รองลงมา
(24.90%) มีเงินเดือนอยู่ในช่วง 15,001 – 20,000 บาท มีเพียงส่วนน้อย (7.76% และ
8.57%) มีเงินเดือนอยู่ในช่วง 20,001 – 25,000 บาท และมากกว่า 25,000 บาทขึ้นไป
การฝึกอบรมภายในประเทศในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา พบว่าบุคลากรมหาวิทยาลัยเกษตร
ศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ประมาณสามในสี่ (73.88%) มีประสบการณ์การฝึกอบรมภายใน
ประเทศในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา โดยบุคลากรประมาณเกือบครึ่ง (40.00%) มีประสบการณ์ที่เคยผ่าน
การฝึกอบรมจำนวน 1 หลักสูตร มีบุคลากรประมาณหนึ่งในสี่ (26.12%) ไม่เคยฝึกอบรมภายใน
ประเทศในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา
การฝึกอบรม/ดูงาน/สัมมนาต่างประเทศในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา จากการศึกษาพบว่า
ประมาณเกินครึ่งเล็กน้อย(65.31%) ของบุคลากรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
ไม่เคยเข้ารับการฝึกอบรม/ดูงาน/สัมมนาต่างประเทศในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา มีเพียงส่วนน้อย
(34.69%) ที่เคยเข้ารับการฝึกอบรม/ดูงาน/สัมมนาต่างประเทศในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา
39
ตอนที่ 2 ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยด้านการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
ในการศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยด้านการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน แบ่งออกเป็น 6 ด้าน คือ
1. ปัจจัยด้านนโยบายและการบริหารจัดการ
2. ปัจจัยด้านลักษณะงาน
3. ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน
4. ปัจจัยด้านความสัมพันธ์ในหน่วยงาน
5. ปัจจัยด้านผลตอบแทนและประโยชน์เกื้อกูล
6. ปัจจัยด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน
รายละเอียดผลการศึกษาแต่ละด้านมีดังนี้
ตารางที่ 4 ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยด้านการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วิทยาเขตกำแพงแสน
ปัจจัยด้านการปฏิบัติงานของบุคลากร x S.D. ระดับความคิดเห็น
ด้านนโยบายและการบริหารจัดการ 3.50 0.87 มาก
ด้านลักษณะงาน 3.64 0.89 มาก
ด้านสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน 3.48 0.81 มาก
ด้านความสัมพันธ์ในหน่วยงาน 3.43 0.86 มาก
ด้านผลตอบแทนและประโยชน์เกื้อกูล 3.00 0.93 ปานกลาง
ด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน 3.44 0.88 มาก
จากตารางที่ 4 ปัจจัยด้านการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต
กำแพงแสนทั้ง 6 ด้านพบว่า มีปัจจัยด้านการปฏิบัติงาน 5 ด้านที่บุคลากรเห็นด้วยมาก ได้แก่ ปัจจัย
ด้านลักษณะงาน ( x = 3.64) ปัจจัยด้านนโยบายและการบริหารจัดการ ( x = 3.50) ปัจจัยด้าน
สภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน ( x = 3.48) ปัจจัยด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน
( x = 3.44) และปัจจัยด้านความสัมพันธ์ในหน่วยงาน ( x= 3.43) มีเพียงปัจจัยเดียวที่
บุคลากรเห็นด้วยในระดับปานกลาง คือ ปัจจัยด้านผลตอบแทนและประโยชน์เกื้อกูล ( x = 3.00)
ซึ่ง รายละเอียดในแต่ละปัจจัยดังปรากฏในตารางที่ 5 - 16
40
ตารางที่ 5 ปัจจัยด้านนโยบายและการบริหารจัดการ
n =
245
ระดับคะแนนความคิดเห็นต่อปัจจัย จำนวน ร้อยละ ความคิดเห็นต่อปัจจัยด้าน
ด้านนโยบายและการบริหารจัดการ (คน) นโยบายและการบริหารจัดการ
1.00 – 1.80 7 2.86 เห็นด้วยน้อยที่สุด
1.81 – 2.60 23 9.34 เห็นด้วยน้อย
2.61 – 3.40 75 30.66 เห็นด้วยปานกลาง
3.41 – 4.20 120 49.08 เห็นด้วยมาก
4.21 – 5.00 20 8.06 เห็นด้วยมากที่สุด
รวม 245 100.00
จากตารางที่ 5 ปัจจัยด้านนโยบายและการบริหารจัดการ บุคลากรมหาวิทยาลัยเกษตร
ศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ประมาณเกือบครึ่งหนึ่ง (49.08%) เห็นด้วยมากต่อนโยบายและการ
บริหารจัดการ มีบุคลากรเพียงจำนวนน้อย (2.86%) เห็นด้วยน้อยมากต่อนโยบายและการบริหาร
จัดการ
41
ตารางที่ 6 ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของปัจจัยด้านนโยบายและการบริหารจัดการ
n = 245
ปัจจัยด้านนโยบายและการบริหารจัดการ x S.D. ความคิดเห็น
1. หน่วยงานของท่านมีการประชุมชี้แจงนโยบาย เป้า
หมาย และแผนงานต่าง ๆ ให้ทุกคนได้รับทราบอย่าง
สม่ำเสมอ
3.45 0.97 มาก
2. หน่วยงานของท่านเปิดโอกาสให้ทุกคนได้เสนอแผนและ
หรือมีส่วนร่วมในการวางแผนดำเนินงานเพื่อกำหนดผู้รับ
ผิดชอบและขอบเขตการทำงาน
3.50 0.95 มาก
3. หน่วยงานของท่านมีการกระจายงานและหน้าที่ความรับ
ผิดชอบได้อย่างเหมาะสมตรงตามตำแหน่งหน้าที่
3.52 0.89 มาก
4. หน่วยงานของท่านมีการจัดระบบงานให้บุคลากรเรียนรู้
ในการทำงานเป็นทีม
3.49 0.86 มาก
5. หน่วยงานของท่านมีระบบการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลอย่าง
เหมาะสมพร้อมตรวจสอบความถูกต้องอย่างสม่ำเสมอ
3.49 0.76 มาก
6. การพัฒนาบุคลากรมีความเหมาะสมกับภาระงานหลัก
ของบุคลากรและความจำเป็นของหน่วยงาน
3.57 0.83 มาก
7. หน่วยงานของท่านได้วางแนวทางในการติดตามและ
ประเมินผลในการปฏิบัติงานได้อย่างชัดเจนเป็นมาตร
ฐาน
3.48 0.89 มาก
รวม 3.50 0.87 มาก
จากตารางที่ 6 เมื่อศึกษาความคิดเห็นต่อปัจจัยด้านนโยบายและการบริหารจัดการ
โดยภาพรวม พบว่าบุคลากรเห็นด้วยมาก ว่าหน่วยงานมีวิธีการบริหารจัดการที่ดี ( x = 3.50) เมื่อ
วิเคราะห์เป็นรายข้อพบว่า บุคลากรมีเห็นด้วยมากทุกข้อต่อปัจจัยด้านนโยบายและการบริหารจัดการ
โดยข้อที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด คือ การพัฒนาบุคลากรมีความเหมาะสมกับภาระงานหลักของบุคลากร
และความจำเป็นของหน่วยงาน ( x = 3.57 ) รองลงมา คือ หน่วยงานมีการกระจายงานและหน้าที่
ความรับผิดชอบได้อย่างเหมาะสมตรงตามตำแหน่งหน้าที่ ( x =3.52) ข้อที่มีคะแนนค่าเฉลี่ยน้อย
ที่สุด คือ หน่วยงานมีการประชุมชี้แจงนโยบาย เป้าหมายและแผนงานต่าง ๆ ให้ทุกคนได้รับทราบ
อย่างสม่ำเสมอ ( x =3.45) สะท้อนให้เห็นว่าผู้บริหารได้ให้ความสำคัญในด้านนโยบายและการ
บริหารจัดการมากซึ่งทำให้เป็นที่พึงพอใจของบุคลากรในหน่วยงาน
42
ตารางที่ 7 ปัจจัยด้านลักษณะงาน
n = 245
ระดับคะแนนความคิดเห็น จำนวน ร้อยละ ความคิดเห็นต่อปัจจัย
ต่อปัจจัยด้านลักษณะงาน (คน) ด้านลักษณะงาน
1.00 – 1.80 6 2.37 เห็นด้วยน้อยที่สุด
1.81 – 2.60 17 6.91 เห็นด้วยน้อย
2.61 – 3.40 65 26.54 เห็นด้วยปานกลาง
3.41 – 4.20 121 49.56 เห็นด้วยมาก
4.21 – 5.00 36 14.62 เห็นด้วยมากที่สุด
รวม 245 100.00
จากตารางที่ 7 ปัจจัยด้านลักษณะงาน บุคลากรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต
กำแพงแสน ประมาณเกือบครึ่งหนึ่ง (49.56%) เห็นด้วยมากต่อลักษณะงานที่ปฏิบัติอยู่ มีบุคลากร
จำนวนน้อยมาก (2.37%) ที่เห็นด้วยน้อยมากต่อลักษณะงานที่ปฏิบัติ
43
ตารางที่ 8 ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของปัจจัยด้านลักษณะงาน
n = 245
ปัจจัยด้านลักษณะงาน x S.D. ความคิดเห็น
1. งานที่ท่านรับผิดชอบต้องใช้ความรู้ความสามารถสูงจึงจะ
ทำได้สำเร็จ
3.81 0.76 มาก
2. งานของท่านมีขั้นตอนในการปฏิบัติงานมาก และมีความ
ยุ่งยากซับซ้อนในแต่ละขั้นตอน
3.69 0.81 มาก
3. ท่านต้องปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่แทรกเข้ามาโดยไม่คาดคิดใน
แต่ละวันมากจนทำให้เพิ่มภาระกิจหลักที่รับ ผิดชอบอยู่
3.36 1.18 ปานกลาง
4. ลักษณะงานของท่านต้องใช้ทักษะและความรู้ ความ
สามารถที่หลากหลาย
3.85 0.75 มาก
5. ลักษณะงานที่ท่านปฏิบัติส่วนใหญ่ไม่สามารถรับ ผิด
ชอบโดยเบ็ดเสร็จตั้งแต่เริ่มต้นจนสำเร็จด้วย ตัวท่าน
เอง
3.51 0.95 มาก
รวม 3.64 0.89 มาก
จากตารางที่ 8 เมื่อศึกษาปัจจัยด้านลักษณะงาน โดยภาพรวมพบว่า บุคลากรเห็นด้วย
มากต่อลักษณะงานว่าได้รับมอบหมายงานที่เหมาะสมกับภาระงานและตำแหน่ง (x = 3.64)
เมื่อวิเคราะห์เป็นรายข้อ พบว่า ความคิดเห็นต่อปัจจัยด้านลักษณะงานมี 2 ระดับเท่านั้น คือ เห็น
ด้วยระดับมาก 4 รายการ และเห็นด้วยระดับปานกลาง 1 รายการ โดยความคิดเห็นต่อปัจจัยด้าน
ลักษณะงานที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดในระดับมาก คือ เห็นด้วยมากว่าลักษณะงานที่ทำต้องใช้ทักษะ
และความรู้ความสามารถที่หลากหลาย (x = 3.85) รองลงมา คือ งานที่รับผิดชอบต้องใช้ความ
รู้ความสามารถสูงจึงจะทำได้สำเร็จ ( x = 3.81) ส่วนความคิดเห็นต่อปัจจัยด้านลักษณะงานที่มี
คะแนนเฉลี่ยต่ำสุดในระดับปานกลาง คือ ต้องปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่แทรกเข้ามาโดยไม่คาดคิดในแต่ ละ
วันมากจนทำให้เพิ่มภาระกิจหลักที่รับผิดชอบอยู่ (x = 3.36 ) ได้สะท้อนให้เห็นว่าบุคลากรมี
งานอื่น ๆ ที่แทรกเข้ามาโดยไม่คาดคิด ซึ่งเป็นการเพิ่มภาระกิจการทำงาน ส่งผลต่อการปฏิบัติงาน
ภาระกิจหลักลดลง ดังนั้น ผู้บริหารจะต้องคำนึงถึงภาระกิจหลักในการปฏิบัติงานของบุคลากร โดย
มอบหมายภาระกิจอื่น ๆ ที่แทรกเข้ามาในแต่ละวันให้เหมาะสมกับแต่ละสายงานของบุคลากรและไม่
