วันศุกร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทางร่างกาย (ตอนที่ 2)



สรุปแล้ว คนพิการที่เข้ารับการฝึกอาชีพในศูนย์อาชีพคนพิการพระประแดง จะได้รับความรู้และทักษะความชำนาญในวิชาชีพตามแต่ละสาขาที่ผู้เรียนเลือกเรียนและให้ความสนใจ นอกจากนั้นยังได้รับบริการด้านการศึกษาสายสามัญจากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนในระดับประถม มัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย บริการด้านจัดหางาน บริการด้านสุขภาพอนามัย ซึ่งบริการต่าง ๆ ที่ศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดงได้จัดไว้ตามหลักสูตรการฝึกอบรมอาชีพเป็นส่วนสำคัญในการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านต่าง ๆ ของคนพิการที่เข้ารับการฝึกอาชีพ ซึ่งผู้วิจัยเห็นว่า ประสบการณ์ที่ได้รับจากการฝึกอาชีพตามหลักสูตรและกระบวนการของศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดง
น่าจะมีผลต่อการฟื้นฟูสมรรถภาพของคนพิการด้วย
4.8 โครงการสำหรับผู้เข้ารับการฝึกอาชีพ
4.8.1 โครงการเส้นทางสู่โลกกว้างเพื่อเสริมสร้างพัฒนาชีวิต
เป็นโครงการทีมีวัตถุประสงค์เพื่อปฐมนิเทศน์แก่ผู้เข้ารับการฝึกอาชีพ โดยมุ่งให้ความรู้ ข้อมูล ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตและการฝึกอาชีพ เป็นการละลายพฤติกรรมในกลุ่มผู้เข้ารับการฝึกอาชีพ เสริมสร้างสัมพันธภาพอันดีระหว่างผู้รับการฝึกอาชีพและข้าราชการ-เจ้าหน้าที่ของศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดง ได้รับความสนุกสนานและความรู้ด้านวิชาการต่าง ๆ ที่สร้างความเชื่อมั่นในตนเอง และเอื้อประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของตน โดยมีการดำเนินกิจกรรม
“เปิดโลกใหม่” ประกอบด้วย การจัดกิจกรรมปฐมนิเทศ กิจกรรมละลายพฤติกรรม และกลุ่มสัมพันธ์ เพื่อเรียนรู้การอยู่ร่วมกันและการทำงานเป็นทีม กิจกรรม “ใต้ฟ้ากว้าง” ประกอบด้วย
กิจกรรมหรือการบรรยายความรู้ทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตแก่ผู้สำเร็จหลักสูตรการฝึกอาชีพ
และกิจกรรม “ร้างจากคอน” ประกอบด้วย กิจกรรมปัจฉิมนิเทศ กิจกรรมอำลา และการแสดงความยินดีแก่ผู้สำเร็จหลักสูตรการฝึกอาชีพ
4.8.2 โครงการส่งเสริมความรู้และโอกาสทางการศึกษา
เป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้รับการฝึกอาชีพมีความรู้และได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่องโดยให้ผู้รับการฝึกอาชีพที่มีพื้นฐานอ่านออกเขียนได้จบการศึกษาภาคบังคับตามที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด อย่างมีพัฒนาการด้านสติปัญญา อารมณ์ และจิตใจ ให้ผู้เข้ารับการฝึกอาชีพมีคุณวุฒิทางการศึกษาเพื่อเป็นทางเลือกและได้รับโอกาสที่ดีในการประกอบอาชีพ โดยมีการประสานงาน
100
กับศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอพระประแดง ในการจัดกลุ่มการเรียนการสอนการศึกษาสายสามัญ ระบบการศึกษานอกโรงเรียนในระดับประถม มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย รวมทั้งการจัดหาสื่อการเรียนต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์การศึกษาดาวเทียมและตำราเรียน เพื่อให้ผู้รับการฝึกอาชีพได้ศึกษาค้นคว้า จัดบุคลากรภายในและภายนอกศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการสอนเสริมเพื่อให้ผู้รับความรู้เพิ่มมากขึ้นและขอความร่วมมือจากองค์กรเอกชนในการจัดหาอาสาสมัคร เพื่อให้ความรู้อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ภาษาอังกฤษ ศิลปะ เพื่อเสริมให้กับผู้รับการฝึกอาชีพได้มีความรู้หลากหลายยิ่งขึ้น นอกจากนั้นยังได้เตรียมสถานที่เพื่อเป็นห้องสมุดให้ผู้รับการฝึกอาชีพ ได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
4.8.3 โครงการสร้างเสริมชีวิตใหม่
เป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อปรับสภาพความพิการของผู้รับการฝึกอาชีพให้สามารถช่วยเหลือตนเองได้สมควรแก่อัตภาพ ป้องกันแก้ไขปัญหาด้านจิตใจ และเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้รับการฝึกอาชีพ ก่อนเข้าสู่การประกอบอาชีพหรือสถานประกอบการโดยสำรวจข้อมูลของผู้รับการฝึกอาชีพ ว่ามีความจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์เช่นใดบ้างเพื่อนำมาวางแผนการแก้ไขปัญหาด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ ให้กับผู้รับการฝึกอาชีพเฉพาะรายและกลุ่ม เพื่อดำเนินการแก้ไขฟื้นฟูโดยประสานงานบุคลากรหรือหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ให้มีการปรับสภาพ หรือแก้ไขสภาพความพิการ บำบัดรักษาโรคทางกายหรือทางจิตและจัดกิจกรรมส่งเสริมการมีสุขภาพอนามัยที่ดีให้กับผู้รับการฝึกอาชีพ เช่นจัดให้มีการแข่งขันกีฬา การออกกำลังกาย การทำกายภาพบำบัด เป็นต้น
101
4.8.4 โครงการทัศนศึกษาและเสริมสร้างประสบการณ์ชีวิต
เป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอาชีพมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ และทางสังคมอย่างเหมาะสม สามารถเลือกแนวทางในการดำเนินชีวิตได้อย่างถูกต้อง ตลอดจนมีความเข้าใจในขนบธรรมเนียมประเพณี มารยาททางสังคม และสามารถปรับตัวเข้ากับสังคมได้อย่างเหมาะสม โดยจัดกิจกรรมในวันสำคัญต่าง ๆ ให้ผู้รับการฝึกอาชีพได้เรียนรู้ขนบธรรมเนียมประเพณีและ
วัฒนธรรมไทย เช่น วันลอยกระทง วันขึ้นปีใหม่ วันพ่อแห่งชาติ รวมทั้งพิธีการสำคัญทางศาสนาต่าง ๆ เช่น การเวียนเทียน เป็นต้น จัดกิจกรรมนันทนาการ การแสดงดนตรี และการบันเทิงต่าง ๆ การอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับมารยาททางสังคม ทุกบ่ายวันศุกร์เดือนละ 1 ครั้ง จัดให้ผู้รับการฝึกอาชีพได้ศึกษาเยี่ยมชมกิจการของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จัดให้ผู้รับการฝึกอาชีพเข้าร่วม
กิจกรรมของหน่วยงานหรือองค์กรอื่นตามที่ได้รับเชิญและนำผู้รับการฝึกอาชีพไปทัศนศึกษาหรือจัดค่ายพักแรมนอกสถานที่
4.8.5 โครงการบำเพ็ญประโยชน์เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมในสังคม
เป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมคุณธรรมของชีวิตในเรื่องความเสียสละ สร้างความรู้สึกและมีคุณค่าให้กับบุคคลพิการ เพื่อให้สังคมยอมรับบุคคลพิการว่ามีคุณค่าและเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และให้ผู้รับการฝึกอาชีพได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม โดยปลูกฝังจิตสำนึกในคุณค่าของตนเองในการมีโอกาสได้ช่วยเหลือสังคม สามารถสร้างประโยชน์ให้กับสังคมได้โดยไม่เป็นภาระของสังคม ให้ความรู้ด้านมารยาททางสังคม และพัฒนาความสามารถพื้นฐานรวมทั้งทักษะต่าง ๆ ในการบำเพ็ญประโยชน์ การใช้อุปกรณ์เครื่องมือช่างทั่วไป การพัฒนาอาคารสถานที่กิจกรรมด้านดนตรี กีฬา นำผู้รับการฝึกอาชีพร่วมกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ต่าง ๆ เช่น ร่วมแสดงดนตรี และกิจกรรมนอกสถานที่ในโอกาสสำคัญ หรือเมื่อมีการขอรับการสนับสนุนจากองค์กรหรือชุมชนต่าง ๆ พัฒนาอาคารสถานที่ของศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดง และชุมชนใกล้เคียงและนำผู้รับการฝึกอาชีพออกหน่วยเคลื่อนที่ร่วมกับหน่วยงานอื่นของจังหวัดสมุทรปราการ
102
4.8.6 โครงการสร้างสรรค์ชีวิตให้มีคุณค่า
เป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้รับการฝึกอาชีพได้ทำในสิ่งที่ตนเองมีความชอบหรือมีความสนใจ เป็นการผ่อนคลายความตึงเครียดภายหลังจากการฝึกอาชีพในยามปกติแล้วผู้รับการฝึกอาชีพจะได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ เพิ่มเติมนอกเหนือจากการฝึกอาชีพที่ตนเองศึกษา เป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ต่อตนเอง และสังคม ดำเนินกิจกรรมโดยการรวบรวมรายชื่อผู้รับการฝึกอาชีพตามกลุ่มความสนใจ เช่น กลุ่มกีฬา กลุ่มดนตรี กลุ่มศิลปะ กลุ่มศาสนา กลุ่มบำเพ็ญประโยชน์ กลุ่มห้องสมุด เป็นต้น จัดให้มีจัดเจ้าหน้าที่ประจำกลุ่มคอยดูแลและให้คำแนะนำศึกษาแก่ผู้รับการฝึกอาชีพ มีการประชุม ชี้แจงกฎระเบียบของกลุ่ม และรวบรวมความคิดเห็นความต้องการโดยมีเข้ากลุ่มสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง
4.8.7 โครงการเตรียมความพร้อมเพื่อการจ้างงานคนพิการ
เป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้รับการฝึกอาชีพได้รับความรู้ ความเข้าใจในระบบตลาดแรงงาน มีการเรียนรู้ประสบการณ์ชีวิตการทำงานอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม เป็นการสร้างโอกาสการมีงานทำแก่ผู้สำเร็จการฝึกอาชีพของศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดง และเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และชักจูงใจแก่นายจ้างให้เข้าใจศักยภาพของคนพิการ โดยจัดกิจกรรมศึกษาดูงานในสถานประกอบการ การประกอบอาชีพอิสระ มีการบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับระบบตลาดแรงงาน กฎหมายแรงงาน การสมัครงานประสบการณ์การใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมแรงงาน จัดกิจกรรมนัดพบแรงงาน เพื่อให้นายจ้างให้เยี่ยมชม ศึกษาดูงานของศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดง และมีการติดตามเยี่ยมเยียนผู้สำเร็จการฝึกอาชีพ
สรุปแล้วโครงการต่าง ๆ ที่ศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดง จัดขึ้นให้กับคนพิการที่เข้ารับการฝึกอาชีพที่นอกเหนือจากโปรแกรมการฝึกอบรมปกตินั้น เป็นโครงการที่มุ่งพัฒนาและฟื้นฟูสมรรถภาพของคนพิการทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ ด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา ด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม และด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพ ตลอดจนถึงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้รับการฝึกอาชีพในด้านต่าง ๆ ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา และวิธีการดำเนินชีวิต อีกทั้งการเรียนรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากการมีส่วนร่วมในกิจกรรมแต่ละโครงการจะทำให้คนพิการที่เข้ารับการฝึกอาชีพ ได้พัฒนาศักยภาพของตนเอง เพื่อสร้างความพร้อมในการใช้ชีวิตร่วมกับคนปกติในสังคม ซึ่งผู้วิจัยคาดว่าความรู้และ
103
ประสบการณ์ที่ได้รับจากการมีส่วนร่วมในโครงการต่าง ๆ ที่ศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดงจัดขึ้น จะมีผลต่อการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ด้วย
5. แนวคิดเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างบุคคล
บุคคลแต่ละคนหรือเอกบุคคลนับเป็นหน่วยพื้นฐานที่สำคัญยิ่งของการพัฒนาเป็นที่เข้าใจง่ายว่า หากปราศจากเอกบุคคลทั้งหลาย การพัฒนาก็จะเกิดขึ้นไม่ได้ ในแง่จิตวิทยา โดยเฉพาะจิตวิทยาประยุกต์จะให้ความสนใจกับเอกบุคคลในแง่ของความแตกต่างที่มีระหว่างกันเป็นอย่างมาก นั่นก็คือความแตกต่างระหว่างบุคคล (individual differences) นั่นเอง โดยทั่วไปบุคคลจะแตกต่างกันทางร่างกาย ทางสติปัญญา ทางสังคม และทางอารมณ์ ความแตกต่างดังกล่าวจะมีสาเหตุสำคัญมาจากพันธุกรรม (heridity) และสภาพแวดล้อม (enviroment) และความแตกต่างเหล่านี้จะทำให้บุคคลแต่ละคนมีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใคร (uniqueness) ในแง่ของการทำงานนั้นบุคคลอาจจะแตกต่างกันในแง่ความสามารถในการแก้ปัญหา ความรวดเร็วและแม่นยำในการมองเห็น ในการฟัง ความสามารถที่จะอดทนต่อความเคลือบแคลงสงสัย ต่อความเครียด ทักษะในการพูด ทักษะในการเขียน เป็นต้น บุคคลนั้นมีความแตกต่างกันที่สำคัญดังต่อไปนี้คือ (ดับบลิน อ้างจาก
สร้อยตระกูล อรรถมานะ 2534 : 1) บุคคลจะมีระดับพลังงานและสามารถทนต่อความเหนื่อยล้าต่างกัน บุคคลจะมีความต้องการต่างกัน ดังนั้นจึงทำให้มีความแตกต่างในการจูงใจ (motivation) บุคคลชอบที่จะอยู่ภายใต้การนำที่แตกต่างกันไป บุคคลแตกต่างกันในความต้องการที่จะสังคมกับบุคคลอื่น บุคคลสามารถรับหน้าที่และมีความรับผิดชอบได้ต่างกัน

นอกจากเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลแล้วความแตกต่างภายในเอกบุคคล
(intraindividual differences) ความแตกต่างภายในบุคคล หมายถึง ความผันแปรภายในบุคคลเดียวกันในเวลาที่ต่างกัน บุคคลเดียวกันนั้นอาจจะมีการจูงใจในสถานการณ์หนึ่ง แต่อาจไม่มีการจูงใจเลยในอีกสถานการณ์หนึ่ง เกี่ยวกับเรื่องนี้ปัจจัยสภาพแวดล้อมอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการผันแปรในพฤติกรรม อาทิ บรรยากาศภายในองค์การ (organizational climate) นั้นจะมีบทบาทอย่างสำคัญ หรือบุคคลเดียวกันนั้นจะแตกต่างกันไปตามไปด้วย ยกตัวอย่างเช่น วัยทำให้เกิดความแตกต่างภายในระหว่างบุคคล อาทิ การที่บุคคลมีประสบการณ์มาก ย่อมทำให้บุคคลมีความสุขุมรอบคอบมากกว่าสมัยเมื่อเขายังหนุ่มสาวหรือความแตกต่างของเวลาในวันหนึ่ง ๆ อาจจะทำให้เกิดความแตกต่างภายในแต่ละบุคคลได้
104
ที่กล่าวมาข้างต้นแสดงให้เห็นความสำคัญของสภาพแวดล้อมต่อเอกบุคคลซึ่งจะส่งผลต่อพฤติกรรมบุคคลโดยตรง สภาพแวดล้อมนั้นอาจจะเป็นสภาพแวดล้อมทางกายภาพ (physical enviroment) หรือสภาพแวดล้อมเกี่ยวกับมนุษย์ (human enviroment) หรือสภาพแวดล้อมทางด้านโครงสร้าง (structural enviroment) ขององค์การ อาทิ ตัวโครงสร้างเอง นโยบาย ระเบียบปฏิบัติ กฎระเบียบ ข้อบังคับ ดังนั้นสมมติฐานพื้นฐานทางจิตวิทยาจึงบ่งไว้ว่า พฤติกรรมของบุคคลจะเป็นผลคูณของบุคคลนั้นกับสภาพแวดล้อมของเขา ซึ่งอาจเขียนเป็นสมการได้ดังนี้ (Kurt 1955 : 57)
B = f ( P x E )
B (behavior) นั้นใช้แทนพฤติกรรม , P (person) ใช้แทนบุคคล และ E (enviroment) ใช้แทนสภาพแวดล้อม
จากแนวคิดความแตกต่างระหว่างบุคคล ผู้วิจัยเห็นว่า บุคคลผู้ซึ่งมีความแตกต่างกันทั้งทางร่างกาย ทางสติปัญญา ทางสังคม และทางอารมณ์ จะมีพฤติกรรมต่าง ๆ เช่นการเรียนรู้ การปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมนั้นแตกต่างกัน และสภาพแวดล้อมอาจจะเป็นสภาพแวดล้อมทางกายภาพ (physical enviroment) หรือสภาพแวดล้อมเกี่ยวกับมนุษย์ (human enviroment) หรือสภาพแวดล้อมทางด้านโครงสร้าง (stuctural enviroment) มีความสัมพันธ์ต่อการเรียนรู้และปรับตัวของบุคคล จึงทำให้ผู้วิจัยนำมาเป็นกรอบแนวคิดในการกำหนดตัวแปรในสมมติฐาน เพื่อทำการทดสอบต่อไป
