วันอาทิตย์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องวิธีการแสวงหาสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (ตอนที่ 2)



การใช้สารสนเทศจำเป็นต้องใช้ให้ถูกต้อง ทันเหตุการณ์ ผู้ใช้สารสนเทศจึงต้องเข้าใจ
ความสำคัญของสารสนเทศ ดังนี้
1. ด้านการเรียนการสอน นักเรียนต้องอาศัยสารสนเทศในการพัฒนาการเรียนรู้ สารสนเทศ
ในการเรียนรู้ที่สำคัญและเก่าแก่ที่สุดได้แก่ หนังสือในทุกสาขาวิชา นอกจากหนังสือแล้วก็มีวารสาร
หนังสือพิมพ์ สารสนเทศประเภทนี้สามารถนำติดตัวไปอ่าน ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมได้โดยไม่จำกัด
สถานที่ ใช้ขจัดความไม่รู้ สร้างปัญญา ความเฉลียวฉลาดในการบริโภค พัฒนาประสิทธิภาพการเรียน
สร้างความเจริญด้านจิตใจ เช่น รู้จักควบคุมอารมณ์ ให้ความจรรโลงใจ เป็นต้น นอกจากหนังสือ
วารสาร หนังสือพิมพ์แล้ว ยังมีสื่อโสตทัศน์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถเลือกศึกษาได้ตาม
ความสนใจ
2. ด้านการวิจัย สามารถศึกษาค้นคว้างานวิจัยซึ่งเป็นความรู้ใหม่ที่มีผู้ดำเนินการศึกษาค้นคว้า
ในเรื่องราวต่างๆ ไว้มากมายทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ งานวิจัยแต่ละเรื่อง นอกจากจะได้
ข้อสรุปเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ แล้ว ยังได้ความรู้เพิ่มเติมจากข้อมูลที่เกี่ยวข้องซึ่งผู้วิจัยได้นำมากล่าวในงาน
วิจัยแต่ละเรื่อง
3. ด้านการแก้ปัญหา สารสนเทศ ที่ได้จากการอ่านข่าวสารทั่วไปจากหนังสือพิมพ์ วารสาร
หนังสือหรือได้จากสื่อมวลชนด้านอื่นๆ สามารถทำความเข้าใจและเลือกนำมาประกอบการตัดสินใจ
แก้ปัญหาของแต่ละบุคคล ทั้งที่เป็นปัญหาส่วนตัว อารมณ์ และสังคม
4. ด้านวิทยาการและเทคโนโลยี ปัจจุบันได้ชื่อว่าเป็นยุคโลกาภิวัตน์ (Globalization)
สารสนเทศมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น และเทคโนโลยีด้านอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ การสื่อสาร พัฒนา
ไปอย่างรวดเร็ว การสื่อสารมีการพัฒนาโดยใช้ใยแก้วนำแสง (Fiber optics) จึงสามารถค้นสาร
สนเทศทั้งภาพและเสียงได้อย่างรวดเร็ว และกว้างขวางยิ่งขึ้น เช่น การสืบค้นสารสนเทศจากเครือข่าย
อินเตอร์เน็ต
ดังนั้นสารสนเทศจึงเป็นเรื่องราวต่างๆ ข้อเท็จจริง รวมทั้งข้อมูล ข่าวสาร หรือคำบอกเล่าทั้งที่
มีการบันทึกรายละเอียดไว้อย่างมีระบบ เก็บไว้ในรูปแบบหรือสื่อต่างๆ เช่น หนังสือ แถบบันทึกภาพ
และแถบบันทึกเสียง เป็นต้น เพื่อทำการเผยแพร่หรือบริการให้กับผู้ใช้เพื่อการค้นคว้า สนองความ
อยากรู้อยากเห็น ช่วยก่อให้เกิดประโยชน์สำหรับผู้ใช้
4.1 ความหมายของการแสวงหาสารสนเทศ
ชัชวาลย์ วงษ์ประเสริฐ (2537 : 100) ให้ความหมายไว้ว่า การแสวงหาสารสนเทศ หมาย
ถึง กิจกรรมที่บุคคลกระทำเพื่อหาข้อมูลข่าวสารที่จะตอบสนองความต้องการที่ตนตระหนักและเล็ง
เห็นถึงความสำคัญ ความต้องการที่เล็งเห็นนี้จะแสดงออกและนำไปสู่พฤติกรรมการแสวงหาสาร
สนเทศ ดังนั้น การแสวงหาสารสนเทศจึงเป็นกระบวนการที่บุคคลพยายามหาหนทางที่จะให้ได้สาร
สนเทศที่ต้องการ โดยทั่วไปจะประกอบด้วยกระบวนการ 3 ขั้นตอน ได้แก่
1. การตระหนักหรือการเล็งเห็นถึงความต้องการสารสนเทศ
พฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศเป็นเรื่องเกี่ยวข้องและสืบเนื่องจากความต้องการ
สารสนเทศ นั่นคือ โดยการเก็บรวบรวมสารสนเทศ แต่สำหรับบุคคลที่ต้องการสารสนเทศอย่างรีบ
ด่วน และตระหนักว่าเรื่องที่ตนต้องการเป็นเรื่องสำคัญ บุคคลนั้นก็จะแสดงพฤติกรรมโดยการแสวง
หาสารสนเทศ
2. การพิจารณาถึงแหล่งสารสนเทศ
เป็นการพิจารณาถึงแหล่งสารสนเทศที่ปรากฏขึ้นในสังคมว่ามีแหล่งสารสนเทศ
แหล่งใดที่จะสามารถสนองความต้องการในเรื่องนั้นๆ ได้ดีที่สุด
3. การเลือกหนทางแสวงหาสารสนเทศ
เป็นการตัดสินใจเลือกใช้แหล่งสารสนเทศที่มีปรากฏอยู่ โดยผู้แสวงหาสารสนเทศ
จะตัดสินใจเลือกใช้แหล่งที่ตนเห็นว่าดีและประหยัดแรงงานตนเองให้มากที่สุดทั้งๆ ที่ในบางครั้ง
แหล่งสารสนเทศที่ตนเลือกใช้นั้นอาจจะไม่ใช่แหล่งที่จะให้สารสนเทศครบถ้วนตามที่ตนต้องการ
โดยทั่วๆ ไปแล้วผู้แสวงหาสารสนเทศจะใช้ข้อมูลที่ตนเองมีอยู่ก่อน ถ้าหากไม่เพียงพอจึงจะไป แสวง
หาจากบุคคลที่ตนรู้จักซึ่งอาจเป็นเพื่อนร่วมงาน เพื่อนบ้าน หรือสมาชิกในครอบครัว ต่อจากนั้นจะไป
แสวงหาสารสนเทศจากผู้ที่ทำงานในสถาบันที่เกี่ยวข้อง และจากแหล่งสารสนเทศอื่นๆ ที่ไม่ใช่บุคคล
เป็นลำดับสุดท้าย ยกตัวอย่างเช่น นักวิจัยต้องการทำวิจัยเรื่องการปรับปรุงพันธุ์ข้าว ดังนั้น นักวิจัย
ต้องค้นคว้าข้อมูลที่มีผู้อื่นทำการศึกษาค้นคว้าวิจัยมาแล้ว กระบวนการแสวงหาสารสนเทศจึงเกิดขึ้น
โดยเริ่มจากการค้นข้อมูลจากเอกสารที่ตนเองเก็บรวบรวมอยู่ก่อน ถ้าไม่เพียงพอจึงจะไป สอบถาม
เพื่อนร่วมงานในสถาบันเดียวกัน หรือสอบถามจากนักวิจัยในสถาบัน อื่นๆ ที่ทำงาน เกี่ยวข้องกัน
อาทิเช่น จากสถาบันวิจัยข้าว เป็นต้น หากสารสนเทศที่ได้รับยังไม่เพียงพอ ผู้วิจัยจึงจะไปแสวงหาสาร
สนเทศจากห้องสมุดหรือศูนย์สารสนเทศต่างๆ เป็นลำดับสุดท้าย
4.2 องค์ประกอบของการแสวงหาสารสนเทศ
ในการพิจารณาตัดสินใจเลือกหนทางแสวงหาสารสนเทศมีองค์ประกอบหลายประการที่นำ
ไปสู่การตัดสินใจเลือกใช้แหล่งสารสนเทศนั้นๆ ได้แก่ (ชัชวาลย์ วงษ์ประเสริฐ. 2537 : 101)
4.2.1 ลักษณะของแหล่งสารสนเทศและลักษณะของสารสนเทศที่ได้รับจากแหล่งนั้น ได้
แก่
1) ความสะดวกในการเข้าถึง ผู้แสวงหาสารสนเทศจะตัดสินใจเลือกใช้แหล่งสาร
สนเทศที่ตนสะดวกโดยเสียเวลาและแรงงานน้อยที่สุด ถึงแม้ว่าแหล่งนั้นจะไม่ใช่แหล่งที่ดีที่สุดที่จะ
ให้สารสนเทศก็ตาม ในกรณีนี้ผู้แสวงหาสารสนเทศจะคำนึงถึงความสะดวก เวลา และแรงงานที่เสีย
ไปมากกว่าคำนึงถึงเรื่องคุณภาพของสารสนเทศที่จะได้รับ
2) ค่าใช้จ่าย (เงิน) ผู้แสวงหาสารสนเทศบางคนจะคำนึงถึงเรื่องค่าใช้จ่ายที่ต้องเสีย
ไปมากที่สุด ทั้งนี้จะตัดสินใจใช้แหล่งสารสนเทศที่เสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด
3) คุณภาพของสารสนเทศ คุณภาพของสารสนเทศเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ
- ความทันสมัยและทันต่อเหตุการณ์
- ความถูกต้องและความน่าเชื่อถือ
- ความสมบูรณ์ครบถ้วนและครอบคลุมในเรื่องที่ต้องการ
- ความเกี่ยวข้องเฉพาะเจาะจง
- เข้าใจได้ง่าย
- เป็นเรื่องที่ใหม่และไม่ซ้ำกับสารสนเทศที่เคยได้รับมาก่อน
4.2.2 สถานการณ์แห่งความต้องการสารสนเทศ
สถานการณ์บางอย่าง เช่น สถานการณ์ที่ต้องตัดสินใจ ต้องแก้ปัญหา หรือต้องการ
ใช้อย่างรีบด่วน จะเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้ใช้เกิดการแสวงหาสารสนเทศที่ถูกต้อง มีคุณภาพอย่างรีบด่วน
จนบางครั้งอาจยอมเสียค่าใช้จ่าย เงิน เวลา และแรงงานเพื่อให้ได้สารสนเทศที่ทันต่อความต้องการ
และทันต่อการใช้งานโดยเร็วที่สุด
4.2.3 ลักษณะของผู้แสวงหาสารสนเทศ
จัดเป็นองค์ประกอบส่วนตัวของผู้แสวงหาสารสนเทศซึ่งจะมีผลกระทบต่อพฤติกรรม
สารสนเทศที่แสดงออก องค์ประกอบเหล่านั้นได้แก่
1. ประสบการณ์ บุคคลจะตัดสินใจเลือกใช้แหล่งสารสนเทศที่ตนประสบความ
สำเร็จในการได้สารสนเทศที่ต้องการในครั้งก่อนๆ มากกว่าแหล่งที่ตนไม่ได้สารสนเทศตามความ
ต้องการ
2. การศึกษา บุคคลจะเลือกใช้แหล่งสารสนเทศในสถานศึกษาที่ตนคุ้นเคยและมี
ความชำนาญในการใช้แหล่งสารสนเทศที่ตนจบการศึกษา
3. บุคลิกส่วนตัว เช่น ผู้ที่ช่างพูด ช่างคุย จะแสวงหาสารสนเทศโดยติดต่อสอบถาม
บุคคลอื่นเป็นหลัก
4.2.4 ลักษณะของงานที่ปฏิบัติ
ความรับผิดชอบในหน้าที่การงาน ปัญหาที่ประสบในระหว่างการทำงาน หรือสถาน
ภาพของบุคคลในหน่วยงาน มีผลต่อพฤติกรรมสารสนเทศของบุคคลนั้น เช่น ผู้บริหารระดับสูงจะมี
พฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศที่แตกต่างจากบุคคลในระดับรองลงมา นั่นคือ ผู้บริหารอาจใช้ให้
ผู้ใต้บังคับบัญชาหาสารสนเทศที่ตนต้องการให้ หรืออาจใช้การติดต่อกับบุคคลที่ตนรู้จักสนิทสนม
มากกว่าจะไปค้นหาสารสนเทศจากสถาบันต่างๆ ด้วยตนเอง
ในการศึกษาเกี่ยวกับการใช้สารนิเทศและความต้องการใช้สารนิเทศ พฤติกรรมการแสวงหา
สารนิเทศเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้เข้าใจผู้ใช้มากขึ้น งานวิจัยที่ศึกษาจะสอบถามเกี่ยวกับ
กระบวนการในการแสวงหาสารนิเทศว่ามีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ บุคคลต้องมีความต้องการ
สารนิเทศ ลักษณะและเนื้อหาสารนิเทศที่ต้องการ แหล่งสารนิเทศใดเป็นแหล่งที่เหมาะสม และ
สารนิเทศที่ได้รับนั้นสามารถสนองความต้องการได้เพียงใด ส่วนใหญ่การศึกษาเกี่ยวกับความต้องการ
และการแสวงหาสารนิเทศจะมีการศึกษาไปพร้อมๆ กัน เพราะความต้องการเป็นตัวกำหนดกิจกรรม
หรือพฤติกรรม ในการศึกษาจึงมักกำหนดกรอบคำถามในการวิจัยว่า “ใครแสวงหาอะไร และเพื่อ
อะไร” และมักจะศึกษาถึงความพอใจของผู้ใช้ หรือผู้แสวงหาสารนิเทศต่อแหล่งสารนิเทศและ
สารนิเทศที่ได้รับ
ดังนั้นช่วงระยะหลังประมาณ ปี พ.ศ. 2528 เป็นต้นมา งานวิจัยทางบรรณารักษศาสตร์และ
สารนิเทศศาสตร์จึงให้ความสนใจที่จะศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมการแสวงหาสารนิเทศมากขึ้น เช่น
ศึกษาพฤติกรรมของคนไข้ในการแสวงหาสารนิเทศเพื่อรับบริการด้านทันตสุขภาพและทันตสุขศึกษา
จากทันตแพทย์ในเขตกรุงเทพฯ หรือพฤติกรรมการแสวงหาสารนิเทศในกระบวนการค้นคว้าเพื่อ
การเขียนรายงานของนักศึกษาปริญญาตรี สหวิทยาลัยทักษิณ เป็นต้น
นอกจากการศึกษาในเรื่องพฤติกรรมการแสวงหาสารนิเทศและการวิจัยที่ผ่านมายังให้
ความสนใจที่จะศึกษาถึงพฤติกรรมของผู้ใช้ห้องสมุดของนักศึกษาและอาจารย์มหาวิทยาลัย ซึ่งจาก
งานวิจัยถึงพฤติกรรมการใช้ห้องสมุดของนักศึกษาส่วนใหญ่ผลปรากฎว่า โดยเฉลี่ยนักศึกษาเข้าใช้
ห้องสมุดมากกว่าสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง เวลาที่นิยมเข้าใช้ได้แก่เวลาว่างระหว่างชั่วโมงเรียน เวลาพัก ผล
การศึกษาค่อนข้างที่จะนำมาใช้ประโยชน์ได้น้อย ที่จะนำผลการวิจัยมาใช้ในการวางแผนงานห้องสมุด
เพราะผู้ให้บริการไม่สามารถจะทราบได้เลยว่าเข้าใช้ห้องสมุดมากกว่าสัปดาห์ละครั้งนั้น หรือเข้าใช้
เวลาว่างระหว่างชั่วโมงเรียนนั้น จะเข้าใช้เมื่อไรหรือวันไหนดังนั้นจากการศึกษาการใช้ผลงานวิจัย
ทางบรรณารักษศาสตร์จึงพบว่ามีการนำผลงานวิจัยไปใช้น้อยมาก
ในการศึกษาการใช้และความต้องการใช้สารนิเทศและบริการสารนิเทศนั้นยังมีอีกหลาย
ประเด็นที่ไม่ได้กล่าวถึง เนื่องจากมีข้อจำกัดในเรื่องเวลาและหน้ากระดาษ แต่อยากจะชี้ให้เห็นว่า
การศึกษาผู้ใช้เป็นเรื่องสำคัญมากที่จะทำให้การดำเนินงานห้องสมุดประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว
ดังสำนวนจีนที่ว่า “รู้เขารู้เรารบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง” ผู้เขียนต้องการเสนอแนวทางในการศึกษาผู้ใช้
ว่าควรสอบถามผู้ใช้ในเรื่องต่อไปนี้คือ
1. ภูมิหลังของผู้ใช้ ที่ต้องการจะศึกษา เพื่อพิจารณาว่าตัวแปรทางด้านสถานภาพของกลุ่ม
ตัวอย่างที่จะศึกษานั้นมีผลต่อการใช้ ความต้องการ หรือพฤติกรรมการใช้หรือไม่อย่างไร
2. วัตถุประสงค์ในการใช้สารนิเทศ เพื่อทราบเป้าหมายของการใช้และลักษณะของการใช้
งานวิจัยส่วนใหญ่จะกำหนดวัตถุประสงค์ไว้เช่น เพื่อประกอบอาชีพ การเรียนการสอน การผลิตผล
งานทางวิชาการ การบริหารทางวิชาการ และการวิจัย เป็นต้น
3. ความต้องการใช้สารนิเทศ เพื่อทราบความต้องการใช้สารนิเทศของผู้ใช้ในเรื่องต่างๆ รวม
ทั้งประเภทของทรัพยากร ภาษา ฯลฯ
4. พฤติกรรมการใช้สารนิเทศ เพื่อทราบลักษณะของพฤติกรรมของผู้ใช้ในแต่ละกลุ่ม
5. แหล่งสารนิเทศที่ใช้ เพื่อทราบลักษณะของแหล่งที่ผู้ใช้นิยมใช้มากที่สุด
6. ลักษณะเนื้อหาของสารนิเทศ เพื่อทราบเนื้อหาของสารนิเทศที่ต้องการ
7. ความพึงพอใจในการใช้สารนิเทศ เป็นการประเมินความสำเร็จและความล้มเหลวในการใช้
สารนิเทศและแหล่งสารนิเทศ
การศึกษาผู้ใช้และความต้องการใช้สารนิเทศจำเป็นต้องศึกษาอย่างต่อเนื่อง เพราะมนุษย์มี
ความเปลี่ยนแปลงในเรื่องความต้องการอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะความก้าวหน้าและการพัฒนาทำให้
สังคมโลกมีความเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกเมื่อ ความต้องการของผู้ใช้จึงเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ผู้ให้
บริการสารนิเทศอาจจะออกแบบสอบถามไว้สอบถามผู้ใช้ในทุกๆ ปีอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำผลการวิจัยที่
ศึกษาในหลายๆ ปีนั้นมาสรุปซึ่งอาจจะได้คุณลักษณะของผู้ใช้ห้องสมุดที่มีลักษณะเฉพาะก็เป็นได้
(ชัชวาลย์ วงษ์ประเสริฐ. 2541 : 57-58)
โดยสรุปจากงานวิจัยจำนวนมากที่ศึกษาถึงพฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศทำให้ได้
ข้อสรุปรวมที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศ ดังนี้
1. บุคคลมีแนวโน้มที่จะแสวงหาสารสนเทศจากแหล่งที่เข้าถึงได้ง่ายและสะดวกที่สุด
2. บุคคลมีแนวโน้มที่จะปฏิบัติตามนิสัยที่ทำเป็นประจำเมื่อแสวงหาสารสนเทศ
3. ทั้งผู้ใช้และผู้ไม่ใช้สารสนเทศมักไม่ค่อยตระหนักถึงแหล่งสารสนเทศและวิธีใช้
แหล่ง
4. การสื่อสารตัวต่อตัวจัดเป็นช่องทางการแสวงหาสารสนเทศที่สำคัญ
5. บุคคลต่างกลุ่มจะมีพฤติกรรมแสวงหาสารสนเทศที่ต่างกัน
4.3 กระบวนการเปลี่ยนพฤติกรรมเมื่อได้รับสารสนเทศ
การทราบถึงกระบวนการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาการของพฤติกรรมเมื่อได้รับสารสนเทศ
จะทำให้สถาบันบริการสารสนเทศสามารถเข้าใจถึงผู้ใช้ และสามารถจัดกิจกรรมหรือบริการต่างๆ ให้
สอดคล้องกับพฤติกรรมและความต้องการของผู้ใช้โดยส่วนรวมได้ โดยทั่วๆ ไป กระบวนการเปลี่ยน
พฤติกรรมเมื่อได้รับสารสนเทศจะมีลำดับดังนี้
1. การให้ข่าวสาร เป็นการเผยแพร่ความรู้ ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่ผ่านการวิเคราะห์แล้วว่า
ตรงกับความต้องการ และอยู่ในความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย
2. รับทราบ เป็นสภาวะการณ์ที่กลุ่มเป้าหมายได้รับทราบว่า มีข้อมูลข่าวสารอะไรบ้างที่
เผยแพร่อยู่ในระบบ
3. เกิดความสนใจ จากข้อมูลข่าวสารที่เผยแพร่เป็นจำนวนมาก ผู้รับข่าวจะเลือกเฉพาะที่
ตนสนใจและที่ต้องการในขณะนั้น เพื่อนำมาเป็นแนวทางเปรียบเทียบประกอบการใช้และ ตัดสินใจ
4. การตัดสินใจ เป็นผลที่เกิดจากการเปรียบเทียบข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่ได้รับมาแล้วเกิด
การตัดสินใจเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อนำมาใช้งานต่อไป
5. เปลี่ยนเจตคติ เมื่อตัดสินใจแล้วก็ถือได้ว่าบุคคลนั้นได้เปลี่ยนเจตคติแล้วเพื่อที่จะดำเนิน
การตามที่ตัดสินใจ
6. เปลี่ยนพฤติกรรม เป็นการดำเนินงานหรือปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ตามที่ได้ตัดสินใจไป
แล้ว ซึ่งเป็นเป้าหมายสุดท้ายของการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร
4.4 การใช้และการประเมินสารสนเทศ
เป็นกิจกรรมขั้นสุดท้ายที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมสารสนเทศ การใช้สารสนเทศจึงเป็นผลสืบ
เนื่องจากการที่บุคคลมีความต้องการและแสวงหาสารสนเทศเพื่อนำคำตอบไปลดความสงสัย ความ
อยากรู้ แก้ปัญหาหรือใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจดำเนินงาน ดังนั้นการนำสารสนเทศไปใช้
ประโยชน์จึงมีหลายระดับตั้งแต่การเกิดขึ้นทันทีทันใดหลังจากที่ได้รับสารสนเทศนั้น (ในกรณีของ
การแสวงหาสารสนเทศ) ไปจนถึงการใช้ในอนาคต การใช้สารสนเทศเป็นไปตามวัตถุประสงค์ต่างๆ
ดังนี้ (ชัชวาลย์ วงษ์ประเสริฐ. 2537 :101-105)
4.4.1 การใช้เพื่อสนองความต้องการส่วนบุคคล เช่น
- แก้ปัญหาชีวิตประจำวันในเรื่อง โภชนาการ การเดินทาง การเงิน ความปลอดภัย
ฯลฯ
- เพื่อความอยู่รอดในภาวะวิกฤต เช่น เวลาป่วย ตกงาน หย่าร้าง ติดยาเสพติด ฯลฯ
- เพื่อรับข่าวสาร เหตุการณ์ปัจจุบัน
- เพื่อความบันเทิงและสันทนาการ
4.4.2 การใช้เพื่อการศึกษาและการเรียนรู้
การศึกษาค้นคว้าเป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตของบุคคล ซึ่งเป็นแรง
กระตุ้นให้บุคคลเกิดความต้องการและแสวงหาสารสนเทศ เพื่อตอบปัญหาหรือเรื่องที่ตนสงสัย เพราะ
ฉะนั้นสารสนเทศที่ได้รับจึงช่วยเพิ่มพูนสติปัญญาและความรอบรู้ของบุคคลนั้นให้ลึกซึ้งและกว้าง
ไกลขึ้น
4.4.3 การใช้เพื่อการประกอบอาชีพและปฏิบัติงาน
ไม่ว่าบุคคลจะประกอบอาชีพใดๆ บุคคลย่อมมีความต้องการและแสวงหาสารสนเทศเพื่อ
ช่วยเสริมการปฏิบัติงานให้บรรลุตามเป้าหมาย
4.4.4 การใช้เพื่อการถ่ายทอดสารสนเทศไปยังบุคคลอื่น
เป็นการกระจายหรือถ่ายทอดสารสนเทศที่เก็บรวบรวมและแสวงหาออกไปในวงกว้าง
เช่น นักเขียน ครู นักเอกสารสนเทศ จะติดตามเรื่องราวต่างๆ เพื่อเป็นตัวกลางในการถ่ายทอดสาร
สนเทศ
4.4.5 การใช้เพื่อวัตถุประสงค์นานาชาติ เช่น
- การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม
- การแลกเปลี่ยนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- การค้า เศรษฐกิจ และการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างๆ
เมื่อผู้แสวงหาได้สารสนเทศตามความต้องการแล้ว ผู้แสวงหาจะมีการประเมินสารสนเทศดูว่า
สารสนเทศที่ได้รับสามารถลดสภาพการณ์ความต้องการสารสนเทศของตนเองลงหรือไม่ ถ้า
ผู้แสวงหาสามารถใช้สารสนเทศนั้นได้ วงจรของการแสวงหาสารสนเทศก็จะจบลง แต่ถ้าสารสนเทศ
ที่ได้รับไม่สามารถตอบสนองความต้องการผู้แสวงหาอาจต้องปรับปรุงปัญหาหรือคำถามใหม่ และ
อาจต้องเลือกช่องทางการแสวงหาสารสนเทศที่เหมาะสมใหม่อีกต่อไป
5. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
5.1 งานวิจัยในประเทศที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
งานวิจัยเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้น ได้มีการทำวิจัยเกี่ยวกับการศึกษาผลของการใช้
CAI ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติของผู้เรียนดังนี้
กฤษณา สมะวรรธนะ (2538 : 97) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์
ช่วยสอน วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพของ
บทเรียนที่พัฒนาขึ้นมีค่า 93.09/94.06 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ
92.31 ความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ทดสอบหลัง
การเรียนผ่านไปแล้ว 10 วัน ไม่แตกต่างจากการทดสอบทันทีเมื่อการเรียนสิ้นสุดลง
เนาวรัตน์ เปรมปรีด์ (2541 : บทคัดย่อ) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์
ช่วยสอนวิชากลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตเรื่อง “จังหวัดของเรา” สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 3 ผลการวิจัยพบว่า บทเรียนช่วยให้นักเรียนได้คะแนนจากการทำแบบฝึกหัดระหว่างเรียนเฉลี่ย
ร้อยละ 82.27 และช่วยให้นักเรียนร้อยละ 90 ได้คะแนนไม่ต่ำกว่า 22 คะแนน จากคะแนนเต็ม 40
คะแนน นอกจากนี้ยังพบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในบทเรียนและต้องการบทเรียน
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนในเนื้อหาวิชาอื่นๆ ด้วย
สุรพร พงษ์สุวรรณ (2542 : 94) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การสร้างโปรแกรมมัลติมีเดีย เรื่อง
การผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสำหรับครูประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ
การประถมศึกษาแห่งชาติ พบว่าบทเรียนที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพทำให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้
เฉลี่ย ร้อยละ 80.33 และสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียน หลังเรียนด้วยโปรแกรม
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย เฉลี่ยร้อยละ 82.50
ช่อบุญ จิรานุภาพ (2542 : 54) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย
เรื่อง การให้บริการสารสนเทศห้องสมุด สำหรับนิสิตปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 พบว่า คะแนนเฉลี่ยของ
ผู้เรียนที่ได้จากการทำแบบทดสอบระหว่างเรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียและคะแนนเฉลี่ยของ
ผู้เรียนที่ได้จากการทำแบบทดสอบหลังเรียนมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 90.25/91.60
โดยกำหนดเกณฑ์ไว้ที่ 90/90
ชนันทร์ เขตตลาด (2542 : บทคัดย่อ) ศึกษาวิจัยเรื่อง การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียนวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยใช้บทเรียน
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนกับการเรียนแบบปกติ พบว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีประสิทธิภาพเท่า
กับ 82.65/81.43 และนักเรียนที่เรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
และมีพัฒนาการทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่เรียนแบบปกติ
สุวิทย์ ฉุยฉาย (2543 : บทคัดย่อ) ศึกษาวิจัยเรื่อง การสร้างและหาประสิทธิภาพของบทเรียน
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบมัลติมีเดีย เรื่อง หม้อแปลงไฟฟ้าสามเฟส หลักสูตรอนุปริญญาวิทยาศาสตร์
สถาบันราชภัฏ พบว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สร้างขึ้น มีประสิทธิภาพ 84.70/81.03 ซึ่งสูง
กว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในสมมุติฐานและผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทเรียนอยู่ในระดับดี
แสดงให้เห็นว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สร้างขึ้นสามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้
จะเห็นได้ว่า การนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนการสอน ในลักษณะคอมพิวเตอร์ช่วย
สอนนั้นมีคุณค่าและก่อนให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนอย่างมาก ในด้านการเรียนรู้ ทำให้ผู้เรียนเกิดการ
เรียนรู้ได้เร็วขึ้น ในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูง และใน
ด้านเจตคติทำให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์
5.2 งานวิจัยในประเทศที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศ
พยอม ยุวะสุต (2541 : 23-24) ศึกษาการใช้ห้องสมุดและสารสนเทศของนักเรียนในระดับ
มัธยมศึกษาตอนปลายในอำเภอเมือง เขตการศึกษา 5 ไว้รวบรวมผลงานการวิจัยมีข้อนำเสนอคือ
1. จากการสอบถามความต้องการใช้ข้อสนเทศไปใช้เพื่อการสอน การวิจัย การพัฒนา/
ประดิษฐ์ การเขียนตำรา/บทความทางวิชาการ ปรากฏว่าผู้ตอบระบุว่าต้องการใช้ข้อสนเทศเพื่อ
การสอน เพื่อการเขียนตำรา/บทความทางวิชาการ และการวิจัยตามลำดับ มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่
ต้องการใช้ข้อสนเทศเพื่อพัฒนา/ประดิษฐ์ ปรากฏว่าอาจารย์ทุกคณะต้องการข้อสนเทศเพื่อการสอบ
เท่านั้น
2. คณาจารย์ภาควิชาใดก็ตาม มีความต้องการและใช้ข้อสนเทศสาขาย่อยภายในภาควิชาที่
สังกัดนั้น เพื่อวัตถุประสงค์ในการสอนและการทำงานวิชาการ
3. คณาจารย์ต้องการใช้หนังสือตำรามากกว่าวารสารวิชาการเพื่อการสอน การพัฒนา/
ประดิษฐ์ และการเขียนตำรา/บทความวิชาการ แต่ต้องการใช้วารสารวิชาการมากกว่าหนังสือ ใน
วัตถุประสงค์ด้านวิจัยความต้องการใช้ข้อสนเทศภาษาต่างๆ พบว่าคณาจารย์ต้องการใช้ข้อสนเทศ
ภาษาไทยมากกว่าภาษาอังกฤษ ในวัตถุประสงค์ด้านการสอน และการเขียนตำรา/บทความวิชาการ แต่
ต้องการใช้ข้อสนเทศภาษาอังกฤษมากกว่าภาษาไทย เพื่อการวิจัยและการพัฒนา/วิชาการ/ประดิษฐ์