ส่งผลกระทบต่อภาระกิจหลักในการปฏิบัติงาน
44
ตารางที่ 9 ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน
n = 245
ระดับคะแนนความคิดเห็นต่อ จำนวน ร้อยละ ความคิดเห็นต่อปัจจัยด้าน
ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในการ (คน) สภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน
ปฏิบัติงาน
1.00 – 1.80 5 1.98 เห็นด้วยน้อยที่สุด
1.81 – 2.60 21 8.40 เห็นด้วยน้อย
2.61 – 3.40 81 33.24 เห็นด้วยปานกลาง
3.41 – 4.20 122 49.74 เห็นด้วยมาก
4.21 – 5.00 16 6.64 เห็นด้วยมากที่สุด
รวม 245 100.00
จากตารางที่ 9 ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ประมาณเกือบครึ่งหนึ่ง (49.74%) เห็นด้วยมากต่อ
สภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน มีบุคลากรจำนวนน้อยมาก (1.98%) ที่เห็นด้วยน้อยมากต่อ
สภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน
45
ตารางที่ 10 ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน
n = 245
ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน x S.D. ความคิดเห็น
1. อุปกรณ์เครื่องใช้ที่จำเป็นในการปฏิบัติงานในส่วนที่ รับผิด
ชอบมีปริมาณ
3.42 0.89 มาก
2. อุปกรณ์เครื่องใช้ที่จำเป็นในการปฏิบัติงานในส่วนที่ รับผิด
ชอบมีคุณภาพเพียงพอต่อการทำงานของท่าน
3.29 0.86 ปานกลาง
3. สภาพแวดล้อมของสถานที่ทำงานมีความสะอาด เรียบร้อย
สวยงามและสะดวกสบายต่อการทำงาน
3.57 0.73 มาก
4. หน่วยงานของท่านได้จัดสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก
สำหรับการติดต่อประสานงานและบริการแก่ ผู้ใช้บริการ
ได้อย่างเหมาะสม
3.49 0.86 มาก
5. ท่านได้รับความสะดวกสบายในติดต่อประสานงานระหว่าง
หน่วยงาน
3.59 0.73 มาก
6. หน่วยงานของท่านได้จัดแบ่งสัดส่วนพื้นที่ใช้สอยอื่น ๆ ไว้
อย่างเหมาะสมเป็นประโยชน์ต่อทุกคน
3.57 0.84 มาก
รวม 3.48 0.81 มาก
จากตารางที่ 10 เมื่อศึกษาปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน โดยภาพรวม
พบว่า บุคลากรเห็นด้วยมากว่าสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานมีความเหมาะสมดี (x =
3.48) เมื่อวิเคราะห์เป็นรายข้อ พบว่า ความคิดเห็นต่อปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติ
งานมี 2 ระดับเท่านั้น คือ เห็นด้วยระดับมาก 5 รายการ และเห็นด้วยระดับปานกลาง 1 รายการ
โดยความ คิดเห็นต่อปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดในระดับ
มาก คือ เห็นด้วยมากว่าได้รับความสะดวกสบายในการติดต่อประสานงานระหว่างหน่วย
งาน ( x= 3.59) รองลงมาคือ หน่วยงานได้มีการจัดแบ่งสัดส่วนพื้นที่ใช้สอยอื่น ๆ ไว้
อย่างเหมาะสมเป็นประโยชน์ ต่อทุกคน (x = 3.57) และสภาพแวดล้อมของสถานที่ทำงาน
มีความสะอาดเรียบร้อย สวยงามและสะดวกสบายต่อการทำงาน ( x= 3.57) ส่วนความคิด
เห็นต่อปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานที่มีคะแนนเฉลี่ยต่ำสุดในระดับปานกลาง คือ เห็น
ด้วยปานกลางว่าอุปกรณ์เครื่องใช้ ที่จำเป็นในการปฏิบัติงานในส่วนที่รับผิดชอบมีคุณภาพเพียงพอ
ต่อการทำงาน ( x = 3.29) สะท้อนให้เห็นว่า บุคลากรเห็นว่าอุปกรณ์เครื่องใช้ที่จำเป็นต่อ
การปฏิบัติงานในส่วนที่รับผิดชอบมี ผลต่อการปฏิบัติงาน เช่น ทำให้งานเสร็จล่าช้ากว่าที่กำหนด
หรืองานที่ออกมาไม่มีคุณภาพเพียงพอ ดังนั้น ผู้บริหารจะต้องจัดสรรงบประมาณอย่างเพียงพอ
เพื่อจัดซื้ออุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ที่
46
จำเป็นต่อการปฏิบัติงานในส่วนที่รับผิดชอบของบุคลากรในหน่วยงานเพื่อให้งานที่ออกมาเสร็จ
ทันเวลาและมีคุณภาพ
ตารางที่ 11 ปัจจัยด้านความสัมพันธ์ในหน่วยงาน
n = 245
ระดับคะแนนความคิดเห็นต่อปัจจัย จำนวน ร้อยละ ความคิดเห็นต่อปัจจัยด้าน
ด้านความสัมพันธ์ในหน่วยงาน (คน) ความสัมพันธ์ในหน่วยงาน
1.00 – 1.80 9 3.67 เห็นด้วยน้อยที่สุด
1.81 – 2.60 25 10.32 เห็นด้วยน้อย
2.61 – 3.40 80 32.47 เห็นด้วยปานกลาง
3.41 – 4.20 112 45.86 เห็นด้วยมาก
4.21 – 5.00 19 7.68 เห็นด้วยมากที่สุด
รวม 245 100.00
จากตารางที่ 11 ปัจจัยด้านความสัมพันธ์ในหน่วยงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยเกษตร
ศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ประมาณเกือบครึ่งหนึ่ง (45.86%) เห็นด้วยมากต่อความสัมพันธ์ ใน
หน่วยงาน และมีบุคลากรจำนวนน้อยมาก (3.67%) ที่เห็นด้วยน้อยที่สุดต่อความสัมพันธ์ใน
หน่วยงาน
47
ตารางที่ 12 ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของปัจจัยด้านความสัมพันธ์ในหน่วยงาน
n = 245
ปัจจัยด้านความสัมพันธ์ในหน่วยงาน x S.D. ความคิดเห็น
1. ผู้บังคับบัญชาเป็นผู้ที่สามารถสร้างความร่วมมือในการ
ทำงานของบุคลากรในหน่วยงาน
3.53 0.89 มาก
2. ผู้บังคับบัญชาเป็นผู้มีเหตุผลกับผู้ใต้บังคับบัญชา 3.56 0.82 มาก
3. ผู้บังคับบัญชาวางตัวเป็นกันเองกับผู้ใต้บังคับบัญชา 3.66 0.90 มาก
4. ผู้บังคับบัญชาช่วยเหลือแนะนำและเป็นที่ปรึกษาที่ดีใน
เรื่องงาน
3.54 1.02 มาก
5. ผู้บังคับบัญชาช่วยเหลือแนะนำและเป็นที่ปรึกษาที่ดีใน
เรื่องส่วนตัว
2.68 1.10 ปานกลาง
6. ผู้บังคับบัญชาเป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติงาน 3.25 0.90 ปานกลาง
7. ผู้ร่วมงานส่วนใหญ่ใช้เหตุผลในการทำงาน 3.28 0.80 ปานกลาง
8. ผู้ร่วมงานส่วนใหญ่มีความรับผิดชอบในการทำงาน 3.44 0.73 มาก
9. ผู้ร่วมงานส่วนใหญ่ช่วยเหลือและร่วมมือกันทำงาน ด้วย
ความเต็มใจและมีการทำงานเป็นทีม
3.62 0.81 มาก
10. ผู้ร่วมงานส่วนใหญ่มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น
และช่วยกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในหน่วยงาน
3.58 0.75 มาก
11. ท่านและผู้ร่วมงานมีความมุ่งมั่นในการทำงานร่วมกัน 3.65 0.74 มาก
รวม 3.43 0.86 มาก
จากตารางที่ 12 เมื่อศึกษาปัจจัยด้านความสัมพันธ์ในหน่วยงานโดยภาพรวม พบว่า
บุคลากรเห็นด้วยมากว่า บุคลากรในหน่วยงานมีความสัมพันธ์ดีมาก (x = 3.43) เมื่อวิเคราะห์
เป็นรายข้อ พบว่า บุคลากรเห็นด้วยระดับมากต่อปัจจัยด้านความสัมพันธ์ในหน่วยงาน 8 รายการ
และเห็นด้วยระดับปานกลาง 3 รายการ คือ บุคลากรเห็นด้วยมากว่าผู้บังคับบัญชาวางตัวเป็นกัน
เองกับผู้ใต้บังคับบัญชา ( x = 3.66) รองลงมา คือ บุคลากรในหน่วยงานมีความมุ่งมั่นในการ
ทำงานร่วมกัน ( x = 3.65) นอกจากนี้ผู้ร่วมงานส่วนใหญ่ช่วยเหลือและร่วมมือกันทำงานด้วย
ความเต็มใจและมีการทำงานเป็นทีม ( x = 3.62) ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยด้านความ
สัมพันธ์ในหน่วยงานที่มีคะแนนเฉลี่ยต่ำสุดในระดับปานกลาง คือ บุคลากรเห็นด้วยในระดับปาน
กลางว่าผู้บังคับ
48
บัญชาช่วยเหลือแนะนำและเป็นที่ปรึกษาที่ดีในเรื่องส่วนตัว (x = 2.68) ที่เป็นเช่นนี้อาจเป็น
เพราะผู้บังคับบัญชาอาจมีภาระกิจจำนวนมากและต้องมีความรับผิดชอบสูง จึงส่งผลทำให้บุคลากร
เห็นว่า
ผู้บังคับบัญชามีเวลาไม่มากพอให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาต่อการให้ความช่วยเหลือแนะนำและเป็นที่
ปรึกษาในเรื่องส่วนตัว
ตารางที่ 13 ปัจจัยด้านผลตอบแทนและประโยชน์เกื้อกูล
n = 245
ระดับคะแนนความคิดเห็นต่อ จำนวน ร้อยละ ความคิดเห็นต่อปัจจัยด้าน
ปัจจัยด้านผลตอบแทนและ (คน) ผลตอบแทนและประโยชน์
ประโยชน์เกื้อกูล เกื้อกูล
1.00 – 1.80 16 6.62 เห็นด้วยน้อยที่สุด
1.81 – 2.60 52 21.08 เห็นด้วยน้อย
2.61 – 3.40 90 36.56 เห็นด้วยปานกลาง
3.41 – 4.20 81 33.10 เห็นด้วยมาก
4.21 – 5.00 6 2.64 เห็นด้วยมากที่สุด
รวม 245 100.00
จากตารางที่ 13 ปัจจัยด้านผลตอบแทนและประโยชน์เกื้อกูลต่อบุคลากรมหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ประมาณหนึ่งในสาม (36.56%) เห็นด้วยในระดับปานกลาง
ต่อผลตอบแทนและประโยชน์เกื้อกูลและมีบุคลากรเพียงจำนวนน้อยมาก (2.64%) ที่เห็นด้วยมาก
ที่สุดต่อผลตอบแทนและประโยชน์เกื้อกูลในหน่วยงาน
49
ตารางที่ 14 ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของปัจจัยด้านผลตอบแทนและประโยชน์เกื้อกูล
n = 245
ปัจจัยด้านผลตอบแทนและประโยชน์เกื้อกูล x S.D. ความคิดเห็น
1. ระบบบัญชีเงินเดือนของทางราชการมีความ เหมาะ
สม สอดคล้องกับค่าครองชีพในปัจจุบัน
3.13 0.98 ปานกลาง
2. ผลตอบแทนความดีความชอบของหน่วยงานโปร่งใส
และยุติธรรม
3.28 0.90 ปานกลาง
3. ความก้าวหน้าของตำแหน่งในสายงานท่านมี ความ
เสมอภาพและเท่าเทียมกับสายงานอื่น
3.31 0.98 ปานกลาง
4. สวัสดิการที่ได้รับ เช่น ค่ารถ ค่าเช่าที่พัก และค่า เล่า
เรียนบุตร มีความเหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจใน
ปัจจุบัน
2.60 0.94 น้อย
5. ค่าตอบแทนการทำงานล่วงเวลา ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่า
พาหนะเดินทางมีความเหมาะสมเพียงพอกับ การ
ปฏิบัติงาน
2.62 0.89 ปานกลาง
6. เงินเดือนที่ท่านได้รับเหมาะสมกับปริมาณงานและความ
รับผิดชอบของท่าน
3.07 0.89 ปานกลาง
รวม 3.00 0.93 ปานกลาง
จากตารางที่ 14 เมื่อศึกษาปัจจัยด้านผลตอบแทนและประโยชน์เกื้อกูลโดยภาพรวม พบว่า