7. แนวคิด การเรียนรู้ทางสังคม (The Social Learning Approach) (พิสมัย วิบูลย์สวัสดิ์ 2527 : 526-527)
นักจิตวิทยาการเรียนรู้ทางสังคมมีความเห็นว่า สิ่งแวดล้อม หรือสถานการณ์มีบทบาทสำคัญในการกำหนดพฤติกรรมของบุคคล นักจิตวิทยากลุ่มนี้เน้นถึงรูปแบบพฤติกรรมของบุคคล ซึ่งบุคคลเรียนรู้ในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม สภาวะแวดล้อมเป็นตัววางรูปแบบพฤติกรรมโดยกระบวนการเรียนรู้ของบุคคล และในทำนองเดียวกันบุคคลก็เป็นผู้จัดและเปลี่ยนแปลง
สิ่งแวดล้อมด้วย ดังนั้นบุคคลและสถานการณ์ จึงมีอิทธิพลซึ่งกันและกัน การเกี่ยวข้องระหว่างบุคคลกับสถานการณ์แต่ละสถานการณ์ ซึ่งมีความสำคัญมากในการกำหนดพฤติกรรม
105
ตามแนวคิดการเรียนรู้ทางสังคมเชื่อว่าการแสดงพฤติกรรมของบุคคลในสถานการณ์หนึ่ง ๆ ขึ้นอยู่กับลักษณะเฉพาะสถานการณ์ที่แตกต่างกันออกไป บุคคลจะประเมินสถานการณ์แต่ละ
สถานการณ์เพื่อแสดงพฤติกรรมให้เหมาะสม และจะเลือกแสดงพฤติกรรมที่เคยได้รับการเสริมแรงมาก่อนในสถานการณ์ที่คล้ายกัน หรือสังเกตพฤติกรรมของบุคคลอื่นในสถานการณ์ที่คล้ายกับของตน บุคคลจำเป็นต้องเรียนรู้ที่จะแยกแยะว่าพฤติกรรมใดเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมในแต่ละ
สถานการณ์ การที่บุคคลได้รับการเสริมแรงในการกระทำชนิดเดียวกันในสถานการณ์ที่แตกต่างกันจะเป็นผลให้บุคคลเกิดการสรุปกฎเกณฑ์ คือจะแสดงพฤติกรรมลักษณะเดียวกันนั้นในสถานการณ์ที่แตกต่างกันไปอย่างแน่นอน เช่น กรณีเด็กชายแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวต่อเพื่อนที่โรงเรียนแล้วได้รับการเสริมแรง และได้รับการเสริมแรงเมื่อแสดงความก้าวร้าวที่บ้านด้วยเช่นกัน อาจเป็นผลให้เด็กร้ายพัฒนาบุคลิกภาพที่ก้าวร้าวต่อไปอีก แต่ในทางกลับกันพฤติกรรมชนิดเดียวกันได้รับการเสริมแรงในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน เช่น เด็กชายได้รับการเสริมแรงถ้าแสดงความก้าวร้าวในห้องเรียน กรณีเช่นนี้จะเป็นผลทำให้เด็กเรียนรู้ที่จะแยกแยะ (Discrimination) ว่าสถานการณ์ใดจึงจะแสดง
พฤติกรรมชนิดใดได้
การเสริมแรงที่มีบทบาทในการควบคุมพฤติกรรมการเรียนรู้ของบุคคลสามารถแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะดังนี้คือ
1) การเสริมแรงที่ได้รับโดยตรง เช่น การได้รับรางวัลทางวัตถุ การได้รับการยอมรับจากสังคม ซึ่งเป็นการเรียนรู้โดยผ่านประสบการณ์ตรงเกิดขึ้นกับตนเอง บุคคลจะเลือกกระทำในสิ่งที่ตนเองได้รับรางวัลและไม่กระทำในสิ่งที่ถูกลงโทษ
2) การเลียนแบบผู้อื่น พฤติกรรมบางอย่างของบุคคลไม่ได้เกิดขึ้นจากการได้รับการเสริมแรงโดยตรงแต่ได้มาจากการสังเกตพฤติกรรมของบุคคลอื่นว่าพฤติกรรมที่ทำแล้วว่าได้รับรางวัลหรือถูกลงโทษ
3) การควบคุมตนเอง บุคคลจะประเมินผลการกระทำของตนด้วยวิธีการยกย่องหรือตำหนิตนเอง
นักจิตวิทยาการเรียนรู้ทางสังคมให้ความสนใจในเรื่ององค์ประกอบเกี่ยวกับการรู้การคิดว่ามีอิทธิพลสำคัญที่จะกำหนดว่าบุคคลจะกระทำอย่างไรเมื่อยู่ในสถานการณ์นั้น ๆ โดยได้มีการศึกษาถึงตัวแปรต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับบุคคลที่มีส่วนกำหนดพฤติกรรมของบุคคลในสถานการณ์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1) ความสามารถ (Competencies) ซึ่งประกอบด้วยความสามารถทางสติปัญญา ทักษะทางสังคมและความสามารถอื่น ๆ
2) กลวิธีในการคิด (Cognitive Strategies) ซึ่งประกอบด้วยวิธีการที่เคยใช้ในการเลือกรับข่าวสาร การจัดระเบียบ และการตีความหมาย
106
3) การคาดหวัง (Expectancies) หมายถึง การถึงผลที่ตามมาของการกระทำต่าง ๆ การตีความหมายสิ่งเร้า และความมั่นใจในการกระทำของตน เราอาจจะคาดถึงผลที่ตามมาของการกระทำได้ แต่เราไม่กล้ากระทำเพราะไม่แน่ใจว่าตนเองจะมีความสามารถที่จะกระทำได้
4) การให้คุณค่าผลการกระทำ (Subjective Outcome Values) หมายความว่า แม้ว่า
บุคคลจะมีความคาดหวังที่คล้ายคลึงกัน แต่เขาอาจจะเลือกที่จะแสดงพฤติกรรมที่แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้เนื่องจากแต่ละบุคคลมีความแตกต่าง กันออกไป ทั้งนี้เนื่องจากบุคคลมีความแตกต่างกันในการให้คุณค่าของผลการกระทำนั้น
5) ขบวณการบังคับ ควบคุมตนเองและการวางแผน (Self – Regulatory Systems and
Plans) หมายถึง มาตรฐานบังคับควบคุมตนเอง และกฎเกณฑ์ที่แต่ละบุคคลรับเอามาใช้ควบคุม
พฤติกรรมของคนและการวางแผนให้บรรลุเป้าหมาย
สรุปแล้ว ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมให้ความสำคัญในเรื่องของตัวแปรทางสิ่งแวดล้อมที่มีผลก่อให้เกิดพฤติกรรมเฉพาะอย่าง แนวคิดนี้จึงทำให้มองพฤติกรรมในแง่ของการกระทำต่อ
สถานการณ์ที่เฉพาะเจาะจง และทำให้สนใจถึงวิธีการที่ใช้ในสิ่งแวดล้อมควบคุมและดัดแปลง
พฤติกรรมของบุคคล ซึ่งการมองมนุษย์ในลักษณะดังกล่าว มีอิทธิพลมากต่อประสบการณ์ต่าง ๆ ที่มนุษย์ได้รับจากสิ่งแวดล้อม
จากแนวคิด ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม ประสบการณ์จากสิ่งแวดล้อมนั้นมีอิทธิพลต่อการกำหนดพฤติกรรมของบุคคล ซึ่งทำให้พฤติกรรมของบุคคลมีการเปลี่ยนแปลง เกิดการเรียนรู้ และสามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมนั้น ๆ ได้ จึงทำให้ผู้วิจัยนำมาเป็นกรอบแนวคิดในการกำหนดตัวแปรในสมมติฐานเพื่อทำการทดสอบต่อไป
7. ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ
โอภาส พิมลวิชยกิจ (2539) ศึกษาเรื่อง “การปรับตัวทางสังคมของคนพิการในศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการ” โดยศึกษาจากคนพิการที่ได้รับการฝึกอาชีพ จำนวน 6 แห่ง ของ
กรมประชาสงเคราะห์ จำนวน 329 คน ที่มีความพิการทางการเคลื่อนไหว โดยแสดงการเปรียบเทียบของความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะส่วนบุคคลและสังคมของคนพิการกับการปรับตัวทางสังคม พบว่าการปรับตัวทางสังคมของคนพิการ 6 ด้านคือ การปรับตัวกับเพื่อน เจ้าหน้าที่ ครูฝึกอาชีพ
คนแปลกหน้า ผู้มาเยี่ยมเยียน การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม กฎระเบียบ และการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร มีความสัมพันธ์กัน กับระดับความพิการ เครือข่ายทางสังคม ประเภทครอบครัว ระยะเวลาที่มีความ
107
พิการ บทบาทของคนป่วย และการนับถือตนเอง ดังนี้ คนพิการมากกว่าครึ่งหนึ่งไม่มีบทบาทคนป่วย ส่วนใหญ่มีการนับถือตนเองน้อยหรือต่ำ มีการปรับตัวสูง ส่วนใหญ่กับเพื่อน เจ้าหน้าที่ และครู รวมทั้งการเข้าร่วมกิจกรรม และกฎระเบียบของศูนย์ แต่มีการปรับตัวกับคนแปลกหน้า และ
ข่าวสารต่ำส่วนคนพิการที่มีระยะเวลาความพิการนั้น จะฝ่าฝืนหรือปรับเข้ากับระเบียบได้ยาก
สุชิดา กาญจนรังษี (2538) ศึกษาเรื่อง “ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูญเสียขา” จากผู้รับบริการหน่วยกายอุปกรณ์ของสถานพยาบาล 5 แห่ง คือ โรงพยาบาลศิริราช
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โรงพยาบาลเลิดสิน และศูนย์สิรินทรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ จำนวน 223 ราย พบว่า คุณภาพชีวิตของผู้สูญเสียขาอยู่ในระดับปานกลาง ด้านความพึงพอใจและอัตมโนทัศน์อยู่ระดับดี ด้านสุขภาพ สังคม เศรษฐกิจ อยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูญเสียขามีความแตกต่างกันในด้านสถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ ระยะเวลาที่สูญเสียขา และคนพิการที่มีโรคประจำตัว
ปกรณ์ วชิรัคกุล (2541) ศึกษาเรื่อง “ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้พิการในจังหวัดพิษณุโลก” จากกลุ่มตัวอย่างผู้พิการทางการมองเห็น และทางกายและการเคลื่อนไหวที่ได้รับการจดทะเบียนคนพิการสำนักงานประชาสงเคราะห์จังหวัดพิษณุโลก อายุ 15 ปีขึ้นไปจำนวน 348 คน ผลการวิจัยพบว่า ระดับคุณภาพชีวิตคนพิการ รวมทุกด้านอยู่ในระดับปานกลางทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้พิการในจังหวัดพิษณุโลก ได้แก่ ปัจจัยด้านลักษณะส่วนบุคคลของผู้พิการที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิต ได้แก่ การประกอบอาชีพ รายได้ ความเพียงพอของรายได้ และระยะเวลาที่มีความพิการ ปัจจัยทางด้านสังคม สิ่งแวดล้อม พบว่าสัมพันธภาพของชุมชน การสนับสนุนทางสังคม สัมพันธภาพในครอบครัว และประสบการณ์ในการฟื้นฟูสมรรถภาพ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตของผู้พิการ ส่วนปัจจัยที่อยู่อาศัยจะมีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพชีวิต สำหรับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้พิการ ได้แก่ สัมพันธภาพกับชุมชน เขตที่อยู่อาศัย ประสบการณ์ฟื้นฟูสมรรถภาพ การประกอบอาชีพ ความเพียงพอของรายได้ ประเภทความพิการ สัมพันธภาพภายในครอบครัว ระยะเวลาความพิการ อายุของคนพิการ รายได้ของคนพิการ
กนกวรรณ อังกะสิทธิ์ (2540) ศึกษาเรื่อง “พฤติกรรมสุขภาพความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองของคนพิการ” จากคนพิการที่ได้รับอุบัติเหตุจำนวน 112 คน เพศชายและหญิง จากศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการหยาดฝน มูลนิธิสิริวัฒนาเชสเชียร์ สถาบันแมคเคนเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพ และคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบว่า พฤติกรรมสุขภาพของคนพิการอยู่ในระดับค่อน
108
ข้างดี และความรู้สึกเห็นคุณค่าของตนเองของคนพิการอยู่ในระดับค่อนข้างดี พฤติกรรมสุขภาพของคนพิการ มีความสัมพันธ์กับความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง โดยคนพิการที่มีความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง ก็จะมีพฤติกรรมที่ดีด้วย สามารถแสดงบทบาทตนเองต่อครอบครัว ชุมชน สังคม รวมทั้งความรู้สึกที่ดี เกิดแรงจูงใจสามารถเผชิญปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ได้
มาลิน สุขเกษม (2543) ศึกษาเรื่อง “ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้พิการ ในศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการ กรมประชาสงเคราะห์” ศึกษาจากจากผู้พิการอายุระหว่าง 17-40 ปี จำนวน 507 คน ผลการศึกษาพบว่าอายุ และเพศ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพพร้อมกันนี้ ค่านิยม ทัศนคติ การรับรู้ความสามารถของตน การรับรู้สถานะสุขภาพ การรับรู้ประโยชน์ และการได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพด้วย นอกจากนี้ พฤติกรรมต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น และการได้รับการช่วยเหลือด้านการเงินยังสามารถทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพได้ด้วย โดยตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพที่มากที่สุดคือ ค่านิยมเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ
กวี ทังสุบุตร (2533) ศึกษาเรื่อง “การพัฒนาศักยภาพคนพิการในครอบครัวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ พื้นที่ 5 จังหวัด อุดรธานี สกลนคร ขอนแก่น นครพนม และเลย” ผลการวิจัยพบว่า ทัศนคติพื้นฐานที่สะท้อนให้เห็นศักยภาพในการพัฒนาตนเองของคนพิการ คือ คนพิการยังมีความรู้สึกในด้านลบต่อตนเอง เช่น มีความรู้สึกเสียใจ ท้อแท้ เป็นปมด้อย และยังขาดความเชื่อมั่นในตนเองทำให้โอกาสในการพัฒนาศักยภาพลดลงและคนพิการส่วนใหญ่ต้องอาศัยอยู่ในการดูแลของสมาชิกในครอบครัว ซึ่งทำให้คนพิการ และครอบครัว ต้องการได้รับความช่วยเหลือในหลายด้าน เช่น ด้านเศรษฐกิจ การบำบัดรักษาทางการแพทย์ การให้คำปรึกษา เป็นต้น แต่ไม่พบว่า
ความช่วยเหลือจากใคร ในด้านการเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชน พบว่าคนพิการมีการพึ่งพาตนเองได้ในระดับไม่ดี
เสาวภา วิชิตวาที (2534) ศึกษาเรื่อง “ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง การสนับสนุนทางสังคม กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยที่สูญเสียขา” เป็นผู้ป่วยที่สูญเสียขาเนื่องจากได้รับอุบัติเหตุและมารับบริการที่หน่วยกายอุปกรณ์ โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า และโรงพยาบาลเลิดสิน จำนวน 100 ราย โดยใช้ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเรม ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยที่มีความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและการสนับสนุนทางสังคมสูง จะมี
พฤติกรรมการดูแลตนเองดีกว่าผู้ป่วยที่มีความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและการสนับสนุนทางสังคมต่ำ โดยอายุ และระยะเวลาที่สูญเสียแขนขามีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมการดูแลตนเอง
109
กนิษฐา ถาวรกิจ (2538) ศึกษาเรื่อง “ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชน ศึกษากรณีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้านคนพิการในที่ทำการ
ประชาสงเคราะห์จังหวัด” จำนวน 75 จังหวัด พบว่า เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านคนพิการมีความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติที่ดีต่อคนพิการ โดยมองว่าการยอมรับ การให้กำลังใจ การสนับสนุนของครอบครัวที่มีต่อคนพิการเป็นการลดหรือบรรเทาปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ ในด้านทัศนคติของเจ้าหน้าส่วนใหญ่มีทัศนคติแตกต่างด้านบริการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ ในเรื่อง เพศ อายุ และความพิการ เจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่มีทัศนคติต่อความพิการในการปฏิบัติงานด้านการฟื้นฟูคนพิการในระดับดี
กุลนรี หาญพัฒนชัยกูร (2538) ศึกษาเรื่อง “การปรับตัวของครอบครัวในการดูแลคนพิการ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา” ผลการศึกษาพบว่า คุณลักษณะและครอบครัวคนพิการเป็นครอบครัวขยาย รายได้ต่ำกว่า 50,000 บาทต่อปี คุณลักษณะคนพิการมีอายุ 15-60 ปี เป็นเพศชาย ระยะเวลาความพิการ 10-20 ปี มีการศึกษาระดับประถมไม่มีรายได้ ส่วนใหญ่มีความพิการทางการเคลื่อนไหว ซึ่งเป็นความพิการหลังกำเนิด ในการศึกษา หรือฝึกอาชีพ ไม่เคยมีประสบการณ์ฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์มากที่สุด ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปรับตัวของครอบครัวในการดูแลคนพิการ พบว่า ปัจจัยมีความสัมพันธ์ในด้านบวก คือรายได้ของคนพิการ และประสบการณ์ของคนพิการในการฟื้นฟูทางการแพทย์ ด้านลบ คือการศึกษาของคนพิการ ประสบการณ์ของคนพิการในการฝึกอาชีพ การศึกษา ประเภทและลักษณะความพิการ การสนับสนุนทางสังคม ปัญหาครอบครัวคนพิการ ปัจจัยที่มีผลต่อการปรับตัวของครอบครัวในการดูแลคนพิการ พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพล คือ ปัญหาครอบครัวของคนพิการ การศึกษาของคนพิการ ลักษณะความพิการ ประเภทความพิการ รายได้ของคนพิการ ประสบการณ์การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษาหรือฝึกอาชีพ
อังคณา สาลาด (2541) ศึกษาเรื่อง “ความคาดหวังในการฟื้นฟูสมรรถภาพในชุมชนของคนพิการทางกายและหรือการเคลื่อนไหว ศึกษาเฉพาะอำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี” ด้านการบริการ ฟื้นฟูและกระบวนการ ดำเนินงานเปรียบเทียบกับสิ่งที่ได้รับและความแตกต่างในด้านปัจจัยต่าง ๆ คนพิการทางการเคลื่อนไหว อายุ 15 ปีขึ้นไปในอำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี จำนวน 148 ราย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคาดหวังในการฟื้นฟูในระดับดีมาก ด้านการแพทย์ และสังคม แต่สิ่งที่ได้รับการฟื้นฟูในระดับน้อย คือฟื้นฟูด้านการศึกษาและอาชีพ รวมทั้งกระบวนการ ดำเนินงานกลุ่มตัวอย่างที่มีความแตกต่างในด้านสถานภาพสมรส ระยะเวลาความพิการ ระดับพิการ แรงจูงใจ
110
ใฝ่สัมฤทธิ์ การสนับสนุนทางสังคม และกายภาพแวดล้อม ด้านการคมนาคม มีความคาดหวังในการฟื้นฟูสมรรถภาพในชุมชนทั้ง 4 ด้าน คือ การแพทย์ การศึกษา สังคม และอาชีพ มีความสำคัญและควรได้รับการพัฒนาปรับปรุงคู่ไปกับด้านกระบวนการดำเนินงาน ให้ครอบคลุมและเด่นชัดในทุกชุมชน
สินีนาฎ บุญต่อเติม (2530) ศึกษาเรื่อง “การศึกษาปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม อารมณ์ จิตใจ ของผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุจราจรทางบก : ศึกษาเฉพาะโรงพยาบาลในเขต
กรุงเทพมหานคร” ในปี พ.ศ. 2530 พบว่า ผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุจราจรทางบก ขณะรับการรักษาพยาบาล ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจ สังคม อารมณ์ จิตใจ และมักจะเป็นอุปสรรคต่อการรักษาพยาบาล กล่าวคือ เมื่อผู้ป่วยเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล ครอบครัวขาดรายได้และมีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ทั้งสมาชิกครอบครัวและตัวผู้ป่วยเอง เมื่อผู้ป่วยกลับบ้าน ผู้ป่วยต้องพักรักษาตัวอีกระยะหนึ่ง ทำให้ครอบครัวต้องรับภาระเลี้ยงดู และต้องแยกตัวเองออกจากสังคม และกรณีผู้ป่วยต้องบาดเจ็บสาหัสต้องกลายเป็นคนพิการตลอดชีวิต ผู้ป่วยต้องทิ้งสถานภาพเดิมทั้งด้านอาชีพและสังคม ส่วนปัญหาด้านจิตใจนั้นพบว่า ผู้ป่วยจะมีความกลัว และความวิตกกังวลในเรื่องกลัวความเจ็บป่วยของตนเองและกลัวว่าจะเป็นคนไร้ความสามารถ วิตกกังวลต่อค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ขณะรับการรักษาพยาบาล นอกจากนั้นยังพบว่าผู้ป่วยมักจะมีอารมณ์หงุดหงิด อารมณ์เสีย และเบื่อหน่ายต่อสภาพของตนเอง จนไม่อยากจะรับรู้ต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ รอบตัว จนบางครั้งผู้ป่วยไม่สามารถปรับสภาพทางร่างกาย อารมณ์ จิตใจได้ทัน และแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ออกมา
สุกัญญา วิบูลย์พานิช (2536) ศึกษาเรื่อง “อัตมโนทัศน์และการพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจของคนพิการ” พบว่า
1) คนพิการที่มี่ความรู้สึกนึกคิดต่อตนเองโดยส่วนรวมดี จะมีการพึ่งตนเองทาง
เศรษฐกิจที่ดีด้วย ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาจากข้อมูลเชิงคุณภาพด้วย กล่าวคือ เมื่อคนพิการยอมรับสภาพร่างกายและสุขภาพของตน มีอารมณ์และจิตใจที่ดี มีความพึงพอใจในตนเองและชีวิต รู้สึกว่าตนมีความสำคัญ มีคุณค่าและศักดิ์ศรี มีความรู้ความสามารถ ยังเป็นบุคคลที่มีประโยชน์และมี
ความหมายต่อครอบครัวและสังคม ทำให้เกิดแรงจูงใจ มีกำลังใจ กำลังกายที่เข้มแข็ง มั่นใจในตนเอง พยายามดูแลตนเอง ช่วยเหลือตนเอง แก้ไขปัญหาด้วยตนเอง ทำให้สามารถเผชิญปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ในชีวิตได้สำเร็จ รวมทั้งมีความสนใจที่จะพัฒนาความรู้ ความสามารถ ทักษะต่าง ๆ อันจะนำไปสู่การพึ่งตนเองได้ต่อไป
111
1) คนพิการที่ได้รับการสนับสนุนทางสังคม โดยส่วนรวมดีจะมีการพึ่งตนเองทาง
เศรษฐกิจที่ดีด้วย กล่าวคือ ถ้าได้รับการสนับสนุนในด้านข่าวสาร คำแนะนำ กำลังใจจากบุคคล
ต่าง ๆ จะทำให้คนพิการทราบแนวทางในการปฏิบัติตนที่ถูกต้องเหมาะสมกับสุขภาพร่างกาย ทราบแนวทางในการประกอบอาชีพ มีกำลังใจ มีความมั่นใจ ไม่รู้สึกโดดเดี่ยวหรือถูกทอดทิ้ง กล้าที่จะต่อสู้หรือเผชิญกับปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ การยอมรับและการเป็นส่วนหนึ่งของสังคมทำให้คนพิการรู้สึกว่าตนมีคุณค่าต่อครอบครัวและสังคม การได้รับความช่วยเหลือด้านวัตถุสิ่งของซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีพ เช่น เงิน อาหาร ที่อยู่ เสื้อผ้า ในขณะที่คนพิการยังไม่สามารถประกอบอาชีพหาเลี้ยงตนเองได้ เป็นการให้โอกาสแก่คนพิการที่จะยืนหยัดต่อสู้ต่อไปได้
นอกจากนี้ ยังพบว่า อายุ มีความสัมพันธ์เป็นไปทางด้านบวกกับการพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจของคนพิการ โดยพบว่า กลุ่มตัวอยางที่มีอายุมากจะมีการพึ่งพาตนเองทางเศรษฐกิจสูงกว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีอายุน้อย ระดับการศึกษา มีความสัมพันธ์เป็นไปทางด้านบวกกับการพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจของคนพิการ คือ กลุ่มตัวอย่างที่มีการศึกษาสูงจะมีการพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจสูงกว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีการศึกษาต่ำ และระยะเวลาที่พิการ มีความสัมพันธ์เป็นไปทางด้านบวกกับการพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจของคนพิการ คือ กลุ่มตัวอย่างที่มีระยะเวลาพิการสูงจะมีการพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจสูงกว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีระยะเวลาพิการต่ำ
กชกร ศรีสัมพันธ์ (2537) ศึกษาเรื่อง “บทบาทสมาชิกครอบครัวที่มีต่อพฤติกรรมในการเผชิญปัญหาของคนพิการ” พบว่า
1) ปัจจัยด้านประชากร พบว่า ปัจจัยด้านเพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ลักษณะความพิการของผู้พิการและบทบาทหรือตำแหน่งของสมาชิกในครอบครัว ไม่มี
อิทธิพลต่อพฤติกรรมในการเผชิญปัญหาของคนพิการแต่ในขณะที่ปัจจัยด้านระยะเวลาที่ประสบความพิการของผู้พิการนั้นมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมในการเผชิญปัญหาของคนพิการ
2) ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ พบว่า ปัจจัยทางด้านรายได้มีอิทธิพลพฤติกรรมในการเผชิญปัญหาของคนพิการ อธิบายว่า ผู้พิการที่มีฐานะดีย่อมมีความพร้อมและมีโอกาสในการกระทำสิ่ง
ต่าง ๆ สำหรับชีวิตได้มากกว่าผู้พิการที่มีฐานะยากจน
3) ปัจจัยด้านสังคม อารมณ์ และจิตใจ พบว่าปัจจัยทางด้านการยอมรับตนเอง
สัมพันธภาพในครอบครัว และการได้รับการสนับสนุนทางครอบครัวและสังคมจากสมาชิกครอบครัว มีอิทธิพลต่อการยอมรับตนเอง สัมพันธภาพในครอบครัว และการได้รับการสนับสนุนทาง
ครอบครัวและสังคมจากสมาชิกครอบครัว มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมในการเผชิญปัญหาของคนพิการ ทั้งนี้ สามารถอธิบายได้ว่าการยอมรับตนเองหรือรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่านั้น เป็นพื้นฐานสำคัญที่จะช่วยให้ผู้พิการมีกำลังใจ กำลังกาย มีความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเอง ซึ่งสามารถทำให้เกิดพัฒนาการแห่งการปรับตัวไปในทางที่ดีขึ้น มีความเข้มแข็งทางด้านจิตใจ และสามารถช่วยเหลือตนเอง รวมทั้งบุคคลรอบข้างได้อีกด้วย สำหรับสัมพันธภาพในครอบครัวและบทบาทของสมาชิกครอบครัวในการ
112
สนับสนุนทางครอบครัวและสังคมที่ดีขึ้น เป็นเสมือนแรงเสริม (Reinforcement) ที่จะช่วยส่งเสริมความสามารถในการปรับตัวของผู้พิการ และชวยป้องกันผลร้ายที่เกิดขึ้นจากสภาพปัญหาทางอารมณ์ต่าง ๆ อีกทั้งช่วยทำให้ผู้พิการสามารถประเมินภาวะที่คุกคามอยู่ให้มีความรุนแรงน้อย นอกจากนี้ ยังพบว่าปัจจัยทางด้านสัมพันธภาพในครอบครัวและบทบาทของสมาชิกครอบครัวในการสนับสนุนทางครอบครัวและสังคมแก่ผู้พิการ มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมในการเผชิญปัญหาของคนพิการเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ พบว่าสมาชิกครอบครัวให้การสนับสนุน ผู้พิการทางด้านอารมณ์มากที่สุด รองลงมาคือการสนับสนุนด้านการยอมรับในความสามารถและความคิดเห็นของผู้พิการ
สรุปผลงานวิจัยข้างต้นเป็นการศึกษาถึงพฤติกรรมของคนพิการ ในบทบาทของคนพิการต่อการมีค่านิยม ทัศนคติ ความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง การปรับตัวทางสังคม รวมทั้งบทบาทของครอบครัวและสังคม ตลอดจนสถานภาพส่วนบุคคล ประเภท ลักษณะและระยะเวลาที่มีความพิการของคนพิการ ซึ่งปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้มีความสัมพันธ์ต่อการฟื้นฟูพัฒนาศักยภาพด้านต่าง ๆ และ
คุณภาพชีวิตของคนพิการให้สามารถอยู่ร่วมในสังคมได้อย่างปกติสุข โดยมีปัจจัยที่มีอิทธิพลเกี่ยวข้องต่าง ๆ ซึ่งผู้วิจัยได้นำมาสรุปเป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย เรื่องการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทางร่างกาย ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้
บทที่ 3
วิธีดำเนินการวิจัย
ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
2. การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
3. การเก็บรวบรวมข้อมูล
4. การจัดกระทำและการวิเคราะห์ข้อมูล
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ คนพิการทางร่างกายที่เข้ารับการฝึกอาชีพจนสำเร็จ
การฝึกอาชีพตามหลักสูตรในศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดง ที่มีประเภทของความพิการ
แบ่งเป็นพิการแขน 1 ข้าง พิการแขน 2 ข้าง พิการขา 1 ข้าง พิการขา 2 ข้าง พิการนิ้วมือไม่
ครบ พิการอัมพาตท่อนล่าง พิการอัมพาตครึ่งซีก พิการกระดูกสันหลังคด พิการทางการได้ยิน
และผู้ที่มีความพิการมากกว่า 1 อย่าง จำนวน 60 คน
การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. ลักษณะเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามและแบบวัดมี 5 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 แบบสอบถามปัจจัยสถานภาพส่วนบุคคลของคนพิการ เป็นข้อมูลทั่วไปของ
กลุ่มประชากร ประกอบด้วยคำถามเกี่ยวกับ เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส
และสถานภาพในครอบครัว จำนวน 5 ข้อ
ส่วนที่ 2 แบบสอบถามปัจจัยความพิการ ประกอบด้วยคำถามเกี่ยวกับประเภท
ความพิการ ลักษณะความพิการ และระยะเวลาที่มีความพิการของคนพิการ จำนวน 3 ข้อ
67
ส่วนที่ 3 แบบสอบถามปัจจัยเกี่ยวกับประสบการณ์ที่ได้รับจากการฝึกอาชีพ ประกอบ
ด้วยคำถามเกี่ยวกับการฝึกอาชีพตามหลักสูตรและการเข้าร่วมโครงการสำหรับผู้รับการฝึกอาชีพซึ่งมี
จำนวนข้อทั้งสิ้น 20 ข้อ ดังนี้
1) การฝึกอาชีพตามหลักสูตร 10 ข้อ ได้แก่ ข้อ 1, 2 , 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10
2) การเข้าร่วมโครงการสำหรับผู้เข้ารับการฝึกอาชีพ 10 ข้อ ได้แก่ ข้อ 11, 12, 13,
14, 15, 16, 17, 18, 19, 20
ทั้งนี้ได้กำหนดคะแนนดังนี้ คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุดให้มี
คะแนนเท่ากับ 5, 4, 3, 2, 1 ตามลำดับ สำหรับข้อความเชิงนิเสธ ได้แก่ข้อ 6, 7, 8, 9, 10, 16, 17, 18,
19, 20 ได้กำหนดคะแนนดังนี้ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด ให้มีคะแนนเท่ากับ
1, 2, 3, 4, 5 ตามลำดับ
เกณฑ์ในการแปลผลแบบสอบถาม ปัจจัยเกี่ยวกับประสบการณ์ที่ได้รับจากการฝึกอาชีพซึ่ง
เป็นแบบสอบถามแบบประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ มีระดับการวัดแบบประเภทช่วง
(Interval Scale) แปลผลจากคะแนนแบบสอบถาม จากค่าเฉลี่ยโดยกำหนดเกณฑ์ไว้ 3 ระดับ ดังนี้
ค่าเฉลี่ย
3.67 – 5.00 หมายถึง อยู่ในระดับสูง
2.34 – 3.66 หมายถึง อยู่ในระดับปานกลาง
1.00 – 2.33 หมายถึง อยู่ในระดับต่ำ
ส่วนที่ 4 แบบสอบถาม ผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ประกอบด้วย
คำถามเกี่ยวกับการช่วยเหลือตนเอง การช่วยเหลือครอบครัว การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม
การประกอบอาชีพ การได้ความยอมรับจากผู้อื่น การเห็นคุณค่าในตนเองและการเชื่ออำนาจใน
ตนเอง ซึ่งมีจำนวนข้อทั้งสิ้นจำนวน 38 ข้อ ดังนี้
1) การช่วยเหลือตนเอง 5 ข้อ ได้แก่ ข้อ 1, 2, 3, 4, 5
2) การช่วยเหลือครอบครัว 4 ข้อ ได้แก่ ข้อ 6, 7, 8, 9
3) การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม 5 ข้อ ได้แก่ ข้อ 10, 11, 12, 13, 14
4) การประกอบอาชีพ 4 ข้อ ได้แก่ ข้อ 15, 16, 17, 18
5) การได้ความยอมรับจากผู้อื่น 4 ข้อ ได้แก่ ข้อ 19, 20, 21, 22
6) การเห็นคุณค่าในตนเอง 8 ข้อ ได้แก่ ข้อ 23, 24, 25, 26, 27, 28, 29, 30
7) การเชื่ออำนาจในตนเอง 8 ข้อ ได้แก่ ข้อ 31, 32, 33, 34, 35, 36, 37, 38
ทั้งนี้ได้กำหนดคะแนนดังนี้ คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด ให้มี
คะแนนเท่ากับ 5, 4, 3, 2, 1 ตามลำดับ สำหรับข้อความเชิงนิเสธ ได้แก่ข้อ 23, 24, 25, 26, 27, 28,
68
เกณฑ์ในการแปลผลแบบสอบถาม ผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการซึ่งเป็นแบบสอบ
ถามแบบประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ มีระดับการวัดแบบประเภทช่วง (Interval Scale)
แปลผลจากคะแนนแบบสอบถาม จากค่าเฉลี่ยโดยกำหนดเกณฑ์ไว้ 3 ระดับ ดังนี้
ค่าเฉลี่ย
3.67 – 5.00 หมายถึง อยู่ในระดับสูง
2.34 – 3.66 หมายถึง อยู่ในระดับปานกลาง
1.00 – 2.33 หมายถึง อยู่ในระดับต่ำ
ส่วนที่ 5 แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อเสนอแนะในการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ซึ่งเป็น
คำถามปลายเปิด
2. ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นมาจากการศึกษาเอกสารงาน
วิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยมีขั้นตอนในการสร้างเครื่องมือวิจัย ดังนี้