4. เกี่ยวกับการใช้แหล่งข้อสนเทศนั้นพบว่า มีความแตกต่างระหว่างความพอใจในการใช้
แหล่งข้อสนเทศของคณาจารย์ จำแนกตามคณะที่สังกัด กล่าวคือคณาจารย์ที่สังกัดคณะวิศวกรรม
ศาสตร์ และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ พอใจในการใช้ห้องสมุดคณะที่สังกัดระดับมาก ในขณะที่
คณาจารย์คณะเทคโนโลยีการเกษตร คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ มีความพอใจใน
การใช้ห้องสมุดคณะที่สังกัดค่อนข้างน้อย
อุทัย วรรณกุล (2529 : 37 – 38) ศึกษาความต้องการสารนิเทศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี
ที่ 5 จังหวัดแพร่ จำนวน 3,000 คน โดยแบ่งตามสถานที่ เพศ แผนการเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรียน พบว่า นักเรียนที่มีแผนการเรียนต่างกัน คือ แผนการเรียน วิทย์ – คณิต แผนการเรียน 2 ศิลป์
ภาษา และแผนการเรียน 3 วิชาชีพ มีความต้องการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนนักเรียน
ที่อยู่ในอำเภอเมืองแพร่กับนักเรียนที่อยู่นอกอำเภอเมืองแพร่ นักเรียนชายกับนักเรียนหญิงและนัก
เรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่างกัน คือระดับคะแนนสูง กลาง และต่ำ มีความต้องการสารนิเทศ
ไม่ต่างกัน ปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการได้รับสารนิเทศ
1. การไม่มีเวลาว่าง เพราะต้องร่วมกิจกรรม
2. การไม่ได้รับคำแนะนำที่ถูกต้อง
3. การมีสารนิเทศที่ตรงกับความต้องการน้อย
4. แหล่งสารนิเทศไม่ดี ค้นหายาก
5. ไม่แน่ใจว่าสารนิเทศมีความถูกต้อง
ส่วนประเภทของสารนิเทศที่นักเรียนต้องการ ได้แก่
1. ข่าวเหตุการณ์บ้านเมือง
2. การท่องเที่ยว
3. กีฬา
4. แฟชั่น
5. ความรู้ด้านอาชีพ การศึกษาต่อ
รูปแบบของการได้สารนิเทศที่นักเรียนต้องการนั้น ได้แก่
1. ฟังจากวิทยุและโทรทัศน์
2. ดูจากภาพยนตร์หรือวิดีทัศน์
3. การสนทนา ซักถามกับบุคคลที่มีความรู้
4. การอ่าน
จากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศในประเทศ ส่วนใหญ่จะศึกษากับนักเรียนในระดับ
มัธยมปลายขึ้นไป โดยได้รับสารสนเทจากแหล่งต่างๆ เช่น ห้องสมุด ฟังวิทยุ โทรทัศน์ การอ่าน
เป็นต้น ซึ่งสารสนเทศที่ได้รับนำไปใช้ในการเรียนการสอน สารสนเทศที่ต้องการมากคือ หนังสือ
ตำรา และต้องการรู้ข่าวสารเหตุการณ์บ้านเมือง
5.3 งานวิจัยในต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
เซงเอนโด (Sengendo. 1988 : 1435-A) ได้ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเมื่อมีการใช้
คอมพิวเตอร์ในการเรียนร่วมกัน ความคงทนของความรู้และเจตคติของนักเรียนอเมริกันอินเดียนที่มี
ต่อการเรียน กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาเป็นนักศึกษา จำนวน 38 คน แยกเป็น 2 กลุ่มโดยการสุ่ม กลุ่ม
หนึ่งเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นรายบุคคล ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งใช้บทเรียน
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรียนร่วมกัน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มที่ใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรียนเป็น
รายบุคคลมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนของความรู้ดีกว่ากลุ่มที่ใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์
ช่วยสอนเรียนร่วมกัน ในด้านปฏิสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความคงทนของความรู้และ
เจตคติของแต่ละบุคคล เจตคติต่อโรงเรียนไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้ง 2 กลุ่ม
การเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นรายบุคคลได้ผลดีสำหรับเพศหญิง ส่วนบทเรียน
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนร่วมกันให้ผลดีสำหรับเพศชาย
ฟรีดแมน (Friedman. 1974 : 799 – A) ศึกษาการนำบทเรียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เขียน
ด้วยภาษาอาร์พีจี (RPG) มาใช้กับนักเรียนระดับมัธยมปลายในโรงเรียนมัธยมที่นิวยอร์ค โดยสร้างบท
เรียนจากวัตถุประสงค์ เนื้อหา และความต้องการของผู้เรียน ผลปรากฏว่าในระยะแรกผู้เรียนมีปัญหา
ด้านความเข้าใจในบทเรียน แต่ต่อมาก็เข้าใจได้ดีและรวดเร็วยิ่งขึ้นในตอนท้าย ไม่มีผู้เรียนคนใดบอก
ว่า บทเรียนนี้ยากเลย นอกจากนี้โปรแกรมช่วยสอนยังช่วยประหยัดเวลาเรียนได้ 3 – 4 สัปดาห์จาก
ที่เคยใช้เวลาประมาณ 8 สัปดาห์ เมื่อสอนโดยการสอนแบบบอกให้รู้หรือการบรรยาย มาใช้เวลาเพียง
3 – 4 สัปดาห์เท่านั้น
รูเบน (Rubens. 1986 : 2133) ได้วิจัยเกี่ยวกับประสิทธิผลของสื่อ ขนาดของกรอบสอน และ
แบบของการตอบสนองที่มีต่อการเรียนรู้ โดยใช้บทเรียนโปรแกรมและคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ในวิชา
การเขียนโปรแกรมภาษาเบสิก กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยจำนวน 40 คน เรียนจาก
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบการสอน และอีก 40 คน เรียนจากบทเรียนโปรแกรมแบบ ทบทวน
ผลจากการวิเคราะห์การทดสอบภายหลังการสอน พบว่า นักศึกษาที่เรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์
ช่วยสอนแบบการสอน มีผลทดสอบภายหลังการสอนสูงกว่า และใช้เวลาในการเรียนมากกว่า กลุ่ม
นักศึกษาที่ใช้บทเรียนโปรแกรม อย่างไรก็ดีเวลาที่ใช้มากกว่านั้น เป็นผลมาจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างสื่อ
และขนาดของกรอบสอนเท่านั้น
จากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในต่างประเทศส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยด้าน
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ให้เหมาะสมกับการศึกษาในระดับต่างๆ หรือหาประสิทธิ
ภาพบทเรียนเพื่อใช้ในการเรียนการสอน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จากการเรียนโดยใช้บทเรียน
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีขึ้น และประหยัดเวลาในการเรียนมากขึ้น
5.4 งานวิจัยในต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศ
แบลคกี และสมิธ (Blackie and Smith. 1981 : 16 – 23) ศึกษาเกี่ยวกับ ความต้องการและ
การใช้สารนิเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรี และโปลีเทคนิค พบว่า นักศึกษาต้องการข้อสนเทศ
เพื่อสัมมนาและเพื่อการอ่านในเรื่องเกี่ยวกับรายวิชาต่างๆ ที่อาจารย์ผู้สอนกำหนด ส่วนแหล่งสาร
สนเทศที่นักศึกษานิยมใช้ คือ ห้องสมุดภายในมหาวิทยาลัย ทรัพยากรของภาควิชา ห้องสมุดอื่นๆ ภาย
นอกมหาวิทยาลัย และใช้แหล่งสารสนเทศตัวบุคคล ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่สูงกว่า เป็นต้น
เอลเลียต (Elliot. 1977 : 2391 A) ได้ศึกษาเรื่อง การใช้ห้องสมุดของนักศึกษาระดับปริญญา
ตรีในมหาวิทยาลัยบอบโจนส์ พบว่า นักศึกษาเข้าใช้ห้องสมุดโดยเฉลี่ยมากกว่าสัปดาห์ละครั้ง โดยมัก
ใช้เอกสารส่วนตัว เท่าๆ กับเข้าใช้ห้องสมุด นักศึกษาเหล่านี้ได้ผ่านการเรียนวิชาการใช้ห้องสมุดมา
บ้างแล้ว แต่ก็ยังต้องการเรียนรู้การใช้ห้องสมุดอย่างละเอียดจากบรรณารักษ์เพิ่มเติม นอกจากนั้นผล
การวิจัยพบว่า นักศึกษามีแนวโน้มที่จะใช้ห้องสมุดมากขึ้น โดยสัมพันธ์กับงานที่อาจารย์มอบหมาย
ให้ทำ นักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีสูงๆ มักจะได้รับมอบหมายงานที่ต้องค้นคว้าจากห้องสมุดน้อยกว่านัก
ศึกษาปริญญาตรีในชั้นปีต้นๆ ดังนั้น นักศึกษาชั้นปีสูงๆ จึงใช้ห้องสมุดน้อยกว่า
จะเห็นได้ว่า การแสวงหาสารสนเทศจากการวิจัยในต่างประเทศส่วนมากต้องการใช้
สารสนเทศจากแหล่งใกล้ตัว เช่น ห้องสมุด การสอบถามจากบุคคลใกล้ตัว เพื่อแสวงหาสารสนเทศที่
ต้องการ ซึ่งการใช้สารสนเทศส่วนใหญ่เพื่อการประกอบการศึกษามากกว่าประโยชน์ในทางอื่น
จากผลการวิจัยในประเทศและต่างประเทศ สรุปได้ว่า การสร้างและการหาประสิทธิภาพ
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้น เพื่อประโยชน์ในการนำไปใช้เป็นสื่อในการเรียนการสอน สามารถ
ถ่ายทอดเนื้อหาวิชาต่างๆ ของบทเรียน และช่วยเสริมการเรียนการสอนในรูปแบบต่างๆ ได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ ช่วยให้ผู้เรียนเกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น เนื่องจากในการสร้างบทเรียน
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ได้มีขั้นตอนการสร้างอย่างเป็นระบบ และมีการใช้ทฤษฎีในการเรียนรู้ เพื่อ
ความเหมาะสมกับเนื้อหาวิชาและผู้เรียนตามลำดับขั้น คือ เสนอสิ่งเร้าให้ผู้เรียน ประเมินการตอบ
สนองของผู้เรียน ให้ข้อมูลย้อนกลับและเสริมแรงแก่ผู้เรียน
การใช้สารสนเทศจำเป็นอย่างยิ่งต่อการศึกษาค้นคว้าแสวงหาความรู้เพื่อให้ทันต่อเปลี่ยน
แปลงไปในสังคมโลกยุคโลกาภิวัตน์ สารสนเทศเป็นสิ่งที่มีบทบาทสำคัญต่อมนุษย์ ทุกคนสามารถนำ
สารสนเทศมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งในรูปแบบของการทำงาน ในรูปของการเรียนการสอน และการ
แก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวัน ล้วนต้องอาศัยสารสนเทศทั้งสิ้น
บทที่ 3
การดำเนินการศึกษาค้นคว้า
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) เพื่อพัฒนาบทเรียน
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง วิธีการแสวงหาสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เมื่อผู้วิจัย
ได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้ว จึงได้ดำเนินการวิจัยตามขั้นตอนดังนี้
1. ประชากร
2. การวิเคราะห์เนื้อหา
3. การศึกษาวิธีการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
4. การสร้างเครื่องมือในการวิจัย
5. การดำเนินการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูล
6. การวิเคราะห์ข้อมูล
ประชากร
ประชากรในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวาสุเทวี ในภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2546 จำนวน 120 คน
การวิเคราะห์เนื้อหา
ผู้วิจัยศึกษาและวิเคราะห์เนื้อหาเรื่อง วิธีการแสวงหาสารสนเทศ จากหลักสูตรสถานศึกษา
พุทธศักราช 2544 และได้ศึกษาเนื้อหาจากตำรา รวมถึงผู้สอนและอาจารย์ที่ปรึกษา เมื่อได้รวบรวม
ข้อมูลแล้วก็ได้แบ่งเป็นหน่วยการเรียนที่ใช้ในการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็น 4 ตอน
ดังนี้
ตอนที่ 1 เรื่อง ความหมายและความสำคัญของสารสนเทศ
ตอนที่ 2 เรื่อง ประเภทและลักษณะของสารสนเทศ
ตอนที่ 3 เรื่อง แหล่งสารสนเทศ
ตอนที่ 4 เรื่อง เครื่องมือช่วยค้นสารสนเทศ
การศึกษาวิธีการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1. ศึกษาหลักการและวิธีการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เช่น วิธีการนำเสนอประเภท
รูปแบบ และส่วนอื่นๆ จากเอกสาร ตำรา งานวิจัยและสิ่งพิมพ์อื่น ๆ และคำแนะนำจากอาจารย์ที่ปรึกษา
2. ศึกษาเครื่องมือสำหรับสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ซึ่งเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับ
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สร้างขึ้น ได้แก่ Macromedia Authorware 6.0 , Photo Shop 5.5 เป็นต้น
โดยผู้วิจัยได้เลือกโปรแกรม Macromedia Authorware 6.0 เป็นโปรแกรมหลักสำหรับใช้ในการสร้าง
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน รวมทั้งอุปกรณ์อื่น ๆ ที่สนับสนุนในการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์
ช่วยสอน
การสร้างเครื่องมือในการวิจัย
การสร้างเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในการวิจัยบทเรียนคอมพิวเตอร์เรื่อง วิธีการแสวงหาสารสนเทศ
ผู้วิจัยได้แบ่งการสร้างเครื่องมือออกเป็น 4 ส่วน คือ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน แบบทดสอบวัดผล
สัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินคุณภาพสื่อการสอนจากผู้เชี่ยวชาญ และแบบสอบถามความคิดเห็น
ของผู้เรียน โดยมีรายละเอียดในการสร้าง ดังนี้
1. สร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง วิธีการแสวงหาสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 4 ผู้วิจัยได้ดำเนินการสร้างบทเรียนตามลำดับดังนี้
1.1 รวบรวมข้อมูลที่ได้จากการศึกษา การวิเคราะห์เนื้อหาและวัตถุประสงค์ เรื่อง วิธีการ
แสวงหาสารสนเทศ มากำหนดเป็นโครงสร้างและแนวทางการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1.2 ออกแบบผังงาน และเขียนบทดำเนินเรื่องของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยศึกษา
จากเอกสารและการจัดลำดับความสำคัญของเนื้อหา การจัดกิจกรรมระหว่างบทเรียนและแบบทดสอบ
การเขียนบทดำเนินเรื่องที่ประกอบด้วยเนื้อหาที่แบ่งเป็นกรอบ ๆ ตามวัตถุประสงค์ และรูปแบบการ
นำเสนอโดยร่างเป็นกรอบย่อย แล้วนำไปให้อาจารย์ที่ปรึกษาตรวจสอบเพื่อหาข้อบกพร่องและนำมา
แก้ไขปรับปรุงตามข้อแนะนำ
รวมรวมข้อมูล
ออกแบบผังงานและบทดำเนินเรื่อง
อาจารย์ที่ปรึกษา
ตรวจสอบ
สร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
อาจารย์ที่ปรึกษา
ตรวจสอบ
ทดลองใช้กับนักศึกษากลุ่มย่อย
ผลการทดลอง
ผู้เชี่ยวชาญประเมินคุณภาพ
ผลการประเมิน
ได้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
ที่จะไปหาประสิทธิภาพ
ผ่าน
แก้ไขปรับปรุง
ปรับปรุง/แก้ไข
ไม่ผ่าน
ผ่าน
ไม่ผ่าน
แก้ไขปรับปรุง
แก้ไขปรับปรุง
ไม่ผ่าน
ไม่ผ่าน
ผ่าน
ผ่าน
ภาพประกอบที่ 4 โครงสร้างขั้นตอนการพัฒนาบทเรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
ที่มา : สุวิทย์ ฉุยฉาย. 2543 : 37
บทนำ
เมนูหลัก
ตอนที่ 1 ตอนที่ 3 ตอนที่ 4 ออกจากบทเรียน
ตอนที่ 2 แบบทดสอบ
ภาพประกอบที่ 5 โครงสร้างของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง วิธีการแสวงหาสารสนเทศ
ที่มา : สุวิทย์ ฉุยฉาย. 2543 : 38
1. บทนำหรือหัวเรื่องของบทเรียน จะเป็นส่วนบอกกล่าวหรือแนะนำบทเรียนคอมพิวเตอร์
ช่วยสอน ประกอบด้วย ชื่อเรื่องหลักของบทเรียน
2. เมนูหลัก เป็นส่วนแสดงรายการเรื่องหลักของบทเรียน
จากรายการเรื่องหลักของบทเรียน จะแบ่งบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็น 4 ตอน คือ
ตอนที่ 1 เรื่อง ความหมายและความสำคัญของสารสนเทศ ตอนที่ 2 เรื่อง ประเภทและลักษณะของ
สารสนเทศ ตอนที่ 3 เรื่อง แหล่งสารสนเทศ ตอนที่ 4 เรื่อง เครื่องมือช่วยค้นสารสนเทศ ซึ่งแต่ละตอน
จะประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้
1. ชื่อเรื่องของบทเรียน เป็นส่วนที่แสดงชื่อเรื่องของเนื้อหาแต่ละส่วนของบทเรียน
2. เนื้อหาและแบบทดสอบ เนื่องจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นบทเรียนที่ต้องเรียน
ด้วยตนเอง ดังนั้นในเนื้อหาแต่ละส่วนของบทเรียน จะประกอบด้วย เนื้อหา คำถาม เพื่อให้ผู้เรียนติด
ตามเนื้อหาอยู่เสมอ
3. บทสรุป เป็นส่วนสรุปเนื้อหาบทเรียนที่ผ่านมาในเนื้อหาแต่ละส่วนของบทเรียน
4. การประเมินผลหลังบทเรียน หลังจากที่ผู้เรียนได้เรียนเนื้อหาในแต่ละส่วนของบทเรียนแล้ว
ก็จะให้ทำแบบทดสอบเพื่อตรวจสอบว่าผู้เรียนบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่เพียงใด ซึ่งมี
ทั้งหมด 45 ข้อ
1.3 สร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยนำบทดำเนินเรื่องที่ได้รับการตรวจปรับแล้ว
สร้างบทเรียน ได้บทเรียนแบ่งออกเป็น 4 ตอน คือ ตอนที่ 1 เรื่อง ความหมายและความสำคัญของ
สารสนเทศ ตอนที่ 2 เรื่อง ประเภทและลักษณะของสารสนเทศ ตอนที่ 3 เรื่อง แหล่งสารสนเทศ ตอน
ที่ 4 เรื่อง เครื่องมือช่วยค้นสารสนเทศ ในส่วนนี้จะรวมถึงการบันทึกเสียง และส่วนอื่นๆ ซึ่งลักษณะ
การดำเนินเนื้อหาจะเป็นไปตามลำดับ โดยการนำเสนอเนื้อหาและมีคำถามประกอบ ลำดับการนำเสนอ
เนื้อหาไม่มีการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าผู้เรียนจะตอบคำถามถูกต้องหรือไม่และบทเรียนที่สร้างขึ้นอยู่ใน
ประเภทการสอน
1.4 นำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้อาจารย์ที่ปรึกษาตรวจ
สอบความถูกต้อง และความเหมาะสมส่วนอื่นๆ เพื่อนำมาแก้ไขปรับปรุงให้ถูกต้องและเหมาะสม
1.5 นำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ได้แก้ไขปรับปรุงแล้ว ซึ่งประกอบด้วย 4 ตอน ใน
แต่ละตอนจะมีแบบทดสอบย่อย ยกเว้นในตอนที่ 3 ที่ไม่มีแบบทดสอบย่อยหลังเรียนรวมอยู่ด้วย ดังนี้
ตอนที่ 1 มีแบบทดสอบจำนวน 3 ข้อ ตอนที่ 2 มีแบบทดสอบจำนวน 11 ข้อ และตอนที่ 4 มีแบบ
ทดสอบจำนวน 3 ข้อ รวม 17 ข้อ ไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวาสุเทวี
จำนวน 6 คน โดยเลือกจากนักเรียนกลุ่มเก่ง กลุ่มปานกลาง และกลุ่มอ่อน กลุ่มละ 2 คน โดยดูจากผล
การเรียนที่ผ่านมาแล้ว และให้นักเรียนดังกล่าวทดลองใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เพื่อเป็นการ
ตรวจสอบความเหมาะสมของบทเรียน ความชัดเจนของเนื้อหา ความชัดเจนของข้อคำถามและตัวเลือก
ความชัดเจนของภาพ เสียง ระยะเวลา คำสั่งต่างๆ ในบทเรียน ความสะดวกในการใช้บทเรียนและส่วน
อื่นๆ ของบทเรียนทั้งหมด ผู้วิจัยได้สังเกตพฤติกรรม และบันทึกสิ่งที่ควรแก้ไขเพื่อนำมาปรับปรุง
บทเรียน
1.6 นำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่แก้ไขปรับปรุงเรียบร้อยแล้ว บันทึกลงแผ่นซีดี แล้ว
นำไปให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน พร้อมกับให้ตอบแบบสอบถามความคิดเห็น จากนั้นก็ทำการแก้ไข
ปรับปรุงบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนตามคำแนะนำและผลประเมินของผู้เชี่ยวชาญ
1.7 ได้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่แก้ไขปรับปรุงสมบูรณ์ แล้วบันทึกลงแผ่นซีดี
สามารถนำไปใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ภายใต้ระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows 95 หรือสูงกว่า
ซึ่งได้นำไปดำเนินการทดลองกับกลุ่มประชากรและหาประสิทธิภาพต่อไป
2. สร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เพื่อใช้หาประสิทธิภาพของบทเรียน ผู้วิจัยได้
ดำเนินการสร้างแบบทดสอบ
2.1 ศึกษาข้อมูลและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการสร้างแบบทดสอบควบคู่กับศึกษาผลการ
วิเคราะห์เนื้อหาและวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
2.2 สร้างแบบทดสอบ แบบทดสอบที่สร้างขึ้นเป็นปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก ซึ่งสร้างขึ้นให้
ครอบคลุมวัตถุประสงค์ของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนทั้งหมด 45 ข้อ แล้วนำไปให้อาจารย์ที่
ปรึกษาตรวจสอบ เพื่อแก้ไขปรับปรุงข้อบกพร่อง
2.3 ทดลองแบบทดสอบที่ผ่านการปรับปรุงแก้ไขแล้ว นำไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวาสุเทวี จำนวน 120 คน เพื่อวิเคราะห์แบบทดสอบที่สร้างขึ้น ผลจากการ
นำแบบทดสอบจำนวน 45 ข้อ ไปทดลองใช้กับนักเรียน แล้วนำผลการทดลองที่ได้มาวิเคราะห์หาค่า
ดัชนีความยาก อำนาจจำแนก โดยขอบเขตของค่าความยากง่ายของแบบทดสอบที่ใช้ได้จะต้องมีค่าอยู่
ระหว่าง 0.20 – 0.80 และค่าอำนาจจำแนกที่ยอมรับได้จะต้องมีค่าตั้งแต่ 0.2 ขึ้นไป (บุญชม ศรี
สะอาด. 2535 : 78 – 80) ได้แบบทดสอบจากจำนวนทั้งหมดที่ผ่านการวิเคราะห์ข้อสอบรายข้อแล้ว
เป็นแบบทดสอบที่ครอบคลุมตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ แล้วนำผลการทดลองที่ได้มาวิเคราะห์หาค่า
ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ
3. สร้างแบบประเมินคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสำหรับผู้เชี่ยวชาญ ผู้วิจัยได้ดำเนินการสร้างแบบ
ประเมินคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
3.1 ศึกษาข้อมูลต่าง ๆ เช่น วิธีการสร้าง รูปแบบ วิธีการใช้งานของแบบประเมิน และหา
ข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดเป็นแนวทางในการสร้างแบบประเมินคุณภาพสำหรับผู้เชี่ยวชาญ
3.2 ทำการสร้างแบบสอบถามฉบับร่างขึ้น 1 ชุด โดยถามความคิดเห็นเกี่ยวกับบทเรียน
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านเนื้อหาและการนำเสนอ ด้านกราฟิกและการออกแบบ การจัด
การในบทเรียน
3.3 ให้อาจารย์ที่ปรึกษาตรวจสอบ พิจารณาความถูกต้องและความเหมาะสม
3.4 ปรับปรุงแก้ไขแบบสอบถามตามอาจารย์ที่ปรึกษาแนะนำ ได้แบบประเมินคอมพิวเตอร์
ช่วยสอนตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญฉบับสมบูรณ์เพื่อเตรียมเก็บข้อมูลต่อไป
3.5 นำแบบประเมินคอมพิวเตอร์ช่วยสอนให้ผู้เชี่ยวชาญทำการประเมิน ผู้วิจัยได้นำบท
เรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง วิธีการแสวงหาสารสนเทศ ที่สร้างขึ้นไปให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน
ได้ทดลองใช้บทเรียน พร้อมทั้งได้แนบแบบสอบถามความคิดเห็น เพื่อประเมินคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่
สร้างขึ้น โดยให้ผู้เชี่ยวชาญใช้บทเรียนเป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ และตอบแบบสอบถามความคิดเห็น
ซึ่งปรากฏผลดังตารางที่ 8
4. สร้างแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เรียน ผู้วิจัยได้ดำเนินการสร้างแบบสอบถามความ
คิดเห็นของผู้เรียนเกี่ยวกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
3.1 ศึกษาข้อมูลต่างๆ เช่น วิธีการสร้าง รูปแบบ วิธีการใช้งานของแบบประเมิน และหา
ข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดเป็นแนวทางในการสร้างแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เรียน
3.2 ทำการสร้างแบบสอบถามฉบับร่างขึ้น 1 ชุด โดยถามความคิดเห็นเกี่ยวกับบทเรียน
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
3.3 ให้อาจารย์ที่ปรึกษาตรวจสอบ พิจารณาความถูกต้องและความเหมาะสม
3.4 ปรับปรุงแก้ไขแบบสอบถามตามอาจารย์ที่ปรึกษาแนะนำ ได้แบบสอบถามความคิด
เห็นของผู้เรียนฉบับสมบูรณ์เพื่อเตรียมเก็บข้อมูลต่อไป
3.5 นำแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เรียนให้ผู้เรียนตอบ โดยผู้วิจัยได้นำบทเรียน
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง วิธีการแสวงหาสารสนเทศ ที่สร้างขึ้นไปให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
โรงเรียนวาสุเทวี จำนวน 120 คน ทดลองใช้บทเรียน พร้อมทั้งได้แนบแบบสอบถามความคิดเห็น เพื่อ
ประเมินคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สร้างขึ้น ซึ่งปรากฏผลดังตารางที่ 7
แบบสอบถามความคิดเห็นเรื่อง วิธีการแสวงหาสารสนเทศ โดยใช้แบบประเมินผลตามวิธี
ประมาณค่าของ Likert โดยกำหนดระดับความคิดเห็นเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า ในการให้
น้ำหนักคะแนน ในระดับความคิดเห็น 5 ระดับ คือ
เห็นด้วยอย่างยิ่ง มีค่าระดับคะแนนเท่ากับ 5
เห็นด้วย มีค่าระดับคะแนนเท่ากับ 4
ไม่แน่ใจ มีค่าระดับคะแนนเท่ากับ 3
เห็นด้วยน้อย มีค่าระดับคะแนนเท่ากับ 2
เห็นด้วยน้อยที่สุด มีค่าระดับคะแนนเท่ากับ 1
ในการวิเคราะห์ระดับคะแนนเฉลี่ยของข้อคำถามแต่ละข้อ ได้ใช้เกณฑ์กำหนดช่วงคะแนน
เฉลี่ยไว้เพื่อสะดวกในการแผลความหมาย ดังต่อไปนี้ (ประคอง กรรณสูต. 2538 : 70)
คะแนนเฉลี่ยระหว่าง 4.50 – 5.00 หมายถึง มีความเหมาะสมในระดับดีมาก
คะแนนเฉลี่ยระหว่าง 3.50 – 4.49 หมายถึง มีความเหมาะสมในระดับดี
คะแนนเฉลี่ยระหว่าง 2.50 – 3.49 หมายถึง มีความเหมาะสมในระดับปานกลาง
