วันเสาร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การศึกษาการทำความดีของเยาวชนเพื่อสังคม (ตอนที่ 2)



นัก ผู้ใหญ่ไทยมักเข้าใจสับสนเกี่ยวกับการควบคุมเด็ก และการทำตนใกล้ชิดกับเด็ก สองวิธีนี้ต่าง
กัน วิธีหลังเป็นการอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุน
5. การอบรมเลี้ยงดูแบบให้พึ่งตนเองเร็ว หมายถึง การเปิดโอกาสให้เด็กได้ทำกิจกรรม
ต่างๆในชีวิตประจำวันด้วยตนเอง ภายใต้การแนะนำและการฝึกฝนจากบิดามารดา หรือผู้เลี้ยงดู
อื่นๆซึ่งจะทำให้เด็กช่วยตนเองได้เร็ว และไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่นมากและนานเกินไป เช่น การทำความ
สะอาดร่างกาย การแต่งกาย การช่วยงานเล็กๆ น้อยๆ ในบ้าน เพื่อเป็นการเริ่มฝึกให้เด็กทำสิ่ง
ต่างๆภายใต้การดูแลของผู้เลี้ยง
จากการศึกษาแบบของการเลี้ยงดูสรุปได้ว่ามีทั้งหมด 5 แบบ ซึ่งการเลี้ยงดูแต่ละแบบจะ
ส่งผลถึงพฤติกรรมของเด็กแตกต่างกันตามวิธีการเลี้ยงดู ซึ่งในการศึกษาพฤติกรรมการทำความดี
เพื่อสังคมครั้งนี้จะศึกษาว่าบิดามารดาหรือผู้ปกครองมีวิธีการใดในการเลี้ยงดูเด็ก ที่มีพฤติกรรม
การทำความดีเพื่อสังคม
การอบรมเลี้ยงดูเป็นองค์ประกอบหนึ่งของครอบครัวซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมทางสังคมที่มี
อิทธิพลต่อการหล่อหลอมขัดเกลาพฤติกรรมของเยาวชนตั้งแต่แรกเกิดจนเติบใหญ่ วิธีการอบรม
เลี้ยงดูแตกต่างกันส่งผลให้เกิดพฤติกรรมต่างกัน พฤติกรรมของเยาวชนย่อมได้รับการซึมซับมา
จากครอบครัวไม่ว่าจะเป็นบรรยากาศของครอบครัว ต้นแบบของพ่อแม่ พี่น้อง ญาติมิตร และการ
อบรมเลี้ยงดูซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องต่อการมีพฤติกรรมของเยาวชนทั้งสิ้น เพราะเด็กเล็กๆ จะเรียนรู้ว่า
อะไรดี อะไรชั่ว จากบุคคลที่เด็กใกล้ชิด โดยวิธีเลียนแบบผู้ที่ตนรักจนกระทั่งในที่สุดเด็กจะยอมรับ
กฎเกณฑ์ของสังคมมาเป็นหลักปฏิบัติของตนโดยอัตโนมัต (วราภรณ์ รักวิจัย 2533 : 107) จึงจัด
ว่าเป็นมูลเหตุในการหล่อหลอมพฤติกรรมการทำความดีเพื่อสังคม
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ด้านการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีผลต่อการปรับตัวของเด็ก สมาน
กำเนิด (2520) ได้ศึกษาแล้วพบว่า วิธีการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่แตกต่างกัน ทำให้เด็กปรับตัว
แตกต่างกัน และเด็กที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตยปรับตัวได้ดีกว่าเด็กที่ได้รับการ
อบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย และแบบเข้มงวดกวดขัน) ด้านความสัมพันธ์ภายในครอบครัว
กับสุขภาพจิตและจริยธรรมของนักเรียนวัยรุ่นไทย ดวงเดือน พันธุมนาวินและ เพ็ญแข ประจน
ปัจจนึก (2524) พบว่า การอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุนมาก แบบใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ มี
ทัศนคติที่ดีต่อบิดามารดาและส่งผลต่อสุขภาพจิตดี และการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม ด้านความ
สัมพันธ์ระหว่างการอบรมเลี้ยงดู กับการสนับสนุนทางสังคม การบรรลุงานตามขั้นพัฒนาการและ
พฤติกรรมพลเมืองดีของวัยรุ่น จากการศึกษาของ วัฒนา อัติโชติ (2540) พบว่า นักเรียนวัยรุ่น
ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุนในระดับมาก แบบใช้เหตุผล ระดับมาก และแบบควบคุม
38
ระดับปานกลาง นักเรียนวัยรุ่นมีพฤติกรรมพลเมืองดีระดับมาก นักเรียนวัยรุ่นที่ได้รับการ
สนับสนุนทางสังคมต่างกันจะบรรลุตามขั้นพัฒนาการแตกต่างกัน และจะมีพฤติกรรมพลเมืองดี
แตกต่างกัน ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ ฉันทนา มุติ (2541 : 118-119) ชลบุษย์ เจริญสุข
(2541 : 90-92) ชลันดา สาสนทาญาติ (2541 : 99-100) ปิยะธิดา เหลืองอรุณ (2541 : 109-111)
และปานแก้ว จันทราชัยโชติ(2541 : 84-85)และปริศนา คำชื่น (2540: 65-67) พบว่า นักเรียน
วัยเด็กตอนต้นที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูต่างกันจะบรรลุงานตามขั้นพัฒนาการต่างกัน โดยนักเรียนที่
ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุนสูงจะมีค่าคะแนนเฉลี่ยการบรรลุงานตามขั้นพัฒนาการ
มากกว่านักเรียนวัยเด็กตอนต้นที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุนต่ำ ด้านปัจจัยที่มีอิทธิพล
ชัยยุทธ ดาผา (2534) ได้ศึกษาเรื่องปัจจัยของการขัดเกลาทางสังคมของพ่อแม่ที่กระทบต่อพฤติ
กรรมการดื่มอัลกอฮอล์ของวัย พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มที่ผสม
อัลกอฮอล์ของวัยรุ่น คือ ปัจจัยภูมิหลังทางครอบครัว ขนาดของครอบครัวมีความสัมพันธ์ทางบวก
กับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มที่ผสมอัลกอฮอล์ การสนับสนุนจากพ่อแม่ให้ลูกดื่มมีอิทธิพลต่อการ
ดื่มของลูก การอบรมเลี้ยงดูแบบใกล้ชิดจากแม่จะมีความสัมพันธ์ในเชิงลบต่อพฤติกรรมการดื่ม
ของลูก การอบรมเลี้ยงดูโดยการควบคุมอย่างเข้มงวดจากพ่อในเรื่องเกี่ยวกับการดื่มมีความ
สัมพันธ์เชิงลบกับพฤติกรรมการดื่มของลูก อีกหลายปีต่อมา พจนา ทรัพย์สกุลเจริญ (2541) ได้
ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติของวัยรุ่นระดับมัธยมศึกษาตอนต้นต่อสถาบันครอบครัว
ไทย ผลการศึกษาพบว่านักเรียนส่วนใหญ่มีทัศนคติรวมต่อครอบครัวในเชิงบวก ลักษณะข้อมูล
ทางด้านครอบครัวร้อยละ 73 อยู่ร่วมกับบิดามารดาและญาติพี่น้อง การศึกษาระดับมัธยมศึกษา
หรือสูงกว่า อาชีพบิดามารดารับจ้างเอกชนร้อยละ 50และ 60 ความสัมพันธ์ในครอบครัว มีเวลา
อยู่ร่วมกันตั้งแต่ 5 ชั่วโมงขึ้นไป ทำงานร่วมกับผู้ปกครองระดับปานกลาง มากกว่าร้อยละ50 ได้รับ
ประทานอาหารร่วมกับผู้ปกครองวันละ 1 มื้อ ร้อยละ 39 ความถี่ไปหาญาติผู้ใหญ่ในระดับมาก
และร้อยละ 60.2 ได้รับการเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย และในปีเดียวกันนี้ สุชิรา บุญทัน( 2541 ) ได้
ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางด้านครอบครัวกับจริยธรรมด้านความกตัญญูกตเวที ของนัก
เรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในจังหวัดขอนแก่น พบว่า ปัจจัยทางครอบครัวที่สัมพันธ์กับจริยธรรมด้าน
ความกตัญญูกตเวที คือลักษณะครอบครัวและอาชีพผู้ปกครอง มีความสัมพันธ์กับจริยธรรมด้าน
ความกตัญญูกตเวที ส่วนประเภทของครอบครัวมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่
ระดับ.05 และ ปัจจัยทางด้านครอบครัวทั้ง 3 ด้าน คือ ลักษณะการอบรมเลี้ยงดู อาชีพของผู้
ปกครอง และ ประเภทของครอบครัว สามารถพยากรณ์จริยธรรมด้านความกตัญญูกตเวทีได้ทั้ง
หมด โดยปัจจัยด้านลักษณะการเลี้ยงดูสามารถพยากรณ์จริยธรรมด้านความกตัญญูกตเวทีได้ดีที่
39
สุด นอกจากนี้ จาริณี ฮวบนรินทร์(2542)ยังพบว่านักเรียนที่ได้รับสิ่งแวดล้อมทางครอบครัวสูงจะ
บรรลุงานตามขั้นพัฒนาการมากกว่านักเรียนที่ได้รับสิ่งแวดล้อมทางครอบครัวต่ำ ซึ่งสิ่งแวดล้อม
ทางครอบครัวได้แก่ ประสบการณ์ต่างๆ จากพ่อแม่ ผู้ปกครอง ได้แบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติตน
คำชี้แนะตักเตือน การส่งเสริมสนับสนุนเรื่องการศึกษาหาความรู้จากสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัว และ
จุฑามณี จาบตะขบ ( 2542 ) ได้ศึกษาปัจจัยที่ทำให้คนทำดีเพื่อสังคม ผลการศึกษาพบว่า
ปัจจัยหลักที่ทำให้คนทำความดีเพื่อสังคมมีอยู่ 2 ปัจจัย คือ (1) การเลี้ยงดูในวัยเด็ก ซึ่งทุกกรณี
ศึกษาจะได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุน การอบรมเลี้ยงดูแบบใช้เหตุผล การอบรมเลี้ยงดู
แบบลงโทษทางจิตมากกว่าทางกาย การอบรมเลี้ยงดูแบบควบคุมและการอบรมเลี้ยงดูแบบให้พึ่ง
ตนเองเร็วจากคนในครอบครัว (2) ความเชื่อทางศาสนา ซึ่งจะได้รับการถ่ายทอดมาจากครอบครัว
การได้มีโอกาสบวชเรียนในบวรพุทธศาสนาหรือเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาอื่นๆอย่างใกล้ชิด ซึ่งมี
ผลทำให้เกิดค่านิยม ทัศนคติต่อการกระทำความดี นอกจากนี้ยังพบปัจจัยส่งเสริมให้กรณีศึกษา
กระทำความดีเพื่อสังคมอีกคือ ลักษณะของครอบครัวที่มีการเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน อาชีพ
ทางการเกษตร ตำแหน่งทางราชการที่อยู่ในชุมชน ด้านลักษณะที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของเยาวชน
วรรณะ บรรจง (2541 : 33) ได้ศึกษาลักษณะทางศานาและพฤติกรรมศาสตร์ของเยาวชนไทยจาก
ชุมชนแผ่นดินธรรมแผ่นดินทองในภาคใต้ พบว่า 1) เยาวชนที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบรัก
สนับสนุนมากหรือได้รับการส่งเสริมความเป็นพุทธมามกะจากครอบครัวมาก หรือมาจากชุมชนที่มี
คุณภาพสูงมีความเชื่อทางพุทธศาสนา การปฏิบัติทางพุทธศาสนา ความเชื่ออำนาจภายในตน
การคบเพื่อนอย่างเหมาะสมมากกว่าและมีพฤติกรรมก้าวร้าวน้อยกว่าเยาวชนที่มีลักษณะดังกล่าว
น้อย 2) การอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุนเป็นตัวทำนายที่สำคัญเด่นชัดในการทำนายลักษณะทาง
ศาสนาสองด้าน(เชื่อและปฏิบัติ)และลักษณะทางพฤติกรรมศาสตร์สามด้านของเยาวชน(ความเชื่อ
อำนาจภายในตน คบเพื่อนอย่างเหมาะสม พฤติกรรมก้าวร้าว) รองลงมาคือการส่งเสริมความเป็น
พุทธมามกะ จากครอบครัว และการอบรมเลี้ยงดูจากครอบครัวสองด้านร่วมกับการร่วมกิจกรรม
ทางพุทธศาสนา ศาสนาในชุมชนสามารถร่วมกันทำนายความเชื่อทางพุทธ ศาสนาของเยาวชนใน
ครอบครัวเศรษฐกิจต่ำ การปฏิบัติทางพุทธศาสนาความเชื่ออำนาจภายในตน พฤติกรรมก้าวร้าว
น้อยในเยาวชนอายุมาก และการคบเพื่อนอย่างเหมาะสมในกลุ่มเยาวชนครอบครัวขยาย 3) เยาว
ชนในครอบครัวขยายที่มีความเชื่อและการปฏิบัติทางพุทธศาสนาในปริมาณที่สูงเป็นผู้ที่มีความ
เชื่ออำนาจภายในตน การคบเพื่อนอย่างเหมาะสมมากและมีพฤติกรรมก้าวร้าวน้อย และต่อมา
ลัดดาวัลย์ เกษมเนตร และ ทัศนา ทองภักดี (2543) ได้ศึกษารูปแบบแสดงความรักของมารดาที่
เกี่ยวข้องกับบุคลิกภาพและพัฒนาการทางอารมณ์สังคมของเด็ก ผลการศึกษาพบว่าการแสดง
40
ความรักของมารดาแบบที่มารดาแสดงความรักทั้งด้านวัตถุและด้านจิตใจในระดับมาก และแบบที่
มารดาแสดงความรักด้านวัตถุระดับมาก แต่ด้านจิตใจระดับน้อย ส่งผลต่อบุคลิกภาพแสดงตัว
ความเป็นผู้นำ สุขภาพจิต โดยรวมซึ่งแยกด้านย่อยคือ ความซึมเศร้า ความวิตกกังวล และความ
ก้าวร้าวมากกว่า นักเรียนที่ได้รับแบบแสดงความรักทั้งด้านวัตถุและจิตใจในระดับน้อย
จากงานวิจัยดังกล่าวพบว่าสภาพแวดล้อมทางครอบครัว ซึ่งประกอบด้วย ความสัมพันธ์
ในครอบครัว การอบรมเลี้ยงดู และปัจจัยต่างๆ ทางครอบครัว เช่น ภูมิหลัง ขนาด การสนับสนุน
อาชีพ ประเภทของครอบครัว รูปแบบการแสดงความรัก ทัศนคติและความเชื่อ ล้วนแต่มีผลต่อ
พฤติกรรมของเยาวชนตามลักษณะการแสดงออก ถ้าเลี้ยงดูด้วยความรักสนับสนุนเด็ก และปฏิบัติ
ตนเป็นแบบอย่างที่ดีเด็กจะมีพฤติกรรมในทางที่ดีด้วย ดังนั้นสภาพแวดล้อมทางครอบครัวจึงเป็น
มูลเหตุที่มีอิทธิพลต่อการทำความดีเพื่อสังคม
สภาพแวดล้อมทางโรงเรียนกับพฤติกรรมการทำความดีเพื่อสังคม
โรงเรียนจัดได้ว่าเป็นบ้านแห่งที่ 2 ของเด็ก เนื่องจากใน 1 สัปดาห์ เด็กจะต้องใช้เวลาอยู่ใน
โรงเรียนถึง 5 วัน โรงเรียนมีหน้าที่สำคัญ คือ สร้างพลเมืองดีของชาติ คอยอบรมสั่งสอน และ
พัฒนาพฤติกรรมที่ดีที่เหมาะสมให้แก่เด็ก สมชาย ธัญธนกุล (2526, 87) กล่าวถึงโรงเรียนว่า
โรงเรียนเป็นสถาบันที่มีอิทธิพลต่อบุคลิกภาพของเด็กต่อจากครอบครัวเด็กต้องใช้เวลาอยู่ในโรง
เรียนมากพอๆ กับอยู่ที่บ้าน โรงเรียนจึงต้องพยายามจัดสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน ไม่ว่าจะ
เป็นทางด้านอาคารเรียน ทำเลที่ตั้ง อุปกรณ์การสอน สิ่งอำนวยความสะดวก ครูผู้สอน ตลอดจน
หลักสูตร เพื่อที่จะช่วยพัฒนาให้เด็กวัยรุ่นได้เจริญเติบโตเป็นพลเมืองที่ดีของชาติต่อไป ส่วนจิตรา
วสุวานิช (2524 : 55) กล่าวว่า การที่โรงเรียนจะทำหน้าที่ส่งเสริมพัฒนาพฤติกรรมของเด็กได้ดี
เพียงใดขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนเป็นสำคัญ ได้แก่สถานที่ตั้ง อาคารเรียน อาคาร
ประกอบ บุคลากร อุปกรณ์ และวิธีการจัดการดำเนินการภายในโรงเรียน สิ่งเหล่านั้นเป็นองค์
ประกอบที่มีผลต่อการพัฒนาทั้งในด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา สมร ทองดี(2532 )
ได้กล่าวถึงปัจัยทางด้านโรงเรียนที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาบุคลิกภาพของวัยรุ่นมีดังนี้
1. บุคลิกภาพของครู ครูคือบุคคลที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับนักเรียนมากเนื่องจากการ
สอนวิชาต่างๆ ในปัจจุบันนี้เปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีการพัฒนาหลายด้านและนักเรียนมีความ
ศรัทธาและพร้อมที่จะปฏิบัติตาม ดังนั้นครูที่มีบุคลิกภาพดีมีท่าทีเป็นมิตรมีความสามารถก็จะเป็น
สิ่งจูงใจให้เด็กปฏิบัติตาม นอกจากนี้บุคลิกภาพของครูยังมีส่วนในการสร้างบรรยากาศในห้อง
เรียนอีกด้วย ถ้าครูแสดงความลำเอียงและมีอคติกับนักเรียน ก็อาจทำให้นักเรียนวัยรุ่นแสดงการ
ขัดขืน และอาจแสดงพฤติกรรมที่ต่อต้านอีกด้วย
41
2. หลักสูตรและกิจกรรมเสริมหลักสูตร หลักสูตรและกิจกรรมที่โรงเรียนจัดให้ จะช่วยให้
นักเรียนได้มีประสบการณ์เพิ่มขึ้น เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ และจะช่วยพัฒนาบุคลิกภาพ
ของวัยรุ่นด้วย เช่น ชมรมนักกีฬา ชมรมคนรักหนังสือ ชมรมอาสาพัฒนา เป็นต้น ซึ่งแต่ละชมรมก็
จะจัดกิจกรรมมุ่งเน้นให้นักเรียนวัยรุ่นแสดงความสามารถเฉพาะด้านที่นักเรียนสนใจ เพื่อส่งเสริม
บุคลิกภาพในแต่ละด้านที่นักเรียนพอใจ การจัดกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียน จึงมีส่วนในการพัฒนา
บุคลิกภาพให้แก่นักเรียนวัยรุ่นเป็นอย่างมาก
3. ระเบียบวินัยและข้อบังคับของโรงเรียน ถ้าหากโรงเรียนวางกฎเกณฑ์ระเบียบวินัย
อย่างไม่มีเหตุผล อาจทำให้นักเรียนต่อต้าน ในทางตรงกันข้ามหากโรงเรียนขาดระเบียบวินัย ก็อาจ
ทำให้นักเรียนขาดความรับผิดชอบ ไม่เคารพกฎเกณฑ์ดังนั้นโรงเรียนจึงควรสร้างระเบียบ กฎ
เกณฑ์โดยมีพื้นฐานของความเป็นประชาธิปไตย โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของเหตุผล เหมาะสมกับวัย
และขีดความสามารถของนักเรียน
ส่วน วีระ คำวิเศษณ์ (2516, 113-118 อ้างถึงในทองหล่อ สุวรรณกาฬ 2531, 87-90) ได้
กล่าวถึงโรงเรียนกับการส่งเสริมพัฒนาการของวัยรุ่นไว้ดังนี้
1. การทำให้เด็กอบอุ่นใจ ครูและบุคลากรของโรงเรียนจะต้องเข้าใจเด็ก และให้ความ
เมตตากรุณาต่อเด็ก เพื่อก่อให้เกิดความอุ่นใจ ครูจะต้องเป็นผู้นำให้คำแนะนำช่วยเหลือเมื่อเด็กมี
ปัญหาไม่ว่าปัญหาด้านการเรียนหรือด้านสังคม ด้านสังคมเพื่อนหากเป็นที่ยอมรับของสังคมเพื่อน
เด็กก็จะมีความสุข แต่ถ้าเด็กเข้ากับเพื่อนไม่ได้ก็จะเกิดปัญหาเด็กอาจจะหนีสังคม หรืออาจมี
พฤติกรรมอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดปัญหาขึ้นเช่น การก้าวร้าว วางโต ฯลฯ ครูจึงจำเป็นต้องช่วยแก้ไข
ปัญหาและแนะแนวทางการแก้ปัญหาให้เด็กสามารถปรับตัวเข้ากับสังคมได้
2. ความร่วมมือในเรื่องกีฬาการเล่นกีฬาจะทำให้เด็กมีร่างกายสมบูรณ์ และส่งเสริมด้าน
สุขภาพจิตของเด็กวัยรุ่น โรงเรียนควรส่งเสริมให้เด็กมีส่วนในการเล่นกีฬาแม้ทุกคนจะไม่ได้เป็นนัก
กีฬาแต่เด็กอาจจะไปเชียร์กีฬา และฝึกให้มีน้ำใจนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ การเล่นกีฬายังเป็นการส่ง
เสริมให้เด็กรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์เพราะเด็กวัยรุ่นนี้ร่างกายกำลังเปลี่ยนแปลงและกำลัง
เหลือ ไม่ชอบอยู่นิ่ง ถ้าโรงเรียนส่งเสริมให้ถูกทาง เช่น ให้เด็กเล่นกีฬาก็จะเป็นการช่วยพัฒนาท่า
ทาง ของเด็กให้สมบูรณ์และก็จะมีผลถึงสุขภาพจิตของเด็กยังเป็นการป้องกันปัญหาวัยรุ่นที่จะเกิด
ขึ้นได้อีกด้วย
3. การจัดกิจกรรมชุมนุม ครูควรศึกษาเด็กให้การเลือกเข้าร่วมชุมนุมหรือเลือกกิจกรรม
ตามที่ตนมีความถนัดในด้านใด เมื่อเข้าใจเด็กแล้วครูก็จะแนะนำเด็กในการเลือกเข้าร่วมชุมนุม
หรือกิจกรรมตามที่ตนถนัด และมีความสามารถ ดังนั้นโรงเรียนจึงควรจัดให้มีการชุมนุมหรือกิจ
42
กรรมหลายๆ ทางเพื่อให้เด็กมีโอกาสเลือกเข้าร่วมชุมนุมกิจกรรมให้เหมาะสมกับความสามารถ
ของตนและเด็กจะไม่ต้องใช้เวลาว่างให้สูญเสียไปในการร่วมชุมนุมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ ทั้งยัง
ช่วยแก้ปัญหาเยาวชนที่จะเกิดขึ้นได้เพราะเด็กไม่ได้ตัดสินใจเลือกทางผิด
4. การส่งเสริมสุขภาพและสวัสดิภาพ ร่างกายของเด็กวัยรุ่นกำลังเจริญเติบโตอย่างรวด
เร็ว ต่อมต่างๆ ทำงานมากขึ้น เช่น ต่อมเพศจะขับฮอร์โมน ทำให้ร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น
เด็กผู้หญิงจะมีหน้าอกขยายขึ้น มีประจำเดือนเป็นครั้งแรก เด็กชายก็เกิดความเปลี่ยนแปลงด้าน
ร่างกายหลายอย่าง เช่น เสียงห้าว แตก ร่างกายเก้งก้าง สิว จึงเป็นหน้าที่ของโรงเรียนและครูที่จะ
ต้องพยายามให้เด็กสอนวิธีการปฏิบัติและรักษาความสะอาด โดยให้การแนะนำปรึกษาหารือสอด
แทรกเข้าไปในวิชาต่างๆ เช่น ชีววิทยา พลานามัย เป็นต้นขึ้น
5. กิจกรรมนอกหลักสูตร กิจกรรมนอกหลักสูตรจะช่วยส่งเสริมการเรียนการทำงานและการ
เข้าสังคมได้ เช่น การจัดทัศนศึกษา การโต้วาที การปาฐกถา และการอภิปราย เด็กก็จะได้หาความ
รู้ความเข้าใจตามแนวทางที่ตนสนใจและถนัด ตลอดจนได้เรียนรู้วิธีการทำงาน เช่นการโต้วาที ครู
ควรเป็นผู้ดำเนินงานเอง ครูเป็นเพียงคอยให้คำแนะนำปรึกษาอยู่ห่างๆจะได้ฝึกเด็กให้รู้จักทำงาน
เป็นและยังได้ฝึกหัดให้เด็กได้ร่วมมือกันตามแบบสังคมประชาธิปไตย เช่น ให้ยอมรับการเป็นผู้นำ
ผู้ตาม และการให้ความร่วมมือตามข้อตกลงเป็นต้น
6. การบริการห้องสมุด โรงเรียนควรจะได้คำแนะนำและส่งเสริมให้เด็กมีนิสัยรักการอ่าน
หนังสือ เจ้าหน้าที่ห้องสมุดควรจะได้ให้ความช่วยเหลือและให้คำแนะนำแก่เด็กในการที่จะค้นคว้า
หาความรู้ ตลอดจนแนะนำให้เด็กรู้จักหนังสือที่น่าอ่านให้ความเหมาะสมกับความสนใจและวัย
ของเด็ก
นอกจากนี้ โรงเรียนควรจะฝึกมารยาทในการใช้ห้องสมุด การใช้หนังสือการถนอมหนังสือ
และโรงเรียนต้องให้ความสะดวกในการใช้บริการ การยืมหนังสือตลอดจนบรรยากาศในห้องสมุดก็
ควรจัดให้น่าอยู่ เช่น ไม่ร้อนอบอ้าว ไม่มีเสียงรบกวน ซึ่งจะเป็นการทำลายสมาธิของเด็ก
7. บริการแนะแนว การแนะแนวมีความสำคัญต่อวัยเด็กวัยรุ่นมาก การแนะแนวมิใช่บริการที่
ช่วยแก้ปัญหาให้แก่เด็กเพียงอย่างเดียว การแนะแนวเป็นวิธีการหรือขบวนการหรือบริการอย่าง
หนึ่ง ซึ่งจะช่วยให้เด็กรู้จักตนเองมากขึ้นถูกต้องยิ่งขึ้น รู้ถึงความสามารถของตนเองว่ามีขอบเขต