บุคลากรเห็นด้วยระดับปานกลางต่อผลตอบแทนและประโยชน์เกื้อกูล ( x = 3.00) เมื่อวิเคราะห์
เป็นรายข้อ พบว่า ความคิดเห็นต่อปัจจัยด้านผลตอบแทนและประโยชน์เกื้อกูลมี 2 ระดับเท่านั้น คือ
เห็นด้วยระดับปานกลาง 5 รายการ และเห็นด้วยระดับน้อย 1 รายการ โดยความคิดเห็นต่อปัจจัย
ด้านผลตอบแทนและประโยชน์เกื้อกูลที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดในระดับปานกลาง คือ ความก้าวหน้าของ
ตำแหน่งในสายงานของตนเองมีความเสมอภาพและเท่าเทียมกับ สายงานอื่น (x = 3.31) รองลง
มา คือ ผลตอบแทนความดีความชอบของหน่วยงานโปร่งใสและยุติธรรม (x = 3.28) ส่วนความ
คิดเห็นต่อปัจจัยด้านผลตอบแทนและประโยชน์เกื้อกูลที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดในระดับน้อย คือ บุคลากร
เห็นว่า สวัสดิการที่ได้รับ เช่น ค่ารถ ค่าเช่าที่พัก และค่าเล่าเรียนบุตรยังไม่มีความเหมาะสมกับภาวะ
เศรษฐกิจในปัจจุบัน (x = 2.60) เป็นมุมมองสะท้อนให้เห็นว่าบุคลากรเห็นว่าปัจจัยด้านผลตอบ
แทนและประโยชน์เกื้อกูล ที่ควรปรับปรุงคือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ควร
จัดสวัสดิการต่าง ๆ เพิ่มขึ้นเกือบทุกด้าน โดยเฉพาะสวัสดิการเกี่ยวกับ ค่ารถ ค่าเช่าที่พัก ค่าเล่าเรียน
บุตร เป็นต้น
50
ตารางที่ 15 ปัจจัยด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน
n = 245
ระดับคะแนนความคิดเห็นต่อ จำนวน ร้อยละ ความคิดเห็นต่อปัจจัยด้าน
ปัจจัยด้านความก้าวหน้าใน (คน) ความก้าวหน้าในตำแหน่ง
ตำแหน่งหน้าที่การงาน หน้าที่การงาน
1.00 – 1.80 10 4.01 เห็นด้วยน้อยที่สุด
1.81 – 2.60 22 8.91 เห็นด้วยน้อย
2.61 – 3.40 72 29.59 เห็นด้วยปานกลาง
3.41 – 4.20 127 51.84 เห็นด้วยมาก
4.21 – 5.00 14 5.65 เห็นด้วยมากที่สุด
รวม 245 100.00
จากตารางที่ 15 ปัจจัยด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงานของบุคลากร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ประมาณครึ่ง (51.84%) มีเห็นด้วยมากต่อ
ความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน มีบุคลากรจำนวนน้อยมาก (4.01%) เห็นด้วยน้อยที่สุด
ต่อความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน
51
ตารางที่ 16 ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของปัจจัยด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่
การงาน
n = 245
ปัจจัยด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน x S.D. ความคิดเห็น
1. ท่านได้รับการสนับสนุนให้ไปศึกษาต่อ ฝึกอบรม ดู
งานตามความเหมาะสม
3.43 0.96 มาก
2. ท่านได้รับการสนับสนุนให้มีความก้าวหน้าในการทำงาน
ที่เหมาะสมกับผลงาน
3.44 0.84 มาก
3. ท่านได้รับการสนับสนุนให้เลื่อนขั้นเงินเดือนได้ ตาม
ความรู้ความสามารถและความเป็นธรรม
3.35 0.83 ปานกลาง
4. งานที่ได้รับมอบหมายมีส่วนส่งเสริมให้ท่านได้รับความ
ก้าวหน้า
3.52 0.86 มาก
5. ผู้บังคับบัญชาสนับสนุนให้ท่านได้รับความก้าวหน้าใน
ตำแหน่งหน้าที่การงาน
3.48 0.95 มาก
รวม 3.44 0.88 มาก
จากตารางที่ 16 เมื่อศึกษาปัจจัยด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงานโดยภาพรวม
บุคลากรเห็นด้วยมากว่า บุคลากรมีความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน ( x = 3.44) เมื่อ
วิเคราะห์เป็นรายข้อ พบว่า ความคิดเห็นต่อปัจจัยด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงานมี 2
ระดับเท่านั้น คือ เห็นด้วยระดับมาก 4 รายการ และเห็นด้วยระดับปานกลาง 1 รายการ โดยความ
คิดเห็นต่อปัจจัยด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงานที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ บุคลากรเห็นด้วย
มากว่างานที่ได้รับมอบหมายมีส่วนส่งเสริมให้ตนเองได้รับความก้าวหน้า ( x = 3.52) รองลงมา
คือ ผู้บังคับบัญชาสนับสนุนให้บุคลากรใต้บังคับบัญชาได้รับความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน
(x = 3.48) ส่วนความคิดเห็นต่อปัจจัยด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงานที่มีคะแนน
เฉลี่ยต่ำสุดในระดับปานกลาง คือ บุคลากรได้รับการสนับสนุนให้เลื่อนขั้นเงินเดือนได้ตามความรู้
ความสามารถและความเป็นธรรม ( x = 3.35) สะท้อนให้เห็นว่าบุคลากร ยังเห็นว่าการสนับสนุน
การให้เลื่อนขั้นเงินเดือนได้ตามความรู้ความสามารถและความเป็นธรรม ยังไม่ดีพอ ผลการประเมิน
ยังไม่มีความเป็นธรรม ซึ่งจะส่งผลทำให้บุคลากรที่มีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติงานไม่มีขวัญและ
กำลังใจ และจะส่งผลในระยะยาวต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการทำงานของบุคลากรใน
อนาคต
52
ตอนที่ 3 ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต
กำแพงแสน
ผลการศึกษาความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วิทยาเขตกำแพงแสน ปรากฏรายละเอียดดังตารางที่ 17 และตารางที่ 18
ตารางที่ 17 ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต
กำแพงแสน
n = 245
ระดับคะแนน จำนวน ร้อยละ ความพึงพอใจในการ
ความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน (คน) ปฏิบัติงาน
1.00 – 1.80 3 1.27 เห็นด้วยน้อยที่สุด
1.81 – 2.60 10 3.99 เห็นด้วยน้อย
2.61 – 3.40 41 16.58 เห็นด้วยปานกลาง
3.41 – 4.20 114 46.69 เห็นด้วยมาก
4.21 – 5.00 77 31.47 เห็นด้วยมากที่สุด
รวม 245 100.00
จากตารางที่ 17 ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยเกษตร
ศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ประมานเกือบครึ่ง (46.69%) มีความพึงพอใจมากต่อการปฏิบัติงาน
ของตนเองและมีบุคลากรจำนวนน้อยมาก (1.27%) มีความพึงพอใจน้อยที่สุดต่อการปฏิบัติงาน
ของตนเอง
53
ตารางที่ 18 ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร
n = 245
ความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน
x S.D. ความพึงพอใจ
1. งานที่ท่านปฏิบัติเหมาะสมกับคุณวุฒิและตำแหน่ง 4.02 0.75 มาก
2. ท่านรู้สึกมีคุณค่าและมีความหมายที่ได้ปฏิบัติงาน ที่ได้
รับมอบหมายนอกเหนือภาระกิจหลัก
4.01
0.67
มาก
3. งานที่ท่านปฏิบัติเป็นงานที่สนุก มีโอกาสเรียนรู้ สิ่งใหม่

3.82 0.83 มาก
4. งานที่ปฏิบัติเป็นงานที่สร้างสรรค์ สามารถพัฒนา
ทักษะความรู้ความสามารถให้สูงขึ้น
3.91
0.82 มาก
5. งานที่ท่านปฏิบัติมีความก้าวหน้าและเป็นที่ยอม รับแก่
สังคม
3.91
0.80 มาก
6. ท่านได้รับการมอบหมายงานอย่างยุติธรรม 3.68 0.82 มาก
7. ท่านสามารถปฏิบัติงานได้ตลอดเวลาและมี ความสุข
ในการทำงาน
3.94
0.78 มาก
8. งานที่ท่านปฏิบัติเป็นงานที่มีเกียรติ สังคมให้ การ
ยอมรับนับถือ
4.03
0.74 มาก
9. งานที่ท่านปฏิบัติเป็นงานที่มีประโยชน์และ มี
โอกาสได้ช่วยเหลือผู้อื่น
4.04
0.78 มาก
10. งานที่ท่านปฏิบัติให้ผลประโยชน์ตอบแทนที่ เหมาะ
สมกับภาระงาน
4.32 0.88 มากที่สุด
11. งานที่ท่านปฏิบัติไม่ตรงกับความถนัด และ ความ
สามารถที่แท้จริงของท่าน
3.86 0.94 มาก
12. งานที่ท่านปฏิบัติเป็นงานประจำ 4.24 0.97 มากที่สุด
13. งานที่ท่านปฏิบัติมีขีดจำกัดในการพัฒนาให้ได้ทันกับ
ความก้าวหน้าของวิทยาการหรือเทคโนโลยี
4.22 0.79 มากที่สุด
14. งานที่ท่านทำ เป็นงานแบบเป็นทีม 4.31 0.75 มากที่สุด
15. ไม่มีใครสนใจและเห็นความสำคัญของงานที่ ท่าน
ปฏิบัติ
3.76 1.02 มาก
16. งานที่ท่านปฏิบัติเหมือนการปิดทองหลังพระ 3.91 1.03 มาก
54
ตารางที่ 18 (ต่อ)
n = 245
ความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน
x S.D. ความพึงพอใจ
17. ท่านรู้สึกว่าระเบียบ วินัยและข้อกฎหมายบาง
ประการยังเป็นอุปสรรคและไม่เอื้ออำนวยต่อการ
ปฏิบัติงาน
4.23 0.85 มากที่สุด
18. ท่านต้องการการสนับสนุนพัฒนางานของท่านให้ทันกับ
ความก้าวหน้าของวิทยาการหรือเทคโนโลยี
4.26 0.87 มากที่สุด
รวม 4.02 0.83 มาก
จากตารางที่ 18 เมื่อศึกษาโดยภาพรวมของความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน พบว่าบุคลากรมีความพึงพอใจมากในการ
ปฏิบัติงาน (x = 4.02) เมื่อศึกษาเป็นรายข้อพบว่าบุคลากรมีความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน
มากที่สุด 6 รายการ และมีความพึงพอใจมาก จำนวน 12 รายการ โดยบุคลากรมีความพึงพอใจมาก
ที่สุดในการปฏิบัติงานเป็นอันดับแรก คือ บุคลากรพึงพอใจมากที่สุดต่องานที่ปฏิบัติ ให้ผลประโยชน์
ตอบแทนที่เหมาะสมกับภาระงาน ( x = 4.32) รองลงมาคือ งานที่ทำนั้นเป็นการทำงานแบบ
เป็นทีม ( x = 4.31) และบุคลากรมีความต้องการให้หน่วยงานสนับสนุนพัฒนางานของตนเองให้
ทันกับความก้าวหน้าของวิทยาการหรือเทคโนโลยี ( x = 4.26) ในส่วนของความพึงพอใจมากต่อ
การปฏิบัติงานของบุคลากรในอันดับท้ายสุด คือ การได้รับมอบหมายงานให้ปฏิบัติอย่างยุติธรรม
( x = 3.68) รองลงมาคือ ไม่มีใครสนใจและเห็นความสำคัญของานที่ตนเองปฏิบัติ (x =
3.76) และงานที่ปฏิบัติเป็นงานที่สนุกมีโอกาสเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ( x = 3.82) ซึ่งสะท้อนให้ผู้
บริหารทราบว่าบุคลากรยังมีความรู้สึกว่างานที่ตนเองได้รับมอบหมายและปฏิบัติอยู่นั้นยังไม่ค่อยมี