คะแนนเฉลี่ยระหว่าง 1.50 – 2.49 หมายถึง มีความเหมาะสมในระดับพอใช้
คะแนนเฉลี่ยระหว่าง 1.00 – 1.49 หมายถึง มีความเหมาะสมในระดับควรปรับปรุง
การดำเนินการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูล
ในการทดลองหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง วิธีการแสวงหา
สารสนเทศ ผู้วิจัยได้นำแผ่นซีดีที่บรรจุโปรแกรมบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สร้างขึ้นไปใช้กับ
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ โรงเรียนวาสุเทวี ให้นักเรียนกลุ่มประชากรดำเนิน
การทดลอง ผู้วิจัยได้ชี้แจงและแนะนำการใช้บทเรียน หลังจากนั้นจึงให้นักเรียนเรียนด้วยตนเอง โดยจัด
เวลาให้นักเรียนใช้เวลาเรียนสัปดาห์ละ 2 คาบ หรือ 100 นาที ใช้เวลา 2 สัปดาห์ ก่อนที่นักเรียนจะเข้า
บทเรียนแต่ละตอนให้นักเรียนทำแบบทดสอบรวม จำนวน 45 ข้อ แล้วจึงเรียนด้วยบทเรียน
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน และจะต้องทำแบบทดสอบย่อยหลังบทเรียนทันทีเมื่อเรียนจบบทเรียนย่อยแต่ละ
ตอน เมื่อจบบทเรียนทั้งหมดแล้ว จึงทำให้แบบทดสอบรวมหลังบทเรียน จำนวน 45 ข้อ ที่ผ่าน
การวิเคราะห์มาแล้ว จากนั้นผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากการทำแบบทดสอบย่อยหลังบทเรียนทั้ง 4
ตอน และจากการทำแบบทดสอบรวมหลังบทเรียน เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อหา
ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่พัฒนาขึ้น
การวิเคราะห์ข้อมูล
ในการวิจัยเพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง วิธีการแสวงหาสารสนเทศ สำหรับ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้
1. วิเคราะห์หาคุณภาพของแบบทดสอบรวม เพื่อหาค่าความยากง่าย หาค่าอำนาจจำแนก และ
หาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ ดังนี้
1.1 หาค่าความยากง่าย และค่าอำนาจจำแนกของแบบทดสอบ (กานดา พูนลาภทวี. 2528 :
164)
ขอบเขตของค่าความยากง่ายและความหมาย
0.81 – 1.00 เป็นแบบทดสอบที่ง่ายมาก
0.61 – 0.80 เป็นแบบทดสอบที่ค่อนข้างง่าย (ใช้ได้)
0.41 – 0.60 เป็นแบบทดสอบที่ยากง่ายพอเหมาะ (ดี)
0.21 – 0.40 เป็นแบบทดสอบที่ค่อนข้างยาก (ใช้ได้)
0.00 – 0.20 เป็นแบบทดสอบที่ยากมาก
ขอบเขตของค่าอำนาจจำแนกและความหมาย
0.40 ขึ้นไป อำนาจจำแนกสูง คุณภาพ ดีมาก
0.30 – 0.39 อำนาจจำแนกปานกลาง คุณภาพ ดี
0.20 – 0.29 อำนาจจำแนกค่อนข้างต่ำ คุณภาพ พอใช้
0.00 – 0.19 อำนาจจำแนกต่ำ คุณภาพ ใช้ไม่ได้
1.2 หาค่าความเชื่อถือได้ของแบบทดสอบทั้งฉบับ โดยใช้สูตร KR-20 ของ คูเดอร์ ริชาร์ด
สัน (Kuder Richardson) (สุราษฎร์ พรหมจันทร์. 2530 : 111)
2. วิเคราะห์หาค่าประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 80/80 (ชัยยงค์ พรหมวงศ์.
2523 : 172)
3. หาค่าความเที่ยงตรง โดยใช้สูตรดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับจุดประสงค์ของ
แบบทดสอบ (Item Objective Congruence Index : IOC) ประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ (สมบูรณ์
สุริยวงศ์. สมจิตรา เรืองศรี และเพ็ญศรี เศรษฐวงศ์. 2544 :156-162)
4. ค่าดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ในการหาค่าดัชนีประสิทธิผล
ดัชนีประสิทธิผล = ผลรวมของคะแนนทดสอบหลังเรียน – ผลรวมของคะแนนทดสอบก่อนเรียน
(จำนวนนักเรียน)(คะแนนเต็มหลังเรียน – ผลรวมของคะแนนทดสอบก่อนเรียน
5. แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ผู้วิจัยพัฒนา
ขึ้น ใช้สถิติ
5.1 ร้อยละ
5.2 ค่าเฉลี่ย
5.3 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ในการวิเคราะห์ข้อมูลผู้วิจัยได้เสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามลำดับดังนี้
1. ลำดับขั้นที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
2. ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนตามสมมติฐาน
3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ อพัฒ นาออกแบบ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง วิธีการแสวงห า
สารสนเทศ หลังจากที่ผู้วิจัยได้นำเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยไปดำเนินการทดลองแล้ว มีผลของการวิจัยนำเสนอได้ดังต่อไป
นี้
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง วิธีการแสวงหาสารสนเทศที่สร้างขึ้น ผู้วิจัยได้แบ่งบทเรียนออกเป็น 4 ตอน คือ ตอน
ที่ 1 เรื่อง ความหมายและความสำคัญของสารสนเทศ ตอนที่ 2 เรื่อง ประเภทและลักษณะของสารสนเทศ ตอนที่ 3 เรื่อง
แหล่งสารสนเทศ ตอนที่ 4 เรื่อง เครื่องมือช่วยค้นสารสนเทศ ซึ่งแต่ละตอนจะประกอบด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่ ชื่อเรื่อง เนื้อ
หาบทเรียน แบบทดสอบย่อยท้ายบท และแบบทดสอบรวม การนำเสนอส่วนต่างๆที่กล่าวมาด้วยระบบมัลติมีเดีย ซึ่งมีทั้ง
ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง ตัวอักษร กราฟฟิกต่างๆ โดยสร้างขึ้นจากโปรแกรมระบบนิพนธ์บทเรียน ชื่อ Macromedia
Authorware 6.0 ภายใต้ระบบปฏิบัติการ Windows Me ตัวบทเรียนบรรจุลงแผ่นซีดี
ลำดับขั้นในการวิเคราะห์ข้อมูล
ในการวิเคราะห์ข้อมูลผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
ตอนที่ 1 วิเคราะห์ความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อคอมพิวเตอร์สอนเรื่อง วิธีการแสวงหา
สารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ตอนที่ 2 หาประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสอนเรื่อง วิธีการแสวงหาสารสนเทศ
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ตอนที่ 3 วิเคราะห์ค่าดัชนีประสิทธิผลของคอมพิวเตอร์สอนเรื่อง วิธีการแสวงหา
สารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ตอนที่ 4 วิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เรียนรู้จากคอมพิวเตอร์สอนเรื่อง วิธีการแสวงหา
สารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ตอนที่ 5 วิเคราะห์ผลการประเมินคอมพิวเตอร์สอนเรื่อง วิธีการแสวงหาสารสนเทศ สำหรับ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน
ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนตามสมมติฐาน
สมมติฐานของการวิจัยครั้งนี้คือ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สร้างขึ้น สามารถใช้ในการเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เท่ากับหรือมากกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80
การวิเคราะห์ ห าประสิทธิภาพ ได้กระทํ ากับ ป ระชากร ซึ่งเป็ น นั กเรียน ชั้น ป ระถมศึกษ าปี ที่ 4
โรงเรียนวาสุเทวี จำนวน 120 คน ปรากฏผลดังนี้ นักศึกษาทำแบบทดสอบย่อยหลังบทเรียนทั้งหมด (E1) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ
15.53 คิดเป็นร้อยละ 91.37 และทำแบบทดสอบรวมหลังบทเรียนทั้งหมด (E2) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 36.03 คิดเป็นร้อยละ
80.06
สรุปได้ว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง วิธีการแสวงหาสารสนเทศ ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 91.37/80.06 ซึ่งมาก
กว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานของการวิจัย โดยมีรายละเอียดดังแสดงในตารางดังต่อไปนี้
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ตอนที่ 1 วิเคราะห์ความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
ตาราง 2 แสดงค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความคิดเห็นผู้เรียนที่มีต่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
ข้อ รายการ x S.D. ระความคิดเห็น
1. นักเรียนคิดว่าคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีส่วนช่วยให้เกิด
ความเข้าใจในการเรียนของนักเรียนได้ดีกว่าครูสอน
4.20 0.85 เห็นด้วยมาก
2. คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรียนได้สะดวกรวดเร็วและมี
ความเข้าใจมากกว่าการศึกษาจากหนังสือธรรมดา
4.05 0.76 เห็นด้วยมาก
3. คอมพิวเตอร์ช่วยสอนทำให้นักเรียนมีความรู้ความเข้า
ใจเนื้อหาวิชามากขึ้น
4.08 0.88 เห็นด้วยมาก
4. คอมพิวเตอร์ช่วยสอนทำให้นักเรียนสามารถเรียนได้
ช้าหรือเร็วได้ตามความสามารถและความต้องการ
3.98 0.79 เห็นด้วยมาก
5. คำถามแบบฝึกหัดในคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีความ
เหมาะสมช่วยให้นักเรียนมีความเข้าใจเนื้อหาได้ดียิ่ง
ขึ้น
4.18 0.79 เห็นด้วยมาก
6. การเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ช่วยสอน นักเรียนพอใจที่ได้
รับคำตอบของคำถามได้ทันที
4.07 0.71 เห็นด้วยมาก
7. นักเรียนพอใจกับคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สามารถเรียน
ได้โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่
4.06 0.77 เห็นด้วยมาก
8. ขณะเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ช่วยสอนให้นักเรียนได้ทั้ง
ความรู้ ความเพลิดเพลิน ไม่เกิดความเครียด
4.30 0.86 เห็นด้วยมาก
9. คอมพิวเตอร์ช่วยสอนทั้ง 4 ตอน กำหนดเนื้อหาตาม
ลำดับต่อเนื่องอย่างเหมาะสม
3.95 0.74 เห็นด้วยมาก
10 คอมพิวเตอร์ช่วยสอนช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
และแก้ปัญหาการเรียนไม่ทันเพื่อนได้
4.00 0.66 เห็นด้วยมาก
ข้อ รายการ x S.D. ระความคิดเห็น
11 ควรจัดให้มีคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในวิชาอื่น ๆ ให้มาก
ขึ้น
4.23 0.78 เห็นด้วยมาก
12 บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนช่วยเพิ่มทักษะในด้าน
การเรียนรู้ของตนเอง
4.38 0.62 เห็นด้วยมาก
รวม 4.12 0.77 เห็นด้วยมาก
จากตาราง 2 พบว่าระดับความคิดเห็นของผู้เรียนที่เรียนด้วยคอมพิวเตอร์ช่วยสอน จำนวน 12 ข้อ
ระดับความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ( x = 4.12 ) พิจารณาเป็นรายข้อในภาพรวมแล้ว มี
ความคิดเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วยมากทุกข้อ
ตอนที่ 2 หาประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง วิธีการแสวงหาสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 4
ตาราง 3 แสดงประสิทธิภาพของแบบทดสอบย่อยหลังบทเรียน แต่ละหน่วยการเรียน (E1)
คนที่ หน่วยการเรียน รวม คิดเป็นร้อยละ
ตอนที่ 1 (3) ตอนที่ 2 (11) ตอนที่ 4 (3) 17 100
1 3 11 2 16 94.12
2 3 10 3 16 94.12
3 3 11 3 17 100.00
4 3 11 3 17 100.00
5 3 9 3 15 88.24
6 3 10 0 13 76.47
7 1 11 3 15 88.24
8 3 11 3 17 100.00
9 3 11 2 16 94.12
10 3 11 3 17 100.00
11 3 11 3 17 100.00
12 3 11 3 17 100.00
13 3 10 3 16 94.12
14 3 11 3 17 100.00
15 3 11 3 17 100.00
16 3 11 3 17 100.00
17 3 11 3 17 100.00
18 3 11 3 17 100.00
19 3 11 3 17 100.00
20 3 5 2 10 58.82
คนที่ หน่วยการเรียน รวม คิดเป็นร้อยละ
ตอนที่ 1 (3) ตอนที่ 2 (11) ตอนที่ 4 (3) 17 100
21 3 9 3 15 88.24
22 3 7 3 13 76.47
23 1 10 2 13 76.47
24 3 9 3 15 88.24
25 3 9 3 15 88.24
26 3 11 3 17 100.00
27 3 11 3 17 100.00
28 3 9 3 15 88.24
29 3 11 2 16 94.12
30 3 11 3 17 100.00
31 3 10 3 16 94.12
32 3 9 3 15 88.24
33 3 10 3 16 94.12
34 3 10 3 16 94.12
35 3 9 3 15 88.24
36 3 11 3 17 100.00
37 3 8 3 14 82.35
38 3 11 3 17 100.00
39 3 11 3 17 100.00
40 3 6 3 12 70.59
41 3 11 2 16 94.12
42 3 11 3 17 100.00
43 3 11 3 17 100.00
44 3 11 3 17 100.00
45 3 4 3 10 58.82
คนที่ หน่วยการเรียน รวม คิดเป็นร้อยละ
ตอนที่ 1 (3) ตอนที่ 2 (11) ตอนที่ 4 (3) 17 100
46 3 11 3 17 100.00
47 1 10 3 14 82.35
48 3 11 3 17 100.00
49 3 9 3 15 88.24
50 3 11 3 17 100.00
51 3 7 1 11 64.71
52 3 11 3 17 100.00
53 3 11 3 17 100.00
54 3 11 3 17 100.00
55 3 11 3 17 100.00
56 3 11 3 17 100.00
57 3 10 3 16 94.12
58 3 11 2 16 94.12
59 3 10 3 16 94.12
60 3 11 3 17 100.00
61 3 11 3 17 100.00
62 3 11 3 17 100.00
63 3 10 3 16 94.12
64 3 10 1 14 82.35
65 3 6 3 12 70.59
66 3 11 3 17 100.00
67 3 6 3 12 70.59
68 3 5 3 11 64.71
69 3 7 3 13 76.47
70 3 9 3 15 88.24
คนที่ หน่วยการเรียน รวม คิดเป็นร้อยละ
ตอนที่ 1 (3) ตอนที่ 2 (11) ตอนที่ 4 (3) 17 100
71 3 11 3 17 100.00
72 3 11 3 17 100.00
73 3 11 3 17 100.00
74 3 11 3 17 100.00
75 3 7 1 11 64.71
76 3 9 3 15 88.24
77 3 8 3 14 82.35
78 3 11 2 16 94.12
79 3 5 2 10 58.82
80 3 9 3 15 88.24
81 3 10 1 14 82.35
82 3 5 3 11 64.71
83 3 11 3 17 100.00
84 3 9 3 15 88.24
85 3 10 3 16 94.12
86 3 4 3 10 58.82
87 3 9 3 15 88.24
88 3 8 3 14 82.35
89 3 7 1 11 64.71
90 3 10 3 16 94.12
91 3 11 3 17 100.00
92 3 10 3 16 94.12
93 3 11 3 17 100.00
94 3 9 3 15 88.24
95 3 11 3 17 100.00
คนที่ หน่วยการเรียน รวม คิดเป็นร้อยละ
ตอนที่ 1 (3) ตอนที่ 2 (11) ตอนที่ 4 (3) 17 100
96 3 11 3 17 100.00
97 3 11 3 17 100.00
98 3 11 3 17 100.00
99 3 9 3 15 88.24
100 3 7 2 12 70.59
101 3 9 3 15 88.24
102 3 11 3 17 100.00
103 3 9 3 15 88.24
104 3 9 3 15 88.24
105 3 9 3 15 88.24
106 3 11 3 17 100.00
107 3 11 3 17 100.00
108 3 10 2 15 88.24
109 3 11 3 17 100.00
110 3 11 3 17 100.00
111 3 11 3 17 100.00
112 3 11 3 17 100.00
113 3 11 3 17 100.00
114 3 11 3 17 100.00
115 3 11 3 17 100.00
116 1 11 3 15 88.24
117 3 11 2 16 94.12
118 3 11 3 17 100.00
119 3 11 3 17 100.00
คนที่ หน่วยการเรียน รวม คิดเป็นร้อยละ
ตอนที่ 1 (3) ตอนที่ 2 (11) ตอนที่ 4 (3) 17 100
120 1 11 3 15 88.24
รวม 350 1179 335 1864 10964.71
เฉลี่ย 2.92 9.83 2.79 15.53 91.37
เฉลี่ยร้อยละ 97.22 89.32 93.06 91.37 91.37
จากตาราง 3 แสดงผลการทำแบบทดสอบย่อยหลังบทเรียน เรื่อง วิธีการแสวงหาสารสนเทศ ตอนที่
1 จำนวน 3 ข้อ ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.92 คิดเป็นร้อยละ 97.22 ส่วนผลการทำแบบทดสอบย่อยหลังบทเรียน
ตอนที่ 2 จำนวน 11 ข้อ ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 9.83 คิดเป็นร้อยละ 89.32 ส่วนผลการทำแบบทดสอบย่อยหลัง
บทเรียน ตอนที่ 4 (ตอนที่ 3 ไม่มี) จำนวน 3 ข้อ ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.79 คิดเป็นร้อยละ 93.06 นั่นคือ
ประสิทธิภาพของแบบทดสอบย่อยหลังบทเรียนทั้งหมด (E1) โดยได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 15.53 คิดเป็นร้อยละ
91.37 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ดีมาก
ตาราง 4 แสดงประสิทธิภาพของแบบทดสอบรวมหลังบทเรียน แต่ละหน่วยการเรียน (E2)
คนที่ หน่วยการเรียน รวม คิดเป็นร้อยละ
ตอนที่1 (10) ตอนที่2 (10) ตอนที่3 (15) ตอนที่4 (10) 45 100
1 10 10 15 10 45 100.00
2 10 10 15 10 45 100.00
3 10 10 15 10 45 100.00
4 9 10 15 10 44 97.78
5 9 10 15 10 44 97.78
6 9 10 15 10 44 97.78
7 10 10 14 10 44 97.78
8 9 10 15 10 44 97.78
9 9 10 15 10 44 97.78
10 10 9 15 10 44 97.78
11 10 8 15 10 43 95.56
12 8 10 15 10 43 95.56
13 10 10 15 8 43 95.56
14 8 10 15 10 43 95.56
15 10 10 15 8 43 95.56
16 10 9 14 10 43 95.56
17 9 9 15 10 43 95.56
18 9 9 15 10 43 95.56
19 8 10 15 10 43 95.56
20 10 10 14 9 43 95.56
21 10 10 14 9 43 95.56
22 8 9 15 10 42 93.33
23 9 9 14 10 42 93.33
คนที่ หน่วยการเรียน รวม คิดเป็นร้อยละ
ตอนที่1 (10) ตอนที่2 (10) ตอนที่3 (15) ตอนที่4 (10) 45 100
24 9 10 14 9 42 93.33
25 8 9 15 10 42 93.33
26 9 9 15 9 42 93.33
27 10 10 13 8 41 91.11
28 9 9 13 10 41 91.11
29 10 9 12 10 41 91.11
30 7 10 15 9 41 91.11
31 10 8 14 9 41 91.11
32 9 9 12 10 40 88.89
33 7 9 14 10 40 88.89
34 8 8 14 10 40 88.89
35 9 9 12 10 40 88.89
36 10 7 13 10 40 88.89
37 7 8 15 10 40 88.89
38 8 7 14 10 39 86.67
39 8 6 15 10 39 86.67
40 9 7 14 9 39 86.67
41 9 9 11 10 39 86.67
42 8 7 15 9 39 86.67
43 6 8 15 10 39 86.67
44 7 8 13 10 38 84.44
45 7 6 15 10 38 84.44
46 7 7 15 9 38 84.44
47 7 7 15 9 38 84.44
48 7 7 13 10 37 82.22
คนที่ หน่วยการเรียน รวม คิดเป็นร้อยละ
ตอนที่1 (10) ตอนที่2 (10) ตอนที่3 (15) ตอนที่4 (10) 45 100
49 8 9 12 8 37 82.22
50 5 10 12 10 37 82.22
51 6 9 15 7 37 82.22
52 6 8 14 9 37 82.22
53 4 8 15 10 37 82.22
54 6 8 15 8 37 82.22
55 5 8 14 10 37 82.22
56 6 6 15 10 37 82.22
57 7 5 15 10 37 82.22
58 6 7 14 10 37 82.22
59 6 7 14 10 37 82.22
60 4 8 15 9 36 80.00
61 4 7 15 10 36 80.00
62 7 8 11 10 36 80.00
63 4 9 13 10 36 80.00
64 4 7 15 10 36 80.00
65 6 7 15 8 36 80.00
66 5 6 15 10 36 80.00
67 5 6 15 10 36 80.00
68 5 6 15 10 36 80.00
69 4 9 14 9 36 80.00
70 8 9 12 7 36 80.00
71 6 9 15 6 36 80.00
72 10 10 9 7 36 80.00
73 6 8 13 8 35 77.78
คนที่ หน่วยการเรียน รวม คิดเป็นร้อยละ
ตอนที่1 (10) ตอนที่2 (10) ตอนที่3 (15) ตอนที่4 (10) 45 100
74 8 6 13 8 35 77.78
75 7 4 15 9 35 77.78
76 4 8 14 9 35 77.78
77 6 10 12 7 35 77.78
78 6 8 14 7 35 77.78
79 5 6 14 10 35 77.78
80 4 7 14 10 35 77.78
81 3 8 14 10 35 77.78
82 8 8 12 7 35 77.78
83 4 8 13 10 35 77.78
84 7 5 13 10 35 77.78
85 7 9 10 9 35 77.78
86 8 9 12 6 35 77.78
87 7 5 13 9 34 75.56
88 8 6 14 6 34 75.56
89 10 9 8 7 34 75.56
90 6 3 14 10 33 73.33
91 4 6 13 10 33 73.33
92 4 7 12 9 32 71.11
93 5 6 12 9 32 71.11
94 5 7 11 9 32 71.11
95 5 5 12 10 32 71.11
96 7 7 9 8 31 68.89
97 3 8 11 9 31 68.89
98 4 5 14 7 30 66.67
คนที่ หน่วยการเรียน รวม คิดเป็นร้อยละ
ตอนที่1 (10) ตอนที่2 (10) ตอนที่3 (15) ตอนที่4 (10) 45 100
99 5 3 12 10 30 66.67
100 4 7 10 9 30 66.67
101 3 7 11 9 30 66.67
102 6 5 11 7 29 64.44
103 8 4 8 9 29 64.44
104 7 6 10 6 29 64.44
105 9 6 8 5 28 62.22
106 7 8 6 7 28 62.22
107 4 4 11 8 27 60.00
108 5 7 10 5 27 60.00
109 8 5 9 4 26 57.78
110 8 5 8 5 26 57.78
111 10 7 6 3 26 57.78
112 5 7 9 4 25 55.56
113 8 7 8 2 25 55.56
114 5 6 10 3 24 53.33
115 10 6 3 5 24 53.33
116 5 6 9 4 24 53.33
117 7 10 4 3 24 53.33
118 4 7 5 6 22 48.89
119 5 4 10 3 22 48.89
120 5 7 8 1 21 46.67
รวม 845 923 1532 1023 4323 9606.67
เฉลี่ย 7.04 7.69 12.77 8.53 36.03 80.06
เฉลี่ยร้อยละ 70.42 76.92 85.11 85.25 80.06 80.06
จากตาราง 4 แสดงผลจากการทำแบบทดสอบรวมหลังบทเรียน เรื่อง วิธีการแสวงหาสารสนเทศ
โดยเรียงคะแนนรวมจากมากไปน้อย จำนวน 120 คน ผลที่ได้คือ ตอนที่ 1 จำนวน 10 ข้อ ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ
7.04 คิดเป็นร้อยละ 70.42 ส่วนผลการทำแบบทดสอบรวมหลังบทเรียน ตอนที่ 2 จำนวน 10 ข้อ ได้ค่า
เฉลี่ยเท่ากับ 7.69 คิดเป็นร้อยละ 76.92 ส่วนผลการทำแบบทดสอบรวมหลังบทเรียน ตอนที่ 3 จำนวน 15
ข้อ ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 12.77 คิดเป็นร้อยละ 85.11 ส่วนผลการทำแบบทดสอบรวมหลังบทเรียน ตอนที่ 4
จำนวน 10 ข้อ ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8.53 คิดเป็นร้อยละ 85.25 นั่นคือประสิทธิภาพของแบบทดสอบรวม
หลังบทเรียนทั้งหมด (E2) โดยได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 36.03 คิดเป็นร้อยละ 80.06 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ดีมาก
ตาราง 5 แสดงประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนตามเกณฑ์ 80/80
ค่าคะแนนเฉลี่ย (E1)
คะแนนจากแบบทดสอบย่อย
ค่าคะแนนเฉลี่ย (E2)
คะแนนวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
จำนวนผู้เรียน
คะแนนเฉลี่ย ร้อยละ คะแนนเฉลี่ย ร้อยละ
120 15.53 91.37 36.03 80.06
จากตาราง 5 สรุปได้ว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง วิธีการแสวงหาสารสนเทศ ที่สร้างขึ้นมี
ประสิทธิภาพ 91.37/80.06 ซึ่งมากกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานของการวิจัย แสดงว่า
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง วิธีการแสวงหาสารสนเทศ มีประสิทธิภาพสอดคล้องตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
สามารถนำไปใช้ในการเรียนได้ตามวัตถุประสงค์
ตอนที่ 3 วิเคราะห์ค่าดัชนีประสิทธิผลของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง วิธีการแสวงหาสารสนเทศ สำหรับ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ตาราง 6 แสดงคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน และหลังเรียน จากแบบทดสอบ
คะแนน
คนที่ ทดสอบก่อนเรียน ทดสอบหลังเรียน
1 17 45
2 21 45
3 19 45
4 29 44
5 32 44
6 20 44
7 27 44
8 31 44
9 26 44
10 20 44
11 30 43
12 21 43
13 18 43
14 23 43
15 30 43
16 34 43
17 29 43
18 24 43
19 18 43
20 20 43
21 26 43
คะแนน
คนที่ ทดสอบก่อนเรียน ทดสอบหลังเรียน
22 27 42
23 21 42
24 29 42
25 25 42
26 16 42
27 22 41
28 23 41
29 29 41
30 23 41
31 26 41
32 16 40
33 20 40
34 20 40
35 22 40
36 19 40
37 26 40
38 25 39
39 21 39
40 33 39
41 28 39
42 22 39
43 35 39
44 28 38
45 32 38
46 21 38
คะแนน
คนที่ ทดสอบก่อนเรียน ทดสอบหลังเรียน
47 22 38
48 27 37
49 22 37
50 36 37
51 26 37
52 18 37
53 23 37
54 23 37
55 29 37
56 21 37
57 17 37
58 25 37
59 20 37
60 27 36
61 21 36
62 28 36
63 21 36
64 23 36
65 25 36
66 26 36
67 26 36
68 29 36
69 20 36
70 24 36
71 16 36
คะแนน
คนที่ ทดสอบก่อนเรียน ทดสอบหลังเรียน
72 23 36
73 26 35
74 30 35
75 21 35
76 13 35
77 20 35
78 23 35
79 26 35
80 16 35
81 24 35
82 28 35
83 20 35
84 28 35
85 28 35
86 21 35
87 16 34
88 20 34
89 15 34
90 14 33
91 27 33
92 24 32
93 27 32
94 15 32
95 16 32
96 20 31
คะแนน
คนที่ ทดสอบก่อนเรียน ทดสอบหลังเรียน
97 23 31
98 16 30
99 13 30
100 18 30
101 15 30
102 18 29
103 14 29
104 13 29
105 15 28
106 19 28
107 20 27
108 20 27
109 15 26
110 18 26
111 18 26
112 17 25
113 11 25
114 17 24
115 13 24
116 10 24
117 14 24
118 11 22
119 12 22
120 15 21
คะแนนรวม 2635 4323
ดัชนีประสิทธิผล = 4323 – 2635 = 0.61
5400 – 2635
ดัชนีประสิทธิผลของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง วิธีการแสวงหาสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 4 มีค่าเท่ากับ 0.61 แสดงว่านักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 61 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ของดัชนี
ประสิทธิผลคือ 0.05 หรือร้อยละ 50
ตอนที่ 4 วิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เรียนรู้จากคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง วิธีการแสวงหา
สารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ตาราง 7 แสดงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนจากแบบทดสอบก่อนเรียนและ
หลังเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
จำนวนผู้เรียน x S.D.