เช่นไร ได้ทราบถึงความสนใจ และระดับสติปัญญาและสุขภาพของตน การแนะแนวช่วยให้เด็กได้รู้
ถึงแนวทาง และโอกาสที่จะใช้ความสามารถต่างๆ ของตนที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและ
สังคมให้มากที่สุด จะเห็นได้ว่าการแนะแนวก็คือกลวิธีที่จะช่วยป้องกันปัญหาต่างๆ ของนักเรียน
และยังเป็นการช่วยสร้างเสริมให้นักเรียนแต่ละคนได้เจริญงอกงามขึ้นให้มากที่สุด
43
8. กิจกรรมลูกเสือและอนุกาชาด โรงเรียนมัธยมศึกษาทุกแห่งมักจะจัดกิจกรรมลูกเสือและ
อนุกาชาด เพราะจะได้เห็นถึงประโยชน์และคุณค่าของกิจกรรมนี้ การเรียนวิชาลูกเสือและ
อนุกาชาดนี้ นักเรียนได้มีโอกาสปฏิบัติด้วย จะทำให้นักเรียนรู้วิธีการปฏิบัติตนให้เป็นพลเมืองดี
ของชาติต่อไป และได้รู้อะไรต่างๆ อีกมากมาย เช่น รู้วิธีทำอาหาร การปฐมพยาบาล การว่ายน้ำ
ฝึกการสังเกต การคาดคะเน การช่วยเหลือผู้อื่นเป็นต้น
กิจกรรมลูกเสือและอนุกาชาด เป็นสิ่งที่จำเป็นมากสำหรับเด็กวัยรุ่นดังเหตุผลที่ได้กล่าวมา
แล้ว สงิ่ ทสี่ าํ คญั ยงิ่ คอื ทำให้นักเรียนได้ฝึกให้เป็นพลเมืองดีของชาต ิ มกี ารชว่ ยเหลอื ผอู้ นื่ ซึ่งดีกว่า
ที่เด็กจะไปประพฤติเกเรในทางอื่นที่ผิดๆ ซึ่งจะเป็นปัญหาแก่สังคมเป็นอย่างมาก
9. การปฐมนิเทศนักเรียนใหม่ ทุกต้นปีการศึกษาที่เปิดโรงเรียน จะต้องมีนักเรียนที่เข้าใหม่
เสมอ นักเรียนใหม่เหล่านี้ยังใหม่ต่อสถานที่ ยังไม่รู้ว่า โรงเรียนมีระบบงาน มีระเบียบข้อบังคับอะไร
ตลอดจนได้ทราบถึงวิธีปฏิบัติตามระเบียบวินัยของโรงเรียน
10. การปัจฉิมนิเทศ มีประโยชน์ต่อนักเรียนอย่างมากเท่ากับเป็นการให้บริการแนะแนวครั้ง
สุดท้ายของโรงเรียนที่จัดให้แก่ ลูกศิษย์ของตน การปัจฉิมนิเทศเป็นการให้ความรู้ในการศึกษาต่อ
และอาจจะให้ความรู้ด้านอาชีพแก่นักเรียนได้
สิ่งสำคัญอีกสิ่งหนึ่งซึ่งโรงเรียนควรจัดให้แก่นักเรียนวัยรุ่นอย่างเหมาะสม นั่นคือ สภาพ
แวดล้อมของโรงเรียนที่ดี ซึ่ง ปรีชา คัมภีรปกรณ์ (2535:70-71) ได้กล่าวถึงสภาพแวดล้อมของโรง
เรียนและแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
1. สภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน โรงเรียนที่ดีควรจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการ
แสดงพฤติกรรมที่ดี เช่น การมีสวนหย่อมที่นั่งพักผ่อน เพื่อที่นักเรียนวัยรุ่นจะได้มีโอกาสสังสรรค์
หรือกลุ่มในเวลาว่าง ถ้าเป็นไปได้ควรเปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีส่วนในการจัดด้วยเช่น ร่วมในการ
ออกแบบ ช่วยกันทำหรือเสียสละทรัพย์ส่วนตัวเพื่อสร้างเป็นอนุสรณ์ของรุ่น ซึ่งจะทำให้นักเรียนวัย
รุ่นมีความผูกพันและช่วยกันรักษาเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนวัยรุ่นมีพฤติกรรมที่ดี
2. สภาพแวดล้อมภายนอกโรงเรียน หมายถึง สถานที่ตั้งของโรงเรียน สภาพที่อยู่รอบๆ
โรงเรียน มีผลทั้งต่อนักเรียนวัยรุ่นและครู โรงเรียนที่ตั้งอยู่ในวัดพฤติกรรมการแสดงออกของวัยรุ่นมี
แนวโน้มที่จะเป็นคนที่สามารถเข้ากับพระและประกอบศาสนพิธีได้ดีกว่าโรงเรียนที่ตั้งอยู่นอกวัด
โรงเรียนบางแห่งตั้งอยู่ในชุมชนแออัด นักเรียนวัยรุ่นมีโอกาสที่จะมั่วสุม ติดยาเสพติดได้ง่าย
นอกจากนี้เพื่อนในโรงเรียนก็จัดได้ว่าเป็นสิ่งแวดล้อมทางโรงเรียนด้วย เช่นกัน (สมร ทองดี
2532:163) วัยรุ่นเป็นวัยที่กำลังแสวงหาเอกลักษณ์ของตนเอง วัยรุ่นจะเกิดการเรียนรู้จากลุ่มเพื่อน
และให้ความสำคัญกับเพื่อนมาก เพื่อนมีอิทธิพลกับวัยรุ่นมากเพราะวัยรุ่นต้องการรวมกลุ่ม ซึ่งแต่
44
ละกลุ่มจะมีผู้นำ ผู้ตามและจะมีกฎระเบียบประเพณีประจำกลุ่ม จะปฏิบัติตามเพื่อให้เป็นที่ยอม
รับของเพื่อน การรวมกลุ่มทำให้วัยรุ่นได้รับการตอบสนองความต้องการทางสังคมขั้นพื้นฐาน เช่น
คำยกย่อง ฐานะ ตำแหน่ง มีเพื่อนที่เข้าใจ และเปิดโอกาสให้วัยรุ่นชายและหญิงได้รู้จักคุ้นเคยกัน
สร้างความเข้าใจและเรียนรู้ที่จะปฏิบัติตนตามบทบาททางเพศ รู้จักปฏิบัติตนต่อเพื่อนเพศเดียวกัน
และต่างเพศ
ดังจะเห็นได้ว่าสภาพแวดล้อมทางโรงเรียนด้านต่างๆ มีอิทธิพลส่งเสริมให้วัยรุ่นหรือ
เยาวชนมีพฤติกรรมที่ดีได้ถ้าโรงเรียนจัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาบุคลิกภาพของวัย
รุ่นได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับพัฒนาการ และมีกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริม
พัฒนาการและเปิดโอกาสให้เด็กได้ทำความดีเพื่อสังคมได้โดยเริ่มตั้งแต่การจัดสภาพแวดล้อม
กฎระเบียบ บุคลิกภาพของครู เพื่อน กิจกรรม เป็นต้น ดังนั้นสภาพแวดล้อมของโรงเรียนจึงจัดว่า
เป็นมูลเหตุในการส่งเสริมให้เยาวชนทำความดีเพื่อสังคม
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิรัช วรรณรัตน์ (2523:21-23) ได้กล่าวว่าสภาพแวดล้อมในโรงเรียน
ที่ไม่ดีและไม่เหมาะสมมีส่วนทำให้เด็กประพฤติผิดและเกิดพฤติกรรมที่ไม่ดีได้ ซึ่งเป็นผลมาจากครู
และเพื่อน วิธีการปกครองชั้นเรียนและกฏระเบียบข้อบังคับต่างๆ โดยบุคลิกภาพของครูมีส่วน
อย่างมากต่อการที่จะก่อให้เกิดระเบียบวินัยในโรงเรียน ครูจะมีบทบาทที่สำคัญในการควบคุม
ปัญหาทางวินัยและมีส่วนอย่างมากต่อการกระทำผิดวินัยของเด็ก เช่น การให้การบ้านไม่ชัดเจน
สอนไม่ดี ไม่เตรียมการสอน ครูแต่งกายไม่เหมาะสม เจ้าอารมณ์ ไม่ให้ความสนใจและไม่เอาใจใส่
เด็ก ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่ส่งเสริมลักษณะความเป็นพล
เมืองดีในโรงเรียน ของสันทัด สัตยายุทธ์ (2527) พบว่าผลการจัดกิจกรรมกีฬาและนันทนาการ
กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ กิจกรรมลูกเสือ ยุวกาชาด กิจกรรมศาสนา การปกครอง และการ
ประชุมอบรมฯลฯ สามารถส่งเสริมให้นักเรียนพัฒนาลักษณะของความเป็นพลเมืองดีด้าน ความ
ซื่อสัตย์ เสียสละ เห็นแก่ส่วนรวม รู้จักรักษาระเบียบวินัย มีความละอายเกรงกลัวต่อการประพฤติ
ผิด มีความขยันหมั่นเพียร มีจิตใจเป็นประชาธิปไตย ต่อมา ชุมมาศ กัลยาณมิตร (2530:133) ได้
ศึกษาปัจจัยที่มีต่อเจตคติเกี่ยวกับการประพฤติตนไม่เหมาะสมกับสภาพและวัยของนักเรียน พบ
ว่าปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมทางโรงเรียนที่มีผลต่อเจตคติเกี่ยวกับการประพฤติตนไม่เหมาะสมกับ
สภาพและวัย ได้แก่ สถานที่ตั้งโรงเรียน สภาพการเรียนของนักเรียน สภาพการสอนของครูอาจารย์
สภาพห้องเรียน กฏระเบียบของโรงเรียน ลักษณะเพื่อนภายในกลุ่ม ขนาดของกลุ่ม เหตุที่เข้าร่วม
กิจกรรม ลักษณะการเข้าร่วมกิจกรรม ในปี พ.ศ 2533 ชัยยา โชติดิลก ได้ศึกษาเรื่องการจัดสภา
นักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา พบว่า สภานักเรียนช่วยส่งเสริมให้นักเรียนมีความคิดริเริ่มสร้าง
45
สรรค์ และช่วยฝึกฝนให้นักเรียนเป็นพลเมืองดีในสังคมประชาธิปไตยได้ด้วย ปีต่อมา มารศรี
จันทร์ชลอ (2534) ได้ศึกษาการเข้าร่วมกิจกรรมของนักเรียนพบว่า นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมเสริม
หลักสูตรมากครั้ง มีความสำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบสูงกว่านักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม
เสริมหลักสูตรน้อยครั้ง นอกจากนี้บทบาทของผู้บริหารและครูในโรงเรียนมีความสัมพันธ์กับความ
สำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบของนักเรียนด้วย และในปี พ.ศ 2537 ระพีพร นิ่มประยูร ได้
ศึกษาผลการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มสร้างคุณภาพที่มีต่อความรับผิดชอบต่อหน้าที่การงานของนัก
เรียนวัยรุ่น พบว่า นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการสอนแบบปกติมีความกระตือรือร้นต่อการเรียน และมี
ความรับผิดชอบ น้อยกว่านักเรียนกลุ่มที่เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มสร้างคุณภาพ ถัดมาปี 2540 ปริศนา
คำชื่น ได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการอบรมเลี้ยงดู การสนับสนุนทางสังคม การบรรลุงานตาม
ขั้นพัฒนาการ และพฤติกรรมพลเมืองดีของวัยเด็กตอนต้นในภาคเหนือ พบว่านักเรียนที่ได้รับการ
สนับสนุนทางสังคมโรงเรียนต่างกันจะบรรลุงานตามขั้นพัฒนาการแตกต่างกัน โดยนักเรียนที่ได้รับ
การสนับสนุนทางสังคมในโรงเรียนสูงจะมีค่าคะแนนเฉลี่ยการบรรลุงานตามขั้นพัฒนาการมาก
กว่านักเรียนที่ได้รับการสนับสนุนทางสังคมในโรงเรียนระดับต่ำ และนักเรียนที่บรรลุงานตามขั้น
พัฒนาการระดับสูงมีค่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมพลเมืองดีมากกว่านักเรียนที่บรรลุงานตามขั้น
พัฒนาการระดับต่ำ นอกจากนี้การศึกษา ของจาริณี ฮวบนรินทร์ (2542) พบว่านักเรียนที่ได้รับสิ่ง
แวดล้อมทางโรงเรียนสูงจะบรรลุงานตามขั้นพัฒนาการมากกว่านักเรียนที่ได้รับสิ่งแวดล้อมทางโรง
เรียนต่ำ และจุฑามณี จาบตะขบ (2542 ) ได้ศึกษาปัจจัยที่ทำให้คนทำดีเพื่อสังคม ผลการ
ศึกษาพบว่า ประสบการณ์เรียนรู้จากการศึกษา ฝึกอบรมทั้งในและนอกโรงเรียนและการศึกษา
ตามอัธยาศัย ทำให้มีวิสัยทัศน์และโลกทัศน์ในการพัฒนาหมู่บ้าน
ดังจะเห็นได้ว่าสภาพแวดล้อมทางโรงเรียนไม่ว่าจะเป็นบุคลิกภาพของครูการเรียนการ
สอนในชั้นเรียน การจัดกิจกรรมภายในโรงเรียน กฎระเบียบข้อบังคับของโรงเรียน ล้วนแต่ส่งผลต่อ
พฤติกรรมดีของนักเรียนทั้งสิ้น สภาพแวดล้อมทางโรงเรียนจึงจัดเป็นมูลเหตุหนึ่งที่ส่งเสริมให้เยาว
ชนทำความดีเพื่อสังคม
5. ลักษณะทางจิต
ลักษณะทางจิตจัดเป็นมูลเหตุภายในที่มีอิทธิพลต่อการเกิดพฤติกรรม ซึ่งในประเทศไทย
ศาสตราจารย ์ ดร.ดวงเดือน พันธุมนาวิน ไดเ้ สนอทฤษฎตี น้ ไมจ้ รยิ ธรรม ทแี่ สดงถงึ สาเหตขุ องพฤติ
กรรมของคนดีและคนเก่ง พฤติกรรมการทำความดีเพื่อสังคมนี้จัดเป็นพฤติกรรมหนึ่งของคนดี ดัง
นั้นผู้วิจัยจึงได้นำทฤษฎีต้นไม้จริยธรรมมาศึกษาตัวแปรลักษณะทางจิตของผู้กระทำ
46
ต้นไม้จริยธรรมในทฤษฎีนี้มีส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ ดอกและผลไม้บนต้น ลำต้น และราก
โดยพฤติกรรมของคนดีและคนเก่ง เปรียบเสมือนผลผลิตที่น่าพอใจและมีประโยชน์คือ ดอกไม้และ
ผลไม้ ส่วนที่เป็นดอกและผลของลำต้น แสดงถึง พฤติกรรมการกระทำต่างๆของมนุษย์ ส่วนนี้จะ
เป็นผลมาจากลักษณะทางจิตในส่วนที่เป็นลำต้นและรากของต้นไม้จริยธรรม
ส่วนที่เป็นลำต้น เป็นส่วนของจิตใจที่ประกอบไปด้วยลักษณะทางจิต 5 ด้าน ได้แก่
- การใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม คือ การเป็นคนที่เห็นแก่ส่วนรวมมากกว่าที่จะเห็นแก่ตัวหรือ
พวกพ้อง
- การมุ่งอนาคต คือ การเป็นคนที่สามารถคาดการณ์ไกล และรู้จักบังคับตนเองให้อดได้รอ
ได้
- ความเชื่ออำนาจในตนเอง คือ เป็นผู้ที่เชื่อว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว สิ่งที่เกิดขึ้นกับตนล้วน
เป็นผลการกระทำของตนเองทั้งสิ้น
- แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ คือ การมีความวิริยะอุตสาหะ ฝ่าฝันอุปสรรค จนเกิดความสำเร็จ
ตามเป้าหมาย
- ทัศนคติ คุณธรรมและค่านิยม คือ ความพอใจและเห็นความสำคัญของความดีงาม เห็น
โทษของความชั่วร้ายต่างๆ
ส่วนที่เป็นราก เป็นส่วนของพื้นฐานทางจิตใจ มี 3 ลักษณะ คือ
- ความเฉลียวฉลาด สามารถเข้าใจและคิดในระดับนามธรรมได้
- การรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา มีประสบการณ์ทางสังคมสูง
- มีสุขภาพจิตดี มีความวิตกกังวลน้อย หรือในปริมาณที่เหมาะสมกับเหตุการณ์
ลักษณะทางจิตทั้งสามนี้อาจใช้เป็นสาเหตุของการพัฒนาทางจิตใจ 5 ประการที่เป็นส่วน
ลำต้นของต้นไม้ก็ได้ กล่าวคือบุคคลจะต้องมีลักษณะพื้นฐานทางจิตใจ 3 ด้านในปริมาณที่สูง
เหมาะสมกับอายุจึงจะเป็นผู้ที่มีความพร้อมที่จะพัฒนาลักษณะทางจิตใจ ทั้ง 5 ประการที่เป็นส่วน
ลำต้นของต้นไม้ โดยที่ลักษณะทางจิตใจทั้ง 5 นี้จะพัฒนาไปเองโดยอัตโนมัต ถ้าบุคคลมีความ
พร้อมทางจิตใจ 3 ประการ จึงเป็นสาเหตุของพฤติกรรมคนดีและคนเก่งนั่นเอง นอกจากนี้ลักษณะ
ทางจิตใจพื้นฐาน 3 ประการที่รากนี้อาจเป็นสาเหตุร่วมกับลักษณะทางจิตใจ 5 ประการที่ลำต้น
เพื่อใช้อธิบาย ทำนาย และพัฒนาพฤติกรรมดังกล่าวมาแล้ว ซึ่งแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของส่วน
ประกอบทั้ง 3 ส่วนของต้นไม้จริยธรรมดังในภาพนี้
47
แผนภาพที่ 3 ต้นไม้จริยธรรม แสดงลักษณะพื้นฐานและองค์ประกอบทางจิตใจ
ที่จะนำไปสู่พฤติกรรมทางจริยธรรม
ที่มา : ดวงเดือน พันธุมนาวิน (2531 : 188)
48
จากทฤษฎีต้นไม้จริยธรรมนี้ ดวงเดือน พันธุมนาวิน ได้กล่าวถึงลักษณะของเด็กวัยรุ่นและ
เยาวชนว่า เด็กวัยนี้เริ่มมีความสามารถทางการรู้ การคิดและสติปัญญาที่ใกล้เคียงกับผู้ใหญ่
ลักษณะทางจิตใจที่ควรได้รับการพัฒนาในวัยนี้ควรเป็นลักษณะการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม การมุ่ง
อนาคต การควบคุมตนเอง มีความเชื่ออำนาจในตนเอง มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ มีทัศนคติที่ดีต่อตน
เอง ต่อผู้อื่น ต่อสังคม มีคุณธรรมและค่านิยมที่ดี
การใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม เป็นการนำแนวคิดการพัฒนาการทางจิตของนักจิตวิทยา
ชาวอเมริกัน คือ โคลเบอร์ (Kohlberg,1969) มาอธิบาย ซึ่งดวงเดือน พันธุมนาวิน ได้นำมาสรุปว่า
มนุษย์มีขั้นตอนของการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมหรือเจตนาก่อนกระทำจากขั้นต่ำสุดเมื่อเป็นเด็กเล็ก
ไปจนถึงสูงสุด คือ ขั้นที่ 6 เมื่อเป็นผู้ใหญ่ตอนกลาง ขั้นทั้ง 6 มีดังนี้ (ดวงเดือน พันธุมนาวิน 2539
: 64)
ขั้นที่1 อายุ 0-7 ขวบ เจตนาที่จะหลีกเลี่ยงการโดนลงโทษทางกาย เช่น กลัวโดนตี
กลัวติดคุก กลัวไฟนรกเผา เป็นต้น
ขั้นที่2 อายุ 10 ขวบ เจตนาจะแสวงหารางวัลที่เป็นวัตถุสิ่งของ เช่น ปัจจัยสี่และเงิน
ขั้นที่3 อายุ 13 ปีเจตนาที่จะทำตามที่ผู้อื่นเห็นชอบ(อับอายผู้อื่นที่จะรู้เห็นความชั่วของตน)
ขั้นที่4 อายุ 16 ปี เจตนาที่จะทำตามกฎระเบียบ กฎหมาย และหลักศาสนาเพราะเห็น
ความสำคัญและประโยชน์ของสิ่งเหล่านี้เพื่อส่วนรวม
ชั้นที่5 ผู้ใหญ่ตอนต้น เจตนาที่จะทำในสิ่งที่ตนเห็นว่าถูกว่าควรเพื่อส่วนรวม เป็นตัว
ของตัวเอง ละอายใจตัวเองเมื่อทำชั่ว ภูมิใจในตนเองเมื่อทำดี
ขั้นที่ 6 ผู้ใหญ่ตอนกลาง เจตนาที่จะยึดหลักอุดมคติสากลเป็นแนวทางปฏิบัติ เช่น
มนุษยธรรมและความเสมอภาค
ลักษณะการมุ่งอนาคต เป็นลักษณะของการบังคับใจตนเอง ซึ่งเป็นลักษณะที่ประกอบ
ด้วยการมีสติปัญญาดี การมีความตั้งใจจดจ่อหรือสมาธิ ความสามารถอดได้รอได้ ความภาคภูมิ
ใจและความพอใจในตนเองและสภาพแวดล้อม (ดวงเดือน พันธุมนาวิน 2524 : 63)
ความสามารถในการควบคุมตนเอง ประกอบด้วยลักษณะทางจิตใจหลายประการ
คือ การมองเห็นความสำคัญของประโยชน์ที่จะมีมาในอนาคตมากกว่าประโยชน์ในปัจจุบัน การ
เลือกกระทำพฤติกรรมที่แสดงถึงการอดได้รอได้ เพราะเชื่อว่าการกระทำของตนจะส่งผลให้เกิดผล
ดีตามที่ตนต้องการได้ และนอกจากนั้น ความสามารถควบคุมตนเองยังเกี่ยวกับการไม่หวังผลจาก
ภายนอก และบุคคลสามารถให้รางวัลตนเองและลงโทษตนเองได้ โดยรางวัลที่ให้แก่ตนเองอยู่ใน
49
รูปของความพอใจในตนเอง ความภูมิใจในตนเอง ส่วนการลงโทษตนเองก็คือการเกิดความไม่
สบายใจ วิตกกังวลและละอายใจ (ดวงเดือน พันธุมนาวิน 2539 : 92)
การเชื่ออำนาจในตน วรรณะ บรรจง(2537 : 30อ้างถึง Rotter, 1966) กล่าวถึงการเชื่อ
อำนาจในตน ว่า หมายถึง ความเชื่อของบุคคลว่าสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับตนนั้นเกิดจากการกระทำ
ของตน เชื่อว่าตนสามารถทำนายผลที่เกิดขึ้นกับตนได้และสามารถควบคุมผลนั้นๆ ไว้ได้ด้วย เป็น
การคาดหวังทั่วไปของบุคคลว่าสิ่งต่างๆ ที่ตนได้รับนั้นเกิดจากการกระทำของตน ไม่ว่าจะเป็นด้าน
ดีหรือด้านเลวก็ตาม ซึ่งตรงกันข้ามกับความเชื่ออำนาจนอกตน ที่เป็นการคาดหวังของบุคคลว่าสิ่ง
ต่างๆ ที่ตนได้รับนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับการกระทำของตน แต่ขึ้นอยู่กับสาเหตุภายนอก เช่น โชคชะตา
ไสยศาสตร์ คนอื่น ฯลฯ
แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ เป็นแรงจูงใจทางสังคมที่เกี่ยวกับการทำงาน เป็นแรงผลักดันให้
บุคคลเกิดความพากเพียรพยายามที่จะทำงานจนสำเร็จลงด้วยมาตรฐานที่ดีเยี่ยม ผู้ที่มีแรงจูงใจ
ใฝ่สัมฤทธิ์สูง คือ ผู้ที่มีพฤติกรรมการทำงานเพื่อมุ่งให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
และประสิทธิผล เมื่อประสบความสำเร็จก็เกิดความสุข ความภาคภูมิใจ แต่เมื่อเกิดความล้มเหลว
ก็ไม่ท้อแท้ กลับพร้อมที่จะลองพยายามทำใหม่ บุคคลเหล่านี้มักจะเป็นผู้ที่ชอบอาสาสมัครทำงาน
ต่างๆ ชอบแข่งขันเพื่อชัยชนะ มีนิสัยรักการทำงานและทำงานที่ยากโดยไม่ย่อท้อ ทำให้เป็นคนที่พึ่ง
ตนเองและอาจเป็นที่พึ่งของผู้อื่นได้อีกด้วย(งามตา วนินทานนท์ 2534 : 345 อ้างถึงดวงเดือน
พันธุมนาวิน 2522)
ทัศนคติ เป็นลักษณะทางจิตของบุคคลที่เกิดจากการรู้คิดเชิงประเมินค่าเกี่ยวกับสิ่งหนึ่ง
สิ่งใดทำนองประโยชน์หรือโทษ ทำให้ความรู้สึกโน้มเอียงไปทางชอบ พอใจมากน้อยต่อสิ่งนั้นๆ
เป็นความคิดเห็นของบุคคลที่มีต่อสิ่งต่างๆ โดยมีอารมณ์เป็นส่วนประกอบ รวมทั้งความพร้อมที่จะ
แสดงพฤติกรรมเฉพาะอย่าง (งามตา วนินทานนท์ 2534 : 215) เช่น บุคคลที่มีทัศคติที่ดีต่อตำรวจ
ย่อมมีความรู้สึกชื่นชมการทำงานของตำรวจ และยอมปฏิบัติตามการกำกับของตำรวจ หรือผู้มี
ทัศนคติที่ดีต่อการประหยัดพลังงาน ย่อมพยายามที่จะกระทำการต่างๆ โดยคำนึงถึงการประหยัด
น้ำประปา ไฟฟ้า หรือ แม้แต่การใช้กระดาษ วัสดุสิ้นเปลือง ฯลฯ เสมอ เป็นต้น
คุณธรรมและค่านิยม คุณธรรม หมายถึง สิ่งที่บุคคลยอมรับว่าเป็นสิ่งที่ดีงาม มี
ประโยชน์มากและมีโทษน้อย ส่วนค่านิยม หมายถึง สิ่งที่บุคคลยอมรับว่าสำคัญมาก ซึ่งแตกต่าง
กันไปตามกลุ่มบุคคลและวัฒนธรรม เช่น ค่านิยมการมีการศึกษาสูงบางสังคมเห็นว่าสำคัญ บาง
สังคมคิดว่าไม่สำคัญ ซึ่งเมื่อรวมกัน คุณธรรมและค่านิยมจึงคือ การยอมรับว่าสิ่งใดดี สิ่งใดชั่ว สิ่ง
ใดสำคัญ สิ่งใดไม่สำคัญ (ดวงเดือน พันธุมนาวิน 2539 : 115-116)
50
งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับลักษณะทางจิต ดวงเดือน พันธุมนาวิน และเพ็ญแข ประจนปัจจนึก
(2520) ศึกษาจริยธรรมของเยาวชนไทยโดยศึกษาลักษณะมุ่งอนาคตของเด็กไทย พบว่า ในการ
ทดลองที่มีการจำลองสถานการณ์ขึ้น เด็กที่มีลักษณะมุ่งอนาคตต่างกัน จะมีพฤติกรรมการโกงไม่
ต่างกัน หากมีสถานการณ์ยั่วยุให้มีการโกง ซึ่งผู้วิจัยสรุปว่า ผลการทดลองนี้อาจจะสะท้อนให้เข้า
ใจลักษณะของผู้ที่กระทำผิดกฎหมาย ว่าส่วนใหญ่แล้วการกระทำของคนเหล่านี้อาจอยู่ภายใต้
อิทธิพลของสถานการณ์มากกว่าจะอยู่กับลักษณะอันดีงามซึ่งบุคคลนั้นได้รับในการปลูกฝังมาตั้ง