1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และศึกษาสภาพการดำเนินชีวิตจริงของ
คนพิการที่เข้ารับการฝึกอาชีพโดยการสังเกตและซักถาม
2) กำหนดกรอบแนวคิดในการสร้างเครื่องมือวิจัย
3) สร้างเครื่องมือวิจัย (ฉบับร่าง) เสนออาจารย์ที่ปรึกษา
4) ดำเนินการปรับปรุง แก้ไขเครื่องมือวิจัยแล้วเสนอเครื่องมือวิจัยต่อผู้เชี่ยวชาญ เพื่อ
ตรวจสอบความตรง (Validity) ความตรงเชิงโครงสร้าง (Construct Validity) และเชิงเนื้อหา
(Content Validity) ครวจสอบความสมบูรณ์ของเครื่องมือในด้านเนื้อหาเพื่อให้ครอบคลุมและวัดได้
ตรงตามที่ต้องการวัด รวมทั้งตรวจสอบความเป็นปรนัย ของคำถามแต่ละคำถามแต่ละข้อ เพื่อให้ได้
ข้อคำถามที่ชัดเจน ถูกต้อง ทำการปรับแก้ให้เหมาะสมทั้งภาษาและเนื้อหา ทำการตรวจสอบคุณภาพ
ด้านอำนาจจำแนกรายข้อคำถาม และความเที่ยงตรงของเครื่องมือ
5) ปรับปรุงเครื่องมือวิจัยนำไปทดลองใช้ (Tryout) นำแบบสอบถามที่ปรับปรุงแล้วไป
ทดลองใช้กับคนพิการทางร่างกายในศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดง จำนวน 30 คน เพื่อ
ตรวจสอบภาษาที่ใช้ให้เป็นที่เข้าใจกันเมื่อนำแบบสอบถามไปใช้จริง นำมาทดสอบหาอำนาจจำแนก
รายข้อ และหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้ง 30 ชุด
69
6) การตรวจสอบอำนาจจำแนกรายข้อของแบบสอบถาม (Discrimination) นำข้อมูลที่ได้
จากแบบสอบถามมาตรวจสอบคุณภาพด้วยอำนาจจำแนกรายข้อของข้อคำถาม ด้วยโปรแกรม
SPSS for Windows โดยทำการทดสอบหาความแตกต่างของค่าเฉลี่ย ระหว่างกลุ่มสูงและ
กลุ่มต่ำตามเทคนิค 25 % ของลิเคอร์ท (Likert) โดยเรียงคะแนนจากมากไปหาน้อย แบ่งเป็นกลุ่ม
สูง 25 % และกลุ่มต่ำ 25 % แล้วนำมาเปรียบเทียบกันด้วยสูตร t-test คัดเลือกเฉพาะข้อที่มีนัย
สำคัญทางสถิติ และมีค่า t-test ตั้งแต่ 1.75 ขึ้นไปถือว่ามีอำนาจจำแนกสูงและนำไปใช้ได้ ข้อใดมี
อำนาจจำแนกต่ำกว่า 1.75 ถือว่ามีอำนาจจำแนกต่ำ จะทำการตัดข้อนั้นทิ้งไป การคำนวณหาค่าเฉลี่ย
และความ
เบี่ยงเบนมาตรฐานรายข้อของแต่ละกลุ่มที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 (α = 0.05)
7) ตรวจสอบความเที่ยงของเครื่องมือ (Reliability) ด้วยโปรแกรม SPSS for Windows
จากแบบสอบถามที่ทดลองใช้กับคนพิการทางร่างกายในศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดง
จำนวน 30 ชุด โดยมีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.8220
8) จัดทำเครื่องมือวิจัยฉบับสมบูรณ์ โดยปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องของแบบสอบถาม
ภายใต้ข้อบกพร่องจากการตรวจสอบแบบสอบถามทั้งหมดทั้งทางดานภาษา เพื่อให้เกิดความเข้าใจ
ง่าย มีความสมบูรณ์ในเนื้อหาที่ต้องการทราบ มีความสามารถในการจำแนก และมีความเที่ยงตรง มี
ความเหมาะสมในการนำไปใช้ แล้วจึงนำไปทำการสอบถามจากกลุ่มประชากร
การเก็บรวบรวมข้อมูล
ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองและดำเนินการตามขั้น
ตอนดังนี้
1) ผู้วิจัยขอให้บัณฑิตวิทยาลัยทำหนังสือขออนุญาตเก็บข้อมูล จากอธิบดีกรมพัฒนาสังคม
และสวัสดิการ
2) ผู้วิจัยนำแบบสอบถามไปเก็บข้อมูลด้วยตนเอง
3) ตรวจสอบความถูกต้องของแบบสอบถาม
70
การจัดกระทำข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัยได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มประชากร นำมาวิเคราะห์ ทำการลงรหัส จาก
นั้นนำไปวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรม SPSS for Windows เพื่อ
คำนวณหาความสัมพันธ์ค่าสถิติ ใช้ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (α = 0.05) เป็นเกณฑ์ในการยอม
รับหรือปฏิเสธสมมติฐาน
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ผู้ศึกษาได้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติดังนี้
1) สถิติพรรณนา เพื่อบรรยายข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง
2) การหาค่า t – test เพื่อทดสอบหาค่าความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของตัวแปร 2 กลุ่ม
โดยทำการทดสอบสมมติฐานที่ 1, 5 และ7
3) การทดสอบหาค่า สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Pearson’ Correlation) ของตัวแปร โดย
ทำการทดสอบสมมติฐานที่ 9 และ 10 และมีเกณฑ์ในการแปลผลดังนี้
ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ แสดงว่า
0.8 ขึ้นไป มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับ มาก
0.61 – 0.80 มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับ ค่อนข้างมาก
0.41 – 0.60 มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับ ปานกลาง
0.21 – 0.40 มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับ ค่อนข้างน้อย
0.01 – 0.20 มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับ น้อย
0.00 ไม่มีความสัมพันธ์กัน
4) การทดสอบความแปรปรวนของตัวแปรมากกว่า 2 กลุ่ม โดยใช้สถิติ ONEWAY ANOVA โดยทำการทดสอบสมมติฐานที่ 2, 3, 4, 6 และ8
71
การทดสอบสมมติฐาน
การทดสอบสมมติฐานที่ 1, 5 และ 7 ได้ตั้งสมมติฐานไว้ดังนี้
สมมติฐานที่ 1 คนพิการที่มีเพศแตกต่างกันมีผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ
แตกต่างกัน
สมมติฐานที่ 5 คนพิการที่มีสถานภาพภายในครอบครัวแตกต่างกันมีผลของการฟื้นฟู
สมรรถภาพคนพิการแตกต่างกัน
สมมติฐานที่ 7 คนพิการที่มีลักษณะความพิการแตกต่างกันมีผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพ
คนพิการแตกต่างกัน
สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐานที่ 1, 5 และ 7 คือ t – test ซึ่งใช้ในการทดสอบความแตก
ต่างระหว่างคะแนนเฉลี่ยของตัวแปร 2 กลุ่ม และพิจารณาความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
(α = 0.05)
การทดสอบสมมติฐานที่ 2, 3, 4, 6 และ 8 ได้ตั้งสมมติฐานไว้ดังนี้
สมมติฐานที่ 2 คนพิการที่มีอายุแตกต่างกันมีผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ
แตกต่างกัน
สมมติฐานที่ 3 คนพิการที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกัน,uผลของการฟื้นฟูสมรรถคนพิการ
แตกต่างกัน
สมมติฐานที่ 4 คนพิการที่มีสถานภาพสมรสแตกต่างกันมีผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพคน
พิการแตกต่างกัน
สมมติฐานที่ 6 คนพิการที่มีประเภทความพิการแตกต่างกันมีผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพ
คนพิการแตกต่างกัน
สมมติฐานที่ 8 คนพิการที่มีระยะเวลาความพิการแตกต่างกันมีผลของการฟื้นฟู
สมรรถภาพคนพิการแตกต่างกัน
72
สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐานที่ 2, 3, 4, 6 และ 8 คือ ONEWAY ANOVA ซึ่งใช้ในการ
ทดสอบความแตกต่างระหว่างคะแนนเฉลี่ยของตัวแปรมากกว่า 2 กลุ่ม และพิจารณาความมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (α = 0.05)
การทดสอบสมมติฐานที่ 9 และ 10 ได้ตั้งสมมติฐานไว้ดังนี้
สมมติฐานที่ 9 ประสบการณ์จากการฝึกอาชีพตามหลักสูตรมีความสัมพันธ์ต่อผลของการ
ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ
สมมติฐานที่ 10 ประสบการณ์จากการเข้าร่วมโครงการสำหรับผู้รับการฝึกอาชีพมีความ
สัมพันธ์ต่อผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ
สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐานที่ 9 และ 10 คือ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Pearson’ Correlation) ซึ่งหาความสัมพันธ์ของตัวแปรประสบการณ์จากการฝึกอาชีพตามหลักสูตรและ
ประสบการณ์จากการเข้าร่วมโครงการสำหรับผู้รับการฝึกอาชีพกับตัวแปรผลของการฟื้นฟู
สมรรถภาพคนพิการ และพิจารณาความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (α = 0.05)
บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัยทำการรวบรวมและตรวจสอบข้อมูลจากแบบสอบถามทุกฉบับด้วยตนเอง พบว่ามีความสมบูรณ์ทุกฉบับ รวมทั้งสิ้น 60 ฉบับ เพื่อศึกษา การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทางร่างกาย กรณีศึกษา : คนพิการทางร่างกายในศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดง กรมพัฒนาสังคมและ
สวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ต่อจากนั้นได้นำแบบสอบถามไปทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS for Windows มีผลการวิเคราะห์ข้อมูลจะซึ่งจะขอนำเสนอดังต่อไปนี้
1. ข้อมูลปัจจัยสถานภาพส่วนบุคคลของคนพิการ
2. การวิเคราะห์ค่าระดับตัวแปร
3. การทดสอบสมมติฐาน
1. ข้อมูลปัจจัยสถานภาพส่วนบุคคลของคนพิการ
ตารางที่ 1 จำนวนและร้อยละของกลุ่มประชากรแยกตามเพศ
ตัวแปร
จำนวน
ร้อยละ
เพศ
ชาย
หญิง
41
19
68.3
31.7
รวม
60
100
จากตารางที่ 1 ผลการวิเคราะห์พบว่า กลุ่มประชากรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 41 คน คิดเป็นร้อยละ 68.3 เพศหญิง จำนวน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 31.67
74
ตารางที่ 2 จำนวนและร้อยละของกลุ่มประชากรแยกตามอายุ
ตัวแปร
จำนวน
ร้อยละ
อายุ
น้อยกว่า 20 ปี
20 – 30 ปี
31 – 40 ปี
41 ปี ขึ้นไป
5
31
21
3
8.3
51.7
35.0
5.0
รวม
60
100
จากตารางที่ 2 ผลการวิเคราะห์พบว่า กลุ่มประชากรส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 20 – 30 ปี จำนวน 31 คน คิดเป็นร้อยละ 51.7 รองลงมามีอายุอยู่ระหว่าง 31 – 40 ปี จำนวน 21 คน
คิดเป็นร้อยละ 35.0 อายุน้อยกว่า 20 ปี จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 8.3 และอายุ 41 ปีขึ้นไป จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 5.0
ตารางที่ 3 จำนวนและร้อยละของกลุ่มประชากรแยกตามระดับการศึกษา
ตัวแปร
จำนวน
ร้อยละ
ระดับการศึกษา
ไม่ได้รับการศึกษา
ประถมศึกษา
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
2
26
19
13
3.3
43.3
31.6
21.6
รวม
60
100
จากตารางที่ 3 ผลการวิเคราะห์พบว่า กลุ่มประชากรส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาชั้น
ประถมศึกษา จำนวน 26 คน คิดเป็นร้อยละ 43.3 รองลงมาเป็นระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 31.6 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 21.6 และไม่ได้รับการศึกษา จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 3.3
75
ตารางที่ 4 จำนวนและร้อยละของกลุ่มประชากรแยกตามสถานภาพสมรส
ตัวแปร
จำนวน
ร้อยละ
สถานภาพสมรส
โสด
สมรส
หม้าย
หย่าร้าง
แยกกันอยู่
51
3
2
3
1
85.0
5.0
3.3
5.0
1.7
รวม
60
100
จากตารางที่ 4 ผลการวิเคราะห์พบว่า ส่วนใหญ่เป็นโสด จำนวน 51 คน คิดเป็นร้อยละ 85.0 รองลงมาสมรสแล้ว จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 5.0 ซึ่งมีจำนวนเท่ากับหย่าร้าง จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 5.0 ม่าย จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 3.3 และแยกกันอยู่ จำนวน 1 คน
คิดเป็นร้อยละ 1.7
ตารางที่ 5 จำนวนและร้อยละของกลุ่มประชากรแยกตามสถานภาพภายในครอบครัว
ตัวแปร
จำนวน
ร้อยละ
สถานภาพภายในครอบครัว
เป็นหัวหน้าครอบครัว
เป็นสมาชิกภายในครอบครัว
8
52
13.3
86.7
รวม
60
100
จากตารางที่ 5 ผลการวิเคราะห์พบว่า ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกภายในครอบครัว จำนวน 52 คน คิดเป็นร้อยละ 86.7 และเป็นหัวหน้าครอบครัว จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 13.3
76
ตารางที่ 6 จำนวนและร้อยละของกลุ่มประชากรแยกตามประเภทความพิการ
ตัวแปร
จำนวน
ร้อยละ
ประเภทความพิการ
พิการแขน 1 ข้าง
พิการแขน 2 ข้าง
พิการขา 1 ข้าง
พิการขา 2 ข้าง
พิการนิ้วมือไม่ครบ
พิการอัมพาตท่อนล่าง
พิการอัมพาตครึ่งซีก
พิการกระดูกสันหลังคด
พิการทางการได้ยิน
พิการมากกว่า 1 อย่าง
13
1
11
9
1
10
1
5
6
3
21.7
1.7
18.3
15.0
1.7
16.7
1.7
10.0
8.3
5.0
รวม
60
100
จากตารางที่ 6 ผลการวิเคราะห์พบว่า ส่วนใหญ่เป็นผู้พิการแขน 1 ข้าง จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 21.7 รองลงมาเป็นพิการขา 1 ข้าง จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 11 ซึ่งมีจำนวนใกล้เคียงกับผู้พิการอัมพาตท่อนล่าง จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 16.7 และพิการขา 2 ข้าง จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 15 พิการกระดูกสันหลังคด จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 10.0 พิการทางการได้ยิน จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 8.3 พิการมากกว่า 1 อย่าง จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 5.0 พิการแขน 2 ข้าง จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 1.7 พิการนิ้วมือไม่ครบ จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 1.7 และพิการอัมพาตครึ่งซีก จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 1.7
77
ตารางที่ 7 จำนวนและร้อยละของกลุ่มประชากรแยกตามลักษณะความพิการ
ตัวแปร
จำนวน
ร้อยละ
ลักษณะความพิการ
พิการตั้งแต่กำเนิด
พิการที่เกิดขึ้นในภายหลัง
19
41
31.7
68.3
รวม
60
100
จากตารางที่ 7 ผลการวิเคราะห์พบว่า ส่วนใหญ่เป็นความพิการที่เกิดขึ้นในภายหลัง จำนวน 41 คน คิดเป็นร้อยละ 68.3 และเป็นความพิการตั้งแต่กำเนิด จำนวน 19 คน คิดเป็น
ร้อยละ 31.7
ตารางที่ 8 จำนวนและร้อยละของกลุ่มประชากรแยกตามระยะเวลาความพิการ
ตัวแปร
จำนวน
ร้อยละ
ระยะความพิการ
1 – 5 ปี
6 – 10 ปี
11 – 15 ปี
16 – 20 ปี
20 ปี ขึ้นไป
15
16
7
7
15
25.0
26.6
11.7
11.7
25.0
รวม
60
100
จากตารางที่ 8 ผลการวิเคราะห์พบว่า ส่วนใหญ่มีระยะเวลาความพิการ 6 – 10 ปี จำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 26.6 รองลงมามีระยะเวลาความพิการ 1 – 5 ปี จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 25.0 ซึ่งมีจำนวนเท่ากับระยะเวลาความพิการ 20 ปีขึ้นไป จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 25.0 ระยะเวลาความพิการ 11 – 15 ปี จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 11.77 มีจำนวนเท่ากับระยะเวลาความพิการ 16 – 20 ปี จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 11.7
78
2. การวิเคราะห์ค่าระดับตัวแปร
ตารางที่ 9 ค่าระดับประสบการณ์จากการฝึกอาชีพตามหลักสูตรและประสบการณ์จากการเข้า
ร่วมโครงการสำหรับผู้รับการฝึกอาชีพ
ตัวแปร
⎯X
S.D.