ก่อนเรียน 120 21.96 5.63
หลังเรียน 120 36.03 5.88
จากตาราง 7 เมื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เรียนรู้จากคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง วิธี
การแสวงหาสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน (x
= 36.03) สูงกว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน (x = 21.96) อย่างไม่มีนัยสำคัญทางที่สถิติ
ตอนที่ 5 วิเคราะห์ผลการประเมินคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน
ตาราง 8 แสดงผลการประเมินคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน
รายการ x S.D. ระดับความคิดเห็น
1. ด้านเนื้อหาและการนำเสนอ
1.1 เนื้อหาบทเรียนครอบคลุมวัตถุประสงค์ 4 1.10 ดี
1.2 ความเหมาะสมของการแยกย่อยเนื้อหา 3.6 0.49 ดี
1.3 ความชัดเจนในการอธิบายเนื้อหา 3 0.00 ปานกลาง
1.4 ความเหมาะสมของเนื้อหากับระดับความรู้ของผู้เรียน 3.4 0.80 ปานกลาง
1.5 ความเหมาะสมของจำนวนข้อสอบหรือข้อทดสอบ 3.6 0.80 ดี
2. ด้านกราฟิกและการออกแบบ
2.1 การออกแบบหน้าจอมีความสวยงาม 4.4 0.49 ดี
2.2 รูปภาพประกอบสามารถสื่อความหมาย และมีความ
สอดคล้องกับเนื้อหามีความชัดเจน
4 0.00 ดี
2.3 ตัวอักษรที่ใช้มีความเหมาะสม 2.6 0.49 ปานกลาง
2.4 เสียงประกอบ และเสียงบรรยายมีความเหมาะสม ชัด
เจน
3.2 0.75 ปานกลาง
2.5 ความเหมาะสมของเวลาในการนำเสนอบทเรียน 3.2 0.75 ปานกลาง
3. การจัดการในบทเรียน
3.1 ความชัดเจนของคำอธิบายการปฏิบัติในบทเรียน 4.6 0.49 ดีมาก
3.2 ความต่อเนื่องของการนำเสนอเนื้อหา 4.4 0.49 ดี
3.3 การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนควบคุมบทเรียน 3.6 0.49 ดี
3.4 ความเหมาะสมของวิธีการโต้ตอบกับบทเรียน 3.4 0.49 ปานกลาง
3.5 ความเหมาะสมของวิธีการสรุปเนื้อหาบทเรียน 3.2 0.75 ปานกลาง
รวม 3.61 0.56 ดี
จากตาราง 8 พบว่า ผู้เชี่ยวชาญทั้ง 5 ท่าน มีความคิดเห็นต่อการประเมินคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดย
รวมอยู่ในระดับดี (x = 3.61) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่ามีความคิดเห็นอยู่ในระดับดีมาก ในหัวข้อ
ความชัดเจนของคำอธิบายการปฏิบัติในบทเรียน (x = 4.6) ความคิดเห็นอยู่ในระดับดี ในหัวข้อ การออก
แบบหน้าจอมีความสวยงาม ความต่อเนื่องของการนำเสนอเนื้อหา ( x = 4.4) เนื้อหาบทเรียนครอบคลุม
วัตถุประสงค์ รูปภาพประกอบสามารถสื่อความหมายและความสอดคล้องกับเนื้อหามีความชัดเจน ( x =
4) และความเหมาะสมของการแยกย่อยเนื้อหา ความเหมาะสมของจำนวนข้อสอบหรือข้อทดสอบ และการ
เปิดโอกาสให้ผู้เรียนควบคุมบทเรียน (x = 3.6) ความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง ในหัวข้อ ความเหมาะ
สมของเนื้อหากับระดับความรู้ของผู้เรียน และความเหมาะสมของวิธีการโต้ตอบกับบทเรียน (x = 3.4)
เสียงประกอบ และเสียงบรรยายมีความเหมาะสม ชัดเจน ความเหมาะสมของเวลาในการนำเสนอบทเรียน
และความเหมาะสมของวิธีการสรุปเนื้อหาบทเรียน (x = 3.2) ความชัดเจนในการอธิบายเนื้อหา (x = 3)
และตัวอักษรที่ใช้มีความเหมาะสม (x = 2.6)
บทที่ 5
สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้เป็นการศึกษาเพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง วิธีการ
แสวงหาสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ซึ่งมีขั้นตอนสรุปได้ดังนี้
1. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
2. ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
3. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
4. วิธีการดำเนินการทดลอง
5. สรุปผลการวิจัย
6. อภิปรายผล
7. ปัญหาและอุปสรรค
8. ข้อเสนอแนะ
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง วิธีการแสวงหาสารสนเทศ สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
2. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง วิธีการแสวงหา
สารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
3. เพื่อหาประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง วิธีการแสวงหาสารสนเทศ สำหรับ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
4. เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เรียนรู้จากคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง วิธีการแสวงหา
สารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
1. ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวาสุเทวี จำนวน 3
ห้องเรียน มีนักเรียนรวม 120 คน
2. ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง
ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง ผู้วิจัยใช้ระยะเวลาในการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา
2546 ระหว่างวันที่ 5 มกราคม 2547 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2547
3. เนื้อหาที่ใช้ในการทดลอง
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่พัฒนาขึ้นนี้ นำมาตรฐานสาระอ้างอิงหลักสูตรกลุ่มสาระการงาน
อาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เนื้อหาในการทดลองครั้งนี้ เป็นเนื้อหาเรื่อง วิธีการแสวง
หาสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 แบ่งเนื้อหาเป็น 4 ตอน ดังนี้
3.1 ความหมายและความสำคัญของสารสนเทศ
3.2 ประเภทและลักษณะของสารสนเทศ
3.3 แหล่งสารสนเทศ
3.4 เครื่องมือช่วยค้นสารสนเทศ
4. ตัวแปรที่ศึกษา
4.1 การเรียนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
4.2 แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
4.3 ประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าและสร้าง เพื่อรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย
1. คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง วิธีการแสวงหาสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
4 ที่ ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ดังต่อไปนี้
ตอนที่ 1 ความหมายและความสำคัญของสารสนเทศ
ตอนที่ 2 ประเภทและลักษณะของสารสนเทศ
ตอนที่ 3 แหล่งสารสนเทศ
ตอนที่ 4 เครื่องมือช่วยค้นสารสนเทศ
2. แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
วิธีดำเนินการทดลอง
ผู้วิจัยดำเนินการทดลองโดยทำหนังสือขอความอนุเคราะห์จากบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ในการขออนุญาต และขอความอนุเคราะห์ดังนี้
1. หนังสือขอความอนุเคราะห์เป็นผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเครื่องมือในการวิจัย จำนวน 5 ท่าน
2. ขออนุญาตจากครูใหญ่โรงเรียนวาสุเทวี ในการทดลองเครื่องมือในการวิจัย
2.1 ทดสอบก่อนการทดลองเพื่อวัดความรู้เดิมกับประชากร โดยใช้แบบทดสอบวัดผล
สัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นผ่านการหาค่าความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนก และค่าความเชื่อมั่น
ของแบบทดสอบแล้ว จำนวน 45 ข้อ
2.2 ทำการทดลองโดยให้ผู้เรียน ได้เรียนกับคอมพิวเตอร์ช่วยสอน จำนวน 4 ตอน
2.3 ทดสอบหลังเรียนเมื่อสิ้นสุดการเรียนโดยใช้แบบทดสอบชุดเดิม
การวิเคราะห์ข้อมูล
1. การหาคุณภาพของแบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
1.1 หาค่าความยากง่ายและค่าอำนาจจำแนก (กานดา พูนลาภทวี. 2528 : 164)
1.2 หาค่าความเชื่อมั่น โดยใช้สูตร KR – 20 ของคูเดอร์ ริชาร์ดสัน (สุราษฎร์ พรหม
จันทร์. 2530 : 111)
2. วิเคราะห์หาค่าประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 80/80 (ชัยยงค์ พรหมวงศ์.
2536 : 172)
3. หาค่าความเที่ยงตรง โดยใช้สูตรดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับจุดประสงค์ของ
แบบทดสอบ (Item Objective Congruence Index : IOC) ประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ (สมบูรณ์
สุริยวงศ์. สมจิตรา เรืองศรี และเพ็ญศรี เศรษฐวงศ์. 2544 :156-162)
4. ค่าดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ในการหาค่าดัชนีประสิทธิผล
5. แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ผู้วิจัยพัฒนา
ขึ้น ใช้สถิติ
5.1 ร้อยละ
5.2 ค่าเฉลี่ย
5.3 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
สรุปผลการวิจัย
1. คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง วิธีการแสวงหาสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
4 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ซึ่งผลการทดลองครั้งนี้พบว่า
ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนี้ มีค่าเท่ากับ 91.37/80.06 เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้
ดัชนีประสิทธิผลมีค่า 0.61
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้จากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง วิธีการแสวงหาสารสนเทศ
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรียนหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
3. ผลการประเมินความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง วิธีการ
แสวงหาสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่าคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยส่วนรวม
อยู่ในระดับเห็นด้วยมากทุกข้อ
สรุปได้ว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง วิธีการแสวงหาสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 4 ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ สามารถนำไปใช้งานในการเรียนการสอนได้
เป็นอย่างดี เนื่องจากประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้จากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนก่อนและหลังเรียนแตกต่างกัน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และผลการประเมินความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียน
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนอยู่ในระดับเห็นด้วยทุกข้อ
อภิปรายผล
ผลการวิจัยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง วิธีการแสวงหาสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 4 ปรากฏว่าประสิทธิภาพของบทเรียน เมื่อคิดจากคะแนนเฉลี่ยของการทำแบบ
ทดสอบย่อยหลังบทเรียนและแบบทดสอบรวมหลังบทเรียน มีประสิทธิภาพ 91.37/80.06 ซึ่งสูงกว่า
เกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80
เมื่อพิจารณาในประเด็นเกี่ยวกับการพัฒนาออกแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน จากการประเมิน
ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อบทเรียน พบว่า ระดับความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับดี และ
ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่มีความคิดเห็นสอดคล้องกัน มีผู้เชี่ยวชาญบางท่านได้ให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม เช่น
ปริมาณเนื้อหาและเสียงบรรยายในบางกรอบมากเกินไป ความชัดเจนของตัวอักษรบางกรอบมีขนาด
เล็กไม่ชัดเจน ความเหมาะสมของคำถามและตัวลวงของคำถามยังไม่เหมาะสม ผู้วิจัยได้นำความคิดเห็น
เหล่านี้มาแก้ไขปรับปรุงก่อนที่จะนำบทเรียนไปใช้ในการดำเนินการทดลองจริงกับนักเรียน
เมื่อพิจารณาจากการศึกษาค้นคว้าทดลองสามารถอธิบายได้ดังนี้
1. ผลการทดลองเพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง วิธีการแสวง
หาสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่าบทเรียนที่พัฒนาออกแบบขึ้นมีประสิทธิ
ภาพ 91.37/80.06 หมายความว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ทำให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้
แสดงว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่พัฒนาออกแบบขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
และนำไปเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ เนาวรัตน์ เปรมปรีด์ (2541 :
บทคัดย่อ) และสุรพร พงษ์สุวรรณ (2542 : 94) ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจาก
1.1 บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่พัฒนาออกแบบขึ้นเป็นสื่อการสอนที่ทันสมัยผู้เรียน
สามารถศึกษาด้วยตนเองอย่างสะดวก รวดเร็วตามความสามารถ เป็นการเปิดโอกาสให้กับผู้เรียนได้
เรียนตามความสามารถอย่างอิสระ เมื่อผู้เรียนเรียนเนื้อหาแล้วไม่เข้าใจสามารถทบทวนบทเรียนใหม่ได้
และเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีกิจกรรมการเรียนอยู่ตลอดเวลา มีการจัดรูปแบบการนำเสนอที่ชัด
เจน โดยการแบ่งส่วนหน้าจออย่างมีระบบ ทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจเนื้อหาได้ง่ายและชัดเจน การถาม
ตอบในแต่ละกรอบของบทเรียนสามารถทราบผลได้ทันที เป็นการเสริมแรง ทำให้ผู้เรียนสนใจอยาก
ศึกษาและเรียนรู้ นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้ผู้เรียนช่วยเหลือตนเอง และมีความรับผิดชอบต่อตนเองมาก
ขึ้น
1.2 การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ได้ทำตามลำดับขั้นตอนวิชาการ (สานนท์
เจริญฉาย. 2533 : 142 – 173 ; ศิริชัย สงวนแก้ว. 2534 : 174 – 175) แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ 1)
การออกแบบ 2) การสร้าง และ 3) การประยุกต์ใช้ โดยเริ่มจากการวิเคราะห์เนื้อหาศึกษาความเป็นไป
ได้ กำหนดวัตถุประสงค์ ลำดับขั้นตอนในการทำงาน การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การ
ทดสอบบทเรียน การปรับปรุงแก้ไข และการประเมินผล ซึ่งเป็นการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วย
สอนอย่างเป็นระบบ
1.3 บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่พัฒนาออกแบบขึ้น ได้ผ่านการตรวจสอบและปรับ
ปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะของอาจารย์ที่ปรึกษา โดยผ่านการประเมินตรวจสอบคุณภาพและความ
เหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญ ผ่านการทดลองแบบหนึ่งต่อหนึ่ง ทำให้ทราบถึงปัญหาและข้อบกพร่องที่เกิด
ขึ้นระหว่างการนำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไปทดลองใช้ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุง
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนให้สมบูรณ์และเหมาะสมยิ่งขึ้น
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้จากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง วิธีการแสวงหาสารสนเทศ
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน แตกต่าง
กันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่ระดับคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน ทั้งนี้
เป็นเพราะการเรียนรู้จากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนช่วยเสริมความรู้ความเข้าใจแก่ผู้เรียน อีกทั้ง
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีตัวอักษร ภาพกราฟิก ภาพนิ่ง สีสัน ดนตรี และเสียงประกอบ ทำให้ผู้
เรียนสนุกไปกับบทเรียน (ขนิษฐา ชานนท์. 2532 : 8 ; กิดานันท์ มลิทอง. 2536 : 187 และถนอมพร
(ตันพิพัฒน์ เลาหจรัสแสง. 2541 : 7) และผู้เรียนจะเรียนไปตามความสามารถโดยไม่ต้องเร่งหรือรอ
ผู้อื่น และได้รับประสบการณ์แห่งความสำเร็จเป็นการเสริมแรงให้สนุกไปกับบทเรียน (นิพนธ์ ศุขปรีดี.
2530 : 63 – 65) สอดคล้องกับทฤษฎีของธอร์นไดค์ ที่ว่าการเรียนการสอนนั้นจะต้องกำหนด
จุดมุ่งหมายให้ชัดเจน และจะต้องจัดเนื้อหาออกเป็นหน่วย ๆ ทีละหน่วย และเริ่มจากสิ่งที่ง่ายไปหายาก
เสมอ เพื่อให้ผู้เรียนรู้สึกพึงพอใจในการที่เข้าเรียนในแต่ละหน่วย การสร้างแรงจูงใจนับว่ามีความสำคัญ
มาก เพราะจะทำให้ผู้เรียนเกิดความพอใจเมื่อได้รับสิ่งที่พอใจหรือรางวัลเป็นการเสริมแรง ธอร์นไดค์
เชื่อว่าการเสริมแรงรางวัล หรือความสำเร็จจะส่งเสริมการแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ หรือก่อให้เกิดการ
เรียนรู้ขึ้น (Whittaker, James O. , 1966 : 255 – 264) จากเหตุผลดังกล่าว จึงทำให้ผู้เรียนที่เรียนด้วย
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น หมายความว่า ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ดีขึ้น
นั่นเอง
3. ประสิทธิภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง วิธีการแสวงหาสารสนเทศ สำหรับ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 91.37/80.06 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
80/80 และเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ เมื่อพิจารณาค่าคะแนนเฉลี่ยของการทำแบบทดสอบรวมหลัง
บทเรียนของหน่วยการเรียนทั้ง 4 ตอน พบว่า แบบทดสอบย่อยของบทเรียน มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 91.37
เมื่อเปรียบเทียบกับค่าคะแนนเฉลี่ยของการทำแบบทดสอบรวมหลังเรียน มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 80.06 โดยที่
การวิจัยครั้งนี้สอดคล้องกับผลการวิจัยของสุวิทย์ ฉุยฉาย (2543 : บทคัดย่อ) ได้สร้างบทเรียน
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบมัลติมีเดีย เรื่องหม้อแปลงไฟฟ้าสามเฟส ปรากฏว่าบทเรียนมีประสิทธิภาพ
84.70/81.03 จากผลการวิจัยของผู้วิจัยครั้งนี้พบว่า ค่าคะแนนเฉลี่ยของการทำแบบทดสอบรวมหลังบท
เรียนต่ำกว่าค่าคะแนนเฉลี่ยของการทำแบบทดสอบย่อยหลังบทเรียนเช่นกัน โดยส่วนนี้อาจเนื่องมาก
จากสาเหตุ เช่น ผู้วิจัยได้ให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบย่อยหลังบทเรียนทันทีหลังจากที่ผู้เรียนได้เรียนเนื้อ
หาแต่ละส่วนของบทเรียนจบแล้ว ทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจในเนื้อหาและมีความคงทนในการจำเนื้อหา
ไ ด้ สู ง จึ ง ทํ า ใ ห้
ผู้เรียนสามารถทำแบบทดสอบย่อยหลังบทเรียนได้คะแนนสูงกว่าการทำแบบทดสอบรวมหลังบทเรียน
และอาจมีสาเหตุมาจากในการดำเนินการทดลอง ผู้วิจัยได้กำหนดเวลาในการเรียนโดยให้ผู้เรียนเรียน
ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนให้จบบทเรียนทั้งหมดในเวลา 2 สัปดาห์ ซึ่งใช้เวลาเรียนสัปดาห์ละ
2 คาบ คาบละ 50 นาที โดยให้ผู้เรียนเรียนด้วยตนเอง แล้วจึงทำแบบทดสอบรวมหลังบทเรียน จำนวน
45 ข้อ ผู้เรียนอาจเกิดความสับสนในการจำและลืมเนื้อหาในบางส่วน และอาจเกิดความเครียด อีกทั้งยัง
ไม่น่าสนใจเท่ากับการทำแบบทดสอบย่อยหลังบทเรียน แต่ทั้งนี้ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์
ช่วยสอนในการวิจัยครั้งนี้ก็อยู่ในเกณฑ์ที่สอดคล้องกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้
4. การวิเคราะห์ความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง วิธีการแสวงหา
สารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่า ความคิดเห็นของผู้เรียนโดยรวมอยู่ในระดับ
เห็นด้วยมาก แสดงว่าผู้เรียน ชอบ พอใจ และทัศนคติที่ดีต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
สอดคล้องกับงานวิจัยของเนาวรัตน์ เปรมปรีด์ (2541 : บทคัดย่อ) ผู้เรียนสามารุกำหนดกิจกรรมด้วย
ตนเอง เรียนตามความสามารถของตนเอง ไม่ต้องเร่งหรือรอผู้อื่น ไม่ต้องรู้สึกอายเมื่อตอบคำถามผิด ได้
รู้เป้าหมายของการเรียนการสอนก่อนลงมือเรียนจริง
จากเหตุผลดังกล่าวการเรียนด้วนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้น จะสามารถตอบสนองต่อ
ผู้เรียนได้ทันทีเป็นการช่วยเสริมแรงแก่ผู้เรียนซึ่งบทเรียนจะมีตัวอักษร ภาพกราฟิก ภาพนิ่ง และเสียง
ประกอบ ทำให้ผู้เรียนสนุกไปกับการเรียน มีความกระตือรือร้นและมุ่งมั่นที่จะเรียนจึงสมควรที่จะมี
การส่งเสริม สนับสนุนในการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เพื่อใช้ในการเรียนการสอน เพราะ
สื่อประเภทบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในโลกยุคสารสนเทศหรือข้อมูลข่าวสารนี้มีอิทธิพลต่อการ
เรียนการสอนอย่างไม่อาจปฏิเสธได้ และบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง วิธีการแสวงหา
สารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 4 ที่พัฒนาออกแบบขึ้นในการวิจัยครั้งนี้ มีคุณภาพ
เหมาะสมที่จะนำไปใช้ประกอบการเรียนการสอน การสอนทบทวนหรือสอนเสริม ให้นักเรียนได้อย่าง
มีประสิทธิภาพ
ข้อเสนอแนะ
จากผลการวิจัยคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง วิธีการแสวงหาสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 4 ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะดังนี้
1. ควรจัดให้มีการฝึกอบรมการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนให้แก่ครูผู้สอน ซึ่งผลที่จะ
ตามมาคือ ครูผู้สอนสามารถที่จะพัฒนาตนเอง ให้มีความสามารถเขียนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
ขึ้นด้วยตนเอง ซึ่งจะตรงกับความต้องการของผู้สอนเอง อีกทั้งเป็นการกระตุ้นให้ครูได้พัฒนากระบวน
การเรียนการสอนแบบอื่นๆ อีก อันส่งผลถึงความเจริญก้าวหน้าทางการศึกษาต่อไป
2. ผู้สอนสามารถศึกษารูปแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนชุดนี้ เพื่อเป็นแนวทางในการนำ
ไปสร้างบทเรียนในหัวข้ออื่นให้ตรงกับสาระวิชาของแต่ละคนได้
3. ควรจัดให้ครูมีการผลิตสื่อทั้งในรูปของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและสื่อในรูปแบบ
อื่นๆ ที่เป็นเนื้อหาในกลุ่มสาระวิชาต่างๆ เพื่อเป็นสื่อการเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษาใหม่ที่ให้
สถานศึกษากำหนดเนื้อหาวิชาได้
4. ในการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ควรจะเน้นและให้ความสำคัญของภาพ ที่
สามารถสื่อทำให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจง่ายและมีความเร้าใจในบทเรียน
5. การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ต้องอาศัยการร่วมมือกันอย่างเป็นระบบระหว่าง
ผู้สอนกับผู้เชี่ยวชาญหลายๆ ด้าน เช่น นักเทคโนโลยีการศึกษา นักคอมพิวเตอร์ นักจิตวิทยา นักออก
แบบ และนักวัดผล เพื่อหล่อหลอมแนวคิด และนำมาสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่มีประสิทธิ
ภาพมากที่สุด
ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรมีการวิจัยเปรียบเทียบการเรียนการสอนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่เรียน
ด้วยตนเองกับการเรียนการสอนด้วยสื่อประสมอื่น ๆ
2. ควรมีการค้นคว้าหรือวิจัยถึงความยาวของบทเรียน จำนวนข้อของแบบทดสอบในแต่ละ
หน่วยการเรียน ระยะเวลาที่ใช้ในการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เพื่อเป็นประโยชน์ในการ
สร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในเรื่องอื่น ๆ ต่อไป
3. ควรมีการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในเนื้อหาหรือวิชาอื่นๆ เพื่อใช้เป็นสื่อ
ช่วยในการพัฒนาการเรียนการสอน
4. การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในเนื้อหาอื่นต่อไป ควรใช้รูปแบบอื่นๆ เทคนิค
อื่นๆ เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทเกม จำลองสถานการณ์ เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ
มากยิ่งขึ้น
บรรณานุกรม
บรรณานุกรม
ภาษาไทย
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ “พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542,” วิทยาจารย์. 98 (5)
(สิงหาคม. 2542) ; 16.