แต่เด็ก ปภาวดี แจ้งศิริ (2527) ศึกษาผลของการฝึกการควบคุมตนเองของเด็กนักเรียนมัธยม
ศึกษา พบว่า เด็กที่ถูกฝึกได้ควบคุมตนเอง จะลดพฤติกรรมการก่อกวนในห้องเรียนได้
จรรจา สุวรรณทัตและคณะ (2531) ศึกษาความสามารถในการควบคุมตนเองของเด็กไทย
โดยศึกษาจิตลักษณะ 6 ด้าน ได้แก่ การควบคุมตนเอง การยับยั้ง ความมั่นใจในตนเอง ความอด
กลั้น ยอมรับและให้อภัย วุฒิภาวะทางอารมณ์สังคม และการมุ่งอนาคต พบว่า เด็กที่มาจากครอบ
ครัวฐานะทางเศรษฐกิจสังคมต่ำ ได้คะแนนเฉลี่ยของจิตลักษณะทั้ง 6 ด้าน สูงกว่าเด็กที่มาจาก
ครอบครัวที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสังคมสูง และยังพบว่าการอบรมเลี้ยงดูและการฝึกทักษะการควบ
คุมตนเองจากครอบครัวมีอิทธิพลต่อการพัฒนาความสามารถในการควบคุมตนเองของเด็ก
ลัดดาวัลย์ เกษมเนตร และคณะ (2539) ได้ศึกษาปัจจัยลักษณะทางจิต ของผู้กระทำ พบ
ว่า ลักษณะมุ่งอนาคตและควบคุมตน ทัศนคติต่อพฤติกรรมการมีวินัยและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ เป็น
ตัวแปรสำคัญในการทำนายพฤติกรรมการมีวินัยมากว่าตัวแปรลักษณะทางจิตตัวอื่นๆ
จากการศึกษาตัวแปรที่ทำนายพฤติกรรมของ นพนธ์ สัมมา (2523) พบว่าทฤษฎีทัศนคติ
สามารถทำนายพฤติกรรมการยอมรับนวกรรมในกลุ่มต่างๆ ได้ร้อยละ 9 ถึง 26 ตัวแปรที่มีน้ำหนัก
ในการทำนายคือทัศนคติเพียงตัวเดียว และยังพบว่าทัศนคติเป็นตัวทำนายพฤติกรรมการทำงานที่
สำคัญจากการศึกษาเรื่อง ความแปลกแยกกับพฤติกรรมการทำงานของครูสังกัดกรุงเทพมหานคร
ของ ศักดิ์ชัย นิรัญทวี (2531) นอกจากนี้ นุชนารถ ธาตุทอง (2539) ได้ศึกษาจิตลักษณะที่
สำคัญต่อพฤติกรรมการทำงาน พบว่าจิตลักษณะที่เป็นแกนกลางของพฤติกรรมมนุษย์ 4 ชนิด ได้
แก่ ความเชื่ออำนาจในตน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ทัศนคติต่อสภาพการทำงานและสุขภาพจิต
จากการศึกษางานวิจัยเกี่ยวกับจิตลักษณะดังกล่าวพบว่าลักษณะทางจิตมีผลต่อพฤติ
กรรมมนุษย์แตกต่างกัน และยังพบว่าทัศนคติเป็นตัวแปรสำคัญที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการ
กระทำของมนุษย์ ดังนั้นในการศึกษาลักษณะทางจิตในที่นี้จึงใช้ทัศนคติเป็นตัวแปรสำคัญที่มีอิทธิ
พลต่อการทำความดีเพื่อสังคม
51
ทัศนคติกับพฤติกรรมทำความดีเพื่อสังคม
ในการศึกษาสาเหตุของพฤติกรรม นักจิตวิทยาได้เห็นพ้องต้องกันว่า จิตลักษณะที่จะ
ทำนายพฤติกรรมได้อย่างแม่นยำที่สุดคือทัศนคติของบุคคลที่มีต่อพฤติกรรมนั้น ทัศนคติ
(Attitude) หมายถึง จิตลักษณะที่เกิดจากการเรียนรู้ในการที่จะตอบสนองในทำนองที่แสดงว่าชอบ
หรือไม่ชอบสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ( นพนธ์ สัมมา 2523 : 34 อ้างถึง Fishbein. 1975 : 5-9) ดวงเดือน
พันธุมนาวิน(2527: 125) ได้ให้นิยามทัศนคติไว้ว่าเป็นลักษณะทางจิตประเภทหนึ่งของบุคคลอยู่
ในรูปของความรู้สึกพอใจ หรือไม่พอใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ความรู้สึกนี้เกิดจากความรู้เชิงประมาณค่า
ของบุคคลเกี่ยวกับสิ่งหนึ่งว่า สิ่งนั้นเป็นประโยชน์หรือมีโทษมากน้อยเพียงใด พิชเบน และ เอจเซน
( นุชนารถ ธาตุทอง 2539 : 20-21 อ้างถึง Fishbein and Ajzen. 1975 : 336-339) มีความเห็น
ว่าทัศคติเป็นสิ่งที่นักจิตวิทยาสังคมคิดขึ้นมา เพื่อเป็นเครื่องมือที่ใช้ทำความเข้าใจพฤติกรรม
มนุษย์ทั้งนี้เพราะบุคคลจะทำอะไรย่อมขึ้นอยู่กับความเชื่อ ความรู้สึกและความเข้าใจ มีผู้ที่เชื่อว่า
ทัศนคติเป็นจิตลักษณะที่เกิดจากการเรียนรู้ทางสังคม(Krech and Crutchfield.1948) ตั้งแต่วัย
เยาว์ที่บุคคลได้กระทำพฤติกรรมใดแล้วได้ผลตอบแทน ต่อมาบุคคลนั้นก็จะคาดหวังและเชื่อว่าจะ
ได้รับผลตอบแทนในลักษณะเดียวกันนั้นถ้าเขากระทำพฤติกรรมนั้นหรือพฤติกรรมประเภทเดียว
กันนั้นอีก แต่ถ้าบุคคลกระทำพฤติกรรมใดแล้วยังไม่ได้ผลตอบแทนหรือได้รับผลตอบแทนโดยที่เขา
ไม่ได้กระทำพฤติกรรมใดเลย ก็จะทำให้เขารับรู้ว่าพฤติกรรมใดหรือสิ่งใดให้ประโยชน์และอะไรให้
โทษ ซึ่งมีผลทำให้เขามีทัศนคติที่ดีและไม่ดีต่อสิ่งนั้น
นอกจากคนเราจะมีทัศนคติต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้ว ทัศคติยังมีส่วนอย่างมากที่จะส่งผลให้คน
เราแสดงพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งออกมา Garder Lindzey และ Elliot Aronson (1969:271)
เชื่อว่าทัศนคติเป็นพลังสำคัญที่ผลักดันให้คนเราแสดงพฤติกรรมออกมา ทัศนคติมีส่วนในการ
กำหนดพฤติกรรมของคนเรา แม้ว่าพฤติกรรมของคนเราจะเกิดขึ้น เนื่องจากมีปัจจัยหลายประการ
มากำหนดก็ตาม แต่ทัศนคติก็เป็นปัจจัยประการหนึ่งที่สำคัญ (ชุมมาศ กัลยาณมิตร 2530:14)
โดยทั่วไปแล้วทัศนคติมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม ซึ่ง Martin Fisbbey,Icek Ajzen (1975:14-
15) ได้แสดงความสัมพันธ์ของทัศนคติกับพฤติกรรมไว้ดังนี้
52
Influence
Feedback
แผนภาพที่ 4 แสดงทัศนคติกับพฤติกรรม
ที่มา : ชุมมาศ กัลยาณมิตร (2530 : 15)
เฟอร์กูสัน (Ferguson. 1952;1962:91) ได้อธิบายว่า ทัศนคติเป็นการแสดงออกของความ
เชื่อว่าอะไรถูก อะไรผิด ชอบหรือไม่ชอบ ยอมรับหรือปฏิเสธ การแสดงออกดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ
องค์ประกอบ 3 ส่วนคือ
1. องค์ประกอบด้านความคิดความเข้าใจ (The cognitive component) ทัศนคติจะแสดง
ออกมาในลักษณะของความเชื่อว่าอะไรถูก อะไรผิด
2. องค์ประกอบด้านความรู้สึก (The affective component) ทัศนคติจะแสดงออกใน
ลักษณะของความชอบหรือไม่ชอบ
3. องค์ประกอบทางด้านพฤติกรรม (The behavioral component) เป็นผลเนื่องมาจาก
สององค์ประกอบข้างต้นเมื่อเกิดการรับรู้และมีอารมณ์ บุคคลก็จะเกิดความพร้อมที่จะกระทำในรูป
ของการยอมรับ หรือปฏิเสธที่จะแสดงพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง
ทัศนคติของบุคคลที่มีต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดมี 3 ส่วน (ดวงเดือน พันธุมนาวิน.2527 : 125-127)
คือ
1. ความรู้เชิงประมาณค่า (Cognitive Component) หมายถึง การที่บุคคลมีความรู้เกี่ยว
กับสิ่งหนึ่งสิ่งใดว่าดีมีประโยชน์และ หรือเลวมากน้อยเพียงใด จัดเป็นองค์ประกอบที่เป็นต้นกำเนิด
ของ ทัศนคติของบุคคลต่อสิ่งต่างๆ ดังนั้น หากบุคคลมีความรู้เชิงประเมินค่าต่อสิ่งต่างๆ ไม่
Belief about
Object X
Attitude toward
object X
Intention with respect to
object X
Behavior with respect to
object X
53
สมบรูณ์ หรืออาจมีความรู้ที่ผิดพลาด จะทำให้เกิดอคติหรือความลำเอียงและอาจทำให้เกิดผลเสีย
หายต่อผู้ยึดถือหรือส่วนรวมได้มาก
2. ความรู้สึกพอใจ (Affective Component) หมายถึง ความรู้สึกของบุคคลในลักษณะที่
ชอบหรือไม่ชอบ พอใจหรือไม่พอใจต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใด ส่วนใหญ่แล้วความรู้สึกพอใจของบุคคลต่อสิ่ง
หนึ่ง จะเกิดโดยอัตโนมัตและสอดคล้องกับความรู้เชิงประมาณค่าต่อสิ่งนั้นด้วย จัดเป็นองค์
ประกอบที่สำคัญของทัศนคติ
3. ความพร้อมกระทำ (Action Tendency Component) หมายถึง การที่บุคคลมีความ
พร้อมที่จะช่วยเหลือ สนับสนุน ส่งเสริม ทะนุบำรุง สิ่งที่เขาชอบพอใจ และพร้อมที่จะทำลายหรือ
ทำเพิกเฉยต่อสิ่งที่เขาไม่ชอบหรือไม่พอใจ องค์ประกอบนี้ยังคงอยู่ภายในจิตใจของบุคคลและยัง
ไม่ปรากฏออกมาเป็นพฤติกรรม ความพร้อมที่จะกระทำจะปรากฏออกมาเป็นพฤติกรรมหรือไม่
ย่อมขึ้นอยู่กับลักษณะอื่นๆ ของบุคคลและสถานการณ์ ซึ่งสอดคล้องกับความคิดเห็นของ Allport
(1935) ที่ว่า ทัศนคติเป็นสภาวะความพร้อมที่จะตอบสนองต่อสถานการณ์หนึ่งๆ หากได้รับสิ่ง
เร้าที่เหมาะสม ความพร้อมนี้เกิดจากการประเมินสิ่งที่รับรู้มาเกี่ยวกับสถานการณ์นั้นๆ มีอารมณ์
ความรู้สึกแฝงอยู่ด้วย
ดังนั้นทัศนคติต่อการทำความดีเพื่อสังคมก็คือ การเห็นคุณค่า ความชอบ ความพอใจ
ความเต็มใจและพร้อมที่จะทำประโยชน์เพื่อผู้อื่นและสังคม
การวัดทัศนคติ
เชิดศักดิ์ โฆวาสินธุ์ (2520:4) ได้กล่าวว่า การวัดทัศนคติมักจะมีข้อตกลงดังนี้
1. การศึกษาความคิดเห็นหรือความรู้สึกของบุคคลที่มีลักษณะคงเส้นคงวาหรืออย่าง
น้อยเป็นความคิดเห็นหรือความรู้สึกที่จะไม่เปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาหนึ่ง
2. ทัศนคติเป็นสิ่งที่ไม่สามารถวัดได้โดยตรง ฉะนั้นการวัดทัศนคติจึงเป็นการวัดทางอ้อม
จากแนวโน้มของบุคคลที่จะแสดงออก หรือประพฤติปฏิบัติอย่างมีระเบียบแบบแผนที่คงที่ไม่ใช่
พฤติกรรมโดยตรงของมนุษย์
3. การศึกษาทัศนคติของบุคคลนั้นไม่ใช่เป็นการศึกษาแต่เฉพาะทิศทางทัศนคติของบุคคล
เท่านั้น แต่ต้องศึกษาถึงระดับความมาก-น้อย หรือความเข้มของทัศนคตินั้นๆ ด้วย และชูชีพ อ่อน
โคก (2518 : 117) วิธีที่จะทราบว่าทัศนคติของใครคนใดคนหนึ่งต่อวัตถุ คน สังกัป หรือสถาน
การณ์ต่างๆ เป็นอย่างไรอาจทำได้โดย
1. ใช้แบบสอบถาม
2. สังเกต สัมภาษณ์ และการบันทึก
54
3. ใช้สังคมมิติ
4. การให้สร้างจินตนาการ
วิธีวัดทัศนคติที่เหมาะสมกับผู้ถูกวัด เนื่องจากในปัจจุบันการวัดทัศนคติโดยใช้มาตร
ประเมินค่าเป็นวิธีการที่สะดวกทั้งในการทำการวัด และในการตรวจให้คะแนนในภายหลัง จึงมีผู้
นิยมใช้แบบวัดประเภทที่เป็นมาตรวัดประเมินค่ากับบุคคลทั่วไป หรือในการเปรียบเทียบคน
หลายๆ ประเภท แบบวัดชนิดที่เป็นมาตรประเมินค่านี้เหมาะที่จะใช้กับคนที่อ่านออกเขียนได้คล่อง
และเป็นคนทันสมัย เช่น คนส่วนใหญ่ในกรุงเทพฯ และนักเรียน นักศึกษาทั้งในกรุงเทพฯ และต่าง
จังหวัด แต่มาตรประเมินค่านี้อาจไม่เหมาะสมที่จะใช้วัดชาวบ้าน หรือคนที่มีการศึกษาน้อย ตลอด
จนถึงคนแก่เฒ่า เพราะบุคคลเหล่านี้อาจไม่เคยชินกับวิธีการถามและลักษณะการตอบแบบใช้
มาตรประเมินค่า จึงอาจทำให้ผลที่ได้จากการวัดแบบนี้ในคนเหล่านี้น่าเชื่อถือน้อย จึงควรใช้วิธี
การวัดทัศนคติแบบสัมภาษณ์และสังเกตแทน หรือถ้าใช้แบบมาตรประเมินค่าก็ควรจะใช้มาตรที่
หยาบหรือมีวิธีตอบที่ไม่สับสน
จากหลักการดังกล่าวผู้วิจัยพิจารณาแล้วเห็นว่าการเลือกใช้วิธีการวัดทัศนคติแบบ
สัมภาษณ์และสังเกตจะมีความเหมาะสมกับการศึกษาเชิงคุณภาพในครั้งนี้
งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับทัศนคติและพฤติกรรม จากการศึกษาของ ภัทรา นิคมานนท์
(2517) ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติต่อการถือศีลห้า ความรู้สึกรับผิดชอบ วินัยในตนเอง ความ
เกรงใจ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่าผู้ที่มีความรับผิดชอบสูง มีวินัยในตนเอง และมีความ
เกรงใจสูง จะมีทัศนคติที่ดีต่อการถือศีลห้าสูงด้วย ต่อมาอานนท์ ฉายศรีศิริ (2522 : 52) ได้ศึกษา
องค์ประกอบบางประการที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดนครปฐม พบว่า องค์ประกอบด้านตัวนักเรียน คือ ทัศนคติเป็นตัว
พยากรณ์ที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ แสดงว่าเด็กที่มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์มีแนวโน้มว่าจะมี
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ตามด้วย และจากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะ
ทางจิตสังคมกับพฤติกรรมการยอมรับนวัตกรรมทางวิชาการของครูประถมศึกษาสังกัด
กรุงเทพมหานคร(วิชัย เอียดบัว.2534) พบว่า จิตลักษณะของครู 3 ด้าน คือ ทัศนคติที่ดีต่อการ
ประกอบอาชีพครู การมุ่งอนาคต และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ มีปริมาณการทำนายพฤติกรรมการยอม
รับนวัตกรรมทางวิชาการทั้ง 3ด้าน และจากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความขัดแย้งในบท
บาท ความคลุมเครือในบทบาท ลักษณะทางจิตบางประการกับพฤติกรรมการทำงานของนักวิชา
การ การศึกษาในส่วนภูมิภาคของ นุชนารถ ธาตุทอง (2539) ด้านทัศนคติต่อการทำงาน พบว่า
นักวิชาการศึกษาที่มีทัศนคติที่ดีต่อการทำงานมีพฤติกรรมการทำงานสูงกว่านักวิชาการศึกษาที่มี
55
ทัศนคติที่ไม่ดีต่อการทำงาน และการศึกษาของ ณัฐสุดา สุจินันท์กุล (2541) พบว่าพยาบาลที่มี
พฤติกรรมการทำงานอย่างเหมาะสมมากคือ ผู้ที่มีทัศคติที่ดีต่อการทำงานมาก
จากแนวคิดและงานวิจัยที่กล่าวมานี้จะเห็นได้ว่า ทัศนคติเป็นจิตลักษณะหนึ่งที่มีความ
สำคัญต่อการเกิดพฤติกรรม โดยถ้ามนุษย์มีทัศนคติต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็จะมีแนวโน้มที่จะกระทำพฤติ
กรรมดังกล่าวตามสภาพการณ์และสิ่งเร้านั้นๆ เพราะทัศนคติเป็นเรื่องของความรู้สึกทางจิตใจที่
เกิดขึ้นโดยปราศจากการคิดใคร่ครวญอย่างถี่ถ้วน แต่เกิดจากการเรียนรู้และประสบการณ์บุคคล
ได้รับการอบรมเลี้ยงดูจากทางบ้าน ความสัมพันธ์ในครอบครัว ประสบการณ์ สิ่งแวดล้อม การ
ศึกษา รวมทั้งรับเอาค่านิยมของสังคมเป็นของตน ดังนั้นจึงกำหนดให้ทัศนคติเป็นตัวแปรด้านจิต
ลักษณะที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการทำความดีเพื่อสังคม
6. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
สมาน กำเนิด (2520: บทคัดย่อ) ศึกษาการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มีผลต่อการปรับตัว
ของเด็ก โดยใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 7 ปีการศึกษา 2519 ของโรงเรียนที่
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และโรงเรียนราษฎร์ในเขต อำเภอเมืองกาญจนบุรี
จำนวน 271 คน โดยใช้แบบทดสอบการอบรมเลี้ยงดูและแบบทดสอบการปรับตัว พบว่า วิธีการอ
บรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่แตกต่างกัน ทำให้เด็กปรับตัวแตกต่างกัน และเด็กที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดู
แบบประชาธิปไตยปรับตัวได้ดีกว่าเด็กที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย และแบบเข้ม
งวดกวดขัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
ดวงเดือน พันธุมนาวินและ เพ็ญแข ประจนปัจจนึก (2524 : 2) ได้ศึกษาความสัมพันธ์
ภายในครอบครัวกับสุขภาพจิตและจริยธรรมของนักเรียนวัยรุ่นไทย พบว่า การอบรมเลี้ยงดูแบบ
รักสนับสนุนมาก แบบใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ มีทัศนคติที่ดีต่อบิดามารดาและส่งผลต่อสุขภาพ
จิตดี และการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม
ชัยยุทธ ดาผา (2534 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาเรื่องปัจจัยของการขัดเกลาทางสังคมของพ่อ
แม่ที่กระทบต่อพฤติกรรมการดื่มอัลกอฮอล์ของวัยรุ่น : ศึกษากรณีโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย
ของกรมสามัญศึกษาที่อยู่ในเขตเทศบาลเมืองสกลนคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ พ่อแม่และตัวนัก
เรียนชายที่กำลังเรียนอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย กรมสามัญศึกษา จำนวน 300 คน ผลการ
ศึกษาพบว่า(1) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มที่ผสมอัลกอฮอล์ของวัยรุ่น
คือ ปัจจัยภูมิหลังทางครอบครัว (2) ขนาดของครอบครัวมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการ
ดื่มเครื่องดื่มที่ผสมอัลกอฮอล์ (3) การสนับสนุนจากพ่อแม่ให้ลูกดื่มมีอิทธิพลต่อการดื่มของลูก
56
(4) การอบรมเลี้ยงดูแบบใกล้ชิดจากแม่จะมีความสัมพันธ์ในเชิงลบต่อพฤติกรรมการดื่มของลูก
(5) การอบรมเลี้ยงดูโดยการควบคุมอย่างเข้มงวดจากพ่อในเรื่องเกี่ยวกับการดื่มมีความสัมพันธ์
เชิงลบกับพฤติกรรมการดื่มของลูก
วัฒนา อัติโชติ (2540 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการอบรมเลี้ยงดู การ
สนับสนุนทางสังคม การบรรลุงานตามขั้นพัฒนาการ และพฤติกรรมพลเมืองดีของวัยรุ่นในภาค
กลาง กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2540 สังกัด
กรมสามัญศึกษาในเขตอำเภอเมืองจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 215 คน พบว่า (1) นักเรียนวัยรุ่น
ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุนในระดับมาก แบบใช้เหตุผล ระดับมาก และแบบควบคุม
ระดับปานกลาง (2) นักเรียนวัยรุ่นมีพฤติกรรมพลเมืองดีระดับมาก นักเรียนวัยรุ่นที่ได้รับการ
สนับสนุนทางสังคมต่างกันจะบรรลุตามขั้นพัฒนาการแตกต่างกัน และจะมีพฤติกรรมพลเมืองดี
แตกต่างกัน ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ ฉันทนา มุติ (2541 : 118-119) ชลบุษย์ เจริญสุข
(2541 : 90-92) ชลันดา สาสนทาญาติ (2541 : 99-100) ปิยะธิดา เหลืองอรุณ (2541 : 109-111)
และปานแก้ว จันทราชัยโชติ(2541 : 84-85)
ปริศนา คำชื่น (2540: 65-67) ได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการอบรมเลี้ยงดู การ
สนับสนุนทางสังคม การบรรลุงานตามขั้นพัฒนาการ และพฤติกรรมพลเมืองดีของวัยเด็กตอนต้น
ในภาคเหนือ พบว่า 1. นักเรียนวัยเด็กตอนต้นที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูต่างกันจะบรรลุงานตามขั้น
พัฒนาการต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักเรียนที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบ
รักสนับสนุนสูงจะมีค่าคะแนนเฉลี่ยการบรรลุงานตามขั้นพัฒนาการมากกว่านักเรียนวัยเด็กตอน
ต้นที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุนต่ำ 2. นักเรียนที่ได้รับการสนับสนุนทางสังคมใน
โรงเรียนต่างกันจะบรรลุงานตามขั้นพัฒนาการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.001
โดยนักเรียนที่ได้รับการสนับสนุนทางสังคมในโรงเรียนสูงจะมีค่าคะแนนเฉลี่ยการบรรลุงานตามขั้น
พัฒนาการมากกว่านักเรียนที่ได้รับการสนับสนุนทางสังคมในโรงเรียนระดับต่ำ 3.นักเรียนที่บรรลุ
งานตามขั้นพัฒนาการระดับสูงมีค่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมพลเมืองดีมากกว่านักเรียนที่บรรลุงาน
ตามขั้นพัฒนาการระดับต่ำ
พจนา ทรัพย์สกุลเจริญ (2541 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติ
ของวัยรุ่นระดับมัธยมศึกษาตอนต้นต่อสถาบันครอบครัวไทย กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนวัยรุ่นใน
โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นเขตบางกะปิในสังกัดกองการมัธยมศึกษา ปีการศึกษา 2540 จำนวน
706 คน ผลการศึกษาพบว่านักเรียนส่วนใหญ่มีทัศนคติรวมต่อครอบครัวในเชิงบวก ความ
สัมพันธ์ในครอบครัว มีเวลาอยู่ร่วมกันตั้งแต่ 5 ชั่วโมงขึ้นไป ทำงานร่วมกับผู้ปกครองระดับปาน
57
กลาง มากกว่าร้อยละ 50 ได้รับประทานอาหารร่วมกับผู้ปกครองวันละ 1 มื้อ ร้อยละ 39 ความถี่ไป
หาญาติผู้ใหญ่ในระดับมาก และร้อยละ 60.2 ได้รับการเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย
วรรณะ บรรจง (2541 : 33) ได้ศึกษาลักษณะทางศาสนาและพฤติกรรมศาสตร์ของเยาว