แปลความ
1. ประสบการณ์จากการฝึกอาชีพตาม
หลักสูตร
3.5738
0.5542
ระดับปานกลาง
2. ประสบการณ์จากการเข้าร่วมโครง
การสำหรับผู้รับการฝึกอาชีพ
3.8250
0.5098
ระดับสูง
จากตารางที่ 9 ผลการวิเคราะห์พบว่า ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับประสบการณ์จากการฝึกอาชีพตามหลักสูตร มีค่าเฉลี่ย 3.5738 อยู่ในระดับปานกลาง และประสบการณ์จากการเข้าร่วมโครงการสำหรับผู้รับการฝึกอาชีพ มีค่าเฉลี่ย 3.8250 อยู่ในระดับสูง
ตารางที่ 10 ค่าระดับผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการคนพิการ
ตัวแปร
⎯X
S.D.
แปลความ
ผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ
4.0633
0.6298
ระดับสูง
การช่วยเหลือตนเอง
3.7875
0.6308
ระดับสูง
การช่วยเหลือครอบครัว
3.9250
0.5953
ระดับสูง
การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม
3.7833
0.6251
ระดับสูง
การประกอบอาชีพ
3.7250
0.5144
ระดับสูง
การได้รับความยอมรับจากผู้อื่น
3.7518
0.4231
ระดับสูง
การเห็นคุณค่าในตนเอง
3.4633
0.6694
ระดับปานกลาง
การเชื่ออำนาจในตนเอง
3.5042
0.7443
ระดับปานกลาง
จากตารางที่ 9 ผลการวิเคราะห์พบว่า ระดับผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพ มีค่าเฉลี่ย 4.0633 อยู่ในระดับสูง จำแนกเป็น การช่วยเหลือตนเอง มีค่าเฉลี่ย 3.7875 อยู่ในระดับสูง การ
79
ช่วยเหลือครอบครัว มีค่าเฉลี่ย 3.9250 อยู่ในระดับสูง การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม มีค่าเฉลี่ย 3.7833 อยู่ในระดับสูง การประกอบอาชีพ มีค่าเฉลี่ย 3.7250 อยู่ในระดับสูง การได้รับความยอมรับจากผู้อื่น มีค่าเฉลี่ย 3.7518 อยู่ในระดับสูง การเห็นคุณค่าในตนเอง มีค่าเฉลี่ย 3.4633 อยู่ในระดับปานกลาง และการเชื่ออำนาจในตนเอง มีค่าเฉลี่ย 3.5042 อยู่ในระดับ ปานกลาง
3. การทดสอบสมมติฐาน
สมมติฐานที่ 1 คนพิการที่มีเพศแตกต่างกัน มีผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการแตกต่างกัน
ตารางที่ 11 เปรียบเทียบผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการจำแนกตามเพศ
ผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ
N
⎯X
t
เพศชาย
41
3.802
เพศหญิง
19
3.642
1.370
จากตารางที่ 11 ผลการวิเคราะห์พบว่า คนพิการที่มีเพศแตกต่างกัน มีผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้
สมมติฐานที่ 2 คนพิการที่มีอายุแตกต่างกัน มีผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ
แตกต่างกัน
ตารางที่ 12 ความแปรปรวนของผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการกับตัวแปรอายุ
ตัวแปร
แหล่งความแปรปรวน
SS
df
MS
F
Sig.
Between Groups
0.640
3
0.213
Within Groups
9.921
56
0.177
อายุ
Total
10.561
59
1.024
0.317
จากตารางที่ 12 ผลการวิเคราะห์พบว่า คนพิการที่มีอายุแตกต่างกัน มีผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งยอมรับ

81
สมมติฐานที่ 5 คนพิการที่มีสถานภาพภายในครอบครัวแตกต่างกัน มีผลของการฟื้นฟู
สมรรถภาพคนพิการแตกต่างกัน
ตารางที่ 15 เปรียบเทียบผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการจำแนกตามสถานภาพ
ภายในครอบครัว
ผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ
N
⎯X
t
เป็นหัวหน้าครอบครัว
8
3.852
เป็นสมาชิกภายในครอบครัว
52
3.736
0.717
จากตารางที่ 15 ผลการวิเคราะห์พบว่า คนพิการที่มีสถานภาพภายในครอบครัวแตกต่างกัน มีผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพแตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้
สมมติฐานที่ 6 คนพิการที่มีประเภทความพิการแตกต่างกัน มีผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพแตกต่าง
กัน
ตารางที่ 16 ความแปรปรวนของผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพกับตัวแปรสถานภาพสมรสภายในครอบครัว
ตัวแปร
แหล่งความแปรปรวน
SS
df
MS
F
Sig.
Between Groups
2.853
9
0.317
Within Groups
7.708
50
0.154
ประเภทความพิการ
Total
10.561
59
2.056
0.05
จากตารางที่ 16 ผลการวิเคราะห์พบว่า คนพิการที่มีประเภทความพิการแตกต่างกัน
มีผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
82
สมมติฐานที่ 7 คนพิการที่มีลักษณะความพิการแตกต่างกัน มีผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพ
แตกต่างกัน
ตารางที่ 17 เปรียบเทียบผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพจำแนกตามลักษณะความพิการ
ผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ
N
⎯X
t
พิการตั้งแต่กำเนิด
19
3.738
พิการภายหลัง
41
3.758
-0.167
จากตารางที่ 17 ผลการวิเคราะห์พบว่า คนพิการที่มีประเภทความพิการแตกต่างกัน มีผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการแตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้
สมมติฐานที่ 8 คนพิการที่มีระยะเวลาความพิการแตกต่างกัน มีผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพ
คนพิการแตกต่างกัน
ตารางที่ 18 ความแปรปรวนของผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการกับตัวแปรระยะเวลาความพิการ
ตัวแปร
แหล่งความแปรปรวน
SS
df
MS
F
Sig.
Between Groups
0.640
3
0.213
Within Groups
9.921
56
0.177
ระยะเวลาความพิการ
Total
10.561
59
1.204
0.317
จากตารางที่ 18 ผลการวิเคราะห์พบว่า คนพิการที่มีระยะเวลาความพิการแตกต่างกัน มีผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้
83
สมมติฐานที่ 9 ประสบการณ์จากการฝึกอาชีพตามหลักสูตรมีความสัมพันธ์ต่อผลของการ
ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ
ตารางที่ 19 ค่าสหสัมพันธ์ของตัวแปร ความสัมพันธ์ของผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการกับประสบการณ์จากการฝึกอาชีพตามหลักสูตร
ตัวแปร
⎯X
S.D.
Pearson Correlation (r)
ผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพ
คนพิการ
3.7518
0.4231
0.427*
การฝึกอาชีพตามหลักสูตร
3.5783
0.5542
จากตารางที่ 19 ผลการวิเคราะห์พบว่า การฝึกอาชีพตามหลักสูตร มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับผลของฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการในระดับปานกลาง (r=0.427) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
สมมติฐานที่ 10 ประสบการณ์จากการเข้าร่วมโครงการสำหรับผู้รับการฝึกอาชีพมีความสัมพันธ์ต่อ
ผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ
ตารางที่ 20 ค่าสหสัมพันธ์ของตัวแปร ความสัมพันธ์ของผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการกับประสบการณ์จากการเข้าร่วมโครงการสำหรับผู้รับการฝึกอาชีพ
ตัวแปร
⎯X
S.D.
Pearson Correlation (r)
ผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพ
คนพิการ
3.7518
0.4231
0.367*
ประสบการณ์จากการเข้าร่วมโครงการสำหรับผู้รับการฝึกอาชีพ
3.8250
0.5098
84
จากตารางที่ 19 ผลการวิเคราะห์พบว่า ประสบการณ์จากการเข้าร่วมโครงการสำหรับผู้รับการฝึกอาชีพ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ในระดับค่อนข้างน้อย (r=0.367) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
84
ข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางในการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ
จากแบบสอบถามปลายเปิด จำนวน ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 55 คน ผู้วิจัยสามารถสรุปได้เป็นข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางในการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการดังนี้
1. ศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดงควรเพิ่มโปรมแกรมการฝึกอาชีพให้คนพิการได้เลือกฝึกอาชีพมากกว่าเดิม
2. ศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดงควรสนับสนุนในด้านทุนทรัพย์ เครื่องมือและอุปกรณ์ในการประกอบอาชีพให้กับคนพิการภายหลังที่จบหลักสูตรการฝึกอาชีพไปแล้ว
3. ศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดงควรเพิ่มโครงการต่าง ๆ ที่จัดขึ้นเพื่อคนพิการที่เข้ารับการฝึกอาชีพที่คนพิการมีความประสงค์ให้จัดขึ้น
สรุปการทดสอบสมมุติฐาน
1. คนพิการที่มีเพศแตกต่างกัน มีผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
2. คนพิการที่มีอายุแตกต่างกัน มีผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
3. คนพิการที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการแตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
4. คนพิการที่มีสถานภาพสมรสแตกต่างกัน มีผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ
แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
5. คนพิการที่มีสถานภาพภายในครอบครัวแตกต่างกัน มีผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพ
แตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
6. คนพิการที่มีประเภทความพิการแตกต่างกัน มีผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
7. คนพิการที่มีลักษณะความพิการแตกต่างกัน มีผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการแตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
8. คนพิการที่มีระยะเวลาความพิการแตกต่างกัน มีผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
85
9. ประสบการณ์จากการฝึกอาชีพตามหลักสูตร มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับผลของฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
10. ประสบการณ์จากการเข้าร่วมโครงการสำหรับผู้รับการฝึกอาชีพ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการในระดับค่อนข้างน้อย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
บทที่ 5
สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
การศึกษาเรื่องการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทางร่างกาย กรณีศึกษา : คนพิการทางร่างกายในศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดง กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่งคงของมนุษย์ มีวัตถุประสงค์ดังนี้
1. ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทางร่างกายในศูนย์ฟื้นฟูอาชีพ
คนพิการพระประแดง จ.สมุทรปราการ
2. เพื่อเสนอแนะแนวทางในการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทางร่างกายในศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดง จ.สมุทรปราการ
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ คนพิการทางร่างกายที่เข้ารับการฝึกอาชีพจนสำเร็จการฝึกอาชีพตามหลักสูตรในศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดง กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ที่มีความพิการแขน 1 ข้าง พิการแขน 2 ข้าง พิการขา 1 ข้าง พิการขา 2 ข้าง พิการนิ้วมือไม่ครบ พิการอัมพาตท่อนล่าง พิการอัมพาตครึ่งซีก พิการกระดูกสันหลังคด พิการทางการได้ยิน และผู้ที่มีความพิการมากกว่า 1 อย่าง จำนวน 60 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามและแบบวัดมี 5 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 แบบสอบถามปัจจัยสถานภาพส่วนบุคคลของคนพิการ เป็นข้อมูลทั่วไปของกลุ่มประชากร ประกอบด้วยคำถามเกี่ยวกับ เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส และสถานภาพในครอบครัว จำนวน 5 ข้อ
ส่วนที่ 2 แบบสอบถามปัจจัยความพิการ ประกอบด้วยคำถามเกี่ยวกับประเภทความพิการ ลักษณะความพิการ และระยะเวลาที่มีความพิการของคนพิการ จำนวน 3 ข้อ
87
ส่วนที่ 3 แบบสอบถามปัจจัยเกี่ยวกับประสบการณ์ที่ได้รับจากการฝึกอาชีพ ประกอบด้วยคำถามเกี่ยวกับการฝึกอาชีพตามหลักสูตรและการเข้าร่วมโครงการสำหรับผู้เข้ารับการฝึกอาชีพซึ่งมี จำนวนข้อทั้งสิ้น 20 ข้อ ดังนี้
1) การฝึกอาชีพตามหลักสูตร 10 ข้อ ได้แก่ ข้อ 1-10
2) การเข้าร่วมโครงการสำหรับผู้เข้ารับการฝึกอาชีพ 10 ข้อ ได้แก่ ข้อ 11- 20
ทั้งนี้ได้กำหนดคะแนนดังนี้ คือ 5-มากที่สุด 4- มาก 3- ปานกลาง 4-น้อย และ 5-น้อยที่สุด สำหรับข้อความเชิงนิเสธ ได้แก่ข้อ 6, 7, 8, 9, 10, 16, 17, 18, 19, 20 ได้กำหนดคะแนนดังนี้ 1-น้อยที่สุด 2- น้อย 3- ปานกลาง 4-มาก และ 5-มากที่สุด
ส่วนที่ 4 แบบสอบถามเกี่ยวกับผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ประกอบด้วย
คำถามเกี่ยวกับการช่วยเหลือตนเอง การช่วยเหลือครอบครัว การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม การประกอบอาชีพ การได้ความยอมรับจากผู้อื่น การเห็นคุณค่าในตนเองและการเชื่ออำนาจในตนเอง ซึ่งมีจำนวนข้อทั้งสิ้นจำนวน 38 ข้อ ดังนี้
1) การช่วยเหลือตนเอง 5 ข้อ ได้แก่ ข้อ 1-5
2) การช่วยเหลือครอบครัว 4 ข้อ ได้แก่ ข้อ 6-9
3) การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม 5 ข้อ ได้แก่ ข้อ 10-14
4) การประกอบอาชีพ 4 ข้อ ได้แก่ ข้อ 15-18
5) การได้ความยอมรับจากผู้อื่น 4 ข้อ ได้แก่ ข้อ 19-22
6) การเห็นคุณค่าในตนเอง 8 ข้อ ได้แก่ ข้อ 23-30
7) การเชื่ออำนาจในตนเอง 8 ข้อ ได้แก่ ข้อ 31-38
ทั้งนี้ได้กำหนดคะแนนดังนี้ คือ 5-มากที่สุด 4-มาก 3-ปานกลาง 2-น้อย และ1-น้อยที่สุด สำหรับข้อความเชิงนิเสธ ได้แก่ข้อ 23-30 ได้กำหนดคะแนนดังนี้ 1-มากที่สุด 2-มาก 3- ปานกลาง 4-น้อย 5-น้อยที่สุด แบบสอบถามมีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.8220
ส่วนที่ 5 ข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางในการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ เป็นคำถามปลายเปิด
88
การดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้ทำการเก็บรวบรวมด้วยตนเอง แบบสอบถามอยู่ในสภาพสมบูรณ์ ครบถ้วน นำมาวิเคราะห์ได้จำนวน 60 ชุด
การวิเคราะห์ข้อมูลครั้งนี้ วิเคราะห์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows (Statistical Package for Social Science for Windows) และในการวิเคราะห์เพื่อหาความสัมพันธ์ทางสถิติในการวิจัย ใช้ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (α = 0.05) เป็นเกณฑ์ในการยอมรับหรือปฏิเสธสมมติฐานในการวิจัย ค่าสถิติที่ใช้มีดังนี้
1. สถิติเชิงพรรณา (Descriptive Statistics) เพื่อบรรยายข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง
2. ค่าสถิติ t – test เพื่อทดสอบหาค่าความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของตัวแปร 2 กลุ่ม
3. ค่าสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Pearson’s Correlation) เพื่อหาค่าความสัมพันธ์ของตัวแปร
4. ค่าสถิติ Oneway ANOVA เพื่อทดสอบความแปรปรวนของตัวแปรมากกว่า 2 กลุ่ม
สรุปผลการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ การฟื้นฟูสมรรถคนพิการทางร่างกาย กรณีศึกษา : คนพิการทางร่างกายในศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดง กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและสวัสดิการ โดยมีผลการวิจัยดังนี้
1. อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส ประเภทความพิการ และระยะเวลาความพิการ ที่แตกต่างกัน มีผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการแตกต่างกัน
2. ประสบการณ์ที่ได้รับจากการฝึกอาชีพตามหลักสูตรและประสบการณ์จากการเข้าร่วม