--------. สาระและมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ และเทคโนโลยี ในหลักสูตร
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ : กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ,
2545.
--------. แนวการจัดกิจกรรม การเรียนการสอนข้อมูลสารสนเทศ. กรุงเทพฯ : ศูนย์พัฒนาหลักสูตร,
2543.
กฤษณา สมะวรรธนะ. การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน ชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 2 ตามหลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ. 2521. วิทยานิพนธ์การศึกษา
มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2538.
กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์. เทคโนโลยีเทคนิคศึกษา. กรุงเทพฯ : ภาควิชาครุศาสตร์เทคโนโลยี คณะครุ
ศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2536.
กัณธิมา กลิ่นศรีสุข. การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน ชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 2 ตามหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.
2533). ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2544.
กานดา พูนลาภทวี. การประเมินผลการศึกษา. กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนคร
เหนือ, 2528.
กิดานันท์ มลิทอง. เทคโนโลยีร่วมสมัย. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ : เอดิสันเพรสโพรดักส์, 2536.
ขนิษฐา ชานนท์. “เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์กับการเรียนการสอน,” เทคโนโลยีทางการศึกษา. ฉบับ
ปฐมฤกษ์ : 7 – 13 ; 2532.
เฉลียว พันธุ์สีดา. ห้องสมุดโรงเรียน. กรุงเทพฯ : คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ประสานมิตร, 2543.
ชนันทร์ เขตตลาด. การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกับการเรียน
แบบปกติ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2542.
ช่อบุญ จิรานุภาพ. การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง การใช้บริการสารสนเทศห้องสมุด
สำหรับนิสิตปริญญาตรีชั้นปีที่ 1. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทร
วิโรฒ, 2542.
ชัชวาลย์ วงษ์ประเสริฐ. บริการสารนิเทศ. กรุงเทพฯ : สาขาวิชาสารนิเทศ คณะนิเทศศาสตร์
มหาวิทยาลัย รังสิต, 2537.
--------. เอกสารประกอบการสอนวิชา IN 3305 การวิจัยและสำรวจประชามติ. กรุงเทพฯ : สาขาวิชา
สารนิเทศ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต, 2541.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. เอกสารการสอนชุดวิชา 20301 เทคโนโลยีและการสื่อสารการศึกษา กรุงเทพฯ :
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช, 2523.
--------. “การทดสอบประสิทธิภาพชุดการสอน,” ใน เอกสารการสอนชุดวิชาสื่อการสอนระดับประถม
ศึกษา หน่วยที่ 8 – 15. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช, 2536.
ถนอมพร (ตันพิพัฒน์) เลาหจรัสแสง. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน. กรุงเทพฯ : ภาควิชาโสตทัศนศึกษา
คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541.
ทัศนีย์ จันธนะไทยเอก. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถม
ศึกษาปีที่ 4 ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินที่เรียนเสริมด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่
มีรูปแบบต่างกัน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539.
นิพนธ์ ศุขปรีดี. คอมพิวเตอร์ทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : โอ เอส พริ้นติ้ง เฮ้าส์, 2528.
เนาวรัตน์ เปรมปรีดิ์. การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชากลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต
เรื่อง “จังหวัดของเรา” สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยบูรพา, 2541.
บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น, 2535.
บุปผชาติ ทัฬหิกรณ์ และคณะ. ความรู้เกี่ยวกับสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ : กรมวิชาการ
กระทรวงศึกษาธิการ, 2544.
บูรณะ สมชัย. การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2538.
ประคอง กรรณสูต. สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
2538.
พยอม ยุวะสุต. การใช้ห้องสมุดและสารสนเทศของนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในอำเภอ
เมือง เขตการศึกษา 5. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2541.
พรเทพ เมืองแมน. การออกแบบและพัฒนา CAI MULTIMEDIA ด้วยAuthorware. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ด
ยูเคชั่น, 2544.
มานพ ตันติวงศ์ชัย. “การสอนคิดสู่การเรียนรู้,” วารสารวิชาการ. 3 (9) (กันยายน. 2543) ; 10.
มาลินี จุฑะรพ. จิตวิทยาการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ : อักษรพิพัฒน์, 2537.
แม้นมาส ชวลิต. “บทบาทของห้องสมุดในยุคข่าวสาร.” วารสารห้องสมุด. 28 (1) (มกราคม-มีนาคม.
2527); 14 – 19.
ยืน ภู่วรวรรณ. การใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในการเรียนการสอน. ไมโครคอมพิวเตอร์. 36
(กุมภาพันธ์. 2531) ; 131.
ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2525. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : อักษร
เจริญทัศน์, 2523.
วิจารณ์ สงกรานต์. คอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยโปรแกรม Authorware 5 Attain. สถาบันราชภัฏ
หมู่บ้านจอมบึง, 2542.
ศรีศักดิ์ จามรมาน. “การใช้คอมพิวเตอร์ในการศึกษา” ใน เอกสารประกอบการสัมมนาทางวิชาการ
เรื่องการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในโรงเรียนเอกชน. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการ
ศึกษาเอกชนร่วมกับสมาคมสมาพันธ์การศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 2532.
ศักดิ์สิทธิ์ พันธ์เขียว. “บทบาทของครูกับการเรียนการสอนในยุคโลกาภิวัตน์,” วารสารวิชาการ. 2 (9)
(กันยายน. 2542) ; 58 – 59.
ศิริชัย สงวนแก้ว. “แนวทางการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน,” คอมพิวเตอร์รีวิว. 8 (78)
(กุมภาพันธ์. 2534) ; 173 – 179.
สมบูรณ์ สุริยวงศ์, สมจิตรา เรืองศรี และเพ็ญศรี เศรษฐวงศ์. ระเบียบวิธีวิจัยทางการศึกษา.
กรุงเทพฯ : ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ, 2544.
สานนท์ เจริญฉาย. โปรแกรมประยุกต์ด้านการศึกษา. กรุงเทพฯ : โอ เอส พริ้นติ้งเฮาส์, 2533.
สำลี รักสุทธิ และคณะ. ตารางวิเคราะห์หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 กลุ่มสาระ
การเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สู่การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : พัฒนา
ศึกษา, 2544.
สุพร พงษ์สุวรรณ. การสร้างโปรแกรมมัลติมีเดีย เรื่องการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สำหรับ
ครูประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. วิทยานิพนธ์การ
ศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2542.
สุพล วังสินธุ์. “การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สู่โครงงาน,” วารสารวิชาการ. 3 (9) (กันยายน. 2543) ; 11.
สุราษฎร์ พรหมจันทร์. การวัดผลการศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
พระนครเหนือ, 2530.
สุรศักดิ์ วาจาสิทธิ์ และคณะ. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.
2545. กรุงเทพฯ : วิญญูชน, 2546.
สุวิทย์ ฉุยฉาย. การสร้างและหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบมัลติมีเดีย เรื่อง
หม้อแปลงไฟฟ้าสามเฟส หลักสูตรอนุปริญญาวิทยาศาสตร์ สถาบันราชภัฏ. วิทยานิพนธ์
ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 2543.
อำนวย เตชชัยศรี. “นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาในการสอน” วารสารข้าราชการครู. 20 (3)
(ก.พ. – มี.ค. 2542) ; 112 – 117.
อุทัย วรรณกุล. ความต้องการสารนิเทศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในจังหวัดแพร่. ปริญญา
นิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2539.
CAI. 2545 [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http:// www.thaiCAI.com
ภาษาอังกฤษ
Blackie, Edna and John M.Smith. “Student Information Needs and Library User Education,”
Education Libraries Bulletin. 24 : 16-23 ; Autumn, 1981.
Elliot, Lloyd Gene. “A Study of the Use by Undergradates of One University Library,”
Dissertation Abstracts International. 38 : 2391A ; November, 1997.
Friedman, Lucille T. “Programmed Lesson in RPG Computer Programming for New York
City Hing School Senior” Dissertation Abstracts International. 29 ; August 1974.
Gagne, Robert M. and Leslie J Briggs. Principles of instructional design. 2nd. U.S.A. : Holt,
Rinehart and Winston, 1979.
Rubens, Brenda Knowles. “The Effect of Medium, Step Size, and Response Mode on
Learning in Programmed Instruction and Computer-Assisted Instruction,”
Dissertation Abstracts International. 47/06 A : 2133 ; 1986.
Sengendo, A.B.K. “The Effect of Computer-Assisted Cooperative Learning on the Science
Achievemant and Attitudes of American Indian Students” Dissertation Abstracts
International. 49; December 1988.
Whittaker, James O. Introduction to Psychology. America : W.B.Saunders , 1966.
ภาคผนวก
ภาคผนวก ก
- แบบประเมินความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของแบบทดสอบ
- แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
- แบบประเมินความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
แบบประเมินความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของแบบทดสอบ
คำชี้แจง
1. ให้เติมความเห็นลงในข้อเสนอแนะที่มีต่อแบบทดสอบ
2. ให้กาเครื่องหมาย �� ในช่องที่คิดว่าเป็นจริงสอดคล้องกับความคิดของผู้ประเมิน โดยให้
ระดับคะแนนดังนี้
+ 1 หมายถึง แน่ใจว่าวัดตรงกับนิยามของเนื้อหา
0 หมายถึง ไม่แน่ใจว่าวัดตรงกับนิยามของเนื้อหา
- 1 หมายถึง แน่ใจว่าไม่ตรงกับนิยามของเนื้อหา
3. ให้ผู้ประเมินแสดงความคิดเห็นลงในแบบประเมินทุกข้อเพราะว่าหากขาดข้อหนึ่งข้อใด
แล้วจะทำให้แบบประเมินนี้ไม่สมบูรณ์
ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ
ความเห็น
ผู้เชี่ยวชาญ
หัวเรื่อง
จุดประสงค์การเรียนรู้
ข้อสอบ
+1 0 -1
อธิบายความหมายและความจำเป็น
ของสารสนเทศได้
ข้อ 1
ข้อ 2
ข้อ 3
1. ความหมายและความ
สำคัญของสารสนเทศ
บอกความสำคัญ ประโยชน์ของสาร
สนเทศได้
ข้อ 4
ข้อ 5
ข้อ 6
ข้อ 7
ข้อ 8
ข้อ 9
ข้อ 10
2. ประเภทและลักษณะ
ของสารสนเทศ
จำแนกประเภทของสารสนเทศได้
และบอกการจัดเก็บสารสนเทศ
ข้อ 11
ข้อ 12
ข้อ 13
ข้อ 14
ข้อ 15
ข้อ 18
ข้อ 19
ข้อ 20
3. แหล่งสารสนเทศ บอกแหล่งสารสนเทศที่เป็นเหตุ
การณ์ สถาบัน บุคคล สถานที่ได้
ข้อ 21
ข้อ 22
ข้อ 23
ข้อ 24
ข้อ 25
ข้อ 26
ข้อ 27
ข้อ 28
ข้อ 29
ข้อ 30
ข้อ 31
ข้อ 32
ข้อ 33
ข้อ 34
ข้อ 35
รู้จักการค้นหาสารสนเทศได้ถูกต้อง ข้อ 36
ข้อ 37
ข้อ 38
ข้อ 39
ข้อ 40
รู้จักเครื่องมือช่วยค้นประเภทต่างๆ ข้อ 41
ข้อ 42
ข้อ 43
ข้อ 44
ข้อ 45
4. เครื่องมือช่วยค้นสาร
สนเทศ
แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
แบบสอบถามนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อทราบความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับ การพัฒนาออก
แบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง วิธีการแสวงหาสารสนเทศ สำหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
คำชี้แจง : ให้นักเรียน กาเครื่องหมาย �� ลงในช่องว่างที่นักเรียนเลือกตามความคิดเห็นของตนเอง
โดยมีระดับคะแนน ดังนี้
5 หมายถึง เห็นด้วยอย่างยิ่ง 4 หมายถึง เห็นด้วย
3 หมายถึง ไม่แน่ใจ 2 หมายถึง ไม่เห็นด้วย
1 หมายถึง ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง
ระดับความคิดเห็น
ข้อ
รายการ 5 4 3 2 1
1. นักเรียนคิดว่าคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีส่วนช่วยให้เกิด
ความเข้าใจในการเรียนของนักเรียนได้ดีกว่าครูสอน
2. คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรียนได้สะดวกรวดเร็วและมี
ความเข้าใจมากกว่าการศึกษาจากหนังสือธรรมดา
3. คอมพิวเตอร์ช่วยสอนทำให้นักเรียนมีความรู้ความเข้า
ใจเนื้อหาวิชามากขึ้น
4. คอมพิวเตอร์ช่วยสอนทำให้นักเรียนสามารถเรียนได้
ช้าหรือเร็วได้ตามความสามารถและความต้องการ
5. คำถามแบบฝึกหัดในคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีความ
เหมาะสมช่วยให้นักเรียนมีความเข้าใจเนื้อหาได้ดียิ่ง
ขึ้น
6. การเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ช่วยสอน นักเรียนพอใจที่ได้
รับคำตอบของคำถามได้ทันที
7. นักเรียนพอใจกับคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สามารถเรียน
ได้โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่
ระดับความคิดเห็น
ข้อ
รายการ 5 4 3 2 1
8. ขณะเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ช่วยสอนให้นักเรียนได้ทั้ง
ความรู้ ความเพลิดเพลิน ไม่เกิดความเครียด
9. คอมพิวเตอร์ช่วยสอนทั้ง 4 ตอน กำหนดเนื้อหาตาม
ลำดับต่อเนื่องอย่างเหมาะสม
10 คอมพิวเตอร์ช่วยสอนช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
และแก้ปัญหาการเรียนไม่ทันเพื่อนได้
11 ควรจัดให้มีคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในวิชาอื่น ๆ ให้มาก
ขึ้น
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่น ๆ …………………………………………………………………….
………………………………………………………………………………………………………...
ลงชื่อ ……………………………………… ผู้ประเมิน
แบบประเมินคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
แบบประเมินความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
เรื่อง วิธีการแสวงหาสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
-----------------------------
คำชี้แจง
โปรดทำเครื่องหมาย �� ลงในช่องว่างที่ตรงกับความคิดเห็นของท่าน ซึ่งมี 5 ระดับ คือ
5 หมายถึง เหมาะสมมากที่สุด 4 หมายถึง เหมาะสมมาก
3 หมายถึง เหมาะสมปานกลาง 2 หมายถึง เหมาะสมน้อย
1 หมายถึง เหมาะสมน้อยที่สุด
ระดับความคิดเห็น
รายการ 5 4 3 2 1
1. ด้านเนื้อหาและการนำเสนอ
1.1 เนื้อหาบทเรียนครอบคลุมวัตถุประสงค์
1.2 ความเหมาะสมของการแยกย่อยเนื้อหา
1.3 ความชัดเจนในการอธิบายเนื้อหา
1.4 ความเหมาะสมของเนื้อหากับระดับความรู้ของ
ผู้เรียน
1.5 ความเหมาะสมของจำนวนข้อสอบ หรือข้อ
ทดสอบ
2. ด้านกราฟิกและการออกแบบ
2.1 การออกแบบหน้าจอมีความสวยงาม
2.2 รูปภาพประกอบสามารถสื่อความหมาย และมี
ความสอดคล้องกับเนื้อหา มีความชัดเจน
2.3 ตัวอักษรที่ใช้มีความเหมาะสม
2.4 เสียงประกอบ และเสียงบรรยายมีความเหมาะสม
ชัดเจน
2.5 ความเหมาะสมของเวลาในการนำเสนอบทเรียน
ระดับความคิดเห็น
รายการ 5 4 3 2 1
3. การจัดการในบทเรียน
3.1 ความชัดเจนของคำอธิบายการปฏิบัติในบทเรียน
3.2 ความต่อเนื่องของการนำเสนอเนื้อหา
3.3 การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนควบคุมบทเรียน
3.4 ความเหมาะสมของวิธีการโต้ตอบกับบทเรียน
3.5 ความเหมาะสมของวิธีการสรุปเนื้อหาบทเรียน
ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่น ๆ …………………………………………………………………….
………………………………………………………………………………………………………...
ลงชื่อ ……………………………………… ผู้ประเมิน
ขอขอบคุณในความร่วมมือ
ภาคผนวก ข
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
แบบทดสอบวิชา เทคโนโลยี 4 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
เรื่อง วิธีการแสวงหาสารสนเทศ
คำสั่ง ให้นักเรียน ทำเครื่องหมาย X ทับข้อที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว
1. สารสนเทศ ในภาษาอังกฤษใช้คำว่าอะไร
ก. Imformation ข. Information
ค. Formation ง. International
2. สารสนเทศหมายถึงอะไร
ก. ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว ข. วัสดุตีพิมพ์
ค. วัสดุไม่ตีพิมพ์ ง. ถูกทั้งข้อ ข. และ ค.
3. สารสนเทศที่ดีควรทำอย่างไร
ก. เก็บไว้เฉย ๆ ข. รักษาให้คงสภาพเดิม
ค. เผยแพร่ ง. เผยแพร่และพัฒนา
4. สารสนเทศมีความสำคัญด้านใดบ้าง
ก. ด้านการประกอบการ ข. ด้านกระบวนการสร้างสรรค์
ค. ด้านการพัฒนาสื่อสาร ง. ด้านการเรียนการสอน
5. การนำข่าวสารต่าง ๆ มาประกอบการตัดสินใจเป็นประโยชน์ของสารสนเทศด้านใด
ก. ด้านกระบวนการสร้างสรรค์ ข. ด้านการแก้ปัญหา
ค. ด้านสื่อมวลชน ง. ด้านวัฒนธรรม
6. การให้สารสนเทศมาพัฒนาประสิทธิภาพการเรียน เป็นประโยชน์ของสารสนเทศด้านใด
ก. ด้านการเรียนการสอน ข. ด้านการประกอบการ
ค. ด้านการจัดการข้อมูล ง. ด้านประสิทธิภาพ
7. การนำเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมาใช้ในการสืบค้น เป็นประโยชน์ของสารสนเทศด้านใด
ก. ด้านสังคม ข. ด้านคุณภาพชีวิต
ค. ด้านวิทยาการและเทคโนโลยี ง. ด้านการพัฒนาสื่อสาร
8. นักเรียนคิดว่าสารสนเทศมีประโยชน์ในการพัฒนาสิ่งใดมากที่สุด
ก. พัฒนาบุคลิกภาพ ข. พัฒนาฝีมือ
ค. พัฒนาความคิด ง. พัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม
9. การให้สารสนเทศที่ฉลาดควรทำอย่างไร
ก. ขัดเกลา ข. เลือกใช้
ค. บูรณาการ ง. ถูกทุกข้อ
10. ทำไมสารสนเทศถือว่าเป็นทรัพยากรที่ไม่มีที่สิ้นสุด
ก. เพราะข้อมูลข่าวสารเกิดขึ้นใหม่ตลอดเวลาในทุก ๆ สาขาวิชา
ข. เพราะความเคลื่อนไหวทางการเมือง เศรษฐกิจ
ค. เพราะมีผู้เก็บรักษาไว้อย่างดี
ง. เพราะมีการปรับปรุง ซ่อมแซมตลอดเวลา
11. ตำราวิชาการ แบบเรียน จัดเป็นวัสดุตีพิมพ์ประเภทใด
ก. หนังสือ ข. วารสาร
ค. จุลสาร ง. กฤตภาค
12. ถ้าเราจะค้นคว้าความรู้ เราควรจะค้นจากวัสดุตีพิมพ์ใด
ก. หนังสือวิชาการ ข. วารสารหรือนิตยสาร
ค. กฤตภาค ง. ค้นได้จากทุกข้อ
13. ถ้าเราจะหาความเพลิดเพลิน จากการอ่านหนังสือเราควรไปค้นหาหนังสือที่จะอ่านประเภทใด
ก. หนังสือตำราวิชาการ ข. หนังสือบันเทิงคดี
ค. กฤตภาค ง. ค้นได้จากทุกประเภท
14. ถ้าเราจะหาหนังสืออ่านที่ได้ทั้งความรู้และความบันเทิง เราควรไปหาอ่านจากสารสนเทศประเภท
ใด
ก. ตำราวิชาการ ข.จุลสาร
ค. นวนิยาย ค. กฤตภาค
15. ถ้าเราต้องการทราบข่าวสารความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ของโลกและสังคม เราจะหาอ่านได้จาก
สารสนเทศประเทศใด
ก. วารสารวิชาการ ข. วารสารข่าว
ค. หนังสือพิมพ์ ง. ถูกทั้งข้อ ข. และค.