ชนไทยจากชุมชนแผ่นดินธรรมแผ่นดินทองในภาคใต้ โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 6 จาก 4 โรงเรียนและมัธยมศึกษาปีที่ 3 จาก 3 โรงเรียนในจังหวัด
นครศรีธรรมราช จำนวน 401 คน พบว่า 1) เยาวชนที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุนมาก
หรือได้รับการส่งเสริมความเป็นพุทธมามกะจากครอบครัวมาก หรือมาจากชุมชนที่มีคุณภาพสูงมี
ความเชื่อทางพุทธศาสนา การปฏิบัติทางพุทธศาสนา ความเชื่ออำนาจภายในตน การคบเพื่อน
อย่างเหมาะสมมากกว่าและมีพฤติกรรมก้าวร้าวน้อยกว่าเยาวชนที่มีลักษณะดังกล่าวน้อย 2)การ
อบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุนเป็นตัวทำนายที่สำคัญเด่นชัดในการทำนายลักษณะทางศาสนาสอง
ด้าน(เชื่อและปฏิบัติ)และลักษณะทางพฤติกรรมศาสตร์สามด้านของเยาวชน(ความเชื่ออำนาจ
ภายในตน คบเพื่อนอย่างเหมาะสม พฤติกรรมก้าวร้าว) รองลงมาคือการส่งเสริมความเป็นพุทธ
มามกะ จากครอบครัว และการอบรมเลี้ยงดูจากครอบครัวสองด้านร่วมกับการร่วมกิจกรรมทาง
พุทธศาสนา ศาสนาในชุมชนสามารถร่วมกันทำนายความเชื่อทางพุทธ ศาสนาของเยาวชนใน
ครอบครัวเศรษฐกิจต่ำ การปฏิบัติทางพุทธศาสนาความเชื่ออำนาจภายในตน พฤติกรรมก้าวร้าว
น้อยในเยาวชนอายุมาก และการคบเพื่อนอย่างเหมาะสมในกลุ่มเยาวชนครอบครัวขยาย 3) เยาว
ชนในครอบครัวขยายที่มีความเชื่อและการปฏิบัติทางพุทธศาสนาในปริมาณที่สูงเป็นผู้ที่มีความ
เชื่ออำนาจภายในตน การคบเพื่อนอย่างเหมาะสมมากและมีพฤติกรรมก้าวร้าวน้อย
สุชิรา บุญทัน (2541 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางด้านครอบครัว
กับจริยธรรมด้านความกตัญญูกตเวที ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในจังหวัดขอนแก่น โดยใช้
กลุ่มตัวอย่างจำนวน 859 คน พบว่า 1.ปัจจัยทางครอบครัวที่สัมพันธ์กับจริยธรรมด้านความ
กตัญญูกตเวที คือลักษณะครอบครัวและอาชีพผู้ปกครอง มีความสัมพันธ์กับจริยธรรมด้านความ
กตัญญูกตเวทีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนประเภทของครอบครัวมีความสัมพันธ์
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 2. ปัจจัยทางด้านครอบครัวทั้ง 3 ด้าน คือ ลักษณะการอบรม
เลี้ยงดู อาชีพของผู้ปกครอง และประเภทของครอบครัว สามารถพยากรณ์จริยธรรมด้านความ
กตัญญูกตเวทีได้ทั้งหมด โดยปัจจัยด้านลักษณะการเลี้ยงดูสามารถพยากรณ์จริยธรรมด้านความ
กตัญญูกตเวทีได้ดีที่สุด
58
จุฑามณี จาบตะขบ (2542 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาปัจจัยที่ทำให้คนทำดีเพื่อสังคม ศึกษา
เฉพาะกรณี บุคคลที่อาศัยอยู่ในตำบลกำแพงดิน อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร ผลการศึกษาพบว่า
แบบพฤติกรรมของคนดีกระทำความดีเพื่อสังคมในพื้นที่นี้แบ่งออกเป็น ก. การกระทำความดีภาย
ในครอบครัว คือ มีความรับผิดชอบและปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทของตน ข. การกระทำความดีเพื่อ
ช่วยเหลือบุคคลอื่น ซึ่งสามารถแบ่งเป็น การช่วยเหลือหน่วยงานราชการตามตำแหน่งทางราชการ
ที่ดำรงอยู่ การทำงานช่วยเหลือทั่วไปและงานพัฒนาชุมชนและการพัฒนาวัดเพื่อสืบทอดพระพุทธ
ศาสนา ปัจจัยหลักที่ทำให้คนทำความดีเพื่อสังคมมีอยู่ 2 ปัจจัย คือ (1) การเลี้ยงดูในวัยเด็ก ซึ่ง
ทุกกรณีศึกษาจะได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุน การอบรมเลี้ยงดูแบบใช้เหตุผล การอบรม
เลี้ยงดูแบบลงโทษทางจิตมากกว่าทางกาย การอบรมเลี้ยงดูแบบควบคุมและการอบรมเลี้ยงดูแบบ
ให้พึ่งตนเองเร็วจากคนในครอบครัว (2) ความเชื่อทางศาสนา ซึ่งจะได้รับการถ่ายทอดมาจาก
ครอบครัว การได้มีโอกาสบวชเรียนในบวรพุทธศาสนาหรือเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาอื่นๆ อย่าง
ใกล้ชิด ซึ่งมีผลทำให้เกิดค่านิยม ทัศนคติต่อการกระทำความดี นอกจากนี้ยังพบปัจจัยส่งเสริมให้
กรณีศึกษากระทำความดีเพื่อสังคมอีก คือ ลักษณะของครอบครัวที่มีการเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและ
กัน อาชีพทางการเกษตร ตำแหน่งทางราชการที่อยู่ในชุมชน ประสบการณ์เรียนรู้จากการศึกษา
ฝึกอบรมทั้งในและนอกโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัย ทำให้มีวิสัยทัศน์และโลกทัศน์ในการ
พัฒนาหมู่บ้าน
ลัดดาวัลย์ เกษมเนตร และ ทัศนา ทองภักดี (2543 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษารูปแบบแสดง
ความรักของมารดาที่เกี่ยวข้องกับบุคลิกภาพและพัฒนาการทางอารมณ์สังคมของเด็กโดยใช้กลุ่ม
ตัวอย่างนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 221 คนซึ่งแบ่งเป็นนักเรียนหญิง 113 คน นัก
เรียนชาย 108 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 2 จำนวน 240 คนแบ่งเป็นนักเรียนหญิง
150 คน นักเรียนชาย 90 คนและจากโรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 10 โรงเรียน ในปีการ
ศึกษา 2539 ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้ว่ามารดาของตนมีการแสดง
ความรักโดยการให้วัตถุสิ่งของซึ่งเป็นการแสดงความรักของมารดาตามการแสดงออกด้วยการให้
วตั ถ ุ หรือจิตใจ พบว่าจัดได  4 รูปแบบคือ
รูปแบบที่ 1 คือ แบบที่มารดาแสดงความรักทั้งด้านวัตถุและจิตใจในระดับน้อย
รูปแบบที่ 2 คือ แบบที่มารดาแสดงความรักด้านวัตถุระดับน้อย แต่ด้านจิตใจใน
ระดับมาก
รูปแบบที่ 3 คือ แบบที่มารดาแสดงความรักด้านวัตถุระดับมาก แต่ด้านจิตใจ
ระดับน้อย และ
59
รูปแบบที่ 4 คือแบบที่มารดาแสดงความรักทั้งด้านวัตถุและด้านจิตใจในระดับมาก
ซึ่งผลพบว่าจำนวนมารดาที่ใช้รูปแบบการแสดงความรักแบบที่ 4 มีมากใกล้เคียงกับการ
ใช้รูปแบบที่ 1
นักเรียนในกลุ่มรวมและกลุ่มนักเรียนชั้นม.2 ที่ได้รับรูปแบบการแสดงความรักจากมารดา
รูปแบบที่ 4 และ 3 จะมีบุคลิกภาพแสดงตัว ความเป็นผู้นำ สุขภาพจิต โดยรวมและแยกด้านย่อย
คือ ความซึมเศร้า ความวิตกกังวล และความก้าวร้าวมากกกว่านักเรียนที่ได้รับรูปแบบการแสดง
ความรักจากมารดารูปแบบที่ 1 และ 2 แต่ไม่พบความแตกต่างในด้านการปรับตัว
บทที่ 3
วิธีดำเนินการวิจัย
การศึกษาการทำความดีของเยาวชนเพื่อสังคม : กรณีศึกษานักเรียนโรงเรียนวัดบวรนิเวศ
เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วม
(Participant Observation) การสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ (Informal Interview) และการ
สัมภาษณ์แบบเจาะลึก ( In-depth Interview )
สถานที่ที่ใช้ในการศึกษา
สถานที่ที่ใช้ในการศึกษาคือโรงเรียนวัดบวรนิเวศ ตั้งอยู่เลขที่ 250 ถนนพระสุเมรุ แขวงบวร
นิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่ 10 ไร่ 1 งาน 5 ตารางวา อยู่ในวัดบวรนิเวศวิหาร เป็น
โรงเรียนรัฐบาลประเภทชายล้วน สังกัดกองการมัธยม กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เปิด
สอนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.1-ม.6) มีสมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก เป็นองค์อุปถัมภ์โรงเรียน
โรงเรียนวัดบวรนิเวศตั้งอยู่ในย่านธุรกิจการค้า ธุรกิจการค้ามีทั้งขนาดกลาง ขนาดเล็ก และ
รายย่อย เช่นสหกรณ์บางลำพู ห้างสรรพสินค้าตั้งฮั่วเส็ง ร้านขายเสื้อผ้าสำเร็จรูป กระเป๋า รองเท้า
เครื่องประดับทั้งเป็นร้านและเป็นแผงลอย ร้านอินเตอร์เน็ต ร้านวีดีโอเกม เป็นต้น มีแหล่งประกอบ
ธุรกิจขนาดเล็กตั้งอยู่ติดกับโรงเรียน เช่น ทำธงชาติ ตีทองคำเปลว นอกจากนี้ยังมีตลาดสด อาทิ
เช่น ตลาดวันชาติ ตลาดยอด และตลาดนานาเป็นต้น
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร คือ นักเรียนของโรงเรียนวัดบวรนิเวศ เป็นนักเรียนชายล้วน ในระดับมัธยมศึกษา
มีอายุระหว่าง 12-18 ปี มีจำนวน 1,446 คน โรงเรียนวัดบวรนิเวศได้ดำเนินการจัดกิจกรรมเพื่อส่ง
เสริมการทำความดีของเยาวชน โดยกำหนดให้อาจารย์ที่ปรึกษา หัวหน้าระดับชั้น และคณะ
กรรมการระดับโรงเรียน คัดเลือกนักเรียนเข้ารับเกียรติบัตร ซึ่งมีนักเรียนได้รับคัดเลือกจำนวน 80
คน จากทุกระดับชั้น
กลุ่มตัวอย่าง ในการศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง(Purposive Sampling)
จากนักเรียนที่ผ่านการคัดเลือกให้เป็นเยาวชนดีเด่นด้านการทำความดีเพื่อสังคม จำนวน 10 กรณี
61
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
1. การสังเกตแบบมีส่วนร่วม
2. การสัมภาษณ์
3. เครื่องบันทึกเสียง
การเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้วิจัยเป็นครูสอนอยู่ในโรงเรียนวัดบวรนิเวศซึ่งเป็นพื้นที่ที่ใช้ในการศึกษา จึงเป็นโอกาสดี
ของผู้วิจัยเพราะได้ใช้ชีวิตประจำวันในโรงเรียนร่วมกับประชากรที่ศึกษา ในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยได้
เลือกใช้วิธีการเก็บข้อมูลโดยการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม (Participant Observation) และ
การสัมภาษณ์ (Interview) ซึ่งข้อมูลที่ได้ถูกเก็บไว้ในสมุดบันทึกและเทปบันทึกเสียง
การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participant-observation) ผู้วิจัยสังเกตพฤติกรรมต่างๆในขณะ
ที่นักเรียนกำลังใช้ชีวิตประจำวันในโรงเรียน นอกจากนี้ยังได้สังเกตใน การแต่งกาย การมีส่วนร่วม
ในกิจกรรมของโรงเรียน เมื่อสังเกตแล้วก็จดบันทึกข้อมูล ตาม วัน เวลา สถานที่
การสัมภาษณ์ (Interview) ผู้วิจัยใช้วิธีการสัมภาษณ์ทั้งแบบพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการ
และแบบเจาะลึก(In-depth Interview) โดยเน้นการสัมภาษณ์บุคคลที่เป็นผู้ปกครองนักเรียนที่
เป็นตัวอย่าง และครูผู้ใกล้ชิดกับนักเรียนผู้นั้น เนื้อหาในการสัมภาษณ์จะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ
ประวัติชีวิต สภาพครอบครัว ความสัมพันธ์ภายในครอบครัว ญาติพี่น้องและเพื่อนบ้าน ความรู้สึก
นึกคิด วิถีการดำเนินชีวิต อุดมการณ์และความคิด
การวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัยใช้วิธีวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา โดยบรรยายถึงลักษณะของตัวแปรทางสังคม
และตัวแปรทางจิตซึ่งกำหนดให้เป็นตัวแปรอิสระ และความสัมพันธ์ระหว่าง ตัวแปรดังกล่าวกับ
พฤติกรรมการทำความดีเพื่อสังคมซึ่งเป็นตัวแปรตาม
หลักการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ข้อมูลจากการสังเกตและการสัมภาษณ์แล้วนำข้อมูลมา
วิเคราะห์เชิงบรรยาย (descriptive) แล้ววิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) โดยใช้ทฤษฎีการ
พัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบอร์ก ทฤษฎีต้นไม้ทางจริยธรรม ทฤษฎีการพัฒนาการทางสังคม
ของอิริคสัน กระบวนการขัดเกลาทางสังคม เป็นกรอบในการตีความสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย
(inductive) (สุภางค์ จันทวานิช 2542 :131) รวมทั้งจัดทำการสัมภาษณ์และสังเกตซ้ำเพื่อเก็บ
ประเด็นที่เป็นประโยชน์ต่อการวิเคราะห์ข้อมูล
บทที่ 4
การวิเคราะห์ผลการศึกษา
ผลการศึกษาเรื่อง “การศึกษาการทำความดีของเยาวชนเพื่อสังคม” กรณีศึกษาโรงเรียนวัด
บวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามูลเหตุที่ส่งผลต่อการทำความดี
ของเยาวชนเพื่อสังคม ในการศึกษาครั้งนี้กำหนดตัวแปรในการศึกษาดังนี้คือ 1. สภาพแวดล้อมทาง
สังคม ได้แก่สภาพแวดล้อมทางครอบครัว และสภาพแวดล้อมทางโรงเรียน 2.ลักษณะทางจิตซึ่งเน้น
เฉพาะทัศนคติต่อการทำความดีเพื่อสังคม เพื่อศึกษาตัวแปรดังกล่าวว่ามีอิทธิพลต่อการทำความดีของ
เยาวชนเพื่อสังคม ซึ่งจะเสนอผลการศึกษาและการวิเคราะห์ข้อมูลโดยอาศัยหลักทฤษฎีการ
พัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบอร์ก กระบวนการขัดเกลาทางสังคมและทฤษฎีการพัฒนาการทาง
สังคมของอิริคสัน ดังต่อไปนี้
ส่วนที่ 1 ผลการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพรรณนาเป็นรายบุคคล
ส่วนที่2 วิเคราะห์ผลตามลักษณะตัวแปรดังนี้
1. สภาพแวดล้อมทางครอบครัว
2. สภาพแวดล้อมทางโรงเรียน
3. ทัศนคติต่อการทำความดีเพื่อสังคม
ส่วนที่ 1 ผลการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลรายบุคคล
กรณีศึกษาที่ 1 นายหนึ่ง เรียนอยู่ชั้น ม.6 อายุ 17 ปี ผลการเรียนเฉลี่ย 2.7 วิชาที่ชอบ ฟิสิกส์
เป็นนักเรียนโครงการแลกเปลี่ยน YFU (Youth For Understanding International Exchange) ไป
เรียนต่างประเทศที่สหรัฐอเมริกา 1 ปี ในชั้น ม.5 และกลับมาเรียนต่อม.6 ในปีการศึกษานี้ เข้าร่วมเป็น
คณะกรรมการนักเรียนมีหน้าที่ดูแลจัดนักเรียนในคณะเข้าแถวให้เป็นระเบียบเรียบร้อยทุกเช้าในพิธี
เคารพธงชาติ เป็นคณะกรรมการในคณะสีตั้งใจทำงาน ทุ่มเทอุทิศตนอยู่จนมืดค่ำเพื่อให้งานเสร็จ ด้าน
ความประพฤติเป็นคนแต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อย ตั้งใจเรียน มีความรับผิดชอบ ช่วยเหลือเพื่อน
เสมอเมื่อมีโอกาสเช่นเมื่อทำรายงานกลุ่มตนมักจะเป็นคนทำให้เพื่อนๆ ถ้าเพื่อนทำไม่ได้จะทำให้ทั้ง
63
หมด การทำงานในหมู่คณะถ้าต้องใช้เงินก็จะขอเงินจากพ่อ ขอคนงานจากพ่อมาช่วยทำเพื่อให้งาน
สำเร็จได้ผลดี เป็นที่รักของเพื่อนๆ และครูอาจารย์เพราะเป็นคนมีน้ำใจเรียกใช้ได้ ขยันและตั้งใจเรียน
สภาพแวดล้อมทางครอบครัว
สมาชิกในครอบครัวอยู่ด้วยกัน 3 คน ประกอบด้วย มารดาและปู่ บิดาแยกไปอยู่กับภรรยา
ใหม่ในช่วงที่นักเรียนไปเรียนต่างประเทศ(สหรัฐอเมริกา ขณะนั้นนักเรียนเรียนอยู่ ม.5) แต่บิดายังรับ
ผิดชอบส่งเสียเลี้ยงดูตนและมารดาทุกอย่างเหมือนเดิม มารดาทาํ หนา้ ทดี่ แู ลป ู่ พาปไู่ ปหาหมอเพอื่ ทาํ
กายภาพบำบัดทุกวันและมีอาชีพขายของหน้าร้าน ขายพวกอุปกรณ์เย็บปักถักร้อย บิดามีอาชีพรับ
เหมาก่อสร้าง ปัจจุบันบิดาซื้อบ้านหลังใหม่ที่พุทธมณฑลสาย 4 เพื่อจะให้มารดาและอา ปู่ไปอยู่ทีนั่น
และจะซ่อมแซมบ้านหลังเก่าให้ดี และจะซื้อรถให้นักเรียนขับด้วยเมื่อเข้ามหาวิทยาลัย
ความสัมพันธ์ในครอบครัว บิดากับมารดาแยกกันอยู่ บิดามีภรรยาใหม่ ไม่ค่อยทะเลาะกัน แต่
มารดาชอบบ่น บ่นบิดาให้ลูกฟัง กับลูกบิดาจะรับผิดชอบดูแลดี ความรู้สึกว่าการมีบ้าน สองหลังไม่
ค่อยอบอุ่น แต่ตนโตแล้วก็รับได้ ส่วนการแยกกันอยู่บิดามารดาดำเนินการตอนที่ตนไม่อยู่เมืองไทย
“พอผมไปอยู่เมืองนอกได้ปีหนึ่งเขาก็หย่ากัน”
การอบรมเลี้ยงดู ตอนเด็กๆ บิดามารดาส่งตนไปอยู่กับอา ที่ศรีราชา เรียนโรงเรียน
อัสสัมชัญศรีราชา ซึ่งอยู่ไม่ไกลนัก โดยให้นั่งรถตู้ประจำ “การไปอยู่ที่นั่นเป็นความต้องการของผมเอง
ที่อยากไปอยู่ อยู่กับอา อาจะเอาใจใส่ดี ไม่ค่อยปล่อยให้ไปไหน ไปโรงเรียนแล้วกลับบ้านจะไปไหน
ค่อยว่ากัน ต้องขออนุญาตก่อน ได้อยู่กับอาจนจบชั้น ม.3 จึงมาเรียนต่อม.4 ที่นี่“เมื่อย้ายมาอยู่กับ
บิดามารดารู้สึกว่าอบอุ่นกว่า มารดาจะทำหน้าที่ดูแลให้ทุกอย่าง จะไปไหนมาไหนเองไม่ต้องขอ
อนุญาต แต่จะใช้โทรศัพท์บอกว่าไปไหน กลับกี่โมง การลงโทษตามเหตุผล ส่วนใหญ่เกี่ยวกับดื้อ ซน
ตอนเด็กๆ แต่พอโตแล้วจะไม่ค่อยลงโทษแล้ว การอบรมของบิดา บิดาจะสอนเรื่องการเรียนต่อ การ
ปฏิบัติตน เช่น “ตอนผมอยู่อเมริกาพ่อจะโทรศัพท์ไปแล้วก็จะสอนว่าให้ตั้งใจเรียนจะได้กลับมาพัฒนา
ประเทศเรา ให้ทำเพื่อประเทศชาติ ไม่ให้เห็นแก่ตัว”
ภารกิจของบิดา รับผิดชอบครอบครัวดูแลปู่ย่า เลี้ยงดูพ่อแม่ของบิดา ดีกว่าลูกคนอื่นๆ รวมทั้ง
ดูแลมารดาและลูกซึ่งแยกกันอยู่คนละบ้าน ความคิดเห็นเกี่ยวกับบิดา “พ่อเป็นคนขยัน เป็นลูกกตัญญู
ช่วยบริจาคเงินให้กับโรงเรียน โรงพยาบาล ผมกับพ่อจะพูดคุยกันเป็นประจำ พ่อก็จะสอนสิ่งต่างๆ ไม่
ว่าจะเป็นเรื่องความประพฤติเรื่องการทำงาน ให้ช่วยเหลืองาน พ่อเป็นคนใจดีกับคนงานก็ดูแลเอาใจ
64
ใส่ดี เช่นคนงานต่างด้าวที่บริษัทถูกจับ พ่อก็จะไปเยี่ยม ซื้ออาหารไปฝาก ดูแลทุกข์สุขทำใบรับรองให้
จนได้กลับมา”
กิจกรรมที่ทำร่วมกัน เช่นในวันเกิดบิดาพาไปเลี้ยงอาหารนอกบ้าน งานเกี่ยวกับที่โรงเรียน จะ
มาพบครูด้วยกันทั้งบิดาและมารดา
ภาระกิจของมารดา จะมีหน้าที่ดูแลปู่ พาไปหาหมอ มารดาชอบทำบุญ บริจาคเงินให้วัด ไป
ทำบุญบ่อยและจะถามบิดาว่าจะทำไหม บิดาก็จะฝากเงินไปทำบุญด้วย
กิจกรรมที่ทำเพื่อสังคม ในโรงเรียน เป็นประชาสัมพันธ์คณะกรรมการนักเรียน เป็นหัวหน้า
ฝา่ ยเชยี ร์ หัวหน้าสแตนเชียร ์ ควบคุมทีมแบดมินตัน ดูแลจัดน้องเข้าแถวให้เป็นระเบียบทุกเช้า เปน็ ตวั
แทนไปแข่งภาษาอังกฤษนอกโรงเรียน
ทัศนคติต่อการทำความดีเพื่อสังคม นักเรียนรู้ว่าการทำความดีเพื่อสังคม คือ “ช่วยคนอื่นให้ดี
ขึ้น อยากทำให้คนอื่นดีขึ้น เช่นอยากจัดระเบียบสังคมทั้งโรงเรียน บ้านและสังคม ในโรงเรียนอยากให้
มีกิจกรรม การทำงานส่งมากกว่าการสอบ อยากให้เน้นการทำรายงานมากกว่าเพราะเป็นความรับผิด
ชอบ ความรู้สึกเกี่ยวกับการทำงานเพื่อสังคม รู้สึกดี ชอบ อยากทำ และมีความคิดให้ดีขึ้นด้วยการจัด
ระเบียบในห้องให้เรียนมากๆ ไม่ให้เล่น คุย สิ่งที่ตนได้ปฏิบัติคือ บอกเพื่อนๆว่า เงียบๆหน่อย” “และ
เคยคิดว่าเมื่อเราโตขึ้นทำงานการแล้วจะเอาญาติๆแม่ที่อยู่บ้านนอกมาเลี้ยงเพราะเห็นว่าเขายากจนก็
เลยอยากช่วยเหลือเขา”
ลักษณะความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ของตนคือ ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมด้วยเสื้อผ้า แม่บริจาคเงิน
และจะทำบุญทุกครั้งที่โรงเรียนบอกบุญ ช่วยทำรายงานให้เพื่อนๆ
ความเมตตากรุณา รู้สึกสงสารและเห็นใจ เพื่อนที่ไม่ค่อยมีเวลาว่างเพราะเขาต้องทำงานหา
เลี้ยงตัวเอง จะขาดเรียนบ่อย “ผมจะช่วยบอกให้เขามาเรียนเพื่อจะได้จบ ม.6 ” และคิดจะเอาญาติมา
เลี้ยงเมื่อตนเรียนจบ”
โอกาสในการเข้าร่วมกิจกรรม ในโรงเรียนยังมีน้อย โรงเรียนยังเปิดโอกาสให้เข้าร่วมน้อย
สรุปและวิเคราะห์
สภาพแวดล้อมทางครอบครัว ปัจจุบันอาศัยอยู่ร่วมกับมารดา ปู่และอา ถึงแม้ว่าบิดาแยกไป
อยู่คนละบ้านก็ยังรับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมทั้งชีวิตและความเป็นอยู่ของบุคคลดังกล่าว การติด
ต่อสายสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูกยังคงดำเนินอยู่เหมือนเดิม ถึงแม้จะรู้สึกไม่อบอุ่น ก็สามารถรับรู้และ
เข้าใจสถานภาพระหว่างบิดามารดาได้ดี เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสถานภาพทางครอบครัวเกิดขึ้นใน
65
ช่วงวัยที่กรณีศึกษารับรู้บทบาทหน้าที่ได้ดี และในช่วงวัยเด็กนายหนึ่งก็ไม่ได้อยู่ร่วมกับบิดามารดา
ตลอดระยะเวลา และในช่วงวัยรุ่นเขาก็ไปอยู่ต่างประเทศ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ปกติที่เขามักไม่ได้อยู่ร่วม
ครอบครัวอย่างพร้อมหน้ากัน
บรรยากาศในครอบครัว มีการติดต่อสัมพันธ์กันตามบทบาทและหน้าที่ของบิดาและมารดา
มีการพาไปทานอาหารนอกบ้าน ไปติดต่อเรื่องกิจกรรมการเรียนของลูกด้วยกัน อาจขาดความรัก