โครงการสำหรับผู้รับการฝึกอาชีพมีความสัมพันธ์ต่อประสิทธิผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ
3. ข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางในการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ สามารถสรุปได้ดังนี้
3.1 ศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดงควรเพิ่มโปรมแกรมการฝึกอาชีพให้คนพิการ
ได้เลือกฝึกอาชีพมากกว่าเดิม
89
3.2 ศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดงควรสนับสนุนในด้านทุนทรัพย์ เครื่องมือและอุปกรณ์ในการประกอบอาชีพให้กับคนพิการภายหลังที่จบหลักสูตรการฝึกอาชีพไปแล้ว
3.3 ศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดงควรเพิ่มโครงการต่าง ๆ ที่จัดขึ้นเพื่อคนพิการ
ที่เข้ารับการฝึกอาชีพที่คนพิการมีความประสงค์จะจัดขึ้นเอง
อภิปรายผล
จากการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทางร่างกายในศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดง จ.สมุทรปราการ ผลการศึกษาค่าระดับของปัจจัยที่มีผลต่อผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พบว่า ตัวแปรที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลางประกอบด้วย การฝึกอาชีพตามหลักสูตร การเข้าร่วมโครงการสำหรับผู้เข้ารับการฝึกอาชีพ การเห็นคุณค่าของตนเอง และการเชื่ออำนาจในตนเอง ส่วนตัวแปรที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง ประกอบด้วย ผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ การช่วยเหลือตนเอง การช่วยเหลือครอบครัว การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม การประกอบอาชีพ และการได้รับความยอมรับจากผู้อื่น
จากการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทางร่างกายในศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดง จ.สมุทรปราการ จากตัวแปรอิสระทั้ง 10 ตัว ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส สถานภาพภายในครอบครัว ประเภทความพิการ ลักษณะความพิการ ระยะเวลาความพิการ ประสบการณ์จากการฝึกอาชีพตามหลักสูตร และประสบการณ์จากการเข้าร่วม
โครงการสำหรับผู้รับการฝึกอาชีพ และเมื่อวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ พบว่า มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มี 7 ตัว ดังนี้
อายุ พบว่า คนพิการที่มีอายุแตกต่างกัน มีผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการแตกต่างกัน อธิบายได้ว่า กลุ่มคนพิการที่มีอายุมาก จะมีแนวโน้มในการฟื้นฟูสมรรถภาพได้ดีกว่าคนพิการที่มีอายุน้อย เนื่องจากคนพิการที่มีอายุมากจะมีประสบการณ์ในการดำเนินชีวิตมานานกว่า อาจจะเคยผ่านการประกอบอาชีพมาก่อน หรือมีความรับผิดชอบต้องเลี้ยงดูครอบครัว ซึ่งจากการที่มีอายุมากกว่านั้นจะมีประสบการณ์จากการเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมมากกว่า จะสามารถฟื้นฟูสมรรถภาพได้ดีกว่ากลุ่มคนพิการที่มีอายุน้อยกว่า ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ วิจิตร แก้วเครือวัลย์ (2544) ที่พบว่า กลุ่มตัวอย่างคนพิการที่มีอายุมาก มีผลต่อการพัฒนาศักยภาพด้ายประกอบอาชีพ การรู้จักปกป้องสิทธิของตนเอง การทำหน้าที่ในฐานะพลเมืองและบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม และการเป็นผู้ให้คำแนะนำ
90
นอกจากนั้น คนพิการที่มีอายุมากทำให้สามารถทำหน้าที่เป็นผู้ให้คำแนะนำที่มีความน่าเชื่อถือได้มากกว่าคนพิการที่มีอายุน้อย ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ มาลิน สุขเกษม (2543) ที่พบว่า อายุ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ โดยคนพิการที่มีอายุมากจะมีค่านิยม ทัศนคติ การรับรู้ความสามารถของตน การรับรู้สถานสุขภาพ การรับรู้ประโยชน์ และการได้รับข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ได้ดีกว่าคนพิการที่มีอายุน้อย
ระดับการศึกษา พบว่า คนพิการที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีผลของการฟื้นฟู
สมรรถภาพคนพิการแตกต่างกัน อธิบายได้ว่า คนพิการที่มีระดับการศึกษาสูง จะมีแนวโน้มในการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการได้ดีกว่าคนพิการที่มีระดับการศึกษาต่ำกว่า ทั้งนี้เนื่องจาก คนพิการที่มีระดับการศึกษาสูงนั้นจะมีการเรียนรู้และการปรับตัวให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมต่าง ๆ รวมทั้ง
ประสบการณ์ที่ได้รับจาการศึกษามีส่วนช่วยในการพัฒนาทางร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ซึ่งมีส่วนช่วยให้การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ นั้นเป็นไปอย่างประสบความสำเร็จและมีประสิทธิผล
ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ สุกัญญา วิบูลย์พานิช (2536 ) พบว่า ระดับการศึกษา มีความสัมพันธ์เป็นไปทางด้านบวกกับการพึ่งตนเองทางเศรษฐกิขของคนพิการ คือ คนพิการที่มีระดับการศึกษาสูง จะมีการพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจสูงจะมีการพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจสูงกว่าคนพิการที่มีการศึกษาต่ำ
สถานภาพสมรส พบว่า คนพิการที่มีสถานภาพสมรสแตกต่างกัน มีผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการแตกต่างกัน อธิบายได้ว่า คนพิการที่มีสัมพันธภาพภายในครอบครัวที่ดี มีการได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกภายในครอบครัว มีคู่ชีวิตที่ให้คำแนะ ปรึกษา ให้กำลังใจ มีประสบการณ์ในการดำเนินชีวิตภายในครอบครัวของตนเอง จะมีแนวโน้มในการฟื้นฟูสมรรถภาพได้ดีกว่าคนพิการที่มีปัญหาจากการสมรส เช่น การหย่าร้าง หรือคนพิการที่มีสถานภาพโสด ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ กชกร ศรีสัมพันธ์ (2537) พบว่า ปัจจัยทางด้านสัมพันธภาพในครอบครัวและ
บทบาทของสมาชิกครอบครัวในการสนับสนุนทางครอบครัวและสังคมแก่ผู้พิการ มีอิทธิพลต่อ
พฤติกรรมในการเผชิญปัญหาของคนพิการ ซึ่งสัมพันธภาพภายในครอบครัว และการได้รับแรงสนับสนุนภายในครอบครัว เป็นพื้นฐานสำคัญที่ทำให้เกิดพัฒนาการแห่งการปรับตัวของคนพิการไปในทางที่ดีขึ้น
ประเภทความพิการ พบว่า คนพิการที่มีประเภทความพิการแตกต่างกัน มีผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการแตกต่างกัน อธิบายได้ว่า ลักษณะของความสูญเสียที่เกิดขึ้นของคนพิการนั้น
91
ย่อมมีผลต่อสภาพทางกาย จิตใจ อารมณ์เป็นอย่างมาก ซึ่งผู้พิการที่มีความพิการในลักษณะที่สูญเสียอวัยวะสำคัญ หรือสูญเสียอวัยวะหลายอย่าง เป็นข้อจำกัดทางร่างกายในการกระทำกิจกรรมต่าง ๆ เกิดความไม่คล่องตัว ไม่สามารถทำกิจกรรมได้อย่างปกติ หรือมีความสามารถลดลง ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพคนพิการ กล่าวคือ คนพิการที่มีความพิการในอวัยวะสำคัญ ๆ หรือมีความพิการรวมกันมากกว่า 1 อย่าง มีแนวโน้มในการฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างประสบความสำเร็จและมีประสิทธิผลได้ต่ำกว่าคนพิการที่สูญเสียอวัยวะไม่สำคัญหรือมีความพิการน้อยกว่า สอดคล้องกับการศึกษาปกรณ์ วชิรัคกุล (2541) พบว่า ประเภทความพิการ เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต และการศึกษาของ โอภาส พิมลวิชยกิจ (2539) พบว่า ระดับความพิการ มีความสัมพันธ์กับการปรับตัวทางสังคมของคนพิการ
ระยะเวลาความพิการ พบว่า คนพิการที่มีระยะเวลาความพิการแตกต่างกัน มีผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการแตกต่างกัน อธิบายได้ว่า ระยะเวลาความพิการมีผลต่อปฏิกิริยาของความสูญเสีย ซึ่งส่งผลต่อการปรับตัวและการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ยกตัวอย่างเช่น (กิตติยา รัตนากร 2531 : 21) ผู้พิการทางสายตาตั้งแต่กำเนิด ซึ่งมีระยะเวลาความพิการมานานกว่า ปฏิกิริยาต่อความ
สูญเสียย่อมน้อยกว่าผู้พิการทางสายตาภายหลัง เพราะคนพิการทางสายตาตั้งแต่กำเนิดไม่เคยมี
ประสบการณ์ในการใช้สายตา ไม่เคยได้รับรู้ต่อการมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ตรงกันข้ามกับคนปกติมาก่อนแล้วมาเกิดความพิการสูญเสียในภายหลัง ซึ่งอาจจะมีระยะเวลาความพิการน้อยกว่า ย่อมจะมีปฏิกิริยาต่อความสูญเสียได้มากกว่า ดังนั้น คนพิการที่มีระยะเวลาความพิการมานาน มีแนวโน้มที่จะมีการเรียนรู้ในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และสิ่งแดล้อมต่าง ๆ ที่จะส่งผลต่อ ผลในการฟื้นฟู
สมรรถภาพคนพิการได้ดีกว่าคนพิการที่มีระยะเวลาความพิการน้อยกว่า ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ โอภาส พิมลวิชยากิจ (2539) ที่พบว่า ระยะเวลาความพิการ มีความสัมพันธ์กับการปรับตัวทางสังคม คนพิการที่มีระยะเวลาความพิการมานานจะสามารถเรียนรู้บทบาทของตนได้ดีกว่า และมีความรับผิดชอบต่อคนรอบข้าง เป็นที่พึ่งพาของคนอื่นได้ดีกว่าคนพิการที่มีระยะเวลาความพิการน้อย และการศึกษาของ ปกรณ์ วชิรัคกุล (2541) พบว่า ระยะเวลาความพิการ เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการ รวมทั้งการศึกษาของกุลนรี หาญพัฒนาชัยกูล (2538) พบว่า ความพิการที่เกิดขึ้นเป็นระยะเวลานานหรือเกิดแบบเรื้อรัง ทำให้คนพิการสามารถเตรียมความพร้อมในการดูแลตนเอง และการประกอบอาชีพได้ในระดับดี
ประสบการณ์จากการฝึกอาชีพตามหลักสูตร พบว่า ประสบการณ์จากการฝึกอาชีพตามหลักสูตร มีความสัมพันธ์ต่อผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ
92
ประสบการณ์จากการเข้าร่วมโครงการสำหรับผู้รับการฝึกอาชีพ พบว่า ประสบการณ์จากการเข้าร่วมโครงการสำหรับผู้รับการฝึกอาชีพ มีความสัมพันธ์ต่อผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ
อธิบายได้ว่า จากหลักสูตรการฝึกอาชีพและโครงการสำหรับผู้รับการฝึกอาชีพที่ศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดงจัดขึ้น คนพิการที่เข้ารับการฝึกอาชีพคนในศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการ จะเกิดการเรียนรู้ การปรับตัว และการพัฒนาศักยภาพของตนเองจนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ซึ่งคนพิการได้เรียนรู้จากสภาพแวดล้อมต่าง ๆ เช่น สภาพแวดล้อมนั้นอาจจะเป็นสภาพแวดล้อมทางกายภาพ (physical enviroment) หรือสภาพแวดล้อมเกี่ยวกับมนุษย์ (human enviroment) หรือสภาพแวดล้อมทางด้านโครงสร้าง (structural enviroment) ภายในศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดง เพื่อให้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร และเกิดผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ตามหลักการฟื้นฟูสมรรถภาพ ครบทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการแพทย์ ด้านการศึกษา ด้านสังคม และด้านอาชีพ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดความแตกต่างระหว่างบุคคล (Dubrin 1984) และทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้ทางสังคม (พิสมัย วิบูลย์สวัสดิ์ 2527 : 526) ซึ่งอธิบายไว้ว่า สิ่งแวดล้อม หรือสถานการณ์มีบทบาทสำคัญในการกำหนดพฤติกรรมของบุคคล ซึ่งบุคคลเรียนรู้ในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม สภาวะแวดล้อมเป็นตัววางรูปแบบพฤติกรรมโดยกระบวนการเรียนรู้ของบุคคล และในทำนองเดียวกันบุคคลก็เป็นผู้จัดและเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมด้วย ดังนั้นบุคคลและสถานการณ์ จึงมีอิทธิพลซึ่งกันและกัน การเกี่ยวข้องระหว่างบุคคลกับสถานการณ์แต่ละสถานการณ์ ซึ่งมีความสำคัญมากในการกำหนดพฤติกรรม ซึ่งพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนั้นมาจาก ประสบการณ์ต่าง ๆ ที่มนุษย์ได้รับจากสถานการณ์และสิ่งแวดล้อม
ส่วนตัวแปรที่มีผลต่อประสิทธิผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ พบว่า ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มี 3 ตัว ตัว ดังนี้
93
เพศ จากการที่เพศของคนพิการที่แตกต่างกัน มีผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการแตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ อธิบายได้ว่า เนื่องจากหลักสูตรการฝึกอบรมวิชาชีพในศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดงนั้น จัดขึ้นเพื่อคนพิการทางร่างกายมีโปรมแกรมการฝึกอาชีพที่เหมาะสมกับสภาพผู้พิการทางร่างกายทั้งหญิงและชาย และยังมีโอกาสให้ได้เลือกเรียนตามความถนัด ตามความพร้อม และความสมัครใจของคนพิการ ตลอดบริการต่าง ๆ ถูกจัดและจำแนกอย่างเหมาะสม ตัวแปรเพศ จึงไม่ส่งผลต่อผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ
สถานภาพภายในครอบครัว จากสถานภาพภาจากสถานภาพภายในครอบครัวของคนพิการที่แตกต่างกัน มีผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการแตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ อธิบายได้ว่า คนพิการที่ได้รับหน้าที่เป็นหัวหน้าครอบครัว หรือเป็นสมาชิกภายในครอบครัว อาจไม่ได้รับภาระหนักในครอบครัว ภาระการดูแลในส่วนของครอบครัวในเรื่องของการทำงาน การหารายได้เลี้ยงครอบครัวนั้นอาจเป็นภาระของบุคคลอื่น เพราะหลักสูตรการฝึกอบรมวิชาชีพของศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดงนั้นมีหลักสูตรในการฝึกอบรมถึง 1 ปี ภาระหน้าที่นั้นต้องตกเป็นของบุคคลอื่น ซึ่งจะทำให้คนพิการมีเวลาในการพัฒนาและฟื้นฟูได้มาก ตัวแปรสถานภาพภายใน
ครอบครัว จึงไม่ส่งผลต่อผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ
ลักษณะความพิการ จากลักษณะความพิการที่แตกต่างกัน มีผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการแตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ อธิบายได้ว่า บุคคลที่มีความพิการมาตั้งแต่กำเนิดหรือมีความพิการในภายหลังนั้น สรุปคือมีความพิการด้วยกันทั้ง 2 ลักษณะ บุคคลที่มีความพิการมานานย่อมมีความสามารถในการปรับตัวมากกว่าคนพิการที่มีระยะเวลาความพิการน้อยกว่า
(กิตติยา รัตนากร 2531 : 21) ถึงแม้ว่าคนพิการที่มีความพิการเกิดขึ้นในภายหลังแต่มีระยะเวลาความพิการมานานก็จะปรับตัวได้เช่นเดียวกับคนพิการที่มีความพิการมาแต่กำเนิด
จากผลการศึกษาที่สอดคล้องแสดงให้เห็นว่า การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทางร่างกาย ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ หลายปัจจัย ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส ประเภทความพิการและระยะเวลาความพิการ ทั้งนี้เพราะการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการเพื่อให้สามารถพึ่งตนเองได้ ซึ่งเป็นหัวใจของการช่วยเหลือคนพิการ ทั้งนี้เพราะคนพิการส่วนใหญ่ ร่างกาย จิตใจ ไม่ได้พิการด้วย ฉะนั้น หากได้รับการบำบัดฟื้นฟูที่ถูกต้องเหมาะสมตั้งแต่แรกเริ่ม คนพิการก็จะพึ่งตนเองได้ในที่สุด แนวทางสำคัญที่จะนำไปสู่การช่วยเหลือคนพิการที่ถูกต้อง คือ คนพิการต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างเหมาะสมและบังเกิดความสำเร็จ ผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการในการศึกษาวิจัยครั้ง
94