16. การจัดเก็บหนังสือตามระบบทศนิยมดิวอี้ แบ่งหนังสือออกเป็นกี่หมวด
ก. 9 หมวด ข. 10 หมวด
ค. 11 หมวด ง. 12 หมวด
17. หนังสือในหมวด 800 เป็นหนังสือประเภทใด
ก. วรรณคดี ข. สังคมศาสตร์
ค. ประวัติศาสตร์ ง. เบ็ดเตล็ด
18. โสตวัสดุประเภทใดที่มีคุณภาพเสียงชัดเจน
ก. แผ่นเสียง ข. แผ่น CD
ค. แผ่น DVD ง. เทปบันทึกเสียง
19. วัสดุไม่ตีพิมพ์ประเภทใดที่ผู้ใช้สารสนเทศรับรู้สารสนเทศทั้งจากการดูและการฟัง
ก. โสตวัสดุ ข. ทัศนวัสดุ
ค. โสตทัศนวัสดุ ง. จักษุวัสดุ
20. CD-ROM , DVD จัดเป็นวัสดุไม่ตีพิมพ์ประเภทใด
ก. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ข. วารสารอิเล็กทรอนิกส์
ค. สัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ ง. วัสดุอิเล็กทรอนิกส์
21. แหล่งสารสนเทศมีหน้าที่อะไร
ก. รวบรวมสารสนเทศ ข. วิเคราะห์สารสนเทศ
ค. เผยแพร่สารสนเทศ ง. ถูกทุกข้อ
22. ถ้าเราต้องการรู้เรื่องการปลูกต้นกุหลาบ ควรถามจากใคร
ก. เพื่อนร่วมงาน ข. คนขายสัตว์
ค. คนขายต้นไม้ ง. นักวิชาการทั่วไป
23. แหล่งสารสนเทศประเภทแหล่งบุคคลคืออะไร
ก. ผู้เชี่ยวชาญ ข. ห้องสมุด
ค. วิทยุ ง. สื่อมวลชน
24. ข้อใด ไม่ใช่ แหล่งสื่อมวลชน
ก. วิทยุ ข. โทรทัศน์
ค. ผู้เชี่ยวชาญ ง. หนังสือพิมพ์
25. แหล่งสื่อมวลชนใดที่สร้างความน่าสนใจมากที่สุด
ก. วิทยุ ข. โทรทัศน์
ค. ผู้เชี่ยวชาญ ง. หนังสือพิมพ์
26. หนังสือพิมพ์มีส่วนประกอบใหญ่ ๆ 2 ส่วน คืออะไร
ก. ข้อความ + รูปภาพ ข. พาดหัวข่าว + รูปภาพ
ค. เนื้อหา + ข้อความ ง. พาดหัวข่าว + เนื้อหา
27. การพาดหัวข่าวที่สำคัญที่สุด ควรทำอย่างไร
ก. พิมพ์ด้วยตัวอักษรขนาดใหญ่ ข. ตีกรอบรอบล้อม
ค. พิมพ์ไว้ด้านบนสุด ง. พิมพ์รายละเอียดให้ชัดเจน
28. ข่าวใดจัดเป็นข่าวอ่อน
ก. ข่าวการศึกษา ข. ข่าวบันเทิง
ค. ข่าวเศรษฐกิจ ง. ข่าวต่างประเทศ
29. ถ้าเราต้องการทราบข่าวความเคลื่อนไหวของตารางการแข่งขันฟุตบอลอังกฤษต้องอ่านข่าวใด
ก. ข่าวสังคม ข. ข่าวต่างประเทศ
ค. ข่าวบันเทิง ง. ข่าวกีฬา
30. สถานที่ใดให้บริการสารสนเทศแก่นักศึกษา อาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา
ก. ห้องสมุดโรงเรียน ข. ห้องสมุดประชาชน
ค. ห้องสมุดมหาวิทยาลัย ง. ห้องสมุดเฉพาะ
31. ถ้านักเรียนได้รับรายงานจากคุณครู นักเรียนคิดว่าสถานที่ใดสามารถค้นคว้าได้สะดวกที่สุด
ก. ห้องสมุดโรงเรียน ข. ห้องสมุดประชาชน
ค. ห้องสมุดมหาวิทยาลัย ง. ห้องสมุดเฉพาะ
32. พนักงานบริษัทฟอกหนัง ต้องการหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการเลือกหนัง ควรหาหนังสืออ่าน
ได้จากสถานที่ใด
ก. ห้องสมุดโรงเรียน ข. ห้องสมุดประชาชน
ค. ห้องสมุดมหาวิทยาลัย ง. ห้องสมุดเฉพาะ
33. หอสมุดแห่งชาติ จัดตั้งขึ้นโดยใคร
ก. รัฐบาล ข. ประชาชน
ค. มหาวิทยาลัย ง. สมาคม
34. ถ้าเราต้องการรู้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศต่าง ๆ ขณะนี้ ต้องหาจากแหล่งใด
ก. บุคคล ข. สื่อมวลชน
ค. สถาบัน ง. โทรทัศน์
35. ประสบการณ์ตนเองจัดเป็นแหล่งสารสนเทศประเภทใด
ก. บุคคล ข. สื่อมวลชน
ค. สถาบัน ง. ถูกทุกข้อ
36. เครื่องมือช่วยค้นใดที่บอกถึงชื่อผู้แต่ง ชื่อหนังสือ และอื่น ๆ
ก. บรรณานุกรม ข. ดรรชนี
ค. พจนานุกรม ง. สารานุกรม
37. ถ้าเราต้องการหาความหมายของคำว่า “สารสนเทศ” จะหาได้จากหนังสืออะไร
ก. บรรณานุกรม ข. ดรรชนี
ค. พจนานุกรม ง. สารานุกรม
38. หนังสืออะไรที่ออกมาเป็นชุด ให้ความรู้พื้นฐานในเรื่องต่าง ๆ
ก. บรรณานุกรม ข. ดรรชนี
ค. พจนานุกรม ง. สารานุกรม
39. หนังสือรายปี เป็นหนังสือเกี่ยวกับเรื่องใด
ก. เรื่องราวข้อมูลต่าง ๆ สถิติ ข. เรื่องราวเกี่ยวกับกระทรวงต่าง ๆ
ค. ประวัติที่มาของคำต่าง ๆ ง. สถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ
40. ถ้าเราต้องการรู้จักประวัติของจังหวัดต่าง ๆ ควรหาจากหนังสืออะไร
ก. อักขรานุกรมชีวประวัติ ข. หนังสืออ้างอิงภูมิศาสตร์
ค. นามานุกรม ง. หนังสือคู่มือ
41. แหล่งรวมสารสนเทศที่จัดเป็นระบบด้วยโปรแกรม เพื่อให้ค้นคืนได้สะดวก รวดเร็ว เรียกว่าอะไร
ก. สื่อสิ่งพิมพ์ ข. สื่อโสตทัศน์
ค. ฐานข้อมูล ง. อิเล็กทรอนิกส์
42. การสืบค้นทางอินเตอร์เน็ต จัดเป็นฐานข้อมูลแบบใด
ก. แบบออฟไลน์ ข. แบบซีดีรอม
ค. แบบโปรแกรมสำเร็จรูป ง. แบบออนไลน์
43. การบริการฐานข้อมูล สามารถแบ่งได้กี่รูปแบบ
ก. 3 รูปแบบ ข. 4 รูปแบบ
ค. 5 รูปแบบ ง. 6 รูปแบบ
44. ฐานข้อมูลพัฒนาขึ้น และใช้กันแพร่หลายในปัจจุบันเพื่อใช้แทนสื่อใด
ก. ซีดีรอม ข. อินเตอร์เน็ต
ค. OPAC ง. สิ่งพิมพ์
45. ถ้าต้องการหาข้อมูลที่มีรายละเอียดครบถ้วนเหมือนต้นฉบับเดิม ต้องค้นจากฐานข้อมูลใด
ก. ฐานบรรณานุกรม ข. ฐานข้อมูลเต็มรูป
ค. ฐานข้อมูลสถิติ ง. ฐานข้อมูลอ้างอิง
--------------------------
ภาคผนวก ค
เอกสารประกอบการใช้บทเรียน (คู่มือครู)
เอกสารประกอบการใช้บทเรียน (คู่มือครู)
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง วิธีแสวงหาสารสนเทศ ได้ทำการออกแบบและนำเสนอเนื้อหาใน
เรื่องของสารสนเทศ เพื่อใช้ในการเรียนการสอนวิชา เทคโนโลยี 4 สาระที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศ
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ของโรงเรียนวาสุเทวี
คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ความหมาย บอกความสำคัญของสารสนเทศ รู้จัก
รวบรวมสารสนเทศที่ต้องการจากแหล่งต่าง ๆ และรู้จักเก็บรักษาสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ โดยให้มี
ความรู้เกี่ยวกับความหมายและความสำคัญของสารสนเทศ ประเภทและลักษณะของสารสนเทศ
แหล่งสารสนเทศ และเครื่องมือช่วยค้นสารสนเทศ
มุ่งเน้นให้ผู้เรียน รู้จักแสวงหาสารสนเทศจากการปฏิบัติจริง การทดลอง และเพื่อพัฒนา
ทักษะกระบวนการคิด การทำงาน
การวัดและประเมินผลด้วยวิธีหลากหลายตามสภาพความเป็นจริงและทักษะ
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
เมื่อผู้เรียนศึกษาบทเรียนเรื่องนี้จบแล้ว สามารถกระทำสิ่งต่อไปนี้ได้
1. บอกความหมายของการแสวงหาสารสนเทศ
2. อธิบายองค์ประกอบของการแสวงหาสารสนเทศ
3. บอกกระบวนการเปลี่ยนพฤติกรรม
4. ชี้แจงการใช้และการประเมินสารสนเทศ
เนื้อหาเรื่อง วิธีการแสวงหาสารสนเทศ
เนื้อหาเรื่องนี้มีแนวคิดหลัก ๆ ได้แก่ การศึกษาเกี่ยวกับสารสนเทศในหัวข้อของความหมาย
ความสำคัญ ประเภท ลักษณะ แหล่ง และเครื่องมือช่วยค้นสารสนเทศ โดยได้แบ่งเนื้อหาออกเป็น 4
ตอน ดังนี้
ตอนที่ 1 ความหมายและความสำคัญของสารสนเทศ
ตอนที่ 2 ประเภทและลักษณะของสารสนเทศ
ตอนที่ 3 แหล่งสารสนเทศ
ตอนที่ 4 เครื่องมือช่วยค้นสารสนเทศ
แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง วิธีการแสวงหาสารสนเทศ
ครั้งที่ เนื้อหา จำนวนคาบ ชั่วโมง
1 ตอนที่ 1 ความหมายและความสำคัญของสารสนเทศ
- ความหมาย ของสารสนเทศ
- ความสำคัญของสารสนเทศ
1 1
2 ตอนที่ 2 ประเภทและลักษณะของสารสนเทศ
- ประเภทของสารสนเทศ
- การจัดเก็บสารสนเทศ
1 2
3 ตอนที่ 3 แหล่งสารสนเทศ
- แหล่งสารสนเทศ
1 3
4 ตอนที่ 4 เครื่องมือช่วยค้นสารสนเทศ
- เครื่องมือช่วยค้นประเภทชี้สารสนเทศ
- เครื่องมือช่วยค้นประเภทฐานข้อมูล
1 4
กระบวนการเรียนรู้
1. ศึกษาจากเอกสารการสอนเรื่อง วิธีการแสวงหาสารสนเทศ
2. ศึกษาจากคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
3. ศึกษาจากตำรา และเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับบทเรียน
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
1. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง วิธีการแสวงหาสารสนเทศ
2. หนังสือพิมพ์ ใบปลิว โปสเตอร์
การวัดและประเมินผล
1. ประเมินจากการทำกิจกรรม
2. ประเมินจากการซักถาม โต้ตอบปัญหา
3. ประเมินจากแบบทดสอบ
การเตรียมตัวครู
เนื่องจากคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์
ดังนั้นครูผู้สอนจึงต้องมีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์พอสมควร เพราะเมื่อเกิดปัญหา ครูผู้สอนสามารถ
ที่จะแก้ไขและอธิบายได้
ขั้นเตรียม
1. อธิบายการใช้คอมพิวเตอร์ แป้นพิมพ์และการใช้เมาส์
2. อธิบายการใช้โปรแกรม
อุปกรณ์ที่จำเป็น
1. เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ CPU รุ่นตั้งแต่ 486 ขึ้นไป
2. หน่วยความจำ (RAM) อย่างน้อย 8 MB
3. จอภาพสีชนิด Super VGA
4. ใช้ระบบ Windows 95 ขึ้นไป
5. มี Harddisk มีความจุอย่างน้อย 210 MB
6. เมาส์ (Mouse) และแป้นพิมพ์ (Keyboard)
7. ติดตั้งการ์ดเสียงพร้อมลำโพง
ขั้นตอนการใช้โปรแกรม
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนบรรจุอยู่ในแผ่นซีดีรอมจำนวน 1 แผ่น วิธีการใช้ทำได้คือ
1. เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องจะทำงานโดยอัตโนมัติจนถึงการเข้าสู่ระบบ Windows
2. ใส่แผ่นซีดีรอมลงในช่อง Drive D:
3. โปรแกรมจะทำการ Run โดยอัตโนมัติ
การเข้าสู่โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1. ผู้ใช้โปรแกรมจะต้องศึกษาผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ซึ่งจะปรากฏให้เห็นในหน้าจอ
โปรแกรม
2. การเปลี่ยนหน้าบทเรียนในคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะเป็นแบบไฮเปอร์ลิงค์ ผู้เรียนสามารถ
เลือกกดปุ่มที่ต้องการได้
4. การเข้าสู่บทเรียนจะปรากฎรายการบทเรียนต่าง ๆ บนหน้าจอ
5. เมื่อนักเรียนเรียนจบบทเรียนให้นักเรียนทำแบบทดสอบ จำนวน 45 ข้อ
6. เมื่อต้องการออกจากโปรแกรม ให้นักเรียนกดปุ่มออกจากโปรแกรม ซึ่งจะปรากฏบน
หน้าจอ
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
ตอนที่ 1 ความหมายและความสำคัญของสารสนเทศ เวลา 1 คาบ
เรื่อง วิธีการแสวงหาสารสนเทศ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
…………………………………………………………………………………………………………
1. สาระสำคัญ
สารสนเทศ มีประโยชน์และจำเป็นต่อชีวิตประจำวันของทุกคน มีความสำคัญต่อการศึกษา
และการเรียนการสอนทุกระดับไม่ว่าจะเป็นการศึกษาในระบบ การศึกษานอบระบบและการศึกษา
ตามอัธยาศัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาในสูงขึ้น ผู้เรียนจำเป็นต้องศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
2. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
2.1 ผู้เรียนสามารถอธิบายความหมายและความจำเป็นของสารสนเทศได้
2.2 ผู้เรียนสามารถบอกความสำคัญ ประโยชน์ของสารสนเทศได้
3. สาระการเรียนรู้
3.1 ความหมาย ความสำคัญ ประโยชน์ของสารสนเทศ
3.2 ความสำคัญของสารสนเทศ
4. กระบวนการเรียนรู้
4.1 ขั้นสร้างความสนใจ
ครูอ่านหัวข้อข่าวเด่นจากหนังสือพิมพ์ เพื่อกระตุ้นนักเรียนให้เกิดอารมณ์คล้อยตาม และ
เกิดความสนใจข่าว และให้นักเรียนรู้จักวิเคราะห์ข่าวนั้น
4.2 ขั้นแจ้งจุดประสงค์
ครูอธิบายจุดประสงค์ของบทเรียนเพื่อให้นักเรียนได้ตระหนักถึงความสำคัญ และ
ประโยชน์ของสารสนเทศ ว่ามีส่วนช่วยให้นักเรียนสามารถ
1. บอกความหมายของสารสนเทศได้
2. เห็นความสำคัญในการรับรู้สารสนเทศ
3. นำสารสนเทศไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเหมาะสม
4.3 ขั้นเสนอบทเรียนใหม่โดยใช้วัสดุอุปกรณ์กระตุ้น
1. ครูให้นักเรียนเข้าคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง วิธีแสวงหาสารสนเทศ ตอนที่ 1 ความ
หมาย และความสำคัญของสารสนเทศ
2. ครูชี้แจงว่าคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นบทเรียนซึ่งนักเรียนสามารถจะเรียนรู้ได้ด้วย
ตนเองตามลำพัง
4.4 ขั้นให้แนวการเรียนรู้
1. ครูให้นักเรียนอ่านจุดประสงค์ ซึ่งเขียนไว้ในคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
2. ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนซักถาม ข้อสงสัย พร้อมทั้งให้กำลังใจในการเรียนรู้แก่
นักเรียน
4.5 ขั้นให้นักเรียนปฏิบัติ
1. นักเรียนแต่ละคนเรียนรู้เนื้อหา ตอนที่ 1 ความหมาย และความสำคัญของสารสนเทศ
2. ขณะที่นักเรียนเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ครูบันทึกสังเกตพฤติกรรมและแนะนำ
ช่วยเหลือ เมื่อนักเรียนต้องการ เพื่อให้ข้อคิดเป็นข้อมูลย้อนกลับ ปรับปรุงผลการ
เรียนของนักเรียน
4.6 ขั้นประเมินผลการปฏิบัติ
นักเรียนตอบคำถามท้ายตอน
5. สื่อและแหล่งการเรียนรู้
5.1 หนังสือพิมพ์
5.2 คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
6. การวัดผลและประเมินผล
6.1 วัดจากการตอบคำถาม
6.2 วัดจากการมีปฏิสัมพันธ์
6.3 วัดจากการทำกิจกรรม
6.4 สังเกตพฤติกรรมการเรียน
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2
ตอนที่ 2 ประเภทและลักษณะของสารสนเทศ เวลา 1 คาบ
เรื่อง วิธีการแสวงหาสารสนเทศ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
…………………………………………………………………………………………………………
1. สาระสำคัญ
วัสดุสารสนเทศมีมากมายหลายรูปแบบทั้งที่เป็นวัสดุตีพิมพ์และวัสดุไม่ตีพิมพ์ มีการเก็บ
สารสนเทศหลายวิธีตามประเภท เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้
2 ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
2.1 ผู้เรียนสามารถจำแนกประเภทของสารสนเทศได้
2.2 ผู้เรียนสามารถบอกการจัดเก็บสารสนเทศ
3. สาระการเรียนรู้
3.1 ประเภทของสารสนเทศ
3.2 การจัดเก็บสารสนเทศ
4. กระบวนการเรียนรู้
4.1 ขั้นสร้างความสนใจ
นักเรียนอภิปรายสั้น ๆ เกี่ยวกับประโยชน์ของสารสนเทศที่ได้จากการดูหนังสือพิมพ์
โปสเตอร์
4.2 ขั้นแจ้งจุดประสงค์
ครูอธิบายจุดประสงค์ของบทเรียนเพื่อให้นักเรียนได้ตระหนักถึงประเภทและลักษณะ
ของสารสนเทศ ว่ามีส่วนช่วยให้นักเรียนสามารถ
1. บอกประเภทของสารสนเทศได้
2. รู้จักการจัดเก็บสารสนเทศ
4.3 ขั้นเสนอบทเรียนใหม่โดยใช้วัสดุอุปกรณ์กระตุ้น
1. ครูให้นักเรียนเข้าคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง วิธีแสวงหาสารสนเทศ ตอนที่ 2 ประเภท
และลักษณะของสารสนเทศ
2. ครูชี้แจงว่าคอมพิวเตอร์ช่วยสอนฉบับนี้ เป็นบทเรียนซึ่งนักเรียนสามารถจะเรียนรู้ได้
ด้วยตนเองตามลำพัง
4.4 ขั้นให้แนวการเรียนรู้
1. ครูให้นักเรียนอ่านจุดประสงค์ ซึ่งเขียนไว้ในคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
2. ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนซักถาม ข้อสงสัย พร้อมทั้งให้กำลังใจในการเรียนรู้แก่
นักเรียน
4.5 ขั้นให้นักเรียนปฏิบัติ
1. นักเรียนแต่ละคนเรียนรู้เนื้อหา ตอนที่ 2 ประเภทและลักษณะของสารสนเทศ
2. ขณะที่นักเรียนเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ครูบันทึกสังเกตพฤติกรรมและแนะนำ ช่วย
เหลือ เมื่อนักเรียนต้องการ เพื่อให้ข้อคิดเป็นข้อมูลย้อนกลับ ปรับปรุงผลการเรียน
ของนักเรียน
4.6 ขั้นประเมินผลการปฏิบัติ
นักเรียนตอบคำถามท้ายตอน
5. สื่อและแหล่งการเรียนรู้
หนังสือพิมพ์ โปสเตอร์
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
6. การวัดผลและประเมินผล
6.1 วัดจากการตอบคำถาม
6.2 วัดจากการมีปฏิสัมพันธ์
6.3 วัดจากการทำกิจกรรม
6.4 สังเกตพฤติกรรมการเรียน
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3
ตอนที่ 3 แหล่งสารสนเทศ เวลา 1 คาบ
เรื่อง วิธีการแสวงหาสารสนเทศ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
…………………………………………………………………………………………………………
1. สาระสำคัญ
แหล่งข้อมูลมีหลากหลายซึ่งได้จากบุคคล ศูนย์สารสนเทศ ห้องสมุด เป็นต้น
2. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
ผู้เรียนสามารถบอกแหล่งสารสนเทศที่เป็นเหตุการณ์ สถาบัน บุคคล สถานที่ได้
3. สาระการเรียนรู้
แหล่งสารสนเทศ
4. กระบวนการเรียนรู้
4.1 ขั้นสร้างความสนใจ
นักเรียนเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับการเข้าห้องสมุด
4.2 ขั้นแจ้งจุดประสงค์
ครูอธิบายจุดประสงค์ของบทเรียนเพื่อให้นักเรียนได้ตระหนักถึงแหล่งของสารสนเทศว่า
มีส่วนช่วยให้นักเรียนสามารถ
1. บอกแหล่งของสารสนเทศได้
2. รู้จักแหล่งในการจัดเก็บสารสนเทศ
4.3 ขั้นเสนอบทเรียนใหม่โดยใช้วัสดุอุปกรณ์กระตุ้น
1. ครูให้นักเรียนเข้าคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง วิธีแสวงหาสารสนเทศ ตอนที่ 3 แหล่ง
สารสนเทศ
2. ครูชี้แจงว่าคอมพิวเตอร์ช่วยสอนฉบับนี้ เป็นบทเรียนซึ่งนักเรียนสามารถจะเรียนรู้ได้
ด้วยตนเองตามลำพัง
4.4 ขั้นให้แนวการเรียนรู้
1. ครูให้นักเรียนอ่านจุดประสงค์ ซึ่งเขียนไว้ในคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
2. ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนซักถาม ข้อสงสัย พร้อมทั้งให้กำลังใจในการเรียนรู้แก่
นักเรียน
4.5 ขั้นให้นักเรียนปฏิบัติ
1. นักเรียนแต่ละคนเรียนรู้เนื้อหา ตอนที่ 3 แหล่งสารสนเทศ
2. ขณะที่นักเรียนเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ครูบันทึกสังเกตพฤติกรรมและแนะนำ ช่วย
เหลือ เมื่อนักเรียนต้องการ เพื่อให้ข้อคิดเป็นข้อมูลย้อนกลับ ปรับปรุงผลการเรียน
ของนักเรียน
4.6 ขั้นประเมินผลการปฏิบัติ
นักเรียนตอบคำถามท้ายตอน
5. สื่อและแหล่งการเรียนรู้
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
6. การวัดผลและประเมินผล
6.1 วัดจากการตอบคำถาม
6.2 วัดจากการมีปฏิสัมพันธ์
6.3 วัดจากการทำกิจกรรม
6.4 สังเกตพฤติกรรมการเรียน
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4
ตอนที่ 4 เครื่องมือช่วยค้นสารสนเทศ เวลา 1 คาบ
เรื่อง วิธีการแสวงหาสารสนเทศ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
…………………………………………………………………………………………………………
1. สาระสำคัญ
การค้นหาสารสนเทศให้ได้สะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ต้องอาศัยเครื่องมือช่วยค้น
ประเภทต่าง ๆ ทั้งที่เป็นคู่มือช่วยค้นและฐานข้อมูล
2. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
2.1 เพื่อให้นักเรียนรู้จักการค้นหาสารสนเทศได้ถูกต้อง
2.2 เพื่อให้นักเรียนรู้จักเครื่องมือช่วยค้นประเภทต่าง ๆ
2.3 เพื่อให้นักเรียนรู้จักแสวงหาสารสนเทศ
3. สาระการเรียนรู้
3.1 เครื่องมือช่วยค้นประเภทชี้สารสนเทศ
3.2 เครื่องมือช่วยค้นประเภทฐานข้อมูล
4. กระบวนการเรียนรู้
4.1 ขั้นสร้างความสนใจ
นักเรียนอภิปรายสั้น ๆ ร่วมกันถึงวิธีการค้นหาข้อมูล
4.2 ขั้นแจ้งจุดประสงค์
ครูอธิบายจุดประสงค์ของบทเรียนเพื่อให้นักเรียนได้ตระหนักถึงการค้นหาข้อมูล ว่ามี
ส่วนช่วยให้นักเรียนสามารถ
1. บอกประเภทของเครื่องมือช่วยค้นสารสนเทศได้
2. รู้จักเครื่องมือช่วยค้นประเภทต่าง ๆ
4.3 ขั้นเสนอบทเรียนใหม่โดยใช้วัสดุอุปกรณ์กระตุ้น
1. ครูให้นักเรียนเข้าคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง วิธีแสวงหาสารสนเทศ ตอนที่ 4 เครื่อง
มือช่วยค้นสารสนเทศ
2. ครูชี้แจงว่าคอมพิวเตอร์ช่วยสอนฉบับนี้ เป็นบทเรียนซึ่งนักเรียนสามารถจะเรียนรู้ได้
ด้วยตนเองตามลำพัง
4.4 ขั้นให้แนวการเรียนรู้
1. ครูให้นักเรียนอ่านจุดประสงค์ ซึ่งเขียนไว้ในคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
2. ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนซักถาม ข้อสงสัย พร้อมทั้งให้กำลังใจในการเรียนรู้แก่นัก
เรียน
4.5 ขั้นให้นักเรียนปฏิบัติ
1. นักเรียนแต่ละคนเรียนรู้เนื้อหา ตอนที่ 4 เครื่องมือช่วยค้นสารสนเทศ
2. ขณะที่นักเรียนเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ครูบันทึกสังเกตพฤติกรรมและแนะนำ ช่วย
เหลือ เมื่อนักเรียนต้องการ เพื่อให้ข้อคิดเป็นข้อมูลย้อนกลับ ปรับปรุงผลการเรียน
ของนักเรียน
4.6 ขั้นประเมินผลการปฏิบัติ
นักเรียนตอบคำถามท้ายตอน
5. สื่อและแหล่งการเรียนรู้
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
6. การวัดผลและประเมินผล
6.1 วัดจากการตอบคำถาม
6.2 วัดจากการมีปฏิสัมพันธ์
6.3 วัดจากการทำกิจกรรม
6.4 สังเกตพฤติกรรมการเรียน
เรื่อง
วิธีการแสวงหาสารสนเทศ
ตอนที่ 1 ความหมายและความสำคัญของสารสนเทศ
ตอนที่ 2 ประเภทของสารสนเทศ
ตอนที่ 3 แหล่งสารสนเทศ
ตอนที่ 4 เครื่องมือช่วยค้น
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ตอนที่ 1 ความหมายและความสำคัญของสารสนเทศ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
****************
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
เมื่อนักเรียนเรียนจบบทเรียนนี้แล้ว นักเรียนสามารถ
1. อธิบายความหมายและความจำเป็นของสารสนเทศได้
2. สามารถบอกความสำคัญ ประโยชน์ของสารสนเทศได้
ในปัจจุบันโลกของเราได้พัฒนามาจากยุคเกษตรกรรมสู่ยุคอุตสาหกรรมและก้าวสู่ยุคสาร
สนเทศ ซึ่งก็หมายความว่า สารสนเทศจะเป็นตัวแปรที่สำคัญในสังคมปัจจุบัน สารสนเทศจึงถือได้ว่า
เป็นทรัพยากรที่สำคัญไม่น้อยกว่าทรัพยากรธรรมชาติหรือทรัพยากรมนุษย์เลย ความเจริญก้าวหน้า
ของวิทยาการในสาขาวิชาต่าง ๆ ความเคลื่อนไหวทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ทำให้ข่าวสารข้อ
มูลเกิดขึ้นใหม่อยู่ตลอดเวลาในทุก ๆ สาขาวิชาและไม่มีที่สิ้นสุดตราบเท่าที่ยังมีสังคมมนุษย์อยู่