ความยุติธรรมและไม่มีใครเห็นความสำคัญของงานที่ทำ จึงทำให้บุคลากรรู้สึกว่าไม่ได้ปฏิบัติงานที่
ตรงตามความถนัดและความสามารถของตนเอง
55
ตอนที่ 4 ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ต่อปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยด้านการ
ปฏิบัติงาน
การวิเคราะห์และเสนอผลการวิจัยในตอนนี้เพื่อแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระ
คือ เพศ สายงาน ระยะเวลาการปฏิบัติราชการในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
การฝึกอบรมภายในประเทศ และต่างประเทศ และปัจจัยด้านการปฏิบัติงาน ได้แก่ นโยบายและการ
บริหารจัดการ ลักษณะงาน สภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน ความสัมพันธ์ในหน่วยงาน ผลตอบ
แทนและประโยชน์เกื้อกูล และความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน กับตัวแปรตามคือ ความ พึง
พอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ผู้วิจัยได้
กำหนดสัญญลักษณ์ที่ใช้ดังนี้
Y แทน ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร
X1 แทน เพศ
X2 แทน สายงาน
X3 แทน ระยะเวลาการปฏิบัติราชการในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วิทยาเขตกำแพงแสน
X4 แทน การฝึกอบรมภายในประเทศในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา
X5 แทน การฝึกอบรม/ดูงาน/สัมมนาต่างประเทศในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา
X6 แทน นโยบายและการบริหารจัดการ
X7 แทน ลักษณะงาน
X8 แทน สภาพแวดล้อมการทำงาน
X9 แทน ความสัมพันธ์ในหน่วยงาน
X10 แทน ผลตอบแทนและประโยชน์เกื้อกูล
X11 แทน ความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน
ตารางที่ 19 ค่าสหสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจในการปฎิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วิทยาเขตกำแพงแสน
ตัวแปร ปัจจัยด้านต่าง ๆ
X1 X2 X3 X4 X5 X6 X7 X8 X9
X10 X11
X1 1.000 .025 .077 .031 -.026 -.140* -.068 -.108 .043 -.039 -.054
X2 1.000 .204** -.018 -.426** -.105 .007 -.219** -.112 -.187** -
.236**
X3 1.000 .004 .092 .149* .119 .056 -.017 .058
.048
X4 1.000 .120 .027 .034 -.073 -.008 -.090 .039
X5 1.000 .231** .089 .195** .147* .163*
.240**
X6 1.000 .328** .600** .633** .509**
.624**
X7 1.000 .275** .315** .181**
.350**
X8 1.000 .569 ** .501**
.566**
X9 1.000 .487** .720**
X10 1.000 .616**
X11 1.000
Y -.072 -.389** .015 .075 .269** .418** .280** .340** .400** .382** .552**
** p ≤ 0.01
* p ≤ 0.05
57
จากตารางที่ 19 ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร
ต่อปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยด้านการปฏิบัติงาน พบว่า ความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงานมี
ความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยปัจจัย
ด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงานมีความสัมพันธ์ระดับสูงแบบผันแปรตามกันกับความ
พึงพอใจในการปฏิบัติงาน (r = 0.552) นอกจากนี้มีปัจจัย 5 ปัจจัย คือ ปัจจัยด้านนโยบายและ
การบริหารจัดการ ปัจจัยด้านความสัมพันธ์ในหน่วยงาน ปัจจัยด้านสายงาน ปัจจัยด้านผลตอบแทน
และประโยชน์เกื้อกูล และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์กับความพึงพอ
ใจในการปฏิบัติงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยปัจจัยด้านสายงานมีความสัมพันธ์
ระดับปานกลางแบบผันแปรผกผันกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน (r = -0.389) ส่วนปัจจัย
ด้านนโยบายและการบริหารจัดการ ปัจจัยด้านความสัมพันธ์ในหน่วยงาน ปัจจัยด้านผลตอบแทน
และประโยชน์เกื้อกูล และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน มีความสัมพันธ์ระดับปานกลาง
แบบผันแปรตามกันกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน (r = 0.418 , r = 0.400 , r =
0.382 และ r= 0.340 ตามลำดับ) ส่วนปัจจัยด้านลักษณะงานและปัจจัยการอบรม/ดูงาน/
สัมมนาต่างประเทศมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่
ระดับ 0.01 โดยปัจจัยด้านลักษณะงานและปัจจัยการอบรม/ดูงาน/สัมมนาต่างประเทศมีความ
สัมพันธ์ระดับต่ำแบบ ผันแปรตามกันกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน (r = 0.280 และ r =
0.269 ตามลำดับ)
ตอนที่ 5 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
จากการวิเคราะห์ข้อมูลในตอนที่ 4 ทำให้ทราบเพียงว่าในตัวแปรต้นทั้งหมดที่นำมาศึกษา
มีตัวแปรใดบ้างทีมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน แต่ยังไม่สามารถระบุได้ว่าตัวแปรใดมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับ
ที่สามารถอธิบายเชิงทำนายต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยเกษตร
ศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ดังนั้น จึงทำการวิเคราะห์โดยนำตัวแปรต้นที่เกี่ยวข้องมาวิเคราะห์การ
ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน โดยใช้ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยเกษตร
ศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน เป็นตัวแปรเกณฑ์เพื่อหาปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติ
งานของบุคลากรซึ่งวิธีการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน(Stepwise Multiple
Regression) จะวิเคราะห์บนพื้นฐานของข้อมูลและสามารถคัดเลือกตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับ
ตัวแปรตัวอื่นในระดับสูงเข้าสู่สมการทำนายได้อย่างมีประสิทธิภาพและไม่ใช้ตัวแปรที่ซ้ำซ้อนกัน
58
ตารางที่ 20 ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ตัวแปร R2 F R2
change B Beta
t
ความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน (X11) .304 106.33 .304 .160 .439
7.906**
สายงาน (X2) .375 72.68 .071 -.155 -.286 -
5.500**
ลักษณะงาน(X7) .390 51.28 .041 6.851 .129 2.381**
ค่าคงที่ (a) = 2.273 R = .624 **p < .01 จากตารางที่ 20 ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน โดยจาการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณด้วยเทคนิค แบบขั้นตอน (stepwise multiple regression) จากตัวแปรทำนายทั้งหมด 11 ตัวแปร พบ ว่ามีตัวแปรที่เข้าสู่สมการ 3 ตัวแปร คือ ความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน (X11) สายงาน (X2) และลักษณะงาน (X7) โดยร่วมกันทำนายความแปรปรวนของความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ของบุคลากรได้ร้อยละ 39.00 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (R2 = .390) โดยมีค่า สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) เท่ากับ .624 ซึ่งสามารถตอบคำถามวิจัยในครั้งนี้ได้ว่ามี ตัวแปร ต้นอย่างน้อย 1 ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ Ŷ = 2.273 + .160X11 - .155X2 + 6.851X7 สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน Zy = .439ZX11 - .286ZX2 + .129ZX7 ˆ 59 ตอนที่ 6 ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่น ๆ ของบุคลากรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จากการตอบแบบสอบถามของบุคลากรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน มีการเสนอข้อคิดเห็น/ปัญหาและข้อเสนอแนะต่อปัจจัยการปฏิบัติงานในด้านต่าง ๆ เรียงตามลำดับ จากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ตารางที่ 21 ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัจจัยการปฏิบัติงานของบุคลากร 1 ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัจจัย จำนวน การปฏิบัติงานของบุคลากร (คน) ปัจจัยด้านนโยบายและการบริหารจัดการ 128 ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน 104 ปัจจัยด้านผลตอบแทนและประโยชน์เกื้อกูล 85 ปัจจัยด้านความสัมพันธ์ในหน่วยงาน 42 ปัจจัยด้านลักษณะงาน 38 ปัจจัยด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน 26 1 ตอบได้มากกว่า 1 คำตอบ จากตารางที่ 21 จากการตอบแบบสอบถามของบุคลากรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน มีการเสนอข้อคิดเห็น/ปัญหาและข้อเสนอแนะต่อปัจจัยการปฏิบัติงานในด้าน ต่าง ๆ เรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ปัจจัยด้านนโยบายและการบริหารจัดการ ได้เสนอแนะปรับปรุงระบบบริหารใหม่โดยการ แบ่งสายการบังคับบัญชา ควรมีการลดขั้นตอน มีการบริหารงานแบบเบ็ดเสร็จ และกระจายอำนาจ การบริหาร นอกจากนั้นผู้บริหารควรมีวิสัยทัศน์ใหม่ ๆ มองปัญหาต่าง ๆ อย่างรอบคอบ แก้ปัญหา อย่างต่อเนื่อง พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ นอกจากนี้วิทยาเขตควรมีนโยบายด้านวิชาการและ กิจกรรมเสริมวิชาการ มีการปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัย วิทยาเขตกำแพงแสนควรเป็นศูนย์กลาง