นี้ขึ้นอยู่กับ 1) ปัจจัยด้านอายุของคนพิการกลุ่มคนพิการที่มีอายุมาก จะมีแนวโน้มในการฟื้นฟูสมรรถภาพได้ดีกว่าคนพิการที่มีอายุน้อย เนื่องจากคนพิการที่มีอายุมากจะมีประสบการณ์ในการดำเนินชีวิตมานานกว่า อาจจะเคยผ่านการประกอบอาชีพมาก่อน หรือมีความรับผิดชอบต้องเลี้ยงดูครอบครัว ซึ่งจากการที่มีอายุมากกว่านั้นจะมีประสบการณ์จากการเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมมากกว่า จะสามารถฟื้นฟูสมรรถภาพได้ดีกว่ากลุ่มคนพิการที่มีอายุน้อยกว่า ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ วิจิตร แก้วเครือวัลย์ (2544) ที่พบว่า กลุ่มตัวอย่างคนพิการที่มีอายุมาก มีผลต่อการพัฒนาศักยภาพด้ายประกอบอาชีพ การรู้จักปกป้องสิทธิของตนเอง การทำหน้าที่ในฐานะพลเมืองและบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม และการเป็นผู้ให้คำแนะนำ นอกจากนั้น คนพิการที่มีอายุมากทำให้สามารถทำหน้าที่เป็นผู้ให้คำแนะนำที่มีความน่าเชื่อถือได้มากกว่าคนพิการที่มีอายุน้อย 2) ปัจจัยด้านการศึกษาคนพิการที่มีการศึกษาสูงมักจะมีการประเมิน เจตคติและสังคมที่มีต่อตนเองสูง ซึ่งกระบวนการนี้มีรากฐานมา
จากแนวคิดการมองตนเองของคูเลย์ (สุธีรัตน์ แก้วประโลม 2538: 17 อ้างถึง Kooley 1985) ที่ชี้ให้เห็นว่า บุคคลสามารถรู้จักตนเองได้โดยอาศัยกระจกมองตน เป็นความรู้สึกที่ได้รับจากภายนอกต่อคุณค่าของตน ซึ่งผู้มีการศึกษาสูง มักจะยอมรับในตัวตนและคุณค่าที่มีมากกว่าผู้มีการศึกษาในระดับน้อย ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ กิตติยา รัตนากร (2531: 21) ที่กล่าวไว้ว่า ความพิการที่เกิดขึ้นไม่ว่าลักษณะใดหรือสาเหตุใด ย่อมมีผลกระทบต่อผู้พิการทั้งทางตรงและทางอ้อม และ
กนกวรรณ อังกะสิทธิ (2540 : 16) และเสาวภา วิชิตวาที (2534: 37) ได้อธิบายว่า การตัดสินคุณค่าของตนเองตามความรู้สึก และทัศนคติของบุคคล ในเรื่องความสำเร็จและความล้มเหลว และการปฏิเสธหรือยอมรับตนเอง ว่ามีคุณค่าต่อสังคม มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพด้วย
ตลอดจน 3) สถานภาพสมรส การมีคู่ชีวิตที่ดี ดำเนินชีวิตครอบครัวอย่างเป็นปกติเป็นปัจจัยทางด้านสัมพันธภาพในครอบครัวและบทบาทของสมาชิกครอบครัวในการสนับสนุนทางครอบครัวและสังคมแก่ผู้พิการ มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมในการเผชิญปัญหาของคนพิการ ซึ่งสัมพันธภาพภายในครอบครัว และการได้รับแรงสนับสนุนภายในครอบครัว เป็นพื้นฐานสำคัญที่ทำให้เกิดพัฒนาการแห่งการปรับตัวของคนพิการไปในทางที่ดีขึ้น 4) ประเภทความพิการโดยมีลักษณะความพิการที่
ปรากฎให้เห็นมากน้อย มีผลต่อการทำให้เกิดความสูญเสียอย่างเห็นได้ชัดสำหรับตนเองและคนรอบข้าง การสูญเสียอวัยวะสำคัญและจำเป็นอย่างมากต่อร่างกาย เช่น คนพิการตาบอด แขนขาขาด ย่อมมีปฏิกิริยามากกว่าคนพิการที่นิ้วมือมากกว่าปกติ หรือสูญเสียนิ้วบางนิ้ว และหากความพิการแต่กำเนิด เช่น ผู้พิการทางตา ปฎิกิริยาทางการสูญเสียย่อมน้อยกว่า ผู้พิการทางตาภายหลัง เพราะเขาไม่เคยมีประสบการณ์ในการใช้สายตารับรู้ต่อการมองเห็นสิ่งต่างๆ ซึ่งตรงกันข้ามกับคนสายตาปกติมาก่อน
95
และเกิดการสูญเสียภายหลัง ย่อมจะมีปฏิกิริยาต่อการสูญเสียได้มากกว่าคนพิการมาแต่กำเนิดหรือแต่วัยเด็ก เช่นเดียวกับ 5) ระยะเวลาความพิการ ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาของ สุชิดา กาญจนรังษี (2538) พบว่า คุณภาพชีวิตของผู้สูญเสียขามีความแตกต่างกันในระยะเวลาที่สูญเสียขา และยังสอดคล้องกับแนวคิดของ ปกรณ์ วชิรัคกุล (2541 : 63) พบว่า ปัจจัยด้านลักษณะส่วนบุคคลของผู้พิการที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิต ได้แก่ ระยะเวลาที่มีความพิการ ปัจจัยทางด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และพบว่าสัมพันธภาพของชุมชน การสนับสนุนทางสังคม สัมพันธภาพในครอบครัว และประสบการณ์ในการฟื้นฟูสมรรถภาพ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตของผู้พิการ ซึ่งผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า อายุ ระดับการศึกษาสถานภาพสมรส ประเภทความพิการ และระยะเวลาความพิการที่แตกต่างกัน มีประสิทธิผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการแตกต่างกัน
จากผลจากการศึกษา ประสบการณ์ที่ได้รับจากการฝึกอาชีพหลักสูตรและประสบการณ์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการสำหรับผู้รับการฝึกอาชีพ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการในระดับที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการศึกษาที่สอดคล้อง แสดงให้เห็นว่า การฝึกอาชีพและการเข้าร่วมโครงการสำหรับคนพิการ เป็นการพัฒนาความรู้ ความสามารถ เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทั้งร่างกายและจิตใจ เพื่อให้ยอมรับตนเอง และสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้กับบุคคลอื่นในสังคมอย่างมีปกติสุข ดังนั้น ประสบการณ์การฝึกอบรมด้านการประกอบอาชีพ ทำให้ผู้ที่ผ่านการอบรมและประสบผลสำเร็จ มีผลต่อจิตใจในเรื่องของการยอมรับตนเอง ขณะเดียวกันสามารถประพฤติ ปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสม และสามารถ นำเอากิจกรรมที่เรียนรู้ และประสบการณ์ที่ได้รับ นำมาปรับปรุงให้เหมาะสมกับสภาพของตนเอง และนำไปสู่ความสำเร็จ และมีความสุขในชีวิต ทำให้มีความรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดการเห็นคุณค่าในตนเอง ที่อธิบายไว้ว่า การเห็นคุณค่าในตนเอง คือ การที่บุคคลนั้นมีความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเองที่ได้กระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้สำเร็จ และมีความนับถือตนเอง มีความพอใจที่ได้รับการยอมรับจากบุคคลอื่นในสังคม ทั้งในสังคมแคบ ๆ เช่นครอบครัว เพื่อนฝูง จนถึงสังคมในวงกว้าง นอกจากนี้เนื้อหาหลักสูตรที่ใช้ในการ
อบรม ก็เป็นสิ่งสำคัญ ต้องมีความสอดคล้องและเหมาะสมกับสภาพความพิการของผู้เข้ารับการฝึก
อบรม ให้สามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการเพิ่มศักยภาพแก่ผู้พิการ ให้สามารถประกอบอาชีพได้ตามทักษะสูงสุดตามความสามารถ มีรายได้เลี้ยงดูตนเองและครอบครัวโดยไม่เป็นภาระต่อสังคม ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาของ โอภาส พิมลวิชยกิจ (2539) ที่ศึกษาเรื่อง “การปรับตัวทางสังคมของคนพิการในศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการ” โดยศึกษาจากคนพิการที่ได้รับการฝึกอาชีพ จำนวน 6 แห่ง ของกรมประชาสงเคราะห์ จำนวน 329 คน ที่มีความพิการทางการเคลื่อนไหว โดยแสดงการเปรียบเทียบของความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะส่วนบุคคลและสังคมของคนพิการกับการปรับตัวทางสังคม พบว่าการปรับตัวทางสังคมของคนพิการ 6 ด้านคือ การปรับตัวกับเพื่อน เจ้าหน้าที่ ครูฝึกอาชีพ คนแปลกหน้า ผู้มาเยี่ยมเยียน การเข้าร่วมกิจกรรม
96
ทางสังคม กฎระเบียบ และการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร มีความสัมพันธ์กัน กับระดับความพิการ เครือข่ายทางสังคม ประเภทครอบครัว ระยะเวลาที่มีความพิการ บทบาทของคนป่วย และการนับถือตนเอง ดังนี้ คนพิการมากกว่าครึ่งหนึ่งไม่มีบทบาทคนป่วย ส่วนใหญ่มีการนับถือตนเองน้อยหรือต่ำ มีการปรับตัวสูง ส่วนใหญ่กับเพื่อน เจ้าหน้าที่ และครู รวมทั้งการเข้าร่วมกิจกรรม และกฎระเบียบของศูนย์ แต่มีการปรับตัวกับคนแปลกหน้า และข่าวสารต่ำส่วนคนพิการที่มีระยะเวลาความพิการนั้น จะฝ่าฝืนหรือปรับเข้ากับระเบียบได้ยาก และยังสอดคล้องกับผลการศึกษาของปกรณ์ วชิรัคกุล (2541) ที่พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้พิการ ได้แก่ประสบการณ์การฟื้นฟูสมรรถภาพ การประกอบอาชีพ และความเพียงพอของรายได้ ผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ประสบการณ์ที่ได้รับจากการฝึกอาชีพตามหลักสูตร และการเข้าร่วมโครงการสำหรับผู้เข้ารับการฝึกอาชีพมีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ทั้งในด้านการเห็นคุณค่าในตนเอง การเชื่ออำนาจในตนเอง การช่วยเหลือตนเอง การช่วยเหลือครอบครัวครอบครัว การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมการประกอบอาชีพ และการได้รับความยอมรับจากผู้อื่น ทำให้คนพิการที่ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพสามารถดำเนินอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคมได้อย่างเป็นปกติสุข
ข้อเสนอแนะ
1. ศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดงควรจัดสวัสดิการแก่คนพิการ เช่น การให้กู้ยืมเงิน ซึ่งอาจจะรณรงค์หาทุนจากผู้มีจิตศรัทธา และช่วยเหลืออุปกรณ์ในการฝึกอาชีพต่าง ๆ โดยให้คนพิการได้ทำงานเพื่อเป็นการชดเชยหรือทำการฝีมือที่เป็นชิ้นงานชดเชยให้ นอกจากนี้ควรส่งเสริมและให้ความร่วมมือตามความจำเป็นและเหมาะสมกับคนพิการที่สำเร็จวิชาชีพ โดยช่วยเหลือในด้านเงินทุนและอุปกรณ์ในการประกอบอาชีพระยะเริ่มต้น เพื่อให้คนพิการได้พึ่งตนเองได้ต่อไปในอนาคต และควรมีการติดตามผลหลังจากที่ได้ให้ความช่วยเหลือด้านต่าง ๆ เหล่านี้ไปแล้ว
2. ศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดง ควรเพิ่มหลักสูตรการจัดวิชาชีพให้หลากหลาย ตรงความต้องการของตลาดแรงงานและความต้องการของผู้พิการ ทั้งนี้ในการฝึกอาชีพ ควรจะวางแนวทางไว้สำหรับอนาคตที่รับการฝึกว่าจะสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประกอบอาชีพลี้ยงตนเอง และมีหลักประกันที่แน่นอนว่างานบางประเภทที่คนพิการสามารถทำงานได้เหมาะสมกับความพิการของคนพิการนั้น ๆ
3. ศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดง ควรปรับปรุงหลักสูตรและแนวทางการจัดกิจกรรมสำหรับการฝึกอบรมให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมให้เป็นปัจจุบัน และตรงตามความสนใจของคนพิการที่เข้ารับการฝึกอาชีพ และหาวิธีการชักจูงให้คนพิการเกิดความสนใจกับวิชาชีพที่เลือกฝึกให้เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้การจัดหลักสูตรและการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดงควรคำนึงถึงความแตกต่างทางด้านต่าง ๆ ของคนพิการ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านกายภาพหรือด้านจิตใจ เพื่อให้การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการมีประสิทธิภาพสูงสุด
97
4.ศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดงควรแนะนำและสนับสนุนให้คนพิการที่เข้ารับการฝึกอาชีพให้ความสนใจประกอบอาชีพเพิ่มมากขึ้น และนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการฝึกอาชีพไปใช้ประกอบอาชีพหลังจากที่ได้รับการฝึกอบรมไปแล้วโดยเฉพาะในลักษณะอาชีพอิสระ
อุตสาหกรรมในครอบครัว และโรงงานอุตสาหกรรมทั่วไป อีกทั้งควรสนับสนุนผลิตภัณฑ์ที่มาจากงานฝีมือของคนพิการที่ได้รับการฝึกอาชีพให้จำหน่ายออกสู่ท้องตลาด มีรายได้เพื่อเสริมสร้างขวัญและกำลังใจต่อคนพิการในการฝึกอาชีพ และป้องกันการการลาออกกลางคันในระหว่างการฝึกอาชีพ
ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคมของคนพิการ เพื่อใช้เป็น
แนวทางในการสร้างยุทธศาสตร์การฝึกอบรม และการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
2. ควรศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การฟื้นฟูสมรรถภาพของคนพิการของศูนย์ฟื้นฟูอาชีพ
อื่นๆ เพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงคุณภาพการพัฒนาศักยภาพคนพิการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
3. ควรศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การฟื้นฟูสมรรถภาพของคนพิการที่มีอุปกรณ์เสริมในการดำเนินชีวิตกับคนพิการที่ไม่มีอุปกรณ์เสริม
4. ควรศึกษาสาเหตุของคนพิการที่เข้ารับการฝึกอาชีพที่ลาออกกลางคันในขณะอยู่ระหว่างการฝึกอาชีพ
บรรณานุกรม
กชกร ศรีสัมพันธ์. บทบาทของสมาชิกครอบครัวที่มีต่อพฤติกรรมในการเผชิญปัญหาของคนพิการ.
วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2537.
กนกวรรณ อังกะสิทธิ์. พฤติกรรมสุขภาพและการรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองของคนพิการ.
วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2540.
กรมประชาสงเคราะห์. พระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534. กรุงเทพ ฯ :
สำนักงานคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ. กรมประชาสงเคราะห์. 2534.
กองสวัสดิการสงเคราะห์. โครงการและวางแผนปฏิบัติงานศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการ อำเภอพระประแดง
จังหวัดสมุทรปราการ. กรมประชาสงเคราห์. 2514.
กนิษฐา ถาวรกิจ. การศึกษาความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชน
: ศึกษาเฉพาะกรณีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้านคนพิการในที่ทำการประชาสงเคราะห์จังหวัด.
วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2537.
กวี ทังสุบุตร. การพัฒนาศักยภาพคนพิการในครอบครัวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ
พื้นที่ 5 จังหวัดอุดรธานี สกลนคร ขอนแก่น นครพนม และเลย. งานวิจัย คณะสังคม
สงเคราะห์ศาสตร์. กรุงเทพ ฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2533.
กิตติยา(นรามาศ) รัตนากร. คนพิการ : การสงเคราะห์และการฟื้นฟูสมรรถภาพ. กรุงเทพ ฯ : คณะสังคม
สงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2531.
กุลนรี หาญพัฒนชัยกูร. การปรับตัวของครอบครัวในการดูแลคนพิการ : ศึกษาเฉพาะกรณี อำเภอ
บัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2543.
ขนิษฐา เทวินทรภักติ. แผ้วถางทางการฟื้นฟูสมรรถภาพ : สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของคนพิการ.
กรุงเทพ ฯ : กรมประชาสงเคราะห์. 2540.
คง สุวรรณทัต, แนวความคิดในการจัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ. ในรายงานการประชุม
สัมมนาเรื่องความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชนเพื่อคนพิการ. ณ โรงแรมบางกอกพาเลช
ระหว่างวันที่ 21-22 กุมภาพันธ์ 2529.
99
ชีวาพร คุ้มจอหอ. กลยุทธ์การใช้ TQM เพื่อพัฒนากระบวนการฝึกอาชีพคนพิการของกรม
ประชาสงเคราะห์ กรณีศึกษา : ศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดง. วิทยานิพนธ์ปริญญา
มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2544.
ดวงกมล พึ่งประเสริฐ. ผลของการให้คำปรึกษาของพยาบาลต่อระดับความวิตกกังวลและความ
รู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้ป่วยทำแท้งผิดกฎหมาย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2534.
บุญรับ ศักดิ์มณี. การเสริมสร้างจิตลักษณะเพื่อพัฒนาพฤติกรรมการทำงานราชการ. ปริญญา
นิพนธ์การศึกษาศาตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร. 2532.
ปกรณ์ วชิรัคกุล. ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้พิการในจังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์ปริญญา
มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2541.
ประสิทธิ์ ดิศวัฒน์. การสงเคราะห์และฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการในประเทศไทย. กรุงเทพ ฯ :
กรมประชาสงเคราะห์. 2526.
ปัญชลี อาภัสสร. แนวทางการมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือและพัฒนาเด็กพิการ. เอกสารการ
สัมมนาเรื่องแนวทางและการมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือและพัฒนาเด็ก. 2529. (อัดสำเนา)
พิสมัย วิบูลสวัสดิ์. จิตวิทยาทั่วไป. ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2527.