ความเหนี่ยวแน่นความเป็นปึกแผ่นของครอบครัวไปบ้าง แสดงถึงความสัมพันธ์ทางครอบครัวยัง
ดาํ เนนิ อยตู่ ามปกติ ตวั เยาวชนกบั บดิ ามารดายงั คงมคี วามสมั พนั ธอ์ นั ด ี ต่อกันไม่เปลี่ยนแปลง
การอบรมเลี้ยงดูบุตร พอสรุปได้เป็น 2 ลักษณะดังนี้1.ในช่วยวัยเด็กตอนต้นใช้วิธีการเลี้ยงดู
ด้วยเหตุผล ดูแลอย่างใกล้ชิด เช่นไปโรงเรียนแล้วกลับบ้านตามเวลาโดยรถรับส่ง จะไปไหนค่อยขอ
อนุญาต ถ้าทำผิด เช่นดื้อ ซน จะถูกลงโทษ 2. ในช่วงวัยรุ่น(อยู่มัธยมปลาย) ใช้วิธีเลี้ยงดูแบบรัก
สนับสนุน คือจะไปไหนมาไหนตามสะดวกแต่ต้องบอกว่าไปไหนกลับเมื่อไร ใช้วิธีการสื่อสารทาง
โทรศัพท์ มารดาจะให้อิสระในการคิดและตัดสินใจ ส่วนบิดาสอนด้วยคำพูดและการกระทำ เช่นให้
ช่วยงานในสำนักงาน ดูแลคนงานและบิดาปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างของเจ้านายที่มีความเอื้ออาทรต่อ
ลูกน้อง ส่งเสริมให้บุตรมีความก้าวหน้าทางวิชาการด้วยการส่งไปเรียนต่อต่างประเทศ หรือเรียนพิเศษ
ในวันหยุด สอนให้ทำเพื่อประเทศชาติ ให้เงินสนับสนุนกิจกรรมของโรงเรียน มารดาสอนด้วยการ
กระทำ เช่นทำบุญ สงเคราะห์ญาติผู้ใหญ่ในวัยชราและเจ็บป่วย เอื้อเฟื้อคุณพ่อด้วยการรับฝากเงินไป
ทำบุญให้
แบบอย่างของบิดามารดา ปฏิบัติตนตามบทบาทหน้าที่ ที่ดีต่อบุตร มีความรับผิดชอบครอบ
ครวั มีจิตใจดีคิดถึงประเทศชาต ิ ไม่เห็นแก่ตัว ทาํ บญุ เมอื่ มโี อกาส และมีลักษณะความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
เอื้ออาทรต่อบุคคลที่ด้อยกว่า ด้วยเหตุนี้จึงทำให้บุตรเกิดการลอกเลียนแบบพฤติกรรมจากบุคคลที่ตน
รักและศรัทธามาเป็นพฤติกรรมของตนโดยไม่รู้ตัว
การทำเพื่อสังคม นายหนึ่งได้ทำกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือโรงเรียนคือเป็นคณะกรรมการนักเรียน
ช่วยจัดระเบียบแถวทุกเช้าตอนเข้าแถวเคารพธงชาติ เป็นหัวหน้าฝ่ายเชียร์ หัวหน้าสแตนเชียร์ ควบคุม
กีฬาแบดมินตัน และเป็นตัวแทนของโรงเรียนไปแข่งภาษาอังกฤษในกลุ่มโรงเรียน ด้านความเอื้อเฟื้อ
เผื่อแผ่ ได้ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมด้วยการบริจาคเสื้อผ้า เงิน และทำบุญทุกครั้งที่โรงเรียนบอกบุญ
ด้านความเมตตากรุณา รู้สึกสงสารเห็นใจเพื่อนที่ไม่ค่อยมีเวลามาเรียนเพราะต้องทำงานหาเงินเลี้ยง
66
ตัวเอง ได้ช่วยด้วยการบอกให้เขามาเรียนเพื่อจะได้จบ ม.6 เขาจึงเป็นที่รักของเพื่อนๆร่วมห้องทุกคนให้
ความเชื่อถือไว้วางใจ
สภาพแวดล้อมทางโรงเรียน คือ กระบวนการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนเปิดโอกาสให้
นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรม เป็นคณะกรรมการนักเรียน มีกิจกรรมที่ให้นักเรียนคิดและทำได้คือกิจ
กรรมคณะ กีฬาสี การจัดการเรียนการสอนระบบกลุ่มนักเรียนมีโอกาสช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้
เพื่อน ๆ ภายในห้องให้การยอมรับบทบาทของการเป็นผู้นำและให้ความร่วมมือด้วยดี
ทัศนคติต่อการทำความดีเพื่อสังคม นายหนึ่งรู้ว่าการทำเพื่อสังคมคือการช่วยให้คนอื่นดีคิด
อยากช่วยด้วยการอยากจัดระเบียบสังคมโดยเริ่มทำบ้างแล้วในห้องด้วยการเตือนเพื่อนเวลาเล่น คุย
กันในห้องเรียน “บอกให้เงียบๆหน่อย “ และมีความคิดจะทำคืออยากจัดระเบียบสังคม
จากมูลเหตุดังกล่าวพอสรุปได้ว่าบรรยากาศครอบครัวที่มีสัมพันธภาพที่เต็มไปด้วยความรัก
ความเข้าใจ มีความใกล้ชิดผูกพันกับบิดาด้วยการพูดคุยอบรมสั่งสอนอยู่เสมอ นายหนึ่งจึงรับการถ่าย
ทอดความรู้สึกนึกคิดของบิดามาเป็นพื้นฐานความคิดของตนเองประกอบกับกระบวนการอบรมสั่ง
สอนให้รู้ว่าสิ่งใดควรทำและไม่ควรทำในวัยเด็กส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ที่ถูกที่ควร เมื่อถึงวัยรุ่นได้รับ
อิสระในการคิดและทำสิ่งต่างๆเขาก็สามารถปฏิบัติตนเป็นคนดี ทำความดีเพื่อสังคมได้เพราะได้รับการ
ซึมซับจากแบบอย่างของบิดาในด้านการช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การบริจาคทรัพย์สิ่งของและแบบ
อย่างจากมารดาด้านความมีจิตเมตตากรุณา เห็นอกเห็นใจ สงสารและให้การช่วยเหลือ ส่งผลให้นาย
หนึ่งมีทัศนคติที่ดีต่อการทำความดีเพื่อสังคมด้วยการช่วยคนอื่นโดยคิดอยากจัดระเบียบสังคมและคิด
ว่าโตขึ้นจะเอาญาติมาเลี้ยงเพราะเขายากจน
เป็นที่สังเกตว่าลักษณะการแยกกันอยู่ของบิดามารดานายหนึ่งมิได้ส่งผลกระทบต่อความ
สัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูก เนื่องจากทั้งบิดาและมารดายังปฏิบัติตนเหมาะสมกับบทบาทหน้าที่ของพ่อ
แม่ที่พึงมีต่อบุตร เช่นการส่งเสีย รับผิดชอบค่าใช้จ่าย การไปร่วมงานรับเกียรติบัตรของบุตรที่โรงเรียน
เป็นต้น
❋❋❋
กรณีศึกษาที่ 2 นายสองเป็นนักเรียนชั้น ม.6 อายุ 18 ปี เกรดเฉลี่ย 2.34 วิชาที่ชอบและทำ
คะแนนได้ดีคือสังคมศึกษา ได้เกรด 3 ลักษณะของนายสองเป็นคนสุภาพเรียบร้อย แต่งกายถูก
ระเบียบ มีความประพฤติดี มักมีส่วนร่วมในการทำงานเป็นคณะกรรมการนักเรียน และเป็นตัวแทนนัก
เรียนในกลุ่มเพื่อนเพื่อเพื่อน เป็นตัวแทนด้านวิชาการ เข้าร่วมกิจกรรมทั้งในและนอกโรงเรียนสม่ำเสมอ
67
ชอบเข้าสังคมพบปะกับสมาชิกนอกโรงเรียนเช่นเป็นสมาชิกกลุ่มลูกสน เป็นคนมีความคิดและอุดม
การณ์
สภาพแวดล้อมทางครอบครัว
ภายในครอบครัวประกอบด้วย บิดา มารดา น้องสาวและตัวนักเรียนเอง บิดาประกอบอาชีพ
ทำสวนแตงอยู่ต่างจังหวัด มารดาขายส้มตำ อยู่ที่บ้าน
ความสัมพันธ์ในครอบครัว นายสองจะสนิทกับมารดามากกว่าบิดา บิดาออกต่างจังหวัดบ่อย
มีปัญหาอะไรจะปรึกษามารดา แต่ชอบเก็บไว้คนเดียวมากกว่า กับน้องสาวก็สนิทกันคุยกันปรึกษา
หารือกัน บิดาจะช่วยมารดาขายของและทำความสะอาดบ้าน จัดระเบียบภายในบ้าน น้องสาวช่วย
ทำงานบ้าน ช่วยมารดาขายของ พี่(ตัวเอง)ช่วยงานทุกอย่างเท่าที่มี เช่น ช่วยมารดาเตรียมของขาย
กรอกน้ำ กวาดบ้านถูบ้าน ซักผ้ารีดผ้าทั้งของบิดาและมารดาช่วยน้องทำ ถ้าใกล้สอบก็จะขอดูหนังสือ
ส่วนใหญ่ถ้าช่วยงานบ้านก็เป็นวันเสาร์-อาทิตย์ที่จะช่วยมารดาขายของทั้งวัน จะอ่านหนังสือตอนเย็น
การอบรมเลี้ยงดู ในวัยเด็ก ตอนเล็กๆ พ่อแม่จะกึ่งบังคับตั้งแต่เริ่มเข้าเรียนอนุบาล จะใช้ให้ทำ
โน่นทำนี่ทุกอย่าง และให้ช่วยตัวเอง ทุกอย่าง พอโตจะพูดด้วยเหตุผล ตอนเล็กๆคิดว่าทำไมพ่อแม่ต้อง
บังคับด้วย แต่พอโตแล้วจะรู้ว่าเราสามารถทำได้ แต่แม่จะบอกว่า”แม่ไม่มีเงินทอง ความรู้ให้เราได้ จึง
ใช้งาน ฝึกให้เราทำงาน “ และแม่มักจะเรียกมาคุยและสอนเรื่องต่างๆ เช่นเวลาแม่ขายของอยู่มีขอ
ทานหรือคนจนมาซื้อของ แม่ก็จะให้โดยไม่คิดเงิน แม่จะบอกว่า “ถึงเราจะไม่ร่ำรวยมากแต่เรามีโอกาส
มากกว่าเขา ก็ให้เขาบ้าง เมื่อเขามาอีก แม่ก็ให้ แม่จะย้ำเรื่องความกตัญญูและการเสียสละมากคือให้
รู้จักเสียสละเพื่อส่วนรวม สอนไม่ให้เห็นแก่ตัว สอนให้เห็นคุณค่าของสิ่งที่เราทำเช่นเมื่อมีโอกาสจะ
ช่วยเหลือคนอื่นได้ก็ควรช่วยเหลือ ยอมเสียสละเพื่อสิ่งเล็กๆน้อยๆถ้าไม่ทำอะไรให้เราเสียหาย เราก็
ควรจะทำเพื่อคนอื่นได้” คุณพ่อก็จะสอนคล้ายๆกัน ส่วนใหญ่พ่อจะไปดูไร่แตงและโรงสีที่ต่างจังหวัด
เวลาจะไปไหนมาไหน แม่จะคอยห่วงใยคอยโทรถามว่าจะกลับกี่โมง ให้รีบกลับนะ แม่จะเป็นคนมีเหตุ
ผล เช่น”เมื่อย่าเสียเขาให้บวชหน้าศพ แต่ผมบอกว่ารุ่งเช้าผมจะไปสอบ กลัวกลับไม่ทัน แม่ก็ตกลงว่า
ไม่บวชก็ไม่บวช”
ทุกเช้าจะมีพระมารับบาตรที่บ้านทุกวัน แม่จะเตรียมข้าวไว้ทุกวัน บางวันก็ให้ผมใส่บาตร บาง
วันก็ให้น้องสาวใส่บาตรแล้วแต่ว่าจะสะดวกใคร
ภายในชุมชนมีงานปีใหม่ สงกรานต์ จะมีการทำบุญรับประทานอาหารร่วมกัน ก็ได้ออกไปร่วม
กับเขาโดยทำอาหารไปร่วมด้วย
68
ความรู้สึกเกี่ยวกับพ่อและแม่ พ่อเป็นคนขยัน รักความสะอาด มีระเบียบวินัย ส่วนแม่เป็นคน
เข้มแข็ง ไม่ค่อยแสดงความอ่อนแอให้เห็น แม่เป็นพี่คนโตของครอบครัวแม่ แม่มักจะช่วยเหลือน้องๆ
เป็นประจำ
ลักษณะส่วนตัว “สนใจและชอบดูทีวี และชอบอ่านหนังสือประเภทปรัชญาชีวิต หรือสิ่งที่
จรรโลงสังคม เพราะอยากรู้อีกด้านของมนุษย์ที่แสดงออกมาว่าจะเป็นอย่างไร ว่าทำไมเขาจึงแสดง
พฤติกรรมเช่นนั้น ทำไมถึงไม่แก้ปัญหาจุดนั้น ทำไมไม่เอาจุดนั้นมาศึกษา สิ่งที่เรียนรู้จากหนังสือ รู้ว่า
ทุกคนไม่ดีไปทุกอย่างและคนไม่ดี ไม่ได้เลวชั่วร้ายไปทุกอย่างเหมือนที่ทุกคนมองเขา รู้แก่นสารของ
ชีวิตมากขึ้น รู้สึกว่าจริงๆเราไม่ได้ต้องการแค่เงินทอง สิ่งของเพื่ออำนวยความสะดวก แต่เราต้องการ
จะหาความสุขให้กับตนเอง ความสุขของผมคือ อยู่คนเดียวเงียบๆ หรือเล่นกับโลก ปัจจุบันได้อบรม
Creative Thinking (การคิดอย่างเป็นระบบ)ของอ.ชัยวัฒน์ ธีรพันธ์ ซึ่งเป็นชมรมเครือข่ายเยาวชน มี
วัตถุประสงค์ให้เยาวชนคิดเป็น คิดทำอะไรก็ได้ที่เราอยากทำโดยมีผู้ใหญ่เป็นผู้อยู่เบื้องหลัง ให้นำ
เสนอโครงการกับองค์การยูนิเซฟ”
การทำงานเพื่อสังคม กิจกรรมที่ทำคือเป็นเลขาคณะกรรมการนักเรียน เป็นผู้นำวงดุริยางค์
ทำชมรมเพื่อนเพื่อเพื่อน เป็นรองประธานคณะสี และทำงานที่ครูมอบหมายพิเศษ งานในระดับชุมชน
คือ เป็นสมาชิกกลุ่มเพื่อนเพื่อเพื่อนระดับกรมสามัญ 113 โรงเรียน และเป็นสมาชิกเครือข่ายเยาวชน
การเข้ามาทำงานเพราะในวัยเด็กตอนอยู่โรงเรียนประถมครูจับให้เป็นผู้นำอยู่เรื่อยๆ และทาง
บ้านปลูกฝังให้ทำงานมาแต่เด็กๆ “โดยเฉพาะแม่จะสอนให้เสียสละ เมื่อมีโอกาสจึงได้นำมาใช้ที่โรง
เรียน เมื่อโรงเรียนมีกิจกรรม ชมรมเพื่อนเพื่อเพื่อนจึงใช้โอกาสตรงนั้นเข้ามาทำประโยชน์เพื่อสังคม
และคิดว่าใช่ตัวเรา มีความสุขที่ได้ช่วยคนอื่นและภูมิใจกับผลงานที่เราได้ทำด้วยความสมัครใจของตัว
เราเอง คิดว่าการทำเพื่อสังคมเกิดจากการปลูกฝัง มากกว่า เพราะปัจจุบันสังคมเราเห็นแก่ตัวทุกคน
มุ่งเอาประโยชน์ของตัวเองมากกว่าให้ประโยชน์ของส่วนรวม ถ้าครอบครัวรู้จักสอนให้เสียสละบ้างก็ยัง
ดี สถาบันการศึกษาจะเป็นส่วนหนึ่งที่เป็นแบบอย่างหยิบยื่นโอกาสให้เขาก็น่าจะทำได้ ให้เขาได้มี
โอกาสแสดงออก ในโรงเรียนของเราเปิดโอกาสให้เรา แสดงออกพอสมควร อาจารย์ก็สอนด้วย
อาจารย์นวลพรรณ(อ.ที่ปรึกษากิจกรรมเพื่อนเพื่อเพื่อน) บอกว่าครูเป็นที่ปรึกษาให้เธอนะ เธออยากทำ
อะไรก็คิดออกมา เสนอมา รู้สึกว่ามีโอกาสได้แสดงความสามารถมากขึ้น เช่น การเลือกประธานนัก
เรียน คณะกรรมการคณะ สรุปว่า โรงเรียนให้โอกาสมาก “
69
บรรยากาศในโรงเรียนดีไม่เลวร้าย สิ่งแวดล้อมก็ดีอยู่ใกล้วัดค่อนข้างสงบ ครูกับนักเรียนมี
ความใกล้ชิดกันมาก ครูให้ความเป็นกันเอง มีโอกาสพูดคุยกันทำงานร่วมกัน อาจารย์หลายๆ ท่านให้
โอกาสในการทำงาน ส่งไปนอกโรงเรียนมีโอกาสพบเพื่อนๆกลุ่มอื่นๆ (กลุ่มเพื่อนเพื่อเพื่อน) ทำให้มี
ประสบการณ์นำมาใช้ในโรงเรียน ในการคิดที่จะให้น้องๆมาทำงานเพื่อสังคม ขึ้นอยู่กับการปลูกฝัง “สิ่ง
ที่ผมมีเป็นการเรียนรู้จากสังคมแวดล้อม พ่อแม่ ครู และอ่านหนังสือการเป็นผู้นำ เคยคิดอยากเป็น
ประธานาธิบด ี คดิ วา่ อยากเปลยี่ นระบบการปกครอง มีความคิดเห็นว่าน่าจะหมดยุคนักการเมืองรุ่น
เก่าแล้ว และในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยครั้งนี้คิดว่าจะเข้าคณะสังคมสงเคราะห์ เพราะดูคะแนนแล้ว
ยังไม่ค่อยดี”
โครงการในอนาคต “เดือนสิงหาคมจะมีงาน เวิล์ดสนุกคอนเนอร์ จัดที่สวนสันติชัยปราการ
ภายใต้นโยบายเรียกชุมชนให้กลับคืนมา โดยให้ชุมชนบางลำพู ถนนข้าวสาร ให้มาจัดงานร่วมกันแล้ว
ให้ แล้วให้พลเมืองเด็กเข้ามามีส่วนร่วมโดยชมรมที่ตนเข้าไปเป็นสมาชิก(เครือข่ายเยาวชน เข้าไป
เพราะตนเป็นสมาชิกกลุ่มเพื่อนเพื่อเพื่อนของกรมสามัญ 113โรงเรียน แล้วมีเพื่อนชวนมาเป็นสมาชิก)
ช่วยกันคิดวางแผนจัดงานร่วมกัน กิจกรรมที่คิดว่าจะทำคือ มีดนตรี ศิลปะ ส้วมหรรษา ผี สอดแทรก
ความสนุกบวกความรู้ ดึงเด็กเข้ามามีส่วนร่วมช่วยกันทำเพื่อสังคม เครือข่ายเยาวชนกลุ่มนี้สืบเชื้อสาย
มาจากกลุ่มลูกสน ซึ่งพี่ๆเขาโตไปเรียนต่างประเทศกันหมดแล้ว จึงมีเยาวชนกลุ่มหนึ่งรวมตัวกันสาน
ต่อเจตนารมย์และผมมีโอกาสเข้าไปร่วมด้วย”
เรื่องความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แม่ให้การเลี้ยงดูช่วยเหลือน้องๆหรือคนที่อ่อนแอกว่า แม่สงสารก็ให้
อาหารโดยไม่คิดเงิน เช่นคนจน หรือขอทาน และแม่จะเป็นพี่คนโตแม่จะให้ความช่วยเหลือน้องๆ เป็น
ประจำ
ความเมตตากรุณา แม่เป็นคนขี้สงสาร เช่นที่บ้านมีแมวจรจัดมาคลอดลูกทิ้งไว้ แม่ก็สงสารให้
อาหารและเลี้ยงดูลูกๆมันจนโต “ผมก็มีส่วนช่วยให้อาหารแมวเหล่านั้นด้วย”
สรุปและวิเคราะห์
สภาพแวดล้อมทางครอบครัว นายสองมีครอบครัวที่อบอุ่น บิดามารดาเลี้ยงดูด้วยความเอาใจ
ใส่ อบรมสั่งสอน ถ่ายทอดความรักความคิด ทัศนคติและเป็นแบบอย่างให้เด็กได้ปฏิบัติตาม ครอบครัว
จึงอยู่กันด้วยความรัก ความอบอุ่น มีการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน โดยพ่อช่วยเหลือแม่ พี่ช่วย
น้อง เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่คนอื่นๆรวมทั้งสัตว์ผู้ตกทุกข์ได้ยาก
70
บรรยากาศในครอบครัว บิดามารดาส่งเสริมลูกให้ทำงาน ให้แสดงความคิดความสามารถ ให้
การอบรมสั่งสอน ให้ความรักความอบอุ่นเป็นที่ปรึกษา เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น แสดงความ
สามารถ ให้ลูกทำในสิ่งที่อยากทำคอยให้กำลังใจ สนับสนุน
การอบรมเลี้ยงดู คอยสั่งสอนให้ทำงาน เอาใจใส่ตามความจำเป็น สอนให้เป็นคนดี ให้เห็น
ความสำคัญของการศึกษา สอนให้มีความคิดให้คิดว่าไม่มีอะไรดีกว่าการทำงาน การช่วยเหลือคน การ
ทำบุญใส่บาตร ถ้ามีโอกาสก็ให้รีบทำ ถึงแม้คนไม่รู้แต่พระรู้ สอนให้ช่วยเหลือผู้อื่น มีความเอื้อเฟื้อเผื่อ
แผ่ มีความเมตตากรุณา กล่าวโดยสรุปลักษณะการอบรมเลี้ยงดูแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1. ในวัยเด็กได้รับการเลี้ยงดูแบบควบคุม โดยบิดามารดาออกคำสั่งให้ทำงานแล้วคอยติดตามอย่าง
ใกล้ชิดว่าได้ทำตามที่มอบหมายหรือไม่ 2. เลี้ยงดูแบบใช้เหตุผล บิดามารดาเริ่มปล่อยให้ทำอะไรได้
โดยอิสระ แต่ต้องอยู่ในกฏเกณฑ์ที่วางไว้เช่นห้ามเข้าบ้านเกิน 2 ทุ่ม ถ้าเกินต้องมีเหตุผล
ตัวแบบของบิดามารดา บิดาเป็นตัวแบบที่ดีในหน้าที่ของพ่อ เอาใจใส่ ช่วยเหลืองานบ้านตาม
ความเหมาะสม มีระเบียบวินัย มีความรับผิดชอบ อบรมสั่งสอนและให้กำลังใจ มารดาคอย
อบรมสั่งสอนให้รู้จักทำงาน สอนให้เสียสละ สอนให้เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ทำตัวอย่างให้เห็นในชีวิตประจำวัน
สภาพแวดล้อมทางโรงเรียน ครูในโรงเรียนประถมดึงตัวให้เข้าร่วมกิจกรรม เมื่ออยู่โรงเรียน
มัธยม(บวรนิเวศ)ครูส่งเสริมให้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งในและนอกโรงเรียน เช่นเป็นคณะกรรมการนักเรียน
เป็นคณะกรรมการคณะ กลุ่มเพื่อนเพื่อเพื่อน แสดงถึงการจัดกิจกรรม และครูมีบทบาทสำคัญต่อการ
ส่งเสริมการทำความดีเพื่อสังคมของนายสอง
กิจกรรมที่ทำเพื่อสังคมเป็นผู้นำวงดุริยางค ์ ชมรมเพื่อนเพื่อเพื่อน รองประธานคณะ ช่วยงาน
ในระดับชุมชนที่สวนสันติชัยปราการ เป็นสมาชิกกลุ่มเพื่อเพื่อเพื่อนกรมสามัญ113 โรง เป็นสมาชิก
เครือข่ายเยาวชน(กลุ่มลูกสน) ด้านความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ให้เงินขอทาน บริจาคทรัพย์ เงินช่วยอุทกภัย
ภาคใต้ ช่วยออกค่ารถค่าอาหารให้เพื่อนเวลาไปไหนๆด้วยกัน ด้านความเมตตากรุณา ทำบุญบ้านเด็ก
กำพร้า บริจาคเงินให้เด็กชาวเขาที่จังหวัดเชียงรายผ่านบริษัทกระจกเงา
ทัศนคติต่อการทำความดีเพื่อสังคม ได้รับการปลูกฝังจากครอบครัวและโรงเรียนตั้งแต่
เล็กๆ ให้ทำงานช่วยเหลือตัวเอง และทางโรงเรียนเห็นแววของการกล้าแสดงออกจึงส่งเสริมให้แสดง
ออกเมื่อมีโอกาส ดังนั้นเมื่ออยู่ในโรงเรียนมัธยมเมื่อมีโอกาสจึงอาสาเข้าร่วมงานเพราะชอบที่จะ
ทำงานและต้องการหาประสบการณ์ในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ โดยมีความชอบเป็นพื้นฐาน เมื่อทำงานแล้ว
รู้สึกมีความสุข ภาคภูมิใจในผลงานที่ได้ทำ และมีความพร้อมที่จะทำงานนั้นๆ อยู่แล้วตลอดจนมีโครง
71
การที่จะทำงานในอนาคตอีกด้วย คุณลักษณะส่วนตัวเป็นคนมีนิสัยสนใจใฝ่รู้เรื่องแนวปรัชญา จิต
วิทยาและสังคมสงเคราะห์อยู่แล้วด้วยการศึกษาจากการอ่านและเข้ากลุ่ม เข้าอบรมจากสังคมภาย
นอกโรงเรียน ความรู้สึกที่ได้จากการทำงานเพื่อสังคมเป็นสังคมที่ดีทำให้คนอื่นมีความสุขเราก็มีความ
สุขไปด้วย ทำแล้วรู้สึกดี
สรุปนายสองมีสภาพแวดล้อมทางครอบครัวที่อบอุ่น บรรยากาศที่เป็นมิตร มีความเป็น
ประชาธิปไตยเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น มีอิสระในการคิดการตัดสินใจ ได้รับการเลี้ยงดูให้พึ่งตน
เอง ทำงานเป็น ได้รับการอบรมสั่งสอนจากมารดาให้เป็นคนมีจิตใจดี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ให้ช่วยเหลือคน
อื่น มีจิตใจเมตตา ประกอบกับการเป็นแบบอย่างในการทำความดีเพื่อสังคมของมารดาที่ถ่ายทอดให้
กับบุตร จึงส่งผลให้เขาเป็นคนดี มีจิตใจดี คิดช่วยเหลือ และมีความเมตตากรุณา จากบทบาทของครู
และการจัดกิจกรรมภายในโรงเรียนที่ให้เข้ามามีส่วนร่วมทำกิจกรรม การมีส่วนร่วมกับองค์กรภายนอก
กลุ่มเพื่อนเพื่อเพื่อน ล้วนแต่เป็นกระบวนการขัดเกลาทางสังคมที่ ส่งเสริมให้นายสองมีประสบการณ์
หลากหลายต่อการทำกิจกรรมทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน จึงส่งผลให้เป็นคนมีความคิด มีอุดม
การณ์ในการทำงานเพื่อสังคมดังกล่าว
➀➀➀
กรณีศึกษาที่ 3นายสาม เรียนอยู่ชั้น ม.2 อายุ 14 ปี ผลการเรียนเฉลี่ย 2.73 วิชาที่ชอบ
คณิตศาสตร์สอบได้เกรด 4 ลักษณะส่วนตัวเป็นคนเรียบร้อยแต่งกายถูกต้องตามระเบียบของโรงเรียน
เป็นคนมีน้ำใจช่วยเหลืองานทั้งครูและโรงเรียน ช่วยเหลือเพื่อน เพื่อนๆ บอกว่าไม่แกล้งเพื่อน แบ่งปัน
สิ่งของ ขยัน ตั้งใจเรียน มีน้ำใจ
สภาพแวดล้อมทางครอบครัว
สมาชิกในครอบครัวอยู่ด้วยกัน 4 คน ประกอบด้วย บิดา มารดา ตัวนักเรียนและน้อง บิดามี
อาชีพ ขับรถแท๊กซี่ มารดา รับเย็บเสื้อโหล เช่าบ้านอยู่เดือนละ 3,500บาท เป็นตึกแถว อยู่ในซอย
เจริญนคร 29/1 อยู่บริเวณเดียวกันกับเครือญาติหลายหลัง รู้จักกันทั้งซอย เวลามีงานจัดงานร่วมกัน
เช่นงานสงกรานต ์ งานปีใหม่
ความสัมพันธ์ในครอบครัว บิดามารดาอยู่กันด้วยความรัก ไม่ค่อยทะเลาะกัน ความเอาใจใส่
ครอบครัว บิดามีหน้าที่คอยอบรมสั่งสอน บางครั้งรับส่งไปโรงเรียนบ้าง เวลาว่างจะกลับมาช่วยทำ
กับข้าว ถ้าทำการบ้านไม่ได้บิดาจะช่วยสอนให้ ถ้าไม่รู้จะให้ไปถามพี่ข้างบ้าน มารดาคอยควบคุมดูแล
ความประพฤติ ว่าจะให้ทำงานหรือให้ไปเล่น เวลามีปัญหาจะปรึกษาบิดามากกว่ามารดา
72
บรรยากาศในครอบครัว มีความอบอุ่น มีการแสดงความรักด้วยการกอด การสัมผัส มีการทำ
กิจกรรมร่วมกัน ช่วยเหลือกัน เช่นช่วยมารดาตัดเศษด้าย บิดาจะกลับมาทำกับข้าว มารดาจะเย็บผ้า
บางครั้งจะทำกับข้าว ตัวนักเรียนจะช่วยสอนการบ้านให้น้อง ไม่ค่อยทะเลาะกับน้อง มารดาจะคอยดู