การศึกษาทางเกษตรของภาคตะวันตกและจัดอบรมความรู้วิชาการที่ทันสมัยให้แก่บุคลากรทุกระดับ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานบุคลากรเห็นว่าภูมิทัศน์ในวิทยาเขตกำแพงแสน ดีและสวยงาม ซึ่งได้เสนอแนะให้วิทยาเขตจัดกิจกรรมพัฒนาสภาพแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ บุคลากรมีความพึงพอใจต่อสิ่งแวดล้อมในการสถานที่ทำงานว่ามีความเหมาะสมดี และได้เสนอแนะ ให้มหาวิทยาลัยมีการจัดอุปกรณ์ให้พอเพียงและทันสมัยมากยิ่งขึ้น 60 ปัจจัยด้านผลตอบแทนและประโยชน์เกื้อกูล บุคลากรได้เสนอแนะเป็นอันดับแรกให้ วิทยาเขตกำแพงแสน มีสวัสดิการด้านต่าง ๆ เช่น รถบริการรับส่งบุคลากรระหว่างวิทยาเขต จัดสรร ที่พักภายในวิทยาเขตกำแพงแสนให้เพียงพอและเหมาะสมกับความต้องการของบุคลากร และควรจัด หาสินค้าราคาถูกมาบริการให้แก่บุคลากร ปัจจัยด้านความสัมพันธ์ในหน่วยงาน บุคลากรเห็นว่าหน่วยงานของตนมีบรรยากาศการ ทำงานแบบพี่น้อง ผู้ร่วมงานมีความสามัคคีและพร้อมจะนำความรู้ความสามารถและประสบการณ์ มาพัฒนาวิทยาเขตกำแพงแสน นอกจากนี้บุคลากรได้เสนอแนะให้เพิ่มการประสานงานและการ สื่อสารระหว่างบุคลากรและหน่วยงาน ปัจจัยด้านลักษณะงาน บุคลากรได้เสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการมอบหมายงานควรให้ตรง กับตำแหน่ง ความรู้ ความสามารถ ยึดหลักความถูกต้อง โปร่งใส และกำหนดขอบเขตของงานให้ ชัดเจนเพื่อง่ายต่อการบริหาร ปัจจัยด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน บุคลากรเสนอให้มหาวิทยาลัยควร สนับสนุนให้บุคลากรได้พัฒนาและศึกษาเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มพูนความรู้และความก้าวหน้าในการทำงาน เช่น ให้ทุนเพื่อศึกษาต่อ เข้ารับการฝึกอบรมทั้งในและต่างประเทศ บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ การวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของ บุคลากรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ผู้วิจัยได้ดำเนินการ สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ ดังต่อไปนี้ 1. วัตถุประสงค์ของการวิจัย 2. สมมติฐานของการวิจัย 3. ประชากรที่ใช้ในการวิจัย 4. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย 5. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 6. การเก็บรวบรวมข้อมูล 7. การวิเคราะห์ข้อมูล 8. สรุปผลการวิจัย 9. อภิปรายผลการวิจัย 10. ข้อเสนอแนะจากการวิจัย วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเกษตร ศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรใน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน 3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนายระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยด้านการปฏิบัติ งานที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน สมมติฐานของการวิจัย ตัวแปรอย่างน้อย 1 ตัวแปรที่สามารถทำนายความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ประชากรที่ใช้ในการวิจัย บุคลากรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จาก 10 หน่วยงาน จำนวน ประชากรจำนวน 672 คน 62 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยสุ่มจากประชากรได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 251 คน โดยใช้ หลักการคำนวณของ Yamane’s (บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ 2540 : 71 – 72) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม แบ่งเป็น 3 ตอน รายละเอียด ดังต่อไปนี้ ตอนที่ 1 ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ เพศ สายงาน หน่วยงาน วุฒิการศึกษา ระยะเวลาปฏิบัติราชการ เงินเดือน และการฝึกอบรมภายในประเทศ และต่างประเทศ ตอนที่ 2 ปัจจัยด้านการปฏิบัติงาน ได้แก่ นโยบายและการบริหารจัดการ ลักษณะงาน สภาพแวดล้อมการปฏิบัติงาน ความสัมพันธ์ในหน่วยงาน ผลตอบแทนและประโยชน์เกื้อกูลและ ความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน ตอนที่ 3 ความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน และข้อเสนอแนะอื่น ๆ การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยดำเนินการเก็บข้อมูลตามขั้นตอนต่อไปนี้ ขั้นที่ 1 ผู้วิจัยขอหนังสือจากบัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เรียน ผู้บังคับบัญชาของกลุ่มตัวอย่างเพื่อขอความร่วมมือในการเก็บข้อมูล ขั้นที่ 2 นำหนังสือและแบบสอบถามไปขอความร่วมมือในการตอบแบบสอบถามและดำเนิน การเก็บแบบสอบถามคืนด้วยตนเอง การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยได้รับแบบสอบถามคืนร้อยละ 97.60 ต่อจากนั้นจึงพิจารณาตรวจสอบความสมบูรณ์ และจัดระเบียบข้อมูลลงรหัส และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows ดังนี้ 1. ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับสถานภาพ ใช้สถิติค่าความถี่และร้อยละ 2. ปัจจัยด้านการปฏิบัติงานและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัย เกษตร ศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ใช้สถิติค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน แล้วนำค่าเฉลี่ยที่ ได้ไปเทียบเกณฑ์ 3. ข้อเสนอแนะในการยกระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ในด้านต่าง ๆ ใช้สถิติค่าความถี่ 63 4. ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษาตามกรอบแนวคิดการวิจัย โดยหาค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson Product-Moment Correlation Coefficient) แล้วนำค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ที่ได้ไปเทียบตามเกณฑ์ของ Davis ในการบรรยายความสัมพันธ์ 5. ความสัมพันธ์เชิงทำนายความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน โดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression) สรุปผลการวิจัย จากการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยสรุปเป็นประเด็นตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้ 1. บุคลากรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จำนวน 245 คน ที่ทำ การศึกษาประมาณเกินครึ่งหนึ่งเป็นเพศหญิง (54.69%) ซึ่งมีมากกว่าเพศชาย โดยบุคลากร ประมาณเกือบครึ่ง (47.76%) เป็นบุคลากรสายการสอนและบุคลากรประมาณหนึ่งในสาม (27.35%) สังกัดคณะเกษตร ในด้านคุณวุฒิทางการศึกษาพบว่าบุคลากรประมาณครึ่งหนึ่ง (53.06%) มี วุฒิการศึกษาในระดับปริญญาตรีสำหรับระยะเวลาที่ปฏิบัติราชการในมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน บุคลากรประมาณหนึ่งในสาม (27.35%) มีระยะเวลาปฏิบัติ ราชการในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน อยู่ในช่วงเวลา 16 – 20 ปี และเกือบ ครึ่งหนึ่ง (44.08%) มีเงินเดือนอยู่ในช่วง (10,001- 15,000 บาท) สำหรับด้านการพัฒนา บุคลากร บุคลากรประมาณสามในสี่ (73.88%) มีประสบการณ์การฝึกอบรม ภายในประเทศในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ส่วนการ ฝึกอบรม/ดูงาน/สัมมนาต่างประเทศในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาประมาณเกินครึ่ง (65.31%) บุคลากรไม่เคยเข้ารับการฝึกอบรม/ดูงาน/สัมมนาต่างประเทศ 2. ปัจจัยด้านนโยบายและการบริหารจัดการ พบว่า ภาพรวมบุคลากรมีความคิดเห็นอยู่ ในระดับมาก โดยส่วนใหญ่เห็นว่าการพัฒนาบุคลากรมีความเหมาะสมกับภาระงานหลักของบุคลากร และความจำเป็นของหน่วยงาน 3. ปัจจัยด้านลักษณะงาน พบว่า บุคลากรมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก โดยส่วนใหญ่ เห็นว่า ลักษณะงานที่ทำต้องใช้ทักษะและความรู้ความสามารถที่หลากหลาย 4. ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน พบว่า บุคลากรมีความคิดเห็นอยู่ในระดับ มาก โดยส่วนใหญ่เห็นว่าได้รับความสะดวกสบายในการติดต่อประสานงานระหว่างหน่วยงาน 5. ปัจจัยด้านความสัมพันธ์ในหน่วยงาน พบว่า บุคลากรมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก โดยส่วนใหญ่เห็นว่าผู้บังคับบัญชาวางตัวเป็นกันเองกับผู้ใต้บังคับบัญชา 6. ปัจจัยด้านผลตอบแทนและประโยชน์เกื้อกูล พบว่า บุคลากรมีความคิดเห็นอยู่ในระดับ ปานกลาง โดยส่วนใหญ่เห็นว่าความก้าวหน้าของตำแหน่งในสายงานของตนเองมีความเสมอภาพ และเท่าเทียมกับสายงานอื่น 64 7. ปัจจัยด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน พบว่า บุคลากรมีความคิดเห็น อยู่ในระดับมาก โดยส่วนใหญ่เห็นว่างานที่ได้รับมอบหมายมีส่วนส่งเสริมให้ตนเองได้รับความก้าว หน้า 8. ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต กำแพงแสน พบว่า บุคลากรมีความพึงพอใจมากในการปฏิบัติงานโดยส่วนใหญ่เห็นว่างานที่ปฏิบัติ ให้ผลประโยชน์ตอบแทนที่เหมาะสมกับภาระงาน 9. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร มหาวิทยาลัย เกษตร ศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน พบว่า ปัจจัยด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงานมี ความสัมพันธ์สูงแบบผันแปรตามกันกับความพึงพอใจในการปฏิบัติของบุคลากรมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ส่วนปัจจัยด้านนโยบายและการบริหารจัดการ ปัจจัยด้านความ สัมพันธ์ในหน่วยงาน ปัจจัยด้านผลตอบแทนและประโยชน์เกื้อกูล และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมใน การปฏิบัติงาน มีความสัมพันธ์ปานกลางแบบผันแปรตามกันกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของ บุคลากรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน 10. ปัจจัยที่สามารถพยากรณ์ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน มีเพียง 3 ปัจจัย คือ ความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน สายงาน และลักษณะงาน โดยสามารถร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 39 การอภิปรายผลการวิจัย ผลการศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ที่มีต่อปัจจัยต่าง ๆ ในด้านการปฏิบัติงาน พบว่า ปัจจัยด้านผลตอบแทนและประโยชน์เกื้อกูลนั้น บุคลากรมีความเห็นว่าเป็นปัจจัยที่ควรจะมี การปรับปรุงเป็นอันดับแรก โดยสิ่งที่ควรปรับปรุง คือ สวัสดิการที่บุคลากรได้รับ เช่น ค่ารถ ค่าเช่าที่ พัก และค่าเล่าเรียนบุตร ควรปรับปรุงให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน รวมทั้งควรปรับอัตราเงินเดือนให้เหมาะสมกับปริมาณงานและความรับผิดชอบ ซึ่งสอดคล้องกับการ วิจัยของกรองแก้ว สรนันท์ (2537 : บทคัดย่อ) ศึกษาความพึงพอใจในการปฏิบัติงานและปัจจัยที่ ส่งผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการสาย ข และสาย ค ในจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย พบว่าเงินเดือนและผลประโยชน์เกื้อกูลอยู่ในระดับน้อย และผลการศึกษาได้สอดคล้อง กับแนวคิดของบาร์นาร์ด (Barnard 1972 : 149) คูเปอร์ (Cooper 1958 : 31 –33) นิว คูเมอร์ (Newcomer 1955 : 12) กิลเมอร์ (Gilmer 1967 : 380 - 384) และทฤษฎี สองปัจจัยของเฮอร์ซเบอร์ก (Herzberg 1959 : 44–49) ที่กล่าวถึงสิ่งจูงใจที่กระตุ้นให้บุคลากร เกิดความพึงพอใจ ในการทำงาน ได้แก่ ค่าจ้างเงินเดือนที่ยุติธรรม การอำนวยความสะดวกในการ ไป-กลับรวมทั้ง สวัสดิการอื่น ๆ ที่เหมาะสม 65 ปัจจัยด้านความสัมพันธ์ในหน่วยงาน บุคลากรเห็นว่าผู้บังคับบัญชาควรให้ความช่วยเหลือ แนะนำเป็นที่ปรึกษาที่ดีในเรื่องส่วนตัวของผู้ใต้บังคับบัญชาและเป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติงานซึ่ง สอดคล้องกับการวิจัยของจรัญ บุญประกอบ (2542 : 106) ศึกษาความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ของศึกษานิเทศก์ สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดหนองคาย พบว่า ด้านความสัมพันธ์กับผู้บังคับ บัญชาและเพื่อนร่วมงานอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งผลการศึกษานี้สอดคล้องกับแนวคิดของคูเปอร์ (Cooper 1958 : 31 –33) ที่กล่าวว่า บุคลากรจะเกิดความพึงพอใจ ในการปฏิบัติงานเมื่อได้ ทำงานร่วมกับผู้บังคับบัญชาที่มีความเข้าใจต่อผู้ใต้บังคับบัญชา นอกจากนี้ยังสอดคล้อง กับทฤษฎี สองปัจจัยของเฮอร์ซเบอร์ก (Herzberg 1959 : 44–49) ที่กล่าวถึง ปัจจัยที่ทำให้คนไม่พอใจใน การทำงาน ได้แก่ การปกครองบังคับบัญชาที่อคติ ลำเอียง ไม่สามารถให้คำแนะนำทางวิชาการให้แก่ ผู้ใต้บังคับบัญชา และผู้บังคับบัญชาวางตนไม่ยอมให้ความสนิทสนมเป็นกันเอง ทำให้ผู้ใต้บังคับ บัญชาเกิดความรู้สึกไม่ พึงพอใจในงานที่ทำ ปัจจัยด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงานนั้น บุคลากรเห็นว่า การสนับสนุนให้ เลื่อนขั้นเงินเดือน ควรพิจารณาตามความรู้ความสามารถและมีความเป็นธรรม กรองแก้ว สรนันท์ (2537 : บทคัดย่อ) ศึกษาความพึงพอใจในการปฏิบัติงานและปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการ ปฏิบัติงานของข้าราชการสาย ข และสาย ค ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่า ความก้าวหน้าใน ตำแหน่งอยู่ในระดับน้อย และผลการศึกษาสอดคล้องกับทฤษฎีสองปัจจัยของเฮอร์ซเบอร์ก( Herzberg 1959 : 44–49) ที่กล่าวถึงความพอใจ และไม่พอใจของบุคคล เกิดจากปัจจัย 2 กลุ่ม คือ ปัจจัยกระตุ้นและปัจจัยค้ำจุนในด้านความก้าวหน้าจากการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนหรือ ค่าจ้างและเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้นจะช่วยกระตุ้นและจูงใจให้บุคลากรเกิดความ พึงพอใจที่จะทำงาน เป็นอย่างมาก ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานนั้น บุคลากรเห็นว่าอุปกรณ์เครื่องใช้ที่จำเป็นใน การปฏิบัติงาน ควรมีการปรับปรุงคุณภาพให้เหมาะสมต่อการทำงาน ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ เทวี บุญจับ (2540 : บทคัดย่อ) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครู โรงเรียนเอกชนสายสามัญศึกษา เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร พบว่าปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม ในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับปานกลาง และงานวิจัยของประสิทธิ์ ใจช่วง (2544 : บทคัดย่อ) ศึกษาความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานศึกษาธิการอำเภอในจังหวัดสกลนคร พบว่าสภาพการทำงานอยู่ในระดับปานกลาง และการศึกษานี้ สอดคล้องกับแนวคิดของคูลล์เปอร์ (Cooper 1958 : 31 –33) ที่กล่าวถึงปัจจัยที่ทำให้บุคลากรพึงพอใจในการปฏิบัติงานและทำ ให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ ได้แก่ มีอุปกรณ์ที่ดีและมีมาตราฐาน นอกจากนี้ ผลการศึกษา เป็น ไปในทางเดียวกับทฤษฎีสองปัจจัยของเฮอร์เบอร์ก ที่กล่าวว่าปัจจัยบางประการที่ทำให้บุคลากรไม่พอ ใจ ในการทำงาน คือ สภาพแวดล้อมในการทำงาน เช่น ขาดอุปกรณ์ อำนวยความสะดวกในการ ทำงาน 66 ข้อเสนอแนะจากการวิจัย จากผลงานวิจัยที่ค้นพบและสภาพที่ปรากฏโดยทั่วไปในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต กำแพงแสน ในปัจจุบัน ผู้วิจัยจึงจำแนกข้อเสนอแนะไว้ 2 ลักษณะ คือ ข้อเสนอแนะทั่วไป สำหรับการนำผลการวิจัยไปใช้ และข้อเสนอแนะสำหรับงานวิจัยครั้งต่อไป ดังนี้ ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ 1. หน่วยงานควรปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานทั้งระบบให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดย กำหนดมาตรฐานงาน และกำหนดกรอบในการพิจารณาค่าตอบแทนการทำงานให้มีความเหมาะสม และยุติธรรม 2. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ควรปรับปรุงกระบวนการทำงาน เพื่อขจัดความยุ่งยากซับซ้อนในการปฏิบัติงานโดยลดขั้นตอนการปฏิบัติงานให้สั้นลง 3. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ควรส่งเสริมเผยแพร่ผลงาน และ ชื่อเสียงของหน่วยงานมากขึ้นเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้แก่บุคลากรที่ปฏิบัติงานดี และเป็น ตัวอย่างให้แก่ผู้อื่นในการปฏิบัติงานตามแนวทางเพื่อช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพของงานให้ดีขึ้น 4. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ควรปรับปรุงสวัสดิการและผลตอบ แทนอื่น ๆ ทั้งที่เป็นเงินและไม่ใช่เงินให้แก่บุคลากรที่ทำงานดี เช่น เงินโบนัสพิเศษ ประกาศ เกียรติคุณ เป็นต้น 5. ควรส่งเสริมความสัมพันธ์ภายในหน่วยงานให้มากขึ้นทั้งนี้ผู้บริหารต้องวางตัวเป็นกลาง และต้องเป็นที่ปรึกษาที่ดีทั้งในเรื่องงานและเรื่องส่วนตัว และจัดกิจกรรมเพื่อสร้างความสัมพันธ์ของ บุคลากรภายในหน่วยงานและระหว่างหน่วยงาน 6. หน่วยงานควรสร้างเสริมบรรยากาศในการทำงานเพื่อให้หน่วยงานมีการพัฒนาและ สร้างความมั่นคงให้แก่องค์การ ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป จากการดำเนินการวิจัยและผลการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยขอเสนอแนะสิ่งที่เป็นประโยชน์สำหรับ การวิจัยครั้งต่อไป เพื่อให้ได้ข้อมูลในหลาย ๆ ด้าน มาประกอบการพิจารณาให้เกิดประสิทธิภาพ สูงสุด ดังนี้ 1. ควรศึกษาเปรียบเทียบความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรแต่ละสายงาน 2. ควรศึกษาความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรทุกวิทยาเขต เพื่อเปรียบเทียบ พฤติกรรมในการปฏิบัติงานของบุคลากรทั้งหมดทุกวิทยาเขตและสามารถนำผลการวิจัยมาพัฒนา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในแต่ละวิทยาเขตและในภาพรวมต่อไป บรรณานุกรม 68 บรรณานุกรม กรองแก้ว สรนันท์. (2537). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานและปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึง พอ ใจในการปฎิบัติงานของข้าราชการ สาย ข และสาย ค ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย . จรัญ บุญประกอบ. (2542). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของศึกษานิเทศก์ สังกัดสำนัก งาน การประถมศึกษา จังหวัดหนองคาย. รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. แจ่มจันทร์ ณ กาฬสินธุ์. (2542). ความพึงพอใจของลูกค้าต่อการบริการของบริษัทไทย ประกัน ชีวิต จำกัด สาขามหาสารคาม. รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม.มหาสารคาม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ชาดา ชัยยะศิริสุวรรณ. (2539). เปรียบเทียบความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอน สาย วิชาสามัญและสายวิชาชีพเกษตรในวิทยาลัยเกษตรกรรมภาคเหนือ. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ทบวงมหาวิทยาลัย. (2520). กฎทบวงฉบับที่ 2 (พ.ศ.2519). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ นิติเวช. เทวี บุญจับ. (2540). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนเอกชนสาย สามัญศึกษา เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 69 บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2540). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์และทำปกเจริญผล. บุญเรียง ขจรศิลป์. (2539). สถิติวิจัย 1. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัด พีเอ็นการพิมพ์. ประสิทธิ์ ใจช่วง. (2544). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานศึกษาธิการ อำเภอในจังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2535). จิตวิทยาการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์สหมิตร ออฟเซท. ผ่องพรรณ ตรัยมงคลกูล. (2543). การออกแบบการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 7 กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร. ภัทรวรรณ ล่ำดี. (2543). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการทำงานของ ข้าราชการในสำนักงานปศุสัตว์จังหวัด. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย มหิดล. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2546). 60 ปี แห่งความภาคภูมิใจในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. นครปฐม : กองแผนงาน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. (2544). ข้อมูลสถิติ 2544. โรงพิมพ์สำนักส่ง เสริมและฝึกอบรม นครปฐม : งานแผนงาน กองบริการการศึกษา ยงยุทธ ลิมพา. (2542). ความพึงพอใจของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการ ประถม ศึกษา จังหวัดอุดรธานี. รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระ การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 70 ศุภฤกษ์ แก้วสิงห์. (2539). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของคณะ กรรมการสุขาภิบาล ในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. สมยศ นาวีการ. (2538). การบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ดอกหญ้า. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2540). แผนการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2540. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. สำนักนโยบายและแผนการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติ พ.ศ.2542. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาพลาดพร้าว. สุรชัย ชินโย. (2540). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของศึกษานิเทศก์ สำนักงานคณะ กรรมการการศึกษาแห่งชาติ. เอกสารศึกษานิเทศก์ เลขที่ 97/2540 กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัด เจ.เอ็น.ที. Alderfer, Clayton P. (1979) “A New Theory of Human Needs” Organizational Behavior and Performance. 4th ed. p.32, quoted in Rechard M. : McGraw-Hill Book Co. Barnard, C.I. (1972). The Functions of Executive. Massachusetts : Harward University Press. Burr, Russell Kenneth, (1981). “Job Satisfaction Determinants for Selected Administrators in Florida’sCommunity Colleges and Universities: An Application of Herzberg’s Motivator- Hygiene Theory,” Dissertation Abstracts International 41: 9 (March) : 3794A. Chiselli, Edwin E. and Brown, Clarence W.(1955). Personal and Industrail Psychology. New York: McGraw-Hill Book. Cooper, Alfred M. (1958). How to Syerrese People. New York, McGraw-Hill,. Gilmer, Vonltaller B. (1967). Applied Psychology. New York : McGraw-Hill Book. 71 Herzberg, F.,B. Mausner and B. Snyderman. (1959). The Motivation to Work New York : John Wiley & Sons, Inc. Hammer, R.E. (1970). “Job Satisfaction of Special Class Teachers in Iowa : An Application of the Herzberg Two Factor Theories”. Dissertation Abstracts International. 31 (January – February 1970) : 3373 – A. Johannson, H. and P.H. Therry. (1975). Internationl Dictionary of Management : A Practical Guide. Massachusetts : Houghton Miffin Company. Luthans, F. (1977). Organizational Behavior. Tokyo : McGraw- Hill Book Company. Manning, RenFro Clark. (1977). “The Satisfiers and Dissertisfierts of Viginia Superintendents of School”, Dissertation Abstracts International. 37Z7X : 4028-A ; january,. Maslow, Abraham Harold. (1954). Motivation and Personality. 2nd ed. New York : Harper and Row, Inx. McClelland, D.C. (1961). The Achieving Society. New Jersey : D. Van Nostrand Company,. Myers, M.S. (1970). Every Employess a Manager : More Meaningful Work Through Job Enrichment. New York : McGraw-Hill Book Company. Newcomer, M. (1955). The Big Bussiness Executive. New York : Columbia University Press. Schmidt, Gene Willard. (1975). Job Satisfaction Among Secondary School Administrators, Dissertation Abstracts International. 35(12) : 7583-A ; August. ……………………………… ภาคผนวก 73 ภาคผนวก ก แบบสอบถามเพื่อการวิจัย 74 แบบสอบถามเพื่อการวิจัย เรื่อง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม แบบสอบถามทั้งหมดมี 3 ตอน ตอนที่ 1 สถานภาพทั่วไป ตอนที่ 2 ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยด้านการปฏิบัติงาน ตอนที่ 3 ความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน 75 แบบสอบถาม เรื่อง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ตอนที่ 1 สถานภาพทั่วไป กรุณาเขียนเครื่องหมาย / ลงใน ( ) หรือเติมข้อความในช่องว่างตามสถานภาพที่แท้จริง 1. เพศ ( ) ชาย ( ) หญิง 2. ขณะนี้ท่านเป็นบุคลากรสาย ( ) สายการสอน ( ) สายสนับสนุน 3. หน่วยงานที่ท่านสังกัด ( ) คณะเกษตร ( ) คณะวิศวกรรมศาสตร์ ( ) คณะสัตวแพทยศาสตร์ ( ) คณะศึกษาศาสตร์ ( ) คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ( ) สำนักงานวิทยาเขต วิทยาเขตกำแพงแสน ( ) สำนักส่งเสริมและฝึกอบรมการเกษตรแห่งชาติ ( ) สำนักหอสมุด (กำแพงแสน) ( ) สถาบันวิจัยและพัฒนา มก.กพส. ( ) สถาบันสุวรรณวาจกกสิกิจเพื่อการค้นคว้าและพัฒนาปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์สัตว์ ( ) อื่น โปรดระบุ …………………………………………………………………… ……………………………………………… 4. วุฒิการศึกษาสูงสุดของท่าน ( ) ต่ำกว่าปริญญาตรี ( ) ปริญญาตรี ( ) สูงกว่าปริญญาตรี 5. ระยะเวลาการปฏิบัติราชการในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน…………. ปี 6. เงินเดือนปัจจุบัน……………………………….บาท (โดยประมาณ) 7. ท่านเคยเข้ารับการฝึกอบรมภายในประเทศในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาหรือไม่ ( ) ไม่เคย ( ) เคย จำนวน…………………..หลักสูตร 8. ท่านเคยเข้ารับการฝึกอบรม/ดูงาน/สัมมนาต่างประเทศในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาหรือไม่ ( ) ไม่เคย ( ) เคย จำนวน…..