พูนศักดิ์ ประมงค์. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคมของเด็กปัญญาอ่อน : ศึกษาเฉพาะกรณีการมีส่วนร่วม
ของผู้ปกครอง โรงเรียนราชานุกูล. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
2534.
พัชนี เอมะนาวิน. ความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจความเชี่ยวชาญ – ความเชื่ออำนาจภายในตน ภูมิหลัง
กับความพึงพอใจในงานของพยาบาลประจำโรงพยาบาลศูนย์ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข.
วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2536.
มนตรี อนันรักษ์. ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติแบบควบคุมภายใน – ภายนอกตน ทัศนคติทาง
วิทยาศาสตร์ และความเชื่อโชคลางในกลุ่มผู้มีอาชีพครู. ปริญญานิพนธ์การศึกษาศาตรดุษฎี
บัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร. 2517.
มาลิน สุขเกษม. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้พิการในศูนย์ฟื้นฟูอาชีพ
คนพิการ กรมประชาสงเคราะห์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล. 2543.
100
ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525. กรุงเทพมหานคร. สำนัก
พิมพ์อักษรเจริญพัฒน. 2526.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ฉบับประชาชน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพ ฯ :
บริษัท สยามสปอร์ตซินดิเคท จำกัด. 2542.
รัตนา ประเสริฐสม. การเสริมสร้างจิตลักษณะเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมอนามัยของนักเรียนประถม ศึกษา.
ปริญญานิพนธ์ การศึกษาศาตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร. 2526.
รุ่งมณี ตุลกิจจาวงศ์. การศึกษาการดำเนินงานฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพคนพิการของ
กรมประชาสงเคราะห์ กรุงเทพ ฯ : กรมประชาสงเคราะห์. 2542 . (อัดสำเนา)
แรงงานและสวัสดิการสังคม, กระทรวง. คณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ. แผนการฟื้นฟู
สมรรถภาพคนพิการแห่งชาติ พ.ศ. 2540 – 2544. กรุงเทพ ฯ :2540.
วิจิตร แก้วเครือวัลย์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาศักยภาพคนพิการ : ศึกษากรณีคนพิการ
ทางร่างกายในศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการกรมประชาสงเคราะห์. วิทยานิพนธ์ปริญญา
มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. 2544.
ศรีนวล วิวัฒน์คุณูปการ. โปรแกรมการฝึกพฤติกรรมที่เหมาะสมในการแสดงออก และความรู้สึก
เห็นคุณค่าในตนเอง สำหรับนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญา
มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยชียงใหม่. 2535.
สดับ ธีระบุตร. พล.อ.ท. ปัญหาคนพิการและการดำเนินงานเกี่ยวกับคนพิการในประเทศไทย.
กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์ไทยเขษม. 2520.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540 – 2544). กรุงเทพ ฯ : เม็ดทรายพริ้นติ้ง. 2538.
สำนักงานคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ. พระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ
พ.ศ. 2534 .
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. รายงานการสำรวจคนพิการ พ.ศ. 2544 . สำนักนายกรัฐมนตรี
สินีนาฏ บุญต่อเติม. การศึกษาทางเศษฐกิจ สังคม อารมณ์ จิตใจ ของผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุ
จราจรทางบก : ศึกษาเฉพาะโรงพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2530.
101
สุกัญญา วิบูลย์พาณิชย์ . อัตมโนทัศน์และการพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจของคนพิการ. วิทยานิพนธ์
ปริญญามหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. 2536.
สุชิดา กาญจนรังษี. ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูญเสียขา. วิทยานิพนธ์ปริญญา
มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2538.
สุธีรัตน์ แก้วประโลม. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง การสนับสนุนทาง
สังคมกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานสูงอายุ โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ อำเภอ
เมือง จังหวัดอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2538.
เสาวภา วิชิตวาที. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองกับการสนับสนุนทางสังคม
กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยที่สูญเสียแขนขา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2534.
องค์การสหประชาชาติ. แผนปฏิบัติการระดับโลกว่าด้วยเรื่องคนพิการ. แปลโดย นิรมล กุยยกานนท์.
ม.ป.ท. , ม.ป.ป. 2534.
อรวรรณ สุขีธรรมรักษ์. อิทธิพลของสภาพการณ์และความเชื่อในเรื่องอัตวิสัยที่มีต่ออิทธิพล
คล้อยตาม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงรณ์มหาวิทยาลัย. 2517.
อุดม ลักษณวิจารณ์, รายงานการสัมมนา “เรื่องการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการในชุมชน.” ณ
โรงพยาบาลนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ระหว่างวันที่ 4 – 6 กุมภาพันธ์ 2525.
โอภาส พิมลวิชยกิจ. การปรับตัวทางสังคมของคนพิการในศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการ. วิทยานิพนธ์
ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2539.
อังคณา สาลาด. ความคาดหวังในการฟื้นฟูสมรรถภาพในชุมชนของคนพิการทางกายและ/หรือ
ทางการเคลื่อนไหวศึกษาเฉพาะกรณี อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญา
มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล. 2541.
Andrew J. Dubrin. Foundations of organizational behavior : An Applied Perspective.
Englewood Cliffs : Prentice – Hall , Inc, 1984 .
Barry, P.D. Psychosocial nursing : Assessment and Interrantion care of Psysically 3
Person. 2nd (ed.). Philadelphia : J.B. Lippincott Company, 1989.
Kurt Lewin. A Dynamic Theory of Personality. New York : McGraw-Hill , 1955.
102
Rotter, J.B. Generalization Expertancies for Internal Versus External of Reinforcement,
Psychological Monographs. New York : John & Sons, 1986.
Rotter, J.B. Internal – External control of Reinforcement, in Thomas Bless (ed.)
Personality Veriable in Sociel Behavior. New York : John & Sons, 1971.
Taft, L.B. Self – Esteem in later lift : a nursing perspective, Advance in nursing science
(ed.). M.M.Riley. Colorodo : West view Press, 1985.
World Health Organization. International Calssification of Diseases. Vol. 1 Geneva, 1977.
104
แบบสอบถาม
เรื่อง การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทางร่างกาย
กรณีศึกษา คนพิการทางร่างกายในศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดง
กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
คำชี้แจง การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทางร่างกาย
ข้อแนะนำเกี่ยวกับแบบสอบถาม
แบบสอบถามมีทั้งหมด 5 ส่วน
ส่วนที่ 1 แบบสอบถามปัจจัยสถานส่วนบุคคลของคนพิการ
จำนวน 5 ข้อ
ส่วนที่ 2 แบบสอบถามความพิการ จำนวน 3 ข้อ
ส่วนที่ 3 แบบสอบถามเกี่ยวกับประสบการณ์ที่ได้รับจากการฝึกอาชีพ
จำนวน 20 ข้อ
ส่วนที่ 4 แบบสอบถามเกี่ยวกับผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพ
จำนวน 38 ข้อ
ส่วนที่ 5 ข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางในการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ
105
แบบสอบถาม
เรื่อง การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทางร่างกาย
กรณีศึกษา : คนพิการทางร่างกายในศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดง
กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ส่วนที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพส่วนตัวของคนพิการ
คำชี้แจง ให้ใส่เครื่องหมาย �� ลงในวงเล็บหน้าข้อความและเติมข้อความลงในช่องว่าง
ตามความเป็นจริง
ข้อ 1. เพศ
( ) 1. ชาย ( ) 2. หญิง
ข้อ 2. อายุ
( ) 1. น้อยกว่า 20 ปี ( ) 2. 20 – 30 ปี
( ) 3. 31 – 40 ปี ( ) 4. 41 ปีขึ้นไป
ข้อ 3. ระดับการศึกษา
( ) 1. ไม่ได้รับการศึกษา ( ) 2. ประถมศึกษา
( ) 3. มัธยมศึกษาตอนต้น ( ) 4. มัธยมศึกษาตอนปลาย
( ) 5. ปริญญาตรี ( ) 6. อื่น ๆ
ข้อ 4. สถานภาพสมรส
( ) 1. โสด ( ) 2. สมรส
( ) 3. หม้าย ( ) 4. หย่าร้าง
( ) 5. แยกกันอยู่
ข้อ 5. สถานภาพภายในครอบครัว
106
( ) 1. เป็นหัวหน้าครอบครัว ( ) 2. เป็นสมาชิกภายในครอบครัว
ส่วนที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับความพิการ
คำชี้แจง ให้ใส่เครื่องหมาย �� ลงในวงเล็บหน้าข้อความและเติมข้อความลงในช่องว่าง
ตามความเป็นจริง
ข้อ 1. ประเภทความพิการ
( ) 1. พิการแขนหนึ่งข้าง ( ) 2. พิการแขน 2 ข้าง
( ) 3. พิการขา 1 ข้าง ( ) 4. พิการขา 2 ข้าง
( ) 5. พิการนิ้วมือไม่ครบ ( ) 6. พิการอัมพาตท่อนล่าง
( ) 7. พิการอัมพาตครึ่งซีก ( ) 8. พิการกระดูกสันหลังคด
( ) 9. พิการทางการได้ยิน ( ) 10. พิการมากว่า 1 อย่าง
ข้อ 2. ลักษณะความพิการ
( ) 1. พิการตั้งแต่กำเนิด ( ) 2. พิการที่เกิดขึ้นในภายหลัง
ข้อ 3. ระยะเวลาตั้งแต่มีความพิการ
( ) 1. 1 – 5 ปี ( ) 2. 6 – 10 ปี
( ) 3. 11 – 15 ปี ( ) 4. 16 – 20 ปี
( ) 5. มากว่า 20 ปี
ส่วนที่ 3 แบบสอบถามเกี่ยวกับประสบการณ์ที่ได้รับจากการฝึกอาชีพ
คำชี้แจง ให้ใส่เครื่องหมาย �� ลงในช่องว่างทางขวามือของแต่ละข้อความที่ตรงกับสภาพ
ความเป็นจริงในปัจจุบันของท่านมากที่สุด
ข้อความ
มากที่สุด
มาก
ปานกลาง
น้อย
น้อยที่สุด
การฝึกอาชีพตามหลักสูตร
1. ฉันได้รับความรู้ในอาชีพที่เลือกเข้ารับการฝึก
2. ฉันมีชิ้นงานที่เป็นผลงานของฉัน
3. ฉันปฏิบัติกิจกรรมทุกอย่างตามที่ครูฝึกมอบหมายได้
ด้วยตนเอง
4. ฉันได้เรียนรู้ร่วมกันกับเพื่อน ๆ และทำกิจกรรมร่วม
107
กับผู้อื่นได้
5. ฉันมีเพื่อน ๆ ทั้งในโปรแกรมการฝึกอาชีพเดียวกัน
และต่างโปรแกรมการฝึก
ข้อความ
มากที่สุด
มาก
ปานกลาง
น้อย
น้อยที่สุด
6. ฉันต้องถามผู้อื่นในเรื่องของการเรียนเสมอ
7. ผลงานของฉันเป็นที่ยอมรับของเพื่อนและครูฝึก
8. ฉันต้องให้เพื่อน ๆ ช่วยทำงานของฉันเสมอ
9. ฉันต้องทำงานเพียงลำพังบ่อย ๆ
10. ฉันพบปะ พูดคุยกับเพื่อน ๆ เป็นบางครั้ง
การเข้าร่วมโครงการสำหรับผู้เข้ารับการฝึกอาชีพ
11. ฉันมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ในโครงการที่จัด
ขึ้น
12. ฉันได้รับความรู้และได้รับการดูแลสุขภาพของตน
เอง
13. ฉันได้รับความรู้ในการเลือกประกอบอาชีพ
14. ฉันได้ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน ๆ เป็นประจำ
15. ฉันได้แสดงความคิดเห็นและความสามารถในกิจ
กรรมของแต่ละโครงการ
16. ฉันไม่ค่อยให้ความสนใจในโครงการที่จัดขึ้น
17. ฉันไม่รู้จะทำอย่างไรเมื่อฉันรู้สึกไม่สบาย
18. ฉันไม่รู้ว่าเมื่อจบการฝึกไปแล้วจะประกอบอาชีพ
อะไร
19. ฉันอยากทำกิจกรรมต่าง ๆ เพียงคนเดียว
20. ฉันเก็บความคิดเห็นต่าง ๆ ไว้เพียงคนเดียว
108
ส่วนที่ 4 แบบสอบถามเกี่ยวกับผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ
คำชี้แจง แบบสอบถามนี้ต้องการทราบเกี่ยวกับความคิดเห็นหรือความรู้สึกของท่านเกี่ยวกับ
การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ โดยไม่มีคำตอบใดถูกหรือผิด จึงขอความกรุณา
ตอบตามความเป็นจริงเกี่ยวกับตัวท่านโดยใส่เครื่องหมาย �� ลงในช่องว่างทาง
ขวามือของแต่ละข้อความที่ตรงกับความคิดเห็นหรือความรู้สึกของท่านมากที่สุด
ข้อความ
มากที่สุด
มาก
ปานกลาง
น้อย
น้อยที่สุด
การช่วยเหลือตนเอง
1. ฉันปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง
2. ฉันรับประทานอาหารได้ด้วยตนเอง
3. ฉันเดินทางไปติดต่อหน่วยงาน
4. ฉันเดินทางไปเยี่ยมญาติของฉันได้
5. ฉันเดินทางไปซื้อของตามสถานที่ที่ฉันต้องการได้
การช่วยเหลือครอบครัว
6. ฉันทำงานบ้านได้
7. ฉันทำงานหาเงินช่วยเหลือครอบครัวได้
8. ฉันช่วยดูแลเด็ก ๆ ในครอบครัวได้
9. ฉันช่วยดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวได้
การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม
10. ฉันเข้าร่วมประเพณีทางศาสนา
11. ฉันเข้าร่วมกิจกรรมของคนพิการเป็นประจำ
12. ฉันเข้าร่วมเป็นเกียรติในพิธีแต่งงาน , งานบวช
13. ฉันเคยช่วยงานในชุมชน
14. ฉันเข้าร่วมแข่งขันกีฬาวันคนพิการ
109
การประกอบอาชีพ
15. ฉันทำงานหารายได้ได้
16. ฉันเป็นเจ้าของกิจการเล็ก ๆ น้อย ๆ ได้
ข้อความ
มากที่สุด
มาก
ปานกลาง
น้อย
น้อยที่สุด
17. ฉันจะทำงานให้เป็นที่ยอมรับในความสามารถ
18. ฉันมีความรู้และผลงานจากการฝึกอาชีพพอที่จะหา
งานทำได้
การได้ความยอมรับจากผู้อื่น
19. คนอื่นรับฟังความคิดเห็นของฉัน
20. คนอื่นชื่นชมในความสามารถของฉัน
21. ฉันมีบทบาทและมีส่วนร่วมในกิจกรรมของศูนย์ฟื้น
ฟูอาชีพ
22. คนอื่นยอมรับความพิการของฉัน
การเห็นคุณค่าในตนเอง
23. ฉันไม่สามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้
24. ฉันทำอะไรสู้คนอื่นไม่ได้
25. ฉันไม่มีกำลังใจในสิ่งที่ฉันทำ
26. ความคิดเห็นของฉันไม่ค่อยเป็นที่ยอมรับของคนอื่น
27. คนอื่นมีหน้าตาดูดีกว่าฉัน
28. คนอื่น ๆ มีความสามารถมากกว่าฉัน
29. ฉันเข้ากับคนอื่นไม่ค่อยได้
30. คนอื่น ๆ ไม่ต้องการฉัน
การเชื่ออำนาจในตนเอง
31. ตัวฉันมีคุณค่ากับคนอื่น
32. ฉันสามารถช่วยเหลือคนอื่นได้
110
33. ฉันไม่ได้เป็นภาระของใคร
34. ฉันจะทำในสิ่งที่ฉันอยากทำให้ได้
35. ฉันมีความสุขที่ได้ทำอะไรเพื่อคนอื่นบ้าง
36. คนอื่น ๆ มีความสามารถมากกว่าฉัน
37. ฉันเอาชนะอุปสรรคในชีวิตของฉันได้
38. ฉันไม่เคยอายที่จะพูดเรื่องของตนเอง
ส่วนที่ 5 ข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางในการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
111
ประวัติผู้วิจัย
ชื่อ - สกุล นายสิรวิชญ์ (พงษ์สันต์) สวัสดี
วัน เดือน ปี เกิด 27 กันยายน 2517
ประวัติการศึกษา
ประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอำนวยวิทย์ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดบวรนิเวศ กรุงเทพมหานคร
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวิสุทธิกษัตรี อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ
คบ. สาขาวิชาการศึกษา วิชาเอกสังคมศึกษา สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ศศ.บ. สาขาวิชาสื่อสารมวลชน วิชาโทรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ประวัติการทำงาน
2542 – 2543 ครูโรงเรียนวัดทองเพลง เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร
2543 – 2544 ครูโรงเรียนยอแซฟอุปถัมป์ อ.สามพราน จ.นครปฐม
254 5 – ปัจุบัน ครูศูนย์การเรียนชุมชน ศูนย์การเรียนชุมชนวัดสน
ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนเขตราษฎร์บูรณะ



การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทางร่างกาย (ตอนที่ 1)

การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทางร่างกาย (ตอนที่ 2)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น