แลอบรมสั่งสอนให้ไปเล่นหรือทำการบ้านหรือจะให้ช่วยงานบ้านตอนก่อนนอนจะคุยกันมีปัญหา
ปรึกษาหารือกัน ในยามว่างก็จะไปช่วยน้าเลี้ยงน้อง บางครั้งก็ไปเลี้ยงสุนัขให้เพื่อนบ้านที่เขาฝากไว้
การเลี้ยงดูบิดามารดาจะปล่อยให้ไปโรงเรียนเองตั้งแต่ตอนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ไปโรง
เรียนเอง อาบน้ำแต่งตัวเอง เรียนหนังสือโรงเรียนที่ใกล้บ้าน ปัจจุบันไปโรงเรียนก็ตั้งนาฬิกาปลุกและ
ตื่นเองปฏิบัติภาระกิจไปโรงเรียนถึงโรงเรียนเวลา 7.00 น “(ทานข้าวเช้าแล้วก็ไปหาอาจารย์ลัดดาดูว่า
มีอะไรให้ช่วยทำบ้าง เข้าแถว 7.30 น ตามเวลาที่โรงเรียนกำหนด) กลับบ้าน 5 โมงเย็นถึงบ้านอาบน้ำ
ทานข้าว ทำการบ้านโดยผู้ปกครองไม่ต้องเตือนเพราะแม่สอนไว้ว่าให้ปฏิบัติเช่นนี้”
การอบรมสั่งสอน บิดาจะสอนเรื่องการปฏิบัติตน สอนให้ตั้งใจเรียน ตั้งใจทำงาน อย่ากลับ
บ้านเย็น สอนให้ทำการบ้าน มารดาจะสอนให้ทำงาน เช่น เย็บผ้าตัดเศษด้าย สอนให้ปฏิบัติตัวดีๆ
เรียนเก่งๆ คอยควบคุมดูแลหลังกลับจากโรงเรียนให้อาบน้ำ ทานข้าว ทำการบ้านแล้วมาช่วยงานแม่
หรือวันไหนไม่มีงานเร่งด่วนก็จะให้ไปเล่นเตะบอลกับเพื่อนบ้านได้ ถ้าวันไหนมีงานเยอะ แม่ก็จะบอก
ว่า “วันนี้งานเยอะให้ช่วยแม่ตัดเศษด้ายก่อน ไม่ต้องไปเล่น “
การให้รางวัลและการลงโทษ บิดาจะให้รางวัลเมื่อสอบได้คะแนนดี เคยได้ตอนอยู่ชั้นประถม
ศึกษาปีที่ 2 บิดาซื้อวีดีโอให้และมารดาให้โทรทัศน์
การลงโทษ ถ้าทำผิดมารดาจะลงโทษ ไม่ให้กินข้าว แม่ห้ามกลับบ้านดึก ให้เข้าบ้าน 2 ทุ่ม ถ้า
ทำผิดจะถูกขังอยู่กับบ้านไม่ให้ออกจากบ้าน เคยทำผิดคือไปเล่นเกม แต่ไม่ทำผิดบ่อยนัก
ความรู้สึกต่อบิดามารดา รักพ่อเพราะพ่อขยันทำงานแต่เช้า และจะกลับมาทำกับข้าวไว้ให้ลูก
และคอยอบรมสั่งสอนให้ลูกปฏิบัติตนเป็นคนดี ตั้งใจทำงาน ส่วนแม่ จะเป็นแบบอย่างในการ
สอนให้ลูกรู้จักช่วยเหลือคน มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีเมตตากรุณา เช่น แม่ออกเงินให้พาสุนัขไปตัดเนื้อ
งอก ความจริงเจ้าของให้เอาไปปล่อย แม่สงสารเลยให้ผมพาไปผ่าตัด ปัจจุบันก็รักษาหายแล้ว รับผิด
ชอบต่อหน้าที่ เช่น ให้ทำงานก่อนไปเล่น ถ้าทำผิดก็ลงโทษ ทำดีก็ให้รางวัล
การทำกิจกรรมเพื่อสังคม ได้ช่วยงานอ.ลัดดา(หัวหน้าหมวดกิจกรรม) เข้าค่ายลูกเสือโลก เข้า
ร่วมแข่งขันหมากล้อม(เป็นตัวแทนโรงเรียน) สมัครเข้าค่ายคุณธรรม เป็นตัวแทนคณะกรรมการนัก
เรียนระดับชั้นม.2 ช่วยทำความสะอาดห้องปกครอง
73
กิจกรรมที่ทำที่บ้าน และชุมชนช่วยดูแลบ้าน กวาดบ้าน ล้างจาน ช่วยมารดาตัดเศษด้าย ให้
อาหารสุนัขเวลาเพื่อนบ้านไม่อยู่ กวาดลานบ้านเพราะน้ำท่วมบ่อย
ลักษณะความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ได้เคยบริจาคเสื้อผ้าตอนน้ำท่วมภาคใต้ที่โรงเรียนให้นำสิ่งของ
เงินมาบริจาค ได้ทำบุญติดกันเทศน์ทุกต้นเดือนที่โรงเรียนจัเรี่ยไรให้พระที่มาเทศน์อบรมทุกต้นเดือน
โดยใช้เงินส่วนตัว “เคยให้เพื่อนยืมของ อาสาทำความสะอาดห้องปกครอง เพราะเห็นว่าไม่มี
ใครทำก็เลยช่วยตามที่อาจารย์ขอร้อง”
ลักษณะความเมตตากรุณา เคยช่วยหมาข้างบ้านซึ่งเป็นเนื้องอกโดยพาไปหาหมอผ่าตัด โดย
แม่เป็นผู้ออกค่ารักษา ในการทำครั้งนี้แม่อยู่เบื้องหลัง ความจริงเจ้าของหมาให้เอาไปปล่อย แต่แม่
สงสารก็เลยให้เอาไปผ่าตัดและให้เงินไป
การเข้าร่วมทำกิจกรรมกับโรงเรียนบางกิจกรรมสมัครเข้าร่วมเอง รับอาสาเองและบางกิจกรรม
เพื่อนชวน และอาจารยช์ วน เมื่อทำแล้วรู้สึกว่าด ี ได้ประสบการณ์ใหม่ๆ ชอบทำ ถา้ มใี ครชวนใหท้ าํ งาน
ก็ยินดีรับอาสา
ทัศนคติต่อการทำความดีเพื่อสังคม รู้ว่าการทำความดีต้องอดทน เสียสละและทุ่มเท มีความรู้
สึกว่าชอบทำ ทำแล้วมีความสุข ได้ประสบการณ์ใหม่ๆ ถ้ามีคนให้ช่วยก็จะช่วย
สรุปและวิเคราะห์
สภาพแวดล้อมทางครอบครัวประกอบด้วยพ่อแม่ลูก มีความสัมพันธ์กัน ทำงานร่วมกัน มีการ
แสดงความรัก การกอดการสัมผัส การลงโทษและให้รางวัลตามความเหมาะสม มีการพึ่งพาอาศัยซึ่ง
กันและกันในเครือญาติ ภายในครอบครัวมีความสัมพันธ์กันดีพึ่งพาอาศัยกัน พ่อช่วยแม่ พี่ช่วยน้อง
เพื่อนบ้านเอื้อเฟื้อช่วยเหลือกันดี
บรรยากาศในครอบครัวอยู่กันพร้อมหน้าพ่อแม่ลูก มีความอบอุ่น มีการทำกิจกรรมร่วมกัน มี
พ่อคอยช่วยเหลือดูแลเอาใจใส่ คอยส่งเสริมให้ทำกิจกรรมตามที่ชอบที่สนใจ แม่คอยอบรมสั่งสอน
ควบคุมให้อยู่ในระเบียบกฎเกณฑ์ มีการให้รางวัลและลงโทษตามสถานการณ์
การอบรมเลี้ยงดู พ่อแม่คอยอบรมสั่งสอนให้ทำงาน ให้ปฏิบัติตนอยู่ในระเบียบกฎเกณฑ์ ให้
ความรัก ความเอาใจใส่ ให้ช่วยเหลืองานบ้าน ช่วยเหลือญาติพี่น้องและสังคมในชุมชน ให้การ
สนับสนุนส่งเสริมให้ทำกิจกรรมที่ชอบ ให้อิสระในการเล่นการทำงาน โดยภาพรวมพอสรุปลักษณะ
การอบรมเลี้ยงดูได้ดังนี้
74
1. การอบรมเลี้ยงดูแบบให้พึ่งตนเองเร็ว คือ ให้ดูแลตัวเองตั้งแต่ประถมศึกษาปีที่ 1 ไป
โรงเรียนเอง กลับบ้านเอง อาบน้ำแต่งตัวเอง
2. การเลี้ยงดูแบบควบคุม คือ กลับมาจากโรงเรียนให้อาบน้ำแล้วมาช่วยงานแม่ตัดเศษด้าย
ถ้าไม่มีงานให้ไปเล่น ให้ไปช่วยน้าเลี้ยงหลาน ให้ช่วยสอนการบ้านน้อง ให้ไปดูแลสุนัข
แทนเพื่อนบ้าน ซึ่งเป็นการควบคุมเพื่อฝึกพฤติกรรมด้วยความรักและไม่เข้มงวดจึงจัดเป็น
การเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุน
3. การลงโทษทางจิต คือถ้าทำผิดไม่ให้กินข้าว ไม่ให้ออกจากบ้าน
ตัวแบบของพ่อแม่ พ่อปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างเรื่องความรับผิดชอบ การดูแลเอาใจ
ใส่ครอบครัว การปฏิบัติตน ขยันทำงานตามหน้าที่ของตน เมื่อมีเวลาว่างก็มาช่วยทำกับข้าวให้ ส่วน
แม่เป็นแบบอย่างในการสอนให้ลูกรับผิดชอบต่อหน้าที่ รู้จักช่วยเหลือคน และทำตนเป็น
แบบอย่างด้านการมีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีเมตตากรุณา
สภาพแวดล้อมทางโรงเรียน เพื่อนชักชวนให้เข้ามีส่วนร่วมทำกิจกรรมในโรงเรียน และครูส่ง
เสริมให้ทำกิจกรรมโดยส่งเข้าเป็นตัวแทนไปเป็นรองหัวหน้ากลุ่มปิยมิตร ไปแข่งหมากล้อม
ทัศนคติต่อการทำความดีเพื่อสังคม
ด้านการช่วยเหลือ ช่วยเหลือกิจกรรมทางบ้าน ทางโรงเรียน และสังคมชุมชนที่ตนอยู่ เช่นช่วย
งานหัวหน้าหมวดกิจกรรม เข้าค่ายอบรมคุณธรรม เป็นคณะกรรมการนักเรียน ช่วยทำความสะอาด
ห้องปกครอง ช่วยงานบ้าน ล้างจาน กวาดบ้าน ตัดเศษด้าย สอนหนังสือให้น้อง ดูแลสุนัข เป็นต้น
ด้านความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ บริจาคเสื้อผ้าช่วยน้ำท่วมภาคใต้ ทำบุญติดกันเทศน์ ให้เพื่อนยืม
ของ อาสาทำความสะอาดห้องปกครอง
ด้านความเมตตากรุณา สงเคราะห์ชีวิตสุนัขที่เป็นโรคเนื้องอก นำไปผ่าตัด และช่วยดูแลจน
หาย ให้อาหารสุนัขของคนข้างบ้านเวลาเขาไม่อยู่บ้าน
สรุปทัศนคต ิ มีความรู้ว่าการทำความดีเพื่อสังคมต้องเสียสละ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ ่ และมีเมตตา
กรุณา มีความรู้สึกว่าชอบทำ ทำแล้วดี ได้ประสบการณ์ มีความคิดว่าจะทำถ้าใครขอความช่วยเหลือ
สรุปนายสามอยู่ในครอบครัวที่มีความอบอุ่น มีความใกล้ชิดสนิทสนมกับบิดามารดา “เวลามี
ปัญหาจะปรึกษาบิดา จะมีเวลาคุยกันก่อนนอนทุกวัน” ทำให้มีความรักความผูกพันกับบิดามารดา
การเลี้ยงดูอบรมสั่งสอนให้พึ่งตนเองในวัยเด็กให้ดูแลตนเอง “กลับจากโรงเรียนอาบน้ำทานข้าว ทำการ
บ้าน และช่วยงานมารดา” เป็นกิจวัตรที่ได้รับการปลูกฝังจากการเลี้ยงดูมีผลทำให้นายสามรู้จักทำงาน
75
รับผิดชอบตนเอง ขยัน และการสอนให้รู้ว่า ถ้าทำดีจะได้รางวัล ถ้าทำผิดจะถูกลงโทษ และการได้รับ
โทษไม่ให้ทานข้าวเย็นเป็นผลให้นายสามเรียนรู้ว่าสิ่งใดควรทำและไม่ควรทำ ส่งผลให้นายสามเป็นคน
ที่มีความประพฤติดี ปฏิบัติตนตามกฎระเบียบของสังคมได้ และจากการเป็นแบบอย่างที่ดีของมารดา
ในการส่งเสริมให้ช่วยงานดูแลสุนัข นำสุนัขไปผ่าตัด จึงทำให้นายสามมีจิตใจดี มีเมตตา ชอบช่วย
เหลือเมื่อมีโอกาส ประกอบกับสภาพแวดล้อมทางโรงเรียนที่จัดกิจกรรมเอื้ออำนวยให้นายสามได้มี
ส่วนร่วมกิจกรรมจากการสนับสนุนของครูและมีกลุ่ม เพื่อนเข้าร่วมกิจกรรม เป็นตัวแทนไปอบรมลูก
เสือโลก เป็นรองหัวหน้ากลุ่มปิยมิตร เป็นตัวแทนไปแข่งหมากล้อม เป็นตัวแทนคณะกรรมการนักเรียน
ระดับชั้น ม.2 เข้าค่ายคุณธรรมได้ทำบุญบริจาคทรัพย์ช่วยน้ำท่วมภาคใต้ ช่วยทำความสะอาดห้อง
ปกครอง ให้เพื่อนยืมของ ช่วยเหลือเพื่อนเมื่อเพื่อนเดือดร้อน มีจิตใจเมตตาสัตว์
➀➀➀
กรณีศึกษาที่ 4นายสี่ เรียนอยู่ชั้น ม.3 อายุ 15 ปี เกรดเฉลี่ย 2.7 วิชาที่ชอบและเรียนได้ดีคือ
คณิตศาสตร์ ได้เกรด 3 ลักษณะบุคลิกภาพสุภาพเรียบร้อย พูดน้อย ขี้อาย มีเพื่อนน้อย จะสนิทกับ
เพื่อนต่างห้อง เมื่อมีเวลาว่างจะไปอยู่ที่ห้องกิจกรรมช่วยอาจารย์พิมพ์งานและทำงานตามที่ท่านมอบ
หมายให้ช่วย อยู่โรงเรียนจนเย็น(5โมงเย็น)จึงกลับบ้าน มีความรับผิดชอบเอาใจใส่เรื่องการเรียนของ
ตนเอง ทำการบ้านที่มอบหมายเสร็จที่โรงเรียน
สภาพแวดล้อมทางครอบครัว
สมาชิกในครอบครัวประกอบด้วย บิดามารดาและน้องอีก 2 คน บิดาและมารดามีอาชีพขาย
ข้าวหมูแดง บ้านอยู่ในซอยเป็นตึกแถว น้องเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษา 1 คนและ ยังไม่เข้าเรียนอีก 1 คน
เดิมครอบครัวอาศัยอยู่ที่จังหวัดสระแก้ว มีอาชีพทำไร่ และขายข้าวแกงด้วย
ความสัมพันธ์ในครอบครัว บิดามารดาจะช่วยกันทำอาหารขาย (ข้าวหมูแดง) แม่จะทำหน้าที่
หลักในการขายหน้าร้านส่วนพ่อจะช่วยและทำกับข้าว และเลี้ยงน้องอีกคนหนึ่งซึ่งยังไม่ได้เข้าเรียน
น้องชายจะเรียนหนังสืออยู่โรงเรียนใกล้ ๆ บ้าน ตัวนักเรียนเลิกเรียนแล้วกลับถึงบ้านประมาณ 4 โมง
เย็นก็ช่วยเก็บร้านบ้าง เมื่อมีเวลาว่างก็จะพูดคุยปรึกษาหารือกัน กับน้องก็สนิทกันเล่นกัน ช่วยสอน
หนังสือให้น้อง ไม่ค่อยทะเลาะกัน พ่อจะเป็นคนดุ ไม่ค่อยบ่น พ่อแม่ไม่ค่อยทะเลาะกันไม่ค่อยมีการลง
โทษเฆี่ยนตีจะว่ากล่าวตักเตือนด้วยวาจา
76
บรรยากาศในครอบครัว มีความอบอุ่นพ่อแม่จะดูแลเรื่องอาหารการกินไว้ให้ลูกๆ พี่น้องมี
ความสนิทสนมกันเล่นด้วยกัน สอนการบ้านให้น้อง เล่นกับน้อง
การเลี้ยงดู ในวัยเด็กพ่อแม่ให้นั่งรถประจำไปโรงเรียน พออยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก็ให้นั่งรถ
ประจำทางไปเอง ซึ่งโรงเรียนกับบ้านจะอยู่คนละอำเภอ พออยู่ชั้น ม.2 ก็ย้ายมาอยู่กรุงเทพฯนักเรียนก็
นั่งรถมาโรงเรียนเองเช่นกัน โดยส่วนใหญ่พ่อแม่จะปล่อยให้ทำอะไรเอง ดูแลตัวเอง ทำการบ้านเอง ไป
ไหนมาไหนก็ไปด้วยตนเอง ถ้าอยากไปไหนก็บอกก่อน ถ้าอนุญาตก็ไปได้ ไม่อนุญาตก็ไม่ไป ถ้าอยู่
โรงเรียนเย็นกลับบ้านไปก็จะบอกว่าไปทำอะไรมา จะมีเวลาพูดคุยกันตอนทานข้าวมื้อเย็น เวลา 1 ทุ่ม
เวลาอยากได้ของอะไรจะเก็บเงินซื้อเอง ถ้าเป็นอุปกรณ์การเรียนจะขอเงินพ่อ ของบางอย่างพ่อแม่จะ
ซื้อให้ จะไปเที่ยวดูหนังจะไปกับพ่อแม่ (ไม่บ่อยนัก) การอบรมสั่งสอน ไม่ได้เน้นเรื่องอะไร เวลาจะไป
ไหนมาไหนต้องบอกขออนุญาต พ่อแม่จะไม่ตามใจ จะควบคุมให้อยู่ในระเบียบวินัย ถ้านักเรียนจะทำ
อะไรก็สามารถทำได้ตามใจ การลงโทษจะใช้วิธีว่ากล่าวตักเตือน
ความรู้สึกเกี่ยวกับพ่อแม่ พ่อเป็นคนขยัน แม่ก็เป็นคนขยัน ดูแลเอาใจใส่ลูกดี
การเข้าร่วมกิจกรรมทางโรงเรียน ครั้งแรกครูชักชวนเข้ามาทำกิจกรรมเพราะสนิทกับเพื่อนที่มา
ทำงานกับอาจารย์ และได้ช่วยเหลือโรงเรียนด้วยการ 1. ช่วยงานหัวหน้าหมวดกิจกรรม 2. เข้าค่าย
อบรมคุณธรรม 3. ไปแข่งขันตอบปัญหา 4. เล่นดุริยางค์วงโรงเรียน 5. เข้าค่ายอบรมต่อต้านยาเสพติด
เหตุผลที่เข้าร่วมเพราะสมัครใจ อยากทำ อยากได้ความรู้ ทำงานแล้วมีความสุข ได้เพื่อน
การทำความดีเพื่อสังคม รู้ว่าการทำความดีเพื่อสังคมคือ การช่วยเหลือ แสดงถึงความมีน้ำใจ
คิดว่าตนเองได้ทำ ทำแล้วรู้สึกภูมิใจ แต่ยังไม่ได้คิดว่าจะทำอะไรต่อไป ถ้าใครขอความร่วมมือขอให้
ช่วยก็จะทำ เมื่อมีการเรี่ยไรขอบริจาคทรัพย์สิ่งของ ตนได้เคยบริจาคเงินให้เพราะสงสารเขาจึงให้ทุก
ครั้งที่มีการบริจาค เคยไปวัดทำบุญบ่อยๆ ไปคนเดียว จะไปวัดประยูรวงษ์ซึ่งอยู่ใกล้บ้าน มักจะไปเดิน
เล่น ไปไหว้พระ บางครั้งไปกับน้อง พ่อแม่ไม่ค่อยได้ไปวัด แต่ตัวนักเรียนชอบไป จะไปไหว้พระ
ไหว้เฉย ๆ ไม่ได้อธิษฐานอะไร ความคิดในอนาคต คิดอยากเรียนดี ๆ
สรุปและวิเคราะห์
สภาพแวดล้อมในครอบครัว
เป็นครอบครัวที่สมบูรณ์อยู่กันพร้อมหน้าพ่อแม่ลูก มีความสัมพันธ์กันด ี มคี วามอบอนุ่ พ่อแม่
ให้การดูแลเอาใจใส่ จัดการเรื่องอาหารการกินไว้ให้ ให้การอบรมสั่งสอนตามควรแก่กรณี สนับสนุนให้
ทำกิจกรรมตามสมควรแก่เหตุผล
77
บรรยากาศในครอบครัว มีความสุข อบอุ่น พ่อแม่ไม่บ่น ไม่ดุ ดูแลเอาใจใส่ตามหน้าที่ของพ่อ
แม่ รับประทานอาหารร่วมกัน พูดคุยปรึกษาหารือ พี่น้องสนิทสนมดูแลกันตามฐานะ พี่สอนน้อง พ่อ
แม่สอนลูก
วิธีอบรมเลี้ยงดู มีลักษณะการอบรมเลี้ยงดูแบบ 1. ให้พึ่งตนเอง คือให้แต่งตัวเอง ให้ไปไหนมา
ไหนเอง ไปโรงเรียนเอง ดูแลจัดการเรื่องการบ้านการเรียนด้วยตนเอง พ่อแม่ไม่ต้องควบคุมบังคับ รับ
ผิดชอบหน้าที่ของตนเอง 2. มีลักษณะการอบรมแบบใช้เหตุผล ดูแลให้อยู่ในระเบียบกฎเกณฑ์ จะไป
ไหนมาไหนต้องขออนุญาต ถ้าไม่อนุญาตไม่ให้ไป ให้อิสระในการคิดและการกระทำ
การอบรมสั่งสอน คอยดูแลควบคุมพฤติกรรมให้อยู่ในระเบียบกฎเกณฑ์ของสังคม ถ้าทำดีก็ส่ง
เสริม ถ้าทำอะไรไม่ดีก็จะห้ามปรามไม่สนับสนุน
ตัวแบบ บิดามารดา เป็นแบบอย่างการปฏิบัติตนตามหน้าที่ของบิดามารดา คอยสอดส่อง
ควบคุมพฤติกรรม ให้การสนับสนุนส่งเสริมตามควรแก่โอกาส
สภาพแวดล้อมทางโรงเรียน ครูมีบทบาทสำคัญในการดึงนักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจ
กรรมและการจัดกิจกรรมของโรงเรียนเปิดโอกาสให้เยาวชนได้เลือกกิจกรรมที่ตนสนใจและมีความ
ถนัดส่งผลให้เขาไปร่วมกิจกรรมภายนอกได้เช่น ไปแข่งขันตอบปัญหา เล่นดนตรีวงดุริยางค์โรงเรียน
เข้าค่ายอบรมคุณธรรม เข้าค่ายต่อต้านยาเสพติด เป็นคณะกรรมการนักเรียน บริจาคเงินช่วยอุทกภัย
ภาคใต้ ทำบุญกัณฑ์เทศน์
ทัศนคติต่อการทำความดีเพื่อสังคม รู้ว่าการช่วยเหลือเป็นการแสดงความมีน้ำใจ รู้สึกทำแล้ว
ภูมิใจที่ได้ทำ ถ้ามีคนขอความช่วยเหลือให้ทำก็ยินดีทำ
จากกระบวนการขัดเกลาทางสังคมที่นายสี่ได้เรียนรู้บทบาทหน้าที่ของพ่อแม่ที่ดีต่อบุตร ทำให้
บุตรเลื่อมใสศรัทธา การเลี้ยงดูให้พึ่งตนเอง ให้รับผิดชอบเรื่องการเรียนของตนเอง การอบรมสั่งสอนให้
ประพฤติปฏิบัติอยู่ในระเบียบกฎเกณฑ์ของสังคม ถ้าทำดีก็ส่งเสริม ถ้าทำไม่ดีก็ห้ามปรามไม่สนับสนุน
ส่งผลให้คิดเป็นรู้ว่าสิ่งใดควรทำและไม่ควรทำ การได้รับการชักชวนจากครู เพื่อน ให้มีส่วนร่วมในการ
ทำงานเพื่อสังคมจึงเป็นพื้นฐานของการประพฤติตนอยู่ในกรอบของสังคม และสภาพแวดล้อมของ
โรงเรียนเอื้ออำนวย มีเพื่อนที่เข้าร่วมทำกิจกรรมด้วยกัน มีอาจารย์คอยแนะนำเชิญชวนจึงมีโอกาสได้
ทำงานช่วยเหลือโรงเรียนอยู่เสมอ ประกอบกับมีความชอบพอ อยากทำเพื่อศึกษาประสบการณ์ ทำ
แล้วมีความสุข จึงส่งผลให้ทำความดีเพื่อสังคมอยู่เนื่องๆ
➀➀➀
78
กรณีศึกษาที่ 5 นายห้า เรียนอยู่ชั้น ม.4/5 อายุ 15 ปี เกรดเฉลี่ย 2.2 วิชาที่ชอบและเรียนได้ดีคือ
วิชาพระพุทธศาสนา นายห้าเป็นคนเรียบร้อย แต่งกายถูกต้องตามระเบียบ ตั้งใจเรียน แต่ทำกิจกรรม
เยอะ ชอบทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้เดือดร้อนและการเป็นผู้นำด้านคุณธรรม เช่น นำสวด
มนต์ในพิธีเคารพธงชาต ิ นาํ อาราธนาศลี เวลามพี ระเทศน์ ชว่ ยอาจารยซ์ อื้ ของ รว่ มวางแผนการจดั กจิ
กรรมร่วมกับอาจารย์ และวันหยุดก็เป็นหัวหน้าทีมนักเรียนบวรนิเวศถือกล่องรับบริจาคเงินช่วยคนตา
บอด
สภาพแวดล้อมทางครอบครัว
สมาชิกในครอบครัวประกอบด้วยตายายซึ่งเป็นผู้ดูแลตั้งแต่เกิดมาอยู่กับพ่อแม่ตอนอายุ 11-
12 ปีและก็ย้ายไปอยู่กับตาอีก ปัจจุบันเรียนอยู่ชั้น ม.4 อยู่คนเดียวที่ห้องพักทหารรักษาพระองค์ใน
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เหตุที่อยู่คนเดียวเพราะตาต้องย้ายไปอยู่กับยาย ตาเป็นทหารมหาดเล็ก
รักษาพระองค์แต่ปัจจุบันเกษียณแล้ว ส่วนยายขายของอยู่ลาดพร้าว “แม่กับพ่อหย่ากันแต่แม่ยังอยู่ที่
ห้องพักทหารของพ่อซึ่งอยู่ใกล้ๆกับห้องของตาซึ่งให้ผมอยู่” นักเรียนมีโอกาสไปพบแม่ทุกเช้า-เย็น แม่มี
อาชีพขายของ
ความสัมพันธ์ในครอบครัว “พ่อจะอยู่ที่บ้านพักวังนนทบุรีกับครอบครัวใหม่ แม่อยู่ห้องพักที่
ถนนสุโขทัยกับน้องสาว ซึ่งห้องอยู่ใกล้กับห้องที่ผมอาศัยอยู่ ปัจจุบันอยู่คนเดียวเวลามีปัญหาก็จะ
ปรึกษาตาซึ่งจะสนิทกับตามากกว่าพ่อแม่ ทุกเช้าก่อนไปโรงเรียนจะไปหาแม่ก่อนเพื่อทักทาย เย็นกลับ
จากโรงเรียนก็จะไปหาแม่เพื่อพบปะพูดคุยหรือช่วยขายของเล็กๆ น้อย ส่วนพ่อจะพบกันเดือนละครั้ง”
“ที่บ้านผมอยู่คนเดียวรู้สึกว่าเป็นตัวของตัวเองดี มีการคิดรอบคอบ แก้ปัญหาตัวเอง รับผิด
ชอบตัวเองทุกอย่างในบ้าน รู้สึกชอบอยู่คนเดียวมากกว่าที่จะอยู่กับพ่อแม่ เมื่อเหงาจะแก้ปัญหา
ด้วยการอ่านหนังสือ ความรู้สึกต่อพ่อแม่ รู้สึกว่าขาดความอบอุ่นนิดหน่อยแต่ดีว่ามีตายายคอยช่วย
เพราะอยู่กับตามาตลอด อยู่กับแม่ระยะสั้นๆ แต่เรื่องการเป็นผู้ปกครองที่โรงเรียนแม่จะเป็นและมา
ประชุมพบปะกับครู”
การอบรมเลี้ยงดู”ผมอยู่กับตายายตั้งแต่เกิด ตากับยายจะตามใจจะทำอะไรก็ให้ทำแต่ต้องมี
เหตุผลที่สมควร ท่านจะสอนเรื่องการทำความดี การทำงาน การช่วยงานบ้าน การช่วยเหลือสังคม
การขายของ สอนให้พึ่งตนเองตั้งแต่ 4-5ขวบ หาข้าวกินเองแต่งตัวเอง ไปกลับโรงเรียนเองตอน
อายุ 7-8 ขวบ ตอนเล็กๆตายายจะสอนให้สวดมนต์ไหว้พระ และพาไปฝากไว้กับพระให้อยู่กับ
79
พระ ท่านก็จะสอนให้ทำสิ่งต่างๆ สอนเลข สอนธรรมะ สวดมนต์ อ่านคำภีร์เทศน์ ซึ่งก็ได้นำมาปฏิบัติ
ในชีวิตประจำวัน คือสวดมนต์ทุกวัน นั่งสมาธิได้สอนคนอื่นด้วย ตากับยายจะเป็นคนใกล้วัดชอบทำ
บุญ ใส่บาตร อยู่บ้านก็จะสอนให้ช่วยทำโน่นทำนี่ ช่วยงานคนในบ้านญาติพี่น้อง ช่วยงานสังคมเช่น
กวาดใต้ถุนแฟลต สอนให้ไหว้ผู้ใหญ่ สอนให้เอื้อเฟื้อคือบอกให้บริจาคทรัพย์สิ่งของ แบ่งปันของให้
น้อง คือเมื่อซื้ออะไรมาให้ก็จะบอกว่าเอาไปแบ่งให้น้องด้วยให้เท่าๆกัน เมื่อเพื่อนบ้านเขามีงานก็จะ
ทำอาหารหม้อใหญ่ไปช่วยเขา ในเรื่องความเมตตาส่วนใหญ่จะเรียนรู้จากวัดคืออยากให้คนเป็นสุข
ก็ช่วยเหลือเขาเมื่อยามเดือดร้อน “
การปฏิบัติตนของตายาย “ท่านจะชอบไปวัดทำบุญทุกวันพระ แม่ก็ชอบทำบุญใส่บาตรและ
ไปวัดทุกวันพระ เวลาไปวัดก็จะพาผมไปด้วย”
กิจกรรมที่ทำเพื่อสังคม คือ 1. กิจกรรมซาเล้งถนนของหมอซ้ง 2.เข้าค่ายอบรมคุณธรรมและ
สวดมนต์ทุกเย็นวันศุกร์ในกิจกรรมต่อเนื่องของค่ายคุณธรรม 3. พาน้องๆ ไปฟังเทศน์ที่โบสถ์ของพุทธ
สมาคมโดยเป็นตัวแทนของอาจารย์หัวหน้าหมวดกิจกรรมให้ไปเพราะผมรู้จักกับคนที่เป็นหัวหน้า