………………หลักสูตร 76 ตอนที่ 2 ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยด้านการปฏิบัติงาน คำชี้แจง แบบสอบถามตอนที่ 2 นี้ เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยด้านการปฏิบัติงานของท่านใน ปัจจุบัน โปรดอ่านแบบสอบถามอย่างละเอียดและทำเครื่องหมาย �� ลงในช่องว่างด้าน ขวามือของแต่ละข้อที่ท่านเห็นว่าตรงกับความรู้สึกหรือสถานการณ์ที่ท่านกำลังประสบอยู่ ในปัจจุบันมากที่สุด แบ่งออกเป็น 5 ระดับ ดังนี้ 5 หมายถึง ท่านคิดว่าข้อความนั้นเป็นจริงเสมอ เห็นด้วยกับข้อความนั้น มากที่สุด 4 หมายถึง ท่านคิดว่าข้อความนั้นเป็นจริงเสมอ เห็นด้วยกับข้อความนั้น มาก 3 หมายถึง ท่านคิดว่าข้อความนั้นเป็นจริงเสมอ เห็นด้วยกับข้อความนั้น ปานกลาง 2 หมายถึง ท่านคิดว่าข้อความนั้นเป็นจริงเสมอ เห็นด้วยกับข้อความนั้น น้อย 1 หมายถึง ท่านคิดว่าข้อความนั้นเป็นจริงเสมอ เห็นด้วยกับข้อความนั้น น้อยที่สุด ข้อ ปัจจัยด้านการปฏิบัติงาน ระดับความคิดเห็น 5 4 3 2 1 นโยบายและการบริหารจัดการ 1 หน่วยงานของท่านมีการประชุมชี้แจงนโยบาย เป้าหมาย และแผนงานต่าง ๆ ให้ทุกคนได้รับทราบอย่างสม่ำเสมอ 2 หน่วยงานของท่านเปิดโอกาสให้ทุกคนได้เสนอแผน และหรือมีส่วนร่วมในการวางแผนดำเนินงานเพื่อกำหนด ผู้รับผิดชอบและขอบเขตการทำงาน 3 หน่วยงานของท่านมีการกระจายงานและหน้าที่ความ รับผิดชอบได้อย่างเหมาะสมตรงตามตำแหน่งหน้าที่ 4 หน่วยงานของท่านมีการจัดระบบงานให้บุคลากรเรียนรู้ ในการทำงานเป็นทีม 5 หน่วยงานของท่านมีระบบการจัดเก็บรวบรวมข้อมูล อย่างเหมาะสมพร้อมตรวจสอบความถูกต้องอย่างสม่ำเสมอ 6 การพัฒนาบุคลากรมีความเหมาะสมกับภาระงานหลัก ของบุคลากรและความจำเป็นของหน่วยงาน 7 หน่วยงานของท่านได้วางแนวทางในการติดตามและ ประเมินผลในการปฏิบัติงานได้อย่างชัดเจนเป็นมาตรฐาน 77 ข้อ ปัจจัยด้านการปฏิบัติงาน ระดับความคิดเห็น 5 4 3 2 1 ลักษณะงาน 8 งานที่ท่านรับผิดชอบต้องใช้ความรู้ความสามารถสูง จึงจะทำได้สำเร็จ 9 งานของท่านมีขั้นตอนในการปฏิบัติงานมาก และมีความ ยุ่งยากซับซ้อนในแต่ละขั้นตอน 10 ท่านต้องปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่แทรกเข้ามาโดยไม่คาดคิด ในแต่ละวันมากจนทำให้เพิ่มภาระจากภาระกิจหลักที่ รับผิดชอบอยู่ 11 ลักษณะงานของท่านต้องใช้ทักษะและความรู้ความสามารถ ที่หลากหลาย 12 ลักษณะงานที่ท่านปฏิบัติส่วนใหญ่ไม่สามารถรับผิดชอบ โดยเบ็ดเสร็จตั้งแต่เริ่มต้นจนสำเร็จด้วยตัวท่านเอง สภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน 13 อุปกรณ์เครื่องใช้ที่จำเป็นในการปฏิบัติงานในส่วน ที่รับผผิดชอบมีปริมาณเพียงพอต่อการทำงานของท่าน 14 อุปกรณ์เครื่องใช้ที่จำเป็นในการปฏิบัติงานในส่วนที่ รับผิดชอบมีคุณภาพเพียงพอต่อการทำงานของท่าน 15 สภาพแวดล้อมของสถานที่ทำงานมีความสะอาด เรียบร้อย สวยงามและสะดวกสบายต่อการทำงาน 16 หน่วยงานของท่านได้จัดสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก สำหรับการติดต่อประสานงานและบริการแก่ผู้ใช้บริการ ได้อย่างเหมาะสม 17 ท่านได้รับความสะดวกสบายในการติดต่อประสานงาน ระหว่างหน่วยงาน 18 หน่วยงานของท่านได้จัดแบ่งสัดส่วนพื้นที่ใช้สอยอื่น ๆ ไว้อย่างเหมาะสมเป็นประโยชน์ต่อทุกคน ความสัมพันธ์ในหน่วยงาน 19 ผู้บังคับบัญชาเป็นผู้ที่สามารถสร้างความร่วมมือ ในการทำงานของบุคลากรในหน่วยงาน 20 ผู้บังคับบัญชาเป็นผู้มีเหตุผลกับผู้ใต้บังคับบัญชา 78 ข้อ ปัจจัยด้านการปฏิบัติงาน ระดับความคิดเห็น 5 4 3 2 1 21 ผู้บังคับบัญชาววางตัวเป็นกันเองกับผู้ใต้บังคับบัญชา 22 ผู้บังคับบัญชาช่วยเหลือแนะนำและเป็นที่ปรึกษาที่ดีใน เรื่องงาน 23 ผู้บังคับบัญชาช่วยเหลือแนะนำและเป็นที่ปรึกษาที่ดีใน เรื่องส่วนตัว 24 ผู้บังคับบัญชาเป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติงาน 25 ผู้ร่วมงานส่วนใหญ่ใช้เหตุผลในการทำงาน 26 ผู้ร่วมงานส่วนใหญ่มีความรับผิดชอบในการทำงาน 27 ผู้ร่วมงานส่วนใหญ่ช่วยเหลือและร่วมมือกันทำงาน ด้วยความเต็มใจและมีการทำงานเป็นทีม 28 ผู้ร่วมงานส่วนใหญ่มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และช่วยกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในหน่วยงาน 29 ท่านและผู้ร่วมงานมีความมุ่งมั่นในการทำงานร่วมกัน ผลตอบแทนและประโยชน์เกื้อกูล 30 ระบบบัญชีเงินเดือนของทางราชการมีความเหมาะสม สอดคล้องกับค่าครองชีพในปัจจุบัน 31 ผลตอบแทนความดีความชอบของหน่วยงานโปร่งใส และยุติธรรม 32 ความก้าวหน้าของตำแหน่งในสายงานท่านมีความ เสมอภาคและเท่าเทียมกันกับสายงานอื่น 33 สวัสดิการที่ได้รับ เช่น ค่ารถ ค่าเช่าที่พัก และค่าเล่าเรียน บุตรมีความเหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน 34 ค่าตอบแทนการทำงานล่วงเวลา ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าพาหนะ เดินทางมีความเหมาะสมเพียงพอกับการปฏิบัติงาน 35 เงินเดือนที่ท่านได้รับเหมาะสมกับปริมาณงานและ ความรับผิดชอบของท่าน ความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน 36 ท่านได้รับการสนับสนุนให้ไปศึกษาต่อ ฝึกอบรม ดูงาน ตามความเหมาะสม 37 ท่านได้รับการสนับสนุนให้มีความก้าวหน้าในการทำงาน ที่เหมาะสมกับผลงาน 79 ข้อ ปัจจัยด้านการปฏิบัติงาน ระดับความคิดเห็น 5 4 3 2 1 38 ท่านได้รับการสนับสนุนให้เลื่อนขั้นเงินเดือนได้ตาม ความรู้ความสามารถและความเป็นธรรม 39 งานที่ได้รับมอบหมายมีส่วนส่งเสริมให้ท่านได้รับความ ก้าวหน้า 40 ผู้บังคับบัญชาสนับสนุนให้ท่านได้รับความก้าวหน้าใน ตำแหน่งหน้าที่การงาน ตอนที่ 3 ความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน กรุณาตอบคำถามทุกข้อ โดยใส่เครื่องหมาย �� ลงในช่องว่างด้านขวามือของแต่ละข้อที่ตรง กับความรู้สึกของท่านมากที่สุด คำชี้แจง 5 หมายความว่า ท่านเห็นด้วยกับข้อความนั้นว่าเป็นจริงตามความรู้สึกของท่าน มากที่สุด 4 หมายความว่า ท่านเห็นด้วยกับข้อความนั้นว่าเป็นจริงตามความรู้สึกของท่าน มาก 3 หมายความว่า ท่านเห็นด้วยกับข้อความนั้นว่าเป็นจริงตามความรู้สึกของท่าน ปานกลาง 2 หมายความว่า ท่านเห็นด้วยกับข้อความนั้นว่าเป็นจริงตามความรู้สึกของท่าน น้อย 1 หมายความว่า ท่านเห็นด้วยกับข้อความนั้นว่าเป็นจริงตามความรู้สึกของท่าน น้อยที่สุด ข้อ ลักษณะงานที่ปฏิบัติ ระดับความรู้สึก 5 4 3 2 1 1 งานที่ท่านปฏิบัติเหมาะสมกับคุณวุฒิและตำแหน่ง 2 ท่านรู้สึกมีคุณค่า และมีความหมายที่ได้ปฏิบัติงาน ที่ได้รับมอบหมายนอกเหนือภาระกิจหลัก 3 งานที่ท่านปฏิบัติเป็นงานที่สนุก มีโอกาสเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ 4 งานที่ปฏิบัติเป็นงานที่สร้างสรคค์ สามารถพัฒนาทักษะ ความรู้ความสามารถให้สูงขึ้น 5 งานที่ท่านปฏิบัติมีความก้าวหน้าและเป็นที่ยอมรับแก่สังคม 6 ท่านได้รับการมอบหมายงานอย่างยุติธรรม 7 ท่านสามารถปฏิบัติงานได้ตลอดเวลาและมีความสุข ในการทำงาน 8 งานที่ท่านปฏิบัติเป็นงานที่มีเกียรติ สังคมให้การยอมรับ นับถือ 80 ข้อ ลักษณะงานที่ปฏิบัติ ระดับความรู้สึก 5 4 3 2 1 9 งานที่ท่านปฏิบัติเป็นงานที่มีประโยชน์และมีโอกาสได้ ช่วยเหลือผู้อื่น 10 งานที่ท่านปฏิบัติให้ผลประโยชน์ตอบแทนที่เหมาะสมกับ ภาระงาน 11 งานที่ท่านปฏิบัติไม่ตรงกับความถนัด และความสามารถที่ แท้จริงของท่าน 12 งานที่ท่านปฏิบัติเป็นงานประจำ 13 งานที่ท่านปฏิบัติมีขีดจำกัดในการพัฒนาให้ได้ทันกับ ความก้าวหน้าของวิทยาการหรือเทคโนโลยี 14 งานที่ท่านทำ เป็นการทำงานแบบเป็นทีม 15 ไม่มีใครสนใจและเห็นความสำคัญของงานที่ท่านปฏิบัติ 16 งานที่ท่านปฏิบัติเหมือนการปิดทองหลังพระ 17 ท่านรู้สึกว่าระเบียบ วินัยและข้อกฎหมายบางประการ ยังเป็นอุปสรรคและไม่เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติงาน 18 ท่านต้องการการสนับสนุนพัฒนางานของท่านให้ทันกับ ความก้าวหน้าของวิทยากรหรือเทคโนโลยี ข้อเสนอแนะอื่น ๆ (ถ้ามี) 1. เกี่ยวกับตัวท่านเองและสิ่งแวดล้อมในการทำงาน ……………………………………………………………… ………… ……………………………………………………………… ……………………………………………………………… ……………………………………………………………… ……………………………………………………………… ……………………………………………………………… ………… 2. ความคาดหวังในอนาคตที่ท่านจะมีบทบาทในการพัฒนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ………………………………………………………………… ……………………………………………………….. ……………………………………………………………… ……………………………………………………………… ……………………………………………………………… ……………………………………………………………… ……………………………………………………………… ………… 3. อื่น ๆ ……………………………………………………………… ……………………………………………………………… ………………………. ……………………………………………………………… ……………………………………………………………… ……………………………………………………………… ……………………………………………………………… ……………………………………………………………… ………… ขอขอบพระคุณที่ท่านได้สละเวลาในการกรอกแบบสอบถาม 81 ภาคผนวก ข หนังสือราชการที่เกี่ยวข้องและรายชื่อผู้เชี่ยวชาญ 82 83 84 รายชื่อผู้เชี่ยวชาญ 1. ศาสตราจารย์ ดร.พีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์ เมธีวิจัย คณะเกษตร กำแพงแสน 2. รองศาสตราจารย์บรรจบ ภิรมย์คำ รองคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ กำแพงแสน 3. นายเพิ่มพงษ์ ศรีประเสริฐศักดิ์ ผู้เชี่ยวชาญวิจัย ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง สถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ วิทยเขตกำแพงแสน 4. นายอนิรุธ สุขจิตต์ หัวหน้าสำนักงานวิทยาเขต วิทยาเขตกำแพงแสน 5. นางจันทร์นวล ลี้ประเสริฐ ผู้อำนวยการกองบริการการศึกษา (กำแพงแสน) 6. นายสมชาย วิจิตร ผู้อำนวยการกองธุรการ (กำแพงแสน) 85 ภาคผนวก ค ประวัติผู้วิจัย 86 ประวัติผู้วิจัย ชื่อ นายชนสิทธิ์ พฤฒิพิทักษ์ วันเกิด 23 ตุลาคม พ.ศ.2500 สถานที่อยู่ปัจจุบัน 85 ซอยกุมภิล 6 ต.ห้วยจรเข้ อ.เมือง จ.นครปฐม 73400 ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บุคคล 6 งานการเจ้าหน้าที่ กองธุรการ (กำแพงแสน) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม 73140 ประวัติการศึกษา พ.ศ.2532 ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) วิชาเอกการจัดการทั่วไป สถาบันราชภัฏนครปฐม จังหวัดนครปฐม ……………………………… ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร (ตอนที่ 1)
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร (ตอนที่ 2)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น