ความหมายของสารสนเทศ
สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ข้อเท็จจริง รวมถึงเหตุการณ์ โดย
ผ่านการประมวลผลแล้ว จัดเก็บไว้ในรูปวัสดุตีพิมพ์ และวัสดุไม่ตีพิมพ์ เช่น หนังสือ วารสาร หนังสือ
พิมพ์ ภาพยนตร์ แผ่นเสียง แถบบันทึกเสียง ไมโครฟิล์ม เป็นต้น เพื่อใช้ประโยชน์ในการสื่อสาร เผย
แพร่ พัฒนาในด้านต่าง ๆ ทั้งส่วนบุคคลและสังคม
แผนภาพที่ 1
ประมวลผล ขัดเกลา/เลือกใช้ บูรณาการ
ข้อมูล สารสนเทศ ความรู้ ความฉลาด
ความสำคัญของสารสนเทศ
สารสนเทศเป็นเครื่องมือสื่อความรู้ที่จำเป็นและสำคัญต่อสังคม เป็นมรดกทางปัญญาของ
มวลมนุษยชาติซึ่งได้บันทึกไว้ในสื่อต่าง ๆ สืบทอดกันมาเป็นระยะเวลานาน นับเป็นรากฐานที่บ่ง
บอกถึงกระบวนการสร้างสรรค์วัฒนธรรม อารยธรรม และสังคมของโลกให้เป็นปึกแผ่น โดยชนรุ่น
หลังได้ใช้ประโยชน์จากสารสนเทศในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม ในการดำเนินชีวิตประจำวัน
แต่ละบุคคล ต่างก็เผชิญกับปัญหานานาประการ ในการตัดสินใจ แก้ปัญหา จำเป็นต้องใช้สารสนเทศ
ที่ถูกต้องทันเหตุการณ์ จึงจะสามารถแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ดังนั้น สารสนเทศจึงมีความ
สำคัญดังต่อไปนี้
1. ด้านการเรียนการสอน นักเรียนต้องอาศัยสารสนเทศในการพัฒนาความรู้ สารสนเทศใน
การเรียนรู้ที่สำคัญและเก่าแก่ที่สุดได้แก่ หนังสือในทุกสาขาวิชา นอกจากหนังสือแล้วก็มีวารสาร
หนังสือพิมพ์ สารสนเทศประเภทนี้นักเรียนสามารถนำติดตัวไปอ่าน ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมได้โดยไม่
จำกัดสถานที่ ใช้ขจัดความไม่รู้ สร้างปัญญา ความเฉลียวฉลาดในการบริโภค พัฒนาประสิทธิภาพการ
เรียน สร้างความเจริญด้านจิตใจ เช่น รู้จัดควบคุมอารมณ์ ให้ความจรรโลงใจ เป็นต้น นอกจากหนังสือ
วารสาร หนังสือพิมพ์แล้ว ยังมีสื่อโสตทัศน์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่นักเรียนสามารถเลือกศึกษาได้
ตามความสนใจ
2. ด้านการแก้ปัญหา สารสนเทศ ที่ได้จากการอ่านข่าวสารทั่วไปจากหนังสือพิมพ์ วารสาร
หนังสือ หรือได้จากสื่อมวลชนด้านอื่น ๆ นักเรียนสามารถทำความเข้าใจและเลือกนำมาประกอบการ
ตัดสินใจแก้ปัญหาของแต่ละบุคคล ทั้งที่เป็นปัญหาส่วนตัว อารมณ์ และสังคม
3. ด้านวิทยาการและเทคโนโลยี ปัจจุบันได้ชื่อว่าเป็นยุคโลกาภิวัตน์ สารสนเทศมีปริมาณเพิ่ม
มากขึ้น และเทคโนโลยีด้านอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ การสื่อสาร พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว การสื่อ
สารมีการพัฒนาโดยใช้ใยแก้วนำแสง จึงสามารถค้นสารสนเทศทั้งภาพและเสียงได้อย่างรวดเร็ว และ
กว้างขวางยิ่งขึ้น เช่น การสืบค้นสารสนเทศจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ตอนที่ 2 ประเภทของสารสนเทศ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
****************
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
เมื่อนักเรียนเรียนจบบทเรียนนี้แล้ว นักเรียนสามารถ
1. จำแนกประเภทของสารสนเทศได้
2. บอกการจัดเก็บสารสนเทศ
วัสดุสารสนเทศ (Information materials) หมายถึง วัสดุที่บันทึกสารสนเทศต่าง ๆ ไว้
สามารถจำแนกเป็น 2 ประเภท คือ วัสดุตีพิมพ์และวัสดุไม่ตีพิมพ์ ซึ่งแต่ละประเภทสามารถแบ่งเป็น
ประเภทย่อยๆ ดังนี้
วัสดุตีพิมพ์ (Printed materials) เป็นวัสดุสารสนเทศที่มีการบันทึกข้อมูล ข่าวสารความรู้
ต่างๆ บนแผ่นกระดาษ และสื่อความหมายด้วยตัวอักษรหรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ แบ่งออกได้เป็น
1. หนังสือ แบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้
1.1 หนังสือสารคดี ประกอบด้วย
1.1.1 หนังสือตำราวิชาการ เป็นหนังสือที่เขียนขึ้นตามขอบเขตของเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ที่
กำหนดไว้ในหลักสูตร ซึ่งได้แก่หนังสือแบบเรียน เอกสารประกอบการสอน หรือ
เอกสารคำสอนในรายวิชาต่าง ๆ
1.1.2 หนังสืออ่านประกอบ เป็นหนังสือที่เขียนขึ้นเพื่อใช้อ่านประกอบในการ
เรียนรายวิชาต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เขียนมีความรู้ในเรื่องนั้น ๆ กว้างขวางยิ่งขึ้น
1.1.3 หนังสือความรู้ทั่วไป เป็นหนังสือที่ผู้ทรงความรู้หรือมีความสนใจในเรื่อง
ใดเรื่องหนึ่งเขียนหรือเรียบเรียงขึ้น เพื่อให้บุคคลที่มีความสนใจในเรื่องนั้นได้อ่านเพื่อศึกษาหาความรู้
1.1.4 หนังสืออ้างอิง เป็นหนังสือที่เขียนหรือเรียบเรียงโดยผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละ
เรื่องแต่ละสาขาโดยตรง โดยมุ่งให้ใช้อ่านเพียงตอนใดตอนหนึ่งเพื่อตอบปัญหาหรือข้อสงสัยต่าง ๆ
เท่านั้น มิได้มุ่งให้อ่านตลอดทั้งเล่มหรือทั้งชุด เช่น หนังสือประเภทพจนานุกรม สารานุกรม หนังสือ
รายปี หนังสือคู่มือในสาขาวิชาต่าง ๆ เป็นต้น
1.2 หนังสือบันเทิงคดี หนังสือประเภทนี้เป็นหนังสือที่เขียนขึ้นจากจินตนาการของผู้
เขียน ซึ่งต้องการให้ความบันเทิงแก่ผู้อ่านเป็นหลัก แต่ก็สอดแทรกความรู้และความ
คิดต่าง ๆ ไว้ด้วย แบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้
1.2.1 หนังสือนวนิยาย
1.2.2 หนังสือรวมเรื่องสั้น
1.2.3 หนังสือสำหรับเด็กและเยาวชน
2. วารสาร นิตยสาร และหนังสือพิมพ์
2.1 วารสารและนิตยสาร เป็นสิ่งพิมพ์ที่ออกตามวาระ เช่น รายสัปดาห์ รายปักษ์ ราย
เดือน ฯลฯ โดยปกติสิ่งพิมพ์ที่ใช้ชื่อว่า “วารสาร” จะมีเนื้อหาเน้นหนักทางด้านวิชา
การและสาระความรู้ต่าง ๆ ส่วน “นิตยสาร” จะมุ่งเสนอเนื้อหาทางด้านบันเทิงและ
สารคดีเบาสมอง
2.2 หนังสือพิมพ์ เป็นสิ่งพิมพ์ที่มุ่งเสนอข่าว ความเคลื่อนไหวของเหตุการณ์ต่าง ๆ
บทความ บทวิจารณ์ ตลอดจนสาระความรู้ โดยทั่วไปหนังสือพิมพ์จะออกเป็นรายวัน แต่ก็มีบางฉบับ
ออกเป็นราย 3 วัน และรายสัปดาห์
3. จุลสาร เป็นสิ่งพิมพ์ที่ให้ความรู้เฉพาะเรื่อง จัดทำโดยภาครัฐหรือเอกชน เพื่อเผยแพร่
หรือประชาสัมพันธ์ให้แก่บุคคลทั่วไปในเรื่องต่าง ๆ เช่น เรื่องเกี่ยวกับสุขภาพอนามัย เรื่องการเพาะ
ปลูก โดยทั่วไปแล้วจุลสารจะมีความหนาประมาณ 60 หน้า นับเป็นแหล่งความรู้ที่น่าสนใจอีกแหล่ง
หนึ่ง
4. กฤตภาค คือ ข่าว บทความ หรือรูปภาพต่าง ๆ ที่ตัดจากหนังสือพิมพ์ หรือวารสาร แล้ว
นำมาผนึกบนแผ่นกระดาษ พร้อมทั้งระบุแหล่งที่มาของข่าวหรือบทความนั้น ๆ เพื่อใช้เป็นประโยชน์
ในการเรียนการสอนหรือการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
การจัดเก็บหนังสือ
เพื่อให้การจัดและค้นหาหนังสือเป็นระเบียบ มีหลัก รวดเร็วสำหรับผู้ใช้ การจัดหนังสือตาม
ระบบทศนิยมของดิวอี้ ใช้ตัวเลขเป็นสัญลักษณ์แทนประเภทหนังสือ โดยแบ่งหนังสือออกเป็น 10
หมวด
ตัวเลขที่ใช้แทนหมวดหมู่หนังสือมีดังนี้
000 แทนหมวด เบ็ดเตล็ดหรือความรู้ทั่วไป
100 แทนหมวด ปรัชญา
200 แทนหมวด ศาสนา
300 แทนหมวด สังคมศาสตร์
400 แทนหมวด ภาษาศาสตร์
500 แทนหมวด วิทยาศาสตร์
600 แทนหมวด วิทยาศาสตร์ประยุกต์
700 แทนหมวด ศิลปกรรมและการบันเทิง
800 แทนหมวด วรรณกรรม
900 แทนหมวด ประวัติศาสตร์
การจัดหมู่หนังสือแบบระบบทศนิยมดิวอี้ นิยมใช้ในห้องสมุดโรงเรียนและห้องสมุดประชา
ชน เนื่องจากหนังสือมีไม่มากนัก เพราะเป็นระบบที่มีวิธีการจัดอย่างง่ายและเอื้อแก่การจำ
วัสดุไม่ตีพิมพ์ สามารถแบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้
1. โสตวัสดุ เป็นวัสดุสารสนเทศที่ใช้เสียงเป็นสื่อในการถ่ายทอดสารสนเทศได้แก่
1.1 แผ่นเสียง เป็นวัสดุแผ่นทรงกลมทำด้วยครั่ง หรือพลาสติก แล้วบันทึกสารสนเทศ
ลงในร่องเสียง ต้องใช้คู่กับเครื่องเล่นแผ่นเสียง สารสนเทศที่บันทึกในแผ่นเสียงส่วนใหญ่จะเป็น
ข้อมูลทางภาษา บทเพลง บทกวีต่าง ๆ เป็นต้น
1.2 เทปบันทึกเสียง เป็นวัสดุทำด้วยแถบแม่เหล็กเพื่อใช้บันทึกข้อมูลต่าง ๆ มี 2 แบบ
คือ แบบม้วน และแบบตลับ ข้อมูลที่บันทึกในแถบบันทึกเสียง อาจเป็นบทเพลง ปาฐกถา สุนทรพจน์
การอ่านทำนองเสนาะ คำบรรยายรายวิชาต่าง ๆ เป็นต้น
1.3 แผ่นซีดี เป็นวัสดุที่ทำด้วยแผ่นพลาสติก บันทึกข้อมูลด้วยรหัสดิจิทัล และอ่าน
ข้อมูลด้วยแสงเลเซอร์ คุณภาพของเสียงจะชัดเจนมากกว่าแผ่นเสียง
2. ทัศนวัสดุ เป็นวัสดุสารสนเทศที่ผู้ใช้สารสนเทศรับรู้สารสนเทศได้ทางตา ซึ่งอาจดูได้
ด้วยตาเปล่า หรือเครื่องฉาย ได้แก่
2.1 รูปภาพ อาจเป็นภาพวาด ภาพเขียน ภาพพิมพ์ ภาพถ่าย ที่จัดทำขึ้นเพื่อเสนอข้อมูล
เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ทำให้มีความเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ ได้ดีขึ้น
2.2 แผนที่และลูกโลก เป็นวัสดุสารสนเทศที่แสดงพื้นผิวโลกในด้านต่าง ๆ เช่น ด้าน
กายภาพ การเมือง เศรษฐกิจ เป็นต้น
2.3 ภาพเลื่อนและภาพนิ่ง วัสดุทั้งสองประเภทนี้ต่างก็เป็นภาพโปร่งแสงที่ถ่ายบน
ฟิล์มขนาด 35 ม.ม. มีทั้งสีและขาวดำ ต่างกันที่ภาพนิ่งจะตัดออกทีละภาพ ในขณะที่ภาพเลื่อนจะเป็น
ภาพต่อเนื่องกันทั้งม้วน
2.4 แผนภูมิ เป็นวัสดุที่เสนอข้อมูลในลักษณะของภาพลายเส้น ตัวเลข สัญลักษณ์
และตัวหนังสือ ที่แสดงความสัมพันธ์ ความเกี่ยวโยง ตลอดจนวิวัฒนาการของสิ่งต่าง ๆ มีหลาย
ประเภท เช่น แผนภูมิแบบตาราง แผนภูมิอธิบายภาพ แผนภูมิแบบองค์การ ฯลฯ
2.5 ภาพแผ่นใส เป็นวัสดุสารสนเทศจัดทำลงบนแผ่นพลาสติกใส ใช้กับเครื่องฉาย
ข้ามศีรษะ
2.6 หุ่นจำลอง เป็นวัสดุสามมิติที่ทำขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของของจริง ซึ่งอาจมีขนาด
เท่าของจริง ย่อให้มีขนาดเล็กกว่าของจริง หรือขยายใหญ่กว่าของจริงก็ได้ เช่น หุ่นจำลองแสดงอวัยวะ
ในร่างกาย ศิลาจารึก
2.7 ของจริงและของตัวอย่าง ของจริงหมายถึง สิ่งของที่คงสภาพแท้จริงตามธรรม
ชาติของสิ่งนั้น ๆ เช่น เหรียญ แสตมป์ ฯลฯ ส่วนของตัวอย่าง คือ ของจริงที่นำมาเพียงบางส่วน เช่น
หิน แมลง ฯลฯ
3. โสตทัศนวัสดุ เป็นวัสดุสารสนเทศที่เราสามารถรับรู้สารสนเทศทั้งจากการดูและการ
ฟังไปพร้อม ๆ กัน ช่วยให้เราสามารถเข้าใจเรื่องราวนั้นได้ดียิ่งขึ้น แบ่งเป็น
3.1 ภาพยนตร์
3.2 วีดิทัศน์ และแผ่นวีดิทัศน์
4. วัสดุย่อส่วน เป็นวัสดุสารสนเทศที่ได้จากการถ่ายภาพสิ่งพิมพ์ต้นฉบับ โดยย่อส่วนให้
มีขนาดเล็กจนไม่สามารถอ่านได้ด้วยตาเปล่า ต้องอ่านด้วยเครื่องอ่าน เช่น
4.1 ไมโครฟิล์ม เป็นการถ่ายสารสนเทศย่อส่วนลงบนฟิล์มขนาด 16 ม.ม. หรือ 35 ม.ม.
เก็บไว้เป็นม้วน และต้องอ่านด้วยเครื่องอ่านไมโครฟิล์ม
4.2 ไมโครฟิช เป็นการถ่ายสารสนเทศลงบนฟิล์มโปร่งแสงขนาด 3 x 5 นิ้ว , 4 x 6
นิ้ว หรือ 5 x 8 นิ้ว ต้องอ่านด้วยเครื่องอ่านไมโครฟิชด้วยการขยายไปทีละหน้า
5. วัสดุอิเล็กทรอนิกส์ เป็นวัสดุที่เก็บสารสนเทศในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ ต้องมี
เครื่องแปลงสัญญาณภาพและเสียง วัสดุประเภทนี้ได้แก่
5.1 ซีดีรอม (CD-ROM)
5.2 แผ่นวีดิทัศน์ระบบดิจิทัล (DVD)
5.3 หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
5.4 วารสารอิเล็กทรอนิกส์
5.5 หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
5.6 ฐานข้อมูล
ตอนที่ 3 แหล่งสารสนเทศ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
****************
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
เมื่อนักเรียนเรียนจบบทเรียนนี้แล้ว นักเรียนสามารถ
1. บอกแหล่งสารสนเทศที่เป็นเหตุการณ์ สถาบัน บุคคล สถานที่ได้
แหล่งบริการสารสนเทศหรือแหล่งสารสนเทศ (Information source) หมายถึง แหล่งที่ให้
กำเนิดสารสนเทศ หรือแหล่งที่รวบรวมสารสนเทศไว้ให้บริการในสังคม ปัจจุบันมีแหล่งสารสนเทศ
เกิดขึ้นมากมาย การพิจารณาเลือกแหล่งสารสนเทศนั้นขึ้นอยู่กับการที่บุคคลมีความตระหนักถึงแหล่ง
สารสนเทศนั้น ๆ ในระดับใด แหล่งสารสนเทศจึงมีหน้าที่ในการรวบรวม จัดเก็บ วิเคราะห์ และเผย
แพร่สารสนเทศที่จะทำให้ผู้ใช้สารสนเทศที่ต้องการ เราสามารถแบ่งแหล่งสารสนเทศได้ 3 ประเภท
ได้แก่
1. แหล่งบุคคล
2. แหล่งสื่อมวลชน
3. แหล่งสถาบัน
แหล่งบุคคล หมายถึง บุคคลที่สามารถให้ข้อมูลข่าวสารกับผู้อื่นได้ ซึ่งได้แก่ เพื่อนร่วมงาน
ในองค์กร สมาชิกในครอบครัว ตัวแทนจำหน่าย ที่ปรึกษา ผู้ให้คำปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาวิชา
เป็นต้น ซึ่งแหล่งบุคคลนี้จะเปิดโอกาสให้มีการสื่อสารแบบสองทางมากกว่าแหล่งสารสนเทศ
ประเภทอื่น ๆ ผู้ใช้สารสนเทศมักจะใช้แหล่งสารสนเทศประเภทบุคคล ก่อนที่จะเลือกใช้แหล่งสาร
สนเทศประเภทอื่น ๆ นอกจากนี้ยังพบว่าความสำเร็จในการใช้แหล่งสารสนเทศประเภทบุคคลนี้ มี
ความสัมพันธ์กับตัวผู้แสวงหาสารสนเทศ เช่น สถานะทางเศรษฐกิจและสังคมมักจะพบว่าคนที่มี
ฐานะทางเศรษฐกิจดีมีอายุน้อย ได้รับการศึกษาเป็นอย่างดีมักใช้แหล่งสารสนเทศและชอบศึกษาค้น
คว้ามากกว่าคนจน คนสูงอายุและคนด้อยการศึกษา ถ้าพิจารณาอย่างจริงจังแล้ว แหล่งสารสนเทศที่มี
ศักยภาพเป็นแหล่งสารสนเทศที่ดีที่สุด เพราะผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาวิชาเป็นกลุ่มบุคคลที่ได้ทำการ
ศึกษาวิจัยในสาขาวิชานั้นๆ อย่างลึกซึ้งแตกฉานสามารถใช้เป็นแหล่งอ้างอิงในสาขาวิชานั้น ๆ ได้เป็น
อย่างดี
แหล่งสื่อมวลชน เป็นแหล่งสารสนเทศที่เป็นการให้ข้อมูลข่าวสารประเภทข่าวเป็นส่วนใหญ่
โดยผ่านทางสื่อมวลชนประเภทต่าง ๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ หรือนิตยสาร และวารสาร
เป็นต้น ซึ่งสื่อมวลชนจะสามารถเข้าถึงผู้ใช้ได้อย่างกว้างขวาง แต่การสื่อสารจากแหล่งสื่อมวลชนจะ
เป็นการสื่อสารแบบทางเดียว และสารสนเทศที่เสนอให้กับผู้ใช้นั้นขึ้นอยู่กับแหล่งสารมากกว่าผู้รับ
สาร ข่าวนับเป็นสารสนเทศที่สำคัญในสังคมปัจจุบันเพราะสังคมโลกเป็นแบบโลกานุวัตร ทำให้ข้อ
มูล ข่าวสาร เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นข่าวสารที่ผ่านทางสื่อสารมวลชนจะมีความรวด
เร็วทันเหตุการณ์ แต่ต้องระมัดระวังในการตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยเฉพาะหนังสือพิมพ์ที่ต้องผลิต
อย่างรวดเร็วให้ทันกับเวลา ดังนั้นอาจจะเกิดความคลาดเคลื่อนได้ง่าย จึงต้องมีความรอบคอบในการ
ใช้แหล่งสารสนเทศประเภทสื่อมวลชน ซึ่งในปัจจุบันมีการปรับปรุงคุณภาพของข่าวสารที่เสนอโดย
สื่อมวลชน มีการสรุป วิเคราะห์ให้มีความรู้มากยิ่งขึ้นทำในรูปของบทความทางวิชาการ และสารคดี
ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น
แหล่งสื่อมวลชนที่พบเห็นได้โดยทั่วไป เช่น
1. วิทยุ เป็นสื่อมวลชนที่ใช้เสียงเป็นสื่อ เรื่องราวที่สื่อสารมีทั้งเรื่องที่ให้ความบันเทิง และ
เรื่องที่ให้สาระความรู้ เรื่องที่ให้ความบันเทิง เช่น ละครวิทยุ นิทาน รายการเพลง เป็นต้น เรื่องที่ให้
สาระความรู้ เช่น ข่าว บทความ รายการตอบปัญหา สัมภาษณ์บุคคลสำคัญ รายการวิทยุเพื่อการศึกษา
และรายการสอนทางวิทยุและไปรษณีย์ เป็นต้น และยังมีสถานีวิทยุในประเทศไทย สถานีวิทยุประชา
สัมพันธ์ที่ไม่มีโฆษณาเป็นของราชการ ความรู้ได้รับการกลั่นกรองทันต่อเหตุการณ์
2. โทรทัศน์ เป็นสื่อสารมวลชนที่ใช้เสียงและภาพเป็นสื่อ การชมรายการทางโทรทัศน์ นอก
จากเราจะสัมผัสด้วยหูแล้ว ยังสัมผัสด้วยตาอีกด้วย ทำให้รายการโทรทัศน์น่าสนใจกว่ารายการวิทยุ
และผู้ชมตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา จึงประทับใจหรือจดจำได้ดีกว่าการฟังวิทยุ
รายการต่าง ๆ ทางโทรทัศน์ไม่ต่างกับรายการทางวิทยุ คือ มีทั้งรายการที่ให้ความบันเทิง และ
รายการที่ให้ข้อมูล ข่าวสาร และความรู้ที่ทันสมัย ทันเหตุการณ์ รวมทั้งให้ความบันเทิง เช่น รายการ
ข่าวทั้งในประเทศและต่างประเทศ รายการโทรทัศน์ เพื่อการศึกษาของมหาวิทยาลัยสุโขทัย
ธรรมาธิราช รายการสัมภาษณ์บุคคลสำคัญ รายการทดสอบเชาวน์ ความจำ และอื่น ๆ
3. หนังสือพิมพ์ เป็นสื่อมวลชนที่แตกต่างไปจากวิทยุและโทรทัศน์ คือ ใช้ตัวหนังสือเป็นสื่อ
อาจมีภาพประกอบเพื่อให้เกิดความเข้าใจและน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
ส่วนประกอบของหนังสือพิมพ์ จะมีอยู่ 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
ก. พาดหัวข่าว
ข. เนื้อหาในหนังสือพิมพ์
ก. พาดหัวข่าว คือ การสรุปเลือกเนื้อหาของข่าวที่สำคัญในฉบับมาเรียบเรียงโดยใช้ข้อความ
สั้นๆ ได้เนื้อหาสาระ และพิมพ์ด้วยตัวอักษรขนาดใหญ่ ข่าวที่สำคัญที่สุดจะพิมพ์ด้วยตัวอักษรขนาด
ใหญ่ที่สุด และขนาดตัวพิมพ์ลดหลั่นกันลงไป สำหรับข่าวที่มีความสำคัญรอง ๆ ลงไปตามลำดับ ที่
ต้องจัดขนาดตัวพิมพ์ใหญ่เพื่อเรียกร้องความสนใจของผู้อ่าน เพียงสะดุดตา และข้อความที่มีขนาดสั้น
ก็เพื่อประหยัดเวลาของผู้อ่าน
ข. เนื้อหาในหนังสือพิมพ์ จะประกอบด้วย
1) ข่าว ซึ่งเป็นรายงานเหตุการณ์ที่พึ่งเกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของบุคคล ประเทศ หรือโลก
ข่าวสามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ ข่าวแข็ง ได้แก่ ข่าวสารที่มีสาระประโยชน์ เช่น ข่าว
เศรษฐกิจ ข่าวการศึกษา ข่าววัฒนธรรม ข่าวการบริหารประเทศและข่าวความสัมพันธ์ระหว่าง
ประเทศ เป็นต้น ข่าวอ่อน ได้แก่ ข่าวกีฬา ข่าวอุบัติเหตุ ข่าวอาชญากรรม ข่าวธุรกิจ ข่าวบันเทิง และ
ข่าวสังคม เป็นต้น
2) บทนำ เป็นบทวิจารณ์หรือแสดงความคิดเห็นในเรื่องใด เรื่องหนึ่ง ซึ่งมีความสำคัญ และ
บรรณาธิการเป็นผู้เขียน
3) สารคดี บทความ คอลัมน์ประจำ จะมีประจำทุกฉบับ
4) ภาพประกอบ
5) โฆษณาแจ้งความ
แหล่งสถาบัน เป็นองค์กรที่จัดตั้งโดยหน่วยงานของรัฐบาล หรือเอกชน เพื่อทำหน้าที่ในการ
แสวงหาสารสนเทศโดยดำเนินการรวบรวม วิเคราะห์ จัดเก็บ และให้บริการเผยแพร่สารสนเทศซึ่ง
สถาบันบริการสารสนเทศสามารถจำแนกตามขอบเขต หน้าที่ และวัตถุประสงค์ในการใช้บริการได้ดัง
นี้
1. ห้องสมุด เป็นแหล่งสารสนเทศหรือสถานที่ที่รวบรวม ความรู้ทั้งหลายของมนุษย์ไว้ใน
บันทึกรูปแบบและลักษณะต่าง ๆ เช่น หนังสือ วารสาร สิ่งพิมพ์อื่น ๆ ต้นฉบับตัวเขียน สมุดข่อย และ
โสตทัศนวัสดุ ซึ่งมีการจัดเก็บและบริหารงานเพื่ออำนวยความสะดวกในการค้นหาความรู้ที่รวบรวม
ไว้ให้บริการแก่ผู้ใช้ห้องสมุด โดยมีบรรณารักษ์เป็นผู้ดำเนินงานและผู้ให้บริการเพื่อให้เป็นการศึกษา
เพื่อให้ความรู้และข่าวสารเพื่อการค้นคว้า เพื่อจรรโลงใจ และเพื่อนันทนาการ ห้องสมุดโดยทั่วไป
สามารถแบ่งตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง ลักษณะของวัสดุ สิ่งพิมพ์ที่รวบรวมและประเภทของ
ผู้ใช้บริการออกได้ 5 ประเภท ได้แก่
1.1 หอสมุดแห่งชาติ เป็นห้องสมุดที่จัดตั้งขึ้นโดยรัฐบาล ทำหน้าที่ในการรวบรวมสิ่ง
พิมพ์ที่ผลิตขึ้นในประเทศนั้น ๆ ซึ่งหอสมุดแห่งชาติจะรับสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นตามพระราชบัญญัติการ
พิมพ์ และสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นในประเทศต่าง ๆ เปิดโอกาสให้ประชาชนทุกระดับ ทุกเพศ ทุกวัย
สามารถเข้าศึกษาค้นคว้าได้
1.2 ห้องสมุดประชาชน เป็นห้องสมุดที่รัฐบาลหรือเทศบาลเมืองนั้น ๆ จัดตั้งขึ้นเพื่อ
บริการสารสนเทศแก่ประชาชนในท้องถิ่น เพื่อเป็นศูนย์รวบรวมทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อเป็นการส่ง
เสริมให้ประชาชนได้ใช้เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ รู้จักอ่านหนังสือ
และมีนิสัยรักการอ่าน
1.3 ห้องสมุดโรงเรียน เป็นห้องสมุดที่จัดตั้งขึ้นในโรงเรียนทุกระดับ เพื่อใช้เป็นแหล่งค้น
คว้าประกอบการเรียน การสอนของครู และนักเรียนในโรงเรียน ห้องสมุดโรงเรียนบางแห่งได้จัดห้อง
สมุดในลักษณะของศูนย์สื่อการศึกษา หรือศูนย์วิชาการ
1.4 ห้องสมุดวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย เป็นห้องสมุดที่จัดตั้งขึ้นในวิทยาลัยหรือ
มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาขั้นอุดมศึกษา เป็นการให้บริการสารสนเทศครอบคลุม
สารสนเทศเพื่อใช้ประกอการสอน การศึกษาค้นคว้าวิจัย การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และการ
บริการชุมชนตามเป้าหมายหลักของมหาวิทยาลัย
1.5 ห้องสมุดเฉพาะ เป็นห้องสมุดที่จัดตั้งขึ้นในหน่วยงานราชการ องค์การ บริษัท
สมาคม หรือโรงงานต่าง ๆ ห้องสมุดเฉพาะถือว่าเป็นแหล่งรวบรวมสารสนเทศเฉพาะวิชา หรือที่เกี่ยว
เนื่องกับวิชานั้น ๆ ซึ่งบุคลากรของหน่วยงานจำเป็นต้องศึกษาค้นคว้า เช่น ห้องสมุดรัฐสภา ห้องสมุด
ธนาคาร เป็นต้น
ตอนที่ 4 เครื่องมือช่วยค้น
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
****************
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
เมื่อนักเรียนเรียนจบบทเรียนนี้แล้ว นักเรียนสามารถ
1. เพื่อให้นักเรียนรู้จักการค้นหาสารสนเทศได้ถูกต้อง
2. เพื่อให้นักเรียนรู้จักเครื่องมือช่วยค้นประเภทต่าง ๆ
3. เพื่อให้นักเรียนรู้จักแสวงหาสารสนเทศ
ผู้ใช้บริการสารสนเทศสามารถค้นหาบทความที่ตนต้องการว่าปรากฏอยู่ในวารสารหรือ
หนังสือชื่ออะไร ฉบับปีที่ วันเดือนปีอะไร และจะขอใช้บริการได้จากที่ใด ผู้ใช้สารสนเทศจำเป็นต้อง
อาศัยเครื่องมือช่วยค้นซึ่งสามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภทคือ
1. เครื่องมือช่วยค้นประเภทชี้สารสนเทศ
2. เครื่องมือช่วยค้นประเภทฐานข้อมูล
เครื่องมือช่วยค้นประเภทชี้สารสนเทศ
การให้บริการสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ผู้ให้บริการจำต้องมีความรู้ความเข้าใจ
ในทรัพยากรของตนเป็นอย่างดี หนังสืออ้างอิงนับเป็นทรัพยากรสารสนเทศที่มีความสำคัญต่อการ
ศึกษาค้นคว้า ทั้งนี้เพราะหนังสืออ้างอิงเป็นหนังสือที่ให้ข้อเท็จจริงอย่างสั้น ๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ใน
การให้ความช่วยเหลือกับผู้ใช้ในการตอบปัญหาเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้อย่างรวดเร็วโดยใช้หนังสืออ้างอิง
หนังสืออ้างอิง หมายถึง หนังสือที่รวบรวมสารสนเทศ หรือความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวต่าง ๆ
สำหรับใช้ค้นคว้าอ้างอิงเพียงตอนใดตอนหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่หนังสือที่ต้องอ่านทั้งเล่ม
เครื่องมือช่วยค้นประเภทชี้สารสนเทศมี 9 ประเภท ได้แก่
1. บรรณานุกรม ใช้ค้นหารายชื่อหนังสือ เรื่องใดเรื่องหนึ่งซึ่งอาจจะมีคำวิจารณ์ บรรณา
นิทัศน์ ประกอบซึ่งจะให้รายละเอียดทางบรรณานุกรม เช่น ผู้แต่ง ชื่อหนังสือ สถานที่พิมพ์ สำนัก
พิมพ์ ปีที่จัดพิมพ์ ฯลฯ
2. ดรรชนีและสาระสังเขป ใช้ค้นบทความจากวารสาร หนังสือพิมพ์ รายงานการประชุม โดย
ให้รายละเอียดทางบรรณานุกรมพร้อมสาระสังเขป
3. พจนานุกรม ใช้ค้นหาความหมายของคำ ประวัติที่มาของคำ ตัวสะกด การอ่านออกเสียง
ชนิดของคำ การใช้คำ คำเหมือน คำตรงข้าม คำย่อ คำแสลง เครื่องหมาย สัญลักษณ์ และศัพท์บัญญัติ
จากคำภาษาต่างประเทศ ถ้าเป็นพจนานุกรมฉบับสมบูรณ์จะมีชีวประวัติบุคคลอยู่ข้างท้าย
4. สารานุกรม ใช้ค้นหาความรู้พื้นฐานอย่างกว้าง ๆ พร้อมคำจำกัดความ คำอธิบายภูมิหลัง
ชีวประวัติบุคคล ซึ่งเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจของบุคคลทั่วไป
5. หนังสือรายปี ใช้ค้นหาข้อมูลเรื่องราวข้อเท็จจริงต่าง ๆ อย่างสั้น ๆ เกี่ยวกับเรื่องราวความ
เป็นไปในรอบปี ให้ตัวเลข สถิติที่สำคัญ และบางครั้งมีชีวประวัติบุคคลที่สำคัญ ๆ อีกด้วย
6. นามานุกรม ใช้ค้นเรื่องราวเกี่ยวกับชื่อบุคคล องค์การสถานทูต กระทรวง ทบวง กรมต่างๆ
โดยให้รายละเอียดเกี่ยวกับชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ และข้อความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
7. อักขรานุกรมชีวประวัติ ใช้ค้นเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติบุคคลที่สำคัญมีชื่อเสียงในวงสังคม
หรือด้านอื่น ๆ
8. หนังสืออ้างอิงภูมิศาสตร์ ใช้ค้นเรื่องราวเกี่ยวกับสถานที่ทางภูมิศาสตร์ เช่น แม่น้ำ ภูเขา
เมือง ประวัติย่อ ๆ ของเมืองหรือสถานที่ท่องเที่ยวพร้อมกับรายละเอียดเกี่ยวกับตำแหน่งที่ตั้ง ระยะ
ทางแผนที่
9. หนังสือคู่มือ ใช้ค้นเรื่องราวเบ็ดเตล็ดให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ ตัวเลข สถิติ ใช้ตอบปัญหา
เฉพาะเรื่องได้หรือเป็นคู่มือในการปฏิบัติงาน
เครื่องมือช่วยค้นประเภทฐานข้อมูล
ฐานข้อมูล หมายถึง แหล่งรวมสารสนเทศที่มีความสัมพันธ์กัน จัดระบบด้วยโปรแกรมการ
จัดการฐานข้อมูลเพื่อช่วยให้ค้นคืนได้สะดวกรวดเร็ว จัดเก็บในสื่อต่าง ๆ อาทิ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อ
โสตทัศน์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์
ความสำคัญของฐานข้อมูล ฐานข้อมูลสามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมากทั้งยังสามารถปรับ
ปรุง แก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา และสามารถใช้พร้อมกันได้หลายคน สังคมปัจจุบันเป็นยุคแห่ง
ข้อมูลข่าวสาร ผู้ที่ได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องทันสมัยย่อมสามารถตัดสินใจดำเนินการได้ถูกต้อง
ประหยัดเวลา และค่าใช้จ่าย แต่เนื่องจากข้อมูลข่าวสารในปัจจุบันมีมากเกินความต้องการ จึงจำเป็น
ต้องเลือกใช้สารสนเทศที่ตรงกับความต้องการให้ได้มากที่สุด
การบริการฐานข้อมูลในปัจจุบันสามารถแบ่งได้ 3 รูปแบบคือ
1. ฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศ เป็นฐานข้อมูลที่จัดเก็บโดยหน่วยงาน องค์กรสารสนเทศ
นั้นๆ กำหนดจัดทำขึ้นเอง เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ในการค้นหาหนังสือ บทความเอกสาร สื่อ
โสตทัศน์ รวมทั้งปริญญานิพนธ์ อาจให้ค้นคืนด้วยการจัดเก็บในจานแม่เหล็ก ซีดีรอม และระบบ
ออนไลน์ ซึ่งส่วนใหญ่ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาจะจัดเก็บฐานข้อมูลทั้งในระบบออฟไลน์ และ
ออนไลน์ เพื่อช่วยให้ผู้ใช้ได้รับความสะดวกรวดเร็วในการค้นคืนสารสนเทศ
2. ฐานข้อมูลแบบออฟไลน์ หรือฐานข้อมูลซีดีรอม เป็นฐานข้อมูลที่หน่วยงาน หรือองค์กร
สารสนเทศจัดหามา เป็นฐานข้อมูลที่ได้รับความนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย พัฒนาขึ้นแทนสื่อสิ่งพิมพ์
และวัสดุย่อส่วน เพราะสามารถเก็บได้จำนวนมากกว่า และสามารถเก็บสารสนเทศได้ทั้งที่เป็นตัว
อักษร ภาพ และเสียง ซีดีรอม มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4.75 นิ้ว หรือ 12 เซนติเมตร สามารถบันทึก
ข้อมูลได้ 600 ล้านตัวอักษร หรือเทียบเท่ากับ 220,000 หน้ากระดาษ ปัจจุบันการนำซีดีรอมมาเก็บ
ฐานข้อมูลได้รับความนิยมมาก สามารถแบ่งประเภทได้ดังนี้
2.1 ฐานข้อมูลบรรณานุกรม เป็นฐานข้อมูลจัดเก็บรายการทางบรรณานุกรมของสิ่งพิมพ์
หรือวัสดุไม่ตีพิมพ์ ให้รายละเอียดรายการทางบรรณานุกรม อาจมีสาระสังเขป หรือบทคัดย่อ
2.2 ฐานข้อมูลอ้างอิง เป็นฐานข้อมูลที่จัดทำโดยหน่วยงาน หรือองค์การที่ให้รายละเอียด
เฉพาะเรื่อง หรือรายละเอียดเพื่อนำไปใช้อ้างอิงประกอบการศึกษาค้นคว้า
2.3 ฐานข้อมูลสถิติ เป็นฐานข้อมูลสถิติตัวเลขเพื่อนำไปใช้ในการวิจัย และปฏิบัติงาน
2.4 ฐานข้อมูลเต็มรูป เป็นฐานข้อมูลที่ใช้แทนต้นฉบับเดิม ให้ข้อมูลรายละเอียดทุกอย่าง
รวมทั้งแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ เหมือนต้นฉบับเดิมทุกประการ
2.5 ฐานข้อมูลรูปภาพ เป็นฐานข้อมูลที่มีทั้งภาพและรายละเอียดเกี่ยวกับภาพ ทั้งเป็นภาพ
กราฟิก ภาพวาด และแผนที่
2.6 โปรแกรมสำเร็จรูป เป็นโปรแกรม หรือชุดคำสั่งสำเร็จรูป นำไปใช้งานตามวัตถุ
ประสงค์เฉพาะเรื่อง
3. ฐานข้อมูลแบบออนไลน์ เป็นฐานข้อมูลที่สามารถสืบค้นผ่านระบบเครือข่ายได้ในเวลา
เดียวกันหลายคน แม้จะอยู่ต่างสถานที่กัน มีข้อมูลครบสมบูรณ์ทันสมัยกว่าข้อมูลที่มาจากซีดีรอม
เพราะสามารถปรับเปลี่ยนข้อมูลได้ตลอดเวลา ปัจจุบันสามารถสืบค้นฐานข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต โดย
การขอใช้เครื่องระยะไกลหรือสืบค้นผ่าน www ได้โดยตรงโดยเฉพาะการสืบค้นฐานข้อมูลทรัพยากร
สารสนเทศในระบบ OPAC ซึ่งสามารถสืบค้นได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่การค้นฐานข้อมูลอื่น ๆ
จะต้องสมัครเป็นสมาชิกซึ่งจะได้รับ User ID และรหัสผ่าน เพื่อการสืบค้นฐานข้อมูลต่อไป เช่น
สถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานที่ให้บริการสืบค้นได้แก่ ศูนย์
บริการสารสนเทศทางเทคโนโลยี (TIAC) ที่ให้บริการสืบค้นฐานข้อมูลต่างประเทศ
ภาคผนวก ง
คู่มือการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (คู่มือนักเรียน)
คู่มือการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (คู่มือนักเรียน)
เรื่อง วิธีการแสวงหาสารสนเทศ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1. ผู้เรียนสามารถอธิบายความหมายและความจำเป็นของสารสนเทศได้
2. ผู้เรียนสามารถบอกความสำคัญ ประโยชน์ของสารสนเทศได้
3. ผู้เรียนสามารถจำแนกประเภทของสารสนเทศได้
4. ผู้เรียนสามารถบอกการจัดเก็บสารสนเทศ
5. ผู้เรียนสามารถบอกแหล่งสารสนเทศที่เป็นเหตุการณ์ สถาบัน บุคคล สถานที่ได้
6. เพื่อให้นักเรียนรู้จักการค้นหาสารสนเทศได้ถูกต้อง
7. เพื่อให้นักเรียนรู้จักเครื่องมือช่วยค้นประเภทต่าง ๆ
8. เพื่อให้นักเรียนรู้จักแสวงหาสารสนเทศ
วัตถุประสงค์ในการสร้างบทเรียน
เพื่อใช้ในการเรียนการสอนเนื้อหาเรื่อง วิธีการแสวงหาสารสนเทศ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ซึ่ง
มีเนื้อหาประกอบด้วย
ตอนที่ 1 ความหมายและความสำคัญของสารสนเทศ
ตอนที่ 2 ประเภทและลักษณะของสารสนเทศ
ตอนที่ 3 แหล่งสารสนเทศ
ตอนที่ 4 เครื่องมือช่วยค้นสารสนเทศ
ระบบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์
1. เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ CPU รุ่นตั้งแต่ 486 ขึ้นไป
2. หน่วยความจำ (RAM) อย่างน้อย 8 MB
3. จอภาพสีชนิด Super VGA
4. ใช้ระบบ Windows 95 ขึ้นไป
5. มี Harddisk มีความจุอย่างน้อย 210 MB
6. เมาส์ (Mouse) และแป้นพิมพ์ (Keyboard)
7. ติดตั้งการ์ดเสียงพร้อมลำโพง
ขั้นตอนการใช้โปรแกรม
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนบรรจุอยู่ในแผ่นซีดีรอมจำนวน 1 แผ่น วิธีการใช้ทำได้คือ
1. เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องจะทำงานโดยอัตโนมัติจนถึงการเข้าสู่ระบบ Windows
2. ใส่แผ่นซีดีรอมลงในช่อง Drive D:
3. โปรแกรมจะทำการ Run โดยอัตโนมัติ
การเข้าสู่โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1. ผู้ใช้โปรแกรมจะต้องศึกษาผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ซึ่งจะปรากฏให้เห็นในหน้าจอ
โปรแกรม
2. การเปลี่ยนหน้าบทเรียนในคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะเป็นแบบไฮเปอร์ลิงค์ ผู้เรียนสามารถ
เลือกกดปุ่มที่ต้องการได้
4. การเข้าสู่บทเรียนจะปรากฎรายการบทเรียนต่าง ๆ บนหน้าจอ
5. เมื่อนักเรียนเรียนจบบทเรียนให้นักเรียนทำแบบทดสอบ จำนวน 45 ข้อ
6. เมื่อต้องการออกจากโปรแกรม ให้นักเรียนกดปุ่มออกจากโปรแกรม ซึ่งจะปรากฏบน
หน้าจอ
ภาคผนวก จ
การวิเคราะห์แบบทดสอบ
1. ค่าความยากง่าย (P) ค่าอำนาจจำแนก (R) เป็นรายข้อ
2. ค่าความเชื่อมั่นแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
การวิเคราะห์แบบทดสอบ ระดับความยากง่าย และอำนาจจำแนก
เรื่อง วิธีการแสวงหาสารสนเทศ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
……………………………………………………………………………………………………….
ตาราง 9 แสดงค่าดัชนีความยาก (P) และค่าอำนาจจำแนก (R) จากการทดลองใช้แบบทดสอบรวม
หลัง
บทเรียน เรื่อง วิธีการแสวงหาสารสนเทศ
ข้อที่ RH RL P R
1 28 16 0.73 0.40
2 28 19 0.78 0.30
3 27 18 0.75 0.30
4 27 21 0.80 0.20
5 25 19 0.73 0.20
6 30 17 0.78 0.43
7 27 19 0.77 0.27
8 29 14 0.72 0.50
9 25 15 0.67 0.33
10 30 17 0.78 0.43
11 29 18 0.78 0.37
12 28 19 0.78 0.30
13 29 19 0.80 0.33
14 29 19 0.80 0.33
15 28 18 0.77 0.33
16 30 18 0.80 0.40
17 30 16 0.77 0.47
18 30 18 0.80 0.40
19 28 19 0.78 0.30
20 27 21 0.80 0.20
ข้อที่ RH RL P R
21 30 18 0.80 0.40
22 28 20 0.80 0.27
23 29 19 0.80 0.33
24 29 18 0.78 0.37
25 30 18 0.80 0.40
26 29 19 0.80 0.33
27 30 17 0.78 0.43
28 29 19 0.80 0.33
29 29 19 0.80 0.33
30 28 19 0.78 0.30
31 30 18 0.80 0.40
32 30 18 0.80 0.40
33 28 20 0.80 0.27
34 30 18 0.80 0.40
35 28 20 0.80 0.27
36 30 18 0.80 0.40
37 30 18 0.80 0.40
38 28 20 0.80 0.27
39 28 20 0.80 0.27
40 28 20 0.80 0.27
41 29 18 0.78 0.37
42 28 20 0.80 0.27
43 29 19 0.80 0.33
44 29 18 0.78 0.37
45 30 18 0.80 0.40
หมายเหตุ แบบทดสอบต้องต้องผ่านเกณฑ์ที่กำหนด คือมีค่าความยากง่าย (P) อยู่ระหว่าง 0.20-0.80
และ ต้องมีอำนาจจำแนก (R) สูงกว่า 0.20 ขึ้นไป
ตาราง 10 แสดงค่าดัชนีความยาก (P) และค่าอำนาจจำแนก (R) ของแบบทดสอบรวมหลังบทเรียน
เรื่อง วิธีการแสวงหาสารสนเทศ
ข้อที่ RH RL P R p q(pq)
1 28 16 0.73 0.40 0.73 0.27 0.20
2 28 19 0.78 0.30 0.78 0.22 0.17
3 27 18 0.75 0.30 0.75 0.25 0.19
4 27 21 0.80 0.20 0.80 0.20 0.16
5 25 19 0.73 0.20 0.73 0.27 0.20
6 30 17 0.78 0.43 0.78 0.22 0.17
7 27 19 0.77 0.27 0.77 0.23 0.18
8 29 14 0.72 0.50 0.72 0.28 0.20
9 25 15 0.67 0.33 0.67 0.33 0.22
10 30 17 0.78 0.43 0.78 0.22 0.17
11 29 18 0.78 0.37 0.78 0.22 0.17
12 28 19 0.78 0.30 0.78 0.22 0.17
13 29 19 0.80 0.33 0.80 0.20 0.16
14 29 19 0.80 0.33 0.80 0.20 0.16
15 28 18 0.77 0.33 0.77 0.23 0.18
16 30 18 0.80 0.40 0.80 0.20 0.16
17 30 16 0.77 0.47 0.77 0.23 0.18
18 30 18 0.80 0.40 0.80 0.20 0.16
19 28 19 0.78 0.30 0.78 0.22 0.17
20 27 21 0.80 0.20 0.80 0.20 0.16
21 30 18 0.80 0.40 0.80 0.20 0.16
22 28 20 0.80 0.27 0.80 0.20 0.16
23 29 19 0.80 0.33 0.80 0.20 0.16
24 29 18 0.78 0.37 0.78 0.22 0.17
25 30 18 0.80 0.40 0.80 0.20 0.16
26 29 19 0.80 0.33 0.80 0.20 0.16
27 30 17 0.78 0.43 0.78 0.22 0.17
28 29 19 0.80 0.33 0.80 0.20 0.16
29 29 19 0.80 0.33 0.80 0.20 0.16
30 28 19 0.78 0.30 0.78 0.22 0.17
31 30 18 0.80 0.40 0.80 0.20 0.16
32 30 18 0.80 0.40 0.80 0.20 0.16
33 28 20 0.80 0.27 0.80 0.20 0.16
34 30 18 0.80 0.40 0.80 0.20 0.16
35 28 20 0.80 0.27 0.80 0.20 0.16
36 30 18 0.80 0.40 0.80 0.20 0.16
37 30 18 0.80 0.40 0.80 0.20 0.16
38 28 20 0.80 0.27 0.80 0.20 0.16
39 28 20 0.80 0.27 0.80 0.20 0.16
40 28 20 0.80 0.27 0.80 0.20 0.16
41 29 18 0.78 0.37 0.78 0.22 0.17
42 28 20 0.80 0.27 0.80 0.20 0.16
43 29 19 0.80 0.33 0.80 0.20 0.16
44 29 18 0.78 0.37 0.78 0.22 0.17
45 30 18 0.80 0.40 0.80 0.20 0.16
รวม
1290
829
35.32
15.37
35.32
9.68
7.57
เฉลี่ย 28.67 18.42 0.78 0.34 0.78 0.22 0.17
จากตาราง 10 แสดงแบบทดสอบที่ผ่านการวิเคราะห์หาค่าดัชนีความยากง่ายและค่าอำนาจ
จำแนกแล้ว จำนวน 45 ข้อ ครอบคลุมวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมของบทเรียนทั้งหมด หลังจากที่นำ
ไปทดสอบกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวาสุเทวี จำนวน 120 คนปรากฏผลดังนี้
ค่าดัชนีความยากง่าย (P) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.78 แสดงว่าเป็นแบบทดสอบที่มีความยากง่าย
ค่อนข้างง่าย (ใช้ได้) และค่าอำนาจจำแนก (R) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.34 แสดงว่าเป็นแบบทดสอบที่มีค่า
อำนาจการจำแนกปานกลาง (คุณภาพแบบทดสอบดี)
ตาราง 11 แสดงค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบรวมหลังบทเรียน เรื่องวิธีการแสวงหาสารสนเทศ
คน/ข้อ คะแนนที่ได้(คะแนนเต็ม 45 คะแนน) X2
X
1 45 2025
2 45 2025
3 45 2025
4 44 1936
5 44 1936
6 44 1936
7 44 1936
8 44 1936
9 44 1936
10 44 1936
11 43 1849
12 43 1849
13 43 1849
14 43 1849
15 43 1849
16 43 1849
17 43 1849
18 43 1849
19 43 1849
20 43 1849
21 43 1849
22 42 1764
23 42 1764
24 42 1764
25 42 1764
26 42 1764
คน/ข้อ คะแนนที่ได้(คะแนนเต็ม 45 คะแนน) X2
X
27 41 1681
28 41 1681
29 41 1681
30 41 1681
91 33 1089
92 32 1024
93 32 1024
94 32 1024
95 32 1024
96 31 961
97 31 961
98 30 900
99 30 900
100 30 900
101 30 900
102 29 841
103 29 841
104 29 841
105 28 784
106 28 784
107 27 729
108 27 729
109 26 676
110 26 676
111 26 676
112 25 625
113 25 625
114 24 576
คน/ข้อ คะแนนที่ได้(คะแนนเต็ม 45 คะแนน) X2
X
115 24 576
116 24 576
117 24 576
118 22 484
119 22 484
120 21 441
รวม ΣX = 2119 ΣX2 = 78757
จากตาราง 11 ประชากร 120 คน ทำการคัดเลือกกลุ่มสูง 30 คน และกลุ่มต่ำ 30 คน รวมทั้ง
สิ้น 60 คน เพื่อหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบด้วยวิธี KR-20 จะได้ Σpq = 7.57 ΣX = 2119
ΣX2 = 78757
S2
t = N ΣX2 - (ΣX) 2
N2
S2
t = (60 x 78757) - (2119) 2
(60) 2
S2
t = 65.35
rtt = n 1 - Σpq
n-1 St2
rtt = 45 1 – 7.57
45-1 65.35
rtt = 1.02(0.88)
rtt = 0.90
ดังนั้น ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ มีค่าเท่ากับ 0.90 แสดงว่าแบบทดสอบรวม
หลังบทเรียนนี้มีความเชื่อมั่น 90 % เชื่อถือได้
ตาราง 12 แสดงค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน
ความเห็นผู้เชี่ยวชาญ
หัวเรื่อง
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
ข้อสอบ +1 0 -1
รวม
ค่าIOC
สรุปผล
อธิบายความหมายและ
ความจำเป็นของ
สารสนเทศได้
ข้อ 1
ข้อ 2
ข้อ 3
2
4
3
3
-
2
-
1
-
2
3
3
0.4
0.6
0.6
ใช้ไม่ได้
ใช้ได้
ใช้ได้
1. ความหมาย
และความสำคัญ
ของสารสนเทศ
บอกความสำคัญ
ประโยชน์ของสาร
สนเทศได้
ข้อ 4
ข้อ 5
ข้อ 6
ข้อ 7
ข้อ 8
ข้อ 9
ข้อ 10
5
5
5
5
4
2
5
-
-
-
-
1
3
-
-
-
-
-
-
-
-
5
5
5
5
4
2
5
1
1
1
1
0.8
0.4
1
ใช้ได้
ใช้ได้
ใช้ได้
ใช้ได้
ใช้ได้
ใช้ไม่ได้
ใช้ได้
2. ประเภทและ
ลักษณะของสาร
สนเทศ
จำแนกประเภทของสาร
สนเทศได้ และ บอก
การจัดเก็บสารสนเทศ
ข้อ 11
ข้อ 12
ข้อ 13
ข้อ 14
ข้อ 15
ข้อ 16
ข้อ 17
ข้อ 18
ข้อ 19
ข้อ 20
5
5
4
5
5
4
4
5
5
4
-
-
1
-
-
1
1
-
-
1
- 5
5
4
5
5
4
4
5
5
4
1
1
0.8
1
1
0.8
0.8
1
1
0.8
ใช้ได้
ใช้ได้
ใช้ได้
ใช้ได้
ใช้ได้
ใช้ได้
ใช้ได้
ใช้ได้
ใช้ได้
ใช้ได้
3. แหล่ง
สารสนเทศ
บอกแหล่งสารสนเทศที่
เป็นเหตุการณ์ สถาบัน
บุคคล สถานที่ได้
ข้อ 21
ข้อ 22
ข้อ 23
ข้อ 24
ข้อ 25
5
4
4
4
5
-
1
1
1
-
-
-
-
-
-
5
4
4
4
5
1
0.8
0.8
0.8
1
ใช้ได้
ใช้ได้
ใช้ได้
ใช้ได้
ใช้ได้
ความเห็นผู้เชี่ยวชาญ
หัวเรื่อง
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
ข้อสอบ +1 0 -1
รวม
ค่าIOC
สรุปผล
ข้อ 26
ข้อ 27
ข้อ 28
ข้อ 29
ข้อ 30
ข้อ 31
ข้อ 32
ข้อ 33
ข้อ 34
ข้อ 35
5
5
5
4
4
4
5
3
5
5
-
-
-
1
1
1
-
2
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
5
5
5
4
4
4
5
3
5
5
1
1
1
0.8
0.8
0.8
1
0.6
1
1
ใช้ได้
ใช้ได้
ใช้ได้
ใช้ได้
ใช้ได้
ใช้ได้
ใช้ได้
ใช้ได้
ใช้ได้
ใช้ได้
รู้จักการค้นหาสาร
สนเทศได้ถูกต้อง
รู้จักแสวงหาสารสนเทศ
ข้อ 36
ข้อ 37
ข้อ 38
ข้อ 39
ข้อ 40
4
5
5
5
5
1
-
-
-
-
-
-
-
-
-
4
5
5
5
5
0.8
1
1
1
1
ใช้ได้
ใช้ได้
ใช้ได้
ใช้ได้
ใช้ได้
4. เครื่องมือช่วย
ค้นสารสนเทศ
รู้จักเครื่องมือช่วยค้น
ประเภทต่างๆ
ข้อ 41
ข้อ 42
ข้อ 43
ข้อ 44
ข้อ 45
5
5
4
5
5
-
-
1
-
-
-
-
-
-
-
5
5
4
5
5
1
1
0.8
1
1
ใช้ได้
ใช้ได้
ใช้ได้
ใช้ได้
ใช้ได้
ภาคผนวก ฉ
ภาพแสดงบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง วิธีการแสวงหาสารสนเทศ
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ภาพแสดงบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง
วิธีการแสวงหาสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ชื่อเรื่อง
วัตถุประสงค์ของบทเรียน
เมนูหลัก
บทเรียน “ตอนที่ 1”
แบบทดสอบย่อย ตอนที่ 1
บทเรียน “ตอนที่ 2”
แบบทดสอบย่อย ตอนที่ 2
บทเรียน “ตอนที่ 3”
บทเรียน “ตอนที่ 4”
แบบทดสอบย่อย ตอนที่ 4
เก็บชื่อผู้เรียน
แบบทดสอบ
ประเมินผล
ภาคผนวก ช
รายนามผู้เชี่ยวชาญ หนังสือเชิญผู้เชี่ยวชาญ
รายชื่อผู้เชี่ยวชาญ
ผู้ประเมินคุณภาพสื่อการสอน บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง วิธีการแสวงหาสารสนเทศ
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
1. ดร.เสรี ปรีดาศักดิ์ กระทรวงศึกษาธิการ
2. ดร.วิโรจน์ วัฒนานิมิตรกูล รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ โรงเรียนมัธยมสาธิต
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
3. ผศ.ดร.ธำรงรัตน์ อมรรักษ์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
4. อาจารย์ทวีศักดิ์ จงประดับเกียรติ ประธานสาขาหลักสูตรและการสอน
สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
5. นางณัฐพร สกลพงศ์ไพโรจน์ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนวาสุเทวี
ประวัติย่อของผู้วิจัย
ประวัติย่อผู้วิจัย
ชื่อ – สกุล : นางสาวอัจฉรา เทวาฤทธิ์
วันเดือนปีเกิด : 4 มิถุนายน 2516
สถานที่เกิด : กรุงเทพฯ
ประวัติการศึกษา : -พ.ศ. 2530 มัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวาสุเทวี
-พ.ศ. 2533 ประกาศนียบัตรวิชาชีพ
สถาบันราชมงคล วิทยาเขตพระนครใต้
-พ.ศ. 2535 ประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง
สถาบันราชมงคล วิทยาเขตพระนครใต้
-พ.ศ. 2538 ปริญญาคหกรรมศาสตรบัณฑิต (คศ.บ)
สถาบันราชมงคล ปทุมธานี
ปัจจุบัน : ครูโรงเรียนวาสุเทวี กรุงเทพฯ

การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องวิธีการแสวงหาสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (ตอนที่ 1)
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องวิธีการแสวงหาสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (ตอนที่ 2)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น