ปฏิบัติกรรมฐาน อาจารย์ก็ให้นำน้องในโรงเรียนไปในวันเข้าพรรษา การเข้ามาร่วมกิจกรรมครั้งแรก
โดยทำโครงการซาเล้งถนนของหมอซ้ง อาจารย์เห็นว่าผมชอบก็เลยชวนเข้ามาทำกิจกรรมมากขึ้น ส่วน
ใหญ่จะเป็นด้านคุณธรรม 3. ถือกล่องรับบริจาคช่วยเหลือเด็กปัญญาอ่อน โดยไปทำในช่วงปีใหม่ เหตุ
ผลที่ทำเพราะใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ไม่ทำให้จิตใจกังวล หว้าเหว่ เพราะเคยคิดกังวลใจเกี่ยวกับ
ครอบครัวที่แยกกัน เกิดความคิดได้ว่า เราต้องใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์เหล่านี้ สิ่งที่ช่วยให้คิดตรงนี้
ได้คือ ธรรมะที่ว่าคนเราเกิดมาทุกคนต้องตาย เมื่อทำแล้วรู้สึกว่ามีคุณค่าต่อสังคมดีกว่าใช้เวลาว่างไป
ทำอย่างอื่นที่เสียประโยชน์ ความรู้สึกที่ได้ไปถือกล่องขอรับบริจาคเงินช่วยเด็กปัญญาอ่อน คิดว่าเป็น
เรื่องดี เป็นการช่วยเหลือเด็กปัญญาอ่อน ได้พูดเชิญชวนให้เขาบริจาคด้วย ทำ 4 วันได้เงินหลายแสน
บาทโดยตัวเองเป็นหัวหน้าของเด็กนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการถือกล่องรับบริจาค จะไปกันหลายจุด
ส่วนใหญ่เป็นจุดที่คนเยอะ ๆ เช่นศาลเจ้าพ่อหลักเมือง วัดพระแก้ว ฯ
ความรู้สึกที่ได้ทำกิจกรรมเพื่อสังคม “รู้สึกภูมิใจที่ได้สร้างคนให้เป็นคนดี เกี่ยวกับการที่คนต้อง
เสียสละคิดว่ามีน้อยคนนักในการที่จะทำเพื่อสังคม จะต้องเป็นคนเห็นแก่สังคม ประเทศชาติ ต้องเสีย
สละอย่างสูง ตัวเองคิดว่าเสียสละทางร่างกายและจิตใจพอสมควรทรัพย์สินถ้ามีจึงจะให้ค่อยๆทำไป
ปัจจุบันมีโครงการในอนาคตคือ โครงการอบรมคุณธรรมแกนนำเพื่อเป็นพี่เลี้ยงในรุ่นต่อไป วันที่2-5
มีนาคม 2545 จัดที่โรงเรียน โดยรับนักเรียนที่สนใจทั่วไปเข้าเป็นสมาชิก”
80
ความคาดหวังในอนาคตอยากเป็นนักสังคมสงเคราะห์ นักการศาสนา นักปรัชญา อยากเรียน
ธรรมไปด้วย เคยคิดจะบวชเมื่อจบ ม.3 แต่ตายายไม่ให้บวชอยากให้เรียนให้จบก่อนเพราะเป็นหลาน
ชายคนเดียว ตายายจะส่งเสียให้เรียน ส่วนพ่อไม่ค่อยได้ให้เพราะเขามีครอบครัวต้องดูแล
สรุปและวิเคราะห์
สภาพแวดล้อมในครอบครัว
เป็นครอบครัวที่แยกกันอยู่บิดาไปทาง มารดาอยู่ทางหนึ่ง ตัวเองอาศัยอยู่กับตาตั้งแต่เล็ก
ปัจจุบันอยู่คนเดียว ความสัมพันธ์ในครอบครัวผูกพันและ ได้รับความอบอุ่นจากตายาย หนักไปทางพึ่ง
ตนเองจนเกิดความเคยชิน และการอยู่กับตายายทำให้มีความใกล้ชิด มากกว่าพ่อและแม่ ตายาย
คอยให้คำปรึกษาหารือทุก ๆ เรื่อง แต่ส่วนใหญ่จะคิดเองและตัดสินใจเอง
บรรยากาศในครอบครัว ถึงแม้บิดามารดาจะแยกกันอยู่ แต่ชีวิตในช่วงวัยเด็กนายห้าได้รับ
การเลี้ยงดูด้วยความรักความเอาใจใส่จากตาและยายซึ่งเปรียบประดุจบิดามารดาให้การเลี้ยงดู ให้
การศึกษา อบรมสั่งสอนสร้างแบบแผนพฤติกรรมที่มั่นคงด้วยการปลูกฝังศีลธรรมจนเป็นผู้มีคุณธรรม
นำชีวิต
การอบรมเลี้ยงดู 1. ตายายรักสนับสนุนให้ทำสิ่งที่ดีที่ชอบ อบรมสั่งสอนปลูกฝังคุณธรรม การ
ทาํ ความด ี ไหว้พระ ทาํ บญุ ใสบ่ าตร ฟังเทศน ์ สวดมนต ์ นั่งสมาธ ิ สอนให้มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ รู้จัก
แบ่งปัน ให้บริจาคทรัพย์สิ่งของ การได้อบรมธรรม ฟังธรรม ส่งผลให้เป็นคนมีจิตใจดี มีเมตตา รู้จักคิด
เป็น แก้ปัญหาตนเองได้ ประกอบกับการเลี้ยงดูแบบให้พึ่งตนเอง สอนให้ทำงานตั้งแต่เด็กจึงเกิดการ
สั่งสมเป็นบุคลิกภาพของคนพึ่งตนเอง คิดและแก้ปัญหาในทางที่ถูกที่ควรโดยอาศัยหลักธรรมนำ
ปฏิบัติ
การเป็นแบบอย่าง มีตายายเป็นแบบอย่างของการทำความดี เป็นทั้งตัวแบบในการทำบุญ
บริจาคทรัพย์สิ่งของ และการสอนให้ปฏิบัติ สอนให้รู้จักช่วยเหลือคนอื่น รู้จักแบ่งปัน และฝึกอบรมให้
เป็นคนมีจิตใจดีมีเมตตากรุณา รู้จักทำงานเพื่อสังคม ทำเพื่อคนอื่นที่ตก ที่เดือดร้อน
การทำความดีเพื่อสังคม ได้ทำกิจกรรมเพื่อโรงเรียน คือพาน้องๆ ไปฟังเทศน์ เป็นพี่เลี้ยงโครง
การค่ายคุณธรรม ทำโครงการซาเล้งถนน ช่วยงานอาจารย์ตามที่ขอร้อง และมีโครงการเป็นของตนเอง
ความรู้สึกที่ได้ทำ คือภูมิใจที่ได้ทำให้คนเป็นคนดี ได้เสียสละกำลังกาย และจิตใจ ทรัพย์สินเพื่อคนอื่น
และมีความคิดที่จะทำเพื่อสังคมอีกในอนาคต เช่นโครงการอบรมคุณธรรมแกนนำ เป็นต้น
81
สภาพแวดล้อมทางโรงเรียน หลักสูตรของโรงเรียนมีกิจกรรมรองรับหลายๆด้านที่นัก
เรียนมีความถนัดและมีความสามารถเช่นกิจกรรมซาเล้งถนน กิจกรรมค่ายคุณธรรม กิจกรรมธรรม
เทศนา กิจกรรมปฏิบัติธรรม ซึ่งสอดคล้องกับความสามารถพิเศษที่เยาวชนมี มีครูที่รู้จักและเข้าใจเห็น
ความสามารถให้โอกาสในการทำงาน
ทัศนคติต่อการทำความดีเพื่อสังคม รู้ว่าการทำความดีเพื่อสังคมต้องเสียสละ ตัวเองได้เสีย
สละทั้งร่างกายและจิตใจ และภูมิใจที่ได้สร้างคนให้เป็นคนดี แล้วยังมีโครงการในการพัฒนาคนให้เป็น
คนดีอีก 1 โครงการคือ ค่ายคุณธรรมสำหรับเยาวชนแกนนำ อบรม 2-5 มีนาคม 2545
นายห้าถึงจะมีลักษณะครอบครัวที่แยกกันอยู่แต่นายห้ายังมีสายใยผูกพันกับบิดามารดา มีตา
ยายทำหน้าที่เป็นพ่อแม่ทดแทนพ่อแม่ผู้ให้กำเนิด ด้วยการเลี้ยงดู ให้การศึกษา อบรมสั่งสอน หล่อ
หลอมใหเ้ ปน็ คนดมี คี ณุ ธรรมดว้ ยการไปวดั ฟงั เทศน ์ สวดมนต ์ ไหว้พระ จนสามารถปฏบิ ตั ไิ ดต้ งั้ แตอ่ ายุ
3-4 ขวบนั่งสมาธิได้และสอนคนอื่นได้ นอกจากนี้ตายายยังเป็นแบบอย่างในด้านการทำความดี การ
เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือเพื่อนบ้านญาติมิตร ส่งผลให้นายห้าเกิดการซึมซับลักษณะของตายายซึ่งเป็น
ผู้เลี้ยงดูมาตั้งแต่เล็ก ๆ ซึ่งแสดงให้เห็นลักษณะการทำความดีเพื่อสังคมในเรื่องของคุณธรรม จริยธรรม
เช่น เป็นผู้นำสวดมนต์ จัดโครงการอบรมคุณธรรม เข้าค่ายคุณธรรม เป็นผู้นำนักเรียนไปวัดฟังเทศน์
ถือกล่องรับบริจาคเงินช่วยคนตาบอด เหล่านี้เป็นกิจกรรมที่เกิดจากการเป็นแบบอย่างและกระบวน
การขัดเกลาจากครอบครัวคือตาและยาย ประกอบกับสภาพแวดล้อมทางโรงเรียนเอื้ออำนวยให้มีกิจ
กรรมต่าง ๆ ที่ตอบสนองความถนัดความสามารถของเยาวชนผู้นี้
❋❋❋
กรณีศึกษาที่ 6 นายหก เป็นนักเรียนชั้น ม.4/5 อายุ 16 ปี เกรดเฉลี่ย 2.6 วิชาที่ชอบและทำ
คะแนนได้ดีคือภาษาอังกฤษและภาษาไทย ได้เกรด 3 ลักษณะบุคลิกภาพเป็นคนสุภาพเรียบร้อย แต่ง
กายดีถูกต้องตามระเบียบของโรงเรียน มีความรับผิดชอบ สุภาพอ่อนน้อม มีสัมมาคารวะต่อครู
อาจารย์ มีจิตใจดี ให้ความร่วมมือ อยากช่วยเหลือโรงเรียนด้วยการเป็นคณะกรรมการทำงาน มีความ
สามารถดา้ นดนตรเี ปน็ ผคู้ มุ วงดรุ ยิ างค ์ เป็นผู้นำกองเชียร(์ รีดเดอร์) มีความสามารถด้านการแสดงโขน
สภาพแวดล้อมทางครอบครัว
ในครอบครัวอาศัยอยู่รวมกัน 6 คน ประกอบด้วย บิดา มารดา ยาย พี่ชาย ตัวและน้อง ชาย
บิดาประกอบอาชีพเป็นครูสอนวิชากฎหมายและวิชาดนตรี จบการศึกษานิติศาสตร์บัณฑิต รายได้
82
เดือนละ 11,000 บาท มารดามีอาชีพเป็นครูสอนดนตรีสากล จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชา
ชีพ รายได้เดือนละ 6,000 บาท การทำงานไปเช้ากลับเย็น ทั้งคู่เป็นคนกรุงเทพฯ
ความสัมพันธ์ในครอบครัว ทุกคนในครอบครัวจะมีความสนิทสนมกันดีไม่ทะเลาะกัน ไม่พูด
จาหยาบคาย นานๆ จะทะเลาะกับน้องสักครั้ง ถ้ามีเรื่องทะเลาะกันบิดาจะตัดสินโดยดูต้นเหตุแล้วลง
โทษตามเหตุผล และจะสอนทุกครั้งที่ทะเลาะกัน บิดามารดาจะไปสอนหนังสือแต่เช้าโดยมีตัวนักเรียน
ออกมาพร้อมมารดา ส่วนบิดาอาจจะกลับบ้านช้ากว่าทุกๆ คน คุณยายจะเป็นคนทำอาหารเย็นไว้ให้
ทุกคน และจะทานข้าวพร้อมกัน ยกเว้นวันไหนบิดากลับดึก เสาร์-อาทิตย์จะทานร่วมกันเป็นประจำ จะ
ดูทีวีด้วยกัน พูดคุยปรึกษาหารือกัน
การอบรมเลี้ยงดู บิดาจะสอนหนังสือและดนตรีให้ลูกๆ ทุกวัน สอนแต่งเพลง สอนการปฏิบัติ
ตนให้กับลูกๆ เช่นพี่ชายมีแฟน พ่อก็จะสอนว่าให้คบกันเป็นเพื่อนไปก่อน อย่าเพิ่งมีแฟนในตอนนี้ ให้
ตั้งใจเรียนหนังสือ สอนสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำ สอนให้ทำหน้าที่ให้ดี ตั้งใจทำอย่างจริงจังมีอะไรช่วย
เหลือสังคมได้ก็ต้องช่วย ไม่ให้เห็นแก่ตัว ส่วนมารดาจะสอนวินัยให้กับลูกๆ แม่เป็นคนมีวินัย สอนกิจ
วัตรประจำวัน การพูดจา สอนให้เป็นคนไม่พูดจาหยาบคาย สอนระเบียบวินัย ตอนเล็กๆ แม่จะดูแลใน
เรื่องการรับประทานอาหาร พาไปส่งโรงเรียนจนถึง ม.1 พอ ม.2 จึงปล่อยให้ไปเอง แม่จะคอยห่วงใย
เอาใจใส่ ช่วยดูแลการเรียนจนถึง ม.3 “แม่เห็นว่าผมจัดการรับผิดชอบการเรียนได้แล้วจึงปล่อยให้ผม
จัดการปัญหาการเรียนเอง และจะสอนเรื่องวิธีเรียน เรียนอย่างไรให้เก่ง” ส่วนคุณยายจะมีหน้าที่ช่วย
ทำอาหารเย็นไว้ให้ ดูแลบ้านเมื่อไม่มีคนอยู่ คุณยายเป็นคนมีความเชื่อโบราณ มักจะสอนความเชื่อ
เก่าๆ เช่นจิ้งจกร้องคุณยายจะเคาะพื้น คอยเตือนให้จัดเก็บที่นอนของตัวเอง หรือบางครั้งถ้านักเรียนมี
งานที่โรงเรียนกลับบ้านค่ำ คุณยายก็จะช่วยทำให้ ที่บ้านต้องนอนตามเวลาที่กำหนด จะไม่เกิน 5 ทุ่ม
ครึ่ง ห้ามใส่รองเท้าเข้าบ้าน ล้างมือล้างเท้าก่อนเข้าบ้าน
การทำความดีเพื่อสังคม เรื่องการช่วยเหลือคนอื่น ทำบุญให้ทาน ถ้ามีการขอบริจาคก็ทำ วัน
ไหนมาโรงเรียนกับพ่อก็จะซื้อของใส่บาตรและจะใส่บาตร ในวันเกิดของทุกคน จะเรียนรู้ธรรมะจาก
หนังสือธรรมะที่บ้านเพราะพ่อชอบ สนใจอ่าน คุณตาก็อ่านหนังสือพระ การบริจาคสิ่งของ เงิน บริจาค
เสื้อผ้า ได้มีโอกาสทำตอนน้ำท่วมภาคใต้ แม่บริจาคเงิน
ลักษณะนิสัย”ตัวเองมีนิสัยชอบเผื่อแผ่คนอื่นคืออยู่ดีๆก็ให้ของคนอื่นไป แต่ทำไปแล้วก็ไม่ค่อย
คิดอะไร ชอบให้ของคนอื่นตั้งแต่ ม.1 ม.2 ตอนอยู่ ม.4 รู้ว่าการได้ช่วยคนอื่นรู้สึกดีเหมือนกัน จากการ
ได้เข้าร่วมกิจกรรมรู้สึกว่าได้ประโยชน์ ได้วิชาติดตัวคิดว่าอาจเกิดประโยชน์ในวันข้างหน้า
83
การทำประโยชน์แก่คนที่เรารัก ที่น่าสงสาร เขาได้ประโยชน์เราก็ดีด้วย คนที่เป็นผู้ให้ เป็นคนที่มีคุณ
ค่า การให้ต้องให้ตามสภาพความพร้อมของตัวเอง ด้านความเมตตา เคยเห็นหมาถูกรถเมล์ทับรู้สึก
สงสาร”
การทำประโยชน์ให้โรงเรียน เป็นเลขาคณะ เป็นรีดเดอร์ ต้องทำกิจกรรมหลายอย่าง เช่น
กิจกรรมแห่เทียน รีดเดอร์คณะอรพินทร์ และคิดว่าปีหน้าจะทำกิจกรรมต่อไป
ความรู้สึกเกี่ยวกับการทำกิจกรรมเพื่อโรงเรียน “คิดว่าคนอื่นจะได้รู้ว่าบางลำพูมีโรงเรียนดีๆ
การทำงานก็รู้สึกเหนื่อย เสียเวลาส่วนตัว เสียเวลาอ่านหนังสือ แต่ตัวเองคิดว่าจะหาเวลาชดเชยได้
และจะทุ่มเทให้กับการเรียนมากขึ้นถ้าทำงานเพื่อสังคมเสร็จสิ้นหมดก่อนก็จะสะสางงานส่วนตัว แต่
การทำงานสังคมต้องรักษาชื่อเสียง รับผิดชอบเรื่องการเรียนด้วย” การเข้าร่วมกิจกรรมเพราะอยากได้
ประสบการณ์ดีๆในวัยเรียนเป็นพื้นฐานของการเรียนในมหาวิทยาลัย กิจกรรมช่วยฝึกให้เราทำกิจกรรม
เป็น โรงเรียนได้เปิดกิจกรรมเอื้อให้เราได้มีส่วนร่วม ทำแล้วรู้สึกเหนื่อย แต่ก็ดีเมื่องานผ่านไปแล้ว
ประสบความสำเร็จ เพราะได้ทำงานเยอะ ในการทำกิจกรรมทำด้วยใจ ไม่ได้หวังสิ่งตอบแทน เคยคิด
อยากได้ แต่พ่อสอนว่า”อย่าอยากได้อะไรให้มาก ให้ทำให้กิจกรรมเสร็จสิ้นให้ดีที่สุด อย่าหวังสิ่งตอบ
แทน”
สรุปและวิเคราะห์
สภาพแวดล้อมทางครอบครัว เป็นครอบครัวขยาย อยู่ร่วมกันระหว่างพ่อแม่ลูกและยายซึ่งเป็น
ญาติผู้ใหญ่คอยช่วยอบรมสั่งสอน ช่วยดูแลบ้าน มีกฎระเบียบปฏิบัติร่วมกัน พ่อแม่มีเวลาดูแลเอาใจ
ใส่ อบรมสั่งสอนขัดเกลาให้อยู่ในกรอบระเบียบ มีการช่วยเหลืองานซึ่งกันและกันเช่นยายช่วยหลาน
พ่อและแม่ช่วยกันอบรมสั่งสอนบุตร
บรรยากาศในครอบครัว บิดามารดามีความใกล้ชิดสนิทสนม มีเวลาในการดูแลเอาใจใส่ให้
ความรักความอบอุ่นด้วยการสอนร้องเพลงแต่งเพลงเล่นดนตรี พี่น้องมีความใกล้ชิดสนิทสนมกัน มี
ความสงบสุขในครอบครัว ไม่มีการทะเลาะเบาะแว้ง ถ้ามีปัญหาระหว่างพี่น้องจะได้รับการตัดสินที่
ยุติธรรม สอนและลงโทษด้วยเหตุเหตุและผล กิจกรรมในครอบครัวได้ดูทีวี ร่วมกัน รับประทานอาหาร
ร่วมกัน บิดามารดานำให้ทำในสิ่งที่ดีมีคุณค่า เช่นการพูดจาที่สุภาพ การปฏิบัติที่เป็นลักษณะนิสัยที่
เป็นผู้มีวินัย ส่งเสริมสนับสนุนให้ลูกได้ทำกิจกรรมที่สนใจเช่น เป็นผู้คุมวงดุริยางค์ เป็นรีดเดอร์ เป็นต้น
การอบรมเลี้ยงดู บิดามารดาส่งเสริมสนับสนุนให้เรียนให้ดี ตั้งใจเรียน ช่วยสอนหนังสือ อบรม
กริยามารยาท การพูดจา สอนให้เป็นผู้มีระเบียบวินัย เช่นให้นอนไม่เกิน 5 ทุ่มครึ่ง เข้าบ้านให้ถอดรอง
84
เท้าล้างมือล้างเท้าก่อนเข้าบ้าน ไม่ให้พูดจาหยาบคาย ไม่ได้บังคับแต่มีวิธีการสอนด้วยการฝึกปฏิบัติ
ให้เคยชินจนเป็นนิสัย จะส่งเสริมให้ลูกทำในสิ่งที่ต้องการโดยให้ข้อคิดว่า “จะทำอะไรต้องตั้งใจทำ ทำ
หน้าที่ให้ดี ตั้งใจทำอย่างจริงจัง มีอะไรช่วยสังคมได้ก็ต้องช่วย ไม่ให้เห็นแก่ตัว” คอยดูแลเอาใจใส่เรื่อง
การเรียน ให้รับผิดชอบตัวเอง รับ-ส่ง ไปโรงเรียนตั้งแต่เล็ก ๆ จนเข้าเรียนชั้น ม.2 จนคิดว่าพึ่งตนเองได้
แล้วจึงปล่อยให้รับผิดชอบตัวเอง ดังนั้นจึงสรุปว่าได้รับการเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุน
การทำความดีเพื่อสังคม ด้านการช่วยเหลือโรงเรียนได้ทำกิจกรรมเพื่อโรงเรียนคือ เป็นผู้คุมวง
ดุริยางค์ เป็นพี่เลี้ยงสามเณรในกิจกรรมบรรพชาสามเณรโดยเป็นพี่เลี้ยงในการจำวัดคอยดูแลจัดหา
อาหารเป็นพี่เลี้ยงในการบิณทบาตร แสดงโขนในงานแห่เทียนจำนำพรรษา เป็นรีดเดอร์ของคณะใน
งานกีฬาสี และเป็นตัวแทนไปอบรมเรื่องเอดส์
ลักษณะความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เคยหยิบยื่นของให้ผู้อื่นอยู่บ่อยๆ บริจาคเงินช่วยน้ำท่วมภาคใต้
ทำบุญใส่บาตรตามเทศกาล
ลักษณะความเมตตากรุณา มีจิตใจดี สงสาร เห็นใจสัตว์ผู้ตกยาก
ทัศนคติต่อการทำความดีเพื่อสังคม รู้ว่าการทำความดีเพื่อสังคมต้องเสียสละทุ่มเท แต่ก็ทำ
และทำเพื่อส่วนรวมก่อน ส่วนตัว เช่นทำงานเพื่อคณะสีให้เสร็จก่อนจึงมาสะสางเรื่องการเรียนของตัว
เอง ทำแล้วเห็นคุณค่าว่ามีประโยชน์เมื่องานสำเร็จและคิดว่าจะได้ประโยชน์จากการทำกิจกรรม และ
ถ้ามีโอกาสก็จะทำกิจกรรมที่ตนได้รับมอบหมายหน้าที่มา เช่น เป็นตัวแทนคณะกรรมการคณะสีซึ่งจะ
ต้องทำหน้าที่นำคณะและพัฒนาคณะสีของตนต่อไปในปีการศึกษาหน้า
สรุปนายหกอยู่ในครอบครัวที่มีบรรยากาศอบอุ่นเต็มไปด้วยความรักความเข้าใจของบิดา
มารดาและยาย มีความใกล้ชิดสนิทสนมกับบิดามารดาที่ร่วมกันอบรมสั่งสอนให้มีความรู้ ความ
สามารถพิเศษด้านดนตรีและวิชาการ และอบรมกิริยามารยาทให้เป็นคนสุภาพอ่อนน้อม”ให้ตั้งใจ
ทำงาน ทำหน้าที่ให้ดี ทำอย่างจริงจัง มีอะไรช่วยเหลือสังคมได้ให้ช่วย”ซึ่งเป็นการปูพื้นฐานแห่งการทำ
ความดีเพื่อสังคมให้เยาวชน ประกอบกับการเป็นแบบอย่างของบิดาและมารดาด้านความเสียสละ
การช่วยเหลือส่วนรวม ส่งผลให้นายหกซึมซับลักษณะนิสัยการทำความดีเพื่อสังคมมาใช้ในการดำเนิน
ชีวิต
➀➀➀
กรณีศึกษาที่ 7 นายเจ็ดเรียนอยู่ชั้น ม.3/2 อายุ 14 ปี เกรดเฉลี่ย 2.16 ชอบเรียนวิชาโครง
งานอาหารและทำคะแนนได้ดี เกรด 4 ลักษณะบุคลิกภาพเป็นคนช่างพูด ช่างเจรจา ชอบเข้าหาครูช่วย
85
ครูทำโน่นทำนี่แล้วแต่จะใช้ เคยเป็นหัวหน้าห้อง การแต่งกายเรียบร้อยประพฤติตนดีอยู่ในระเบียบวินัย
กิจกรรมที่ทำช่วยครูจัดต้นเทียน สมัครเข้าค่ายอบรมคุณธรรม สมัครบวชเณรเพื่อเทอดพระเกียรติ
สมเด็จพระบรมราชินีนาถเนื่องในวันแม่แห่งชาติ และช่วยงานอาจารย์ห้องวัดผล ห้องพยาบาล เป็นต้น
สภาพแวดล้อมทางครอบครัว
สมาชิกในครอบครัวอยู่ร่วมกัน 4 คน ประกอบด้วยบิดา มารดา พี่ชายและตัวเอง บิดา
ประกอบอาชีพเป็นลูกจ้างโรงพิมพ์ทำหน้าที่หัวหน้าฝ่ายพิมพ์ มารดาขายสาคูไส้หมูอยู่ตลาดนางเลิ้ง
การศึกษาจบประถมศึกษาปีที่ 4ทั้งสองคน อาศัยอยู่อาคารพาณิชย์ตรงข้ามตลาดนางเลิ้ง คนในชุมชน
ค่อนข้างจะสนิทกันและจะจัดงานร่วมกันทุกปีเช่นงานปีใหม่ สงกรานต์ และร่วมกันทำความสะอาด
ซอยทุกปี ทุกคนจะช่วยกัน นักเรียนก็ไปร่วมด้วยทุกครั้งที่มีงาน
ความสัมพันธ์ในครอบครัว พ่อจะไปทำงานโรงพิมพ์กลับประมาณ2-3 ทุ่ม แม่ขายของและ
คอยดูแลเรื่องอาหารการกิน กับพี่ชายไม่ค่อยสนิทกัน จะสนิทกับแม่มากมีอะไรจะปรึกษาแม่ ไม่ค่อย
จะออกไปเล่นนอกบ้านส่วนใหญ่จะชวนเพื่อนไปเล่นด้วยที่บ้านเพราะแม่ไม่ค่อยให้ออกไปไหน พ่อไม่
ค่อยมีเวลาดูลูกเพราะพ่อทำงานหาเงินให้ครอบครัว พ่อจะเป็นคนดุ พูดตรงไปตรงมา ไม่สูบบุหรี่ กิน
เหล้าเมาแล้วใจดี ส่วนแม่เป็นคนเก็บเงิน พ่อแม่เป็นคนมีเหตุผล จะไปไหนไปทำอะไรจะถามเหตุผล
ภายในครอบครัวไม่ค่อยทะเลาะกันส่วนใหญ่อยู่กันอย่างมีความสุข เมื่อมีเวลาว่างจะไปเที่ยวนอกบ้าน
ด้วยกัน คิดว่าครอบครัวตนเองมีความสุขมากจนคนแถวบ้านยังอิจฉา
การอบรมเลี้ยงดู พ่อไม่ค่อยมีเวลาดูแลลูกแต่จะสอนให้ประหยัดเงิน และสอนเรื่องการปฏิบัติ
ตัวเช่นพี่ชายเป็นหนุ่มแล้วเริ่มมีแฟนพ่อก็สอนว่ารักใครก็รักแต่พอประมาณ ส่วนแม่จะสอนให้ทำงาน
ให้ทำกับข้าว ซักผ้า ถูบ้าน ตอนเล็กๆ เริ่มไปโรงเรียนแม่จะไปส่งวันแรกๆ แล้วก็ให้ไปโรงเรียนเองเพราะ
โรงเรียนอยู่ใกล้บ้าน ตั้งแต่ประถมศึกษาปีที่ 1 จนถึงปัจจุบันไปไหนไปเอง บางครั้งไปส่งของให้แม่ ไป
ซื้อของ ปัจจุบันแม่มักจะสอนให้ตั้งใจเรียนเพราะพ่อแม่จบแค่ ป.4 เรียนมาน้อย อาเป็นครูสอนดนตรี
ไทย อาก็สอนให้ขยัน ตั้งใจเรียน อยู่บ้านจะช่วยแม่ถูบ้านก่อนที่พ่อจะกลับ แล้วอ่านหนังสือทุกเย็น พี่
ชายจะทำอะไรไม่ค่อยเป็น แม่ก็ไม่ใช้งาน ส่วนใหญ่นักเรียนจะคุกคลีอยู่กับแม่ เวลาจะไปไหนมาไหน
แม่ก็จะเตือน จะสอน จะห่วงใย และจะถามว่า “ตังพอไหม” แล้วก็สอนให้ทำตัวดีๆ “อย่าโลดโผน” ถ้า
ไปไหนไม่บอกแม่ก็จะทำโทษด้วยการตีด้วยไม้แขวนเสื้อ หรือบางครั้งก็กักบริเวณไม่ให้ออกจากบ้าน
แต่พอโตแล้ว แม่จะพูดด้วยเหตุผล ตอนเล็กๆ เคยคิดว่าแม่ไม่รักตัวเอง รักพี่ชายมากกว่าเลยคิดจะฆ่า
ตัวตาย โดยเอามีดมาแล้วร้องไห้ถามแม่ว่า “รักเขาไหม” แม่บอกว่ารักลูกเท่ากัน แต่พี่ชายก็คิดว่ารัก
86
น้องมากกว่า ส่วนใหญ่แล้วกับพี่ไม่ค่อยสนิทกันนัก แม่มักจะสอนในเวลาว่างว่า”ใครทุกข์ยากอย่างไร
ช่วยเขาได้ก็ช่วย” แม่จะเป็นคนใจดี ชอบทำบุญ ช่วยเหลือคน แม่เคยไปทำบุญที่วัดพระบาทน้ำพุ พา
ตนไปด้วย ไปกับคนแถวบ้าน ตนได้เห็นคนเป็นเอดส์ ไปถึงก็เห็นเขาตายพอดี รู้สึกสงสาร
การทำความดีเพื่อสังคม การช่วยเหลือเคยช่วยคนจน ช่วยเด็กสลัมคลองเตย ช่วยคนแก่ใน
ซอยเขาถูกลูกทิ้งให้อยู่บ้านบางแค ตนได้ไปเยี่ยมคนแก่คนนั้นแล้วรับฟังการระบายทุกข์แล้วนำไปบอก
ลูกของยาย ในที่สุดลูกชายเขารู้สำนึกกลับตัวได้ไปขอโทษแม่ ช่วยครูทำงาน เช่นไปนั่งห้องวัด
ผลอาจารย์มีอะไรก็ใช้ให้ทำ หรืออาจารย์ประจำชั้นก็ใช้ให้ดูแลเพื่อนๆในห้อง ใช้ทำงานแล้วแต่
“อาจารย์เห็นว่าผมใช้ง่ายก็ชอบเรียกใช้เช่นอาจารย์พยาบาลใช้ให้ไปซื้อของ อาจารย์ท่านอื่นก็ฝากผม
ซื้อสาคู ซื้อกับข้าวจากตลาดนางเลิ้งเป็นประจำเพราะเห็นว่าบ้านผมอยู่ตลาดนางเลิ้ง แต่เวลาอาจารย์
ใช้ผมจะไม่ได้รับทุกงาน งานไหนทำได้ก็ทำทำไม่ได้ก็ปฏิเสธ ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีเพื่อสนิทเวลาว่างก็
จะมาหาครู มาถามเลขบ้าง มาคุยบ้าง ไม่ค่อยชอบเล่นกับเพื่อนเพราะที่ห้องเพื่อนชอบเล่นแรงๆ อยู่
กับเพื่อนก็มีแต่เล่นอย่างเดียว อยากให้เพื่อนในห้องเป็นเด็กดีเหมือนเพื่อนห้อง 7 ห้อง 2เป็นห้องที่
เรียนไม่เก่งแล้วเด็กส่วนใหญ่จะเล่นรุนแรง ซน หนีเรียน โดดเรียน กันเป็นประจำ” สรุปเพื่อนในห้องไม่
เรียบร้อยและเรียนไม่เก่ง ไม่ตั้งใจเรียน การที่ได้รับเกียรติบัตรด้านบำเพ็ญประโยชน์เพราะชอบไป
ช่วยเหลืออาจารย์เป็นประจำ เวลาโรงเรียนมีงานก็มาช่วย มีกิจกรรมด้านคุณธรรมก็มาอบรม โรงเรียน
รับสมัครบวชเณรถวายเป็นพระราชกุศลสมเด็จพระสังฆราช ก็มาสมัครด้วยตนเอง ไม่ได้มีใครบอก
“ผมอยากทำเพราะอยากได้ความรู้ ได้ประสบการณ์ อยากให้โรงเรียนจัดกิจกรรมที่เด็กสนใจ ได้แก่กิจ
กรรมดนตรี กีฬา เด็กจะได้แสดงออก”
ความรู้สึกที่ได้ทำความดีเพื่อสังคม ได้ช่วยคนเพราะอยากช่วยรู้สึกสงสารเขา บางครั้งก็ช่วยถือ
ของเช่นเวลาอาจารย์ถือของมาเยอะเห็นแล้วก็อยากช่วยก็ไปช่วยถือ เคยจูงคนแก่ข้ามถนน คนตาบอด
ช่วยบริจาคสิ่งของตอนน้ำท่วมภาคใต้ บริจาคเงิน แม่รวบรวมให้ คนในซอยด้วย
สรุปและวิเคราะห์
สภาพแวดล้อมทางครอบครัว
ครอบครัวอยู่กันพร้อมหน้าพ่อแม่ลูก บิดาทำหน้าที่หาเลี้ยงครอบครัว มารดาช่วยหาเลี้ยง
ครอบครัวและดูแลบ้านอบรมสั่งสอนดูแลเอาใจใส่ลูกตามควรแก่ฐานะ มีการพบปะสมาคมกับคนใน
ชุมชนและร่วมมือกันพัฒนาชุมชน ร่วมกันทำประโยชน์เพื่อชุมชน ในครอบครัวไม่ค่อยทะเลาะเบาะ
แว้งอยู่กันอย่างสงบสุข
87
บรรยากาศในครอบครัว เต็มไปด้วยความรัก ความเห็นใจ การช่วยเหลือกัน มีความเป็นอยู่
อย่างสงบสุข ไม่ทะเลาะกัน พ่อทำหน้าที่หาเลี้ยงครอบครัวอบรมสั่งสอนบุตรให้อยู่ในโอวาท แม่ช่วยดู
แลเอาใจใส่ อบรมสั่งสอน ให้ปฏิบัติตนตามขนบธรรมเนียมประเพณี ทำกิจกรรมร่วมกันช่วยกันทำงาน
ภายในบ้าน พูดคุยปรึกษาหารือกัน ไปเที่ยว ไปทำบุญด้วยกัน
การอบรมเลี้ยงดู มีลักษณะการอบรมเลี้ยงดูแบบใช้เหตุผล คือจะไปไหนมาไหนให้บอก ถ้าทำ
ผิดจะได้รับโทษ และ สอนให้พึ่งตนเอง ให้ทำงาน ทำกับข้าว ให้ไปเรียนเองจน และ สอนให้ปฏิบัติ
เช่นสอนว่าถ้าใครเขาทุกข์ช่วยเขาได้ก็ช่วย เป็นต้น
การเป็นแบบอย่าง แม่จัดประสบการณ์ตรงและเป็นแบบอย่างด้านการทำความดี คือ1. พาไป
วัดพระบาทน้ำพุให้เห็นความทุกข์น่าเวทนา การรวบรวมทรัพย์สิ่งของไปบริจาคและให้ตัวนักเรียน
ปฏิบัติด้วย พาไปสลัมคลองเตยเพื่อช่วยเหลือคนยากจน 2. สอนให้ปฏิบัติ เช่นสอนว่าถ้าใครเขาทุกข์
ช่วยเขาได้ก็ช่วย เป็นต้น
สภาพแวดล้อมในโรงเรียน ครูมีบทบาทสำคัญในการให้ความใกล้ชิดและส่งเสริมให้เยาวชน
ทำความดีเพื่อสังคมและการจัดกิจกรรมของโรงเรียนเปิดโอกาสให้เยาวชนได้แสดงออกถึงพฤติกรรมที่
ได้รับการถ่ายทอดมา
ทัศนคติต่อการทำความดีเพื่อสังคม ได้ปฏิบัติทั้งการช่วยเหลือคนที่พบเห็นและพยายามที่จะ
เรียนรู้ ได้เห็นแล้วรู้สึกสงสารเห็นใจอยากช่วยเหลือ เช่นได้เห็นคนเป็นเอดส์ทั้งกำลังตายและยังไม่ตาย
เกิดความสงสารเห็นใจ ได้ช่วยเหลือคนแก่ คนตาบอด ช่วยครูอาจารย์ อยากช่วยเพื่อนให้ตั้งใจเรียน มี
ความคิดอยากทำถ้ามีโอกาส
สรุปนายเจ็ดอยู่ในสภาพแวดล้อมของครอบครัวที่อบอุ่นได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด
จากมารดาซึ่งคอยอบรมสั่งสอนให้ทำกับข้าว ให้ช่วยแม่ทำงาน ให้พึ่งตนเองช่วยตนเองทุกอย่างซึ่ง
ลักษณะความผูกพันกับมารดาส่งผลให้เยาวชนผู้นี้ชอบอยู่กับครูใกล้ชิดกับครูมากกว่าที่จะคบหา
สมาคมกับเพื่อน ๆ ในห้อง ประกอบกับการเป็นแบบอย่างของมารดาที่เป็นคนมีจิตใจดี ช่วยเหลือเอื้อ
เฟื้อกับคนในชุมชนทั้งปฏิบัติตนให้เห็นถึงการเป็นผู้มีจิตใจดี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีเมตตาด้วยการพาไปวัด
พระบาทน้ำพุ พาไปสลัมคลองเตย เพื่อช่วยเหลือคนที่ตกทุกข์ ซึ่งเยาวชนผู้นี้ได้รับประสบการณ์ตรงใน
การปฏิบัติตนเมื่ออยู่ในโรงเรียน ครูมีบทบาทสำคัญในการช่วยส่งเสริมให้ได้ทำกิจกรรมการช่วยเหลือ
และกิจกรรมภายในโรงเรียนเปิดโอกาสให้เลือกทำตามความถนัดความสามารถนายเจ็ดจึงมีส่วนได้
แสดงพฤติกรรมการทำความดีเพื่อสังคมดังกล่าว
88
➀➀➀
กรณีศึกษาที่ 8 นายแปดเป็นนักเรียนชั้น ม.4/5 อายุ 15 ปี เกรดเฉลี่ย 3.1 วิชาที่ชอบและทำคะแนน
ได้ดีคือคณิตศาสตร์ได้เกรด 4มาตลอด ลักษณะบุคลิกภาพเป็นคนสุภาพเรียบร้อย ขยัน ตั้งใจเรียนนั่ง
หน้าชั้นทุกวิชาที่เรียน ประพฤติปฏิบัติตนเป็นนักเรียนที่ดี ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ช่วยเหลือ
เมื่อมีโอกาสเช่นเป็นพี่เลี้ยงสามเณรเมื่อครูขออาสาสมัคร ไปแข่งขันตอบปัญหาทางวิชาการ เข้าร่วม
อบรมสิ่งแวดล้อม
สภาพแวดล้อมทางครอบครัว
สมาชิกในครอบครัวอยู่กัน 3 คน คือ บิดา มารดา และตัวนักเรียน บิดาประกอบอาชีพเป็นลูก
จ้างขับรถให้เจ้านาย รายได้เดือนละ 11,000 บาท การศึกษาจบประถมศึกษาปีที่ 4 มารดามีอาชีพขาย
ของชำ รายได้เดือนละ 10,000 บาท การศึกษาจบประถมศึกษาปีที่ 4 บิดาเป็นคนกรุงเทพ มารดาเป็น
คนสมุทรปราการ บิดาไปทำงานเช้าไป-เย็นกลับ มารดาขายของอยู่ใกล้บ้านพัก ร้านขายของอยู่ใต้ถุน
แฟลต
ความสัมพันธ์ในครอบครัว อยู่กัน 3 คนพ่อแม่ลูก มีความสนิทสนมกันดี ส่วนใหญ่ตนจะสนิท
กับแม่ พูดคุยกับแม่ มีอะไรก็บอกแม่ แล้วแม่จะบอกพ่ออีกต่อหนึ่ง จะมีกิจกรรมไปเที่ยวร่วมกัน ทำ
บุญตามเทศกาลต่างๆ รับประทานอาหารพร้อมกันนอกจากบางวันที่พ่อกลับดึก ภาระกิจของพ่อเมื่อมี
เวลาว่าง พ่อจะช่วยแม่ขายของ ซักผ้ารีดผ้าและทำให้ลูกด้วย ส่วนแม่ขายของอย่างเดียว เพราะแม่
ทำงานหนักไม่ค่อยได้เป็นโรคกล้ามเนื้อกระดูก ความผูกพันกับพ่อที่พ่อมักจะพูดคุยและสอนเรื่องต่างๆ
เช่นเรื่องการเรียนอยากเรียนอะไร ดีไม่ดีอย่างไร สอนเรื่องการใช้ชีวิตการปฏิบัติตนให้รู้ว่าสิ่งใดควรทำ
และอยากทำอะไรก็จะชี้แนะแนวทางให้เสมอ
การอบรมเลี้ยงดู การเลี้ยงดูในวัยเด็ก เริ่มอาบน้ำแต่งตัวเองตอนอยู่ประถมศึกษาปีที่ 1ไปโรง
เรียนพ่อไปรับไปส่ง พอ ประถมปีที่ 4-5 ก็ไปโรงเรียนเอง นั่งรถเมล์ จนกระทั่ง ม.1ก็มาโรงเรียนเองโดย
ตลอด ปัจจุบันจะไปไหนมาไหนก็ไปได้โดยโทรศัพท์บอกล่วงหน้าว่าจะไปไหนทำอะไร มีอิสระในการ
คิดการทำ การอบรมสั่งสอน พ่อจะเป็นคนมีระเบียบ มีเหตุผลจะไปไหนมาไหนต้องบอกก่อน ถ้ากลับ
ดึกก็โทรบอก เมื่อทำผิดจะดุ ว่า ลงโทษพอสมควร พ่อจะเน้นเรื่องการเรียน เรียนให้ดี ให้รับผิดชอบการ
เรียน ตอนเล็กๆเรียนไม่ดี แม่จะกวดขัน พอเรียนดีขึ้นก็จะปล่อยให้รับผิดชอบเอง การสอนของแม่ แม่
จะสอนเรื่องทั่วๆไป คอยเสริมพ่อ พ่อมักจะสอนเรื่อง การช่วยเหลือ เช่น คนพิการที่ขายของควรให้การ
89
สนับสนุนเขา บางครั้งพ่อจะทอดไข่กินกับข้าวแล้วก็แบ่งให้เด็ก(เด็กที่เล่นข้างๆบ้าน)กิน บางครั้งเวลา
ไปเที่ยวก็จะชวนเด็กๆพวกนี้ไปด้วยเพราะพ่อแม่เขาไม่ค่อยสนใจ พ่อจะเป็นคนชอบบริจาคสิ่งของ ช่วย
คนบาดเจ็บ เช่น คนที่ไม่รู้จักกันรถมอเตอร์ไซด์ล้ม พาไปหาหมอ ออกค่ารักษาพยาบาลให้โดยไม่คิด
อะไร พ่อเป็นคนห่วงลูกมากๆ เช่นเมื่อลูกยังไม่กลับก็จะคอยถามหา ห่วงใย และก็จะเตือนด้วยเหตุผล
นักเรียนจะรู้สึกผิดเอง
การทำความดีเพื่อสังคม ที่โรงเรียนได้เข้าร่วมการอบรมสิ่งแวดล้อมที่อุทยานแห่งชาติหาดวน
กร เป็นพี่เลี้ยงสามเณรในการบวชเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระสังฆราช ทางบ้านช่วยแม่
ขายของ ซักถุงเท้ารองเท้า รีดผ้า ทั้งทำให้คนในบ้านด้วย ทางชุมชนก็ช่วยงานวัด วันหยุดก็เรียนพิเศษ
กิจกรรมที่แสดงถึงการช่วยเหลือได้ช่วยเหลือโรงเรียนทำกิจกรรมเช่น เป็นพี่เลี้ยงสามเณร ช่วย
อาจารย์ตามที่มอบหมาย การเสียสละ ได้บริจาคเงิน สิ่งของ ช่วยเพื่อนให้ยืมเงิน “ เพื่อนยืมเงิน ผมรู้
ว่าเขาไม่ค่อยมี ก็ไม่เอาคืน” บริจาคเงินช่วยคนตาบอดที่มาร้องเพลงที่โรงเรียน
ด้านความเมตตา รู้สึกอยากช่วยคนพิการแต่ไม่รู้จะช่วยอย่างไร
ความรู้สึกเกี่ยวกับการทำความดีเพื่อสังคม คิดว่าการช่วยเหลือคนเป็นสิ่งที่ดี การที่ได้ช่วยโรง
เรียนเป็นประสบการณ์ ได้พัฒนาโรงเรียน ได้ประสบการณ์ใหม่ๆได้ความรู้ ถ้าหากใครมาขอให้ช่วย
เหลือถ้าไม่เดือดร้อนอะไรก็จะช่วย
สรุปและวิเคราะห์
สภาพแวดล้อมทางครอบครัว
ลักษณะครอบครัวเป็นครอบครัวเดี่ยว อยู่กัน 3 คนพ่อแม่ลูก บิดามารดาประกอบอาชีพเป็น
หลักฐานมีรายได้ประจำ มีการปรึกษาหารือกันตามบทบาท มีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน บิดามารดาไม่
ทะเลาะเบาะแว้งกัน ให้ความรัก ความห่วงใยจนสามารถสังเกตได้ เช่น นักเรียนบอกว่าบางครั้ง บิดา
จะห่วงลูกมาก นั่งคอยจนกว่าลูกจะกลับ คอยถามแม่ตลอดเวลาว่าลูกไปไหน เวลาเทศกาลต่างๆ จะ
พาไปเที่ยวไปพักผ่อนตามสมควรแก่โอกาส
บรรยากาศในครอบครัว มีความอบอุ่น บิดามารดาให้ความรักความห่วงใย คอยดูแลอย่างใกล้
ชิด มีสัมพันธภาพที่ดี มีการทำกิจกรรมร่วมกันเช่นไปเที่ยว ไปทำบุญ พ่อช่วยงานแม่ ลูกช่วยแม่
เป็นต้น
การเลี้ยงดูและการอบรมสั่งสอน 1. ใช้การเลี้ยงดูแบบใช้เหตุผล คือจะทำอะไรก็ให้ทำถ้ามีเหตุ
ผล จะไปไหนก็ได้ให้บอกก่อน ให้การสนับสนุน และฝึกให้รับผิดชอบตนเอง ถ้าทำดีจะให้รางวัล และ
90
ถ้าทำไม่ดีจะลงโทษว่ากล่าวตักเตือน 2. การเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุน คือการแสดงความรักความเอา
ใจใส่ สนับสนุนส่งเสริมให้ทำในสิ่งที่บุตรปรารถนา ให้การอบรมสั่งสอน ควบคุมดูแลให้ทำสิ่งที่ถูกต้อง
เหมาะสมแล้วจะเลิกควบคุม
ตัวแบบในครอบครัว บิดาเป็นแบบอย่างของบุตรในการทำกิจกรรมช่วยเหลือสังคมเช่น ช่วย
คนถูกรถชนแล้วช่วยพาไปโรงพยาบาลช่วยค่ารักษาพยาบาลโดยไม่คิดเงินจากผู้บาดเจ็บ ช่วยพาเด็กๆ
ในชุมชนที่อยู่ไปเที่ยวพักผ่อนด้วยเพราะพ่อแม่เด็กไม่สนใจปล่อยปละละเลย และทอดไข่แจกเด็กๆ ให้
กินกับข้าว บริจาคสิ่งของ พ่อเคยช่วยเหลือสัตว์ที่ถูกฟันแล้วนำมารักษา รวมทั้งได้ให้การอบรมสั่งสอน
ให้เป็นคนมีความรับผิดชอบ สอนให้ช่วยเหลือคนพิการที่ขายของบอกให้สนับสนุนเขา
สภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน ครูมีบทบาทในการส่งเสริมให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรม
ด้วยการคัดสรรคนส่งไปแข่งขันตอบปัญหาทางวิชาการและกิจกรรมที่โรงเรียนจัดเปิดโอกาสให้เยาวชน
ได้มีส่วนร่วมทำในสิ่งที่ตนชอบ
ทัศนคติการทำความดีเพื่อสังคม ได้ช่วยเหลือโรงเรียนจนได้รับเกียรติบัตรด้านบำเพ็ญ
ประโยชน์จากกิจกรรมการเป็นพี่เลี้ยงสามเณร อบรมสิ่งแวดล้อม ทางบ้าน ช่วยแม่ขายของ ซักผ้ารีดผ้า
ภายในบ้าน ชุมชนช่วยงานวัดบริการพระเณรอบรมคุณธรรมจริยธรรม ช่วยเหลือเพื่อนให้เพื่อนยืมเงิน
แล้วไม่เอาคืนเพราะเห็นว่าเพื่อนจน
ด้านความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ บริจาคเงินให้คนตาบอดที่ร้องเพลงขอเงิน
ด้านความเมตตา รู้สึกอยากช่วยคนพิการเพราะเห็นแล้วรู้สึกสงสาร มีความคิดอยากช่วยสัตว์
พเนจร เพราะเห็นแล้วสงสาร
ทัศนคติต่อการทำเพื่อสังคม จากการที่ได้ทำกิจกรรมแล้วได้บุญ ได้ประสบการณ์ ได้ประโยชน์
และได้ช่วยโรงเรียน ส่วนใหญ่กิจกรรมที่ทำเพราะชอบทำ สรุปการทำกิจกรรมเพื่อสังคมเพราะเห็นว่าดี
ชอบทำ ทำแล้วได้ประโยชน์ทั้งต่อตนเองและส่วนรวม และมีความคิดที่จะทำเพื่อสังคม
สรุปนายแปดอยู่ในครอบครัวที่มีบรรยากาศของความรักความอบอุ่น มีความใกล้ชิดผูกพันกับ
บิดามารดา และได้รับการอบรมสั่งสอนให้คิด รู้จักคิด และ ปฏิบัติในสิ่งที่ถูกที่ควร ประกอบกับการเป็น
แบบอย่างของบิดาที่ช่วยเหลือเด็กๆ ช่วยเหลือคนถูกรถชน ส่งผลให้นายแปดมีจิตใจดีคิดช่วยเหลืองาน
ส่วนรวม เสียสละและมีจิตใจเมตตาสงสารให้การอนุเคราะห์คนพิการตาบอด
➀➀➀
91
กรณีศึกษาที่ 9 นายเก้าเป็นนักเรียนชั้น ม.5/6 อายุ 17 ปี เกรดเฉลี่ย 2.3 วิชาที่ชอบและทำ
คะแนนได้ดีคือ ภาษาไทย ดนตรี และศิลปะ ได้เกรด 4 ลักษณะบุคลิกภาพเป็นคนสุภาพเรียบร้อย
แต่งกายถูกระเบียบของโรงเรียน ขยันและตั้งใจเรียน มีความรับผิดชอบ ชอบร้องเพลงโดยเฉพาะเพลง
ไทยเดิม ช่วยเหลืองานด้านเล่นดนตรีไทยและเป็นนักร้องเพลงไทยเดิมวงโรงเรียน เป็นผู้นำเชียร์ รีด
เดอร์ นำร้องเพลงชาต ิ เปน็ คณะกรรมการนกั เรยี นฝา่ ยคณุ ธรรมและวนิ ยั ช่วยงานชุมชนด้านบรรเทาสา
ธารณภัย
สภาพแวดล้อมทางครอบครัว
ในครอบครัวอยู่ร่วมกับครอบครัวของป้าน้าอารวมลูกหลานประมาณ 10 คนช่วยกันทำงาน
ภายในบ้าน หุงหาอาหารจะทำร่วมกันช่วยกันทำ บางครั้งป้าทำ บางครั้งแม่ทำ บ้านอยู่ย่านบางลำพู
บิดาเป็นหัวหน้าหน่วยบรรเทาสาธารณภัย มารดา มีอาชีพขายเสื้อผ้า ป้าและอามีอาชีพขายเสื้อผ้า
ย่านบางลำพู การศึกษาบิดา จบอนุปริญญา มารดาจบ ม.6 บิดาเป็นคนกรุงเทพ มารดาเป็นคนราชบุรี
ที่บ้านเป็นครอบครัวดั้งเดิมของย่า “ผมเป็นลูกคนที่ 2 ในจำนวนพี่น้อง 3 คน มีพี่ชาย 1 คนและน้อง
สาว 1 คน ที่บ้านมีป้า 3 คน มีอา 2 คน และพี่ๆลูกป้าลูกอารวมห้า คน เวลารับประทานอาหารจะ
ทานพร้อมกันในมื้อเย็น เป็นการรวมญาติพี่น้อง”
ความสัมพันธ์ในครอบครัว ทุกคนในครอบครัวมีความสนิทสนมกันดี ลุงป้าและอา มีโอกาสอบ
รมสั่งสอนบุตรหลานในบ้าน ลูกๆของป้าและอามีความสนิทสนมกลมเกลียวกันฉันท์พี่น้อง มีอะไรจะ
ปรึกษาหารือกัน พูดคุยเล่นด้วยกันโดยส่วนใหญ่จะปรึกษาพี่สาวลูกป้า และสนิทกับแม่มากกว่าพ่อมี
อะไรจะบอกแม่ ยามว่างพี่ๆน้องๆในบ้านทั้งลูกป้า อา จะหยิบกีต้ามาร้องเพลงกันเพราะทุกคนในบ้าน
ชอบดนตรี ตัวนักเรียนเองก็ชอบดนตรีไทยและเป็นนักร้องวงดนตรีไทยของโรงเรียนด้วย เหตุที่ชอบร้อง
เพลงเพราะเมื่อก่อนตอนที่คุณย่ายังมีชีวิตอยู่คุณย่าเป็นเจ้าของวงดนตรีไทยและสากล ย่าร้องเพลง
และแต่งเพลง ท่องกลอนเก่ง มักจะสอนตัวนักเรียนให้ร้องเพลงแต่งเพลงเมื่อมีเวลาว่าง แต่ปัจจุบันได้
เลิกกิจการไปเพราะคุณอาเสียชีวิต
การอบรมเลี้ยงดู ตอนเล็กๆพ่อแม่จะดูแลอย่างดีไม่ปล่อยให้ไปไหนมาไหนคนเดียว จะไม่ให้
ทุกอย่างที่ขอ ดูเหตุผล ดูความเหมาะสมโดยจะชี้แจงให้ฟัง จะพาไปเที่ยวตามเทศกาลต่างๆ ในช่วง
เรียนอยู่ประถมศึกษาจะไปรับไปส่ง จนถึงประถมศึกษาปีที่ 6 พออยู่มัธยมศึกษาปีที่ 1ก็ให้มาโรงเรียน
เองเพราะอยู่ใกล้บ้าน พ่อกับแม่จะมีนิสัยคล้ายกันจะปฏิบัติต่อลูกให้ลูกคิดได้และสำนึกได้เอง แม่จะ
92
คอยห่วงใยไม่ปล่อยให้ไปไหนนานๆ เช่นโรงเรียนมีกีฬาสี “ผมต้องซ้อมเชียร์รีดเดอร์ จะกลับบ้านค่ำ
คุณแม่จะแอบมาดูว่าอยู่ไหม อยู่อย่างไร วันกีฬาสีคุณแม่จะมาดูลูกแสดง แต่จะให้อิสระในการคิดและ
การทำ จะไปไหนมาไหนกลับเมื่อไรต้องบอกก่อนล่วงหน้า จะขอเงินทำอะไรบอกเหตุผลก็อนุญาต การ
ตัดสินใจส่วนใหญ่ให้คิดเอง ตัดสินใจเอง เช่นการเลือกแผนการเรียน”
การให้รางวัลและการลงโทษ เมื่อได้รางวัลจากการประกวดร้องเพลงชนะมาจากโรงเรียน ทาง
บ้านจะให้รางวัลอีก การลงโทษ พ่อจะใช้วิธีการว่ากล่าวเพียงอย่างเดียว ถ้าลูกไม่ทำตามใจคุณแม่จะ
แสดงอาการงอนไม่พูด จะพูดผ่านพี่คนอื่นๆ ลูกจะรู้ว่าแม่โกรธ
การอบรมสั่งสอน จะสอนด้วยการปฏิบัติตน เช่น แม่สอนว่าทำอะไรก็ได้ทำแล้วสบายใจไม่ทำ
ให้คนอื่นเดือดร้อน แม่จะคอยดูแลควบคุมอธิบายเหตุผลให้คิด ให้เลือก และตัดสินใจเอง อยู่บ้านมี
หน้าที่ช่วยกัน มีอะไรก็ช่วยกันทำ เช่น ทำความสะอาดบ้าน ช่วยแม่ยกของมาขาย ซักเสื้อผ้าตัวเองและ
ของพ่อแม่ ซ่อมแซมอุปกรณ์ภายในบ้าน เป็นต้น
ภาระกิจของพ่อ พ่อเป็นหัวหน้าหน่วยบรรเทาสาธารณภัยบางลำพู เวลามีเหตุการณ์เพลิงไหม้
น้ำท่วม พ่อจะตั้งโต๊ะรับบริจาคสิ่งของไปช่วยผู้เดือดร้อน ตัวนักเรียนจะติดตามไปด้วยและคอยช่วย
งานตลอดเวลา ส่วนแม่จะขายเสื้อผ้าอยู่ที่บางลำพู
ความรู้สึกเกี่ยวกับพ่อ รู้สึกมั่นใจในการตัดสินใจแล้วจะประสบความสำเร็จทุกอย่าง ส่วนแม่
จะเลี้ยงลูกดี คอยแนะนำให้ทำในสิ่งที่ถูก
การทำความดีเพื่อสังคม การช่วยเหลือสังคม จะเอาของไปบริจาคช่วยผู้เดือดร้อน เช่น น้ำ
ท่วมภาคใต้จนถึงมือ บริจาคเงินสิ่งของส่วนตัวทั้งของใช้และเงินโดยมีพ่อเป็นผู้ประสานงานกับสมาชิก
สภาเขตคอยช่วยเหลือด้านสาธารณูปโภคช่วยเหลือชุมชนเป็นประจำ
ทัศนคติต่อการช่วยเหลือ “ทำอะไรก็ได้ให้เขาไม่เดือดร้อน ให้เขามีความสุขและเราก็ไม่เดือด
ร้อน”
เมื่อมีผู้เดือดร้อนก็รู้สึกสงสาร ถ้าช่วยได้ก็จะช่วยเท่าที่ช่วยได้ มีความคิดว่าเวลาทำงานอะไรก็
ตามทางบ้านจะมีลักษณะที่ว่า “ขาดทุนไม่เกี่ยง ชื่อเสียงไว้ก่อน” เวลาทำอะไรจะเผื่อแผ่เพื่อนบ้าน
เสมอเช่น มีการทำบุญจะทำอาหารแจกจ่ายเพื่อนบ้าน
กิจกรรมที่อยากทำเพื่อสังคม “จะพยายามลบล้างชื่อเสียงให้โรงเรียนและทำตัวให้ดีเป็นตัว
อย่าง เช่น แต่งกายถูกระเบียบ แม้จะกลับบ้านแล้วเวลาจะออกไปทำธุระซื้อของก็ยังคงไม่เอาเสื้อออก
นอกกางเกง ความคิดนี้เกิดจากการได้ยินคนพูดถึงโรงเรียนในแง่ไม่ดีจึงอยากลบล้างด้วยการทำตนให้
93
เป็นตัวอย่างจะได้พูดได้ว่าคนที่ไม่ดีมีเพียงไม่กี่คนเท่านั้น” อีกอย่างพ่อเป็นศิษย์เก่าบวรนิเวศพ่อจะ
สอนให้ตอบแทนโรงเรียน แม่จะบอกว่า “ช่วยเหลืองานโรงเรียนทุกอย่างที่ช่วยได้ ให้ช่วยดูแลรักษา”
กิจกรรมที่ทำที่โรงเรียน ได้เป็นกรรมการคณะสี เล่นดนตรี ร้องเพลงไทยเดิม นำร้องเพลงชาติ
เป็นกรรมการส่งเสริมวินัยและคุณธรรม เป็นรองอนุกรรมการคณะสี และช่วยครูจัดบอร์ด สิ่งที่ทำ
เพราะชอบทำและทำแล้วสบายใจ
กิจกรรมภายนอกโรงเรียน เป็นกรรมการบรรเทาสาธารณภัยของชุมชนบางลำพู และเล่นดนตรี
ไทยตามงานที่เขาขอมา เช่น งานของสมาชิกภาเขต เขาจะขอวงดนตรีโรงเรียนไปเล่นก็จะไปด้วย
หรืองานโรงเรียนที่จัดในชุมชน เช่นที่สวนสันติชัยปราการ ป้อมพระสุเมรุ
ความคิดเห็นเกี่ยวกับโรงเรียน การสอนของครูในโรงเรียนส่วนใหญ่สอนดี สภาพห้องเรียน
สะอาด โปร่งสบาย บรรยากาศภายในอบอนุ่ กฎระเบียบข้อบังคับของโรงเรียนด ี มีระเบียบ ครแู ละนกั
เรียนมีความใกล้ชิดกัน นักเรียนมีโอกาสช่วยเหลืองานบ่อยครั้ง และได้ร่วมกิจกรรมที่เป็นการเสียสละ
ส่วนรวมบ่อยครั้ง
สรุปและวิเคราะห์
สภาพแวดล้อมทางครอบครัว
ลักษณะครอบครัวเป็นครอบครัวขยาย อยู่ร่วมกันหลายครอบครัวในอาณาบริเวณเดียวกัน
เป็นครอบครัวใหญ่
บรรยากาศในครอบครัว มีความสัมพันธ์กันดีระหว่างญาติพี่น้อง มีการปรึกษาหารือกันทำกิจ
กรรมร่วมกัน ช่วยเหลือกันหุงหาอาหาร รับประทานอาหาร มีญาติผู้ใหญ่ดูแลอบรมสั่งสอน ลูกหลาน
ให้การยอมรับเคารพนับถือผู้ใหญ่ทุกคนเสมือนเป็นพ่อแม่ตนเอง
แบบอย่างการปฏิบัติตนในครอบครัว มีบิดาเป็นแบบอย่างการช่วยเหลือสังคม อบรมสั่งสอน
แนะนำให้ทำตาม ได้เรียนรู้แบบอย่างการร้องเพลง การแต่งเพลง การเล่นดนตรีจากคุณย่าได้รับความ
รักความเอาใจใส่ดูแลอย่างใกล้ชิดจากคุณแม่

การศึกษาการทำความดีของเยาวชนเพื่อสังคม (ตอนที่ 1)
การศึกษาการทำความดีของเยาวชนเพื่อสังคม (ตอนที่ 2)
การศึกษาการทำความดีของเยาวชนเพื่อสังคม (ตอนที่ 3)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น